สารสมาคมวิจัยสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย ปีที่ 4 ฉบับที่ 2

Page 1

สารจากนายกสมาคมวิจัยสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย หน้าที่ 2 การประมาณค่าความเที่ยงของแบบวัดตามทฤษฏีการสรุปอ้างอิงความน่าเชื่อถือ ของผลการวัดโดยใช้โปรแกรม EduG หน้าที่ 3 การค้าระหว่างประเทศเพื่อสูเ่ ป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หน้าที่ 20 การทดสอบแนวใหม่ในยุคประเทศไทย 4.0 หน้าที่ 27 การประชุมทางวิชาการและเผยแพร่ผลงานวิจัยคัดสรรระดับชาติ: ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศสู่ Thailand 4.0 หน้าที่ 39


2

สารจากนายกสมาคมวิจัยสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย สมาคมวิจัยทางสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย ฉบับนี้เป็นปีที่ 4 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม – สิงหาคม 2560) ถือเป็นฉบับกลางปี 2560 สาหรับสมาชิกของสมาคมทุกท่านครับ สารฉบับนี้ต้องการสื่อสารกับสมาชิกของสมาคมวิจัยสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทยทุกท่านถึง กิจกรรม ทางวิชาการสาคัญของสมาคมฯ และเป็นการเผยแพร่งานเขียนทางวิชาการของสมาคมฯ ซึ่งสมาชิกหมุนเวียน กันมาเป็นนักเขียนรับเชิญ บางคนต้องขอร้องกันจึงจะยอมมา สาหรับฉบับนี้มีบทความพิเศษ 3 บทความ ประกอบด้ว ย 1) การประมาณค่าความเที่ยงของแบบวัดตามทฤษฏีก ารสรุปอ้างอิงความน่าเชื่ อถื อ ของ ผลการวัดโดยใช้โปรแกรม EduG ของ ศาสตราจารย์ ดร.ศิริชัย กาญจนวาสี 2) การค้าระหว่างประเทศเพื่อสู่ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ของ ดร.กมลินทร์ พินิจภูวดล ผู้อานวยการสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้า และการพัฒนา หรือ ไอทีดี และ 3) การทดสอบแนวใหม่ในยุคประเทศไทย 4.0 ของ ดร.ณภัทร ชัยมงคล ส าหรั บ กิ จ กรรมของสมาคมฯ ปี นี้ ประกอบด้ ว ย 1) การประชุ ม กรรมการบริ ห ารสมาคมฯ ทุ ก 2 เดื อ น จ านวน 6 ครั้ ง 2) การอบรมทางวิ ช าการ 6 หลั ก สู ต ร และ 3) ก าหนดการประชุ ม ใหญ่ ส ามั ญ ประจ าปี ของสมาคมฯ ในวันที่ 11 ตุลาคม 2560 ขอประชาสัมพันธ์ย้าเตือนอีกครั้งถึงที่ทาการของสมาคมฯ อยู่ที่คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ อาคาร 4 ชั้น 2 ห้อง 209 หมายเลขโทรศัพท์ 02-218-2623 ได้มีโอกาสต้อนรับสมาชิกที่ได้แวะมาเยี่ยมเยือนกันอยู่เป็นประจา จะมีนายกสมาคมฯ และนิสิตช่วยงานสมาคม ประกอบด้วย อ.อภิชา อารุณโรจน์ อ.ปาริชาติ ทาโน อ.ฑิตยา สิทธิโสภาสกุล อ.อังค์วรา วงษ์รักษา อ.สุกัญญา บุญศรี และ อ.รังสิมาภรณ์ หนูน้อย คอยช่วยงานเช่นเคย การจัดทาสารสมาคมฉบับนี้สาเร็จลุล่วงไปด้วยดี ขอขอบคุณรองศาสตราจารย์ ศักดา บุญยไวโรจน์ ดร.ณภัทร ชัยมงคล และอาจารย์สุกัญญา บุญศรี ที่ช่วยเป็นบรรณาธิการสารฉบับนี้จนมีเนื้อหาสาระครบถ้วน สมบูรณ์ ท้ายสุดนี้ขอส่งความปรารถนาดีมายังคณะกรรมการบริหารและสมาชิกทุกท่าน ขอให้เจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ และประสบความสาเร็จในสิ่งที่คิดสัมฤทธิผลในสิ่งที่ปรารถนาทุกประการ

ด้วยความเคารพรัก ศาสตราจารย์ ดร.ศิริชัย กาญจนวาสี สิงหาคม 2560


3

การประมาณค่าความเที่ยงของแบบวัด ตามทฤษฏีการสรุปอ้างอิงความน่าเชื่อถือของผลการวัดโดยใช้โปรแกรม EduG (Test Reliability Estimation Based on Generalizability Theory by Using EduG Program) ศ.ดร.ศิริชัย กาญจนวาสี

บทคัดย่อ ทฤษฏีการสรุปอ้างอิงความน่าเชื่อถือของผลการวัด (G-Theory) ได้เสนอวิธีการวิเคราะห์ค่าความ เที่ยงแนวใหม่ตามสถานการณ์ต่างๆ ของการวัด ทาให้สามารถใช้เครื่องมือวัดทางจิตวิทยา หรือแบบทดสอบ ทางการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ กว้างขวาง และเหมาะสมกับทรัพยากรที่มีอยู่ แต่การวิเคราะห์ค่าความเที่ยง ตามทฤษฏีนี้ มีความสลับซับซ้อน ทั้งในด้ านการวิเคราะห์ความแปรปรวน และการวิเคราะห์แยกส่วนแหล่ง ความคลาดเคลื่อนต่างๆ ที่ทาการศึกษา โปรแกรม EduG (2010) สามารถช่วยให้การวิเคราะห์ค่าความเที่ยง ตาม G-Theory ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สะดวกและรวดเร็ว


4

เกริ่นนา การเขียนบทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อเผยแพร่แนวคิดของการวิเคราะห์ความเที่ยงของแบบวัดหรือ แบบทดสอบตามทฤษฏีการสรุปอ้างอิงความน่าเชื่อถือของผลการวัด (Generalizability Theory) ซึ่งจะ เป็นประโยชน์ต่อการสร้างและการพัฒนาเครื่องมือวัดทางจิตวิทยาและแบบทดสอบทางการศึกษาให้ มีคุณภาพ ด้านความเที่ยงตามเป้าหมาย สามารถนาเครื่องมือไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสมและกว้างขวางยิ่ง ขึ้น กว่าการวิเคราะห์ค่าความเที่ยงแบบประเพณีนิยม การวิ เ คราะห์ ค่ า ความเที่ ย งของแบบวั ด หรื อ แบบทดสอบ ผู้ เ ขี ย นขอยึ ด หลั ก การ G-Theory ตามแนวทางของ Cronbach และคณะ (1963), (Shevelson & Webb (1991) ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ ในทฤษฏีการทดสอบแนวใหม่ (ศิริ ชัย กาญจนวาสี , 2555) ส่ ว นโปรแกรมคอมพิว เตอร์ส าหรับวิเคราะห์ ค่าความเที่ยงตาม G-Theory จะยึดตามโปรแกรม EduG 6.1 (IRDP, 2010) เพราะเป็นโปรแกรมสาธารณะ ที่ใช้ได้ฟรี (Freeware) และสามารถใช้ได้สะดวกกว่าโปรแกรมที่มีมาก่อน เช่น GENOVA เป็นต้น พร้อมทั้ง ได้เสนอสถานการณ์ตัวอย่าง ขั้นตอนการใช้โปรแกรมและตัวอย่างผลการวิเคราะห์ 1. บริบทและการออกแบบการศึกษาค่าความเที่ยงของแบบวัด บริบทของการศึกษา : สมมุติบริษัทแห่งหนึ่งต้องการรับสมัครพนักงานเข้าทางานโดยมีนักจิตวิทยา ทาหน้าที่เป็นผู้สัมภาษณ์เพื่อวัดคุณลักษณะทางบุคลิกภาพที่เหมาะสมกับตาแหน่งงาน ตามสภาพการณ์ดังกล่าว นักวัดผลสามารถทาการศึกษาวิจัยถึงความเที่ยงหรือความน่าเชื่อถือของผล การวัดคุณลักษณะทางบุคลิกภาพของผู้สมัครที่ได้จากการสัมภาษณ์โดยนักจิตวิทยา เพื่อใช้ผลการวัดสาหรับ ตัดสินใจรับพนักงานเข้าทางาน นักวัดผลสามารถใช้ G-Theory ทาการวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือของผลการวัด โดยทาการออกแบบการศึกษาดังนี้  การศึกษา G (G-Study) เป็ น การออกแบบการทดลองส าหรับเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อทาการ ประมาณค่าความแปรปรวนของคะแนนจริง และความแปรปรวนของคะแนนความคลาดเคลื่อนจากแหล่ง ความคลาดเคลื่อนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และใช้เป็นข้อมูลสาหรับการวางแผนเพื่อตัดสินใจ  การศึกษา D (D-Study) เป็ น การใช้ข้อมูล จากการศึกษา G ที่ส อดคล้ องกับจุดประสงค์เฉพาะ ของการตัดสินใจเลือกใช้เครื่องมือในสถานการณ์ต่างๆ ของการวัด ให้สอดคล้องกับทรัพยากรที่มี เพื่อให้ได้ คุณภาพด้านความเที่ยงถึงค่าเป้าหมายที่ต้องการ 1.1 การศึกษา G (G-Study) 1) การออกแบบการทดลอง : (C X I X A) ในการเปิดรับสมัครพนักงาน ปรากฏว่ามีผู้สมัคร (Candidates) จานวน 120 คน ทางบริษัท ได้ เ ตรี ย มนั ก จิ ต วิ ท ยาไว้ เ ป็ น ผู้ สั ม ภาษณ์ (Interviewers) จ านวน 2 คน เพื่ อ ให้ ค ะแนนคุ ณ ลั ก ษณะ ทางบุ คลิ กภาพตามที่ ต้อ งการ 4 คุณลั กษณะ (Attributes) การออกแบบโมเดลการวัด (Measurement design) ครั้งนี้จึงเขียนเป็นสัญลักษณ์ตามองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง คือ C X I X A


5  จานวนองค์ประกอบ (Factors) ที่เกี่ยวข้องในการวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) มี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ C (Candidates), I (Interviewers) และ A (Attributes)  จ านวนฟาเซท (Facets) ซึ่ ง เป็ น กลุ่ ม เงื่ อ นไขของการวั ด ประกอบด้ ว ย ฟาเซท I และ ฟาเซท A 2) การเก็บรวบรวมข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วยกลุ่มตัวอย่าง nC = 120 คน , nI = 2 คน และ nA = 4 คุณลักษณะ รายการข้อมูลแสดงดังภาพ I

2

1

2

A

3

4

1 1 2

I C

C

A

120 1(A) ผังการเก็บรวบรวมข้อมูล

1(B) Venn Diagram

ภาพที่ 1 การออกแบบ G-Study : C X I X A  การเตรียมข้อมูล เราสามารถใช้โ ปรแกรมเตรียมข้อมูล เช่น โปรแกรม Excel ส าหรับเตรียมแฟ้มข้ อ มู ล และ save แฟ้มข้อมูลในรูปของ text file ตั้งชื่อแฟ้มข้อมูลเช่น InterviewE.txt การบันทึกข้อมูลดิบลงในแฟ้มข้อมูลจะต้องสอดคล้องกับการออกแบบการวัด C X I X A ดังตัวอย่าง


6 ตารางที่ 1 ตัวอย่างการบันทึกข้อมูลดิบของการออกแบบการวัด C X I X A C I A Data 1 1 1 1 3 2 1 1 2 2 คะแนนคุณลักษณะ (Data) 4 ด้าน ของผู้สมัครคนที่ 1 (C = 1) 3 1 1 3 4 ที่ให้คะแนนโดยผู้สัมภาษณ์คนที่ 1 (I = 1) ในการวัดคุณลักษณะ 4 1 1 4 4 4 ด้าน (A = 1, 2, 3, 4) 5 1 2 1 4 6 1 2 2 4 คะแนนคุณลักษณะ 4 ด้าน ของผู้สมัครคนที่ 1 7 1 2 3 4 ที่ให้คะแนนโดยผู้สัมภาษณ์คนที่ 2 ในการวัดคุณลักษณะ 4 ด้าน 8 1 2 4 4 : : 953 120 1 1 3 954 120 1 2 3 คะแนนคุณลักษณะ (DATA) ของผู้สมัครคนที่ 120 955 120 1 3 3 ที่ให้คะแนนโดยผู้สัมภาษณ์คนที่ 1 ในการวัดคุณลักษณะ 4 ด้าน 956 120 1 4 3 957 120 2 1 3 958 120 2 2 3 คะแนนคุณลักษณะ (DATA) ของผู้สมัครคนที่ 120 959 120 2 3 3 ที่ให้คะแนนโดยผู้สัมภาษณ์คนที่ 2 ในการวัดคุณลักษณะ 4 ด้าน 960 120 2 4 3 ข้อมูลที่ได้เมื่อทาการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบ 3 ทาง (3-WAY ANOVA) ซึ่งประกอบด้วยปัจจัย (factor) C, I และ A ความแปรปรวนของคะแนนที่สังเกตได้ (𝜎𝑋2𝐶𝐼𝐴 ) จะถูกแยกส่วนเป็นความแปรปรวน มาจาก 7 แหล่ง ดังสมการ 2 2 2 2 𝜎𝑋2𝐶𝐼𝐴 = 𝜎𝐶2 + 𝜎𝐼2 + 𝜎𝐴2 + 𝜎𝐶𝐼 + 𝜎𝐶𝐴 + 𝜎𝐼𝐴 + 𝜎𝐶𝐼𝐴 1.2 การศึกษา D (D-Study) เป็นการใช้ข้อมูลความแปรปรวนจาก G-Study เพื่อสรุปอ้างอิงไปยังจานวนผู้สัมภาษณ์ (I = ?) ที่จะต้องใช้ในการวัดคุณลั กษณะส าคัญ 4 ลักษณะที่กาหนดเอาไว้ ให้มีค่าความเที่ยงหรือความน่าเชื่ อถื อ ของผลการวัดถึงระดับที่ปรารถนา เช่น 0.70, 0.80 เป็นต้น ค่ า ความเที่ ย ง (Reliability) ที่ ค านวณได้ จ าก G-Theory ตามเงื่ อ นไขต่ า งๆ ของการวั ด จะเรียกว่าสัมประสิทธิ์ G (G Coefficients) ซึ่งมีทั้งสัมประสิทธิ์ G สาหรับการนาผลไปใช้ตัดสินใจเชิงสัมพัทธ์


7 (Relative decision) หรื อ การตั ด สิ น แบบอิ ง กลุ่ ม (Norm – Referenced) และสั ม ประสิ ท ธิ์ G ส าหรั บ การน าผลไปใช้ ตั ด สิ น ใจเชิ ง สั ม บู ร ณ์ (Absolute decision) หรื อ การตั ด สิ น แบบอิ ง เกณฑ์ (Criterion – Referenced) 2. การวิเคราะห์ค่าความเที่ยงโดยใช้โปรแกรม EduG กับแฟ้มข้อมูลตัวอย่าง EduG เป็นโปรแกรมวิเคราะห์ค่าความเที่ยงตามหลักการของ G-Theory โปรแกรมถูกพัฒนาขึ้นมา จ า ก ก า ร ส นั บ ส นุ น ข อ ง Swiss Society for Research in Education and Educan Inc. (Canada) และ 5 สถาบั น การศึ ก ษาของ Swiss ปั จ จุ บั น โปรแกรมถู ก พั ฒ นาเป็ น EduG 6.1 (IRDP, 2010) ซึ่ ง เป็ น โปรแกรมที่สามารถเรียกใช้ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย 2.1 การติดตั้ง EduG เราสามารถติดตั้ง EduG ได้จากเว็บไซท์ IRDP โปรแกรมสามารถใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มี Windows 95 หรือสูงกว่า และเครื่องที่เทียบเคียงได้กับ VISTA 2.2 ทดลองใช้ EduG จากแฟ้มข้อมูลตัวอย่าง การใช้เครื่องหมาย  = click  = double click  การเข้าสู่โปรแกรม  EduG  OK  การเปิดแฟ้มข้อมูลตัวอย่าง  File  Open .  For Practice  09 InterviewE.gen แฟ้มข้อมูลตัวอย่าง : 09 InterviewE.gen เป็นสถานการณ์ที่มี 120 Candidates, 2 Interviewers, และคะแนนการวัดคุณลักษณะที่บริษัทต้องการ 4 Attributes เราสามารถบันทึกข้อมูลการออกแบบ G-Study ลงใน Work screen ของโปรแกรม โดยการพิมพ์ และเติมตัวเลขลงในช่องที่กาหนด ดังภาพ


8 ภาพที่ 2 Work screen ของการออกแบบ CXIXA Title : 09 G-Study of an evaluation by interviewed Number of Facets 3 Observation and estimation design Facet Label Level Univ Candidates C 120 INF Interviewers I 2 INF Attributes ? ?

A

4

Observation design reduction

4

(import a file with raw data) (import sum of square)

(Browse/Edit data) Export data

(Import data) Delete data

Measurement Design C/IA Report  Text format Number of decimal 5  RTF format (WORD) File: C\For Practice\09InterviewE.gen  ANOVA COMPUTE  Coef – G  Estimate of Phi (lambda)  Optimization  G - Facets analysis

Edit report

หมายเหตุ

Save

Save as…

Close

?

1) เมื่อระบุจานวนฟาเซท (Number of Facets) จะปรากฏจานวนแถวในหัวตารางของ Facet เท่ากับจานวนฟาเซทที่จะต้องระบุ 2) ระบุชื่อของแต่ละฟาเซท และ Label ด้วยตัวอักษรย่อ 1 ตัวของแต่ละฟาเซท ถ้าเป็น nested facet ต้องระบุชื่อของฟาเซท ตามด้วย within และ Label ฟาเซทที่สอดแทรกด้วย เครื่องหมาย Colon เช่น ใช้ข้อสอบที่แตกต่างกันในแต่ละสถานการณ์ จะต้องระบุว่า Items


9 within Occations และ Label ด้วยสัญลักษณ์ I : O เป็นต้น 3) ระบุจานวนระดับ (Level) ตามจานวนที่ทาการทดลองจริง และระบุ Universe ของแต่ละ ฟาเซท ถ้าเป็นฟาเซทที่มีจานวนนับได้ไม่จากัด หรือเป็นจานวนการสุ่มให้ใช้ INF (infinite) แต่ถ้าเป็ น ฟาเซทที่มีจ านวนเฉพาะเจาะจง หรื อจานวนจากัด (fixed) จะมีจานวนระดั บ (Level) ที่เก็บรวบรวมข้อมูลกับจานวนใน Universe เป็นจานวนเดียวกัน ส าหรั บ D-Study ถ้ า ต้ อ งการทราบค่ า ความเที่ ย ง (G-Coefficients) ของการวั ด คุ ณ ลั ก ษณะ 4 ลักษณะ (A = 4) ของผู้สมัคร เมื่อมีจานวนผู้สัมภาษณ์ 3, 4, 5, 6 และ 7 คน (I = 3, 4, 5, 6, 7) เราจะต้อง ระบุคาสั่งในโปรแกรมดังตัวอย่าง   Optimization ทาการพิมพ์ข้อความและจานวนระดับที่ต้องการศึกษา ดังภาพ ภาพที่ 3 ผังคาสั่ง D-Study สาหรับ CXIXA Design เมื่อ I = 3-7 และ A = 4 Facet No. of levels Opt. 1 Opt. 2 Opt. 3 Opt. 4 Opt. 5 Obs. univ Obs. univ Obs. univ Obs. univ Obs. univ Obs. univ C I A

120 2 4

INF INF 4

3 4

OK

OK

Save

Compute

Add

INF INF 4

4 4

Cancel

INF INF 4

5 4

Exit

INF INF 4

6 4

INF INF 4

7 4

INF INF 4

?

ใน D-Study เมื่อต้องการทราบค่า ความเที่ย ง (G-Coefficients) ของการวัดในสถานการณ์ ต่ า งๆ เพิ่มเติม ก็สามารถทาได้ในลักษณะเดียวกัน โดยใช้คาสั่ง  Optimization แล้วทาการระบุจานวนระดับของ แต่ละฟาเซทตามที่ต้องการ ดังเช่น I = 10, 12, 30, 35, 40, A = 3, 4, 7, 9 เป็นต้น


10 ตัวอย่างผลการวิเคราะห์ตามขั้นตอนการศึกษา G-Study และ D-Study ของการออกแบบ C X I X A ดังแสดงในตาราง ตารางที่ 2 ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) ใน G-Study สาหรับ C X I X A Design Source SS C 109.82396 I 7.52604 A 3.45313 CI 79.59896 CA 87.92188 IA 3.76146 CIA 60.61354 Total 352.69896

df 119 1 3 119 357 3 357 959

MS 0.92289 7.52604 1.15104 0.66890 0.24628 1.25382 0.16979

Random 0.02219 0.01203 -0.00075 0.12478 0.03825 0.00903 0.16979

Components Mixed Corrected 0.03175 0.03175 0.01429 0.01429 -0.00075 -0.00056 0.16722 0.16722 0.03825 0.03825 0.00903 0.00903 0.16979 0.16979

% 7.4 3.3 0.0 38.9 8.9 2.1 39.5 100%

SE 0.01853 0.01291 0.00449 0.02173 0.01116 0.00661 0.01267

ตารางที่ 3 ผลการวิเคราะห์ความเที่ยงใน D-Study สาหรับ C X I X A เมื่อ I = 3-7 และ A = 4

C I A Observ. Coef_G rel. Rounded Coef_G abs. rounded Rel. Err. Var. Rel. Std. Err. of M. Abs. Err. Var. Abs. Std. Err. of M.

G-study Option 1 Option 2 Option 3 Option 4 Option 5 Lev. Uinv. Lev. Uinv. Lev. Uinv. Lev. Uinv. Lev. Uinv. Lev. Uinv. 120 INF 120 INF 120 INF 120 INF 120 INF 120 INF 2 INF 3 INF 4 INF 5 INF 6 INF 7 INF 4 4 4 4 4 4 4 4 4 4 4 4 960 1440 1920 2400 2880 3360 0.27521 0.36288 0.43163 0.48699 0.53252 0.57063 0.28 0.36 0.43 0.49 0.53 0.57 0.25917 0.34415 0.41165 0.46655 0.51207 0.55044 0.26 0.34 0.41 0.47 0.51 0.55 0.08361 0.05574 0.04181 0.03344 0.02787 0.02389 0.28916 0.09076

0.23610 0.06050

0.20447 0.04535

0.18288 0.03630

0.16695 0.03025

0.15456 0.02593

0.30126

0.24597

0.21302

0.19053

0.17393

0.16103


11 ตารางที่ 4 ผลการวิเคราะห์ความเที่ยงใน D-Study สาหรับ C X I X A Design เมื่อ I = 10, 12, 30, 35, 40 และ A = 3, 4, 7, 9 G-study Option 1 Option 2 Option 3 Option 4 Option 5 Lev. Uinv. Lev. Uinv. Lev. Uinv. Lev. Uinv. Lev. Uinv. Lev. Uinv. C 120 INF 120 INF 120 INF 120 INF 120 INF 120 INF I 2 INF 10 INF 12 INF 30 INF 35 INF 40 INF A 4 4 7 7 9 9 3 4 4 4 4 4 Observ. 960 8400 12960 10800 16800 19200 Coef_G rel. 0.27521 0.64076 0.68833 0.75232 0.86920 0.88364 Rounded 0.28 0.65 0.69 0.75 0.87 0.88 Coef_G abs. 0.25917 0.63006 0.66941 0.74334 0.85959 0.87495 rounded 0.26 0.63 0.67 0.74 0.86 0.87

3. การประยุกต์ใช้โปรแกรม EduG กับแฟ้มข้อมูลทั่วไป 3.1 บริบทของการศึกษา และการออกแบบการวัด นั ก วั ด ผลหรื อ นั ก วิ จั ย ต้ อ งการศึ ก ษาค่ า ความเที่ ย งของแบบสอบอั ต นั ย ประยุ ก ต์ เพื่ อ วั ด ความสามารถของการใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในวิชาฟิสิกส์ สาหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภายใต้ จานวนสถานการณ์ (Occations) และจานวนผู้ตรวจ (Raters) ที่ต่างกัน ข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์เป็นข้อมูล จากการทาวิทยานิพนธ์ของนายสุภชิต ผดุงผล (2560)  ประชากร (Population) ประชากรเป็นสิ่งที่มุ่งวัดทั้งหมด (Object of measurement) ในสถานการณ์นี้ ประชากร เป็นนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 ทั้งหมด ในการศึกษาครั้งนี้ได้ทาการสุ่มตัวอย่างนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 (Persons) จานวน 94 คน ใช้เป็นกลุ่มตัวย่างสาหรับการศึกษา (n = 94)  เอกภพ (Universe) เอกภพ หมายถึ ง เงื่ อ นไขของการวั ด ที่ ส นใจทั้ ง หมด (condition of measurement) กลุ่มของเงื่อนไขเรียกว่า ฟาเซท (Facet) ซึ่งเป็นองค์ประกอบสาคัญที่คาดว่ามีผลต่อความคลาดเคลื่อนของการ วัด (measurement error) สาหรับการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย จานวนข้อสอบอัตนัยประยุกต์ (Items) จานวนสถานการณ์ (Occations) และจานวนผู้ตรวจ (Raters)  จานวนข้อสอบอัตนัยประยุกต์ (Items) สาหรับใช้วัดความสามารถของการใช้กระบวนการ ทางวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วยข้อคาถามจานวน 5 ข้อ ตาม 5 ขั้นตอนของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่ I1) ระบุปัญหา I2) ตั้งสมมุติฐาน I3) วางแผนการทดสอบสมมุติฐาน I4) เก็บรวบรวมข้อมูล และ I5) สรุปผล  จานวนสถานการณ์ (Occations) ซึ่งเป็นเนื้อหาสาระในวิชาฟิสิกส์ที่ใช้เป็นสถานการณ์ สาหรับทดสอบความสามารถของการใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ในการศึกษาครั้งนี้ได้ทาการสุ่ มกลุ่ ม


12 เนื้อหาสาระมา 4 เรื่อง ได้แก่ 01) เรื่องงานและพลังงาน 02) เรื่องโมเมนต์และการชน 03) เรื่องการเคลื่อนที่ และการหมุน และ 04) เรื่องสภาพสมดุลและสภาพยืดหยุ่น  จานวนผู้ตรวจ (Raters) ในการศึกษาครั้งนี้ได้สุ่มครูผู้ตรวจให้คะแนนความสามารถของ การใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ จานวน 2 คน ซึ่งได้แก่ R1 และ R2 3.2 การออกแบบ G-Study และการเก็บรวบรวมข้อมูล การออกแบบ G-Study ครั้งนี้เป็น P X R X (I : 0) Design การเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย nP = 94 คน, nR = 2 คน, nO = 4 สถานการณ์ และ nI = 5 ข้อ ดังรายการข้อมูลแสดงดังภาพ P

R

I:O ภาพที่ 4 Venn Diagram ของการออกแบบ G-Study : P X R X (I : O) การเตรียมแฟ้มข้อมูล เป็นการบันทึกข้อมูลดิบลงในแฟ้มข้อมูลจะต้องวางระบบข้อมูลให้สอดคล้องกับ การออกแบบการวัด P X R X (I : O) และบันทึกชื่อแฟ้มข้อมูล เช่น TestA.txt เป็นต้น ดังตาราง ตารางที่ 5 ตัวอย่างการบันทึกข้อมูลดิบของการออกแบบการวัด P X R X (I : O) R1 I1

I2

01 I3

I4

I5

I1

I2

02 I3

I4

I5

R2 I1

I2

03 I3

I4

I5

I1

I2

04 I3

I4

I5

I1

I2

01 I3

I4

I5

I1

I2

02 I3

I4

I5

I1

I2

03 I3

I4

I5

I1

P01 P02

P94

ข้อมูลที่ได้เมื่อทาการวิเคราะห์ ความแปรปรวนแบบ 4 ทาง (4 – WAY ANOVA) ซึ่งประกอบด้ว ย 2 ปัจจัย (factor) P, R, O และ I : O ความแปรปรวนของคะแนนที่สั งเกตได้ 𝜎𝑋(𝑃,𝑅,𝐼:𝑂) จะถูกแยกส่ ว น เป็นความแปรปรวนจาก 11 แหล่งดังสมการ 2 2 2 2 2 𝜎𝑋(𝑃,𝑅,𝐼:𝑂) = 𝜎𝑃2 + 𝜎𝑅2 + 𝜎𝑂2 + 𝜎𝐼:𝑂 + 𝜎𝑃𝑅 + 𝜎𝑃𝑂 + 𝜎𝑃𝐼:𝑂 + 2 2 2 2 𝜎𝑅𝑂 + 𝜎𝑅𝐼:𝑂 + 𝜎𝑃𝑅𝑂 + 𝜎𝑃𝑅𝐼:𝑂

I2

04 I3

I4

I5


13 3.3 การวิเคราะห์ผลการศึกษา G (G-study) ทาการวิเคราะห์ผลการศึกษา G โดยใช้โปรแกรม EduG ตามขั้นตอนดังนี้  File  New  ระบุชื่อแฟ้มข้อมูล เช่น TestA.txt พิ ม พ์ ข้ อ ความและสั ญ ลั ก ษณ์ เ พื่ อ ระบุ ลั ก ษณะของการศึ ก ษา G ที่ อ อกแบบไว้ ลงใน Work screen ดังภาพ ภาพที่ 5 Work screen ของการออกแบบ G – Study : P X R X (I : O) Title : G-Study for P X R X (I : O) Design Number of Facets 4 Observation and estimation design Facet Label Level Persons C 94 Raters I 2 Occations Items within Occations ? ?

A I:O

4 5

(import a file with raw data) (import sum of square)

Univ INF INF

Observation design reduction

INF INF (Browse/Edit data) Export data

Measurement Design P/ROI Report  Text format Number of decimal 5  RTF format (WORD) File: C\testA.txt  ANOVA COMPUTE  Coef – G  Estimate of Phi (lambda)  Optimization  G - Facets analysis Edit report

Save

Save as…

Close

?

(Import data) Delete data


14   import a file with raw data  ระบุชื่อแฟ้มข้อมูลที่เตรียมไว้ เช่น TestA.txt 3.4 การวิเคราะห์ผลการศึกษา D (D-study) สาหรับ D-study ถ้าต้องการทราบค่าความเที่ยงของการวัดความสามารถของการใช้กระบวน การทางวิทยาศาสตร์ เมื่อใช้จานวนผู้ตรวจ (R) 1 และ 2 คน ภายใต้จานวนสถานการณ์ (O) 3, 4, 5, 6 และ 7 ในแต่ละสถานการณ์วัดด้วยข้อสอบอัตนัยประยุกต์ จานวน 5 ข้อ I = 5 ข้อ และ I : O เราจะต้องระบุคาสั่ง ในโปรแกรม ดังตัวอย่าง   Optimization ทาการพิมพ์ข้อความและจานวนระดับที่ต้องการวิเคราะห์ ดังภาพ ภาพที่ 6 ผังคาสั่ง D-Study สาหรับ P X R X (I : O) Design เมื่อ R = 1, O = 3, 4, 5, 6, 7 และ I = 5 Facet No. of levels Opt. 1 Opt. 2 Opt. 3 Opt. 4 Opt. 5 Obs. univ Obs. univ Obs. univ Obs. univ Obs. univ Obs. univ P R O I:O

94 2 4 5

INF INF INF 5

1 3 5

OK

INF INF INF 5

1 4 5

Cancel

INF INF INF 5

1 5 5

Exit

INF INF INF 5

1 6 5

?

INF INF INF 5

1 7 5

INF INF INF 5


15 ภาพที่ 7 ผังคาสั่ง D-Study สาหรับ P X R X (I : O) Design เมื่อ R = 2, O = 3, 4, 5, 6, 7 และ I = 5 Facet No. of levels Opt. 1 Opt. 2 Opt. 3 Opt. 4 Opt. 5 Obs. univ Obs. univ Obs. univ Obs. univ Obs. univ Obs. univ P R O I:O

94 2 4 5

INF INF INF 5

2 3 5

OK

INF INF INF 5

2 4 5

Cancel

INF INF INF 5

2 5 5

Exit

INF INF INF 5

2 6 5

INF INF INF 5

2 7 5

INF INF INF 5

?

 OK  Save  Compute  Add ตารางที่ 6 ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) ใน D-Study สาหรับ P X R X (I : O) Design Source SS P 457.68511 R 0.02660 O 260.43617 I:O 461.98298 PR 2.37340 PO 257.96383 PI:O 872.61702 RO 0.02660 RI:O 0.65957 PRO 6.17340 PRI:O 46.74043 Total 2366.68511

df MS 93 4.92135 1 0.2660 3 86.81206 16 28.87394 93 0.02552 279 0.92460 1488 0.58644 3 0.00887 16 0.04122 279 0.02213 1488 0.03141 3759

Random 0.09983 0.00001 0.06130 0.15041 0.00017 0.03475 0.27751 -0.00005 0.00010 -0.00186 0.03141

Components Mixed Corrected 0.09983 0.09983 0.00001 0.00001 0.06130 0.06130 0.15041 0.15041 0.00017 0.00017 0.03475 0.03475 0.27751 0.27751 -0.00005 -0.00005 0.00010 0.00010 -0.00186 -0.00186 0.03141 0.03141

% 15.2 0.0 9.4 22.9 0.0 5.3 42.3 0.0 0.0 0.0 4.8 100%

SE 0.01796 0.00001 0.05930 0.05120 0.00021 0.00809 0.01076 0.00003 0.00015 0.00044 0.00115


16 จากตารางผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนขององค์ประกอบจากแหล่งความแปรปรวน 11 แหล่ง พบว่าเป็นความแปรปรวนของคะแนนจริง (universe score) คิดเป็น 15.2% นอกนั้นเป็นความแปรปรวนของ ความคลาดเคลื่อนจากแหล่ งต่างๆ 10 แหล่ง แหล่งความคลาดเคลื่อนที่สาคัญได้แก่ ความแปรปรวนของ คะแนนเฉลี่ ย ของแต่ ล ะสถานการณ์ (𝜎𝑂2 ) คิ ด เป็ น 9.4% และความแปรปรวนในส่ ว นที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ 2 ) สถานการณ์ ไ ด้ แ ก่ ความแปรปรวนของจ านวนข้ อ ในแต่ ล ะสถาน การณ์ (𝜎𝐼:𝑂 คิ ด เป็ น 22.9% 2 ) และความแปรปรวนของปฏิสัมพันธ์ระหว่าง P, I และ O (𝜎𝑃𝐼:𝑂 คิดเป็น 42.3% ส่วนความแปรปรวนของ คะแนนเฉลี่ยระหว่างผู้ตรวจ (𝜎𝑅2 ) มีค่าใกล้ 0% แสดงว่าผู้ตรวจต่างกันสามารถให้คะแนนได้ไม่แตกต่างกัน การลดความคลาดเคลื่ อ นของการวัด จึ ง ควรให้ ค วามส าคัญ ต่ อ จานวนสถานการณ์ที่ ใ ช้วัด ( O) มากกว่า จานวนผู้ตรวจ (R) ตารางที่ 7 ผลการวิเคราะห์ความเที่ยงใน D-Study สาหรับ P X R X (I : O) Design เมือ่ R = 1, O = 3, 4, 5, 6, 7 และ I = 5

P R O I:O Observ. Coef_G rel. Rounded Coef_G abs. rounded Rel. Err. Var. Rel. Std. Err. of M. Abs. Err. Var. Abs. Std. Err. of M.

G-study Option 1 Option 2 Option 3 Option 4 Option 5 Lev. Uinv. Lev. Uinv. Lev. Uinv. Lev. Uinv. Lev. Uinv. Lev. Uinv. 94 INF 94 INF 94 INF 94 INF 94 INF 94 INF 2 INF 1 INF 1 INF 1 INF 1 INF 1 INF 4 INF 3 INF 4 INF 5 INF 6 INF 7 INF 5 INF 5 INF 5 INF 5 INF 5 INF 5 INF 3760 1410 1880 2350 2820 3290 0.80991 075529 0.80423 0.83676 0.85996 0.87732 0.81 0.76 0.80 0.84 0.86 0.88 0.68324 0.61377 0.67917 0.72555 0.76015 0.78697 0.68 0.61 0.68 0.73 0.76 0.79 0.02343 0.03235 0.02430 0.01948 0.01626 0.01396 0.15308 0.04628

0.17985 0.06282

0.15589 0.04716

0.13956 0.03776

0.12751 0.03150

0.11815 0.02703

0.21514

0.25064

0.21717

0.19433

0.17748

0.16439


17 ตารางที่ 8 ผลการวิเคราะห์ความเที่ยงใน D-Study สาหรับ P X R X (I : O) Design เมื่อ R = 2, O = 3, 4, 5, 6, 7 และ I = 5

P R O I:O Observ. Coef_G rel. Rounded Coef_G abs. rounded Rel. Err. Var. Rel. Std. Err. of M. Abs. Err. Var. Abs. Std. Err. of M.

G-study Option 1 Option 2 Option 3 Option 4 Option 5 Lev. Uinv. Lev. Uinv. Lev. Uinv. Lev. Uinv. Lev. Uinv. Lev. Uinv. 94 INF 94 INF 94 INF 94 INF 94 INF 94 INF 2 INF 2 INF 2 INF 2 INF 2 INF 2 INF 4 INF 3 INF 4 INF 5 INF 6 INF 7 INF 5 INF 5 INF 5 INF 5 INF 5 INF 5 INF 3760 2820 3760 4700 5640 6580 0.80991 0.76181 0.80991 0.84179 0.86449 0.88146 0.81 0.76 0.81 0.84 0.86 0.88 0.68324 0.61810 0.68324 0.72936 0.76372 0.79032 0.68 0.62 0.68 0.73 0.76 0.79 0.02343 0.03121 0.02343 0.01876 0.01565 0.01343 0.15308 0.04628

0.17668 0.06168

0.15308 0.04628

0.13698 0.03705

0.12510 0.03089

0.11587 0.02649

0.21514

0.24836

0.21514

0.19247

0.17574

0.16275

จากการเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ค่าความเที่ยงของตารางที่ 7 และ 8 ถ้านักวัดผลต้องการให้ คุณภาพของการวัดความสามารถในการใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนมีค่าความเที่ยงสาหรับ การตัดสินใจเชิงสัมพัทธ์ (Coef – G relative) หรือแบบอิงกลุ่ม ไม่ต่ากว่า 0.80 จะต้องทาการวัดภายใต้การใช้ เนื้อหา 4 สถานการณ์ แต่ละสถานการณ์วัดด้วยข้อสอบอัตนัย 5 ข้อ และตรวจให้คะแนนโดยผู้ตรวจ 1 คน (R = 1, O = 4, I : O = 5 ข้อ) แต่ถ้านั กวัดผลต้องการให้ มีค่าความเที่ยงส าหรับการตัดสิ นใจเชิงสั มบู ร ณ์ (Coef – G absolute) หรื อ แบบอิ ง เกณฑ์ ไม่ ต่ ากว่ า 0.80 จะต้ อ งท าการวั ด ภายใต้ ก ารใช้ เ นื้ อ หา 7 สถานการณ์ แต่ละสถานการณ์วัดด้วยข้อสอบ 5 ข้อ และตรวจให้คะแนนโดยผู้ตรวจ 2 คน (R = 2, O = 7, I : O = 5 ข้อ)


18 สรุป ทฤษฎี ก ารสรุ ป อ้ า งอิ ง ความน่ า เชื่ อ ถื อ ของผลการวั ด (Generalizability Theory) พั ฒ นาโดย Cronbach และคณะ (1963) สาหรับวิเคราะห์ความเที่ยงในสถานการณ์ต่างๆ ของแบบวัดทางจิต วิทยา หรือ แบบทดสอบทางการศึกษา ทฤษฏี นี้ ได้เสนอให้ มี ขั้นตอนการศึกษา G (G – Study) ซึ่งเป็นการออกแบบ การทดลองส าหรั บ การเก็ บ รวบรวมข้ อ มู ล เพื่ อ ท าการวิ เ คราะห์ ค วามแปรปรวนของคะแนนจริ ง และความแปรปรวนของคะแนนความคลาดเคลื่อนจาก แหล่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และขั้นตอนการศึกษา D (D – Study) สาหรับตัดสินใจเลือกใช้เครื่องมือในสถานการณ์ต่างๆ ของการวัดให้สอดคล้องกับทรัพยากร ที่มีอยู่ เพื่อให้ได้คุณภาพด้านความเที่ยงถึงค่าเป้าหมายที่ต้องการ โปรแกรม EduG (2010) ช่วยทาให้การวิเคราะห์ค่าความเที่ยวทั่วไปตาม G – Theory เป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพ สะดวก และรวดเร็ว การใช้โปรแกรม EduG มีขั้นตอนส าคัญประกอบด้วย 1) การเตรี ยม แฟ้มข้อมูล ให้สอดคล้องกับการออกแบบการวัดที่ต้องการศึกษา 2) การใช้คาสั่งระบุจานวนองค์ประกอบ ของการวัด และการวิเคราะห์ผลการศึกษา G (G – study) 3) การใช้คาสั่งระบุระดับเงื่อนไขการตัดสินใจ และการวิเคราะห์การศึกษา D (D – study) และ 4) สรุปผลการวิเคราะห์ และนาผลไปใช้ประโยชน์


19 บรรณานุกรม ศิริชัย กาญจนวาสี. (2555). ทฤษฏีการทดสอบแนวใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สุภชิต ผดุงผล. (2560). การเปรียบเทียบความเที่ยงของแบบสอบอัตนัยประยุกต์สาหรับวัดความสามารถ ในการใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ในวิชาฟิสิกส์ ภายใต้จานวนเหตุการณ์ และจานวนผู้ตรวจ ที่ต่างกัน : การประยุกต์ให้ทฤษฎีการสรุปอ้างอิงความน่าเชื่อถือของผลการวัด. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาวัดและประเมินการศึกษา, ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา. คณะครุศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. Brennan, R.L. (1983). Elements of Generalizability Theory. Iowa City : ACT Publications. Cronbach, L.J. et.al. (1963). Theory of Generalizability : A Liberalization of Reliability Theory. British Journal of Statistical Psychology. 16: 137-163. Shavelson, R.J., and Webb, N.M. (1991). Generalizability Theory : A Primer. London : Sage Publications. Swiss Society for Research in Education Working Group. (2010). EduG User Guide. IRDP – Neuchatel – Switzerland.


20

การค้าระหว่างประเทศเพื่อสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ดร. กมลินทร์ พินิจภูวดล ผู้อานวยการสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน) การค้า (Trade) และการพัฒนา (Development) มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องเชื่อมโยงกัน กล่าวคือ การค้าเป็นเครื่องมือสาคัญในการพัฒนาประเทศ ทาให้ประเทศมีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน การค้าระหว่าง ประเทศเป็นกลไกสาคัญในการสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจให้กับ ประเทศ โดยเฉพาะประเทศกาลัง พัฒนา และประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุด (Least Developed Countries, LDC) เช่น เรื่องการส่งออก ทาให้ เศรษฐกิจมีการขยายตัวมากขึ้น มีการผลิตสินค้าเพื่อส่งออก และก่อให้เกิดการจ้างงาน ประชาชนมีรายได้ เพิ่มขึ้น มีการพัฒนาทางด้านความรู้ ทักษะการทางาน และเทคโนโลยี เพื่อใช้ปรับปรุงพัฒนาการผลิตสินค้า และบริ ก ารที่ มี คุ ณ ภาพ นอกจากนี้ แ ล้ ว การค้ า ระหว่ างประเทศยัง ท าให้ เ กิ ด การเคลื่ อ นย้ ายเงิ น ทุนและ การลงทุนข้ามประเทศจากประเทศที่พัฒนาแล้วไปยังประเทศกาลังพัฒนา หรือระหว่างประเทศกาลังพัฒนา ด้วยกัน การลงทุนระหว่างประเทศจากภาคเอกชนเป็นปัจจัย ที่สาคัญอีกประการหนึ่ง ที่มีผลต่อการเติบโต ทางเศรษฐกิ จ ของประเทศ เนื่ อ งจากมี ก ารถ่ า ยทอดความรู้ เทคโนโลยี ส่ ง เสริ ม คุ ณ ภาพชี วิ ตประชา ชน ในประเทศให้ดีขึ้น และทาให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ในปี ค.ศ. ๒๐๑๕ (พ.ศ. ๒๕๕๘) ที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติได้กาหนด “เป้าหมาย การพัฒนาที่ยั่งยืน ” (Sustainable Development Goals: SDGs) เป็นทิศทางหรือวาระการพัฒนาจนถึงปี ค.ศ. ๒๐๓๐ เป็ น ระยะเวลา ๑๕ ปี ประกอบด้ ว ย ๑๗ เป้ า หมาย (Goal) ๑๖๙ เป้ า ประสงค์ (Target) ครอบคลุมประเด็นการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล อันเป็นสามเสาหลักของการ พัฒ นาที่ยั่ งยื น โดยมีเป้ าหมายสาคัญ เพื่อขจัดความยากจน ลดความเหลื่อมล้ า โดยไม่ทิ้งใครไว้เบื้องหลัง ไม่ทาลายแหล่งทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งให้ความสาคัญมากยิ่งขึ้นต่อการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ซึ่งจะต้องร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยสรุปแล้ว การพั ฒ นาที่ ยั่ ง ยื น ทั้ ง ๑๗ เป้ า หมายนี้ อยู่ ภ ายใต้ ก รอบหรื อ ปั จ จั ย “5P’s” ซึ่ ง ประกอบด้ ว ย People การพัฒนาโดยมีคนเป็นศูนย์กลางโดยเน้นการขจัดความยากจน ลดความหิวโหย ลดความเหลื่อมล้า การมีสุขพลานามัยที่ดี และการมีโอกาสในการศึกษาโดยไม่เลือกปฏิบัติต่อสตรีและเด็ก (เป้าหมายที่ 1, 2, 3, 4, 5, และ 11) Planet การปกป้องโลกจากการเสื่อมสลาย การคานึงถึงสิ่งแวดล้อม (เป้าหมายที่ 6, 12, 13, 14, และ 15) Prosperity ความมั่นคงทางเศรษฐกิจที่ให้ประโยชน์ต่อคนทุกกลุ่ม (เป้าหมายที่ 7, 8, 9, 10 และ 11) Peace การส่งเสริมให้เกิดสันติภาพ การเคารพในหลักนิติธรรม และสิทธิมนุษยชน (เป้าหมายที่ 16) และ Partnership การเสริมสร้างหุ้นส่วนการร่วมมือเพื่อการพัฒนา (เป้าหมายที่ 17) การค้าและการลงทุน ระหว่างประเทศเป็นกลไกสาคัญในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเหล่านี้


21 การประชุมสหประชาชาติว่าด้ว ยการค้าและการพัฒ นา หรือ อังค์ถัด (The United Nations Conference on Trade and Development – UNCTAD) เป็นองค์กรภายใต้องค์การสหประชาชาติ จัดตั้ง ขึ้นในปี ค.ศ. ๑๙๖๔ (พ.ศ. ๒๕๐๗) โดยทาหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการดาเนินงานเพื่อให้นโยบายการค้าและ การพัฒนาของประเทศต่างๆ รวมทั้งกลุ่มเศรษฐกิจระดับภูมิภาคต่างๆ มีความสอดคล้องซึ่งกันและกัน และ เป็นศูนย์ประสานงานขององค์การสหประชาชาติเพื่อสร้างความเจริญด้านการค้าและการพัฒนา สนับสนุนการ ดาเนินงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในสาขาการลงทุน การเงิน เทคโนโลยี การพัฒนาองค์กรธุรกิจ และการพัฒนา ที่ยั่งยืน (sustainable development) ภายใต้กรอบการดาเนินงานของอังค์ถัด การค้าระหว่างประเทศสามารถบรรลุเป้าหมาย SDGs อย่างเป็นรูปธรรมที่สุดได้ใน 4 P กล่าวคือ การขับเคลื่อนเพื่อบรรลุสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนต้องอาศัยพลัง ความร่วมมือจากทุกภาคส่วน หรือ รวมพลังเพื่อความยั่งยืน “Partnership for the Goals” โดยขับเคลื่อน แผนปฏิ บั ติ ก าร Addis Ababa Action Agenda ที่ ก าหนดแนวทางปฏิ บั ติ ด้ า นการเงิ น และช่ ว ยส่ ง เสริ ม การลงทุนที่จะมาช่วยแก้ปัญหาสังคม สิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจ หรือแนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาอย่าง ยั่งยืน นอกจากนี้แล้ว อังค์ถัดให้ความสาคัญต่อการพัฒนาการค้าระหว่างประเทศซึ่งจะเป็นแนวทางที่สามารถ ทาให้เกิดความมั่น คงทางเศรษฐกิจที่ให้ประโยชน์ต่อคนทุกกลุ่ม “Prosperity for all” มีการจ้างงานที่มี คุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ (เป้าหมายที่ 8) อุตสาหกรรม นวัตกรรม โครงสร้างพื้นฐาน (เป้าหมาย ที่ 9) และลดความเหลื่อมล้า (เป้าหมายที่ 10) การค้าเป็นปัจจัยสาคัญในการขจัดความยากจน (เป้าหมายที่ 1) ขจั ดความหิ ว โหย (เป้ าหมายที่ 2) สร้ างความเท่าเทียมทางเพศ (เป้าหมายที่ 5) และการค้ามีบทบาทต่อ แผนการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน (เป้าหมายที่ 12) การใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเล (เป้าหมายที่ 14) และการใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศทางบก (เป้าหมายที่ 15)

UNCTAD advances Partnership for the Goals through Goal 17

UNCTAD contributes to Prosperity for all through Goals 8, 9, 10 In accordance with UNCTAD's mission of "prosperity for all," an additional 19 of the specific targets to which UNCTAD contributes belong to "prosperity" related goals, namely:


22

Goal 8: Decent Work and Economic Growth

Goal 9: Industry, Innovation and Infrastructure

Goal 10: Reduced Inequalities

UNCTAD contributes to People and Planet through Goals 1, 2, 5, 12, 14 and 15 UNCTAD also contributes to 14 other select targets for both People and The Planet

Goal 1: Ending Poverty

Goal 2: Zero Hunger

Goal 5: Gender Equality

Goal 12: Responsible Consumption and Production

Goal 14: Life Below Water

Goal 15: Life on Land

Source : http://unctad.org/en/Pages/About%20UNCTAD/UNCTAD-and-the-Global-Goals.aspx สถาบั น ระหว่ า งประเทศเพื่ อ การค้ า และการพั ฒ นา (International Institute for Trade and development, ITD) เป็นองค์การมหาชนที่ จัดตั้งขึ้นภายใต้ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือ (Cooperation Agreement) ระหว่างรัฐบาลไทยกับองค์การสหประชาชาติ ในคราวการประชุม อังค์ถัด ครั้งที่ ๑๐ (ระหว่าง วันที่ ๑๒-๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๓) ที่ กรุงเทพฯ รัฐบาลไทยและอังค์ถัด เห็นความสาคัญร่วมกันในการริเริ่ม ความร่ ว มมือในการพัฒ นาทรั พยากรมนุ ษย์ โดยจัดตั้งสถาบัน ITD ขึ้น เพื่อเป็นศูนย์กลางเพื่อเสริมสร้าง ขี ด ความสามารถและพั ฒ นาศั ก ยภาพ (Capacity Building) โดยการฝึ ก อบรม สนั บ สนุ น งานวิ จั ย และ งานวิชาการ สร้างศักยภาพและความสามารถในการกาหนดนโยบายด้านการค้า การลงทุน และมาตรการ ทางกฎหมาย สนับสนุนความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ โดยการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความรู้ และ สนั บ สนุ น ความร่ ว มมื อกั บ อั งค์ ถั ด และองค์ก ารระหว่ างประเทศอื่ นๆ เพื่อพัฒ นาองค์ ความรู้ด้ านการค้ า การลงทุน และการพัฒนา ปัจจุบัน สถาบัน ITD มีขอบเขตการดาเนินงาน (Areas of Work) ๕ เรื่อง ได้แก่ การค้า การลงทุน และการพัฒนาในกรอบของอังค์ถัด เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน อาเซียนและกลุ่มประเทศ CLMV การศึกษา สังคม วัฒนธรรม และความตกลงระหว่างประเทศด้านการค้า การลงทุน และการพัฒนา ในปี ๒๕๖๐ สถาบัน ITD ได้สนับสนุนโครงการวิจัยเรื่อง “การพัฒนาการค้าระหว่างประเทศเพื่อ ขับเคลื่อนประเทศกาลั งพั ฒนาสู่เ ป้า หมายการพั ฒนาที่ ยั่ง ยื น (Sustainable Development Goals: SDGs) : กรณี ศึ ก ษากลุ่ ม ประเทศอนุ ภู มิ ภ าคลุ่ ม แม่ น าโขง (Greater Mekong Sub-region: GMS)”


23 จากผลการศึกษาพบว่า การค้าระหว่างประเทศมีบทบาทสาคัญต่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนให้กับ ประเทศสมาชิกอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้าโขง โดยเฉพาะเป้าหมายด้านเศรษฐกิจ ในการใช้นโยบายการค้าเพื่อสร้าง การพัฒนาที่ยั่งยืนทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมนั้น นโยบายการค้าต้องบรรลุวัตถุประสงค์หลักใน ๓ ด้าน ดังต่อไปนี้ ๑. นโยบายการค้าต้องสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจอย่างสูงให้กับประเทศ (Creating Economic Opportunities) โดยการเพิ่ ม คุ ณ ค่ า ของการค้ า ผ่ า นสิ น ค้ า และบริ ก ารที่ มี มู ล ค่ า สู ง ผ่ า นการเชื่ อ มโยง ทางเศรษฐกิจระหว่างภูมิภาค และลดอุปสรรคทางการค้าในรูปแบบต่าง ๆ ๒. นโยบายการค้าต้องสร้างโอกาสให้กับบุคคลต่าง ๆ ในสังคมอย่างเท่าเทียมกัน (Ensuring Inclusiveness and Creating Opportunity) กล่าวคือ การค้าต้องก่อให้ เกิด ความเจริญเติบโตอย่างมั่น คง กับทุกคนที่เกี่ยวข้อง “Prosperity for All” ประโยชน์ที่ได้รับจากการค้าจะตกอยู่กับผู้ด้อยโอกาสเพื่อที่จะ ส่งเสริมการจ้ างงาน โดยเฉพาะแรงงานที่ด้อยโอกาส และสร้างรายได้ให้ กับผู้ ผลิตสินค้า ทั้งกับเกษตรกร วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวมไปถึงผู้ประกอบการท้องถิ่นซึ่งจาเป็นต้องอาศัยนโยบายภายในประเทศ ควบคู่กันไป เช่น นโยบายการสร้างงาน นโยบายคุ้มครองสวัสดิการทางสังคม นโยบายด้านการศึกษาและด้าน สาธารณสุข เป็นต้น ๓. นโยบายการค้ า ควรมี ส่ ว นช่ ว ยในการปกป้ อ งสิ่ ง แวดล้ อ มและชุ ม ชน (Protecting Environment and Community) และรักษาสมดุลระหว่างการผลิ ตและการบริโภค ซึ่งรวมไปถึงนโยบาย ทางด้านภาษีและไม่ใช่ด้านภาษีในการสนั บสนุนให้ เกิดการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่จะส่ งผลต่อ การพัฒนาที่ยั่งยืน นอกจากนี้แล้ว การค้าระหว่างประเทศจะสามารถบรรลุ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ได้อย่างเป็น รูปธรรมนั้น กลุ่มประเทศสมาชิกอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้าโขงต้องกาหนดนโยบายการค้าทัง ๑๐ ด้าน ดังนี้ ๑. สนับสนุนการใช้ประโยชน์จากการเปิดเขตการค้าเสรีในภูมิภาค การลดอุปสรรคทางการค้า โดยปรับลดภาษีและไม่ใช่ภาษีจะสร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจสูงสุด ในด้านการลดความยากจน การสร้าง ความมั่นคงทางอาหาร และการจ้างงาน อย่างไรก็ดี แต่ละประเทศยังใช้ประโยชน์ทางด้านภาษีและไม่ใช่ภาษี จากข้อตกลงเปิดเขตการค้าเสรี น้อยมาก ซึ่ง เป็นการเสียโอกาสในการขยายมูลค่าการค้าสิ นค้าและบริการ ระหว่างกัน รวมถึงยังเสียโอกาสต่อการใช้การค้าเป็นเครื่องมือที่นาไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนอีกด้วย ๒. ลดอุปสรรคทางการค้า และยกระดั บสิ่ ง อ านวยความสะดวกทางการค้า ความไม่ส ะดวก ทางการค้ายังคงเป็นอุปสรรคที่สาคัญระหว่างประเทศในอนุภูมิภาค โดยเฉพาะระหว่างประเทศสมาชิกในกลุ่ม CLMV (กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และเวียดนาม) จึงทาให้เกิดต้นทุนทางการค้า (Trade Cost) อันนามาสู่ การจากัดมูลค่าการค้าร่วมกัน ซึ่งอุปสรรคทางการค้าดังกล่าวรวมไปถึงการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ ระหว่าง อนุภูมิภาค โดยเฉพาะกับประเทศเมียนมา สปป.ลาว และกัมพูชา ซึ่งยังมีศักยภาพทางโลจิสติกส์ไม่ดีพอ และ


24 ควรมีการสร้างระบบการเชื่อมต่อของการขนส่งทางเรือ (Marine Connectivity) และมีการลดระยะเวลาและ ขั้นตอนที่ซับซ้อนในการดาเนินการส่งออกและนาเข้าสินค้า ๓. สนับสนุนการลงทุนจากต่างประเทศในอุต สาหกรรมเป้าหมาย นอกจากการสร้างผลบวกต่อ เศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็ น การจ้ างงาน และการพัฒ นานวัตกรรมแล้ ว การลงทุนจากต่างประเทศยังสามารถ ช่วยสร้างโอกาสให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้ได้รับประโยชน์จากการเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งกับ ระบบห่ ว งโซ่มูล ค่าโลก (Global Value Chain) การส่ งเสริมการลงทุนจากต่า งประเทศระหว่ างประเทศ สมาชิกอนุภูมิภาคด้วยกัน จะช่วยส่ งเสริ มการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างอุตสาหกรรมในอนุภูมิภาค เช่น การพัฒนาระบบเกษตรพันธสัญญา การส่งเสริมความร่วมมือในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริ การ และควร สนับสนุนให้เกิดการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ส่งผลโดยตรงต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เช่น อุตสาหกรรม พลังงานสะอาด และอุตสาหกรรมพลังงานทางเลือก เป็นต้น ๔. ใช้นโยบายที่ไม่ใช่ด้านภาษีที่จะเชื่อมไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนได้โดยตรง การบังคับใช้นโยบาย ความตกลงว่าด้วยมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (Sanitary and Phytosanitary Measures: SPS) ซึ่ ง สามารถก าหนดมาตรการที่ เ ฉพาะเจาะจงและน าไปสู่ เ ป้ า หมายการพั ฒ นาที ยั่ ง ยื น ได้ โ ดยตรง เช่ น การกาหนดมาตรฐานด้านสุขอนามัยของสินค้าเกษตรกรรมที่จาเป็นต้องปลอดจากการใช้ยาปราบศัตรูพืชและ สารพิษ รวมไปถึงมาตรฐานการเลี้ยงสัตว์ นโยบายนี้ยังรวมไปถึงการแสดงฉลากของอาหารประเภท GMO มาตรการกากับการผลิตและการนาเข้าสินค้าที่จะเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม และมาตรการการส่งเสริมการค้า ที่อยู่ภายใต้ระบบ Carbon Footprint เป็นต้น ๕. ส่งเสริมการค้าชายแดนและพัฒนาช่องทางทางการตลาดผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กโทรนิกส์ การค้าชายแดน (Border Trade) ควรมีบทบาทมากขึ้นในการดาเนินกิจกรรมการค้าระหว่างประเทศ เนื่องจาก เป็นช่องทางในการสร้างโอกาสให้แก่คนในพื้นที่ โดยเฉพาะกับสินค้าที่มาจากชุมชน เช่น สินค้าหนึ่งตาบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ของประเทศไทย หรือผลิตผลทางการเกษตร เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าประเทศ สมาชิกอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้าโขงจะมีกิจกรรมในการค้าขายในจังหวัดชายแดนอยู่แล้วก็ตาม แต่สินค้าที่ค้าขาย ส่วนใหญ่นั้นกลับเป็นสินค้าในภาคอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ขณะที่สินค้าที่มาจากชุมชนหรือจากผู้ประกอบการ ท้องถิ่นเองยังไม่ได้มีการซื้อขายผ่านช่องทางนี้มากเท่าที่ควร นอกจากนี้ แล้ว ควรพัฒนาช่องทางการขายผ่าน ระบบพาณิชย์อิเล็กโทรนิกส์ (Electronic Commerce) เพื่อเป็นแนวทางใหม่ในการขยายโอกาสทางการตลาด ให้กับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ๖. พัฒนาระบบการจ่ายเงินหรือโอนเงินระหว่างประเทศสมาชิก เพื่อให้เกิดระบบการชาระสินค้า และบริ การที่มีป ระสิ ทธิภาพและลดต้น ทุนการชาระเงิน ตลอดจนพัฒ นาระบบการโอนเงินข้ามประเทศ ระหว่างกลุ่มประเทศสมาชิกอนุภูมิภาคนี้เพื่อสนับสนุนให้เกิดประโยชน์สูงสุดจากการเคลื่อนย้ายปัจจัยการผลิต


25 เช่น การเพิ่มปริมาณเงินส่งกลับของแรงงานข้ามชาติเพื่อที่ประเทศผู้ส่งแรงงานจะได้รับประโยชน์สูงสุดจาก เงินส่งกลับนั้น รวมไปถึงยังสนับสนุนให้เกิดการลงทุนระหว่างประเทศสมาชิกอนุภูมิภาคด้วยกัน เป็นต้น ๗. สร้ า งผู้ ป ระกอบการและยกระดั บ ทั ก ษะของผู้ ป ระกอบการในท้ อ งถิ่ น โดยเฉพาะ ผู้ ป ระกอบการหญิ ง การค้ า ระหว่ า งประเทศควรมี ส่ ว นช่ ว ยในการลดการผู ก ขาดและสนั บ สนุ น ให้ เกิด การแข่งขันในตลาดมากขึ้น โดยการสร้างผู้ประกอบการใหม่ ๆ โดยเฉพาะผู้ประกอบการในระดับท้องถิ่นและ ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการท้องถิ่นนั้นให้สูงขึ้น อย่างไรก็ตาม เนื่องจากวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมโดยส่วนใหญ่ยังจัดตั้งอยู่ ในเขตเมือง จึงไม่ก่อให้เกิดการสร้างงานและสร้างโอกาส ให้กับชุมชนท้องถิ่นมากเท่าที่ควร การพัฒนาระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่เกิดขึ้นในชุมชน (Creative Rural Economy) จะเป็นช่องทางหนึ่งที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับคนในชนบท สร้างงานในชุมชม โดยเฉพาะ จะเป็นการช่วยเหลือแรงงานที่ด้อยโอกาส เช่น คนชรา เด็ก และผู้หญิง เป็นต้น นอกจากนี้แล้ว การสร้าง ผู้ประกอบการและยกระดับทักษะของผู้ประกอบการนี้ควรรวมไปถึงการสร้างจิตสานึกต่อการรับผิดชอบต่อ สั งคมและสิ่ งแวดล้ อม และเป็ น ผู้ ป ระกอบการที่มีจิตใจต่อการพัฒ นาที่ยั่งยืน และควรสนับสนุนนโยบาย การสร้างผู้ประกอบการที่เป็นผู้หญิง ซึ่งนอกจากจะช่วยในการลดความเหลื่อมล้าแล้ว การดาเนินธุรกิจโดย ผู้ประกอบการหญิงยังมีความรอบคอบ มีการพัฒนาองค์กร ซึ่งจะส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายเพื่อการพัฒนา ที่ยั่งยืนในระยะยาว ๘. ส่งเสริมการเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่ างประเทศอย่างถูกกฎหมาย การเคลื่อนย้ายแรงงาน จะสร้างประโยชน์ ทางเศรษฐกิจ ทั้งกับประเทศผู้ส่ งแรงงาน (เช่น ค่าจ้างและโอกาสในการทางาน การใช้ ประโยชน์ จ ากเงิ น ส่ ง กลั บ ของแรงงาน) และประเทศผู้ รั บ แรงงาน (เช่ น การขยายก าลั ง การผลิ ต และ การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ) ควรดาเนินนโยบายการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมกับนายจ้างที่จ้างแรงงานข้าม ชาติ (Migrant Levy) เพื่อลดโอกาสในการสร้างความเหลื่อมล้าระหว่างแรงงานข้ามชาติกับแรงงานในประเทศ และลดอุปสรรคในการโอนเงินระหว่างภูมิภาคเพื่อให้แน่ใจว่าครัวเรือนจากประเทศต้นทางจะได้รับประโยชน์ สูงสุดจากการเคลื่อนย้ายแรงงาน และควรมีการเตรียมความพร้อมด้านทักษะ การพัฒนาฝีมือแรงงานข้ามชาติ รวมไปถึงการคุ้มครองแรงงานข้ามชาติเหล่านั้นด้วย ๙. ปรับปรุงโครงสร้างการผลิตและยกระดับผลิตภาพการผลิต นโยบายการค้าควรให้ความสาคัญ กับการยกระดับผลิตภาพ ทั้งผลิตภาพด้านการผลิตสินค้าจากการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อให้สอดคล้อง กับ มาตรฐานสากล ทั้งนี้ การขับ เคลื่ อนเศรษฐกิจที่ใช้นวัตกรรมนี้จะให้ ความสาคัญกับการยกระดับสินค้า ในระบบห่วงโซ่มูลค่า โดยเฉพาะการเพิ่มช่องทางของการยกระดับสินค้า ที่จากเดิมประเทศในกลุ่มอนุภูมิภาค ลุ่มแม่น้าโขงมักทาหน้าที่เพียงการเป็นผู้ว่าจ้างการผลิตจากการใช้แรงงานเข้มข้น ไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มครบ วงจรการผลิต มีการออกแบบผลิตภัณฑ์ การสร้างตราสินค้า และการเพิ่มช่องทางในการจัดจาหน่าย โดย ช่องทางหนึ่งที่สาคัญก็คือ การสร้างความเชื่อมโยงของสินค้าสร้างสรรค์ที่ผลิตจากชุมชนไปสู่การค้าระหว่าง


26 ประเทศ เข่น การส่งออก การท่องเที่ยว เป็นต้น อันจะส่งผลต่อการสร้างรายได้ให้กับชุมชนได้โดยตรง และ ต้ อ งพั ฒ นาประเทศในอนุ ภู มิ ภ าคจากเดิ ม ที่ เ ป็ น ประเทศผู้ รั บ จ้ า งการผลิ ต ไปสู่ ก ารเป็ น ประเทศที่ เ ป็ น “ชาติการค้า” (Trading Nations) ๑๐. ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกลุ่มต่าง ๆ ภายในประเทศอนุภูมิภาคในอุตสาหกรรมที่ส่งผล ต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยตรง ส่งเสริมนโยบายการช่วยเหลือด้ านการค้า (Aid for Trade) และการพัฒนา เครือข่าย (Network Development) เพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มต่าง ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในแต่ละสาขา มีการกาหนดกฎเกณฑ์หรือบรรทัดฐานร่วมกัน การขับเคลื่อนเพื่อบรรลุสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนต้องอาศัย พลังความร่วมมือจากทุกภาคส่วน หรือ รวมพลังเพื่อความยั่งยืน “Partnership for the Goals” ยกตัวอย่าง เช่น ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว มีการสร้างพันธมิตรในการออกแบบกิจกรรมการท่องเที่ยว และการจัดแพ็คเกจ การท่องเที่ยว สาหรับการพัฒนาพันธมิตรที่ยั่งยืนเกิดขึ้นได้จากการพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าของการท่องเที่ยว (Tourism Value Chain) พันธมิตรจะช่วยส่งเสริมการตระหนักถึงสิ่งแวดล้อม และสังคมของแหล่งท่องเที่ยว ร่วมกันได้ นอกจากนี้ แล้ว ความร่วมมือดังกล่าวยังขยายไปถึงอุตสาหกรรมที่จะส่งผลต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยตรง เช่น ด้านพลังงานทางเลือก และด้านที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้น


27

การทดสอบแนวใหม่ในยุคประเทศไทย 4.0 (Modern Test in Thailand 4.0 Era) ดร.ณภัทร ชัยมงคล บทนา ปัจจุบันสถานการณ์โลกเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งในด้านสังคม เศรษฐกิจ และการศึกษา ด้ว ยเหตุนี้ ประเทศไทยจึ งมีแนวทางในการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกั บ สถานการณ์การเปลี่ยนแปลง ที่จะเกิดขึ้น โดยได้ดาเนินการร่ างกรอบยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ซึ่งมีรายละเอียดการดาเนินงาน 5 ด้าน ได้แก่ 1) ความมั่น คง 2) การสร้ างความสามารถในการแข่งขัน 3) การพัฒ นาและเสริมสร้างศักยภาพกาลั ง คน 4) การสร้างโอกาสความเสมอภาคและเท่าเทียมกันทางสังคม และ 5) การสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิต ที่ เ ป็ น มิ ต รต่ อ สิ่ ง แวดล้ อ ม (รั ฐ บาลไทย, 2559) รวมถึ ง ผลั ก ดั น ให้ ป ระเทศก้ า วไปสู่ ป ระเทศไทย 4.0 (Thailand 4.0) กล่าวคือ มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศให้เป็นเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อน ด้ว ยนวัตกรรม (value-based economy) (สุ วิทย์ เมษินทรีย์ , 2559) โดยปัจจัยส าคัญในการขับเคลื่ อ น ประเทศไทยไปสู่ประเทศไทย 4.0 ได้ คือเทคโนโลยี ปัจจุบัน เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและ ส่งผลกระทบต่อการดาเนินงาน (disruptive technology) เป็นอย่างมาก มิใช่ด้านเศรษฐกิจเท่านั้นที่ไ ด้รับ ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ในด้านการศึกษาก็ ได้รับผลกระทบเช่นกัน โดยเฉพาะด้าน การวัดและประเมินผลทางการศึกษา (educational measurement and evaluation) การวัดและประเมินผลการศึกษาในยุคการศึกษาไทย 4.0 ต้องเน้นการจัดการเรียนรู้แ บบไร้พรมแดน โดยการนานวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ ซึ่งการเรียนรู้ในปัจจุบัน สามารถดาเนินการได้อย่างรวดเร็ว กว่าในอดีต ครู ผู้ ส อนต้องปรั บ ตัว และก้าวให้ ทัน โลก รวมถึงมีความรอบรู้ ทางเทคโนโลยี พร้อมทั้ง สามารถนาความรู้ ทางเทคโนโลยีมาช่วยในการพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ (creativity) และสามารถแสวงหาความรู้ ได้ด้วยตนเอง นอกจากนี้ต้องสามารถบูรณาการองค์ความรู้ต่าง ๆ ในเชิงสร้างสรรค์ให้ มีความสอดคล้องกับ ความต้องการของสั งคม ดังนั้ น การวัดและประเมินผลการศึกษา ต้ องมีการพัฒ นาให้ ส อดคล้ องกับบริบท การศึกษาและสังคมที่เปลี่ยนไปในปัจจุบัน (ศิริชัย กาญจนวาสี, 2560) โดยการวัดและประเมินผลการศึกษา ที่สาคัญประการหนึ่ง คือการทดสอบ (testing) การทดสอบในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นการทดสอบโดยใช้กระดาษในการตอบข้อสอบ (paperpencil) เนื่องจากมีข้อจากัดด้านทรัพยากรเทคโนโลยีสารสนเทศ แต่ปัจจุบันได้เริ่มมีการนาระบบการทดสอบ แบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-testing) เข้ามาใช้กันแพร่หลายมากยิ่งขึ้น เช่น การทดสอบเพื่อวัดความสามารถในการ ใช้ภ าษาอังกฤษเพื่อการศึกษา (CU-TEP) ซึ่งจัดสอบโดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยเป็นการวัดทักษะ ด้านการฟัง อ่าน และเขียน ซึ่งมีคะแนนเต็ม 120 คะแนน แบ่งเป็นด้านการฟัง 30 คะแนน ด้านการอ่าน 60 คะแนน และด้านการเขียน 30 คะแนน เมื่อผู้เข้ารับการทดสอบทาการทดสอบเสร็จสิ้น ผู้เข้ารับการ


28 ทดสอบสามารถทราบผลคะแนนจากการทดสอบได้ทันที ซึ่งต่างจากการทดสอบแบบใช้กระดาษคาตอบที่ต้อง ใช้ระยะเวลาประมาณ 2 สัปดาห์หลังจากการทดสอบ (ศูนย์ทดสอบทางวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560) และยังมีอีกจานวนหลายองค์กร ที่เริ่มนาระบบการทดสอบอิเล็กทรอนิกส์เข้ามาใช้ในการประเมินผล การเรียนรู้หรือสมรรถนะในด้านต่างๆ เนื่องจากมีความสะดวกและสามารถทราบผลการทดสอบได้ทันที สาหรับการทดสอบในอนาคตสาหรับประเทศไทย นอกจากใช้ระบบการทดสอบแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-testing) แล้ ว ปั จ จุ บั น ได้ มี ก ารน าระบบการท างานของคอมพิ ว เตอร์ ม าผสานรวมกั บ ทฤษฎี ท างด้ า น การวัดผลเพื่อให้ ผู้ ส อบได้รั บ ข้อสอบที่ตรงกั บระดับ ความสามารถของตนเอง ซึ่งเรียกแนวคิดดังกล่ าวว่ า การทดสอบแบบปรั บ เหมาะ (computerized adaptive testing: CAT) โดยแนวทางการทดสอบดังกล่าว ได้มีการนาไปใช้สาหรับการประเมินผลทางการศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกา เช่น การทดสอบเพื่อศึกษาต่อ ระดับบัณฑิตศึกษา (Graduate Record Examination: GRE) การทดสอบเพื่อเข้าศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา ด้ า นการจั ด การ (Graduate Management Admission Test: GMAT) (Chang, 2004; Linden, 2008) ซึ่ ง ระบบการทดสอบแบบปรั บ เหมาะ นอกจากด าเนิ น การคั ด เลื อ กข้ อ สอบที่ มี ค วามเหมาะสมกั บ ระดับ ความสามารถผู้สอบแล้ว ยังสามารถรายงานผลการทดสอบให้ผู้สอบทราบได้ทันที เช่นเดียวกับการทดสอบ แบบอิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ นอกจากการรายงานผลการทดสอบแล้ ว การสะท้ อ นข้ อ มู ล ย้ อ นกลั บ (reflective feedback) ถือเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สาคัญในการให้ข้อมูลเพื่อการพัฒนา และเป็นส่วนหนึ่งในการประเมิน ความก้าวหน้ า (formative assessment) เพื่อระบุให้ เห็ นถึงจุ ดแข็งและจุด อ่ อนของผู้ เ ข้ารับ การทดสอบ (ณภัทร ชัยมงคล, โชติกา ภาษีผล และศิริชัย กาญจนวาสี, 2559) โดยการทดสอบแนวใหม่ที่มีความสอดคล้อง กับบริบทประเทศไทย 4.0 คือ การทดสอบแบบปรับเหมาะที่มีการสะท้อนข้อมูลย้อนกลับ โดยรายละเอียด ของการทดสอบมีดังนี้ 1. การทดสอบแบบปรับเหมาะ (computerized adaptive testing) การทดสอบแบบปรับเหมาะโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นการปรับข้อสอบให้เหมาะกับความสามารถของ ผู้เข้ารับการทดสอบ โดยแนวทางในการคัดเลือกข้อสอบแต่ละข้อขึ้นอยู่กับผลการตอบข้อสอบของผู้เข้ารับการ ทดสอบในข้อที่ผ่านมา ซึ่งในการทดสอบ ผู้เข้ารับการทดสอบจะเริ่มทาข้ อสอบข้อแรก โดยเป็นข้อที่มีค่าความ ยากระดับปานกลาง จากนั้นระบบจะดาเนินการประมาณค่าความสามารถของผู้เข้ารับการทดสอบจากผลการ ตอบข้อสอบ เพื่อทาการคัดเลือกข้อสอบข้อถัดไปที่มีระดับความยากและอานาจจาแนกที่เหมาะสมกับระดับ ความสามารถของผู้สอบ โดยหลักการการดาเนินงานคือ หากผู้เข้ารับการทดสอบตอบข้อสอบข้อที่ผ่านมา ถูกต้อง ข้อถัดไปจะมีค่าระดับความยากที่ สูงขึ้น แต่หากผู้เข้ารับการทดสอบตอบข้อสอบผิด ข้อถัดไปจะมีค่า ระดั บ ความยากที่ ล ดลง จนกระทั่ ง การประมาณค่ า ความสามารถของผู้ เข้ า รับ การทดสอบอยู่ใ นระดับที่ น่าเชื่อถือ กล่าวคืออยู่ในเกณฑ์ ของความคลาดเคลื่อนตามที่ได้กาหนดไว้จึงยุติการทดสอบ โดยภาพขั้นตอน การด าเนิ น การทดสอบแสดงดั ง ภาพที่ 1 (Čisar, Radosav, Markoski, Pinter, & Čisar, 2010; ศิ ริ ชั ย กาญจนวาสี, 2555)


29 เริ่มต้นเข้าสู่ระบบ ลงทะเบียนและใส่รหัสผ่าน อ่านคาแนะนาในการตอบข้อสอบ เริ่มการทดสอบ ข้อสอบข้อแรก ผิด

ผลการตอบ

ถูก

ประมาณค่าความสามารถที่แท้จริง

คัดเลือกข้อถัดไป ถ้าทาข้อที่แล้วมา ผิด: ข้อต่อไปง่ายลง ถูก: ข้อต่อไปยากขึ้น

สูง

ระดับความคลาดเคลื่อน ของการประมาณค่า

ต่า รายงานผล ยุติการทดสอบ

ภาพที่ 1 ขั้นตอนการดาเนินการทดสอบแบบปรับเหมาะโดยใช้คอมพิวเตอร์ ส าหรั บ องค์ ป ระกอบในการทดสอบแบบปรั บ เหมาะโดยใช้ ค อมพิ ว เตอร์ มี อ งค์ ป ระกอบหลั ก ในกระบวนการทดสอบดังนี้ (ศิริชัย กาญจนวาสี, 2538, 2555)


30 1) จุดเริ่มต้นการทดสอบ (initial item) สาหรับการเริ่มต้นการทดสอบแบบปรับเหมาะจะเริ่มต้นจากคัดเลือกข้อสอบข้อแรก (initial item) โดยปกติข้อสอบข้อแรกจะเป็น ข้อที่มีความยากปานกลาง ซึ่งสามารถแบ่งการเลือกข้อสอบข้ อ แรก ออกเป็น 2 วิธีได้แก่ - เมื่อประชากรของผู้ ส อบมีความสามารถที่ใกล้ เคียงกัน (homogenous) หรือไม่ทราบ ข้อมูลผลสัมฤทธิ์ที่ผ่านมาของประชากร เช่น นิสิตชั้นปีที่ 1 ระดับปริญญาตรี สาขาการวัดและประเมินผล การศึกษา ควรเริ่มต้นทาข้อสอบที่มีความยากปานกลางเนื่องจากไม่มีข้อมูลผลสัมฤทธิ์ก่อนหน้าของนิสิต - เมื่อประชากรของผู้สอบมีความสามารถที่แตกต่างกัน (heterogeneous) หรือพอทราบ สารสนเทศเกี่ยวกับระดับการศึกษา ผลสัมฤทธิ์ที่ผ่านมาของประชากร เช่น นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ควรเริ่ ม ต้ น ท าข้ อ สอบที่ มี ค วามยากปานกลางในแต่ ล ะระดั บ ชั้ น เนื่ อ งจากแต่ ล ะระดั บ ชั้ น นั ก เรี ย น มีความสามารถที่แตกต่างกัน จากข้อมูลการศึกษาของ Lord (1977 อ้างถึงใน ศิริชัย กาญจนวาสี , 2555) พบว่า เกณฑ์ การคัดเลือกข้อสอบข้อแรกไม่ค่อยมีความสาคัญ สาหรับการทดสอบที่แบบสอบมีความยาวเกิน 25 ข้อ โดยได้ ทาการศึกษาจากการจาลองข้อมูลด้วยข้อสอบข้อแรกที่มีระดับความยากแตกต่างกันพบว่า เมื่อใช้ข้อสอบเกิน 25 ข้อจะไม่ส่งผลต่อความแม่นย าในการประมาณค่าความสามารถของผู้ส อบ จึงสามารถสรุปได้ว่าระดับ ความยากของข้ อ สอบข้ อ แรกไม่ มี ผ ลต่ อ การทดสอบแบบปรั บ เหมาะโดยใช้ ค อมพิ ว เตอร์ เ มื่ อ แบบสอบ มีความยาวเพิ่มขึ้น 2) การคัดเลือกข้อสอบและการประมาณค่าความสามารถ (item selection and ability estimation) เมื่อผู้เข้ารับการทดสอบได้ทาข้อสอบข้อแรกเรียบร้อยแล้ว ลาดับต่อไปจะทาการประมาณค่า ความสามารถของผู้สอบจากผลการตอบข้อสอบ หลังจากนั้นจะทาการเลือกข้อสอบข้อถัดไปที่เหมาะสมกับ ระดั บ ความสามารถของผู้ ส อบต่ อ ไป โดยรายละเอี ย ดของการคั ด เลื อ กข้ อ สอบและการประมาณค่ า ความสามารถของผู้สอบมีดังนี้ - การประมาณค่าความสามารถ (ability estimation) สาหรับการประมาณค่าความสามารถที่แท้จริงของผู้สอบตามทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ (item response theory: IRT) มีวิธีการที่นิยมใช้อยู่ด้วยกัน 2 วิธี ได้แก่ วิธีการประมาณค่าด้วยความเป็นไป ได้ สู ง ที่ สุ ด (maximum likelihood estimation) และ วิ ธี ก ารประมาณค่ า แบบเบเซี ย น (bayesian estimation) ซึ่ ง โปรแกรมที่ ใ ช้ ใ นการวิ เ คราะห์ เ พื่ อ ประมาณค่ า ความสามารถของผู้ ส อบตามทฤษฎี การตอบสนองข้อสอบมีอยู่ด้วยกันหลากหลายโปรแกรม เช่น โปรแกรม LOGISTS โปรแกรม BILOG เป็นต้น - การคัดเลือกข้อสอบ (item selection) ในการคัดเลื อกข้อสอบข้อถัดไปส าหรับการทดสอบแบบปรับเหมาะโดยใช้ค อมพิว เตอร์ แต่ละวิธี สามารถเลือกใช้กับวิธีการประมาณค่าความสามารถของผู้สอบวิธีใดก็ได้ แต่เพื่อความสะดวกในการ


31 คานวณจะนิยมเลือกใช้วิธีการประมาณค่าความสามารถของผู้สอบและวิธีการคัดเลือกข้อสอบที่สอดคล้องกัน การคัดเลือกข้อสอบซึ่งเป็นที่นิยมประกอบด้วยวิธีการประมาณค่าด้วยความเป็นไปได้สูงที่สุด (maximum likelihood estimation) และวิธีการประมาณค่าแบบเบเซียน (bayesian estimation) โดยมีรายละเอียด ดังนี้ • วิ ธี ก ารประมาณค่ า ด้ ว ยความเป็ น ไป ได้ สู ง ที่ สุ ด (maximum likelihood estimation) มีวิธีการคัดเลือกข้อสอบอยู่ 3 วิธีได้แก่ 1) การคัดเลือกข้อสอบที่มีค่าความยาก (b) สอดคล้องกับ ระดับความสามารถที่ได้จากการประมาณค่า 2) การคัดเลือกข้อสอบที่มีตาแหน่งสารสนเทศสูงสุดสอดคล้องกับ ระดับความสามารถที่ได้จากการประมาณค่า และ 3) การคัดเลือกข้อสอบที่ให้สารสนเทศสูงสุดตรงตาแหน่ง ระดับความสามารถ  การคั ด เลื อ กข้ อ สอบที่ มี ค่ า ความยาก (b) สอดคล้ อ งกั บ ระดั บ ความสามารถที่ได้จากการประมาณค่าจะทาการคัดเลือกข้อสอบข้อถัดไปที่มีค่าระดับความยาก ซึ่งสอดคล้อง กับ ระดับ ความสามารถของผู้ ส อบ โดยจะทาการตรวจสอบข้อสอบทุ กข้ อ ในคลั งเพื่ อเลื อกข้ อสอบที่ มี ค่ า ความยากใกล้เคียงกับค่าความสามารถที่ได้จากการประมาณค่าที่แท้จริงมากที่สุด และจะใช้ข้อสอบข้อดังกล่าว เป็ น ข้อสอบข้อถัดไปในการทดสอบ ซึ่งวิธีนี้ใช้กันมาเป็นระยะเวลานาน เนื่องจากเป็นวิธีที่มีการคานวณ ไม่ซับซ้อนและค่อนข้างประหยัดค่าใช้จ่าย  การคัดเลือกข้อสอบที่มีตาแหน่งสารสนเทศสูงสุดสอดคล้องกับระดับ ความสามารถที่ได้จากการประมาณค่า เนื่องจากการทดสอบโดยทั่วไปมักมีปัจจัยจากการเดาเข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนั้นวิธีการการคัดเลือกข้อสอบที่มีค่าความยากสอดคล้องกับระดับความสามารถที่ได้จากการประมาณค่าจึงมี แนวโน้มที่จะมีการเลือกข้อสอบข้อที่ยากเกินความสามารถของผู้สอบ จึงได้มีการนาวิธีการเลือกจากตาแหน่ง ของข้อสอบที่มีสารสนเทศสูงสุดสอดคล้องกับระดับความสามารถของผู้สอบมาใช้ โดยข้อสอบแต่ละข้อจะให้ สารสนเทศสูงสุดที่ตาแหน่ง 𝜃 = 𝑚𝑖 เมื่อค่า 𝑚𝑖 สาหรับโมเดลการตอบสนองข้อสอบแบบ 3 พารามิเตอร์ สามารถคานวณได้จาก 𝑚𝑖 = 𝑏𝑖 + เมื่อ

1 + √1 + 8𝑐𝑖 1 𝑙𝑛 [ ] 𝐷𝑎1 2

D = ค่าคงที่ Ln = ค่าลอกฐานธรรมชาติ (natural logarithm) ai = ค่าอานาจจาแนกของข้อสอบ bi = ค่าความยากของข้อสอบ ci = ค่าโอกาสในการเดาข้อสอบถูก ค่า 𝑚𝑖 เป็นค่าความสามารถของผู้สอบ (𝜃) ณ ตาแหน่งที่ข้อสอบข้อนั้น ให้สารสนเทศสูงที่สุด ซึ่งหากค่า 𝑚𝑖 > 𝑏𝑖 และ 𝑐𝑖 > 0 แสดงว่าข้อสอบมีค่าระดับความยากที่เหมาะสม ที่จะนามาใช้ประมาณค่าความสามารถของผู้สอบที่มีความสามารถสูงกว่าความยากของข้อสอบเล็กน้อย ดังนั้น


32 ในการน าค่า 𝑚𝑖 มาใช้ในการพิจ ารณาคัดเลื อกข้อสอบจึงทาให้ การคัดเลื อ กข้ อสอบดี กว่าวิธีเลื อ กจาก ค่าระดับความยากเพียงอย่างเดียว  การคั ด เลื อ กข้ อ สอบที่ ใ ห้ ส ารสนเทศสู ง สุ ด ตรงต าแหน่ ง ระดั บ ความสามารถ โดยจะใช้การตรวจข้อสอบทุกข้อที่ยังมิได้นามาใช้ส อบซึ่งสามารถให้ สารสนเทศได้สู งที่ สุ ด ตรงต าแหน่ ง ความสามารถ วิ ธี ก ารนี้ จ ะต้ อ งค านวณหาสารสนเทศของข้ อ สอบ (item information) ณ ตาแหน่งระดับความสามารถของผู้สอบ (𝜃) • วิธีการประมาณค่าแบบเบเซียน (bayesian estimation) ในการคั ด เลื อ กข้ อ สอบที่ น ามาใช้ กั บ วิ ธี ก ารประมาณค่ า แบบเบเซี ย นคื อ การ เลือกข้อสอบที่ยังไม่เคยมีการนามาใช้ในการทดสอบ ซึ่งจะให้ค่าความแปรปรวนของค่าความสามารถที่คาดหวัง ต่าที่สุด (smallest posterior variance) หมายความว่าเป็นการคัดเลือกข้อสอบข้อที่คาดว่าจะสามารถลด ความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าความสามารถของผู้สอบได้มากที่สุด โดยมีรายละเอียดของทฤษฎีเบส์ (bayes’ theorem) ดังนี้ f (𝜃/U) = K L(𝜃/U) f (𝜃) เมื่อ f (𝜃/U) = การแจกแจงภายหลัง (posterior distribution) ของค่าความสามารถ L(𝜃/U) = ฟังก์ชั่นความเป็นไปได้ (likelihood function) ของเวคเตอร์ U (ผลการตอบข้อสอบ) f (𝜃) = การแจกแจงภายหลัง (posterior distribution) ของค่าความสามารถ K = ค่าคงที่ (constant) 3) เกณฑ์ยุติในการทดสอบ (stopping criteria) การทดสอบแบบปรับเหมาะโดยใช้คอมพิวเตอร์ ผู้สอบทาการทดสอบจนกระทั่งเป็นไปตาม เกณฑ์ยุ ติใ นการทดสอบ การทดสอบจะสิ้ น สุ ด ลงและท าการประมาณค่า ความสามารถของผู้ ส อบต่ อ ไป เกณฑ์ยุติในการทดสอบที่นิยมใช้มีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภทได้แก่ เกณฑ์กาหนดจานวนข้อสอบคงที่ และเกณฑ์ กาหนดระดับความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้ • เกณฑ์กาหนดจานวนข้อสอบคงที่ เป็นการกาหนดให้ผู้สอบทุกคนทาข้อสอบที่มีความยาวของแบบสอบเท่ากันทุกคน เช่น ในการทดสอบกาหนดเกณฑ์แบบจานวนข้อสอบคงที่โดยให้ความยาวแบบสอบเท่ากับ 30 ข้อ ดังนั้นผู้เข้า รับการทดสอบทุกคนจะต้องทาข้อสอบจานวน 30 ข้อ เมื่อทาครบข้อที่ 30 การทดสอบจะยุติลง สาหรับเกณฑ์ ดังกล่ าวจะเหมาะกับ การศึกษากระบวนการทดสอบแบบปรับเหมาะด้ว ยการจาลองข้อ มูล เนื่องจากเมื่ อ จานวนข้อสอบมีจานวนเท่ากัน จะทาให้สามารถเปรียบเทียบสารสนเทศของแบบสอบได้อย่างชัดเจน • เกณฑ์กาหนดระดับความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้ การทดสอบแบบปรับเหมาะในทางปฏิบัติ ผู้เข้ารับการทดสอบควรจะดาเนินการ ทดสอบไปเรื่อยๆ จนกระทั่งผู้เข้ารับการทดสอบได้รับการประมาณค่าความสามารถที่มีค่าความคลาดเคลื่อน


33 มาตรฐาน (standard error) ลดต่ าลงจนถึ ง ระดั บ ที่ ส ามารถยอมรั บ ได้ การทดสอบจึ ง ยุ ติ ล ง โดยค่ า ความคลาดเคลื่อนมาตรฐานสามารถหาได้จาก 𝑆𝐸 (𝜃 ) =

1 √𝐼(𝜃)

เมื่อ 𝑆𝐸 (𝜃 ) = ความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการประมาณค่าความสามารถ 𝜃 𝐼 (𝜃 ) = สารสนเทศของแบบสอบของผู้มีความสามารถ 𝜃 2. การสะท้อนข้อมูลย้อนกลับ (reflective feedback) การให้ข้อมูลย้อนกลับ (feedback) เป็นมโนทัศน์ของข้อมูลที่ได้รับจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น ครู เพื่อน หนังสือ ประสบการณ์หรือตนเอง ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับความสามารถหรื อความเข้าใจของผู้ เ รียน นอกจากนี้ ก ารให้ ข้ อ มู ล ย้ อ นกลั บ ยั ง เป็ น องค์ ป ระกอบหลั ก ของการประเมิ นความก้ า วหน้ าระหว่างเรียน (formative assessment) และเป็ น ปั จ จั ย ที่ มี ค วามส าคั ญ ในการเรี ย นรู้ ส าหรับ ผู้ เ รี ยน วั ต ถุ ป ระสงค์ ห ลั ก ของการให้ข้อมูลย้อนกลับคือการปิดช่องว่างระหว่างความสามารถในปัจจุบันของผู้เรียนกับความสามารถ ที่ปรารถนา (Hattie & Timperley, 2007; Ludvigsen, Krumsvik, & Furnes, 2015) การให้ ข้ อ มู ล ย้ อ นกลั บ เป็ น องค์ ป ระกอบที่ ส าคั ญ ในการเรี ย น และเป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ในการประเมิ น ความก้าวหน้ าระหว่ างเรี ย น (formative assessment) เพื่อระบุให้ เห็ นถึงจุดแข็งและจุด อ่อนของผู้ เ รี ย น จนนาไปสู่การทาให้ผู้เรียนสามารถบรรลุผลสัมฤทธิ์ตามศักยภาพของผู้เรียน โดยมีการศึกษานาข้อมูลย้อนกลับ มาประยุกต์ใช้ในรูปแบบแฟ้มสะสมงานซึ่งประกอบด้วยข้อมูลย้อนกลั บ 2 ส่วน ได้แก่ ข้อมูลย้อนกลับทั่วไป (feedback) และการให้ข้อมูล ย้ อนกลั บเพื่อการปรับปรุง (feedforward) โดยการให้ข้อมูล ย้อนกลั บ ทั่ว ไป ได้แก่การให้ข้อความที่สามารถอธิบายผลงานของนักเรียนว่าถูกหรือผิดและดีหรือไม่ดีอย่างไร โดยอิงจากเกณฑ์ ในการประเมิน สาหรับการให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อการปรับปรุง ได้แก่ การให้ข้อความซึ่งเป็นข้อมูลที่สามารถ น าไปใช้ เ ป็ น แนวทางในการพั ฒ นาและปรั บ ปรุ ง ผลงานในอนาคต (โชติ ก า ภาษี ผ ล, ประกอบ กรณี กิ จ , และ พิทักษ์ โสตถยาคม, 2558) ดังนั้น กระบวนการให้ข้อมูลย้อนกลับทั้งสองส่วนเมื่อนามาใช้ร่วมกันสามารถเรียกว่าการสะท้อน ข้อมูลย้อนกลับ (reflective feedback) ซึ่งหมายถึงผู้เรียนจะได้รับข้อมูลผลการเรียนตามความสามารถ ซึ่งจะ ตัดสินตามเกณฑ์ เช่น คะแนนเต็ม 100 คะแนน นักเรียนสามารถทาได้ 70 คะแนน และเมื่อทราบคะแนนแล้ว ก็จะนาข้อมูลมาสะท้อนกลับไปยังผู้เรียนโดยการให้คาแนะนาเพื่อการปรับปรุง เช่น คะแนนส่วนใหญ่ได้มาจาก เนื้อหาส่วนใดและควรพัฒนาในส่วนใด เป็นต้น ซึ่งได้มีการนาการสะท้อนข้อมูลย้อนกลับมาทาการศึกษากับครู ฝึกสอนซึ่งสะท้อนข้อมูลย้อนกลับไปยังครูพี่เลี้ยง จากการศึกษาพบว่าความคาดหวังหรือความต้องการของครู ฝึ ก สอนที่ ต้ อ งการจากครู พี่ เ ลี้ ย งมี ม ากกว่ า ประสบการณ์ ที่ ไ ด้ รั บ จริ ง จากการฝึ กสอนที่ ไ ด้ จ ากครู พี่ เ ลี้ ย ง


34 แสดงให้เห็นว่า ครูฝึกสอนได้รับการช่วยเหลือในด้านต่างๆ ไม่เพียงพอ อาจเกิดมาจากภาระงานที่มาก เกินไปของครู พี่เลี้ย งหรื อครู พี่เลี้ย งมีความรู้ในการสอนงานไม่เพียงพอ ดังนั้นจึงต้องจัดสรรภาระงานของ ครูพี่เลี้ยงหรือทาการพัฒนาความรู้ของครูพี่เลี้ยงใดด้านต่างๆ ให้มีความเพียงพอในการสอนงาน ครูฝึกสอน (Damar, 2013) และยังมีการนาการสะท้อนข้อมูลย้อนกลับมาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการพัฒนาทักษะ การให้เหตุผลทางคลินิกของนักเรียนอีกด้วย (Wojcikowski & Brownie, 2013) 3. การทดสอบแบบปรับเหมาะที่มีการสะท้อนข้อมูลย้อนกลับ (computerized adaptive testing with reflective feedback) การทดสอบแบบปรับเหมาะที่มีการสะท้อนข้อมูลย้อนกลับ คือการทดสอบที่ผู้สอบใช้แบบทดสอบที่ แตกต่างกัน โดยมีการคัดเลื อกข้อสอบที่มีระดับความยากตามความสามารถของผู้ ส อบ ซึ่งใช้วิธีการทาง คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการคัดเลือกข้อสอบและประมาณค่าความสามารถของผู้สอบ โดยมีการสะท้ อน ข้อมูลย้อนกลับให้กับผู้เข้ารับการทดสอบหลังการทดสอบเสร็จสิ้น โดยตัวอย่างระบบดังกล่าวได้มีการนามา ป ร ะ ยุ ก ต์ ใ ช้ กั บ ท ด ส อ บ ม า ต ร ฐ า น วิ ช า ชี พ ข อ ง บุ ค ล า ก ร ส า ข า ไ อ ที (Chaimongkol, Pasiphol, & Kanjanawasee, 2016; ณภัทร ชัยมงคล โชติกา ภาษีผล และศิริชัย กาญจนวาสี, 2559) สาหรับกระบวนการทางานของระบบเริ่มจากผู้ เข้ารับการทดสอบลงทะเบียนเพื่อทาการทดสอบ หลังจากนั้นดาเนินการทดสอบจานวน 15 ข้อ ระบบจะทาการการประมาณค่าความสามารถผู้สอบ เพื่อนาค่า ความสามารถที่ได้ไปใช้ในการคัดเลื อกข้อสอบอีกจานวน 15 ข้อ โดยเลื อกข้อสอบตามเงื่อนไขที่กาหนด หลังจากนั้นผู้สอบดาเนินการทดสอบในระยะที่ 2 อีกจานวน 15 ข้อ ระบบจะทาการประมาณค่าความสามารถ และคานวณค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (SE(θ)) หากค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานน้อยกว่าหรือเท่ากับ 0.30 ระบบจะหยุดการทดสอบและนาผู้สอบไปสู่หน้าประเมินระบบ แต่หากค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน มากกว่า 0.30 ระบบจะดาเนินการคัดเลือกข้อสอบมาให้ผู้เข้ารับการทดสอบทาอีก 15 ข้อ ไปเรื่อยๆ หากค่า ความคลาดเคลื่ อ นมาตรฐานยั ง ไม่ น้ อ ยกว่ า 0.30 เมื่ อ ท าข้ อ สอบไปแล้ ว 7 ขั้ น ระบบจะน าผู้ ส อบไปยั ง หน้าประเมินระบบและรายงานผลการทดสอบ เมื่อผู้เข้ารับการทดสอบมีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานน้อยกว่าหรือเท่ากับ 0.30 ระบบจะนาผู้สอบ ไปยังหน้าประเมินระบบ หลังจากนั้นจะดาเนินการตรวจสอบเงื่อนไขตามเกณฑ์การทดสอบคือ คะแนนสอบละ ด้านของเนื้ อหาต้องมากกว่าหรื อเท่า กับ ร้ อยละ 30 และคะแนนรวม 3 ด้าน (กลยุทธ์ การจัดการ และ เทคโนโลยี) ต้องมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 55 จึงจะผ่านการทดสอบ หากผู้ทดสอบไม่ผ่านเกณฑ์ รายงาน จะแสดงเฉพาะข้อมูลย้อนกลับแบบทั่วไป (feedback) แต่หากผู้ทดสอบผ่านเกณฑ์ รายงานจะแสดงข้อมูล ย้อนกลับแบบทั่วไปพร้อมกับรายงานข้อมูลย้อนกลับเพื่อการพัฒนา (feedforward) จึงถือว่าการทดสอบเสร็จ สิ้น โดยผังกระบวนการดาเนินงาน หน้ารายงานผลการสะท้อนข้อมูลย้อนกลับแบบทั่วไป และหน้ารายงาน แสดงผลการสะท้อนข้อมูลย้อนกลับเพื่อการพัฒนา แสดงดังภาพที่ 2 – 4 ตามลาดับ (ณภัทร ชัยมงคล, โชติกา ภาษีผล และศิริชัย กาญจนวาสี, 2559)


35

ภาพที่ 2 ผังกระบวนการดาเนินงาน

ภาพที่ 3 หน้ารายงานผลการสะท้อนข้อมูลย้อนกลับแบบทั่วไป


36

ภาพที่ 4 หน้ารายงานแสดงผลการสะท้อนข้อมูลย้อนกลับเพื่อการพัฒนา สรุป ในยุคดิจิทัลซึ่งเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมอย่างมาก ไม่เว้นแม้แต่ในวงการการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการทดสอบ ซึ่งได้เริ่มมีการนาเทคโนโลยีเข้ามาใ ช้ใน การทดสอบทดแทนการทดสอบแบบดั้ งเดิ ม ซึ่ง ใช้ กระดาษในการจัด การทดสอบ ซึ่ งเรียกว่าการทดสอบ แบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-testing) และแนวโน้มวิวัฒนาการทางด้านการทดสอบและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง อย่างรวดเร็วจะก่อให้เกิดการทดสอบแบบใหม่ซึ่งเรียกว่าการทดสอบแบบปรับเหมาะที่มีการสะท้อนข้อมูล ย้ อ นกลั บ กล่ า วคื อ เป็ น ระบบการทดสอบที่ ใ ช้ ท ฤษฎี ก ารวั ด ผลผสานร่ ว มกั บ เทคโนโลยี โดยผู้ เ ข้ า รั บ การทดสอบจะได้รับข้อสอบที่เหมาะสมกับระดับความสามารถของผู้สอบ จึงทาให้การประเมินผลมีความ ถูกต้องและแม่น ย ามากยิ่ ง ขึ้น นอกจากนี้ ร ะบบดัง กล่ าวยังสามารถสะท้ อนข้ อมูล ย้อ นกลั บไปยังผู้ เ ข้ า รั บ การทดสอบได้ทัน ที โดยมีการสะท้อนข้อมูล ย้อนกลั บแบบทั่วไป (feedback) เพื่อให้ ผู้ เข้ารับการทดสอบ ทราบว่ า ตนเองตอบข้ อ สอบได้ ถู ก และผิ ด จ านวนกี่ ข้ อ ยิ่ ง ไปกว่ า นั้ น ระบบยั ง สามารถให้ ข้ อ มู ล ย้ อ นกลั บ เพื่อการพัฒนา (feedforward) เพื่อให้คาแนะนาในสิ่งที่ควรดาเนินการในอนาคต ดังนั้นรูปแบบการทดสอบ ในอนาคตของประเทศไทยมีแนวโน้มจะมีการปรับให้เข้ากับแนวทางการดาเนินงานของประเทศไทย 4.0 ทั้งนี้ สิ่งที่ควรมีการเตรียมความพร้อมคือ โครงสร้างพื้นฐานด้านต่าง ๆ เช่น อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศ พื้นที่ ในการจัดเก็บคลังข้อสอบ และระบบอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง เป็นต้น นอกจากปัจจัยทางโครงสร้างพื้นฐานแล้ว ปัจจัยที่สาคัญอีกปัจจัยหนึ่งคือ ปัจจัยด้านทรัพยากรบุคคล ซึ่งปัจจุบัน บุคลากรที่มีความรู้และทักษะด้ าน เทคโนโลยีทางการทดสอบยังมีจานวนจากัด ดังนั้นควรมีการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรให้ มีความพร้อม เพื่อรับมือกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อให้ประเทศไทยสามารถบรรลุเป้าหมาย ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และประเทศไทย 4.0 ได้อย่างเป็นรูปธรรม


37 รายการอ้างอิง ณภัทร ชัยมงคล, โชติกา ภาษีผล และศิริชัย กาญจนวาสี. (2559). การทดสอบแบบปรับเหมาะที่มีการสะท้อน ข้อมูลย้อนกลับในการทดสอบมาตรฐานวิชาชีพไอที. วารสารเทคโนโลยีสารสนเทศ, 12(2), 58-64. โชติกา ภาษีผล, ประกอบ กรณีกิจ, และ พิทักษ์ โสตถยาคม. (2558). การพัฒนารูปแบบแฟ้มสะสมงาน อิเล็กทรอนิกส์ที่สะท้อนข้อมูลย้อนกลับในการประเมินพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนในสังกัดสานักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารวิธีวิทยาการวิจัย, 28(1), 1-25. รัฐบาลไทย. (2559). ร่างกรอบยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579). สืบค้นออนไลน์ http://www.thaigov.go.th/uploads/document/66/2017/01/pdf/20year-may59.pdf ศิริชัย กาญจนวาสี. (2538). การทดสอบแบบปรับเหมาะกับความสามารถของผู้สอบ (Adaptive Testing). กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ตาราและเอกสารทางวิชาการคณะครุศาสตร์. ศิริชัย กาญจนวาสี. (2555). ทฤษฎีการทดสอบแนวใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ศิริชัย กาญจนวาสี. (2560). ประเทศไทย 4.0: การศึกษา การวัดและการประเมิน. การสัมมนาวิชาการ การวัดผล ประเมินผล และวิจัยสัมพันธ์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 25. 2-7. ศูนย์ทดสอบทางวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2560). สืบค้นออนไลน์ http://www.atc.chula.ac.th สุวิทย์ เมษินทรีย์. (2559). แนวคิดเกี่ยวกับประเทศไทย 4.0. สืบค้นออนไลน์ http://planning2.mju.ac.th/goverment/20111119104835_planning/Doc_2559082314365 2_358135.pdf Chaimongkol, N., Pasiphol, S., & Kanjanawasee, S. (2016). Computerized Adaptive Testing with Reflective Feedback: A Conceptual Framework. Procedia - Social and Behavioral Sciences, 217(2016), 806 – 812. Chang, H.-H. (2004). Understanding Computerized Adaptive Testing: From Robbins-Monro to Lord and Beyond. In D. Kaplan (Ed.), The SAGE Handbook of Quantitative Methodology for the Social Sciences (pp. 117). California: Sage Pulblication, Inc. Čisar, S. M., Radosav, D., Markoski, B., Pinter, R., & Čisar, P. (2010). Computer Adaptive Testing of Student Knowledge. Acta Polytechnica Hungarica, 7(4), 139-152. Damar, E. A. (2013). ELT Teacher Trainees’ Reflective Feedback to Their Cooperating Teachers. Journal of Educational and Social Research, 3(7), 235-242. Linden, W. J. v. d. (2008). Some New Developments in Adaptive Testing Technology. Journal of Psychology, 216(1), 3-11.


38 Hattie, J., & Timperley, H. (2007). The Power of Feedback. Review of Educational Research, 77(1), 81-112. Ludvigsen, K., Krumsvik, R., & Furnes, B. (2015). Creating formative feedback spaces in large lectures. Computers & Education, 88(2015). Wojcikowski, K., & Brownie, S. (2013). Generic reflective feedback: An effective approach to developing clinical reasoning skills. Journal of Computer Assisted Learning, 29, 371–382.


39

สมาคมวิจัยสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย สมาคมวิจัยสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย

คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนพญาไท เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10300

“การประชุมทางวิชาการและเผยแพร่ผลงานวิจัยคัดสรรระดับชาติ: ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศสู่ Thailand 4.0” โดย สมาคมวิจัยสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย ร่วมกับ สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน) และ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลักการและเหตุผล สมาคมวิจัยสังคมศาสตร์แห่ งประเทศไทย (สวสท.) เป็นสมาคมที่มีวัตถุประสงค์ที่สาคัญคือ เพื่อเป็น ศูน ย์ กลางของนั กวิจั ย นั กสถิติ นั กวัดผลและนักประเมินผลทางสั งคมศาสตร์ และเป็นแหล่ งของการพบปะ แลกเปลี่ยนความคิดใหม่ๆ อันจะนาไปสู่ประโยชน์ในทางวิชาการและการพัฒนาวิชาชีพ สนับสนุน ช่วยเหลือและ เผยแพร่งานวิจัยทางสังคมศาสตร์ของบุ คคลและสถาบัน รวมทั้งการพัฒนาสังคมไทย โดยอาศัยการวิจัย ดังนั้น เพื่อให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว สมาคมฯ จึงจัดกิจกรรมทางวิชาการขึ้นเป็นประจาทุกปี และในปี 2560 สมาคมฯได้จั ดโครงการ“การประชุมทางวิชาการ และเผยแพร่ผลงานวิจัยคัดสรรระดับชาติ : การวิจัยเพื่อพั ฒนา การศึกษาและสังคม” ขึ้น โดยมีการบรรยายทางวิชาการเกี่ยวกับ การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ สู่ Thailand 4.0 การนาเสนอผลงานวิจัยคัดสรร และประชุมใหญ่สามัญประจาปี 2560 วัตถุประสงค์ 1. เพื่อจั ดประชุ ม ทางวิช าการ เผยแพร่ผ ลงานวิจั ยคั ดสรร และประชุมใหญ่ส ามัญ ประจาปี 2560 ของสมาคมวิจัยสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย 2. เพื่อนาเสนอประเด็นยุทธศาสตร์ แลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างเครือข่ายเกี่ยวกับ แนวทางการปฏิรูป ด้านการศึกษาสู่การพัฒนาประชาคมอาเซียน 3. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยที่มีคุณภาพเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและสังคม 4. เพื่อแลกเปลี่ยน เรียนรู้และสร้างเครือข่ายนักวิจัยทางด้านสังคมศาสตร์ วิธีการดาเนินงาน สมาคมวิจัยสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย ดาเนินงาน ดังนี้ 1. แต่งตั้งคณะกรรมการดาเนินงานการจัดประชุม 2. ประชาสัมพันธ์โครงการให้ครู คณาจารย์ บุคลากรทางการศึกษา นักวิจัยทางสังคมศาสตร์และผู้สนใจ ทั่วไป 3. คัดเลือกผลงานวิจัยจากผู้ที่ส่งผลงานวิจัยเข้าร่วมโครงการ 4. ดาเนินการจัดประชุมทางวิชาการ เผยแพร่ผลงานวิจัยคัดสรร และจัดประชุมใหญ่สามัญประจาปี 2560 ของสมาคมฯ 5. สรุปผลการดาเนินงานจัดประชุมทางวิชาการของสมาคมฯ


40 กาหนดการ และสถานที่ วันพุธที่ 11 ตุลาคม 2560ณ ห้องประชุม 401 อาคารประชุมสุข อาชวอารุง (อาคาร 3) คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย ผู้เข้าร่วมประชุม 1. ผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วยสมาชิกสมาคมฯ นักวิจัย ผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากรทางการศึกษา นิสิตนักศึกษาจากสถาบันการศึกษาทุกระดับทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งผู้สนใจทั่วไป จานวนประมาณ 150 คน 2. คณะกรรมการบริหารสมาคมฯ จานวน 19 คน ผู้รับผิดชอบ สมาคมวิจัยสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทยร่วมกับ สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒ นา (องค์การมหาชน) และคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1. ได้เผยแพร่และแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และผลงานวิจัยทางสังคมศาสตร์เพื่อพัฒนาการศึกษาและสังคม 2. ส่งเสริมความก้าวหน้าทางวิชาการของสมาชิกและนักวิจัยทางสังคมศาสตร์ 3. สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างนักวิจัย นักการศึกษา นักวิชาการ และผู้สนใจทั่วไป เพื่อร่วม สร้างสรรค์สังคมแห่งการเรียนรู้ร่วมกับสมาคมวิจัยสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย อัตราค่าลงทะเบียน เนื่องในโอกาสจุฬาฯ ครบรอบ 100 ปี พิเศษค่าลงทะเบียน เอกสาร และอาหารกลางวัน อัตราเดียวกัน ทุกกลุ่มคือ 200 บาท การลงทะเบียน และส่งผลงานวิจัย ผู้ที่สนใจเข้าร่วมประชุม สามารถแจ้งรายชื่อการเข้าร่วมประชุมตามช่องทางดังนี้ 1) ลงทะเบียนทางโทรสาร โดยส่งรายชื่อตามแบบตอบรับการเข้าร่วมประชุมทางวิชาการ และส่งกลับไปที่ สมาคมวิจัยสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย ทางหมายเลขโทรสาร 02-218-2623 2) ลงทะเบียนทางอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านระบบลงทะเบียนออนไลน์ และส่งหลักฐานการโอนเงินมาที่ e-mail: ssrat.org@gmail.com ผู้ที่สนใจเสนอผลงานวิจัย สามารถแจ้งรายชื่อและส่งผลงานตามช่องทางดังนี้ 1) ลงทะเบียนทางอิเล็กทรอนิกส์ แจ้งรายชื่อตามแบบเสนอผลงานวิจัยเพื่อเผยแพร่ ผ ลงานวิจัย ไปที่ email: ssrat.org@gmail.com หากท่านไม่ได้รับการตอบกลับจากสมาคมฯ ติดต่อสอบถามได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02-218-2623 การชาระเงินค่าลงทะเบียน: ให้โอนเงินเข้าบัญชีธนาคารกรุงเทพ สาขาย่อยจามจุรี สแควร์ ชื่อบัญชีสมาคมวิจัยสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย บัญชีเลขที่ 939-0-01999-1 พร้อมส่งสาเนาโอนเงิน มาพร้อมกับแบบตอบรับการเข้าร่วมประชุมที่โทรสาร 02-218-2623 หรือ E-Mail: ssrat.org@gmail.com


41 กาหนดการประชุมทางวิชาการและเผยแพร่ผลการวิจัยระดับชาติประจาปี พ.ศ.2560 จัดโดย สมาคมวิจัยสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย ร่วมกับ สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา(องค์การมหาชน) และ คณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สมาคมวิจัยสังคมศาสตร์ วันพุธที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2560 แห่งประเทศไทย ณ ห้องประชุม 401 อาคารประชุมสุข อาชวอารุง (อาคาร3) คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เวลา กิจกรรม 08.00 – 8.45 น. ลงทะเบียน รับเอกสาร 08.45 – 9.00 น. กล่าวต้อนรับ โดย รศ.ดร.ศิริเดช สุชีวะ คณบดีคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวเปิดงาน โดย ศ.ดร.ศิริชัย กาญจนวาสี นายกสมาคมวิจัยสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย 09.00 – 10.00 น. การบรรยายพิเศษ เรื่อง ปัจจัยสาคัญสาหรับการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความสาเร็จตามเป้าหมาย Thailand 4.0 โดย ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) 10.00 – 11.30น. การอภิปราย เรื่อง “ทิศทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์: การศึกษาและแรงงานตามกรอบยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)” 1) รศ.ดร.บัณฑิต ทิพากร รองเลขาธิการ สานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) 2) รศ.ดร.อุษณีย์ อนุรุทธ์วงศ์ เลขาธิการสมาคมพัฒนาศักยภาพและอัจฉริยภาพมนุษย์ ดาเนินการอภิปรายโดย ดร.ณภัทร ชัยมงคล ผู้ช่วยผู้อานวยการสานักยุทธศาสตร์และสื่อสารองค์กร สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน) (ITD) 11.30 – 12.00น. การประชุมใหญ่สามัญประจาปี 2560 ของสมาคมวิจัยสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย 12.00 – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวันร่วมกัน 13.00 – 16.00 น. นาเสนอผลงานวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาประเทศ 4 เรื่อง ผู้ดาเนินรายการ โดย รศ.ศิลปชัย บูรณพานิช 1) การทดสอบแบบปรับเหมาะหลายขั้นตอนด้วยวิธีออนเดอะฟลายที่มีการสะท้อนข้อมูลย้อนกลับ โดย ดร.ณภัทร ชัยมงคล สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน) 2) แนวทางการส่งเสริมความยึดมั่นผูกพันกับการวิจัยของครู: การวิเคราะห์คอนจอยท์ โดย ดร.สุรศักดิ์ เก้าเอี้ยน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 3) การพัฒนาการค้าระหว่างประเทศเพื่อขับเคลื่อนประเทศกาลังพัฒนาสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) กรณีศึกษากลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้าโขง (Greater Mekong Sub region: GMS) โดย นายวิมล ปั้นคง สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน) 4) การวิจัยประเมินความต้องการจาเป็นเกี่ยวกับการจัดหลักสูตรอบรมการทาวิจัยในชั้นเรียนสาหรับครู โดย นายวัชรศักดิ์ สุดหล้า คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 16.00น. ปิดการประชุม หมายเหตุ 1) ผู้สนใจสามารถติดต่อสอบถามหรือแจ้งรายชื่อลงทะเบียนล่วงหน้าได้ที่โทรศัพท์ : 02-218-2623 โทรสาร: 02-218-2623 หรือ e-mail:ssrat.org@gmail.com 2) เนื่องในโอกาสจุฬาฯ ครบ 100 ปี พิเศษค่าลงทะเบียน เอกสาร และอาหารกลางวัน อัตราเดียวกันทุกกลุ่มคือ 200 บาท โดย โอนเงินเข้าบัญชีธนาคารกรุงเทพ สาขาย่อยจามจุรี สแควร์ ชื่อ “สมาคมวิจัยสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย” เลขบัญชี 939-0-01999-1 พร้อมส่งสาเนาโอนเงิน มาพร้อมกับแบบตอบรับการเข้าร่วมประชุมที่โทรสาร 02-218-2623 หรือที่ e-mail: ssrat.org@gmail.com


42 แบบตอบรับการเข้าร่วมประชุม “การประชุมทางวิชาการและเผยแพร่ผลงานวิจัยคัดสรรระดับชาติ:ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศสูT่ hailand 4.0” จัดโดย สมาคมวิจัยสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย ร่วมกับ สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน) และ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันพุธที่ 11 ตุลาคม 2560 ณ ห้องประชุม 401 อาคารประชุมสุข อาชวอารุง คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 1. ชื่อ (ระบุคานาหน้าชื่อ/ยศ/ตาแหน่งทางวิชาการ)  สมาชิกสมาคมฯ ทะเบียนเลขที่ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ เบอร์มือถือ สถานที่ทางานปัจจุบัน

นามสกุล  บุคคลทั่วไป E-mail

2. มีความประสงค์  เข้าร่วมประชุมทางวิชาการ  นาเสนอผลงานวิจัย  เข้าร่วมประชุมทางวิชาการและนาเสนอผลงานวิจัย โดยชาระค่าลงทะเบียน จานวนเงิน

บาท

3. สมัครเข้าร่วมประชุม หรือนาเสนอผลงานในช่องทาง  1. ทางโทรสาร 02-218-2623  2. ทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่ e-mail: ssrat.org@gmail.com

***ชาระค่าลงทะเบียน โดยการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารธนาคารกรุงเทพ สาขาย่อยจามจุรี สแควร์ ชื่อบัญชีสมาคมวิจยั สังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย บัญชีเลขที่ 939-0-01999-1 พร้อมส่งสาเนาโอนเงิน มาพร้อมกับแบบตอบรับการเข้าร่วมประชุม ติดต่อสอบถาม : สมาคมวิจัยสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย โทรศัพท์ 02-218-2623 โทรสาร 02-218-2623


43 แบบเสนอผลงานวิจัย เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย “การประชุมทางวิชาการและเผยแพร่ผลงานวิจัยคัดสรรระดับชาติ:ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศสู่ Thailand 4.0” จัดโดย สมาคมวิจัยสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย ร่วมกับ สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน) และ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันพุธที่ 11 ตุลาคม 2560 1. ชื่อเรื่องวิจัย (ภาษาไทย) (ภาษาอังกฤษ) 2. ผู้วิจัย และคณะ (ระบุคานาหน้าชื่อ/ยศ/ตาแหน่งทางวิชาการ) สถานที่ตดิ ต่อ โทรศัพท์ โทรสาร E-mail Address 3. ปีที่ทาวิจัยสาเร็จ 4. แหล่งอุดหนุนการวิจัย 5. บทคัดย่อ (ไทย/อังกฤษ)............................................................................................................................................ 6. ความเป็นมาและความสาคัญของปัญหา 7. วัตถุประสงค์ของการวิจัย 8. ขอบเขตของการวิจัย 9. กรอบแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง 10. สมมติฐานการวิจัย (ถ้ามี) 11. วิธีดาเนินการวิจัย - ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง - เครื่องมือและการเก็บรวบรวมข้อมูล - การวิเคราะห์ข้อมูล 12. สรุปผลการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ 13. การนาผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ 14. รายการอ้างอิงแบบ APA style โดยมีรูปแบบดังนี้ หนังสือ ชื่อผู้แต่ง.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อหนังสือ/(ฉบับพิมพ์).//สถานทีพ่ ิมพ์:/ผู้จัดพิมพ์. บทความ ชื่อผู้แต่ง.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อบทความ.//ชื่อวารสาร,/ปีที่,/เลขระบุหน้าที่ปรากฏบทความ. สืบค้นจาก (ระบุ URL กรณีใช้วารสารฉบับออนไลน์)

หมายเหตุ: ต้องเป็นผลงานวิจัยทีแ่ ล้วเสร็จระหว่างปี พ.ศ. 2556 – 2560 และไม่เคยตีพิมพ์หรือนาเสนอที่อื่นใดมาก่อน การส่งข้อมูล : ส่งรายละเอียดฉบับย่อ 10–15 หน้ากระดาษ A4 ในรูป Microsoft Word โดยใช้ fontTH Sarabun New ขนาด 16 ptภายในวันพฤหัสบดีที่ 31สิงหาคม 2560ได้ทางE-mail : ssrat.org@gmail.com การเผยแพร่ : ผลงานที่ ได้ รับ การคั ดสรรให้ นาเสนอจากคณะกรรมการจะได้นาเสนอในที่ ป ระชุ มทางวิชาการ และเผยแพร่ ผลงานวิจัยคัดสรรระดับชาติ : ในวันพุธที่ 11ตุลาคม 2560 และให้เกียรติบัตรสาหรับผู้เป็นเจ้าของผลงานที่ได้นาเสนอ ผลงานที่ได้รับการคัดสรรทุกฉบับ จะนาพิมพ์เผยแพร่ในเอกสารประกอบการประชุมทางวิชาการและเผยแพร่ ผลงานวิจัยคัดสรรระดับชาติ ประจาปี 2560 ซึ่งเป็นวารสารการวิจัยสังคมศาสตร์ ของสมาคมวิจัยสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย(ที่มี Peer review)


44


สมาคมวิจัยสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย

คณะกรรมการบริหารสมาคมวิจัยสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย (25 ตุลาคม 2558 – 24 ตุลาคม 2560) 1. ศาสตราจารย์ ดร.ศิริชัย กาญจนวาสี 2. รองศาสตราจารย์ ดร.ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์ 3. รองศาสตราจารย์ ดร.ศิริเดช สุชีวะ 4. รองศาสตราจารย์ ดร.วรรณี แกมเกตุ 5. รองศาสตราจารย์ ดร.โชติกา ภาษีผล 6. รองศาสตราจารย์ศักดา บุญยไวโรจน์ 7. รองศาสตราจารย์ศิลปชัย บูรณพานิช 8. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชุติมา สุรเศรษฐ 9. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุวิมล กฤชคฤหาสน์ 10. อาจารย์ ดร.ชนิศา ตันติเฉลิม 11. อาจารย์ ดร.สุพจน์ เกิดสุวรรณ์ 12. อาจารย์ ดร.คมศร วงษ์รักษา 13. พลตารวจตรี ดร.กิจพิณิฐ อุสาโห 14. รองศาสตราจารย์ ดร.ดวงกมล ไตรวิจิตรคุณ 15. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฉัตรศิริ ปิยะพิมลสิทธิ์ 16. อาจารย์ ดร.ณภัทร ชัยมงคล 17. อาจารย์ ดร.กมลทิพย์ ศรีหาเศษ 18. นางพรทิพย์ เฟื่องฟู 19. อาจารย์สุกัญญา บุญศรี

นายกสมาคม อุปนายก กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการและปฏิคม กรรมการและเหรัญญิก กรรมการและประชาสัมพันธ์ กรรมการและนายทะเบียน กรรมการและสาราณียกร กรรมการและเลขานุการ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

หมายเหตุ นายทะเบียนสมาคมกรุงเทพมหานคร ได้รับจดทะเบียนการแต่งตั้งกรรมการขึ้นใหม่ทั้งชุด ของสมาคมฯตามมาตร 85 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้ว ตามทะเบียนเลขที่ จ.1378/2558 ณ วันที่ 9 ธันวาคม 2558



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.