สารสมาคมวิจัยสังคมศาสตร์ ปีที่ 2 ฉบับที่ 2

Page 1

สารสมาคมวิจยั สังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย

ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๒ พฤษภาคม-สิงหาคม ๒๕๕๘ ISSN 2351- 0145

หน้า ๒

สารจากนายกสมาคมวิจัยสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย

หน้า ๓

การเปลี่ยนแปลงที่จำ�เป็นสำ�หรับพัฒนาการศึกษาไทย 2558-2573

หน้า ๑๐

การวิจัยแบบผสม (Mixed Methods Research)

หน้า ๑๕

การบรรยายเรื่อง การปฏิรูปประเทศไทยกับการวิจัยทางสังคมศาสตร์

หน้า ๒๑

การอภิปรายเรื่อง การวิจัยทางสังคมศาสตร์กับการสร้างเสริมธรรมาภิบาล


สารจากนายกสมาคมวิจัยสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย สารสมาคมวิจัยสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย ฉบับนี้เป็นปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม 2558) ถือเป็นฉบับก่อนประชุมใหญ่สามัญประจ�ำปี 2558 ส�ำหรับ สมาชิกของสมาคมทุกท่านครับ สารฉบับนี้ต้องการสื่อสารกับสมาชิกของสมาคมวิจัยสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทยทุกท่านถึงกิจกรรม ทางวิชาการที่ส�ำคัญที่สมาคมฯ ได้ด�ำเนินการเพื่อสาธารณะประโยชน์และได้สรุปสาระส�ำคัญไว้ในสารฉบับนี ้ 5 รายการ ดังต่อไปนี้ 1) บทความทางวิชาการตามแนวเปลี่ยนการศึกษา เปลี่ยนประเทศไทย เรื่อง “การ เปลี่ยนแปลงที่จ�ำเป็นส�ำหรับการพัฒนาการศึกษาไทย 2558-2573” เป็นจดหมายเปิดผนึก ถึงผู้บริหารประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และประชาคมการศึกษา โปรดอย่าพลาดการอ่าน 2) บทความทางวิชาการ เรื่องการวิจัยแบบผสม (Mixed Methods Research) ซึ่งเป็นหัวข้อวิจัยที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ในการจัดอบรมประจ�ำปีของสมาคมวิจัยสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย 3) สรุปการบรรยายทางวิชาการของ สมาคมฯ เพือ่ ประโยชน์สาธารณะ เรือ่ ง “การปฏิรปู ประเทศไทย กับการวิจยั ทางสังคมศาสตร์” โดย ศาสตราจารย์ ดร.ชาติชาย ณ เชียงใหม่ 4) สรุปการอภิปรายทางวิชาการของสมาคมฯ เพื่อประโยชน์สาธารณะ เรื่อง “การ วิจัยทางสังคมศาสตร์กับการสร้างเสริมธรรมาภิบาล” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.เนาวรัตน์ พลายน้อย รองศาสตราจารย์ ดร.รสชงพร โกมลเสวิน และศาสตราจารย์ ดร.ศิริชัย กาญจนวาสี ด�ำเนินการอภิปรายโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชุติมา สุรเศรษฐ และ 5) เป็นภาพกิจกรรมทางวิชาการของสมาคมฯ ในการให้บริการ ทางวิชาการในสถานที่ต่างๆ ขอประชาสัมพันธ์อีกครั้งว่าสมาคมฯ ได้ย้ายที่ท�ำการจากอาคาร 3 มาประจ�ำอยู่ที่อาคาร 4 ชั้น 2 ห้อง 209 หมายเลขโทรศัพท์ 02-218-2623 สมาคมของเราก่อตั้งโดย ศาสตราจารย์ ดร.ประชุมสุข อาชวอ�ำรุง ในปีพ.ศ. 2519 ร่วมกับคณาจารย์ภาควิชาวิจัยการศึกษา ซึ่งท่านศาสตราจารย์ ดร.ประชุมสุข อาชวอ�ำรุง ได้เป็นนายกสมาคมคนแรกและหัวหน้าภาควิชาวิจัยการศึกษาคนแรกเช่นเดียวกัน เราจะได้ฉลองสมาคม อายุครบ 40 ปี ในปี พ.ศ. 2559 การจัดท�ำสารสมาคมฉบับนี้ส�ำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ขอขอบคุณรองศาสตราจารย์ ศักดา บุญยไวโรจน์ ที่ช่วยประสานงานกิจกรรมต่างๆ ของสมาคมได้อย่างดียิ่ง และอาจารย์ปาริชาติ ทาโน ที่ช่วยเป็นบรรณาธิการ สารฉบับนี้จนมีเนื้อหาสาระครบถ้วนสมบูรณ์ ในโอกาสเปิดเทอมใหม่ปีการศึกษา 2558 ขอให้สมาชิกทุกท่านมีความสุขในการปฏิบัติหน้าที่การงาน ประสบความส�ำเร็จในสิ่งที่คิด สัมฤทธิผลในสิ่งที่ปรารถนา และมีความเจริญก้าวหน้าในต�ำแหน่งหน้าที่การงาน ทุกประการ ด้วยความเคารพรัก ศาสตราจารย์ ดร.ศิริชัย กาญจนวาสี 9 กรกฎาคม 2558 2

สารสมาคมวิจัยสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย


การเปลี่ยนแปลงที่จ�ำเป็นส�ำหรับพัฒนาการศึกษาไทย 2558-2573 (The needed changes for Thai Education: 2015-2030) ศาสตราจารย์ ดร.ศิริชัย กาญจนวาสี ภายใต้วิกฤตการศึกษาไทยซึ่งมีอุปสรรคปัญหาสะสมหลายด้าน จนท�ำให้คุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมตกต�่ำอย่างต่อเนื่อง ทั้งๆ ที่มีหน่วยงานและผู้บริหารรับผิดชอบอยู่มากมาย หน่วยงานที่โลกการศึกษามี เรามีเกือบหมดแล้ว มีการสนับสนุนงบประมาณเรื่องการศึกษาในปริมาณที่สูงมาก (4% ของ GDP) เป็นอันดับ ต้นๆ ของโลก แต่คุณภาพการศึกษาไทยยังอยู่ในระดับที่ตกต�่ำ (อันดับที่ 86 ของโลก และอันดับ 7 ของอาเซียน) เข้าท�ำนองลงทุนมากแต่คุณภาพน้อย ภายใต้วิกฤตก่อให้เกิดโอกาสของการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ยิ่งในสภาวะที่ ผู้บริหารประเทศ ผู้บริหารกระทรวงศึกษา มีอ�ำนาจที่จะดลบันดาลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่จ�ำเป็นส�ำหรับ การศึกษาไทยให้มคี ณ ุ ภาพทีย่ งั่ ยืนในอนาคต การเปลีย่ นแปลงฐานรากทีส่ ำ� คัญอาจเป็นไปไม่ได้ในภาวะการเมืองปกติ จึงน่าจะเป็นโอกาสอันดียงิ่ ทีจ่ ะพัฒนาการศึกษาขัน้ พืน้ ฐานของไทย ส�ำหรับลูกหลานไทยยุคใหม่ สูร่ ะบบคุณภาพ มาตรฐานที่มีศักยภาพสูงในการพัฒนาสังคมไทย และสามารถแข่งขันในระดับสากล

1. ปัญหาส�ำคัญของการศึกษาไทย

1.1 นโยบายและแผนการศึกษาถูกแทรกแซง ท�ำให้การพัฒนาขาดความต่อเนื่อง

มูลเหตุสำ� คัญของปัญหานีเ้ กิดจากการเปลีย่ นแปลงรัฐมนตรีวา่ การกระทรวงศึกษาธิการบ่อยเกินความจ�ำเป็น 16 ปีทผี่ า่ นมา เรามีรฐั มนตรี 17 คน คงมโนได้วา่ “มาด่วนไปด่วน” ตลอดจนท่านรัฐมนตรีวา่ การกระทรวงศึกษาธิการ ส่วนมากมิได้ผา่ นการพิจารณาคัดสรรด้วยเกณฑ์ความสามารถ และความเหมาะสมอย่างแท้จริง มักมาตามโอกาส ของพรรคและการเมือง ท่านผูน้ ำ� กระทรวงศึกษาธิการจึงมักมีความสามารถ ความมุง่ มัน่ ตัง้ ใจต่อการพัฒนาการศึกษา เพื่อพัฒนาประเทศอยู่ในระดับที่ค่อนข้างต�่ำ นโยบายผิวเผินที่ไม่ใช่กระแสหลักทางการศึกษา แต่พรรคหรือผู้น�ำ รู้สึกว่าดีจึงถูกหยิบยกขึ้นมาด�ำเนินการให้เห็นเป็นผลงานอย่างเร่งด่วน คนแล้ว คนเล่า ประกอบกับการปฏิบตั งิ านของผูบ้ ริหารการศึกษาระดับสูงจ�ำนวนมากในกระทรวงศึกษาธิการ มีวฒ ั นธรรม ท�ำงานแบบสยบยอม เพื่อรักษาต�ำแหน่งและแสวงความก้าวหน้าทางลัด ขาดความกล้าหาญในเชิงจริยธรรม จึงสามารถสนองนโยบายอะไรก็ได้อย่างเต็มความสามารถ งบประมาณจ�ำนวนไม่น้อยบ่อยครั้งจึงถูกจัดสรร และ ดูดซับในการสนองต่อนโยบายที่ไม่ใช่กระแสหลักในการพัฒนาการศึกษา และสิ่งเหล่านี้เป็นมูลเหตุส�ำคัญอย่าง หนึ่งของการเกิดทุจริตเชิงนโยบาย และการประพฤติมิชอบ การคอร์รัปชันทางการศึกษาระดับบนลงสู่ระดับล่าง และแพร่กระจายอย่างกว้างขวาง ในเกือบทุกขั้นตอนของการด�ำเนินงาน ไม่ว่าจะเป็นการจัดซื้อ จัดจ้าง การสอบบรรจุแต่งตัง้ การเลือ่ นขัน้ /ต�ำแหน่ง การโยกย้าย การประเมินวิทยฐานะ ฯลฯ การทุจริตคอร์รปั ชันจึงเป็น มะเร็งร้ายทีบ่ นั่ ทอนคุณภาพการศึกษาไทยมาโดยตลอด ควรหาทางขจัดให้หมดสิน้ ไป หรือให้เหลือน้อยทีส่ ดุ จะเป็น อานิสงส์อันยิ่งใหญ่ต่อวงการศึกษาไทย สารสมาคมวิจัยสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย

3


1.2 ระบบการบริหารและจัดการศึกษาขาดประสิทธิภาพ

โครงสร้างการบริหารและจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของไทยมีความหลากหลายของประเภทการศึกษา ระดับการศึกษา และสังกัดของสถานศึกษา การบริหารและจัดการศึกษารวมศูนย์การปกครองและอ�ำนาจ ส่วนใหญ่ ไว้ที่ส่วนกลาง (กระทรวงศึกษาธิการ) ทั้งการบริหารวิชาการ งบประมาณ งานบุคคล และบริหารทั่วไป ส่วนกลาง ยังคงปฏิบัติงานหลายอย่าง ซ�้ำซ้อนกับหน่วยงานระดับภูมิภาค และหน่วยงานระดับท้องถิ่น จึงมีหน่วยงาน และบุคคลจ�ำนวนมากยังกระจุกตัวอยู่ส่วนกลาง และปฏิบัติงานหลายอย่างในสิ่งที่ไม่จ�ำเป็นต้องท�ำในส่วนกลาง หน่วยงานระดับภูมิภาค (จังหวัด/สพท./อ�ำเภอ) หน่วยงานระดับท้องถิ่นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)/สถานศึกษา ได้แก่ สถานศึกษารัฐบาล (การศึกษาขั้นพื้นฐาน, อาชีวะ, กศน.) สถานศึกษาเอกชน (การศึกษาขั้นพื้นฐาน, อาชีวะ) สถานศึกษา อปท. (อบจ., เทศบาล, เด็กปฐมวัย) สถานศึกษาทั้งหลายนี้ มีความ หลากหลายขาดความเป็นอิสระ/ความคล่องตัว รอค�ำสัง่ และการแก้ปญ ั หาจากส่วนกลาง ขาดความเชือ่ มโยงสัมพันธ์ เกื้อกูลสนับสนุนซึ่งกันและกัน ระหว่างประเภท ระดับและสังกัด ทางด้านหลักสูตร การจัดการเรียนการสอนในชัน้ เรียน และการวัดประเมินผล ขาดการวิจยั พัฒนาหลักสูตร และพัฒนาเทคนิคการสอนอย่างต่อเนือ่ ง ท�ำให้เกิดปัญหาในการปรับปรุงเปลีย่ นแปลงหลักสูตรให้มคี วามทันสมัย และเหมาะสมในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ทีเ่ ปลีย่ นไป เช่น จ�ำนวนกลุม่ สาระ สาระการเรียนรู้ และมาตรฐานทีก่ ำ� หนดไว้ในหลักสูตรระดับประถม (ต้น/ปลาย) มัธยม (ต้น/ปลาย) ยังมีความเหมาะสมส�ำหรับศตวรรษที่ 21 หรือไม่ ควรจะต้องปรับเปลี่ยนอะไรบ้าง เด็กไทยจึง จะทันคน ทันโลก ทันเหตุการณ์ และแข่งขันในระดับสากลได้ ปัจจุบนั การศึกษาไทยยังขาดกลไกส่งเสริมสนับสนุน ขาดการติดตามก�ำกับการพัฒนา และประเมินรับรอง คุณภาพการจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ กลไกการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษายังไร้ประสิทธิภาพ ส�ำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ, องค์การมหาชน) ท�ำการประเมินคุณภาพสถาน ศึกษา แต่ยังไม่สามารถท�ำให้ผลการประเมินน�ำสู่แผนปฏิบัติการเพื่อปรับปรุงพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาได้ อย่างแท้จริง สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ, องค์การมหาชน) ท�ำการประเมินผลสัมฤทธิข์ องผูเ้ รียน ตามหลักสูตรแกนกลาง แต่ยังไม่สามารถสะท้อนระดับคุณภาพการเรียนรู้ของเด็กไทยว่ามีมาตรฐานเพียงใด เมือ่ เทียบกับมาตรฐานสากลอยูร่ ะดับไหน ควรมีการปรับปรุงบทบาทและหน้าทีใ่ ห้เหมาะสมในการพัฒนาคุณภาพ ระบบการศึกษาไทย 1.3 การจัดสรรทรัพยากรให้สถานศึกษาไม่เหมาะสม และสถานศึกษาขาดความเป็นอิสระคล่องตัว ในการบริหารจัดการ ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กถูกปล่อยปละละเลยยังไม่ได้รับการแก้ไข โรงเรียนขนาดเล็ก (มีนักเรียน น้อยกว่า 120 คน) จ�ำนวน 15,000 โรง มีครูไม่ครบชั้น เมื่อมีครูสอนไม่ครบชั้นเรียนแล้วจะหวังอะไรจากคุณภาพ การเรียนรู้ของนักเรียน ไม่ทราบว่าผู้บริหารการศึกษาทนดูสภาพนี้มาหลายสิบปีได้อย่างไร ไม่อยากจะคิดเลยว่า เมือ่ เด็กทีย่ ากจนทีส่ ดุ ของประเทศหลายแสนคน ได้รบั การศึกษาทีม่ คี ณ ุ ภาพต�ำ่ ทีส่ ดุ แล้วจะพัฒนาประเทศนีต้ อ่ ไป ให้ดีได้อย่างไร 4

สารสมาคมวิจัยสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย


สถานศึกษามีสถานภาพเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย แต่ในทางพฤตินัย สถานศึกษายังไม่เป็นนิติบุคคล อย่างสมบูรณ์ตามกฎหมายมหาชน จึงขาดอ�ำนาจเต็มในการบริหารวิชาการ งบประมาณ งานบุคคล และบริหาร ทั่วไป อ�ำนาจส่วนส�ำคัญยังกระจุกตัวอยู่ในส่วนกลาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบริหารงบประมาณและงานบุคคล จึงท�ำให้ผู้บริหารสถานศึกษาขาดความเป็นอิสระ คล่องตัว ในการบริหารจัดการแก้ไขปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้บริหารสถานศึกษาโดยเฉพาะสถานศึกษาขนาดใหญ่ จ�ำนวนไม่น้อยมีภาวะผู้น�ำ และความพร้อมที่จะบริหาร จัดการศึกษาของสถานศึกษาในฐานะเป็นนิติบุคคลที่มีความรับผิดชอบตามกฎหมายและมีธรรมาภิบาล

1.4 ปัญหาการผลิต การใช้ และพัฒนาครู

คุณภาพของครูเป็นหัวใจส�ำคัญต่อคุณภาพการเรียนรูข้ องนักเรียน และมีผลโดยตรงต่อคุณภาพการศึกษา การเปลี่ยนคุณภาพการศึกษา ต้องเริ่มต้นที่ครู แต่ครูไทยของเรามีปัญหาที่สะสมมานาน ซึ่งยังไม่ได้รับการแก้ไข ทั้งปัญหาการผลิต การใช้ และการพัฒนาครู สถาบันผลิตครู 103 แห่ง ผลิตครู 50 กลุ่มสาขาวิชา ต่างคนต่างแข่งขันการผลิตตามความถนัดและความ พร้อมของคณาจารย์ นักศึกษาที่เลือกเรียนครูส่วนใหญ่มีความสามารถทั่วไปในระดับปานกลางถึงต�่ำ แต่ละปี มีบัณฑิตทางครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ที่ส�ำเร็จการศึกษาประมาณ 50,000 คน หลากหลายมาตรฐาน ในขณะที่มี ครูเกษียณอายุปีละประมาณ 25,000 คน แต่การบรรจุครูผู้ช่วยแต่ละปีก็ยังมีการขาดแคลนครูคณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย และสังคม สะท้อนให้เห็นปัญหาการผลิตครู เกิดปัญหาทัง้ ในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ครูสว่ นใหญ่กระจุกตัวอยูท่ โี่ รงเรียนขนาดใหญ่ในเมือง โรงเรียนทีอ่ ยูห่ า่ งไกลออกไปในอ�ำเภอมีครูจำ� นวน ไม่นอ้ ยทีม่ คี ณ ุ วุฒไิ ม่ตรงกับวิชาทีส่ อน ยิง่ โรงเรียนขนาดเล็กอยูใ่ นชนบทห่างไกลออกไปมีครูไม่ครบชัน้ จึงเป็นการ ซ�้ำเติมปัญหาคุณภาพการศึกษาไทยอย่างโหดร้ายทารุณ ในการพัฒนาครูประจ�ำการ ขาดการวิเคราะห์ความต้องการที่แท้จริงของครู ขาดการติดตามถึงการน�ำ ผลไปใช้ปฏิบตั ไิ ด้จริง รวมทัง้ ขาดการประเมินผลลัพธ์ทเี่ กิดขึน้ ในการยกระดับผลสัมฤทธิข์ องผูเ้ รียน จึงจ�ำเป็นต้อง แก้ไขปัญหาคุณภาพครูอย่างเร่งด่วน ทั้งด้านการผลิต การใช้ และการพัฒนา เพื่อคุณภาพการศึกษาไทย ในระยะยาว

1.5 ความเสมอภาพและเป็นธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ครู และบุคลากรทางการศึกษา

ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และบุคลากรทางการศึกษา ที่อยู่ต่างสังกัด เช่น รัฐบาล กับเอกชน สพฐ. กับ อปท. เป็นต้น มีกฎหมาย พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา ระเบียบข้อบังคับที่แตกต่าง กันท�ำให้เกิดความเหลื่อมล�้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความเจริญก้าวหน้าในต�ำแหน่งหน้าที่ วิทยฐานะ และสวัสดิการ จึงมีผลต่อขวัญและก�ำลังใจในการปฏิบัติงาน ของบุคลากรดังกล่าวเป็นอย่างมาก อันส่งผลกระทบต่อคุณภาพ การศึกษาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

1.6 ระบบคัดเลือกผู้เรียนเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ

ระบบการคัดเลือกผูส้ มัครเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยของรัฐ ประกอบด้วยระบบการสอบคัดเลือกกลาง (Central ADMISSION) และระบบการรับตรง (Direct ADMISSION) สารสมาคมวิจัยสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย

5


“ระบบการสอบคัดเลือกกลาง” เป็นระบบทีเ่ ปิดโอกาสให้ผสู้ มัครสามารถเลือกสอบเข้าศึกษาต่อในสาขา วิชา คณะ หรือสถาบันใดก็ได้อย่างเป็นอิสระ เกณฑ์การตัดสินพิจารณาจากคะแนนผลสัมฤทธิ์เฉลี่ยระดับ มัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียน (GPAX) คะแนนผลสัมฤทธิท์ างการเรียนวิชาหลักตามหลักสูตรแกนกลางจาก การทดสอบของ สทศ. (ONET) คะแนนความถนัดทั่วไป (GAT) และคะแนนความถนัดทางวิชาชีพ (PAT) ซึ่งหลาย สถาบันยังไม่พงึ พอใจต่อระบบการสอบคัดเลือกกลางในด้านขอบเขตของวิชาทีท่ ำ� การทดสอบ จ�ำนวนวิชาทีท่ ดสอบ และคุณภาพของการทดสอบ GAT และ PAT ที่ยังมีปัญหาในการพัฒนาแบบสอบและการวิจัยที่ยืนยันคุณภาพ ของแบบทดสอบ ท�ำให้หลายสถาบันต่างให้ความส�ำคัญต่อ “ระบบการรับตรง” ซึง่ แต่ละสถาบันต่างใช้เป็นกลยุทธ์ ในการช่วงชิงผูส้ มัครทีม่ คี วามสามารถกลุม่ เดียวกันให้มาเข้ารับการศึกษาในสถาบันของตน พร้อมทัง้ ผลประโยชน์ ที่ได้จากการรับสมัคร การจัดด�ำเนินการทดสอบ แต่ละสถาบันต่างคนต่างจัดสอบ ตัดหน้า ช่วงชิงความได้เปรียบ ผู้ปกครองและผู้สมัครจึงเกิดความสับสน วุ่นวาย และความเครียดสูง ผู้ปกครองหรือผู้สมัคร (ที่พอมีฐานะดี) ก็สามารถเดินทางไปสมัคร ตระเวนรับส่งลูกหลานไปสอบในสนามสอบต่างๆ ได้ แต่ส�ำหรับผู้ปกครองที่มีฐานะ ยากจนก็คงเป็นข้อจ�ำกัดอย่างมากในการเดินทาง และตระเวนการสอบแข่งขัน ระบบการสอบคัดเลือกกลาง และระบบการรับตรง อยู่ท่ามกลางความสับสน ขัดแย้ง และไร้เอกภาพ เพราะยังขาดการออกแบบให้เชือ่ มโยงประสานประโยชน์สงู สุดส�ำหรับสนองความต้องการของสถาบันอุดมศึกษา ของรัฐ และการพัฒนาวิชาชีพที่เหมาะสมส�ำหรับสังคมไทยในอนาคต

2. ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนเพื่อพัฒนาการศึกษาไทย เมื่อพิจารณาถึงปัญหาส�ำคัญของการศึกษาขั้นพื้นฐานของไทยที่กล่าวมาทั้ง 6 ประการ เป็นเรื่องที่ หนักหน่วงเอาการ เพราะเป็นปัญหาที่สะสมมานาน บางปัญหาเกือบตกผลึกเป็นวัฒนธรรมเลวที่ยากจะเยียวยา การแก้ไขมิใช่เรือ่ งง่าย การปรับปรุงเปลีย่ นแปลงทีจ่ ำ� เป็นจะต้องขับเคลือ่ นการเปลีย่ นแปลงเชิงยุทธศาสตร์ทพี่ ร้อม ด้วยพลังอ�ำนาจในการเปลี่ยนแปลง ยุทธศาสตร์เป็นแนวทางทีอ่ งค์กรจ�ำเป็นต้องท�ำเชิงรุกโดยใช้ทรัพยากรทีม่ นี ำ� มาสนับสนุน การด�ำเนินงาน เพือ่ น�ำไปสูก่ ารบรรลุความส�ำเร็จตามเป้าประสงค์ เป้าประสงค์ทางการศึกษาระยะยาวส�ำหรับสร้างความชอบธรรม ในการขับเคลือ่ นการศึกษาเป็นวาระแห่งชาติ เพือ่ ใช้เป็นยุทธศาสตร์พฒ ั นาการศึกษาไทยอย่างยัง่ ยืน อาทิ คนไทย ทุกคนต้องเป็นพลเมืองดีของชาติ มีความรู้ มีทกั ษะการเรียนรู้ และสามารถเรียนรูด้ ว้ ยตนเองอย่างมีคณ ุ ภาพตลอด ชีวิต เราควรจัดการศึกษาที่พัฒนาเด็กไทยให้มีความเป็นมนุษย์ ที่สมบูรณ์ ส�ำหรับความรุ่งเรืองของชีวิตในอีก 10-20 ปีข้างหน้า พัฒนาเด็กไทยให้พร้อมที่จะน�ำความรู้และทักษะชุดใหม่ไปประยุกต์ใช้ในสังคมที่มีการ เปลีย่ นแปลงอยูต่ ลอดเวลา การศึกษาสร้างคน คน (ทีม่ คี ณ ุ ภาพ) สร้างชาติ สังคม ประชาชน คนระดับล่าง มีความ ตระหนักในคุณค่าและพลังของการศึกษามานานแล้ว เป็นต้น เพียงแต่วา่ ยังไม่ได้รบั การศึกษาทีม่ คี ณ ุ ภาพเป็นการ ตอบสนองเท่าทีค่ วร เพียงแต่วา่ ผูน้ ำ� ประเทศยังต้องสร้างความเข้าใจและตระหนักในคุณค่าและพลังของการศึกษา ให้มากขึน้ ด้วยการคัดสรรผูน้ ำ� การศึกษาทีม่ คี วามสามารถในการน�ำการเปลีย่ นแปลงแก้ไขปัญหาทีส่ ะสมให้ลลุ ว่ ง มีวิสัยทัศน์ของการพัฒนาการศึกษาให้ก้าวหน้าอย่างยั่งยืนในโลกของการเปลี่ยนแปลง เพราะการศึกษาของชาติ จะต้องถูกขับเคลือ่ นด้วยพลังความรู้ วิสยั ทัศน์/ภาวะผูน้ ำ � และการมีสว่ นร่วมของประชาสังคม ระดมผูท้ รงคุณวุฒิ วิศวกรสังคม ผู้น�ำจากประชาสังคม จัดท�ำยุทธศาสตร์การพัฒนาชาติ ยุทธศาสตร์การศึกษาเพื่อพัฒนาชาติ และ แผนแม่บทส�ำหรับพัฒนาการศึกษาระยะยาว 6

สารสมาคมวิจัยสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย


3. การเปลี่ยนแปลงที่จ�ำเป็น วิกฤตการศึกษาส่งผลในเชิงบั่นทอนศักยภาพ ความสามารถ และคุณธรรมของเด็กไทยอย่างหลีกเลี่ยง ไม่ได้ จึงมีความจ�ำเป็นทีผ่ มู้ สี ว่ นเกีย่ วข้อง โดยเฉพาะอย่างยิง่ ผูน้ ำ� ประเทศ รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงศึกษาธิการ และ รัฐมนตรีช่วย จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรงต่อคุณภาพการศึกษาไทยในอนาคต ซึ่งจะต้องอาศัยพลังความรู้ ภาวะผู้น�ำ การมีส่วนร่วมของประชาสังคม และพลังอ�ำนาจในการฟันฝ่าวิกฤตคุณภาพการศึกษาไทยดังกล่าว ตาราง ข้อเสนอแนวทางการแก้ปัญหาการศึกษา: การเปลี่ยนแปลงที่จ�ำเป็นเพื่อพัฒนาการศึกษาไทย ปัญหาการศึกษาที่ส�ำคัญ

การเปลี่ยนแปลงที่จ�ำเป็น

แนวทางขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง

1. นโยบายและแผนการศึกษา • ก� ำ หนดนโยบายและแผน ถูกแทรกแซงท�ำให้การพัฒนา การศึ ก ษาแห่ ง ชาติ ร ะยะยาว การศึกษาขาดความต่อเนื่อง (วาระแห่งชาติ) เพือ่ พัฒนาการศึกษา อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

• มี ค ณะกรรมการปฏิ รู ป ประเทศ จัดท�ำยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ ระยะยาว • มีคณะกรรมการก�ำหนดนโยบาย และแผนการศึกษาแห่งชาติ จัดท�ำ ยุทธศาสตร์การศึกษาเพื่อพัฒนา ประเทศ และจัดท�ำแผนแม่บทส�ำหรับ พัฒนาการศึกษาระยะยาวที่มีผล บังคับใช้ตามกฎหมาย

2. ระบบการบริหารและ • ปรับโครงสร้างการบริหาร จัดการศึกษาขาดประสิทธิภาพ ราชการส่วนกลางให้มีอ�ำนาจหน้าที่ ส�ำคัญ ดังนี้ - ก�ำหนดทิศทาง/นโยบาย การศึกษาแห่งชาติ - วิจัย/วางแผนยุทธศาสตร์ การศึกษา -กำ�หนดมาตรฐานการศึกษา แห่งชาติ/แนวปฏิบัติตามมาตรฐาน - วิจัย/พัฒนาหลักสูตรแกนกลาง เทคนิค การสอน และการวัด ประเมินผลอย่างต่อเนื่อง - ส่งเสริม/สนับสนุนการจัด การศึกษา - ติดตามกำ�กับการพัฒนา และ ประเมินรับรองคุณภาพการศึกษา

• ปรับปรุง พ.ร.บ. การศึกษา แห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 39 • ปรับปรุง พ.ร.บ. ระเบียบบริหาร ราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 มาตรา 33 • แก้ไขกฎกระทรวงกำ�หนดหลักเกณฑ์ และวิธีการกระจายอำ�นาจการบริหาร และการจัดการศึกษา พ.ศ. 2550 • ตั้งสำ�นักงานติดตามการพัฒนาและ ประกันคุณภาพการศึกษา (องค์การ มหาชน) [สนคศ.] • คณะกรรมการการศึกษาจังหวัด ประกอบด้วย คณาจารย์/ผู้บริหาร การศึกษา/ผู้ทรงคุณวุฒิ/ประชาสังคม (องค์กรชุมชน วิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ผู้ปกครอง) ทำ�หน้าที่ สารสมาคมวิจัยสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย

7


ตาราง ข้อเสนอแนวทางการแก้ปัญหาการศึกษา: การเปลี่ยนแปลงที่จ�ำเป็นเพื่อพัฒนาการศึกษาไทย (ต่อ) ปัญหาการศึกษาที่ส�ำคัญ

3. การจั ด สรรทรั พ ยากรให้ สถานศึกษาขาดความเหมาะสม และสถานศึ ก ษาขาดความ เป็ น อิ ส ระคล่ อ งตั ว ในการ บริหารจัดการ

การเปลี่ยนแปลงที่จ�ำเป็น

แนวทางขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง

• กระจายอำ�นาจการบริหารและ จัดการศึกษาตาม พ.ร.บ. การศึกษา แห่งชาติ (2542) มาตรา 39 ทั้ง ด้านบริหาร วิชาการ งบประมาณ งานบุคคล และบริหารทั่วไป ไปยัง คณะกรรมการการศึกษาจังหวัด และสถานศึกษา

- กำ�หนดนโยบายการศึกษาของ จังหวัด - กำ�หนดมาตรฐานการศึกษาของ จังหวัด - ส่ ง เสริ ม /สนั บสนุ นการศึ ก ษา ทุกประเภทและสังกัด (อาจมีหน่วยงาน ระดับอำ�เภอ) แก้ปัญหาโรงเรียน ขนาดเล็ก - ติดตามการพัฒนาและประกัน คุณภาพการศึกษาโดย สนคศ. ประจำ� จังหวัดโดยการมีส่วนร่วมของประชา สังคม

• สถานศึกษาที่มีความพร้อม ทุกประเภท และสังกัดเป็นสถาน ศึกษา นิติบุคคลตามกฎหมาย มหาชน • ส่วนกลางจัดสรรงบประมาณ และอัตรากำ�ลังที่เหมาะสม ไปยัง สถานศึกษาโดยตรง

• พัฒนาระบบการบริหารสถานศึกษา ที่เป็นนิติบุคคลอย่างมีธรรมาภิบาล ภายใต้การกำ�กับของส่วนกลาง และ คณะกรรมการการศึกษาจังหวัด/ ท้องถิ่น • เตรียมความพร้อมของสถานศึกษา และผู้บริหารสถานศึกษา

4. ปัญหาการผลิต การใช้ และ • คัดเลือกคนเก่ง คนดี และคนที่มี พัฒนาครู เจตคติที่ดีต่อการเป็นครู ของแต่ละ จังหวัด เพื่อ ทำ�สั ญ ญารั บทุ น การศึกษาเข้ามาเรียนครูตามสาขาวิชา ที่จ ะทดแทนครู เ กษี ย ณอายุ ข อง จังหวัดนั้นๆ • ส่งผู้รับทุนการศึกษาเข้าเรียนใน สถาบันผลิตครูที่มีความเชี่ยวชาญ ตามสาขาวิชาของผู้รับทุน

8

สารสมาคมวิจัยสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย

• มีคณะกรรมการกำ�หนดนโยบาย การผลิต การใช้ และการพัฒนาครู • วิเคราะห์ความต้องการครู จำ�แนก ตามสาขาวิชา เพื่อทดแทนอัตราครู เกษียณอายุของแต่ละจังหวัด • จัดทำ�ระบบการรับสมัครสอบ แข่งขัน คัดเลือกผู้รับทุนของแต่ละ จังหวัดทั่วประเทศ • กระทรวงศึกษาทำ�สัญญาร่วมผลิต ครูคุณภาพในสาขาวิชาต่างๆ กับ สถาบันอุดมศึกษา


ตาราง ข้อเสนอแนวทางการแก้ปัญหาการศึกษา: การเปลี่ยนแปลงที่จ�ำเป็นเพื่อพัฒนาการศึกษาไทย (ต่อ) ปัญหาการศึกษาที่ส�ำคัญ

การเปลี่ยนแปลงที่จ�ำเป็น

แนวทางขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง

5. ความเสมอภาคและ ความเป็นธรรมของผู้บริหาร สถานศึกษา ครู และบุคลากร ทางการศึกษา

• บรรจุบัณฑิตที่สำ�เร็จการศึกษา ในจังหวัดภูมิลำ�เนาทดแทนอัตรา ครูเกษียณอายุตามสัญญา • ปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวกับ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และ บุคลากรทางการศึกษา ที่อยู่ต่าง สังกัด ในการส่งเสริมความจริญ ก้าวหน้า วิทยฐานะ และสวัสดิการ ให้มีความเป็นมาตรฐานเดียวกัน

• จัดทำ�ระบบสารสนเทศอัตรากำ�ลัง การคัดเลือก การบรรจุ และพัฒนาครู ประจำ�การ • พิจารณา ปรับปรุง แก้ไข พ.ร.บ. ต่อไปนี้ให้สอดคล้องกัน - พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการครูและ บุคลากรทางการศึกษา (2547) - พ.ร.บ. การอาชีวศึกษา (2551) - พ.ร.บ. ส่งเสริมการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย (2551) - พ.ร.บ. โรงเรียนเอกชน (2550)

6. ระบบการคัดเลือกผูเ้ รียน เข้ า ศึ ก ษาต่อในสถาบัน อุดมศึกษา ของรัฐ

• ปรับปรุงระบบการสอบคัดเลือก กลางของ ทปอ. และระบบการสอบ รับตรงของสถาบันอุดมศึกษา ให้ประสานเชื่อมโยง สอดคล้อง ตามความต้องการของสถาบัน อุดมศึกษา และการพัฒนาวิชาชีพ ที่เหมาะสม สำ�หรับสังคมไทย

• มีคณะกรรมการกำ�หนดกรอบ การผลิตบัณฑิตจำ�แนกตามสาขาวิชาที่ สอดคล้องกับความต้องการของสังคมไทย • กระทรวงศึกษา สกอ. สพฐ. ทปอ. และ สทศ. ร่วมกันปรับปรุงระบบ การสอบคัดเลือกกลาง จำ�นวนวิชา การปรับปรุงคุณภาพของวิชา GAT/PAT การกำ�หนดสัดส่วนของคะแนน และ เกณฑ์การตัดสิน ให้มีประสิทธิภาพ ตอบสนองได้ตรงตาม ความต้องการ ของสถาบันอุดมศึกษา • ร่วมกันปรับปรุงระบบการสอบ รับตรงของแต่ละสถาบัน โดยการ แบ่งกลุ่มเขตความรับผิดชอบการรับ นักศึกษาตามพื้นที่ (Area-Based) และมีกำ�หนด การทดสอบพร้อมกัน ใช้ข้อมูลร่วมกัน

สรุป หลักฐานเชิงประจักษ์จากการประเมินคุณภาพผูเ้ รียน ทัง้ ผลการประเมินจากต่างประเทศ และในประเทศ ยืนยันตรงกันว่า คุณภาพการจัดการศึกษาขัน้ พืน้ ฐานของไทย มิได้พฒ ั นาไปในทิศทางทีพ่ งึ ประสงค์ ปัญหาพืน้ ฐาน ส�ำคัญที่ส่งผลต่อคุณภาพการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานที่น�ำเสนอ 6 ประการนี้ ยากที่จะแก้ไขในสภาวะการเมือง ปกติ จึงเรียนเสนอผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและรับผิดชอบโดยตรงเพื่อโปรดพิจารณา สารสมาคมวิจัยสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย 9


การวิจัยแบบผสม (Mixed Methods Research) รองศาสตราจารย์ ดร.ดวงกมล ไตรวิจิตรคุณ

การวิจัยแบบผสม (Mixed Methods Research) เป็นวิธีวิทยาการวิจัยรูปแบบใหม่ที่ได้รับความสนใจ อย่างกว้างขวางในปัจจุบัน มีผู้เรียกการวิจัยแบบนี้ในหลายชื่อ ได้แก่ Combined Research (Creswell, 1994) Mixed Methodology (Tashakkori & Teddlie, 1998) ส�ำหรับในประเทศไทยมีผู้ใช้ค�ำหลากหลาย ได้แก่ การวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยแบบผสมผสาน แต่ในที่นี้ขอใช้ค�ำว่า “การวิจัยแบบผสม”

“การวิจัยแบบผสม” คืออะไร

มีนักการศึกษาได้ให้ความหมายของการวิจัยแบบผสมไว้ ดังนี้ “การวิจัยแบบผสมเป็นการผสมผสานวิธี 2 วิธี ระหว่าง วิธีเชิงปริมาณ (รวบรวมตัวเลข) และ วิธีเชิง คุณภาพ (รวบรวมค�ำ)” (Grace, Caracilli, and Graham, 1989) “การวิจัยแบบผสม เป็นการรวมวิธีการเชิงคุณภาพ และ วิธีการเชิงปริมาณ ไว้ในวิธีวิทยาที่ใช้ใน การศึกษา” (Tashakkori & Teddlie, 1998) “การวิจยั แบบผสมเป็นวิธวี ทิ ยาการวิจยั แบบหนึง่ ทีม่ กี ารผสมกันในกระบวนการต่างๆ ทางการวิจยั ตัง้ แต่ แนวคิดปรัชญา ค�ำถามวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การแปลผล และ การรายงานผล” (Creswell & Plano Clark, 2011) “การวิจัยแบบผสมเป็นวิธีการในการวิจัยที่ผู้วิจัยใช้ข้อมูลเชิงปริมาณ (ข้อมูลปลายปิด) และข้อมูล เชิงคุณภาพ (ข้อมูลปลายเปิด) น�ำมาบูรณาการผสมผสานและแปลความหมายโดยการน�ำจุดเด่นของข้อมูลทัง้ สอง ประเภทมาใช้ตอบค�ำถามวิจัย” (Creswell, 2015) จากความหมายของการวิจยั แบบผสมทีม่ ผี รู้ ะบุไว้ สามารถสรุปได้วา่ ลักษณะส�ำคัญของการวิจยั แบบผสม คือเป็นงานวิจัยที่ใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ และวิธีวิจัยเชิงคุณภาพผสมกัน เพื่อให้ครอบคลุมการตอบค�ำถามวิจัยให้ สมบูรณ์ที่สุด “การวิจัยแบบผสม” มีแบบแผนการวิจัยเป็นอย่างไร มีผู้น�ำเสนอแบบแผนของการวิจัยแบบผสมไว้หลายลักษณะ ส�ำหรับ Creswell (2015) ได้น�ำเสนอ แบบแผนไว้แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ 1. แบบแผนพื้นฐาน (Basic Mixed Methods Designs) ได้แก่ 1.1 Convergent Design 1.2 Explanatory Sequential Design 1.3 Exploratory Sequential Design 2. แบบแผนขั้นสูง (Advanced Mixed Methods Designs) ได้แก่ 2.1 Intervention Design 2.2 Social Justice Design 2.3 Multistage Evaluation Design

10

สารสมาคมวิจัยสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย


รายละเอียดของแต่ละแบบแผนมีดังนี้

1. Basic Mixed Methods Designs

เป็นแบบแผนหลักที่ใช้ในงานวิจัยแบบผสม มี 3 แบบแผน ได้แก่ 1.1 Convergent Design

เป็นแบบแผนทีม่ กี ารด�ำเนินการวิจยั ทัง้ เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพไปพร้อมๆ กัน โดยมีการเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลแยกจากกัน แต่น�ำผลการวิเคราะห์ข้อมูลมารวมกัน และแปลผลซึ่งอาจมีการอภิปรายผล ในลักษณะของการเปรียบเทียบผล โดยพิจารณาความเหมือน ความต่างของผลที่เกิดขึ้น แบบแผนนี้จึงเป็น การศึกษาแบบระยะเดียว (single - phase) เพราะการวิจยั เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพด�ำเนินการในเวลาเดียวกัน ดังแผนภาพที่ 1

แผนภาพที่ 1 Convergent Design

1.2 Explanatory Sequential Design

เป็นแบบแผนทีม่ กี ารเริม่ ต้นด้วยการวิจยั เชิงปริมาณ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ขอ้ มูลเชิงปริมาณก่อน จากนัน้ ตามด้วยการวิจยั เชิงคุณภาพ เพือ่ อธิบายผลของการวิจยั เชิงปริมาณทีท่ ำ� ไว้ในตอนแรก แบบแผนนีจ้ งึ เป็น การวิจัยแบบ 2 ระยะ (two - phase) คือ ระยะแรกเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ แล้วตามด้วยระยะที่ 2 เป็นการวิจัย เชิงคุณภาพ ดังแผนภาพที่ 2

แผนภาพที่ 2 Explanatory Sequential Design

1.3 Exploratory Sequential Design

เป็นแบบแผนทีม่ กี ารเริม่ ต้นจากการส�ำรวจ โดยการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ขอ้ มูลด้วยวิธวี จิ ยั เชิงคุณภาพ จากนัน้ น�ำผลการวิจยั เชิงคุณภาพมาพัฒนาเป็นเครือ่ งมือวิจยั เพือ่ น�ำไปใช้ในการวิจยั หรือสิง่ ทดลองเพือ่ น�ำไปใช้ใน สารสมาคมวิจัยสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย

11


การทดลอง และตามด้วยการวิจยั เชิงปริมาณ ดังนัน้ แบบแผนนีจ้ งึ มี 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เป็นการวิจยั เชิงคุณภาพ ระยะที่ 2 เป็นการวิจัยเชิงปริมาณเพื่อสร้างเครื่องมือหรือสิ่งทดลอง และระยะที่ 3 เป็นการวิจัยเชิงปริมาณเพื่อ ศึกษาผลตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยดังแผนภาพที่ 3

แผนภาพที่ 3 Exploratory Sequential Design

2. Advanced Mixed Methods Designs 2.1 Intervention Design เป็นแบบแผนทีเ่ พิม่ เติมจากแบบแผนพืน้ ฐาน เป็นการศึกษาถึงปัญหาโดยท�ำการทดลองและศึกษาข้อมูล เชิงคุณภาพเพิ่มเติม แบบแผนนี้เป็นการน�ำข้อมูลเชิงคุณภาพมาใช้เพิ่มเติมในการทดลอง ซึ่งอาจเกิดขึ้นช่วงก่อน การทดลอง ระหว่างการทดลอง หรือหลังการทดลองช่วงใดช่วงหนึ่ง หรือครบทั้ง 3 ช่วงก็ได้ มีการวิเคราะห์ผล เชิงคุณภาพ และแปลผลเพื่อสนับสนุนผลการทดลอง ดังแผนภาพที่ 4

แผนภาพที่ 4 Intervention Design

2.2 Social Justice Design

เป็นแบบแผนที่เพิ่มเติมจากแบบแผนพื้นฐาน โดยศึกษาถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในกรอบความคิดทางสังคม ด้วยการใช้การวิจยั แบบผสม วิธกี ารทีใ่ ช้จะต้องมีการใช้แบบแผนพืน้ ฐานก่อน และพิจารณาเพิม่ ข้อมูลเชิงคุณภาพ ให้เหมาะสม รวมทั้งเพิ่มมุมมองทางทฤษฎีด้วย ดังตัวอย่างในแผนภาพที่ 5 12

สารสมาคมวิจัยสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย


แผนภาพที่ 5 Social Justice Design ในแผนภาพที่ 5 ใช้วิธีวิจัยแบบผสมโดยใช้แบบแผน Explanatory Sequential เป็นพื้นฐาน และเพิ่ม เติมหลายแห่งด้วยประเด็นจากทฤษฎีสตรี โดยเริ่มจาก Gender-based theoretical perspective Woman studied และ Themes about mothers และมีการน�ำเสนอข้อค้นพบ ข้อเสนอแนะ หรือการเปลี่ยนแปลงเป็น ขั้นตอนสุดท้าย แบบแผนนี้มีประโยชน์คือ ผลที่ได้จะช่วยกลุ่มคนชายขอบ หรือคนที่เสียเปรียบในสังคม ผลการวิจัย ที่เกิดขึ้นในขั้นตอนสุดท้าย จะก่อให้เกิดความยุติธรรมในสังคม 2.3 Multistage Evaluation Design เป็นแบบแผนทีใ่ ช้ในการประเมินความส�ำเร็จของโปรแกรม หรือการด�ำเนินการของกิจกรรมต่างๆ เป็นการ ด�ำเนินการหลายระยะ และสามารถศึกษาเสร็จสิ้นในแต่ละระยะได้ เป็นการพิจารณาคุณค่าของโครงการโดย ภาพรวม และในแต่ละส่วนย่อยมีการศึกษาด้วยวิธีเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ หรือผสม ดังตัวอย่างในแผนภาพที่ 6

แผนภาพที่ 6 Multistage Evaluation Design สารสมาคมวิจัยสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย

13


จากแบบแผนทีไ่ ด้นำ� เสนอ จะเห็นได้วา่ การวิจยั แบบผสมมีแบบแผนการวิจยั ทีม่ คี วามน่าสนใจ และหลาก หลายเป็นอย่างมาก แต่การเลือกใช้แบบแผนทีเ่ หมาะสม ผูว้ จิ ยั จ�ำเป็นต้องค�ำนึงถึงปัญหาวิจยั เป็นส�ำคัญ แบบแผน ที่เหมาะสมจะต้องสามารถตอบค�ำถามวิจัยได้อย่างครบถ้วน แบบแผนต่างๆ ของการวิจัยแบบผสมจึงถือเป็น ทางเลือกใหม่ให้นักวิจัยได้ใช้ในการศึกษาค้นคว้าองค์ความรู้ที่ต้องการได้อย่างเหมาะสมมากขึ้น นักวิจัยรุ่นใหม่ จึงควรมีโอกาสได้ใช้แบบแผนดังกล่าวในงานวิจัยของตนเอง

เอกสารอ้างอิง Creswell, J. W. (2015). A Concise Introduction to Mixed Methods Research. Thousand Oaks, CA: Sage. Creswell, J. W., & Plano Clark , V. L. (2011). Designing and Conducting Mixed Methods Research. (2nd ed.). Thousand Oaks, CA: Sage. Tashakkori , A ., & Teddlie , C . (1998). Mixed Methodology: Combining Qualitative and Quantitative Approaches. Thousand Oaks, CA: Sage.

14

สารสมาคมวิจัยสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย


การบรรยายเรือ่ ง การปฏิรปู ประเทศไทยกับการวิจยั ทางสังคมศาสตร์ ศาสตราจารย์ ดร.ชาติชาย ณ เชียงใหม่ (สมาชิก สปช.) การปฏิรูปประเทศไทยในปัจจุบันนี้ต้องการความรู้ทางสังคมในการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงประเทศ เพือ่ ชีน้ ำ � โดยการน�ำหลักคิด แนวคิด หลักวิชา และหลักปฏิบตั ิ ในด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม ทีไ่ ด้จากการวิจยั มาใช้เพื่อเพิ่มความรู้ในการปฏิรูป แก้ไขปัญหาของประเทศในทุกเรื่อง ทุกด้าน การปฏิรปู ประเทศไทยตามทีร่ ฐั ธรรมนูญฉบับชัว่ คราว พ.ศ. 2557 ได้กำ� หนดไว้ครอบคลุม การปฏิรปู 11 ประเด็น ดังนี้

1. การเมือง 2. การบริหารราชการแผ่นดิน 3. กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม 4. การปกครองท้องถิ่น 5. การศึกษา 6. เศรษฐกิจ 7. พลังงาน 8. สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม 9. สื่อสารมวลชน 10. สังคม 11. และอื่นๆ

ส�ำหรับวาระปฏิรูปของสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ได้ก�ำหนดเป็น 18 วาระ ดังต่อไปนี้ 1. การเมือง 2. การบริหารราชการแผ่นดิน 3. กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม 4. การปกครองท้องถิ่น 5. การศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 6. เศรษฐกิจ การเงินและการคลัง 7. การเกษตร อุตสาหกรรม พาณิชย์ การท่องเที่ยวและบริการ 8. พลังงาน 9. ระบบสาธารณสุข 10. ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 11. การสื่อสารมวลชนและเทคโนโลยีสารสนเทศ 12. สังคม ชุมชน เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการและผู้ด้อยโอกาส 13. แรงงาน สารสมาคมวิจัยสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย

15


14. การป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ 15. ค่านิยม ศิลปวัฒนธรรม จริยธรรมและการศาสนา 16 การกีฬา 17. วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย นวัตกรรมและทรัพย์สินทางปัญญา 18. การคุ้มครองผู้บริโภค

จุดมุง่ หมายของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ พ.ศ. 2557 คือการน�ำความรูจ้ ากการปฏิรปู มาสะท้อนเป็นกฎหมาย เพื่อท�ำให้สังคมมีความสงบสุข ซึ่งในปัจจุบันต้องมาท�ำความเข้าใจว่าประชาชนเข้าใจแนวคิดที่น�ำมาใช้ดีพอ หรือยัง แต่คนยังไม่เข้าใจ ไม่ได้แปลว่าไม่รู้เรื่อง แต่ไม่เข้าใจในแนวทางการปฏิบัติ ซึ่งจุดมุ่งหมายของรัฐธรรมนูญ ฉบับใหม่ มีดังนี้ 1. สร้างพลเมืองให้เป็นใหญ่   ค�ำว่า “พลเมือง” เป็นค�ำใหม่ซึ่งเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญเป็นครั้งแรก จึงต้องการการวิจัยที่จะให้นิยาม ความเป็นพลเมือง ควรวิจัยว่าความเป็นพลเมืองมีองค์ประกอบอะไรบ้าง มีมิติอะไร ต้องการวิจัยให้เกิด ความกระจ่างของค�ำว่าพลเมือง ซึง่ ในปัจจุบนั มีงานวิจยั ทีเ่ กีย่ วข้องกับการสร้างนิยามค�ำว่าพลเมืองน้อยมาก ซึง่ ควรจะ ท�ำงานวิจยั ให้สามารถน�ำไปปฏิบตั ไิ ด้ มากกว่าอยูเ่ พียงในกระดาษ ต้องท�ำให้เกิดรูปธรรม เกิดความเข้าใจ ตัวอย่างเช่น นักเรียนในฐานะเป็นพลเมือง ควรจะมีบทบาทยังไง ควรมีความสามารถด้านไหน รัฐธรรมนูญฉบับนี้ให้น�้ำหนัก แก่ประชาชนให้มีบทบาทเป็นพลเมือง ไม่ใช่เป็นเพียงแค่ราษฎรธรรมดา 2. การเมืองใสสะอาด โปร่งใส ไม่ใช้อำ� นาจ ไม่ลอุ ำ� นาจ ไม่นำ� ไปสูก่ ารคอร์รปั ชัน จนท�ำให้บา้ นเมืองเสียหาย 3. หนุนสังคมที่เป็นธรรม 4. น�ำชาติสู่สันติสุข งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปประเทศ คืองานวิจัยที่สามารถสื่อสารให้ประชาชนเกิดความรู้สึกเป็น ส่วนหนึง่ ของประเทศ และเห็นความส�ำคัญ แล้วน�ำมาสูก่ ารกดดับเพือ่ การเปลีย่ นแปลงประเทศ ซึง่ มีโจทย์ในการ ท�ำวิจัยเพื่อการปฏิรูปประเทศ ดังนี้

โจทย์วิจัยเพื่อการปฏิรูปการเมืองการปกครอง - การสร้างความเป็นพลเมือง ค�ำว่าพลเมืองมีนยั ต่อการสร้างความรู้ ต่อการปฏิบตั มิ ากมาย ถ้าเราเชือ่ ว่า ความพลเมืองเป็นองค์ประกอบ เป็นคุณสมบัติพื้นฐานของระบบประชาธิปไตยในสมัยใหม่แล้วนั้น ควรจะมี การท�ำวิจยั ในหลายๆ ด้าน เพราะมีหลายมิติ ตัวอย่างเช่น ควรท�ำวิจยั ในการสร้างตัวชีว้ ดั ความเป็นพลเมือง ว่าดัชนี ชี้วัดใดเหมาะสมกับคนในระดับใด การวิจัยทางสังคมศาสตร์อาจสร้างชุดจิตวิทยา ประเมินเชาว์อารมณ์ (EQ) ประเมินเชาว์ปญั ญา (IQ) การสร้างเครือ่ งมือเพือ่ วัดระดับความเป็นพลเมือง เครือ่ งมืดวัดความเป็นพลเมืองทีเ่ หมาะสม กับเด็ก ตั้งแต่หลักสูตรอนุบาล หลักสูตรประถม มัธยม เครื่องมืดวัดความเป็นพลเมืองที่เหมาะสมส�ำหรับคน เกษียณแล้ว งานวิจัยควรมีการศึกษาวิธีการเรียนรู้เกี่ยวกับพลเมือง เพื่อตอบสนองต่อการปฏิรูปการเมือง การปกครอง - การออกแบบระบบการเลือกตั้งในระดับประเทศและระดับท้องถิ่น ควรมีการท�ำงานวิจัยในการศึกษา ระบบการเลือกตั้งที่สอดคล้องกับสภาพความเป็นอยู่ของคนไทย มากกว่าการน�ำงานวิจัยจากต่างประเทศ มาออกแบบการเลือกตั้งของประเทศ 16

สารสมาคมวิจัยสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย


- รูปแบบความสัมพันธ์ที่มีดุลยภาพระหว่างอ�ำนาจนิติบัญญัติ อ�ำนาจบริหาร และอ�ำนาจตุลาการ - ดุลยภาพทางพลังระหว่าง รัฐ ทุน สังคม ยังไม่มงี านวิจยั ทีม่ าตอบได้วา่ ดุลยภาพทางพลังระหว่าง รัฐ ทุน สังคม เป็นยังไง ควรมีการท�ำงานวิจัยเพิ่มเติม

ประเด็นปฏิรูปการเมือง ซึง่ ยังต้องการความรู้ ความเข้าใจจากการวิจยั เข้ามาท�ำการวิจยั ปฏิบตั กิ าร (Action Research) เพือ่ ให้ได้ องค์ความรูส้ ำ� หรับการปฏิบตั จิ ริง ซึง่ ยังมีนอ้ ยมากในประเทศไทย ตัวอย่างเช่น ท�ำอย่างไรจะได้คนดี นักการเมืองทีด่ ี มีลักษณะอย่างไร ประเด็นปฏิรูปการเมือง ที่ยังความรู้ทางด้านการวิจัยเข้ามามีส่วนร่วม มีดังนี้ - ความโปร่งใสยุติธรรมของกระบวนการคัดเลือกบุคคลเข้าสู่ต�ำแหน่งทางการเมือง - ท�ำอย่างไรจะได้นักการเมืองที่ดี - การมีระบบถ่วงดุลและตรวจสอบระหว่างนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ ไม่ให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเข้มแข็ง เกินไปจนท�ำให้มีการใช้อ�ำนาจเกินกว่าที่รัฐธรรมนูญบัญญัติ - ให้มีองค์กรอิสระที่ท�ำหน้าที่ตรวจสอบและถอดถอนผู้ด�ำรงต�ำแหน่งทางการเมืองอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นธรรม ตัวอย่างเช่น เกณฑ์ในการตรวจสอบเป็นอย่างไร มีเกณฑ์เที่ยงธรรมอย่างไรในการถอดถอน ยังไม่มีการ วิจัยที่ดีส่วนใหญ่ใช้ดุลยพินิจคนเป็นหลัก ไม่มีหลักคิดหรือแนวปฏิบัติที่สั่งสมมามากพอที่จะเป็นบรรทัดฐานได้ ซึ่งควรท�ำการวิจัยและพัฒนาระบบ เป็นต้น - การมีพรรคการเมืองที่มีการบริหารงานที่โปร่งใสมีอุดมการณ์เป็นที่รวมของคนดีที่มุ่งเสียสละท�ำ ประโยชน์ให้ประเทศชาติ

ด้านการเมืองประชาธิปไตย

มีประเด็นที่น่าสนใจ เช่น - การเมืองทุนนิยมอุปถัมภ์ - การเมืองที่ส่งเสริมเผด็จการทางรัฐสภา - การเมืองที่ส่งเสริมเผด็จการทางเศรษฐกิจและสังคม - การเมืองที่มีคนไม่เกิน 2,000 คน จาก 64 ล้านคนที่เป็นผู้ก�ำหนด - การเมืองที่เต็มไปด้วยการแข่งขัน ขัดแย้ง ความรุนแรง - การเมืองที่สร้างความแตกแยก

ประเด็นทางการเมืองที่ควรศึกษาวิจัย 1. ประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนกับประชาธิปไตยโดยตรง (ระดับชาติ กับ ระดับท้องถิ่น) ควรมีการท�ำงาน วิจัยที่เกี่ยวกับสมัชชาสมาคมแห่งชาติ เพื่อการก�ำหนดมาตรฐานคุณธรรม จริยธรรมทางเมือง การสอบทาน ยื่นตรวจสอบเพื่อส่งเรื่องไป กกต หรือ ปปช ที่มาจากประชาชน สภาพลเมืองหรือสมัชชาพลเมือง เพื่อตรวจสอบ การท�ำงานของภาครัฐ สภาตรวจสอบประชาชนเพือ่ ตรวจสอบการท�ำงานทางการเมืองของภาคประชาชน ซึง่ เป็น งานวิจัยที่ควรท�ำอย่างเร่งด่วน 2. การเมืองกระแสสากลกับการเมืองอนุรกั ษ์โครงสร้างเดิมกับการเมืองของคนด้อยโอกาสยังไม่มงี านวิจยั ทางการเมืองการปกครองทีต่ อบสนองต่อคนทีม่ คี วามคิดอนุรกั ษ์ คนทีถ่ กู ไล่ทดี่ นิ ถูกปฏิเสธสิทธิตา่ งๆ การให้ความรู้ กับคนด้อยโอกาส การใช้ทรัพยากรที่ดีในการจัดการกับชีวิต สารสมาคมวิจัยสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย

17


การปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน

ประเด็นที่น่าสนใจ เช่น - การปฏิรูปโครงสร้างและระบบต�ำรวจ ยังขาดงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปการท�ำงานของต�ำรวจ - การป้องกันและขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบ - การปฏิรูปกฎหมายต่างๆ ในการบริหารราชการแผ่นดิน

ประเด็นทางเศรษฐกิจ ชุดวิจยั ทีค่ วรท�ำอย่างเร่งด่วน คือการท�ำอย่างไรให้ฐานชีวติ ของประชาชนทีม่ ฐี านทรัพยากรมีความเชือ่ มโยงกัน ท�ำให้ชีวิตของประชาชนในชนบทกับเศรษฐกิจเชื่อมโยงกัน กฎหมายทางการค้าเพื่ออธิปไตยทางด้านเศรษฐกิจ ซึ่งปัจจุบันประเทศยังขาดความรู้เพื่อต้องการพัฒนาในด้านนี้อยู่ ยังไม่มีการวิจัยที่ผสมผสานระหว่างเทคนิค ทางด้านความคิดทางเศรษฐกิจกับกฎหมายระหว่างประเทศ ในการจัดการอธิปไตยทางเศรษฐกิจ ขาดคนทีม่ คี วามรู้ ทางด้านเศรษฐกิจทางการเกษตร กฎหมายทะเล กฎหมายแรงงาน ยังไม่มกี ารจัดการความรูแ้ บบผสมผสานร่วมกัน ซึ่งควรท�ำการวิจัยในด้าน 1. การด�ำรงและเสริมสร้างฐานชีวิตด้านทรัพยากร การผลิตการบริโภค ภูมิปัญญา สุขภาพ วัฒนธรรม และจิตวิญญาณ 2. การจัดการอธิปไตยทางเศรษฐกิจเพื่อปกป้องการค้าและประโยชน์ของชาติ

โจทย์การวิจัยเพื่อการปฏิรูปเศรษฐกิจ - การปรับเปลี่ยนจากเศรษฐกิจที่ผลิตสินค้าปฐมภูมิไปเป็นเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เป็นเรื่องที่ต้องท�ำเป็น สหวิทยาการ เช่นการปลูกข้าว ซึ่งในปัจจุบันเน้นการปลูกข้าวเพื่อขายตลาดล่าง หรือตลาดกลางเป็นส่วนใหญ่ แต่ขาดการเน้นการขายกลุ่มตลาดบนที่ซื้อข้าวในราคาสูง ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่กินข้าวเพื่อสุขภาพ ซึ่งข้าวในราคาสูง ยังขาดการดัดแปลงพัฒนาสินค้าข้าวของเราในการขายให้คนกลุ่มนี้ เนื่องจากเรายังขาดความรู้ในการแปรรูป การท�ำตลาดในการส่งออกที่มีคุณภาพ - การปรับเปลีย่ นจากเศรษฐกิจอุตสาหกรรมทีใ่ ช้ทรัพยากรสิน้ เปลืองและท�ำลายสิง่ แวดล้อมไปสูเ่ ศรษฐกิจ อุตสาหกรรมการเกษตรสีเขียว - การสร้างสังคมผู้ประกอบการ - การส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม - การท�ำให้ชุมชนท้องถิ่นเป็นศูนย์กลางของเครือข่ายคุณค่าและมูลค่าทางธุรกิจและเศรษฐกิจควรมี การศึกษาว่าจะท�ำอย่างไรให้ชมุ ชนในชนบทเป็นศูนย์กลางในการเพิม่ คุณค่าหรือมูลค่า ทางเศรษฐกิจ ในปัจจุบนั เน้น ความส�ำคัญที่โรงงาน โดยมองถึงทุนเป็นหลัก ซึ่งเปลี่ยนจากภาคเกษตรมาเป็นภาคอุตสาหกรรม ภาคการเกษตร กับภาคอุตสาหกรรมก็ไม่ได้เป็นดัง่ หวัง ควรมีการท�ำงานวิจยั ทีส่ ง่ เสริม เพือ่ เพิม่ มูลค่าสินค้าทางการเกษตรเพือ่ ให้ ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น

ประเด็นความรู้ทางการปฏิรูปกับการวิจัยทางสังคมศาสตร์ 18

ควรเริ่มจากการทบทวนสถานการณ์ และท�ำความเข้าใจสิ่งต่อไปนี้ - เราไม่ค่อยรู้และเข้าใจคนไทยด้วยกัน รวมทั้งสังคมไทยและประเทศไทย - เรายังไม่เข้าใจพื้นที่ คน และปัญหา สารสมาคมวิจัยสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย


- เราน�ำกรอบคิด ฐานคิดตะวันตกมาน�ำการวิจัยโดยไม่คิดที่จะสงสัย โต้แย้ง ปฏิเสธ - อคติทางเชื้อชาติ ชนชั้น ส�ำนึกคิดและประโยชน์ส่วนตัว กลุ่ม - ความรู้บางส่วนที่สร้างขึ้นจึงผิวเผิน เว้าแหว่ง เป็นส่วนเสี้ยว ไม่ต่อเนื่องยาวนาน และการแก้ปัญหา การพัฒนาจึงสร้างปัญหาชุดใหม่ที่ยากและซับซ้อนกว่าเดิม - เรายังไม่มีกรอบความคิดกรอบท�ำความเข้าใจต่อประเด็นสาธารณะและปัญหาในเรื่องต่างที่ดีพอ - งานวิจัยทางสังคมศาสตร์ในประเทศไทยมีปริมาณไม่มาก ชุดงานวิจัยใหญ่ ในแต่ละปีมีไม่เกิน 5 ชุด ชุดงานวิจยั ทีท่ ำ� ต่อเนือ่ งหลายปีแทบไม่มเี ลย เงินทุนวิจยั ทางสังคมศาสตร์ในแต่ละปีมไี ม่ถงึ ร้อยละ 0.5 ของรายได้ ประชาชาติ - หน่วยงานที่ท�ำวิจัยทางสังคมศาสตร์ยังคงเป็นมหาวิทยาลัย สถาบันวิจัย เช่น สกว. วช. TDRI หน่วยงานราชการ บริษัทใหญ่จึงเริ่มท�ำวิจัยธุรกิจเอง ขณะที่องค์กรพัฒนาเอกชน ชุมชนท้องถิ่น กลุ่มกิจกรรม กลุ่มผู้ผลิต ผู้แปรรูป กลุ่มอนุรักษ์ และสื่อ ยังท�ำวิจัยสร้างความรู้เองค่อนข้างน้อย - ระเบียบวิธวี จิ ยั ด้านสังคมศาสตร์เชิงคุณภาพได้รบั ความสนใจน้อยทัง้ ๆ ทีก่ ารสร้างฐานคิด กรอบความคิดนัน้ ส�ำคัญยิง่ ส�ำหรับประเทศทีต่ อ้ งการสร้างความรูจ้ ากรากฐานขึน้ มา ไม่ใช่การน�ำแบบอย่างจากทีอ่ นื่ มาลอกเลียนแบบ - ตัวอย่างพัฒนาการการสร้างความรู้ทางสังคมศาสตร์ในไทย จากบางชัน สู่ลุ่มน�้ำท่าจีน ชุมชนชาวนา พื้นที่สูงและชุมชนเมืองและโซนแรงงาน - ชุมชนเริ่มท�ำการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาของชุมชน เช่น ที่แพรกหนามแดง - ทัศนะของคนไทยต่อความรู้ - การพัฒนาความแข็งแกร่งของเครื่องมือการสร้างความรู้ - ปริมาณและคุณภาพของความรู้ทางสังคมศาสตร์ที่สามารถน�ำมาใช้ประโยชน์ (วิจัยขึ้นหิ้ง) - จริยธรรมของนักวิจัย - การน�ำความรู้สู่การปฏิรูปเปลี่ยนแปลงสังคมสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา ประชาชนน�ำไปใช้ จนฝ่ายปฏิบัติ เห็นความส�ำคัญแล้วน�ำไปปฏิบัติ

การวิจัยสามารถใช้เป็นเครื่องมือ เข้าถึงปัญหาของคน เข้าถึงปัญหาในพื้นที่ความรู้ที่ต้องการ ด้วยการวิจัยแบบต่างๆ - การวิจัยพื้นฐาน - การวิจัยประยุกต์ - การวิจัยทดลองพัฒนา - การวิจัยเพื่อออกแบบ - การวิจัยค้นหาออกแบบอนาคตของสังคมเศรษฐกิจ เพื่อกระตุ้นให้คนมีจินตนาการ การวิจัยทาง สังคมศาสตร์ควรท�ำแล้วมีการสร้างเวทีร่วมกัน - การวิจยั พัฒนานโยบายและยุทธศาสตร์ชาติ งานวิจยั โครงสร้าง เข้าใจโครงสร้างแล้วน�ำเสนอโครงสร้างใหม่ - การวิจยั เพือ่ พัฒนาการบริหารและจัดการปัญหาเฉพาะด้าน เฉพาะกลุม่ คน และเฉพาะพืน้ ที่ สร้างความรู้ แต่ละพื้นที่ ภูมิปัญญาแต่ละพื้นที่ สร้างความแข็งแกร่งให้แต่ละชุมชน - การวิจัยพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น สารสมาคมวิจัยสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย

19


การวิจัยเพื่อความรู้ตามแนวพระราชด�ำริ มีประเด็นที่น่าสนใจ เช่น - ความรู้เกี่ยวกับหลักการและวิธีการจัดการทรัพยากร 6 มิติ - ความรู้เกี่ยวกับระบบการจัดการทรัพยากรเพื่อความพออยู่พอกินของคนที่อ่อนแอทางเศรษฐกิจ หรือ เกษตรทฤษฎีใหม่ - ความรูเ้ กีย่ วกับการด�ำรงชีวติ ทีม่ นั่ คงท่ามกลางความผันผวนไม่แน่นอน หรือปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง - ความรู้เกี่ยวกับหลักการท�ำงานให้ได้ผล - ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาคน ความรู้ที่ใช้ในการปฏิรูปประเทศที่มีอยู่ในปัจจุบันมีแต่ความรู้เดิมๆ ขาดความรู้ใหม่ๆ ไม่ค่อยมีการท�ำ การวิจยั ในการหาความรูใ้ หม่เพือ่ ตอบสนองการปฏิบตั งิ านได้จริง ซึง่ ถ้ามีการท�ำงานวิจยั ทีส่ ามารถน�ำมาปฏิบตั ไิ ด้จริง บ้านเมืองจะได้ประโยชน์ในการน�ำความรู้ที่ได้ไปปฏิรูปประเทศให้พัฒนาต่อไป

20

สารสมาคมวิจัยสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย


การอภิปรายเรือ่ ง การวิจยั ทางสังคมศาสตร์กบั การสร้างเสริมธรรมาภิบาล ผู้อภิปราย: รองศาสตราจารย์ ดร.เนาวรัตน์ พลายน้อย รองศาสตราจารย์ ดร.รสชงพร โกมลเสวิน ศาสตราจารย์ ดร.ศิริชัย กาญจนวาสี ผู้ด�ำเนินการอภิปราย: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชุติมา สุรเศรษฐ

รองศาสตราจารย์ ดร.เนาวรัตน์ พลายน้อย สังคมไทยและสังคมโลกเป็นพลวัตซับซ้อน เปลี่ยนแปลงไปไม่เหมือนเดิม สถานการณ์ธรรมาภิบาล ในบริบทของประเทศไทยพบว่ามีความอ่อนด้อย มีปัญหาเนื่องจากไม่มีกลไกเชิงโครงสร้างที่มีประสิทธิภาพ เพื่อเอื้อให้สถานการณ์ธรรมาภิบาลเป็นไปได้ตามเจตนารมณ์ นอกจากนี้ผู้คนในสังคมยังขาดแรงจูงใจ ความตั้งใจ ที่จะปฏิบัติให้เกิดธรรมาภิบาล ปัญหาความอ่อนด้อยหรือความบกพร่องในธรรมาภิบาลเกิดจากระบบคิด ระบบคุณค่าของสังคม หรือ ผู้คนในสังคมในเรื่องชีวิตที่พึงปรารถนาหรือเป้าหมายในชีวิต ช่วงครึ่งศตวรรษที่ผ่านมาสังคมให้ความส�ำคัญเรื่อง ความมั่งคั่งในชีวิต (life prosperity) มากกว่าความมั่นคงในชีวิต (life security) ทั้งสองอย่างมีความหมายและ กลยุทธ์แตกต่างกัน เมือ่ เราให้ความส�ำคัญกับความมัง่ คัง่ ในชีวติ มากกว่าความมัน่ คงในชีวติ หมายถึงการให้ความส�ำคัญ กับเรื่องมูลค่ามากกว่าคุณค่า ให้ความส�ำคัญกับเรื่องปริมาณมากกว่าคุณภาพ ให้ความส�ำคัญเรื่องของผลลัพธ์ มากกว่ากระบวนการ ตลอดจนให้ความส�ำคัญความรวดเร็วในการตอบสนองความต้องการ รวมถึงทัศนะในเชิง บริโภคนิยม หากสังคมใดให้ความส�ำคัญกับเรื่องใดก็ย่อมจะมีกลไกในสังคมนั้นๆ เอื้อให้ความส�ำคัญนั้นบรรลุผล เมื่อเราให้ความส�ำคัญเรื่องความมั่งคั่งในชีวิต นโยบายต่างๆ ก็จะตอบสนองความมั่งคั่งในชีวิตมากกว่าสนอง ความมัน่ คงในชีวติ เรือ่ งทีม่ คี วามส�ำคัญมากต่อธรรมาภิบาลคือเรือ่ งนโยบายสาธารณะ ถ้าเรือ่ งใดเป็นนโยบายสาธารณะ เรื่องนั้นจะมีความชอบธรรมในการใช้ทรัพยากรสาธารณะเพื่อท�ำให้นโยบายนั้นเป็นจริง ด้วยเหตุนี้รัฐบาลจึงมี ความชอบธรรมในการน�ำภาษีของประชาชนไปสู่นโยบายสาธารณะที่สร้างความมั่งคั่งในชีวิต โดยเหตุที่กระบวน ทัศน์ (mental model or mind set) ของผู้คนในสังคมสนใจเรื่องความมั่งคั่งในชีวิต ท�ำให้รัฐ องค์กร หน่วยงาน ต่างๆ มีนโยบาย และทิศทางต่างๆ ทีผ่ ลักดันไปสูค่ วามมัง่ คัง่ ในชีวติ ซึง่ ให้ความส�ำคัญกับวัตถุ มูลค่าส�ำคัญมากกว่า คุณค่าจึงเชื่อมโยงไปสู่การเกิดปัญหาธรรมาภิบาลผ่านการมีนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อเรื่องนั้นๆ ในฐานะที่เป็น นักการศึกษา นักการเรียนรู้ เป็นพันธกิจของเราที่ควรเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของคนในสังคม ท�ำให้ระบบคุณค่า ระบบคิดน�ำพาไปสู่ความคิดที่ถูกต้อง หรือสัมมาทัศนะ ถ้าเรามีมิจฉาทัศนะ นโยบายต่างๆ ก็จะน�ำพาไปสู่การเกิด ปัญหาธรรมาภิบาลตามมา ที่ผ่านมาประเทศไทยขับเคลื่อนประเทศด้วย 2 นโยบายหลัก คือ 1) แรงงานราคาถูก 2) การใช้วัตถุดิบ โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ ปัจจุบันเริ่มมีปัญหาแรงงานราคาถูก เนื่องจากเรามีนโยบายการคุมก�ำเนิด ผู้สูงอายุมี จ�ำนวนเท่าๆ กับประชากรเด็ก ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้วเพราะมีเกิน 15% จึงท�ำให้ขาดแคลนแรงงาน เราจึงน�ำเข้าแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้าน นอกจากนี้มีปัญหาเรื่องวัตถุดิบ เราจึงหาวัตถุดิบจากที่อื่น เช่น พม่า ลาว เป็นต้น เมื่อเป็นอย่างนี้ในหลายๆ ปีที่ผ่านมาท�ำให้เอื้อต่อการเกิดปัญหาธรรมาภิบาล ประชาชนที่เคยคิดเอง ท�ำเองได้พอสมควร พอหลายปีมากขึ้นก็คุ้นชินกับการรอรับ คิดถึงผลประโยชน์ระยะสั้นมากกว่าผลกระทบระยะ สารสมาคมวิจัยสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย

21


ยาวในทีส่ ดุ ประชาชนเริม่ ชอบนโยบายประชานิยม แต่นโยบายเหล่านีน้ ำ� มาด้วยการขาดธรรมาภิบาล มีการคอร์รปั ชัน ความไม่โปร่งใส ดังนั้นการเกิดปัญหาธรรมาภิบาลในประเทศไทยจึงมาจากนโยบายสาธารณะที่ไม่ดี ผู้คนจ�ำนวนมากในสังคมไทยกลายเป็น passive citizen คือเป็นผู้รอรับ สังคมไทยยุคนี้มีไทยเฉย อยู่ใน วัฒนธรรมเงียบ ไม่ได้รับการเสริมพลังให้แสดงความคิดเห็น คนไทยน�ำค�ำพังเพยมาใช้ในบริบทที่ผิดๆ เกี่ยวกับ ธรรมาภิบาล เช่น พูดไปสองไพเบีย้ นิง่ เสียต�ำลึงทอง เมือ่ เห็นคนท�ำผิดแล้วไม่พดู ท�ำเฉย เพราะฉะนัน้ ถ้าจะแก้ปญ ั หา เรื่องธรรมาภิบาลต้องปลูกจิตส�ำนึกรู้ เรื่องการเอาธุระต่อสังคม การคิดออกนอกตัว คนที่อยู่ในด้านการศึกษาต้อง คิดสิ่งเหล่านี้ให้มากขึ้น ปัญหาเหล่านีน้ ำ� มาสูป่ ญ ั หาเรือ้ รังหลายด้าน เช่น ความเหลือ่ มล�ำ ้ ความยากจน ความเสือ่ มโทรมของระบบ นิเวศทรัพยากร ความอ่อนล่าของสถาบันครอบครัวและชุมชน รวมทั้งปัญหาความเสื่อมถอยระบบคุณธรรม จริยธรรม ปัญหาเหล่านี้ส่วนหนึ่งเกิดจากตัวประชาชนท�ำตัวเอง แต่ที่ส�ำคัญเรื่องใหญ่มาจากปัจจัยโครงสร้าง คือ ปัจจัยเชิงนโยบายสาธารณะที่ไม่ดี นักการเมืองและผู้บริหารในท้องถิ่นท�ำการเมืองแบบ 3 p (politic of 3 p) คือ 1) Position 2) Power 3) Prosperity ซึ่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตยต้องมี 2 p คือ People Participation ให้ประชาชนมีส่วนร่วม การแก้ปัญหาเรื่องธรรมาภิบาลในฐานะของนักการศึกษาต้องแก้ที่การมีสัมมาทัศนะ คิดจริงจัง ลุ่มลึก เรื่องเป้าหมายของชีวิตที่ดีมีคุณภาพเป็นอย่างไร มีกระบวนการเรียนรู้นโยบายสาธารณะที่ถูกต้องสอดคล้องกับ สังคมที่พึงปรารถนา อีกทั้งต้องมีการเปลี่ยนแปลงระบบคิด ระบบคุณค่าของผู้คน การวิจยั ทางสังคมศาสตร์ทผี่ า่ นมายังมีพลังไม่เพียงพอ เนือ่ งจากมีปญ ั หาทีร่ ะบบการวิจยั การวิจยั ทีเ่ กีย่ ว กับธรรมาภิบาลควรท�ำดังนี้ 1. การวิจัยมุ่งไปที่สัมมาทัศนะเกี่ยวกับชีวิตที่พึงปรารถนาว่าต้องท�ำอย่างไร 2. น�ำการวิจัยมาขับเคลื่อนเป็นโยบายสาธารณะ ดังนั้นเราควรผลักดันกระบวนการท�ำวิจัยที่ดี ไปสู่ การแก้ปญ ั หาทัง้ ในระดับท้องถิน่ และระดับชาติ การขับเคลือ่ นงานให้เกิดผลโดยใช้ทฤษฎีการเปลีย่ นแปลง (Theory of Change) 3. ท�ำ Social Research for Social Action คือท�ำวิจัยทางสังคมเพื่อส่งเสริมการปฏิบัติการทางสังคม 4. การเชื่อมโยงธรรมาภิบาลกับการวิจัยในกลุ่มต่างๆ เช่น กลุ่มเกษตร กลุ่มสิ่งแวดล้อม เป็นต้น 5. การจัดการความรู้โดยเลือกความรู้ที่เป็นประโยชน์มาใช้ เรามีความรู้ที่ได้จากการวิจัยหลายอย่างแล้ว แต่เราขาดการจัดการความรู้ 6. มีวิธีวิทยาการวิจัยที่ซับซ้อนพอที่จะสนองตอบต่อปัญหาสังคมที่ซับซ้อน 7. การวิจัยต้องไปถึง transdisciplinary คือท�ำโดยนักวิจัยมืออาชีพบวกกับภาคประชาชนและบริบท ที่เป็นจริง ความรู้ต้องข้ามพรมแดนจึงจะแก้ปัญหาได้

รองศาสตราจารย์ ดร.รสชงพร โกมลเสวิน ในมุมมองของนักการสื่อสาร ธรรมาภิบาลเป็นนามธรรม ท�ำให้เกิดปัญหากับตัวผู้ใช้ องค์กร ผู้รับบริการ และนักวิจัย เพราะค�ำนี้คนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจว่าหมายถึงอะไรและอาจเข้าใจไม่ตรงกันธรรมาภิบาลจึงแบ่งเป็น สองส่วนคือส่วนขององค์กร กับผูร้ บั บริการในองค์กรนัน้ ๆ ถ้าเรารณรงค์เรือ่ งธรรมาภิบาลส�ำเร็จ ก็คอื แก้ปญั หาคอร์รปั ชัน ได้ ในมุมมองของนักการสื่อสารมองว่าธรรมาภิบาลไม่สอดคล้องกับวัฒนธรรมไทย ดังนี้ 22

สารสมาคมวิจัยสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย


1. วัฒนธรรมไทยให้ความส�ำคัญกับพวกพ้องของตนเอง ถึงแม้จะท�ำผิดแต่ถา้ เป็นพวกของตนก็จะถูกเสมอ 2. อ�ำนาจชนชั้นในสังคมไทย ท�ำให้ผู้น้อยไม่กล้าที่จะตั้งค�ำถามเมื่อผู้ใหญ่ท�ำผิด 3. คนไทยส่วนใหญ่รู้จักใช้สิทธิ แต่ไม่รู้จักหน้าที่ เป็นผู้รอรับจากรัฐบาล

ถ้าเราสามารถเปลี่ยนวัฒนธรรมไทยตรงนี้ได้ก็จะแก้ปัญหาธรรมาภิบาลได้ การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรม สามารถท�ำได้ แต่ต้องใช้เวลา การสื่อสารต้องท�ำอย่างต่อเนื่อง ถ้าหยุดแล้วท�ำใหม่เท่ากับเริ่มต้นจากศูนย์ เช่น การรณรงค์เรื่องอุบัติเหตุ ควรจะท�ำต่อเนื่องทุกวัน ไม่ใช่ท�ำแค่ช่วงเทศกาล การรณรงค์ เรื่องธรรมาภิบาลให้คน ระดับล่างเข้าใจต้องท�ำให้ง่าย ให้เข้าใจ concept มากกว่านี้ ถ้าท�ำได้ชัดเจนก็จะส่งผลให้การท�ำวิจัยชัดเจนด้วย เราประเมินการสื่อสารต�่ำไป ในการสื่อสารเราต้องรู้วัฒนธรรมของผู้รับสารว่าเป็นอย่างไร เพราะฉะนั้น การจะเปลี่ยนวัฒนธรรมใหม่เราต้องรู้ว่าเราสื่อสารกับใครแล้วเราใช้วิธีที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายเหล่านั้น แต่ปจั จุบนั เราพบว่าการสือ่ สารเป็นแบบท็อป-ดาวน์ ไม่มกี ารสือ่ สารแบบสองทาง ผูม้ อี ำ� นาจเป็นผูค้ ดิ ก�ำหนดนโยบาย โดยที่ไม่มีการรับฟังว่าผู้รับต้องการหรือไม่ แล้วก็สั่งลงไป จึงท�ำให้เกิดปัญหาเรื่องการสื่อสารที่ไม่ตรงกัน ผู้รับ ไม่เข้าใจเจตนาของผู้ส่ง การส่ ง เสริ ม ธรรมาภิ บ าลต้ อ งให้ อ� ำ นาจกั บ พลเมื อ งในการตรวจสอบการท� ำ งานขององค์ ก รให้ มี ความซือ่ สัตย์สจุ ริต ปลูกฝังธรรมาภิบาลให้เป็นจิตส�ำนึก คือท�ำโดยอัตโนมัติ แต่บางส่วนอาจจะต้องใช้กฎหมายก่อน จนสุดท้ายท�ำให้เกิดจิตส�ำนึก รวมถึงการใช้อำ� นาจของสือ่ ในการรณรงค์เรือ่ งธรรมาภิบาล จะช่วยสร้างค่านิยมใหม่ใน ด้านจิตส�ำนึกธรรมาภิบาลได้

ศาสตราจารย์ ดร.ศิริชัย กาญจนวาสี ประเทศไทยอยู่ในช่วงการปฏิรูปประเทศครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง ถ้าย้อนไปปี 2539 ประเทศไทยเผชิญ กับวิกฤติปัญหาเศรษฐกิจซึ่งส่งผลกระทบต่อประเทศและทั่วโลก แต่นั่นก็เป็นโอกาสให้ประเทศไทยได้มี การปฏิรูปประเทศและการเมือง มีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ปี 2540 ซึ่งมีความเป็นประชาธิปไตยที่โดดเด่นมาก ฉบับหนึ่ง มีการปฏิรูประบบราชการ หลักเกณฑ์การจัดการบริหารบ้านเมืองที่ดี (good governance) การปฏิรูป การศึกษา มี พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติครั้งแรกปี 2542 เน้นการขับเคลื่อนประเทศด้วยการศึกษา แต่ผลที่ได้ ยังไม่ประสบความส�ำเร็จเท่าที่ควร หลังจากการเลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญปี 2540 ได้นักการเมืองที่ดีบ้าง ไม่ดบี า้ ง บริหารประเทศขาดธรรมาภิบาล มีการคอร์รปั ชันเชิงนโยบายอย่างมหาศาล จึงเกิดการปฏิวตั ิ ในปี 2549 และท�ำให้ประเทศไทยได้รัฐธรรมนูญใหม่ปี 2550 เป็นฉบับที่ดีอีกฉบับหนึ่ง เนื่องจากการเมืองมีการตรวจสอบ จากองค์กรอิสระ แต่หลังจากเลือกตั้งเราได้นักการเมืองเข้ามา ใช้นโยบายประชานิยม ที่ขาดธรรมาภิบาล ออกกฎหมายนิรโทษกรรมเพื่อพรรคพวก นโยบายการบริหารประเทศหลายอย่างผิดพลาด เกิดความเสียหาย ใหญ่หลวงต่อประเทศ จนเกิดการชุมนุมใหญ่ของประชาชน และน�ำไปสูก่ ารปฏิวตั โิ ดย คสช. ในปี 2557 ประเทศไทย จะได้รัฐธรรมนูญใหม่อีกฉบับ ซึ่งน่าจะเป็นฉบับพัฒนาขึ้นจากเดิมเพราะเพิ่มพลังอ�ำนาจของประชาชนในการ ตรวจสอบต่างๆ จะเห็นว่าประเทศไทยมีกฎเกณฑ์กติกาวางไว้ด ี แต่ได้คนไม่ดหี รือนักการเมืองบางคนทีไ่ ม่ดมี าปฏิบตั ทิ ำ� ให้ การปกครองการบริหารขาดธรรมาภิบาล ระบบดีแต่ถ้าคนในระบบยังขาดความพร้อม ยึดถือประโยชน์ส่วนตน มากกว่าส่วนรวม ชอบบริโภคนิยม ขาดกลไกที่มีประสิทธิภาพทางสังคมในการตรวจสอบ ปัญหาต่างๆ ก็จะเกิด สารสมาคมวิจัยสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย

23


ตามมา ในฐานะที่เป็นคนไทยภายใต้บริบทสังคมที่เป็นแบบนี้ การจะแก้ปัญหาสิ่งเหล่านี้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิด วังวนเดิมๆ เราต้องอาศัยองค์ความรู้และผลงานวิจัย ภายใต้วิกฤติของประเทศต่างๆ เช่น ญี่ปุ่นหลังสงครามโลก ครัง้ ที่ 2 มีการสร้างชาติดว้ ยอุดมการณ์ ปลูกฝังความมีระเบียบวินยั มีความอดทน ซือ่ สัตย์ ใช้เวลาไม่นานประเทศ ก็กลับมาอยู่แนวหน้าของโลก สิงคโปร์ใช้เวลาในการสร้างชาติ 50 ปี ลีกวนยู ผู้น�ำประเทศถึงแม้จะเป็นเผด็จการ ภายใต้เสือ้ คลุมประชาธิปไตย สร้างระเบียบวินยั คนในประเทศ มีวสิ ยั ทัศน์ บริหารงานอย่างธรรมาภิบาล เสียสละ เพื่อประโยชน์ส่วนรวม จนสามารถมายืนแถวหน้าของโลกได้อย่างสง่างาม การปฏิรูปครั้งนี้ประเทศไทยน่าจะมี โอกาสได้ท�ำสิ่งเหล่านี้ได้ อุปสรรคส�ำคัญในการขับเคลือ่ นประเทศไทยไปสูเ่ ป้าหมาย คือ การใช้อารมณ์ ความรูส้ กึ ในการขับเคลือ่ น ประเทศมากกว่าใช้องค์ความรู้ในการขับเคลื่อนประเทศไปสู่ทิศทางที่พึงประสงค์ สังคมโลก ในปัจจุบันเป็นสังคม ฐานความรู้ (Knowledge based society) ใช้องค์ความรู้น�ำไปสู่ความส�ำเร็จ ประเทศไทยจะก้าวสู่สังคมแห่ง ความรูไ้ ด้ตอ้ งก้าวข้ามความเชือ่ ทางไสยศาสตร์ หันมาใช้ความรูค้ วามเข้าใจทีเ่ ป็นองค์ความรู้ ทางวิทยาศาสตร์ให้มาก ขึ้น สื่อมวลชนและคนไทยจ�ำนวนมากที่ยังมีความเชื่อทางไสยศาสตร์ พิธีกรรม ผีสางเทวดา สังคมไทยจ�ำนวนไม่ น้อยยังขับเคลื่อนด้วยอารมณ์ ความรู้สึกมากกว่าการใช้องค์ความรู้ ข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์ มีแนวโน้มที่จะเชื่อสิ่ง ที่เขาเล่าต่อๆ กันมา พึ่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ในทุกระดับชั้นของคนในสังคมไทยมากกว่าเท่าที่จะขับเคลื่อนด้วย ข้อเท็จจริงและองค์ความรู้ ดังนัน้ ในการจะน�ำพาประเทศไปสูเ่ ป้าหมาย ผูน้ ำ� ต้องมีความรูค้ วามเข้าใจ คนรอบข้างต้อง มีความลุ่มลึกในเรื่องนั้นๆ และใช้องค์ความรู้เป็นตัวขับเคลื่อนประเทศไปสู่ทิศทางแห่งความส�ำเร็จ กระทรวงศึกษาธิการเป็นกระทรวงทีม่ ปี ญ ั หาสะสมหลายอย่าง ไม่วา่ จะเป็นปัญหาเรือ่ งองค์ความรู้ ปัญหา การทุจริตคอร์รัปชัน และวิธีการขับเคลื่อนต่างๆ ดังนี้ 1. กระทรวงศึกษามักได้ผนู้ ำ� ทีข่ าดองค์ความรูท้ างด้านการบริหารและจัดการศึกษาอย่างแท้จริง ใช้อารมณ์ ความรู้สึกในการท�ำงานมากกว่าการใช้องค์ความรู้จากฐานการวิจัย ดังนั้นการจะปรับเปลี่ยนระบบการศึกษา นโยบายการศึกษาให้มีความรุ่งโรจน์ในอนาคต ต้องเริ่มด้วยการวิเคราะห์ว่าเด็กไทยในศตวรรษที่ 21 ที่จะขึ้นมา ผงาดแถวหน้าของโลกจะต้องเก่งอะไร รู้อะไร อะไรที่เป็นแก่นสาระส�ำคัญในแต่ละระดับชั้นตั้งแต่อนุบาล จนถึง มัธยมศึกษา และอุดมศึกษาจะต่อยอดกันอย่างไร สิ่งเหล่านี้ต้องศึกษาวิเคราะห์ และจะเป็นตัวตั้ง ในการพัฒนา เด็กไทยไปสู่อนาคตของโลก การจะปรับเปลี่ยนหลักสูตรต้องมีหลักฐานเชิงประจักษ์ ถึงความเหมาะสมจ�ำเป็น ส�ำหรับเด็กไทย เป็นองค์ความรู้ที่เกิดจากข้อเท็จจริงจากการวิจัยพัฒนาหลักสูตร ไม่ใช่จากความรู้สึก 2. การศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน โรงเรียนขนาดเล็กมีประมาณ 10,000 จาก 30,000 โรงเรียน ทีต่ งั้ อยูใ่ นชนบทมี ปัญหาเรื่องครูไม่ครบชั้นเป็นมานานหลายสิบปี ยังไม่ได้รับการแก้ไข คุณภาพโรงเรียนต�่ำมาก 3. ระบบการคัดเลือกนักเรียนเข้าสู่มหาวิทยาลัย มีรับตรง และแอดมิชชั่นกลาง ซึ่งมีความสับสน แย่งชิง กัน เป็นระบบที่ขาดความเชื่อมโยงสัมพันธ์ไม่ได้เอื้อประโยชน์ให้กับสังคมไทยเท่าที่ควร 4. อาชีวศึกษาล้มเหลวมาโดยตลอด ควรวางรากฐานและแก้ไขอย่างไร 5. หน่วยงาน สสวท. สทศ. สมศ. จะท�ำอย่างไรให้เป็นหน่วยงานที่เป็นกลไกในการขับเคลื่อนคุณภาพ การศึกษาไทยได้อย่างแท้จริง บริหารอย่างไรให้มีธรรมาภิบาล 6. คอร์รัปชันทางการศึกษามีจ�ำนวนมาก อาทิ การจัดซื้อจัดจ้างเรื่อง โครงการนมเด็ก สนามเด็กเล่น สนามฟุตซ้อล ฯลฯ ตลอดจนการโยกย้ายบรรจุต�ำแหน่ง แต่งตั้ง การสอบบรรจุครู การท�ำผลงานทางวิชาการ 24

สารสมาคมวิจัยสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย


ถ้ า สร้ า งธรรมาภิ บ าลได้ ทุ ก หน่ ว ยงานราชการจะช่ ว ยลดปั ญ หาประสิ ท ธิ ภ าพ ประสิ ท ธิ ผ ล และ การคอร์รัปชันได้ หลักธรรมาภิบาล ประกอบด้วย 1. หลักนิติธรรม (Equity) ปฏิบัติตามกฎระเบียบอย่างเสมอภาค ไม่เลือกปฏิบัติ ไม่สองมาตรฐาน 2. หลักคุณธรรม (Integrity) ปฏิบัติงานโดยยึดหลักความถูกต้องดีงาม ผู้บริหารเป็นแบบอย่างที่ดี 3. หลักความโปร่งใส (Transparency) บริหารจัดการโดยยึดหลักข้อมูลข่าวสารสิ่งที่เปิดเผยได้ต้อง เปิดเผย การจัดซื้อจัดจ้างตรงไปตรงมา ตรวจสอบได้ 4. หลักการมีส่วนร่วม (Participation) เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมรับรู้ รับทราบร่วมบริหาร ร่วมตัดสินใจ 5. หลักความรับผิดชอบทีต่ รวจสอบได้ (Accountability) มีความรับผิดชอบต่อการตัดสินใจผลงานทีเ่ กิดขึน้ รับผิดชอบต่อส่วนรวม ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามาตรวจสอบได้ 6. หลักความคุ้มค่า (Cost Effectiveness or Economy) บริหารโดยยึดประโยชน์สูงสุดต่อส่วนรวม ไม่ท�ำลายสิ่งแวดล้อม ถ้าหน่วยงานภาครัฐทุกหน่วยน�ำสิ่งเหล่านี้ไปปฏิบัติ ก�ำหนดเป็นตัวชี้วัดแล้วท�ำการเก็บข้อมูลส�ำหรับน�ำ ไปประเมิน และมีการรายงานผลทุกไตรมาส หรือทุก 6 เดือน ก็จะเป็นหลักการประกันการบริหารทีม่ ี ธรรมาภิบาล น�ำสูก่ ารพัฒนาทีย่ งั่ ยืนช่วยแก้ปญั หาประสิทธิภาพและการประพฤติมชิ อบ การทุจริตคอร์รปั ชันต่างๆ ได้ทกุ หน่วยงาน ควรน�ำสิ่งนี้ไปปฏิบัติเป็นรูปธรรม และควรมีเครือข่ายภายในหน่วยงานและภายนอกหน่วยงานที่คอยตรวจสอบ การท�ำงานที่มีธรรมาภิบาล น�ำไปสู่การพัฒนาหน่วยงานที่มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล คนพอใจ โปร่งใส ตรวจสอบได้

สารสมาคมวิจัยสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย

25


การบรรยายทางวิชาการเพือ่ ประโยชน์สาธารณะของสมาคมวิจยั สังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย เรื่อง การปฏิรูปประเทศไทยกับการวิจัยทางสังคมศาสตร์ วันพฤหัสบดีที่ 30 เมษายน 2558 ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์กิตติคุณ คุณดวงเดือน พิศาลบุตร อาคารประชุมสุข อาชวอ�ำรุง คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

26

สารสมาคมวิจัยสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย


การฝึกอบรมทางวิชาการของสมาคมฯ ประจ�ำปี 2558 ชื่อหลักสูตร

วิทยากร

หลักสูตร 1 Multilevel Growth Models: Concepts, Methods, and Applications (19-20 พ.ค. 58)

Assoc. Prof. Dr. Keith Zvoch University of Oregon

หลักสูตร 2 การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามกรอบ มาตรฐานคุณวุฒิ (TQF) ความโปร่งใสและเป็นธรรมใน การวัดและประเมินผล (2-3 มิ.ย. 58)

ศ.ดร.ศิริชัย กาญจนวาสี รศ.ดร.โชติกา ภาษีผล ผศ.ดร.ณัฎฐภรณ์ หลาวทอง

หลักสูตร 3 การวิจัยแบบผสมวิธี (Mix Method) (4-5 มิ.ย. 58)

ดร.นำ�ชัย ศุภฤกษ์ชัยสกุล ดร.ฐาศุกร์ จันประเสริฐ

หลักสูตร 4 การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเบื้องต้นสำ�หรับ การวิจัย (SPSS) * (6-8 มิ.ย. 58)

ศ.กิตติคณ ุ ดร.นงลักษณ์ วิรชั ชัย/ รศ.ดร.อวยพร เรืองตระกูล และคณะ

หลักสูตร 5 สถิติวิเคราะห์ขั้นสูงสำ�หรับการวิจัย 1: GLM, รศ.ดร.อวยพร เรืองตระกูล DA, Neural Network and Decision Tree Analysis** ดร.สิวะโชติ ศรีสุทธิยากร (9-11 มิ.ย. 58) ดร.ชยุตม์ ภิรมย์สมบัติ ดร.วัยวุฑฒ์ อยู่ในศีล ดร.ดนุพล หุ่นโสภณ ผศ.ดร.ศจีมาจ ณ วิเชียร หลักสูตร 6 สถิติวิเคราะห์ขั้นสูงสำ�หรับการวิจัย 2: Categorical data Analysis, CA, Conjoint Analysis, Corespondence Analysis, Trend Analysis and Forcasting** (12-14 มิ.ย. 58)

ศ.กิตติคุณ ดร.นงลักษณ์ วิรัชชัย ผศ.ดร.ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง ดร.สิวะโชติ ศรีสุทธิยากร ดร.สังวรณ์ งัดกระโทก ดร.ชยุตม์ ภิรมย์สมบัติ

หลักสูตร 7 สถิติขั้นสูงสำ�หรับการวิจัย: การวิเคราะห์ ศ.ดร.ศิริชัย กาญจนวาสี และคณะ พหุระดับ (HLM) * (15-16 มิ.ย. 58) หลักสูตร 8 สถิติขั้นสูงสำ�หรับการวิจัย: การวิเคราะห์ รศ.ดร.วรรณี แกมเกตุ และคณะ องค์ประกอบและการวิเคราะห์โมเดลเชิงสาเหตุ (LISREL)* (17-18 มิ.ย. 58) หลักสูตร 9 สถิติขั้นสูงสำ�หรับการวิจัย: การวิเคราะห์ โมเดลเชิงสาเหตุพหุระดับ (MPLUS) * (19-20 มิ.ย. 58)

ศ.กิตติคุณ ดร.นงลักษณ์ วิรัชชัย ดร.ชยุตม์ ภิรมย์สมบัติ ดร.วัยวุฑฒ์ อยู่ในศีล ดร.ภัทราวดี มากมี สารสมาคมวิจัยสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย

27


กิจกรรมการฝึกอบรมทางวิชาการของสมาคมฯ ประจ�ำปี 2558 (หลักสูตร 1-9)

28

สารสมาคมวิจัยสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย


กิจกรรมการฝึกอบรมทางวิชาการของสมาคมฯ ประจ�ำปี 2558 (หลักสูตร 1-9)

สารสมาคมวิจัยสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย

29


การบรรยายเพื่อประโยชน์สาธารณะ

จัดโดย สมาคมวิจัยสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย ร่วมกับ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ อุบลราชธานี เรื่อง การเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมส�ำหรับการวิจัย วันอาทิตย์ที่ 7 มิถุนายน 2558

30

สารสมาคมวิจัยสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย


คณะกรรมการบริหาร

สมาคมวิจัยสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย (26 ตุลาคม 2556 – 25 ตุลาคม 2558) 1. ศาสตราจารย์ ดร.ศิริชัย กาญจนวาสี 2. รองศาสตราจารย์ ดร.ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์ 3. รองศาสตราจารย์ ดร.ศิริเดช สุชีวะ 4. รองศาสตราจารย์ ดร.วรรณี แกมเกตุ 5. รองศาสตราจารย์ ดร.โชติกา ภาษีผล 6. รองศาสตราจารย์ ศักดา บุญยไวโรจน์ 7. รองศาสตราจารย์ ศิลปชัย บูรณพานิช 8. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชุติมา สุรเศรษฐ 9. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กิตติ อมตชีวิน 10. อาจารย์ ดร.ชนิศา ตันติเฉลิม 11. อาจารย์ ดร.สิวะโชติ ศรีสุทธิยากร 12. อาจารย์ ดร.สุวิมล กฤชคฤหาสน์ 13. อาจารย์ ดร.คมศร วงษ์รักษา 14. พลต�ำรวจตรี ดร.กิจพิณิฐ อุสาโห 15. รองศาสตราจารย์ ดร.ดวงกมล ไตรวิจิตรคุณ 16. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฉัตรศิริ ปิยะพิมลสิทธิ์ 17. อาจารย์ ดร.คมกริบ ธีรานุรักษ์ 18. อาจารย์ ดร.รณิดา เชยชุ่ม 19. อาจารย์ ดร.วีรพล แสงปัญญา

นายกสมาคม อุปนายก กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการและปฏิคม กรรมการและเหรัญญิก กรรมการและประชาสัมพันธ์ กรรมการและนายทะเบียน กรรมการและสาราณียกร กรรมการและเลขานุการ

ปล. นายทะเบียนสมาคมกรุงเทพมหานคร ได้รับจดทะเบียนการแต่งตั้งกรรมการขึ้นใหม่ทั้งชุดของสมาคมฯ ตามมาตร 85 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้ว ตามทะเบียนเลขที่ จ.1778/2557 ณ วันที่ 27 มกราคม 2557

สารสมาคมวิจัยสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย

31


ใบเสร็จรับเงินเลขที่....................... ทะเบียนเลขที่................................ สมาคมวิจัยสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย ใบสมัครสมาชิก 1. ชือ่ (นาย,นาง,นางสาว,ยศ) ................................นามสกุล....................................วัน/เดือน/ปีเกิด........................ 2. วุฒิการศึกษาสูงสุด.............................................สาขาวิขา/วิชาเอก................................................................ 3. ตำ�แหน่ง.............................................................สังกัด........................................................................................ 4. สถานที่ทำ�งาน เลขที่............................................ถนน........................................ซอย.................................... ตำ�บล/แขวง...............................อำ�เภอ/เขต................................จั ง หวั ด ............................. รหัสไปรษณีย.์ ..................โทรศัพท์..................................โทรสาร................................มือถือ............................. 5. ทีอ่ ยูท่ ตี่ ดิ ต่อได้สะดวก บ้านเลขที.่ ............................หมูท่ .ี่ ................หมูบ่ า้ น....................................................... ซอย................................................ถนน....................................................ตำ�บล/แขวง.................................. อำ�เภอ/เขต.............................................จังหวัด...............................................รหัสไปรษณีย.์ ............................. โทรศัพท์...................................e-Mail........................................................................................................... 6. การส่งเอกสารให้ส่งไปตามที่อยู่ o ข้อ 4 o ข้อ 5 7. สมาคมวิจัยสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย ประสงค์ที่จะขึ้นทะเบียนเป็นทีมวิทยากรสอนวิจัย จึงขอให้ท่าน ระบุสาขาวิชาที่ท่านถนัด/สนใจ....................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................. 8. ขอสมัครเป็นสมาชิกสมาคมวิจัยสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย สามัญตลอดชีพ 1,000 บาท พร้อมนี้ได้ชำ�ระ ค่าสมัครเป็น o เงินสด o ธนาณัติ สัง่ จ่าย ทีท ่ ำ�การไปรษณียจ์ ฬุ าลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในนามของ สมาคมวิจยั สังคมศาตร์ แห่งประเทศไทย ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถ.พญาไท เขตปทุทวัน กรุงเทพฯ 10330 http://www.ssrat.or.th e-mail: ssrat.org@gmail.com ลงชื่อ.................................................................ผู้สมัคร (.............................................................) วันที่............................................................. .............................................................................................................................................................................. ได้รับค่าสมาชิกแล้ว ได้รับอนุมัติให้เป็นสมาชิก ลงชือ่ ....................................................... ลงชือ่ ....................................................นายกสมาคม (......................................................) (....................................................) เหรัญญิก รับลงทะเบียน ลงชื่อ....................................................นายทะเบียน (.....................................................)


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.