•
•
ฉบับที่ ๒๓ กันยายน - ธันวาคม ๒๕๕๕ anuman-online.com
จดหมายข่าวสมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์
ผู้จัดท�ำ คณะกรรมการบริหารสมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย ประจ�ำปี ๒๕๕๔- ๒๕๕๖
ที่ปรึกษา สุเมธ ตันติเวชกุล โอวี ๓๐ ชัยอนันต์ สมุทวณิช โอวี ๓๓ วิโรจน์ นวลแข โอวี ๓๗ ม.ล.ชัยนิมิตร นวรัตน โอวี ๓๗ ยอดชาย ขันธชวนะ โอวี ๔๔ บรรยง พงษ์พานิช โอวี ๔๔ วรชาติ มีชูบท โอวี ๔๖ กุลวิทย์ เลาสุขศรี โอวี ๕๗ ประชา ศรีธวัชพงศ์ โอวี ๕๙ วีรยุทธ โพธารามิก โอวี ๖๐ อาทิตย์ ประสาทกุล โอวี ๗๑ อโนมา ศุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา
อุปนายกฝ่ายวางแผน และพัฒนา
ภพ พยับวิภาพงศ์ พิชิต ศรียานนท์ ปรีดี หงสต้น ร.ต.สถาพร อยู่เย็น กรรณ จงวัฒนา ศรเทพฤทธิ์ ศิลปบรรเลง ศิริชัย กาญจโนภาส ธนกร จ๋วงพานิช จุมพล พิจารณ์สรรค์ วีระพล รัชตานนท์ จิระ สุทธิวิไลรัตน์ ศรัน ชัยวัฒนาโรจน์ พศิน เวชพาณิชย์ มาร์ค ดิมิทอฟ วีรประภัทร กิตติพิบูลย์
ม.ล.จิรเศรษฐ ศุขสวัสดิ์ โอวี ๔๖ ถ่ายภาพ ณัฏฐ์ ไกรฤกษ์ ประธานฝ่ายประชาสัมพันธ์ เฉลิมหัช ตันติวงศ์ และสาราณียกร สงกรานต์ ชุมชวลิต
โอวี ๗๑ โอวี ๗๒ โอวี ๗๕ โอวี ๗๖ โอวี ๗๖ โอวี ๗๖ โอวี ๗๖ โอวี ๗๗ โอวี ๗๙ โอวี ๘๐ โอวี ๘๓ โอวี ๘๓ โอวี ๘๓ โอวี ๘๓ โอวี ๘๓
โอวี ๗๒ โอวี ๗๗ โอวี ๗๗ ผรณเดช พูนศิริวงศ์ โอวี ๖๖ วรุตมาศ ศุขสวัสดิฯ์ โอวี ๗๙ ธนพั ฒ น์ ฑี ฆ ธนานนท์ โอวี ๗๙ บรรณาธิการ สรอรรถ เลาประสพวัฒนา โอวี ๘๒ กิตติเดช ฉันทังกูล โอวี ๗๓ ศศินทร์ วิทูรปกรณ์ โอวี ๗๙ ศิลปกรรม ปฏิภาณ สานแสงอรุณ คณะบรรณาธิการ ปริญญา ยุวเทพากร โอวี ๗๗ กัญญฎา วิชัยธนพัฒน์ สงกรานต์ ชุมชวลิต โอวี ๗๗ นิธิศ นวรัตน ณ อยุธยา โอวี ๖๕ กอบกิจ จ�ำจด โอวี ๗๐ กรด โกศลานันท์ โอวี ๗๑ • • • •
เปลี่ยนแปลง-ย้ายที่อยู่ สนับสนุนการเงิน-โฆษณา ส่งข่าว-ประกาศ-ประชาสัมพันธ์ ส่งข้อเขียน-บทความ
โฆษณา
เขต ณ พัทลุง โอวี ๗๑ (โทร ๐๘๑-๓๕๙-๗๑๐๒) มณฑล พาสมดี โอวี ๗๓ (โทร. ๐๘๗-๙๙๑-๓๒๓๐)
ฝ่ายบัญชีและการเงิน อภิพงศ์ พงศ์เสาวภาคย์ สุทธิพงษ์ ลิ้มสุขนิรันดร์ รัฐพล ปั้นทองพันธ์ พัฒน์ ไกรเดช
โอวี ๗๑ โอวี ๗๓ โอวี ๗๕ โอวี ๗๙
ผูช้ ว่ ยประสานงาน / ทะเบียนสมาชิก
วาสนา จันทอง (เจ้าหน้าทีส่ มาคมฯ) ล�ำจวน ไชยชาติ (เจ้าหน้าทีส่ มาคมฯ)
พิมพ์ที่ พี. เพรส (โทร. ๐-๒๗๔๒-๔๗๕๔) หมายเหตุ ตัวอักษร ออกแบบโดย ม.ล.ชัยนิมิตร นวรัตน โอวี ๓๗ ภาพปก พระบรมสาทิ ส ลั ก ษณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ภาพเขียน สีน�้ำมัน ฝีมือ จักรพันธุ์ โปษยกฤต โอวี ๓๓
ติดต่อ : สมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยฯ ๑๙๙ ถนนพิชัย เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐ โทร. ๐-๒๒๔๑-๓๐๕๙ โทรสาร ๐-๒๖๖๙-๓๕๑๘ e-mail: ovnewsletter@yahoo.com website: www.oldvajiravudh.com
๒๓
สารบัญ
ก.ย. - ธ.ค. ๕๕
วชิราวุธรฤก
วิถีวชิราวุธ
คอลัมน์พิเศษ ๓๒ เที่ยวเมืองพระร่วง จดหมายเหตุวชิราวุธฯ ๕๔ หน้าที่และ ความรับผิดชอบของ เจ้าหน้าที่ในโรงเรียน มหาดเล็กหลวง (๑)
โรงครัว ๗๓ เต้าหู้ผัดพริกป่น และน่องไก่น�้ำแดง วันกลับบ้าน ๙๒ น�้ำเงินฟ้าศรี พันวา สนามจันทร์ ๑๐๔ ความหลังครั้งยังเยาว์... จากบู๊เหง่ถึงปลากริม หลังตึกเรียน คอมมอนรูม ๑๑๗ Bring Rugby Back Home โรงเลี้ยง ๑๒๕ วงวันของนนท์ ตึกเวสฯ ๑๒๘
สัมภาษณ์ ใต้หอประชุม สมดุลชีวิตของ สงกรานต์ อิสสระ
๒๐
ข่าวสาร และกิจกรรม บทความ จากนักเรียนเก่าฯ และครอบครัวโอวี
ห้องเพรบ สนามหลัง
๑๗ ๑๒๕
บทความพิเศษ ๗ เรือนจาก ๕๗ รูปมีเรื่อง ดร.ณัฐวุฒิ เผ่าทวี หอประชุม ๕๑ นักเศรษฐศาสตร์ บูชาผู้ที่ควรบูชา ผู้พยายามหาค่าความสุข กองบังคับการ ๑๑๐ สัมภาษณ์พิเศษ ๗๘ ทักษะที่จ�ำเป็นส�ำหรับ Malcolm Hossick ศตวรรษที่ ๒๑ = สารบัญ
anuman-online.com
วัตถุประสงค์หลักของการจัดตั้ง สมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ ๑. ส่งเสริมและเผยแพร่เกียรติคุณของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้พระราชทานก�ำเนิดวชิราวุธวิทยาลัย ๒. อุปการะแก่กันและกันในหมู่สมาชิกในทุกทางที่ไม่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม อันดีของประชาชน ๓. ประสานสามัคคีในหมูส่ มาชิกนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยและนักเรียนในพระบรม ราชูปถัมภ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ๔. แลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันในหมู่สมาชิกและนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย ๕. ส่งเสริมและสนับสนุนกิจการของวชิราวุธวิทยาลัย เพื่อน�ำไปสู่ความเจริญของโรงเรียน ๖. ส่งเสริมเกียรติและประเพณีแห่งวชิราวุธวิทยาลัย ๗. เผยแพร่ชื่อเสียงและเกียรติคุณของวชิราวุธวิทยาลัย ๘. ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษา การกีฬา และการบันเทิงตามสมควร ๙. บ�ำเพ็ญสาธารณประโยชน์ในโอกาสอันสมควร
สิทธิและหน้าที่ของสมาชิก ๑. สมาชิกมีสิทธิที่จะร่วมกิจการต่างๆ ที่สมาคมฯ จัดขึ้น แต่ต้องปฏิบัติตามระเบียบ ที่วางไว้ ๒. สมาชิกมีสิทธิประดับเข็มเครื่องหมายของสมาคมฯ ได้ในเวลาที่เป็นสมาชิก ๓. สามั ญ สมาชิ ก มี สิ ท ธิ เ สนอความคิ ด เห็ น ตรวจดู ห ลั ก ฐานและบั ญ ชี ต ่ า งๆ ของสมาคมฯ ได้ในเวลาท�ำการของสมาคมฯ ๔. สามัญสมาชิกเท่านั้นมีสิทธิเข้าประชุมใหญ่ ลงคะแนนเสียงและเลือกตั้งหรือรับเลือกตั้ง เป็นนายกสมาคมฯ หรือกรรมการสมาคมฯ เว้นแต่สามัญสมาชิกนั้นค้างช�ำระค่าบ�ำรุง ๕. สามัญสมาชิกมีหน้าที่ต้องช�ำระค่าบ�ำรุงตามที่ก�ำหนดไว้ ๖. สมาชิกต้องปฏิบัติตามระเบียบและข้อบังคับของสมาคมฯ ที่วางไว้ ๗. สมาชิกมีสิทธิที่จะใช้สถานที่และบริการของสมาคมฯ และสโมสร แต่ต้องปฏิบัติ ตามระเบียบข้อบังคับที่ก�ำหนดไว้
คณะกรรมการบริหารสมาคมฯ ประจ�ำปี ๒๕๕๔ - ๒๕๕๖
ดร.คุรุจิต นาครทรรพ รุ่น ๔๕ นายกสมาคมฯ
พ.อ.ชนินท โพธิ์พูนศักดิ์ รุ่น ๕๓ กรรมการและรองประธานกิจกรรมพิเศษ
ผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัย กรรมการโดยต�ำแหน่ง
นายชลิตรัตน์ จันทรุเบกษา รุ่น ๕๔ กรรมการและประธานสโมสร
นายสุรเดช บุณยวัฒน รุ่น ๔๑ อุปนายก ฝ่ายสิทธิประโยชน์
นายประวิทย์ มนต์เสรีนุสรณ์ รุ่น ๕๖ กรรมการและเหรัญญิก
นายจตุพล ปุญโสนี รุ่น ๔๓ อุปนายก ฝ่ายพัฒนาและกีฬา
ดร.ปกรณ์ อาภาพันธุ์ รุ่น ๕๙ กรรมการและปฏิคม
พล.อ.ต.วรฉัตร ธารีฉัตร รุ่น ๔๖ นายวรากร บุณยเกียรติ รุ่น ๕๙ อุปนายก ฝ่ายหารายได้และต่างประเทศ กรรมการและเลขานุการ ม.ล.จิรเศรษฐ ศุขสวัสดิ์ รุ่น ๔๖ อุปนายก ฝ่ายวางแผนและพัฒนา
นายรวินท์ ถิระวัฒน์ รุ่น ๕๙ กรรมการและรองประธานกีฬา
ดร.จรัสโรจน์ บถด�ำริห์ รุ่น ๔๓ กรรมการและนายทะเบียน
นายวีรยุทธ โพธารามิก รุ่น ๖๐ กรรมการและรองประธานกีฬา (รักบี้)
นายวีรนารถ วีระไวทยะ รุ่น ๔๓ กรรมการและประธานกีฬา
นายทรงศักดิ์ ทิพย์สุนทร รุ่น ๖๒ กรรมการและรองประธานกีฬา (กอล์ฟ)
นายทรรศนะ วิชัยธนพัฒน์ รุ่น ๔๕ กรรมการและประธานส่งเสริม ความสัมพันธ์
นายผรณเดช พูนศิริวงศ์ รุ่น ๖๖ กรรมการและประธานฝ่าย ประชาสัมพันธ์และสาราณียกร
ร.อ.ชมพล ยูสานนท์ รุ่น ๕๐ กรรมการและประธานกิจกรรมพิเศษ
กิตติเดช ฉันทังกูล รุ่น ๗๓ ผู้ช่วยสาราณียกร
นายไชยวุฒิ์ พึ่งทอง รุ่น ๕๑ กรรมการและประธานฝ่ายหารายได้ anuman-online.com
บทความพิเศษ
7
รูปมี
เรื่อง
ในการทีไ่ ด้เขียนพระบรมสาทิสลักษณ์ สมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาธีรราชเจ้า นี้ ความจริง เราได้เคยเขียนพระบรม รูปล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ มาแล้ว หลาย พระบรมรูป ตั้งแต่สมัยจบการศึกษาจากวชิราวุธ วิทยาลัยใหม่ๆ ราว พ.ศ. ๒๕๐๔ ยังมิได้ เข้าศึกษาต่อทีค่ ณะจิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัย ศิลปากร พระบรมรูปแรก เขียนครึ่งพระองค์ ทรงเครือ่ งเต็มยศนายพลเสือป่า พรานหลวง รักษาพระองค์ เขียนเป็นสีน�้ำมัน ตอนนั้ น เราเพิ่ ง เขี ย นสี น�้ ำ มั น เป็ น ใหม่ๆ ก�ำลังเห่อมาก พระบรมรู ป ที่ ส อง เขี ย นสี น�้ ำ มั น เต็มพระองค์ ทรงเครื่องเสือป่าเช่นเดียวกับ พระบรมรูปแรก
บทความนี้ ตี พิ ม พ์ ค รั้ ง แรกใน นิตยสาร ‘พลอยแกมเพชร’ ฉบับ เดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๕ โดย ผู้เขียน อ.จักรพันธุ์ โปษยกฤต (ศิ ล ปิ น แห่ ง ชาติ ) อนุ ญ าตให้ อนุมานวสารน�ำมาตีพิมพ์อีกครั้ง พร้ อ มกั บ พระบรมสาทิ ส ลั ก ษณ์ พระบาทสมเด็ จ พระมงกุ ฎ เกล้ า เจ้าอยู่หัว ที่ผู้เขียนเพิ่งวาดขึ้นใหม่ และอนุ ญ าตให้ อั ญ เชิ ญ พระบรม สาทิ ส ลั ก ษณ์ พระบาทสมเด็ จ พระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบัน ฝีมือ ของผู ้ เ ขี ย นมาขึ้ น หน้ า ปกของ อนุมานวสารฉบับนี้ ทางกองบรรณาธิ ก ารฯ ขอขอบ พระคุ ณ ในความเอื้ อ อารี ข อง อ.จักรพันธุ์ มา ณ ทีน่ ี้ anuman-online.com
8
บทความพิเศษ
จ�ำได้วา่ เมือ่ เขียนเสร็จแต่ละพระบรม รูป ได้รีบมอบไว้ให้กับโรงเรียนวชิราวุธฯ โดยท่านผู้บังคับการในตอนนั้น คือ พระยา ภะรตราชา เป็นผู้รับ ต่อมาอีกนับสิบปี ในปี พ.ศ. ๒๕๔๕ สมัยที่ ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช เพือ่ นร่วมรุน่ เป็นผูบ้ งั คับการวชิราวุธ เราได้เขียนพระบรม รูปล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ ทรงเครื่องเต็มยศ จอมพลเรือจอมทัพสยาม เป็นสีปาสเตล ครึ่งพระองค์ ขนาด ๕๐ x ๗๐ ซม. มามอบ ไว้ให้กับโรงเรียน เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๓ วชิราวุธวิทยาลัย ครบ ๑๐๐ ปี ทางโรงเรียนได้ท�ำหนังสือ ปกแข็งเล่มใหญ่หนา รวบรวมงานศิลปะและ สถาปัตยกรรมที่มีอยู่ในโรงเรียน มาไว้ใน เล่มเดียว นับเป็นหนังสือที่มีคุณค่า หากในหน้า ๒๕๘-๒๕๙ อันเป็นการ รวบรวมพระบรมสาทิสลักษณ์ มีรูปสีน�้ำมัน ล้นเกล้าฯ สองพระบรมรูป ทรงเครือ่ งเสือป่า ครึ่งพระองค์รูปหนึ่ง เต็มพระองค์รูปหนึ่ง พิมพ์ไว้ข้างใต้ทั้งสองรูปว่า ‘ไม่ปรากฏนาม ศิลปินเจ้าของผลงาน’ แท้จริง เราคือผู้เขียนพระบรมรูปทั้ง สอง และได้มอบไว้ให้กับโรงเรียนดังกล่าว มาแล้วข้างต้น แต่คงจะเป็นด้วยกาลเวลาที่ ผันผ่านนานเนิ่นมาถึง ๕๐ ปี ท�ำให้ลายเซ็น ชื่อช่างเขียน ตลอดจนเดือนและปี พ.ศ. ที่ เขียนไว้ เลือนรางไปไม่ปรากฏ จึงขอแจ้งจารึกไว้ให้ถูกต้อง ณ ที่นี่้ เผื่อใครจะมาอ่านพบ
ส่วนพระบรมรูปล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ อื่นๆ ที่เราได้เคยเขียน มีรูปสีน�้ำมันครึ่ง พระองค์ขนาด ๔๖ x ๖๑ ซม. ทรงเครื่อง เสือป่าเต็มยศ ทรงพระมาลา เช่นเดียวกับ ที่ได้เคยเขียนมาแล้ว พระบรมรูปนี้เขียนใน ปี พ.ศ. ๒๕๑๙ และรูปสีน�้ำมันครึ่งพระองค์ ขนาด ๓๕ x ๔๕ ซม. ทรงเครื่องเต็มยศจอมพล จอมทัพบกสยาม ไม่ทรงพระมาลา เขียนใน ปี พ.ศ. ๒๕๒๗ พระบรมรูปทั้งสองจะได้เห็นบ่อยใน หนังสือที่เกี่ยวกับพระองค์ท่าน อัญเชิญมา เป็นหน้าปกหน้าบ้าง ลงน�ำเป็นปฐมฤกษ์ ในหน้าแรกๆ บ้าง โดยขอลิขสิทธิ์จากเรา ผูเ้ ขียนรูป และกรรมสิทธิจ์ ากผูเ้ ป็นเจ้าของรูป คือ คุณชาตา บุญสูง นักเรียนเก่าวชิราวุธฯ เพื่อนสนิทร่วมสมัยกับเรา ส� ำ ห รั บ พ ร ะ บ ร ม รู ป ท ร ง ค รุ ย มหาดเล็ก หลวง ๑ ทรงยื น เกาะพระเก้ า อี้ เราเขียนรูปแรกเห็นเต็มพระองค์ เมื่อเดือน กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๒ คือ ๔๓ ปีมาแล้ว เพิ่งจบการศึกษาจากคณะจิตรกรรมฯ ไม่ นาน เขียนด้วยสีน�้ำมันมีขนาด ๑๒๙ x ๑๙๙ ซม. โดยเขียนให้บริษัทปูนซิเมนต์ไทยน�ำ ไปประดิษฐานไว้สักการบูชา เนื่องจากใน ๑
ฉลองพระองค์ครุยนี้ คุณวรชาติ มีชูบท โอวี ๔๖ ท้วงมาว่า ที่ถูกคือ ฉลองพระองค์ครุย เนติบัณฑิตสยาม
เดือนธันวาคมปีพทุ ธศักราช ๒๔๕๖ รัชสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มี พ ระบรมราชโองการโปรดเกล้ า ฯ ให้ ก่อตั้งบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จ�ำกัด ขึ้น ด้วย พระราชประสงค์ที่จะให้ประเทศไทยผลิต ปูนซิเมนต์ใช้ได้เอง เป็ น การน� ำ ทรั พ ยากรในประเทศ มาใช้ อ ย่ า งคุ ้ ม ค่ า ไม่ ต ้ อ งไปพึ่ ง พาการ น�ำเข้าจากต่างประเทศดังแต่ก่อน นับเป็น ประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นแต่ครั้งกระโน้น คนสมัยหลังไม่คอ่ ยทราบว่าพระองค์ ท่าน ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์ แรก ที่ริเริ่มให้คนไทยผลิตปูนซีเมนต์ไทย ขึ้นใช้เอง ในปี พ.ศ. ๒๕๒๔ มีการซ่อมหอประชุม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยครัง้ ใหญ่ ทางจุฬาฯ ได้มอบให้เราเขียนพระบรมสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็ จ พระมงกุ ฎ เกล้ า เจ้าอยู่หัวไว้คู่กัน เป็นพระบรมรูปสีน�้ำมันทั้งสองรูป ขนาด ๘๕.๕ x ๑๓๑.๕ ซม. เขียนเสร็จ พร้อมกันเมื่อ ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๔ น�ำ ไปประดิษฐานไว้ ณ ห้องรับรองหลังเวที ทีใ่ ช้ ในเวลาเสด็จพระราชด�ำเนินพระราชทาน ปริญญาบัตร สมัยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว องค์ปัจจุบัน ยังเสด็จพระราชด�ำเนินมาด้วย พระองค์เอง ในงานพระราชทานปริญญาบัตร
ที่จุฬาฯ หลังจากพระราชทานฯ ทีห่ น้าเวทีใหญ่ ลุลว่ งไปแล้ว จะเสด็จฯมาทรงยืนฉายพระรูป อยู่หน้าพระบรมรูปทั้งสองนี้ ร่วมกับท่านที่ ได้รับพระราชทานดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ในปีนั้น เฉพาะพระบรมรูปล้นเกล้าฯ รัชกาล ที่ ๖ องค์ดังกล่าว ทรงครุยมหาดเล็กหลวง ทรงยืนเกาะพระเก้าอี้ เหมือนกับพระบรมรูป ทีเ่ ราเคยเขียนไว้ทบี่ ริษทั ปูนซิเมนต์ไทย เมือ่ ปี ๒๕๑๒ ทุกประการ ต่างกันก็แต่สีของพื้น ฉากหลังและ ขนาดของรู ป ที่ ย ่ อ มกว่ า รู ป แรกเล็ ก น้ อ ย เท่านั้น ปี พ.ศ. ๒๕๒๖ พิพิธภัณฑสถาน แห่ ง ชาติ พ ระนคร มี ด� ำ ริ จ ะให้ เ ราซ่ อ ม หุ ่ น หลวง ที่ มี อ ยู ่ ใ นพิ พิ ธ ภั ณ ฑฯ มาแต่ เดิมจ�ำนวนหนึ่ง ซึ่งช�ำรุดมาก แต่ยังขาด งบประมาณจ�ำเพาะส�ำหรับการนี้ ความทราบถึงคุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา กรรมการผู้จัดการใหญ่เครือ ซิ เ มนต์ ไ ทยในขณะนั้ น เนื่ อ งจากเครื อ ซิ เ มนต์ ไ ทยมี น โยบายสนั บ สนุ น ส่ ง เสริ ม การอนุรักษ์งานศิลปะของชาติอยู่แล้ว จึง ได้มอบงบประมาณในการซ่อมหุ่นหลวงให้ กรมศิลปากร เราด�ำเนินการซ่อมหุ่นหลวงตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๒๕๒๗ ถึง พ.ศ. ๒๕๒๙ จึงแล้ว เสร็จสมบูรณ์ ได้หุ่นหลวง พระ นาง ยักษ์ anuman-online.com
ลิง และโครงหุ่นหลวงตัวพระอีก ๑ ตัว รวม ไว้ทุกขั้นตอน เพื่อความสะดวกในปลายมือ แบบร่างเหล่านี้ มีจ�ำนวนมากมาย เป็น ๕ ตัว ก่ายกอง เพราะมีทั้งตัวหุ่น กลไกในตัวหุ่น ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ ณ พระที่นั่ง เครื่องแต่งตัวลวดลายสีสันของพัสตราภรณ์ ทั ก ษิ ณ าภิ มุ ข พิ พิ ธ ภั ณ ฑสถานแห่ ง ชาติ และศิราภรณ์ ทัง้ อาวุธยุทโธปกรณ์ตา่ งๆ...ฯลฯ พระนคร ขณะที่ เ ราและคณะช่ า งก� ำ ลั ง ซ่ อ ม ครั้นอีกห้า-หกปีต่อมา คือใน พ.ศ. หุ่นวังหน้าใกล้จะแล้วเสร็จ คุณธนิต ศิริธร ๒๕๓๕ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร เจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่เครือซิเมนต์ไทย ผู้แวะ ได้มอบให้เราซ่อมหุ่นกรมพระราชวังบวร มาเยี่ยมเยียนดูความเป็นไปในการซ่อมอยู่ วิไชยชาญ เรียกอย่างย่อว่า ‘หุ่นวังหน้า’ เสมอ ได้เห็นว่าแบบร่างดังกล่าว โดยขอทุ น สนั บ สนุ น ส่ ง เสริ ม จาก จึ ง เห็ น ว่ า น่ า จะรวบรวมพิ ม พ์ เ ป็ น เครื อ ซิ เ มนต์ ไ ทยเช่ น เคย ได้ มี ก ารมอบ หนังสือบันทึกการท�ำงานครั้งนี้เอาไว้เป็น ทุนในการซ่อมหุ่นวังหน้า ณ ห้องประชุม หลักฐาน เพื่อประโยชน์ส�ำหรับผู้สนใจใฝ่รู้ กรมศิลปากร แก่อธิบดีสุวิชญ์ รัศมิภูติ เมื่อ จะได้ศึกษา วันพฤหัสบดีที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ ปลายเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๐ หนังสือ ‘หุ่นวังหน้า’ เล่มหนาได้ออกมาสู่ ในปี พ.ศ. ๒๕๔๐ คืออีกห้าปีต่อมา บรรณพิภพ โดยได้รับการสนับสนุนจาก หุ่นวังหน้าอันช�ำรุดหักพัง จ�ำนวนร้อยตัวก็ มูลนิธิซิเมนต์ไทย และได้แจกจ่ายไปตาม ห้องสมุดต่างๆ ทั่วประเทศ ซ่อมเสร็จ หลั ง จากนั้ น หุ ่ น กระบอกเรื่ อ ง ได้ ม อบคื น ให้ แ ก่ ก รมศิ ล ปากร และตั้งแสดงไว้ ณ พระที่นั่งทักษิณาภิมุข ‘ตะเลงพ่าย’ ที่วัลลภิศร์ สดประเสริฐ แต่ง พิพธิ ภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร เช่นเดียว เอาไว้ ตั้ ง แต่ พ.ศ. ๒๕๓๒ และคุ ณ ครู บุ ญ ยงค์ - บุ ญ ยั ง เกตุ ค ง คุ ณ ครู จ� ำ เนี ย ร กับหุ่นหลวง การซ่อมหุน่ วังหน้าจ�ำนวนมาก ท�ำให้ ศรีไทยพันธุ์ คุณครูชื้น สกุลแก้ว ได้ช่วยกัน ต้องบันทึกภาพหุน่ ทุกตัวก่อนซ่อม ขณะซ่อม บรรจุเพลงไว้ใน พ.ศ. ๒๕๓๓..... ที่เราต้องวางไปชั่วคราวเพื่อท�ำงาน และหลังจากซ่อม และการบันทึกภาพมีใช้ กล้องถ่ายเป็นสไลด์ ทัง้ เขียนเป็นเส้นขาวด�ำ ช่าง จึงได้ถูกน�ำมาเรียบเรียงปรุงแต่งอีก ด้วยปากกา ตลอดจนระบายสีเอาด้วยมือ ให้สมบูรณ์ โดยคุณครูสุเชาว์ หริมพาณิช เนือ่ งจากเราเป็นช่างเขียน จึงไม่ลำ� บาก คุ ณ ครู ไ ชยยะ ทางมี ศ รี และวั ล ลภิ ศ ร์ ยากเย็นอันใด ที่จะท�ำอย่างละเอียดถี่ถ้วน สดประเสริ ฐ พร้ อ มกั บซ้ อมบรรเลงและ anuman-online.com
12
บทความพิเศษ
ขับร้องไปด้วย ซ้อมไปแก้ไขไปทุกอาทิตย์ ตั้ ง แต่ เ ช้ า ถึ ง เย็ น มี ผู ้ ที่ รู ้ จั ก มั ก คุ ้ น กั น มา นั่งฟังอยู่ด้วย ต่อมามีหุ่นออกมาร�ำให้คนดูไม่เหงา ตา หุ่นที่ออกมาร�ำให้คนดูได้มีอยู่หุ่นเดียว คือหุ่นไหว้ครู หลังจากเชิดไหว้ครูแล้วคนดู ต้องนั่งฟังการบรรเลง และขับร้องแต่อย่าง เดียวไปจนจบเรื่อง ครั้นหุ่นตะเลงพ่ายท�ำเสร็จออกมา ตัวใด ก็น�ำหุ่นใหม่นั้นออกมาเชิด ค่อยท�ำ ค่อยไป จนมีหุ่นเต็มโรง กระทั่งมีหุ่นช้าง ๘ เชือก ส�ำหรับฉากยุทธหัตถี และขณะนี้ ก� ำ ลั ง สร้ า งหุ ่ น ม้ า อยู ่ หลายตัว ไม่สามารถน�ำออกมาเชิดแสดงให้ คนดูได้ เพราะยังไม่แล้วเสร็จสมบูรณ์ ตลอดระยะเวลาตัง้ แต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๗ จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๕๕ มูลนิธิซิเมนต์ไทยได้ ให้การสนับสนุนส่งเสริมกิจกรรมของมูลนิธิ จักรพันธุ์ โปษยกฤต เรื่อง ‘ตะเลงพ่าย’ มาตลอด ปลายปี พ.ศ. ๒๕๕๔ คุณสุรนุช ธงศิ ล า ผู ้ จั ด การมู ล นิ ธิ เ อสซี จี (Siam Cement Group) ได้ปรารภว่า ในเดือน ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ที่จะถึงนี้ จะครบ ศตวรรษเอสซีจี..... อันพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ เจ้าอยูห่ วั มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ก่อตั้งขึ้นเมื่อ ๑๐๐ ปีมาแล้ว เราเป็นนักเรียนวชิราวุธฯ มาตั้งแต่ เด็กอายุ ๖ ขวบ กระทัง่ จบชัน้ มัธยม ๘ รอ้ งเพลง สิ ง โตเล่ น หาง ซึ่ ง เป็ น บทพระราชนิ พ นธ์
ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ อยู่ทุกปี เวลามีงาน เสด็จพระราชด�ำเนินที่โรงเรียน ๏ เรานักเรียนมหาดเล็กเด็กในหลวง ถ้วนทั้งปวงภักดีจะมีไหน กตัญญูฝังจิตติดดวงใจ จนเติบใหญ่ไม่จางไม่บางเบา...ฯ จึงตัง้ ใจจะเขียนพระบรมสาทิสลักษณ์ ของพระองค์ท่าน ทรงครุยมหาดเล็กหลวง ทรงยืนเกาะพระเก้าอี้ เห็นเต็มพระองค์ เป็น สีน�้ำมัน มอบไว้แก่มูลนิธิเอสซีจี เนื่องจากเราได้รับการสนับสนุนจาก องค์กรแห่งนี้ตลอดมาดังกล่าวแล้ว และเหตุที่เขียนฉลองพระองค์ครุย มหาดเล็กหลวง ซ�้ำกันถึง ๓ พระบรมรูป ดังนี้ ก็ด้วยทรงได้รับการยกย่องถวายพระ สมัญญาภิไธย เฉลิมพระเกียรติเป็น ‘สมเด็จ พระมหาธีรราชเจ้า’ กษัตริย์จอมปราชญ์ ของไทย มี พ ระราชหฤทั ย ผู ก พั น ในวิ ช า กวีอย่างยิ่ง ทรงพระปรีชาสามารถในด้าน อักษรศาสตร์เป็นที่สุด อีกทรงมีพระคุณต่อ ชาติบา้ นเมือง และศิลปศาสตร์อเนกประการ วันใดวันหนึง่ ในเดือนมิถนุ ายน พ.ศ. ๒๕๕๕ พีอ่ งั คาร กัลยาณพงศ์ หรือ ทีเ่ รียกกัน ในหมู่ชาวศิลปากรว่า ‘ท่านอังคาร’ กวีเอก ของสยาม ได้แวะมาเยี่ยมเยียนเรา คุยกัน สารพั ด เรื่ อ ง เผอิ ญ สุ นั ข บ้ า นที่ เ ราเลี้ ย ง แวะเวียนมาดมๆ พี่อังคารเห็นเราเป็นคนรักหมา จึง เอ่ยกลอนพระราชนิพนธ์ไว้อาลัยแก่ ‘ย่าเหล’
เราขอยกบางตอนของ ‘อารัมภกถา’ ที่ จ� ำ หลั ก ไว้ ณ อนุ ส าวรี ย ์ ย ่ า เหล หน้ า พระต�ำหนักชาลีมงคลอาสน์ นครปฐม ให้ ในพระราชนิ พ นธ์ ‘พระนลค� ำ หลวง’ ที่ พระองค์ทา่ นทรงไว้ ก่อนทีจ่ ะเริม่ เรือ่ งพระนล เราฟังตั้งแต่ต้นจนจบ อันที่พ่ีอังคารถือเป็นยอดแห่งโคลง ผู้ที่รักหมาอย่างดูดดื่ม ฟังแล้วจะ ฉันท์ กาพย์ กลอน และได้ท่องให้เราฟัง ต้องสะเทื้อนในหัวอก ตั้งแต่ต้นจนจบด้วยความซาบซึ้ง ทั้งคนท่อง ๏ อนุสาวรีย์นี้เตือนจิต ทั้งคนฟัง ให้กูคิดร�ำพึงถึงสหาย ๏ ดูรากุลบุตร์เชื้อ ชาติชาย ไทยเอย ไว้อาลัยใจจู่อยู่ไม่วาย อันชาติรุ่งเรืองฉาย เฉิดแท้ กูเจ็บคล้ายศรศักดิ์ปักอุรา แม้ไร้กะวีอาย ทั้งชาติ เจียวพ่อ ยากที่ใครเขาจะเห็นหัวอกกู เพราะเขาดูเพื่อนเห็นแต่เป็นหมา... เขาจะเยาะเล่นแม้ หมดผู้รู้ดี ฯ ๏ กะวีสง่าแม้น มณีสาร ฯลฯ ค�ำเพราะคือสังวาลย์ กอบแก้ว ความจริ ง กลอนพระราชนิ พ นธ์ ควรเพิ่มพิริยการ กะวีเวท เทอญพ่อ ไว้อาลัยย่าเหล ยังมีต่อไปอีกยืดยาว แต่ขอ กอบกิจประเสริฐแล้ว ไป่ต้องร้อนตัวฯ พักไว้ก่อน anuman-online.com
14
บทความพิเศษ
เรื่ อ งพระนลค� ำ หลวง เป็ น เรื่ อ งที่ เขาตัดตอนมาให้เรียน รวมกับเรื่องอื่นๆ อย่างละนิดละหน่อยอีกหลายเรื่อง ในวิชา วรรณคดีไทย สมัยเราอยู่มัธยมเจ็ด-มัธยม แปด จ�ำได้วา่ มีอาขยานต้องท่องเรือ่ งพระนล และเราจ�ำกาพย์ยานีบทนีไ้ ด้ดเี พราะต้องสอบ ๏อ้าดูอโศกนี้ ศรีไสววิลัยตา อยู่หว่างกลางพนา เป็นสง่าแห่งแนวไพร ๏ ชุ่มชื่นรื่นอารมณ์ ลมเพยพัดระบัดใบ ดูสุขสนุกใจ เหมือนแลดูจอมภูผา ๏ อโศกดูแสนสุข ช่วยดับทุกข์ดว้ ยสักครา โศกเศร้าเผาอุรา อ้าอโศกโรคข้าร้าย ๏ อโศกโยกกิ่งไกว จงตอบไปดังใจหมาย ได้เห็นพระฦๅสาย ผ่านมาบ้างฤาอย่างไร ๏ พระนั้นชื่อพระนล ผู้เรืองรณอริกษัย เป็นผัวนางทรามวัย นามนิยมทมยันตี
เหตุที่เขียน ด้วยเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๐ พล.ต.ต.จักร จักษุรกั ษ์ (ยศใน ปัจจุบัน ยศเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๐ นั้นลืม ไปแล้ว) เพื่อนวชิราวุธฯ ร่วมรุ่น ได้หารือ เรื่องหนังสือที่ระลึก ในงานพระราชทาน เพลิง ม.ร.ว.ทมยันตี (เกษมศรี) จักษุรักษ์ ผู้มารดา พล.ต.ต.จักร เล่าให้ฟังว่า หม่อมเจ้า พูนศรีเกษม เกษมศรี ผู้เป็นตา ได้กราบ บังคมทูลขอพระราชทานนามบุตรีคนแรก และเป็นคนโตสุด ทีเ่ กิดเมือ่ พ.ศ. ๒๔๖๐ จึง โปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า ‘ทมยันตี’ เราได้ค้นดู ‘ค�ำน�ำ’ ของหนังสือนี้ ที่ ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ ลงวันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๙ ว่า “--- อนึ่ง หนังสือ ‘พระนลค�ำหลวง’ นี้ ข้าพเจ้าได้แต่งแล้วเสร็จตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๕๗ แต่การตรวจฉบับพิมพ์และแก้ไข แต้มเติมบทกลอนต่างๆ กินเวลานาน และ จะท�ำไปโดยรีบร้อนไม่ได้ หนังสือจึ่งพึ่งจะ ได้ออกจ�ำหน่ายในปี พ.ศ. ๒๔๕๙ นี้ ---” รูปนางทมยันตีที่เราเขียน ได้น�ำมา ท�ำหน้าปกหนังสือที่ระลึกงานพระราชทาน เพลิง ม.ร.ว.ทมยันตี จักษุรกั ษ์ ดังกล่าว และ เราได้มอบรูปต้นฉบับจริงไว้แก่ พล.ต.ต.จักร ให้เก็บไว้เป็นที่รฦก
เราไม่มีความสามารถในทางจดจ�ำ ข้อความอันใดได้ยืดยาวหมดจดไม่มีติดขัด อย่างพี่อังคาร แม้จะท่องอาขยานนี้ได้ หากก็ต้อง เปิดหนังสือดู กลัวเขียนผิด เราเรียนพี่อังคารว่า เราก�ำลังเขียน พระบรมรูปพระองค์ท่านผู้พระราชนิพนธ์ บทกวีอันไพเราะ ที่พี่เพิ่งท่องให้เราฟังจน จบไปเมื่อตะกี้ หลั ง จากพี่ อั ง คาร กั ล ยาณพงศ์ และเล่ า ด้ ว ยว่ า เราเคยเขี ย นรู ป นางทมยันตี นางเอกในเรือ่ งพระนล ในท่าที กลับไปแล้ว เราได้มานั่งเขียนพระบรมรูป วอนต้นอโศก ถามถึงพระนลผูภ้ สั ดาสามีตน สีน้ำ� มันต่อ ขณะก�ำลังเขียน มีโทรศัพท์จาก พล.ต.ต.จักร แจ้งว่าคุณพีอ่ ดี๊ -กัลยาณี จักษุรกั ษ์ เป็นรูปเขียนด้วยดินสอด�ำบนกระดาษ
16
บทความพิเศษ
บุ ต รี ข องอาจารย์ เ จื อ และม.ร.ว.ทมยั น ตี จักษุรกั ษ์ พีส่ าวของ พล.ต.ต.จักร จะน�ำรูปเขียน นางทมยันตีฝีมือเรา ที่เขียนเมื่อ ๒๕ ปี มาแล้ว และคุณพี่อี๊ดเก็บไว้มาคืนให้เรา... ช่างเป็นเรื่องบังเอิญ ราวเทพยดา จัดสรร ในวันเสาร์ที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๕ พล.ต.ต.จักร จักษุรักษ์ และคุณพี่ อี๊ด-กัลยาณี จักษุรักษ์ ซึ่งด�ำรงต�ำแหน่ง ผู ้ อ� ำ นวยการโรงเรี ย นเขมะสิ ริ อ นุ ส สรณ์ มานาน จนกระทั่งปัจจุบัน ได้อุตส่าห์กรุณา มาหาเราถึงบ้าน ท่านน�ำรูปนางทมยันตีที่เราวาดมา ด้วย ยังใหม่เอี่ยมทั้งรูปทั้งกรอบรูปราวกับ เวลามิได้ผ่านไป เหมือนรูปที่เพิ่งเขียนเสร็จ เมื่อวานซืน คุณพี่อี๊ด-กัลยาณี บอกกับเราว่าเก็บ รูปนีไ้ ว้ในห้องนอน ติดไว้เหนือหัวเตียง ไม่มี แสงสว่างใดๆ ลามเลียเข้ามารบกวนเลย ประมาณสองสามปีมาแล้ว ท่านได้เคย พาเด็กนักเรียนโรงเรียนเขมะสิริอนุสสรณ์ กลุม่ ใหญ่หลายคน มาดูการซ้อมหุน่ ‘ตะเลง พ่าย’ ที่มูลนิธิฯ ตอนนั้นเชิดที่ใต้ถุน ยังไม่มีช้างใหญ่ มาเข้าฉากยุทธหัตถี ต้องนั่งฟังตั้งแต่เพลง เฉยๆ ท่ า นจ� ำ ได้ ว ่ า เราเอ่ ย กั บ ผู ้ ช มว่ า มูลนิธิฯ มีโครงการจะท�ำพิพิธภัณฑ์ เก็บ รวบรวมรูปที่เราเขียน รวมทั้งหุ่นและงาน ประณี ต ศิ ล ป์ ต ่ า งๆ ฝี มื อ เรา อั น กระจั ด
กระจายพรายพลัด มาแสดงไว้ ณ พิพธิ ภัณฑ์ ของมูลนิธิจักรพันธุ์ฯ นี้ ท่านจึงด�ำริจะน�ำรูปนางทมยันตีมาไว้ ที่พิพิธภัณฑ์ ผู้คนจะได้เห็น ดีกว่าเก็บไว้กับ ท่าน ไม่มใี ครได้เห็นไม่มใี ครได้รบั ทราบ ว่า ครัง้ หนึง่ นานมาแล้ว ได้มรี ปู อันมีความหมาย ต่อผู้ให้และผู้รับนี้เกิดขึ้น และปฐมเหตุแห่งการเกิด เนื่องมา จากเหตุใดท�ำไม และใครบ้างที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนความบันดาลใจอันละเอียดอ่อน ลึกซึ้ง ซึ่งในบางขณะ ก็ยากที่จะบรรยาย เป็นค�ำพูด หรือตัวอักษร หลังจากคุณพี่อี๊ด-กัลยาณี จักษุรักษ์ และพล.ต.ต.จักร จักษุรักษ์ กลับไปแล้ว เราได้มานั่งพินิจพิจารณารูปนางทมยันตี ที่ เรารักและร�ำลึกถึง ไม่ได้เห็นมานาน และ ไม่นกึ ไม่ฝนั ว่าจะได้เห็นตัวจริงๆ อีก อย่างที่ ได้เห็นอยู่ต่อหน้านี้ รูปเขียนก็ดี หุน่ ก็ดี หากได้สรรค์สร้าง ออกมาสู่โลกแล้ว ทะนุถนอมระแวดระวังให้ ดี ก็จะอยู่ยั้งยืนยง ไปจนกว่าน�้ำจะท่วม ไฟ จะไหม้ ระเบิดจะลง หรือโลกจะแตก แต่คนสร้างนี้สิ เกิดมาแล้วก็ต้องแก่ แก่แล้วก็เจ็บ เจ็บแล้วก็ตาย ตั้งแต่ลืมตาดูโลกก็เริ่มแก่ แล้วก็ เจ็บ สลับกับหายเจ็บ แล้วก็เจ็บอีก แต่ยัง ไม่ตาย.... โลกนี้ไม่น่าอยู่จริงๆ เมื่อไรจะถึงตา ศศิวิมล (จักรพันธุ์ โปษยกฤต – โอวี ๓๓)
ห้องเพรบ
จากอุปนายกฝ่ายวางแผนและพัฒนา
สวั ส ดี ค รั บ ท่ า นผู้อ่านที่รักทุกท่าน อนุ ม านวสารฉบั บ นี้ ใ ช้ เ วลาพอสมควร ที เ ดี ย วกว่ า จะรวบรวมเนื้ อ หาส� ำ เร็ จ เป็ น รูปเล่มออกมาได้ ต้องขออภัยผู้อ่านทุกท่าน มา ณ ทีน่ ดี้ ว้ ย สาเหตุประการหนึง่ ทีห่ นังสือ ของเราล่ า ช้ า ไป ก็ มี ส าเหตุ ม าจากการที่ สมาชิกน้องๆ ในครอบครัวอนุมานวสารหลาย คนมีความก้าวหน้าในอาชีพการงานอยูห่ ลาย คน โดยเฉพาะนักการทูตของเราเอกภัทร เปรมโยธิน (โอวี ๗๐) โดยประจ�ำอยู่ที่ กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ นอกจากนักการทูต แล้ ว ก็ ยั ง มี นั ก ศึ ก ษาที่ ไ ปเรี ย นต่ อ ใน ต่างประเทศถึงสามคน คนแรก เฉลิมหัช ตันติวงศ์ (โอวี ๗๗) ไปเรียนด้านการ ถ่ า ยรู ป ที่ เ มื อ งซานฟรานซิ ส โก ประเทศ สหรัฐอเมริกา คนทีส่ อง สงกรานต์ ชุมชวลิต (โอวี ๗๗) ไปเรียนด้านการออกแบบที ่ กรุงกาสโกวล์ ประเทศสก็อตแลนด์ และ คนสุดท้าย น้องฟ้า ลูกสาวของ ทรรศนะ วิ ชั ย ธนพั ฒ น์ (โอวี ๔๕) อดี ต เจ้ า ของ คอลัมน์โรงเลีย้ งทีเ่ คยพาท่านผูอ้ า่ นไปลิม้ รส อาหารอยู่หลายร้าน ซึ่งตอนนี้ไปเรียนอยู่ที่ กรุงนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ขอให้ทุกคน ประสบความส� ำ เร็ จ ในการท� ำ งานและ การศึ ก ษา เสร็ จแล้ ว ก็ รีบ กลับ มาช่ว ยท�ำ หนังสืออนุมานวสารกันต่อนะครับ
17
ส�ำหรับอนุมานวสารฉบับนี้ เราได้ รับเกียรติจากอาจารย์จักรพันธ์ โปษยกฤต (โอวี ๓๓) ศิล ปิน แห่ง ชาติ ที่ไ ด้ กรุณ า อนุ ญ าตให้ อ นุ ม านวสารน� ำ บทความที ่ ตีพิมพ์ในนิตยสารพลอยแกมเพชร ฉบับ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ มาลงอีกครั้ง และยัง ได้ให้รูปถ่ายเบื้องหลังการวาดภาพพระบรม สาทิสลักษณ์ของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ มา ให้ลงประกอบด้วย อาจารย์จักรพันธ์เป็น โอวีทา่ นหนึง่ ทีใ่ ห้การสนับสนุนอนุมานวสาร มาโดยตลอด น้องๆ ทีม่ โี อกาสได้พบเจอท่าน ต่างก็บอกเหมือนกันว่าได้เรียนรู้มากมาย จากวิ ธี ก ารเขี ย นภาพและการท� ำ งานของ อาจารย์ทลี่ ะเอียดประณีตครบถ้วน ในบางครัง้ อาจารย์กย็ งั ส่งขนมอร่อยๆ มาฝากให้พวกเรา ทาน นั บ ว่ า อาจารย์ เ ข้ า ใจพวกเราจริ ง ๆ นอกจากนั้นแล้ว อาจารย์ยังส่งรูปในหลวง รัชกาลที่ ๙ ที่อาจารย์วาดไว้มาให้เราเลือก ด้วย เราอยากจะมีเรื่องและรูปของในหลวง ทัง้ สองพระองค์ในเล่มนี้ ต้องขอขอบพระคุณ อาจารย์อย่างมากมา ณ โอกาสนี้ ในเล่ ม นี้ เ รายั ง มี บ ทสั ม ภาษณ์ ที่ ถ ่ า ยทอดประสบการณ์ แ ละวิ ธี คิ ด แบบ สงกรานต์ อิสสระ (โอวี ๔๔) นักพัฒนา อสังหาริมทรัพย์แนวหน้าของประเทศ โดย ครั้ ง นี้ น ้ อ งๆ อนุ ม านวสารตั้ ง ใจบิ น ลงไป สัมภาษณ์ถึงโรงแรมศรีพันวา จังหวัดภูเก็ต ซึ่ ง พี่ ส งกรานต์ ก็ ไ ด้ ต ้ อ นรั บ และดู แ ลพวก anuman-online.com
น้องๆ เป็นอย่างดีตามวิถีความเป็นพี่น้อง วชิ ร าวุ ธ ฯ แม้ จ ะต่ า งรุ ่ น ต่ า งวั ย กั น ขนาด ไหน พี่สงกรานต์ก็แสดงถึงความเป็นพี่เป็น น้องอย่างไม่ถือตัวแต่อย่างใด งานนี้ท�ำเอา นักเขียนฝีปากกล้าของพวกเราประทับใจ ถึ ง ขนาดเรียบเรียงความทรงจ�ำที่ศรีพันวา มาฝากท่านผูอ้ า่ นกัน สามารถพลิกไปอ่านกัน ได้ที่คอลัมน์ใต้หอประชุมและวันกลับบ้าน ครับ เมื่อเร็วๆ นี้ ครูมัลคอมม์ ฮอสซิค (Malcolm Hossick) อดีตครูชาวอังกฤษที่ เคยมาสอนที่ โ รงเรี ย นได้ ก ลั บ มาเยี่ ย ม เมืองไทยอีกครัง้ พวกเราเลยขอโอกาสเข้าไป นัง่ พูดคุยหลายๆ เรือ่ ง ซึง่ ครูมลั คอมม์ได้เล่า เรื่องมาตรฐานการศึกษาไว้อย่างน่าสนใจ พวกเรายั ง ได้ ฟ ั ง ประสบการณ์ ก ารสอน ที่วชิราวุธฯ ทั้งในสมัยพระยาภะรตฯ และ สมัย ดร.ชัยอนันต์ รวมไปถึงประสบการณ์ ครัง้ ทีไ่ ด้ไปถวายการสอนแด่ สมเด็จพระบรม โอรสาธิราชฯ เมือ่ ครัง้ ทรงพระเยาว์ ทัง้ หมดนี ้ สามารถเปิดไปอ่านได้ที่หน้า ๗๘ โอวี อี ก ท่ า นหนึ่ ง ที่ พ วกเราได้ ไ ป สัมภาษณ์มาก็คือ ดร.ณัฐวุฒิ เผ่าทวี (โอวี ๖๘) ซึ่ ง ปั จ จุ บั น เป็ น ศาสตราจารย์ ด ้ า น เศรษฐศาสตร์อยู่ที่ LSE (London School
of Economics and Political Science) และถือเป็นนักเรียนเก่าวชิราวุธฯ ไม่กี่คนที่ ประสบความส�ำเร็จในแวดวงวิชาการระดับ นานาชาติ โดยมีผลงานอย่างหนังสือ The Happiness Equation ทีพ่ ยายามจะเอาหลัก ทางเศรษฐศาสตร์มาหาค่าให้กับความสุข ส่วนทีม่ าทีไ่ ปของความคิดเรือ่ งความสุขนีจ้ ะ มาจากไหน ขอให้เปิดอ่านกันต่อในเล่มครับ ส�ำหรับท่านที่ชื่นชอบการท�ำอาหาร อนุมานวสารฉบับนี้ ได้รับสูตรเด็ดเคล็ดลับ ของเมนูน่องไก่น�้ำแดงและเต้าหู้ผัดพริกป่น ของครัวมาจากครูจิตรา วุฒิโชค ด้วยความ เป็ น ห่ ว งลู ก ศิ ษ ย์ ที่ จ บไปแล้ ว ว่ า จะคิ ด ถึ ง รสชาติอันคุ้นเคย ครูเลยส่งสูตรนี้มาให้กับ ทางอนุมานวสาร เผื่อชาวโอวีท่านไหนจะ คิดถึงวัยเยาว์ จะได้เอาไปท�ำรับประทาน กั น เองได้ ทางอนุ ม านวสารขอขอบคุ ณ ครูจิตรามาในโอกาสนี้ด้วย ในวันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๖ นอกจาก จะเป็นวันประชุมใหญ่ประจ�ำปีแล้ว ในวันนัน้ ยังจะมีการเลือกตั้งนายกและกรรมการของ สมาคมนักเรียนเก่าฯ อีกด้วย ผมเลยขอ เชิญชวนให้ทุกท่านร่วมลงคะแนนและเข้า ประชุม ใหญ่ กัน ได้ ที่ห ้ องประชุ ม อั ศ วพาหุ ในโรงเรียนวชิราวุธฯ ด้วยครับ
สวัสดีครับ ม.ล.จิรเศรษฐ ศุขสวัสดิ์ (โอวี ๔๖)
20
ใต้ ห อประชุ ม คุยกับนักเรียนเก่าฯ
สมดุลชีวิต
สงกรานต์ อิสสระ ของ
หากใครได้มีโอกาสใช้ถนนเส้นหลักๆ ของกรุงเทพมหานคร ก็คงจะเห็นอาคาร ออฟฟิศ คอนโดมิเนียม หรือศูนย์การค้าขนาดใหญ่ ดีไซน์รบั ตลาดสมัยโมเดิรน์ พร้อมกับ ป้ายชือ่ บริษทั พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ชอื่ ดังเต็มไปหมด แต่หากย้อนกลับไปเมือ่ สักยีส่ บิ ปี ที่แล้ว แนวขอบฟ้าของกรุงเทพมหานครมีอาคารสูงตั้งเด่นขึ้นมาอยู่ไม่กี่หลัง และหนึ่ง ในนั้นก็คืออาคารชาญ อิสสระ ๑ บนถนนพระราม ๔ ผลงานที่ อ าจจะถื อ ได้ ว ่ า เป็ น จุ ด เริ่ ม ต้ น ชี วิ ต นั ก พั ฒ นาอสั ง หาริ ม ทรั พ ย์ ข อง สงกรานต์ อิ ส สระ นัก เรีย นเก่า วชิราวุธฯ รุ่น ๔๔
anuman-online.com
22
ใต้หอประชุม
ตลอดชี วิ ต การท� ำ งานที่ ผ ่ า นมา สงกรานต์ได้ปั้นโครงการอสังหาริมทรัพย์ ที่ประสบความส�ำเร็จหลากหลายประเภท มากมายกว่า ๒๐ โครงการ อาทิ อาคาร ส�ำนักงาน (ชาญ อิสสระ ๑ และ ๒) นิคม อุตสาหกรรมลาดกระบัง เฟส ๓ หรือจะเป็น โครงการอย่าง RCA (Royal City Avenue) รวมไปถึงคอนโดมิเนียมอิสสระ บนถนน ลาดพร้าว และโครงการอื่นๆ อีกหลายแห่ง แต่วนั นี้ วันทีส่ งกรานต์เริม่ เบือ่ หน่าย ความแออัดของกรุงเทพมหานคร เขาจึง ตั ด สิ น ใจล่ อ งเรื อ ลงใต้ ม ายั ง แหลมพั น วา บนเกาะภูเก็ต ลงมือร่วมแรงกับลูกชายปั้น โครงการบ้ า นพั ก ตากอากาศและรี ส อร์ ท แห่งใหม่ให้มาเป็นมุกประดับทะเลอันดามัน
ภายใต้ชื่อ “ศรีพันวา” สงกรานต์ เ ริ่ ม เล่ า ถึ ง จุ ด เริ่ ม ต้ น ของโปรเจ็ ค ต์ นี้ ข ณะที่ พ าเราเดิ น ชมส่ ว น ต่างๆ ของศรีพันวาด้วยตนเอง “ผมมาล่อง เรื อ ใบที่ ภู เ ก็ ต แล้ ว ก็ ผ ่ า นมาเห็ น ที่ ต รงนี้ (แหลมพันวา) ผมว่าทีต่ รงนีส้ วยดี แล้วราคา ไม่น่าแพงมาก เพราะคนที่มาลงทุนในภูเก็ต ส่วนใหญ่ จะไปหาทีแ่ ถวหาดป่าตอง แถวทีม่ ี หาดสวยๆ คนเลยไม่คอ่ ยมองมาทีต่ รงนี้ แต่ ผมว่าทีแ่ หลมตรงนีส้ วยเป็นเขาขึน้ ไปด้วย ดู เป็นส่วนตัวดี” ”ราคาที่ ซื้ อ ได้ ม าก็ ไ ม่ ไ ด้ แ พงมาก จนเกินไป แต่ผมมั่นใจว่ายังไงที่ตรงนี้ก็ไม่ ขาดทุนเพราะราคาที่นี่ขึ้นตลอด ทีแรกผม คิ ด จะท� ำ เป็ น แค่ บ ้ า นพั ก ตากอากาศขาย
เป็นหลังๆ แล้วก็จบไป แต่ลูกชายของผม (ปลาวาฬ อิสสระ) เขาเรียนจบการโรงแรม แล้วก็มาขอผมท�ำที่นี่ เขาบอกว่าอยากท�ำ มากขอโอกาสให้เขาลองดู ผมก็โอเค ที่จริง ผมไม่ได้หวังให้ลูกต้องเข้าท�ำธุรกิจต่อ ผม เปิดโอกาสให้เขาไปท�ำอะไรก็ได้ แต่เขาเข้า มาขอผมท�ำก็โอเค ผมก็ให้โอกาสเขาเต็มที”่ โครงการศรีพนั วามีพนื้ ทีท่ งั้ หมดกว่า ๘๐ ไร่ แต่ละส่วนถูกออกแบบให้มีความ กลมกลื น กั บ ธรรมชาติ ข องเดิ ม มากที่ สุ ด และใส่รายละเอียดตกแต่งเล็กๆ น้อยๆ ให้ มีเสน่ห์น่าจดจ�ำ “พวกเราไม่เคยท�ำโรงแรม กันมาก่อน ก็เลยต้องมานั่งร่างตั้งแต่แผน ธุรกิจ ไปจนถึงรายละเอียดทุกจุด ในห้องพัก ต้องแต่งแบบนี้ ถ้าลูกค้าโทรมาพนักงานจะ ต้องพูดแบบนี้ๆ ท�ำกันเป็นคู่มือเล่มหนาขึ้น มาเลย เราต้องการสร้างให้ที่นี่เป็นศรีพันวา ให้ แ ขกรู ้ สึ ก ว่ า ที่ นี่ ไ ม่ เ หมื อ นโรงแรมหรู ที่ อืน่ ๆ เพราะโรงแรมในเครือเชนใหญ่ๆ ก็จะมี รูปแบบการบริการที่เหมือนๆ กัน ซึ่งเรา ไม่ต้องการแบบนั้น เราต้องการให้ที่นี่เป็น ศรีพันวา เป็นศรีพันวาที่ไม่เหมือนใคร “ตอนแรกอยากจะท� ำ โรงแรมกั น สนุกๆ แต่ไปๆ มาๆ กลับกลายเป็นว่าการมี โรงแรมนีส่ ง่ ผลดี เพราะเราเชิญลูกค้าทีจ่ ะมา ซือ้ บ้านให้มาพักก่อน ให้ได้ลองสัมผัสเลยว่า อยูท่ นี่ เี่ ป็นยังไง ซึง่ แน่นอนว่าเราก็ตอ้ งท�ำให้ เขาประทับใจให้ได้ การมีโรงแรมอยู่ท�ำให้ ไม่เงียบด้วย เรามีร้านอาหารบริการ มีรถ รับส่ง มีคนอยู่ตลอด บรรยากาศก็คึกคัก
ที่นี่เลยน่าอยู่ขึ้น ไม่เงียบเหมือนบ้านพัก ตากอากาศที่อื่นๆ” ณ วันนี้ ศรีพันวาได้ก้าวขึ้นมาเป็น โรงแรมทีม่ ชี อื่ เสียงระดับโลก มีนกั ท่องเทีย่ ว เดินทางเข้ามาพักอย่างต่อเนื่อง จนกลาย เป็ น กระแสบอกต่ อ ถึ ง คุ ณ ภาพของการ บริการและบรรยากาศแสนโรแมนติกกลาง ทะเลอันดามัน และกลายเป็นอีกหนึ่งความ ภู มิ ใ จของสงกรานต์ ใ นฐานะนั ก พั ฒ นา อสังหาริมทรัพย์ สงกรานต์ถือเป็นนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์รุ่นบุกเบิกที่สะสมประสบการณ์ สารพั ด รู ป แบบ ฝ่ า ฟั น วิ ก ฤตและความ เข้ ม ข้ น ของวงการมาจนถึ ง ทุ ก วั น นี้ และ
anuman-online.com
24
ใต้หอประชุม
สงกรานต์ก็ยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะแบ่งปัน ประสบการณ์เหล่านั้น “ช่วงนีผ้ มก�ำลังเขียนหนังสืออยู่ เป็น หนังสือที่รวมเรื่องจากประสบการณ์การท�ำ ธุรกิจอสังหาฯ และเรื่องราวชีวิตของผมเอา ไว้ เผื่อจะไปเป็นประโยชน์กับคนที่สนใจ บ้าง” สงกรานต์ยมิ้ แล้วเริม่ เล่าประสบการณ์ เหล่านั้น “ตอนเรียนจบจากอเมริกามาใหม่ๆ ผมไปท�ำงานอยู่ที่ซิตี้ แบงค์ ซึ่งก็ได้เรียน รู้อะไรมากนะ เขาส่งผมเข้าอบรมตลอดๆ เลยได้ความรู้เรื่องการเงินอยู่พอสมควร ท�ำ อยู่ได้สามสี่ปี ผมก็ตัดสินใจจะออกจากการ เป็น Professional ในสายการเงิน และหันมา ช่วยคุณพ่อ (ชาญ อิสสระ) ท�ำธุรกิจก่อสร้าง และพั ฒ นาที่ ดิ น ของครอบครั ว ตอนนั้ น เป็ น การตั ด สิ น ใจที่ ย าก เพราะผมก็ ก าร
ท�ำงานที่ซิตี้ แบงค์ก็เป็นไปด้วยดี แต่พอผม เห็นว่าคุณพ่อของผมมีอายุมากขึน้ เรือ่ ยๆ แต่ ก็ยังคงต้องแบกงานๆ ต่างไว้เยอะ ผมเลย ต้องตัดสินใจเข้ามาท�ำงานเพื่อช่วยคุณพ่อ “จริ ง อยู ่ ที่ ธุ ร กิ จ นี้ เ ป็ น ธุ ร กิ จ ของ ครอบครัว เป็นธุรกิจกงสีของพี่น้อง แต่ กลับ กลายเป็ น ว่ า คุ ณ พ่ อ และผมต้ อ งเป็ น ผู้ค�้ำประกันทุกๆ อย่างไว้หมด ถ้ามีปัญหา อะไรขึ้นมาก็ต้องแบกอยู่คนเดียว ปัญหา ภายในก็มีหลายอย่างผมก็ต้องค่อยๆ เข้า มาช่วยปรับนู่นปรับนี่เพื่อให้ทุกอย่างเข้าที ่ เข้าทาง ซึ่งก็เป็นงานที่หนักมากเพราะว่า อ� ำ นาจการตั ด สิ น ใจอะไร ไม่ ไ ด้ อ ยู ่ ที่ เ รา ฝ่ายเดียว จะจัดการอะไรก็ต้องไปขอความ ร่วมมือจากทุกฝ่าย ถ้าเขาโอเคกันหมดก็ดไี ป แต่ถ้าเขาบอกว่าไม่เอาขึ้นมา ก็งานหนัก เลยทีเดียว
“จากประสบการณ์ตรงนี้ท�ำให้รู้เลย ว่าต่อไปถ้าจะลงหุ้นกันต้องมีผู้น�ำที่ถือหุ้น ใหญ่ไว้เป็นแกนหลัก แล้วค่อยไปหาหุน้ อืน่ ๆ มาเสริมเข้าไป เวลาจะบริหารจัดการอะไรจะ ได้ท�ำได้สะดวกกว่า” สงกรานต์เปรียบว่าเขาเป็นเหมือน เชฟของภั ต ราคาร ที่ ป รุ ง อาหารเสิ ร ์ ฟ ลูกค้าตามวัตถุดิบพิเศษที่ทางร้านมี เพราะ โครงการทั้ ง หลายที่ ท� ำ ออกมามี ค วาม หลากหลายต่างกันไปหมด ไม่วา่ จะเป็นนิคม อุตสาหกรรม อาคารพาณิชย์ ที่พักอาศัย หรือแม้แต่โรงแรมหรู ในขณะทีบ่ ริษทั พัฒนา อสังหาฯ อืน่ ๆ อาจจะเป็นเหมือนร้านฟาสต์ฟดู้ ที่ท�ำโครงการตามเมนูอยู่ไม่กี่ประเภท “ผมท�ำโครงการหลายอย่าง เป็นเชฟ ที่มีวัตถุดิบอะไรก็เอามาเสนอลูกค้า ไม่ได้ เป็นร้านฟาสต์ฟู้ด ถึงแต่ละจานที่เราท�ำจะ ต่างกัน แต่ทุกจานก็ยังคงเป็น The Art of Cooking อยูด่ ี ผมท�ำทัง้ อาคารออฟฟิศ คอนโด โรงงาน โรงแรม ท�ำหลากหลายกันไป แต่ละที ่ ก็จะมีกระบวนการทีต่ า่ งกันไป อย่างท�ำนิคม อุตสาหกรรมที่ลาดกระบัง ไม่ต้องมีการ ตลาด สร้างก็ง่าย แต่การรวมพื้นที่ให้เป็น แปลงเดียวกันนั้นเป็นเรื่องยากมาก ส่วนที ่ ศรีพันวาก็ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องที่ดิน แต่ก็ ต้องมาทุ่มลงไปการสร้างแบรนด์และการ บริการลูกค้าที่ค่อนข้างยาก” แต่กว่าที่สงกรานต์จะก้าวขึ้นมา อยู่ในจุดนี้ได้ ตัวเขาเองก็ต้องผ่านวิกฤต มาไม่น้อย โดยเฉพาะวิกฤตทางเศรษฐกิจ
ในปี ๒๕๔๐ ทีท่ ำ� ให้เขาเกือบจะต้องล้มทัง้ ยืน “ตอนนั้นผมค่อนข้างแย่ งานทั้งหลายก็ต้อง หยุดค้างไปทัง้ หมด เงินเราไม่มเี ราจะท�ำอะไร ก็ท�ำไม่ค่อยได้ ช่วงนั้นผมเลยต้องตระเวน หาที่ส�ำหรับโปรเจ็คต์ใหม่ๆ ต้องไปท�ำวิจัย ทางตลาดอยูน่ าน เราท�ำนานจนมีขอ้ มูลเยอะ มาก เยอะจนลูกน้องผมเข้ามาถามว่าเมื่อไร เราจะได้เริ่มท�ำสักที ผมก็ได้แต่บอกว่าเรา ต้องใจเย็นๆ และมั่นใจจริงๆ ว่าโครงการนี้ ดี ถ้าโครงการนี้ดีจริงๆ ยังไงๆ ก็ต้องมีคน พร้อมมาร่วมลงทุนอยู่แล้ว พอได้จังหวะก็มี คนมาจริงๆ เพราะเขาก็เห็นโอกาสเหมือนที่ เราเห็น เราเลยเริ่มได้กลับมาอีกครั้ง “จากประสบการณ์ครั้งนั้นท�ำให้เรา รู้เลยว่า ถ้าจะท�ำอะไรในเมืองไทยต้องท�ำ anuman-online.com
26
ใต้หอประชุม
เร็วๆ ต้องท�ำโครงการไม่เกินสามปี อย่าไป ท�ำโครงการระยะยาวเป็นห้าปีสิบปี อย่าท�ำ ค้างไว้นานๆ เพราะสภาพตลาดเปลี่ยนไป เร็วมาก ตอนนี้เวลาเราท�ำอะไรก็จะท�ำเร็วๆ เราเลยต้องเซ็ตทีมที่มีประสิทธิภาพ คนของ เราอาจจะไม่ต้องเยอะมาก ดูเฉพาะเรื่อง หลักๆ ที่เราถนัดเท่านั้น ส่วนเรื่องอื่นก็ไป หารายอื่นๆ ที่เขาถนัดในเรื่องนั้นๆ มาช่วย ท�ำให้ การท�ำแบบนี้ก็จะท�ำให้เราท�ำงานได้ เร็วและก้าวไปพร้อมๆ กับตลาดได้ “เรื่องการบริหารก็เป็นเรื่องส�ำคัญ ทุกส่วนต้องสมดุลกันให้หมด จะขายให้ หมดแต่สร้างไม่ทัน เงินหมุนมาไม่พอ การ ท�ำงานอสังหาริมทรัพย์มปี ญ ั หาสารพัดอย่าง
ที่ต้องคอยบริหารให้ดี ถ้าจังหวะที่ต้องยอม ตัดทิ้งเปล่า ก็ ต ้ อ งยอมให้ เ สี ย ไป ตั ด ได้ ให้ จ บไปเลยดี ก ว่ า ปล่ อ ยค้ า งไว้ ใ ห้ แ ย่ ไปกว่ า เดิ ม ต้ อ งดู แ ลค่ า ใช้ จ ่ า ย ต้ อ งดึ ง จั ง หวะบริ ห ารให้ เ ป็ น สมั ย ผมท� ำ ธุ ร กิ จ ตอนแรกๆ จะท� ำ อะไรก็ ต ้ อ งระวั ง ตั ว ไปหมดเพราะผมมีกระสุนน้อย แต่ตอนนี ้ มีกระสุนมากขึ้นจะท�ำงานอะไรก็สนุกกว่า เยอะ ทุนหนาก็กล้าแทง เหมือนที่เรากล้า มาแทงที่ศรีพันวา” “กว่ า จะเติ บ โตมาขนาดนี้ ไ ด้ ต ้ อ ง ใช้เวลา ไม่ว่าจะเร็วหรือจะช้า ยังไงก็ต้อง ใช้เวลา แต่ไม่มีทางลัดมาสู่ความส�ำเร็จ” สงกรานต์กล่าวสรุปประสบการณ์การท�ำงาน ไว้สั้นๆ ให้ได้เรียนรู้ต่อไป นอกจากการท�ำงานแล้ว สงกรานต์ ยังให้ความส�ำคัญกับอีกด้านของชีวิตด้วย “ผมท�ำงานแล้วรูส้ กึ สนุกมาก ถ้าผมท�ำอะไร แล้วมีความสุขผมก็ท�ำเลย แต่ถ้าเราไม่ชอบ ท�ำไปแล้วรู้สึกไม่สบายใจ ร่างกายของเรา ก็จะรับไม่ค่อยได้ โดยเฉพาะเรื่องสุขภาพนี่ ส�ำคัญมาก ถ้าผมมีเงินเยอะแยะแต่มานัง่ กิน แบบนีไ้ ม่ได้ มานัง่ คุยกับพวกน้องไม่ได้ ดูแล ครอบครัวไม่ได้ ต่อให้ผมมีเงินเท่าไรก็ไม่มี ประโยชน์ เราต้องใช้ชีวิตให้สมดุล ดูแล ทุกอย่างให้ไปได้ อย่าลุยท�ำงานแล้วลืมดูแล ครอบครัว อย่าปล่อยสุขภาพ แต่ก่อนผม ก็ไม่ได้สนใจหรอก” ในปัจจุบนั นีส้ งกรานต์ตนื่ ขึน้ มาแต่เช้า เพื่อนั่งสมาธิอยู่อย่างสม�่ำเสมอ หลังจากที่
ได้รับค�ำแนะน�ำส�ำหรับการใช้ชีวิตจากทาง พุทธศาสนา “พอเริ่ ม เข้ า วั ด แล้ ว ก็ ไ ด้ เ จอพระ อาจารย์ที่ดี ท่านก็ช่วยวาด Road Map ของชีวิต เพื่อดูว่าผมจะมีชีวิตอย่างไร ผม ก็ เ ลยได้ เ ริ่ ม เห็ น เริ่ ม คิ ด ว่ า ผมจะต้ อ งมี เงิ น ส� ำ หรั บ ดู แ ลครอบครั ว มี เ วลาให้ กั บ ภรรยาและลูกๆ มากหน่อย ลูกของเรา จะได้เป็นเด็กน่ารัก พอผมดูจาก Road Map ที่พระท่านช่วยร่างให้ ผมก็เริ่มเห็น เป้าหมายของชีวติ แล้ว ผมเริม่ ปรับตัวเองให้ เป็นไปตามเป้า พระท่านแนะน�ำได้ถกู จุด ผม ฟังแล้วเราก็เห็นว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้อง ช่วยให้ ชีวิตของผมมีความหมายมากขึ้น”
อันที่จริงแล้ว สงกรานต์ก็คุ้นเคย กับพุทธศาสนาผ่านเสียงสวดมนต์ที่ดังก้อง หอประชุมของโรงเรียนวชิราวุธฯ อยู่เป็น ประจ�ำ ตัวสงกรานต์เองก็ไม่เคยคิดมาก่อน เหมือนกันว่าการที่ตอนเด็กๆ ต้องสวดมนต์ อยูท่ กุ วันจะกลายมาเป็นพืน้ ฐานในการเข้าใจ พุทธศาสนาให้ได้ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น “ตอนอยู ่ โ รงเรี ย นผมก็ ส วดมนต์ อะไรไปนะ แต่ ไ ม่ เ คยเข้ า ใจ แต่ พ อมา ศึกษาจริงจัง ก็รู้สึกได้ว่าเหมือนมีทุนเดิม อยู่แล้ว ผมก็พอจะนึกได้ว่าไอ้นี่เราเคยสวด มาก่อนแล้ว ท�ำให้ผมเข้าใจความหมายของ บทสวดมนต์ได้ชัดมากยิ่งขึ้น พอได้ฟังดีๆ ก็เข้าใจมากขึ้นว่าค�ำสอนของพระพุทธเจ้า มีเหตุผล และสามารถดึงออกมาใช้ได้ เวลา anuman-online.com
28
ใต้หอประชุม
ท�ำงานแล้วเจอปัญหามาเราต้องมีสติมาก มี ปัญหาเข้ามาต้องคอยดูและเรียบเรียง ค่อยๆ แก้ทลี่ ะอัน แก้ไปเรือ่ ยด้วยการมีสติ จะมีสติ ได้ก็ต้องค่อยๆ ฝึกขึ้นมา” ความทรงจ�ำเรือ่ งบทสวดมนต์ คงเป็น เพี ย งความทรงจ� ำ บางส่ว นที่เ กี่ยวข้องกับ ชีวิตในโรงเรียนวชิราวุธฯ เท่านั้น ถึงแม้ว่า สงกรานต์จะไม่ได้จบจากโรงเรียนวชิราวุธฯ แต่ช่วงเวลาหลายๆ ปีที่ได้อยู่ในโรงเรียน ยังคงเป็นความทรงจ�ำที่สงกรานต์จ�ำได้ดี อยู่เสมอ “ผมเป็นเด็กบ้านนอกอยู่หาดใหญ่ ไม่ได้คิดจะเข้ามาเรียนที่วชิราวุธฯ หรอก แล้ ว มาวั น หนึ่ ง ที ม รั ก บี้ ข องวชิ ร าวุ ธ ฯ ก็ นั่ ง รถไฟมาจอดพั ก ที่ ห าดใหญ่ ก่ อ นจะ ไปแข่ ง รั ก บี้ ป ระเพณี ที่ ม าเลย์ คอลเลจ
ประเทศมาเลเซี ย เป็ น ครั้ ง แรก พวกเรา ก็ไปต้อนรับทั้งครูทั้งนักเรียนกันอย่างดี พอ ผมโตขึ้นมาหน่อย ที่บ้านก็อยากจะให้เข้า โรงเรียนดีๆ สมัยนั้นโรงเรียนดีๆ ก็มีแต่ใน กรุงเทพฯ แล้วถ้าไปเรียนโรงเรียนอื่นๆ ก็ จะล�ำบากเรื่องที่พักอีก ถ้าไม่อยู่วชิราวุธฯ ก็ ต้องไปอยู่วัด ได้มาอยู่ที่โรงเรียนก็เลยถือว่า อัพเกรดขึน้ มาหน่อย ตอนเข้าไปผมเป็นเด็ก ต่างจังหวัด ในโรงเรียนก็มพี วกลูกข้าราชการ ลูกท่านหลานเธอต่างๆ ผมก็รสู้ กึ นิดๆ หน่อยๆ แต่ก็ไม่ได้คิดอะไรมากมาย เพราะอยู่ไป สักพักก็เป็นเพื่อนกันหมด “ผมอยู่เด็กสาม ตอนเด็กๆ พวก เด็กสามกับเด็กสองก็มีเรื่องต่อยกันประจ�ำ ก็จะมีพี่อ้วนนี่ต่อยเก่งมาก ต่อยกันแบบ จริ ง จั ง เลย ไปต่ อ ยในห้ อ งน�้ ำ บ้ า ง ห้ อ ง
ล๊อกเกอร์บา้ ง มีผลัดเปลีย่ นตัวกันได้ อ้วนเขา ต่อยเก่งจริงๆ อย่างเวลาเล่นยิงลูกกระดาษ กั น ผมก็ ต ้ อ งไปอยู ่ กั บ ที ม พี่ อ ้ ว น ไม่ งั้ น ถูกยิงตายเลย ต้องไปขออยูท่ มี เดียวกัน ถึงขัน้ ที่ต้องยอมให้ยืมเสื้อหนาวที่พ่อของผมซื้อ มาจากโอลิมปิกที่ญี่ปุ่น ผมก็ต้องให้ ไม่งั้น ก็อาจจะถูกยิงลูกกระดาษจนตายได้ และที่ ส�ำคัญอยู่กับพี่อ้วนไม่มีค�ำว่าแพ้ เพราะถึง แพ้เขาก็จะสั่งลุย! ทันที” สงกรานต์เล่าไป พร้อมกับเสียงหัวเราะและรอยยิ้มเมื่อระลึก ถึงเรื่องสนุกๆ ในอดีต สงกรานต์ย้ายจากคณะเด็กเล็กสาม มาอยู่ที่คณะพญาไท “ผมไม่ค่อยได้เล่น รักบี้เท่าไร เพราะสมัยนั้นเขาไม่ได้แบ่งรุ่น ตามอายุ แต่เป็นตามขนาดตัว พอดีผม ตัวใหญ่กว่าเพื่อนรุ่นเดียวกัน ก็เลยโดนให้ เป็นเล่นรุ่นกลาง ทีนี้ผมไม่เคยเล่นรักบี้มา ก่อน ก็เลยท�ำให้สู้พวก มศ.๒ มศ.๓ ไม่ได้ เลยไม่ติดทีมรักบี้ ผมก็เลยต้องไปเล่นกีฬา พวกแบดมินตัน เทนนิส ว่ายน�้ำ ชกมวย อะไรแบบนี้ ไปเล่ น กี ฬ าที่ แ บ่ ง ตั ว ใหญ่ ตัวเล็กไม่ไหว “มีอยู่ครั้งหนึ่งที่ผมต้องแข่งว่ายน�้ำ ในสมัยนั้นก็ไม่มีแบ่งรุ่น ให้ผมทีนี่เป็นเด็ก มศ.๒ ไปแข่งกับพวกรุ่นพี่ มศ.๕ ก็ไม่ไหว พอดีตอนนัน้ ทัง้ คณะพญาไทก็ไม่มรี นุ่ พีท่ เี่ ขา ว่ายน�ำ้ กันเลย ผมก็ตอ้ งไปแข่งแทน แน่นอนว่า ก็สู้ไม่ได้ ก็ไม่ได้ถ้วย แต่ก็ผมก็โอเค ได้เล่น ก็สนุกดี anuman-online.com
30
ใต้หอประชุม
“สมัยนั้นก็คงเหมือนสมัยนี้ ที่พวกตี แร็กเก็ตก็จะดูเท่หส์ พู้ วกทีเ่ ล่นรักบีไ้ ม่ได้ แต่ เทนนิสนี่ถือว่าดีพอสมควร เพราะตอนนั้น ได้อาจารย์สมภาร จ�ำปีศรี ที่เป็นแชมป์ของ ประเทศไทยติดต่อกันเป็นสิบสมัย (พ.ศ. ๒๕๐๙ - ๒๕๑๙ เว้นปี พ.ศ. ๒๕๑๘) เรียก ได้ว่าสุดยอดกว่าภราดร ศรีชาพันธุ์ เสียอีก ต้ อ งยกย่ อ งท่ า นพระยาภะรตฯ จริ ง ๆ เพราะท่ า นหาครู แ ต่ ร ะดั บ สุ ด ยอดมาให้ เด็กนักเรียนทั้งนั้น” แม้ว่าสงกรานต์จะเคยโดดโรงเรียน ไปเพียงแค่ซื้อก๋วยเตี๋ยว ซื้อราดหน้าอยู่ไม่ กี่ครั้ง แต่สงกรานต์ในฐานะเด็กวชิราวุธฯ ย่อมต้องได้เคยสร้างวีรกรรมผิดระเบียบ ทิ้งให้เป็นที่ระลึกไว้อย่างแน่นอน “พอดีตอนนั้นรุ่นพวกผมอยู่ มศ.๓ ก็รู้สึกอึดอัดไม่สบายใจกับพวกพี่ มศ.๕ รุ่น พี่แวน (แวน เลนบุรี-โอวี ๔๒) ก็เพราะ ตอนนัน้ คณะพญาไทเราไม่ได้ถว้ ยไม่ได้อะไร เลย แล้วเราก็รู้สึกว่าพวกพี่ มศ.๕ ไม่ค่อย เก่งกันเท่าไร อยู่มาคืนหนึ่ง เราก็คึกเข็นรถ พระอินทร์ออกมาเล่นกัน เข็นกันออกไปจอด ที่สนามเทนนิส แล้วก็ไปนั่งคุยกันมืดๆ อยู่ ในนั้น เราก็คุยกันเรื่องพวกพี่ มศ.๕ เรื่อง พี่แวนที่คุมเราเข้มงวดมาก เราก็นั่งคุยกัน เรื่อยๆ สักพักอยู่ดีๆ พวกเพื่อนๆ ก็ทยอย เงียบๆ กันไปทีละคน “ผมก็เอะใจว่าเกิดอะไรขึน้ ปรากฏว่า พีแ่ วนยืนอยูข่ า้ งหลัง พีแ่ กเดินผ่านมาแล้วคง ได้ยนิ พอดี พวกเราก็รสู้ กึ ว่าซวยแล้ว กว่าจะ
สะกิดกันรอบวงบอกให้รู้ว่าพี่แวนมายืนอยู่ ด้านหลัง พวกเราก็ว่าแกเสียๆ หายๆ ไป หมดแล้ว เราก็คิดกันตั้งแต่ตรงนั้นแล้วว่า ยังไงก็ไม่รอดโดนท�ำโทษแน่นอน ปรากฏว่า พี่แวนแกสปอร์ต ไม่บอกใครเลย แค่เรียก เราไปว่านิดหน่อย ไม่แก้แค้นอะไร “ผมจ�ำเรื่องนี้ได้แม่น ผมเลยเคารพ แกมาตลอด เพราะแกเป็นสุภาพบุรษุ จริงๆ” นอกจากเรือ่ งของพีแ่ วนแล้วยังมีเรือ่ ง อื่นๆ ที่เกิดขึ้นในโรงเรียนซึ่งต่างก็ให้ข้อคิด และเป็นประสบการณ์ที่ช่วยหล่อหลอมให้ สงกรานต์เป็นดั่งเช่นทุกวันนี้ “ผมเห็ น ว่ า สิ่ ง ส� ำ คั ญ ที่ สุ ด ที่ ไ ด้ จ าก วชิราวุธฯ ก็คงจะเป็นการที่ต้องเข้ามาปรับ ตัวกับคนอืน่ ๆ แล้วต้องช่วยเหลือตัวเอง ต้อง อยูร่ อดให้ได้ เรือ่ งวิชาต่างๆ อาจจะเป็นเรือ่ ง รอง แต่การดูแลตัวเองนีส่ ำ� คัญมาก ต้องจัดตู้ เสือ้ ผ้าให้เรียบร้อย ท�ำเตียงให้ตงึ ขัดรองเท้า ให้เงา ดูแลจัดชีวิตของตัวเอง มีหลายอย่าง ที่ช่วยให้ผมแกร่งขึ้นมาก แล้วยังท�ำให้ผม เข้ากับคนอื่นๆ ได้ง่าย เพราะเราเปิดใจและ จริงใจให้กับทุกคน “บุคลิกที่ผมเป็นแบบนี้ก็ได้มาจาก โรงเรียนทั้งนั้น เรื่องที่เราต้องอยู่รอดใน สังคม ต้องรับผิดชอบก็เพราะโรงเรียนทั้ง นั้น เราก็ต้องบริหารความสัมพันธ์ให้เป็น ต้องอยู่ให้รอด ถ้าอยู่โรงเรียนอื่นๆ พ่อแม่ก็ มาส่งตอนเช้า ตอนเย็นก็รับกลับบ้าน เลย ท�ำให้พลาดไม่ได้เจออะไร ทั้งๆ ที่ชีวิตนี้มี อีกเยอะให้เจอ
“โรงเรียนของเราเน้นเรื่องคุณธรรม ความซื่อสัตย์ การเป็นผู้น�ำ เรื่องพวกนี้มีอยู่ รอบตัวไปหมด ผู้การฯ ก็พูดบ่อย จนค่อยๆ ซึมเข้าไปในเราเอง ซึง่ เป็นเรือ่ งทีด่ มี าก เรือ่ ง เหล่านีส้ อนให้เรามีกาลเทศะ รูจ้ งั หวะ รูเ้ วลา อยู่กับใครจะพูดอะไร เราก็พูดด้วยความ จริงใจ พูดจากใจ แต่ขณะเดียวกันก็ต้องพูด ให้ถูกจังหวะ” ด้วยการที่สงกรานต์เป็นคนเปิดเผย และจริงใจ ท�ำให้เวลาไปท�ำงานที่ไหนก็ม ี เพื่อนร่วมก๊วนออกรอบตีกอล์ฟด้วยกันอยู่
หลายก๊วน แต่ก็มีอยู่หนึ่งก๊วนที่สงกรานต์ ต้องเจออยู่เป็นประจ�ำ “รุ่นของผมนี่เจอกันเยอะมากที่สุด เจอกันอาทิตย์ละสามวันต่ออาทิตย์ มาเจอกัน อยูป่ ระจ�ำ ผลัดกันหาทีก่ นิ ข้าวตอนเทีย่ งบ้าง ตอนเย็นบ้าง นัง่ คุยกันสารพัดเรือ่ ง แต่กต็ อ้ ง คุยเรือ่ งเดิมๆ อยูท่ กุ ครัง้ ก็เรือ่ งโรงเรียนนีล่ ะ คุยกี่ครั้งก็ไม่เบื่อ” สงกรานต์ พู ด ปิ ด ท้ า ยพร้ อ มกั บ รอยยิ้ ม และเสี ย งหั ว เราะที่ ดั ง ขึ้ น รอบวง สัมภาษณ์ของพวกเรา
สัมภาษณ์ อารยวุฒิ อิศรางกูรฯ โอวี ๗๐ ธนกร จ๋วงพานิช กิตติเดช ฉันทังกูล โอวี ๗๓ ศศินทร์ วิทูรปกรณ์ สุทธิพงษ์ ลิ้มสุขนิรนดร์ โอวี ๗๓
เรียบเรียง โอวี ๗๗ ศศินทร์ วิทูรปกรณ์ โอวี ๗๙
โอวี ๗๙
ถ่ายภาพ
สุทธิพงษ์ ลิ้มสุขนิรนดร์ โอวี ๗๓
anuman-online.com
32
คอลั ม น์ พิ เ ศษ
บทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ
เมือง
พระร่วง เที่ยว
ต่อจากฉบับที่แล้ว
ตอนที่ ๕ เมืองศุโขทัย-ตอนในก�ำแพง
การตรวค้นดูสถานที่ต่างๆ ในเมือง ศุโขทัยอยู่ข้างจะได้ความล�ำบากมาก รวม เบ็ดเสร็จได้มีเวลาตรวจค้นอยู่แปดวัน ที่ เจ้าเมืองได้ถางไว้บ้างแล้วก็มี แต่ที่ต้องไป ถางเข้าไปใหม่ก็มีเปนอันมาก เพราะฉะนั้น การตรวจค้นจึงไม่ใคร่จะทั่วถึงนัก การที่ได้ ท�ำครั้งนี้เปรียบเหมือนหักร้างถางพง ถ้าแม้ มีผู้มีความรู้ในทางโบราณคดีขึ้นไปดูเมือง ศุโขทัยอีกคราวหนึ่ง เชื่อว่าคงจะสะดวก ขึ้นอีกเปนอันมาก และคงจะได้เค้าเงื่อน ประกอบเรื่องราว ได้ดียิ่งขึ้นกว่าที่มีอยู่ใน หนังสือนี้เปนแน่ ที่จะได้กล่าวต่อไปนี้ เล่า ไปตามที่ ไ ด้ เ ห็ น และตามความคิ ด ความ สันนิฐานประกอบบ้าง พอเปนโครงให้ผชู้ ำ� นาญ ในทางโบราณคดีตริตรองวินิจฉัยต่อไป
เมืองศุโขทัยนี้ วัดตามก�ำแพงเมืองชัน้ ในคงได้ความว่าด้านเหนือแลด้านใต้ ๔๔ เส้น ๑๕ วาเท่ากัน ด้านตะวันออกและตะวันตก ๓๗ เส้น ๕ วาเท่ากัน ถ้าจะวัดไปโดยรอบ ก�ำแพงรวมเปน ๑๖๔ เส้น ก�ำแพงชั้นใน นี้ได้ตรวจสอบเปนแน่นอนแล้ว แต่ก�ำแพง ชั้นกลางกับชั้นนอกหาได้มีเวลาวัดสอบไม่ แต่เมื่อได้ตรวจดูทั่วแล้วสันนิฐานว่าก�ำแพง ชั้นในเปนก�ำแพงแท้ ยังมีแลงที่ก่อเหลืออยู่ บ้างบางแห่ง ชั้นกลางกับชั้นนอกเปนเทิน ดิน ตรวจดูในค�ำจาฤกหลักสิลาของพระเจ้า รามก�ำแหงได้ความว่า “รอบเมืองศุโขทัยนี้ ตีรไปได้ ๓๕๐๐ วา” คิดลงเปนเส้นได้ ๑๗๐ เส้น จึงสันนิฐานว่าก�ำแพงชั้นในเปนก�ำแพง เดิมครัง้ พระเจ้ารามก�ำแหง ชัน้ กลางชัน้ นอก
anuman-online.com
34
คอลัมน์พิเศษ
คงได้เพิ่มเติมขึ้นต่อภายหลัง ประตูเมืองซึ่ง กล่าวไว้ในหลักสิลาว่ามีสชี่ อ่ งนัน้ ก็คน้ พบทัง้ สี่ช่อง แต่น่าประตูออกไปที่แนวก�ำแพงชั้น กลาง มีป้อมบังประตูอยู่ทั้งสี่ด้าน ซึ่งท�ำให้ เข้าใจว่าเชิงเทินและคูชนั้ กลางกับชัน้ นอกนัน้ น่าจะได้ท�ำขึ้นเมื่อตั้งใจรับศึกคราวใดคราว หนึ่ง (๑) แล้วเห็นว่าเปนการมั่นคงดีจึงเลย ทิ้งไว้เช่นนั้น ถ้ามิฉะนั้นคงจะไม่ท�ำป้อมบัง ประตู ซึ่งไม่ท�ำให้เมืองงามขึ้นเลย แต่ท�ำให้ มั่นขึ้นเปนแน่ ถึงแม้ว่าในสมัยนี้ถ้าจะต้องตี เมืองเช่นนี้ก็จะไม่ใช่ตีได้ง่ายนัก ส่วนทีต่ า่ งๆ ซึง่ ได้ไปตรวจดูนนั้ มีเปน อันมาก และตามความจริงได้ข้ามไปข้ามมา ตามแต่จะค้นพบ ครัน้ จะเล่าไปตามทีไ่ ปดูเปน รายวันก็จะพาให้ยุ่งนัก จึงได้คิดแบ่งออก เปนตอนๆ เก็บเรื่องราวของสถานที่ซึ่งอยู่ ในจังหวัดใกล้เคียงกันไปรวมกันเข้าไว้ กล่าว เปนตอนในก�ำแพงเสียตอนหนึง่ นอกก�ำแพง แยกออกไปตามทิศ พออ่านเข้าใจง่ายขึน้ จะ ได้จับกล่าวถึงตอนในก�ำแพงเมืองก่อน พอออกจากที่พักเข้าประตูเมืองด้าน ตะวันออก ไปได้หน่อยถึงหมู่บ้านในเมือง (ซึง่ มีอยูส่ ามหมูบ่ า้ นด้วยกัน) บ้านนัน้ ตัง้ อยู่ ใกล้ตระพังทอง เปนสระน�้ำใหญ่อันหนึ่ง ใน เมืองนี้มีสระฤาตระพังสามแห่ง คือตระพัง ทองอยู่ด้านทิศตะวันออก ตระพังเงินอยู่ ด้านตะวันตก ตระพังสออยู่ด้านเหนือ วัด มหาธาตุเปนสูนย์กลางในค�ำจาฤกหลักสิลา พระเจ้ารามก�ำแหงก็มีกล่าวไว้ว่า “ในเมือง ศุโขทัยนี้มีน�้ำตรงพงงโพยสีใสกินดีดงงกิน
น�้ำโขงเมื่อแล้ง” ดังนี้ น่าจะกล่าวถึงตระพัง เหล่านีเ้ อง แต่นอกจากตระพังทัง้ สามนี้ นอก เมืองก็ยงั มีอยูอ่ กี เปนหลายแห่ง ซึง่ เห็นได้วา่ ในเวลานัน้ น�ำ้ บริบรู ณ์และถ้าแม้ได้รกั ษาการ เรื่องน�้ำนี้ไว้แต่เดิมมาแล้ว เมืองศุโขทัยจะ ต้องไม่ทิ้งร้างเลย ที่ ต ระพั ง ทองนั้ น มี วั ด เรี ย กว่ า วั ด ตระพังทอง มีพระสงฆ์จ�ำพรรษาอยู่ กลาง ตระพังมีเกาะ บนเกาะนั้นมีพระเจดีย์ใหญ่ อยู่กลางองค์หนึ่ง มีพระเจดีย์บริวารอีก ๘ องค์ พระเจดีย์ใหญ่ยังพอเปนรูปร่างอยู่ คือ เปนรูประฆัง ข้างล่างเปนแลงข้างบนเปนอิฐ พระเจดียบ์ ริวารนัน้ ช�ำรุดเสียโดยมากแล้ว ดู ถ้าทางบางทีจะเปนวัดไม่สสู้ ำ� คัญนัก และน่า จะไม่สู้เก่านักด้วย ที่เกาะนี้พระยารณไชย ชาญยุทธ (ครุฑ) เจ้าเมืองศุโขทัยเก่า ซึ่ง ได้ออกบรรพชาเปนสามเณรอยู่นั้น ได้มาส ร้างกุฎิอาไศรยอยู่ และในเวลาที่ไปดูวัดนั้น ก็ได้เห็นโบสถ์ ซึ่งสามเณรรณไชยได้จัดการ เรี่ยรายและก�ำลังสร้างขึ้น จากวัดตระพังทองไปดูวัดร้าง ซึ่ง ราษฎรเรียกกันว่าวัดใหม่จะเปนใหม่มาแต่ ครั้งไรก็ไม่ปรากฏ วันนี้มีคูรอบ ภายใน จังหวัดคูนั้นมีที่กว้าง ๑ เส้น ๘ วา ยาว ๓ เส้น คูนั้นคงจะเปนสีมา (สังเกตว่าวัด โบราณมีคูทั้งนั้น คงจุถือสีมาน�้ำเปนของ มั่นคง) ที่บนกลางเกาะนั้นมีวิหาร รูปร่าง ชอบกล ตั้งอยู่บนลานยกพ้นพื้นดินขึ้นไป ประมาณ ๔ ศอก มีบันไดขึ้น ตัววิหารเปน รูปสี่เหลี่ยมรี กว้าง ๖ วายาว ๑๕ วา มีเสา anuman-online.com
36
คอลัมน์พิเศษ
ใหญ่ๆ รูปกลมก่อด้วยแลงแผ่นเล็กๆ ทาง ด้านตะวันออกกับตะวันตกมีมุขเสด็จทาง ด้านตะวันออกทลายเสียแล้ว แต่ทางด้าน ตะวันตกยังเปนรูปร่างเรียบร้อยดี ยังแลเห็น บัวทีฐ่ าน บนมุขเสด็จมีพระปรางค์ยอ่ มๆ ตัง้ อยู่ หน้าตาเปนมุขเด็จปราสาท ที่วิหารด้าน เหนือนอกแนวเสาออกมามีผนังปูนเกลี้ยงๆ ทีผ่ นังมีนา่ ต่างช่องใหญ่ๆ รูปสีเ่ หลีย่ มเหมือน น่ า ต่ า งโบสถ์ ส มั ย ปั ต ยุ บั น นี้ พอแลเห็ น น่าต่างก็เดาว่าเปนชิน้ ใหม่ ครัน้ พิจารณาดูกพ็ อ จะสังเกตได้ ว่าผนังวิหารตลอดถึงเสาบุษบก ทีม่ ขุ เด็จ และพระปรางค์ทมี่ ขุ เด็จนัน้ เปนของ เพิ่มเติมชิ้นใหม่ทั้งสิ้น ก่อด้วยอิฐแผ่นใหญ่ เสริมขึ้นบนฐานแลงของเดิม ฐานชุกชีที่รอง พระประธานก็เปนชิ้นที่ท�ำเติมขึ้นภายหลัง แลเห็นได้ชัดเจนที่ตรงรอยต่อกับเสาเดิมไม่ สนิท เปนพยานอยู่ว่าท�ำคนละคราวกัน พอ จะเดาต่อไปได้ว่า วิหารนี้คงทิ้งร้างอยู่ แล้ว มีผมู้ าปฎิสงั ขรณ์ขนึ้ คือตอนทีท่ ำ� ด้วยอิฐนัน้ และโดยเหตุที่ไม่รู้จักนามวัดจึงได้เลยเรียก ว่าว่าวัดใหม่ ต่อมา วัดนี้พระยาอุทัยมนตรี ออกความเห็นว่าจะเปนที่วังเดิม และวิหาร นั้นจะเปนปราสารท การที่คิดเช่นนี้ก็เพราะ เห็นมุขเด็จนั้นเอง แต่ข้าพเจ้าไม่เห็นด้วย เพราะตั้งแต่ได้ดูวังในเมืองโบราณมาหลาย แห่งแล้ว ยังไม่เคยพบปราสาทราชฐานท�ำ ด้วยแลงฤาอิฐเลย (ยกเสียแต่ที่กรุงทราวดี และลพบุ รี ซึ่ ง นั บ ว่ า เปนสมั ย ใหม่ ก ว่ า เสี ย แล้ว) ข้าพเจ้าว่าปราสาทราชฐานอะไรคงจะ ท�ำด้วยไม้ทั้งสิ้น (๒) วิหารวัดใหม่นั้นถ้าแม้
จะเปนปราสารทก็ดซู อมซ่อเต็มที ทัง้ ทีท่ างก็ ดูไม่สู้จะเหมาะแก่การที่จะท�ำเปนวังนัก จึง เข้าใจว่าน่าจะได้ตั้งใจท�ำเปนวัดมาแต่เดิม จากวัดใหม่ได้ไปที่วัดซึ่งราษฎรเรียก กันว่า วัดตะกอนบ้าง วัดตาควนบ้าง สงไสย ว่ า บางที ที่ ถู ก จะเปนวั ด ตระกวน(ผั ก บุ ้ ง ) เรียกตามชื่อภาษาเขมรซึ่งปรากฏอยู่ว่า ได้ ใช้อยู่ในเมืองศุโขทัยสมัยเจ้ากรมเตญอัต ศรีธรรมิกราชาธิราชนั้น ที่วัดตระกวนนี้ มีพระเจดีย์ใหญ่ตั้งโดดอยู่องค์เดียว กับมี โบสถ์อยู่ทางทิศตะวันออกด้วยหลังหนึ่ง ที่ นี้ไม่สู้มีอะไรประหลาดนัก ในส่วนพื้นที่ แต่ ได้พบหัวมังกรทิ้งอยู่หัวหนึ่ง หน้าตาเปน มังกรไทย ท�ำด้วยดินเผาเคลือบสีขาวมีลาย ด�ำอย่างชามสวรรคโลก เข้าใจว่าคงจะใช้ ครอบปลายราวบันไดเช่นบันไดนาค มีท่อน ตัวต่อๆ ขึ้นไป จนถึงท่อนหางเปนที่สุด ได้ ความว่าหัวมังกรเช่นนี้ มีทิ้งอยู่ตามวัดร้างๆ โดยมากมีขนาดต่างๆ กัน จึงต้องเดาว่าคง จะใช้เปนราวบันไดบ้าง เครื่องประดับอื่นๆ บ้าง เช่นช่อฟ้าใบระกาเปนต้น ต่ อ จากวั ด ตระกวนไปทางเหนื อ ห่ า งประมาณ ๑ เส้ น มี ศ าลเทพารั ก ษ์ ใหญ่ ราษฎรเรียกว่าศาลตาผ้าแดง เปนรูป ปราสาทก่อด้วยสิลาแลงก้อนเขื่องๆ เหมือน ปราสาทหินที่พิมายและลพบุรี เครื่องบนพัง ลงมาหมดเสียแล้ว แต่เห็นได้ตามรูปว่าคง ท�ำเปนยอดปรางค์ ก่อด้วยแลงไม่ได้ใช้เครือ่ ง ไม้เลย ด้านน่ามีมุขยาวออกมา แล้วมีบันได ใหญ่ส�ำหรับขึ้นไปบนศาล ซึ่งตั้งอยู่บนฐาน
บัวสูง ด้านหลังทะลายเสียแล้ว แต่สังเกตดู ว่าคงมีมุขเหมือนกัน แต่ไม่ยาวเท่าด้านน่า ตัวหลังกลางนัน้ มียอ่ มุมไม้สบิ สองยังแลเห็น ได้ชัดอยู่ ตรวจดูในที่ใกล้โดยรอบ ไม่พบชิ้น อะไรอื่นอยู่ใกล้เคียง จนชั้นระเบียงฤาคตก็ ไม่มี จึงนึกเดาว่าคงจะไม่ใช่เทวะสถานที่ใช้ เปนโบสถ์พราหมณ์ คงจะเปนศาลเทพารักษ์ เช่นศาลพระเสื้อเมืองพระทรงเมือง เชื่อว่า คงจะเปนของส�ำคัญและเปนที่นับถือในกรุง ศุโขทัยโบราณ จึงได้ทำ� แน่นหนาและด้วยฝีมอื อันประณีตเช่นนั้น (๓) ค�ำจาฤกหลักสิลา ของพระเจ้ารามก�ำแหงมีกล่าวอยูแ่ ห่งหนึง่ ว่า “เบื้องหววนอนเมืองศุโขทัยนี้.......มี พรขผุงผีเทพยดาในเขาอนนนนั้น เปนใหญ่ กว่าทุกผีในเมืองนี้ ขุนผู้ใดถือเมืองศุโขทัยนี้ แล ไหว้ดีพลีถูกเมืองนี้ท่ยงเมืองนี้ดี ผิไหว้ บ่ดีพลีบ่ถูกผีในเขาอนนบ่คุ้มบ่เกรง เมืองนี้ หาย” ดังนี้ เขาอะไรใกล้เมืองศุโขทัยทางเบื้อง หัวนอน (คือเหนือ) นัน้ ก็ไม่เห็นมี เพราะฉะนัน้ พระขผุงผีเทพดานั้น จะอยู่ที่ศาลเทพารักษ์ อันที่ได้ไปดูนี้ได้ฤาไม่เปนปัญหาอยู่ ต่อนั้นได้ไปที่วัดกลางเมือง ซึ่งเรียก กันว่าวัดใหญ่บ้าง วัดมหาธาตุบ้าง ที่วัดนี้ได้ ตรวจเทียวไปเทียวมาหลายครั้ง กว่าจะจับ เรื่องราวลงร่องรอบเรียบร้อยดี เพราะเปน วัดใหญ่แลมีการก่อสร้างอยู่ในนี้มาก พระ เจดีย์วิหารต่างๆ และกุฏิเล็กกุฏิน้อยยับไม่ ถ้วน พระพุทธรูปก็มีทุกท่าทางนั่งยืนนอน ชิ้นส�ำคัญที่สุดในวัดนี้คือพระมหาธาตุเจดีย์
สูงตระหง่านอยูก่ ว่าสิง่ อืน่ ท�ำเปนยอดปรางค์ สูงชะลูดเรียวงามดีและแปลกไนยตาหนัก หนา (๔) มีฐานเปนชั้นๆ ลงมาจนถึงลาน บน ซึ่งบรรได้ขึ้นอย่างพระปรางค์วัดอรุณ แต่บันไดปรักหักพังเสียสิ้นแล้ว ที่ลานชั้น บนเปนเช่นวิหารทิศทั้งสี่ด้าน ที่ซุ้มมีลาย จ�ำลักงามๆ มาก ทัง้ ทีฐ่ านพระมหาธาตุเจดีย์ มีวิหารหลวงเก้าห้อง ใหญ่ยาวมาก ขนาด วิหารพระพุทธชินราชเมืองพิศณุโลก ฤาจะ เขื่องกว่าเสียอีก เสาท�ำด้วยแลงก้อนเขื่องๆ นี่เปน ๔ แถว วิหารนี้เดิมเปนที่ประดิษฐาน พระศรีสากยมุนี ซึง่ ได้เชิญลงมาประดิษฐาน ไว้ในพระวิหารวัดสุทัศน์อยู่จนทุกวันนี้ คิด ดูว่าเมื่อพระศรีสากยมุนี ประดิษฐานไว้ใน วิหารหลวงวัดมหาธาตุนี้ คงแลดูงามเปน สง่ า ยิ่ ง นั ก เพราะประการหนึ่ ง วิ ห ารนั้ น ยาวพอที่ จ ะยื น พิ ศ ดู พ ระได้ เ ต็ ม พระองค์ และอีกประการหนึ่งพระคงจะตั้งอยู่เตี้ยๆ เพราะฉะนั้ น คงจะดู ดี ก ว่ า ที่ จ ะดู ไ ด้ ที่ วั ด สุทัศน์เดี๋ยวนี้ วิหารที่วัดสุทัศน์ส่วนยาวไม่ พอประการหนึ่ง และพระประดิษฐานไว้สูง นักอีกประการหนึ่ง เพราะฉะนั้นเมื่อเข้าไป ดูท�ำให้เสียงามไปเปนอันมาก วัดมหาธาตุเมืองศุโขทัยนั้น เห็นได้ ว่าเปนวัดส�ำคัญอย่างยิ่งมีก�ำแพงและคูล้อม รอบ เขตรกว้าง ๕ เส้น ยาว ๕ เส้น ๔ วา มีสระใหญ่อยู่ ๓ สระ มีสระเล็กอีกหลาย สระ ถ้าจะเปรียบกับกรุงทราวดีก็คงเปน อย่างวัดพระศรีสรรเพชญ์อยู่ติดกับวัง ซึ่ง จะได้กล่าวต่อไปภายน่า วัดนี้เข้าใจว่าคง anuman-online.com
38
คอลัมน์พิเศษ
จะเปนวัดเก่า ตรวจดูค�ำจาฤกหลักสิลาของ พระเจ้ารามก�ำแหงมีข้อความอยู่ว่า “กลางเมื อ งศุ โ ขทั ย นี้ มี พิ ห ารมี พระพุทธรูปทอง มีพระอฐฐารศ มีพระพุทธ รูป มีพระพุทธรูปอนนใหญ่ มีพระพุทธรูป อนนราม มีพหิ ารอนนใหญ่ มีพหิ ารอนนรวม มีปู่ครูมีสังฆราชมีเณรมีมหาเณร” ดังนี้ ดู ก็ น ่ า จะสั น นิ ฐ านว่ า กล่ า วถึ ง วั ด มหาธาตุนี้ “ที่พิหารมีพระพุทธรูปทอง” นั้น น่ า จะเปนวิ ห ารหลวงซึ่ ง ประดิ ษ ฐานพระ ศรีสากยมุนี “พระอฐฐารศ” นั้นแปลว่า พระยืน ซึ่งมีอยู่ในวิหารวัดมหาธาตุหลาย องค์ “พระพุทธรูปอนนใหญ่ พระพุทธรูป อนนราม (งาม)” ฤา “พิหารอนนใหญ่ พิหาร อนนราม” นั้นก็มีอยู่มาก แต่ข้อที่ท่านพวก ปูค่ รูสงั ฆราช เณรและมหาเณร จะได้มอี ยูใ่ น วัดนี้บ้างฤาไม่นั้น เปนอันเหลือคาดเดา (๕) ในหลักสิลาของพระเจ้ากมรเตญอัต ศรีธรรมิกราชาธิราช มีกล่าวถึงการหล่อ พระพุทธรูปสัมฤทธิเ์ ท่าพระองค์ ทรงกระท�ำ มหกรรมการฉลองพระนัน้ แล้ว ประดิษฐาน ไว้กลางเมืองศุโขทัย โดยบูรพทิศด้านพระ มหาธาตุนั้น แต่ในเรื่องนี้จะได้งดไว้กล่าวถึง ต่อเมื่อเล่าถึงเรื่องวัดสังฆาวาสต่อไป อนึ่งวัดมหาธาตุนี้ราษฎรนับถือกัน ว่าเปนที่ส�ำคัญรนัก เพราะกล่าวว่าเปนที่ พระร่วง (นายส่วยน�้ำ) ได้ทางมาผนวชอยู่ ยังมีสิ่งที่เปนพยานกันอยู่ คือ ขอมด�ำดิน ซึง่ ตามนิทานว่า ด�ำดินมาแต่นครธม มาโผล่ ขึ้นในลานวัดกลางเมืองศุโขทัยเพียงแต่อก
ขอมด�ำดินในลานวัดมหาธาตุ เมืองศุโขทัย
เห็นพระร่วงซึ่งผนวชเปนภิกษุกวาดลานวัด อยู่ ขอมไม่รู้จักจึงถามหาพระร่วง พระร่วง ก็บอกว่าให้ขอมคอยอยู่ก่อนจะไปตามพระ ร่วงมาให้ กายขุนขอมก็กลายเปนสิลาติด อยู่ที่ลานวัดนั้นเอง ก้อนสิลาซึ่งสมมติเรียก กันว่า ขอมด�ำดิน นี้ อยู่ในลานพระมหาธาตุ ข้างด้านใต้ ที่ยังแลเห็นได้นั้นเปน รูปมนๆ คล้ายหัวไหล่คน ถ้าแม้ต่อศีศะเข้า ก็พอจะดูคล้ายรูปคนโผล่ขนึ้ มาจากดินเพียง น่าอกได้ สิลานั้นเบียดอยู่กับฐานพระเจดีย์ องค์หนึ่ง แต่บัดนี้พระเจดีย์นั้นพังเสียมาก แล้ว จึงเห็นสิลานั้นได้ถนัด เมื่อแรกเห็น
หยากจะใคร่เดาว่า เปนสิลาจาฤกอะไรสัก อย่างหนึ่ง แต่เมื่อได้พิจารณาดูแล้วจึงเห็น ว่าเปนสิลาเกลี้ยงๆ อยู่ ยิ่งเปนที่น่าพิศวงยิ่ง ขึ้น ว่าเหตุไฉนจึงเอาก้อนสิลาเช่นนี้มาฝังไว้ ในที่นี้ อย่างไรๆ ก็เชื่อว่าไม่ใช่สิลาที่เกิดอยู่ ในพื้นที่นนั้ เอง เพราะที่อนื่ ๆ ก็ไม่เห็นมีก้อน สิลาเช่นนั้น จึงต้องเข้าใจว่ามีผู้น�ำมาปักไว้ จึงเกิดเปนปัญหาขึน้ ว่าเอามาปักไว้ทำ� ไม นึก หยากจะเดาว่ามาปักไว้ท�ำหลักเมือง เพราะ ที่ตรงนั้นก็ดูเปนที่เกือบจะกลางเมือง การ ที่เข้าไปอยู่ในเขตรวัดเช่นนั้นก็มีหนทางที่ อาจจะเปนไปได้ทางหนึ่ง คือพระเจ้ากรุง ศุโขทัยองค์ใดองค์หนึ่ง จะใคร่สร้างวัดที่ไว้ พระมหาธาตุ เลือกที่ได้เหมาะกลางเมือง จึ ง สร้ า งลงไปริ ม หลั ก เมื อ ง ซึ่ ง ไม่ เ ปนข้ อ ขั ด ข้ อ งประการใด เช่ น ที่ เ มื อ งเชี ย งใหม่ หลักอินธขิลบัดนี้ก็อยู่ในเขตรวัดเจดีย์หลวง แปลความว่าหลักตั้งอยู่ก่อน วัดตามไปภาย หลัง ที่นี่อาจจะเปนได้เช่นเดียวกัน แต่ทาง ทิศเหนือวัดมหาธาตุ ริมวัดที่เรียกกันว่า วั ด ชนะสงครามนั้ น มี ส ฐานอั น หนึ่ ง ซึ่ ง ราษฎรเรียกว่าศาลกลางเมือง ได้แต่งให้พระ วิเชียรปราการไปตรวจดูก่อน บอกว่าเข้าใจ ว่าจะเปนหลักเมือง ครั้นไปดูเองภายหลังก็ ลงเนื้อเห็นด้วย คือมีเปนเนินอยู่เฉยๆ ก่อน แต่ครั้นให้ถางแลขุดลงไป จึงได้เห็นท่าทาง พอเดาได้ ว่ามีเสาแลงตั้งขึ้นไปทั้ง ๔ มุม มี มุมละ ๒ เสาซ้อนกันเปน ๒ ชัน้ ทีต่ รงกลาง เนินมีหลุมซึ่งเข้าใจว่าคงจะเปนหลุมที่ฝัง นิมติ ร ในหลุมนัน้ มีสลิ าแผ่นแบนทิง้ อยูแ่ ผ่น
หนึง่ แต่แตกแยกเปนสองชิน้ ตรวจดูสลิ านัน้ ก็แลเห็นเปนลายอะไรเลือนๆ จึงเหลือที่จะรู้ ได้วา่ เปนอะไร บางทีจะเปนแผ่นสิลาทีล่ งดวง ของเมืองก็ได้ แต่ถูกขุดช�ำรุดแลถูกฝนชะ จนลายฤาอักษร ลบเลือนไปเสียสิ้นแล้ว รูป ร่างสถานที่เดิม คงมีหลังคาเปน ๔ เหลี่ยม และมีเพิงรอบ ดังสันนิฐานได้ตามเสาทีเ่ หลือ อยู่ ท่าทางก็จะเปนหลักเมืองได้ แต่ถึงแม้ที่ นี้จะเปนหลักเมือง ก็ยังไม่ลบล้างข้อความที่ สันนิฐานเรือ่ งสิลาขอมด�ำดิน คืออาจทีจ่ ะเดา ต่อไปว่า ครัน้ เมือ่ ได้สร้างวัดพระมหาธาตุลง ทีร่ มิ หลักเมืองเดิมแล้ว ท่านต้องการจะขยาย ลานให้กว้างออกไปและต้องการท�ำการโยธา ต่างๆ ในวัดนัน้ ท่านจะเกิดรูส้ กึ ขึน้ มาว่า การ ที่หลักเมืองอยู่ตรงนั้นกีด จึงคิดอ่านย้ายไป ไว้เสียแห่งอืน่ ให้พน้ แต่หลักสิลาทีป่ กั ไว้เปน เครือ่ งหมายเดิมนัน้ ท่านไม่ได้ยา้ ยไป เพราะ ตัวหลักไม่เปนของส�ำคัญ ส�ำคัญอยู่ที่นิมิต ต่างหาก หลักเปนแต่เครื่องหมายให้ปรากฏ ว่าฝังนิมติ รไว้ตรงไหนเท่านัน้ เมือ่ ท่านได้ขดุ เอานิมิตรขึ้นไปฝังที่แห่งอื่นแล้ว หลักนั้น ก็เปนหลักเหลวๆ อยูล่ อยๆ ไม่เปนหลักเมือง อีกต่อไป การที่คิดไปว่าเปนหลักเมือง คือ หลักสิลาฤาไม้ที่ปักให้แลเห็นปรากฏอยู่นั้น เห็นว่าเปนการเข้าใจผิด เพราได้ยินเรียกว่า “หลักเมืองๆ” ก็เลยจับเอาค�ำหลักนั้นมาถือ มั่น ว่าหลักเมืองจ�ำจะต้องเปนหลักท�ำด้วย ไม้ฤาสิลาปักแต้อยู่ ตามความจริง “หลัก” ไม่ได้แปลได้เฉพาะแต่ว่าเสา “หลัก” จะ แปลว่า มันก็ได้ เช่นค�ำที่เรียกว่าผู้นั้นผู้นี้ anuman-online.com
40
คอลัมน์พิเศษ
เปนหลัก ไม่ได้หมายความว่าผู้นั้นๆ เปน เสาเลย หมายความว่าเปนคนส�ำคัญมั่นคง ต่างหาก ถ้าแม้จะเกิดเปนปัญหาขึน้ ว่าไหนๆ ท่านจะย้ายหลักเมืองศุโขทัยกันทั้งทีแล้ว ท่านจะชะลอเสาสิลาทีห่ มายไปด้วยไม่ได้ฤา ต้องตอบว่าได้ก็คงได้แต่ค่อนข้างจะล�ำบาก เพราะสิลาขอมด�ำดินนั้นไม่ใช่เล็ก โตกว่า อ้อมที่ยังฝังอยู่ในดินเดี๋ยวนี้ราว ๒ ศอก ในกาลบัดนี้ปลายอยู่เพียงเสมอพื้นดิน แต่ พิจารณาดูเห็นรอยถูกต่อยมาก พระยาอุทยั มนตรีสบื ได้ความมาจากคนชะราทีอ่ ยูใ่ กล้ที่ นั่นว่า ได้เคยเห็น “ขอม” นั้น สูงพ้นดินขึ้น มากว่าศอก และได้ความว่าชาวเมืองพอใจ ต่อยเปนชิ้นเล็กๆ ไปฝนเข้ากับยา นิยมกัน ว่ามีรศทัง้ เปรีย้ วทัง้ หวานทัง้ เค็ม เปนยาอย่าง ประเสริฐนัก ว่าแก้โรคไภยต่างๆ ได้สารพัด ได้นิยมกันมาเช่นนี้ช้านานแล้ว ยังมาตอน หลังผู้มาเที่ยวชอบต่อยชิ้น “ขอม” ไปเปนที่ ระฦกอีก และ “ขอม” นัน้ ก็เปนสิลาแดงต่อย ง่าย เพราะฉะนั้น “ขอม” จึงเหลืออยู่น้อย เท่านี้ แต่บัดนี้ผู้ว่าราชการเมืองได้ประกาศ ห้ามมิให้ผู้ใดผู้หนึ่งต่อยฤาท�ำอันตรายสิลา นั้นอีกแล้ว จึงจะพอเปนที่หวังได้ว่า คนที่จะ ไปเมืองศุโขทัยต่อๆ ไปในกาลเบื้องน่าคงจะ ยังได้ดู “ขอมด�ำดิน” สิลานี้เดิมจะสูงพ้นดินเท่าไรก็เหลือ เดาเพราะไม่ทราบว่าได้ตอ่ ยกันมาสักกีส่ บิ ปี แล้ว แต่อย่างไรๆ ก็คงจะเปนสิลาแท่งใหญ่ มากอยู่ และการที่จะถอนขึ้นและชะลอไป จากทีน่ นั้ น่าทีท่ า่ นจะเห็นว่าความล�ำบากไม่
สมกับเหตุ ท่านจึงทิ้งไว้ให้คนภายหลังแต่ง เรือ่ งราวประกอบ จนวิจติ รพิสดารหนักหนา ยังมีเหตุอื่นๆ อีกที่ท�ำให้สันนิฐานว่า “ขอม” เปนเสาหลักเมืองเดิม คือ พิจารณาดูรูป พรรณสัณฐานก็ดูสมควร นึกดูถึงเสาหลัก เมืองอืน่ ๆ ทีไ่ ด้เห็นมาแล้วก็ดขู นาดๆ กัน และ การทีช่ าวเมืองนับถือว่าสิลานัน้ ฝนกินเปนยา วิ เ ศษ ก็ ดู ยิ่ ง จะเปนพยานขึ้ น อี ก ประการ หนึ่ง เพราะหลักเมืองที่เมืองอื่นๆ ก็นิยมว่า รักษาโรคไภยไข้เจ็บได้ต่างๆ เช่น หลักเมือง นครราชสี ม าเปนต้ น ตามที่ ไ ด้ ก ล่ า วมา แล้วนี้ ก็เปนแต่ความเห็นส่วนตัว แล้วแต่ทา่ น ผู้ช�ำนาญในทางโบราณคดีจะวินิจฉัย (๖) ที่ริมวัดมหาธาตุทางด้านตะวันออก มี ที่ ดิ น ว่ า งเปล่ า อยู ่ แ ปลงหนึ่ ง เปนรู ป สี่เหลี่ยมรี ทางด้านเหนือกับทางด้านใต้มี เทินดินและมีคตู อ่ ไปประจบกับคูวดั มหาธาตุ เปนอันเดียวกัน ด้านตะวันตกที่ติดต่อกับ วัดมหาธาตุนั้น มีก�ำแพงแต่ไม่มีคู ด้าน ตะวันออกมีคูด้านเหนือและด้านใต้นั้นยาว ต่อไปจนจดคูวัดด้านตะวันตก เข้าใจว่าน�้ำ ในตระพังทองด้านตะวันออก กับตระพัง เงินด้านตะวันตก จะมีทางไขให้เดินเข้าคู วัดกับที่แปลงต่อนั้นได้ตลอด วัดกับที่แปลง ตะวันออกนี่จึงเปนเกาะอยู่ คูสกัดตะวัน ออกตะวันตกยาว ๕ เส้น ๔ วาเท่ากัน ด้านเหนือด้านใต้ยาว ๑๒ เส้น อยู่ทางเขต รวัด ๕ เส้น ทางต่อมาอีก ๗ เส้น เพราะ ฉะนั้นที่แปลงต่อวัดออกมานั้น กว้าง ๕ เส้น ๔ วา ยาว ๗ เส้น ในนั้นมีสระใหญ่
ซุ้มพระปรางค์ พระมหาธาตุ เมืองศุโขทัย
anuman-online.com
42
คอลัมน์พิเศษ
ถึง ๒ สระ และมีฐานสี่เหลี่ยมอยู่อันหนึ่ง กว้าง ๑๒ วา ๓ ศอก ยาว ๒๐ วา สูงพ้น ดินประมาณ ๒ ศอก คืบ ฤา ๓ ศอก ทาง ด้านเหนือยังแลเห็นบัวคว�่ำบัวหงาย แต่ดา้ น อื่นๆ ดินพูลขึ้นมาเสียมาก และทะลายเสีย แล้วด้วย นอกจากนี้ก็ไม่มีอะไรอีกเว้นแต่ที่ แผ่นดินเกลี้ยงๆ จึงสันนิฐานว่าที่ดินแปลงนี้ คงไม่ใช่ของวัดมหาธาตุ เพราะถ้าเปนที่ใน เขตรวัด ที่ไหนจะเว้นมีพระเจดีย์วิหารอะไร สักอย่างหนึ่ง ถึงแม้แต่เดิมจะไม่มีอยู่ ก็น่า จะต้องมีผู้ใดมาสัประดนสร้างเพิ่มเติมขึ้น ให้รกเช่นที่วัดโบราณอื่นๆ แม้ที่วัดมหาธาตุ นั้นเอง ภายในพื้นที่แปลงตะวันตกนั้น ก็มี เจดีย์วิหารชิ้นเล็กชิ้นน้อยเรียงรายระกะไป จนเดินหลีกแทบไม่พน้ ถึงแม้จะสันนิฐานว่า ฐานในแปลงตะวันออกนั้นเปนวิหาร ก็ควร ที่จะมีสิ่งไรเปนร่องรอยพอให้เปนที่สังเกต บ้าง นี่ไม่มีอะไรเลย แนวผนังก็ไม่เห็น เสา ดีฤาเสาทลายก็ไม่เห็น แม้แต่กองแลงฤาอิฐ ปูนอะไรสักกองหนึ่งก็ไม่มี เปนลานเกลี้ยง อยู่เฉยๆ จึงท�ำให้สันนิฐานว่า ฐานนี้คือลาน ปราสาท และปราสาทนั้นท�ำด้วยไม้ ใช้เสา ตั้งไม่ใช่ปักลงไปในดิน จึงไม่มีอะไรเหลืออยู่ เลย และทีแ่ ปลงตะวันออกนัน้ ทัง้ แปลงกว้าง ๕ เส้น ๔ วา ยาว ๗ เส้นนั้น คือพระราชวัง ของพระเจ้ากรุงศุโขทัย ถ้าไม่ใช่วงั ก็ไม่ทราบ ว่าจะเปนอะไรได้อีก ยังมีสถานที่ภายในก�ำแพงเมืองซึ่ง ควรดูอยูอ่ กี แห่งหนึง่ คือสถานทีร่ าษฎรเรียก ว่า วัดศรีสวาย อยูใ่ กล้วดั มหาธาตุขนึ้ ไปทาง
ทิศตะวันตกเฉียงใต้ ทีน่ มี้ คี รู อบและมีกำ� แพง ก่อด้วยแลงแท่งเขือ่ งๆ ในนัน้ มีเปนปรางค์อยู่ สามยอด แต่แยกๆ กันอยูเ่ ปนสามหลัง หลัง กลางฐานสีเ่ หลีย่ ม ด้านละ ๓ วา สูง ๑๐ วา หลังข้างๆ ๒ หลังเท่ากัน ฐานสี่เหลี่ยม ด้าน ละ ๓๐ ศอก สูง ๖ วา รูปปรางค์นั้นเปน อย่างเทวสถาน ๓ ยอดที่ลพบุรี มีลวดลาย อย่างท�ำนองนั้น คือเปนรูปพระเปนเจ้าทั้ง สาม และรูปนารายณ์ปางต่างๆ ที่ช่องผนัง ข้างล่างเดิมมีรูปพระนารายณ์ปั้นไว้ แต่เมื่อ ไปดูนั้นหลุดทลายเสียแล้ว ยังคงเห็นได้แต่ เปนเงาๆ อยูท่ พี่ นื้ ผนัง ไม่แลเห็นเปนสีก่ รแต่ เห็นได้วา่ ถือจักรมือหนึง่ ราษฎรผูเ้ ฒ่าได้เล่า ว่าได้เคยเห็นเปนรูปสี่กร ต่อน่าปรางค์ใหญ่ มีเปนโบสถ์ มีผนังทึบเจาะช่องแสงสว่างเปน รูปลูกกรงไว้เปนช่องๆ มีประตูเข้าทางด้าน ตรงน่า ๑ ประตู ด้านข้างๆ ละประตู รวม ๓ ช่อง กรอบประตูขา้ งบนท�ำด้วยสิลาด�ำ ทัง้ แท่ง แผ่นหนึ่งๆ กว้าง ๑ ศอก ยาว ๓ ศอก คืบ หนาประมาณ ๖ นิ้ว ประตูด้านข้างมี แห่งละแผ่น แต่บนประตูด้านตรงน่าพาด เรียงกันถึง ๔ แผ่น เมื่อเข้าไปในโบสถ์แล้ว แลเห็นทางเข้าไปในปรางค์ได้ มองเข้าไปเห็น หลักไม้ปกั อยูส่ องหลัก ท่าทางดูเหมือนทีน่ งั่ พระยายืนชิงช้า จึงสันนิฐานว่าที่นี้คงเปน โบสถ์พราหมณ์ และผู้เปนตัวแทนพระเปน เจ้าในพิธีร�ำเขนงและโล้ยัมพวายนั้น คงนั่ง ในปรางค์นนั้ เอง ค้นไปค้นมาก็พะเอินไปพบ สิลาท�ำเปนรูปพระสยุมภูทิ้งอยู่อันหนึ่ง ซึ่ง ดูเปนพยานชิ้นอีกชั้นหนึ่ง ว่าวัดศรีสวายนี้
ต้องเข้าใจว่าอยูล่ กึ ลับมาก จึงยังไม่ได้คน้ พบ คือโบสถ์พราหมณ์ (๗) นอกจากสถานทีต่ า่ งๆ ซึง่ ได้กล่าวมา เค้าเงื่อนบ้างเลย บัดนี้จะได้กล่าวถึงสถานที่ แล้วในตอนนีก้ ไ็ ม่มอี ะไรทีส่ ลักส�ำคัญในเขตร์ ต่างๆ นอกก�ำแพงเมืองนั้นต่อไป ก�ำแพงเมืองศุโขทัยอีก ถ้าแม้จะยังมีอยู่ก็ อธิบายความเพิ่มเติมในตอนที่ ๕ (๑) การที่ท�ำเชิงเทินด้วยดินนอกก�ำแพงเมืองอีกสองชั้น มีเค้าเงื่อนในเรื่องพงศาวดารที่จะ สันนิษฐาน ว่าท�ำขึน้ ต่อเมือ่ สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ในรัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ เมื่อเตรียมสู้ศึกหงสา ด้วยสมัยนี้เกิดมีปืนใหญ่ใช้รบพุ่งและมีฝรั่งโปรตุเกสรับราชการ จึงท�ำ เชิงเทินดินกันทางปืน (๒) พระราชมนเทียรที่พระเจ้าแผ่นดินแต่โบราณเสด็จประทับอยู่ แม้ที่เมืองนครหลวงของขอมก็ สร้างเป็นเครือ่ งไม้ทงั้ นัน้ ในพระนครศรีอยุธยาก็เช่นนัน้ ปราสาทสร้างด้วยศิลาหรือก่ออิฐเป็น แต่ที่ท�ำพระราชพิธี พระราชมนเฑียรเป็นตึกก่ออิฐพึ่งสร้างขึ้นในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ มหาราช (๓) ปรางค์ศิลาแลงแห่งนี้ ตรวจต่อมาทราบว่าเป็นที่ประดิษฐานรูปพระอิศวรทางมุขหน้า รูปพระ นารายณ์ทางมุขหลัง เทวรูปหล่อทั้ง ๒ องค์นั้นเห็นจะเชิญลงมากรุงเทพฯ เมื่อรัชกาลที่ ๑ พร้อมกับพระพุทธรูปศรีศากยมุนีที่วัดสุทัศน์ เดิมเอาไว้ในเทวสถานที่ริมเสาชิงช้า ถึงรัชกาล ที่ ๖ โปรดฯ ให้ย้ายมาไว้ในพิพิธภัณฑสถานคือองค์ใหญ่กว่าเพื่อนที่อยู่คู่ต้นในพระที่นั่งอิศรา วินิจฉัย พึ่งสังเกตได้ว่าลักษณะภาพเป็นแบบครั้งสมัยสุโขทัยทั้ง ๒ องค์ (๔) พระเจดียร์ ปู ทรงอย่างพระมหาธาตุเมืองสุโขทัย ชอบสร้างแต่ในสมัยสุโขทัยสมัยเดียว เมือ่ มา ถึงสมัยอยุธยาคิดเอาแบบพระสถูปลังกากับพระเจดียส์ โุ ขทัยนัน้ ประสมกัน จึงเกิดมีพระเจดีย์ เหลี่ยมเช่นที่สร้างในวัดพระเชตุพนในกรุงเทพฯ นี้ ผู้ศึกษาโบราณคดีได้คิดค้นกันมาช้านาน ว่ารูปทรงพระเจดีย์สุโขทัยนั้นจะได้แบบมาแต่ไหน พึ่งได้เค้าเงื่อนใน พ.ศ. ๒๔๗๑ ด้วยเห็น รูปปรากฏอยู่ในหนังสือพิมพ์อิลลัซเตรติด ลอนดอน นิวส์ ว่ามาแต่แบบพระเจดีย์ในเมืองจีน ซึง่ สร้างบรรจุอฐั ธิ าตุ จึงสันนิษฐานว่าชะรอยพระเจ้ารามค�ำแหงมหาราช จะได้แบบพระเจดีย์ จีนมาทรงพระราชด�ำริแก้ไขให้เข้ากับกระบวนช่างของไทย จึงเกิดแบบพระเจดีย์สุโขทัยขึ้น (๕) ตรวจดูต่อมาก็ไม่พบที่ส�ำหรับพระสงฆ์อยู่ในวัดมหาธาตุนี้ พระอุโบสถที่มีอยู่ก็เห็นได้ว่าเป็น ของสร้างเพิม่ เติมขึน้ ต่อชัน้ หลัง สันนิษฐานว่าพระสงฆ์เห็นจะอยูว่ ดั ต่างหาก ซึง่ สร้างขึน้ ใกล้ๆ วัดมหาธาตุเช่นเดียวกับวัดมหาธาตุทเี่ มืองนครศรีธรรมราช เดิมพระสงฆ์อยูว่ ดั ต่างหาก มีทงั้ ๔ ทิศพระมหาธาตุ (๖) ศิลาขอมด�ำดินนี้ ต่อมาต้องย้ายเอามารักษาไว้ที่ศาลากลาง เพราะคนยังลักต่อยเอาไปท�ำยา หรือท�ำเครื่องราง เดี๋ยวนี้เหลืออยู่เล็กกว่าที่ทรงพรรณนาในพระราชนิพนธ์มาก ๗) วัดศรีสวายเดิมเป็นเทวสถานเป็นแน่ นามเดิมเห็นจะเรียกว่า “ศรีศิวายะ”
anuman-online.com
44
คอลัมน์พิเศษ
ตอนที่ ๖ เมืองศุโขทัย-“เบื้องตวนนตก”
ก่อนทีจ่ ะออกตรวจสถานทีจ่ ำ� จะต้อง อ่านหนังสือดูก่อน ว่ามีที่แห่งใดบ้างควร จะต้องค้น จับค้นเปนทิศๆ ต่อไป บัดนี้จะ จับทางทิศตะวันตกก่อน ตามอย่างพระเจ้า รามก�ำแหง ในค�ำจาฤกหลักสิลาของพระ ราชาองค์นี้ มีข้อความกล่าวไว้ว่า “เบื้อง ตวนนตกเมืองศุโขทัยนีม้ อี รญญิก (๑) พ่อขุน รามค�ำแหงกท�ำโอยท่านแก่มหาเถรสังฆราช ปราชญรยนจบปิฏกไตร หววก๊กกว่าปู่ครูใน เมืองนีท้ กุ คน สุกแต่เมืองศรีธรรมราชมา ใน กลางอรญญิกมีพิหารอนนหนึ่ง มนนใหญ่ สูงงามนัก มีพระอฐฐารศอนนหนึ่งลูกยืน” ครั้ น ตรวจดู ใ นค� ำ แปลในหลั ก สิ ล า ศุโขทัยที่ ๒ คงได้ความต่อไปว่า วัดทีส่ ร้างขึน้ ให้ เปนที่พักพระมหาสามีสังฆราชนั้น ได้สร้าง ขึ้นในป่ามะม่วงอันมีอยู่ทางทิศประจิมเมือง ศุโขทัย ได้ความพอเปนเค้าไว้เท่านีก้ อ่ น แล้ว จึงได้ออกตรวจค้นหาสถานทีต่ า่ งๆ ต่อไป จะ ได้เล่าตั้งแต่ใกล้เมืองออกไปหาที่ห่าง
สถานที่ ท างทิ ศ ตะวั น ตกที่ อ ยู ่ ใ กล้ เมืองที่สุดก็คือ วัดป่ามะม่วง ออกจากเมือง ทางประตูด้านตะวันตก พอพ้นคูเมืองชั้น นอกไปมีถนนถมขึ้นมาท�ำนองถนนพระร่วง ไปตลอดจนถึงวัดป่ามะม่วง ถนนนี้คงจะ ได้ท�ำเมื่อครั้งพระสังฆราชมาอยู่ ที่วัดนั้น มีอุโบสถหลังหนึ่ง เสาเปนแลงแท่งกลมๆ ซ้อนกันดูท่าทางแน่นหนา ต่ออุโบสถไป ทางตะวั น ตกมี ฐ านยกสู ง ขึ้ น มี บั ว รอบตั ว ฐานนั้นรูปเปนสี่เหลี่ยมราวสามวาจัตุรัศ มี เสาตั้งขึ้นไปทั้ง ๔ มุม เปนเสาสี่เหลี่ยม ประมาณ สองศอกจัตุรัศ บนฐานนั้นมีกาก อิฐปูนกองอยู่ สันนิฐานว่าเปนมณฑปมีพระ ปรางค์อยู่ในกลาง โบสถ์นั้นติดกับมณฑป เพราะที่ผนังนั้นยังแลเห็นหลังคาระเบียงอยู่ ทั้งสองข้าง มณฑปนั้นก่อด้วยอิฐ แต่โบสถ์ ใช้แลง เพราะฉะนั้นเข้าใจว่าไม่ได้ท�ำใน คราวเดียวกัน มณฑปนั้นคงได้ท�ำต่อเข้าไป ภายหลัง แต่อย่างไรๆ ก็ดนู า่ เชือ่ ว่าวัดป่ามะม่วง
ที่กล่าวถึงในหลักสิลาที่ ๒ นั้น จะอยู่ที่ นี้ เพราะถ้าที่นี้ไม่ใช่ที่ส�ำคัญ เหตุไฉนจะมี ถนนมั่นคงตรงออกมาจากเมืองเช่นนั้น ต่อ ทีต่ รงนีไ้ ปถนนก็หมด ถามว่ายังมีตน้ มะม่วง เหลืออยู่บ้างฤาไม่ ได้ความว่าไม่มีจึงเข้าใจ ว่ามะม่วงเดิมนั้นก็คงจะเปนมะม่วงบ้าน คือ เอาไปปลูกที่นั้น คงจะได้ปลูกไว้แล้วแต่ครั้ง พระเจ้ารามก�ำแหง เพราะในค�ำจาฤกหลักที่ ๑ นั้น มีกล่าวถึงมะม่วงอยู่หลายแห่ง และ คงจะได้ใช้ที่ป่ามะม่วงนี้เปนที่ประพาศทรง พระส�ำราญของพระราชกรุงศุโขทัย ต่อมา จนถึงพระเจ้ากมรเตญอัตศรีธรรมิกราชก็ โปรดปรานมาก เมื่อตรัสสั่งให้นายช่างหล่อ รูปพระนเรศวร พระมเหศวร พระวิศณุกรรม รูปพระสุเมธวรดาบษ พระศรีอาริยท์ งั้ ๕ รูป นี้ ก็ได้ให้ไปประดิษฐานไว้ในหอเทวาลัยมหา เกษตรพิมาน “เปนที่พัทธบูชา ณ ต�ำบล ป่ามะม่วง” เพราะฉะนั้นเมื่อได้ตรัสให้ไป อารธนาพระมหาสามีสังฆราช กับพระสงฆ์ บริวารมาแต่นครจันทร์เขตรในลังกาทวีปจะ จัดทีพ่ กั ให้ส�ำราญ จึงทรงด�ำริหถ์ งึ ป่ามะม่วง ซึ่งเข้าใจว่าเปนที่โปรดอยู่แล้วนั้น และมี รับสั่งให้สร้างกุฏิวิหารเสนาศนขึ้นเรียบร้อย ภายหลังเมื่อพระสังฆราชมาจ�ำพรรษาอยู่ แล้ว เกิดทรงพระศรัทธาขึ้นมาเสด็จออก ทรงผนวช ก็ได้เสด็จไปจ�ำพรรษาอยู่ที่วัด ป่ามะม่วงนั้นเอง ดังมีข้อความแจ้งอยู่ในค�ำ แปลหลักสิลาเมืองศุโขทัยที่ ๒ นั้นแล้ว มี ปัญหาอยู่ข้อหนึ่งคือในค�ำแปลหลักสิลานั้น มีกล่าวไว้ว่า “พระองค์จึงมีรับสั่งให้ศิลปี
นายช่าง ปลูกกุฏิวิหารระหว่างป่ามะม่วงอัน มีในทิศประจิมเมือง ศุโขทัย นายช่างได้ท�ำ ทีร่ าบคาบปรากฏภูมภิ าคเสมอแล้ว เททราย เกลี่ยตามที่ตามทาง ราวกับพระวิศณุกรรม มานฤมิตร์ก็ปานกัน” ดังนี้ ดูตามข้อความ นี้น่าจะเปนวัดใหญ่โตมาก เหตุไฉนจึงมีชิ้น เหลืออยู่นิดเดียวแต่โบสถ์กับมณฑปเท่านั้น จะต้องตอบว่าเพราะไม่ได้ตงั้ พระไทยให้เปน วัดมั่นคง พระมหาสามีสังฆราชมาอยู่ก็เปน การชั่วคราว การที่จะออกทรงผนวชก็เปน การชั่วคราว เพราะฉนั้นกุฏิและเสนาศน คงจะท�ำด้วยไม้เปนพื้น เพื่อจะได้รื้อถอนได้ ง่ายๆ และใช้ที่นั้นเปนสวนส�ำหรับเที่ยวเล่น อย่างเดิม คงทิ้งไว้แต่โบสถ์สักหลังหนึ่งเปน อนุสาวรีย์ต่อไป ต่อจากนี้ไปในป่าทางประมาณ ๖ เส้น พบที่ซึ่งคนน�ำทางเรียกว่า วัดตึก ที่นี่ เปนเช่นวิหารตัง้ อยูบ่ นฐานสีเ่ หลีย่ ม ด้านละ ๕ วาเศษ มีเสา ๔ เสา คือที่มุมๆ ละเสา ระหว่างเสามุมอีกช่องละเสา เสาเหล่านีเ้ ปน แลงมีเปนช่องสีเ่ หลีย่ มเจาะข้างๆ ซึง่ เข้าใจว่า ส�ำหรับใส่กรอบลูกกรง ด้านน่ามีประตูเข้า สองประตู รูปร่างที่นี่ชอบกล เปนเหมือน บุษบกอะไรโปร่งๆ ส่วนกว้างไม่เท่าส่วนสูง ดูรูปร่างแปลกกับวิหารหรือมณฑปที่ได้เคย เห็นมาแล้ว พระวิเชียรปราการเดาว่าเปน หอเทวาลัย อันเปนที่ประดิษฐานรูปทั้ง ๕ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างบนนี้ พระวิเชียร ปราการอ้างพยานคือรูปของสถานนั้นอย่าง หนึ่ง กับอีกอย่างหนึ่งว่าป่ามะม่วงนั้นเขตร์ anuman-online.com
46
คอลัมน์พิเศษ
คงจะได้กินออกมาจนถึงที่ตรงนั้น แหละยัง มิหน�ำซ�้ำชี้ต้นมะม่วงให้อีก ว่ายังมีอยู่ข้าง วิหารนั้นสองต้น แต่หลักฐานดูยังน้อยอยู่ ข้อทีว่ า่ ป่ามะม่วงเขตร์กนิ มาถึงแค่นนั้ ก็อาจ ทีจ่ ะเปนได้ ไม่นา่ จะสงไสย เพราะห่างจากที่ วัดป่ามะม่วงนั้นมาเพียง ๖ เส้นเท่านั้น อาจ ที่จะเปนเขตร์วัดก็ได้เสียอีก แต่เขตร์วัดยัง ยาวได้เปน ๗ เส้นแล้ว แต่ส่วนหอเทวาลัย นั้นข้าพเจ้ายังสงไสยอยู่ว่าน่ากลัวจะท�ำด้วย ไม้และสูญไปเสียนานแล้ว ทีจ่ ริงทางด้านตะวันตกนี้ ภูมทิ ดี่ นู า่ จะ สนุก เพราะมีล�ำธารห้วยหนองและเนินเขา น่าเทีย่ ว “อรญญิก” ของ “พ่อขุนรามคําแหง” นั้ น ที่ จ ริ ง อยู ่ ข ้ า งจะเปนที่ ส� ำ ราญ และ น่าจะ “กท�ำโอยทานแก่มหาเถรสังฆราช ปราชญ์รยนจบปิฎกไตร” ทีซ่ งึ่ ยกให้มหาเถร สังฆราชนั้น คงจะเปนที่ป่ามะม่วงนั้นด้วย เพราะฉะนั้นการที่พระเจ้าธรรมิกราชยกป่า มะม่วงให้เปนทีอ่ ยูพ่ ระสามีสงั ฆราชนัน้ ต้อง เข้าใจว่าเดินตามแบบพระเจ้ารามก�ำแหงผู้ เปนปู่ แต่นอกจากที่ริมๆ ก�ำแพงเมือง ยังมี ที่ควรดูที่อยู่ห่างออกไปอีกหลายแห่ง ทีค่ วรดูแห่งหนึง่ คือเขาพระบาทน้อย ซึ่งเปนที่ราษฎรไปนมัสการกันทางไปในป่า และทุง่ เลียบล�ำน�ำ้ ใหญ่ลำ� หนึง่ ในฤดูแล้งแห้ง หมด แลเห็นถนนตัดไปมาตามนี้หลายสาย คงจะได้ทำ� ขึน้ ครัง้ พระเจ้ารามก�ำแหง เพราะ มีข้อความปรากฏอยู่ในค�ำจาฤกหลักสิลา “วนนเดือนพิเดือนเตมท่านแต่งช้างเผือก กรพดดลยางท้ยนญ้อมทองงาม ทงงววา
ชื่อรูบาสี พ่อขุนรามคําแหงขึ้นขี่ไปนบพระ พี่หารอรญญิก” ดังนี้ ต้องเข้าใจว่าทางป่า แถบนี้เปนที่เสด็จอยู่เนืองๆ ทางจากเมือง ศุโขทัยไปถึงเขาพระบาทน้อยประมาณ ๑๐๐ เส้น เขานั้นไม่สู้สูงนัก ทางขึ้นก็ลาดสบายดี มีสิลาแดงเปนแผ่นแบนๆ วางเรียงกันเปน ถนนขึ้นไปถึงสันเขา มีเปนลานก่อขึ้นไป มี บันไดขึน้ ๔ ฤา ๕ ขัน้ บนนัน้ มีพระเจดียท์ รง จอมแห (คือชนิดทีม่ อี ยูท่ นี่ า่ วัดชนะสงคราม ในกรุงเทพฯ นี)้ มีเปนช่องกุฏิ ๔ ทิศเหนือบัว กลุ่ม ทรวดทรงงามดี ควรถือเปนแบบอันดี ของพระเจดีย์ชนิดนี้ได้ ทางด้านตะวันออก ของพระเจดี ย ์ มี วิ ห ารย่ อ มๆ หลั ง วิ ห ารนี้ มีเปนแท่นติดกับฐานพระเจดีย์ ที่แท่นนี้ มีสิลาแน่นอน แกะเปนรอยพระพุทธบาท ลวดลายลบเลือนเสียมาก เพราะน่าผานั้น แตกช�ำรุด แต่พิจารณาดูตามลายเห็นได้ว่า ถึงแม้เมื่อยังไม่ช�ำรุดลวดลายก็ดูเหมือนจะ ไม่สู้งามอะไรนัก ลงจากเนินที่ประดิษฐาน พระเจดีย์และพระพุทธบาทนี้ ต่อไปอีกเนิน หนึง่ มีเปนฐานพระเจดียใ์ หญ่นา่ ดูมาก เปน รูปแปดเหลี่ยม เหลี่ยมหนึ่งถึง ๕ วามุมมี ย่อเปนไม่สบิ สอง ฐานนัน้ มีบวั ซ้อนเปนชัน้ ๆ ขึน้ ไป รูปพรรณ์สณ ั ฐานงามมาก วัดจากพืน้ ดินขึ้นไปถึงบัวบน ๒ วา ๑ ศอก ต่อนี้ขึ้นไป พระเจดีย์ทลายเสียหมดแล้ว คงยังมีอยู่แต่ กองดินปนกับแลงทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ แลเห็ น ทลั ก ทลายลงมา เห็ น ได้ ชั ด ว่ า จะ ได้มีผู้พยายามตั้งกองขุดกันอย่างสามารถ เพราะฉะนัน้ รูไ้ ม่ได้แน่วา่ พระเจดียร์ ปู จะเปน
อย่ า งไร พระยาอุ ทั ย มนตรี สั น นิ ฐ านว่ า จะเปนรูปทรงเตี้ยอย่างพระเจดีย์รามัญ ซึ่ง ชอบกลอยู่ เพราะสังเกตว่าถ้าเปนรูปที่มี ทรงสูง น่าจะมีก้อนแลงที่ท�ำลายลงมากอง อยู่กับดินนั้น เปนกองใหญ่กว่าที่มีอยู่บัดนี้ อย่างไรๆ พระเจดีย์นี้เห็นได้ว่าท�ำด้วยฝีมือ ประณีตบรรจงมาก รากก่อด้วยอิฐ แล้ว ต่อขึ้นไปเป็นแลงก้อนใหญ่ๆ ที่บัวและมุมก็ ตัดแลงเปนรูปให้เหมาะกับที่ต้องการ ไม่ใช่ ประดับขึ้นแล้วปั้นบัวให้ถูกรูปด้วยปูน ที่นี้ คงจะเปนที่พระเจ้าแผ่นดินศุโขทัยเสด็จมา นมัสการแห่งหนึ่งเปนแน่แท้ และพระเจดีย์ องค์นี้ นอกจากผู้มีอ�ำนาจจะสร้างก็เห็นจะ ท�ำให้ส�ำเร็จได้โดยยาก เพราะเฉพาะแต่ยก
ก้อนแลงเขื่องๆ เท่านั้นขึ้นซ้อนกันจนสูงพอ ได้เปนหลายวาเช่นนัน้ ก็ตอ้ งใช้กำ� ลังคนมาก อยู่แล้ว ความประสงค์ของผู้ที่สร้างคงจะให้ พระเจดีย์นั้น เปนอนุสาวรีย์เครื่องหมาย แห่งความเลือ่ มใสในพระรัตนไตรปรากฏอยู่ ชั่วกาลนาน แลท�ำก็นานหนาพอที่จะหวังได้ ว่าจะอยู่ไปได้อีกหลายร้อยหลายพันปี การ ที่ท�ำลายลงครั้งนี้ก็มิใช่ท�ำลายลงเอง หาก มีภัยอันร้ายยิ่งมาเบียดเบียนกล่าวคือความ โลภของคน ฤทธิของความโลภนั้นท�ำให้สิ้น ความรูส้ กึ นับถือในพระสฐูป ถึงกับท�ำลายสิง่ ซึง่ เขาได้ทำ� ไว้เปนทีส่ กั การนัน้ ลง เพือ่ ค้นหา ทรัพย์ซึ่งเข้าใจว่าได้ฝังบรรจุไว้ภายในนั้น ผู้ ที่ได้ท�ำลายพระสฐูปเช่นนี้ จะได้ทรัพย์สิ่งใด
anuman-online.com
48
คอลัมน์พิเศษ
ไปบ้างฤาไม่กไ็ ม่ปรากฏ แต่หวังใจว่าจะไม่ได้ อะไรไปที่จะเปนแก่นสารให้ได้ผลเพียงพอ กับความล�ำบาก ถ้าคนเหล่านั้นได้ใช้ความ เพียรพยายามและก�ำลังกายที่ได้ใช้ท�ำลาย โบราณวัตถุนนั้ ในทางทีด่ ที คี่ วรแล้วเมืองเรา จะเจริญรุ่งเรืองหาน้อยไม่ กลับลงจากเขาพระบาทน้อยแล้วได้ เดินเข้าไปดูวัดมังกร ฤาอีกนับหนึ่งเรียกว่า วัดช้างล้อม ในนี้มีอุโบสถ์ย่อมๆ มีพระเจดีย์ ย่อมๆ รูประฆังมีรปู ช้างแบกฐานเจดียไ์ ว้โดย รอบ นอกจากทีน่ กี้ ไ็ ม่มอี ะไรเข้าใจว่าคงจะมี ผู้มาสร้างขึ้นใหม่ในไม่สู้ช้านานมานัก ออกจากวัดนี้เดินไปใน “อรัญญิก” ของพระเจ้ารามก�ำแหงเลียบไปตามเชิงเขา ภูมิที่งามน่าเที่ยว เดินไปได้หน่อยก็เข้าป่า กาหลงต้นกาหลงเต็มไปทั้งนั้น ตลอดไป จนถึงเชิงเขาวัดสะพานหิน จากเชิงเขาตรง ลิว่ ขึน้ ไปจนถึงยอดมีถนนสิลาแผ่นบางๆ บน ถนนกว้าง ๓ ศอก ในตอนเชิงเขาถนนก่อ ด้วยสิลา แผ่นแบนซ้อนกันหลายชั้นแน่น หนาเปนคันขึ้นไป สูงพ้นพื้นดินขึ้นไปถึง ๓ ศอกคืบ การที่ต้องเสริมถนนให้สูงเพียงนี้ คือประสงค์จะให้เดินไม่ชัน ถ้าไม่ท�ำเช่นนี้ก็ ต้องท�ำเปนบรรได เพราะที่เชิงเขาอยู่ข้างจะ ชันหักลงมาหาพืน้ ดินข้างล่าง ถนนตัง้ แต่เชิง เขาขึน้ ไปทีย่ งั คงเหลืออยูบ่ ดั นีย้ าว ๔ เส้น ๕ วา ๒ ศอก พวกที่ไปด้วยกันเดินบนถนนไม่ ใคร่จะได้นัก เพราะสรวมรองเท้าเหยียบกับ สิลาลื่นชวนจะหกล้ม ที่ปลายถนนมีบันได ขึ้นไปบนลาน บนยอดเขานั้นมีวิหารสูงมาก
ในวิหารมีพระพุทธรูปยืน พระรัศมีหักเสีย แล้ว แต่เช่นนั้นก็ดี วัดดูได้ความว่าสูงถึง ๖ วา คือสูงกว่าพระอัฐฐารศทศพลญาณ ที่วัด สระเกศ กรุงเทพฯ นี้ ๖ ศอก ส่วนวิหารนั้น ก็จะสูงมิใช่เล่น แลดูทา่ ทางสง่างามมาก เสา ท�ำด้วยแลงแผ่นกลมซ้อนๆ กัน แผ่นหนึ่งๆ หนาประมาณ ๑ ศอก วัดโดยรอบขอบนอก ประมาณ ๕ ศอก วิหารนั้นไม่สู้จะยาวนัก แต่เข้าใจว่าท�ำเปิดโปร่งๆ ไม่มีฝาทึบ มีผนึง ทึบแต่ที่หลังพระเท่านั้น เพราะฉะนั้นการ ที่จะดูพระคงไม่ต้องเขาไปดูในที่ใกล้ๆ จน แลไม่เห็นส่วน อย่างเช่นดูพระอัฐฐารศ วัด สระเกศนัน้ ทีน่ เี้ ข้าใจว่าตรงกับความทีก่ ล่าว ไว้ในต�ำจาฤกของพระเจ้ารามก�ำแหงว่า “ใน กลางอรญญิกมีพิหารอนนหนึ่งมนนใหญ่สูง งามนัก มีพระอัฐฐารศอนนหนึง่ ลุกยืน” เมือ่ ได้ไปดูแล้วก็ยอมว่าพระเจ้ารามก�ำแหงน่าจะ อวดอยู่บ้าง (๒) ออกจากวัดสะพานหินย้อนทางกลับ ไปดูวัดตระพังช้างเผือก ซึ่งอยู่ริมทางที่เดิน ไปเขาพระบาทน้อย วัดนีต้ งั้ อยูข่ า้ งบึงฤาสระ อันหนึ่ง ซึ่งมีนามว่า ตระพังช้างเผือก ในวัด นีม้ อี โุ บสถ์ยอ่ มๆ อยูห่ ลังหนึง่ แต่เสาเปนแลง มีบัวปลายเสา ท�ำฝีมือพอดูได้ หลังอุโบสถ ออกไปทางตะวันตกมีเปนฐานยกสูงพ้นดิน ฐานรองเปนสองชั้น มีเสาแลง ๔ มุม ทั้ง ๒ ชั้น รวมเปน ๘ เสาด้วยกัน ท่าทางชะรอย จะเปนบุษบกโถงๆ ประดิษฐานพระปรางค์ ฤาพระพุทธรูป ทางด้านตะวันออกเฉียง เหนือมีพระเจดีย์เล็กๆ องค์หนึ่ง กับมีเปน
กองๆ อยู่อีก ซึ่งอาจเปนเจดีย์แต่ทลายเสีย หมดแล้ว ในเขตร์วัดนี้ได้พบสิลาจาฤกแผน หนึ่งนอนทิ้งอยู่ในรก ยอดเปนรูปมล ที่ฐาน เปนเดือยต่อลงไปส�ำหรับปัก แต่ไม่ปรากฏ ว่ าได้ เ คยปั ก อยู ่ ต รงไหน วัดสิลานั้นดูได้ ความว่า สูงแต่เดือยถึงยอด ๒ ศอกคืบเศษ กว้าง ๑ ศอก หนาประมาณ ๙ นิ้ว ส่วน เดือยนั้นยาวประมาณคืบกับ ๖ นิ้ว กว้าง ประมาณคืบกับ ๗ นิ้ว สิลานี้ช�ำรุดแตก และตัวอักษรลบเลือนเสียมาก ได้จัดการให้ ยกไปยังทีพ่ กั ช�ำระล้างพอสอาดแล้วตรวจดู อีกทีหนึง่ อักษรจาฤกมีทั้ง ๒ น่า เปนอักษร ขอมน่าหนึ่ง อักษรไทยโบราณน่าหนึ่ง ทาง ด้านอักษรขอมเปนด้านที่จมอยู่ในดิน ตัว อักษรจึงไม่ใคร่จะลบเลือน ยังอ่านได้ แต่ ตัวอักษรขอมมีตัวที่แปลกๆไนยตาอยู่มาก จึงได้คัดตามตัวส่งเข้ามาถวายพระเจ้าน้อง ยาเธอ กรมหลวงวชิรญาณวโรรส เพือ่ ทรงอ่าน มาภายหลัง ท่านจึงได้ทรงชี้แจงว่า ค�ำจาฤก นั้นเปนค�ำนมัสการพระพุทธบาท ตัวอักษร ที่ ดู แ ปลกไนยตานั้ น คื อ เขี ย นตามแบบ อักษรรามัญ ทั้งตัวสกดที่ใช้ในนั้นก็มีผิด คลาศเคลือ่ นอยูห่ ลายแห่ง เพราะฉะนัน้ ทรง สันนิฐานว่าผูท้ จี่ าฤกไม่ใช่ผทู้ รี่ หู้ นังสือ เปนแต่ ได้คัดมาจากหนังสือฉบับใดฉบับหนึ่ง จึงได้ คัดไปตามต�ำราของครู ซึ่งอาจจะเปนรามัญ ฤาเปนผู้ได้ศึกษาในส�ำนักรามัญ เพราะใน สมัย ศุโขทัยโบราณนั้นนับถือรามัญกันมาก ว่าเปนผู้ปฎิบัติดีใกล้อย่างลังกาทวีป และยัง ทรงสงไสยต่อไปอีกว่า พระสามีสงั ฆราช ซึง่
กล่าวว่าไปจากลังกาทวีปนัน้ น่าจะไม่ถกู น่า จะไปจากรามัญประเทศนั้นเอง เมื่อมาคิด เทียบเข้าดูกับข้อความในพงษาวดารเหนือ ทีเ่ ล่าถึงเรือ่ งขุนการเวก และพระยาศรีธรรม ราชา ภูดาษราชวัตรเมืองอินทร ภูดาษสิน เมืองพรหม ยกรบัตรนายเพลิงก�ำจาย นาย ช�ำนององครักษ์ นายหาญใจเพ็ชร์ นายเผด็จ สงคราม ทั้ง ๘ คนนี้เปนข้าหลวงน�ำเครื่อง บูชาไปถวายพระมาลีเจดีย์ที่กรุงหงษาวดี “เมื่อจุลศักราช ๔๑๓ ปีชวดตรีศก” นั้น ก็ ดูจะเปนที่เชื่ออยู่ว่าในสมัยนั้นไทยเราอยู่ ข้างจะตื่นเต้นไปตามพวกรามัญมาก อย่าง เช่นกรมหลวงวชิรญาณได้รับสั่งอธิบายนั้น ส่วนค�ำจาฤกในแผ่นสิลาวัดตระพังช้างเผือก ซึ่งเปนอักษรไทยโบราณนั้น อ่านไม่ได้เรื่อง ราวติดต่อกันเลย เพราะน่าสิลานัน้ ถูกฝนชะ ช�ำรุด ตัวอักษรทีจ่ าฤกลงๆเลือนๆไปเสียมาก ทั้งที่แตกหลุดเปนชิ้นออกมาเสียบ้างก็มี ได้ นั่งคล�ำอ่านกันอยู่เองเปนนาน ทั้งพระครู เจ้าคณะเมืองศุโขทัย ผูไ้ ด้เคยอ่านอักษรไทย โบราณอยู่มาก ก็ได้มาช่วยกันอ่านอยู่บ้าง แต่กไ็ ม่ได้ความอะไรกีม่ ากน้อย ทีต่ อนต้นมี บอกวันเดือนและปี อ่านได้ความว่า “ศักราช ๑๒๙๖ ปีขาล” ต่อนั้นมาอยู่ข้างจะเลือนไม่ เห็นถนัดว่าเดือนอะไรแน่ ไปอ่านออกต่อ อีกว่า “๙ ค�่ำ” แล้วก็เลยละลายไปอีก ใน ข้อความทีอ่ า่ นออกบ้างเปนแห่งๆ นัน้ มีกล่าว ถึง “ราชามหาธรรม......(ช�ำรุด).......เสด็จ สวรรคาไลยไปแล้ว...............” ต่อไปอีกมี กล่าวถึง “หนางค�ำเมีย.........” ไม่ปรากฏว่า anuman-online.com
50
คอลัมน์พิเศษ
เปนเมียใคร อ่านไม่ออกแต่มีต�่ำลงมาอีกว่า “วัดหนางค�ำ” อยู่แห่งหนึ่ง ซึ่งเดาว่าเปนวัด ท่านผู้นี้สร้าง และน่าจะเปนวัดตระพังช้าง เผือกนั้นเอง นอกนั้นเลือนเหลือก�ำลัง ถ้า จะขืนอ่านให้ได้ความอีกก็จะต้องเสียเวลา นานเกินกว่าที่จะยอมเสียให้ได้ แต่ศักราช กับข้อความที่กล่าวถึง “ราชามหาธรรม” เสด็จสวรรคาไลยนั้นท�ำให้เดาว่าคงจะกล่าว ถึ ง พระเจ้ า กมรเตญอั ต ศรี สุ ริ ย พงษราม มหาธรรมิกราชาธิราช” ฤาอีกนัยหนึ่งว่า “พระบาทสมเด็จพระกมรเตญอัตศรีตรีภพ ธรณีชิต สุริยโชติมหาธรรมิกราชาธิราช” ดังนี้ เทียบดูศกั ราชปีทพี่ ระมหาสามีสงั ฆราช มาจากลังกาทวีป มาอยู่ ณ วัดป่ามะม่วง เมืองศุโขทัยนั้น ผิดกันกับศักราชในแผ่น สิลาวัดตระพังช้างเผือกนี้ ๑๓ ปี จึงเห็นได้ ว่าจาฤกในสมัยเดียวกันกับหลักสิลาเมือง ศุโขทัยที่ ๒ แต่แผ่นสิลาวัดตระพังช้างเผือก นี้ ถึงแม้จะอ่านค�ำจาฤกออกได้ยงิ่ กว่าทีอ่ า่ น
ได้แล้ว ก็น่าจะไม่สู้มีข้อความอันใดที่จะเปน เครื่องช่วยในการแต่งเรื่องราวของชาติไทย นัก สงไสยแต่จะกล่าวแต่ถึงเรื่องสร้าง “วัด หนางค�ำ” นั้นเปนพื้น บางทีก็จะมีกล่าวถึง เรื่องเขาพระบาทน้อย และการก่อสร้างบน นั้นได้บ้าง ค�ำนมัสการพระพุทธบาทที่จาฤก ไว้อีกน่าหนึ่งนั้นท�ำให้นึกเดาต่อไป ว่าจะมี เรื่องราวเกี่ยวข้องไปถึงพระพุทธบาทบนเขา แต่จะถือเปนหลักฐานนักไม่ได้ เพราะค�ำ นมัสการนั้นอาจที่จะได้มีผู้ไปจาฤกลงที่น่า สิลาอันว่างอยู่ในกาลภายหลังก็เปนได้ การตรวจค้นสถานทีต่ า่ งๆ ใน “เบือ้ ง ตะวันตกเมืองศุโขทัย” ตามที่ได้เล่ามาแล้ว เห็นว่าดูได้ทุกประการตรงกับข้อความใน สิลาจาฤกหลักที่ ๑ ของพระเจ้ารามก�ำแหง นัน้ แล้ว เปนแต่สถานต่างๆ ทีส่ นั นิฐานไว้นนั้ จะผิดไป เช่นนี้ก็เปนอันจนใจอยู่เอง (อ่าน ต่อฉบับหน้า)
อธิบายความเพิ่มเติมในตอนที่ ๖ (๑) ค�ำว่าอรัญญิก หมายความว่าท้องที่ที่ห่างบ้านผู้คนระยะทางพอพระเดินเข้าไปบิณฑบาตได้ ด้วยพระสงฆ์ถอื ธุระในพระศาสนาต่างกันเป็น ๒ พวก พวก ๑ ถือคันถธุระ คือเล่าเรียนพระ ไตรปิฎกและสั่งสอนธรรมของพระพุทธเจ้า มักอยู่ตามวัดในบ้านเมือง จึงเรียกว่า พระสงฆ์ คามวาสี อีกพวก ๑ ถือวิปัสสนาธุระ คือบ�ำเพ็ญภาวนา พอใจอยู่ที่สงัดห่างบ้านเรือนผู้คน มักอยู่ในวัดอรัญญิกข้างนอกเมือง จึงเรียกพระสงฆ์อรัญวาสี เมืองเชียงใหม่ก็มีที่อรัญญิก ระหว่างเมืองกับเขาดอยสุเทพ แม้ในกรุงศรีอยุธยาและกรุงรัตนโกสินทร์ก็มีวัดอรัญญิก เช่น วัดสระเกศ วัดราชาธิวาส และวัดราชสิทธิ์ เมื่อแรกสร้างกรุงฯ ก็ถือว่าเป็นวัดอรัญญิก (๒) พระอัฏฐารศนั้นเอนไปข้างหลัง ต่อมาสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถทรง พระศรัทธาให้ก่อกันล้ม และโปรดให้ปฏิสังขรณ์องค์พระที่ตรงช�ำรุดด้วย
หอประชุม
51
บูชาผู้ที่ควรบูชา วันนีพ้ ชี่ ายนายแพทย์ของผูเ้ ขียนผูต้ งั้ รกรากอยู่ในสหรัฐอเมริกาตั้ง ๓๐ ปี แล้ว ได้ส่งพระไตรปิฎกฉบับไทย-บาลีมาให้อ่าน ทางอี-เมล์ ท�ำให้หวนระลึกถึงเหตุการณ์ที่ ผู้เขียนเคยพาแขกผู้เป็นศาสตราจารย์จาก มหาวิทยาลัยชิคาโกไปพุทธมณฑล จังหวัด นครปฐม เนือ่ งจากได้รบั การขอร้องจากท่าน อาจารย์อาคันตุกะผูน้ นั้ ว่าท่านอยากจะไปชม พระไตรปิฎกทัง้ ฉบับทีจ่ ารึกด้วยอักษรสีทอง ลงบนแผ่นหินอ่อนที่สูงท่วมหัวนับร้อยแผ่น ในพุทธมณฑล ผู ้ เ ขี ย นได้ เ คยไปชื่ น ชมสถานที่ นี้ ห ลายครั้ ง แล้ ว ตามแต่ จ ะมี โ อกาส จึ ง ยินดีที่จะบริการโดยจ้างเหมารถตู้น�ำท่าน ศาสตราจารย์ แ ละครอบครั ว ไปที่ พุ ท ธ มณฑล ซึ่ ง วั น นั้ น การจราจรจอแจมาก ที เ ดี ย วเนื่ อ งจากที่ พุ ท ธมณฑลนั้ น เอง มี
การน� ำ เอากระดู ก ข้ อ นิ้ ว มื อ พระพุ ท ธเจ้ า ที่ อั ญ เชิ ญ ยื ม มาจากประเทศสาธาณรั ฐ ประชาชนจีนมาตั้งไว้ให้ชาวไทยไปบูชากัน ซึ่งการที่จะไปถึงสถานที่นั้นได้ก็ต้องผ่าน ศาลาที่ตั้งของพระไตรปิฏกฉบับจารึกบน แผ่นหินอ่อนนับร้อยแผ่นทั้งสิ้น ศาลาใหญ่ ที่ ตั้ ง ของพระไตรปิ ฎ ก ฉบั บ หิ น อ่ อ นนั้ น อยู ่ บ นเนิ น ที่ ภู มิ ทั ศ น์ ที่ ร่มรื่นมีสนามหญ้าเขียวขจีต่อด้วยสายน�้ำ ไหลผ่ า นทางด้ า นหลั ง บรรยากาศเงี ย บ สงบเหมาะส� ำ หรั บ การศึ ก ษาธรรมโดย แท้ ศาลาใหญ่ นี้ โ ปร่ ง โล่ ง มี ล มพั ด อยู ่ เกือบตลอดเวลาเพราะตั้งอยู่บนที่สูงไม่มี สิ่ ง ปลู ก สร้ า งใดมาก� ำ บั ง ลมเลย ศาลา แบ่ ง ออกเป็ น ห้ อ งๆ โดยแยกพระคั ม ภี ร ์ เป็นฉบับๆ ไป ไม่สับสน คือ มีห้องของพระ สุตตันตปิฎก ห้องของพระวินัยปิฎก ห้อง anuman-online.com
52
หอประชุม
ของพระอภิ ธ รรมปิ ฎ ก ตั ว อั ก ษรตั ว ใหญ่ สีทองงามมาก คนเฒ่าคนแก่ไม่จ�ำเป็นต้อง เอาแว่นขยายไปอ่านเพราะตัวหนังสือตัว ใหญ่สามารถอ่านได้โดยไม่ล�ำบากยากเย็น แต่ประการใด มิหน�ำซ�ำ้ บนฝาผนังของแต่ละห้องใน ศาลายังมีจิตรกรรมฝาผนังอันวิจิตรที่วาด เล่าเรื่องของพระพุทธประวัติและทศชาติ ชาดกเอาไว้ ชื่ น ชม เพื่ อ ผ่ อ นคลายความ ตึ ง เครี ย ดจากการศึ ก ษาใคร่ ค รวญพระ ไตรปิฎกจากแผ่นหินอ่อน ครั บ ! วั น นั้ น ที่ ผู ้ เ ขี ย นพาท่ า น ศาสตราจารย์และครอบครัว ไปชื่นชมพระ ไตรปิฎกฉบับหินอ่อนนี้เรียกได้ว่าศาลาเป็น ของกลุ่มของพวกเรา ๕ คนโดยแท้ ทั้งๆ ที่ มีรถผ่านไปมานับพันคันแต่มิได้มีใครหยุด แวะมาที่ศาลาแห่งนี้เลย ทุกคนล้วนมุ่งแต่ที่ จะไปบูชากระดูกข้อนิ้วมือพระพุทธเจ้าที่น�ำ มาจากประเทศจีนกันทั้งสิ้น วั น นี้ จึ ง ไปหาหนั ง สื อ มงคล ๓๘ ประการมาเปิดศึกษาดูถึงพระธรรมค�ำสั่ง สอนของพระพุทธเจ้าของพุทธศาสนิกชน ทั่วโลกถึงมงคลชีวิตข้อที่ ๓ “บูชาผู้ที่ควร บูชา” ซึ่งภาษาบาลีในพระไตรปิฎกจารึกไว้ ว่า “ปูชา-ปูชนี-ยานัง” ซึ่งแปลเป็นไทยดังที่ ว่าก็ดอู อกจะไม่พน้ ประตูวดั หากจะเอามงคล ข้อนี้ไปอธิบายให้ผู้ครองเรือนและคนทั่วไป ฟังให้เข้าใจก็ต้องแยกประเด็นออกเป็น ๓ ประเด็นคือ
๑. ความหมายของการบูชา ๒. อะไรเป็นสิ่งหรือผู้ที่ควรบูชา ๓. เหตุผลในการบูชา ๑. บูชามี ๓ อย่างคือ ปัคคัณหะ บูชา แปลว่ายกย่อง สักการะบูชา คือบูชา ด้วยสิ่งของ และสัมมานะบูชา คือ การ ยอมรับนับถือ เรามักจะนึกกันว่าบูชาคือ สั ก การะบู ช าแบบเอาของไปไหว้ เ ท่ า นั้ น ความจริงปัคคัณหะบูชาในปัจจุบันเราก็ท�ำ กันมากคือพูดภาษาชาวบ้านก็ “เชียร์” นั่น แหละครับ การสรรเสริญก็จดั เป็นปัคคัณหะ บูชาเช่นกัน ส่วนสัมมานะบูชาคือ ก็คือ การยอมรับนับถือซึ่งการยอมรับนับถือโดย จริงใจนี่แหละครับส�ำคัญที่สุดในทางศาสนา อิสลามนี่จัดเป็นศรัทธาอันสูงสุดเลยทีเดียว เช่น ชาวพุทธต้องยอมรับถือพระรัตนตรัย ชาวมุสลิมต้องยอมรับนับถือว่าพระผูเ้ ป็นเจ้า
ที่วัดกุโสดอ พม่า
พระไตรปิฎกหินอ่อนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก
มีเพียงพระองค์เดียวคือพระอัลเลาะห์และ พระนบีมูฮัมหมัดคือศาสดาพยากรณ์ของ พระองค์(ขนาดต้องจารึกลงบนธงชาติของ ประเทศซาอุ ดิ อ ารเบี ย ) หรื อ ชาวคริ ส ต์ ทุกคนต้องยอมรับนับถือคือเชือ่ อย่างบริสทุ ธิ์ ใจว่าตนเองมีพระบิดา พระบุตรและพระจิต เป็นสรณะ ๒. สิ่งหรือผู้ที่ควรบูชาสรุปอย่างสั้น และง่าย ก็คือควรบูชาที่เรายอมรับนับถือ นัน่ เอง ในทางพระพุทธศาสนามีหลักข้อชีข้ าด อยู่ว่าเราต้องบูชาคนดี สิ่งดี ซึ่งในหนังสือ สวดมนต์ที่แจกๆ กันไปก็ยืนยันอย่างแจ้ง ชัดแล้วบทพระพุทธคุณและพระธรรมคุณ แต่ในบทสังฆคุณนี่ซีครับต้องตีความกันให้ แตกคือต้องมีนยิ ามปฏิบตั กิ าร (Operational definition) กันหน่อย คือ สงฆ์ แปลว่าหมูค่ ณะ ดังนัน้ พระสงฆ์ คือหมู่คณะของพระภิกษุ ไม่ใช่พระภิกษุ
คนใดคนหนึ่ง ซึ่งภิกษุแปลว่า “ผู้ขอ” ดังนั้น การประพฤติปฏิบัติตัวของผู้ขอ ก็ควรจะ เหมาะสมกับฐานะคือต้องเป็นคนดี กล่าวคือ ต้องเป็น “สุปะฏิปันโน” ประพฤติปฏิบัติ ดี ดังนั้นเมื่อเป็นผู้ขอแล้วจะมาขู่ว่าจะอด อาหารจนตายหากไม่ ย อมปฏิ บั ติ ต ามข้ อ เรียกร้องก็ดูจะน่าคิดนะครับ ที่ส�ำคัญคือการนับถือพระสงฆ์ต้อง นับถือเป็นหมู่คณะนะครับ ไม่ใช่มีอยู่คน สองคนแล้วจะเหมาโหลก็ไม่ถูก พระภิกษุ ที่เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ที่ปฏิบัติดี (สุปะฏิปันโน ) ปฏิบัติตรง (อุชุปะฏิปันโน) ปฏิบัติถูกทาง(ญายะปะฏิปันโน) ปฏิบัติ สมควร(สามีจิปะฏิปันโน) ก็มีตั้งเยอะแยะ นั้น เราชาวพุทธต้องวิเคราะห์ให้ถูกไม่ใช่ จะต�ำหนิว่าพระภิกษุผู้เป็นผู้สืบพระพุทธ ศาสนาไปทัง้ หมดซึง่ ไม่เป็นการสมควรอย่าง ยิ่ง โกวิท วงศ์สุรวัฒน์ (โอวี ๓๙) anuman-online.com
54
จดหมายเหตุวชิราวุธฯ บันทึกเรื่องราวในโรงเรียน
หน้าที่
และความ รั บ ผิ ด ชอบ ของเจ้าหน้าที่ในโรงเรียนมหาดเล็กหลวง (๑) เมื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงเรียนมหาดเล็กหลวงขึ้นแล้ว เจ้าพระยา ธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) กรรมการจัดการโรงเรียนมหาดเล็กหลวง ก็ “ได้เรียกประชุมครูอาจารย์และหัวหน้าพนักงานโรงเรียนมหาดเล็กหลวงสองครั้ง หารือ และรวบรวมท�ำก�ำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบทุกๆ พะแนก” 1 แล้วได้น�ำความกราบ บังตมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทเมื่อวันที่ ๑๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๕ ครั้นพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทอดพระเนตรระเบียบก�ำหนด หน้าที่และความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่พะแนกต่างๆ ในโรงเรียนมหาดเล็กหลวงแล้ว ได้ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ถือเป็นระเบียบปฏิบัติของโรงเรียนสืบต่อมา ในระเบียบดังกล่าวได้ก�ำหนดผังองค์กรของโรงเรียน ๕ แผนก ประกอบด้วย แผนกวิชา มีผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิชา เป็นหัวหน้า แผนกปกครองนักเรียน มีผชู้ ว่ ยอาจารย์ใหญ่ฝา่ ยปกครองนักเรียน เป็นหัวหน้า แผนกพนักงานและสถานที่ มีหัวหน้าแผนกพนักงานและสถานที่ เป็นหัวหน้า แผนกกรีฑา มีหัวหน้าแผนกกรีฑา เป็นหัวหน้า 2 แผนกบัญชี มีสมุห์บัญชี เป็นหัวหน้า 1
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ร.๖ ศ.๔/๕๙ เรื่องโรงเรียนมหาดเล็กหลวง (๑ มกราคม ๒๔๕๓ – ๒๐ ธันวาคม ๒๔๖๗) 2 ต่อมาเปลี่ยนเป็นแผนกปลัดกรม มีปลัดกรมเป็นหัวหน้ารับผิดชอบแผนกนี้
หัวหน้าแผนกทั้ง ๕ นั้นล้วนขึ้นการ บังคับบัญชาตรงต่ออาจารย์ใหญ่โรงเรียน มหาดเล็กหลวง ซึ่งต่อมาได้โปรดเกล้าฯ ให้ เปลี่ยนต�ำแหน่งนี้เป็น “ผู้บังคับการ” ส�ำหรับหน้าที่และความรับผิดชอบ ของอาจารย์ใหญ่และหัวหน้าแผนกต่างๆ นัน้ ในระเบียบดังกล่าวได้ก�ำหนดไว้ ดังนี้ “หน้ า ที่ แ ละความรั บ ผิ ด ชอบของ อาจารย์ใหญ่ ๑. เปนเจ้าบ้าน ปกครองรักษาการ ในหน้าทีต่ า่ งๆ ทุกพะแนกให้เปน ไปตามระเบียบหน้าที่ซึ่งก�ำหนด ไว้ในสมุดเล่มนี้ รับผิดชอบให้ การนั้นๆ เปนไปพอดี ไม่ขาดไม่ เหลือ ๒. ปกครองและรักษาความสามัคคี ทั่ ว ไปในโรงเรี ย น เพื่ อ ให้ ก าร ต่ า งๆ ซึ่ ง ย่ อ มอาศรั ย กั น และ กัน ส�ำเร็จไปโดยเรียบร้อยไม่มี รังเกียจเกี่ยงงอน หริอถึงวิวาท บาดหมางกัน ๓. รับเรื่องเสนอ พิเคราะห์ และ สั่งการงานตามควร ถ้าเรื่องใด เกี่ยวข้องด้วยหน้าที่ใด ก็พูดทัก หรือสั่งไปทางหน้าที่นั้น เพื่อเจ้า หน้าทีต่ า่ งๆ จะได้รสู้ กึ การงานใน หน้าที่ของตัวโดยเต็ม ๔. รักษาเงินของโรงเรียน สอบยัน ให้ถูกต้องกับบาญชีเงินซึ่งสมุห์ บาญชีเปนผู้ท�ำ ถ้าเงินมากกว่า
เจ้าพระยาธรรมศักดิ์
สี่พันบาทให้น�ำฝากพระคลังข้าง ที่ หรือฝากแบงก์สยามกัมมาจล ไว้ ๕. ต ร ว จ แ ล ะ จั ด ก า ร พ ย า บ า ล นักเรียนไข้ให้เรียบร้อย ๖. รวบรวมรายงานประจ� ำ เดื อ น เสนอกรรมการผู้อ�ำนวยการไม่ ให้ ล ่ า ช้ า และรายงานในเหตุ ส�ำคัญต่างๆ ตามคราวที่มีเหตุ ควรรายงาน ๗. จดหมายเหตุ ก ารณ์ ง านต่ า งๆ anuman-online.com
56
จดหมายเหตุวชิราวุธฯ ของโรงเรียนขึ้นสมุดไว้ เรียกว่า สมุดจดหมายเหตุ ส�ำหรับจะได้ เปนประวัติและพงษาวดารของ โรงเรียนสืบไป ๘. ท� ำ ความติ ด ต่ อ กั บ ผู ้ ป กครอง นั ก เรี ย นข้ า งบ้ า น ในกิ จ ธุ ร ะ สามั ญ ตามปรกติ ข องโรงเรี ย น ซึ่งเกี่ยวถึงผู้ปกครองด้วย แต่ใน กิจธุระพิเศษนอกจากปรกติแล้ว ต้ อ งท� ำ โดยอนุ มั ติ ก รรมการผู ้ อ�ำนวยการ ๙. ให้ผู้ที่อยู่ในปกครองทั้งสิ้น ได้รับ บ�ำเหน็จและโทษตามสมควรแก่ ความชอบและความผิด ในชั้นที่ จะต้องน�ำความเสนอกรรมการผู้ อ�ำนวยการ ก็ให้น�ำเสนอ
พระยาโอวาทวรกิจ
หมวดหน้าที่และความรับผิดชอบพะแนกสมุห์บาญชี ๑. ท�ำบาญชีเงินรายได้รายจ่ายของโรงเรียนทุกอย่างให้ถูกต้องอยู่เสมอ กรรมการ หรือผูต้ รวจการโรงเรียนจะตรวจเมือ่ ไรให้ตรวจได้ ตัวเงินส่งและรับจากอาจารย์ ใหญ่ ซึ่งเปนผู้รักษา ตรวจและรักษาใบส�ำคัญให้ถูกต้องกับรายจ่ายอยู่เสมอ ๒. ท�ำและรักษาทะเบียนบาญชีอื่นๆ ซึ่งเจ้าหน้าที่พะแนกอื่นๆ มอบหมายให้ท�ำ ๓. จัดและแต่งหนังสือโต้ตอบต่างๆ ของโรงเรียน และท�ำการเสมียนให้แก่พะแนก ต่างๆ ทุกพะแนก ๔. เจ้าหน้าที่รับผิดชอบพะแนกนี้ มีสมุห์บาญชีเปนหัวหน้า นอกนั้นมีเสมียนมาก น้อยตามสมควรแก่งาน.” วรชาติ มีชูบท (โอวี ๔๖) (โปรดติดตามต่อฉบับหน้า)
เรือนจาก
นักเรียนเก่าฯ เล่าเรื่องสนุก
57
ดร.ณัฐวุฒิ เผ่าทวี
นักเศรษฐศาสตร์ ผู้พยายามหาค่าความสุข
anuman-online.com
58
เรือนจาก
ดร.ณัฐวุฒิ เผ่าทวี โอวี ๖๘ เป็นนักเรียนเก่าวชิราวุธฯ ที่ไม่เคยถือ ใบคะแนนมาก่อนเลย แต่ในปัจจุบันนี้ เขาได้ใช้ความพยายามและความอดทน จนสามารถก้าวขึ้นมาเป็นนักวิชาการ ด้านเศรษฐศาสตร์ประจ�ำมหาวิทยาลัย ชื่ อ ก้ อ งอย่ า ง London School of Economics and Political Science (LSE) และเป็นหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญด้าน เศรษฐศาสตร์ความสุขที่มีเพียงไม่กี่คน บนโลกนี้เท่านั้น
อนุมานวสาร ความทรงจ�ำที่ประทับใจสมัย อยู่โรงเรียน ดร.ณัฐวุฒิ ผมเข้าวชิราวุธฯ ครั้งแรกตอน ป.๓ ตอนไปสอบก็ไม่รวู้ า่ เป็นโรงเรียนประจ�ำ แม่บอกถ้าสอบได้จะพาไปเที่ยวเขาดิน พอ สอบเสร็จเราก็ได้ไปเที่ยวเขาดิน วันที่พ่อกับแม่พาผมไปเข้าเรียนที่ วชิราวุธฯ ผมอายุประมาณเจ็ดขวบ ผมก็ ยังไม่รู้ว่าต้องไปอยู่ประจ�ำ ผมมาเริ่มเอะใจ เวลาไปอาบน�้ำ ผมก็สงสัยว่าท�ำไมเขาแก้ผ้า ล่อนจ้อนกันหมด มีผมคนเดียวที่ใส่กางเกง ในเพราะไม่ เ คยแก้ ผ ้ า อาบน�้ ำ ต่ อ หน้ า คน
เยอะๆ มาก่อน ผมมารู้ตัวว่าต้องอยู่ประจ�ำ ก็ตอนที่เข้าแถวกินข้าว แล้วแม่ก็บอกว่าอีก สองอาทิตย์เจอกัน ตอนแรกๆ ผมก็รสู้ กึ ช็อค มากร้องไห้เกือบทุกวันตลอดช่วงอยู่ที่ ป.๓ ผมเคยพยายามแกล้งป่วยเพราะอยากกลับ บ้านมาก ท�ำเป็นตาแดงบ้าง อะไรบ้าง แต่ก็ ไม่ได้มีแค่ผมคนเดียว เด็กคนอื่นๆ ก็ท�ำกัน หลายคน อยู่ไปอยู่มาก็เริ่มชอบเริ่มโอเคกับ การอยู่โรงเรียนกับเพื่อนๆ พออยู่มาถึง ป.๖ ผมก็คิดจะย้ายไป อยูโ่ รงเรียนธรรมดา เพราะผมไปได้ยนิ เรือ่ ง ที่ไม่ค่อยดีจากพวกเด็กใน แต่พ่อของผม อยากให้อยู่ต่อ ผมก็เลยอยู่ต่อ ขึ้น ม.๑ ก็ ย้ายเข้าคณะพญาไท ยุคนัน้ ยุคทีค่ อ่ นข้างมืด ผมพอจะรูเ้ รือ่ งทีเ่ กีย่ วกับเด็กในมาบ้าง แต่ก็ ไม่รเู้ ยอะเท่าไหร่ เพราะเด็ก ป.๖ ทีเ่ ข้าไปอยู่ คณะในก็ไม่ค่อยเล่าให้ฟัง ผมสังเกตแค่ว่า เพื่อนๆ ที่เป็นเด็กร่าเริงพอเข้าไปอยู่เด็กใน แล้วเงียบกันหมด เวลาถามอะไรก็ตอบมา อย่างเดียวว่า “เข้าไปเดี๋ยวก็รู้เอง” พอผมเข้าไปคณะในก็มที งั้ ส่วนดีและ ไม่ดี ส่วนที่ดีๆ ก็มีเยอะโดยเฉพาะเรื่องของ เพื่อนๆ แต่ส่วนที่ไม่ดีก็มี อย่างเรื่องพวก เด็กอายุ ๑๕ ก็ซ่อมเด็กอายุ ๑๑ เด็กพวกนี้ ทั้งหมดเขายังไม่บรรลุนิติภาวะเลย เขายัง ไม่เป็นผูใ้ หญ่พอทีจ่ ะได้รบั อ�ำนาจเยอะขนาด นั้น ตอนนี้ผมคิดว่าที่โรงเรียนของเราฯ คง ไม่มีอย่างนี้แล้ว ที่โรงเรียนคงต้องดีขึ้นเยอะ เพราะมีระบบมีอะไรมากขึ้นกว่าสมัยก่อน
มีการวิจยั ของแสตมฟอร์ด (Stanford University) อันหนึ่ง เขาเอานักศึกษามาอยู่ ด้วยกัน แล้วสุ่มเลือกเพื่อแบ่งกลุ่ม ให้กลุ่ม หนึง่ เล่นเป็นต�ำรวจ อีกกลุม่ เล่นเป็นนักโทษ ตอนแรกก็หัวเราะกันเพราะคิดว่าคงไม่มี อะไรหรอกนึกว่าเป็นการวิจัยสนุกๆ ทีมที่ ท�ำวิจัยตั้งใจว่าจะเฝ้าสังเกตประมาณหนึ่ง เดือน วันแรกๆ ก็ไม่มอี ะไรเปลีย่ นแปลง พอ สามวันต่อมาก็เริม่ มีการเปลีย่ นแปลงมากขึน้ คือ กลุ่มนักโทษก็เริ่มท�ำตัวเป็นเหมือนกับ นักโทษจริงๆ พวกที่เป็นต�ำรวจก็เริ่มเป็น ต�ำรวจคอยคุมจริงๆ แล้วก็เริม่ ท�ำตัวแย่ๆ สรุป ว่าท�ำการทดลองไปได้ไม่ถงึ สิบสีว่ นั ทุกอย่าง ก็ต้องหยุดเพราะเรื่องที่ไม่ดีเริ่มเกิดขึ้น การวิจัยนี้บอกเลยว่า ไม่ว่าคนจะดี ขนาดไหนก็เปลีย่ นไปได้ ความประพฤติของ คนเราสามารถเปลี่ยนไปได้ถ้าได้รับอ�ำนาจ มา แต่ไม่สามารถควบคุมให้ดี
ผมมารู้ตัว ว่าต้องอยู่ประจ�ำ ก็ตอนที่เข้าแถวกินข้าว แล้วแม่ก็บอกว่า อีกสองอาทิตย์เจอกัน anuman-online.com
60
เรือนจาก
อนุมานวสาร เหตุที่ต้องออกจากโรงเรียนฯ ดร.ณัฐวุฒิ ผมออกจากโรงเรียนกลางปี ตอนเรียนอยู่ ม.๒ สาเหตุหลักก็เพราะผมไป เจอรุ่นพี่สองสามคนที่ไม่ค่อยดี เป็นพี่ ม.๔ ที่บ้าพลังมาก ผมโดนซ่อมโดยไม่มีเหตุผล อย่างโน้นอย่างนี้อยู่ทุกวันอาทิตย์ โดนซ่อม จนผมไม่มีกระจิตกระใจที่จะเรียนแล้ว แต่พอผมมาลองมองย้อนกลับไป ผม ก็คิดว่าถ้าตอนนั้นไม่เกิดเหตุการณ์แบบนั้น กับผม ก็คงจะไม่มผี มเหมือนกับทุกวันนี้ คือ ตอนนั้นก็เคยคุยกับเขาว่าพี่เรียนไม่เก่ง ผมเคยไปเจอพีเ่ ตา (บรรยง พงษ์ภานิช - โอวี ๔๔) โดยบังเอิญ... ผมก็ไม่ได้ตอบ แต่ก็ได้ลองคิดว่า ผมก็ได้หลายอย่างจาก วชิราวุธฯ ไม่ใช่แค่การเรียนแต่ได้เล่นกีฬา ได้เล่นดนตรี ตอนอยู่โรงเรียนผมก็เรียนไม่ ได้ดีอะไร จนพ่อมาพูดว่าผมคงเรียนไม่จบ ก็เลยกลายเป็นเหมือนแรงฮึดอีกทางด้วย อนุมานวสาร ออกจากโรงเรียนแล้วไปเข้า เรียนต่อที่ไหน? ดร.ณัฐวุฒิ ผมออกไปอยู่ที่อเมริกาก่อน หนึ่งปี เรียนเพื่อปรับตัวแล้วเอาเกรดไปยื่น เรียนต่อ ม.๓ ในอังกฤษ ที่โรงเรียนเซนต์ ลอว์เรนซ์ (St. Lawrence College) ซึ่ง ก็เป็นโรงเรียนประจ�ำ ตอนเข้าโรงเรียนที่ นั่นครั้งแรกก็มีระบบคล้ายๆ กับที่วชิราวุธฯ จะมีระบบแบ่งหน้าที่ (Duty System) คือ เด็กๆ ก็ต้องไปเก็บขวดนมอะไรอย่างนี้ แบ่ง เวรท�ำงานกัน แรกๆ ผมก็กลัวจะเจอซ่อม
ผมเข้าไปเก็บขวดนมแล้วท�ำขวดนมหกใน ห้องพี่ ม.๖ พี่เขาก็ตะโกนใส่ ผมก็กลัวรีบ เก็บขวดนมแล้วเอาเสื้อตัวเองเช็ด พอพี่เขา เห็นแบบนั้นเขาก็รีบเข้ามาห้ามผมและบอก ว่าไม่เป็นไรๆ เพราะหากทางโรงเรียนรู้ว่ามี การใช้เด็ก พีท่ ใี่ ช้กจ็ ะโดนหนัก ผมก็รเู้ ลยว่า ที่อังกฤษเขาไม่ได้เอาระบบสมัยก่อนมาใช้ เขาก็เปลี่ยนไปตามยุคสมัย อนุมานวสาร ได้เรียนหนังสือมากขึ้นไหม? ดร.ณัฐวุฒิ ผมเรียนหนังสือมากขึน้ ตอนเข้า มหาวิทยาลัยแล้ว ตอนเรียนมัธยมผมยังรูส้ กึ ว่าภาษาที่ใช้ไม่ใช่ภาษาของเรา แล้วผมก็ ไม่ได้เรียนเก่งอะไรอยู่แล้ว จบจาก ม.ปลาย ผมก็ ไ ม่ รู ้ ว ่ า จะเลื อ กเรี ย นอะไร ตอนนั้ น อยากจะเรียนพวกคอมพิวเตอร์ แต่พ่อของ ผมบอกว่าผมไม่น่าจะเรียนได้ เพราะสาขา นี้ต้องขยันอ่านหนังสือเยอะและผมก็เป็น คนไม่ค่อยชอบเรียนเท่าไร พอดีแม่เห็น คุณอภิสทิ ธิพ์ ดู ในทีวแี ล้วชอบมาก ผมก็เลยไป เรียนเศรษฐศาสตร์กบั บริหารตามทีแ่ ม่บอก ผมเข้ า ไปเรี ย นที่ ม หาวิ ท ยาลั ย บรู เ นล (Brunel University) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัย ระดับกลางๆ ปีแรกก็เรียนไม่ค่อยดีเท่าไหร่ พอเรียนต่อไปเรื่อยๆ ก็คิดว่าไม่ไหว ผม เริ่ ม คิ ด ได้ ว ่ า การที่ ผ มเรี ย นมหาวิ ท ยาลั ย ระดับกลางๆ ก็จะท�ำให้เราดูเหมือนเด็ก คนอื่นๆ ที่เขาไม่เรียนไปด้วย ผมเลยต้อง ขยันและท�ำให้ตัวเองโดดเด่นขึ้นมา ปีสองปี สามก็เรียนดีขึ้นมาก จนจบปริญญาตรีด้วย
คุณรู้มั๊ย? ว่าคุณเป็นคนเดียว ในโลกนะที่ท�ำงาน วิจัยเรื่องนี้ เกียรตินิยมอันดับสอง แล้วก็ไปสอบเข้า เรียนปริญญาโทที่ Warwick University ซึ่ง เป็นมหาวิทยาลัยที่ดี อนุมานวสาร ที่เรียนต่อเศรษฐศาสตร์เป็น เพราะถูกโฉลกกับสาขานี้หรือเปล่า ถึงขั้นที่ เรียนจนเป็นด๊อกเตอร์? ดร.ณัฐวุฒิ ที่จริงตอนนั้นผมก็อาจจะคิด คล้ายๆ แม่ ที่คิดว่าถ้าจบเศรษฐศาสตร์คง เท่หด์ ี แต่ตอนจบมาผมก็ไม่รวู้ า่ ตัวเองอยาก ท�ำงานอะไร จะท�ำงานแบงค์กค็ งไม่ชอบ ไม่รู้ จริงๆ เลยว่าอยากจะท�ำอะไร ผมรูอ้ ย่างเดียว ว่าจบกลับมาเมืองไทยคงเท่หแ์ น่ๆ ทีจ่ ริงแล้ว ผมเป็นคนที่เรียนไม่ค่อยเก่งเท่าไร เรียนได้ แค่เกรดบี ก็สูงสุดเท่าที่ผมจะท�ำได้ โชคดีที่ การเรียนปริญญาเอกต้องการแค่ บี เพือ่ ผ่าน เข้าไปเรียน พอผมได้ตอ่ เอก ก็ทำ� ให้ผมรูส้ กึ ว่าผมท�ำวิจัยได้เก่งกว่าเรียนเยอะ พอผมได้ anuman-online.com
62
เรือนจาก
ดร.ณัฐวุฒิ คนในแวดวงวิชาการจะมีชอื่ เสียง ได้ก็ขึ้นอยู่กับผลงานที่ได้ตีพิมพ์ ถ้าผลงาน วิจัยของคุณไม่ได้ตีพิมพ์คุณก็ไม่มีชีวิตใน แวดวงนี้ได้ นี่เป็นมาตรฐานสากลเลย และ การมีผลงานที่ได้ตีพิมพ์ถือเป็นเรื่องที่ยาก มากๆ กว่าที่ผมจะมีผลงานได้รับการตีพิมพ์ ประมาณ ๒๔ ครั้งในตอนนี้ ผมต้องเจอ ปฏิเสธไปไม่ต�่ำกว่าร้อยครั้ง ผมส่งผลงาน ไปที่หนึ่งก็ต้องรอประมาณสี่เดือน ถึงจะรู้ ว่าถูกตีกลับคืนมา ตอนส่งใบสมัครท�ำงานวิจัยเพื่อเป็น ศาสตราจารย์ก็ค่อนข้างเหนื่อย มีผู้สมัคร ประมาณ ๑๒๐ คน แต่รับเพียงแค่คนเดียว เท่านัน้ ถ้าคุณมีผลงานตีพมิ พ์ คุณก็มโี อกาส อนุมานวสาร ต้องผ่านอะไรมาบ้างกว่าจะมา เยอะหน่อย ตอนก่อนที่จะจบปริญญาเอก ผมมี เป็นศาสตราจารย์ได้? งานตีพิมพ์ไปหนึ่งชิ้น เป็นคนเดียวในรุ่นที่มี งานพิมพ์ก่อนจบ ผมก็เลยได้ไปสัมภาษณ์ที่ University of Leicester พอสัมภาษณ์เสร็จ ผมก็โทรบอกภรรยาทันทีว่าให้เก็บกระเป๋า เลย เราได้ไปอยู่ที่เลสเตอร์แน่ๆ เพราะ วันนั้นเป็นการสัมภาษณ์ที่ดีมาก ปรากฏว่า สามวันหลังจากนั้นเขาก็โทรมาผมบอกว่า คุณไม่ได้ แต่ผมก็ถอื ว่าตัวเองโชคดี เรือ่ งความ ผิดหวังแบบนี้ ช่ ว ยสอนผมหลายๆ อย่ า ง สอนให้ผมอดทน อาจารย์ของผมบอกอยู่ เสมอว่าคุณภาพคนไม่ได้อยูท่ คี่ วามสามารถ ในการเรียนดี แต่อยู่ที่ความสามารถในการ มีความอดทนสูง ท�ำวิจัยเรื่องที่ผมชอบ งานวิจัยของผมก็เลย ไปได้ดี งานวิจัยก็ได้ตีพิมพ์ ผมก็เลยรู้สึก ว่ามาถูกทาง ผมไม่เคยคิดเลยว่าจะมาเป็นอาจารย์ ตอนแรกก็คดิ ว่าจะไปเป็นนักวิเคราะห์ จนได้ มาเรียนเอกถึงพอจะรู้ว่าอยากท�ำงานเป็น นักวิจยั เพราะผมได้มาเจออาจารย์ทปี่ รึกษา ที่ ดี ม ากๆ อาจารย์ ท ่ า นนี้ มี ผ ลงานและ ชื่อเสียงที่ดี ผมเห็นเขาเป็น Role Model ของผม อยากจะเป็นได้แบบเขา ผมเริ่มท�ำ วิจัยอันแรกเขาก็เข้ามาชมผมแล้วว่า “คุณรู้ มั้ย? ว่าคุณเป็นคนเดียวในโลกนะที่ท�ำงาน วิจัยเรื่องนี้นะ”
พอผมได้ต่อเอก ก็ท�ำให้ผมรู้สึกว่า ผมท�ำวิจัย ได้เก่งกว่าเรียนเยอะ พอผมได้ท�ำวิจัย เรื่องที่ผมชอบ งานวิจัยของผม ก็เลยไปได้ดี
อนุมานวสาร จบมาแล้วได้งานท�ำตามทีห่ วัง ไว้เลยหรือเปล่า? ดร.ณั ฐ วุ ฒิ ตอนนั้ น ผมก็ ไ ปยื่ น สมั ค รไว้ ประมาณ ๖ มหาวิทยาลัย แต่สุดท้ายก็มา ได้ที่ University of London ไปท�ำงานวิจัย อย่างเดียวประมาณ ๓ ปี พอหมดสัญญา แล้ ว ผมก็ อ ยากจะไปสอนด้ ว ย พอดี ท าง University of York ก็ยื่นขอเสนอให้ไปสอน ตอนนัน้ ผมมีงานตีพมิ พ์แล้วประมาณ ๘ ชิน้ พอผมไปถึงก็ได้ไปเป็นอาจารย์สอน ถึงแม้ มหาวิทยาลัยอาจจะไม่ได้ดีมาก แต่ก็เป็น อาชีพที่ผมอยากจะท�ำอยู่แล้ว ก็เลยท�ำอยู ่ ประมาณ ๒ ปี พอหมดสัญญาก็ยา้ ยมาสอนที่ มหาวิทยาลัยนันยาง (Nanyang University) ในสิงคโปร์ ตอนแรกก็ให้สัญญาว่าให้ผมมา อยู่ ๑ ปี จะโปรโมทให้เป็นศาสตราจารย์ พอมาอยู ่ ไ ม่ ทั น ไร ทางมหาวิ ท ยาลั ย ก็ เปลี่ยนนโยบายให้อยู่หกปี แต่การเป็นอาจารย์ที่สิงคโปร์ได้เงิน ดีม าก รายได้ สูง กว่ า การเป็ น อาจารย์ ใ น เมืองไทยประมาณยี่สิบยี่สิบเท่า นอกจากนี ้ ผมยั ง ต้ อ งไปสอนเด็ ก สิ ง คโปร์ ด ้ ว ย เด็ ก สิงคโปร์บ ้า เกรดยิ่ ง กว่ า เด็ กไทย ต้ อ งท� ำ คะแนนให้ดีที่สุดและก็จะเครียด ช่วงก่อน สอบพวกเด็ ก ๆ ก็ ต ้ อ งเข้ า มาขอข้ อ สอบ ย้อนหลังไปประมาณสิบปี ผมก็บอกพวก เขาว่าเรื่องพวกนี้ไม่เกี่ยวกันเลย ประเด็น การเรียนไม่ได้อยู่ที่คุณท�ำข้อสอบเก่งขนาด ไหน แต่อยู่ที่ว่าคุณเอาความรู้ไปปรับใช้ anuman-online.com
64
เรือนจาก
ประโยชน์เป็นหรือไม่ต่างหาก และนี่ก็คือ สังคมของสิงคโปร์ ผมอยู ่ ม หาวิ ท ยาลั ย นั น ยางจนได้ ต�ำแหน่งเป็นศาสตราจารย์ แล้วทาง University of Melbourne ที่ออสเตรเลียก็ติดต่อ เข้ามาเพราะผมเคยยื่นสมัครไว้ในต�ำแหน่ง ศาสตราจารย์ทางด้านการวิจัย แล้วอยู่ดีๆ ทาง LSE (London School of Economics) ก็โทรมาบอกว่าอยากได้ผมไปท�ำโครงการที่ เกี่ยวกับเรื่องความสุข LSE นี่ถือเป็นความ ฝันของผม เป็นอันดับหนึ่งในยุโรป แต่ก่อน ผมไม่คดิ หรอกว่าจะได้เพราะเกรดของผมไม่ ค่อยดี สุดท้ายก็ท�ำทั้งสองที่ ท�ำที่ละครึ่งปี อนุมานวสาร งานวิจัยเรื่องนั้นคือ...? ดร.ณัฐวุฒิ เรือ่ งเศรษฐศาสตร์ความสุข ตอน ทีผ่ มท�ำเรือ่ งนี้ ตอนแรกๆ ก็ยงั ไม่คอ่ ยเป็นที่ รู้จักเท่าไร เพราะเป็นเรื่องที่ใหม่มาก เวลา ผมไปเสนองานวิจยั นี้ คนทีฟ่ งั ผมก็ถามว่าท�ำ
นักเศรษฐศาสตร์ มักจะไม่ชอบ สิ่งที่วัดยาก สิ่งที่เรียกว่าเป็น นามธรรม
เรื่องนี้ท�ำไม? คือนักเศรษฐศาสตร์มักจะไม่ ชอบสิ่งที่วัดยาก สิ่งที่เรียกว่าเป็นนามธรรม นักเศรษฐศาสตร์ทั่วไปจะไม่ชอบเลยเพราะ เป็นเรือ่ งทีว่ ดั ได้ลำ� บากมาก แถมพวกคนไทย ที่ไปเรียนด้วยกันยังบอกเลยว่าท�ำวิจัยเรื่อง แบบนี้ กลับมาเมืองไทยก็ไม่มีงานท�ำหรอก อนุมานวสาร คนทีอ่ ยากเรียนเศรษฐศาสตร์ เหมือนกัน? ดร.ณั ฐ วุ ฒิ คนไทยที่ ไ ปส่ ว นใหญ่ ก็ จ ะ ไปเรี ย นไฟแนนซ์ แต่ ผ มจะคิ ด แบบเด็ ก วชิราวุธฯ ไง ไม่จ�ำเป็นต้องไปตามเทรนด์ แต่พอมามองย้อนกลับไปเป็นเรือ่ งทีด่ ี เพราะ ว่ า งานชิ้ น นั้ น เป็ น จุ ด เริ่ ม ต้ น ท� ำ ให้ ผ มติ ด หนึ่งในร้อยนักเศรษฐศาสตร์อายุน้อยที่น่า จับตามองของโลกที่จัดอันดับโดยเว็บไซต์ ทางวิชาการ ตอนนี้ผมเขียนหนังสือเล่มหนึ่งที่ชื่อ ว่า The Happiness Equation ซึ่งก็เป็น หนังสือที่เกี่ยวกับงานวิจัยของผมเอง พอ หนังสือพิมพ์ออกมา ก็มีคนมาขอสัมภาษณ์ ผมหลายครั้ง และก็มีคนชวนให้ไปเขียน บทความลงหนั ง สื อ ต่ า งๆ อี ก หลายเล่ ม ผมคิ ด ว่ า ผมก็ น ่ า จะมี ชื่ อ เสี ย งในด้ า นนี้ ท ี่ เมืองนอกมากกว่าที่เมืองไทย ที่เมืองไทย ไม่ค่อยมีคนรู้จักผม เพราะแวดวงวิจัยใน เมืองไทยค่อนข้างแคบ คนท�ำกันไม่ค่อย เยอะ ผมกลับมาเมืองไทยก็ได้คุยกับพี่ๆ เพื่อนๆ ว่าเราจะพยายามสร้างกระแสให้มี การวิจัยด้านเศรษฐศาสตร์ในเมืองไทยมาก
อาจารย์ ท� ำ เมื่ อ กี้ นี้ อาจารย์ ค วรจะเพิ่ ม ตรงนี้หน่อย เพราะไม่อย่างนั้นผลมันจะไม่ จริง ผมเคยท�ำแล้วผลออกมาเหมือนกัน แล้วผมก็ให้นามบัตรท่านไปและท่านก็ถาม ว่าเป็นนักเรียนหรือ? ผมก็บอกว่าไม่ใช่เป็น นักวิจัย ท่านก็เลยบอกว่าอนาคตก็กลับมา ช่วยชาติ พอผมกลับบ้านไปเปิดดูงานวิจัย ของท่าน ซึ่งงานของท่านใช้เอกสารอ้างอิง ของผมและอ้างถึงหลายครั้ง ผมก็รู้ชัดเลย ว่าท่านไม่น่าจะได้ท�ำรายงานนั้นเอง อาจจะ มีลูกทีมท�ำให้ แล้วท่านก็เอาชื่อมาลงแทน เพราะถ้าท�ำเอง ท่านก็นา่ จะต้องรูช้ อื่ ของคน ที่ท่านเอางานไปอ้างถึงอยู่หลายครั้ง
ขึ้น เราอยากจะสร้างตรงนี้ เพราะเราคิดว่า เมืองไทยจะมีคนที่รู้ไม่จริงแต่พูดเยอะ นักเศรษฐศาสตร์ทเี่ ราเห็นออกทีวใี น เมืองไทยบ่อยๆ ไม่ค่อยได้ท�ำวิจัยทางด้าน Basic Research สิ่งที่เขาพูดหรือเขียนลง หนังสือพิมพ์ ก็ไปจ�ำจากที่อื่นและเอามาใช้ อีกทีหนึ่ง เมืองไทยไม่มีผู้เชี่ยวชาญแต่ละ เรื่องโดยตรง พวกผมและเพื่อนๆ พยายาม จะลดตรงนั้นลง และจะท�ำให้เด็กรุ่นใหม่ๆ เข้าท�ำวิจัยมากขึ้น ผมเคยไปร่วมงานประชุมงานหนึ่ง และไปเจอศาสตราจารย์อาวุโสท่านหนึ่ง ที่ บอกว่าเขาเป็นคนไทยคนแรกๆ ที่ท�ำเรื่อง พวกนี้ แล้วผมก็ไปแนะน�ำตัวและบอกว่าที่
อนุ ม านวสาร คิ ด ว่ า เมื อ งไทยจะเปลี่ ย น ได้ไหม? ดร.ณัฐวุฒิ ผมว่ายากมาก แต่ก่อนผมก็ อยากจะกลับมาช่วยเมืองไทยมาช่วยเปลีย่ น พ่อผมบอกถ้าลูกคิดอย่างนั้นก็ไม่ต้องกลับ มาหรอก เพราะถ้ากลับมาก็จะเสียใจ หมด หวังและก็จะท้อ ที่ส�ำคัญผมก็จะไม่ได้ท�ำใน สิ่งที่ผมอยากจะท�ำ ต้องไปโตที่เมืองนอก ก่อน ไปสร้างชื่อเสียงให้กับตัวเองจนเป็น ที่ยอมรับทั่วโลก ถ้ากลับมาตอนที่ยังไม่มี ชื่อเสียงคงไม่ได้โอกาสเท่าไรในเมืองไทย อนุมานวสาร ช่วยอธิบายเรื่องแนวคิดของ เศรษฐศาสตร์ความสุขให้หน่อย? ดร.ณัฐวุฒิ จริงๆ แล้วก็ไม่จ�ำเป็นต้องรู้เรื่อง เศรษฐศาสตร์มากก็เข้าใจได้ เพราะว่าความสุข anuman-online.com
66
เรือนจาก
เป็นอะไรทีค่ นเราคิดว่ามีอยูใ่ นตัวเองอยูแ่ ล้ว ทุกคน ไม่มีใครน่าจะรู้ว่าอะไรท�ำให้เรามี ความสุขมากกว่าตัวเราเอง แต่เราก็ไม่เคย ได้รู้ว่าอะไรคือสิ่งที่ท�ำให้เรามีความสุขจริงๆ เศรษฐศาสตร์ความสุข ช่วยอธิบาย ให้เรารูว้ า่ คนส่วนใหญ่ไม่ได้มเี หตุมผี ลเท่ากับ ที่เราคิดว่าเรามี ยกตัวอย่างง่ายๆ อย่าง นิตยสาร The Economist เขามีตัวเลือก ในการสมัครสมาชิกอยู่ ๓ ตัวเลือก ๑) ถ้า คุณจ่าย ๕๖ เหรียญ คุณจะได้ฉบับออนไลน์ อย่างเดียว ๒) ถ้าคุณจ่าย ๑๒๐ เหรียญ คุณจะได้ฉบับพิมพ์บนกระดาษอย่างเดียว ๓) ถ้าคุณจ่าย ๑๒๐ เหรียญ คุณจะได้ทั้ง ฉบับพิมพ์และทั้งออนไลน์ คุณคิดว่าคนส่วนใหญ่จะเลือกอะไร? คนส่ ว นใหญ่ เ ขาก็ เ ลื อ กอั น ที่ จ ่ า ย ๑๒๐ เหรียญ ได้ทงั้ ฉบับพิมพ์และออนไลน์ เพราะ เขาได้ ทั้ ง สองอย่ า งคุ ้ ม กว่ า แน่ น อน ถ้ า สมมุติฐานนี้ถูกต้อง คนส่วนใหญ่ก็เลือก แบบที่ได้ทั้งสองอย่าง รองลงมาก็จะเลือก ฉบับออนไลน์อย่างเดียวที่จ่าย ๕๖ เหรียญ แต่จะไม่มีใครเลือก ๑๒๐ เหรียญที่ได้ฉบับ พิมพ์อย่างเดียว ทีนี้ลองตัดตัวเลือกให้เหลือแค่ ๑) จ่าย ๕๖ เหรียญ ได้ฉบับออนไลน์อย่างเดียว และ ๒) จ่าย ๑๒๐ เหรียญ ได้ทั้งออนไลน์ และฉบับพิมพ์ คนก็จะไม่เลือกแบบออนไลน์ อย่างเดียวแล้ว เพราะการได้จับฉบับพิมพ์ เป็นเล่มจริงๆ ท�ำให้รู้สึกคุ้มค่ากว่าการอ่าน ออนไลน์ การได้ทั้งแบบออนไลน์และฉบับ
พิมพ์ทำ� ให้เรารูส้ กึ ว่าเราได้เยอะ รูส้ กึ คุม้ กว่า ทางเจ้าของนิตยสารเขาต้องการให้ คนมาใช้แบบออนไลน์มากขึ้น เพราะต้นทุน ต�่ำกว่าการพิมพ์เป็นเล่มเยอะ ตัวเลือกฉบับ พิมพ์อย่างเดียวเข้ามาเป็นตัวเปรียบเทียบ ตรงกลาง ท�ำให้คนเห็นว่าซื้อออนไลน์อย่าง เดียวก็พอแล้ว พวกเขาไม่ได้จำ� เป็นต้องอ่าน ฉบับพิมพ์เป็นเล่ม เรื่องนี้พอจะสรุปให้เห็น ว่าการตัดสินใจที่ท�ำให้รู้สึกคุ้มค่า เป็นสิ่งที่ ท�ำให้เรารู้สึกมีความสุขตามมาด้วย ทั้งๆ ที่ จริงๆ แล้วเราก็ไม่ได้รู้ตัวหรอกว่าความสุข คืออะไร การที่ เ ราไม่ รู ้ ว ่ า ความสุ ข คื อ อะไร ท�ำให้เราไม่สามารถคาดเดาได้เลยว่าเราจะ มีความสุขได้อย่างไรในอนาคต งานที่ผม ท�ำก็คือพยายามจะวัดค่าความสุขออกมา เป็นมาตรฐานด้วยการเก็บข้อมูลด้านต่างๆ แล้วมาวิเคราะห์ ข้อมูลพวกนี้ก็มาจากการ ส�ำรวจคนหมื่นคนในเรื่องต่างๆ อย่างเรื่อง การแต่งงาน หรือการว่างงาน แล้วก็ต้องเอา ข้อมูลมาพิสูจน์ว่าอะไรคือความสุข มีผลงานวิจัยชิ้นหนึ่งเกี่ยวกับแม่ชีที่ อเมริกา โดยทีมวิจัยก็ให้คนที่จะเข้าไปเป็น แม่ชี เขียนประสบการณ์ในสมุดโน๊ตก่อนที่ จะเป็นแม่ชี แม่ชีกลุ่มหนึ่งเขียนว่าดีใจมาก ที่จะได้ไปรับใช้พระเยซู ส่วนอีกกลุ่มก็เขียน ประมาณว่าก็คงจะโอเคเพราะพวกเธอไม่มี ทางเลือกแล้ว ทีมวิจัยก็เอาสิ่งที่เขียนมานับ จ�ำนวนค�ำที่เป็นแง่บวก (positive) กับค�ำที่ เป็นแง่ลบ (negative) แล้วเขาก็เอามาแยก
เป็ น แม่ ชี ที่ มี ค วามสุ ข กั บ แม่ ชี ที่ ไ ม่ ค ่ อ ยมี ความสุข ทีมวิจัยก�ำหนดให้การใช้ชีวิตของ แม่ชีทั้งสองกลุ่มเหมือนกันทุกอย่าง กิน ข้าวเวลาเดียวกัน ใช้ชวี ติ ทุกอย่างเหมือนกัน หมดเลย ผลสรุปของงานวิจัยนี้บอกชัดเจน เลยว่า แม่ชที มี่ คี วามสุขจะมีอายุอยูน่ านกว่า อีกกลุ่มหนึ่งหลายปี ฉะนั้นความสุขสามารถวัดได้จริงๆ เราก็สามารถน�ำเอาพวกปัจจัยต่างๆ ที่เรา ให้กลุ่มแม่ชีมาวัดเป็นข้อมูลได้ว่าอะไรบ้าง ที่ท�ำให้คนเรามีความสุข อย่างเงินทองอาจ จะท�ำให้คนเรามีความสุขจริงๆ รึเปล่า? สิ่ง ที่ท�ำให้คนมีความสุขมากกว่ากลับไม่ใช่เงิน แต่เป็นการที่เรามีเงินมากกว่าคนอื่น ไม่ใช่ ตัวเงินเอง ตัวเงินมีค่าความสุขน้อยมากเมื่อ เทียบกับอย่างอื่น อนุมานวสาร เราสามารถวัดความสุขออก มาเป็นตัวได้ ภายใต้ความสุขที่ถูกก�ำหนด ขึ้นมา ดร.ณั ฐ วุ ฒิ ภาษาทางเศรษฐศาสตร์ ไ ม่ สามารถวัดค่าความรู้สึกอย่างแบบค่าของ การแต่งงาน ค่าของเพื่อน ค่าของความรัก เรือ่ งนีเ้ ป็นเรือ่ งทีว่ ดั ไม่ได้ เราอาจจะสามารถ เทียบค่าทางเศรษฐกิจได้ อย่างถ้าแฟนของ เราเสียชีวิตโดยอุบัติเหตุ แล้วเราก็ต้องไป ขึ้นศาล ต้องเสียค่าใช้จ่ายเรื่องต่างๆ อย่าง นี้ก็พอจะตีค่าเป็นตัวเลขได้ แต่ความทุกข์ ที่เราได้มาก็ไม่สามารถเอาไปเปรียบเทียบ ได้เลย anuman-online.com
เราจะท�ำอย่างไร กันได้บ้าง ที่จะท�ำให้เด็กโตขึ้นมา มีสุขภาพจิตที่ดี จะได้มีความสุข กับชีวิตมากขึ้น
อนุ ม านวสาร เศรษฐศาสตร์ ค วามสุ ข นี้ สามารถเอาไปใช้ท�ำอะไรได้บ้าง? ดร.ณั ฐ วุ ฒิ เรื่ อ งนี้ มี ป ระโยชน์ ทั้ ง ในแง่ ส่วนตัวและด้านนโยบายสาธารณะ ตอนนี้ ประเทศแต่ละประเทศ เราจะเก็บค่า GDP (Gross Domestic Productivity) เพื่อน�ำ มาวัดว่าความส�ำเร็จของแต่ละประเทศว่าอยู่ ตรงไหนในโลก แต่จะเอา GDP ไปวัดความ ส�ำเร็จของแต่ละประเทศอย่างเดียวไม่ได้ เพราะ GDP ไม่ได้แสดงให้เห็นถึงคุณภาพ ชีวิตของคน บางประเทศอาจจะมี GDP สูง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคนในประเทศนั้นๆ จะมีชีวิตที่ดีขึ้นหรือมีความสุขมากขึ้น
ตอนนี้ ผ มท� ำ วิ จั ย ที่ พ ยายามหาว่ า อะไรบ้างที่เป็นตัวแปรความของความสุขทั้ง ชีวิต เราพยายามจะดูตั้งแต่เด็กเลยว่าอะไร ที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตเด็กบ้าง แล้วดูว่า ผลลัพธ์จะเป็นยังไง เราจะท�ำอย่างไรกันได้ บ้างทีจ่ ะท�ำให้เด็กโตขึน้ มา มีสขุ ภาพจิตทีด่ จี ะ ได้มีความสุขกับชีวิตมากขึ้น การมีความสุข ก็ย่อมส่งผลต่อการท�ำงานที่ดีขึ้น แต่เงินไม่ได้ท�ำให้เรามีความสุขมาก ขนาดนั้น เรามักจะเข้าใจว่าเงินท�ำให้เรามี ความสุขมาก ถึงแม้ว่าเราจะคิดว่าเงินท�ำให้ เรามีความสุข ผมจะอธิบายให้ฟังว่าท�ำไม คนส่วนใหญ่ถึงคิดว่าเงินท�ำให้มีความสุข เพราะว่าเวลาเราคิดถึงค่าของเงิน อย่าง ผมมีเงินหนึ่งล้าน ผมก็จะเอามาคิดว่าจะ เอาเงินไปซื้ออะไรได้บ้าง ผมจะใช้ชีวิตยัง ไงบ้าง คือ เราแค่คิดว่าเรามีเงินหนึ่งล้าน เราก็ มี ค วามสุ ข แต่ ก ว่ า เราจะมี เ งิ น หนึ่ ง ล้ า นบาทได้ เ ราก็ ต ้ อ งท� ำ งานหนั ก ต้ อ ง ท� ำ งานดึ ก ทุ ก วั น ไม่ ไ ด้ เ จอแฟน ไม่ ไ ด้ เจอเพื่ อ น เรื่ อ งพวกนี้ เ ป็ น ความทุ ก ข์ ทัง้ นัน้ แต่พอมีเงินหนึง่ ล้านปุบ๊ เราลืมคิดไป เลยว่ากว่าจะได้มาหนึง่ ล้านเนีย่ ชีวติ ของเรา ต้องเปลี่ยนไปขนาดไหน สิ่ ง ที่ เ ราท� ำ อยู ่ ต ลอดเวลาในชี วิ ต ประจ�ำวันเป็นสิ่งที่มีผลต่อความสุขมากกว่า การถูกลอตเตอร์รี่หรือการได้เงินมาหนึ่ง ล้าน เพราะเราให้ความสนใจกับเรือ่ งในชีวติ ประจ�ำวันมากกว่าอยู่แล้ว
อนุ ม านวสาร ท� ำ ไมถึ ง ไม่ ก ลั บ มาสอนที่ เมืองไทย? ดร.ณัฐวุฒิ ผมเห็นความส�ำคัญเรื่องการ ศึกษาที่เมืองไทยมาก พูดตรงๆ เลยว่าการ ศึกษาเมืองไทยแย่มากๆ ตัง้ แต่ระดับอนุบาล จนถึงมหาวิทยาลัย วันก่อนผมได้คุยกับ คนที่อยู่กระทรวงศึกษาธิการ เขาบอกว่า ค่ า ใช้ จ ่ า ยการศึ ก ษาเมื อ งไทยเที ย บเป็ น เปอร์เซนต์ของ GDP ถือว่าสูงกว่าประเทศ อื่นๆ แต่ท�ำไมคุณภาพถึงต�่ำมาก ผมเลย นึ ก ถึ ง เรื่ อ งที่ พ ่ อ ของผมเคยเล่ า ให้ ฟ ั ง ว่ า ประเทศไทยไม่เจริญเพราะว่าเงินเดือนครูตำ �่ ผมก็ถามว่าท�ำไม? พ่อก็บอกว่าเวลาถาม เด็กๆ ว่าโตขึ้นมาอยากเป็นอะไร? ส่วนมาก ก็ตอบว่าจะเป็นหมอเป็นวิศวกร ทีต่ อบว่าจะ เป็นครูน้อยมาก ก็เพราะเงินเดือนของครู น้อย แถมงานก็หนัก และต้องคอยเอาใจเด็ก คนที่ มี ค วามสามารถก็ ไ ปเลื อ ก ท� ำ อาชี พ อื่ น ๆ อาชี พ ครู ก็ ไ ด้ ค นที่ มี ค วาม สามารถต�่ำลงมาหน่อย ทั้งๆ ที่อาชีพนี้เป็น อาชีพที่ส�ำคัญเกือบจะที่สุดส�ำหรับอนาคต ของชาติ เราควรจะต้องเพิ่มเงินเดือนให้กับ ครูทั่วประเทศ เพื่อที่จะจูงใจคนที่มีความ สามารถให้เข้ามาเป็นครู หลายๆ คนเคย มาถามผมว่าท�ำไมคุณไม่กลับมาช่วยชาติ? ท�ำไมคุณไม่มาสอนที่เมืองไทย? ท�ำไมคุณ ไม่มาท�ำวิจัยที่เมืองไทย? ผมก็ได้แต่คิด กลับไปว่า ท�ำไมเขาถึงไม่เห็นคุณค่าของผม บ้าง ท�ำไมเรียกร้องความรักชาติ ความรัก สถาบัน ให้ผมกลับมาแล้วจะให้ผมอยู่ได้ anuman-online.com
70
เรือนจาก
ยังไง อยูเ่ มืองนอกเขาเห็นคุณค่าของผม เขา เลยยอมจ่ายให้ตามทีผ่ มสมควรจะได้รบั จะ ให้เท่ห์แต่กินไม่ได้ ผมก็คงไม่ไหว คุณค่าของผมไม่ได้อยู่ที่รายได้อย่าง เดียว อยูท่ กี่ ารแข่งขันด้วย เพราะการแข่งขัน จะเป็นการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาผลงาน ด้วย ผมรู้จักเด็กที่ได้รับทุนอานันทมหิดล หลายคน พอจบแล้วแต่ไม่กลับมาเมืองไทย ผมเข้าใจว่าท�ำไม เพราะถ้ากลับมาก็ไม่รู้จะ ท�ำอะไร อย่างผมจบเศรษฐศาสตร์มาก็อาจ จะให้ผมไปสอนเลขธรรมดา สิ่งที่ผมเรียน มา สิ่งที่ผมท�ำวิจัยมาก็เสียเปล่า ผมเคยบอกเด็กนักเรียนของผมว่า ผมไม่ใช่คนเรียนเก่ง ไม่เคยถือใบคะแนน แต่ว่าผมก็ประสบความส�ำเร็จ เพราะว่า ผมได้ ไ ปเห็ น โลกกว้ า งแล้ว ก็ได้รับ โอกาส เหมือนอย่างที่อาจารย์เคยบอกผมว่า “คุณ เป็นคนเดียวในโลกที่ท�ำเรื่องนี้นะ” อาจารย์ ของผมไม่ได้บอกว่าคุณไม่ควรท�ำ แต่กลับ เกิดขึ้นได้อย่างไร? ผมว่ า เราต้ อ งแก้ ป ั ญ หาตรงที่ จะ สนับสนุนให้ด้วยการบอกว่า “คุณท�ำได้” ต้องมีสักรุ่นหนึ่งที่ยอมรับว่าสิ่งที่เคยเกิดขึ้น อนุมานวสาร มีทางไหนทีพ่ อจะเอามาแก้ไข กับเรา ไม่จ�ำเป็นที่จะต้องเกิดขึ้นกับเด็กรุ่น ต่อไปก็ได้ สิ่งที่เราเชื่อเป็นแค่สิ่งที่เราได้รับ เรื่องไม่ดีในโรงเรียนได้บ้าง? ดร.ณัฐวุฒิ ผมก็เคยคิดเหมือนกันว่าผม มาต่อเนื่องและเราก็ท�ำซ�้ำสิ่งเหล่านั้นต่อไป ไม่ควรจะเล่าเรื่องบางเรื่องที่เกิดขึ้นกับผมที่ เรื่อยๆ เราต้องดูอย่างระบบที่อังกฤษ ที่นั่น วชิราวุธฯ เพื่อนๆ ของผมอีกหลายคนที่เจอ เขาไม่มีการใช้เด็กเพราะเขาห้ามใช้เด็กโดย มาด้วยกันก็ไม่เคยเล่าเรื่องเหล่านั้น แต่เมื่อ เด็ดขาด การให้ต�ำแหน่งหัวหน้าคณะ เขา คิดดีๆ แล้ว ถ้าผมไม่เล่า โรงเรียนที่ผมรัก ก็จะระบุไปว่าอ�ำนาจของหัวหน้ามีขอบเขต ก็จะไม่มกี ารพัฒนา เพราะผมคิดว่าถ้าเราไม่ อะไรบ้าง อย่างตอนเช้าก็ต้องคอยไปเช็คดู ยอมรับสิง่ ไม่ดที เี่ กิดขึน้ ก่อน แล้วสิง่ ทีด่ ๆี จะ ว่ามีเด็กที่ใส่สูทผิดสีหรือเปล่า? เป็นอ�ำนาจ
ถามผมว่า ท�ำไมคุณไม่กลับมา ช่วยชาติ? ท�ำไมคุณไม่มา สอนที่เมืองไทย? ท�ำไมคุณไม่มา ท�ำวิจัยที่เมืองไทย? ผมก็ได้แต่คิดกลับไปว่า ท�ำไมเขาถึงไม่เห็น คุณค่าของผมบ้าง
อะไรในลักษณะนี้มากกว่า กลายเป็นว่า หัวหน้าต้องไปรับใช้เด็กเสียมากกว่าเพราะ ต้องคอยดูแลเด็กๆ การลงโทษก็ไม่มีอะไร อย่างมากก็แค่เก็บขยะอะไรอย่างนี้ละ ผม ว่าเด็กทีเ่ ป็นหัวหน้าทีว่ ชิราวุธฯ เข้าใจผิดมาก ถึงจะเจอสิ่งไม่ดีๆ หลายอย่าง แต่ ผมก็ได้รบั สิง่ ดีๆ มาจากโรงเรียนมากกว่าสิง่ ไม่ดีนะ โรงเรียนท�ำให้ผมเป็นคนดีในวันนี้ ผมเคยบอกเพื่อนๆ ว่าเวลาผมท�ำวิจัยเรื่อง ความสุข สัดส่วนของความสุขจะสัมพันธ์กบั อายุของเรา ตอนทีเ่ ราเกิดมาใหม่ๆ ความสุข ก็จะเกิดขึ้น และเริ่มสูงขึ้นตามอายุไปจนถึง ประมาณ ๒๐ กว่าๆ ความสุขก็จะเริม่ ตก ตก มาจนถึงอายุ ๔๐ กว่าๆ ความสุขก็จะค่อยๆ กลับขึน้ มาสูงใหม่ แต่ของผมความสุขมาตก
ไปต�่ำสุดตอนผมอายุ ๑๒ ช่วงที่เข้าคณะใน เป็นปีแรก และคิดว่าคงจะไม่ตกไปต�่ำกว่า นั้น ความสุขของผมเลยค่อยๆ เพิ่มขึ้นมา ตั้งแต่ตอนนั้น แต่ที่ผมเป็นแบบนี้น่าจะเป็นเพราะ ว่าผมเจอสิ่งที่ไม่ดีมาเยอะ สิ่งที่ได้มาจาก วชิราวุธฯ ส่วนใหญ่เราได้มาอย่างอ้อมๆ ผม เป็นแค่คนที่โชคไม่ค่อยดีคนหนึ่งที่ไปเจอสิ่ง ไม่ค่อยดี ผมต้องบอกตามตรงว่าวชิราวุธฯ มีสิ่งที่ไม่ดีหลายอย่าง แต่สิ่งที่ไม่ดีเหล่านั้น ก็กลายเป็นแรงผลักดันให้ความดีออกมาได้ ผมเข้าใจว่าพวกคุณท�ำหนังสือให้โรงเรียน ก็ต้องเขียนสิ่งที่ดีๆ แต่ผมก็ต้องบอกตรงๆ ตามนัน้ เพราะเราจ�ำเป็นต้องยอมรับสิง่ ทีเ่ กิด ขึ้นจริงๆ
สัมภาษณ์ อโนมา ศุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา พัฒน์ ไกรเดช ม.ล.จิรเศรษฐ ศุขสวัสดิ์ โอวี ๔๖ พรเลิศ เจียมจรัสรังษี อภิพงศ์ พงศ์เสาวภาคย์ โอวี ๗๑ ศศินทร์ วิทูรปกรณ์ กิตติเดช ฉันทังกูล โอวี ๗๓
เรียบเรียง โอวี ๗๙ ศศินทร์ วิทูรปกรณ์ โอวี ๗๙ โอวี ๗๙ ถ่ายภาพ โอวี ๗๙ สรอรรถ เลาประสพวัฒนา โอวี ๘๐
anuman-online.com
สมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย ชมรมยิงปืน โอ.วี. (สมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย ในพระบรม ราชูปถัมภ์) O.V. SHOOTING CLUB เรียนเชิญชวน พี่ๆ น้องๆ นักเรียนเก่า วชิราวุธวิทยาลัยฯ ทุกท่านสมัครเป็นสมาชิกชมรมยิงปืน วัตถุประสงค์ 1. เพื่อสนับสนุนสมาชิกในชมรมให้มีความรู้และสามารถใช้อาวุธปืน ได้ถูกต้องและปลอดภัย ในการปกป้องชีวิตและทรัพย์สิน 2. จัดกิจกรรมให้สมาชิกชมรมได้พบปะและแลกเปลี่ยนความรู้ 3. เพื่อหารายได้ในการสนับสนุนกิจกรรมเพื่อสังคมและของชมรม สนใจสมัครเป็นสมาชิกชมรมยิงปืนกรุณากรอกแบบตอบรับสมาชิกด้านล่าง และ ส่งกลับมาที่สมาคมฯ หรือทางอีเมล์ที่ oldvajiravudh@gmail.com ชื่อ นามสกุล นักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยฯ รุ่น เลขที่ หมู่ ชอย ถนน เขต แขวง จังหวัด รหัสไปรษณีย์ โทรศัพท์ e-mail
ที่อยู่ติดต่อ
โรงครัว
73
เต้าหู้ผัดพริกป่น และน่องไก่น�้ำแดง
ที่มาของสูตรอาหารหมูเต้าหู้พริกป่นนั้น สืบได้มาว่ามีมาตั้งแต่สมัย ครั้งที่ ศ.ดร.กัลย์ อิศรเสนา ณ อยุธยา เป็นผู้บังคับการ ด้วยเหตุที่สมัย นั้น ท่านผู้หญิงทินะประภา อิศรเสนา ณ อยุธยา ภรรยาของท่านเป็น อาจารย์สอนอยู่ที่วิทยาลัยเขตพระนครใต้ แล้วทางวิทยาลัยฯ ก็ได้ส่งปิ่นโต ให้กับท่านผู้หญิงฯ และผู้บังคับการอยู่เป็นประจ�ำ อาจารย์พัชรา อรณพ ณ อยุธยา(ปัจจุบนั ถึงแก่กรรมแล้ว) ซึง่ ในสมัยนัน้ เป็นลูกศิษย์ทา่ นผูห้ ญิงฯ และ เป็นคณะกรรมการครัวรวม เห็นว่าน่าจะอร่อยส�ำหรับเด็กๆ จึงให้โภชนากร ในสมัยนั้นลองปรุงให้นักเรียนรับประทานกัน ส่วนน่องไก่น�้ำแดงนั้น ก็ได้ สูตรมาจากวิทยาลัยเขตพระนครใต้เช่นเดียวกัน อนึ่งปริมาณที่ส่งมาให้นี้ เป็นสูตรที่ท�ำส�ำหรับนักเรียนทั้งโรงเรียน ไม่รู้ว่าจะลดสัดส่วนเพื่อท�ำในครัวเรือนได้อย่างไร ขอให้นักเรียนเก่าฯ ที่ อยากรับประทานลองปรับสูตรเอาเองก็แล้วกัน ครูจิตรา วุฒิโชค
anuman-online.com
74
โรงครัว
เต้าหู้ผัดพริกป่น ส่วนผสม
๑. สะโพกหมูหั่นชิ้นเล็ก ๕๐ กก. ๒. เต้าหู้ขาวแข็งหั่นลูกเต๋าเล็ก ๓๑๕ แพ็ค (๖๓๐ แผ่น ) ๓. กระเทียมกลีบเล็ก ๔ กก. ๔. พริกป่น ๑ กก. ๕. น�้ำมันพืช ๑๐ ลิตร
๖. ซอสหอยนางรม ๕ กก. ๗. รสดีไก่ ๐.๕ กก. ๘. น�้ำตาลปี๊บ ๒ กก. ๙. เกลือป่น ๐.๕ กก. ๑๐. ซีอิ้วขาว ๒ กก.
หมายเหตุ - (สูตรส�ำหรับรับประทาน ๑,๐๐๐ คน)
๑ เต้าหู้ที่น�ำไปผัดกับเครื่องปรุง
๒ น�ำเต้าหู้ที่ผัดค้างคืนไว้ ลงผัดรวมกันกับเนื้อหมู
๓ พร้อมส่ง ไปเสิร์ฟทุกคณะ
วิธีท�ำ
๑. น�ำเต้าหู้แผ่นมาหั่นเป็นชิ้น ๒. ตั้งกะทะใส่น�้ำมันเปิดไฟให้น�้ำมัน ร้อนปานกลาง น�ำเต้าหู้ลงทอดให้ เหลือง ๓. ตักเต้าหู้พักให้แห้งน�้ำมัน ๔. ตั้ ง กะทะใส่ น�้ ำ มั น เล็ ก น้ อ ย น� ำ พริกป่นลงผัด เติมน�้ำตาลปี๊บ ซอส หอยนางรม ซีอิ้วขาว รสดีไก่ เกลือ เล็กน้อย ๕. ผั ด เครื่ อ งปรุ ง ให้ เ ข้ า กั น ดี เติ ม น�ำ้ เปล่า น�ำเต้าหูท้ ที่ อดเตรียมไว้ลง ผัดกับเครื่องปรุง ผัดเคี่ยวไฟอ่อนๆ จนเต้าหู้นุ่มเข้าเครื่องดีแล้ว ตักขึ้น จากกะทะ (เต้าหู้ต้องผัดค้างคืนไว้ เครื่องปรุงจะได้เข้าเนื้อ จึงจะได้ รสชาติที่อร่อย) ๖. เช้าวันใหม่ เติมน�้ำมันเล็กน้อย น�ำ กระเทียมบดลงผัดให้เหลืองหอม น� ำ หมู หั่ น ลงผั ด เติ ม ซอสหอย น�้ำตาลทราย ซีอิ้วขาว รสดีไก่ ผัด ให้หมูสกุ น�ำเต้าหูท้ ผี่ ดั ค้างคืนไว้ลง ผัดรวมกันกับหมู ผัดจนหมูนุ่ม ๗. เต้าหู้นุ่ม ชิมรสชาติ ถ้าแห้งก็เติม น�้ำซุป (น�้ำต้มกระดูกหมู) เพื่อให้ มีนำ�้ คลุก จะได้มนี ำ�้ ส�ำหรับคลุกข้าว
anuman-online.com
โรงครัว
น่องไก่น�้ำแดง ส่วนผสม
๑. น่องไก่ (ขนาดใหญ่) ๑,๓๕๐ ชิ้น ๒. เนยจืด ๑๕ กก. ๓. แป้งข้าวโพด ๔ กก. ๔. ซอสมะเขือเทศ ๓๕ กก. ๕. น�้ำตาลทราย ๔ กก. ๖. เกลือป่น ๑ กก. ๗. รสดีไก่ ๑.๕ กก. ๘. น�้ำเปล่า ๗๐ กก.
ี
้ท จนได ุ ง ร ป ิแล้ว
ต ชา
หมายเหตุ - (สูตรส�ำหรับรับประทาน ๑,๐๐๐ คน)
๒.๑
นำน น่องไกไ่ ปท อด ให้ส
ุกพ
๒.๓ พอน่อง ไกส่ กุ ตกั ช ิมร ส
76
อป ระม าณ
เ นกั บ งไป เ้ ศให ือเท อดแ ะเข ่ที่ท สม ไก ซอ สน่ อ่ ง ใ ล้ว
๒.๒ ค แ น
ข ลว้ า้ กั ล
นย
วิธีท�ำ
๑. น�ำน่องไก่ที่เตรียมไว้ไปทอดให้สุก พอประมาณ ๒. เปิดเตาใส่เนยลงไป คนให้เนย ละลาย คนซอสมะเขือเทศให้เข้า กันกับเนย และใส่น�้ำเปล่า คนให้ เข้ากับซอส และเครื่องปรุงรส ๓. เติมรสดี น�้ำตาลทราย เกลือป่น พอเดือดน�ำน่องไก่ที่ทอดแล้วลง เตา แล้วคนเบาๆ ระวังเละ พอ น่องไก่สุก ตักชิมรสชาติ แล้วน�ำ แป้งข้าวโพดละลายกับน�้ำ คนให้ แป้งละลายเข้ากันดี เทลงไปให้ น�้ำข้น
anuman-online.com
78
สัมภาษณ์พิเศษ
Malcolm Hossick ถือเป็นความโชคดีของทีมงานอนุมาน วสารทีไ่ ด้มโี อกาสนัง่ พูดคุยกับ ครูมลั คอมม์ ฮอสซิค (Malcolm Hossick) อดีตครูสอน ภาษาอังกฤษของโรงเรียนเมือ่ ประมาณกว่า ๓๐ ปีที่แล้ว เนื่องจากบทสนทนาในวันนั้น มีประเด็นเกี่ยวข้องกับระบบการศึกษาของ ประเทศไทยและของโรงเรียนวชิราวุธฯ ที่ น่าสนใจอยู่หลายเรื่อง ทางทีมงานจึงได้ เรียบเรียงบทสนทนาในวันนั้นออกมา เพื่อ เป็นการบันทึกประสบการณ์และแนวคิด ของครูมัลคอมม์ รวมไปถึงเพื่อเก็บไว้เป็น ส่วนหนึ่งในประวัติศาสตร์ของโรงเรียนจาก มุมมองครูชาวอังกฤษผู้นี้
จุดเริ่มต้นสู่เมืองไทย
ขอเล่าย้อนกลับไปในครัง้ แรกทีผ่ มได้ มาเป็นครูทวี่ ชิราวุธฯ ในตอนนัน้ ผมเพิง่ เรียน จบปริญญาตรีจากแคมบริจด์ (University of Cambridge) และเผอิญว่ามีอาจารย์ท่าน หนึ่งที่เพิ่งเดินทางกลับมาจากประเทศจีน และได้ ม าสอนที่ ม หาวิ ท ยาลั ย ของผม อาจารย์ท่านนี้ได้เขียนหนังสือเล่าเรื่องเกี่ยว กับเมืองจีนเพื่อถ่ายทอดประสบการณ์กว่า ๑๐ ปี และผมก็ได้พบกับอาจารย์ท่านนี้โดย บังเอิญ ผมจ�ำหน้าเขาได้จากรูปถ่ายของเขา ตอนทีไ่ ปใช้ชวี ติ ในเมืองจีน ผมจ�ำได้วา่ ตัวเอง ตืน่ เต้นมากเมือ่ ได้อา่ นหนังสือเกีย่ วกับเอเชีย ที่ประเทศอังกฤษในช่วงยุคปี ๑๙๕๐ แทบ
anuman-online.com
80
สัมภาษณ์พิเศษ
จะไม่มีคนอังกฤษคนไหนที่รู้เรื่องราวเกี่ยว กับประเทศไทยเลย ในช่วงเวลาเดียวกัน ผม ก็ได้สมัครเข้ารับราชการทหารในกองทัพบก ของอังกฤษ ซึง่ ผมต้องรับใช้กองทัพอยู่ ๒ ปี และผมก็ได้รับการติดยศเป็นทหารสัญญา บัตรของหน่วยที่เรียกว่า “Royal Crops of Signal” (หน่วยทหารสื่อสารของกองทัพบก อังกฤษ)ทีผ่ มได้รบั คัดเลือกให้เป็นนายทหาร ในหน่ ว ยนี้ ก็ เ พราะผมมี ค วามชื่ น ชอบใน เรื่องเทคโนโลยีและการบันทึกภาพวิดีทัศน์
สัญลักษณ์ของหน่วย Royal Corps of Signal
ที่หน่วยงานนี้ ผมมีหน้าที่สอนทหาร เกณฑ์ ที่ เ พิ่ ง เข้ า ใหม่ โดยต้ อ งสอนเรื่ อ ง โรคติดต่อทางเพศ ผมต้องคอยเตือนให้ ทหารหนุ ่ ม เหล่ า นั้ น ระวั ง ไม่ ใ ห้ ไ ปมี เ พศ สั ม พั น ธ์ ม ากเกิ น ไป ผมเคยอ่ า นหนั ง สื อ เล่มหนึ่งที่บรรยายเกี่ยวกับโรคติดต่อทาง เพศ ในหนั ง สื อ เล่ ม นั้ น ก็ มี ภ าพประกอบ ที่น่าสยดสยองมาก ผมเลยเอาภาพจาก หนังสือเล่มนี้ไปฉายแสดงบนก�ำแพงผ่าน เครื่องโปรเจคเตอร์ให้ทุกๆ คนดู และนั้นก็ คือประสบการณ์สอนครัง้ แรกในชีวติ ของผม ผมมีช่วงเวลาที่ดีมากตอนเป็นทหาร แต่ช่วงเดือนพฤศจิกายนที่ประเทศอังกฤษ นั้นเป็นช่วงเวลาที่หนาวและมืดมาก คล้าย กั บ ว่ า เป็ น ตอนกลางคื น อยู ่ ต ลอดทั้ ง วั น บรรยากาศแบบนั้นท�ำให้ผมรู้สึกอยากจะ ออกเดินทางไปท่องเทีย่ วทัว่ โลก ปัญหาก็คอื แล้วผมจะท�ำตามความฝันนั้นได้อย่างไร? วั น หนึ่ ง ผมก็ อ ่ า นเจอโฆษณารั บ สมัครงานในหนังสือพิมพ์ว่าเปิดรับสมัคร คนที่สนใจไปสอนเด็กนักเรียนที่โรงเรียนใน กรุงอิสตันบูล ประเทศตุรกี ถึงแม้ประเทศ ตุรกีจะไม่ใช่ประเทศในแถบเอเชียตะวันออก ก็ ต าม แต่ ก็ ไ กลพอที่ จ ะท� ำ ให้ ผ มได้ เ ดิ น ทางออกจากอั ง กฤษและผมก็ ไ ม่ เ คยไปที่ ประเทศนี้มาก่อน ผมเลยลองยื่นใบสมัคร งานนี้และก็ได้งานตามความตั้งใจ คนที่ จ ้ า งผมบอกว่ า ผมมี เ วลา เตรียมตัวก่อนจะเดินทางไปประเทศตุรกี เพียง ๒ สัปดาห์เท่านั้น ผมจึงต้องไปที ่
กรุงลอนดอนเพือ่ พบศาสตราจารย์ทา่ นหนึง่ ทีม่ หาวิทยาลัยแห่งลอนดอน (University of London) เพราะเขาคือคนที่จะสอนผมให้ รู้จักวิธีการสอนภาษาอังกฤษตั้งแต่เริ่มต้น ตลอดจนวิธีการสอนอย่างไรให้ผู้เรียนเข้าใจ ภาษาอังกฤษได้ทะลุปรุโปร่ง ไม่กี่วันก่อนที่ผมจะต้องเดินทาง ผม ก็ได้ข่าวว่ามีการปฏิวัติที่ประเทศตุรกี ซึ่ง คงจะไม่ดเี ท่าไรก็ทจี่ ะต้องไปตุรกีในช่วงเวลา นัน้ และก็บงั เอิญว่ามีคนมองหาใครสักคนไป สอนภาษาอังกฤษให้แก่พระราชโอรสและ พระราชธิดาของพระมหากษัตริย์ไทย แน่นอนว่าผมตอบ “ตกลง” โดยไม่ ต้องสงสัย
ถวายพระอักษรแด่เจ้าฟ้าชายฯ
ผมได้ เ ข้ า เฝ้ า สมเด็ จ เจ้ า ฟ้ า ชายฯ เป็นครั้งแรก ท่านเพิ่งมีพระชนมายุได้เพียง ๗ พรรษาเท่านั้น ผมสอนท่านเพียงล�ำพัง เป็นประจ�ำทุกอาทิตย์ แต่ผมก็ต้องพบกับ อุปสรรคตั้งแต่เริ่มต้น เนื่องจากจะมีนาง พยาบาล ๒-๓ คน คอยติดตามดูแลท่าน อยู่อย่างใกล้ชิดตลอดเวลา แม้กระทั่งเวลา ที่ท่านจะต้องมานั่งเรียนกับผมในห้องโถง ภายในพระราชวังสวนจิตรลดา นางพยาบาล เหล่านัน้ ก็จะต้องนัง่ เฝ้าอยูท่ ปี่ ระตู และผมก็ สังเกตเห็นว่าพระองค์ทา่ นทรงมีความเขินอาย ที่ตรัสเป็นภาษาอังกฤษกับผม ดังนั้นผมจึง ขอเข้าเฝ้าพระเจ้าอยูห่ วั ฯ เพือ่ กราบบังคมทูล anuman-online.com
82
สัมภาษณ์พิเศษ
ขอให้บรรดานางพยาบาลเหล่านั้นอยู่ห่าง จากเจ้าฟ้าชายในระหว่างที่ท่านก�ำลังทรง พระอั ก ษรในห้ อ งเรี ย น ขอให้ อ ยู ่ ห ่ า งใน ระยะทีพ่ วกนางพยาบาลจะไม่เห็นหรือได้ยนิ เสียงการสนทนาระหว่างผมกับเจ้าฟ้าชาย พระเจ้าอยู่หัวฯ ก็ทรงอนุญาตตามนั้น ไม่นานหลังจากนั้น เจ้าฟ้าชายฯ ก็ ทรงเรียนภาษาอังกฤษได้ดขี นึ้ มาก พระองค์ กล้าทีจ่ ะตรัสเป็นภาษาอังกฤษและทรงท�ำได้ อย่างยอดเยีย่ ม พระองค์เป็นเด็กหนุม่ ทีน่ า่ รัก มาก พระองค์ ช อบมานั่ ง บนตั ก ของผม ระหว่างที่เรียน บางครั้งพอผมเดินเข้ามาใน ห้องเรียนท่านก็มักวิ่งหลบไปหาที่ซ่อนเพื่อ ชวนให้ผมเล่นซ่อนหาด้วยกัน ในระหว่างที่ผมได้ถวายการสอนแด่ เจ้าฟ้าชายฯ นั้น ผมไม่เคยได้ใช้รูปแบบ การเรียนการสอนแบบปกติเลยแม้แต่ครั้ง เดียว ผมใช้วิธีการสอนผ่านการเล่นเกมส์ รูปแบบต่างๆ เรายังเคยเรียนภาษาอังกฤษ โดยใช้อปุ กรณ์ทดลองวิทยาศาสตร์มาท�ำการ ทดลองกันจริงๆ จนมีควันพุง่ ออกมา บางครัง้ เราพากันไปตีกอล์ฟ พายเรือในสระหรือ แม้แต่การท�ำขนมสโคน คุ้กกี้ หรือเค้ก จน ไปถึงการสร้างบ้านบนเกาะกลางน�้ำที่อยู่ ตรงกลางของสระในพระราชวังสวนจิตรลดา และเรายั ง เคยทู ล เชิ ญ พระราชิ นี ร ่ ว ม พระสุธารสชายามบ่ายด้วย ทัง้ หมดนีก้ ค็ อื วิธี การสอนภาษาอังกฤษที่ผมได้น�ำมาใช้ถวาย การสอนเจ้าฟ้าชายฯ
ผมได้ ถ วายการสอนแก่ พ ระองค์ จนกระทั่ ง ทรงมี พ ระชนม์ ๑๔ พรรษา ส�ำหรับผมแล้วเจ้าฟ้าชายฯ ยังคงทรงเป็น เด็กหนุ่มที่น่ารักมากที่สุดส�ำหรับผม
เริ่มงานที่วชิราวุธฯ
ผมมาสอนที่ ว ชิ ร าวุ ธ วิ ท ยาลั ย ได้ ก็ เพราะสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเป็นผู้จ้าง ให้ผมมาสอน แม้ในช่วงแรกผมจะถูกว่าจ้าง โดย British Council แต่หลังจากนัน้ พระเจ้า อยู่หัวฯ ก็ทรงว่าจ้างผมให้มาสอน ผมคิ ดว่ าการที่ ได้ ม าสอนนั กเรี ยน วชิราวุธฯ เป็นเวลานานกว่า ๕ ปี ท�ำให้ตัว ผมเองนั้นเติบโตขึ้นไปพร้อมๆ กับพวกเขา ด้วยเช่นกัน พวกนักเรียนที่กลับบ้าน ก็ไป เล่าให้พ่อแม่ฟังว่าที่โรงเรียนมีครูฝรั่งแล้ว ผมไปสอนภาษาอังกฤษให้นักเรียนชั้น ม.๓ และก็ตามไปสอนพวกเขาจนถึง ม.๔ - ม.๕ นักเรียนวชิราวุธฯ ทีอ่ ยูใ่ นความทรงจ�ำ ของผมก็มี บันเทิง ตันติวิท (โอวี ๓๖) และก็ ประทักษ์ ประทีปะเสน (โอวี ๓๓) ประทักษ์เป็นคนทีม่ คี วามสามารถด้านดนตรี สูงมาก สามารถเป็นผู้อ�ำนวยการเพลงวง จุลดุรยิ างค์ได้ ผมจ�ำได้วา่ มีอยูว่ นั หนึง่ หลังจาก การแสดงเสร็จ ผมเก็บโน้ตเพลงโซนาต้า และยื่นไปให้เขาเพื่อให้ลองเล่นให้ฟัง ผม ยังจ�ำความไพเราะของเพลงนั้นได้ ตอนนั้น ด้านหลังคณะผู้บังคับการมีอาคารไม้ตั้งอยู่ ผมไปที่นั่นอยู่บ่อยๆ เพราะเป็นสถานที่ที่ได้ ปลีกตัวออกห่างจากผูค้ นในโรงเรียน แต่เมือ่
เด็กๆ ไปทีน่ นั่ เพือ่ ซ้อมดนตรี ก็มเี สียงดนตรี ขาดๆ เกินๆ เข้ามาแทนบรรยากาศเงียบๆ แต่แล้ววันหนึ่งผมก็ได้ยินเสียงเพลงบรรเลง ของประทักษ์ ผมรู้เลยว่าเขาโตขึ้นจะเป็น นักดนตรีที่เก่งมากคนหนึ่ง ช่วงเวลาที่ผมเป็นพระอาจารย์สอน อยู่ในพระราชวังสวนจิตรลดาและมาสอนที่ วชิราวุธวิทยาลัย เป็นช่วงที่ผมได้ถ่ายทอด สิ่งต่างๆ ไปเยอะมาก แต่ผมก็ได้รบั หลายสิง่ กลับมาเช่นกัน โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าฯ ผมชื่นชอบพระองค์ท่าน เป็นอย่างยิ่ง คนที่ไม่เคยได้รู้จักเรื่องของ
พระองค์จริงๆ ก็จะไม่ซาบซึง้ ถึงสิง่ ทีพ่ ระองค์ ท่านได้ท�ำไปเพื่อประเทศไทยเลย พระองค์ ท่านมีความรู้ความเข้าใจในทุกๆ เรื่องของ ประเทศไทยมากกว่าคนอื่นๆ ผมตามอ่าน ผลงานประพันธ์ทุกอย่างที่ท่านประพันธ์ไว้ เป็นภาษาอังกฤษในห้องสมุดของวชิราวุธฯ นี่เอง ผมเลยได้รู้เรื่องเกี่ยวพระองค์ท่าน เป็นอย่างดีและทราบว่าอะไรคือจุดประสงค์ ทีพ่ ระองค์ทา่ นทรงก่อตัง้ วชิราวุธวิทยาลัยขึน้ ส่วนอนาคตของโรงเรียนก็ต้องขึ้นอยู่กับมือ ของพวกคุณที่จะก�ำหนดเอง
เพลงของโรงเรียน
เพลงในหนังสือสวดมนต์ที่มีชื่อของ ผม เป็ น เพลงที่ ผ มแต่ ง เนื้ อ ร้ อ งขึ้ น มาให้ อย่างเดียวเท่านั้นนะ ผมไม่ได้แต่งท�ำนอง เพลง จริงๆ แล้วผมเองก็จ�ำเรื่องเกี่ยวเพลง ที่ ผ มเขี ย นในหนั ง สื อ สวดมนต์ ไ ม่ ค ่ อ ยได้ แล้วเพราะนานมาแล้วเหลือเกิน (เพลงที่ครู มัลคอล์มประพันธ์ไว้ให้แก่โรงเรียน อาทิเช่น เพลง Stand in Remembrance และเพลง A Hymn in Memory of King Vajiravudh – กองบรรณาธิการ) หลายๆ คนอาจจะชอบ เพลง Vajiravudh Good Bye แต่ผมกลับ ชอบเพลงมหาวชิราวุธมากกว่า ผมคิดว่า เพลงนี้เป็นเพลงที่มีความไพเราะมาก ผมเข้าใจว่าครูชาวสเปนที่ชื่อว่า ริโก้ (F.Rico) เป็นคนที่แต่ง Vajiravudh Good Bye ผมจ�ำได้ว่าครั้งแรกที่ได้พบกับครูริโก้ ครูเขาดูคอ่ นข้างมีอายุแล้ว แต่กย็ งั ใช้ชวี ติ กับ anuman-online.com
84
สัมภาษณ์พิเศษ
ภรรยาชาวไทยและพักอาศัยในบ้านทีต่ ดิ กับ คณะเด็กเล็กสาม
เจ้าคุณภะรตฯ
ตอนทีผ่ มเข้าไปสอนทีว่ ชิราวุธฯ ท่าน เจ้าคุณภะรตราชาอายุ ๗๕ ปี ท่านไม่เห็นว่า อายุเป็นเรือ่ งส�ำคัญ ท่านเป็นคนทีอ่ ธั ยาศัยดี และเป็นคนทีท่ ำ� ให้ผมสนุก ใครๆ ในโรงเรียน ก็กลัวท่านไปหมด แต่ผมกลับมองว่าท่าน เป็ น เหมื อ นพ่ อ ผมมั ก จะมี นั ด จิ บ น�้ ำ ชา ยามบ่ายกับท่านอยู่ทุกวัน และเราก็พูดคุย เรื่องต่างๆ ในชีวิต เรื่องช่วงชีวิตตอนที่ท่าน อยูใ่ นโรงเรียนประจ�ำทีอ่ งั กฤษ ท่านเป็นคนที่ มีความรูม้ ากจริงๆ ท่านรูเ้ รือ่ งประวัตศิ าสตร์ ของไทยอย่างดีเยี่ยม และก็ดูเหมือนว่าท่าน จะรู้จักคนทุกคนในประเทศไทยด้วย ท่านให้เกียรติกับผมมาก ถึงขั้นที่ อนุญาตให้ผมใช้หอประชุมเป็นสถานที่จัด งานแต่งงาน และยังให้ยืมของใช้ต่างๆ เพื่อ รัฐมนตรีอีกนะ ผมท�ำงานกับ BBC อยู่ มาจัดงานอีกด้วย ประมาณ ๗ ปี ผมจึงเริ่มเข้าใจว่าตัวผมไม่ ชอบท�ำงานกับบริษทั ใหญ่ๆ ผมเลยตัดสินใจ กลับอังกฤษ ลาออกมาเป็นฟรีแลนซ์ ตอนนั้นก็เป็นเรื่อง ช่วงเวลา ๗ ปีแรกในเมืองไทย เป็น ที่ อั น ตรายมาก เพราะเราจะไม่ มี ใ ครมา ช่วงเวลาทีพ่ เิ ศษมากส�ำหรับชีวติ ของผม แต่ สนับสนุนตลอดเวลา แถมยังต้องใช้เงินส่วน ตอนนั้นผมก็คิดถึงบ้านแล้ว ผมจึงตัดสินใจ ตัวมาลงทุนกับงานที่ท�ำอีกต่างหาก เดินทางกลับบ้านที่อังกฤษ ที่อังกฤษผมได้ ใครก็ตามที่ต้องการจะมีชีวิตที่การ ไปเป็นผู้ผลิตรายการให้กับส�ำนักข่าว BBC ท�ำงานและชีวิตส่วนตัวสมดุล คุณก็ต้อง ซึ่งเป็นงานที่ดีมากส�ำหรับผม เพราะผม เริ่มค้นหาหนทางที่ว่านั้นและเริ่มต้นที่จะ เป็นคนที่ชอบลงมือท�ำเอง ผมว่าผมมีความ ใช้ชีวิตในแบบที่คุณเลือกด้วยความเป็นตัว สุขกับงานที่ผมท�ำมากกว่าการได้เป็นนายก ของตัวเอง
ผมเคยสร้ า งหนั ง อยู ่ ๒ เรื่ อ งที่ เชียงใหม่ และยังมีโครงการอีกมากมาย ที่อยากท�ำ สิ่งเดียวที่จะมาหยุดยั้งผมจาก การท�ำงานได้คงเป็นความตาย หรือไม่ก็ ต้องเป็นโรคสมองเสื่อมและสูญเสียความ ทรงจ�ำไปก่อน หนังที่ผมท�ำนั้น ไม่ใช่หนังที่คนส่วน ใหญ่ในโลกสนใจจะดูหรอก ผมไม่อยากท�ำ หนังประเภททีว่ า่ ตัวละครออกมาฆ่ากันตาย หรือยิงกันตลอดเรื่อง ผมสนใจท�ำหนังที่จะ ท�ำให้คนดูเก็บไปคิดได้ ผมเลยท�ำหนังได้ เพียง ๑ เรื่องจาก ๒ เรื่องที่ตั้งใจไว้ เพราะ ผมต้องเขียนบทและก�ำกับด้วยตัวเอง เมื่อ ผมถังแตก ผมก็จ�ำเป็นต้องหาเงินมากขึ้น และผมก็มีครอบครัวที่ต้องเลี้ยงดู ผมก็เลย อาจจะต้องอยูห่ า่ งจากครอบครัวเป็นบางครัง้ เพราะฉะนั้น พวกคุณต้องใช้เวลา ของคุณให้เต็มที่ ยังไม่ต้องรีบแต่งงาน โครงการต่อไปของผมก็คือการท�ำ หนั ง เกี่ ย วกั บ คนสก็ อ ตคนหนึ่ ง ที่ เ กิ ด และ เติ บ โตในเมื อ งเล็ ก ๆ ใกล้ กั บ เมื อ งดั น ดี (Dundee) ที่ ผ มเกิ ด เมื อ งที่ ว ่ า นี้ ชื่ อ ว่ า เคิร์กเคลาดี้ (Kirkcaldy) เมืองแห่งนี้เป็น สถานที่ เ กิ ด ของคนที่ ชื่ อ ว่ า อดั ม สมิ ท ธิ์ (Adam Smith) ผมอยากจะท�ำหนังเกี่ยว กับแนวคิดของ อดัม สมิทธ์ เพราะเขาเป็น คนที่เขียนหนังสือสองเล่ม แต่คนส่วนมาก มักจะรู้จักเพียงแค่ “An Inquiry into the Nature and Causes of the Wealth of Nations” แต่กลับไม่ค่อยมีใครรู้จักหนังสือ
ก่อนหน้าเล่มนี้อีกเล่มหนึ่งที่มีชื่อว่า “The Theory of Moral Sentiments” หนังสือเล่ม นี้ เป็นหนังสือเล่มแรกในชีวิตของเขา และ เป็นหนังสือทีเ่ ขียนเกีย่ วกับเรือ่ งของศีลธรรม อดัม สมิทธิ์ เคยพูดไว้ประมาณว่า คุณสามารถคิดวิธีหาก�ำไรได้มากเท่าที่คุณ ต้องการ แต่ถา้ ลืมเรือ่ งศีลธรรมแล้วคุณจะไม่ ประสบความส�ำเร็จ เรือ่ งศีลธรรมเป็นเรือ่ งที่ คุณเพิกเฉยไปไม่ได้จริงๆ
ประวัติศาสตร์การเมือง ศีลธรรม และประชาธิปไตย
เมื่อเราย้อนมองประวัติศาสตร์ของ ไทยในปี ๑๙๓๒ (พ.ศ. ๒๔๗๕) ใน รั ช สมั ย ของพระบาทสมเด็ จ พระปกเกล้ า เจ้ า อยู ่ หั ว ซึ่ ง เป็ น ปี สุ ด ท้ า ยของระบอบ สมบูรณาญาสิทธิราช ก่อนหน้าเกิดการ เปลี่ ย นแปลงการปกครองไม่ น านนั ก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ เพิง่ ทรงแต่งตัง้ คณะรัฐมนตรีขนึ้ บริหารประเทศ แต่สดุ ท้าย ก็เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองขึ้น การเปลี่ยนแปลงการปกครองที่เกิด ขึ้นนั้น อาจจะเป็นผลพวงมาจากการเข้ามา ของฝรั่งเศสที่เกิดขึ้นตั้งแต่ศตวรรษที่ ๑๗ ในรัชสมัยของพระนารายณ์มหาราช ที่ส่ง คณะทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศ ในยุโรป ช่วงเวลานั้น กษัตริย์ของฝรั่งเศส มี ก ารจั ด เก็ บ ภาษี ช าวนา โดยที่ ก ษั ต ริ ย ์ สามารถเอ่ ย ปากแต่ ง ตั้ ง ใครก็ ไ ด้ ม าเป็ น รัฐมนตรีกระทรวงเกษตร และทุกๆ ปีชาวนา anuman-online.com
86
สัมภาษณ์พิเศษ
ก็จะต้องจ่ายภาษีจ�ำนวนมากให้แก่กษัตริย์ โดยที่ชาวนามีเงินเหลือติดตัวอยู่เพียงเล็ก น้อย ส่วนกษัตริย์ฝรั่งเศสก็ไม่ได้ต้องการ อะไรมาก เพียงแค่เห็นว่ามีเงินไหลเข้าสูท่ อ้ ง พระคลัง พระองค์กม็ คี วามสุขแล้ว แต่ระบบ ที่ว่านี้กลับท�ำให้รัฐมนตรีกระทรวงเกษตร กลายเป็นบุคคลที่ร�่ำรวย เพราะสามารถรีด ภาษีจากทุกซอกทุกมุมของประเทศฝรั่งเศส ได้ แนวคิดเรื่องการจัดเก็บภาษีชาวนาที่ ว่านี้ก็ได้ถูกน�ำเข้ามาใช้ในสยามในรัชสมัย พระนารายณ์มหาราช และก็ทำ� สืบทอดต่อๆ กันมาถึงปัจจุบัน นายกรั ฐ มนตรี เ ป็ น ผู ้ แ ต่ ง ตั้ ง คณะ รัฐมนตรี และด้วยเหตุนี้ บรรดารัฐมนตรี จึ ง สามารถป้ อ นความมั่งคั่งไปให้ค นสนิท ใกล้ตัวและครอบครัวของตนเอง และนี่คือ ปั ญ หาในระดั บ รากเหง้ า ที่ ห ยั่ ง รากฝั ง ลึ ก จนยากที่จะขุดรากถอนโคนได้ ชาวอังกฤษ เคยจั บ กษั ต ริ ย ์ ข องตนเองไปตั ด ศี ร ษะมา แล้ ว กษั ต ริ ย ์ พ ระองค์ นั้ น ก็ คื อ พระเจ้ า ชาร์ลที่ ๑ (King Charles I) ซึ่งไปกล่าว ในรั ฐ สภาว่ า “ข้ า พเจ้ า สามารถท� ำ สิ่ ง ใด ก็ได้ ถ้าข้าพเจ้าจะขึ้นภาษีก็ย่อมสามารถ ท�ำได้เช่นกัน” แน่นอนว่ารัฐสภาย่อมปฏิเสธ และสงครามกลางเมื อ งจึ ง ได้ เ ริ่ ม ต้ น ขึ้ น บริเวณข้างรัฐสภานั่นเอง ต่อมาฝ่ายรัฐสภา ก็สามารถจับตัวกษัตริยม์ าตัดศีรษะได้สำ� เร็จ ที่ไวท์ฮอลล์ (White Hall) ซึ่งในปัจจุบันนี้ คุณก็สามารถไปเยี่ยมชมสถานที่เกิดเหตุได้ เมื่อรัฐสภาได้ตัดสินใจว่าจะไม่มีการ
แต่งตั้งกษัตริย์องค์ใหม่ขึ้นมาแทน รัฐสภา จึงเลือกให้ โอลิเวอร์ ครอมเวลล์ (Oliver Cromwell) ขึน้ เป็นผูน้ ำ � แต่เขากลับพยายาม ท�ำตัวเองเหมือนกับว่าเป็นกษัตริย์ ซึ่งท�ำให้ ผมนึกถึงผูน้ ำ� ของเกาหลีเหนือทีช่ อื่ คิม จอง อิล (Kim Jong Il) ค� ำ ถามที่ ต ามมาจากการขึ้ น ครอง อ� ำ นาจแล้ ว ก็ คื อ ใครที่ จ ะเป็ น ผู ้ ป กครอง ประเทศคนต่อไป แน่นอนว่าคนอย่างครอม เวลล์ หรือคิม จอง อิล ก็อยากจะให้บุตร หลานของตนเป็นผู้สืบทอดอ�ำนาจต่อไป เมื่อชาวอังกฤษเห็นเช่นนี้แล้ว ต่าง ก็หันกลับมาคิดว่าและเริ่มพูดคุยกันว่า การ ปกครองที่ว่านี้ก�ำลังท�ำให้ประเทศถอยหลัง อยู่หรือไม่? คนอังกฤษเลยหันกลับไปน�ำ ตัวหลานของพระเจ้าชาร์ลที่ ๑ มาขึ้นครอง ราชย์สมบัติ มีพระนามว่า พระเจ้าชาร์ลที่ ๒ (King Charles II) แต่ครัง้ นีค้ นอังกฤษได้ตงั้ เงือ่ นไขว่าพระองค์เป็นกษัตริยข์ องประชาชน ไม่ ใ ช่ ข องรั ฐ บาล และไม่ ส ามารถเข้ า มา ควบคุมการบริหารของรัฐบาลได้ นับจาก นั้นเป็นต้นมาอังกฤษก็เลยยังคงมีระบอบ กษัตริย์อยู่มาจนปัจจุบัน คนไทยโชคร้ายเสียหน่อย ตรงทีต่ อ้ ง ปรับเปลีย่ นระบบการบริหารราชการแผ่นดิน ให้หลุดพ้นจากแนวคิดการบริหารแบบเก่าๆ ที่ยังคงใช้อยู่ ประเทศไทยจ�ำเป็นต้องให้การ ศึกษากับประชาชน และต้องท�ำให้ประชาชน เข้าถึงกลไกการท�ำงานของรัฐบาลได้มาก ยิ่งขึ้น เมื่อเวลาของการเลือกตั้งมาถึง คน
ไทยก็จ�ำเป็นต้องเรียนรู้ที่จะยอมรับผลของ การเลือกตั้งนั้น แม้ว่าผลการเลือกตั้งที่ออก มานั้นจะไม่ตรงกับสิ่งที่เราต้องการก็ตาม ผมเองไม่ รู ้ ว ่ า พวกคุ ณ ให้ ก าร สนั บ สนุ น นายกรั ฐ มนตรี ค นปั จ จุ บั น หรื อ เปล่า? แต่ถึงคุณจะไม่ได้ชื่นชมในตัวนายก รัฐมนตรีคนนี้ แต่คณ ุ ก็ตอ้ งยอมรับอย่างหนึง่ ว่านายกฯ คนนี้มาจากการเลือกตั้ง และเธอ ก็สามารถท�ำอะไรก็ได้ตามที่กฎหมายได้ให้ อ�ำนาจไว้ ถ้านายกฯ ต้องการออกกฎหมาย คุณก็มีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตามแม้ตัวคุณ เองจะไม่ชอบกฎหมายใหม่นี้เลยก็ตาม ถ้า คุณไม่ชอบนายกฯ คนนี้ เมื่อเธอครบวาระ ๔ ปี คุณก็สามารถเลือกผู้น�ำคนใหม่เข้า มาแทนได้ คุณลองมองไปกรณีของ บารัค โอบามา และคู่แข่งของเขา แม้คนอเมริกัน
จะสนับ สนุน ผู ้ สมั ครประธานาธิ บดี คนละ ฝ่ายกัน แต่คนอเมริกันก็เคารพและยอมรับ ในความเห็นที่แตกต่างกันได้ การยอมรับ ความเห็นต่างและอยู่ร่วมกันได้ต่างหากคือ สิ่งที่เป็นประชาธิปไตย และคนไทยจ�ำเป็น ต้องเลิกการออกมาชุมนุมข้างถนนได้แล้ว การศึ ก ษาจะเข้ า มาเป็ น เครื่ อ งแก้ โจทย์ของการเมืองและประชาธิปไตยในไทย เรื่องการศึกษาต่างๆ จึงเป็นเรื่องที่ส�ำคัญ มากส�ำหรับประเทศไทย
การศึกษาแบบไทยๆ
ผมว่าคนเราจะคิดถึงเรื่องการศึกษา ก็ต่อเมื่อมีลูกเท่านั้น ถึงแม้ว่าผมจะไม่ได้เกิดในเมืองไทย
anuman-online.com
88
สัมภาษณ์พิเศษ
และก็ไม่ได้เป็นคนไทย แต่ผมก็มีความรู้สึก ว่าการศึกษาของไทยจ�ำเป็นต้องเปลีย่ นแปลง ถึงแม้ว่าเราจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงทุก อย่างได้ภายในชั่วข้ามคืน แต่เราก็จ�ำเป็น ต้องพยายามที่จะเปลี่ยนแปลง การที่ผมเติบโตในประเทศอังกฤษ ท�ำให้ผมสามารถไปท่องเทีย่ วได้ทกุ ทีบ่ นโลก ใบนี้ เพราะผูค้ นทัว่ โลกต่างก็ใช้ภาษาอังกฤษ ในการติดต่อสื่อสาร ภาษาอังกฤษจึงเป็นสิ่ง จ�ำเป็นและส�ำคัญต่อพวกเราทุกคนมาก อยู่ ที่ว่าเราจะรับมือเรื่องการใช้ภาษอังกฤษได้ อย่างไร? วันนีผ้ มเผอิญได้ไปเยีย่ มชมโรงเรียน อ�ำนวยศิลป์และดูเหมือนว่าโรงเรียนนี้ก�ำลัง พยายามทุกวิถที างทีจ่ ะสร้างระบบการศึกษา ในแบบเดียวกันกับที่ผมเคยพยายามท�ำให้ แก่วชิราวุธวิทยาลัย ตอนที่ ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช ได้เชิญผมกลับไปที่วชิราวุธฯ อีก ครั้ง เพราะเขาต้องการเปลี่ยนวชิราวุธฯ ให้ กลายเป็นโรงเรียนที่ท� ำการสอนแบบสอง ภาษา (Bilingual School) ซึ่งก็แทบจะไม่ แตกต่างไปจากโรงเรียนทีส่ อนภาษาอังกฤษ อย่างเดียวเลย ในกรณีของโรงเรียนอ�ำนวยศิลป์ ทาง โรงเรียนก็ต้องเผชิญกับปัญหาเรื่องความ รู้สึกของครูชาวไทย เนื่องจากครูต่างชาติ ได้รับค่าตอบแทนที่ดีกว่าและทางโรงเรียน ก็มีท่าทีว่าจะให้ความส�ำคัญกับครูชาวต่าง ชาติมากกว่าครูชาวไทย ซึ่งก็เป็นปัญหาที่ ผูอ้ ำ� นวยการของโรงเรียนอ�ำนวยศิลป์จะต้อง
แก้ ผูอ้ ำ� นวยการของโรงเรียนอ�ำนวยศิลป์คน ปัจจุบันเป็นผู้หญิง และผมก็รู้สึกประทับใจ ในตัวเธอมาก เพราะเธอเข้าใจระบบการ ศึกษาของไทยได้อย่างลึกซึง้ มากกว่าคนอืน่ ๆ เท่าที่ผมเคยรู้จัก เราจ�ำเป็นจะต้องสร้างให้คนหันมา เรียนรูด้ ว้ ยตนเองให้มากขึน้ ไม่ตอ้ งคอยสอน คอยป้อนแต่เนื้อหาที่เด็กนักเรียนก็สามารถ ค้นหาเองได้จาก Google เรายังต้องเปลี่ยนวิธีการเรียนรู้ ไป สู่รูปแบบการศึกษาที่เน้นให้แต่ละคนต้อง เรียนรู้ที่จะคิดเองเป็น ถ้าผมเป็นครูที่สอน
ทุกสิ่งทุกอย่างให้แก่นักเรียน นักเรียนอย่าง พวกคุณก็จะไม่ได้เรียนรู้ค�ำตอบเหล่านั้นได้ ด้วยตนเองเลย ผมก็เคยสอนด้วยวิธกี ารเช่น นั้นมาแล้ว ซึ่งเป็นเรื่องที่แย่มาก เราจะต้ อ งพยายามสอนด้ ว ยการ อธิบายให้เด็กนักเรียนเข้าใจมากกว่า เวลา ที่ครูป้อนข้อมูลเข้าไปในสมองของนักเรียน เด็กเหล่านั้นก็จะเริ่มจัดล�ำดับความส�ำคัญ ของข้อมูลแต่ละเรื่องที่ได้รับเข้ามา ซึ่งจะส่ง ผลไปยังการดึงเอาข้อมูลที่ได้รับออกมาใช้ อย่างมีประสิทธิภาพ การตัดสินใจเลือกว่า จะเอาข้อมูลอันไหนมาใช้เป็นเรื่องที่จะติด ชีวิตของเด็กนักเรียนไปตลอดทั้งชีวิต แม้แต่การศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย ของเมืองไทยยังไม่ได้มุ่งสอนให้คิดเองเป็น เลย บรรดาอาจารย์ต่างก็สนใจกันเพียงแค่ คะแนนเกรดเอเท่านั้น ปัญหาที่นักศึกษา ต้องตอบมีอยู่แค่ว่า จะท�ำยังไงให้ตัวเองได้ คะแนนสูงๆ ตามที่อาจารย์วางเกณฑ์เอา ไว้ ไม่ได้สอนให้ได้คิดเป็น เรื่องเหล่านี้ละ คือสิ่งที่ระบบการศึกษาของไทยจ�ำเป็นต้อง เปลี่ยนแปลง
กลับมาวชิราวุธฯ ครั้งที่ ๒
ที่จริงแล้วผมควรจะได้กลับไปสอนที่ วชิราวุธฯ เป็นครั้งที่ ๒ ตามสัญญาจ้าง ๗ ปี แต่แล้วผมก็เกิดมีปัญหาเรื่องความเห็น ไม่ตรงกันกับ ดร.ชัยอนันต์ (ผู้บังคับการ วชิราวุธฯ ในสมัยนั้น) และผมเองก็คิดว่า ตัวเองคงจะอยูช่ ว่ ยอะไรทีโ่ รงเรียนไม่ได้มาก
ผมเลยลาออกมา ในตอนนัน้ มีหลายๆ คนใน โรงเรียนที่ไม่ค่อยชื่นชอบผมและจุดยืนของ ผมในการท�ำสิ่งต่างๆ เรื่องนี้เป็นสิ่งที่ท�ำให้ ผมรู้สึกไม่ดีและก็เป็นสาเหตุที่ท�ำให้ผมต้อง ตัดสินใจออกจากวชิราวุธฯ ซึ่งผมไม่เคย คิดถึงเรื่องนี้เลย ผมคิดว่าการเป็นครูที่วชิราวุธฯ เป็น งานทีย่ อดเยีย่ มและเป็นโอกาสทีด่ ที จี่ ะสร้าง สิ่งต่างๆ ให้กับระบบการศึกษา แม้ผมจะได้ สอนที่วชิราวุธฯ เพียงแค่ ๒ ปี แต่ก็เป็นช่วง เวลา ๒ ปี ทีท่ ำ� ให้ผมมีความสุขและสนุกกับ การเป็นครู แต่วชิราวุธฯ ก็ยังคงต้องได้รับ การเปลี่ยนแปลงอยู่ดี ในช่วงที่โรงเรียนวชิราวุธฯ (พ.ศ. ๒๕๔๐) ก�ำลังพยายามเปลี่ยนเป็นโรงเรียน สอนสองภาษา ในขณะนัน้ เด็กวชิราวุธฯ กว่า ครึ่งได้เรียนภาษาอังกฤษกับครูชาวต่างชาติ และครูส่วนใหญ่ก็มาจากประเทศอังกฤษ ส่วนเด็กส่วนที่เหลือก็เรียนภาษาอังกฤษกับ ครูชาวไทย ซึง่ ครูชาวไทยมักจะยึดติดกับรูป แบบการเรียนการสอนตามระบบการศึกษา ของไทยและออกข้อสอบภาษาอังกฤษด้วย โจทย์ที่เป็นภาษาไทย ทั้งๆ ที่ควรจะข้อสอบ ควรจะต้องเขียนด้วยภาษาอังกฤษทั้งหมด คุ ณ ภาพของครู เ ป็ น สิ่ ง ที่ มี ค วาม ส�ำคัญในระดับต้นๆ ส�ำหรับการปรับปรุง ระบบการศึ ก ษา และผมก็ ไ ด้ บ อกกั บ ดร.ชัยอนันต์ ให้ตงั้ คณะกรรมการอ�ำนวยการ สอบของวชิราวุธฯ (Vajiravudh College’s Examination Board) พวกเราทั้ ง คู ่ ไ ด้ anuman-online.com
90
สัมภาษณ์พิเศษ
พยายามที่จะท�ำให้คณะกรรมการชุดนี้ เป็น องค์ ก รอิ ส ระเพื่ อ ออกข้ อ สอบโดยเฉพาะ ถ้าหากเราสามารถท�ำได้ ก็จะไม่มีใครจะ ต้องกลัวว่าข้อสอบไม่มีมาตรฐาน ไม่มีใคร สามารถโกงข้อสอบได้ และการสอบก็จะเป็น เรือ่ งทีม่ คี วามยุตธิ รรม ตรงไปตรงมาส�ำหรับ นักเรียนทุกคน สิ่งที่ ดร.ชัยอนันต์ พยายามจะท�ำก็ คือ การเปลี่ยนแปลง แต่การเปลี่ยนแปลง ก็ ม าพร้ อ มกั บ ปั ญ หา ก็ เ พราะระบบการ ศึ ก ษาในประเทศไทย (รวมถึ ง วชิ ร าวุ ธ ฯ ในขณะนั้น) ไม่มีมาตรฐานหรือถ้ามีอยู่ก็ เป็นมาตรฐานที่ต�่ำเกินได้ ระบบการศึกษา ของไทยจ�ำเป็นต้องได้รับการปรับปรุง แม้ ประเทศไทยจะชอบระบบการศึก ษาแบบ ที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ก็ตาม แต่ไม่ว่าอย่างไร ระบบการศึกษาของไทยจ�ำเป็นต้องได้รบั การ ปฎิรูปอย่างเร่งด่วน ผมรู้ว่าพวกคุณทุกคนมีความสุขกับ ชีวิตในโรงเรียน แต่ถึงอย่างไรก็ยังคงมีอะไร อีกหลายอย่างที่วชิราวุธฯ ต้องดีมากกว่า ที่เป็นอยู่ ถ้าถามผมว่าจะเปลี่ยนโรงเรียน ได้อย่างไ? ผมเองก็ไม่รู้เหมือนกันว่าจะท�ำ อย่างไรดี แต่ผมคิดว่าวชิราวุธฯ มีเงินทุน จ�ำนวนมหาศาล แต่กลับไม่รู้จะน�ำไปใช้ท�ำ อะไรให้เกิดประโยชน์ คุณลองมองดูอาคาร ใหม่ๆ ที่สร้างขึ้นในโรงเรียน แล้วลองดูค่า จ้างของครูและพนักงานที่ยังต�่ำ ผมว่าเรื่อง ค่าจ้างของบุคลากรที่ยังน้อยนิดอยู่นี่แหละ คือประเด็น
ถ้าเราอยากให้ชนชัน้ น�ำในสังคมไทย ส่งลูกมาเข้าโรงเรียน หรือถ้าเราต้องการมี โรงเรียนเป็นอันดับหนึง่ เราก็ตอ้ งยิง่ ต้องการ ครูชั้นยอด ถ้าเรามีครูเก่งๆ อยู่ในโรงเรียน เราก็ไม่จ�ำเป็นต้องสร้างตึกอีกเลยก็ได้ ครู ที่เก่งสามารถสอนนักเรียนได้แม้กระทั่งใต้ ต้นไม้ สิ่งเดียวที่วชิราวุธฯ ต้องการคือ ครู ที่มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาการเรียนการ สอนของโรงเรียน ให้เป็นโรงเรียนชั้นน�ำ ที่ทุกคนอยากเข้าและสามารถเข้าได้ และ นักเรียนเก่าอย่างพวกคุณนั้นแหละที่ต้อง เป็นคนเปลี่ยนแปลง ถึงเวลาที่พวกคุณควร จะหยุดการให้ความเคารพคนที่มีอาวุโสกว่า เพียงอย่างเดียว อย่าเคารพเพียงเพราะเขา มีอายุมากกว่าคุณ แต่พวกคุณควรให้ความ เคารพแก่ผู้ที่ท�ำให้คุณเห็นว่าเขาคนนั้นเป็น คนที่น่าเคารพยกย่อง เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ ท�ำให้ผมประหลาดใจมาก พวกคุณควรจะ ต้องเป็นคนกล้าพูดกล้าแสดงความเห็น ถึง เวลาที่พวกคุณจะต้องปฏิวัติแล้ว! ผมเคยไปที่ Fettes College ซึ่ง เป็นโรงเรียนประจ�ำชื่อดังของสก็อตแลนด์ โรงเรี ย นนี้ เ ป็ น โรงเรี ย นชื่ อ ดั ง เหมื อ นกั บ วชิราวุธฯ และอีตัน โรงเรียนนี้เป็นโรงเรียน ทีม่ คี า่ เทอมแพงมาก ถ้าหากคุณอยากให้ลกู ของตัวเองเข้าไปเรียนในโรงเรียนนีไ้ ด้ ก็ตอ้ ง ขอเตือนไว้ก่อนว่าโรงเรียนนี้สอบเข้าได้ยาก และมีค่าใช้จ่ายที่แพงมาก การที่โรงเรียนมี เงินมากเลยท�ำให้ครูของโรงเรียนนีม้ คี ณ ุ ภาพ
ชีวิตที่ดี ได้รับค่าตอบแทนที่สูง มีบ้านสวยๆ ส�ำหรับครูให้อยู่ภายในโรงเรียนอีกต่างหาก ครูสว่ นใหญ่กเ็ ลยมีเงินสะสมมากพอทีจ่ ะซือ้ บ้านของตัวเองได้สบายๆ และบรรดาผูก้ ำ� กับ คณะทุกคนต่างก็เป็นครูที่มีหน้าที่ต้องสอน หนังสือให้กับนักเรียน ผิ ด กั บ ที่ ว ชิ ร าวุ ธ ฯ เพราะผู ้ ก� ำ กั บ คณะที่วชิราวุธฯ ไม่ต้องสอนหนังสือให้กับ นักเรียน คนที่จะเป็นผู้ก�ำกับคณะควรจะ ต้องเป็นครูและมีความรูค้ วามเข้าใจเรือ่ งการ ศึกษาในระดับที่ดีเยี่ยม ผมก็ได้แต่หวังว่า จะมีใครสักคนที่เข้าใจเรื่องการศึกษาอย่าง ดีเยี่ยมกลับไปเป็นครูหรือผู้ก�ำกับคณะ ซึ่ง อาจจะเป็นอาชีพที่ไม่ได้ค่าจ้างที่สูงมากนัก ถ้าเทียบกับอาชีพอื่นๆ อันที่จริงแล้ว อาชีพครูต้องได้รับค่า ตอบแทนสูงกว่าอาชีพอื่นๆ ในประเทศนี้ เสียด้วยซ�้ำ ถ้าคุณลองเดินทางไปที่ประเทศ เนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นประเทศที่มีมาตรฐาน การศึกษาสูงมาก แล้วคุณก็จะพบว่า ตัวคุณ เองไม่สามารถไปสมัครเป็นครูในประเทศนัน้ ได้อย่างแน่นอน เพราะอาชีพครูจ�ำเป็นต้อง
สัมภาษณ์ อภิพงศ์ พงศ์เสาวภาคย์ เขต ณ พัทลุง วรเทพ เลิศผลบุญ เอกจิตต์ ร่มพฤกษ์
มีคุณสมบัติที่สูงมาก แต่ครูก็เป็นอาชีพที่ได้ รับผลตอบแทนที่สูงมากเช่นกัน ระบบการ ศึกษาของเนเธอร์แลนด์ดีมาก เพราะแม้แต่ คนซ่อมรถก็ยังสามารถพูดภาษาอังกฤษได้ อย่างดี เนเธอร์แลนด์เป็นประเทศที่มี GDP (Gross Domestic product - รายได้มวล รวมของประเทศ) อยู่ในเกณฑ์ที่สูงมาก ซึ่ง ผมก็บอกไม่ได้ว่าชาวดัตช์สามารถท�ำแบบ นัน้ ได้อย่างไร แต่ผมอยากจะบอกว่าหนทาง ทีจ่ ะสามารถสร้างการเปลีย่ นแปลงให้เกิดใน ประเทศไทยได้นั้น คือ การพัฒนาอาชีพครู เพราะครูเป็นผู้ที่คอยอบรมสั่งสอนคนรุ่น ใหม่ ครูจงึ เป็นหนทางหนึง่ ในการสร้างความ เปลีย่ นแปลงทีส่ ำ� คัญไม่วา่ จะเป็นครู ผูก้ ำ� กับ คณะหรือนักเรียนเก่าก็ตาม ทั้งหมดจะต้อง เรียนรู้ “วิธีคิด” และนี้คือเหตุผลว่าท�ำไมผม จึงชอบส่งให้พวกคุณไปอยู่ที่ห้องสมุด ผมขอฝากทิ้งท้ายไว้หน่อยว่า “ใน ชีวติ นักเรียน หากคุณได้พบกับครูดๆี สักคน ต้องถือว่าเป็นเรื่องที่คุณโชคดีมาก”
เรียบเรียง โอวี โอวี โอวี โอวี
๗๑ ศรัทธา ประสิทธิ์วรากร โอวี ๗๓ กิตติเดช ฉันทังกูล โอวี ๗๓ ๗๑ เสฏฐวุฒิ เพียรกรณีย์ โอวี ๗๓ ถ่ายภาพ ๗๓ จุมพล พิจารณ์สรรค์ โอวี ๗๙ สรอรรถ เลาประสพวัฒนา โอวี ๘๑ ๗๓
anuman-online.com
92
วันกลับบ้าน
จากทีมงานอนุมานวสาร
สีศรีนพั�้ำนเงิวาน สีฟ้า รู้ตัวอีกที ทีมบรรณาธิการชุดเล็ก ของอนุ ม านฯ ก็ ก� ำ ลั ง บิ น ลั ด ฝ่ า ความมื ด เหนือน่านฟ้าไทยบนเที่ยวบินรอบดึกเพื่อ มุ่งหน้าไปยัง “ศรีพันวา” แล้ว อย่ า งที่ รู ้ กั น ส� ำ หรั บ คนสมั ย ใหม่ จ� ำ นวนไม่ น ้ อ ย “ศรี พั น วา” โรงแรมหรู ติดระดับโลกบนแหลมพันวา จังหวัดภูเก็ต ได้กลายมาเป็นอุดมคติของความสุขสบาย อย่ า งที่ สุ ด เท่ า ที่ ม นุ ษ ย์ จ ะหาได้ จ ากการ พักผ่อน เป็นคอนเซปต์ของ “ปรมัง สุขัง”
คล้ายๆ กับที่นักบวชนึกถึงนิพพาน เวลาคน พูดว่า “ไปศรีพันวา” จึงมีความหมายตรง ตามค�ำ คือหมายถึงการไปโรงแรมศรีพันวา ไม่ได้หมายถึงไปแหลมพันวา หรือแม้กระทัง่ ไม่ได้หมายถึงไปภูเก็ต เรียกได้ว่า “ศรีพันวา” เป็นหนึ่งใน โรงแรมจ�ำนวนน้อย ที่ไม่ได้เป็นแค่เพียง “ทีพ่ กั ของคนเดินทาง” อย่างทีจ่ ำ� กัดความไว้ ในพจนานุกรม แต่เป็นจุดหมายปลายทางใน ตัวเองเลยทีเดียว
anuman-online.com
94
วันกลับบ้าน
ด้ ว ยเหตุ นี้ แม้ เ ราจะพยายาม ก� ำ กั บ ตั ว เองว่ า การไปศรี พั น วาครั้ ง นี้ คื อ งานของอนุ ม านฯ ที่ จ ะต้ อ งไปสั ม ภาษณ์ พี่สงกรานต์ อิสระ นักเรียนเก่าวชิราวุธฯ รุน่ ที๔่ ๔ ซึง่ หลายคนยกให้เป็นหนึง่ ในเจ้าพ่อ อสั ง หาริ ม ทรั พ ย์ ข องเมื อ งไทยเพื่ อ น� ำ มาเสนอแก่ พี่ น ้ อ งโอวี ทุ ก ท่ า น (อ่ า นบท สัมภาษณ์ หน้า ๒๐) แต่ลึกๆ แล้วเราก็ กะจะ “ไปศรีพนั วา” อย่างที่ใครๆ เขาไป กันนั่นแหละ คือไปเอาสบาย และสุดท้าย เราก็พบว่าเราหนักไปในทางสบายจริงๆ แม้ จะได้การได้งานอะไรบ้างก็ดเู หมือนจะเทียบ ไม่ได้กับความสบายที่เราได้รับ กว่าเราจะไปถึงภูเก็ตก็เป็นเวลามืด หลายทุม่ แล้ว โดย บ.ก. ของเราได้ตดิ ต่อเช่ารถ เอาไว้ด้วยความรอบคอบว่าจะได้ใช้เดินทาง ไปศรีพันวาหรือสถานที่อื่นๆ ได้โดยไม่ต้อง เสียค่ารถตูเ้ ป็นเทีย่ ว ถึงแม้วา่ รถฮอนด้าแจ๊ส ทีเ่ ช่าออกจะกระจุม๋ กระจิม๋ ไปบ้าง เมือ่ เทียบ กับผู้โดยสารทั้งห้าคนซึ่งล้วนแต่มีสัณฐาน เหมาะจะเอาดีทางเล่นพร็อบด้วยกันทั้งสิ้น แต่ก็ไม่ปรากฏว่าจะเป็นอุปสรรคมากนัก จะมีก็แต่เสียง “ครืด ป๊ก” ที่เกิดขึ้นครั้งหนึ่ง ตอนรถวิ่งผ่านสันถนนหน้าสนามบิน พอให้ เราอุน่ ใจว่าน่าจะคืนทุนค่าเช่ารถกันบ้างแล้ว แต่ก่อนที่เราจะไปศรีพันวา ภารกิจ แรกของเราก็ คื อ การหาข้ า วเย็ น กิ น กั น เพราะบนสายการเครื่องบินราคาต�่ำที่เรานั่ง มานั้นไม่มีบริการอาหาร และเราก็คิดแล้ว ว่าการไปหิวอยูใ่ นทีห่ รูหราอย่างศรีพนั วานัน้
อย่างไรเสียก็คงไม่ได้ชว่ ยให้อมิ่ ขึน้ มาได้ คิด ได้อย่างนี้เลยโทรหาพี่ไข่ด้วน (เอกนรินท์ อ�ำไพพร - โอวี ๗๒) โอวีหนุม่ ซึง่ ประกอบ ธุรกิจกว้างขวางอยู่ในภูเก็ตให้ช่วยแนะน�ำ ร้านอาหารจนได้ค�ำตอบคือ “ร้านโกเบนซ์ ต้มเลือดหมู” ซึ่งนัยว่าเป็นร้านต้มเลือดหมู ที่อร่อยที่สุดของภูเก็ต ในเวลาหัวค�่ำแต่ละ วันจะมีคนหลั่งไหลมาต่อคิวกินมิได้ว่างเว้น แต่หากันอยู่นานก็ไม่เป็นผล เพราะ พิกัดที่เราฟังจากพี่ไข่ด้วนมักจะขัดกับพิกัด ของไอโฟน และในเมื่อเราฟังพิกัดจากสอง แหล่งเท่าๆ กันก็เป็นธรรมดาที่เราจะหาไม่ เจอ สุดท้ายพี่ไข่ด้วนอดรนทนไม่ได้ก็เลย ออกมารอรับอยูท่ รี่ า้ น พร้อมแชร์ “ต�ำแหน่ง (Location)” มาให้ทางโทรศัพท์ ก็เลยหมด เรื่องกันไป แต่ถ้าใครได้ลองชิมอาหารของร้าน โกเบนซ์แล้วก็ต้องบอกว่าถึงร้านจะหายาก ไปบ้างก็คุ้มค่า เรื่องต้มเลือดหมูนั้นไม่ต้อง พูดถึงก็ได้ เพราะถ้าไม่ดีก็คงไม่เอามาตั้ง เป็นชื่อร้านอยู่แล้ว อย่าว่าแต่เขาคัดเอาแต่ เครือ่ งในหัน่ ชิน้ โตๆ ทัง้ กระเพราะ ไส้ เซีย่ งจี้ ตั บ มาลวกให้ ห ยุ ่ น หรื อ กรอบแต่ พ อ เหมาะ แล้วใส่มาในน�้ำซุปรสเข้มข้นใกล้ๆ บักกุ๊ดเต๋ มันจะไม่อร่อยอย่างไรได้ แต่ที่ อยากจะพูดถึงเป็นพิเศษเลยก็คอื ข้าวต้มแห้ง ซึ่งเป็นอีกไฮไลท์ของร้าน เพราะเป็นเมนูที่ กินแล้วไม่ใช่ว่าเพียงแต่อร่อย แต่จะพาลให้ คนกินที่เคยแต่กินข้าวต้มแบบน�้ำนั้นรู้สึก ไปได้เลยว่าตัวนั้นกินข้าวต้มผิดวิธีมาตลอด
เลยทีเดียว โดยข้าวต้มแห้งทีว่ า่ นีก้ ค็ อื ข้าวต้มหมู ที่ใส่เครื่องในอย่างที่บรรยายแล้ว ส่วนที่ว่า แห้งก็เพราะตัวข้าวต้มไม่ได้นองอยู่ในน�้ำซุป ซึ่งนี่ก็ไม่ใช่ว่าเขาสักแต่ท�ำข้าวต้มแล้วเทน�้ำ ออกเท่านั้น แต่เป็นการ 'รีอินเวนท์' ข้าวต้ม ใหม่อย่างตัง้ ใจเลยทีเดียว กล่าวคือข้าวเขาก็ ลวกเสียทางหนึง่ ให้นมุ่ แต่พอเหมาะ แล้วตัก มาแต่ตัวข้าวอย่างไม่ใส่ใจกับน�้ำซุป เพราะ น�้ำซุปจะชุ่มอยู่ในเนื้อข้าวอยู่แล้ว ข้าวก็เลย อมความหอมหวานของน�ำ้ ซุปไว้โดยเนือ้ ข้าว ยังคงเป็นตัว ไม่เละจนเกินไป อย่างทีอ่ าจจะ เรียกได้วา่ เป็น “อัลเดนเต้” เหมือนพวกริซอตโต้ หรือสปาเก็ตตี้
หลังจากนั้นเขาก็เรียงชิ้นเครื่องใน ลวกก�ำลังดีอยูด่ า้ นบน ก่อนจะเอากระเทียม เจี ย ว ซึ่ ง ใช้ ก ระเที ย มบุ บ ทั้ ง กลี บ เจี ย ว จนกรอบคลุ ก น�้ ำ มั น โรยอย่ า งหนั ก ๆ มื อ เสียหน่อย พร้อมกับชิ้นหมูกรอบหั่นหนา สั ม ผั ส ตื้ น ลึ ก หนาบางของเครื่ อ งในและ ส่ ว นประกอบแต่ ล ะชนิ ด นั้ น ชวนให้ เ คี้ ย ว ได้ อ รรถรสอยู ่ แ ล้ ว ยิ่ ง ได้ ก ลิ่ น ได้ ร สจาก กระเทียมเจียวกรอบๆ เคล้าอีก ก็กนิ กันเตลิด ได้ง่ายๆ แต่สุดท้ายกินกันหนักหนาเท่าใด มื้อนี้เราก็ไม่ได้จ่ายสตางค์ เพราะพี่ไข่ด้วน ชิงจ่ายไปเสียก่อนแล้ว ทัดทานอย่างไรก็ไม่ เป็นผล เราจึงขอยถาสัพพีไว้ตรงนี้แทน ก่อนจะเข้าศรีพันวาเราแวะซื้อขนม ขบเคี้ยวและน�้ ำ สี น�้ ำ เปล่ า อี กยกใหญ่ ด ้ ว ย anuman-online.com
96
วันกลับบ้าน
ความกลัวหิว ซึ่งดูจะเป็นนิสัยที่แก้ไขไม่ได้ ของเด็กนักเรียนกินนอน ท�ำให้กว่าเราจะ ไปถึงศรีพนั วาก็เป็นเวลาดึกเกือบๆ เทีย่ งคืน แล้ว แต่เมื่อไปถึงพนักงานที่กุลีกุจอมาขน กระเป๋าพร้อมกับต้อนรับเราเป็นอย่างดีนั้น แจ้งแก่เราว่าเดี๋ยวเข้าที่พักแล้วพี่สงกรานต์ จะมาเจอ ซึ่งท�ำให้เราต้องเหลียวมองตากัน ด้วยความประหลาดใจ เพราะทีมอนุมานฯ ที่ ม าในวั น นั้ น ไม่ ไ ด้ มี ผู ้ ใ หญ่ เ ลย จริ ง อยู ่ ร่างกายแต่ละคนอาจจะใหญ่เกินอาวุโสกัน ไปบ้าง แต่ถา้ ไม่ถอื กันด้วยกิโลแล้วก็ตอ้ งนับ เป็นเพียงเด็กรุ่นหลังพี่สงกรานต์เป็นสิบรุ่น ทั้งสิ้น ซึ่งพี่สงกรานต์เองก็ทราบความจริง ข้อนี้ดี เราจึงไม่คิดว่าทั้งๆ ที่เรามาดึกอย่าง นี้ พี่สงกรานต์ยังจะอุตส่าห์อยู่รอพบ เราได้ แต่เก็บความประหลาดใจนีไ้ ว้ระหว่างทีน่ งั่ รถ
กอล์ฟจากล็อบบี้ไปยังห้องพัก แต่แล้วเราก็ต้องมีเรื่องประหลาดใจ ใหม่ เพราะตามที่ทุกคนเคยเห็นในรายการ ทีวี หรือโฆษณานั้น ห้องพักของศรีพันวา มักจะเป็นพูลวิลล่า คือบ้านพักพร้อมสระ ส่วนตัวล้อมเกือบประชิดขอบเตียง โดยบ้าน จะมีขนาดให้คนสองคนพอจะเล่นวิง่ ไล่จบั ไอ้เข้ ไอ้โขง หรือกิจกรรมหฤหรรษ์สันทนาการ อืน่ ๆ ได้พอสนุกๆ แต่ทที่ รี่ ถพาเราไปนัน้ กลับ เป็นตึกตระหง่านสูงสามชัน้ ซึง่ ตัง้ อยูบ่ นยอด เนินที่สูงที่สุดของศรีพันวา สูงถึงขนาดต้อง มีลิฟท์ ซ�้ำยังมีรถคันใหญ่จอดอยู่ด้านล่าง อีกต่างหาก ยิ่งเมื่อพนักงานพาเราขึ้นลิฟท์ไปที่ ชั้นสอง ความประหลาดใจนั้นก็กลายเป็น ความมหัศจรรย์ใจเลยทีเดียว เพราะห้องที่
พนักงานบอกว่าเป็นที่พักของเรานั้น จริงๆ ไม่ใช่ห้องเลย แต่เป็นชั้นทั้งชั้นของตึกที่เรา ขึน้ มา มีทงั้ ห้องรับแขก ห้องครัว ห้องกินข้าวและ สระว่ายน�้ำ ห้องนอนและห้องน�้ำนั้นไม่ต้องพูด ถึง ที่นี่มีอย่างละหลายห้อง โดยแต่ละห้อง ตกแต่ ง อย่ า งเรี ย บหรู โล่ง และดูจะเอา ความปลอดโปร่งสบายเป็นทีต่ งั้ โดยแทบทุก บริ เ วณที่ ไ ม่ ใ ช่ ห ้ อ งน�้ ำ นั้ น มั ก ใช้ ก ระจก แผ่นใหญ่ๆ เป็นผนัง ไม่ว่าจะกวาดตามอง ไปทางไหนก็จึงมองทะลุไปได้ถึงผืนทะเล สีด�ำเบื้องนอกที่มีไฟจากเรือสะท้อนวิบวับ อยู ่ เ ป็ น ระยะ อย่ า งที่ เ รี ย กว่ า ถ้ า ไม่ นั บ มุมอับเพียงไม่กมี่ มุ แล้ว ก็ตอ้ งเรียกว่าเป็นวิว สามร้อยหกสิบองศา เราพิจารณาแล้วลงความเห็นว่าถึงจะ เทียบกับทีห่ รูๆ ด้วยกัน ห้องทีเ่ ราพักนีก้ ย็ งั นับ ว่าหรูเป็นพิเศษอยู่ดี เรามาเข้าใจทุกอย่างก็ ต่อเมือ่ พนักงานบอกเราว่าตึกทีพ่ กั ของเรานี้ แท้ทจี่ ริงก็คอื ทีพ่ กั ของครอบครัวพีส่ งกรานต์ เอง โดยตัวพีส่ งกรานต์จะอาศัยอยูช่ นั้ สี่ และ คุณปลาวาฬ ลูกชายพี่สงกรานต์อยู่ชั้นสอง เราฟังความข้อนี้แล้วก็ไม่ได้พูดอะไร แต่ใน ใจอดนึกอะไรน�้ำเน่าๆ ไม่ได้ว่าความเป็น โอวีนี้ มันท�ำให้คนที่ปกติก็เรียกได้ว่าไม่รู้ จักกัน กลับมานอนค้างในบ้านกันได้ทีเดียว แล้วจะบอกว่าความเป็นโอวีนั้นเป็นสิ่งที่เรา พูดกันเป็นตุเป็นตะไปเองได้อย่างไร ในขณะที่เราก�ำลังเห่อกับที่พักและ ความโชคดีของตัวเองอยู่นั้น พี่สงกรานต์ก็
เข้ามาต้อนรับพวกเรา พีส่ งกรานต์ปรากฏตัว ในชุดง่ายๆ คือเสื้อยืดขาวและกางเกงขาจีน ซึ่ ง จะว่ า ไปแล้ ว ก็ คื อ ชุ ด นอนโรงเรี ย นเรา นั่นเอง โดยพี่สงกรานต์ไม่ได้กล่าวอะไร มากมาย นั่งยังไม่ได้นั่งเลยด้วยซ�้ำ เพียงแค่ บอกให้พวกเราตามสบาย จะเล่นน�ำ้ หรือกิน อะไรต่อมิอะไรในครัวที่เตรียมไว้ให้ก็ท�ำไป ไม่ต้องเกรงใจ วันรุ่งขึ้นเดี๋ยวค่อยสัมภาษณ์ เพียงแต่เตือนว่าเปิดกระจกแล้ว ให้คอยปิด ให้ดี เพราะเวลาลมพายุพัดมาจะปิดไม่ทัน บอกว่าแกโดนมาหลายทีแล้ว เราเหลียวดูไปรอบๆ แล้วก็ออกจะ เห็นจริง เพราะอย่างทีบ่ อกบ้านพีส่ งกรานต์นี้ เน้นความโปร่งและเป็นหนึง่ เดียวกับทัศนียะ รอบข้าง ดังนั้นจึงไม่ค่อยมีผนัง มีแต่บาน กระจกซึง่ ล้วนแต่เลือ่ นออกได้ และเมือ่ เลือ่ น ออกหมดแล้ว บ้านก็มีสภาพคล้ายๆ ใต้ถุน หอประชุม กล่าวคือลมสามารถโกรกเข้า ฟากหนึ่งแล้วพัดไปออกอีกข้างหนึ่งได้ง่ายๆ ซึ่งระหว่างที่พัดนั้นก็คงไม่พัดเปล่า แต่คง ท�ำมิดีมิร้ายกับโซฟา ผ้าม่าน ทีวี แจกัน และเครือ่ งเสียงนานา ซึง่ วางอยูท่ วั่ ไปในบ้าน หรือถ้าลมแรงจัด ก็คงหอบเอาลงเขาลงทะเล ไป เสียไปเลยด้วย “ตามสบายๆ แล้วเดี๋ยวพรุ่งนี้ค่อย คุยกัน อย่าลืมดูหน้าต่างด้วย ไม่ไหวลมแรง พายุมาแล้วปิดไม่ทัน ฮ่ะฮ่ะ” พี่สงกรานต์ ย�้ำอีกครั้งก่อนที่แกจะกลับขึ้นห้องไป ใน ความคิดของเราใครมองพี่สงกรานต์แล้วก็ ต้องเหมือนเห็นญาติคนหนึง่ ทีต่ อ้ นรับหลาน anuman-online.com
98
วันกลับบ้าน
ที่มาขอค้างที่บ้าน มากกว่าการรับแขกและ เมื่อไม่ใช่การรับแขก พี่สงกรานต์จึงไม่มี อาการของคนที่ก�ำลัง “ออกแขก” หรือท�ำ เอะอะต้อนรับเพื่อแสดงอ�ำนาจเจ้าของบ้าน แต่อย่างใด มีแต่การออกมาเจอพอได้สวัสดี ทักทายกัน ชี้ที่หลับที่นอนแล้วก็สั่งเสียเรื่อง ฟืนไฟตามประสาเท่านั้นเอง สั้น ง่าย แต่ก็ อบอุ่นอย่างที่สุด คืนนั้นด้วยความที่ฝนลงเม็ด ทุกคน เล่นน�ำ้ ในสระกันได้ไม่นานก็ตอ้ งถอย เพราะ หนาวและความมืดปกคลุม มองไปทางทะเล ก็ไม่เห็นอะไร ครั้นจะมองกันเองในสระก็ เห็นมากเกินไปเสียอีก เพราะมีแต่ผชู้ ายไซส์ พะยูนกลุ้มใจด�ำผุดด�ำว่ายอยู่ไปมา สุดท้าย ผมก็เลยขึน้ มาลองอ่างอาบน�ำ้ ร้อนในห้องน�ำ ้ ลองเปิดสตีม หรือลองอาบฝักบัวจานใหญ่ กลางแจ้ง อันเป็นกลวิธีอาบน�้ำแบบต่างๆ กันที่มีในห้องน�้ำ รวมไปถึงลองเครื่องหอม อีกหลายชนิดที่เขาออกแบบมาใช้เฉพาะที่ ศรีพนั วา จนรูส้ กึ ว่าตัวชักจะเปือ่ ยๆ แล้วจึงได้ เลิก โดยด้วยความที่แช่น�้ำอุ่นนาน เส้นสาย อะไรก็เลยผ่อนคลายจนตัวเบาหวิว ความ ตั้ ง ใจที่ จ ะอ่ า นข่ า วอ่ า นอิ น เตอร์ เ น็ ต อะไร ก่อนนอนเสียหน่อยก็เลยพ่ายแพ้แก่ความ ง่วง แต่ก่อนนอนยังได้ยินเสียงแหบๆ เคล้า ทรัมเป็ตของ Chet Baker ลอยอ้อยอิ่งตาม ลมมาเบาๆ เนือ่ งจากใครบางคนคงก�ำลังลอง ปรับเพลย์ลสิ ต์ในไอพอดทีม่ ตี ดิ อยูก่ บั เครือ่ ง เสียงทุกมุมในบ้านให้เป็นโหมดกล่อมนิทรา เออ...ผมจะนิพพานเอาจริงๆ เสียด้วยซี
อีกวันหนึ่งตื่นเช้าขึ้นมาเรากระโดด น�้ำก่อนเลยเป็นอันดับแรก และดูเหมือน ทีพ่ กั ของศรีพนั วานีก้ ต็ งั้ ใจออกแบบมาให้เกิด ความรู้สึกแบบนั้น คืออยู่แล้วต้องอยากเล่น น�ำ ้ เพราะเดินออกจากห้องนอนมาก็เจอสระ และระหว่างเรากับสระก็มเี พียงกระจกบางๆ กันอยู่ แต่ที่ส�ำคัญคือสระนั้นเขาสร้างเป็น Infinity Pool หรือสระอนันต์ ซึ่งความจริง แล้วก็คือสระที่สร้างให้น�้ำล้นท่วมขอบสระ อยู่ตลอดเวลา เราจึงมองไม่เห็นขอบ ดังนั้น เมื่ อ ไปสร้ า งสระชนิ ด นี้ อ ยู ่ ใ นต� ำ แหน่ ง ที่ มี ทะเลและแผ่นฟ้าเป็นฉากอย่างที่ศรีพันวา ตาคนซึง่ มองไม่เห็นขอบสระก็จะเกิดอุปาทาน อ่อนๆ ไปได้ว่าน�้ำในสระนั้นเชื่อมต่อเนื่อง เป็นหนึ่งกับผืนน�้ำและผืนฟ้าเบื้องหลังเป็น Infinity คือไม่มีขอบเขต ไม่มีจุดจบ ซึ่ง เป็นอะไรที่รื่นรมย์อย่างยิ่ง เพราะชวนให้ จิตใจเกิดความรู้สึกเบาและกว้างขวาง ไม่มี ประมาณ ซึง่ ผมเดาว่าคงๆ คล้ายๆ กับความ รูส้ กึ เวลาพระท่านสวดกรณียเมตตสูตร เมือ่ ถึงท่อนทีว่ า่ “เมตตัญจะ สัพพะโลกัสมิง มานะ สัมภาวะเย อะปะริมาณัง (บุคคลพึงเจริญ เมตตา มี ใ นใจไม่ มี ป ระมาณไปในโลก ทัง้ สิน้ )/อุทธัง อะโธ จะ ติรยิ ญ ั จะ (ทัง้ เบือ้ งบน เบื้องต�่ำ เบื้องเฉียง)/ อะสัมพาธัง อะเวรัง อะสะปัต ตัง (เป็นธรรมอันไม่คบั แคบ ไม่มี เวร ไม่มีศัตรู)” เลยทีเดียว ใครจะว่าแก่วัด ก็ช่าง แต่ถ้าใครไม่เชื่อ ก็จะต้องบอกอย่าง พระให้อีกว่า “เอหิปัสสิโก” ท่านจงมาดูเถิด
เราเล่ น น�้ ำ และถ่ า ยรู ป กั น อยู ่ น าน ก่อนจะเฉลียวใจได้ว่าต้องไปกินข้าวเช้าของ โรงแรมให้ทัน ว่าแล้วเราก็ยกขบวนกันไป ที่ห้องอาหารของโรงแรม ความพิเศษของ อาหารเช้าที่นี่คือเขาท�ำเป็น a la carte คือ ท�ำตามใบสัง่ เป็นจานๆ ไป ไม่ใช่แบบท�ำทิง้ ๆ ไว้ให้ตกั แบบเลีย้ งทหารเกณฑ์ ดังนัน้ อาหาร แต่ละรายการของที่นี่ จึงมาถึงคนกินตอน ก�ำลังอร่อย คือตรงไหนควรกรอบก็ยงั กรอบ ตรงไหนควรหนึบก็ยงั หนึบ ตรงไหนควรเป็น ยางมะตูมก็จะเป็นอย่างมะตูมไม่ผิดเพี้ยน ทุกจานไป นอกจากนั้นเมนูอาหารเช้าที่นี่ ก็ยังยาวเหยียด เอาแค่ไข่อย่างเดียวก็มีทั้ง เจียว ดาว คน ลวก ทอดน�้ำ และเบเนดิกต์ จะกินกับวาฟเฟิล แพนเค้ก เฟรนช์โทสต์ อะไรก็เลือกได้ตามใจ เครื่องดื่มก็มีทั้งชา กาแฟ โกโก้ ซึ่งแต่ละอย่างล้วนจ�ำแนก ชนิดย่อยลงไปอีกตามพันธุ์กาแฟ พันธุ์ชา และกรรมวิธีชง สั่งสักพักแล้วพ่อครัวก็จะ ท�ำให้เดี๋ยวนั้น มีสมาชิกท่านหนึ่งชอบใจ ไข่ เ บเนดิ ก ต์ ม ากเพราะไปติ ด ใจตรง พาร์มาแฮมซึ่งเขาตัดเป็นริ้วรองไข่มา ใคร สั่ ง ไข่ เ บนดิ ก ต์ ส มาชิ ก ท่ า นนี้ ก็ จ ะต้ อ งขอ พาร์ ม าแฮมร�่ ำ ไป สุ ด ท้ า ยเรากิ น ไข่ ร วม กันจะครบถาดอยู่แล้ว กลัวจะชัก ไม่ได้ กลับกรุงเทพฯ ก็เลยตัดใจขอพาร์มาแฮม เปล่าๆ จากพ่อครัว แล้วพ่อครัวก็ใจดีแล่ พาร์มาแฮมมาให้เต็มจานใหญ่ เลยหมดเรือ่ ง กันไปพอดี
กินข้าวเช้าเสร็จเราก็กลับพักผ่อน บ้าง ขึ้นๆ ลงๆ สระน�้ำกันอีกบ้าง พอใกล้ๆ เที่ยงก็อาบน�้ำแต่งตัวเตรียมไปสัมภาษณ์ พี่ ส งกรานต์ ก็ พ อดี กั บ ที่ พี่ ส งกรานต์ ม า รับถึงที่ห้อง แล้วก็พาเราเดินไปยังชัยภูมิ ที่เหมาะมากกับการสัมภาษณ์ ก็คือห้อง อาหารเมื่ อ เช้ า นั่ น เอง ซึ่ ง ห้ อ งอาหารนี้ (ชื่ อ ว่ า BabaQ) ก็ มี ลั ก ษณะเหมื อ น ห้องพัก คือมองไปก็เห็นทะเลอยู่เบื้องหน้า โดยไม่มีสิ่งกีดขวางสายตา นอกเสียจาก สระน�้ำซึ่งมีขอบละลายไปในขอบฟ้าอันเป็น อนันต์อย่างที่เล่าแล้ว ไปถึ ง พี่ ส งกรานต์ ก็ สั่ ง อาหารเป็ น การใหญ่ ทั้ ง ทางครั ว อิ ต าลี แ ละทางครั ว ญี่ปุ่น ทางฝั่งญี่ปุ่นก็มีซาชิมิชุดใหญ่ ซึ่ง มี ทั้ ง พุ ง ปลาทู น า (โทโร่ ) เนื้ อ ปลาทู น า (อะคามิ) ปลาหางเหลือง (ฮามาจิ) หอยปีกนก (ฮอกกิ ) ฯลฯ และก็ ข ้ า วปั ้ น อะไรต่ อ มิ อะไรอย่ า งที่ นั ก เลงซู ชิ รู ้ กั น ดี อ ยู ่ แ ล้ ว อี ก สองสามชนิ ด ทางฝั ่ ง อิ ต าลี ก็ เ พี ย บอี ก เช่นกันมีทั้งสปาเก็ตตี ลาซาญญา พิซซา อย่างละหลายขนาน สังเกตว่าเมนูอาหาร แต่ ล ะชนิ ด ที่ นี่ ไ ม่ ไ ด้ ยื ด ยาวชนิ ด ต้ อ งจบ เปรียญอิตาลีเก้าประโยคจึงจะอ่านได้ ส่วน ใหญ่ก็เป็นแค่ค�ำสองค�ำให้พอรู้ว่าส่วนผสม อันเป็นประธานคืออะไร อย่างเช่น “Rocket Parma” หรือ “Anchovy” แต่เน้นไปในทาง ให้เป็น “comfort food” คือกินง่ายๆ แต่ กินแล้วเอมใจ เพราะหอม มัน ถึงเครื่อง ว่า อย่างนั้นเถอะ ทั้งนี้ พี่สงกรานต์สั่งอาหาร anuman-online.com
100
วันกลับบ้าน
ทัง้ หมดสองส�ำรับ โดยชุดหนึง่ นัน้ ให้พวกเรา ส่วนอีกชุดนั้นพี่สงกรานต์ให้ไปจัดไว้อีกโต๊ะ หนึ่ง เพื่อรับรองแขกของแกอีกคณะ ระหว่ า งที่ สั ม ภาษณ์ ไ ปนั้ น พี่ สงกรานต์คอยคะยั้นคะยอให้พวกเรากิน และสั่งอาหารเพิ่ม “เต็มที่เลย พี่เลี้ยง” แต่ ตัวแกนั้นกลับไม่ได้กินเท่าไหร่ เพราะก�ำลัง ขะมักเขม้นกับการเล่าเรือ่ งต่างสมัยโรงเรียน และสมัยทีท่ ำ� ธุรกิจอย่างออกรส เราเองก็ฟงั เพลินไปเหมือนกัน เพราะพี่สงกรานต์เล่า อย่างที่ฝรั่งเรียกกันว่า “Matter-of-factly” คือเล่าไปเรื่อยๆ มีเรื่องตลก-ซีเรียส เรื่อง สมัยโรงเรียน เรื่องท�ำธุรกิจ เรื่องส�ำเร็จ- ล้มเหลวปะปนกันตามอย่างทีเ่ รือ่ งนัน้ ๆ เกิด และเป็นไป ไม่วิพากษ์วิจารณ์อะไรมาก มี แต่ ก ารหั ว เราะอยู ่ เ ป็ น ระยะ ดู เ หมื อ นพี่ สงกรานต์จะไม่ได้จงใจปั้นแต่งให้เรื่องมัน มากอารมณ์รุนแรง พูดอย่างภาษาสมัยนี้ก็ คือ “ไม่ดราม่า” ทั้งที่ความจริงแล้วชีวิตของ พี่สงกรานต์ก็เป็นชีวิตที่มีบททดสอบต่างๆ ไม่น้อยกว่าใคร อย่างเรื่องการรับช่วงธุรกิจ ทีป่ ระสบปัญหา การต้องเผชิญกับคอร์รปั ชัน่ หรือเหตุรา้ ยทีเ่ กิดขึน้ กับคนในครอบครัว แต่ ก็อาจเป็นได้ว่า เพราะการรับเรื่องราวต่างๆ ในชีวิตอย่าง “Matter-of-factly” นี่เองที่ ท�ำให้พสี่ งกรานต์สามารถผ่านเรือ่ งต่างๆ มา ได้เป็นอย่างดี พีส่ งกรานต์คยุ อยูก่ บั เรานับจากเวลา เที่ยงจนตะวันบ่ายคล้อย เมนูต่างๆ เริ่ม ด�ำเนินไปจนถึงแพนนาคอตตา ช็อกโกแล็ต
ฟองดองต์ ข้าวเหนียวมะม่วง ตลอดจนชา กาแฟโดยล�ำดับ โดยเราเข้าใจว่าที่เราคุย กันนานนี้ ได้ท�ำให้พี่สงกรานต์ต้องเลื่อน หรือเลิกนัดอื่นๆ ไปหลายรายการเหมือน กัน สังเกตจากที่แกคอยสั่งกับพนักงานเป็น ระยะ เป็นการยืนยันว่าเรื่องโรงเรียนนั้นพอ เริ่มแล้วก็หาข้อยุติยาก ยิ่งระหว่างที่คุยนั้น ก็มีโอวีในภูเก็ตท่านอื่นๆ มาสมทบด้วยอีก หลายท่านคือ พี่แฟรงค์ (ทรรสม รัตนพันธ์ โอวี ๗๐) พี่ ไ ข่ ด ้ ว นและแฟน พี่ ห มอ (น.พ. นคร อัษฎามงคล โอวี ๖๕) ท�ำให้ ยิ่ ง คุ ย ยิ่ ง ออกรส จะมี ก็ แ ต่ ช ่ ว งหนึ่ ง ที่ พี่ สงกรานต์ขอปลีกตัวไปนั่งกับแขกอีกโต๊ะ หนึ่งที่แกสั่งอาหารเตรียมไว้ให้ตอนต้น ซึ่ง มารู ้ ภ ายหลั ง ว่ า เป็ น หนึ่ ง ในตระกู ล ใหญ่ ที่ เ รารู ้ จั ก กั น ดี แต่ แ ม้ ก ระนั้ น ก็ ไ ปเพี ย ง ไม่ น านก็ ก ลั บ มาคุ ย ต่ อ ที่ น ่ า ประทั บ ใจ คื อ คุ ย ไปๆ พี่ ส งกรานต์ ยั ง ให้ พ นั ก งาน เอาโรตีส ายไหมที่ แ กหยิ บติ ด มื อ มาจากที่ บ้านไปม้วนและเอามาแจกจ่ายกับพวกเรา เพิ่มเติมจากของหวานที่เราสั่งที่ร้าน ซึ่งใน เมื่อสายไหมนั้นมีเพียงถุงเดียว และแกเอา มาแบ่งอย่างนี้แทนที่จะกินคนเดียวที่บ้าน ทุกคนรวมทั้งแกเองก็เลยได้กินเพียงคนละ ม้วนเท่านัน้ แต่กน็ บั ว่าให้ความรูส้ กึ ของชีวติ นักเรียนประจ�ำดีเหลือเกิน ตกบ่ า ยแก่ ๆ แดดออกสี ส ้ ม แล้ ว เราจึงสัมภาษณ์กันเสร็จ ก่อนแยกจากพี่ สงกรานต์ พีส่ งกรานต์เตือนให้ทกุ คนมาร่วม กินข้าวเย็นกันอีกที่ร้าน Baba Soul Food
ตอนหัวค�่ำ โดยบอกว่าแกมีนัดกินมื้อเย็น กับแขกอีกคณะหนึ่งที่ร้านเดียวกัน แต่ก็ได้ เตรียมโต๊ะไว้ให้เราแล้ว แต่กอ่ นจะถึงมือ้ เย็น นั้น ด้วยความที่เราเห็นว่าบ้านพักนั้นหลัง ใหญ่เกินกว่าทีเ่ ราจะอยูก่ นั เพียงห้าคน เราก็ เลยโทรชักชวนพีๆ่ น้องๆ โอวี ให้มาเจอกันที่ บ้านพัก แล้วก็คยุ เล่นกันครึกครืน้ จนบ้านพัก พี่สงกรานต์แปรสภาพเป็นเหมือนช่องลม คณะพญาไทหรือจิตรลดาชัว่ ขณะ แล้วพอถึง เวลาเราก็ยกโขยงกันไปที่ Baba Soul Food พอไปถึงแล้วแทนที่พี่สงกรานต์จะตกใจว่ามี โอวีงอกมาจากไหนอีกเป็นขบวนจนหวิดๆ จะเป็นการแห่ถ้วย แกก็กลับบอกให้เด็ก จั ด โต๊ ะ จั ด เก้ า อี้ เ พิ่ ม และขอให้ อ นุ ม านฯ รวบรวมชื่อโอวีในภูเก็ตเหล่านี้ไว้เพื่อที่จะได้ นัดสังสรรค์กันในระดับรีเจียนแนลได้ต่อไป พวกเราที่กระมิดกระเมี้ยนอยากจะขอเป็น เจ้าภาพเสียเองด้วยความเกรงใจก็เลยต้อง
ล้มเลิกความคิด การกินที่ Baba Soul Food นัน้ ความจริง ต้องเริ่มตั้งแต่กินบรรยากาศ เพราะร้านนี้ อยู ่ ใ นต� ำ แหน่ ง ซึ่ ง วางไว้ ส� ำ หรั บ การชม อาทิตย์ลับขอบฟ้า โดยมีทะเลอันดามันและ เกาะแก่งน้อยใหญ่เป็นฉากสนับสนุน อาทิตย์ อัสดงหลังขอบทะเลนั้นเป็นความงามในตัว อยู่แล้ว แต่เกาะแก่งที่ค่อยๆ หมดสีลงไป พร้อมๆ กับการอ�ำลาของแสงนั้น จะขับให้ ความงามนัน้ โศกซึง้ ขึน้ อีก อย่างไรก็ตาม ใน เมื่ อ เรานั ด ที่ เ วลาหนึ่ ง ทุ ่ ม ซึ่ ง อาทิ ต ย์ ลั บ ขอบฟ้าไปนานแล้ว การกินบรรยากาศชนิด ที่ว่านี้ก็เลยต้องงดไป แล้วตัดเข้าสู่การกิน ชนิดที่สองเลย ซึ่งก็คือการกินอาหารนั่นเอง อาหารของ Baba Soul Food นั้น ต่างจาก BabaQ เพราะที่นี่เป็นอาหารไทย และเป็นอาหารไทยชนิดที่ท�ำกันอย่างฝาก ฝีมอื เข้มงวดกันตัง้ แต่วตั ถุดบิ ไปจนถึงวิธที ำ � anuman-online.com
102
วันกลับบ้าน
พี่สงกรานต์สั่งให้กินหลายอย่าง ทั้งหลนกุ้ง ย�ำเป็ดกรอบ พล่าหอยเชลล์รากบัว ปลาเก๋า นึง่ ซีอวิ๊ ฯลฯ ล้วนแต่กนิ ดีๆ ทัง้ นัน้ เพราะของ นั้นสดและคนท�ำก็เข้าใจท�ำ แต่ที่ขอให้ใส่ใจ เป็นพิเศษเลยก็คือหมูฮ้อง ซึ่งก็คือหมูสาม ชัน้ ทีเ่ คีย่ วกับน�ำ้ ตาล ซีอวิ๊ และเครือ่ งเทศแบบ ภูเก็ตจนความหอม ความหวานช�ำแรกไป ในเนื้อและท�ำให้เนื้อเปื่อยนุ่มอย่างที่สุด ใช้ เพียงสันส้อมกรีดก็ขาดได้โดยง่าย นอกจาก นั้นก็คือแกงปู ซึ่งมีเนื้อปูแน่นๆ แกะชิ้นโต แกงกับพริกแกงใบชะพลูรสชาติหอมมันนุ่ม นวล ความจริงล�ำพังสองอย่างนีก้ พ็ อจะให้กนิ กับข้าวได้ขอดหม้ออยูแ่ ล้ว อย่างไรก็ตาม ถ้า ใครมีโอกาสได้มาก็ขออย่าได้งดขนมหวาน เป็นอันขาด เพราะแม้ชื่อเมนูจะธรรมดา แต่เขาประดิษฐ์องค์ประกอบเสียใหม่จนกิน อร่อยขึ้นเป็นหน้าเป็นหลัง อย่างหนึ่งก็คือ ข้าวเม่าทอดไส้มะพร้าวกวน ซึง่ มีดที ขี่ า้ วเม่า ซึ่งคั่วจนพองกรอบ กินแล้วคล้องจองไปกับ ความเหนียวและหวานหอมของเนือ้ มะพร้าว กวน และอี ก อย่ า งก็ คื อ ทับทิม กรอบ ซึ่ง แทนที่จะท�ำทับทิมจืดแล้วไปหวานน�้ำกะทิ แบบทั่วๆ ไป เขาก็กลับเสียใหม่ คือเชื่อม ตัวทับทิมเสียให้หวานจัดแล้วค่อยมาเบรก ด้วยกะทิรสหอมมันซึง่ ปัน่ เป็นไอติม เรียกว่า ต่อให้ใครเป็นเบาหวานกินเสียก่อนแล้วค่อย ไปทะเลาะกับหมอทีหลังก็ดูจะยังคุ้มอยู่ เรากิ น กั น อย่ า งที่ ว ่ า นี้ ไ ปจนหมด กระบวน ก็พอดีไล่เลี่ยกันกับที่พี่สงกรานต์
ส่งแขกอีกโต๊ะหนึ่งที่แกนั่งรับรองอยู่กลับ แล้วก็ลุกมานั่งคุยกับเรา พี่สงกรานต์ดูจะ กระตือรือร้นกับการจัดกลุม่ สังสรรค์กนั ของ โอวีในภูเก็ตหรือในภูมิภาค และแม้กระทั่ง เริ่มวางแผนจะร่วมจัดเส้นทางขี่จักรยานกับ พี่หมอ โดยเสนอว่าขี่ตัดเข้าศรีพันวามาก็ได้ และก็ย�้ำให้อนุมานฯ จดชื่อกับเบอร์โทรทุก คนไว้เพื่อการติดต่อ เราเห็นพี่สงกรานต์ ต้อนรับขับสูพ้ วกเราโอวี และนึกถึงภาพทีแ่ ก เดินทักพนักงานนัน้ รับไหว้แขกคนนี้ ตลอด จนรับโทรศัพท์ใครต่อใครที่โทรมาแล้ว ก็อด ประหวัดนึกถึงที่แกให้สัมภาษณ์ไม่ได้ “วชิ ร าวุ ธ ฯ สอนให้ เ ราเป็ น คน เปิดกว้างไม่เก็บตัว เราไปอยู่เมืองนอกกลับ มา เขาก็ถามกันว่าจะมีเพื่อนหรอ? เราก็ มีสิ เพราะเราเปิดให้กบั ทุกคน ไปอยูไ่ หนก็มี เพื่อน มาอยู่ภูเก็ตก็มีก๊วนกอล์ฟอยู่หกก๊วน มีแก่สามก๊วน หนุ่มสามก๊วน มาภูเก็ตแล้ว มาอยูแ่ ต่ในศรีพนั วาอย่างเดียวก็ได้ สบายจะ ตาย แต่อย่างนั้นเราก็จะไม่รู้จักใคร ตายไป ก็ ไ ม่ มี ใ ครรู ้ จั ก อยู ่ หั ว หิ น พี่ ก็ มี เ พื่ อ น ไป กรุงเทพฯ ก็มีข้าราชการ พวกนักธุรกิจด้วย กัน พวกโอวีทั้งหมดนี้มันอยู่ที่เรา ว่าเราจะ เปิดอะไรมากขนาดไหน เราท�ำตัวเอง บุคลิก ที่เป็นแบบนี้ก็มาจากโรงเรียนทั้งนั้น” ครับ และนั่นก็คือพี่สงกรานต์ ผู้มีโลกทัศน์และชีวิตเปิดกว้างเป็น พานอรามาเช่ น เดี ย วกั บ โรงแรมของแก ธนกร จ๋วงพานิช (โอวี ๗๗)
anuman-online.com
104
สนามจันทร์
ความหลังครั้งยังเยาว์...
จากบู๊เหง่ถึงปลากริม หลังตึกเรียน
ดังที่ทิ้งท้ายไว้ในคอลัมน์ “สนามจันทร์” เมื่อตอนก่อนว่า ยังคงมี ความทรงจ�ำ กับเรื่องราวหลายหลากหลังตึกเรียนชั้นประถมของคณะเด็ก เล็ก อาจจะสี่สิบกว่าปีมาแล้ว หากทว่ายังสดใส ด้วยคิดถึงวันเวลาในวัยนั้น ตึกเรียนเด็กเล็กนั้น มีถนนซีเมนต์รายรอบตัวตึกจรดทั้งสี่มุม แต่ ที่ด้านหลัง คล้ายดั่งตรอกแคบๆ ฝั่งซ้ายเป็นแนวถนนเรียวแคบแนบตัวตึก จากขอบซีเมนต์ถนน พื้นที่ยังเหลือเป็นดินเหมือนแถบริบบิ้นที่ตีคู่ไปกันไป
กับถนน แนวดินหลังตึกเรียนชุม่ ฉ�ำ่ จึงมีหญ้า สุมทุมพุม่ ไม้ ต้นกล้วยแตกกอเรียงรายเขียว ครึม้ ฝัง่ ขวาจะเป็นรัว้ คอนกรีตเก่าๆ ยาวจรด ไปสุดมุมโรงปั้น ฝั่งรั้วอีกข้างเป็นบ้านคน มี บ้านไม้ชั้นเดียวคล้ายบ้านคนงานที่หลังคา กระเบื้องลอนเข้ามาแทบจรดแนวรั้ว กับ บ้านหลังใหญ่เรือนปัน้ หยา ทีม่ บี อ่ น�ำ้ ใหญ่อยู่ ข้างหน้าบ้านพื้นที่บ้านกว้าง ต้นไม้ใหญ่ครึ้ม หลังตึกเรียนดูเงียบสงบ แต่ประหนึง่ Outlaw area คล้ายดัง่ ปลายติง่ สุดพรมแดน ของโรงเรียน เขตปลอดครู เด็กคนไหนมา ที่นี่ ไม่ว่าเป้าหมายคืออะไร ล้วนท�ำผิดกฎ กติกาโรงเรียนทั้งสิ้น จะมีการกระท�ำที่ถูกต้อง ตามค�ำสั่ง ครู ก็เพียงอย่างเดียวแหละครับ ก็คือช่วง หน้าฝนจรดเดือนสิบเอ็ดที่น�้ำนองน�้ำท่วม สนามหน้าตึกเรียน ชัว่ โมงพละวิง่ ทีส่ นามไม่ ได้ ครูชาลี สาครสินธุ์ ก็ให้ตั้งแถวตอนเรียง สอง วิง่ เลาะเลีย้ วเคีย้ วคดมาตามทางซีเมนต์ แคบๆ รอบตึกเรียน เลยไปตามถนนหน้า คณะเด็กหนึ่ง เด็กสอง วกกลับมา (ไม่ข้าม ไปเด็กสาม เพราะมีซอยวาปีคั่น) วิ่งเสร็จก็ ไปรวมแถวท�ำกายบริหารกับฝึกเดินแถวปริด๊ ปรี้ปริ๊ดที่ลานซีเมนต์ ข้างศาลาหลังตึกคณะ เด็กเล็กหนึ่ง เสียงวิ่งตรงหลังตึกเรียนจะ ดังก้องมาก นัน่ คงเป็นเสียงอึกทึกอย่างเดียว ในพื้นที่แห่งนั้น ตอนช่วงชั่วโมงเรียน หลังตึกเรียน ไม่มีอะไร แต่ช่วงบ่าย ที่นั่นคือดินแดนแห่ง การขาย "ฝิ่น"
การจะซื้ออะไรได้ต้องมีเงิน แต่กฎ เหล็ ก ของเด็ ก เล็ ก คื อ ห้ า มมี เ งิ น ติ ด ตั ว เด็ดขาด เพราะชีวิตประจ�ำวันไม่จ�ำเป็นต้อง ใช้เงิน พกเงินแล้วท�ำหายก็จะยุง่ เดือดร้อนครู แม่บ้าน มีแล้วแอบไปซื้อของกินนอกรั้ว (ที่ เรียกว่าฝิ่น) เกิดท้องเสียท้องร่วงครูแม่บ้าน ก็เดือดร้อนอีก เด็กเล็กส่วนใหญ่จะไม่กล้ามี เงิน เพราะกลัวโดนตี มีแต่พวกเซียนเท่านัน้ ที่กล้ามีเงิน แล้วมาแอบใช้หลังตึกเรียน เด็กเซียนจะมีสองกลุ่มคือ เด็กเล็ก หนึ่ง เจ้าถิ่นกับเด็กที่เรียนไวโอลิน ไม่ว่า คณะไหนก็มาเรียนชั่วโมงบ่ายที่ศาลาหลัง ตึกเด็กเล็กหนึ่ง พวกนี้ก็สามารถแอบแวบ มาซื้อฝิ่นที่หลังตึกเรียนได้ กล่าวถึงเรียนไวโอลินแล้ว สมัยผม ครู ที่ ส อนเบื้ อ งต้ น เริ่ ม ขี ด ช้ อ กบนคั น ให้ สี สี่ จั ง หวะคื อ ครู เ สงี่ ย มกั บ ครู บ รรจง ครูเสงี่ยมเป็นครูโบราณ ท่านมีไม้บาตองที่ ติดหัวตะกั่วกลมๆ ถ้าเราสีผิดหรือไม่ตั้งใจ ก็จะเอาหัวตะกั่วนั่นแหละเคาะหัวเข่าหรือ ปุ่มนิ้ว ที่เราหักข้อจับอยู่ที่คอไวโอลิน เจ็บ ชิบฮ่กเชียวแหละ ครูบรรจงเป็นครูหนุ่มใจดี กว่า ใครหนีเรียนก็ไม่ว่า เด็กหัดไวโอลิน แล้วได้ดีในยุคนั้น ที่จ�ำได้ก็มี ไอ้ต้อม-นิติกร ยูประพัฒน์, สุทศั น์ รามสูตร, กฤต ไกรจิตติ, ภิสัก จารุดิ ล ก เล่ น ต่ อเนื่ องเข้ า คณะใน อยู่วงจุลดุริยางค์ ที่เอาดีไม่ได้ ก็อย่างผม และเพื่ อ นเกลอ ไอ้ ตี๋ - เอกชั ย นพจิ น ดา เพราะเบื่ อ ครู เ หงี่ ย มเอาหั ว ตุ ้ ม เคาะ หนี เรียนไปอยู่หลังตึกเรียนดีกว่า สิ่งที่จ�ำได้ anuman-online.com
106
สนามจันทร์
คือ เวลาครูเหงี่ยมอารมณ์ดี จะเอาไวโอลิน มาสีเพลง “เม็ดฝน” ไพเราะจริงๆ เพราะ ท่านพลิ้วนิ้วบนสายไวโอลินสี่เส้นไปกับการ ชักคันถี่ยิบ เรียกเสียงเม็ดฝนไล่เรียงจาก ซาๆ มาจั้กๆ ได้อย่างน่าอัศจรรย์ กลับมาที่หลังตึกเรียน เลยจากตึก เรียนจะเป็นโรงปั้น (ครูนิลเอก วัฒนคาม คือ ครูสอนศิลปะที่ประจ�ำอยู่ที่โรงปั้น สอน พวกเราชั่วโมงบ่าย ไว้เล่าในบทต่อไป) ตรง มุมรั้วหลังโรงปั้น ด้านนอกรั้วติดซอยเข้าไป ในชุมชนบ้านคนด้านใน (ซอยเดียวกับ “มี ข่วก มะ ขาย...ย..ย..ปุเลงๆ” หนีครูจ�ำรัส นัน่ แหละ) ทุกบ่ายจะมี “ขาประจ�ำ”คือ บูเ๊ หง่ บู๊เหง่ จะเป็นชื่อมาตรฐานทั่วไปที่ เรียก เส้นหมี่ลูกชิ้นหมูน�้ำใส ปรุงรสด้วย ซีอิ้ว น�้ำส้มพริกเหลืองต�ำละเอียดหรือเปล่า ผมไม่รู้ แต่พวกเราเรียกมันอย่างนั้น เพราะ อาแปะคนขาย แกคอนหาบหม้อทองเหลือง ตะโกนเรียกลูกค้า “...บูเ๊ หง่..บูเ๊ หง่..ไล้เหลีย่ ว” มาแต่ไกล พอมาถึงระยะทีส่ อื่ สารกันได้ ไม่เห็น กันหรอกครับ เพราะแนวรั้วสูงเลยหัว ต้อง ใช้ตะโกนเค้นเสียงพอประมาณ (ตะโกนดังๆ ไม่ได้ ผิดกติกาการซื้อฝิ่น เกรงใจครูนิลเอก ทีอ่ ยูแ่ ถวนัน้ ด้วย ท่านเห็นท่านไม่วา่ แต่อย่า ให้เกินเลย) “บู๊เหง่ บู๊เหง่โว้ย จอดหน่อย” จากนัน้ เราก็ออเดอร์ สัง่ อยูเ่ มนูเดียว แหละครับ คือ บู๊เหง่ เส้นหมี่น�้ำใสใส่ลูกชิ้น ๔ ลูก ใส่ชามกระเบื้องเล็กๆ ไม่ใช่ใหญ่โต ราคาชามละหกสลึง (ผ่านมาจะครึง่ ศตวรรษ
ใครจะเชื่อราคานี้) พวกเรามักเบิ้ลสองชาม ให้ลงตัวสามบาท อาแปะแกปีนรั้วยื่นชามข้ามมา เรา ก็ปนี รัว้ รับจ่ายเงิน แล้วนัง่ กินซูด้ ซ้าดอยูต่ รง นั้น เสร็จแล้วก็ปีนยื่นชามคืนเรียบร้อย ผมว่าเป็นการค้าขายที่ดี ต่างเชื่อใจ กัน เพราะต่างคนต่างไม่เห็นหน้า นอกจาก มือที่ยื่นเอื้อมข้ามรั้ว ยื่นหมูยื่นแมว มีอยู่ครั้งหนึ่ง ซดกันอยู่เพลินๆ เห็น เสื้อขาวๆ กระโปรงกรมท่าแว่บๆ มาแต่ไกล ทีม่ มุ หลังตึกเรียนฝัง่ คณะเด็กเล็กหนึง่ ไม่ครู บรรจง ลวพันธุ์ ก็คงเป็น ครู มณี เอมะศิริ ท่ า นคงจะมาเดิ น ดู ไ อ้ พ วกเซี ย นตั ว แสบ พวกเราก็เ ผ่ น อ้ อ มมาหน้ า ตึ กเรี ย นสิ ครั บ งงเงินไม่ได้จ่ายกันละ ไม่ได้เบี้ยว แต่เป็น สถานการณ์ที่ช่วยไม่ได้จริงๆ หลังจากนัน้ ต่อมาเป็นเดือน ครูนลิ เอก แหละมาเล่าทีหลังตอนที่เราไปเรียนชั่วโมง ปัน้ (เพราะครูจำ� ผมได้วา่ เป็นหนึง่ ในตัวแสบ) ครูนิลเอกอมยิ้มเล่าว่า ครูมณีมาถึง เจอแต่ หลักฐานชามบู๊เหง่ระเกะระกะ ถามครู ครู ก็บอกว่าไม่เห็น แต่พออาแปะบู๊เหง่ได้ยิน เสียงครูมณี ก็ตะโกนข้ามรั้วมา “อาคูคัก ขอชามอัว๊ คืนโหน่ย ค่าก๋วยเตีย๋ วเก้าบากคัก” ครูมณีเอาธนบัตรใบละสิบบาท (สมัยก่อน สิบบาทยังเป็นกระดาษ) ขย�ำกลมๆ แล้วโยน ออกไปนอกรัว้ ตามด้วยชามบูเ๊ หง่โครมออก ไป พร้อมส�ำทับว่า “อย่ามาปีนขายให้เด็กอีก นะ มันผิด มาอีกจะให้ยามมาไล่”
บู๊เหง่คงเป็นอีกรายหนึ่งที่ปุเลงๆ หนี ครูเด็กหนึง่ (ทีด่ รุ ะเบิด) ผมคิดถึงเรือ่ งนี้ ผม ละนับถือครูนลิ เอก ทีท่ า่ นไม่บอกชือ่ กลุม่ ตัว แสบ อาจเพราะเอ็นดูในความกล้าซ่าของ พวกมัน นับถือครูมณีที่จ่ายเงิน(แถมติ๊ป ๑ บาท) แทนลูกศิษย์ที่กินแล้วหนี(ด้วย จ�ำเป็น) ด้วยไม่ต้องการให้ลูกศิษย์ตัวเอง ติดค้างอาแปะขายบู๊เหง่และเป็นความอารี ต่อผูม้ อี าชีพหาบคอนอาบเหงือ่ ต่างน�ำ ้ ผมว่า ภายใต้ใบหน้าถมึงทึงของครูมณี คือ ความ ใจดี หากท่านต้องรักษาภาพลักษณ์ความ ดุภายนอกเอาไว้ เพราะท่านต้องดูแลเด็ก ทโมนให้อยู่หมัด นอกจากบู๊แหง่แล้ว ฝิ่นขาประจ�ำ หลังตึกเรียน คือ บ้านป้าที่หลังคาเกยอยู่ ติดรั้วนุ่นแหละครับ ไปยืนเรียกเถอะ เดี๋ยว ก็โผล่หน้ามา แกมีขายหลายอย่าง แต่สนิ ค้า ยอดนิยม คือ ข้าวเหนียวเนื้อสวรรค์ ใส่ถุง พลาสติกเป็นชุดราคาสามบาท ถึงวันนี้ผมว่า บู๊เหง่คือเส้นหมี่ลูกชิ้น น�้ำใสที่อร่อยที่สุดในชีวิต ข้าวเหนียวเนื้อ สวรรค์ป้าบ้านหลังตึกเรียนก็อร่อยที่สุดใน โลก เพราะมันไม่ใช่แค่รสชาติแต่มันคือการ ผจญภัย การได้เสพความตื่นเต้น (การหา เรื่องท�ำอะไรให้สารอะดรีนาลีนหลั่ง อะไร ก็สุดยอด) อีกประการ วัยเด็ก คือ วัยที่ สดใสครับ ลิ้นมันยังเดียงสา ลิ้มรสอะไร อร่อยสุดๆ ทั้งนั้น อาหารผิ ด กฎหมาย ลั ก ลอบขาย จากนอกรั้วยอดฮิตอีกอย่างหนึ่งในยุคนั้น
คือ หวานเย็น น�้ำหวานแช่แข็งใส่ในพิมพ์ พลาสติกนิม่ รูปสัตว์ รูปผลไม้ องุน่ ไปจนถึง หวานเย็นโอเลี้ยงใส่ลูกโป่งยาว เป็นฝิ่นของ พวกเด็กเล็กสาม ที่จะแอบซื้อตรงรั้วหลัง บ้านริโก้ ติดซอยวาปี ครูสมใจต้องคอยตาม จับ ตามตีพวกตัวแสบแอบซื้อฝิ่นหวานเย็น ท่านบอกว่า “มันไม่สะอาด เดี๋ยวท้องร่วง โรงเรียนมีนมมีไอศกริมโฟรโมสต์สลับให้กนิ เป็นอาหารว่างทุกวัน ดันจะไปกินของข้างรัว้ ” แหม...อะไรทีม่ นั ผิดกฎ แอบซือ้ แอบ กิน หวานเย็นต้องบีบๆ ดูดๆ ซู้ดจนหยด สุดท้าย ยังไงก็อร่อยกว่าของตายโฟรโมสต์ แหละครูครับ วิถีชีวิตของเด็กเล็ก เวลาใครมีเรื่อง บาดหมางใจกัน ไม่ว่าเรื่องอะไร เช่น โกรธ เพราะเพื่อนฟ้องครู โดนล้อชื่อพ่อ หรือโดน จับหม้อ (ในยุคนั้นเด็กคนไหนเผลอโดน เพื่อนลูบแก้มจับแก้ม เรียกว่าโดนจับหม้อ จะโมโหหัวรัดฟัดเหวี่ยง ถูกล้อเลียนให้เสีย เชิงชายจะต้องเอาคืนให้ได้ ไม่รวู้ า่ ไอ้จบั หม้อ นี่ มาจากยุคใด) ก็ท้าชกกันได้ วลีประจ�ำคือ “เจอกันหลังตึกเรียน” ดังที่กล่าวมา หลังตึกเรียนเป็นที่ๆ ปลอดครู ลับตาครู ที่ก็แคบๆ คนแห่ตาม ดูไม่เยอะ พวกใครพวกมัน ชกกันโดนสัก สองสามตุ้บก็โอเคแล้ว ไปชกอื่นที่กว้าง ตั้ง หลักกันเป็นโยชน์ ชกลมซะมากกว่า หลัง ตึกเรียนเป็นสังเวียนของเด็กต่างคณะ ที่ ผิดใจกันระหว่างชั่วโมงเรียน นัดกันมาชก ตอนหลังชั่วโมงห้าก่อนกลับคณะ เด็กหนึ่ง anuman-online.com
108
สนามจันทร์
ก็ผิดใจกันก็มาชกหลังตึกเรียนเหมือนกัน เพราะอยูใ่ นเขตถิน่ ตัวเอง (ส่วนเด็กสองและ เด็กสามชกกันที่ไหน คงต้องไปถาม เพราะ ผมอยู่เด็กหนึ่ง) ไอ้คนที่มีเรื่องชกต่อยกันบ่อยๆ มัก จะได้รบั การยกย่องว่า ‘ใจถึง’ อาจมีตำ� แหน่ง ‘เจ้าคณะ’ ประดับบารมี บางที ไม่ต้องมีเรื่องโกรธกัน แต่ อยากรู้ว่าอั๊วหรือลื้อเป็นเจ้าคณะ ก็ต้องมา ชกกัน ส่วนใหญ่แล้วไอ้คนตัวใหญ่ที่สุดใน คณะนั่นแหละเป็นเจ้าคณะ เพราะใครจะ อยากไปชกกับมัน ไอ้ลงิ -ทัศนัย ธิยะใจ ใจมันถึง ตอนอยู่ ป.๗ ขนาดไอ้โอ๊ค-อภิเจต บัวจิตติ เจ้าคณะ เด็กสาม ตัวเบ้อเริ่ม ไอ้ลิงยังกล้าท้าชก (แต่ แบบสามรุมหนึ่งนะ) ตอนเด็กๆ ตัวไม่ต่าง แต่ตอนโตจนแก่มาด้วยกัน ไอ้ลิงยังตัวเท่า ลูกหมา สูงเท่าตอนเล่นรุ่นเล็ก รุ่นกลางที่ คณะดุสติ เท่าไหร่กเ็ ท่านัน้ ถึงวัยเกษียณยามนี้ ใครจะเชื่อ ไอ้ลิงเคยเป็นเจ้าคณะเด็กหนึ่ง ไอ้แฝด-อรรถพล และ นิพนธ์ จิระนคร เข้า ป.๔ มันซ่าหาเรื่องชกได้ทุกวัน หาเรื่อง ใครไม่ได้ ก็หาเรื่องกันเอง ผมยังจ�ำได้ มัน ทั้งคู่นั่งอึในห้องน�้ำ หันหน้าชนกัน แซวกัน ไปแซวกันมา ชักยั๊วะ มันยืนขึ้นมาพร้อมๆ กันจะชกกัน ทั้งๆ ที่อึคาก้น ไอ้คนหนึ่งมัน ลืมตัวด่าแม่อีกคน อีกคนหัวร่อกิ๊ก..แม่กูก็ แม่มึงแหละ ผมคิดถึงมัน แฝดทั้งสองคนจากไป แล้วเมื่อหลายปีก่อน
ในฤดู น�้ ำ หลาก บ่ อ น�้ ำ บ้ า นหลั ง ตึกเรียนเอ่อล้น น�้ำขึ้นท่วมฉ�่ำหลังตึกเรียน มีปลาเล็กปลาน้อยพวกปลากริมปลากระดี่ ตามน�้ำตื้นมาด้วย จึงท�ำให้หลังตึกเรียนเป็น แหล่งท�ำกิจกรรมประมงน�ำ้ จืดของพวกเซียน สายลมแสงแดด (ไอ้พวกนี้เก่งน�ำหน้าเพื่อน ทุกเรื่องทุกเทรนด์ ยกเว้นเรื่องเรียนหนังสือ เข้าคณะในก็อยู่ห้อง ค. มันทุกปี) เช้าวันปิยมหาราช ๒๓ ตุลาคม ใน ปีหนึ่ง หลังจากถวายบังคมพระบรมรูปทรง ม้า โรงเรียนปล่อยเด็กกลับบ้าน พ่อแม่ของ ไอ้เตีย้ -ปรเมศวร์ และน้องชาย ไอ้ไอ๊-ปรมาส ยุทธศาสตร์โกศล มารับลูกแต่กลับหาไอ้เตีย้ และไอ้ไอ๊ ไม่เจอ ครูบรรจงก็หาจ้าละหวั่น ตามดูทหี่ อ้ งน�ำ ้ ในล็อกเกอร์ทงั้ คณะก็ไม่เจอ จนทั้งครูทั้งพ่อแม่ชักใจเสีย มันทั้งคู่ไปจับปลากันหลังตึกเรียน ครับ หายไปเป็นชัว่ โมง ไม่สนว่าพ่อแม่จะมา รับ โผล่ออกมาเสื้อผ้าเปียกมอมแมม ยิ้มร่า พร้อมลูกปลากระดี่ในขวดแก้ว แต่ทแี่ สบไปกว่านัน้ เป็นวันหนึง่ หลัง ชั่วโมงห้า เด็กคณะเด็กเล็กหนึ่ง ก�ำลังเข้า แถวเตรียมเข้าห้องอาหาร กินข้าวกลางวัน เป็นเวรครูจ�ำรัส จันทราศุ เด็กคณะเด็กเล็ก สาม คนหนึ่งวิ่งตึ้กๆ หน้าตั้งห้อแน่บมาตรง ถนนหน้าคณะเด็กหนึ่งเพื่อกลับคณะ ครู จ�ำรัสผิดสังเกต จึงสัน่ กระดิง่ ประจ�ำตัว กริง๊ ๆ เรียกตัวเด็กสาม คนนั้นเข้ามา เด็กสามคนนั้นคือ ไอ้อ�่ำ-อ�ำรุง น้อย เศรษฐ์(ตอนนี้มันเปลี่ยนชื่อไปแล้ว จ�ำชื่อ
ใหม่ไม่ได้) ยืนเหงื่อซก ตรงหน้าครูจ�ำรัส “เธอไปท�ำอะไรมา เด็กคณะเด็กสาม ไหน รายงานมาซิ ท�ำไมถึงไม่กลับคณะ” ไอ้อ�่ำนิ่ง เม้มปากแน่น ไม่ยอมพูด ยิง่ ท�ำให้ครูจำ� รัสโมโห “นีเ่ ด็กอ�ำรุง” ครูจำ� รัส อ่านชื่อที่หน้าอกไอ้อ�่ำ “ตอบมาเดี๋ยวนี้นะ เธอท�ำอะไร ถึงไม่กลับคณะ” ไอ้อ�่ำก็ไม่พูด
ไปอย่างรวดเร็ว ส่วนครูจำ� รัสท่านก็เดินโผเผ ไปที่ห้องท่าน สงสัยจะไปอ้วก คลื่นไส้ไอ้อ�่ำ ไอ้อ�่ำมันไปจับปลาหลังตึกเรียนมา ได้ ไม่มีอะไรใส่ก็เลยอมใส่ปาก รักษาชีวิต ลูกปลา วิ่งตื๋อกลับคณะฯ ไงครับ ผมไม่รู้ ว่าปลากริมตัวนั้นจะรอดเป็นสัตว์เลี้ยงของ ไอ้อ�่ำหรือไม่ หรือไอ้อ�่ำจะไปโดนครูสมใจ ตีซ�้ำ ข้อหาทารุณสัตว์ ผมพยายามจะค้นลิน้ ชักความทรงจ�ำ ปะติดปะต่อเรื่อง ความหลังครั้งยังเยาว์ มา เขียนให้อ่านกันสนุกๆ เรื่องราวมักอยู่ใน บรรยากาศของคณะเด็กเล็กหนึ่ง เพราะผม เด็กหนึ่ง ว่าไปแล้วเด็กสองและเด็กสามก็มี เรื่องสนุกๆ เยอะครับ แต่ต้องไปหาคนมา เล่ามาเขียน เล่มหน้า เรียนปั้นกับครูนิลเอกกับ เรื่องผีๆ คณะเด็กเล็กครับ เป๋ง ใหญ่พญา
“นีเ่ ธอจะดือ้ ด้านท้าทายฉันหรือถึงไม่ พูด เป็นใบ้หรือ ถือว่าเป็นเด็กคณะเด็กเล็ก สาม แล้วฉันจะตีเธอไม่ได้หรือไง ตอบมา เดี๋ยวนี้นะ” ครูจ�ำรัส คว้าไม้บรรทัด ไอ้อ�่ำอ้าปาก แต่มันไม่ได้ตอบครู จ�ำรัสทันที มันค่อยๆ บ้วนน�้ำลายใส่อุ้งมือ ของมัน มีลูกปลากริมดิ้นอ่อนแรงในฟอง น�้ ำ ลายฟ่ อ ด “อ� ำ รุ ง น้ อ ยเศรษฐ์ คณะ สราญรมย์ ไปจับปลาหลังตึกเรียนมาครับ” ไอ้อ�่ำพูดฉาดฉาน - ยอดชาย ขันธะชวนะ (โอวี ๔๔) ครูจ�ำรัส ตาพอง พูดไม่ออก โบกมือ ไล่ไอ้อ�่ำ ไอ้อ�่ำอมลูกปลากริมต่อ แล้ววิ่งห้อ
anuman-online.com
110
กองบังคับการ
สิบนิ้วประนมเหนือเกศ ไหว้ครูวิเศษทั้งน้อยใหญ่
คิ ด สร้างสรรค์ ระบบ การ
เชิง
การแก้ปัญหา
"ทักษะที่จ�ำเป็น
ส�ำหรับศตวรรษที่ ๒๑"
ชีวิต
นวัตท�กรรม เทคโนโลยี ำงานแบบ สารสนเทศ ร่วมมือ
บทความที่แล้วเป็นเรื่องของการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ ส�ำหรับบทความนี้จะเป็น เรื่องของทักษะที่จ�ำเป็นส�ำหรับศตวรรษที่ ๒๑ แต่ถ้าจะเขียนออกมาเป็นบทความที่มีแต่ เนื้อหาอย่างเดียว ก็ดูจะไม่ถูกจริตพวกเราชาววชิราวุธฯ เท่าไรนัก โดยส่วนตัวผมก็เชื่อ ว่าการใช้ชวี ติ ในโรงเรียนได้สอนให้เราเรียนรูท้ กั ษะต่างๆ ทัง้ ทีต่ งั้ ใจและไม่ได้ตงั้ ใจ ซึง่ ต่อมา กลายเป็นทักษะทีจ่ ำ� เป็นต่อการน�ำไปใช้ในชีวติ ผมจะขอเอาเรือ่ งราวและประสบการณ์จาก การใช้ชีวิตในโรงเรียน ๑๐ ปี บวกกับเรื่องราวในหนังสือ “ปีนรั้ววชิราวุธฯ” มาใช้เขียน ประกอบแต่ละหัวข้อ เพือ่ ให้ได้อรรถรสกันทัง้ น้องๆ รุน่ เล็ก และพีๆ่ รุน่ ใหญ่ ไปในคราวเดียว ส�ำหรับทักษะที่จ�ำเป็นส�ำหรับศตวรรษที่ ๒๑ นั้น มีผู้ให้ค�ำนิยามไว้หลายส�ำนัก ซึ่ง นอกจากการอ่านออก เขียนได้ ที่ควรจะมีกันทุกคนแล้ว ผมได้สรุปรวมเป็น ๗ ทักษะ ดังนี้
๑. ทักษะการคิดเชิงระบบ
คือการคิดพิจารณาโดยใช้เหตุผลอย่างรอบครอบ ในการที่จะจัดการกับสิ่งใด สิ่งหนึ่ง ทักษะการคิดเชิงระบบนี้มีความส�ำคัญมาตั้งแต่อดีตและยิ่งส�ำคัญมากในโลก ปัจจุบันที่ซับซ้อนมากยิ่งขึ้น จึงเป็นเรื่องจ�ำเป็นที่เราจะต้องมีความสามารถในการวิเคราะห์ สังเคราะห์ รวมถึงจัดการข้อมูลและสถานการณ์ต่างๆ ให้ได้
พอมานัง่ นึกย้อนกลับไป โรงเรียนของเราก็ได้มกี ารฝึกทักษะทางด้านนีใ้ ห้พวกเรา อยู่แล้ว ทั้งนี้อาจจะเกิดจากความตั้งใจหรือไม่ก็มิอาจทราบได้ โดยผมจะขอยกตัวอย่างการ จัดงานและกิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียน พี่ๆ น้องๆ อาจจะนึกถึงการเตรียมงานกรีฑา การ เตรียมละคร งานรื่นเริงประจ�ำภาคการศึกษา งานคณะ งานรักบี้ ๗ คนภายใน ไล่เรียงมา จนถึงงาน กาลาเดย์ ในปัจจุบันประกอบไปด้วย ส่วนคนที่ความทรงจ�ำเริ่มเลือนรางก็ขอให้ กลับไปหยิบหนังสือ “ปีนรั้ววชิราวุธฯ” ขึ้นมาปัดฝุ่นแล้วเปิดไปที่หน้า ๑๕๖ ก็คงจะช่วยให้ นึกถึงบรรยากาศ “งานคณะ” ได้ไม่น้อยเลยทีเดียว แล้วงานต่างๆ ที่ว่ามานี้เกี่ยวอะไรกับ ทักษะการคิดเชิงระบบ ส�ำหรับคนที่มีประสบการณ์ก็คงจะพอนึกออกถึงขั้นตอนของการ เตรียม เพือ่ ให้งานออกมาสมบูรณ์แบบทีส่ ดุ เริม่ ตัง้ แต่การวางแผนและรูปแบบของงาน การ แบ่งฝ่ายแบ่งหน้าที่ในการท�ำงาน การติดต่อขอใช้สถานที่หรือความร่วมมืออื่นๆ จากทาง โรงเรียน (ไม่ว่าจะเป็นตึกพยาบาล โรงครัว คนงาน ฯลฯ) การติดต่อเต๊นท์ เครื่องเสียง ร้านค้าภายนอก การเตรียมเวทีและการแสดง ฯลฯ ล้วนแล้วแต่ต้องคิด จัดการ เรียงล�ำดับ ความส�ำคัญ และค�ำนึงถึงสิ่งที่ควรจะเกิด ก่อน-หลัง ทั้งสิ้น ตอนที่เราท�ำมันอาจจะเป็นแค่ เพียงความสนุกในวัยเด็กเท่านัน้ แต่ใครจะรูเ้ ล่าว่าเมือ่ โตขึน้ เข้าท�ำงาน ประสบการณ์เหล่านี้ กลับมามีส่วนในการคิด การจัดการของเราทั้งสิ้น
๒. ทักษะการแก้ปัญหา
ก่อนอื่นต้องขอแบ่งทักษะการแก้ปัญหาออกเป็น ๒ ช่วง คือ ๑. ทักษะการแก้ปัญหาระยะสั้น หรือการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ที่ต้องเน้นไหวพริบ ความสามารถ และการตัดสินใจในขณะนัน้ ซึง่ เป็นเรือ่ งทีเ่ กิดขึน้ และให้พวกเราชาววชิราวุธฯ ได้ฝึกฝนวิทยายุทธกันอยู่บ่อยๆ ถ้าไม่นับเรื่องการเอาตัวรอดที่แทบจะทุกคนได้มีโอกาสได้ ใช้ เพื่อให้ตนและเพื่อนพ้องได้รอดพ้นจากเคราะห์กรรมต่างๆ ที่รุ่นพี่จะประทานมาให้ ก็ เห็นจะเป็นการแก้ปัญหาในสนามกีฬา ที่อะไรก็สามารถเกิดขึ้นได้ แล้วก็ดูเหมือนพวกเรา จะแก้ไขได้ดีซะด้วย ๒. ทักษะการแก้ปัญหาระยะยาว ซึ่งต้องอาศัยรูปแบบ การวางแผน ซึ่งผมมองว่า ตรงจุดนี้พวกเรายังได้ฝึกฝนกันน้อยเวลาที่อยู่ในโรงเรียน ส่วนใหญ่จะมีโอกาสก็เมื่อเป็น นักเรียนชัน้ โตหรือหัวหน้าคณะเท่านัน้ แต่กน็ า่ แปลกใจทีเ่ มือ่ จบและท�ำงานกันแล้ว หลายๆ คนมีวิธีการและความสามารถในการแก้ปัญหาระยะยาวได้ดีและไม่เหมือนใคร ทั้งนี้ก็ต้อง มานั่งวิเคราะห์ต่อกันเอาเองว่าเพราะอะไร แต่ถ้าเป็นเรื่องรูปแบบ และการวางแผน ที่ สุ่มเสี่ยงจะท�ำให้เกิดปัญหาในภายหน้าได้ ดูเหมือนพวกเราจะเชี่ยวชาญและฝึกฝนกันมา พอสมควรเลยทีเดียว anuman-online.com
112
กองบังคับการ
๓. ทักษะการคิดเชิงสรรค์สร้างนวัตกรรม/การคิดสร้างสรรค์
การคิดสร้างสรรค์และคิดสรรค์สร้าง เป็นการคิดที่อาศัยการเชื่องโยงประสบการณ์ เก่าเข้ากับประสบการณ์ใหม่ เพือ่ ตอบสนองหรือแก้ปญ ั หา ทัง้ นีไ้ ม่จำ� เป็นต้องเป็นสิง่ ใหม่ของ โลก อาจเป็นแค่เพียงสิ่งใหม่ของบุคคลนั้นๆ ก็พอ นอกจากนี้การคิดสร้างสรรค์และสรรค์ สร้างนี้ ไม่จ�ำเป็นที่จะต้องออกมาเป็นสิ่งประดิษฐ์เสมอไป อาจเป็นไปในรูปแบบของ ค�ำพูด ประโยค วลี การเชื่อมโยง การดัดแปลง และการริเริ่ม เป็นต้น แต่ที่กล่าวมาข้างต้นจะ แตกต่างกันออกไปตามการคิดที่ละเอียดละออ กล่าวคือ ผู้ใหญ่กับเด็ก ผู้หญิงกับผู้ชาย ก็ จะมีความละเอียดในการคิดต่างกันออกไป นอกจากสิ่งประดิษฐ์ที่สุดแสนจะพิสดารทั้งที่สร้างใหม่และดัดแปลงแล้วก็ตามของ พวกเรา อีกเรื่องที่แสดงให้เห็นถึงความคิดสร้างสรรค์ ก็คือ การแข่งโต้วาที ที่ผู้พูดจะใช้ ค�ำพูด ประโยค วลี (ที่พิสดารจนบางทีก็ท�ำให้ไม่แน่ใจว่าใช่ภาษาคน) บวกกับลีลาและ มุขตลกขบขัน มาเชื่อมโยง ดัดแปลง แล้วก็เริ่มประเด็นในการเสนอหรือคัดค้านใหม่ ที่ นอกจากได้ความรู้ (บ้าง) แล้วยังสร้างเสียงหัวเราะ ความสุขสนุกสนาน เฮฮาแบบมีกึ๋นให้ พวกเราไปพร้อมๆ กันอีกด้วย
๔. ทักษะในการสื่อสาร
ทักษะการสื่อสารเป็นสิ่งส�ำคัญที่มิอาจมองข้ามไปได้ เพราะเป็นทักษะที่จะต้องใช้ ในชีวิตประจ�ำวัน ซึ่งการสื่อสารนี้อาจเป็นการสื่อสารที่เข้าใจได้เฉพาะกลุ่ม ไม่จ�ำเป็นต้อง รู้เรื่องอย่างแพร่หลายเสมอไป สามารถแบ่งได้เป็น ๒ ประเภท คือ ๑. วัจนภาษา (Oral Communication) คือ ภาษาที่เป็นค�ำพูด เป็นถ้อยค�ำ หรือ การเขียน ในส่วนนี้เป็นสิ่งจ�ำเป็นและได้รับการฝึกฝนทุกวันจากกิจกรรม เช่น การโต้วาที และการเรียนในโรงเรียน ซึง่ ครูสามารถกระตุน้ ให้นกั เรียนได้สอื่ สารหรือน�ำเสนอในรูปแบบ อื่นๆ เพิ่มเติม รวมถึงการได้ฝึกการสื่อสารกับรุ่นพี่ เพื่อน และรุ่นน้อง ซึ่งก็จะมีวิธีการ สือ่ สารทีแ่ ตกต่างกันออกไปตามวาระและโอกาส ถือเป็นโอกาสทีด่ ที จี่ ะได้ฝกึ ฝนเพือ่ เตรียม ความพร้อมส�ำหรับอนาคต ๒. อวัจนภาษา (Non- verbal Communication) คือ ภาษาท่าทาง สายตา การ แสดงออก การสื่อสาร ในส่วนนี้พวกเราชาววชิราวุธฯ ก็ได้ฝึกฝนกันอย่างมากมาย ซึ่งโดย มากไม่เป็นทางการ เช่น การเล่นกีฬา ไม่ว่าจะประเภทใดก็ตามที่มีตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป ต้อง อาศัยการสือ่ สารทางท่าทาง หรือแม้กระทัง้ มองตาหรือพยักหน้าก็สามารถรูก้ นั ได้วา่ จะเล่น
อะไรต่อไปส�ำหรับคนที่เล่นด้วยกันมานาน นอกจากการสื่อสารในสนามกีฬาที่ใช้กันบ่อย ตั้งแต่อดีตจนปัจจุบันแล้ว ยังมีการสื่อสารที่ผมได้ยินได้ฟังพี่ๆ เล่ากันมา และรู้สึกชื่นชอบ ทุกครัง้ ไป ก็คอื “การส่องไฟ” (สามารถอ่านเพิม่ เติมได้ในหนังสือ “ปีนรัว้ วชิราวุธฯ หน้า ๘๐”)
๕. ทักษะในการท�ำงานแบบร่วมมือ
การท�ำงานแบบร่วมมือหรือการท�ำงานเป็นทีม เป็นการท�ำงานร่วมกันของคนตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไปเพื่อจุดมุ่งหมายเดียวกัน โดยมีการแบ่งหน้าที่กันท�ำ ทักษะดังกล่าวเป็นสิ่ง ส�ำคัญทีท่ กุ คนควรมีในปัจจุบนั ดังพระบรมราโชวาทในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ความ ตอนหนึง่ ว่า “...การท�ำงานให้สำ� เร็จขึน้ อยูก่ บั ความสามารถสองอย่างเป็นส�ำคัญ คือสามารถ ในการใช้วชิ าความรูอ้ ย่างหนึง่ สามารถในการประสานสัมพันธ์กบั ผูอ้ นื่ อีกอย่างหนึง่ ทัง้ สอง ประการนี้ต้องด�ำเนินคู่กันไป...” เป็นเรื่องที่ดีที่พวกเราได้ใช้ชีวิตร่วมกันในโรงเรียนและมีกิจกรรมต่างๆ นานา ให้ ได้ท�ำมากมาย ถ้าพูดถึงการท�ำงานเป็นทีม สิ่งแรกที่พวกเรามักพูดถึงคงไม่พ้นการเล่น รักบี้ กีฬาที่ถือว่าใช้ผู้เล่นต่อทีมมากที่สุดของเรา ที่แต่ละต�ำแหน่งก็มีหน้าที่เฉพาะของตัว เอง เติมเต็มซึ่งกันและกัน เสียสละเพื่อให้ทีมได้แต้มและชัยชนะ คนวางทรัยไม่ใช่คนที่ได้ รับค�ำชืน่ ชมเสมอไป หากแต่เป็นทัง้ ทีมทีช่ ว่ ยกันให้ได้มาซึง่ ชัยชนะ และสิง่ เหล่านีท้ สี่ ะสมมา ได้ติดตัวไปและน�ำมาใช้ในการท�ำงาน โดยตอนเด็กๆ ที่อยู่โรงเรียนก็มักจะมีพี่ๆ โอวี กลับ มาพูดในวาระต่างๆ หรือแม้แต่บทสัมภาษณ์ในหนังสืออนุมานวสารเองก็ตาม มักจะได้ยิน ได้อ่านที่พี่ๆ พูดถึงการน�ำประสบการณ์จากการเล่นรักบี้ไปใช้ในการท�ำงาน ซึ่งล้วนแต่เป็น ทักษะการท�ำงานแบบร่วมมือทั้งสิ้น
๖. ทักษะในการใช้เทคโนโลยีและการจัดการสารสนเทศ
ทักษะในการใช้เทคโนโลยีและการจัดการสารสนเทศ เป็นอีกทักษะที่จ�ำเป็น เพราะ สามารถช่วยเราในการแก้ปัญหา ค้นคว้า น�ำเสนอ สื่อสาร และพัฒนาตนเองได้ ส�ำหรับ เด็กๆ ในปัจจุบนั ทีเ่ กิดมาคูก่ บั การใช้เทคโนโลยีนนั้ คงไม่ตอ้ งห่วงเรือ่ งการเข้าถึงเทคโนโลยี แต่สิ่งที่หน้าเป็นห่วงคือ การรู้เท่าทันและการใช้เทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็นการน�ำข้อมูลมาใช้ หรือการแชร์ตอ่ ข้อมูล หลายครัง้ ทีเ่ ราน�ำมาใช้หรือส่งต่อข้อมูลเหล่านัน้ โดยทีเ่ ราละเลยการ ตรวจสอบข้อมูล ซึ่งจุดนี้ได้กลายเป็นข้อเสียของเด็กๆ และผู้ใหญ่หลายๆ คนในปัจจุบันไป เสียแล้ว ซึ่งการกระท�ำดังกล่าวสามารถท�ำให้เกิดเรื่องวุ่นวายได้มากมายในสังคมปัจจุบัน น�ำมาซึ่งความเดือดร้อนแก่ตัวเองและส่วนรวม หลายๆ คน รวมถึงผมด้วยก็เคยผิดพลาด anuman-online.com
114
กองบังคับการ
ในเรื่องนี้ แต่เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว การน�ำข้อมูลมาใช้หรือส่งต่อข้อมูลคราวต่อไปอย่าลืมคิดให้ รอบด้านและตรวจสอบข้อมูลให้ถี่ถ้วนนะครับ
๗. ทักษะชีวิต
ทักษะสุดท้ายที่จ�ำเป็นต่อการใช้ชีวิตในโลกปัจจุบัน ประกอบไปด้วย ๘ คุณสมบัติ
ดังนี้
๑. ความเป็นผู้น�ำ แบ่งได้เป็น ๒ ประเภท คือผู้น�ำโดยต�ำแหน่ง และผู้น�ำโดย ธรรมชาติ ส�ำหรับนักเรียนวชิราวุธฯ เราได้ถูกฝึกกันมาตั้งแต่เล็ก โดยเริ่มแรกในหมู่เพื่อน ฝูงก็จะปรากฏผู้น�ำโดยธรรมชาติออกมาก่อน เอาเป็นว่าไอ้พวกหัวโจกทั้งหลายก็น่าจะได้ ส่วนที่ไม่ใช่หัวโจกออกแนวนิ่งเงียบ ไปจนกระทั่งชอบโดนเพื่อนแกล้งก็มักจะถูกดันให้เป็น หัวหน้าห้องเสมอๆ ก็เป็นการได้ฝึกไปอีกแบบหนึ่ง ยิ่งเข้ามาเด็กในพื้นที่ในการแสดงออก ซึ่งภาวะผู้น�ำก็ดูจะมีมากขึ้น ที่เป็นทางการก็เห็นจะได้แก่ เป็นหัวหน้าห้อง หัวหน้าชุดกีฬา หัวหน้าคณะ ส่วนที่ไม่เป็นทางการก็เริ่มตั้งแต่โชว์พาว (Power) ใส่ฝูงนกพิราบที่อาบน�้ำ อาบแดด อยูท่ สี่ นามเป็นการเช็คบารมี หัวหน้าเด็กห้อง หัวหน้าโรงมหรสพทีต่ อ้ งคอยจัดการ
แสดง การเล่น ไว้คอยกวนพี่ๆ อยู่แทบทุกวัน นี่ยังไม่รวมถึงหัวหน้าชุดรับน้อง หัวหน้าชุด เข้าตี และอีกมากมายที่พี่ๆ จะอุตริคิดกันขึ้นได้ ซึ่งถ้ามองโลกในแง่ดีแล้ว ล้วนแต่เป็นการ เปิดโอกาส แม้บางครัง้ จะเป็นการบังคับให้เกิดโอกาสก็ตามที ให้พวกเราได้ฝกึ ความเป็นผูน้ ำ � แม้น�ำกันเองในกลุ่มเล็กๆ ก็เป็นพื้นฐานให้น�ำไปใช้ในอนาคตต่อไป ๒. คุณธรรม จริยธรรม เป็นสิ่งที่ทุกคนพึงมี การด�ำเนินชีวิตโดยมีคุณธรรม จริยธรรม เป็นเครื่องน�ำทาง มีโอกาสที่จะท�ำให้เราพบความสุขในชีวิตได้มาก คุณธรรม จริยธรรม ในที่นี้หมายถึงการประพฤติ ปฏิบัติตนในทางที่ดี ซึ่งนักเรียนวชิราวุธฯ ถูกสอน จากการที่ได้กินนอนอยู่ด้วยกันไปในตัว การไม่เบียดเบียนผู้อื่น รู้จักเสียสละ ไม่ท�ำให้ ตนเองและผู้อื่นเดือดร้อน ก็น่าจะเพียงพอส�ำหรับการปฏิบัติตนเบื้องต้น ให้อยู่ในสังคม อย่างมีความสุข ๓. ความโปร่งใส คือการกระท�ำใดใดที่ผู้อื่นสามารถมองเห็นได้ คาดเดาได้ และ เข้าใจได้ นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการตัดสินใจที่มีผลต่อคนหมู่มากด้วย การที่จะน�ำมาซึ่ง ความโปร่งใสนั้น ส่วนตัวผมคิดว่าต้องมีพื้นฐานของความสุจริต และยุติธรรม ซึ่งพวกเรา ถูกสอนมาตั้งแต่เล็กเช่นกัน ๔. ปรับตัวได้ดี มีหลายคนชอบพูดว่าเด็กวชิราวุธฯ อยูง่ า่ ยกินง่าย ไปทีไ่ หนก็ได้ ซึง่ ก็เป็นเรื่องจริง แต่การปรับตัวในที่นี้ไม่ได้หมายถึงการอยู่ง่ายกินง่ายเท่านั้น แต่ยังหมายถึง การ “อยู่ได้” รู้จักปรับตัวเข้ากับสถานที่และบุคคลใหม่ๆ ที่เข้ามาในชีวิต หรือจะน�ำพาชีวิต ของตนเข้าไปก็ตาม เอาเป็นว่า “เข้าเมืองตาหลิ่ว ต้องหลิ่วตาตาม” แต่ก็ไม่ได้หมายความ ว่าต้องตามเค้าไปเสียทุกเรื่อง เรายังคงต้องมีหลักและอุดมการณ์ของเราเป็นจุดยืนด้วย ๕. สรรค์สร้างงานอย่างมีคณ ุ ภาพ เป็นสิง่ ทีจ่ ำ� เป็นส�ำหรับทุกคน และเป็นทีต่ อ้ งการ ส�ำหรับทุกองค์กร งานที่มีคุณภาพนั้น นอกจากจะมีคุณภาพด้วยตัวมันเองแล้ว ยังต้องมี คุณภาพตามศักยภาพของผู้สร้างสรรค์ด้วย จากประสบการณ์ท�ำงานที่มีอยู่น้อยนิดของ ผม มันบอกว่างานที่คุณภาพเท่ากันแต่ออกมาจากคนที่มีความสามารถไม่เท่ากัน มันมีค่า ไม่เท่ากัน ถ้าจะให้เห็นภาพโดยง่ายก็คือ งานที่ออกมาจากนักเรียนชั้น ม.ปลาย ก็ควรจะมี คุณภาพมากกว่างานของนักเรียนชัน้ ม.ต้น ในโลกของการท�ำงานก็เช่นกัน งานทีอ่ อกมาจาก พนักงานที่มีอายุงาน ๓ เดือน กับพนักงานที่มีอายุงาน ๓ ปี ความคาดหวังก็ย่อมต่างกัน เป็นหน้าที่ของเราที่จะต้องพัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลาเพื่อสร้างสรรค์งานที่มีคุณภาพต่อไป ๖. มีมนุษย์สัมพันธ์ แน่นอนว่าต้องเป็นมนุษย์สัมพันธ์ในทางที่ดี และก็คงไม่มีใคร ชอบความสัมพันธ์ทไี่ ม่ดเี ช่นกัน จากการทีไ่ ด้ยนิ ได้ฟงั พีๆ่ คุยเรือ่ งประสบการณ์ในการท�ำงาน หรือแม้แต่คุยกับผู้หลักผู้ใหญ่ที่ได้เคยสัมผัสนักเรียนวชิราวุธฯ มา หลายเสียงบอกว่า anuman-online.com
116
กองบังคับการ
“ไอ้พวกนี้น่ารักดี เข้าหาผู้ใหญ่เป็น เป็นที่รักของเพื่อนร่วมงาน” ที่เป็นเช่นนี้ก็อาจจะเป็น เพราะเราได้ฝึกจากการได้ใช้ชีวิตร่วมกันในโรงเรียน ต้องอยู่กับทั้งเพื่อน รุ่นพี่ รุ่นน้อง ครู ผูก้ ำ� กับคณะ ฯลฯ ซึง่ การจะคุยจะเล่นกับแต่ละคนก็ตอ้ งแตกต่างกันออกไปจะทะเล่อทะล่า เข้าไปก็ใช่ที่ ดีไม่ดีอาจจะมีของแถมตามมาอีกหลายกระบวนท่าก็เป็นได้ ๗. มีเป้าหมาย รายการประกวดต่างๆ ในปัจจุบนั ล้วนแต่ให้คนทีม่ ฝี นั ได้ตามฝันของ ตัวเอง ทุกคนก็ควรจะมีเป้าหมายในชีวิตเช่นกัน โดยเป้าหมายอาจมีทั้งเป้าหมายระยะสั้น และเป้าหมายระยะยาว เป้าหมายอาจจะเป็นเป้าหมายส่วนตัว หรือเป็นเป้าหมายทีก่ ำ� หนด ร่วมกันของส่วนรวมก็ได้ เช่น เป้าหมายระยะสั้นของทีมรักบี้ก็คือ ชนะเกมที่ก�ำลังจะลง เล่น ส่วนเป้าหมายระยะยาวก็คือคว้าแชมป์ในปีนั้นๆ มาให้ได้ แต่ในขณะเดียวกันภายใน เป้าหมายส่วนรวมอาจจะมีเป้าหมายส่วนตัวอยู่ด้วยก็ได้ เช่น เกมวันนี้ผมมีเป้าหมายว่าจะ ต้องเล่นให้มีข้อผิดพลาดน้อยที่สุด เป็นต้น ๘. รับผิดชอบต่อส่วนรวม เป็นสิ่งส�ำคัญที่ถูกสอนมาตั้งแต่เด็กๆ ส�ำหรับนักเรียน วชิราวุธฯ พีๆ่ น้องๆ ลองคิดย้อนกลับไปสิครับว่า ถ้ามีรายการของหายเกิดขึน้ ในคณะ หรือ ธงคณะตกพืน้ อะไรจะเกิดขึน้ แม้วา่ เราไม่ได้เป็นคนท�ำก็ตาม ตอนเด็กๆ ผมก็ไม่คอ่ ยเข้าใจ หรอกครับว่า การทีธ่ งคณะตกพืน้ ท�ำไมโทษทัณฑ์มนั ถึงได้หนักหนานัก แต่พอเริม่ โตขึน้ มา ก็เริ่มเข้าใจมากขึ้น ว่าโทษนั้นเป็นโทษของการท�ำให้สิ่งแทนคณะตกถึงพื้นแล้ว ยังแสดงให้ เห็นว่าเด็กๆ ไม่ชว่ ยเหลือกันบ้างหละ ไม่ผลัดกันมาถือบ้างหละ ปล่อยให้เด็กๆ (ส่วนใหญ่จะ เป็น ม.๑) ตัวกะเปี๊ยกถือบ้างหละ เพราะถ้าใครยังจ�ำความรู้สึกการถือธงคณะได้ ยิ่งเสาธง รุน่ เก่าทีท่ งั้ ยาวทัง้ หนักแล้วหละก็ เวลาลมพัดกระชากผืนธงทีนงึ ตัวคนถือก็แทบจะปลิวตาม ไปเลยทีเดียว การรับผิดชอบต่อส่วนรวมจึงเป็นเรือ่ งทีต่ ดิ ตัวพวกเราจนจบออกมาและน�ำไป ใช้ในการท�ำงาน ทัง้ เวลาโดนต�ำหนิและได้รบั ค�ำชืน่ ชม เราก็มกั จะร่วมโดนต�ำหนิและแบ่งปัน ค�ำชื่นชมนั้นกับคนอื่นๆ เสมอ ซึ่งเป็นเสน่ห์ที่น่าหลงใหลมากเลยทีเดียว จากที่อ่านกันมายืดยาว ถ้าจะเอาประเด็น เอาความกันสั้นๆ ก็ขอให้ย้อนกลับ ไปตามดูเอาที่เป็นตัวหนา ตัวที่ขีดเส้นใต้ แล้วลองส�ำรวจตัวเองหรือเด็กๆ ในความ ดูแลนะครับว่า ทักษะไหนที่ท�ำได้ดีแล้ว และทักษะไหนที่ยังต้องเสริมสร้างเพิ่มกันอีก เพื่อจะได้เตรียมตัวส�ำหรับการใช้ชีวิตในศตวรรษใหม่นี้ได้อย่างมีคุณภาพ ศิรเมศร์ ศิริศักดิ์ธนากุล (โอวี ๗๗)
คอมมอนรูม
เรื่อ งสบายสไตล์ โ อวี
117
Dring Rugby Back Home
ถ้ า ถามว่ า ความฝั น ในวั ย เยาว์ ข อง เด็กวชิราวุธฯ ว่าโตขึ้นอยากเป็นอะไร? คง ได้ค�ำตอบไปต่างๆ นานา ตามจินตนาการ และความชอบส่ ว นตั ว แต่ ถ ้ า บี บ ค� ำ ถาม มาให้แคบลงอีกว่า แล้วถ้าระหว่างที่อยู่ ที่โรงเรียนวชิราวุธฯ ล่ะ อยากเป็นอะไร? ผมว่าค�ำตอบส่วนใหญ่ จากความคิดของ เด็กวชิราวุธฯ คงตอบว่า “อยากติดรักบี้ ทีมโรงเรียน” นี่เป็นการขึ้นต้นบทความ
ของผมจากความคิ ด ของผมที่ อุ ป โลกเอา เองว่า ส่วนใหญ่จะตอบแบบนี้ เพราะไม่ มั่นใจว่ายี่สิบกว่าปีที่ผ่านไปหลังจากที่ผม จบจากวชิราวุธฯ มา น้องๆ รุ่นหลังๆ จะ คิดเหมือนผมหรือไม่ จนกระทั่งผมได้เห็น การรวมตัว ครั้ ง ล่ า สุ ด ของน้ องๆ นั กรั กบี้ โอวี กลับมาคว้าถ้วยชนะเลิศประเภทสโมสร ประจ�ำปี ๒๕๕๕ ได้อย่างใสสะอาด และ น่ าภาคภูมิใ จ หลั งจากที่ ทีม นั กเรี ย นเก่ า anuman-online.com
118
คอมมอนรูม
วชิราวุธฯ ไม่มีชื่อสลักอยู่ที่ฐานของถ้วยใน ฐานะผู้ชนะเลิศมาร่วมสามสิบปี นั่นท�ำให้ ผมมัน่ ใจได้เลยว่า สิง่ ทีผ่ มอุปโลกเอาเองข้าง ต้น คงไม่ผิดเพี้ยนอะไร ตั้งแต่ผมเริ่มเข้าเรียนวชิราวุธฯ ผม ได้ เ ห็ น ความยิ่ ง ใหญ่ ข องที ม วชิ ร าวุ ธ ฯ ที่ เต็มไปด้วยฝีมือการเล่นที่เหนือชั้น และ สง่างามแบบสุภาพบุรุษ ทุกทีมที่ต้องแข่ง กั บ ที ม วชิ ร าวุ ธ ฯ ต่ า งต้ อ งเกรงขามที ม ในเสื้อสีน�้ำเงินฟ้าทั้งนั้น ภาพตัวผมสวม เสื้อทีมโรงเรียนสีน�้ำเงินคอฟ้า คือภาพใน จินตนาการของเด็กตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่เฝ้า มองรุน่ พีใ่ นเครือ่ งแบบรักบีท้ มี โรงเรียนอย่าง ภาคภูมิใจ และใฝ่ฝันอยากจะท�ำให้ได้อย่าง ที่รุ่นพี่เขาท�ำกัน สุ ด ท้ า ยผมก็ เ ป็ น เด็ ก คนหนึ่ ง ใน หลายๆ คนที่พยายามไขว่คว้าความฝันของ ตัวเองจนสามารถติดรักบี้ทีมโรงเรียน ตาม ฝันอย่างสมใจและภูมิใจ แต่ นั่ น เป็ น เพี ย งแค่ บั น ไดขั้ น แรก เท่ า นั้ น เพราะมั น ยั ง มี เ สื้ อ อี ก ตั ว หนึ่ ง ที ่ ยังอยากใส่อยู่ เสื้อลายน�้ำเงินฟ้าของทีม นักเรียนเก่าฯ การได้ดทู มี รักบีโ้ อวีลงแข่งขัน ถ้วยสโมสร ถือว่าได้ดูทีมรักบี้ชั้นน�ำของ ประเทศไทยลงไปวาดลวดลายในสนาม ทุก ครั้งที่ลงเล่นไม่ว่าผลจะแพ้หรือชนะ คงไม่ ส�ำคัญไปกว่าการได้เห็นต�ำนานนักรักบี้มา รวมตัวกันอยู่ในสนามในนามทีมโอวี แค่นี้ ก็ ก ระตุ ้ น ต่ อ มอยากดู รั ก บี้ ข องเด็ ก รุ ่ น ผม มากพอแล้ว อย่ากระนั้นเลย มันจะสุดยอด
กว่านั้นมั๊ย ถ้าเราสามารถได้ไปเล่นในทีม นั้น พร้อมกับบรรดาไอดอลของเรายามเป็น นักเรียน ถ้าจะพูดกันแบบทันสมัยหน่อยก็ ต้องเรียกว่า ถ้าไม่ได้เล่นทีมโอวีก็ถือว่าไม่ Fin [nish] หล่ะครับ แล้วผมก็ได้เล่นทีมโอวีสมใจ ได้ลง เล่นเคียงข้างกับดาราทีมโรงเรียนสมัยตอน เราเป็นเด็ก มัน Fin สุดสุดครับ ไม่ว่าจะ เป็นบรรยากาศการซ้อม ที่เราจะต้องคอย เก็บเกีย่ วเทคนิคขัน้ สูงจากรุน่ พี่ การสังสรรค์ เฮฮาหลังซ้อม ที่โดนรุ่นพี่อ�ำ อ�ำรุ่นพี่ พากัน ไปเทีย่ ว มีพที่ เี่ ล่นไม่ไหวแล้วมาคอยยืนดูหา อะไรมาให้กนิ เลีย้ งข้าว เลีย้ งเหล้า คอยดูแล เราเหมือนเป็นพี่เป็นน้องคลานตามกันมา แค่นี้ยังไม่พอ พอเรียนจบมหาวิทยาลัยแล้ว พี่พี่ยังคอยหางานให้ท�ำอีก... ผมได้ ง านท� ำ ครั้ ง แรกที่ บ ริ ษั ท ทนายความชัน้ น�ำของประเทศไทย... หลังจาก ที่ ผ มเรี ย นจบจุ ฬ าฯ แล้ ว ระหว่ า งที่ ร อ ทรานสคริ ป ผมได้ เ ดิ น ทางไปแข่ ง รั ก บี ้ ที่สิงคโปร์กับทีมโอวี ขากลับจากแข่งขัน พอเดินผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองทีด่ อนเมือง เก็บกระเป๋าจากสายพาน เดินออกมาเจอ พี่เล็ก (ศุภรัตน์ อัลภาชน์) ที่มายืนรอรับพี่ ใหญ่ (พล.ต.ต.ทรงธรรม อัลภาชน์) ทีไ่ ปกับ ทีมด้วย ผมยกมือไหว้พเี่ ล็ก ประโยคแรกทีพ่ ี่ เล็กพูดกับผมคือ “ไปท�ำงานกับกู อาทิตย์หน้า ไปกรอกใบสมัครนะ” สัน้ ๆ ได้ใจความ ผมได้ งานท�ำตั้งแต่ทรานสคริปยังไม่ออก จวบจน ถึงวันนี้ พี่น้องที่เคยเล่นรักบี้ด้วยกัน ต่าง
ยั ง คงให้ ค วามช่ ว ยเหลื อ กั น ตลอดมาเช่ น เดียวกัน ผมก็เรียนรู้ที่จะท�ำอย่างเดียวกัน กับพีเ่ ล็ก ในวันทีผ่ มสามารถจะท�ำได้เช่นกัน ถ้าจะเปรียบโรงเรียนวชิราวุธฯ เป็น บ้านของพวกเรา สนามรักบี้โรงเรียนก็คือ สนามหญ้าหน้าบ้านเรา ที่พวกเราลงไปวิ่ง เล่นเกลือกกลิ้งกับเพื่อนรู้ใจตั้งแต่เด็กจนโต แน่นอนมันต้องเต็มไปด้วยความทรงจ� ำที่ สนุกสนาน และผูกพันธ์พวกเราจนถึงวันนี้ หลายปีที่ผ่านมา ภาพที่ผมเล่ามา เหลือแค่เพียงบางส่วน ....รักบี้ทีมนักเรียน วชิราวุธฯ ไม่ได้ผูกขาดแชมป์ เหมือนสมัย ก่อน แต่ก็ยังเป็นทีมเต็งแชมป์ทุกปีเหมือน เดิม แต่ทมี สโมสรนักเรียนเก่า วชิราวุธฯ เรา ประสพปัญหาเรื่องของตัวผู้เล่นที่ไม่กลับมา เล่นทีมสโมสร แต่ไปเล่นให้กับสโมสรอื่นๆ ก็ไม่ได้ผิดอะไรหรอกครับ เพราะทุกคนก็มี เหตุผล และต้องเคารพการตัดสินใจในการ เลือกของแต่ละคน ที่ส�ำคัญที่สุดภาพที่มัน หายไปบางส่วนต่างหากหล่ะ ไหนไหนตอนขึน้ บทความผมก็อปุ โลก ไปเองแล้ว ตอนจะจบก็ขออุปโลกเอาเองอีก สักครั้ง เอาเป็นว่ารักบี้วชิราวุธฯ ของผม ไม่ได้หมายถึงว่าเราต้องมีทีมที่ยิ่งใหญ่ และ
พวกเราต้องชนะหรอกนะครับ แต่ผมหมายถึง อารมณ์ความรูส้ กึ ทีด่ ดี ี สายสัมพันธ์ของพวก เรา การสร้างแรงบันดาลใจจากพี่สู่น้อง ที่ เกิดจากรักบี้ต่างหาก เหล่านี้แหละที่ผม รู้สึกว่ามันหายไป แล้วท�ำไมมันถึงหายไป หล่ะ คงมีค�ำถามเกิดขึ้นตามมาอีกมากมาย ว่า เด็กนักเรียนวชิราวุธฯ ปัจจุบัน ระหว่าง อยู่ที่โรงเรียนอยากติดทีมโรงเรียนมั๊ย แล้ว น้องที่เพิ่งจบจากโรงเรียนหล่ะ อยากเล่น ที ม โอวี รึ ป ล่ า ว ที ม โอวี ฟ อร์ ม การเล่ น ไม่ ยิ่งใหญ่เหมือนก่อน เลยไม่ดึงดูดให้พวกเรา กลับมาเล่น หรือทีมอื่นๆ เขามีข้อเสนอดี ต่อชีวิตให้น้อง ดีกว่ากลับมาเล่นให้ทีมโอวี ..อืน่ อืน่ อีกมากมายค�ำถาม ไม่ตอ้ งหาใครมา ตอบหรอกครับ เพราะคงไม่มใี ครรูค้ ำ� ตอบดี เท่าพวกเราอีกแล้ว ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ มีน้องนักรักบี้กลุ่ม หนึ่ง กลับมาซ้อมอยู่สนามหลัง ที่พวกเรา เปรี ย บเหมื อ นสนามหน้ า บ้ า นเรา และ สามารถเรียกความยิง่ ใหญ่กลับมาสูว่ ชิราวุธฯ ที่ที่พวกเราเปรียบเสมือนบ้านอีกครั้ง หรือ จะถึงเวลาแล้วที่พวกเราจะช่วยกัน “พารักบี้ ของพวกเรากลับบ้านเราซะที” ยุทธน้อย – วีรยุทธ โพธารามิก (โอวี ๖๐)
anuman-online.com
120
ห้องเบิกของ (ภูเก็ต) ธุรกิจขนาดย่อมของชาวโอวี
นคร อัษฎามงคล (ก�ำหอง - โอวี ๖๕) และภรรยา ๐๘๖-๗๗๘-๘๓๔๗ คุณหมอหนุ่มใหญ่ใจดี พี่ก�ำหองคนนี้มาเป็น นายแพทย์ ด ้ า นอายุ ร กรรมโรคติ ด เชื้ อ อยู ่ ท ี่ โรงพยาบาลมิชชั่น ภูเก็ต หากผู้ใดเจ็บไข้ได้ ป่วยทีภ่ เู ก็ต สามารถปรึกษาหารือกับพีก่ ำ� หอง ได้ น ะครั บ โดยภรรยาของพี่ ก� ำ หองเป็ น ทันตแพทย์สาวสวยอยู่ที่โรงพยาบาลเดียวกัน ครับ สโลแกนของพี่หมอ “รักษาคนป่วยให้ หาย แต่คนตายไม่ฟื้น”
ณัฐวุฒิ จูฑศรีพานิช (รักแร้ – โอวี ๗๒) ๐๘๙-๗๘๓-๙๑๐๙ รักแร้ หนุ่มเฟี้ยวคนนี้มาท�ำธุรกิจขายส่งและ ขายปลีก เครื่องดื่มแอลกอฮอลล์, ไวน์, บุหรี่ และซิการ์ ในป่าตอง อยู่ที่ร้านวิสกี้เวย์ หากมี ผู้ใดมีงานเลี้ยงสังสรรค์ในภูเก็ต หรือต้องการ เครื่องดื่มคลายเศร้า ก็สามารถติดต่อรักแร้ได้
เอกนรินทร์ อ�ำไพพร (ไข่ด้วน – โอวี ๗๒) ๐๘๗-๔๙๗-๙๐๑๒ หนุ ่ ม น้ อ ยนั ก รั ก คนนี้ มาขยายธุ ร กิ จ ของ ครอบครัวอยูท่ ภี่ เู ก็ต โดยตัง้ บริษทั 322 จ�ำกัด ทรรสม รัตนพันธ์ (แฟรงค์ – โอวี ๗๐) ท�ำธุรกิจด้านขายปลีกและส่ง เครือ่ งนอน อาทิ ฟูกนอน, หมอน, ผ้าปูที่นอน, ปลอกหมอน และคนที่แฟรงค์รักชาวญี่ปุ่น แต่ไม่มีมุ้งนะครับ และยังท�ำธุรกิจรับเหมา ๐๘๑-๗๑๐-๐๔๕๔ ก่อสร้างอีกด้วย ผู้ใดสนใจสามารถกริ๊งกร๊าง หนุ่มน้อยหน้ามน คนซื่อคนนี้ มาตามหารัก หาไข่ด้วนได้เลย แท้ที่ภูเก็ต อยู่ไปอยู่มากลับพบว่า รักแท้ไม่มี รักดีดไี ม่เคยได้ เลยหันมาท�ำธุรกิจส�ำหรับสุนขั รักสวยรักงามแทนซะเลย โดยบริการด้านตัด พลวัต ณ นคร (แม่บ้าน, แมท – โอวี ๗๓) แต่งขนสุนขั โรงแรมสุนขั และฝึกสุนขั แฟรงค์ ๐๘๑-๗๘๗-๗๓๘๓ บอกว่า เมือ่ รักคนรักหมา ก็ตอ้ งใช้หมาเป็นสือ่ หนุ่มหล่อผู้ที่เดินไปที่ไหน ต่างก็มีสาวๆ (ทั้ง รักซะเลย ขอเชิญทุกท่านใช้บริการได้ของ สาวจริง สาวปลอม) เหลียวตาหันกลับมามอง แฟรงค์ผู้รักสัตว์เลี้ยงเป็นชีวิตจิตใจได้ครับ แม่บ้านหรือแม็ทมาท�ำงานด้านขายเรือยอร์ช อยู ่ ที่ บ ริ ษั ท Simpson Marine Thailand Co,Ltd. และยังท�ำธุรกิจส่วนตัวด้านคลีนิก วัชรพล เอกประเสริฐ (อ�่ำเมาะ – โอวี ๗๑) ส�ำหรับรักษานักด�ำน�้ำ ที่บริษัท บาดาลเวช และภรรยา จ�ำกัด สนใจติดต่อแม่บ้านหรือแม็ทได้เลย ๐๘๖-๘๘๑-๗๑๘๑ อ�่ำเมาะ หนุ่มน้อยจากสระบุรี แต่ตามรักแท้ หากมีพๆี่ เพือ่ นๆ หรือ น้องๆ คนไหน มาแต่งงานอยู่ที่ภูเก็ต ท�ำธุรกิจด้านบริการ อาหารผู้ป่วย และร้านอาหารในโรงพยาบาล ที่อยู่ในเกาะภูเก็ตอีก ก็สามารถส่งข้อมูลของ ศิ ริ โ รจน์ อี ก ทั้ ง ยั ง มี ร ้ า นอาหารชื่ อ ดั ง ชื่ อ ตนเองมาได้ทอี่ นุมานวสารนะครับ พวกเราจะ Kaneang @ Pier และร้านวิเศษ อยู่แถว ห้าแยกฉลอง นอกจากนีย้ งั ท�ำธุรกิจแนว Zipline ยินดีทจี่ ะลงข้อมูลต่างๆ ให้ เผือ่ พีๆ่ น้องๆ โอวี Adventures ชื่อ Flying Hanuman อยู่ในซอย คนไหนไปภูเก็ตก็จะได้มาร่วมตัวกันได้ครับ น�้ำตกกะทู้ เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ โอวีคนไหน อารยวุฒิ อิศรางกูร ณ อยุธยา (โอวี ๗๐) สนใจใช้บริการ ก็อย่าลืมติดต่ออ�่ำเมาะครับ
ห้องเบิกของ
ธุรกิจขนาดย่อมของชาวโอวี
121
ร้านอาหาร ร้านรับลมริมน�้ำ มีทั้งวิวริมน�้ำและนักว่ายน�้ำ พี่โย่ง ป๊อก บุญยัง โอวี ๕๐ และพี่โจ้ โอวี ๕๔ ริมสระว่ายน�้ำ Riverline Place คอนโดมิเนียม ถนนพิบูลสงคราม นนทบุรี ๐๒-๙๖๕-๓๒๐๐
ร้านอาหารบ้านประชาชื่น อาหารไทยสูตรต้นตระกูล สนิทวงศ์ และข้าวแช่ต�ำรับ ม.ล.พร้อมศรี พิบูลสงคราม เปิดตั้งแต่ ๑๐.๓๐-๑๕.๓๐ น. ไม่ขายช่วงเย็น ไม่มีวันหยุด เสาร์อาทิตย์ บวรพิตร พิบูลสงคราม (พี่บูน) โอวี ๔๖ ร้านครัวกะหนก เลขที่ ๓๗ ซอยประชาชื่น ๓๓ โอวีรับส่วนลดค่าอาหาร ๑๐ % กรุงเทพฯ ภรรยา กุลธน ประจวบเหมาะ ๐๒-๕๘๕-๑๓๒๓, (ต้น) โอวี ๕๕ ๐๘๙-๖๑๙-๒๖๑๐ ลาดพร้าว ๗๑ ๑๕๐ เมตร OZONO PLAZA จากปากซอย อยู่ซ้ายมือ แหล่งรวมร้านค้าส�ำหรับทุกสิ่ง ๐๒-๕๑๔-๑๘๑๔ ทุกอย่างที่เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง และ ร้านอาหารอิงน�้ำ พื้นที่ให้สัตว์เลี้ยงได้วิ่งเล่น อาหารอร่อยมาก ราคาไม่แพง คมกฤช รัตนราช โอวี ๕๙ พี่อึ่งเป็นกันเอง ท้ายซอยสุขุมวิท ๓๙ พี่อึ่ง โอวี ๓๙ (พร้อมพงษ์) ทะลุออกถนน ถนนจรัญสนิทวงศ์ ๗๓-๗๕ เลย เพชรบุรีหลังตึกอิตัลไทย โลตัส ๑๐๐ เมตร www.ozono.us ๐๘๑-๖๕๗-๖๑๘๒ ร้านอาหารห้องแถว ร้านอาหารเหนือล้านนาสุดอร่อย The Old Phra Arthit Pier เมนูขึ้นชื่อ แกงโฮะ ปลาสลิด ร้านอาหารสวยริมเจ้าพระยา ทอดฟู และแหนมผัดไข่ ยามเย็น ส�ำหรับโอวีที่ไปอุดหนุน ษาเณศวร์ โกมลวณิช ลดทันที ๑๐% (ถลอก) โอวี ๖๙ ถนนนิมานเหมินทร์ เชียงใหม่ พงศ์ธร เพชรชาติ โอวี ๖๐ ท่าพระอาทิตย์ ๐๕๓-๒๑๘-๓๓๓ ถนนพระอาทิตย์ ๐๒-๒๘๒-๙๒๐๒ ๐๘๑-๘๒๒-๔๔๐๒ WHO
WHO
ADDRESS
ADDRESS
WHO
WHO
WHO
WHO
WHO
ADDRESS
ADDRESS
ADDRESS
ADDRESS
WHO
WHO
WHO
WHO
WHO
ADDRESS
ADDRESS
ADDRESS
ADDRESS
WHO
WHO
WHO
ADDRESS
ADDRESS
ร้าน How To ดนตรีแนว acoustic & Folk song และมีส่วนลดให้โอวี ๒๐% ภิญโญ โอวี ๔๔ ปากซอยอินทามระ ๒๖ ๐๘๖-๓๐๐-๕๘๔๖ WHO
ADDRESS
ADDRESS
addict cafe & thing ร้านกาแฟเล็กๆ จักรพันธุ์ บุญหล่อ โอวี ๗๒ ตรงข้ามวัดบวรนิเวศวิหาร ๐๘๕-๓๒๓-๖๖๖๘, ๐๘๖-๗๗๔-๙๗๒๓ WHO
ADDRESS
ADDRESS
ADDRESS
WHO
WHO
ร้านอาหารชิมิ หม้อชาบูชาบูและเตาปิ้งย่าง ยาคิ นิคุในแบบบุฟเฟ่ต์โฮมเมด วัตถุดิบชั้นเยี่ยมราคาอิ่มสบาย ศิโรฒน์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา โอวี ๔๔ ถนนประดิพัทธ์ ซอย ๑๙ shimi_restaurant@hotmail. com ๐๒-๓๕๗-๑๓๙๐-๑
ADDRESS
ADDRESS
WHO
ADDRESS
anuman-online.com
122 ห้องเบิกของ โรงแรม บ้านไร่วิมานดิน ออร์แกนิคฟาร์มสเตย์ รีสอร์ทริมล�ำธารอิงขุนเขา บริการ อาหารปลอดสารพิษจากเกษตร อินทรีย์ ส�ำหรับโอวีราคาพิเศษ พ.ต.ท.กฤชญาณ อภิกุลชา (อ�ำรุง) โอวี ๔๔ อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี www.vimarndinfarmstay.com ๐๘๑-๘๔๒-๔๗๕๔ ดิ. โอวี. คันทรี รีสอร์ท เอกลักษณ์การตกแต่งและกลิน่ อาย สมัยอยู่โรงเรียน กมล นันทิยาภูษิต โอวี ๖๑ กลางเมืองจันทบุรี ขับผ่านก็ สามารถสังเกตเห็นได้ง่าย ๐๘๑-๘๓๓-๒๑๒๕ โรงแรมรัตนาปาร์ค โอวีท่านใดผ่านมาโทรบอกได้เลย ราคาห้องพิเศษ มาฆะ พุ่มสะอาด โอวี ๕๕ พิษณุโลก ๐๕๕-๒๔๔-๕๒๑, ๐๘๑-๕๙๖-๖๓๙๖ ชุมพรคาบานา และศูนย์กีฬาด�ำน�้ำลึก ให้บริการที่พัก จัดสัมมนา และ บริการด�ำน�้ำลึก บริหารงานตาม แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง วริสร รักษ์พันธุ์ โอวี ๖๑ หาดทุ่งวัวแล่น จังหวัดชุมพร www.chumphoncabana.com ๐๗๗-๕๖๐-๒๔๕-๗, ๐๘๙-๗๒๔-๙๓๒๐ WHO
ADDRESS
WHO
WHO
ADDRESS
WHO
WHO
ADDRESS
ADDRESS
WHO
WHO
WHO
ADDRESS
ADDRESS
WHO
WHO
WHO
ไร่ภูอุทัย ในวงล้อมธรรมชาติเขาใหญ่ สูดรับ โอโซนระดับ ๗ บนลานเนินกว้าง อ�ำนวยศิลป์ อุทัย โอวี ๗๑ และรังสรรค์ อุทัย โอวี ๗๒ ถนนพหลโยธินขาออกจาก จ.สระบุรี ซอยที่เป็นเส้นทาง ลัดไป อช.เขาใหญ่ www.phu-uthai.com ๐๘๐-๔๙๙-๙๐๒๔ คีรีตา รีสอร์ท รีสอร์ทบูทีคโฮเต็ลเหมาะแก่การ พักผ่อน และจัดสัมมนา ยินดี ต้อนรับโอวีทุกท่าน พร้อมได้รับ บริการในราคาพิเศษ อุรคินทร์ ไชยศิริ (กิมจิ) โอวี ๗๐ เกาะช้าง จังหวัดตราด ๐๘๙-๗๔๘-๗๕๒๘ Amphawa River View โฮมสเตย์ริมน�้ำ กับบรรยากาศ ตลาดน�้ำ สัมผัสวิถีชีวิตดั้งเดิม ของไทย ยินดีต้อนรับโอวีทุกท่าน ในราคาเบาๆ ชโนดม โชติกพนิช (ดม) โอวี ๗๐ ตลาดน�้ำอัมพวา www.amphawariverview.com ๐๓๔-๗๕๑-๒๐๒ WHO
ADDRESS
ADDRESS
WHO
WHO
ADDRESS
ADDRESS
WHO
WHO
ADDRESS
ADDRESS
ADDRESS
ADDRESS
WHO
The Bihai Huahin โอวีลด ๒๐% ......... ๘๙ หมู ่ ๕ บ้ า นหั ว ดอน ต�ำบลหนองแก หัวหิน ๐๓๒-๕๒๗-๕๕๗-๖๐ WHO
ADDRESS
ADDRESS
ณัฐฐาวารีน�้ำพุร้อน อาบน�้ำแร่แช่น�้ำร้อนท่ามกลาง ธรรมชาติ ทีเด็ดปลามัจฉาบ�ำบัด จากต่างประเทศ บ�ำรุงผิวพรรณ ภวิษย์พงศ์ พงษ์สิมา โอวี ๗๖ ริมถนเพชรเกษม ระหว่าง กม.ที่ ๑๓-๑๔ (กม.ที่ ๙๙๐ กระบี่-ตรัง) บ.บางผึ้ง ต.โคกยาง อ.เหนือคลอง จังหวัดกระบี่ www.natthawaree.com ๐๗๕-๖๐๑-๖๔๒, ๐๘๙-๗๘๐-๖๔๗๖ WHO
ADDRESS
ADDRESS
ตาลคู่บีช รีสอร์ท รีสอร์ทสวยริมทะเลใส อลงกต วัชรสินธุ์ (อยากเกา) โอวี ๗๕ อ.ขนอม จ.นครศรีธรรมราช ใกล้เกาะสมุย g_got75@ hotmail.com ๐๘๕-๘๔๗-๗๕๗๕ WHO
ADDRESS
ADDRESS
บริการ รับถ่ายรูป บริษัท น�้ำ-ทอง เทรดดิ้ง จ�ำกัด รับถ่ายรูปงานแฟชั่นโชว์, งาน จ�ำหน่ายน�้ำมันหล่อลื่น ถ่ายภาพนิ่งเพื่อการโฆษณา อุตสาหกรรมทุกชนิด ต่างๆ,งานเฉลิมฉลองและถ่ายรูป (ปตท, บางจาก, แมกซิมา) ในสตูดิโอ ทั้งภาพบุคคล, ภณธร ชินนิลสลับ ผลิตภัณฑ์และสถานที่ (ซอมป่อย) โอวี ๖๘ ณัฏฐ์ ไกรฤกษ์ โอวี ๗๒ ๑๘๘/๑๐๗ ม.๑ ต.คอหงส์ สตูดิโอ ในหมู่บ้านการ์เด้น อ.หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โฮม สะพานใหม่ ๐๒-๑๗๕-๔๑๓๖, ๐๘๕ www.natphoto.com nat_ ๓๒๔-๙๙๐๑ vc72@hotmail.com นึกถึงประกันภัย ๐๘๗-๐๕๑-๘๖๐๕ โรงพยาบาลสัตว์ Lovely Pet บ้าน, รถยนต์, อุบัติเหตุ, etc. นึกถึง Kevin..! Call me Bro! รับรักษาสัตว์ ฉีดวัคซีน ผ่าตัด เขต ณ พัทลุง โอวี ๗๑ ท�ำหมัน เอ๊กซเรย์ ขูดหินปูน ๐๘๑-๓๕๙-๗๑๐๒ อาบน�้ำตัดขน บริการนอกสถาน ที่และรับปรึกษาปัญหาสัตว์เลี้ยง AUTO X รับฝากเลี้ยง และจ�ำหน่าย จ�ำหน่ายรถยนต์น�ำเข้าทุกยี่ห้อ อุปกรณ์,อาหารต่างๆ และศูนย์บริการซ่อมรถยนต์ น.สพ.อุรนิ ทร์ คชเสนี โอวี ๗๑ ทุกชนิด ด้วยอุปกรณ์ตรวจเช็ค ๓๕/๓๙-๔๐ ถ.รัตนาธิเบศร์ ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ อ.เมือง นนทบุรี ตุลย์ ธีระอรรถ ๐๒-๙๖๙-๘๔๘๙, ๐๘๙ ถ.พหลโยธิน ข้าง สน.บางซื่อ ๘๑๖-๘๑๓๘ ตรงข้ามอาคารชินวัตร ๒ ๐๒-๖๑๕-๕๕๓๓ ร้านตัดผม Sindy Lim ร้านตัดผมส�ำหรับสุภาพบุรุษและ ไอซิด สุภาพสตรี หากก�ำลังมองหาร้าน รับตกแต่งภายในและรับเหมา ท�ำผมเพื่อออกงานสุดหรูหรือ ก่อสร้าง โดยเฉพาะบ้านและ เปลีย่ นลุคแล้ว เชิญไปใช้บริการ คอนโด ได้ โอวีลดให้พเิ ศษ ภคภพ (สิทธิพงษ์) โอวี ๖๖ ซ.เจริ ญยิ่ง www. ทวีสิน ลิ้มธนากุล (สิน) icidcompany.com โอวี ๕๕ ปากซอยสุ ขุ ม วิ ท ๔๙ อยู ่ ๐๒-๕๑๔-๐๘๓๙, ๐๘๑๗๓๓-๗๗๐๑ ขวามือ ตรงข้ามเซเว่นฯ ๐๒-๒๖๐-๐๖๓๕ WHO
WHO
ADDRESS
WHO
WHO
ADDRESS
ADDRESS
ADDRESS
WHO
WHO
ADDRESS
ADDRESS
WHO
WHO
ADDRESS
ADDRESS
WHO
WHO
WHO
WHO
ADDRESS
ADDRESS
ADDRESS
WHO
WHO
ADDRESS
WHO
ADDRESS
WHO
ADDRESS
ADDRESS
WHO
WHO
สินเชื่อบ้าน ธนาคารกรุงศรีอยุธยา บริการสินเชื่อบ้านเอนกประสงค์, คอนโดฯ และรีไฟแนนซ์ สุรศักดิ์ โรหิตะศุน (หน่าว) โอวี ๗๐ ๐๘๑-๑๖๘-๘๙๕๕ Phuket Dog Park บริการฝากเลี้ยง, อาบน�้ำ, ตัดขน และฝึกสุนัข ทรรสม รัตนพันธ์ (แฟรงค์) โอวี ๗๐ ๐๘๖-๙๔๒-๔๓๐๒ facebook: phuketdogpark ร้านฟูฟู รับอาบน�้ำตัดขนสุนัข รับฝาก สัตว์เลี้ยง เจษฎา ใยมุง โอวี ๖๕ ถนนท่าแฉลบ อ.เมือง จังหวัดจันทบุรี ๐๘๑-๓๕๓-๒๘๖๕ 22EQ รับออกแบบและจัดท�ำเว็บไซต์ กอบกิจ จ�ำจด โอวี ๗๐ www.jate.22eq.com ๐๘๖-๕๒๘-๑๐๕๘ ร้านขายสัตว์เลี้ยง Furrytail ร้านขายผลิตภัณฑ์ส�ำหรับสัตว์ เลี้ยงผ่านทางอินเตอร์เนต กอบกิจ จ�ำจด โอวี ๘๐ www.weloveshopping.com/ shop/furrytail ๐๘๖-๕๒๘-๑๐๘๕ WHO
ADDRESS
ADDRESS
WHO
ADDRESS
ADDRESS
WHO
ADDRESS
ADDRESS
anuman-online.com
124 ห้องเบิกของ บริการ บริษัท DML Export จ�ำกัด หลอดประหยัดไฟ LED bulb ประหยัดไฟ มากกว่าธรรมดาถึง ๕ เท่า ผลิตภัณฑ์เป็นมิตร กับธรรมชาติ และสามารถน�ำมารีไซเคิล ๑๐๐% นฤพนธ์ สุ่นกุล (รันตู) โอวี ๗๖ ๐๘๔-๗๖๗-๖๕๒๒ บจก. ๙พีเอสเมทัลชีท ผลิตและจ�ำหน่ายผลิตภัณฑ์หลังคา ผนัง แผ่นเหล็กเมทัลชีท, รวมถึงรับติดตั้งด้วย พลเทพ ณ สงขลา โอวี ๖๖ ๒๙/๑๓ ม.๖ ถนนเสมาฟ้าคราม ต.คูคต อ.ล�ำลูกกา จ.ปทุมธานี ๐๒-๕๓๓-๐๐๙๖ ๐๘๑-๓๐๒-๐๒๔๑ ลา โบนิต้า บาย เอส (La Bonita by S) บริการนวดสปาและขายขนมเค้ก ปรรัตถ สมัครจันทร โอวี ๗๒ ๑๑๗/๔-๕ ซอยพหลโยธิน ๗ (ซอยอารีย์) ถ.พหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร ๑๐๔๐๐ ๐๒-๒๗๘-๕๐๕๕ WHO
WHO
WHO
WHO
WHO
ADDRESS
WHO
ADDRESS
WHO
ADDRESS
WHO
ADDRESS
ADDRESS
WHO
ADDRESS
ADDRESS
NAPAT GRAND ELECTRIC รับจ�ำหน่าย ติดตั้งซ่อม และล้าง เครื่องใช้ไฟฟ้า ทุกชนิด ราคาถูกกว่าห้าง ชัวร์!!!! ณภัทร (ธันว์) ยิ้มเเย้ม โอวี ๗๖ ๐๘๙-๘๔๑-๔๑๒๔ Kevin-insurance@hotmail.com Zyplus.com ธุรกิจอินเตอร์เนต ให้บริการเช่าพื้นที่เว็บโฮลดิ้ง ของเว็บไซต์และบริการจดโดเมนเนม สิษฐวัฒน์ ตู้จินดา โอวี ๖๗ www.zyplus.com ๐๒-๘๙๑-๕๕๒๙ ADDRESS
ADDRESS
โรงเลีย้ ง
ชวนชิมร้านอาหาร
125
วงวันของนนท์ การเล่ น ดนตรี เ ป็ น อี ก กิ จ กรรมที่ อ ยู ่ คู ่ กั บ โรงเรียนวชิราวุธฯ ไม่น้อยหน้าไปกว่าการเล่นกีฬา เพราะตัวเลือกของการดนตรีก็มีให้เลือกมากมาย ตั้งแต่ตีฉาบไปยันเป่าปี่สก็อต ใครอยากดีดสีตีเป่า อะไรก็เลือกตามใจชอบ ถึงแม้ว่าเราจะมีโอกาสให้เลือกเล่นดนตรีได้ มากมาย แต่เราก็มักจะตั้งใจเล่นเฉพาะตอนเด็กๆ ยิ่งโตขึ้นพวกเราที่เล่นดนตรีเป็นงานอดิเรกก็มักจะ ปลีกตัวไปเป็นผูเ้ สพศิลป์อยูท่ คี่ ณะเสียมากกว่า เมือ่ จบจากโรงเรียนออกมาและเริ่มห่างเหินจากเครื่อง ดนตรี ความสามารถการดีดสีตีเป่าก็ลดลงตาม anuman-online.com
126 โรงเลี้ยง เว้นเสียแต่พวกที่มีใจรักอย่างแท้จริง เท่านัน้ ทีจ่ ะยังคงฝึกฝีมอื ทางดนตรีอยูอ่ ย่าง สม�่ำเสมอ มีโอวีกลุ่มหนึ่ง ที่เล่นดนตรีด้วยกัน มาตั้งแต่สมัยอยู่โรงเรียน และยังคงกลับมา รวมตัวกันเล่นดนตรีด้วยกันอยู่ในวันนี้ วงของชาวโอวีที่ว่าเกิดจากการมา รวมตั ว กั น ของรุ ่ น ๗๐, ๗๑ และ ๗๒ อันได้แก่ ศิริวัฒน์ เบญจกุล (โอวี ๗๐) ที่ รับบทมือกีต้าร์, พีระยศ สุคนธรักษ์ (โอวี ๗๐)เป็นมือกลอง, กอบกิจ จ�ำจด (โอวี ๗๐) เล่นเบส, กริช อินพรวิจิร (โอวี ๗๑) คุม คีย์บอร์ด และสุกฤษณ์ สุวรณ (โอวี ๗๒) เป็นนักร้องน�ำ ชาวโอวี ส ามรุ ่ น นี้ เ ริ่ ม เล่ น ด้ ว ยกั น เป็นวงตั้งแต่เป็นนักดนตรีของวงหัสดนตรีที่ โรงเรียน โดยมีครูชูเกียรติ ไพบูรณ์ เป็นผู้ คอยแนะน�ำสั่งสอน และสนับสนุนให้ได้ไป ร่วมออกแสดงตามงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น งานวิทยุ อส. ในพระราชวังสวนจิตรลดา บนหอประชุม หรือแม้แต่เวทีคอนเสิร์ตของ โรงเรียนราชินีบนก็ขึ้นไปเล่นโชว์เรียกเสียง กรี๊ดกันดังสนั่นมาแล้ว แต่ความภูมิใจของ นักดนตรี Series 7th เหล่านี้ คือการรวมตัว เป็นวงในชื่อ “เดอะ นนท์ และชาวคณะ” สวมชุ ด เครื่ อ งแบบเสื้ อ นอกของโรงเรี ย น ไปขึ้นเวทีงานประกวดดนตรีในต�ำนานของ ประเทศอย่าง The Hot Wave Award และ ผ่านเข้าไปถึงรอบ ๓๐ วงสุดท้ายจากจ�ำนวน ร้อยกว่าวงที่เข้าประกวดทั่วประเทศ
เมื่ อ สมาชิ ก ในวงทยอยจบจาก โรงเรี ย นไปและแยกย้ า ยเข้ า เรี ย นใน มหาวิทยาลัยต่างๆ ก็เลยท�ำให้ต้องห่างเหิน กันไปบ้าง จนมาวันหนึ่งมีเพื่อนโอวีร่วมรุ่น ก�ำลังจะแต่งงานและมองหาวงดนตรีมาเล่น ในงานให้อยู่ ก็เลยชักชวนให้ เดอะ นนท์ และชาวคณะ มาร่วมวงกันอีกครั้ง เพราะ เจ้าสาวเป็นหนึ่งในนักเรียนราชินีบนที่ได้ดู วงนี้ไปเล่นคอนเสิร์ตที่โรงเรียนและยังคง จ�ำความประทับใจการแสดงครั้งนั้นได้เป็น อย่างดี หลั ง จากการรวมวงออกเล่ น งาน แต่งฯ ในครั้งนั้นแล้ว สมาชิกในวงก็เลยได้ กลับมาเล่นดนตรีด้วยกันอีกครั้งและกลาย เป็นวงที่รับออกเล่นตามงานอีเว้นท์ต่างๆ
เปลี่ยนชื่อวงเป็น “วันของนนท์” สามารถ เล่นได้หลากหลายแนวไม่ว่าจะเป็นสนุกๆ หรือจะเป็นหวานซึง้ ก็ตามแต่ชอบได้ เพือ่ ให้ ผูจ้ า้ งได้มคี วามสุขและเก็บความประทับใจไว้ ตามคอนเซ็ปต์ของวงทีว่ า่ “เติมเต็มวันส�ำคัญ ของคุณด้วย วงวันของนนท์” แต่เนื่องจากการที่เป็นวงสมัครเล่น เลยท�ำให้วงนีร้ บั ออกงานให้ได้เฉพาะโอวีและ คนรู้จักเท่านั้น หากใครอยากได้เสียงดนตรี เพราะๆ ไว้เติมเต็มวันส�ำคัญ ก็สามารถ โทรไปสอบถามได้ที่ ๐๘๐-๖๒๖-๔๒๒๔, ๐๘๖-๕๒๘-๑๐๕๘ หรือเข้าไปที่ดูเพิ่มเติม ที่ www.weddingband.in.th จุมพล พิจารณ์สรรค์ (โอวี ๗๙) anuman-online.com
128
ตึกเวสฯ
คลังศิลปะฝีมือชาวโอวี
ที่มา: ภาพลายเส้นจากหนังสือรุ่น ๔๑ anuman-online.com
130
สนามหลัง ข่าวสารสมาคม
วันพุธที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๕๕ สมาคมนักเรียนเก่าฯ ร่วมเป็นเจ้าภาพงานสวด พระอภิธรรมศพ คุณแม่สุภา ลีสวรรค์ มารดา ดร.สาโรจน์ ลีสวรรค์ (ผู้บังคับการวชิราวุธ วิทยาลัย), นายเชิดชัย ลีสวรรค์ (โอวี ๔๒) และ นายฉัตรชัย ลีสวรรค์ (โอวี ๔๗) ณ วัดมงกุฎกษัตริยาราม กรุงเทพมหานคร
วันจันทร์ที่ ๘ ตุลาคม ๒๕๕๕ นายพัชโรดม์ รักตประจิต (โอวี ๔๘) ร่วมแสดงความ ยินดีกับ พ.ต.อ.ดุษฏี อารยวุฒิ (โอวี ๕๑) เนื่องในโอกาสเข้ารับต�ำแหน่งรองปลัดกระทรวง ยุติธรรม ณ กระทรวงยุติธรรม กรุงเทพมหานคร
วันอาทิตย์ที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๕๕ ทีมรักบี้ฟุตบอลสมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธฯ คว้า ต�ำแหน่งชนะเลิศจากการแข่งขันรักบี้ฟุตบอลชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย ประเภทสโมสร ๑ (ถ้วยบริติช เคานซิล) ของสมาคมรักบี้ฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ณ สนามโรงเรียน ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัย จ.นครปฐม
anuman-online.com
132 สนามหลัง วันอังคารที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๕๕ คณะกรรมการบริหารสมาคมนักเรียนเก่าฯ ร่วมวาง พวงมาลาและถวายบังคม พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนือ่ งใน โอกาสวันปิยะมหาราช ณ ลานพระบรมรูปทรงม้า กรุงเทพมหานคร
วันศุกร์ที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๕ คณะกรรมการบริหารสมาคมนักเรียนเก่าฯ ร่วมงานเลีย้ ง ฉลองแสดงความยินดีกบั ทีมรักบีฟ้ ตุ บอลฯ เนือ่ งในโอกาสคว้าต�ำแหน่งชนะเลิศจากการแข่งขัน รักบีฟ้ ตุ บอลชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย ประเภทสโมสร ๑ (ถ้วยบริตชิ เคานซิล) ณ อาคาร อัศวพาหุ วชิราวุธวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร
วันเสาร์ที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ ทีมรักบี้ฟุตบอลสมาคมนักเรียนเก่าฯ ท�ำการแข่งขัน รายการรักบี้ประเพณีชนช้าง วชิราวุธฯ – ราชกรีฑาฯ (OV – RBSC) ชิงถ้วยชนะเลิศ ครูอรุณ แสนโกสิก โดยทีม วชิราวุธฯ เอาชนะทีมราชกรีฑาฯ ไปด้วยคะแนน ๒๔ ต่อ ๗ จุด คว้าถ้วยชนะเลิศมาครอง ณ ราชกรีฑาสโมสร กรุงเทพมหานคร
วันพุธที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ สมาคมนักเรียนเก่าฯ และวชิราวุธวิทยาลัย ร่วมกันจัด เลีย้ งรับรองให้แก่ นักเรียนเก่าฯ อาวุโส จ�ำนวน ๗๐ ท่าน ณ อาคารอัศวพาหุ วชิราวุธวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร
anuman-online.com
134 สนามหลัง วันพุธที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ สมาคมนักเรียนเก่าฯ จัดประชุมผู้แทนรุ่น เพื่อแจ้ง รายละเอียดการจัดงานคืนสู่เหย้า Sport Day & Home Coming Day 2012 ณ อาคาร อัศวพาหุ วชิราวุธวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร
วันพฤหัสบดีที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ สมาคมนักเรียนเก่าฯ และโอวี ๔๖ ร่วมจัด งานแถลงข่าวการแข่งขัน OV Rally & Golf 2012 เส้นทาง กรุงเทพฯ – หัวหิน ณ อาคาร อัศวพาหุ วชิราวุธวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร
วันเสาร์ที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ สมาคมนักเรียนเก่าฯ และโอวี ๔๖ ได้จัดให้มีการ แข่งขัน OV Rally & Golf 2012 เส้นทาง ระหว่างวันที่ ๑๗-๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ กรุงเทพฯ – หัวหิน ณ สนามกอล์ฟภายในสวนสนประดิพัทธ์ จ.ประจวบคีรีขันธ์
anuman-online.com
136 สนามหลัง วั น เสาร์ ที่ ๑๗ พฤศจิ ก ายน ๒๕๕๕ สมาคมนักเรียนเก่าฯ ได้จัดให้มีการแข่งขัน ไฟว์ ประจ�ำปี ๒๕๕๕ ณ คอร์ทไฟว์สมาคม นั ก เรี ย นเก่ า ฯ ภายในวชิ ร าวุ ธ วิ ท ยาลั ย กรุงเทพมหานคร
วันพุธที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ อุปนายก สมาคมนักเรียนเก่าฯ ได้ร่วมประชุมหารือ กับประธานจัดงานคืนสู่เหย้า Sport Day & Home Coming Day 2012 ณ อาคาร ส�ำนักงานใหญ่ การท่องเทีย่ วแห่งประเทศไทย กรุงเทพมหานคร
วันพุธที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ สมาคมนักเรียนเก่าฯ ร่วมกับวชิราวุธวิทยาลัย และ ส�ำนักงานเขตลุมพินี จัดให้มีการท�ำความสะอาดบริเวณลานด้านหน้าพระบรมรูปพระบาท สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว สวนลุมพินี กรุงเทพมหานคร
วันพฤหัสบดีที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ นายสุรพล เศวตเศรณี (โอวี ๔๓) ผู้ว่าการ ท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ในฐานะประธานจัดงานคืนสู่เหย้า Sport Day & Home Coming Day 2012 ได้รว่ มบันทึกเทปรายการครอบจักรวาล โดยมีนายพูลศักดิ์ ประณุทนรพาล ให้เกียรติเป็นผู้ด�ำเนินรายการ ณ บริเวณสนามหญ้าด้านหน้าคณะดุสิต วชิราวุธวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร
วันศุกร์ที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ สมาคมนักเรียนเก่าฯ และสมาคมราชวิทยาลัยในพระบรม ราชูปถัมภ์ ร่วมกันจัดงานแถลงข่าวการแข่งขันรักบีฟ้ ตุ บอลประเพณี ราชวิทย์ฯ – วชิราวุธฯ ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ฯ ครัง้ ที่ ๒๒ ณ โรงแรมหลุยส์ แทรเวิรน์ กรุงเทพมหานคร
anuman-online.com
138 สนามหลัง วันอาทิตย์ที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ คณะกรรมการบริหารสมาคมนักเรียนเก่าฯ ร่วม วางพวงมาลาและถวายบังคมพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูห่ วั เนือ่ งใน โอกาสวันมหาธีรราชเจ้า ณ ลานด้านหน้าพระบรมรูปฯ สวนลุมพินี กรุงเทพมหานคร
วันอาทิตย์ที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ คระกรรมการบริหารสมาคมนักเรียนเก่าฯ และ ตัวแทนนักเรียนเก่าฯ รุ่นต่างๆ ร่วมวางพวงมาลาและถวายบังคม พระบรมรูปพระบาท สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันมหาธีรราชเจ้า ณ ลานพระบรมรูป หน้าหอประชุมวชิราวุธวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร
วันพฤหัสบดีที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ คณะกรรมการบริหารสมาคมนักเรียนเก่าฯ และนักเรียนเก่าฯ รุ่นต่างๆ ร่วมกันจัดงานเลี้ยงเพื่อสร้างขวัญและเป็นก�ำลังใจให้แก่ทีม รักฟุตบอลประเพณีฯ ราชวิทย์ฯ – วชิราวุธฯ ครั้งที่ ๒๒ ณ ครัว โอ.วี. ภายในวชิราวุธ วิทยาลัย กรุงเทพมหานคร
วันเสาร์ที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๕๕ เวลา ๙๐๐ น. คณะนักกีฬารักบี้ฟุตบอลทีมประเพณี วชิราวุธฯ - ราชวิทย์ฯ ครัง้ ที่ ๒๒ ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ท�ำพิธี รับพระราชทานเสื้อบนหอประชุมวชิราวุธวิทยาลัย
anuman-online.com
140 สนามหลัง วันเสาร์ที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๕๕ เวลา ๑๖.๐๐ น. สมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยฯ และสมาคมราชวิทยาลัย ร่วมกันจัดการแข่งขันรักบี้ประเพณี วชิราวุธฯ-ราชวิทย์ฯ ครั้งที่ ๒๒ ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ณ สนามบุญยะจินดา สโมสรต�ำรวจ กรุงเทพมหานคร ผลการแข่งขันราชวิทย์ฯ ชนะวชิราวุธวิทยาลัย ไปด้วยคะแนน ๓๔ ต่อ ๒๕ จุด
วันเสาร์ที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๕ นักเรียนเก่าวชิราวุธฯ และวชิราวุธวิทยาลัย ร่วมเฝ้า รับเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขณะเสด็จไปยังพระที่นั่งอนันตสมาคม ณ บริเวณ ถนนราชวิถี ด้านข้างวชิราวุธวิทยาลัย
วันจันทร์ที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๕๕๕ คณะกรรมการบริหารสมาคมนักเรียนเก่าฯ ร่วมวาง พานพุม่ หน้าพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยูห่ วั เนือ่ งในโอกาสวันรัฐธรรมนูญ ณ ลานพระบรมรูปฯ รัฐสภา กรุงเทพมหานคร
anuman-online.com
142 สนามหลัง วันพุธที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๕๕ สมาคมนักเรียนเก่าฯ และวชิราวุธวิทยาลัย ร่วมเฝ้ารับ เสด็จพระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินดั ดามาตุ เนือ่ งในโอกาสเสด็จไปทรงเป็นประธาน พระราชพิธบี รรจุพระสรีรางคาร สมเด็จพระเจ้าภคินเี ธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิรโิ สภา พัณณวดี ณ วัดปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม
วันพฤหัสบดีที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๕๕ สมาคมนักเรียนเก่าฯ และวชิราวุธวิทยาลัย เข้าร่วมพระราชพิธีลอยพระสรีรางคาร สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี โดยมี พลโท หม่อมเจ้าเฉลิมศึก ยุคล เสด็จเป็นประธาน ณ ฐานทัพเรือ สัตหีบ จ.ชลบุรี
anuman-online.com
144 สนามหลัง วันเสาร์ที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๕ สมาคมนักเรียนเก่าฯ ร่วมเฝ้ารับเสด็จ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรศั มิ์ พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร ในการ เสด็จไปงานพระราชทานเพลิงศพ นางสุภา ลีสวรรค์ มารดา ดร.สาโรจน์ ลีสวรรค์ (ผูบ้ งั คับการ วชิราวุธวิทยาลัย), นายเชิดชัย ลีสวรรค์ (โอวี ๔๒) และนายฉัตรชัย ลีสวรรค์ (โอวี ๔๗) ณ เมรุวดั มกุฎกษัตริยาราม กรุงเทพมหานคร
วันพฤหัสบดีที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๕๕ สมาคมนักเรียนเก่าฯ และนักเรียนเก่าฯ ได้ต้อนรับ และร่วมรับประทานอาหารกลางวันกับ Mr. Malcolm Hossick อดีตครูโรงเรียนวชิราวุธฯ ณ ห้องสนามหลัง วชิราวุธวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร
วันอาทิตย์ที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๕ สมาคมนักเรียนเก่าฯ และวชิราวุธวิทยาลัย ร่วมกัน จัดงานคืนสู่เหย้า Sport Day & Home Coming Day 2012 ณ วชิราวุธวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร
anuman-online.com
146 สนามหลัง วันพฤหัสบดีที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๕ ดร.คุรจุ ติ นาครทรรพ นายกสมาคมนักเรียน เก่าฯ ร่วมลงนามถวายพระพรและถวายพาน ดอกไม้แด่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุ ม ารี ณ โรงพยาบาล จุฬาลงกรณ์ กรุงเทพมหานคร
วันเสาร์ที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๕๕ ตัวแทนนักเรียนเก่าฯ รุ่น ๔๒ ร่วมท�ำพิธีอัญเชิญพระ บรมรูปพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว กลับมาประดิษฐานยังห้องประดิษฐาน พระบรมรูปฯ บริเวณชั้น ๒ อาคารอัศวพาหุ ในวชิราวุธวิทยาลัย หลังจากที่การบูรณะ ห้องประดิษฐานพระบรมรูปฯ เสร็จสมบูรณ์
วันเสาร์ที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๕ คณะกรรมการบริหารสมาคมนักเรียนเก่าฯ ร่วมกัน ตักบาตรถวายพระสงฆ์จ�ำนวน ๔๖ รูป เนือ่ งในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนาวชิราวุธวิทยาลัย ณ บริเวณลานหน้าหอประชุม วชิราวุธวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร
anuman-online.com
148 สนามหลัง วันเสาร์ที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๕ คณะกรรมการบริหารสมาคมนักเรียนเก่าฯ และตัวแทน นักเรียนเก่าฯ รุน่ ๔๒ ท�ำพิธมี อบห้องพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูห่ วั บริเวณชัน้ ๒ อาคารอัศวพาหุ ในวชิราวุธวิทยาลัย หลังจากทีไ่ ด้บรู ณะใหม่จนเสร็จสมบูรณ์ ให้แก่วชิราวุธวิทยาลัย โดยมี ฯพณฯ พลากร สุวรรณรัฐ นายกคณะกรรมการอ�ำนวยการ วชิราวุธวิทยาลัย และ ดร.สาโรจน์ ลีสวรรค์ ผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัย เป็นผู้รับมอบ
ขอขอบคุณผู้สนับสนุนการจัดท�ำอนุมานวสาร โอวี OV Spirit&Web OV ๒,๐๐๐ บาท นักเรียนเก่าฯ ในเชียงใหม่ ๒,๖๐๐ บาท ธันวา ชัยจินดา ๑๐,๐๐๐ บาท บริจาคเพิ่ม ๕,๐๐๐ บาท วิวัฒน์ ถิระวันธุ์ ๖,๐๐๐ บาท บริจาคเพิ่ม ๓,๐๐๐ บาท ครอบครัววีระ วีระไวทยะ ๑๐,๐๐๐ บาท ครอบครัวศรีชลธาร ๕,๐๐๐ บาท โอวี ๔๒, ๗๓, ๗๖ โอวีอาวุโส ร.ท.นุรักษ์ อิศรเสนาฯ ๓,๐๐๐ บาท ม.ล.พรสุทธิ์ ลดาวัลย์ ๕๐๐ บาท พล.ต.อ.เภา สารสิน ๑๐,๐๐๐ บาท ถวัลย์ ปานะนนท์ ๕๐๐ บาท ศ.นพ.อาวุธ ศรีศุกรี ๒,๐๐๐ บาท โอวี ๑๖ เสถียร เสถียรสุต ๑๕,๐๐๐ บาท โอวี ๑๙ ปราณีต ชัยจินดา ๒๐,๐๐๐ บาท บริจาคเพิ่ม ๑๐,๐๐๐ บาท โอวี ๒๕ ร.ท.ชนินทร์ วรรณดิษฐ์ ๒,๐๐๐ บาท โอวี ๒๖ พงษ์ธร พรหมทัตตเวที ๒,๐๐๐ บาท โอวี ๒๘ วิชัย สุขธรรม ๒,๐๐๐ บาท สนั่น จรัญยิ่ง ๒,๐๐๐ บาท โอวี ๓๐ อโนทัย สังคาลวณิช ๑,๐๐๐ บาท โอวี ๓๑ โอวี รุ่น ๓๑ ๓,๑๐๐ บาท และรุ่นข้างเคียง จิรายุส แสงสว่างวัฒนะ ๒,๐๐๐ บาท ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ๒๐,๐๐๐ บาท สม วรรณประภา ๑๐,๐๐๐ บาท โอวี ๓๓ พล.ต.ต.จักร จักษุรักษ์ ๑๕,๐๐๐ บาท บริจาคเพิ่ม ๕,๐๐๐ บาท จักรพันธุ์ โปษยกฤต ๓๐,๐๐๐ บาท ด�ำรงพันธุ์ พูนวัตถุ ๕๐๐ บาท ดร.ประทักษ์ ประทีปะเสน ๒,๐๐๐ บาท
โอวี ๓๔ พล.ต.อ.สันต์ ศรุตานนท์ ๓๐,๐๐๐ บาท โอวี ๓๕ สุพจน์ ศรีตระกูล ๑,๐๐๐ บาท โอวี ๓๗ สันติภาพ ลิมปะพันธ์ ๒,๐๐๐ บาท บริจาคเพิิ่ม ๑,๐๐๐ บาท โอวี ๓๘ อดิศักดิ์ เหมอยู่ ๒๐,๐๐๐ บาท โอวี ๓๙ สรรชัย เกยสุวรรณ ๑๐,๐๐๐ บาท บุญเลิศ ศรีเจริญ ๒,๕๐๐ บาท พิพัฒน์ บูรณะนนท์ ๒,๕๐๐ บาท วานิช ทองชื่นจิตต์ ๒,๕๐๐ บาท โอวี ๔๐ โอวีรุ่น ๔๐ ๑๐,๐๐๐ บาท จุลสิงห์ วสันตสิงห์ ๑๕,๐๐๐ บาท บริจาคเพิิ่ม ๕,๐๐๐ บาท พูลศักดิ์ ประณุทนรพาล ๕,๐๐๐ บาท โอวี ๔๑ เปรมปรี วัชราภัย ๔,๐๐๐ บาท โอวี ๔๒ รุ่น ๔๒ ๑๐,๐๐๐ บาท ชัยวัฒน์ นิตยาพร ๓,๐๐๐ บาท เชิดชัย ลีสวรรค์ ๑๐,๐๐๐ บาท พล.ท ศ. คลินกิ ภาณุวชิ ญ์ ๖,๐๐๐ บาท พุ่มหิรัญ บริจาคเพิ่ม ๓,๐๐๐ บาท นภดล บัวทองศร ๑,๐๐๐ บาท อภิชัย สิทธิบุศย์ ๑,๐๐๐ บาท โอวี ๔๓ ก๊วนกอล์ฟโอวี ๔๓ ๑๐,๐๐๐ บาท เขมทัต อนิวรรตน์ ๕๐๐ บาท อิสระ นันทรักษ์ ๒,๐๐๐ บาท โอวี ๔๔ พงษ์พินิต เดชะคุปต์ ๓,๐๐๐ บาท รัฐฎา บุนนาค ๕,๐๐๐ บาท ศิโรฒม์ สนิทวงศ์ฯ ๑๐,๐๐๐ บาท สุพล วัธนเวคิน ๕๐,๐๐๐ บาท โอวี ๔๕ ดร.คุรุจิต นาครทรรพ ๑๘,๐๐๐ บาท บริจาคเพิ่ม ๕,๐๐๐ บาท จีระ อุดมวัฒน์ทวี ๒๐๐ บาท
ตั้งแต่ปี ๒๕๕๐
149
ศ.ดร.ทวิป กิตยาภรณ์ ๑๐,๐๐๐ บาท พงษ์เทพ ผลอนันต์ ๕,๐๐๐ บาท สุรสิงห์ พรหมพจน์ ๔,๕๐๐ บาท โอวี ๔๖ โอวี รุ่น ๔๖ ๒,๐๐๐ บาท คณะผู้บังคับการ ๑๕,๐๐๐ บาท ม.ล.จิรเศรษฐ ศุขสวัสดิ์ ๒๒,๕๐๐ บาท บริจาคเพิ่ม ๒,๕๐๐ บาท ดนุช อิศรเสนา ณ อยุธยา ๔,๐๐๐ บาท บริจาคเพิ่ม ๒,๐๐๐ บาท ธนันต์ วงษ์เกษม ๑,๐๐๐ บาท น.พ.นภาดล อุปภาส ๓,๐๐๐ บาท นพดล สุรทิณฑ์ ๕๐๐ บาท นรศุภ นิติเกษตรสุนทร ๑,๐๐๐ บาท ปฏิภาณ ตันติวงศ์ ๕,๐๐๐ บาท ร.อ.เปรม บุณยวิบูลย์ ๕,๐๐๐ บาท รักพงษ์ ปัจจักขภัติ ๔,๐๐๐ บาท บริจาคเพิ่ม ๓,๐๐๐ บาท ดร.สหัสโรจน์ โรจน์เมธา ๑๐,๐๐๐ บาท สัตยา เทพบันเทิง รุ่น ๔๖ ๒,๐๐๐ บาท ม.ร.ว.อดิศรเดช ศุขสวัสดิ์ ๓,๐๐๐ บาท โมนัย ไกรฤกษ์ ๕,๐๐๐ บาท โอวี ๔๗ ธานี จูฑะพันธ์ ๕,๐๐๐ บาท โอวี ๔๘ ชนัตถ์ อุดมวัฒน์ทวี ๒๐๐ บาท พ.ต.ท.พรศักดิ์ บุญมี ๑,๐๐๐ บาท ทองเปา บุญหลง ๒๐๐ บาท ดร.ธรรมนูญ อานันโทไทย ๕,๐๐๐ บาท สัตยา เทพบรรเทิง ๕,๐๐๐ บาท ตุลานราพัสตร์ ลุประสงค์ ๖๙๖ บาท เลิศศักดิ์ ผลอนันต์ ๕๐๐ บาท องอาจ อนุสสรราชกิจ ๒๐๐ บาท อนุสนธิ์ ชินวรรโณ ๖,๐๐๐ บาท บริจาคเพิ่ม ๒,๐๐๐ บาท โอวี ๔๙ ธนาวุฒิ สาครสินธุ์ ๑,๐๐๐ บาท นภดล เทพวัลย์ ๒,๐๐๐ บาท นาวาโท บัญชา จันทร์ไทย ๑,๐๐๐ บาท มนต์เทพ โปราณานนท์ ๘,๐๐๐ บาท อภิชัย มาไพศาลสิน ๒,๐๐๐ บาท โอวี ๕๐ โอวี รุ่น ๕๐ ๑๐,๐๐๐ บาท น.อ.พิศิษฎ์ ทองดีเลิศ ๒,๐๐๐ บาท
anuman-online.com
150 ขอขอบคุณผู้สนับสนุนการจัดท�ำอนุมานวสาร นพดล มิ่งวานิช ๑,๐๐๐ บาท เอกชัย วานิชกุล ๓,๐๐๐ บาท โอวี ๕๑ พล.ต.ต.จักรทิพย์ ชัยจินดา ๒๐,๐๐๐ บาท บริจาคเพิ่ม ๑๐,๐๐๐ บาท พ.ท.ธนา ลิ้มธนากุล ๑,๐๐๐ บาท วชิระ สายศิลปี ๕,๐๐๐ บาท สุวิช ล�่ำซ�ำ ๑๐,๐๐๐ บาท อลงกรณ์ กฤตยารัตน์ ๕,๐๐๐ บาท โอวี ๕๒ กุลวัฒน์ วิชัยลักษณ์ ๑,๐๐๐ บาท จุมพจน์ มิ่งวานิช ๕๐๐ บาท นพ.ชนินทร์ ล�่ำซ�ำ ๑๐,๐๐๐ บาท รวมบริจาคใหม่ ๒,๕๐๐ บาท บัญชา ลือเสียงดัง ๕๐๐ บาท วิเชฐ ตันติวานิช ๒,๐๐๐ บาท วิเทศน์ เรืองศรี ๑,๐๐๐ บาท สันติ อุดมวัฒน์ทวี ๒๐๐ บาท สุรจิต ลืออ�ำรุง ๑,๐๐๐ บาท อนันต์ จันทรานุกูล ๒,๐๐๐ บาท โอวี ๕๓ ทินนาถ กิตยาภรณ์ ๑,๐๐๐ บาท อลงกต กฤตยารัตน์ ๒,๐๐๐ บาท โอวี ๕๕ ทวีวัฒน์ ลิ้มธนากุล ๑,๐๐๐ บาท นายธนา เวสโกสิทธิ์ ๑,๐๐๐ บาท ดร.ศุภมิตร ปิติพัฒน์ ๒,๐๐๐ บาท อนันต์ สันติวิสุทธิ์ ๒,๐๐๐ บาท อภิศักดิ์ เกี่ยวการค้า ๓,๐๐๐ บาท โอวี ๕๖ ทวีสิน ลิ้มธนากุล ๖,๐๐๐ บาท พงศธร เภาโนรมย์ ๒,๐๐๐ บาท พรหมเมศ จักษุรักษ์ ๑,๐๐๐ บาท ปวิณ รอดรอยทุกข์ ๑,๐๐๐ บาท ประวิทย์ มนต์เสรีนุสรณ์ ๑,๐๐๐ บาท โอวี ๕๗ วีระวัฒน์ เนียมทรัพย์ ๑,๐๐๐ บาท สัคคเดช ธนะรัชต์ ๒,๐๐๐ บาท บริจาคเพิ่ม ๑,๐๐๐ บาท อนุวัตร วนรักษ์ ๑,๐๐๐ บาท โอวี ๕๘ ธนา เวสโกสิทธิ์ ๒,๐๐๐ บาท
โอวี ๕๙ กิตติ แจ้งวัฒนะ ๑,๐๐๐ บาท คมกฤช รัตนราช ๕,๐๐๐ บาท ปกรณ์ อาภาพันธุ์ ๕,๐๐๐ บาท รวินทร์ ถิระวัฒน์ ๓,๐๐๐ บาท วรากร บุณยเกียรติ ๑,๐๐๐ บาท เวทิศ ประจวบเหมาะ ๕,๐๐๐ บาท คุณอาจ อรรถกวีสุนทร ๓๐,๐๐๐ บาท และชาตา บุญสูง อธิปัตย์ โรจนไพบูลย์ ๑,๐๐๐ บาท อนุวัฒน์ ชูทรัพย์ ๑,๐๐๐ บาท โอวี ๖๐ วีรยุทธ โพธารามิก ๑,๐๐๐ บาท โอวี ๖๑ กมล นันทิยาภูษิต ๕,๐๐๐ บาท นครา นาครทรรพ ๒,๐๐๐ บาท ภัคพงศ์ จักษุรักษ์ ๒,๐๐๐ บาท บริจาคเพิ่ม ๑,๐๐๐ บาท โอวี ๖๒ โกมุท มณีฉาย ๑,๐๐๐ บาท ชิดชนก กฐินสมิต ๑,๐๐๐ บาท ทรงศักดิ์ ทิพยสุนทร ๑,๐๐๐ บาท ธนพร คชเสนี ๑,๐๐๐ บาท ปิยะพงษ์ บุณยศรีสวัสดิ์ ๒,๐๐๐ บาท รวมบริจาคใหม่ ๑,๐๐๐ บาท ประภากร วีระพงษ์ ๑,๐๐๐ บาท ภัฎพงศ์ ณ นคร ๕๐๐ บาท วรรธนะ อาภาพันธุ์ ๒,๐๐๐ บาท รวมบริจาคใหม่ ๑,๐๐๐ บาท โอวี ๖๓ ภูริเชษฐ์ โชติพิมพ์ ๕,๐๐๐ บาท โอวี ๖๕ วัชระ ตันธนะ ๕,๐๐๐ บาท ปรีเทพ บุญเดช ๕๐๐ บาท โอวี ๖๖ เจษฎา บ�ำรุงกิจ ๑,๐๐๐ บาท พันตรี จุณณะปิยะ ๑,๐๐๐ บาท โอวี ๖๗ กิตติวัฒน์ กิจถาวรวงศ์ ๓,๐๐๐ บาท โอวี ๖๙ กิตติ ชาญชัยประสงค์ ๒,๕๐๐ บาท บริจาคเพิ่ม ๕๐๐ บาท
ธเนศ ฉันทังกูล ๕๐๐ บาท พชา สุวรรณประกร ๑,๐๐๐ บาท โอวี ๗๐ รุ่น ๗๐ ๓,๐๐๐ บาท โอวี ๗๑ วิรัช เทพารักษ์ ๑,๐๐๐ บาท สถิร ตั้งมโนเพียรชัย ๑,๐๐๐ บาท อาทิตย์ ประสาทกุล ๑,๐๐๐ บาท โอวี ๗๒ กันต์ ปัจจักขภัติ ๑,๐๐๐ บาท ประยุทธ์ จีรบุณย์ ๕,๐๐๐ บาท โอวี ๗๓ นักเรียนเก่าฯ รุ่น ๗๓ ๗,๕๐๐ บาท ณัฐพล ลิปิพันธ์ ๑,๐๐๐ บาท โอวี ๗๔ พฤศ อุดมวัฒน์ทวี ๒๐๐ บาท ปณิธิ นอบไทย ๑,๐๐๐ บาท ศศิศ อุดมวัฒน์ทวี ๒๐๐ บาท โอวี ๗๕ ธัชกร พัทธวิภาส ๑,๐๐๐ บาท อัคร ปัจจักขภัติ ๑,๐๐๐ บาท โอวี ๗๗ วิชชุ วุฒานุรักษ์ ๑,๐๐๐ บาท โอวี ๗๙ โอวี รุ่น ๗๙ ๒,๐๐๐ บาท ภวัตพงศ์ เทวกุล ณ อยุธยา ๕๐๐ บาท วรุตมาศ ศุขสวัสดิ์ฯ ๑,๐๐๐ บาท โอวี ๘๐ ธนทัต อนิวรรตน์ ๕๐๐ บาท ฟ้าสาง ปริวุฒิพงศ์ ๕,๐๐๐ บาท โอวี ๘๑ รชต ชื่นชอบ ๑,๐๐๐ บาท โอวี ๘๒ เมธัส ไกรฤกษ์ ๕,๐๐๐ บาท เพื่อนโอวีและผู้ปกครอง ณรงค์ บุญเสถียรวงศ์ ๑,๐๐๐ บาท วิฑูรย์ จอมมะเริง ๑,๐๐๐ บาท ด.ช.เมธิชัย ชินสกุล ๒,๐๐๐ บาท ร.ศ.พญ.ผจง คงคา ๕,๐๐๐ บาท สมพร ไม้สุวรรณกุล ๒๐๐ บาท * ตัวเข้มผู้บริจาคใหม่หรือเพิ่มเติม
อนุมานวสาร ฉบับย้อนหลัง
151
ฉบับ ๑ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๐
ฉบับ ๒ ฉบับ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๐ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๐ ฉบับปี ๒๕๕๑
ฉบับ ๔ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๑
ฉบับ ๕ เม.ย.-พ.ค. ๒๕๕๑
ฉบับ ๖ มิ.ย.-ก.ค. ๒๕๕๑
ฉบับ ๘ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๑
ฉบับ ๗ ส.ค.-ก.ย. ๒๕๕๑
ฉบับปี ๒๕๕๒
ฉบับ ๙ ม.ค.-ก.พ. ๒๕๕๒
ฉบับ ๑๐ มี.ค. เม.ย. ๒๕๕๒
ฉบับ ๑๑ พ.ค-มิ.ย. ๒๕๕๒
ฉบับ ๑๒ ก.ค.-ส.ค. ๒๕๕๒
anuman-online.com
ฉบับปี ๒๕๕๒
ฉบับปี ๒๕๕๓
ฉบับ ๑๓ ก.ย.-ต.ค. ๒๕๕๒ ฉบับปี ๒๕๕๓
ฉบับ ๑๔ ฉบับ ๑๕ พ.ย.-ธ.ค. ๒๕๕๒ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๓ ฉบับปี ๒๕๕๔
ฉบับ ๑๖ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๓ ฉบับปี ๒๕๕๕
ฉบับ ๑๗ ก.ค.-ต.ค. ๒๕๕๓
ฉบับ ๑๘ ม.ค.-เม.ย. ๒๕๕๔
ฉบับ ๒๐ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๕
ฉบับปี ๒๕๕๕
ฉบับ ๒๑ ม.ค.-เม.ย. ๒๕๕๕
ฉบับ ๒๒ พ.ค.-ส.ค. ๒๕๕๕
ฉบับ ๑๙ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๔
ขอรับอนุมานวสารฉบับย้อนหลังได้ที่ สมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยฯ ๑๙๙ ถนนพิชัย เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐ โทร. ๐-๒๒๔๑-๓๐๕๙ โทรสาร ๐-๒๖๖๙-๓๕๑๘ (คุณวาสนา จันทอง)