อนุมานวสาร ๒๕

Page 1

ฉบับที ่ ๒๕   กันยายน ๒๕๕๖ - มีนาคม ๒๕๕๗   anuman-online.com




จดหมายข่าวสมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์

ผู้จัดท�ำ คณะกรรมการบริหารสมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย ประจ�ำปี ๒๕๕๖ - ๒๕๕๘

ที่ปรึกษา สุเมธ ตันติเวชกุล โอวี ๓๐ ชัยอนันต์ สมุทวณิช โอวี ๓๓ วิโรจน์ นวลแข โอวี ๓๗ ม.ล.ชัยนิมิตร นวรัตน โอวี ๓๗ ยอดชาย ขันธชวนะ โอวี ๔๔ บรรยง พงษ์พานิช โอวี ๔๔ ม.ล.จิรเศรษฐ ศุขสวัสดิ์ โอวี ๔๖ วรชาติ มีชูบท โอวี ๔๖ กุลวิทย์ เลาสุขศรี โอวี ๕๗ ประชา ศรีธวัชพงศ์ โอวี ๕๙ วีรยุทธ โพธารามิก โอวี ๖๐ อาทิตย์ ประสาทกุล โอวี ๗๑ อโนมา ศุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา

ประธานฝ่ายประชาสัมพันธ์ และสาราณียกร ผรณเดช พูนศิริวงศ์

บรรณาธิการ กิตติเดช ฉันทังกูล ศศินทร์ วิทูรปกรณ์

คณะบรรณาธิการ กัญญฎา วิชัยธนพัฒน์ นิธิศ นวรัตน ณ อยุธยา กอบกิจ จ�ำจด กรด โกศลานันท์ ภพ พยับวิภาพงศ์

• • • •

พิชิต ศรียานนท์ เอกจิต ร่มพฤกษ์ ปรีดี หงสต้น ร.ต.สถาพร อยู่เย็น กรรณ จงวัฒนา ศรเทพฤทธิ์ ศิลปบรรเลง ศิริชัย กาญจโนภาส ธนกร จ๋วงพานิช นวิทธิ์ วิชัยธนพัฒน์ จุมพล พิจารณ์สรรค์ วีระพล รัชตานนท์ จิระ สุทธิวิไลรัตน์ ศรัน ชัยวัฒนาโรจน์ พศิน เวชพาณิชย์ มาร์ค ดิมิทอฟ วีรประภัทร กิตติพิบูลย์

โอวี ๗๒ โอวี ๗๓  โอวี ๗๕ โอวี ๗๖ โอวี ๗๖ โอวี ๗๖ โอวี ๗๖ โอวี ๗๗  โอวี ๗๙ โอวี ๗๙ โอวี ๘๐ โอวี ๘๓ โอวี ๘๓ โอวี ๘๓ โอวี ๘๓ โอวี ๘๓

โอวี ๖๖ ถ่ายภาพ ณัฏฐ์ ไกรฤกษ์ โอวี ๗๒ เฉลิมหัช ตันติวงศ์ โอวี ๗๗ โอวี ๗๓ สงกรานต์ ชุมชวลิต โอวี ๗๗ โอวี ๗๙ วรุตมาศ ศุขสวัสดิฯ์ โอวี ๗๙  ธนพัฒน์ ฑีฆธนานนท์ โอวี ๗๙ สรอรรถ เลาประสพวัฒนา โอวี ๘๒ โอวี ๖๕ โอวี ๗๐ โอวี ๗๑ โอวี ๗๑

โฆษณา

เขต ณ พัทลุง โอวี ๗๑  (โทร ๐๘๑-๓๕๙-๗๑๐๒) มณฑล พาสมดี โอวี ๗๓ (โทร. ๐๘๗-๙๙๑-๓๒๓๐)

ฝ่ายบัญชีและการเงิน อภิพงศ์ พงศ์เสาวภาคย์ สุทธิพงษ์ ลิ้มสุขนิรันดร์ รัฐพล ปั้นทองพันธ์ พัฒน์​ ไกรเดช

โอวี ๗๑ โอวี ๗๓ โอวี ๗๕ โอวี ๗๙

ผูช้ ว่ ยประสานงาน / ทะเบียนสมาชิก

วาสนา จันทอง (เจ้าหน้าทีส่ มาคมฯ) ล�ำจวน ไชยชาติ (เจ้าหน้าทีส่ มาคมฯ)

พิมพ์ที่ พี. เพรส (โทร. ๐-๒๗๔๒-๔๗๕๔) หมายเหตุ ตัวอักษร ออกแบบโดย ม.ล.ชัยนิมิตร นวรัตน โอวี ๓๗ ภาพหน้าปกโดย  ณัฏฐ์ ไกรฤกษ์ (โอวี ๗๒)

ศิลปกรรม ปฏิภาณ สานแสงอรุณ ปริญญา ยุวเทพากร สงกรานต์ ชุมชวลิต

เปลี่ยนแปลง-ย้ายที่อยู่ สนับสนุนการเงิน-โฆษณา ส่งข่าว-ประกาศ-ประชาสัมพันธ์ ส่งข้อเขียน-บทความ

โอวี ๗๗ โอวี ๗๗

ติดต่อ : สมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยฯ ๑๙๙ ถนนพิชัย เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐ โทร. ๐-๒๒๔๑-๓๐๕๙ โทรสาร ๐-๒๖๖๙-๓๕๑๘ e-mail: ovnewsletter@yahoo.com website: www.oldvajiravudh.com


๒๕

สารบัญ

ม.ค.-มี ม.ค.-ส.ค. .ค. ๕๗ ๕๖

วชิราวุธรฤก

บทความพิเศษ ๘๖ ข้อเสนอแนะใน คอลัมน์พิเศษ ๑๖ การปรับปรุงทีมรักบี้ เที่ยวเมืองพระร่วง วชิราวุธวิทยาลัย กองบังคับการ ๗๖ (Good Rugby Culture) ครูแนะแนวกับโรงเรียน ศัพท์ โอวี ๙๙ วชิราวุธวิทยาลัย ตัวส�ำราญ ห้องตู้ ๑๐๑ เมื่อผม... ใช้เด็ก บทความ จากนักเรียนเก่าฯ ให้เลี้ยงปลา

สัมภาษณ์ เรือนจาก ธนาธิป อุปัติศฤงค์ เอกอัครราชทูตไทย ประจ�ำประเทศญี่ปุ่น

และครอบครัวโอวี

หอประชุม ๘๐ ๓๔ มารยาทการเชียร์รักบี้ ในระดับสากลโลก เขายึดถือปฏิบัติกัน บทความพิ​ิเศษ ๑ ๘๘ สรุปการสนับสนุน ผู้ฝึกสอนให้แก่โรงเรียน วชิราวุธวิทยาลัย บทความพิเิ ศษ ๒ ๙๓ เพื่อนครูอรุณ

วิถีวชิราวุธ ห้องสมุด คิดและเขียน แบบบรรยง

ข่าวสาร และกิจกรรม

ห้องเพรบ ๖ ๑๙๙ กล่องจดหมายโอวี ๘ เรืออากาศโทนุรักษ์ อิศรเสนา ณ อยุธยา ค�ำกราบบังคมทูลเปิด อาคารอ�ำนวยการและ พิพิธภัณฑ์ของโรงเรียน สกู๊ปพิเศษ ๕๐ ประมวลภาพฉลอง ๗๔ แชมป์รักบี้ประเพณี สนามหลัง ๕๔ ห้องเบิกของ ๑๐๗

anuman-online.com


วัตถุประสงค์หลักของการจัดตั้ง สมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยในพระบรม ราชูปถัมภ์ ๑. ส่งเสริมและเผยแพร่เกียรติคุณของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้พระราชทานก�ำเนิดวชิราวุธวิทยาลัย ๒. อุปการะแก่กันและกันในหมู่สมาชิกในทุกทางที่ไม่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม  อันดีของประชาชน ๓. ประสานสามัคคีในหมูส่ มาชิกนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยและนักเรียนในพระบรม ราชูปถัมภ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ๔. แลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันในหมู่สมาชิกและนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย ๕. ส่งเสริมและสนับสนุนกิจการของวชิราวุธวิทยาลัย เพื่อน�ำไปสู่ความเจริญของโรงเรียน ๖. ส่งเสริมเกียรติและประเพณีแห่งวชิราวุธวิทยาลัย ๗. เผยแพร่ชื่อเสียงและเกียรติคุณของวชิราวุธวิทยาลัย ๘. ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษา การกีฬา และการบันเทิงตามสมควร ๙. บ�ำเพ็ญสาธารณประโยชน์ในโอกาสอันสมควร

สิทธิและหน้าที่ของสมาชิก ๑. สมาชิกมีสิทธิที่จะร่วมกิจการต่างๆ ที่สมาคมฯ จัดขึ้น แต่ต้องปฏิบัติตามระเบียบ ที่วางไว้ ๒. สมาชิกมีสิทธิประดับเข็มเครื่องหมายของสมาคมฯ ได้ในเวลาที่เป็นสมาชิก ๓. สามัญสมาชิกมีสิทธิเสนอความคิดเห็น ตรวจดูหลักฐานและบัญชีต่างๆ ของ  สมาคมฯ ได้ในเวลาท�ำการของสมาคมฯ ๔. สามัญสมาชิกเท่านั้นมีสิทธิเข้าประชุมใหญ่ ลงคะแนนเสียงและเลือกตั้งหรือรับเลือกตั้ง  เป็นนายกสมาคมฯ หรือกรรมการสมาคมฯ เว้นแต่สามัญสมาชิกนั้นค้างช�ำระค่าบ�ำรุง ๕. สามัญสมาชิกมีหน้าที่ต้องช�ำระค่าบ�ำรุงตามที่ก�ำหนดไว้ ๖. สมาชิกต้องปฏิบัติตามระเบียบและข้อบังคับของสมาคมฯ ที่วางไว้ ๗. สมาชิกมีสิทธิที่จะใช้สถานที่และบริการของสมาคมฯ และสโมสร แต่ต้องปฏิบัติ ตามระเบียบข้อบังคับที่ก�ำหนดไว้


คณะกรรมการบริหารสมาคมฯ ประจ�ำปี ๒๕๕๖ - ๒๕๕๘ ๑. พล.ต.ท.เจตนากร นภีตะภัฎ รุ่น ๓๘ ๒. ผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัย ๓. นายธาดา เตียประเสริฐ รุ่น ๔๒ ๔. นายจตุพล ปุญโสนี รุ่น ๔๓ ๕. พล.อ.ท.วรฉัตร ธารีฉัตร รุ่น ๔๖ ๖. พล.ต.ท.จักรทิพย์ ชัยจินดา รุ่น ๕๑ ๗. นายชาญวิทย์ ไกรฤกษ์ รุ่น ๔๓ ๘. ร.อ.ชมพล ยูสานนท์ รุ่น ๕๑ ๙. นายไชยวุฒิ์ พึ่งทอง รุ่น ๕๑ ๑๐. นายอนันต์ จันทรานุกูล รุ่น ๕๒ ๑๑. นายกฤษดา จีนะวิจารนะ รุ่น ๕๓ ๑๒. นายวิทวัส ตันติเวช รุ่น ๕๐ ๑๓. นายชลิตรัตน์ จันทรุเบกษา รุ่น ๕๔ ๑๔. นายอรรถพล วงศ์รัตน์ รุ่น ๕๕ ๑๕. นายประวิทย์ มนต์เสรีนุสรณ์ รุ่น ๕๖ ๑๖. ดร.ปกรณ์ อาภาพันธุ์ รุ่น ๕๙ ๑๗. นายวีรยุทธ โพธารามิก รุ่น ๖๐ ๑๘. นายธนากร ผลอนันต์ รุ่น ๖๒ ๑๙. นายผรณเดช พูนศิริวงศ์ รุ่น ๖๖ ๒๐. นายณัฐพล เหมอยู่ รุ่น ๗๓ ๒๑. นายสุภรัตน์ อัลภาชน์ รุ่น ๕๑

นายกสมาคมฯ กรรมการโดยต�ำแหน่ง อุปนายกฝ่ายสิทธิประโยชน์ ๔๒ อุปนายกฝ่ายสโมสรและกีฬา ๔๓ อุปนายกฝ่ายส่งเสริมความสัมพันธ์ อุปนายกฝ่ายหารายได้ ๕๑ กรรมการฝ่ายวิชาการและวางแผน กรรมการและประธานกิจกรรมพิเศษ กรรมการและประธานฝ่ายหารายได้ กรรมการและประธานฝ่ายสิทธิประโยชน์ กรรมการและรองประธานฝ่ายหารายได้ กรรมการและประธานฝ่ายต่างประเทศ กรรมการและประธานสโมสร กรรมการฝ่ายนายทะเบียนและ รองประธานสโมสร กรรมการและประธานกีฬา กรรมการและปฏิคม กรรมการและรองประธานกีฬา (รักบี้) กรรมการและรองประธานกีฬา (กอล์ฟ) กรรมการและประธานฝ่ายประชาสัมพันธ์ และสาราณียกร กรรมการและเหรัญญิก กรรมการและเลขานุการ anuman-online.com


6

ห้องเพรบ

จากกองบรรณาธิการ

สวัสดีครับพี่น้องชาวโอวี และท่านผู้อ่านทุกท่าน เชื่ อ ว่ า หลายๆ ท่ า นยั ง คงรู ้ สึ ก ดีใจและภูมิใจกับชัยชนะที่ผ่านมาของทีม รักบี้โอวี ที่สามารถคว้าถ้วยพระราชทาน จากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในการแข่งขัน รักบี้ประเพณีกับทีมราชวิทย์ฯ มาได้ส�ำเร็จ หลายๆ ท่านที่ได้ไปชมเกมที่สนามเอสซีจี ในวันนั้น ต่างก็พูดชมเป็นเสียงเดียวกันว่า ทั้งสองทีมต่างก็เล่นกันได้ดีทั้งคู่ แต่ทีมโอวี  ของเราดูจะมีกำ� ลังใจและเล่นกันได้เต็มทีม่ าก กว่า จึงสามารถเอาชนะมาได้ งานนี้ต้องชื่นชมนักกีฬาและทีม สต๊าฟโค้ชทุกคนทีเ่ ตรียมทีมกันมาได้อย่างดี  โดยเฉพาะโค้ชเท็ตซึ โค้ชชาวญี่ปุ่นที่เอา ประสบการณ์การเป็นโค้ชทีมเยาวชนญี่ปุ่น มาใช้กับทีมนักเรียนและทีมโอวีจนประสบ ความส� ำ เร็ จ ในปี ที่ ผ ่ า นมา ท่ า นผู ้ อ ่ า น สามารถพลิกไปอ่านความเป็นมาเป็นไป ของโค้ชชาวญีป่ นุ่ ท่านนีไ้ ด้ในบทความพิเศษ (หน้า ๘๘) ที่เขียนโดย นครา นาครทรรพ (โอวี ๖๑) ผูท้ ปี่ ระสานงานติดต่อกับสมาคม รักบี้ญี่ปุ่นให้ช่วยจัดโค้ชมาให้ นอกจากความสนุกของเกมรักบี้ แล้ว บรรยากาศและกิจกรรมที่สนามฯ ใน วันนั้น ก็เป็นที่ประทับใจของกองเชียร์ทุก คนซึ่งต้องขอขอบคุณทีมผู้จัดงานในวันนั้น

ที่ช่วยยกระดับการแข่งรักบี้ในประเทศไทย ให้มีมาตรฐานไม่น้อยหน้าที่อื่นๆ และท่าน ผู้อ่านสามารถเปิดไปดูประมวลภาพสวยๆ จากเกมในวันนั้นผ่านเลนส์กล้องของณัฐ ไกรฤกษ์ (โอวี ๗๒) ช่างภาพอันดับหนึ่ง ของทีมอนุมานวสาร เป็ น เรื่ อ งน่ า ดี ใ จที่ ช าวโอวี ห ลายๆ ท่านประสบความส�ำเร็จในแวดวงการทูต เมื่อไปประจ�ำอยู่ที่ไหนก็มักจะคอยช่วยดูแล พี่ๆ น้องๆ โอวีที่ไปท�ำงานหรือศึกษาอยู่ที่ นั่นเป็นประจ�ำ เหมือนที่ ธนาธิป อุปัติศฤงค์ (โอวี ๕๑) เอกอัครราชทูตประจ�ำประเทศ ญี่ปุ่น คอยต้อนรับชาวโอวีอยู่ที่กรุงโตเกียว เมื่ อ สมาชิ ก ที ม อนุ ม านวสารที่ ก� ำ ลั ง เรี ย น อยู่ในญี่ปุ่นทราบเรื่องนี้ ก็เลยถือโอกาสไป เก็บบทสัมภาษณ์เส้นทางนักการทูตมาเป็น แนวทางให้กับน้องๆ ที่อยากเดินตามทาง มาฝากกันครับ ในปีที่ผ่านมานี้ ทีมงานอนุมานวสาร  ได้ เ ข้ า ไปช่ ว ยจั ด งานคื น สู ่ เ หย้ า ประจ� ำ ปี ๒๕๕๕ - ๕๖ ตามค�ำชวนของพี่ๆ โอวี ๔๔ และ ๔๕ (สาเหตุที่ทั้งสองรุ่นร่วมกัน จัดงานนี้ ก็เนื่องจากในปี ๒๕๕๕ อยู่ใน ช่วงไว้อาลัยต่อการสิ้นพระชมน์ของสมเด็จ  เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ) โดยเจตนาของทัง้ สองรุน่ ที่


ให้ทมี อนุมานวสารเข้ามามีสว่ นร่วม ก็เพือ่ จะ ให้มาเป็นตัวตัง้ ตัวตีในการจัดตัง้ กองทุนเพือ่ พัฒนาศักยภาพส�ำหรับนักเรียนวชิราวุธฯ และน� ำ รายได้ ม าสนั บ สนุ น กองทุ น ครู ฯ  รวมไปถึงการสนับสนุนการจัดตั้งกองทุน อนุมานวสาร เพื่อเป็นศูนย์รวมในการจัด กิจกรรมส่งเสริมการศึกษาในทุกรูปแบบให้ กับชาววชิราวุธฯ และสังคมภายนอก ซึ่ง เมื่อได้รูปแบบและรายละเอียดของกองทุน ต่างๆ เสร็จสมบูรณ์แล้ว ทางทีมงานคงจะ ได้นำ� เสนอให้ทกุ ท่านทราบต่อไป อีกสิ่งหนึ่งที่ทั้งสองรุ่นได้ร่วมกัน จัดท�ำขึ้นมาใหม่ คือการน�ำเพลงโรงเรียน ๖ เพลง อันได้แก่ มหาวชิราวุธราชสดุดี, เพลง เชียร์กีฬา, จรรยานักกีฬา (เมื่อแมวหมา), อีกสี่สิบปี + Forty Years On, Graduates Song: Vajiravudh Goodbye และ Vajiravudh

the King มาเรียบเรียงและจัดท�ำใหม่ให้มี ความร่วมสมัยมากขึน้ อีกทัง้ ยังได้นกั ร้องระดับ รางวัล Grammy Award อย่าง Mr.Paul  Ewing มาช่วยร้องเพลงภาษาอังกฤษให้อีก โดยการจัดท�ำเพลงและการแสดงในวันนั้น เป็นฝีมอื ของ หนัง - พงศ์ไพบูลย์ สิทธิคู (โอวี  ๔๗) ซึ่งก็เป็นที่ประทับใจหลายๆ คน หาก ใครต้องการจะเก็บความประทับใจนั้นไว้ ก็ สามารถติดต่อสั่งซื้อได้ โดยก�ำไรทั้งหมดก็ จะเข้าไปสมทบทุนกองทุนต่างๆ ในอนุมานวสารเล่มนี้ เรายังได้นอ้ งๆ หลายๆ คนเข้ามาเป็นทีมงานหน้าใหม่ๆ กันค่อนข้างเยอะ โดยเข้ามาช่วยงานต่างๆ หลายส่วน นอกจากนี้ยังมีความคิดดีๆ ที่จะ มาช่วยท�ำให้อนุมานวสารมีความน่าสนใจ มากขึ้น ซึ่งจะออกมาในรูปแบบไหนก็ขอให้ รอติดตามได้ในฉบับหน้าครับ สวัสดีครับ ม.ล.จิรเศรษฐ ศุขสวัสดิ์ (โอวี ๔๖)

anuman-online.com


8

๑๙๙ กล่องจดหมายโอวี เขียนถึงอนุมานวสาร

นุรักษ์

เรืออากาศโท

อิศรเสนา ณ อยุธยา

(๖ พฤษภาคม ๒๔๗๒ – ๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๕)

เรืออากาศโทนุรักษ์ อิศรเสนา ณ อยุธยา เป็นบุตรคนที่สองของพระยาอิศร พงศ์พิพัฒน์ (หม่อมหลวงศิริ อิศรเสนา) และ คุ ณ หญิ ง ส� ำ ลี (หม่ อ มหลวงส� ำ ลี กุญชร) ถือก�ำเนิดเมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๒ ที่บ้านอัษฎางค์ เรืออากาศโทนุรักษ์ เป็นหลานชาย ของเจ้าพระยาวรพงศ์พพิ ฒ ั น์และเจ้าพระยา เทเวศร์ นอกจากเอ็ดมันด์ พีส ซึ่งเป็นเพื่อน คูช่ วี ติ ของเรืออากาศโทนุรกั ษ์แล้ว ครอบครัว ของเรืออากาศโทนุรกั ษ์ ประกอบด้วยพีช่ าย และน้องชาย คือ คุณพารณ คุณนัดดา และ หลานๆ ได้แก่ วรศิษฐ์ พิพัฒน์พงศ์ วรงค์ และพั ท รี รวมทั้ ง บรรดาวงศาคณาญาติ ในสกุลอิศรเสนา และสกุลกุญชรอีกเป็น จ�ำนวนมาก


เรื อ อากาศโทนุ รั ก ษ์ ไ ด้ รั บ การ ศึกษาในช่วงต้นของชีวิตที่โรงเรียนวชิราวุธ วิทยาลัย และการศึกษาระดับปริญญาตรีที่ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลังจากส�ำเร็จการศึกษาได้เข้ารับราชการใน กองทัพอากาศ ต่อมาได้ศึกษาต่อปริญญา โททางด้านเภสัชศาสตร์ที่ มหาวิทยาลัย โคลัมเบีย ประเทศสหรัฐอเมริกา หลังจากส�ำเร็จการศึกษา ได้ท�ำงาน ด้านการวิจัยยาของบริษัทไฟเซอร์ และได้ ใช้ชีวิตอยู่ที่สหรัฐอเมริกาเป็นเวลาถึง ๕๐ ปี หลายคนที่ได้รู้จักเรืออากาศโทนุรักษ์  มักจะกล่าวชื่นชมเขาว่าเป็นดั่งเช่นคนในยุค เรเนซองส์ ทีม่ คี วามเชีย่ วชาญรอบรูเ้ ป็นเสิศ ในศาสตร์ต่างๆ หลายสาขา ทั้งด้านการ ดนตรี ศิลปะ การเต้นร�ำทั้งตามแผนแบบ ไทยและสากล ด้านพฤษศาสตร์ โภชนาการ และการท�ำอาหาร รวมทั้งการดูนก นอกจากความเก่งกาจที่ประจักษ์แก่ คนรอบข้าง เรืออากาศโทนุรักษ์ยังเป็นผู้มี จิตใจงดงาม ทุม่ เทช่วยเหลือพัฒนาคุณภาพ ของเยาวชนและสังคมให้มคี วามเป็นอยูแ่ ละ การศึกษาที่ดีขึ้น เช่น ช่วยเหลือสนับสนุน ศูนย์ศกึ ษาธรรมชาติเขาดินสอ จังหวัดชุมพร วงดุริยางค์ฟิลฮาร์โมนิกแห่งประเทศไทย โรงเรียนบ้านหอมเกร็ด จังหวัดนครปฐม และโรงเรียนบ้านสามขาในจังหวัดล�ำปาง

เรืออากาศโทนุรักษ์ อิศรเสนา ณ อยุธยา จะเป็นที่ระลึกถึงและอยู่ในความ  ทรงจ� ำ และหั ว ใจของทุ ก คนตลอดไปใน หนังสือที่ระลึกก�ำลังอยู่ในขั้นจัดท�ำ ผู้สนใจ สามารถขอรับได้โดยจะจัดส่งหนังสือทาง ไปรษณีย์ เมื่อพิมพ์เสร็จภายในปีนี้ กรุณา ส่งชื่อและที่อยู่ของท่าน โดยไปรษณีย์อิเลค โทรนิก (e-mail) มายังคุณเอ็ดมันด์ คูช่ วี ติ ของคุณนุรกั ษ์ที่ Baan.Suksabye@gmail. com โปรดส่งชื่อและที่อยู่เป็นภาษาอังกฤษ ในลักษณะที่จะสามารถท�ำส�ำเนาและแปะ ลงบนป้ายที่ใช้ทั่วไปทางไปรษณีย์ เพื่อส่ง หนังสือทั้งในประเทศและต่างประเทศ

anuman-online.com


10

๑๙๙ กล่องจดหมายโอวี

ภาพจากหนังสือวชิราวุธานุสาส์นในอดีต ส่งมาโดย นพ.ดาวฤกษ์ สินธุวณิชย์ (โอวี ๔๐)


anuman-online.com


12

๑๙๙ กล่องจดหมายโอวี


anuman-online.com


14

๑๙๙ กล่องจดหมายโอวี


anuman-online.com


16

คอลั ม น์ พิ เ ศษ

บทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ

เมือง

พระร่วง  เที่ยว

ต่อจากฉบับที่แล้ว

ตอนที่ ๙ เมืองศุโขทัย- “เบื้องหัวนอน”

ขุนรามก�ำแหงได้กล่าวไว้ว่า “เบื้อง หัวนอนเมืองศุโขทัยนี้มีกุฎีพหาร ปู่ครูอยู่มี สรีดภงส มีป่าพร้าวมีป่าลางมีป่าม่วงมีป่า ขามมีนาโคกมีพระขผุงผีเทพยดาในเขาอัน นั้น เปนใหญ่กว่าทุกผีในเมืองนี้ ขุนผู้ใดถือ เมืองศุโขทัยนี้แล้ว ไหว้ดีพลีถูกเมืองนี้ทย่ง เมืองนี้ดี ผิดไหว้บ่ดีพลีบ่ถูกผีในเขาอันบ่คุ้ม บ่เกรง เมืองนีห้ าย” การตรวจค้นทีต่ า่ งๆ คง ได้พบได้เห็นดังต่อไปนี้ นอกก� ำ แพงเมื อ ง ค่ อ นไปทางมุ ม ตะวันตกเฉียงเหนือและไม่ไกลจากก�ำแพง นัก มีวัดส�ำคัญอยู่วัดหนึ่งเรียกว่าวัดศรีชุม ในวัดนี้มีชิ้นส�ำคัญคือ วิหารมีพระใหญ่ก่อ

ด้วยแลงเปนพระมารวิไชย หน้าตักกว้าง ๕ วา สูง ๖ วา ส่วนวิหารนั้นเองดูภายนอก  รูปเปนสี่เหลี่ยม มีผนังสูงเกลี้ยงๆ ขึ้นไปสูง ๗ วา มีฐานเปนบรรได ๓ ชั้น รอบตัวที่ ขอบผนังข้างบนมีเปนบัว ใต้บัวลงมามีลวด ลายเปนเฟื้องย้อยลงมาเปนพวงๆ ด้านหน้า มีบันไดขึ้น และรอยซุ้มประตูซึ่งผังลงมา แล้วยังพอแลเห็นได้ ตัวประตูเองรูปชอบกล ดูส่วนสูงเกินกว่าส่วนกว้างมากเหลือเกิน ประตูนั้นกว้างพอคนสองคนเดินหลีกกันได้ อย่างยัดเหยียดนิดหน่อยเท่านั้น แต่ทาง ส่วนสูงนั้นยอดคูหาเกือบถึงบัวบน คือใน ช่องประตูนั้นถ้าจะคิดส่วนสูงตั้งธรณีขึ้นไป


จนถึงยอดคูหาเห็นจะกว่า ๖ วา รูปช่องนั้น ก็ตรงๆ ขึ้นไปเฉยๆ ก่อนแล้วจึงไปสอบเข้า เปนซุ้มมียอดออกจะเรียว ดูรูปร่างแปลก ไนยตามาก ข้างในวิหารนั้นมีที่รักแร้ก่อเปน  มุมเหลี่ยมไม้สิบสอง ผนังก่อเปน ๒ ชั้น มี ช่องเข้าไปได้ทางประตูซีกข้างซ้าย ได้ส่งคน เข้าไปทางช่องนั้นเพื่อตรวจดู ได้ความว่าใน ชัน้ แรกๆ เข้าไปล�ำบากต้องคลานฤาเดินย่อๆ เพราะอิฐปูนทลายลงมากองอยูท่ พี่ นื้ มากแต่ พอเลีย้ วมุมหนึง่ ก็ถงึ บรรไดขึน้ ได้สบาย เดิน วนเวียนไปในระหว่างซอกผนังจนถึงทีบ่ วั บน ผนังมีทลายฉลุอยูแ่ ห่งหนึง่ พระพยุหาภิบาล ได้ให้จัดการท�ำบรรไดขึ้นไปถึงที่นั้น ผู้ที่ขึ้น ไปคราวหลังจึงไม่ต้องไปคลานมุดเข้าทาง ซ้ายประตู ตรงขึ้นถึงชั้นบนที่มีบรรไดนั้น ได้ทีเดียว ในซอกผนังนั้นคนธรรมดาเดิน ต้องตะแคงตัว ที่ผนังไม่มีลวดลายอะไร แต่ บนเพดานมีรูปสลักบนแผ่นสิลา อยู่ข้างจะ เลือนๆ และทั้งต้องแหงนและมองเอียงๆ จึงเปนการล�ำบากที่จะดูรูป แต่พอเห็นได้ว่า มีรูปคนใส่ชฎาเชิดอยู่ในรูปเหล่านั้นมาก มี อิริยาบถต่างๆ ที่ขี่รถม้าก็มี เข้าใจว่าจะเปน  ภาพเรื่องชาดกและปฐมสมโพธิ์ หนังสือก็ ลบๆ เลือนเสียมาก ทั้งอ่านต้องตะแคงๆ ดู เข้าใจว่าเปนหนังสือเขมรบ้าง ไทยโบราณ บ้าง แต่เหลือที่จะอ่านให้ได้ความได้ ค้นหา ดู ศั ก ราชก็ ไ ม่ พ บเลย เดิ น ไปในซอกผนั ง นั้นต่อไป จนถึงทางด้านผนังหลังมีช่องเปน ประตู เดินออกมาทีห่ ลังพระประธานได้ แล้ว เดินในช่องผนังต่อไป ขึ้นบันไดไปเปนล�ำดับ

จนถึงบนชั้นยอดบัวบนผนัง จึงแลเห็นหลุม รับเสาสี่หลุม อยู่มุมละหลุม ซึ่งท�ำให้เดาว่า เครื่องบนเปนไม้ หลังคามุ้งกระเบื้อง แต่รูป หลังคานัน้ เดาผิดไปถนัด คือเมื่อเห็นทีน่ ี้เดา ว่าจะเปนหลังคาอย่างมณฑป แต่ภายหลังได้ ไปเห็นวิหารวัดศรีชุมนี้ไม่มีผิด จึงได้เห็นว่า เดารูปหลังคาผิด คือตามความจริงหลังคา  เปนเหมือนรูปชามคว�่ำ มีน่าจั่วน่าหลัง ดัง ปรากฏอยูใ่ นรูปวัดสระประทุมทีไ่ ด้พมิ พ์ลงไว้ ในสมุดนี้ด้วยแล้ว แต่วิหารที่วัดสระประทุม ก็ไม่ได้เปนสองชั้นอย่างที่นี่ ผนังสองชั้นนี้ ตั้งใจท�ำเปนทางคนขึ้นเปนแน่ เพราะว่าพอ ถึงข้อศอกที่เลี้ยวมีเจาะช่องแสงสว่างไว้ด้วย ทุกแห่ง แต่ไหนๆ จะท�ำทั้งทีแล้ว จะท�ำให้ ขึ้นลงง่ายๆ หน่อยไม่ได้ อย่าว่าแต่คนอ้วน แม้คนผอมก็ต้องเดินตะแคงๆ รูปวิหารนั้น คะเนดูด้วยตาว่าเปนสี่เหลี่ยมจัตุรัศ แต่วัด ดูได้ความว่า ด้านตะวันออกตะวันตก ๑๑ วา ๑ ศอก ด้านเหนือด้านใต้ ๑๑ วา ๓ ศอก ผิดกันนิดหน่อยเท่านั้น ทางสูงคะเน ว่าตั้งแต่พื้นดินถึงบัวบนผนังประมาณ ๑๐ วา จะหย่อนก็ไม่มากนัก น่าวิหารนั้นออก มามีโบสถ์ย่อมๆ มีเสาแลงข้างละ ๒ แถว ในร่วมเสาชั้นในกว้างราว ๓ วา ระเบียงอีก ข้างละ ๑ วา มีผนังเจาะช่องแสงสว่างเข้า เปนรูปกากบาทคล้ายผนังวิหารพระพุทธ  ชินราชเมืองพิศณุโลก ด้านหน้าคือตะวันออก มีประตู ๒ ประตู การก่อสร้างทั้งอุโบสถ และวิหารใช้อิฐปนแลง คือใช้แลงเปนราก และฐานเปนต้น ผนังตอบบนก่อด้วยอิฐแผ่น anuman-online.com


18

คอลัมน์พิเศษ

หนาๆ และเขือ่ งๆ สังเกตฝีมอื ทีท่ ำ� อยูข่ า้ งจะ ประณีต เห็นได้วา่ เปนวัดส�ำคัญอันหนึง่ (๑) บางทีจะเปน “พิหารปู่ครูอยู่” ที่กล่าวถึงใน หลักสิลาที่ ๑ นั้น ได้ ท ราบข่ า วว่ า ที่ นี่ เ คยมี ห ลั ก สิ ล า  จาฤกอยู่อันหนึ่ง แต่พระสารสาสน์พลขันธ์ (เยรินี) ขึ้นมาเที่ยวที่นี้ได้ยกไปจากวัดนี้ จะ ได้เอาไปไหนต่อไปก็ไม่ได้ความ (๒) ข้อที่มี หลักสิลานี้ ท�ำให้พระวิเชียรปราการเดาว่าที่ นีค้ อื ถ�ำ้ พระราม ทีพ่ ระเจ้ารามก�ำแหงกล่าว ถึงคือมีข้อความกล่าวไว้แห่งหนึ่งว่า “จาริก อันหนึง่ มีในถ�ำ้ ชือ่ ถ�ำ้ พระรามอยูฝ่ งั่ น�ำ้ สพาย” พระวิเชียรอธิบายความที่เดาว่าที่นี้เปนถ�้ำ เพราะลอดเข้าไปในช่องผนังได้ และพระ พยุหาภิบาลก็รับรองว่าชาวเมืองนี้นิยมกัน ว่าทางซีกข้างขวาประตูวิหารมีช่องเหมือน เช่นข้างซ้าย แต่ซอกทางขวามือนี้ว่าเดินไป เข้าถ�้ำอันหนึ่ง และกล่าวว่าได้มีคนเดินไป ในถ�้ำนี้หลงไปหลายวัน จนไปออกที่ปากถ�้ำ ทางเมืองสวรรคโลก เพราะฉะนั้นเขาจึงได้ เลยปิดปากถ�้ำนั้นเสียด้วยอิฐปูน แต่นี้ก็เปน แต่ค�ำเล่ากันต่อมาดูไม่น่าเชื่อเลย ถ้าแม้จะ มีซอกทางข้างขวาจริง ซึ่งอาจจะมีได้ก็น่า จะไม่เดินไปได้ไกลกว่าใต้ฐานพระประธาน บางทีเขาจะท�ำเปนที่เก็บทรัพย์ก็ได้ แต่ข้อ ที่จะเหยียดที่นี้เปนถ�้ำพระรามดูอยู่ข้างจะ หนักไปนัก ข้าพเจ้าจึงไม่ได้ยอมลงเนื้อเห็น ด้วยกับพระวิเชียร และได้ขอให้พระพยุหา  ภิบาลสืบค้นหาถ�ำ้ พระรามต่อไป ภายหลังได้ ค้นพบถ�ำ้ พระรามจริงตามทีค่ าดหมายไว้(๓)

วัดศรีชุมนี้ได้มีกล่าวถึงในพระราช พงษาวดารกรุงเทพทราวดีแห่งหนึ่ง คือเมื่อ ปลายแผ่นดินสมเด็จพระมหาธรรมราชา เมืองกรุงศรีอยุทธยากับกรุงหงษาวดีขาด ทางพระราชไมตรีกันแล้ว นันทสุกับราช สงครามแม่ทัพมอญ ซึ่งได้มาตั้งประจ�ำอยู่ ณ เมืองก�ำแพงเพ็ชร์ ทราบว่าสมเด็จพระ นเศวรเปนเจ้า ได้เสด็จยกทัพไปจากเมือง  พิศณุโลกก็ให้เลิกทัพออกจากเมืองก�ำแพง  เพ็ ช ร์ ห นี ไ ป สมเด็ จ พระนเรศวรตรั ส ให้ พระยาไชยบูรณ์ขนุ พระศรี แลพระหัวเมือง ทั้งปวงยกทัพตามไป ตีทัพนันทสุกับพระ ราชสงครามกระจัดกระจายหนีไป และไทย ใหญ่ชาวแสนหวีทมี่ าอยูเ่ มืองเชียงทองได้เข้า พึง่ พระราชสมภารทัพหลวงประทับ ณ เมือง เชียงทอง (คือเมืองที่ได้กล่าวถึงแล้วในตอน ที่ ๓ นั้น) นี่คือในปีขาลอัฐศก จุลศักราช ๙๒๘ ในขณะนี้พระยาพิไชยข้าหลวงเดิม  ทราบว่าสมเด็จพระนเรศวรกับพระเจ้าหงษาวดี  เกิดเปนปรปักษ์แก่กันก็คิดเปนขบถ ไม่ไป ตามเสด็จงานพระราชสงครามตามพระราช ก�ำหนด คงจะนึกประมาทว่าแตกกับพระ เจ้าหงษาวดีแล้วก�ำลังจะน้อยจึงได้กวาดต้อน ครอบครัวของตัว แลครัวชาวเมืองทั้งปวง อพยพไปเมืองสวรรคโลก ชักชวนพระยา สวรรคโลกให้เข้าด้วย จะยกไปตีเมืองพระ พิ ศ ณุ โ ลก หลวงปลั ด ขุ น ยกรบั ต ร ขุ น นรนายกไม่ยอมเข้าด้วย พระยาพิไชยก็ให้ ไปคุมเอาตัวคนทั้งสามนี้ไว้ การที่พระยา พิไชยเกิดขบถแล้วยกไปตีเมืองสวรรคโลก


นั้น ในว่าๆ จะไปชวนพระยาสวรรคโลกไป ตีเอาเมืองพิศณุโลก แต่ถ้าแม้จะเดาก็น่าจะ เดาว่าพระยาพิไชยเห็นเมืองพิไชยของตนจะ รักษาไว้ให้มนั่ ไม่ได้ดเี หมือนเมืองสวรรคโลก จึงยกไปสวรรคโลกและถ้าใครได้ไปดูภมู ฐิ าน เมืองพิไชยเก่าแล้ว ก็คงจะไม่รสู้ กึ ว่าเปนการ แปลกอะไรที่พระยาพิไชยจะคิดเช่นนั้น แต่ ที่จริงนี่นอกเรื่อง ฝ่ายสมเด็จพระนเรศวร พอได้ ท รงทราบข่ า วพระยาพิ ไ ชยพระยา สวรรคโลกเปนขบถ จึงเสด็จยกทัพหลวง

จากเชียงทองไปเมืองสวรรคโลก เสด็จทาง ศุโขทัยแวะที่เมืองนั้น ได้ตั้งทัพหลวงต�ำบล วัดฤาษีชุม (คือวัดศรีชุม) จึงตรัสบัญชาให้ ชาวพ่อชุมนุมพราหมณาจาริย์ เอาน�้ำในบ่อ พระสยมภูวนารถ แลเอาน�้ำตระพังโพยศรี มาตั้งบูชาโดยกิจพิธีกรรม เปนน�้ำสัตยาธิ ฐาน แลเอาพระรัตนไตรเจ้าเปนประธาน ให้ ท้าวพระยาเสนามนตรีมุขทหารทั้งหลายกิน น�้ำสัตยาแล้ว ครั้นรุ่งขึ้นทัพหลวงก็เสด็จขึ้น ทางเขาคับ ถึงเมืองสวรรคโลก เปนจบตอน anuman-online.com


20

คอลัมน์พิเศษ

ที่เกี่ยวแก่เมืองศุโขทัยเพียงนี้ ตอนที่ตีเมือง สวรรคโลก จะได้เล่ากล่าวถึงเมือ่ เล่าถึงเมือง สวรรคโลกต่อไป เรื่ อ งนี้ เ ปนพยานว่ า วั ด ฤาษี ชุ ม ฤา  ศรีชุมนั้น ในสมัยแผ่นดินสมเด็นพระมหา ธรรมราชากรุ ง เทพทวาราวดี ยั ง เปนวั ด ส�ำคัญอยู่นั้นประการหนึ่ง อีกประการหนึ่ง เปนพยานว่าเมื่อเวลานั้นพราหมณ์ในเมือง ศุโขทัยยังมีอยู่ ยังไม่สูญวงษ์ ส่วนบ่อพระ สยมภูวนารถนั้นจะได้กล่าวถึงข้างล่างนี้ ต่ อ จากวั ด ศรี ชุ ม ไปไม่ ไ กลนั ก มี สถานอันหนึ่ง ซึ่งชาวเมืองสมัยนี้เรียกกัน ว่าวัดพระพายหลวง มีปรางค์ ๓ ยอด เช่น ที่วัดศรีสวาย แต่ทลายเสียแล้ว ๒ หลัง ยัง คงเหลือแต่หลังเดียว ท�ำด้วยแลงก้อนใหญ่ๆ  มีลวดลายงามดีมาก รูปซุ้มข้างหลังปรางค์ ที่พิมพ์ มาติดไว้ในหนังสือเปนพยานอยู่ว่า ลวดลายงามเพียงไร ภายในปรางค์นั้นหน้า ตาเปนเช่นข้างในปราสาทสิลาทัง้ ปวง (๔) ที่ พื้นมีฐานพระศิวลึงค์ ท�ำด้วยสิลาแลงมีเปน  รางส�ำหรับรับน�้ำสรงพระศิวลึงค์ไหลไปลง รวมทางรางยื่นตรงออกมาข้างน่า อันเปน  ที่รองน�้ำมนต์ใช้ในพิธีพราหมณ์ ใช่แต่รูป ปรางค์จะเหมือนที่วัดศรีสวาย ยังคะเนได้ ด้วยตาอีกด้วยว่า ทั้งทางสูงและทางกว้าง ยาวดูจะปานกัน ลวดลายที่ปรางค์ก็เปนไป ทางเทวสถานที่ได้เคยเห็นมาแล้ว บนยอด ซุม้ หลังปรางค์นนั้ มีเปนรูปพระอินทรทรงช้าง เอราวรรณ ของเหล่านี้ล้วนเปนพยานว่าที่นี้ เปนเทวสถานฤาโบสถ์พราหมณ์ แต่ปรากฏ

ว่าได้แปลงเปนวัดพระพุทธสาสนา เพราะมี อุโบสถ์อยู่ข้างหลังปรางค์ ทางทิศตะวันตก น่าปรางค์ออกมามีวิหารต่อท�ำนองเดียวกัน กับวัดศรีสวาย แต่ที่นี้ต่อเชื่อมกันไม่สนิท เหมือนที่วัดศรีสวายกับในตัวปรางค์เองก็ มีพระพุทธรูปยืนแกะด้วยไม้ ทิ้งอยู่ในคูหา ด้านตะวันตกอีกด้วย พระนั้นฝีมือแกะแสน จะโทรม จึงเชือ่ ว่าเปนของใหม่ ทีแ่ ปลงสถาน นี้เปนวัดก็เชื่อว่าได้แปลงในไม่ช้านัก คือ  อย่างไรๆ เมือ่ สมเด็จพระนเรศวรเสด็จไปตัง้ ค่าย อยู่ที่ศุโขทัยและกระท�ำพิธีถือน�้ำนั้น ที่นี้คง ยังเปนโบสถ์พราหมณ์อยู่ ส่วนบ่อพระสยม  ภูวนารถ ทีเ่ อาน�ำ้ ไปท�ำพิธนี นั้ ถ้าไม่ใช่ทแี่ ห่ง นีก้ ค็ งจะเปนโบสถ์พราหมณ์ในเมือง (คือวัด ศรีสวาย) แต่นา่ จะเปนทีน่ อกเมืองนีม้ ากกว่า เพราะอยู่ใกล้วัดศรีชุม ต่อที่วัดพระพายหลวงออกไปอีก มี เตาเผาถ้วยชามตั้งอยู่ในป่าไผ่ อยู่ตามเนิน ขุดเนินเข้าไปก่อเตาด้วยอิฐ เปนเตาเตี้ยๆ มีชิ้นถ้วยชามแตกๆ ทิ้งอยู่ตามริมเตาบ้าง ซึ่งเข้าใจว่าเปนชามที่เสียเขาทิ้ง ที่เคลือบ แล้วก็มี ที่เขียนแล้วยังไม่ได้เคลือบก็มี พื้น ชามก็เปนชนิดที่เรียกว่าสังกโลก บางทีก็ มีเปนลวดลายเปนดอกไม้บ้างก็มี ฝีมือท�ำสู้ ที่สวรรคโลกไม่ได้ ตามใกล้ๆแถบเตานี้ มีที่ พื้นดินลุ่มแตกระแหงน่าฝนน�้ำขัง มีไผ่และ หญ้าขึ้นตามขอบ แต่ในลุ่มนั้นเองไม่มีอะไร ขึ้นเลย แห่งหนึ่งคะเนด้วยตาว่ากว้าง ๑๐ วา ฤา ๑๕ วา ยาวประมาณ ๕ เส้น อย่าง ไรๆ ก็ไม่ใช่ที่นาฤาไร่ จึงเข้าใจว่าจะเปนที่


เขาขุดดินขึ้นมาใช้ในการปั้นถ้วยชาม คน โดยมากบางทีจะพึง่ ได้ทราบเปนครัง้ แรกเมือ่ อ่านหนังสือนี้ ว่าถ้วยชามศุโขทัยก็มี ถึงแม้ จะได้พบปะชามศุโขทัยก็คงเข้าใจว่าเปนชาม สังกโลก ที่จริงเข้าใจว่าศุโขทัยคงได้วิชามา จากสวรรคโลกอีกชั้นหนึ่ง (๕) ต่อเตาถ้วยชามออกไปอีก และไม่สู้ ห่างจากนั่นนัก มีที่ดูอีกแห่งหนึ่ง คือวัด  สังกะวาดที่ว่าเปนที่ดูนั้นไม่ใช่เพราะเปนวัด ที่มีสิ่งงดงามอะไร แต่เพราะในค�ำแปลหลัก สิลาที่ ๑ ได้กล่าวว่าวัดนี้คือวัดสังฆวาศ ที่ พระบาทสมเด็จพระกมรเตญอัตศรีธรรมิก ราชาธิราชได้ทรงสร้างขึน้ สมเด็จกรมพระยา  ปวเรศวริ ย าลงกรณ์ ไ ด้ ท รงแต่ ง เรื่ อ งนี้ ไ ว้ ว่า “ครั้งหนึ่งมีรับสั่งให้ราชบุรุษไปอารธนา พระเจดีย์แลพระมหาเจดีย์มาประดิษฐาน ในเมืองแล้วโปรดให้สร้างพระมหาธาตุรูป ปรางค์ใหญ่องค์หนึ่ง แล้วสร้างพระอาราม ในทีพ่ ระมหาธาตุนนั้ พร้อมด้วยพระอุโบสถ วิหารการเปรียญเสนาศน์พระสงฆ์บริบูรณ์ แล้วหล่อพระพุทธปฎิมากรด้วยทองสัมฤทธิ  บริสุทธิเท่าพระองค์ท่านไว้เปนประธานใน พระอุโบสถ จึงพระราชทานนามอารามว่า สังฆวาศ อารามวิหารทุกวันนีช้ าวเมืองเหนือ เรียกชื่อว่าวัดสังกวาด” ต่อไปอีกหน่อยหนึ่ง มีข้อความว่า “แล้วทรงหล่อพระรูปศรีอาริย์ องค์หนึ่งประดิษฐานไว้ในพระวิหารคดทิศ ใต้ในอาราม” ถ้าจะสันนิฐานตามข้อความ ที่กล่าวมาแล้วนั้น จะต้องว่าวัดสังฆวาศฤา สังกวาดนั้นคงเปนวัดใหญ่โตพอใช้ แต่ตาม

ความจริงวัดสังกวาดที่ได้เห็นนั้นไม่เปนเช่น ที่คาดหมาย ที่นั้นมีคูลึกล้อมรอบเปนเขตร ในเขตรนั้นมีวิหารหลังหนึ่ง หันหน้าสู่ทิศ ตะวันออก หลังวิหารมีพระเจดีย์ซึ่งทลาย เสียหมดแล้ว ยังเหลืออยู่แต่แค่ฐานชั้นบัว กลุ่มจึงทราบไม่ได้ว่าพระเจดีย์เดิมนั้นจะ  เปนอย่างไร ตัววิหารนัน้ ยาว ๑๒ วา ๒ ศอก กว้าง ๘ วา ๒ ศอก มีเสาท�ำด้วยแลงท่อน กลมใหญ่ต่อกัน มีระเบียงสองข้าง มีพระ ประธานก่อด้วยอิฐอยู่องค์หนึ่ง สังเกตว่า ท�ำคนละคราวกับวิหาร และฐานพระก็เชื่อ ติดกับเสาไม่สนิท นอกวิหารออกมามีเปน สิลาเสาสีเ่ หลีย่ ม ข้างปลายมีบากช่องเหมือน จะเข้าประกบกับอะไรสักอันหนึ่ง ในที่บาก นั้นยังมีเปนอิฐกับปูนเกาะอยู่ กับมีเสาเช่น นี้อยู่หลายเสาทิ้งเรียงรายอยู่ จึงสันนิฐาน ว่า คงจะเปนส่วนหนึ่งของระเบียง แลผนัง ระเบียงคงเปนชนิดลูกกรงอย่างทีว่ ดั เชตุพน นอกจากวิ ห ารนี้ กั บ พระเจดี ย ์ ก็ ไ ม่ มี อ ะไร อีกส่วนการเปรียญฤาเสนาศน์ที่กล่าวว่ามี บริบรู ณ์นนั้ ถึงจะหาไม่พบก็ไม่เปนทีป่ หลาด  ใจ เพราะคงท�ำด้วยไม้ แต่วิหารคดที่ตั้งรูป พระศรีอาริย์ควรจะหาพบได้ แต่ไม่มีเลย พระวิเชียรปราการออกความเห็นว่าจะอยู่ ที่วัดมหาธาตุในเมือง แต่หนังสือท่านกล่าว ว่าอยู่ที่วัดสังกวาด ค้านกันอยู่ ข้าพเจ้าไม่ ทราบว่าจะปลงใจลงทางไหน ความสงไสย  ของข้าพเจ้าจะยิ่งหนักขึ้นไปกว่าของพระ วิ เ ชี ย รปราการเสี ย อี ก คื อ สงไสยว่ า วั ด  สังกวาดทีไ่ ด้ไปดูนจี้ ะเปนวัดสังฆวาศแน่แล้ว anuman-online.com


22

คอลัมน์พิเศษ

ฤา ดูรสู้ กึ ว่าเล็กน่าเสียใจเต็มที ไม่นา่ จะเปน  ที่ ประดิ ษ ฐานพระพุ ท ธรูป เท่าพระองค์ไว้ และวัดนี้ก็อยู่ห่างไกลจากเมืองถึง ๖๐ เส้น แต่ถ้าแม้จะตกลงว่าวัดนี้เปนวัดสังฆวาศแน่ แล้ว ก็จะต้องสันนิฐานความว่า เดิมพระเจ้า ธรรมิ ก ราชทรงพระด� ำ ริ ห ์ ว ่ า ที่ นั้ น เปนที่ ส�ำราญ มีตน้ หมากรากไม้บริบรู ณ์ทงั้ มีลำ� น�ำ้ เรียกว่าคลองดิน ซึง่ ติดต่อกันไปถึงล�ำน�ำ้ แม่ ล�ำพัน อยู่ข้างนั้นด้วย จึงได้ไปทรงสร้างวัด สังฆวาศขึ้นไว้ และเพราะเปนวัดที่ทรงสร้าง ใหม่เปนที่โปรดปราน จึงหล่อพระพุทธรูป เท่าพระองค์ไปประดิษฐานไว้ที่นั้น แต่ในค�ำ แปลหลักสิลาที่ ๒ นั้น ต่อเรื่องรับพระสามี สังฆราชไปแล้ว มีข้อความกล่าอยู่ว่า “ครั้น ออกพรรษาแล้วพระองค์ทรงตัง้ มหกรรมการ ฉลองพระพุทธรูปสัมฤทธิท์ หี่ ล่อเท่าพระองค์ นั้น ทรงประดิษฐานได้กลางเมืองศุโขทัย โดยบุรพทิศด้านพระมหาธาตุนั้น” ถ้าจะ ยังคงเชื่อเรื่องวัดสังกวาดอยู่อย่างเดิม ก็จะ ต้องเดาต่อเรื่องไปอีกว่า ในพระอุโบสถวัด

สังฆวาศนัน้ ภายหลังได้ชะลอเข้ามากระท�ำ  การฉลองในเมือง แล้วจึงได้เลยประดิษฐาน ไว้กลางเมือง โดยบุรพทิศด้านพระมหาธาตุ ดูอยู่ข้างจะยุ่งอย่างไรอยู่ แต่ถ้าไม่เปนเช่น ที่ได้กล่าวเดาเปนเรื่องมาอย่างข้างบนนี้แล้ว ก็ เ ห็ น มี ห นทางที่ จ ะสั น นิ ฐ านได้ อี ก อย่ า ง เดียว คือว่าวัดสังกวาดที่ได้เห็นนั้นไม่ใช่วัด  สังฆวาศในหนังสือ ถ้าแม้จะถามต่อไปว่าถ้า เช่นนัน้ วัดสังฆวาศอยูท่ ไี่ หน ก็จะต้องเดาตอบ  ว่าน่าจะเปนวัดมหาธาตุกลางเมืองนั้นเอง (๖) และที่ว่าพระเจ้าธรรมิกราชทรงสร้าง ขึ้นใหม่นั้นแปลว่าปฎิสังขรณ์ ฤา สฐาปนา วัดมหาธาตุนั้นเอง และสร้างของอื่นๆ เพิ่ม เติมลงอีกมาก ถ้าแม้ดูในวัดมหาธาตุก็อาจ จะแลเห็นได้ว่าสะพานต่างๆ ในวัดนี้ไม่ได้ สร้างขึ้นในคราวเดียว สร้างเปนหลายคราว ด้วยกัน ถ้าแม้จะสันนิฐานเอาวัดมหาธาตุ  เปนวัดสังฆวาศแล้ว ดูข้อความทั้งปวงก็ไม่สู้ จะค้านกันนัก แต่ทั้งนี้แล้วแต่ผู้ช�ำนาญการ ในทางโบราณคดีจะวินิจฉัยต่อไป (๗)

อธิบายความเพิ่มเติมในตอนที่ ๙ (๑) พระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่วัดศรีชุม ตรงกับที่เรียกว่า พระอจน ในจารึกพ่อขุนรามค�ำแหง สันนิษฐานว่าเดิมจะเป็นวิหารโถงสร้างด้วยเครื่องไม้ สร้างวิหารก่ออิฐต่อรัชกาล หลัง ข้อนี้สังเกตเห็นฝาผนังตรงเข่าพระพุทธรูปก่อรุ้งออกไป ถ้าสร้างพระวิหารหับ พระพุทธรูปคราวเดียวกันก็จะหาเป็นเช่นนั้นไม่ พระพุทธรูปก็มีรอยปั้นพอกแก้ไข หลายครั้ง สันนิษฐานว่าองค์เดิมเห็นจะพังเสียครั้งหนึ่ง องค์ที่ปรากฏอยู่ทุกวันนี้สร้าง ขึ้นภายหลังสร้างวิหาร อนึ่ง ราชบัณฑิตยสภาได้ให้ขุดขนกากอิฐปูนที่พังออกจาก ช่องในผนัง เดี๋ยวนี้เดินได้แต่ข้างล่างมิต้องคลานดังแต่ก่อน ได้ตรวจดูด้วยแสงไฟฟ้า


เห็นผนังที่ในช่องนั้นมีรอยเขียนลวดลายประสานสีเป็นพระพุทธรูปเรียงเป็นแถวแต่  ลบเลือนเสียมากแล้ว ศิลาจ�ำหลักภาพทีท่ บั ข้างบนเป็นเพดานนัน้ เป็นภาพพระโพธิสตั ว์ ปางต่างๆ ในเรื่องนิบาตชาดก มีตัวหนังสือไทยบอกเรื่องด้วยทุกแผ่น (ได้เอาลงมาไว้ ในหอพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติแผ่น ๑) เรื่องต�ำนานของศิลาชาดกเหล่านี้ ได้ความ ในศิลาจารึกซึ่งพบซ่อนอยู่ในซอกผนังนี้ (เดี๋ยวนี้อยู่ที่หอพระสมุดวชิรญาณในบริเวณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ) ว่าเดิมอยู่ที่วัดมหาธาตุด้วยกันกับศิลาจารึกนั้น เป็น  เค้าเงื่อนให้สันนิษฐานว่า ศิลาชาดกแต่เดิมเห็นจะสร้างเป็นเครื่องประดับพระเจดีย์ ในวัดมหาธาตุ หรือประดับพระเจดีย์ที่เมืองอื่น ได้มาโดยพระเดชานุภาพ ให้จารึก อักษรไทยแถลงเรื่องลงไว้ทุกแผ่น แล้วรักษาไว้ที่วัดมหาธาตุ ครั้นนานมาศิลาชาดก นั้นตากแดดตร�ำฝนช�ำรุดปรักหักพังไป กษัตริย์ราชวงศ์พระร่วงองค์ใดองค์หนึ่งจะ ทรงสร้างวิหารวัดศรีชุม จึงให้ท�ำฝาผนังวิหารเป็นช่อง และเอาศิลาชาดกกับศิลาจารึก เรื่องพงศาวดารเมืองสุโขทัยไปไว้ในนั้น เพื่อรักษามิให้เป็นอันตราย ว่ามานี้ตามความ สันนิษฐาน (๒) ศิลาจารึกที่เอามาจากวัดศรีชุม คือศิลาจารึกเรื่องพงศาวดารสุโขทัยที่กล่าวมาแล้ว เรื่องที่จะเอาลงมากรุงเทพฯ นั้น เกิดด้วยมีชาวต่างประเทศขึ้นไปเที่ยวเก็บ (บางทีถึง ลัก) ของโบราณทางเมืองเหนือเอาไปต่างประเทศ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว มีพระราชด�ำรัสสั่งข้าพเจ้าเมื่อเป็นอธิบดีกระทรวงธรรมการ ให้คิดอ่านเก็บ ของโบราณซึ่งควรหวงแหน เอาลงมารักษาไว้เสียกรุงเทพฯ ข้าพเจ้าได้แต่งให้พระยา สโมสรสรรพการ (ทัด) เมื่อยังเป็นหลวง กับพระยาวจีสัตยารักษ์ (ดิส) เมื่อยังเป็น หลวงก�ำจัดไพรินทร์ เป็นข้าหลวงขึ้นไปตรวจเก็บของโบราณ ได้ศิลาจารึกหลายแผ่น รวมทั้งแผ่นที่อยู่วัดศรีชุม กับเอาศิลาชาดกลงมาด้วย ๒ แผ่น ในครั้งนั้นข้าพเจ้าส่ง ไปไว้ ณ พิพิธภัณฑสถาน ศิลาที่ว่าพระสาสน์พลขันธ์เอาลงมาเห็นจะได้ที่อื่น (๓) ถ�้ำพระรามนั้นค้นพบเมื่อภายหลัง ดังจะปรากฏในตอนที่ ๑๐ ต่อไป (๔) ที่กล่าวในศิลาจารึกพ่อขุนรามค�ำแหงว่า ทางเบื้องตีนนอน (ในหนังสือฉบับแรกกล่าว ว่าคือทิศใต้ แต่ฉบับที่สองแก้เป็นทิศเหนือ) เมืองสุโขทัยมีปราสาท หมายความว่า ปราสาทหินวัดพระพายหลวง กระบวนสร้างปราสาทหินวัดพระพายหลวงนี้เป็นแบบ ขอม และเมื่อได้ตรวจดูพื้นที่เห็นมีแนวคูรอบเป็นเขตที่ใหญ่โตกว่าที่อื่น จึงสันนิษฐาน ว่าที่วัดพระพายหลวงนี้เห็นจะเป็นตัวเมืองเดิมเมื่อครั้งขอมปกครอง ครั้นไทยตั้งเมือง anuman-online.com


24

คอลัมน์พิเศษ สุโขทัยเป็นราชธานี จึงสร้างเมืองขึ้นใหม่ใหญ่โตกว่าเมืองเดิม

(๕) เรื่องถ้วยชามสังกะโลกสุโขทัยจะอธิบายข้างท้ายตอนที่ ๑๘ (๖) ชื่อวัดว่า “สังกะวาส” ก็มาแต่สังฆาวาส เหตุใดจึงเปลี่ยนเป็นสังกะวาด ข้อนี้ข้าพเจ้า เคยได้ยินสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ประทานอธิบาย พระนามกรมขุนนรานุชิต อันทรงพระนามเดิมว่า “สังกทัต” ว่าตามแบบโบราณค�ำ   “สังกะ” ใช้เมือ่ หมายความว่าสงฆ์ซงึ่ ไม่มตี วั ตน ถ้าสงฆ์มตี วั ตนใช้คำ � “สังฆะ” ดังนี้ จึง สันนิษฐานว่าทีเ่ รียกชือ่ ว่า “วัดสังฆาวาส” หรือ “สังกะวาส” นัน้ เห็นจะหมายความว่า  วัดที่มีโบสถ์เป็นที่พระสงฆ์ท�ำสังฆกรรมได้ด้วย วัดในสุโขทัยนั้นไม่มีโบสถ์เป็นพื้น ถ้า สันนิษฐานถูกไซร้ วัดสังกะวาสที่กล่าวในหนังสือพงศาวดารเหนือก็คือวัดมหาธาตุ  กลางเมือง ถูกต้องดังทรงพระราชวิจารณ์ในหนังสือนี้ (๗) ที่เรียกว่า “พระเท่าพระองค์” ในศิลาจารึก ข้าพเจ้าสันนิษฐานว่า หมายความว่า เท่าพระองค์พระพุทธเจ้ามิใช่เท่าพระองค์ท่านผู้สร้างพระนั้น เกิดแต่คิดวินิจฉัยกัน ว่า พระองค์พระพุทธเจ้าจะโตสักเท่าไหน ก็สร้างพระขนาดเท่าที่เชื่อกันในสมัยนั้น ตัวอย่างในกรุงเทพฯ นี้ก็มี เช่น พระพุทธรูปองค์ที่อยู่ท่ามกลางพระสาวก ๘๐ ที่ใน พระอุโบสถวัดสุทัศน์ ก็สร้างตามขนาดที่นิยมกันในสมัยรัชกาลที่ ๔ ว่าเท่าพระองค์ พระพุทธเจ้า แต่เมื่อในครั้งสุโขทัยจะเข้าใจกันว่า พระพุทธเจ้าจะใหญ่โตสักเท่าไหนก็ ไม่พบหนังสือครัง้ นัน้ บอกไว้ มีเค้าทีจ่ ะสันนิษฐานอย่างหนึง่ ทีใ่ นสมัยนัน้ ชอบสร้างพระ อัฏฐารส เป็นพระยืนสูง ๑๘ ศอก มีปรากฏหลายองค์ และชอบกล่าวถึงในศิลาจารึก จะนิยมกันว่าเท่าพระองค์พระพุทธเจ้าดอกกระมัง ถ้าเช่นนั้นไซร้ ข้าพเจ้าเข้าใจว่า “พระพุทธรูปเท่าพระองค์” ทีก่ ล่าวถึงในศิลาจารึกน่าจะเป็นพระศรีศากยมุนี คือพระโต  ที่เชิญลงมาไว้ในพระวิหารวัดสุทัศน์นั้นเอง เห็นเช่นนั้นด้วยได้ให้ตรวจดูพบฐานตั้ง พระศรีศากยมุนีเป็นพระประธานในวิหาร หลวงทิศตะวันออกพระมหาธาตุ ตรงกับที่ พรรณนาในศิลาจารึกไม่คลาดเคลื่อน


ตอนที่ ๑๐ เมืองศุโขทัย- “ข้อความเบ็ตเล็ต”

ตามที่ ไ ด้ ก ล่ า วแล้ ว มาแล้ ว ในเรื่ อ ง เมืองศุโขทัย เล่าถึงที่ต่างๆ ที่ได้ค้นพบตาม หนังสือ แต่ยังมีสถานที่ฤาวัตถุที่กล่าวถึงใน ค�ำจาฤกหลักสิลา แต่ยังค้นไม่พบฤายังไม่ ได้เห็นเพราะเหตุตา่ งๆ มีอยูอ่ กี บ้างซึง่ ยกมา รวมไว้กล่าวในตอนนี้ต่อไป ในค�ำจาฤกหลักสิลาที่ ๑ พระเจ้า รามก�ำแหงได้กล่าวไว้ว่า “๑๒๑๔ ศกมโรง พ่อขุนรามค�ำแหงเจ้าเมืองศรีสชชนาไลย ศุโขทัยนีป้ ลูกต้นไม้ตาลนีไ้ ด้ สิบสีเ่ ซ้า(ปี) จึง พนนขดารหีนต้งงหว่างกลางตาลนี้ วันเดือน ดับเดือนโอกแปดวัน วันเดือนเต็มเดือนทั้ง แปดวัน ฝูงปู่ครูเถรมหาเถรขึ้นน่งงเหนือ ขดารหีนสูดธรมมแก่อบุ าสกฝูงทวยจ�ำสีล ผิ ใช่วันสูดธรมม พ่อขุนรามค�ำแหง เจ้าเมือง ศรีสชชนาไลยศุโขทัย ขึน้ น่งงเหนือขดารหีน ให้ฝูงทวยลูกเจ้าลูกขุนถือบ้านถือเมืองกัน” ดังนี้ “ขดารหีน” อันใช้เปนประโยชน์ทั้ง เปนธรรมาศน์ทั้งเปนราชบัลลังก์ที่ออกว่า ราชการนั้น ชาวศุโขทัยจึงนับถือกันว่าขลัง นัก ใครนั่งไม่ได้ คงมีอันเปนป่วยไข้อะไรไป

อย่างหนึ่ง จนพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว เมื่อยังทรงผนวชอยู่ ได้เสด็จขึ้น ไปถึงเมืองศุโขทัยได้ประทับบนแท่นสิลานี้ แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ชะลอ ลงมากรุงเทพฯ ทรงตั้งไว้เปนที่ประทับที่ น่าพระอุโบสถวัดราชาธิวาศ ครั้นเมื่อได้ เสด็จขึ้นผ่านพิภพแล้ว จึงทรงพระกรุณา  โปรดเกล้ า ฯ ให้ ช ะลอไปไว้ ใ นลานวั ด  พระศรีรตั นศาสดาราม และยังคงอยูใ่ นทีน่ นั้ จนกาลบัดนี้ (๑) ส่วนสิลาจาฤกต่างๆ นั้น พระเจ้า  รามก�ำแหงกล่าวว่า “แลเอามาจาริกอนนหนึง่ มีในเมืองเชลียงสถาปกไว้ด้วยพระศรีรตน ธาตุจาริกอนนหนึง่ มีในถ�ำ้ ชือ่ ถ�ำ้ พระรามอยู่ ฝั่งน�้ำสพาย จาริกอันหนึ่งมีในถ�้ำรัตนธาร” เมืองเชลียงนั้นพระยาอุทัยมนตรีสันนิฐาน ว่า จะเปนเมืองลอง แขวงนครล�ำปาง ซึง่ เปน เมืองเก่ามีพระมหาธาตุใหญ่ ตั้งอยู่ริมล�ำน�้ำ ยม ดูของเขาก็ชอบกลอยู่ พระยาประชากิจ กรจักร (แช่ม) ได้เคยกล่าวเปนความเห็นว่า เมืองเชลียงนั้น คือ เมืองก�ำแพงเพ็ชร์ แต่ anuman-online.com


26

คอลัมน์พิเศษ

มีข้อเถียงคัดค้านอยู่ส�ำคัญ คือ ในพระราช พงษาวดารกรุงเก่า ฉบับของหลวงประเสริฐ อั ก ษรนิ ติ มี ข ้ อ ความปรากฏอยู ่ ใ นเรื่ อ ง  เมืองเชลียงนี้ว่า “ครั้งนั้น (จุลศักราช ๘๒๒ ปีมะโรงโทศก) พระญาชเลียงคิดเปนขบถ พาเอาครัวทัง้ ปวงไปออกแต่มหาราช” ต่อนัน้   ลงมายั ง มี ข ้ อ ความต่ อ ไปอี ก ว่ า “ศั ก ราช ๘๒๓ มะเส็งศก พระญาชเลียงน�ำมหาราช มาจะเอาเมืองพิศณุโลกเข้าปล้นเมืองเปน สามารถมิได้เมือง แลจึงยกทัพเปร่อไปเอา เมืองก�ำแพงเพ็ชร์ แลเข้าปล้นเมืองเถิงเจ็ด วั น มิ ไ ด้ เ มื อ ง แลมหาราชก็ เ ลิ ก ทั พ คื น ไป เชียงใหม่” ดังนี้ เห็นได้ว่าเมืองเชลียงไม่ใช่ เมืองก�ำแพงเพ็ชร์ ถ้าเปนเมืองก�ำแพงเพ็ชร์ จะ “พาเอาครัวไปออกแต่มหาราช” ถึงเมือง เชียงใหม่ดจู ะยากอยู่ และอีกประการหนึง่ ยัง ได้พามหาราชมาตีเมืองก�ำแพงเพ็ชร์อีกเล่า ด้วยเหตุผลเหล่านีท้ ำ� ให้นา่ เชือ่ ว่าเมืองเชลียง เปนเมืองที่อยู่ในพวกเมืองจังหวัดนอก และ ใกล้แดนของมหาราช จึงเห็นว่าการทีพ่ ระยา อุทัยสันนิฐานเอาเมืองลองเปนเมืองเชลียง นั้น ดูแยบคายอยู่บ้าง (๒) ส่วนถ�้ำพระรามนั้นเมื่อเวลาข้าพเจ้า อยู่ที่ศุโขทัย ค้นไม่พบและไม่ได้ข่าวคราวถึง เลย ทัง้ ถ�ำ้ รัตนธารก็ไม่พบอีก แต่ถำ�้ พระราม นั้น พระพยุหาภิบาลได้สืบได้ความต่อภาย หลังจากชาวศุโขทัยว่ามี ข้าพเจ้าจึงแนะน�ำให้ ไปตรวจดูทวี า่ จะมีอะไรบ้าง พระพยุหาภิบาล  ได้หาโอกาสไปตรวจถ�้ำพระรามแล้ว ได้ท�ำ รายงานส่งลงมาให้ข้าพเจ้า จดหมายลงวัน

ที่ ๑๘ พฤศภาคม ร.ศ. ๑๒๗ มีข้อความ ละเอียดดังต่อไปนี้

รายงานพระพยุหาภิบาล

เมื่อวันที่ ๖ พฤศภาคม เวลาเช้า ๔ โมง ข้าพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยหลวง  วรสารพิจิตรผู้พิพากษา ซึ่งเปนผู้ช�ำนาญใน ทางอักษรโบราณ ออกจากเมืองศุโขทัยโดย พาหนะม้า ถึงต�ำบลเมืองศุโขทัยเก่าเวลา บ่าย ๑ โมง ระยะทางตอนนี้ ๓๐๐ เส้น พัก นอน ๑ คืน รุง่ ขึน้ วันที่ ๗ พฤศภาคมเวลาเช้า ๒ โมงครึง่ ออกจากต�ำบลเมืองศุโขทัยเก่าถึง คลองสวนเวลาเช้า ๔ โมงครึ่ง ระยะทาง ตอนนี้ ๓๐๐ เส้น จากคลองสวนถึงเขาค่าย เวลาเช้าประมาณ ๕ โมง ระยะทางตอนนี้  ประมาณ ๕๐ เส้น จากเขาค่ายถึงต�ำบล บ้านด่านเวลาเที่ยง ระยะตอนนี้ประมาณ ๑๐๐ เส้นหยุดพักร้อน เวลาบ่ายประมาณ ๑ โมงออกจากต�ำบลบ้านด่านข้ามแม่น�้ำ  ล�ำพัน ถึงบ้านตลิ่งชันเวลาย�่ำค�่ำ ระยะทาง ตอนนี้ประมาณ ๘๐๐ เส้น พักนอน ๑ คืน รุ่งขึ้นวันที่ ๘ พฤศภาคมเวลาเช้า ๒ โมง ครึ่ง ออกจากบ้านตลิ่งชันข้ามเขามะขาม ผูกวัว ๑ เขาตั้งกลาง ๑ ถึงถ�้ำพระรามเวลา บ่าย ๑ โมง ระยะทางตอนนี้ประมาณ ๖๐๐ เส้น หยุดพัก ๒ ชัว่ โมง เวลาบ่าย ๓ โมงเข้า  ถ�้ำพระราม ๒ ชั่วโมงเศษ เวลาบ่าย ๕ โมง เศษกลับออกพักนอนที่เชิงเขา ๑ คืน รุ่งขึ้น  วันที่ ๙ พฤศภาคม เวลาเช้า ๒ โมงเช้า  ถ�ำ้ สีดาจนเวลาเช้า ๔ โมงเศษกลับ ครัน้ เวลา


เช้า ๕ โมง กลับออกจากเขาถ�ำ้ พระราม (ต่อ -ล�ำน�้ำแม่ล�ำพันไปนี้ก็เล่าถึงระยะทางกลับ ซึ่งไม่จ�ำเปนต้อง ล�ำน�้ำแม่ล�ำพันนี้ คือ ล�ำน�้ำเก่าเมือง กล่าวซ�้ำอีกในที่นี้) นัน้ เอง ปลายน�ำ้ ตกล�ำน�ำ้ ยมตรงบ้านธานี ทีต่ งั้ เมืองศุโขทัยใหม่เดีย๋ วนี้ ต้นคลองมาจากทาง -เขาค่ายคลองสวนและบ้านด่าน- ตะวันตก ถ�ำ้ พระรามอยูต่ ะวันตกเฉียงเหนือ  เขาค่ า ยนั้ น ติ ด เนื่ อ งไปจากเขา ฟากแม่น�้ำล�ำพัน ข้าพระพุทธเจ้าเห็นด้วย พระบาทน้ อ ยไปทางตะวั น ตกแล้ ว วกขึ้ น เกล้าด้วยกระหม่อมว่า แม่น�้ำล�ำพันนี้เปน ตะวันตกเฉียงเหนือ มีทางออกไปจากเมือง แม่น�้ำสพาย ถูกต้องตรงกับสิลาจาฤกของ ศุโขทัยเก่า ตัดตรงไปตะวันตกข้ามทีเ่ ขาขาด เมืองศุโขทัยที่เรียกเพี้ยนชื่อนั้น จะเปนด้วย ที่เขาขาดนั้นเปนช่องแคบมีเขาสองข้าง บน เหตุ ๒ ประการ คือ (๑) ตามอักษรที่ว่า ไหล่เขามีหินก้อนเล็กๆสูงประมาณ ๒ ศอก ล�ำพันกับสพายนั้น ไม่ห่างไกลกัน ผู้แปล บ้าง ต�่ำกว่า๒ ศอก บ้าง เปนแถวขึ้นไปข้าง อักษรในหลักสิลาจะผิดเพีย้ นไป ฤา (๒) ค�ำ ขวายาวประมาณ ๓๐ วา ข้างซ้ายมือแล ทีร่ าษฎรเรียกต่อๆ กันมาจะคลาดเคลือ่ นไป เห็นพอเปนเค้ารู้ว่าเปนกองหิน ที่เขาขาดนี้ จากเดิม (ตามสันนิฐานของพระพยุหาภิบาล ราษฎรเรียกว่าเขาค่าย (บางทีจะเปนค่าย เรื่องแม่น�้ำล�ำพันนี้ ข้าพเจ้าเห็นว่าอยู่ข้างจะ ด่านศุโขทัยโบราณได้จริง) แยบคาย น่าจะเชื่อว่าตรงกับแม่น�้ำสพายใน คลองสวนอยู่ในเขาค่ายเข้ามาทาง ค�ำจาฤกจริง-ม.ว.) เมืองศุโขทัยเก่า ได้ความว่าแต่เดิมมีบ้าน ราษฎรมาก เมื่อมีบ้านราษฎรอยู่เรียกว่า -ถ�้ำพระรามบ้านด่าน เมื่อประมาณ ๓๐๐ ปีมาแล้ว ถ�้ ำ พระรามนี้ ค� ำ ราษฎรเรี ย กว่ า ถ�้ ำ  ราษฎรพากั น ยกครอบครั ว ออกไปตั้ ง ท� ำ เจ้าราม เขาถ�ำ้ พระรามเปนสองชัน้ ตอนล่าง มาหากินที่บ้านด่านเดี๋ยวนี้ จึงได้เอานาม เปนหินเปนดินมีต้นหญ้าแลต้นไม้ ตอนบน  เดิมไปตั้งเรียกว่าบ้านด่านจนทุกวันนี้ (๓)  เปนหินก้อนเดียว มีต้นไม้ประปราย แลแต่ ข้าพระพุทธเจ้าเห็นด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ไกลเปนหินทั้งนั้น อยู่ได้เขาสีดา ต�่ำกว่า ว่า ควรสันนิฐานเชื่อว่าเขาค่ายนั้นเปนด่าน เขาสีดา แต่สูงกว่าเขาทั้งหลายที่มีอยู่ในหมู่ ของเมืองศุโขทัย ราษฎรที่ตั้งอยู่คลองสวน นั้นปากถ�้ำอยู่ตอนบนหินปนดิน ขึ้นไปจาก แต่เดิมคงเปนผู้รักษาด่าน จึงได้เรียกนาม เชิงเขาประมาณ ๒ เส้นเศษ ปากถ�้ำกว้าง ว่าบ้านด่าน เมื่อราษฎรยกไปท�ำกินที่บ้าน ประมาณ ๑๐ ศอก สูงประมาณ ๓ วา ๒ ด่านเดี๋ยวนี้ จึงได้เอานามเดิมไปตั้งเรียกว่า ศอก พ้นจากปากถ�้ำเข้าไปประมาณ ๑๐ วา บ้านด่าน มีพระพุทธรูปยืนท�ำด้วยไม้สักสูงประมาณ anuman-online.com


28

คอลัมน์พิเศษ

๓ ศอก ค�ำราษฎรเรียกว่ารูปพระราม ที่ จริงเปนพระพุทธรูปแท้ชายจีวรแลดอกจีวร ยังมีปรากฏอยู่ และมีแผ่นอิฐเรี่ยรายอยู่ ประมาณ ๒๐ แผ่น ข้าพระพุทธเจ้าได้ตรวจ ค้นหาหลักสิลาจาฤก พบหินก้อนหนึ่งรอย แตกกระจัดกระจาย เหลืออยู่ยาวประมาณ ๑ ศอก กว้างประมาณหกเจ็ดนิ้ว ผิวแตก กะเทาะยั ง เหลื อ ผิ ว ที่ ดี ไ ม่ ก ะเทาะกว้ า ง ประมาณ ๔ นิ้ว ยาวประมาณ ๑๐ นิ้ว ผิว ที่เหลืออยู่เปนตอนริมที่สุดของแผ่นหินไม่มี ตัวอักษร ถึงแม้ว่าจะเปนหลักสิลาจาฤกจริง ก็คงสลักตัวอักษรไม่ถึง และตรวจหาหินที่ แตกกระเทาะออกไปจากแผ่นนั้นก็ไม่พบ  เพราะในถ�้ ำ พระรามนี้ มี พ วกลาวท� ำ ดิ น  ประสิว ขุดมูลค้างคาวเปนหลุมเปนบ่อทัว่ ไป ข้าพระพุทธเจ้าเห็นด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ว่ า สิ ล าก้ อ นที่ แ ตกนั้ น เปนสิ ล าที่ จ าฤกแน่ เพราะชนิดหินผิดไม่เหมือนกับหินที่เขานั้น และผิวหินทีเ่ หลืออยูเ่ ปนรอยขัดรูปข้างปลาย มล ท�ำนองเดียวกันกับสิลาจาฤกที่ได้เคย เห็นมาแล้ว ข้าพระพุทธเจ้ายังไม่ไว้ใจ ได้ ตรวจค้นเข้าไปลึกจากปากถ�้ำประมาณ ๕ เส้นเศษ ยังไม่ถึงที่สุดของถ�้ำ ไม่มีแสงสว่าง เลย ทางเดินเข้าไปต้องลุยมูลค้างคาวลึก ประมาณ ๑ ศอกบ้างกว่าศอกบ้าง ได้เอา ไม้ยาว ๓ ศอก หยั่งลงไปหมดไม้ ยังไม่ถึง พื้นหิน ประมาณมูลค้างคาวที่สูงขึ้นจากพื้น หิน ๔ ศอก ถึงแม้จะมีสิ่งอันใดอยู่คงไม่เห็น โดยเหตุที่มูลค้างคาวทับถมอยู่มาก

ในถ�้ำพระรามนี้ เมื่อก่อนที่จะไปได้ ความจากราษฎรพูดกันว่า มีสระและมีต้น หญ้าต้นบอนอยูใ่ นนัน้ ครัน้ ไล่เลียงสอบสวน หาตัวผูท้ เี่ ข้าไปจริงไม่ได้เปนแต่ได้ยนิ เขาเล่า ต่อๆ กันมา ตามทีข่ า้ พระพุทธเจ้าได้ไปตรวจ เห็นมาแล้ว ต้องลุยมูลค้างคาวไป ลึกเข้าไปก็ ยิง่ มีมลู ค้าวคาวมากขึน้ ถ้าทีใ่ ดสูงมูลค้างคาว ไหลทับลงมาก้าวขาไม่ได้ บุคคลที่จะเข้าไป ล�ำบากมาก เชื่อแน่ว่าเข้าไปไม่ได้

-ถ�้ำสีดา-

ถ�้ ำ สี ด านี้ ค� ำ ราษฎรเรี ย กว่ า ถ�้ ำ ศักดาบ้าง ถ�้ำสีดาบ้าง เขาถ�้ำสีดานี้ท�ำนอง เดียวกันกับถ�้ำพระราม แต่เปนรูปกลมแล ดูไกลๆ คล้ายกับพระปรางค์ ชานเขาติด กับถ�้ำพระราม ปากถ�้ำห่างจากถ�้ำพระราม ประมาณ ๘ เส้น จากเชิงเขาขึน้ ไปถึงปากถ�ำ้ ประมาณ ๓๐ วา ปากถ�้ำกว้างประมาณ ๘ ศอก สูงประมาณ ๓ วา ในปากถ�้ำเข้าไปมี พระพุทธรูปยืนท�ำด้วยไม้สกั ๒ องค์ สูงใหญ่ และวิธที ำ� เปนท�ำนองเดียวกันอย่างพระพุทธ รูปในถ�้ำพระราม และมีเสาไม้แก่นยาว ๒ ศอกคืบบ้าง ยาว ๓ ศอกบ้าง โตประมาณ ๒ ก�ำ เจาะเปนรูรอดมีเสา ๔ ฤา ๕ ต้น และ มีบานประตูท�ำด้วยไม้สักหนา ๓ นิ้ว กว้าง ๒๐ นิ้ว ยาว ๓ ศอกเศษ ๑ บาน และมีอิฐ แตกหักอยู่ในถ�้ำโดยมาก ถ�้ำสีดานี้เปนถ�้ำ ตัน ลึกประมาณ ๑๕ วา ข้าพระพุทธเจ้าได้ ตรวจค้นทั่วแล้ว สิ่งของนอกจากที่กราบทูล มาแล้ว ไม่มีอะไร


ข้าพระพุทธเจ้าเห็นด้วยเกล้าด้วย กระหม่อมว่า ในถ�้ำนี้แต่เดิมจะเปนที่พัก  พระสงฆ์ เสาทีม่ อี ยูจ่ ะเปนเสาเตียงทีพ่ กั และ ยังตรวจได้ก้นโอท�ำด้วยไม้สัก ๑ ใบ กับดิน เผาเปนจานมีเท้าส�ำหรับใส่น�้ำมันตามไฟ บูชาพระ ๑ ใบ พอสันนิฐานได้ว่าควรจะ  เปนที่อยู่ของพระสงฆ์มาแต่เดิม ตามเหตุผลทีข่ า้ พระพุทธเจ้าได้ตรวจ เห็นแลได้กราบทูลมาแล้วในตอนต้น ควร  สันนิฐานว่า ถ�ำ้ พระรามนีเ้ ปนถ�ำ้ ทีไ่ ว้สลิ าจาฤก ตามหลักสิลาเมืองศุโขทัยจริง แต่หากหลัก

สิลานั้นจะเปนอันตรายเสีย ตามรายงานของพระพยุ ห าภิ บ าล ได้มีความอุสาหและพยายามตรวจค้นมาก สมควรจะสรรเสริญ และควรเชื่อได้ว่าถ�้ำ พระรามนี้เองคือถ�้ำที่กล่าวถึงในหลักสิลาที่ ๑ เมือ่ ได้ความเช่นนีแ้ ล้วก็เห็นได้วา่ พระเจ้า รามก�ำแหงนั้นเปนนักเลงเที่ยวอยู่บ้าง นึกดู น่าเสียดายที่สิลาจาฤกในถ�้ำพระรามนั้นสูญ เสียแล้ว ถ้าหาไม่บางทีจะได้เรื่องราวอะไร อีกบ้างกระมัง

anuman-online.com


30

คอลัมน์พิเศษ

นอกจากถ�้ำพระรามและถ�้ำรัตนธาร พระเจ้ารามก�ำแหงยังได้กล่าวถึงที่เที่ยวอีก คือ “ในคลองป่าต้นนีม้ สี าลาสองอน อันหนึง่ ชือ่ ว่าสาลาพรมาส อันหนึง่ ชือ่ พุทธกุง้ ” ศาลา ทั้งสองนี้ข้าพเจ้าไม่ได้พยายามค้นหาดูเลย เพราะเวลามีนอ้ ยนัก และไม่สจู้ ะมีความหวัง ว่าจะค้นพบ แต่ก็เปนการดีแล้ว เผื่อคนอื่น ขึน้ ไปเทีย่ วเมืองศุโขทัยเก่าจะได้มอี ะไรเหลือ อยู่ส�ำหรับไปลองค้นหาดูเล่นบ้าง ศาลาทั้ง สองนี้ก็ดี ฤาหอเทวลัยที่ได้กล่าวถึงมาแล้ว ก่อนนี้ก็ดี ถ้าใครค้นพบและหาหลักฐาน  ประกอบให้เปนที่ควรเชื่อได้ ข้าพเจ้าก็จะ พลอยยินดีและอนุโมทนาด้วย ในระหว่างเวลาทีข่ า้ พเจ้าอยูท่ ศี่ โุ ขทัย เก่ า ๑๑ วั น นั้ น ได้ ใ ช้ เ วลาตรวจค้ น หา  โบราณสฐานและวัตถุเสีย ๗ วัน นอกจากนัน้   ได้ไปเที่ยวที่โซกชมพู่วันหนึ่ง ได้ไปที่บ้าน ธานีที่ตั้งเมืองศุโขทัยใหม่วันหนึ่ง อีก ๒ วันหยุดพัก เพราะต้องการพักทั้งคนและ พาหนะ การไปเที่ยวโซกชมพู่นั้น ไม่ใช่ไป เพื่อตรวจค้นโบราณสถานฤาวัตถุ ได้ทราบ ข่าวเขาเล่ากันว่าเปนทีส่ บายนักจึงได้ไป เพือ่   พักผ่อนร่างกายและจิตรซึ่งได้เหน็จเหนื่อย ในการเที่ยวในเมืองศุโขทัยเก่านั้น ทางจาก เมืองเก่าไปโซกชมพู่ ๑๘๐ เส้น ออกจากเมือง ทางประตูด้านใต้ แล้วเลี้ยวไปทางตะวันตก  เดินในทุง่ ไปก่อน แล้วจึงไปเข้าดง มีไม้หลาย พรรณชิ้นปะปนกันอยู่ ทางเดินร่มรื่นสบาย ดี เดินไปบางทีก็เลียบธาร บางทีก็เลียบ

เขา ตามแถบนี้มีเขาเปนทิวไป แลดูมาจาก ที่เมืองดูงามมาก ทางเดินลดเลี้ยวไปจนถึง ที่พัก ซึ่งเจ้าเมืองได้ไปแต่งขึ้นไว้อยู่ที่กลาง ดง ริมล�ำธารที่นี้มีต้นไม้ชมพู่ขึ้นอยู่มาก จึงได้เรียกล�ำน�้ำว่าโซก (ฤาธาร) ชมพู่ ใน ล�ำธารมีน�้ำไหลรินๆ เสมอ น�้ำใสสะอาดดี ชะรอยจะมีถนิมเหล็กอยู่ในน�้ำมาก เพราะ ที่ตามดินเห็นเปนสีแดงเปนตะกอนอยู่ ธาร นี้มีน�้ำไหลอยู่ไม่ขาด เพราะอยู่กับเชิงเขา ทีเดียว น�้ำซึมลงมาจากยอดเขาตกในธาร นี้ ที่ ธ ารนี้ เ ปนที่ ส� ำ ราญดี ม าก ได้ ท ราบ จากสามเณรรณไชยชาญยุทธว่า พระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อเสด็จมา  ประพาศศุโขทัย ก็ได้เสด็จมาประพาศทีโ่ ซก ชมพูแ่ ละเปนทีท่ รงพระราชส�ำราญมาก ต่อๆ มายังได้เคยโปรดเกล้าฯ ให้ตกั น�ำ้ ในธารนีส้ ง่ ลงไปทูลเกล้าฯ ถวายอยูบ่ า้ ง เกินทีไ่ ปพักอยู่ นั้นขึ้นไปอีกหน่อยล�ำธารชมพู่นี้ผ่านไปใน หุบเขา ชาวเมืองเรียกว่า ช่องพระร่วงลอง ดาบคือมีเปนนิทานเล่าประกอบว่าพระร่วง ประสงค์จะใคร่ทราบว่าพระแสงดาบคมดีจริง ฤาไม่ จึงได้ฟันสันเขาลงไป เขาก็แยกออก ไปเปนช่องปรากฏอยู่จนทุกวันนี้ เรื่องชนิด นีท้ เี่ กีย่ วข้องกับพระร่วงมีอยูต่ ามแถบนีม้ าก นัก ถ้าจะจดไว้ก็เห็นจะได้หลายเล่มสมุด ไทยในป่าที่โซกชมพู่นี้ได้ความจากราษฎร ว่ามีสัตว์อยู่มาก มีหมีด�ำ เสือ และเนื้อกวาง เสือนั้นพวกที่ด้วยกันได้พบรอยเท้า สังเกต ว่าเปนเสือใหญ่ ที่เล่าไว้ในที่ นี้ไม่ใช่เพราะ เกี่ยวข้องด้วยโบราณคดี แต่เล่าเพื่อส�ำแดง


ให้เห็นว่า ถึงคนไทยจ�ำพวกที่ชอบในทางยิง สัตว์ปา่ ตามยุโรปวิไสย ก็อาจทีจ่ ะหาสิง่ สนุก ที่ศุโขทัยได้อยู่บ้าง อีกวันหนึ่งได้ไปเที่ยวเมืองใหม่ (๔) ไม่ใช่เพราะตัวข้าพเจ้าเองกระวนกระวาย ต้องการอะไรนัก ทีไ่ ปเพราะเหตุสองประการ ประการหนึง่ เกรงว่าเมือ่ กลับมาถึงกรุงเทพฯ แล้ว มีผู้ถามว่าตลาดศุโขทัยมีอะไรบ้าง (ซึ่ง มีคนจ�ำพวกหนึ่งจ�ำจะต้องถาม) ก็จะต้อง บอกเขาว่ า ไม่ ไ ด้ ไ ป เขาก็ จ ะเห็ น เปนคน  ปหลาดเหลือเกิน ไปถึงศุโขทัยและไปอยูเ่ ปน นานไม่ได้เห็นทีส่ ำ� คัญเช่นตลาด อีกประการ หนึ่ ง ผู ้ ที่ ไ ปด้ ว ยกั น กั บ ข้ า พเจ้ า บางคน  เขาบ่นว่าเบื่อการดูอิฐหักกากปูนทุกๆ วัน เต็มทีแล้ว อยากดูถิ่นฐานบ้านเมืองที่ยังไม่ ร้างไม่โทรมและอยากพบเพื่อนมนุษย์บ้าง ข้าพเจ้าทราบอยู่ว่ามีความเห็นกันเช่นนั้น บ้างจึงตกลงเปนไป ทางที่ไปนั้น เดินตาม ถนนตัดตรงไปในทุ่งนา ผ่าย “ทะเลหลวง” ของ “พ่อขุนรามคํแหง” ไปขี่ม้าไปสะดวกดี เสียแต่แดดร้อนจัด หาต้นไม้เปนเงาร่มไม่ ใคร่จะได้เลย ฝุ่นนั้นไม่ต้องกล่าว กว่าจะไป ถึงหน้าตาเสื้อผ้าเปนสีมอไปหมด ทางจาก เมืองเก่าไปถึงท่าน�ำ้ บ้านธานี ๓๐๐ เส้นเศษ  จามข้างถนนมีร่านาตลอด มีบ้านเรียงราย ไปตลอดทาง ผ่านวัดกลางทางถึง ๓ แห่ง ไปได้ ๒๘๐ เส้น ถึงสะพานข้ามคลองโพ ซึ่งเปนล�ำน�้ำลึกมีน�้ำขังอยู่ ปากคลองไปตก ล�ำน�้ำยมที่บ้านธานี ต้นน�้ำไปต่อกับล�ำน�้ำ แม่ล�ำพัน ครั้นถึงฝั่งน�้ำยมแล้วได้ลงเรือพาย

ล่องลงไปที่ว่าการใหม่ ซึ่งเวลานั้นท�ำยังไม่ แล้วเสร็จดี ตามล�ำน�้ำมีแพจอดคึกคักทั้ง สองฝั่ง มีข้าวของขายตามแพ รู้สึกคล้ายๆ พายเรือไปในคลองบางกอกน้อย ที่บนฝั่ง ก็มีเย่าเรือนอยู่แน่นหนา ดูท่าจะเปนเมือง สนุกดีอยู่ กินกลางวันแล้วเดินเที่ยวดูสถาน ที่ราชการต่างๆ แล้วลงเรือพายทวนน�้ำขึ้น ไปเพื่อดูตลาด มีแพจอดติดๆ กันน่าสนุก แล้ ว ก็ ก ลั บ ขึ้ น ม้ า กลั บ ไปที่ พั ก ที่ เ มื อ งเก่ า  ผูว้ า่ ราชการได้เชิญให้พกั ทีเ่ มืองใหม่คนื หนึง่ แต่ข้าพเจ้าร้องขอตัว เพราะอยากกลับไปดู อะไรที่ทางเมืองเก่าต่อไปอีก ผู้ที่ไปด้วยกัน เชื่อว่ามีบางคนที่เสียใจในการที่ไม่ไปอยู่ที่ เมืองใหม่ให้นานยิง่ กว่านัน้ อยูเ่ พียงสองสาม ชัว่ โมงไม่มเี วลาพอทีจ่ ะเทีย่ ว แต่ขา้ พเจ้าเห็น ว่าเปนอันได้เห็นตลาดแล้วก็พอแล้ว ถ้าจะ ดูตลาดกันจริงๆ แล้ว ท�ำไมจะต้องไปดูถึง  ศุโขทัย ทีก่ รุงเทพฯ ก็มใี ห้ดถู มไป และดีกว่า ตลาดที่โน่นหลายส่วน ของขายก็ไม่มีอะไร แปลกไปกว่าที่กรุงเทพฯ นี้เลย การที่ได้อยู่ศุโขทัยเก่าถึง ๑๑ วัน นั้น ในส่วนข้าพเจ้าเห็นว่าไม่นานเกินไป เลย ถ้าแม้ได้อยู่ต่อไปอีกบางที จะมีเวลา ได้ตรวจโบราณสถานและวัตถุได้ละเอียดดี ยิ่งกว่าที่ได้ตรวจมาแล้ว แห่งหนึ่งๆ ตรวจ ในวันเดียวไม่ใคร่จะได้ทั่วเลย เพราะไม่ใช่ ว่าจะเดินไปถึงก็ตรงเข้าไปเดินดูได้สบายๆ เครื่ อ งมื อ ส� ำ หรั บ ตั ด ถางและขุ ด ต้ อ งมี ไ ป ด้วยเสมอ บางแห่งต้องเสียเวลาเฉพาะถาง และตัดต้นไม้ที่ขึ้นรกรุงรังอยู่นั้นเสียเวลา anuman-online.com


32

คอลัมน์พิเศษ

วันหนึ่งก่อน แล้วอีกวันหนึ่งจึงจะได้ตรวจดู ให้ละเอียด บางแห่งดูนึกว่าทั่วแล้วไปดูอีก ครัง้ หนึง่ ก็ไปพบของทีย่ งั ไม่เห็นเข้าอีก ท�ำให้ ความทีส่ นั นิฐานไว้เดิมนัน้ เคลือ่ นคลาดไปได้ มากๆ ต้องเปลี่ยนความคิดกันใหม่ แต่ละ แห่งๆ กว่าจะลงตราเปนแน่ได้ก็นาน เปน เคราะห์ดขี องข้าพเจ้าทีม่ ที ปี่ ฤกษาและผูช้ ว่ ย ดีๆ เช่น พระยาอมรินทรฦาไชย พระยาอุทยั มนตรี และพระวิเชียรปราการ ถ้าไม่ได้ทา่ น ทัง้ สามนีแ้ ล้วน่าจะมีความล�ำบากและหนักใจ มาก แต่ถึงแม้ข้าพเจ้าจะมีความประสงค์อยู่ ที่เมืองศุโขทัยเก่าต่อไปอีก ก็คงจะไม่ส�ำเร็จ ได้ตามประสงค์ เพราะน�้ำกันดารเต็มที คน ไปด้วยกันมากได้อาไศรยใช้น�้ำในสระแห่ง หนึ่งที่อยู่ใกล้ที่พัก ในชั้นต้นยังได้อาไศรย น�ำ้ ในตระพังทองเพือ่ สัตว์พาหนะกินบ้าง แต่ อยูไ่ ม่ได้กวี่ นั น�ำ้ ก็แห้งทัง้ สัตว์ทงั้ คนจึงต้องมา รวมกันกินที่สระใกล้พลับพลา ลงวันหลังๆ ถึงต้องขุดบ่อในสระนั้นอีกชั้นหนึ่งเพื่อขังน�้ำ และต้องท�ำข้อบังคับอย่างแข็งแรงห้ามมิให้

ผู้ใดอาบน�้ำให้ไหลตกลงไปในบ่อนั้นเปนอัน ขาด แต่น�้ำนั้นก็แห้งไปทุกทีๆ จึงจ�ำเปนโดย แท้ทจี่ ะต้องออกเดินจากเมืองศุโขทัยเก่าเพือ่ ไปสวรรคโลกต่อไป นึกไปก็อดเสียดายไม่ได้ว่าที่เมือง  ศุโขทัยเก่านีเ้ ปนทีก่ นั ดารน�ำ้ นักคนจึงไม่ใคร่ มีอยู่ และในเมืองจึงเปนป่าไปเสียโดยมาก แต่บางทีก็จะเปนเคราะห์ดีที่ไม่มีคนอยู่มาก ถ้ามีคนอยู่เปนเมืองใหญ่อย่างเดิมตลอดมา บางทีโบราณสถานต่างๆ จะเปนอันตราย ไปเสียมากยิ่งกว่านี้ ความสามารถของฝน ฤาต้นไม้ทจี่ ะท�ำลายสถานทีต่ า่ งๆ ไม่สคู้ วาม  สามารถของคน เมืองก�ำแพงเพ็ชร์เก่าเปนพยาน  อยู่แล้วว่าโบราณสถานอาจเปนอันตรายไป ได้เพราะความโลภของคนเพียงไร ที่ศุโขทัย มี แ ต่ ช� ำ รุ ด ซุ ด โทรมไปเองมากกว่ า ถู ก คน ท�ำลาย และต่อไปในกาลเบื้องน่าหวังใจว่า เทศาภิบาลคงจะด�ำริห์จัดการรักษาโบราณ สถานและวัตถุไว้ไม่ให้เปนอันตรายไปอีก อย่างมากที่สุดที่จะมีก�ำลังกระท�ำได้

อธิบายความเพิ่มเติมในตอนที่ ๑๐ (๑) “ขดารหิน มนังศิลาบาต” ของพระเจ้ารามค�ำแหงมหาราชนัน้ เมือ่ ถึงรัชกาลที่ ๖ โปรดฯ  ให้ ท� ำ เป็ น พระแท่ น เศวตฉั ต รใช้ ใ นงานพระราชพิ ธี บ รมราชาภิ เ ษกสมโภช แล้ ว ประดิษฐานไว้ในพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ต่อมาถึงรัชกาลที่ ๗ โปรดให้ย้ายไป ประดิษฐานไว้ในพระที่นั่งอนันตสมาคม ที่พระราชวังดุสิต


(๒) เมืองเชลียงเป็นเมืองส�ำคัญในเรือ่ งพงศาวดารไทย ด้วยในต�ำนานว่าไทยได้เมืองเชลียง เป็นที่มั่นก่อน แล้วจึงชิงเมืองสุโขทัยได้จากพวกขอม แต่ว่าเมืองเชลียงอยู่ที่ไหน ข้อนี้ ไม่ทราบกันแน่มาช้านาน บางคนก็สนั นิษฐานว่าเมืองก�ำแพงเพชร เช่น พระยาประชา กิจกรจักร (แช่ม บุนนาค) กล่าวไว้ในหนังสือต�ำนานโยนก ข้าพเจ้าเห็นอย่างเช่น ทรง พระราชวินจิ ฉัยในหนังสือนี้ ว่าต้องเป็นเมืองต่อแดนกับมณฑลพายัพ พระยาเชลียงจึง สามารถเทครัวไปเข้า (พระเจ้าติโลกะ) มหาราชเมืองเชียงใหม่ แล้วน�ำกองทัพเมือง เชียงใหม่มาตีก�ำแพงเพชรเมืองสุโขทัย และเมืองพิษณุโลก ดังปรากฏในหนังสือพระ ราชพงศาวดาร เรื่องเมืองเชลียงนี้ได้ตรวจหากันมาอีกช้านานจึงได้ความเป็นแน่ชัด ว่า คือเมืองสวรรคโลกนั้นเอง เดิมทีเดียวเรียกว่าเมืองเชลียง ตัวเมืองอยู่ตรงที่ยังมี พระปรางค์ศรีรัตนมหาธาตุ ที่กล่าวถึงในศิลาจารึกพ่อขุนรามค�ำแหง แต่เดี๋ยวนี้ชาว เมืองเรียกกันว่า “วัดน้อย” ครั้นต่อมาเห็นจะเป็นด้วยน�้ำเซาะตลิ่งพังชานเมืองหมด ไปทุกที กษัตริย์ราชวงศ์พระร่วงสร้างเมืองใหม่ตรงแก่งหลวง เหนือเมืองเชลียงเดิม ขึ้นไปประมาณ ๒๐ เส้น แล้วขนานนามเมืองนั้นว่าเมืองศรีสัชนาลัย แต่ชาวประเทศ อื่นยังคงเรียกว่าเมืองเชลียง ทั้งพวกเชียงใหม่และพวกกรุงศรีอยุธยา ดังพึงเห็นได้ ในบานแพนกกฎหมายลักษณะลักพาของพระเจ้าอู่ทอง และในหนังสือลิลิตเรื่องยวน พ่าย ก็เรียกว่า “เมืองเชลียง” มิได้เรียกว่า “ศรีสัชนาลัย” มาจนเมืองเหนือทั้งปวงตก เป็นอาณาเขตของกรุงศรีอยุธยาจึงขนานนามว่า “เมืองสวรรคโลก” เรียกรวมทั้งเมือง เชลียงและเมืองศรีสัชนาลัยด้วยกัน ชื่อเดิมก็เป็นอันสูญไปทั้ง ๒ เมือง (๓) บ้านด่านทีก่ ล่าวนีเ้ ป็นด่านมีมาแต่โบราณสมัยเดียวกันทัง้ ๒ แห่ง บ้านด่านเก่าคงเรียก ว่าบ้านด่านเขาค่าย บ้านด่านที่ไปตั้งใหม่ยังเรียกกันว่าบ้านด่านลานหอย (๔) เรือ่ งเมืองใหม่ของเมืองสุโขทัยนี้ ได้ยนิ ว่าเดิมทีว่ า่ ราชการอยูท่ เี่ มืองเก่า ทัง้ เมืองสุโขทัย และเมืองสวรรคโลก ครั้งอะแซหวุ่นกี้ยกกองทัพมาตีเมืองเหนือในสมัยกรุงธนบุรี  ยับเยินทั้ง ๒ เมือง ถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์กลับตั้งเมืองขึ้น ในรัชกาลที่ ๑ ผู้คนไม่ พอรักษาเมืองเดิม ทั้งเมืองเดิมตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกจะรักษาต่อสู้พม่ายาก จึงโปรดฯ ให้ย้ายที่ว่าการเมืองสุโขทัยมาตั้งที่บ้านธานี ส่วนที่ว่าการเมืองสวรรคโลกก็ย้ายมาตั้ง ที่ต�ำบลวังไม้ขอน จึงเรียกกันว่าเมืองใหม่มาจนทุกวันนี้

anuman-online.com


34

เรือนจาก

นักเรียนเก่าฯ เล่าเรื่องสนุก


ธนาธิป อุปัติศฤงค์

เอกอัครราชทูตไทยประจ�ำประเทศญี่ปุ่น

วามสัมพันธ์ระหว่างไทยกับญีป่ นุ่ เป็นความสัมพันธ์ทมี่ มี ายาวนาน ทั้งสองประเทศเริ่มติดต่อกันมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ก่อนจะมา  สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างจริงจังในปี พ.ศ. ๒๔๓๐ หรือ เมื่อเกือบๆ ๑๓๐ ปีที่แล้ว ในสมัยของรัชกาลที่ ๕ และต่อจากนั้นเป็นต้นมา  ความสัมพันธ์ของสองประเทศก็ถูกพัฒนาขึ้นมาตามล�ำดับ ทั้งในด้านสังคม วัฒนธรรมและด้านเศรษฐกิจ โดยมีสถานเอกอัคราชทูตไทย ณ กรุงโตเกียว เป็นผู้คอยเดินเรื่องส่งเสริมความสัมพันธ์มาโดยตลอด ในปัจจุบันนี้สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโตเกียว สามารถจัดได้ ว่าเป็นสถานทูตทีม่ คี วามส�ำคัญอันดับต้นๆ ของประเทศไทย โดยมีเจ้าหน้าที่ กว่า ๑๐๐ คน ประสานงานส่งเสริมความสัมพันธ์ดา้ นต่างๆ คอยดูแลคนไทย กว่า ๕๐,๐๐๐ คน ที่อาศัยอยู่ในประเทศญี่ปุ่น และนักท่องเที่ยวชาวไทยอีก จ�ำนวนเป็นแสนคน ต�ำแหน่งเอกอัครราชทูตไทยประจ�ำประเทศญี่ปุ่น จึงเป็นต�ำแหน่งที่ มีความส�ำคัญไม่น้อย โดยที่ผ่านมามีผู้ได้รับการโปรดเกล้าฯ พระราชทาน ต�ำแหน่งนี้ ๑๙ คน โดยคนล่าสุดเป็นนักเรียนเก่าวชิราวุธฯ ที่มีชื่อว่า  ธนาธิป อุปัติศฤงค์ anuman-online.com


36

เรือนจาก

ท่ า นทู ต ธนาธิ ป เป็ น นั ก เรี ย นเก่ า วชิราวุธฯ รุ่น ๕๑ ก่อนจะมาเป็นนักการทูต ที่มีเส้นทางที่โดดเด่น ในปี พ.ศ. ๒๕๕๓ ได้ รับการโปรดเกล้าฯ ให้เป็นเอกอัครราชทูต เป็นครั้งแรกเมื่ออายุ ๔๗ ปี โดยไปประจ�ำ ที่อินโดนีเซีย ก่อนจะย้ายมาประจ�ำที่กรุง โตเกียวในปัจจุบัน อนุมานวสารจึงได้สมั ภาษณ์เส้นทาง ชีวิตของนักการทูตท่านนี้ เพื่อเป็นตัวอย่าง และแรงบันดาลใจส�ำหรับผู้สนใจที่อยากจะ เดินตามรอยในสายงานนี้ อนุมานวสาร:  อยากเป็นทูตตั้งแต่เด็กๆ เลยรึเปล่า? ธนาธิป: คุณเชื่อหรือเปล่าว่าผมอยากเป็น ทูตมาตั้งแต่ตอนอายุ ๕ ขวบ? ตอนเด็กๆ ผมเป็นเด็กซน ซนใน ลักษณะทีว่ า่ ผมเป็นเด็กช่างพูด แล้วมาวันหนึง่   ผมก็เห็นรถคันหนึง่ วิง่ อยูแ่ ละมีธงติดอยูด่ า้ น หน้า ผมก็เลยถามแม่วา่ นัน้ เป็นรถอะไร? แม่ ผมบอกเป็นรถของทูต ผมก็เลยบอกแม่ว่า ถ้าผมอยากเป็นทูตจะต้องท�ำอย่างไรบ้าง? คุณแม่ก็เลยส่งให้ผมเข้ามาเรียนที่วชิราวุธฯ คุ ณ แม่ เ ขาเห็ น ว่ า คุ ณ พ่ อ ของผม จบมาจากเมืองนอก แล้วมาที่บ้านก็เป็น ครอบครัวนักธุรกิจ ซึ่งคุณแม่เกรงว่าผมจะ ไม่ค่อยไม่ได้มีสังคมเท่าไร เลยส่งผมเข้า  โรงเรียนวชิราวุธฯ ที่ตอนนั้นได้ชื่อว่ามีลูก ของข้าราชการเรียนอยู่เยอะ ผมจะได้รู้จัก สังคมเยอะขึ้น ได้รู้จักการเข้าสังคมซึ่งเป็น

พื้นฐานส�ำคัญของนักการทูต อนุมานวสาร: การปรับตัวเข้ากับสังคมใน โรงเรียนยากรึเปล่า? ธนาธิป: ผมเข้าไปอยูท่ โี่ รงเรียนอักษรเจริญ ของครูเนีย้ น ก่อนจะย้ายเข้าไปอยูเ่ ด็กเล็ก ๒ พอผมเข้าไปอยู่ที่โรงเรียน ผมก็ต้อง กลายมาเป็นคนที่พึ่งตัวเองอยู่ตลอด เลย ได้เรียนรู้วิธีการที่จะสามารถอยู่รอดได้ด้วย  ตัวเอง นีค่ อื สิง่ ทีค่ ณ ุ ได้จากการอยูใ่ นโรงเรียน การอยู่โรงเรียน ท�ำให้ผมกลายเป็นคนที่กิน อาหารอะไรก็อร่อยหมด ผมจะไม่คอ่ ยรูเ้ รือ่ ง เลยว่าอาหารนี่เป็นยังไงบ้าง? ผมตอบไม่ได้ เพราะว่าทุกอย่างผมกินเพื่ออยู่ไม่ใช่อยู่เพื่อ กิน มีอะไรก็ต้องท�ำเองหมด เสื้อผ้าก็ต้อง ซักเองตั้งแต่เด็ก เวลาผมไปอยู่ที่ไหน ก็เลย ปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ ผมจะไม่ให้ สิ่งแวดล้อมเข้ามาปรับตัวผม ไม่ยึดตัวเอง  เป็นหลัก อนุมานวสาร: ย้ายเข้าไปอยู่เด็กในที่คณะ อะไร? ธนาธิป: ผมย้ายเข้ามาอยูเ่ ด็กในกับเจ้าคุณ ภะรตราชาที่ ค ณะผู ้ บั ง คั บ การ ตอนนั้ น  เจ้าคุณภะรตฯ ก็อายุแปดสิบกว่าแล้ว แต่ก็ ยังแข็งแรงและแต่งตัวเนี้ยบเพราะแกเป็น นักเรียนอังกฤษ เวลาท่านมาตรวจโรงอาหารจะได้มี เสียงดังนิดหน่อยก็ไม่ได้ เวลาทานอาหาร ต้องห้ามไม่มเี สียง ถ้าในส�ำรับท�ำเสียงดังแล้ว


ไม่มีคนรับผิด ท่านก็จะสั่งให้ล้มโต๊ะ ไม่ให้ กินบนโต๊ะ ในขณะเดียวกันคนที่ท�ำเสียงดัง แล้วไม่ยอมรับ เพื่อนทั้งหมดในส�ำรับก็ต้อง โดนด้วย อย่างนี้แล้วคนไหนท�ำเสียงดังก็จะ ต้องรู้สึกผิดทันที เรื่ อ งเหล่ า นี้ เ ป็ น สิ่ ง ที่ เ ราได้ ทั้ ง นั้ น  ดังนั้นตลอดเวลาที่ผมรับราชการมา ผมก็ ไม่กลัวอะไร คือ ถ้าเราท�ำผิดก็ต้องยอมรับ ในขณะเดียวกันเราก็ต้องยืนหยัดให้กับสิ่งที่ เราเชื่อว่าถูกต้องและเป็นประโยชน์กับคน หมู่มาก ไม่ใช่ว่าอะไรก็จะตามๆ กันไปหมด

อนุมานวสาร: แสดงว่าการอยู่ในโรงเรียน สอนให้เข้าใจการอยู่ในสังคม ธนาธิป: ใช่ การอยู่ในโรงเรียนสอนให้เรา อยู่ด้วยกัน สอนให้เราเป็นส่วนหนึ่งของ สังคม การอยูด่ ว้ ยกันท�ำให้เราต้องเรียนรูซ้ งึ่ กันและกัน เพราะเราจะต้องอยู่กับคนที่ไม่ เคยรู้จักกันมาตั้งแต่เด็ก เราอยู่กันมาตั้งแต่ ตอน ๕ - ๖ ขวบ จนกระทั่งเรียนจบ ช่วง เวลาหลายปีในโรงเรียน เราอาจจะมีทงั้ เรือ่ ง ถูกใจและไม่ถกู ใจกันบ้าง แต่สดุ ท้ายแล้วเรา ก็จับมือเป็นเพื่อนกันเหมือนเดิม ซึ่งการอยู่ ในสังคมก็เป็นแบบนี้ เราต้องหาวิธีอยู่ร่วม กันให้ได้ anuman-online.com


38

เรือนจาก

อนุมานวสาร: สมัยเป็นนักเรียนเล่นกีฬา อนุมานวสาร: จบจากวชิราวุธฯ แล้วไปต่อ ที่มหาวิทยาลัยไหน? อะไรหรือเปล่า? ธนาธิป: สมัยนัน้ ทีโ่ รงเรียนบังคับให้ทกุ คน ต้องเล่นกีฬารักบี้ทั้งหมด ใครจะเล่นเก่งไม่ เก่งก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ผมก็เลยต้องเล่นกับ เขาด้วย บาสเกตบอลผมก็เล่น วอลเลย์บอล ก็เล่น ผมก็ไม่ได้เล่นเก่งอะไรแต่ก็เล่นกีฬา พวกนี้ทั้งหมด แต่ที่ผมจะเก่งหน่อยก็คือ  ว่ายน�้ำ ผมติดทีมโรงเรียนไปแข่งที่สนาม  ศุภชลาศัยด้วย

ธนาธิป: ตอนสอบ ม.ศ.๕ ผมเลือกไป ๖ คณะ คือ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ฯ, คณะรั ฐ ศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ , คณะ รั ฐ ศาสตร์ ม.เกษตรฯ, คณะรั ฐ ศาสตร์ ม.เชียงใหม่, คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ฯ และคณะนิตศิ าสตร์, ม.ธรรมศาสตร์ ตอนนัน้ ตั้งใจจะเรียนรัฐศาสตร์ให้ได้อย่างเดียวเลย สุดท้ายก็ได้เข้าไปเรียนสาขาความสัมพันธ์


เรียนต่อปริญญาโทที่ออสเตรเลีย ที่เลือก ออสเตรเลียเพราะพ่อของผมเป็นนักเรียน เก่าออสเตรเลีย คนอืน่ ๆ ในบ้านก็เรียนทีน่ นั่ ผมได้ รั บ เข้ า เรี ย นที่ Macquarie University ก็เรียนไปจนจบปริญญาโทแล้ว ก�ำลังจะเรียนต่อปริญญาเอก ก็มีผู้ใหญ่ที่รู้ จัดมาชวนให้ไปท�ำงานด้วยกันที​ี่กระทรวง ต่างประเทศ ผมเลยต้องกลับมาเมืองไทย แล้วก็ไปสอบ ปรากฏว่าสอบผ่านเลยได้เข้า มาท�ำงานที่กระทรวงฯ ไม่ได้กลับไปเรียน ต่อเลย อนุมานวสาร: เข้าไปแล้วได้รบั ผิดชอบงาน  อะไร?

ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ ที่จุฬาฯ ต้ อ งขอเล่ า เพิ่ มตรงนี้นิดหนึ่ง ผม โชคดีที่ถูกส่งไปเรียนซัมเมอร์ที่อังกฤษ ที่ ออสเตรเลีย มาตลอดตั้งแต่ ม.ศ.๑ เวลา ปิดเทอมผมเลยไม่คอ่ ยได้อยูเ่ มืองไทย ก็เลย ท�ำให้ผมค่อนข้างได้เปรียบในเรือ่ งของภาษา อังกฤษ กลับมาที่สมัยเรียนมหาวิทยาลัย ผมเรียนได้ค่อนข้างดี เรียนๆ ไปผมก็พอ จะรู ้ แ ล้ ว ว่ า จะจบภายในสามปี ค รึ่ ง ตอน ปี ๓ ผมก็ เ ลยเขี ย นจดหมายไปสมั ค ร

ธนาธิป: ผมได้รับเข้าบรรจุที่กรมองค์การ ระหว่างประเทศ ได้เป็นผู้แทนไปประจ�ำที่ ส�ำนักงานสหประชาชาติ ซึง่ ผมก็ทำ� งานตาม หน้าที่ไปเรื่อยๆ แต่ผมเป็นคนขยัน ผมไป ถึงที่ท�ำงานตั้งแต่เจ็ดโมง มีเอกสารอะไรผม ก็ไปขอแฟ้มของเขามาอ่าน ผมเป็นคนชอบ อ่ า นหนั ง สื อ อยู ่ แ ล้ ว เลยอ่ า นได้ เ อกสาร หลั ก ๆ ครบหมดทุ ก กอง การอ่ า นแฟ้ ม  ตอนนัน้ ท�ำให้ผมเห็นการท�ำงานทัง้ หมดของ แต่ละกอง จนมีความเข้าใจหน้าทีก่ ารท�ำงาน หลั ก ๆ ทั้ ง หมด เห็ น ผลงานและก็ ข ้ อ  ผิดพลาดทัง้ หลายทีเ่ กิดขึน้ ทัง้ ในเนือ้ งานและ วิธีการท�ำงาน ผมใช้เวลาอยู่ประมาณหก เดือนก็รู้งานหมดทุกกอง ที่ นี่ ท างสหประชาชาติ ห รื อ ยู เ อ็ น ก�ำลังวางแผนจะสร้างอาคารส�ำนักงานใหม่ anuman-online.com


40

เรือนจาก


เพราะตอนนั้น “ศาลาสันติธรรม” (อาคาร ส�ำนักงานหลังเก่า) มีพื้นที่ไม่พอใช้ ทาง รัฐบาลก็เลยรีบเสนอเข้าไปให้ตั้งออฟฟิศใน ที่เดิมต่อไป แต่ก็ต้องรองบประมาณจาก ยูเอ็นอยู่ดี ผมก็เลยต้องเข้าไปเป็นตัวเดิน เรื่องระหว่างยูเอ็นกับรัฐบาล อนุมานวสาร: อาคารสหประชาชาติทถี่ นน ราชด�ำเนินนอกก็ถือเป็นผลงานแรก? ธนาธิป: จะว่าอย่างนั้นก็ไม่ได้ เพราะไม่ใช่ ผลงานของผมคนเดียว มีอีกหลายๆ ส่วนที่ ช่วยกันผลักดันจนส�ำเร็จ ตอนนั้นผมก็ต้อง มาเรียนรู้เกี่ยวกับการก่อสร้างอะไรต่างๆ ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการท�ำสัญญา การหา ผู้รับเหมา เรียกว่าท�ำจนรู้ทั้งระบบทั้งหมด ตอนท� ำ งานนั้ น ก็ ต ้ อ งเจอปั ญ หา สารพัด แต่หลักๆ ก็คือเรื่องงบประมาณ จากยูเอ็น ผมต้องเขียนงานเพื่อเตรียมให้ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ (นายกรัฐมนตรี ในขณะนัน้ ) เข้าไปพูดในทีป่ ระชุมยูเอ็น เพือ่ เร่งให้อนุมัติงบก่อสร้างให้ ทางยูเอ็นฟังแล้ว ก็นิ่ง ไม่ได้พิจารณาว่าจะให้ไม่ให้ ผมก็ เ ลยต้ อ งกลั บ มาแก้ โ ปรเจ็ ค ต์ ใหม่ย่อขนาดจาก ๔๕ ล้านเหรียญยูเอส ให้เหลือ ๓๙ ล้านฯ แล้วก็ต้องติดต่อกับ เจ้าหน้าที่ในนิวยอร์กเป็นประจ�ำ คุยกันจน สนิท เขาก็แนะน�ำว่าทางเอธิโอเปียก็กำ� ลังจะ สร้างออฟฟิศของยูเอ็นที่นั่นเหมือนกัน เรา ก็ลองคุยกับทางเอธิโอเปียดูเพื่อจะได้เสนอ เข้าไปด้วยกันเพราะเป็นออฟฟิศของหน่วย

งานเดียวกัน พอดีตอนนัน้ พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ  ขึ้นมาเป็นนายกฯ ก็ต้องให้ท่านไปยื่นเรื่อง เสนออีกครั้ง ที่นี้เราเริ่มบีบทางยูเอ็นแล้ว เราถ่ายรูปที่ตรงนั้นไปให้ดู เพราะตอนนั้น กลายเป็นลานจอดรถร้างๆ แล้ว จากนั้นก็ พยายามบอกให้เห็นว่าท�ำเลตรงนัน้ ดีอย่างไร อยู่ใจกลางกรุงเทพฯ ในย่านประวัติศาสตร์ ต่างๆ นานา มีการเตรียมงานกันมายาวนาน ปรับแผนหลายรอบ ที่ส�ำคัญเราบอกไปเลย ว่าเราไม่ได้ขอเงิน ๓๙ ล้านฯ ก้อนใหญ่กอ้ น เดียว แต่ทยอยส่งมาที่ละเฟสๆ จนในที่สุด ก็ได้รับอนุมัติ ส่วนของเอธิโอเปียไม่ได้ ซึ่ง ผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่าท�ำไม จริงๆ แล้วงานนีเ้ ป็นงานแรกทีค่ อ่ นข้าง  ภูมิใจ ตอนงานเปิดตึกในปี พ.ศ. ๒๕๓๗ ผมก็ ไ ปด้ ว ย ยั ง รู ้ สึ ก ดี ใ จที่ มี ส ่ ว นร่ ว มให้ ส�ำเร็จขึ้นได้ อนุมานวสาร: แล้วก้าวขึ้นไปเป็น เอกอัครราชทูตประจ�ำอินโดนีเซียได้อย่างไร? ธนาธิ ป :  หลั ง จากนั้ น ผมก็ ไ ปท� ำ งานอยู ่ หลายส่วน มีอยู่เช้าวันหนึ่งผมเห็นผู้ใหญ่ ท่านหนึ่งเดินถือของเข้ามาในออฟฟิศอยู่คน เดียว ผมก็เลยเข้าไปช่วยถือของเพราะถูก สอนมาตั้งแต่โรงเรียนว่าต้องช่วยเหลือคน อื่น ผมไม่รู้เลยว่าผู้ใหญ่คนนั้นเป็นใคร มารู้ อี ก ที ว ่ า ผู ้ ใ หญ่ ท ่ า นนั้ น คื อ ดร.ประชา  คุณะเกษม ตอนนัน้ ท่านเพิง่ กลับมาจากการ เป็นทูตที่ฝรั่งเศส ต่อมาท่านไปเป็นอธิบดี anuman-online.com


42

เรือนจาก

กรมเศรษฐกิจแล้วคงขาดคน ก็เลยมาตาม ผมให้ช่วยไปเป็นเลขานุการให้ จริงๆ แล้วการยกของไม่ได้ช่วยให้  ผมได้มาท�ำงานกับท่านประชาหรอก แต่น่า จะเป็นเพราะงานอืน่ ๆ ทีผ่ มเคยท�ำมาก่อนมา มากกว่า ท่านประชาคงเห็นว่าผมประสาน งานต่างๆ มาก่อน เลยชวนไปท�ำงานด้วยกัน การไปอยูท่ กี่ รมเศรษฐกิจท�ำให้ผมได้ เรียนรู้เรื่องเศรษฐศาสตร์มาก ซึ่งกลายเป็น ประสบการณ์ที่ผมเอาไปใช้ในการท�ำงาน ต่างๆ อีกเยอะ และผมเป็นคนที่ค่อนข้าง ขยันเลยได้โอกาสท�ำงานหลายอย่าง จนได้ ขึน้ เป็นอธิบดีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ก่อนจะถูกส่งไปประจ�ำที่อินโดนีเซีย อนุมานวสาร: ประสบการณ์ที่อินโดนีเซีย เป็นอย่างไรบ้าง? ธนาธิ ป :  ตอนผมอยู ่ อิ น โดนี เ ซี ย ก็ ถื อ ว่ า ประสบความส�ำเร็จด้วยดี ถึงแม้ว่าหน้าที่ หลักของทูตคือการรักษาความสัมพันธ์กับ ประเทศทีไ่ ปประจ�ำอยู่ แต่ตอนนีก้ ารค้าขาย ระหว่างประเทศเป็นเรื่องที่มีความส�ำคัญ มากขึ้น สถานทูตจึงจะต้องพยายามที่จะให้ ทางสนับสนุนให้เกิดการแลกเปลีย่ นทางการ ค้าขึ้น อย่างช่วงนั้นที่ผมไปอยู่อินโดนีเซีย เมืองไทยก�ำลังวุน่ วายกันอยู่ ผมก็เลยไปชวน เอกชนไทยหลายๆ รายให้ลงทุนทีอ่ นิ โดนีเซีย และก็ชวนอินโดนีเซียให้มาซื้อของจากไทย ไปเพิ่ม ผลก็ออกมาค่อนข้างดี เพราะผม

ต้องพยายามที่จะเป็นเจ้าภาพนัดเจ้าหน้าที่ ระดับสูงของฝ่ายโน้นเพื่อจะนัดให้เอกชน รายใหญ่ๆ ของเราได้ไปนั่งพูดคุยหาโอกาส บางบริษัทไปลงทุนท�ำธุรกิจที่นั่นมาเป็นสิบ ปีแต่ไม่เคยได้พบกับประธานาธิบดีเลย ผม ก็เลยต้องหาช่องให้ซอี โี อของบริษทั นัน้ ไปพบ กับประธานาธิบดียูโดยูโนจนส�ำเร็จ อนุมานวสาร: มาอยูท่ โี่ ตเกียวนานหรือยัง? ธนาธิป:  ผมได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้มา ประจ�ำทีโ่ ตเกียวตัง้ แต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ตอนนี้ ก็อยู่มาเกือบๆ จะสองปีแล้ว มาเป็นทูตที่นี่ งานค่อนข้างเยอะหน่อย เพราะเรากับญี่ปุ่น มีความผูกพันกันมาเป็นร้อยปี ยิ่งช่วงหลาย สิบปีนี้บริษัทญี่ปุ่นใหญ่ๆ ก็แห่ไปลงทุนที่ เมืองไทยกันเยอะ โดยเฉพาะพวกบริษัท  รถยนต์ใหญ่ๆ มีโรงงานในเมืองไทยกันหลาย แห่ง แล้วเวลาไปเมืองไทย เขาไม่ได้ไปแค่ บริษทั เดียว เขาจับกลุม่ กันไปหลายแห่ง การ ที่ ญีุ่ ปุ ่ น ไปลงทุ น ที่ เ มื อ งไทยถื อ เป็ น ผล ประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจของบ้าน เรามากเลยนะ ถ้าไม่มีโรงงานของญี่ปุ่น เศรษฐกิจของเราคงไม่โตขึ้นมาเหมือนทุก  วันนี้ หน้าที่ของผมก็ต้องพยายามหาทาง ชวนให้บริษัทญี่ปุ่นไปลงทุนที่เมืองไทยเพิ่ม มากขึ้น เพราะตอนนี้ไม่มีที่เหลือให้สร้าง โรงงานในญี่ปุ่นแล้ว คนแก่ก็มีเยอะ เขาเลย ต้องกระจายไปลงทุนทีป่ ระเทศอืน่ ๆ ทีน่ เี่ รา ก็ต้องชวนให้เขาไปลงที่เมืองไทยให้ได้มาก


ที่สุด ต้องช่วยประสานงานให้ท�ำอะไรง่าย ขึ้น ต้องท�ำให้เขามั่นใจว่าลงทุนไปแล้วจะ ไม่มีปัญหา ส่ วนจะให้คนไทยมาลงทุนที่นี้อาจ จะเป็นไปได้ยาก เราก็ต้องเน้นหาของดีๆ มาขายแทน โดยเฉพาะพวกผลไม้ไทย คน ญี่ปุ่นชอบมาก อนุมานวสาร: เป็นกังวลกับข่าวทีว่ า่ คนไทย หนีเข้าเมืองญี่ปุ่นเยอะรึเปล่า? ธนาธิป: ผมก็เป็นห่วงนะ ที่สถานทูตก็ได้ รับข่าวเรื่องนี้มาตลอด ผมเองก็เคยเจอคน ไทยทีห่ ลบอยูใ่ นญีป่ นุ่ เกินโค้วต้าทีเ่ ขาให้ ๑๕ วัน ส่วนมากก็หลบมาท�ำงานที่คนญี่ปุ่นไม่ ค่อยท�ำกัน อย่างพวกเก็บขยะข้างถนนอะไร อย่างนี้ แค่เงินเดือนอย่างเดียวก็ไม่น่าจะ พอใช้อะไรที่นี่ได้ แล้วจะเหลืออะไรส่งกลับ ไปให้ที่บ้านได้อีก พอต�ำรวจเขาเจอก็จับมา ส่งทีส่ ถานทูต เราก็ไม่รวู้ า่ จะดูแลพวกเขาได้ อย่างไร ยังไงก็ต้องส่งตัวกลับเมืองไทย แต่ เ รื่ อ งนี้ ก็ ยั ง ไม่ น ่ า วิ ต ก เพราะ ที่ เ มื อ งไทยก็ มี ค นญี่ ปุ ่ น อาศั ย เกิ น วี ซ ่ า อยู ่ เหมือนกัน อนุมานวสาร: ความภูมิใจของการได้เป็น นักการทูตคืออะไร? ธนาธิป: การเป็นเอกอัครราชทูตไม่ได้เป็น แค่ตัวแทนของรัฐบาลเพียงอย่างเดียว แต่ เป็ น ผู ้ แ ทนพระองค์ ข องพระบาทสมเด็ จ

พระเจ้าอยู่หัวฯ ด้วย หนังสือตราตั้งที่ได้มา ก็มพี ระองค์เป็นผูล้ งพระปรมาภิไธยให้ เรือ่ ง นี้เป็นเรื่องที่ผมดีใจมาก ผมต้องไปใช้เครื่อง ถ่ายส�ำเนาที่ดีที่สุดของประเทศเก็บส�ำเนา ของหนังสือตราตั้งนี่ไว้ ส่วนตัวจริงผมต้อง ถวายแด่สมเด็จพระจักรพรรดิไว้ คนส่วน มากอาจจะไม่ได้สนใจเรื่องพวกนี้ แต่ผม ถือว่านี่เป็นเกียรติที่ส�ำคัญมาก ต้องเก็บไว้ อย่างดี เรื่ อ งที่ ผ มภู มิ ใ จอี ก เรื่ อ ง คื อ การ ที่ ท� ำ ให้ ป ระเทศของเราเป็ น ที่ ย อมรั บ ใน ระดับนานาชาติว่าเราก็ไม่ได้น้อยหน้าใคร สามารถท�ำประโยชน์ให้กับประเทศ ขณะ เดียวกันก็สามารถรักษาความสัมพันธ์กับ ประเทศต่างๆ ในสังคมโลกได้ดี หลายคนอาจจะว่ า ผมโชคดี ที่ มี โอกาสได้ เ ป็ น เหมื อ นกั บ ที่ ฝ ั น ไว้ ต อนเด็ ก แต่กว่าผมจะมายืนในฐานะทูตได้แบบนี้ก็ ต้องผ่านอะไรหลายอย่างทีต่ อ้ งพิสจู น์ตนเอง ให้คนอืน่ เห็นว่าเรามีดพี อทีจ่ ะเป็นผูแ้ ทนของ คนไทยได้ การเป็นตัวแทนของใคร ถือเป็น งานทีห่ นักเหมือนกัน เวลาจะท�ำอะไรออกไป ก็ตอ้ งคิดถึงหน้าตาของผูท้ เี่ ราก�ำลังท�ำหน้าที่ แทนอยู่ สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ยาก แต่ผมก็ภูมิใจที่ ได้มาท�ำหน้าที่ตรงนี้นะ สัมภาษณ์และ เรียบเรียง: ศศินทร์ วิทรู ปกรณ์ (โอวี ๗๙) ถ่ายภาพ: พัฒน์ ไกรเดช (โอวี ๗๙)

anuman-online.com


ของที่ระลึก - พร อ มบริ ก ารจั ด ส ง -

พระรูป ร.6 (ปูนหิน) - สีทอง (รูปละ 2,000 บาท)

พระรูป ร.6 (ปูนหิน) - สีขาว (รูปละ 1,500 บาท)

ราคาษ พิเศ

ชามาริยาจ

(กลองละ 1,800 บาท)

กระเปา All Gent

ไวนแดง BIN 2

(ใบละ 900 บาท)

(ขวดละ 800 บาท)

สินคนาวน มีจำำกัด จ

เสื้อยืด All Gent CD เพลงโรงเรียน (ตัวละ 350 บาท)

(แผนละ 200 บาท)

หนังสือ “ปนรั้วฯ” ผาเช็ดหนา OV (เลมละ 150 บาท)

(ผืนละ 100 บาท)

รายได ห ลั ง จากหั ก ค า ใช จ  า ย นำไปสนั บ สนุ น กองทุ น อนุ ม านวสาร

สนใจสั่งซื้อ

กรุณาติดตอ คุณน็อต (โอวี ๗๓) โทร.085-164-2034 อีเมล: suttipongl@gmail.com

โอนเงิน

ธ.กรุงศรีอยุธยา สาขา เดอะ คริสตัล เลขที่ 673-1-04645-6 ชื่อบัญชี นายสุทธิพงษ ลิ้มสุขนิรันดร **ราคานี้ยังไมรวมคาจัดสง**


โรงเลี้ยง

ชวนชิมร้านอาหาร โอวี

45

ทองบวก

านทองบวกตั้ ง อยู ่ บ นถนนสาย มิตรภาพ ต.พญาเย็น อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา หากขับรถมาจาก กรุงเทพฯ เลยมวกเหล็กมาไม่เท่าไรก็ให้ สังเกตป้ายชื่อร้านติดถนนใหญ่ด้านซ้ายมือ เมื่อเจอแล้วก็เลี้ยวเข้าไปในร้านได้เลย บรรยากาศในร้านร่มรื่นด้วยแมกไม้ ใหญ่หลายชนิด ส่วนของตัวร้านเป็นอาคาร ไม้สองชัน้ ทีต่ กแต่งอย่างเรียบง่ายสร้างความ รู้สึกสบายๆ และเป็นกันเองให้กับทุกคนที่ เข้ามาถึง นอกจากนี้บริเวณรอบๆ ยังมีบ้าน หลังเล็กๆ ที่ออกแบบได้สวยงามชวนให้ใคร ต่อใครที่ผ่านไปต้องหยุดและหยิบมือถือขึ้น มาถ่ายรูปแชร์ให้กับเพื่อนๆ ได้กดไลค์

ซึง่ ทัง้ หมดนีเ้ ป็นผลงานการออกแบบ และจัดวางของพี่น้อย - สุชาติ วงษ์สวัสดิ์ (โอวี ๓๒) อดีตผู้บริหารของบริษัท ที่ผัน ตัวเองมาเป็นเจ้าของร้านอาหารบรรยากาศ แสนสบายแห่งนี้ สุชาติเข้าเรียนที่วชิราวุธฯ ด้วยการ ตามพี่ชายสองคน คือ วินัย (โอวี ๒๘) และ สุวทิ ย์ (โอวี ๓๐) ไปอยูท่ บี่ า้ นครูเนีย้ น ก่อน anuman-online.com


46

โรงเลี้ยง

จะเข้าไปอยู่ที่คณะเด็กเล็กสองและย้าย  ข้ามไปอยู่ที่คณะพญาไทในยุคของ พระยาภะรตราชา แต่เขาก็ไม่ได้ อยู ่ จ นจบระดั บ มั ธ ยม เพราะ ต้ อ งย้ า ยไปเรี ย นที่ โ รงเรี ย น เตรียมอุดมฯ ตัง้ แต่ตอน ม.๖  (เที ย บเท่ า กั บ ม.๔ ใน ปั จ จุ บั น ) เนื่ อ งจากต้ อ ง  เตรี ย มตั ว ส� ำ หรั บ การไป เรียนต่อที่เมืองนอกตามแผนที่ ครอบครัววางไว้ ช่วงเวลาที่ย้ายไปเรียน ที่ เ ตรี ย มอุ ด มฯ ท� ำ ให้ สุ ช าติ เข้าใจถึงคุณค่าของการได้อยู่ โรงเรียนวชิราวุธฯ ว่า “อยู่ที่ วชิราวุธฯ นะดีที่สุดแล้ว การไป


เรียนข้างนอกไม่ทำ� ให้เรามีความรูส้ กึ ผูกพัน กับใครเท่าไร อาจจะเพราะเวลาอยู่ด้วยกัน น้อย ผิดกลับที่วชิราวุธฯ อย่างผมจบมาตั้ง นานแล้ว มาเปิดร้านอยู่ที่นี่ รุ่นพี่รุ่นน้องที่ ผ่านมาก็แวะมาทักทาย มากินข้าวด้วยกัน ตลอดจนทุกวันนี้” หลั ง จากที่ ใ ช้ ชี วิ ต เรี ย นหนั ง สื อ ที่ สหรัฐอเมริกาและหาประสบการณ์ต่างๆ นานาอยู่นานถึง ๖ ปี สุชาติก็ตัดสินใจกลับ มารับงานที่เมืองไทย ก่อนจะเติบโตตาม ต�ำแหน่งไปเรื่อยจนได้เป็นผู้บริหาร จนเมื่อ ถึงเวลาที่ใกล้จะเกษียณ เขาเลยได้ตัดสินใจ ลงมือออกแบบและเปิดร้านทองบวกขึน้ ทัง้ ๆ ที่ตัวเองท�ำอาหารไม่เป็นสักอย่าง “ผมโชคดีที่มีภรรยาท�ำอาหารเก่ง เขาเป็ น แม่ บ ้ า นแม่ ศ รี เ รื อ นมาตั้ ง แต่ ไ หน แต่ไรแล้ว ตอนเด็กๆ เขาก็เข้าครัวไปช่วย แม่ท�ำกับข้าวมาตลอด แถมโตขึ้นมายังไป เรียนทางนี้ที่สิงคโปร์อีกด้วย เขามีจุดเด่น ตรงที่เป็นคนมีหัวด้านนี้ เห็นอาหารอะไรก็ เอามาดัดแปลงให้อร่อยได้หมด ที่ส�ำคัญคือ  ทุกอย่างต้องเพอร์เฟค เวลาจัดจานแค่วาง ผักชียงั ต้องจัดแล้วจัดอีกจนกว่าจะพอใจ ถ้า ไม่ใช่คนที่มีศิลปะด้านนี้ ก็คงไม่มาสนใจแค่ ผักชีหรอก” สุชาติชื่นชมภรรยาให้เราฟัง ด้วยสีหน้ายิ้มแย้มอย่างภูมิใจ ขึ้นปีใหม่นี้ ร้านทองบวกก็จะมีอายุ ๑๔ ปี แ ล้ ว ซึ่ ง ถื อ เป็ น ระยะเวลาที่ น าน  พอสมควรส�ำหรับร้านอาหาร หากไม่มที เี ด็ด ที่มัดใจลูกค้าได้ ก็คงไม่สามารถเป็นที่นิยม

ของคนที่ผ่านไปผ่านมาแถวนี้ได้แน่นอน “เราก็ ไ ม่ ไ ด้ มี เ คล็ ด ลั บ อะไรหรอก แต่เพราะเรามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ อาหารทีเ่ ราท�ำอยูจ่ ริงๆ ร้านอาหารส่วนมาก ถ้าเกิดกุก๊ ลาออกไป รสชาติอาหารก็จะเพีย้ น ทันที แต่ไม่ใช่ที่ร้านนี้ เพราะภรรยาของผม เป็นคนคุมครัวอยู่ตลอด กุ๊กที่ไหนจะเข้า มาท�ำก็ต้องท�ำตามแบบที่เราก�ำหนดไว้ เรา สอนกุ๊กใหม่ให้ท�ำอาหารแบบที่เราต้องการ คนที่มาทานเป็นประจ�ำก็จะได้รสชาติที่เขา ประทับใจเหมือนกันทุกๆ ครั้ง” อาหารจานเด็ดของทองบวกมีอยูเ่ ต็ม เมนูไปหมด สุชาติจึงสั่งบางส่วนมาให้พวก anuman-online.com


48

โรงเลี้ยง

เราได้ชิมกัน จานแรกที่ได้ลิ้มรสเป็น ‘หอยลาย  อบเนย’ ที่เสิร์ฟมาในจานบนเตาขนมครก โดยเมือ่ จับทานคูก่ บั ขนมปังกระเทียมแล้ว ก็ เริ่มเรียกน�้ำย่อยให้ออกมาท�ำงานทันที จาน ต่อมาเป็น ‘ปอเปี้ยะผักโขมอบชีส’ ที่มาใน รูปของแผ่นแป้งม้วนยาวสอดไส้ผักโขมปน ชีสตลอดทั้งแท่ง ทอดจนเหลืองกรอบและ ราดน�้ำจิ้มหวานสูตรเฉพาะของร้านเข้ากัน ชิ ม ซุ ป เนื้ อ กลิ่ น หอมเครื่ อ งเทศของเมนู  ถัดมา ‘แกงกระหรี่ไก่’ ก็ถูกน�ำมาเสิร์ฟ เมื่อ ได้ชิมทั้งสองจานก็รู้เลยว่ารสจัดจ้านของ เครื่องเทศเป็นจุดเด่นของร้านนี้ “เดี๋ยวนี้ร้านอาหารส่วนมากชอบท�ำ อาหารรสออกไปทางหวานๆ หน่อย ซึ่งผม ไม่ชอบเลย อาหารแต่ละจานจะมีรสหลัก ประจ�ำอยู่แล้ว เวลาท�ำอาหารออกมาก็ต้อง ท�ำให้ตรงกับรสหลักของจานนั้นๆ ที่นี้เลย พยายามจะคงรสของแต่ ล ะจานไว้ ใ ห้ ไ ด้ ” ได้อย่างลงตัว สุชาติออกความเห็นเรื่องอาหารในปัจจุบัน ไม่ทันไรอาหารหลักจานแรก ‘สตูว์ เที ยบกับ ความพยายามของร้ า นทองบวก ซีโ่ ครงหมู’ ก็ออกมาทันควัน ทางร้านคัดสรร ที่ต้องการคงรสจัดจ้านของแต่ละจานไว้ให้ และตัดเฉพาะส่วนติดกระดูกอ่อนมาล้วนๆ โดยเนื้อหมูแต่ละชิ้นต้มจนกระดูกอ่อนนิ่ม ส่ ว นซอสสตู ว ์ นั้ น ก็ เ ข้ ม ข้ น แบบถึ ง เครื่ อ ง ส�ำหรับใครทีช่ อบทานเนือ้ ทางร้านก็มี ‘สตูว ์ ลิ้นวัน’ รสเด็ดไว้คอยเสิร์ฟอยู่เหมือนกัน จานต่อมาเป็น ‘ซุปเนื้อ’ โดยสุชาติ เล่าให้ฟงั ว่า “เนือ้ ทีเ่ อามาใช้เป็นเนือ้ น่องลาย ส่วนน�้ำซุปก็เอาวิธีท�ำซุปหางวัวมาประยุกต์ ให้ได้รสจัดจ้านๆ หน่อย” ยังไม่ทันที่จะได้


เป็นเครื่องเคียงด้วยอย่างดี น่ า เสี ย ดายที่ พ วกเราไปช้ า เกิ น ไป เลยท� ำ ให้ อ ดชิ ม ของหวานขึ้ น ชื่ อ ของร้ า น อย่างไอศครีมโฮมเมค รสช๊อกโกแลตและ รัมเรซิ่นหมดไปเสียก่อน ถึงอย่างนั้นไอศ ครีมรสชาเขียวและรสลิ้นจี่ที่พวกเราได้ทาน ก็อร่อยเพียงพอที่จะท�ำให้เราขอเพิ่มได้อีก หากใครก�ำลังจะไปอุทยานแห่งชาติ อร่อยที่สุด อี ก จานที่ มี ค วามน่ า สนใจ คื อ เขาใหญ่ ก็ขอเชิญให้ทุกท่านแวะชิมอาหาร ‘ส้มต�ำทองบวก’ ส้มต�ำสูตรพิเศษของร้าน รสเด็ดในบรรยากาศสบายๆ ที่ “ร้านทอง ที่ใช้แอปเปิ้ลเขียวแทนมะละกอ ซึ่งผลที่ บวก” ของสุชาติ รับรองไม่ผดิ หวังแน่นอน ได้นอกจากจะท�ำให้ส้มต�ำธรรมดาๆ ดูน่า สนใจขึ้นมาแล้ว ความกรอบและรสเปรี้ยวๆ หวานๆ ของแอปเปิ้ลเขียวยังท�ำให้ส้มต�ำ จานนี้มีรสชาติที่โดดเด่น ยิ่งมีเบคอน ทอดกรอบเล็กๆ โรยอยู่ด้วย ก็ยิ่งท�ำให้ จานนี้เป็นจานโปรดของใครหลายๆ คน และเป็นอีกเมนูยอดนิยมของร้าน เวลา: ๑๐.๐๐-๒๑.๐๐ น.  อาหารหลั ก จานสุ ด ท้ า ยเป็ น  (วันศุกร์-เสาร์ ปิด ๒๒.๐๐ น.) ‘หมูอบคะน้า’ ทีถ่ งึ แม้วา่ จะมีชอื่ ธรรมดาๆ  ที่ตั้ง: ๙ หมู่ ๘ กม.๑๔๔ ถ.มิตรภาพ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา แต่ รั บ รองได้ เ ลยว่ า จานนี้ ไ ม่ ธ รรมดา โทร: ๐๔๔-๓๖๒-๑๙๑,  จริ ง ๆ เพราะเนื้ อ หมู ที่ อ ยู ่ บ นจานถู ก  ๐๘๖-๗๗๐-๖๕๖๕ หั่ น หนาก� ำ ลั ง พอดี ใ ห้ น�้ ำ ซอสซึ ม email: cvongsawad@yahoo.com เข้าไปได้ เนือ้ หมูจงึ ชุม่ ไปด้วยซอส รสเข้มข้น โดยมีคะน้าที่สดกรอบ สัมภาษณ์ ธนกร จ๋วงพานิช พิพัฒน์จิต ตันติกุล กฤษณ์ ลีลานนท์ พศิน เวชพาณิชย์

เรียบเรียง โอวี โอวี โอวี โอวี

๗๗ ศศินทร์ วิทูรปกรณ์ ๘๐ ปราชญ์ ชัยสมบัติ ๘๐ ๘๓

ถอดความ โอวี ๗๙ ณพวีร์ ตันติเสวี โอวี ๘๓ ถ่ายภาพ สงกรานต์ ชุมชวลิต

โอวี ๘๓ โอวี ๗๗

anuman-online.com


50

สกู๊ปพิเศษ: ประมวลภาพฉลองแชมป์รักบี้ประเพณี

จบไปแล้วส�ำหรับการแข่งขันรักบีฟ้ ตุ บอลประเพณีครัง้ ที่ ๒๓ ระหว่าง ๒ สถาบัน คูร่ กั คูแ่ ค้นในสนามและมหามิตรตลอดกาลนอกสนาม “วชิราวุธฯ – ราชวิทย์” ทีเ่ รียกได้ ว่าเป็นการแข่งขันรักบีฟ้ ตุ บอลแมตช์ทมี่ ศี กั ดิศ์ รีของสถาบันเป็นเดิมพันและมีดกี รีความ เข้มข้นในการห�่ำหั่นมากที่สุดในวงการรักบี้ฟุตบอลของประเทศไทยเลยทีเดียว ปีนเี้ จ้าภาพอย่างวชิราวุธฯ เราเลือกวันที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ เป็นวันท�ำศึก และ ได้เนรมิตสนามฟุตบอลชั้นน�ำระดับประเทศของทีมเอสซีจี เมืองทองยูไนเต็ด ให้แปลงร่าง  กลายเป็นสนามรักบี้ชั่วคราวให้สองสถาบันได้ลงมาประลองฝีมือกัน ผลการแข่งขัน ทีมวชิราวุธฯ เฉือนชนะทีมราชวิทย์ไปด้วยสกอร์ ๒๗ ต่อ ๒๒ จุด  ปลดล๊อกชัยชนะความแชมป์เป็นครั้งแรกในรอบ ๗ ปี และเป็นแชมป์สมัยที่ ๗ ของทีม วชิราวุธฯ อีกด้วย ทางทีมงานอนุมานวสารขอปรบมือและคารวะเหล่านักกีฬาทุกท่าน ที่ยอมเสียสละ เวลาช่วงเย็นของทุกวัน เพื่อมาท�ำการฝึกซ้อมกันอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย บางท่านแม้จะ มีภาระหน้าที่การงานหรือการเรียนที่ต้องท�ำและต้องรับผิดชอบอย่างมาก แต่ก็แบ่งเวลา  ช่วงเย็นมาซ้อมอย่างพร้อมเพรียงกัน ถือว่าน่าชืน่ ชมสมกับค�ำว่า “อีกรูเ้ สียสละได้ดว้ ยใจงาม” ถ้วยแชมป์ทสี่ ามารถทวงคืนกลับมาได้อย่างยิง่ ใหญ่คงจะท�ำให้นกั กีฬาและกองเชียร์ ทุกท่านหายเหนื่อยกันได้เป็นอย่างดี นวิทธิ์ วิชัยธนพัฒน์ (โอวี ๗๙) ถ่ายภาพโดย ณัฎฐ์ ไกรฤกษ์ (โอวี ๗๒)


anuman-online.com


52

สกู๊ปพิเศษ


anuman-online.com


54 สนามหลั ง ข่าวสารสมาคม วันพฤหัสบดีที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๖ เวลา ๑๖.๐๐ น. สมาคมนักเรียนเก่าฯ และ  วชิราวุธวิทยาลัย ร่วมเฝ้ารับเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ขณะเสด็จออกจากโรงพยาบาลศิริราช เพื่อเสด็จพระราชด�ำเนินแปร พระราชฐานไปประทับ ณ พระราชวังไกลกังวล อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์


วันเสาร์ที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๖ เวลา ๑๑.๓๐ น. สมาคมนักเรียนเก่าฯ จัดการแข่งขัน กอล์ฟ OV Annual 2013 ณ สนามกอล์ฟเพรสซิเดนท์ กรุงเทพมหานคร

anuman-online.com


56

สนามหลัง

วันเสาร์ที่ ๗ กันยายน ๒๕๕๖ เวลา ๐๗.๓๐ น. สมาคมนักเรียนเก่าฯ จัดงานระลึก พระคุณครู ณ หอประชุมวชิราวุธวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร


วันพุธที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๕๖ เวลา ๐๖.๓๐ น. คณะกรรมการสมาคมนักเรียนเก่าฯ ร่วมวางพวงมาลาและถวายบังคม พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในโอกาสวันปิยะมหาราช ณ ลานพระบรมรูปทรงม้า กรุงเทพมหานคร

anuman-online.com


58

สนามหลัง

วันอาทิตย์ที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ เวลา ๑๙.๐๐ น. สมาคมนักเรียนเก่าฯ ร่วมเป็น เจ้าภาพพระราชพิธบี ำ� เพ็ญกุศลสมเด็จพระสังฆราชสกลสังฆปรินายก ณ พระต�ำหนักเพชร วัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร


วันศุกร์ที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ เวลา ๑๓.๐๐ น. สมาคมนักเรียนเก่าฯ นักเรียนเก่า วชิราวุธวิทยาลัย และส�ำนักงานเขตลุมพินี ร่วมกันจัดให้มีกิจกรรมท�ำความสะอาดบริเวณ ลานด้านหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูห่ วั ณ สวนลุมพินี กรุงเทพมหานคร

anuman-online.com


60

สนามหลัง

วันอาทิตย์ที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ เวลา ๑๐.๐๐ น. คณะกรรมการสมาคมนักเรียน เก่าฯ ร่วมพิธีบ�ำเพ็ญกุศลเนื่องในโอกาสคล้ายวันประสูติ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้า เพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เป็นปีที่ ๘๘ โดยมี ม.จ.มงคลเฉลิม ยุคล ทรงเป็น ประธาน ณ พระวิหาร วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพมหานคร


วันจันทร์ที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ เวลา ๐๖.๐๐ น. คณะกรรมการสมาคมนักเรียน เก่าฯ และนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย ร่วมวางพวงมาลาและถวายบังคม ณ พระบรม  ราชานุสาวรียพ์ ระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูห่ วั เนือ่ งในวันคล้ายวันสวรรคตพระบาท สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ ลานพระบรมราชานุสาวรีย์ หน้าหอประชุมวชิราวุธ วิทยาลัย กรุงเทพมหานคร

anuman-online.com


62

สนามหลัง

วันจันทร์ที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ เวลา ๑๐.๐๐ น. คณะกรรมการสมาคมนักเรียน เก่าฯ และนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย ร่วมวางพวงมาลาและถวายบังคม เนื่องในวันคล้าย วันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาท สมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ ณ สวนลุมพินี กรุงเทพมหานคร


วันศุกร์ที่ ๖ ธันวาคม ๒๕๕๖ เวลา ๐๘.๐๐ น. คณะนักรักบีฟ้ ตุ บอล ประเพณีวชิราวุธฯ -  ราชวิทย์ฯ ครั้งที่ ๒๓ เข้ารับพระราชทานเสื้อส�ำหรับการแข่งขัน ณ หอประชุมวชิราวุธ วิทยาลัย กรุงเทพมหานคร

anuman-online.com


64

สนามหลัง

วันเสาร์ที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๕๖ เวลา ๑๖.๐๐ น. สมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยฯ เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันรักบี้ฟุตบอลประเพณีวชิราวุธฯ - ราชวิทย์ครั้งที่ ๒๓ ณ สนาม เอสซีจี เมืองทอง จ.นนทบุรี


วันอังคารที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๕๕๖ เวลา ๐๖.๓๐ น. คณะกรรมการสมาคมนักเรียนเก่าฯ ร่วมวางพวงพุ่มถวายสักการะ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๗ เนื่องใน วันรัฐธรรมนูญ ณ ลานพระบรมราชานุสาวรีย์ รัฐสภา กรุงเทพมหานคร

วันพฤหัสบดีที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๕๖ เวลา ๐๖.๓๐ น. คณะกรรมการสมาคมนักเรียน เก่าวชิราวุธวิทยาลัยฯ จัดการประกวดนางสาวไทย ประจ�ำปี พ.ศ. ๒๕๕๖ ณ โรงละคร  อัษรา คิงพาวเวอร์ กรุงเทพมหานคร

anuman-online.com


66

สนามหลัง

วันอาทิตย์ที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๕๖ เวลา ๑๘.๓๐ – ๒๒.๐๐ น. สมาคมนักเรียนเก่าฯ โดยนักเรียนเก่ารุ่น ๔๔ และ ๔๕ ร่วมกับวชิราวุธวิทยาลัย จัดงาน Sport Day & Home Coming Day 2013 ณ วชิราวุธวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร


วันอาทิตย์ที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๖ เวลา ๐๖.๓๐ น. คณะกรรมการสมาคมนักเรียน เก่าฯ ร่วมตักบาตรถวายพระสงฆ์จ�ำนวน ๔๖ รูป เนือ่ งในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนาวชิราวุธ วิทยาลัย ณ บริเวณลานหน้าหอประชุมวชิราวุธวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร

anuman-online.com


68

สนามหลัง

วันเสาร์ที่ ๑๗ มกราคม ๒๕๕๗ เวลา ๑๖.๓๐ น. คณะกรรมการสมาคมนักเรียนเก่าฯ และคณะกรรมการสมาคมราชวิทย์ฯ ร่วมกันจัดการแข่งขันฟุตบอลกระชับมิตร “วชิราวุธฯ -  ราชวิทย์ฯ มหามิตรตลอดกาล” ณ สนามกีฬาโรงเรียน ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัย จังหวัดนครปฐม


วันพุธที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ เวลา ๑๒.๐๐ น. คณะกรรมการสมาคมนักเรียนเก่าฯ ผู้แทนจาก บริษัท อสมท จ�ำกัด (มหาชน) และผู้ปกครองคณะนางสาวไทย ประจ�ำปี พ.ศ. ๒๕๕๖ ร่วมประชุมและรับประทานอาหารกลางวัน

วันพุธที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ เวลา ๑๓.๐๐ น. นายกสมาคมนักเรียนเก่าฯ ร่วมพิธี มอบต�ำแหน่งทูตวัฒนธรรมและหอการค้าให้กับคณะนางสาวไทย ประจ�ำปี พ.ศ. ๒๕๕๖ โดยมีประธานหอการค้าไทยเป็นผู้มอบต�ำแหน่ง ณ สภาหอการค้า กรุงเทพมหานคร

anuman-online.com


70

สนามหลัง

วันอังคารที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ เวลา ๑๑.๐๐ น. คณะกรรมการสมาคมนักเรียน เก่าฯ และคณะนางสาวไทย ประจ�ำปี พ.ศ. ๒๕๕๖ เข้าพบผูว้ า่ การท่องเทีย่ วแห่งประเทศไทย เพื่อขอบคุณที่ให้การสนับสนุนการจัดประกวดนางสาวไทย


วันเสาร์ที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ เวลา ๑๔.๓๐ น. นักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย  รุ่น ๕๗ - ๘๑ ร่วมกันจัดการแข่งขันฟุตบอลเพื่อหารายได้สนับสนุนกองทุนกตัญญูครู เกษียณอายุ ณ สนามสิงห์ฟุตบอลปาร์ค จ.นนทบุรี

anuman-online.com


72

รายงานพิเศษ

กตัญญูฝังจิต

ติดดวงใจ

การจัดการแข่งขันฟุตบอลกระชับ มิตร “กตัญญูฝงั จิต ติดดวงใจ” เพือ่ หาทุน สนับสนุนค่ารักษาพยาบาลอาการเจ็บป่วย ของ คุณครูขจรศรี ใจดี เป็นการจัดการ แข่งขันขึ้นแบบเฉพาะกิจไม่เป็นทางการ โดยมีวตั ถุประสงค์หลัก คือ รวบรวม น�้ำจิตน�้ำใจและแสดงพลังความสามัคคีของ ชาวโอวี ในการตอบแทนพระคุณครูในยาม ทีม่ ปี ญ ั หาเจ็บป่วย โดยมีนกั เรียนเก่ารุน่ ๖๕ เป็นผูป้ ระสานงานกับครูในการแจ้งข่าวคราว ให้ทราบ และมีนกั เรียนเก่ารุน่ ๖๙ และ ๗๐ เป็นแกนน�ำในการจัดการแข่งขัน ตลอดจน มีตัวแทนนักเรียนเก่าจากรุ่นต่างๆ อาทิเช่น รุ่น ๕๖ รุ่น ๕๗ และรุ่น ๖๑ ได้ร่วมแสดง ข้อคิดเห็นและให้การสนับสนุนในด้านสถาน ที่จัดการแข่งขัน (สนามสิงห์ปาร์ค) เครื่อง ดื่ม ของรางวัล และ สิ่งอ�ำนวยความสะดวก ในด้านต่างๆ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ส�ำหรับการแข่งขันในปีนมี้ ตี วั แทนจา กรุ่นๆต่างได้ส่งทีมเข้าร่วมแข่งขันทั้ง หมด ๒๐ รุ่น และมีผู้เข้าแข่งขันมากกว่า ๓๐๐ คน ประกอบด้วย รุ่น ๕๗, ๖๐, ๖๑, ๖๓, ๖๔, ๖๖, ๖๗, ๖๘, ๖๙, ๗๐, ๗๑, ๗๒, ๗๓, ๗๔, ๗๕, ๗๗, ๗๘, ๗๙, ๘๐ และ

๘๑ อีกทั้งยังมีตัวแทนจากรุ่น ต่างๆที่ไม่ได้ เข้าร่วมการแข่งขันแต่ได้เข้าร่วมกิจกรรม และสมทบทุนในครั้งนี้เพิ่มเติมอีกด้วย เช่น รุ่น ๕๖ และ ๖๒ เป็นต้น ส�ำหรับยอดเงิน สนับสนุนหลังจากการแข่งขันหลังจากหัก ค่าใช้จ่าย ( อาทิ น�้ำแข็ง กรรมการ ของที่ ระลึก และอาหารว่าง) รวมเป็นเงินทั้งสิ้น ๓๒๒,๐๒๐ บาท โดยตัวแทนฝ่ายจัดการ แข่งขันได้นำ� รายได้ทงั้ หมดโอนเข้าบัญชีของ คุณครูขจรศรี ใจดี ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ ที่ผ่าน มา (สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ในทาง OV Facebook) การจัดแข่งขันในครัง้ นีจ้ ะไม่สามารถ ประสบผลส� ำเร็จไปได้เลย ถ้าขาดความ สามัคคีและความกตัญญูจากพี่น้องชาวโอวี ทุกรุ่น ทั้งที่มาร่วมกิจกรรมและไม่มาร่วม กิจกรรม ตลอดจนการสนับสนุ นในด้ าน ต่างๆ จากบริษัท บุญรอดบริวเวอรี โดย พี่เจ๋ง พี่แก่น และจากพี่น้องชาวโอวี จาก สมาคมนักเรียนเก่าฯ ทางตัวแทนของคณะจัดการแข่งขัน ขอกราบขอบพระคุณมา ณ ที่นี้


anuman-online.com


74

ห้องสมุด

คิด

และเขียน

แบบบรรยง

ความฝันในวัยเยาว์เป็นค�ำโปรยที่พี่ เตา หรือ บรรยง พงษ์พานิช (โอวี ๔๔) เขียนเกริน่ เอาไว้ในต้นเล่ม บรรยงเล่าว่าตอน อายุ ๑๐ - ๑๖ ปี เขามีความฝันอยากเป็น ครูและอยากเป็นนักเขียน แต่ชีวิตก็จับพลัด จับผลูไปได้ดีทางด้านตลาดทุนแทน แม้เวลาล่วงเลยผ่านไปหลายสิบปี ความฝันนั้นของเขายังคงอยู่ จนมาถึงวันนี้ วันที่ฝันของเขาเป็น จริงขึ้นมา ด้วยการเขียนหนังสือออกมาสอง เล่มที่มีชื่อว่า “บรรยง พงษ์พานิช คิด” และ “บรรยง พงษ์พานิช เขียน” เนื้อหาข้างในเป็นความคิดที่ลอยอยู่ ในหัว ก่อนจะถูกเรียบเรียงเขียนออกมาเป็น ตัวอักษรด้วยตัวของเขาเอง ถ้ า ให้ เ ปรี ย บหนั ง สื อ สองเล่ ม นี้ กั บ อะไรสักอย่าง ผมอยากให้ท่านผู้อ่านลองนั่ง เล่นๆ ไม่ต้องท�ำจิตใจให้สงบ แต่ขอให้ลอง

ชื่อหนังสือ: “บรรยง พงษ์พานิช คิด” และ “บรรยง พงษ์พานิช เขียน” ผู้เขียน: บรรยง พงษ์พานิช คิดถึงเรื่องเก่าๆ ในอดีตของเราดู เพื่อจะได้ ฟุ้งถึงที่มาของตัวเราในวันนี้ ส�ำหรับผู้อ่านที่ มีอายุเสียหน่อย ก็ลองคิดไปไกลถึงขั้นที่ว่า ความส�ำเร็จของเราในวันนี้ ท�ำให้เราต้องผ่าน อะไรมาบ้าง? อะไรทีเ่ ป็นจุดเปลีย่ นของชีวติ


เรา? ยิ่งคิดก็ยิ่งฟุ้งใช่มั้ยล่ะครับ – หนังสือ ของบรรยงก็เป็นเช่นนี้ เรื่ อ งฟุ ้ ง ๆ ในหนั ง สื อ “บรรยง  พงษ์ พ านิ ช คิ ด ” เป็ น ข้ อ คิ ด เกี่ ย วกั บ เหตุการณ์ในอดีตทีเ่ ป็นจุดเปลีย่ นส�ำคัญของ ชีวิตบรรยง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องกีฬา โรงเรียน ชีวติ การท�ำงาน การบริหารจัดการทรัพยากร บุคคล หรือแม้แต่วิกฤตเศรษฐกิจต้มย�ำกุ้ง ผ่านมุมมองของเขา และกิจกรรมทางสังคม ที่ตนเองเคยเข้าร่วมและลงมือช่วย ส่วนในหนังสือ “บรรยง พงษ์พานิช  เขี ย น” จะเน้ น ไปที่ บ ทวิ เ คราะห์ จ าก ประสบการณ์ ใ นแวดวงตลาดทุ น และ สภาพเศรษฐกิ จ ของประเทศ รวมไปถึ ง การท�ำความเข้าใจปัญหาความเลื่อมล�้ำที่ ส่ ง ผลต่ อ ความแตกแยกทางความคิ ด ใน สถานการณ์ปจั จุบนั ของสังคมไทย ซึง่ บรรยง ได้เขียนออกมาเป็นข้อเสนอส�ำหรับอนาคต ของประเทศไทยได้อย่างน่าคิดฟุ้งตาม เนือ้ หาทัง้ หมดของหนังสือทัง้ สองเล่ม แฝงไปด้วยข้อคิดต่างๆ มากมาย โดยผมจะไม่ ขอเล่าถึงเนื้อหาข้างในอย่างละเอียดนะครับ เพราะทัง้ สองเล่มเป็นหนังสือทีถ่ กู กลัน่ กรอง  มาอย่างดี โดยมีประสบการณ์ของการได้ ลงมือท�ำจริง ซึ่งถ้าได้อ่านด้วยตนเองคงจะ เข้าใจได้ลึกซึ้งกว่าแน่นอนครับ นอกจากนี้เราจะได้เห็นอีกด้วยว่า คนที่ประสบความส�ำเร็จในชีวิตจะมีวิธีการ มองเรือ่ งทีผ่ า่ นเข้ามาทัง้ ดีและร้ายในมุมมอง ที่ต่างออกไป เป็น Mind Set อย่างหนึ่งของ

ชีวิต ซึ่งผมคิดว่าหนังสือทั้งสองเล่มสะท้อน ออกมาได้ดีมาก รูปบนหน้าปกของหนังสือ “บรรยง พงษ์พานิช เขียน” เป็นรูปที่เขานั่งอยู่ใน เสื้อสูท ดูเหมือนนักวิเคราะห์ที่เชี่ยวชาญ น่ า นั บ ถื อ ซึ่ ง สามารถสะท้ อ นเนื้ อ หาเชิ ง วิเคราะห์ในเล่มได้เป็นอย่างดี ส่ ว นบนหน้ า ปกของ “บรรยง  พงษ์พานิช คิด” เป็นรูปบรรยงก�ำลังจับ แขนเสื้ อ เชิ้ ต พั บ ถลกขึ้ น มา ซึ่ ง ตั ว ผมเอง ก็ไม่รู้เหมือนกัน ว่าใจจริงของผู้เขียนหรือ  คนออกแบบหน้าปกต้องการจะสื่ออะไร แต่ ผม (เด็กที่พึ่งด�ำเนินชีวิตมาถึงปีที่ ๔ ใน รั้วมหาวิทยาลัย) ก�ำลังคิดไปถึงเวลามีน้อง ใหม่เข้ามาในมหาวิทยาลัยหรือแม้กระทั่ง  เด็กหนุม่ ทีพ่ งึ่ เข้ามาท�ำงานในบริษทั ก็มกั จะ แต่งตัวด้วยการติดกระดุมทุกเม็ด ใส่เนคไทค์  เสมอและปล่อยแขนเสื้อลงอย่างเรียบร้อย แสดงถึงความเป็นน้องใหม่ของสถานที่นั้นๆ แต่เมื่อเวลาผ่านไป เริ่มมีประสบการณ์มาก ขึ้น ค่อยๆ กลายเป็นพี่ใหญ่ เริ่มพับแขนเสื้อ ขึ้นเพื่อจะได้ลุยงานอย่างเต็มที่ การพับแขนเสื้อขึ้นไม่ได้หมายความ ต้องการละเลยกฎระเบียบแต่อย่างใด แต่ เป็นเพราะประสบการณ์ที่ผ่านมาสอนให้รู้ ว่าเวลาไหนควรท�ำเช่นไร เป็นเหมือนภาพ สะท้อนชีวิตของผู้มีประสบการณ์ เช่นเดี ยวกั บภาพหน้ าปกที่ บรรยง ก�ำลังพับแขนเสือ้ ขึน้ เช่นนัน้ ล่ะครับ ภาสิน ภาวศุทธิกุล (โอวี ๘๒) anuman-online.com


76

กองบังคับการ

สิบนิ้วประนมเหนือเกศ ไหว้ครูวิเศษทั้งน้อยใหญ่

ครูแนะแนว กับโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย

ในฐานะทีผ่ มเองเป็นนักเรียนเก่าฯ ทีศ่ กึ ษามาในสาขาจิตวิทยาการปรึกษา การแนะแนวและการศึกษาพิเศษ หรือก็คือเรียนไปเพื่อเป็นครูแนะแนว จึงขอ อนุญาตอธิบายถึงหน้าที่ บทบาทและความส�ำคัญ ของ “ครูแนะแนว” ที่มีต่อ โรงเรียนของเราได้ ผมจึงขอถือโอกาสนี้ น�ำเรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับครูแนะแนว มาแบ่งปันกัน เริ่มแรกผมคงจะต้องขออธิบายก่อนว่าครูแนะแนวคืออะไร? และมีหน้าที่ อย่างไรบ้าง? ที่ผมจะอธิบายต่อไปนี้ อาจจะออกแนววิชาการเล็กน้อย แต่ก็เพื่อ จะท�ำให้ผู้อ่านทุกๆ ท่าน ที่ไม่เคยเรียนแนะแนวหรือไม่มีโอกาสได้คลุกคลีกับครู แนะแนวมาก่อนจะได้เห็นภาพมากขึ้น


ครูแนะแนวคืออะไร? เอาเป็นว่า เรามารู้จักค�ำว่า “แนะแนว” เสียก่อน “การ แนะแนว” แปลมาจากค�ำในภาษาอังกฤษว่า “Guidance” ซึ่งมีความหมายต่างจากค�ำว่า “การแนะน�ำ - Advice” และต่างจากค�ำว่า “การช่วยเหลือด้วยการสังเคราะห์” ที่ใช้ค�ำ ภาษาอังกฤษว่า “Aid” หรือ “Assistance” ไว้ดังนี้

มีผู้ให้ความหมายของการแนะแนว

การแนะแนว หมายถึง กระบวนการ ทางการศึกษาทีช่ ว่ ยให้ บุคคลรูจ้ กั และเข้าใจ ตนเองและสิง่ แวดล้อม สามารถน�ำตนเองได้ แก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง และพัฒนาตนเอง ได้ตามศักยภาพ ปฏิบัติตนให้เป็นสมาชิก ที่ดีของสังคม การแนะแนวไม่ใช่การแนะน�ำ   อาจกล่าวได้วา่ การแนะแนวเป็นการช่วยเหลือ ให้เขาสามารถช่วยตนเองได้ เช่นนี้แล้วครู แนะแนว จึงมีความส�ำคัญเปรียบเสมือนกับ เพื่อนคู่คิดของนักเรียนในทุกๆ เรื่อง ไม่ว่า จะเป็นเรือ่ งส่วนตัว เรือ่ งการเรียน หรือเรือ่ ง อนาคต จริงๆ แล้วครูแนะแนวจะไม่เหมือน ครูในรายวิชาอื่นๆ เพราะจุดประสงค์ของ ครูแนะแนวคือการให้บริการเด็กทั้ง ๕ ด้าน ซึ่งได้แก่ ๑. บริการศึกษาเด็กเป็นรายบุคคล (Individual Inventory Service) พู ด ง่ายๆ ก็คือ การเก็บรวบรวมข้อมูลเด็กใน ทุกๆ ด้าน โดยเก็บเป็นรายบุคคล เพื่อให้ ครูสามารถรู้จักเด็กแต่ละคนได้อย่างแท้จริง ซึง่ ตรงนีจ้ ะใช้วธิ กี ารเก็บข้อมูลทีห่ ลากหลาย

มาก เช่น การใช้แบบทดสอบ การเขียน อัตชีวประวัติ เป็นต้น ข้อมูลเหล่านี้จะเป็น ข้อมูลที่มีประโยชน์มากในการตัดสินใจช่วย เหลือเด็กหากมีปัญหา ๒. บริการสนเทศ (Information Service) คือ การให้ข้อมูลกับเด็กในด้าน ต่างๆ เช่น ข้อมูลการศึกษาต่อ ข่าวสารที่ หน้าสนใจ โดยส่วนมากจะเป็นการจัดบอร์ด ๓. บริ ก ารให้ ค� ำ ปรึ ก ษา (Counseling Service) นับว่าเป็นหัวใจหลักใน บริการแนะแนว เพราะจะช่วยให้เด็กได้หา ทางแก้ปัญหาของเขา ๔. บริการจัดวางตัวบุคคล (Placement Service) คือการช่วยให้เด็กได้มี โอกาสได้ไปตามทางหรือได้เรียนตามความ เหมาะสมของเด็กคนนั้น ๕. บริการติดตามผล (Follow-up Service) เป็นการตรวจสอบว่าบริการทั้งสี่ ด้านข้างต้นได้ผลหรือไม่ จากบริการทั้ง ๕ ด้านที่กล่าวมานั้น จะเห็นได้ว่าภาระงานของครูแนะแนวนั้น เยอะมาก และจ�ำเป็นต้องมีความรูเ้ ฉพาะด้าน หน�ำซ�้ำยังต้องสอนในวิชากิจกรรมแนะแนว อีกด้วย มาถึงตรงนี้ผมเชื่อว่าหลายๆ คน คงจะเริ่มงงแล้วสิครับ ว่าการแนะแนวเป็น วิชาเรียนด้วยหรือ? แล้วเรียนอะไรกัน? สาเหตุที่วิชากิจกรรมแนะแนวต้อง ใช้ชื่อว่าเป็นกิจกรรม เพราะการเรียนการ สอนส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะที่ออกไปทาง กิจกรรมซะเป็นส่วนใหญ่แทบจะไม่มีการ เลคเชอร์เลย ลักษณะการเรียนจะคล้ายเวลา anuman-online.com


78

กองบังคับการ

เราไป workshop ในหัวข้อต่างๆ ซึง่ การเรียน แนะแนวจะแบ่งเป็น ๓ ด้านหลักๆ คือ ๑. ด้ า นชี วิ ต และสัง คม เป็นการ เรียนเกี่ยวกับทักษะการใช้ชีวิตต่างๆ เช่น การแก้ปัญหา การคบเพื่อน การวางแผน เป็นต้น ๒. ด้านการศึกษา ส�ำหรับนักเรียน ในระดับ ม.ต้น จะเน้นไปที่การแนะแนว เนื้ อ หาและรู ป แบบการเรี ย นในระดั บ ม.ปลาย ว่าเป็นอย่างไร มีรูปแบบใดบ้าง และอาจจะมองระยะยาวไปจนถึงการสอบ เข้ า มหาวิ ท ยาลั ย ส่ ว นนั ก เรี ย นในระดั บ ม.ปลาย จะเป็นการให้ข้อมูลเกี่ยวการเรียน ต่อในระดับมหาวิทยาลัย ว่าแต่ละคณะเป็น อย่างไร และจะต้องเตรียมพร้อมส�ำหรับสอบ อย่างไรบ้าง ๓. ด้านอาชีพ ในด้านนี้จะเน้นให้ นักเรียนได้รู้จักอาชีพในสายต่างๆ และจะ ท�ำอย่างไรให้ได้ประกอบอาชีพนั้น รวมไป ถึงการค้นหาความถนัดของเด็กว่าเหมาะจะ ประกอบอาชีพใด เราจะเห็ น ได้ ว ่ า เนื้ อ หาเหล่ า นี้ ไ ม่ จ�ำเป็นต้องรู้ก็ได้ แต่ถ้ารู้ก็จะมีผลดีต่อชีวิต ของเด็กนักเรียน แต่เด็กส่วนใหญ่มักจะ ไม่สนใจหรอกครับ เนื่องจากวิชากิจกรรม แนะแนวเป็ น วิ ช าที่ ไ ม่ ไ ด้ เ กรด จะมี ก็ แ ต่ นักเรียนชั้น ม.๖ ที่ก�ำลังจะต้องหาทางเดิน ในชีวิตต่อไป คราวนี้ครูแนะแนวมีความจ�ำเป็นต่อ โรงเรียนวชิราวุธฯ อย่างไรบ้าง ก่อนอื่นก็ ต้องบอกเลยว่าโรงเรียนวชิราวุธฯ นั้นก็มี

จุดประสงค์ที่คล้ายคลึงกับโรงเรียนอื่น คือ การผลิตเยาวชนที่มีคุณภาพออกไปสู่สังคม โรงเรียนของเราจะพิเศษหน่อย ตรงที่เพิ่ม ความเป็นสุภาพบุรุษและความสามารถที่ หลากหลายเข้าไปด้วย ซึ่งตรงนี้ผมคิดว่าครู แนะแนวจะสามารถช่วยตอบโจทย์ตรงนี้ได้ ชัดเจนมากขึ้น ผมขออนุญาตใช้มมุ มองในสมัยทีผ่ ม เป็นนักเรียนวชิราวุธฯ มาเล่าให้ฟงั แล้วกันว่า ท�ำไมผมถึงมั่นใจอย่างนั้น สมั ย ที่ ผ มเรี ย นอยู ่ นั้ น ที่ โ รงเรี ย น ไม่มผี เู้ ชีย่ วชาญในต�ำแหน่งครูแนะแนวอย่าง จริงจัง จะมีแต่เพียงครูทา่ นหนึง่ ซึง่ รับผิดชอบ  ท�ำหน้าที่ครูแนะแนวเพิ่มจากการสอนใน วิชาปกติ ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็นการให้ข้อมูล  เกีย่ วกับการศึกษาต่อเท่านัน้ ไม่ได้ให้บริการ ในด้านอื่นๆ ท�ำให้ผมพบว่าเด็กวชิราวุธฯ ส่วนใหญ่  เอาตัวรอดเก่ง ใช้ลักษณะครูพักลักจ�ำเอา


แบบอย่างมาจากรุ่นพี่ ซึ่งท�ำให้การเลือก แผนการเรียนหรือเลือกคณะในมหาวิทยาลัย ก็ ฟ ั ง มาแบบปากต่ อ ปาก บางครั้ ง ข้ อ มู ล ก็ผิดถูกๆ ท�ำให้นักเรียนหลายๆ คนเสีย โอกาสที่ดีไป อย่างเช่น นักกีฬารักบี้ที่วันๆ ก็เอาแต่ตะบี้ตะบันเล่นรักบี้ โดยไม่ใส่ใจ การเรียน เพราะคิดว่ายังไงก็มีโควต้าเอาไว้ ใช้เข้ามหาวิทยาลัยได้อยู่แล้ว แต่ผลกลับ ปรากฏว่าเมื่อถึงเวลายืนคะแนน เกรดดัน ไม่พอที่จะสมัครได้ จึงเสียโอกาสในการเข้า มหาวิทยาลัยไป ผมคิดว่าหากเรามีครูแนะแนว ก็จะ มีคนทีค่ อยเตือนให้เตรียมตัวเตรียมคะแนน ให้พร้อม โอกาสการเรียนในมหาวิทยาลัยก็ จะมีมากขึ้น ผมรู้สึกเสียดายเวลาที่ย้อนกลับไป มองทรัพยากรของโรงเรียน หากมีใครสัก คนมาคอยเตือนให้นักเรียนแต่ละคนรู้ว่า ต้องท�ำอะไรเพื่อจะสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้  เส้นทางชีวิตของนักเรียนหลายๆ คนคงจะ เดินไปได้ไกลกว่านี้ ผมเชื่อว่าโรงเรียนของ เราเป็นโรงเรียนที่สามารถรีดศักยภาพของ เด็ ก คนหนึ่ ง ออกมาได้ ม ากที่ สุ ด เพราะ โรงเรียนเรามีทุกอย่างพร้อม มีกิจกรรมให้ ท�ำมากมาย ขาดแต่เพียงคนที่จะมาคอย ชีน้ ำ� ว่านักเรียนคนไหนควรเตรียมตัวอย่างไร ผมเชื่ อ ว่ า ถ้ า โรงเรี ย นเรามี ค รู แนะแนวที่ บ ริ ก ารแนะแนวได้ ทุ ก ด้ า น เปอร์ เ ซ็ น ต์ ที่ เ ด็ ก วชิ ร าวุ ธ ฯ จะสอบติ ด

มหาวิทยาลัยจะมีมากขึ้นกว่านี้ เพราะผม เชือ่ ว่าเด็กโรงเรียนเราหัวดี แต่ตดิ สบายและ ติดเพื่อนมากไปหน่อยเท่านั้นเอง นอกจากนี้ แ ล้ ว ครู แ นะแนวยั ง สามารถช่วยเป็นที่ปรึกษาทางจิตใจให้กับ นักเรียนหลายๆ คนได้ เด็กจ�ำนวนไม่น้อยที่ เก็บความเครียดไว้กบั ตัวเอง เพราะบางเรือ่ ง ก็ไม่รู้จะไปอธิบายให้ใครฟัง คุยกับเพื่อนก็ อาจจะไม่มีใครเข้าใจ จะบอกพ่อแม่ก็กลัว ว่าจะกลายเป็นเรื่องใหญ่ ถ้าบอกผู้ก�ำกับก็ อาจจะกลายเป็นความผิดอีก หากเรามีครู แนะแนวก็ยงั มีคนทีค่ อยให้นกั เรียนได้เล่าได้ อธิบายความเครียดทีเ่ ก็บไว้ และได้แนวทาง ออกส�ำหรับชีวิตในช่วงนั้น ผมจะรู้สึกดีใจมากๆ หากโรงเรียน  วชิ ร าวุ ธ ฯ ของเราจะมี ผู ้ ที่ ท� ำ หน้ า ที่ ค รู แนะแนวอย่างจริงจังเป็นเรื่องเป็นราว เพื่อ เป็นที่ปรึกษาให้กับชีวิตในปัจจุบันและช่วย ร่างชีวิตในอนาคตให้กับเด็กนักเรียน ซึ่งจะ เป็นอีกหนึ่งแรงที่ช่วยพัฒนาเด็กวชิราวุธฯ ให้ เ ป็ น สุ ภ าพบุ รุ ษ ตามพระประสงค์ ข อง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ ต่อไป พริบ แก่นทับทิม (โอวี ๘๑) หมายเหตุ - ในปัจจุบันนี้ พริบ แก่นทับทิม  เป็ น นิ สิ ต ชั้ น ปี ที่ ๕ คณะคุ รุ ศ าสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในสาขาจิตวิทยา การปรึกษาการแนะแนวและการศึกษาพิเศษ

anuman-online.com


80

หอประชุม

มารยาท

การเชียร์รักบี้ ในระดับสากลโลกเขายึดถือปฏิบัติกัน

ท่ า นบรรณาธิ ก ารอนุ ม านวสารสั่ ง  มาที่ผู้เขียนแบบตั้งใจช่วยเต็มที่ ด้วยการ แนะน� ำ เรื่ อ งที่ จ ะให้ ผู ้ เ ขี ย น เขี ย นมาลง  อนุวสารฉบับนี้ คือ หัวเรือ่ งข้างบนนัน่ แหละ ครับ ผู้เขียนก็เลยต้องก้มหน้าก้มตาค้นคว้า จนหัวฟูเลยละครับ ทั้งๆ ที่ผมบนศีรษะก็ เหลือน้อยเต็มทีอยู่แล้ว ความจริ ง สมั ย ที่ ผู ้ เ ขี ย นเรี ย นอยู ่ ที่ โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย เมื่อต้น พ.ศ. ๒๕๐๐ ก็มักได้ยินเสียงกระแนะกระแหน มาจากโรงเรียนอื่นๆ ว่าพวกเราเชียร์รักบี้ เหมื อ นพระสงฆ์ อ งค์ เ จ้ า เนื่ อ งจากการ เชียร์ของเด็กวชิราวุธฯ สมัยผู้เขียนยังเป็น นักเรียนอยู่นั้น คือการตบมือลูกเดียว ไม่มี เสียงอย่างอื่นนอกจากตบมือ นานๆ ก็จะมี ร้องเพลงบ้างแต่กด็ เู หมือนจะร้องเพลงกันไป

แบบ “วชิราวุธฯ เรา พวกเราเข้าต่อสู้ ศิษย์ มีครู นักกีฬาใจกล้าหาญ ฯลฯ” แบบสุภาพๆ อย่างนั้นแหละ ครั้ น ผู ้ เ ขี ย นไปเรี ย นต่ อ ที่ ส หรั ฐ อเมริกา ๒ ขยัก คือช่วง พ.ศ. ๒๕๑๐๒๕๑๕ ครั้งหนึ่ง และช่วง ๒๕๔๓-๒๕๔๔ อีกครัง้ หนึง่ ก็มโี อกาสสัมผัสกับกีฬายอดฮิต ของอเมริกันชน ซึ่งก็คือ “อเมริกันฟุตบอล” เจ้าอเมริกนั ฟุตบอลนี่ ทีส่ หรัฐอเมริกา  เขาเรียกฟุตบอลเฉยๆ ส่วนฟุตบอลที่คน ทั้งโลกเขาเรียกกันทางอเมริกันเขาเรียกว่า “ซ๊อคเกอร์” ที่เรียกกันอย่างนี้ก็เพราะคน อเมริกนั เป็นพวกตะแบง คือดันทุรงั แบบว่ากู จะเรียกแบบนีแ้ หละ ใครจะท�ำไม? ปรากฏว่า  ก็มีคนเรียกตามอเมริกันก็เยอะเหมือนกัน ทั้งๆ ที่ผิดนี่แหละ


ความจริงค�ำว่าซ๊อคเกอร์มาจากค�ำว่า  “แอสโซซิ เ อชั่ น ฟุ ต บอล” (Association Football) ที่ เ ราเห็ น ตามโล่ ที่ ติ ด อยู ่ ต าม คณะต่างๆ ของโรงเรียนวชิราวุธฯ นั่นเอง คือฟุตบอลที่เตะกันตามกติกาของสมาคม ฟุตบอลของอังกฤษ ซึ่งถือเป็นมาตรฐาน อี ทีนคี้ ำ� ว่าแอสโซซิเอชัน่ มันยาว คนก็เลยเรียก สั้นๆ ว่า “แอสซ๊อค” เท่านั้นแหละเจ้าคน ป่าเถื่อนอเมริกันไม่รู้เหนือรู้ใต้ก็เลยเรียกว่า ”ซ๊อคเกอร์” ส่งไปเลย ส�ำหรับกีฬาอเมริกันฟุตบอลนี้ ว่า กันตามจริงแล้วก็ดัดแปลงมาจากกีฬารักบี้ ฟุตบอลของอังกฤษเหมือนกัน ซึ่งกีฬารักบี้ ฟุตบอลนี่เป็นกีฬาของผู้ดีครับ มีกฎเกณฑ์ แน่นอน เป็นกีฬาสุภาพบุรุษเพราะถ้ากุ๊ยมา เล่นแล้ว ต้องมีการตายกันทุกครัง้ เพราะรักบี้ นั้นเล่นสกปรกเอาเปรียบกันง่าย ถ้าไม่ใช้  ผู้ดีเล่นไม่ได้หรอก

กีฬารักบี้นี้พอมาเผยแพร่ที่อเมริกา ปรากฏว่าพวกอเมริกันรู้สึกมันมีกฎเกณฑ์ มากเกินไป เช่น ลูกต้องส่งไปข้างหลังเท่านัน้ และการแทกเกิ้ล (จับ) ก็ท�ำได้เฉพาะคนที่ ครองลูกเท่านั้น พวกอเมริกันนี่เขาเอามัน เข้าว่าจะส่งลูกไปข้างหน้าจะมันส์กว่า และ การแทคเกิ้ ล นั้ น อยากจะจั บ ใครก็ เ อาเลย ไม่จ�ำเป็นต้องจับเฉพาะคนที่ครองลูก ซึ่งก็ สนุกดีครับ สะใจพวกซาดิสต์ดี แต่คนเล่น ตายกันเยอะนะครับ จนกระทั่งต้องมีเครื่อง ป้องกันตัวทั้งหมวกกันน๊อค สนับแข้ง สนับ หัวไหล่ กระจับ สนับหน้าขา ฯลฯ เวลาไปดู  อเมริกันฟุตบอลในสนามจริงๆ ก็เหมือนดู  วัวชนนั่นเองเสียงปะทะกันดังสนั่นหวั่นไหว ผู ้ เ ขี ย นดู ยั ง ไงก็ ไ ม่ เ กิ ด ความสุ น ทรี ย ์ เ ลย แม้แต่น้อย แต่ก็ชอบดูครับ อเมริ กั น ฟุ ต บอลนี่ น ่ ะ ถ้ า ไปดู ใ น สนามก็ยิ่งสนุกกันใหญ่เลย เพราะผู้เขียน มัวดูแต่พวกสาวๆ เชียร์ลีดเดอร์ เขาเชียร์

anuman-online.com


82

หอประชุม

กันเก่ง สวยและน่ารักจริงๆ มีการตีลังกา มีการต่อตัวขึ้นไปสูงๆ ยังกับสิงห์โตตรุษจีน มีการยุบตัวลงเอาขาขนานกับพื้น แอ่นตัว เข้าจังหวะ ฯลฯ โอย! น่าดูทั้งนั้น บางทีดู จนฟุตบอลเลิกก็ยังไม่รู้ว่าใครชนะเลยครับ ส่วนการถ่ายทอดอเมริกันฟุตบอล โดยเฉพาะอเมริ กั น ฟุ ต บอลอาชี พ (การ ถ่ า ยทอดสดการแข่ ง ขั น อเมริ กั น ฟุ ต บอล ในระดั บ มหาวิ ท ยาลั ย ก็ มี เ ยอะครั บ แต่ ไม่ ค รอบคลุ ม ทั่ ว ประเทศเท่ า การแข่ ง ขั น อเมริกันฟุตบอลอาชีพ) ที่ว่าชิงแชมป์โลก ซึ่ ง ความจริ ง ก็ ชิ ง กั น เองในอเมริ ก านี่ เ อง เพราะไม่มีประเทศไหนเขาเล่นด้วย งานนี้ เป็นงานใหญ่ครับ คนอเมริกนั ดูท.ี วี. กันมาก ทีส่ ดุ ก็รายการนีแ้ หละครับ ทีผ่ เู้ ขียนชอบดูก็ เพราะรายการซุปเปอร์โบลว์นี้จะมีโฆษณา ใหม่เอี่ยมออกมา เป็นโฆษณาที่น่าดู ทั้ง  น่าสนุก มีศิลปะและแง่คิดทั้งนั้นเลยครับ บอกจริ ง ๆ ดู โ ฆษณาสนุ ก กว่ า ดู ฟุ ต บอล  เสี ย อี ก ส่ ว นบ้ า นเราดู โ ฆษณาทางที . วี .  มากๆ เผลอๆ จะปัญญาอ่อนไปเลย ที่มหาวิทยาลัยที่ผู้เขียนเคยไปเรียน เมื่อ ๑๐ กว่าปีก่อนนั้น คือมหาวิทยาลัย  อลาบามา ที่นี่มีอาชีพพิเศษอย่างหนึ่ง มี ก� ำ ไรเป็ น กอบเป็ น ก� ำ ดี คือพวกนัก เรียน นั ก ศึ ก ษาของมหาวิ ท ยาลั ย มี สิ ท ธิ์ ซื้ อ ตั๋ ว ดู ฟุตบอลได้ในราคาใบละ ๕ เหรียญ แล้ว พวกนี้จะเอาไปขายต่อ เห็นขายได้ราคาดีๆ บางทีก็ขายได้ถึง ๑๐๐ เหรียญก็มี ไม่เชื่อก็ ต้องเชือ่ แล้วก็เรือ่ งโบกรถเก็บค่าจอดรถทีน่ ี่

ก็มีครับ เห็นแล้วก็แปลกใจ นึกว่ามีแต่ที่ เมืองไทยเท่านั้น ความจริงก็จะเขียนเกีย่ วกับมารยาท การเชี ย ร์ รั ก บี้ ร ะดั บ สากลโลกเขายึ ด ถื อ ปฏิบัติกัน แต่เรื่องการเชียร์แบบเป็นงาน เป็นการเป็นเรื่องเป็นราวนี่ทางอเมริกันเขา เริ่มก่อน อย่างว่าแหละครับพวกโลกใหม่ พวกอพยพก็ต้องหาอะไรแผลงๆ ใหม่ๆ มา เล่นกันไม่เหมือนพวกโลกเก่าอย่างอังกฤษ ยุโรปที่จะช้ากว่าบ้าง แต่พวกคนอังกฤษนี่ จริงๆ ก็แผลงเงียบๆ เหมือนกันแฮะ การเชียร์ก็ต้องมีคนเริ่ม คนน�ำซึ่ง ทีแรกก็เป็นการน�ำด้วยการรวมกันตะโกน เสียงดังเรียกชือ่ ทีมจากทีน่ งั่ ชมบนอัฒจันทร์ นัน่ แหละ ซึง่ ในประวัตศิ าสตร์จารึกว่าเริม่ ขึน้ ครัง้ แรกในการแข่งขันอเมริกนั ฟุตบอลระดับ มหาวิทยาลัยระหว่าง มหาวิทยาลัยปริน๊ สตัน กับ มหาวิทยาลัยรัตท์เจอส์ ในรัฐนิวเจอร์ซยี  ์ เมือ่ พ.ศ. ๒๔๑๒ โดยเสียงเชียร์กเ็ ป็นแบบนี ้ ครับ “ร่าห์, ร่าห์, เร่ย!์ ไทเกอร์, ไทเกอร์, ซิส, ซิส! บูม, บูม, บูม! อ้าาาค! ปริน๊ สตัน, ปริ๊นสตัน, ปริ๊นสตัน! ในพ.ศ. ๒๔๒๗ นั ก ศึ ก ษาจาก  มหาวิ ท ยาลั ย ปริ๊ น สตั น คนหนึ่ ง ชื่ อ นาย โทมั ส พี บ เบล ได้ ม าเป็ น อาจารย์ ท ี่ มหาวิทยาลัยมินเนโซตา ซึง่ อยูท่ างภาคตะวัน ตกกลางของสหรัฐอเมริกา ก็นำ� วิธกี ารเชียร์ แบบปริ๊นสตันมาเผยแพร่ให้กับทีมฟุตบอล อเมริ กั น ของมหาวิ ท ยาลั ย มิ น เนโซตา


ซึ่งก็ได้ขยายมาถึงการเชียร์กีฬารักบี้ฯ ซึ่ง เป็นต้นแบบของอเมริกันฟุตบอลนั่นแหละ ในปีเดียวกันนัน้ เองโดยทีมของมหาวิทยาลัย  มิน เนโซตาน� ำ โดยนั ก รั ก บี้ ฯ ๒ คน คือ  นายจอห์น ดับเบิล้ ยู. อาดัม กับ นายวิน ซาเจ้นท์  ได้สร้างค�ำตะโกนปลุกใจของทีมรักบี้ฯ ของ มหาวิทยาลัยมินเนโซตาด้วยเสียงปลุกใจ ภาษาอินเดียแดงเผ่าซูส์ เวลาบุกเข้าโจมตี ยามสงครามว่า “สกี” ซึ่งแปลว่าชัยชนะ เป็นค�ำน�ำ และเติมค�ำว่า “อู-หม่าห์” ซึ่งเป็น  ค� ำ แสลงแทนชื่ อ มหาวิ ทยาลัยมินเนโซตา แทนค�ำให้จังหวะ “ราห์, ร่าห์, ร่าห์ เป็น “สกี–ยู–หม่าห์!” ดังนั้นตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๓๒ เป็นต้น ไป บรรดามหาวิ ท ยาลัยและโรงเรียนทั่ว สหรัฐอเมริกาก็ตงั้ กองการเชียร์กฬี าทุกชนิด อย่างจริงจังมีทั้งเพลงและเชียร์ลีดเดอร์ ซึ่ง แรกๆ ก็มีทั้งผู้ชายผู้หญิงเป็นเชียร์ลีดเดอร์ แต่ต่อมาพวกเชียร์ลีดเดอร์ผู้ชายก็หายหัว  ไปหมดเพราะไม่มใี ครอยากดูอยากเชียร์ มัน ผิดฝาผิดตัวอย่างว่า ส่วนเชียร์ลดี เดอร์ผหู้ ญิง ก็ต้องท�ำงานหนักแบบว่าเสียงดี ตะโกนดัง  เสียงเท่านั้นก็ยังไม่พอต้องแต่งตัวให้สวย รัดกุม เพราะต้องกระโดดโลดเต้นต่อตัว ยุบตัวสารพัด แบบว่าเชียร์ลีดเดอร์นี่ต้อง สวย ต้องแข็งแรง ต้องเสียงดีและต้องเก่ง ยิมนาสติก ส�ำหรับแบบยืนตัวตรงพับแขน ไปมาอย่างเชียร์ลีดเดอร์ที่ผู้เขียนเคยเห็นที่ บ้านเราสมัยก่อนละก็โดนโห่ไล่เข้าป่าไปเลย

อี ที นี้ ข อเน้ น การเชี ย ร์ รั ก บี้ ฯ ว่ า ที่ แคว้นเวลส์นั้น กองเชียร์ทีมรักบี้ฯ ของ เวลส์เริ่มก่อนด้วยการตะโกนพร้อมๆ กันว่า  “อ๊อกกี้ อ๊อกกี้ อ๊อกกี้!” แล้วพวกบ้ากีฬา ออสเตรเลียก็เชียร์ว่า “อ๋อย อ๋อย อ๋อย!” ส่ ว นพวกบ้ า รั ก บี้ นิ ว ซี แ ลนด์ โ ดยเฉพาะ  ทีมออล แบล๊คก็ใช้เสียงเมารี ฮากกาที่พวก เรารู้จักกันดี ส่วนเพลงเชียร์รกั บีฯ้ นัน้ คนอังกฤษ เริ่มก่อนด้วยเพลง Swing Low, Sweet Chariot ซึง่ เป็นทีน่ ยิ มมาก แต่การเชียร์ดว้ ย เพลงก็มีกันทุกทีม ทุกประเทศแหละครับ แต่เอาเข้าจริงๆ มันไม่ค่อยมันเท่าตะโกนก็ เลยร้องเพลงเชียร์กันน้อยครับเทียบกับการ แหกปากตะโกนเชียร์กนั จะมันส์กว่าอย่างว่า ไอ้การแหกปากตะโกนเชียร์ตามใจ ชอบนี่ แ หละครั บ มั น ก็ ม าถึ ง เรื่ อ งมารยาท การเชียร์รักบี้ระดับสากลโลกที่เขายึดถือ ปฏิบตั กิ นั ซึง่ รากฐานก็มาจากความเชือ่ หรือ ปรัชญาของการมองการแข่งขันกีฬาว่ายึดถือ ปรัชญาความเชื่อแบบไหน ซึ่งมีอยู่ ๒ แบบ ใหญ่ๆ คือ ๑) แนวความคิดของ บารอนปีแยร์ เฟรดี บารง เดอ กูแบร์แต็ง ชาวฝรั่งเศส  ผูเ้ ป็นทีร่ จู้ กั ในฐานะของผูก้ อ่ ตัง้ กีฬาโอลิมปิก สมั ย ใหม่ แ ละเป็ น ผู ้ ก ่ อ ตั้ ง คณะกรรมการ โอลิมปิกสากล เขามีค�ำพูดประโยคที่เป็นที่ รู้จักแก่คนทั่วไปคือ “The important thing is not to win, but to take part.” แปลว่า  “สิ่งที่ส�ำคัญไม่ใช่การเอาชนะ แต่การมี anuman-online.com


84

หอประชุม

ส่วนร่วมในการเล่นกีฬาต่างหากที่ส�ำคัญ” ซึ่ ง เป็ น แนวความคิ ด แบบเดี ย วกั บ นาย  แกร๊นท์แลนด์ ไร๊ซ์ ผูส้ อื่ ข่าวกีฬาผูท้ รงอิทธิพล  ในสหรัฐอเมริการะหว่างปี พ.ศ. ๒๔๖๗– ๒๔๙๗ โดยเขียนปรัชญาการแข่งขันกีฬา ไว้ว่า “It’s not that you won or lost but how you played the game.” แปลว่า “มันไม่สำ� คัญหรอกว่าใครแพ้หรือชนะ แต่ ส�ำคัญทีว่ า่ เราเล่นกีฬาอย่างไรต่างหาก” ซึง่ นายแกร๊นท์แลนด์ ไร๊ซ์ ได้เขียนโคลงที่เป็น สัญลักษณ์ของปรัชญาในการเชียร์กีฬาที่ถูก อ้างถึงเสมอว่า “For when the One Great Scorer comes To mark against your name, He writes – not that you won

or lost – But how you played the Game.” (from the poem “Alumnus Football”) หมายความว่า เมื่อถึงวันตัดสินครั้ง สุดท้าย (วันล้างโลก, วันตัดสินครั้งสุดท้าย ของพระเจ้า) ที่พระผู้เป็นเจ้าจะพิพากษาว่า เราจะได้ขึ้นสวรรค์หรือลงนรกนั้น พระองค์ ไม่ได้ตัดสินว่าเราชนะหรือแพ้ มันไม่ส�ำคัญ หรอกว่ า ใครแพ้ ห รื อ ชนะแต่ ส� ำ คั ญ ที่ ว ่ า เราเล่นกีฬาอย่างไรต่างหาก (เรามีน�้ำใจ นักกีฬาหรือเปล่า? ต่างหากที่ส�ำคัญ) ส�ำหรับตัวอย่างของคนที่มีน�้ำใจเป็น นั ก กี ฬ าคงไม่ มี ใ ครเกิ น พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว ฯ ของปวงชนชาวไทยดั ง ตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมดังนี้


“ครัง้ หนึง่ ทรงเรือใบออกจากฝัง่ ไป ได้ไม่นานก็ทรงแล่นกลับฝัง่ และตรัสกับผู้ ทีค่ อยมาเฝ้าฯ ว่า เสด็จฯ กลับเข้าฝัง่ เพราะ เรือแล่นไปโดนทุ่นเข้า ซึ่งในกติกาการ แข่งเรือใบถือว่าฟาวส์ ทั้งๆ ที่ไม่มีใครเห็น แสดงให้เห็นว่าทรงยึดกติกามากแค่ไหน” ๒) แนวความคิดแบบอเมริกันโดย นายเฮนรี อาร์. แซนเดอร์ โค้ชอเมริกัน ฟุตบอลของทีมมหาวิทยาลัย ยู.ซี.แอล.เอ. กล่าวต่อนักฟุตบอลของเขาว่า “ ‘Men, I’ll be honest. Winning isn’t everything,’ then following a long pause, ‘Men, it’s the only thing!’ “ซึง่ ได้เป็นค�ำกล่าวทีฮ่ ติ จน เป็นปรัชญาการแข่งขันกีฬาของคนอเมริกัน เลยว่า “Winning isn’t everything, it’s the only thing!” หมายความแบบพาก์ไทย ชัดๆ เข้าใจง่ายๆ คือ “เล่นกีฬาแล้ว หากไม่ เอาชนะ จะเล่นไปท�ำไม?” ครับ! ตกลงจากการค้นคว้าหาข้อมูล จนเหงื่อตกในฤดูหนาวที่หนาวจริงๆ ครั้ง นี้ ก็ได้บทสรุปได้ว่าการเชียร์กีฬาไม่เฉพาะ

แต่รักบี้ฯ นั้น ทั่วโลกก็มีทั้งการเชียร์แบบ พระ กับการเชียร์แบบฮู๊ดลัม (ตามแบบ แฟนบอลอังกฤษที่เลื่องเชื่อ) ตลอดจนการ ผสมผสานของการเชียร์ของทั้ง ๒ แบบนี้ นั้นมาจากปรัชญาความเชื่อทั้ง ๒ แบบที่ว่า ไปแล้ว คงหามารยาทการเชียร์รักบี้ฯ ตาม แบบมาตรฐานที่สากลโลกปฏิบัติกันได้ แต่ อย่างน้อยก็รู้ก็เข้าใจว่าใครเชียร์อย่างไร? เพราะอะไร? ได้บ้าง? ถึงอย่างไรก็ตามเนื่องจากกีฬารักบี้ ฟุ ต บอลนั้ น โดยธรรมชาติ แ ล้ ว เป็ น กี ฬ า ผู้ดีเพราะว่าเล่นสกปรกได้ง่าย หากไม่ใช่ ผู ้ ดี แ ล้ ว เล่ น ไม่ ไ ด้ ห รอกเพราะมั น ถึ ง ตาย เหมื อ นดั ง ชาวอเมริ กั น เอาไปเล่ น จนต้ อ ง ดั ด แปลงให้ มี เ ครื่ อ งป้ อ งกั น ตั ว ครบครั น  เหมือนกับลงไปในสนามรบมากกว่าสนาม กีฬา ดังนั้นเท่าที่ได้สังเกตมาจะเห็นว่าการ เชี ย ร์ รั ก บี้ ฯ ส่ ว นใหญ่ เ ราจะเน้ น ความ เป็ น ผู ้ มี น�้ ำ ใจนั ก กี ฬ ากั น มากว่ า แบบที่ (๑) ครับ รศ.ดร.โกวิท วงศ์สุรวัฒน์  (โอวี ๓๙)

ติดตามผลงานและร่วมพูดคุยกับ อ.โกวิท บน facebook ได้ที่ official fanpage: โกวิท วงศ์สุรวัฒน์

รศ.ดร.โกวิท วงศ์สุรวัฒน์ เป็นอาจารย์อาวุโสของ ภาควิ ช ารั ฐ ศาสตร์ แ ละรั ฐ ประศาสนศาสตร์ คณะ สั ง คมศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย เกษตรศาสตร์ คอลั ม นิ ส ต์ หนังสือพิมพ์มติชน และเป็นบิดาของ จอห์น วิญญู พิธีกร รายการเจาะข่าวตื้นทางเว็บไซต์ spokedarktv.com (ข้อมูลจาก official fanpage: โกวิท วงศ์สุรวัฒน์)

anuman-online.com


86

บทความพิเศษ

ข้อเสนอแนะ

ในการปรับปรุง

ทีมรักบี้วชิราวุธวิทยาลัย (Good Rugby Culture)

ข้อเสนอนีเ้ ป็นข้อเสนอส�ำหรับทุกฝ่ายทัง้ ผูเ้ ล่น, ผูฝ้ กึ สอน, ผูค้ วบคุมทีม ควรตระหนัก แล้วน�ำไปปฏิบัติ สิ่งที่นี้เป็นสิ่งที่เคยมี เคยปฏิบัติมาแล้วในอดีต แต่ปัจจุบันขาดการอบรม ท�ำความเข้าใจ และปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ๑) ความมีน�้ำใจนักกีฬาทั้งนอกและในสนาม (Good Sportsmanship) สุภาพ หนักในเกมส์ ไม่เอาเปรียบคู่แข่งขัน ไม่มุ่งท�ำร้ายคู่แข่งขัน รู้แพ้ รู้ชนะ ยอมรับผลการแข่งขัน ไม่แสดงอาการดีใจจนเกินพอดีเมื่อชนะ ไม่แสดงอาการท้อถอยเสียใจเมื่อพ่ายแพ้ ไม่ควรจะร้องไห้เมื่อพ่ายแพ้ ถ้าพยายามตั้งใจอย่างเต็มที่ ก็ไม่ควรจะเสียใจ (เพราะได้พยายามอย่างถึง  ที่สุดแล้ว) ถ้าไม่ตงั้ ใจอย่างเต็มที่ ก็ตอ้ งกลับไปทบทวนข้อผิดพลาดแล้วตัง้ ใจให้ดใี นครัง้ ต่อไป ๒) การเตรียมพร้อมที่ดี (Good Preparation) ท�ำความเข้าใจเกมส์ก่อนแข่งขัน อย่างมีระบบ เตรียมพร้อมทั้งร่างกาย และจิตใจ สรุปข้อผิดพลาดภายหลังแข่งขัน (ในวันรุ่งขึ้น) ไม่ใช้วธิ ตี ะโกนสอนข้างสนาม ปล่อยให้ทกุ อย่างในสนามเป็นหน้าทีข่ องกัปตัน


๓) การให้ความเคารพ (Respective) เคารพผู้ฝึกสอน (Coach) เชื่อฟังปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เคารพผู้ตัดสิน (Referee) ไม่โต้เถียง ด่าท่อ ซึ่งเป็นมารยาทที่ไม่ดี เคารพคู่แข่งขัน (Opponent) เล่นให้เต็มที่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะอ่อนหรือ  แข็งกว่า เคารพเพื่อนร่วมทีม เสียสละ มีวินัย ไม่กินแรงเพื่อน เคารพตัวเอง สร้างวินัยในตัวเอง เตรียมพร้อมตัวเองให้ดีที่สุดเพื่อทีม ๔) การเป็นเจ้าภาพ (ทีมเหย้า) ที่ดี (Good Host) ควรจะมี After Match Function หรืออย่างน้อย น�้ำดื่ม, ขนม, อาหารว่าง หลังแข่งขัน การเป็นเจ้าภาพที่ดีแสดงถึงความมีน�้ำใจ ฯลฯ (ถ้าทีมจะชนะ ต้องชนะ  ทุกอย่าง ทั้งวิธีการเล่น วิธีการคิด วิธีปฏิบัติ) “เพราะเราไม่มีทางรู้ว่า นักกีฬาคนใดคนหนึ่งในวันนี้ อาจจะ กลายมาเป็นผู้ฝึกสอนหรือ ผู้ดูแลทีมในอนาคต ดังนั้นการ สร้างแนวทางการปฏิบัติที่ดี การสร้างทัศนคติที่ดีจะท�ำให้ทีม เจริญเติบโตต่อเนื่องอย่างยั่งยืน และสามารถน�ำสิ่งที่ปฏิบัติ ไปใช้กับชีวิตจริงในอนาคตของเขา” ๕) ความรับผิดชอบ (Responsibility) การปฏิบัติตามหน้าที่ๆ ได้รับมอบหมายจากผู้ควบคุมทีมและโค้ช การสร้างส�ำนึกหน้าที่ความรับผิดชอบ ๖) การสร้างบรรทัดฐาน (Benchmark) ทั้งการเล่นและการปฏิบัติตน นักกีฬาต้องเป็นตัวอย่างที่ดีแก่รุ่นน้อง การฝึกให้ผู้เล่นเป็นผู้สอน และกรรมการ (โดยจะต้องศึกษาอย่างจริงจังใน ข้อกติกา) เพือ่ ท�ำให้เกิดทักษะการเรียนรูแ้ ละถ่ายทอด (อย่างถูกวิธ)ี ซึง่ การด�ำเนินการ ในลักษณะนี้ จะช่วยพัฒนาศักยภาพของผู้เล่นในอนาคต ซึมซาบเข้าไปเป็น ระบบความคิด การตระหนัก กลายเป็นสัญชาตญาณ และมีสว่ นส�ำคัญอย่างยิง่   ในการพัฒนาวุฒิภาวะ นครา นาครทรรพ (โอวี ๖๐) anuman-online.com


88

บทความพิ​ิเศษ ๑

ผู้ฝึกสอน  สรุปการสนับสนุน

ให้แก่โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย

ภายใต้การสนับสนุนจากสมาคมรักบี้ฟุตบอลญี่ปุ่น (Japan Rugby Football Union) โดยวิธีพิเศษ โค้ชอาสาสมัคร (Volunteer Coach)

๑) ประวัติของโค้ช (Coach Profile) Name: Mr.Tetsuhiro Onaka Age: 33 years Education: Department of Sport Science, Nippon Sport Science University, Tokyo, Japan Akiminami High School, Hiroshima, Japan Qualification: Rugby Football Coaching License - C Class Authorized by Japan Sports Association Coaching Experience: Japan National Team Under 19 – World Championship (Position: Technical  Coach) Ryutsu Kaizai University, Ibaraki, Japan (Position: Coach) Kashiwa High School, Chiba, Japan (3 years consecution Quarter Finalist from 1,000 Schools, Position: Coach)


๒) การติดต่อประสานงานเพื่อให้ได้โค้ช (ด�ำเนินการประสานงานระหว่างวันที่ ๑๐   ตุลาคม ๒๕๕๕ ถึง ๒๖ มีนาคม ๒๕๕๖) คณะผู้ประสานงานฝ่ายไทย: นายอดิศักดิ์ เหมอยู่ Mr.Shimomaehara Takashi นายนครา นาครทรรพ นายณัฐพล เหมอยู่ คณะผู้ประสานงานฝ่ายญี่ปุ่น: Mr. Tatsuzo Yabe (Chairman of Japan Rugby Football Union, International Rugby Board Council Member & Executive Committee) Mr. Koji Takamasu (International Rugby Board - Japan Representative, General Manager Rugby World Cup 2019) Mr. Yuichi Ueno (Chairman of HP Committee - Japan Rugby Football Union, Project Manager Asia Scrum Project – JICA) Mr. Ryuji Nakatake (Coaching Director - Japan Rugby Football Union)

anuman-online.com


90

บทความพิเศษ ๑

๓) ผลงานของ Mr.Tetsuhiro Onaka (เริ่มงาน มิถุนายน ๒๕๕๖) ชนะเลิศทีมโรงเรียนอายุไม่เกิน ๑๕ ปี ชนะเลิศทีมโรงเรียนอายุไม่เกิน ๑๗ ปี รองชนะเลิศทีมโรงเรียนอายุไม่เกิน ๑๙ ปี ชนะเลิศรักบี้ประเพณี วชิราวุธฯ - ราชวิทย์ ครั้งที่ ๒๓ หมายเหตุ ๑. มีเวลาในการเตรียมทีมนักเรียนทัง้ ๓ รุน่ ประมาณ ๕ สัปดาห์ ภายใต้การจัดการ แข่งขันที่ถูกเอารัดเอาเปรียบทุกทาง ๒. ในปี ๒๕๕๕ ทีมวชิราวุธฯ แพ้ทั้ง ๔ ทีม ๔) การตรวจสอบและวัดผล Mr.Tetsuhiro Onaka ด�ำเนินการโดย Mr.Masatoshi Mukoyama ครั้งที่ ๑ วันที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๕๖ โดยการสัมภาษณ์ หัวหน้าทีมและรองหัวหน้า ทีม รุ่นอายุไม่เกิน ๑๕, ๑๗ และ ๑๙ ปี ครั้งที่ ๒ ระหว่างวันที่ ๒๓ สิงหาคม ถึง ๑๙ กันยายน ๒๕๕๖ โดยให้นักกีฬา ทุกคนกรอกแบบสอบถาม ครั้งที่ ๓ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากนายนครา นาครทรรพ อีก ๙ ข้อ ๕) ความคิดเห็นของ Mr.Tetsuhiro Onaka ๕.๑ โรงเรียนจริงจังขนาดไหนกับกีฬารักบี้? ที่ผ่านมาการฝึกซ้อมไม่เป็นไปตามตารางเวลาตามที่ตกลงกันไว้ ไม่มีการ ก�ำหนดเวลาที่แน่นอนให้กับเด็ก เด็กไม่มาฝึกซ้อมตามเวลาตามที่ตกลงกัน ไว้ ถ้าไปแข่งกีฬาให้คณะนั้นรับได้ เพราะท�ำเพื่อส่วนรวม แต่ถ้าไปเล่นกีฬา ประเภทอืน่ และเล่นอย่างไม่จริงจัง หลีกเลีย่ งการมาซ้อมเพราะไม่อยากเหนือ่ ย นั้น รับไม่ได้ ไม่มีการประสานงานระหว่างโรงเรียนกับเด็ก โรงเรียนพอใจกับสิ่งที่เป็นอยู่ (แค่ชนะโรงเรียน ภ.ป.ร.)? ถ้าใช่ ถ้าพอใจ จะได้ก�ำหนดการซ้อม ตารางซ้อมให้ลดลง เพื่อเอาเวลาไปท�ำอย่างอื่นที่เป็น ประโยชน์


๕.๒ เด็กขาดวินัยในตนเอง โค้ชมีหน้าที่ ชีแ้ นะสอนกีฬา ดึงศักยภาพของเด็กให้ออกมามากทีส่ ดุ แต่ โค้ช ไม่มีหน้าที่ลงโทษเด็ก ทางโรงเรียนต้องกวดขัน (ช่วยๆ กันทุกฝ่าย ให้เด็ก มีวินัยในตัวเอง) การขาดวินัยจะน�ำมาซึ่งปัญหาต่อเนื่อง รวมถึงส�ำนึกการ  เสียสละเพื่อส่วนรวม เป็นผลเสียต่ออนาคตของโรงเรียน ถ้าเด็กมีวินัย มาตรฐานกีฬารักบี้ของโรงเรียนจะดีมากกว่านี้อีกหลายเท่า ๕.๓ เด็กชอบเล่นรักบี้ แต่ขี้เกียจซ้อม เป็นปัญหา เพราะถ้าไม่ตั้งใจ การรับรู้ก็จะได้ไม่เต็ม ๑๐๐ เปอร์เซนต์ ๕.๔ วัฒนธรรมกีฬารักบี้ของโรงเรียนวชิราวุธฯ เข็มงวดน้อยเกินไป ไม่เหมือนกับทีเ่ คยได้ยนิ มา (จากนักกีฬาเก่าๆ ของญีป่ นุ่ ) ทัศนคติการปฏิบตั ิ ตัวที่ดีต้องเริ่มจากเด็ก ๕.๕ การน�ำโค้ชมาช่วยท�ำให้รักบี้ดีนั้นเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ โปรดอย่าติดยึดที่ตัวบุคคล เพราะวันหนึ่งเขา (Mr.Tetsuhiro) ก็ต้องไป คุณ (วชิราวุธวิทยาลัย) ควรจะสร้างระบบ ๕.๖ ทีมรักบี้ที่ก�ำลังเตรียมตัวไปแข่งขันที่เชียงใหม่กับโรงเรียน Prince Royal มีความตั้งใจซ้อมดีมาก มีจุดมุ่งหมาย มีความมุ่งมั่น มีความตั้งใจ เสียสละ เวลา และทุ่มเท (น่าชื่นชม) ๕.๗ การสนับสนุนจาก JRFU ไม่ใช่เรื่องยาก ทางญี่ปุ่นพร้อมให้การสนับสนุน แต่พวกคุณ (วชิราวุธวิทยาลัย) ก็ต้องพร้อมด้วย มิฉะนั้นจะเป็นการเสียเวลา และทรัพยากรต้องมีผู้ที่จะเรียนรู้อย่างจริงจัง มิฉะนั้นก็จะไม่เกิดประโยชน์

anuman-online.com


92

บทความพิเศษ ๑ โดยขณะนี้มีแผนอย่างไม่เป็นทางการว่าจะส่งโค้ชมาช่วยอีก โดยมีโครงสร้าง การดูแลทีมดังนี้ รุ่นอายุไม่เกิน ๑๙ ปี: Tetsuhiro Onaka รุ่นอายุไม่เกิน ๑๗ ปี: Forward Coach รุ่นอายุไม่เกิน ๑๕ ปี และ มินิรักบี้: Coach ที่เน้น Basic Skill

๖) ความเห็นและข้อเสนอแนะของคณะผู้ประสานงาน ๖.๑ ทุกๆ ฝ่ายทีเ่ กีย่ วข้องควรกวดขันให้เด็กทีม่ าเล่นรักบีม้ คี วามตัง้ ใจมากกว่านี้ เพราะ ความไม่เต็มที่จะมีผลต่อ Key Performance Indicator ของ Tetsu ด้วย (JRFU มีการตรวจสอบและวัดผลตลอดเวลา) ๖.๒ Tetsu ได้ตงั้ แนวทางทีจ่ ะมีอาชีพเป็นโค้ช ดังนัน้ ย่อมต้องการความเจริญก้าวหน้า ในหน้าที่ ถ้าเรา (ทีมวชิราวุธฯ) ไม่ตั้งใจก็เสมือนว่าเราได้ท�ำลายอนาคตเขาด้วย ๖.๓ JRFU ได้พิจารณาและให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ในการจัดหาโค้ชที่มีคุณภาพ มาให้แก่โรงเรียน ถ้าเรา (ทีมวชิราวุธฯ) ไม่ตั้งใจ เหยาะแหยะ พฤติกรรมที่  ไม่ดีก็จะเป็นที่รับรู้ต่อ JRFU ด้วย ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อโรงเรียน (ต่อไปก็อาจไม่มี ผู้สนใจ มาเป็นโค้ชที่โรงเรียน) หมายเหตุ การสนับสนุนโค้ชนั้น ได้รับความสนับสนุนจาก JICA ซึ่งอาจจะสนับสนุน ให้สถาบันใดก็ได้ ๖.๔ ควรจะมีการบันทึกทุกๆ อย่างในการสอนของ Tetsu อย่างเป็นระบบ ๖.๔.๑ เรียนรู้วิธีการสอน จิตวิทยาในการสอน ๖.๔.๒ เรียนรู้เหตุผลในการคิด เหตุผลในการสอน ๖.๔.๓ เรียนรู้วิธีการวางแผนและการเตรียมตัว การเตรียมทีม การแก้ปัญหา ๖.๔.๔ เรียนรูว้ ธิ กี ารวิเคราะห์ทกุ ๆ การแข่งขัน ไม่วา่ ภายในหรือต่างประเทศ ควร ท�ำบันทึกสรุปข้อดี ข้อเสีย ข้อผิดพลาด หาข้อสรุป แล้วน�ำมาปรับปรุงทีม ๖.๕ ควรให้ Tetsu ประเมิน ความรู้ของสต๊าฟโค้ชแต่ละคน ๖.๖ ควรมอบหมายภาระให้ Tetsu (ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกีฬารักบี้มากกว่านี้) เช่น ให้ช่วยดูแลทีมนักเรียนเก่าฯ ให้ความรู้แนะน�ำนักเรียนเก่าฯ ที่มีความสนใจใน การเป็นผู้ฝึกสอน นครา นาครทรรพ (โอวี ๖๐)


บทความพิ​ิเศษ ๒

93

เพื่อน

ครูอรุณ

ในบรรดาครู ๆ ที่ ส อนโรงเรี ย น วชิราวุธฯ นัน้ เพือ่ นๆ ของครูอรุณนับว่าเป็น ผู้ที่มีอิทธิพลกับนักรักบี้สมัยก่อนมาก แต่ เดิมนัน้ ครูอรุณจะมีเพือ่ นสนิททีท่ ำ� งานอยูท่ ี่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ๒ ท่าน คือ ครูมทั นะ  หลานสะอาด กับครูองอาจ นาครทรรพ ทัง้ สอง ท่านนี้มีบทบาทอย่างมากกับนักรักบี้ สมัย ก่อนๆ รวมทั้งมีผลผลักดันให้อดีตนักรักบี ้ ทั้งหลายได้ดิบได้ดีจากค�ำสอนที่ได้จากการ มาเล่นรักบี้ไปใช้ในการท�ำงานอย่างมาก คุ ณ ครู ทั้ ง สามท่ า นนี้ เรี ย นอยู ่ ที่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สมัยก่อนการ เรียนธรรมศาสตร์นั้นเข้าง่าย แต่จบยาก มากเพราะต้ อ งสอบทุ ก วิ ช า ถ้ า สอบวิ ช า ใดวิชาหนึ่งตก ถือว่าตกทั้งหมด ต้องสอบ ใหม่ เรียกว่าได้เป็นเรื่องตลกตกเป็นเรื่อง anuman-online.com


94

บทความพิเศษ ๒

แถวหน้าจากซ้าย สมจิตร สิงหเสนี, ปรีชา เพ่งพินจิ , ส�ำราญ วรสุมนั ตร์, เวท จรรยาเพท, ประจวบ ชนะภัย, ชุ่ม แถวกลางจากซ้าย อาจารย์กษม จาติกวณิช, องอาจ นาครทรรพ, อาจารย์โฉลก  โกมารกุล ณ นคร แถวหลังจากซ้าย ช�ำนาญ โมรานนท์, สนั่น หลุ่มบุญเรือน, อดุลย์ ภมรนนท์, สมุทร ภูวณิช, ประสาร คุณะดิลก, สุธีร์ คุณากร, อรุณ แสนโกศิก, มัทนะ หลานสะอาด, สิมา หมายเหตุ - ไม่สามารถหาข้อมูลรายชื่อทั้งหมดได้

ธรรมดา คนจบปริญญาธรรมศาสตร์บณ ั ทิต จึงนับตัวคนได้เรียกว่าต้องเก่งจึงจะจบได้ ครู มัทนะเป็นคนทีเ่ ข้าแบงค์ชาติกอ่ นครูอรุณ จึง  ค่อนข้างมีอายุงานนาน เพือ่ นครูจงึ มีอทิ ธิพล กับนักรักบี้อย่างมากเพราะช่วยครูในการ สอนรักบี้และอบรมนักรักบี้รุ่นน้องไปในตัว ก่อนจะเริ่มที่เพื่อนครูก็ขอกล่าวถึง ครู ของครู ก ่ อ น ครู ข องครูค นแรกเห็นจะ ไม่มีใครเกิน อ.โฉลก โกมารกุล ณ นคร อดีตนายกสมาคมรักบี้ฟุตบอลฯ ตลอดกาล  ของประเทศไทย อ.โฉลก เกิดเมื่อวันที่ ๒๖ กันยายน ๒๔๕๓ เป็นบุตรเจ้าพระยาพลเทพ (แฉล้ ม ) และนางสิ น เป็ น นั ก เรี ย นทุ น

กระทรวงการคลัง ส�ำเร็จจากมหาวิทยาลัย  อ็อกซ์ฟอร์ด เป็นผู้ผลักดันให้ประเทศไทย เข้าร่วมกีฬาโอลิมปิคเป็นคนแรก สมัยทีเ่ รียนอยูท่ อี่ งั กฤษนัน้ นอกจาก การเล่นรักบี้แล้วท่านยังเป็นคนไทยคนแรก และคนเดีย วในสมั ย นั้ น ที่ ไ ด้ ถื อท้ า ยเรื อ กรรเชียงระหว่างเคมบริดจ์กับออกฟอร์ด ที่ เรียกกว่าเป็น ค๊อกซ์ (Cox) การเป็นค๊อกซ์ นั้น เป็นเรื่องที่ยากและละเอียดอ่อนมาก เพราะหางเสือของเรือจะอยูห่ า่ งจากค๊อกซ์ไป ถึง ๓ เมตร การดึงหางเสือต้องค่อยๆ ท�ำ และเบาทีส่ ดุ ยิง่ กว่าถือบังเหียนม้า เรือจะแพ้ ชนะอยู่ที่ค๊อกซ์ โดยค๊อกซ์เป็นผู้ออกค�ำสั่ง


ตั้งแต่ต้น ตีกรรเชียง ให้หยุด ฯลฯ โดยจะ มีการขี่จักรยานตามไป เพื่อคอยออกค�ำสั่ง ให้ค๊อกซ์ อีกทีหนึ่ง แม่น�้ำที่เล่นเรือก็แคบ ถ้าถือท้ายไม่ดีแล้วเรือก็อาจชนกันและล่ม ได้ น�ำ้ ในแม้นำ�้ นัน้ เย็นจัดขนาดเป็นวุน้ ได้เลย เปียกไปโอกาสปอดบวมสูง นอกจากนีค้ อ๊ กซ์ จะต้องเป็นคนคุยสนุกและเอาใจคน (จาก หนังสือเกิดวังปารุสก์) เรื่องคุยสนุกนั้น เป็นเรื่องที่พบกับ ตั ว เองตอนอยู ่ มศ.๓ ตอนนั้ น นั ก เรี ย น วชิราวุธฯ เรียน ร.ด.กัน วันเสาร์ก็เลยให้ มศ.๓ ในสมั ย นั้ น ไปเป็ น ไกด์ พ านั ก รั ก บี ้ มาเลย์คอลเลจไปเที่ยวฟาร์มจระเข้และดู มวยช่อง ๗ สี ที่สนามเป้า เสร็จจากดูมวย ก็ไปสปอร์ตคลับเพื่อจะรับประทานอาหาร ก็ได้พบท่าน อ.โฉลกเป็นครั้งแรก ก็มีคน ถามว่าจะหาห้องน�้ำได้ที่ไหนกัน ท่านกลับ ตอบว่าเดินไปทางนี้แล้วใช้จมูกดมเอา (use your nose) ก็จะพบห้องน�้ำ เดินทางมา เหนื่อยกันก็หัวเราะกันได้ เรียกว่าเข้าขั้น ตลกเป็นภาษาอังกฤษง่ายๆ ท่านคุยเก่ง มากทั้งไทยทั้งอังกฤษ แต่เวลาเอาจริงก็เอา จริงมากๆ พวกเราซ้อมรักบีก้ นั อยู่ ท่านอาจารย์ ก็มาดูพวกเราซ้อม ความที่เหนื่อยจากการ ซ้อมก็วิ่งกันช้าๆ หน่อยจะได้มีแรงเหลือ ท่านเข้ามาดุเลยแถมอบรมแกมยกตัวอย่าง ว่า “วิ่งช้าอย่างนี้ก็เหมือนกับเครื่องบินไทย สมัยสงครามโลก เครื่องบินสัมพันธมิตรบิน มาโจมตีทางเหนือ เครือ่ งบินไทยเพิง่ สตาร์ท

เครื่อง พอมันบินไปทางทิศใต้แล้ว เครื่อง บินไทยก็เพิง่ มาถึงทิศเหนือ เรียกว่าไม่ได้ยงิ กันสักนัด” ท่านสอนต่อไปว่า “กีฬานั้นขยัน ซ้อมมันก็เก่งเอง แต่ถา้ จะให้ดกี ว่าขยันอย่าง เดียวแล้ว ต้องอาศัยหลายๆ อย่างประกอบ กันด้วยจึงจะเก่ง แค่ขยันมากอย่างเดียว  ไม่พอ” อ.อรุณท่านก็กล่าวถึง อ.โฉลกว่า ท่านอาวุธรอบตัว เวลาที่ท่านเล่นต�ำแหน่ง  ฮุกเกอร์และรับลูกตอนเตะเปิดนัน้ จะมีพวก ทีม่ าคอยแทกฮุกเกอร์เพราะหันหลังให้ ท่าน  จะย่ อ ก้ น เข้ า ให้ เ รี ย กว่ า ไอ้ ค นมาแทคนั้ น  หัวทิ่มดินไปก็หลายคน เรื่องเอาใจคนก็มีตัวอย่าง คือ แข่ง ที่สิงคโปร์คราว Pesta Sugan นั้น ท่านไป ด้วย ท่านก็ถามสาระทุกข์สกุ ดิบของนักกีฬา ปรากฏว่าฮุกเกอร์คอบิดเล่นไม่ได้เนื่องจาก เข้าสกรัมมาก พูดเท่านั้นท่านจัดการทันที ท่านเรียกหมอนวดผูช้ ายมาช่วยนวดนักรักบี้ ทัง้ หมด หมอนวดก็ตวั ขนาด ๑๒๐ กิโลกรัม เวลานวดทีเหมือนเอาหมีมานวดตัวอย่างไง  อย่ า งงั้ น ท� ำ ให้ พ วกเราสบายตั ว ขึ้ น มาก เพราะได้หมอนวดที่มีฝีมือและรู้จักการนวด จริง เรียกว่าท่านเข้าถึงนักกีฬาทุกคน แถม ตอนกลับยังพกตุ๊กตาตลกโปกฮากลับมา ด้วย ก่อนทีท่ า่ นจะเสีย ท่านบ่นแน่นหน้าอก มาก ปรากฏว่าอีกวันต่อมาท่านก็เสียขณะที่ นั่งตัดผมอยู่นั่นเอง พวกนักรักบี้ไปงานศพ ท่านกันแน่นขนัด คราวนี้ ก็ ม าถึ ง เพื่ อ นครู ค นแรกก็ คือ ครูองอาจ นาครทรรพ ที่เราเรียกว่า  anuman-online.com


96

บทความพิเศษ ๒

“ครูอาด” เล่นต�ำแหน่งสกรัมฮาฟท์เวลาที่มี นักกีฬาคนไหนเล่นดีๆ และท่านรูจ้ กั ท่านจะ ปราดเข้าไปไม่ใช่ชมหรือยกย่องนะครับ แต่ จะเข้าไปเตือนสตินักรักบี้ผู้นั้น ไม่ให้เหลิง ท่านใช้ค�ำว่า “นักกีฬาที่อวดเก่งนะ ไม่เคย เก่ง เพราะฉะนั้นห้ามอวดเก่งเด็ดขาด จะ เล่นเก่งขนาดไหนก็ตามต้องซ้อมไว้เสมอ ห้ามอวดเก่งเด็ดขาด” ท่านอายุยืนมากใน  บรรดาเพื่อนๆ ท่าน อาจจะเป็นเพราะท่าน เป็นคนง่ายๆ ท่านอายุประมาณ ๙๐ ปี เพื่อนครูอีกคนที่อดเอ่ยถึงไม่ได้คือ ดร.เฉลิมชัย วสีนนท์ หรือที่เรียกท่านว่า อาหรวย (ซึ่งเป็นชื่อพ่อของท่าน) ท่านจบ กฎหมายปริญญาเอกจากฝรั่งเศส และได้ ด�ำรงต�ำแหน่งส�ำคัญๆ ในกระทรวงการคลัง  เป็ น ถึ ง อดี ต อธิ บ ดี ก รมสรรพสามิ ต ซึ่ ง  สมัยนั้นเป็นกรมหนึ่งที่หารายได้รองจาก กรมศุลกากรเลย ท่านเป็นคนมือสะอาดมาก ไม่เคยมีประวัตดิ า่ งพร้อยแม้แต่นอ้ ย มีนำ�้ ใจ ช่วยเหลือน้อง งานรักบี้โดมหนุ่มโดมชรา ท่านเอาเบียร์มาแจกทุกครั้ง ท่านเล่นรักบี้ ด้วยเรียนหนังสือก็ดีด้วย ไม่รู้เหมือนกันว่า ท่านท�ำได้อย่างไร เคล็ดลับของท่านนั้น พวกเพื่อนครู เล่าให้ฟังว่า เวลาที่ซ้อมเสร็จแล้วนั้น การ เป็นนักกีฬาจะเหนื่อยมาก ถ้าหยิบหนังสือ ขึ้ น มาอ่ า น แทนที่ จ ะได้ อ ่ า นพอมี ส มาธิ เท่านั้นก็จะไปเฝ้าพระอินทร์แทน ตื่นมาอีก  ที ห นึ่ ง ก็ ดึ ก อ่ า นหนั ง สื อ ต่ อ ก็ ก ลายเป็ น ตาค้างอดหลับอดนอนไป ท�ำให้เรียนหนังสือ

วันรุ่งขึ้นไม่รู้เรื่อง นักกีฬาต้องนอนไม่ดึก มากนัก แล้วรีบตื่นมาอ่านหนังสือตอนเช้า จะได้เรื่องมากกว่า ท่านอาศัยตื่นแต่เช้าตรู่ อากาศดีแล้วมาดูหนังสือจะสดชื่นมากกว่า ล่ า สุ ด นั้ น ในวั น ที่ ธ รรมศาสตร์ เ ดิ น ขบวน ประท้ ว งกฎหมายนิ ร โทษกรรมนั้ น ท่ า น ออกไปหน้าเวทีของธรรมศาสตร์ บอกเลยว่า มาตรา ๑๙๐ นัน้ ท่านยอมไม่ได้ในเรือ่ งการ ท�ำสัญญากับต่างประเทศโดยไม่ผา่ นรัฐสภา ในฐานะทีเ่ ป็นอาจารย์สอนกฎหมายมหาชน ท่านยอมไม่ได้ อายุทา่ นปีนกี้ ็ ๘๖ ปี มีเพือ่ น เหลืออยู่คนเดียวชื่อ ดุษฎี สวัสดิชูโต คุณอาจ๋อย หรือ ดุษฎี สวัสดิชูโต เป็นอดีตผู้อ�ำนวยการฝ่ายบัญชี ธนาคาร แห่งประเทศไทย ก่อนที่จะลาออกเพื่อด�ำรง ต�ำแหน่งผู้อ�ำนวยการใหญ่ ธนาคารออมสิน ครัง้ หนึง่ อาจ๋อยมาเล่นรักบีโ้ ดมหนุม่ โดมชรา รีบสัง่ เลยบอกห้ามจับเพราะแก่แล้ว เดีย๋ วแขนหัก ท่านมาวิง่ เล่นด้วยเท่านัน้ อ่าน พบว่าส�ำหรับท่านแล้วเวลาที่เล่นปีก ท่าน ไม่เคยปล่อยให้ใครหลุดจากการแท็คเกิ้ล ของท่านไปได้ ค�ำว่าหลุดนี้คือไม่รับผิดชอบ เพราะเป็นหน้าที่ของตัวเอง ท่านไม่หลุด จริงๆ ดังตัวอย่างดังนี้ สมัยหนึง่ คณะของแบงค์ชาติไปดูงาน ด้วยกันหลายคน ความทีไ่ ปกันมากเรือ่ งหลุด  ก็เกิดขึ้น คือ ลืมท�ำเบิกค่าเสื้อนอกของผู้ที่ ติดตามไปด้วยท่านหนึง่ พอคุณอาทราบเรือ่ ง แม้ว่าจะไม่ได้ขออนุมัติไว้ ท่านรีบแทงเรื่อง ด�ำเนินการทันที สมัยนั้นราคาเสื้อนอกแพง


มากเท่ากับเงินเดือนทั้งเดือนของพนักงาน จบปริญญาโท จนสุดท้ายก็สามารถ เบิกเงิน ค่าเสื้อนอกดังกล่าวได้และต่อมาผู้ที่ติดตาม นัน้ ต่อมาได้เป็นรองผูว้ า่ การทีช่ อื่ เตชะพิทย์  แสงสิ ง แก้ ว นั่ น เอง ซึ่ ง เรื่ อ งนี้ ท ่ า นรอง  เตชะพิทย์ได้มาเปิดเผยทีหลัง ท�ำให้พวก เราทราบกัน ท่านไม่เคยหลุดแม้แต่เรื่อง  เล็กน้อยสมเป็นนักรักบี้ตัวอย่างจริงๆ ธนาคารออมสินทุกวันนี้มีสาขามาก ทีส่ ดุ ก็เพราะท่าน เนือ่ งจากสมัยนัน้ ท่านเปิด สาขาต่างๆ มาก เรียกว่ามีแทบทุกอ�ำเภอ ก็ ว ่ า ได้ ถ้ า ใครมี แ ฟนเป็ น ตรวจสอบของ ออมสินแล้ว ต้องติดตามไปตรวจสอบตามที่ ต่างๆ แล้วก็จะพบว่าตัวเองสามารถรู้จักทุก อ�ำเภอของประเทศไทยก็ว่าได้ จากการเปิด ทุกอ�ำเภอในสมัยคุณอาจ้อยนั่นเอง ท�ำให้ ธนาคารออมสินเป็นแหล่งเงินออมส�ำคัญ ของประเทศที่สามารถเข้าถึงประชาชนทุก หย่อมหญ้าได้ คราวนีก้ ม็ าถึง ครูมทั นะ หลานสอาด ซึ่งเป็นที่สนิทกับครูมากที่สุด ท่านเป็นอดีต  ผู้อ�ำนวยการฝ่ายธุรการ และฝ่ายออกบัตร ของธนาคาร เล่นรักบี้ในต�ำแหน่งฮุกเกอร์ และวิงฟอร์เวิร์ด เป็นคนปากกับใจตรงกัน ฟังครูด่าแล้วมันส์ในอารมณ์ดี อย่างแรกที่ท่านสอนก็คือ การเล่น รักบี้นั้น หน้าที่ของตัวเองส�ำคัญที่สุด ต้อง ท�ำหน้าที่ของตัวเองก่อน จากนั้น ค่อยไป ช่วยคนอื่นการไปช่วยคนอื่นนั้น ต้องท�ำเมื่อ หน้าทีต่ วั เองเสร็จแล้ว และนักรักบีต้ อ้ งวิง่ ได้

๑๐ หลาต่อวินาที ดังนั้นจึงเป็นเรื่องง่ายที่ คลุมสนามได้ทั้งสนามเพราะเราวิ่งได้ตลอด เวลา เรียกว่าเป็นเคล็ดลับของการทันลูก ทุกครั้งก็ว่าได้ เวลาสอบสั ม ภาษณ์ พ นั ก งานเข้ า แบงค์ชาติ ท่านก็จะถามว่าจบจากโรงเรียน อะไร ถ้าใครไปตอบมหาวิทยาลัย ท่านจะ พิจารณาทีหลังเพราะว่าไม่กล้ารับความจริง เรียกว่ามีวิธีสัมภาษณ์คนที่แยบยลเพราะ การเข้าแบงค์ชาติตอ้ งท�ำงานส�ำคัญมากๆ จึง ควรกล้ารับความจริง เวลาที่เล่นเสร็จแล้วนั่งทานเลี้ยงกัน ถ้าแยกโต๊ะกันระหว่างมหาวิทยาลัย ท่าน จะเข้ามาดุทันทีพร้อมกับบอกว่า ถ้าแยก กันนัง่ แล้วจะรูจ้ กั กันระหว่างมหาวิทยาลัยได้ อย่างไร จริงของท่าน ควรทีจ่ ะนัง่ สลับโต๊ะกัน จะได้รู้จักกันมากขึ้นไม่ใช่โต๊ะนี้จุฬาฯ โต๊ะนี้ ธรรมศาสตร์ อย่างนี้ท่านบอกใช้ไม่ได้ เรื่องรู้จักคนนี้จะเป็นประโยชน์มาก ในการท�ำงาน ครูมัทนะเป็นคนที่มี People Knowledge สุดยอดคนหนึง่ รักบีฝ้ า่ ยตรงข้าม  ชื่ออะไรรู้จักหมด มีอยู่ตอนหนึ่งเล่นๆ อยู่ ฝ่ า ยตรงข้ า มได้ ลู ก ท่ า นเรี ย กชื่ อ คนนั้ น ความที่คนนั้นไม่ได้มอง ก็คิดว่าเป็นพวก เดียวกันเลยส่งมาให้ทา่ น ปรากฏว่าท่านวาง ทรัยได้เลย เรียกว่าสุดยอดในเรือ่ งคนก็วา่ ได้ ท่านเป็นคนที่มีความรู้ดีมาก เรื่อง ภาษาอังกฤษไม่ตอ้ งพูดถึง เป็น ม.๘ ทีภ่ าษา อังกฤษดีกว่านักเรียนปริญญาโทหลายคน นัก ความรู้เรื่องรักบี้ไม่ต้องพูดถึง เรียกว่า anuman-online.com


98

บทความพิเศษ ๒

แก้เกมให้แก้ปัญหาต่างๆ ให้ได้เสมอๆ บางทีเราไม่วิ่งเข้าไปแท็คเกิ้ล ท่านก็ แซวว่าเอ็งคอยไปค�ำนับเขามันจับไม่ได้หรอก เวลาสอนให้คนจับท่านจะให้เดินจับเพื่อจะ ได้ไม่เจ็บและดูว่าสามารถท�ำ Complete Tackle ได้หรือไม่ แม้วา่ รักบีป้ จั จุบนั จะมีเทคนิคมากกว่า  สมัยก่อนมาก แต่มีสิ่งหนึ่งที่สวยงามมาก ในการเล่นรักบี้สมัยก่อนนั่นคือการจับหรือ Tackle ซึ่งจับต�่ำตลอดโดยเฉพาะแผงกอง หลังทั้งแผง ยิ่งเป็นการเล่นกับฝรั่งแล้ว ไม่ เคยให้วิ่งเกิน ๓ ก้าวจะจับทันที สาเหตุ เพราะยิ่งคนตัวใหญ่ยิ่งปล่อยให้วิ่งได้มาก เท่ า ไรก็ จั บ ยากเท่ า นั้ น รั ก บี้ ส มั ย ก่ อ นๆ  จึงจับสวยมาก เรียกว่าลอยทั้งตัวก็ว่าได้ โดยเฉพาะแผงกองหลังของจุฬาฯ ตั้งแต่พี่ ม.ร.ว.จีริเดชา, พี่จงใจ, พี่เอกชัย ไหลมา พวกนี้จับทีลอยกันทั้งตัว ยิ่งเล่นกับฝรั่งตัว ใหญ่ๆ แล้วจะสวยมาก ครูทงั้ สองจึงสอนเสมอให้จบั ต�่ำ ใหญ่ ให้ใหญ่ยงั ไงก็อยูค่ รับ ยิง่ คนตัวใหญ่แล้วการ ออกตัวจะช้า แต่ถา้ เกิน ๓ ก้าวไปแล้วจะจับ ได้ยากมาก ดังนัน้ การจับต�ำ่ จึงเป็นหัวใจของ การเล่นรักบี้ นักรักบี้คนไหน ถ้าไม่จับแล้ว เก่งเท่าไหนก็ตาม ครูทั้ง ๒ จะตัดออกจาก ทีมชาติทันที เรือ่ งของครูมทั นะนัน้ มีเรือ่ งเล่าเยอะ มาก เรื่องหนึ่งที่ท่านพูดเสมอคือเรื่องการ แพร่หลายของรักบี้ ซึ่งต่างจังหวัดหาคนเล่น แทบไม่ได้ เคยไปเล่นเชียงใหม่มี ๒ แห่ง

คือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่กับมหาวิทยาลัย แม่โจ้ ผลัดกันเป็นแชมป์สมัยปี ๒๕๑๗ ๒๕๑๙ ส่วนจังหวัดอื่นๆ แทบไม่มีการเล่น เลย คัดรักบี้ทีมชาติมีคนมาคัดประมาณ ๔๐ คน ครูมัทนะบ่นเสมอว่ามันเหมือนๆ เป็นปัญหาของชาติที่ขาดการสนับสนุนใน ระดับมหาวิทยาลัย ท�ำให้รักบี้เล่นกันใน กรุงเทพฯ เท่านั้น หากปัจจุบนั ถ้าครูอรุณและครูมทั นะ ได้เห็นรักบี้ปัจจุบันคงปลื้มใจมาก ตอนนี้ รั ก บี้ แ พร่ ห ลายไปในต่ า งจั ง หวั ด มากขึ้ น ๆ แม้ ค นจะดู ไ ม่ ม ากขึ้ น ก็ ต าม คั ด ที ม ชาติ สมัยนี้มากันเป็นร้อยๆ คน การมีช้างเผือก ประจ�ำมหาวิทยาลัยเปลี่ยนบริบทของคน เล่นกีฬากลายเป็นคนทีห่ วั ดีกอ็ ยากเล่นมาก ขึ้น กลายเป็นทีมรักบี้ทุกทีมมีคนมาเล่น มากขึ้นๆ จากที่คนไม่อยากเล่นเพราะกลัว เข้ามหาวิทยาลัยไม่ได้กลายเป็นเล่นเพื่อเข้า มหาวิทยาลัยให้ได้ รักบี้ปัจจุบันไม่ว่าเป็นรักบี้ประเพณี ระหว่ า งราชวิ ท ย์ กั บ โอวี หรื อ จุ ฬ าฯ กั บ ธรรมศาสตร์จึงเป็นรักบี้ที่เล่นกันดี ดูสนุก เพราะคนเล่นค่อนข้างได้มาตรฐานกว่าสมัย ก่อนมาก จึงเป็นที่น่าปลื้มใจให้กับครูและ เพื่อนครูที่สนับสนุนรักบี้มาจนทุกวันนี้ นพดล สุรทิน (โอวี ๔๖)


ศัพท์ โอวี

เรื่องราวในโรงเรียนฉบับไม่เป็นทางการ

99

ตัวส�ำราญ ในกีฬารักบี้ฟุตบอลนั้น เรามัก จะจับจ้องไปยังผู้เล่นที่อยู่ในสนามเพียง แค่ ๑๕ คน โดย ๑๕ คนแรกนี้ คือ ผู้ ที่ถูกโค้ชเลือกให้ลงสนามด้วยเหตุผล หลากหลายประการในการล่าชัยชนะ ไม่ ว่าจะเป็นเรื่องของความสามารถ ชั้นเชิง ประสบการณ์ และการวางหมากของโค้ช เป็นต้น ส่วนบนม้านั่งก็จะมีเหล่าตัวส�ำรอง ที่เรียกได้ว่าเป็นไพ่เด็ดรอคอยโอกาสที่จะ ถูกเปลี่ยนตัวลงมาแทนเหล่าตัวจริง เพื่อ ชิงจังหวะเปลี่ยนเกมหรือพลิกสถานการณ์ ของทีมให้ไปสู่ชัยชนะ แต่ถ้าหากสังเกตบริเวณรอบๆ ม้า นั่งดีๆ เชื่อว่าทุกท่านอาจจะสังเกตเห็น (หรือไม่เห็น) กลุ่มนักกีฬาอีกจ�ำนวนไม่ มากที่ไม่ได้สวมเสื้อแข่งยืนอยู่ใกล้ๆ ท�ำ หน้าที่วิ่งน�้ำบ้าง วิ่งถือทีไปส่งตอนเตะ เปลี่ยนประตูบ้าง เป็นต้น กลุม่ คนเหล่านีไ้ ม่ใช่นกั กีฬาทัง้ ตัวจริง และตัวส�ำรองแต่พวกเขาถูกเรียกว่า “ตัว ส�ำราญ” anuman-online.com


100

ศัพท์ โอวี

ตัวส�ำราญหากจะพูดง่ายๆ ก็คือตัวส�ำรองของส�ำรองอีกทีนึงนั้นเอง ฟังดูแล้วก็รู้สึก ได้เลยว่าเป็นต�ำแหน่งที่ไม่ส�ำคัญแน่นอน แต่ก็ท�ำให้เกิดค�ำถามต่อมาว่าถ้าตัวส�ำราญไม่ ส�ำคัญ ท�ำไมถึงมีต�ำแหน่งตัวนี้ปรากฏขึ้นมาในทีมละ? จะว่าไปแล้วต�ำแหน่งตัวส�ำราญ ก็ไม่ได้เป็นต�ำแหน่งที่มีการแต่งตั้งกันจริงๆ จังๆ หรือมีอยู่ในคู่มือกติการักบี้เล่มไหนๆ แต่อย่างใด เพียงแต่เป็นต�ำแหน่งที่มีการเรียกขาน และสถาปนาขึ้นมากันเองในทีมรักบี้เท่านั้น ในการคัดเลือกผู้เล่นเข้าสู่ทีมนั้น ผู้ที่มาคัดตัวอาจจะมีจ�ำนวนมากถึง ๓๐ - ๔๐ คน ด้วยจ�ำนวนมากขนาดนี้โค้ชก็จะต้องมีการวางแผนเพื่อท�ำการตัดตัวผู้เล่นออกไป เพราะผู้เล่นที่จะเป็นตัวจริงมีเพียง ๑๕ คน และส�ำรองอีกแค่ ๗ หรือ ๘ คนเท่านั้น   ดังนั้นกลุ่มที่เหลือจากการคัดตัวก็จะได้รับการสถาปนาให้รับต�ำแหน่งตัวส�ำราญนั้นเอง สาเหตุที่ต้องมีตัวส�ำราญในทีมก็ไม่ต่างอะไรกับการที่ทีมต้องมีตัวส�ำรอง ในขณะที่ ซ้อม ต่อให้ ๑๕ คนแรกเก่งแค่ไหน แต่ถ้าไม่มีตัวส�ำรองในทีมมาลงสนามเป็นคู่ช่วยซ้อม ด้วย ตัวจริงก็ซ้อมไม่ได้ ขณะเดียวกันจ�ำนวนของตัวส�ำรองก็ไม่ได้มากพอที่จะตั้งทีมใหม่ เพื่อช่วยตัวจริงซ้อมได้ ก็เลยจ�ำเป็นต้องอาศัยตัวส�ำราญมาช่วยอุดช่องเรื่องจ�ำนวนตรงนี้ เพื่อให้ทั้งทีมสามารถขับเคลื่อนไปข้างหน้าสู่ชัยชนะได้ด้วยกัน ตัวส�ำราญนั้นฟังชื่อแล้วดูส�ำราญแต่ชีวิตพวกเขาก็ไม่ได้ส�ำราญอย่างที่คิด   ตัวส�ำราญมีสิทธิและฐานะเท่าเทียมกับเหล่าตัวจริงและตัวส�ำรองในทีม ซ้อมหนักเหมือน กัน กินอาหารหม้อเดียวกัน เก็บตัวเหมือนกัน ชนะก็ชนะด้วยกัน แพ้ก็แพ้ด้วยกัน   อาบเหงื่อต่างน�้ำไม่ต่างอะไรกับเหล่าเพื่อนร่วมทีมคนอื่นๆ แต่ขาดโอกาสที่จะได้ลงสนาม เคียงบ่าเคียงไหล่กับเพื่อนๆ ที่ร่วมล�ำบากมาด้วยกัน ฟังดูแล้วก็เศร้า แต่หลายคนที่เคยเป็นตัวส�ำราญมาก่อน หากมีการพัฒนาหรือมี ฝีมือที่ดีขึ้น ปีถัดๆ มาก็มักจะได้รับการเลื่อนขั้นเป็นตัวรองก่อนบ้าง หรือถ้าพัฒนาจนน่า ตกใจก็สามารถก้าวกระโดดกลายเป็นตัวจริงในปีถัดมาเลยก็มี เรียกได้ว่าถ้ามีใจที่มุ่งมั่น และตั้งใจเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา โอกาสของคนที่ตั้งใจจริงแม้ว่าจะมาช้าแต่ก็ไม่หนีไปไหน แน่นอน ในภาพรวมของทีมรักบี้นั้นทั้งทีมเปรียบดั่งนาฬิกาเรือนหนึ่ง ตัวจริงเป็นเข็มชั่วโมง ที่ทุกคนสนใจและใส่ใจว่าตอนนี้กี่โมงแล้ว ตัวส�ำรองก็เปรียบได้ดั่งเข็มนาทีคนจะสนใจ รองถัดมาจากเข็มชั่วโมงว่าบัดนี้นาทีที่เท่าไหร่แล้ว ส่วนตัวส�ำราญเปรียบดั่งเข็มวินาทีที่ไม่ ค่อยมีคนสนใจ แต่ก็เป็นฟั่นเฟืองเล็กๆ ที่เดินเร็วที่สุดและไวที่สุดในการจะช่วยดันให้เข็ม นาทีและเข็มชั่วโมงเดินหน้าไปได้พร้อมๆ กันนั้นเอง นวิทธิ์ วิชัยธนพัฒน์ (โอวี ๗๙) วาดภาพประกอบโดย สงกรานต์ ชุมชวลิต (โอวี ๗๗)


ห้องตู้

เรื่องราวในโรงเรียนฉบับไม่เป็นทางการ

101

เมื่อผม... ใช้เด็ก ให้เลี้ยงปลา

หลังจากสามปีแรกในรั้วมัธยม (เปรี้ยวอมหวาน) หรือที่พวกเราทุกคนเรียกกันว่า “เด็กใน” ได้ผ่านพ้นไป ตลอดสามปีแรกในรั้วเด็กใน ถือเป็นช่วงเวลาแห่งความแข็งแกร่งและสมบุกสมบัน  ชนิดที่เรียกว่า ต้องฝ่าดงมือ ทะลุดงตีน กันเลยทีเดียว ผมมีหน้าที่คอยรับใช้พี่ๆ ซึ่ง นอกจากจะบริการตามสั่งของพี่ๆ แล้ว ผมยังมีหน้าที่คอยเลี้ยงสัตว์ให้พวกพี่ๆ อีกด้วย พวกพี่ๆ มีทั้งเลี้ยงงู เลี้ยงปลา เลี้ยงหนู ซึ่งผมก็มีหน้าที่คอยต้องแว่บหนีโรงเรียนออกไป ราชวัตรบ้าง ไปสวนจตุจักรบ้าง เพื่อคอยซื้อหาอาหารมาปรนเปรอให้กับเหล่าสัตว์เลี้ยง ของรุ่นพี่ เมื่อวันเวลาได้ผ่านไป สุดท้ายก็ถึงเวลาที่ผมจะได้ขึ้น ม.๔ หรือปีแรกส�ำหรับการ เป็นรุ่นพี่กับเขาบ้าง anuman-online.com


102

ห้องตู้

ปีแรกส�ำหรับการได้สิทธิ์ในการเป็นรุ่นพี่ ผมก็ได้ท�ำในสิ่งที่ผมอยากท�ำมานาน ซึ่งก็คือการเลี้ยงสัตว์ของตัวเอง ตอนนั้นห้องตู้ของชั้น ม.๔ ของคณะผู้บังคับการอยู่ฝั่ง ปีกปาร์เก้หรือปีกฝั่งเรือนท่านผู้บังคับการ โดยเป็นห้องตู้ที่อยู่รวมกับนักเรียนชั้นเด็กๆ มัธยมต้นด้วย รุ่นของพวกเรามีกันอยู่เพียงสิบคนเท่านั้น ท�ำให้ยังพอมีพื้นที่เหลืออยู่บ้าง ผมเลยหาแนวร่วมจากเพื่อนร่วมรุ่นในการเปิดสวนสัตว์ขนาดย่อมๆ ในห้องตู้ เราจัดพื้นที่ การจัดสถานที่เลี้ยงสัตว์กันได้อย่างคุ้มค่า ขอบหน้าต่างมีปลากัดสองสามตัว เก้าอี้ม้าหิน ตรงหน้าต่างก็ไว้วางตู้ปลา พื้นที่เหลือนิดหน่อยก็เป็นกรงของกิ้งก่าอีกัวน่า คืนหนึ่งในวันพุธหรือพฤหัสบดีจะเป็นวันที่สวนจตุจักรมีตลาดปลา ผมและเพื่อนๆ ในรุ่นอีกสองสามคนก็ขออนุญาตพี่หัวหน้า เพื่อไปท่องเที่ยวสวนจตุจักรในยามราตรี เมื่อ ได้รับอนุญาตจากพี่หัวหน้า เราก็แอบหนีโรงเรียนหลังจากสวดมนต์ก่อนเข้านอน คืนนั้น เราได้ปลาออสการ์ตัวเล็กๆ มาสิบกว่าตัว มีทั้งปลาออสการ์สีธรรมดากับปลาออสการ์ เผือก ซึ่งผมได้หุ้นกับเพื่อนอีกหนึ่งคนในการซื้อหามาเลี้ยงสนองตัณหาของพวกเรา ปลาออสการ์เป็นปลาที่กินลูกปลาตัวเล็กๆ และกุ้งฝอย บางคนบอกว่าสามารถ ฝึกให้กินอาหารเม็ดได้ แต่ส�ำหรับพวกเราจะไม่ให้อาหารเม็ดโดยเด็ดขาด ด้วยความที่เรา อยากให้อาหารเหมือนในธรรมชาติที่สุด นอกจากนี้ลูกปลาตัวเล็กๆ หรือกุ้งฝอยที่จะใช้ เป็นอาหารส�ำหรับฝูงปลาเหล่านี้ ก็สามารถหาได้ไม่ยากในโรงเรียนแถวๆ บ่อน�้ำข้างคณะ ผบก. บ้าง บ่อน�้ำหน้าห้องสมุดบ้าง หรือแม้แต่บ่อใหญ่หลังตึกขาว การเสาะหาปลาเหยื่อ ในโรงเรียนนั้น จึงเป็นเรื่องง่ายดายส�ำหรับผมและเพื่อนๆ โดยเราได้สั่งให้เด็กใหม่ที่อยู่ ชั้น ป.๖ สองสามคนคอยดูแล หาเหยื่อ เปลี่ยนน�้ำตู้ปลา ซึ่งช่วยให้ปลามีความสดชื่นอยู่ เสมอๆ เวลาที่ให้อาหารฝูงปลาออสการ์นี้ เป็นสิ่งที่เรียกเพื่อนๆ คนอื่นให้มามุงดูได้เป็น อย่างดี เมื่อเราปล่อยเหยื่อลงไป ฝูงปลาก็เข้ามารุมกินกัน ได้อารมณ์เหมือนดูสารคดีสัตว์ โลกทาง Discovery Channel ยังไงอย่างนั้นเลยทีเดียว ต่อมาเรามีความคิดจะสร้างบ่อปลาเล็กๆ ไว้หลังคณะ ผบก. ให้เหมือนบ่อแดงที่ หลังคณะดุสิตบ้าง ซึ่งความคิดนี้ผมได้คุยกับพี่หัวหน้าจนโปรเจคต์นี้ผ่าน เพราะเมื่อเลี้ยง ปลาออสการ์ไปได้ประมาณสองสามเดือน ปลาเหล่านั้นก็เริ่มจะโตขึ้นและอีกไม่นานคงอยู่ รวมกันในตู้ไม่ได้แล้วต้องเอาไปอยู่บ่อที่ใหญ่ขึ้น แต่หลังจากที่โปรเจคต์สร้างบ่อปลาผ่าน ผมกับเพื่อนก็สังเกตเห็นว่าท�ำไมปลาเริ่ม จะมีอาการปากอ้าแบบแปลกๆ อยู่เรื่อยๆ ทีละตัวสองตัว และก็เริ่มทยอยล้มหายตายจาก ไปจนหมดตู้ ผมกับเพื่อนแปลกใจมากว่าเกิดอะไรขึ้น? เพราะก่อนหน้านี้ก็เลี้ยงดูอย่างดี ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด


หลังจากปลาฝูงแรกรวมใจกันเซย์กู๊ดบายไปกันจนหมดตู้ ผมกับเพื่อนๆ ก็ไม่ ย่อท้อ ไปหาซื้อมาอีกฝูงหนึ่ง คราวนี้เลี้ยงไปได้เพียงเดือนสองเดือนเหตุการณ์เดิมก็เกิด ขึ้นอีก ปลาออสการ์ฝูงใหม่ของพวกเรามีอาการปากอ้าแปลกๆ เหมือนเดิม จนลาลับจาก ห้องตู้ ม.๔ ไปอีกครั้ง ผมและเพื่อนๆ สงสัยกันมากว่าอะไรเป็นสาเหตุที่ท�ำให้ปลาตาย จนสุดท้ายโครงการบ่อปลาหลังคณะ ผบก. และการเลี้ยงปลาออสการ์ในห้องตู้   ม.๔ ในตอนนั้น ก็เหลือแต่เพียงความทรงจ�ำ ผมกับเพื่อนๆ ยังไม่เคยหายสงสัยว่าเกิด อะไรขึ้นกับปลาออสการ์ทั้งสองฝูงนั้นของพวกเรา ช่วงเวลา ม.๔ ถึง ม.๖ ผ่านไปไวเหมือนโกหก ช่างแตกต่างกับช่วงเวลามัธยมต้น เสียเหลือเกิน ที่วันเวลาผ่านไปช้าแสนจะเหลือทน ในที่สุดก็มาถึงวันสุดท้ายของการเป็น นักเรียนวชิราวุธฯ และเป็นวันที่ความจริงเกี่ยวกับฝูงปลาออสการ์ของเราทั้งสองฝูงนั้นได้ รับการเปิดเผย หลังจากท�ำการตรวจแถวก่อนกลับบ้านวันสุดท้าย ก่อนที่พวกผมนักเรียนชั้น   ม.๖ จะเดินจับมือร�่ำลากับนักเรียนในคณะ ผมและเพื่อนๆ ยังคงนั่งอ้อยอิ่งอยู่บันได ม.๓ (บันไดหลังคณะผู้บังคับการที่ตอนนั้น เฉพาะนักเรียน ม.๓ และชั้นที่สูงกว่าถึงจะได้  สิทธิ์เดินผ่านหรือนั่งพักผ่อนหย่อนใจ หรือแม้กระทั่งเป็นที่พบปะสังสรรค์กับเครื่องดื่ม  แอลกอฮอลล์ยามค�่ำคืน) อยู่ดีๆ ก็มีน้อง ป.๖ สองสามคนได้เดินเข้ามาหาผมและเพื่อนๆ ที่ก�ำลังจะจบการศึกษาออกไป น้องๆ ทั้งสามคนนั้น เป็นคนที่พวกผมให้ความเอ็นดูเป็นพิเศษ เพราะมีหน้าที่ คอยหาปลาเหยื่อให้กับปลาออสการ์ของพวกผม น้องๆ เดินเข้ามาด้วยสีหน้าอมยิ้มอย่าง กรุ้มกริ่ม บอกกับผมและเพื่อนๆ ว่าขอให้โชคดี มีแฟนสวยๆ ในรั้วมหาวิทยาลัย แล้ว น้องพวกนั้นก็บอกกับพวกผมว่า: “พี่ครับ ผมมีอะไรจะบอก พี่จ�ำได้มั้ยครับว่าเกือบๆ สามปีก่อน ตอนที่พี่ๆ   เลี้ยงปลากันในห้องตู้แล้วปลามันตาย พวกผมอยากจะสารภาพว่าพวกผมเป็นคนแกล้งให้ ปลาตายเองครับ โดยเวลาที่ท�ำเวรตอนเช้าในทุกๆ วัน ผมแอบเอายาสระผมใส่ลงไปในน�้ำ ครับ พี่คงจะไม่ลงโทษพวกผมใช่มั้ยครับ?” น้องๆ พูดด้วยสีหน้าที่รู้สึกผิด แต่ก็ไม่วายจะมีรอยยิ้มแบบสะใจที่รู้ว่าพวกผมไม่ สามารถจะท�ำอะไรกับพวกเขาได้อีกแล้ว พวกผมข�ำและหัวเราะกันออกมา โดยไม่ได้รู้สึก โกรธน้องๆ เลยแม้แต่นิดเดียว ได้แต่คิดว่าน้องๆ พวกนี้ มีวิธีเอาคืนพวกผมได้อย่าง  แสบทรวงเป็นที่สุด ถึงตอนนี้รู้แล้วใช่มั้ยละครับว่า เพราะอะไรฝูงปลาออสการ์เหล่านั้นถึงได้ร้องเพลง Vajiravudh Goodbye ก่อนพวกผมเกือบสามปี อารยวุฒิ อิศรางกูร ณ อยุธยา (โอวี ๗๐) วาดภาพประกอบโดย สงกรานต์ ชุมชวลิต (โอวี ๗๗) anuman-online.com


104

ขอขอบคุณผูส้ นับสนุนการจัดท�ำอนุมานวสาร

โอวี โอวี ๓๑ โอวี ๔๐ โอวีรุ่น ๔๐ ๑๐,๐๐๐ บาท  OV Spirit&Web OV ๒,๐๐๐ บาท  โอวี รุ่น ๓๑   ๓,๑๐๐ บาท  จุลสิงห์ วสันตสิงห์ ๑๕,๐๐๐ บาท นักเรียนเก่าฯ ในเชียงใหม่ ๒,๖๐๐ บาท  และรุ่นข้างเคียง ธันวา ชัยจินดา ๑๐,๐๐๐ บาท จิรายุส แสงสว่างวัฒนะ ๒,๐๐๐ บาท  พูลศักดิ์ ประณุทนรพาล ๕,๐๐๐ บาท วิวัฒน์ ถิระวันธุ์ ๖,๐๐๐ บาท ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ๒๐,๐๐๐ บาท  โอวี ๔๑ ๑๐,๐๐๐ บาท ครอบครัววีระ วีระไวทยะ ๑๐,๐๐๐ บาท สม วรรณประภา เปรมปรี วัชราภัย ๔,๐๐๐ บาท ครอบครัวศรีชลธาร ๕,๐๐๐ บาท  โอวี ๓๓ โอวี ๔๒ โอวี ๔๒, ๗๓, ๗๖ พล.ต.ต.จักร จักษุรักษ์ ๑๕,๐๐๐ บาท รุ่น ๔๒ ๑๐,๐๐๐ บาท  โอวีอาวุโส จักรพันธุ์ โปษยกฤต ๓๐,๐๐๐ บาท  ชัยวัฒน์ นิตยาพร ๓,๐๐๐ บาท ร.ท.นุรักษ์ อิศรเสนาฯ ๓,๐๐๐ บาท  ด�ำรงพันธุ์ พูนวัตถุ ๕๐๐ บาท เชิดชัย ลีสวรรค์ ๑๐,๐๐๐ บาท  ม.ล.พรสุทธิ์ ลดาวัลย์ ๕๐๐ บาท  ดร.ประทักษ์ ประทีปะเสน ๒,๐๐๐ บาท พล.ท ศ.คลินกิ ภาณุวชิ ญ์ ๖,๐๐๐ บาท พล.ต.อ.เภา สารสิน ๑๐,๐๐๐ บาท  โอวี ๓๔ พุ่มหิรัญ  ถวัลย์ ปานะนนท์ ๕๐๐ บาท  พล.ต.อ.สันต์ ศรุตานนท์ ๓๐,๐๐๐ บาท นภดล บัวทองศร ๑,๐๐๐ บาท ศ.นพ.อาวุธ ศรีศุกรี ๒,๐๐๐ บาท อภิ ช ย ั สิ ท ธิ บ ศ ุ ย์ ๑,๐๐๐ บาท โอวี ๓๕ โอวี ๑๖ สุพจน์ ศรีตระกูล ๑,๐๐๐ บาท โอวี ๔๓ เสถียร เสถียรสุต ๑๕,๐๐๐ บาท ก๊วนกอล์ฟโอวี ๔๓ ๑๐,๐๐๐ บาท  โอวี ๓๖ โอวี ๑๙ เขมทัต อนิวรรตน์ ๕๐๐ บาท  นิสาร ชินาลัย ๑,๐๐๐ บาท อิสระ นันทรักษ์ ๒,๐๐๐ บาท ปราณีต ชัยจินดา ๒๐,๐๐๐ บาท โอวี ๓๗ โอวี ๔๔ โอวี ๒๕ โอวี ๓๗ ในนาม ๓๗,๐๐๐ บาท พงษ์พินิต เดชะคุปต์ ๓,๐๐๐ บาท  ร.ท.ชนินทร์ วรรณดิษฐ์ ๒,๐๐๐ บาท คุณอรณพ จันทรประภา รัฐฎา บุนนาค ๕,๐๐๐ บาท  โอวี ๒๖ สันติภาพ ลิมปะพันธ์ ๒,๐๐๐ บาท ศิโรฒม์ สนิทวงศ์ฯ ๑๐,๐๐๐ บาท  พงษ์ธร พรหมทัตตเวที ๒,๐๐๐ บาท โอวี ๓๘ สุพล วัธนเวคิน ๕๐,๐๐๐ บาท โอวี ๒๘ วิชัย สุขธรรม สนั่น จรัญยิ่ง

โอวี ๓๐ อโนทัย สังคาลวณิช

อดิศักดิ์ เหมอยู่ ๒๐,๐๐๐ บาท โอวี ๔๕ ๒,๐๐๐ บาท  โอวี ๓๙ ดร.คุรุจิต นาครทรรพ ๑๘,๐๐๐ บาท ๒,๐๐๐ บาท สรรชัย เกยสุวรรณ ๑๐,๐๐๐ บาท  บริจาคเพิ่ม ๕,๐๐๐ บาท  ๒๐๐ บาท  บุญเลิศ ศรีเจริญ ๒,๕๐๐ บาท  จีระ อุดมวัฒน์ทวี ๒,๕๐๐ บาท  ศ. นพ.ทวิป กิตยาภรณ์ ๓๐,๐๐๐ บาท ๑,๐๐๐ บาท พิพัฒน์ บูรณะนนท์ วานิช ทองชื่นจิตต์ ๒,๕๐๐ บาท บริจาคเพิ​ิ่ม ๑๐,๐๐๐ บาท  พงษ์เทพ ผลอนันต์ ๕,๐๐๐ บาท  สุรสิงห์ พรหมพจน์ ๔,๕๐๐ บาท


โอวี ๔๖ โอวี ๔๙ โอวี ๕๕ โอวี รุ่น ๔๖ ๒๒,๐๐๐ บาท  ธนาวุฒิ สาครสินธุ์ ๑,๐๐๐ บาท  ทวีวัฒน์ ลิ้มธนากุล บริจาคเพิ​ิ่ม ๒๐,๐๐๐ บาท  นภดล เทพวัลย์ ๒,๐๐๐ บาท  นายธนา เวสโกสิทธิ์ คณะผู้บังคับการ ๑๕,๐๐๐ บาท  นาวาโท บัญชา จันทร์ไทย ๑,๐๐๐ บาท ดร.ศุภมิตร ปิติพัฒน์ ม.ล.จิรเศรษฐ ศุขสวัสดิ์ ๒๒,๕๐๐ บาท มนต์เทพ โปราณานนท์ ๘,๐๐๐ บาท  อนันต์ สันติวิสุทธิ์ ดนุช อิศรเสนา ณ อยุธยา ๔,๐๐๐ บาท  อภิชัย มาไพศาลสิน ๒,๐๐๐ บาท อภิศักดิ์ เกี่ยวการค้า ธนันต์ วงษ์เกษม ๑,๐๐๐ บาท  โอวี ๕๐ โอวี ๕๖ น.พ.นภาดล อุปภาส ๓,๐๐๐ บาท ๑๐,๐๐๐ บาท  ทวีสิน ลิ้มธนากุล นพดล สุรทิณฑ์ ๕๐๐ บาท  โอวี รุ่น ๕๐ นรศุภ นิติเกษตรสุนทร ๑,๐๐๐ บาท  น.อ.พิศิษฎ์ ทองดีเลิศ ๒,๐๐๐ บาท  พงศธร เภาโนรมย์ ๑,๐๐๐ บาท  พรหมเมศ จักษุรักษ์ ปฏิภาณ ตันติวงศ์ ๕,๐๐๐ บาท  นพดล มิ่งวานิช ๓,๐๐๐ บาท ปวิณ รอดรอยทุกข์ ยิ่งศักดิ์ ผู้สันติ ๕,๐๐๐ บาท  เอกชัย วานิชกุล ประวิทย์ มนต์เสรีนุสรณ์ ร.อ.เปรม บุณยวิบูลย์ ๕,๐๐๐ บาท  โอวี ๕๑

๑,๐๐๐ บาท ๑,๐๐๐ บาท ๒,๐๐๐ บาท  ๒,๐๐๐ บาท  ๓,๐๐๐ บาท ๖,๐๐๐ บาท  ๒,๐๐๐ บาท  ๑,๐๐๐ บาท  ๑,๐๐๐ บาท  ๑,๐๐๐ บาท

รักพงษ์ ปัจจักขภัติ ๔,๐๐๐ บาท พล.ต.ต.จักรทิพย์ ชัยจินดา ๒๐,๐๐๐ บาท โอวี ๕๗ ดร.สหัสโรจน์ โรจน์เมธา ๑๐,๐๐๐ บาท พ.ท.ธนา ลิ้มธนากุล ๑,๐๐๐ บาท  วีระวัฒน์ เนียมทรัพย์ ๑,๐๐๐ บาท  สัตยา เทพบันเทิง รุ่น ๔๖ ๒,๐๐๐ บาท  วชิระ สายศิลปี ๕,๐๐๐ บาท  สัคคเดช ธนะรัชต์ ๒,๐๐๐ บาท ม.ร.ว.อดิศรเดช ศุขสวัสดิ์ ๓,๐๐๐ บาท  สุวิช ล�่ำซ�ำ ๑๐,๐๐๐ บาท  อนุวัตร วนรักษ์ ๑,๐๐๐ บาท โมนัย ไกรฤกษ์ ๕,๐๐๐ บาท อลงกรณ์ กฤตยารัตน์ ๕,๐๐๐ บาท โอวี ๕๘ โอวี ๔๗ โอวี ๕๒ ธนา เวสโกสิทธิ์ ๒,๐๐๐ บาท ธานี จูฑะพันธ์ ๕,๐๐๐ บาท กุลวัฒน์ วิชัยลักษณ์ ๑,๐๐๐ บาท  โอวี ๕๙ จุมพจน์ มิ่งวานิช ๕๐๐ บาท  โอวี ๔๘ กิตติ แจ้งวัฒนะ ๑,๐๐๐ บาท  ๑๐,๐๐๐ บาท  ชนัตถ์ อุดมวัฒน์ทวี ๒๐๐ บาท นพ.ชนินทร์ ล�่ำซ�ำ คมกฤช รัตนราช ๕,๐๐๐ บาท  ๕๐๐ บาท  พ.ต.ท.พรศักดิ์ บุญมี ๑,๐๐๐ บาท  บัญชา ลือเสียงดัง ปกรณ์ อาภาพันธุ์ ๕,๐๐๐ บาท ๒,๐๐๐ บาท  ทองเปา บุญหลง ๒๐๐ บาท  วิเชฐ ตันติวานิช รวินทร์ ถิระวัฒน์ ๓,๐๐๐ บาท  ๑,๐๐๐ บาท  ดร.ธรรมนูญ อานันโทไทย ๕,๐๐๐ บาท  วิเทศน์ เรืองศรี วรากร บุณยเกียรติ ๑,๐๐๐ บาท  ๒๐๐ บาท สัตยา เทพบรรเทิง ๕,๐๐๐ บาท  สันติ อุดมวัฒน์ทวี เวทิศ ประจวบเหมาะ ๕,๐๐๐ บาท ๑,๐๐๐ บาท ตุลานราพัสตร์ ลุประสงค์ ๖๙๖ บาท  สุรจิต ลืออ�ำรุง คุณอาจ อรรถกวีสุนทร ๓๐,๐๐๐ บาท ๒,๐๐๐ บาท เลิศศักดิ์ ผลอนันต์ ๕๐๐ บาท  อนันต์ จันทรานุกูล และชาตา บุญสูง   องอาจ อนุสสรราชกิจ ๒๐๐ บาท  โอวี ๕๓ อธิปัตย์ โรจนไพบูลย์ ๑,๐๐๐ บาท  อนุสนธิ์ ชินวรรโณ ๖,๐๐๐ บาท ทินนาถ กิตยาภรณ์ ๑,๐๐๐ บาท  อนุวัฒน์ ชูทรัพย์ ๑,๐๐๐ บาท อลงกต กฤตยารัตน์ ๒,๐๐๐ บาท

anuman-online.com


106

ขอขอบคุณผู้สนับสนุน

โอวี ๖๐ นิสาร ชินาลัย รดิศทัต ประภานนท์ วีรยุทธ โพธารามิก

โอวี ๖๙ โอวี ๗๙ ๑,๐๐๐ บาท กิตติ ชาญชัยประสงค์ ๓,๐๐๐ บาท โอวี รุ่น ๗๙ ๒,๐๐๐ บาท  ๑,๐๐๐ บาท บริจาคเพิ่ม ๕๐๐ บาท ภวัตพงศ์ เทวกุล ณ อยุธยา ๕๐๐ บาท  ๑,๐๐๐ บาท ธเนศ ฉันทังกูล ๕๐๐ บาท  วรุตมาศ ศุขสวัสดิ์ฯ ๑,๐๐๐ บาท พชา สุวรรณประกร ๑,๐๐๐ บาท โอวี ๘๐ โอวี ๖๑ ธนทัต อนิวรรตน์ ๕๐๐ บาท  กมล นันทิยาภูษิต ๕,๐๐๐ บาท  โอวี ๗๐ รุ น ่ ๗๐ ๓,๐๐๐ บาท ฟ้ า สาง ปริ ว ฒ ุ พ ิ งศ์ ๕,๐๐๐ บาท นครา นาครทรรพ ๒,๐๐๐ บาท  ภัคพงศ์ จักษุรักษ์ ๒,๐๐๐ บาท โอวี ๗๑ โอวี ๘๑ วิ ร ช ั เทพารั ก ษ์ ๑,๐๐๐ บาท  รชต ชื่นชอบ ๑,๐๐๐ บาท โอวี ๖๒ สถิร ตั้งมโนเพียรชัย ๑,๐๐๐ บาท โอวี ๘๒ โกมุท มณีฉาย ๑,๐๐๐ บาท  สันติ กิจเจริญรุ่งโรจน์ ๑,๐๐๐ บาท  ชิดชนก กฐินสมิต ๑,๐๐๐ บาท  เมธัส ไกรฤกษ์ ๕,๐๐๐ บาท อาทิตย์ ประสาทกุล ๑,๐๐๐ บาท ทรงศักดิ์ ทิพยสุนทร ๑,๐๐๐ บาท  ธนพร คชเสนี ๑,๐๐๐ บาท  โอวี ๗๒ เพื่อนโอวีและผู้ปกครอง ๑,๐๐๐ บาท ปิยะพงษ์ บุณยศรีสวัสดิ์ ๒,๐๐๐ บาท  กันต์ ปัจจักขภัติ บริษัท AIA จ�ำกัด ๒๘๘๙๐ บาท ๕,๐๐๐ บาท ประภากร วีระพงษ์ ๑,๐๐๐ บาท ประยุทธ์ จีรบุณย์ ณรงค์ บุญเสถียรวงศ์ ๑,๐๐๐ บาท    โอวี ๗๓ วิฑูรย์ จอมมะเริง ๑,๐๐๐ บาท  ภัฎพงศ์ ณ นคร ๕๐๐ บาท  นักเรียนเก่าฯ รุ่น ๗๓ ๑๗,๕๐๐ บาท ด.ช.เมธิชัย ชินสกุล ๒,๐๐๐ บาท  วรรธนะ อาภาพันธุ์ ๒,๐๐๐ บาท บริจาคเพิ​ิ่ม ๑๐,๐๐๐ บาท  ร.ศ.พญ.ผจง คงคา ๕,๐๐๐ บาท ณั ฐ พล ลิ ป พ ิ น ั ธ์ ๑๑,๐๐๐ บาท  โอวี ๖๓ สมพร ไม้สุวรรณกุล ๒๐๐ บาท บริจาคเพิ​ิ่ม ๑๐,๐๐๐ บาท ภูริเชษฐ์ โชติพิมพ์ ๕,๐๐๐ บาท * ตัวเข้มและขีดเส้นใต้ คือ ผู้บริจาคใหม่ พญาไท ๖๓ ๕,๐๐๐ บาท โอวี ๗๔ พฤศ อุดมวัฒน์ทวี ๒๐๐ บาท หรือเพิ่มเติม โอวี ๖๕ ปณิธิ นอบไทย ๑,๐๐๐ บาท วัชระ ตันธนะ ๕,๐๐๐ บาท  ศศิศ อุดมวัฒน์ทวี ๒๐๐ บาท ปรีเทพ บุญเดช ๕๐๐ บาท โอวี ๗๕ โอวี ๖๖ ธัชกร พัทธวิภาส ๑,๐๐๐ บาท  ๑,๐๐๐ บาท เจษฎา บ�ำรุงกิจ ๑,๐๐๐ บาท  อัคร ปัจจักขภัติ พันตรี จุณณะปิยะ ๑,๐๐๐ บาท โอวี ๗๖ โอวี ๖๗ ชาคร ปัถพีสิน ๑๐,๐๐๐ บาท กิตติวัฒน์ กิจถาวรวงศ์ ๓,๐๐๐ บาท โอวี ๗๗ วิชชุ วุฒานุรักษ์ ๑,๐๐๐ บาท


ห้องเบิกของ

ธุรกิจขนาดย่อมของชาวโอวี

107

ร้านอาหาร ร้านรับลมริมน�้ำ มีทั้งวิวริมน�้ำและนักว่ายน�้ำ พี่โย่ง ป๊อก บุญยัง โอวี ๕๐ และพี่โจ้ โอวี ๕๔ ริมสระว่ายน�้ำ Riverline Place คอนโดมิเนียม   ถนนพิบูลสงคราม นนทบุรี ๐๒-๙๖๕-๓๒๐๐

ร้านอาหารบ้านประชาชื่น อาหารไทยสูตรต้นตระกูล สนิทวงศ์ และข้าวแช่ต�ำรับ ม.ล.พร้อมศรี พิบูลสงคราม เปิดตั้งแต่ ๑๐.๓๐-๑๕.๓๐ น. ไม่ขายช่วงเย็น ไม่มีวันหยุด เสาร์-อาทิตย์ บวรพิตร พิบูลสงคราม   (พี่บูน) โอวี ๔๖ ร้านครัวกะหนก เลขที่ ๓๗ ซอยประชาชื่น ๓๓ โอวีรับส่วนลดค่าอาหาร ๑๐% กรุงเทพฯ ภรรยา กุลธน ประจวบเหมาะ ๐๒-๕๘๕-๑๓๒๓,   (ต้น) โอวี ๕๕ ๐๘๙-๖๑๙-๒๖๑๐ ลาดพร้าว ๗๑ ๑๕๐ เมตร The Old Phra Arthit Pier จากปากซอย อยู่ซ้ายมือ ร้านอาหารสวยริมเจ้าพระยา ๐๒-๕๑๔-๑๘๑๔ ยามเย็น ส�ำหรับโอวีที่ไปอุดหนุน ร้านอาหารห้องแถว ลดทันที ๑๐% ร้านอาหารเหนือล้านนาสุดอร่อย พงศ์ธร เพชรชาติ โอวี ๖๐ เมนูขึ้นชื่อ แกงโฮะ ปลาสลิด ท่าพระอาทิตย์   ทอดฟู และแหนมผัดไข่ ถนนพระอาทิตย์ ษาเณศวร์ โกมลวณิช ๐๒-๒๘๒-๙๒๐๒   (ถลอก) โอวี ๖๙ ๐๘๑-๘๒๒-๔๔๐๒ ถนนนิมานเหมินทร์ เชียงใหม่ addict cafe & thing ๐๕๓-๒๑๘-๓๓๓ ร้านกาแฟเล็กๆ OZONO PLAZA จักรพันธุ์ บุญหล่อ โอวี ๗๒ แหล่งรวมร้านค้าส�ำหรับทุกสิ่ง ตรงข้ ามวัดบวรนิเวศวิหาร ทุกอย่างที่เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง และ ๐๘๕-๓๒๓-๖๖๖๘, พื้นที่ให้สัตว์เลี้ยงได้วิ่งเล่น ๐๘๖-๗๗๔-๙๗๒๓ คมกฤช รัตนราช โอวี ๕๙ ท้ายซอยสุขุมวิท ๓๙   (พร้อมพงษ์) ทะลุออกถนน เพชรบุรีหลังตึกอิตัลไทย www.ozono.us ๐๘๑-๖๕๗-๖๑๘๒ WHO

WHO

ADDRESS

ADDRESS

WHO

WHO

WHO

WHO

WHO

ADDRESS

ADDRESS

ADDRESS

ADDRESS

WHO

WHO

WHO

WHO

ADDRESS

ADDRESS

ADDRESS

WHO

WHO

ADDRESS

WHO

WHO

WHO

WHO

ร้านอาหารชิมิ หม้อชาบูชาบูและเตาปิ้งย่าง ยาคินิคุ ในแบบบุฟเฟ่ต์โฮมเมด วัตถุดิบชั้นเยี่ยมราคาอิ่มสบาย ศิโรฒน์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา โอวี ๔๔ ถนนประดิพัทธ์ ซอย ๑๙ shimi_restaurant@hotmail.com ๐๒-๓๕๗-๑๓๙๐-๑ WHO

ADDRESS

ADDRESS

ร้าน How To ดนตรีแนว acoustic & Folk song และมีส่วนลดให้โอวี ๒๐% ภิญโญ โอวี ๔๔ ปากซอยอินทามระ ๒๖ ๐๘๖-๓๐๐-๕๘๔๖ WHO

ADDRESS

ADDRESS

Littel pig A new breed of sport bar ชมรักบี้+พรีเมียร์ลีกสดทุกคู่สนุก กับพูลเกมทุกวัน O.V.ลด 30% ธีรภัทร์ แซ่ลิ้ม โอวี ๗๔ 2nd floor โครงการ   Nihonmachi สุขุมวิท ๒๖ ๑๘๗-๑๑๒-๑๐๓๔  ๐๘๑-๓๙๙-๐๒๔๗ WHO

ADDRESS

ADDRESS

ADDRESS

ADDRESS

ADDRESS

ADDRESS

anuman-online.com


108 ห้องเบิกของ โรงแรม บ้านไร่วิมานดิน ออร์แกนิคฟาร์มสเตย์ รีสอร์ทริมล�ำธารอิงขุนเขา บริการ อาหารปลอดสารพิษจากเกษตร อินทรีย์ ส�ำหรับโอวีราคาพิเศษ พ.ต.ท.กฤชญาณ อภิกุลชา (อ�ำรุง) โอวี ๔๔ อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี www.vimarndinfarmstay.com ๐๘๑-๘๔๒-๔๗๕๔ ดิ. โอวี. คันทรี รีสอร์ท เอกลักษณ์การตกแต่งและกลิน่ อาย สมัยอยู่โรงเรียน กมล นันทิยาภูษิต โอวี ๖๑ กลางเมืองจันทบุรี ขับผ่านก็ สามารถสังเกตเห็นได้ง่าย ๐๘๑-๘๓๓-๒๑๒๕ โรงแรมรัตนาปาร์ค โอวีท่านใดผ่านมาโทรบอกได้เลย ราคาห้องพิเศษ มาฆะ พุ่มสะอาด โอวี ๕๕ พิษณุโลก ๐๕๕-๒๔๔-๕๒๑,   ๐๘๑-๕๙๖-๖๓๙๖

ไร่ภูอุทัย ณัฐฐาวารีน�้ำพุร้อน ในวงล้อมธรรมชาติเขาใหญ่ สูดรับ อาบน�้ำแร่แช่น�้ำร้อนท่ามกลาง โอโซนระดับ ๗ บนลานเนินกว้าง ธรรมชาติ ทีเด็ดปลามัจฉาบ�ำบัด อ�ำนวยศิลป์ อุทัย โอวี ๗๑ จากต่างประเทศ บ�ำรุงผิวพรรณ และรังสรรค์ อุทัย โอวี ๗๒ ภวิษย์พงศ์ พงษ์สิมา โอวี ๗๖ ถนนพหลโยธินขาออกจาก ริมถนเพชรเกษม ระหว่าง จ.สระบุรี ซอยที่เป็น  กม. ที่ ๑๓-๑๔   เส้นทางลัดไป อช.เขาใหญ่ (กม.ที่ ๙๙๐ กระบี่-ตรัง) www.phu-uthai.com บ.บางผึ้ง ต.โคกยาง   อ.เหนือคลอง จังหวัดกระบี่ ๐๘๐-๔๙๙-๙๐๒๔ www.natthawaree.com คีรีตา รีสอร์ท ๐๗๕-๖๐๑-๖๔๒,   รีสอร์ทบูทีคโฮเต็ล เหมาะแก่การ ๐๘๙-๗๘๐-๖๔๗๖ พักผ่อน และจัดสัมมนา ยินดี ต้อนรับโอวีทุกท่าน พร้อมได้รับ ตาลคู่บีช รีสอร์ท บริการในราคาพิเศษ รีสอร์ทสวยริมทะเลใส อุรคินทร์ ไชยศิริ (กิมจิ)   อลงกต วัชรสินธุ์ (อยากเกา)   โอวี ๗๐ โอวี ๗๕ เกาะช้าง จังหวัดตราด อ.ขนอม จ.นครศรีธรรมราช ใกล้เกาะสมุย g_got75@ ๐๘๙-๗๔๘-๗๕๒๘ hotmail.com Amphawa River View ๐๘๕-๘๔๗-๗๕๗๕ โฮมสเตย์ริมน�้ำ กับบรรยากาศ ตลาดน�้ำ สัมผัสวิถีชีวิตดั้งเดิม โรงแรมพิจิตรพลาซ่า ของไทย ยินดีต้อนรับโอวีทุกท่าน สุขชัย ไกรเดช โอวี ๔๑ ในราคาเบาๆ ๙ ถ.สระหลวง ต.ในเมือง อ.เมืองพิจิตร จ.พิจิตร ชโนดม โชติกพนิช (ดม)   ชุมพรคาบานา ๖๖๐๐๐ โอวี ๗๐ และศูนย์กีฬาด�ำน�้ำลึก ตลาดน�้ำอัมพวา   ๐๕๖๖๑๓๕๐๒ - ๙  โทรสาร ๐๕๖๖๑ - ๓๕๐๒ www.amphawariverview.com ให้บริการที่พัก จัดสัมมนา และ บริการด�ำน�้ำลึก บริหารงานตาม ๐๓๔-๗๕๑-๒๐๒ แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง The Bihai Huahin วริสร รักษ์พันธุ์ โอวี ๖๑ หาดทุ่งวัวแล่น จังหวัดชุมพร โอวีลด ๒๐% ......... www.chumphoncabana.com ๘๙ หมู ่ ๕ บ้ า นหั ว ดอน  ๐๗๗-๕๖๐-๒๔๕-๗, ต�ำบลหนองแก หัวหิน ๐๘๙-๗๒๔-๙๓๒๐ ๐๓๒-๕๒๗-๕๕๗-๖๐ WHO

ADDRESS

ADDRESS

ADDRESS

WHO

WHO

ADDRESS

ADDRESS

WHO

WHO

ADDRESS

WHO

ADDRESS

ADDRESS

ADDRESS

ADDRESS

WHO

WHO

WHO

WHO

WHO

WHO

ADDRESS

WHO

WHO

WHO

ADDRESS

ADDRESS

WHO

WHO

ADDRESS

ADDRESS

WHO

WHO

WHO

ADDRESS

ADDRESS

ADDRESS

ADDRESS

WHO

WHO

ADDRESS

ADDRESS

ADDRESS


บริการ รับถ่ายรูป รับถ่ายรูปงานแฟชั่นโชว์, งาน ถ่ายภาพนิง่ เพือ่ การโฆษณาต่างๆ, งานเฉลิมฉลองและถ่ายรูปใน สตูดิโอ ทั้งภาพบุคคล, ผลิตภัณฑ์และสถานที่ ณัฏฐ์ ไกรฤกษ์ โอวี ๗๒ สตูดโิ อ ในหมูบ่ า้ นการ์เด้นโฮม สะพานใหม่ www.natphoto.com   nat_vc72@hotmail.com ๐๘๗-๐๕๑-๘๖๐๕ โรงพยาบาลสัตว์ Lovely Pet รับรักษาสัตว์ ฉีดวัคซีน ผ่าตัด ท�ำหมัน เอ๊กซเรย์ ขูดหินปูน อาบน�้ำตัดขน บริการนอกสถาน ที่และรับปรึกษาปัญหาสัตว์เลี้ยง รับฝากเลี้ยง และจ�ำหน่าย อุปกรณ์,อาหารต่างๆ น.สพ.อุรนิ ทร์ คชเสนี โอวี ๗๑ ๓๕/๓๙-๔๐ ถ.รัตนาธิเบศร์ อ.เมือง นนทบุรี ๐๒-๙๖๙-๘๔๘๙,   ๐๘๙-๘๑๖-๘๑๓๘ ร้านตัดผม Sindy Lim ร้านตัดผมส�ำหรับสุภาพบุรุษและ สุภาพสตรี หากก�ำลังมองหาร้าน ท�ำผมเพื่อออกงานสุดหรูหรือ เปลีย่ นลุคแล้ว เชิญไปใช้บริการ ได้ โอวีลดให้พเิ ศษ ทวีสิน ลิ้มธนากุล (สิน)   โอวี ๕๕ ปากซอยสุขุมวิท ๔๙   อยู่ขวามือ ตรงข้ามเซเว่นฯ ๐๒-๒๖๐-๐๖๓๕ WHO

WHO

WHO

WHO

ADDRESS

WHO

ADDRESS

ADDRESS

ADDRESS

WHO

WHO

WHO

ADDRESS

ADDRESS

WHO

บริษัท น�้ำ-ทอง เทรดดิ้ง จ�ำกัด จ�ำหน่ายน�้ำมันหล่อลื่น อุตสาหกรรมทุกชนิด (ปตท, บางจาก, แมกซิมา) ภณธร ชินนิลสลับ   (ซอมป่อย) โอวี ๖๘ ๑๘๘/๑๐๗ ม.๑ ต.คอหงส์ อ.หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ๐๒-๑๗๕-๔๑๓๖,   ๐๘๕-๓๒๔-๙๙๐๑ นึกถึงประกันภัย บ้าน, รถยนต์, อุบัติเหตุ, etc. นึกถึง Kevin..! Call me Bro! เขต ณ พัทลุง โอวี ๗๑ ๐๘๑-๓๕๙-๗๑๐๒ AUTO X จ�ำหน่ายรถยนต์น�ำเข้าทุกยี่ห้อ และศูนย์บริการซ่อมรถยนต์ ทุกชนิด ด้วยอุปกรณ์ตรวจเช็ค ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ตุลย์ ธีระอรรถ ถ.พหลโยธิน ข้าง สน.บางซื่อ ตรงข้ามอาคารชินวัตร ๒ ๐๒-๖๑๕-๕๕๓๓

สินเชื่อบ้าน ธนาคารกรุงศรีอยุธยา บริการสินเชื่อบ้านเอนกประสงค์, คอนโดฯ และรีไฟแนนซ์ สุรศักดิ์ โรหิตะศุน (หน่าว) โอวี ๗๐ ๐๘๑-๑๖๘-๘๙๕๕ Phuket Dog Park บริการฝากเลี้ยง, อาบน�้ำ, ตัดขน และฝึกสุนัข ทรรสม รัตนพันธ์ (แฟรงค์) โอวี ๗๐ ๐๘๖-๙๔๒-๔๓๐๒ facebook: phuketdogpark ร้านฟูฟู รับอาบน�้ำตัดขนสุนัข รับฝาก สัตว์เลี้ยง เจษฎา ใยมุง โอวี ๖๕ ถนนท่าแฉลบ อ.เมือง จังหวัดจันทบุรี ๐๘๑-๓๕๓-๒๘๖๕ ร้านขายสัตว์เลี้ยง Furrytail ร้านขายผลิตภัณฑ์ส�ำหรับ สัตว์เลี้ยงผ่านทางอินเตอร์เนต กอบกิจ จ�ำจด โอวี ๘๐ บจก. ๙พีเอสเมทัลชีท www.weloveshopping.com/ ผลิตและจ�ำหน่ายผลิตภัณฑ์ shop/furrytail หลังคา ผนังแผ่นเหล็กเมทัลชีท, ๐๘๖-๕๒๘-๑๐๘๕ รวมถึงรับติดตั้งด้วย พลเทพ ณ สงขลา โอวี ๖๖ ไอซิด ๒๙/๑๓ ม.๖ ถ.เสมาฟ้าคราม รับตกแต่งภายในและรับเหมา ต.คูคต อ.ล�ำลูกกา ก่อสร้าง โดยเฉพาะบ้านและ จ.ปทุมธานี คอนโด ๐๒-๕๓๓-๐๐๙๖   ภคภพ (สิทธิพงษ์) โอวี ๖๖ ๐๘๑-๓๐๒-๐๒๔๑ ซ.เจริญยิ่ง   www.icidcompany.com ๐๒-๕๑๔-๐๘๓๙,   ๐๘๑-๗๓๓-๗๗๐๑ WHO

WHO

ADDRESS

WHO

ADDRESS

WHO

ADDRESS

ADDRESS

ADDRESS

WHO

ADDRESS

WHO

WHO

ADDRESS

ADDRESS

ADDRESS

WHO

WHO

WHO

ADDRESS

ADDRESS

ADDRESS

ADDRESS

WHO

WHO

ADDRESS

ADDRESS

anuman-online.com


110 ห้องเบิกของ บริการ

ฉบับปี ๒๕๕๐

บริษัท DML Export จ�ำกัด หลอดประหยัดไฟ LED bulb ประหยัดไฟมากกว่าธรรมดาถึง ๕ เท่า ผลิตภัณฑ์เป็นมิตรกับ ธรรมชาติ และสามารถน�ำมา รีไซเคิล ๑๐๐% นฤพนธ์ สุน่ กุล (รันตู) โอวี ๗๖ ๐๘๔-๗๖๗-๖๕๒๒ WHO

ลา โบนิต้า บาย เอส (La Bonita by S) บริการนวดสปาและขายขนมเค้ก ปรรัตถ สมัครจันทร โอวี ๗๒ ๑๑๗/๔-๕ ซอยพหลโยธิน ๗ (ซอยอารีย์) ถ.พหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร ๑๐๔๐๐ ๐๒-๒๗๘-๕๐๕๕ NAPAT GRAND ELECTRIC รับจ�ำหน่าย ติดตั้งซ่อม และ ล้างเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิด ราคาถูกกว่าห้าง ชัวร์!!!! ณภัทร (ธันว์) ยิม้ เเย้ม โอวี ๗๖ ๐๘๙-๘๔๑-๔๑๒๔ Kevin-insurance@hotmail.com Zyplus.com ธุรกิจอินเตอร์เนต ให้บริการเช่า พื้นที่เว็บโฮลดิ้งของเว็บไซต์และ บริการจดโดเมนเนม สิษฐวัฒน์ ตู้จินดา โอวี ๖๗ www.zyplus.com ๐๒-๘๙๑-๕๕๒๙ 22EQ รับออกแบบและจัดท�ำเว็บไซต์ กอบกิจ จ�ำจด โอวี ๗๐ www.jate.22eq.com ๐๘๖-๕๒๘-๑๐๕๘ WHO

WHO

ADDRESS

ฉบับ ๓ ฉบับ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๐ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๑ ฉบับปี ๒๕๕๑

ADDRESS

ADDRESS

WHO

WHO

ฉบับ ๒ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๐

ADDRESS

ADDRESS

WHO

WHO

ฉบับ ๑ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๐

ADDRESS

WHO

WHO

ADDRESS

ADDRESS

ADDRESS

ฉบับ ๕ เม.ย.-พ.ค. ๒๕๕๑

ฉบับ ๖ มิ.ย.-ก.ค. ๒๕๕๑


อนุมานวสาร ฉบับย้อนหลัง

ฉบับปี ๒๕๕๑

ฉบับ ๗ ส.ค.-ก.ย. ๒๕๕๑

111

ฉบับปี ๒๕๕๒

ฉบับ ๘ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๑

ฉบับ ๙ ม.ค.-ก.พ. ๒๕๕๒

ฉบับ ๑๐ มี.ค. เม.ย. ๒๕๕๒

ฉบับปี ๒๕๕๒

ฉบับ ๑๑ พ.ค-มิ.ย. ๒๕๕๒

ฉบับ ๑๒ ก.ค.-ส.ค. ๒๕๕๒

ฉบับ ๑๓ ก.ย.-ต.ค. ๒๕๕๒

ฉบับ ๑๔ พ.ย.-ธ.ค. ๒๕๕๒ ฉบับปี ๒๕๕๔

ฉบับ ๑๗ ก.ค.-ต.ค. ๒๕๕๓

ฉบับ ๑๘ ม.ค.-เม.ย. ๒๕๕๔

ฉบับปี ๒๕๕๓

ฉบับ ๑๕ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๓

ฉบับ ๑๖ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๓

anuman-online.com


112

อนุมานวสาร

ฉบับปี ๒๕๕๔

ฉบับปี ๒๕๕๕

ฉบับ ๑๙ เม.ย.-มิ.ย. ๒๕๕๔

ฉบับ ๒๐ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๕๕

ฉบับปี ๒๕๕๕

ฉบับปี ๒๕๕๖

ฉบับ ๒๓ ก.ย.-ธ.ค. ๒๕๕๕

ฉบับ ๒๔ ม.ค.-ส.ค. ๒๕๕๖

ฉบับ ๒๑ ม.ค.-เม.ย. ๒๕๕๕

ฉบับ ๒๒ พ.ค.-ส.ค. ๒๕๕๕

ฉบับปี ๒๕๕๗

ฉบับ ๒๕ ก.ย. ๒๕๕๖-มี.ค. ๒๕๕๗

ขอรับอนุมานวสารฉบับย้อนหลังได้ที่ สมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยฯ ๑๙๙ ถนนพิชัย เขตดุสิต กทม. ๑๐๓๐๐ โทร. ๐-๒๒๔๑-๓๐๕๙ โทรสาร ๐-๒๖๖๙-๓๕๑๘ (คุณวาสนา จันทอง)




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.