SPT Editor's Picks April 2014

Page 1

APRIL 2014

SPTEP 7


Tavepong Pratoomwong


EDITOR’s TALK ช่วงนี้ร้อนโคตรๆเลยนะครับเป็นอุปสรรคกับคน ถ่ายภาพ Street อยู่ไม่น้อย ยังไงถ้าออกไปถ่ายภาพก็หา อะไรปิดหนังหัวหน่อยก็ดีครับ อาจเลือกช่วงเวลาที่แดด ไม่ร้อนนัก เช่น ตอนเย็นๆ หรือเลยไปช่วงดึกเหมือนกับ อย่างที่ Maciej Dakowicz (ช่างภาพ in-public) ที่ทำ� โปรเจคที่ชื่อ Cardiff After Dark ออกมา ได้ความแปลก ใหม่แถมไม่ร้อนด้วย ใครสนใจลองสอบถามพี่กอล์ฟ Nakarin Teerapenun ดูนะครับ :D SPTEP ฉบับนี้มีคอลัมภ์ใหม่ที่ชื่อ Shooter Interview เป็นบทความแนะนำ�ช่างภาพสตรีทชาวไทยที่ มีผลงานน่าสนใจ โดยเล่มนี้เริ่มจากคุณ Na Joy หรือ MR.LIGHTMAN1975

ขอบคุณครับ Akkara Ning


Surat Chokechalerm


CONTRIBUTORS Anusak Laowilas Ball Sikitikul Chanin Pongnimit Dang Maneedang David Cartier Nicky Enrico Markus Essl Jeerawat Chuttiwatanathada Naung Charnyuth Noppadol Maitreechit Ple Assawinnimit Popo Mangun Rohit Vohra Songkran Weerapong Surat Chokechalerm Taey Kittipong Tavepong Pratoomwong Teeradej Lim Therockermania Kerngburi TheSkaman Tues’day Glory Vineet Vohra Wachararwish Mu Worachet Lee ต่อ พ่ออ๊อตโต้

Ping Spg


SHOOTER Interview

MR.LIGHT MR.LIGHTMAN19


TMAN1975 975


MR.LIGHTMAN1975

แนะนำ�ตัวนิดนึงครับ เป็นใครมาจากไหน ชื่อ”นะ”ครับ เพื่อนใน facebook เรียก “najoy” ชื่อในวงการ ถ่ายภาพคือ MR.LIGHTMAN1975 ผมเรียนจบจากคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สาขาศิลปะการถ่ายภาพ จบมาก็ทำ�งาน เป็นช่างภาพนิตยสาร ต่อมาก็ได้เป็นหัวหน้าช่างภาพและช่างภาพ แฟชั่นถ่ายนิตยสารหลายเล่ม หลังจากทำ�งานประจำ�ได้เกือบสิบปี ผมก็ออกมาเป็น freelance รับงานถ่ายภาพโฆษณาอยู่หลายปี จน เริ่มเบื่อวงการก็ประกาศเลิกรับงานทุกชนิดจากเอเจนซี่ อำ�ลาวงการ

ตอนนั้นความรู้ความเข้าใจงานสตรีทยังน้อยมากๆ เรียกว่าไม่รู้เลยจะดีกว่า โชคดีที่ได้เจอกลุ่ม Street Photo Thailand ซึ่งเปิดกระโหลกได้มากจริงๆ ผมศึกษาอยู่ครึ่งปีคิดว่าพอจะเข้าใจงานสตรีทขึ้นบ้างเล็กน้อย ถึงได้เริ่ม โพสภาพแรกแล้วก็ลากยาวมาถึงวันนี้

ปัจจุบันทำ�งานอะไรอยู่ ขายภาพถ่าย และ digital art ผ่านเวบนอกครับ ทำ�จนมี ผลงานจำ�นวนหนึ่งมากพอผมก็หยุด ไม่ต้องการเป็นหนูถีบจักร ให้ ภาพเค้าทำ�งานให้เรา มีอารมณ์สุนทรีย์ก็ค่อยส่งภาพบ้างเล็กน้อย เฉพาะงานที่เป็น fine art มีภาพ street บ้าง ขายได้ด้วยครับ เป็น นายตัวเองมีเวลาเหลือเฟือ

อะไรเป็นแรงบันดาลใจ หรือใครเป็นต้นแบบ เอาแบบถ้าถามปุ๊บแล้วชื่อลอยขึ้นมาทันทีเลยก็มี Alex Webb กับ Martin Parr ส่วนที่เหลือช่างภาพสตรีทระดับตำ�นานชอบหมด ช่างภาพ สตรีทสมัยใหม่ระดับอินเตอร์นี่ก็ชอบแทบทุกคน ผมดูงานสตรีทแท้ๆเยอะ มาก แต่จะเลือกดูงานสตรีทสมัยใหม่มากหน่อย ดูแล้วก็ผ่านไปไม่เคยคิด ว่าใครเป็นต้นแบบ ผมเชื่อว่าภาพถ่ายของเรานั้นถ่ายทอดออกมาจากวิธีคิด มุมมอง การมองเห็นโลก การใช้ชีวิตและประสบการณ์ของเราเอง รวมถึง ทักษะการถ่ายภาพที่เราสั่งสมมา แรงบันดาลใจมันเกิดขึ้นสดๆใหม่ๆทุกวัน ตอนที่เราออกไปถ่ายภาพในที่ต่างๆ ผู้คนใหม่ๆ ตลอดจนเหตุการณ์เฉพาะ หน้าสดๆร้อนๆ

เริ่มถ่ายสตรีทได้อย่างไร เริ่มจากมีเวลาว่างมากจัด ประกอบกับตอนนั้นขายกล้อง DSLR ทิ้งหมด เปลี่ยนมาใช้ Leica M ก็ไล่ตามดูงานของช่างภาพ ที่ใช้ leica เลยได้มีโอกาสเห็นภาพถ่ายของ Henri Cartier Bresson ทำ�ให้หลงใหลในงานสตรีททันทีแบบไม่ต้องมีคำ�บรรยายใดๆ

Street ของตัวเองแตกต่างจากคนอื่นๆอย่างไร ปกติแล้วหากเราอยากรู้ว่างานเราเป็นอย่างไร ให้ถามจากคนอื่นที่ มีความรู้ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในงานสตรีทแท้ๆ คนที่มองภาพสตรีทแท้ๆ ออก เขาจะบอกได้โดยปราศจากอคติในใจเหมือนเจ้าของภาพเอง แต่ก็อาจ จะเจือด้วยรสนิยมที่แตกต่างกันของช่างภาพแต่ละคนที่วิจารณ์งานให้เรา


เข้าไปด้วย ทีนี้ถ้าจะให้มองงานสตรีทของตัวเอง ภาพผมไม่ค่อยเอา ฮาเท่าไหร่ เป็นการจัดวางองค์ประกอบภาพ ใช้สีและแสงเงา มีความ เป็นsurreal บางส่วนเป็นงานที่ใช้แฟลชซึ่งมีกลิ่นของแฟชั่นอยู่ คร่าวๆ สั้นๆแค่นี้ ยังฝึกฝนต่อไป ทุกวันนี้ผมให้ช่างภาพสตรีทระดับอินเตอร์ เค้า comments แล้วเก็บกลับมาพัฒนางานตัวเองมากกว่า คิ ด ว่ า ทำ � ไมคนส่ ว นใหญ่ ร วมถึ ง ช่ า งภาพบางส่ ว นไม่ เ ข้ า ใจ street photography “เพราะไม่คิดจะศึกษาว่าภาพสตรีทแท้ๆคืออะไรครับ” ส่วน มากแค่อยากเอารูปที่ตัวเองถ่ายมาโพสโชว์มากกว่า ภาพที่โพสกัน ตามกลุ่มสตรีทบน facebook ทั้งของไทยและเมืองนอกนั้น ส่วนมาก เป็นภาพถ่ายถ่าย portrait เฉยๆไม่ใช่งานสตรีท หรือไม่ก็ออกไปทาง documentary เขียนเรียงความประกอบภาพเสร็จสรรพ ภาพจำ�นวน มากนอกจากไม่ใช่ภาพถ่ายสตรีทแล้วไม่รู้จะเรียกภาพถ่ายอะไรดี เรียก ว่าถ่ายทั่วๆไปเรื่อยเปื่อยก็ได้ กลุ่มสตรีทนอกบน facebook ที่ดีหน่อย ก็จะเป็นงานสตรีทแบบ easy listening ที่เน้นภาพถ่ายแสงสวยๆ สื่อ ตรงๆเข้าใจง่ายไม่ซับซ้อน คนทั่วไปดูแล้วชอบทันที เรียก Like ได้เยอะ จะมีช่างภาพไม่กี่คนเท่านั้นที่งานขยับเข้าไปใกล้เคียงกับสตรีทแท้ๆใน ระดับสากล เราดูแล้วแยกออกได้จากภาพของเขาว่ามีความเข้าใจใน งานสตรีทอยู่ในระดับไหน

จะอธิบายเขาง่ายๆได้อย่างไร และภาพที่ดีควรเป็นอย่างไร Bruce Gilden พูดเอาไว้ว่า “if you can smell the street by looking at the photo,it’s street photograph” คำ�ว่า“ได้กลิ่นสตรีท”มันเป็นนามธรรมครับแต่คนที่ดูและศึกษา งานสตรีทแท้ๆมามาก ถ่ายภาพสตรีทมานานพอจนเข้าถึงงานสตรีทก็ จะเข้าใจตรงกันที่ว่า “ภาพนี้มีกลิ่นสตรีทอยู่นะ” แม้ว่าจะถ่ายกลางทะเล ก็เป็นภาพสตรีทแท้ๆที่มีกลิ่นสตรีทได้ ไม่ใช่สักว่าภาพถ่ายที่มองเห็น ถนนหรือถ่ายข้างถนนจะเป็นภาพสตรีท ภาพสตรีทนั้นมีพัฒนาการมา ยาวนานและก้าวไปไกลมาก จนมีลักษณะพิเศษเฉพาะตัวไม่เหมือนใคร มีความเป็น Art สูง ใช้เรื่องขององค์ประกอบศิลป์ ทฤษฎีสี space การ ใช้ layers ที่สลับซับซ้อน เป็นภาพที่ไม่จัดฉาก เกิดขึ้นจริงในชีวิตประจำ� วันทั่วไปแต่ดูไม่ธรรมดา มีการเล่นกับความคิด การล้อเลียน หักมุม ขัด แย้ง เสียดสี เกิดคำ�ถาม ความสงสัย งุนงง ตลกขบขัน การเล่นกับสีหน้า อารมณ์และท่าทางประหลาดๆของแบบซึ่งจะทำ�ปฏิกริยากับผู้ชมภาพ ต่างๆกันไป และ decisive moment ถือว่าเป็นจิตวิญญาณในงานสตรีท ที่ไม่มีวันล้าสมัยเด็ดขาด ในภาพสตรีทภาพหนึ่งอาจมีลักษณะเฉพาะของ งานสตรีทเพียงอย่างเดียว สองอย่าง หรือภาพระดับสุดยอดที่มีครบแทบ จะทุกอย่างในภาพเดียวก็ได้ อุปสรรคสำ�คัญของการถ่ายภาพ street คืออะไรครับ อุปสรรคจริงๆน่าจะมาจากตัวเรามากกว่าปัจจัยภายนอกครับ



อย่างแรกคือความรู้ความเข้าใจงานสตรีทของตัวเราเองว่าอยู่ในระดับ ไหน งานเราก็จะออกมาระดับนั้น หรือบางคนเข้าใจและเห็นมามาก พอแต่ยังถ่ายทอดออกมาไม่ได้ดีนัก ก็เพราะยังฝึกฝนไม่เพียงพอและ ก็อาจจะฝึกฝนแบบผิดๆ ไม่ก็ติดอยู่ที่การถ่ายแบบเดิมๆก็ได้ อย่างที่ สองคือเรื่องของใจ ถ้าใจเรากลัว ประหม่า กดดัน ขาดความมั่นใจ มัน ก็จะสะท้อนออกมาเวลาเราเดินเข้าหาผู้คนด้วยท่าทาง สีหน้า แวว ตา การเคลื่อนไหวที่ไม่เป็นธรรมชาติ มีความเครียดเกร็งแผ่ออกไป รอบข้างจนคนทั่วไปเขาสัมผัสได้ แต่ถ้าใจเราสบายๆ กลมกลืนไปกับ สภาพแวดล้อม ยิ้มแย้ม มีความสุข เป็นมิตร บรรยากาศรอบๆตัวเรา ก็มักจะดีเสมอ แม้แต่การตบแฟลชในระยะใกล้มากๆแบบที่ผมถ่าย ก็ ไม่เคยมีปัญหา ผมเจอแต่รอยยิ้ม บางคนก็ขำ� บางคนก็แค่สงสัยว่าเรา เป็นนักท่องเที่ยวถ่ายผ่านไปข้างหลังของเขาเสียมากกว่า จังหวะการ ถ่ายของเราเร็วด้วยยกขึ้นยกลงเสี้ยววินาทีเอง เลยไม่มีความกดดันกับ ใคร ถ่ายแล้วก็เดินผ่านไปอย่างเป็นธรรมชาติ ถ้าคนถ่ายหน้าเครียด นิสัยก้าวร้าว จะจู่โจมถ่ายเอามันส์หรือให้เขาตกใจ มันก็จะออกมา อีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งให้ผลลัพธ์ที่ไม่ดีเลยทั้งคนถ่ายและผู้ถูกถ่าย ต้อง ปรับทัศนคติตรงนี้ให้ดีด้วย …ถ้ามองงานสตรีทออกแล้ว ถ่ายได้อย่าง เป็นธรรมชาติแล้วก็เหลือแค่ความขยันแล้วหละครับ อุปสรรคใหญ่เลย ความขี้เกียจนี่ ภาพของคุณนะมีความเป็น street สมัยใหม่สูง คิดยังไงกับ street สมัยเก่าที่เล่าเรื่องชีวิตธรรมดาทั่วไป ภาพสตรีทในยุคคลาสสิคมักจะเรียบง่ายแต่ก็แฝงไปด้วยสเน่ห์ ที่ทำ�ให้ชิ้นงานคงอยู่ได้ยาวนาน มีความเป็นศิลปะ องค์ประกอบภาพ ที่ยอดเยี่ยม โดดเด่นด้วยเนื้อหาในภาพ ภาพยิ่งเก่าผ่านวันเวลาไปนาน เท่าไหร่ ก็ยิ่งมีคุณค่าเรื่องราวที่ย้อนกลับไปไม่ได้มากขึ้นอีกด้วย เหมือน เพลง The Beatles ที่เรียบง่าย ฟังสบาย เป็นอมตะ ส่วนงานสตรีทยุค สมัยใหม่มันมีความซับซ้อนมาก ถ้าให้เทียบก็เหมือนเพลงของวง Pink Floyd หรือ Dream Theater อะไรประมาณนั้น ซับซ้อนๆ ฟังไปนานๆ เริ่มเมา หนังสือ street เล่มล่าสุดที่ซื้อคือเล่มไหน แล้วมันดียังไงครับ สั่งไปหลายเล่มครับ แต่ที่มาถึงบ้านล่าสุดคือ The Last Resort ของ Martin Parr เล่มนี้สุดยอดมากๆ เค้าใช้กล้องเรนจ์ฟายเดอร์ medium-format Plaubel Makina 6X7 ด้วยรายละเอียดที่สุดยอด ฉาก


ชายหาดที่เต็มไปด้วยสีสันและเรื่องราว องค์ประกอบภาพ อารมณ์ รวม ถึงเทคนิคการใช้แฟลชกลางแดดร่วมกับแสงธรรมชาติ มันเยี่ยมจริงๆ ขอบอก ก่อนหน้านี้ไม่นานผมว่าจะหากล้อง RF67 มาถ่ายสตรีทโดยใช้ แฟลชเหมือนสมัยที่ผมถ่ายแฟชั่นให้นิตยสาร พอเจอเล่มนี้เท่านั้นแหละ มันใช่เลย ซักวันอาจจะได้ลองครับ ขอเทคนิคถ่ายภาพ street ง่ายๆที่เอาไปใช้ได้จริงซักข้อครับ “การโฟกัสที่เร็วที่สุดคือการไม่ต้องโฟกัส”อย่ามัวมะงุมมะงาหรา หมุนโฟกัสขณะถ่ายหรือใช้ออโต้โฟกัสให้มันวิ่งวืดไปวืดมาคุณจะพลาด ช็อตสำ�คัญไปรวมถึงทำ�ให้ได้ภาพที่ไม่เป็นธรรมชาติ และการเล็งกล้อง ใส่คนนานๆจะไม่เป็นมิตรกับผู้คนด้วย ให้ใช้เทคนิค Zone Focus ปรับ แมนนวลคุมระยะชัดให้มากพอที่เรื่องราวเนื้อหาสาระสำ�คัญในภาพจะ ไม่เบลอหายไป ผมใช้วิธีดูสเกลชัดลึกบนตัวเลนส์เป็นหลัก ส่วนภาพ แนวหน้าชัดหลังเบลอ โบเก้ เก็บไว้ถ่ายสาวๆจะดีกว่า ทีนี้ก็กดชัตเตอร์ ได้ด้วยความฉับไว อย่าลืมเช็คชัตเตอร์สปีดให้สูงพอด้วยหละ ช่างภาพสตรีทไทยต้องแก้ไขจุดไหนถึงจะได้รับการยอมรับใน ระดับสากล โห บ้านเราจุดอ่อนเยอะมากครับ งานสตรีทของบ้านเราที่เป็น สตรีทแท้ๆได้รับการยอมรับในระดับสากลมีนับคนได้ ผมวัดเอาจากที่ ไปลุยสตรีทในลีกนอกมาเป็นปี ความรู้ความเข้าใจความหมายของภาพ

สตรีทของเราก็แคบเพราะเล่นกันอยู่แต่ในกลุ่มของบ้านเรา ชมกันเอง ไลค์กันเอง หรือไม่ก็ไปเล่นอยู่ในกลุ่มสตรีทแบบก้ำ�กึ่ง doc ใน facebook เท่านั้น ปีที่แล้วผมเล่นอยู่ที่ Urban Picnic Street Photography ผมถ่ายงานสไตล์แฟลชไปแข่งกับกลุ่มสตรีทในระดับอินเตอร์ที่แข่งกัน โหดมาก ดูชื่อช่างภาพแล้วเป็นระดับท็อปในยุคปัจจุบันหลายคน หลาย สิบภาพสู้เขาได้ ได้เลือกเป็นภาพ featured และ photo of the day คือ เราไม่ต้องนั่งชมงานตัวเองว่ามันดีอย่างนั้นอย่างนี้ แต่ให้คนที่เขามอง งานสตรีทแท้ๆขาดมาตัดสินให้ ตอนนั้นฝรั่งเอาสไตล์เราไปทำ�ตามก็ เยอะ แต่งานแบบนี้พอให้บ้านเราดู จะมีคนเก็ทเข้าใจแค่สองสามคน ไหนจะพวกดราม่าเรื่องการใช้แฟลชอีก ปีนี้ผมย้ายไปลุยที่ flickr ตาม คำ�แนะนำ�ของพี่กอล์ฟ ทีโบน Nakarin Teerapenun ก็ถือว่าโหดมาก เหมือนกัน เป็นสตรีทแท้ๆของจริงเลยและไม่ใช่ว่าส่งภาพอะไรไปก็ผ่าน ตอนนี้ช่างภาพในกลุ่มอินเตอร์เค้าก็รู้จัก MR.LIGHTMAN1975 มากขึ้น ได้รับการยอมรับในระดับหนึ่ง การเล่นในระดับสากลเราก็ต้องรู้จักเลือก ด้วยครับว่าสตรีทกลุ่มไหนของจริง การไปเล่นในกรุ๊ปที่ไม่ใช่ของจริง จะทำ�ให้เราเสียเวลาไปเปล่าๆ แม้ว่ามีคน Like หรือ fave เยอะก็ไม่มี ประโยชน์อะไรในการพัฒนาฝีมือของเรา ช่างภาพสตรีทไทยมักจะใช้ “มุขมหาชน” แก๊กเล็กแก๊กน้อย มุขง่ายๆซ้ำ�ไปซ้ำ�มา ฮานิดนึงก็ไลค์กันกระจายโดยไม่ได้ใส่ใจในราย ละเอียดของภาพถ่ายที่ดี เรื่องจังหวะ องค์ประกอบภาพ การใช้สี Layers เหล่านี้แทบไม่ถูกนำ�มาใช้ ทำ�ให้ภาพทั้งภาพไม่มี impact ไม่มี


พลังพอที่จะสะกดคนดูให้อยู่หมัด กลายเป็นภาพถ่ายธรรมดาๆที่ ยัดเยียดมุขเข้าไป การจะใช้มุขเดิมๆที่มีการทำ�กันมามากแล้ว ถ้าไม่ ได้ระดับ extraordinary ดีกว่างานมาสเตอร์หรือพอๆกันก็ควรคัดทิ้ง ไปได้เลย หรืออย่างภาพที่เล่นกับ background ก็ควรมีความเชื่อม โยงเรื่องราวที่ดีและสื่อสารชัดเจนเพียงพอ ไม่ใช่เอะอะ มีฉากหลัง คน เดิน เดินผ่านไปจบ แล้วไงต่อ? ผมเห็นภาพที่เราอวยกันเองมากมาย ถ้าเอาไปโยนลงในกลุ่มภาพสตรีทที่ flickr แล้วจะรู้เลยว่าเป็นภาพที่ ยังไม่ได้มาตราฐานแถมส่งไปก็ไม่ผ่าน ไม่ดีขนาดที่เขียนเรียงความ บรรยายสรรพคุณกันเองหรือกองเชียร์ตามเชียร์กัน อย่าพยายาม บรรยายภาพที่ไม่มีอะไรให้มันเป็นภาพที่ดีเลิศ ขอยกตัวอย่างงานช่างภาพสตรีทไทยที่แข่งกับสตรีทระดับ สากลได้ ลองไปดูงานน้าหนิง Akkara Ning นะครับ มีมุข มีแก๊ก juxtaposedแข็งแรง มีความเป็นกราฟฟิค น้อยๆแต่อยู่ แล้วมีการ ใช้องค์ประกอบภาพอย่างงานสตรีทแท้ๆ ไม่ใช่ background foreground รกรุงรังยุ่งเหยิงเต็มไปหมดทั้งภาพ แล้วกดมาเพราะมี “มุข มหาชน” หรืองานพี่กอล์ฟ Nakarin ซึ่งไปลุยสตรีทอยู่ในระดับสากล และเป็นที่ยอมรับของช่างภาพสตรีทนอก งานจะเท่ๆ มี design ที่ สำ�คัญคือภาพจะมี impact ไม่ดูเข้าไปแล้วโหรงเหรง ผ่านการ edit ภาพที่โหดมากๆเพื่อให้สู้กับงานในระดับสากลได้ อีกคนก็ Visit Kulsiri ถ้าจะเอาฮา ต้องทำ�ให้ได้อย่างน้าต๋องครับ คือภาพมีอารมณ์ ขัน มันส์ๆ แล้วก็มีเทคนิค Layers ที่แข็งแรงในงาน รายละเอียดใน

ภาพเยอะ แต่ดูแล้วเป็นหนึ่งเดียว ไม่มีความรกรุงรังมาแยงลูกกะตา …ผม ยกตัวอย่างและวิเคราะห์งานช่างภาพบ้านเราที่อยู่ในระดับสากลให้ดูสาม คน จะเห็นได้ว่างานเค้ามีความเป็นสตรีทแท้ๆอย่างชัดเจน เราไม่ต้องทำ� ตาม เลียนแบบ หรือเปรียบเทียบสไตล์งานของตัวเองกับคนอื่น แต่ต้องดู งานเยอะๆ คัดกรองแยกแยะให้ออกว่าอย่างไหนเป็นภาพสตรีทแท้ อย่าง ไหนไม่ใช่ ถ้าเรามองออกเมื่อไหร่และเข้าใจว่าภาพไหนมีกลิ่นของสตรีท เมื่อนั้นงานเราก็จะมีความเป็นสตรีทชัดเจนขึ้นตามไปด้วย สถานที่ไหนที่ควรไปเดินถ่าย street แนะนำ�หน่อยครับ บ้านเรานี่เสียเปรียบเมืองนอกมากเรื่อง location นะครับ สภาพ บ้านเมืองเรามันรกรุงรัง ยุ่งเหยิงมาก สายไฟนี่ไม่ต้องพูดถึง ผมเคยสังเกต นะขนาดต้นไม้ตามข้างถนนบ้านเรานี่ยังรกเลย ฟอร์มไม่สวยแล้วก็ขาด การดูแล คือเมืองนอกที่ช่างภาพสตรีทอยู่กันมากๆก็ยุโรป ญี่ปุ่น อินเดีย ใครเคยไปคงทราบว่าแค่ยกกล้องขึ้น สภาพแวดล้อม ผู้คน แสง ท้องฟ้า มันก็สวยแล้ว มันสวยง่ายมาก โทนสีที่ใช้ก็ด้วยบ้านเมืองของเค้าจะใช้ สีที่มัน pastel หรือสีที่ไม่ใช่แม่สี ไม่ว่าจะผนังตึกรามบ้านช่อง เส้นถนน ป้ายคัทเอาท์ อื่นๆ ส่วนบ้านเรานะชอบใช้พวกแม่สีเลย วันก่อนผมนั่งดูสี ป้ายต่างๆ บ้าน กำ�แพง สีรถTaxi จะรู้เลยว่ารสนิยมด้านการใช้สีของเมือง ไทยนี่จัดว่าแย่มาก พอเราถ่ายไป ภาพสีก็ดูปี๋ๆมั่วๆไปด้วย ตัดกะท้องฟ้า ขาวโพลนๆ คนก็หน้าตาเพื่อชีวิต โอ๊ยอย่างเศร้า อยากบอกว่าไปเดิน ถ่ายที่ไหนก็ไปเถอะ ถ่ายได้ทุกที่ครับ แล้วก็ต้องชมเชยช่างภาพบ้านเราที่



ถ่ายสตรีทไปสู้กะฝรั่งเค้าได้ ขนาดช่างภาพสตรีทอินเตอร์ หลายคนมาเมืองไทยยังไม่ค่อยรอดเลย มีคนนึงมาถ่ายแนว แฟลชที่บ้านเรา พอโพสงานเท่านั้นหละ เอ่อ มันไม่ได้เก่ง กว่าช่างภาพบ้านเราเท่าไหร่ เจอคนหน้าตาเพื่อชีวิตบวก กับสภาพแวดล้อมยุ่งเหยิงเข้าไปก็เสร็จเลยเหมือนกัน คน ที่ถ่ายเมืองไทยแล้วเจ๋งๆผมนับถือทุกคน ฝรั่งมันเอาเปรียบ เรามาก ฮะๆ ช่ า งภาพคนไทยคนไหนที่ อ ยากจะแนะนำ � ให้ ไ ป สัมภาษณ์ต่อ Tavepong Pratoomwong วีพงเลยครับ ผมดูงาน เค้ามาก่อนจะเข้ามาเล่นที่กรุ๊ป SPT เค้าเหมือนช่างภาพ สตรีทยุค classic กลับชาติมาเกิดนะ งานขาวดำ�นี่ใช่เลย แล้วก็ layers เป๊ะมากๆ ตอนนี้เห็นกำ�ลังถ่ายสตรีทแนวสมัย ใหม่มากขึ้น น่าสนใจดี

ขอสามคำ� “ยัง อ่อน หัด”





EDITOR’s PICKS


Ple Assawinnimit


Ple Assawinnimit


David Cartier Nicky


ต่อ พ่ออ๊อตโต้


Dang Maneedang


Chanin Pongnimit


Popo Mangun



Wachararwish Mu


Anusak Laowilas


Therockermania Kerngburi



Tavepong Pratoomwong


Tavepong Pratoomwong


Songkran Weerapong


Ple Assawinnimit



Rohit Vohra


TheSkaman Tues’day Glory


Popo Mangun


Vineet Vohra


Ple Assawinnimit


Noppadol Maitreechit



Naung Charnyuth


Worachet Lee


Enrico Markus Essl


Songkran Weerapong



Songkran Weerapong


Taey Kittipong


Surat Chokechalerm



Teeradej Lim


Ball Sikitikul


Anusak Laowilas


Jeerawat Chuttiwatanathada



SUBMISSION

Post your photo to www.facebook.com/groups/streetphotothailand/ If your photo is cool, we’ll publish your photo in this e-magazine.


Tavepong Pratoomwong


WWW.STREETPHOTOTHAILAND.COM


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.