ปุจฉา - วิสัชนา พฤษภาคม 2560

Page 1

ปุจฉา - วิสัชนา พฤษภาคม 2560


ละปล่อยวางทุกขณะจิตปัจจุบัน จึงจะเป็นธรรมะ ผู้ถาม : กราบนมัสการหลวงตาครับ ผมหมอวัชระ พงษ์ครับ พอดีมีปัญหาเรื่องการปฏิบัติธรรมปรึกษา หลวงตาครับ คือช่วงสองวันก่อนเวลานั่งวิปัสสนา กรรมฐานจะมีกล้ามเนื้อขากระตุกเป็นระยะโดยไม่ ทราบสาเหตุซึ่งรบกวนการทำวิปัสสนากรรมฐาน มาก ศิษย์เลยใช้วิธีเร่งฌานสุขให้มากขึ้นจนถึง จุดสูงสุดแล้วปรากฏว่าอาการกระตุกขารบกวน จิตใจน้อยลง แล้วก็ทำวิปัสสนาต่อเพราะระดับของ ฌานลดลง อาการกระตุกของกล้ามเนื้อขาก็เป็นอีก ก็เลยทำวนแบบนี้ซ้ำ ๆ มันจะเป็นการติดฌานไหม ครับ แล้วศิษย์ก็ใช้ฌานสุขเป็นตัวมอนิเตอร์ว่า สมาธิดีอยู่หรือเปล่า อย่างนี้ทำได้ไหมครับ


ในส่วนของวิปัสสนาศิษย์รับรู้ถึงจิตที่ เคลื่อนไหวในใจที่ว่างเปล่า แต่ยังไม่เข้าใจคำว่ารู้ ทุกคิด ความคิดมันผุดขึ้นในใจที่ว่างเปล่าเหมือน น้ำพุ ซึ่งยังไม่เห็นภาพตรงนี้เลยครับ

หลวงตา : น่าจะเกิดจากอาการเกร็งของร่างกาย และกล้ามเนื้อไม่ผ่อนคลาย อาการใดหรือสภาวะใด รู้แล้วเห็นแล้วเป็นแล้ว ก็ปล่อยวางไป อย่าย้อนเอา มาสนใจให้ค่าให้ความสำคัญอีก เพราะหลงอดีตเป็นธรรมเมา กังวลกับ อนาคตเป็นธรรมเมา รู้ขณะจิตปัจจุบันตามความเป็นจริงอย่างตรง ไปตรงมา ไม่เข้าไปเสวยยึดถือแทรกแซง เรียกว่าละ ปล่อยวางทุกขณะจิตปัจจุบันจึงจะเป็นธรรมะธรรมโม


ผู้ถาม : อีกคำถามหนึ่งนะครับหลวงตาปกติเวลานั่ง สมาธิแล้วสติสมาธิตั้งมั่น ก็จะสัมผัสได้ถึงฌานสุข ก่อนนั่งสมาธิจนสมาธิสติตั้งมั่นแล้วปรากฏว่าเกิด อาการร่างกายเหมือนจะเปลี่ยนสภาพ เหมือนจะจาง หายแล้วก็เหมือนถูกบีบ ทุกบิดให้ผิดรูป รู้สึกแน่น อึดอัด ปั่นป่วน บางครั้งก็รู้สึกเหมือนหูอื้อเหมือนอยู่ ใต้น้ำลึกลึก มันเป็นอาการของอะไรครับ

หลวงตา : มันเป็นอาการผิดปกติทางร่างกายจิตใจ ที่เกิดมาจากสาเหตุที่เอาตัวเราซึ่งเป็นขันธ์ห้าไปเพ่ง กดหนักแน่น สิ่งที่ถูกรู้มากเกินไป ไม่แค่รับรู้ด้วย ความปล่อยวาง ถ้าเอาตัวเราซึ่งเป็นขันธ์ห้าไปแค่รับรู้อาการ ของเวทนาเหล่านั้น ด้วยความปล่อยวางก็จะไม่เกิด อาการผิดปกติดังกล่าวและจะเป็นสมถกรรมฐาน


แต่ถ้าไม่สนใจยึดถือให้ค่าให้ความสำคัญ ต่ออารมณ์หรืออาการของเวทนาเหล่านั้น แต่มา สังเกตเห็นตัวเราหรือจิตหรือวิญญาณผู้รู้เวทนา นั้นทุกขณะจิตปัจจุบันด้วยความปล่อยวาง ก็จะ เท่ากับปล่อยวางทั้งเวทนา และปล่อยวางจิตที่คิด ปรุงแต่ง ซึ่งรวมเรียกว่าธรรมารมณ์และปล่อยวาง ผู้รู้ด้วย จึงเป็นวิปัสสนากรรมฐาน

ผู้ถาม : อ๋ออีกเรื่องหนึ่งครับช่วงนี้นอนทำวิปัสสนา กรรมฐานตอนกลางคืนบางครั้งก็เห็นภาพต่าง ๆ นานา ก็เลยอยากถามหลวงตาว่าฝันกับนิมิตต่าง กันยังไงครับ


หลวงตา : ความฝันจะเกิดขึ้นในขณะที่หลับไปโดย ไม่มีความรู้สึกตัวอาจจะเกิดขึ้นในขณะนั่งสมาธิแล้ว มีอาการเคลิ้ม ๆ กึ่งหลับกึ่งตื่นก็ได้ บางท่านจะเรียก ในลักษณะหลังนี้ว่านิมิต แต่หลวงตาว่าเป็นความฝันและถ้าหลงเป็น จริงเป็นจัง ก็ทำให้เป็นบ้ามาหลายท่านแล้ว ส่วนนิมิตจริงมักจะเกิดขึ้นในขณะที่มี สติสัมปชัญญะ คือนั่งสมาธิหรือเดินจงกรมด้วย ความรู้สึกตัวอยู่ เช่นเห็นตนเองนอนตายแล้วเน่า เปื่อยขยายมากขึ้นเรื่อย ๆ จนเป็นซากศพแห้งแล้ว ผุพังสลาย เป็นธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ ความว่างเปล่า จากตัวตน เป็นต้น อย่างนี้เอามาใช้ประโยชน์ได้นำมาน้อม พิจารณาให้ซึ้งถึงใจอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสายไม่ นานก็บรรลุธรรมได้


ข้อควรระวัง : นิมิตหรือความฝันใดถ้าไม่ทำให้พ้นทุกข์ให้ ปล่อยวางไปเสีย อย่าไปหลงอาจจะทำให้เป็นบ้าได้ เคยรู้ เห็นผู้ปฏิบัติธรรมที่เป็นบ้าจากการหลงนิมิตใน สภาวะกึ่งหลับกึ่งตื่น เห็นพระพุทธเจ้าหรือพระอรหันต์ มาบอกว่าบรรลุธรรมแล้ว ให้ลุกเดินตามไปจน สุดท้ายกลายเป็นวิ่งตามแล้วเป็นบ้าไป

ปุจฉาวิสัชนาธรรมเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2560


ทุกสรรพสิ่งล้วนเคลื่อนไหว แต่ใจหรือจิตเดิมแท้ไม่เคลื่อนไหว ผู้ถาม : "อวิชชา" ได้แก่ ไม่รู้ต้นคือ ไม่รู้ต้นจิตหรือจิตเดิมแท้ หรือใจ ไม่รู้กลางคือไม่รู้ขณะจิตหลงคิดปรุงแต่ง ส่งจิตออก นอกไปหาอารมณ์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ถูกรู้ในปัจจุบัน ไม่รู้ปลายคือไม่รู้ว่าจิตเข้าไปคลุกเคล้า คลอเคลีย ร่วมกับอารมณ์ที่ถูกรู้ในขณะปัจจุบัน แล้วเราจะแยกต้นกลางปลายได้อย่างไรล่ะคะหลวง ตา คนที่ไม่เคยรู้ต้นจิตจะทำอย่างไร อันกลางกับอัน ปลายก็ยังมั่ว ๆ กันแยกไม่ออก หลวงตา : ปล่อยให้ธรรมชาติของจิตฝ่ายปรุงแต่ง ซึ่งเป็นขันธ์ห้าเขาปรุงแต่งอย่างเป็นอิสระ โดยไม่มี ตัวตนของผู้ตาม ผู้เสวย ผู้แทรกแซง ก็จะพบจิตเดิม แท้หรือใจ


หรือปล่อยให้ขันธ์ห้าหรือจิตปรุงแต่งเขาปรุง แต่งอย่างเสรี แต่ธรรมชาติฝ่ายไม่ปรุงแต่งไม่อาจมี ความคิดหรือกริยาอาการใดที่กระเพื่อมหรือไหวตัวขึ้น มาได้ หรือ ในความกระเพื่อมไหวตัวมีความไม่ กระเพื่อมไม่ไหวตัว หรือ ในความวุ่นวายมีความสงบ หรือ ทุกสรรพสิ่งล้วนเคลื่อนไหว แต่ใจหรือจิต เดิมแท้ไม่เคลื่อนไหว หรือ ความมีย่อมเกิดดับในความไม่มีอะไรเกิด ดับ หรือ ความวุ่นอยู่ในความว่าง หรือ ในท่ามกลางความมีหรือท่ามกลางความ เคลื่อนไหว หรือ ท่ามกลางความวุ่น มีความว่าง


พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์สาวกก็มีสังขาร เหมือนปุถุชน แต่สิ้นไป หมดไป หรือดับสนิทไม่เหลือ เพียงอย่างเดียว คือ ดับสนิท ผู้อยาก หรือผู้ ปรารถนา หรือผู้จะเอา หรือผู้เสวย หรือผู้ยึดมั่นถือ มั่น หรือผู้หลงปรุงแต่ง

ปุจฉาวิสัชนาธรรมเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2560


พิจารณาด้วยความรู้สึกตัว ไม่หลงอารมณ์ ผู้ถาม : กราบนมัสการหลวงตาค่ะ ลูกฟังหลวงตา สอนอสุภะ เมื่อคืนฟัง ๆ น้ำตาก็เอ่อ วันนี้ในรถฟัง ไฟล์เดิมค่ะ ขณะฟังลูกมโนไปเห็นหน้าตัวเองเน่าตา หลุด ผมหลุด อยู่ ๆ ก็ไปรู้สึกชัดที่เท้าเหลือแต่ กระดูก กำลังถีบคันเร่งแล้วลูกมโนต่อว่า กระดูก สลายแล้วพอเท้าหายน้ำตาลูกออกมาเอ่อ ๆ ค่ะ แบบ นี้คือเผลอไปมั้ยคะหลวงตา น้ำตาเลยเอ่อ ลูกฟังหลวงตาไปเรื่อย ๆ และน้อมไปต่อไป แบบนี้มั้ยคะ กราบนมัสการค่ะหลวงตา หลวงตา : น้ำตาไหลออกมามันหลงอารมณ์ให้ พิจารณาด้วยความรู้สึกตัว เอาแต่สัจธรรมความจริง เท่านั้นซ้ำแล้วซ้ำอีก ปุจฉาวิสัชนาธรรมเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2560


ปล่อยวางทั้งสิ่งที่ถูกรู้ และผู้รู้ตลอดเวลา ผู้ถาม : กราบเรียนหลวงตาค่ะ ก่อนหน้านี้ลูกขับ รถลูกรู้สึกตัวมีสติตลอด คิดอะไรก็เห็นบ้าง ไม่เห็น บ้าง เห็นข้างทางว่ามีชัดเจน แต่ครั้งล่าสุดนี้ลูกขับ จากตรังไปนราธิวาสเหมือนขับรถไปแล้วมาดูตัว เองรู้สึกเหมือนสมองมันโล่ง ๆ โว่ง ๆ โปร่ง ๆ ภาพข้างทางที่ขับผ่านมาไม่ชัดเจนเหมือนขาด ๆ หาย ๆ ตลอดแต่พอกลับมารู้สึกตัวอาการแบบนี้ก็ ยังเป็นอยู่ค่ะ (ลูกอธิบายไม่ได้เหมือนที่ลูกรู้สึก จริง ๆ ค่ะ) ลูกขอคำแนะนำจากหลวงตาด้วยค่ะ ขอ น้อมกราบนมัสการหลวงตาค่ะ (ระหว่างทางขับรถ ลูกก็ฟังธรรมะหลวงตาไปด้วยค่ะ ความรู้สึกที่ตาม มา ลูกรู้สึกกลัวกับสิ่งที่เห็นค่ะหลวงตา)


หลวงตา : จิตมันหลงเข้าไปอยู่ข้างใน เพราะขาด สติสัมปชัญญะไม่รู้สึกตัวทั่วพร้อมว่ากำลังขับรถยนต์อยู่ อันตรายมาก ๆ นะ ต้องมีสติสัมปชัญญะรู้ชัดทั้งข้างนอก และข้างในคือจิตที่คิดปรุงแต่ง แต่ไม่มีอาการของผู้รู้ มีแต่ สิ่งที่ถูกรู้ตลอดเวลา หรือปล่อยวางทั้งสิ่งที่ถูกรู้และผู้รู้ ตลอดเวลา ปุจฉาวิสัชนาธรรมเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2560


จิตที่คิดเป็นธรรมชาติฝ่ายปรุงแต่ง ใจไม่คิดไม่ปรุงแต่ง ผู้ถาม : กราบนมัสการหลวงตาเจ้าค่ะ เป็นผู้ปฏิบัติ เริ่ม ๆ ฝึกและเรียนรู้เจ้าค่ะ ขอถามและอยากทราบว่า กายกับใจแยกกันแล้ว คิดเกิดขึ้นได้อย่างไรหรือเจ้า คะ หลวงตา : คิดกับใจมันอยู่ด้วยกัน บางคนนอนหลับ หรือนั่งสมาธิแล้วเห็นจิตออกจากร่างมาดูร่างกายของ ตัวเอง จิตที่ออกจากร่างมานั้นคิดได้ ส่วนร่างกายไม่ ได้คิด ส่วน "ใจ" เป็นผู้รู้เห็นจิตที่ออกมาจากร่างเป็นผู้ คิด แต่ใจเป็นธาตุที่ไม่คิดไม่ปรุงแต่งเป็นความสงบ ว่าง เหมือนกับเป็นความว่างของจักรวาล "ใจ" ไม่คิดไม่ปรุงแต่งเพราะเป็นธรรมชาติที่ไม่ ปรุงแต่ง ส่วนจิตที่คิดหรือปรุงแต่งเพราะเป็นธรรมชาติ ที่ปรุงแต่ง เขาไม่เกี่ยวข้องกันเลยเป็นอิสระแก่กัน จิตเขาก็ทำหน้าที่คิดปรุง ปรุงคิดของเขาไปตาม ธรรมชาติ


ส่วน "ใจ" มีแต่ความสงบว่างเหมือนกับความ ว่างของธรรมชาติหรือจักรวาล หลายคนหลงเอากาย และจิตที่เป็นธรรมชาติปรุงแต่งไปหานิพพาน หรือจะ ไปให้ถึงนิพพาน และหลายคนเข้าใจผิดเป็นมิจฉา ทิฏฐิว่า "ใจ" ซึ่งเป็นธรรมชาติที่ว่างจากความปรุง แต่งเป็นนิพพาน และหลายคนเข้าใจผิดเป็นมิจฉา ทิฏฐิว่าร่างกายและจิตปรุงแต่งเป็นเรา เป็นตัวเรา หรือเป็นตัวตนของเรา ไม่เห็นว่าเป็นของไม่เที่ยง เป็น เพียงเราชั่วคราวแล้วก็ต้องตายดับไป จึงเป็นเรา เพียงสมมติ ปุจฉาวิสัชนาธรรมเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2560


น้อมนำธรรมให้ถึงใจ ให้ใจเป็นธรรมในปัจจุบัน ผู้ถาม : หลวงตาสอนให้รู้โดยไม่ให้ค่าแต่ต้องมีสติ ปัญญาคอยสอนใจให้เป็นกุศลตลอดเวลาใช่ไหมคะ รู้ เท่าทันรู้แล้วละ อยู่กับปัจจุบันธรรมตลอดโดยไม่ บังคับ รู้เบา ๆ ทุกอย่างเป็นไปตามเหตุปัจจัย เมตตาชี้แนะว่าต้องแก้ไขรายละเอียดและเพิ่ม เติมอะไรไหมเจ้าคะ กราบเท้าหลวงตาด้วยความรู้สึก ขอบพระคุณอย่างสูงเจ้าค่ะ

หลวงตา : ลองฟังสามไฟล์ (170505-1 โยนิโส มนสิการกับการมีกัลยาณมิตร 170505-2 วิธีแก้จิต แช่ 170505-3 หมั่นสอนจิตให้หายโง่) ที่ส่งมาเมื่อกี้นี้ ว่าได้รับคำตอบชัดเจนหรือไม่


ทุกครั้งก่อนอ่านหรือฟังให้อธิษฐานล้างความ เห็นผิดที่ปิดธรรมแล้วน้อมเอาธรรมของพระพุทธเจ้า ที่หลวงตานำมาแสดงออกจากใจ ให้ถึงใจ ให้ใจเป็น ธรรมในปัจจุบันนี้ด้วยเทอญ ผู้ถาม : เจ้าค่ะ ปุจฉาวิสัชนาธรรมเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2560


รู้ซื่อ ๆ ด้วยใจทุกขณะปัจจุบัน ผู้ถาม : กราบนมัสการหลวงตาเจ้าค่ะ โยมอยู่แม่สอด เจ้าค่ะ คือโยมมีข้อสงสัยการปฏิบัติจะขอกราบเรียน ถามเจ้าค่ะ คือเมื่อ 2 สัปดาห์ที่แล้วโยมจะง่วงมาก ขณะเดินจงกรม จนเซแล้วก็ไปนั่งภาวนาต่อ ก็ง่วงจน เหมือนหลับไปจนหัวจะโขกพื้นก็ตกใจ และแวบนั้นก็เหมือนผู้รู้มันแยกต่างหาก และไป เห็นร่างกายมันพูดบ่นแบบบังคับไม่ได้โยมก็ตกใจ แต่ สภาวะนี้ไวมาก และอีกประมาณ 5 วันก็เกิดอีกแต่ไว มากจนแทบสังเกตไม่ทัน โยมไม่แน่ใจว่าเป็นหลงหรือ ไม่ และอีกอย่างคืนหนึ่งเห็นร่างกายนอนอยู่แล้วฝัน โดยตัวผู้รู้นั้นไปเห็นเจ้าค่ะ หลวงตา : อะไรที่เกิดขึ้นแล้วก็ดับไปแล้ว รู้แล้ว เห็น แล้ว ก็ปล่อยวางไป อดีตเป็นธรรมเมา อนาคตเป็น ธรรมเมา ให้มีสติเฝ้าสังเกตจิตอยู่เงียบ ๆ ทุกขณะจิต ปัจจุบัน ไม่ถูกดูดเข้าไป ไม่ผลักไส ไม่แทรกแซง รู้ซื่อ ๆ จะค่อย ๆ เห็นและเข้าใจชัดเจนด้วยใจมากยิ่งขึ้น ไปเรื่อย ๆ


ถ้าเกิดความสงสัยสภาวะที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ต้องถามใจผู้รู้ในขณะนั้นว่าเป็นอะไรหรือคืออะไรถาม ซ้ำ ๆ อาจเปลี่ยนแง่มุมในการถามใหม่ ถ้าไม่ได้รับคำ ตอบ

ปุจฉาวิสัชนาธรรมเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2560


หลวงตา ... ตอบโยมที่ใส่บาตร ผู้ถาม : นมัสการพระอาจารย์โยมขอความเมตตา อนุญาตช่วยขยายธรรมการปฏิบัติค่ะ ปุจฉาข้อที่หนึ่ง วิธีเจริญวิปัสสนาดูจิตเราควร จะรู้สภาวธรรมหรือจะรู้อะไรถึงจะถูกคะ หลวงตา : วิสัชนา รู้ใจตนเองและปล่อยวางทั้งหมด ทุกขณะปัจจุบัน ผู้ถาม : ปุจฉาข้อที่สอง พิจารณากายเวทนาจิตธรรม พิจารณาอย่างไรถึงจะควบคุมจิตได้คะ หลวงตา : วิสัชนา รู้กายเวทนาจิตธรรมก็เอาเข้ามา ปรุงแต่งในใจทั้งหมดนั่นแหละ ถ้าสติตั้งที่ใจ ดูที่ใจ รู้ที่ใจ สังเกตที่ใจ ละที่ใจ ปล่อยวางที่ใจ อยู่ตลอด เวลาทุกขณะจิตปัจจุบัน นั่นแหละคือการปล่อยวาง กาย เวทนา จิตธรรมทั้งหมด


กาย เวทนา จิตธรรมก็คือร่างกาย จิตใจ หรือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณซึ่งเรียกว่า "ขันธ์ ห้า" รู้เพื่อให้ปล่อยวางหรือละอุปาทานขันธ์ห้า ผู้ถาม : ปุจฉาข้อที่สาม รู้ลมหายใจเข้าออกแต่จิต ไม่มีกำลัง เราจะทำจิตอย่างไรจิตถึงจะมีกำลัง ... จบ ที่ใจแต่ไม่จบซะที หลวงตา : วิสัชนา ให้มีสติรู้ลมหายใจเข้าออกอย่าง ต่อเนื่อง อย่าให้สติขาด จิตก็จะเกิดกำลังของสมาธิ เอง เมื่อจิตเกิดสมาธิแล้วให้มีปัญญา เห็นว่าร่างกาย จิตใจเป็นของไม่เที่ยง เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่ อาจยึดมั่นถือมั่นได้ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัวเรา ไม่ใช่ตัว ตนของเรา


ผู้ถาม : ปุจฉาข้อที่สี่ อารมณ์ถูกรู้ให้ตั้งสติที่ใจ อยู่ที่ ใจ รู้ที่ใจ สังเกตที่ใจ ละที่ใจ ปล่อยวางที่ใจ เรารู้แล้ว ต้องละ จะละได้อย่างไร เวลาพบพระมาบิณฑบาตพอได้นิมนต์และได้ใส่ บาตรก็เกิดปีติ อันนี้เรียกว่ารู้ด้วยจิตหรือรู้ด้วยใจคะ แล้วรู้แล้วต้องละไหมคะ โยมขอความเมตตาพระ อาจารย์ให้โยมได้รู้ได้เกิดปัญญาด้วยเจ้าค่ะ หลวงตา : วิสัชนา จิตเค้าอิ่มในบุญที่ได้ใส่บาตรจึงเกิด อารมณ์ปีติ ซึ่งเป็นสุขเวทนา ใจเป็นของปรุงแต่งไม่ได้ ได้แต่รู้ซื่อซื่อ อย่างตรงไปตรงมาทุกอาการปัจจุบัน รู้ ซื่อซื่อนั่นแหละคือมีสติปัญญา

ปุจฉาวิสัชนาธรรมเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2560


ฝึกให้มีสติรู้สึกตัวตลอดเวลา ... จนเป็นปกตินิสัย ผู้ถาม : ขอเรียนถามค่ะทำอย่างไรให้สติมีกำลังคะ หลวงตา : สติจะมีกำลังได้จะต้องฝึกอย่างหนัก เหมือน กับนักกีฬาจะชิงแชมป์โลกโดยฝึกให้มี "สติ" คือความ รู้สึกตัวตลอดเวลา ถ้าขาดสติหลงเหม่อเผลอเพลินติด ไปกับอะไร หรือหลงหมกมุ่นครุ่นคิดหลง พยายามทำ อะไรให้เป็นอะไร หลงไปสะกดจิตให้นิ่งเฉยก็ต้องมี "สติ" รู้สึกตัวขึ้นมาทุกครั้ง รู้สึกตัวได้แป๊บเดียวจะหลงใหม่อีก ก็มีสติรู้สึก ตัวขึ้นมาอีก จนสามารถจดจำหน้าตาลักษณะอาการ หลงได้ และจำหน้าตาลักษณะอาการรู้สึกตัวได้ ฝึก อย่างหนักอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย ก็จะขาดสติหลง เหม่อเผลอเพลินหลงหมกมุ่นครุ่นคิด หลงพยายามทำ อะไรให้เป็นอะไรหรือหลงสะกดจิตให้นิ่งเฉยน้อยลงไป เรื่อย ๆ


ในทางกลับกันก็จะมีสติรู้สึกตัวมากขึ้นเรื่อย ๆ จนกว่าจะสิ้นหลง มีแต่สติรู้สึกตัวหรือรู้ตัวตลอดเวลา จนเป็นปกตินิสัยแล้ว ความรู้สึกตัวที่ต้องเพียรระวัง รักษาไว้ก็จะหายไปเหลือแต่ "รู้" ที่รู้ว่าสิ้นหลงแล้ว เป็นผู้รู้ (รู้ว่าสิ้นหลงแล้ว) เป็นผู้ตื่น (ตื่นจากความหลงคืออวิชชา) เป็นผู้เบิกบาน (ไม่หลงติดไปกับอะไรให้เป็น กิเลสเครื่องเศร้าหมองอีกต่อไป ) เรียกว่าเป็น "พุทโธ" หรือ "พุทธะ"

ปุจฉาวิสัชนาธรรมเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2560


รู้ซื่อ ๆ ... คือสติปัญญา ผู้ถาม : หลวงตาคะ ดิฉันพยายามทำจิตและความคิด การยอมรับสิ่งที่จะเกิดให้สงบ แต่พอจะทำให้สงบและ นิ่งมันต้องมีเรื่องรบกวนจิตใจเข้ามาอยู่เนือง ๆ ดิฉันก็ พยายามทำเหมือนคนตาบอดหูดับทุกครั้ง มันเหมือนมี มารมาผจญตลอดเลย เพื่อไม่ให้ดิฉันรอดปลอดภัย หรือ ทำไม่ให้ฉันหายป่วยดิฉันควรทำอย่างไร มันมา รบกวนอยู่เรื่อย ๆ หลวงตา : ไม่ใช่ไปทำให้สงบโดยการปรุงแต่งให้สงบ เหมือนคนตาบอดหูดับอย่างนั้น อย่างนั้นมันสะกดจิต ตัวเอง ให้ดับความรับรู้ตามปกติธรรมชาติ ให้รู้ซื่อ ๆ ปุจฉาวิสัชนาธรรมเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2560


ปล่อยวางทั้งอารมณ์และผู้รู้ (รู้ซื่อ ๆ) ผู้ถาม : กราบนมัสการหลวงตาค่ะ ขออนุญาตแทนตัว เองว่าลูกนะเจ้าคะ ... จากที่ลูกได้รับความเมตตาจาก หลวงตาให้แนวทางปฏิบัติในการควบคุมจิต โดย การบริกรรมพุทโธแล้วลูกรู้สึกจุกที่หน้าอกขึ้นมาถึง ลำคอทั้งวัน ต่อมาหลวงตาแนะนำให้บริกรรมพุทโธอย่าง ต่อเนื่องไม่ขาดสาย จนอาการจุกหน้าอกของลูกหาย ไป หลังจากลูกกลับมาที่บ้านลูกจับความรู้สึกได้ว่า ทุกครั้งที่ลูกต้องการฟังธรรมหรือบริกรรมพุทโธพร้อม ทำกิจกรรมเป็นปกติ ลูกก็จะมีอาการจุกหน้าอกขึ้นมา ทุกครั้ง ลูกก็ตามดูไป มันก็มีอาการของมันไปอย่าง นั้นแผ่วบ้างหนักบ้าง แต่เวลาที่ลูกเผลอคิดเรื่อยเปื่อย จะไม่มีอาการจุก แต่กลับรู้สึกโล่งสบายดีในขณะที่เรา หลงส่งจิตออกนอกเจ้าค่ะ ...


ลูกควรจะทำอย่างไรดีคะตอนนี้ลูกก็จะฟังธรรม หลวงตาเป็นระยะไป มันจะจุกก็ปล่อยมัน (นึกถึง คำหลวงตาค่ะไม่มีใครตายเพราะปฏิบัติธรรม) หลวงตา : อย่าปล่อยให้สติขาดหลงคิดเรื่อยเปื่อย ให้มีสติรู้สึกตัวไว้กับคำบริกรรมพุทโธมันจะมีอาการ แน่นจุกบ้างซึ่งเป็นอารมณ์หรืออาการทุกขเวทนา มี อาการเบาสบายบ้างซึ่งเป็นอารมณ์หรืออาการสุข เวทนา มีอาการไม่ถึงกับจุกแน่นบ้างไม่ถึงกับเบา สบายบ้าง ซึ่งเป็นอทุกขมสุขเวทนาหรืออุเบกขา เวทนา ก็ไม่ให้สนใจให้ค่าให้ความสำคัญยึดถือ เวทนาเหล่านั้น วิธีที่จะไม่เข้าไปยึดถือเวทนาจะต้องรู้ที่จิตหรือ วิญญาณขันธ์ซึ่งเป็น "ผู้รู้" เวทนาจะทั้งรู้ทั้งคิดตรึก ตรองวิเคราะห์ วิจารณ์ วิจัย เหมือนพากษ์หรือพูดอยู่ คนเดียวตลอดเวลา จะดับเขาก็ไม่ได้เพราะเป็นกระ บวนการทำงานของขันธ์ห้า ซึ่งเป็นชีวิตคือจิตหรือ วิญญาณขันธ์จะทำหน้าที่รู้รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (สัมผัส) และธรรมารมณ์ (เวทนา สัญญา สังขาร)


เมื่อจิตหรือวิญญาณเกิดมารู้แล้วจะดับไปเร็ว มาก เกิดเวทนาแล้วเกิดจิตหรือวิญญาณตัวใหม่ มารู้เวทนา แล้วดับไปเร็วมาก เกิดสัญญา (ความจำได้หมายรู้) แล้วเกิดจิต หรือวิญญาณมารู้สัญญา แล้วดับไปเร็วมาก เกิดสังขาร (คิดปรุงหรือปรุงคิด) แล้วเกิดจิต หรือวิญญาณมารู้สังขาร แล้วดับไปเร็วมาก แล้วเกิดจิตหรือวิญญาณตัวใหม่มารู้รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส หรือธรรมารมณ์อันใหม่ แล้วดับไป เร็วมาก แล้วเกิดเวทนา สัญญา สังขารตัวใหม่และ เกิดจิตหรือวิญญาณขันธ์ตัวใหม่มารู้เวทนา สัญญา สังขาร แล้วดับไปเร็วมาก แล้วเกิดกระบวนทำงานของขันธ์ทั้งห้าอย่าง เดิมนั้น หมุนวนไปตลอดเวลาไม่มีเวลาหยุดพัก จนกว่าจะตาย กระบวนการทำงานของขันธ์ห้าจึงดับ สนิท


แต่เพราะยึดถือเอาขันธ์ห้าเป็นเรา ตัวเรา ตัวตน ของเรา หรือมีตัวเราอยู่ในขันธ์ห้า จึงสร้างตัวตนของ เราซ้อนอยู่ในขันธ์ห้า ดังนั้นเมื่อขันธ์ห้าดับแต่การปรุง แต่งยึดถือขันธ์ห้าไม่ดับ ความรู้สึกหลงว่ามีตัวเราเป็น ตัวเป็นตนจึงไม่ดับไปจากใจ จึงมีตัวตนและความทุกข์ สุขเหลืออยู่ ซึ่งคนอื่นจะมองไม่เห็นตัวเราแต่พวกมาเอา วิญญาณไปจะมองเห็น และมาพาไปพิพากษาลงโทษ ตามกรรมได้ ดังนั้นขันธ์ห้าตายแตกดับแล้วแต่ตัวตนและ ความทุกข์สุขยังไม่จบสิ้น

ถ้าปล่อยวางความหลงยึดถือขันธ์หรือ

กระบวนการทำงานของขันธ์ห้าว่าเป็นเราเป็นตัวเรา หรือเป็นตัวตนของเราหรือมีตัวเราอยู่ในขันธ์ห้า ใจก็จะ ว่างเปล่าจากความรู้สึกว่าเรามีตัวตนหรือมีตัวตนของ เรา และจะไม่มีตัวตนของเราไปยึดถือสิ่งใดให้เป็น กิเลสและความทุกข์ ครั้นเมื่อขันธ์ห้าตายแตกดับ ใจก็เป็นเพียง ความว่างเปล่า ไม่หลงเหลือตัวเราให้ไปเวียนว่ายตาย เกิดและรับกรรมอีกต่อไป


ดังนั้นทุกขณะที่รับรู้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ให้ปล่อยวางทั้งอารมณ์หรือสิ่งที่ถูกรู้ และให้ปล่อยวาง ทั้งจิตหรือวิญญาณขันธ์ซึ่งเป็นผู้รู้ ไม่หลงว่ามีตัวเรา เป็นผู้รู้ และไม่หลงยึดถือเอามาเป็นของเรา เมื่อเกิดความถูกใจหรือไม่หลงยึดถือดิ้นรน ผลักไส เมื่อเกิดความไม่ถูกใจ เพียงแค่สักแต่ว่ารู้หรือรู้ ซื่อ ๆ ก็จะสิ้นกิเลสและความทุกข์ ทั้งปัจจุบันจะไม่มีตัว เราซ้อนอยู่ในขันธ์ห้าและเมื่อขันธ์ห้าตายแตกดับแล้วก็ จะไม่มีตัวเราเหลืออยู่ให้ต้องเวียนว่ายตายเกิดและ ต้องรับกรรมอีกต่อไป ถ้าเราอยู่กับสักแต่ว่ารู้หรือรู้ซื่อ ๆ ไม่เป็น ก็ให้ มีความรู้สึกตัวอยู่กับคำบริกรรมพุทโธแล้วสักแต่ว่ารู้ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ตลอดเวลา จนกว่าจะสัก แต่ว่ารู้หรือรู้ซื่อ ๆ คือปล่อยวางทั้งอารมณ์หรือสิ่งที่ถูก รู้และปล่อยวางทั้งผู้รู้ตลอดเวลา ก็ไม่ต้องพึ่งคำ บริกรรมพุทโธอีกต่อไป ปุจฉาวิสัชนาธรรมเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2560


ปล่อยวางทั้งอารมณ์ที่ถูกรู้ และปล่อยวางตัวเราผู้รู้อารมณ์ ผู้ถาม : กราบนมัสการเจ้าค่ะ หลวงตาเจ้าคะ ปุจฉา ข้อที่หนึ่งเจ้าค่ะ หลังจากที่หนูได้มากราบ นมัสการหลวงตาแล้วเกิดปีติขึ้นน้ำตาไหล แล้วหลวง ตาบอกให้หนูระลึกถึงความปีติที่ทรงไว้ ความเย็นฉ่ำ ของน้ำตาไหลลงสู่ใจแล้วจะค่อย ๆ หายไป แล้วกลาย เป็นอุเบกขาไปในที่สุด แต่ความปีติยังคงมีอยู่ เมื่อขณะ เดินทางกลับบ้านฝนตกก็ระลึกถึงความปีตินั้นแล้ว ขนลุกตามแขนทั้งสองข้างแล้วก็ค่อย ๆหายไปเจ้าค่ะ อาการเช่นนี้จะนำมาพิจารณาจะเป็นเช่นไรเจ้าคะหลวง ตา หลวงตา : อารมณ์ปีติสุขอุเบกขาเวทนาเขาหายไป แล้ว ก็ให้อยู่กับรู้สักแต่ว่ารู้ทุกขณะปัจจุบัน ถ้าอยู่กับรู้ สักแต่ว่ารู้ไม่ยึดถือทั้งอารมณ์หรือสิ่งที่ถูกรู้ และไม่ ยึดถือว่าตัวเราเป็นผู้รู้ เพราะเห็นว่าเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง


เพราะธรรมารมณ์คือเวทนา สัญญา สังขารและ จิตหรือวิญญาณ ซึ่งเป็นผู้รู้ล้วนแต่เป็นขันธ์ห้าเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัวเรา หรือ ไม่ใช่ตัวตนของเรา ให้ปล่อยวางความหลงยึดถือเสีย เรียกว่า "วิปัสสนา" แต่ถ้าเอาตัวเราไปรู้อารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งเพียง อารมณ์เดียว เช่นคำบริกรรม "พุทโธ" เมื่อสติหรือผู้รู้ ต่อเนื่องไม่ขาดสาย โดยไม่หลงขาดสติไปคิดฟุ้งซ่าน หรือไปรู้อารมณ์อย่างอื่น ก็จะเกิดอารมณ์ปีติสุข อุเบกขาเรียกว่า "สมถะ" สมถะกับวิปัสสนาต่างกันตรงที่ “สมถะ" จะเอาตัวเราไปรู้อารมณ์หรือเครื่องล่อ จิต แต่ "วิปัสสนา" จะปล่อยวางทั้งอารมณ์ที่ถูกรู้และ ปล่อยวางตัวเราผู้รู้อารมณ์ คือไม่หลงยึดถืออารมณ์ หรือสิ่งที่ถูกรู้และไม่ยึดถือผู้รู้ว่าตัวเราเป็นผู้รู้ หรือผู้รู้ เป็นตัวเราได้แต่สักแต่ว่ารู้ซื่อ ๆ ทุกขณะจิตปัจจุบัน ปุจฉาวิสัชนาธรรมเมื่อวันที่16 พฤษภาคม 2560


รู้ซื่อ ๆ ทางประตูใจทุกขณะจิตปัจจุบัน ผู้ถาม : กราบนมัสการหลวงตาเจ้าค่ะ หากเรารู้ว่าการ บริกรรมพุทโธหาย ขาดความต่อเนื่องขณะที่ลูกนั่งดูทีวี ลูกควรเลิกดูทีวีหรือนั่งดูต่อพร้อมทั้งการบริกรรมให้ต่อ เนื่องค่ะ หลวงตา : ใช้การรู้สึกตัวกับการดูทีวีหรือการทำการ งานเป็นเครื่องรู้ ไม่ต้องบริกรรมพุทโธซ้อนขึ้นมาอีก แล้วสักแต่ว่ารู้ซื่อ ๆ ทางประตูใจทุกขณะจิตปัจจุบัน แต่ การดูทีวีถ้าดูหนังดูละครจะหลงเพลินส่งจิตออกนอก มากกว่าการรู้สึกตัว

ปุจฉาวิสัชนาธรรมเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2560


สิ้นหลงยึดถือว่าเป็นเราเป็นตัวเรา เป็นของเราหรือมีตัวเรา อยู่ในขันธ์ห้า ... ก็พ้นทุกข์ ผู้ถาม : กราบนมัสการหลวงตาครับ ช่วงนี้ผมขับรถ ทางไกลบ่อย เวลาขับรถจะเปิดซีดีจบซะทีฟัง ช่วงที่ฟัง ไฟล์ที่ 1 ถึงไฟล์ที่ 4 จิตจะตื่นทุกครั้ง ตามดูตัวพากษ์ ได้เกือบตลอดเลย ฟังวนอยู่ 4 ไฟล์นี้ครับ ขอโอกาสถาม 2 ข้อครับ 1. ขณะเห็นตัวพากษ์บางครั้งจิตที่รู้จะมีการกด ทำให้แน่น แล้วจะมีจิตก็พากษ์ว่ากดหรือบางครั้งก็ พากษ์ว่าแน่น แล้วก็รู้ตัวพากษ์ต่อไปเรื่อย ๆ แม้จะมี อาการกดสลับไปมาโดยไม่มีเราได้ไปยึดถือดูตัว พากษ์ที่ซ้อนอยู่เรื่อยไปใช่ไหมครับ


2. เมื่อดูตัวพากษ์ที่ซ้อนกันเรื่อยไปจิตจะไม่มี อารมณ์ (แบบโลก ๆ) ใช่ไหมครับ แต่ถ้าเห็นไม่ทัน หรือไม่ต่อเนื่องก็จะเริ่มมีอารมณ์ (แบบโลก ๆ) ไม่ว่า จะเป็นการอึดอัดโกรธ หงุดหงิด รำคาญ สบายใจ ทุกข์ใจ เศร้า ฯลฯ กราบขอบพระคุณหลวงตาอย่างสูง ครับ ตัวอย่างเช่น กำลังจะแซงรถข้างหน้ามอง กระจกข้าง เห็นรถทางขวากำลังแล่นมา มีเสียงพากษ์ ว่า "เร็ว ๆ" จะไม่มีความอึดอัดแล้วก็รู้ตัวพากษ์อื่นต่อ แต่ถ้าเห็นไม่ทันจะรู้สึกอึดอัด มารู้ตอนพากษ์อีกครั้งว่า “อึดอัด" แล้วรู้ตัวพากษ์อื่นต่อใช่ไหมครับและกรณีหลัง ถือว่าเป็นการจับปล่อยจับปล่อย อย่างที่หลวงตาเทศน์ สอนแล้วใช่ไหมครับ หลวงตา : อาการอึดอัดหรืออารมณ์อึดอัดเป็น ทุกขเวทนา เกิดจากหลงยึดถือขันธ์ห้าเป็นตัวเรา แล้ว เอาตัวเรานั้นไปหลงปรุงแต่งเพ่งหรือสะกดจิต ให้นิ่งไว้


เมื่อมีสติมารู้เท่าทันตัวเราซึ่งเป็นตัวสมมติ คือหลงเอาจิตหรือวิญญาณขันธ์หรือผู้รู้เป็นตัวเรา ซึ่ง เมื่อจิตหรือวิญญาณขันธ์รู้ตามทวารแล้วก็จะส่งต่อ เวทนา จิตหรือวิญญาณเก่าดับไปเกิดจิตหรือ วิญญาณใหม่มารับรู้เวทนา และจิตหรือวิญญาณเก่าดับไปส่งต่อสัญญา เกิดจิตหรือวิญญาณใหม่มารู้สัญญา แล้วสัญญาและจิตหรือวิญญาณนั้นดับไปส่ง ต่อสังขาร คือคิดปรุงหรือปรุงคิดแล้วจิตหรือ วิญญาณเก่าพร้อมสัญญาดับไป เกิดจิตหรือวิญญาณ ใหม่มารู้ความคิดปรุงหรือปรุงคิด แล้วจิตหรือวิญญาณนั้นดับไปเกิดจิตหรือ วิญญาณใหม่มารู้รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสหรือ ธรรมารมณ์ แล้วส่งต่อเวทนาสัญญาสังขารต่อเนื่อง กันไปอย่างนี้ตลอดเวลา


ซึ่งเป็นกระบวนการทำงานของขันธ์ห้าหรือ ชีวิต ดังนั้นมีแต่ขันธ์ห้าหรือสังขารเกิดดับตลอด เวลา ส่วนร่างกายก็มีกระบวนการทำงานของเซลล์ หรือโมเลกุลทำงานส่งต่อเนื่องกันตลอดเวลา ทำให้ เกิดการไหลเวียนของสารอาหารแร่ธาตุและเลือด ลม ดังนั้นร่างกายและจิตหรือวิญญาณจึงเป็นของ ไม่เที่ยง เกิด ดับ เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ไม่มีส่วน ใดที่คงที่ เป็นสาระแก่นสารอยู่เลยสักปรมาณูเดียว จึงไม่มีตัวเราที่เป็นแก่นหรือก้อนที่เที่ยงอยู่จริง ๆ เลย แต่ก็ยังหลงยึดถือเอาขันธ์ห้าเป็นเรา เป็นตัว เรา เป็นตัวตนของเราหรือมีตัวตนของเราอยู่ใน ขันธ์ห้า ดังนั้นเวลาจิตหรือวิญญาณขันธ์ทำหน้าที่รู้ แล้วส่งต่อเวทนา สัญญา สังขาร อีกสามขันธ์ จึงมี ความรู้สึกหลงไปว่าเราเป็นคนรู้ เราสุข เราทุกข์ เรา เป็นกลาง ๆ เราจำได้หมายรู้ เราคิด


ครั้นเมื่อฝึกปล่อยวางทั้งสิ่งที่ถูกรู้และปล่อยวาง จิตหรือวิญญาณขันธ์ซึ่งเป็นผู้รู้ตลอดเวลา จึงเท่ากับ ปล่อยวางขันธ์ห้าจนถึงจิตหรือวิญญาณขันธ์หรือสิ้น อุปาทานขันธ์ห้า ก็จะไม่หลงรู้สึกว่าเราหรือตัวเราเป็นผู้ รู้ เราหรือตัวเราเป็นผู้โปร่ง เบาสบายว่าง เราหรือตัว เราจำได้หมายรู้ เราหรือตัวเราคิด คงมีแต่อารมณ์หรือ อาการที่ถูกรู้และการรับรู้ตามทวารทั้งหกตามปกติ ธรรมชาติ โดยไม่หลงว่ามีตัวเราในขันธ์ห้า หรือไม่ หลงยึดถือเอาขันธ์เป็นตัวเราและจะไม่หลงเอาขันธ์ไป ยึดถือรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ไม่หลงยึดถือว่าเรา หรือตัวเราเป็นผู้มีอาการหรือมีอารมณ์คือเป็นผู้สุข ทุกข์ เป็นกลาง ๆ ผู้จำได้หมายรู้ ผู้คิด ผู้รู้ ผู้ว่าง เมื่อ สิ้นหลงยึดถือว่าเป็นเรา เป็นตัวเรา เป็นของเรา หรือมี ตัวเราอยู่ในขันธ์ห้า ก็ไม่มีตัวเราผู้ทุกข์หรือเรียกว่าพ้น ทุกข์ ปุจฉาวิสัชนาธรรมเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2560


ปล่อยวางความหลงยึดถือว่าเป็นเรา เป็นตัวเรา เป็นตัวตนของเรา หรือมีตัว เราเป็นตัวเป็นตนอยู่ในขันธ์ห้า ผู้ถาม : กราบนมัสการหลวงตาเจ้าค่ะ หนูกราบแทบ เท้าหลวงตาเจ้าค่ะ ที่หลวงตาโปรดเมตตาสั่งสอนให้ หนูได้เข้าใจการปล่อยวางยิ่งขึ้นเจ้าค่ะ ที่หนูได้ฟัง ธรรมจากหลวงตาครั้งนี้ หนูได้นำมาจดไว้พอได้ดังนี้ เจ้าค่ะหลวงตา ธรรมที่ได้ฟังหลวงตามา - ปล่อยวางการปรุงแต่งไม่ใช่ปรุงแต่งการ ปล่อยวาง ... *เรื่องนี้สำคัญมาก - ปล่อยวางคือไม่ไปยึดไม่ไปติด ทุกอย่าง (รอบตัว) มันเป็นปกติอยู่แล้ว มีได้ แต่ไม่เข้าไปยึด ไม่ เข้าไปติดเหมือนกับที่เรารู้ว่าธรรมชาติ ล้วนเกิดขึ้น แล้วดับไป เราก็แค่รู้ไม่ได้ไปให้ค่า ไม่ได้ยึด เราก็เลย ไม่ไปทุกข์กับมัน เช่น เสียงนกร้อง สภาพอากาศ เป็นต้น


- อย่าให้กิเลสลากไป ต้องมีสติยับยั้งชั่งใจ พิจารณา - ไม่มีเราเลยมีแต่สังขารเท่านั้น มันเกิดดับอยู่ ที่ใจเราทุกขณะจิต อย่าเข้าไปร่วม ไปยึดไปปรุงว่าเป็น เรา มันเกิดแล้วก็ดับไปเอง หากมีข้อที่ยังเข้าใจผิดหรือไม่ถูกต้อง ขอหลวง ตาโปรดเมตตาด้วยนะเจ้าคะ กราบเท้าหลวงตาด้วย ความเคารพอย่างสูงสุดเจ้าค่ะ หลวงตา : ถูกแล้วเหลือแต่ปล่อยวางความหลงยึดถือ ว่าเป็นเรา เป็นตัวเรา เป็นตัวตนของเรา หรือมีตัวเรา เป็นตัวเป็นตนอยู่ในขันธ์ห้า

ปุจฉาวิสัชนาธรรมเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2560


ใจสงบไม่เกิดดับ แต่ทุกสรรพสิ่ง ล้วนเคลื่อนไหวเกิดดับ ผู้ถาม : กราบนมัสการครับ เมื่อวานฟังธรรมหลวงตา แบบธรรมดาปกติ ไม่มีความปรารถนาอะไรจากการฟัง นั้น ไม่มีการภาวนา ไม่มีการเจตนาตั้งรู้ไว้ที่ใจ เลยไม่ สนใจระวังว่าจะหลงสังขารหรือไม่สังขาร ... ผลของเมื่อ คืนคือสงบ ... เพราะหยุดทำอะไรทั้งนั้นใช่ไหมครับ หลวงตา บางช่วงจังหวะที่กำลังฟังหลวงตาอยู่ความ คิดถึงคนในครอบครัวผุดมา ... มันก็แค่รู้เองได้ แล้ว เห็นถึงเยื่อใยที่ยังค้างคา แต่พอผมไม่ได้ยึดถืออะไรใน ความคิดความรู้สึกนั้นมันก็ไม่ได้ส่งผลอะไรต่อใจ รวม ไปถึงความรู้สึกนึกคิดที่เป็นอกุศลที่ผุดมาเอง มันก็หาย ไปเองสงบสุข กราบครับหลวงตา


หลวงตา : ใจสงบไม่เกิดดับ แต่ทุกสรรพสิ่งล้วน เคลื่อนไหวเกิดดับ ก็แค่รับรู้อย่างนั้นเอง ไม่มีตัวเรา ไม่มีการยึดถือ ไม่มีการปล่อยวาง

ปุจฉาวิสัชนาธรรมเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2560


ให้น้อมพิจารณาเห็นตัวเอง ... อย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย ผู้ถาม : กราบนมัสการหลวงตาเจ้าค่ะ ... โยมปฏิบัติ มาหลายปีแล้วเพิ่งมาได้ฟัง CD ของหลวงตาไม่กี่เดือน มานี้ ขอเล่าสภาวะนะคะ (อาจเรียบเรียงไม่สละสลวย ขออภัยค่ะ) โยมนั่งสมาธิโดยใช้บริกรรมพุทโธ ... เมื่อ พุทโธหาย จิตนิ่งมากค่อย ๆ ดิ่งลงลึก ... สักพักรู้สึกตัว ค่อย ๆ ถอยออกมาที่สมาธิตื้น ๆ แล้วมีอาการเบาโล่ง เย็น ๆ ... และมีอะไร ๆ ผุดขึ้นในใจ ... ก็รู้สีกแผ่วเบา แล้วก็ปล่อยไป ๆๆ ... จนจิตนิ่ง ... นิ่ง แล้วมีความคิดเกิดขี้นในใจ (หรือเห็น) ว่า แขน ขา หลุดออกมากองตรงหน้าทีละชิ้น ๆ แล้วโยมก็ นั่งมองดู ๆ แล้วแขนขานั้นมันย่อยสลายไปกับสายลม บางส่วนละลายไปกับน้ำเหลือง กระดูกกองกับ ดิน ....จิตคิดขี้นมาทันทีว่าอ๋อ ... อย่างนี้นี่เองที่ว่า ร่างกายเราเกิดมาจากการรวมตัวของธาตุ 4 คือดินน้ำ ลมไฟ .. .เมื่อร่างกายแตกสลายลงก็กลับคืนสู่ธรรมชาติ ไม่มีตัวเราที่เป็นของเราเลย ...


หลังจากโยมเห็นแบบนี้แล้ว ในชีวิตประจำวัน เหมือนเราเป็นหนี่งเดียวกับธรรมชาติไม่มีตัวตน .. .เบา สบายไม่รู้สึกอะไรกับอะไร ... แต่ไม่เผลอเหม่อเลยนะคะ ... ยังมีสติตลอดเวลา ... ขอถามหลวงตาว่า 1. การที่เห็นแขนขาแยกออกมาแล้วสลายกลาย เป็นธาตุนั้น เห็นตามความเป็นจริงที่เกิดจากปัญญา ... หรือเป็นอย่างอื่นคะ 2. และโยมต้องปฏิบัติแบบไหนต่อไป กราบขอบพระคุณหลวงตาเจ้าค่ะ หลวงตา : ให้น้อมพิจารณาเห็นตัวเองแก่เจ็บตายเน่า เปื่อยผุพังสลายเป็นธาตุดิน ธาตุน้ำ ลม ไฟและความ ว่างซ้ำ ๆๆๆๆ ... อย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย อย่าไป สนใจยึดถือความรู้สึกว่างเบาสบายโดยเด็ดขาดมันจะ หลง

ปุจฉาวิสัชนาธรรมเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2560


ฝึกให้มีความรู้สึกตัว (สติ) อย่าง ต่อเนื่อง ... จิตคิดก็รู้แต่ไม่หลงติดไป ผู้ถาม : กราบหลวงตาเจ้าค่ะ ถึงเวลาที่ลูกขึ้นชก จริง ๆ ลูกสับสนงงงวยไปหมด มารู้ตัวว่าเป็นคนที่ช่าง คิด คิดไม่หยุด พยายามบริกรรมพุทโธ (ยังต้องอาศัย พยายามอยู่) แต่ก็ให้รู้ว่าจะไม่เอาอะไร แค่รู้เป็นพอ แต่ลูกรู้ไม่ทันความคิดตัวเองว่ากำลังสร้างสัญญาหรือ เปล่า เลยต้องย้อนกลับไปคิด ทำให้ลูกไม่อยู่กับ ปัจจุบัน อย่างเช่นเมื่อวานลูกไปหาซื้อกับข้าวสำหรับ สมาชิกในครอบครัว ลูกพยายามสรรหาร้านที่คิดว่า ทำอร่อยถูกใจคนในครอบครัว ถ้าทุกคนชอบจะกลับ มาซื้ออีก ลูกยังติดย้อนกลับไปพิจารณาความคิดที่เป็น อดีตอยู่เจ้าค่ะ ... สิ่งที่ลูกปฏิบัติตอนนี้ ทันทีที่ลูกเผลอ คิดในเรื่องที่ไม่ใช่ปัจจุบัน ลูกจะบริกรรมพุทโธค่ะ อย่างนี้ถูกไหมคะหลวงตา


หลวงตา : ให้บริกรรมพุทโธด้วยความรู้สึกตัวไว้ อดีต เป็นธรรมเมา อนาคตเป็นธรรมเมา อย่าหลงติดไป ปัจจุบันให้อยู่กับความรู้สึกตัวไว้ จิตเขาจะคิดเป็นเรื่อง ของเขา ไม่เกี่ยวกับเรา เราก็มีหน้าที่รู้สึกตัวอย่างเดียว ไม่ใช่ไปไล่ดับความคิด จิตเขาคิดก็รู้อยู่แต่ไม่หลงติด ไป ฝึกข้ามคืนเพื่อฝึกให้มีความรู้สึกตัว (สติ) อย่าง ต่อเนื่อง บางท่านอยู่ในขั้นพิจารณากายและจิตว่าไม่ เที่ยงเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ปุจฉาวิสัชนาธรรมเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2560


ให้โยนิโสมนสิการ ... บอกสอนใจ ตนเองทุกขณะจิตปัจจุบัน ให้ปล่อยวาง สังขารสิ่งปรุงแต่งทั้งหมด

ผู้ถาม : กราบนมัสการหลวงตาค่ะ โยมติดตามฟัง หลวงตาจากยูทูปและทางไลน์เป็นประจำ อยากจะ ขอให้หลวงตาเมตตาอธิบายคำว่าโยนิโสมนสิการ ให้หน่อยค่ะ คือได้ยินอยู่บ่อย ๆ ว่าให้โยนิโส มนสิการอยู่ในใจ แต่โยมยังเข้าใจไม่กระจ่างค่ะ ตอนนี้ฝึกมีสติรู้เท่าทันสังขารไปรู้เห็นอะไรก็จะมาพูด อยู่ในใจ ที่เข้าใจคำว่าโยนิโสมนสิการคือการที่เรามา ถามต่อว่า แล้วใครมารู้ว่าเกิดอะไรขึ้นหรือว่าให้ บอกกับตัวเองไปว่านี่มันหลงคิดนิ นี่มันหลงปรุงนะ หรือว่าเมื่อมีความน้อยใจเกิดก็ให้รู้ แล้วให้รู้ต่อว่า มันเกิดเพราะยังไปยึดไปเอาอดีตมาคิดปรุง อย่างนี้ โยมเข้าใจถูกหรือไม่อย่างไรคะ ขอความเมตตาจาก หลวงตาอธิบายให้กระจ่างด้วยค่ะ


หลวงตา : ถูกต้องแล้ว โยนิโสมนสิการ คือ บอก สอนใจตนเองทุกขณะจิตปัจจุบัน ให้ปล่อยวาง สังขารคือสิ่งปรุงแต่งทุกอย่างทั้งภายนอกร่างกาย และภายในร่างกาย และในจิตใจ ให้มีปัญญาเห็น ว่าเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ทนอยู่สภาพเดิมไม่ ได้ ไม่ใช่เรา ตัวเรา หรือตัวตนของเรา อย่า เข้าไปหลงยึดมั่นให้เป็นกิเลสและความทุกข์ แล้ว ปล่อยวางเสียได้ จนถึงที่สุดบอกสอนใจของ ตนเองว่า เราเป็นใจ หรือจิตเดิมแท้ หรือ วิญญาณแท้ ๆ ที่มาเกิด ส่วนร่างกายจิตใจที่มีความรู้สึกคิดนึกตรึก ตรองปรุงแต่ง จำได้หมายรู้ และสามารถรับรู้ทาง อายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กายและใจนั้น เป็น สังขารที่ผสมปรุงแต่ง เริ่มมาจากธาตุดินคือ สเปิร์มของพ่อและไข่ของแม่คือธาตุน้ำ แล้วกิน ซากพืชซากสัตว์ กินน้ำลมไฟเติมไว้ตลอดเวลา จึงมีชีวิตที่สามารถคิดพูดกระทำอะไรต่าง ๆ ได้ แล้วก็ตายแตกดับไปไม่อาจคิดพูดทำอะไรได้อีก


ดังนั้นทุกขณะปัจจุบันต้องไม่หลงยึดถือเอา สังขาร ที่คิดพูดทำอะไรได้มาเป็นเรา เป็นตัวเรา เป็น ตัวตนของเรา เพราะเราเป็นวิญญาณ หรือใจ หรือจิต เดิมแท้ ๆ ที่ไม่อาจคิดพูดทำอะไรได้ ได้แต่รู้ขันธ์ห้าคือ ร่างกายที่แอบคิดพูดกระทำในที่ลับและที่แจ้งตลอด เวลา

ปุจฉาวิสัชนาธรรมเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2560


รู้ซื่อ ๆ (รู้ด้วยความปล่อยวาง) ทุกขณะปัจจุบัน ผู้ถาม : เดิมผมปฏิบัติรู้ที่ใจ ละที่ใจ ปล่อยวางที่ ใจ โดยมีความรู้สึกว่ามันกลวงว่างบริเวณตรง หัวใจแล้วปล่อยวางตลอดเวลา ต่อมาเริ่มรู้สึกว่า ลมหายใจแผ่วเบาลง ตัวเบาสบาย ผิวกายซ่าซ่า เหมือนหายใจได้ ต่อมาก็ค่อย ๆ ปล่อยความว่างที่ อยู่บนตรงหน้าอกข้างซ้ายตำแหน่งหัวใจให้ ค่อย ๆ กลืนไปกับความว่างที่อยู่รอบตัวเพราะรู้สึก ว่ามันเป็นการยึด ความว่างกลวงตรงหัวใจก็หาย ไป ตัวก็ยังเบาเย็นสบายอยู่ผิวก็ซ่าซ่าเล็กน้อย เหมือนหายใจได้ โดยเฉพาะตอนหายใจออก อากาศมันไม่ได้ออกแค่ทางจมูกแต่ออกไปทั่ว ร่างกาย


การรับรู้ถึงวิญญาณขันธ์ก็ยังมีอยู่สติสัมปชัญญะ รู้ตัวทั่วพร้อม แต่การหายใจรู้สึกเหมือนมันหายใจไม่ เต็มอิ่ม ทั้งที่ลองหายใจเข้าออกเต็มที่แล้ว หรืออีกนัย หนึ่งคือเหมือนอากาศที่หายใจเข้าไปมันไม่ใช่ปอดของ ตัวเอง อาการเหมือนหายใจไม่เต็มอิ่ม อันนี้เป็นอาการ ผิดปกติอะไรไหมครับ หลวงตา : ถ้าจิตสงบละเอียดในสมถะจริง ๆ โดยไม่ได้ เกิดจากกิเลสที่ปรุงแต่งบีบบังคับอยากให้เป็นอย่างไร ตามใจอยากแล้ว บางครั้งลมหายใจอาจจะไม่ปรากฏ เลยก็ได้ แม้พยายามจะหายใจแรง ๆ ก็ไม่ปรากฏลม หายใจ ก็ให้แค่รู้หรือสักแต่ว่ารู้หรือว่ารู้ซื่อ ๆ (รู้ด้วย ความปล่อยวาง) ทุกขณะปัจจุบัน อย่าทิ้งรู้แล้วหลงไป คิดคือคิดนึกตรึกตรองปรุงแต่งทุกขณะจิตปัจจุบัน ก็แค่ รู้ พูดก็รู้ทำอะไรก็รู้ตลอดเวลา อยู่กับรู้ อย่าไปอยู่กับ อารมณ์หรือสิ่งที่ถูกรู้

ปุจฉาวิสัชนาธรรมเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2560


ขณะจิตที่ปล่อยวาง จึงรู้ได้ที่ใจว่าว่างเปล่า ผู้ถาม : กราบนมัสการเจ้าค่ะหลวงตา … การที่เกิด ผัสสะอย่างต่อเนื่องมากบ้างน้อยบ้าง ในช่วงเวลา ดำเนินชีวิตแต่ละวัน บางครั้งก็มีเผลอ บางครั้งก็เพ่ง บางครั้งก็ขึ้นขบวนรถไฟไปด้วยเลย รู้สึกตัวได้ก็โดด ลง ค่อยดูและให้รู้สึกตัวให้มีสติ ทีนี้เวลาเกิดผัสสะถี่ ๆ ในกิจกรรมที่ทำเกิดความทุกข์รู้ไม่ทัน ทำให้ขาดสติมี การพร่ำบ่นอยู่ภายในเกิดอะไรขึ้นมึนงงอึดอัด อีกส่วนหนึ่งระลึกถึงคำสอนของหลวงตาจิต เหมือนมดลูกสิ่งที่เกิดเหมือนเด็กในครรภ์ เกิดแล้ว คลอดออกไป เมื่อเด็กคลอดออกไปแล้วมดลูกก็ว่าง เปล่า เมื่อนึกถึงตรงนี้ร่างกายค่อย ๆ คลี่คลายบาง ช่วงมีอาการเย็นซ่านไปทั่วตัวแล้วก็จางหายไป การพิจารณาเช่นนี้เป็นอย่างไรบ้างเจ้าคะ กลัว หลงทางเจ้าค่ะ กราบสาธุในความเมตตาของหลวงตา เจ้าค่ะ


หลวงตา : ถูกต้องแล้ว ขณะจิตปัจจุบันที่ปล่อยวางสิ่งที่ รู้ ที่เห็น ที่สัมผัสได้ไปเสีย ใจก็เป็นธรรมชาติที่ว่างเปล่า ไม่มีอาการเกิดดับ สิ่งที่ดับไปมีแต่สังขารและการหลง ยึดถือ ขณะจิตที่ปล่อยวางจึงรู้ได้ที่ใจว่าว่างเปล่าเบา สบาย ต่อไปก็ให้จิตได้จดจำเรียนรู้อย่างนี้ไว้ตลอด เวลา ว่าถ้าหลงยึดถือก็ทุกข์หนักแน่นทึบ ถ้าปล่อย วาง ใจก็ว่างเปล่า สิ่งที่เกิดดับมีแต่สังขารและความ หลงยึดถือเท่านั้น เหมือนเด็กในครรภ์ที่เกิดแล้วคลอด ออกไป แต่ใจคงว่างเปล่าตามธรรมชาติปกติของเขา อย่างนั้น

ปุจฉาวิสัชนาธรรมเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2560


ให้น้อมต่อเนื่องไม่ขาดสาย ใจก็จะปล่อยวางความหลงยึดถือ ตัวเราและคนอื่น ๆ ผู้ถาม : กราบนมัสการหลวงตาครับ ตอนเช้าวันหนึ่ง ผมสวดมนต์เสร็จ ก่อนไปทำงานผมประนมมือกล่าว บอกพระพุทธองค์ว่า ขอบารมีพระพุทธองค์ช่วยชี้แนะ ให้ลูกได้อยู่กับภรรยาคนที่เรารัก ให้ได้อยู่แบบเป็น เพื่อนกัน เกื้อกูลกัน ซึ่งทุกวันนี้ผมรู้สึกว่าผมยึดเขา มาก วางยากครับ ตอนเย็นวันหนึ่งขณะผมนั่งสวดมนต์กับแฟนอยู่ ครับ สวดไปเกือบจบแล้วสวดผิดไปคำหนึ่ง แฟนหัน มามองหน้าผม เขาส่งสายตามาบอกว่าสวดผิด ผมก็ สวดใหม่แล้วก็หลับตาลงเพื่อปิดประตูตา จะได้มีสติ ในการสวดมนต์


พอหลับตาลงเท่านั้นแหละครับ เห็นเป็นภาพด้าน หลังของแฟนเป็นแผลแดงแล้วเปื่อยเหมือนหนังม้วน ฟิล์มขาด หนังเปื่อยเห็นกะโหลก แล้วกะโหลกก็ค่อย ๆ ละเอียดเป็นทรายร่วงโผละลงมา ผมตกใจก็เลยลืมตา ขึ้นมา ในขณะเดียวกันก็ดีใจว่าเกิดขึ้นได้ยังไง ขนาด ตั้งใจน้อมยังน้อมไม่ลงเลย แต่มันเกิดขึ้นเร็วมากนะ ครับหลวงตา อย่างนี้ผมควรเอามโนนึกใบหน้าคนที่ เรายึดเขา มาปลงว่าเป็นของเน่าไม่น่ายึดได้ไหมครับ แต่ลองตั้งใจลองทำกลับน้อมไม่ลงครับ ตอนนี้ ผมปฏิบัติดูกายดูจิตอยู่ครับ ปกติผมไม่กล้าที่จะส่ง การบ้านหลวงตาครับ ไม่ค่อยกล้าถาม แต่พอไปกราบ หลวงตาหรือฟังไฟล์ที่หลวงตาส่งมาทางไลน์ก็ได้ การบ้านที่ตรงกับผมตรงที่สงสัยครับ


และขอกราบเเทบเท้าหลวงตาด้วยครับ ที่อบรม สั่งสอนชี้แนะและเมตตาต่อกระผม จากที่ไม่เคยรู้เรื่อง เลย แต่ตอนนี้ผมเข้าใจมากขึ้นครับ และขอกราบขอ ขมาหลวงตาที่ได้ล่วงเกินด้วยกาย วาจา ใจ ทั้งที่ตั้งใจ ก็ดี ไม่ตั้งใจก็ดี ทั้งที่รู้ตัวก็ดี ไม่รู้ตัวก็ดี หลวงตาได้ โปรดอโหสิกรรมให้ลูกด้วย อย่าได้เป็นโทษบาปเวร กรรมแก่ลูกเลยครับหลวงตา หลวงตา : สาธุ ฆราวาสมีคู่อยู่ด้วยเป็นกัลยาณมิตรกัน เพื่อความผาสุขพ้นทุกข์ในปัจจุบัน ต้องถือศีลห้า บริสุทธิ์ ข้อสามถือพรหมจรรย์ แล้วน้อมให้เห็นทั้ง ภรรยาและตัวเราก็ต้องแก่เจ็บตาย เน่าเปื่อยผุพังไป เป็นธาตุดินน้ำลมไฟ และความว่างเปล่าจากตัวตน อย่างที่เห็นนิมิตนั้นนั่นแหละ

ให้น้อมต่อเนื่องไม่ขาดสาย ใจก็จะปล่อยวาง

ความหลงยึดถือตัวเราและภรรยาและคนอื่น ๆ เอง

ปุจฉาวิสัชนาธรรมเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2560


ให้ตั้งใจฟังไฟล์เสียงต่อเนื่อง ... จะเข้าใจได้ถึงใจจริง ๆ ผู้ถาม : นมัสการค่ะหลวงตา ปัจจุบันหลานพอที่จะรู้ที่ ใจได้พอถูกบ้างไหมคะ ขณะที่ขอเมตตาถามหลวงตาก็ เกิดความกลัวกับเกรงใจมาก แต่ก็เห็นว่าความกลัว เกี่ยวอะไรกับใจ ขอความเมตตาหลวงตาช่วยอบรมสั่ง สอนในสิ่งที่หลานติดขัดในการภาวนาด้วยค่ะ หลวงตา : ให้ตั้งใจติดตามฟังทำความเข้าใจอย่าง จดจ่อต่อเนื่องในไฟล์เสียงที่ส่งขึ้น line เกือบทุกวัน แล้วปฏิบัติตามนั้นอย่างต่อเนื่องถ้าเป็นแฟนพันธุ์ แท้จริง ๆ แล้วจะเข้าใจได้ถึงใจจริง ๆ ปุจฉาวิสัชนาธรรมเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2560


ให้ตั้งใจฟังไฟล์เสียงต่อเนื่อง ... จะเข้าใจได้ถึงใจจริง ๆ ผู้ถาม : กราบนมัสเจ้าค่ะหลวงตา ปุจฉา ... เพียรฟังเพียรปฏิบัติ ช่วงสองวันนี้หลง น้อยลง พิจารณาได้ละเอียดขึ้น บางครั้งคิดหรือมี โทสะพิจารณาไม่ทันเกิดการห้ามตัวเองเสียก่อน และ ด้วยความรวดเร็วพิจารณาเห็นสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นสังขาร ทั้งหมด เกิดความโปร่งโล่งเบาแล้วหายไป ต่อมาขณะยืนรอรถ พิจารณาเห็นความคิดที่ ปรุงแต่งแล้ววาง มีอีกความคิดหนึ่งผุดขึ้นมาบอกว่า จิตทำอะไรไม่ได้เลยเพียงแต่รู้ทุกสิ่งอย่าง อย่าไปพึ่ง สมองเลย เขาเป็นสังขารเกิดดับตลอดเวลาเจ้าค่ะ เมื่อ พิจารณาแล้วเป็นความคิดปรุงแต่งจึงวาง การ พิจารณาธรรมของลูกเป็นอย่างไรคะหลวงตา หลวงตา : ให้ตั้งใจติดตามฟังทำความเข้าใจอย่าง จดจ่อต่อเนื่องในไฟล์เสียงที่ส่งขึ้น line เกือบทุกวัน แล้วปฏิบัติตามนั้นอย่างต่อเนื่องถ้าเป็นแฟนพันธุ์ แท้จริง ๆ แล้วจะเข้าใจได้ถึงใจจริง ๆ ปุจฉาวิสัชนาธรรมเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2560


สิ่งที่ถูกรู้ไม่ใช่เรา ... ไม่มีเรา ผู้ถาม : กราบนมัสการหลวงตาเจ้าค่ะ กลับจากคอร์ส หลวงตาถึงบ้านแล้ว เมื่อสักครู่ลูกทำงานบ้าน รู้สึกขึ้น มาในใจว่าสิ่งที่ถูกรู้ไม่ใช่เรา งั้นไม่มีเรา พร้อมน้ำตา ก็ไหลแล้วลูกรู้สึกว่าช่วงนี้ให้อยู่เงียบ ๆ กับตัวเองมาก ๆ ทำงานบ้านดูแลพ่อแม่ไป ถ้าไม่จำเป็นอย่าเพิ่งไป พบปะพูดคุยฟุ้งมากข้างนอกเจ้าค่ะ เหมือนข้างใน ทบทวน ๆ แต่สิ่งที่หลวงตาสอนเจ้าค่ะ ขอความเมตตา หลวงตาเจ้าค่ะว่าควรปฏิบัติเช่นนี้หรือไม่เจ้าคะ หลวงตา : สาธุ ปุจฉาวิสัชนาธรรมเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2560


ไม่หลงสังขาร ไม่หลงเอาตัวเรา ไปเป็นสังขาร จะเป็นธรรมที่มั่นคง ผู้ถาม : ผมรบกวนถามหลวงตาครับ สังโยชน์ข้อ 8 มานะ ควรปฏิบัติอย่างไรถึงคลายมานะที่มีได้ครับ ขอบคุณครับ หลวงตา : มานะทิฏฐิ คือการยึดถือความเห็นของตน เป็นใหญ่ ตามที่อ่านมาหรือฟังมามาก แล้วเอามาคิดปรุง แต่งขวางธรรมที่ไม่ปรุงแต่งไม่เกิดไม่ดับ ไว้ถ้าพ้นจากคิด หรือพ้นจากสังขารไม่หลงสังขาร หรือไม่หลงเอาตัวเราไป เป็นสังขารก็จะเป็นธรรมที่มั่นคง ปุจฉาวิสัชนาธรรมเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2560


สักแต่ว่าเห็น สักแต่ว่าได้ยิน สักแต่ว่ารู้ ผู้ถาม : กราบนมัสการเจ้าค่ะหลวงตา อาการตอนนี้มัน มีเสียงพูด ๆๆๆ พากษ์ ๆ สิ่งที่จะทำ สิ่งที่เห็น มองป้าย มองอะไรข้างนอก กลับได้ยินเสียงพูดข้างใน ตามอง ข้างนอกแต่เห็นทั้งข้างนอกข้างในเจ้าค่ะ ขอความ เมตตาจากหลวงตาเจ้าค่ะ หลวงตา : สักแต่ว่าเห็น สักแต่ว่าได้ยิน สักแต่ว่ารู้ ปุจฉาวิสัชนาธรรมเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2560


สอนตัวเองอยู่ตลอดเวลา จนกว่าจิตจะสิ้นหลงหรือสิ้นอวิชชา ผู้ถาม : กราบนมัสการเจ้าค่ะ จากที่ได้อ่านข้อความนี้ ... (หลวงตา : มานะทิฏฐิ คือการยึดถือความเห็นของตน เป็นใหญ่ตามที่อ่านมาหรือฟังมามาก แล้วเอามาคิดปรุง แต่งขวางธรรมที่ไม่ปรุงแต่ง ไม่เกิด ไม่ดับไว้ ถ้าพ้นจาก คิดหรือพ้นจากสังขาร ไม่หลงสังขาร หรือไม่หลงเอาตัว เราไปเป็นสังขาร ก็จะเป็นธรรมที่มั่นคง) ... ลูกได้ยินแต่คนอื่นมาบอกว่าลูกเป็นคนติดคำ สรรเสริญเยินยอ ... ติดดี ... แต่ไม่เห็นว่าตัวเองเป็นแบบ นั้น มาชัดแก่ใจตอนเข้าคอร์สหลวงตาเจ้าค่ะ แต่พอมา เข้าคอร์สหลวงตากลับเห็นมันขึ้นมาเยอะมาก ๆ ที่โผล่ มาว่าฉันเก่ง ฉันทำได้ เธอไม่เก่ง ฉันรู้แล้วต่าง ๆ นานาที่ โผล่มาโจ้ง ๆ โผล่มาแอบ ๆ


แต่ช่วงที่โผล่ขึ้นมาครั้งแรกที่ชัดในคอร์ส หลัง จากที่หลวงตาเมตตาจ้ำจี้จ้ำไชสอนให้ทุกคนเข้าใจ ถึงใจก่อนจบคอร์สเจ้าค่ะ ขณะคุยกับพี่ในคอร์สเห็น ตัวดีใจที่คนชื่นชมมันโผล่ขึ้นมากลางพื้นที่ว่าง ๆ และ โผล่มาตัวฉันเก่ง (สังขาร) ฉันทำได้ แต่รู้สึกมีผลมันไป ยึด ลูกเลยใช้วิธีที่หลวงตาเมตตาสอนว่า ... ต้องสอน จิตเหมือนสอนลูกหมาลูกแมวบางครั้งก็ต้องแรง ๆ ลูก เลยใช้คำว่าถ้ายึด ... มึงทำกูฉิบหายวายวอดมาหลาย ชาติหลายกัปแล้วนะ เพราะไปยึดมึงนะ ! ... ตอนเห็น ... ฉันเก่ง ... ฉันรู้ ... ลองคำอื่นแล้ว มันเบาไปเจ้าค่ะ ลูกเพิ่งเคยรู้ว่าต้องใช้คำสอนแรง ๆ กับจิตที่มันยึดแรง ๆ เป็นครั้งแรก เข้าใจตลอดว่าแค่ รู้คิดก็ได้แล้วเจ้าค่ะ คำสอนแรง ๆ นี้คือขันธ์ห้า (สติ ) ที่ใช้ควบคุม รึเปล่าเจ้าคะ ต้องใช้คำสอนแรง ๆ แบบนี้ไปเรื่อย ๆ จนความยึดมั่นตัวนี้จะเบาบางลง ไม่มีผลกับใจเมื่อ กระทบใช่หรือไม่เจ้าคะ ขอความเมตตาหลวงตาชี้แนะ ด้วยเจ้าค่ะ .... ขอนอบน้อมกราบหลวงตาเจ้าค่ะ


หลวงตา : ต้องสอนตนเองไปจนกระทั่งปล่อยวางสังขาร ที่ละเอียดสูงสุดได้ คือความคิดปรุงแต่งอยู่ภายใน จน ไม่หลงเอาความคิดความปรุงแต่งมาเป็นเรา เป็นตัวเรา เป็นตัวตนของเรา และไม่หลงยึดถือผิด ๆ ว่ามีตัวตน ของเรา แล้วเอาตัวเราไปคิดไปปรุงแต่ง ซึ่งความจะหลง ยึดถือว่ามีเรา มีตัวเราหรือมีตัวตนของเรา ก็เพราะหลง ไปเป็นสังขารปรุงแต่ง จึงสามารถปรุงแต่งยึดถือสิ่งใด ได้ ต้องมีสติปัญญากัดติดจดจ่อให้เห็นความหลงไป เป็นสังขาร คือหลงคิดหลงปรุงแต่งทั้งภายนอกและ ภายใน หรือหลงคิดหลงปรุงแต่งว่าเราอย่างนั้น เรา อย่างนี้ เราอยากให้เป็นอย่างนั้น เราอยากให้เป็นอย่าง นี้ เราไม่อยากให้เป็นอย่างนั้น เราไม่อยากให้เป็นอย่าง นี้


เรา ... ความคิดความปรุงแต่งว่าเป็นเราหรือ เป็นตัวเราหรือเป็นของเราทุกขณะจิตปัจจุบันอย่างนี้ เป็นความหลงคิดหลงปรุงแต่งเรียกว่าหลงสังขาร

จึงต้องมีสติปัญญารู้เท่าทันทุกขณะจิตที่หลง

สังขารในปัจจุบัน แล้วเพียรดุด่าว่าสอนตัวเองอยู่ ตลอดเวลา จนกว่าจิตจะสิ้นหลงหรือสิ้นอวิชชา เมื่อจิตเขาเป็นวิชชาเสียแล้วก็จะเลิกบอกสอน เองเหมือนสอนหมาแมว เมื่อมันฉลาดทำได้อย่างที่ สอนแล้ว เจ้าของก็จะรู้เองแล้วเลิกดุด่าเขาอีกต่อไป ปุจฉาวิสัชนาธรรมเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2560


ทุกขณะปัจจุบันฝึกสติให้มีกำลัง รู้ทันจิตบ่อย ๆ ผู้ถาม : วันนี้ได้ฟังเรื่องจิตเหมือนลิงป่าอีกและฟังซ้ำ หลายครั้ง จิตน้อมในธรรมที่หลวงตาเมตตาสอนสั่ง จะระมัดระวังรักษาใจตนเองจากกิเลสต่าง ๆ ด้วยธรรม 3 ข้อที่หลวงตาให้แนวทางการปฏิบัติ การคิดพูดทำไม่ให้จิตต้องเสียหายทุกขณะ ปัจจุบัน ฝึกสติให้มีกำลังรู้ทันจิตบ่อย ๆ จะได้ไม่เผลอ เหม่อลอยสบาย ๆ อีก และกราบขออนุญาตหลวงตา ไปปฏิบัติที่แดรี่ฮัทในช่วงที่หลวงตาอยู่ โดยขอพักค้าง สัก 5 วันได้มั้ยคะ หากมีสิ่งใดผิดพลาดต่อหลวงตา กราบขอขมาขออโหสิกรรมด้วยค่ะ หลวงตา : อนุโมทนาสาธุ ปุจฉาวิสัชนาธรรมเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2560


ขอขมาจากใจจริง ๆ จนจิตไม่ติดค้าง จึงจะสิ้นภพชาติจากสิ่งนั้น ผู้ถาม : กราบหลวงตาเจ้าค่ะ ... เมื่อปฏิบัติธรรมแล้ว มันมีสัญญา คือความจำเก่า ๆ ที่ลืม ๆ ไปแล้ว ผุดขึ้น มาวันละเรื่องสองเรื่อง เช่นคนที่เราเคยคิดว่าเขาตั้งตน เป็นศัตรูกับเรา ความจำเก่ามันมาให้เห็นว่าเราเคยพูด อะไรที่ไม่ดีกับเขาไว้ ทำให้รู้ว่าอ๋อ เขาเกลียดเราเพราะ ปากเราเอง ก็ตั้งจิตขออโหสิกรรมและแผ่เมตตาพร้อม ขอถอนคำอธิษฐานแบบที่หลวงตาสอน หมดเรื่องนี้อีกวันก็มีอีกเรื่อง และอีกเรื่อง อีก เรื่องผ่านเข้ามา บางเรื่องผ่านมาแล้วสามสี่สิบปี ขอ กราบเรียนถามว่า แค่ตั้งจิตขออโหสิกรรมพอหรือไม่ คะ หรือว่าต้องทำอย่างไรดีเจ้าค่ะ


หลวงตา : ถ้าตัวเขายังมีชีวิตอยู่และสามารถไปขอ อโหสิกรรมต่อหน้าเขาได้ก็ควรที่จะทำ ถ้าเขาตายแล้ว หรือไม่อาจขออโหสิกรรมต่อหน้าได้ ก็ให้สำนึกผิด ขอขมาเขาจากใจจริง ๆ บ่อย ๆ จนกว่าจะไม่มีสิ่งใด หรือคนใดหรือเรื่องใดติดค้างอยู่ในจิตให้ต้องคิดถึง หรือฝันถึงอีกเลย นั่นแหละจึงจะเรียกว่าสิ้นภพชาติจาก สิ่งนั้นแล้ว

ปุจฉาวิสัชนาธรรมเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2560


พิจารณาซ้ำ ๆๆๆๆๆ ... อย่างต่อเนื่อง

จนลงแก่ใจว่าไม่มีตัวตนของเราอยู่จริง

ผู้ถาม : กราบนมัสการหลวงตาค่ะ โยมภาวนาโดยการ รู้อยู่ที่ใจ ปล่อยวางอารมณ์ที่ถูกรู้และผู้รู้ไปเรื่อย ๆ บางทีก็มีตัวเกินเข้าไปดู แต่เช้านี้หลังจากเดินจงกรมไป 1 ชั่วโมง ฟังธรรมไปด้วยมีประโยคหนึ่งว่า ร่างกาย ไม่ใช่เรามีแต่ซากพืช ซากสัตว์ ทันใดนั้นก็เห็นร่างกาย มีเนื้อสัตว์โผล่ขึ้นตามร่างกาย ทั่วตัวมีหนอนตัวใหญ่ มากโผล่ที่ไหล่แล้ววิ่งชอนไชไปทั่วตัว โยมไม่เคยพิจารณาอสุภะยกเว้นฟุ้งมาก จะเพ่ง ไปที่น่องเห็นเนื้อฉีกออก เวลาเดินเนื้อแกว่งไปมาครู่ เดียวใจจะสงบก็เลิก โยมเห็นหนอนไชตลอดเวลา จน ขณะนี้ออกจากทางจงกรมเข้าครัวก็ยังเห็นโดยพิจารณา ว่า ร่างกายไม่ใช่เรา แต่เหมือนใจไม่ลง


โยมควรดูอย่างไร กัดติดจดจ่อตรงนี้ได้ หรือไม่ กราบขอบพระคุณค่ะ โยมขยะแขยง ร่างกายมาก แต่ไม่เห็นเน่าเปื่อยผุพัง เห็นแต่ว่า ร่างกายมันตาย กำลังจะเน่าเท่านั้นค่ะ หลวงตา : เห็นอย่างที่เห็นนั่นแหละพิจารณาซ้ำ ๆๆๆ ๆๆ ... อย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย เอาแต่ความจริง ไม่ ให้หลงอารมณ์ จนลงแก่ใจว่าสิ่งที่เที่ยงหรือสิ่งคงที่ ที่จะเหลือเป็นตัวตนของเราไม่มีอยู่จริง มีแต่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ทนอยู่สภาพเดิมไม่ได้ต้องแก่เจ็บตาย ไม่มี ตัวตนของเราอยู่จริง ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัวเรา ไม่ใช่ตัว ตนของเรา ไม่มีตัวตนของเราอยู่ในตัวเรา

ปุจฉาวิสัชนาธรรมเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2560


เข้าหาผู้รู้แล้วปล่อยวางผู้รู้ ผู้ถาม : เมื่อกี้ขณะฟังบทธรรมะเรื่องหยุดที่ใจจบที่ ใจ ซึ่งสภาวะอยู่ในอารมณ์ของวิปัสสนากรรมฐาน และปฏิบัติตามที่หลวงตาสอน แล้วก็ปรากฏว่าตรง หน้าอกเกิดความร้อนอุ่น ๆ ขึ้น เป็นความรู้สึกที่ ชัดเจนมากไม่ทราบว่ามีความหมายอะไรหรือเปล่า ครับ และขณะปัจจุบันนี้ก็ยังมีอาการอยู่ครับ ศิษย์ก็ยังคงอยู่ในอารมณ์ของวิปัสสนา กรรมฐานอยู่ แล้วก็สักแต่ว่ารู้ ขณะมีความรู้สึก เปลี่ยนไปจากเดิมซึ่งเคยรู้สึกว่า เวลาลมหายใจ เข้าออกผ่านไปถึงส่วนใดของร่างกายจะรู้สึกเย็น สบาย แต่ตอนนี้เปลี่ยนเป็นรู้สึกว่าเวลาลมหายใจ เข้าออกผ่านไปถึงร่างกายส่วนไหน แล้วกลายเป็น รู้สึกอุ่นสบาย


หลวงตา : สภาวะร้อนเย็นนั้น เกิดจากหลงยึดเอาขันธ์ ห้าเป็นตัวเรา แล้วเอาตัวเราเพ่งเข้าไปพิจารณาในตัว เรา จึงเกิดเป็นพลังร้อน พลังเย็น หรือมีสภาวะต่าง ๆ เกิดมาให้รับรู้แตกต่างกันไป อย่าเข้าไปสนใจยึดถือ ให้ค่าให้ความสำคัญ ให้แค่สักแต่ว่ารู้ (รู้แล้วปล่อย ผ่านไป) ให้เข้าหาผู้ที่รู้สภาวะหรืออารมณ์เหล่านั้น แล้ว ปล่อยวางผู้รู้จึงจะพ้นทุกข์

ปุจฉาวิสัชนาธรรมเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2560


ให้ปล่อยวาง ... ผู้รู้ที่ปรุงแต่ง หรือเอาขันธ์ห้ามาปรุงแต่งเป็นผู้รู้ ผู้ถาม : ถ้าบอกว่าอย่าเอาตัวเราเข้าไปเป็นขันธ์ห้า ถ้า เราระลึกรู้บางส่วน เช่น กำลังยกแขน รู้ ก้าวขาซ้าขวา รู้ ซ้ายรู้ขวา อาการทางกายที่ขยับแต่ละส่วนเราตามรู้ ตา กะพริบ กลืนน้ำลายรู้ หายใจเข้ารู้ออกรู้ การรู้แบบนี้ ถือว่าเอาตัวเราไปเป็นขันธ์ห้าไหมคะ หรือต้องแยก ประสาทสัมผัสออกจากขันธ์ 5 คือแยกออกไปเป็นผู้ดูที่ดู ในภาพรวม โดยไม่เฉพาะเจาะจงอาการใด ๆ บางส่วน แค่ดูว่าภาพรวมคน ๆ นี้กำลังทำอะไรคะ หลวงตา : ให้สังเกตผู้รู้ให้ดี ๆ ถ้าผู้รู้สามารถคิดตรึก ตรองแสดงกริยาอาการต่าง ๆ เช่น แทรกแซงหรือเลือก อย่างนั้นอย่างนี้ได้ โดยไม่ได้รู้แบบกระจกเงา แสดงว่า เป็นผู้รู้ที่ปรุงแต่งหรือเอาขันธ์ห้ามาปรุงแต่งเป็นผู้รู้ ให้ ปล่อยวางไปเสีย ปุจฉาวิสัชนาธรรมเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2560


รู้ทำหน้าที่คล้ายกระจกเงา ไม่มีตัวรู้มีแต่รู้เท่านั้น ผู้ถาม : รบกวนถามสักข้อค่ะหลวงตา ว่าเวลาเรา ตามรู้กายขณะเคลื่อนไหวบางส่วน เช่น เท้าที่ก้าว เดินระลึกรู้ ระลึกรู้ ตัวรู้ที่เป็นธาตุรู้ที่ว่างเปล่า จะรู้ เฉพาะส่วนที่เคลื่อนไหว หรือ รู้จากภาพรวมทั้งตัว เห็นเป็นเราในภาพรวม ตั้งแต่หน้าตารูปร่างว่า กำลังทำอะไร หรือระลึกรู้เฉพาะส่วน เช่น มือที่ ขยับ ขาที่ก้าว เพราะติดสงสัยอยู่แค่ตรงนี้ค่ะ เวลารู้จึงสลับรู้ทั้งอาการทางกายที่ เคลื่อนไหวบางส่วน เหมือนถ่ายภาพตนเองซูม ระยะใกล้ที่ขยับเป็นรู้บางส่วน เห็นบางส่วนที่ขยับ บางทีก็เป็นภาพระยะไกล รู้โดยรวมทั้งตัวเหมือน เป็นอีกคนมองในภาพรวม ที่ติดขัดก็ตรงนี้ค่ะพระ อาจารย์ ขอบพระคุณค่ะ


หลวงตา : ร่างกายจิตใจซึ่งเป็นขันธ์ห้าเป็นตัวตนโดย สมมติ เป็นสิ่งที่ถูกรู้ไม่ว่าจะแอบคิด แอบพูด แอบกระทำ ในที่ลับ หรือที่แจ้ง ไม่อาจรอดพ้นจากรู้ได้ รู้ทำหน้าที่ คล้ายกระจกเงา ที่รู้เห็นร่างกายจิตใจที่เป็นขันธ์ห้าตลอด เวลา แต่ไม่มีตัวกระจกหรือไม่มีตัวรู้มีแต่รู้เท่านั้น ให้เป็น "รู้" อย่าไปหลงยึดถือขันธ์ห้าที่ถูกรู้ ว่าเป็นเรา เป็นตัวเรา หรือเป็นตัวตนของเรา หรืออย่าหลงเอาตัวเราไปเป็นขันธ์ ห้า คือหลงไปเป็นผู้คิดผู้เล่นผู้แสดง ปุจฉาวิสัชนาธรรมเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2560


ปล่อยวางกายก่อนแล้วปล่อยวางจิต หรือปล่อยวางจิตเข้าถึงใจที่ไม่ปรุงแต่ง ก็พ้นจากทุกข์ได้เหมือนกัน ผู้ถาม : กราบขอโอกาสรบกวนถามอีกประโยคค่ะ คือตลอดเช้านี้ได้ดูร่างกายค่อย ๆ เน่ามีหนอนมาก ขึ้นเกิดคำถามว่า อ้าวแล้วจิตเจตสิกล่ะจะทำ อย่างไร ห่วงมันก็เลยตั้งใจคิดนำให้หนอนชอนไช อายตนะทั้งหมดหู ตา จมูก ลิ้น ร่างกายเจ็บมาก เห็นก้อนเนื้อเน่ากองรวมกัน เหลือโครงกระดูกเอา ใส่เตาเผา สุดท้ายยังมีผู้รู้อยู่ถูกต้องหรือไม่คะ ถ้า วางผู้รู้จะเหลือใจที่เห็นเฉย ๆ ใช่หรือไม่คะ แล้ว โยมต้องไปดูสังขารปรุงแต่งอีกหรือไม่หรือ พิจารณาอสุภะไปเรื่อย ๆ คะ กราบขอบพระคุณ อย่างสูงค่ะ


หลวงตา : ให้ดูอสุภกรรมฐานหรือมรณานุสติให้ต่อ เนื่องไม่ขาดสาย จนกระทั่งใจปล่อยวางความหลงยึด มั่นถือมั่น จนรู้ได้ด้วยตนเอง แล้วจึงจะเห็นจิตเกิดดับ ในความว่างเปล่า ก็จะสิ้นหลงยึดมั่นถือมั่นจิตว่าจิต เป็นเรา เป็นตัวเรา หรือเป็นตัวตนของเรา ก็จะไม่หลง ยึดถือผิด ๆ ไว้ในใจอีกว่าในร่างกายของเรามีจิตที่ เป็นเรา เป็นตัวเรา หรือเป็นตัวตนของเรา หรือสิ้น ความหลงว่าในร่างกายนี้ มีตัวเรา หรือตัวตนของเรา ถ้าพิจารณาร่างกายเห็นความสกปรกหรือความ ไม่เที่ยง ชัดเจนในความรู้สึก อย่าเว้นวรรคไปดูจิตหรือ ปล่อยวางผู้รู้ เพราะมันปฏิบัติคนละอย่างกัน ถ้าทำทั้ง สองอย่างกลับไปกลับมามันจะเสื่อม มันจะไม่สามารถ ปล่อยวางความหลงยึดมั่นถือมั่นในกายหรือในจิตได้


แต่ทั้งนี้ ไม่ว่าจะปล่อยวางกายก่อนแล้วปล่อยวาง จิต หรือปล่อยวางจิตเข้าถึงใจที่ไม่ปรุงแต่ง ก็สิ้นกิเลสพ้น จากทุกข์ได้เหมือนกัน คือสิ้นความหลงยึดมั่นถือมั่นว่า ร่างกายและจิตใจเป็นเรา เป็นตัวเรา หรือเป็นตัวตนของ เรา ก็จะไม่หลงว่ามีตัวเราหรือเอาตัวเราไปยึดถือสิ่งใดให้ เป็นกิเลสและความทุกข์

ผู้ถาม : เข้าใจแล้วค่ะ แปลกใจมากค่ะว่าดูจิตมาตลอด ทำไมพลิกมาดูอสุภะได้โดยไม่ตั้งใจ และดูได้แบบสบาย ๆ ด้วยค่ะ รบกวนธาตุขันธ์ของหลวงตามากแล้ว กราบขอ ขมาด้วยค่ะและขอตั้งสัจจาธิษฐานว่าจะพากเพียรจนสิ้น กิเลสในปัจจุบันนี้ เดี๋ยวนี้ จะไม่ยอมให้พ่อแม่ครูอาจารย์ ต้องเหนื่อยเปล่าอย่างแน่นอน

หลวงตา : สาธุ

ปุจฉาวิสัชนาธรรมเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2560


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.