Treaty of Tordesillas

Page 1

สนธิสัญญาทอร์เดสซิญาส์: การแบ่งเขตอิทธิพลของโปรตุเกสกับสเปน Treaty of Tordesillas กัณฐิกา ศรีอุดม

โปรตุเกสกับสเปนผลัดกันมีบทบาทสำ�คัญในคาบสมุทรไอบีเรียมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 12 เมื่อค่อยๆ ขจัดอิทธิพล ของมุสลิมออกไปแล้ว ทั้งสองต่างขยายอิทธิพลออกไปนอกคาบสมุทร สเปนขยายอิทธิพลเข้าไปทางตอนใต้ของฝรั่งเศส คาบสมุทรอิตาลี เกาะในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน รวมทั้งคาบสมุทรกรีซ ส่วนโปรตุเกสที่ได้รับอิทธิพลจากบันทึกการเดินทาง ของมาร์โคโปโลนั้น ต้องการไปให้ถึงอินเดียและจีน จึงขยายอิทธิพลไปตามชายฝั่งแอฟริกาในเขตมหาสมุทรแอตแลนติก โดยเริ่มจากฝั่งตะวันตกของแอฟริกา ต่อมา ช่วงปลายศตวรรษที่ 15 ทั้งโปรตุเกสและสเปนต่างสนใจที่จะสำ�รวจมหาสมุทร แอตแลนติก เพื่อไปให้ถึงอินเดีย จึงเกิดความขัดแย้งที่นำ�ไปสู่การเจรจาและข้อสรุปที่เรียกว่าสนธิสัญญาทอร์เดสซิญาส์ (Treaty of Tordesillas) เมื่อปี ค.ศ. 1494 (พ.ศ. 2037)

ทอร์เดสซิญาส์ คืออะไรและสำ�คัญอย่างไร ทอร์เดสซิญาส์เป็นเมืองในเขตตะวันตกเฉียงเหนือของคาบสมุทรไอบีเรีย ชื่อเมืองมีความสัมพันธ์กับชาวโรมันและ ชาวมุสลิมที่มีอำ�นาจในบริเวณนี้มาก่อน ทั้งยังหมายถึงลักษณะเด่นทางภูมิศาสตร์ของเมืองนี้ด้วย กล่าวกันว่า Tordesillas มาจากชื่อหอคอยที่สร้างขึ้นเป็นเกียรติแก่ Lucio Cornelio Sila-ผู้นำ�เผด็จการของโรมัน เรียกว่า Turris-Syllae หมาย ถึงป้อมของซิลา (Sila’s fortress) ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นกลุ่มหินที่กำ�แพงเมืองเก่า บ้างกล่าวว่าชื่อเมืองมาจากคำ�ว่า Thor Shilah หมายถึง ป้อมของอาหรับกลุ่ม Shilanes ซึ่งเคยอยู่ที่นี่ในศตวรรษที่ 8 หรืออาจมาจากคำ�ภาษาสเปน Oter de Sillas หรือ Oter de Cillas หมายถึงลักษณะทางภูมิศาสตร์ของเมืองนี้ ซึ่งเป็นที่สูง (otero) มองลงไปเห็นแท่งหินสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ (sillas) อยู่ริมแม่น้ำ� Duero หรือเป็นที่สูง (otero) มองลงไปเห็นแม่น้ำ� Duero ที่มีโพรงตามธรรมชาติคล้ายกับห้องใต้ดิน (cellar) อยู่บริเวณริมน้ำ� ปัจจุบันทอร์เดสซิญาส์เป็นเทศบาลหนึ่งในจังหวัดบาญาโดลิด (Valladolid) เป็นเมืองชุมทางและเมืองท่องเที่ยวที่ มีความโดดเด่นด้านประวัติศาสตร์ ที่นี่เคยเป็นศูนย์กลางของคาสตีลและเลออนในศตวรรษที่ 13-15 และเป็นที่ประทับของ กษัตริย์กับพระราชวงศ์ ตลอดจนที่ประชุมสภา (Cortes) ของคาสตีลในศตวรรษที่ 15 เมื่อราชินีอิซาเบลลาปกครองคาส ตีลและอะรากอนร่วมกับกษัตริย์เฟอร์ดินันด์ที่ 2 จึงไม่น่าประหลาดใจแต่อย่างใด ที่กษัตริย์จอห์นที่ 2 แห่งโปรตุเกสทรง มอบอำ�นาจให้ตัวแทนมาเจรจาความกับราชสำ�นักสเปน ณ สถานที่นี้

ที่มาของสนธิสัญญาทอร์เดสซิญาส์: โองการของสันตะปาปา สงครามสืบสมบัติคาสตีล และ “โลกใหม่” สนธิสัญญาทอร์เดสซิญาส์ ค.ศ. 1494 (พ.ศ. 2037) เป็นความตกลงระหว่างราชสำ�นักโปรตุเกสกับสเปน เรื่องสิทธิ ในการเผยแผ่ศาสนาและผลประโยชน์ทางการค้าในดินแดนที่สำ�รวจและค้นพบนอกคาบสมุทรไอบีเรีย เป็นความพยายามที่ จะเลี่ยงไม่ให้เกิดการขัดผลประโยชน์ระหว่างโปรตุเกสกับสเปนในอนาคต หลังจากที่คริสโตเฟอร์ โคลัมบัสค้นพบดินแดน ใหม่ทางด้านตะวันตก แล้วสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 6 ทรงออกโองการ (Papal Bull) ที่เอื้อประโยชน์ให้แก่สเปน จน โปรตุเกสไม่พอใจและส่งตัวแทนไปเจรจา “ทวิภาคี” กับสเปนในทันที 266

ภาค 1: สนธิสัญญาทอร์เดสซิญาส์ การแบ่งเขตอิทธิพลของโปรตุเกสกับสเปน


สันตะปาปาทรงเป็นประมุขของศาสนจักรคาทอลิก จึงทรงประกาศโองการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิจการทางศาสนา เช่น การประกาศให้สิทธิแก่โปรตุเกสกับสเปนในการเผยแผ่ศาสนา การรับรองข้อตกลงสันติภาพระหว่างดินแดนของชาว คริสต์ การห้ามจับคนในดินแดนทีพ่ บใหม่ไปเป็นทาส เป็นต้น กรณีทีช่ าติคาทอลิกอย่างโปรตุเกสกับสเปนกำ�ลังแข่งขันกันอยู่ แล้วสันตะปาปาประกาศโองการที่เอื้อประโยชน์ให้แก่ฝ่ายที่ทรงคุ้นเคย โดยที่ข้อความในโองการฉบับใหม่ไปล้มล้างข้อความ ในโองการฉบับก่อนๆ ทำ�ให้อีกฝ่ายหนึ่งไม่พอใจ จึงตกลงเจรจากันเอง แล้วทำ�สนธิสัญญาเพื่อยุติข้อขัดแย้งนั้น ดังที่เห็น จากสนธิสญ ั ญาทอร์เดสซิญาส์ ซึง่ อาจย้อนให้เห็นทีม่ าของความขัดแย้งไปได้อย่างน้อยที่สดุ ถึงสงครามสืบราชสมบัตคิ าสตีล (ค.ศ. 1475-1479/พ.ศ. 2018-22) สงครามสืบราชสมบัติคาสตีลเกิดขึ้นสืบเนื่องจากการที่กษัตริย์เฮนรีที่ 4 ผู้ครองราชย์ต่อจากกษัตริย์จอห์นที่ 2 แห่งคาสตีลและเลออน ได้ทรงแต่งตั้งเจ้าหญิงอิซาเบลลา-พระขนิษฐาต่างมารดา (ผู้มีพระมารดาเป็นเจ้าหญิงโปรตุเกสและ ได้รับการสนับสนุนจากชนชั้นสูง) ให้เป็นผู้สืบทอดราชบัลลังก์ แต่ก่อนจะสิ้นพระชนม์ กษัตริย์เฮนรีที่ 4 กลับทรงแต่งตั้ง เจ้าหญิงฮวนน่า-พระราชธิดาผู้สมรสกับกษัตริย์อัลฟองโซที่ 5 แห่งโปรตุเกส (พระราชบิดาของกษัตริย์จอห์นที่ 2) ให้เป็น ทายาทด้วย ดังนั้น เมื่อราชินีอิซาเบลลา (มเหสีกษัตริย์เฟอร์ดินันด์แห่งอะรากอน) ขึ้นครองบัลลังก์คาสตีลในปี ค.ศ. 1474 (พ.ศ. 2017) จึงเกิดสงครามสืบราชสมบัติขึ้นเมื่อโปรตุเกสได้อ้างสิทธิในการปกครองคาสตีลด้วยเช่นกัน โปรตุเกสเป็นฝ่าย ปราชัย ทั้งสองฝ่ายจึงเจรจาสันติภาพกันที่เมืองอัลคาโซบาส (อันเป็นที่ประทับของเจ้าหญิงเบทริซแห่งบรากันซา พระญาติ วงศ์ชั้นผู้ใหญ่ของราชินีอิซาเบลลา) ในปี ค.ศ. 1479 (พ.ศ. 2022) สาระสำ�คัญของสนธิสัญญาอัลคาโซบาส (Treaty of Alcáçovas, 1479) ที่สันตะปาปาซิกซ์ตุสที่ 4 ทรงรับรองผ่าน โองการ Aeterni regis เมื่อปี ค.ศ. 1481 (พ.ศ. 2024) คือ ให้ทั้งสองฝ่ายยุติที่จะอ้างสิทธิครอบครองบัลลังก์ของอีกฝ่ายหนึ่ง และให้สเปนครอบครองหมู่เกาะคะเนรี ส่วนโปรตุเกสได้สิทธิครอบครองหมู่เกาะอื่นๆ ในมหาสมุทรแอตแลนติก คือ หมู่ เกาะมาเดรา อะโซเรสและเคปเวิร์ด รวมทั้งได้สิทธิทำ�การค้าและกิจกรรมอื่น ณ ชายฝั่งแอฟริกาตะวันตก ที่อยู่ทางตะวัน ออกของมหาสมุทรแอตแลนติกด้วย นับเป็นการแบ่งเขตอิทธิพลระหว่างโปรตุเกสกับสเปนภายนอกคาบสมุทรไอบีเรีย โดย ไม่สนใจความรูส้ กึ ของผูค้ นในดินแดนทีท่ งั้ สองฝ่ายได้อา้ งสิทธิครอบครองเลย หลังจากนัน้ โปรตุเกสกับสเปนมีความสัมพันธ์ อันดีต่อกันมาอีก 12 ปี ตราบจนกระทั่งสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 6 ทรงประกาศโองการหลายฉบับเมื่อ ค.ศ. 1493 เพื่อรับรองสิทธิของสเปนในดินแดนที่คริสโตเฟอร์ โคลัมบัสค้นพบใหม่ในปี ค.ศ. 1492 (พ.ศ. 2035) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Inter caetera ที่กระทบต่อเขตอิทธิพลของโปรตุเกสโดยตรง โปรตุเกสได้สำ�รวจชายฝั่งแอฟริกาเพื่อจะไปยังจีนและอินเดียมาแล้วกว่าครึ่งศตวรรษ ก่อนที่โคลัมบัสจะเดินเรือ ไปทางตะวันตกของยุโรปเพื่อหาเส้นทางใหม่ไปยังดินแดนนั้น โคลัมบัสรู้ว่าโลกกลม รู้จากแผนที่ของทอเลมี (Ptolemy) ว่า ดินแดนในโลกมีเอเชีย แอฟริกากับยุโรป และรู้จากบันทึกการเดินทางของมาร์โคโปโลว่ามีผืนน้ำ�กว้างใหญ่อยู่ทางตะวันออก ของจีน เมื่อประมวลความรู้เหล่านี้เข้าด้วยกัน โคลัมบัสจึงคำ�นวณระยะทางการเดินเรือที่แล่นตัดผ่านผืนน้ำ�ทางตะวันตก ที่น่าจะใช้เวลาน้อยกว่าการเดินทางเลียบชายฝั่งทางตะวันออกไปยังจีนและอินเดียอย่างที่เคยปฏิบัติ เขาเสนอความคิดนี้ ต่อกษัตริย์จอห์นที่ 2 แห่งโปรตุเกส ในปี ค.ศ. 1488 (พ.ศ. 2031) แต่เมื่อบาร์โธโลมิว ไดแอซ เดินเรืออ้อมแหลมกูดโฮป ตรงปลายสุดของทวีปแอฟริกาได้ในปีเดียวกัน กษัตริย์จอห์นที่ 2 จึงไม่สนพระทัยแนวคิดนี้ ต่อมา โคลัมบัสได้เสนอจะ อ้างสิทธิในดินแดนที่ค้นพบใหม่ให้กับสเปน กษัตริย์คาทอลิกทั้งสอง คือ กษัตริย์เฟอร์ดินันด์กับราชินีอิซาเบลลาจึง สนับสนุนการสำ�รวจนัน้ โคลัมบัสออกเดินเรือไปทางทิศตะวันตกเมือ่ วันที่ 3 สิงหาคม ค.ศ. 1492 (พ.ศ. 2035) และได้คน้ พบ ดินแดนใหม่เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม ปีเดียวกัน ตอนขากลับเมื่อต้นปี ค.ศ. 1493 (พ.ศ. 2036) เรือของโคลัมบัสโดนพายุพัดมาขึ้นฝั่งที่กรุงลิสบอน โคลัมบัส จึงได้เข้าเฝ้ากษัตริย์จอห์นที่ 2 และเล่าเรื่องการค้นพบให้ทรงรับทราบ กษัตริย์โปรตุเกสทรงเห็นว่าดินแดนที่ค้นพบนั้นอยู่ ในเขตอิทธิพลของโปรตุเกสตามสนธิสัญญาอัลคาโซบาสและโองการ Aeterni regis แต่เมื่อโคลัมบัสได้เข้าเฝ้ากษัตริย์ เฟอร์ดินันด์ที่กรุงบาร์เซโลนา (เมืองหลวงของคาตาโลเนีย) แล้วรายงานเรื่องการค้นพบดินแดนที่เขาเข้าใจว่าเป็นอินเดียให้ ทรงทราบ กษัตริย์คาทอลิกทรงเห็นว่าดินแดนนั้นเป็นสิทธิของสเปน เพราะเป็นการสำ�รวจไปทางตะวันตกและดินแดนนั้น อยู่ทางตอนใต้ของหมู่เกาะคะเนรี จึงได้ขอคำ�รับรองสิทธิจากสันตะปาปา เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม ค.ศ. 1493 (พ.ศ. 2036) สันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 6 (Pope Alexander VI ชาว กัณฐิกา ศรีอุดม 267


อะรากอนโดยกำ�เนิด) ได้ประกาศโองการ Inter caetera ให้สิทธิขาดแก่สเปนในการครอบครอง ค้าขาย และเข้าใกล้ดินแดน ใดๆ ที่อยู่ทางตะวันตกและทางใต้ของเส้นตรงที่ลากจากขั้วโลกเหนือมายังขั้วโลกใต้ เป็นระยะทาง 100 ลีก (ไมล์ทะเล) จาก เกาะใดๆ ในหมูเ่ กาะอะโซเรส หรือหมูเ่ กาะเคปเวิรด์ โดยไม่กล่าวถึงสิทธิของโปรตุเกสทีม่ อี ยูก่ อ่ นแล้วในหมูเ่ กาะเหล่านัน้ เลย และต่อมา สันตะปาปาได้ประกาศโองการอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกันด้วย ที่สำ�คัญคือ Dudum siquidem เมื่อวันที่ 26 กันยายน ค.ศ. 1493 (พ.ศ. 2036) ซึ่งให้สิทธิสเปนได้ครอบครองภาคพื้นทวีปของดินแดนที่เข้าใจว่าเป็น “อินเดีย” เพิ่มขึ้น พร้อมกับ ระบุว่าผู้ที่เดินทางเข้าไปในอินเดียโดยไม่ได้รับอนุญาตจากกษัตริย์และราชินีแห่งคาสตีลและอะรากอนนั้นจะถูกสันตะปาปา ขับออกจากศาสนาด้วย กษัตริย์จอห์นที่ 2 จึงไม่พอพระทัย เพราะเท่ากับปิดกั้นโอกาสที่โปรตุเกสจะได้ครอบครองอินเดีย ในขณะทีน่ กั สำ�รวจของโปรตุเกสเดินทางเลียบชายฝัง่ ตะวันออกของแอฟริกาไปจวนจะถึงอินเดียแล้ว ด้วยเหตุนี้ จึงทรงมอบ อำ�นาจให้คณะผู้แทนพระองค์ไปเจรจาความกับสเปนที่เมืองทอร์เดสซิญาส์ เพื่อหลีกเลี่ยงข้อขัดแย้งที่จะเกิดขึ้นอันเนื่องจาก การสำ�รวจในอนาคต

สนธิสัญญาทอร์เดสซิญาส์: สาระสำ�คัญ เมื่อวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 1494 (พ.ศ. 2037) กษัตริย์จอห์นที่ 2 ทรงมอบอำ�นาจเต็มให้ผู้แทนพระองค์ 3 นาย ได้แก่ รุย เดอ ซูซา (Ruy de Sousa) จอห์น เดอ ซูซา ( Joaõ de Sousa) และอายเรส อัลมาดา (Ayres Almada) เดินทาง ไปเจรจาความกับสเปนที่เมืองทอร์เดสซิญาส์ ต่อมาในวันที่ 5 มิถุนายน ปีเดียวกัน กษัตริย์เฟอร์ดินันด์กับราชินีอิซาเบลลา ได้ทรงมอบอำ�นาจเต็มให้แก่เอ็นริเก เอ็นริเกซ (Enrique Enriques) กูติแยร์ เดอ คาร์ดีนาส (Gutierre de Cardenas) และ นายแพทย์โรดริโก มัลโดนาโด (Dr. Rodrigo Maldonado) เป็นตัวแทนทางฝ่ายสเปน การเจรจายุติลงอย่างรวดเร็วในอีก 2 วันต่อมา มีสาระสำ�คัญเรื่องการแบ่งเขตอิทธิพลในดินแดนที่ค้นพบใหม่ โดย กำ�หนดให้มเี ส้นสมมติทอี่ ยูใ่ นแนวเดียวกับเส้นตรงทีส่ นั ตะปาปาทรงระบุไว้ในโองการ Inter caetera แต่ขยับออกไปทางตะวัน ตก เพือ่ ให้โปรตุเกสอ้างสิทธิในดินแดนได้เพิม่ ขึน้ เส้นตรงนีท้ ลี่ ากจากขัว้ โลกเหนือไปยังขัว้ โลกใต้ และอยูห่ า่ งจากหมูเ่ กาะเคป เวิร์ดของโปรตุเกสไปทางทิศตะวันตกเป็นระยะทาง 370 ลีก (ไมล์ทะเล) อันเป็นจุดกึ่งกลางระหว่างดินแดนของโปรตุเกสกับ ดินแดนที่โคลัมบัสค้นพบในการเดินทางครั้งแรก แล้วสรุปให้โปรตุเกสได้ดินแดนทั้งหมดทางทิศตะวันออกอย่างเช่นบราซิล ขณะที่สเปนได้สิทธิในดินแดนทั้งหมดที่อยู่ทางตะวันตก เช่น “โลกใหม่” หรือทวีปอเมริกาใต้ทั้งหมด ยกเว้น บราซิล หากทัง้ สองฝ่ายตกลงกันเรือ่ งเขตแดนไม่ได้ สนธิสญ ั ญาระบุเพิม่ เติม ว่าให้ตา่ งฝ่ายจัดหาเรือและผูเ้ ชีย่ วชาญในด้าน ต่างๆ เช่น การเดินเรือ ดาราศาสตร์ ที่มีจำ�นวนเท่ากัน เดินทางไปสำ�รวจและกำ�หนดเขตร่วมกัน โดยให้ผู้เชี่ยวชาญประจำ� อยู่ในเรือของอีกฝ่ายหนึ่ง นอกจากนี้ ยังระบุไว้อย่างชัดเจนว่าความตกลงในสนธิสัญญานี้เป็นความตกลงชนิดถาวร ที่ไม่ อาจเปลี่ยนแปลงได้ในอนาคต แม้โดยโองการของสันตะปาปาองค์ใดๆ ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเข้าแทรกแซง ให้สันตะปาปาออกโองการฉบับใหม่เพื่อล้มล้างข้อความในโองการนี้ในอนาคต ดังนั้น แนวเส้นเมอริเดียนที่ปรากฏในสนธิ สัญญาทอร์เดสซิญาส์จึงเป็นการสรุปร่วมกันของโปรตุเกสกับสเปน บนพื้นฐานของเส้นสมมติที่สันตะปาปาได้กำ�หนดไว้ใน โองการ Inter caetera สนธิสัญญาฉบับนี้ทำ�เป็น 2 ภาษา คือ โปรตุเกส กับ สเปน เขียนบนกระดาษ 6 แผ่น รวม 12 หน้า ด้วยลายมือ ของอาลักษณ์ประจำ�ราชสำ�นักสเปนและโปรตุเกส มีรายนามผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหลายแยกออกไปต่างหาก ผู้ที่เกี่ยวข้องและ กษัตริย์ของทั้งสองฝ่ายต่างลงนามในเอกสารทั้งสองฉบับและให้สัตยาบันภายใน 100 วันตามที่กำ�หนดไว้ กล่าวคือ สเปน ได้ให้สัตยาบันเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม ค.ศ. 1494 (พ.ศ. 2037) ส่วนโปรตุเกสให้สัตยาบันเมื่อวันที่ 5 กันยายนในปีเดียวกัน ปัจจุบันคู่ฉบับของสนธิสัญญานี้จัดเก็บไว้ในหอจดหมายเหตุแห่งชาติของแต่ละประเทศ สันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ท่ี 6 ไม่ได้ทรงรับรองความตกลงร่วมกันของกษัตริยท์ ง้ั สองประเทศนี้ แต่เป็นสันตะปาปา จูลอิ สุ ที่ 2 (Pope Julius II) ผูป้ ระกาศรับรองสนธิสญ ั ญาทอร์เดสซิญาส์ตามโองการ Ea quae pro bono เมือ่ ค.ศ. 1506 (พ.ศ. 2049)

268

ภาค 1: สนธิสัญญาทอร์เดสซิญาส์ การแบ่งเขตอิทธิพลของโปรตุเกสกับสเปน


Cantino World Map ค.ศ. 1502 (พ.ศ. 2045) เขียนอธิบายการเดินทางไป “อินเดีย” ที่เพิ่งค้นพบใหม่ เห็นเส้นเมอริเดียน

่ ม ดู (1) แผนทีโ่ ลกคันติโน โดย ทีแ่ บ่งเขตอิทธิพลระหว่างโปรตุเกสกับสเปนอย่างชัดเจนทางซีกซ้ายของแผนที่ (คำ�อธิบายแผนทีเ่ พิมเติ นักเขียนแผนที่นิรนามชาวโปรตุเกส พ.ศ. 2045 (ค.ศ. 1502) The Cantino Planisphere หน้า 6

แผนที่แสดงแนวเขตอิทธิพลของโปรตุเกสกับสเปน ตามสนธิสัญญาทอร์เดสซิญาส์ แผนที่ฉบับเก่าแก่ที่สุด ซึ่งแสดงให้เห็นเส้นเมอริเดียนที่แบ่งเขตอิทธิพลระหว่างโปรตุเกสกับสเปนอย่างชัดเจนทาง ด้านซ้ายของแผนที่ คือ Cantino, 1502 ส่วนแผนทีส่ �ำ คัญทีก่ ล่าวถึงเส้นแบ่งเขตอิทธิพลของโปรตุเกสกับสเปนในโลกนี้ คือ Carta Universal, 1529 ซึง่ มีชอื่ เรียกเต็มๆ เป็นภาษาสเปนว่า Carta Univeral En que se contiene todo lo que del mondo Se ha descubierto fasta agora: Hizola Diego Ribero Cosmographo de Su Magestad: Año de 1529. La qual Se devide en dos partes conforme a

la capitulcio que hizieron los catholicos Reyes de españa, y El Rey don Juan de portugal e la Villa de tordessilas: Año de 1494

แปลเป็นภาษาอังกฤษได้ว่า

General chart containing the whole of the world that has hitherto been

discovered; complied by Diego Ribero, cosmographer to His Majesty, which is divided into two parts according

to the agreement made by the Catholic Majesties of Spain and King John of Portugal at Tordessilas, A.D. 1494.

คือ แผนผังทั่วไปที่จัดทำ�โดยดีอายโก รีแบโฮ ช่างเขียนแผนที่ของพระเจ้าแผ่นดิน แสดงรายการของโลกทั้งใบ ที่ได้มีการ สำ�รวจค้นพบ โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน ตามข้อตกลงของกษัตริย์คาทอลิกแห่งสเปนกับกษัตริย์จอห์นแห่งโปรตุเกส ที่ได้กระทำ� ไว้ ณ เมืองทอร์เดสซิญาส์ เมื่อ ค.ศ. 1494 (พ.ศ. 2037) แผนทีน่ เี้ ป็นแผนทีข่ นาดใหญ่ กว้าง 85 และยาว 205 เซนติเมตร จัดทำ�โดยใช้ขอ้ มูลจากคณะสำ�รวจของเฟอร์ดนิ นั ด์ แมกเจลแลน (ค.ศ. 1519-1522) ผู้เดินทางจากมหาสมุทรแอตแลนติกไปยังมหาสมุทรแปซิฟิกเป็นคณะแรก และอ้างสิทธิใน หมู่เกาะฟิลิปปินส์ให้กับสเปน จึงมีลักษณะเด่นที่การให้ข้อมูลเกี่ยวกับดินแดนต่างๆ ไว้อย่างละเอียดและแทรกอยู่ในแผนที่ ปัจจุบัน แผนที่แผ่นนี้จัดเก็บอยู่ในห้องสมุดของวาติกัน ณ นครรัฐวาติกัน Diogo Ribeiro ผูเ้ ขียนแผนทีน ่ เี้ ป็นชาวโปรตุเกสทีท่ �ำ งานเป็นช่างเขียนแผนทีห่ ลวงในราชสำ�นักของกษัตริยช์ าร์ลที่ 5 แห่งสเปน ณ เมืองเซวีญา (Seville) จึงมีชื่อเรียกตามสำ�เนียงสเปนว่า ดีอายโก รีแบโฮ (Diego Ribero) เขามีหน้าที่แก้ไข

กัณฐิกา ศรีอุดม 269


แผนที่โลก (Carta Universal) ที่นักวาดแผนที่ของราชสำ�นักสเปน ดีอายโก รีแบโฮ ค.ศ. 1529 (พ.ศ. 2071)

(Diego Ribero)

เขียนเมื่อ

และเพิ่มเติมรายละเอียดใหม่ๆ ที่ได้รับจากการเดินทางสำ�รวจครั้งล่าสุด ลงไปในแผนที่มาตรฐานของทางราชการที่เรียกว่า patron real เพื่อให้แผนที่นั้นมีข้อมูลที่ถูกต้องและทันสมัย แผนที่โลกของรีแบโฮให้รายละเอียดเกี่ยวกับ “โลกใหม่” ตั้งแต่กรีนแลนด์จนถึงช่องแคบแมกเจลแลน ตัวอักษรที่ ปรากฏอยู่ด้านบนระบุชื่อผู้เขียนแผนที่ ปี และสถานที่เขียน ว่าเป็นผลงานของช่างเขียนแผนที่ ดีอายโก รีแบโฮ เขียนเมื่อ ค.ศ. 1529 ที่เมืองเซวีญา ตัวอักษรทางตอนล่างระบุว่าแผนที่นี้แสดงการแบ่งโลกเป็น 2 ส่วน ระหว่างกษัตริย์คาทอลิกกับ กษัตริย์โปรตุเกส ตามสนธิสัญญาทอร์เดสซิญาส์ ค.ศ. 1494 (พ.ศ. 2037) จึงเห็นเส้นแบ่งเขตตามสนธิสัญญาอย่างชัดเจน ดูได้จากตัวอักษรและเส้นแบ่งเขตที่อยู่ตอนกลางของแผนที่ ตัวอักษรด้านบนระบุว่าขั้วโลกเหนือ (Polus Mundi Arcticus) ส่วนด้านล่างเป็นขัว้ โลกใต้ (Polus Mundi Atarcticus) ตรงข้อความทีร่ ะบุวา่ เป็นขัว้ โลกใต้นัน้ จะเห็นเส้นตรงทีข่ นาบด้วยธง 2 ผืน ทางด้านซ้ายหรือทิศตะวันตก เป็นรูปธงคาสตีลและเลออนของสเปน (ธงที่มีรูปตรงมุมซ้ายบนกับมุมขวาล่างเป็นรูป ปราสาท-คาสตีล ส่วนมุมขวาบนกับมุมซ้ายล่างเป็นรูปสิงโต-เลออน) ส่วนด้านขวาหรือทิศตะวันออก เป็นรูปธงโปรตุเกส (จุด ดำ� 5 จุด น่าหมายถึงโปรตุเกสที่ขจัดอิทธิพลของมุสลิมออกไปและตั้งประเทศได้เมื่อกษัตริย์อัลฟองโซที่ 1 สังหารกษัตริย์ มัวร์ 5 คนได้สำ�เร็จ) เส้นตรงกลางนั้น คือ เส้นแบ่งเขต (Demarcation Line) ระหว่างสเปน (ด้านทิศตะวันตก) กับโปรตุเกส (ด้านทิศ ตะวันออก) หากมองจากเส้นแบ่งเขตนี้ขึ้นไปจากด้านล่าง ก็เห็นได้ว่าลากผ่านบราซิลกับนิวฟาวด์แลนด์ ดังนั้น แผนที่ของ รีแบโฮจึงกำ�หนดให้บราซิล กรีนแลนด์และบางส่วนของนิวฟาวด์แลนด์เป็นของโปรตุเกส ขณะที่สเปนได้รับดินแดนทั้งหมด ที่อยู่ในระยะ 180 องศาทางตะวันตกของเส้นตรงนั้น ได้แก่ พื้นที่ส่วนใหญ่ในโลกใหม่ (อเมริกาใต้) รวมทั้งฟิลิปปินส์และ หมู่เกาะเครื่องเทศ ที่ยังเป็นกรณีพิพาทระหว่างโปรตุเกสกับสเปนอยู่ในขณะนั้น กรณีพพิ าทเกิดขึน้ หลังจากทีโ่ ปรตุเกสเดินเรือมาทางตะวันออกจนถึงมะละกาเมือ่ ค.ศ.1511 (พ.ศ.2054) และได้ขา่ ว เรือ่ งเครือ่ งเทศในหมูเ่ กาะโมลุกกะ จึงเดินทางไปถึงตัง้ แต่ ค.ศ. 1512 (พ.ศ. 2055) ขณะที่ เฟอร์ดนิ นั ด์ แมกเจลแลน นักเดินเรือ ชาวโปรตุเกส ที่ทำ�งานรับใช้ราชสำ�นักสเปนและได้ข่าวเรื่องหมู่เกาะเครื่องเทศ เดินเรือมาทางตะวันตกอ้อมผ่านแหลมฮอร์น ปลายสุดของ “โลกใหม่” (ตรงช่องแคบแมกเจลแลน) แล้วตัดข้ามทะเลอันกว้างใหญ่ (คือ มหาสมุทรแปซิฟิก) ไปถึงหมู่เกาะ ฟิลิปปินส์ในปี ค.ศ. 1521 (พ.ศ. 2064) แมกเจลแลนเสียชีวิตที่ฟิลิปปินส์ แต่คณะสำ�รวจของเขาไปจนถึงหมู่เกาะโมลุกกะ เมื่อ ค.ศ.1522 (พ.ศ. 2065) แล้วอ้างสิทธิในหมู่เกาะทั้งสองนี้ให้กับสเปน ทำ�ให้เกิดข้อขัดแย้งอันสืบเนื่องมาจากสนธิสัญญา ทอร์เดสซิญาส์ จนนำ�ไปสู่การประชุมตกลงร่วมกัน เมื่อ ค.ศ. 1524 (พ.ศ. 2067) ที่เมืองบาดาโฮส (Badajos) ตรงชายแดน 270

ภาค 1: สนธิสัญญาทอร์เดสซิญาส์ การแบ่งเขตอิทธิพลของโปรตุเกสกับสเปน


สเปน และเมืองเอลวาส (Elvas) ที่ชายแดนโปรตุเกส ซึ่งอยู่ใกล้กัน เพื่อหาข้อสรุปเรื่องหมู่เกาะฟิลิปปินส์ตามข้อตกลงใน สนธิสัญญาทอร์เดสซิญาส์ ว่าตั้งอยู่ในเขตอิทธิพลของฝ่ายใด เมื่อที่ประชุมหาข้อสรุปไม่ได้ สเปนจึงขอสงวนให้หมู่เกาะนี้ อยู่ในความครอบครองของสเปน รีแบโฮได้เข้าร่วมประชุมเมืองบาดาโฮส ในปี ค.ศ. 1524 (พ.ศ. 2067) ด้วย ตอนที่ที่ประชุมไม่สามารถหาข้อสรุป ได้ ชาวสเปนจึงตกลงว่าจะเขียนเส้นแบ่งเขตแดนไว้ในแผนที่ทั้งหมดของสเปนนับแต่นั้น เมื่อรีแบโฮเขียนแผนที่โลกแผ่นนี้ เขาจึงเขียนเส้นแบ่งเขตตามสนธิสัญญาทอร์เดสซิญาส์ไว้ที่ระยะ 370 ไมล์ทะเล ทางตะวันตกของเกาะซานอันโตนิโอ ซึ่งอยู่ ทางด้านตะวันตกสุดของหมู่เกาะเคปเวิร์ด ส่วนหมู่เกาะฟิลิปปินส์และหมู่เกาะโมลุกกะ ที่ยังไม่ได้ข้อสรุปนั้น รีแบโฮวางไว้ใน เขตอิทธิพลของสเปน ดังจะสังเกตได้จากรูปเครื่องมือวัดมุมสูงบนท้องฟ้า (astrolabe) ที่เห็นเป็นวงกลมใหญ่ที่มุมขวาล่าง ของแผนที่ มีธงโปรตุเกสกำ�กับอยู่ด้านซ้ายและธงสเปนอยู่ทางด้านขวา เมื่อมองตามเส้นแบ่งเขตที่อยู่ตรงกลางวงกลมขึ้น ไป เห็นว่าเส้นนั้นตัดผ่านชวา (Iavas) โดยมีหมู่เกาะโมลุกกะและจีนตั้งอยู่ในเขตสเปน (สังเกตธงคาสตีลและเลออน ตรง แผ่นดินจีน ทางด้านขวาของแผนที่) เส้นแวง (Meridian) ตามสนธิสญ ั ญาทอร์เดสซิญาส์แบ่งเขตอิทธิพลได้เพียงซีกโลกเดียวเพราะว่าโลกมีสณ ั ฐานกลม ดังนั้น เมื่อโปรตุเกสกับสเปนเดินทางสำ�รวจไปตามเขตอิทธิพลของตนเรื่อยๆ จึงอ้างสิทธิในพื้นที่ทับซ้อนกันอีก นอกจากจะ ลากเส้นแวงที่ 180 (Anti Meridian) ในอีกซีกโลกหนึ่งด้วย เพื่อแบ่งเขตอิทธิพลในโลกอย่างสมบูรณ์ทั้งสองซีก โปรตุเกส กับสเปนจึงเจรจาตกลงกันกำ�หนดเส้นแบ่งเขตส่วนที่ 2 โดยลงนามในสนธิสัญญาซาราโกซา ณ เมืองซาราโกซา (เมืองหลวง ของอะรากอน) เมื่อวันที่ 22 เมษายน ค.ศ. 1529 (พ.ศ. 2072) อันเป็นการยุติข้อพิพาทเรื่องการแบ่งเขตอิทธิพลของโปรตุเกส กับสเปนไปในที่สุด

บทสรุป กล่าวโดยสรุปเกี่ยวกับสนธิสัญญาทอร์เดสซิญาส์ ได้ดังนี้ 1. เป็นสนธิสัญญาที่สะท้อนให้เห็นการประนีประนอมกันของดินแดนในคาบสมุทรไอบีเรีย ได้แก่ โปรตุเกส กับ คาสตีลและอะรากอน เพื่อหลีกเลี่ยงข้อขัดแย้งและเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของตนในอนาคต โดยแบ่งโลกที่อยู่นอกทวีป ยุโรปออกเป็น 2 ส่วน แล้วตกลงให้โปรตุเกสได้สทิ ธิครอบครองดินแดนทางด้านตะวันออกในขณะทีส่ เปนได้สทิ ธิครอบครอง ดินแดนด้านทิศตะวันตก 2. เป็นสนธิสัญญาฉบับแรกที่แสดงถึงการแผ่อิทธิพลของลัทธิจักรวรรดินิยมในโลกสมัยใหม่ ที่ใช้ได้กับโปรตุเกส และสเปนเท่านัน้ การแบ่งเขตอิทธิพลนีม้ ศี นู ย์กลางอยูท่ มี่ หาสมุทรแอตแลนติก ซึง่ ขณะนัน้ เข้าใจกันว่าเป็นผืนน�้ำ ทีก่ นั้ ระหว่าง ตะวันตก (ยุโรป) กับตะวันออก (เอเชีย) การแบ่งอิทธิพลในโลกเป็น 2 ส่วนอย่างสมบูรณ์เกิดขึ้นเมื่อโปรตุเกสทราบว่าหมู่ เกาะโมลุกกะเป็นแหล่งปลูกกานพลู จึงเดินทางมาถึงดินแดนนี้ก่อน ต่อมา คณะสำ�รวจของสเปนได้เดินทางจากตะวันตกมา ถึงทีน่ ดี่ ว้ ย และเกิดข้อขัดแย้งกันอีก โปรตุเกสกับสเปนจึงต้องเจรจาเพือ่ แบ่งเขตอิทธิพลกันอีกครัง้ ทำ�ให้โปรตุเกสได้สทิ ธิใน หมู่เกาะโมลุกกะ ส่วนสเปนได้สิทธิในหมู่เกาะฟิลิปปินส์ เมื่อมีการลงนามในสนธิสัญญาซาราโกซา ค.ศ. 1529 (พ.ศ. 2072) จึงเป็นการแบ่งเขตอิทธิพลในโลกระหว่างโปรตุเกสกับสเปนได้อย่างสมบูรณ์แท้จริง เป็นสนธิสัญญาที่สะท้อนให้เห็นความขัดแย้งเรื่องการเมืองภายในคาบสมุทรไอบีเรีย ที่โปรตุเกสกับสเปนต่างใช้ โองการของสันตะปาปา (the Papal Bull) เพื่อผลประโยชน์ของตน จนทำ�ให้เกิดความเข้าใจผิด คิดว่าสันตะปาปาเป็นผู้ กำ�หนดเส้นสมมติที่แบ่งโลกเป็น 2 ส่วนตามสนธิสัญญาทอร์เดสซิญาส์ อันที่จริงแล้ว “เส้นสมมติ” นั้นปรากฏอยู่ในโองการ ของสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 6 ชื่อ Inter caetera ต่างหาก

กัณฐิกา ศรีอุดม 271


บรรณานุกรม

http://avalon.law.yale.edu/15th_century/mod001.asp retrieved on 17 August 2011

http://en.wikipedia.org/wiki/Ferdinand_II_of_Aragon retrieved on 17 August 2011 http://en.wikipedia.org/wiki/Isabella_I_of_Castile retrieved on 17 August 2011 http://en.wikipedia.org/wiki/John_II_of_Portugal retrieved on 17 August 2011 http://en.wikipedia.org/wiki/List_of_papal_bulls retrieved on 17 August 2011

http://en.wikipedia.org/wiki/Treaty_of_Zaragoza retrieved on 4 September 2011

http://en.wikipedia.org/wiki/Treaty_of_Tordesillas retrieved on 4 September 2011 http://es.wikipedia.org/wiki/Tratado_de_Alcovas retrieved on 4 September 2011

http://es.wikipedia.org/wiki/Tratado_de_Tordesillas retrieved on 4 September 2011 http://usuarios.multimania.es/Onuba/MA1.htm retrieved on 17 August 2011

http://www.catholic-forum.com/saints/pope0214a.html retrieved on 17 August 2011

http://www.henry-davis.com/MAPS/Ren?Ren1/346mono.html retrieved on 4 September 2011

http://www.tordesillas.net/webs/inicio.php?cont=1&id=1&cat=3 retrieved on 4 September 2011 http://www.u-s-history.com/pages/h1028.html retrieved on 4 September 2011

แผนที่โลก Cantino, 1502 และ Carta Universal, 1529 (ด้วยความอนุเคราะห์จากคุณธวัชชัย ตั้งศิริวานิช)

272

ภาค 1: สนธิสัญญาทอร์เดสซิญาส์ การแบ่งเขตอิทธิพลของโปรตุเกสกับสเปน


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.