นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์

Page 1

E

35

XPERT

“…ความสุขจากการให้ ยิ่งใหญ่กว่าจากการรับหลายเท่า” นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์

นายกสมาคมโรคเอดส์แห่งประเทศไทย

แรงบันดาลใจในการเลือกเรียนแพทย์ โดยเฉพาะสาขาระบบทางเดินหายใจ

สมัยเป็นเด็กมาก ๆ จำได้ว่าพาคุณยายไปหา หมอฉีดยาที่คลินิกข้างบ้านอยู่บ่อย ๆ มาทราบทีหลัง ว่าคุณยายป่วยเป็นวัณโรคและต่อมาก็รักษาหาย ผม เองคงจะได้ รั บ เชื้ อ มาจากคุ ณ ยาย เมื่ อ เข้ า โรงเรี ย น มีการตรวจนักเรียนเพื่อคัดคนที่ยังไม่เคยได้รับเชื้อไป ฉีดวัคซีน BCG ปรากฏว่าผมรับเชื้อแล้วไม่ต้องฉีด วัคซีน จากประสบการณ์ตอนนั้นทำให้ผมอยากเป็น แพทย์ที่สามารถรักษาคุณยายหาย และต้องการจะสู้ กับโรคนี้ จึงเลือกเรียนแพทย์ อยากเป็นแพทย์ที่รักษา โรคติดเชื้อทางปอดโดยเฉพาะอย่างยิ่งวัณโรคด้วย ตอนที่ผมเป็นแพทย์ต่อยอดโรคทางเดินหายใจ อยู่ที่อเมริกา ผมน่าจะเป็นหมอไทยคนแรก ๆ ที่เริ่ม รักษาวัณโรคด้วยยา rifampicin พร้อม ๆ กับยารักษา วัณโรคตัวอื่นอีกหลายขนาน เพราะขณะนั้นรู้แล้วว่า การรักษาวัณโรคจะต้องใช้ยาในระยะแรกถึง 4 ตัว

ด้วยกัน สำหรับการรักษาโรคเอดส์นั้นคล้ายกันมาก หลังจากผมจบเป็นผู้เชี่ยวชาญสาขาโรคทางเดินหายใจ ในปี ค.ศ. 1979 ตอนนั้นเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์อยู่ที่ โรงเรียนแพทย์ Mount Sinai ในนครนิวยอร์ก ปกติ แล้วโรคติดเชื้อชนิดหนึ่งชื่อว่า PCP หรือเชื้อราในปอด นาน ๆ เจอครั้งหนึ่ง แต่ปีนั้นเจอหลายคนพร้อมกัน ทำให้เราแปลกใจว่าทำไมเจอเยอะ เจอในกลุ่มชายรัก ชาย และในกลุ่มที่ใช้เข็มฉีดยาเสพติด หลังจากนั้น อี ก 4 ปี โ ลกถึ ง รู้ ว่ า เป็ น โรคอุ บั ติ ใ หม่ คื อ โรคเอดส์

ผมก็รักษาคนไข้ที่เป็นโรคเอดส์ พอยา AZT ออกปุ๊บ ในปี ค.ศ. 1987 ผมก็ใช้ยาเลย ปรากฏใช้ยาตัวเดียว ไม่ได้ผล มันเหมือนกับวัณโรคที่ใช้ยาตัวเดียวไม่ได้ผล ใช้หรือไม่ใช้ก็ตายเหมือนกัน พอมียาตัวที่ 2 ก็ลองอีก ทีนี้ผมใช้ 2 ตัวพร้อมกัน ก็ยังไม่ได้ผลอีก มันคล้าย ประสบการณ์การรักษาวัณโรค มันต้องใช้ยามากกว่า นั้น Expert Focus เป็นคอลัมน์จากการสัมภาษณ์ทัศนคติ มุมมอง แบบแผนการดำเนินชีวิตของแพทย์ ต้นแบบในสาขา โดยมุ่งหวังให้เนื้อหาที่ได้จากการสัมภาษณ์เป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย สำหรับ แพทย์รุ่นใหม่ในการประกอบวิชาชีพ ทั้งนี้ แพทย์ท่านใดสนใจเสนอชื่อ สามารถติดต่อแจ้งชื่อได้ที่ เจ้าหน้าที่กองบรรณาธิการ ตามรายละเอียดหน้าสารบัญ journalfocus@yahoo.com / สิงหาคม 2553


36 ผมกลั บ เมื อ งไทยในปี ค.ศ. 1990 ตอนนั้ น

บ้านเรามีคนเป็นวัณโรคและโรคเอดส์จำนวนมาก ผม มาถึงก็บอกเลยว่าต้องรอยาตัวที่ 3 ก่อน ให้อดทน รักษาแบบประคับประคองไปก่อน ผมรอจนยาตัวที่ 3 เข้าประเทศไทยในปี ค.ศ. 1996 ผมใช้เลย ผลออกมา ดีจริง ๆ คนไข้ดีวันดีคืน แล้วปี ค.ศ. 1997 ผมก็เขียน ในบทบรรณาธิการวารสารโรคติดเชื้อ ที่อาจารย์อมร ลีลารัศมี ดูแลอยูว่ า่ การรักษาโรคเอดส์จะต้องให้ยา 3 ตัว ผมบอกว่า mono = nono หนึ่งตัวห้ามให้ double = trouble คือสองตัวก่อปัญหา triple = optimal 3 ตัว

ถึงจะเหมาะสม ผมรู้ว่ายาตัวที่ 3 แพงมากในขณะนั้น ผมบอกแพทย์ในโรงพยาบาลของรัฐว่าอย่าเพิ่งท้อแท้ อดทนหน่อย อีกไม่นานก็จะมียา generic ระหว่างนั้น ต้องประคับประคองคนไข้ไป ตรงจุดนี้บางคนบอกผมว่า หมอมนูญมีแต่คนไข้ รวยการรักษาถึงได้ผลดี แต่จริง ๆ แล้วไม่ใช่ แม้คนไข้ จะมีเงิน ผมก็ไม่รักษาด้วยยา 2 ตัว ผมรออยู่ 6 ปี ระหว่างนั้นมีคนไข้บางรายเสียชีวิต แต่พวกที่รอยา 3 ตัว มันเหมือนกับดอกไม้บานสะพรั่งเพราะคนไข้ของ ผมเกือบไม่มีใครมีเชื้อดื้อยา ตอนนั้นผมเป็นกรรมการ สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย และเป็นประธาน อนุกรรมการ HIV แล้วอนุกรรมการชุดนี้ได้เขียนคำ แนะนำในการดูแลผู้ใหญ่ที่ติดเชื้อ HIV ลงตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 2001 แต่ก่อนหน้านี้ในปี ค.ศ. 1997 ผมได้ เขียนในบทบรรณาธิการแล้วในเรื่องนี้ ใช้เวลากว่า 4 ปี ที่แพทย์ทุกคนจะยอมรับว่าต้องใช้ยา 3 ตัวพร้อมกัน และขณะนี้ ผ มเป็ น นายกสมาคมโรคเอดส์ ฯ ก็ มี ส่ ว น ผลักดันคนไข้กลุ่มสุดท้ายให้ใช้ยา 3 ตัว คือกลุ่มผู้หญิง ตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อ HIV เพื่อป้องกันการถ่ายทอดเชื้อ จากแม่สู่ลูก

ความภูมิใจและความสำเร็จ ที่ผ่านมา

สิ่งที่ผมภูมิใจมากที่สุด ก็คือ การก่อตั้งกองทุน วิ จั ย วั ณ โรคดื้ อ ยาในศิ ริ ร าชมู ล นิ ธิ และกองทุ น ง่ ว ง อย่ า ขั บ ในมู ล นิ ธิ ร ามาธิ บ ดี ทั้ ง สองกองทุ น สมเด็ จ พระเจ้ า พี่ น างเธอ เจ้ า ฟ้ า กั ล ยาณิ วั ฒ นา กรมหลวง นราธิวาสราชนครินทร์ ทรงรับไว้ในพระอุปถัมภ์ ทำให้ การดำเนินงานเป็นไปอย่างราบรืน่ การขอความร่วมมือ

journalfocus@yahoo.com / สิงหาคม 2553

จากหน่วยงานต่าง ๆ ได้รับความร่วมมือด้วยดี และผมสามารถระดมเงินในกองทุน ทั้งสองเพื่อที่จะทำประโยชน์กับสังคม นี่เป็นสิ่งที่ผมภูมิใจมาก อีกเรื่องเป็นเรื่องของการรักษาคือ ผมสามารถช่วยชีวิตผู้ป่วยโรคเอดส์ได้ เยอะมาก มีที่เสียชีวิตไปบ้าง ซึ่งความสำเร็จในการรักษาผู้ป่วยเอดส์ก็ได้มาจาก ประสบการณ์ที่ได้ปฏิบัติจริง ลองปรับใช้วิธีที่คิดว่าดีที่สุดกับผู้ป่วยทั้งๆ ที่ไม่เคยเรียน เรื่องโรคเอดส์มาก่อนเนื่องจากเป็นโรคที่เกิดขึ้นหลังจากที่ผม train จบแล้ว นับเป็น อีกเรื่องที่ภูมิใจ

ปัจจัยที่เป็นที่มาสู่ความสำเร็จ อันนำมาสู่ความภูมิใจ

ผมมองว่าเกิดจากการที่ผมเป็นคนมุ่งมั่น ทำจริง ติดตามงานทุกงานอย่าง ใกล้ชิด อย่างการตามงานหลาย ๆ งาน แม้จะเป็นเรื่องเล็ก ๆ แต่ผมจะตามด้วย ตัวเอง เพื่อให้มั่นใจว่างานจะสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี เรื่องที่สอง ผมมองเป็นเรื่องของการมีสายสัมพันธ์ ผมขอยกตัวอย่างในการ ตั้งกองทุนวิจัยวัณโรคดื้อยา ความสำเร็จในเรื่องนี้เกิดจาก ศ.เกียรติคุณ นพ.ดิเรก อิศรางกูร ณ อยุธยา ท่านเป็นผูพ้ าผมเข้าเฝ้าสมเด็จพระเจ้าพีน่ างเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวฒั นา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เป็นการส่วนพระองค์ ผมกราบทูลพระองค์ท่านถึง ปัญหาและแนวทางที่จะช่วยเหลือประเทศไทย ถ้าไม่มีท่านอาจารย์ดิเรก ผมคงไม่มี โอกาสเข้าเฝ้า เมื่อสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาส ราชนครินทร์ ทรงรับกองทุนฯ ไว้ในพระอุปถัมภ์ พระองค์ทา่ นยังประทานพระราชทรัพย์

ส่วนพระองค์สมทบกองทุนด้วย นับเป็นพระเมตตาอย่างหาทีส่ ดุ มิได้ สำหรับอีกตัวอย่าง ของการมีสายสัมพันธ์ คือการเป็นแพทย์ เราจะดูแลคนไข้อาชีพต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ผู้บริหาร ดารานักแสดง เป็นต้น เมื่อเขาเห็นเรามุ่งมั่น ตั้งใจทำงานจริง หลาย ๆ คน ก็ให้การสนับสนุน เราได้รบั ความร่วมมือจากบุคคลเหล่านี้ ทำให้การดำเนินงานโครงการ ใหญ่ ๆ ทำได้อย่างราบรื่น เพราะได้รับความร่วมมือจากหลาย ๆ ฝ่าย เรื่องที่สาม คือการทำงานเป็นทีม ผมโชคดีที่มี teamwork ที่ดี อย่างในทุนวิจัย วัณโรคดื้อยาฯ ผมมี รศ.ดร.อังคณา ฉายประเสริฐ อ.ดร.เทอดศักดิ์ พราหมณะนันทน์ และเจ้ า หน้ า ที่ ใ นห้ อ งปฏิ บั ติ ก ารอณู จุ ล ชี ว วิ ท ยาราและมั ย โคแบคที เ รี ย ภาควิ ช า จุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ทุกคนทำงานเต็มที่และทำงานด้วยใจ

กว่าจะถึงวันที่ประสบความสำเร็จ ผ่านอุปสรรคอะไรบ้างและเอาชนะได้อย่างไร

อุปสรรคสำคัญคือ การไม่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานของรัฐเท่าที่ควร เช่น เรื่องทุนวิจัยวัณโรคดื้อยาฯ เราต้องการยกระดับมาตรฐานการวินิจฉัยวัณโรค ให้ดีขึ้น โดยตรวจว่าคนไข้เป็นวัณโรคจริงหรือไม่ ถ้าจริงดื้อกับยาตัวไหน จะได้ให้ยา ได้ถูกต้อง เพราะถ้าให้ยาวัณโรคไปแล้วเขาเป็นวัณโรคเทียมก็รักษาผิดโรค ถ้าเป็น วัณโรคดื้อยาอาจทำให้ดื้อยามากขึ้น ในขณะที่ค่าตรวจวินิจฉัยวัณโรคดื้อยา เพียง 150 บาท ในปัจจุบันเราก็พบแล้วว่าตั้งแต่ปี ค.ศ. 2001-ปัจจุบัน มีวัณโรคดื้อยา เยอะมาก แต่หน่วยงานรัฐยังคงให้ความสำคัญกับเรื่องนี้น้อยเหมือนเดิม สมัยที่ผม เริ่มรณรงค์ใหม่ ๆ มีคนต่อต้านผมมากมายว่า การกระทำของผมไร้ความรับผิดชอบ สำหรับประเทศไทยมันเป็นเรื่องฟุ่มเฟือยอย่างไรก็ทำไม่ได้ ผมจึงหาเงินมา 30 ล้าน บาท เข้ากองทุนวิจัยวัณโรคดื้อยาฯ เราให้บริการตรวจโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย สำหรับ โรงพยาบาลของรัฐ สำหรับอีกกองทุนที่ผมทำคือ กองทุนง่วงอย่าขับ เริ่มในปี ค.ศ. 2005 ได้แรง บันดาลใจจากการที่ผมดูแลคุณบิ๊ก D2B ที่ขับรถตกคูน้ำเพราะหลับใน จนเกิดเชื้อรา ขึ้นสมอง บ้านเรามุ่งเรื่องเมาแล้วขับอย่างเดียว ในต่างประเทศอย่างอังกฤษและ


37 อเมริกา พบอุบัติเหตุจราจรเสียชีวิตจากหลับในสูงถึงร้อยละ 20 ขึ้นไป แต่บ้านเรา จากสถิตขิ องรัฐบาลพบเพียงร้อยละ 1 ผมคิดว่าตัวเลขทีแ่ ท้จริงสูงกว่านีเ้ ยอะ เพียงแต่

การรวบรวมข้อมูลเพื่อทำสถิติอาจจะยังไม่ครบถ้วน แม้ ทั้ ง สองกองทุ น จะพบอุ ป สรรคที่ ข าดการสนั บ สนุ น จากภาครั ฐ แต่ ผ มก็ ไม่ท้อแท้ ไม่โทษใคร และจะทำต่อไป ยิ่งไม่ให้ความสำคัญ ผมยิ่งต้องพยายาม มากขึ้น เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ว่า สิ่งที่ผมทำเป็นเรื่องที่มีประโยชน์ต่อสังคม

ถ้าย้อนเวลากลับไปแก้ไขได้ อยากไปแก้ไขเรื่องใด

ผมกลับประเทศไทยปี ค.ศ. 1990 เริม่ ทำงานเพือ่ สังคมปี ค.ศ. 2001 ถ้าย้อน เวลากลับไปได้ ผมอยากจะเริ่มงานเพื่อสังคมให้เร็วกว่านี้ เพราะความสุขที่เกิดจาก การให้ยิ่งใหญ่กว่าความสุขที่เกิดจากการรับหลายเท่า คนเราทำงานก็มุ่งแต่แสวงหา ข้าวของเงินทอง แต่เมือ่ ถึงจุด ๆ หนึง่ เห็นแล้วว่าเมือ่ ตายไปเราเอาอะไรติดตัวไปไม่ได้

บุคคลต้นแบบ ในการดำเนินชีวิตหรือการทำงาน

คนแรกเป็นคุณครูสมัยที่ผมเป็นนักเรียนโรงเรียนเซนต์คาเบรียล ผมจำชื่อ คุณครูท่านนี้ไม่ได้ แต่สิ่งที่จำได้แม่นยำคือ คุณครูสอนผมว่า “เก่งอย่างเดียวไม่พอ ต้องเป็นคนดีด้วย” สมัยเป็นนักเรียนผมเรียนเก่ง แต่คุณครูบอกเก่งอย่างเดียวไม่พอ ต้องเป็นคนดี ย้ำแล้วย้ำอีกตลอดเวลา บุคคลทีส่ องคือ ศ.เกียรติคณ ุ นพ.อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ ท่านเป็นต้นแบบให้ผม ตอนผมอยู่โรงเรียนแพทย์โรงพยาบาลรามาธิบดี ท่านสอนผมว่า “เป็นแพทย์ต้องมี ความรู้รอบตัว ไม่ใช่มีความรู้เฉพาะแพทย์อย่างเดียว และเมื่อเป็นผู้เชี่ยวชาญไม่ว่า สาขาอะไรต้องมีความรู้ทางอายุรกรรม” ท่านแนะนำว่าหมอต้องมีความรู้รอบตัว หมอต้องอ่านหนังสือพิมพ์ สมัยนั้นยังไม่มีอินเตอร์เน็ต ผมก็ดำเนินชีวิตโดยมีท่าน เป็นแบบอย่างมาตลอด แม้ผมจะเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ผมก็ต้องมีความรู้รอบตัว ทางด้านอายุรกรรม และเปิดกว้างสำหรับความรู้รอบตัว ทั้งการศึกษา สังคม และ การเมือง ต้นแบบเรื่องที่สามไม่ใช่บุคคล แต่เป็นวัฒนธรรมของอเมริกา ตอนเด็ก ๆ ผม เป็นคนขี้อาย พอผมไปอเมริกา ผมได้ฝึกความกล้าคิด กล้าถาม กล้าแสดงออก และ กล้าทำจากคนอเมริกัน ดังนั้น ทั้งบุคคลต้นแบบและวัฒนธรรมที่ผมได้เรียนรู้มา คือ เก่งแล้วต้องเป็น คนดี มีความรู้รอบตัว และกล้าคิด กล้าแสดงออก กล้าทำ เป็นสิ่งที่ทำให้เป็นตัวผม ในทุกวันนี้

คติหรือหลักการที่ยึดถือ ในการดำเนินชีวิต

การมีสติ มัน่ ใจ และมุง่ มัน่ เรือ่ งของสติ ผมสวมหมวกหลายใบ ทำงานพร้อมกัน

หลาย ๆ อย่าง ผมต้องมีสติเพื่อรู้ว่าผมกำลังทำอะไรอยู่ และทำสิ่งนั้นให้ดีที่สุด และ สิ่งที่สำคัญต้องแบ่งเวลาให้เป็น ตามลำดับความสำคัญก่อน-หลัง แบ่งเวลาให้ตัวเอง ให้ครอบครัวด้วย ผมเป็นคนมีเป้าหมาย แต่ไม่ได้กำหนดเวลาเมื่อไรถึงจะสำเร็จ เรื่องของความมั่นใจ มีเพลง New York, New York ท่อนที่ร้องว่า “If I can make it there, I’ll make it anywhere” ถ้าผมทำสำเร็จได้ที่นิวยอร์ก เมื่อผมกลับมา เมืองไทย ผมมีความมั่นใจว่าผมสามารถทำอะไรต่าง ๆ ให้สำเร็จได้เหมือนสมัยผม อยู่นิวยอร์ก ไม่ใช่หลงตัวนะ แต่เป็นความคิดที่ได้จากการไปอยู่เมืองนอกมา ที่ทำให้ เรารู้จักคิดในทางบวก (think positive)

สุดท้ายคือ ความมุ่งมั่น ผมมุ่งมั่นที่จะทำเพื่อ สังคมจริง ๆ ผมว่าประเทศไทยยังขาดอะไรเยอะ ขาด คนที่จะผลักดันประเทศไปข้างหน้า ทุกวันนี้ประเทศ ไทยเป็นผู้ตามตลอด ผมเป็นคนชอบรณรงค์ ทำอะไร ใหม่ ๆ ที่ ค นส่ ว นใหญ่ ม องข้ า ม ตอนนี้ ร ณรงค์ เ รื่ อ ง วัณโรคในช้าง รณรงค์นอนหลับให้เพียงพอ รณรงค์ เรื่องลดการจุดธูป ฯลฯ การมีแนวคิดใหม่ ๆ จะทำให้ ชีวิตมีไฟ ไม่ใช่วัน ๆ ตื่นแต่เช้ามาดูคนไข้ เย็นกลับ บ้าน เพื่อหาเงินอย่างเดียว ถ้าผมอยากมีเงินเยอะ ผม คงไม่ ก ลั บ มาเมื อ งไทย ที่ ก ลั บ มาเพราะผมต้ อ งการ มาตอบแทนประเทศบ้ า นเกิ ด ผมเชื่ อ ว่ า หมอไทย มีศักยภาพ แต่ขอให้เขาใช้ศักยภาพที่มี ทำงานเพื่อ สังคมด้วย

ข้อแนะนำ สำหรับแพทย์รุ่นใหม่

ผมมองการแพทย์ไทยกับการฟ้องร้องกำลังเป็น ปัญหา แพทย์ควรให้เวลากับคนไข้มากขึ้น ใส่ใจการ บันทึกให้มากขึ้น เพื่อเป็นเกราะป้องกันตัวเอง แต่ผม ก็เห็นใจนะ อย่างลูกสาวผมเคยดูคนไข้ในโรงพยาบาล ต่ า งจั ง หวั ด เป็ น ร้ อ ยคนต่ อ วั น ขณะเป็ น แพทย์ ใ ช้ ทุ น

ซึ่งแตกต่างจากผม เป็นหมอเอกชนดูคนไข้ไม่มากเท่า

เขา 18 ปีที่ผมอยู่ที่อเมริกา ถูกฟ้องร้อง 3 ครั้ง คดี ดังกล่าวไม่ใช่ความผิดของเรา เพียงแต่ว่าผลลัพธ์ของ การรักษามันไม่เป็นไปอย่างที่ผู้ป่วยต้องการ ฉะนั้น แพทย์รนุ่ ใหม่ ๆ จึงควรเตรียมตัว ต้องให้เวลากับคนไข้ มากขึน้ จดบันทึกในการดูแลคนไข้ เป็นการสร้างเกราะ ป้องกันตัวเอง คือบางทีเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันเกิดขึน้

ก็ต้องเขียนลงไปว่า คนไข้มีอาการอย่างไร ผล Lab, X-ray เป็นอย่างไร ทำไมเราต้องให้การรักษาแบบนั้น การจดบันทึกจะช่วยเวลาที่เราต้องขึ้นศาล เราก็อ่านไป ตามที่เราเขียน มันมีน้ำหนักมากกว่าการพูดโดยไม่มี หลักฐาน อาชีพแพทย์เป็นอาชีพที่ช่วยเหลือคนอื่น ถ้าเรา ทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุด เราต้องประสบความสำเร็จ อยูแ่ ล้ว ผมจึงขอฝากแพทย์รนุ่ ใหม่วา่ เป็นแพทย์ไม่มวี นั อดตายหรอก อยูท่ ไี่ หนก็ไม่อดตาย อยากจะฝากว่า เมือ่ คุณมาถึงจุดหนึง่ คือสร้างฐานะมัน่ คง มีครอบครัวอบอุน่ อยู่ได้อย่างสบายแล้ว มาช่วยสังคมบ้าง โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง แพทย์เอกชน อย่าใช้เวลาทั้งหมดมุ่งแต่การ หารายได้ให้กับตัวเอง แบ่งเวลามาช่วยกัน ช่วยสังคม ช่วยเหลือประเทศไทย อาชีพแพทย์มีเครดิต พูดกับ ใคร เขาก็ฟัง เมื่อไรที่เรามีความคิดอะไรดี ๆ ขอให้ทำ อย่าปล่อยให้ความคิดนั้นหายไป ผมเห็นใจแพทย์ใน ภาครั ฐ เขาทำงานเต็ ม ที่ อ ยู่ แ ล้ ว แพทย์ เ อกชนควร ออกมาช่วยสังคมมากขึ้น journalfocus@yahoo.com / สิงหาคม 2553


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.