ผศ.นพ.ถนอมศักดิ์ อเนกธนานนท์

Page 1

Expert

29 “ต้องพยายามขวนขวายหาความรู้ ให้ทันสมัยอยู่เสมอ ทุกการกระทำต้องโปร่งใสตรงไปตรงมา จริงใจ มีจุดยืนของตนเอง ไม่ต้องไปสนใจว่าใครจะมองเราอย่างไร

และจงพอใจในสิ่งที่ตนมี” ผศ.นพ.ถนอมศักดิ์ อเนกธนานนท์ นายกสมาคมโรคเอดส์แห่งประเทศไทย

แรงบันดาลใจในการเลือกเรียนแพทย์ โดยเฉพาะสาขาโรคติดเชื้อ

ในสมั ย นั้ น ผมยั ง ไม่ มี ค วามใฝ่ ฝั น อะไร แน่ น อนครั บ เพี ย งแต่ ท างครอบครั ว ต้ อ งการ ให้เป็นแพทย์ กอปรกับตัวผมเองเห็นว่าอาชีพ

แพทย์ เ ป็ น อาชี พ ที่ มี เ กี ย รติ ได้ ช่ ว ยเหลื อ ผู้ อื่ น

และมี ง านทำแน่ น อนจึ ง เลื อ กเรี ย นแพทย์ แ ละ สอบติดคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลครับ จากรั้วสวนกุหลาบสู่ศิริราช ชีวิตนักศึกษา แพทย์ของผมส่วนใหญ่เคร่งเครียดกับการเรียน ไม่ได้มุ่งทำกิจกรรมอย่างอื่นเท่าใดนัก แม้เวลา ล่ ว งเลยไปก็ ยั ง ไม่ ไ ด้ ตั้ ง เป้ า หมายที่ ชั ด เจนกั บ ตัวเอง แต่ผมก็รสู้ กึ สนใจในสาขาวิชาอายุรศาสตร์ ครับ เนือ่ งจากเป็นสาขาทีม่ อี งค์ความรูก้ ว้างขวาง และทีส่ ำคัญคือ สามารถใช้ความรูท้ ศี่ กึ ษามาในการ ดูแลคุณพ่อคุณแม่และครอบครัวได้ หลังจากการ ใช้ทุนที่กรมราชทัณฑ์ ผมจึงเลือกศึกษาต่อสาขา อายุรศาสตร์ แต่กไ็ ม่ได้คดิ ว่าจะศึกษาต่อเฉพาะทาง ลงไปอีก จากนัน้ เพือ่ นชวนไปสอบ FMGEMS เพือ่

ไปเรียนต่อสหรัฐอเมริกา โชคดีที่สอบผ่านได้ไป ศึ ก ษาต่ อ ที่ อ เมริ ก าโดยไม่ ไ ด้ ว างแผนมาก่ อ น ความเปลี่ยนแปลงในวิชาชีพเริ่มต้นจากที่นี่ครับ ในช่ ว งปี แ รกผมศึ ก ษาและปฏิ บั ติ ง านที่ นิวยอร์ก เป็นอายุรแพทย์ทวั่ ไป ในยุคนัน้ มีผปู้ ว่ ย โรคเอดส์จำนวนมาก และยังไม่มยี ารักษาทีไ่ ด้ผล Expert Focus เป็นคอลัมน์จากการสัมภาษณ์ทัศนคติ มุมมอง แบบแผนการดำเนินชีวิตของ แพทย์ต้นแบบในสาขา โดยมุ่งหวังให้เนื้อหาที่ได้จากการสัมภาษณ์เป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย สำหรับแพทย์รุ่นใหม่ในการประกอบวิชาชีพ ทั้งนี้ แพทย์ท่านใดสนใจเสนอชื่อ สามารถติดต่อ แจ้งชื่อได้ที่เจ้าหน้าที่กองบรรณาธิการ ตามรายละเอียดหน้าสารบัญ journalfocus@yahoo.com / กรกฎาคม-สิงหาคม 2557

p.29-31 Expert IDV50_a.tanormsak29 29

7/25/14 5:31:20 PM


30 ผู้ป่วยหลักที่ต้องดูแลอยู่เสมอคือ ผู้ป่วยเอดส์ครับ ทำให้ต้องคลุกคลีอยู่กับ ผู้ป่วยกลุ่มนี้ตลอดปี ผมได้เห็นผู้ป่วยเอดส์เป็นโรคติดเชื้อฉวยโอกาสและ กรณีศกึ ษาแปลก ๆ หลายอย่างทีไ่ ม่เคยได้รเู้ ห็นมาก่อน ซึง่ ขณะนัน้ อาจารย์ Dr.Glen Turet แพทย์ผเู้ ชีย่ วชาญโรคติดเชือ้ ทีน่ กี่ ด็ แู ลและสอนจนเกิดความ ประทับใจ จึงมุ่งมั่นที่จะศึกษาต่อยอดเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคติดเชื้อและ ตั้งใจว่าจะใช้ประสบการณ์ที่เรียนรู้จากสหรัฐอเมริกากลับมาใช้ในประเทศ ไทย ผมย้ายไปปฏิบัติงานและศึกษาต่อสาขาอายุรศาสตร์ ปีที่ 2 และ 3 ที่ Lubbock, Texas จากนั้นไปศึกษาต่อยอดสาขาโรคติดเชื้อที่ University of Rochester, New York อีก 2 ปีเศษ สอบได้ American Board of Internal Medicine และ American Board of Infectious Disease เมื่อศึกษาจบก็กลับมารับราชการที่ ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม มีหน่วยโรคติดเชือ้ ด้วย ผมปฏิบตั งิ านเป็นอาจารย์และเป็นวิทยากรทางด้าน โรคติดเชื้อและเอชไอวี/เอดส์ มาตลอด นอกจากนี้ ผมได้เป็นกรรมการและ ทำงานร่วมกับสมาคมโรคเอดส์แห่งประเทศไทย ตั้งแต่แรกก่อตั้งสมาคม โดยสมาคมฯ มุ่งหวังเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ให้แก่แพทย์และ บุคลากรทางการแพทย์เป็นหลักครับ

ช่วงทีเ่ รียนแพทย์เป็นช่วงเริม่ ต้นของอนาคต ของชี วิ ต ผมมี คุ ณ พ่ อ คุ ณ แม่ ค อยสนั บ สนุ น เป็นกำลังใจ ให้คำปรึกษา แนะนำ และคอยอยู่ เคียงข้างเสมอ ทำให้ทกุ ๆ การกระทำและทุกสิง่ ที่ตัดสินใจว่าจะทำอะไร จะรู้สึกว่าท่านอยู่ในใจ เราเสมอ ท่านเป็นแบบอย่างของความซื่อสัตย์ และไม่เอารัดเอาเปรียบคนอื่น ไม่ท้อถอย ผมมีปณิธานว่า การดำรงวิชาชีพของแพทย์

ต้องมีความซือ่ สัตย์และจริงใจ ทัง้ กับเพือ่ นร่วมงาน และผู้ป่วย ซึ่งสิ่งดี ๆ เช่นนี้ สามารถสื่อถึงกันได้ ช่วยให้ทำงานได้ราบรื่น สิ่งสำคัญอีกประการที่ขาดไม่ได้คือ การมี ทีมงานที่ดีครับ ผมไม่สามารถทำทุกอย่างและ ประสบความสำเร็จได้ดว้ ยตัวคนเดียว ในการดูแล รักษาผู้ป่วยก็ต้องมีทีมพยาบาลช่วย Support ผู้ป่วย ในการเป็นวิทยากรก็ต้องการผู้ฟังที่สนใจ ในองค์ความรู้ร่วมกัน

ความภูมิใจสิ่งแรกคือ การได้เป็นแพทย์ ซึ่งนำไปสู่หน้าที่ที่สำคัญคือ ได้ดูแลรักษาคุณพ่อ คุณแม่และครอบครัว และการได้เป็นอาจารย์แพทย์ ได้ ถ่ า ยทอดความรู้ ใ ห้ แ ก่ นั ก ศึ ก ษาแพทย์ แพทย์ ป ระจำบ้ า น ตลอดจน แพทย์เฟลโล่ว์ การได้ทำงานกับทีมงานที่รู้ใจและมีปณิธานเดียวกัน การ ที่ต้องสอนนักศึกษาแพทย์และแพทย์ประจำบ้าน เป็นสิ่งท้าทายต้องเรียนรู้ เพิม่ เติมอยูเ่ สมอ ร่วมกับการนำประสบการณ์มาใช้ประกอบการเรียนการสอน นอกจากนี้ยังมีความภูมิใจที่ได้ทำงานให้สมาคมวิชาชีพ เช่น สมาคม โรคติดเชือ้ แห่งประเทศไทย สมาคมโรคเอดส์แห่งประเทศไทย เป็นกรรมการ ร่วมจัดประชุมวิชาการนานาชาติ กรรมการออกข้อสอบแพทย์ประจำบ้าน และแพทย์ประจำบ้านต่อยอด เป็นต้น สำหรับความสำเร็จที่โดนใจคือ การที่สามารถช่วยผู้ป่วยโรคเอดส์

ระยะท้ายให้รอดชีวิตและกลับมาดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข

ปัญหาสำคัญคือ ความไม่รู้ การแก้ไขคือ ต้องไม่ท้อถอย ต้องพยายามหาคำตอบจากผู้รู้ หรื อ จากสื่ อ ต่ า ง ๆ และนำมากลั่ น กรอง แล้ ว พยายามแก้ปัญหานั้นด้วยตนเอง ที่ ส ำคั ญ คื อ ต้ อ งยอมรั บ ความจริ ง การ มองปัญหาตามความเป็นจริงจะทำให้เราสามารถ ทำใจยอมรับ แล้วจะช่วยให้สามารถมองทุกอย่าง โดยไม่มีอคติ และจะสามารถแก้ไขสิ่งเหล่านั้น

ได้ด้วยดี เช่น มีบางกรณีที่ตรวจผู้ป่วยแล้วมีการ ส่ ง ตรวจทางห้ อ งปฏิ บั ติ ก ารเพิ่ ม เติ ม มากมาย และแม้ ว่ า จะให้ เ วลากั บ ผู้ ป่ ว ยนานมาก แต่ สุดท้ายก็ต้องบอกผู้ป่วยไปตรง ๆ ว่า ยังไม่รู้ว่า เป็นอะไร การตรวจต่อ ๆ ไปตามลำดับต้องใช้ เวลาและอาจไม่ เ ปลี่ ย นแปลงวิ ธี ก ารรั ก ษา จึ ง

ความภูมิใจและความสำเร็จที่ผ่านมา

ปัจจัยที่เป็นที่มาของความสำเร็จ อันนำมาสู่ความภูมิใจ

กว่าจะถึงวันที่ประสบความสำเร็จ พบอุปสรรคอะไรบ้าง และเอาชนะได้อย่างไร

journalfocus@yahoo.com / กรกฎาคม-สิงหาคม 2557

p.29-31 Expert IDV50_a.tanormsak30 30

7/25/14 5:31:21 PM


31 ต้องให้ข้อมูลต่าง ๆ เพื่อเป็นทางเลือกในการรักษาในลำดับถัดไป และ ควรเคารพในการตัดสินใจของผู้ป่วย อุปสรรคต่อมาคือ เรื่องเวลา ควรหาเวลาสำหรับการค้นคว้าเรียนรู้ เพิ่มเติมด้วย การทำงานมาก ๆ อาจทำให้ไม่มีเวลาติดตามความรู้ต่าง ๆ ซึ่งมีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ ความรู้และประสบการณ์ต้องเกิด ไปพร้อม ๆ กัน ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว ต้องเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสม มาใช้อย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด

ถ้าย้อนเวลากลับไปแก้ไขได้ อยากไปทำเรื่องใดมากที่สุด

ผมคิดว่าได้ตัดสินใจทำในสิ่งที่ผมอยากได้อยากเป็นอยู่แล้ว และ พอใจกับผลลัพธ์ในสิ่งที่ตนเลือก

บุคคลต้นแบบในการดำเนินชีวิต หรือการทำงาน

ผมว่า ผมโชคดีมากที่มีบุคคลต้นแบบหลายท่านและหลายรูปแบบ บุคคลแรกคือ คุณพ่อคุณแม่ผู้เป็นต้นแบบทางด้านการใช้ชีวิตทั่วไป ท่านปลูกฝังให้เป็นคนซื่อสัตย์และเป็นผู้ให้อยู่เสมอ บุคคลที่สองคือ ศ.นพ.สุรพล สุวรรณกูล ท่านเป็นทั้ง Role Model และ Coach ในการเป็นอาจารย์ให้กับผม ท่านทำหน้าที่ได้ดีในทุกบทบาท เป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับแพทย์รุ่นหลัง บุคคลที่ 3 คือ ศ.พญ.จิตรา อนุราษฎร์ โดยส่วนตัวผมประทับใจใน การสอนของท่านมาก ท่านเป็นแบบอย่างของครูที่ดี ท่านมักยกตัวอย่าง ผู้ป่วยจากประสบการณ์ของท่านประกอบการเรียนการสอน ทำให้ผู้เรียน เห็นภาพและเข้าใจได้ง่าย ท่านเป็นผู้ทรงความรู้แต่ท่านก็ไม่เคยคิดที่จะ หยุดเรียนรู้เลย

คติหรือหลักการที่ยึดถือ ในการดำเนินชีวิต

ก็ควรถอยห่างออกมา ที่สำคัญต้องซื่อสัตย์กับ ผู้ป่วย จริงใจ ให้ข้อมูลต่าง ๆ ทั้งข้อดีและข้อเสีย เพื่อให้เขาได้ตัดสินใจในสิ่งที่ดีที่สุดที่เหมาะสม กั บ ตนเอง นอกจากนี้ ที่ ส ำคั ญ อี ก ประการคื อ เราไม่สามารถเปลี่ยนใครให้มาเป็นแบบเราได้ ดังนั้น เราต้องเรียนรู้ที่จะอยู่ในสังคมให้ได้

มองการแพทย์ปัจจุบัน และอนาคตอย่างไร

ตอนนี้ ค วามคาดหวั ง ของผู้ ป่ ว ยนั้ น สู ง

มาก ทำให้มีการตรวจทางห้องปฏิบัติการหรือ

การตรวจทางรังสีวิทยาที่มากเกินจำเป็น และ ทำให้ ต้ อ งปรึ ก ษาแพทย์ เ ฉพาะทางหลาย ๆ สาขา ทำให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มสูงขึ้นมาก แพทย์เอง ก็พยายามหาคำตอบให้แก่ผปู้ ว่ ยในเวลาอันจำกัด ทำให้ต้องส่งตรวจหลาย ๆ อย่างไปพร้อม ๆ กัน แพทย์ จ ะต้ อ งอธิ บ ายถึ ง เหตุ ผ ลให้ผู้ป่วยเข้าใจ เพื่อลดปัญหาการฟ้องร้อง การให้ข้อมูลที่ตรงไป ตรงมาจะทำให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่ยอมรับและเข้าใจ ในเหตุผลได้

ข้อแนะนำสำหรับแพทย์

แพทย์ ต้ อ งพยายามขวนขวายหาความรู ้

ให้ทันสมัยอยู่เสมอ ทุกการกระทำต้องโปร่งใส ตรงไปตรงมา จริงใจ มีจุดยืนของตนเอง ไม่ต้อง ไปสนใจว่าใครจะมองเราอย่างไร และจงพอใจ ในสิ่งที่ตนมี สำหรับแพทย์ในสาขาโรคติดเชื้อ อย่างที่ได้กล่าวข้างต้นในเรื่องของเวลากับการ เรียนรู้ องค์ความรูต้ า่ ง ๆ นัน้ พัฒนาและก้าวหน้า

ไปเร็วมาก ต้องแบ่งเวลาสำหรับติดตามความรู้ ให้มากกว่าผู้ป่วยและนำเทคโนโลยีที่เหมาะสม มาปรับใช้ให้เกิดความคุ้มค่าและเกิดประโยชน์

สูงสุด

ซื่อสัตย์และจริงใจแต่ก็ระวังอย่าถูกใครหลอก เราพร้อมที่จะแสดง ความจริงใจกับผู้อื่นก่อน ถ้าใครไม่ให้ความสำคัญกับความจริงใจของเรา

journalfocus@yahoo.com / กรกฎาคม-สิงหาคม 2557

p.29-31 Expert IDV50_a.tanormsak31 31

7/25/14 5:31:23 PM


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.