E
XPERT
27
“ส่วนใหญ่ก็จะดูแต่เรื่อง HIV
บางครั้งผมอยากให้แพทย์ในสาขาอื่น ๆ ดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ให้มากขึ้น” ศ.นพ.สุรพล สุวรรณกูล
นายกสมาคมโรคเอดส์แห่งประเทศไทย วาระ พ.ศ.2548-2550
แรงบันดาลใจในการเลือกเรียนแพทย์ โดยเฉพาะสาขาโรคติดเชื้อ
สาเหตุที่เลือกเรียนแพทย์ ส่วนหนึ่งเป็น ค่ า นิ ย มของยุ ค นั้ น คื อ คุ ณ ลุ ง และลู ก พี่ ลู ก น้ อ ง เป็นแพทย์ และผมรู้สึกว่าการเป็นแพทย์ได้รับ การยอมรับจากสังคม มีพระคุณมากกว่าพระเดช จึ ง เข้ า เรี ย นที่ ค ณะวิ ท ยาศาสตร์ จุ ฬ าฯ เมื่ อ ปี พ.ศ. 2507 ผมเรียนที่นั่น 2 ปี และข้ามฟาก มาเรี ย นแพทย์ ที่ ค ณะแพทยศาสตร์ ศิ ริ ร าช พยาบาลอี ก 4 ปี พอเรี ย นจบแพทย์ ศิ ริ ร าช รุ่น 75 เป็นแพทย์ฝึกหัดส่วนกลาง กทม. ใน โรงพยาบาลของกรมการแพทย์ และมาเป็ น แพทย์ประจำบ้านอายุรศาสตร์และต่อที่ภาควิชา เวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ ศิรริ าชพยาบาล ได้เรียนกับท่านอาจารย์ นพ.มุกดา ตฤษณานนท์ ซึ่ ง เป็ น หั ว หน้ า ภาควิ ชาคนแรก ของภาควิชานี้ อาจารย์ท่านดูแลทางด้านโรค ติ ด เชื้ อ และดู แ ลรั ก ษาโรคที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ ทาง สาธารณสุข ต่อมาอาจารย์ให้ไปเรียนต่อที่คณะ สาธารณสุข มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อให้มีความรู้ ทางด้านสาธารณสุขมากขึ้น หลังจากเรียนจบ ก็กลับมาทำงานที่โรงพยาบาลศิริราชต่ออีก 1 ปี และมีโอกาสเข้าอบรมคอร์สทางด้านโรคติดเชื้อ ของ อ.นพ.สมพล บุณยคุปต์ และ อ.นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา ทำให้มีความสนใจในด้านโรคติดเชื้อ เป็นแรงบันดาลใจให้ไปศึกษาอบรมทางด้านนี้ ที่สหรัฐอเมริกา และสอบได้ American board ทางด้านอายุรศาสตร์และสาขาโรคติดเชื้อ และ ทำงานต่อที่สหรัฐอเมริกา ปีที่ 9 จึงกลับมาเป็น Expert Focus เป็นคอลัมน์จากการสัมภาษณ์ทัศนคติ มุมมอง แบบแผนการดำเนินชีวิตของ แพทย์ต้นแบบในสาขา โดยมุ่งหวังให้เนื้อหาที่ได้จากการสัมภาษณ์เป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย สำหรับแพทย์รุ่นใหม่ในการประกอบวิชาชีพ ทั้งนี้ แพทย์ท่านใดสนใจเสนอชื่อ สามารถติดต่อ แจ้งชื่อได้ที่เจ้าหน้าที่กองบรรณาธิการ ตามรายละเอียดหน้าสารบัญ journalfocus@yahoo.com / สิงหาคม 2554
28 อาจารย์ที่ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคมเมื่อปี พ.ศ. 2527 ช่วงอยู่ที่ อเมริกาผมได้มโี อกาสดูแลรักษาผูป้ ว่ ยติดเชือ้ HIV ซึง่ เป็นจุดเริม่ ต้นให้ผมมา ทำงานด้านโรคเอดส์ เป็นอายุรแพทย์และโรคติดเชื้อควบคู่กันไปด้วย
ความภูมิใจและความสำเร็จที่ผ่านมา
ข้อแรก ภูมิใจที่ได้จบจากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ซึ่งมี อาจารย์ให้ความรู้อย่างใกล้ชิด มีวัฒนธรรมองค์กรระบบอาวุโส คืออาจารย์ จะดู แ ลลู ก ศิ ษ ย์ เ หมื อ นลู ก รุ่ น พี่ จ ะดู แ ลรุ่ น น้ อ งเหมื อ นน้ อ ง เวลาพบกั น การทักทายกันจะโค้งกัน ถือเป็นเอกลักษณ์ของคณะแพทยศาสตร์ศิริราช พยาบาล ข้อสอง ภูมใิ จทีไ่ ด้เป็นแพทย์รนุ่ ต้น ๆ ทีด่ แู ลรักษาผูป้ ว่ ยโรคติดเชือ้ HIV เปลี่ยนเจตคติ ความคิดของแพทย์ พยาบาล บุคลากรทางการแพทย์และ คนทั่วไปต่อโรคติดเชื้อ HIV จากโรคที่น่าสะพรึงกลัว จนมีการยอมรับได้ มากขึ้นตามลำดับ ทำให้แพทย์รุ่นพี่ รุ่นน้อง พยาบาล ผู้ร่วมงานมาร่วมกัน ทำงานมากขึ้น และเน้นการป้องกันควบคุมควบคู่ไปกับการรักษาให้ได้ มาตรฐาน จากการรวมกลุ่มตั้งชมรมผู้ดูแลรักษาโรค AIDS จนกระทั่ง กลายมาเป็นสมาคมโรคเอดส์แห่งประเทศไทย มีผลทำให้โรคติดเชื้อ HIV, เอดส์ เป็นโรคทีแ่ พทย์ทกุ คนต้องรักษาได้ เน้นการดูแลรักษาเป็นทีมร่วมกับ พยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ และครอบครัวผู้ป่วย ส่วนในระดับชาติ จะเห็นได้ว่ามีคณะกรรมการเอดส์ระดับชาติ ทาง สปสช. และ สปส. ได้จัด งบประมาณสนับสนุนเพิ่มขึ้น ทั้งการดูแลรักษาป้องกัน วินิจฉัย มีการ อบรมแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ทุกปี นับว่าเป็นความภูมิใจที่ทำให้ โรคติ ด เชื้ อ HIV และโรคเอดส์ ซึ่ ง เป็ น โรคที่ สั ง คมรั ง เกี ย จไม่ ย อมรั บ ที่ไม่มีใครอยากดูแล กลายเป็นสภาวะที่มีการยอมรับมากขึ้นทุก ๆ ระดับ ได้รับการดูแลรักษาป้องกันตามเกณฑ์มาตรฐานทั่วประเทศจนถึงระดับ โรงพยาบาลชุมชน มีการวิจัยมากมายในหลาย ๆ ด้านทั้งในประเทศและ ตี พิ ม พ์ ใ นวารสารทางการแพทย์ ทั้ ง ในและต่ า งประเทศ ทำให้ เ ข้ า ใจถึ ง ธรรมชาติของโรคติดเชื้อ HIV และเอดส์ในประเทศไทยมากขึ้น มีผลทำให้ ผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเกิดโรคแทรกซ้อนน้อยลง คุณภาพชีวิตของผู้ติดเชื้อ และผู้ป่วยดีขึ้นทุกระดับอายุ ข้อสาม ภูมิใจที่มีโอกาสเป็นนายกสมาคมโรคเอดส์แห่งประเทศไทย เพื่อสานต่อเจตนารมณ์จาก ศ.นพ.ประพันธ์ ภานุภาค ซึ่งเป็นนายกสมาคม คนแรก ได้ร่วมกันทำงานกับอาจารย์และคณาจารย์จากสถาบันต่าง ๆ ทั้ง ภาครัฐและเอกชน กระทรวงสาธารณสุข ตลอดจนสถาบันในต่างประเทศ มี ก ารจั ด อบรมแก่ แ พทย์ แ ละบุ ค ลากรทางการแพทย์ ม ากมายหลาย ๆ ประเด็นทุกปี มีคู่มือการรักษา การให้คำแนะนำ ป้องกัน ฯลฯ แก่ทั้งแพทย์ พยาบาล และประชาชนทั่วไป และผลักดันให้ผู้ติดเชื้อ HIV/AIDS ได้ยา ต้านไวรัสตามเกณฑ์มาตรฐานในหลักวิชาการ journalfocus@yahoo.com / สิงหาคม 2554
ปัจจัยที่เป็นที่มาสู่ความสำเร็จ อันนำมาสู่ความภูมิใจ
ข้อแรก ผมมีความคิดว่าการเป็นแพทย์ตอ้ ง ช่วยสังคม ดูแลผู้ป่วยทุกระดับชั้นให้มีมาตรฐาน เช่นเดียวกัน ซื่อสัตย์ต่อวิชาชีพ แม้จะเป็นผู้ป่วย ที่ยากไร้ ข้อสอง ผมเป็นคนง่าย ๆ ไม่มีขั้นตอน มากมาย ไม่มีช่องว่างกับอาจารย์ผู้ใหญ่ รุ่นน้อง นั ก ศึ ก ษา หรื อ บุ ค ลากร ทำให้ สื่ อ กั น ง่ า ยขึ้ น ข้อสาม ผมมีทมี งานทีด่ ี ส่วนหนึง่ จากรูจ้ กั คลุกคลี
กันมาตัง้ แต่เป็นแพทย์ประจำบ้าน และมีบคุ ลากร ทางการแพทย์ที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างมาก โดยทีผ่ มพยายามพูดและโน้มน้าวให้เห็นถึงความ สำคัญของการแพทย์ว่าไม่ใช่เพียงการรักษาที่ โรงพยาบาลเท่านั้น ต้องตระหนักถึงปัญหาของ สาธารณสุขของประเทศ ภูมิภาคและชุมชน การ ป้องกันไม่ให้เกิดโรคและทุกระยะของการเป็นโรค การดูแลตัวเองได้ที่บ้านร่วมไปกับครอบครัว หรือ ผู้ดูแล จะทำให้ความเจ็บป่วยลดลง และประสบ ความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ ผมเน้นว่าการ ดู แ ลรั ก ษาผู้ ป่ ว ยเป็ น แค่ ป ระเด็ น เดี ย วกั บ การ เจ็บป่วย ยังมีเรื่องอื่น ๆ เช่น เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และระบบประกันสุขภาพ ที่มีความ สำคัญอย่างยิ่งต่อสุขภาพ ซึ่งถ้าแพทย์ บุคลากร ทางการแพทย์ เข้ า ใจและมองประเด็นเหล่านี้ ให้ เ ป็ น องค์ ร วมก็ จ ะเกิ ด ประโยชน์ ม ากขึ้ น ใน เวชปฏิบัติของตนเอง
กว่าจะถึงวันที่ประสบความสำเร็จ ผ่านอุปสรรคอะไรบ้างและเอาชนะได้อย่างไร
การทำงานย่อมมีอุปสรรค แต่อุปสรรคต้อง มีทางแก้ไข ทุกอย่างต้องสื่อสารกันได้ อาจจะ ไม่ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ ต้องมีจุดที่เหมาะสม ทำให้ ทัง้ สองฝ่ายมาเจรจา ประชุม อภิปรายกันได้ และ ถ้าทำอย่างไม่มีอคติ เพื่อฝ่ายเราแต่อย่างเดียว ก็น่าจะได้ทางออกที่ดีร่วมกัน เนื่องจากคนไทย ค่ อ นข้ า งมี ปั ญ หาในการสื่ อ สารกั น และทำกั น
ไม่พอเพียง ทำให้เรื่องเล็กกลายเป็นเรื่องใหญ่ และประเด็นแปรปรวนไป อย่างเช่น เมือ่ ผมต้องมา ดูแลรักษาคนไข้ HIV/AIDS ในระยะแรก ๆ ที่ กลับมาจากต่างประเทศ พบว่าอาจารย์ พยาบาล ไม่อยากเข้าใกล้ไปดูแลรักษา ผมต้องทำให้เห็น
29 เป็นตัวอย่างก่อน ทัง้ การตรวจร่างกาย การดูแลรักษาผูป้ ว่ ย เมือ่ เราสามารถ เป็นผู้เริ่มต้นได้ ก็จะได้แนวร่วมมากขึ้น ถ้าผมไม่เป็นผู้เริ่มต้นในการดูแล รักษาก่อนแล้ว ผู้ใต้บังคับบัญชา ผู้ร่วมงานจะยอมทำได้อย่างไร
ถ้าย้อนเวลากลับไปแก้ไขได้ อยากกลับไปแก้ไขเรื่องใด
ในชีวิตของการเป็นแพทย์เวชปฏิบัติของผมส่วนใหญ่จะดูแลรักษา โรคติดเชื้อ โรคติดเชื้อ HIV/AIDS ผมอยากให้แพทย์ในสาขาต่าง ๆ ร่วม ดูแลผู้ป่วยในกลุ่มนี้ให้มากขึ้น จะทำให้เข้าใจและทราบธรรมชาติของโรค ติ ด เชื้ อ HIV/AIDS และสภาวะที่ สั ม พั น ธ์ กั บ เอดส์ ใ นประเทศไทยและ ภูมิภาคนี้ได้มากขึ้น ตอนสมัยเราหนุ่ม ๆ เราอยากให้รัฐบาลสนับสนุน ให้ยาต้านไวรัสเอดส์แก่คนไข้ตามมาตรฐานทางการแพทย์ ซึ่งในระยะนั้น รัฐบาลไม่สามารถสนับสนุนได้เพียงพอ ถ้ามองย้อนกลับไปก็น่าเห็นใจ รัฐบาล ที่ราคาของยาต้านไวรัสเอดส์ในช่วงนั้นสูงมาก ในปัจจุบันระบบ ประกันสุขภาพ สปสช. สปส. มีความพร้อมมากขึ้น สามารถให้ยาต้านไวรัส เอดส์แก่ผู้ป่วยได้มากกว่า 220,000 ราย/ปี
บุคคลต้นแบบในการดำเนินชีวิตหรือการทำงาน
ท่านแรก ศ.นพ.มุกดา ตฤษณานนท์ เป็นผู้ก่อตั้งภาควิชาเวชศาสตร์ ป้ อ งกั น และสั ง คม อาจารย์ มี วิ สั ย ทั ศ น์ ก ว้ า งไกล เห็ น ว่ า การเจ็ บ ป่ ว ยมี ความสัมพันธ์กับปัญหาสาธารณสุข ระบาดวิทยา สังคม วัฒนธรรม และ เศรษฐกิจ อาจารย์เห็นว่าการเข้ารักษาที่โรงพยาบาลเป็นเพียงปลายเหตุ นอกจากโรคติ ด เชื้ อ แล้ ว อาจารย์ ยั ง ให้ ค วามสนใจในด้ า นอื่ น ๆ เช่ น
อาชีวอนามัย เวชศาสตร์สิ่งแวดล้อม พิษวิทยา เวชศาสตร์ผู้สูงอายุ ให้ ความสำคัญกับการป้องกันโรค ปัจจัยเสี่ยงของการเป็นโรคที่ไม่ยิ่งหย่อน กว่าการรักษา ท่านที่สอง ศ.นพ.ไพโรจน์ อุ่นสมบัติ เป็นหัวหน้าภาคฯ ท่ า นที่ ส อง อาจารย์มองเห็นว่าโรคติดเชื้อ HIV/AIDS เป็ น ปั ญ หาทาง สาธารณสุขของโลก อาจารย์ได้ดำเนินการไปขอตำแหน่งอาจารย์แพทย์ จากทบวงมหาวิ ท ยาลั ย ให้ ม าช่ ว ยทำงานด้ า นนี้ เ พิ่ ม ขึ้ น ในปั จ จุ บั น คื อ รศ.นพ.วิ นั ย รั ต นสุ ว รรณ และ ผศ.นพ.ยงค์ รงค์ รุ่ ง เรื อ ง ท่ า นที่ ส าม ศ.นพ.อรุ ณ เผ่ า สวั ส ดิ์ ท่ า นเป็ น อดี ต คณบดี ค ณะแพทยศาสตร์ ศิ ริ ร าช พยาบาล ท่านทำให้คณะเจริญก้าวหน้าขึน้ ทัง้ ทางด้านวิชาการ และดำเนินการ เพื่อให้คณะมีทุนมากพอเพียงเพื่อส่งอาจารย์ไปเรียนต่อในต่างประเทศ จำนวนมากได้ทุก ๆ ปี
คติหรือหลักการที่ยึดถือในการดำเนินชีวิต
ข้อแรกเป็นคติของมหาวิทยาลัยมหิดล คือ “อัตตานัง อุปมัง กเร” จงเอาใจเขามาใส่ใจเรา และคติของโรงเรียนสวนกุหลาบ ที่ว่า “สุวิชาโน ภวํ โหติ” “ผู้รู้ดี เป็นผู้เจริญ” ข้อสอง ในการแพทย์ปัจจุบันนี้มีวิชาการ ความรู้เพิ่มขึ้นอย่างมากมาย แพทย์ในเวชปฏิบัติต้องมีความรู้ รู้ชัดแจ้ง ในสิ่ ง ที่ ค วรรู้ ต้ อ งเพิ่ ม พู น ความรู้ ที่ จ ะนำไปปฏิ บั ติ ไ ด้ อ ย่ า งถู ก ต้ อ งเกิ ด ประสิ ท ธิ ภ าพตามกาลเทศะ และสถานการณ์ เป็ น ผู้ ส ามารถถ่ า ยทอด
ความรู้นั้นให้แก่ผู้อื่นได้ ข้อสาม การเป็นแพทย์ ควรจะรู้หลาย ๆ ด้าน เพราะเกี่ยวข้องกับคน ทุกระดับ ควรสนใจศาสตร์และความรู้อื่น ๆ ให้ กว้างขวางด้วย เช่น การเมือง สังคม เศรษฐกิจ วั ฒ นธรรม กี ฬ า เพื่ อ ได้ ท ำเวชปฏิ บั ติ อ ย่ า งมี จริ ย ธรรมและคุ ณ ธรรม จะทำให้ คุ ณภาพชีวิต ของตัวเองและครอบครัวดีและมีความสุข
ข้อแนะนำสำหรับแพทย์รุ่นใหม่
เรื่ อ งแรก แพทย์ จ บใหม่ ต้ อ งมี จิ ต สำนึ ก ในด้ า นจริ ย ธรรมคุ ณ ธรรมควบคู่ ไ ปกั บ การ เพิ่มพูนความรู้ทางด้านวิชาการและความรอบรู้ หลากหลายอื่น ๆ การเป็นแพทย์แม้จะมีพระคุณ มากกว่ า พระเดช แต่ ใ นสถานการณ์ ปั จ จุ บั น
ผู้ ป่ ว ยมี สิ ท ธิ ม ากขึ้ น เพราะฉะนั้ น ถ้ า ใช้ ห ลั ก การดูแลผู้ป่วย และประสานงานกับครอบครัว อย่างมีคุณธรรม จะทำให้เวชปฏิบัติทางแพทย์
มีความสุขขึ้น เรื่ อ งที่ ส อง แพทย์ รุ่ น ใหม่ ต้ อ งซื่ อ สั ต ย์ ในวิชาชีพ สื่อสารกับผู้ป่วยและครอบครัวอย่าง จริงใจ อดทนที่จะรับฟัง แม้บางอย่างจะอธิบาย ยากก็ จ ะต้ อ งพยายามสื่ อ สาร เขี ย นบั น ทึ ก ใน เวชกรรมให้ชัดเจนให้เป็นนิสัย เพื่อเป็นหลักฐาน ไว้ หากมีอะไรเกิดขึ้นจะได้ยืนยัน บนพื้นฐาน ของความรู้ทางการแพทย์ เรือ่ งทีส่ าม แพทย์จบใหม่ควรยึดถือคำสอน ของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ว่ า ในการประกอบวิ ช าชี พ แพทย์ “ขอให้ ถื อ ประโยชน์ ส่ ว นตนเป็ น ที่ ส อง ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง ลาภ ทรั พ ย์ และเกี ย รติ ย ศจะตกมาแก่ ท่ า นเอง ถ้ า
ท่านทรงธรรมะแห่งวิชาชีพไว้ให้บริสุทธิ์” journalfocus@yahoo.com / สิงหาคม 2554