ชื่อเรื่อง การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบ เพื่อคนทั้งมวล ผู้เขียน รองศาสตราจารย์ ดร.ชุมเขต แสวงเจริญ บรรณาธิการ รองศาสตราจารย์ ดร.ชุมเขต แสวงเจริญ ออกแบบปกและศิลปกรรม วิภูชนันท์ มาลาวิทยา จัดทำโดย องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินผลงาน นายศรัณย์ รองเรืองกุล, รองศาสตราจารย์ภวินท์ สิริสาลี ประธานคณะทำงาน นายธิติ จันทร์แต่งผล คณะทำงาน นางสาวสุริยพร จิตถาวรภิสิทธิ์ นางสาวไอญวริญณ์ ฉัตรอภิวรรณ นางสาวชมภูนุท ควรเขียน นางสาวศศินาพร ยุทธิ์สนอง นายเฉลิมพล แย้มเกษร นางสาวปรารถนา เทพศรีหา พิมพ์ครั้งที่ 1 300 เล่ม, กันยายน 2563 พิมพ์ที่ บริษัท ทริปเพิ้ล กรุ๊ป จำกัด ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำนักหอสมุดแห่งชาติ National Library of Thailand Cataloging in Publication Data ชุมเขต แสวงเจริญ. การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล.-ปทุมธานี : หน่วยวิจัยและออกแบบเพื่อคนทั้งมวล, 2563. 232 หน้า. 1. อุตสาหกรรมท่องเที่ยว. 2. อุตสาหกรรมโรงแรม. 3. การฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยว. I. ชื่อเรื่อง. 338.4791 ISBN 978-616-488-128-0
คำนำ “ทำไมถึ ง ต้ อ งไปเที ่ ย ว?” คุ ณ เคยตั ้ ง คำถามกั บ ตั ว เองหรื อไม่ ว่า “ทำไมเราถึงต้องไปเที่ยว?” บางคนอาจจะเคย บางคนอาจจะไม่แน่ใจ บางคน ไม่ได้สนใจหาคำตอบ ขณะที่บางคนเลือกที่จะออกเดินทางท่องเที่ยวเพื่อค้นหา คำตอบ ท้ายที่สุดบทสรุปของคำถามดังกล่าวอาจมีความคล้ายคลึงกันหรือแตกต่าง กันตามประสบการณ์ข องนักท่องเที่ยว บางคนกล่าวว่าการท่องเที่ยวทำให้ได้ เรียนรู้สิ่งใหม่ ซึ่งเป็นการเปิดมุมมองใหม่ ๆ ช่วยเพิ่มประสบการณ์ชีวิต และได้ ค้นหาตัวเอง บางคนกล่าวว่าการท่องเที่ยวทำให้มีความมั่นใจในตัวเอง บางคน กล่าวว่าเดินทางท่องเที่ยวเพื่อสร้างความสุขให้ตนเอง ขณะที่บางคนกล่าวว่า เดินทางท่องเที่ยวเพียงเพื่อต้องการคลายความเหนื่อยล้าจากการใช้ชีวิต จากเหตุผลอันหลากหลาย อาจสรุปไม่ได้ว่า “ทำไมถึงต้องไปเที่ยว?” แต่ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า “การท่องเที่ยว” คือความต้องการของคนทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะ เป็น เด็ก สตรีมีครรภ์ ผู้สูงอายุ คนพิการ และบุคคลทั่วไป เพราะการท่องเที่ยวมัก สร้างประสบการณ์ที่คุ้มค่าให้แก่นักท่องเที่ยวเสมอ “เมื่อการท่องเที่ยว คือ ความต้องการของคนทุกกลุ่ม แล้วต้องทำอย่างไร คนทุกกลุ่มจึงจะเข้าถึงการท่องเที่ยวได้อย่างแท้จริง?”
จากประสบการณ์ของคณะผู้วิจัยที่ทำงานด้านการออกแบบเพื่อคนทั้ง มวล มาอย่ า งต่ อเนื ่ องมากกว่ า 15 ปี และมี ป ระสบการณ์ ให้ ค ำแนะนำให้ คำปรึกษาโรงแรมและสถานประกอบการที่พักที่หลากหลาย โดยเฉพาะช่วงปี 2562 และ 2563 ที่ มี โ อกาสขับ เคลื ่ อนสถานประกอบการโรงแรมและที่พัก ร่วมกับ องค์การบริหารการพัฒ นาพื้ นที่ พิเศษเพื ่อการท่ องเที่ ยวอย่างยั ่ง ยื น (องค์การมหาชน) หรือ อพท. ใน 2 โครงการ คือ 1.โครงการส่งเสริมการพัฒนา สิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อเพิ่มศักยภาพแก่แหล่งท่องเที่ยวและสถานประกอบการ ในพื้นที่พิเศษเมืองพัทยาและพื้นที่เชื่อมโยงเพื่อให้สามารถรองรับการท่องเที่ยว เพื่อคนทั้งมวล และ 2.โครงการส่งเสริมและจัดทำแผนขับเคลื่อนการท่องเที่ยว เพื ่ อคนทั ้ งมวล จนเกิ ด การทดลองใช้ และพิ สู จน์ถ ึงแนวคิด การพั ฒนาสถาน ประกอบการโรงแรมและแหล่ ง ท่ องเที ่ ยวด้ า นการออกแบบเพื ่ อคนทั ้งมวล ออกมาเป็นโมเดล UD+6A’s (แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวล อย่างยั่งยืน) ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้สถานประกอบการและแหล่งท่องเที่ยว เห็นภาพแนวทางการปรับปรุงที่สถานที่หรือบริการต่าง ๆ อย่างเป็นระบบให้ เหมาะสมกับคนทั้งมวลและสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน หนังสือเรื่อง “การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ ยว ด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล” เล่มนี้จะทำให้ผู้อ่านได้ทราบคำตอบ และมี แนวทางในการพัฒนาสถานประกอบการและแหล่งเที่ยวเที่ยวให้มีศักยภาพในการ รองรับคนทุกกลุ่ม ซึ่งเป็นการยกระดับมาตรฐานการท่องเที่ยวให้ดียิ่งขึ้น องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษ เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท.
สารบัญ บทที่ 1 การท่องเที่ยวและธุรกิจการท่องเที่ยว บทที่ 2 ความเข้าใจลูกค้ากลุ่มความต้องการพิเศษ บทที่ 3 แนวคิดการออกแบบเพื่อคนทัง้ มวล บทที่ 4 การท่องเที่ยวเพื่อคนทัง้ มวล บทที่ 5 องค์ประกอบของการท่องเทีย่ วเพื่อคนทั้งมวล บทที่ 6 กฎหมายและมาตรฐานที่เกีย่ วข้อง บทที่ 7 แนวคิดในการออกแบบวางผังบริเวณ บทที่ 8 การออกแบบทางเดินและการเชื่อมต่อ บทที่ 9 การออกแบบที่จอดรถ บทที่ 10 การออกแบบทางลาด (RAMP) บทที่ 11 การออกแบบห้องน้ำ-ห้องส้วม บทที่ 12 การออกแบบห้องพัก บทที่ 13 การออกแบบจุดบริการข้อมูล บทที่ 14 การออกแบบห้องอาหาร บทที่ 15 การออกแบบห้องสัมมนา บทที่ 16 การออกแบบป้ายและสัญลักษณ์ บทที่ 17 การออกแบบลิฟต์ บทที่ 18 กรณีศึกษา: บ้านเขาหลัก บีช รีสอร์ต บทที่ 19 การสำรวจและประเมินพื้นที่อาคารประเภท "โรงแรมและที่พัก"
หน้า 1 15 29 39 50 62 74 80 88 95 104 115 133 140 147 154 161 165 182
1 การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อ คนทัง้ มวล
2 บทที่ 1 การท่องเที่ยวและธุรกิจการท่องเที่ยว จากกระแสการท่องเที่ยวที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง เป็นเหมือนสิ่งยืนยันว่า “การท่องเที่ยว” เริ่มเป็นความต้องการที่สำคัญอย่างหนึ่งของคนทุกกลุ่ม ธุรกิจที่ เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวจึงเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจที่พัก โรงแรม ธุรกิจการคมนาคมขนส่ง ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม ตลอดจนธุรกิจนำเทีย่ ว ล้วนเติบโตไปพร้อม ๆ กับจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้มูลค่าทาง เศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยวของประเทศเติบโตขึ้นตามไปด้วย การขยายตัวของสถานประกอบการการท่องเที่ยว สถิตินักท่องเที่ยวที่เดินทางท่องเที่ยวระหว่างประเทศทั่วโลกมีจำนวนเพิ่ม สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง สังเกตได้จากปี 2556 มีจำนวนนักท่องเที่ยว 1,087 ล้านคน และในปี 2561 มีจำนวนนักท่องเที่ยว 1.4 พันล้านคน และสำหรับมูลค่าการ ท่องเที่ยวของประเทศไทยเมื่อปี 2559 คิดเป็นเงินทั้งหมดจำนวน 1.29 ล้านล้านบาท และในปี 2562 ประเทศไทยมีรายได้จากการท่ องเที่ ยว คิ ด เป็ นเงิ นทั้งหมด จำนวน 1.93 ล้านล้านบาท โดยกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้ามา ท่องเที่ยวในประเทศไทยสูงสุด 5 อันดับแรก คือ ประเทศอินเดีย ฟิลิปปินส์ ไต้หวัน ลาว และอินโดนีเซีย การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
3
เมื ่ อเปรียบเทียบจำนวนและรายได้ ของนักท่องเที ่ยวระหว่า งเดือน ธันวาคม พ.ศ.2562 และมกราคม พ.ศ.2563 พบว่าเดือนธันวาคมมีนักท่องเที่ยว ที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยทั้งหมด 3.93 ล้านคน สร้างรายได้ทั้งหมด 0.19 ล้ านล้ านบาท โดยนั กท่องเที่ ยวชาวต่ างชาติที่ เดิ นทางเข้ า มาท่ องเที ่ย วใน ประเทศไทยสูงสุด 5 อันดับแรก คือ ประเทศจีน มาเลเซีย รัสเซีย อินเดีย และ เกาหลี ใต้ ขณะที ่ เ ดื อนมกราคมมี นั กท่ องเที ่ ย วเดิ นทางเข้ า มาท่ องเที ่ ย วใน ประเทศไทยจำนวน 3.81 ล้านคน และสร้างรายได้ทั้งหมด 0.19 ล้านล้านบาท โดยนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้า มาท่องเที่ยวในประเทศไทยสูงสุด 5 อันดับแรก คือ ประเทศจีน มาเลเซีย รัสเซีย เกาหลีใต้ และอินเดีย
จากการสั ง เกตจำนวนและการใช้ จ ่ า ยของนั ก ท่ อ งเที ่ ย ว พบว่ า แม้ เ ดื อนธั นวาคมจะมี จำนวนนั กท่ องเที ่ ย วสู ง กว่ า เดื อนมกราคม แต่ มู ล ค่า ที ่ เ กิ ด จากการท่ องเที ่ ย วกลั บ เท่ า กั น อาจเป็ นผลมาจากการเดิ นทางเข้ามา ท่องเที่ยวในประเทศไทยของนักท่องเที่ยวเกาหลีใต้ที่เลื่อนมาจากลำดับ ที่ 5 ใน เดือนธันวาคม พ.ศ.2562 เป็นอันดับที่ 4 ในเดือนมกราคม พ.ศ.2563 ซึ่งอาจ เป็ นการแสดงว่ านั กท่ องเที ่ ยวประเทศเกาหลี ใต้ มี ศั กยภาพในการใช้ จ่ ายเพื่อ การท่องเที่ยวสูงกว่านักท่องเที่ยวประเทศอินเดีย ผนวกกับเดือนมกราคมเกิดไวรัส โควิด 19 (Covid-19) ทำให้มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติค่อนข้างน้อย อย่ า งไรก็ ต ามมี ก ารคาดการณ์ ว่ า พ.ศ.2570 การท่ อ งเที ่ ย วและ การเดินทางจะมีสัดส่วนมูลค่าทางเศรษฐกิจโลกสูงถึง 11.40 ของผลิตภัณฑ์รวม เศรษฐกิจโลก พร้อมทั้งมีการคาดการณ์ว่า พ.ศ.2573 นักท่องเที่ยวระหว่า ง ประเทศทั่วโลกจะเพิ่มเป็น 1,800 ล้านคน ด้วยอัตราการขยายตัวร้อยละ 3.3 ต่อปี ในส่วนมูลค่าการท่องเทีย่ วของประเทศไทยถูกคาดการณ์ว่า พ.ศ.2570 อุตสาหกรรม การท่องเที่ยวจะมีมูลค่าประมาณ 2.71 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 14.30 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ หากมีการเติบโตของอุตสาหกรรมการ ท่องเที่ยวร้อยละ 6.7 ต่อปี การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
4
ด้วยเหตุนี้ธุรกิจ ที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวจึงเป็นธุรกิจที่ มีโอกาสได้รับ ความนิ ยมค่อนข้ างสูง เนื ่ องจากนั กท่องเที่ ยวมี การเตรียมค่ าใช้ จ่ ายสำหรับ การท่องเที่ยวโดยเฉพาะ ทำให้กระแสเงินที่เกิดจากการท่องเที่ยวค่อนข้างสูง พร้อมกับการคาดการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวและรายได้ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต การขยายตัวของสถานประกอบการ เมื่อจำนวนนักท่องเที่ยวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และถูกคาดการณ์ว่าจะมี จำนวนเพิ่มสูงขึ้นจากปัจจุบัน ธุรกิจประเภทโรงแรมและเกสเฮ้าส์จึงเป็นธุรกิจที่ เติบโตตามทิศทางของนักท่องเที่ยว เมื่อ พ.ศ 2558 ประเทศไทยมีโรงแรมและเกสเฮ้าส์ จำนวนทั้ง หมด 12,654 แห่ งทั่ วประเทศ แบ่ งออกเป็ นภาคใต้ ประมาณ 4,128 แห่ ง ภาคกลาง 3,273 แห่ง ภาคเหนือ 2,321 แห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2,204 แห่ง และ กรุงเทพมหานคร 728 แห่ง ตามลำดับ โดยจังหวัดที่มีสถานประกอบการสูงทีส่ ดุ 3 อั นดั บ คื อ สุ ราษฎร์ ธานี ภู เ ก็ ต และกรุ ง เทพมหานคร ขณะที ่ จั ง หวั ดที่มี สถานประกอบการหนาแน่นน้อยที่สุด 3 อันดับแรก คือ อ่างทอง ปัตตานี และ สิงห์บุรี ตามลำดับ และต่อมา พ.ศ.2560 พบว่ามีจำนวนโรงแรมและเกสเฮ้าส์ จำนวนทั้งหมด 24,391 แห่ง แบ่งเป็นภาคใต้ 6,789 แห่ง ภาคกลาง 6,439 แห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4,977 แห่ง ภาคเหนือ 4,960 แห่ง และลำดับสุดท้าย เป็นกรุงเทพมหานคร 1,226 แห่ง ซึ่งจังหวัดที่มีสถานประกอบการหนาแน่ น มากที่สุด 3 อันดับแรก คือ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ภูเก็ต และเชียงใหม่ ขณะที่ จั ง หวั ดที ่ มี สถานประกอบการหนาแน่นน้ อยที ่ส ุด 3 อั นดั บ แรก คื อ จั ง หวัด อ่างทอง ปัตตานี และสมุทรสาคร ตามลำดับ สังเกตได้ว่าระยะเวลาเพียง 2 ปี โรงแรมและเกสเฮ้าส์ มีจำนวนเพิ่มขึ้นจากเดิมถึง 11,737 แห่ง ซึ่งทุกภาคของ ประเทศไทยมีโรงแรมและเกสเฮ้าส์ เพิ่มขึ้นอย่างน้อยภาคละ 2,000 แห่ง ยกเว้น กรุ ง เทพมหานครที ่ เพิ ่ มขึ ้ นประมาณเกื อบ 500 แห่ ง ซึ ่ ง สามารถตี ความได้ 2 แบบ คื อ จำนวนนั ก ท่ องเที ่ ย วที ่ เ พิ ่ มสู ง ขึ ้ น ทำให้ โ รงแรมและเกสเฮ้ า ส์ การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
5
ไม่สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้อย่างเพียงพอ โรงแรมและเกสเฮ้าส์จึงมีจำนวน เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด หรือนักธุรกิจมองเห็นว่าธุรกิจประเภทโรงแรมและเกส เฮ้าส์เป็นช่องทางการสร้างรายได้ที่น่าสนใจ ส่งผลให้โรงแรมและเกสเฮ้าส์มีอัตรา การแข่งขันที่เพิ่มสูงขึ้น การสร้างความประทับใจในองค์ประกอบการท่องเที่ยวและสถานที่พัก ประเภทโรงแรม รีสอร์ต หรือ เกสเฮาส์ จะสามารถตอบสนองความต้องการของ ผู ้ เ ข้ าพั กโรงแรมได้ อย่า งเหมาะสม จะต้ องดำเนินการให้ สามารถตอบสนอง ต่อความต้องการของคนทุก กลุ่ม ทุกประเภท หรือหมายความว่าโรงแรมต้อง สามารถรองรั บ และตอบสนองความต้ อ งการของคนทุ ก คน ไม่ ว ่ า จะเป็ น เด็ก สตรีมีครรภ์ ผู้สูงอายุ คนพิการ หรือบุคคลทั่วไป ได้สะดวก สบาย ปลอดภัย อย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ ธุรกิจการท่องเที่ยวจึงไม่ควรออกแบบกายภาพของสถานประกอบการ หรื อสถานที่ ท่องเที ่ ยว ให้ เ หมาะสมกั บ บุ คคลทั ่ วไปที ่ ไม่ มีข ้อจำกั ดทางด้าน กายภาพเพียงกลุ่มเดียวเท่านั้น แต่ควรที่จะออกแบบให้เหมาะสมกับคนทุกคน ไม่ว่าบุคคลนั้นจะมีข้อจำกัดหรือเงื่อนไขในการใช้ชีวิตหรือไม่ก็ตาม ทั้งนี้นอกจาก ช่วยส่งเสริมความเท่าเทียมในการท่องเที่ยวและการเข้าพัก แต่ยังเป็นการเสริม ภาพลักษณ์ขององค์กรได้อีทางหนึ่งอีกด้วย
“อาคาร สถานที่ต้องออกแบบเพื่อคนทั้งมวล และการออกแบบเหล่านี้ต้องคิดตั้งแต่แรก โดยถือเป็นวิสัยพืน้ ฐาน ของโครงการและผู้ออกแบบที่ต้องทำ โดยไม่ถือเป็นสิ่งที่ต้องทำเป็นพิเศษ”
ชุมเขต, 2563
การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
6
การท่องเที่ยวคืออะไร การท่องเที่ยวถูกนิยามจากทั้งองค์กรและนักวิชาการ ทำให้ความหมาย ของการท่องเที่ยวค่อนข้างหลากหลาย สำหรับองค์กรการท่องเที่ยวโลกแห่ ง สหประชาชาติ (United Nations World Tourism Organization: UNWTO) เมื่อ ค.ศ.1963 กำหนดความหมายการท่องเที่ยว ให้มีเงื่อนไข 3 ประการ คือ 1) การเดินทางจากสถานที่อยู่อาศัยเป็นประจำไปยังสถานที่อื่น ๆ เป็นการชั่วคราว 2) ผู้เดินทางต้องเดินทางด้วยความสมัครใจไม่ใช่การถูกบังคับ และ 3) การเดินทาง ที่ไม่ใช่เพื่อประกอบอาชีพหรือหารายได้ ต่อมา ค.ศ.2008 นิยามการท่องเที่ยว ถูกพัฒนาเป็นกิจกรรมการเดินทางการท่องเที่ยวที่เดินทางจากสภาพแวดล้อม ปกติไปยังที่อื่นเป็นการชั่วคราว ไม่เกิน 1 ปี โดยต้องเดินทางด้วยความสมัครใจ และต้องเป็นการเดินทางด้วยวัตถุประสงค์ใด ๆ ก็ตามที่มิใช่เพื่อประกอบอาชีพ หรือหารายได้ ดั ง นั ้ นการท่ องเที ่ย วสำหรั บหนัง สื อเล่ มนี ้ จึ งหมายถึ ง การเดิ นทาง ไปที ่ อื ่นเพื ่ อพักผ่ อนในช่วงเวลาว่ าง ด้ วยความสมัครใจ และต้ องไม่เป็นการ เดินทางเพื่อหารายได้ใด ๆ ซึ่งรูปแบบการท่องเที่ยวสามารถแบ่งออกเป็นทัง้ หมด 3 รูปแบบหลักตามองค์การท่องเที่ยวโลก ดังนี้ 1. การท่องเที่ยวแหล่งธรรมชาติ (natural based tourism) คือ การท่องเที่ยวที่ให้ความสำคัญกับความสนุกสนาน การพักผ่อน การศึกษาแหล่ง ธรรมชาติ ประกอบด้วย 1.1 การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (ecotourism) เป็นการท่องเที่ยว ในสถานที่ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ และเกี่ยวกับระบบนิเวศ ซึ่งผู้เกี่ยวข้องต้องมีส่วนร่วม ในกระบวนการเรีย นรู ้ร่วมกันภายใต้การจัด การอย่ างมี ส่ วนร่วมของท้ องถิ่ น เพื่อให้เกิดจิตสำนึกในการรักษาระบบนิเวศอย่างยั่งยืน
การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
7
1.2 การท่องเที่ยวเชิงนิเวศทางทะเล (marine ecotourism) เป็นการท่องเที่ยวเกี่ยวกับระบบนิเวศทางทะเลที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ ซึ่งผู้เกี่ยวข้อง ต้องมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันภายใต้การจัดการอย่างมีส่วนร่ว ม ของท้องถิ่น เพื่อให้เกิดจิตสำนึกในการรักษาระบบนิเวศอย่างยั่งยืน 1.3 การท่ องเที ่ย วเชิ งธรณีวิ ทยา (geo-tourism) เป็ นการ ท่องเที่ยวเกี่ยวกับภูมิทัศน์ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่โลก อาทิ หินผา ลานหิน ทราย ถ้ำหินงอกหินย้อย หิน แร่ และฟอสซิล เพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ ประสบการณ์ โดยตั้งอยู่บนการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบและจิตสำนึกในการรักษา สภาพแวดล้อม 1.4 การท่องเที่ยวเชิงเกษตร (ago tourism) เป็นการท่องเที่ยว เกี่ยวกับสวนเกษตร สวนสมุนไพร และฟาร์มปศุสัตว์ เพื่อให้ได้ความรู้ ประสบการณ์ ความเพลิ ดเพลิ น โดยตั ้ งอยู่ บนการท่ องเที่ ยวอย่า งรั บผิดชอบและจิ ตสำนึก ในการรักษาสภาพแวดล้อม 1.5 การท่องเที่ยวเชิงดาราศาสตร์ (astrological tourism) เป็นการท่องเที่ยวเพื่อชมปรากฎการณ์ทางดาราศาสตร์ที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงปี อาทิ สุริยุปราคา ฝนดาวตด จันทรุปราคา เพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ ประสบการณ์ ความทรงจำ โดยตั้งอยู่บนการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบและจิตสำนึกในการรักษา สภาพแวดล้อม 2. การท่องเที่ยวในแหล่ง วัฒนธรรม (cultural based tourism) คือ การท่องเที่ยวเพื่อศึกษาวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิตและศาสนา ประกอบด้วย
ภาพที่ 2.1 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ของคนพิการที่อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
8
2.1 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ (historical tourism) เป็นการท่องเที่ยวเกี่ยวกับโบราณสถาน/โบราณคดี ประวัติศาสตร์ เพื่อให้ได้มา ซึ่งความรู้ ความเข้าใจต่อประวัติศาสตร์และโบราณคดี โดยตั้งอยู่บนพื้นฐาน การท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบและจิตสำนึกในการรักษามรดกทางวัฒนธรรมและ คุณค่าสภาพแวดล้อม และชุมชนต้องมีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยว 2.2 การท่องเที่ยวงานชมวัฒนธรรมและประเพณี (cultural and traditional tourism) เป็ นการท่ องเที ่ ย วเกี ่ ย วกั บ ประเพณี ความเชื่ อ พิธีกรรมต่าง ๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ ความเข้าใจ และประสบการณ์ใหม่ ๆ โดย ตั้งอยู่บนพื้นฐานการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบและจิตสำนึกในการรักษามรดก ทางวัฒนธรรม ไม่เพียงเท่านั้นชุมชนต้องมีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยว 2.3 การท่องเที่ยวชมวิถีชีวิตในชนบท (rural tourism/village tourism) เป็นการท่องเที่ยวเกี่ยวกับหมู่บ้าน หรือชนบทที่มีวิถีชีวิตของตนเอง เพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมท้ องถิ่ น โดยตั้งอยู่บน พื ้ นฐานการท่ องเที ่ ยวอย่ างรั บผิ ดชอบและจิ ตสำนึ กในการรั กษามรดกทาง วัฒนธรรม ไม่เพียงเท่านั้นชุมชนต้องมีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยว 3. รูปแบบการท่องเทีย่ วในความสนใจพิเศษ (special interest tourism) ประกอบด้วย 3.1 การท่ องเที ่ ยวเชิงสุขภาพ (Health tourism) เป็ นการ ท่องเที่ยวเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรม เพื่อพักผ่อนและ รักษาสุขภาพกายใจ เพื่อให้ได้มาซึ่งคุณภาพชีวิตที่ดี ความเพลิดเพลิน โดยตั้ง อยู่ บนพื้นฐานการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบและจิตสำนึกในการรักษาสิ่งแวดล้อม รวมทั้งชุมชนจะต้องมีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยว
การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
9
3.2 การท่องเที่ยวเชิงการศึกษาและศาสนา (Edu-meditation tourism) เป็นการทัศนศึกษาเกี่ยวกับปรัชญา ศาสนา สัจธรรมแห่งชีวิต การฝึกสมาธิ เพื่อได้ความรู้ ประสบการณ์ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ขณะที่นักท่องเที่ยวบางส่วน มุ่งเรียนรู้วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย อาทิ อาหารไทย รำไทย มวยไทย งาน ศิลปะหัตถกรรมไทย ซึ่งต้องอยู่บนพื้นฐานการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบและ มีจิตสำนึกในการจัดการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน 3.3 การท่องเที่ยวเพื่อศึกษากลุ่มชาติพนั ธุ์หรือวัฒนธรรมกลุ่มน้อย (ethnic tourism) เป็นการท่องเที่ยวเกี่ยวกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ วัฒนธรรม ของชนกลุ่มน้อยหรือชนเผ่าต่าง ๆ อาทิ หมู่บ้านชาวกะเหรี่ยง หมู่บ้านชาวกูย เพื ่ อให้ ได้มาซึ่ งความรู ้ ความเข้ าใจ และประสบการณ์ ใหม่ ๆ โดยตั ้งอยู่บน พื้นฐานการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบและมีจิตสำนึกในการรักษาสิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมท้องถิ่น รวมทั้งชุมชนจะต้องมีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยว 3.4 การท่ อ งเที ่ ย วเชิ ง กี ฬ า (sport tourism) เป็ น การ ท่ องเที ่ ย วเกี ่ ย วกั บ กี ฬ า อาทิ กอล์ ฟ ตกปลา ดำน้ ำ เพื ่ อให้ ได้ มาซึ ่ ง ความ เพลิ ด เพลิน สนุ กสนาน และประสบการณ์ ใหม่ ๆ โดยตั ้ งอยู ่ บนพื ้นฐานการ ท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบและมีจิตสำนึกในการรักษาสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม ท้องถิ่น รวมทั้งชุมชนจะต้องมีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยว 3.5 การท่ องเที ่ ย วแบบผจญภั ย (adventure travel) เป็ น การท่ องเที ่ ย วเกี ่ ย วกั บ ธรรมชาติ ที ่ ม ี ล ั กษณะพิ เ ศษ เพื ่ อให้ ได้ มาซึ ่ ง ความ สนุกสนาน ความตื่นเต้น ผจญภัย และประสบการณ์ใหม่ 3.6 การท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์ และฟาร์มสเตย์ (home stay & farm stay) เป็นการท่องเที่ยวเกี่ยวกับการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรม ท้องถิ่น และใช้ชีวิตแบบคนในท้องถิ่น โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานการท่องเที่ย วอย่ าง รับผิดชอบและมีจิตสำนึกในการรักษาสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมท้องถิ่น รวมทั้ง ชุมชนจะต้องมีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยว
การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
10
3.7 การท่ อ งเที ่ ย วพำนั กระยะยาว (long stay) เป็ น การ ท่องเที่ยวของกลุ่มผู้ เกษียณอายุจากการทำงาน โดยมีระยะเวลาการท่องเที่ยว ต่างประเทศอย่างน้อย 1 เดือนต่อครั้ง 3.8 การท่องเที่ยวแบบให้รางวัล (incentive travel) เป็นการ ท่ องเที ่ยวที ่ บริษั ทเป็นผู ้ออกค่า ใช้จ่ายสำหรั บค่ าเดิ นทาง ที ่ พั ก และอาหาร ระหว่างการท่องเที่ยวของลูกค้าที่ประสบความสำเร็จในการขายผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ของบริษัท ซึ่งมีระยะเวลาการท่องเที่ยวตั้งแต่ 2-7 วัน 3.9 การท่องเที่ยวเพื่อการประชุม หรือ (MICE โดย M หมายถึง meeting I หมายถึ ง incentive C หมายถึ ง conference E หมายถึง exhibition) เป็นการจัดนำเที่ยวแบบคิดราคาเหมารวมค่าอาหารและบริการท่องเที่ยวสำหรับ ลู ก ค้ า ที ่ ม าประชุ ม ซึ ่ ง อาจจั ด ก่ อ น (pre-tour) หรื อ หลั ง (post-tour) การประชุม อาจจัดเป็นการท่องเที่ยวแบบวันเดียว หรือแบบพักค้างแรม 2-4 วัน 3.10 การท่องเที่ยวแบบผสมผสาน เป็นการนำรูปแบบการ ท่องเที่ยวมาผสมผสานกัน เพื่อให้เกิดความรู้สึกที่แตกต่างกัน ซึ่งการท่องเที่ยว อาจมีระยะเวลาตั้งแต่ 2-7 วัน อาทิ การท่องเที่ยวเชิงเกษตรและประวัติศาสตร์ (agro-historical tourism)
ภาพที่ 2.2 การท่องเที่ยวสวนพฤกษศาสตร์ ประเทศสิงคโปร์
การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
11
รูปแบบการท่องเที่ยวทั้ง 3 กลุ่ม คือ การท่องเที่ยวแหล่งธรรมชาติ การท่องเที่ยวในแหล่งวัฒนธรรม และการท่องเที่ยวในความสนใจพิเศษ สามารถ สรุปความหมายได้ว่า การท่องเที่ยวแหล่งธรรมชาติและวัฒนธรรมจะมีรูปแบบ การท่องเที่ยวที่ไปในทิศทางเดียวกัน เห็นได้จากการท่องเที่ยวแบบธรรมชาติ จะมีรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ หรือการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ขณะที่การท่องเที่ยวตามความสนใจพิเศษจะมี รูปแบบการท่องเที่ยวที่ค่อนข้างหลากหลายไม่ตายตัว แปรผันไปตามความสนใจ หรือความต้องการของบุคคลโดยเฉพาะ
สำหรับรูปแบบการท่องเที่ยวของผู้สูงอายุจะเป็นการท่องเที่ยวในแหล่ง วัฒนธรรมซึ่งเป็นรูปแบบการท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมมาก อาทิ การท่องเที่ยว เชิงประวัติศาสตร์ และการท่องเที่ยวชมวิถีชีวิตในชนบท รองลงมาเป็นรูปแบบ การท่ องเที ่ย วในความสนใจพิ เ ศษ อาทิ การท่ องเที ่ ยวเชิ งสุ ข ภาพ และการ ท่องเที่ยวเชิงกีฬา ขณะที่คนพิการส่วนใหญ่มักท่องเที่ยวตามแหล่งธรรมชาติ อาทิ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศทางทะเล การท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยา การท่องเที่ยว เชิงเกษตร มากที่สุด ลำดับต่อมาจึงเป็นการท่องเที่ยวในแหล่งวัฒนธรรม อาทิ การท่องเที่ยวเชิงประวัติศ าสตร์ การท่องเที่ยวงานชมวัฒนธรรมและประเพณี การท่องเที่ยวชมวิถีชีวิตในชนบท และลำดับสุดท้ายเป็นการท่องเที่ยวเฉพาะ ความสนใจของแต่ละบุคคล อาทิ การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ การท่องเที่ยวเชิงกีฬา การท่องเที่ยวแบบผจญภัย และการท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์ และฟาร์มสเตย์ ตามลำดับ กล่าวได้ว่ารูปแบบการท่องเที่ยวของผู้สูงอายุและคนพิการค่อนข้างมี ความหลากหลาย ขณะเดียวกันก็มีจุดร่วมในการท่องเที่ยวที่เหมือนกัน คือ การ ท่องเที่ยวในแหล่งวัฒนธรรม (cultural based tourism) ด้านการท่องเที่ยวเชิง ประวั ต ิ ศ าสตร์ และการท่ องเที ่ ย วชมวิ ถ ี ช ี วิ ตในชนบท สำหรั บ รู ป แบบการ ท่องเที่ยวในความสนใจพิเศษ (special interest tourism) จะเป็นการท่องเที่ยว เชิงสุขภาพ และการท่องเที่ยวเชิงกีฬา การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
12
เห็ นได้ว่า กลุ่ มผู ้ส ูงอายุ และคนพิการแม้จะมี ข้ อจำกัดหรื ออุ ปสรรค ในการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว แต่ผู้สูงอายุและคนพิการยังคงมีความต้ องการ เดิ นทางไปท่ องเที่ ยวในสถานที ่ ต่ าง ๆ ดั ง นั ้ น เพื ่ อให้ ผู ้ สู งอายุแ ละคนพิการ สามารถเข้าถึงสถานที่ต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกสบาย การท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวล จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะเข้ามาช่วยในการออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อเพิ่ม ศักยภาพในการเข้าถึงการท่องเที่ยว และ ได้รับประสบการณ์ตลอดจนความสุข จากการท่องเที่ยวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ภาพที่ 2.3 แหล่งท่องเที่ยวที่ใส่ใจคนทุกกลุ่ม เพื่อการเข้าถึงที่ปลอดภัยและเท่าเทียม
การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
13
เอกสารอ้างอิงท้ายบท Marketeer. (2019). 3 เทรนด์อนาคตขับเคลื่อนธุ รกิจโรงแรมในไทย. สืบค้น จาก https://marketeeronline.co/archives/112494 กรมการท่องเที่ยว. (2561). แผนยุทธศาสตร์พัฒนาการท่องเที่ยว พ.ศ.2561-2564 ของกรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: VIP COPY PRINT (วีไอพี ก็อปปี้ปริ้น). กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2562). ท่องเที่ยวปลอดภัย สถานการณ์การ ท่องเที่ยวของประเทศไทย ไตรมาส 1/2562 และไตรมาส2/2562. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2563). สถานการณ์ด้านการท่องเที่ยวเดือน ธันวาคม 2562. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2563). สถานการณ์ด้านการท่องเที่ยวเดือน มกราคม 2563. กระทรวงการท่ อ งเที ่ ย วและกี ฬ า.(2558). ยุ ท ธศาสตร์ ก ารท่ อ งเที ่ ย วไทย พ.ศ.2558-2560. ชุมเขต แสวงเจริญ ดรรชนี เอมพันธุ์และกําธร กุลชล. สถานการณ์การจัดสิ่ง อำนวยความสะดวกสำหรั บ คนพิ การและผู ้ ส ู งอายุ ในพื ้ นที ่ อุ ทยาน แห่งชาติ. การประชุมวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กำแพงแสน ครั้งที่10.นครปฐม, 2556 ธนาคารกสิกรไทย. (2561). เทรนด์ท่องเที่ยวดี SME รีบคว้าโอกาส. ชุมเขต แสวงเจริญ. (2563). โครงการส่งเสริมการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อเพิ่มศักยภาพแก่แหล่งท่องเที่ยวและสถานประกอบการในพื้นที่ พิเศษเมืองพัทยาและพื้นที่เชื่อมโยงเพื่อให้สามารถรองรับการท่องเที่ยวเพื่อ คนทั้งมวล (รายงานวิจัย). ปทุมธานี: หน่วยวิจัยและออกแบบเพื่อคนทั้งมวล คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ชุมเขต แสวงเจริญ. (2562). โครงการส่งเสริมและจัดทำแผนขับเคลื ่อ นการ ท่องเที่ยวเพือ่ คนทั้งมวล (รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์). ปทุมธานี: หน่วยวิจยั และออกแบบเพื่อคนทั้งมวล คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
14
พรสวรรค์ บุญสถิต, อรจิรา สันติวราคม และสุทธิชัย ทองเขาอ่อน. (2563). พอสเทล: เทรนด์ใหม่ของธุรกิจโรงแรมในยุคไทยแลนด์ 4.0. วารสารครุศาสตร์ ปริทรรศน์ฯ. ปีที่ 7 (ฉบับที่ 1). 301-317. วิคิเนีย มายอร์. (2555). การศึกษาแรงจูงใจการท่องเที่ยวและความพึงพอใจของ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวบ่อน้ำร้อนรั กษะวาริ นและ บ่อน้ำร้อนพรรั้ง จังหวัดระนอง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ). มหาวิ ทยาลั ย ธุ รกิ จบั ณฑิ ตย์ , คณะศิ ล ปะศาสตร์ และวิ ทยาศาสตร์ , สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว. วิลาสินี ยนต์วิภัย. (2019). แนวทางการพัฒนาธุรกิจเพื่อรองรั บพฤติกรรมการ ท่องเที่ยวของผู้สูงอายุในประเทศไทย. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, ปีที่ 13 (ฉบับที่ 2), 428-438. สำนักงานสถิติแห่งชาติ. สำรวจการประกอบกิจการโรงแรมและเกสเฮ้าส์. สืบค้น จาก http://www.nso.go.th/sites/2014/Pages/ อิสระ ปดี. (2561). SMARTNEWS ONLINE, 2559 อ้างใน แรงจูงใจ การเปิดรับ ข่าวสาร การตัดสินใจ และรูปแบบการเดินทางท่องเที่ย วของผู้พิการ. วารสารนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมนิด้า. ปีที่ 5 (ฉบับที่ 2). 87-103
การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
15 การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
16 บทที่ 2 ความเข้าใจลูกค้ากลุ่มความต้องการพิเศษ ก่อนที่สถานประกอบการจะสามารถตอบสนองความต้องการของคน ทุกคนได้อย่างเหมาะสมนั้น สถานประกอบการต้องทำความเข้าใจกับบุคคลที่มี ข้อจำกัดทางด้านกายภาพมากที่สุดก่อนเป็นอันดับแรก ก็คือ ผู้สูงอายุและคนพิการ เมื่อนึกถึง “ผู้สูงอายุ” หรือ “คนพิการ” คนบางกลุ่มอาจมีภาพจำว่า เป็ นบุ คคลที่ ต้องการความช่ วยเหลือ หรื อการดูแลพิ เศษจากบุคคลรอบข้าง เนื่องจากเป็นบุคคลที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ขณะที่คนบางส่วนมองว่า คนกลุ ่ มนี ้ยั งคงสามารถช่ วยเหลื อตั วเองได้ เช่ น ผู ้ ส ู งอายุที่ สามารถเดินทาง โดยรถเมล์ รถไฟฟ้าได้ด้วยตนเอง หรือคนพิการที่ทำอาชีพขับรถมอเตอร์ไซต์ รับจ้าง เป็นต้น แม้ว่า “ผู้สูงอายุ” และ “คนพิการ” จะถูกมองทั้งในแง่บวกและแง่ ลบ แต่ก็ไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าคนกลุ่ มนี้มีประชากรเพิ ่มขึ ้นทุกปี สังเกตได้จาก พ.ศ.2562 ผู ้ ที ่ มี อายุ ต ั ้ ง แต่ 60 ปี ข ึ ้ นไป มี ทั ้ ง หมด 11,136,059 คน (ร้ อยละ 16.73) ซึ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้นจาก พ.ศ.2561 ที่มีจำนวนทั้งหมด 10,666,979 คน (ร้อยละ 16.06) และคนพิการที่ ได้รับ การออกบัต รประจำตัวคนพิการเดื อน มิถุนายน พ.ศ.2563 มีจำนวนทั้งหมด 2,048,366 คน (ร้อยละ 3.08) ขณะที่ เดือนธันวาคม พ.ศ.2562 มีจำนวน 2,015,385 คน (ร้อยละ 2.89)
การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
17
ด้ ว ยเหตุ นี้ เ ราจึ ง ต้ อ งทำความเข้ า ใจเกี ่ ย วกั บ ความหมายและ ความสำคัญของ “ผู้สูงอายุ”และ “คนพิการ” เป็นอันดับแรก ผู้สูงอายุ
“ผู ้ ส ู ง อายุ” คำ ๆ นี ้ มี ค วามหมายที่ ค่ อนข้า งหลากหลาย เนื ่ องจาก ความหมายสามารถแปรผันตามสังคม ลักษณะโครงสร้างประชากร นโยบาย สาธารณะ หรือประเทศ ว่าต้องการให้คำว่า “ผู้สูงอายุ” มีความหมายอย่างไร อายุเท่าไหร่จึงถูกเรียกว่า “ผู้สูงอายุ” ดังจะเห็นได้จากประเทศญี่ปุ่น ประเทศ สหรั ฐ อเมริ กา และประเทศที ่ พั ฒ นาแล้ วกำหนดให้ ผ ู ้ ที ่ มี อายุ 65 ปี ข ึ ้ นไป เป็นผู้สูงอายุ ขณะที่ประเทศอังกฤษกำหนดให้ผู้ชายที่มีอายุ 65 ปี และผู้หญิง ที่มีอายุ 60 ปี เป็นผู้สูงอายุ ดังนั้นผู้เขียนจึงขอนิยามความหมายของ “ผู้สูงอายุ” ตามองค์ การสหประชาชาติ และองค์ การอนามั ย โลกซึ ่ ง เป็ นหลั กสากลว่ า “ผู้สูงอายุ” คือบุคคลใดก็ตามที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป และผู้สูงอายุสามารถ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1) ผู้สูงอายุวัยต้น (อายุ 60-69 ปี) เป็นกลุ่มที่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ 2) ผู้สูงอายุวัยกลาง (อายุ 70-79 ปี) เป็นกลุ่มที่เริ่มมีอาการเจ็บป่วย ร่างกายเริ่มอ่อนแอ มีโรคประจำตัวหรือโรคเรื้อรัง แต่ยังช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง ขณะเดียวกันก็ต้องการความช่วยเหลือในบางอย่าง 3) ผู้สูงอายุวัยปลาย (อายุ 80 ปีขึ้นไป) เป็นกลุ่มที่เจ็บป่วยบ่อยขึ้ น อวัยวะเสื่อมสภาพ อาจมีภาวะทุพพลภาพ และต้องการความช่วยเหลือในการ ดูแลเป็นพิเศษ นอกจากนี้ยังมีการแบ่งกลุ่มผู้สูงอายุไว้หลายลักษณะ ดังนี้ ลักษณะที่ 1 สูงอายุตามสภาพร่างกาย (biological aging) จะมีการ เปลี่ยนแปลงทั้งสภาพและกระบวนหน้าที่ที่ปรากฎขณะที่มีอายุเพิ่มขึ้น ลักษณะที่ 2 สูงอายุตามปีปฏิทิน (Chronological aging) โดยการนับ จากวัน เดือน ปี เกิด เป็นต้นไป และบอกได้ทันทีว่ามากน้อยเพียงใด การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
18
ลักษณะที่ 3 สูงอายุตามสภาพสังคม(Sociological aging) หมายถึง การสูงอายุนับจากที่สภาพจิตใจ แนวคิด ความจำ การเรียนรู้ เชาวน์ปัญญา และ ลักษณะของบุคลิกภาพที่ปรากฎในระยะต่าง ของชีวิตแต่ละคนที่มีอายุเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ได้มีผู้ให้ความหมายของการสูงอายุ ซึ่งมีความแตกต่างกันในแต่ละ ประเทศ องค์กรอนามัยโลกได้แบ่งระดับการสูงอายุไว้ดังนี้ กลุ่มที่ 1 อายุ 61-74 ปี เรียกว่า ผู้สูงอายุ (elderly) กลุ่มที่ 2 อายุ 75-90 ปี เรียกว่า คนชรา (old) กลุ่มที่ 3 อายุ 90 ปีขึ้นไป เรียกว่า คนชรามาก (very old) ในหนังสือเล่มนี้ให้นิยาม “ผู้สูงอายุ” ว่าหมายถึงผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป โดยเน้นความเข้าใจลักษณะทางกายภาพที่แตกต่างกัน ความเสื่อมของ ร่างกายที่แตกต่างกัน โดยใช้อายุเป็นปัจจัยรองในการออกแบบ คนพิการ
“คนพิ การ” เป็ นบุ ค คลที ่ มี ข ้ อ จำกั ด ในการใช้ ช ี ว ิ ต ประจำวั น หรื อ การร่วมกิจกรรมทางสังคม ซึ่งเป็นผลมาจากความบกพร่องหรือความผิดปกติ ในด้ า นใดด้ า นหนึ ่ง (กระทรวงการพั ฒ นาสั งคมและความมั ่ นคงของมนุษย์) ซึ่งประเภทและหลักเกณฑ์ความพิการ ถูกแบ่งเป็นทั้งหมด 3 แบบตาม 3 กระทรวง คือ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และ กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งแต่ละกระทรวงมีการแบ่งประเภทที่แตกต่างกัน ตามวัตถุประสงค์ จุดเน้น และ ประโยชน์ในการดำเนิ นการตามแนวทางของ แต่ละกระทรวง ดังนี้
การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
1. คนพิการทางการมองเห็น
กระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ 1. ความพิการทางการเห็น
กระทรวงศึกษาธิการ
1.บุคคลที่มีความบกพร่อง ทางการเห็น 2. คนพิการทางการได้ยิน 2. ความพิการทางการได้ยิน 2. บุคคลที่มีความบกพร่อง หรือการสื่อความหมาย หรือสื่อความหมาย ทางการได้ยิน 3. คนพิการทางกายหรือการ 3. ความพิการทางการ 3. บุคคลที่มีความบกพร่องทาง เคลื่อนไหว เคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย ร่างกาย หรือการเคลื่อนไหว หรือสุขภาพ 4. คนพิการทางจิตใจหรือ 4. ความพิการทางจิตใจหรือ 4. บุคคลที่มีปัญหาทาง พฤติกรรม พฤติกรรม พฤติกรรม หรืออารมณ์ 5. คนพิการทางสติปัญญา 5. ความพิการทางการ 5. บุคคลที่มีปัญหาทางการ หรือการเรียนรู้ เรียนรู้ เรียนรู้ 6. ความพิการทางสติปัญญา 6.บุคคลที่มีความบกพร่องทาง สติปัญญา 7.ความพิการทางออทิสติก 7. บุคคลออทิสติก 8. บุคคลที่มีความบกพร่อง ทางการพูดและภาษา 9.บุคคลพิการซ้อน ตารางเปรียบเทียบการแบ่งประเภทความพิการ ของกระทรวงต่าง ๆ ในประเทศไทย
19
กระทรวงสาธารณสุข
ผู ้ ป ระกอบการควรทำความเข้ าใจเกี ่ยวกั บประเภทของความพิการ ในประเทศไทย เพื่อเข้าใจเงื่อนไขการใช้ชีวิตของคนพิ การ และ สามารถจัด สิ่งอำนวยความสะดวกและบริการ ให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับความ ต้องการของกลุ่มลู กค้า โดยอาศัยแนวทางการจำแนกประเภทคนพิการตาม ประกาศกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เรื่องประเภทและ หลักเกณฑ์ความพิการ (ฉบับที่สอง) ออกตามความในพระราชบัญญัติส่งเสริม และพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 ประกอบพระราชบัญญัติส่งเสริม และพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (ฉบับที่สอง) พ.ศ. 2556 กำหนดลักษณะความ พิการและอธิบายความหมายไว้ดังนี้ การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
20
ความพิการทางการเห็น (1) ตาบอด หมายถึง การที่บุคคลมีข้อจำกัด ในการปฏิ บัต ิกิจ กรรม ในชีวิตประจำวันหรือการเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม ซึ่งเป็นผลมาจาก การมีความบกพร่องในการเห็น เมื่อตรวจวัดการเห็นของสายตาข้างที่ดีกว่าเมื่ อ ใช้แว่นสายตาธรรมดาแล้ว อยู่ในระดับแย่กว่า 3 ส่วน 60 เมตร (3/60) หรือ 20 ส่วน 400 ฟุต (20/400) ลงมาจนกระทั่งมองไม่เห็นแม้แต่แสงสว่าง หรือมีลานสายตา แคบกว่า 10 องศา (2) ตาเห็นเลือนราง หมายถึง การที่บุคคลมีข้ อจำกัด ในการปฏิ บ ัติ กิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือการเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม ซึ่งเป็น ผลมาจากการมีความบกพร่องในการเห็นเมื่อตรวจวัดการเห็นของสายตาข้างที่ ดีกว่า เมื่อใช้แว่นสายตาธรรมดาแล้ว อยู่ในระดับตั้งแต่ 3 ส่วน60 เมตร (3/60) หรือ 20 ส่วน 400 ฟุต (20/400) ไปจนถึงแย่กว่า 6 ส่วน 18 เมตร (6/18) หรือ 20 ส่วน 70 ฟุต (20/70) หรือมีลานสายตาแคบกว่า 30 องศา คนพิการทางการมองเห็น จะพบอุปสรรคทางการเข้าถึงข้อมูลที่ตอ้ ง พึ ่ ง พาเสี ยง หรื อ อั กษรเบรลล์ เบรลล์ บ ล็ อก ในสถานที ่ส ำคั ญต่ าง ๆ ทำให้ มักได้รับข้อมูลและประสบการณ์การท่องเที่ยวที่จำกัด ไม่ครบถ้วน และหาก สภาพแวดล้อมมีอุปสรรค มักจะเกิดอุบัติเหตุจากการพลัดตกหกล้ม การเดินชน สิ่งของ เป็นต้น ความพิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย (1) หูหนวก หมายถึง การที่บุคคลมีข้อจำกัด ในการปฏิบัติ กิจ กรรม ในชีวิตประจำวันหรือการเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม ซึ่งเป็นผลมาจาก การมี ค วามบกพร่ องในการได้ ยิ นจนไม่ ส ามารถรั บข้อมู ล ผ่ านทางการได้ยิน เมื่อตรวจการได้ยิน โดยใช้คลื่นความถี่ที่ 500 เฮิรตซ์1,000 เฮิรตซ์ และ 2,000 เฮิรตซ์ ในหูข้างที่ได้ยินดีกว่าจะสูญเสียการได้ยินที่ความดังของเสียง 90 เดซิเบลขึ้นไป
การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
21
(2) หู ต ึ ง หมายถึ ง การที ่ บ ุ ค คลมี ข ้ อจำกั ด ในการปฏิ บ ั ต ิ กิ จกรรม ในชีวิตประจำวันหรือการเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม ซึ่งเป็นผลมาจาก การมีความบกพร่องในการได้ยิ น เมื่อตรวจวัดการได้ย ิน โดยใช้คลื่นความถี่ ที่ 500 เฮิรตซ์ 1,000 เฮิรตซ์ และ 2,000 เฮิรตซ์ ในหูข้างที่ได้ยินดีกว่าจะสูญเสีย การได้ยินที่ความดังของเสียงน้อยกว่า 90 เดซิเบลลงมาจนถึง 40 เดซิเบล (3) ความพิการทางการสื่อความหมาย หมายถึง บุคคลที่มีข้อจำกั ด ในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม ซึ ่ ง เป็ นผลมาจากการมี ความบกพร่ องทางการสื ่ อความหมาย เช่ น พู ด ไม่ได้ พูดหรือฟังแล้วผู้อื่นไม่เข้าใจ เป็นต้น สำหรับปัญหาและอุปสรรคในการท่องเที่ยวของคนกลุ่มนี้ คือ การสื่อสาร คนพิการทางการได้ยิน จะพบอุปสรรคทางการสื่อสารที่ต้องใช้ภาษามือหรื อ สัญลักษณ์ ทำให้มีข้อมูลข่าวสารน้อยหรืออาจเกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนได้ และในบางพื้นที่ขาดป้ายสัญลักษณ์ที่ครอบคลุมการใช้งานพื้นที่อย่างทั่วถึง
ความพิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย (1) ความพิการทางการเคลื่อนไหว หมายถึง การที่บุคคลมีข้อจำกัด ในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือการเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม ซึ่งเป็นผลมาจากการมีความบกพร่องหรือการสูญเสียความสามารถของอวัยวะ ในการเคลื่อนไหว ได้แก่ มือ เท้า แขน ขา อาจมาจากสาเหตุอัมพาต แขนขาอ่อนแรง แขนขาขาด หรือภาวะเจ็บป่วยเรื้อรังจนมีผลกระทบต่อการทำงานมือ เท้า แขน ขา (2) ความพิการทางร่างกาย หมายถึง การที่บุคคลมีข้อจำกัดในการ ปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือการเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม ซึ่งเป็นผลมาจากการมีความบกพร่อง หรือความผิดปกติของศีรษะ ใบหน้า ลำตัว และภาพลักษณ์ภายนอกของร่างกายที่เห็นได้อย่างชัดเจน
การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
22
จากการทำงานด้า นการท่ องเที ่ ยวเพื ่ อคนทั ้ งมวล พบว่ า คนพิ การ ทางการเคลื่อนไหว จะพบอุปสรรคในการเดินทาง การเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว ที ่ พั ก หรื อลั กษณะทางกายภาพต่ าง ๆ ที ่ ไม่ ได้ออกแบบมาเพื ่อคนใช้รถเข็น มีการเปลี่ยนระดับ หรือการสร้างอุปสรรคทั้งโดยที่ตั้งใจและไม่ได้ตั้งใจ
ภาพที่ 2.1 เส้นทางที่แคบและมีอุปสรรคทำให้การสัญจรลำบาก
ความพิการทางจิตใจหรือพฤติกรรม ความพิการทางจิตใจหรือพฤติกรรม หมายถึง การที่บุคคลมีข้อจำกัด ในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรื อการเข้า ไปมีส ่วนร่ วมในกิจ กรรม ทางสังคม ซึ่งเป็นผลจากความบกพร่องหรือผิดปกติทางจิตใจหรือสมองในส่วน การรับรู้ อารมณ์ หรือความคิด ความพิการทางสติปัญญา ความพิ การทางสติป ั ญญา หมายถึ ง การที ่ บ ุ ค คลมี ข้ อจำกั ดในการ ปฏิบัติกิจกรรมใน ชีวิตประจำวันหรือการเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม ซึ่งเป็นผลมาจากการมีพัฒนาการช้ากว่าปกติ หรือมีระดับเชาว์ปัญญาต่ำกว่า บุคคลทั่วไป โดยความผิดปกตินั้นแสดงก่อนอายุ 18 ปี การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
23
ความพิการทางการเรียนรู้ ความพิการทางการเรียนรู ้ หมายถึง บุคคลมีข้อจำกัดในการปฏิบ ัติ กิจกรรมในชีวิตประจำวัน หรือการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคมโดยเฉพาะ ด้ า นการเรี ย นรู ้ ซึ ่ ง เป็ นผลมาจากความบกพร่ องทางสมอง ทำให้ เ กิ ด ความ บกพร่ องในด้ านการอ่า นการเขี ยน การคิ ดคำนวณ หรื อกระบวนการเรียนรู้ พื้นฐานอื่นในระดับความสามารถที่ต่ำ กว่าเกณฑ์มาตรฐานตามช่ วงอายุแ ละ ระดับสติปัญญา
ออทิสติก ออทิสติก เป็นประเภทความพิการล่าสุด ที่กระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์กำหนดให้เป็ นความพิ การ ประเภทที่ 7 โดยมีผล ตั้งแต่วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 หลักเกณฑ์กำหนดความพิการทางออทิสติก ได้แก่ การที่บุคคลมีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือการเข้า ไปมี ส ่ ว นร่ ว มในกิ จ กรรมทางสั ง คม ซึ ่ ง เป็ น ผลมาจากความบกพร่ องทาง พัฒนาการด้านสังคม ภาษา และการสื่อความหมาย พฤติกรรมและอารมณ์ โดย มีสาเหตุมาจากความผิดปกติของสมองและความผิดปกตินั้นแสดงก่อนอายุสองปี ครึ่ง ทั้งนี้ ให้รวมถึงการวินิจฉัยกลุ่มออทิสติกสเปกตรัมอื่น ๆ เช่น แอสเปอเกอร์ (Asperger)” กลุ่มความพิการทางจิตใจหรือพฤติกรรม ความพิการทางสติปัญญา ความพิการทางการเรียนรู ้ และออทิสติก มักพบปัญหาสื่อในการสร้างความ เข้าใจต่อแหล่งท่องเที่ยว และสภาพแวดล้อมที่ควบคุมสิ่งเร้าไม่ได้ ตลอดจนการหลง ทาง ดังนั้นสภาพแวดล้อมต้องเน้นสื่อสารและมีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับ คนกลุ่มนี้ด้วย ดั ง นั ้ นคำว่ า “คนพิ การ” จึ ง หมายถึ ง บุ ค คลที ่ มี ข ้ อจำกั ด ในการใช้ ชีวิตประจำวันหรือการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม ซึ่งมีสาเหตุมาจากความ บกพร่องหรือความผิดปกติในด้านใดด้านหนึ่ง โดยไม่คำนึงถึงอายุ แม้ว่าจะมี ความพิการบางประเภทที่มีอายุมาเกี่ยวข้องก็ตาม การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
24
กล่าวได้ว่าผู้สูงอายุและคนพิการมีลั กษณะที่คล้ายคลึงกันคือ การมี ข้อจำกัดทางด้านกายภาพที่แตกต่างไปตามแต่ละบุคคล เมื่อบุคคลมีข้อจำกัด ที่แตกต่างกันความต้องการจึงมีความแตกต่างกัน เห็นได้จาก คนพิการทางการ เคลื ่ อนไหวต้ องอาศั ย ทางลาดแทนบั นได ขณะที ่ ค นพิ การทางสายตาต้ อ ง อาศัยเบรลล์บล็อกในการเดิน ดังนั้นเพื่อให้คนที่มีความแตกต่างหลากหลาย ทางกายภาพสามารถเข้าถึงสิ ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ได้อย่างปลอดภั ย สถานประกอบการและแหล่งท่องเที่ยวจึงควรมีการจัดเตรียมสิ่งอำนวยความ สะดวกที่มีความเหมาะสมสำหรับการรองรับคนทุกคน
“ความแตกต่างหลากหลายของคนเป็นเรื่องธรรมดา เป็นเพียงเงื่อนไขในการใช้ชีวิต ซึ่งสภาพแวดล้อมจะต้องไม่เป็นเงื่อนไขซ้ำซ้อน ที่ทำให้คนไม่สามารถใช้งานพื้นที่ได้อย่างเท่าเทียมกัน” ชุมเขต, 2562
เมื ่ อเข้ า ใจเกี ่ ยวกั บ “ผู ้ ส ู ง อายุ ” และ “คนพิ การ” แล้ ว ต้ องเข้ าใจ ความสำคัญของคนกลุ่มนี้ต่อการท่องเที่ยว หรือสาเหตุ ใดที่สถานประกอบการ และสถานที่ท่องเที่ยวต้องปรับเปลี่ยนสถานที่ให้มีความเหมาะสมในการรองรับ ผู้สูงอายุและคนพิการ จากสถิติของกรมกิจการผู้สูงอายุพบว่า ผู้สูงอายุมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง ใน พ.ศ.2562 ผู้สูงอายุมีจำนวน 11,136,059 คน (ร้อยละ 16.73) เพิ่มจาก พ.ศ.2559 ที่มีผู้สูงอายุจำนวน 9,934,309 คน (ร้อยละ 15.07) เช่นเดียวกับ คนพิการที่ได้รับการออกบัตรประจำตัวคนพิการในเดือนธันวาคม พ.ศ.2562 มี จำนวน 2,015,385 คน (ร้ อยละ 2.89) และในเดื อนมิ ถ ุ นายน พ.ศ.2563 มี จำนวนเพิ ่ มขึ ้ นเป็ นจำนวน 2,027,500 คน (ร้ อยละ 3.05) แม้ ว่ า จำนวน ผู้สูงอายุและคนพิการรวมกันจะมี เพียงร้อยละ 20 ของประเทศ แต่ประชากร ผู้สูงอายุและคนพิการกำลังเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งในและต่างประเทศ การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
25
การท่องเที่ยวของผู้สูงอายุสร้างรายได้ให้กับประเทศไทยเมื่อ พ.ศ.2558 เป็นเงิน 195,891 ล้านบาท แบ่งเป็นรายได้จากนักท่องเที่ยวผูส้ ูงอายุตา่ งประเทศ เป็นเงิน 183,869 ล้านบาท และภายในประเทศ เป็นเงิน 12,022 ล้านบาท ซึ่งกลุ่ม ผู้สูงอายุและคนพิการเป็นกลุ่มที่มศี ักยภาพในการใช้จ่ายสำหรับการท่องเที่ยว ดังกรณีของนักท่องเที่ยวที่นั่งวีลแชร์จากอเมริ กา-ยุโรป มีการใช้จ่ายสำหรั บ การท่องเที่ยวสูงถึง 2.1 แสนบาทต่อคนต่อการท่องเที่ยวหนึ่งครั้ง ซึ่งมีอัตราการ ใช้จ่ายสูงกว่าบุคคลทั่วไปถึง 3 เท่า ไม่เพียงเท่านั้นยังมีการคาดการณ์ว่าหาก แหล่งท่องเที่ยวมีการปรับเปลี่ยนสถานที่ให้มีความเหมาะสมสำหรับคนพิการ ได้รายได้จากนักท่องเที่ยวคนพิการในประเทศอาจสูงกว่า 33,000 ล้านบาทต่อปี การท่องเที่ยวของผู้สูงอายุต้องเป็นการเดินทางที่ไปเป็นกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็น กลุ่มครอบครัว กลุ่มเพื่อน หรือกลุ่มผสมที ่รวมทั้งครอบครัวและเพื ่ อน โดย ค่าเฉลี่ยของกลุ่มนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุต่อครั้ง คือ 12.5 คน ซึ่งกลุ่มที่เล็กที่สุด คือ 2 คน และมากที่สุดคือ กลุ่ม 70 คน ขณะเดียวกันคนพิการ ร้อยละ 47.73 ก็ต้องเดินทางท่องเที่ยวกับเพื่อนและครอบครัวเช่นกัน ซึ่งมีค่าเฉลี่ยของกลุ่ม นักท่องเที่ยวคนพิการต่อครั้ง คือ 4.16 คน โดยกลุ่มที่เล็กที่สุด คือ 2 คน และ มากที่สุด คือ กลุ่ม 8 คน ด้วยเหตุนี้ตลาดการท่องเที่ยวของผู้สูงอายุและคนพิการจึงเป็นกลุ่มที่มี ความน่าสนใจ เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพในการใช้จ่ ายและกำลังเติบโตขึ้น ทุกปี หากสถานประกอบการและแหล่งท่องเที่ยวสามารถปรับเปลี่ยนสถานที่ให้ สามารถรองรั บคนกลุ ่มนี ้ ได้ จะเป็ นการสร้า งโอกาสในการกอบโกยเม็ดเงิน อันมหาศาลที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต แต่ในปัจจุบันสถานประกอบการและแหล่งท่องเที่ยวยังคงไม่สามารถ รองรับผู้สูงอายุและคนพิการที่มีข้อจำกัดทางด้านกายภาพได้อย่างเหมาะสม ทำให้คนกลุ่มนี้ไม่สามารถเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวก และแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ ได้ ขณะเดียวกันสถานประกอบการและแหล่งท่องเที่ยวสามารถปรับเปลี่ยนพื้นที่ให้ มีความเหมาะสมได้ตามหลักการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
26
หากสถานประกอบการและแหล่งท่องเที่ยวสามารถปรับเปลีย่ นสถานที่ ให้สามารถอำนวยความสะดวกกับคนพิการที่มีข้อจำกัดในการใช้ชีวิตได้มากทีส่ ดุ ก็จะสามารถรองรับคนทุกคนได้ ไม่ว่าจะเป็นเด็ก สตรีมีครรภ์ ผู้สูงอายุ คนพิการ หรือคนทั่วไปได้
ภาพที่ 2.2 สถานที่ท่องเที่ยวที่สามารถรองรับคนทุกกลุ่ม
การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
27
เอกสารอ้างอิงท้ายบท 77 ข่าวเด็ด.(2018). สกว.จับมือสมาคมคนตาบอด หนุนมัคคุเทศก์พาผูพ้ ิการตาเที่ยวไทย. สืบค้นจาก https://www.77kaoded.com/news/samrit/114309 กรมกิจการผู้สูงอายุ. สถิติผู้สูงอายุ. สืบค้นจากhttp://www. dop.go.th/th/know/1 กรมส่ ง เสริ ม และพั ฒ นาคุ ณ ภาพชี ว ิ ต คนพิ ก าร กระทรวงการพั ฒ นา สังคมและความมั่นคงของมนุษย์. สถานการณ์คนพิการ. ส ื บ ค ้ น จ า ก http://dep.go.th/Content/View/4232/1 กระทรวงการท่ องเที ่ ยวและกี ฬา. สถิ ต ิ นั กท่ องเที่ ยวชาวต่ างประเทศที ่เดิน ทางเข้ า ประเทศไทย จำแนกตามลั ก ษณะรวมหน่ ว ย. สื บ ค้ นจาก http://econtent.tat.or.th/ReportWeb/views/g10/st atic-foreigntourists-by-unit.xhtml กัลยา สว่างคง. การท่องเที่ยวสำหรับคนพิการ: ความท้าทายสำหรับอุตสาหกรรม การท่องเที่ยวไทย. วารสารวิทยาลัยราชสุดา. ปีที่ 13, 81-96. ชุมเขต แสวงเจริญ ดรรชนี เอมพันธุ์และกําธร กุลชล. สถานการณ์การจัดสิ่ง อำนวยความสะดวกสำหรั บ คนพิ การและผู ้ ส ู งอายุ ในพื ้ นที ่ อุ ทยาน แห่งชาติ. การประชุมวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กำแพงแสน ครั้งที่10.นครปฐม, 2556 ตรงกมล สนามเขต. (2019). มุมมองคุณค่าผู้สูงอายุที่นำเสนอผ่านวาทกรรม สั ง คมผู ้ ส ู ง วั ย . วารสารวิ ช าการมนุ ษ ยศาสตร์ แ ละสั ง คมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, ปีที่ 6 (ฉบับที่ 2), 1-18. ประกาศกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เรื่องประเภทและ หลั กความพิ การ. (2552, 29 พฤษภาคม). ราชกิ จจานุ เ บกษา, 126 (ตอนพิเศษ 77 ง), 2-5. ประกาศกระทรวงการพั ฒ นาสั ง คมและความมั ่ น คงของมนุ ษ ย์ เรื ่ อ ง ประเภทและหลั ก ความพิ ก าร (ฉบั บ ที ่ 2 ). (2555, 26 กรกฎาคม). ราชกิจจานุเบกษา, 129 (ตอนพิเศษ 119 ง), 22-23. การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
28
มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย. ททท.ชี้ “ตลาดผู้พิการ-สูงอายุ” ศักยภาพ-ใช้จ่ายสูง. สืบค้นจาก http://www.tddf.or.th/news/detail.php? Contented =0066&postid=0020371 วิลาสินี ยนต์วิภัย. (2019). แนวทางการพัฒนาธุรกิจเพื่อรองรับ พฤติกรรมการ ท่องเที่ยวของผู้สูงอายุในประเทศไทย. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี , ปีที่ 13 (ฉบับที่ 2), 428-438. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. (2016). ไปเที่ยว ไม่เกี่ยวกับ “หู”: หลักสูตรนำ ร่องการเรียนรู้การทำสารคดีเกี่ยวกับ DEAF ไปเที่ยวไทย สืบค้นจาก https://www.hsri.or.th/ researcher/ media/news/detail/6661 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2552). การท่องเที่ยวแนว ใหม่ คนพิการก็ไปได้. สืบค้นจาก https://www.thaihealth.or.th อิ ส ระ อุ ป ดี . (2561). SMARTNEWS ONLINE, 2559 อ้ า งใน แรงจู ง ใจ การ เปิดรับข่าวสาร การตัดสินใจ และรูปแบบการเดินทางท่องเที่ยวของ ผู้พิการ. วารสารนิเทศศาสตร์ และนวัตกรรม นิด้า. ปีที่ 5 (ฉบับที่ 2). 87-103.
การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
29 การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
30 บทที่ 3 แนวคิดการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล จากข้ อจำกั ดของนั กท่องเที ่ ยวผู ้ สู งอายุ และคนพิ การ นำมาสู ่ การ จัดการอุปสรรค เพื่อให้คนกลุ่มนี้สามารถเดินทางท่องเที่ยวได้อย่างอิสระ รวมทั้ง สถานประกอบการและแหล่ ง ท่ องเที ่ ย วสามารถดึ ง ดู ด นั กท่ องเที ่ ย วให้ ม า ท่ องเที ่ ย วหรื อเข้ า พั ก ในสถานที ่ ที ่ มี แ นวคิ ด การออกแบบเพื ่ อคนทั้ งมวล (Universal Design) ในต่ า งประเทศและในประเทศไทยมี ก ารให้ ค วามหมายของการ ออกแบบเพื่อคนทั้งมวล (Universal Design) ไว้มากมาย เช่น “Universal Design is an approach to the design of all products and environments to be as usable as possible by as many people as possible regardless of age, ability or situation.” “การออกแบบเพื่อคนทัง้ มวล (Universal Design) เป็นแนวคิด ในการออกแบบสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวก ตลอดจนสิ่งของ เครื่องใช้ โดยมีหลักในการออกแบบเพื่อการใช้งานที่สะดวกสบาย ปลอดภัย ครอบคลุมสำหรับทุกคน และ ต้องไม่มีการดัดแปลงพิเศษหรือเฉพาะเจาะจง เพื่อบุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึง่ ” (เรียบเรียงจาก : Universal Design Education at the College of Design, NC State University) การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
31
ซึ่งจากการทำงานออกแบบด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวลของผู้แต่ง จึงได้นำความหมายที่เป็นสากลมาประยุกต์ต่อการใช้ออกแบบงานในประเทศ ไทย สรุ ป ความหมายของการออกแบบเพื ่ อคนทั ้ งมวล (Universal Design) ที่สอดคล้องกับบริบทในประเทศไทยได้ ดังนี้ “การออกแบบเพื่อคนทั้งมวล (Universal Design) เป็นแนวคิดในการออกแบบสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวก ตลอดจนสิง่ ของเครือ่ งใช้ โดยมีหลักในการออกแบบเพือ่ การใช้งานที่ สะดวกสบาย ปลอดภัย ครอบคลุมสำหรับทุกคน และ ต้องไม่มีการดัดแปลง พิเศษหรือเฉพาะเจาะจงเพื่อบุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง สอดคล้องกับบริบท วัฒนธรรม ที่แตกต่างหลากหลาย โดยเน้นกระบวนการ และการมีส่วนร่วม ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมสร้างสรรค์ และการออกแบบนั้น ต้องไม่เกิดการเลือกปฏิบัติ กีดกันใครคนใดคนหนึ่งออกจากสังคม”
(เรียบเรียงโดย : ชุมเขต แสวงเจริญ)
การออกแบบเพื ่ อ คนทั ้ ง มวลจึ ง เป็ น แนวคิ ด ขั ้ น พื ้ น ฐานสำหรั บ การออกแบบเพื่อให้คนทุกคนสามารถเข้าถึง และใช้งานพื้นที่และสิ่งอำนวย ความสะดวกต่าง ๆ ได้อย่างอิสระ เท่าเทียม ไม่กีดกัน แบ่งแยก หรือเลือกปฏิบัติ กับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ไม่ว่าบุคคล นั้นจะอยู่ในสถานะใดหรือมีเงื่อนไขในการใช้ ชีวิตอย่างไร ดังนั้น การออกแบบเพื่อคนทั้งมวลจึงเป็ นหลั กการที่เหมาะสม ในการนำมาปรั บ ใช้ กั บ แหล่ ง ท่ องเที ่ ย วและสถานประกอบการ เพื่ อรองรั บ นักท่องเที่ยวทุกกลุ่มได้ อยู่บนพื้นฐานของการประยุกต์และปรับใช้ด้วยความ เข้ า ใจ สำหรั บ รายละเอี ย ดการออกแบบเพื ่ อคนทั ้ ง มวลมี ห ลั กการทั ้ ง หมด 7 ประการ ได้แก่
การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
32
1. ทุกคนใช้ได้อย่างเท่าเทียมกัน (Equitable Use) การออกแบบสามารถสร้างความเท่าเทียมกันในการใช้สอยของผู้ ใช้ ที่ต่างวัย ต่างความสามารถ ต่างสภาพร่างกาย ต่างประสบการณ์ โดยคำนึงถึง ความสะดวกสบาย ปลอดภัย หลีกเลี่ยงการแบ่งแยกผู้ใช้สอย และการออกแบบ ทีแ่ ปลกแยก แตกต่าง หรือ มีความเฉพาะเจาะจงเป็นพิเศษจนเกินไป
ตลาดน้ำ 4 ภาค,ชลบุรี
เพลินวาน,ประจวบคีรีขนั ธ์
ภาพที่ 4.1 ความเท่าเทียมกันในการเข้าถึงอาคารจากทางด้านหน้าอาคาร (ที่มาภาพ: ชุมเขต แสวงเจริญ,2553)
ภาพที่ 4.2 ความเท่าเทียมกันในการเข้าถึงอาคารจากทางด้านหน้าอาคาร ประเทศญี่ปุ่น (ที่มาภาพ: ชุมเขต แสวงเจริญ,2553)
การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
33
2. มีความยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนการใช้งานได้ (Flexible Use) การออกแบบที่รองรับการใช้สอยจากผู้ใช้งานที่หลากหลาย โดย อาจมีหลายทางเลือกที่สามารถใช้งานได้สะดวกทั้งการใช้งานมือขวาหรือมือซ้าย ก็ได้ อำนวยความสะดวกที่ผู้ใช้งานให้สามารถปรับการใช้งานเมื่อต้องการความ ถูกต้องแม่นยำมากขึ้น และสามารถปรับเปลี่ยนการใช้งานตามการเคลื่อนไหว ของผู้ใช้ได้
ภาพที่ 4.3 ตัวอย่างที่ดี เคาน์เตอร์ที่ยืดหยุ่นปรับเปลี่ยนได้ที่โรงแรม (ที่มาภาพ: ชุมเขต แสวงเจริญ,2562)
3. เรียบง่ายและเข้าใจง่าย (Simple and Intuitive Use) การออกแบบควรง่ายต่อการเข้าใจ โดยไม่คำนึงถึงประสบการณ์ ความรู้ ภาษา หรือระดับความชำนาญของผู้ใช้งาน ฉะนั้นการออกแบบต้องเรียบ ง่ า ย ผู ้ ใ ช้ ง านสามารถใช้ ง านได้ โ ดยง่ า ย จากสามั ญ สำนึ ก พื ้ น ฐานทั ่ ว ไป มีข้อแนะนำการใช้ที่ สำคัญ โดยไม่คำนึงถึงการรู้ หรือไม่รู้หนังสือ หรือความ หลากหลายทางภาษา และผู ้ ใ ช้ ง านสามารถประเมิ น ผลการใช้ ง าน หรื อ คำแนะนำถึงการใช้งาน หลังจากใช้งานออกแบบนั้นแล้วได้
การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
34 ภาพที่ 4.4 ตัวอย่างการทำที่วางรองเท้าสำหรับเด็กออทิสติกโดยใช้การมีส่วนร่วม ในการออกแบบของเด็ก ใช้สัญลักษณ์และสี ช่วยเสริมความเข้าใจในการออกแบบ ทำให้สามารถสื่อสารและเด็กสามารถเข้าใจได้ง่าย (ที่มาภาพ: ชุมเขต แสวงเจริญ,2554)
4. การให้ข้อมูลที่ชัดเจน (Perceptible Information) งานออกแบบสามารถสื ่อสารข้ อมู ล ที ่ จำเป็ นกั บผู ้ ใช้ งานได้โดย ปราศจากข้อจำกัดของผู้มีความบกพร่องทางประสาทสัมผัส งานออกแบบควรมี ป้ายบอกเป็นสัญลักษณ์ การใช้พื้นผิวต่างสัมผัส หรือการออกแบบสีสั นที่ตัดกัน กับสภาพแวดล้อมโดยรอบ และการแนะนำการใช้งานด้วยรูปแบบการสื่ อสารที่ หลากหลาย (เช่น มีสัญลักษณ์, อักษรเบรลล์, สัญญาณเสียงประกอบกัน)
ภาพที่ 4.5 การออกแบบที่สามาถแสดงทิศทางและข้อมูลที่ชดั เจน (ที่มาภาพ: ชุมเขต แสวงเจริญ,2551) การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
35
มีสัญญาณแสงและ ตัวอักษรสำหรับคนหูหนวก มีสัญญาณเสียงสำหรับคน ตาบอด
มีสัญลักษณ์สากล เพื่อให้เข้าใจง่าย
ออกแบบเส้นทางให้ เข้าใจง่ายไม่สับสน
มีแผ่นนำทาง สำหรับคนตาบอด
ภาพที่ 4.6 การออกแบบที่สามารถแสดงทิศทางและข้อมูลที่ชดั เจน ประเทศเกาหลีใต้ (ที่มาภาพ: ชุมเขต แสวงเจริญ, 2562)
5. ทนทานต่อการใช้งานที่ผิดพลาดและการเกิดอันตราย (Tolerance for Error) การออกแบบต้องเผื่อการใช้งานที่ผิดพลาดและเกิดอันตราย หรือ อุบัติเหตุต่าง ๆ อันอาจจะเกิดขึ้นได้โดยไม่ตั้งใจ โดยมีการออกแบบการเตือนอันตราย ที่อาจจะเกิดขึ้นไว้ เช่น มีพื้นผิวต่างสัมผัสแบบเตือนอันตราย (Warning Block) ไว้ก่อนถึงทางลาด หรือการออกแบบที่เตรียมอุปกรณ์เพื่อให้เกิดความปลอดภัย ไว้ (เช่น ราวจับในที่ต่าง ๆ) และการออกแบบที่ป้องกันการเข้าถึงในส่วนที่เป็น อันตราย
ภาพที่ 4.7 การออกแบบห่วงยางซิลิโคนครอบหมุด เพื่อป้องกันอัตรายเมื่อหมุดหล่นลงพื้น และหงายด้านแหลมขึ้น
การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
36
6. มีความสะดวก และใช้แรงน้อย (Low Physical Effort) การออกแบบที่มีความสะดวกต่ อการใช้งาน ที่สามารถทำได้ง่ายด้วย ท่าทางปรกติ ตามสภาพร่างกาย และเงื่อนไขการดำรงชีวิตที่แตกต่างกันของแต่ละ บุคคล โดยใช้กำลังตามปกติ หรือ ใช้แรงน้อย ไม่ต้องออกแรงมาก และ ไม่ต้องใช้ ความพยายามในการใช้งานหลายครั้งเพื่อจะทำให้สำเร็จ
ภาพที่ 4.8 การใช้ทางลาดที่ถูกมาตรฐาน และการใช้มือจับประตูแบบก้านโยกเพื่อทุ่นแรง และสะดวกในการใช้งาน
7. ขนาด พื้นที่ที่เ หมาะสมในการเข้าถึงและการใช้งาน(Size and Space for approach and use) ขนาดและพื้นที่ใช้งานที่เหมาะสม สามารถใช้งานได้อย่างสะดวก ไม่ว่าจะเป็นการเอื้อม การจับ การขยับร่างกาย ที่สามารถทำได้โดยปราศจาก เงื ่ อนไขของข้อจำกั ดทางร่า งกาย หรื อการเคลื่ อนไหวของอุ ปกรณ์ และการ ออกแบบควรอยู่ในระยะหรือตำแหน่งที่ส ามารถมองเห็ นชัดเจนไม่ว่าจะมอง ขณะยื น หรื อ นั ่ ง ในรถวี ล แชร์ และ จั ด เตรี ย มพื ้ นที ่ ใช้ ง านที ่ เ หมาะสมกั บ การเข้าถึงและใช้งาน คำนึงถึงบุคคลทั่วไป บุคคลที่ต้องมีผู้ดูแล หรือมีอุปกรณ์ ช่วยเหลือ เช่น วีลแชร์ ไม้เท้า หรือ สุนัขนำทาง ฯลฯ)
การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
37 ภาพที่ 4.9 การจัดช่องทางเดินเข้าสถานีรถไฟใต้ดินที่มีขนาดความกว้างที่เพียงพอต่อการใช้งาน รถเข็นคนพิการและผู้สูงอายุ และการจัดเตรียมเคาน์เตอร์ที่มีระดับต่ำ คนพิการและผู้สูงอายุที่นั่งรถเข็นสามารถเข้าถึงได้
การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
38
เอกสารอ้างอิงท้ายบท ชุ มเขต แสวงเจริ ญ . (2562). ปรั บ เมื องเพื ่ อคนทั ้ ง มวล. กรุ ง เทพฯ: สถาบั น พระปกเกล้า. ชุ มเขต แสวงเจริ ญ, เอกสารประกอบการบรรยาย การปรั บ สภาพแวดล้อม สำหรั บ คนพิ ก ารตามแนวคิ ด การออกแบบเพื ่ อทุ ก คน (Universal Design), 2560 ชุมเขต แสวงเจริญ, เอกสารประกอบการสอน เรื่อง การออกแบบเพื่อคนทั้งมวล (Universal Design). หลักสูตรภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรม ศาสตร์และการผังเมือ งมหาวิทยาลัยธรรม ศาสตร์. กรุงเทพมหานคร. 2561 ชุมเขต แสวงเจริญ. (2563). โครงการส่งเสริมการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อเพิ่มศักยภาพแก่แหล่งท่องเที่ยวและสถานประกอบการในพื้นที่ พิเศษเมืองพัทยาและพื้นที่เชื่อมโยงเพื่อให้สามารถรองรับการท่องเที่ยวเพื่อ คนทั้งมวล (รายงานวิจัย). ปทุมธานี: หน่วยวิจัยและออกแบบเพื่อคนทั้งมวล คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ชุมเขต แสวงเจริญ. (2562). โครงการส่งเสริมและจัดทำแผนขับเคลื ่อ นการ ท่องเที่ยวเพือ่ คนทั้งมวล (รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์). ปทุมธานี: หน่วยวิจยั และออกแบบเพื่อคนทั้งมวล คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ไตรรั ต น์ จารุ ทั ศ น์ ชุ มเขต แสวงเจริ ญ และคณะ. คู ่ มื อปฏิ บ ั ต ิ วิ ช าชี พการ ออกแบบสภาพแวดล้ อมและสิ ่ งอำนวยความสะดวกสำหรั บ ทุกคน ( Universal Design Code of Practice) . — ก ร ุ ง เ ท พ ม หานคร: สมาคมสถาปนิ กสยาม ในพระบรมราชู ป ถัมภ์ , 2552. บริ ษ ั ท พลัส เพรส จำกัด: ISBN 978-611-90213-1-0 U.S. Architectural and Transportation Barrier Compliance Board. Americans with disabilities Act (ADA) Accessibility Guidelines for Buildings and Facilities. U.S.A., 2002. การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
39 การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
40 บทที่ 4 การท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวล จากกระแสการท่องเที่ยวกลุ่มคนพิการและผู้สูงอายุ ที่มีผลอย่างมาก ต่ อการใช้จ่ ายในระบบการท่องเที ่ยว ในขณะเดี ยวกั น ลั กษณะข้ อจำกัดของ คนพิการและผู้สูงอายุที่อาจเกิดปัญหา อุปสรรค หรือ อุบัติเหตุที่อาจทำให้เกิด อันตรายได้ ซึ่งแนวคิดการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล (Universal Design) จะเป็น แนวคิดหนึ่งที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับรูปแบบ อาคาร สถานที่ และ สภาพแวดล้อม ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการการท่องเที่ยวได้
ภาพที่ 5.1 ผู้สูงอายุไม่สามารถเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติได้ ต้องนัง่ รออยู่บริเวณอื่น (ที่มาภาพ: ชุมเขต แสวงเจริญ, 2553)
การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
41
เมื่อผู้สูงอายุและคนพิการมีความต้องการเดินทางไปท่องเที่ยวใน สถานที่ต่าง ๆ ดังเช่นบุคคลทั่วไป แต่การท่องเที่ยวในแต่ละครั้งมักจะมีอุปสรรค และข้ อจำกั ดต่ า งที ่ ทำให้ ผ ู ้ส ู งอายุ แ ละคนพิ การไม่ สามารถเข้ า ถึ งสิ่ งอำนวย ความสะดวกต่าง ๆ และสภานที่ท่องเที่ยวได้เหมือนคนทั่วไป ทำให้กลายเป็น การท่องเที่ยวที่ขาดความเสมอภาค เป็นการตัดขาดคนบางกลุ่มออกจากสังคม แม้ว่าการท่องเที่ยวจะมีอุปสรรคต่อผู้สูงอายุและคนพิการอยู่มาก แต่ความต้องการไปท่องเที่ยวของคนกลุ่มดังกล่าว กลับเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ เห็น ได้จากจำนวนนักท่องเที่ยวที่เป็นผู้สูงอายุและคนพิการเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผนวกกับเป็นกลุ่มคนที่มีศักยภาพในการใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยว เพราะฉะนั้น การท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวลจึงเป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับการรองรับคนทุกคน ไม่ว่าคน ๆ นั้นจะเป็น เด็ก สตรีมีครรภ์ ผู้สูงอายุ คนพิการ หรือบุคคลทั่วไป คนโดยทัว่ ไป อาจสะพายเป้หนึ่งใบไปเที่ยวคนเดียว ซื้อของชิ้นเดียว พักห้องพัก 1 ห้อง แต่คนพิการมักจะไปเที่ยวเป็นกลุ่มทัง้ ในแบบ ที่เป็นกลุ่มเฉพาะ หรือมีผดู้ ูแล ผู้สูงอายุก็เช่นกัน ทำให้มูลค่าจับจ่ายใช้สอยใน การเที่ยวต่อครั้งเพิ่มสูงขึ้นมาก ใช้ห้องพักหลายห้องขึ้น และนี่คือ โอกาสของผู้ประกอบการท่องเที่ยว ที่ควรหันมาให้ความสำคัญกับ “การท่องเที่ยวเพื่อคนทัง้ มวล” ชุมเขต, 2562
ภาพที่ 5.2 ชายหาดมีการจัดเตรียมทางลาดลงหาดแต่มีสิ่งกีดขวาง และเมื่อถึงจุดสิ้นสุดทางลาดก้ไม่สามารถเดินทางต่อได้ (ที่มาภาพ: ชุมเขต แสวงเจริญ, 2553)
การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
42 ภาพที่ 5.3 คนพิการไม่สามารถเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว ไม่สามารถใช้สิ่งอำนวยความสะดวกได้อย่างเหมาะสม (ที่มาภาพ: ชุมเขต แสวงเจริญ, 2553)
การศึกษาเรื่อง Disability Travel On The Rise Despite Barriers To Access โดย The Open Doors Organization (ODO) และ The Travel Industry Association of America (TIA) พบว่า จำนวนการเดินทางพักผ่อน และการพักที่โรงแรมของนักท่องเที่ยวพิการในสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้นร้อยละ 50 นับจากปี 2548 ถึง 21 ล้านคน วงเงินค่าใช้จ่ายสูงถึง 13.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ ต่ อ ปี และผลการศึ ก ษาเรื ่ อ ง Accessibility Market and Stakeholder Analysis ของ University of Surrey แห่ง สหราชอาณาจักร ปี 2549 ที่ได้ทำ การวิ เ คราะห์ ต ลาดการท่ องเที ่ ย วคนพิ การและผู ้ ส ู ง อายุ และพบว่ า ตลาด ท่องเที่ยวคนพิการและครอบครัวมีจำนวน 134-267.9 ล้านคน มีรายได้จากการ ท่องเที่ยวตั้งแต่ 83-166 พันล้านยูโร หรือตั้งแต่ 3,910 – 7,820 พันล้านบาท ซึ่งหากประเทศไทยซึ่งมีศักยภาพในการท่องเที่ยวสูงอยู่แล้ว สามารถปันส่วนแบ่ง นักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ เข้ามาสู่ตลาดการท่องเที่ยวไทยได้ จะทำให้สามารถสร้าง รายได้ให้กับประเทศจากการท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวลได้อีกมาก
การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
43
โดยส่วนใหญ่แล้ว การขับเคลื่อนด้านการท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวล มั กจจะตั ้ ง อยู ่ ในโซนยุ โ รปและสหรั ฐ อเมริ กา อย่ า งไรก็ ต ามเริ ่ มมี การก่อตั้ง กระจายไปทั่วโลกที่จะเริ่มปรากฏขึ้น เนื่องจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นดังที่ได้ กล่ า วมาแล้ ว โดยส่ วนใหญ่ ได้ รั บ แรงหนุ นจากการท่ องเที ่ ย วของผู ้ ส ู ง อายุ เนื่องจากประชากรของโลกแข็งแรงและมีอายุขัยที่เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในประเทศ ที่พัฒนาแล้ว ที่มักจะมีมาตรฐานและนโยบายให้พื้นที่สาธารณะตลอดจนแหล่ง ท่องเที่ยวต้องมีมาตรฐานการอำนวยความสะดวกเพื่อคนทั้งมวล เช่น ในประเทศ สหรัฐอเมริกามีพระราชบัญญัติ กำหนดไว้ช ัดเจน ที่เรียกว่า The Americans with Disabilities Act (ADA) ซึ่งเริ่มใช้ตั้งแต่ปี 1990. สำหรั บ ในสหภาพยุโ รปก็ ได้มี การดำเนิ นการมายาวนาน และที่ ชัดเจนเป็นรูปธรรมมาก คือ การเกิดขึ้นของ European Network for Accessible Tourism: ENAT ก่อตั้งขึ้นในเดือนมกราคม 2549 โดยมีพันธกิจหลัก คือการทำ ให้ ส ถานที ่ ท่ องเที ่ ย ว สิ นค้ า และบริ การของยุ โ รปสามารถเข้ า ถึ ง ได้ ส ำหรั บ นักเดินทางทุกคนและเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวที่เข้าถึงได้ทั่วโลก ถือเป็นองค์กร ความร่วมมือระดับภูมิภาคที่เป็นกลไกในการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวที่ทุกคน เข้าถึงได้ และมีแนวทางเหมือนกันกับการท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวล
ดังนั้นในแทบทุกธุรกิจและสถานที่สาธารณะรวมถึงสถานที่ในระบบ การท่องเที่ยวของสหรัฐอเมริกาและยุโรป ตลอดจนในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลกจึง เริ่มมีการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกและบริการไว้ให้ ทำให้การท่องเที่ยวเพื่อ คนทั้งมวลมีความสะดวกปลอดภัยมากยิ่งขึ้น หากพูดถึงการท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวล หรือ แนวคิด Tourism for All นั ้ น เกิ ด ขึ ้ น ครั ้ ง แรกใน แคมเปญ Tourism for All ที ่ ป ระเทศอั ง กฤษ เมื่อค.ศ. 1989 ซึ่งมีสาเหตุมาจากรายงานที่ Mary Baker เผยแพร่โดยให้นิยาม ไว้ว่า การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
44
“การท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวล คือ รูปแบบการท่องเที่ยวที่มีการ วางแผน ออกแบบ และพัฒนากิจกรรมสันทนาการ รวมถึงเวลาว่างให้กับ นักท่องเที่ยวทุกประเภทไม่ว่า สภาพร่างกาย สังคม และวัฒนธรรมของพวกเขา จะเป็นอย่างไร” สำหรั บ Darcy, S., & Dickson, T. นิ ย ามคำว่ า การท่ อ งเที ่ ย วที่ สามารถเข้าถึงได้ (Accessible Tourism) ว่าเป็นการทำให้ทุกคนมีความเท่าเทียม มีความเสมอภาคในสินค้า บริการ และสภาพแวดล้อมที่ออกแบบมาสำหรั บ นักท่องเที่ยวทุกคน รวมถึงผู้สูงอายุ คนพิการ และทารก กล่ า วได้ ว่ าทั้ ง 2 คนให้ ค ำนิ ยามเกี ่ยวกับ การท่ องเที่ ยวที ่ทุกคน มีความเท่าเทียม เสมอภาค ไม่ว่าจะผู้สูงอายุ คนพิการ เด็ก หรือมีสภาพร่างกาย สังคม และวัฒนธรรมที่แตกต่างไป เพราะคนทุกคนต้องการสามารถเข้าถึงการ ท่องเที่ยวได้ในทุกรูปแบบที่มีให้เลือก ไม่กีดกันใครคนใดคนหนึ่ง หรือกลุ่มใด กลุ่มหนึ่งออกจากสังคม การส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ปราศจากอุปสรรคสำหรับคนทั้งมวลนั้น เป็นการส่งเสริมการดำรงชีวิตอิสระทางหนึ่งและเป็นการสร้างประสบการณ์ ให้กับคนทั้งมวล เป็นการให้ความสำคัญกับกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีข้อจำกัด ให้มี โอกาสได้ เ ข้ าถึ งสถานที ่แ ละแหล่งท่ องเที ่ย วได้เ ท่ า เทีย มกั น ซึ ่ ง การจั ดปรับ สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมปราศจากอุปสรรคต้องไม่ทำให้เกิดการแบ่งแยก กีดกัน หรือสร้างความไม่เท่าเทียมกันในสังคม ตามแนวคิดการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล (Universal design) สำหรับในประเทศไทย สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว (2551) ตระหนักถึงสิทธิในการเข้าถึงการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวของกลุ่มคนพิการ และผู้สูงอายุ จึงจัดโครงการพัฒนาการท่องเที่ยวที่ปราศจากอุปสรรคสำหรับ คนทั ้ ง มวล เพื ่ อสร้ า งความตระหนั กถึ ง ความสำคั ญ ของกลุ ่ มนั กท่ องเที ่ ย ว การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
45
คนพิการและผู้สูงอายุแก่ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ส่งเสริม และสนั บ สนุ นให้มี วางแผนปรั บปรุ งสภาพแวดล้อม สิ ่ ง อำนวยความสะดวก และการให้บริการที่เหมาะสมแก่คนพิการและผู้สูงอายุ เพื่อดึงดูดให้นักท่องเทีย่ ว กลุ่มคนพิการและผู้สูงอายุเดินทางให้เข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย เป็นหนึ่งใน การยกระดับคุณภาพชีวิตของคนพิการและผู้สูงอายุตามที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ แห่ ง ราชอาณาจั กรไทย พุ ทธศั กราช 2550 (มาตรา 55) และสอดคล้ องกับ กฎกระทรวงกำหนดสิ่งอำนวยความสะดวกในอาคารสำหรับคนพิการหรือทุพพล ภาพและคนชรา พ.ศ. 2548 และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งทำให้เห็นได้ว่า ประเทศไทยให้ความสำคั ญในการจัดสิ ่งอำนวยความสะดวกให้ผ ู้ส ูงอายุแ ละ คนพิการ สามารถเข้าถึงบริการและสถานที่ต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกและปลอดภัย เอื้อต่อการใช้ชีวิตอย่างอิสระของแต่ละบุคคล จากบทความ เรื ่ อง สถานการณ์ การจั ด สิ ่ งอำนวยความสะดวก สำหรับคนพิการและผู้สูงอายุในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ (ชุมเขต,2556). ได้ศึกษา เรื ่ อ งการท่ อ งเที ่ ย วของผู ้ ส ู ง อายุ แ ละคนพิ ก ารในพื ้ น ที ่ อ ุ ท ยานแห่ ง ชาติ สรุปภาพรวมของการตอบแบบสอบถามของผู้สูงอายุ พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ มีประสบการณ์การท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติ และต้องการกลับไปเยื อนอี กครั้ง การเดิ นทางมั กไปเป็ นกลุ ่ ม เฉลี่ ย 12.5 คน ส่ วนคนพิ การมี ป ระสบการณ์ การท่ องเที ่ ย วอุ ทยานแห่ ง ชาติ น ้ อยกว่ า กลุ ่ ม ผู ้ ส ู ง อายุ เนื ่ องจากข้ อจำกั ด ด้านร่างกายและงบประมาณ ตลอดจนเวลาว่างที่น้อยกว่าผู้สูงอายุ แต่คนพิการ ที่เคยไปส่วนใหญ่ยังต้องการกลับไปอีกครั้งเช่นกัน สำหรับการเดินทางไปเที่ยวอุทยานแห่งชาติของคนพิการ มักไป เป็ นกลุ ่ มเช่ นกัน เฉลี ่ ย 4.16 คน ทั ้ ง ผู ้ สู งอายุ และคนพิ การชอบทำกิ จกรรม หลายประเภท ทั้งแบบใช้กำลัง(active) และใช้กำลังน้อย(passive) ซึ่งกิจกรรม บางประเภทมีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายสูงควรมีการหาแนวทางการป้ องกัน อันตรายในพื้นที่เหล่านั้นเพื่อลดความกังวลเรื่องความไม่ปลอดภัย ซึ่งเป็นเหตุผล ที่ทำให้ผู้สูงอายุและคนพิการบางส่วนไม่ต้องการกลับไปเยือนอุทยานแห่งชาติอีกครั้ง การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
46
สำหรั บ ผู ้ส ู งอายุ และคนพิการที ่ ไม่ เคยไปเยื อนอุ ทยานแห่งชาติ ส่วนใหญ่ยังมีความต้องการไปท่องเที่ย วอุทยานแห่งชาติเช่นกัน แต่มีบางส่วน ที่เห็นว่า ร่างกายที่เสื่อมโทรมเป็นอุปสรรคต่อการใช้ชวี ิตในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ไม่ อยากเป็นภาระให้ค นอื ่น ๆ อี กทั ้ ง ผู้ สู งอายุ ร้ อยละ 61.17 และคนพิการ ร้ อยละ 86.37 เห็ นว่ า การจั ด สิ ่ ง อำนวยความสะดวกสำหรั บ ผู ้ ส ู งอายุ และ คนพิการในอุทยานแห่งชาติยังไม่เหมาะสม สอดคล้องกับการสำรวจกายภาพ ของอุทยานแห่งชาติทั่วประเทศ พบว่า มีเพียงร้อยละ 4.55 ที่มีความเหมาะสม ทั้งนี้ในปัจจุบันจะเห็นว่า แหล่งท่องเที่ยวอุทยนแห่งชาติ เริ่มมีการปรับสิ่งอำนวย ความสะดวกเพื ่ อคนทั ้ ง มวลอย่ า งจริ งจั ง ทำให้ เ กิ ด ความสะดวก ปลอดภัย ง่ายต่อการใช้งาน เป็นการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุ และคนพิการตลอดจนคนทั้งมวล ได้ทำกิจกรรมในอุทยานแห่งชาติได้อย่างมีอิสระและมีความสุขต่อไป
ภาพที่ 5.4 การปรับพื้นที่และสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อคนทั้งมวล ในแหล่งท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน (ที่มาภาพ: ชุมเขต แสวงเจริญ, 2563)
การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
47
สำหรับการท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวลในหนังสือเล่มนี้ เป็นการรวม ระหว่ า งแนวคิ ด การออกแบบเพื ่ อ คนทั ้ ง มวล และนิ ย ามการท่ อ งเที ่ ย ว โดยแนวคิดการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล คือ “แนวคิดในการออกแบบสภาพแวดล้อม และสิ่งอำนวยความสะดวก ตลอดจนสิ่งของเครื่องใช้ โดยมีหลักในการออกแบบ เพื่อการใช้งานที่สะดวกสบาย ปลอดภัย ครอบคลุมสำหรับทุกคน และต้องไม่มี การดัดแปลงพิเศษหรือเฉพาะเจาะจงเพื่อบุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง สอดคล้องกับ บริบท วัฒนธรรม ที่แตกต่างหลากหลาย โดยเน้นกระบวนการ และการมีส่วนร่วม ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมสร้างสรรค์ และการออกแบบนั้น ต้องไม่เกิดการเลือกปฏิบตั ิ กีดกันใครคนใดคนหนึ่งออกจากสังคม” (ชุมเขต, 2563) สำหรั บ นิ ย ามการท่ องเที ่ ยว หมายถึ ง การเดิ นทางไปที่ อื ่ นเพื่อ พักผ่อนในช่วงเวลาว่าง ด้วยความสมัครใจ และต้องไม่เป็นการเดินทางเพื่อหา รายได้ใด ๆ ซึ่งรูปแบบการท่องเที่ยวสามารถแบ่งออกเป็นทั้งหมด 3 รูปแบบ หลักตามองค์การท่องเที่ยวโลก ดังนั้นการท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวล (Tourism for all) จึงหมายความว่า การท่องเที่ยวหรือการเดินทางจากสถานที่อยูอ่ าศัยเป็นประจำไปยังสถานทีอ่ ื่น เป็นการชัว่ คราวที่คนทุกเพศ ทุกวัย ทุกสภาพร่างกาย สามารถเข้าถึง แหล่งท่องเทีย่ ว บริการสาธารณะ และกิจกรรมการท่องเที่ยวรูปแบบต่าง ๆ ได้ โดยปราศจากอุปสรรคทีอ่ าจเกิดขึ้นจากความต่างทางสภาพร่างกาย อายุ หรือด้านอื่น ๆ
ชุมเขต, 2562
เพื ่ อที ่จะเห็ นภาพการปรับ เปลี่ ยนสถานประกอบการและแหล่ง ท่ อ งเที ่ ย วให้ ม ี ค วามเหมาะสมกั บ การท่ อ งเที ่ ย วเพื ่ อ คนทั ้ ง มวลมากขึ้ น องค์ ป ระกอบการท่ องเที ่ ย วจึ ง เป็ นสิ ่ ง สำคั ญ ในการทำความเข้ า ใจว่ า แต่ละ องค์ประกอบมีเมื่อนำมาผนวกกับการท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวลแล้วจะออกมา ในลักษณะใด การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
48
เอกสารอ้างอิงท้ายบท ชุ มเขต แสวงเจริญ. (2562). ปรั บ เมื องเพื่ อคนทั้ งมวล. กรุ ง เทพฯ: สถาบัน พระปกเกล้า. ชุมเขต แสวงเจริญ วิรุจน์ สมโสภณและภวินท์ สิริสาลี. การศึกษาและสำรวจ เส้นทางการสัญจรตามแนวคิดการออกแบบเพื่อคนทั้งมวลในพื้นที่เกาะ รัตนโกสินทร์. การสัมมนาวิชาการระดับชาติด้านคนพิการ ครั้งที่ 7. กรุงเทพ, 2558. หน้า 545-556 ชุมเขต แสวงเจริญ ดรรชนี เอมพันธุ์และกําธร กุลชล. สถานการณ์การจัดสิ่ง อำนวยความสะดวกสำหรั บ คนพิ การและผู ้ ส ู งอายุ ในพื ้ นที ่ อุ ทยาน แห่งชาติ. การประชุมวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กำแพงแสน ครั้งที่ 10. นครปฐม, 2556 ชุมเขต แสวงเจริญ , การจัดทำข้อเสนอแนะหรือแนวคิดในการปรับปรุง พื้ นที่ สาธารณะริมถนนในเมืองพัทยา, วารสารการวิจัยเพื ่อพัฒนาชุ มชน (Journal of Community Development Research) ปีที่ 2 ฉบับที่ 2, หน้า 29-46 ชุมเขต แสวงเจริญ, (กันยายน 2562). การส่งเสริมและจัดทำแผนขับเคลื่อนการ ท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวล ระยะเวลาดำเนินการ 3 เดือน ตั้งแต่เดือน มิถุนายน–กันยายน 2562 จำนวน 202 หน้า ปทุมธานี, 2562. ชุมเขต แสวงเจริญ. (2563). โครงการส่งเสริมการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อเพิ่มศักยภาพแก่แหล่งท่องเที่ยวและสถานประกอบการในพื้นที่ พิเศษเมืองพัทยาและพื้นที่เชื่อมโยงเพื่อให้สามารถรองรับการท่องเที่ยวเพื่อ คนทั้งมวล (รายงานวิจัย). ปทุมธานี: หน่วยวิจัยและออกแบบเพื่อคนทั้งมวล คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ชุมเขต แสวงเจริญ. (2562). โครงการส่งเสริมและจัดทำแผนขับเคลื ่อ นการ ท่องเที่ยวเพือ่ คนทั้งมวล (รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์). ปทุมธานี: หน่วยวิจยั และออกแบบเพื่อคนทั้งมวล คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผั ง เมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
49
ไตรรัตน์ จารุทัศน์. 2552. คู่มือปฏิบัติวิชาชีพ การออกแบบสภาพแวดล้อมและ สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับทุกคน. พลัส เพลส, กรุงเทพมหานคร. วิคิเนีย มายอร์. (2555). การศึกษาแรงจูงใจการท่องเที่ยวและความพึงพอใจของ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวบ่อน้ำร้อนรั กษะวาริ นและ บ่อน้ำร้อนพรรั้ง จังหวัดระนอง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิ ทยาลั ย ธุ รกิ จบั ณฑิ ต ย์ , คณะศิ ล ปศาสตร์ แ ละวิ ทยาศาสตร์ , สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว. องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การ มหาชน). สถานที่ท่องเที่ยวและสิ่งอำนวยความสะดวก สำหรับทุกคน (Accessible for All). City of Toronto Accessibility Plan. 2004. City of Toronto Accessibility design Guidelines, Canada. Darcy, S. and Dickson, T. (2009). A whole-of-life approach to tourism: the case for accessible tourism Experiences. Journal of Hospitality and Tourism Management, 16(1), 32-44 Poul F.J. Eagles and Stephen F. McCool. 2002. Tourism in National Parks and Protected Area: Planning and Management. UK.
การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
50 การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
51 บทที่ 5 องค์ประกอบของการท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวล จากการท่องเที่ยวเพื่ อคนทั ้งมวลที่ มุ่งส่งเสริม ให้คนทุ กคน มี ค วามเสมอภาค เท่ า เที ย มและสามารถเข้ า ร่ วมกิ จกรรมการท่ องเที ่ ย วได้ เหมือนกันกับคนทั่วไป การจัดการด้านการท่องเที่ยวจึงต้องเป็นไปพร้อม ๆ กัน ทั ้ ง ระบบ โดยในหนั ง สื อเล่ มนี ้ จะเน้ นที ่ การนำองค์ ป ระกอบการท่ องเที ่ ย ว มาพัฒนาร่วมกับมาตรฐานการท่องเที่ยวสากล และ แนวทางการออกแบบเพื่อ คนทั้งมวล ผ่านแนวคิด การขับเคลื่อนการท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวลผ่านโมเดล UD + 6 A’s (แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวลอย่างยั่งยืน) ซึ่งจะเป็นส่วน สำคั ญ ที ่ ท ำให้ ส ถานประกอบการและแหล่ ง ท่ อ งเที ่ ย วเห็ น ภาพแนวทาง การปรับปรุงที่สถานที่หรือบริการต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับคนทั้งมวลที่ส อดคล้อง กับแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน
แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวลอย่างยั่งยืน
การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
52
องค์ประกอบการท่องเที่ยว ในการบริ ห ารจัดการ การท่ องเที่ ยวโดยทั ่ วไป เรามั กจะคำนึงถึง องค์ ป ระกอบการท่ องเที ่ ย วในมิ ต ิ ต ่ า ง ๆ โดยอาศั ย แนวคิ ด ของ J. Pelasol (2012) ถือเป็นแนวคิดสำคัญในการทำความเข้าใจองค์ประกอบการท่องเที่ยว ซึ่งมีทั้งหมด 6 ประการ ดังนี้ 1) ความสามารถในการเข้าถึง (Accessibility) 2) แหล่งท่องเที่ยว (Attraction) 3) สิ่งอำนวยความสะดวก (Amenities) 4) การให้บริการของแหล่งท่องเที่ยว (Ancillary Service) 5) ที่พัก (Accommodation) 6) กิจกรรม (Activity) สอดคล้ อ งกั บ Buhalis (2000) ที ่ อ ธิ บ ายความ หมายของ องค์ประกอบการท่องเที่ยว 6 ประการ หรือ 6 A’s ไว้ดังนี้
ภาพที่ 5.1 องค์ประกอบการท่องเที่ยว (ที่มาภาพ: ดัดแปลงจาก J. Pelasol ,2012)
การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
53
1) แหล่งท่องเที่ยว (Attractions) หมายถึง สถานที่ที่มีทรัพยากรที่มี คุ ณค่ า มี ค วามน่ า สนใจ หรื อมี ค วามน่ าดึ งดู ด ให้ บ ุ ค คลตั ดสิ นใจเดิ นทางไป ท่องเที่ยวยังสถานที่นั้น ๆ เช่น แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ, แหล่งท่องเที่ยวที่ มนุษย์สร้าง, สถาปัตยกรรมและการจัดกิจกรรมพิเศษ 2) การเข้ า ถึ ง (Accessibility) หมายถึ ง การเดิ นทางไปยั ง แหล่ ง ท่องเที่ยว อย่างสะดวกสบาย รวดเร็ว ปลอดภัย โดยยานพาหนะทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ อาทิ ระบบการคมนาคมทางหลวง, ท่าอากาศยาน, สถานีขนส่ง ผู้โดยสาร และยานพาหนะส่วนตัว ซึ่งเป็ นอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญในการเลือก สถานที่ท่องเที่ยวเช่นกัน 3) สิ่งอำนวยความสะดวก (Amenities) หมายถึง สิ่งอำนวยความ สะดวกที่สถานที่ท่องเที่ยวต้ องเตรียมให้บ ริ การแก่ นั กท่ องเที ่ยว อาทิ ที่พัก , ร้านอาหาร, ห้างสรรพสินค้า, สถานบันเทิง ตลอดจนบริการการท่องเที่ยว และ ข่าวสาร บริการเหล่านี้สามารถช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาท่องเที่ยวได้ 4) โปรแกรมการท่องเที่ยวสำเร็จรูป (Available package) หมายถึง โปรแกรมการท่ องเที ่ ย วที ่ ถ ู กเตรี ย มผ่ า นคนกลางระหว่ า งนั กท่ องเที ่ ย วกั บ ผู ้ ให้ บ ริ การ ซึ่ ง ในโปรแกรมการท่องเที ่ ยวหนึ ่ งๆ จะประกอบไปด้ วยบริการ ที่หลากหลาย อาทิ ที่พัก การขนส่ง และอาหาร โดยค่าบริการจะมีราคาถูกกว่า การใช้บริการทีละรายการ การบริการนี้จะช่วยให้นักท่องเที่ยวมองเห็ นถึงความ คุ้มค่าของการตัดสินใจใช้บริการ 5) กิจกรรม (Activities) หมายถึง กิจกรรมที่นั กท่ องเที ่ยวสามารถ เข้าร่วมได้ขณะที่กำลังอยู่ในแหล่งท่องเทีย่ วนั้น ๆ ซึ่งการมีกิจกรรมที่หลากหลาย จะสามารถตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวได้มากกว่า 6) การให้บริการของแหล่งท่องเที่ยว (Ancillary Services) หมายถึง การบริ การที ่ นั กท่ องเที ่ ยวควรได้ รั บ อาทิ ธนาคาร โรงพยาบาล ไปรษณีย์ อินเทอร์เน็ต และโทรคมนาคม การบริการเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งสำคัญที่ประการหนึ่ง ในการสร้างความประทับใจให้กับนักท่องเที่ยว การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
54
จะเห็ นได้ ว่า องค์ป ระกอบการท่ องเที่ ยว 6A’s ให้ ค วามสำคัญกับ การดึงดูดนักท่องเที่ยว ผ่านการอำนวยความสะดวกในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น แหล่งท่องเที่ยว การคมนาคม ที่พัก ร้านอาหาร โปรแกรมการท่องเที่ยวแบบ สำเร็จรูป กิจกรรม ธนาคาร ไปรษณีย์ หรืออินเทอร์เน็ต แต่องค์ประกอบการ ท่องเที่ยวนี้มิได้หมายรวมถึงการอำนวยความสะดวกให้แ ก่คนทุกคน เพื่อให้ สามารถเข้าถึงบริการในด้านต่าง ๆ ได้อย่างเท่าเทียม ดังนั้นเพื่อให้คนทุกคน สามารถเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ขององค์ประกอบการท่องเที่ย ว จึงต้องผนวกหลักเกณฑ์ด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนสำหรับแหล่งท่องเที่ยว ในหมวด A ข้อที่ 8 หรือ “A8” และหลักการออกแบบเพื่อคนทั้งมวลร่วมด้วย โดยอ้างอิงจากการที่ สภาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก (Global Sustainable Tourism Council - GSTC) ได้มีการกำหนดเกณฑ์การพัฒนาการ ท่ องเที ่ ย วอย่ า งยั ่ ง ยื น (Global Sustainable Tourism Criteria) โดยเกณฑ์ ดังกล่าวมีการนำเสนอประเด็นการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนผ่า นข้ อ A8 (Access for All) มีใจความว่า A8 หมายถึง “การทำให้ทุกคนสามารถเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ ทุกคนมีสิทธิ์เข้าถึงไม่ว่าจะเป็นคนพิการหรือ ผู ้ ท ี ่ ต ้ อ งได้ ร ั บความช่ ว ยเหลื อพิ เศษ หากแหล่ งท่ องเที ่ ยวและสิ ่ งอำนวย ความสะดวกที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวใด ๆ ไม่สามารถเข้าถึงได้ สามารถ ใช้การออกแบบที่คำนึงถึงลักษณะของแหล่งท่องเที่ยว และความสมเหตุสมผล ในการเข้าถึงได้”
การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
55
ทั ้ ง นี ้ จากแนวทางและนิ ยามดังกล่า ว GSTC ได้ มี ข ้ อเสนอแนะ ตัวชี้วัดความสำเร็จในการพัฒนาหลักเกณฑ์ข้อ A8 จำนวน 2 ข้อ ดังนี้ IN-A8. a คือ มีนโยบายส่งเสริมการอำนวยความสะดวกให้กับ บุ ค คลทุ พลภาพ หรื อที ่ มี ข ้ อจำกั ด ทางด้า นสภาพร่ า งกายให้ สามารถเข้าถึง สถานที ่ ท่ องเที ่ ย วที ่ มี ค วามสำคั ญ ทางธรรมชาติ แ ละวั ฒ นธรรม ตลอดจน สิ่งอำนวยความสะดวกได้อย่างเหมาะสม IN-A8. b คื อ มี การออกแบบสิ ่ ง อำนวยความสะดวกสำหรั บ บุคคลทุพลภาพที่คำนึงถึงความกลมกลืนกับสถานที่ท่องเที่ยว สำหรั บส่วนนี้ จะเป็นการนำแนวคิ ดองค์ ประกอบการท่ องเที ่ยว 6 ประการ คือ 1) ความสามารถในการเข้าถึง 2) แหล่งท่องเที่ยว 3) สิ่งอำนวย ความสะดวก 4) การให้บริการของแหล่งท่องเที่ยว 5) ที่พัก และ 6) กิจกรรม มาบูรณาการกับ เกณฑ์การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ข้อ A8 ที่ต้องการ ให้คนทุกคน สามารถเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกและแหล่งท่องเที่ย วประเภท ต่ า ง ๆ ได้ อย่ า งเท่ า เที ย ม ไม่ มี การเลื อกปฏิ บ ั ติ และผสานกั บ แนวคิ ด การ ออกแบบเพื่อคนทั้งมวลที่มีหลักการทั้ง 7 ประการ คือ 1) มีความเสมอภาค 2) มีความยืดหยุ่น 3) เรียบง่ายและเข้าใจได้ง่าย 4) เป็นข้อมูลที่สามารถเข้าใจได้ ง่าย 5) ทนทานต่อการใช้ง านที ่ผิด พลาด 6) มีความสะดวก และทุ่นแรงกาย ในการออกกำลัง และ7) ขนาด สถานที่ที่เหมาะสม เพื่อให้เห็นถึงแนวทางการพัฒนาระบบการท่องเที่ยวให้ค นที่มีเงื่ อนไข ในการใช้ชีวิตที่แตกต่างกันสามารถเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ได้อย่า ง เท่ า เที ย มกั น ไม่ เ ลื อ กปฏิ บ ั ต ิ ก ั บ บุ ค คลใดบุ ค คลหนึ ่ ง ผ่ า นการแบ่ ง ตาม องค์ประกอบการท่องเที่ยว 6A’s ดังนี้
การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
ภาพที่ 5.2 แนวคิดการพัฒนาการท่องเทีย่ วเพื่อคนทั้งมวลอย่างยั่งยืน
56 การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
57
UD-A’s.1. แหล่งท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวล (Attractions for All) จะต้องมี การออกแบบและมี ส ิ ่ ง อำนวยความสะดวกที ่ ส ามารถรองรั บ นักท่องเที่ยวได้อย่างเพียงพอและคนทุกคนสามารถเข้าถึงแหล่ง ท่องเที่ยวได้อย่างปลอดภัย มีความสะดวกสบาย และเหมาะสม กับคนทุกคนไม่เฉพาะเจาะจงคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น หากสถานประกอบการแหล่งท่องเที่ยวสามารถออกแบบสถานที่ ให้คนทุกคนสามารถเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวได้ ก็จะไม่เป็นการกีด กั นบุ ค คลใดบุ คคลหนึ ่ง หรื อคนกลุ่ มใดกลุ่ มหนึ่ งออกจากการ ท่องเที่ยวครั้งนั้ น ๆ ขณะเดียวกันหากสถานที่ ท่ องเที่ยวไม่ ได้ จัดเตรียมสถานที่หรือสิ่งอำนวยความสะดวกให้เพียงพอต่ อความ ต้องการที่หลากหลายก็จะเป็นการกีดกันคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งออก จากไปแหล่งท่องเที่ยวนั้น ๆ UD-A’s.2.
การเข้ าถึ ง ที ่ ปลอดภั ยมี ทางเลื อกและวางแผนได้ (Save and Optional for Accessibility) คือ การเข้าถึง การเดินทาง และ ระบบการคมนาคมสัญจรต้องมีการประชาสัมพันธ์ข้อมูลสำหรับ การเดินทางไปยังแหล่งท่องเที่ยวที่เข้าใจได้ง่าย พร้อมทั้งมีความ สะดวกสบาย รวดเร็ ว ปลอดภั ย โดยยานพาหนะที ่ ค นทุ กคน สามารถใช้งานได้ หากโรงแรมและแหล่งท่ องเที ่ ยวสามารถเดิ นทางได้ ง่า ย มี จุด สังเกต นักท่องเที่ยวไม่หลงทาง นักท่องเที่ยวมีโอกาสเดินทาง กลับมาเข้าพักยังโรงแรมเดิม หรือแหล่งท่องเที่ยวเดิม เนื่องจาก สามารถเดินทางได้อย่างสะดวกสบาย ขณะเดียวกันหากโรงแรม และแหล่งท่องเที ่ยวอยู่ ในสถานที ่ที ่ยากจะเข้ าถึง อาจทำให้มี นั กท่ องเที ่ ยวเดิ นทางไปพักน้ อยหรือไม่ เดิ นทางไปสถานที่นั้น เนื่องจากไม่สะดวก
การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
58
UD-A’s.3. สิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อคนทั้งมวล (Amenities for all) คื อ ต้ องมี การประชาสั มพั นธ์ เ กี ่ ย วกั บ ข้ อมู ล สิ ่ ง อำนวยความ สะดวกที่ สถานที ่ท่องเที่ ยวจั ดให้ บริ การแก่ นักท่ องเที ่ยว อาทิ ที ่ พั ก , ร้ า นอาหาร, ห้ า งสรรพสิ นค้ า , สถานบั นเทิ ง ตลอดจน บริ การการท่องเที ่ยว และข่ า วสาร ซึ ่ ง สิ ่งอำนวยความสะดวก เหล่านี้จะต้องสามารถเข้าใจได้ง่าย ไม่สลับซับซ้ อน หรือไม่ต้อง ตีความ มีการจัดเตรียมไว้ครอบคลุมการทำกิจกรรมที่หลากหลาย โดยไม่แบ่งแยกระหว่างคนพิการ ผู้สูงอายุ กับกลุ่มคนทั่ว ๆ ไป หากโรงแรมและแหล่ ง ท่ องเที ่ ย วมี ส ิ ่ ง อำนวยความสะดวกที่ เหมาะสมให้ ก ั บ นั กท่ องเที ่ ย วจะทำให้ น ั ก ท่ อ งเที ่ ย วมี ค วาม ประทั บ ใจต่อโรงแรมและสถานที ่ ท่ องเที ่ยวนั้ น ๆ ซึ ่ ง จะทำให้ นักท่องเที่ยวเลือกเดินทางกลับมายังโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยว เดิ มได้ ขณะเดี ย วกั นหากโรงแรมและแหล่ งท่ องเที ่ย วไม่ มีสิ่ง อำนวยความสะดวกที ่ เ หมาะสมให้ ก ั บ นั ก ท่ อ งเที ่ ย ว หาก นักท่องเที่ยวได้รับประสบการณ์ที่ไม่ประทับใจ หรือ เกิดอุบัติเหตุ โรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวอาจจะเสียนักท่องเที่ยวบางกลุ่มไปได้ UD-A’s.4. โปรแกรมการท่องเที่ยวสำเร็จรูปที่มีความยืดหยุ่น (Available package) คือ กลุ่มผู้ประกอบการท่องเที่ยว บริษัททัวร์ต่าง ๆ ต้ อ งจั ด เตรี ย มโปรแกรมการท่ อ งเที ่ ย วที ่ ม ี ก ารออกแบบให้ เหมาะสมกับคนทุกคน สามารถเข้าใจง่าย ไม่สลับซับซ้อน และ สามารถปรั บ เปลี ่ ย นโปรแกรมการท่ อ งเที ่ ย วได้ ต ามความ เหมาะสม มีความยืดหยุ่นสอดรับกับเงื่อนไขการดำรงชี วิตของ ลูกค้า
การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
59
หากโรงแรมหรือบริษัทนำเที่ยวต่าง ๆ มีการจัดเตรียมโปรแกรม การท่องเที่ยวสำเร็จรูปที่ยืดหยุ่น สามารถปรับเปลี่ยนโปรแกรม การท่องเที่ยวตามความต้องการของนักท่องเที่ยวได้ และสามารถ รองรับคนทุกคนได้ จะทำให้นักท่องเที่ยวเกิดความประทับใจและ อาจเลื อกซื ้อโปรแกรมการท่ องเที่ ยวในวั นอื ่ น หรื อครั ้ งอื ่น ๆ เพิ่มเติม UD-A’s.5. กิ จ กรรมที ่ ท ำร่ วมกั นได้ (Inclusive Activities) คื อ โรงแรม สถานประกอบการที่พัก และ แหล่งท่องเที่ยว ต้องมีกิจกรรมที่ นักท่องเที่ยวทุกคนสามารถเข้าร่วมได้ขณะที่กำลังอยู ่ในแหล่ ง ท่องเที่ยวนั้น ๆ ไม่เกิดการแบ่งแยกใครคนใดคนหนึ่งออกจาก สังคม ซึ่งกิจกรรมต้องออกแบบมาให้คนทุกคนสามารถเข้าร่วมได้ มีความยืดหยุ่น สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมกั บ บุคคล และที่สำคัญต้องมีความปลอดภัย โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ UD-A’s.6. การให้บริการของแหล่งท่องเที่ยว (Ancillary Services) คือ การจัดเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกและการให้บริการทีเ่ กี่ยวข้อง กั บ ระบบการท่ องเที่ ยวนั กท่ องเที ่ย วควรได้ รั บ อาทิ ธนาคาร โรงพยาบาล ไปรษณีย์ อินเทอร์เน็ต และโทรคมนาคม ซึ่งบริการ เหล่านี้ต้องมีความสะดวกในการเดินทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ และ คนทุกคนสามารถเข้าถึงได้ โดยอาจต้องอาศัยการมีส่วนร่ วมของ ทุกภาคส่วนในชุมชนหรือพื้นที่นั้น ๆ เพื่อช่วยกันหนุนเสริมให้ทุก พื้นที่ได้รับการออกแบบตามแนวคิดการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
60
จะเห็นได้ว่าองค์ประกอบการท่ องเที ่ยวที่จากเดิมที่เ ป็ นการอำนวย ความสะดวกให้กับบุคคลทั่วไป เปลี่ยนเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับคนทุก คน ไม่ใช่เพียงเพื่อคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเป็นพิเศษเท่านั้น ซึ่งมีหัวใจสำคัญคือการ ทำให้คนทุกคนสามารถเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกได้อย่างเท่าเทียม มีความ สะดวกสบาย ปลอดภัย และการประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ ต้องสามารถเข้าใจได้ง่าย ไม่สลับซับซ้อน เมื ่ อเราเห็ นถึ ง ความสำคั ญ ของการท่ องเที ่ ย วเพื ่ อคนทั ้ ง มวลและ แนวทางการปรั บปรุ งสถานที ่ รวมถึ งแนวทางการบริการเพื ่ อคนทั ้งมวลแล้ว ในตอนต่อไปจะกล่าวถึง กฎหมายและมาตรฐาน เนื่องจากเป็นแนวทางในการ ปรับปรุงสถานที่ทางกายภาพเพื่อให้คนทุกคนสามารถเดินทางไปยังโรงแรมและ แหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกสบาย
การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
61
เอกสารอ้างอิงท้ายบท ชุมเขต แสวงเจริญ, (กันยายน 2562). การส่งเสริมและจัดทำแผนขับเคลื่อนการ ท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวล ระยะเวลาดำเนินการ 3 เดือน ตั้งแต่เดือน มิถุนายน–กันยายน 2562 จำนวน 202 หน้า ปทุมธานี, 2562. ชุมเขต แสวงเจริญ. (2563). โครงการส่งเสริมการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อเพิ่มศักยภาพแก่แหล่งท่องเที่ยวและสถานประกอบการในพื้นที่ พิเศษเมืองพัทยาและพื้นที่เชื่อมโยงเพื่อให้สามารถรองรับการท่องเที่ยวเพื่อ คนทั้งมวล (รายงานวิจัย). ปทุมธานี: หน่วยวิจัยและออกแบบเพื่อคนทั้งมวล คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ชุมเขต แสวงเจริญ. (2562). โครงการส่งเสริมและจัดทำแผนขับเคลื ่อ นการ ท่องเที่ยวเพือ่ คนทั้งมวล (รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์). ปทุมธานี: หน่วยวิจยั และออกแบบเพื่อคนทั้งมวล คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การ มหาชน). ชุดความรู้ เรื่องสถานที่ท่องเที่ยวและสิ่งอำนวยความสะดวก สำหรับทุกคน. Collier, A., & Harraway, S. (1 9 9 7 ) . Principler of tourism. Auckland: Longman. J. Pelasol.(2012). Igcabugao: A Potential Tourist Destination in the Southern Part of Iloilo, Philippines. International Peer Reviewed Journal JPAIR Multidisciplinary Research is being certified for QMS ISO 9001:2008 by the Anglo Japanese American Registrars of the United Kingdom. Buhalis, D. (2000). Marketing the competitive destination in the future. Tourism Management Vol. 21 No.1. pp. 97-116.
การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
62 การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
63 บทที่ 6 กฎหมายและมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง ในบทนี้จะเป็นการกล่าวถึงข้อกฎหมายและมาตรฐานการออกแบบ เพื่อคนทั้งมวลทั่วไปที่สถานประกอบการและแหล่งท่องเที่ยวควรมี เพื่อรองรับ นักท่องเที่ยวทุกกลุ่ม ทุกประเภท ไม่เลือกปฏิบัติหรือกีดกันคนกลุ่มใดกลุ่ มหนึ่ง รวมทั ้ ง เกณฑ์ ม าตรฐานการให้ ค ะแนนดาวโรงแรม ในส่ ว นของกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ ผู้สูงอายุ และคนทั้งมวล ในหนังสือเล่มนี้จะกล่าวถึง กฎหมาย 3 ฉบับ ได้แก่ - พระราชบัญญัตสิ ่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 - กฎกระทรวงกำหนดสิ ่ ง อำนวยความสะดวกในอาคารสำหรั บ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชรา พ.ศ.2548 - กฎกระทรวงกำหนดลักษณะ หรือการจัดให้มีอุปกรณ์ สิ่งอำนวย ความสะดวก หรือบริการในอาคาร สถานที่ หรือบริการสาธารณะ อื่น เพื่อให้คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ พ.ศ. 2555 สำหรับมาตรฐานที่เกี่ยวข้องมี 2 เรื่อง ได้แก่ - ประกาศกรมการท่องเที่ยว เรื่องกำหนดมาตรฐานการท่องเที่ยวไทย มาตรฐานการบริการนักท่องเที่ยว กลุ่มคนพิการ ผู้สูงอายุ และ ครอบครัวที่มีเด็กเล็กและสตรีมีครรภ์ - พระราชบัญญัตคิ นพิการอเมริกัน (The American with Disabilities Act: ADA) การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
64
6.1. พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 พระราชบัญญัติส่งเสริ มและพัฒ นาคุ ณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 เป็นกฎหมายที่มุ่งเน้นให้คนพิการ ได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพ มีการจัดสวัสดิการ การส่งเสริมและพิทักษ์สิทธิ การสนับสนุนให้คนพิการสามารถดำรงชีวิตอิสระ มีศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ และเสมอภาคกับบุคคลทั่วไป ส่งเสริมการมีส่วน ร่วมทางสังคมอย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ ภายใต้สภาพแวดล้อมที่คนพิการ สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ พระราชบัญญัติส่งเสริ มและพัฒ นาคุ ณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 ได้กล่าวถึงการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการไว้ดังนี้ มาตรา 20 คนพิการมีสิทธิเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้จากสิ่งอำนวยความ สะดวกอั นเป็ นสาธารณะตลอดจนสวั ส ดิ การและความช่ วยเหลื ออื ่ นจากรัฐ ดังต่อไปนี้ (4) การยอมรั บ และมี ส ่ วนร่ วมในกิ จกรรมทางสั ง คม เศรษฐกิ จและ การเมืองอย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพบนพื้นฐานแห่งความเท่าเทียมกับบุคคล ทั่วไป ตลอดจนได้รับสิ่งอำนวยความสะดวกและบริการต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับ คนพิการ (6) ข้อมูลข่าวสาร การสื่อสาร บริการโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการสื่อสารสำหรับคน พิการทุกประเภทตลอดจนบริการสื่อสาธารณะจากหน่วยงานของรัฐหรือเอกชน ที ่ ได้ รั บ งบประมาณสนั บ สนุ นจากรั ฐ ตามหลั กเกณฑ์ วิ ธี การและเงื ่ อนไขที่ รั ฐ มนตรี ว่ า การกระทรวงเทคโนโลยี ส ารสนเทศและการสื ่ อสารกำหนดใ น กฎกระทรวง (7) บริการล่ามภาษามือตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
65
(8) สิทธิที่จะนำสัตว์นำทาง เครื่องมือหรืออุปกรณ์นำทาง หรือเครื่องช่วย ความพิการใด ๆ ติดตัวไปในยานพาหนะหรือสถานที่ใด ๆ เพื่อประโยชน์ในการ เดินทาง และการได้รับสิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะ โดยได้ รับการ ยกเว้ นค่ า บริการ ค่ า ธรรมเนี ย ม และค่ า เช่ าเพิ่ มเติ มสำหรั บ สั ตว์ เครื ่ องมือ อุปกรณ์ หรือเครื่องช่วยความพิการดังกล่าว (10) การปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย การมีผู้ช่วยคนพิการ หรือการจัด ให้มีสวัสดิการอื่นตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนดในระเบียบ 6.2. กฎกระทรวงกำหนดสิ่งอำนวยความสะดวกในอาคารสำหรับผู้พิการ หรือทุพพลภาพ และคนชรา พ.ศ. 2548 กฎกระทรวงฉบับนี้ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 122 ตอนที่ 52 ก เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2548 ซึ่ง กำหนดให้อาคารที่ก่อสร้างภายหลัง 60 วันที่ กฎกระทรวงออกมามี ผลบังคั บใช้ ต้องจั ดให้ มี การจัดสิ่ งอำนวยความสะดวก ภายในอาคารสำหรับคนพิการหรือทุพพลภาพและคนชรา ตามคำพิพากษาของ ศาลปกครองกลางที่ 1059/2552 เห็นว่ากฎกระทรวงนี้ถือเป็นกฎเกณฑ์ในการ ได้รับสิทธิในสิ่งอำนวยความสะดวกของคนพิการตามรัฐธรรมนูญเป็นการเฉพาะ จึงมีสภาพบังคับกับอาคารต่าง ๆ ที่อยู่ในข่ายบังคับตามกฎกระทรวงตั้งแต่วันที่ 2 ตุลาคม 2548 เป็นต้นมา สำหรับรายละเอียดมีดังนี้ (1) โรงพยาบาล สถานพยาบาล ศูนย์บริการสาธารณสุข สถานีอนามัย อาคาร ที่ทำการของราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การของรัฐที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย สถานศึกษา หอสมุดและพิพิธภัณฑสถานของรัฐ สถานีขนส่งมวลชน เช่น ท่าอากาศยาน สถานี รถไฟ สถานีรถ ท่าเทียบเรือที่มีพื้นที่ส่วนใดของอาคารที่เปิดให้บริการแก่บุคคลทั่ วไป เกิน 300 ตารางเมตร (2) สำนั กงาน โรงมหรสพ โรงแรม หอประชุ ม สนามกี ฬา ศู นย์ การค้ า ห้างสรรพสินค้าประเภทต่าง ๆ ที่มีพื้นที่ส่วนใดของอาคารที่เปิดให้บริการแก่บุคคล ทั่วไปเกิน 2,000 ตารางเมตร การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
66
(3) สิ ่ ง อำนวยความสะดวกสำหรั บ ผู ้ พ ิ การหรื อทุ พ พลภาพ และคนชรา
หมายถึง ส่วนของอาคารที่สร้ างขึ้ นและอุป กรณ์ อันเป็นส่วนประกอบของอาคารที่ ติดหรือตั้งอยู่ภายในและภายนอกอาคารเพื่ ออำนวยความสะดวกในการใช้ อาคาร สำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชรา ที่ผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชราใช้ได้ สะดวก ปลอดภัย
จากข้ อ ความใน วงเล็ บ 3 จะระบุ ไ ว้ ช ั ด เจนว่ า โรงแรมและสถาน ประกอบการที่เข้าข่ายดังกล่าว จำเป็นจะต้ องจัดเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวก สำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ ให้มีความปลอดภัย สะดวกในการใช้พื้นที่ และ ดำรงชีวิตภายในโรงแรมนั้น ๆ กฎกระทรวงฉบับนี้กำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับสิ่งอำนวยความสะดวกที่ ต้องจัดให้มีไว้ 9 หมวด ได้แก่ หมวด 1 ป้ายแสดงสิ่งอำนวยความสะดวก หมวด 2 ทางลาดและลิฟต์ หมวด 3 บันได หมวด 4 ที่จอดรถ หมวด 5 ทางเข้าอาคาร ทางเดินระหว่างอาคาร และทางเชื่อมระหว่างอาคาร หมวด 6 ประตู หมวด 7 ห้องส้วม หมวด 8 พื้นผิวต่างสัมผัส และหมวด 9 โรงมหรสพ หอประชุม และ โรงแรม รายละเอียดของหมวดที่ 9. โรงมหรสพ หอประชุม และโรงแรม เฉพาะที่ เกี่ยวข้องกับโรงแรม มีรายะละเอียดดังนี้ ข้อ 27 อาคารตามข้อ 3 ที่เป็นโรงแรมที่มีห้องพักตั้งแต่ 100 ห้อง ขึ้นไป ต้องจัดให้มีห้องพักที่ผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชรา เข้าใช้ได้ไม่น้อยกว่า หนึ่งห้องต่อจำนวนห้องพักทุก 100 ห้อง โดยห้องพักดังกล่าวต้องมีสว่ นประกอบ และมีลักษณะ ดังต่อไปนี้ (1) อยู่ใกล้บันไดหรือบันไดหนีไฟหรือลิฟต์ดับเพลิง
การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
67
(2) ภายในห้องพักต้องจัดให้มีสัญญาณบอกเหตุหรือเตือนภัยทั้งสัญญาณ ที ่ เ ป็ นเสี ยงและแสง และระบบสั ่ นสะเทือนติ ดตั ้ งบริ เ วณที ่นอนในกรณีเกิด อัคคีภัยหรือเหตุอันตรายอย่างอื่น เพื่อให้ผู้ที่อยู่ภายในห้องพักทราบ และมีสวิตช์ สัญญาณแสงและสวิตช์สัญญาณเสียงแจ้งภัยหรือเรียกให้ผู้ที่อยู่ภายนอกทราบว่า มีคนอยู่ในห้องพัก (3) มีแผนผังต่างสัมผัสของอาคารในชั้นที่มีห้องพักที่ผู้พิการหรือทุพพล ภาพ และคนชราเข้าใช้ได้ มีอักษรเบรลล์แสดงตำแหน่งของห้องพัก บันไดหนีไฟ และทิศทางไปสู่บันไดหนีไฟโดยติดไว้ที่กึ่งกลางบานประตูด้านในและอยู่สูงจาก พื้นไม่น้อยกว่า 1,300 มิลลิเมตร แต่ไม่เกิน 1,700 มิลลิเมตร (4) มีสัญลักษณ์รูปผู้พิการติดไว้ที่ประตูด้านหน้าห้องพักสำหรับผู้พิการ หรือทุพพลภาพ และคนชรา ข้อ 28 ห้องพักในโรงแรมที่จัดสำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชรา ต้องมีที่อาบน้ำซึ่งเป็นแบบฝักบัวหรือแบบอ่างอาบน้ำโดยมีลักษณะ ดังต่อไปนี้ (1) ที่อาบน้ำแบบฝักบัว (ก) มีพื้นที่ว่างขนาดความกว้างไม่น้อยกว่า 1,100 มิลลิเมตร และความ ยาวไม่น้อยกว่า 1,200 มิลลิเมตร (ข) มีที่นั่งสำหรับอาบน้ำที่มีความสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 450 มิลลิเมตร แต่ไม่เกิน 500 มิลลิเมตร (ค) มีราวจับในแนวนอนที่ด้านข้างของที่นั่ง มีความสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 650 มิลลิเมตร แต่ไม่เกิน 700 มิลลิเมตร และยาวไม่น้อยกว่า 650 มิลลิเมตร แต่ไม่เกิน 700 มิลลิเมตร และมีราวจับในแนวดิ่งต่อจากปลายของราวจับใน แนวนอน และมีความยาวจากปลายของราวจับในแนวนอนขึ้นไปอย่างน้อย 600 มิลลิเมตร
การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
68
(2) ที่อาบน้ำแบบอ่างอาบน้ำ (ก) มี ร าวจั บ ในแนวดิ ่ ง อยู ่ ห ่ า งจากผนั ง ด้ า นหั ว อ่ า งอาบน้ ำ 600 มิลลิเมตร โดยปลายด้านล่างอยู่สูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 650 มิลลิเมตร แต่ไม่เกิน 700 มิลลิเมตร มีความยาวอย่างน้อย 600 มิลลิเมตร (ข) มีราวจับในแนวนอนที่ปลายของราวจับในแนวดิ่ง และยาวไปจนจด ผนังห้องอาบน้ำด้านท้ายอ่างอาบน้ำ ราวจับในแนวนอนและในแนวดิ่งอาจเป็นราวต่อเนื่องกันก็ได้ และมี ลักษณะตามที่กำหนดในข้อ 8 (7) (ก) และ (ข) (3) สิ่งของ เครื่องใช้หรืออุปกรณ์ภายในที่อาบน้ำให้อยู่สูงจากพื้นไม่ น้อยกว่า 300 มิลลิเมตร แต่ไม่เกิน 1,200 มิลลิเมตร ทั ้ ง นี ้ จะได้ แ สดงรายละเอี ยดและแนวทางการออกแบบที ่ ผ สานกับ มาตรฐาน และ กฎหมายอื่น ในบทต่อ ๆ ไป 6.3. กฎกระทรวงกำหนดลักษณะ หรือการจัดให้มีอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความ สะดวก หรือบริการในอาคาร สถานที่ หรือบริการสาธารณะอื่น เพื่อให้ คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ พ.ศ. 2555 กฎกระทรวงฉบับนี้ได้กำหนดรายละเอียดสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับ คนพิการ 23 องค์ประกอบ ซึ่งสามารถใช้เป็นแนวทางในการออกแบบได้ โดยมี การระบุรายละเอียด รายการต่าง ๆ และมีการระบุรายละเอียดมาตรฐานของ อุปกรณ์หรือการให้บริการต่าง ๆ ไว้ในบัญชีท้ายกฎกระทรวง ซึ่งทำให้สามารถ เข้าใจและนำไปใช้ได้ง่ายยิ่งขึ้น ใน ข้อ 5 ของกฎกระทรวงได้ระบุว่า อาคารหรือ สถานที ่ ของหน่ วยงานของรั ฐ องค์ กรเอกชน หรื อองค์ กรอื ่นใดให้ มี อุปกรณ์ สิ ่ ง อำนวยความสะดวก หรื อบริ การเพื ่ อให้ ค นพิ การสามารถเข้ า ถึ ง และใช้ ประโยชน์ได้อย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ที่นั่งสำหรับคนพิการหรือพื้นที่สำหรับ จอดรถเข็นคนพิการ 1. ทางลาด การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
69
2. พื้นผิวต่างสัมผัสสำหรับคนพิการทางการเห็น 3. บันไดเลื่อนสำหรับคนพิการ 4. ทางลาดเลื่อนหรือทางเลื่อนในแนวราบ 5. ราวกันตกหรือผนังกันตก 6. ถังขยะแบบยกเคลื่อนที่ได้ 7. สถานที่ติดต่อหรือประชาสัมพันธ์สำหรับคนพิการ 8. โทรศัพท์สาธารณะสำหรับคนพิการ 9. จุดบริการน้ำดื่มสำหรับคนพิการ 10. ตู้บริการเงินด่วนสำหรับคนพิการ 11. ประตูสำหรับคนพิการ 12. ห้องน้ำสำหรับคนพิการ 13. ลิฟต์สำหรับคนพิการ 14. ที่จอดรถสำหรับคนพิการ 15. สั ญ ญาณเสี ย งและสั ญ ญาณแสงขอความช่ ว ยเหลื อ สำหรั บ คนพิการ 16. ป้ายแสดงอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ 17. ทางสัญจรสำหรับคนพิการ 18. ตู้ไปรษณีย์สำหรับคนพิการ 19. พื้นที่สำหรับหนีภัยของคนพิการ 20. การประกาศเตือนภัยสำหรับคนพิ ก ารทางการเห็น และตัวอักษร ไฟวิ่งหรือสัญญาณไฟเตือนภัยสำหรับคนพิการทางการได้ยินหรื อสื่อ ความหมาย 21. การประกาศข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับคนพิการทางการเห็น และ ตัวอักษรไฟวิ่งหรือป้ายแสดงความหมายสำหรับคนพิการทางการ ได้ยินหรือสื่อความหมาย 22. เจ้าหน้าที่ซึ่งผ่านการฝึกอบรมและมีคุณสมบัติตรงกับ ความต้องการ ของคนพิการแต่ละประเภทอย่างน้อยหนึ่งคนเพื่อให้บริการคนพิการ การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
70
สำหรั บ กฎกระทรวงฯ ฉบั บ นี้ ให้ ใช้ ควบคู ่ กั บ กฎกระทรวงกำหนด สิ่งอำนวยความสะดวกในอาคารสำหรับผู้ พิการหรื อทุ พพลภาพ และคนชรา พ.ศ. 2548 ซึ ่ ง หากรายการใดไม่ ป รากฏในกฎกระทรวงฯ 2548 ก็ ใ ห้ ยึ ด รายละเอียดตามประกาศแนบท้ายกฎกระทรวงฯ นี้ 6.4. ประกาศกรมการท่องเที่ยว เรื่อง กำหนดมาตรฐานการท่องเที่ยวไทย มาตรฐานการบริ ก ารนั ก ท่ อ งเที ่ ยว กลุ ่ มคนพิ ก าร ผู ้ สู งอายุ และ ครอบครัวที่มีเด็กเล็กและสตรีมีครรภ์ สำหรับประกาศกรมการท่องเที่ยว เรื่อง กำหนดมาตรฐานการท่องเที่ยว ไทย มาตรฐานการบริการนักท่องเที่ยว กลุ่มคนพิการ ผู้สูงอายุ และครอบครัว ที ่ มี เ ด็ กเล็ กและสตรี มี ครรภ์ มาตรฐานเลขที ่ มทท. 310 : 2556 ใช้ ส ำหรับ ผูป้ ระกอบธุรกิจท่องเที่ยว ได้แก่ ที่พักแรม ร้านอาหาร/ภัตตาคาร บริการขนส่ง ร้านขายของที่ระลึก สถานบันเทิงและนันทนาการ แหล่งท่องเที่ยว ศูนย์บริการ ข้อมูล สถานีบริการน้ำมัน และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ทั้งในการให้บริการหรือรับ บริการ เพื่อนักท่องเที่ยวกลุ่มคนพิการ ผู้สูงอายุ ครอบครัวที่มีเด็กเล็ กและสตรี มีครรภ์ และใช้เพื่อการรับ รองคุณภาพการบริการ ประกอบ ด้วยข้อกำหนด คุณภาพการบริการจำนวน 3 องค์ประกอบหลัก โดยมีอายุการรับรอง 3 ปี คือ 1. ข้อกำหนดด้านการบริหารจัดการ ประกอบด้วยพันธกิจและขอบเขต ของการให้ บ ริ การ การพั ฒ นาทรั พยากรบุ ค คล และการแก้ ไขข้ อร้ องเรี ยน ข้อเสนอแนะของลูกค้า 2. ข้ อกำหนดด้ า นการให้ บ ริ การ ประกอบด้ วย การให้ บ ริ การแก่ นักท่องเที่ยวกลุ่มคนพิการ ผู้สูงอายุ และครอบครัวที่มีเด็กเล็ก และสตรีมีครรภ์ ได้ อย่ า งถู กต้ อง ตอบสนองต่ อความประสงค์ จากผู ้ รั บ บริ การอย่ า งรวดเร็ว การให้ บ ริ ก ารด้ า นข้ อ มู ล ข่ า วสารและการสื ่ อ สาร การให้ บ ริ ก ารอุ ป กรณ์ เครื่องช่วยอำนวยความสะดวก การให้บริการด้านการรักษาพยาบาล และการ ให้บริการในการเดินทาง การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
71
3. ข้ อกำหนดด้ านสิ ่งแวดล้ อม อาคารสถานที่ มี มาตรฐานที ่อ้างอิง มาตรฐานตามกฎกระทรวงกำหนดสิ่ งอำนวยความสะดวกในอาคารสำหรับ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชรา พ.ศ. 2548 และมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2552 จำนวนสิ่งอำนวยความสะดวกมีทั้งหมด 5 องค์ประกอบ คือ 1) ที่จอดรถ 2) ทางลาด 3) ห้องน้ำห้องส้วม 4) ป้ายและสัญลักษณ์ และ 5) บริการข้อมูล ร่วมกับแนวคิดเกี่ยวกับเกณฑ์มาตรฐานการออกแบบสำหรับคนพิการ 6.5. พระราชบัญญัติคนพิการอเมริกนั (The American with Disabilities Act: ADA) พระราชบัญญัติคนพิการชาวอเมริกัน (ADA) เริ่มประกาศใช้เป็นกฎหมาย ในปี 2533 ถือเป็นกฎหมายสิทธิ พลเมืองที่ห้ามการเลือกปฏิบัติต่อบุคคลที ่มี ความพิการในทุกด้านของชีวิตในพื้นที่อันเป็นสาธารณะ รวมถึง สถานศึกษา ระบบขนส่งมวลชน และสถานที่สาธารณะ ทั้งของรั ฐและเอกชนทุกแห่งที่เปิด บริการให้กับประชาชนทั่วไป
วัตถุประสงค์ของกฎหมายเพื่อให้ประชาชนมั่นใจว่าคนพิการมี สิทธิและ โอกาสเท่าเทียมกับคนอื่น ๆ และเพื่อกำหนดมาตรฐานการจัดความช่ วยเหลือที่ เหมาะสมและสมเหตุสมผลสำหรับคนพิการ เพื่อลดปัญหาการแบ่งแยกหรื อ เลือกปฏิบัติจากบุคคลอื่นในสังคม สำหรับ ADA แบ่งออกเป็นห้าชื่อเรื่อง (หรือส่วน) ที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ต่าง ๆ ของชีวิตสาธารณะ หัวข้อ I – การจ้างงาน คือ รัฐต้องช่วยให้คนพิการเข้าถึงโอกาสในการจ้าง งานและสิทธิประโยชน์แบบเดียวกันกับคนพิการ สำหรับนายจ้างที่มีพนักงาน 15 คนขึ้นไป นายจ้างต้องจัดหาที่พักที่เหมาะสมให้กับพนักงานคนพิการตาม เหมาะสม หัวข้อ II - บริการสาธารณะ: รัฐและรัฐบาลท้องถิ่น คือ ห้ามมิให้มีการเลือก ปฏิบัติบนพื้นฐานของความพิการโดย "หน่วยงานสาธารณะ" การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
72
หัวข้อ III – ที่พักสาธารณะและบริการที่ดำเนินการโดยหน่วยงานเอกชน คือ ห้ามมิให้สถานที่พักสาธารณะเลือกปฏิบัติต่ อผู ้พิ การ สำหรับสถานที่พัก สาธารณะ ได้ แ ก่ สถานที ่ที่ เป็ นของเอกชนเช่า หรื อดำเนิ นการ เช่ น โรงแรม ร้านอาหาร ร้านค้าปลีก สำนักงานแพทย์ สนามกอล์ฟ โรงเรียนเอกชน ศูนย์รับ เลี้ยงเด็ก สโมสรสุขภาพ สนามกีฬา โรงภาพยนตร์ และอื่ น ๆ หัวข้อ IV – โทรคมนาคม คือ กำหนดให้ บริษัท โทรศัพท์และอินเทอร์เน็ต จัดให้มีระบบถ่ายทอดสัญญาณโทรคมนาคมระหว่างรัฐและภายในรัฐทั่วประเทศ ซึ่งช่วยให้บุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยินหรือการพูดสามารถสื่อสารทาง โทรศัพท์ได้ ต้องมีคำบรรยายแบบปิดของประกาศบริการสาธารณะที่ ได้รับทุน จากรัฐบาลกลาง หัวข้อ V - บทบัญญัติเบ็ดเตล็ด สำหรับสถานประกอบการประเภทโรงแรม ที่พัก สามารถนำมาตรฐาน การออกแบบเพื่ อการเข้ าถึ งมาใช้เ พื ่ อเป็ นแนวทางในการออกแบบ ห้ องพัก สิ่งอำนวยความสะดวก พื้นที่นันทนาการได้ หากมีเนื้อหาที่เหมือนกันระหว่าง พระราชบัญญัติคนพิการชาวอเมริกันและกฎกระทรวงกำหนดสิ่งอำนวยความ สะดวกในอาคารสำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชรา พ.ศ. 2548 ขอให้ ยึดระเบียบของกฎกระทรวงกำหนดสิ่งอำนวยความสะดวกในอาคารสำหรั บ ผู ้ พิ การหรื อทุ พพลภาพ และคนชรา พ.ศ. 2548 เป็ นหลั ก เนื ่ องจากเป็ น ข้อกฎหมายที่บังคับใช้ในประเทศไทย อย่ า งไรก็ ต ามหากสถานประกอบการต้ องการพั ฒนาที่ พั กไปในอีก ระดับเพื่อรองรับคนทุกคน ข้อกำหนดในส่วนกฎหมายจะเป็นส่วนสำคัญในการที่ จะทำให้สถานประกอบการสามารถขยายฐานนักท่องเที่ยว ให้มีความหลากหลาย มากยิ่งขึ้น การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
73
เอกสารอ้างอิงท้ายบท กรมการท่ องเที ่ ย ว กระทรวงการท่ องเที ่ ย วและกี ฬ า.(2555). การบริ ก าร นักท่องเที่ยวกลุ่มคนพิการ ผู้สูงอายุ และครอบครัวที่มีเด็กเล็กและสตรี มีครรภ์. กระทรวงมหาดไทย. กฎกระทรวงกำหนดสิ ่ ง อำนวยความสะดวกใน อาคารสำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชรา พ.ศ.2548. (2548, 2 กรกฎาคม). ราชกิจจานุเบกษา, 122 (ตอนที่ 52 ก), 4-19 กฎกระทรวงกำหนดสิ่งอำนวยความสะดวกในอาคารสำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชรา พ.ศ. 2548 ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 กฎกระทรวงกำหนดสิ่งอำนวยความสะดวกในอาคารสำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชรา พ.ศ. 2555 ชุมเขต แสวงเจริญ, เอกสารประกอบการสอน เรื่อง การออกแบบเพื่อคนทั้งมวล (Universal Design). หลักสูตรภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรม ศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร. 2561 ชุ มเขต แสวงเจริ ญ . (2562). ปรั บ เมื องเพื ่ อคนทั ้ ง มวล. กรุ ง เทพฯ: สถาบั น พระปกเกล้า. สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์. คู่มือปฏิบัติวิชาชีพสถาปัตยกรรม การออกแบบสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับ การ ออกแบบสำหรับทุกคน. กรุงเทพมหานคร.2551 Department of Justice. (2010). 2010 ADA Standards for Accessible Design. U.S. Architectural and Transportation Barrier Compliance Board. Americans with disabilities Act (ADA) Accessibility Guidelines for Buildings and Facilities. U.S.A. 2002.
การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
74 การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
75 บทที่ 7 แนวคิดในการออกแบบวางผังบริเวณ สถานประกอบการประเภทโรงแรม เป็นองค์ประกอบหนึ่งในองค์ประกอบ ของการท่องเที่ยว 6 อย่าง คือ ที่พักในแหล่งท่องเที่ยว (Accommodations) ซึ่งหากที่พักในแหล่งท่องเที่ยวมีการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกไว้รองรับการใช้ งานที่ครอบคลุมนักท่องเที่ยวทุกกลุ่ม จะเป็นการช่วยส่งเสริมให้พื้นที่นั้น ๆ มี การท่องเที่ยวอื่น ๆ ที่เพิ่มขึ้นมาด้วย โดยแนวทางการออกแบบที่พักในแหล่ง ท่องเที่ยวหรือสถานประกอบการโรงแรม ต้องมีการวางผังโซนต่าง ๆ ให้เชื่อมต่อ ใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง และ ครบถ้วนทั่วถึง การแบ่งโซนพื้นที่ให้บริการสถานประกอบการโรงแรม ที่พัก รีสอร์ต นั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 โซนหลัก คือ โซนพื้นที่สาธารณะ (Public Zone) โซนพื ้ น ที ่ กึ ่ ง สาธารณะ (Semi- Public Zone) โซนพื ้ น ที ่ ส ่ ว นตั ว (Private Zone) และโซนพื้นที่สำนักงานและการบริการ (Office and Service Zone) โซนพื ้ นที ่ สาธารณะ (Public Zone) เป็นโซนพื้นที่ให้บริการแก่ บุคคลทั่วไป ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ พื้นที่โซนนี้จึงควรจัดให้อยู่ทางด้านหน้า ในพื้นที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย พื้นที่นี้ประกอบไปด้วย ที่จอดรถ ส่วนต้อนรับและ บริการข้อมูล ห้องน้ำทั่วไป ซึ่งห้องน้ำของคนทั่วไปและห้องน้ำของผู้สูงอายุ และ คนพิการ ควรอยู่จัดให้อยู่ในตำแหน่งเดียวกัน การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
76
โซนพื้นที่กึ่งสาธารณะ (Semi- Public Zone) เป็นโซนพื้นที่กึ่ง เปิดให้บริการสาธารณะแต่ไม่ได้เปิดให้คนนอกเข้าถึงได้เลย ต้องมีการติดต่อ ประสานงานก่ อน จึ ง จะเข้ าใช้ได้ เป็ นโซนพื ้ นที ่ สำหรั บผู ้ เข้ า รับ บริ การของ โรงแรม ที่พัก รีสอร์ตเท่านั้น เช่น ห้องประชุม สระว่ายน้ำ ฟิตเนส ซาวน่า สปา เป็นต้น สำหรับโซนนี้ให้วางผังตามระดับความเป็นส่วนตัว ซึ่งส่วนใหญ่อาจจัด โซนรวมกัน เพื่อให้สามารถเข้าถึงได้ง่ายจากทั้งส่วนหน้า และส่วนของห้องพัก โซนพื้นที่ส่วนตัว (Private Zone) เป็นโซนที่มีความเป็นส่วนตัวสูง ลูกค้าที่เช็กอินเข้าพักแล้วเท่านั้นจึงจะสามารถเข้าพื้นที่โซนนี้ ได้ ซึ่งพื้นที่นี้หลัก ๆ คือ ส่วนของห้องพักลู กค้ า เป็นต้น สำหรับห้องพักคนพิ การหรื อผู ้ส ูง อายุ ควรจัดให้มีทุกชั้น และทุกแบบของห้องพัก ตามสัดส่วนที่กฎหมายกำหนด หรือ มากกว่า และการเข้าใช้พื้นที่ส่วนกลางต้องง่าย ไม่ไกล และไม่มีอุปสรรค อีกทั้ง ต้องคำนึงถึงการรออพยพ และการอพยพในกรณีฉุกเฉินด้วย โซนพื้นที่สำนักงานและการบริการ (Office and Service Zone) ผู้ใช้งานหลัก คือ พนักงานและเจ้าหน้าที่ของโรงแรม ลูกค้าจะไม่สามารถเข้าถึง พื้นที่ส่วนนี้ได้ ซึ่งพื้นที่นี้ประกอบไปด้วย สำนักงาน ห้องพักผู้จัดการ ห้องพัก เจ้าหน้าที่ ห้องซักรีด เป็นต้น สำหรับโซนนี้ อาจจัดรวมกันหรือแยกเป็นส่วนย่อย ก็ได้ ขึ้นอยู่กับระยะการให้บริการและหน้าที่ของแต่ละส่วน
การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
77
Entrance
Public Zone Service
Service
Semi-Public Zone Private Zone
Private Zone
Service
Private Zone
Service
Service way ภาพที่ 7.1 ลักษณะการวางผังบริเวณเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงการใช้งานพื้นที่จอดคนพิการและผู้สูงอายุ
ในการพิจารณาวางผังบริเวณ หรือ จัดโซนให้คำนึงถึงการประยุกต์ใช้ กับพื้นที่และการใช้งานพื้นที่ ที่สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า โดยคำนึงถึง หลักการเบื้องต้น ดังนี้
การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
78
มี ค วามเสมอภาคทางสุ น ทรี ย ภาพ คื อ วางผั ง และออกแบบให้ กายภาพส่งเสริมความเสมอภาคในการเข้าถึงทั้งในเชิงพื้นที่และมุมมองสู่พื้นที่ ต่าง ๆ ที่มีศักยภาพด้านสุนทรียภาพแก่ลุกค้าทุกกลุ่ม ทุกเงื่อนไขการใช้ชีวิต ทำให้ ล ู กค้ า สามารถการรั บ รู ้ บ รรยากาศ มุ ม มองที ่ ด ี แ ม้ จะมองไม่ เ ห็ นแต่ มี ส ภาพแวดล้ อ มที ่ เ อื ้ อ ต่ อ การรั บ รู ้ มี ร ่ ม เงาให้ ร ู ้ ส ึ ก สบาย สามารถรั บ รู้ สภาพแวดล้อมธรรมชาติที่เป็นจุดเด่นของพื้นที่ได้ เข้าใจความต้องการของผู้ใช้งานพื้นที่ การออกแบบสภาพแวดล้อม ทั้งในเชิงระบบและรายละเอียดองค์ประกอบภายในพื้นที่ใช้งานของโรงแรมโดย ให้ มี ค วามสอดคล้ องกั บ สภาพความพิ การ หรื อ เงื ่ อนไขในการดำรงชี วิ ต ตลอดจนพฤติกรรม ทัศนคติ ความต้องการของลูกค้าทุกกลุ่ม โดยหมั่นศึกษา ข้อมูลและประเมินผลการใช้งานพื้นที่อย่างสม่ำเสมอ เพื่อสามารถปรับให้ทัน ต่อความต้องการของคนทุกกลุ่มอย่างเหมาะสม เชื่อมโยงการเข้าถึงด้วยระบบทางเดินเท้า ให้เกิดความต่อเนื่องเป็น ระบบ ตั้งแต่การเดินเท้าภายในอาคารถึงภายนอกอาคาร ให้ความสำคัญกับการ เชื ่ อมโยงสถานที ่ ต ่ า ง ๆ ที ่ เ กี ่ ย วกั บ การใช้ ช ี วิ ต ของคนพิ ก ารและผู ้ ส ู ง อายุ โดยเฉพาะพื้นที่ส่วนกลาง ต้องสามารถใช้ระบบทางเดินเท้าได้ ในทุกเงื่อนไข ไม่ว่าจะเป็นการใช้วีลแชร์ การนำทางสำหรับคนตาบอด การจัดเตรียมป้ายสัญลักษณ์ ให้มากพอสำหรับคนหูหนวก เป็นต้น ควรแยกระบบทางเดินเท้าจากทางของ รถยนต์ เพื่อไม่ให้รถยนต์เป็นอุปสรรคหรื อทำอันตรายต่อคนพิการ ผู้สูงอายุ ที่ อาจมีการเคลื่อนที่ช้ากว่าคนทั่วไป ส่วนบริเวณที่ทางเท้าที่จำเป็นต้องใช้ ร่วมกับ จักรยานนั้น จะออกแบบเขตทางให้มีช่องทางการเดินเท้าและจักรยานที่แยก ออกจากกันชัดเจน
การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
79
เอกสารอ้างอิงท้ายบท ชุมเขต แสวงเจริญ. (2562). ปรับเมืองเพื่อคนทั้งมวล. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า. ชุมเขต แสวงเจริญ ภวินท์ สิริสาลี และ ชมภูนุท ควรเขียน.(2560) แนวทางการ ปรับปรุงพื้นที่สวนลุมพินี ตามกรอบแนวคิดการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล. การสัมมนาวิชาการระดับชาติด้านคนพิการ ครั้งที่ 9. กรุงเทพ, 2560 หน้า 419-436 ชุ มเขต แสวงเจริญ , เอกสารประกอบการบรรยาย การปรั บ สภาพแวดล้อม สำหรับคนพิการตามแนวคิด การออกแบบเพื่อทุกคน (Universal Design). ชุมเขต แสวงเจริญ, เอกสารประกอบการสอน เรื่อง การออกแบบเพื่อคนทั้งมวล (Universal Design). หลักสูตรภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และการผังเมืองมหาวิทยาลัยธรรม ศาสตร์. กรุงเทพมหานคร. 2561 ชุมเขต แสวงเจริญ. (2563). โครงการส่งเสริมการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อเพิ่มศักยภาพแก่แหล่งท่องเที่ยวและสถานประกอบการในพื้นที่ พิเศษเมืองพัทยาและพื้นที่เชื่อมโยงเพื่อให้สามารถรองรับการท่องเที่ยวเพื่อ คนทั้งมวล (รายงานวิจัย). ปทุมธานี: หน่วยวิจัยและออกแบบเพื่อคนทั้งมวล คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ชุมเขต แสวงเจริญ. (2562). โครงการส่งเสริมและจัดทำแผนขับเคลื ่อ นการ ท่องเที่ยวเพือ่ คนทั้งมวล (รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์). ปทุมธานี: หน่วยวิจยั และออกแบบเพื่อคนทั้งมวล คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ไตรรั ต น์ จารุ ทั ศ น์ ชุ มเขต แสวงเจริ ญ และคณะ. คู ่ มื อปฏิ บ ั ต ิ วิ ช าชี พการ ออกแบบสภาพแวดล้ อมและสิ ่ งอำนวยความสะดวกสำหรั บ ทุกคน (Universal Design Code of Practice). — กรุงเทพมหานคร: สมาคม สถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์, 2552. บริษัท พลัส เพรส จำกัด. U.S. Architectural and Transportation Barrier Compliance Board. Americans with disabilities Act (ADA) Accessibility Guidelines for Buildings and Facilities. U.S.A., 2002. การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
80 การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
81 บทที่ 8 การออกแบบทางเดินและการเชื่อมต่อ ระบบการสั ญ จร (Circulation) ของโรงแรมควรเป็ น แบบวนกลั บ (Loop) เพื่อไม่เกิดการหลง ส่วนระบบการสัญจรย่อยในแต่ละโซนควรจัด ทำใน รู ป แบบคลั ส เตอร์ (Cluster) เพื ่ อให้ ส ามารถแจกไปยั ง ส่ วนกิ จกรรมต่ า ง ๆ ในโซนได้อย่างชัดเจน
ภาพที่ 8.1 ลักษณะระบบการสัญจรที่ใช้ระบบ Loop เป็นหลักในบริเวณ core zone ผสมกับรูปแบบอื่น ๆ การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
82
การออกแบบความสั มพั นธ์ ข องพื ้ นที ่ ใช้ ส อย เริ ่ มต้ นจากตำแหน่ ง ทางเข้ า ด้ า นหน้ า พื ้ นที ่ ที ่ ส ามารถเชื ่ อมกั บ พื้ นที ่ จอดรถ ไปยั ง ลานต้ อนรับ ตามแนวเส้นทางเดิ นหลั ก เข้ า สู ่ บ ริเ วณพื ้นที ่ ส่ วนกลางของโรงแรม ซึ ่ ง เป็น จุดแจกไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ภายในโรงแรม ตลอดจนส่งต่อไปยังห้องพัก โดยอยู่บน พื้นฐาน 5 ประการ ได้แก่ การเชื่อมต่อกับภายนอก (Linkage) ความต่อเนื่อง เชื่อมโยงของกิจกรรม (Connecting) การเข้าถึง (Accessibility) ใช้ระบบการ สัญจรแบบวนกลับ (Loop system) และการใช้งานพื้นที่ที่สะดวก (Function) ทางสั ญจรหลั กควรออกแบบให้ เป็นเส้ นทางที่ ส ามารถให้ คนทุกคน สามารถสัญจรได้อย่างสะดวก ให้ความสำคัญกับความชันที่ไม่มากนัก และวัสดุปู พื้นเรียบ ไม่ลื่น ซึ่งส่งผลให้การสัญจรของคนพิการและผู้สูงอายุเป็นไปอย่าง ราบรื่น สิ่งอำนวยความสะดวกหลัก ตลอดจนห้องน้ำและพื้นที่นั่งพัก ควรตั้ง บริ การอยู ่โ ดยตลอดทางสัญจรหลั ก จากตำแหน่งทางเข้ าหลั กและที ่จอดรถ ควรเชื่อมต่อกับทางสัญจรหลัก และตลอดทางสัญจรควรมีการนำทาง ไม่ว่าจะ เป็นป้าย หรือสัญญาณเสียงที่เป็นระบบเดียวกัน ในการออกแบบเส้นทางควรออกแบบให้เป็นเส้นทางปลอดการเปลี่ยน ระดับแบบขั้นบันได (non step design) จะทำให้การใช้งานทั้งคนที่น่งั วีลแชร์ คนตาบอด และคนหู ห นวกที ่ กำลั ง ใช้ ภ าษามื อ สามารถทำได้ อย่ า งสะดวก และปลอดภัย ทั้งนี้ในบางครั้งจะพบเห็นเส้นทางที่ผู้ใช้วีลแชร์ไม่สามารถเข้าถึง ได้ เช่ น การมี ข ั ้ นบั นได หรื อพื ้ นทางขรุข ระ ดั ง นั ้ นควรหลี กเลี่ ยงเหตุการณ์ ดังกล่าว หรือ หากจำเป็นต้องมี จะต้องมีการให้ข้อมูล หรือ เตือนอย่างชัดเจน เพื่อป้องกันปัญหาและอุปสรรคในการใช้เส้นทาง ความสามารถในการใช้ เ ส้ นทางของคนพิ การแต่ ล ะคนนั ้ นมี ค วาม แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับประเภทและระดับทางความพิการซึ่งสามารถพิจารณา จากความแข็งแรงทางร่างกายและอุปกรณ์ช่วยเหลือของแต่ละคน คนพิการบางคน อาจเลือกที่จะสัญจรไปตลอดทางด้วยตนเอง ในขณะที่บางคนไม่สามารถสัญจร การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
83
ไปได้ ด ้ วยตนเอง ซึ ่ ง ในประเด็ นนี ้ มี ค วามสำคั ญ ต่ อการจั ด เตรี ย มทางเลื อก เพื่อสร้างโอกาสในการเข้าถึงของคนพิการ ในการออกแบบเส้นทางสัญจรควร วางแผนให้มีเส้นทางที่เป็นทางเลือกสำหรับคนพิการในระดับต่าง ๆ รวมถึงความ กว้าง ความชัน พื้นผิวทาง และการใช้ป้ายสัญลักษณ์ เพื่อแก้ไขปัญหาที่อาจเกิ ด จากสภาพร่างกายที่ต่างกัน ในกรณีที่มีพื้นที่หรือสิ่งอำนวยความสะดวกที่คนพิการไม่สามารถเข้าถึง ได้ ควรมีวิธีการอื่น ๆ ในการเข้าถึงสำหรับคนพิการ ได้แก่ การเปิดมุมมองให้ สามารถมองเห็นพื้นที่ หรือสิ่งอำนวยความสะดวกจากจุดที่เหมาะสม เป็นต้น แนวทางการออกแบบ ในกรณีที่มีอาคารหลายอาคารอยู่ภายในบริเวณเดียวกันและมีการใช้ งานร่วมกัน จะมีรั้วล้อมหรือไม่ก็ตาม ต้องมีทางสัญจรระหว่างอาคารและจากแต่ ละอาคารไปยังลานจอดรถ ตลอดจนพื้นที่ภายนอกอาคารที่เป็นพื้นที่ใช้งานของ ลูกค้าในโรงแรม
ทางสัญจรควรอยู่ในระดับเดียวกับพื้นถนนภายนอกอาคารหรือพื้นลาน จอดรถในกรณีที่อยู่ต่างระดับต้องมีทางลาดขึ้นลงได้สะดวก ทางสัญจรต้องไม่มี สิ่งที่เป็นอุปสรรคในการสัญจรทุกรูปแบบ ไม่มีส่วนของอาคารยื่นล้ำออกมาเป็น อุปสรรคหรือทำให้เกิดอันตรายต่อคนพิการและผู้สูงอายุ ทางสั ญ จรสำหรั บ ผู ้ ที ่ ใช้ วีล แชร์ ควรมี ที ่ แ วะพั กระหว่ างทางสัญจร ที่สามารถจอดรถเข็นสำหรับคนพิการได้อย่างปลอดภัยข้างทางด้วยทางสัญจร ภายนอกอาคารควรมีหลังคาคลุม หรือ ใช้ต้นไม้เพื่อให้ร่มเงา กันแดด ฝน ในขณะเดียวกันจุดแวะพักดังกล่าว ยังเป็นประโยชน์ต่อคนที่ต้องการ หยุดเดินเพื่อสื่อสารด้วยภาษามือ ทำให้การสื่อสารดังกล่าวไม่ต้องทำบนเขตทางสัญจร เกิดการใช้งานร่วมกันอย่างเหมาะสม การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
84
ควรมีอุปกรณ์กันตก สำหรับทางสัญจรที่ตัดผ่านพื้นที่ อั นตรายหรื อ ยกระดับ อุปกรณ์และป้ายสัญลักษณ์ต่าง ๆ จะต้องตั้งอยู่ในบริเวณที่ไม่ขวางทาง สัญจร ขนาดและระยะของทางสั ญ จร ต้ องกว้ า งเพี ย งพอสำหรั บ การใช้ วีลแชร์ได้สะดวกทางสัญจรสำหรับผู้ที่ใช้วีลแชร์ควรมีความกว้างสุทธิไม่น้อยกว่า 1,500 มิ ล ลิ เ มตร โดยไม่ มี ส ิ ่ ง ล้ ำ เขตทาง ถ้ า เป็ นระบบการสั ญ จรทางเดี ย ว ความกว้างสุทธิไม่น้อยกว่า 900 มิลลิเมตร ระยะเว้นว่างในแนวดิ่ง (Vertical clearance) ไม่ต่ำกว่า 2,000 มิลลิเมตร ทางเดียว
สองทาง
0.90 เมตร
1.50 เมตร
มากกว่าสองทาง
1.80 เมตร
ภาพที่ 8.2 รูปแบบทางเดินและความกว้างที่เหมาะสม
การปูแผ่นทางเท้าควรใช้วิธีที่พื้นทรุดตัวได้ยาก และปูแผ่นทางเท้าโดย ให้เสมอกับฝาท่อและคันหิน
การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
85
พื้นและพื้นผิวทางสัญจร ต้องเป็นพื้นผิวเรียบเสมอกันไม่ลื่นการปูแผ่น พื้นต้องให้ขอบแผ่นชิดกันหรือมีรอยต่อจะต้องไม่เกิน 13 มิลลิเมตร กรณีที่เป็น ทางเดินสำเร็จรูปควรมีคุณสมบัติ คือ ผิวเรียบแต่ไม่ลื่น มีร่องและรอยต่อเล็กใช้ วัสดุสึกยาก เช่น กรวดล้าง หินล้าง เป็นต้น โดยมีขนาดไม่ต่ำกว่า 300 มิลลิเมตร หากเพิ่มขนาดก็ควรใช้สัดส่วนที่ลงตัว เช่น 600 มิลลิเมตร หรือ 900 มิลลิเมตร เพื่อให้สอดคล้องกับแผ่นพื้นต่างสัมผัสขนาดมาตรฐาน สิ ่ งที ่ เป็ นอุ ปสรรคต่ อ ผู ้ พิ ก ารบนทางสั ญ จร ในกรณี ที ่ มี ส ิ ่ ง ที ่ เ ป็ น อุปสรรคต่อคนพิการที่จำเป็นต้องอยู่บนทางสัญจร ต้องจัดให้อยู่ในแนวเดียวกัน โดยไม่กีดขวางทางสัญจรและจัดให้มีพื้นผิวต่างสัมผัสหรือมีอุปกรณ์กั้นเพื่อให้ ทราบก่อนถึงสิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อคนพิการ และอยู่ห่างสิ่งที่เป็นอุปสรรคต่ อ คนพิ การไม่น้ อยกว่ า 300 มิ ล ลิ เ มตร และ มี ข นาดไม่ต่ ำกว่า 300 มิ ล ลิเมตร สำหรับบริเวณที่เป็นทางแยก ทางเลี้ยว มีการเปลี่ยนระดับ และ พื้นที่ที่อาจเกิด อันตราย ต้องจัดให้มีพื้นผิวต่างสัมผัสสำหรับเตือนการปูพื้นต่างสัมผัสสำหรับ เตือน
พื้นผิวต่างสัมผัสสำหรับเตือน (Warning Block) แผ่นพื้นผิวต่างสัมผัส บนเส้นทางสัญจรควรจะติดตั้งอยู่บนแถบนำทางซึ่งพื้นผิวพิเศษอาจช่วยบ่งบอก ถึงเส้นทางอื่น ๆ หรือ ติดตั้งตรงจุดรวมตัวของแถบนำทางบนทางข้ามถนนต่าง ๆ หรือติดตั้งรอบสิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อคนพิการ ที่มีความเสี่ยงต่อผู้ที่มีความผิดปกติ ทางสายตา ทั้งนี้ควรติดตั้งแผ่นพื้นต่างสัมผัสในบริเวณชุมทาง โดยแผ่นดังกล่าว ควรมีเนื้อที่ 300x300 มิลลิเมตร และยาวตลอดความกว้างของเส้นทางสัญจรนั้น ๆ แผ่นพื้นสำหรับนำทาง (Guiding Block) หมายถึง วัตถุตลอดแนวการ สั ญ จรที ่ใช้บ ่งบอกถึงแนวทางการเดิน เช่ น แนวแผ่ นพื ้ น แนวหญ้ า เป็ นต้น เส้นทาง และทิศทางการสัญจรต้ องสามารถใช้ สอยง่ายโดยผู้ ที ่มีความพิ การ ด้านสายตา ที่อาจใช้ไม้เท้าขาวในการสัญจร เส้นนำทางและแถบนำทางสามารถ ช่วยบุคคลที่มีความพิการดังกล่าวในการสัญจรได้ โดยการติดตั้ง ไปบนทางหรือ การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
86
ฝังไปในทางสัญจร เพื่อช่วยนำทางคนพิการทางสายตา สำหรับการติดตั้งแถบนำทาง แบบปุ่มนูนอาจเป็นอุปสรรคต่อการสัญจร หรือ เข้าใช้งานพื้นที่ของผู้ใช้ วีลแชร์ ผู้สูงอายุ และสตรีมีครรภ์ ดังนั้นการติดตั้งจึงควรพิจารณาถึงความจำเป็ นและ การประยุกต์ให้เหมาะสม แผ่นพื้นสำหรับนำทางประกอบด้วยรายละเอียด คือ ติดตั้งแผ่นพื้นสำหรับนำทางในพื้นที่ที่กว้างมากกว่า 15 เมตร โดยสามารถ ใช้เพื่อการนำทาง เส้นทางข้ามถนนแถบนำทางควรจะติดตั้งในลักษณะที่ง่าย ต่อการสังเกต โดยหลีกเลี่ยงการติดตั้งใกล้ท่อระบายน้ำ เพื่อไม่ทำให้ผู้ที่มีความ ผิดปกติทางสายตาสับสนควรจะแยกสีระหว่างแถบนำทาง และบริเวณรอบข้าง ลักษณะแถบนำทางควรจะขนานกับทิศทางสัญจรของเส้นทางถ้าเส้นทางสัญจร เปลี่ยนทิศทาง แถบนำทางควรเปลี่ยนทิศทางอย่างช้า ๆ ด้วย การเปลี่ยนระดับและความชัน ควรเปลี่ยนระดับน้อยที่สุด กรณีที่ เปลี่ยนระดับมากต้องมีทางลาด กรณีที่พื้นทางสัญจรกับถนนมีระดับต่างกันให้มี ทางลาดความชันไม่เกิน 1:10 ในกรณีที่พื้นที่ต่างระดับระหว่าง 6-13 มิลลิเมตร ให้ปาดขอบความชัน 1:2 ในกรณีที่ทางสัญจรตัดหรือเชื่อมต่อกับถนน ทางเท้า สาธารณะ หรือพื้นที่จอดรถ โดยที่พื้นทางสัญจรกับพื้นถนนมีระดับต่างกัน ทาง ลาดต้องไม่ยื่นออกไปนอกถนน มีการแสดงด้วยสีที่ชัดเจน เช่น สีส้ม สีเหลือง เป็นต้น
การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
87
เอกสารอ้างอิงท้ายบท ชุมเขต แสวงเจริญ ภวินท์ สิริสาลี และ ชมภูนุท ควรเขียน.(2560) แนวทางการ ปรับปรุงพื้นที่สวนลุมพินี ตามกรอบแนวคิดการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล. การสัมมนาวิชาการระดับชาติด้านคนพิการ ครั้งที่ 9. กรุงเทพ, 2560 หน้า 419-436 ชุ มเขต แสวงเจริญ , เอกสารประกอบการบรรยาย การปรั บ สภาพแวดล้อม สำหรับคนพิการตามแนวคิด การออกแบบเพื่อทุกคน (Universal Design). ชุมเขต แสวงเจริญ, เอกสารประกอบการสอน เรื่อง การออกแบบเพื่อคนทั้งมวล (Universal Design). หลักสูตรภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรม ศาสตร์และการผังเมืองมหาวิทยาลัยธรรม ศาสตร์. กรุงเทพมหานคร. 2561 ไตรรั ต น์ จารุ ทั ศ น์ ชุ มเขต แสวงเจริ ญ และคณะ. คู ่ มื อปฏิ บ ั ต ิ วิ ช าชี พการ ออกแบบสภาพแวดล้ อมและสิ ่ งอำนวยความสะดวกสำหรั บ ทุกคน ( Universal Design Code of Practice) . — ก ร ุ ง เ ท พ ม หานคร: สมาคมสถาปนิ กสยาม ในพระบรมราชู ป ถัมภ์ , 2552. บริ ษ ั ท พลัส เพรส จำกัด: ISBN 978-611-90213-1-0 U.S. Architectural and Transportation Barrier Compliance Board. Americans with disabilities Act (ADA) Accessibility Guidelines for Buildings and Facilities. U.S.A., 2002.
การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
88 การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
89 บทที่ 9 การออกแบบที่จอดรถ การจัดเตรียมที่จอดรถสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ จะต้องจัดอยู่ใน ตำแหน่งที่เหมาะสม คือ ใกล้ทางเข้า-ออกอาคารมากที่สุด (ไม่ควรไกลกว่า 50 เมตร) และตำแหน่งนั้นต้องไม่ขนานกับทางสัญจรของรถ อยู่ฝั่งเดียวกับทางเข้าอาคาร คนพิการจะได้ไม่ต้องข้ามฝั่งมายังตัวอาคาร ซึ่งที่จอดรถสำหรับคนพิการควรอยู่ ในลำดับแรกถัดจากทางเข้าหลักของอาคาร ตำแหน่งของช่องจอดรถควรอยู่ ในช่ วงตรง มิ ใช่ ทางโค้ งของถนน หรื อที ่ ที ่ต้ องผ่ านทางแยกทางข้ ามตัดถนน เส้นทางจากช่องจอดรถสำหรับคนพิการมาถึงตัวอาคารควรมีหลังคาคลุม ขนาดช่ อ งจอดรถคนพิ การ ควรมี ข นาดกว้า งเพี ย งพอให้ คนพิการ สามารถจอดและลงจากรถได้สะดวก มีความกว้างไม่น้อยกว่า 2400 มิลลิเมตร และความยาวไม่ น้อยกว่ า 6000 มิ ล ลิ เ มตร. และมี ที ่ว่า งด้า นข้า งสำหรับนำ รถเข็นคนพิการขนาดกว้าง 1000-1400 มิลลิเมตร มีพื้นผิวเรียบ ระดับเสมอกัน ช่องจอดรถคนพิการควรทำเครื่องหมายให้ชัดเจน ติดตั้งในตำแหน่ง ที่เห็นได้ชัดเจน โดยมีสัญลักษณ์รูปคนพิการนั่งรถวีลแชร์ ติดตั้งใน 2 จุดสำคัญ คือ 1) บนพื้นที่จอดรถด้านที่ติดกับทางสัญจรรถ เพื่อให้เวลาที่รถจอดทับยังพอ มองเห็ นสั ญ ลั กษณ์ ได้ และให้ มี ข นาดไม่ น้ อยกว่ า 900 X 900 มิ ล ลิ เ มตร 2) มีป้ายให้มองเห็นในแนวตั้งสูงพ้นจากหลังคารถ ในตำแหน่งที่ชัดเจน ติดอยู่สงู จากพื้น (ติดตั้งบนเสา แขวนจากด้านบน หรือติดผนังก็ได้) สูงไม่น้อยกว่า 2000 มิลลิเมตร ขนาดไม่น้อยกว่า 300 X 300 มิลลิเมตร การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
90 >
>
ภาพที่ 9.1 ลักษณะที่จอดรถคนพิการและผู้สูงอายุ
มีทางลาดตัดขอบถนน ในกรณีที่ระดับพื้นที่จอดรถมีความต่างระดับ กับพื้นฟุตบาท ต้องจัดให้มีทางลาดขึ้น และทางลาดควรมีความกว้างอย่างน้อย 900 มิลลิเมตร โดยไม่รวมทางลาดด้านข้าง ความชันของทางลาดต้องไม่น้อยกว่า 1:12 ตามภาพที่ 9.1
การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
91 ภาพที่ 9.2 ลักษณะทางลาดตัดขอบถนน และการติดตัง้ พื้นผิวต่างสัมผัส
ภาพที่ 9.3 ลักษณะทางลาดตัดขอบถนน และการติดตัง้ พื้นผิวต่างสัมผัส
จำนวนช่องจอดรถคนพิการและผู้สูงอายุ ตามกฎกระทรวง พ.ศ. 2548 กำหนดสัดส่วนที่จอดรถคนพิการไว้ดังนี้ กรณีมีที่จอดรถทั่วไปจำนวน 10-50 คัน ให้มีที่จอดรถคนพิการ 1 คัน มีที่จอดรถทั่วไปจำนวน 51-100 คัน ให้มีที่จอดรถ คนพิการ 2 คัน และทุก ๆ ที่จอดรถทั่วไปจำนวน 100 คันขึ้นไป ให้มีที่จอดรถ คนพิการเพิ่ม 1 คัน การดูแล ควรจัดให้มีเจ้าหน้าที่ดูแลที่จอดรถคนพิการ บริการคนพิการ ไม่ให้ผู้อื่นเข้ามาจอด มีไฟแสงสว่างเป็นพิเศษ มองเห็นชัดเจนทั้งในเวลากลางวัน และกลางคืน มีการระบายน้ำได้ดีไม่มีน้ำขัง การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
92
จุดรับส่งคน (drop off) ในการออกแบบจุดรับส่งคนทุกจุดต้องคำนึงถึง ความสะดวกในการเปลี ่ ย นผ่ า นจากยานพาหนะเข้ า สู ่ อาคารของคนพิ ก าร คนจากรถแท็ กซี ่ และรถฉุ กเฉิ น เช่ น เปลี ่ ย นพื ้ นผิ วเพื ่ อแสดงถึ ง การเป็ น จุดเปลี่ยนผ่าน มีหลังคาคลุม มีทางลาดที่เหมาะสม การให้แสงไฟส่องสว่าง มีหัวโค้ง ที่ง่ายต่อการเทียบจอดและขับออกไป
ภาพที่ 9.4 ลักษณะจุดรับส่งคน (drop off)
การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
93
เอกสารอ้างอิงท้ายบท ชุ ม เขต แสวงเจริ ญ . (2563). รู ป แบบ Universal Design ในห้ อ งประชุ ม . ใน อโนชา ทองชัย (บ.ก.), The art of conference room (น. 140-143) กรุงเทพฯ: บริษัท ศิริวัฒนา อินเตอร์พริ้นท์ จำกัด (มหาชน). ชุมเขต แสวงเจริญ. (2563). โครงการส่งเสริมการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อเพิ่มศักยภาพแก่แหล่งท่องเที่ยวและสถานประกอบการในพื้นที่ พิเศษเมืองพัทยาและพื้นที่เชื่อมโยงเพื่อให้สามารถรองรับการท่องเที่ยวเพื่อ คนทั้งมวล (รายงานวิจัย). ปทุมธานี: หน่วยวิจัยและออกแบบเพื่อคนทั้งมวล คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ชุมเขต แสวงเจริญ. (2562). โครงการส่งเสริมและจัดทำแผนขับเคลื ่อ นการ ท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวล (รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์). ปทุมธานี: หน่วยวิจัย และออกแบบเพื่อคนทั้งมวล คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ชุ มเขต แสวงเจริญ , เอกสารประกอบการบรรยาย การปรั บ สภาพแวดล้อม สำหรับคนพิการตามแนวคิด การออกแบบเพื่อทุกคน (Universal Design). ชุมเขต แสวงเจริญ, เอกสารประกอบการสอน เรื่อง การออกแบบเพื่อคนทั้งมวล (Universal Design). หลักสูตรภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และการผังเมืองมหาวิทยาลัยธรรม ศาสตร์. กรุงเทพมหานคร. 2561 ไตรรั ต น์ จารุ ทั ศ น์ ชุ มเขต แสวงเจริ ญ และคณะ. คู ่ มื อปฏิ บ ั ต ิ วิ ช าชี พการ ออกแบบสภาพแวดล้ อมและสิ ่ งอำนวยความสะดวกสำหรั บ ทุกคน ( Universal Design Code of Practice) . — ก ร ุ ง เ ท พ ม หานคร: สมาคมสถาปนิ กสยาม ในพระบรมราชู ป ถัมภ์ , 2552. บริ ษ ั ท พลัส เพรส จำกัด: ISBN 978-611-90213-1-0 U.S. Architectural and Transportation Barrier Compliance Board. Americans with disabilities Act (ADA) Accessibility Guidelines for Buildings and Facilities. U.S.A., 2002. การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
94
ภาวดี ธนวิสุทธิ์ และคณะ. 2550. การสำรวจอาคาร สถานที่สาธารณะที่เป็นมิตร สำหรั บ ผู ้ ส ู งอายุ . รายงานวิ จั ยฉบั บ สมบูรณ์ . กรุ ง เทพฯ: จุ ฬ าลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. สมาคมสถาปนิ ก สยามในพระบรมราชู ป ถั ม ภ์ . 2551. คู ่ ม ื อ ปฏิ บ ั ต ิ ว ิ ช าชี พ สถาปัตยกรรม การออกแบบสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวก สำหรับการออกแบบสำหรับทุกคน. กรุงเทพมหานคร. Gary O. Robinette. 1985. Barrier-free Exterior Design. New York. Salford University Research Focus on Accessible Environments. 2006. Code of Practice on Access and Mobility. Liverpool. U.S. Architectural and Transportation Barrier Compliance Board. 2002. Americans with disabilities Act (ADA) Accessibility Guidelines for Buildings and Facilities. U.S.A.
การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
95 การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
96 บทที่ 10 การออกแบบทางลาด (RAMP) หากระดับพื้นภายในอาคาร หรือระดับพื้นภายในอาคารกับภายนอก อาคาร หรื อ ระดั บ พื ้ น ทางเดิ น ภายนอกอาคารมี ค วามต่ า งระดั บ กั น เกิ น 20 มิลลิเมตร ให้มีทางลาดหรือลิฟต์ระหว่างพื้นที่ต่างระดับกัน แต่ถ้ามีความต่าง ระดั บ กั นไม่ เ กิ น 20 มิ ล ลิ เ มตร ต้ องปาดมุ มพื ้ นส่ วนที ่ ต ่ า งระดั บ กั นไม่ เ กิ น 45 องศา
การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
97
ทางลาดให้มีลักษณะ ดังต่อไปนี้ 1) พื้นผิวทางลาดต้องเป็นวัสดุที่ไม่ลื่น 2) พื้นผิวของจุดต่อเนื่องระหว่างพื้นกับทางลาดต้องเรียบไม่สะดุด 3) ความกว้า งสุ ทธิไม่น้ อยกว่ า 900 มิ ล ลิ เ มตร ในกรณี ที ่ทางลาด มี ค วามยาวของทุ กช่ วงรวมกันตั้ ง แต่ 6,000 มิ ล ลิ เ มตร ขึ ้ นไป ต้องมีความกว้างสุทธิไม่น้อยกว่า 1,500 มิลลิเมตร 4) มีพื้นที่หน้าทางลาดเป็นที่ว่างยาวไม่น้อยกว่า 1,500 มิลลิเมตร 5) ทางลาดต้องมีความลาดชันไม่เกิน 1:12 และมีความยาวช่วงละ ไม่ เ กิ น 6,000 มิ ล ลิ เ มตร ในกรณี ท ี ่ ทางลาดยาวเกิ น 6,000 มิลลิเมตร ต้องจัดให้มีชานพักยาวไม่น้อยกว่า 1,500 มิลลิเมตร คั่นระหว่างแต่ละช่วงของทางลาด สำหรับทางลาดที่มีระดับความ ลาดชันที่ 1:12 อาจมีการเรียกด้วยวิธีอื่นได้ อาทิ 4.76 องศา หรือ ประมาณ 8.33 เปอร์เซ็นต์ ตำแหน่งของทางลาดควรอยู่ตำแหน่ง ใกล้กบั บันไดและทางเข้าออกทุกทางที่มีการเปลี่ยนระดับ 6) ทางลาดด้านที่ไม่มีผนังกั้นให้ยกขอบสูงจากพื้นผิวของทางลาดไม่ น้อยกว่า 50 มิลลิเมตร และมีราวกันตก
ภาพที่ 10.1 ทางลาดไม่ควรมีทางโค้ง และควรมีลักษณะ ดังนี้
การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
98 ภาพที่ 10.2 ลักษณะทางลาดแบบ 90 องศา
ภาพที่ 10.3 ลักษณะทางลาดแบบ 180 องศา
ภาพที่ 10.4 ลักษณะทางลาดแบบตรง การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
99
7) ทางลาดที่มีความยาวตั้งแต่ 2,500 มิลลิเมตร ขึ้นไป ต้องมีราวจับ ทั้งสองด้านโดยมีลักษณะ ดังต่อไปนี้ - ทำด้วยวัสดุเรียบ มีความมั่นคงแข็งแรง ไม่เป็นอันตรายใน การจับและไม่ลื่น - ลักษณะกลม โดยมีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 30 มิลลิเมตร แต่ไม่เกิน 40 มิลลิเมตร - สูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 800 มิลลิเมตร แต่ไม่เกิน 900 มิลลิเมตร - ราวจับด้านที่อยู่ติดผนังให้มีระยะห่างจากผนังไม่น้อยกว่า 50 มิลลิเมตร มีความสูงจากจุดยึดไม่น้อยกว่า 120 มิลลิเมตร และผนังบริเวณราวจับต้องเป็นผนังเรียบ - ราวจับต้องยาวต่อเนื่อง และส่วนที่ยึดติดกับผนังจะต้องไม่กีด ขวางหรื อ เป็ น อุ ป สรรคต่ อ การใช้ ข องคนพิ ก ารทางการ มองเห็น - ปลายของราวจับให้ยื่นเลยจากจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของ ทางลาดไม่น้อยกว่า 300มิลลิเมตร
ภาพที่ 10.5 การติดตั้งราวจับหลายระดับ รองรับการใช้งานของคนทุกกลุ่ม
การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
100 ภาพที่ 10.6 ลักษณะขอบกันตก
ภาพที่ 10.7 ลักษณะการติดตั้ง ราวจับแบบติดผนัง
ภาพที่ 10.8 ลักษณะปลายราวจับที่ยื่นออกจากต้นทางลาดและปลายทางลาด
การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
101
8) มี ป ้ า ยแสดงทิ ศ ทาง ตำแหน่ ง หรื อหมายเลขชั ้ นของอาคารที่ คนพิการทางการมองเห็นและคนชราสามารถทราบความหมายได้ ตั้งอยู่บริเวณทางขึ้นและทางลงของทางลาดที่เชื่อมระหว่างชั้น - ให้มีสัญลักษณ์รูปคนพิการติด ไว้ ในบริเ วณทางลาดที่ จัด ไว้ ให้แก่คนพิการหรือทุพพลภาพและคนชรา - อาคารที่มีจำนวนชั้นตั้งแต่สองชั้นขึ้นไปต้องจัด ให้มีลิ ฟต์หรือ ทางลาดที่คนพิการหรือทุพพลภาพ และคนชราใช้ได้ระหว่าง ชั้นของอาคาร
ภาพที่ 10.9 ป้ายแสดงสิ่งอำนวยความสะดวกประเภททางลาด
9) อาคารต้ องจั ด ให้ มี พื ้ นผิ วต่ า งสั มผั ส สำหรั บ คนพิ การทางการ มองเห็นที่ทางขึ้นและทางลงของทางลาดหรือบันได พื้นบริเวณ ต่างระดับที่มีระดับต่างกันเกิน 200 มิลลิเมตร ที่พื้นด้านหน้าและ ด้านหลังประตูทางเข้าอาคาร และที่พื้นด้านหน้าของประตูห้องส้วม ทางเข้าลิฟต์ โดยมีขนาดกว้ าง 300 มิลลิเมตร และมีความยาว เท่ากับและขนานไปกับความกว้างของช่ องทางเดินของพื้นต่ า ง ระดับทางลาด บันได หรือประตู และขอบของพื้นผิวต่างสัมผัสอยู่ ห่างจากจุดเริ่มต้นของทางขึ้นหรือทางลงของพื้นต่างระดับ ทางลาด บั นได หรื อประตู ไม่ น้ อยกว่ า 300 มิ ล ลิ เ มตร แต่ ไม่ เ กิ น 350 มิลลิเมตร เชื่อมต่อพื้นที่ต่างระดับโดยไม่ใช้บันได
การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
102
เอกสารอ้างอิงท้ายบท ชุ มเขต แสวงเจริ ญ. (2563). รู ป แบบ Universal Design ในห้ องประชุม. ใน อโนชา ทองชัย (บ.ก.), The art of conference room (น. 140-143) กรุงเทพฯ: บริษัท ศิริวัฒนา อินเตอร์พริ้นท์ จำกัด (มหาชน). ชุมเขต แสวงเจริญ. (2563). โครงการส่งเสริมการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อเพิ่มศักยภาพแก่แหล่งท่องเที่ยวและสถานประกอบการในพื้นที่ พิเศษเมืองพัทยาและพื้นที่เชื่อมโยงเพื่อให้สามารถรองรับการท่องเที่ยวเพื่อ คนทั้งมวล (รายงานวิจัย). ปทุมธานี: หน่วยวิจัยและออกแบบเพื่อคนทั้งมวล คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ชุมเขต แสวงเจริญ. (2562). โครงการส่งเสริมและจัดทำแผนขับเคลื ่อ นการ ท่องเที่ยวเพือ่ คนทั้งมวล (รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์). ปทุมธานี: หน่วยวิจยั และออกแบบเพื่อคนทั้งมวล คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ชุ มเขต แสวงเจริญ , เอกสารประกอบการบรรยาย การปรั บ สภาพแวดล้อม สำหรั บ คนพิ การตามแนวคิ ด การออกแบบเพื ่ อทุ กคน (Universal Design). ชุมเขต แสวงเจริญ, เอกสารประกอบการสอน เรื่อง การออกแบบเพื่อคนทั้งมวล (Universal Design). หลักสูตรภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และการผังเมืองมหาวิทยาลัยธรรม ศาสตร์. กรุงเทพมหานคร. 2561 ไตรรั ต น์ จารุ ทั ศ น์ ชุ มเขต แสวงเจริ ญ และคณะ. คู ่ มื อปฏิ บ ั ต ิ วิ ช าชี พการ ออกแบบสภาพแวดล้ อมและสิ ่ งอำนวยความสะดวกสำหรั บ ทุกคน ( Universal Design Code of Practice) . — ก ร ุ ง เ ท พ ม หานคร: สมาคมสถาปนิ กสยาม ในพระบรมราชู ป ถัมภ์ , 2552. บริ ษ ั ท พลัส เพรส จำกัด: ISBN 978-611-90213-1-0 U.S. Architectural and Transportation Barrier Compliance Board. Americans with disabilities Act (ADA) Accessibility Guidelines for Buildings and Facilities. U.S.A., 2002. การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
103
ภาวดี ธนวิสุทธิ์ และคณะ. 2550. การสำรวจอาคาร สถานที่สาธารณะที่เป็นมิตร สำหรั บ ผู ้ ส ู งอายุ . รายงานวิ จั ยฉบั บ สมบูรณ์ . กรุ ง เทพฯ: จุ ฬ าลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. สมาคมสถาปนิ ก สยามในพระบรมราชู ป ถั ม ภ์ . 2551. คู ่ ม ื อ ปฏิ บ ั ต ิ ว ิ ช าชี พ สถาปัตยกรรม การออกแบบสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวก สำหรับการออกแบบสำหรับทุกคน. กรุงเทพมหานคร. Gary O. Robinette. 1985. Barrier-free Exterior Design. New York. Salford University Research Focus on Accessible Environments. 2006. Code of Practice on Access and Mobility. Liverpool. U.S. Architectural and Transportation Barrier Compliance Board. 2002. Americans with disabilities Act (ADA) Accessibility Guidelines for Buildings and Facilities. U.S.A.
การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
104 การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
105 บทที่ 11 การออกแบบห้องน้ำ-ห้องส้วม อาคารที ่จัดให้มีห ้องส้วมสำหรั บบุคคลทั่ วไป ต้ องจัดให้มีห ้องส้วม สำหรับคนพิการหรือทุพพลภาพ และคนชราเข้าใช้ได้อย่างน้อย 1 ห้องในห้อง ส้วมนั้นหรือจะจัดแยกออกมาอยู่ในบริเวณเดียวกันกับห้องส้วมสำหรับบุคคล ทั่วไปก็ได้ ห้องส้วมสำหรับคนพิการหรือทุพพลภาพ และคนชราต้องมีลกั ษณะ ดังต่อไปนี้ 1) มีพื้นที่ว่างภายในห้องส้วมเพื่อให้เก้าอี้ล้อสามารถหมุนตัวกลับได้ ซึ่งมีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร 2) ประตู ห ้ องน้ ำ -ห้ องส้ วมต้ องเป็ น แบบบานเปิ ด ออกสู ่ ภ ายนอก โดยต้องเปิดค้างได้ไม่ ไม่น้อยกว่า 90 องศา และมีราวจับแนวนอนบริเวณบาน ประตู ทั ้ งด้ านในและด้ านนอก หรื อเป็ นแบบบานเลื ่อน และมี ส ั ญ ลั กษณ์รูป คนพิการติดไว้ที่ประตูด้านหน้าห้องส้วมลักษณะของประตูนอกจากที่กล่าวมา ข้างต้น 3) พื้นห้องส้วมต้องมีระดับเสมอกับพื้นภายนอก ถ้าเป็นพื้นต่างระดับ ต้องมีทางลาด วัสดุปูพื้นต้องไม่ลื่น พื้นลาดเอียงไปยังช่องระบายน้ำทิ้งเพื่อไม่ให้ มีน้ำขัง
การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
106 ภาพที่ 11.1 ผังห้องน้ำสำหรับผู้สูงอายุและคนพิการ
4) มีโถส้วมชนิดนั่งราบ สูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 450 มิลลิเมตร แต่ไม่เกิน 500 มิ ลลิ เมตร มี พนั กพิ ง หลั ง ที ่ ให้ ค นพิ การหรื อ ทุ พพลภาพ และคนชราที่ ไม่สามารถนั่งทรงตัวได้ใช้พิงหลังได้ และที่ปล่อยน้ำเป็นชนิดคันโยก เป็นปุ่มกด ขนาดใหญ่ หรือเป็นชนิดอื่นที่คนพิการหรือทุพพลภาพ และคนชราสามารถใช้ได้ อย่างสะดวก โดยติดตั้งอยู่บริเวณด้านข้างโถส้วม
การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
107
5) มีด้านข้างด้านหนึ่งของโถส้วมอยู่ชิดผนังโดยมีระยะห่างวัดจาก กึ่งกลางโถส้วมถึงผนังไม่น้อยกว่า 450 มิลลิเมตร แต่ไม่เกิน 500 มิลลิเมตร ต้อง มีราวจับที่ผนัง ส่วนด้านที่ไม่ชิดผนังให้มีที่ว่างมากพอที่คนพิการหรือทุพพลภาพ และคนชราที่นั่งเก้าอี้ล้อสามารถเข้าไปใช้โถส้วมได้โดยสะดวก ในกรณีที่ด้านข้าง ของโถส้วมทั้งสองด้านอยู่ห่างจากผนังเกิน 500 มิลลิเมตร ต้องมีราวจับ ตามภาพที่ 11.2
ภาพที่ 11.2 การเว้นระยะโถสุขภัณฑ์และผนังห้องน้ำ
6) มีราวจับบริเวณด้านที่ชิดผนังเพื่อช่วยในการพยุงตัว เป็นราวจับใน แนวนอนและแนวดิ่งโดยมีลักษณะ ดังต่อไปนี้ - ราวจั บ ในแนวนอนมี ค วามสู ง จากพื ้ น ไม่ น ้ อ ยกว่ า 650 มิลลิเมตร แต่ไม่เกิน 700 มิลลิเมตร และให้ยื่นล้ำออกมาจาก ด้านหน้าโถส้วมอีกไม่น้อยกว่า มิลลิเมตร แต่ไม่เกิน 250 มิลลิเมตร 300 - ราวจั บ ในแนวดิ ่ ง ต่ อ จากปลายของราวจั บ ในแนวนอน ด้ า นหน้ า โถส้ ว มมี ค วามยาววั ด จากปลายของราวจั บ ใน แนวนอนขึ้นไปอย่างน้อย 600 มิลลิเมตร ราวจับอาจเป็นราว ต่อเนื่องกันก็ได้ การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
108
7) ด้านข้างโถส้วมด้านที่ไม่ชิดผนังให้มีราวจับติดผนังแบบพับเก็บ ได้ ในแนวราบ เมื่อกางออกให้มีระบบล็อกที่คนพิการหรือทุพพลภาพ และคนชรา สามารถปลดล็ อกได้ ง ่ า ย มี ระยะห่ า งจากขอบของโถส้ วมไม่ น้ อยกว่ า 150 มิลลิเมตร แต่ไม่เกิน 200 มิลลิเมตร และมีความยาวไม่น้อยกว่า 550 มิลลิเ มตร 8) นอกเหนือจากมีราวจับบริเวณโถส้วม และ อ่างล้างมือแล้ว รอบ ห้องน้ำต้องมีราวจับติดบนผนังเพื่อนำไปสู่สุขภัณฑ์อื่น ๆ ภายในห้องส้วม ราวจำ นี้จะมีความสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 800 มิลลิเมตร แต่ไม่เกิน 900 มิลลิเมตร เนื่องจากใช้สำหรับยืนจับ 9) ติดตั้งระบบสัญญาณแสงและสัญญาณเสียงให้ผู้ที่อยู่ภายนอกแจ้ง ภั ย แก่ ค นพิ การหรื อ ทุ พพลภาพ และคนชรา และระบบสั ญ ญาณแสงและ สัญญาณเสียงให้คนพิการหรือทุพพลภาพ และคนชราสามารถแจ้งเหตุหรือเรียก หาผู้ช่วยในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉินไว้ในห้องส้วม โดยมีปุ่มกดหรือปุ่มสัมผัสให้ สัญญาณทำงานซึ่งติดตั้งอยู่ในตำแหน่งที่คนพิการหรือทุพพลภาพ และคนชรา สามารถใช้งานได้สะดวก
การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
109 ภาพที่ 11.3 ลักษณะการติดตั้งราวจับและสัญญาณฉุกเฉินภายในห้องน้ำ
การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
110 ภาพที่ 11.4 ลักษณะการติดตั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ และระยะการติดตัง้ ภายในห้องน้ำ สำหรับผู้สูงอายุและคนพิการ
การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
111
10) มีอ่างล้างมือโดยมีลักษณะ ดังต่อไปนี้ - ใต้อ่างล้างมือด้านที่ติดผนังไปจนถึงขอบอ่างเป็นที่ว่าง เพื่อให้ วีลแชร์สามารถสอดเข้าไปได้ โดยขอบอ่าง - อยู่ห่างจากผนังไม่น้อยกว่า 450 มิลลิเมตร และต้องอยู่ใน ตำแหน่งที่คนพิการหรือทุพพลภาพ และคนชราเข้าประชิดได้ โดยไม่มีสิ่งกีดขวาง - มี ค วามสู ง จากพื ้ น ถึ ง ขอบบนของอ่ า งไม่ น ้ อ ยกว่ า 750 มิลลิเมตร แต่ไม่เกิน 800 มิลลิเมตร และมีราวจับในแนวนอน แบบพับเก็บได้ในแนวดิ่งทั้งสองข้างของอ่าง - ก๊อกน้ำเป็นชนิดก้านโยก หรือก้านกด หรือก้านหมุน หรือ ระบบอัตโนมัติ
ภาพที่ 11.5 ระยะการติดตั้งอ่างล้างมือ
11) ในกรณีที่ห้องส้วมสำหรับคนพิการหรือทุพพลภาพ และคนชราอยู่ ภายในห้องส้วมที่จัดไว้สำหรับบุคคลทั่วไป และมีทางเข้าก่อนถึงตัวห้องส้วม ต้องจัดให้ ห้องส้วมสำหรับคนพิการหรือทุพพลภาพ และคนชราอยู่ในตำแหน่ง ที่คนพิการ หรือทุพพลภาพ และคนชราสามารถเข้าถึงได้โดยสะดวก โดยหากจัดห้องส้วม สำหรับผู้ชายและผู้หญิงแยกจากกันกำหดให้มีอักษรเบรลล์ แสดงให้รู้ว่าเป็นห้องส้วม ชายหรื อหญิ ง ติ ด ไว้ ที ่ ผ นั ง ข้ า งทางเข้ า ในตำแหน่ ง ที ่ ส ามารถสั ม ผั ส ได้ ด ้ ว ย การติดตั้งอักษรเบรลล์ ควรระวังอักษรเบรลล์ที่มาพร้ อมกับตัวลิ ฟท์ ซึ่งอาจ พบว่าเป็นอักษรเบรลล์ภาษาจีนหรือเยอรมัน ขึ้นอยู่กับประเทศที่ผลิต ดังนั้นควร มีนักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญสอบทานก่อนติดตั้ง การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
112 ภาพที่ 11.6 รูปแบบป้ายสัญลักษณ์แสดงสิ่งอำนวยความสะดวก
12) ในกรณีที่เป็นห้องส้วมสำหรับผู้ชายที่มิใช่ห้องส้วมสำหรับคนพิการ หรือทุพพลภาพและคนชรา ให้มีที่ถ่ายปัสสาวะที่มีระดับเสมอพื้นอย่างน้อย 1 ที่ โดยมีราวจั บในแนวนอนอยู ่ด้ านบนของที ่ ถ่า ยปัส สาวะยาวไม่ น้อยกว่ า 500 มิ ล ลิ เ มตร แต่ ไม่ เ กิ น 600 มิ ล ลิ เ มตร มี ค วามสู ง จากพื ้ นไม่น้ อยกว่ า 1,200 มิลลิเมตร แต่ไม่เกิน 1,300 มิลลิเมตร และมีราวจับด้านข้างของที่ถ่ายปัสสาวะ ทั ้ ง สองข้ าง มี ค วามสูงจากพื ้นไม่ น้ อยกว่า 800 มิ ล ลิ เมตร แต่ ไม่เกิน 1,000 มิลลิเมตร ซึ่งยื่นออกมาจากผนัง ไม่ น้ อยกว่า 550 มิลลิเมตร แต่ไม่เกิน 600 มิลลิเมตร
ภาพที่ 11.7 ลักษณะโถสุขภัณฑ์ชาย และการติดราวจับบริเวณสุขภัณฑ์ การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
113
เอกสารอ้างอิงท้ายบท ชุ มเขต แสวงเจริ ญ. (2563). รู ป แบบ Universal Design ในห้ องประชุม. ใน อโนชา ทองชัย (บ.ก.), The art of conference room (น. 140-143) กรุงเทพฯ: บริษัท ศิริวัฒนา อินเตอร์พริ้นท์ จำกัด (มหาชน). ชุมเขต แสวงเจริญ. (2563). โครงการส่งเสริมการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อเพิ่มศักยภาพแก่แหล่งท่องเที่ยวและสถานประกอบการในพื้นที่พิเศษ เมืองพัทยาและพื้นที่เชื่อมโยงเพื่อให้สามารถรองรับการท่องเที่ยวเพื่อคน ทั้งมวล (รายงานวิจัย). ปทุมธานี: หน่วยวิจัยและออกแบบเพื่อคนทั้งมวล คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ชุมเขต แสวงเจริญ. (2562). โครงการส่งเสริมและจัดทำแผนขับเคลื ่อ นการ ท่องเที่ยวเพือ่ คนทั้งมวล (รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์). ปทุมธานี: หน่วยวิจยั และออกแบบเพื่อคนทั้งมวล คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ชุ มเขต แสวงเจริญ , เอกสารประกอบการบรรยาย การปรั บ สภาพแวดล้อม สำหรั บ คนพิ การตามแนวคิ ด การออกแบบเพื ่ อทุ กคน (Universal Design). ชุมเขต แสวงเจริญ, เอกสารประกอบการสอน เรื่อง การออกแบบเพื่อคนทั้งมวล (Universal Design). หลักสูตรภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรม ศาสตร์และการผังเมืองมหาวิทยาลัยธรรม ศาสตร์. กรุงเทพมหานคร. 2561 ไตรรั ต น์ จารุ ทั ศ น์ ชุ มเขต แสวงเจริ ญ และคณะ. คู ่ มื อปฏิ บ ั ต ิ วิ ช าชี พการ ออกแบบสภาพแวดล้ อมและสิ ่ งอำนวยความสะดวกสำหรั บ ทุกคน ( Universal Design Code of Practice) . — ก ร ุ ง เ ท พ ม หานคร: สมาคมสถาปนิ กสยาม ในพระบรมราชู ป ถัมภ์ , 2552. บริ ษ ั ท พลัส เพรส จำกัด: ISBN 978-611-90213-1-0
การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
114
U.S. Architectural and Transportation Barrier Compliance Board. Americans with disabilities Act (ADA) Accessibility Guidelines for Buildings and Facilities. U.S.A., 2002. ภาวดี ธนวิสุทธิ์ และคณะ. 2550. การสำรวจอาคาร สถานที่สาธารณะที่เป็นมิตร สำหรั บ ผู ้ ส ู งอายุ . รายงานวิ จั ยฉบั บ สมบูรณ์ . กรุ ง เทพฯ: จุ ฬ าลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. สมาคมสถาปนิ ก สยามในพระบรมราชู ป ถั ม ภ์ . 2551. คู ่ ม ื อ ปฏิ บ ั ต ิ ว ิ ช าชี พ สถาปัตยกรรม การออกแบบสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวก สำหรับการออกแบบสำหรับทุกคน. กรุงเทพมหานคร. Gary O. Robinette. 1985. Barrier-free Exterior Design. New York. Salford University Research Focus on Accessible Environments. 2006. Code of Practice on Access and Mobility. Liverpool. U.S. Architectural and Transportation Barrier Compliance Board. 2002. Americans with disabilities Act (ADA) Accessibility Guidelines for Buildings and Facilities. U.S.A.
การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
115 การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
116 บทที่ 12 การออกแบบห้องพัก ห้องพักในสถานประกอบการประเภทโรงแรม รีสอร์ต หรือที่พักอื่น ๆ มีความสำคัญเนื่องจากเป็นส่วนรองรับการท่องเที่ยวทั้งแบบระยะยาว หรือการ ท่ องเที ่ ย วแบบระยะสั ้ นตั ้ ง แต่ 2 วั นขึ้ นไปที ่ ต ้ องการพั กค้ า งคื น ดั ง นั ้ น การ ออกแบบห้ องพั กจึ ง ควรมี ค วามสะดวกสบาย ปลอดภั ย เพื ่ อให้ ล ู กค้ า หรื อ นักท่องเที่ยวสามารถพักผ่อนได้อย่างเต็มที่ และสามารถทำกิจกรรมท่องเที่ยว ได้อย่างเต็มที่ในวันถัดไป ให้สมกับการมาท่องเที่ยวที่มีทั้งได้รับประสบการณ์ ความสนุก ความสบาย ผ่อนคลาย และมีความสุข สำหรับกลุ่มนักท่องเที่ยวคนพิการ หรือผู้สูงอายุ สถานประกอบการ โรงแรม ที่พัก ควรจัดทำสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ ด้วย อย่างไรก็ดีในการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกพิเศษเพิ่มเติมขึ้นมาควรถือเป็น เรื่องพื้นฐานที่สถานประกอบการต้องจัดให้สำหรับคนที่มีเงื่อนไขในการใช้ชีวิต หรือคนที่มีข้อจำกัดในการใช้ชีวิต เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกันทางสังคม ซึ่งไม่ ควรเรียกเก็บค่าใช้จ่ายที่เพิ่มเติมหรือเป็นพิเศษในราคาที่สูงมากกว่าลูกค้าทั่วไป โรงแรมที่มีห้องพักตั้งแต่ 100 ห้อง ขึ้นไป ต้องจัดให้มีห้องพักที่คน พิการหรือผู้สูงอายุ เข้าใช้ได้ไม่น้อยกว่า 1 ห้องต่อจำนวนห้องพักทุก 100 ห้อง ซึ่งภายในห้องพักจะประกอบด้วย 1) ส่วนที่พัก ได้แก่ พื้นที่นอน พื้นที่นั่งเล่น พื้นที่แต่งตัว เป็นต้น 2) ส่วนห้องน้ำในห้องพัก ได้แก่ พื้นที่ขับถ่าย พื้นที่อาบน้ำ เป็นต้น การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
117
1) ห้องพัก ตำแหน่งห้องพัก จัดให้อยู่ในตำแหน่งที่มีการสัญจรสะดวก สามารถเข้า ช่วยเหลือได้ง่ายในกรณีฉุกเฉิน ใกล้บันได หรือบันไดหนีไฟ ลิฟต์ดับเพลิง หรืออยู่ใกล้ จุดรออพยพ
ภาพที่ 12.1 ตำแหน่งห้องคนพิการใกล้ทางออกฉุกเฉิน ทางสัญจรเป็น Loop
TRICK
จากการสัมภาษณ์นักท่องเที่ยวพิการ และผู้สูงอายุที่มาพักให้ความเห็นว่า การติดตั้งสัญลักษณ์รูปคนพิการบริเวณด้านหน้าห้อง เปรียบเหมือนการตีต ราและ ประกาศถึงความไม่ ปกติข องผู้ พั ก แต่ ห ากมองในมุ มของความปลอดภั ย การมี สัญลักษณ์รูปคนพิการบริเวณด้านหน้าห้อง หากเกิดเหตุฉุกเฉิน จะทำให้สามารถ ช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที ทั้งนี้ ตามหลัก UD ห้องพักไม่ควรออกแบบให้มีความแตกต่างจนเกินไป จนเหมือนเป็นการตีตรา บางอย่างที่สามารถใช้อุปกรณ์ทดแทนได้ เพื่อลดการตีตรา เช่น การแขวนถุงผ้าด้านหน้าประตูในกรณีท ี่ต้อ งการให้ด ูแ ลเป็นพิ เศษ เป็นต้น เพื่อให้ผู้พักในห้องเลือกเองว่าจะแขวนสัญลักษณ์หน้าห้องหรือไม่ การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
118
ประตูห้องพัก ควรเป็นแบบบานเปิดออกสู่ภายนอก โดยต้องเปิดค้าง ได้ไม่ไม่น้อยกว่า 90 องศา และมีราวจับแนวนอนบริเวณบานประตูทั้งด้านใน และด้านนอก หรือเป็นแบบบานเลื่อน มีสัญลักษณ์รูปคนพิการติดไว้ที่ประตู ด้านหน้าห้องพักสำหรับคนพิการ เปิดปิดได้ง่าย และต้องไม่ติดตั้งอุปกรณ์ชนิดที่ บังคับให้บานประตูปิดได้เองที่อาจทำให้ประตูหนีบหรือกระแทก ประตู ควรออกแบบให้ช่องประตูต้องมีความกว้างสุทธิไม่น้อยกว่า 900 มิ ล ลิ เ มตร หากมี ธรณี ป ระตู ความสู ง ของธรณี ป ระตู ต ้ องไม่ เ กิ นกว่า 20 มิลลิเมตร และหากมีการเปลี่ยนระดับต้องจัด ให้ให้ขอบทั้งสองด้านมีความ ลาดเอียงไม่เกิน 45 องศา ในกรณีที่ประตูเป็นแบบบานเลื่อน มือจับประตูขนาด เส้นผ่านศูนย์กลาง 30-40 มิลลิเมตร ในแนวดิ่งทั้งด้านในและด้านนอกของประตู ปลายด้านบนของมือจับติดตั้งสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 1000 มิลลิเมตร ปลายด้านล่าง ไม่เกิน 800 มิลลิเมตร ในกรณีที่ประตูเป็นแบบเปิดออก มือจับประตูต้องขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 30-40 มิลลิเมตร ในแนวดิ่งทั้งด้านในและด้านนอกของประตู ปลายด้านบนของ มือจับติดตั้งสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 1000 มิลลิเมตร ปลายด้านล่างของมือจับ ติดตั้งสูงจากพื้นไม่เกิน 800 มิลลิเมตร ให้มีราวจับตามแนวนอนด้านในประตู ยาวไปตามความกว้างของประตู ราวจับตามแนวนอนให้สูงจากพื้น 800 มิลลิเมตร อุปกรณ์เปิดปิดประตูต้องเป็นชนิดก้านบิดหรือแกนผลัก อุปกรณ์เปิดปิดประตู อยู่สูงจากพื้น 1000-1200 มิลลิเมตร
ภาพที่ 12.2 ประตูแบบบานเปิดออก กว้างสุทธิ 900 มิลลิเมตร การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
119 1.00-1.20 m.
0.80-0.90 m.
ภาพที่ 12.3 การติดตั้งราวจับและที่เปิดประตูแบบก้านโยกบริเวณประตู
มีแผนผังต่างสัมผัส ของอาคารในชั้นที่มีห้องพั กที่ค นพิ การ และ ผู้สูงอายุเข้าใช้ได้ มีอักษรเบรลล์แสดงตำแหน่งของห้องพัก บันไดหนีไฟ และ ทิศทางไปสู่บันไดหนีไฟโดยติดไว้ที่กึ่งกลางบานประตูดา้ นในและอยู่สูงจากพื้นไม่ น้อยกว่า 1300-1700 มิลลิเมตร จากระดับพื้นของห้องพัก มีคู่มือเอกสารที่เป็น อักษรเบรลล์ หรือสื่อเสียงประกอบคำอธิบายเกี่ยวกับข้อมูลโรงแรมและการให้บริการ การติดตั้งปลั๊กและสวิตช์ไฟฟ้าควรติดตั้งที่ระดับสูงจากพื้น 800-1100 มิลลิเมตร หมายเลขห้องพัก ติดสูงจากพื้น 1200-1500 มิลลิเมตร หมายเลข ห้ องพั ก มี อั กษรเบรลล์ กำกั บ ติ ด ตั ้ ง ที ่ ระดั บ ความสู ง ระหว่ า ง 800-1100 มิลลิเมตร ระบบล็อคภายในห้องพักควรเป็นระบบที่สามารถเปิดช่วยเหลื อได้ ใน กรณีฉุกเฉิน มีช่องตาแมวสำหรับคนพิการที่นั่งรถวีลแชร์หรือเด็ก สูงจากพื้น 1000-1100 มิลลิเมตร และช่องตาแมวสำหรับคนทั่วไปสูงจากพื้น 1400-1500 มิลลิเมตร ซึ่งการติดตั้งตาแมว 2 ระดับ นอกจากจะมีไว้เพื่อให้ ผู้ที่นั่งรถวีลแชร์ ทราบว่ามีใครมาหาที่หน้าห้องพักแล้ว ยังช่วยให้คนพิการหูหนวกสามารถรับสาร จากผู้ที่อยู่ด้านหน้าห้องได้ด้วย
การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
120
SLIDE
1.20-1.50 m.
1.00-1.10 m.
1.40-1.50 m.
115
ภาพที่ 12.4 การติดตั้งช่องตาแมว 2 ระดับและหมายเลขห้องที่มีอักษรเบรลล์
พื ้ นที ่ ภายในห้ องพั ก ต้ องมี พื ้ นที่ ว่างภายในห้องพั กเพื ่ อให้ วีลแชร์ สามารถหมุนตัวกลับได้ ซึ่งมีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 1500 มิลลิเมตร มีพื้นที่ ว่างภายในห้องพักเพื่อให้พื้นที่นั่งเล่นและรับประทานอาหารจะต้องสามารถเข้าถึง ได้ พื้นที่บริเวณระเบียงห้องพักสามารถเข้าถึงได้
ภาพที่ 12.5 พื้นที่ภายในห้อง
การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
121
เตียงนอน ควรจัดให้มีสัญญาณบอกเหตุหรือเตือนภัยทั้งสัญญาณที่เป็น เสียงและแสง และระบบสั่นสะเทือนติดตั้งบริเวณเตียงนอน ในกรณีเกิดอัคคีภัย หรื อเหตุ อั นตรายอย่ า งอื ่ น เพื ่ อให้ ผ ู ้ ที ่ อยู ่ ภายในห้ องพั กทราบ โดยมี ส วิตช์ สัญญาณแสงและสวิตช์สัญญาณเสียงแจ้งภัย หรือเรียกให้ผู้ที่อยู่ภายนอกทราบ ว่ า มี ค นอยู ่ ในห้ องพั ก เตียงนอนมีขนาดสี่เหลี่ยมพื ้นผ้าไม่ต่ำกว่ า 1000 x 1800 มิ ลลิ เมตร สำหรั บในกรณี นอนคนเดี ยว มี ความสู งจากพื ้ นถึ งพื ้นเตี ยง 450-500 มิลลิเมตร เตียงนอนมีพื้นที่ว่างด้านหน้าอย่างน้อย 750 มิลลิเมตร เตียงนอนมีพื้นที่ ว่างด้านข้าง ฝั่งใดฝั่งหนึ่งอย่างน้อย 1200 มิลลิเมตร TRICK เตียงสำหรับผู้สูงอายุ หรือคนพิการ ควรมีราวกันตกบริเวณเตียงนอนทั้ง 2 ข้าง
ควรมีการเตรียมระบบเตือนสำหรับคนหูหนวกด้วย เช่น ระบบเตือน แบบสั่นสะเทือนที่ติดตั้งใต้หมอน
ตู ้ เสื ้ อ ผ้ า ติ ดตั ้ งอุ ปกรณ์เปิ ด-ปิ ดประตู ตู ้ เสื ้ อผ้ าแบบก้ านจับแนวดิ่ง ปลายด้ านบนของอุ ปกรณ์ เปิ ดปิ ดติ ดตั้ งสู งจากพื ้ นไม่ น้ อยกว่ า 1000 มิ ลลิ เมตร ปลายด้านล่างของอุปกรณ์เปิดปิดสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 800 มิลลิเมตร ในกรณีที่เป็น ประตูบานเลื่อนให้มีพื้ นที ่ด้านหน้าประตูตู ้เสื้ อผ้ า วัดจากหน้าประตูตู้เสื้อผ้ายาว 600 มิลลิเมตร ในกรณีที่เป็นประตูบานเปิดออกให้มีพื้นที่ด้านหน้าประตูตู้เสื้อผ้า วัดจากหน้าประตูตู้เสื้อผ้ายาว 900 มิลลิเมตร มีราวแขวนผ้าในระดับต่ำ ที่ระดับ 800–1100 มิลลิเมตร การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
122 0.80–1.10 เมตร ภาพที่ 12.6 การติดตัง้ ราวแขวนผ้าในตู้เสื้อผ้า
โต๊ะเครื่องแป้ง และ/หรือ โต๊ะเขียนหนังสือ ควรมีความสูงในระดับ ที่รถวีลแชร์สามารถใช้บริการได้ โดยมีความสูงสุทธิไม่เกิน 800 มิลลิเมตร มีพื้นที่ว่าง ใต้โต๊ะเพียงพอสำหรับรถวีลแชร์เข้าไปได้ โดยพื้นที่ว่างใต้โต๊ ะ มีความสูงจากพื้น 700-750 มิ ลลิ เมตร ที ่ ว ่ างใต้ โต๊ ะควรมี ความลึ กไม่ น ้ อยกว่ า 400 มิ ลลิ เมตร ติดตั้งกระจกบริเวณโต๊ะเครื่องแป้ง ขอบล่างของกระจกสูงไม่เกิน 1000 มิลลิเมตร ผู้ที่ใช้วีลแชร์สามารถมองเห็นได้ กระจกบริเวณโต๊ะเครื่องแป้งควรติดตั้งในลักษณะ ปรั บเอี ยง เพื ่ อให้ ผู ้ ที ่ ใช้วีลแชร์ สามารถมองเห็นได้ เต็ มตั วหรื อผู ้ส ูงอายุที่ ตัวเล็ก ก็สามารถมองเห็นได้แม้ว่าจะอยู่ในท่านั่งก็ตาม จัดให้มีแสงไฟส่องสว่างบริเวณโต๊ะ ที่เพียงพอ จัดให้มีเอกสารอักษรเบรลล์ หรือสื่อเสียง เช่น เมนูอาหาร ข้อห้ามและ ข้อปฏิบัติ การให้บริการ ราคาสินค้าและผลิตภัณฑ์ภายในห้องพัก เป็นต้น เก้ าอี ้ ใ นห้ องนอน มีความสูงจากพื้นถึงเบาะนั่ง 450-500 มิลลิเมตร ความกว้างของเบาะนั่ง 350-400 มิลลิเมตร มีพนักพิงหลังและมีที่พักแขน ความสูง ของพนั กพิงหลั งเมื่ อวั ดจากเบาะนั่ ง 450-500 มิ ลลิ เมตร ความสู งของที ่พักแขน เมื่อวัดระดับพื้น 600-700 มิลลิเมตร
การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
123
0.60 - 0.70 m.
0.45 - 0.50 m.
ภาพที่ 12.7 ลักษณะเก้าอี้ในห้องนอน
แสงสว่าง ภายในห้องพักมีหน้าต่างที่สามารถมองเห็นสภาพแวดล้อมหรือ กิจกรรมภายนอกได้ มีผ้าม่านหน้าต่างหรือมู่ล่ีที่สามารถปรับระดับให้แสงภายนอก สามารถส่งเข้ามาในห้องพักได้บ้าง โดยมีผ้าม่านหน้าต่างหรือมู่ลี่ 2 ชั้น ทำหน้าที่ให้ การกรองแสงที่เข้ามาภายในห้อง คือ ผ้าม่านโปร่งแสง และผ้าม่านทึบแสง เผื่อในกรณี ที่ผู้สูงอายุหรือคนพิการต้องการนอนพักในระหว่างวัน จะทำให้สามารถควบคุม แสงที่ส่องเข้ามาในห้องได้ สำหรับการเปิดปิดให้ มีด้ามจูงผ้าม่าน หรือระบบรอก เปิดปิดผ้าม่านที่สามารถใช้งานได้สะดวก เบาแรง อยู่ในตำแหน่งที่รถวีลแชร์สามารถใช้ งานได้สะดวกโดยไม่มีสิ่งกีดขวาง ปลายด้ามจูงผ้าม่านหรือระบบรอกเปิดปิดผ้าม่าน จะต้องสูงจากพื้นในระดับ 800-1100 มิลลิเมตร
0.80 – 1.10 m. ภาพที่ 12.8 การติดตั้งผ้าม่านหรืออุปกรณ์ปรับแสงในห้องพัก การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
124
ความปลอดภัย ภายในห้องพักควรติดตั้งระบบสปริงเกอร์ ระบบดับเพลิง อั ตโนมัติ ระบบสัญญาณแจ้งเหตุ ฉุ กเฉิ นขอความช่ วยเหลือจากภายในสู่ภายนอก แบบปุ่มกดหรือปุ่มสัมผัสหรือเชือกดึงในระดับความสูงจากพื้น 250-950 มิลลิเมตร ระบบสั ญญาณแจ้ งเหตุ ฉ ุ กเฉิ นจากภายนอกสู ่ ภายใน แบบปุ ่ มกดหรื อปุ ่ มสั มผัส ด้านหน้าประตู สูงจากพื้น 1200-1300 มิลลิเมตร มีปุ่มเรียกจากภายนอกสู่ภายในที่ ปรากฏทั ้ งแสงและเสี ยง ปุ ่ มกดเรี ยกติ ดตั ้ งที่ ระดั บความสู งระหว่ าง 900-1200 มิลลิเมตร TRICK ควรติดตั้งกริ่งสัญญาณเรียกจากด้านหน้าห้อง ทั้งระบบแสงและระบบ เสียง โดยระบบแสงสำหรับเพื่อให้คนหูหนวกทราบว่ามีคนมาพบ ทั้งนี้ควรเลือกใช้ แสงที่ให้ความรู้สึกทางบวก เพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจผิดว่าเป็นสัญญาณเตือนภัย และควรแยกระบบออกจากสัญญาณแจ้งเหตุฉุกเฉินรวมของอาคาร ตำแหน่งในการ ติดตั้งสัญญาณแสงต้องสามารถสังเกตเห็นได้โดยง่าย
2) ส่วนห้องน้ำในห้องพัก ประตู เป็นแบบบานเปิดออกสู่ภายนอก โดยต้องเปิดค้างได้ไม่น้อยกว่า 90 องศา หรือเป็นแบบบานเลื่อน เปิดปิดได้ง่าย ในกรณีที่ประตูเป็นกระจกหรือลูกฟัก เป็นกระจก ให้ติดเครื่องหมายหรือแถบสีที่สังเกตเห็นได้ชัด ต้องไม่ติดตั้งอุปกรณ์ชนิด ที่บังคับให้บานประตูปิดได้เองที่อาจทำให้ประตูหนีบหรือกระแทก ช่องประตูตอ้ งมี ความกว้างสุทธิไม่น้อยกว่า 900 มิลลิเมตร หากมีธรณีประตู ความสูงของธรณีประตู ต้องไม่เกินกว่า 20 มิลลิเมตร และให้ขอบทั้งสองด้านมีความลาดเอียงไม่เกิน 45 องศา ในกรณีที่ประตูเป็นแบบบานเลือ่ น มือจับประตูขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 30-40 มิลลิเมตรในแนวดิ่งทั้งด้านในและด้านนอกของประตู ปลายด้านบนของ มือจับติดตั้งสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 1000 มิลลิเมตรปลายด้านล่างไม่เกิน 800 มิลลิเมตร การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
125 ภาพที่ 12.9 ลักษณะประตูบานเลื่อนของห้องน้ำในห้องพัก
ในกรณีที่ประตูเป็นแบบเปิดออก มือจับประตูขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 30-40 มิลลิเมตร ในแนวดิ่งทั้งด้านในและด้านนอกของประตู ปลายด้านบนของ มือจับติดตั้งสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 1000 มิลลิเมตร ปลายด้านล่าของมือจับติดตัง้ สูงจากพื้นไม่เกิน 800 มิลลิเมตร ให้มีราวจับตามแนวนอนด้านในประตู ยาวไป ตามความกว้างของประตู ราวจับตามแนวนอนให้สูงจากพื้น 800-900 มิลลิเมตร อุปกรณ์เปิดปิดประตูต้องเป็นชนิดก้านบิดหรือแกนผลัก อุปกรณ์เปิดปิดประตู อยู่สูงจากพื้น 1000-1200 มิลลิเมตร ขนาดพื้นที่ว่างภายในห้องน้ำ เพื่อให้วีลแชร์สามารถหมุนตัวกลับได้ ควรเว้นที่ว่างภายในห้องน้ำที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 1500 เมตร พื้นห้องน้ำต้องมีระดับเสมอกับพื้นภายนอกหรือไม่เกิน 25 มิลลิเมตร ถ้าเป็นพื้น ต่างระดับต้องมีลักษณะเป็นทางลาด วัสดุปูพื้นห้องน้ำต้องไม่ลื่น พื้นห้องน้ำต้อง มีความลาดเอียงเพียงพอไปยังช่องระบายน้ำทิ้ง ไม่มีน้ำขังบนพื้น
การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
126 เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.50 m.
ภาพที่ 12.10 ผังพื้นห้องน้ำในห้องพัก
โถสุขภัณฑ์ เป็นโถส้วมชนิดนั่งราบ สูงจากพื้น 400-500มิลลิเมตร มีพนักพิงหลังที่ให้คนพิการที่ไม่สามารถนั่งทรงตัวได้เอง ใช้พิงได้ ที่ปล่อยน้ำ เป็น ชนิดคันโยก ปุ่มกดขนาดใหญ่หรือชนิดอื่นที่คนพิการสามารถใช้ได้อย่างสะดวก
ภาพที่ 12.11 ลักษณะโถส้วมและราวจับ การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
127
ให้มีราวจับติดผนังแบบพับเก็บได้ในแนวราบหรือแนวดิ่ง เมื่อกางออก ให้ มี ระบบล็อกที่ คนพิ การสามารถปลดล็ อกได้ง่ าย มี ระยะห่ างจากขอบของ โถส้วม 0.15-0.20 เมตร มีความยาวไม่น้อยกว่า 0.55 เมตร ด้านที่ไม่ชิดผนัง ให้มีที่ว่างมากพอที่คนพิการสามารถเข้าไปใช้โถส้วมได้โดยสะดวก ในกรณี มี ด ้ า นข้ างด้ านหนึ ่ง ของโถส้ วมอยู ่ ชิ ด ผนั งโดยมี ระยะห่าง วัดจากกึ่งกลางโถส้วมถึงผนัง 0.45-0.50 เมตร ด้านที่ไม่ชิดผนังให้มีที่ว่างมากพอ ที่คนพิการสามารถเข้าไปใช้โถส้วมได้โดยสะดวก มีราวจับบริเวณด้านที่ชิดผนัง เพื่อช่วยในการพยุงตัว เป็นราวจับในแนวนอนและแนวดิ่ง ราวจับในแนวนอน มีความสูงจากพื้น 0.65-0.70 เมตร และให้ยื่นล้ำออกมาจากด้านหน้าโถส้วม อีก 0.25-0.30 เมตร ราวจับในแนวดิ่งต่อจากปลายราวจับในแนวนอนด้านหน้า โถส้วมมีความยาววัดจากปลายของราวจับในแนวนอนขึ้นไปอย่างน้อย 0.60 เมตร (อาจเป็นราวต่อเนื่องกัน) มีลักษณะกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.03–0.04 เมตร
ในกรณีโถส้วมมีระยะห่างวัดจากกึ่งกลางโถส้วมถึงผนังเกิน 0.50 เมตร ให้ มี ราวจั บ ติดผนังแบบพั บเก็ บได้ ในแนวราบหรื อแนวดิ่ ง เมื ่ อกางออกให้มี ระบบล็อกที่คนพิการสามารถปลดล็อกได้ง่าย มีระยะห่างจากขอบของโถส้วม 0.15-0.20 เมตร มีความยาวไม่น้อยกว่า 0.55 เมตร มีลักษณะกลม เส้นผ่าน ศูนย์กลาง 0.03-0.04 เมตร ให้มีราวจับติดผนังแบบพับเก็บได้ในแนวราบหรือแนวดิ่ง เมื่อกางออกให้ มี ระบบล็อกที่ค นพิ การสามารถปลดล็ อกได้ง่าย ทั้งนี้ห้องน้ ำ ในห้องพักอาจไม่จำเป็นต้องมีระบบล็อคก็ได้ ระบบสั ญ ญาณแจ้ งเหตุ ฉ ุ ก เฉิ น ขอความช่ วยเหลื อจากภายใน สู่ภายนอก ติดตั้งระบบสัญญาณแสงและรบบสัญญาณเสียงให้คนพิการสามารถ แจ้งเหตุหรือเรียกหาผู้ช่วยในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉินไว้ในห้องน้ำ ซึ่งต้องแสดงผล บริเวณเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย หรือบริเวณที่มีคนอยู่เป็นประจำ เพื่อให้ สามารถช่วยเหลือคนพิการได้ทันการณ์ มีปุ่มกดหรือปุ่มสัมผัสหรือเป็นอุป กรณ์ การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
128
ที่ใช้สำหรับดึง ให้สัญญาณทำงาน รวมทั้งติดตั้งในตำแหน่งที่ห่างจากแผงควบคุม อุปกรณ์ต่าง ๆ มีสีแดงหรือสีที่ตัดกับพื้นหลังและมีขนาดในการใช้งานได้ส ะดวก ติดตั้งอยู่ในตำแหน่งที่คนพิการสามารถใช้งานได้สะดวก ในระดับความสูงจาก พื้น 0.25-0.95 เมตร เพื่อให้คนพิการสามารถใช้งานได้ ทั้งกรณีที่นั่งและล้มลง บนพื้น สัญญาณขอความช่วยเหลือในห้องน้ำให้ติดตั้งในตำแหน่งระหว่างชัก โครกและอ่างอาบน้ำ นอกจากนี้ควรติดตั้งระบบสัญญาณแสงและระบบสัญญาณเสียงให้ผู้ที่อยู่ ภายนอกแจ้งภัยแก่คนพิการที่อยู่ภายในห้องน้ำเมื่อเกิดกรณีฉุกเฉินด้วย การติดตั้งอ่างล้างมือ ใต้อ่างล้างมือด้านที่ติดผนังไปจนถึงขอบอ่าง เป็ นที ่ ว่า ง เพื ่ อให้ รถวี ล แชร์ สามารถสอดเข้ าไปได้ ขอบอ่ า งอยู่ ห่ างจากผนัง ไม่น้อยกว่า 0.45 เมตร อยู่ในตำแหน่งที่คนพิการเข้าประชิดโดยไม่มีสิ่งกีดขวาง ติดตั้งก๊อกน้ำเป็นชนิดก้านโยกหรือก้านกดหรือก้า นหมุ นหรือระบบอัต โนมัติ มีความสูงจากพื้นถึงขอบบนของอ่าง 0.75-0.80 เมตร มีราวจับในแนวนอนแบบ พับเก็บได้ในแนวดิ่งทั้งสองข้างของอ่าง ราวจับมีลักษณะกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 3-4 เซนติเมตร
ภาพที่ 12.12 ลักษณะอ่างล้างมือและราวจับ การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
129
ที่อาบน้ำแบบฝักบัว มีพื้นที่ว่างขนาดความกว้างไม่น้อยกว่า 1.10 เมตร และความยาวไม่น้อยกว่า 1.20 เมตร มีที่นั่งสำหรับอาบน้ำที่มีความสูงจากพื้น 0.45-0.50 เมตร มีราวจับในแนวนอนที่ด้า นข้างของที ่นั่ง มีความสูงจากพื้น 0.65-0.70 เมตร ราวจับในแนวนอนที่ด้านข้างของที่นั่ง ยาว 0.65 – 0.70 เมตร และมีราวจับในแนวดิ่งต่อจากปลายของราวจับในแนวนอน และมีความยาวจาก ปลายของราวจับในแนวนอนขึ้ นไปอย่างน้อย 0.60 เมตร ราวจับมีขนาดเส้ น ผ่านศูนย์กลาง 3-4 เซนติเมตร สิ่งของ เครื่องใช้หรืออุปกรณ์ภายในที่อาบน้ำให้ อยู่สูงจากพื้น 0.30-1.20 เมตร
ภาพที่ 12.13 ลักษณะที่นั่งอาบน้ำ ฝักบัวปรับระดับได้และราวจับ
ที่อาบน้ำแบบอ่างอาบน้ำ มีราวจับในแนวดิ่งอยู่ห่างจากผนังด้านหัว อ่ า งอาบน้ ำ 0.60 เมตร โดยปลายด้ านล่างอยู ่ส ูงจากพื้ น 0.65-0.70 เมตร มี ความยาวอย่ า งน้ อย 0.60 เมตร มี ราวจั บ ในแนวนอนที่ ป ลายของราวจั บใน แนวดิ่ง และยาวไปจนจรดผนังห้องอาบน้ำด้านท้ายอ่างอาบน้ำ ราวจับมีขนาด เส้นผ่านศูนย์กลาง 3-4 เซนติเมตร สิ่งของ เครื่องใช้หรืออุปกรณ์ภายในที่อาบน้ำ ให้อยู่สูงจากพื้น 0.30-1.20 เมตร
การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
130 ภาพที่ 12.14 ลักษณะที่นั่งอาบน้ำ ฝักบัวปรับระดับได้และราวจับ ที่มาภาพถ่าย: http://www.bathezy.co.uk/walk-in-bath-pictures.html
TRICK ที่กดแชมพู ครีมนวดผม หรือ สบู่เหลว ปุ่มกดควรมีสีที่ต่างกันชัดเจน และมีอักษรเบรลล์สำหรับคนพิการตาบอดให้สามารถแยกได้ชัดเจนด้วย
การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
131
เอกสารอ้างอิงท้ายบท ชุ มเขต แสวงเจริ ญ. (2563). รู ป แบบ Universal Design ในห้ องประชุม. ใน อโนชา ทองชัย (บ.ก.), The art of conference room (น. 140-143) กรุงเทพฯ: บริษัท ศิริวัฒนา อินเตอร์พริ้นท์ จำกัด (มหาชน). ชุมเขต แสวงเจริญ. (2563). โครงการส่งเสริมการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อเพิ่มศักยภาพแก่แหล่งท่องเที่ยวและสถานประกอบการในพื้นที่ พิเศษเมืองพัทยาและพื้นที่เชื่อมโยงเพื่อให้สามารถรองรับการท่องเที่ยวเพื่อ คนทั้งมวล (รายงานวิจัย). ปทุมธานี: หน่วยวิจัยและออกแบบเพื่อคนทั้งมวล คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ชุมเขต แสวงเจริญ. (2562). โครงการส่งเสริมและจัดทำแผนขับเคลื ่อ นการ ท่องเที่ยวเพือ่ คนทั้งมวล (รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์). ปทุมธานี: หน่วยวิจยั และออกแบบเพื่อคนทั้งมวล คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ชุ มเขต แสวงเจริญ , เอกสารประกอบการบรรยาย การปรั บ สภาพแวดล้อม สำหรับคนพิการตามแนวคิด การออกแบบเพื่อทุกคน (Universal Design). ชุมเขต แสวงเจริญ, เอกสารประกอบการสอน เรื่อง การออกแบบเพื่อคนทั้งมวล (Universal Design). หลักสูตรภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และการผังเมืองมหาวิทยาลัยธรรม ศาสตร์. กรุงเทพมหานคร. 2561 ไตรรั ต น์ จารุ ทั ศ น์ ชุ มเขต แสวงเจริ ญ และคณะ. คู ่ มื อปฏิ บ ั ต ิ วิ ช าชี พการ ออกแบบสภาพแวดล้ อมและสิ ่ งอำนวยความสะดวกสำหรั บทุ กคน ( Universal Design Code of Practice) . — ก ร ุ ง เ ท พ ม หานคร: สมาคมสถาปนิ กสยาม ในพระบรมราชู ป ถัมภ์ , 2552. บริ ษ ั ท พลัส เพรส จำกัด: ISBN 978-611-90213-1-0 U.S. Architectural and Transportation Barrier Compliance Board. Americans with disabilities Act (ADA) Accessibility Guidelines for Buildings and Facilities. U.S.A., 2002. การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
132
ภาวดี ธนวิสุทธิ์ และคณะ. 2550. การสำรวจอาคาร สถานที่สาธารณะที่เป็นมิตร สำหรั บ ผู ้ ส ู งอายุ . รายงานวิ จั ยฉบั บ สมบูรณ์ . กรุ ง เทพฯ: จุ ฬ าลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. สมาคมสถาปนิ ก สยามในพระบรมราชู ป ถั ม ภ์ . 2551. คู ่ ม ื อ ปฏิ บ ั ต ิ ว ิ ช าชี พ สถาปัตยกรรม การออกแบบสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวก สำหรับการออกแบบสำหรับทุกคน. กรุงเทพมหานคร. Gary O. Robinette. 1985. Barrier-free Exterior Design. New York. Salford University Research Focus on Accessible Environments. 2006. Code of Practice on Access and Mobility. Liverpool. U.S. Architectural and Transportation Barrier Compliance Board. 2002. Americans with disabilities Act (ADA) Accessibility Guidelines for Buildings and Facilities. U.S.A.
การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
133 การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
134 บทที่ 13 การออกแบบจุดบริการข้อมูล สถานประกอบการโรงแรมทุกแห่งจะสามารถเข้าพักได้จำเป็นต้อง ดำเนินการเช็กอิน โดยจุดให้บริการเช็กอิน คือ เคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ พนักงานตรวจเช็คข้อมูลและกรอกรายละเอียดของผู้เข้าพักลงไปในระบบของ โรงแรม ดังนั้น โต๊ะหรือเคาน์เตอร์บริการข้อมูลจึงมีความสำคัญและจำเป็นอย่าง มากต่อการให้บริการขั้นแรกก่อนลูกค้าจะเข้าพักในโรงแรม รีสอร์ต โต๊ะหรือเคาน์เตอร์ให้บริ การข้ อมูล ควรอยู่ในตำแหน่งที่คนพิก าร สามารถเข้าถึงได้โดยสะดวกและสังเกตได้ง่าย ความสูงของโต๊ะหรือเคาน์เตอร์ ให้บริการควรมีความสูงในระดับที่รถวีลแชร์สามารถใช้บริการได้ โดยมีความสูงสุทธิ ไม่เกิน 0.80 เมตร มีพื้นที่ว่างใต้โต๊ะหรือเคาน์เตอร์ เพียงพอสำหรับรถวีลแชร์ เข้าไปได้โดยพื้นที่ว่างใต้โต๊ะ มีความสูงจากพื้น 0.70-0.75 เมตร พื้นที่ว่างใต้โต๊ะ มีความกว้างสุทธิไม่น้อยกว่า 0.40 เมตร
ภาพที่ 13.1
แนวทางการปรับปรุงจุดบริการข้อมูลสำหรับคนพิการ
การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
135 ภาพที่ 13.2
ตัวอย่างจุดบริการข้อมูลสำหรับคนพิการโรงแรมแม่น้ำรามาดา
ภาพที่ 13.3 ตัวอย่างจุดบริการข้อมูลสำหรับคนพิการที่ California State University, Northridge ประเทศสหรัฐอเมริกา การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
136 ภาพที่ 13.4
ตัวอย่างแผนผังนูนต่ำต่างสัมผัส (tactile map)
ภาพที่ 13.5
ตัวอย่างแผนผังนูนต่ำต่างสัมผัส (tactile map)
การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
137
ให้มีการจัดทำแผนผังการใช้บริการอาคารหรือสถานที่ เอกสารหรือ ข้ อมู ล ข่า วสาร สำหรั บ เผยแพร่ในรูป แบบของสื ่ อเสี ยงหรื อตั วอั กษรสำหรับ คนพิ ก ารทางการเห็ น มี ค ู ่ มื อ แปลภาษาหรื อ ป้ า ยสั ญ ลั กษณ์ ภ าษาสำหรั บ เจ้ า หน้ าที ่ เพื ่ อใช้ ส ื ่อสารกับ คนพิการ มี การประกาศข้ อมู ลที ่เ ป็ นประโยชน์ สำหรับคนพิการทางการเห็น มีเสียงดังและสามารถได้ยินอย่างชัดเจนทุกบริเวณ มี ก ารประกาศข้ อ มู ล ที ่ เ ป็ น ประโยชน์ ส ำหรั บ คนพิ การทางการได้ ย ิ นหรื อ สื่อความหมายที่เป็นตัวอักษรหรือไฟวิ่งหรือป้ายแสดงความหมาย โดยติดตั้ง ในบริเวณที่เห็นได้ชัดเจน มีขนาดใหญ่เพียงพอสำหรับการมองเห็น และมีแสง ส่องสว่างเป็นพิเศษทั้งกลางวันและกลางคืน
นอกจากนี้ควรมีเจ้าหน้าที่ผ่า นการฝึกอบรมและคุณสมบัติต รงกั บ ความต้ องการของคนพิ การแต่ ล ะประเภทอย่ า งน้ อย 1 คน เพื ่ อให้ บ ริ การ คนพิการ เจ้าหน้าที่ควรได้รับการฝึกอบรมในเบื้องต้นเกี่ยวกับการสื่อสารกับ คนพิการแต่ละประเภท เพื่อให้สามารถสื่อสารกับคนพิการได้ อีกทั้งควรมีความรู้ และความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้งานอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับ คนพิการ เพื่อให้คำแนะนำในการใช้งานที่ถูกต้องสำหรับคนพิการ และมีความ สุภาพและใส่ใจ ในการบริการคนพิการ
TRICK ข้อมูลที่ควรจัด เตรี ย มไว้ ประกอบด้วย ข้อมูลการบริการ ราคา ข้อควร ปฏิบัติหรือข้อห้ามในการใช้บริการโรงแรม โดยจัดทำเป็น สื่อเสียง อักษรเบรลล์ และแผ่นข้อความแสดงข้อมูลต่าง ๆ สำหรับคนหูหนวก
การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
138
เอกสารอ้างอิงท้ายบท ชุ มเขต แสวงเจริ ญ. (2563). รู ป แบบ Universal Design ในห้ องประชุม. ใน อโนชา ทองชัย (บ.ก.), The art of conference room (น. 140-143) กรุงเทพฯ: บริษัท ศิริวัฒนา อินเตอร์พริ้นท์ จำกัด (มหาชน). ชุมเขต แสวงเจริญ. (2563). โครงการส่งเสริมการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อเพิ่มศักยภาพแก่แหล่งท่องเที่ยวและสถานประกอบการในพื้นที่ พิเศษเมืองพัทยาและพื้นที่เชื่อมโยงเพื่อให้สามารถรองรับการท่องเที่ยวเพื่อ คนทั้งมวล (รายงานวิจัย). ปทุมธานี: หน่วยวิจัยและออกแบบเพื่อคนทั้งมวล คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ชุมเขต แสวงเจริญ. (2562). โครงการส่งเสริมและจัดทำแผนขับเคลื ่อ นการ ท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวล (รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์). ปทุมธานี: หน่วยวิจัย และออกแบบเพื่อคนทั้งมวล คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ชุ มเขต แสวงเจริญ , เอกสารประกอบการบรรยาย การปรั บ สภาพแวดล้อม สำหรั บ คนพิ การตามแนวคิ ด การออกแบบเพื ่ อทุ กคน (Universal Design). ชุมเขต แสวงเจริญ, เอกสารประกอบการสอน เรื่อง การออกแบบเพื่อคนทั้งมวล (Universal Design). หลักสูตรภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรม ศาสตร์และการผังเมืองมหาวิทยาลัยธรรม ศาสตร์. กรุงเทพมหานคร. 2561 ไตรรั ต น์ จารุ ทั ศ น์ ชุ มเขต แสวงเจริ ญ และคณะ. คู ่ มื อปฏิ บ ั ต ิ วิ ช าชี พการ ออกแบบสภาพแวดล้ อมและสิ ่ งอำนวยความสะดวกสำหรั บ ทุกคน ( Universal Design Code of Practice) . — ก ร ุ ง เ ท พ ม หานคร: สมาคมสถาปนิ กสยาม ในพระบรมราชู ป ถัมภ์ , 2552. บริ ษ ั ท พลัส เพรส จำกัด: ISBN 978-611-90213-1-0
การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
139
U.S. Architectural and Transportation Barrier Compliance Board. Americans with disabilities Act (ADA) Accessibility Guidelines for Buildings and Facilities. U.S.A., 2002. ภาวดี ธนวิสุทธิ์ และคณะ. 2550. การสำรวจอาคาร สถานที่สาธารณะที่เป็นมิตร สำหรั บ ผู ้ ส ู งอายุ . รายงานวิ จั ยฉบั บ สมบูรณ์ . กรุ ง เทพฯ: จุ ฬ าลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. สมาคมสถาปนิ ก สยามในพระบรมราชู ป ถั ม ภ์ . 2551. คู ่ ม ื อ ปฏิ บ ั ต ิ ว ิ ช าชี พ สถาปัตยกรรม การออกแบบสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวก สำหรับการออกแบบสำหรับทุกคน. กรุงเทพมหานคร. Gary O. Robinette. 1985. Barrier-free Exterior Design. New York. Salford University Research Focus on Accessible Environments. 2006. Code of Practice on Access and Mobility. Liverpool. U.S. Architectural and Transportation Barrier Compliance Board. 2002. Americans with disabilities Act (ADA) Accessibility Guidelines for Buildings and Facilities. U.S.A.
การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
140 การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
141 บทที่ 14 การออกแบบห้องอาหาร ห้ องอาหารในโรงแรม หมายถึ ง พื ้ นที ่ ที ่ ตั ้ งอยู ่ภ ายในโรงแรมเพื่อ ให้บริการอาหารและเครื่ องดื่ มแก่ลู กค้า หรื อผู้เข้าพัก ห้องอาหารในโรงแรม ประกอบด้วยส่วนประกอบหลายแผนก เช่น ส่วนบริการเครื่องดื่มและกาแฟ ส่วนบริการเครื่องดื่มและอาหารว่าง และส่วนการจัดเลี้ยง เป็นต้น ซึ่งส่วน ให้บริการจัดเลี้ยงส่ วนใหญ่จะให้บริการอาหารในรูปแบบเปิดโอกาสให้ล ูกค้ า เลือกตักอาหารได้เอง หรือ บุฟเฟต์ ซึ่งโรงแรมจะวางอาหารไว้จุดต่าง ๆ ให้ลูกค้า เดินไปตามจุดดังกล่าวและเลือกตักอาหารได้เอง แล้วนำกลับมานั่งรับประทาน ที่โต๊ะ ซึ่งในงานออกแบบเพื่อคนทั้งมวล (Universal Design) นั้น มีแนวทาง การออกแบบห้องอาหารเพื่อให้คนพิการ ผู้สูงอายุ และคนทั้งมวลสามารถใช้งาน ร่วมกันได้ดังนี้ โต๊ะนั่งรับประทานอาหาร พื้นที่ใต้โต๊ะควรเป็นแบบโปร่งไม่ปิดทึบ โดยมีความสูงสุทธิไม่เกิน 0.80 เมตร มีพื้นที่ว่างใต้โต๊ะหรือเคาน์เตอร์เพียงพอ สำหรับรถวีลแชร์เข้าไปได้โดยพื้นที่ว่างใต้โต๊ะ มีความสูงจากพื้น 0.70-0.75 เมตร คนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ที่ใช้รถวีลแชร์สามารถเลือกที่นั่งได้ทุกตำแหน่ง
การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
142 ภาพที่ 14.1 ลักษณะการจัดโต๊ะรับประทานอาหารที่วีลแชร์สามารถเข้าถึง ใช้งานได้
โต๊ะวางอาหารสำหรับบริการตนเอง (บุฟเฟต์) จะต้องเขียนรายการ อาหารวางในที่ทลี่ ูกค้าหรือผูเ้ ข้าพักสามารถมองเห็นได้ชัดเจน ให้ลูกค้าทราบว่า รายการอาหารนั้นมีอะไรบ้าง รายการอาหารที่ต้องเขียน ตัวอักษรต้องอ่านง่าย และชัดเจน
ภาพที่ 14.2 ลักษณะการจัดโต๊ะตักอาหารที่วีลแชร์สามารถเข้าถึง ใช้งานได้
การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
143 ภาพที่ 14.3 ลักษณะการจัดโต๊ะตักอาหารที่วีลแชร์สามารถเข้าถึง ใช้งานได้
ภาพที่ 14.4 ลักษณะการจัดโต๊ะตักอาหารที่วีลแชร์สามารถเข้าถึง ใช้งานได้
ทางเดินและการสัญจร สำหรับการจัดโต๊ะแบบบุฟเฟต์นั้น ควรจัดให้ ลูกค้าเดินแถวเดียว ทางเดียว หรือเดินรอบ ๆ โต๊ะก็ได้ โดยให้ทางเดินมีความกว้าง 1.50 เมตร เพื ่ อให้ ผ ู ้ ใช้ รถวี ล แชร์ ส ามารถเข้ า ถึ ง ได้ และในขณะที ่ วี ล แชร์ ตักอาหารไม่กีดขวางทางสัญจรของลูกค้าคนอื่นด้วย การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
144 ภาพที่ 14.5 ลักษณะการจัดทางสัญจรที่วีลแชร์สามารถเข้าถึง ใช้งานได้
ควรกำหนดทางเดินเข้า ออกให้ลูกค้า โดยใช้อาหารที่เสิร์ฟเป็นเครื่อง กำหนด คือ เริ่มด้วยอาหารจานแรก เช่น ประเภทยำ สลัด แล้วจึงเป็นอาหาร ประเภทอาหารจานสำคัญ (Main Dish) จบด้ วยรายการอาหารจานสุ ดท้าย ของรายการ
การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
145
เอกสารอ้างอิงท้ายบท ชุ มเขต แสวงเจริ ญ. (2563). รู ป แบบ Universal Design ในห้ องประชุม. ใน อโนชา ทองชัย (บ.ก.), The art of conference room (น. 140-143) กรุงเทพฯ: บริษัท ศิริวัฒนา อินเตอร์พริ้นท์ จำกัด (มหาชน). ชุมเขต แสวงเจริญ. (2563). โครงการส่งเสริมการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อเพิ่มศักยภาพแก่แหล่งท่องเที่ยวและสถานประกอบการในพื้นที่ พิเศษเมืองพัทยาและพื้นที่เชื่อมโยงเพื่อให้สามารถรองรับการท่องเที่ยวเพื่อ คนทั้งมวล (รายงานวิจัย). ปทุมธานี: หน่วยวิจัยและออกแบบเพื่อคนทั้งมวล คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ชุมเขต แสวงเจริญ. (2562). โครงการส่งเสริมและจัดทำแผนขับเคลื ่อ นการ ท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวล (รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์). ปทุมธานี: หน่วยวิจัย และออกแบบเพื่อคนทั้งมวล คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ชุ มเขต แสวงเจริญ , เอกสารประกอบการบรรยาย การปรั บ สภาพแวดล้อม สำหรั บ คนพิ การตามแนวคิ ด การออกแบบเพื ่ อทุ กคน (Universal Design). ชุมเขต แสวงเจริญ, เอกสารประกอบการสอน เรื่อง การออกแบบเพื่อคนทั้งมวล (Universal Design). หลักสูตรภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรม ศาสตร์และการผังเมืองมหาวิทยาลัยธรรม ศาสตร์. กรุงเทพมหานคร. 2561 ไตรรั ต น์ จารุ ทั ศ น์ ชุ มเขต แสวงเจริ ญ และคณะ. คู ่ มื อปฏิ บ ั ต ิ วิ ช าชี พการ ออกแบบสภาพแวดล้ อมและสิ ่ งอำนวยความสะดวกสำหรั บ ทุกคน ( Universal Design Code of Practice) . — ก ร ุ ง เ ท พ ม หานคร: สมาคมสถาปนิ กสยาม ในพระบรมราชู ป ถัมภ์ , 2552. บริ ษ ั ท พลัส เพรส จำกัด: ISBN 978-611-90213-1-0
การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
146
U.S. Architectural and Transportation Barrier Compliance Board. Americans with disabilities Act (ADA) Accessibility Guidelines for Buildings and Facilities. U.S.A., 2002. ภาวดี ธนวิสุทธิ์ และคณะ. 2550. การสำรวจอาคาร สถานที่สาธารณะที่เป็นมิตร สำหรั บ ผู ้ ส ู งอายุ . รายงานวิ จั ยฉบั บ สมบูรณ์ . กรุ ง เทพฯ: จุ ฬ าลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. สมาคมสถาปนิ ก สยามในพระบรมราชู ป ถั ม ภ์ . 2551. คู ่ ม ื อ ปฏิ บ ั ต ิ ว ิ ช าชี พ สถาปัตยกรรม การออกแบบสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวก สำหรับการออกแบบสำหรับทุกคน. กรุงเทพมหานคร. Gary O. Robinette. 1985. Barrier-free Exterior Design. New York. Salford University Research Focus on Accessible Environments. 2006. Code of Practice on Access and Mobility. Liverpool. U.S. Architectural and Transportation Barrier Compliance Board. 2002. Americans with disabilities Act (ADA) Accessibility Guidelines for Buildings and Facilities. U.S.A.
การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
147 การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
148 บทที่ 15 การออกแบบห้องสัมมนา สาระสำคั ญ ของห้ องประชุ ม คื อ การสื ่ อสารเนื ้ อหา (Content) ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างผู้เข้าร่วมการประชุม ดังนั้นการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล (Universal Design) ที่ห้องประชุมต้องมี คือ การเข้าถึงได้ (Accessibility) ในเชิงกายภาพ ซึ่งจะแสดงในรายละเอียดต่อไป ระบบการสัญจร (Circulation) ภายในต้องมีความกว้างของทางที่ เพียงพอให้วีลแชร์ บุคคลพิการทางสายตา หรือผู้ที่มีเงื่อนไขด้านสรีระ สามารถ เดิ นได้ ส ะดวกทั ้ ง หมด มี ค วามยื ด หยุ ่ นของการจั ด เส้ นทางสั ญ จร สามารถ ปรับเปลี่ยนได้ ซึ่งโดยส่วนใหญ่ห้องประชุมจะถูกออกแบบให้มีความยืดหยุ่ น สามารถปรับเปลี่ยนได้ (Flexible) อยู่แล้ว การจัดที่นั่ง ห้องประชุมที่มีเวทีอยู่ด้านหน้า การจัดที่นั่งหรือโต๊ ะ เลกเชอร์ควรต้องให้วีลแชร์อยู่ด้านหน้าสุด เพราะที่นั่งวีลแชร์จะเตี้ยกว่าที่นงั่ ปกติ แต่ต้องมีระยะห่างของที่นั่งกับเวทีที่เหมาะสม เพราะหากจัดตำแหน่งไว้ใกล้เวที เกินไป มีผลเสียต่อสรีระที่ต้องแหงนหน้ามองมากเกินไป
การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
149 ภาพที่ 15.1 ภาพโต๊ะที่วีลแชร์สามารถเข้าถึงและใช้งานได้สะดวก
วี ล แชร์ ควรอยู่ ใกล้ กับทางเข้ าออก เพราะง่ ายและสะดวกในกรณีที่ ต้องการออกไปห้องน้ำ ต้องจัดระบบการสัญจร (Circulation) ให้ออกซ้าย-ขวา ได้สะดวก หรือวนข้างหลังก็ได้ ดังนั้น หากสามารถจัดที่นั่งสำหรับวีลแชร์ไว้ใน ตำแหน่งแถวหน้าสุด ใกล้กับเวที และใกล้ทางออก เป็นตำแหน่งที่ดีที่สุด แต่หาก ประตูทางออกไม่ได้จัดไว้ด้านหน้า ต้องจัดให้ที่นั่งสำหรับวีลแชร์ใกล้กับประตู ทางออกที ่ ส ุ ด ทั ้ ง นี ้ ห ากอาคารสถานที ่ นั ้ น ๆ ไม่ มี ข ้ อจำกั ด ด้ า นการจั ด สรร งบประมาณ ควรจั ด ให้ วี ล แชร์ บุ ค คลพิ การทางสายตา หรื อผู ้ ที ่ มี เ งื ่ อนไข ด้านสรีระ มีทางเลือกใช้งานที่นั่งได้กับทุกระดับของหอประชุม
ภาพที่ 15.2 โต๊ะสัมมนาที่ Center for international communication ประเทศญี่ปุ่น สามารถสอดขาเข้าไปได้ การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
150 ภาพที่ 15.3 ตัวอย่างการเลือกโต๊ะทีว่ ีลแชร์สามารถนั่งได้ทุกตัวเพียงยกเก้าอี้ออก
กรณี บ ุ ค คลออทิ ส ติ ก หรื อ กลุ ่ ม สมาธิ ส ั ้ น อาจมี อ าการก้ า วร้ า ว (Aggressive) เช่น การโวยวาย ฯลฯ ในระหว่างการประชุมได้ ทำให้ต้องออกไป ข้ า งนอกบ้ า งเพื ่ อให้ อารมณ์ ส งบลง ดั ง นั ้ น ตำแหน่ ง ที ่ นั ่ ง จึ ง ควรอยู ่ บ ริ เวณ ด้านหลังห้องประชุม หรือบริเวณใกล้ทางออกเช่นกัน การวางระบบการสัญจรในกรณีฉุกเฉิน สำหรับห้องประชุมที่อยู่ใน อาคารหลายชั้น ในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน จัดให้วีลแชร์ออกก่อน โดยที่คนอื่น ๆ ที่ตามมาต้องรอวีลแชร์ออกก่อน ถือเป็นการวางระบบการสัญจร (Circulation) ที่ไม่ดี ที่ถูกต้องในกรณีฉุกเฉิน คือ ต้องไม่ให้วีลแชร์ออกไปในทันที แต่ควรจัด พื้นที่ไว้สำหรับรออพยพ รวมถึงบุคคลพิการตาบอดและหูหนวกหรือใครที่รู้สึกว่า ถ้าตัวเองวิ่งและมีโอกาสหกล้ม ต้องโดนคนอื่นเหยียบทับ สามารถให้รอ ณ พื้นที่ รออพยพนี้ได้ ซึ่งเป็นพื้นที่พิเศษที่มีความปลอดภัยสูง ระบบเสียง (Acoustic) กรณีบุคคลพิการทางสายตา เช่น ตาบอด ซึ ่ ง ใช้ ป ระสาทสั มผัส หู ในการฟั งเสีย งเป็ นหลัก ความสำคั ญ ของระบบเสียง (Acoustic) ภายในห้องต้องดีด้วย คือ ห้องประชุมทั้งห้องได้ยินเป็นเสียงเดียวกัน ไม่สะท้อน ไม่มีเสียงอื้ออึง จะทำให้บุคคลพิการตาบอดสามารถอยู่ในตำแหน่ง ไหนของห้องประชุมก็ได้ เรียกว่าสัมพันธ์กับระบบเสียง (Acoustic) ภายในห้อง การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
151
ประชุมทั้งหมด แต่ถ้าห้องประชุมมีระบบเสียงในรูปแบบที่มีลำโพงออกจุดเดียว ควรจัดให้คนพิการทางสายตาอยู่ในตำแหน่งที่ได้ยินเสียงจากลำโพงได้ชัด ไม่เบา หรือดังจนเกินไป และไม่มีเสียงรบกวนมากนัก และควรจัดให้นั่งใกล้ทางออก ที่สุดด้วย
ภาพที่ 15.4 โต๊ะสัมมนาที่ Center for international communication ประเทศญี่ปุ่น สามารถสอดขาเข้าไปได้
การวางตำแหน่งล่ามภาษามือ กรณีบุคคลพิการหูหนวกต้องมีลา่ ม ภาษามือ โดยการวางตำแหน่งล่ามต้องเป็นลักษณะสามเหลี่ยม เพราะล่ามต้อง ใช้ ภ าษามือสื ่อสารและบางทีต้ องใช้ปากสื่ อสารกับ ผู้ ฟั งด้ วย ล่ า มจึงต้องอยู่ ตำแหน่งที่มองเห็นวิทยากร และสามารถสบตากับคนพิการหูหนวกได้ ส่วนใหญ่ กลุ่มคนพิการหูหนวกจะพู ด ไม่ ได้ แต่สามารถเคลื่อนไหวได้ตามปกติ จึงไม่มี ปัญหาเรื่องการเข้าถึงด้านกายภาพ
การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
152
ภาพที่ 15.5 ลักษณะตำแหน่งสามเส้าระหว่างผู้พูด ล่าม และคนหูหนวก
เอกสารอ้างอิงท้ายบท ชุ มเขต แสวงเจริ ญ. (2563). รู ป แบบ Universal Design ในห้ องประชุม. ใน อโนชา ทองชัย (บ.ก.), The art of conference room (น. 140-143) กรุงเทพฯ: บริษัท ศิริวัฒนา อินเตอร์พริ้นท์ จำกัด (มหาชน). ชุมเขต แสวงเจริญ. (2563). โครงการส่งเสริมการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อเพิ่มศักยภาพแก่แหล่งท่องเที่ยวและสถานประกอบการในพื้นที่พิเศษ เมื องพั ทยาและพื ้ นที ่ เชื ่ อมโยงเพื ่ อให้ สามารถรองรั บการท่ องเที ่ ยวเพื่ อ คนทั้งมวล (รายงานวิจัย). ปทุมธานี: หน่วยวิจัยและออกแบบเพื่อคนทั้งมวล คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ชุมเขต แสวงเจริญ. (2562). โครงการส่งเสริมและจัดทำแผนขับเคลื ่อ นการ ท่องเที่ยวเพือ่ คนทั้งมวล (รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์). ปทุมธานี: หน่วยวิจยั และออกแบบเพื่อคนทั้งมวล คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ชุมเขต แสวงเจริญ, เอกสารประกอบการบรรยาย การปรับสภาพแวดล้อมสำหรับ คนพิการตามแนวคิด การออกแบบเพื่อทุกคน (Universal Design). ชุมเขต แสวงเจริญ, เอกสารประกอบการสอน เรื่อง การออกแบบเพื่อคนทั้งมวล (Universal Design). หลักสูตรภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และการผังเมืองมหาวิทยาลัยธรรม ศาสตร์. กรุงเทพมหานคร. 2561 ไตรรั ต น์ จารุ ทั ศ น์ ชุ มเขต แสวงเจริ ญ และคณะ. คู ่ มื อปฏิ บ ั ต ิ วิ ช าชี พการ ออกแบบสภาพแวดล้ อมและสิ ่ งอำนวยความสะดวกสำหรั บ ทุกคน ( Universal Design Code of Practice) . — ก ร ุ ง เ ท พ ม หานคร: สมาคมสถาปนิ กสยาม ในพระบรมราชู ป ถัมภ์ , 2552. บริ ษ ั ท พลัส เพรส จำกัด: ISBN 978-611-90213-1-0 U.S. Architectural and Transportation Barrier Compliance Board. Americans with disabilities Act (ADA) Accessibility Guidelines for Buildings and Facilities. U.S.A., 2002. การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
153
ภาวดี ธนวิสุทธิ์ และคณะ. 2550. การสำรวจอาคาร สถานที่สาธารณะที่เป็นมิตร สำหรั บ ผู ้ ส ู งอายุ . รายงานวิ จั ยฉบั บ สมบูรณ์ . กรุ ง เทพฯ: จุ ฬ าลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. สมาคมสถาปนิ ก สยามในพระบรมราชู ป ถั ม ภ์ . 2551. คู ่ ม ื อ ปฏิ บ ั ต ิ ว ิ ช าชี พ สถาปัตยกรรม การออกแบบสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวก สำหรับการออกแบบสำหรับทุกคน. กรุงเทพมหานคร. Gary O. Robinette. 1985. Barrier-free Exterior Design. New York. Salford University Research Focus on Accessible Environments. 2006. Code of Practice on Access and Mobility. Liverpool. U.S. Architectural and Transportation Barrier Compliance Board. 2002. Americans with disabilities Act (ADA) Accessibility Guidelines for Buildings and Facilities. U.S.A.
การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
154 การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
155 บทที่ 16 การออกแบบป้ายและสัญลักษณ์ แนวคิดเกี่ยวกับมาตรฐานการออกแบบที่เกี่ยวเนื่องกับการสื่อความหมาย และการให้ข้อมูล คือ การแนะแนว แนะนำสถานที่และข้อมูลสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อสื่อสารกับบุคคลทั่วไป คนพิการ ผูท้ ุพพลภาพ และผู้สูงอายุ ซึ่งมีอยู่ทั่วไปใน พื้นที่สาธารณะ ดังนั้นการติดตั้งแสดงภาพและบ่งบอกข้อมูลสำคัญ จะทำให้ พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ที่ปราศจากอุปสรรคต่อการสัญจร การเข้าถึงและการใช้งาน ซึ ่ ง ต้ องมี การสื ่อสารอย่ างมี ประสิทธิ ภาพ ป้ า ยและสัญลักษณ์เ ป็นหนึ ่ง ในวิธี สื่อสารข้อมูลดังกล่าว การออกแบบป้ายและสัญลักษณ์จึงต้องพิจารณาถึงข้อมูล ที่ต้องการสื่อสาร วิธีการนำเสนอภาพข้อมูล และที่ตั้งของป้ายและสัญลักษณ์ นอกจากนี้ควรออกแบบป้ายข้อมูลให้ทันสมัยและมีความเหมาะสมต่อสถานที่ สำหรับกฎกระทรวง พ.ศ. 2548 ระบุว่า ต้องจัดให้มีป้ายแสดงสิ่ง อำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการหรือทุพพลภาพ และคนชรา ตามสมควร โดยมีรายละเอียด คือ มีสัญลักษณ์รูปคนพิการ มีเครื่องหมายแสดงทางไปสู่สิ่ง อำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการหรือทุพพลภาพ และคนชรา มีสัญลักษณ์ หรือตัวอักษรแสดงประเภทของสิ่ง อำนวยความสะดวกสำหรั บคนพิการหรื อ ทุพพลภาพ และคนชรา
การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
156
สัญลักษณ์รูปคนพิการ เครื่องหมายแสดงทางไปสู่สิ่งอำนวยความ สะดวกสำหรั บ คนพิ การหรื อทุ พพลภาพ และคนชรา และสั ญ ลั กษณ์ ห รื อ ตัวอักษรแสดงประเภทของสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการหรือทุพพล ภาพ และคนชรา ให้เป็นสีขาวโดยพื้นป้ายเป็นสีน้ำเงิน หรือเป็นสีน้ำเงินโดย พื้นป้ายเป็นสีขาว ป้ายแสดงสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิ การหรือทุพพลภาพ และคนชรา ต้องมีความชัดเจน มองเห็นได้ง่ าย ติดอยู่ในตำแหน่งที่ ไม่ทำให้ สับสน และต้องจัดให้มีแสงส่องสว่างเป็นพิเศษทั้งกลางวันและกลางคืน
ภาพที่ 16.1 ป้ายแสดงทิศทางไปสู่สิ่งอำนวยความสะดวก
สำหรับแนวทางการออกแบบป้ายสัญลักษณ์ที่นอกเหนือจากกฎหมาย กำหนดอาจมีข้อพิจารณาดังนี้ 1) ขนาดตั วอั กษรอั ต ราส่ วน ความกว้ า ง:สู ง ของตั วหนั ง สื อควรจะอยู่ ระหว่าง 3 : 5 ถึง 1:1 และความหนาของอักษรให้มีสัดส่วนความหนา: ความสูง ของตัวหนังสือควรอยู่ระหว่าง 1:5 ถึง 1:10
การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
157 ภาพที่ 16.2 ขนาดตัวอักษรที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุและคนพิการมองเห็น
ความสูงที่น้อยที่สุด ของตัวอักษร (มิลลิเมตร) 200 150 100 75 50 25
ระยะทางที่มากที่สุด ที่สามารถมองเห็นได้ (มิลลิเมตร) 6,000 4,600 2,500 2,300 1,500 750
ภาพที่ 16.3 ตารางแสดงความสูงของตัวอักษรที่เหมาะสม
ต่อระยะการมองที่สามารถมองเห็นได้ 2) ในกรณีคนตาบอด มีอักษรเบรลล์โดยขนาดไม่เกิน 300 มิลลิเมตร ใน ระยะมือเอื้อมถึง
ภาพที่ 16.4 ติดตัง้ อักษรเบรลล์เพื่อการสื่อสารกับคนตาบอดในระยะเอื้อมถึง การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
158
3) ชนิดป้ายมี 4 แบบ ซึ่งต้องตั้งในบริเวณที่เหมาะสมแก่การให้ข้อมูลแก่ ผู้เดินทางสัญจร ได้แก่ ป้ายนำทาง (guidance) ช่วยแนะนำทางที่บุคคล สามารถใช้เส้นทางดังกล่าวไปสถานที่ต่าง ๆ ป้ายบอกสถานที่ (location) ช่วยบอกถึงที่ตั้งของสถานที่ป้ายข้อมูล (information) ช่วยบอกจุดขึ้น-ลงรถ และความสั มพั นธ์ ระหว่ า งสถานที ่ป ้ ายเตือนภั ย(warning) ช่ วยเตือน ผู้เดินผ่านถึงความประพฤติที่เหมาะสมได้
ภาพที่ 16.5 ข้อมูลที่สำคัญ เช่น พื้นที่อพยพ หรือ แนวทางการอพยพ กรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน เป็นอีกหนึ่งชุดข้อมูลที่โรงแรมและสถานประกอบการที่พักต้องจัดเตรียมไว้ เพื่อสื่อสารกับคนทุกกลุ่ม
การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
159
4) ข้ อมู ล บ่ ง บอกถึ งที ่ ต ั ้ งเครื ่ องอำนวยความสะดวกหลั กๆ เช่ น ประตู ทางเข้าออก ที่จำหน่ายตั๋ว เป็นต้น ควรนำเสนอเป็นภาษาอังกฤษด้วย เช่นกัน ควรมีป้ายเป็นภาษาที่เห็นตามความเหมาะสมขึ้นอยู่กับสถาน ที่ตั้งอาคารควรมีไวยากรณ์ภาษาที่ถูกต้อง ขนาดและสี ตัวอักษรต้อง ส่งเสริมให้บุคคลที่มีปัญหาทางสายตาอ่านได้ เช่น ใช้อักษรขนาดใหญ่ใน ระดับสายตาควรใช้สีในการบ่งบอกข้ อมูลต่าง ๆ ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ มี ปัญหาเรื่องต้อไม่ควรใช้สองสีพร้อมกัน ไม่ควรใช้การผสมสีน้ำเงิน -ดำ และเหลืองขาวความสว่างของอักษรและพื้นหลังควรต่างกันป้ายควรทำ จากวัสดุที่ไม่สะท้อนแสง และไม่นำกระจกหรืออะคลิลิคหรือวัสดุมันวาว มาเคลือบป้าย เนื่องจากจะทำให้เกิดแสงสะท้อนบาดตา
ภาพที่ 16.6 เลือกใช้ภาษาและสัญลักษณ์ตามบริบทที่เหมาะสมและติดตัง้ อักษรเบรลล์ เพื่อการสื่อสารกับคนตาบอด
5) ในกรณีที่มีข้อมูลนำเสนอมากเกิน ไป ควรให้ความสำคัญกับบริเวณหลัก และบริ เ วณที ่ เ อื ้ อ อำนวยต่ อ การเข้ า ถึ ง โดยปราศจากสิ ่ ง กี ด ขวาง ถ้าจุดมุ่งหมายมีระยะห่างไกล ควรบ่งบอกถึงระยะทางไปถึงเป้าหมายด้วย 6) รูปทรงป้ายไม่ควรยุ่งยาก และควรแยกแยะชนิดข้อมูลโดยใช้รูปทรงของ ป้าย ทิศทางของป้าย และความสูงของป้าย การติดตั้งป้ายควรหันไปทาง เส้นทางสัญจร ความสูงของป้ายจากพื้นไม่ควรอยู่สูงเกินระดับมองเห็น และควรอยู่ ในระดั บที ่ คนพิ การนั ่งวี ลแชร์ มองเห็นได้ โดยไม่ถูกบดบัง กรณีที่มีป้ายสองป้ายเคียงกัน ควรเว้นระยะระหว่างกัน เพื่อที่ป้ายหนึ่ง จะไม่บังอีกป้าย การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
160
เอกสารอ้างอิงท้ายบท ชุมเขต แสวงเจริญ, เอกสารประกอบการบรรยาย การปรับสภาพแวดล้อมสำหรับคน พิการตามแนวคิด การออกแบบเพื่อทุกคน (Universal Design). ชุมเขต แสวงเจริญ, เอกสารประกอบการสอน เรื่อง การออกแบบเพื่อคนทั้งมวล (Universal Design). หลักสูตรภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และการผังเมืองมหาวิทยาลัยธรรม ศาสตร์. กรุงเทพมหานคร. 2561 ไตรรัตน์ จารุทัศน์ ชุมเขต แสวงเจริญ และคณะ. คู่มือปฏิบัติวิชาชีพการออกแบบ สภาพแวดล้ อมและสิ ่ งอำนวยความสะดวกสำหรั บทุ กคน (Universal Design Code of Practice). — กรุงเทพมหานคร: สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์, 2552. บริษัท พลัส เพรส จำกัด. U.S. Architectural and Transportation Barrier Compliance Board. Americans with disabilities Act (ADA) Accessibility Guidelines for Buildings and Facilities. U.S.A., 2002. Accessibility Best Practices and Guidelines. Hong Kong. Atkin, Brian and Brooks, Adrian. 2005. Total Facilities Management. Build. UK: Blackwell Publications. Building Construction Authority. 2006. Universal Design Guidelines (Commercial Buildings). Singapore. Friday, Stormy and G. Cott, David. 1995. Quality Facility Management. A Marketing and Customer Service Approach. Canada: John Wiley & Sons, Inc. Gary O. Robinette. 1985. Barrier-free Exterior Design. New York. Salford University Research Focus on Accessible Environments. 2006. Code of Practice on Access and Mobility. Liverpool. U.S. Architectural and Transportation Barrier Compliance Board. 2002. Americans with disabilities Act (ADA) Accessibility Guidelines for Buildings and Facilities. New York การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
161 การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
162 บทที่ 17 การออกแบบลิฟต์ การปรับปรุงและการก่ อสร้างใหม่ห รื อติดตั ้งใหม่ ต้องเป็นไปตาม มาตรฐาน ดังนี้ 1) ประตู ล ิฟต์มีความกว้างอย่า งน้ อย 0.90 เมตร และห้องลิฟต์ ขนาดไม่น้อยกว่า 1.00 X 1.40 เมตร 2) ติดตั้งพื้นผิวต่างสัมผัสบนพื้นหน้าประตูลิฟต์กว้าง 0.30 เมตร และยาว 0.90 เมตร ห่างจากประตูลิฟต์ 0.30-0.35 เมตร 3) ติดตั้งราวจับโดยรอบภายในลิฟต์สูง 0.80–0.90 เมตร เส้นผ่าน ศูนย์กลาง 0.03–0.04 เมตร 4) จัดให้มีมีระบบเสียงและแสงแจ้งข้อมูลทั้งภายในและภายนอก ลิฟต์ และมีระบบป้องกันไม่ให้ลิฟต์หนีบผู้โดยสาร 5) มี ป ุ ่ ม กดลิ ฟ ต์ ค นพิ ก ารสู ง จากพื ้ น ไม่ น ้ อ ยกว่ า 0.90 เมตร ปุ ่ ม บนสุ ด อยู ่ ส ู ง จากพื ้ น ไม่ เ กิ น กว่ า 1.20 เมตร เส้ น ผ่ า น ศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 0.02 เมตร ปุ่มกดห่างจากมุมในห้องลิฟต์ ไม่น้อยกว่า 0.40 เมตร และมีอักษรเบรลล์กำกับไว้ทุกปุ่ม
การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
163
6) ในกรณีที่ลิฟต์ขัดข้องให้มีสัญญาณไฟเตือนภัยในลิฟต์สำหรับ คนพิการทางการได้ยินเป็นแสงไฟกระพริบสีแดง และในกรณีที่ ผู้อยู่ในลิฟต์รับทราบแล้วและอยู่ระหว่างการให้ความช่วยเหลือ ให้ไฟกระพริบเปลี่ยนเป็นสีเขียว รวมทั้งให้มีสัญญาณเตือนภัย สำหรั บ คนพิ การทางการเห็ น ให้ มี โ ทรศั พท์ แ จ้ ง เหตุ ฉ ุ กเฉิน ภายในลิ ฟต์ ใช้ ติ ดต่ อกั บ ภายนอก โดยแป้ นโทรศั พท์มี อักษร เบรลล์ และติดตั้งสูงจากพื้นระหว่าง 0.90-1.20 เมตร
ภาพที่ 17.1 ผังลิฟต์ที่เหมาะสมสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
164
เอกสารอ้างอิงท้ายบท ชุมเขต แสวงเจริญ, เอกสารประกอบการบรรยาย การปรับสภาพแวดล้อมสำหรับ คนพิการตามแนวคิด การออกแบบเพื่อทุกคน (Universal Design). ชุมเขต แสวงเจริญ, เอกสารประกอบการสอน เรื่อง การออกแบบเพื่ อคนทั้งมวล (Universal Design). หลักสูตรภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และการผังเมืองมหาวิทยาลัยธรรม ศาสตร์. กรุงเทพมหานคร. 2561 ชุมเขต แสวงเจริญและคณะ. 2552. โครงการศึกษาสภาพพื้นที่สาธารณะและ ทางเท้าริมถนน ที่เป็นอยู่ปัจจุบัน เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะหรือแนวคิ ด (Conceptual Design). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. เมืองพัทยา. ไตรรัตน์ จารุทัศน์ ชุมเขต แสวงเจริญ และคณะ. คู่มือปฏิบัติวิชาชีพการออกแบบ สภาพแวดล้ อมและสิ ่ งอำนวยความสะดวกสำหรั บทุ กคน (Universal Design Code of Practice). — กรุงเทพมหานคร: สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์, 2552. บริษัท พลัส เพรส จำกัด. U.S. Architectural and Transportation Barrier Compliance Board. Americans with disabilities Act (ADA) Accessibility Guidelines for Buildings and Facilities. U.S.A., 2002. ภาวดี ธนวิสุทธิ์ และคณะ. 2550. การสำรวจอาคาร สถานที่สาธารณะที่เป็นมิตรสำหรับ ผู้สูงอายุ. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สมาคมสถาปนิ ก สยามในพระบรมราชู ป ถั ม ภ์ . 2551. คู ่ ม ื อ ปฏิ บ ั ต ิ ว ิ ช าชี พ สถาปัตยกรรม การออกแบบสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวก สำหรับการออกแบบสำหรับทุกคน. กรุงเทพมหานคร. Gary O. Robinette. 1985. Barrier-free Exterior Design. New York. Salford University Research Focus on Accessible Environments. 2006. Code of Practice on Access and Mobility. Liverpool. U.S. Architectural and Transportation Barrier Compliance Board. 2002. Americans with disabilities Act (ADA) Accessibility Guidelines for Buildings and Facilities. U.S.A. การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
165 การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
166 บทที่ 18 กรณีศึกษา
บ้านเขาหลัก บีช รีสอร์ต (Baan Khaolak Beach Resort)
ภาพที่ 18.1 บ้านเขาหลัก บีช รีสอร์ต ที่มาภาพ: DESTINATION FOR ALL(ศรัณย์,2563)
บ้านเขาหลัก บีช รีสอร์ต (Baan Khaolak Beach Resort) เป็นสถาน ประกอบการที่พักในจังหวัดพังงา เป็นที่พักริมชายหาด ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากอุทยาน แห่ ง ชาติ เ ขาหลั ก - ลำรู ่ ประมาณ 2 กิ โ ลเมตร ห้ อ งพั ก มี ข นาดใหญ่ แ ละ มี ส ิ ่ ง อำนวยความสะดวกมากมายรองรั บ ลู กค้ า และนั กท่ องเที ่ ย วทุ กกลุ ่มที่ ต้องการเข้าพัก การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
167
บ้านเขาหลัก บีช รีสอร์ต มีแนวคิดสนับสนุนให้เกิดความเท่าเทียมกัน ของทุกคน คือ “ปราศจากสิ่งกีดขวาง” เพื่อบรรลุแนวคิดดังกล่าว บ้านเขาหลัก บีช รีสอร์ต จึงมีวิสัยทัศน์ 3A ได้แก่ Attitude (เจตคติ) Attentive (เอาใจใส่) Adaptive (ปรับเปลี่ยนได้) และ 3I ได้แก่ Intention (เจตนารมณ์) Inclusive Design (การออกแบบแบบมี ส ่ ว นร่ ว ม) Impossible becomes possible (สามารถเป็นไปได้) เพื่อทำให้กลายเป็น “จุดหมายปลายทางสำหรับทุกคน” ซึ่ง เป็นรีสอร์ตที่ให้บริการ ที่พัก สิ่งอำนวยความสะดวก กิจกรรม และการท่องเที่ยว ที่สามารถเข้าถึงได้อย่างแท้จริง
ภาพที่ 18.2 เส้นทางสัญจรที่เชื่อมต่อกันทุกบริเวณของบ้าน้ขาหลัก บีช รีสอร์ต ที่มาภาพ: DESTINATION FOR ALL(ศรัณย์,2563) การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
168
วิสัยทัศน์ บ้านเขาหลัก บีช รีสอร์ต กลุ่มเป้าหมายหลักของรีสอร์ตแห่งนี้ คือ กลุ่มครอบครัว จึงได้ให้จำกัด ความของ “ครอบครัว” หมายถึง สมาชิกทุกคนในครอบครัว ตั้งแต่เด็กจนถึง ผู้ใหญ่ และใครก็ตามที่มีร่างกายแข็งแรงหรือมีความพิการ
ในการที่จะตอบสนองความต้องการแก่สมาชิกทุกคนในครอบครัว จึง เกิดเป็นแนวคิดของการ “ปราศจากสิ่งกีดขวาง” ซึ่งหมายความถึง สิ่งอำนวย ความสะดวก หรือที่พักใด ๆ ที่ให้บริการจะต้องไม่มีอุปสรรคหรือสิ่งกีดขวางการ เข้ า ถึ ง ด้ วยเหตุ นี ้ จึ งมี คติที ่ ว่ า “ไม่ มี ข ้ อจำกั ด ไม่ มี ข อบเขต” เป็ นความคิด ที่ขับเคลื่อนการดำเนินงานเพื่ อมุ ่งเน้ นการนำเสนอบริการที ่ตอบสนองความ ต้องการของคนพิการ เช่น ทางเดิน ทางเชื่อมต่อ และทางเข้าที่พักและบริการ ต่ า ง ๆ ที ่ ป ราศจากระดับ และขั้ นบั นได รวมถึ ง การอำนวยความสะดวกของ กิจกรรมการท่องเที่ยวให้สามารถเข้าถึงได้ วิสยั ทัศน์ “To be the leader of the Beach Resort and Recreation service provider for All in the country” การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
169
แรงจูงใจสู่ค่านิยม ใช้แนวคิด 3A ประกอบการให้บริการแก่นักท่องเที่ยว ได้แก่ 1) Attitude (เจตคติ) การต้อนรับที่ดี, การดูแลที่ดี, ความเข้าใจที่ดี 2) Attentive (เอาใจใส่) มีความรอบคอบและระมัดระวัง 3) Adaptive (ปรั บ เปลี ่ ย นได้) สนั บ สนุ นให้ เ อาชนะความท้าทาย ตลอดการเดินทาง
นอกจากนี้มีการนำแนวคิด 3I มาใช้ร่วมด้วย ได้แก่ 1) Intention (เจตนารมณ์) เต็มใจที่จะลงมือทำ 2) Inclusive Design (การออกแบบแบบมีส่วนร่วม) การออกแบบ เพื่อรองรับทุกข้อจำกัดของทุกคน 3) Impossible becomes possible (สามารถเป็นไปได้) อนุญาตให้ ทุกคนเอาชนะ “อุปสรรค” ในการเดินทางของพวกเขา
ที่มาภาพ: DESTINATION FOR ALL(ศรัณย์,2563)
การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
170
ค่านิยมสู่เป้าหมาย บ้านเขาหลัก บีช รีสอร์ต (Baan Khaolak Beach Resort) พัฒนาเป้าหมาย “4A” ตามวิสัยทัศน์ “3A และ 3I” ได้แก่ 1) การเข้ า ถึ ง (Access) เป็ น การมุ ่ ง เน้ น เป้ า หมายในการ สนับสนุนผู้เข้าพักให้สามารถเข้าถึงสถานที่ต่าง ๆ ได้อย่าง สะดวก และง่ายดาย 2) ที ่ พ ั ก (Accommodation) สมาชิ ก ในครอบครั ว ทุ กคน สามารถอยู่ร่วมกันได้ โดยไม่ต้องคำนึงถึงข้อจำกัดทางด้าน ร่างกายของสมาชิกในครอบครัว 3) สถานที ่ ท่ องเที ่ ยว (Attraction) มี โ ปรแกรมท่ องเที่ยวที่ เหมาะสำหรับผู้ใช้รถวีลแชร์ที่จัดไว้บริการนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ 4) กิจกรรม (Activity) การจัดกิจกรรมที่คนพิการสามารถมี ส่วนร่วมได้ เพื่อให้คนพิการเกิดความสนุกสนาน เพลิดเพลิน ในระหว่างวันหยุดและตลอดระยะเวลาที่เข้าพักในรีสอร์ต
ที่มาภาพ: DESTINATION FOR ALL(ศรัณย์,2563) การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
171
ตัวอย่างการวิเคราะห์กรณีศึกษาตาม แนวคิดการพัฒนาการท่องเที่ยว เพื่อคนทั้งมวลอย่างยั่งยืน การพั ฒ นาระบบการท่ องเที ่ ย วให้ ค นพิ การ ผู ้ ส ู ง อายุ และทุ กคน สามารถเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ได้อย่างเท่าเทียมกัน ไม่เลือกปฏิบัติ กั บ บุ ค คลใดบุ ค คลหนึ ่ ง นั ้ น ควรนำหลั กแนวคิ ด องค์ป ระกอบการท่ องเที่ยว UD+6A’s ดังที่กล่าวถึงในบทที่ 5 มาใช้ในการพัฒนาระบบการท่องเที่ยวร่วม ด้วย ซึ่งบ้านเขาหลัก บีช รีสอร์ต ได้นำแนวคิดดังกล่าวมาใช้ ตั้งแต่การเดินทาง มายังที่พัก การเช็กอินเข้าที่พัก การเข้าพักในห้องพัก การเข้าถึงสิ่งอำนวยความ สะดวกในรี ส อร์ ต กิ จกรรมที ่ ส ามารถเข้ า ถึ ง ได้ รวมถึ ง การท่ องเที ่ ย ว ซึ ่ ง มี รายละเอียดดังนี้
ที่มาภาพ: DESTINATION FOR ALL(ศรัณย์,2563)
การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
172
1) UD-A’s.1. แหล่งท่องเที่ยวเพือ่ คนทั้งมวล (Attractions for All) สื บ เนื ่องจากแนวคิ ดเรื่ องการเปลี่ยนความเป็นไปไม่ได้ให้ เป็นไปได้ บ้านเขาหลัก บีช รีสอร์ต ได้วางแผนการท่องเที่ยวที่หลากหลายเพื่อให้ทุกคนได้ เพลิดเพลิน ตั้งแต่การท่องเที่ยวเกาะตลอดจนการท่องเที่ยววัด และการเยี่ยมชมเมือง
ภาพที่ 18.3 การท่องเที่ยวที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ ที่มาภาพ: DESTINATION FOR ALL(ศรัณย์,2563) การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
173
2) UD-A’s.2. การเข้าถึงที่ปลอดภัยมีทางเลือกและวางแผนได้ (Save and Optional for Accessibility) จุดเริ่มต้นการเดินทางของนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มักเริ่มต้นที่สนามบิน การ เป็นรีสอร์ตที่รองรับการท่องเที่ยวเพื่อทุกคน หรือ “Tourism for All” ของบ้านเขา หลัก บีช รีสอร์ต จึงต้องมีการบริการรับ-ส่งนักท่องเที่ยวไปยังรีสอร์ตที่หลากหลาย ตั้งแต่เริ่มต้นการเดินทางจนถึงจุดสิ้นสุดการเดินทาง โดยบริการดังกล่าวต้องมีความ ปลอดภัย มีทางเลือกให้กลุ่มนักท่องเที่ยวในการเดินทาง เนื่องจากการเดินทางดังกล่าว จัดว่าเป็นจุดเริ่มต้นประสบการณ์การท่องเที่ยว ถ้านักท่องเที่ยวได้รับประสบการณ์ แรกในการท่ องเที ่ ยวที ่ ด ี นั กท่ องเที ่ ยวจะรู ้ ส ึ กวางใจ และสามารถวางแผน รับประสบการณ์ต่อมาได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งบริการด้านการรับ-ส่ง กลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีความหลากหลาย หรือให้ สามารถบริการนักท่ องเที ่ยวได้ ทุ กกลุ ่ม ต้ องมี การพิ จารณาถึ งปัจจั ยด้ านต่าง ๆ ประกอบด้วย การจัดเตรียมพื้นที่ที่เพียงพอสำหรับการเคลื่อนย้ายผู้ใช้รถวีลแชร์ การ จัดเตรียมทางลาดสำหรับวีลแชร์เพื่อความสะดวกในการเคลื่อนย้ายนักท่องเที่ยวขึ้น-ลง รถ และเข้าถึงสถานที่ท่องเที่ยวอื่นได้อย่างสะดวกและปลอดภัย มีการสำรองรถวีลแชร์ หรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการเข้าถึง เช่น เข็มขัดนิรภัยสำหรับรถวีลแชร์ พร้อม จัดเตรียมอุปกรณ์ความปลอดภัยอื่น ๆ เช่น แผ่นพื้นทางลาดแบบพับเก็บได้ และราวจับ เป็นต้น
ภาพที่ 18.4 บริการรถตู้ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ ที่มาภาพ: DESTINATION FOR ALL(ศรัณย์,2563) การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
174
3) UD-A’s.3. สิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อคนทั้งมวล (Amenities for all) หลังจากมาถึงรีสอร์ต นักท่องเที่ยวต้อง “เช็กอิน” เพื่อเข้าที่พักที่แผนก ต้อนรับ ซึ่งขั้นตอนนี ้จะต้ องดำเนิ นไปอย่างราบรื ่นที ่สุด ดังนั้นจึงต้องมี การ พิจารณาถึงสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ให้มากที่สุด เช่น ทางเข้าที่เป็นมิตรกับ รถวีลแชร์ พื้นที่บริเวณแผนกต้อนรับที่มี ความกว้างเพียงพอสำหรับการติดต่อ ประสานงานของผู้ใช้รถวีลแชร์ ตำแหน่งที่ให้บริการแก่รถวีลแชร์ต้องไม่ให้ขวาง การเข้ารับบริการของแขกคนอื่น โต๊ะบริการข้อมูลที่ผู้ใช้รถวีลแชร์สามารถเข้าถึง ได้ และพนักงานที่ได้รับการอบรมและพร้อมให้บริการกลุ่มคนพิการด้วยความ เข้าใจ เป็นต้น
ภาพที่ 7.1 จุดบริการข้อมูลที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ ที่มาภาพ: DESTINATION FOR ALL(ศรัณย์,2563)
ห้ องพั กเป็ นหนึ ่ งในปั จจั ยสำคั ญที ่ สุ ดที ่ ต้ องพิ จารณาในการพัฒนา โรงแรมและรีสอร์ตให้คนพิการ ผู้สูงอายุ และทุกคนสามารถเข้าถึงได้ แขกจะใช้ เวลาส่วนใหญ่ในห้องพักของตน ดังนั้น ต้องแน่ใจว่าจะไม่มีส ิ่งใดมาขัดขวาง ประสบการณ์การเข้าพักภายในบริเวณห้องพัก ซึ่งต้องมีการพิจารณาถึง คือ ทางเดินไปยังห้องพักที่มีความกว้างเพียงพอ ไม่มีพื้นต่างระดับ ไม่มีสิ่งกีดขวาง พื ้ น ที ่ ภ ายในห้ อ งพั ก ที ่ เ พี ย งพอต่ อ การใช้ ง านของรถวี ล แชร์ การจั ด วาง เฟอร์ นิ เ จอร์ภายในห้องพั กต้องไม่กี ดขวางทางสัญจรภายใน ห้ องน้ ำภายใน ห้องพักที่สามารถเข้าถึงได้โดยไม่มีธรณีประตูหรือระดับพื้นที่ต่างกัน เป็นต้น การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
175
บ้านเขาหลัก บีช รีสอร์ต มีประเภทห้องในรีสอร์ตที่ได้รับการออกแบบให้ รองรั บ ผู ้ส ูงอายุ และเป็นมิ ตรกั บผู้ ใช้วีล แชร์ คื อ ห้ องแบบสำหรับครอบครัว (Family Room) ตั้งอยู่ในอาคาร 2 ชั้น ซึ่งตั้งอยู่ตรงกลางของรีสอร์ต ห้องพัก ได้ รั บ การออกแบบอย่ า งกว้ า งขวาง โดยมี พื ้ นที ่ ข นาด 59.50 ตารางเมตร นอกจากจะมีห้องน้ำพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกแล้วบริเวณห้องพักยังมีเฉลียง หรือระเบียงส่วนตัว ซึ่งสามารถมองเห็นทั้งวิวภูเขาและวิวสวนได้จากภายในห้อง ทั้งนี้ ห้องสำหรับครอบครัวมีจำนวนทั้งสิ้น 24 ห้อง โดยห้องที่ตั้งอยู่บนชั้นหนึ่ง ได้รับการออกแบบให้สามารถเข้าถึงได้ทั้งหมด 12 ห้อง
ภาพที่ 18.5 ห้องพักที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ ที่มาภาพ: DESTINATION FOR ALL(ศรัณย์,2563) การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
176
นอกจากจุดบริการข้อมูลที่แผนกต้อนรับและห้องพักแล้ว การออกแบบ ให้ทุกคนสามารถเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกที่เป็นส่วนสนับสนุ นและส่งเสริม การท่องเที่ยวของคนทั้งมวลทั้ งหมดได้ก็มีความสำคัญมาก เช่น การออกแบบ สระว่ายน้ำของรีสอร์ตให้ผู้สูงอายุและผู้ใช้รถเข็นวีลแชร์สามารถลงเล่นน้ำในสระ ได้สะดวก โดยการติดลิฟต์ยกสำหรับสระว่ายน้ำ การจัดเตรียมวีลแชร์สำหรับ ลงพื้นที่ชายหาดไว้ให้บริการแก่นักท่องเที่ยว ให้ได้รับประสบการณ์การท่องเที่ยว ที่มีความตื่นเต้นมากยิ่งขึ้น การจัดเตรียมห้องออกกำลังกายที่รองรับการใช้งาน ของคนพิการ ผู้สูงอายุ และทุกคนได้ การจัดเตรียมห้องน้ำ และบริการอื่น ๆ ในพื้นที่ส่วนกลางที่รองรับการใช้งานของคนพิการ ผู้สูงอายุ และทุกคนได้อย่าง เท่าเทียม เป็นต้น
ภาพที่ 18.6 สิ่งอำนวยความสะดวกทีท่ ุกคนสามารถเข้าถึงได้ ที่มาภาพ: DESTINATION FOR ALL(ศรัณย์,2563) การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
177
4) UD-A’s.4. โปรแกรมการท่องเที่ยวสำเร็จรูปที่มีความยืดหยุ่น (Available package) ในแนวคิดของการเปลี่ยนความเป็นไปไม่ได้ให้เป็นไปได้ มีเป้าหมาย คือ การทำหน้าที่เหมือนสะพานที่ช่วยให้ทุกคนสามารถเพลิดเพลินกับโปรแกรมที่ เหมาะสมที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ เช่น การดำน้ำ และการเล่นกระดานโต้คลื่น โดยคำนึงถึง กิจกรรมที่สะดวกและเหมาะสมสำหรับผู้ใช้รถวีลแชร์ เช่น สะดวก ในการเคลื ่อนย้ าย การวางแผนการเตรี ยมอุ ปกรณ์ ไว้ อย่า งดี เพื ่ อหลี กเลี่ยง ข้ อผิ ด พลาดหรื ออุ บ ั ติ เหตุ ที ่ อาจเกิ ด ขึ ้ นได้ และทุ กกิ จกรรมต้ องมี ผ ู ้ ช ่ วยให้ คำแนะนำและช่วยเหลือในระหว่างการทำกิจกรรมต่าง ๆ
ภาพที่ 18.7 กิจกรรมที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ ที่มาภาพ: DESTINATION FOR ALL(ศรัณย์,2563)
การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
178
5) UD-A’s.5. กิจกรรมทีท่ ำร่วมกันได้ (Inclusive Activities) กิ จกรรมการท่ องเที ่ ยวเป็ นส่ วนสำคั ญในการตั ดสิ นใจเดิ นทางของ นักท่องเที่ยว และการทำให้กิจกรรมการท่องเที่ยว “ไม่มีข้อจำกัด ไม่มีขอบเขต” นั้น สำเร็จได้ ทางรีสอร์ตได้จัดให้มีบริการกิจกรรมการท่องเที่ยวที่ให้ทุกคนสามารถ เข้าถึงได้ ซึ่งมีการคัดเลือกกิจกรรมที่มีความเหมาะสมกับผู้ใช้รถวีลแชร์มากที่สุด เพื่อเพิ่มประสบการณ์ท่องเที่ยวสำหรับนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ให้มากขึ้ น เนื่องจาก เป็นกลุ่มที่มักจะถูกจำกัดด้วยสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวยเสมอ บ้านเขาหลัก บีช รีสอร์ต เลือกสถานที่หรือจุดที่ผู้ใช้รถวีลแชร์เข้าถึงได้ ง่าย พร้อมจัดเตรียมอุปกรณ์และอุปกรณ์เสริมที่จำเป็นเพื่อความปลอดภัยและ ความสะดวกสบายสำหรั บ ผู ้ ใช้ รถวี ล แชร์ มี พนั กงานคอยบริ การให้ ค วาม ช่วยเหลือผู้ใช้รถวีลแชร์ตลอดเส้นทางการเดินทาง กิจกรรมที่เข้าถึงได้ผู้ใช้รถวีลแชร์สามารถเข้าถึงได้ เช่น การดำน้ำ ลึก สำหรั บ คนพิ การ (Scuba + Ability) และวี ล แชร์ SUP (Stand Up Paddleboard) โดยมี การเปิ ดหลั กสูตรพิ เศษ Wheelchair Scuba (Scubility) ซึ ่ ง มี การ เลือกสถานที่หรือจุดที่ผู้ใช้รถวีลแชร์เข้าถึงได้ง่ายจัดเตรียมอุปกรณ์เสริมที่จำเป็น เพื่อความปลอดภัยและความสะดวกสบายสำหรับผู้ใช้รถวีลแชร์ มีพนักงานคอย บริการให้ความช่วยเหลือผู้ใช้รถวีลแชร์ตลอดเส้นทางการเดินทาง Wheelchair SUP (Stand Up Paddle-Board) ซึ่งทางรีสอร์ตได้ออก แบบแพดเดิลบอร์ดสำหรับผู้ใช้รถวีลแชร์อย่างระมัดระวัง และรอบคอบที่สุด เพื่อให้นักท่องเที่ยวสนุกและเพลิดเพลินกับการพาย SUP บนทะเลโดยปลอดภัย
การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
179 ภาพที่ 18.8 กิจกรรมสำหรับคนพิการ หรือผู้ใช้รถวีลแชร์ และทุกคน ที่มาภาพ: DESTINATION FOR ALL(ศรัณย์,2563)
6) UD-A’s.6. การให้บริการของแหล่งท่องเที่ยว (Ancillary Services) การจัดเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกและการให้บริการที่เกี่ยวข้องกับ ระบบการท่องเที่ยวสำหรับบ้านเขาหลัก บีช รีสอร์ต คือ ทางรีสอร์ตมีการประสาน กับโรงพยาบาลในพื้ นที ่ใกล้เคียง เพื่อให้สามารถส่ งต่อนักท่องเที่ย วได้อย่ า ง ทันท่วงที โดยทางรีสร์ตได้มีการจัดเตรียมรถ และอุปกรณ์อำนวยความสะดวก ต่าง ๆ ไว้อย่างมีมาตรฐาน สำหรับการส่งต่อนักท่องเทียว นอกจากนี้ทางรีสอร์ต มีบริการอินเทอร์เน็ตไว้สำหรับนักท่องเที่ยวและแขกที่พักในรีสอร์ตด้วย
ภาพที่ 18.9 แผนที่ภายในรีสอร์ตที่แสดงเส้นทางสำหรับคนพิการ และผู้ใช้รถวีลแชร์ที่สามารถเข้าถึงได้ ที่มาภาพ: DESTINATION FOR ALL(ศรัณย์,2563) การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
180
จากการลงพื้นที่สำรวจ และ การบรรยายของ คุณศรัณย์ รองเรือง กุล กรรมการผู้จ ัดการ บ้านเขาหลัก บีช รีส อร์ต และนำมาวิเ คราะห์ กรณีศึกษา ตามแนวคิดการพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวลอย่างยั่งยืน : UD+6A’s จะเห็นได้ว่า บ้านเขาหลัก บีช รี สอร์ต มีหลักคิดที่ใช้สอดคล้อง และเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับ UD+6A’s ซึ่งบ้านเขาหลัก บีช รีสอร์ต ได้ มีการพัฒนาระบบการท่องเที่ยวให้คนพิการ ผู้สูงอายุ และทุกคนสามารถ เข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ได้อย่างเท่าเทียมกัน ไม่เลือกปฏิบัติกับ บุคคลใดบุคคลหนึ่ง เนื่องจากมีการจัดเตรียมบริหารจัดการพื้นที่ และ บริก ารให้ส อดคล้องกลับ หลัก คิ ด UD+6A’s จนทำให้ก ารให้บ ริ ก ารมี มาตรฐานสากล รองรับคนทั้งมวลได้อย่างแท้จริง
ภาพที่ 18.10 การศึกษาดูงานและรับฟังบรรยายจากคุณศรัณย์ รองเรืองกุล ที่มาภาพ: DESTINATION FOR ALL(ศรัณย์,2563)
การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
181
เอกสารอ้างอิงท้ายบท ศรัณย์ รองเรืองกุล, เอกสารประกอบการบรรยาย DESTINATION FOR ALL, 2563 ชุมเขต แสวงเจริญ. (2563). โครงการส่งเสริมการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อเพิ่มศักยภาพแก่แหล่งท่องเที่ยวและสถานประกอบการในพื้นที่ พิเศษเมืองพัทยาและพื้นที่เชื่อมโยงเพื่อให้สามารถรองรับการท่องเที่ยวเพื่อ คนทั้งมวล (รายงานวิจัย). ปทุมธานี: หน่วยวิจัยและออกแบบเพื่อคนทั้งมวล คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ชุมเขต แสวงเจริญ. (2562). โครงการส่งเสริมและจัดทำแผนขับเคลื ่อ นการ ท่องเที่ยวเพือ่ คนทั้งมวล (รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์). ปทุมธานี: หน่วยวิจยั และออกแบบเพื่อคนทั้งมวล คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
182 การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
183 บทที่ 19 การสำรวจและประเมินพื้นที่ อาคารประเภท "โรงแรมและที่พัก" การสำรวจและประเมิ นพื้ นที ่อาคารประเภท “โรงแรมและที่พัก ” สามารถสำรวจและประเมินได้ด้วยตนเอง โดยใช้แบบประเมินสำเร็จรูป ได้แก่ รายการตรวจสอบสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการของหน่วยวิจัยและ ออกแบบเพื ่ อ คนทั ้ ง มวล คณะสถาปั ต ยกรรมศาสตร์ แ ละการผั ง เมื อ ง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ใช้ในโครงการส่งเสริมและจัดทำแผนขั บเคลื่ อน การท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวล ปี 2562 และโครงการส่งเสริมการพัฒนาสิ่งอำนวย ความสะดวกเพื่อเพิ่มศักยภาพแก่แหล่งท่องเที่ยวและสถานประกอบการในพื้นที่ พิเศษเมืองพัทยาและพื้นที่เชื่อมโยงเพื่อให้สามารถรองรับการท่ องเที่ย วเพื่อ คนทั้งมวล ปี2563 ซึ่งนอกจากจะทำให้ทราบว่าสถานประกอบการของตนเองมี สิ ่ ง อำนวยความสะดวกถู กต้ องตามมาตรฐานหรือไม่แ ล้ ว ยั ง สามารถใช้เป็น แนวทางในการออกแบบปรับปรุงอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกให้เป็นไป ตามมาตรฐานสากลและสามารถใช้งานได้จริง
การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
184
สำหรับรายการตรวจสอบสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิก าร ของศูนย์ออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อทุกคน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ใช้เกณฑ์ มาตรฐานการประเมินสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการขั้นพื้นฐานตามมติ คณะรัฐมนตรี และตามกฎกระทรวง พ.ศ. 48 ซึ่งแบ่งรายการสิ่งอำนวยความ สะดวกสำหรับคนพิการออกเป็น 11 หมวด ได้แก่ 1. ที่จอดรถ 2. ทางลาด 3. ป้ายและสัญลักษณ์ 4. การให้บริการข้อมูล 5. ห้องน้ำ 6. ลิฟต์ 7. ทางเข้าอาคาร ทางเดินระหว่างอาคาร และทางเชื่อมระหว่างอาคาร 8. บันได 9. ห้องพัก 10. ห้องน้ำในห้องพัก และ 11. ประตู รวมทั้งข้อเสนอแนะในแต่ละหมวด ซึ่งอาคาร สถานประกอบการต้องผ่านเกณฑ์การตรวจตามระดับมาตรฐาน ข้อเสนอแนะ ดังนี้
การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
185 การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
186 การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
187 การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
188 การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
189 การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
190 การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
191 การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
192 การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
193 การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
194 การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
195 การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
196 การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
197 การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
198 การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
199 การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
200 การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
201 การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
202 การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
203 การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
204 การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
205 การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
206 การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
207 การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
208 การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
209 การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
210 การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
211 การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
212 การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
213 การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
214 การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
215 การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
216 การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
217 การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
218 การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
219 การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
220 การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
221 การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล
222
เอกสารอ้างอิงท้ายบท กระทรวงมหาดไทย. กฎกระทรวงกำหนดสิ่งอำนวยความสะดวกในอาคารสำหรับ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชรา พ.ศ.2548. (2548, 2 กรกฎาคม). ราชกิจจานุเบกษา, 122 (ตอนที่ 52 ก), 4-19 กฎกระทรวงกำหนดสิ่งอำนวยความสะดวกในอาคารสำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชรา พ.ศ. 2548 ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 กฎกระทรวงกำหนดสิ่งอำนวยความสะดวกในอาคารสำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชรา พ.ศ. 2555 ชุมเขต แสวงเจริญ, เอกสารประกอบการสอน เรื่อง การออกแบบเพื่อคนทั้งมวล (Universal Design). หลักสูตรภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรม ศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร. 2561 ชุ มเขต แสวงเจริ ญ . (2562). ปรั บ เมื องเพื ่ อคนทั ้ ง มวล. กรุ ง เทพฯ: สถาบั น พระปกเกล้า. สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์. คู่มือปฏิบัติวิชาชีพสถาปัตยกรรม การออกแบบสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับ การ ออกแบบสำหรับทุกคน. กรุงเทพมหานคร.2551 ชุมเขต แสวงเจริญ. (2563). โครงการส่งเสริมการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อเพิ่มศักยภาพแก่แหล่งท่องเที่ยวและสถานประกอบการในพื้นที่ พิเศษเมืองพัทยาและพื้นที่เชื่อมโยงเพื่อให้สามารถรองรับการท่องเที่ยวเพื่อ คนทั้งมวล (รายงานวิจัย). ปทุมธานี: หน่วยวิจัยและออกแบบเพื่อคนทั้งมวล คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ชุมเขต แสวงเจริญ. (2562). โครงการส่งเสริมและจัดทำแผนขับเคลื ่อ นการ ท่องเที่ยวเพือ่ คนทั้งมวล (รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์). ปทุมธานี: หน่วยวิจยั และออกแบบเพื่อคนทั้งมวล คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร
การพัฒนาสถานประกอบการโรงแรมและแหล่งท่องเที่ยวด้านการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล