ชุดความรู้ การปกป้องมรดกทางวัฒนธรรม

Page 1

ชุดความรู้ เรื่อง การปกป้องมรดกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritage Protection) GSTC : C4 การปกป้องมรดกทางวัฒนธรรม การปกป้องมรดกทางวัฒนธรรม แหล่งท่องเที่ยวจะต้องมี กฎหมายเกี่ยวกับการค้า การแลกเปลี่ยนการจัดการแสดง และการให้ข องขวัญ ที่เกี่ยวกับโบราณวัตถุ และวัตถุทาง ประวัติศาสตร์


สารบัญ หน้า เนื้อหา กฎหมาย อนุสัญญา กฎบัตร ที่เกี่ยวข้องกับมรดกทางวัฒนธรรม……..........………………………….. 1-13 - รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560............................................................... 1-2 - พระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2553.............................................................. 2-3 - อนุสญ ั ญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ พ.ศ. 2515 (Convention Concerning the Protection of the World Cultural and Natural Heritage 1972) ............................................................................................................................................. 3-5 - อนุสญ ั ญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ พ.ศ. 2546 (Convention for the Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage 2003) .............. 5-6 - กฎบัตรประเทศไทยว่าด้วยการบริหารจัดการแหล่งมรดกวัฒนธรรม พ.ศ. 2554 (Thailand Charter on Cultural Heritage Sites Management 2011) ................................. 7-9 - พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษามรดกภูมปิ ัญญาทางวัฒนธรรม พ.ศ. 2559................ 10-11 - พระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 และพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535..................................................................................................................... 11-13 ประเภทของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม..................................................................................14-19 คุณค่าและการประเมินคุณค่าของมรดกวัฒนธรรม...................................................................... 20 การขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ.............................................................. 21-23 - เกณฑ์การขึน้ ทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ....................................... 21-22 - การขึ้นบัญชีมรดกภูมิปญ ั ญาทางวัฒนธรรม.................................................................... 23 ข้อแตกต่างหลักระหว่างมรดกโลกและมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม....................................... 24 เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโก (UNESCO Creative Cities Network - UCCN)........ 25-28 - 7 ประเภทเมืองสร้างสรรค์.............................................................................................. 26 - สิทธิประโยชน์จากการเข้าเป็นสมาชิก............................................................................. 27 - คุณสมบัติเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโก............................................................................ 27 - กระบวนการปรับปรุงองค์ประกอบของเมือง.................................................................. 27 - วิธีการและหลักเกณฑ์การสมัคร...................................................................................... 27 - หลักเกณฑ์การสมัคร....................................................................................................... 28 - บทบาทและหน้าที่ของสมาชิก........................................................................................ 28


สารบัญ หน้า เนื้อหา ภูเก็ต เมืองแห่งวิทยาการอาหาร Phuket : City of Gastronomy................................................................................................ 29-31 เชียงใหม่ เมืองแห่งหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน Chiang Mai : City of Crafts and Folk Art........................................................................... 32-33 ภาคผนวก....................................................................................................................................... 34 - ภาคผนวก 1 รายการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ตั้งแต่ พ.ศ. 2552 – 2556........... 34-46 - ภาคผนวก 2 ตัวอย่าง UNESCO CREATIVE CITIES NETWORK CALL FOR APPLICATIONS 2019……………………………………………………………………………………………………… 47-51 อ้างอิง............................................................................................................................................. 52-53


C4 การปกป้องมรดกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritage Protection)

กฎหมาย อนุสญ ั ญา กฎบัตร ที่เกี่ยวข้องกับมรดกทางวัฒนธรรม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560

ภาพ : เด็ก ๆ ชาวม้ง สถานที่ : หมู่บ้านชาวม้ง ดอยปุย จังหวัดเชียงใหม่ ทีม่ าภาพ : ฉัตรกมล ปิยจารุพร

มาตรา 43 (1) บุคคลและชุมชนย่อมมีสิทธิอนุรักษ์ ฟื้นฟู หรือส่งเสริมภูมิปัญญา ศิลปะ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม และจารีตประเพณีอันดีงามทั้งของท้องถิ่นและของชาติ มาตรา 50 (8) บุ ค คลมี ห น้ า ที่ ร่ ว มมื อ และสนั บ สนุ น การอนุ รั ก ษ์ แ ละคุ้ ม ครองสิ่ ง แวดล้ อ ม ทรัพยากรธรรมชาติ ความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้งมรดกทางวัฒนธรรม มาตรา 57 (1) รั ฐ ต้ อ งอนุ รั ก ษ์ ฟื้ น ฟู และส่ ง เสริ ม ภู มิ ปั ญ ญ าท้ อ งถิ่ น ศิ ล ปะ วั ฒ นธรรม ขนบธรรมเนียม และจารีตประเพณี อันดีงามของท้องถิ่นและของชาติ และจัดให้มีพื้นที่สาธารณะสำหรับ กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชน ชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ใช้ สิทธิและมีส่วนร่วมในการดำเนินการด้วย

1


C4 การปกป้องมรดกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritage Protection)

มาตรา 70 รัฐพึงส่งเสริมและให้ความคุ้มครองชาวไทยกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ให้มีสิทธิดำรงชีวิต ใน สังคมตามวัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิตดั้งเดิมตามความสมัครใจได้อย่างสงบสุข ไม่ถูกรบกวน ทั้งนี้ เท่าที่ ไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของรัฐ หรือสุขภาพอนามัย

พระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2553 มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้ วัฒนธรรม หมายความว่า วิถีการดำเนินชีวิต ความคิด ความเชื่อ ค่านิยม จารีตประเพณี พิธีกรรม และภู มิ ปั ญ ญา ซึ่ ง กลุ่ ม ชนและสั ง คมได้ ร่ ว มสร้ า งสรรค์ สั่ ง สม ปลู ก ฝั ง สื บ ทอด เรี ย นรู้ ปรั บ ปรุ ง และ เปลี่ยนแปลง เพื่อให้เกิดความเจริญงอกงาม ทั้งด้านจิตใจและวัตถุ อย่างสันติสุขและยั่งยืน มาตรา 13 เพื่อประโยชน์ในการอนุรักษ์หรือฟื้นฟูจารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปวัฒนธรรม อันดีงามของท้องถิ่นและของชาติและประสานการดำเนินงานวัฒนธรรมซึ่งภาคประชาสังคมและประชาชนมี ส่วนร่วม ให้จัดตั้งสภาวัฒนธรรมในแต่ละระดับ ประกอบด้วย (1) สภาวัฒนธรรมแห่งประเทศไทย (2) สภาวัฒนธรรมจังหวัด (3) สภาวัฒนธรรมอำเภอ (4) สภาวัฒนธรรมตำบล การจั ด ตั้ ง สภาวั ฒ นธรรมอื่ น ๆ นอกเหนื อ จาก (1) (2) (3) และ (4) ให้ เป็ น ไปตามที่ ก ำหนดใน กฎกระทรวง มาตรา 14 ให้สภาวัฒนธรรมที่จัดตั้งตามมาตรา 13 มีสถานภาพเป็นองค์กรภาคเอกชนที่ดำเนินงาน วัฒนธรรมภายใต้การกำกับดูแลของกรมส่งเสริมวัฒนธรรม มาตรา 15 ให้สภาวัฒ นธรรมตามมาตรา 13 ประกอบด้วย กรรมการและสมาชิกที่มาจากผู้แทน องค์กรที่ดำเนินงานวัฒนธรรมหรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นองค์กรเครือข่ายวัฒนธรรม เช่น เครือข่ายภาครัฐ เครือข่ายภาคเอกชน เครือข่ายภาคชุมชน เครือข่ายภาคธุรกิจ เครือข่ายปราชญ์ ชาวบ้าน และเครือข่ายภาค วิชาการ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา 18 ให้สภาวัฒนธรรมทุกระดับมีหน้าที่ดังต่อไปนี้ (1) เสนอข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการเกี่ยวกับการกำหนดนโยบายและแผน แม่บทวัฒนธรรมของชาติ (2) เป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และแนวคิดในการดำเนินงาน วัฒนธรรม โดยเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายวัฒนธรรม (3) ระดมทรัพยากร บุคลากร และสรรพกำลังต่าง ๆ จากหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ เพื่อ การดำเนินงานวัฒนธรรม

2


C4 การปกป้องมรดกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritage Protection)

(4) ส่งเสริม สนับสนุนและร่วมจัดกิจกรรมขององค์กรภาคีและเครือข่ายวัฒนธรรมเพื่อ การ อนุรักษ์ ฟื้นฟู พัฒนา สร้างสรรค์ แลกเปลี่ยน สืบทอดและเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม (5) เผยแพร่ประชาสัม พันธ์กิจกรรมและผลการดำเนินงานขององค์กรภาคีและเครือข่าย วัฒนธรรม (6) ดำเนินการอื่นใดตามที่คณะกรรมการ กระทรวงวัฒนธรรม จังหวัด หรือหน่วยงานอื่น ๆ ขอความร่วมมือทางวัฒนธรรม มาตรา 28 บุคคลอาจได้รบั การยกย่องเชิดชูเกียรติทางวัฒนธรรมดังต่อไปนี้ (1) ศิลปินแห่งชาติ (2) ผู้ทรงคุณวุฒิทางวัฒนธรรม (3) บุคคลที่มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม มาตรา 29 การกำหนดสาขา คุณสมบัติ หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกศิลปินแห่งชาติ รวมตลอดถึง ประโยชน์ตอบแทนซึ่งศิลปินแห่งชาติจะได้รับจากเงินกองทุน ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง การกำหนดสาขา คุณสมบัติ หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิทางวัฒนธรรมและบุคคลที่มี ผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม รวมตลอดถึงประโยชน์ตอบแทนซึ่งบุคคลดังกล่าวจะได้รับจากเงินกองทุน ให้ เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนดโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง มาตรา 30 บุคคลที่ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติตามมาตรา ๒๘ พึงมีบทบาทในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) วิ จั ย พั ฒ นา ฟื้ น ฟู อนุ รั ก ษ์ ให้ ก ารศึ ก ษา ส่ ง เสริ ม และเผยแพร่ ผ ลงานศิ ล ปะและ วัฒนธรรม (2) ให้คำแนะนำและคำปรึกษาทางศิลปะและวัฒนธรรมแก่กระทรวงวัฒนธรรม

อนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ พ.ศ. 2515 (Convention Concerning the Protection of the World Cultural and Natural Heritage 1972) มาตรา 1 ตามวัตถุประสงค์แห่งอนุสัญญาฯ ฉบับนี้ ได้ให้ความหมายของ มรดกทางวัฒนธรรม ให้ ครอบคลุมถึงสิ่งต่าง ๆ ดังนี้ อนุสรณ์สถาน หมายถึง ผลงานทางสถาปัตยกรรม ผลงานทางประติมากรรม หรือจิตรกรรม ส่วนประกอบหรือโครงสร้างของโบราณคดีธรรมชาติ จารึก ถ้ำ ที่อยู่อาศัย และร่องรอยที่ผสมผสานกันของสิ่ง ต่าง ๆ ข้างต้น ซึ่งมีคุณค่าโดดเด่นในระดับสากลในมิติทางประวัติศาสตร์ศิลปะหรือวิทยาศาสตร์ กลุ่ ม อาคาร หมายถึ ง กลุ่ ม ของอาคารที่ แ ยกจากกั น หรื อ เชื่ อ มต่ อ กั น โดยลั ก ษณะทาง สถาปัตยกรรม หรือโดยความสอดคล้องกลมกลื น หรือโดยสถานที่จากสภาพภูมิทัศน์ซึ่งมีคุณค่าโดดเด่นใน ระดับสากลในมิติทางประวัติศาสตร์ศิลปะหรือวิทยาศาสตร์

3


C4 การปกป้องมรดกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritage Protection)

แหล่ ง หมายถึง ผลงานที่ เกิด จากมนุ ษ ย์ห รือการผสมผสานผลงานที่ เกิ ดจากมนุ ษ ย์ และ ธรรมชาติ รวมถึงแหล่งโบราณคดีซึ่งมีคุณค่าโดดเด่นในระดับสากล ในมิติทางด้านประวัติศาสตร์สุนทรียศาสตร์ ชาติวงศ์วิทยาหรือมานุษยวิทยา มาตรา 4 รัฐภาคีแห่งอนุสัญญาพึงรับเป็นภาระหน้าที่ในการดำเนินงานจำแนกรายละเอียด คุ้มครอง ป้องกัน อนุรักษ์ และนำเสนอมรดกทางวัฒนธรรมและมรดกทางธรรมชาติตามที่ระบุไว้ในมาตรา 1 และ 2 ที่ตั้งอยู่ในดินแดนของตนเพื่อสืบทอดไปสู่คนรุ่นต่อไปในอนาคต รัฐภาคีจะดำเนินการโดยตลอดอย่างเหมาะสม เท่าที่จะกระทำได้ด้วยทรัพยากรของรัฐเอง หรืออาจรับการสนับสนุนจากความช่วยเหลือระหว่างประเทศ หรือ ความร่วมมือระหว่างประเทศ ทั้งทางด้านการเงิน สุนทรียศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และวิทยาการในบางกรณีเป็น การเฉพาะก็ได้ มาตรา 5 เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นได้ว่า มรดกทางวัฒนธรรมและมรดกทางธรรมชาติในขอบเขต อำนาจอธิปไตยแห่งรัฐภาคีสมาชิกจะได้รับการคุ้มครองป้องกันการอนุรักษ์ และการนำเสนอด้วยมาตรการที่มี ประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง รัฐภาคีจะพยายามดำเนินการต่าง ๆ เท่าที่พงึ กระทำได้อย่างเหมาะสมที่สดุ ดังนี้ (ก) กำหนดนโยบายทั่วไปโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้มรดกทางวัฒนธรรมและมรดกทาง ธรรมชาติมีประโยชน์ต่อวิถีชีวิตของประชาชน และเพื่อบูรณาการการคุ้มครองป้องกันมรดกทางวัฒนธรรมและ มรดกทางธรรมชาติไว้ในรายละเอียดของการวางแผนการดำเนินงานของรัฐ (ข) ภายในขอบเขตอำนาจอธิปไตย หากยังไม่มีหน่วยงานหรือองค์กรรับผิดชอบดำเนินงาน เพื่อการนี้ จะต้องจัดให้มีอย่างน้อยหนึ่งหน่วยงาน/ องค์กรหรือมากกว่าเพื่อดำเนินงานต่าง ๆ ในการคุ้มครอง ป้องกันการอนุรักษ์ และการนำเสนอมรดกทางวัฒนธรรมและมรดกทางธรรมชาติ โดยมีเจ้าหน้าที่และ กระบวนการปฏิบัติงานที่เหมาะสม เพื่อรับผิดชอบการปฏิบัติหน้าที่ให้ลลุ ่วงไป (ค) พัฒนาการศึกษาวิจัยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และวิทยาการเพื่อนำไปใช้ในการ ดำเนินงาน รวมทั้งส่งเสริมศักยภาพของประเทศให้มีความพร้อมในการแก้ไขปัญหาภัยอันตรายที่คุกคามต่อ มรดกทางวัฒนธรรมและมรดกทางธรรมชาติ (ง) กำหนดมาตรการที่เหมาะสมทั้งทางด้านกฎหมาย กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ วิทยาการ การบริหารจัดการ และการเงินเท่าที่จำเป็น เพื่อการจำแนกรายละเอียด การคุ้มครอง ป้องกัน การ อนุรักษ์ การนำเสนอ และการทำนุบำรุงรักษามรดกทางวัฒนธรรมและมรดกทางธรรมชาติ (จ) สนับสนุนให้มีการก่อตั้งหรือพัฒนาศูนย์การฝึกอบรมในระดับชาติหรือระดับภูมิภาค เพือ่ ฝึกอบรมในด้านการคุ้มครองป้องกัน การอนุรักษ์ และการนำเสนอมรดกทางวัฒนธรรม และมรดกทาง ธรรมชาติ รวมทั้งส่งเสริมการศึกษาวิจัยเพื่อการปฏิบัติงานตามภารกิจดังกล่าว มาตรา 6 1. ด้วยความเคารพสูงสุดต่ออำนาจอธิปไตยแห่งรัฐอันเป็นที่ตั้งของมรดกทางวัฒนธรรมและ มรดกทางธรรมชาติตามที่ระบุไว้ในมาตรา 1 และ 2 และด้วยความปราศจากอคติใด ๆ ต่อกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ สมบัติหรือทรัพย์สินตามกฎหมายแห่งชาติ รัฐภาคีในอนุสัญญา พึงระลึกว่าการคุ้มครองป้องกันทรัพย์สมบัติ

4


C4 การปกป้องมรดกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritage Protection)

หรือทรัพย์สินอันเป็นองค์ประกอบของมรดกโลก เป็นภาระหน้าที่ของประชาคมระหว่างประเทศที่จะประสาน ความร่วมมือในการดำเนินการต่าง ๆ 2. ตามข้อบัญญัติแห่งอนุสัญญา รัฐภาคีจะต้องดำเนินการให้การสนับสนุนและช่วยเหลือใน การจำแนกรายละเอียด การคุ้มครองป้องกัน การอนุรักษ์ และการนำเสนอมรดกทางวัฒนธรรมและมรดกทาง ธรรมชาติตามที่ระบุไว้ในย่อหน้าที่ 2 และ 4 ของมาตรา 11 หากรัฐอันเป็นที่ตั้งของมรดกทางวัฒนธรรมและ มรดกทางธรรมชาตินั้นร้องขอ 3. รัฐภาคีแห่งอนุสัญญา จะต้องละเว้นการดำเนินการใด ๆ ทั้งโดยทางตรงและโดยทางอ้อม อันอาจเป็นการทำลายมรดกทางวัฒนธรรมและมรดกทางธรรมชาติตามที่ระบุไว้ในมาตรา 1 และ 2 อันมีที่ตั้ง อยูใ่ นขอบเขตอำนาจอธิปไตยของรัฐภาคีอื่น มาตรา 7 เพื่อการบรรลุวัตถุประสงค์แห่งอนุสัญญา การปกป้องคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมและ มรดกทางธรรมชาติในระดับนานาชาติมีความหมายถึงการก่อตั้งระบบความร่วมมือระหว่างประเทศ และความ ช่วยเหลือที่จะมอบให้แก่รัฐภาคีในการดำเนินความพยายามอนุรักษ์และจำแนกรายละเอียดมรดกทาง วัฒนธรรมและมรดกทางธรรมชาติ

อนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ พ.ศ. 2546 (Convention for the Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage 2003) อนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกทางวัฒนธรรมที่จบั ต้องไม่ได้ ได้ให้ความหมายของ มรดกทาง วัฒนธรรมทีจ่ บั ต้องไม่ได้ ดังนี้ มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ (Intangible Cultural Heritage : ICH) หมายถึง การปฏิบัติ การแสดงออก ความรู้ ทักษะ ตลอดจนเครื่องมือ วัตถุ สิ่งประดิษฐ์ และพื้นที่ทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับสิ่ง เหล่านั้น ซึ่งชุมชน กลุ่มชน หรือในบางกรณีปัจเจกบุคคลยอมรับว่า เป็นส่วนหนึ่งของมรดกทางวัฒนธรรมของ ตน มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมซึ่งถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปยังคนอีกรุ่นหนึ่งนี้ เป็นสิ่งซึ่งชุมชนและกลุ่มชน สร้างขึ้ น มาอย่ า งสม่ ำเสมอ เพื่ อ ตอบสนองต่ อ สภาพแวดล้ อ มของตน เป็ น ปฏิ สั ม พั น ธ์ข องพวกเขาที่ มี ต่ อ ธรรมชาติและประวัติศาสตร์ของตน และทำให้คนเหล่านั้นเกิดความภูมิใจในตัวตนและความรู้สึกสืบ เนื่อง ก่อให้เกิดความเคารพต่อความหลากหลายทางวัฒนธรรม และการคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ ทั้งนี้ อนุสัญ ญาฯ ฉบับนี้ ได้กำหนดขอบเขตลักษณะของมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ไว้ 5 สาขา ได้แก่ 1. ประเพณีและการแสดงออกที่เป็นมุขปาฐะ รวมถึงภาษาในฐานะพาหะ 2. ศิลปะการแสดง 3. แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรมและงานเทศกาล 4. ความรู้และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล

5


C4 การปกป้องมรดกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritage Protection)

5. งานช่างฝีมือดั้งเดิม นอกจากนี้ ยังสามารถแบ่งประเภทของการขึ้นทะเบียนภายใต้อนุสัญญาฯ ได้ดงั นี้ 1. Representative list of Intangible Cultural Heritage of Humanity รายการที่ เป็นตัวแทนของมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ 2. List of Intangible Cultural Heritage in Need of Urgent Safeguarding รายการมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ซึ่งจำเป็นต้องมีการสงวนรักษาโดยด่วน 3. Register of Good Safeguarding Practices รายการแบบอย่างการสงวนรักษาที่ดี ความสำคัญของอนุสัญญาฯ ฉบับนี้ คือ 1. อนุสัญญานี้ได้แสดงออกให้เห็นถึงความห่วงใยในวัฒนธรรม ความเป็นอยู่ สิ่งประดิษฐ์ทาง วัฒนธรรมต่าง ๆ วิถีชีวิตของคนกลุ่มเล็ก ๆ กลุ่มชาติพันธุ์ที่จะหายไปอย่างรวดเร็ว 2. อนุสัญญานี้พยายามคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของชนกลุ่มน้อย เพื่อไม่ให้ถูกเอา รัดเอาเปรียบจากประเทศใหญ่ที่มีกำลังมาก 3. อนุสัญญานี้ให้เกียรติกลุ่มชาติพันธุ์หรือชุมชน ให้มีบทบาทในการบอกและมีกำลังในการ รักษาวัฒนธรรมของพวกตนต่อไป โดยให้ความสำคัญไปที่การถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น ให้ความสำคัญกับชุมชน เน้น การทำงานกับชุมชน และให้ชุมชนมีส่วนร่วม ที่สำคัญคือ ผู้ชี้ขาดว่าสิ่งใดเป็นมรดกหรือไม่ใช่มรดกไม่ควร เป็นนักวิชาการหรือผูเ้ ชี่ยวชาญที่เป็นบุคคลภายนอก แต่ควรเป็นผู้ปฏิบัติหรือเจ้าของวัฒนธรรมที่เห็นคุณค่าต่อ ตนเองว่าสำคัญอย่างไร

ภาพ : การทำพระพิมพ์ดินเผา กิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ (Creative Tourism) สถานที่ : บ้านพระพิมพ์ลักษมณศิลป์ จังหวัดสุโขทัย ทีม่ าภาพ : ฉัตรกมล ปิยจารุพร

6


C4 การปกป้องมรดกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritage Protection)

กฎบัตรประเทศไทยว่าด้วยการบริหารจัดการแหล่งมรดกวัฒนธรรม พ.ศ. 2554 (Thailand Charter on Cultural Heritage Sites Management 2011) กฎบัตรประเทศไทยว่าด้วยการบริหารจัดการแหล่งมรดกวัฒนธรรม เป็นแนวทางการปฏิบัติ ในการ บริหารจัดการแหล่งมรดกวัฒนธรรมในประเทศไทยสำหรับทุกภาคส่วน ได้ให้นิยามศัพท์สำคัญไว้ดังนี้ 1. มรดกวัฒนธรรม หมายถึง ผลงานสร้างสรรค์ของชนในชาติที่เป็นสมบัติทางวัฒนธรรมอันมีคุณค่าที่ตกทอดมาจากรุ่น ก่อน เป็นประจักษ์พยานของพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ หมายรวมถึงสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์ได้สร้างขึ้น และ ระบบนิเวศซึ่งเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าไม่สามารถหาทดแทนได้ เป็นเครื่องหมายที่สะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จ ของผู้คนในอดีต แสดงให้เห็นถึงวัฒ นธรรมที่โดดเด่นและเป็นเอกลักษณ์ของพื้นที่ มีการสืบทอดมาตั้งแต่ อดีต จนถึงปัจจุบัน และควรค่าแก่การสืบสานต่อไปในอนาคต แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ มรดกวัฒนธรรมที่จับ ต้องได้ และมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ (1) มรดกวัฒนธรรมที่จับต้องได้ หมายถึง มรดกทางวัฒนธรรมที่ เป็นรูปธรรมซึ่งเป็นสิ่งที่ สามารถจับต้องและมองเห็นได้ ได้แก่ โบราณสถาน อนุสาวรีย์ สถาปัตยกรรม อาคาร กลุ่มอาคาร ย่านชุมชน ท้องถิ่น เมืองเก่า แหล่งประวัติศาสตร์ แหล่งโบราณคดี แหล่งภูมิทัศน์ประวัติศาสตร์ ภู มิทั ศน์ วัฒ นธรรม โบราณวัตถุและผลงานศิลปะแขนงต่าง ๆ เป็นต้น (2) มรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ หมายถึง มรดกทางวัฒนธรรมที่เป็นนามธรรมซึ่งเป็นสิ่ง ที่ ไม่ ส ามารถจั บ ต้ อ งหรื อ แสดงออกมาทางกายภาพได้ ได้ แ ก่ ภู มิ ปั ญ ญาความรู้ ความหมาย ความเชื่ อ ความสามารถ ขนบธรรมเนียมประเพณี จารีตที่บุคคลหรือชุมชนได้สร้างสรรค์ ขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการ ดำรงชีวิตอยู่ และได้ถ่ายทอดจากรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุน่ หนึ่งมาจนถึงปัจจุบัน TIPs แหล่งมรดกวัฒนธรรม คือ มรดกวัฒนธรรมที่จับต้องได้ที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งมีความผูกพันเกี่ยวข้องกับ มรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้อย่างแยกไม่ออก

2. โบราณสถาน หมายถึง อสังหาริมทรัพย์ทั้งที่เป็นสิ่งก่อสร้างและสถานที่ ซึ่งโดยอายุหรือโดยลักษณะแห่งการก่อสร้าง หรือโดยหลักฐานเกี่ยวกับประวัติของอสังหาริมทรัพย์นั้น หรือเกี่ยวกับวัตถุที่พบอยู่ในอสังหาริมทรัพย์นั้น เป็น ประโยชน์ทางศิลปะ สถาปัตยกรรม วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ โบราณคดี วิชาการ หรือสังคม

7


C4 การปกป้องมรดกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritage Protection)

3. การอนุรักษ์ หมายถึง การดูแลรักษาเพื่อให้คงคุณค่ าไว้ โดยการอนุรักษ์แหล่งมรดกวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องแต่ละ แหล่งนั้นอาจทำได้ด้วยการป้องกัน การสงวนรักษา การบูรณะ การปฏิสังขรณ์ หรือการประยุกต์การใช้สอย การอนุรักษ์มีวิธีการในระดับที่แตกต่างกันแล้วแต่สถานการณ์และปัจจัยอื่น ๆ ในแต่ละกรณี โดยอาจจะใช้ วิธีการใดวิธีการหนึ่งหรือหลายวิธีร่วมกัน และให้หมายรวมถึงการอนุรักษ์เพื่อรื้อฟื้น ฟื้นฟู เพื่อให้สามารถนำ กลับมาใช้ประโยชน์ และการสืบสานให้ยังคงมีอยู่ต่อไปด้วย

สถานที่ : อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย จังหวัดสุโขทัย ทีม่ าภาพ : ฉัตรกมล ปิยจารุพร

4. ความแท้ หมายถึง ความเป็นของแท้ซึ่งแสดงออกอย่างเป็นตัวของตัวเอง มีลักษณะเฉพาะตน เป็นปัจจัยเชิง คุณภาพที่ใช้เป็นตัวชี้วัดคุณค่าของมรดกวัฒนธรรม แสดงความน่าเชื่อถือของข้อมูลทางวิชาการ โดยสามารถ พิจารณาได้ในลักษณะความแท้ของการสร้างสรรค์ วัสดุ ฝีมือช่าง สภาพโดยรอบ และประโยชน์ใช้สอย 5. บูรณภาพ หมายถึง ความครบถ้วนแห่งองค์ประกอบทั้งหมดของมรดกวัฒนธรรมที่ผสานกลมกลืนกัน ทั้งที่ เป็น สิ่งก่อสร้าง และองค์ประกอบของสภาพโดยรอบที่มีความเกี่ยวข้องกัน ในฐานะที่เป็ นส่วนหนึ่งของมรดกที่มี คุณค่าทางวัฒนธรรม 6. ภูมิทัศน์ประวัติศาสตร์ หมายถึง แหล่งมรดกวัฒนธรรมที่เป็นองค์ประกอบทางภูมิสถาปัตยกรรม ได้แก่ สวน ที่โล่ง ผืนน้ ำ และพืชพันธุ์ ที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะในมุมมองด้านประวัติศาสตร์หรือศิลปะ มักประกอบด้วยพันธุ์ไม้มา

8


C4 การปกป้องมรดกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritage Protection)

แต่ดั้งเดิม จึงถือว่าเป็นสิ่งที่มีชีวิต ซึ่งหมายความว่าสามารถที่จะเสื่อมสลายและฟื้นฟูขึ้นใหม่ได้ รูปลักษณ์ของ ภูมิทัศน์ประวัติศาสตร์สะท้อนถึงความสมดุลอย่า งยั่งยืนระหว่างวัฏจักรแห่งฤดูกาลกับการเจริญเติบโตและ เสื่อมสลายของธรรมชาติ และความปรารถนาของศิลปินและช่างฝีมือ ในอันที่จะรักษาสภาพเดิมของภูมิทัศน์ ให้คงไว้ตลอดไป ทั้งนี้ สามารถใช้เรียกได้ทั้งสวนขนาดเล็กและสวนสาธารณะขนาดใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นแหล่งที่มี ระเบียบแบบแผน หรือเป็นสภาพภูมิทัศน์แบบธรรมชาติ ตลอดจนผลงานการออกแบบพื้นที่เปิดโล่งในลักษณะ อื่น ๆ ด้วย 7. ภูมิทัศน์วัฒนธรรม หมายถึง สภาพภูมิประเทศที่มนุษย์ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นกั บสภาพภูมิประเทศที่เป็น ธรรมชาติ แสดงความสัมพันธ์ของมนุษย์กับธรรมชาติ สะท้อนให้เห็นถึงการดำรงชีวิต คติความเชื่อ หรือความ ศรัทธาในศาสนา จนเกิดความเป็นเอกลักษณ์ที่ข้ามกาลเวลา 8. มรดกสิ่งก่อสร้างพืน้ ถิน่ หมายถึง สิ่งก่อสร้างที่ มี ผ ลสื บเนื่องมาจากความเชื่อและประโยชน์ ใช้สอยที่ มีลักษณะเฉพาะของ ท้องถิ่นหรือภูมิภาค แฝงไปด้วยความงามที่แสดงออกทางวัฒนธรรมอันหลากหลายของชุมชน ซึ่งสัมพันธ์กับ อาณาบริเวณที่ตั้งตามลักษณะของวัฒนธรรมและสภาพแวดล้อม ตลอดจนสภาพดินฟ้าอากาศที่แตกต่างกัน มี การก่อสร้างที่ได้รับการถ่ายทอดกันมา มีการประยุกต์ใช้ระบบการก่อสร้างและงานฝีมือแบบดั้งเดิมอย่างมี ประสิทธิภาพ 9. การบริหารจัดการมรดกวัฒนธรรม หมายถึง กระบวนการคุ้มครองและการจัดการองค์ประกอบที่หลากหลายของมรดกวัฒนธรรมให้ดำรง คุณค่าไว้ เพื่อสร้างความเข้าใจ และทำให้เกิดความตระหนักในความสำคัญทางวัฒนธรรม โดยคำนึงถึงความ สอดคล้องเหมาะสมกับสภาพการณ์ของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป

TIPs คำว่า Intangible Cultural Heritage ยังไม่มีคำแปลเป็นภาษาไทยที่ ชัดเจนและตรงตัว เมื่อแรกใช้มี การเสนอคำแทนดังกล่าวอย่างหลากหลาย เช่น มรดกวัฒนธรรมเชิงนามธรรม มรดกวัฒนธรรมทางจิตใจ มรดกวัฒนธรรมที่ไม่เป็นวัตถุ เป็นต้น ซึ่งแต่ละคำเมื่อแปลกลับเป็นภาษาอังกฤษ ยังมีการถกเถียงกันอยู่ และยังไม่ลงตัวทีเดียวนัก ต่อมา คณะกรรมการวัฒ นธรรมแห่งชาติได้มีมติเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2552 ให้ใช้ศัพท์คำว่า มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม แทนคำว่า Intangible Cultural Heritage ด้วย พิจารณาเห็นคำว่า มรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ อาจจะทำให้เกิดการตีความที่ไม่ตรงกัน และเห็นว่า ภาครัฐควรส่งเสริมทั้งมรดกวัฒนธรรมทัง้ ที่จับต้องไม่ได้และทีจ่ ับต้องได้

9


C4 การปกป้องมรดกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritage Protection)

พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม พ.ศ. 2559 ใน มาตรา 3 ของพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม พ.ศ. 2559 ได้ให้ ความหมายของ มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ไว้ว่า มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม หมายถึง ความรู้ การแสดงออก การประพฤติ ปฏิบัติหรือทักษะทาง วัฒนธรรมที่แสดงออกผ่านบุคคล เครื่องมือ หรือวัตถุ ซึ่งบุคคล กลุ่มบุคคล หรือชุมชนยอมรับและรู้สึกเป็น เจ้าของร่ว มกัน และมีการสืบทอดกันมาจากคนรุ่นหนึ่ งไปยังคนอีกรุ่นหนึ่ ง โดยอาจมีการปรับเปลี่ยนเพื่ อ ตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมของตน ชุมชน หมายถึง กลุ่มคนกลุ่มเดียวหรือหลายกลุ่ม ที่มีความรู้ มีการประพฤติปฏิบัติสืบทอด หรือมีส่วน ร่วมในมรดกภูมิปญ ั ญาทางวัฒนธรรมนั้น

ภาพ : การสอนฟ้อนเจิงมือเปล่า เป็นการร่ายรำตามกระบวนท่าจากแบบแผนที่แสดงออกถึงศิลปะในการต่อสู้ของชาย ซึ่งท่า รำนั้นมีทั้งท่าที่ผู้รำแต่ละคนจะใช้ความสามารถเฉพาะตัวในการพลิกแพลงให้ดูสวยงามไม่ว่าจะเป็น ฟ้อนเจิงไม้ค้อน เจิงหอก เจิงดาบ หรือเจิงมือ สถานที่ : โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา จังหวัดเชียงใหม่ ทีม่ าภาพ : ฉัตรกมล ปิยจารุพร

10


C4 การปกป้องมรดกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritage Protection)

ทั้ งนี้ มาตรา 4 ได้ ร ะบุ ไว้ ว่ า มรดกภู มิ ปั ญ ญาทางวั ฒ นธรรมที่ ได้ รั บ การส่ ง เสริ ม และรั ก ษาตาม พระราชบัญญัตินี้ ต้องมีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ 1. วรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา 2. ศิลปะการแสดง 3. แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม ประเพณี และเทศกาล 4. ความรู้และการปฏิบัติเกีย่ วกับธรรมชาติและจักรวาล 5. งานช่างฝีมือดั้งเดิม 6. การเล่นพื้นบ้าน กีฬาพื้นบ้าน และศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว 7. ลักษณะอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

พระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 และพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 นิยามศัพท์ โบราณสถาน หมายความว่า อสังหาริมทรัพย์ซึ่งโดยอายุหรือโดยลักษณะแห่ง การก่อสร้าง หรือโดย หลักฐานเกี่ยวกับประวัติของอสังหาริมทรัพย์นั้นเป็นประโยชน์ในทางศิลป ประวัติศาสตร์ หรือโบราณคดี ทั้งนี้ ให้รวมถึงสถานที่ที่เป็นแหล่งโบราณคดี แหล่งประวัติศาสตร์ และอุทยานประวัติศาสตร์ด้วย ศิลปวัตถุ หมายความว่า สิ่งที่ทำด้วยฝีมืออย่างประณีตและมีคุณค่าสูงในทางศิลป สิ่งเทียมโบราณวัตถุ หมายความว่า สิ่งที่ทำเทียมโบราณวัตถุหรือส่วนของโบราณวัตถุที่ได้ขึ้นทะเบียน ไว้ตามพระราชบัญญัตินี้ หรือที่อยู่ในความครอบครองของกรมศิลปากร สิ่งเทียมศิลปวัตถุ หมายความว่า สิ่งที่ทำเทียมศิลปวัตถุหรือส่วนของศิลปวัตถุที่ไ ด้ขึ้นทะเบียนไว้ตาม พระราชบัญญัตินี้ หรือที่อยู่ในความครอบครองของกรมศิลปากร ทำเทียม หมายความว่า เลียนแบบ จำลอง หรือทำเอาอย่างด้วยวิธีการใด ๆ ให้เหมือนหรือคล้ายของ จริง ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีขนาด รูปลักษณะ และวัสดุอย่างเดิมหรือไม่ มาตรา 10 ห้ า มมิ ใ ห้ ผู้ ใ ดซ่ อ มแซม แก้ ไข เปลี่ ย นแปลง รื้ อ ถอน ต่ อ เติ ม ทำลาย เคลื่ อ นย้ า ย โบราณสถานหรือ ส่ วนต่ าง ๆ ของโบราณสถาน หรือ ขุ ด ค้ น สิ่ งใด ๆ หรือ ปลู ก สร้ างอาคารภายในบริเวณ โบราณสถาน เว้นแต่จะกระทำตามคำสั่งของอธิบดีหรือได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากอธิบดี และถ้าหนังสือ อนุญาตนั้นกำหนดเงื่อนไขไว้ประการใดก็ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขนั้นด้วย มาตรา 10 ทวิ พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปในโบราณสถานเพื่อตรวจดูว่า ได้มีการซ่อมแซม แก้ไข เปลี่ยนแปลง รื้อถอน ต่อเติม ทำลายเคลื่อนย้ายโบราณสถานหรือส่วนต่าง ๆ ของโบราณสถาน หรือมี การขุดค้นสิ่งใด ๆ หรือปลูกสร้างอาคารภายในบริเวณโบราณสถานหรือไม่ ในการนี้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มี อำนาจยึดหรืออายัดวัตถุที่มีเหตุอันสมควรสงสัยว่าจะเป็นวัต ถุที่ได้มาจากการขุดค้นในบริเวณโบราณสถานได้

11


C4 การปกป้องมรดกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritage Protection)

การตรวจ ยึดหรืออายัดตามความในวรรคหนึ่ง ให้กระทำได้ระหว่างพระอาทิตย์ขึ้น ถึงพระอาทิตย์ตก และเมื่อดำเนินการตรวจ ยึดหรืออายัดแล้ว ในเขตกรุงเทพมหานครให้รายงานต่อ อธิบดี ในเขตจังหวัดอื่นให้ รายงานต่อผู้ว่าราชการจังหวัดและอธิบดีเพื่อทราบ มาตรา 13 เพื่อประโยชน์ในการรักษาสภาพ ความปลอดภัย ความสะอาด และความเป็นระเบียบ เรียบร้อยของโบราณสถานที่ได้ขึ้นทะเบียนแล้ว ให้รัฐมนตรีมีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดให้ผู้เข้าชมปฏิบัติ ในระหว่างเข้าชมได้ และจะกำหนดให้ผู้เข้าชมเสียค่าเข้าชมหรือค่าบริการอื่นด้วยก็ได้ การจัดให้เข้าชมโบราณสถานที่มีเจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายโดยเรียกเก็บค่าเข้า ชมหรือค่าบริการอื่น ต้องแจ้งเป็นหนังสือให้อธิบดีทราบก่อนและต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไข ที่อธิบดีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา มาตรา 13 ทวิ เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมการศึกษาและเผยแพร่ ศิลปวัฒนธรรม อธิบดีมีอำนาจ อนุญาตเป็นหนังสือให้บุคคลใดเข้าไปดำเนินกิจการใด ๆ เพื่อหาผลประโยชน์ในบริเวณโบราณสถานที่ได้ขึ้น ทะเบียนแล้วและมิใช่เป็นโบราณสถานที่มีเจ้าของหรือ ผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย โดยให้ผู้รับอนุญาต ออกค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจการทั้งสิ้น และผู้รับอนุญาตต้องจ่ายเงินค่าสิทธิค่าตอบแทน และค่าธรรมเนียม อื่นให้แก่กรมศิลปากรเพื่อสมทบกองทุนโบราณคดี ทั้งนี้ ตามระเบียบที่อธิบดีประกาศกำหนดในราชกิจจา นุเบกษา มาตรา 14 เมื่ออธิบดีเห็นว่าโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุใดที่มิได้อยู่ในความครอบครองของกรมศิลปากร มีประโยชน์หรือคุณค่าในทางศิลป ประวัติศาสตร์หรือโบราณคดีเป็นพิเศษ อธิบดีมีอำนาจประกาศในราชกิจจา นุเบกษาขึ้นทะเบียนโบราณวัตถุ หรือศิลปะวัตถนั้น มาตรา 14 ทวิ เพื่อประโยชน์ในการอนุรักษ์และการจัดทำทะเบียนโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุที่มีอายุ ตั้งแต่สมัยอยุธยาขึ้นไป ให้อธิบดีมีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษา กำหนดให้เขตท้องที่ใดเป็นเขตสำรวจ โบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุนั้น โดยให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองแจ้งปริมาณ รูปพรรณและสถานที่เก็บรักษา โบราณวัตถุ หรือศิลปวัตถุนั้นต่ออธิบดีตามหลักเกณฑ์วธิ ีการและเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด เมื่อได้มีประกาศตามวรรคหนึ่งแล้ว อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายมีอำนาจเข้าไปในเคหสถานของ เจ้าของหรือผู้ครอบครอง หรือสถานที่เก็บรักษาโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุนั้น ระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระ อาทิตย์ตกหรือระหว่างเวลาทำการเพื่อประโยชน์ในการจัดทำทะเบียน และในกรณีที่เห็นว่าโบราณวัตถุหรือ ศิลปวัตถุใดมีประโยชน์หรือคุณ ค่าในทางศิลป ประวัติศาสตร์ หรือโบราณคดีเป็นพิเศษ ให้อธิบดีมีอำนาจ ดำเนินรตามมาตรา 14 ได้ มาตรา 18 โบราณวัตถุและศิลปวัตถุที่เป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน และอยู่ในความดูแลรักษาของกรม ศิลปากรจะโอนกันมิได้ เว้นแต่อาศัยอำนาจแห่งบทกฎหมาย แต่ถ้าโบราณวัตถุและศิลปวัตถุใดมีเหมือนกันอยู่ มากเกิน ต้ องการ อธิบ ดี จะอนุ ญ าตให้ โอนโดยวิธีขายหรื อแลกเปลี่ ยนเพื่ อ ประโยชน์ แ ห่ งพิ พิ ธภั ณ ฑสถาน แห่งชาติ หรือให้เป็นรางวัลหรือเป็นค่าแรงงานแก่ผู้ขุดค้นก็ได้ ทั้งนี้ตามระเบียบที่อธิบดีประกาศกำหนดในราช กิจจานุเบกษา

12


C4 การปกป้องมรดกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritage Protection)

มาตรา 18 ทวิ โบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุที่อยู่ในความครอบครองของกรมศิลปากร หรือที่ได้ขึ้น ทะเบียนไว้และมีประโยชน์หรือคุณค่าในทางศิลป ประวัติศาสตร์ หรือโบราณคดีเป็นพิเศษ รัฐมนตรีมีอำนาจ ประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดให้โบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุนั้นเป็นโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุที่ควบคุมการ ทำเทียม

13


C4 การปกป้องมรดกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritage Protection)

ประเภท ของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ในประเทศไทย มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่ได้รับการส่งเสริมและรักษาสามารถแบ่งออกเป็น ประเภทได้ดังนี้ 1. สาขาศิลปะการแสดง การแสดงดนตรี รำ-เต้น และละครที่แสดงเป็นเรื่องราว ทั้งที่เป็นการแสดงตามขนบแบบแผน มีการ ประยุกต์เปลี่ยนแปลง และ/ หรือการแสดงร่วมสมัยการแสดงที่เกิดขึ้นนั้น เป็นการแสดงสดต่อหน้าผู้ชม และมี จุดมุง่ หมายเพื่อความงาม ความบันเทิงและ/ หรือเป็นงานแสดงที่ก่อให้เกิดการคิด วิพากษ์ นำสู่การพัฒนาและ เปลี่ยนแปลงสังคม ประเภทของศิลปะการแสดง ดนตรี หมายถึง เสียงที่ประกอบกันเป็นทำนองเพลง และ/ หรือลีลา จังหวะ เครื่องบรรเลงซึ่ง มีเสียงดัง ทำให้ รู้สึกเพลิดเพลิน หรือเกิดอารมณ์ รั ก โศก หรือ รื่นเริง เป็นต้น ดนตรีมีบทบาทหน้าที่ในการ บรรเลงเพื่อการขับกล่อม ความบันเทิง ประกอบพิธีกรรม และประกอบการแสดง การแสดง หมายถึง การแสดงออกทางร่างกาย ท่วงท่าการเคลื่อนไหว ท่าเต้น ท่ารำ การ แสดงกิริยาของการเต้น การรำ การเชิด ฯลฯ ซึ่งแสดงถึงอารมณ์ความรู้สึก และการเล่าเรื่อง การแสดงอาจ แสดงร่วมกับดนตรีและการขับร้องหรือไม่ก็ได้ ดนตรีและการแสดงในพิธีกรรม หมายถึง การผสมผสานระหว่างการแสดง การร้อง การร่าย รำ และดนตรีที่ใช้ประกอบอาชีพ เป็นต้น เพลงร้องพื้นบ้าน หมายถึง บทเพลงที่เกิดจากคนในท้องถิ่นนั้น ๆ ที่คิดรูปแบบการร้อง การ เล่น เป็นบทเพลงที่มีท่วงทำนอง ภาษาที่เรียบง่าย มุ่งความสนุกสนานเพลิดเพลินในโอกาสต่าง ๆ หรือการร่วม แรงร่วมใจการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งในการประกอบอาชีพ 2. งานช่างฝีมอื ดัง้ เดิม ภูมิปัญญา ทักษะฝีมือช่าง การเลือกใช้วัสดุ และกลวิธีการสร้างสรรค์ที่แสดงถึงอัตลักษณ์ สะท้อน พัฒนาการทางสังคม และวัฒนธรรมของกลุ่มชน ประเภทของงานช่างฝีมือดัง้ เดิม ผ้าและผลิตภัณฑ์จากผ้า หมายถึง ผลผลิตที่เกิดจากการทอ ย้อม ถัก ปัก ตีเกลียว ยก จก มั ด หมี่ พิ ม พ์ ล าย ขิด เกาะ/ ล้ วง เพื่ อ ใช้ เป็ น เครื่อ งนุ่ ง ห่ ม แสดงสถานภาพทางสั งคม ลวดลายผ้ามี ค วาม เกี่ยวข้องกับตำนานพื้นถิ่น ความเชือ่ และธรรมชาติ ซึ่งลวดลายดังกล่าวมักเกิดจากเส้นพุง่ เป็นหลัก

14


C4 การปกป้องมรดกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritage Protection)

เครื่องจักสาน หมายถึง ภาชนะเครื่องใช้ประจำบ้านของคนไทยทำจากวัตถุดิบในท้องถิ่น เช่น ไผ่ หวาย กระจูด ลำเจียก โดยนำมาจักและสาน จึงเรียกว่า เครื่องจักสาน กลวิธีในการทำเครื่องจั กสาน ได้แก่ การถัก ผูก รัด มัด ร้อย โดยใช้ตอก หวาย เพื่อให้เครื่องจักสานคงทนและคงรูปอยู่ได้ตามต้องการ เครื่องรัก หมายถึง หัตถกรรมที่ใช้รักเป็นวัสดุสำคัญในการสร้างผลงาน เช่น ปิ ดทองรดน้ำ ภาพกำมะลอ ประดับมุก ประดับกระจกสี ปั้นกระแหนะ และเขิน รักหรือยางรัก มีคุณลักษณะเป็นยางเหนียว สามารถเกาะจับพื้นของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ประสงค์จะทา หรือถมทับ หรือเคลือบผิวได้ดี ทำให้เป็นผิวมันภายหลัง รักที่แห้งสนิทมีคุณภาพคงทนต่อความร้อน ความชื้น กรดหรือด่างอ่อน ๆ และยังเป็นวัสดุที่ใช้เชื่อมสมุก หรือสี เข้าด้วยกัน

ภาพ : การเขียนลายเครื่องเขิน เป็นงานหัตถศิลป์ของชาวล้านนา ได้รับอิทธิพลมาจากไทเขิน ‘เขิน’ เป็นภาชนะที่มีโครงเป็น เครื่องจักสานหรือไม้ เคลือบทาด้วยยางรักเพื่อความคงทน กันน้ำและความชื้น อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มความสวยงามให้แก่พื้นผิว ของภาชนะ โดยจะทารักซ้ำหลายชั้น ชั้นสุดท้ายจะเป็นการตกแต่งให้เกิดความสวยงาม เช่น การเขียนลวดลาย การปิดทอง หรือการขุดผิวให้เป็นร่องลึก แล้วฝังรักสีต่างกันให้เป็นลวดลายสวยงาม สถานที่ : โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา จังหวัดเชียงใหม่ ที่มาภาพ : ฉัตรกมล ปิยจารุพร

เครื่องปั้นดินเผา หมายถึง หัตถกรรมที่ใช้ดินเหนียวเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิต มีทั้งชนิด เคลือบและไม่เคลือบ โดยที่เนื้อดินเหนียวต้องมีส่วนผสมของทรายแม่น้ำที่เป็นทรายเนื้อละเอียดและช่วยให้ เนื้อดินแห้งสนิทไม่แตกร้าว ดินเหนียวที่ใช้ทำเครื่องปั้นดินเผาจากที่ต่าง ๆ ให้สีแตกต่างกัน เครื่องโลหะ หมายถึง สิ่งที่มีวัสดุหลักเป็นเหล็ก ทองเหลือง หรือทองแดง เครื่องโลหะที่ทำ จากเหล็กนิยมทำ โดยการเผาไฟให้อ่อนตัวและตีเหล็กเป็นรูปทรงต่าง ๆ เครื่องโลหะที่ทำจากทองเหลืองนิยม นำทองเหลืองมาเผาจนหลอมเหลวแล้ วจึงนำไปเทลงในแบบรูปตามลักษณะที่ต้องการแล้วนำมาตกแต่ง ส่วน

15


C4 การปกป้องมรดกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritage Protection)

เครื่องโลหะที่ทำจากทองแดง มีการนำทองแดงมาใช้เป็นโลหะเจือหลักสำหรับผลิ ตตัวเรือนเครื่องประดับโลหะ เงินเจือ เครื่องไม้ หมายถึง งานฝีมือช่างที่ทำจากไม้ซุงหรือไม้แปรรูปเป็นท่อน เป็นแผ่น เพื่อใช้ในงาน ช่างก่อสร้างประเภทเครื่องสับ เครื่องเรือน เครื่ องบูชา เครื่องตั้ง เครื่ องประดับ เครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่อง ศาสตรา เครื่องดนตรี เครื่องเล่น และยานพาหนะ โดยอาศัยเทคนิควิธีการแกะ สลัก สับ ขุด เจาะ กลึง ถาก ขูด และขัด เครื่องหนัง หมายถึง งานหัตถกรรมพื้นบ้านที่ทำมาจากหนังสัตว์ โดยผ่านกระบวนการหมัก และฟอกหนังเพื่อไม่ให้เน่าเปื่ อย และให้เกิดความนิ่มนวลสามารถบีบงอได้ตามที่ต้องการ เครื่องหนังนิยม นำไปใช้เกีย่ วกับศิลปะการแสดง รวมถึงอุปกรณ์อื่น ๆ ที่มีหนังเป็นส่วนประกอบ เครื่องประดับ หมายถึง งานช่างฝีมือที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อการตกแต่งให้เกิดความงดงาม เริ่มต้นจากการใช้วัสดุที่พบได้ง่ายในท้องถิ่นนำมาผลิตเป็นเครื่องประดับตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และ พัฒนาขึน้ เรื่อย ๆ เป็นการใช้อัญมณีและโลหะมีค่าชนิดอื่น งานศิลปกรรมพื้นบ้าน หมายถึง งานที่มีการแสดงอารมณ์สะท้อนออกทางฝีมือการช่างให้ ประจั ก ษ์ เห็ น เป็ น รู ป ธรรมเพื่ อ ตอบสนองในด้ านการยั งชี พ และความต้ อ งการคุ ณ ค่ า ด้ า นความงาม เช่ น ภาพเขียน งานปัน้ งานแกะสลักงานหล่อ เป็นต้น ผลิตภัณฑ์อย่างอื่น หมายถึง งานช่างฝีมือดั้งเดิมที่ไม่สามารถจัดอยู่ใน 9 ประเภทแรกได้ ซึ่ง อาจเป็นงานช่างฝีมือทีป่ ระดิษฐ์หรือผลิตขึน้ จากวัสดุในท้องถิ่นหรือจากวัสดุเหลือใช้ เป็นต้น 3. วรรณกรรมพื้นบ้าน วรรณกรรมที่ถ่ายทอดอยู่ในวิถีชีวิตชาวบ้าน โดยครอบคลุมวรรณกรรมที่ถ่ายทอดโดยวิธีการบอกเล่า และที่เขียนเป็นลายลักษณ์อักษร ประเภทของวรรณกรรมพื้นบ้าน นิทานพื้นบ้าน หมายถึง เรื่องเล่าที่สืบทอดต่อ ๆ กันมา ประกอบด้ วย นิทาน เทวปกรณ์/ ตำนาน นิทานศาสนา นิทานคติ นิทานมหัศจรรย์ นิทานชีวิต นิทานประจำถิ่น นิทานอธิบายเหตุ นิทานเรื่อง สัตว์ นิทานเรื่องผี มุขตลก และเรื่องโม้ ประวัติศาสตร์บอกเล่า หมายถึง เรื่องเล่าเกี่ยวกับประวัติการตั้งถิ่นฐาน การอพยพ ความ เป็นมา และบุคคลสำคัญของชุมชน บทสวดหรือบทกล่าวในพิธีกรรม หมายถึง คำสวดที่ใช้ประกอบในพิธีกรรมต่าง ๆ เช่น บท ทำขวัญ คำบูชา คำสมา คำเวนทาน บทสวดสรภัญญ์ คาถาบทอานิสงส์ บทประกอบการรักษาโรคพื้นบ้าน คำ ให้พร คำอธิษฐาน ฯลฯ บทร้องพื้นบ้าน หมายถึง คำร้องที่ถ่ายทอดสืบต่อกัน มาในโอกาสต่าง ๆ เช่น บทกล่อมเด็ก บทร้องเล่น บทเกี้ยวพาราสี คำเซิ้ง ฯลฯ สำนวนและภาษิต หมายถึง คำพูดหรือคำกล่าวที่สืบทอดกันมามักมีสัมผัส คล้องจองกัน เช่น โวหาร คำคม คำพังเพย คำอุปมาอุปไมย คำขวัญ คติพจน์ คำสบถสาบาน คำสาปแช่ง คำชม คำคะนอง ฯลฯ

16


C4 การปกป้องมรดกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritage Protection)

ปริศนาคำทาย หมายถึง คำหรือข้อความที่ตั้งเป็นคำถาม คำตอบ ที่สืบทอดกันมา เพื่ อให้ ผู้ตอบได้ทายหรือตอบปัญหา เช่น คำทาย ปัญหาเชาวน์ ผะหมี ตำรา หมายถึง องค์ความรู้ที่มีการเขียนบั นทึกในเอกสารโบราณ เช่น ตำรา โหราศาสตร์ ตำราดูลักษณะคนและสัตว์ ตำรายา ฯลฯ 4. กีฬาภูมิปัญญาไทย กีฬ าภู มิ ปั ญ ญาไทย หมายถึง การเล่น กีฬ าและศิลปะการต่ อสู้ป้ องกัน ตัว ที่ มี การปฏิ บั ติกัน อยู่ใน ประเทศไทยและมีเอกลักษณ์สะท้อนวิถีไทย แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ การเล่นพื้นบ้าน กีฬาพื้นบ้าน และ ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว การเล่นพื้นบ้าน หมายถึง การเล่นของคนไทยในแต่ละวัยที่มีวัตถุประสงค์ต่าง ๆ กันออกไป โดยมีผลลัพธ์สุดท้าย คือ ความรัก ความสามัคคี และความสนุกสนานเพลิดเพลิน กีฬาพื้นบ้าน หมายถึง การเล่น และการแข่งขันของคนไทยในแต่ละวัย โดยมีอุปกรณ์และกฎ กติกาที่เป็นลักษณะเฉพาะถิ่น ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว หมายถึง วิธีการหรือรูปแบบการต่อสู้ที่ใช้ร่างกายหรืออุปกรณ์โดย ได้รับการฝึกฝนตามวัฒนธรรมที่ได้รับการถ่ายทอดกันมา

ภาพ : ขบวนช้างแห่นาค ในงานประเพณีแห่ช้างบวชนาคไทยพวนบ้านหาดเสี้ยว พ.ศ. 2562 สถานที่ : ตำบลหาดเสี้ยว อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ทีม่ าภาพ : ฉัตรกมล ปิยจารุพร

17


C4 การปกป้องมรดกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritage Protection)

5. แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม และงานเทศกาล การประพฤติปฏิบัติในแนวทางเดียวกันของคนในชุมชนที่สืบทอดต่อกันมาบนหนทางของมงคลวิถี นำไปสู่สังคมแห่งสันติสุขแสดงให้เห็นอัตลักษณ์ของชุมชนและชาติพันธุน์ น้ั ๆ ประเภทของแนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม และงานเทศกาล มารยาท หมายถึง การประพฤติปฏิบัติที่ดีงามต่อผูอ้ ื่น ขนบธรรมเนียมประเพณี หมายถึง การประพฤติปฏิบัติและการกระทำกิจกรรมที่สืบทอดต่อ กันมาในวิถีชีวิตและสังคมของชุมชนนั้น ๆ งานเทศกาล หมายถึง กิจกรรมที่กระทำตามกำหนดเวลาในรอบปี 6. ความรู้และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล องค์ความรู้ วิธีการ ทักษะ ความเชื่อ แนวปฏิบัติและการแสดงออกที่พัฒนาขึ้นจากการมีปฏิ สัมพันธ์ ระหว่างคนกับสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติและเหนือธรรมชาติ ประเภทของความรู้ แ ละแนวปฏิ บั ติ เกี่ ย วกั บ ธรรมชาติ แ ละจั ก รวาล เช่ น อาหารและโภชนาการ การแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้าน โหราศาสตร์และดาราศาสตร์ การจัดการทรัพยากรธรรมชาติเพื่อ การอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน ชัยภูมิและการตั้งถิ่นฐาน เป็นต้น

ภาพ : การสอนวิวัฒนาการตัวอักษรไทย พ.ศ. 1954 สถานที่ : โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา จังหวัดเชียงใหม่ ทีม่ าภาพ : ฉัตรกมล ปิยจารุพร

18


C4 การปกป้องมรดกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritage Protection)

7. ภาษา เครื่อ งมื อ ที่ ใช้ สื่ อ สารในวิถี ก ารดำรงชี วิต ของชนกลุ่ ม ต่ าง ๆ ซึ่ งสะท้ อนโลกทั ศ น์ ภู มิ ปั ญ ญา และ วัฒนธรรมของแต่ละกลุ่มชน ทั้งเสียงพูด ตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ที่ใช้แทนเสียงพูด ประเภทของภาษา ภาษาไทย หมายถึง ภาษาราชการที่ใช้ในประเทศไทย ภาษาไทยถิ่ น หมายถึ ง ภาษาที่ ใ ช้ ติ ด ต่ อ สื่ อ สารตามท้ อ งถิ่ น ต่ า ง ๆ สามารถสื่ อ ความหมาย สร้างความเข้าใจกันในท้องถิ่นนั้น ๆ โดยแต่ละท้องถิ่นอาจพูดแตกต่างกันไปจากภาษาราชการ ทั้ง ในด้านเสียง คำ และการเรียงคำ ได้แก่ ภาษาไทยถิ่นภาคเหนือ ภาษาไทยถิ่นภาคอีสาน ภาษาไทยถิ่น ภาค กลาง และภาษาไทยถิ่นภาคใต้ ภาษากลุ่มชาติพันธุ์ หมายถึง ภาษาที่ใช้ติดต่อสื่อสารภายในกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่ ในประเทศไทย แบ่งออกเป็น 5 ตระกูลภาษา ได้แก่ กลุ่มภาษาตระกูลไท กลุ่มภาษาตระกูลออสโตรเอเชียติก กลุ่มภาษาตระกูลจีน – ทิเบต กลุม่ ภาษาออสโตรเนเชียนติก และกลุ่มภาษาม้ง – เมี่ยน

19


C4 การปกป้องมรดกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritage Protection)

คุณค่าและการประเมินคุณค่า ของมรดกวัฒนธรรม 1. มรดกวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่มีคุณค่า ดังนั้น การประเมินคุณค่ามรดกวัฒนธรรมจึงเป็นขั้นตอนสำคัญ ในกระบวนการอนุรักษ์ เพื่อนำมาจัดลำดับความสำคัญ และนำมาใช้พิจารณาเลือกใช้วิธีการในการอนุรักษ์และ บริหารจัดการที่เหมาะสมเพือ่ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสังคม 2. ในการอนุรกั ษ์มรดกวัฒนธรรมต้องพิจารณาว่ามรดกวัฒนธรรมนั้นมีคุณค่าโดดเด่นในด้านใดบ้าง เช่น ด้านสุนทรียภาพ ด้านโบราณคดี ด้านประวัติศาสตร์ ด้านวิชาการ หรือด้านสังคม เพื่อวางแผนรักษา คุณค่าความสำคัญที่เด่นทีส่ ุดเอาไว้ โดยยังคงคุณค่าความสำคัญในด้านที่รองลงมาด้วยตามความเหมาะสม 3. มรดกวัฒนธรรมที่เป็นโบราณสถาน โบราณวัตถุ และศิลปวัตถุที่มีคณ ุ ค่า หรือที่ได้รับการประกาศ ขึ้นทะเบียนโบราณสถาน โบราณวัตถุ หรือศิลปวัตถุ ตามกฎหมายว่าด้วยโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ต้องได้รับการปกป้องคุ้มครองตามกฎหมายโดยเคร่งครัด 4. มรดกวัฒนธรรมที่ได้รับการประเมินคุณค่าแล้วว่ามีความสำคัญระดับชาติหรือระดับท้องถิ่น ควร ได้รับการขึ้นทะเบียนหรือขึ้นบัญชีเพื่อให้ได้รับการปกป้องคุ้มครองอย่างเต็มที่

ภาพ : กลุ่มสตรีทอผ้าพื้นเมืองบ้านไทดำ (ฟื้นฟู) สถานที่ : บ้านนาป่าหนาด อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ที่มาภาพ : ฉัตรกมล ปิยจารุพร

20


C4 การปกป้องมรดกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritage Protection)

การขึ้นทะเบียน มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ เกณฑ์การขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ในการขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ กรมส่งเสริมวัฒนธรรมโดยคณะกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมได้กำหนดสาขาของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมรวม 7 สาขา ได้แก่ สาขาศิลปะการแสดง สาขางานช่างฝีมือดั้งเดิม สาขาวรรณกรรมพื้นบ้าน สาขากีฬาภูมิปัญญาไทย สาขา แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรมและงานเทศกาล สาขาความรู้และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล และสาขาภาษา โดยจะพิจารณาข้อมูลที่ได้มีการจัดเก็บและสำรวจจากสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดต่าง ๆ และ การพิจารณาคัดเลือกกลั่นกรองของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ตามกระบวนการขั้นตอนและหลักเกณฑ์การ พิจารณาขึ้นทะเบียนของแต่ละสาขา ซึ่งเกณฑ์ที่สำคัญประกอบด้วย 1. เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่อยู่ในอาณาเขตประเทศไทยและที่ยังปฏิบัติอยู่ในวิถีชีวิต โดยมี ลักษณะดังนี้ (1) รายการที่มีลักษณะเฉพาะในชุมชน ท้องถิ่น ที่เสี่ยงต่อการสูญหาย ใกล้ขาดผู้สืบทอด (2) รายการที่มีลักษณะเฉพาะในชุมชน ท้องถิ่น ที่ยังมีผู้สืบทอดและปฏิบัติอยู่ (3) รายการที่มีอตั ลักษณ์ชัดเจนและมีการปฏิบัติ สืบทอดโดยทั่วไปหรืออย่างกว้างขวาง 2. มีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ และมีคุณลักษณะบ่งบอกความเป็น มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ของท้องถิ่นหรือของประเทศชาติ 3. มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ วิชาการ ศิลปะ คุณค่าทางจิตใจ คุณค่าเชิงสร้างสรรค์ หรือผลงานควร ค่าแก่การรักษาไว้ 4. มีการบันทึกหลักฐานหรือสามารถอ้างอิง/ สืบค้นองค์ความรู้ภูมิปัญญาดั้งเดิมของวัฒนธรรม 5. มีความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องอนุรักษ์ไว้มิให้เกิดการสูญหายหรือนำไปใช้อย่างไม่เหมาะสม

21


C4 การปกป้องมรดกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritage Protection)

ภาพ : (บน) ผ้าทอลายประจำหมู่บ้าน (ล่าง) ผ้าทอลายแคนแก่นคูน สถานที่ : บ้านหัวฝาย จังหวัดขอนแก่น ที่มาภาพ : ฉัตรกมล ปิยจารุพร

22


C4 การปกป้องมรดกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritage Protection)

การขึ้นบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ปั จ จุ บั น ประเทศไทยมี ม รดกภู มิ ปั ญ ญาทางวัฒ นธรรมที่ ได้ รับ การขึ้ น บั ญ ชี ม รดกภู มิ ปั ญ ญาทาง วัฒนธรรม จำนวนทั้งสิ้น 354 รายการ โดยในปีพ.ศ. 2562 มีรายการที่ขึ้นบัญชีฯ ดังนี้ 1. ประเภทรายการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่ต้องได้รับการส่งเสริมและรักษาอย่างเร่งด่วน 1.1 ศิลปะการแสดง (1) ลำแมงตับเต่าไทเลย 1.2 แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม ประเพณี และเทศกาล (1) ประเพณีแห่นางดาน 1.3 ความรู้และการปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล (1) ทุเรียนนนท์ (2) ปลาสลิดบางบ่อ 1.4 งานช่างฝีมือดั้งเดิม (1) เครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน (2) ซิ่นหมี่คั่นน้อยไทหล่ม 2. ประเภทรายการตัวแทนมรดกภูมปิ ัญญาทางวัฒนธรรม 2.1 วรรณกรรมพืน้ บ้านและภาษา (1) ตำนานเขาสาปยา (เขาสรรพยา) (2) ตำนานเมืองลพบุรี 2.2 ศิลปะการแสดง (1) โปงลาง (2) กลองอืด (3) รำมอญ (4) รำตร๊ด 2.3 แนวปฏิบัตทิ างสังคม พิธีกรรม ประเพณี และเทศกาล (1) ประเพณีอฏั ฐมีบูชา (2) โจลมะม้วต 2.4 งานช่างฝีมือดั้งเดิม (1) หม้อน้ำดินเผาเกาะเกร็ด (2) งานปูนปั้นสกุลช่างเมืองเพชร 2.5 การเล่นพืน้ บ้าน กีฬาพื้นบ้าน และศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว (1) อิน้ กอนฟ้อนแคน (2) การแข่งขันว่าวดุ๊ยดุ่ย

23


C4 การปกป้องมรดกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritage Protection)

ข้อแตกต่างระหว่างมรดกโลก และมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ตารางแสดงความแตกต่างระหว่าง มรดกโลก (World Heritage) กับ มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม (Intangible Heritage) มรดกโลก (World Heritage) - การอนุ รัก ษ์ แ หล่ งมรดกโลกทางวั ฒ นธรรม และ/ หรือทางธรรมชาติ - คุณค่าโดดเด่นเป็นสากล (Outstanding Universal Value - OUV) ตัดสินโดยผู้เชี่ยวชาญ ร่วมกับผู้มีส่วน ได้สว่ นเสียที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ - ความแท้ (Authenticity) และความครบถ้ ว น สมบูรณ์ (Integrity) เป็นตัวบ่งบอกคุณค่าโดดเด่นเป็น สากล = การเปลี่ยนแปลงไม่ดีต่อคุณค่า - การเปรีย บเที ย บคุ ณ ค่ าระหว่างแหล่ ง = ต้อ งเป็ น แหล่งที่เป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดในภูมภิ าคหรือในโลก

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม (Intangible Heritage) - การส่งเสริมและรักษา การแสดงออก ทักษะ การถือ ปฏิบัติและภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมและสังคม - คุณค่า ตัดสินโดยชุมชน กลุ่มคน บุคคลที่มีส่วนใน การสืบทอดและสร้างสรรค์มรดกภูมิปัญญา - ค ว า ม อ ยู่ ร อ ด (Viability) แ ล ะ ก า ร สื บ ท อ ด (Transmission) บ่งบอกคุณ ค่าของมรดกภูมิปัญ ญา นั้ น ต่ อ สั ง คม = การเปลี่ ย นแปลงช่ ว ยให้ ม รดกภู มิ ปัญญามีชีวิตต่อไป - ไม่มีการเปรียบเทียบระหว่างมรดกภูมิปัญญา = ไม่มี การแข่งขัน ไม่มีการแสดงความเป็นเจ้าของ

24


C4 การปกป้องมรดกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritage Protection)

เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโก (UNESCO Creative Cities Network - UCCN) เมืองสร้างสรรค์ (Creative City) หมายถึง เมืองที่มีกิจกรรมทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย และมี ส่ ว นสำคั ญ ในการพั ฒ นาเศรษฐกิ จ และสั ง คมของเมื อ งนั้ น ๆ มี ร ากฐานจากความมั่ น คงทางสั ง คมและ วัฒนธรรม มีการรวมกลุ่มกันอย่างหนาแน่นของคนที่ทำงานสร้างสรรค์ คนและวัฒนธรรมท้องถิ่นมีส่วนสำคัญที่ ทำให้เมืองเป็นพื้นที่ในการแสดงออกของความคิดสร้างสรรค์ ทำให้เกิดการรวมตัวทางสังคม และความเป็น ท้องถิ่นนี้เองที่แสดงออกหรือสื่อออกมาทางศิลปะในรูปแบบต่าง ๆ และกิจกรรมทางวัฒนธรรม ซึ่งนำไปสู่การ พัฒนาอุตสาหกรรมทางวัฒนธรรมและความคิดสร้างสรรค์ การเข้าร่วมเครือข่ายของเมืองสามารถทำให้เกิด การสนับสนุนเสริมสร้างการเรียนรู้จากกันและกัน และทำงานร่วมกันเพื่อการพัฒนาเมืองของทุกประเทศ โดย การเสริมสร้างห่วงโซ่คุณค่าของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในท้องถิ่น เหนือสิ่งอื่นใดการเป็นเมืองสร้างสรรค์ยังมีส่วน ในการได้สร้างความร่วมมือกันด้านความคิดสร้างสรรค์เพื่อเป็นตัวขับเคลื่อนและเป็นเครื่องมือในการพัฒนา เมืองอย่างยั่งยืน ช่วยสนับสนุนการสร้างงาน ส่งเสริมวัฒนธรรมบนพื้นฐานของความหลากหลายทางสังคม การ เจรจาระหว่างวัฒนธรรมและความเป็นอยู่ที่ดี ของประชาชน สร้างโอกาสที่ดีสำหรับเมืองผ่านกระบวนการ เรียนรู้ และโครงการความร่วมมือระหว่างเมืองต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์เชิงสร้างสรรค์ที่มีอยู่อย่ าง เต็มที่ การทำงานร่วมกันของภาคประชาชน สังคม ภาคเอกชน และภาครัฐเพื่อสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์ และนักสร้างสรรค์งาน รวมถึงการมีส่วนร่วมของพลเมืองและผู้เกี่ยวข้องกับงานด้านวัฒนธรรมผ่านการทำงาน ร่วมกัน การมีพื้นที่สาธารณะ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาเมืองที่จะสามารถตอบโจทย์ให้แก่คนในท้องถิ่น เมืองเป็น ของทุกคน และการพัฒนาอย่างยั่งยืนของเมืองจึงเป็นหน้าที่ของทุกคน เมืองสร้างสรรค์ไม่ใช่เรื่องของการปรับปรุงหรือพัฒนาเมืองเพื่อการท่องเที่ยวอย่างเดียว แต่เป็นเมืองที่ มีพื้นที่และสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้เกิดกิจกรรมทางวัฒนธรรม ที่น ำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ ซึ่งมาจาก ความคิดสร้างสรรค์และเป็นแหล่งรวมนักคิด ผู้ประกอบการสร้างสรรค์ทั้งจากในและต่างประเทศที่มาประกอบ กิจการและก่อให้เกิดการจ้างงานและสร้างรายได้ แนวทางของการพัฒนาเมืองสร้างสรรค์จึงต้องประกอบด้วยนโยบายและแผนการลงทุ นของภาครัฐใน หลายด้าน ตั้งแต่การลงทุนในสาธารณูปโภคในโครงสร้า งพื้นฐานและการเรียนรู้ การปรับปรุงกฎระเบียบ และ การสนับสนุนด้านการเงินให้เอื้อต่อการประกอบธุรกิจและอยู่อาศัยของผู้ประกอบการสร้างสรรค์ นอกจากนี้ยัง รวมถึงการจัดกิจกรรมระดับเมืองและระดับชาติที่หลากหลายเพื่อสะท้อนเอกลักษณ์และภาพลักษณ์ของเมือง อย่างสร้างสรรค์

25


C4 การปกป้องมรดกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritage Protection)

ในปีพ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004) องค์การยูเนสโก ได้ ต ระหนั ก ถึ ง ความสำคั ญ ของการส่ ง เสริ ม ความ หลากหลายทางวัฒนธรรม การพัฒ นาอย่างยั่งยืนด้วย มิ ติ ด้ า นวั ฒ นธรรมผนวกกั บ ความคิ ด สร้ า งสรรค์ ตลอดจนการพัฒ นาทางด้านเศรษฐกิ จและสังคมจาก ฐานรากที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง จึงได้เสนอแนวคิด โครงการเครื อ ข่ า ยเมื อ งสร้ า งสรรค์ ข องยู เนสโก (UNESCO Creative Cities Network - UCCN) โดย มุ่งหวังความร่วมมือ จากหลากหลายภาคส่วน ตั้งแต่ภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา ด้วยนโยบายใน ระดับท้องถิ่นที่เชื่อมโยงกับเมืองต่าง ๆ ทั่วโลก เพื่อสร้างเครือข่ายเมืองที่เน้นการพัฒนาด้านอุตสาหกรรม สร้างสรรค์ด้วยวิสัยทัศน์เดียวกัน การแลกเปลี่ยน ถ่ายทอดประสบการณ์ องค์ความรู้ และกิจกรรม และสร้าง รูปแบบใหม่ของความร่วมมือในระดับโลก โครงการเครือ ข่ายเมื อ งสร้างสรรค์ ข องยูเนสโก มี วัต ถุป ระสงค์เพื่ อ ส่งเสริม ความร่วมมื อ ระหว่าง ประเทศ ภูมิภาค หรือชุมชนท้องถิ่น ในการขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างยั่งยืนของชุมชนเมือง โดยใช้มิติทางด้าน วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณีของชุมชน ตลอดจนทรัพยากรในท้องถิ่น ผสานกับความคิดสร้างสรรค์ และความร่วมมือของทุกภาคส่ว นของเมือง เพื่อผลักดันให้เกิดความสำเร็จตามวาระการพั ฒนาที่ยั่งยืนของ องค์การสหประชาชาติ สร้างสมดุลการพัฒนาทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และประชากร ในขณะเดียวกันก็ลด การเหลื่อมล้ำและช่องว่างของการพัฒนา

7 ประเภทเมืองสร้างสรรค์ 1. เมืองแห่งวรรณกรรม (City of Literature) 2. เมืองแห่งภาพยนตร์ (City of Film) 3. เมืองแห่งดนตรี (City of Music) 4. เมืองแห่งหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน (City of Crafts & Folk Arts) 5. เมืองแห่งการออกแบบ (City of Design) 6. เมืองแห่งศิลปะสื่อประชาสัมพันธ์ (City of Media art) 7. เมืองแห่งวิทยาการอาหาร (City of Gastronomy)

26


C4 การปกป้องมรดกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritage Protection)

สิทธิประโยชน์จากการเข้าเป็นสมาชิก เมื อ งที่ เข้ า ร่ ว มเป็ น สมาชิ ก จะมี โอกาสแลกเปลี่ ย นในด้ า นยุ ท ธศาสตร์ ก ารพั ฒ นาในมิ ติ ท างด้ า น ศิลปวัฒนธรรมและความคิดสร้างสรรค์ องค์ความรู้ ประสบการณ์ บุคลากร ตลอดจนโครงการและกิจกรรม ต่าง ๆ กับเมืองสมาชิกอื่น ๆ ทั่ว โลก อันจะเป็นการประชาสัมพันธ์เมืองเพื่อประโยชน์ด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวในระดับนานาชาติ นอกจากนี้ เมืองสมาชิกยังได้รับ สิทธิในการเข้าร่วมการประชุมเครือข่าย เมืองสร้างสรรค์ป ระจำปี ที่ จัดขึ้น ในประเทศต่าง ๆ ตลอดจนการประชุมเชิงปฏิบั ติการในหมู่สมาชิก เมือง สร้างสรรค์ในสาขาเดียวกัน เมืองสมาชิกจะได้รับสิทธิในการใช้โลโก้ขององค์การยูเนสโกในการประชาสัมพันธ์ เมือง

คุณสมบัติเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโก 1. การสร้ า งสิ่ ง แวดล้ อ มและภู มิ ทั ศ น์ ท างวั ฒ นธรรมที่ เอื้ อ ให้ เกิ ด การสร้ า งสรรค์ ง าน รวมทั้ ง ปัจจัยพื้นฐาน (Infrastructure) ที่อำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบธุรกิจสร้างสรรค์ 2. นำความหลากหลายทางวัฒนธรรม (Culture Diversity) มาใช้ในการสร้างสรรค์ผลงาน การพัฒนา เมืองให้เป็น Creative City ส่งผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์และเป็นการสร้าง ความหลากหลายทางวัฒนธรรม ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญในการสร้างบรรยากาศที่เหมาะสมกับการสร้างสรรค์

กระบวนการปรับปรุงองค์ประกอบของเมือง 1. การสร้างเอกลักษณ์ ทางวัฒนธรรมให้แก่เมือง (Cultural Identity) การสร้างสภาพแวดล้อมทาง สังคมให้มีความเปิดกว้าง (Diversity & Open Society) 2. การรวบรวมนั ก คิ ด และผู้ ป ระกอบการสร้ า งสรรค์ (Talent/ Creative Entrepreneur) เพื่ อ รวบรวมผู้มีความคิดสร้างสรรค์ในการผสมผสานวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ากับเทคโนโลยี วัฒนธรรม และการจัดการด้านธุรกิจ ที่ก่อให้เกิดการจ้างงานและกำลังซื้อสินค้า 3. การสร้างพื้นที่และสิ่งอำนวยความสะดวก (Space & Facility) โดยจะต้องสร้างโครงสร้างพืน้ ที่ฐาน ที่เพียงพอและมีคุณภาพช่วยก่อให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการผลิตนักคิด และธุรกิจสร้างสรรค์ 4. การบริหารจัดการเมือง (Management) องค์กรของภาครัฐและเอกชนจะต้องมีวิสัยทั ศน์ในการ พัฒนาเมืองโดยเป็นองค์กรที่มีความยืดหยุ่น และทำงานประสานกันเพือ่ นำไปสู่เป้าหมายได้อย่างสร้างสรรค์

วิธีการและหลักเกณฑ์การสมัคร แจ้งความจำนงไปยังสำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม หรือสมัคร โดยตรงผ่ า นสำนั ก เลขาธิ ก ารคณะกรรมการแห่ งชาติ ว่ าด้ ว ยการศึ ก ษาวิ ท ยาศาสตร์ แ ละวั ฒ นธรรมแห่ ง สหประชาชาติ โดยกรอกรายละเอี ยดและข้อมู ลที่จ ำเป็น ตามแบบฟอร์มใบสมัครของยู เนสโก และต้องมี หนังสือรับรองจากเทศบาล

27


C4 การปกป้องมรดกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritage Protection)

หลักเกณฑ์การสมัคร 1. เลือกสาขาใดสาขาหนึ่งใน 7 สาขาที่กำหนด 2. มีเจตนารมณ์ที่ชัดเจนในการริเริ่มความร่ วมมือระหว่างประเทศ/ สังคม/ ชุมชน ทั้งในเชิงคุณภาพ ปริมาณ และความหลากหลาย 3. มีกิจกรรมที่ส่งเสริมในสาขาที่นำเสนอเชิงสร้างสรรค์ 4. มีประสบการณ์ในการจัดงานที่เกี่ยวข้องกับสาขาที่สมัคร 5. นำเสนอถึ งการพั ฒ นาอนาคตของเมื อ งเชิ งสร้างสรรค์ มี ก ารลงทุ น เพื่ อ สร้างองค์ ค วามรู้ และ การศึกษาในเรื่องที่เกี่ยวข้อง 6. มีการนำเสนออุตสาหกรรม หรือเศรษฐกิจผ่านระบบออนไลน์ เว็บไซต์ หรือโซเชียลมีเดีย และมีสื่อ ที่ใช้ส่งเสริมกิจกรรมในสาขาที่สมัคร 7. ต้องแสดงถึงความคิดริเริ่มเกี่ยวกับสาขาที่สมัคร ตลอดจนเอกลักษณ์และความโดดเด่นเฉพาะของ ท้องถิ่น 8. ระบุการลงทุนสำหรับการศึกษาค้นคว้าวิจัยเพื่อพัฒนาในสาขาที่สมัคร 9. มี ท รัพ ยากรอั น เป็ น เอกลั ก ษณ์ ข องเมื อ งและสามารถเปรีย บเที ย บต่ อ เมื อ งเครือ ข่ ายในระดั บ นานาชาติได้ 10. มีองค์กรหรือกลุ่มเฉพาะเพื่อสนับสนุนในสาขาที่เกี่ยวข้อง 11. สาขาที่สมัครต้องมีความสำคัญต่อการส่งเสริมวัฒนธรรม เศรษฐกิจ และอาชีพของชุมชน 12. แสดงให้เห็นถึงความคิดสร้างสรรค์ของชุมชน วิถีชวี ิตของชุมชน

บทบาทและหน้าที่ของสมาชิก การเข้าร่วมเครือข่ายอาศัยเจตนารมณ์ที่หนักแน่น และความมุ่งมั่นในระยะยาวที่เมืองจะต้องเข้า มามี ส่วนร่วมอย่างแข็งขันในการพัฒนา มีแผนการดำเนินงานและโครงการที่ชัดเจน สามารถผลั กดันให้เป็นจริงได้ ต่อเนื่องและต่อยอด มุ่งเน้ นการพัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมสร้างสรรค์โดยทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม เมือง เครือข่ายต้องเข้าร่วมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และแนวปฏิบัติอันเป็นประโยชน์ต่ อเมืองสมาชิกอื่น ๆ ตลอดจน ตรวจสอบความก้าวหน้าและจัดทำรายงานผลการดำเนินงานตามเกณฑ์ของโครงการทุก 4 ปี

28


C4 การปกป้องมรดกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritage Protection)

ภูเก็ต เมืองแห่งวิทยาการอาหาร Phuket : City of Gastronomy

ภาพ : ขนมพื้นเมืองภูเก็ต สถานที่ : บ้านเลขที่ 92 ถนนถลาง ชุมชนย่านเมืองเก่าภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต ทีม่ าภาพ : ฉัตรกมล ปิยจารุพร

เทศบาลนครภูเก็ต ได้รับประกาศยกย่อ งเป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านอาหาร (City of Gastronomy) จากยูเนสโก ประจำปีพ.ศ. 2558 ซึ่งเป็นเมืองแรกของประเทศไทยและของอาเซียน และเป็นหนึ่งใน 18 เมือง ของโลกด้านอาหาร โดยจุดเด่นทีย่ ูเนสโกเลือกภูเก็ตเป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านวิทยาการอาหาร คือ 1. ภูเก็ตมีความหลากหลายทางวัฒนธรรม โดยเฉพาะวัฒนธรรมอาหารที่เกิดจากพหุสังคม 2. อาหารภูเก็ตเป็นองค์ประกอบสำคัญในทุกเทศกาล พิธีการ ความเชือ่ วิถีชีวติ ในครอบครัว 3. อาหารท้องถิ่นภูเก็ตหลายประเภทมีอัตลักษณ์ หารับประทานที่อื่นไม่ได้ มีสูตรลับเฉพาะที่ถ่ายทอด ผ่านคนในครอบครัว และหลายเมนูเป็นวัตถุดิบที่มีเฉพาะในจังหวัดภูเก็ต 4. ความเข้มแข็งและความร่วมมือจากภาคเอกชน ภาครัฐ และสถาบันทางวิชาการในภูเก็ต ทำให้มี การสร้างสรรค์นวัตกรรมบนพื้นฐานวิทยาการด้านอาหารหลากหลายอย่าง เช่น การจำหน่ายอาหารท้องถิ่น แปรรูปเป็นของฝากของที่ระลึก ฯลฯ 5. ชาวภูเก็ตมีน้ำใจ อัธยาศัยดีงาม (Thai Hospitality) ยินดีร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์ กับเมืองอื่น ๆ ในเครือข่าย ภายใต้แนวคิด Good Food, Good Health, Good Spirit…in Phuket หรือ กิน ดี อยู่ดี มีจิตงาม...ที่ภูเก็ต

29


C4 การปกป้องมรดกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritage Protection)

ยุทธศาสตร์การอนุรักษ์มรดกความหลากหลายทางวัฒนธรรมด้านอาหาร 1. การพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์และยั่งยืนด้วยการจัดการองค์ความรู้ วิจัยแ ละนวัตกรรม เพื่อ นครแห่งการท่องเที่ยวด้านอาหาร (Knowledge Management, Research & Innovations for City of Gastronomy) กลยุทธ์ (1) ส่งเสริมให้เกิด ความร่วมมือกับสถาบันสอนทำอาหารหรือจัดตั้งสถาบันอาหารท้อ งถิ่น จังหวัดภูเก็ต (Institute of gastronomy and culture) เพื่อพัฒนาหลักสูตรในการสอนปรุงอาหารท้องถิ่น (2) พั ฒ นาและเผยแพร่ค ลังความรู้ท างด้ านมรดกและภู มิ ปั ญ ญาด้ านอาหารท้ อ งถิ่น ของ จังหวัดภูเก็ตเพื่อสร้างความยั่งยืนในด้านอาหารท้องถิ่น รักษาอัตลักษณ์ และรสชาติดั้งเดิมของอาหารท้องถิ่น จังหวัดภูเก็ต และส่งเสริมให้มีการจัดสัมมนาวิชาการด้านอาหาร หรือเทศกาลอาหารท้องถิ่นเพื่อเผยแพร่และ สร้างเครือข่ายทางวิชาการด้านอาหาร (3) ส่งเสริมและพัฒนางานวิจัย หรือเอกสารวิชาการ (4) พั ฒ นานวั ต กรรมโดยใช้ ผ ลผลิ ต และวั ต ถุ ดิ บ ในท้ อ งถิ่ น ที่ เป็ น มิ ต รต่ อ สุ ข ภาพและ สิ่งแวดล้อมเพื่อให้เกิดอัตลักษณ์และความยั่งยืนในการเป็นเมื องแห่งการสร้างสรรค์ด้านอาหารของจังหวัด ภูเก็ต เช่น แนวคิดการทำ Green farming, Zero km. concept เพื่อส่งเสริมให้มีการปลูกพืชท้ องถิ่นการนำ วัตถุดบิ ท้องถิ่นมาใช้ในการประกอบอาหารแบบครบวงจร (5) พัฒนาบุคลากร ผู้ปรุงอาหารผู้ประกอบการร้านอาหารท้องถิ่นทุกระดับ ให้สามารถเรียนรู้ การวางแผนธุรกิจ (Business plan, Business model) เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับผู้ประกอบการและ ชุมชน 2. การยกระดับคุณภาพอาหารและคุณภาพชีวิตเพื่อนครแห่งการท่องเที่ยวด้านอาหาร (Quality food and quality life for City of Gastronomy) กลยุทธ์ (1) ร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการกำหนดมาตรฐานที่เหมาะสมกับบริบทของ City of Gastronomy และวางแผนในการดำเนินงานร่วมกัน (2) มาตรฐานของอาหารโดยใช้เกณฑ์มาตรฐานด้านการทดสอบรสชาติอาหารด้วยเครื่องมือ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อยกระดับคุณภาพอาหารที่เป็นที่ยอมรับระดับประเทศและระดับสากลมากำกับ เพื่อปกป้องคุ้มครองสุขภาพอนามัยของผู้บริโภคและเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในด้านการค้าระหว่างประเทศ (3) เผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเรื่องมาตรฐานความปลอดภัยของอาหารให้กับกลุ่มเป้าหมาย ในห่วงโซ่การผลิตตลอดจนลูกค้าและนักท่องเที่ยว

30


C4 การปกป้องมรดกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritage Protection)

3. การสร้ า งเครื อ ข่ า ยความร่ ว มมื อ เพื่ อ นครแห่ ง การท่ อ งเที่ ย วด้ า นอาหารอย่ า งยั่ ง ยื น (Collaboration for sustainable City of Gastronomy) กลยุทธ์ (1) สร้างเครือข่ายและความร่วมมือกับ ทุ กภาคส่วนในห่ วงโซ่อุป ทานของการพั ฒ นาการ ท่องเที่ยวเชิงอาหาร เพื่อให้เกิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่มีความเข้มแข็ง (2) ส่งเสริมให้มีการสร้างเครือข่ายระหว่างเมืองที่เป็น City of Gastronomy เช่น การจัด สัมมนาวิชาการด้าน Phuket Gastronomy ระหว่างเมืองเครือข่าย 18 ประเทศ เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับ เครือข่าย แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมด้านอาหารและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ Phuket : City of Gastronomy, จัด กิจกรรมสัมมนาเมืองสร้างสรรค์ระดับประเทศ (Creative City Forum) (3) ส่งเสริมให้ มีการสร้างเครือข่ายภายในประเทศระหว่างจังหวัดต่าง ๆ เพื่อให้ได้รับการ ยอมรับให้เป็น Creative city ในด้านอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น เป็นพี่เลี้ยงให้กับจังหวัดเชียงใหม่ในการผลักดันให้ เป็น City of crafts and folk art 4. การตลาดและการประชาสัมพันธ์ สร้างสรรค์เพื่อนครแห่งการท่องเที่ยวด้านอาหาร (Innovative marketing and promotion for City of Gastronomy) กลยุทธ์ (1) ส่ ง เสริ ม การท่ อ งเที่ ย วโดยใช้ ค วามเป็ น City of Gastronomy เพื่ อ ให้ เป็ น ที่ รู้ จั ก ต่ อ ประชาชนในพื้นที่ และนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ โดยการใช้สื่อต่าง ๆ หรือการจัดกิจกรรม เช่น การจัดกิจกรรมร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย Amazing Taste of Thailand, Tasting Phuket หรือ การจัดทำเว็บไซต์อาหารการแข่งขันการทำอาหาร (2) ประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้องกับ City of Gastronomy เพื่อกระตุ้น ให้ เ กิ ด มู ล ค่ า เพิ่ ม ทางเศรษฐกิ จ เช่ น ป้ า ยประชาสั ม พั น ธ์ ใ นที่ ต่ า ง ๆ กิ จ กรรม Street Food Tour, Gastronomic Route, Phuket Food Festival เป็นต้น

31


C4 การปกป้องมรดกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritage Protection)

เชียงใหม่ เมืองแห่งหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน Chiang Mai : City of Crafts and Folk Art จั ง หวั ด เชี ย งใหม่ ได้ รั บ การคั ด เลื อ กให้ เป็ น เมื อ งสร้ า งสรรค์ ด้ า นหั ต ถกรรมและศิ ล ปะพื้ น บ้ า น (Creative City of Crafts and Folk Art) ซึ่งหมายถึง เมืองที่ซึ่งวัฒนธรรมและกิจกรรมสร้างสรรค์ผสมผสาน เข้าด้วยกันเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจ และสังคมของเมือง ไม่เพียงเฉพาะกลุ่มธุรกิจสร้างสรรค์เท่านั้น แต่ยัง รวมไปถึงการพัฒนาเมือง การศึกษา การวิจัยและพัฒนา และนวัตกรรม ตลอดจนการร่วมมือ ผู้มีส่วนร่วม บางส่วนได้เน้นความสำคัญในภาคไอที ซอฟต์แวร์ และส่วนดิจิทัล เนื่องจากเป็นส่วนที่มีการเติบโตอย่างสำคัญ และเป็ น ตัวเปิ ด ทางให้ แ ก่ ภ าคอื่ น ยิ่งไปกว่านั้ น ภาคไอที นี้ ยั งมี ศั ก ยภาพสู งในการก่ อ ให้ เกิด การถ่ ายทอด เทคโนโลยี สร้างมูลค่าเพิม่ และดึงดูดการลงทุนเพิม่

ภาพ : วิชาวาดภาพล้านนา กิจกรรมที่ให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้การวาดภาพแบบล้านนาลงบนจ้อง (ร่ม) สถานที่ : โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา จังหวัดเชียงใหม่ ทีม่ าภาพ : ฉัตรกมล ปิยจารุพร

32


C4 การปกป้องมรดกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritage Protection)

ในปี พ.ศ. 2554 จังหวัดเชียงใหม่ได้ส่งจดหมายแสดงเจตต์จำนงเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่าย เมืองสร้างสรรค์สากดตามแนวคิดที่ จัดตั้งโดยยูเนสโก ในฐานะเมืองแห่งงานหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้ าน รวมถึงเป็นเมืองที่เป็นศูนย์กลางและเป็นเวทีให้เกิดการแสดงและแลกเปลี่ยนความสร้างสรรค์ในหลากหลาย รูปแบบจากทั่วทุกมุมโลก ซึ่งการเตรียมความพร้อมเกิดจากความร่วมมือและระดมความคิดของคณะกรรมการ พัฒ นาเชียงใหม่เมืองสร้างสรรค์ที่ได้รับ การแต่งตั้งจากผู้ว่าราชการจังหวั ดเชียงใหม่ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2553 และต่อ มาสามารถสร้ างเครือข่ ายขยายไปสู่ ก ารมีส มาชิก กว่า 50 องค์ก รทั้ งจากสถาบั น การศึ ก ษา หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน รวมถึงบริษัทอิสระที่ร่วมแรงและมุ่งมั่นทำงานด้วยจิต อาสา เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2560 เมืองเชียงใหม่ ได้รับประกาศเป็นเครือข่ายเมืองสร้ างสรรค์ขององค์การยูเนสโก สาขา หัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน

ภาพ : การทำดอกไม้ไหว ดอกไม้ไหว คือ เครื่องประดับที่ทำจากแผ่นทองเหลือง มีจุดเริ่มต้นจากการไปวัดในวันบุญใหญ่ของคนสมัยก่อน ที่นิยมนำ ดอกไม้นานาชนิดที่ปลูกไว้ภายในบริเวณบ้าน ธูป เทียน ใส่สวย (กรวย) ที่ทำมาจากใบตอง ใส่สลุงเงิน (ขันเงิน) ไปทำบุญ ที่วัด หญิงสาวชาวล้านนาที่ไว้ผมยาวจะเกล้ามวยผมให้สวยงามและจะนำดอกไม้มาเหน็บกับมวยผมตอนไปวัด เพื่อเป็นการบูชาหัว และเพื่อเวลาก้มหัวจะเป็นการบูชาพระพุทธเจ้า สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อเรื่องการบูชา ‘ขวัญ’ ของคนในกลุ่มชาวไต-ลาว สถานที่ : โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา จังหวัดเชียงใหม่ ทีม่ าภาพ : ฉัตรกมล ปิยจารุพร

33


C4 การปกป้องมรดกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritage Protection)

ภาคผนวก ภาคผนวก 1 รายการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ตั้งแต่ พ.ศ. 2552 – 2556 (เรียงตามตัวอักษร) ลำดับ

รายการ

สาขา/ ประเภท

1

แกงเขียวหวาน

ความรู้และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล | อาหาร และโภชนาการ

2

กระจับปี่

ศิลปะการแสดง | ดนตรี

3

กระดิ่งทองเหลือง

งานช่างฝีมือดั้งเดิม | เครื่องโลหะ

4

กระบี่กระบอง

กีฬาภูมิปัญญาไทย | ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว

5

กระยาสารท

ความรู้และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล | อาหาร และโภชนาการ

6

กริช

งานช่างฝีมือดั้งเดิม | เครื่องโลหะ

7

กรือโต๊ะ

ศิลปะการแสดง

8

กลองชัยมงคล

ศิลปะการแสดง | ดนตรี

9

กลองปู่จ่า

ศิลปะการแสดง | ดนตรี

10

กลองยาวคณะงัวบาสามัคคี

ดนตรี | ศิลปะการแสดง

11

กลองหลวง

ศิลปะการแสดง | ดนตรี

12

กวามไต (เพลงไต) เพลงพื้นบ้านของชาวไต

ศิลปะการแสดง | เพลงร้องพื้นบ้าน

13

กะโลง

ศิลปะการแสดง | เพลงร้องพื้นบ้าน

14

กันตรึม

ดนตรี | ศิลปะการแสดง

15

การนวดไทย

ความรู้และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและ จักรวาล | การแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้าน

16

การปั้นหล่อพระพุทธรูป

งานช่างฝีมือดั้งเดิม | เครื่องโลหะ

34


C4 การปกป้องมรดกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritage Protection) 17

การละเล่นม้าแห่

ศิลปะการแสดง | การแสดง

18

การเซิ้งผ้าหมี่

ศิลปะการแสดง | การแสดง

19

การเลือกทำเลสร้างบ้านเรือนของชาวอีสาน

ความรู้และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล | การ จัดการทรัพยากรธรรมชาติ

20

การเล่นนางด้ง

ศิลปะการแสดง | ดนตรีและการแสดงในพิธีกรรม

21

การเส็งกลองกิ่ง

ศิลปะการแสดง | ดนตรีและการแสดงในพิธีกรรม

22

การแข่งโพน-รำโพน

ศิลปะการแสดง | การแสดง

23

การแต่งกายของชุมชนบาบ๋า เพอนารากัน

แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม และงานเทศกาลต่าง ๆ

24

การแสดงความเคารพแบบไทย

แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม และงานเทศกาลต่าง ๆ | มารยาท

25

การแสดงนางกวัก

ศิลปะการแสดง | เพลงร้องพื้นบ้าน

26

การแสดงนางด้ง

ศิลปะการแสดง | การแสดง

27

การแสดงในพระราชพิธี

ศิลปะการแสดง | ดนตรีและการแสดงในพิธีกรรม

28

การแสดงในพิธีบูชาแม่มด

ศิลปะการแสดง | ดนตรีและการแสดงในพิธีกรรม

29

กาหลอ

ศิลปะการแสดง | ดนตรีและการแสดงในพิธีกรรม | ดนตรี

30

กาหลอ

ดนตรี | ศิลปะการแสดง

31

ก่องข้าวดอก

งานช่างฝีมือดั้งเดิม | เครื่องจักสาน

32

ก้านกกิงกะหร่า

การแสดง | ศิลปะการแสดง

33

ขนมเบื้อง

ความรู้และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล | อาหาร และโภชนาการ

34

ขันลงหินบ้านบุ

เครื่องโลหะ | งานช่างฝีมือดั้งเดิม

35

ขับเสภา

ศิลปะการแสดง | ดนตรี

36

ขัวแตะ

งานช่างฝีมือดั้งเดิม

37

ข้าวยำ

ความรู้และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล | อาหาร และโภชนาการ

38

ข้าวหลาม

ความรู้และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล | อาหาร และโภชนาการ

35


C4 การปกป้องมรดกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritage Protection) 39

คชศาสตร์ชาวกูย

ความรู้และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล

40

คร่ำ

งานช่างฝีมือดั้งเดิม

41

คัมภีร์โบราณ

วรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา

42

ค่าว จ๊อย ซอ

ศิลปะการแสดง | การแสดง

43

ฆ้องบ้านทรายมูล

งานช่างฝีมือดั้งเดิม

44

งานช่างแทงหยวก

งานช่างฝีมือดั้งเดิม | เครื่องไม้

45

ซอล้านนา

ศิลปะการแสดง | เพลงร้องพื้นบ้าน

46

ซอสามสาย

ดนตรี | ศิลปะการแสดง

47

ซำเป็ง

ศิลปะการแสดง | การแสดง

48

ซิ่นตีนจก

งานช่างฝีมือดั้งเดิม | ผ้าและผลิตภัณฑ์จากผ้า

49

ดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์ลีซูในจังหวัดเชียงราย

ดนตรี | ศิลปะการแสดง

50

ดนตรีมงั คละ

ศิลปะการแสดง | ดนตรี

51

ดนตรีในประเพณีแห่ข้าวพันก้อน

ศิลปะการแสดง | ดนตรีและการแสดงในพิธีกรรม

52

ดอนปู่ตา

ความรู้และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล | การ จัดการทรัพยากรธรรมชาติ

53

ดาระ

ศิลปะการแสดง | ดนตรี

54

ดีเกร์ฮูลู

ศิลปะการแสดง | เพลงร้องพื้นบ้าน

55

ตะกร้อ

กีฬาภูมิปัญญาไทย | กีฬาพื้นบ้าน

56

ตะกร้อลอดห่วง

กีฬาภูมิปัญญาไทย | กีฬาพื้นบ้าน

57

ตะกร้อหวาย

งานช่างฝีมือดั้งเดิม

58

ตาม่องล่าย

วรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา | นิทานพื้นบ้าน

59

ตำนานกบกินเดือน

วรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา

60

ตำนานจามเทวี

วรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา | นิทานพื้นบ้าน

61

ตำนานดาวลูกไก่

วรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา | ประวัติศาสตร์บอกเล่า

62

ตำนานนางเลือดขาว

วรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา | นิทานพื้นบ้าน

63

ตำนานนางโภควดี

วรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา | นิทานพื้นบ้าน

64

ตำนานผาแดงนางไอ่

วรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา | นิทานพื้นบ้าน

36


C4 การปกป้องมรดกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritage Protection) 65

ตำนานพญาคันคาก

วรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา | ประวัติศาสตร์บอกเล่า

66

ตำนานพระธาตุดอยตุง

วรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา | นิทานพื้นบ้าน

67

ตำนานพระบรมธาตุ นครศรีธรรมราช

วรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา | ประวัติศาสตร์บอกเล่า

68

ตำนานพระพุทธสิหิงค์

วรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา | ประวัตศิ าสตร์บอกเล่า

69

ตำนานพระเจ้าห้าพระองค์

วรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา | ประวัติศาสตร์บอกเล่า

70

ตำนานพระเจ้าเลียบโลก

วรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา | ประวัติศาสตร์บอกเล่า

71

ตำนานพระแก้วมรกต

วรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา | ประวัตศิ าสตร์บอกเล่า

72

ตำนานสร้างโลกของภาคใต้

วรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา | นิทานพื้นบ้าน

73

ตำนานหลวงพ่อทวด

วรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา | นิทานพื้นบ้าน

74

ตำนานหลวงพ่อทวด

วรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา | นิทานพื้นบ้าน

75

ตำนานเจ้าหลวงคำแดง

วรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา | นิทานพื้นบ้าน

76

ตำนานเจ้าหลวงคำแดง

วรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา | นิทานพื้นบ้าน

77

ตำนานเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว

วรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา

78

ตำนานเจ้าแม่สองนาง

วรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา | นิทานพื้นบ้าน

79

ตำนานเจ้าแม่สองนาง

วรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา | นิทานพื้นบ้าน

80

ตำนานเจ้าแม่เขาสามมุก

วรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา

81

ตำนานแม่นากพระโขนง

วรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา | นิทานพื้นบ้าน

82

ตำราพรหมชาติ

วรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา

83

ตำราศาสตรา (ตำราพยากรณ์)

วรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา | ตำรา

84

ตำราเลขยันต์

วรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา | ตำรา

85

ตำราแมวไทย

วรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา | ตำรา

86

ตี่จับ

กีฬาภูมิปัญญาไทย | กีฬาพื้นบ้าน

87

ตุ๊บเท่ง

ศิลปะการแสดง | ดนตรี

88

ต้มยำกุ้ง

ความรู้และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล | อาหาร และโภชนาการ

89

ทะแยมอญ อำเภอ บางกระดิ่

ศิลปะการแสดง | ดนตรี

90

ทำขวัญข้าว

แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม และงานเทศกาลต่าง ๆ | ขนบธรรมเนียมประเพณี

37


C4 การปกป้องมรดกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritage Protection) 91

ท่ารำตบมะผาบ

ศิลปะการแสดง | การแสดง

92

นิทานก่องข้าวน้อยฆ่าแม่

วรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา

93

นิทานขุนช้างขุนแผน

วรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา | นิทานพื้นบ้าน

94

นิทานปลาบู่ทอง

วรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา | นิทานพื้นบ้าน

95

นิทานปัญญาสชาดก

วรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา

96

นิทานยายกะตา

วรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา

97

นิทานวรวงศ์

วรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา

98

นิทานศรีธนญชัย

วรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา | นิทานพื้นบ้าน

99

นิทานสังข์ทอง

วรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา | นิทานพื้นบ้าน

100

นิทานอุรังคธาตุ

วรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา | นิทานพื้นบ้าน

101

น้ำปลาไทย

ความรู้และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล | อาหาร และโภชนาการ

102

น้ำพริก

ความรู้และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล | อาหาร และโภชนาการ

103

บททำขวัญข้าว

วรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา | บทสวดหรือบทกล่าวใน พิธีกรรม

104

บททำขวัญควาย

วรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา | บทสวดหรือบทกล่าวใน พิธีกรรม

105

บททำขวัญนาค

วรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา | บทสวดหรือบทกล่าวใน พิธีกรรม

106

บทเวนทาน

วรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา

107

บักกั๊บแก้บ

ศิลปะการแสดง | การแสดง

108

บาตรบ้านบาตร

งานช่างฝีมือดั้งเดิม | เครื่องโลหะ

109

บาตรบ้านบาตร

เครื่องโลหะ | งานช่างฝีมือดั้งเดิม

110

บายศรี

งานช่างฝีมือดั้งเดิม

111

ประเกือมสุรินทร์

งานช่างฝีมือดั้งเดิม

112

ประเพณีกวนข้าวทิพย์

แนวปฏิบัติทางสังคม พิธกี รรม และงานเทศกาลต่าง ๆ

113

ประเพณีกองข้าวศรีราชา

แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม และงานเทศกาลต่าง ๆ

38


C4 การปกป้องมรดกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritage Protection) 114

ประเพณีบุญบั้งไฟ

แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม และงานเทศกาลต่าง ๆ

115

ประเพณีรับบัว

แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม และงานเทศกาลต่าง ๆ

116

ประเพณีลงเล

แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม และงานเทศกาลต่าง ๆ

117

ประเพณีแห่พญายมบางพระ จังหวัดชลบุรี

แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม และงานเทศกาลต่าง ๆ

118

ปราสาทศพ สกุลช่างลำปาง

งานช่างฝีมือดั้งเดิม | งานศิลปกรรมพื้นบ้าน

119

ปลาร้า ปลาแดก

ความรู้และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล | อาหาร และโภชนาการ

120

ปักขะทึนล้านนา

วรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา | ตำรา

121

ปี่พาทย์

ดนตรี | ศิลปะการแสดง

122

ปี่พาทย์มอญ

ศิลปะการแสดง | ดนตรี

123

ผญา

วรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา | สำนวนและภาษิต

124

ผญาอีสาน

วรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา

125

ผัดไทย

ความรู้และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล | อาหาร และโภชนาการ

126

ผีตาโขนในงานบุญหลวง จังหวัดเลย

แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม และงานเทศกาลต่าง ๆ

127

ผูกเกลอ

แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม และงานเทศกาลต่าง ๆ

128

ผูกเสี่ยว

แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม และงานเทศกาลต่าง ๆ | ขนบธรรมเนียมประเพณี

129

ผ้าขาวม้า

งานช่างฝีมือดั้งเดิม | ผ้าและผลิตภัณฑ์จากผ้า

130

ผ้าทอกะเหรี่ยง

ผ้าและผลิตภัณฑ์จากผ้า | งานช่างฝีมือดั้งเดิม

131

ผ้าทอนาหมื่นศรี

งานช่างฝีมือดั้งเดิม | ผ้าและผลิตภัณฑ์จากผ้า

132

ผ้าทอผู้ไทย

ผ้าและผลิตภัณฑ์จากผ้า | งานช่างฝีมือดั้งเดิม

133

ผ้าทอไทครั่ง

ผ้าและผลิตภัณฑ์จากผ้า | งานช่างฝีมือดั้งเดิม

134

ผ้าทอไทพวน

งานช่างฝีมือดั้งเดิม | ผ้าและผลิตภัณฑ์จากผ้า

135

ผ้าทอไทยวน

ผ้าและผลิตภัณฑ์จากผ้า | งานช่างฝีมือดั้งเดิม

136

ผ้าทอไทลื้อ

ผ้าและผลิตภัณฑ์จากผ้า | งานช่างฝีมือดั้งเดิม

137

ผ้ามัดหมี่

งานช่างฝีมือดั้งเดิม | ผ้าและผลิตภัณฑ์จากผ้า

39


C4 การปกป้องมรดกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritage Protection) 138

ผ้ายก

ผ้าและผลิตภัณฑ์จากผ้า | งานช่างฝีมือดั้งเดิม

139

ผ้าย้อมคราม

งานช่างฝีมือดั้งเดิม | ผ้าและผลิตภัณฑ์จากผ้า

140

ผ้าแพรวา

งานช่างฝีมือดั้งเดิม | ผ้าและผลิตภัณฑ์จากผ้า

141

พญากง พญาพาน

วรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา

142

พระร่วง

วรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา | นิทานพื้นบ้าน

143

พระสุธนมโนห์รา (ใต้)

วรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา | นิทานพื้นบ้าน

144

พิณ

ศิลปะการแสดง

145

พิธีทำบุญต่ออายุ

แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม และงานเทศกาลต่าง ๆ

146

พิธีบายศรีสู่ขวัญ

แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม และงานเทศกาลต่าง ๆ

147

พิธีโกนจุก

แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม และงานเทศกาลต่าง ๆ

148

พิธีไหว้ครู

แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม และงานเทศกาลต่าง ๆ | ขนบธรรมเนียมประเพณี

149

ฟ้อนกลองตุ้ม

ศิลปะการแสดง | การแสดง

150

ฟ้อนกลองตุ้ม

การแสดง | ศิลปะการแสดง

151

ฟ้อนผู้ไทยบ้านโคกโก่ง

ศิลปะการแสดง | การแสดง

152

ฟ้อนผู้ไทยบ้านโคกโก่ง

การแสดง | ศิลปะการแสดง

153

ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา

การแสดง | ศิลปะการแสดง

154

ฟ้อนสาวไหม

ศิลปะการแสดง | การแสดง

155

ฟ้อนหางนกยูง

ศิลปะการแสดง | การแสดง

156

ฟ้อนเมืองก๋ายลาย

ศิลปะการแสดง | การแสดง

157

ฟ้อนเมืองเผียไหมลำปาง

ศิลปะการแสดง | การแสดง

158

ฟ้อนเล็บ-ฟ้อนเทียน

ศิลปะการแสดง

159

ภาษากฺ๋อง

ภาษา | วรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา

160

ภาษาชอง

ภาษากลุ่มชาติพันธุ์ | ภาษา | วรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา

161

ภาษาญัฮกุร

ภาษากลุ่มชาติพันธุ์ | ภาษา | วรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา

162

มวยกาหยง

ศิลปะการแสดง | การแสดง

163

มวยไทย

กีฬาภูมิปัญญาไทย | ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว

164

มะโย่ง

ศิลปะการแสดง | ดนตรีและการแสดงในพิธีกรรม

40


C4 การปกป้องมรดกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritage Protection) 165

มะโย่ง

การแสดง | ศิลปะการแสดง

166

มีดอรัญญิก

งานช่างฝีมือดั้งเดิม | เครื่องโลหะ

167

มโนราห์ทวีศิลป์โบราณ

ศิลปะการแสดง | การแสดง

168

มโหรีเขมร

ศิลปะการแสดง | การแสดง

169

ยาหอม

ความรู้และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและ จักรวาล | การแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้าน

170

รองเง็ง

การแสดง | ศิลปะการแสดง

171

รองแง็ง

ศิลปะการแสดง | การแสดง

172

ระบำกระทงสาย

ศิลปะการแสดง | การแสดง

173

รำกิ่งกะหร่า

ศิลปะการแสดง | การแสดง

174

รำประเลง

ศิลปะการแสดง

175

รำฝรั่งคู่

การแสดง | ศิลปะการแสดง

176

รำภาข้าวสาร

ศิลปะการแสดง | การแสดง

177

รำมอญ คณะครูมงคล พงษ์เจริญ

ศิลปะการแสดง | การแสดง

178

รำวงคองก้า

ศิลปะการแสดง | การแสดง

179

รำวงย้อนยุค

ศิลปะการแสดง | การแสดง

180

รำสวด

ศิลปะการแสดง | การแสดง

181

รำเพลงช้า-เพลงเร็ว

ศิลปะการแสดง | การแสดง

182

รำโจ๋ง

ศิลปะการแสดง | การแสดง

183

รำโทน นครสวรรค์

ศิลปะการแสดง | การแสดง

184

รำโทน ลพบุรี

ศิลปะการแสดง | การแสดง

185

รูปหนังตะลุง

งานช่างฝีมือดั้งเดิม | เครื่องหนัง

186

ฤๅษีดัดตน

ความรู้และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและ จักรวาล | การแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้าน

187

ลอยกระทง

แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม และงานเทศกาลต่าง ๆ | งาน เทศกาล

188

ละครชาตรี

ศิลปะการแสดง | การแสดง

189

ละครชาตรีคณะดาวเด่น

ศิลปะการแสดง | การแสดง

41


C4 การปกป้องมรดกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritage Protection) 190

ละครดึกดำบรรพ์

การแสดง | ศิลปะการแสดง

191

ละครนอก

ศิลปะการแสดง | การแสดง

192

ละครใน

การแสดง | ศิลปะการแสดง

193

ลำตัด

ศิลปะการแสดง | การแสดง

194

ลำตัด

ศิลปะการแสดง | การแสดง

195

ลำตัด

ศิลปะการแสดง | การแสดง

196

ลำตัด ในจังหวัดตราด

ศิลปะการแสดง | การแสดง

197

ลำผญา

เพลงร้องพื้นบ้าน | ศิลปะการแสดง

198

ลำผีฟ้า

ศิลปะการแสดง | ดนตรีและการแสดงในพิธีกรรม

199

ลิเก จังหวัดพิจิตร

ศิลปะการแสดง | การแสดง

200

ลิเกทรงเครื่อง

การแสดง | ศิลปะการแสดง

201

ลิเกป่า

ศิลปะการแสดง | การแสดง

202

ลิเกป่า คณะรวมมิตรบันเทิงศิลป์

ศิลปะการแสดง | การแสดง

203

ลิเกป่า คณะรวมศิลป์

ศิลปะการแสดง | การแสดง

204

ลูกประคบ

ความรู้และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและ จักรวาล | การแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้าน

205

วงกลองยาวพื้นบ้านโรงเรียนบ้านเกาะโพธิ์

ศิลปะการแสดง | การแสดง

206

วงกลองยาวพื้นเมือง รร.ชลราษฏร์อำรุง ๒

ศิลปะการแสดง | ดนตรี | การแสดง

207

วงซอ

ศิลปะการแสดง | การแสดง

208

วงปี่จุม

ศิลปะการแสดง

209

วงปี่พาทย์มอญ

ศิลปะการแสดง | ดนตรี

210

วงปี่พาทย์มอญ คณะยิ่งทวีบรรเลงศิลป์

ศิลปะการแสดง | การแสดง

211

วงปี่พาทย์มอญ คณะส้มเช้า มิตรสัมพันธ์

ศิลปะการแสดง | การแสดง

212

วงปี่พาทย์ล้านนา

ศิลปะการแสดง | ดนตรี

213

วงสะล้อ ซอ ปิน

ศิลปะการแสดง | ดนตรี

214

วันคาร

วรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา | นิทานพื้นบ้าน

42


C4 การปกป้องมรดกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritage Protection) 215

วิ่งควาย

กีฬาภูมิปัญญาไทย | กีฬาพื้นบ้าน

216

วิ่งวัว

กีฬาภูมิปัญญาไทย | กีฬาพื้นบ้าน

217

ว่าวไทย

กีฬาภูมิปัญญาไทย | กีฬาพื้นบ้าน

218

ศิลปะการแสดงชำเป็ง

ศิลปะการแสดง | การแสดง

219

ศิลปะการแสดงรองแง็ง

ศิลปะการแสดง | การแสดง

220

สงกรานต์

แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม และงานเทศกาลต่าง ๆ | งาน เทศกาล

221

สรภัญญะ

ศิลปะการแสดง

222

สะไน เครื่องดนตรีพื้นบ้านชาวเยอ

ศิลปะการแสดง | ดนตรี

223

สัตตภัณฑ์ล้านนา

งานช่างฝีมือดั้งเดิม | งานศิลปกรรมพื้นบ้าน

224

สารทเดือนสิบ

แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม และงานเทศกาลต่าง ๆ | ขนบธรรมเนียมประเพณี

225

สำรับอาหารไทย

ความรู้และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล | อาหาร และโภชนาการ

226

สิละ คณะเส็น การิม

ศิลปะการแสดง | การแสดง

227

สืบชาตา

แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม และงานเทศกาลต่าง ๆ | ขนบธรรมเนียมประเพณี

228

ส้มตำ

ความรู้และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล | อาหาร และโภชนาการ

229

หนังตะลุง

ศิลปะการแสดง | การแสดง

230

หนังตะลุง ในจังหวัดพิจิตร

ศิลปะการแสดง | การแสดง

231

หนังตะลุงหนังอิ่มเท่ง

ศิลปะการแสดง | การแสดง

232

หนังประโมทัย คณะพ่อคำตา อินทร์สีดา

ศิลปะการแสดง | การแสดง

233

หนังใหญ่

การแสดง | ศิลปะการแสดง

234

หมอพืน้ บ้านรักษากระดูกหัก

ความรู้และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและ จักรวาล | การแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้าน

235

หมอลำกลอน

เพลงร้องพื้นบ้าน | ศิลปะการแสดง

236

หมอลำกลอน หนองบัวลำภู

ศิลปะการแสดง | การแสดง

43


C4 การปกป้องมรดกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritage Protection) 237

หมอลำกลอน คณะมณีรัตน์ แก้วเสด็จ

ศิลปะการแสดง | การแสดง

238

หมอลำทรง บ้านเต่านอ

ศิลปะการแสดง | การแสดง

239

หมอลำทรงอำเภอพระยืน

ศิลปะการแสดง | ดนตรีและการแสดงในพิธีกรรม

240

หมอลำพื้น

ศิลปะการแสดง | เพลงร้องพื้นบ้าน

241

หมอลำเพลิน คณะหมอลำเพชรแก้วฟ้ารุ่ง

ศิลปะการแสดง | การแสดง

242

หมากกระดาน

กีฬาภูมิปัญญาไทย | กีฬาพื้นบ้าน

243

หมากรุก

กีฬาภูมิปัญญาไทย | กีฬาพื้นบ้าน

244

หมากเก็บ

กีฬาภูมิปัญญาไทย | การเล่นพื้นบ้าน

245

หุน่ กระบอก

การแสดง | ศิลปะการแสดง

246

หุ่นเชิดจีนกาเหล้

ศิลปะการแสดง | การแสดง

247

อักษรธรรมล้านนา

ภาษา | วรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา

248

อักษรธรรมล้านนา

วรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา

249

อักษรธรรมอีสาน

ภาษา | วรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา

250

อักษรไทยน้อย

ภาษา | วรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา

251

อาหารบาบ๋า

ความรู้และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล | อาหาร และโภชนาการ

252

เกวียนสลักลาย

งานช่างฝีมือดั้งเดิม | เครื่องไม้

253

เครื่องจักสานย่านลิเภา

งานช่างฝีมือดั้งเดิม | เครื่องจักสาน

254

เครื่องจักสานไม้ไผ่

งานช่างฝีมือดั้งเดิม | เครื่องจักสาน

255

เครื่องทองเหลืองบ้านปะอาว

งานช่างฝีมือดั้งเดิม

256

เครื่องทองโบราณ สกุลช่างเพชรบุรี

งานช่างฝีมือดั้งเดิม | เครื่องประดับ

257

เครื่องปั้นดินเผาเวียงกาหลง

งานช่างฝีมือดั้งเดิม | เครื่องปั้นดินเผา

258

เครื่องมุกไทย

งานช่างฝีมือดั้งเดิม | เครื่องไม้

259

เครื่องมุกไทย

เครื่องรัก | งานช่างฝีมือดั้งเดิม

260

เครื่องรัก

งานช่างฝีมือดั้งเดิม | เครื่องรัก

261

เจรียง

ศิลปะการแสดง | ดนตรี

262

เจรียง

ดนตรี | ศิลปะการแสดง

44


C4 การปกป้องมรดกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritage Protection) 263

เต้นรำอาข่า

ศิลปะการแสดง | การแสดง

264

เทศน์มหาชาติ

แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม และงานเทศกาลต่าง ๆ | ขนบธรรมเนียมประเพณี

265

เปี๊ยะ

ศิลปะการแสดง | ดนตรี

266

เพลงกล่อมลูก

ศิลปะการแสดง | เพลงร้องพื้นบ้าน

267

เพลงกล่อมเด็ก

เพลงร้องพื้นบ้าน

268

เพลงกล่อมเด็กในพิธีขึ้นเปลรับขวัญ

ศิลปะการแสดง | ดนตรีและการแสดงในพิธกี รรม

269

เพลงขอทาน

ศิลปะการแสดง | การแสดง

270

เพลงขอทานบ้านลาวข่า

ศิลปะการแสดง | เพลงร้องพื้นบ้าน

271

เพลงคำตัก

ศิลปะการแสดง | เพลงร้องพื้นบ้าน

272

เพลงตันหยง

ศิลปะการแสดง | เพลงร้องพื้นบ้าน

273

เพลงบอก

ศิลปะการแสดง | เพลงร้องพื้นบ้าน

274

เพลงปรบไก่

ศิลปะการแสดง | เพลงร้องพื้นบ้าน

275

เพลงปรบไก่ (เพลงวง)

ศิลปะการแสดง | เพลงร้องพื้นบ้าน

276

เพลงพวงมาลัย สมุทรสงคราม

ศิลปะการแสดง | เพลงร้องพื้นบ้าน

277

เพลงพวงมาลัย สุพรรณบุรี

ศิลปะการแสดง | เพลงร้องพื้นบ้าน

278

เพลงพื้นบ้าน บ้านท่าโพ

ศิลปะการแสดง | เพลงร้องพื้นบ้าน

279

เพลงพื้นบ้านปกาเกอะญอ

เพลงร้องพื้นบ้าน

280

เพลงพื้นบ้านรำมะนา

ศิลปะการแสดง | เพลงร้องพื้นบ้าน

281

เพลงพื้นบ้านสุโขทัย

ศิลปะการแสดง | เพลงร้องพื้นบ้าน

282

เพลงร่อยพรรษา

ศิลปะการแสดง | เพลงร้องพื้นบ้าน

283

เพลงร้องพื้นบ้าน ค่าว จ๊อย ซอ

ศิลปะการแสดง | เพลงร้องพื้นบ้าน

284

เพลงหน้าพาทย์

ดนตรีและการแสดงในพิธีกรรม | ศิลปะการแสดง

285

เพลงอีแซว

ศิลปะการแสดง

286

เพลงเรือ

ศิลปะการแสดง | เพลงร้องพื้นบ้าน

287

เพลงเรือแหลมโพธิ์ จังหวัดสงขลา

ศิลปะการแสดง

288

เพลงโคราช

ศิลปะการแสดง | เพลงร้องพื้นบ้าน

289

เรือกอและ

งานช่างฝีมือดั้งเดิม | เครื่องไม้

45


C4 การปกป้องมรดกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritage Protection) 290

เรือนไทยพื้นบ้านดั้งเดิม

งานช่างฝีมือดั้งเดิม | เครื่องไม้

291

เรือมตรด

ศิลปะการแสดง | การแสดง

292

เรือมะม๊วดหรือรำแม่มด

ศิลปะการแสดง | การแสดง

293

เสือกินวัว

กีฬาภูมิปัญญาไทย | การเล่นพื้นบ้าน

294

แกงเผ็ด

ความรู้และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล | อาหาร และโภชนาการ

295

แกลมอ

ศิลปะการแสดง | ดนตรีและการแสดงในพิธีกรรม

296

แคน

ศิลปะการแสดง

297

แมงตับเต่า คณะ ส.ส.พัฒนาศิลป์

ศิลปะการแสดง | การแสดง

298

แมงหน้างาม (ผีขนน้ำ)

ศิลปะการแสดง | ดนตรีและการแสดงในพิธีกรรม

299

แม่ท่ายักษ์

ศิลปะการแสดง | การแสดง

300

แม่ท่าลิง

ศิลปะการแสดง | การแสดง

301

แย้ลงรู

กีฬาภูมิปัญญาไทย | กีฬาพื้นบ้าน

302

โขน

การแสดง | ศิลปะการแสดง

303

โขนสด

ศิลปะการแสดง | การแสดง

304

โคมล้านนา

งานช่างฝีมือดั้งเดิม | งานศิลปกรรมพื้นบ้าน

305

โนรา

ศิลปะการแสดง | การแสดง

306

โนราโรงครู

ศิลปะการแสดง | การแสดง

307

ไม้หึ่ม

กีฬาภูมิปัญญาไทย | การเล่นพื้นบ้าน

46


C4 การปกป้องมรดกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritage Protection)

ภาคผนวก 2 ตัวอย่าง UNESCO CREATIVE CITIES NETWORK CALL FOR APPLICATIONS 2019

47


C4 การปกป้องมรดกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritage Protection)

48


C4 การปกป้องมรดกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritage Protection)

49


C4 การปกป้องมรดกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritage Protection)

50


C4 การปกป้องมรดกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritage Protection)

51


C4 การปกป้องมรดกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritage Protection)

อ้างอิง เนื้อหา 1. กฎบัตรประเทศไทยว่าด้วยการบริหารจัดการแหล่งมรดกวัฒนธรรม (2554) โดย สมาคมอิโคโมส ไทย 2. เจตนารมณ์พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม พ.ศ. 2559 (2559) โดย ฝ่ ายกฎหมายการศึ ก ษาขั้ น พื้ น ฐานและการกี ฬ า กองกฎหมายการศึ ก ษาและวัฒ นธรรม สานั ก งาน คณะกรรมการกฤษฎีกา 3. เครื่องเขิน: หัตถศิลป์แห่งภูมิปัญญา (2560) เข้าถึงได้จาก http://museum.socanth.tu.ac.th/ knowledge/past-exhibition/%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9% 88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B4%E0%B8%99/ 4. โครงการเครือ ข่ ายเมื อ งสร้างสรรค์ ข ององค์ ก ารยู เนสโก โดย สำนั ก เลขาธิก ารคณะกรรมการ แห่งชาติว่าด้วยการศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม แห่งสหประชาชาติ สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ 5. โครงการเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์ การยูเนสโก (UNESCO Creative Cities Network UCCN) เ ข้ า ถึ ง ไ ด้ จ า ก https://www.bic.moe.go.th/index.php/unesco-others-menu/unescomenu/uccn-8-7-2562 6. คู่มือการเสนอขอขึ้นทะเบี ยนมรดกภูมิปั ญ ญาทางวัฒ นธรรมของชาติ (255) โดย กรมส่งเสริม วัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม 7. "ดอกไม้ไหว" เครื่องหย้องของงามคนล้านนา (2559) เข้าถึงได้จาก https://www.gotoknow.org /posts/616311 8 . น าฏ ดุ ริ ย ก าร ล้ าน น า เรื่ อ งก ล อ ง - ฟ้ อ น เจิ ง (มื อ เป ล่ า) (2 5 5 1 ) เข้ าถึ งได้ จ า ก http://www.openbase.in.th/node/ 6932 9. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 (2560) 10. พระราชบัญญัตโิ บราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 (2504) 11. พระราชบัญญัตโิ บราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 (2535) 12. พระราชบัญญัตวิ ัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2553 (2553)

52


C4 การปกป้องมรดกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritage Protection)

13. พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษามรดกภูมปิ ัญญาทางวัฒนธรรม พ.ศ. 2559 (2559) 14. แผนยุทธศาสตร์ Phuket : City of Gastronomy พ.ศ. 2560 – 2564 (2560) 15. อนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ (2557) โดย สำนักงาน นโยบายและแผนพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 16. อนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ พ.ศ. 2546 (2546) 17. เอกสารเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโก (2562) โดย สำนักพัฒนาขีดความสามารถด้านการ ท่องเที่ยว (สพข.) องค์การบริหารการพัฒนาพื้นทีพ่ ิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) 1 8 . ม รด ก ภู มิ ปั ญ ญ าท างวั ฒ น ธ รรม โด ย ส ถ าบั น วั ฒ น ธ รรม ศึ ก ษ า เข้ าถึ งได้ จ าก http://ich.culture.go.th/ 19. UNESCO Bangkok เข้าถึงได้จาก https://bangkok.unesco.org/ 20. ภาพปก : บ้านหัวฝาย จังหวัดขอนแก่น ที่มาภาพ : ฉัตรกมล ปิยจารุพร

ผู้จัดทำ พ.ศ. 2562 ศูนย์แห่งความเป็นเลิศด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (ศทย.) องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)

เรียบเรียง นางสาวฉัตรกมล ปิยจารุพร

53


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.