ชุดความรู้ สถานที่ท่องเที่ยวและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับทุกคน

Page 1

ชุดความรู้ เรื่อง สถานที่ท่องเที่ยว และสิ่งอำนวยความสะดวก สำหรับทุกคน (Accessible for All)

GSTC : A8 สถานที่ท่องเที่ยวและสิ่งอำนวยความสะดวก สำหรับทุกคน สถานที่ท่องเที่ยวและสิ่งอำนวยความสะดวกจะต้องอำนวย ความสะดวกให้ กั บ บุ ค คลทุ พ พลภาพ หรื อ ผู้ มี ข้ อ จำกั ด ทางด้านสภาพร่างกาย ทั้งนี้ เพื่อให้พวกเขาสามารถได้รับ ประโยชน์จากการท่องเที่ยวได้อย่างทั่วถึง


สารบัญ หน้า เนือ้ หา ความหมายของการท่องเทีย่ วเพื่อการเข้าถึงสำหรับคนทั้งมวล (Accessible Tourism for All)……………………………………………………………………………………… 1-2 นิยามและประเภทของคนพิการ.................................................................................................... 3-4 สิทธิคนพิการที่สำคัญ..................................................................................................................... 5-12 - รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560.............................................................. 5-6 - พระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534............................................. 6 - กฎกระทรวงฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติการฟื้นฟู สมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534..................................................................................................... 7 - พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542............................................................... 8 - พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545............................................... 9 - พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุฯภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไข เพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556....................................................................................................... 9-10 - อนุสญ ั ญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ พ.ศ. 2551 (Convention on the rights of persons with disabilities: CRPD 2008) ................................................................................... 11 - แผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ฉบับที่ 5 พ.ศ. 2560-2564.......................... 12 - ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) ........................................................ 12 การท่องเที่ยวสำหรับคนพิการ....................................................................................................... 13-18 แนวทางในการพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อการเข้าถึงสำหรับคนทั้งมวล......................................... 19-27 Universal Design การออกแบบที่ทุกคนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้.............................28-30 สิ่งอำนวยความสะดวกบริเวณพื้นที่สาธารณะสำหรับคนพิการ................................................... 31 ทัวร์คนตาบอดในประเทศไทย....................................................................................................... 32-34 อ้างอิง..............................................................................................................................................35-36


A8 สถานที่ท่องเที่ยวและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับทุกคน (Access for All)

ความหมายของการท่องเที่ยว เพื่อการเข้าถึงสำหรับคนทั้งมวล (Accessible Tourism for All)

เข้าถึงได้จาก : http://www.tourismtrust.org/assist-accessible-tourism.php

Taleb Rifai อดีตเลขาธิการองค์การการท่องเที่ยวโลกแห่งสหประชาชาติ หรือ UNWTO ได้กล่าวว่า การท่องเที่ยวสำหรับคนทั้งมวล (Tourism for All) ซึ่งบางครั้งเรียกว่า การเข้าถึงการท่องเที่ยวสำหรับคน ทั้งมวล (Accessible Tourism for All) เป็นองค์ประกอบสำคัญ ของนโยบายการท่ องเที่ยวที่รับผิดชอบ และการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นทั้งความจำเป็นด้านสิทธิมนุษยชนและโอกาสทางธุรกิจที่โดดเด่น เหนือสิ่ง อื่นใด การท่องเที่ยวสำหรับคนทั้งมวลไม่ได้เพียงเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่มีความพิการหรือความต้องการพิเศษ เท่านั้น แต่ยังเป็นประโยชน์ต่อพวกเราทุกคนด้วย

1


A8 สถานที่ท่องเที่ยวและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับทุกคน (Access for All)

Darcy, S., & Dickson, T. ได้นิยามคำว่า Accessible Tourism ว่า การทำให้บุคคลทุกคนได้รับ ความเท่าเทียมกัน มีความเสมอภาคในสินค้า บริการ และสภาพแวดล้อมที่ออกแบบมาสำหรับนักท่องเที่ยวทุก คน รวมถึงผูส้ ูงอายุ คนพิการ และทารก เช่น การเคลื่อนไหว การมองเห็น การได้ยิน UNWTO ได้นำเสนอผลการศึกษาเรื่อง Manual on Accessible Tourism for All: Principles, Tools and Best Practices – Module I: Accessible Tourism – Definition and Context ว่ า งานวิ จั ย ดั งกล่ าว ได้ ก่ อ ให้ เกิ ด คำพ้ อ งความหมายเดี ย วกั บ Accessible Tourism ในประเทศต่ าง ๆ เช่ น Inclusive tourism, Adapted tourism, Tourism for All, Barrier Free Tourism (BFT), Easy Access Tourism and Universal Tourism เป็นต้น เมื่อครั้งที่ประเด็นเกี่ยวกับ Accessible Tourism เริ่มต้นขึ้น หลายประเทศมีแนวโน้มที่ จะใช้คำว่า Tourism for All หรือ การท่องเที่ยวสำหรับคนทั้งมวล โดยมีเป้าหมายเพื่อให้บริก ารด้านการท่องเที่ยวและ และการเข้าถึงสภาพแวดล้ อมที่ ทุ กคนสามารถใช้ป ระโยชน์ ได้ไม่ ว่าจะมีความพิ การหรือไม่ ก็ตาม แนวคิ ด Tourism for All ปรากฏเป็นครั้งแรกในแคมเปญ Tourism for All ที่ดำเนินการในสหราชอาณาจักร (UK) เมื่อปีค.ศ. 1989 ซึ่งเป็นผลมาจากรายงานที่เผยแพร่โดย Mary Baker ที่ให้นิยามว่า รูปแบบการท่องเที่ยวซึ่ง มีการวางแผน ออกแบบ และพัฒ นากิจกรรมสันทนาการและเวลาว่างให้กับนักท่องเที่ยวทุกประเภทไม่ว่า สภาพร่างกาย สังคม และวัฒนธรรมของพวกเขาจะเป็นอย่างไร

2


A8 สถานที่ท่องเที่ยวและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับทุกคน (Access for All)

นิยามและประเภทของคนพิการ คนพิการ ตาม พระราชบัญ ญั ติส่งเสริมและพั ฒ นาคุณ ภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 หมายถึง บุคคลซึ่งมีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันเนื่องจากมีความบกพร่องทางการเห็น การได้ยิน การเคลื่อนไหว การสื่อสารจิตใจ อารมณ์ พฤติกรรม สติปัญญา การเรียนรู้ หรือความบกพร่องอื่นใด ประกอบ กับมีอุปสรรคในด้านต่าง ๆ และมีความจำเป็นเป็นพิเศษที่จะต้องได้รับความช่วยเหลือด้านหนึ่งด้านใด เพื่อให้ สามารถปฏิบตั ิกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้อย่างบุคคลทั่วไป ใน ประกาศกระทรวงการพั ฒ นาสั งคมและความมั่ น คงของมนุ ษ ย์ พ.ศ. 2552 และฉบั บ ที่ 2 พ.ศ. 2555 ได้ระบุประเภทและหลักเกณฑ์ความพิการไว้ดงั ต่อไปนี้ 1. ความพิการทางการเห็น หมายถึง การที่บุคคลมีข้อจำกัดในการปฏิบั ติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือการเข้าไปมีส่วนร่วมใน กิจกรรมทางสังคม ซึ่งเป็นผลมาจากการมีความบกพร่องในการเห็น ได้แก่ ตาบอด ตาเห็นเลือนราง 2. ความพิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย ความพิการทางการได้ยิน หมายถึง การที่บุคคลมีข้อจำกัดในการปฏิบตั ิกิจกรรมในชีวิตประจำวัน หรือ การเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม ซึ่งเป็นผลมาจากการมีความบกพร่องในการได้ยิน จนไม่สามารถรับ ข้อมูลผ่านทางการได้ยิน ได้แก่ หูหนวก หูตึง ความพิ ก ารทางการสื่ อ ความหมาย หมายถึ ง การที่ บุ ค คลมี ข้ อ จำกั ด ในการปฏิ บั ติ กิ จ กรรมใน ชีวิตประจำวันหรือการเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม ซึ่งเป็นผลมาจากการมีความบกพร่องทางการสื่อ ความหมาย เช่น พูดไม่ได้ พูดหรือฟังแล้วผู้อื่นไม่เข้าใจ เป็นต้น 3. ความพิการทางการเคลือ่ นไหวหรือทางร่างกาย 3.1 ความพิการทางการเคลื่อนไหว หมายถึง การที่บุคคลมีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจกรรมใน ชีวิตประจำวันหรือการเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสัง คม ซึ่งเป็นผลมาจากการมีความบกพร่องหรือการ สูญเสียความสามารถของอวัยวะในการเคลื่อนไหว ได้แก่ มือ เท้า แขน และขา อาจมีสาเหตุมาจากอัมพาต แขน-ขาอ่อนแรง แขน-ขาขาด หรือภาวะเจ็บป่วยเรื้อรังจนมีผลกระทบต่อการทำงานของมือ เท้า แขน และขา 3.2 ความพิ ก ารทางร่ า งกาย หมายถึ ง การที่ บุ ค คลมี ข้ อ จำกั ด ในการปฏิ บั ติ กิ จ กรรมใน ชีวิตประจำวันหรือการเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม ซึ่งเป็นผลมาจากการมีความบกพร่องหรือความ ผิดปกติของศีรษะ ใบหน้า ลำตัว และภาพลักษณ์ภายนอกของร่างกายที่เห็นได้อย่างชัดเจน

3


A8 สถานที่ท่องเที่ยวและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับทุกคน (Access for All)

4. ความพิการทางจิตใจหรือพฤติกรรม หมายถึง การที่บุคคลมีข้อจำกัดในการปฏิบัติ กิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือการเข้าไปมีส่วนร่วมใน กิจกรรมทางสังคม ซึ่งเป็นผลมาจากความบกพร่องหรือความผิดปกติทางจิตใจหรือสมองในส่วนของการรับรู้ อารมณ์ หรือความคิด 5. ความพิการทางสติปัญญา หมายถึง การที่บุคคลมีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือการเข้าไปมีส่วนร่วมใน กิจกรรมทางสังคม ซึ่งเป็นผลมาจากการมี พัฒนาการช้ากว่าปกติ หรือมีระดับเชาว์ปัญญาต่ำกว่าบุคคลทั่วไป โดยความผิดปกตินนั้ จะแสดงให้เห็นก่อนอายุ 18 ปี 6. ความพิการทางการเรียนรู้ หมายถึง การที่บุคคลมีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวัน หรือการเข้าไปมีส่วนร่วมใน กิจกรรมทางสังคมโดยเฉพาะด้านการเรียนรู้ ซึ่งเป็นผลมาจากความบกพร่องทางสมอง ทำให้เกิดความบกพร่อง ในด้านการอ่าน การเขียน การคิดคำนวณ หรือกระบวนการเรียนรู้พื้นฐานอื่น ๆ ในระดับความสามารถที่ต่ำ กว่าเกณฑ์มาตรฐานตามช่วงอายุและระดับสติปัญญา 7. ความพิการทางออทิสติก หมายถึง การที่บุคคลมีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือการเข้าไปมีส่วนร่วมใน กิจกรรมทางสังคม ซึ่ งเป็นผลมาจากความบกพร่องทางพัฒนาการด้านสังคม ภาษาและการสื่อความหมาย พฤติกรรมและอารมณ์ โดยมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของสมอง และความผิดปกตินั้นแสดงก่อนอายุสองปี ครึ่ง ทั้งนี้ ให้รวมถึงการวินิจฉัยกลุ่มออทิสติกสเปกตรัมอืน่ ๆ เช่น แอสเปอเกอร์ (Asperger) ด้วย TIPs ลักษณะของเด็กที่เป็นแอสเปอร์เกอร์ (Asperger) 1. ด้านภาษา มีการพูดและทักษะการใช้ภาษาอยู่ใ นเกณฑ์ปกติ เด็กอาจพูดได้ถูกหลักไวยากรณ์ แต่ไม่สามารถเข้าใจเนื้อหาที่ลึกซึ้งหรือความหมายโดยนัยที่แฝงอยู่ 2. ด้านสังคม เมื่อเด็กต้องมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น ๆ อาจมีพฤติกรรมที่ดูแปลกกว่าเด็กวัยเดียวกัน เช่น ไม่ค่อยมองหน้าหรือสบตาเวลาพูดคุย แยกตัวอยู่คนเดียว ไม่รู้จักการทักทาย อยากรู้อะไรก็จะโพล่ง ออกมา ไม่ค่อยรู้จักกาลเทศะ ไม่สนใจเรื่องราวของคนอื่น ขาดความเข้าใจหรือเห็นใจผู้อื่น มักชอบพูดซ้ำ ๆ เรือ่ งเดิม ๆ ที่ตนเองสนใจ 3. ด้านพฤติกรรม เด็กจะมีความสนใจเฉพาะเรื่องและชอบทำอะไรซ้ำ ๆ เช่น ถ้าเขามีความสนใจ อะไรก็สนใจมากจนถึงขั้นหมกมุ่น โดยเฉพาะกับเรื่องที่ค่อนข้างมีความซับซ้อน และอาจเป็นเรื่องที่คนอื่นไม่ สนใจ เช่ น แผนที่ โลก วงจรไฟฟ้ า ระบบสุริย จั ก รวาล โดยความสนใจเหล่ านี้ อาจเปลี่ ย นแปลงได้ ต าม กาลเวลา ในบางรายมีความไวต่อสิ่งเร้าที่มาจากภายนอกค่อนข้างมากกว่าคนทั่วไป ที่มา : https://www.thairath.co.th/lifestyle/woman/32158

4


A8 สถานที่ท่องเที่ยวและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับทุกคน (Access for All)

สิทธิคนพิการที่สำคัญ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 4 ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคล ย่ อมได้รับความ คุม้ ครอง มาตรา 27 บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมาย มีสิทธิและเสรีภาพและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย เท่าเทียมกัน ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล ไม่ว่าด้วยเหตุความ แตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัด ต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือเหตุอื่นใด จะกระทำมิได้ มาตรการที่ รัฐ กำหนดขึ้ น เพื่ อ ขจั ด อุ ป สรรคหรือ ส่ ง เสริม ให้ บุ ค คลสามารถใช้ สิ ท ธิห รื อ เสรี ภ าพได้ เช่นเดียวกับบุ คคลอื่น หรือเพื่อคุ้ ม ครองหรืออำนวยความสะดวกให้ แก่เด็ก สตรี ผู้สูงอายุ คนพิ การ หรือ ผู้ด้อยโอกาส ย่อมไม่ถือว่าเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมตามวรรคสาม มาตรา 65 รัฐ พึ งจั ด ให้ มี ยุ ท ธศาสตร์ช าติ เป็ น เป้ าหมายการพั ฒ นาประเทศอย่ างยั่ งยื น ตามหลั ก ธรรมาภิบาลเพื่ อใช้เป็น กรอบในการจัดทำแผนต่าง ๆ ให้สอดคล้องและบูรณาการกันเพื่ อให้เกิ ดเป็นพลัง ผลักดันร่วมกันไปสู่เป้าหมายดังกล่าว การจัดทำ การกำหนดเป้าหมาย ระยะเวลาที่จะบรรลุเป้าหมาย และสาระที่พึงมีในยุทธศาสตร์ชาติให้ เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ ทั้งนี้ กฎหมายดังกล่าวต้องมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการมีส่วน ร่วมและการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนทุกภาคส่วนอย่างทั่วถึงด้วย มาตรา 69 รัฐพึงจัดให้มีและส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และศิลปวิทยาการ แขนงต่าง ๆ ให้เกิดความรู้ การพัฒนา และนวัตกรรม เพื่อความเข้มแข็งของสังคมและเสริมสร้างความสามารถ ของคนในชาติ มาตรา 71 รัฐพึงเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวอันเป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่สำคัญของสังคม จัดให้ ประชาชนมี ที่ อยู่อาศั ยอย่างเหมาะสม ส่งเสริมและพั ฒ นาการสร้างเสริมสุขภาพเพื่ อให้ป ระชาชนมี สุขภาพที่แข็งแรงและมีจิตใจเข้มแข็ง รวมตลอดทั้งส่งเสริมและพัฒนาการกีฬาให้ไปสู่ ความเป็นเลิศและเกิด ประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน รัฐพึงส่งเสริมและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้เป็นพลเมืองที่ดี มีคุณภาพและความสามารถสูงขึน้ รัฐพึงให้ความช่วยเหลือเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ยากไร้ และผู้ด้อยโอกาส ให้สามารถ ดำรงชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ และคุ้มครองป้องกันมิให้บุคคลดังกล่าวถูกใช้ความรุนแรงหรือปฏิบัติอย่างไม่เป็น ธรรม รวมตลอดทั้งให้การบำบัด ฟื้นฟูและเยียวยาผู้ถูกกระทำการดังกล่าว

5


A8 สถานที่ท่องเที่ยวและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับทุกคน (Access for All)

ในการจัดสรรงบประมาณ รัฐพึงคำนึงถึงความจำเป็นและความต้องการที่แตกต่างกันของเพศ วัย และ สภาพของบุคคล ทั้งนี้ เพื่อความเป็นเป็นธรรม

พระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534 มาตรา 14 ให้คนพิการซึ่งประสงค์จะได้รับสิทธิในการสงเคราะห์การพัฒนา และการฟื้นฟูสมรรถภาพ คนพิการตามพระราชบัญ ญั ตินี้ ยื่นขอจดทะเบี ยนต่อนายทะเบียนกลาง ณ สำนักงานคณะกรรมการฟื้นฟู สมรรถภาพคนพิการหรือต่อนายทะเบียนจังหวัด ณ ที่ทำการประชาสงเคราะห์จังหวัดทีต่ นมีภูมิลำเนาอยู่ ในกรณีที่คนพิการเป็นผู้เยาว์ คนเสมื อนไร้ความสามารถหรือคนไร้ความสามารถ หรือในกรณีที่คน พิการสภาพความพิการถึงขั้นไม่สามารถไปจดทะเบียนด้วยตนเองได้ ผู้ปกครอง ผู้พิทักษ์ ผู้อนุบาล หรือบุคคล ที่ดูแลคนพิการแล้วแต่กรณีจะยื่นขอจดทะเบียนแทนก็ได้ แต่ต้องนำคนพิการหรือหลักฐานว่าเป็นคนพิการไป แสดงต่อนายทะเบียนกลางหรือนายทะเบียนจังหวัด แล้วแต่กรณีด้วย มาตรา 15 คนพิการที่ได้ลงทะเบียนตามมาตรา 14 ให้ได้รับการสงเคราะห์ การพัฒนาและการฟื้นฟู สมรรถภาพ ดังต่อไปนี้ 1. บริการฟื้นฟูสมรรถภาพด้วยวิธีการทางการแพทย์ และค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ค่า อุปกรณ์ เพื่อปรับสภาพทางร่างกาย ทางสติปัญญา หรือทางจิตใจ หรือเสริมสร้างทางสมรรถภาพให้ดีขึ้นตามที่ กำหนดในกฎกระทรวง 2. การศึ ก ษาตามกฎหมาย ว่า ด้ ว ยการศึ ก ษาภาคบั งคั บ หรือ การศึ ก ษาสายอาชี พ หรื อ อุดมศึกษาตามแผนการศึกษาแห่งชาติตามความเหมาะสม ซึ่งให้ได้รับโดยการจัดเป็นสถานศึกษาเฉพาะหรือจัด รวมในสถานศึกษาธรรมดาก็ได้ โดยให้ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึ กษา ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิก ารให้การ สนับสนุนตามความเหมาะสม 3. คำแนะนำชี้แจง และปรึกษาเกี่ยวกับการประกอบอาชีพ และการฝึกอาชีพที่เหมาะสมกับ สภาพของร่างกาย และสมรรถภาพทีม่ ีอยู่เพื่อให้สามารถประกอบอาชีพได้ 4. การยอมรับและมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม และสิ่งอำนวยความสะดวก และบริการ ต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับคนพิการ 5. บริการจากรัฐ ในการเป็นคดีความและในการติดต่อกับทางราชการ

6


A8 สถานที่ท่องเที่ยวและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับทุกคน (Access for All)

กฎกระทรวงฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคน พิการ พ.ศ. 2534 1. ให้ ค นพิ ก ารที่ ล งทะเบี ย นตามมาตรา 14 ได้ รั บ บริ ก ารฟื้ น ฟู ส มรรถภาพด้ ว ยวิ ธี ท าง การแพทย์ ดังต่อไปนี้ 1.1 การตรวจวินิจฉัย การตรวจทางห้องปฏิบัติการ และการตรวจพิเศษด้วยวิธีอนื่ ๆ 1.2 การให้คำแนะนำปรึกษา 1.3 การให้ยา 1.4 การศัลยกรรม 1.5 การพยาบาลเวชกรรมฟื้นฟู 1.6 กายภาพบำบัด 1.7 กิจกรรมบำบัด (อาชีวบำบัด) 1.8 พฤติกรรมบำบัด 1.9 จิตบำบัด 1.10 สังคมสงเคราะห์ และสังคมบำบัด 1.11 การแก้ไขการพูด (อรรถบำบัด) 1.12 การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการได้ยิน และการสื่อความหมาย 1.13 การให้อปุ กรณ์ หรือเครื่องช่วยคนพิการ 2. ภายใต้ บั งคั บ ข้ อ 5 คนพิ ก ารซึ่ งรับ บริการฟื้ น ฟู ส มรรถภาพด้ วยวิธีท างการแพทย์ จาก สถานพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุข หรือสถานพยาบาลของกระทรวง ทบวง กรม หรือราชการส่วน ท้องถิ่น หรือรัฐวิสาหกิจที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนด ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล และ ค่าอุปกรณ์ตามข้อ 1 ดังต่อไปนี้ 2.1 ค่าบริการทางการแพทย์ตามข้อ 1 และ 2.2 ค่าห้อง และค่าอาหารไม่เกินอัตราที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดตลอดเวลาที่ รับการรักษาพยาบาล 3. ในกรณี ที่ ค นพิ ก ารซึ่ ง เข้ า รั บ บริ ก ารฟื้ น ฟู ส มรรถภาพด้ ว ยวิ ธี ท างการแพทย์ จ าก สถานพยาบาลตามข้อ 2 ต้องใช้อุป กรณ์ เที ย ม อุป กรณ์ เสริม หรือเครื่องช่วยคนพิ ก าร ให้ ส ถานพยาบาล ดั ง กล่ า วจั ด หาอุ ป กรณ์ เที ย ม อุ ป กรณ์ เสริ ม หรื อ เครื่ อ งช่ ว ยคนพิ ก ารให้ แ ก่ ค นพิ ก ารนั้ น และในกรณี ที่ สถานพยาบาลไม่มีอุปกรณ์เทียม อุปกรณ์เสริม หรือเครื่องช่วยคนพิการดังกล่าว ให้สถานพยาบาลนั้นขอเบิก จากศูนย์สิรินธรเพือ่ การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

7


A8 สถานที่ท่องเที่ยวและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับทุกคน (Access for All)

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 10 ระบุว่า การจัดการศึกษา ต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิ และโอกาสเสมอกัน ในการรับการศึกษา ขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึง และมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายการจัดการศึกษา สำหรับบุคคลซึ่งมีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม การสื่อสาร และการเรียนรู้ หรือ มีร่างกายพิการ หรือทุพพลภาพ หรือบุคคลซึ่งไม่สามารถพึ่งตนเองได้ หรือไม่มีผู้ดูแล หรือด้อยโอกาส ต้องจัด ให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิและโอกาสได้รับการศึกษาขัน้ พื้นฐานเป็นพิเศษ การศึ ก ษาสำหรั บ คนพิ ก ารในวรรคสอง ให้ จั ด ตั้ ง แต่ แ รกเกิ ด หรื อ พบความพิ ก ารโดยไม่ เ สี ย ค่าใช้จ่าย และให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิได้รับสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทาง การศึกษา ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง การจัดการศึกษาสำหรับบุคคลซึ่งมีความสามารถพิเศษ ต้องจัดด้วยรูปแบบที่เหมาะสมโดยคำนึงถึง ความสามารถของบุคคลนั้น

ที่มาภาพ : Newsd เข้าถึงได้จาก : https://newsd.in/education-remains-a-distant-dream-for-students-with-disabilities-in-tamilnadu-govt-schools/

8


A8 สถานที่ท่องเที่ยวและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับทุกคน (Access for All)

พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 มาตรา 5 บุคคลทุกคนมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพตามที่กำหนด โดยพระราชบัญญัตินี้ คณะกรรมการอาจกำหนดให้บุคคลที่เข้ารับการบริการสาธารณสุขต้องร่วมจ่ายค่าบริการในอัตราที่ กำหนดให้แก่หน่วยบริการในแต่ละครั้งที่เข้ารับการบริการ เว้นแต่ผู้ยากไร้หรือบุคคลอื่นที่รัฐมนตรีประกาศ กำหนดไม่ต้องจ่ายค่าบริการ ประเภทและขอบเขตของบริ การสาธารณสุขที่บุคคลจะมีสิทธิได้รับให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการ ประกาศกำหนด

พระราชบั ญ ญั ติส่ งเสริมและพัฒ นาคุ ณ ภาพชีวิ ตคนพิ การ พ.ศ. 2550 และที่ แก้ไขเพิ่ มเติ ม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556 มาตรา 13 (2) สำรวจ ศึกษา วิเคราะห์รวบรวม และเก็บรักษาข้อมูลเกี่ยวกับคนพิการ สถานการณ์ คุณภาพชีวิตคนพิการ เพื่อประโยชน์ต่อการป้องกัน การรักษาการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ เพื่อประโยชน์ต่อ การป้องกัน การรักษา การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ และจัดทำแผนงานวิเคราะห์ วิจัย ติดตาม ประเมินผลต่อ คณะกรรมการฯ และ (3) จัดทำเป็นงานเกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการเพื่อเสนอต่อคณะ กรรมการฯ มาตรา 20 คนพิการมีสิทธิเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้จากสิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะ ตลอดจนสวัสดิการและความช่วยเหลืออื่นจากรัฐ ดังต่อไปนี้ 1. การบริ ก ารฟื้ น ฟู ส มรรถภาพโดยกระบวนการทางการแพทย์ แ ละค่ า ใช้ จ่ า ยในการ รักษาพยาบาล ค่าอุปกรณ์ เครื่องช่วยความพิการ และสื่อส่งเสริมพัฒนาการ เพื่อปรับสภาพทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม พฤติกรรม สติปัญ ญา การเรียนรู้ หรือเสริมสร้างสมรรถภาพให้ ดีขึ้น ตามที่รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนด 2. การศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติหรือแผนการศึกษาแห่งชาติตามความ เหมาะสมในสถานศึกษาเฉพาะหรือในสถานศึกษาทั่วไป หรือการศึกษาทางเลือก หรือการศึกษานอกระบบ โดยให้ ห น่ วยงานที่ รับ ผิ ด ชอบเกี่ ย วกั บ สิ่ งอำนวยความสะดวก สื่อ บริก าร และความช่วยเหลือ อื่ น ใดทาง การศึกษาสำหรับคนพิการให้การสนับสนุนตามความเหมาะสม 3. การฟื้ น ฟู ส มรรถภาพด้ า นอาชี พ การให้ บ ริ ก ารที่ มี ม าตรฐาน การคุ้ ม ครอง แรงงาน มาตรการเพื่อการมีงานทำ ตลอดจนได้รับการส่งเสริมการประกอบอาชีพอิสระ และบริการสื่อ สิ่งอำนวยความ สะดวก เทคโนโลยีหรือความช่วยเหลืออื่นใด เพื่อการทำงานและประกอบอาชีพของคนพิการ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานประกาศกำหนด

9


A8 สถานที่ท่องเที่ยวและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับทุกคน (Access for All)

4. การยอมรับและมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม เศษฐกิจ และการเมืองอย่างเต็มที่ และมี ประสิทธิภาพบนพื้นฐานแห่งความเท่าเทียมกับบุคคลทั่วไป ตลอดจนได้รับสิ่งอำนวยความสะดวกและบริการ ต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับคนพิการ 5. การช่วยเหลือให้เข้าถึงนโยบาย แผนงาน โครงการ กิจกรรม การพัฒนา และบริการอัน เป็ น สาธารณะ ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ที่ มี ค วามจำเป็ น ต่ อ การดำรงชี วิ ต การช่ ว ยเหลื อ ทางกฎหมายและการจั ด หา ทนายความว่าต่างแก้ต่างคดี ให้เป็นไปตามระเบียบทีค่ ณะกรรมการกำหนด 6. ข้อมูลข่าวสาร การสื่อสาร บริการโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และ เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการสื่อสารสำหรับคนพิการทุกประเภท ตลอดจนบริการสื่อสาธารณะจาก หน่วยงานของรัฐหรือเอกชนทีไ่ ด้รับงบประมาณสนับสนุนจากรัฐ ตามหลักเกณฑ์ วิธกี ารและเงื่อนไขที่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกำหนดในกฎกระทรวง 7. บริการล่ามภาษามือตามระเบียบทีค่ ณะกรรมการกำหนด 8. สิทธิที่จะนำสัตว์นำทาง เครื่องมือหรืออุปกรณ์นำทาง หรือเครื่องช่วยความพิการใด ๆ ติด ตัวไปในยานพาหนะหรือสถานที่ใด ๆ เพื่อประโยชน์ในการเดินทาง และการได้รับสิ่งอำนวยความสะดวกอัน เป็นสาธารณะ โดยได้รับการยกเว้นค่าบริการ ค่าธรรมเนียม และค่าเช่าเพิ่มเติมสำหรับสัตว์ เครื่องมือ อุปกรณ์ หรือเครื่องช่วยความพิการดังกล่าว 9. การจัดสวัสดิการเบี้ยความพิการ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนดใน ระเบียบ 10. การปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศั ย การมีผู้ช่วยคนพิการ หรือการจัดให้มีสวัสดิการอื่น ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนดในระเบียบผู้ช่วยคนพิการ ให้มีสิทธิได้รับการลดหย่อนหรือ ยกเว้นค่าบริการ ค่าธรรมเนียม ตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด คนพิการที่ไม่มีผู้ดูแลคนพิการมีสิทธิได้รับการจัดสวัสดิการด้านที่อยู่อาศัยและการเลี้ยงดูจาก หน่วยงานของรัฐ ในกรณีที่มีสถานสงเคราะห์เอกชนจัดที่อยู่อาศัยและสวัสดิการให้แล้ว รัฐต้องจัดเงินอุดหนุน ให้แก่สถานสงเคราะห์เอกชนนั้น ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนดในระเบียบ ผู้ดูแลคนพิก ารมีสิ ท ธิได้ รับบริการให้คำปรึกษา แนะนำ ฝึกอบรมทักษะ การเลี้ยงดู การ จัดการศึกษา การส่งเสริมอาชีพ และการมีงานทำ ตลอดจนความช่วยเหลืออื่นใด เพื่ อให้พึ่ งตนเองได้ ตาม หลักเกณฑ์และวิธกี ารที่คณะกรรมการกำหนดในระเบียบ คนพิการและผู้ดูแลคนพิการมีสิทธิได้รับการลดหย่อนภาษี หรือยกเว้นภาษี ตามที่กฎหมาย กำหนด องค์กรเอกชนที่จัดให้คนพิการได้รับสิท ธิประโยชน์ตามมาตรานี้ มีสิทธิได้รับการลดหย่อนภาษีหรือ ยกเว้นภาษีเป็นร้อยละของจำนวนเงินค่าใช้จ่ายตามที่กฎหมายกำหนด

10


A8 สถานที่ท่องเที่ยวและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับทุกคน (Access for All)

เข้าถึงได้จาก : https://nearsay.com/c/542712/538624/3-main-duties-of-a-sign-language-interpreter

อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ พ.ศ. 2551 (Convention on the rights of persons with disabilities: CRPD 2008) สาระสำคั ญ ของอนุ สั ญ ญาฉบั บ นี้ คื อ ขจั ด การเลื อ กปฏิ บั ติ ต่ อ คนพิ ก ารในทุ ก รูป แบบทั้ งในด้ า น กฎหมาย การปกครอง และการปฏิบัติต่าง ๆ รวมถึงการกำหนดมาตรการที่ เหมาะสมเพื่อประกันการเข้าถึง และใช้ประโยชน์ได้อย่างเท่าเทียมกัน ในส่วนสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ขนส่ง ข้อมูลข่าวสาร และบริการ สาธารณะ การยอมรับความเท่าเทีย ม การศึกษา การเข้าทำงาน การรักษาพยาบาล การประกันสิทธิ และ โอกาสที่จะมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างเท่าเทียมกับบุคคลทั่วไป โดยส่วนที่ 4 พันธกรณีทั่วไป กำหนดให้รัฐภาคีที่จะประกันและส่งเสริมในการทำให้สิทธิมนุษยชนและ เสรีภาพขั้นพื้นฐานของคนพิการทั้งปวงกลายเป็นจริงอย่างเต็มที่ โดยปราศจากการเลือกปฏิบัติในรูปแบบใด ๆ บนพืน้ ฐานจากความพิการ (f) ดำเนินการหรือส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาสินค้า บริการ เครื่องมือ และสิ่ง อำนวยความ สะดวก ที่ออกแบบอย่างเป็นสากล ตามที่กำหนดไว้ในนิยามของอนุสัญญานี้ โดยควรให้มี การดัดแปลงน้อย ที่สุดและเกิดค่าใช้จ่ายต่ำที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อให้ตรงกับความต้องการของคนพิการ เพื่อส่งเสริมการจัด ให้มีและใช้ประโยชน์ และเพื่อส่งเสริมการออกแบบที่เป็นสากลในการพัฒนามาตรฐานและแนวทาง (g) ส่งเสริม การจัดให้ มี แ ละการใช้เทคโนโลยีใหม่ รวมถึ งเทคโนโลยีสารสนเทศ และการ สื่อสารเครื่องช่วยในการเคลื่อนไหว อุปกรณ์และเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกต่อคนพิการ

11


A8 สถานที่ท่องเที่ยวและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับทุกคน (Access for All)

แผนพัฒนาคุณภาพชีวติ คนพิการแห่งชาติ ฉบับที่ 5 พ.ศ. 2560 – 2564 แผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ฉบับที่ 5 พ.ศ. 2560 – 2564 ได้กำหนดวิสัยทัศน์ไว้ว่า “คนพิการเข้าถึงสิทธิได้จริง ดำรงชีวิตอิสระในสังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันอย่างยั่งยืน” ภายใต้ยุทธศาสตร์แห่ง ความเท่าเทียม (Equal) ได้แก่ เสริมพลังคนพิการและองค์กรด้านคนพิการให้มีศั กยภาพและความเข้มแข็ง (Empowerment) พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการ ขจัดการเลือกปฏิบัติ เพื่อให้คนพิการเข้าถึงสิทธิได้จริง (Quality Management) เสริ ม สร้ า งความเข้ า ใจและเจตคติ เชิ ง สร้ า งสรรค์ ต่ อ คนพิ ก ารและความพิ ก าร (Understanding) สร้ า งสภาพแวดล้ อ มและบริ ก ารสาธารณ ะที่ ทุ ก คนเข้ าถึ ง และใช้ ป ระโยชน์ ไ ด้ (Accessibility) และส่งเสริมการบูรณาการเครือข่ายและสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ อย่างยั่งยืน (Linkage) โดยเฉพาะยุทธศาสตร์ที่ 3 เสริมสร้างความเข้าใจและเจตคติเชิงสร้างสรรค์ต่อคนพิการ และความพิการ (Understanding) กลยุทธ์ที่ 1 สนับสนุน และพัฒ นาองค์ความรู้ งานวิจัย นวัตกรรม และ เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกในทุกมิติที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ โดยให้มีการจัดทำ แผนการวิจั ย และนวัต กรรมด้ านการพั ฒ นาคุ ณ ภาพชี วิต คนพิ ก าร และขั บ เคลื่ อ นสู่ ก ารปฏิ บั ติ ให้ ป ระสบ ความสำเร็จและเกิดผลได้อย่างเป็นรูปธรรม

ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580) ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) เป็นกรอบการพัฒ นาระยะยาวเพื่ อให้บ รรลุ วิสัยทัศน์ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพีย ง” โดยประกอบด้วยยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อน 6 ยุทธศาสตร์ด้วยกัน ซึ่งยุทธศาสตร์ที่ เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคนพิการ คือ ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาและเสริมสร้างศั กยภาพคน มีแนวทางในการขับเคลื่อน ได้แก่ พัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิตให้สนับสนุนการเจริญเติบโตของประเทศ สร้างเสริมให้คนมีสุขภาวะที่ดี สร้าง ความอยู่ดีมีสุขของครอบครัวไทยให้เอื้อต่อการพัฒ นาคน เสริมสร้างบทบทของสถาบันครอบครัวในการบ่ม เพาะจิตใจให้เข้มเข็ง ยุทธศาสตร์ที่ 4 ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างโอกาสความเสมอภาคและเท่าเทียมกันทางสังคม มีแนวทางในการขับเคลื่อนที่สำคัญ ได้แก่ สร้างความมั่นคงและการลดความเหลื่อมล้ำทางด้านเศรษฐกิจและ สังคมการพัฒนาระบบบริการและระบบบริหารจัดการสุขภาพ การสร้างสภาพแวดล้อมและนวัตกรรมที่เอื้อต่อ การดำรงชีวิตในสังคมสูงวัย และสร้างความเข้มแข็งของสถาบันทางสังคม ทุนทางวัฒนธรรม และความเข้มแข็ง ของชุมชน

12


A8 สถานที่ท่องเที่ยวและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับทุกคน (Access for All)

การท่องเที่ยวสำหรับคนพิการ

ที่มาภาพ : Pawel Libera and Calvert Trust Exmoor เข้าถึงได้จาก : https://www.mountaintrike.com/blog/tourism-for-all

13


A8 สถานที่ท่องเที่ยวและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับทุกคน (Access for All)

บทความเรื่อง การท่องเที่ยวสำหรับคนพิการ : ความท้าทายสำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย โดย กั ล ยา สว่ า งคง ได้ น ำเสนอแนวคิ ด เกี่ ย วกั บ การท่ อ งเที่ ย วเพื่ อ ตอบสนองการเข้ าถึ งได้ ข องคนพิ ก าร ใน 4 ประเด็นหลัก คือ 1. คนพิการและการท่องเที่ยวสำหรับคนพิการในกระแสโลก จากงานวิจัยของ Otilia Maria Bordeianu (2015) ระบุว่า ประชากรกว่า 650 ล้านคนทั่วโลกมี ชีวิตอยู่กับความพิการ ซึ่งหากนับจำนวนประชากรทั้งหมดที่ได้รับผลกระทบ หรือต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกับคน พิการแล้ว จะมีจำนวนกว่า 2,000 ล้านคน หรือประมาณหนึ่งในสามของประชากรโลก ทั้งนี้ เมื่อผนวกกับการ ที่การท่องเที่ยวได้รับการยอมรับว่าเป็นกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้คน เพราะมีส่วนช่วยให้เกิด ความภาคภูมิใจตัวเอง ทำให้คนพิการสามารถปรับตัวในสังคมได้ (Daniels, Rodgers & Wiggins, 2005) และคนพิการยังคงมี ความต้องการเดินทางท่องเที่ยว จึงส่งผลให้คนพิการออกเดินทางมากขึ้น ไม่เพียงเท่านี้ การท่องเที่ยวสำหรับคนพิการยังมีผลต่อการเดินทางของสมาชิ กในครอบครัวและคนรอบข้างด้วย เพราะคน พิการจะไม่เดินทางลำพัง ทำให้นักท่องเที่ยวกลุ่มคนพิการเป็น นักท่องเที่ยวกลุ่มใหม่ที่มีความน่าสนใจ และ นับเป็นความท้าทายของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอีกด้วย 2. มูลค่าทางการตลาดของกลุ่มนักท่องเที่ยวคนพิการ ผลการศึกษาของ The Open Door Organization (2002) ซึ่งเป็นองค์กรที่จัดการการท่องเที่ยว สำหรับ คนพิ ก ารในสหรัฐ อเมริก า แสดงให้ เห็ น ถึ งมู ล ค่ าการใช้ จ่ ายเงิน ของคนพิ ก ารในอุ ต สาหกรรมการ ท่องเที่ยวของสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2545 ซึ่งมี มูลค่าถึง 13.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในขณะที่คนพิการใน ประเทศแคนาดามีกำลังในการใช้จ่ายมากกว่า 25 พันล้านเหรียญ ส่วนในสหราชอาณาจักร คนพิการที่เป็น ผู้ใหญ่ จ ำนวน 10 ล้านคนมีก ำลังในการใช้ จ่ายมากกว่า 80 พั นล้านปอนด์ต่อปี สำหรับในสหภาพยุโรปมี นักท่องเที่ยวพิการประมาณ 134 - 267.9 ล้านคน สร้างรายได้ให้กับการท่องเที่ยวประมาณ 83 - 166 พันล้าน ยูโรต่อปี ทั้ งนี้ ในงานวิจัยของ Bowtell (2015) ได้มีการพยากรณ์ มูลค่าของอุตสาหกรรมการท่ องเที่ ยว สำหรับคนพิการในยุโรปตัง้ แต่ ปีค.ศ. 2005 - 2025 เอาไว้ ดังแสดงในตาราง

14


A8 สถานที่ท่องเที่ยวและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับทุกคน (Access for All)

ตารางแสดงภาพรวมมูลค่าทางการตลาดของการท่องเที่ยวสำหรับคนพิการในยุโรป (ค.ศ. 2005 – 2025) ข้อมูล ความต้องการการเข้าถึง (รวมทุกประเภท ของการพิการ) ค่าเฉลี่ยค่าใช้จา่ ย/ หัว/ ครั้ง รายได้ทางการท่องเที่ยว* รายได้ทางการท่องเที่ยว** รายได้ทางการท่องเที่ยว***

ปีค.ศ. 2005

ปีค.ศ. 2025

123,761,185

159,726,936

618 ยูโร 53.5 พันล้านยูโร 80.3 พันล้านยูโร 160.6 พันล้านยูโร

792 ยูโร 88.6 พันล้านยูโร 132.8 พันล้านยูโร 265.6 พันล้านยูโร

*กรณีที่นักท่องเที่ยวคนพิการเดินทางโดยลำพัง **กรณีที่นักท่องเที่ยวคนพิการเดินทางพร้อมกับเพื่อนและครอบครัว (คำนวณค่าเฉลี่ยของผู้ร่วมเดินทางที่ 0.5) ***กรณีนักท่องเที่ยวคนพิการเดินทางพร้อมกับเพื่อนและครอบครัว (คำนวณค่าเฉลี่ยนของผู้ร่วมเดินทางที่ 2)

สำหรับนักท่องเที่ยวคนพิการในระบบการท่องเที่ยวของประเทศไทยแม้จะยังไม่มีตัวเลขยืนยันจำนวน ที่แน่น อน รวมทั้ งไม่ มี ตัวเลขสนั บสนุน ในเชิงเศรษฐกิจถึงมูลค่าทางการตลาดของนักท่ อ งเที่ยวกลุ่มนี้ แต่ ประเด็นที่น่าสนใจ คือ คนพิการยังคงต้องการเดินทางท่องเที่ยว จำนวนคนพิการที่เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนย้ำให้ เห็นว่าความต้องการการท่องเที่ยวสำหรับคนพิการย่อมต้องสูงขึ้น ด้วยเช่นกัน (Ozogul & Baran, 2016) ทั้งนี้ จำนวนคนพิการในประเทศไทยที่อยู่ในวัยทำงาน มีสูงถึงร้อยละ 47.82 ตัวเลขนี้แสดงให้เห็นถึงจำนวนคน พิ ก ารที่ มี ศั ก ยภาพในการเดิ น ทางและกำลั ง ในการใช้ จ่ า ย (Ministry of Social Development and Human Security, 2016) 3. ปัญหาและอุปสรรคของคนพิการในการเดินทางท่องเที่ยว ถึงแม้จะมีแผนพัฒนาการท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้องกับคนพิการ มีการจัดตั้งองค์กรต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือคน กลุ่มนี้ให้ได้รับสิทธิ์ทางสังคมอย่างเท่าเทียมกับคนปกติ แต่ประเด็นที่น่าสนใจ คือ มีคนพิการจำนวนเท่าใดที่มี โอกาสเข้าร่วมกิจกรรมทางการท่องเที่ยว Touche Ross (1993) ได้อธิบายว่าในยุโรปนั้นคนพิการจำนวน 8 ล้านคน เดินทางท่องเที่ยวไปต่างประเทศอย่างน้อยปีละครั้ง ในขณะที่คนพิการ 15 ล้านคน มีการเดินทาง ท่องเที่ยวในประเทศ และคนพิการมากกว่า 22 ล้านคน เข้าร่วมกิจกรรมทางการท่องเที่ยวประเภท one day trip อย่างไรก็ดี ในหลายประเทศ โอกาสทางการท่องเที่ยวและการเข้าพักของคนพิการกลับถูกจำกัดเป็นอย่าง มากด้ ว ยสิ่ ง อำนวยความสะดวกที่ ไม่ เอื้ อ ต่ อ การใช้ ชี วิ ต ของพวกเขา Ounvijit, Sirisarn & Rongsa-ad (2014) ได้อธิบายการเดินทางของคนพิการไว้ว่า สำหรับคนพิการทางจิตใจ พฤติกรรม สติปัญญา และการ เรียนรู้นั้น การออกเดินทางเป็นเรื่องลำบาก ดังนั้น การตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวจึงเป็นเรื่องของครอบครัว ในขณะที่ คนพิการประเภทอื่น ๆ จะพยายามช่วยเหลือตัวเอง และสามารถเดินทางท่องเที่ยวด้วยตัวเองได้

15


A8 สถานที่ท่องเที่ยวและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับทุกคน (Access for All)

ทั้งนี้ สามารถแยกประเด็นปัญหาและอุปสรรคในการเดินทางของคนพิการที่มีความสามารถเดินทางท่องเที่ยว ด้วยตัวเองออกได้ดังนี้ 1) คนพิการทางการเคลื่อนไหว เป็นกลุ่มคนที่สามารถเข้าถึงข้อมูลทางการท่องเที่ยวได้เป็น อย่างดี แต่ มีปั ญ หาอุป สรรคในการเดิ นทาง การเข้าถึงแหล่ง ท่ อ งเที่ ยว ที่ พั ก และสิ่งอำนวยความสะดวก เนื่องจากระบบการคมนาคมขนส่งและสาธารณูปโภคต่าง ๆ ไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับคนพิการทางการ เคลื่อนไหวหรือคนที่ต้องใช้รถเข็นในการเข้าถึง (Siriwong & Saengdaeng, 2011; Daniels, Rodgers & Wiggins, 2005) 2) คนพิ การทางการได้ยิน เป็ น กลุ่มคนที่ มี ความสามารถในการเดิน ทางท่องเที่ ยวได้ด้วย ตัวเอง แต่ปัญหาสำคัญคือคนทั่วไปมักไม่ตระหนักถึงความพิการของคนกลุ่มนี้ ทำให้ไม่มีการหยิบยื่น ความ ช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ โดยปัญหาหลักที่คนกลุ่มนี้ ต้องพบคือเรื่องของระบบการสื่อสาร เช่น ประกาศเลื่อน เวลาที่สนามบินหรือสถานีรถไฟ และประกาศข้อมูลต่าง ๆ ในแหล่งท่องเที่ยว เพราะคนพิการทางการได้ยิน ต้องรับข้อมูลผ่านสื่อที่เป็นภาษามือ และสัญลักษณ์เท่านั้น ทำให้โอกาสในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารน้อยลงและ อาจเกิดอันตรายได้ง่ายจากการไม่ได้ยินเสียงสัญญาณเตือนภัยต่าง ๆ (Mamon, 2015 & Hersh, 2016) 3) คนพิการทางการมองเห็น เป็นกลุ่มคนที่สามารถช่วยเหลือตัวเองในการเดินทางได้ในระดับ หนึ่ง แต่ยังมีอุปสรรคในการเข้าถึงข้อมูลทางการท่องเที่ยว การต้องการการดูแลที่ถูกต้อง รวมทั้งสิ่ง อำนวย ความสะดวกที่เหมาะสม เช่น แผนที่หรือป้ายบอกทางที่เป็นอักษรเบรลล์ ทางเดินสำหรับคนพิการทางสายตา เสี ย งเตื อ นและปุ่ ม อั ก ษรเบรลล์ ใ นสถานที่ ต่ า ง ๆ (Boonmeesrisa-nga, Samaswat, Promtakaew, Yimlamai, Kienwong, Pattanachaidamrong & Vessavanichakul, 2014; Blades, Ungar, & Spencer, 1999) นอกเหนือจากการไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะสมสำหรับคนพิการแต่ละประเภทแล้ว การขาด บุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจในการให้ บริการยังเป็นสาเหตุที่ท ำให้คนพิการบางส่วนตัดสินใจไม่เดินทาง ท่องเที่ยวอีกด้วย (Ozogul & Baran, 2016) ข้อมูลนี้สอดคล้องกับผลการวิจัยของ Gillovic & McIntosh (2015) ที่แสดงให้เห็นถึงความล้มเหลวของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวนิวซีแลนด์ในการรับรู้ความสำคัญของ ตลาดนักท่องเที่ยวคนพิการ ทั้ง ๆ ที่มีข้อมูลที่ท ำให้ทราบถึงมูลค่าของตลาดนี้และมีการออกกฎข้อบังคับ ที่ เข้ ม แข็ ง แต่ ต ลาดนั ก ท่ อ งเที่ ย วกลุ่ ม นี้ ยั งคงไม่ ได้ รั บ ความสนใจเท่ าที่ ค วร เพราะยั งมี ค วามเข้ าใจผิ ด ของ ผู้ประกอบการ และการขาดการบริการที่เหมาะสม

16


A8 สถานที่ท่องเที่ยวและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับทุกคน (Access for All)

ที่มาภาพ : ฉัตรกมล ปิยจารุพร

4. แนวทางการดำเนินงานของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ความน่าสนใจของนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ คือ พลังในการใช้จ่ายเพื่อให้เข้าถึงสิ่งทีต่ ้องการ โดยค่าใช้จ่ายใน การเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวคนพิการจะทวีคู ณเสมอ เนื่องจากนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ต้องมีผู้ที่ร่วม เดิ น ทางไปด้ ว ยทุ ก ครั้ ง ดั ง นั้ น หากผู้ ป ระกอบการยั ง คงทำได้ เพี ย งผลิ ต ภั ณ ฑ์ แ ละบริ ก ารที่ ต อบสนอง นักท่องเที่ยวทั่ว ๆ ไป ก็จะไม่สามารถเจาะกลุ่มนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ได้ และจะต้องพบกับการแข่งขันเพื่อแย่งชิง ลูกค้าในตลาดเดิมที่เข้มข้นขึ้นเรื่อย ๆ อีก ด้วย (Gillovic & McIntosh, 2015) จากรายงานการประชุม ITB Berlin Convention 2012 ระหว่างวันที่ 7-9 มีนาคม พ.ศ. 2555 มีการบรรยายถึงศักยภาพทางการตลาด ความท้าทาย และแนวคิดสำหรับการจัดการการท่องเที่ยวแบบปราศจากอุปสรรคสำหรับคนทั้งมวลไว้ โดยมี ประเด็นที่น่าสนใจสำหรับผู้ประกอบการดังนี้ 1) การจัด ทำคู่มื อ การท่ อ งเที่ ย วเพื่ อ คนทั้ งมวล เพื่ อให้ มั่ น ใจได้ ว่านั กท่ อ งเที่ ยวทุ ก คนจะ สามารถเข้าถึงข้อมูลและเดินทางไปยังจุดหมายปลายทางได้ 2) การจั ด การอบรมบุ ค ลากรในอุ ต สาหกรรมการท่ อ งเที่ ย วเพื่ อ รองรั บ การให้ บ ริ ก าร นักท่องเที่ยวทุกกลุ่ม 3) การออกแบบเพื่อคนทั้งมวล (Design for All) ที่ต้องคำนึงถึงโครงสร้างและความสะดวก สบายของนักท่องเที่ยวทุกคน 4) การร่วมมือกันของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่ไม่ควรจะต้องใช้กฎหมาย บั ง คั บ แต่ ต้ อ งใช้ วิ ธี ก ารเปลี่ ย นความเข้ า ใจของทุ ก คนให้ เห็ น ถึ ง ความ สำคั ญ ของนั ก ท่ อ งเที่ ย วกลุ่ ม นี้ (International Tourism Cooperation Division Department of Tourism, 2012)

17


A8 สถานที่ท่องเที่ยวและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับทุกคน (Access for All)

นอกจากนี้ งานวิจัยของ Ozogul & Baran (2016) ยังมีการแนะนำปัจจัยที่สามารถนำไปใช้ ในการ ปรับปรุงบริการต่าง ๆ ของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเพื่อตอบสนองนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ โดย แยกปัจจัยออกเป็น 3 กลุ่มหลัก ๆ คือ 1) สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ในการท่องเที่ยว ทั้งในระหว่างการเดินทาง แหล่งท่องเที่ยว ที่พัก และร้านอาหาร 2) การเข้าถึงข้อมูลทางการท่องเที่ยว ทั้งข้อมูลออนไลน์ และข้อมูลที่สามารถจับต้องได้ เช่น แผ่นพับ โบรชัวร์ ป้ายบอกทาง 3) นโยบายหรือกฎเกณฑ์ต่าง ๆ เช่น นโยบายการฝึกอบรมพนักงานในสถานประกอบการ กฎเกณฑ์การปรับปรุงสภาพทางกายภาพเพื่อรองรับคนพิการ

18


A8 สถานที่ท่องเที่ยวและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับทุกคน (Access for All)

แนวทางในการพัฒนาการท่องเที่ยว เพื่อการเข้าถึงสำหรับคนทัง้ มวล UNWTO (2013) ได้ มี ก ารแนะนำมาตรการที่ เหมาะสมเพื่ อ ให้ มั่ น ใจว่ า คนพิ ก ารสามารถเข้ าถึ ง สภาพแวดล้อมทางกายภาพ การขนส่ง ข้อมู ล การสื่อสาร ระบบคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ การ สื่อสาร รวมถึงบริการและสิ่งอำนวยความสะดวกต่ าง ๆ เพื่อสาธารณประโยชน์ในเขตเมืองรวมทั้งเขตชนบท และชายฝั่ง Accessible Tourism ต้องอยู่ในห่วงโซ่การท่องเที่ยว การเชื่อมโยงระหว่างเว็บไซต์บริการ และ กิจกรรมทั้งหมดต้องได้รับการวางแผนและผ่านการทดสอบอย่างดี องค์ประกอบของห่วงโซ่การท่องเที่ยว รวมถึง 1. การจัดการแหล่งท่องเที่ยว หน่วยงานที่มีหน้าที่ในการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว ควรมีการดำเนินการในด้าน Accessible Tourism และอธิบายถึงเหตุผลที่ Accessible Tourism เป็นสิ่งจำเป็ น ทั้งในระดับชุมชนท้องถิ่น และระดับ เมือง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องพิจารณาถึงสิ่งอำนวยความสะดวก โครงสร้างพื้นฐาน และระบบคมนาคม ขนส่งที่จำเป็นต่อการพัฒนา พยายามหลีกเลี่ยงการส่งเสริมสถานที่ท่องเที่ยวหรือที่พักในพื้นที่ที่ไม่สามารถเดิน ทางเข้าไปท่องเที่ยว หรือสามารถเชื่อมต่อกับสถานที่ท่องเที่ยวอืน่ ๆ ได้ 2. ข้อมูลสารสนเทศและการโฆษณา (การเตรียมตัว ข้อมูลสารสนเทศ และการจอง) เอกสารด้านการท่ องเที่ ยวและเอกสารส่งเสริมการท่องเที่ ยว ควรระบุ เกี่ยวกับ การบริการและสิ่ ง อำนวยความสะดวกที่สามารถเข้าถึงได้ให้ชัดเจน มีการใช้สัญลักษณ์ที่เป็นสากลและเข้าใจง่าย รวมถึงควรระบุ วิธีการติดต่อสถานประกอบการผ่านสื่อที่สามารถเข้าถึงได้ (โทรศัพท์ ข้อความ โทรสาร หรืออีเมล) บริเวณจุด รับ - ส่งนักท่ องเที่ ยวในแหล่ งท่ องเที่ ยวควรมีการนำเสนอเกี่ยวกับรายการด้านการบริการทั้ งหมดสำหรับ นักท่องเที่ยวพิการ รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการซ่อมแซมและการเปลี่ยนขาเทียม อุปกรณ์ คลินิก สัตวแพทย์สำหรับสุนัขนำทาง ผู้ให้บริการ และผู้จัดจำหน่ายบริการทางการแพทย์ ระบบการจองต่าง ๆ ควรมี ข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับระดับของสิ่งอำนวยความสะดวกที่รองรับ Accessible Tourism รวมถึงการสื่อสาร ประชาสัม พันธ์ และการโฆษณาเกี่ยวกับ การบริการสำหรับนักท่องเที่ยวพิการหรือที่มีความบกพร่อง โดย นำเสนอข้อมู ล ที่ ถูกต้อง และอำนวยความสะดวกนักท่ องเที่ ยวเหล่านั้ น ตั้งแต่ในขั้น ตอนการจองด้วยวิธีที่ เหมาะสม

19


A8 สถานที่ท่องเที่ยวและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับทุกคน (Access for All)

เข้าถึงได้จาก : http://nwadacenter.org/factsheet/accessible-parking-employment-accommodation-practicalguide-employers

3. สภาพแวดล้อมและสถาปัตยกรรม 1) บริเวณพื้นที่จอดรถส่วนบุคคล (Parking) ควรมีพื้นที่จอดรถพิเศษพร้อมแสดงสัญลักษณ์ที่ เหมาะสมสำหรับยานพาหนะของคนพิการหรือผูท้ ี่มีความคล่องตัวน้อย สำหรับบริเวณทางเข้า - ออก/ รับ - ส่ง ของอาคารหรือสถานที่ท่องเที่ยวรวมทั้งที่จอดรถ ควรได้รับการตรวจสอบอยู่เสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ใช้ที่ไม่ได้ เป็นคนพิการหรือคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวเข้ามาใช้บริการ นอกจากนี้ จุดรับ – ส่งดังกล่าว ควรมี ระยะทางใกล้ทางเข้าอาคารหรือสถานที่ท่องเที่ยวมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อที่จะสามารถอำนวยความ สะดวกในการมาถึง ทั้งนี้ พื้นที่จอดรถส่วนบุคคลควรกว้างพอสำหรับผู้โดยสารที่มีความพิการ เพื่ออำนวยความ สะดวกในการขนถ่ายผู้โดยสารพิการหรือมีปัญ หาด้านการเคลื่อนไหวระหว่างรถและรถเข็ นคนพิการ และ จะต้องตั้งอยู่ในจุดที่ผู้ใช้วีลแชร์ ไม้ค้ำ หรือขาเทียม ไม่จำเป็นต้องเดิน วนรอบรถยนต์ นอกจากนี้ ในบริเวณ ทางเข้าถนนไปยังอาคารหรือสถานที่ท่องเที่ยว ควรปลอดภัยสำหรับคนเดินเท้าทั้งหมด 2) การสื่อสาร (Communication) การใช้ภาษามือ เครื่องหมายอักษรเบรลล์ และวิธีอื่น ๆ วิธีการและรูปแบบการสื่อสารดังกล่าวควรได้รับการยอมรับจากผู้ใช้งาน สิ่งอำนวยความสะดวก โทรศัพท์ และ ระบบสื่อสารสาธารณะอื่น ๆ (อินเทอร์เน็ต โทรสาร) จะต้องได้รับการออกแบบและให้บริการแก่ประชาชน เพื่อให้ ทุกคนสามารถใช้งานได้โดยไม่ ต้องกังวลถึงความสูง ปัญ หาการเคลื่อนไหว หรือปัญ หาทางประสาท สัมผัส 3) ป้าย (Signage) ข้อมูลสำคัญต่าง ๆ เคาน์เตอร์เช็คอิน และเคาน์เตอร์ขาย ควรมีการระบุ ไว้อย่างชัดเจนด้วยสัญลักษณ์ที่เข้าใจง่ายซึ่งมีขนาดและสีที่เหมาะสม ควรมีช่องหรือพื้นที่ซึ่งได้สงวนไว้สำหรับ คนพิการหรือผู้ที่มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหว และควรอยู่ใกล้บริเวณทางเข้ามากที่สุด ป้ายประกาศควรเป็นทั้ง ภาพ (ตัวอักษรบนหน้าจออิเล็กทรอนิกส์หรือหน้าจอขนาดใหญ่) และเสียง (เสียงนำมาก่อน) ตลอดจนสามารถ ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับประเภทต่าง ๆ ของคนพิการและผู้มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหว สัญญาณเตือนไฟ

20


A8 สถานที่ท่องเที่ยวและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับทุกคน (Access for All)

ไหม้ควรมีทั้งสัญญาณภาพและเสียง เครื่องหมายของทางออกฉุกเฉินต้องมีความชัดเจนและมีแสงสว่างเพียงพอ สถานที่ต่าง ๆ มีแผนที่แสดงจุดนัดพบและการอพยพ 4) การเคลื่อนที่ในแนวนอน (Horizontal movement) ควรมีมาตรการที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้มั่นใจว่าคนพิการและผู้มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหวจะสามารถเดินทางไปรอบ ๆ สถานที่ท่องเที่ยวด้วย ความเป็นอิสระ ที่สำคัญที่สุด ทางเดินหลักและทางเดินย่อย ๆ ควรเป็นอิสระจากอุปสรรคทางกายภาพ และมี ความกว้างขวาง เพื่อให้ผู้ใช้วีลแชร์สามารถเคลื่อนที่ผ่านไปได้ 5) การเคลื่อนที่ในแนวตั้ง (Horizontal movement) โครงสร้างอาคารที่มีหลายชั้นควรมี ลิฟต์ที่ขนาดเพียงพอสำหรับนักท่องเที่ยวที่ใช้วีลแชร์เพื่อเข้าและเคลื่อนย้ายได้อย่างง่ายดาย ควรออกแบบและ ติดตั้งโดยเฉพาะสำหรับบุคคลดังกล่าว และเหมาะสมกับคนตาบอด (เช่น ตำแหน่งของปุ่มควบคุมควรมีป้าย อักษรเบรลล์ทั้งในรูปแบบลายลักษณ์อักษรและแบบเสียง) ควรติดตั้งระบบฉุกเฉินที่สามารถใช้งานได้เหมาะสม กับผู้บกพร่องทางการได้ยิน ในส่วนของบันไดและทางลาด ควรอยู่ในระดับเดียวกัน รวมถึงทางลาดเข้าลิฟต์ หรือลิฟต์ยกพื้นด้วย 6) สิ่ งอำนวยความสะดวกเกี่ ยวกั บ สุ ข อนามั ย สาธารณะ (Public hygiene facilities) ใน บริเวณที่ตั้งของห้องสุขาควรมีโถส้วมและอ้างล้างมือที่คนพิการและผู้มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหวสามารถใช้ บริการได้ โดยคำนึงถึงด้านมิติและอุปกรณ์ชว่ ยด้านเทคนิคที่จำเป็นสำหรับการเคลื่อนที่ระหว่างรถเข็นและส่วน ต่าง ๆ ของห้องสุขา นอกจากนี้ ควรคำนึงถึงพื้นที่ใช้สอยต่าง ๆ ของห้องน้ำและอ่างล้างมือ ตลอดจนกลไกการ ทำงานของก๊อกน้ำ ควรมีระบบเพื่อให้ผู้ที่อยู่ในห้องน้ำสามารถหาและใช้สัญญาณไฟฉุกเฉินและสวิตช์ได้ 7) ค่ าใช้ จ่ าย (Cost) ต้ อ งไม่ เพิ่ ม อั ต ราค่ าบริก ารสำหรับ ลู ก ค้ าที่ มี ค วามพิ ก าร แม้ ว่ าจะมี ค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมที่จำเป็นในการจัดหาบริการและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการและผู้ที่มีปัญหาด้าน การเคลื่อนไหวก็ตาม ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการควรจะรวมอยู่ในงบประมาณสำหรับการบำรุงรักษาหรืองาน ปรับปรุงทั่วไป

เข้าถึงได้จาก : https://www.calgarytransit.com/accessible-transit

21


A8 สถานที่ท่องเที่ยวและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับทุกคน (Access for All)

4. การเดินทาง (Modes of transport) 1) พาหนะส่วนตัว รวมถึงพาหนะเช่า รถประจำทาง รถโค้ช รถแท็กซี่ รถราง รถไฟ เคเบิล คาร์ เรือข้ามฟาก เรือโดยสาร และเรื อส่วนตัว ควรได้รับการออกแบบเพื่อให้การเคลื่อนที่ของคนพิการเกิด ความปลอดภั ยสะดวกสะบาย ข้อมู ล ที่ ให้ ไว้แก่ ผู้โดยสารก่อ นหรือระหว่างการเดิน ทางควรคำนึงถึงความ ต้องการของผู้ที่มีความพิการทางประสาทสัมผัสและต้องมีรูปแบบเป็นภาพและเสียง ข้อมูลสำหรับผู้โดยสาร และขั้นตอนการอพยพในกรณีฉุกเฉินควรมีรูปแบบอื่นรวมถึงภาษามือและข้อความ 2) สถานี อาคารผู้โดยสาร และสิ่งอำนวยความสะดวกที่ เกี่ยวข้อง (Stations, passenger terminals, and related facilities) ผู้โดยสารที่มีความพิการและผู้ที่มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหว ควรสามารถ เข้าถึงบริการขนส่งทั้งหมดจากสถานีทุกสถานีและสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตัวอาคารควรอยู่ใน ระดับเดียวกัน (เช่น ระดับเดียวกับวีลแชร์) หรือติดตั้งทางลาดเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงระดับ รวมถึงทางลาดเข้า ลิฟต์หรือลิฟต์ยกพื้น ข้อมูลที่ให้ไว้ทั้งหมดควรคำนึงถึงความต้องการของผู้ที่มีอาการทางประสาทสัมผัส ดังนั้น ข้อมูลต้องอยู่ในรูปแบบภาพและเสียง ทั้งสองประเภทจะต้องเปิดเผยต่อสาธารณชนเพื่อให้ข้อมูลสามารถรับรู้ ได้ในสภาพแวดล้อมที่ดีที่สุด ปราศจากอุปสรรคในแง่ของเสียงรบกวนจากภายนอก แสงสว่าง และความคมชัด ระหว่างภาพและพื้นหลัง ข้อมูลดังกล่าวควรปรากฏอยู่ในช่องทางอื่น ๆ ในการสื่อสาร (เว็บไซต์หรือแอปพลิเค ชั น สำหรั บ โทรศั พ ท์ มื อ ถื อ ) นั ก ท่ อ งเที่ ย วพิ ก ารที่ ส ามารถเดิ น เท้ า ได้ ควรได้ รั บ สั ญ ญาณไฟจราจรพร้ อ ม สัญญาณเสียงหรือภาพ เพื่อให้คนที่มีความบกพร่องในการมองเห็นหรือการได้ยินสามารถข้ามถนนได้อย่าง ปลอดภัย การเข้าถึงการขนส่งควรทำได้โดยง่ายที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และควรมีการบริการให้ความช่วยเหลือ เมือ่ จำเป็น ผู้ใช้วีลแชร์ที่ต้องการใช้เก้าอี้เอนกประสงค์พิเศษ (เช่น ไปยังห้องโดยสารเครื่องบิน) ควรจะสามารถ ทำได้อย่างสะดวกที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ทั้งนี้ วีลแชร์ควรได้รับการดูแล จัดเก็บ และขนส่งเพื่อให้คนพิการและ ผู้มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหวสามารถใช้การได้ทันทีเมื่อมาถึงจุดหมายปลายทางหรือจุดผ่านแดน 3) ทางสัญจรหลัก (Major thoroughfares) ซึ่งรวมถึงถนนหลวงและทางด่วน ควรมีจุดแวะ พักชั่วคราวเป็นระยะ ๆ และควรมีสิ่งอำนวยความสะดวกและบริการ รวมทั้งห้องสุขาและโทรศัพท์ฉุกเฉินที่ สามารถเข้าถึงได้สำหรับทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักท่องเที่ยวทีม่ ีความพิการและคนพิการด้านการเคลื่อนไหว 5. บริการที่พัก อาหาร และการประชุม 1) ที่พัก ควรมีการพัฒนาห้องสำหรับ คนพิการรวมถึงผู้มีปัญ หาด้านการเคลื่อนไหว โดยมี จำนวนห้องตามความเหมาะสม ห้องพักดังกล่าวควรมีการติดตั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ทำให้คนพิการสามารถใช้ ประโยชน์ได้โดยไม่ต้องขอความช่วยเหลือ และมีบริเวณที่ตั้งในจุดที่สะดวกต่อมาตรการอพยพและเส้นทางไป ยังทางออกฉุกเฉิน ห้องเหล่านี้ควรได้รับการออกแบบเพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถเคลื่อนที่ไปรอบ ๆ เพื่อค้นหา สิ่งอำนวยความสะดวก การบริการ และอุปกรณ์สื่อสารได้อย่างเป็นอิสระ รวมถึงห้องน้ำ ระเบียง หรือพื้นที่ กลางแจ้งที่อยู่ติดกัน (ถ้ามี) รวมถึงผู้ใช้บริการสามารถขอความช่วยเหลือด้านเทคนิคที่จำเป็น เพื่อให้สามารถ เข้าพักได้อย่างปลอดภัยและสะดวกสบาย โดยควรคำนึงถึงการออกแบบตามหลักการของ Universal Design

22


A8 สถานที่ท่องเที่ยวและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับทุกคน (Access for All)

ห้องพักและโครงสร้างพื้นฐานของที่พั กควรมีระบบเตือนภัยที่เหมาะสำหรับ ผู้ที่ หูหนวก และมีการสื่อสาร ประสานงานกันระหว่างแผนกต้อนรับและห้องพัก

ที่มาภาพ : Tune Hotel Westminster เข้าถึงได้จาก : http://londonhotelsinsight.com/2010/12/01/accessible-rooms-unveiled-at-tune-westminster/

2) สถานประกอบการเกี่ยวกับอาหารและเครื่องดื่ม ควรมีสิ่งอำนวยความสะดวกที่คนพิการ และผู้ มี ปั ญ หาด้ านการเคลื่ อ นไหวสามารถเข้ าถึ งได้ โดยคำนึ งถึ งความสะดวกในการเข้ าถึ งจากด้ านนอก เฟอร์นิเจอร์ที่ออกแบบมาเพื่อ วีลแชร์ เคาน์เตอร์ที่ระดับความสูงต่ าง ๆ ห้องสุขาที่สามารถเข้ าถึงได้ เป็นต้น เมนูอาหารควรมีตัวเลือกเพิ่มเติมสำหรับผู้ที่แพ้อาหารหรือควบคุมอาหารชนิดต่าง ๆ เช่น ผู้ป่วยโรคเบาหวาน บุคคลที่มีภาวะแพ้กลูเตน ฯลฯ สิ่งอำนวยความสะดวกเหล่านี้ควรได้รับการทำเครื่องหมายไว้อย่างถูกต้องเพื่อ ความสะดวก นอกจากนี้ เมนูอาหารควรเขียนให้เข้าใจง่าย มีการใช้อักษรเบรลล์ หรือรูปแบบใด ๆ ที่เหมาะสม ในการให้บริการคนพิการ (เว็บหรือแอปพลิเคชันสำหรับคอมพิวเตอร์พกพา) 3) พื้นที่ในการจัดประชุม นอกจากแนวทางข้างต้นซึ่งสามารถนำมาปรับใช้ได้แล้ว (ทางเข้า ห้องน้ำ โทรศัพท์ ป้าย ลิฟต์ ที่จอดรถ ฯลฯ ) สถานที่ จัดประชุมยังควรมีที่นั่งพิเศษหรือบริเวณที่ ซึ่งสงวนไว้ สำหรับผู้ใช้วีลแชร์ และหูฟังพิเศษและ/ หรือเสียง สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้ที่ บกพร่องทางการได้ยิน ควรมีการดำเนินการเพื่อให้มั่นใจว่าข้อมูลภาพและเสียงได้รับการเสริมด้วยคำอธิบายเกี่ยวกับเสียงและคำ บรรยายและ/ หรือภาษามือตามความต้องการ

23


A8 สถานที่ท่องเที่ยวและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับทุกคน (Access for All)

6. กิจกรรมเชิงวัฒนธรรม (พิพิธภัณฑ์ โรงภาพยนตร์ โรงละคร ฯลฯ) 1) หน่ วยงานที่ รับผิ ดชอบในการดำเนิ นการและส่งเสริมกิจกรรมทางวัฒ นธรรมในแหล่ง ท่องเที่ยวหรือสถานประกอบการควรใช้มาตรการที่เหมาะสมทั้งหมดเพื่อให้มั่นใจว่าคนพิการสามารถเข้าถึง ส่วนแสดงและกิจกรรมทางวัฒนธรรมที่สามารถมีส่วนร่วมพัฒนาและใช้ประโยชน์จากศักยภาพด้านความคิด สร้างสรรค์ ศิลปะ และภูมิปัญญา 2) พิพิธภัณฑ์และสิ่งก่อสร้างด้านการท่องเที่ยวอื่น ๆ เจ้าของหรือผู้จัดการของพิพิธภัณฑ์และ อาคารอื่น ๆ ที่มีความสนใจในประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และศาสนา ควรแก้ไขปัญหาในการเข้าถึงแนวนอน หรือแนวตั้ง การทำทางลาดหรือทางยกโดยพิจารณาตามความเหมาะสม ข้อมู ลที่ให้ ไว้ควรคำนึ งถึงความ ต้องการของผู้มาเยือนที่หูหนวกและตาบอด ดังนั้น ข้อมูลทั้งหมดควรมีทั้งในรูปแบบเขียนและเสียง พนักงาน บริการลูกค้าต้องมีการฝึกอบรมเพื่อให้สามารถสื่อสารกับคนหู หนวก ในกรณี ที่ สถานที่ มีขนาดใหญ่ ควรมี บริการสำหรับรถเข็นหรืออุปกรณ์อื่น ๆ สำหรับผู้เข้าชมที่มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหว 3) โรงภาพยนตร์ ควรมีที่นั่งพิเศษหรือพื้นที่ที่สงวนไว้สำหรับผู้ใช้วีลแชร์และหูฟังพิเศษและ / หรือสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้บกพร่องทางการได้ยิน ควรมีการดำเนินการเพื่อให้มั่นใจว่าข้อมูลภาพและ เสียงได้รบั การเพิ่มเติมด้วยคำอธิบายด้วยเสียงและคำบรรยายและ/ หรือภาษามือตามความเหมาะสม

เข้าถึงได้จาก : http://med.runawaytoparadise.com/ship/access/#venues

7. กิจกรรมการท่องเที่ยวอืน่ ๆ กิจกรรมการท่องเที่ยวอื่น ๆ หน่วยงานที่รับผิดชอบในการทำกิจกรรมนันทนาการ สันทนาการ และ การกีฬาต้องมีมาตรการที่เหมาะสมเพื่อให้คนพิการสามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้อย่างเท่าเทียม

24


A8 สถานที่ท่องเที่ยวและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับทุกคน (Access for All)

ที่มาภาพ : Tourism for All เข้าถึงได้จาก : https://www.visitportugal.com/en/content/accessible-beach

8. พนักงาน พนักงานในสถานที่ท่อ งเที่ยวมีบทบาทสำคัญ ในการลดอุปสรรคที่อาจเกิ ดขึ้นในการเข้าถึงหรือลด ปัญหาที่คาดไม่ถึง ดังนั้น การฝึกอบรมเพื่อเพิ่มความรู้ความความเข้าใจเกี่ยวกับคนพิการและผู้มีปัญหาด้านการ เคลื่อนไหว จะสามารถลดอุป สรรคในการท่ องเที่ ย วสำหรับ คนพิ การได้ พนั กงานของสถานประกอบการ ท่องเที่ยวและบริการที่เกี่ยวข้องควรเตรียมพร้อมที่ จะสื่อสารทำความเข้าใจและตอบสนองความต้องการของ ลูกค้าพิการและผู้มีปัญหาด้านการเคลื่ อนไหว ภายใต้อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิของคนพิการ พ.ศ. 2549 พนักงานควรได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับสิทธิของคนพิการเพื่อให้ความช่วยเหลือและบริการต่าง ๆ ที่ ได้รับการรับรองจากสิทธิเหล่านี้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ เพื่อเป็นการร่วมกันตรวจสอบบริการที่จำเป็น สำหรับคนพิการ และทำหน้าที่อธิบายการดำเนินงานในด้านดังกล่าวของแหล่งท่องเที่ยวซึ่ งมีการออกแบบมา สำหรับลูกค้าที่มีความพิการ ควรมีพนักงานที่รู้วิธีสื่อสารกับบุคคลที่มีความพิการทางประสาทสัมผัสอีกด้วย พนักงานควรได้รับการฝึกอบรมเพื่อปฏิบัติต่อคนพิการด้วยความสุภาพและมีประสิทธิภาพ ให้ข้อมูลที่ ครบถ้วนเกี่ยวกับการบริการและสิ่งอำนวยความสะดวกที่ พร้อมใช้งาน และอำนวยความสะดวกในการเข้าถึง การบริการที่ไม่สามารถเข้าถึงได้ พนักงานควรให้ข้อมูลที่สามารถเข้าถึงได้สำหรับคนพิการเกี่ยวกับอุปกรณ์ช่วย การเคลื่อนย้าย อุปกรณ์ทางเทคนิค และเทคโนโลยีอำนวยความช่วยเหลือ รวมถึงเทคโนโลยีใหม่ ๆ ตลอดจน ข้อมูลเฉพาะและเหมาะสมเกี่ยวกับบริการที่ มีอยู่ในโรงแรมและบริการภายนอก ควรมีบริการคู่มือสำหรับ นักท่องเที่ยว และล่ามภาษามืออาชีพเพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวและสิ่งอำนวยความ สะดวกอื่น ๆ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยในสถานประกอบการท่องเที่ยวและยานพาหนะที่รองรับและขนส่ง คนพิการควรมีให้บริการ (รวมถึงวีลแชร์) รายชื่อห้องพักที่บุคคลดังกล่าวใช้เพื่อเป็น ข้อมูลกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน

25


A8 สถานที่ท่องเที่ยวและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับทุกคน (Access for All)

พนักงานควรได้รับการฝึกอบรมเพื่ออพยพคนพิการในกรณี ฉุกเฉิน การฝึกซ้อ มฉุกเฉินควรดำเนินการเป็ น ประจำตามกฎหมายและข้อบังคับที่กำหนด The Official tourist board for England (2015) หรือ VisitEngland หน่ วยงานที่ ได้ รับ ทุ น สนับสนุนจาก Department for Digital, Culture, Media & Sport (DCMS) ของประเทศอังกฤษ ได้มีการ ออกแนวทางปฏิบัติการพัฒ นาแหล่งท่องเที่ยว Accessible Tourism โดยใช้ชื่อว่า A guide to creating accessible destinations โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างการรับรู้ถึงปริมาณงานและทรัพยากรที่ต้องบริหาร จัดการ คู่มือนี้มุ่งเน้นไปที่การทำงานร่วมกัน ดังนี้ ส่วนที่ 1 ทำความเข้าใจว่านั กท่ องเที่ยวต้ องการอะไร การเดิน ทางของนักท่องเที่ยวเป็ น อย่างไร และองค์กรแหล่งท่องเที่ยว (Destination Organization : DO) สามารถสนับสนุนนักท่องเที่ยวกลุ่ม ดังกล่าวได้อย่างไรบ้าง นักท่องเที่ยวที่มีความพิการหรือมีปัญหาด้านการเคลื่อนไหว มีความต้องการในการเดินทาง ท่องเที่ยวเฉกเช่นเดียวกันกับนักท่องเที่ยวทั่วไป นั่นคือเหตุผลว่าทำไมนักท่องเที่ยวเหล่านี้ ถึงค้นหาสถานที่ ท่องเที่ยวที่จะไปและค้นหาข้อมูลทางเลื อกต่าง ๆ ประกอบการตัดสินใจในการเลือกสถานที่ท่องเที่ยวนั้น ทั้ง การเดินทาง ที่พัก และความเป็นไปได้ในการเดินทางในสถานที่ท่องเที่ยวนั้ นก่อนจะจบทริป และแบ่งปัน ประสบการณ์กับเพื่อนและคนอื่น ๆ สำหรับผู้สูงอายุและคนพิการ การค้นหาแหล่งท่องเที่ยวที่เหมาะสมอาจต้องใช้ เวลามากขึ้น ถึงแม้ว่าในการเดินทางจะมีความยากง่ายแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความต้องการของแต่ละบุคคล แต่โดยทั่วไป แล้วนักท่องเที่ยวเหล่านั้นต่างมีความต้องการบางสิ่งบางอย่างที่คล้ายคลึงกัน โดยเฉพาะเกี่ยวกับ การเดินทาง ป้าย การขนส่งสาธารณะ การต้อนรับอย่างอบอุ่นจากพนักงานที่รับทราบเกี่ยวกับความพิการ และความ ต้องการข้อมูลที่ถูกต้องและเชื่อถือได้ จากข้อมูลการสำรวจเกี่ยวกับความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวในปีค.ศ. 2015 จากเว็บไซต์ Euan’s Guide แสดงให้เห็นว่าข้อมูลเกี่ยวกับที่จอดรถ ห้องน้ำ และพนักงาน เป็นข้ อมูล สำคัญที่นักท่องเที่ยวต้องการรับทราบประกอบการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยว ส่วนที่ 2 VisitEngland ได้จัดทำเครื่องมือที่เป็นประโยชน์เพื่อแก้ไขปัญหาที่เรียกว่า สามเสา หลัก ของ Accessible Tourism (Three pillars of accessible tourism) ซึ่งประกอบไปด้วย 1) การบริการนักท่องเที่ยว (Customer Service) การเรียนรู้เกี่ยวกับความพิการ ผ่านการฝึกอบรมจะช่วยให้มีทักษะและความรู้ รวมถึงความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะของความพิการโดยทั่วไป และถ่องแท้มากขึน้ รวมถึงภาษาที่เหมาะสมในการสื่อสาร และข้อแนะแนวในเชิงปฏิบัติ 2) สิ่ งอำนวยความสะดวก (Facilities) การจะทำให้ แ หล่ งท่ อ งเที่ ย วสามารถ รองรับ Accessible Tourism ได้ ไม่ จ ำเป็ น จะต้อ งลงทุ น มหาศาลเพื่ อ ทำให้ ทุ ก อย่า งเป็ น ไปอย่ างอั ต โนมั ติ เนื่องจากคนพิการที่ใช้วีลแชร์มีเพียง 6% ของจำนวนคนพิการทั้งหมด องค์ความรู้ จากช่องทางต่าง ๆ เช่น VisitEngland Easy Does ทำให้เราสามารถปรับปรุงสถานที่ท่องเที่ยวโดยใช้ต้นทุนที่ถูกกว่า เช่น การใช้ การ สั่นเตือน การใช้ข้อความขนาดใหญ่ หรือการใช้สุนัขนำทาง เป็นต้น

26


A8 สถานที่ท่องเที่ยวและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับทุกคน (Access for All)

3) ข้อมูลสารสนเทศ (Information) ข้อมูลที่ถู กต้องและทันสมัยเป็นสิ่งสำคั ญ สำหรับนักท่องเที่ยวที่มีอายุมากและคนพิการ การสำรวจโดย Euan’s Guide ในปีพ.ศ. 2558 พบว่า 54% ของนั ก ท่ อ งเที่ ย วคนพิ ก ารจะเปลี่ ย นใจเดิ น ทางไปที่ ใหม่ ๆ หากไม่ ส ามารถหาข้ อ มู ล เกี่ ย วกั บ การเข้ าถึ ง (Access) แหล่งท่องเที่ยวได้ และ 86% มีแนวโน้มที่จะกลับไปยังสถานที่เดิมที่ สามารถเดินทางเข้าถึงได้อย่าง สะดวกสะบาย (Good accessibility) VisitEngland's Speak Up! เป็นคำแนะนำทีละขั้นตอนสำหรับธุรกิ จ เกี่ยวกับการตลาด Accessible Tourism เช่น การใช้ภาพและภาษา ให้คำแนะนำเกี่ยวกับเว็บไซต์ การพิมพ์ และการสื่อสารทางโทรศัพท์ และการใช้ PR สื่อสังคมฟอรั่มหน่วยงาน และผู้ประกอบการท่องเที่ยว นอกจากนี้ ยังให้คำแนะนำเกี่ยวกับคำศัพท์และป้าย ส่วนที่ 3 การทำงานร่วมกับภาคีเครือข่าย หากจะสามารถพัฒนา Accessible Tourism ใน แหล่งท่องเที่ยวได้สำเร็จ จะต้องมีการทำงานร่ว มกับภาคีเครือข่ายในแหล่งท่องเทียว โดยการเริ่มต้นคือการ ระบุองค์ประกอบที่ สำคัญ ของการเดิน ทางของลูก ค้าในแหล่ งท่องเที่ยว จากนั้น มีการกำหนดหน่ วยงานที่ รับผิดชอบ ระบุอุปสรรคที่นักท่ องเที่ ยวจะพบในแต่ละขั้นตอน ซึ่งหน่วยงานที่รับผิดชอบดังกล่าวอาจเป็น หน่วยงานประเภทใดก็ได้ เช่น รถไฟ บริษัทนำเที่ยว บริษัทรถโดยสาร ฯลฯ ส่วนที่ 4 ดูว่าองค์กรแหล่งท่องเที่ ยว (Destination Organization: DO) มีส่วนช่วยในการ เข้าถึงได้อย่างไร คนพิการและผู้สูงอายุต้องการข้อมูลมากกว่าที่จะสามารถตัดสินใจได้ ข้อมูลต้องหาได้ง่าย โปรดจำไว้ว่านักท่องเที่ยวกลุ่มดังกล่าวมักจะเดินทางในวันหยุดและเดินทางเป็นหมู่คณะ การจองต่าง ๆ มักทำ โดยเพื่อนและครอบครัว หากไม่สามารถเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ถูกเลือกได้ จะทำให้สูญเสียโอกาสในการสร้าง รายได้เป็นจำนวนมาก ดังนั้น ควรมีการอัปเดตข้อมูลและข้อมูลต้องเชื่อถือได้ ควรมี การตรวจสอบแหล่งข้อมูล และความน่ าเชื่ อ ถื อ ของข้ อ มู ล เป็ น ระยะ ๆ มี ก ารรับ ฟั งความคิ ด เห็ น จากนั ก ท่ อ งเที่ ย วเพื่ อ อั ป เดตข้ อ มู ล นักท่องเที่ยวทุกคนที่มี ค วามบกพร่องทางร่างกายมีความต้องการที่แตกต่างกันและมีระดับความคาดหวัง แตกต่างกัน แม้ว่ากลุ่มคนพิการส่วนใหญ่จะเป็นผู้ใช้ วีลแชร์ แต่ก็ถือเป็นนักท่องเที่ยวกลุ่ มที่มีความต้องการ ข้อมูลเป็นอย่างยิ่ง สภาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก (Global Sustainable Tourism Council - GSTC) ได้มีการ กำหนดเกณฑ์การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (Global Sustainable Tourism Criteria) โดยเกณฑ์ ดังกล่าวมีการนำเสนอประเด็ นการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนผ่านเกณฑ์ข้อ A8 (Access for All) ว่า สถานที่ท่ องเที่ ยวและสิ่งอำนวยความสะดวกจะต้องอำนวยความสะดวกให้กับบุ คคลทุพ พลภาพ หรือผู้มี ข้อจำกัดทางด้านสภาพร่างกาย ทั้งนี้ เพื่อให้พวกเขาสามารถได้รับประโยชน์จากการท่องเที่ยวได้อย่างทั่ว ถึง โดย GSTC แนะนำตัวชีว้ ัดความสำเร็จในการพัฒนาหลักเกณฑ์ข้อ A8 ดังนี้ 1) มีนโยบายส่งเสริมการอำนวยความสะดวกให้กับบุคคลทุพลภาพ หรือที่มีข้อจำกัดทางด้าน สภาพร่างกายให้สามารถเข้าถึงสถานที่ท่องเที่ยวที่มีความสำคัญ ทางธรรมชาติและวัฒนธรรม ตลอดจนสิ่ง อำนวยความสะดวกได้อย่างเหมาะสม 2) มีการออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับบุคคลทุพลภาพที่คำนึ งถึงความกลมกลืนกับ สถานที่ท่องเที่ยว

27


A8 สถานที่ท่องเที่ยวและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับทุกคน (Access for All)

Universal Design การออกแบบทีท่ ุกคนสามารถเข้าถึง และใช้ประโยชน์ได้ อารยสถาปัตย์ (Universal Design) เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในสหรัฐอเมริกา เนื่องจากจำนวนของคน พิการมีมากขึ้น และสิ่งของเครื่องใช้ที่มีอยู่ก็เป็นอุปสรรคสำหรับคนเหล่านั้น ดังนั้น ในปีค.ศ. 1990 สมาคม มาตรฐานแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา จึงได้ออก The American Disabilities Act ขึ้น เพื่อกำจัดอุปสรรคต่อ คนพิการ โดยรับรองสิทธิของคนพิการให้ทัดเทียมกับคนทั่วไป แต่กฎหมายนี้ยังไม่ได้ใช้กับสินค้าหรือบริการทุก อย่าง ผู้ริเริมแนวคิดการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล คือ Ronald L. Mace ศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยนอร์ทแค โรไลนา ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นคนพิการ โดยได้เริ่มต้นทดลอง ออกแบบ ดัดแปลงของใช้ ส่วนตัวของ ตนเอง หลังจากนั้นได้นำหลักการนี้มาใช้สำหรับการพัฒนาออกแบบผลิตภัณฑ์สำหรับคนพิการ และต่อยอดจน เป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อคนทั้งมวล โดยเน้นความทัดเทียมของบุคคลทุ กคนที่สามารถใช้ผลิตภัณฑ์/ บริการที่ออกแบบอย่างเดียวกันได้ อันจะเป็นส่วนช่วยลดความแปลกแยก/ แตกต่างของบุคคลในสังคม องค์ ก ารสหประชาชาติ (United Nations: UN) พยายามเผยแพร่ แ ละส่ ง เสริ ม แนวคิ ด ในเรื่ อ ง อารยสถาปัตย์เพื่อให้ คนพิการได้รับสิ่งอำนวยความสะดวกในการดำรงชีวิตในอาคารและสิ่งแวดล้อมตาม โครงการ Promotion of Non - Handicapping Physical Environment for Disabled Persons เดื อ น ธันวาคม ค.ศ. 1995 ได้มีการเผยแพร่หลักการของอารยสถาปัตย์ เวอร์ชัน 101 (Universal Design Version 1.1) และพัฒนาเป็นเวอร์ชัน 2.0 ออกเผยแพร่เมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 1997 เป็นการออกแบบสิ่งแวดล้อม การ สร้างสถานที่และสิ่งของต่าง ๆ เพื่อให้ทุกคนที่อยู่ในสังคม สามารถใช้ประโยชน์จากสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างเต็มทีแ่ ละ เท่าเทียมกัน โดยไม่ต้องมีการดัดแปลงพิเศษหรือเฉพาะเจาะจงเพื่อบุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง

28


A8 สถานที่ท่องเที่ยวและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับทุกคน (Access for All)

หลัก 7 ประการของการออกแบบเพื่อทุกคน อารยสถาปั ตย์ เป็น แนวความคิดสากลที่ องค์การสหประชาชาติได้พ ยายามเผยแพร่และส่งเสริม จากแนวความคิดเดิมเพื่อให้คนพิการได้รับสิ่งอำนวยความสะดวกในการดำรงชีวิตในอาคารและสิ่งแวดล้อม ตามโครงการ Promotion of Non-Handicapping Physical Environment for Disabled Persons และ ได้มีการพัฒนาตามลำดับเป็น Accessible Design, Adaptable Design, Barrier Free Design, Design for all และ Inclusive Design ซึ่งในที่สุดก็เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปในหลักการของ อารยสถาปัตย์ ซึ่งประกอบด้วย หลัก 7 ประการ ได้แก่ 1. ทุกคนใช้ได้อย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน (Equitable Use) การออกแบบที่เป็นประโยชน์และตรงความต้องการของคนทุกกลุ่ม ทุกคนในสังคมใช้งานได้อย่างเท่า เทียมกัน ไม่แบ่งแยกและเลือกปฏิบัติ การออกแบบสร้างความเท่าเทียมกันในการใช้สอยของผู้ใช้ที่อายุต่างกัน และต่างความสามารถ เช่น การออกแบบเคาน์เตอร์ที่มีความสูงต่างระดับ สำหรับให้บริการผู้ที่ใช้วีลแชร์หรือ เด็กสามารถใช้งานได้อย่างสะดวก

ที่มาภาพ : Turisme de Barcelona เข้าถึงได้จาก : http://blog.barcelonaguidebureau.com/accessible-barcelona-tourism-for-disabled-travellers/

29


A8 สถานที่ท่องเที่ยวและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับทุกคน (Access for All)

2. มีความยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนการใช้งานได้ (Flexible Use) การออกแบบที่รองรับความสามารถที่หลากหลายของแต่ละบุคคล สามารถปรับเปลี่ยนการใช้งานได้ สะดวกทั้งการใช้งานมือขวาหรือมือซ้าย อำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้สามารถปรับเปลี่ยนการใช้งานตามการ เคลื่อนไหวของตนเอง 3. ใช้งานและเข้าใจง่าย (Simple and Intuitive Use) การออกแบบเรียบง่าย สามารถใช้งานง่าย โดยไม่ต้องคำนึงถึงประสบการณ์ ความรู้ ภาษา หรือระดับ ความชำนาญของผู้ใช้ เช่น บัตรโทรศัพท์ที่มีรอยเว้า เพื่อให้คนตาบอดได้รับสัมผัสรู้ได้ว่าจะต้องใส่ด้านไหนเข้า ไปในเครื่องโทรศัพท์หรือเครื่องอ่านบัตร ซึ่งเป็นมาตรฐานของ JIS (Japanese Industrial Standards) และ การใช้รูปภาพเพื่อการคัดแยกขยะ เป็นต้น 4. การสื่อความหมายที่เข้าใจง่าย ข้อมูลชัดเจน (Perceptible Information) การสื่อสารข้อมูลที่จำเป็นในการออกแบบได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยไม่คำนึงถึงสภาพแวดล้อมหรือ ความสามารถทางประสาทสัมผัสของผู้ใช้ ให้ข้อมูลที่เข้าใจง่าย ไม่จำเป็นต้องอาศัยการรับรู้ทางร่างกายที่มาก เกินไป การออกแบบควรมีป้ายสัญลักษณ์ หรือสีที่ตัดกับสภาพแวดล้อมโดยรอบ แนะนำการใช้งานหลากหลาย รูปแบบ เช่น รูปภาพแสดงการใช้สุขภัณฑ์ อักษรเบรลล์ เสียงประกอบ เป็นต้น 5. การออกแบบที่เผื่อการใช้งานที่ผิดพลาดได้/ ระบบป้องกันอันตราย (Tolerance for Error) การออกแบบที่สามารถลดอันตรายจากอุบัติเหตุและผลกระทบที่ไม่พึงประสงค์หรือการกระทำที่ไม่ได้ ตั้งใจ มีระบบป้องกันความผิ ดพลาดในการใช้งาน/ มีผลก่อให้เกิดอั นตรายน้ อยที่สุด การออกแบบควรลด อันตราย หรืออุบัติเหตุที่เกิดขึ้นได้โดยไม่ตั้งใจ หรือเตรียมอุปกรณ์เพื่อให้เกิดความปลอดภัยไว้ เช่น กรรไกรที่มี ปลอกสวม แต่สามารถตัดกระดาษ และใช้งานได้ปกติ พื้นผิวต่างสัมผัสไว้ก่อนถึงทางลาด ราวจับ เป็นต้น 6. ใช้แรงน้อย (Low Physical Effort) การออกแบบที่สามารถนำมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพสะดวกสบายและไม่เกิดความเมื่อยล้า สะดวก และไม่ต้องออกแรงมาก เช่น เครื่องช่วยถอดและเสีย บปลั๊ก ซึ่งเพียงแค่บีบหรือกดที่ปลายของอุปกรณ์ ก็จะ ช่วยให้ดันปลัก๊ ได้ง่าย เป็นต้น 7. มีข นาดและพื้ น ที่เหมาะสมกับ การเข้ าถึ งและใช้ งานได้ (Size and Space for Approach and Use) มีขนาดที่เหมาะสมและมีพื้นที่สำหรับการเข้าถึ งและการใช้งาน โดยไม่คำนึงถึงขนาดร่างกาย ท่าทาง หรือการเคลื่อนไหวของผู้ใช้ มองเห็นได้ชัดเจน ไม่ว่าจะยืนหรือนั่งบนรถเข็น สะดวกในการใช้งานทั้งการเอื้อม การจับ โดยปราศจากเงื่อนไขของข้อจำกัดทางร่างกายหรือการเคลื่อนไหว เช่น ขนาดของห้องน้ำที่เหมาะสม กับคนพิการ ออกแบบให้เหมาะสมต่อการใช้วีลแชร์ มีขนาดพื้นที่เพียงพอสำหรับหมุนหรือกลับรถเข็นได้ภายใน ห้องน้ำ เป็นต้น

30


A8 สถานที่ท่องเที่ยวและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับทุกคน (Access for All)

สิ่งอำนวยความสะดวก บริเวณพืน้ ที่สาธารณะสำหรับคนพิการ ที่นั่งสำหรับคนพิการ เวลาไปสถานที่สาธารณะต่าง ๆ มักจะมีที่นั่งพิเศษสำหรับคนพิการเอาไว้เพื่อคอยอำนวยความสะดวก ในกรณีที่คนพิการต้องใช้พื้นที่บริเวณดังกล่าว อาทิ บริเวณโรงพยาบาลก็จะมีที่นั่งสำหรับคนพิการที่เมื่อขึ้นจาก ลิฟต์มาก็สามารถนั่งรอพบแพทย์หรือยื่นบัตรนัดต่าง ๆ ทีจ่ อดรถสำหรับคนพิการ โดยส่วนมากจะเป็นการเว้นพื้นที่โดยมีการทำเครื่องหมายเฉพาะเอาไว้ให้ในบริเวณที่จะทำให้คนพิการ สะดวกต่อการใช้บริ การสถานที่ต่าง ๆ อาทิ สถานที่ราชการ ห้างสรรพสิ นค้า โดยมักจะทำพื้นที่จอดรถคน พิการไว้ใกล้กับทางเข้าออกเพื่อสะดวกในการเดินทางมาทำธุระ ทางลาด มีไว้เพื่อให้คนพิการที่มีปัญหาเรื่องการเดินหรือเรื่องสายตาสามารถใช้ทางลาดเพื่อเดินทางได้อย่าง สะดวกสบาย ไม่จำเป็ นต้องก้าวเป็นขั้นบันไดเพราะอาจทำให้เกิดสะดุดพลาดล้มได้ ส่วนมากมักจะเห็นตาม รถไฟฟ้า ห้างสรรพสินค้า หรือทางเดินทั่วไปที่มีการจัดสรรไว้ให้สำหรับคนพิการ ห้องน้ำสำหรับคนพิการ คนพิ ก ารหลายๆ คนไม่ ส ามารถใช้ห้ องน้ ำแบบเดี ยวกับ คนปกติได้ ด้ วยข้อจำกัด ด้านพื้ น ที่ ความ สะดวกสบาย ห้องน้ำคนพิการจึงมักจะมีขนาดใหญ่กว่าปกติเพื่อเป็นการเผื่อให้วีลแชร์สามารถเข้าไปได้ มีราว จับ หรือบางทีทำไว้แบบไม่มีกลอนประตูเผื่อว่าหากเกิดอุบัติเหตุ คนที่อยู่ด้านนอกจะได้เข้าไปช่วยเหลือได้ทัน พื้นผิวสัมผัสเฉพาะ ใช้กับคนพิการทางสายตา จะเห็นว่าเวลาคนเหล่านี้ใช้ไม้เท้า บ่อยครั้งที่พวกเขาไม่สามารถรับรู้ได้ว่า ทางตรงนี้มีทางก้าวขึ้น ก้าวลง หรือสามารถเดินได้หรือไม่ การมีพื้นผิวสัมผัสเฉพาะ เช่น พื้นที่เป็นปุ่มหลายปุ่ม ขึ้นมาจะทำให้คนพิการทางสายตารับรู้ได้ว่าจะสามารถเดินไปทางไหนได้บ้าง บันไดเลื่อนสำหรับคนพิการ มักเห็นตามรถไฟฟ้าหรือห้ างสรรพสินค้าบางแห่งที่จะมีบันไดเลื่อนเฉพาะสำหรับคนพิการ โดยอาจ เป็นรถนั่งให้ขึ้นลงได้ไปจนถึงจุดหมาย หรือบันไดเลื่อนแบบพิเศษที่เหมาะสมกับคนพิการทุกคน

31


A8 สถานที่ท่องเที่ยวและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับทุกคน (Access for All)

ทัวร์คนตาบอดในประเทศไทย Nutty’s Adventures ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เพื่อเข้า ร่วมงานเจรจาธุรกิจในงาน World Travel Market (WTM) ณ กรุงลอนดอน ประเทศอั งกฤษ เมื่ อ ปี พ .ศ. 2559 ผลจากการเข้าร่วมดังกล่าว ทำให้มองเห็นโอกาของประเทศไทยในการพัฒนาเส้นทางเพื่อคนตาบอดเพื่อ รองรับชาวอังกฤษที่มีความต้องการเดินทางเข้ามาเที่ยวในประเทศไทย ปีพ.ศ. 2560 ได้มีการจัดกิจกรรม FAM trip (Familiarization Trip) โดยเชิญผู้ประกอบการธุรกิจนำ เที่ ย วที่ เป็ น คู่ เจรจาธุ ร กิ จ ในงาน ซึ่ ง รวมถึ ง บริ ษั ท Seable Holidays มาสำรวจเส้ น ทางท่ อ งเที่ ย วทั้ ง ใน ภาคเหนือและภาคใต้ หลังจากนั้น บริษัท Seable Holidays ก็ได้นำเส้นทางที่ได้จากการสำรวจไปเสนอขาย ให้กับมูลนิธิผู้พิการทางสายตาในประเทศอังกฤษ เพื่อเดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทย ต่อมาปีพ.ศ. 2561 ประเทศไทยได้มีโอกาสต้ อนรับคณะนักท่องเที่ยวตาบอดจากประเทศอังกฤษ จำนวน 12 คน ที่เดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทยเป็นเวลา 11 วัน ระหว่างวันที่ 11 - 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 โดยเดินทางไปยัง 8 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร พระนครศรีอยุธยา เชียงใหม่ พะเยา ภูเก็ต พังงา พัทลุง และตรัง ซึ่งในครั้งนั้น นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงท่องเที่ยวและ กีฬา เป็นตัวแทนของประเทศไทยให้การต้อนรับและแสดงความขอบคุณที่คณะฯ ดังกล่าวได้เลือกประเทศไทย เป็นจุดหมายปลายทางในการท่องเที่ยวท่อง โดยรายการนำเที่ยวมีดังนี้ วันที่ 1 : เดินทางมาถึงประเทศไทย - กรุงเทพฯ เดินทางถึงสนามบิน กรุงเทพฯ เข้าที่พักและพักผ่อนตามอัธยาศัย รับประทานอาหารเย็นที่ร้านอาหาร ท้องถิ่น วันที่ 2 : กรุงเทพฯ ชมวัดโพธิ์ ที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาส ทั้งยังเปรียบเสมือนมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย โดยเฉพาะศาสตร์การนวดแผนไทย และสัมผัสการนวดแผนไทยโบราณ (หากมีเวลา) และปากคลองตลาด เดินทางต่อไปยังจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เข้าพักที่ โรงแรม วาสนา ดีไซด์ โฮเทล และรับประทาน อาหารเย็นบนเรือสำเภาไม้สัก วันที่ 3 : พระนครศรีอยุธยา ชมอุท ยานประวัติศ าสตร์ พ ระนครศรีอยุธยา เช่น วัดหน้ าพระเมรุ รับ ประทานอาหารกลางวัน ที่ ร้านอาหารท้องถิ่นพร้อมเครื่องดื่มน้ำมะพร้าวสด กลับเข้าโรงแรมและพักผ่อนตามอัธยาศัย ก่อนออกเดินทาง ด้วยรถไฟไปยังจังหวัดเชียงใหม่

32


A8 สถานที่ท่องเที่ยวและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับทุกคน (Access for All)

วันที่ 4 : พระนครศรีอยุธยา - เชียงใหม่ เดินทางถึงจังหวัดเชียงใหม่ เก็บสัมภาระเข้าที่พักที่โรงแรมรัตนา และเดินทางต่อไปยังปางช้าง ช่วง เย็น เดินชมไนท์บาร์ซาร์และรับประทานอาหารสตรีทฟู้ด

ที่มาภาพ : Nutty’s Adventures เข้าถึงได้จาก : https://www.nutty-adventures.com/tour-for-blind/

วันที่ 5 : เชียงใหม่ - พะเยา ช่วงเช้า เดินชมวัดเก่าในเมืองเชียงใหม่ ต่อจากนั้นเดินทางไปยังบ้านดอกบัว จังหวัดพะเยา ใช้เวลาใน การเดินทางประมาณ 1 – 1.30 ชั่วโมง พบชาวบ้านและเข้าพักที่โฮมสเตย์ รับประทานอาหารกลางวันร่วมกับ ชาวบ้านในชุมชน วันที่ 6 : บ้านดอกบัว ทำกิจกรรมท่องเที่ยวชุมชนที่บ้านดอกบัว หมู่บ้านที่ได้รับรางวัลชนะเลิศระดับประเทศตามประกวด ผลงานตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประเภทชุมชน เรียนรู้การทำงานหัตกรรมของหมู่บ้าน ลองสาน สุ่มไก่แบบง่าย ๆ วันที่ 7 : บ้านดอกบัว - พัทลุง ชมวัดกลางเขา หลังจากนั้นเดินทางกลับไปยังจังหวัดเชียงใหม่เพื่อต่อเครื่องไปยังภาคใต้ นั่งรถต่อไป ยังจังหวัดพัทลุง ใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมง ถึงจังหวัดพัทลุงประมาณ 17.00 น. เข้าที่พักและพักผ่อนตาม อัธยาศัยที่ ศิวา รอยัล โฮเตล วันที่ 8 : พัทลุง เรียนรู้วัฒนธรรมของชาวใต้ เช่น การทำกลองโพน หนังตะลุง เครื่องแต่งกายโนรา รับประทานอาหาร กลางวันที่ Bamboo Garden เรียนรู้เกี่ยวกับการเพาะปลูกพืชสำคัญ ร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ในตลาด นำชมโดย ไกด์ท้องถิ่น

33


A8 สถานที่ท่องเที่ยวและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับทุกคน (Access for All)

ที่มาภาพ : Nutty’s Adventures เข้าถึงได้จาก : https://www.nutty-adventures.com/tour-for-blind/

วันที่ 9 : พัทลุง – เกาะสุกร เดินทางโดยรถยนต์ไปที่ท่าเรือ ใช้เวลาประมาณ 1.30 ชั่วโมง หลังจากนั้น ลงเรือเฟอร์รี่เพื่อข้ามไป เกาะสุกร นั่งรถตุ๊กตุ๊กท้องถิ่นต่อไปยัง ญาตา รีสอร์ท แอรด์ สปา เช็คอินเข้าที่พักและพักผ่อนตามอัธยาศัย ท่านสามารถเดินชมชายหาดและว่ายน้ำที่สระน้ำอุ่นได้ วันที่ 10 : พักผ่อนบนเกาะสุกร พักผ่อนตามอัธยาศัยบนเกาะสุกร วันที่ 11 : เกาะสุกร - ตรัง/ ภูเก็ต เดินทางต่อไปยังสนามบินจังหวัดภูเก็ต ใช้เวลาเดินทางประมาณ 5 ชั่วโมง เดินทางกลับประเทศโดย สวัสดิภาพ

ที่มาภาพ : Nutty’s Adventures เข้าถึงได้จาก : https://www.nutty-adventures.com/tour-for-blind/

34


A8 สถานที่ท่องเที่ยวและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับทุกคน (Access for All)

อ้างอิง เนื้อหา 1. การท่องเทีย่ วของผู้พิการทางการเคลื่อนไหวในสังคมไทย (2553) โดย พิทักษ์ ศิริวงศ์ และปัทมอร เส็งแดง 2. การท่องเทีย่ วสำหรับคนพิการ : ความท้าทายสำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย (2560) โดย กัลยา สว่างคง 3. การศึกษาศักยภาพขององค์ประกอบพื้นฐานของแหล่งท่องเที่ยวเพื่อการเข้าถึงสำหรับคนทั้งมวล (Accessible Tourism for all) ในเขตเทศบาลเมืองแม่เหียะ อ.เมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ (2561) โดย ชัชวาล ม่วงพรวน 4. กฎหมายเพือ่ คนพิการไทย : รู้แล้วได้อะไร (2554) โดย รศ.พญ.อภิชนา โฆวินทะ 5. คู่มือการออกแบบเพื่อทุกคน (2558) โดย รศ.ไตรรัตน์ จารุทัศน์ 6. คู่มือการออกแบบสภาพแวดล้อมสำหรับคนพิการ และคนทุกวัย (พิมพ์ครั้งที่ 4 ฉบับปรับปรุง) โดย สำนักส่งเสริมศักยภาพและสิทธิ สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ กระทรวงการ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 7. ประกาศกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เรื่อง ประเภทและหลักเกณฑ์ความ พิการ (2552) 8. ประกาศกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เรื่อง ประเภทและหลักเกณฑ์ความ พิการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2555 (2555) 9. แผนการวิจัย นวัตกรรมและเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2561-2564 (2561) โดย กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ 10. พระราชบัญญัติการฟืน้ ฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534 (2534) 11. พระราชบัญญัตสิ ่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 (2550) 12. พระราชบัญญัตหิ ลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 (2545) 13. ระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการให้สัมปทาน จัดสถานที่จำหน่ายสินค้าหรือบริการจัดจ้างเหมาช่วงงานหรือจ้างเหมาบริการโดย วิธีกรณีพิเศษ ฝึกงาน หรือจัดให้มีอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวก ล่ามภาษามือ หรือให้ความช่วยเหลืออื่น ใดแก่คนพิการหรือผู้ดแู ลคนพิการ พ.ศ. 2558 (2558) 14. ระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติว่าด้วยหลักเกณฑ์และ วิธีการให้สัมปทาน จัดสถานที่จำหน่ายสินค้าหรือบริการ จัดจ้างเหมาช่วงงาน ฝึกงาน หรือให้การช่วยเหลืออื่น ใดแก่คนพิการหรือผู้ดแู ลคนพิการ พ.ศ. 2552 (2552)

35


A8 สถานที่ท่องเที่ยวและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับทุกคน (Access for All)

15. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 (2560) 16. สิทธิคนพิการตามกฎหมายที่สำคัญ โดย กระทรวงแรงงาน เข้าถึงได้จาก http://www.mol.go.th/employee/low_disabilitie 17. อารยสถาปัตย์ (2557) โดย นางสาวพรวิทู โค้วคชาภรณ์ สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการ วุฒิสภา 18. ACCESSIBLE THAILANDTOURS 2020 TOURISM FOR ALL (2562) By Nutty’s Adventures 19. Accessible Tourism: Sharing the Benefits of Travel with Everyone เข้าถึงได้จาก https://www.trainingaid.org/news/accessible-tourism-travel-for-everyone 20. Global Sustainable Tourism Council Criteria for Destinations (2013) by GSTC 21. Tourism for All promoting universal accessibility เข้าถึงได้จาก https://www.tatreviewmagazine.com/article/tourism-for-all-promoting-universal-accessibility/ 22. ภาพปก : Wounded Hero trek to Nepal by Pankaj Pradhananga.

ผูจ้ ัดทำ พ.ศ. 2562 ศูนย์แห่งความเป็นเลิศด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (ศทย.) องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)

เรียบเรียง นางสาวฉัตรกมล ปิยจารุพร

36


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.