คู่มือการพัฒนานักสื่อความหมายชุมชน

Page 1



การพัฒนา นักสื่อความหมายชุมชน

องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)


สารผู้บริหาร Message from the Director of DASTA ในช่ ว งหลายปี ที่ ผ ่ า นมา แวดวงการท่ อ งเที่ ย วของประเทศไทยนั้ น มี ค วามตื่ น ตั ว เป็นอย่างมากในการมุ่งเน้นการพัฒนาให้เกิดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยมุ่งหวังให้เกิด การสร้ า งงานสร้ า งอาชี พ และสร้ า งความสุ ข ให้ กั บ สั ง คมไทย ซึ่ ง เป็ น แนวทางการพั ฒ นา ให้ชุมชนท้องถิ่นมีความเข้มแข็ง และเกิดการกระจายรายได้อย่างเป็นธรรม สอดคล้อง กับแนวทางการด�าเนินงานตลอดมาของ องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการ ท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. โดย อพท. ถือเป็นพันธกิจหลัก ในการพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อสร้างสมดุลทั้ง 3 มิติ คือ สังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม ดั ง นั้ น อพท. จึ ง เป็ น หน่ ว ยงานที่ ผ ลั ก ดั น การใช้ ก ารท่ อ งเที่ ย วโดยชุ ม ชนเป็ น เครื่ อ งมื อ ในการพัฒนา เพื่อสร้างชุมชนแห่งความยั่งยืน ตามเกณฑ์การพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน ภายใต้การก�ากับของคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ ทั้งในด้านการบริหาร จัดการเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิต การอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม การอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการบริการและความปลอดภัย ซึ่งให้ความ ส�าคัญกับการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในชุมชน จนเกิดชุมชนต้นแบบในการบริหารจัดการ การท่องเที่ยวโดยชุมชนในพื้นที่พิเศษของ อพท. การจะพั ฒ นาชุ ม ชนแห่ ง ความสุ ข และความยั่ ง ยื น จนเป็ น ชุ ม ชนแห่ ง การเรี ย นรู ้ และสะท้ อ นอั ต ลั ก ษณ์ ผ ่ า นการเล่ า เรื่ อ งราวที่ ส ร้ า งประสบการณ์ เ หนื อ ความคาดหมาย ให้กับนักท่องเที่ยวและผู้มาเยือนได้นั้น ในปี 2561 อพท. จึงได้เริ่มด�าเนินโครงการพัฒนา ศักยภาพบุคลากรเพื่อการบริหารจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน ได้แก่ โครงการพัฒนา นักสื่อความหมายชุมชน ซึ่งจะท�าให้คนในพื้นที่ได้เล็งเห็นถึงความส�าคัญของเรื่องเล่า และ คุณค่าในพื้นที่ของตน ผ่านการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นที่สามารถส่งมอบประสบการณ์ให้แก่ ผู้มาเยือนได้เข้าถึงความเป็นอัตลักษณ์และตัวตนที่แท้จริงของชุมชน โดยหลักสูตรนี้ จะช่ ว ยสร้ า งกระบวนการเรี ย นรู ้ ตั้ ง แต่ ก ารรวบรวมองค์ ค วามรู ้ ใ นชุ ม ชนเข้ า ไว้ ด ้ ว ยกั น ร้อยเรียงเรื่องราวเพื่อให้ผู้มาเยือนซาบซึ้งและเข้าใจได้ง่าย จากการเล่าเรื่องของคนในชุมชน การจัดล�าดับควาส�าคัญของเรื่องราว เข้าใจองค์ประกอบของการสื่อสาร เข้ า ถึ ง ความต้ อ งการของกลุ ่ ม ผู ้ ม าเยื อ นที่ ห ลากหลาย และ การท�างานเป็นทีมที่ดี ซึ่งเป็นการพัฒนาศักยภาพของคนในชุมชน ให้ เ ป็ น นั ก สื่ อ ความหมายชุ ม ชนที่ ส ามารถสร้ า งประสบการณ์ เหนือความคาดหมาย หรือ ประสบการณ์ WOW สามารถต่อยอด

นายทวีพงษ์ วิชัยดิษฐ รองผู้อ�านวยการ อพท. รักษาการในต�าแหน่ง ผู้อ�านวยการ อพท.

น�าไปใช้ในชุมชนต่างๆ เพื่อถ่ายทอด และเสริมสร้างกระบวนการคิด วิเคราะห์ และพัฒนา นักสื่อความหมายชุมชนต่อไปด้วย ยิง่ ไปกว่านัน้ ผูท้ เี่ ข้าร่วมอบรมหลักสูตรนีจ้ ะสามารถน�าองค์ความรูไ้ ปต่อยอดความยัง่ ยืน ทางด้านสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม ด้วยการรักษาคุณค่าของภูมิปัญญาของตนจาก องค์ ค วามรู ้ แ ละเรื่ อ งราวในชุ ม ชนทั้ ง ด้ า นธรรมชาติ แ ละสิ่ ง แวดล้ อ ม ประวั ติ ศ าสตร์ แ ละ วัฒนธรรมต่างๆ เพื่อสานต่อจากรุ่นสู่รุ่น ไม่ให้เลือนหายไป ทั้งนี้ การสื่อความหมายที่ดี ก็เปรียบเสมือน การน�าเสนอความเป็นแก่นแท้ของชุมชนที่มากกว่าการเยี่ยมชมท้องถิ่นนั้นๆ แต่นั่นหมายถึง การเข้าไปถึงจิตวิญญาณของคนในชุมชน เพื่อสร้างประสบการณ์ที่มีคุณค่า ร่วมกันระหว่างชุมชนกับผูม้ าเยือน นัน่ คือสิง่ ที ่ อพท. ตัง้ ใจและมุง่ หวังให้เกิดขึน้ จากโครงการนี ้ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า คู่มือการพัฒนานักสื่อความหมายชุมชนที่ทุกท่านถืออยู่ในมือเล่มนี ้ จะช่วยให้ท่านน�าไปเป็นเครื่องมือในการสร้างความรู ้ ความเข้าใจต่อแนวทางการพัฒนานักสื่อ ความหมายที่สามารถถ่ายทอดเรื่องราวของชุมชน ผ่านการสื่อสารที่สร้างประสบการณ์เหนือ ความคาดหมาย ให้นักท่องเที่ยวหรือผู้มาเยือนบ้านของเรา เกิดความประทับใจในเสน่ห์ของ การท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างแท้จริง


ผู้จัดท�า

สารบัญ เรื่อง

ที่ปรึกษาคณะจัดท�า 1. นายทวีพงษ์ วิชัยดิษฐ : รองผู้อ�านวยการ อพท. รักษาการผู้อ�านวยการ อพท. 2. นายสุเทพ เกื้อสังข์ : รองผู้อ�านวยการ อพท. 3. นางพัฒน์มาศ วงศ์พัฒนศิริ : ผู้เชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชน

คณะผู้จัดท�า 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9.

นางสาววัชรี ชูรักษา : ผู้อ�านวยการส�านักท่องเที่ยวโดยชุมชน อพท. นางสาววรรณวิภา ภานุมาต : รองผู้อ�านวยการส�านักท่องเที่ยวโดยชุมชน อพท. นายกรวิทย์ เทพนีรมิตร : เจ้าหน้าที่พัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน อพท. นางสาวปารมี พรหมตุ๊ : เจ้าหน้าที่พัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน อพท. ดร. แก้วตา ม่วงเกษม : วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ผศ.ดร.สมพงษ์ อ�านวยเงินตรา : วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล นายศุภอัทธ์ อาษารัฐ : วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล นางสาวสุปรียา ม่วงรอด : วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ผศ.ดร.จุฑามาศ วิศาลสิงห์ : ประธานกรรมการบริหารสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยว ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (PATA) ประจ�าประเทศไทย 10. ผศ.ดร.จิตศักดิ์ พุฒจร : อาจารย์ประจ�าสาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยศิลปากร 11. นางสาวกอบกุล ปิตรชาต : หัวหน้ากลุ่มวิชาการและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว กองพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว กรมการท่องเที่ยว 12. นายภาคภูมิ อยู่พูล : นักโบราณคดีช�านาญการ อุทยานประวัติศาสตร์ก�าแพงเพชร กรมศิลปากร 13. นางสุภาภรณ์ ปราชญ์อ�าไพ : รองประธานสมาคมเครือข่ายการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เอเชีย 14. นายธนาวุฒิ ศุภางครัตน์ : กรรมการสมาคมไทยท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ 15. นายคมสัน สุวรรณรัตน์ : National Trainerสมาพันธ์มัคคุเทศก์โลก (World Federation of Tourist Guide Association) 16. นายประยูร อสัมภินพงศ์ : ประธานชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชน เมืองโบราณทวารวดีอู่ทอง 17. นายปองเลิศ เฉลิมสิริโรจน์ : ประธานชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชน เมืองเก่าสุโขทัย 18. นางวันดี ประกอบธรรม : ประธานชมรมส่งเสริมการท่องเทีย่ วโดยชุมชนตะเคียนเตีย้ 19. นางพนิดา อินทรเกษร : ประธานชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชน ต�าบลคลองใหญ่

ความรู้เบื้องต้นเพื่อท�าความเข้าใจบทบาทของนักสื่อความหมายและการสร้าง ประสบการณ์ WOW 1 นักสื่อความหมาย และ การสื่อความหมายประสบการณ์ WOW 2 การสื่อสารและหน้าที่ของนักสื่อความหมาย 3 หลักสูตรพัฒนานักสื่อความหมายชุมชน ตัวอย่างก�าหนดการ การประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) การพัฒนา นักสื่อความหมายชุมชน

หน้า 9-13

15

1. แนะน�าเกี่ยวกับการสื่อความหมายในแหล่งท่องเที่ยว และบทบาทของนักสื่อความหมาย 17-19 - ความหมาย “การสื่อความหมาย” - องค์ประกอบส�าคัญของการสื่อความหมาย - การสื่อความหมายส�าคัญอย่างไร - ท�าไมต้องมีนักสื่อความหมายในยุค ดิจิทัล 4.0 รู้เขา... รู้เรา (เน้นคน) 20 2. การจัดการอารมณ์ ของเรา และของเขา เพื่อการบริการที่ดี 20-21 3. ทักษะการละลายพฤติกรรมกลุ่มผู้มาเยือน 22 4. การอ่านภาษากายเบื้องต้น (understanding Basic Body Language) 22-25 5. ทักษะการเข้าถึงพฤติกรรมนักท่องเที่ยวการเข้าถึงความต้องการและความสนใจ 25-27 ของนักท่องเที่ยว - ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับผู้มาเยือนที่ควรพิจารณาในการออกแบบกิจกรรมสื่อความหมาย 26 - พฤติกรรมความสนใจของกลุ่มนักท่องเที่ยว 26 6. ทักษะการเชื่อมโยงบทสนทนาเชิงโต้ตอบด้วยเรื่องใกล้ตัวเรา 28-31 (Interactive Conversation Skills and Local Connectivity) 7. ทักษะการท�างานเป็นทีม (Teamwork Skills) 32-33 8. ศีลธรรมและจริยธรรมส�าหรับนักสื่อความหมายในชุมชน 34-35 9. ความรู้เรื่องกฎระเบียบที่นักท่องเที่ยวควรปฏิบัติ 36-37 10. ความปลอดภัยในแหล่งท่องเที่ยว 37 เรื่องเล่า-นักสื่อความหมาย (เน้นเทคนิคสร้างประสบการณ์ WOW) 11. เทคนิคการจัดล�าดับความส�าคัญของเนื้อหา และสาระส�าคัญ (Theme) - การค้นหาข้อมูล ความโดดเด่น ความเหมือน ความต่าง อะไรเอ่ย? - การน�าเสนอเนื้อหาด้วยสาระส�าคัญ (Theme)

38 38-43


สารบัญ (ต่อ) เรื่อง

สารบัญ (ต่อ) หน้า

- หัวข้อ (Topic) และสาระส�าคัญ (Theme) แตกต่างกันอย่างไร - ลักษณะที่ดีของเนื้อหาที่มีสาระส�าคัญ - การเรียงล�าดับเนื้อหา 12. เทคนิคการสร้างประสบการณ์ WOW แก่ผู้มาเยือน - เสริมสร้างประสบการณ์ร่วมด้วยการเชื่อมโยงกับนักท่องเที่ยว 13. เทคนิคการสร้างประสบการณ์ร่วมให้ WOW ตามเส้นทางท่องเที่ยว (Customer Journey Mapping –Based WOW Experience: CJM-WOW) 14. การเตรียมความพร้อมในการพาชมแหล่งท่องเที่ยว 15. สรุปส่งท้าย : ค�าแนะน�าส�าหรับนักสื่อความหมายเพื่อสร้างประสบการณ์ WOW 16. กรณีศึกษา การพัฒนาหลักสูตร และการท�าเส้นทางสื่อความหมายในแหล่งท่องเที่ยว โดยชุมชน 1. ชุมชนตะเคียนเตี้ย จังหวัดชลบุรี 2. ชุมชนม่วงตึ๊ด จังหวัดน่าน 3. ชุมชนภูหลวง จังหวัดเลย 4. ชุมชนหนองอ้อ จังหวัดสุโขทัย 5. ชุมชนคลองใหญ่ จังหวัดตราด 6. ชุมชนบ้านดงเย็น จังหวัดสุพรรณบุรี

สารบัญตาราง

เรื่อง ตารางที่ 1 หลักการสร้างเสริมประสบการณ์ WOW ตารางที่ 2 ท่าทางภาษากายเชิงลบและวิธีการรับมือ ตารางที่ 3 แนวทางการเชื่อมโยงบทสนทนากับเรื่องราวในพื้นที่อย่างเป็นธรรมชาติ ตารางที่ 4 แนวทางการเรียงล�าดับสาระส�าคัญของแหล่งท่องเที่ยวหรือฐานความรู้ ตารางที่ 5 แบบฟอร์มกิจกรรมการสื่อความหมาย (ใบงาน)

สารบัญรูปภาพ

เรื่อง ภาพที่ 1 แนะน�าการใช้ชุดความรู้ การพัฒนานักสื่อความหมายชุมชน ภาพที่ 2 เรียนรู้ที่จะอ่านและชักจูงผู้คนผ่านอวัจนภาษา ภาพที่ 3 ลักษณะการแสดงออกของภาษากาย (1)

43-48 49-54 55-56 56 57 58-63 64-68 69-73 74-78 79-82 73-77 หน้า 14 24 29 42 55-56 หน้า 8 22 23

เรื่อง

หน้า

ภาพที่ 4 ลักษณะการแสดงออกของภาษากาย (2) 24 ภาพที่ 5 กิจกรรม ฝึกการอ่านสีหน้าและภาษากาย 25 ภาพที่ 6 แบบฝึกหัดทักษะการเชื่อมโยงบทสนทนาเชิงโต้ตอบด้วยเรื่องใกล้ตัวเรา 31 ภาพที่ 7 ตัวอย่างรูปแบบข้อปฏิบัติในการท่องเที่ยว 36 ภาพที่ 8 ตัวอย่างหัวข้อ (Topic) และสาระส�าคัญ (Theme) แตกต่างกันอย่างไร 40 ภาพที่ 9 แบบฝึกหัด การเล่าเรื่องก็เหมือนการท�าอาหาร 41 ภาพที่ 10 แบบฝึกหัด 13 แนวทางเสริมสร้างประสบการณ์ WOW 47 ภาพที่ 11 แบบฝึกหัด 13 แนวทางเสริมสร้างประสบการณ์ WOW (ต่อ) 48 ภาพที่ 12 แบบฝึกหัด ความรู้สึกเชิงบวกและความรู้สึกเชิงลบของนักท่องเที่ยว 49 ภาพที่ 13 เส้นทางสร้างประสบการณ์ WOW การท่องเที่ยวโดยชุมชน : นักสื่อความหมาย 52-53 ภาพที่ 14 แผนที่ออกแบบประสบการณ์ ส�าหรับการท่องเที่ยวโดยชุมชน 54 (WOW Experience Map Template) บรรณานุกรม ภาคผนวก

88-89 90-92


แนะน�ำกำรใช้ชุดควำมรู้ กำรพัฒนำนักสื่อควำมหมำยชุมชน คู่มือเล่มนี้ ตั้งใจท�าขึ้นเพื่อเป็นชุดความรู้แก่นักสื่อความหมายชุมชน ผู้ที่ต้องการน�าเสนอ แหล่งท่องเทีย่ ว และอัตลักษณ์ของตนเอง รวมถึงนักพัฒนาแหล่งท่องเทีย่ ว หรือนักพัฒนาในด้านการ สือ่ ความหมายโดยตรง และผูท้ ตี่ อ้ งการน�าชุดความรูน้ ไี้ ปใช้เพือ่ จัดท�าหลักสูตรฝึกอบรมแก่คนในชุมชน เพื่อเพิ่มพลังบวกและปลุกความเป็นตัวตนด้วยการเล่าเรื่องในพื้นที่ให้น่าสนใจยิ่งขึ้น ต้องยอมรับอย่างหนึง่ ว่าการท�าการท่องเทีย่ วโดยชุมชนนัน้ ผูม้ าเยือนส่วนใหญ่ตอ้ งการมีประสบการณ์ ร่วมกับชุมชนเข้าถึงความเป็นอรรถรสและเนื้อแท้ ซึ่งต้องอาศัยการถ่ายทอดที่ชวนติดตามและสร้าง ความประทับใจจากคนในพืน้ ทีๆ่ มากกว่าการให้รอยยิม้ และการต้อนรับ เพราะทีม่ ากไปกว่านัน้ ก็ คือ การรูซ้ งึ้ ถึงความส�าคัญในการสือ่ ความหมายทีด่ งึ เรือ่ งราวในอดีต หรือปัจจุบนั มาท�าให้ยงิ่ เกิดความรัก ความผูกพัน น�ามาซึ่งความหวงแหน และอยากจะเก็บรักษาพื้นที่นี้ไว้ให้ยั่งยืนร่วมไปกับชุมชน ก่ อ นจะเริ่ ม อ่ า น อยากให้ ท ่ า นเข้ า ใจ กระบวนการคิ ด ของการจั ด ท� า หลั ก สู ต รการพั ฒ นา นักสื่อความหมายในชุมชนเสียก่อน ซึ่งเป็นการถอดบทเรียนมาจากการลงพื้นที่ในชุมชน สอบถาม ความต้องการของชุมชน ค้นหาข้อมูลเพื่อศึกษาเชิงลึกให้เข้าใจถึงหลักการเป็นนักสื่อความหมาย และรวมถึงได้มกี ารถอดรหัสองค์ความรูผ้ มู้ ปี ระสบการณ์เป็นมัคคุเทศก์มอื อาชีพทีส่ ร้างความประทับ ใจแก่นักท่องเที่ยว ซึ่งประกอบไปด้วย 4 ส่วนส�าคัญอันได้แก่ 1. กรอบความรู้พื้นฐานด้านการสื่อความหมาย 2. การค้นหาเรื่องเล่าและเทคนิคการจัดล�าดับความส�าคัญของเนื้อหา 3. การออกแบบ Learning space หรือพืน้ ทีเ่ พือ่ การเรียนรูใ้ นชุมชน ทีจ่ ะต้องเข้าใจตัวเอง ทักษะ ที่ควรใช้ในการสื่อความหมาย เช่น การสื่อสาร และเทคนิคการสร้างประสบการณ์ WOW 4. การท�างานเป็นทีม และการท�างานร่วมกับมัคคุเทศก์มอื อาชีพเพือ่ เป็นการพึง่ พาอาศัยกันสร้าง ประสบการณ์ประทับใจให้แก่ผู้มาเยือนได้เป็นอย่างดี - ความหมาย - องค์ประกอบ - ความส�าคัญ - ท�าไมต้องมีนักสื่อความหมาย ในยุคดิจิตอล 4.0

- ทักษะการท�างานเป็นทีม - การท�างานร่วมกับมัคคุเทศก์ มืออาชีพ

กรอบ ความรู้พื้นฐาน การท�างาน เป็นทีม

- การค้นหาข้อมูลที่น่าสนใจเพิ่มเติม - การน�าเสนอเนื้อหาสาระที่น่าสนใจ การค้นหา เรื่องเล่าและ - หัวข้อและสาระส�าคัญเหมือนหรือ เทคนิคการจัด แตกต่างกันอย่างไร ล�าดับความส�าคัญ Interpretative - การจัดล�าดับความส�าคัญ Process

ออกแบบ Learning Space ทักษะการสื่อสาร - รู้เขารู้เรา ทักษะการสื่อสาร และการสร้าง ประสบการณ์ - เทคนิคนักสื่อความหมายกับ WOW

การสร้างประสบการณ์

ภาพที่ 1 : แนะน�าการใช้ชุดความรู ้ การพัฒนานักสื่อความหมายชุมชน 8

เนื้อหาประกอบหลักสูตร พัฒนานักสื่อความหมายชุมชน

9


ควำมรู้เบื้องต้น เพื่อท�ำควำมเข้ำใจบทบำทของนักสื่อควำมหมำยและ กำรสร้ำงประสบกำรณ์ WOW

1. นักสื่อความหมาย และ การสื่อความหมายประสบการณ์ WOW การท่ อ งเที่ ย วโดยชุ ม ชนเป็ น การท่ อ งเที่ ย วในรู ป แบบที่มีการบริหารจัดการ ท่องเที่ยวโดยคนในชุมชน มีแนวคิดมุ่งพัฒนาการมีส่วนร่วมของสมาชิกในชุมชน ซึ่งเป็นหัวใจส�าคัญของการท่องเที่ยวและการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพราะไม่เพียงแค่ ตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวเท่านั้น แต่ยังเน้นถึงการสร้างศักยภาพ ของผู้น�าชุมชนและคนในท้องถิ่นโดยผ่านกระบวนการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมของคน ในชุมชน ก่อให้เกิดการท่องเที่ยวโดยชุมชนขึ้นมา ทั้งนี้ผู้ที่มีบทบาทหน้าที่ส�าคัญ คือ นักสื่อความหมาย หรือมัคคุเทศก์ท้องถิ่น ซึ่งท�าหน้าที่เป็นสื่อกลางในการสร้าง ความรูค้ วามเข้าใจ โดยน�าเสนอความเป็นตัวตนของชุมชนในพืน้ ทีน่ นั้ ๆ ให้นกั ท่องเทีย่ ว ได้รับฟัง และเปิดมุมมองการเรียนรู้ร่วมกันกับผู้มาเยือน ดังนั้นหากนักสื่อความหมาย หรื อ มั ค คุ เ ทศก์ ท ้ อ งถิ่ น มี ค วามรู ้ ทั ก ษะ และความช� า นาญในการน� า เสนอ ย่ อ ม สามารถสร้างมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยว และสร้างความประทับใจให้กับ นักท่องเที่ยวอีกด้วย

10

เนื้อหาประกอบหลักสูตร พัฒนานักสื่อความหมายชุมชน

2. การสื่อสารและหน้าที่ของนักสื่อความหมาย การสื่ อ ความหมายเป็ น เครื่ อ งมื อ ส� า คั ญ ที่ ช ่ ว ยบรรลุ เ ป้ า หมายของแหล่ ง ท่องเที่ยว โดยการน�าเสนอคุณค่าของแหล่งท่องเที่ยวในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การพู ด การเขี ย น หรื อ การใช้ อุ ป กรณ์ แ บบใดก็ ต าม ควรค� า นึ ง ถึ ง คุ ณ ภาพของ การสื่อความหมายไม่ว่าจะเป็นเทคนิคที่ใช้และบุคลิกภาพของนักสื่อความหมาย ดังนั้น นักสื่อความหมายหรือมัคคุเทศก์ท้องถิ่นควรได้รับการพัฒนาความรู้และทักษะ ในการสื่อความหมาย สามารถบอกเล่าเรื่องราวธรรมชาติและวัฒนธรรมท้องถิ่น ของตนเอง ทั้งยังกระตุ้นให้ชุมชนเล็งเห็นถึงประโยชน์และความส�าคัญของข้อมูล เกี่ ย วกั บ ทรั พ ยากรในชุ ม ชนทั้ ง ทางธรรมชาติ วิ ถี ชี วิ ต และภู มิ ป ั ญ ญา ก่ อ ให้ เ กิ ด ความรักและความหวงแหนในคุณค่าของทรัพยากรการท่องเที่ยวและการท�านุบ�ารุง รักษาให้ยั่งยืนต่อไป ทั้งนี้ผู้ที่เกี่ยวข้องควรเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนา การสื่อความหมายในแหล่งท่องเที่ยวในชุมชนของตนให้มากขึ้น โดยมีหลักเกณฑ์ การสื่อความหมายที่ส�าคัญ คือ 1. การสื่อความหมายไม่ควรที่จะยุ่งยากซับซ้อน ง่ายต่อการท�าความเข้าใจ สัมพันธ์กับลักษณะโดดเด่นของแต่ละพื้นที่ และให้ค� าอธิบายที่แสดงให้เห็นด้วยตา หรือในหนังสืออ่าน 2. นักสื่อความหมายควรเน้นการโน้มน�านักท่องเที่ยวให้สนใจการสัมผัสโดยตรง กับธรรมชาติมากกว่าการบอกเล่าต่อๆ กันไป และหลีกเลีย่ งการสอนหรือการให้ความรู้ แบบเป็นพิธีการในห้องเรียน 3. นักสื่อความหมายควรมีความรู้ ความเข้าใจ และความช�านาญในข้อมูลนั้นๆ อย่างแท้จริงอีกทั้งยังจะต้องสามารถสื่อความหมายออกมาให้นักท่องเที่ยวเข้าใจ เพื่อพัฒนาความรู้ ความตระหนัก และความซาบซึ้งในท้องถิ่น 4. นักสื่อความหมายน�าเสนอความจริงให้ปรากฏ โดยจะต้องสอดคล้องกับ พื้นฐานทางวัฒนธรรมและพื้นฐานความรู้ของนักท่องเที่ยว

11


ในแง่มุมของการท่องเที่ยว องค์ประกอบหนึ่งที่ช่วยสร้างความประทับใจ และ ประสบการณ์การท่องเที่ยวคือ “คน” โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ที่สถานที่ท่องเที่ยว และ แหล่งท่องเที่ยว การท่องเที่ยวเองนั้นมีหลากหลายบริบทมากมายแตกต่างกันไป ตามลั ก ษณะของการท่ อ งเที่ ย ว ไม่ ว ่ า จะเป็ น ท่ อ งเที่ ย วเชิ ง อนุ รั ก ษ์ ท่ อ งเที่ ย ว ทางธรรมชาติ วั ฒ นธรรม และการท่ อ งเที่ ย วโดยชุ ม ชน นอกจากนั้ น ในแต่ ล ะ บริ บ ทการท่ อ งเที่ ย วเองปฏิ เ สธไม่ ไ ด้ เ ลยว่ า “สิ น ค้ า ” ทางการท่ อ งเที่ ย วเองก็ มี ค วามส� า คั ญ เช่ น กั น ซึ่ ง ในสิ น ค้ า นั้ น “การบริ ก าร” เป็ น ปั จ จั ย ที่ ส� า คั ญ และ ขาดไม่ได้เลยในการท�าให้เกิดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนต่อไป เมื่อน�ามาคู่กันแล้ว จะเห็นได้ว่าคนและการบริการจะส่งเสริมซึ่งกันและกัน เพื่อการพัฒนาต่อยอด การท่องเที่ยวขึ้นไปอีก ซึ่งคนในที่นี้อาจจะเป็นได้ทั้งผู้น�าเที่ยว ไกด์หรือมัคคุเทศก์ ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้น�าท้องถิ่น เยาวชน และสมาชิกชมรมท่องเที่ยวในพื้นที่ ส่วน การบริการนั้นย่อมรวมถึงการน�าเที่ยว การอ�านวยความสะดวก และในบริบท ของการท่ อ งเที่ ย วโดยชุ ม ชนนี้ คื อ การสื่ อ ความหมาย สื่ อ ความหมายออกไป เพื่ อ ให้ นั ก ท่ อ งเที่ ย วได้ รั บ ประสบการณ์ ที่ ม ากกว่ า เพี ย งแค่ ก ารแวะมาเที่ ย วดู และใช้ จ ่ า ย สื่ อ เพื่ อ ให้ นั ก ท่ อ งเที่ ย วได้ สั ม ผั ส ถึ ง คุ ณ ค่ า ของแหล่ ง ท่ อ งเที่ ย ว อย่างแท้จริงหน้าที่นี้จะสามารถท�าได้อย่างดีที่สุดโดยผ่านประสบการณ์จริงจาก คนในพื้นที่ ดังนั้นจึงมีความจ�าเป็นที่จะต้องท�าความเข้าใจถึงการสร้างประสบการณ์ เหนือความคาดหมาย หรือประสบการณ์ WOW โดยทั่วไปการสร้างเสริมประสบการณ์ WOW เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจากภายใน หรือความรู้สึกจากตัวนักท่องเที่ยวเอง ซึ่งมีสภาวะแวดล้อมโดยรอบเป็นตัวกระตุ้น ให้เกิดประสบการณ์แปลกใหม่ เมื่อมองในบริบทของการท่องเที่ยวโดยชุมชน ผู้คน ในพื้นที่ นักสื่อความหมายในพื้นที่ คือ ปัจจัยส�าคัญที่จะท�าให้นักท่องเที่ยวสามารถ สร้างประสบการณ์เฉพาะนี้ขึ้นมาได้ โดยมีนักสื่อความหมายเป็นผู้ช่วยสร้างสิ่งนี้ขึ้น ดังนั้น นักสื่อความหมายที่ดีต้องมียุทธวิธีที่จะชักน�าให้นักท่องเที่ยวรู้สึกหรือได้ สัมผัสประสบการณ์โดยผ่านการลงมือท�าจริง ได้คิด และมีส่วนร่วมเกี่ยวข้องกับ เหตุการณ์โดยรอบของสถานที่นั้น ไม่ว่าจะเป็นในแง่วัฒนธรรม ธรรมชาติ หรือสิ่ง ที่มนุษย์สร้างขึ้นมา นอกจากนั้นการสื่อความหมายที่ดียังสามารถที่จะสร้างมูลค่า เพิ่มให้กับแหล่งท่องเที่ยวด้วย

12

เนื้อหาประกอบหลักสูตร พัฒนานักสื่อความหมายชุมชน

เพื่อการสร้างประสบการณ์ WOW หรือความรู้สึกเหนือความคาดหมายนั้น ในบริบทของนักสื่อความหมาย ผู้มอบประสบการณ์ ผู้ให้บริการแก่นักท่องเที่ยว หนึ่ ง ในผู ้ น� า ด้ า นการสื่ อ ความหมายจากประเทศออสเตรเลี ย ได้ ก ล่ า วว่ า ในการ เสริมสร้างประสบการณ์ที่ดี สิ่งส�าคัญที่พึงปฏิบัติ คือ เราจ�าเป็นต้องมีความรู้และ เข้าใจในตัวผู้ที่เข้ามาท่องเที่ยว เพราะว่านักสื่อความหมายย่อมสามารถมอบสิ่งที่ เหมาะสมที่สุดต่อบุคคลหรือคณะนั้นได้ อย่างไรก็ตามในแง่มุมของการใช้ค�าที่สื่อสาร ก็มีความส�าคัญเช่นกัน ในหนั ง สื อ ด้ า นเศรษฐศาสตร์ และในบทความด้ า นการสร้ า งประสบการณ์ การท่ อ งเที่ ย วได้ ก ล่ า วไว้ ว ่ า ค� า และแนวคิ ด ต่ อ ความหมายของค� านั้ น จะส่ ง ผลต่ อ ความรู้สึกและประสบการณ์ ในบริบทนี้อาจกล่าวได้ว่า นักท่องเที่ยว คือ ค�าที่มี ความหมายองค์ ร วม หมายถึ ง ผู ้ ที่ เ ดิ น ทางออกนอกสถานที่ ที่ อ าศั ย อยู ่ เ พื่ อ การ พักผ่อนหย่อนใจ แต่เมื่อปรับเป็น “ผู้มาเยือน” หรือ “แขก” จะสามารถมอบ ความรู้สึกและเพิ่มเติมความหมายลงไปมากกว่าเพียงนักท่องเที่ยวหรือลูกค้าได้ เนื่องจากเป็นการส่งมอบประสบการณ์ และความรู้สึกที่ใกล้ชิดมากกว่าเพียงการ ซื้อมาขายไปหรือว่าการมอบการบริการอย่างเดียว นอกจากการเข้าใจเบื้องต้นในตัวแขกผู้มาเยือน การเข้าใจหลักการสร้างเสริม ประสบการณ์ WOW เพื่อสร้างความประทับใจให้กับนักท่องเที่ยวก็ส�าคัญเช่นกัน Weiler and Walker (2014) ได้สรุป หลักส� าคัญในการสื่อความหมายออกมา ไว้ได้เป็นเพียงวลีสั้นๆ แต่แฝงด้วยไปด้วยความหมายที่ลุ่มลึก คือ IT-REAL โดย แต่ละตัวอักษรนั้นมีความหมายดังต่อไปนี้ ในตารางที่ 1

13


ตัวอย่ำง ก�ำหนดกำร กำรประชุมเชิงปฏิบัติกำร (Workshop) กำรพัฒนำนักสื่อควำมหมำยชุมชน

ตารางที่ 1 หลักการสร้างเสริมประสบการณ์ WOW การสร้างเสริมประสบการณ์ WOW I - Involving (Sensory) (การมีส่วนร่วม - สัมผัส)

ความหมาย การมีส่วนร่วมด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 (รูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัส) เราควรใช้ประสาทสัมผัส อย่างน้อย 2 ประเภทขึ้นไป

I - Involving (Active) (การมีส่วนร่วม - ปฏิบัติ)

การจูงใจให้ผู้มาเยือนหรือนักท่องเที่ยวมีส่วนร่วม กับกิจกรรมสื่อความหมาย

T - Thematic (ใจความ)

การพัฒนาใจความหรือสาระส�าคัญของเนื้อหาที่ ต้องการน�าเสนอ R - Relevant (ตรงประเด็น) การน�าเสนอข้อมูลที่สัมพันธ์กับแหล่งท่องเที่ยว ในพื้นที่ E - Enjoyable (เพลิดเพลิน) ความหลากหลายของสื่อชนิดต่างๆ การออกแบบ (Through Diversity of Experience) กิจกรรมที่สนุกสนาน และเสริมสร้างประสบการณ์ (ผ่านความหลากหลายของประสบการณ์) E - Engaging Empathy/Emotion การน�าเสนอที่ร่วมสร้างอารมณ์และให้ความรู้สึก (เข้าถึงอารมณ์และความรู้สึก) A - Accurate (ความแม่นย�า) รายละเอียดข้อมูลถูกต้อง และมีเหตุผล สามารถ L - Logical (มีเหตุมีผล) เสริมสร้างความเข้าใจได้ดีขึ้น

การประชุมแบ่งเป็น 3 วัน ดังนี้ วันที ่ 1 แนะน�าโครงการ ตรวจเช็คความพร้อม และเฉดความถนัดนักสื่อความหมายเพื่อการ เตรียมพร้อม (Shade of Interpreter in Tourism) เวลา

กิจกรรม

09.00 น.

- กิจกรรมประเมินผล และ ตรวจสอบ เพื่อวัดความถนัด ทักษะ องค์ความรู้ ด้วยเครื่องมือทดสอบนักสื่อความหมาย - แนะน�าเกี่ยวกับการสื่อความหมายในแหล่งท่องเที่ยว และบทบาทของ นักสื่อความหมาย 12:00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน

13:00 น.

กิจกรรม รู้เขา...รู้เรา - การจัดการอารมณ์ การเข้าถึงหัวใจบริการ ทักษะละลายพฤติกรรมกลุ่ม นักท่องเที่ยว และการอ่านภาษากายเบื้องต้น - ทักษะการเข้าถึงพฤติกรรมนักท่องเทีย่ ว และการแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้า - ทักษะการเชื่อมโยงบทสนทนาและตอบโต้ด้วยเรื่องใกล้ตัว (Interactive Skills and Local Connectivity) - การท�างานเป็นทีม - ศีลธรรมและจรรยาบรรณส�าหรับนักสื่อความหมายชุมชน - ความรู้เรื่องกฎระเบียบที่นักท่องเที่ยวควรปฏิบัติ - ความปลอดภัยในแหล่งท่องเที่ยว

18:00 น.

กิจกรรม ค�่าคืนนี้... พี่ขอเล่า... กับเธอ

ที่มา : Weiler and Walker (2014)

3. หลักสูตรพัฒนานักสื่อความหมายชุมชน วัตถุประสงค์ 1. เพือ่ พัฒนานักสือ่ ความหมายในแหล่งท่องเทีย่ วให้มพี นื้ ฐานทีด่ ี ส่งผลต่อการต้อนรับผูม้ าเยือน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. รวบรวมองค์ความรู้ท้องถิ่นเพื่อจัดล�าดับความส�าคัญในการสื่อความหมายของเส้นทาง ท่องเที่ยวในชุมชน 3. สร้างนักสื่อความหมายในแหล่งท่องเที่ยวชุมชนที่สามารถเป็นตัวอย่างของการพัฒนาด้าน นักสื่อความหมายในพื้นที่ได้ รวมถึงสร้างนักสื่อความหมายรุ่นใหม่ ที่สามารถถ่ายทอดประสบการณ์ ผ่านกระบวนการสร้างประสบการณ์ประทับใจให้แก่ผู้มาเยือนได้เป็นอย่างดี 14

เนื้อหาประกอบหลักสูตร พัฒนานักสื่อความหมายชุมชน

หมายเหตุ : กิจกรรมช่วงบ่าย - ค�่า จะรวมไปถึงรับประทานอาหารค�่าร่วมกัน โดยกิจกรรมทั้งหมดจะเสร็จสิ้นประมาณ 20.00 น.

15


วันที่ 2 เรื่องเล่า… นักสื่อความหมาย เวลา

กิจกรรม

09.00 น. เสริมสร้างเทคนิคที่ควรรู้แก่นักสื่อความหมาย โดยรวมถึงขั้นตอนการคิดแบบ เรื่องเล่า นักเล่าเรื่อง ซึ่งประกอบไปด้วย นักสื่อความหมาย - เทคนิคการจัดล�าดับความส�าคัญของเนื้อหา และสาระส�าคัญ (การสร้าง - เทคนิคการเล่าเรื่องให้โดนใจ (ภาษากายและภาษาใจ) ประสบการณ์ว้าว - เทคนิคการสร้างประสบการณ์ WOW แก่ผู้มาเยือน WOW) 12:00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน 13:00 น.

แนะน�ำ กำรสื่อควำมหมำย (INTRODUCTION) ในช่วงต้นของการเริ่มหลักสูตร ควรมีการใช้เครื่องมือทดสอบนักสื่อความหมาย และประเมิน ผลเพื่อวัดระดับความถนัดของนักสื่อความหมาย (Shade of Interpreter in Tourism) เพื่อท�าให้ สามารถเข้าใจถึงระดับความพร้อมของการพัฒนานักสือ่ ความหมายในภาพรวมเสียก่อน และจึงเริม่ แนะน�าการสื่อความหมายซึ่งเป็นพื้นฐานความรู้หลักก่อนเข้าสู่เนื้อหาในส่วนต่อไป

การคิดแบบเป็นขั้นเป็นตอน (Step by Step) ด้วยการจัดท�าแผนที่ การสร้าง WOW ตามเส้นทางท่องเที่ยว กับ - เทคนิคการสร้างประสบการณ์ร่วมให้ WOW ตามเส้นทางท่องเที่ยว (Customer Journey Mapping – Based WOW Experience: CJM-WOW) - ขั้นตอน การเล่าเรื่องขั้นเทพโดยผู้มีประสบการณ์ และการพาชม แหล่งท่องเที่ยว - กิจกรรม พี่ขอ WOW... กับเธอ 18:00 น. รับประทานอาหารเย็น

หมายเหตุ : กิจกรรมช่วงบ่าย - ค�่า จะรวมไปถึงรับประทานอาหารค�่าร่วมกัน

วันที่ 3 ภาคสนาม เพื่อฝึกปฏิบัติในพื้นที่จริง เวลา

กิจกรรม

9:00 - 12:00 น. น�าความรู้ที่ได้เรียนมาในหลักสูตรนี้ เพื่อท�าการปฏิบัติจริง ลงพื้นที่และฐาน DO IT REAL กิจกรรมต่างๆ ที่ได้ระบุไว้ในช่วงต้น โดยออกแบบเส้นทาง CJM-WOW และ แบ่งกลุ่มประจ�าฐานเพื่อน�าเสนอเรื่องเล่าและสร้างประสบการณ์ร่วมกับผู้มาเยือน 12:00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน 14:00 น.

ประเมินผลการพัฒนาทักษะนักสื่อความหมาย (Post-Test) จบกิจกรรมการประชุม

หมายเหตุ : ในวันลงภาคสนามนั้น เป็นการน�าความรู้ที่ได้เรียนมาในหลักสูตรนี้ เพื่อน�าไปปฏิบัติจริง ลงพื้นที่และฐาน กิจกรรมต่างๆ ที่ได้ระบุไว้ในช่วงต้น โดยออกแบบเส้นทาง CJM-WOW และแบ่งกลุ่มประจ�าฐาน เพื่อน�าเสนอเรื่องเล่า และสร้างประสบการณ์ร่วมกับผู้มาเยือน และมีการประเมินผลการพัฒนาทักษะ นักสื่อความหมาย (Post-Test) 16

เนื้อหาประกอบหลักสูตร พัฒนานักสื่อความหมายชุมชน

17


1. แนะน�าเกี่ยวกับการสื่อความหมายในแหล่งท่องเที่ยว และบทบาทของนักสื่อความหมาย

บทเกริ่นน�ำ ความหมาย “การสื่อความหมาย” สมาคมการสื่อความหมายแห่งชาติ ในประเทศสหรัฐอเมริกา (2007) ได้ให้ค�าจ�ากัดความของ การสื่อความหมายว่าเป็นกระบวนการสื่อสารที่ถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้สึก และเชื่อมโยงทางความ คิด ความสนใจของผู้มาเยือน และความหมายที่ซ่อนเร้นอยู่ในแหล่งท่องเที่ยว Weiler and Black (2014 หน้า 90) ได้กล่าวถึงการสือ่ ความหมายส�าหรับการท่องเทีย่ วอย่างยัง่ ยืน ว่า เป็นการน�าเสนอที่เน้นการมีส่วนของผู้มาเยือนได้คิด พิจารณา และเชื่อมโยงกับมรดกวัฒนธรรม และธรรมชาติ รวมทั้งสถานที่ บุคคล สิ่งของเครื่องใช้ ธรรมชาติ และเหตุการณ์ต่างๆ ซึ่งส่งผลให้ นักท่องเที่ยวมีทัศนคติที่ดีในการดูแลรักษาและร่วมปกป้องทรัพยากรท่องเที่ยว กล่าวโดยสรุป การสือ่ ความหมายส�าหรับการอบรมเชิงปฏิบตั กิ ารพัฒนานักสือ่ ความหมายชุมชน หมายถึง กระบวนการสื่อสารที่กระตุ้นความสนใจ ความรู้สึก และความนึกคิดของผู้มาเยือน โดย เชื่ อ มโยงกั บ แหล่ ง ท่ อ งเที่ ย วมรดกวั ฒ นธรรมและธรรมชาติ ช่ ว ยให้ ผู ้ ม าเยื อ นได้ เ ข้ า ใจคุ ณ ค่ า แหล่ ง ท่ อ งเที่ ย ว เสริ ม สร้ า งประสบการณ์ เ ดิ น ทางรวมทั้ ง สร้ า งทั ศ นคติ ที่ ดี ต ่ อ การอนุ รั ก ษ์ แ ละ พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้ยั่งยืน องค์ประกอบส�าคัญของการสื่อความหมาย 1. นักสื่อความหมาย มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนในกิจกรรมสื่อความหมาย มีความรู้ ความเข้าใจ และความภาคภูมิใจในการน�าเสนอเรื่องราวในชุมชนของตนเอง 2. เนื้อหาของแหล่งท่องเที่ยวรวมทั้งมรดก วัฒนธรรม และธรรมชาติที่ต้องการน�าเสนอแนวคิด สาระส�าคัญของเนื้อหา รายละเอียดข้อมูล รวมทั้งการจัดล�าดับข้อมูล 3. นักท่องเที่ยวหรือผู้มาเยี่ยมชม รายละเอียดเกี่ยวกับนักท่องเที่ยว ได้แก่ อายุ เพศ ภาษา จ�านวนผู้มาเยือน ข้อมูลพื้นฐานทางวัฒนธรรม ความสนใจ แรงจูงใจในการเดินทาง และระยะเวลา ในการเยี่ยมชมหรือท�ากิจกรรม เป็นต้น 4. เทคนิคการเชื่อมโยงระหว่างนักท่องเที่ยวกับแหล่งท่องเที่ยว ศิลปะการเล่าเรื่อง กิจกรรม สื่อความหมายที่สร้างความประทับใจ โดยพิจารณาบริบทของแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ เส้นทาง ท่องเที่ยว วัตถุประสงค์ในการเดินทาง และความสนใจของผู้มาเยือน

18

เนื้อหาประกอบหลักสูตร พัฒนานักสื่อความหมายชุมชน

การสื่อความหมายส�าคัญอย่างไร - ช่วยพัฒนาความรู้ ความเข้าใจใน คุณค่า วิถีชีวิตของชุมชน ความส�าคัญของแหล่งท่องเที่ยว เสริมสร้างประสบการณ์เดินทาง สร้างความสนุกสนาน และความประทับใจให้กับผู้เยี่ยมชม - ช่วยให้ผู้มาเยือนใช้เวลานานมากขึ้นในแหล่งท่องเที่ยว เพิ่มโอกาสในการใช้จ่าย ส่งผลดีต่อ เศรษฐกิจในพื้นที่ ช่วยสร้างงานและรายได้ให้ชุมชนในพื้นที่ - ช่วยคนในชุมชนในการรวบรวม ค้นคว้า และบันทึกข้อมูล ภูมิปัญญาท้องถิ่น มรดกวัฒนธรรม และทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ที่หายไป - เป็นเครื่องมือส�าคัญที่ช่วยให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง เกิดความภาคภูมิใจในคุณค่า วิถีชีวิต วัฒนธรรม รวมทั้งอัตลักษณ์ในพื้นที่ ช่วยสร้างทัศนคติที่ดีต่อสมาชิกชุมชน สนับสนุน ให้ความร่วม มือในการอนุรักษ์ บริหารจัดการ และพัฒนาทรัพยากรท่องเที่ยวให้ยั่งยืน ท�าไมต้องมีนักสื่อความหมายในยุค ดิจิทัล 4.0 เครื่องมือที่ใช้ในการสื่อความหมายนิยมแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ สื่อบุคคลและสื่อ สิ่งของต่างๆ รวมทั้งสื่อดิจิทัลโดยไม่ใช้บุคคล เมื่อโลกปัจจุบันขับเคลื่อนเทคโนโลยี สื่อสังคมออนไลน์ ได้รบั นิยมแพร่หลาย เพราะสามารถให้ขอ้ มูลได้ทนั ท่วงทีและทันสมัยต่อเหตุการณ์ตลอดเวลา สามารถ น�าเสนอได้ในวงกว้างอย่างรวดเร็ว มีความน่าสนใจ ผลิตง่าย ใช้ตน้ ทุนน้อย และครอบคลุมได้ในเกือบ ทุกกลุ่มลูกค้าโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ อย่างไรก็ตามสื่อบุคคลโดยเฉพาะนักสื่อความหมายในแหล่งท่อง เที่ยวก็ยังมีบทบาทส�าคัญ ทั้งนี้เพราะสื่อบุคคลเป็นการสื่อสารสองทางที่นักสื่อความหมาย และนัก ท่องเที่ยวสามารถมองเห็นหน้าตา บุคลิก ลีลา ท่าทางน�้าเสียงประกอบการพูด มีอิทธิพลสูงในการ โน้มน้าวชักจูง สร้างอารมณ์ ความรู้สึก ความเร้าใจ นักสื่อความหมายสามารถตอบค�าถาม และ กระตุ้นผู้มาเยือนให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมสื่อความหมายได้ทันท่วงที สามารถให้รายละเอียดเกี่ยวกับ พื้นที่ในเชิงลึกได้มากกว่าสื่อประเภทอื่นๆ เพื่อความเพลิดเพลิน สนุกสนาน นักท่องเที่ยวต้องมีส่วน ร่วมในการสร้างประสบการณ์ท่องเที่ยว ซึ่งสื่อบุคคลสามารถให้ความรู้สึกอบอุ่น ความเป็นกันเอง รวมทั้งความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเจ้าบ้าน และผู้มาเยือนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าสื่อดิจิทัล นักสื่อความหมายมีความยืดหยุ่นในการปรับเนื้อหาให้ตรงกับความสนใจของนักท่องเที่ยวได้ทันที ช่วยสร้างความเข้าใจในเรื่องราวที่สลับซับซ้อนได้ดี โดยผ่านการสนทนาโต้ตอบ การน�าเสนอโดยสื่อ บุคคลช่วยสร้างงาน สร้างรายได้ให้กบั เยาวชน และสมาชิกในชุมชน รวมทัง้ สนับสนุนเศรษฐกิจในพืน้ ที่

19


รู้เขำ… รู้เรำ รู้เขา รู้เรา เป็นหัวข้อเพื่อท�าการประเมินตนเองว่ามีความเข้าใจในหลักการของการเป็น นักสื่อความหมายที่สร้างความประทับใจแก่ผู้มาเยือนมากน้อยเพียงใด และรวมถึงการประเมิน ผู้มาเยือน ที่จ�าเป็นต้องมีองค์ความรู้รวมถึงความคาดหวัง ที่จะเข้าใจถึงกระบวนการปฏิบัติทั้งก่อน ระหว่าง และ หลัง แก่นักท่องเที่ยวเพื่อสร้างประสบการณ์ WOW โดยมีเนื้อหาดังต่อไปนี้ 2. การจัดการอารมณ์ ของเรา และของเขา เพื่อการบริการที่ดี ในหัวข้อนี้นั้น ควรที่จะน�ามาฝึกอบรมในช่วงแรกของหลักสูตร ด้วยการสร้างความเข้าใจถึง แนวทางการจัดการอารมณ์ของตนเอง และการมีสมาธิในการต้อนรับ การเข้าถึงความต้องการของ ผู้มาเยือนที่มีความหลากหลาย

พื้นฐานอันดับต้นๆ ของการเป็นเจ้าบ้านที่ดีหรือเป็นนักสื่อความหมายที่คอยต้อนรับแขก ผู้มาเยือน ควรฝึกฝนการจัดการกับอารมณ์ของตนเองเสียงก่อน โดยค�านึงถึง 4 หัวข้อต่อไปนี้ 2.1 ความรู้สึกตัว: เมื่อเริ่มโกรธ ขุ่นมัว อารมณ์เศร้าหมอง ที่อาจส่งผลกระทบแก่ผู้มาเยือนได้ นัน้ เราควรฝึกตัวเองให้รสู้ กึ ตัวว่าก�าลังเกิดความรูส้ กึ ใดภายในคล้ายกับว่ารูเ้ ท่าทันอารมณ์ตนเอง และ หลังจากนั้นการมองเห็นอารมณ์ผู้อื่นจะเป็นเรื่องง่าย การเข้าใจถึงธรรมชาติของมนุษย์ เช่น เมื่อผู้มา เยือนรู้สึกร้อน ซึ่งอาจก่อให้เกิดอารมณ์เสีย ไม่อยากฟังเรื่องเล่าและกิจกรรมที่เตรียมไว้ สิ่งที่ควรท�า คือ สิ่งใดเพื่อแก้ไขปัญหา 2.2 การฝึกคิดบวก จินตนาการความสุขของผูม้ าเยือนและของเรา: ใช้สติในการพิจารณาหาก เจอนักท่องเทีย่ วหรือผูม้ าเยือนทีไ่ ม่งา่ ยนัก เช่น ขีบ้ น่ ขีว้ นี ไม่มเี หตุผล และไม่ให้ความสนใจกับกิจกรรม ขอให้ฝึกเป็นคนคิดบวก โดยมองว่าชีวิตคนเราไม่เท่ากัน ความสุขของแต่ละคนต่างกัน อยากให้ดูแล เขาเหล่านี้เป็นพิเศษ ตามหลักบริการนั้นหากใส่ใจเป็นพิเศษจะท�าให้เขาเห็นว่าเราให้ความส�าคัญ ซึ่ง จะส่งผลให้การแสดงออกในทางลบลดน้อยลง เราควรตระหนักว่าชีวิตเขาอาจจะยากมากกว่าเราจึง ได้แสดงออกเช่นนี้ การจินตนาการความสุขเมื่อได้มาเยือนชุมชนของเราเมื่อเสร็จสิ้นการเดินทางจะ ช่วยให้เราเห็นภาพแห่งความสุขของเราและเขาได้ ความเข้าใจและความผ่อนคลายจะตามมาเอง 2.3 การหัดเป็นผู้ฟังที่ดี: ทักษะการควบคุมอารมณ์และการแสดงออกด้วยการเป็นผู้ฟังที่ดีนั้น ช่วยให้ฝึกความอดทน รอจังหวะในการพูด และตอบค�าถามหรือบอกเล่า เพื่อส่งเสริมบทสนทนา ในระหว่างการพาชม การปล่อยให้ผู้มาเยือนพูดบ้างเป็นการสร้างสัมพันธภาพต่อกัน ในบางกรณีผู้ มาเยือนอาจจะพูดเยอะไปบ้าง เพื่อแสดงออกถึงความสามารถรอบรู้ในทุกเรื่องที่เรากล่าวถึงหรือ ต้องการเป็นศูนย์กลางของหมู่คณะ อาจกล่าวขอบคุณที่ให้ข้อมูลเพิ่มเติม และกล่าวชื่นชม พร้อม ถามหาแนวคิดอื่นๆ เพื่อเปลี่ยนบทสนทนาในหัวข้อเรื่องต่อไปหรือกล่าวปิดท้ายด้วยเวลาอันจ�ากัด ในการท�ากิจกรรมอื่นๆ ที่ยังคอยอยู่ด้วยใบหน้าที่เป็นมิตร และรอยยิ้มที่จริงใจ เป็นต้น 2.4 การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า: เมื่อผู้มาเยือนเกิดอารมณ์หงุดหงิดกับสิ่งใดนั้น เราไม่ควรชิง อธิบาย หรือชี้แจงเหตุผลต่างๆ ควรจะรอให้ผู้มาเยือนได้ระบายถึงสิ่งที่เกิดขึ้นเสียก่อน และจึงค่อยๆ อธิบายด้วยความสุภาพ ขออภัยในทันทีหากเป็นความผิดพลาดของเรา พยายามแก้ไขปัญหาให้เร็ว ทีส่ ดุ แสดงให้เห็นถึงความตัง้ ใจของเราต่อการแก้ไขปัญหา และควรจ�าไว้วา่ ห้ามใช้อารมณ์แก้ไขปัญหา ในงานบริการ

20

เนื้อหาประกอบหลักสูตร พัฒนานักสื่อความหมายชุมชน

21


3. ทักษะการละลายพฤติกรรมกลุ่มผู้มาเยือน ในหัวข้อนี้ ควรน�ามาใช้ในช่วงแรกของการอบรม เพื่อท�าความรู้จักกัน และฝึกฝนการสร้าง ปฏิสัมพันธ์ต่อกันระหว่างนักสื่อความหมายกับผู้มาเยือน หรือผู้มาเยือนด้วยกันเองเพื่อตรวจสอบ ความพร้อมในการร่วมสร้างประสบการณ์ WOW ไปด้วยกัน กิจกรรมละลายพฤติกรรมนั้นเป็นกระบวนการในเชิงจิตวิทยา เพื่อให้ผู้มาเยือนรู้สึกผ่อนคลาย ท�าลายก�าแพงของความเขินอาย และอยากท�าความรู้จักต่อกันให้มากขึ้น โดยนักสื่อความหมายหรือ เจ้าบ้านควรท�าการแนะน�าตนเองอย่างเป็นกันเอง และถามไถ่ให้ผู้มาเยือนได้ตอบค�าถามบ้าง เช่น มี ใครสนใจเรือ่ งเกษตรอินทรียบ์ า้ งไหม สร้างจุดเชือ่ มโยงด้วยค�าถาม เพือ่ ให้มกี ารตอบค�าถาม และสร้าง กิจกรรมทีท่ �าให้มปี ฏิสมั พันธ์ตอ่ กัน เช่น ร�าวงร่วมกันด้วยท่าสนุกๆ จับคูด่ ว้ ยการผูกเชือกติดกัน และ เดินไปตามเก็บไข่ การถามหาคนชอบสีเดียวกันซึง่ เป็นกิจกรรมทีท่ �าได้ระหว่างชุมชนกับผูม้ าเยือนหรือ ผู้มาเยือนด้วยกัน โดยใช้เวลาในการละลายพฤติกรรมไม่นานนัก โดยประมาณ 15-30 นาที เพื่อสร้าง ความสัมพันธ์และเริ่มด้วยความสุข สนุกสนาน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสถานที่ อากาศ และสภาพแวดล้อม ที่จ�าเป็นต่อความรู้สึกเชิงบวกอีกด้วย ฝึกสร้างกิจกรรม : ละลายพฤติกรรมจากสิ่งรอบตัวในชุมชน

ก่อนจะเล่าอะไรนั้น เราควรจะเช็คผู้ฟังสักนิด เราควรจะดูกิริยาภาษากายของผู้ฟังสักหน่อยว่า เขาพร้อมที่จะรับฟังเราหรือไม่ โดยการเช็คภาษากาย ใน 2 รูปแบบ ดังนี้ 4.1 ภาษากายในมุมบวก 1) รอยยิ้ม 2) การสบตาผูฟ้ งั หรือผูพ้ ดู แสดงถึงความสนใจ โดยหากต้องการสร้างความประทับใจ ควรสบตา ให้ครบทุกคน แต่ไม่ควรจ้องมองนานจนเกินไป การพูดไม่สบตา อาจแสดงออกถึงความไม่จริงใจหรือ ขาดความมั่นใจ อาย ตื่นเต้น เขินอายก็เป็นได้ 3) เปิดรับทัศนคติ สังเกตสีหน้า ท่าทางที่เป็นมิตร จากแววตา รอยยิ้ม ผายมือแบบผ่อนคลาย คือลักษณะของผู้ที่พร้อมเปิดรับฟังพูดคุยด้วย ซึ่งจะแตกต่างจากรูปในด้านซ้ายด้านล่างที่ใช้มือซ้อน กันตรงๆ เป็นที่กั้นเอาไว้ดูคล้ายๆ กอดอก ตาที่ดูนิ่งเกินไปไม่เป็นมิตรเท่าไรนัก ภาพที ่ 3 : ลักษณะการแสดงออกของภาษากาย (1)

โจทย์ คือ สร้ำงกิจกรรมที่ท�ำให้มีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน ระหว่ำงผู้มำเยือนด้วยกัน และชุมชน ในจุดแรกพบ 4. การอ่านภาษากายเบื้องต้น (Understanding Basic Body Language) ในหัวข้อนี้ว่าด้วยเรื่องการเอาใจเขามาใส่ใจเรา จากสีหน้า ท่าทาง การแสดงออกของผู้มาเยือน ทีน่ กั สือ่ ความหมายควรมีพนื้ ฐานในการเป็นคนช่างสังเกตเพือ่ ให้แน่ใจว่าเราจะท�าให้ผมู้ าเยือนประทับใจ ภาพที่ 2 : เรียนรู้ที่จะอ่านและชักจูงผู้คนผ่านอวัจนภาษา ก ลังโกหก?

่อนความรู้สึกบางอย่าง

ก ลังสนใจ ง? รู้สึกไม่เป็นมิตร ชอบท้าทายคนอื่น?

ก ลังคิดว่าคุณ ไม่ ลาด?

ไม่เปิดรับทัศนคติของผู้อื่น

เปิดรับทัศนคติของผู้อื่น

4) สีหน้าแสดงความสนใจในเรื่องนั้น จากรูปภาพที่ 4 จะท�าให้เห็นได้ว่าผู้ที่สนใจฟังนั้นจะมี ลักษณะการใช้นิ้วชี้ชี้ขึ้นหรือมีรอยยิ้มและพยักหน้าตามเป็นระยะ อาจเอนตัวมาด้านหน้ามากเท่าไร แล้วแต่ความสนใจในเรื่องนั้นๆ ซึ่งเป็นท่าทางของคนที่ก�าลังสนใจ ส�าหรับผู้ที่เบื่อกับสิ่งที่เราพูดนั้น จะมีลักษณะนั่งเท้าคาง หน้าไม่แสดงออกทางอารมณ์ ตามองแบบไม่ได้ใส่ใจหรือบางทีอาจมีอาการ หาวด้วย เป็นต้น

22

เนื้อหาประกอบหลักสูตร พัฒนานักสื่อความหมายชุมชน

23


ภาพที่ 4 : ลักษณะการแสดงออกของภาษากาย (2)

ภาพที่ 5 : กิจกรรม ฝึกการอ่านสีหน้าและภาษากาย

4.2 ภาษากายในเชิงลบ ลักษณะที่แสดงออกทางภาษากายจะถูกแปลจากจิตใต้ส�านึกของอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งขึ้นอยู่กับภาษา กายที่เราใช้ในการเจรจาแต่ละครั้ง การแสดงออกทางภาษากายของเรา และการแปลภาษากายของ อีกฝ่ายหนึ่ง เพื่อหาวิธีการในการรับมือ ตารางที่ 2 ท่าทางภาษากายเชิงลบและวิธีการรับมือ ท่าทาง วิธีการรับมือ 1. เหลือบมองนาฬิกา : ไม่มีเวลาแล้ว อยาก 1. รี บตัดบทเรื่องนั้นหรือถามค�าถาม เพื่อสร า้ ง รีบจบเรื่องนี้หรืออาจหมายถึงก�าลังเบื่อ ความสนใจ ยกตั วอย่า งที่ใกล ต้ ั ว และสร า้ ง ก็ได้ ปฏิสมั พันธ์กบั คนนัน้ เป ็นพิเศษ 2. หาวนอน : เบือ่ เรือ่ งทีก่ า� ลังฟ ังอยู่ 2. เปลี่ยนเรื่องคุยให้สนุกขึ้น เพื่อเปลี่ยนบรรยากาศ 3. มองไปทางอื่น : เรื่องที่ฟังอยู่ไม่น่าสนใจ 3 ปรับจังหวะสูงต�่าในการพูด เพื่อให้ผู้ฟังกลับมา สนใจหรือเดินเข้าไปใกล้เพื่อให้ผู้ฟัง เตรียมตัว เผื่อในกรณีอาจมีการถามค�าถาม 4. . เอามือล้วงกระเป๋า : แสดงถึงการเตรียม 4. เริม่ สังเกตภาพรวมถึงจุดความสนใจของกิจกรรม พร้อมที่จะไปต่อจากจุดนี้ หรือเรื่องเล่านั้นๆ และไปต่ออีกจุดนึง 5. กอดอก : ก�าลังจัดการความคิดของตัวเอง 5. อย่าเพิ่งคุยต่อทันที ควรรอให้อีกฝ่ายได้ใช้ ความคิดสักหน่อย 24

เนื้อหาประกอบหลักสูตร พัฒนานักสื่อความหมายชุมชน

สนใจ โกรธ

เศร้า มีความสุข

ประหลาดใจ กลัว

5. ทักษะการเข้าถึงพฤติกรรมนักท่องเที่ยว การเข้าถึงความต้องการ และความสนใจ ของนักท่องเที่ยว ในหัวข้อนี้นั้นเป็นหัวใจส�าคัญในการเรียนรู้ผู้มาเยือน โดยควรจัดให้นักสื่อความหมายได้รู้ถึง องค์ประกอบต่างๆ ในการเข้าถึงพฤติกรรมนักท่องเทีย่ วทีม่ คี วามต้องการและความสนใจแตกต่างกัน ออกไป พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวมีการเปลี่ยนแปลง เราไม่ควรมองข้ามข้อมูลเกี่ยวกับผู้มาเยือน โดย เฉพาะความสนใจ และวัตถุประสงค์ในการเดินทาง ยิ่งเรามีข้อมูลเกี่ยวกับผู้มาเยือนมากเท่าใด ย่อม ท�าให้เราออกแบบการน�าเสนอ เนื้อหา กิจกรรมสื่อความหมาย หรือเส้นทางท่องเที่ยวได้ตรงความ ต้องการ และวัตถุประสงค์ของผู้มาเยือน ซึ่งช่วยสร้างความประทับใจและเสริมสร้างประสบการณ์ แปลกใหม่ให้ผู้มาเยือน 25


ข้อมูลพืน้ ฐานเกีย่ วกับผูม้ าเยือนทีค่ วรพิจารณาในการออกแบบกิจกรรมสือ่ ความหมาย - ผู้มาเยือนเป็นใคร (อายุ เพศ จ�านวนผู้มาเยือน ช่วงระยะเวลาในการเยี่ยมชม) - ผู้มาเยือนมาจากไหน (ต่างจังหวัด ภูมิภาคไหน ต่างประเทศ ภาษาที่ใช้สื่อสาร) - แรงจูงใจในการเดินทาง (เดินทางเพื่อพักผ่อนหย่อนใจ หาประสบการณ์แปลกใหม่ เรียนรู้ วัฒนธรรม ศึกษาดูงาน สนใจเรียนรู้เรื่องใดเป็นพิเศษ ชอบท�ากิจกรรมเป็นพิเศษ) - ผู้มาเยือนเคยมาแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่หรือไม่ ถ้าผู้มาเยือนเคยมา นักสื่อความหมายควร น�าเสนอสถานทีใ่ หม่หรือกิจกรรมแตกต่างจากอดีต - ระดับความรู้เกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยว (มีความรู้พิเศษเกี่ยวกับเรื่องที่น�าเสนอหรือไม่ ในคณะ ที่มามีผู้เชี่ยวชาญพิเศษหรือไม่) เราควรมีการบันทึกข้อมูลนักท่องเที่ยว และร่วมสังเกตพฤติกรรมของนักท่องเที่ยว ความสนใจ ของนักท่องเทีย่ ว ค�าถามทีน่ กั ท่องเทีย่ วชอบถาม กิจกรรมอะไรทีโ่ ปรดปราน ระยะเวลาทีใ่ ช้ในแต่ละที่ นอกจากนีค้ วรมีการส�ารวจความคิดเห็น การวัดระดับความเข้าใจทีม่ ตี อ่ เนือ้ หา สนใจเนือ้ หาเรือ่ งใดเป็น พิเศษ ภาษาทีน่ า� เสนอ รวมทัง้ สิง่ ทีค่ วรปรับปรุงแก้ไข ซึง่ เป็นข้อมูลส�าคัญใช้ในการวางแผนพัฒนาการ สื่อความหมายในพื้นที่ชุมชนต่อไปในอนาคต พฤติกรรมความสนใจของกลุ่มนักท่องเที่ยว เราสามารถก�าหนดกลุ่มนักท่องเที่ยวและพฤติกรรมความสนใจอย่างกว้างๆ ดังต่อไปนี้ 1. กลุ่มเยาวชน กิจกรรมที่ท�าควรน�าเสนอเป็นการละเล่น สร้างความสนุกสนานเพลิดเพลิน เนือ้ หาไม่สลับซับซ้อน ควรมีการสาธิตให้ดู ให้ทดลองท�า นอกจากนีค้ วรมีมคั คุเทศก์นอ้ ยในพืน้ ทีเ่ ป็นคน เล่าเรื่องหรือร่วมท�ากิจกรรมกับเยาวชนในพื้นที่ เพราะมีความเข้าใจและความสนใจในวัยที่ใกล้กัน 2. กลุม่ ศึกษาดูงานหรือคณะท�าวิจยั สนใจสอบถามข้อมูลเฉพาะเรือ่ งในเชิงลึก ร่วมแลกเปลีย่ น ประสบการณ์ แนวคิด และกลยุทธ์การประกอบอาชีพทีป่ ระสบผลส�าเร็จ เพือ่ น�าความรูแ้ ละประสบการณ์ เรียนรู้ไปปรับใช้พัฒนาองค์กรของตนต่อไปหรือในกรณีที่กลุ่มศึกษาดูงานมาเยี่ยมเยือนแต่ขาดความ สนใจ เนื่องจากมาตามค�าสั่งหรือมาตามงบประมาณ ในกรณีนี้เราสามารถสอบถามได้จากโปรแกรม ภาพรวมของโครงการนั้นๆ ว่ามีที่ใดบ้างที่กลุ่มนี้ต้องการเดินทางไป เพื่อประเมินภาพรวมของการ ดูงาน อาจถามทางผูป้ ระสานงานโดยตรงว่าต้องการศึกษาดูเรือ่ งอะไร และชอบท�ากิจกรรมใดบ้าง เช่น ชอบกิน ชอบเที่ยว ไม่ชอบฟังบรรยาย และชอบลงมือทดลองท�า เป็นต้น เพื่อออกแบบประสบการณ์ ให้ตรงกับความสนใจ 3. กลุ่มนักท่องเที่ยวคนรุ่นใหม่ รักอิสระ นิยมเดินทางด้วยตนเอง สนใจถ่ายรูป มองหาสถานที่ โดดเด่น ทันสมัย ดื่มด�่าบรรยากาศ และความรู้สึกพิเศษ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ สนใจกิจกรรมการ ท่องเทีย่ วทีส่ นุกสนาน ใช้กา� ลังกายเคลือ่ นไหว ผจญภัย นิยมแชร์รปู ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ และ ให้ความส�าคัญกับสัญญาณอินเทอร์เน็ตไวไฟ (wifi)

26

เนื้อหาประกอบหลักสูตร พัฒนานักสื่อความหมายชุมชน

4. กลุม่ ครอบครัว ใช้เวลาร่วมกันท�ากิจกรรมในครอบครัว นิยมขับรถไปเทีย่ วในช่วงวันหยุดยาว ต้องการให้สมาชิกในครอบครัวมีประสบการณ์เดินทาง เรียนรู้สิ่งแวดล้อม และวิถีชีวิตชุมขน 5. กลุ่มนักท่องเที่ยวสูงวัย มีเวลาและอิสระในการเดินทางท่องเที่ยว นิยมแหล่งท่องเที่ยว ธรรมชาติ ศิลปวัฒนธรรม ศาสนา และวิถีชีวิต เน้นการเดินทางที่ละเมียด ไม่เน้นกิจกรรมที่ใช้พลัง เคลื่อนไหวมาก ใส่ใจต่อปริมาณน�า้ ตาลในอาหาร และเครื่องดื่ม 6. กลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยเฉพาะชาวตะวันตก สนใจความหลากหลายทางวัฒนธรรม วิถชี ีวิตชุมชนท้องถิ่นในต่างจังหวัด แสวงหาประสบการณ์การเดินทางที่แปลกใหม่ ร่วมเรียนรู้ สัมผัส วัฒนธรรมแท้จริง และพูดคุยกับชาวบ้านในชุมชนอย่างใกล้ชิด 7. กลุ่มนักท่องเที่ยวพิเศษหรือผู้พิการ นักท่องเที่ยวกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่จะต้องได้รับการดูแล ช่วยเหลือเป็นพิเศษ หากแต่คนกลุ่มนี้ก็ต้องการท่องเที่ยวเช่นเดียวกับกลุ่มอื่นๆ มีความสนใจ ค่อนข้างหลากหลาย และในบางครั้งจะค้นพบว่านักท่องเที่ยวพิเศษบางท่านมีประสาทสัมผัส ที่ดีกว่าปกติ ข้อมูลพื้นฐานทางประชากรศาสตร์ของนักท่องเที่ยวประกอบด้วย จ�านวนประชากร ช่วงอายุ เพศ ระดับการศึกษา สัญชาติ รายได้ อาชีพ ภูมิล�าเนา และความเชื่อทางศาสนา ที่ส�าคัญข้อมูล ดังกล่าวไม่เพียงพอที่ท�าให้เราเข้าใจพฤติกรรม ความสนใจ และความต้องการของนักท่องเที่ยวได้ เราจ�าเป็นทีต่ อ้ งเข้าใจคุณค่าและความสนใจของนักท่องเทีย่ ว ทัศนคติ ความคาดหวัง และพฤติกรรม ของนั ก ท่ อ งเที่ ย ว ซึ่ ง ข้ อ มู ล เหล่ า นี้ ส ามารถช่ ว ยในการออกแบบแนวคิ ด และก� า หนดกิ จ กรรม สื่ อ ความหมาย รวมทั้ ง รายละเอี ย ดของเนื้ อ หาเชิ ง ลึ ก ให้ ต รงกั บ ความสนใจของผู ้ ม าเยี่ ย มชม พฤติกรรม นักท่องเที่ยวเป็นเรื่องละเอียดอ่อนมีความสลับซับซ้อน ในการเดินทางแต่ละครั้งมีปัจจัย ที่หลากหลาย ซึ่งเป็นตัวแปรที่มีผลต่อการตัดสินใจ มีการเปลี่ยนแปลงตามเวลา และสถานการณ์ นักท่องเทีย่ วอาจมีทศั นคติ พฤติกรรม ความสนใจ และความต้องการทีห่ ลากหลาย สามารถเปลีย่ นแปลง จากกลุ่มหนึ่งไปสู่อีกกลุ่ม จากแหล่งท่องเที่ยวหนึ่งไปสู่อีกแหล่ง รวมทั้งกระบวนการพิจารณาเลือก แหล่งท่องเที่ยวด้วย ดังนั้น เราจึงควรศึกษา ติดตาม และวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของ นักท่องเที่ยวอยู่เสมอ

27


6. ทักษะการเชื่อมโยงบทสนทนาเชิงโต้ตอบด้วยเรื่องใกล้ตัวเรา (Interactive Conversation Skills and Local Connectivity)

ตารางที่ 3 แนวทางการเชื่อมโยงบทสนทนากับเรื่องราวในพื้นที่อย่างเป็นธรรมชาติ

บทนี้ เป็นเรื่องการพัฒนาทักษะการเชื่อมโยงบทสนทนา และตอบโต้เรื่องใกล้ตัวในชุมชน ซึ่งเป็นทักษะแรกๆ ของการสร้างความประทับใจจากการพบปะ พูดจา ทักทาย ยิ้มแย้มแจ่มใส พร้อมต้อนรับและชวนคุยด้วยความเป็นมิตร เป็นเสมือนเรื่องที่ท�าอยู่เป็นประจ�า แต่พอเป็น คนที่ไม่สนิทหรือเพิ่งรู้จัก เรามักจะมีปัญหาในการสร้างบทสนทนา ลองมาอ่านบทนี้ว่าเราท�ากัน ได้ดีเพียงใด

ตัวอย่างการเชื่อมโยงบท สิ่งที่ผู้มาเยือนสนใจ/ สนทนาเชิงโต้ตอบด้วยเรื่อง ที่มาของผู้มาเยือน ใกล้ตัว (Interested/ (Interactive Skills with Lo- Background of Visitors) cal Connectivity)

โดยหลักการแล้วนั้น ชุมชนควรให้ความส�าคัญของการเชื่อมโยงเรื่องราวผ่านที่มาของผู้มาเยือน พื้นฐานความสนใจ เข้าถึงพฤติกรรม ความต้องการของผู้มาเยือน และคิดถึงสิ่งที่อยู่รอบตัวเรา มารู้จักทักษะการเชื่อมโยงบทสนทนากันก่อน ดังนี้

1.“ชอบทานอาหารทะเลไหมคะ” อาหารทะเล / มาจาก “เคยทานปลาแหมหรือทีเ่ รียก ภาคเหนือ ว่าปลาแสม ไหมเอ่ย” 2.“ทางภาคเหนือมีปลาอะไร ที่หาทานยากไหมคะ”

6.1 การเริม่ สร้างบทสนทนาด้วยค�าถาม เพือ่ เรียนรูผ้ มู้ าเยือน ยกตัวอย่างเช่น “เคยมา จังหวัด… นี้แล้วรึยังคะ” “คราวที่แล้วเป็นอย่างไรบ้าง” “ร้อนไหมคะ” “ไปที่ไหนมาบ้างคะ” “เคยเที่ยวใน ชุมชนแบบนีบ้ า้ งรึยงั คะ” “ชอบไหมเอ่ย” “ทีน่ จี่ ะมีหอ้ งน�า้ อยูด่ า้ นหลังนะคะ/ครับ” “เชิญนัง่ พักก่อน นะครับ ถ้าต้องการสิ่งใดเพิ่มเติมบอกกันได้เลย กันเองนะคะ/ครับ” 6.2 การสร้ า งบทสนทนาควรท�า ให้ เ ป็ น ธรรมชาติ ไม่ จ�า เป็นต้องพูดตามตัวอย่างทั้งหมด เป็นตัวของตัวเอง ใช้ภาษาส�าเนียงที่เป็นธรรมชาติแบบฉบับของพื้นที่ สร้างรอยยิ้ม และสีหน้า ทีเ่ ป็นมิตร เพือ่ ให้ผมู้ าเยือนรูส้ กึ ผ่อนคลาย และสบายใจในการสร้างบทสนทนาต่อไป โดยเริม่ แนวทาง การเชื่อมโยงบทสนทนากับเรื่องราวในพื้นที่อย่างเป็นธรรมชาติ ดังตัวอย่างในตารางที่ 3

28

เนื้อหาประกอบหลักสูตร พัฒนานักสื่อความหมายชุมชน

สิ่งที่ชุมชนของเราเป็น เรามี (Locality)

ปลาแสม (หรือเรียกว่าปลาแหม ในภาษาท้องถิ่นของชุมชน คลองใหญ่ จ.ตราด)

1. “ที่ชุมชน...มีเรื่องความเชื่อ เรื่องความเชื่อของพื้นที่/ชอบ การท�าการประมงท้องถิ่น มีความเชือ่ เรือ่ งอะไรบ้างไหม ถามถึงเรื่องลี้ลับ คะ/ครับ 2. “ที่นี่ก็มีความเชื่อของการท�า ประมงเหมือนกัน เรื่อง…” 3. “เคยได้ยินบ้างไหมคะ/ครับ” 1. “มีใครวางแผนจะซือ้ ของบ้าง ช็อปปิ้ง/ของท้องถิ่นหายาก ของดีหายาก สินค้าท้องถิ่น คะ/ชอบทาน….. ไหม/ของดี หายากที่นี่มี……..” 2.“อยากให้ลองชิมว่าของที่นี่ แตกต่างจากที่…......... เดี๋ยวเราลองไปชิมกันค่ะ” 3.“ชอบไหมคะ… รูส้ กึ ว่าแตกต่าง ไหมเอ่ย/อย่างไร”

29


6.3 การเริม่ บทสนทนาในจุดแรกพบ คือ การสร้างความประทับใจทีเ่ ราควรให้ความส�าคัญเป็น ที่สุด เพราะเป็นการสร้างอารมณ์และบรรยากาศให้ชวนติดตาม ยกตัวอย่างบทสนทนา “ทราบไหม คะ/ครับว่า วันนี้เราเตรียมอาหารพิเศษอะไรไว้ให้” “ทราบไหมเอ่ยว่าที่นี่อะไรเด็ดบ้าง ใครทายถูก เดี๋ยวห่อกลับบ้านไปเลย” 6.4 พยายามให้ผู้มาเยือนโต้ตอบ บทสนทนาที่ถามไปด้วยน�า้ เสียงที่เป็นมิตรและกระตุ้นความ อยากรู้ของผู้ฟัง เช่น “ช่วยยกมือหรือขอเสียงคนทานปลาหน่อยค่ะ/ครับ” “ขอเสียงพลังพัฒนา ชุมชนจาก ต�าบล…. หน่อยค่ะ” “เราพี่น้องกันใช่ไหมคะ มีอะไรร่วมแชร์ได้เลยนะคะ” “เรามีเรื่อง ต้องปรับปรุงอีกมาก อยากเรียนรู้จากพี่ๆ น้องๆ ที่นี่ด้วยเช่นกันค่ะ” “ใครมีเพื่อนชอบสร้างเสียงฮา บ้างคะในทริปนี้…” 6.5 ไม่แย่งกันพูด ให้นักสื่อความหมายที่ท�าหน้าที่น�าเที่ยวเป็นผู้รับผิดชอบในการอธิบายและ สร้างบทสนทนา ในช่วงแรกหลังจากแนะน�าทีมงานแล้วให้แจ้งกับผู้มาเยือนว่าหากมีข้อสงสัยหรือ ค�าถามใดๆ สามารถถามได้จากทีมงานทุกคนตามฐานได้เลย และที่ส�าคัญเมื่อนักสื่อความหมายที่ท�า หน้าที่น�าเที่ยว ได้พาไปตามฐานหรือจุดท่องเที่ยวนั้น ผู้น�าพามานั้นจะต้องแนะน�านักสื่อความหมาย ประจ�าฐานอีกครั้ง และส่งต่อหน้าที่เพื่ออธิบายรายละเอียด อย่างตั้งใจ และเป็นมิตร 6.6 สังเกตสิ่งรอบตัวเรา เพื่อน�ามาเป็นบทสนทนา และสร้างประสบการณ์จากสัมผัสทั้ง 5 แก่ ผู้มาเยือน ผู้เป็นนักสื่อความหมายนั้นจ�าเป็นต้องมีองค์ความรู้ที่ดี เพื่อน�าข้อมูลในพื้นที่มาเชื่อมโยง กับเรื่องราวที่ต้องการน�าเสนอให้น่าสนใจ เพราะการสื่อความหมายไม่ใช่การเสนอเพียงแต่ข้อมูลพื้น ฐานเท่านัน้ แต่เป็นการถ่ายทอดเรือ่ งเล่าทีน่ า่ สนใจ โดยท�าให้ผฟู้ งั รูส้ กึ ผูกพัน หวงแหน และอยากกลับ มาอีก ดังนั้น การศึกษาข้อมูลรอบตัวไม่ว่าจะเป็นเชิงประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมท้องถิ่น หรืออาหาร ต�ารับโบราณ ชนิดต้นไม้ พันธุ์ไม้ สิ่งมีชีวิตหายากในท้องถิ่น สมุนไพร เป็นต้น ล้วนแต่เป็นสิ่งที่ท�าให้ ผู้มาเยือนรู้สึกประทับใจในความรู้ และเรื่องเล่าที่ได้ถ่ายทอดให้ฟัง

ภาพที ่ 6 : แบบฝึกหัดทักษะการเชื่อมโยงบทสนทนาเชิงโต้ตอบด้วยเรื่องใกล้ตัวเรา

รู้เขา.....................รู้เรา ทักษะการเชื่อมโยงบทสนทนาเชิงโต้ตอบด้วยเรื่องใกล้ตัวเรา

Interactive conversation skills with local connectivity

สิ่งที่สนใจ (Interested)

อึ้ง ทึ่ง เสียว ตลก เศร้า ซึ้ง สร้างแรงบันดาลใจ เป็นประโยชน์ ใกล้ตัวเขา

30

เนื้อหาประกอบหลักสูตร พัฒนานักสื่อความหมายชุมชน

สิ่งที่เรา(ชุมชน) เป็น/มี (locality)

สิ่งรอบตัว/จุดเด่น/กิจกรรม/อาหาร/สถานที่/ ประวัติศาสตร์/วัฒนธรรม/ความเชื่อ

31


7. ทักษะการท�างานเป็นทีม (Teamwork Skills) จากการท�างานด้านการท่องเที่ยวนั้น ชุมชนไม่สามารถท�างานเพียงล�าพังได้ การท�างานเป็นทีม มีความส�าคัญมากกับการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน ซึ่งหากสามารถน�าแบบฝึกหัดในหลักสูตร นี้มาวิเคราะห์ร่วมกันเพื่อประเมินจุดแข็งและจุดอ่อนของชุมชนจะช่วยให้เห็นภาพการท� างานแบบ บูรณาการที่ชัดเจนยิ่งขึ้น แบบฝึกหัด : การประเมินการท�างานเป็นทีมภายในชุมชน ล�าดับ

หัวข้อ

1.

ชุมชนของเราแบ่งหน้าที่ชัดเจน และเลือกคนได้เหมาะสมกับงานที่ท�า ในแต่ละส่วน เรารู้จักทีมงานเราดีเพียงพอ เข้าใจลึกซึ้งถึงข้อดี ข้อเสีย และปัญหา ของเขา เรามีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันพร้อมจะเผชิญปัญหาไปด้วยกัน เมื่อมีปัญหามักพูดคุยด้วยความจริงใจเสมอมา เรามีกฏของทีมในการบริหารจัดการให้เกิดความยุติธรรม เรามีขอ้ ตกลง เป้าหมายร่วมกัน มองเห็นภาพความส�าเร็จเดียวกัน และเดินไปด้วยกันเสมอ เรามีการแชร์ความคิดเห็นในทุกๆ กลุ่ม แม้กลุ่มนั้นจะไม่ค่อยพูด แต่ ทางทีมพยายามสร้างบรรยากาศให้ทุกคนได้ออกความคิดเห็น ไม่ได้ฟังแต่ใครคนใดคนหนึ่งเท่านั้น เราเปิดโอกาสให้ทุกคนพูด ถึงแม้บางความคิดเห็นอาจจะไม่ดี แต่เป็นการเปิดรับให้ทุกคนได้แสดงออก

2. 3. 4. 5. 6. 7.

32

เนื้อหาประกอบหลักสูตร พัฒนานักสื่อความหมายชุมชน

х

8. 9. 10. 11. 12.

เราไม่เคยท�าให้ใครเขินอายที่ได้เสนอความคิดเห็น ในทางตรงกันข้าม เรากลับชื่นชมที่ช่วยคิด ถึงแม้จะคิดต่างกันกับเราก็ตาม มีการก�าหนดระยะเวลาในการท�าเรื่องใดเรื่องหนึ่งให้ส�าเร็จร่วมกัน เรามักให้กา� ลังใจกันเสมอเมื่อเจออุปสรรค เรามักขับเคลื่อนการท่องเที่ยวโดยชุมชนด้วยการคิดบวก มีพลัง สดใส ไม่ขุ่นมัว และช่วยกันด�าเนินการด้วยความสามัคคี เรายอมให้คนในทีมเป็นผู้นา� พร้อมเป็นผู้ตามในกรณีที่ต้องการ ให้เกิดการขับเคลื่อนการพัฒนาท่องเที่ยว และเข้าใจเสมอว่าผู้น�า ต้องเสียสละมากกว่าเรา รวมคะแนน

การท�างานเป็นทีมนั้น ไม่เพียงแต่การท�างานกับคนในชุมชนเท่านั้น แต่ยังรวมถึงผู้เกี่ยวข้อง อย่างเช่น มัคคุเทศก์อาชีพที่เดินทางพานักท่องเที่ยวมาในพื้นที่ มาลองพิจารณาถึง 6 หัวข้อที่ท�าให้ นักสื่อความหมายเข้าใจการท�างานเป็นทีมกับมัคคุเทศก์อาชีพได้ดีขึ้น ดังนี้ 6 หัวข้อที่ทา� ให้นักสื่อความหมายเข้าใจการท�างานเป็นทีมกับมัคคุเทศก์อาชีพได้ดีขึ้น ดังนี้ 1. ในฐานะเจ้าบ้าน เราคือผูท้ มี่ อี งค์ความรูใ้ นพืน้ ทีไ่ ด้ดี แต่อาจจะไม่สามารถสือ่ สารได้ดเี ท่าทีค่ วร รวมถึงทักษะการใช้ภาษาต่างประเทศ การสื่อสารที่เข้าถึงผู้มาเยือนเป็นต้น 2. การท�างานของนักสื่อความหมายและมัคคุเทศก์เป็นการเติมเต็มซึ่งกันและกันในเรื่องการ เสริมสร้างประสบการณ์ร่วมให้ยิ่ง WOW และประทับใจ 3. มัคคุเทศก์อาชีพมักจะให้คนพื้นที่บรรยายและช่วยเสริมความรู้เพื่อสร้างความมั่นใจ และ ความคุ้นเคยในการต้อนรับนักท่องเที่ยว 4. ชุมชนที่ร่วมมือร่วมใจดูแลนักท่องเที่ยวร่วมกับมัคคุเทศก์ ท�าให้ช่วยขายสินค้าได้เพิ่มขึ้น สร้างรายได้และเพิ่มอัตลักษณ์เสริมคุณค่าของแหล่งท่องเที่ยว 5. มัคคุเทศก์ยงั สามารถให้มมุ มองจากการเดินทางไปในพืน้ ทีต่ า่ งๆ เพือ่ สะท้อนการพัฒนาชุมชน ด้านการท่องเที่ยวให้ยิ่งดีขึ้น 6. มัคคุเทศก์ช่วยอธิบายเรื่อง ความปลอดภัยในแหล่งท่องเที่ยวซึ่งคนที่นักท่องเที่ยวไว้ใจที่สุด คือ มัคคุเทศก์ไม่ใช่เรา ยิ่งในยามที่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดที่จะจ�าเป็นต้องมีการสื่อสารและ การประสานงานอย่างเร่งด่วนและรวดเร็ว

33


8. ศีลธรรมและจรรยาบรรณส�าหรับนักสื่อความหมายในชุมชน ในหัวข้อนี้นั้น ถือได้ว่าเป็นพื้นฐานของการเป็นนักสื่อความหมาย โดยยึดหลักศีลธรรมและ จรรยาบรรณทีค่ วรมีตอ่ การปฏิบตั หิ น้าทีๆ่ เสมือนเป็นตัวแทนของคนทัง้ ชุมชนเพือ่ ส่งต่อประสบการณ์ ที่ดีและประทับใจแก่ผู้มาเยือน ความเข้าใจเพือ่ นมนุษย์ เมตตากรุณาปรารถนาดีตอ่ เพือ่ นมนุษย์และสัตว์โลก นักสือ่ ความหมาย พึงเข้าใจว่ามนุษย์และสัตว์โลกปรารถนาความรัก ความเคารพ การเอาใจใส่ดูแล จึงควรปฏิบัติตน ต่อผู้มาเยือนอย่างเสมอภาค หลีกเลี่ยงการพูดคุย หรือให้ความส�าคัญกับนักท่องเที่ยวคนใดคน หนึ่งเป็นพิเศษ ระมัดระวังการกระท�าหรือพูดจาที่ก่อให้เกิดความกระทบกระเทือนจิตใจโดยมิได้ เจตนา เช่น การเล่าเรื่องตลกของชุมชนต่างๆ ที่อาจกลายเป็นการดูหมิ่นเจ้าของชุมชนนั้นได้ เป็นต้น เราจึงควรยึดหลักการเอาใจเขามาใส่ใจเราในการดูแลผู้มาเยือน การตระหนั ก ในหน้ า ที่ แ ละความรั บ ผิ ด ชอบ นั ก สื่ อ ความหมายพึ ง ปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ ข องตน โดยเต็มก�าลังความสามารถ และมีความรับผิดชอบตลอดเวลาทีป่ ฏิบตั งิ าน ไม่ละเลยหรือขาดการดูแล ความสะดวกแก่ผู้มาเยือน นักสื่อความหมายควรหลีกเลี่ยงพูดวิพากษ์บุคคลหรือสถาบันใดๆ หรือ ให้ข้อมูลผิด ควรระมั ด ระวั ง ให้ ข ้ อ มู ล ทางการเมื อ งที่ มี แ นวคิ ด แตกต่ า งกั น การน� า เสนอข้ อ มู ล ทาง ประวัตศิ าสตร์ทอี่ อ่ นไหว การเหยียดสีผวิ ความหลากหลายทางเพศ เชือ้ ชาติ อาจก่อให้เกิดความเข้าใจ ผิดได้ รวมทัง้ การเปรียบเทียบวัฒนธรรมทีล่ ะเอียดอ่อนโดยเฉพาะอย่างยิง่ ความเชือ่ และความศรัทธา ของชุมชนในพื้นที่ ถ้าข้อมูลใดเป็นความคิดเห็นส่วนตัวควรบอกให้นักท่องเที่ยวได้ทราบอย่างเป็นกิจจะลักษณะ หลีกเลีย่ งการตกแต่งข้อมูลหรือน�าเสนอข้อมูลทีผ่ ดิ ๆ เพราะอาจจะสร้างความเสียหายต่อภาพลักษณ์ ของแหล่งท่องเที่ยว และสร้างความเข้าใจผิดต่อนักท่องเที่ยวด้วย

ความซื่อสัตย์สุจริต ไม่หลอกลวงนักท่องเที่ยว หลีกเลี่ยงการค้าก�าไรเกินควร โดยไม่ค�านึง ถึงความเหมาะสมของคุณภาพสินค้าบริการและราคาที่นักท่องเที่ยวต้องจ่ายไป การให้ข้อมูลของ สินค้าและบริการเพียงด้านเดียว มีเจตนาแอบแฝง (ไม่บริสุทธิ์) ท�าให้เกิดการเข้าใจผิด นักท่องเที่ยว มีความคาดหวังสูงต่อคุณภาพของสินค้าและบริการ ผลของการกระท� าดังกล่าวสร้างความผิดหวัง ไม่เพียงกระทบต่อชือ่ เสียงของนักสือ่ ความหมายเท่านัน้ แต่ยงั ส่งผลต่อชือ่ เสียงของชุมชน สินค้า และ บริการในพื้นที่ด้วย การรู้จักประมาณตนและระมัดระวังกิริยา ท่าทาง ควรแต่งกาย วางตัวให้เหมาะสม เคารพ และให้เกียรติผู้มาเยือน นักสื่อความหมายไม่ควรพูดจาหยอกเล่นกับนักท่องเที่ยวจนเกินควร ทั้งนี้ ควรหลีกเลี่ยงการใช้ท่าทาง และภาษากายที่ไม่เหมาะสม เช่น ตะโกน หรือปรบมือเสียงดังๆ เพื่อ เรียกนักท่องเที่ยว รู้จักควบคุมอารมณ์แสดงสีหน้าไม่พอใจ เมื่อผู้มาเยือนมีค�าถามหรือไม่เข้าใจใน เนื้อหาที่น�าเสนอ รวมทั้งพลาดเวลานัดหมาย อนึ่งการส่งเสียงดัง เล่าเรื่องอารมณ์ขันที่ไม่เหมาะสม กับเวลา และสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของคนในชุมชน เป็นการไม่ให้เกียรติ ไม่เคารพหรือลบหลู่ต่อสถานที่ จิตวิญญาณของคนในชุมชน การดูแลความปลอดภัย นักสือ่ ความหมายควรดูแลสวัสดิภาพของผูม้ าเยือน ทัง้ ในด้านสุขภาพ และทรัพย์สินส่วนตัว ใส่ใจต่อความสะอาดอนามัยของอาหารและเครื่องดื่ม ระมัดระวังไม่ให้เกิด อุบัติเหตุ การโจรกรรม และการลักทรัพย์ของผู้มาเยือน

นักสื่อความหมายควรมีทัศนคติที่ดีต่อชุมชนในพื้นที่ มีความผูกผันกับพื้นที่ ใส่ใจพัฒนา ตนเอง ร่วมเรียนรูข้ อ้ ผิดพลาด ปรับปรุง และพัฒนาทักษะการสือ่ ความหมายให้มปี ระสิทธิภาพมากขึน้ ทัง้ นีน้ กั สือ่ ความหมายควรเป็นแบบอย่างในการอนุรกั ษ์ พัฒนาศิลปวัฒนธรรม และสิง่ แวดล้อมในพืน้ ที่ อนึ่งกิจกรรมการสื่อความหมายควรกลมกลืนกับเอกลักษณ์ของพื้นที่ และเคารพต่อขนบธรรมเนียม ประเพณีของคนในชุมชน

34

เนื้อหาประกอบหลักสูตร พัฒนานักสื่อความหมายชุมชน

35


9. ความรู้เรื่องกฎระเบียบที่นักท่องเที่ยวควรปฏิบัติ การปฏิบิตัตามกฎระเบียบในพื้นที่ ถือเป็นเรื่องส�าคัญ ในหัวข้อนี้ จะแนะน�าถึงสิ่งที่นักสื่อความ หมายควรยึดถือเสมอในการบอกกล่าว ข้อควรปฏิบัติหรือกฏระเบียบในพื้นที่ เพื่อสร้างความเข้าใจ และความปลอดภัยแก่ผู้มาเยือน นักสือ่ ความมหมายควรส�ารวจนักท่องเทีย่ วถึงความพร้อมของร่างกายว่าสามารถจะเดินทางได้หรือไม่ เช่น มีโรคประจ�าตัว นอกจากนีค้ วรแนะน�าให้ผมู้ าเยือน ศึกษาข้อมูลพืน้ ฐานจากสือ่ ต่างๆ เกีย่ วกับชุมชน หรือแหล่งท่องเทีย่ วทีจ่ ะไปเยีย่ มชม ก่อนเดินทางควรศึกษา เส้นทางเดินทาง สภาพภูมปิ ระเทศ อากาศ ความเชือ่ วัฒนธรรมของชาวบ้านในพืน้ ที่ รวมทัง้ แต่งกายให้เหมาะสมกับสภาพภูมปิ ระเทศ และวัตถุประสงค์ ในการเดินทาง เช่น ควรแต่งกายให้รดั กุม เพือ่ ป้องกันอันตรายจากสัตว์และพืชทีม่ พี ษิ ซึง่ จะไม่กอ่ ให้เกิด ความล�าบากในการเดินป่า ขณะอยู่ในแหล่งท่องเที่ยวควรแจ้งผู้มาเยือนให้ปฏิบัติตามกฎระเบียบและค�าแนะน�าของนักสื่อ ความหมาย เมือ่ เข้ามาในสถานศักดิส์ ทิ ธิค์ วรปฏิบตั ติ ามระเบียบทางศาสนา เช่น ถอดหมวก ถอดแว่น กันแดด และรองเท้าก่อนเข้าไปสักการะสถานที่จิตวิญญาณ ไม่ปีนป่ายโบราณวัตถุ โบราณสถาน ไม่ แสดงการหลบหลู่ความเชื่อ วัฒนธรรมประเพณีของชุมชนในพื้นที่ เช่น ไม่เปลือยกายอาบน�้ากลาง แจ้งหรือที่สาธารณะ ไม่มั่วโลกีย์ และไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด เป็นต้น ส�าหรับกิจกรรมเดินป่า นักสื่อความหมาย ควรสามารถให้ข้อมูลการปฏิบัติตนเมื่อเข้า มาในป่า ทัง้ นีเ้ พือ่ คุม้ ครอง รักษาสิง่ แวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะป่าไม้และ สัตว์ป่า รวมทั้งความสวยงามของทิวทัศน์ ให้อยู่ในสภาพเดิม นักสื่อความหมายควร ควบคุมนักท่องเทีย่ วให้ปฏิบตั ติ วั ดังนี้ ห้ามทิง้ สิ่ ง ที่ เ ป็ น เชื้ อ เพลิ ง ท� า ให้ เ กิ ด เพลิ ง เช่ น ก้นบุหรี่ และห้ามสุมไฟ ห้ามเด็ด ตัด หรือ ท�าลายต้นไม้ ใบไม้ ดอกไม้ ห้ามล่าสัตว์ หา ของป่า และน�าของป่าออกจากเขตป่า ห้าม ส่งเสียงดังอึกทึก หรือท�าให้เกิดเสียงระเบิด ห้ามทุบท�าลายหินงอก หินย้อย และต่อเติม ภาพวาดโบราณ หรือขีดเขียนใดๆ บนผนังถ�า้ เป็นต้น

ในการท�ากิจกรรมสื่อความหมายทางน�้าควรจัดเตรียมน�้าดื่มให้เพียงพอ เพราะสภาพอากาศที่ ร้อนอบอ้าว ท�าให้ร่างกายสูญเสียน�้าได้ง่าย ท�าให้เกิดอาการกระหายน�้าบ่อย ขณะล่องเรือน�าเที่ยว ควรแนะน�านักท่องเที่ยวว่าไม่ควรทิ้งภาชนะที่ใส่อาหารและน�้าดื่มลง แหล่งน�า้ ธรรมชาติเป็นอันขาด เพราะท�าให้แหล่งน�า้ นัน้ สกปรก และเป็นภัยอันตรายต่อสัตว์นา�้ ทีอ่ าศัย อยู่ ทั้งนี้ควรรวบรวมภาชนะที่ใช้แล้วน�ากลับมาทิ้งบนบก แนะน�าให้นักท่องเที่ยวเข้าใจว่า ไม่ควรเก็บปะการัง เปลือกหอย รวมทั้งทรัพยากรทางทะเล อื่นๆ มาเป็นที่ระลึก สิ่งเหล่านี้จะมีคุณค่าที่สุดก็ต่อเมื่อได้อยู่ในที่ควรอยู่ ปะการังที่ยังมีชีวิตในน�้า เป็นที่หลบภัย ที่หาอาหารของสัตว์นา�้ นานาชนิด การท�าลายแนวปะการังจึงเป็นการท�าลายวงจรชีวิต ของสิ่งมีชีวิตในทะเล 10. ความปลอดภัยในแหล่งท่องเที่ยว การให้ความรูค้ วามปลอดภัยแก่นกั ท่องเทีย่ ว เพือ่ ป้องกันไม่ให้เกิดภัยอันตรายต่อชีวติ และทรัพย์สนิ ของนักท่องเที่ยว รวมทั้งมรดกคุณค่าในแหล่งท่องเที่ยว นักสื่อความหมายมีบทบาทส�าคัญในการน�า เสนอข้อมูลถึงอันตรายและข้อควรปฏิบัติดังกล่าว นักท่องเที่ยวต้องระมัดระวังในการเข้าชมแหล่งท่องเที่ยวในเขตหวงห้าม จุดเสี่ยงอันตราย หรือ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ทางจิตวิญญาณ เพือ่ ความปลอดภัยต่อชีวติ และทรัพย์สนิ ควรงดการล่องแพในขณะทีส่ ภาพอากาศไม่เอือ้ อ�านวย เช่นมีฝนตกหนัก และน�า้ ป่าไหลหลาก ในขณะล่องเรือในทะเลหรือแม่น�้า เพื่อป้องกันอุบัติภัย นักท่องเที่ยวควรสวมเสื้อชูชีพติดตัว ไว้เสมอ เนื่องจากบางครั้งเรืออาจโคลงท�าให้พลาดพลั้งตกเรือได้ ทั้งนี้เราควรรักษาความสมดุลไม่ให้ เรือพลิกคว�่า นอกจากนี้ควรห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนเรือ เพราะท�าให้เกิดอาการมืนหัวขาด สติ และไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ขณะที่ล่องเรือทางทะเลไม่ควรหยิบหรือจับต้องสิ่งใดๆ ที่ไม่รู้จัก รวมทั้งไม่ล้วงหรือยื่นมือเข้าไป จับตามซอกโพรงต่างๆ เพราะอาจได้รับอันตรายจากสัตว์ร้ายที่หลบซ่อนตัวอยู่ ส�าหรับแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ควรแจ้งให้นักท่องเที่ยวได้ปฏิบัติตนอย่างถูกต้อง ก�าชับ เรื่องการดูแลความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว ทั้งนี้นักท่องเที่ยวควรแต่งกายให้เหมาะสมกับสถานที่ และลักษณะการเดินทาง การน�าสัมภาระ ของมีค่าติดตัวอาจสูญหายได้ ควรหาถุงพลาสติกที่ปิดผนึก และป้องกันน�า้ การเปียกน�า้ ได้ส�าหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือเอกสารส�าคัญ

ภาพที ่ 7 : ตัวอย่างรูปแบบข้อปฏิบัติในการท่องเที่ยว 36

เนื้อหาประกอบหลักสูตร พัฒนานักสื่อความหมายชุมชน

37


เรื่องเล่ำ-นักสื่อควำมหมำย (เน้นเทคนิคสร้ำงประสบกำรณ์ WOW) 11. เทคนิคการจัดล�าดับความส�าคัญของเนื้อหาและสาระส�าคัญ การค้ น หาเรื่ อ งเล่ า และการจั ด ล� า ดั บ ความส� า คั ญ ของเนื้ อ หาจะมี เ ป็ น ช่ ว งขั้ น ตอนในการ สื่อความหมาย (Interpretative Process) ซึ่งเริ่มจากการค้นหาเรื่องเด่นด้วยเทคนิคการจัดล�าดับ ความส�าคัญของเนือ้ หาและสาระส�าคัญ (Topic and Theme) และการออกแบบพืน้ ทีเ่ พือ่ การเรียนรู้ (Learning Space) ด้วยความเข้าใจในการวิเคราะห์ตนเองและผู้มาเยือนถึงความต้องการในการเข้า เยีย่ มชมพืน้ ที่ การรูเ้ ขารูเ้ รานัน้ จะต้องใช้ทกั ษะการสือ่ สารกับผูม้ าเยือนทัง้ ภาษากายและใจ รวมถึงความ เข้าใจ ต่อการเป็นนักสื่อความหมายที่สร้างความประทับใจ หรือประสบการณ์ WOW แก่ผู้มาเยือน โดยมีหัวข้อดังต่อไปนี้ การค้นหาข้อมูล ความโดดเด่น ความเหมือน ความต่าง อะไรเอ่ย? 1. ข้อมูลอะไรบ้าง : เอกลักษณ์ชุมชน ประวัติความเป็นมา สิ่งแวดล้อม ภูมิประเทศ ภูมิอากาศ วัฒนธรรม ศาสนา ความเชื่อ การประกอบอาชีพ เครื่องมือประกอบอาชีพ กระบวนการผลิต อาหาร เครื่องดื่ม ยาสมุนไพร ประเพณี การละเล่น และงานฝีมือ 2. ท�าการรวบรวม ค้นคว้า ส�ารวจข้อมูล และบันทึกองค์ความรู้ (ภาพถ่ายในอดีต หรือข้าวของ เครื่องใช้ต่างๆ ห้องสมุดโรงเรียนหรือสถาบันศึกษาในชุมชน และพิพิธภัณฑ์ชุมชน) 3. ใครสามารถช่วยให้ข้อมูลได้บ้าง (ปราชญ์ชาวบ้าน และผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ) 4. เราควรระบุใจความส�าคัญของเนื้อหาในบทเกริ่นน�า เพื่อให้นักท่องเที่ยวเข้าใจเนื้อหาใน ภาพรวม ส�าหรับบทสรุป เราสามารถเน้นใจความส�าคัญอีกครัง้ เพือ่ ให้ผมู้ าเยือนสามารถจดจ�าเนือ้ หา น�ากลับบ้าน

หัวข้อ (Topic) และสาระส�าคัญ (Theme) แตกต่างกันอย่างไร การระบุหัวข้อเพียงอย่างเดียวนั้นไม่สามารถท�าให้ผู้ชมมีความเข้าใจเรื่องราวต่างๆ ในภาพรวม ได้ ทั้งนี้ผู้ชมอาจจะเกิดความสับสน ไม่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆ เป็นเรื่องเดียวกันได้ ซึ่งท�าให้ ไม่เป็นที่น่าสนใจที่จะติดตามเรื่องราวที่เหลือ หัวข้อ (Topic) เป็นเพียงชื่อเรื่องที่น�าเสนอ มีลักษณะเป็นค�าทั่วไป ไม่ชี้เจาะจง และไม่อยู่ ในรูปประโยคทีส่ มบูรณ์ เช่น นก ป่าไม้ ภูเขา การแข่งขันระหว่างสัตว์ การกัดเซาะของดิน ความส�าคัญ ของหัตถกรรม การรักษาประติมากรรม เป็นต้น ในขณะที่สาระส�าคัญ (Theme) นั้นเป็นแนวคิดส�าคัญของการน�าเสนอเรื่องราวที่ช่วยตอบ ค�าถามว่า ‘ท�าไมจึงต้องอธิบายเรื่องนี้’ และนิยมพูดหรือเขียนในรูปประโยคที่สมบูรณ์ประกอบ ไปด้วย ประธาน และค�ากริยาเป็นส�าคัญ ตัวอย่างสาระส�าคัญ ส�าหรับหัวข้อ ‘นก’ มีดังนี้ 1. นกเป็นสัตว์ที่น่าสนใจเพราะมีความสามารถพิเศษในการปรับตัวในการบิน 2. นกพื้นเมืองในประเทศนี้กา� ลังเสี่ยงต่อการสูญพันธ์อย่างรวดเร็ว 3. นกอินทรีและเหยี่ยวมีความสามารถในการช่วยเหลือมนุษย์ 4. นกหากินตามธรรมชาติและเป็นสัตว์ที่ชอบใช้ชีวิตอิสระ

การน�าเสนอเนื้อหาด้วยสาระส�าคัญ (Theme) สาระส�าคัญ (Theme) เป็นความคิดหลัก แก่นเรือ่ ง ใจความหลัก หรือหัวใจของเนือ้ หาทีต่ อ้ งการ สือ่ ไปยังผูร้ บั สาร เป็นองค์ประกอบส�าคัญทีช่ ว่ ยให้การสือ่ ความหมายในแหล่งท่องเทีย่ วมีประสิทธิภาพ สาระส�าคัญมีประโยชน์ต่อผู้รับสารและผู้ส่งสาร คือ 1. ช่วยให้ผู้รับสารเข้าถึงโครงสร้างเนื้อหาได้ชัดเจน สามารถเชื่อมโยงเนื้อหา และชวนติดตาม เรื่องราวน�าเสนอที่เหลือ ช่วยให้ผู้รับสารเข้าใจเนื้อหาในภาพรวมมากขึ้น และจดจ�าเนื้อหาได้นานขึ้น 2. ช่วยให้นักสื่อความหมายเรียงล�าดับความส�าคัญของเนื้อหาว่า ข้อมูลใดเป็นใจความหลักหรือ ใจความรอง ข้อมูลใดควรน�าเสนอก่อนหลังเพือ่ ท�าให้ผรู้ บั สารเข้าใจได้งา่ ยขึน้ ช่วยในการวางแผนและ ก�าหนดโครงสร้างเนื้อหาให้มีความชัดเจน รวมทั้งช่วยประหยัดเวลา และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ในการศึกษา ข้อมูลใดที่เกี่ยวข้อง

38

เนื้อหาประกอบหลักสูตร พัฒนานักสื่อความหมายชุมชน

39


ภาพที่ 8 : ตัวอย่างหัวข้อ (Topic) และสาระส�าคัญ (Theme) แตกต่างกันอย่างไร

ภาพที ่ 9 : แบบฝึกหัด การเล่าเรื่องก็เหมือนการท�าอาหาร

เรื่องเล่าก็เหมือนการท�าอาหาร?

หัวข้อ (Topic).................... สาระส�าคัญ (Theme)..............

หัวข้อ (Topic).................... สาระส�าคัญ (Theme)..............

ให้ทุกท่านลองนึกภาพตามว่า กว่าจะออกมาเป็นอาหารจานหนึ่งนั้น มีองค์ประกอบอยู่ค่อนข้าง มาก เช่นเดียวกับการเล่าเรือ่ ง กว่าจะเล่าเรือ่ งๆ หนึง่ จะต้องทราบถึงองค์ประกอบของเรือ่ งราวเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น เราจะท�าข้าวผัดหมูใส่ไข่ มีองค์ประกอบ คือ หัวข้อที ่ 1. การเดินทางไปตลาด สาระส�าคัญ: เพื่อซื้อของสดและถูกจากคนพื้นที่ หัวข้อที ่ 2. ผักในข้าวผัด สาระส�าคัญ: เลือกใส่ผัดคะน้าเพราะมีคุณค่ามากที่สุด ข้อที่ 3. เนื้อสัตว์ สาระส�าคัญ: เลือกใส่เนื้อหมูเพราะคนที่บ้านชอบ อยากให้ค�านึงไว้เสมอว่า จะเล่าเรื่องใดเป็นหัวข้อใหญ่ และมีองค์ประกอบ หรือเรื่องเล่าย่อยๆ ที่มีสาระส�าคัญที่น่าสนใจและเกี่ยวข้องกับหัวข้อหลักอย่างไร เพื่อฝึกฝนให้เป็นคนเล่าเรื่องอย่างเป็น ระบบ ไม่เล่าเรื่องข้ามไปข้ามมา จับต้นชนปลายไม่ถูก ลองมาฝึกฝนจากแบบฝึกหัดนี้กัน 40

เนื้อหาประกอบหลักสูตร พัฒนานักสื่อความหมายชุมชน

หัวข้อ (Topic).................... สาระส�าคัญ (Theme)..............

หัวข้อ (Topic).................... สาระส�าคัญ (Theme)..............

หัวข้อ (Topic).................... สาระส�าคัญ (Theme)..............

ลักษณะที่ดีของสาระส�าคัญ 1. ควรเป็นประโยคที่สั้นกระชับ เข้าใจได้ง่ายตรงไปตรงมา 2. มีความคิดหลักที่ส�าคัญเพียงหนึ่งเดียว 3. สามารถสื่อให้เห็นถึงวัตถุประสงค์ในการน�าเสนอได้ในภาพรวม 4. สามารถชี้เฉพาะเจาะจง 5. มีการใช้ภาษาที่น่าสนใจ ตัวอย่างสาระส�าคัญที่ใช้ในการน�าเสนอ และช่วยท�าให้นักท่องเที่ยวมีความเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น โดยค�าที่อยู่ในกรอบนั้น เป็นหัวข้อ 1. อนาคตของลูกหลานพวกเราขึน้ อยูก่ บั การอนุรกั ษ์ดแู ลทรัพยากรธรรมชาติของคนในรุน่ ปัจจุบนั 2. ทุกชีวิตในโลกนี้ต่างพึ่งพาดวงอาทิตย์ด้วยกันทั้งสิ้น 3. ปลาวาฬต่างชนิดมีวิธีหาอาหารแตกต่างกันไป 4. การอนุรักษ์ระบบนิเวศเปรียบเสมือนการท�าประกันชีวิตสิ่งแวดล้อม 5. รูปแบบสถาปัตยกรรมมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของผู้อยู่อาศัย ในการฝึกพูดนั้น จ�าเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องก�าหนดหัวข้อ และสาระส�าคัญ เพื่อเป็นการเตรียมตัว และไม่ลืมประเด็นส�าคัญที่จะพูดในแต่ละหัวข้อ 41


การเรียงล�าดับเนื้อหา การบอกเรื่องราว ความเป็นมา สามารถเสริมสร้างประสบการณ์ท่องเที่ยว ทั้งนี้เราควรมี โครงสร้างที่ชัดเจน เนื้อเรื่องมีการเรียบเรียงและต่อเนื่อง ใช้ภาษาเข้าใจง่ายตรงประเด็นไม่สลับ ซับซ้อน และชวนให้ติดตาม ในทางตรงกันข้ามนักท่องเที่ยวจะเข้าใจได้ยากหากการเชื่อมโยงด้วย ภาพ ข้อความ หรือการน�าเสนอเรียบเรียงไม่ดี สับสน ขาดการต่อเนือ่ ง หรือใช้ภาษาทีเ่ ข้าใจยากไม่ตรงกับ นักท่องเที่ยวที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย โดยหลักการแล้วการสื่อความหมายที่ท�าให้เข้าใจง่าย ควรประกอบด้วย ชื่อเรื่อง ค�าน�า ระบุ ความเป็นมา และมีค�าอธิบายรายละเอียดตามล�าดับ ข้อมูลควรมีความต่อเนื่องสอดคล้องกัน และ สามารถใช้ภาษาได้อย่างเหมาะสมตั้งแต่เริ่มต้นจนจบ เราควรจ�ากัดความคิดหรือข้อมูลไว้ไม่เกิน 4 ประเด็นหลัก เพื่อให้นักท่องเที่ยวสามารถจดจ�าเรื่องราวที่น�าเสนอได้นานขึ้น ในการสื่อความหมาย ทางประวัติศาสตร์ ต้องบอกเรื่องราวความเป็นมา บอกที่มาที่ไป เพื่อสร้างความเข้าใจในภาพรวม เปรียบเสมือนการชมภาพยนตร์ถา้ ขาดการติดตามตัง้ แต่เริม่ ต้น อาจจะไม่เข้าใจเรือ่ งราวในภาพรวมได้

แบบฝึกหัด : กำรเรียงล�ำดับเนื้อหำ จงคิดหัวข้อเรื่องที่จะพูดในฐานหรือแหล่งท่องเที่ยวของท่าน โดยเรียงล�าดับความส�าคัญที่เห็น สมควรว่าเป็นเรื่องที่ไม่ควรพลาดที่จะเล่าให้นักท่องเที่ยวได้ฟัง เพื่อเห็นถึงความส�าคัญของแหล่ง ท่องเที่ยวหรือฐานความรู้ในชุมชนแห่งนี้ ตารางที่ 4 แนวทางการเรียงล�าดับสาระส�าคัญของแหล่งท่องเที่ยวหรือฐานความรู้ หัวข้อ

การท่องเที่ยวโดยชุมชน

สาระส�าคัญ 1. เป็นการสนับสนุนการ (ท�าไมต้องเล่าเรื่องนี้) ท�างานร่วมกันกับชุมชน โดยเรียงล�าดับ ให้เข้มแข็ง ความส�าคัญ สิ่งที่ได้จากการ ท่องเที่ยวโดยชุมชน 2. ให้เห็นความรักและ ความสามัคคีในชุมชน 3. ช่วยส่งเสริมเด็กรุ่นใหม่ ให้กล้าแสดงออก 4. เสริมอัตลักษณ์ของ ชุมชน ให้ยังคงอยู่ 42

เนื้อหาประกอบหลักสูตร พัฒนานักสื่อความหมายชุมชน

ยกตัวอย่าง/ สาระส�าคัญ ปลีกย่อย

1. เมื่อสมัยก่อนนั้น ชุมชนไม่มีรายได้ที่ แน่นอนจึงหันมา ท�าเกษตรอินทรีย์ เพื่อความพอเพียง 2. ทุ ก คนเสี ย สละเวลา ส่ ว นตั ว มาช่ ว ยงาน ท่องเที่ยวกันอยู่เสมอ 3. เด็กไม่มเี วลาไปเล่นเกมส์ แล้วหันมาท�ากิจกรรม ร่วมกับผู้ใหญ่ 4. ผลิตของที่ระลึกของ ชุมชนให้คนได้จดจ� า เราและอยากกลับมา หาอีก

แบบฝึกหัด : กำรเรียงล�ำดับสำระส�ำคัญ สาระส�าคัญ 1 ………………………………………………………………………………………………………….…… ……………………............................................................................................................................ ตัวอย่าง ..................................................................................................................................... ................................................................................................................................................... ................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................. สาระส�าคัญ 2 ……………………………………………………………………………………………………….…… ……………………………………………………………………………………………………………………………......... ................................................................................................................................…………….. ตัวอย่าง ..................................................................................................................................... .....................…………………………………………………………………………………………………….............. ................................................................................................................................................... .....…………………………………………………………………………………………………….………………………… สาระส�าคัญ 3 ………………………………………………………………………………………………………………. …………………………………………………………………………………………………………………..................... ตัวอย่าง .....................................................................................…………………………………………. ………………………………………………………….................................................................................. ..................................................................................................................................…………….. ..................................................................................................................................……………..

12. เทคนิคสร้างประสบการณ์ WOW แก่ผู้มาเยือน ในส่วนนี้เป็นการเสริมสร้างเทคนิคที่ควรรู้แก่นักสื่อความหมาย โดยรวมถึงขั้นตอนการคิดแบบ นักเล่าเรื่อง ซึ่งประกอบไปด้วย การเสริมสร้างประสบการณ์ร่วมด้วยการเชื่อมโยงกับนักท่องเที่ยว และเทคนิคการสร้างประสบการณ์รว่ มให้ WOW ตามเส้นทางท่องเทีย่ ว (Customer Journey Mapping Based WOW Experience: CJM-WOW) ประสบการณ์ WOW คือ ประสบการณ์ที่ผู้มาเยือนไม่ได้คาดคิดว่าจะเจอ จนต้องตะลึงกับการ ต้อนรับ การดูแล และจัดโปรแกรมที่ท�าให้รู้สึกประหลาดใจที่ได้พบเจอ ซึ่งจะต้องสร้างความรู้สึก ในแง่บวก ประทับใจ จนอยากจะเล่าต่อและกลับมาเยือนอีกครั้ง โดยมีองค์ประกอบในการน�าเสนอ และสร้างประสบการณ์ ดังต่อไปนี้ 43


1. การน�าเสนอด้วยน�้าเสียงที่น่าสนใจ บุคลิก ลีลา ท่าทาง น�้าเสียง มีอิทธิพลสูงในการโน้มน้าว ชักจูง สร้างความเร้าใจได้ดี มีความยึดหยุ่น โดยที่ผู้พูดสามารถปรับเนื้อหาให้เหมาะสมกับผู้ฟังได้ ทันท่วงที สามารถน�าเสนอเรือ่ งราวทีส่ ลับซับซ้อน และสร้างความเร้าใจได้ดี น�า้ เสียงสนุก ผ่อนคลาย และเป็นกันเอง เป็นการละลายพฤติกรรมเมื่อแรกพบ สามารถสร้างความสัมพันธ์กับนักท่องเที่ยว 2. การสื่อความหมายที่มีประสิทธิภาพจะต้องสนุกสนานสร้างความเพลิดเพลินไม่เกิดความ เบื่อหน่ายจ�าเจ มีการใช้ภาษาที่น่าฟังรื่นหูเข้าใจง่าย ผู้สื่อความหมายควรมีหน้าตายิ้มแย้มเป็นมิตร กับนักท่องเที่ยว มีความสนุกสนาน แฝงด้วยอารมณ์ขัน มีการสื่อสารสองทางระหว่างผู้ส่งสารและ ผู้รับสาร นอกจากนี้ยังให้นักท่องเที่ยวมีส่วนร่วมในกิจกรรมหรือโปรแกรมที่น�าเสนอ 3. เราควรกระตุ้นความสนใจนักท่องเที่ยวด้วยการออกแบบกิจกรรมสร้างสรรค์ที่สัมพันธ์กับ วิถีชีวิตในชุมชน การสื่อความหมายในพื้นที่ภูมิประเทศที่แปลกใหม่แตกต่างจากชีวิตประจ�าวัน ของผู้มาเยือน เป็นการเสริมสร้างประสบการณ์ใหม่ให้ผู้มาเยือน 4. เราสามารถกระตุน้ ความสนใจนักท่องเทีย่ วด้วยการมีสว่ นร่วมในกิจกรรมและมีประสบการณ์ ร่วมกัน โดยปกติผู้คนมักจะจดจ�าสิ่งต่างๆ ที่ได้สัมผัส และลงมือปฏิบัตไิ ด้ดีกว่าจากการอ่าน ฟัง หรือ ดูเพียงอย่างเดียว การสร้างความสนุกสนานเพลิดเพลิน และแฝงด้วยอารมณ์ขันนั้นเราควรกระตุ้น ให้มีการปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักสื่อความหมายและผู้เยี่ยมชม ทั้งนี้อาจให้ผู้เยี่ยมชมมีส่วนร่วมในการ ช่วยสืบค้นหาค�าตอบในกิจกรรมที่น�าเสนอ การใช้สื่อหลากหลายชนิดน�าเสนอ การเชิญชวนให้ นักท่องเที่ยวร่วมการละเล่นฟ้อนร�า มีส่วนร่วมในการแสดงศิลปวัฒนธรรมโดยมีดนตรีบรรเลง ประกอบ การสาธิตการท�าหัตถกรรม การจัดนิทรรศการกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวร่วมค้นหาค�าตอบ การแสดงเปรียบเทียบข้าวของเครื่องใช้ หรือภาพถ่ายในอดีตและปัจจุบัน ต่างก็สามารถดึงดูด ความสนใจได้ ซึ่งแหล่งเรียนรู้ในชุมชนสามารถใช้กลยุทธ์น�าเสนอที่น่าสนใจ คือ มีการจ�าลอง สถานที่เเละสิ่งของเครื่องใช้ โดยที่นักท่องเที่ยวสามารถสัมผัสจับต้องข้าวของเครื่องใช้ที่น�ามา แสดงได้ การร่วมค้นหาค�าตอบ การเชิญชวนนักท่องเที่ยวร่วมแต่งกายให้เข้ากับบริบทในพื้นที่ การมีส่วนร่วมต่างๆ เหล่านี้ท�าให้ผู้มาเยือนรู้สึกสนุกสนานเพลิดเพลิน มีส่วนส�าคัญก่อให้เกิดการ พัฒนาการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่นักสื่อความหมายได้ออกแบบไว้

2. เราอาจใช้การเปรียบเทียบแฝงคติธรรม ค�าสุภาษิต และอธิบายความหมาย ความเป็นมา พร้อมชี้แจงเหตุผล เช่น ชุมชนผู้สูงวัยที่ วัดพระเกิด จ.น่าน ได้เปิดให้นักท่องเที่ยวได้ร่วมกิจกรรม ท�า “ตุงก้าคิง” โดยแฝงคติธรรมตามความเชื่อแบบล้านนากับตุงลักษณะพิเศษ ที่จา� ลองรูปแบบของ คนมา มีปีนักษัตร มีหน้า ตา คิ้ว จมูกปาก และมีความสูงเท่ากับความสูงของผู้ทา� ตุง ใช้เพื่อสะเดาะ เคราะห์และสืบชะตา ทั้งนี้ชุมชนผู้สูงวัย คอยช่วยแนะน�าการท�าตุงอย่างเปี่ยมมิตรไมตรีด้วยรอยยิ้ม คล้ายก�าลังสอนลูกสอนหลาน สร้างความประทับใจให้กับผู้มาเยือน 3. เราควรถามนักท่องเที่ยวเกี่ยวกับพื้นฐานประสบการณ์ก่อนน�าเสนอข้อมูล ซึ่งจะช่วยให้ นักท่องเที่ยวเกิดความสนใจมากขึ้น เช่น “คุณคิดถึง…รัก ครั้งแรกเมื่อใด...” “คุณเคยสังเกตรึ ไม่ว่า…” “กี่ครั้งแล้วที่คุณเคย…” “บางทีคุณเคยสังเกตุว่า…” เป็นต้น อนึ่งเรื่องราวที่เชื่อมโยง กับประสบการณ์ของนักท่องเที่ยวที่มักให้ความสนใจ ควรเป็นเรื่องครอบครัว สุขภาพ ความเจริญ การงาน คุณภาพชีวิต คติธรรม และความเชื่อ เป็นต้น ทั้งนี้ควรหลีกเลี่ยงค�าศัพท์เฉพาะที่เข้าใจยาก มิฉะนั้นควรอธิบายความหมายเพื่อเข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น ในการเสริมสร้างประสบการณ์ทอ่ งเทีย่ ว เราสามารถสร้างความสนใจและความประทับใจด้วยการ ปรับเปลีย่ นโปรแกรมการน�าเสนอหรือกิจกรรมใหม่ๆ ทีไ่ ม่จา� เจ การใช้สอื่ หลากหลายชนิดทีก่ ระตุน้ ความสนใจ เนื้อหาของเรื่องราวมีความน่าสนใจ และน่าติดตาม เช่น มีการน�าเสนอด้วยประเด็นที่ แปลกใหม่ สร้างความประหลาดใจหรือเป็นประเด็นข้อโต้แย้งทีย่ งั ไม่มขี อ้ สรุป การตัง้ ประโยคค�าถาม ทีน่ า่ สนใจให้นกั ท่องเทีย่ วได้คดิ และมีสว่ นร่วมในการตอบค�าถาม โดยทีเ่ ราสามารถช่วยชีแ้ นะ ตลอด จนนักท่องเที่ยวมีอิสระในการเลือกสื่อตามความสนใจหรือต้องการมีส่วนร่วมในการน�าเสนอ เช่น สามารถจับต้องสิ่งของที่น�ามาแสดงได้ สามารถทดลองสวมชุดย้อนยุคและถ่ายภาพเป็นที่ระลึกหรือ สามารถทดลองประกาศอ่านข่าว ขณะที่ก�าลังบันทึกรายการทางโทรทัศน์ เป็นต้น

เสริมสร้างประสบการณ์ร่วมด้วยการเชื่อมโยงกับนักท่องเที่ยว 1. เราควรเชือ่ มโยงข้อมูลให้ตรงกับประสบการณ์หรือเรือ่ งทีใ่ กล้ตวั ของผูช้ มหรือนักท่องเทีย่ ว ปกติคนเราจะเข้าใจได้ดใี นเรือ่ งราวทีต่ รงกับพืน้ ฐานความรู ้ ประสบการณ์ชวี ติ หรือวิถชี วี ติ วัฒนธรรม รวมทั้งภาษาและตัวอย่างที่ใช้ในการน�าเสนอ อนึ่งถ้ามีการเชื่อมโยงข้อมูลกับนักท่องเที่ยว ข้อมูล ที่น�าเสนอนั้นจะยังคงอยู่ในความทรงจ�าของนักท่องเที่ยวได้นาน

44

เนื้อหาประกอบหลักสูตร พัฒนานักสื่อความหมายชุมชน

45


กล่าวโดยสรุป สิ่งที่ควรพิจารณาเป็นส�าคัญมีดังต่อไปนี้ - การเล่าเรื่อง : น�าเสนอคนเดียวหรือร่วมกันเป็นทีม ข้อมูลที่ใช้ในการเล่าเรื่องควรเป็นเรื่องใกล้ ตัวและสัมพันธ์กับวัฒนธรรมของนักท่องเที่ยว - ผู้มาเยือนมีส่วนร่วม ชวนคุย ถามค�าถามนักสื่อความหมายอย่างเป็นกันเองเช่นเดียวกัน นักสือ่ ความหมายควรถามค�าถามผูม้ าเยือนให้ตระหนักคิด กระตุน้ ความสนใจ ได้รว่ มคิดพิจารณาค้นหา ค�าตอบ ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน และที่สา� คัญคือถ้านักสื่อความหมายมีอารมณ์ขันก็สามารถ สร้างบรรยากาศให้สนุกสนาน สร้างความสนิทสนมเป็นกันเอง ซึง่ จะช่วยสร้างความประทับใจในทีส่ ดุ - การเรียนรู้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 (รูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัส) - การสาธิต และร่วมเรียนรู้กิจกรรมวิถีชีวิตของชุมชนในพื้นที่ - การใช้สิ่งของต่างๆ ประกอบการน�าเสนอ รวมทั้งสื่อต่างๆ ด้วย - การแต่งกาย ให้เข้ากับบริบทวัฒนธรรมของพื้นที่ รวมทั้งการใช้ภาษาท้องถิ่น ค�าอุปมาอุปมัย ค�ากลอนในพื้นที่ - การเชิญผู้มาเยือนร่วมแสดง ร้องเพลง เต้นร�า หรือเล่นเกมส์ - การสร้างบรรยากาศเยี่ยมชม ควรพิจารณาวัน เวลา ภูมิอากาศ และสถานที่ ให้เหมาะสม กับกิจกรรมสื่อความหมาย และความสนใจของผู้มาเยือน ดังนั้น เราควรมีความคุ้นเคยกับพื้นที่เพื่อ ออกแบบท�ากิจกรรมสื่อความหมายได้มีประสิทธิภาพ - กรณีที่นักท่องเที่ยวเดินทางเป็นหมู่คณะ เราควรจัดการแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยหมุนเวียนเยี่ยม ชมกันทุกสถานีหรือทุกฐานความรู้ ทั้งนี้ควรจัดสรรเวลาน�าเสนอหรือบรรยายให้เหมาะสมรวมทั้ง พิจารณาล�าดับเนื้อหาให้ต่อเนื่องเพื่อสร้างความเข้าใจได้ง่ายขึ้น

46

เนื้อหาประกอบหลักสูตร พัฒนานักสื่อความหมายชุมชน

ภาพที่ 10 : แบบฝึกหัด 13 แนวทางเสริมสร้างประสบการณ์ WOW ( POST-TEST ภาคสนาม)

47


ภาพที่ 11 : แบบฝึกหัด 13 แนวทางเสริมสร้างประสบการณ์ WOW ( POST-TEST ภาคสนาม) (ต่อ)

13. เทคนิคการสร้างประสบการณ์ร่วมให้ WOW ตามเส้นทางท่องเที่ยว (Customer Journey Mapping – Based WOW Experience : CJM-WOW) หลังจากได้แนวคิดจากเทคนิคการสร้างประสบการณ์ WOW กันแล้ว มาต่อเนือ่ งกับการคิดแบบ เป็นขั้นเป็นตอน (Step by Step) ด้วยการจัดท�าแผนที่การสร้าง WOW ตามเส้นทางท่องเที่ยว ในช่วงแรกนั้นต้องเข้าใจก่อนว่า ผู้มาเยือนมีประสบการณ์เชิงบวกและลบในเรื่อง ที่แตกต่างกัน ลองท�าแบบฝึกหัดนี้ ด้วยการสอบถามผู้มาเยือน หรือการประชุมแบบ ระดมสมองในชุมชนกับหัวข้อเสียงสะท้อนจากผู้มาเยือนทั้งประสบการณ์บวกและลบ ต่อแหล่งท่องเที่ยวของเรา ภาพที่ 12 : แบบฝึกหัด ความรู้สึกเชิงบวกและความรู้สึกเชิงลบของนักท่องเที่ยว Positive ความรู้สึกเชิงบวก

Negative ความรู้สึกเชิงลบ ในช่วงแรกนั้นการออกแบบประสบการณ์ร่วมกับผู้มาเยือน มี 3 ปัจจัยหลักที่ควรพิจารณาใน เบื้องต้น ดังนี้ 1. ใครคือผู้มาเยือน ความต้องการในการมาเยือนที่แท้จริง 2. ความคาดหวังของผู้มาเยือน เคยมีประสบการณ์กับเราหรือไม่ 3. อะไรที่ทา� ให้ผู้มาเยือนรู้สึกในแง่บวกกับเราและรู้สึกในแง่ลบกับเราได้ เมื่อเราทราบข้อมูลทั้ง 3 ข้อแล้ว ทางชุมชนควรมีการปรับเส้นทางสร้างประสบการณ์ WOW ให้เข้ากับความต้องการ และเหมาะสมกับผู้มาเยือนในแต่ละกลุ่ม โดยมีการพูดคุยหรือถามข้อมูล ในส่วนนี้ในวันที่ได้รับการติดต่อเพื่อเข้าพื้นที่ของเรา หลังจากทราบข้อมูลและก�าหนดหัวข้อเรื่องราว กิจกรรมต่างๆ แล้วนั้น มาร่วม Check List กับ ขั้นตอนและองค์ประกอบทั้ง 8 ขั้นตอน ในการท�าเส้นทางสร้างประสบการณ์ WOW การท่องเที่ยว โดยชุมชนฉบับนักสื่อความหมายกัน 48

เนื้อหาประกอบหลักสูตร พัฒนานักสื่อความหมายชุมชน

49


1. การรับรู้ก่อนมาถึง (Awareness) เริ่มถามด้วยค�าง่ายๆ เช่น เขารู้จักเราในเรื่องอะไร จากช่องทางใด คาดหวังจะได้ท�าสิ่งใด ความต้องการของผูม้ าเยือนทีแ่ ท้จริง วิเคราะห์วา่ เขาคือใคร เช่น ผูม้ าศึกษาดูงาน กลุม่ ภาครัฐในระดับ ท้องถิ่น ชุมชนที่ประสบความส�าเร็จ หรือชุมชนนั้นๆ มีสิ่งใดที่ดีแล้วและต้องปรับปรุงพัฒนาเพิ่มขึ้น เพื่อจะได้เพิ่มรายละเอียดของการสร้างเส้นทางให้ตอบโจทย์ความต้องการ การสร้างจุดประทับใจ นั้นมาจากเรื่องง่ายๆ ที่แสดงถึงความใส่ใจในรายละเอียดของผู้มาเยือนก่อนมาถึง 2. จุดแรกพบ (Touch Point 1) เมือ่ ผูม้ าเยือนมาถึงจุดแรกพบสร้างความประทับใจด้วยสิง่ ใดได้บา้ ง เช่น สถานทีต่ อ้ นรับ การกล่าว ต้อนรับเป็นทีม การแนะน�าตัวอย่างมืออาชีพ รวมถึงการแนะน�าภาพรวมของสถานทีแ่ ละสิง่ ทีจ่ ะได้พบ เจอหลังจากนี้ การสังเกตความพร้อมของผู้มาเยือนในการับฟังเรื่องราว การใช้เวลาอย่างระมัดระวัง เพื่อเป็นการควบคุมเวลาให้อยู่ในโปรแกรมที่ได้ตกลงกันไว้ (สามารถน�าแนวคิดจากเทคนิคการสร้าง ประสบการณ์ WOW แก่ผู้มาเยือนปรับใช้ได้) 3. ความพร้อมของทีมงาน (Touch Point 2) การท�างานเป็นทีม ในการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนนั้น เป็นเรื่องส�าคัญที่ท�าให้ผู้มาเยือน ประทับใจได้ การเตรียมการด้านสถานที่ การมาต้อนรับกันอย่างพร้อมเพียง การแต่งกายเพือ่ แสดงถึง อัตลักษณ์และความพร้อมส�าหรับงานในวันดังกล่าว การเข้าใจถึงรายละเอียดของงานในแต่ละครั้ง ส่งผลให้เห็นถึงความใส่ใจของผู้ประสานงาน การเดินทางไปแต่ละฐานนั้น ทุกคนควรมีพื้นฐานของ ผู้มาเยือนเท่ากัน และก�าหนดสิ่งที่ควรเน้นย�้าในแต่ละฐานตามความต้องการของผู้มาเยือนให้ได้ การแบ่งงานก็เป็นเรื่องส�าคัญเช่น ใครเป็นผู้น�าพาชม และให้ข้อมูลภาพรวม ใครอยู่ประจ�าฐาน รอต้อนรับ ใครช่วยดูแลประสานงานเรือ่ งอาหารการกิน บางครัง้ เกิดการแย่งกันพูด จะท�าให้ดเู หมือน ว่าเราไม่ได้พดู คุยถึงบทบาทของแต่ละคนมาก่อน อาจท�าให้ผมู้ าเยือนสับสนในข้อมูลและไม่รวู้ า่ ควรจะ รับฟังใคร สร้างความล�าบากใจโดยไม่จา� เป็น (สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติม จากหัวข้อ การท�างาน เป็นทีม) 4. เข้าถึงใจเขา (Touch Point 3) ในขั้นตอนนี้ เราจ�าเป็นต้องศึกษาผู้มาเยือนให้ลึกลงไปใน ในเรื่องของการสังเกตพฤติกรรม ทัง้ ภาษากาย ใจ อ่านความรูส้ กึ ว่าในขณะมาเยือนนัน้ ทุกคนเป็นอย่างไร เช่น ยิม้ แย้ม แจ่มใส สนุกสนาน ถามตอบ สนใจในกิจกรรมต่างๆ เฉยๆ ไม่ค่อยสนใจ ชอบถ่ายรูป ไม่ฟังเรื่องเล่าที่ก�าลังอธิบาย เรือ่ งราวเหล่านีส้ ง่ ผลถึงประสบการณ์ทงั้ ในเชิงบวกและลบ โดยจ�าเป็นต้องค�านึงถึงจุดเชือ่ มโยงเนือ้ หา ให้เข้ากับผู้มาเยือน สร้างเรื่องเล่าที่โดนใจ หาจุดปล่อยเรื่องเล่าหรือมุขที่ช่วยดึงความสนใจในขณะที่ เดินทางมาในแต่ละจุด การดูจังหวะในการเล่าเรื่องจ�าเป็นต้องรอให้ทุกคนมาพร้อมกัน เพื่อให้แน่ใจ ว่าเรื่องที่เล่านั้นเข้าถึงทุกคนหรือส่วนมาก หากในกรณีที่กลุ่มมีขนาดใหญ่ (สามารถดูรายละเอียด จากหัวข้อรู้เขารู้เราในวันแรกของหลักสูตร)

50

เนื้อหาประกอบหลักสูตร พัฒนานักสื่อความหมายชุมชน

5. กิจกรรมตามฐาน (Touch Point 4) จากกิจกรรมตามฐานที่ได้ฝึกหัดท�าในช่วงแรก เรื่องการออกแบบประสบการณ์ร่วมกับผู้มาเยือน อะไรที่ท�าให้ผู้มาเยือนรู้สึกในแง่บวกกับเราและรู้สึกในแง่ลบกับเราได้บ้าง เพื่อก�าหนดกิจกรรมและ เรื่องเล่าในแต่ละฐานความรู้ รวมถึงจุดเชื่อมโยงเรื่องเล่าระหว่างทางให้ถึงประสาทสัมผัสทั้ง 5 อัน ได้แก่ รูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัส แต่อยู่รอบตัวและสามารถจับต้องได้ รับรู้ถึงประสบการณ์ใหม่ๆ เช่น การดมกลิ่น ผลไม้ อาหาร การจับผิวสัมผัสของต้นไม้ ใบไม้ รสชาติของผัก หรือชิมผลไม้ที่ แปลกใหม่ เช่น ทุเรียนพันธุ์ท้องถิ่น เป็นต้น 6. จบสวยด้วยกัน (Happy Ending) การเล่าเรื่องเหมือนการดูหนังหรือละครที่ตอนจบนั้นมีกล่าวสรุปเรื่องว่าจบอย่างไร สุข ทุกข์ ใคร เป็นอย่างไรบ้าง ได้สาระอะไรบ้าง เน้นย�้าเรื่องเล่าส�าคัญที่อยากให้ผู้มาเยือนจดจ�า ถามความรู้สึกว่า ประทับใจสิ่งใดมากที่สุด มีอะไรที่เราควรปรับปรุงเพิ่มเติม และที่สา� คัญนั้นการสร้างบรรยากาศด้วย การปิดทริปในสถานทีๆ่ มีบรรยากาศดี สวยงามควรค่าแก่การจดจ�าหรือกิจกรรมทีส่ ร้างความประทับ ใจร่วมกันระหว่างชุมชนและผู้มาเยือน เช่น สถานที่ดูพระอาทิตย์ตกพร้อมดื่มน�้าสมุนไพรสูตรเฉพาะ ปิดท้ายหรือย่านบ้านเก่าที่ถ่ายรูปร่วมกันแล้วได้ภาพสวยงาม เป็นต้น 7. จากกันแล้วรู้สึกผูกพัน (Post-Trip) ภายหลังการเดินทางได้เสร็จสิน้ เราควรสร้างความประทับใจด้วยการถามไถ่ถงึ การเดินทางกลับ เป็น อย่างไรบ้าง ปลอดภัยหรือไม่ ส่งภาพประทับใจผ่านช่องทางทีเ่ คยสือ่ สารหรือขอให้เข้าไปติดตามกันได้ ใน Fanpage Facebook ขออนุญาตลงภาพถ่าย และเมือ่ สัญญาว่าจะส่งภาพให้กค็ วรปฏิบตั อิ ย่างตัง้ ใจ ไม่เสนอรูปภาพผูม้ าเยือนหากไม่ได้รบั การอนุญาต รวมถึงไม่ Live Facebook เพราะเป็นการรบกวน ความเป็นส่วนตัว ไม่ควรส่งภาพกิจกรรมต่างๆ ตามสือ่ ต่างๆ เช่น Group Line เพือ่ การประชาสัมพันธ์ ทีม่ ากจนเกินไป หากต้องการท�าภาพประชาสัมพันธ์ควรขออนุญาตให้แน่ใจเสียก่อน หากผูม้ าเยือนเกิด ความประทับใจขอให้ช่วยบอกต่อ และรีวิวลงใน Fanpage ของเรา หรือโพสใน Facebook ส่วนตัว เพื่อช่วยประชาสัมพันธ์ชุมชนของเรา โดย Tag มาที่ Fanpage ของชุมชน 8. ทบทวนร่วมกัน (Share & Feedback) เมื่อจบทริปในแต่ละครั้งชุมชนควรหาเวลามาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เล่าสู่กันฟังเกี่ยวกับสิ่งที่ผู้ มาเยือนในกลุ่มนั้นๆ ชอบหรือสร้างความสุขที่เหมือนกันและต่างกัน ควรมีการน�าขั้นตอนเส้นทาง ประสบการณ์ WOW มาสรุปในแต่ละครั้ง และจดบันทึกเพื่อจัดหมวดหมู่ประสบการณ์และความ ต้องการของผู้มาเยือนในแต่กลุ่มให้เกิดความชัดเจนในการปรับปรุงพัฒนาในครั้งต่อไป

51


แบบฝึกหัด : เส้นทางสร้างประสบการณ์ WOW การท่องเที่ยวโดยชุมชน : นักสื่อความหมาย

ภาพที่ 13 : เส้นทางสร้างประสบการณ์ WOW การท่องเที่ยวโดยชุมชน : นักสื่อความหมาย

Components of A องค์ประกอบ Customer Journey Map : WOW Experiences (CJM-WOW) เส้นทางสร้างประสบการณ์ WOW การท่องเที่ยวโดยชุมชน : นักสื่อความหมาย

1 Awareness : การรับรู้ก่อนมาถึง - รู้จักเราเรื่องอะไร - จากช่องทางใด - คาดหวังจะได้ท�าสิ่งใด - ความต้องการของผู้มาเยือน - วิเคราะห์เขาคือใคร สร้างความประทับใจ จุดที่ 1 ..............

5 Touchpoint 5 : กิจกรรมตามฐาน - สร้างความประทับใจตามฐาน โปรดระบุ ....................... - เรื่องเล่าระหว่างทาง เชื่อมโยง เรื่องราวในแต่ละฐาน เข้าถึง สัมผัสทั้ง 5 กับเรื่องรอบตัว

52

2

Touchpoint 1 : จุดพบแรก - กล่าวต้อนรับ /แนะน�าตัวเอง - ท�าอย่างไรให้ประทับใจในแรกพบ - สถานที่ บรรยากาศแรกพบ สร้างความประทับใจ จุดที่ 2 ..........

4 Touchpoint 3 : เข้าถึงใจเขา - หาจุดสังเกตพฤติกรรม ภาษากาย ภายในใจ อ่านความรู้สึก - เชื่อมโยงเนื้อหาเรื่องเล่า กับเขา ให้โดนใจ - ออกแบบกิจกรรมที่โดนใจเขา - จ�าไว้ว่า เนื้อหาที่โดนใจ คือ เรื่อง อึ้ง ทึ่ง เสียว ตลก เศร้า ซึ้ง สร้าง ศูนย์รวมจิตใจ เตือนใจ ให้ข้อคิด เป็นประโยชน์ - หาจุด ปล่อยเรื่องเล่า ในเวลาและ สถานที่ ท่ีเหมาะสม

3 Touchpoint 2 : ความพร้อมของทีมงาน - การประสานงานและเตรียม ความพร้อมของทีมงาน - การแสดงออกถึงความตั้งใจ ความพร้อมเพรียง และการต้อนรับ ของทีมงานทุกคน - การแบ่งงานอย่างชัดเจน และบทบาท สร้างความประทับใจ จุดที่ 2 ..........

6 Happy Ending : จบสวยด้วยกัน - กล่าวสรุป ทบทวนเรื่องส�าคัญที่จัดล�าดับไว้ ให้แน่ใจว่ายังจ�ากันได้ไม่ตกหล่น - ถามความรู้สึกว่าเป็นอย่างไรบ้าง - ขอ feedback เพื่อปรับปรุง - ทบทวนสิ่งที่ท�าให้ผู้มาเยือนประทับใจ - สถานที่ปิดทริป ควรมีบรรยากาศชวนให้ คิดถึง และอยากกลับมาอีกครั้ง - มีของฝากเป็นที่ระลึก เพื่อน�าไปบอกเล่าเรื่อง ราวของเขา

ทริปนี้พร้อมสร้าง WOW ไหม? ถามใจทีมดู

7 Post-trip : จากกันแล้ว รู้สึกผูกพัน - เราจะมีโอกาสได้พบกันอีกไหม - หากคิดถึงกัน แนะน�าให้ท�าอย่างไร - ฝากแนะน�า หรือ Review เรื่องราวประทับใจของชุมชน

8

Share & Feedback : ทบทวนร่วมกัน - เรื่องเด็ดที่ท�าให้ผู้มาเยือนประทับใจ - กิจกรรมที่สร้างความสุข - สิ่งที่ควรปรับปรุง ………………………… ………………………… …………………………

สร้างความประทับใจ จุดที่ 3 ..........

เนื้อหาประกอบหลักสูตร พัฒนานักสื่อความหมายชุมชน

53


14. การเตรียมความพร้อมในการพาชมแหล่งท่องเที่ยว

WOW Experience Map แผนที่ออกแบบประสบการณ WOW สำหรับการท องเที่ยวโดยชุมชน

แบบฝึกหัด : แผนที่ออกแบบประสบกำรณ์ ส�ำหรับกำรท่องเที่ยว โดยชุมชน (WOW Experience Map)

เนื้อหาประกอบหลักสูตร พัฒนานักสื่อความหมายชุมชน

ภาพที่ 14 : แผนที่ออกแบบประสบการณ์ WOW ส�าหรับการท่องเที่ยวโดยชุมชน (WOW Experience Map)

เนื้อหา

โอกาส

STORY

OPPORTUNITIES

EMOTION

อารมณ /ความรู สึกของลูกค า

ประสบการณ

EXPEREINCE

ความเข าใจพ�้นฐานของลูกค า

เป าหมาย

MINDSET

GOALS

จ�ดสร างความประทับใจ

ช วงเวลา

TOUCHPOINT

แบบฝึกหัด : แบบฟอร์มกิจกรรมกำรสื่อควำมหมำย (ใบงำน)

PHASE

54

ในส่วนนีเ้ ป็นส่วนสุดท้ายของหลักสูตร เพือ่ เตรียมความพร้อมแก่นกั สือ่ ความหมายในการเตรียม ตัวต้อนรับผูม้ าเยือนในครัง้ ต่อไป โดยมีแบบฟอร์มกิจกรรมการสือ่ ความหมาย หรือใบงานเพือ่ สอบถาม ข้อมูลและน�ามาประชุมกันในกลุ่มก่อนที่จะถึงวันต้อนรับจริง โดยมีขั้นตอนคร่าวๆ ดังนี้ • แนะน�าตนเอง องค์กรที่สังกัด • บอกวัตถุประสงค์ของการสื่อความหมาย แนะน�าใจความส�าคัญของการน�าเสนอ • น�าเสนอประเด็นต่างๆ ช่วยเสริมใจความส�าคัญ • สรุปเนื้อหาการบรรยาย และขอบคุณผู้มาเยือน

ตารางที่ 5 แบบฟอร์มกิจกรรมการสื่อความหมาย (ใบงาน) แบบฟอร์มกิจกรรมการสื่อความหมาย (ใบงาน)

ชือ่ กิจกรรม : (กิจกรรมอะไร) ประเภทของกิจกรรม : การสาธิต กิจกรรมเรียนรู ้ โดยใช ป้ ระสามสัมผัสทัง้ 5 ข้อมูลเตรียมความพรอ้ ม 1. ข้อมูลผู้เยี่ยมชม อายุ สัญชาติ ความสนใจ ชอบ ไม่ชอบอะไร วัตถุประสงค์ของการเดินทาง 2. จ�านวนผูเ้ ยีย่ มชมมากน้อยแค่ไหน 3. ระยะเวลาในการเยีย่ มชม 4. ช่วงเวลาด�าเนินกิจกรรม เช่น ล่องเรือชมวิถชี วี ติ ชาวเลช่วงเชา้ มืด เดินเยีย่ มชมบ้านเรือนไม้ชว่ งสาย ชมการท�าอาหารท้องถิน่ ตอนบ่าย เปนต้น 5. อุปกรณ์เครือ่ งใช ท้ ชี่ ว่ ยในการน�าเสนอ 6. วัตถุประสงค์ในการสือ่ ความหมาย 7. ยานพาหนะทีต่ อ้ งการใช ้ ในการเยีย่ มชม 8. สิง่ ทีผ่ ูเ้ ยีย่ มชมควรเตรียมตัว ข้อควรระวัง 9. สิง่ ทีผ่ ูเ้ ยีย่ มชมควรน�าติดตัวเวลาท�ากิจกรรม เช่น ครีมกันแดด ร่ม หมวก น�า้ ดืม่ รองเท้าหุม้ ส น้ 55


ตารางที่ 5 แบบฟอร์มกิจกรรมการสื่อความหมาย (ใบงาน) (ต่อ) ความรู้ และการค้นหาข้อมูล 10. น�าเสนอข้อมูล เนือ้ หา อะไร เช่น ประวัตคิ วามเป ็นมา กระบวนการผลิต ส่วนผสม เป ็นต้น ข้อมูล เหล่านีส้ ามารถช่วยให้รายละเอียดและตอบค�าถามของผูเ้ ยีย่ มชม

ภำคสนำม เพื่อฝึกปฏิบัติในพื้นที่จริง 16. กรณีศึกษา การพัฒนาหลักสูตร และการท�าเส้นทางสื่อความหมายในแหล่งท่องเที่ยว โดยชุมชน

การน�าเสนอผู้เยี่ยมชม 11. ฉันจะพูด และท�าอะไร: บทพูดของฉันมีอะไรบ้าง 11.1 การต้อนรับและแนะน�าตัวแก่ผูเ้ ยีย่ มชม 11.2 การน�าเสนอเริม่ ต้น: ข้อมูลพืน้ ฐานและการน�าเสนอเกีย่ วกับ 11.3 เนือ้ หาหลัก (การจัดล�าดับความส�าคัญของเนือ้ หา และ สาระส�าคัญ) : ใจความส�าคัญของการ น�าเสนอ คือ อะไร ในแต่ละขัน้ ตอนจะพูดอะไร ข้อมูลอะไรทีจ่ ะแบ่งป นั ใหผ้ ูเ้ ยีย่ มชม ของใช ้ ประกอบการน�าเสนอในแต่ละขัน้ ตอนมีอะไรบ้าง ขัน้ ตอนที่ 1. ขัน้ ตอนที่ 2. ขัน้ ตอนที่ 3. ขัน้ ตอนที่ 4. การปิดการน�าเสนอ : บทสรุปและขอบคุณผู้เยี่ยมชม หมายเหตุ : - การช�าระเงินเข้าร่วมกิจกรรม : รวมในราคาทัวร์หรือไม่ - ข้อควรระวัง - แนวทางการรับมือในกรณีพิเศษ

เนื่องจากการพัฒนาหลักสูตรนักสื่อความหมายในครั้งนี้ ทางผู้จัดท�าได้รวบรวม แนวทางและมุมมองในการวิเคราะห์ในแต่ละพืน้ ที่ เพือ่ ให้ผอู้ า่ นได้เข้าใจถึงความแตกต่าง และความหลากหลายที่ควรน�ามาวิเคราะห์ในชุมชนของตนเอง ก่อนเริ่มพัฒนาพื้นที่ ด้านการสื่อความหมาย โดยในกรณีศึกษาจาก 6 พื้นที่ นั้นจะมีองค์ประกอบส�าคัญ ในการน�าเสนออยู่ 3 ส่วน คือ 1. เรื่องเล่าห้ามพลาดในพื้นที่ (การจัดล�าดับความส�าคัญของเรื่องราวในชุมชน) 2. เส้นทางสื่อความหมายในแหล่งท่องเที่ยว 3. แผนที่ออกแบบประสบการณ์ WOW ส�าหรับการท่องเที่ยวโดยชุมชน (CJM-WOW) หมายเหตุ : การสือ่ ความหมายนัน้ จ�าเป็นต้องจัดล�าดับความส�าคัญของเรือ่ งราวในชุมชน และระลึกเสมอ ว่าต้องการให้ผมู้ าเยือนจดจ�าเรือ่ งราวใดเป็นพิเศษ รวมถึงเป็นการกระตุน้ ความสนใจและจดจ�าอัตลักษณ์ ของเราได้อย่างชัดเจน หากมีเรือ่ งเล่ามากมายอาจท�าให้ผมู้ าเยือนพลาดส่วนทีส่ า� คัญและจับประเด็นในสิง่ ทีต่ อ้ งการให้จดจ�าไม่ได้ทงั้ หมด ดังนัน้ นักสือ่ ความหมายควรทีจ่ ะช่วยกันวิเคราะห์เรือ่ งเล่าทีไ่ ม่ควรพลาด แก่นักสื่อความหมายให้ได้จดจ�า

15. สรุปส่งท้าย : ค�าแนะน�าส�าหรับนักสื่อความหมายเพื่อสร้างประสบการณ์ WOW 1. ค้นคว้า หารายละเอียดข้อมูลที่น่าสนใจเพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลต่างๆ 2. พัฒนาเทคนิคต่างๆ ที่ช่วยสื่อความหมายให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สามารถสร้างอารมณ์ ความรู้สึกและประสบการณ์ WOW แก่ผู้มาเยือน 3. ฝึกฝนการน�าเสนอบรรยาย อาจให้เพื่อนสมาชิกชมรมให้ความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ 4. ลงมือปฏิบัตินา� เสนอในสถานที่จริง 5. ทบทวนและปรับปรุงการน�าเสนอให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สังเกตุกิจกรรมอะไรที่ผู้มาเยือน ให้ความสนใจ

56

เนื้อหาประกอบหลักสูตร พัฒนานักสื่อความหมายชุมชน

57


ไปรู ้ . .ให้ ลึ ก กั บ เส้ น ทางสายมะพร้ า ว ที่ มี ตั้ ง แต่ ง านหั ต ถกรรม อาหารท้ อ งถิ่ น หากิ น ยาก กาแฟมะพร้ า ว และการปั ่ น จั ก รยาน ไปปล่ อ ยแตนเบี ย นเพื่ อ ปราบศั ต รู พื ช ตามวิ ถี ธ รรมชาติ แ บบหาชมได้ ย าก

1.1 : 10 เรื่องเล่าห้ามพลาดในพื้นที่ โดยการวิเคราะห์ของชุมชน 1. ที่มาของลานวัฒนธรรมและศูนย์เรียนรู้ และการท่องเที่ยวโดยชุมชน 2. ที่มาของชื่อตะเคียนเตี้ย 3. ความส�าคัญของต้นมะพร้าวในพื้นที่ตะเคียนเตี้ย 4. การท�าน�้ามันมะพร้าวสกัดเย็นแบบครัวเรือน 5. การปล่อยแตนเบียน วงจรปราบศัตรูพืชด้วยวิถีธรรมชาติ 6. ที่มาของป่าชุมชน และเรื่องเล่าต้นมะขามตายเกิด 7. การปอกมะพร้าวด้วยอุปกรณ์ดั้งเดิม 8. แกงไก่กะลา 9. ประวัติบ้านร้อยเสา และวิถีดั้งเดิมของคนอยู่บ้านไทยในตะเคียนเตี้ย 10. การท�าพวงมโหตร และงานพิธีต่างๆ แบบวิถีไทย

1 ชุมชนตะเคียนเตี้ย จังหวัดชลบุรี

59


60 เนื้อหาประกอบหลักสูตร พัฒนานักสื่อความหมายชุมชน

1

8

สวนฟ้าใสไอ โกะ

- มีสว่ นร่วม ในการอนุรกั ษ์ มะพรา้ วด้วย วิธธี รรมชาติ คือปล่อยแตน เบียน - ดูกอง - พักผ่อน มะพรา้ ว ถ่าย และ ปล่อย รูป แตนเบียน

- ดูวธิ กี าร แปรรูป มะพรา้ วและ การปอก มะพรา้ ว

ลานมะพร้าว ป้ายอ

บ้านร้อยเสา

- รับประทาน - เผยแพร่ แกงไก่ วัฒนธรรม กะลาทีเ่ ป น็ ตะเคียนเตีย้ เอกลักษณ์ ของตะเคียน เตีย้ - ทานไก่กะลา - ดูขา้ ว ของโบราณ อุปกรณ์ใน สมัยก่อน

บ้านใจดี

11:48 -11:55 12:00 -12:40 13:50 -14:35 14:40 -15:30

WOW Experience Map Template - แผนที่ออกแบบประสบการณ์สา� หรับการท่องเที่ยวโดยชุมชน 2 3 4 5 6 7

PHASE / 09:30-10:45 11:00 - 11:15 11:20 - 11:30 11:35 -11:45 ช่วงเวลา TOUCH- บ้านสวนป่า ป่าอภัยทาน บ้านสวน บ้านสวนพอ POINTS สาโรชกะ ป้าชื่น เพียงป้ามิก / จุดสร้าง แหวว ความประทับ ใจ GOALS / - ต้อนรับนัก - เล่าเรื่องของ - นักท่อง - นักท่อง เป้าหมาย ท่องเที่ยว ทีม่ าป่าชุมชน เที่ยวได้พบ เทีย่ วได้เรียนรู ้ และบรรยาย และเรื่องเล่า กับคุณยาย เรือ่ งสวนผสม เรื่องน�้ามัน ของต้นไม้ มะพร้าวสกัด เย็น MINDSET / - เริม่ เตรียม - ป ัน่ - ป ัน่ - ดูสวนผัก ความเข้าใจ ป ัน่ จักรยาน จักรยานผ่าน จักรยานผ่าน พื้นฐานของ เป น็ หนึง่ ใน เป น็ หนึง่ ลูกค้า เส น้ ทาง ในเส น้ ทาง พรอ้ มทักทาย คุณยาย

ชุมชน ตะเคียนเตี้ย

1.3 : แผนที่ออกแบบประสบการณ์ WOW ส�าหรับการท่องเที่ยวโดยชุมชนตะเคียนเตี้ย จังหวัดชลบุรี

1.2 : เส้นทางสื่อความหมายในแหล่งท่องเที่ยว

1 ชุมชนตะเคียนเตี้ย จังหวัดชลบุรี

61


62 เนื้อหาประกอบหลักสูตร พัฒนานักสื่อความหมายชุมชน 1 ชุมชนตะเคียนเตี้ย จังหวัดชลบุรี

63

ชอบ

ชอบ

/ โอกาส

OPPORTUNITIES

ชุมชน ตะเคียนเตี้ย

ชอบ

- ขายน�า้ มัน - เดินเข้าไป - ให้คุณยาย มะพร้าว สัมผัส ไปดู ได้เล่าถึง สกัดเย็น ต้นยางใหญ่ที่ ความเป็น - ขาย กลางป่า ตะเคียนเตี้ย ผลิตภัณฑ์ จากพื้นที่ - ร่วมกิจกรรม ในบางขัน้ ตอน ของการท�า น�า้ มันมะพร้าว สกัดเย็น

ความปลอดภัย

- ทดลองปอก - อาหารว่าง มะพร้าวโดย เป็นผลไม้สด ใช้อุปกรณ์ มะพร้าวสด มันเผา ดั้งเดิม แต่ ต้องระวัง

ท่องเที่ยว

- ชาวบ้านมี โอกาสขาย พริกแกงไก่ กะลาให้ นัก

- ร้องล�าตัด ต้อนรับนัก ท่องเที่ยว

WOW Experience Map Template - แผนที่ออกแบบประสบการณ์ส�าหรับการท่องเที่ยวโดยชุมชน

ชอบ

- พักผ่อน - ทดลอง - ทดลอง ตามอัธยาสัย ท�าเครื่อง ท�าพวก ทานอาหาร แกงไก่กะลา มโหตร ของ ว่างและ จากนั้นก็ เล่นจากใบ มะพร้าว ทดลองท�า มะพร้าว จากนั้นร่วม ด้วยตนเอง ฟังเรื่องราว ปล่อยแตน ของความ เบียน เป็นตะเคียน เตี้ย

1.3 : แผนที่ออกแบบประสบการณ์ WOW ส�าหรับการท่องเที่ยวโดยชุมชนตะเคียนเตี้ย จังหวัดชลบุรี

ชอบ

ชอบ

ชอบ

ชอบ

EMOTION / อารมณ์ ความรู้สึก ของลูกค้า

ชื่อ ที่จะ อยู่คอย ต้อนรับนัก ท่องเที่ยว เสมอๆ

พร้อมทาน กาแฟสดคู่ กะทิคั้นสด

ที่มาของป่า เรือ่ งเล่าของ คุณยายที่ มอบที่ดิน ให้ และ เรื่องความ เชื่อจาก ต้นมะขาม

- มอบประสบ - ถ่ายรูปคู่ การณ์การ กับกอง พักผ่อนที่ มะพร้าว ริมธารน้อย รับฟังเรื่อง พร้อมสวน ราวของ สวยทีม่ ผี กั กูด มะพร้าว และมีความ ธรรมชาติสูง

ประสบการณ์

WOW Experience Map Template - แผนที่ออกแบบประสบการณ์สา� หรับการท่องเที่ยวโดยชุมชน

EXPERIENCE / - พักนิดหน่อย - เล่าให้ฟังถึง - พบคุณยาย

ชุมชน ตะเคียนเตี้ย

1.3 : แผนที่ออกแบบประสบการณ์ WOW ส�าหรับการท่องเที่ยวโดยชุมชนตะเคียนเตี้ย จังหวัดชลบุรี


2.1 : 10 เรื่องเล่าห้ามพลาดในพื้นที่โดยการวิเคราะห์ของชุมชน 1. ที่มาของกาท�าการท่องเที่ยวโดยชุมชน ของม่วงตึ๊ด และตอตะเคียนเรื่องเล่าเมืองน่าน 2. ต้นส�าโรงต้นไม้ใหญ่ที่สุดและมีเพียงต้นเดียวในจังหวัดน่าน 3. ความส�าคัญของวัดศรีบุญเรือง ที่แตกต่างจากวันเก่าในเมืองน่าน และจิตรกรรมบอกเล่าเรื่อง ราวประวัติเมืองน่าน 4. พระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะที่สวยที่สุดองค์หนึ่งในประเทศไทย 5. พระพุทธรูปเก่าแก่ปางมารวิชัยศิลปะน่าน ชื่อ เจ้าฟ้าอตตวรปัญโญ 6. วิถีชีวิตชาวป่าหัด กับการขนทรายด้วยวัว และการและการขุดจิ้งกุ่ง 7. การอนุรักษ์การท�าโคมมะเต้าหรือโคมเมืองน่าน 8. ความส�าคัญและประวัติพระธาตุแช่แห้ง 9. หนองน�้าครก และทัศนียภาพที่สวยงาม 10. ดนตรีซะล้อซอซึง

มาเที่ ย วให้ ลึ ก ซึ้ ง ฟั ง เรื่ อ งเล่ า ของต้ น ก� า เนิ ด ชาวน่ า น ความศรั ท ธาและความเชื่ อ ที่ ถ ่ า ยทอดโดยปราชญ์ ชุ ม ชน น� า ส่ ง ให้ น ่ า นสวยงามกว่ า ที่ ต าเห็ น 2 ชุมชนม่วงตึ๊ด จังหวัดน่าน

65


66 เนื้อหาประกอบหลักสูตร พัฒนานักสื่อความหมายชุมชน

MINDSET / ความเข้าใจพื้นฐานของลูกค้า

ชุมชน ม่วงตึ๊ด **ช่วงเวลาที่ชาวบ้านตั้งใจให้เป็น PHASE / ช่วงเวลา** TOUCHPOINTS / จุดสร้างความ ประทับใจ GOALS / เป้าหมาย

- มีพระพุทธรูป ที่ที่สวยงาม

บ้านโคมค�า

3 10:00 - 11:00 น.

วัดพระธาตุแช่แห้ง

4 11:20 - 11:50 น.

หนองน�้าครก

5 12:00 น.

- ไหว้ศาลเจ้าหลวง - ท�าให้ว้าวและ - ไหว้พระธาตุฯ น�า - ชมแปลงเกษตรที่ โคมที่ท�าไปวัดเพื่อ สวยงามของหนอง นั่งเกวียนไปดูวิถี หายเหนื่อย น�้าครก ซึ่งมีแปลง จิ้งหรีดสวนป่า - เล่าเรื่องประวัติ ถวายเป็นพุทธบูชา หม่อน (กิจกรรม โคมต่างๆ ดูตาม - ไหว้พระองค์ส�าคัญ ดอกดาวเรืองและ ทานตะวัน ชมพื้นที่ ตามฤดูกาล) ฐานท�าโคม ท�าให้ ฟังประวัติ นั่งฟัง นักท่องเที่ยวใช้ เพลงธรรมะเพื่อขับ หนองน�้าครก ดูเรื่อง กล่อมขัดเกลาจิตใจ การเกษตรและเรื่อง ครบ 5 สัมผัส ให้สบาย, ไป- - ไหว้ เล่าเพื่อสุขภาพ พระเจ้าขวางโลก ฟัง เรื่องเล่าพุทธศาสนา เรื่องธรรมะ - ไปเข้าวัด ท�าบุญ - ท�าโคมมะเต้า - ไหว้พระ ท�าบุญ - ทานอาหารกลางวัน ถวายโคม

บ้านป่าหัด

วัดศรีบุญเรือง - ชม ศึกษา พระพุทธ รูปที่สวยที่สุด ในไทย

2 9:30 น.

1 8:30 น.

WOW Experience Map Template - แผนที่ออกแบบประสบการณ์สา� หรับการท่องเที่ยวโดยชุมชน

2.3 : แผนที่ออกแบบประสบการณ์ WOW ส�าหรับการท่องเที่ยวโดยชุมชนม่วงตึ๊ด

2.2 : เส้นทางสื่อความหมายในแหล่งท่องเที่ยว

2 ชุมชนม่วงตึ๊ด จังหวัดน่าน

67


68 เนื้อหาประกอบหลักสูตร พัฒนานักสื่อความหมายชุมชน

OPPORTUNITIES / โอกาส

EMOTION / อารมณ์ ความรู้สึกของลูกค้า

ชุมชน ม่วงตึ๊ด EXPERIENCE / ประสบการณ์

ค่อนไปทางชอบ - เขียนภาษาล้าน นาชื่อตัวเองใส่ หางของโคมที่ ท�าเอง

ชอบ

- ไหว้ศาลเจ้าหลวง, - ทานอาหารว่าง ฟังเรื่องราวความ ท�าโคมมะเต้าด้วย เป็นมาของบ้านป่า ตัวเอง หัด, ไปขุดคี่กุ่ง หรือ จิ้งหรีด, นั่งเกวียน เทียมวัว

- ฟั่นเทียน - นั่งเกวียนตัก - ทาสีหัวเรือ ทราย/หิน - เรียนภาษล้านนา - นั่งเกวียนที่ - ยกพระนิพพาน ตบแต่งสวยงาม เสี่ยงทาย

เฉยๆ

- พาเข้าชม พระพุทธรูป ชม วิหาร ฟังเรื่องเล่า ของไม้แกะสลัก ยกพระอธิษฐาน ชอบ

ชอบ

- ฟังเรื่องเล่าของพระ - ทานอาหารกลางวัน ธาตุฯ ถวายโคมมะ พร้อมฟังดนตรีเมือง เต้าเป็นพุทธบูชา ฟังเรือ่ งราวการพัฒนา วงดนตรีเยาวชน

WOW Experience Map Template - แผนที่ออกแบบประสบการณ์สา� หรับการท่องเที่ยวโดยชุมชน

2.3 : แผนที่ออกแบบประสบการณ์ WOW ส�าหรับการท่องเที่ยวโดยชุมชนม่วงตึ๊ด

เดิ น ทางตามเส้ น ทางกล้ ว ยๆ กั บ การรวมตั ว กั น ของเด็ ก รุ ่ น ใหม่ ที่ พั ฒ นาธุ ร กิ จ เพื่ อ สั ง คม สร้ า งมู ล ค่ า และรั ก ษาวิ ถี เ รี ย บง่ า ย ให้ เ ป็ น ความน่ า หลงใหลของคนในชุ ม ชน


3.1 : 10 เรื่องเล่าห้ามพลาดในพื้นที่โดยการวิเคราะห์ของชุมชน 1. ภูหลวง ความส�าคัญและเรื่องเล่าในอดีต 2. ต�านานพญาช้าง และนางผมหอม 3. เส้นทางกล้วยๆ และวิถีชีวิตแบบเรียบง่าย 4. แนวคิดการด�าเนินธุรกิจเพื่อสังคมที่ Banana Family ที่มุ่งเน้น 4 ออม ได้แก่ ออมเงิน ออมบ้าน ออมเด็ก และออมเวลา 5. คุณค่าและความส�าคัญของบ้านไม้โบราณ (ตาสวน-ยายบัว) 6. การทอผ้าพื้นเมือง บ้านคุณยายช่วย 7. คุณค่าข้าว 28 สายพันธุ์ที่สวนพืชไทย 8. เมี่ยงกล้วย 9. กล้วยภูหลวงและความแตกต่าง 10. เศรษฐกิจพอเพียงแบบฉบับชาวภูหลวง

70

เนื้อหาประกอบหลักสูตร พัฒนานักสื่อความหมายชุมชน

3.2 : เส้นทางสื่อความหมายจากในแหล่งท่องเที่ยว

3 ชุมชนภูหลวง จังหวัดเลย

71


72 เนื้อหาประกอบหลักสูตร พัฒนานักสื่อความหมายชุมชน 3 ชุมชนภูหลวง จังหวัดเลย

73

บานาน่าแฟมิลี่

บ้านตาสวน ยาย บัว/บ้านโบราณ - ชมบ้านโบราณ กว่า 60 ปี

OPPORTUNITIES / โอกาส

ชุมชนภูหลวง

บ้านยายช่วย / กลุ่ม สวนพืชไทย ทอผ้า - สอนทอผ้า - พาชมเกษตรอินทรีย์

- บูชาและเล่า - รับฟังเรื่องราว ประวัติของพญา กว่าจะมาเป็นเรื่อง ช้าง+นางผมหอม กล้วยกล้วย - เข้าไปกราบไหว้ - เข้ามาดู - เห็นบ้านโบราณที่ - ดูคุณยายทอผ้า - ชมสวน ทุ่งนา ภูเขา กระบวนการ แลดูขลังเก่าแก่ เครื่องทอผ้าสมัยก่อน แปรรูปกล้วย - กิจกรรมท�า - ได้ลงมือท�า - อิ๊วฝ้าย/เข็นฝ้าย/ - ได้ลงมือทอผ้าเอง - กิจกรรมทางการ บายศรี ไหว้และ แปรรูปกล้วย และ ปั่นด้าย เกษตร-การต่อราก เดินลอดท้องช้าง บรรจุขนมด้วยตัว ต้นไม้ / เรียนรู้เรื่อง เอง ข้าว ชอบ เฉยๆ ชอบ ชอบ เฉยๆ

วัดโนนสว่าง

WOW Experience Map Template - แผนที่ออกแบบประสบการณ์ WOW ส�าหรับการท่องเที่ยวโดยชุมชน 1 2 3 4 5 08:00 - 08:45 09:00 - 09:45 09:50 - 10:20 10:25 - 11:00 11:30 - 12:00

- การท�าบายศรี - โชว์ความสามารถ - ฟังเรื่องเล่า - ฟังเรื่องเล่าระหว่าง - ถ่ายรูปริมคันนา เพื่อบูชา ร่วมกับ ของเยาวชนกลุ่มบา จากยาย สร้าง การทอผ้า เรื่องเล่า - ท�าเตาดินแบบโบราณ การเล่าเรื่องอย่าง นาน่าขายผลิตภัณฑ์ บรรยากาศด้วยเรื่อง ของคุณยาย เส้นทาง - ชิมข้าว 28 สายพันธุ์ น่าสนใจ (ใส่เรื่อง ในชุมชน + ท�า เล่า และชื่นชมเรือน เส้นด้ายผ้าทอ - ท�ากิจกรรมทางการ เล่าสนุกๆ) กิจกรรมให้นักท่อง หอรอรัก เกษตรอื่นๆ เทีย่ วลงมือท�าขนมเอง

WOW Experience Map Template - แผนที่ออกแบบประสบการณ์ WOW ส�าหรับการท่องเที่ยวโดยชุมชน

3.3 : แผนที่ออกแบบประสบการณ์ WOW ส�าหรับการท่องเที่ยวโดยชุมชนภูหลวง จังหวัดเลย

EMOTION / อารมณ์ ความรู้สึกของลูกค้า

EXPERIENCE / ประสบการณ์

MINDSET / ความเข้าใจพื้นฐานของลูกค้า

PHASE / ช่วงเวลา** TOUCHPOINTS / จุดสร้างความ ประทับใจ GOALS / เป้าหมาย

ชุมชนภูหลวง

3.3 : แผนที่ออกแบบประสบการณ์ WOW ส�าหรับการท่องเที่ยวโดยชุมชนภูหลวง จังหวัดเลย


4.1 : 10 เรื่องเล่าห้ามพลาดในพื้นที่โดยการวิเคราะห์ของชุมชน 1. แก่งหลวง ความส�าคัญของท�าเลที่ตั้ง มีการเชื่อมโยงเรื่องราวกับพงศาวดารเหนือ เรื่อง พระร่วง ในตอนที่พระร่วงลงไปอาบน�้าในแก่งหลวงแล้วหายไป รวมทั้งความส�าคัญของ เส้นทางขนถ่ายสินค้า 2. วัดป่ายาง มหัศจรรย์ต้นมะค่ายักษ์ 3. เรือ่ งเล่าความศักดิส์ ทิ ธ์ของหลวงปูจ่ นั ทร์ และความศรัทธาของชาวบ้าน 4. การท�ากรวยดอกไม้ สักการะหลวงปู่จันทร์ 5. ศูนย์ศกึ ษาอนุรกั ษ์เตาทุเรียง ความส�าคัญของเมืองศรีสชั นาลัยในอดีต เป็นนิคม อุตสาหกรรมโบราณที่มีการขุดพบเตาเผาเครื่องสังคโลกกว่า 500 เตา 6. ถ้วยสังคโลก ลวดลายลักษณะพิเศษ กระบวนการผลิต และข้อควรระวังในการผลิต 7. เกษตรอินทรีย์ เครื่องดื่มยอดข้าว 8. การท�าเฟอร์นิเจอร์รากไม้ 9. ศูนย์เรียนรู้วิถีชีวิตลาวครั่ง - ลักษณะพิเศษของลาวครั่ง ความแตกต่างจากลาวอื่นๆ - การทอผ้าลวดลายต่างๆ ผ้าตีนจก - การท�าเครื่องจักสานจากใบมะพร้าว - การท�างานฝีมือ ดอกทานตะเวน - อาหารพื้นบ้าน แกงโซเลไก่ 10. เรื่องเล่าเกี่ยวกับอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ความเชื่อ ศรัทธา ของชาวหนองอ้อ

มากกว่ า เมื อ งโบราณ คื อ การได้ ฟ ั ง คนในชุ ม ชนถ่ า ยทอด เรื่ อ งเล่ า ของอดี ต ที่ ส ะท้ อ นภาพปั จ จุ บั น และวั ฒ นธรรมลาวครั่ ง ที่ โ ดดเด่ น เต็ ม ไปด้ ว ยความศรั ท ธาและพลั ง สามั ค คี 4 ชุมชนหนองอ้อ จังหวัดสุโขทัย

75


76 เนื้อหาประกอบหลักสูตร พัฒนานักสื่อความหมายชุมชน

MINDSET / ความ เข้าใจพื้นฐานของ ลูกค้า

PHASE / ช่วงเวลา TOUCHPOINTS / จุดสร้าง ความประทับใจ GOALS / เป้าหมาย

ชุมชนหนองอ้อ

- ชมวิวทิวทัศน์

- ชมวิวทิวทัศน์

- เพื่อต้อนรับ นักท่องเที่ยว

- ไปรวมตัว

08.35 – 09.00 น. แก่งหลวง

08.00 – 08.20 น. อบต.หนองอ้อ

1

- ไหว้พระ

- สักการะหลวงปู่ จันทร์

09.10 – 09.40 น. วัดป่ายาง

09.50 – 10.10 น. 10.15 – 11.15 น. ศูนย์ศึกษาและอนุรักษ์ บ้านเกศอนงค์ เตาสังคโลกหมายเลข 42 และ 123 - รับฟังเรื่องประวัติ - เรียนรู้การวาดลาย เครื่องสังคโลก บนเครื่องสังคโลก และสาธิตการปั้น - เยีย่ มชมดูประวัติ - ไปชืน่ ชมผลงาน ความเป น็ มาของการ และซือ้ ชิน้ งาน เผาเครือ่ งสังคโลก และเตา

6

- ไปดูวถิ ชี วี ติ

- เรียนรู้วิถีลาวครั่ง

11:30 - 13:30 ศูนย์เรียนรู้วิถีชีวิต ลาวครั่ง

WOW Experience Map Template – แผนที่ออกแบบประสบการณ์ WOW ส�าหรับการท่องเที่ยวโดยชุมชน 2 3 4 5

4.3 : แผนทีอ่ อกแบบประสบการณ์ WOW ส�าหรับการท่องเทีย่ วโดยชุมชนหนองอ้อ จังหวัดสุโขทัย

4.2 : เส้นทางสื่อความหมายในแหล่งท่องเที่ยว

4 ชุมชนหนองอ้อ จังหวัดสุโขทัย

77


78 เนื้อหาประกอบหลักสูตร พัฒนานักสื่อความหมายชุมชน

ชุมชนหนองอ้อ

WOW Experience Map Template – แผนที่ออกแบบประสบการณ์ WOW ส�าหรับการท่องเที่ยวโดยชุมชน EXPERIENCE / ให้ความสะดวก เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับ ท�ากรวยดอกไม้ก่อน ดูเตาเผาสมัยโบราณ ทดลองท�าเครื่องสังค ร�าให้ดู+ต้อนรับ, เล่า ประสบการณ์ สบาย เป็นศูนย์กลาง พระร่วง ไปไหว้พระ ฟังเรื่องเล่า โลกด้วยมือตนเอง วิถีชีวิต, ดูผ้าเก่า, ท�า ต้อนรับนักท่องเที่ยว รวมไปถึงวาด ดอกทานตะเวน, ลวดลายด้วยตัวเอง ทอผ้า, จักรสาน หมวก ท�ารถคอกหมู + ดูการท�าอาหาร +ทานอาหารกลาง วัน เฉยๆ ชอบ ชอบ ชอบ ชอบ ชอบ EMOTION / อารมณ์ ความรู้สึก ของลูกค้า OPPORTUNITIES / ความพร้อมในการ รับทราบเรื่องราว รับฟังเรื่องของหลวง เชื่อมโยงอดีตถึง ส่งจานดินเผาที่วาด โอกาส ต้อนรับ ของชุมชนไปพร้อม ปู่ และความเชื่อ ปัจจุบันจากเรื่องเล่า ลวดลายและลงสี การมีรถคอกหมูมา กันกับการเล่าเรื่อง ความศรัทธาจาก ผ่านเตาเผาเครื่อง ด้วยตัวเองกลับให้ถึง รอต้อนรับ พระร่วง ชาวบ้าน พร้อมท�า สังคโลก บ้าน และ มีโอกาส กรวยดอกไม้ ขายเครื่องปั้นสังค โลกได้+

4.3 : แผนทีอ่ อกแบบประสบการณ์ WOW ส�าหรับการท่องเทีย่ วโดยชุมชนหนองอ้อ จังหวัดสุโขทัย

เรี ย นรู ้ วิ ถี ป ระมงท้ อ งถิ่ น ร่ ว มชิ ม อาหารแปลกจากสองวั ฒ นธรรม สุ ด เขตแดนตะวั น ออก และฟั ง เรื่ อ งเล่ า เชิ ง ประวั ติ ศ าสตร์ ข อง พี่ น ้ อ งไทย-กั ม พู ช า ฉบั บ วงในจากใจชุ ม ชน


5.1 : 10 เรื่องเล่าห้ามพลาดในพื้นที่โดยการวิเคราะห์ของชุมชน 1. วิถีประมงพื้นบ้าน – การค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้าประมงเจริญรุ่งเรืองที่คลองใหญ่ 2. วิถีพอเพียง กับบ้านไม้โบราณที่มีชีวิต 3. ประวัติศาตร์คลองใหญ่ สมัยรัชกาลที่ 5 สยามแลกเปลี่ยนดินแดนกับฝรั่งเศส 4. ประวัติความเป็นมาของศาลเจ้าแม่ทับทิม ความส�าคัญ ความศรัทธา สถานที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ 5. เรื่องเล่า สงครามในกัมพูชาและผลกระทบที่คลองใหญ่ สะท้อนผ่านหลุมบังเกอร์ และถนน ชื่อ สนามบิน 6. เรื่องเล่าวิถีชีวิตประมงพื้นบ้าน การปักหอยในทะเล 7. ขนมประจ�าถิ่นหากินยาก : ขนมบอบแบบ ขนมบันดุ๊ก 8. คุณค่า และการท�าน�า้ พริกเกลือกุ้งแห้ง 9. ปลาตีน ลักษณะที่โดดเด่นระหว่างตัวผู้ และตัวเมีย อาหารของปลาตีน 10.ไข่เป็ดแดงแป๊ด : ได้อย่างไร

80

เนื้อหาประกอบหลักสูตร พัฒนานักสื่อความหมายชุมชน

5.2 : เส้นทางสื่อความหมายในแหล่งท่องเที่ยว

5 ชุมชนคลองใหญ่ จังหวัดตราด

81


82 เนื้อหาประกอบหลักสูตร พัฒนานักสื่อความหมายชุมชน

OPPORTUNITIES - น�าเสนอการเชิด / โอกาส สิงโตเล่นให้แก่นัก ท่องเที่ยว

- ถ่ายรูปและซึมซับ - ถ่ายรูปและเล่าเรื่อง - เล่าเรื่องความเป็น บรรยากาศวิถปี ระมง อดีตย่านเศรษฐกิจ มาของขนมและ พร้อมเรื่องเล่า ลงมือท�า

- เล่าเรื่องความแตก - ทานน�้าพริกคู่กับไข่ ต่างของน�้าพริกและ เป็ดแดงแป๊ด ลงมือท�า

WOW Experience Map Template - แผนที่ออกแบบประสบการณ์ WOW ส�าหรับการท่องเที่ยวโดยชุมชน 1 2 3 4 5 6 PHASE / ช่วงเวลา 08.00 – 08.45 น. 09.00 – 09.45 น. 10.00 – 10.20 น. 10.30 – 11.30 น. 10.30 – 11.30 น. 11.50 – 12.30 น. TOUCHPOINTS / ศาลเจ้าแม่ทับทิม บ้านเค้กริมคลอง บ้านเก่า ขนมบอบแบบ น�า้ พริกเกลือกุ้งแห้ง หอประชุมท่าเรือ จุดสร้างความประทับ ใจ GOALS / เป้าหมาย - เพื่อต้อนรับ - เพื่อเข้าใจบริบท - เข้าใจบริบทวิถี - เพื่อสร้าง - เพื่อสร้าง - รับประทานอาหาร นักท่องเที่ยว วิถีประมง คลองใหญ่ การมีส่วนร่วม การมีส่วนร่วม ร่วมกัน MINDSET / - สักการะบูชาศาล - ชมวิถีประมง - เดินถ่ายรูป - ได้ท�ากิจกรรม - ได้ทา� กิจกรรม - ได้รับประทาน ความเข้าใจพื้นฐาน พื้นบ้าน ร่วมกัน ร่วมกัน อาหาร ของลูกค้า EXPERIENCE / - ไหว้ตามจุดต่างๆ - พาเดินเพื่อให้เข้าใจ - ซึมซับบรรยากาศ - ทดลองท�าขนน - ทดลองท�าน�้าพริก - ได้ชิมฝีมือตนเองและ ประสบการณ์ ดื่มน�า้ เพื่อให้สดชื่น บริบทของวิถีประมง ในอดีต ฟังเรื่องเล่า บอบแบบ เกลือกุ้ง ร่วมรับประทาน ดูเชิดสิงโต ถนนสายเศรษฐกิจ อาหารกับคนใน ของคลองใหญ่ ชุมชน EMOTION / ชอบ เฉยๆ เฉยๆ ชอบ ชอบ ชอบ อารมณ์ ความรู้สึก ของลูกค้า

ชุมชนคลองใหญ่

5.3 : แผนที่ออกแบบประสบการณ์ WOW ส�าหรับการท่องเที่ยวโดยชุมชนคลองใหญ่ จังหวัดตราด

ที่ ๆ ความสามั ค คี แ ละความเข้ ม แข็ ง ของชุ ม ชน สร้ า งต้ น แบบศู น ย์ เ รี ย นรู ้ เ กษตรพอเพี ย ง หั น หลั ง ให้ กั บ สารเคมี เพื่ อ ชุ ม ชนอยู ่ ดี กิ น ดี แ ละปลอดภั ย


6.1 : 10 เรื่องเล่าห้ามพลาดในพื้นที่โดยการวิเคราะห์ของชุมชน 1. ประวัตคิ วามเป็นมาของชุมชนบ้านดงเย็น การรวมตัว และการสร้างความเข้มแข็งของวิสาหกิจ นวเกษตรบ้านดงเย็น การก�าหนดกฏระเบียบ และการมีส่วนร่วมของสมาชิก 2. เกษตรพอเพียง และวิถีลาวครั่ง 3. การเพาะเห็ดสายพันธุ์ฮังการีสีด�า 4. การเพาะต้นอ่อนทานตะวัน 5. การท�าเต้าหู้ก้อน 6. การเลี้ยงไก่ไข่อารมณ์ดี 7. การเลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์ 8. การเพาะปุ๋ยมูลไส้เดือน 9. การคัดข้าวด้วยหวี 10. การปลูกผัก Water Cress

84

เนื้อหาประกอบหลักสูตร พัฒนานักสื่อความหมายชุมชน

6.2 : เส้นทางสื่อความหมายในแหล่งท่องเที่ยว

6 ชุมชนบ้านดงเย็น จังหวัดสุพรรณบุรี

85


86 เนื้อหาประกอบหลักสูตร พัฒนานักสื่อความหมายชุมชน 6 ชุมชนบ้านดงเย็น จังหวัดสุพรรณบุรี

87

2

8

9

- เรียนรู้ขั้นตอน - เรียนรู้วิธีการ - เรียนรู้ขั้นตอน - เรียนรู้วิธีการ วิธกี ารเพาะเห็ด ท�าเต้าหู้แผ่น วิธีการเพาะ เลี้ยงไส้เดือน ในโรงเรือน จากถั่วเหลือง ของชุมชน

เลี้ยงไส้เดือน

- เพื่อพูดคุย - เรียนรู้และดู กับวิทยากร ขั้นตอนการ และรับฟังถึง เพาะผักลง ประวัติความ ตะกร้า เป็นมา เรื่อง ราวข้อมูล เกี่ยวกับชุมชน บ้านดงเย็น

เต้าหู้แผ่นดงเย็น เพาะต้นอ่อน ทานตะวัน

โรงเพาะเห็ด

ศูนย์การเรียนรู้ เพาะผักใน ชุมชนบ้านดงเย็น ตะกร้า

- เรียนรู้การ เลี้ยงไก่ไข่ ของชุมชน ที่ มีวิธีการเลี้ยง ที่แตกต่าง จากการเลี้ยง ทั่วไป

ไก่อารมณ์ดี

- ดูแปลงผัก ปลอดสาร

- เรียนรู้ถึง ความเป็นมา ในการเลี้ยง ปลาดุกของ ชุมชนรวมถึง ขั้นตอนการ เลี้ยงปลาดุก

เฉยๆ

เฉยๆ

OPPORTUNI- - มีของใน - เก็บเกี่ยว TIES / โอกาส ชุมชนดงเย็น ผัก(หากมี) มาวางขาย และทดลอง เพิ่มโอกาส ปลูกผักจริง และความมี ส่วนร่วมให้ คนในชุมชน

EMOTION / อารมณ์ ความรู้สึก ของลูกค้า

เฉยๆ

เฉยๆ

เฉยๆ

- ทดลองเลี้ยง ไส้เดือน หา ไส้เดือนใน กระบะดิน

- ดูการเลี้ยง ปลาดุก

- ให้อาหาร ปลาดุก

- เข้าไปเล่นหรือ - ดูการเลี้ยง สัมผัสกับไก่ ปลาดุก ภายในเล้าและ ยังสามารถ เก็บไข่จากใน เล้าได้ เฉยๆ เฉยๆ

- เรียนรู้ขั้นตอน - ดูไส้เดือน - ดูการเลี้ยงไก่ วิธีการเพาะ และการเลี้ยง - ดูการท�า - ลงมือทดลอง เต้าหู้แบบ เพาะต้นอ่อน โบราณโดยใช้ ทานตะวัน พิมพ์ไม้

- ดูการท�า เต้าหู้และชิม

- นักท่องเที่ยว - นักท่องเที่ยว - ลงมือทดลอง - ทดลอง - เก็บไข่ ทดลองเก็บ ทดลองตัก เพาะต้นอ่อน แยกปุ๋ยกับ ด้วยตนเอง เห็ดหรือว่ามี เต้าหู้ใส่พมิ พ์ ทานตะวัน ไส้เดือนออก ส่วนร่วมใน ด้วยตัวเอง และเก็บ เพื่อบรรจุ กระบวนการ ผลผลิต ท�าก้อนเพาะ (หากมี) หรือ มีการ แปรรูปจาก เห็ดที่ได้

เฉยๆ

- ฟังถึงประวัติ - ทดลองปลูกผัก - ดูเห็ดใน ความเป็นมา ลงตะกร้าด้วย โรงเรือน เรื่องราวข้อมูล ตัวเอง เพาะเห็ด เกี่ยวกับชุมชน บ้านดงเย็น

- ดูเห็ด EXPERIENCE / ประสบการณ์

- ดูผักที่ปลูก ในตะกร้า

- รวมตัว

MINDSET / ความเข้าใจพื้นฐาน ของลูกค้า

- ขายผัก ปลอดสาร ให้นักท่อง เที่ยวเมื่อมี เพียงพอ

เฉยๆ

- ดูแปลงผัก ปลอดสาร

- ดูแปลงผัก ปลอดสาร

ชุมชนบ้านดง Experience Map Template - แผนที่ออกแบบประสบการณ์ ส�าหรับการท่องเที่ยวโดยชุมชน เย็น / 1 2 3 4 5 6 7 8 9 ตัวอย่างเท่านั้น PHASE / ช่วง 09.00 – 10.00 10.05 – 10.15 10.15 – 10.30 10.35 – 10.50 10.55 – 11.10 11.20 – 11.40 11.50 – 12.10 12.10 – 12.20 12.20 – 12.30 เวลา น. น. น. น. น. น. น. น. น.

ผักปลอดสาร

ปลาดุกบ่อ ซีเมนต์

09.00 – 10.00 10.05 – 10.15 10.15 – 10.30 10.35 – 10.50 10.55 – 11.10 11.20 – 11.40 11.50 – 12.10 12.10 – 12.20 12.20 – 12.30 น. น. น. น. น. น. น. น. น.

1

Experience Map Template - แผนที่ออกแบบประสบการณ์ ส�าหรับการท่องเที่ยวโดยชุมชน 3 4 5 6 7

6.3 แผนที่ออกแบบประสบการณ์ WOW ส�าหรับการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านดงเย็น งหวัดสุพรรณบุรี

ชุมชนบ้านดง เย็น / ตัวอย่างเท่านั้น PHASE / ช่วง เวลา TOUCHPOINTS / จุดสร้างความ ประทับใจ GOALS / เป้า หมาย

6.3 : แผนที่ออกแบบประสบการณ์ WOW ส�าหรับการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านดงเย็น งหวัดสุพรรณบุรี


บรรณานุกรม แก้วตา ม่วงเกษม และสมพงษ์ อ�านวยเงินตรา (2558) การสื่อความหมายในแหล่งท่องเที่ยวเชิง นิเวศ ทางประวัติศาสตร์ ทางวัฒนธรรม. ส�านักพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว กรมการท่องเที่ยว. เจริญพร เพ็ชรกิจ (2554) เอกสารการสอนชุดวิชา การจัดการธุรกิจน�าเที่ยวและมัคคุเทศก์ และ การจัดการธุรกิจตัวแทนท่องเทีย่ ว หน่วยที่ 8 หลักการมัคคุเทศก์ สาขาวิชาวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช ส�านักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช นนทบุรี สมพงษ์ อ�านวยเงินตรา (2554) เอกสารการสอนชุดวิชา การจัดการทรัพยากรเพือ่ การท่องเทีย่ ว ไทยอย่างยั่งยืน หน่วยที่ 10 การสื่อความหมายทรัพยากรการท่องเที่ยว สาขาวิชาวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช ส�านักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช นนทบุรี สุภาพร มากแจ้ง (2534) หลักมัคคุเทศก์ ส�านักพิมพ์โอเดียนสโตร์ กรุงเทพมหานคร Ham, S. (1992). Environmental Interpretation: A practical guide for people with big Ideas and small budgets. North American Press. Hucklei, M. (2016). 5 activities to improve your interactive communication skills. Retrieved on May 22, 2018 from https://intercambioidiomasonline.com/2016/12/26/5activities-to-improve-interactive-communication-skills/ Kuo, I-L. (2002). The effectiveness of environmental interpretation at resource-sensitive tourism destinations, International Journal of Tourism Research, 4, 87-101. Larsen, D.L. (2003). Interpretative themes: saying something meaningful. National Park Service, U.S Department of the Interior. Retrieved June 5, 2012, from http://www.nps.gov/history/history/online_books/eastern/meaningful_inter pretation /mi2a.htm National Association for Interpretation, USA - http://www.interpnet.com Tilden, F. (1957). Interpreting Our Heritage. 3rd. Ed. Chapel Hill, NC: The University of North Carolina. Timothy, D. and Boyd, S. (2003). Heritage Tourism. Prentice Hall.

88

เนื้อหาประกอบหลักสูตร พัฒนานักสื่อความหมายชุมชน

Tonner, K. (2018). How to effectively use body language as a tour leader. Retrieved on May 4, 2018 from https://www.beabetterguide.com//how-to-effectively-useyour-body-language-as-a-tour-leader/ Tour guide training (n.a.). Module 3: Interpretive Skills - Trainer Manual. Swiss contact https://www.swisscontact.org/fileadmin/user_upload/COUNTRIES/Laos/Documents/ Content/Mod3/Trainer_Manual_Mod_3_Print_Version.pdf Weiler, B. and Black, R. (2014). Tour guiding research: Insights, issues, and implications. Bristol; Channel View. Weiler, B. and Walker, K. (2014). Enhancing the visitor experience: Reconceptualizing the tour guide’s communicative role. Journal of Hospitality & Tourism Management, 21, 90-99. DOI: 10/2016/j.jhtm.2014.08.001 Youth Employment UK (2018). Build your teamwork skills. Retrieved May 22, 2018 from https://www.youthemployment.org.uk/young-professional-training/teamwork -skills-young-professional/ 25 Real Teamwork Tips for Managers. (2018). Retrieved May 22, 2018 from https://www.sandler.com/blog/25-real-teamwork-tips-for-managers

89


ภาคผนวก เครื่องมือทดสอบนักสื่อความหมายและประเมินผล เพื่อวัดระดับความถนัดของนักสื่อความหมาย (Shade of Interpreter in Tourism) จากสีหน้า หรือท่าทางบางอย่าง 1. คุณคิดอย่างไรเกี่ยวกับนักสื่อความหมาย ค. คุณชอบสังเกตการแสดงความรู้สึกของคน ก. นักสื่อความหมายมีหน้าที่ให้ข้อมูลประจ�า รู้ทันทีว่าเขาต้องการอะไร ฐานเรียนรู้ก็เพียงพอ ง. คุณค่อนข้างเป็นตัวของตัวเอง ไม่รู้ว่าใคร ข. นั ก สื่ อ ความหมายมี ห น้ า ที่ ดู แ ลต้ อ นรั บ คิดอะไรกับคุณบ้าง ผู้มาเยือนให้ดี 5. ข้อไหนที่เป็นคุณมากที่สุด ค. นักสื่อความหมายช่วยให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ก. คุณมีหน้าทีพ่ าชม แต่ไม่รวู้ า่ ต้องท�าอะไรบ้าง ท�าให้ เข้าใจนักท่องเที่ยวดีมากขึ้น ข. คุณมีหน้าที่พาชม แต่ไม่รู้ว่านักท่องเที่ยว ง. นักสือ่ ความหมายช่วยให้นกั ท่องเทีย่ วเข้าใจ สนใจอะไรบ้าง คุณค่าของแหล่งท่องเที่ยว ค. คุณสังเกตความสนใจของนักท่องเที่ยวตาม 2. ข้อไหนที่เป็นคุณมากที่สุด สถานการณ์จริง ก. คุณชอบดูแลนักท่องเที่ยวเหมือนญาติมิตร ง. คุ ณ ใส่ ใ จรายละเอี ย ดความต้ อ งการของ และ ควบคุมอารมณ์ได้ดีมาก นักท่องเทีย่ ว ข. คุณไม่ชอบนักท่องเทีย่ วทีย่ งุ่ ยาก มีความอดทน 6. ข้อไหนที่เป็นคุณมากที่สุด น้อยเพื่อดูแลนักท่องเที่ยว ก. คุณสอบถามข้อมูลนักท่องเที่ยว และเล่า ค. คุณไม่ได้ดูแลนักท่องเที่ยวเท่าที่ควร เรื่องราวโดยเชื่อมโยงกับนักท่องเที่ยว เพียงท�าตามหน้าที่เท่านั้น ข. คุ ณ ไม่ ช อบพู ด คุ ย กั บ คนจ� า นวนมากนั ก ง. คุณคิดว่าคุณต้องควบคุมอารมณ์และปรับตัว มาเพื่อ ท�าหน้าที่ต้อนรับแขกเท่านั้น ให้เข้ากับนักท่องเที่ยว ค. คุณพูดคุยกับนักท่องเที่ยวบ้าง แต่มี 3. ข้อไหนที่เป็นคุณมากที่สุด หลายช่วงที่ไม่รู้จะพูดอะไร จึงเงียบเฉย ก. คุณมีหน้าทีใ่ ห้ขอ้ มูลประจ�าฐาน คิดอยากให้ ง. คุ ณ ได้ พู ด คุ ย ถามไถ่ ค วามเป็ น มาของ แขกและเจ้าบ้านใกล้ชิดกันมากขึ้น นักท่องเที่ยว แต่ไม่ได้ท�าทุกครั้ง ข. ถ้ า เราไม่ เ ป็ น กั น เองกั บ แขก อาจท� า ให้ 7. ข้อไหนที่เป็นคุณมากที่สุด นักท่องเที่ยวไม่ประทับใจ ก. คุณให้ความสาคัญกับการท� างานเป็นทีม ค. การสร้างความคุ้นเคยกับนักท่องเที่ยวอาจ แต่บางทีก็รู้สึกว่ายังท�าได้ไม่ดีนัก ไม่จ�าเป็น เพราะมีเวลาจ�ากัดพาชมเที่ยว ข. คุณสามารถท�างานร่วมกับผูอ้ นื่ ให้เกียรติผนู้ า� ง. การท�าความรู้จักผู้มาเยือนเป็นเรื่องสาคัญ รู้หน้าที่ของตน แต่ไม่ค่อยได้ท�ามากนัก ค. ถ้าเป็นไปได้ คุณจะขอเลือกไม่ทา� งาน 4. ข้อไหนที่เป็นคุณมากที่สุด ร่วมกับผู้อื่นเด็ดขาด ก. คุณค่อนข้างเป็นตัวของตัวเอง แต่พร้อม ง. คุณมองว่าความสามัคคีคือพลัง แต่ในทาง ให้ความร่วมมือหากได้รับการร้องขอ ปฏิบัติมันยากที่จะเกิดขึ้น ข. คุณพออ่านความรู้สึกออกบ้าง

12. เทคนิคใดช่วยให้นักท่องเที่ยวจดจ�าเนื้อหา 8. ข้อไหนที่เป็นคุณมากที่สุด ได้นานที่สุด ก. “ท�าไมนักท่องเที่ยวไม่ระวังตัวเองล่ะ” ก. เล่าเรื่องความส�าคัญของการท�าโคมให้ฟัง ข. “ฉันรู้เสื้อชูชีพเป็นสิ่งสาคัญ แต่บางทีฉัน ข. สาธิตให้ดูว่าเขาท�าโคมอย่างไร ก็ลืมแนะน�าให้ใส่” ค. ให้นักท่องเที่ยวลงมือท�าโคมด้วยตนเอง ค. “ฉันไม่ลืมที่จะบอกนักท่องเที่ยวให้ระวัง ง. อ่านหนังสือ การท�าโคมล้านนา เวลาขึ้นรถลงเรือ” ง. “ฉันหงุดหงิดทุกครั้ง พูดแล้วเขาไม่ฟัง” 9. ข้อไหนที่เป็นคุณมากที่สุด ก. คุณมองว่านักท่องเที่ยวควรมีการศึกษา เรื่องกฎระเบียบของชุมชนก่อนมา ข. คุณเพียงท�าตามหน้าที่ แต่ไม่ใส่ใจกฎระเบียบ ภายในชุมชน นักสื่อความหมาย...ได้คะแนนเท่าไรนะ ค. คุณพยายามไม่ลืมแจ้งเรื่องกฎระเบียบและ ความปลอดภัยในแหล่งท่องเที่ยว ง. คุณมักจะแจ้งนักท่องเทีย่ วถึงกฎระเบียบหรือข้อ ข้อที่ คะแนนของค�าตอบ ควรปฏิบตั ใิ นแหล่งท่องเทีย่ วอยูเ่ สมอ และเตือน ก ข ค ง นักท่องเที่ยวหากมีเรื่องที่ไม่สมควรเกิดขึ้น 1. 1 2 3 4 10. ข้อไหนที่เป็นคุณมากที่สุด ก. เวลาคุณเล่าเรื่อง คุณมีการระบุเนื้อหา 2. 4 1 2 3 สาคัญและเรียงล�าดับเนื้อหาอย่างดี ข. คุณรูส้ กึ ตัวเองไม่มพี รสวรรค์ในการเล่าเรือ่ ง 3. 3 4 1 2 และไม่รู้ว่าจะเล่าเรื่องอะไรดี 4. 2 3 4 1 ค. คุณมักจะรอให้นกั ท่องเทีย่ วถาม ถึงจะตอบ ค�าถามหรืออธิบายให้ฟัง 5. 1 2 3 4 ง. คุณรูด้ วี า่ ในชุมชนมีเรือ่ งเล่าให้นกั ท่องเทีย่ วฟัง 6. 4 1 2 3 เยอะมาก บางทีคณ ุ ลืมเนือ้ หา และไม่ได้เรียง ล�าดับเนื้อหา 7. 3 4 1 2 11. ข้อไหนที่เป็นคุณมากที่สุด ก. คุณเข้าใจว่า เราจ�าเป็นต้องมีสาระสาคัญ 8. 2 3 4 1 ส�าหรับการเล่าเรือ่ ง แต่ยงั ก�าหนดได้ไม่ดนี กั 9. 1 2 3 4 ข. คุณคิดว่าการเล่าเรือ่ ง เราจ�าเป็นต้องระบุ สาระสาคั ญ (Theme) เพื่ อ ช่ ว ยให้ นั ก 10. 4 1 2 3 ท่องเทีย่ วเข้าใจ และจดจ�าเนือ้ หาได้นานขึน้ ค. คุณคิดว่ามีแค่หัวเรื่องก็เพียงพอส�าหรับ 11. 3 4 1 2 การเล่าเรือ่ ง 12. 2 3 4 1 ง. คุ ณ เข้ า ใจความส� า คั ญ ของสาระสาคั ญ (Theme) แต่ไม่รวู้ า่ จะก�าหนดได้อย่างไร


เฉดสีไหนที่เป็นคุณ เฉดโทนสี

เข้มมาก

ความหมาย เป็นนักสื่อความหมายหรือนักเล่าเรื่องที่มีความ สามารถรอบด้านเข้าใจลึกซึ้งถึงความส�าคัญของการ เล่าเรือ่ ง เข้าถึงพฤติกรรมนักท่องเทีย่ ว จัดการอารมณ์ ได้ ดี ม าก เข้ าใจงานบริการ และจัดการบริหารทีม งานได้ ดี เ ยี่ ย ม รวมถึ ง สามารถใช้ เ ทคนิ ค การสร้ า ง ประสบการณ์ WOW ได้อย่างมีประสิทธิภาพและ สามารถจัดล�าดับความสาคัญของเนือ้ หาในการเล่าเรือ่ ง ได้ดี และมีผังความคิดในการท�างาน เพื่อให้ทีมงานได้ มองภาพเดียวกันได้ มีศีลธรรมและจริยธรรมในการ เล่าเรือ่ ง และการปฏิบตั ติ นต่อผูม้ าเยือนและทีมงานได้ดี รู้เข้าใจอย่างลึกซึ้ง และปฏิบัติได้ดีมากในทุกแง่มุม

คะแนน รูเ้ ข้าใจอย่างลึกซึง้ และ ปฏิบัติได้ดีมากในทุกแง่มุม

เป็นนักสื่อความหมายหรือนักเล่าเรื่องที่มีความ สามารถรอบด้าน เข้าใจได้ดีความสาคัญของการเล่า เรื่อง เข้าถึงพฤติกรรมนักท่องเที่ยว จัดการอารมณ์ ได้ดี เข้าใจงานบริการ และจัดการบริหารทีมงานได้ดี เข้ม เยีย่ ม รวมถึงสามารถใช้เทคนิคการสร้างประสบการณ์ ปานกลาง WOW สามารถจัดล�าดับความสาคัญของเนือ้ หาในการ เล่าเรื่อง มีศีลธรรมและจริยธรรมในการเล่าเรื่อง และ การปฏิบัติตนต่อผู้มาเยือนและทีมงานได้ดี

รู้และเข้าใจได้ดี และ ปฏิบัติได้เป็นบางส่วน

รู้และเข้าใจบ้าง แต่ยั ง ไม่ ส ามารถปฏิ บั ติ ไ ด้ อ ย่ า ง มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร

อ่อน

เป็นนักสือ่ ความหมายหรือนักเล่าเรือ่ งทีม่ คี วามรูแ้ ละ ความเข้าใจเรือ่ งนีอ้ ยูบ่ า้ ง และไม่ได้นา� ไปปฏิบตั ใิ ห้เกิดผล เท่าทีค่ วร มีความอยากแชร์ความรูใ้ ห้ผอู้ นื่ แต่ตวั เองอาจ ท�าได้ไม่ดนี กั ยังต้องศึกษาให้ลกึ ซึง้ และพัฒนาการปฏิบตั ิ หน้าที่ของนักสื่อความหมายให้ดียิ่งขึ้น

สีอ่อน เกือบเจือ จาง

เป็นนักสื่อความหมายหรือนักเล่าเรื่องที่ไม่เข้าใจ อะไรมากนัก รู้ว่าต้องมาต้อนรับนักท่องเที่ยว ไม่เข้าใจ กระบวนการของการเล่าเรื่อง ไม่เข้าถึงงานบริการที่แท้ จริง ไม่เข้าใจประเภทของผูม้ าเยือนว่าจะต้องดูแลต่างกัน อย่างไรจัดล�าดับการเล่าเรื่องยังไม่ได้ และไม่ทราบว่า ท�าให้ผู้มาเยือนประทับใจได้อย่างไร จ�าเป็นต้องพัฒนา อย่างเร่งด่วน

ยั ง ไม่ เ ข้ า ใจเรื่ อ งการ สื่อความหมายอยู่หลายส่วน ต้ อ งการการพั ฒ นาอย่ า ง เร่งด่วน


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.