การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

Page 1


พิมพ์ครั้งที่ 1 : ธันวาคม 2559 ที่ปรึ กษา : พั นเอก ดร.นาฬิกอติภัค แสงสนิท, สุชญา อัมราลิขิต คณะท�ำงาน : ประภัสสร วรรธนะภูต,ิ กรกช พบประเสริฐ, ณวรรณ ทินราช, ชัชวาล ม่วงพรวน, ปวีณา หลวงผาด งานองค์ความรู้ ส�ำนักบริหารยุทธศาสตร์ องค์การบริหารการพั ฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) 118/1 อาคารทิปโก้ ชั้น 31 ถนนพระราม 6 แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 โทร 0 2357 3580-7 แฟกซ์ 0 2357 3599 เว็บไซต์ http://www.dasta.or.th https://www.facebook.com/SaiJaiPaiTiew ผลิตโดย บริษัท โคคูน แอนด์ โค จ�ำกัด เลขที่ 32 ซอย โชคชัย 4 ซอย 84 ถนนโชคชัย 4 แขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230 โทร 0 2116 9959, 08 7718 7324 แฟกซ์ 0 2116 9958 อีเมล cocoonjob@gmail.com ซีรีส์ความรู้ “ใส่ใจไปเที่ยวกับ อพท.” จั ดท�ำภายใต้งานองค์ความรู้ ส�ำนักบริหารยุทธศาสตร์ องค์การบริ หารการพั ฒนาพื้นที่ พิเศษเพื่อการท่องเที่ ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ในรูปแบบ ที่เข้าใจง่าย เพือ่ จุดประกายความคิด สร้างแรงบันดาลใจให้คนรุน่ ใหม่หรือผูท้ ี่สนใจน�ำองค์ความรู้ ไปต่อยอด ทั้ งในด้านเพิม่ ประสิทธิภาพการท�ำงาน หรือโอกาสในการสร้างงาน สร้างรายได้ สร้าง ธุรกิจ รวมถึงการปรับ เปลี่ยนพฤติกรรมนักท่องเที่ยวเพื่อน�ำไปสู่การพั ฒนาการท่องเที่ยวอย่าง ยั่งยืนในที่สุด ข้อมูลภายในหนังสือเล่มนี้ จั ดท�ำขึ้นเพื่อเป็นสาธารณประโยชน์แก่บุคคลทั่ วไปและ ไม่มีการผลิตเพื่อจ�ำหน่ายในเชิงพาณิช ย์


ค�ำน�ำ

สารบัญ

เชื่ อว่าในปัจจุบันทุกคนคงคุ้นชินกับค�ำว่า “การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน” แต่บางคนก็จะมีค�ำถาม กลับมาว่า การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนนั้นคืออะไร แล้วใครเป็นคนก�ำหนดนิยามการท่องเที่ยวอย่าง ยั่งยืน มาค้นค�ำตอบได้ที่ ซีรีส์ความรู้ชุ ดใหม่ “ใส่ใจไปเที่ยวกับ อพท.” ตอนการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (Sustainable Tourism) ซีรีส์เล่มล่าสุดนี้ จะพาคุณไปท�ำความรู้จั กกับการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนว่าคืออะไร มีนยิ ามอย่างไร และท�ำความรู้จั กกับหน่วยงานที่ก�ำหนดเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก อย่างสภาการท่องเที่ยว อย่างยั่งยืนโลก หรือเรียกสั้นๆ ว่า GSTC (Global Sustainable Tourism Council) พร้อมทั้ ง น�ำเสนอการพั ฒนาการท่องเที่ยวอย่างยัง่ ยืนของ อพท. และตัวอย่างการท�ำงานของ อพท. ที่สอดคล้อง กับ เกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยัง่ ยืนโลก รวมถึงกรณีศกึ ษาต่างประเทศและมุมมองของ CEO ที่มากด้วย ประสบการณ์ด้านการพั ฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนทั้ งในระดับโลกและระดับประเทศ อพท. คาดหวังว่า ซีรีส์ความรู้ Sustainable Tourism ชุ ดนี้ จะสร้างความกระจ่างและไขปัญหา ให้ผอู้ า่ นได้เข้าใจแนวคิดการพั ฒนาการท่องเที่ยวอย่างยัง่ ยืน และการท่องเที่ยวสามารถเป็นเครื่องมือ พั ฒนาสู่ความยั่งยืนได้ เพื่อให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ ชุ มชน ผู้ประกอบการ ภาคีเครือข่าย รวมพลังกัน ขับ เคลื่อนการพั ฒนาการท่องเที่ ยวอย่างยั่งยืนให้เกิดความสมดุลทั้ งด้านเศรษฐกิจ สังคม และ สิง่ แวดล้อม น�ำการท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือในการสร้างงาน สร้างรายได้ และสร้างชุมชนแห่งความสุข สุขทั้ งชุ มชุ น สุขทั้ งนักท่องเที่ยว และสุขทั้ งเจ้าบ้าน

พันเอก (ดร.นาฬิกอติภคั แสงสนิท) ผูอ้ ำ� นวยการ อพท.

-10นิยามการท่องเที่ยว อย่างยัง่ ยืน

-14อพท. กับแนวทาง การพั ฒนาการท่องเที่ยว อย่างยัง่ ยืน -16การพั ฒนาการท่องเที่ยว อย่างยัง่ ยืนของ อพท.

-22ผลส�ำเร็จที่เกิดจาก การพั ฒนาการท่องเที่ยว อย่างยัง่ ยืนของ อพท.

-26เกณฑ์การท่องเที่ยว อย่างยัง่ ยืนโลก

-40การท�ำงานของ อพท. ที่สอดคล้องกับ เกณฑ์ GSTC -52กรณีศกึ ษาใน ต่างประเทศ

-56บทความและภาพถ่าย ที่ ได้รับรางวัล -60มุมมองการท่องเที่ยว อย่างยัง่ ยืน


6 เทรนด์แนวโน้มโลกปี 2016

กระแสโลกที่ส่งผลให้เกิดแนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน

เทรนด์ โลกที่ น่าสนใจ ซึ่งมีอิทธิพลในการเปลี่ยนแปลงวิ ถีชี วิ ตและธุรกิจต่างๆ

Urbanization สังคมเมืองขยายตัว พื้นที่สีเขี ยวส่วนตัวลดน้อยลง ส่งผลให้ผู้คนเกิด ความต้องการพื้นที่สาธารณะและพื้นที่สีเขี ยวเพิ่มมากขึ้น

Aging Society สังคมผู้สูงอายุที่ จะน�ำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเมือง วิ ธีการท่องเที่ ยว การเดินทาง ด้วยการออกแบบสิ่งต่างๆ เพื่อรองรับคนทุกวัย

การเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ

การใช้ทรัพยากรมากเกินไป

การเกิดภัยธรรมชาติที่รุนแรงมากขึ้น

ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ

การขยายตัวของสังคมเมือง ที่รวดเร็วเกินไป

ความเสื่อมโทรมของสังคมชนบท อันเกิดจากการย้ายถิ่นฐานสู่เมือง

Digital Age สังคมยุคดิจิทัลที่กา้ วเข้าสู่ Internet of Things น�ำไปสูก่ ารสร้างสรรค์ สิ่งใหม่ๆ ให้เกิดขึ้น

Generations Clash คนหลายรุ่นที่ ใช้ชี วิ ตอยู่ร่วมกันอย่างเข้าใจและเคารพซึ่งกันและกัน ถึงแม้จะมีความคิดหรือวิ ถีชี วิ ตที่แตกต่างกัน

Travelism นักท่องเทีย่ วสายพันธุ์ใหม่ = กลุม่ ชนชัน้ กลางทีอ่ ยูใ่ นเมือง ต้องการท่องเทีย่ ว เพือ่ เรียนรูป้ ระสบการณ์ ใหม่ๆ ไม่ตอ้ งการเที่ยวกับบริษทั ทัวร์จงึ ออกแบบ การท่องเที่ยวด้วยตัวเอง

Sustainability สังคมแห่งความยั่งยืน จากความเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อม ท�ำให้ผู้คนต้องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้คงอยู่ไว้เช่นเดิม น�ำไปสู่ธุรกิจ เพื่อความยั่งยืน 6

7


การท่องเที่ยว = อุตสาหกรรมแห่งความหวังของโลก

การท่องเที่ยว เครื่องมือพั ฒนาสู่ความยั่งยืน การท่องเที่ยวมีส่วนเกี่ยวข้องในการพั ฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม ผ่านการด�ำเนินกิจกรรมท่องเที่ยวต่างๆ

ข้อมูลในปี 2015 การเดิ นทางท่ องเที่ ย วระหว่ า งประเทศเพิ่ ม 4.6% คิดเป็นจ�ำนวน 1,184 ล้านคน 10% GDP ของโลกมาจากภาคการท่องเที่ยว

รายได้จากการท่องเที่ยวของโลกสูงถึง 1.5 ล้านล้าน US$

การพั ฒนา ด้านเศรษฐกิจ สร้างรายได้ กระตุ้น เศรษฐกิจท้องถิ่น สร้างงานในท้องถิ่น

ภาคการท่องเที่ยวมีการจ้างงาน 284 ล้านคน (1 ใน 11 แรงงานของโลกเป็นแรงงานภาคการท่องเที่ยว)

ในปี 2030 UNWTO ประมาณการว่าจะมีนักท่องเที่ยว เดินทางระหว่างประเทศสูงถึง 1,800 ล้านคน แนวโน้มตลาด การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน 87% ของนักท่องเที่ยวชาวยุโรปให้ความส�ำคัญกับการท่องเที่ยวที่ ไม่ท�ำลายสิ่งแวดล้อม 71% ของนักท่องเที่ยวชาวยุโรปมองหากิจกรรมท่องเที่ยวที่เป็นประโยชน์กับชุ มชนท้องถิ่น 61% ของนักท่องเที่ยวชาวยุโรป ยินดีจะจ่ายเพิม่ อีก 5-10% ถ้าเงินที่จา่ ยนัน้ ถูกน�ำไปท�ำประโยชน์ ด้านสิ่งแวดล้อมหรือสังคม โดยต้องระบุชัดเจนว่าน�ำเงินไปท�ำอะไร 40% ของนักท่องเที่ยวชาวยุโรป มองหากิจกรรมการท่องเที่ยวที่ ได้สัมผัสวิ ถีชี วิ ตชุ มชน 8

การพั ฒนา ด้านสังคม ฟื้นฟูวิ ถีชี วิ ต สร้างการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ทางสังคม ผ่านกิจกรรม ท่องเที่ยวในชุ มชน

การพั ฒนา ด้านวัฒนธรรม ฟื้นฟูวัฒนธรรม ประเพณี เพื่อเป็น ทรัพยากรท่องเที่ยว อย่างหนึ่ง เช่น การท่องเที่ยวเชิง วัฒนธรรม

การพั ฒนา ด้านสิ่งแวดล้อม อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ที่ดีเพือ่ เป็นทรัพยากร ท่องเทีย่ ว และเป็นการ สร้างแรงจูงใจในการ อนุรกั ษ์สงิ่ แวดล้อม เช่น การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

Good to Know ปี 2017 UNWTO ประกาศให้เป็นปีสากลแห่งการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เพื่อการพั ฒนา โดยเน้น 5 ด้านที่ส�ำคัญดังนี้ 1. การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนทุกภาคส่วน 2. มีการจ้างงาน ลดความยากจน และเกื้อกูลกันในสังคม 3. ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ปกป้องสิ่งแวดล้อม และลดปัญหาโลกร้อน 4. รักษาคุณค่าทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย และมรดกทางวัฒนธรรม 5. อยู่ร่วมกันอย่างสันติและปลอดภัย

9


นิยามการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน หลายคนอาจสงสัยว่าการท่องเที่ ยวอย่างยั่งยืนนั้นคืออะไร เป็นอย่างไร ซึ่งก็ ได้มีหลายๆ หน่วยงานได้ ให้นยิ ามหรือความหมายของการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนไว้มากมาย ดังนี้ สหประชาชาติ (United Nations; UN) การพั ฒนาที่ตอบสนองความจ�ำเป็นในปัจจุบัน โดยไม่เบี ยดเบี ยนความสามารถในการตอบสนอง ความต้องการในอนาคต

องค์ การการท่ องเที่ ย วโลกแห่ ง สหประชาชาติ (The United Nations World Tourism Organization; UNWTO) การท่ องเที่ ย วที่ มุ ่ ง เน้ น การบริ หารจั ด การ ทรัพยากรต่างๆ เพือ่ ให้ความต้องการทางเศรษฐกิจ สังคม และความงดงามสามารถเกิดขึน้ ได้ ในขณะที่ ยังคงรักษาไว้ซงึ่ วัฒนธรรม สิง่ แวดล้อม และความ หลากหลายทางชีวภาพทีส่ ำ� คัญด้วย

10

สหประชาชาติ (United Nations; UN) การท่องเที่ยวที่สามารถตอบสนองความต้องการ ของผูท้ เี่ ดินทางมาพักผ่อน และเป็นไปตามความต้องการ ของคนในท้องถิน่ ซึง่ เป็นเจ้าของพืน้ ที่ โดยต้องค�ำนึงถึง การอนุรกั ษ์ไว้เพือ่ การใช้ประโยชน์ในอนาคตด้วย มีการ จัดการทรัพยากรในรูปแบบทีต่ อบสนองต่อความต้องการ ทางเศรษฐกิจ สังคม ควบคูไ่ ปกับการปกป้องวัฒนธรรม อันดี งาม รวมไปถึงการดูแลรักษาระบบนิเวศและ ความหลากหลายทางชี วภาพที่เกือ้ กูลสิง่ มีชี วิตต่างๆ ให้คงอยู่สืบไป อพท. การท่องเที่ยวที่ทำ� ให้เกิดการพั ฒนาอย่างสมดุล ทั้ง 3 มิติ คือ ด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิง่ แวดล้อม ด้วยกระบวนการมีส ่วนร่วมของทุกภาคส่วนเพื่อ น� ำ ไปสู ่ ค วามอยู ่ ดี มี สุ ข ของชุ ม ชนท้ องถิ่ น ในพื้ นที่ พิเศษ กล่าวคือการท่องเที่ ยวเป็นที่ มาของรายได้ เป็นเครื่ องมือในการอนุรั กษ์ประเพณีวัฒนธรรม วิ ถี ชี วิ ตอันดี งาม และเป็นเครื่ องมือในการรั กษา สิ่ ง แวดล้ อ ม โดยผู ้ ที่ ได้ รั บ ประโยชน์ จ ากการ พั ฒนาการท่องเที่ ยวให้เกิดความยั่งยืนนั้น ได้แก่ นักท่องเทีย่ ว เจ้าของแหล่งท่องเทีย่ ว และผูป้ ระกอบการ

11


การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในระดับนานาชาติ การพั ฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนตาม Agenda 21 ในปี 1996 UNWTO ได้ ป ระกาศใช้ Agenda 21 ส� ำ หรั บ อุ ต สาหกรรม ท่องเที่ยว (Agenda 21 for travel and tourism industry) เป็นการประยุกต์ จาก Agenda 21 โดยรวมจากการประชุ ม Rio Summit ในปี 1992 ถือเป็นเอกสาร แผนแม่ บ ทส� ำ หรั บ การพั ฒ นาการท่ องเที่ ย วอย่ า งยั่ ง ยื นที่ นานาประเทศสามารถ น�ำไปปรั บใช้ โดยเอกสารดังกล่าวมีการอธิบายบทบาทของบุคคล ธุรกิจ ภาครั ฐ ในการขับ เคลื่อนการพั ฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

หลักการพั ฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน หมายถึงการพั ฒนาที่สามารถ ตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยว และผูเ้ ป็นเจ้าของท้องถิ่นในปัจจุบนั โดยมีการปกป้องและสงวนรักษาโอกาสต่างๆ ของคนรุน่ หลัง รวมถึงการจัดการ ทรัพ ยากรเพื่อตอบสนองความจ�ำเป็นทางเศรษฐกิจ สังคม และความงาม ทางสุนทรียภาพ ในขณะที่สามารถรักษาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมและระบบนิเวศ โดยมีกรอบแนวทาง ดังนี้ มุ่งพั ฒนาการท่องเที่ยวในประเทศก่อนการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ ต้องค�ำนึงถึงขีดความสามารถในการรองรับ (Carrying capacity) ทุกๆ ด้าน ประชาชนในท้องถิ่นจะต้องมีสว่ นร่วมในการตัดสินใจในโครงการต่างๆ ที่จะมี ผลกระทบต่อวิ ถีชี วิ ตของคนส่วนใหญ่ในพื้นที่ มุ่งใช้วัสดุและผลิตภัณฑ์ ในท้องถิ่น เน้นกระจายรายได้สู่ท้องถิ่น คุณค่าของสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมนั้นเป็นคุณค่าที่มีอยู่ในตัวเอง การปรับตัวเปลีย่ นแปลงเป็นสิง่ จ�ำเป็น แต่ตอ้ งไม่ขดั กับหลักการดังกล่าวข้างต้น ภาคธุรกิจการท่องเที่ยว องค์กรด้านสิง่ แวดล้อมและรัฐ มีหน้าที่จะต้องท�ำงาน ร่วมกันอย่างเสมอภาค และวางอยู่บนหลักการข้างต้น

12

13


อพท. กับแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน จากอดีตจนถึงปัจจุบนั อพท. มุง่ มั่นในการท�ำหน้าที่เป็นองค์กรกลางในการประสาน ส่งเสริม และสนับสนุนทุกภาคีการพั ฒนาให้เข้ามามีสว่ นร่วม โดยรักษาสมดุลใน 3 มิติ คือ เศรษฐกิจ สังคม และสิง่ แวดล้อม เพือ่ ให้เกิดความยัง่ ยืนในการบริหารจัดการพืน้ ที่พเิ ศษเพือ่ การท่องเที่ยว โดยได้มี การขับ เคลือ่ นนโยบายอย่างต่อเนือ่ งดังนี้

ประชารัฐกับการขับ เคลือ่ นแผนแม่บทฯ พืน้ ที่พเิ ศษ การประสานงาน/บูรณาการ ในระดับนโยบาย (สงป./สศช./กก.) การประสานงานในระดับพืน้ ที่ (ส่วนราชการภูมภิ าค/อปท.) การขับ เคลื่อน แผนแม่บทฯ พื้นที่พิเศษ

การลงนาม MOU ร่วมกับ ภาคีเครือข่าย (ส่วนราชการ/ อปท./ชุมชน/สมาคมฯ)

1. นโยบายท่องเที่ยว คุณภาพแบบ Co-Creation ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมปฏิบัติ ร่วมรับผิ ดชอบ และร่วมรับผลประโยชน์

2. นโยบายการท่องเที่ยว โดยชุ มชน (Community Based Tourism)

3. นโยบายการท่องเที่ยว ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Low Carbon Tourism)

การประสานงาน กับภาคเอกชน (สมาคมฯ/ผูป้ ระกอบการ)

การประชาสัมพั นธ์ (ททท./สือ่ มวลชน) การจัดสรรงบประมาณ เพือ่ ด�ำเนินโครงการ (สงป.)

การสร้างการรับรูแ้ ละ ความเข้าใจแผนแม่บทฯ (ส่วนราชการ/ชุมชน) การประเมินความรู้ ความเข้าใจ/ความพึงพอใจ (ภาคีเครือข่าย)

ปัจจุบัน อพท. ได้ด�ำเนินงานสอดคล้องกับ เกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลกของ GSTC* โดยเข้าไปสร้างกระบวนการมีสว่ นร่วมแก่ภาคีเครือข่ายการพั ฒนา การให้องค์ความรู้ การพั ฒนาการ ท่องเที่ยวโดยชุ มชนตามเกณฑ์มาตรฐานการรับรองแหล่งท่องเที่ยวชุ มชน จนเกิดชุ มชนต้นแบบ ประชาชนในพืน้ ที่พเิ ศษมีรายได้จากการท่องเที่ยวและมีความอยูด่ ีมสี ขุ ผ่านเกณฑ์ที่ อพท. ก�ำหนด ที่สามารถเทียบเคียงมาตรฐานในระดับสากล

4. นโยบายการท่องเที่ยว เชิงสร้างสรรค์ (Creative Tourism)

5. นโยบายการด�ำเนินงานกับ ภาคีเครือข่ายการพั ฒนาทั้ ง ในประเทศและต่างประเทศ

14

*GSTC : Global Sustainable Tourism Council (สภาการท่องเที่ยวอย่างยัง่ ยืนโลก)

15


การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของ อพท. การพั ฒนาด้านเศรษฐกิจ

ส่งเสริมการใช้ศกั ยภาพของหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ในการพั ฒนา ตลาดการท่องเที่ ยว เพื่อมุ่งเน้นให้เกิดการเพิ่มมูลค่าอัตลักษณ์วิ ถีความเป็นไทย ให้ได้รับการยกระดบั และน�ำเสนอผ่านการท่องเที่ยวที่เป็นเอกลักษณ์ ในพืน้ ที่พเิ ศษ

พั ฒนาแหล่งท่องเที่ยวโดยชุ มชนวิ ถี ไทย ในพืน้ ที่พเิ ศษเมืองพั ทยาและพืน้ ที่เชื่ อมโยงด้วยการสร้างกิจกรรม ‘ถนนคนเดินตลาดจีน โบราณชากแง้ว’ มียอดนักท่องเที่ยวใน 9 เดือนที่ผ า่ นมาสูงถึง 170,000 คน และชุมชนมีเงิน สะพั ดตั้งแต่มีการเปิดตลาดในช่วงระยะเวลาที่ผ ่านมากว่า 85 ล้านบาท

พั ฒนาสินค้าที่เป็นเอกลักษณ์ของพื้นที่พิเศษ ในพื้ นที่ อุ ท ยานประวั ติ ศ าสตร์ สุ โขทั ย ศ รี สั ช นา ลั ย - ก� ำ แพ ง เพ ช ร ชู แบ ร น ด ์ 'มรดกพระร่ ว ง' เป็ น ดี ไซน์ ร ่ ว มสมั ย ใหม่ ที่ สร้างคุณค่าและมูลค่า เพิ่มให้ตัวผลิตภัณฑ์ ได้แก่ เครื่องสังคโลก เครื่องทอง-เครื่องเงิน ผ้ า ซิ่ น ตี นจก และงานพุ ท ธศิล ป์ โดยได้รั บ ความร่วมมือจากดี ไซเนอร์มืออาชี พ

พั ฒนาต้นแบบการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้ เกี่ยวกับอาหาร (Gastronomy Tourism) โดยการสร้างมูลค่า เพิ่มทางเศรษฐกิจ ให้ชุ มชน ในรูปแบบของเส้นทางท่องเที่ ยว Gastronomy Tourism Routes ส่งเสริมการพัฒนาพืน้ ที่ทอ่ งเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ (Creative Tourism) เพือ่ ให้เกิดความร่วมมือในการพั ฒนาแหล่ง ท่องเที่ ยวในพื้นที่ พิเศษ และคงสภาพแหล่ง ท่องเทีย่ วให้มคี วามงดงามสิง่ แวดล้อมทีเ่ หมาะสม และวัฒนธรรมประเพณีอนั ดีงาม ซึง่ การท่องเทีย่ ว เชิงสร้างสรรค์ทำ� ให้นกั ท่องเที่ยวได้รถู้ งึ คุณค่า และความเป็นตัวตนที่แท้จริง ผ่านการลงมือท�ำ และแลกเปลีย่ นเรียนรูก้ บั เจ้าของพืน้ ที่ ท�ำให้ คนในชุมชนเริ่มหันมาสนใจรากเหง้าของตนเอง มากขึ้น

สร้างแบรนด์สิ่งทอประจ�ำชุ มชน ส่งเสริมการตลาดตราสัญลักษณ์ ‘น่านเน้อเจ้า’ ซึ่งเป็นแบรนด์ผลิตภัณฑ์สิ่งทอของจั งหวัดน่าน เพือ่ สร้างโอกาสทางการตลาดและเชื่ อมโยงการ เข้าถึงสินค้ารองรับการท่องเที่ ยวจั งหวัดน่าน อย่างยั่งยืน

16

17


จัดท�ำแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนแห่งชาติ

การพั ฒนาด้านสังคม

มุ่งพั ฒนาการท่องเที่ยวโดยชุ มชนเพื่อสร้างความมั่ นคงและความอยู่ดี กินดี ของประชาชนในพื้นที่ พิเศษ โดยไม่ได้เน้นพั ฒนาเพี ยงแค่ให้เกิดกระบวนการ เท่านั้น แต่ไ ด้พั ฒนาการเพื่อให้เกิดความยั่งยืนในเชิงสิน ค้าและผลิตภัณฑ์ ภายใต้การมีส่วนร่วมกับทุกภาคส่วนผ่านกิจกรรม/โครงการส�ำคัญ

เพื่ อ ขยายผลในเรื่ องการท่ องเที่ ย วโดยชุ ม ชนให้ กว้างขึ้นในระดับประเทศ และส่งมอบให้กระทรวงการ ท่องเที่ยวและกีฬาน�ำไปสูก่ ารปฏิบตั จิ ริง และเพือ่ ให้การ พั ฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนของประเทศไทยมีแนวทาง การด�ำเนินงานที่เป็นเอกภาพและรูปธรรมที่ชดั เจนผ่าน การมีสว่ นร่วมของทุกภาคส่วน โดยเฉพาะภาคประชาชน ผูเ้ ป็นเจ้าของทรัพยากรการท่องเที่ยวและฐากรากส�ำคัญ ในการขับ เคลื่อนการท่องเที่ยวให้เกิดความยั่งยืน

โครงการพั ฒนาอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมเมืองเก่าน่าน เพือ่ สืบสานประเพณี ศิลปวัฒนธรรม ภูมปิ ญ ั ญาท้องถิน่ เมืองเก่าน่าน เช่น กลองปูจาสูส่ ากล เรือเอกลักษณ์นา่ น ผ้าทอลายน�้ำไหล เป็นต้น

เสริมสร้างศักยภาพและเชื่ อมโยงภาคีเครือข่ายต่างๆ ผ่านกลไกการมีส่วนร่วมในรูปแบบการท�ำงานของคณะท�ำงานรับรองแหล่งท่องเที่ยว โดยชุ ม ชน ทั้ ง หน่ ว ยงานภาครั ฐ เอกชน สถาบั น การศึ ก ษา และภาคประชาชน ร่วมกันวางแนวทางการพั ฒนาการท่องเที่ ยวโดยชุ มชนและได้ประสานภาคีเครื อข่าย ต่างๆ เพื่อมาร่วมพั ฒนาเกณฑ์รับรองแหล่งท่องเที่ ยวโดยชุ มชน ซึ่งเป็นการประยุกต์ แนวทางการพั ฒนามาจากมาตรฐานการท่องเที่ ยวอย่างยั่งยืนระดับสากลของ Global Sustainable Tourism Council (GSTC) และใช้เครื่องมือ ‘9+1 Building Blocks’ เพื่อให้ชุ มชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการพั ฒนา

18

19


การพั ฒนาด้านสิ่งแวดล้อม

ร อพท. ได้ ให้ความส�ำคัญในการส่งเสริมให้มีการลดภาวะโลกร้อนในภาคกา on ท่องเที่ยวมาเป็นระยะเวลานานแล้ว โดยมีการก�ำหนดนโยบาย Low Carb ็น มากเป Tourism เป็นนโยบายหลักของทุกพื้นที่พิเศษของ อพท. และมีเกาะห กรรม พื้นที่ต้นแบบ Low Carbon Destination นอกจากนี้ ได้มีการพั ฒนากิจ การท่องเที่ยวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมไปยังพื้นที่พิเศษอื่นๆ

โครงการ Don’t Burn the Heritage โดยร่วมกับอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทั ย สายการบิ นบางกอกแอร์เวย์ โรงแรมที่ พั ก ร้านอาหาร และชุ มชนในพื้นที่พิเศษอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทั ย-ศรีสัช นาลัย-ก�ำแพงเพชร เพื่ อ ท� ำ กิ จ กรรมปกป้ องมรดกโลก (อุ ท ยานประวั ติ ศ าสตร์ สุ โขทั ย) โดยจั ด ท� ำ กิ จ กรรม ทางเลือกให้นักท่องเที่ ยวที่ เข้ามาท่องเที่ ยวในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทั ยได้ร่วมกันลดการ ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ระหว่างการท่องเที่ยว เช่น ให้นักท่องเที่ยวออกไปท�ำกิจกรรม ในช่วงเวลากลางวัน งดบริการท�ำความสะอาดห้องพั ก เป็นต้น

โครงการ ‘แอ่วม๋วนใจ๋ ไม่เอาถ่าน’

ส่งเสริมโรงแรมที่พั กใน 6 พื้นที่พิเศษ

ในพื้ น ที่ พิ เ ศษ เมื อ งเก่ า น่ า น ไ ด้ รั บ ความร่ ว มมื อ จากผู ้ ป ระกอบการโรงแรม ที่ พั ก ร้ า นอาหาร ฯลฯ ในพื้ นที่ แ ละร่ ว ม น� ำ เสนอกิ จ กรรมท่ อ งเที่ ย วที่ ล ดการปล่ อ ย ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เช่น เมนูอาหารที่ ใช้ วัตถุดิบจากท้องถิ่น (Low Carbon Menu) การสนั บ สนุ น ให้ ใช้ จั ก รยานเป็ น พาหนะใน การเดินทาง เป็นต้น

ให้เกิดการพั ฒนากิจกรรม Low Carbon Tourism ตามมาตรการลดภาวะโลกร้อนของ อพท. โดยก�ำหนดให้มีการประเมินผลการรับรู้ ของนั ก ท่ อ งเที่ ย วที่ มี ต ่ อ การท่ อ งเที่ ย วแบบ คาร์บอนต�่ำของสถานประกอบการในชุ มชน ผลจากการประเมินพบว่า ระดับการรับรูข้ อง นักท่องเที่ยวมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 76.69% พร้อมกับ พั ฒนาศักยภาพพื้นฐานของสถานประกอบการ ที่พั กในพื้นที่พิเศษ และได้จั ดท�ำเกณฑ์พั ฒนา สถานประกอบการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

20

21


ผลส�ำเร็จที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาการท่องเที่ยว อย่างยั่งยืนของ อพท.

เกิดชุ มชนต้นแบบ 14 ชุ มชนในพื้นที่พิเศษ ที่ พ ร้ อ มเป็ น แหล่ ง เรี ย นรู ้ แ ละขยายผลไป ในระดั บ ภู มิ ภ าคและประเทศ และล่ า สุ ด จาก งานประกาศรางวัล PATA Tourism InSPIRE Awards 2015 ซึ่งจั ดโดยสมาคมส่งเสริ มการ ท่องเที่ ยวแห่งภูมิภาคเอเชี ย-แปซิฟิก (Pacific Asia Travel Association – PATA) ชมรม ส่ ง เสริ ม การท่ องเที่ ย วโดยชุ ม ชนบ้ า นไร่ ก องขิ ง จั งหวั ด เชี ยงใหม่ ได้ รั บ รางวั ล สาขา Best Community-Based Tourism Initiative หรื อ การท่ องเที่ ย วโดยชุ ม ชนที่ เป็ น เลิ ศ ซึ่ ง เป็ น ชุ มชนต้นแบบด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

14 ชุมชนต้นแบบในพืน้ ที่พเิ ศษของ อพท ชุ มชนบ้านไร่กองขิง จ.เชี ยงใหม่ ชุ มชนสันลมจอย จ.เชี ยงใหม่ ชุ มชนในเวียง จ.น่าน ชุ มชนบ่อสวก จ.น่าน ชุ มชนเมืองเก่าสุโขทั ย จ.สุโขทั ย ชุ มชนบ้านคุกพั ฒนา จ.สุโขทั ย ชุ มชนนครชุ ม จ.ก�ำแพงเพชร ชุ มชนกกสะทอน จ.เลย ชุ มชนปลาบ่า จ.เลย ชุ มชนตะเคียนเตี้ย จ.ชลบุรี ชุ มชนชากแง้ว จ.ชลบุรี ชุ มชนบ้านน�้ำเชี่ ยว จ.ตราด ชุ มชนแหลมกลัด จ.ตราด ชุ มชนเมืองโบราณ ทวารวดี -อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี

องค์กรนานาชาติเข้าใจความแตกต่างในภารกิจของ อพท. อพท. ลงนามข้อตกลงความร่วมมือ (Collaboration Agreement) กับ สภาการท่องเที่ยวอย่างยัง่ ยืนโลก (Global Sustainable Tourism Council) เพื่อพั ฒนาทั กษะความรู้ด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนให้แก่บุคลากรด้าน การท่องเที่ยวของไทย เกิดความร่วมมือระหว่าง อพท. กับกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา อพท. ได้ลงนามข้อตกลงความร่วมมือ (MoU) กับกระทรวงการท่องเที่ยว และกีฬา เพื่อขับ เคลื่อนการพั ฒนาการท่องเที่ยวชุ มชนอย่างยั่งยืน

22

23


ประชาชนในพื้นที่พิเศษผ่านเกณฑ์การประเมินระดับความอยู่ดี มีสุข โดยท�ำการวัดจากดัชนีความอยูด่ ีมสี ขุ เช่น รายได้ คุณภาพชี วิต สังคมและวัฒนธรรม ตลอดจนสภาพแวดล้อมของแหล่งท่องเที่ยว ที่จะเป็นเครื่องมือแสดงให้เห็นพั ฒนาการ ของการพั ฒนาการท่องเที่ ยวอย่างยั่งยืน พร้อมทั้ งได้นิยามความอยู่ดี มีสุขในแบบ ฉบับของ อพท. ว่าหมายถึง สภาวะความเป็นอยู่ของประชาชนในชุ มชนพื้นที่พิเศษของ อพท. ที่มีความสุขทั้ งในด้านร่างกายและจิ ตใจ ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบหลัก 53 ตัวชี้ วัดย่อย

จากผลการประเมินปี 2559 พบว่า ประชาชนในพื้นที่ พิเศษมีระดับความอยู่ดี มีสุข เฉลี่ย 71.04% ซึ่งสูงกว่า เกณฑ์ที่ อพท. ก�ำหนด (60%) โดยสรุ ปผลการส�ำรวจระดับความอยู่ดี มีสุขของประชาชนในพื้นที่ พิเศษผ่านเกณฑ์การประเมินจ�ำนวน 6,227 คน จากกลุ่มตัวอย่าง จ�ำนวน 8,000 คน คิดเป็น 77.84% เปรียบเทียบระดับความอยู่ดี มีสุขของประชาชนในพื้นที่พิเศษ ประจ�ำปี 2559 จ�ำแนกตามเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 100

องค์ประกอบความอยู่ดี มีสุขของ อพท.

ค่าเฉลี่ยรวม 71.04%

90

เกณฑ์ผ า่ น

80 70 60 50 1. ด้านการมีสุขภาวะ

2. ด้านเศรษฐกิจ ชุ มชนเข้มแข็ง

3. ด้านครอบครัวอบอุ่น

40 30 20 10 ท แห ่าโสม ลม เกา กลัด ะหม เกา าก ะ ห้วย กูด นาจ ใหญ อม ่ เ เขา ทียน ชีจร ร ส ย์ บา้ นารจิต ก�ำแ กล้วย พงเ เชี ย พชร ง ชัยพ คาน ฤก แส ษ์ งภ นาแ า ห้ว ภูเร ือ ภูห อ ดู่ใต ม่วง ้ ต นาซ ื้ด า อู่ท ว อง

0

4. ด้านการบริหาร จั ดการชุ มชนที่ดี

5. ด้านการ มีสภาพแวดล้อมที่ดี

24

6. ด้านการเป็นชุ มชน ประชาธิปไตย และมีธรรมาภิบาล

ผลการด�ำ เนินงานที่ ผ ่านมาของ อพท. แสดงให้เห็นว่า อพท. ได้พั ฒนาการท่องเที่ ยว อย่างจริงจั ง เพื่อสร้างความยั่งยืนให้ลงไปถึงประชาชนในระดับฐานราก

25


เกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก (GSTC) เกณฑ์ ก ารท่ อ งเที่ ยวอย่ า งยั่ ง ยื น โลก (Global Sustainable Tourism Criteria; GSTC) GSTC เป็นหนึ่งในเครื่องมือส�ำคัญที่ อพท. ใช้ เป็ น แนวทางในการพั ฒ นาบริ หารจั ด การแหล่ง ท่ องเที่ ย ว รวมถึ ง ทรั พ ยากรท่ องเที่ ย วในพื้ นที่ พิเศษให้เกิดความยั่งยืน หลายๆ คนอาจสงสัย ว่าแล้วใครหรือหน่วยงานไหนที่ก�ำหนดและสร้าง มาตรฐานการท่ อ งเที่ ย วอย่ า งยั่ ง ยื นขึ้ น มาล่ ะ มาท�ำความรู้จั กไปพร้อมๆ กันเลย ท�ำความรู้จั กกับสภาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก (Global Sustainable Tourism Criteria; GSTC) องค์กร GSTC มีชื่ อเป็นทางการว่า ‘สภาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก’ จั ดตั้งขึ้นในปี 2007 จากการรวมตัวขององค์กรทั้ งหมด 32 องค์กร ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริ มให้ทั่ วโลกเกิด ความเข้าใจเกี่ยวกับ แนวปฏิบัติที่ จะท�ำให้เกิดการท่องเที่ ยวอย่างยั่งยืน และสร้างการยอมรับ ในหลักการของการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในระดับสากล โดยมีองค์กรผู้ริเริ่ม 4 องค์กร ดังนี้ 1. The Rainforest Alliance องค์กรที่ ไม่แสวงหาผลประโยชน์ ซึ่งให้ความ ส�ำคัญกับการอนุรักษ์ปกป้องป่าเขตร้อน โดยมี การท�ำงานเพื่ออนุรักษ์ปกป้องความหลากหลาย ทางชี วภาพและความยั่งยืน ด้วยการเปลี่ยนแปลง วิ ธี การใช้ ที่ ดิ น การท� ำ ธุ ร กิ จ และพฤติ ก รรม ผู้บริโภค 26

2. The United Nations Environment Programme (UNEP) องค์ ก รที่ ท� ำ ท� ำ หน้ า ที่ เป็ น ผู ้ น� ำ ในด้ า น สิ่ ง แวดล้ อ ม โดยการก� ำ หนดวาระการประชุ ม สิ่ ง แว ดล้ อ มโลก ส่ ง เสริ มการด� ำ เนิ น งาน ที่ สอดคล้องกับมิติ ในการพั ฒนาด้านสิ่งแวดล้อม อย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ และท�ำหน้าที่ เป็น ผู้สนับสนุนสิทธิส�ำหรับสภาพแวดล้อมของโลก 3. The United Nations Foundation องค์กรระหว่างประเทศที่มจี ุดมุ่งหมายและ วิ สัยทั ศ น์ ในการแก้ ไขปัญหาระดับโลก ด้วย การเชื่ อมต่อการท�ำงานของสหประชาชาติกับ องค์กรอื่นๆ ทั่ วโลก เพื่อจั ดการกับปัญหาการ เปลีย่ นแปลงสภาพภูมอิ ากาศ ด้านสุขภาพระดับ โลก สันติภาพ และความมั่นคง 4. The United Nations World Tourism Organization (UNWTO) หน่วยงานในองค์การสหประชาชาติที่รับผิดชอบ ในการส่งเสริ มการท่องเที่ ยวให้เกิดความยั่งยืน และเป็นสากล โดยส่งเสริมการท่องเที่ยวเป็นส่วน ส�ำคัญในการขับ เคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจ ควบคูไ่ ปกับการพั ฒนาความยัง่ ยืนด้านสิง่ แวดล้อม สั ง คมวั ฒ นธรรม และสนั บ สนุ น ให้ ภ าคส่ ว น ต่างๆ ในการให้ความรู้ที่กา้ วหน้าและนโยบายการ ท่องเที่ยวทั่ วโลก 27


กระบวนการท�ำงานของ GSTC องค์กร GSTC มีบทบาทส�ำคัญในการบริหารจั ดการเกณฑ์มาตรฐานการท่องเที่ยว เพื่อความยั่งยืนในระดับสากล และเป็นองค์กรอาสาสมัครซึ่งมีความเชี่ ยวชาญด้านการ ท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ให้การสนับสนุนด้านความรู้ ในการสร้างความยั่งยืนให้แก่แหล่ง ท่องเที่ยว โดยมีองค์กรผู้เชี่ ยวชาญในเรื่องการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในด้านต่างๆ เป็น ภาคีร่วมท�ำงาน

3. พั ฒนาตลาดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน พั ฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและการให้บริการเพื่อสร้าง ความไว้วางใจในหมู่นักท่องเที่ ยวและเพิ่มความต้องการของ ตลาดส�ำหรับการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนมากขึ้น เช่น เพิ่มจ�ำนวน ผลิตภัณฑ์การท่องเที่ ยวอย่างยั่งยืนโดยการสร้างแรงจูงใจให้ ผูป้ ระกอบการหันมาท�ำธุรกิจท่องเที่ยวอย่างยัง่ ยืน ส่งเสริมและ สนับสนุนธุรกิจขนาดเล็กและการท่องเที่ยวโดยชุมชน ให้สามารถ เข้าถึงตลาด เป็นต้น

GSTC มีหน้าที่ท�ำอะไร 4. ให้ความรู้ ความเข้าใจการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

1. การพั ฒนาเกณฑ์มาตรฐานสากล

ให้การศึกษาและฝึกอบรมที่เหมาะกับแต่ละภาคส่วนเพือ่ ช่วย ให้สามารถบริหารจัดการการท่องเที่ยวอย่างยัง่ ยืน โดยใช้เกณฑ์ GSTC เป็นมาตรฐาน เพิม่ ขีดความสามารถระหว่างหน่วยงานกับ ธุรกิจท่องเที่ ยวเพื่อให้ความรู้กับนักท่องเที่ ยวในการเลือกการ ท่องเที่ยวอย่างยัง่ ยืน และผลักดันเกณฑ์ GSTC ให้อยูใ่ นหลักสูตร ของสถาบันการศึกษา

เกณฑ์ มาตรฐานของ GSTC จะท� ำ หน้ า ที่ เป็ น เกณฑ์ พื้นฐานส�ำหรับการพั ฒนาการท่องเที่ ยวอย่างยั่งยืนโลก โดย เกณฑ์สามารถน�ำมาใช้ ในหลากหลายรูปแบบ เช่น เป็นแนวทาง พื้นฐานส�ำหรับธุรกิจทุกขนาดเพื่อให้เกิดความยั่งยืนและช่วย ให้ธุรกิจสามารถเลือกโปรแกรมการท่องเที่ ยวอย่างยั่งยืนที่ ตอบสนองต่อเกณฑ์ โลกได้ เป็นต้น 2. ร่วมพั ฒนาแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

5. ให้การรับรองเกณฑ์มาตรฐาน

พั ฒนาเกณฑ์แหล่งท่องเที่ยวเพือ่ ให้หน่วยงานต่างๆ สามารถ น�ำไปประยุกต์ ใช้ในการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว เช่น ชุมชน ท้องถิ่ น หน่วยงานของรัฐ องค์กรไม่แสวงหาผลก�ำไร และ อุตสาหกรรมท่องเที่ ยวที่ เกี่ยวข้องโดยผู้มีส ่วนได้เสียในการ ท่ องเที่ ย ว มี แนวทางในการรั ก ษาวั ฒ นธรรม สิ่ ง แวดล้ อ ม เศรษฐกิจ และความสมบูรณ์ของประเทศ/ภูมิภาค/เมืองของ พวกเขา รวมถึงเพิ่มคุณลักษณะที่ โดดเด่นที่ ท�ำให้เกิดความ น่าสนใจให้กับ แหล่งท่องเที่ยว

GSTC จะท�ำหน้าที่ ให้บริ การตรวจสอบและรับรองเกณฑ์ มาตรฐานการท่องเที่ ยวอย่างยั่งยืนที่ องค์กรต่างๆ จั ดท�ำขึ้น โดยจะแบ่งเป็น 2 ระดับ 1) ‘GSTC Recognize’ ส�ำหรับ องค์กรที่ มีเกณฑ์มาตรฐานเที ยบเท่ากับ เกณฑ์ GSTC และ 2) ‘GSTC Approved’ จะยกระดับ เป็น Certifying body สามารถท�ำ เกณฑ์มาตรฐานที่ จะเที ยบเท่ากับ เกณฑ์ GSTC ไปรับรองหน่วยงานต่างๆ และสามารถใช้ตราสัญลักษณ์ของ GSTC ได้

28

29


หน่วยงานและตราสัญลักษณ์ที่เกี่ยวข้องกับเกณฑ์ GSTC GSTC ได้ทำ� หน้าที่ ในการก�ำหนดหลักเกณฑ์ที่จะน�ำไปสูม่ าตรฐานการจัดการการท่องเที่ยวอย่าง ยัง่ ยืน (The GSTC Criteria) ซึง่ เป็นแนวทางขัน้ พืน้ ฐานส�ำหรับผูป้ ระกอบธุรกิจท่องเที่ยวและ หน่วยงานที่มกี ารบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว โดย GSTC จะให้บริการตรวจสอบและให้การรับรอง กับ เกณฑ์มาตรฐานด้านการท่องเที่ยวอย่างยัง่ ยืนที่หน่วยงานต่างๆ จัดท�ำขึน้ รวมถึงท�ำหน้าที่ ให้ การรับรองหน่วยงานประเมิน (Certifying body) ที่เป็นผู้ใช้เกณฑ์มาตรฐานด้านการท่องเที่ยว อย่างยัง่ ยืนนัน้ ๆ ด้วย

GSTC Approved หน่วยงานทีจ่ ะท�ำหน้าทีต่ รวจประเมิน (Certifying body) ตามมาตรฐานการท่องเทีย่ วอย่างยัง่ ยืนโลก ที่ GSTC รับรองนัน้ จะต้องมีเกณฑ์มาตรฐานของหน่วยงานที่ ได้รบั GSTC-Recognized ก่อน แล้วมี หน่วยงานภายนอก (Third Party) มาท�ำการประเมินและร้บรองกระบวนการและขัน้ ตอนการท�ำงานว่า หน่วยงานนัน้ มีความสามารถ น่าเชื่อถือ และเป็นกลางในการเป็นหน่วยงานตรวจประเมินและสอดคล้อง กับ GSTC Manual ซึง่ หากผ่านการประเมินและรับรองจาก Third Party แล้ว หน่วยงานนัน้ ก็จะ ได้รบั GSTC-Approved และกลายเป็นหน่วยงานตรวจประเมิน (Certifying Body) ที่สามารถใช้ ตราสัญลักษณ์ของ GSTC ในการรับรองหน่วยงานอืน่ ๆ โดยแบ่งการรับรองมาตรฐานได้ 2 ประเภท ดังนี้ 1) Standards for Hotels and Tours Operators และ 2) Standards for Destination

Process to become GSTC - Approved

GSTC Recognized เกณฑ์มาตรฐานด้านการท่องเที่ยวอย่างยัง่ ยืนที่จัดท�ำขึน้ ของหน่วยงานหนึง่ จะได้รบั การตรวจสอบ จากผูเ้ ชี่ยวชาญของ GSTC และเปรียบเทียบกับเกณฑ์ของ GSTC หากพบว่าเป็นเกณฑ์ที่มมี าตรฐาน เทียบเท่ากับเกณฑ์ของ GSTC แล้ว หน่วยงานนัน้ ก็จะได้รบั การ Recognized เกณฑ์จาก GSTC ซึง่ แบ่ง เป็น 2 ประเภท 1) Standards for Hotels & Tour Operators และ 2) Standards for Destinations

Tourism Organization is being “Certifying body”

Process to become GSTC - Recognizes GSTC Criteria Local / Sector Criteria

Sustainable Tourism Standard

GSTC assesses standard Yes against GSTC standard

30

Tourism Organization (Local / Sector Criteria)

GSTC Recognized Standard

Registration fo

Yes

r GSTC Certif ication with Recognized Standard Selected

Cert

ifyin

Tourism destination hotel and tourism operation are Certified

g bo

dy

Process meets GSTC Approved Manual Audit)

ขั้นตอนในการเป็นหน่วยงาน Certifying body

Third Paties (Assessarent &

*หมายเหตุ: ผูท้ ี่ ได้รบั การรับรองว่ามีการด�ำเนินการเป็นไปตามมาตรฐานด้านการท่องเที่ยวอย่างยัง่ ยืน (เช่น โรงแรม ผู้ให้บริการน�ำเที่ยว แหล่งท่องเที่ยวต่างๆ) จากหน่วยงานประเมินที่ ได้รับการ Approved โดย GSTC แล้วเท่านัน้ จึงจะถือว่าผ่านการรับรองโดย GSTC และสามารถใช้ตราสัญลักษณ์ของ GSTC ได้ ส่วนผูท้ ี่ ได้รับรองว่ามีการด�ำเนินการเป็นไปตามมาตรฐานด้านการท่องเที่ยวอย่างยัง่ ยืนที่ ได้รับการ Recognized โดย GSTC ยังไม่สามารถใช้ตราสัญลักษณ์ของ GSTC ได้แต่มเี กณฑ์ที่เทียบเคียงได้กบั เกณฑ์ GSTC

31


หน่วยงานที่ได้รับ GSTC Approved Approved Standards for Destinations หน่ ว ยงานที่ จั ดท� ำ เกณฑ์ ม าตรฐานด้ า น การท่ อ งเที่ ย วอย่ า งยั่ ง ยื น ส� ำ หรั บ ประเมิ น และให้ การรั บ รองแหล่ ง ท่ องเที่ ย วที่ ได้ รั บ การ Approved โดย GSTC มีจ�ำนวน 2 หน่วยงาน

GSTC ไม่ได้เป็นองค์กรที่ ให้การรับรองแหล่งท่องเที่ยว หรือ โรงแรมและองค์กรบริการจัดการท่องเทีย่ วว่าได้ดำ� เนินงานตามเกณฑ์ ของ GSTC โดยตรง แต่จะมีหน่วยงานที่จัดท�ำเกณฑ์มาตรฐานเป็น ผู้ให้การรับรอง (Certifying body) ดังนี้ Approved Standards for Hotel & Tour Operators หน่วยงานที่จัดท�ำเกณฑ์มาตรฐานด้านการท่องเที่ยวอย่างยัง่ ยืนส�ำหรับประเมินและให้การรับรอง ธุรกิจโรงแรมและผูใ้ ห้บริการน�ำเทีย่ วที่ ได้รบั การ Approved โดย GSTC ปัจจุบนั มีอยูจ่ ำ� นวน 3 หน่วยงาน

1. Biosphere Responsible Tourism ตราสัญลักษณ์ที่มอบให้กับ องค์กรธุรกิจที่ ประกอบกิจการ โรงแรมและบริการน�ำเทีย่ วทีผ่ า่ น การรับรองตามระบบมาตรฐาน การจั ดการท่องเที่ ยวที่ มีความ รับผิดชอบของ The Responsible Tourism Institute (RTI) ซึ่งเป็นองค์กรอิสระที่ ได้รับการ สนับสนุนจาก UNESCO เริ่ มก่ อ ตั้ ง ขึ้ น ที่ ประเทศ สเปน รั บ ให้ ค� ำ ปรึ ก ษาและ รับรองมาตรฐานทั่ วโลก

2. EarthCheck Company Standard ให้การรับรองมาตรฐานการ จั ด การท่ องเที่ ย วอย่ า งยั่ ง ยื น ให้กับองค์กรธุรกิจที่ ประกอบ กิ จ การโรงแรมและบริ ก าร น� ำ เที่ ย ว องค์ ก รที่ ผ ่ า นการ รั บ รองตามเกณฑ์ มาตรฐาน การจั ด การท่ อ งเที่ ย วอย่ า ง ยั่ ง ยื นจะได้ รั บ ตราสั ญ ลั ก ษณ์ EarthCheck เริ่ มก่ อ ตั้ ง ขึ้ น ที่ ประเทศ ออสเตรเลีย รับให้ค�ำปรึ กษา และรับรองมาตรฐานทั่ วโลก 32

3. Ecotourism Australia ให้การรับรองมาตรฐานการ จั ด การท่ องเที่ ย วอย่ า งยั่ ง ยื น ให้กับองค์กรธุรกิจที่ ประกอบ กิ จ การโรงแรมและบริ ก าร น�ำเที่ยว โดยองค์กรที่ผ า่ นการ รั บ รองตามเกณฑ์ มาตรฐาน การจั ด การท่ อ งเที่ ย วอย่ า ง ยั่ ง ยื นจะได้ รั บ ตราสั ญ ลั ก ษณ์ Ecotourism Australia เริ่ มก่ อ ตั้ ง ขึ้ น ที่ ประเทศ ออสเตรเลีย รับให้ค�ำปรึ กษา และรับรองมาตรฐานทั่ วโลก

1. Biosphere Responsible Tourism ตราสั ญ ลั ก ษณ์ ที่ ม อบให้ กั บ พื้ น ที่ ห รื อ แหล่ ง ท่ อ งเที่ ย วที่ อ ยู ่ ภ ายใต้ ก ารบริ ห าร จั ดการและดูแลโดยองค์กรภาครัฐหรือเอกชน ที่ ผ ่ า นการรั บ รองตามระบบมาตรฐานการ จั ดการท่ อ งเที่ ย วที่ มี ค วามรั บ ผิ ด ชอบของ The Responsible Tourism Institute (RTI) เริ่มก่อตัง้ ขึน้ ที่ประเทศสเปน รับให้คำ� ปรึกษา และรับรองมาตรฐานทั่ วโลก

2. EarthCheck Company Standard รั บ รองมาตรฐานการจั ดการท่ อ งเที่ ยว อย่ างยั่ ง ยื น ให้ แ ก่ ห น่ ว ยงานภาครั ฐ และเอกชน ที่ เป็ น ผู ้ ดู แ ลและบริ หารจั ดการพื้ น ที่ หรื อ แหล่ ง ท่ อ งเที่ ย ว โดยพื้ น ที่ ท ่ อ งเที่ ย วที่ ผ ่ า น การรับรองตามเกณฑ์มาตรฐานการจัดการท่องเที่ยว อย่างยัง่ ยืนจะได้รับตราสัญลักษณ์ EarthCheck เริ่ ม ก่ อ ตั้ ง ขึ้ นที่ ป ระเทศออสเตรเลี ย รั บ ให้ ค�ำปรึ กษาและรับรองมาตรฐานทั่ วโลก

33


หน่วยงานที่ได้รับ GSTC - Recognized Recognized Standards for Hotels & Tour Operators มีเกณฑ์มาตรฐานด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนส�ำหรับธุรกิจโรงแรมและผู้ ให้บริการน�ำเที่ยว ที่ ได้รับการ Recognized โดย GSTC จ�ำนวน 26 มาตรฐาน Chile Sistema de Distincion en Turismo Sustentable (SERNATUR) ใช้รับรองมาตรฐานใน ประเทศชิลี

Biosphere Responsible Tourism ใช้รับรองมาตรฐาน ทั่ วโลก Green Growth 2050 ใช้รับรองมาตรฐาน ทั่ วโลก

Green Star Hotel Certificate ใช้รับรองมาตรฐาน ในประเทศอียิปต์

Certification for Sustainable Tourism (CST) for Hotels รับรองมาตรฐานใน ประเทศคอสตาริก้า

Eco-Certification Malta ใช้รับรองมาตรฐาน ในประเทศมอลตา

34

Green Key Eco-Rating Program ใช้รับรองมาตรฐาน ทั่ วโลก

Green Tourism Active ใช้รับรองมาตรฐาน ทั่ วโลก

Ecotourism Australia’s ecotourism standard & advanced ecotourism standard ใช้รับรองมาตรฐานใน ประเทศออสเตรเลีย

Japan Environmentally Sustainable Accommodations International Standard (ESAIS) ใช้รับรองมาตรฐาน ในประเทศญี่ปุ่น

Hostelling International’s Quality and Sustainability Standard ใช้รับรองมาตรฐาน ทั่ วโลก

Fair Trade Tourism (FTT) ใช้รับรองมาตรฐานใน กลุ่มประเทศในทวีป แอฟริกา

Ecotourism Ireland Certification Programme ใช้รับรองมาตรฐาน ในประเทศไอร์แลนด์

Rainforest Alliance standard for tourism operations ใช้รับรองมาตรฐาน ทั่ วโลก

Hoteles+ Verdes (AHT) ใช้รับรองมาตรฐานใน ประเทศอาเจนตินา

Foundation for Environmental Education’s Green Key ใช้รับรองมาตรฐาน ทั่ วโลก 35


European Ecotourism Labeling Standard (EETLS) ใช้รับรองมาตรฐานใน กลุ่มประเทศสหภาพ ยุโรป

Sustainable Tourism Eco-Certification Program (STEP) ใช้รับรองมาตรฐาน ทั่ วโลก

Global Ecosphere Retreats (GER) ใช้รบั รองมาตรฐาน ทั่วโลก

Green Globe ใช้รับรองมาตรฐาน ทั่ วโลก

TOFTigers Initiative’s Pug mark Eco Certification ใช้รับรองมาตรฐาน ในประเทศอินเดี ย เนปาลและในกลุ่ม ประเทศโซนเอเชี ยใต้

Recognized Standards for Destinations เกณฑ์มาตรฐานด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนส�ำหรับประเมินและให้การรับรองแหล่งท่องเที่ยว ที่ ได้รับการRecognized โดย GSTC จ�ำนวน 3 มาตรฐาน

Biosphere Responsible Tourism ใช้รับรองมาตรฐาน ทั่ วโลก

Travelife Standard for Hotels & Accommodations ใช้รับรองมาตรฐาน ทั่ วโลก

GREAT Green Deal Certification Program ใช้รับรองมาตรฐาน ในประเทศกัวเตมาลา และกลุ่มประเทศใน อเมริกากลาง

Travelife Standard for Tour Operators & Travel Agents ใช้รับรองมาตรฐาน ทั่ วโลก

TourCert Standard for Tour Operators ใช้รับรองมาตรฐาน เยอรมนีและออสเตรีย

EarthCheck Company Standard ใช้รับรองมาตรฐาน ทั่ วโลก

36

EarthCheck Community Standard ใช้รับรองมาตรฐาน ทั่ วโลก

Green Destinations Standard ใช้รับรองมาตรฐาน ทั่ วโลก

37


ขั้นตอนการได้รับการรับรองเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก ส�ำหรับ แหล่งท่องเที่ยว โรงแรม หรือธุรกิจน�ำเที่ยวที่ด�ำเนินการเกี่ยวกับการท่องเที่ยวต่างๆ แล้วต้องการได้รับการรับรองว่าได้ดำ� เนินการตามเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยัง่ ยืนจะต้องจดทะเบียน และขอรับการตรวจสอบจากหน่วยงานที่ ให้การรับรอง (Certifying Body) มาท�ำการตรวจสอบ แหล่งท่องเที่ยวหรือองค์กรว่ามีการบริหารจั ดการแหล่งท่องเที่ยวหรือด�ำเนินการจัดการท่องเที่ยว อย่างยั่งยืนหรือไม่ โดยวิ ธีการตรวจสอบจะมีการพิจารณา 2 ระดับดังนี้ 1. ระดับ Process-based

2. ระดับ Performance-based มีการก�ำหนดคะแนนหรือระดับคะแนนให้กบั สถานที่ทอ่ งเที่ยวหรือเกณฑ์มาตรฐานการท่องเที่ยว โดยวัดออกมาเป็นระดับของคะแนน มีตัวเลขที่สามารถแสดงได้ เช่น แหล่งท่องเที่ยวมีนโยบายใน การก�ำจั ดขยะแล้ว จะต้องมีการวัดปริมาณขยะ ปริมาณการจั ดการขยะ แหล่งก�ำจั ดขยะที่สามารถ ผ่านเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้ ได้ ซึ่งวิ ธีการนีเ้ ป็นวิ ธีการพิจารณาที่มีขั้นตอนละเอียด ซับซ้อน และ ใช้เวลานานกว่าการพิจารณาแบบแรก เนื่องจากเกณฑ์มาตรฐานถูกก�ำหนดจากองค์กรการ ท่องเที่ยวที่เชี่ ยวชาญด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนหลากหลายองค์กร

พิจารณาการด�ำเนินงานของสถานที่ท่องเที่ยวว่าได้ด�ำเนินการใดไปแล้วบ้าง โดยยังไม่ได้วัดผล ตามเกณฑ์มาตรฐานใดๆ เช่น แหล่งท่องเที่ยวมีนโยบายการจั ดการขยะหรือไม่ หากมีนโยบายนีก้ ็ ถือว่าผ่านการพิจารณา เป็นต้น

38

39


การท�ำงานของ อพท. ที่สอดคล้องกับเกณฑ์ GSTC อพท. ได้มีการด�ำเนินงานพั ฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนสอดคล้องกับ เกณฑ์การท่องเที่ยว อย่างยัง่ ยืนโลก (GSTC Criteria) ซึ่งจะช่วยยกระดับการพั ฒนาการท่องเที่ยวของไทยให้เกิด ความยัง่ ยืนอย่างเป็นระบบในด้านการจัดการแหล่งท่องเที่ยว โดยได้พั ฒนาเกณฑ์มาตรฐานการบริหาร จัดการแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชน ที่มแี นวคิดหลักในการบูรณาการองค์ประกอบของการพั ฒนาชุมชน ซึง่ ใช้การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือหลัก ค�ำนึงถึงความยัง่ ยืนและความอยูด่ ี มสี ขุ ของประชาชนในชุ มชน เกณฑ์มาตรฐานการบริหาร จั ดการแหล่งท่องเที่ยวโดยชุ มชน 1. กลุ่มท่องเที่ยวชุ มชนมีการจั ดการอย่างยั่งยืน 2. การท่องเที่ยวโดยชุ มชนมีการกระจาย ผลประโยชน์สู่ท้องถิ่น สังคมและคุณภาพชี วิ ต 3. การท่องเที่ยวโดยชุ มชนมีการอนุรักษ์ และส่งเสริมมรดกทางวัฒนธรรม 4. การจั ดการทรัพยากรธรรมชาติหรือ สิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบและยั่งยืน 5. ด้านบริการและความปลอดภัย

เกณฑ์แต่ละด้านมีแนวคิดเพือ่ ส่งเสริมการพั ฒนาอย่างไม่มที ี่สนิ้ สุดเป็นวงจร คือ การวางแผน ปฏิบตั จิ ริง ติดตามประเมินผล และปรับปรุงพั ฒนา 40

มาดูตัวอย่างการท�ำงานของ อพท. ที่ น�ำเกณฑ์ GSTC มาประยุกต์ ใช้ ในพื้นที่ พิเศษ เพือ่ น�ำไปสูก่ ารท่องเที่ยวอย่างยัง่ ยืน ซึง่ จะน�ำเสนอโมเดลการจัดการท่องเที่ยวอย่างยัง่ ยืน ในชุมชนต้นแบบบ้านน�ำ้ เชี่ ยว จังหวัดตราด และพืน้ ที่พเิ ศษเลย (อพท.5)

41


ชุมชนต้นแบบบ้านน�ำ้ เชี่ยว จังหวัดตราด ตัวอย่างของชุมชนที่จัดการเรือ่ งท่องเที่ยวด้วยตนเองอย่างแท้จริง โดยคนในชุมชนช่วยกันพั ฒนา ให้มีการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างเป็นระบบ จนได้รับรางวัลด้านการท่องเที่ยวมากมาย

มีการจั ดการข้อมูลด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุ มชน ชมรมฯ

มีสื่อประชาสัมพั นธ์เพื่อให้ข้อมูลท่องเที่ ยวที่ มีคุณภาพ ถูกต้อง และเข้าถึงง่าย พร้อมกับมีสมุดเพิ่มเพื่อท�ำการจั ดเก็บข้อมูล ในการประเมินความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว

1. การบริหารจั ดการด้านความยั่งยืนที่มีประสิทธิภาพ จั ด ท� ำ แผนยุ ท ธศาสตร์ การพั ฒ นาการท่ อ งเที่ ย วโดยชุ ม ชน ของชุ มชนบ้านน�้ำเชี่ ยว ระยะเวลา 3 ปี (พ.ศ. 2556-2558) โดย กระบวนการท�ำแผนเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของชุ มชน

มาตรฐานความยั่งยืน มีคม ู่ อื เกณฑ์มาตรฐานการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชน

ของ อพท. ซึง่ พั ฒนาอ้างอิงจากเกณฑ์ GSTC ใช้เป็นแนวทางการพั ฒนา

การติดตามประเมินผลทางเศรษฐกิจ มีชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุ มชนในพืน ้ ที่ ซึง่ ได้รับการรับรอง

จาก อพท. ก�ำหนดโครงสร้างการท�ำงานที่แบ่งบทบาทหน้าที่ การระบุ กฎระเบียบการท�ำงานอย่างชัดเจน มีคณะท�ำงานรับรองแหล่งท่องเที่ยว โดยชุ มชนมีการติดตามผลการด�ำเนินงานและประเมินผลทุกปี

การประเมินทรัพยากรและสิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยว กล่ องเครื่ องมื อ

9+1 Buildings Blocks เป็ นเครื่ องมือ ที่ ช่วยให้ชุ มชนได้ร่วมวางแผนการท่องเที่ ยวในชุ มชนของตนเองอย่าง ยั่งยืน ครอบคลุมทุก ด้าน มีการจั ด การข้อมูลทางมรดกวัฒนธรรม เพื่อการท่องเที่ยว

42

ความปลอดภัยและสวัสดิภาพ มี การให้ ค วามรู ้ แ ละเน้ น ความปลอดภั ย

กิจกรรมท่องเที่ยวที่มีความปลอดภัย

โดยมี เ ส้ นทางและ

การจั ดการสภาวะวิ กฤติและเหตุฉุกเฉิน มีแผนรองรับกรณีฉุกเฉินที่มีประสิทธิภาพ

การบริหารจั ดการกรณีฉุกเฉินที่ชัดเจน

43

และมีโครงสร้าง


2. การเพิ่มผลประโยชน์และลดผลกระทบเชิงลบ ทางสังคม-เศรษฐกิจแก่ชุ มชนท้องถิ่น

3. การเพิ่มผลประโยชน์และลดผลกระทบเชิงลบ ทางวัฒนธรรมแก่ชุ มชนและนักท่องเที่ยว

การติดตามประเมินผลทางเศรษฐกิจ

การติดตามประเมินผลทางเศรษฐกิจ

มีระบบการบริหารจั ดการการเงิน

มีการอนุรักษ์ฟื้นฟูวัฒนธรรมท้องถิ่นและสิ่งแวดล้อม

การบัญชี ที่มี ประสิทธิภาพ โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้

โดยมี การอบรมและรวบรวมฐานข้อมูลทางวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม เช่น วิ ถีแขกจาม

การมีส่วนร่วมของสาธารณชน เน้นการท�ำงานแบบ Co-Creation ที่มสี ว่ นร่วม ทุกกระบวนการ

การจั ดการนักท่องเที่ยว

ในชุ ม ชนมี การส่ ง เสริ ม การเข้ าร่ ว มกิ จ กรรม และการเป็นสมาชิก โดยเปิดรั บสมาชิกเพิ่มทุกปี และตัดสินใจโดยยึดมติที่ประชุ ม

ตามขี ด ความสามารถในการรองรั บ / ศั ก ยภาพของพื้ นที่ (Carrying Capacity) ร่วมกัน และมีการอบรมให้ความรูเ้ รื่องการ บริการ การสือ่ ความหมาย และวิ ธรี องรับนักท่องเที่ยวที่เหมาะสม

มี ก ารก� ำ หนดมาตรการในการรองรั บ นั ก ท่ อ งเที่ ย ว

มีการท�ำงานร่วมกับภาคีต่างๆ ทั้ งด้าน Supply และ Demand

พฤติกรรมนักท่องเที่ยว

การสนับสนุนชุ มชน

มีข้อควรปฏิบัติส�ำหรับนักท่องเที่ ยว

มี การจั ด สรรรายได้ จากการท่ องเที่ ย วอย่ าง เป็นธรรมและทั่ วถึง โดยเน้นการกระจายรายได้ ใน ท้องถิ่น และใช้วัตถุดิบท้องถิ่น พั ฒนาและยกระดับสินค้าและผลิตภัณฑ์ ในการ ท่องเที่ยวที่มาจากภูมปิ ญ ั ญาท้องถิ่น เช่น ข้าวเกรียบ ยาหน้า ตังเมกรอบ งอบใบจาก เพื่อให้เกิดการ กระจายได้อย่างเป็นธรรม

44

เช่น กฎระเบี ยบ และ ป้ายให้ข้อมูล ป้ายเตือนส�ำหรับนักท่องเที่ยว

การปกป้องมรดกทางวัฒนธรรม มี การอนุ รั ก ษ์ ฟ ื ้ นฟู วั ฒ นธรรมท้ อ งถิ่ น

และรวบรวมฐานข้อมูลทางวัฒนธรรม

โดยมี การอบรม

45


พื้นที่พิเศษเลย (อพท.5)

4. การเพิ่มผลประโยชน์และลดผลกระทบด้านลบทางสิ่งแวดล้อม

จังหวัดเลยขึน้ ชื่อว่ามีสถานที่ทอ่ งเที่ยวธรรมชาติที่สวยงาม มีประเพณีวฒ ั นธรรม และวิถีชีวิต อันเป็นเอกลักษณ์ที่ นา่ ไปสัมผัส ซึง่ คนในชุมชนต่างก็เห็นคุณค่าในสิง่ ที่มแี ละช่วยกันพั ฒนาการ ท่องเที่ยวเพือ่ มุง่ ไปสูก่ ารท่องเที่ยวอย่างยัง่ ยืนที่แท้จริง

ความเสี่ยงทางด้านสิ่งแวดล้อม มีการก�ำหนดขี ดความสามารถในการท่องเที่ยวร่วมกัน

โดยกระตุ้นให้ค�ำนึงถึง Carrying Capacity

1. การบริหารจั ดการด้านความยั่งยืนที่มีประสิทธิภาพ ทรัพยากรการท่องเที่ยวและการจั ดโปรแกรมการท่องเที่ยว

ความเสี่ยงทางด้านสิ่งแวดล้อม มีการอนุรักษ์ฟน ้ื ฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อมในชุมชน

เช่น ป่าชายเลน เป็นต้น คุณภาพน�้ำ มีการใช้

DASTA Ball ฟื้นฟูคุณภาพน�้ำ

46

มีการจั ดโปรแกรมการท่องเที่ยวที่ชดั เจน เช่น กลุม่ วัฒนธรรม

วิ ถี เชี ยงคานบ้านต้นหล้าและเครือข่ายจั ดการท่องเที่ ยวเชิง สร้างสรรค์ จั ดเส้นทางท่องเที่ ยวเป็น 3 เส้นทาง ได้แก่ การไหว้พระ การศึกษาภูมิปัญญา การชมวิ วทิวทั ศน์ เป็นต้น การดูแลนักท่องเที่ยว

จัดตัง้ ศูนย์รับนักท่องเที่ยว และมีการเก็บข้อมูลความพึงพอใจ ของนักท่องเที่ยว มีสมุดเยีย่ มส�ำหรับนักท่องเที่ยวเพือ่ ให้นกั ท่องเที่ยวได้แสดง ความคิดเห็นและความพึงพอใจ เพือ่ ชมรมฯ จะได้นำ� มาปรับปรุง การบริการต่างๆ

47


การจั ดการความเสี่ยงและการดูแลด้านความปลอดภัย มีการก�ำหนดแผนรองรับกรณีเกิดเหตุการณ์ฉกุ เฉินแก่นกั ท่องเที่ยว เพื่อสร้างมาตรฐานความปลอดภัยและความเชื่ อมั่น มีระบบการช่วยเหลือดูแลปฐมพยาบาล และมีการจั ดระเบี ยบ เพื่อรักษาความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยว วัตถุดิบที่ น�ำมาประกอบอาหาร เน้นเมนูผักปลอดสารพิษ เพื่อสุขภาพที่ดี และปลอดภัยของนักท่องเที่ยว

2. การใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากแหล่ง/ทรัพยากรท่องเที่ยว

การจัดสรรผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการท่องเที่ยว มีการจ้างงานในชุมชน คนในชุมชนมีสว่ นร่วมในการวางแผน และใช้ประโยชน์จากการท่องเที่ยวของคนในชุ มชน รายได้ของชมรมที่ ได้จากการจัดสรรของสมาชิกกลุม่ ต่างๆ ได้นำ� มาใช้พั ฒนาแหล่งท่องเที่ยว การท�ำกิจกรรมภายในชุมชน จัดกิจกรรมพั ฒนาศักยภาพให้กบั สมาชิกของชมรมฯ เป็นประจ�ำ ทุกปี

48

3. การลดผลกระทบทางลบต่อธรรมชาติและมรดกวัฒนธรรมอันเป็นทรัพยากรท่องเที่ยว การจั ดการนักท่องเที่ยว มีการจัดตัง้ ข้อควรปฏิบต ั ขิ องนักท่องเที่ยวที่ชดั เจน เช่น ในเรื่อง การจัดการขยะ และมีการแจ้งให้นกั ท่องเที่ยวได้ทราบก่อนเข้าสู่ โปรแกรมท่องเที่ยว มีการก�ำหนดกฎระเบี ยบส�ำหรับนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะ ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จั ด ท� ำคู ่ มื อ ปฏิ บั ติ ส� ำ หรั บ นั ก ท่ องเที่ ย วและสิ่ ง ที่ ค วรรู ้ เพือ่ ให้ทราบและเคารพในวัฒนธรรมและวิถีชี วิตในท้องถิ่นของ คนในชุ มชน

การสร้างจิ ตส�ำนึกที่ดี ให้แก่นักท่องเที่ยว สร้างจิ ตส�ำนึกในการอนุรักษ์ทรัพ ยากรธรรมชาติและ

วัฒนธรรมทั้ งคนในชุ มชนและนักท่องเที่ยว

49


3. การลดผลกระทบทางลบต่อธรรมชาติและมรดกวัฒนธรรมอันเป็นทรัพยากรท่องเที่ยว การปกป้องมรดกทางวัฒนธรรมของแหล่ง/ทรัพยากรท่องเที่ยว ป้องกันการซือ้ ขายหรือจั ดแสดงวัตถุทางประวัตศิ าสตร์และ โบราณคดี อย่างผิ ดกฎหมาย มีการตัง้ จุดบริการท่องเที่ยวอย่างชัดเจน และมีขอ้ มูลแนะน�ำ ส�ำหรับนักท่องเที่ยว

การจั ดการนักท่องเที่ยว มีการจั ดตั้งข้อควรปฏิบัติของนักท่องเที่ยวที่ชัดเจน เช่น ในเรื่องการจัดการขยะ และมีการแจ้งให้นกั ท่องเที่ยวได้ทราบก่อน เข้าสูโ่ ปรแกรมท่องเที่ยว มีการก�ำหนดกฎระเบียบส�ำหรับนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะด้าน การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จัดท�ำคูม่ อื ปฏิบตั สิ ำ� หรับนักท่องเที่ยวและสิง่ ที่ควรรู้ เพือ่ ให้ ทราบและเคารพในวัฒนธรรมและวิ ถี ชี วิ ตในท้องถิ่ นของ คนในชุ มชน

50

4. การดูแล ปกป้อง และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในแหล่งท่องเที่ยว การดูแลสภาพแวดล้อมของแหล่ง/ทรัพยากรท่องเที่ยว มีการดูแลในเรือ่ งของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การจัดการน�ำ้ เสีย การก�ำจัดขยะและสิง่ ปฏิกลู การจัดการเรื่องมลภาวะทางแสง เสียง อากาศ และการจราจร มีการรณรงค์ ใช้จักรยาน โดยจัดท�ำเส้นทางท่องเที่ยวเพือ่ เป็น ทางเลือกให้กับนักท่องเที่ยว

การดูแลสิ่งแวดล้อมที่อยู่ในสภาวะล่อแหลม ได้ทำ� งานร่วมกับภาคีเครือข่าย เพือ่ ร่วมกันก�ำหนดการใช้พนื้ ที่ และแบ่งโซนการใช้พนื้ ที่ระหว่างพืน้ ที่ทางการเกษตร พืน้ ที่อนุรกั ษ์ปา่ พื้นที่อนุรักษ์พั นธุ์สัตว์ และพื้นที่เพื่อการท่องเที่ยว

51


Case Study กรณีศึกษาในต่างประเทศ มาดูตัวอย่างไอเดี ยในการท�ำธุรกิจท่องเที่ยว อย่างยั่งยืนที่สามารถน�ำไปประยุกต์ ใช้ ได้จริงๆ กันเลย

Sakau Rainforest Lodge การบริ ห ารจั ด การภายใน อาศั ย หลั ก การ พึ่งพาตนเอง เช่น สร้างระบบเก็บกักน�้ำฝนไว้ ใช้ และการใช้แผงโซล่าเซลล์สำ� หรับผลิตไฟฟ้าและท�ำ น�ำ้ อุน่ ให้นกั ท่องเที่ยวได้ใช้อาบในห้องพั ก เป็นต้น การจั ด การสิ่ ง แวดล้ อ ม ใช้ ห ลั ก การจั ด การ การท่ องเที่ ย วแบบมี ส ่ ว นร่ ว มรั บ ผิ ด ชอบของ World Travel and Tourism Council (WTTC) และ the PATA’s Green Leaf program ได้แก่ การจั ดการน�้ำใช้และน�้ำทิ้ง การจั ดการพลังงาน การคัดแยกขยะและการจั ดการขยะ การรักษา ความสะอาดและการจั ดการที่พั กที่ ไม่กอ่ ให้เกิด เสียงรบกวนแก่ชุมชนโดยรอบ

Borneo Eco Tours: Sukau Rainforest Lodge ประเทศมาเลเซีย

Sakau Rainforest Lodge เป็นโครงการที่ พั ฒนากิจกรรมการท่องเที่ ยวที่ พั กประเภท eco-lodge ของ Borneo Eco Tours ซึง่ ตัง้ อยูใ่ นเมือง Kinabatangan รัฐ Sabah ประเทศมาเลเซีย Borneo Eco Toursเป็ น บริ ษั ท เอกชนสั ญ ชาติ มาเลเซี ย ที่ ด� ำ เนิน กิ จ การบริ การท่ องเที่ ย ว เชิงนิเวศและการท่องเที่ยวเพือ่ สัมผัสวิถีชี วิตของชุมชน โดยยึดถือหลักการของการจัดการท่องเที่ยว เชิงนิเวศภายใต้มาตรฐานการจั ดการอย่างยั่งยืน 4 ด้าน ได้แก่ 1. วางแผนการพั ฒนาอย่างยั่งยืนที่มีประสิทธิภาพ 2. เพิ่มผลประโยชน์ทางสังคมและเศรษฐกิจให้แก่ชุ มชนท้องถิ่น 3. ส่งเสริมการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม 4. จั ดการท่องเที่ยวที่สร้างผลกระทบด้านลบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด

52

ความรับผิดชอบต่อสังคม จ้างงานคนในท้องถิ่น ตั้งเพื่อช่วยสร้างการมีส ่วนร่วมในการจั ด การ การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และได้มีการสื่อสาร นโยบายด้านการอนรุ กั ษธ์ รรมชาติและวัฒนธรรม ของท้องถิ่นให้แก่ลูกค้าของทางรีสอร์ททุกคน

วิ ธีการที่ Borneo Eco Tours ใช้ ในการส่งเสริมให้ชุ มชนเข้ามามีส่วนร่วมในการ จั ดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน คือ การเข้าไปเสริมสร้างความเข้าใจถึงความส�ำคัญใน การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และเคารพในวัฒนธรรมท้องถิ่นให้แก่คนในชุ มชนด้วย การเข้าไปอบรมให้ความรู้ รวมถึงมีโครงการที่ ให้การสนับสนุนชุ มชนท้องถิ่นในด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม และยังสนับสนุนการใช้สินค้าที่ผลิตขึ้นโดยคนในท้องถิ่นซึ่งช่วยท�ำให้ เกิดการกระจายรายได้ไปสูช่ ุมชน โดยสินค้าเหล่านัน้ จะต้องไม่ทำ� ลายสิง่ แวดล้อมหรือต้องไม่ ท�ำจากพืช หรือสาัตว์ที่ ใกล้สูญพั นธุ์

53


เมืองโบราณฮอยอัน ประเทศเวียดนาม เมืองฮอยอัน ตั้งอยู่ชายฝั่งในภาคกลางของประเทศ เวียดนาม เป็นเมืองการค้าเก่าแก่ที่ส�ำคัญมีประวัติศาสตร์ มานานกว่า 700 ปี เป็นเมืองที่ มีมรดกทางวัฒนธรรม มากมายที่ เ กิ ด จากการหล่ อ รวมความแตกต่ า งทาง วัฒนธรรมต่างๆ เข้าด้วยกันอย่างลงตัวจนท�ำให้เมืองฮอยอัน ได้รับการประกาศเป็นมรดกโลกในปี 1999 พั ฒนาการท่องเที่ยว ผสมผสานการอนุรักษ์ ในปี 1995 ได้มโี ครงการพั ฒนาการท่องเที่ยว โดยมีการ ฟื้นฟูมรดกวัฒนธรรมที่ จั บต้องไม่ได้ต่างๆ เช่น ประเพณี ท้องถิ่ น เทศกาล อาหารท้องถิ่ น การละเล่น หัตถกรรม ต่างๆ โดยภาครัฐได้ตระหนักว่าการท่องเที่ยวถือเป็นเครื่องมือ ส�ำคัญในการสร้างการมีส ่วนร่วมในการฟื้นฟู-พั ฒนาย่าน เมื องเก่ า และทรั พ ยากรมรดกเก่ า แก่ ต ่ างๆ จะถู ก ใช้ เป็ น ทรั พ ยากรการท่องเที่ ยวที่ โดดเด่นของเมือง ซึ่งโครงการ อนุรั กษ์เมืองเก่าฮอยอัน ท�ำให้เมืองฮอยอันทั้ งเมืองได้รั บ ความคุ ้ ม ครองโดยกฎหมายต่ างๆ และหน่ ว ยงานต่ า งๆ ที่รัฐบาลเวียดนามตั้งขึ้น การบริหารจั ดการการท่องเที่ยวของเมืองฮอยอัน เน้นการอนุรักษ์มรดกเก่าแก่เป็นศูนย์กลาง โดยมีการ ท่องเที่ ยวเป็นแรงจูง ใจในการอนุรั ก ษ์ มีองค์ก รปกครอง ส่ ว นท้ อ งถิ่ น เป็ น ผู ้ บ ริ ห ารจั ด การหลั ก ทั้ ง ในแง่ การวาง นโยบายการอนุ รั ก ษ์ แ ละนโยบายการท่ อ งเที่ ย ว โดยมี ภาคเอกชนและผู ้ เชี่ ย วชาญต่ างๆ เป็ นที่ ป รึ ก ษา มี ชุ ม ชน ท้ องถิ่ น เป็ น แรงขั บ เคลื่ อ นการด� ำ เนิน งานหลั ก เนื่ องจาก ประโยชน์จะตกอยู่กับชุ มชนท้องถิ่นเป็นหลัก 54

กิจกรรมท่องเที่ยวของเมืองฮอยอัน เมืองมรดกโลกฮอยอันนั้นครอบคลุมทั้ งบริเวณที่เป็นเมืองเก่า ซึ่งเต็มไปด้วยอาคารเก่าแก่ และ ย่านการค้าโบราณ ไปจนถึงโบราณสถานและธรรมชาติทั้งทะเลและทุง่ นา รวมไปถึงวิถีชี วิตคนท้องถิ่น รอบๆ ท�ำให้มีการพั ฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวที่หลากหลาย ดังนี้ เส้นทางเดินชมเมืองเก่าฮอยอัน กิจกรรมการเดินชมเมืองเก่าฮอยอัน ถูกพั ฒนาขึ้นเนื่องจาก นโยบายการลดปัญหามลพิษทางเสียงในเมืองเก่า คือ ห้ามยานพาหนะ ที่มีเครื่องยนต์วิ่ งในเขตเมืองเก่า อีกทั้ งขนาดของเมืองเก่านั้นอยู่ใน ระยะที่สามารถเดินได้อย่างเหมาะสม และมีกิจกรรมที่ นักท่องเที่ยว สามารถเดินเยีย่ มชมได้มากมาย เช่น บ้านเก่าแก่ ร้านค้าและกิจกรรม เรียนรู้วิ ถีชี วิ ตต่างๆ นั่งรถสามล้อชมเมืองเก่า เป็นหนึ่งในกิจกรรมการท่องเที่ ยวที่ ดึงอัตลักษณ์ของเมืองเก่า ที่เป็นย่านการค้าออกมาได้อย่างชัดเจน การนั่งสามล้อชมเมืองเก่า เป็นการจ�ำลองรูปแบบการเดินทางเก่าแก่ที่ พ ่อค้าชาวจีนเคยใช้ ใน สมัยโบราณ อีกทั้ งยังเป็นพาหนะที่ ไม่ใช้เครื่องยนต์ และช่วยสร้าง รายได้ ให้คนในท้องถิ่นได้อย่างดี อีกด้วย

ท่องเที่ยวเชิงนิเวศ รอบๆ เมืองเก่าฮอยอันนั้นมีชุ มชนท้องถิ่ นเล็กๆ กระจายตัว อยู่ ทั้งหมูบ่ า้ นชาวประมง และหมูบ่ า้ นชาวนาซึง่ ท�ำให้เกิดกิจกรรมการ ท่องเที่ยวโดยชุมชนเพือ่ เรียนรูว้ ิถีชีวิตชาวเวียดนาม ทั้งการทดลองท�ำนา ขี่ ควาย พายเรือถ้วยที่เป็นเอกลักษณ์ของเวียดนาม ชมป่าชายเลน วิ ถี ชี วิ ตชาวประมง ฯลฯ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ สามารถช่วย กระจายนักท่องเที่ยวจากเมืองเก่าฮอยอันได้อย่างดี อีกทั้ งประโยชน์ จากการท่องเที่ยวยังไปถึงชุ มชนท้องถิ่นอีกด้วย 55


บทความที่ได้รับรางวัลจากการประกวด กิจกรรมการท่องเที่ยวไทยจะยั่งยืนได้ ต้องมีการบริหารจัดการที่ดี การท่องเที่ยวไทยยั่งยืนได้ ต้องมีการบริหารจัดการที่ดี แหล่งท่องเที่ยวที่ฉนั คิดว่าน่าสนใจและมีการบริหารจัดการที่ดี คือ บางกะเจ้า บางกะเจ้าเป็นพืน้ ที่ ชุ มชนที่มีทั้ งสวนผลไม้ สวนสมุนไพร ผืนป่าอยู่รวมกันด้วย อีกอย่างคือเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่อยู่ ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ พูดง่ายๆ คือ ไปง่าย สถานที่แห่งนี้ โอบล้อมด้วยธรรมชาติและถือได้ว่าเป็นปอด กลางเมืองที่ดีที่สดุ ปัจจุบนั สถานที่แห่งนีเ้ ป็นที่หมายปองส�ำหรับนักท่องเที่ยวที่ตอ้ งการจะพั กผ่อนกับ ธรรมชาติและนักปัน่ ท�ำให้มกี ารร่วมมือของชุมชนและหน่วยงานต่างๆ เกิดการเปลีย่ นแปลงและบริหาร จั ดการสถานที่แห่งนี้ ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ นา่ สนใจ แถมคนในชุ มชนยังมีรายได้อีกด้วย มีกิจกรรม ให้เราได้เลือกท�ำมากมายหลายอย่าง เช่น มีตลาดบางน�้ำผึ้งให้นักท่องเที่ยวเดินเล่นที่ตลาดได้ ถือเป็น การอนุรักษ์วัฒนธรรมแบบไทยๆ ระหว่างทางปั่น ถ้าได้หยุดพั กที่บ้านธูปหอมสมุนไพรเขาจะมีสอน ให้เราท�ำธูปและผ้ามัดย้อม นับได้ว่าเป็นการให้นักท่องเที่ยวได้มีส่วนร่วมได้ท�ำกิจกรรมดี ๆ ซึ่งหาได้ ยาก ต่อไปก็จะมีบา้ นผลิตภัณฑ์ลูกประคบธัญพืช ที่ นจี่ ะมีผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพจ�ำหน่ายในราคากันเอง ถ้าผ่อนคลายเรียบร้อยแล้ว ก็จะมีอีกที่คือ ผลิตภัณฑ์บา้ นงานประดิษฐ์จากผลิตภัณฑ์ธรรมชาติของ ต�ำบล ที่ ใช้วัสดุธรรมชาติจากท้องถิ่นมาเป็นสินค้าสร้างสรรค์เช่นกัน นอกจากนีย้ ังมีผลิตภัณฑ์สินค้า อื่นๆ อีกมากมายให้นักท่องเที่ยวได้เลือกซื้อกลับไปกันอีกด้วย จะเห็นได้วา่ มีการกระจายรายได้ ให้กับ ชุ มชนและผู้ที่อาศัยอยู่ในชุ มชนให้ ได้มีรายได้เสริม และเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมแบบไทยๆ ให้คงอยู่ และยั่งยืนสืบต่อไป ดังนัน้ เพือ่ เป็นการช่วยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ลองมาเปลีย่ นเป็นนักท่องเที่ยวในแบบรักธรรมชาติ โดยท�ำได้งา่ ยๆ เริ่มจากไม่มงุ่ เน้นไปที่ความหรูหรา สะดวกสบายเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการท่องเที่ยว เพื่อแสวงหาความเรียบง่าย ความสงบของชุ มชนท้องถิ่ น ใกล้ชิดธรรมชาติ ไม่รบกวนสิ่งแวดล้อม ง่ายๆ แค่นที้ ุกคนกสามารถที่จะมีส่วนช่วยโลก และชุ มชนของเราให้นา่ อยู่ยิ่งขึ้นอีกด้วย

การท่องเที่ยวไทยยั่งยืนได้ ต้องมีการบริหารจัดการที่ดี “ถนนในหมูบ่ า้ นมีแต่ขยะ ไหนจะข่าวฉาวโฉ่เรื่องที่เป็นพืน้ ที่ลำ� เลียงยาเสพติด” หนุม่ น้อยหล่นค�ำพูด ไว้เมื่อ 5 ปีก่อน ตอนมาเยือนบ้านสวนป่า หมู่บ้านอาข่า ในต�ำบลแม่ฟ้าหลวง อ�ำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชี ยงรายครั้งแรก ความเปลีย่ นแปลงขนาดใหญ่ของบ้านสวนป่าที่ตอนนีก้ ลายเป็นแหล่งท่องเที่ยว ที่บริหารจั ดการโดยชุ มชน คล้ายมีมนต์ดลใจให้ชายผู้นั้นที่เติบโตเป็นผู้ ใหญ่ หวนกลับมาสานสัมพั นธ์ กับหมู่บ้านแห่งนีอ้ ีกครั้ง วิ นาทีแรกที่สองล้อคู่ใจวิ่ งเข้าสู่หมู่บ้าน สายตาของผมสอดส่ายสองข้างทางเพื่อหวังจะได้พบกับ ขยะกองโต ความผิ ดหวังสะกิดให้ตื่นจากภาพมายาของอดี ต “ขยะหายไปไหน?” ค�ำตอบคือ ชาวบ้าน เปลีย่ นพฤติกรรมหันมาทิง้ ขยะลงในถังขยะ เพราะไม่อยากให้ขยะไปท�ำลายบรรยากาศของการท่องเที่ยว ในชุ มชน จากนั้นรถเก็บขยะของ อบต. แม่ฟ้าหลวงจะมาเก็บอาทิตย์ละ 1 ครั้ง นีค่ ืออานิสงส์ของ การท่องเที่ ยวที่ ส่งผลต่อการพั ฒนาชุ มชน ที่ ขับ เคลื่อนโดยกลุ่มคนรุ่นใหม่ในหมู่บ้านซึ่งร่วมมือกับ Local Alike กิจการเพือ่ สังคมด้านการท่องเที่ยว ในการจั ดการท่องเที่ยวชุ มชน บนจุดหมายปลายทาง ที่ นำ� ไปสูค่ วามเป็นอยูท่ ี่ดี ขนึ้ ของชาวบ้าน รายได้หมุนเวียนไปสูช่ าวบ้านอย่างแท้จริง พร้อมปรับ เปลีย่ น ภาพลักษณ์ของหมูบ่ า้ นจากชุมชนสีเทาที่ขอ้ งเกีย่ วกับยาเสพติดและมีปญ ั หาด้านขยะเป็นชุมชนท่องเที่ยว ยั่งยืน เน้นการท่องเที่ยวที่ ไม่ขัดกับจารีตวัฒนธรรมของชาวบ้านและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แม่เหล็กดึงดูดนักท่องเที่ยวของบ้านสวนป่าคือกิจกรรมเดินป่า การเดินป่าแบบผจญภัยในเส้นทาง ห้วยหลวง สวนป่าดอยตุง จ�ำกัดจ�ำนวนนักท่องเที่ยวเดือนละไม่เกิน 2 กลุ่ม เพื่อป้องกันความเสียหาย ที่จะเกิดขึ้นกับธรรมชาติ ไม่มีการปรับ แต่งพื้นที่ที่ ไปท�ำลายธรรมชาติ เช่น เทปูนในจุดลาดชันเพื่อเพิ่ม ความสะดวกเหมือนที่อื่น มีบริการอาหารอาข่าที่ ใช้บรรจุ ภัณฑ์คือใบตองและกระบอกไม้ ไผ่ทดแทน พลาสติก เนื่องจากยึดถือจารีตดั้งเดิมและพื้นที่ ในบ้านมีขนาดเล็ก ชาวบ้านส่วนใหญ่จึงไม่สะดวก ที่จะให้ผู้มาเยือนมาหลับนอนในบ้านของตน ทั้ งนีส้ ามารถค้างคืนแบบโฮมสเตย์ ได้ ในบ้านบางหลัง การจั ดการท่องเที่ยวบ้านสวนป่าอยู่ในช่วงตั้งไข่และคงไม่มุ่งหน้าสู่การท่องเที่ยวเต็มรูปแบบ เพราะ ชาวบ้านมีอาชี พหลักอยู่แล้วจึงไม่สามารถเปิดบ้านต้อนรับ แขกได้ตลอด 365 วัน เหมือนหมู่บ้าน ท่องเที่ยวแห่งอื่น นักท่องเที่ยวควรใส่ใจรายละเอียดเหล่านี้ ให้มากครับ

คุณจุฑามาศ ทองคง 56

คุณพันธ์ศกั ดิ์ วรรณค�ำ 57


ภาพถ่ายที่ได้รับรางวัลจากการประกวด กิจกรรมการท่องเที่ยวไทยจะยั่งยืนได้ ต้องมีการบริหารจัดการที่ดี

คุณราชการ งามพร้อมทรัพย์

คุณองอาจ สังข์สวุ รรณ

ศูนย์เรียนรู้วิถีชีวิตและจิตวิญญาณชาวนาไทย (นาเฮียใช้) จังหวัดสุพรรณบุรี การท�ำขวัญข้าวเพื่อเป็นการขอขมาต่อพระแม่โพสพและเพื่อเป็นการขอบคุณ เอาใจแม่โพสพ ที่ ให้ความอุดมสมบูรณ์แก่ผนื นา เป็นสิริมงคลให้มงั่ มีศรีสขุ ยิง่ ขึน้ ที่ศนู ย์เรียนรูว้ ิถีชี วิตและจิตวิญญาณ ชาวนาไทย (นาเฮียใช้) จั งหวัดสุพรรณบุรี 58

อ�ำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ชมศิลปวัฒนธรรมโบราณ ‘การเข็นฝ้าย’ ที่อ�ำเภอเมือง จั งหวัดขอนแก่น นักท่องเที่ยวที่สนใจ ก็สามารถเข้ามาเรียนรู้และทดลองการปั่นฝ้ายได้ ถือเป็นการบริหารจั ดการให้นักท่องเที่ยวเข้ามามี ส่วนร่วมในกิจกรรมของชุ มชนและยังได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ใหม่ๆ อีกด้วย 59


ปรับ เกณฑ์มาตรฐานให้เข้ากับคนไทย การพั ฒนาการท่องเที่ ยวเพื่อน�ำไปสู่ความ ยั่งยืน คือ การพั ฒนาเพื่อให้เกิด การจ้างงาน คุณภาพชี วิ ตของคนในท้องถิ่นดี ขึ้น ซึ่งถือเป็น เป้าหมายหลักของ อพท. เพราะเมือ่ พั ฒนาการ ท่องเที่ยวเที่ยวให้ยง่ั ยืน สิง่ ที่จะตามมาคืออัตรา การจ้างงานที่สงู ขึน้ ลดความเหลือ่ มล�ำ้ ทางรายได้ สร้างความเป็นธรรมให้กับสังคม คุณภาพชี วิ ต ในพื้นที่ นั้นๆ ดี ขึ้น ส่วนเกณฑ์หรือมาตรฐาน การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนที่ อพท. น�ำมาใช้เป็น แนวทางก็ ได้นำ� หลักเกณฑ์มาตรฐานที่เป็นสากล ของ Global Sustainable Tourism Council (GSTC) ซึ่งมีทั้ งหมด 41 ข้อ 4 หมวด แบ่งเป็น ด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม สังคมวัฒนธรรม และกระบวนการจั ด การ โดย อพท. น�ำมา ใช้ เป็ น แนวทางและได้ ป รั บ เกณฑ์ มาตรฐาน เป็น 5 หมวด คือเพิ่มเรื่ องการบริ การและ ความปลอดภัยในแหล่งท่องเที่ยวแสดงว่า ถึงจะ น�ำหลัก GSTC มาใช้แต่ อพท.ก็ได้นำ� มาปรุงแต่ง เข้ากับ เมืองไทย คนไทยด้วย

เดินหน้าพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อความยั่งยืน

พันเอก ดร.นาฬิกอติภัค แสงสนิท

การท่องเที่ ยวอย่างยั่งยืนในประเทศไทยอาจจะดูเป็นเรื่ องใหม่แต่ก็ ไม่ใช่เรื่ องยากที่ จะท�ำให้ ส�ำเร็จ เพราะปัจจุ บันมีหน่วยงานที่ ตั้งใจจะพั ฒนาการท่องเที่ ยวไทยให้ยั่งยืน โดยมีผู้น�ำอย่าง ‘พันเอก ดร.นาฬิกอติภคั แสงสนิท’ ผูอ้ ำ� นวยการองค์การบริหารการพัฒนาพืน้ ทีพ่ เิ ศษเพือ่ การท่องเทีย่ ว อย่างยั่งยืน หรือเรียกสั้นๆว่า อพท. ที่มุ่งมั่นเดินหน้าเพื่อสร้างรากฐานการท่องเที่ยวไทยให้ยั่งยืน 60

Co-Creation ลงมือท�ำร่วมกัน การคัดเลือกพืน้ ที่พเิ ศษแต่ละที่ อพท. จะมี เกณฑ์ ในการคัดเลือกครอบคลุมทั้ ง 3 หมวด หมวดที่ 1 จะเป็นเรื่ องของคุณค่าของแหล่ง ท่องเที่ยว ทั้งคุณค่าทางชีวภาพ กายภาพ สังคม หรือความเสีย่ งจากการถูกท�ำลาย หมวดที่ 2 เรือ่ ง ของศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวว่าจะสามารถ พั ฒนาไปได้อีกแค่ไหน และหมวดที่ 3 เรื่อง การบริ หารจั ดการ ส�ำรวจว่าชาวบ้านในชุ มชน เข้ า มามี ส ่ ว นร่ ว มมากแค่ ไหน ด้ า นอุ บั ติ เหตุ

ความปลอดภัยในชี วิตและทรัพย์สนิ เป็นอย่างไร ซึ่งคะแนนในการส�ำรวจทั้ ง 3 หมวดนีจ้ ะต้อง เกิน 75 คะแนนขึ้นไป เมื่อได้พื้นพิเศษแล้ว ขัน้ ตอนต่อมาก็จะเข้าไปถามชาวบ้านในชุมชนว่ามี อะไรดี เด่น ดัง แล้วก็เข้าไปพัฒนาร่วมกับคนใน ชุมชน โดยใช้วิธกี าร Co-Creation คือ ร่วมคิด ร่ ว มวางแผน ร่ ว มปฏิ บั ติ ร่ ว มรั บ ผิ ด ชอบ และร่วมรับผลประโยชน์ ซึง่ อพท. จะน�ำหลักวิชาการ หรือองค์ความรูต้ า่ งๆ ไปถ่ายทอดให้คนในชุมชน เพือ่ ให้เขาได้รวู้ า่ ต้องท�ำอะไร ต้องบริหารจัดการ อย่างไร เพื่อให้เขาสามารถน�ำไปพั ฒนาทั กษะ หรือฐานรากด้วยความเข้มแข็งได้อย่างยัง่ ยืน เดินหน้าพั ฒนาอย่างไม่หยุด ผลตอบรับของชุมชนจากการที่ อพท. เข้าไป ส่งเสริ มการพั ฒนาการท่องเที่ ยวอย่างยั่งยืน ทางเราจะวัดผลจากตัวชี้ วัด ‘ดัชนีอยู่ดี มีสุข’ ซึ่ง จะมี 53 ตัวชี้ วัด แบ่งเป็น 6 ด้าน ประกอบด้วย การมี ส ภาพแวดล้ อ มที่ ดี ครอบครั ว อบอุ ่ น การมีสุขภาวะที่ดี การบริหารจั ดการชุ มชนที่ดี การเป็นชุ มชนประชาธิปไตยและมีธรรมาภิบาล และเศรษฐกิจชุ มชนเข้มแข็ง อย่างปีที่แล้ว ใน 6 พื้นที่ พิเศษ ผลการส�ำรวจประชาชนที่ ผ ่าน เกณฑ์ อ ยู ่ ดี มี สุ ข คะแนนออกมาเฉลี่ ย อยู ่ ที่ 77.84% ผมก็ดี ใจแล้ว เพราะเกณฑ์ผ ่านของ กระทรวงมหาดไทย คือ 60% ส่วนเป้าหมายหรือ การวางแผนในอนาคตก็จะมุ่งหน้าพั ฒนาการ ท่องเที่ ยวให้เกิดการจ้างงานและคุณภาพชี วิ ต ท้องถิ่ นที่ ดี ขึ้น เพื่อสร้างชุ มชนแห่งความสุข ที่ นั ก ท่ อ งเที่ ย วมี ค วามสุ ข และเจ้ า บ้ า นก็ มี ความสุขด้วย 61


เกณฑ์ส�ำหรับพั ฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ผมเริ่มต้นการท�ำงานในฐานะ CEO ของ GSTC ในปี 2557 ในช่วงนัน้ GSTC เพิง่ เผยแพร่เกณฑ์ แนวทางส�ำหรับแหล่งท่องเที่ยว (GSTC Criteria for Destination) ซึง่ ก่อนหน้านัน้ GSTC มีขอบเขต งานในด้านความยัง่ ยืนของกิจการโรงแรมเท่านัน้ ผมจึงคิดว่า GSTC Criteria for Destination เป็นเครื่ องมือที่ เหมาะสมที่ จะใช้เป็นแนวทาง ให้กับทั้ งผู้บริ หารจั ดการแหล่งท่องเที่ ยวและ หน่วยงานร่างนโยบายของรัฐบาลที่ทำ� งานในด้าน ความยัง่ ยืน น�ำไปใช้สำ� หรับพั ฒนาแหล่งท่องเที่ยว ให้เป็นการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เช่น ในสหภาพ ยุโรปหรือในส่วนของเอเชี ยอย่างประเทศไทย ก็จะ มี อพท. และกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาที่ นำ� เกณฑ์ของเรามาใช้อ้างอิงในการพั ฒนา

มุง่ มัน่ พัฒนาการท่องเทีย่ วให้เกิดความยัง่ ยืนในทัว่ โลก Mr.Randy Durband

จากความมุ ่ ง มั่ น และตั้ ง ใจที่ จ ะท� ำงานเพื่ อ ช่ ว ยพั ฒ นาโลกให้ ดี ขึ้ น บวกกั บ ประสบการณ์ การ ท�ำงานภาคการท่องเที่ยวมานานกว่า 24 ปีของ ‘Mr.Randy Durband’ ได้น�ำเขาไปสู่บทบาท Chief Executive Officer, Global Sustainable Tourism Council (GSTC) ซึง่ เขาได้มงุ่ หน้า พั ฒนาการท่องเที่ ยวให้มีความยั่งยืนด้วยการน�ำความรู้ด้านธุรกิจการท่องเที่ ยวมาใช้ ในงานด้าน ความยัง่ ยืนเพือ่ สร้างโลกให้ดีขนึ้

62

กระจายการพั ฒนาและส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยว ผมมองว่าประเทศไทยมีสถานะที่ ดี ในการ พั ฒนาแหล่งท่องเที่ ยวอื่ นๆ มากกว่านี้ โดย เฉพาะในส่วนที่ อพท. ก�ำลังเข้าไปพั ฒนาพื้นที่ ท่องเที่ ยวให้มีศักยภาพ เพราะประเทศไทย มี ท รั พ ยากรอั น หลากหลายกระจายอยู ่ ทั่ วประเทศ ซึ่งนักท่องเที่ยวไม่จ�ำเป็นจะต้องไป เที่ยวภูเขา ชายหาดหรือวัดอย่างเดี ยว แต่ยัง มีการท่องเที่ยวแบบอื่นๆ ให้เลือกสรรอย่างการ ท่องเที่ยวโดยชุ มชน เป็นต้น ซึ่งการท่องเที่ยว แบบนีจ้ ะสามารถมอบโอกาสในการเจริญเติบโต ทางเศรษฐกิ จ ให้ กั บ คนหลายๆ พื้ น ที่ ทั่วประเทศไทย และยังเป็นปัจจัยส�ำคัญที่จะน�ำ ไปสู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนด้วย

เลือกใช้เกณฑ์สากลเพือ่ น�ำไปสูก่ ารท่องเที่ยวยัง่ ยืน หากอยากจะเริ่มต้นท�ำการท่องเที่ยวอย่าง ยั่งยืนให้เริ่มด้วยการใช้เกณฑ์ทั่ วไปของ GSTC และประยุกต์ ให้เข้ากับประเทศหรือแหล่งท่องเที่ยว ของคุณ แต่ผมแนะน�ำว่าอย่าใช้มาตรฐานจ�ำนวน มากเพราะอาจขัดแย้งกันเองได้ นอกจากนี้ ใน ปัจจุบนั มาตรฐานและการรับรองต่างๆ ของโลก ก็ ท� ำ ให้ ค นส่ ว นใหญ่ สั บ สนกั น มากพอแล้ ว เพราะมัน คือรายละเอียดเชิงเทคนิคที่ ต้องใช้ เวลาและความพยายามอย่างมากกว่าจะปฏิบัติ ตามได้ แม้กระทั่ งผู้ประกอบอาชี พ ด้านการ ท่ อ งเที่ ย วเองบางที ยั ง ไม่ เ ข้ า ใจมาตรฐาน ต่างๆ อย่างถ่องแท้ แล้วนับ ประสาอะไรกับ ผู้บริ โภค ฉะนั้นเราจึงต้องท�ำให้กระบวนการ มันง่ายขึ้นด้วยการใช้มาตรฐานที่ ส�ำคัญจริ งๆ และต้องเป็นมาตรฐานที่คนส่วนใหญ่ใช้กัน ซึ่ง จุ ดนี้ผมมองว่า อพท. จะเข้ามามีบทบาทที่ ส�ำคัญในประเทศไทย เช่น อพท. อาจเจรจากับ หน่วยงานรัฐบาลและมูลนิธิอื่ นๆ เพื่อให้เกิด การประสานงานร่วมกัน สรุปแล้วจุดประสงค์ ของมาตรฐานคือมี ไว้ ให้ ได้ประยุกต์ ใช้ เราอาจ จะเริ่ ม ต้ นท� ำ ให้ มาตรฐานมั น เป็ น เรื่ องง่ า ย เข้าถึงได้ ท�ำให้ง่ายเป็นบรรทั ดฐานก่อน แล้ว ต่อด้วยการให้ความรู้กับภาคส่วนต่างๆ กระตุ้น การรั บ รู ้ และจากนั้ น ก็ น� ำ ไปใช้ อ ย่ า งมี ประสิทธิภาพเพือ่ น�ำไปสูก่ ารท่องเที่ยวอย่างยัง่ ยืน

63


ผลักดันธุรกิจการท่องเที่ยวไทยให้มุ่งสู่ความยั่งยืน ดร. จิรพล สินธุนาวา

ในปัจจุ บันภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวทั่ วโลกได้ตื่นตัวในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของ กระแสการท่องเที่ยวโลกที่จะมีขนึ้ เนือ่ งจากการเปลีย่ นแปลงสภาพภูมอิ ากาศของโลก หลายๆ องค์กร โดยเฉพาะในภาคธุรกิจโรงแรมได้มกี ารปรับแนวทางการด�ำเนินกิจการไปสูก่ ารเป็นธุรกิจที่เป็นมิตร ต่อสิง่ แวดล้อมตามแนวทางของการพั ฒนาอย่างยัง่ ยืนอย่างจริงจัง ซีรี่สค์ วามรูฉ้ บับนีจ้ งึ ได้ทำ� การ สัมภาษณ์ ‘ดร.จิรพล สินธุนาวา’ รองประธานและเลขาธิการมูลนิธิ ใบไม้เขียว ซึง่ เป็นหนึง่ ในผูท้ ชี่ ว่ ยผลักดัน และขับเคลือ่ นภาคธุรกิจโรงแรมให้กา้ วไปสูธ่ รุ กิจเพือ่ สิง่ แวดล้อมอย่างมั่นคง และเกิดความยัง่ ยืนขึน้ กับ ภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทย 64

ให้การรับรองมาตรฐานโรงแรมสีเขี ยว ‘โครงการใบไม้เขี ยว’ คือโครงการที่มูลนิธิ ใบไม้เขี ยวด�ำเนินการเพื่อพั ฒนาประสิทธิภาพ การใช้พลังงานและพั ฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ของธุรกิจการท่องเที่ ยวและโรงแรม ซึ่งอยู่ใน ความดูแลของคณะกรรมการส่งเสริมกิจกรรม สิ่งแวดล้อมเพื่อการท่องเที่ ยว (คสสท.) โดย ทางมูลนิธิ ใบไม้เขี ยวได้จั ดท�ำมาตรฐานการ จั ดการด้านสิ่งแวดล้อมในการท�ำธุรกิจโรงแรม และการท่องเที่ ยวขึ้นมา เพื่อที่ จะประเมินผล เปรี ยบเที ยบกับ เกณฑ์ที่ ก�ำหนดในมาตรฐาน และจั ดอันดับโรงแรมตามผลการด�ำ เนินงาน ด้านสิง่ แวดล้อม และมอบเกียรติบตั รใบไม้เขียว (The Green Leaf Certificate) ที่มีทั้ งหมด 1-5 ระดับ ตามล�ำดับความสามารถในการจัดการ สิ่งแวดล้อมของโรงแรม

โรงแรมเพื่อสิ่งแวดล้อมในเมืองไทย โรงแรมที่ เ ป็ น มิ ต รต่ อ สิ่ ง แวดล้ อ มใน ประเทศไทยมี อ ยู ่ มาก โรงแรมที่ ไม่ เข้ าร่ ว ม มาตรฐานก็ มี บางโรงแรมท� ำ ดี มากแต่ ไ ม่ มี ใบอนุญาตประกอบการโรงแรม ทางเราก็ถือว่า ยั ง ไม่ เป็ น โรงแรมที่ จ ดทะเบี ย นถู ก ต้ องตาม กฎหมาย เราก็ ไม่รั บ เข้าโครงการ ดังนั้นถ้า จะเข้าร่วมโครงการต้องเป็นโรงแรมที่ ได้รั บ ใบอนุญาตถูกต้องตามกฎหมาย ปัจจุบนั มีโรงแรม ที่ อยู่ในโครงการโรงแรมใบไม้เขี ยวแล้ว 300 กว่าโรงแรม มีโรงแรมที่เป็นสมาชิกกว่า 1200 โรงแรม ซึ่งเป็นโรงแรมที่เริ่มต้นเข้าสู่มาตรฐาน ใบไม้เขี ยวด้วยการเป็นโรงแรมปลอดบุหรี่แล้ว ยกระดับ เป็นโรงแรมสร้างเสริ มสุขภาพ และ ยกระดับต่อมาเป็นโรงแรมใบไม้เขียว โดยกระจาย อยู่ทุกภูมิภาคของประเทศไทย

มาตรฐานใบไม้เขี ยว ให้ ค วามส� ำคั ญ กั บ การด� ำ เนิน การภายใน โรงแรมและดูวา่ ผลของการด�ำเนินงานนั้นท�ำได้ จริงหรือไม่ เช่น อัตราการใช้นำ�้ การใช้สารเคมี เป็นต้น ทั้งยังเน้นในเรื่องระบบการจัดการในโรงแรม ซึง่ การ เข้าร่วมโครงการใบไม้เขี ยวก็จะได้รับการรับรอง การตรวจสอบโดยมอบเป็นเกียรติบตั รใบไม้เขียว ซึง่ โรงแรมจะต้องมีการฝึกอบรมบุคลากร การก�ำหนด เป้าหมาย การท�ำกิจกรรมกับชุมชน ซึง่ มีเกณฑ์รวม ทั้ งหมดกว่า 300 ข้อ ต้องท�ำอย่างมีมาตรฐาน คือต้องมีโครงการ มีการจั ดท�ำแผน มีเป้าหมาย มีแนวทางปฏิบัติการ มีนโยบายชัดเจนและ ท�ำจริงจังมูลนิธิ ใบไม้เขียวได้ปรับและพั ฒนาเกณฑ์ การตรวจวัดโรงแรมที่เป็นมิตรต่อสิง่ แวดล้อมให้ สอดคล้ องกั บ แนวทางและขอบเขตของการ เป็นโรงแรมที่เป็นมิตรต่อสิง่ แวดล้อมของ GSTC (สภาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก)

ค�ำแนะน�ำส�ำหรับผูท้ ี่อยากท�ำธุรกิจโรงแรมสีเขียว ส� ำ หรั บ คนที่ อ ยากท� ำ ธุ ร กิ จ โรงแรมที่ เป็ น มิตรกับสิ่งแวดล้อม อันดับ แรกต้องเริ่มศึกษา หาความรู้ด้านนีก้ ่อนจนเกิดความมุ่งมั่ นด้านนี้ โดยโรงแรมต้องมีการก�ำหนดนโยบาย เช่น จะเป็น สถานประกอบการที่ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ด้ ว ยการใช้ ท รั พ ยากรอย่ า งรู ้ คุ ณ ค่ า และมี ประสิทธิภาพโดยจะส่งเสริมบทบาทและการมี ส่วนร่วมในการให้บริการ และการบริโภคที่ ไม่ ท�ำให้เกิดผลกระทบเสียหายต่อระบบนิเวศและ ชุมชน นีค่ อื การมีนโยบายที่ชดั เจน ซึง่ ต้องเริ่มจาก คุณต้องมีความมุ่งมั่นและตั้งใจที่แท้จริงก่อน

65


ขอบคุณข้อมูล 2017 International Year of Sustainable Tourism for Development (2016) World Tourism Organization (UNWTO); http://www2.unwto.org /tourism4development2017 UNWTO Tourism Highlights, 2016 Edition: World Tourism Organization (UNWTO) ; http://www.e-unw to.o rg/doi/book /10.18111/9789284418145: Published: July 2016. หน้า 26-41 สรุปผลการด�ำเนินงานของ อพท. ปี พ.ศ.2558, องค์การบริหารการพั ฒนาพืน้ ที่พเิ ศษเพือ่ การท่องเที่ยว อย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน); หนังสือ 83 ปี ส�ำนัก นายกรัฐมนตรี. The Global Sustainable Tourism Council :GSTC (2016) www.gstcouncil.org คู่มือเกณฑ์มาตรฐานการบริ หารจั ดการแหล่ง ท่องเที่ยวโดยชุมชน (ฉบับปรับปรุง ปี 2558) โดยส�ำนัก ท่องเที่ยวโดยชุ มชน องค์การบริหารการพั ฒนาพื้นที่ พิเศษเพือ่ การท่องเที่ยวอย่างยัง่ ยืน (องค์การมหาชน) รายงานผลการวิ จั ย (After Action Report) ผลการด�ำเนินงานการจั ดการท�ำชุ ดความรู้การด�ำเนิน งานของ อพท. ภายใต้เกณฑ์ GSTC (2559). องค์การ บริหารการพั ฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่าง ยัง่ ยืน (องค์การมหาชน) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเชี ยงใหม่. บทความวิ ชาการ “การจัดการการท่องเที่ยวอย่าง ยัง่ ยืนภายใต้เกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยัง่ ยืนโลก กรณี ศึกษาพืน้ ที่พเิ ศษเลย (อพท.)” (2559) องค์การบริหาร การพั ฒนาพื้นที่ พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) ร่วมกับมหาวิ ทยาลัยเชี ยงใหม่.

หน้า 6-25 การท่องเที่ยวโดยชุมชน:โอกาสของชุมชนและตลาด การท่องเที่ยวอย่างยัง่ ยืน: ปาฐกถาโดย ท่านวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ ประธานกรรมการบริหารการพั ฒนาพืน้ ที่พเิ ศษ เพือ่ การท่องเที่ยวอย่างยัง่ ยืน (2559); ส�ำนักท่องเที่ยว ชุ มชน,องค์การบริหารการพั ฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการ ท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน). สรุปผลการด�ำเนิน งานของ อพท. ปี พ.ศ. 2558, องค์การบริหารการพั ฒนาพืน้ ที่พเิ ศษเพือ่ การท่องเที่ยว อย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน); หนังสือ 83 ปี ส�ำนัก นายกรัฐมนตรี. รู ้ เขา-รู ้ เรา การท่ องเที่ ย วแบบใด...ที่ ต ลาด โลกเพรียกหา โดยผู้อ�ำนวยการฝ่ายส่งเสริ มสินค้า การท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย นิยามการทอ่ งเที่ยวอยา่ งยัง่ ยืน www.UNWTO.org, http://www.wttc.org/, http://www.gdrc.org/ CBI (Centre for the Promotion of Imports from Developing Countries), Sustainability as a new product requirement presentation. http://slideplayer.com/slide/6368165/ Global Travel & Tourism Economic Impact Update August (2016) The World Travel & Tourism Council (WTTC); //www.wttc. org/research/economic-research/economicimpact-analysis/. WHY SUSTAINABLE TOURISM SHOULD MATTER TO YOU (2016); http://www.dangerous -business.com/2016/09/sustainable -tourism/.

66

บทสัมภาษณ์ พั นเอก ดร.นาฬิกอติภคั แสงสนิท ผูอ้ ำ� นวยการองค์การบริหารการพั ฒนาพืน้ ที่พเิ ศษเพือ่ การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) บทสัมภาษณ์ Mr.Randy Durband Chief Executive Officer, Global Sustainable Tourism Council (GSTC) บทสัมภาษณ์ ดร.จิ รพล สินธุนาวา รองประธาน และเลขาธิการมูลนิธิ ใบไม้เขี ยว บทความจากการประกวดกิจกรรมการท่องเที่ยว ไทยจะยั่งยืนได้ ต้องมีการบริ หารจั ดการที่ ดี โดย คุณจุฑามาศ ทองคง และคุณพั นธ์ศักดิ์ วรรณค�ำ เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบตั กิ ารหลักเกณฑ์ ด้านการพั ฒนาการท่องเที่ยวอย่างยัง่ ยืนส�ำหรับแหล่ง ท่องเที่ยว (2559) จั ดโดย อพท. ณ จั งหวัดเชี ยงราย

หน้า 42-65 การจัดการการท่องเที่ยวอย่างยัง่ ยืนภายใต้เกณฑ์ การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก กรณีพื้นที่พิเศษชุ มชน ต้นแบบบ้านน�ำ้ เชี่ ยว จังหวัดตราด โดยองค์การบริหาร การพั ฒนาพื้นที่ พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) การจัดการการท่องเที่ยวอย่างยัง่ ยืนภายใต้เกณฑ์ การท่องเที่ ยวอย่างยั่งยืนโลก กรณีพื้นที่ พิเศษเลย (อพท.5) โดยพั นเอก ดร.นาฬิกอติภคั แสงสนิท และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กมล งามสมสุข การด�ำเนินงานของ อพท. ที่สอดคล้องกับ เกณฑ์ GSTC (2559) นิทรรศการและเอกสารการจั ดงาน สัมมนา Grow Green Together Travel for ever เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2559 ณ โรงแรม เอส 31 สุขุมวิ ท กรณีศึกษาการจั ดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน Borneo Eco Tours: Sukau Rainforest Lodge ประเทศมาเลเซีย โดยนายกรกช พบประเสริฐ งานองค์ ความรู้ ส�ำนัก บริ หารยุทธศาสตร์ อ้างข้อมูลจาก https://www.ecotourism.org/news/best practices-borneo-eco-tours-sukau-rainforest -lodge และ https://www.borneoecotours.com/ sustainable-development/index.php รายงานการศึกษาดูงานเพื่อให้เกิดกระบวนการ พั ฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนสูค่ วามส�ำเร็จอย่างยัง่ ยืน ระดับสากล ณ เมืองฮอยอัน ประเทศเวียดนาม ระหว่าง วันที่ 23-29 กุมภาพั นธ์ 2558 โดยองค์การบริหารการ พั ฒ นาพื้ นที่ พิ เ ศษเพื่ อ การท่ องเที่ ย วอย่ า งยั่ ง ยื น (องค์การมหาชน)

ขอบคุณรูปภาพ หน้า 56-65 พั นเอก ดร.นาฬิกอติภัค แสงสนิท ผู้อ�ำนวยการ องค์การบริหารการพั ฒนาพืน้ ที่พเิ ศษเพือ่ การท่องเที่ยว อย่างยัง่ ยืน (องค์การมหาชน) รูปภาพจากส�ำนักสือ่ สาร องค์กร อพท. Mr.Randy Durband, Chief Executive Officer, Global Sustainable Tourism Council (GSTC) ดร.จิ รพล สินธุนาวา รองประธานและเลขาธิการ มูลนิธิ ใบไม้เขี ยว รูปภาพจากการประกวดกิจกรรมการท่องเที่ยวไทย จะยัง่ ยืนได้ ต้องมีการบริหารจัดการที่ดี โดยคุณองอาจ สังข์สุวรรณ และคุณราชการ งามพร้อมทรัพย์

67


Designated Areas for Sustainable Tourism Administration (Public Organization) 118/1 Tipco Tower 31st FL. Rama VI Road Phayathai Bangkok 10400 Thailand

www.dasta.or.th www.facebook.com/SaiJaiPaiTiew


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.