CBT ทำอย่างไรให้ยั่งยืน คู่มือการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน

Page 1

COMMUNITY BASED TOURISM

CBT ท�ำอย่างไรให้ยั่งยืน? คู่มือการพั ฒนา การท่องเที่ยวโดยชุมชน

• W H AT I S TO U R I S M? • ALL ABOUT CBT • GETTING TO KNOW DASTA

• W H AT W I L L YO U GET FROM CBT? • CBT FOR TOMORROW


ข้อมูลผู้จัดท�ำ พิมพ์ครั้งที่ 1 : สิงหาคม 2560 จัดท�ำโดย : องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษ เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. ที่ปรึกษา : พันเอก ดร.นาฬิกอติภัค แสงสนิท ผู้อ�ำนวยการ อพท. นายทวีพงษ์ วิชัยดิษฐ รองผู้อ�ำนวยการ อพท. นายสุเทพ เกื้อสังข์ รองผู้อ�ำนวยการ อพท. ดร.ชูวิทย์ มิตรชอบ รองผู้อ�ำนวยการ อพท. คณะผู้จัดท�ำ นางสาววัชรี ชูรักษา ผู้อ�ำนวยการส�ำนักท่องเที่ยวโดยชุมชน นางพัฒน์มาศ วงศ์พัฒนศิริ ผู้เชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชน ส�ำนักท่องเที่ยวโดยชุมชน นายสมเกียรติ อ�ำนวยสุวรรณ, นางสาววรรณวิภา ภานุมาต, นายสุวิชชา บุญสมุทร, นายแมน อร่ามศรี, นายนิรุตต์ บ่อเกิด, นางสาวปิยะณัฐ คล้ายเดือน, นายศราวุธ ทาค�ำ, นายพิติรัตน์ วงศ์สุทินวัฒนา, นายกรวิทย์ เทพนีรมิตร, นายประสพพงษ์ ดวงดี, นายสืบพงษ์ มงคลบรรจง, นายสงคราม คาดหมาย, นางสาว ศิรตา ศิริธรรม นายชาญชัย บุญส่งสมค�ำ ส�ำนักงานพื้นที่พิเศษหมู่เกาะช้างและพื้นที่เชื่อมโยง (อพท.1) นายนรเศรษฐ์ เวสารัชชนันท์ ส�ำนักงานพื้นที่พิเศษเมืองพัทยาและพื้นที่เชื่อมโยง (อพท.3) นางสาวเรณู ปิ่นทอง ส�ำนักงานพืน้ ทีพ่ เิ ศษอุทยานประวัตศิ าสตร์ สุโขทัย-ศรีสชั นาลัย-ก�ำแพงเพชร (อพท.4) นางสาวสุมณฑา ก่อแก้ว ส�ำนักงานพื้นที่พิเศษเลย (อพท.5) นางสาวมยุรี ศรีสุริยพงศ์ ส�ำนักงานพื้นที่พิเศษเมืองเก่าน่าน (อพท.6) นายเจตนา พัฒนจันทร์ ส�ำนักงานพื้นที่พิเศษเมืองโบราณอู่ทอง (อพท.7) ส�ำนักท่องเที่ยวโดยชุมชน องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษ เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) 118/1 อาคารทิปโก้ ชั้น 30-31 ถนนพระรามที่ 6 แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์ 0 2357 3580-86, 0 2357 3590, 0 2357 3592 โทรสาร 0 2357 3596 (ชั้น 30), 0 2357 3599 (ชั้น 31) เว็บไซต์ www.dasta.or.th, www.facebook/CBT.DASTA จัดพิมพ์โดย ห้างหุ้นส่วนจ�ำกัด โปรดักส์เฮ้า แอสเซอเซอร์รี่ 508 ซอยประชาอุทิศ 59 แยก 5 แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพฯ 10140 ข้อมูลทางบรรณานุกรมของส�ำนักหอสมุดแห่งชาติ องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) CBT ท�ำอย่างไรให้ยั่งยืน ,-- กรุงเทพฯฯ : องค์การฯ, 2560 120 หน้า. -- (คู่มือการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน) 1.การท่องเที่ยวโดยชุมชน 2.การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน ISBN 978-616-8008-08-9


CBT ท� ำ อ ย่ า ง ไ ร ใ ห้ ย่ั ง ยื น ?


INTRODUCTION

ค�ำน�ำ

ชุดความรู้ CBT ท�ำอย่างไรให้ยั่งยืน

อุ ต สาหกรรมท่ อ งเที่ ย วเป็ น อุ ต สาหกรรม ส�ำคัญทีส่ ร้างรายได้ให้กบั ประเทศไทยในล�ำดับต้น ก่อให้เกิดการสร้างงานและกระจายรายได้ไปยัง ภาคธุ ร กิ จ ที่ เ กี่ ย วข้ อ ง เกิ ด ผลดี ต ่ อ เศรษฐกิ จ ในภาพรวม อย่างไรก็ตาม การมุ่งเน้นการส่งเสริม การท่องเที่ยวกระแสหลักเพื่อให้อัตราการเติบโต ของรายได้รวมทางการท่องเทีย่ วเติบโตอย่างต่อเนือ่ ง ได้ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิต วัฒนธรรม ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งชุมชนท้องถิ่น ซึง่ เป็นเจ้าของทรัพยากรทางการท่องเทีย่ วเป็นผูท้ ี่ ได้รับผลกระทบจากการท่องเที่ยวโดยตรง อีกทั้ง การขาดการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการและ การไม่ได้รบั การกระจายประโยชน์จากการท่องเทีย่ ว อย่างเป็นธรรมสู่ชุมชนท้องถิ่น จะส่งผลให้การ ท่องเทีย่ วไม่สามารถพัฒนาและเติบโตอย่างยัง่ ยืน

เป็นธรรม ผ่านเครื่องมือการพัฒนาการท่องเที่ยว โดยชุ ม ชนอย่ า งยั่ งยื นและกระบวนการพั ฒ นา ความรู้ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ตลอดจน ติดตามประเมินผลและพัฒนาอย่างต่อเนือ่ ง เพือ่ ให้ ชุมชนมีความพร้อมในการรองรับนักท่องเที่ยว อย่างมีภมู คิ มุ้ กัน และได้ถอดบทเรียนกระบวนการ พัฒนาพื้นที่ต้นแบบ จัดท�ำเป็นชุดความรู้ CBT ท�ำอย่างไรให้ยั่งยืน เพื่อเป็นคู่มือให้กับชุมชนและ ผูเ้ กีย่ วข้องในการเรียนรูแ้ ละน�ำไปใช้ในการด�ำเนิน การพัฒนาการท่องเทีย่ วโดยชุมชน โดยมุง่ เน้นการ สร้างความรู้ ความเข้าใจ พร้อมทั้งให้ขั้นตอนและ เครื่องมือในการด�ำเนินการที่ง่ายต่อการน�ำไป ปฏิบัติและปรับใช้ตั้งแต่ระดับเริ่มต้นการพัฒนา จนถึงการพัฒนาการท่องเทีย่ วโดยชุมชนทีเ่ ข้มแข็ง และมีภูมิคุ้มกัน

องค์การบริหารการพัฒนาพืน้ ทีพ่ เิ ศษเพือ่ การ ท่องเทีย่ วอย่างยัง่ ยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. มีความมุ่งมั่นตั้งใจพัฒนาการท่องเที่ยวไทยไปสู่ ความยั่งยืน ใช้การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือในการ พัฒนาคุณภาพชีวติ ความอยูด่ มี สี ขุ ตลอดจนรักษา อัตลักษณ์ วิถวี ฒ ั นธรรม ธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม ของชุ ม ชนท้ อ งถิ่ น โดยด� ำ เนิ น การพั ฒ นาการ ท่องเทีย่ วโดยชุมชน ซึง่ เป็นการท่องเทีย่ วทางเลือก ที่จะน�ำไปสู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน พัฒนาเป็น พื้นที่ต้นแบบ จ�ำนวน 14 ชุมชน ใน 6 พื้นที่พิเศษ ของ อพท. โดยสร้ า งกระบวนการมี ส ่ ว นร่ ว ม ของคนในชุ ม ชนในการร่ ว มคิ ด ร่ ว มวางแผน ร่วมปฏิบัติ ร่วมรับผิดชอบ ร่วมรับประโยชน์และ กระจายประโยชน์จากการท่องเทีย่ วอย่างทัว่ ถึงและ

อพท. หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ชุดความรู้ CBT ท�ำอย่างไรให้ยงั่ ยืน จะเป็นประโยชน์ในการขยายผล การพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนในพื้นที่ที่มี ศักยภาพทางการท่องเที่ยว เพื่อพัฒนาให้เป็น ชุมชนท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ มีการบริหารจัดการ การท่องเทีย่ วอย่างยัง่ ยืน และขยายจ�ำนวนชุมชน ท่องเทีย่ วคุณภาพมากขึน้ และกระจายไปทัว่ ประเทศ การท่องเทีย่ วโดยชุมชนก็จะน�ำมาซึง่ ความอยูด่ มี สี ขุ ของเจ้าบ้าน และความสุขความประทับใจของ ผู ้ ม าเยื อ นจนต้ อ งการเดิ น ทางกลั บ มาเยื อ นซ�้ ำ พร้ อ มทั้ ง บอกต่ อ ญาติ แ ละเพื่ อ นให้ ม าเยื อ น ประเทศไทย ก็จะเป็นโอกาสให้การท่องเที่ยวไทย เติบโตต่อไปอย่างยั่งยืนในที่สุด

น�ำมาซึง ่ ความอยู่ดีมีสุขของเจ้าบ้าน ความสุขความประทับใจของผู้มาเยือน จนต้องการเดินทางกลับมาเยือนซ�ำ้

พันเอก (ดร.นาฬิกอติภัค แสงสนิท) ผู้อ�ำนวยการ อพท.



CONTENTS

สารบัญ 8 10 12

16 18 20 24 25

26 28 29 30 32 34 56 58 66 71

CHAPTER 1 การท่องเที่ยวคืออะไร?

เหตุไฉนการท่องเที่ยว (โดยชุมชน) จึงส�ำคัญ? วิวัฒนาการการท่องเที่ยวของประเทศไทย CHAPTER 2 ท�ำความรู้จัก… การท่องเที่ยวโดยชุมชน

การท่องเที่ยวโดยชุมชนคืออะไร? CBT เปรียบเสมือนวิตามิน การท่องเที่ยวกระแสหลักจะเชื่อมโยงกับ CBT ได้อย่างไร? ใครท�ำให้ CBT เกิดขึ้น? CHAPTER 3 รู้จัก อพท. และวิธีพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนให้ย่ง ั ยืน

ปรัชญาการด�ำเนินงานของ อพท. บทบาทส�ำคัญของ อพท. ต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน 6 พื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน 14 ชุมชนต้นแบบในพื้นที่พิเศษของ อพท. ท่องเที่ยวโดยชุมชน ท�ำอย่างไรให้ยั่งยืน? 3 ขั้นตอนหลัก 12 กระบวนการ พัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน…เรามาไกลถึงไหนแล้ว? 4 เครื่องมือสู่ความส�ำเร็จของการท่องเที่ยวโดยชุมชน Co-Creation กระบวนการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน อย่างมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ เคล็ดลับผู้พิชิต


72 74 80 86 92 93

96 98 102

106 110 114

CHAPTER 4 ท่องเที่ยวโดยชุมชน…ท�ำแล้วได้อะไร?

ผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจ ผลประโยชน์ด้านสังคม ผลประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อม ผลประโยชน์ต่อชุมชนที่ไม่ได้ท�ำการท่องเที่ยวโดยตรง ผลประโยชน์ต่อประเทศ CHAPTER 5 ท่องเที่ยวโดยชุมชน เพื่ อวันข้างหน้า

นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา พันเอก ดร.นาฬิกอติภัค แสงสนิท ผู้อ�ำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษ เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. นายปองเลิศ เฉลิมสิริโรจน์ ประธานชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนเมืองเก่าสุโขทัย นางสาวพจนา สวนศรี อดีตผู้อ�ำนวยการสถาบันการท่องเที่ยวโดยชุมชน (CBT-I) นางสาวอชิรญา ธรรมปริพัตรา กรรมการผู้จัดการและผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท ไฮฟ์สเตอร์ จ�ำกัด (HiveSters)


CHAPTER 1

W H AT IS TOURISM? การท่องเที่ยวคืออะไร?

วิ ก ฤตเศรษฐกิ จ ของประเทศไทยแต่ ล ะครั้ ง เกิดขึ้นจากปัญหาหลายรูปแบบ อาทิ การได้รับ ผลกระทบจากเศรษฐกิจโลก เกิดจากปัญหา สิ่ ง แวดล้ อ มหรื อ ภั ย ธรรมชาติ ซึ่ ง ส่ ง ผลต่ อ อุตสาหกรรมของประเทศ การขาดดุลการค้า หรือไม่ได้รบ ั ความเชือ ่ มัน ่ จากนักลงทุนต่างประเทศ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่คนไทย เผชิญและรู้จักกันเป็นอย่างดี แต่มุมมองที่น่าสนใจ คือ เราผ่านวิกฤตเหล่านั้นมาได้อย่างไร? หนึ่งในค�ำตอบของการแก้ไขวิกฤตที่น่าสนใจนั้น ใครจะเชื่อว่าคือ การท่องเที่ยว

8 CBT ท�ำอย่างไรให้ยั่งยืน?


องค์การบริหารการพั ฒนาพื้ นที่พิเศษเพื่ อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)

9


CHAPTER 1

WHY IS ( C O M M U N I T Y- B A S E D ) T O U R I S M I M P O R TA N T ? เหตุไฉนการท่องเที่ยว (โดยชุมชน) จึงส�ำคัญ?

อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว อาจฟังดูเป็น ค�ำที่ยิ่งใหญ่ในความคิดของหลายคน ภาพของ โรงแรม ห้ า งสรรพสิ น ค้ า แหล่ ง ท่ อ งเที่ ย ว ธรรมชาติตระการตา อาจผุดขึน้ มาในภาพความ รู้สึกนึกคิด หรือความทรงจ�ำของเรา แต่ ค วามเป็ น จริ ง ในวั น นี้ การท่ อ งเที่ ย ว กลับกลายเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวกว่าที่คิด เพราะการ ท่ อ งเที่ ย ว หรื อ อุ ต สาหรรมการท่ อ งเที่ ย ว ค่อย ๆ มีบทบาทมากขึ้นในสังคมโลก และ มี บ ทบาทมากยิ่ ง ขึ้ น ในสั ง คมชุ ม ชนท้ อ งถิ่ น เมื่ อ อุ ต สาหกรรมการท่ อ งเที่ ย วได้ ข ยาย อาณาเขตของกิจกรรมทางเศรษฐกิจเข้าใกล้ ชีวิตของชุมชนท้องถิ่นมากขึ้นทุกขณะ ปัญหาที่ได้รับการแก้ไขจากอุตสาหกรรม การท่องเที่ยว ไม่ใช่แค่เศรษฐกิจระดับมหภาค หรือเศรษฐกิจขนาดใหญ่ แต่ในระดับจุลภาคหรือ กลุม่ เศรษฐกิจฐานราก ในสังคมหรือชุมชนเล็ก ๆ ก็มีความเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดเช่นกัน ผ่านการกระจายรายได้ในชุมชนที่เกิดขึ้นจาก การเป็น แหล่งท่องเที่ยว ภาพสิ่งแวดล้อมทีค ่ ่อย ๆ ฟื้ นคืน ภาพลูกหลานกลับมาท�ำงานบ้านเกิด ภาพการส่งสินค้าของชุมชน สู่ระบบเศรษฐกิจการท่องเทีย ่ วขนาดย่อย ทีม ่ ีต้นทุนต�ำ่ และอ�ำนาจต่อรองสูงกว่า เกิดขึน ้ จากการท่องเทีย ่ วโดยชุมชน 10 CBT ท�ำอย่างไรให้ยั่งยืน?

นอกเหนือจากระบบเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม การท่องเที่ยวยังสร้างความเปลี่ยนแปลงในมิติ ทางสั ง คม และสิ่ ง แวดล้ อ มอย่ า งเห็ น ได้ ชั ด เมื่อเรามองทีละส่วนจะพบว่า ในด้านสังคมนั้น รู ป แบบความเป็ น ชุ ม ชนของไทยที่ ผ ่ า นมา มักเผชิญปัญหาการว่างงาน ขาดรายได้ รายรับ ไม่เพียงพอกับรายจ่าย ก่อให้เกิดการย้ายถิน่ ฐาน อพยพ หรือเข้าไปท�ำงานในเมือง ขณะที่ปัญหา ด้ า นสิ่ ง แวดล้ อ ม เกิ ด จากการเข้ า มาของ อุตสาหกรรมหลากหลาย อาทิ การค้าไม้ โรงงาน หรือเกษตรกรรมเชิงรุก ซึ่งปัญหาทั้งสองส่วน มักเริม่ ต้นจากความล้มเหลวทางเศรษฐกิจในชุมชน จนส่งผลกระทบต่อวิถชี วี ติ วัฒนธรรม และความ สัมพันธ์ในชุมชนที่เปลี่ยนแปลงไป


เมื่ อ อุ ต สาหกรรมการท่ อ งเที่ ย วขยายตั ว อย่างต่อเนือ่ ง จากความนิยมของแหล่งท่องเทีย่ ว ธรรมชาติ สถานบันเทิง มรดกทางวัฒนธรรม สู่การท่องเที่ยวเพื่อรู้จักวิถีชีวิต และอัตลักษณ์ ของแต่ละชุมชน การกระจายของรายได้สรู่ ะบบ เศรษฐกิจจากในเมือง เปลี่ยนทิศทางสู่กระแส การท่องเที่ยวในชุมชน และเปลี่ยนทิศทางของ เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม โดยส่วนส�ำคัญของการเปลีย่ นแปลงดังกล่าว มาจากนโยบายของรั ฐ บาลที่ ส นั บ สนุ น และ ส่งเสริมการลงทุนภายในประเทศอย่างจริงจัง ทั้งในด้านการพัฒนาการผลิตเพื่อทดแทนการ

น�ำเข้า และการพัฒนาการผลิตเพือ่ ส่งออก จึงมุง่ เน้นการกระตุ้นให้เกิดการลงทุนในภาคเอกชน เพิม่ ขึน้ โดยอุตสาหกรรมการท่องเทีย่ วเป็นช่องทาง ส�ำคัญหนึ่งที่สามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของ ประเทศได้ ด้วยการชักชวนชาวต่างชาติให้เข้ามา ท่องเที่ยวในประเทศไทยมากขึ้น ภาพสิ่งแวดล้อมในชุมชนที่ค่อย ๆ ฟื้นคืน ความอุดมสมบูรณ์ ภาพลูกหลานกลับมาท�ำงาน ที่ชุมชนบ้านเกิด ภาพการส่งสินค้าของชุมชน สู ่ ร ะบบเศรษฐกิ จ การท่ อ งเที่ ย วขนาดย่ อ ย ที่ มี ต ้ น ทุ น ต�่ ำ และอ� ำ นาจต่ อ รองสู ง กว่ า คื อ ภาพที่ เกิ ดขึ้ น จาก การท่ อ งเที่ ย วโดยชุ ม ชน ในปัจจุบนั ซึง่ ผ่านการเดินทาง ของความรูค้ วาม เข้าใจเรื่องการท่องเที่ยวมายาวนานกว่า 70 ปี

องค์การบริหารการพั ฒนาพื้ นที่พิเศษเพื่ อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)

11


CHAPTER 1

A BRIEF HISTORY OF TOURISM IN THAILAND วิวัฒนาการการท่องเที่ยวของประเทศไทย

กว่าการท่องเที่ยวในประเทศไทยจะเติบโต เช่ น วั น นี้ ลองนั่ ง ไทม์ แ มชชี น กลั บ ไปดู กั น ว่ า กว่า 70 ปีที่ผ่านมา มีเหตุการณ์อะไรที่ส�ำคัญ และเราต้องผ่านอะไรกันมาบ้าง

1950 TO 1960 พ.ศ. 2493-2503

เป็นยุคแรกของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ของโลก (ก่อนหน้านี้มีการเดินทาง แต่ยังไม่เป็น อุ ต สาหกรรม) เป็ น ยุ ค ของอุ ต สาหกรรมการ ท่องเที่ยวที่ไม่ได้ค�ำนึงถึงผลกระทบจากการน�ำ ทรัพยากรมาใช้

12 CBT ท�ำอย่างไรให้ยั่งยืน?

พ.ศ. 2493

รัฐบาลประกาศตั้ง ส�ำนักงานท่องเที่ยว หน่วยงานภายใต้ กรมประชาสั มพั นธ์ เพื่อ ส่งเสริมอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในประเทศไทย ให้เป็นที่รู้จัก พร้อมอ�ำนวยความสะดวกและ ความปลอดภัยให้แก่นักท่องเที่ยว พ.ศ. 2502

แยกส� ำ นั ก งานท่ อ งเที่ ย วออกจากกรม ประชาสัมพันธ์ และใช้ชื่อว่า องค์การส่งเสริม การท่ อ งเที่ ย วแห่ ง ประเทศไทย (อ.ส.ท.) ท�ำหน้าที่ดูแลและส่งเสริมเรื่องการท่องเที่ยว ของประเทศไทย ซึ่งการเกิด อ.ส.ท. ท�ำให้การ พัฒนาการท่องเทีย่ วมีหน่วยงานทีม่ คี วามชัดเจน ในการดูแลเรื่องการท่องเที่ยวมากขึ้น นโยบาย ของ อ.ส.ท. คือ ส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นทีร่ จู้ กั แก่นักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ และ ต้องอนุรักษ์ ดูแลทรัพยากร เพื่อให้คงความ เป็นเอกลักษณ์ของชาติ ทั้งยังต้องสร้างการ มีส่วนร่วมระหว่างเจ้าของแหล่งท่องเที่ยวกับ นักท่องเที่ยวด้วย


1970

1980

พ.ศ. 2523 พ.ศ. 2513

มีการใช้ทรัพยากรสูงขึ้น ประเทศไทยเริ่มมี ชื่ อ เสี ย งเรื่ อ งแหล่ ง ท่ อ งเที่ ย วทางธรรมชาติ มีชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาเป็นจ�ำนวนมาก หลายฝ่ายเริ่มตระหนักถึงผลกระทบในด้านลบ ของการท่องเทีย่ ว มีการค�ำนึงถึงขีดความสามารถ ในการรองรับนักท่องเที่ยวในแหล่งต่าง ๆ

เริม่ มีกลุม่ ทีค่ ดิ เรือ่ งการท่องเทีย่ วเพือ่ คนรุน่ ต่อไป คือ ท�ำอย่างไรให้คนรุ่นหลังได้เห็นหรือ สัมผัสสถานที่ท่องเที่ยวบ้าง จึงเกิดกระแสการ พัฒนาอย่างยั่งยืน

พ.ศ. 2522

ยุบ อ.ส.ท. และตั้งหน่วยงานใหม่ขึ้นชื่อ การท่องเทีย่ วแห่งประเทศไทย (ททท.) เพือ่ ดูแล และพั ฒ นาศั ก ยภาพทางการท่ อ งเที่ ย วของ ประเทศไทยให้สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้

องค์การบริหารการพั ฒนาพื้ นที่พิเศษเพื่ อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)

13


CHAPTER 1

PA RT 1

1990

2000

พ.ศ. 2543

เป็นยุคเปลี่ยนผ่านสู่ยุคปัจจุบัน มีการน�ำ เทคโนโลยี ม าใช้ ใ นระบบอุ ต สาหกรรมการ ท่องเทีย่ ว เช่น การจองทีพ่ กั ตัว๋ เครือ่ งบิน ตัว๋ เข้าชม สถานที่ต่าง ๆ ส่งผลให้การท่องเที่ยวเติบโต อย่างมาก มีการค�ำนึงถึงเกณฑ์และการรองรับ เพื่ อ ให้ เ ป็ น มาตรฐานสากล มี ก ารรองรั บ มาตรฐานกัน อย่าง ISO 9001/9002 เป็นต้น

พ.ศ. 2533

เกิดการท่องเทีย่ วในรูปแบบต่าง ๆ เพือ่ เป็น ทางเลือกให้กับกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีความสนใจ ในสถานที่ท่องเที่ยวหรือการเดินทางที่แตกต่าง เช่น การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ (Eco-Tourism) การท่ อ งเที่ ย วเชิ ง เกษตร (Agro Tourism) การท่องเที่ยวโดยชุมชน (CBT) เป็นต้น

14 CBT ท�ำอย่างไรให้ยั่งยืน?

พ.ศ. 2545

เกิด กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เพื่อ ดูแลในเรื่องนโยบายและทิศทางในการพัฒนา อุตสากรรมการท่องเที่ยว นอกจากนั้นยังดูแล ในเรื่องการพัฒนากีฬาและนันทนาการด้วย


PA RT 1

NOW พ.ศ. 2560

พ.ศ. 2545

เกิด กรมการท่องเที่ยว ขึ้น เพื่อท�ำหน้าที่ พั ฒ นามาตรฐาน และยกระดั บ การบริ ก าร รวมถึงดูแลและสนั บ สนุ น การประกอบธุ รกิ จ น�ำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. 2546

องค์การบริหารการพัฒนาพืน้ ทีพ่ เิ ศษเพือ่ การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน(องค์การมหาชน) หรือ อพท. ได้ถือก�ำเนิดขึ้น โดยการท�ำงาน ในรูปแบบองค์การมหาชน สังกัดส�ำนักนายก รัฐมนตรี นโยบายส�ำคัญคือ การท่องเที่ยวต้อง ยั่งยืน ทุกภาคส่วนต้องมีส่วนร่วมในการพัฒนา การท่องเที่ยว

รู ป แบบของอุ ต สาหกรรมการท่ อ งเที่ ย ว มี ค วามหลากหลายมากขึ้ น รู ป แบบบริ ษั ท ทีต่ ระหนักถึงความยัง่ ยืนของสังคม หรือทีเ่ รียกว่า กิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise) เริ่มเป็น ที่รู้จักและได้รับความนิยมจากคนในสังคม

จากวันนั้นถึงวันนี้

หน่วยงานต่าง ๆ ทีท่ ำ� งานด้านการขับเคลือ่ นการ ท่องเทีย่ วในประเทศไทยได้มงุ่ มัน่ พัฒนาการท่องเทีย่ ว เพื่อตอบสนองนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการพัฒนา ประเทศอย่ า งมั่ น คง มั่ ง คั่ ง และยั่ ง ยื น ฉะนั้ น ในปัจจุบันการร่วมมือของทุกภาคส่วนจึงเป็นปัจจัย ส�ำคัญที่จะน�ำไปสู่ความส�ำเร็จของการพัฒนาการ ท่องเที่ยว โดยมีหน่วยพื้นฐานซึ่งส�ำคัญที่สุด คือ ชุมชนเจ้าของพื้นที่ ผู้เป็นเจ้าของทรัพยากรการ ท่องเที่ยวและเป็นผู้มีบทบาทในการก�ำหนดทิศทาง การพัฒนาแหล่งท่องเทีย่ วด้วยตนเอง หรือทีเ่ รียกว่า การท่องเที่ยวโดยชุมชน (CBT)

องค์การบริหารการพั ฒนาพื้ นที่พิเศษเพื่ อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)

15


CHAPTER 2

ALL ABOUT C O M M U N I T YBASED TOURISM (CBT) ท�ำความรู้จัก… การท่องเที่ยวโดยชุมชน รูปแบบการท่องเที่ยวมีความหลากหลายและ แตกต่าง ตามยุคสมัย ค่านิยม รวมถึงความ ่ ชอบส่วนบุคคลทีจ ่ ะตอบได้วา่ การท่องเทีย ่ ว ชืน ส�ำหรับเรานั้นเป็นแบบไหน การท่ อ งเที่ ย วส� ำ หรั บ บางคนอาจหมายถึ ง การไปถึง การได้พักผ่อน การร่วมกิจกรรม การถ่ายรูป หรือการเรียนรู้วิถีชีวิตที่แตกต่าง ไปจากเดิม ซึ่งตรงนี้เองคือความหลากหลาย ของนักท่องเที่ยว กระนั้นก็มีรูปแบบการท่องเที่ยวที่สนองความ ต้ อ งการเปิ ด โอกาส และสร้ า งมุ ม มองและ ประสบการณ์ใหม่ให้กับนักท่องเที่ยวได้สัมผัส วิถช ี วี ต ิ ท้องถิน ่ อย่างแท้จริง โดยเราเรียกรูปแบบ การท่ อ งเที่ ย วนี้ ว่ า การท่ อ งเที่ ย วโดยชุ ม ชน หรือ CBT

16 CBT ท�ำอย่างไรให้ยั่งยืน?


องค์การบริหารการพั ฒนาพื้ นที่พิเศษเพื่ อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)

17


CHAPTER 2

W H AT I S C O M M U N I T Y- B A S E D TO U R I S M (C BT)? การท่องเที่ยวโดยชุมชนคืออะไร?

Community-Based Tourism คือ ชื่อเต็มของ การท่องเที่ยวโดยชุมชน หรือที่เรียกและจดจ�ำง่าย ๆ ว่า CBT ซึ่งคือ รูปแบบการท่องเที่ยวที่มี... การวางแผน การบริหารจัดการ การท่องเที่ยวโดยคนในชุมชน เพื่อให้ประโยชน์จากการท่องเที่ยว ตกอยู่กับคนในชุมชน ส�ำหรับหลักการของการท่องเที่ยวโดยชุมชนนั้น มีทั้งหมด 10 ข้อ ดังต่อไปนี้

01 ชุมชนเป็นเจ้าของ

05

02

03

04

ชาวบ้านเข้ามามีส่วนร่วม ส่ ง เสริ ม ความภาคภู มิ ใ จ ยกระดับคุณภาพชีวิต ในการก�ำหนดทิศทางและ ในตนเอง ตัดสินใจ

06

07

08

มี ค วามยั่ ง ยื น ทางด้ า น ชุมชนยังคงเอกลักษณ์และ ก่อให้เกิดการเรียนรูร้ ะหว่าง เข ้ า ใ จ แ ล ะ เ ค า ร พ ใ น วัฒนธรรมท้องถิ่น สิ่งแวดล้อม คนต่างวัฒนธรรม วัฒนธรรมที่แตกต่างและ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

09

10

เกิดผลตอบแทนที่เป็นธรรม มี ก า ร ก ร ะ จ า ย ร า ย ไ ด ้ แก่คนท้องถิ่น สู ่ ส าธารณประโยชน์ ข อง ชุมชน 18 CBT ท�ำอย่างไรให้ยั่งยืน?

และจากหลักการ 10 ข้อข้างต้น จะเห็นได้ว่า CBT เป็นเครื่องมือส�ำคัญที่ช่วยให้ชุมชนเกิดการพัฒนา และสร้างการมีส่วนร่วม เกิดความตระหนักถึงการ อนุรกั ษ์วถิ วี ฒ ั นธรรมและทรัพยากรธรรมชาติทอ้ งถิน่


องค์การบริหารการพั ฒนาพื้ นที่พิเศษเพื่ อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)

19


CHAPTER 2

CBT AS A V I TA M I N CBT เปรียบเสมือนวิตามิน

หากการท่องเทีย่ วทีผ่ า่ นมา โดยเฉพาะในยุค เริม่ แรกเกิดการใช้ทรัพยากรอย่างไม่ทนั ตระหนัก ว่าจะก่อให้เกิดปัญหาหลากหลาย และส่งผล กระทบต่อเนือ่ งตามมา คล้ายร่างกายของมนุษย์ ที่ผ่านการใช้งานจนเกิดความอ่อนล้าสะสม

CBT ก็เปรียบเสมือนวิตามิน ที่ช่วยเสริม สร้างและบ�ำรุงรักษาร่างกาย ให้แข็งแรงและเป็น ภูมิคุ้มกันต่อปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากเศรษฐกิจ สังคม และสิง่ แวดล้อม โดยวิตามินนีร้ าคาไม่แพง และไม่ต้องหาซื้อ แต่เกิดขึ้นได้ภายในชุมชน ด้วยการสร้างสรรค์โดยชุมชนเอง เพราะ CBT มีความเชื่อมโยงและสัมพันธ์ต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ดังนี้

เป็นภูมิคุ้มกันต่อปัญหาทีอ ่ าจเกิดขึน ้ จากเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยวิตามินนีร ้ าคาไม่แพงและไม่ต้องหาซือ ้ แต่เกิดขึน ้ ได้ภายในชุมชน

ด้านเศรษฐกิจ

CBT เป็ น การบริ ห ารการจั ด การการ ท่องเที่ยวโดยชุมชน ที่น�ำทรัพยากรที่มีอยู่ใน ชุมชนทัง้ ทางวัฒนธรรมและธรรมชาติมาบริหาร จั ด การให้ เ กิ ด คุ ณ ค่ า และมู ล ค่ า ซึ่ ง สามารถ ส่งผลกระทบเชิงบวกต่อเศรษฐกิจในชุมชนได้

การท�ำท่องเทีย่ วโดยชุมชนต้องตัง้ เป้าหมาย ให้การท่องเที่ยวเป็น อาชีพเสริม เพื่อไม่ให้ กระทบต่อวิถีหลักของชุมชนซึ่งเป็นหัวใจส�ำคัญ ของอัตลักษณ์ชมุ ชน และมุง่ เน้นให้รายได้ทเี่ กิดขึน้ จากการท่ อ งเที่ ย วในชุ ม ชนเกิ ด การกระจาย อย่างเป็นธรรมไปยังกลุ่มต่าง ๆ เพื่อส่งเสริม ให้เศรษฐกิจในชุมชนดีขึ้นโดยไม่กระทบวิถีชีวิต ทรัพยากรทางธรรมชาติ และวัฒนธรรม ฉะนั้น การเปลี่ยนแปลงจากการท่องเที่ยว โดยชุมชนจะเปลี่ยนแปลงอย่างช้า ๆ แต่มั่นคง และหากวันหนึ่ง กระแสการท่องเที่ยวในชุมชน สร่ า งซาไป ชุ ม ชนก็ จ ะยั ง คงมี อ าชี พ หลั ก ที่สามารถอยู่ได้ด้วยตนเอง

20 CBT ท�ำอย่างไรให้ยั่งยืน?


ด้านสังคม

การท�ำท่องเที่ยวโดยชุมชนต้องมีการเชื่อม กลุ ่ ม คนต่ า ง ๆ ซึ่ ง ประกอบไปด้ ว ยภาครั ฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ และภาคประชาชน ทั้ ง ภายในและภายนอก ที่ เข้ า มามี ส ่ ว นร่ ว ม ขั บ เคลื่ อ นการท่ อ งเที่ ย วภายในชุ ม ชน การ ประสานประโยชน์ ดั ง กล่ า วก่ อ ให้ เ กิ ด ความ สัมพันธ์เชิงบวก เกิดความเข้าใจร่วมกัน และ ความสัมพันธ์ทแี่ ข็งแรงนีจ้ ะท�ำให้มอี ำ� นาจต่อรอง ต่อภาคส่วนอืน่ ๆ รวมถึงความสามารถทีจ่ ะแก้ไข ปัญหาสังคมร่วมกัน โดยปัญหาสังคมที่เกิดขึ้นในแต่ละชุมชน มีความแตกต่างกันตามปัจจัยของแต่ละชุมชน การท�ำงานของ CBT ในทางตรง ทีจ่ ะแก้ไขปัญหา เริ่ ม จากกระบวนการท� ำ งานที่ ก ่ อ ให้ เ กิ ด การ ประสานประโยชน์ ตามด้วยผลลัพธ์จาก CBT ที่แก้ไขปัญหาสังคมในชุมชนในด้านต่าง ๆ อาทิ

• การกลับคืนชุมชนของคนรุ่นหลัง เมื่อ CBT ช่วยให้เกิดรายได้เสริม และสร้างโอกาสในชุมชน • ความปลอดภัยในชุมชน จากการบริหารการ จัดการอย่างมีส่วนร่วม • ความอบอุ่นในครอบครัว การอยู่พร้อมหน้า ในชุ ม ชนที่ ส ามารถพึ่ งพิ งตนเองได้ และเป็ น ปัจจัยเริ่มต้นของการสร้างสังคมที่สมบูรณ์ นอกจากภาพการแก้ ไ ขปั ญ หาสั ง คม ในชุมชนทีช่ ดั เจน สิง่ ที่ CBT จะท�ำให้เกิดขึน้ และ เป็นคุณค่าทีย่ งิ่ ใหญ่ของสังคมต่อไป คือ การเป็น เครื่องมือส�ำคัญที่จะช่วยสร้าง ความตระหนัก ถึงคุณค่าของทรัพยากรในท้องถิ่น เกิดการ อนุ รั ก ษ์ แ ละสื บ ทอดมรดกทางภู มิ ป ั ญ ญา ประเพณีและวัฒนธรรมชุมชน

องค์การบริหารการพั ฒนาพื้ นที่พิเศษเพื่ อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)

21


CHAPTER 2

หากปล่อยให้บทบาท การท่องเทีย ่ ว อยู่ภายใต้การควบคุม และด�ำเนินงานของ นายทุนเพี ยงผู้เดียว สิ่งทีเ่ กิดขึน ้ ไม่ใช่เพี ยง การสูญเสียโอกาส แต่การท�ำธุรกิจ โดยไม่ค�ำนึงถึงชุมชน ่ าจจะเกิดขึน ้ ทีอ จะส่งผลร้ายต่อชุมชน อย่างใหญ่หลวง 22 CBT ท�ำอย่างไรให้ยั่งยืน?


ด้านสิ่งแวดล้อม

สิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปจนท�ำให้เกิด CBT จึงเป็นวิตามิน ที่ช่วยบ�ำรุงร่างกาย ปัญหา อาทิ มลภาวะทางอากาศ มลพิษทางน�้ำ นอกจากช่วยให้ชมุ ชนแข็งแรงขึน้ แล้ว ยังสามารถ ขยะ สภาพแวดล้อมเสื่อมโทรม ฯลฯ ล้วนเป็น ป้องกันและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น หรือ ภาพที่ชัดเจนอย่างยิ่งของปัญหาที่เกิดขึ้นจาก ก�ำลังจะเกิดขึ้น เพียงแต่ ใช้ให้เป็น เท่านั้น การท่องเที่ยว ในทางกลับกัน หากปล่อยให้บทบาทการ จากสิ่ ง แวดล้ อ มทางธรรมชาติ ที่ ส มบู ร ณ์ ท่องเที่ยวอยู่ภายใต้การควบคุมและด�ำเนินงาน กลายเป็นสิง่ ก่อสร้าง จากวิถชี วี ติ ทีเ่ รียบง่ายและ ของนายทุ น หรื อ นั ก ธุ ร กิ จ เพี ย งผู ้ เ ดี ย ว สิ่ งที่ สงบงามกลายเป็นการแข่งขันทางการค้าทีเ่ ข้มข้น จะเกิดขึ้นไม่ใช่เพียง การสูญเสียโอกาส แต่การ จากแนวคิดทีม่ งุ่ ให้การท่องเทีย่ วเป็นรายได้หลัก ท�ำธุรกิจโดยไม่ค�ำนึงถึงชุมชนที่อาจจะเกิดขึ้น และการแสวงหาก�ำไรของภาคธุรกิจ จะส่งผลร้ายต่อชุมชนอย่างใหญ่หลวง เมือ่ ชุมชน เป็ นเจ้ า ของปั จ จั ย การผลิ ต ทรั พ ยากร และ ทว่า CBT มักจะท�ำหน้าที่ กลัน่ กรอง ต่อรอง ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ แต่อ�ำนาจทางการตลาดกลับ และ รั ก ษา ผ่ า นกระบวนการท� ำ งานจาก เป็นของผูอ้ นื่ ซึง่ อาจด�ำเนินธุรกิจไปโดยไม่คำ� นึง หลายภาคส่วนที่มุ่งหวังคุณค่าอย่างยั่งยืนจาก ถึงผลเสียที่จะเกิดขึ้นในชุมชน การท่องเที่ยว ทั้งสร้างความเข้าใจและความ ตระหนักถึงคุณค่าของสิ่งแวดล้อม และไม่เน้น ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ ล้วนอยู่ใกล้ตัวและ การเติบโตทางธุรกิจทีส่ ง่ ผลกระทบต่อสิง่ แวดล้อม มี ค วามเชื่ อ มโยงกั บ เศรษฐกิ จ สั ง คม และ สิ่งแวดล้อมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ เรา เลือก นอกจากแนวคิดของ CBT ที่เป็นพื้นฐาน ที่จะจัดการกับปัญหาเหล่านี้ได้ เพื่อไม่ให้ภาวะ ส� ำ คั ญ ของการแก้ ไขปั ญ หาสิ่ ง แวดล้ อ มแล้ ว ปัญหาที่เกิดขึ้นถูกปล่อยทิ้งไว้จนสายเกินแก้ ในกระบวนการการท�ำงานของ CBT ยังมุ่งเน้น การเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมให้กลับคืนสู่ความ เพราะถ้าหากวันนัน้ มาถึง…ชุมชนของเราจะ สมบูรณ์เพื่อเป็น จุดขาย ของแหล่งท่องเที่ยว เป็นอย่างไรต่อไป? อีกด้วย องค์การบริหารการพั ฒนาพื้ นที่พิเศษเพื่ อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)

23


CHAPTER 2

MASS TOURISM AND CBT การท่องเที่ยวกระแสหลัก จะเชื่อมโยงกับ CBT ได้อย่างไร?

การท่องเทีย่ วกระแสหลัก (Mass Tourism) เป็นการท่องเที่ยวที่เน้นปริมาณ มุ่งหวังให้เกิด ความนิยม เพื่อเพิ่มปริมาณนักท่องเที่ยว และ มุ่งหวังรายได้จากการท่องเที่ยว มีการบริหาร การจัดการที่เป็นระบบตามแบบแผนทางธุรกิจ

ในขณะทีแ่ นวคิดแบบ CBT ในการท่องเทีย่ ว กระแสหลัก จะช่วยให้เกิดการ ค�ำนึงถึงผลกระทบ จากการท่องเทีย่ ว และช่วยให้เกิด การท่องเทีย่ ว อย่างยัง่ ยืน ซึง่ หมายถึงเมือ่ คนในชุมชนตระหนัก ถึ ง คุ ณ ค่ า และร่ ว มกั น รั ก ษาแหล่ ง ท่ อ งเที่ ย ว แหล่งท่องเที่ยวนั้น ๆ ก็จะมีความมั่นคง และ ในขณะที่ CBT มุ่งเน้นการเพิ่มมูลค่า ด�ำรง ยิง่ ช่วยเสริมการท่องเทีย่ วกระแสหลักมากยิง่ ขึน้ อัตลักษณ์ และกระจายผลประโยชน์สู่ท้องถิ่น แม้จะดูตา่ งกัน แต่กระบวนการคิดและด�ำเนินการ นอกจากนั้ น แล้ ว การเติ ม เต็ ม ที่ ป ระสาน ทั้ ง สองรู ป แบบต่ า งส่ ง เสริ ม การท� ำ งานของ ประโยชน์ของการท่องเทีย่ วทัง้ สองแบบได้อย่าง กันและกันอย่างจ�ำเป็น ชัดเจนอย่างหนึ่ง คือการท่องเที่ยวกระแสหลัก ก่ อ ให้ เ กิ ด การท่ อ งเที่ ย วโดยชุ ม ชนในพื้ น ที่ โดยแนวคิดแบบการท่องเที่ยวกระแสหลัก ใกล้เคียงได้ และการท่องเที่ยวโดยชุมชนก็ช่วย ใน CBT จะช่วยให้ชมุ ชนสามารถมอง การตลาด เพิ่มมูลค่าและก่อให้เกิดการท่องเที่ยวกระแส ท่องเทีย่ ว ได้เห็นภาพชัดเจนขึน้ และสามารถน�ำ หลักในพื้นที่ที่มีความพร้อม หรืออาจกลายเป็น การท่องเที่ยวกระแสหลักเมื่อพร้อมเช่นกัน การบริหารจัดการที่เป็นระบบ มาใช้ได้ 24 CBT ท�ำอย่างไรให้ยั่งยืน?


WHO DRIVES CBT D E V E LO P M E NT? ใครท�ำให้ CBT เกิดขึ้น?

หัวใจส�ำคัญของการพัฒนาและขับเคลือ่ นการท่องเทีย่ ว โดยชุมชน คือ ชุมชน ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มการเมืองท้องถิ่น กลุ่มอาสาสมัคร กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มเยาวชน กลุ่มผลิตภัณฑ์ โอท็อป หรือคนในชุมชนทั่วไป ล้วนสามารถเป็นผู้บริหาร จั ด การการท่ อ งเที่ ย วในรู ป แบบและความสามารถ ที่แตกต่าง โดยมีภาคส่วนต่าง ๆ ที่จะท�ำหน้าที่สนับสนุน และส่งเสริม ตามความถนัดของกลุม่ และร่วมมือกันเพือ่ ให้ CBT เกิดขึ้น โดยภาคส่วนที่จะมีส่วนร่วมท�ำให้ CBT เกิดขึ้นได้นั้น ประกอบไปด้วย • ภาครัฐ: ท�ำหน้าที่ส่งเสริม ประสาน และสนับสนุน เพื่อ เชื่อมโยงโอกาสและเสริมสร้างศักยภาพให้ชุมชนสามารถ ได้รับประโยชน์จากการท่องเที่ยว • สถาบันการศึกษา: ให้ความรู้ และแสวงหาองค์ความรู้ ที่เหมาะสมเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวที่เป็นประโยชน์ ต่อชุมชนท้องถิ่นอย่างแท้จริง • ผู้ประกอบการธุรกิจน�ำเที่ยว: ส่งเสริมบริการท่องเที่ยว ที่ บ ริ ห ารจั ด การโดยชุ ม ชนท้ อ งถิ่ น และสรรหาตลาด นักท่องเที่ยวที่เหมาะสมให้กับกิจกรรมท่องเที่ยวในชุมชน • สื่อมวลชน: ให้ข้อมูลเพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึง สาธารณชนมีความเข้าใจทางเลือกของการท่องเทีย่ วทีเ่ ป็น ประโยชน์ต่อชุมชนท้องถิ่นมากขึ้น • นักท่องเที่ยว: อุดหนุนบริการการท่องเที่ยวที่บริหาร จัดการโดยชุมชนท้ องถิ่น และท�ำ ความเข้าใจเพื่อให้มี พฤติกรรมที่เหมาะสมในสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ

CBT CHECKLIST ดูดี ๆ ก่อนท�ำ CBT มีพร้อมหรือยัง! ร่วมด้วยช่วยกันปั้ น CBT 1. ภาครัฐที่จะสนับสนุนเรา คือ 2. สถาบันการศึกษาที่จะสนับสนุนเรา คือ 3. ผู้ประกอบการธุรกิจน�ำเที่ยว ที่จะสนับสนุนเรา คือ 4. สื่อมวลชนที่จะสนับสนุนเรา คือ 5. นักท่องเที่ยวที่จะมาเที่ยวบ้านเรา คือ

ถามตัวเองว่ามีคุณสมบัติเหล่านี้ ครบแล้วหรือยัง? สนใจการท่องเที่ยว? มีความพร้อม? ชุมชนสามัคคี? รองรับนักท่องเที่ยวได้? ยินดีร่วมมือกับภาคีท่เี กี่ยวข้อง?

การเริ่มต้น CBT เกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ทั้งจาก การที่ชุมชนเริ่มต้นด้วยตนเอง การเข้ามาของนักท่องเที่ยว ที่กระตุ้นให้เกิดการท�ำ CBT และการเข้ามาประสาน ประโยชน์ของกลุ่มองค์กรที่เกี่ยวข้องจากหน่วยงานต่าง ๆ แต่การร่วมมือกันจนเกิดความส�ำเร็จของการท่องเที่ยว โดยชุมชนนั้น ย่อมเกิดจากการร่วมมือกันของทุกภาคส่วน องค์การบริหารการพั ฒนาพื้ นที่พิเศษเพื่ อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)

25


CHAPTER 3

ALL ABOUT C O M M U N I T Y-B A S E D TOURISM (CBT) รู้จัก อพท. และวิธีพัฒนา การท่องเที่ยวโดยชุมชนให้ยั่งยืน การพั ฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน มีบทบาทส�ำคัญและจ�ำเป็นต่อการพั ฒนา ทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมในระดับฐานราก ซึ่งสามารถสร้าง แรงกระเพื่ อมต่อภาพรวมการเปลี่ยนแปลงของประเทศ ดังนั้นหน่วยงานหนึ่ง จึงถือก�ำเนิดขึน ้ โดยมีภารกิจในการสนับสนุนการพัฒนาการท่องเทีย ่ วโดยชุมชน ไม่ใช่เพื่ อการท่องเที่ยว แต่เพื่ อให้ชุมชนพึ่ งพาตัวเองได้ และประเทศไทยยั่งยืน หน่วยงานที่ว่านั้นมีช่ือว่า อพท. หรือ องค์การบริหารการพั ฒนาพื้ นที่พิเศษ เพื่ อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) ่ งท่องเทีย ่ ว แต่ไม่ได้เพื่ อการท่องเทีย ่ ว เราท�ำให้ชม “เราท�ำเรือ ุ ชนพึ่ งพาตัวเองได้ ประเทศไทยยั่งยืน”

26 CBT ท�ำอย่างไรให้ยั่งยืน?

พั นเอก ดร.นาฬิ กอติภัค แสงสนิท ผู้อ�ำนวยการ อพท.


ข้อความดังกล่าวคือ บทบาทหน้าที่ของ อพท. ที่เป็นดั่งปณิธาน ซึ่งผู้น�ำองค์กรได้วาง เข็มทิศการท�ำงาน ก�ำหนดภารกิจรับผิดชอบ และพัฒนาบุคลากรในองค์กรให้สอดคล้องกับ บทบาทดังกล่าว องค์การบริหารการพั ฒนาพื้ นที่พิเศษเพื่ อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)

27


CHAPTER 3

Pa r t 3:

ปรัชญา การด�ำเนินงานของ อพท. องค์ ก ารบริ ห ารการพั ฒ นาพื้ น ที่ พิ เ ศษ เพื่ิอการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) เป็น หน่วยงานของรัฐรูปแบบหนึง่ ทีเ่ รียกว่า องค์การ มหาชน อยู่ใต้การก�ำกับดูแลของส�ำนักนายก รัฐมนตรี โดย อพท. มีหน้าที่ประสาน ส่งเสริม และสนับสนุน เพือ่ ให้เกิดการบริหารจัดการและ พัฒนาการท่องเที่ยวในพื้นที่พิเศษเป็นไปอย่าง สมดุ ล และยั่ ง ยื น ครอบคลุ ม ทั้ ง 3 มิ ติ ได้ แ ก่ ด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ และ ด้านสิง่ แวดล้อม โดยกระบวนการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่าง ยั่งยืนที่ อพท. ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาคือ การบริหารจัดการแหล่งท่องเทีย่ วและทรัพยากร ในท้องถิ่นผ่าน กระบวนการมีส่วนร่วม หรือ 28 CBT ท�ำอย่างไรให้ยั่งยืน?

Co-Creation ประกอบด้ ว ย ร่ ว มคิ ด ร่ ว ม วางแผน ร่วมปฏิบัติ ร่วมรับผิดชอบ และร่วมรับ ผลประโยชน์ ซึ่งกระบวนการดังกล่าว นอกจาก จะเป็นกลไกให้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมในการ บริหารจัดการทรัพยากรท้องถิ่นของตนเองแล้ว ยังเป็นการพัฒนาศักยภาพของคนในท้องถิ่น อีกด้วย เพราะฉะนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า อพท. เป็น หน่วยงานทีช่ ว่ ยวางรากฐานการพัฒนาศักยภาพ ของท้องถิ่นให้เกิดความยั่งยืน ซึ่งค่านิยมองค์กร ที่ บุ ค ลากรทุ ก คนยึ ด ถื อ และใช้ เ ป็ น แนวทาง ในการท�ำงาน คือ 1.ทุม่ เทมุง่ มัน่ 2.ประสานภาคี 3. มีใจบริการ 4.ท�ำงานเป็นทีม และ 5.ยิม้ รับฟังชุมชน


Pa r t 3:

บทบาทส�ำคัญของ อพท. ต่อการพั ฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน

1 2

พัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อเพิ่มรายได้และกระจายรายได้ไปสู่ชุมชน ท้องถิ่น โดยมีส�ำนักท่องเที่ยวโดยชุมชน (สทช.) เป็นหน่วยงาน ที่ท�ำหน้าที่ร่วมกับพื้นที่พิเศษ เพื่อพัฒนาศักยภาพชุมชนและเตรียม ความพร้อมการบริหารจัดการการท่องเที่ยวในชุมชนของตนเอง เป็นตัวกลางเพื่อประสาน ส่งเสริม สนับสนุน ทั้งชุมชน และภาคี เครือข่ายต่าง ๆ ให้สามารถท�ำงานพัฒนาการท่องเที่ยวร่วมกันได้ อย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพและเกิ ด ประสิ ท ธิ ผ ล เพื่ อ ให้ ชุ ม ชนได้ รั บ ประโยชน์สูงสุดจากการท่องเที่ยว และเกิดการท่องเที่ยวโดยชุมชน ที่ยั่งยืนขึ้นมาเป็นต้นแบบในการขยายผลไปยังชุมชนอื่น ๆ ต่อไป การเริ่มต้นสู่ การพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน จึงสามารถ เกิดขึ้นได้ โดยมี อพท. ส่งเสริมการพัฒนาตั้งแต่ขั้นเริ่มต้น กระบวน การคิดการพัฒนา ถ่ายทอดองค์ความรู้ ประสานงาน ให้ค�ำปรึกษา และสนับสนุนในทุกขั้นตอน โดยมุ่งหมายให้เกิดการพัฒนาที่เป็น ประโยชน์ ต ่ อ ชุ ม ชน เพื่ อ เป้ า หมายหลั ก คื อ ความยั่ ง ยื น ของ ประเทศไทย ทั้งมิติด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารการพั ฒนาพื้ นที่พิเศษเพื่ อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)

29


CHAPTER 3

พื้ นที่พิเศษ เพื่ อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน อพท. มุ่งมั่นพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนให้เกิดขึ้น ใน 6 พืน้ ทีพ่ เิ ศษเพือ่ การท่องเทีย่ วอย่างยัง่ ยืน ซึง่ สามารถ เป็นต้นแบบการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่มีความ แตกต่างด้านทรัพยากรได้เป็นอย่างดี ดังนี้

1 3

5

พื้ น ที่ พิ เ ศษหมู ่ เ กาะช้ า งและพื้ น ที่ เชื่อมโยง เป็นพื้นที่ต้นแบบด้านการ ท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือ Low Carbon Destination • ชุมชนบ้านน�้ำเชี่ยว • ชุมชนแหลมกลัด พื้ น ที่ พิ เ ศษอุ ท ยานประวั ติ ศ าสตร์ สุโขทั ย-ศรี สัช นาลั ย-ก� ำแพงเพชร เป็นพื้นที่คุณค่าแห่งเมืองมรดกโลก หรือ World Heritage City • ชุมชนเมืองเก่าสุโขทัย • ชุมชนบ้านคุกพัฒนา • ชุมชนนครชุม พื้นที่พิเศษเมืองเก่าน่าน เป็นพื้นที่ เมืองเก่าทีม่ ชี วี ติ หรือ Living Old Town • ชุมชนน่านในเวียง • ชุมชนบ่อสวก

30 CBT ท�ำอย่างไรให้ยั่งยืน?

2 4

6

พื้ น ที่ พิ เ ศษเมื อ งพั ท ยาและพื้ น ที่ เชื่ อ มโยง เป็ น เมื อ งท่ อ งเที่ ย วแห่ ง นวัตกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือ Greenovative City • ชุมชนตะเคียนเตี้ย • ชุมชนบ้านชากแง้ว พื้ น ที่ พิ เ ศษเลย เป็ นเมื อ งแห่ งการ พักผ่อน หรือ Leisure Loei • ชุมชนกกสะทอน • ชุมชนปลาบ่า

พื้นที่พิเศษเมืองโบราณอู่ทอง เป็น พื้นที่อารยธรรมสุวรรณภูมิ ต�ำนาน ประวัตศิ าสตร์ชาติไทย หรือ Origin of Suvarnabhumi • ชุมชนเมืองโบราณทราวดีอู่ทอง


องค์การบริหารการพั ฒนาพื้ นที่พิเศษเพื่ อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)

31


CHAPTER 3

ชุมชนต้นแบบ ในพื้ นที่พิเศษของ อพท. จากพืน้ ทีพ่ เิ ศษเพือ่ การท่องเทีย่ ว อย่างยั่งยืนทั้ง 6 พื้นที่ มีหลากหลาย ชุ ม ชนที่ พั ฒ นาตนเองสู ่ ก ารเป็ น แหล่ ง ท่ อ งเที่ ย วโดยชุ ม ชน โดยมี อพท. ให้การสนับสนุนปัจจัยต่าง ๆ ทัง้ ทางด้านกระบวนการคิด การพัฒนา ถ่ายทอดองค์ความรู้ ประสานงาน ให้ค�ำปรึกษาหรือสนับสนุนตามความ ต้องการทีแ่ ตกต่างไปของแต่ละชุมชน

เมื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของ ชุ มชนผนวกรวมเข้ า กับองค์ ค วามรู ้ และแนวทางการบริหารจัดการของ อพท. จึงท�ำให้เกิด 14 ชุมชนต้นแบบ ในพื้นที่พิเศษของ อพท. ซึ่งแสดง ให้ เ ห็ น ถึ ง ความสามารถของชุ ม ชน ที่ ส ามารถด� ำ เนิ น การท่ อ งเที่ ย ว โดยชุมชนได้ส�ำเร็จ โดย 14 ชุมชน ดังกล่าว มีดังต่อไปนี้

1

2

ชุมชนแหลมกลัด จ.ตราด ชุ ม ชนประมงเชิ ง อนุ รั ก ษ์ สร้างสรรค์อาชีพที่เป็นมิตร กับสิ่งแวดล้อม

ชุมชนบ้านน�้ำเชี่ยว จ.ตราด ชุ ม ชนสองศาสนา ความ กลมเกลี ย วที่ พั ฒ นาการ ท่องเที่ยวระดับรางวัล

ชุมชนตะเคียนเตี้ย จ.ชลบุรี ชุมชนวิถศี ลิ ปะพืน้ บ้านไทย ศูนย์เรียนรู้วิถีชุมชนไทย

ชุมชนบ้านชากแง้ว จ.ชลบุรี ชุมชนจีนโบราณ อดีตที่มี ลมหายใจ

5

6

ชุมชนนครชุม จ.ก�ำแพงเพชร ชุมชนตลาดโบราณ สืบสาน สูตรอาหารและพระเครื่อง นครชุม

ชุมชนบ้านคุกพัฒนา จ.สุโขทัย ชุ ม ชนคนท� ำ ว่ า วพระร่ ว ง พร้ อ มเรื่ อ งราวชี วิ ต แบบ พอเพียง

3

32 CBT ท�ำอย่างไรให้ยั่งยืน?

4


7

8

9

10

ชุมชนเมืองเก่าสุโขทัย จ.สุโขทัย ชุมชนรอบอุทยานประวัติศาสตร์ ย้ อ นรอยอดี ต ผ่ า นวิ ถี ดั้ ง เดิ ม ที่ ด� ำ รงอยู ่ ในปัจจุบัน

ชุมชนปลาบ่า จ.เลย ชุ ม ชนปลู ก ป่ า มุ ่ ง หน้ า พัฒนาพืชพันธุ์

11

12

13

14

ชุมชนในเวียง จ.น่าน ชุ ม ชนวั ฒ นธรรมล้ า นนา ตะวันออก มรดกแห่งศรัทธา

ชุมชนเมืองโบราณอู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ชุมชนเก่าแก่โบราณ ต�ำนาน อารยธรรมสุวรรณภูมิ

ชุมชนบ้านสันลมจอย จ.เชียงใหม่ ชุมชนหลากหลายชาติพนั ธุ์ รวมกันอยู่ ร่วมกันแข็งแกร่ง

ชุมชนบ้านไร่กองขิง จ.เชียงใหม่ ชุมชนรักษ์สขุ ภาพ แบบอย่าง ความสุขทั้งกายใจ

ชุมชนกกสะทอน ชุมชนบ่อสวก จ.เลย จ.น่าน ชุ ม ชนร้ อ ยเรื่ อ งเล่ า มาก ชุมชนแห่งภูมปิ ญั ญาทีม่ ชี วี ติ ความงดงาม ส่งต่อมรดกจากรุ่นสู่รุ่น

องค์การบริหารการพั ฒนาพื้ นที่พิเศษเพื่ อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)

33


CHAPTER 3

ท่องเที่ยวโดยชุมชน ท�ำอย่างไรให้ยั่งยืน? ผลส�ำเร็จจากกระบวนการการสร้างสรรค์ การท่องเที่ยวโดยชุมชนของ อพท. ก่อให้เกิด องค์ความรู้ที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้ชุมชนสามารถ เริ่มต้นด�ำเนินการ การท่องเที่ยวโดยชุมชน ได้ด้วยตนเอง ซึ่งประกอบด้วย 3 ขั้นตอนหลัก และ 12 กระบวนการโดยละเอียด ดังนี้

34 CBT ท�ำอย่างไรให้ยั่งยืน?


3 ขั้นตอนหลัก 12 กระบวนการ 2. รู้จักเข้าใจตัวเอง

3. รู้จักหาเพื่ อน

• รู้จักข้อดีและข้อเสีย ของการท่องเที่ยว • รู้จักความท้าทาย และโอกาสจากการท่องเที่ยว

• ท�ำท่องเที่ยวท�ำไมเพื่อตอบโจทย์อะไร ผ่านการพู ดคุยกันในชุมชน • ประเมินว่าชุมชนมีศักยภาพอะไร ด้วยการส�ำรวจตัวเอง • วางกฎกติกาการท�ำงานร่วมกัน ภายในชุมชนและกฎกติกา ส�ำหรับนักท่องเที่ยว

• รู้จักผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายในชุมชน และภายนอก เพื่อร่วมเสริมจุดแข็ง ปิดจุดอ่อน • วางบทบาทในกลุ่ม แบ่งงานกัน ให้ชัดเจน

4. รู้จักทางเดิน สู่เป้าหมาย

5. รู้จักตลาด

6. รู้จักเพิ่ มมูลค่า

7. รู้จักสื่อสาร

• เรียนรู้การสร้างความประทับใจ ให้นักท่องเที่ยว • พัฒนาสินค้าของที่ระลึก ที่เป็นอัตลักษณ์ชุมชน

• • • •

8. รู้จักพอประมาณ

9. รู้จักกระจายประโยชน์

• ก�ำหนดขีดความสามารถ ในการรองรับการนักท่องเที่ยว ที่เหมาะสม

• บริหารจัดการกองทุนชุมชนให้โปร่งใส • วางโครงสร้างการกระจายประโยชน์ ให้แต่ละกลุ่มในชุมชน

รู้จักช่องทางการประชาสัมพันธ์ เปิดตัวโครงการสู่สังคมให้เป็นที่รู้จัก เข้าใจการตลาดที่มีความรับผิดชอบ รู้จักช่องทางการเข้าถึง กลุ่มเป้าหมาย

PART B ขั้นพร้อมขาย

• พู ดคุยกัน วางแผนก�ำหนดเป้าหมาย โดยมีแผนงาน แผนเงิน และแผนคน ที่ชัดเจน • เรียนรู้การเพิ่มมูลค่าทรัพยากร การท่องเที่ยว

• เข้าใจพฤติกรรมนักท่องเที่ยวเป้าหมาย • พัฒนาโปรแกรมท่องเที่ยวที่ตอบสนอง ความต้องการกลุ่มเป้าหมาย แต่คงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ • ทดลองกิจกรรมการท่องเที่ยว ทดลองกลุ่มเป้าหมาย • เพื่อรับฟังข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาต่อ • ก�ำหนดราคาที่เหมาะสม

PART A ขั้นเตรียม

1. รู้จักการท่องเที่ยว

PART C ขั้นวัดผลและส่งต่ออย่างยั่งยืน 10. รู้จักจัดการความรู้

11. รู้จักสร้างภูมิคุ้มกัน

12. รู้จักส่งต่อแบ่งปัน

• เก็บข้อมูลผลกระทบ และผลประโยชน์จากการท่องเที่ยว • ถอดบทเรียนการพัฒนา เพื่อวางแผนการพัฒนา อย่างต่อเนื่อง

• เรียนรู้จัดการความเปลี่ยนแปลง ให้พอเหมาะกับชุมชน • เรียนรู้การควบคุมคุณภาพ การบริการ การท่องเที่ยว

• สร้างคนรุ่นใหม่ (เยาวชน) เพื่อสืบทอด แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ • ให้ทั้งภายในและภายนอกชุมชน เพื่อร่วมขยายผลอย่างต่อเนื่อง

องค์การบริหารการพั ฒนาพื้ นที่พิเศษเพื่ อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)

35


CHAPTER 3

PART

A

ขั้นเตรียม CBT หรือการท่องเที่ยวโดยชุมชนไม่ใช่เรื่องยาก และยิ่งง่าย หากชุมชนเริ่มต้นด้วย ความพร้อม พร้อมกาย พร้อมใจ พร้อมความรู้ พร้อมด้วยเครื่องมือแห่งการรู้ ทั้ง 5 เรื่องต้องรู้ ในการเตรียมความพร้อมชุมชน ดังนี้

1 รู้จักการท่องเที่ยว การรู้จักการท่องเที่ยวเป็นจุดเริ่มต้นของ การพัฒนาการท่องเทีย่ ว ไม่วา่ จะเป็นการพัฒนา การท่องเทีย่ วโดยองค์กรรัฐ เอกชน องค์กรธุรกิจ หรื อ ชุ ม ชนใด ๆ ก็ ต าม เพราะการรู ้ จั ก การ

36 CBT ท�ำอย่างไรให้ยั่งยืน?

ท่ อ งเที่ ย วท� ำ ให้ เราเข้ า ใจความหมาย ที่ ม า การเปลี่ยนแปลง และสิ่งส�ำคัญที่สุดคือ ข้อดี และ ข้ อ เสี ย จากการท่ อ งเที่ ย วโดยชุ ม ชน ที่จะเกิดขึ้น


ข้อมูลเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ทั้งยุคสมัย และข้อดีตา่ ง ๆ ถูกรวบรวมไว้ในบทที่ 1 ของคูม่ อื ฉบับนี้แล้ว และสามารถค้นหาข้อมูล ความรู้ รวมถึงหากเกิดข้อสงสัย สามารถหาค�ำตอบได้ที่ เว็บไซต์ อพท. www.dasta.or.th ซึ่งท�ำงาน เพื่อการพัฒนาด้านนี้โดยตรง นอกจากนั้ น สิ่ ง ส� ำ คั ญ ที่ ผู ้ เริ่ ม ต้ น CBT ควรให้ความส�ำคัญไม่แพ้การรู้จักการท่องเที่ยว และข้อดีขอ้ เสียก็คอื การรูจ้ กั ความท้าทาย และ โอกาสจากการท่องเที่ยว ซึ่งมาจากทั้งความ นิ ย ม รู ป แบบการท่ อ งเที่ ย วที่ เ ปลี่ ย นแปลง อยู ่ ต ลอดเวลา การปรั บ แหล่ ง ท่ อ งเที่ ย วให้ สอดคล้องกับสภาพภูมิอากาศ หรือแม้แต่ความ ท้าทายจากการได้รบั รางวัลแหล่งท่องเทีย่ ว เป็นต้น ข้อดี ของการท่องเที่ยวต่อชุมชน ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว

ข้อเสีย ของการท่องเที่ยวต่อชุมชน ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว

• สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ (เสริม) • ลดการย้ายถิ่นฐานของเยาวชน • เกิดการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม เชื่อมโยงสินค้า หรือ เส้นทางท่องเที่ยวระหว่างชุมชน • สร้ า งความรู ้ สึ ก รั ก และมี ส ่ ว นร่ ว มในการอนุ รั ก ษ์ วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมร่วมกันระหว่างชุมชนและ นักท่องเที่ยว • ฯลฯ

• ทรัพยากรอาจเสื่อมโทรม หากบริหารจัดการไม่ดี • ก่อให้เกิดขยะจากการเข้ามาของนักท่องเที่ยว • การเข้ามาถึงของวัฒนธรรมที่แตกต่างซึ่งอาจส่งผล กระทบต่อวัฒนธรรมของชุมชน • ฯลฯ

ความท้าทายและโอกาส จากการท่องเที่ยว

+ การเข้าร่วมประกวดรางวัลด้านการท่องเที่ยวต่าง ๆ + ปัจจุบันการท�ำท่องเที่ยวโดยชุมชนที่ได้รับการยอมรับ ในวงกว้างนั้นมีหลากหลายรูปแบบ ทั้งการท่องเที่ยว + การแลกเปลี่ยนศึกษาดูงานกับแหล่งท่องเที่ยวชุมชน ทัง้ ในและต่างประเทศ เพือ่ น�ำองค์ความรูท้ ไี่ ด้มาปรับใช้ เชิงรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) หรือธุรกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) ซึ่งหากชุมชนสามารถพัฒนา กับชุมชน ตนเองให้ไปถึงจุดนั้นได้ แน่นอนว่าย่อมสร้างโอกาส + ชุมชนมีโอกาสได้ส�ำรวจตนเองว่า มีหรือขาดศักยภาพ ในการพัฒนาชุมชนในด้านอื่น ๆ ตามมา ด้านใด และควรร่วมมือกับหน่วยงานใด เพือ่ บูรณาการ การพัฒนา หรือปรับปรุงสิ่งที่มี ที่เป็นอยู่ให้ดียิ่งขึ้น องค์การบริหารการพั ฒนาพื้ นที่พิเศษเพื่ อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)

37


CHAPTER 3

2 รู้จักเข้าใจตัวเอง

เมื่อรู้จักการท่องเที่ยว ทั้งที่มา ข้อดี ข้อเสีย ความท้าทาย และโอกาส สิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อมา คือการมองเห็นภาพการท่องเที่ยวที่สามารถ เกิดขึน้ ในชุมชนของเรา แต่การ รูจ้ กั เข้าใจตัวเอง ไม่ใช่เพียงแค่การเห็นภาพการท่องเทีย่ วทีจ่ ะเกิดขึน้ ในชุมชน แต่การท�ำการท่องเทีย่ วโดยชุมชนจะต้อง ตอบโจทย์ของตัวเองให้ได้ก่อนว่า ท� ำ ท่ อ งเที่ ย ว ท�ำไม? เพื่อตอบโจทย์อะไร? และกระบวนการ หาค� ำ ตอบนั้ น จะต้ อ งมาจากการพู ด คุ ย กั น ในชุมชน ซึ่งเป็นเจ้าของทรัพยากรและแหล่ง ท่องเที่ยวในชุมชน

ไม่วา่ จะเป็นการท�ำท่องเทีย่ วเพือ่ วัตถุประสงค์ ของการสร้างงาน เผยแพร่วัฒนธรรม หรือสร้าง จิตส�ำนึกอนุรักษ์แบบมีส่วนร่วม ความเห็นพ้อง ต้องกัน และมีเป้าหมายเดียวกันของชุมชน คือ พลังส�ำคัญ ที่จะท�ำให้การท่องเที่ยวโดยชุมชนนั้น ส�ำเร็จ และตอบโจทย์ที่ทุกคนตั้งไว้ร่วมกันได้ 38 CBT ท�ำอย่างไรให้ยั่งยืน?

สิง่ ส�ำคัญต่อมาของการรูจ้ กั เข้าใจตนเอง คือ การประเมินศักยภาพชุมชนด้วยการส�ำรวจ ตัวเอง โดยศักยภาพนี้ครอบคลุมทั้งศักยภาพ ของสถานที่ (น�้ำตก ภูเขา ล�ำธาร วัด ฯลฯ) ศั ก ยภาพของคน (การท� ำ อาหาร ทอผ้ า ภูมิปัญญา ฯลฯ) และศักยภาพทางวัฒนธรรม (ประวัติศาสตร์ เรื่องเล่า มรดกทางวัฒนธรรม ฯลฯ) เพือ่ น�ำมาสร้างสรรค์สคู่ วามส�ำเร็จของการ ท่องเที่ยว ในส่วนของการส�ำรวจนั้นจะเป็นการค้นหา ของดีในชุมชน เพื่อให้เห็นศักยภาพเบื้องต้น จากทรัพยากรที่มีอยู่เดิม เช่น แหล่งทรัพยากร อาหาร วัฒนธรรม ต�ำนาน เป็นต้น อาจใช้ เกณฑ์การพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนของ ประเทศไทย (หน้า 58-59) เป็นแนวทางในการ ท�ำงาน ซึ่งข้อมูลที่ต้องการจากการส�ำรวจมีดังนี้


• ข้อมูลพืน้ ฐานชุมชน หรือข้อมูลทัว่ ไปทีเ่ กีย่ วกับชุมชน ประวัตแิ ละรากเหง้าของชุมชน ทรัพยากรทางธรรมชาติ และวัฒนธรรม ตลอดจนประเพณีทอ้ งถิน่ วิถชี วี ติ ชุมชน กลุ่มอาชีพ เส้นทางการคมนาคม การเข้าถึงชุมชน ระบบสาธารณู ป โภคและสิ่ ง อ� ำ นวยความสะดวก ที่จ�ำเป็นต่าง ๆ เพื่อรองรับการท่องเที่ยว • ข้อมูลเฉพาะด้านการท่องเทีย่ วโดยชุมชน ประกอบด้วย พัฒนาการและเหตุผลของการท�ำการท่องเที่ยวของ ชุ ม ชนนั้ น ๆ โครงสร้ า งและรู ป แบบองค์ ก รชุ ม ชน ที่ด�ำเนินการท่องเที่ยวในปัจจุบัน แหล่งท่องเที่ยวและ กิจกรรมท่องเที่ยวชุมชน การพัฒนาบุคลากรในชุมชน ด้านองค์ความรูเ้ กีย่ วกับการท่องเทีย่ ว การให้บริการต่าง ๆ เช่น ทีพ่ กั ร้านอาหาร รถ นักสือ่ ความหมายท้องถิน่ เป็นต้น เมื่อรู้จักเข้าใจตัวเองในทุกระดับ สิ่งที่ท�ำให้ ในชุมชน และกฎกติกาส�ำหรับนักท่องเทีย่ ว เพือ่ การท่องเทีย่ วสามารถด�ำเนินไปอย่างมีศกั ยภาพ ให้รักษาตัวตนของชุมชนไว้ คื อ การตั้ ง กฎกติ ก า ทั้ ง การท� ำ งานร่ ว มกั น TIPS

+ การตอบโจทย์การท�ำการท่องเที่ยว อาจมาจากการ + การประเมินศักยภาพชุมชนและคนในชุมชน ควรมาจาก หลายวิธกี ารเพือ่ ให้ได้มมุ มองทีแ่ ตกต่างและครอบคลุม มองเห็ น ปั ญ หาที่ เ กิ ด ขึ้ น ในชุ ม ชน หรื อ ปั ญ หาจาก ภายนอกทีก่ ำ� ลังจะเข้ามากระทบในชุมชน เช่น การเข้ามา เช่น การส�ำรวจ การพูดคุยสอบถามจากคนภายใน ของนายทุน วัฒนธรรมประเพณีทถี่ กู ลืมเลือน หรืออาจ ชุ ม ชน และ/หรื อ ภายนอกชุ ม ชน การอภิ ป ราย มาจากความโดดเด่นด้านใดด้านหนึง่ หรือหลาย ๆ ด้าน แสดงความคิดเห็นร่วมกัน เป็นต้น ของชุมชน ซึ่งควรมาจากความเห็นที่ตรงกันหรือได้รับ + กฎกติ ก าเพื่ อ การท� ำ งานร่ ว มกั น ในชุ ม ชนและ การยอมรับในชุมชน กฎกติกาส�ำหรับนักท่องเทีย่ ว ควรเกิดขึน้ เพือ่ ตอบโจทย์ จุดประสงค์การท�ำการท่องเทีย่ วโดยชุมชน อย่างยัง่ ยืน และอาจแตกต่างไปตามอัตลักษณ์ของชุมชน บทเรียนจากต้นแบบ

ชุ ม ชนน�้ ำ เชี่ ย ว จั ง หวั ด ตราด ชุ ม ชนที่ มี ความหลากหลายทางศาสนา มีการก�ำหนดให้ นักท่องเที่ยวศึกษาวัฒนธรรมท้องถิ่นก่อนเดินทาง แต่งกายให้สภุ าพ ถ่ายภาพให้ความเคารพสถานที่ โดยเฉพาะสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ฯลฯ องค์การบริหารการพั ฒนาพื้ นที่พิเศษเพื่ อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)

39


CHAPTER 3

3 รู้จักหาเพื่อน

การท่องเที่ยวโดยชุมชนท�ำคนเดียวไม่ได้ คนในชุมชนที่เป็นเจ้าของทรัพยากรจึงจ�ำเป็น ต้องตระหนักถึงคุณค่าของแหล่งท่องเที่ยว และ มีเป้าหมายร่วมกันที่จะท�ำการท่องเที่ยวโดย ชุมชน เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการต้นทุนเดิม ให้เกิดประโยชน์สูงสุด หรือใช้การท่องเที่ยว เป็นเครือ่ งมือในการแก้ปญั หาในชุมชน ไม่วา่ จะเป็น ทางด้านเศรษฐกิจ สังคม หรือสิ่งแวดล้อม เช่น ปัญหาลูกหลานย้ายถิน่ ฐาน ทรัพยากรเสือ่ มโทรม รายได้น้อย เป็นต้น

และนอกจากคนในชุมชนซึ่งจะเป็น เพื่อน ร่วมท�ำงาน ทีม่ สี ว่ นได้สว่ นเสียจากการท่องเทีย่ ว โดยชุมชนทีจ่ ะเกิดขึน้ แล้ว ชุมชนยังต้องค�ำนึงถึง หน่วยงานภายนอก ไม่วา่ จะเป็นชุมชนใกล้เคียง ภาครัฐ เอกชน ที่อาจมีส่วนได้ส่วนเสียจากการ ท่องเทีย่ วโดยชุมชน เพือ่ เสริมก�ำลัง สร้างจุดแข็ง และแก้ไขจุดอ่อนร่วมกัน เมือ่ หาเพือ่ นร่วมสร้างสรรค์งานด้วยกันได้แล้ว ขั้ น ตอนต่ อ มาคื อ การวางบทบาทในกลุ ่ ม ให้มีการแบ่งงานกันอย่างชัดเจน ตามศักยภาพ ของแต่ละคน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดร่วมกัน

บทเรียนจากต้นแบบ

ชุมชนบ้านสันลมจอย จังหวัดเชียงใหม่ เป็นชุมชนเผ่าลีซูและอาข่า ที่มาอาศัยในเมือง ซึ่งการท�ำงานด้านการท่องเที่ยวร่วมกับคนเมืองที่ มีวิถีชีวิตและวัฒนธรรมแตกต่างออกไปนั้น ได้อาศัยการรวมกลุ่มกัน ของชุมชนในการร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมปฏิบัติ ร่วมผิดชอบ และ ร่วมรับผลประโยชน์ 40 CBT ท�ำอย่างไรให้ยั่งยืน?


การท�ำท่องเทีย ่ วโดยชุมชนนั้น มุ่งเน้นการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม และบริหารจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืน

4 รู้จักทางเดินสู่เป้าหมาย โจทย์ของการท่องเที่ยวในแต่ละชุมชนย่อม แตกต่างกัน แต่ทางเดินสู่ค�ำตอบหรือเป้าหมาย สูงสุดของการท�ำการท่องเทีย่ วล้วนมีขนั้ ตอนและ ประกอบด้ ว ยการก� ำ หนดเป้ า หมายทุ ก ระยะ ให้บรรลุและเดินทางไปสู่โจทย์ของจุดเริ่มต้น การท�ำการท่องเที่ยวที่ได้ตั้งไว้ ซึ่งต้องอย่าลืมว่า การท�ำท่องเที่ยวโดยชุมชนนั้น มุ่งเน้นการสร้าง กระบวนการมี ส ่ ว นร่ ว มและบริ ห ารจั ด การ ทรัพยากรอย่างยั่งยืน

การก�ำหนดเป้าหมายของชุมชน จึงต้อง เป็ น เป้ า หมายที่ จ ะน� ำ ทางไปสู ่ โจทย์ ข องการ ท่องเทีย่ ว โดยมีแผนงานทีช่ ดั เจน โดยอาจแบ่งเป็น แผนงาน แผนเงิน และ แผนคน แผนงานทีช่ ดั เจนนีป้ ระกอบด้วยรายละเอียด กิจกรรม ระยะเวลา และงบประมาณในการท�ำ กิจกรรม โดยอาจแบ่งแผนงานออกเป็นระยะ ๆ เช่น ระยะสั้น (1 ปี) ระยะกลาง (1-3 ปี) ระยะยาว (3 ปีขึ้นไป) เป็นต้น

องค์การบริหารการพั ฒนาพื้ นที่พิเศษเพื่ อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)

41


CHAPTER 3

แผนงาน

พัฒนาชมรม/กลุ่มท่องเที่ยว พัฒนาแหล่งท่องเที่ยว พัฒนากิจกรรมเพื่อการท่องเที่ยว พัฒนาการบริการและ การเป็นเจ้าภาพที่ดี การศึกษาดูงานของกรรมการชุมชน วิเคราะห์นักท่องเที่ยวเป้าหมาย ฯลฯ สิง่ ส�ำคัญหนึง่ ของแผนงานคือ การวางแผนการตลาด เพือ่ ให้สามารถบรรลุเป้าหมายทีว่ างไว้ ทัง้ การสร้างเรือ่ งราว

ใ ห ้ กั บ ชุ ม ชน กา ร ออกแบบโลโก้ แ ละสโลแกน การออกแบบกิจกรรมการท่องเทีย่ ว การคิดราคาโปรแกรม ท่องเที่ยว การโฆษณาประชาสัมพันธ์ การวางแผนการ สื่อสารทางโซเชียลมีเดีย รวมถึงการวางภาพลักษณ์ให้กับ แหล่งท่องเที่ยวในชุมชน

แผนเงิน

แหล่งงบประมาณ วางแผนการใช้จา่ ยเงิน กฎระเบียบ การใช้เงิน การจัดการรายได้ที่มาจากทิศทางต่าง ๆ ของ การท�ำการท่องเที่ยวโดยชุ มชน ซึ่ ง ต้ องมี ความชั ดเจน วางแผนอย่างรอบคอบ รัดกุม ครอบคลุมความเสี่ยงที่อาจ เกิดขึน้ เช่น ความเสีย่ งด้านทรัพยากร ด้านบุคลากร เป็นต้น 42 CBT ท�ำอย่างไรให้ยั่งยืน?

ที่ ส� ำ คั ญ คื อ ควรเป็ น แผนเงิ น ที่ ไม่ มี อิ ท ธิ พ ลต่ อ รายได้หลัก ของคนในชุมชน เพราะการท่องเทีย่ วโดยชุมชน มุ่งหมายให้เกิดความยั่งยืนของการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม แต่ไม่ใช่การกลายเป็นอาชีพหลักและ เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของคนในชุมชน ซึ่งจะส่งผลให้เกิด การเปลี่ยนแปลงที่ยากต่อการควบคุม


เพราะการท่องเทีย ่ วโดยชุมชน มุ่งหมายให้เกิดความยั่งยืนของ การพั ฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม แต่ไม่ใช่การกลายเป็นอาชีพหลักและ ่ นแปลงวิถีชีวิตของคนในชุมชน เปลีย

แผนคน

ความรูใ้ นการบริหารจัดการชุมชน ศักยภาพในการสือ่ ความหมาย ความรู ้ ค วามเข้ า ใจเรื่ อ งการประชาสั ม พั น ธ์ แ ละการตลาด ซึ่งต้องหาช่องทาง หรือวางแผนการพัฒนาศักยภาพดังกล่าว ให้เกิดกับคนในชุมชน และต้องหลากหลาย ทั่วถึง รวมถึงการ พัฒนาทักษะเฉพาะทางที่เหมาะสมต่อบุคคล โดยแผนคนหรือ แผนการพัฒนาบุคลากรนี้ อาจแบ่งเป็น 2 ทักษะคือ 1. ทั ก ษะพื้ น ฐาน คื อ ความสามารถที่ ค วรได้ รั บ การถ่ายทอด เรียนรู้อย่างทั่วถึง เพื่อประสิทธิภาพ การจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนร่วมกัน เช่น ความรู้ความเข้าใจเรื่องการท่องเที่ยวโดยชุมชน เรื่องงานบริการ เรื่องการบริหารทรัพยากรชุมชน ทักษะการสื่อสารเพื่อการท่องเที่ยว เป็นต้น 2. ทักษะเฉพาะทาง คือความสามารถทีบ่ คุ ลากร หรือ คนในท้องถิ่น ควรได้รับการถ่ายทอดเรียนรู้เป็น รายบุคคล เพือ่ การท�ำงานเฉพาะทาง อาทิ การทอผ้า ย้อมผ้า เย็บผ้า วัฒนธรรมอาหารท้องถิ่น ผู้น�ำ ประเพณีท้องถิ่น การวางแผนการตลาด การขับรถ ภาษาอังกฤษระดับสูง ในกรณีทมี่ งุ่ พัฒนาสูก่ ารส่งออก ระดับสากล เป็นต้น

บทเรียนจากต้นแบบ

ในแผนการพัฒนาท่องเที่ยวชุมชนระยะสั้นของ ชุมชนตะเคียนเตีย้ จังหวัดชลบุรี มีความจ�ำเป็น ต้องจัดท�ำแผนที่และโปรแกรมท่องเที่ยว จึงได้ จัดท�ำโครงการพัฒนาเส้นทางท่องเทีย่ วในชุมชน ตะเคียนเตี้ยขึ้น ผ่านการรวบรวมของดีเด่นดัง ในชุมชน และออกแบบเป็นสื่อประชาสัมพันธ์ (แผนงาน) ก�ำหนดผู้รับผิดชอบในการจัดท�ำ โครงการ (แผนคน) รวมถึงคิดราคาต้นทุนในการ ผลิตสื่อ (แผนเงิน)

ชุมชนบ้านไร่กองขิง จังหวัดเชียงใหม่ เดิมเป็น ชุ ม ชนที่ มี ป ั ญ หาด้ า นสุ ข ภาพ เนื่ อ งจากคน ในชุ ม ชนใช้ ส ารเคมี ใ นภาคเกษตร ท� ำ ให้ ค น ในชุมชนป่วยและได้รับผลกระทบจากสารเคมี ดังกล่าว ปัญหาที่ว่าท�ำให้ชุมชนบ้านไร่กองขิง เกิดแนวคิดในการท�ำเกษตรอินทรีย์ ทั้งส�ำหรับ บริโภคในชุมชนและจ�ำหน่าย โดยตั้งเป้าหมาย ในการเป็นชุมชนท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ ภายใน ระยะเวลา 3 ปี

องค์การบริหารการพั ฒนาพื้ นที่พิเศษเพื่ อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)

43


CHAPTER 3

สิ่งส�ำคัญทีจ ่ ะท�ำให้ชุมชน สามารถวางแผนการตลาด ได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือ การรู้จักตลาด

5 รู้จักตลาด

ตลาดในความหมายของการท่องเที่ยวไม่ใช่ สถานที่ เ พื่ อ พบปะแลกเปลี่ ย นเพื่ อ เกิ ด การ ซื้ อ ขายแลกเปลี่ ย นสิ น ค้ า และบริ ก ารที่ เ ป็ น รูปธรรม แต่คือ กลุ่มนักท่องเที่ยวต่าง ๆ ที่มี อุปนิสัย ที่มา ความต้องการ และวัตถุประสงค์ ในการเดินทางท่องเที่ยวแตกต่างกัน

44 CBT ท�ำอย่างไรให้ยั่งยืน?

การได้มาของส่วนแบ่งทางการตลาด หรือ การที่ จ ะท� ำ ให้ นั ก ท่ อ งเที่ ย วมาเยื อ นแหล่ ง ท่องเที่ยวโดยชุมชน นอกจากท�ำความเข้าใจ รูจ้ กั ชุมชน วางแผนงาน แผนเงิน และแผนคนแล้ว สิ่ ง ส� ำ คั ญ ที่ จ ะท� ำ ให้ ชุ ม ชนสามารถวางแผน การตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพคือการ รูจ้ กั ตลาด โดยประกอบด้วย


• ความเข้าใจพฤติกรรมนักท่องเที่ยวเป้าหมาย เช่น นักท่องเทีย่ วชาวยุโรปวัยกลางคนชืน่ ชอบการท่องเทีย่ ว แบบได้เป็นส่วนหนึง่ ของวัฒนธรรม นักท่องเทีย่ ววัยรุน่ ทีช่ อบความสนุกสนาน นักท่องเทีย่ วทีช่ อบการผจญภัย หรือนักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบการช้อปปิ้ง เป็นต้น • พัฒนาโปรแกรมท่องเทีย่ ว จากพฤติกรรมนักท่องเทีย่ ว เป้าหมายเพื่อตอบสนองความต้องการ ขณะเดียวกัน ก็คงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ชุมชน • ทดลองกิจกรรมการท่องเทีย่ ว ทดลองเชิญกลุม่ เป้าหมาย เข้าร่วมกิจกรรม เพื่อรับฟังข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาต่อ TIPS

+ ส�ำรวจความต้องการจากนักท่องเทีย่ ว ทีม่ าท่องเทีย่ ว + ศึกษาจากตลาดของการท่องเที่ยวแบบเดียวกัน เช่น ในชุมชนโดยตรง การท่ อ งเที่ ย วเชิ ง วั ฒ นธรรม หรื อ การท่ อ งเที่ ย ว เชิ ง เกษตรกรรม ว่ า มี ก ารปรั บ ปรุ ง เปลี่ ย นแปลง + ส�ำรวจความต้องการจากกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการ พัฒนาการท่องเที่ยวอย่างไร เช่น ส�ำรวจจากโรงเรียน หากต้องการกลุม่ เป้าหมายวัยรุน่ หรือส�ำรวจจากครอบครัว หากต้องการกลุ่มเป้าหมาย + ศึกษาจากการส�ำรวจของหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และองค์ ก รต่ า ง ๆ ซึ่ ง ต่ า งน� ำ เสนอผลการส� ำ รวจ ที่เป็นครอบครัว เป็นต้น เกี่ยวกับการท่องเที่ยวอย่างสม�่ำเสมอ องค์การบริหารการพั ฒนาพื้ นที่พิเศษเพื่ อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)

45


CHAPTER 3

PART

B

ขั้นพร้อมขาย เมื่อเตรียมจนพร้อม ในขั้นพร้อมขายของการท�ำ CBT หรือการท่องเที่ยวโดยชุมชน จึงเป็น การเปิดชุมชนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชน ซึ่งมี 4 ขั้นตอนที่จะด�ำเนินการ ไปพร้อมกับการเปิดแหล่งท่องเที่ยว ดังนี้

6 รู้จักเพิ่มมูลค่า

การเพิ่มมูลค่าของการท่องเที่ยวโดยชุมชน เป็นการเรียนรู้จาก นั ก ท่ อ งเที่ ย ว เพื่ อ ให้ มู ล ค่ า ที่ เ กิ ด จากการท่ อ งเที่ ย วนั้ น สู ง ขึ้ น แม้ปริมาณนักท่องเที่ยวยังคงเท่าเดิม ซึ่งมีหลายวิธีการ เช่น • เรียนรูก้ ารสร้างความประทับใจให้นกั ท่องเทีย่ ว คือการ ให้มิตรภาพ ความช่วยเหลือ น�้ำใจไมตรี และการบริการ ด้วยความจริงใจ ดังที่เราต้องการเมื่อไปเยี่ยมเยือนหรือ ไปเที่ยวในสถานทื่อื่น ๆ

46 CBT ท�ำอย่างไรให้ยั่งยืน?


• พัฒนาสินค้าของทีร่ ะลึกทีเ่ ป็นอัตลักษณ์ชมุ ชน เพือ่ สร้าง • สร้างแหล่งท่องเที่ยวที่เชื่อมโยงกับผลิตภัณฑ์ เพื่อ ภาพจ�ำ และความระลึกถึง บางครั้งโอกาสทางการ เพิ่ ม มู ล ค่ า ของผลิ ต ภั ณ ฑ์ ท ้ อ งถิ่ น อย่ า งชุ ม ชนที่ มี ดี ท่องเทีย่ วอาจไม่เอือ้ ให้นกั ท่องเทีย่ วสามารถมาเยือนซ�ำ้ ได้ เรือ่ งมะพร้าว อาจก�ำหนดเส้นทางท่องเทีย่ วให้นกั ท่องเทีย่ ว สินค้าที่ระลึกที่เป็นอัตลักษณ์ชุมชนจึงเป็นสิ่งที่มีค่า ได้ ดู ก ระบวนการตั้ ง แต่ ก ารปลู ก ต้ น มะพร้ า วสู ่ ก าร ส�ำหรับนักท่องเที่ยว และยังเป็นสินค้าที่สร้างมูลค่า แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ซึ่งจะท�ำให้เห็นถึงคุณค่า ทางการตลาดได้อีกด้วย ของผลิตภัณฑ์มากยิ่งขึ้น • การออกแบบเส้นทางท่องเทีย่ ว นอกจากการน�ำเสนอ • การสร้างกิจกรรมการมีสว่ นร่วม โดยอาจเป็นขัน้ ตอน เส้นทางท่องเทีย่ วโดยตรงจากทรัพยากรเดิมทีม่ อี ยูแ่ ล้ว ทีไ่ ม่ยงุ่ ยากมากเพือ่ ให้เกิดความรูส้ กึ ของการมีสว่ นร่วม การออกแบบเส้นทางท่องเที่ยวโดยการคิดชื่อเฉพาะ เช่น การย้อมผ้า การท�ำอาหาร การปลูกต้นไม้ เป็นต้น (Theme) ให้กับเส้นทาง เช่น ตราด…เมืองเกาะในฝัน และสนุกกับกิจกรรมมากกว่าการได้ท่องเที่ยวหรือ ชิคชิค ปิคนิคทีภ่ เู ก็ต เย็นสุดสุขทีเ่ ลย สงขลามหาสนุก... เยี่ยมชมเพียงอย่างเดียว สุขทั้งปีที่สงขลา เป็นต้น ยังเป็นสร้างความน่าสนใจ • นักสื่อความหมาย สิ่งหนึง่ ที่จะท�ำให้นักท่องเที่ยวรู้สึก ให้กับนักท่องเที่ยวและเพิ่มมูลค่าให้กับสถานที่อีกด้วย ร่วมไปกับการท่องเทีย่ วโดยชุมชน คือ การเล่าเรือ่ งหรือ การสือ่ ความหมาย ซึง่ ไม่ใช่แค่จากสถานทีเ่ พียงอย่างเดียว แต่ยงั หมายถึงการสร้างสรรค์หรือออกแบบป้ายโฆษณา ป้ายบอกทาง หรือเครื่องแบบที่สอดคล้องและสื่อสาร เอกลักษณ์และอัตลักษณ์ความเป็นชุมชนด้วย

องค์การบริหารการพั ฒนาพื้ นที่พิเศษเพื่ อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)

47


CHAPTER 3

ไม่โฆษณาเกินจริง รับผิดชอบในสิ่งทีส ่ ื่อสารออกไป โดยวิธีการสื่อสารทีด ่ ีทส ี่ ุ ด คือการสื่อสารข้อมูลทีถ ่ ูกต้อง และมีความรอบคอบในการน�ำเสนอ

7 รู้จักสื่อสาร

การสือ่ สารทีด่ จี ะช่วยเพิม่ โอกาสแห่งความส�ำเร็จ เพราะเป็นการ เสริมแรงสนับสนุนจากผูร้ บั สาร และเป็นปัจจัยส�ำคัญเมือ่ ผูร้ บั สารนัน้ เป็ น เป้ า หมายทางการตลาดของการท่ อ งเที่ ย วโดยชุ ม ชน โดย การสื่อสารนั้นท�ำได้หลายทาง มีหลายขั้นตอน ดังนี้

• รูจ้ กั ช่องทางการประชาสัมพันธ์ ไม่วา่ จะเป็นสือ่ ท้องถิน่ • เปิดตัวโครงการสู่สังคมให้เป็นที่รู้จัก โดยอาจจัดเป็น สื่อสาธารณะ สื่อออนไลน์ นอกเหนือจากการสื่อสาร กิจกรรมทางการตลาด เปิดพื้นที่ให้คนเข้ามา หรือ เปิดตัวทางสื่อสาธารณะให้สื่อมวลชนท�ำหน้าที่สื่อสาร แบบปากต่อปาก • รู้จักช่องทางการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ไม่ใช่เพียง หรือจัดกิจกรรมร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ น�ำเสนอแบบรอบทิศ แต่จ�ำเป็นต้องเจาะจงช่องทาง • สื่อสารการตลาดอย่างรับผิดชอบ นั่นคือ ไม่โฆษณา ที่ ท� ำ ให้ ถึ ง กลุ ่ ม เป้ า หมายโดยตรง เพื่ อ ให้ เ กิ ด เกิ น จริ ง รั บ ผิ ด ชอบในสิ่ ง ที่ สื่ อ สารออกไป โดยวิ ธี ประสิทธิภาพจากการสื่อสารสูงสุด เช่น การสื่อสาร การสื่อสารที่ดีที่สุด คือการสื่อสารข้อมูลที่ถูกต้องและ มีความรอบคอบในการน�ำเสนอ บนโซเชียลมีเดีย ในกรณีทกี่ ลุม่ เป้าหมายเป็นวัยรุน่ เป็นต้น 48 CBT ท�ำอย่างไรให้ยั่งยืน?


8 รู้จักพอประมาณ

การท�ำการท่องเที่ยวจึงจ�ำเป็นต้อง รู้จัก พอประมาณ โดยจะต้อง ก�ำหนดขีดความสามารถ ในการรับนักท่องเทีย่ วทีเ่ หมาะสม ซึง่ ไม่กระทบ วิถชี วี ติ ในชุมชน ไม่กอ่ ให้เกิดมลพิษ เช่น ปริมาณ ขยะที่ ม ากเกิ น การจั ด การ ซึ่ ง การก� ำ หนด ขีดความสามารถดังกล่าว นอกจากช่วยปกป้อง วิถีชีวิตชุมชนแล้ว ยังท�ำให้เกิด การท่องเที่ยว ทีย่ งั่ ยืน จากการรักษาทรัพยากรของชุมชนไว้ได้ ฉะนั้น ชุมชนไม่ควรพึ่งการท่องเที่ยวเป็น และท�ำให้นกั ท่องเทีย่ วเห็นคุณค่าของการท่องเทีย่ ว อาชี พ หลั ก เพราะนั่ น หมายถึ ง วิ ถีชีวิตที่ อาจ ในแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชน เปลีย่ นแปลงไปจนไม่สามารถกลับเข้าสูว่ ถิ ปี กติได้ และจะกลายเป็นปัญหาเมือ่ แหล่งท่องเทีย่ วเสือ่ ม ความนิยม ซึ่งเกิดได้จากหลาย ๆ ปัจจัย ดังที่ เกิดมาแล้วในหลาย ๆ แหล่งท่องเที่ยว ความส�ำเร็จจากการท่องเที่ยวโดยชุมชน อาจก่ อ ให้ เ กิ ด กระแสนิ ย ม และเกิ ด การ เปลี่ยนแปลงการท่องเที่ยวโดยชุมชน จากการ เพิ่ ม ขึ้ น ของปริ ม าณนั ก ท่ อ งเที่ ย ว และส่ ง ผล ให้เกิดการปรับเปลี่ยนรูปแบบการท่องเที่ยว การบริการ และการพึง่ พิงเป็นรายได้หลัก ซึง่ นัน่ คือ สัญญาณอันตรายของการท่องเทีย่ วโดยชุมชน

องค์การบริหารการพั ฒนาพื้ นที่พิเศษเพื่ อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)

49


CHAPTER 3

บริหารจัดการกองทุนชุมชนให้โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ เพื่ อให้เกิดความไว้วางใจ และเป็นน�ำ้ หนึง ่ ใจเดียวกันของชุมชน

9 รู้จักกระจายประโยชน์

เมือ่ เกิดรายได้จากการท่องเทีย่ ว ตามแผนงาน แผนเงิน และแผนคน ที่ได้วางไว้ ในขั้นพร้อมขายคือ ขั้นตอนของการกระจายประโยชน์ที่ เป็นรูปธรรม นัน่ คือ การกระจายรายได้และการท�ำงาน (ทีก่ อ่ ให้เกิด รายได้เฉพาะคน เช่น การนวด การท�ำอาหาร บ้านพักโฮมสเตย์ เป็นต้น) สูร่ ะบบการท่องเทีย่ วโดยชุมชนซึง่ จะแตกต่างกันไปในแต่ละ ชุมชน โดยการกระจายประโยชน์นั้นสามารถท�ำได้โดย…

50 CBT ท�ำอย่างไรให้ยั่งยืน?


• ตัง้ กลุม่ ทีร่ บั รองโดยหน่วยงานท้องถิน่ มีโครงสร้างการ • วางโครงการสร้างการกระจายประโยชน์ให้แต่ละกลุม่ บริหารจัดการและบทบาทหน้าทีท่ ชี่ ดั เจน ท�ำเป็นแผนผัง ในชุมชน การท�ำงาน การรับรายได้ การรับประโยชน์ องค์กร รวมถึงการก�ำหนดกฎระเบียบ บังคับใช้ภายใน สัดส่วนเท่าไร ระยะเวลาช่วงไหน มอบให้แก่ใครเป็น ชุมชน เช่น ต้องเข้าร่วมประชุมกรรมการกลุม่ ไม่นอ้ ยกว่า ผู ้ ก ระจายต่ อ ไปอย่ า งไร โดยโครงสร้ า งนั้ น จะต้ อ ง 4 ครั้ ง ต่ อ ปี การกระจายผลประโยชน์ ใ ห้ เ ท่ า เที ย ม ชอบธรรมและเป็นที่ยอมรับในชุมชน ในการจัดสรรที่พักและบริการต่าง ๆ ตามล�ำดับ เป็นต้น • กระจายประโยชน์สู่สังคมและชุมชนรอบข้าง เพื่อ • บริ ห ารจั ด การกองทุ น ชุ ม ชนให้ โ ปร่ ง ใส สามารถ สร้ า งแรงสนั บ สนุ น การท่ อ งเที่ ย ว และก่ อ ให้ เ กิ ด ตรวจสอบได้ เพือ่ ให้เกิดความไว้วางใจ และเป็นน�ำ้ หนึง่ การพัฒนาร่วมกันในสังคม เป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืน ใจเดียวกันของชุมชน บทเรียนจากต้นแบบ

ชุมชนบ่อสวก จังหวัดน่าน มีการแบ่งหน้าที่การบริหาร จัดการออกเป็นกลุม่ เพือ่ กระจายหน้าทีแ่ ละความรับผิดชอบ โดยประธาน ท�ำหน้าที่บริหารและเป็นตัวแทนกลุ่มในการ ขับเคลื่อนการท�ำงานของชุมชน รองประธานฝ่ายกิจกรรม ท�ำหน้าทีป่ ระสานงานและแบ่งงานไปทีส่ ว่ นต่าง ๆ ของชุมชน กลุ่มอาหาร ท�ำหน้าที่จัดเตรียมอาหารให้กับนักท่องเที่ยว หรือกลุม่ ทอผ้า ท�ำหน้าทีจ่ ดั กิจกรรมการเรียนรูก้ ระบวนการ ทอผ้าให้นักท่องเที่ยวได้มีส่วนร่วม เป็นต้น องค์การบริหารการพั ฒนาพื้ นที่พิเศษเพื่ อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)

51


CHAPTER 3

PART

C

ขั้นวัดผลและส่งต่ออย่างยั่งยืน การท�ำการท่องเที่ยวโดยชุมชนนั้น แม้จะขึ้นชื่อว่าเป็นการท�ำท่องเที่ยวก็จริง แต่ เป้าหมายทีแ่ ท้จริง กลับคือ การสร้างความยัง่ ยืนในชุมชนและประเทศไทย การท�ำ CBT จึงต้องมุ่งเก็บความรู้เพื่อพัฒนาและสร้างความยั่งยืน ผ่านขั้นตอนที่เรียกว่าขั้นวัดผลและ ส่งต่ออย่างยั่งยืน ซึ่งมี 3 กระบวนการ ดังนี้

10 รู้จักการจัดการความรู้ ความรูท้ เี่ กิดขึน้ จากการท่องเทีย่ วโดยชุมชน ทั้งจากการด�ำเนินงาน และจากนักท่องเที่ยว สามารถจัดการให้เกิดประโยชน์สงู สุดได้โดยการ เก็บข้อมูลผลกระทบและผลประโยชน์จากการ ท่องเที่ยว

52 CBT ท�ำอย่างไรให้ยั่งยืน?

จากนั้นจึงมี การประเมินตามเกณฑ์การ พัฒนาการท่องเทีย่ วโดยชุมชนของประเทศไทย โดยคณะกรรมการผูท้ รงคุณวุฒจิ ากภาคีทมี่ าจาก ภาคส่วนต่าง ๆ ทัง้ ภาควิชาการ ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการตลาด นักพัฒนา และสื่อมวลชน


โดยเกณฑ์การพัฒนาการท่องเทีย่ วโดยชุมชนของประเทศไทยนัน้ ได้รบั การ พั ฒนามาจากหน่ วยงานที่ ท�ำ เรื่ อ งการท่ องเที่ ย วอย่ า งยั่ งยื นโลก (Global Sustainable Tourism Criteria; GSTC) ซึง่ ชือ่ ว่า สภาการท่องเทีย่ วอย่างยัง่ ยืน ท�ำหน้าที่ส่งเสริมให้ทั่วโลกเกิดความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางที่จะท�ำให้เกิดการ ท่องเทีย่ วแบบยัง่ ยืน เกณฑ์การพัฒนาการท่องเทีย่ วโดยชุมชนของประเทศไทย ถื อ เป็ น เครื่ อ งมื อ ส� ำ คั ญ ในการวางแผน ด� ำ เนิ น การ และประเมิ น ผล การพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน ซึ่งเกณฑ์ฯ นี้ได้รับการประกาศใช้จาก คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ (ททช.) เพื่อใช้เป็นแนวทาง ในการติ ด ตามการพั ฒ นาการท่ อ งเที่ ย วโดยชุ ม ชนของประเทศไทย โดย องค์ประกอบของเกณฑ์ฯ มี 5 ด้าน ดังนี้ 1. 2. 3. 4.

ด้านการบริหารจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน ด้านการจัดการเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตที่ดี ด้านการอนุรกั ษ์และส่งเสริมมรดกทางวัฒนธรรมชุมชน ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อม อย่างเป็นระบบและยั่งยืน 5. ด้านคุณภาพการบริการการท่องเที่ยวโดยชุมชน จากผลการประเมินดังกล่าว สามารถน�ำมา ถอดบทเรียนการพัฒนา เพื่อ วางแผนการพัฒนาอย่างต่อเนือ่ งให้การท่องเทีย่ วโดยชุมชนสามารถพัฒนาโดย ชุมชนอย่างถูกต้องและเป็นไปอย่างยั่งยืน องค์การบริหารการพั ฒนาพื้ นที่พิเศษเพื่ อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)

53


CHAPTER 3

สนับสนุนและด�ำเนินกิจกรรม ทีไ่ ด้รับผลตอบรับทีด ่ ีอย่างต่อเนือ ่ ง สิ่งใดมีปัญหาต้องแก้ไข สิ่งใดท�ำได้ดีแล้วต้องรักษาคุณภาพ

11 รู้จักสร้างภูมิคุ้มกัน

ในขั้นวัดผลนี้ ความรู้ที่ได้จากการท่องเที่ยวไม่ใช่เพียงน�ำมา พัฒนาการท่องเที่ยวได้อย่างเดียว ยังสามารถน�ำมาสร้างภูมิคุ้มกัน ให้กบั การท่องเทีย่ วโดยชุมชน กล่าวคือ นอกจากพัฒนาอย่างต่อเนือ่ งแล้ว การท่องเที่ยวโดยชุมชนยังต้องมีภูมิคุ้มกันด้วย ซึ่งจะเกิดขึ้นจาก…

• เรียนรู้การจัดการความเปลี่ยนแปลงให้พอเหมาะกับ • เรียนรูก้ ารควบคุมคุณภาพ ซึง่ เป็นการรักษามาตรฐาน ชุมชน นั่นหมายถึงการเปลี่ยนแปลงจากการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวของชุมชน โดยสนับสนุนและด�ำเนิน ที่จะต้องไม่กระทบวิถีชีวิต และอัตลักษณ์ของชุมชน เช่น กิจกรรมที่ได้รับผลตอบรับที่ดีอย่างต่อเนื่อง กล่าวคือ การเพิ่มที่จอดรถโดยไม่ท�ำลายป่าชุมชน หรือการเสริม สิ่งใดมีปัญหาต้องแก้ไข สิ่งใดท�ำได้ดีแล้วต้องรักษา บริการเพือ่ การท่องเทีย่ วโดยไม่กระทบอาชีพหลัก เป็นต้น คุณภาพ 54 CBT ท�ำอย่างไรให้ยั่งยืน?


12 รู้จักส่งต่อ แบ่งปัน

การส่งต่อ แบ่งปัน คือ วิธกี ารสร้างความยัง่ ยืนทีม่ นั่ คงทีส่ ดุ เพราะ สร้างด้วยการให้ นอกจากความยั่งยืนจากการร่วมมือกันของคน ในชุมชน การได้รับความร่วมมือจากเพื่อน หรือชุมชน องค์กรต่าง ๆ ชุมชนจะต้องแบ่งปันความรูแ้ ละประสบการณ์จากการท�ำการท่องเทีย่ ว โดยชุมชนให้กับบุคคลที่จะเป็นผู้สืบทอดอุดมการณ์ ปณิธาน และ ความรู้ นั่นคือ…

• เยาวชน คนรุ่นใหม่ของชุมชน ที่จะต้องรู้จัก เข้าใจ • บุคคลและองค์กร ทั้งภายในและภายนอกชุมชน เพื่อ และสามารถท�ำการท่องเที่ยวโดยชุมชนด้วยตนเองได้ ความเชื่อมโยงร่วมกันขยายผลอย่างต่อเนื่อง TIPS

สานเสวนา หัวใจส�ำคัญของการท�ำท่องเที่ยวโดยชุมชน ร่วมปฏิบตั ิ ร่วมรับผิดชอบ และร่วมรับผลประโยชน์ ดังนัน้ ให้ประสบความส�ำเร็จ คือ กระบวนการมีส่วนร่วมของ กระบวนการสานเสวนาจึงจะอยูใ่ นทุกขัน้ ตอน ทัง้ 12 ขัน้ ตอน ทุกคนในชุมชน ในทุก ๆ แผนงาน ทั้งร่วมคิด ร่วมวางแผน ของการท�ำงานข้างต้น องค์การบริหารการพั ฒนาพื้ นที่พิเศษเพื่ อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)

55


CHAPTER 3

HOW FAR ARE WE IN CBT? พั ฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน… เรามาไกลถึงไหนแล้ว?

ขั้นเตรียม

0 สนใจ CBT (เปิดหนังสือเล่มนี้)

3 รู้จักหาเพื่ อน

56 CBT ท�ำอย่างไรให้ยั่งยืน?

1

2

รู้จักการท่องเที่ยว

รู้จักเข้าใจตัวเอง

4

5

รู้จักทางเดิน สู่เป้าหมาย

รู้จักตลาด


ขั้นพร้อมขาย

6

7 รู้จักสื่อสาร

รู้จักเพิ่ มมูลค่า

8

9

รู้จักพอประมาณ

รู้จัก กระจายประโยชน์

ขั้นวัดผลและส่งต่ออย่างยั่งยืน

10 รู้จักจัดการความรู้

11 รู้จักสร้างภูมิคุ้มกัน

12 รู้จักส่งต่อ แบ่งปัน

องค์การบริหารการพั ฒนาพื้ นที่พิเศษเพื่ อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)

57


Pa r t 3: CHAPTER 3

่ งมือ เครือ สู่ความส�ำเร็จ ของการท่องเที่ยวโดยชุมชน 12 ขั้ นตอนสู่ การเป็น การท่ องเที่ ยวโดยชุม ชนนั้น ไม่ใช่เรื่องยากและจะง่ายยิ่งขึ้น เมื่อมีตัวช่วยเป็น 4 เครื่องมือ สู่ความส�ำเร็จดังที่จะได้พูดถึงต่อไปนี้

เครื่องมือที่ 1 เกณฑ์การพั ฒนาการ ท่องเที่ยวโดยชุมชนของประเทศไทย เป็นเครื่องมือที่พัฒนาขึ้นโดยองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) และเห็นชอบโดยคณะกรรมการนโยบายการท่องเทีย่ วแห่งชาติ (ททช.) มีวตั ถุประสงค์เพือ่ ให้ชมุ ชน ที่ต้องการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนใช้เป็นเครื่องมือในการวางแผน ด�ำเนินการ และประเมินผล โดยมีองค์ประกอบที่ชุมชนสามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาทั้งหมด 5 ด้าน 28 เป้าประสงค์ ดังนี้ 1. ด้านการบริหารจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน

1.1 การบริ ห ารจั ด การการท่ อ งเที่ ย วโดยชุ ม ชน มีประสิทธิภาพ 1.2 ข้ อ ตกลงร่ ว มกั น ส� ำ หรั บ การบริ ห ารจั ด การการ ท่องเที่ยวโดยชุมชนมีประสิทธิภาพ 1.3 ข้อควรปฏิบัติส�ำหรับนักท่องเที่ยวมีประสิทธิภาพ 1.4 การพัฒนาบุคลากรในกลุม่ บริหารจัดการการท่องเทีย่ ว โดยชุมชนมีประสิทธิภาพ 1.5 การส่งเสริมการมีสว่ นร่วมของทุกฝ่ายมีประสิทธิภาพ

1.6 การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายต่าง ๆ เป็นไปอย่าง มีประสิทธิภาพ 1.7 การจัดการการตลาดและประชาสัมพันธ์การท่องเทีย่ ว โดยชุมชนมีประสิทธิภาพ 1.8 ระบบบัญชี การเงินมีประสิทธิภาพ 1.9 เด็ ก และเยาวชนได้ รั บ การให้ ค วามส� ำ คั ญ ในการ ท่องเที่ยวโดยชุมชน

2. ด้านการจัดการเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตที่ดี

2.1 การจัดสรรรายได้มีประสิทธิภาพ 2.3 ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ชุ ม ชนมี คุ ณ ภาพเพื่ อ เสริ ม สร้ า งโอกาส 2.2 การส่งเสริมการยกระดับคุณภาพชีวติ ทีด่ เี ป็นไปอย่าง ในการเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยว มีประสิทธิภาพ 2.4 สิทธิมนุษยชนในการท่องเทีย่ วได้รบั การให้ความส�ำคัญ 58 CBT ท�ำอย่างไรให้ยั่งยืน?


Pa r t 3:

3. ด้านการอนุรักษ์และส่งเสริมมรดกทางวัฒนธรรมชุมชน

3.1 ฐานข้ อ มู ล ด้ า นมรดกวั ฒ นธรรมชุ ม ชนเพื่ อ การ 3.2 การเผยแพร่มรดกวัฒนธรรมชุมชนผ่านการท่องเทีย่ ว ท่องเที่ยวมีคุณภาพ โดยชุมชนมีประสิทธิภาพ 3.3 การอนุรักษ์ฟื้นฟูวัฒนธรรมท้องถิ่นมีประสิทธิภาพ 4. ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบและยั่งยืน

4.1 การจัดการพื้นที่เพื่อการท่องเที่ยวมีประสิทธิภาพ 4.4 การอนุรกั ษ์ฟน้ื ฟูทรัพยากรธรรมชาติหรือสิง่ แวดล้อม 4.2 ฐานข้อมูลด้านทรัพยากรธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อม ในชุมชนมีประสิทธิภาพ มีคุณภาพ 4.5 การสร้างความตระหนักรูถ้ งึ ความส�ำคัญของการรักษา 4.3 การเผยแพร่ภูมิปัญญาด้านทรัพยากรธรรมชาติหรือ ทรั พ ยากรธรรมชาติ ห รื อ สิ่ ง แวดล้ อ มผ่ า นการ สิง่ แวดล้อมผ่านการท่องเทีย่ วโดยชุมชนมีประสิทธิภาพ ท่องเที่ยวมีประสิทธิภาพ 5. ด้านคุณภาพการบริการการท่องเที่ยวโดยชุมชน

หมวดคุณภาพสิ่งอ�ำนวยความสะดวกและบริการ 5.1 การให้บริการด้านการท่องเทีย่ วเป็นไปอย่างน่าพึงพอใจ 5.2 นักสื่อความหมายมีประสิทธิภาพ 5.3 จุดบริการท่องเที่ยวมีคุณภาพ 5.4 การติดต่อประสานงานด้านบริการมีประสิทธิภาพ

หมวดการเตรียมความพร้อมเรื่องความปลอดภัย 5.5 เส้นทางและกิจกรรมท่องเที่ยวมีความปลอดภัย 5.6 จุดบริการท่องเที่ยวมีความปลอดภัย 5.7 การบริ ห ารจั ด การเส้ น ทางการเดิ น ทาท่ อ งเที่ ย ว ในชุมชนมีประสิทธิภาพ 5.8 การบริหารจัดการกรณีฉุกเฉินมีประสิทธิภาพ

โดยเกณฑ์การพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนของประเทศไทย ทั้ง 5 ด้าน 28 เป้าประสงค์ข้างต้นนั้น ประกอบด้วย เกณฑ์ย่อย ทีใ่ ช้วดั ระดับประสิทธิภาพของแต่ละเป้าประสงค์ และแต่ละเกณฑ์ยอ่ ย ก็จะประกอบด้วย ข้อประเมิน เพื่อชี้วัดความสมบูรณ์ของเกณฑ์ย่อย แต่ละข้อ ซึง่ ส�ำหรับผูท้ สี่ นใจเกณฑ์การพัฒนาการท่องเทีย่ วโดยชุมชน ของประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์ สามารถดาวน์โหลดได้โดยการสแกน QR Code ด้านข้างนี้ องค์การบริหารการพั ฒนาพื้ นที่พิเศษเพื่ อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)

59


CHAPTER 3

เครื่องมือที่ 2 9+1 Building Blocks เครื่องมือการพั ฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน อย่างมีส่วนร่วม เครือ่ งมือการพัฒนาการท่องเทีย่ วทีพ่ ฒ ั นาขึน้ โดย อพท. เครื่ อ งมื อ ชุ ด นี้ จ ะช่ ว ยสร้ า งความเข้ า ใจ การพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน ให้เข้าใจง่ายขึ้น โดยเรียกว่า 9+1 Building Blocks ซึ่งมีลักษณะดังนี้ กล่องเครื่องมือ

รายละเอียด

1. เพื่ อนร่วมทาง

การมองหาเครือข่าย คิดเสมอว่าใครหรือองค์กรใดที่จะมาท�ำงานร่วมกับเราได้บ้าง การสร้างเครือข่ายจะช่วยให้เราได้มาซึง ่ เพื่อนร่วมคิด เพื่อนร่วมท�ำ ทีช ่ ว่ ยเสริมส่วนทีข ่ าด ซึ่งกันและกัน

2. สร้างกิจกรรม

การท่องเทีย ่ วเป็นการสร้างประสบการณ์ กิจกรรมทีน ่ ำ� เสนอต้องสร้างสรรค์ให้เกิด ความทรงจ�ำที่ประทับใจ

3. น�ำเสนอสิ่งที่มี

กิ จ กรรมที่ จ ะสร้ า งสรรค์ ต้ อ งมาจากการค้ น หาของดี ท่ี มี ใ นชุ ม ชน ค้ น หาของดี และของแท้

4. ท�ำให้ดี ท�ำให้เด่น ท�ำให้ดัง

ของดี ของแท้ ต้ อ งถู ก คั ด สรรอย่ า งละเมี ย ด มองรอบด้ า นว่ า ใครมี แ บบนี้ อี ก ค้นหาความต่างที่จะท�ำให้ของดีเป็นของเด่นและเป็นของดัง

5. สานและผูกสัมพั นธ์

60 CBT ท�ำอย่างไรให้ยั่งยืน?

ท�ำให้เรารักกันนาน ๆ ด้วยการสร้างเพื่อนแท้ มิใช่เพื่อนเทีย ่ ว


สแกน QR Code เพื่อศึกษา 9+1 Building Blocks เครื่องมือการพัฒนาการท่องเที่ยว โดยชุมชนอย่างมีส่วนร่วม

กล่องเครื่องมือ 6. หากันให้เจอ

รายละเอียด ช่องทางต่าง ๆ ที่ใช้ในการส่งสารให้ถึงว่าเรามีของดี ของเด่น จะได้ท�ำให้ดังได้

7. เราและเธอคือใคร …ที่ใจตรงกัน

ใครคือคนที่จะอยากมาเที่ยวบ้านเรา ชอบในสิ่งที่เรามี ชื่นชมในวัฒนธรรมความ เป็นถิ่นเรา เข้าใจความต้องการเขาและเธอ

8. ฉันให้เธอไป

ต้องเสียอะไรบ้างในการให้เธอมาบ้านเรา ต้นทุนทั้งหลายทั้งที่เป็นตัวเงิน เวลา และความเปลี่ยนแปลง

9. ฉันจึงได้เธอมา

ได้อะไรมาบ้างจากการให้เขาและเธอมาบ้านเรา

10. สานเสวนา อย่างต่อเนื่อง

การพบปะ แลกเปลีย ่ น พู ดคุยกับทุกคนทีม ่ ส ี ว่ นได้สว่ นเสียอย่างสม�ำ่ เสมอ

องค์การบริหารการพั ฒนาพื้ นที่พิเศษเพื่ อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)

61


CHAPTER 3

เครื่องมือที่ 3 เครื่องมือการบริหารจัดการผลประโยชน์ จากการท่องเที่ยวโดยชุมชน การท่ อ งเที่ ย วโดยชุ ม ชนสามารถ สร้ า ง ผลประโยชน์ให้กับชุมชนต่าง ๆ ในบริเวณ ใกล้เคียงได้เช่นกัน ถึงแม้วา่ ชุมชนดังกล่าวจะไม่ได้ ประกอบธุรกิจการท่องเทีย่ วโดยตรง หากชุมชน

มองเห็นโอกาสทางอ้อมที่เกิดจากการท่องเที่ยว และมีความเข้าใจในเรื่องการตลาด ก็สามารถ รับประโยชน์จากการท่องเที่ยวได้โดยง่าย ซึ่ง อพท. จะพาไปดูในมุมมองต่าง ๆ ดังนี้

1. ด้านเศรษฐกิจ

ชุมชนทีม่ คี วามส�ำคัญในการปลูกดอกไม้ สามารถส่งไป ขายให้กับแหล่งท่องเที่ยวที่ต้องการดอกไม้ในการตกแต่ง ที่สามารถเห็นได้ชัดเจน คือ ภูเรือ เกษตรกรปลูกไม้ดอก ขายให้กับแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ เพื่อน�ำไปประดับสถานที่ รวมทั้งขายให้กับนักท่องเที่ยวที่เดินทางผ่านภูเรือ หรือ ชุ ม ชนที่ ป ลู ก ผั ก ปลอดสารพิ ษ สามารถส่ ง ไปให้ ชุ ม ชน ที่ท�ำการท่องเที่ยว เพื่อให้ชุมชนนั้นน�ำไปประกอบอาหาร ให้กับนักท่องเที่ยวได้

ชุมชนที่ มีผลิตภัณฑ์ของชุมชนเป็นจุดขาย หรือ สามารถส่งผลิตภัณฑ์ออกจ�ำหน่ายให้กบั ธุรกิจการท่องเทีย่ ว ใกล้เคียง เช่น ชุมชนนาอ้อ อ.เมือง จ.เลย ไม่ใช่ชุมชน ที่ท�ำการท่องเที่ยวโดยชุมชน แต่สามารถได้รับประโยชน์ จากการท่องเที่ยวได้ ด้วยตนเองมีผลิตภัณฑ์มะขามหวาน และผ้าทอที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชน ซึ่งสามารถน�ำออก จ� ำ หน่ า ยให้ แ ก่ นั ก ท่ อ งเที่ ย วที่ ก� ำ ลั ง เดิ น ทางไปเที่ ย ว เชียงคานได้

2. ด้านสังคม

ชุมชนทีม่ บี ริบททางกายภาพและวัฒนธรรมในลักษณะ ใกล้เคียงกัน หรือมีทางสัญจรที่เชื่อมโยงกัน สามารถที่จะ ส่งผ่านกิจกรรมการท่องเที่ยวซึ่งกันและกันได้ จะท�ำให้ ชุมชนรอบข้างเกิดการรับรู้และเข้าใจเรื่องการท่องเที่ยว โดยชุมชนมากขึน้ เช่น ทีช่ มุ ชนบ้านน�ำ้ เชีย่ ว จ.ตราด ซึง่ เป็น

1 ใน 14 ชุมชนต้นแบบของ อพท. ในแง่แหล่งท่องเที่ยว เชิงอนุรักษ์ ได้มีการเชื่อมโยงกับชุมชนบ้านนายายหม่อม ซึ่งมีแหล่งท่องเที่ยวขึ้นชื่ออย่างหาดทรายด�ำ โดยที่ชุมชน ทัง้ สองมีการส่งต่อองค์ความรูแ้ ละนักท่องเทีย่ วซึง่ กันและกัน เป็นการท�ำงานร่วมกันระหว่างชุมชนด้วยกันเอง

3. ด้านสิ่งแวดล้อม

ชุมชนทีท่ ำ� และไม่ทำ� การท่องเทีย่ วมีการใช้สอยน�ำ้ ร่วมกัน ทีนี้ทางชุมชนที่ท�ำการท่องเที่ยวโดยชุมชนได้จัดกิจกรรม รักษาความสะอาดคูคลอง ซึ่งสุดท้ายชุมชนที่ไม่ได้ท�ำการ ท่องเที่ยวได้เห็นถึงประโยชน์ เขาก็อาจมาร่วมมือรักษา

62 CBT ท�ำอย่างไรให้ยั่งยืน?

สิ่งแวดล้อมคูคลองด้วย หรืออย่างที่ชุมชนปลาบ่า จ.เลย มีกิจกรรมปลูกป่าจนชุมชนใกล้เคียงได้ความอุดมสมบูรณ์ คื น มา มี แ หล่ ง ดู ด ซั บ น�้ ำ มี อ าหารอุ ด มสมบู ร ณ์ ซึ่ ง ได้ ประโยชน์ถึงระดับประเทศเลยทีเดียว


สแกน QR Code เพือ่ ศึกษาเครือ่ งมือการบริหารจัดการ ผลประโยชน์จากการท่องเที่ยว โดยชุมชน

องค์การบริหารการพั ฒนาพื้ นที่พิเศษเพื่ อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)

63


CHAPTER 3

เครื่องมือที่ 4 CBT Integrated หลักสูตรการท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่ อชุมชน หลักสูตรนี้ออกแบบเพื่อเสริมสร้างทักษะ ในการช่วยให้วทิ ยากรและผูส้ นใจเรือ่ งการจัดการ การท่องเทีย่ วทีม่ ชี มุ ชนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนา โดยสามารถน�ำแนวทางและหัวข้อการเรียนรู้ ไปประยุกต์ใช้ในการฝึกอบรม ทั้งนี้เพื่อให้การ พัฒนาการท่องเทีย่ วโดยชุมชนเป็นไปในแนวทาง

ที่ ชั ด เจน เราจึ งต้ อ งสร้ า งความเข้ า ใจเพื่ อ ให้ ทุ ก คนที่ เ ข้ า มามี ส ่ ว นร่ ว มในการจั ด การ การท่องเที่ยวเห็นเป้าหมายร่วมกัน และร่วมกัน แสดงความคิดเห็น เพือ่ การพัฒนาการท่องเทีย่ ว โดยชุมชนอย่างยั่งยืน โดยหลักสูตรนี้จะเน้น 4 ประเด็นด้วยกัน คือ

1. วัดอุณหภูมิชุมชน

การท� ำ งานเพื่ อ ชุ ม ชนที่ ก ่ อ ให้ เ กิ ด การจั ด การได้ โดยชุมชนเอง แม้มเี ป้าหมายหลากหลาย แต่สดุ ท้ายปลายทาง คือ การท�ำให้ชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ในเบื้องต้น การท� ำ ความเข้ า ใจแก่ น ของการท� ำ งานการท่ อ งเที่ ย ว โดยชุมชน เพื่อชุมชน องค์ประกอบหลักมีอะไรบ้าง มีการ จัดการห่วงโซ่การเชือ่ มโยงของระบบท่องเทีย่ วทีจ่ ะน�ำไปสู่ ความกินดีอยู่ดีของชุมชนนั้น จะท�ำได้อย่างไร โดยการ 2. นักพั ฒนาธรรมดาที่ไม่ธรรมดา

การเป็ น ผู ้ น� ำ ท� ำ ให้ เ กิ ด การท่ อ งเที่ ย วโดยชุ ม ชน เพือ่ ชุมชนได้อย่างแท้จริง ต้องมีคณ ุ สมบัตทิ ยี่ ดื หยุน่ สือ่ สาร ได้ดี ส่วนนี้จะเพิ่มทักษะในการบริหารจัดการให้เกิดการมี ส่วนร่วมด้วยการเปิดใจท�ำความเข้าใจตัวเอง เข้าใจผู้อื่น เป็นนักคิดเชิงบวก ที่ส�ำคัญคือ เข้าใจถึงความหลากหลาย ของคน สามารถที่ จ ะปรั บ เปลี่ ย นให้ เ หมาะสมกั บ สถานการณ์เสมอ เปิดใจ ร่วมมือ ซื่อตรง รู้จริง

64 CBT ท�ำอย่างไรให้ยั่งยืน?

วัดอุณหภูมชิ มุ ชนนี้ จะเป็นการวัดทัง้ ในส่วนของชุมชนทีไ่ ด้ ด�ำเนินการท�ำเรื่องการท่องเที่ยวไปบ้างแล้ว และในส่วน ของชุมชนที่ยังไม่ได้เริ่มท�ำ การตรวจวัดจะช่วยให้เกิดการ เรียนรู้ร่วมกันว่า ชุมชนนั้น ๆ มีศักยภาพเป็นอย่างไรบ้าง ท�ำท่องเทีย่ วแล้วจะเกิดการเปลีย่ นแปลงอะไรได้บา้ ง และ จะจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างไร


สแกน QR Code เพื่อศึกษา CBT Integrated หลักสูตรการท่องเที่ยว โดยชุมชนเพื่อชุมชน

3. นักการตลาดล้วง…ราก

งานด้านการตลาดส�ำหรับการท่องเที่ยวโดยชุมชนนั้น เรื่องราวให้เป็นเรื่องเดียวกัน ที่ขาดไม่ได้เลย คือต้อง อันดับแรกคือ เราต้องเข้าใจก่อนว่า การท่องเทีย่ วโดยชุมชน ออกแบบมาจากฐานทรัพยากรของชุมชน เพราะคือ ในภาพความคิดของชุมชนเรานัน้ ควรจะเป็นไปในทิศทางไหน เสน่ห์ของชุมชนนั้น ๆ นั่นเอง ต้องออกแบบกิจกรรมให้ชัดเจน และพยายามร้อยเรียง 4. นักท่องเที่ยวและการออกแบบประสบการณ์เสพ…ให้รู้สึก

ส่ ว นนี้ เราจะต้ อ งมาท� ำ ความเข้ า ใจลั ก ษณะและ พฤติกรรมของนักท่องเที่ยว โดยชุมชนต้องเริ่มคิดแล้วว่า กลุม่ นักท่องเทีย่ วทีจ่ ะเข้ามาเทีย่ วชุมชนของเรานัน้ เป็นกลุม่ นักท่องเที่ยวประเภทไหน เพื่อที่จะต่อยอดในการอธิบาย วิธกี ารสือ่ ความหมายให้แก่นกั ท่องเทีย่ วกลุม่ ต่าง ๆ ได้ตรงจุด นี่จึงเป็นสิ่งหนึ่งที่จะช่วยสร้างความน่าสนใจให้กับการ

ท่องเทีย่ วในชุมชนนัน้ ๆ ทัง้ ยังต้องมีการ ออกแบบกิจกรรม ในชุมชนให้นักท่องเที่ยวสามารถมีส่วนร่วม เป็นการ ท่องเทีย่ วทีเ่ ราเรียกว่า การท่องเทีย่ วเชิงสร้างสรรค์ เพราะ จะท�ำให้นักท่องเที่ยวเกิดการเรียนรู้คุณค่าและกระตุ้น ให้ เ กิ ด การใช้ จ ่ า ยของนั ก ท่ อ งเที่ ย วท� ำ ให้ ร ายได้ ต กอยู ่ ในชุมชนผ่านกิจกรรมที่ชุมชนน�ำเสนอ

องค์การบริหารการพั ฒนาพื้ นที่พิเศษเพื่ อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)

65


CHAPTER 3

Co-Creation กระบวนการพั ฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน อย่างมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ นอกจาก 4 เครื่ อ งมื อ ข้ า งต้ น ที่ ชุ ม ชน สามารถเลื อ กน� ำ ไปพั ฒ นาการท่ อ งเที่ ย ว โดยชุมชนได้แล้ว ยังมีอีกหนึ่งกระบวนการที่ถือ เป็ น อี ก หนึ่ ง หั ว ใจของการท� ำ CBT นั่ น ก็ คื อ กระบวนการเพื่อสร้างการมีส่วนร่วม หรือ

ร่วม คิด ร่วม วางแผน

66 CBT ท�ำอย่างไรให้ยั่งยืน?

ทีเ่ รียกว่า Co-Creation อันเป็นเครือ่ งมือทีท่ ำ� ให้ เกิ ด ความยั่ ง ยื น ที่ แ ท้ จ ริ ง จากการท� ำ งานที่ สอดประสานกับกลุ่ม องค์กร และหน่วยงาน หลากหลาย เพือ่ มุง่ ให้เกิดความส�ำเร็จตามเป้าหมาย โดยการมีส่วนร่วมในแต่ละขั้นตอนนั้น มีดังนี้

เพื่อให้การพัฒนาเริ่มต้นอย่างเป็นระบบและมีความชัดเจน การร่วมแลกเปลี่ยนความคิดถือเป็นขั้นตอนแรกที่ส�ำคัญ เพราะ จะท�ำให้ได้ค�ำตอบที่ทุกฝ่ายเห็นพ้องกันว่า ชุมชนควรจะเริ่มพัฒนา เรือ่ งการท่องเทีย่ วไปในทิศทางใดและระยะต่อจากนีจ้ ะท�ำอะไรนัน่ เอง การวางแผนเป็ น ขั้ น ตอนส� ำ คั ญ ของความส� ำ เร็ จ ที่ ข าดไม่ ไ ด้ โดยการวางแผนนัน้ เราต้องรูก้ อ่ นว่า การท่องเทีย่ วส�ำหรับชุมชนของเรา หน้าตาเป็นอย่างไร เป็นการท่องเทีย่ วรูปแบบไหน เช่น การท่องเทีย่ ว เชิงเกษตร การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ฯลฯ จากนั้นชุมชนต้องเริ่ม มองหาเพื่อนร่วมทางที่จะเข้ามาท�ำงานร่วมกับชุมชน เพื่อเป็นการ เสริมศักยภาพให้ชุมชนสามารถที่จะรู้และเข้าใจถึงทรัพยากรนั้น ๆ ได้มากขึ้น


ร่วม ปฏิบัติ

ร่วม รับผิดชอบ

ร่วม รับผลประโยชน์

เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมในการท�ำการท่องเที่ยวโดยชุมชน ทุก ๆ ส่วนของชุมชนต้องเป็นฟันเฟืองในการขับเคลื่อน ไม่ว่าจะเป็น เยาวชนตลอดจนถึงกลุ่มผู้สูงอายุ เพราะทรัพยากรมนุษย์ในชุมชน เป็นสิง่ ทีส่ ำ� คัญไม่นอ้ ยไปกว่าทรัพยากรประเภทอืน่ ๆ การแบ่งบทบาท และหน้ า ที่ ใ ห้ แ ต่ ล ะกลุ ่ ม เข้ า มาท� ำ งานร่ ว มกั น จึ ง มี ค วามส� ำ คั ญ เป็นอย่างยิง่ เพราะการท่องเทีย่ วล้วนมีความสัมพันธ์และเชือ่ มโยงกับ ทุกกลุ่มและทุกคนในชุมชน การท�ำงานพัฒนา สิง่ หนึง่ ทีต่ อ้ งมีรว่ มกันคือ เรือ่ งความรับผิดชอบ เพราะเมื่อมีการก�ำหนดโครงสร้างและบทบาทหน้าที่ภายในชุมชน ชัดเจนแล้ว การท�ำงานต้องสอดรับประสานกัน ซึ่งถ้ามีส่วนใดส่วน หนึ่งไม่ท�ำ ส่วนที่เหลือก็จะได้รับผลกระทบตามไปด้วย ดังนั้นการ บริหารจัดการในเรื่องร่วมกันรับผิดชอบจึงเป็นกลไกหนึ่งที่จะท�ำให้ ชุมชนเข้าใจตัวเองมากยิ่งขึ้น ร่วมรับผลประโยชน์ เมื่อเกิดการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน อย่างเป็นระบบแล้ว นักท่องเทีย่ วเข้ามาเทีย่ วภายในชุมชน การจัดสรร เรื่องรายได้ที่เกิดจากการท่องเที่ยว เป็นสิ่งหนึ่งที่จะละเลยไม่ได้ ต้องสร้างความเข้าใจและสร้างกฎกติกาให้ชดั เจน เพราะการท่องเทีย่ ว โดยชุมชนเป็นรายได้เสริม มิใช่รายได้หลัก นั่นเอง

องค์การบริหารการพั ฒนาพื้ นที่พิเศษเพื่ อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)

67


CHAPTER 3

บทเรียนจากต้นแบบ

ชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยชุมชนบ้านน�้ำเชี่ยว ร่วม คิด

ทางชมรมฯ ได้มีการร่วมกันคิดและแสดงความคิดเห็นถึงประเด็นในการ พัฒนาชุมชนให้เป็นไปในทิศทางทีช่ มุ ชนต้องการ โดยรูปแบบของการท่องเทีย่ ว โดยชุมชนที่นี่ จะเป็นการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์พร้อมกับเรียนรู้วิถีชีวิตนั่นเอง

ร่วม วางแผน

มีการจัดประชุมเดือนละครั้งเพื่อการวางแผนการด�ำเนินงาน โดยมีการ บริหารจัดการในรูปแบบคณะกรรมการที่มีการจัดการกลุ่มกันเอง

ร่วม ปฏิบัติ

มีกฎระเบียบทีน่ กั ท่องเทีย่ วต้องปฏิบตั ติ ามเวลาเมือ่ เข้าพักทีโ่ ฮมสเตย์ และ จ�ำเป็นต้องจัดสรรจ�ำนวนนักท่องเทีย่ วให้พอดีกบั จ�ำนวนทีพ่ กั เนือ่ งจากโฮมสเตย์ ของบ้านน�ำ้ เชีย่ วเป็นของชาวบ้านเอง ซึง่ ต้องมีการเตรียมการและทราบจ�ำนวน นักท่องเที่ยวที่แน่ชัด

ร่วม รับผิดชอบ

มี ก ารแบ่ ง บทบาทและหน้ า ที่ กั น อย่ า งชั ด เจน เพื่ อ การท� ำ งานที่ มี ประสิทธิภาพและงานที่ออกมานั้นต่างได้รับการยอมรับจากนักท่องเที่ยวว่ามี คุณภาพ โดยเฉพาะกิจกรรมการท่องเที่ยว อาหาร และความปลอดภัย

ร่วม รับผลประโยชน์

รายได้จากการท่องเทีย่ วนัน้ ทางชมรมฯ มีการกระจายรายได้อย่างชัดเจน โดยมีการหักรายได้สว่ นหนึง่ ไว้เป็นกองกลางในการน�ำไปใช้พฒ ั นาและเสริมสร้าง ชุมชนในด้านต่าง ๆ เช่น กิจกรรมวันเด็ก วันผู้สูงอายุ หรือโอกาสส�ำคัญต่าง ๆ ตามที่ชุมชนเห็นสมควร

68 CBT ท�ำอย่างไรให้ยั่งยืน?


เพื่ อให้เห็นกลไกการท�ำ Co-Creation ให้ชัดเจนขึ้น เรามาดูกันว่ามีองค์ประกอบใดบ้าง 1. ภาควิชาการ

อุตสาหกรรมท่องเทีย่ วไม่อาจพัฒนาได้ หากปราศจาก ทั้งของภาครัฐและเอกชน หรือ กลุ่มนักวิชาการ ซึ่งเป็น การสนับสนุนทางด้านวิชาการ การส่งเสริมด้านทักษะ ฝีมอื แหล่งสร้างองค์ความรู้ งานศึกษา วิจัยต่าง ๆ เพื่อสร้าง แรงงาน และทุนทางปัญญา เพื่อป้อนเข้าสู่อุตสาหกรรม แนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ท่องเที่ยวองค์กรที่สนับสนุน อาทิ สถาบันทางการศึกษา 2. หน่วยงานภาครัฐ

องค์กรภาครัฐเป็นผู้ก�ำหนดนโยบายในอุตสาหกรรม ท่องเที่ยวเพื่อขับเคลื่อนไปในทิศทางที่เหมาะสม ทั้งใน ลักษณะทีภ่ าครัฐเข้าไปควบคุมการท�ำกิจกรรมบางประเภท ทีม่ ผี ลกระทบต่อสาธารณะ เช่น การใช้ทรัพยากรธรรมชาติ หรื อ มี ผ ลกระทบต่ อ สิ่ ง แวดล้ อ ม ทั้ ง ในบางลั ก ษณะ รัฐก็เข้าไปจัดการควบคุมเพือ่ ให้เป็นไปตามความสงบเรียบร้อย และศีลธรรมอันดีของบ้านเมือง ทั้งนี้รัฐต้องเข้าไปส่งเสริม ให้เอกชนมีการลงทุนอย่างอิสระ เพื่อแสวงหาผลก�ำไร ทางธุรกิจและเพือ่ การขยายตัวทางเศรษฐกิจ มีการกระจาย

รายได้ การสร้างงาน ที่ก่อให้เกิดเสถียรภาพทางสังคม การเชื่ อ มโยงบทบาทและภารกิ จ ของหน่ ว ยงานหลั ก ด้านการท่องเทีย่ วจึงมีความจ�ำเป็นอย่างยิง่ ได้แก่ กระทรวง การท่องเที่ยวและกีฬา กรมการท่องเที่ยว การท่องเที่ยว แห่งประเทศไทย กองบังคับการต�ำรวจท่องเทีย่ ว องค์การ บริหารการพัฒนาพืน้ ทีพ่ เิ ศษเพือ่ การท่องเทีย่ วอย่างยัง่ ยืน (องค์การมหาชน) และ องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ เป็นต้น เพื่ อ ก� ำ หนดนโยบายและสนั บ สนุ น ด้ า นการท่ อ งเที่ ย ว ของประเทศร่วมกัน

องค์การบริหารการพั ฒนาพื้ นที่พิเศษเพื่ อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)

69


CHAPTER 3

3. ภาคเอกชน

อุตสาหกรรมท่องเทีย่ วเป็นอุตสาหกรรมทีม่ ี ขอบเขตกว้างขวางในหลายภาคส่วนประกอบกัน เป็ น วงจรธุ ร กิ จ การท่ อ งเที่ ย วและท่ า มกลาง การแข่งขันที่รุนแรงในธุรกิจด้านการท่องเที่ยว การประสานผลประโยชน์ในกลุ่มธุรกิจต่าง ๆ จึงได้มีขึ้นและได้รับการส่งเสริมจากทางภาครัฐ โดยการจัดตั้งองค์กรความร่วมมือทั้งในรูปแบบ

สภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว หรือ สมาคม การค้ า ต่ า ง ๆ ที่ ร วบรวมผู ้ ป ระกอบกิ จ การ ในอุ ต สาหกรรมท่ อ งเที่ ย วประเภทเดี ย วกั น กระบวนการร่วมมือดังกล่าวได้สร้างการพัฒนา และก�ำหนดกรอบแนวทางปฏิบัติของกลุ่มธุรกิจ ให้เป็นไปในมาตรฐานเดียวกัน

4. ภาคประชาชน

เนื่ อ งจากอุ ต สาหกรรมท่ อ งเที่ ย วเป็ น อุตสาหกรรมที่เกิดจากการบริโภคทรัพยากร ทางการท่องเที่ยว อันเป็นสิ่งที่เกี่ยวโยงอย่าง เหนียวแน่นกับทัง้ วัฒนธรรม ประเพณี ความเชือ่ และแหล่งถิน่ ฐานท้องถิน่ ของชุมชน การท่องเทีย่ ว ได้น�ำมาซึ่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อชุมชน ท้องถิน่ ทัง้ ทาง สังคม เศรษฐกิจ และสิง่ แวดล้อม ฉะนั้นการรวมตัวกันเพื่อสร้างเครือข่ายความ ร่วมมือภาคชุมชนจึงเป็นสิ่งจ�ำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อ

70 CBT ท�ำอย่างไรให้ยั่งยืน?

การมีส่วนร่วมของชุมชนในการก�ำหนดทิศทาง ในการพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเทีย่ วซึง่ การส่งเสริม การมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นในการบริหาร จั ด การแหล่ ง ท่ อ งเที่ ย วมี ห ลายรู ป แบบ เช่ น การจั ด ตั้ ง คณะกรรมการในระดั บ ท้ อ งถิ่ น ขึ้นเพื่อพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวให้มี การบริ ห ารอย่ า งเป็ น รู ป ธรรม โดยมี ภ าครั ฐ ภาควิ ช าการ ภาคเอกชน และชุ ม ชนเข้ า มา มีส่วนร่วม เป็นต้น


Did you know? เคล็ดลับ

ผู้ พิ ชิ ต

ก.

กลุ่ม กติกา กิจกรรม กองทุน กัลยาณมิตร การบริหารจัดการ การสื่อสาร แกนน�ำ

ต้องมีการรวมกลุ่ม เป็นองค์กรร่วมกันท�ำงาน กฎระเบียบข้อบังคับของชุมชน ต้องมีอย่างต่อเนื่อง และมีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องเช่นกัน กองกลางหรือการมีกลุ่มออมทรัพย์ ภาคี/เครือข่ายการพัฒนา การส�ำรวจ การจัดท�ำฐานข้อมูล การแลกเปลีย ่ นมุมมอง และการเสนอความคิดเห็นเพื่อการพัฒนา ต้องเอาจริงเอาจัง และเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม

องค์การบริหารการพั ฒนาพื้ นที่พิเศษเพื่ อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)

71


CHAPTER 4

W H AT W I L L YOU GET FROM CBT? ท่องเที่ยวโดยชุมชน… ท�ำแล้วได้อะไร? “การท่องเที่ยวโดยชุมชน เพื่ อความยั่งยืนของ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม” ขั้นตอนการท�ำการท่องเที่ยวโดยชุมชน ไม่ใช่ เพี ยงทฤษฎี หรือแบบเรียนให้ความรู้ แต่เป็น องค์ความรู้ ที่รวบรวมจากประสบการณ์และ ความรู้ จ ากการถอดบทเรี ย นกระบวนการ พั ฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนจาก 14 ชุมชน ต้ น แบบของ อพท. ซึ่ ง ท� ำ งานร่ ว มกั บ ภาคี เครือข่ายอย่างใกล้ชิด โดยทุกความส�ำเร็จได้ถูกประมวลมาเพื่ อเล่าว่า ผลประโยชน์ท่ีจะตกอยู่กับชุมชน ทั้งทางด้าน เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมนั้นมีอะไรบ้าง รวมถึ ง ผลประโยชน์ ต่ อ ชุ ม ชนที่ ไ ม่ ไ ด้ ท� ำ การ ท่องเที่ยวโดยตรง และผลประโยชน์ต่อประเทศ ที่จะน�ำไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน

72 CBT ท�ำอย่างไรให้ยั่งยืน?


องค์การบริหารการพั ฒนาพื้ นที่พิเศษเพื่ อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)

73


CHAPTER 4

ผลประโยชน์ ด้านเศรษฐกิจ การท่องเที่ยวโดยชุมชน ไม่มุ่งหมายให้การ ท่องเทีย่ วเป็นเศรษฐกิจหลักของชุมชน เพราะจะ ท�ำให้เกิดการเปลีย่ นแปลงวิถชี วี ติ และชุมชนจะไม่ สามารถอยู ่ ไ ด้ ห ากภาวะท่ อ งเที่ ย วในชุ ม ชน ซบเซาลงซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นแล้วในหลาย ๆ ชุ ม ชน แต่ ป ระโยชน์ ท างเศรษฐกิ จ ที่ เ กิ ด ขึ้ น จากการท่องเที่ยวโดยชุมชน คือ การจัดสรร ทรัพยากรในพื้นที่ให้เกิดมูลค่าและประโยชน์ สูงสุด และการหมุนเวียนเศรษฐกิจจาก อาชีพเสริม ซึง่ ไม่เพียงแต่นำ� มาซึง่ ความเป็นอยูท่ ดี่ ขี นึ้ เท่านัน้ แต่ยังน�ำบรรยากาศแห่งความอบอุ่นและความ เข้มแข็งกลับคืนสู่ชุมชนอีกด้วย

74 CBT ท�ำอย่างไรให้ยั่งยืน?

โดยสองชุ ม ชนในพื้ น ที่ พิ เ ศษของ อพท. ทั้ง ชุมชนบ้านชากแง้ว จ.ชลบุรี และ ชุมชน บ้านคุกพัฒนา จ.สุโขทัย ต่างก็เป็นตัวอย่างที่ดี ที่ ส ะท้ อ นให้ เ ห็ น ว่ า การสร้ า งผลประโยชน์ ด้ า นเศรษฐกิ จ จากการท� ำ การท่ อ งเที่ ย วโดย ชุมชนนั้นเกิดขึ้นได้จริง โดยมีกระบวนการมี ส่วนร่วมของคนในชุมชนเป็นพื้นฐานส�ำคัญ


แต่ประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่ เกิดขึน ้ จากการท่องเทีย ่ วโดยชุมชน คือ การจัดสรรทรัพยากรในพื้ นที่ ให้เกิดมูลค่าและประโยชน์สูงสุด

องค์การบริหารการพั ฒนาพื้ นที่พิเศษเพื่ อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)

75


CHAPTER 4

ผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจ

ชุมชนบ้านชากแง้ว จ.ชลบุรี ได้ความรุ่งเรืองกลับมา (อีกครั้ง) “ภาพความอบอุ่นในชุมชนบ้านไม้เรือนแถว ทีเ่ คยวิ่งเล่นแต่เด็ก ได้ปลุกจิตส�ำนึกของคนสองยุค ซึง ่ เกิดและเติบโตในช่วงรอยต่อของอดีตกับปัจจุบัน ให้ลุกขึน ้ มาชุบชีวิตของบ้านชากแง้ว”

ต่ อ มาในปี พ .ศ.2502 จึ ง เกิ ด โรงหนั ง ชากแง้วราม่า ขึ้น ถือได้ว่าเป็นสถานบันเทิง ที่สร้างเสียงฮือฮา และท�ำให้ชุมชนกลายเป็น ที่รู้จักในวงกว้างมากขึ้น แต่เมื่อมีการตัดถนน สุขุมวิท เมืองพัทยาเติบโตอย่างรวดเร็ว ความ รุง่ เรืองของบ้านชากแง้วจึงเริม่ ลดความส�ำคัญลง หลายสิบปีต่อมา ความเจริญในบริเวณบ้าน และเข้าสูภ่ าวะซบเซาในทีส่ ดุ คนในชุมชนหลายคน ชากแง้วได้ดึงดูดชาวจีนจากที่อื่น ๆ มารวมกัน ขายที่ดินเพื่อย้ายที่อยู่อาศัยไปที่อื่น หนุ่มสาว เกิ ด เป็ น ชุ ม ชนขนาดใหญ่ ที่ มี ธุ ร กิ จ ครบวงจร ส่วนใหญ่เลือกเข้าไปท�ำงานในเมือง ทั้งร้านช�ำ โรงเผาถ่าน โรงเลื่อย ร้านทอง ฯลฯ สิง่ ต่าง ๆ เหล่านีไ้ ด้กระตุน้ ให้ผนู้ ำ� ชุมชนและ คนในชุมชนตระหนักถึงความเปลี่ยนแปลงของ ชุ ม ชน จึ ง ร่ ว มกั น พั ฒ นาและผลั ก ดั น ให้ ค น ในชุมชนร่วมกันเปิดชุมชนเป็น ตลาดจีนโบราณ ชุมชนบ้านชากแง้ว เพือ่ เปลีย่ นความเงียบเหงา เปลีย ่ นความเงียบเหงา ที่ปกคลุมมากว่า 30 ปี ให้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง ทีป ่ กคลุมมากว่า 30 ปี โดยให้คนในชุมชนมีสว่ นร่วม น�ำของดี ของอร่อย ให้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง มาร่ ว มกั น ขายให้ นั ก ท่ อ งเที่ ย วที่ เข้ า มาเที่ ย ว โดยให้คนในชุมชนมีส่วนร่วม ในชุมชน ก่อให้เกิดความสามัคคี และ ช่วยให้ ก่อให้เกิดความสามัคคี และ เกิดรายได้เสริม พร้อมทั้งเป็นการ อนุรักษ์ ช่วยให้เกิดรายได้เสริม วัฒนธรรมจีนในชุมชนชากแง้วไว้ ไม่ให้สญ ู หาย ไปตามกาลเวลา ร้อยกว่าปีมาแล้ว มีชาวจีนแต้จิ๋วล่องเรือ ส� ำ เภาจากบ้ า นเกิ ด เพื่ อ แสวงหาโชคชะตา ทีด่ กี ว่า ณ ดินแดนโพ้นทะเล จนกระทัง่ มาพบกับ ที่ราบลุ่ม รายล้อมด้วยภูเขา จึงลงหลักปักฐาน สร้างบ้าน จับจองที่ดินท�ำกิน

CONTACT ชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านชากแง้ว สท.สมหวัง สวัสดีมงคล 08 9003 5782 คุณสายใจ เต็งสุวรรณ 08 1870 3398

76 CBT ท�ำอย่างไรให้ยั่งยืน?


องค์การบริหารการพั ฒนาพื้ นที่พิเศษเพื่ อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)

77


CHAPTER 4

ผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจ

ชุมชนบ้านคุกพั ฒนา จ.สุโขทัย ได้ความพอเพี ยง “การด�ำเนินชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพี ยง ในระดับชุมชน เริ่มต้นจากการทีล ่ ูกบ้านแต่ละคน สามารถดูแลตัวเองได้”

ย่างก้าวแรกของหลายคนที่ตั้งใจเดินทาง มายังบ้านคุกพัฒนา อาจมีค�ำถามในใจว่า “ที่นี่ ไม่เห็นมีอะไรเลย” อย่าแปลกใจ! เพราะเจ้าของ พื้นที่ก็รู้ สึกเช่ น นั้ น เหมื อนกั น แต่ เมื่ อจั ง หวะ การด�ำรงชีวิต จากเช้าจรดเย็น จากวัน เดือน ปี ของชุมชน หลอมรวมกลายเป็น วิถี ในความไม่มี อะไรก็กลับกลายเป็นคุณค่ามหาศาลทีท่ ำ� ให้เกิด การท่องเที่ยวโดยชุมชน

เมือ ่ จังหวะการด�ำรงชีวิต จากเช้าจรดเย็น จากวัน เดือน ปี หลอมรวมกลายเป็นวิถี ในความไม่มีอะไรก็กลับกลายเป็น ่ �ำให้ คุณค่ามหาศาลทีท ่ วโดยชุมชน เกิดการท่องเทีย

ผูท้ เี่ ดินทางไปบ้านคุกพัฒนาส่วนมาก มักสนใจ เรียนรู้วิธีคิด วิธีการบริหารจัดการภายในชุมชน ว่ า เพราะเหตุ ใ ดที่ นี่ จึ ง ได้ รั บ การจั ด ตั้ ง เป็ น ศูนย์การเรียนรูเ้ รือ่ งเศรษฐกิจพอเพียง ทีน่ ม่ี กี าร สาธิตที่หลากหลาย นับตั้งแต่วิถีชาวนาไปจนถึง อาชีพเสริมที่ท�ำกันในหมู่บ้านนอกฤดูกาลท�ำนา เช่น การท�ำน�ำ้ หมักชีวภาพ การท�ำปุย๋ อินทรียอ์ ดั เม็ด มีการใช้เตาอิวาเตะในการผลิตถ่านไม้ไผ่ที่เป็น คาร์บอนบริสุทธิ์คุณภาพสูง การด�ำเนินชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ที่ ด� ำ เนิ น อยู ่ นั้ น เริ่ ม ต้ น มาจากการที่ ลู ก บ้ า น แต่ละคนสามารถดูแลตัวเองได้ ในขณะที่ปัญหา หนี้นอกระบบคุกคามคนส่วนใหญ่ในประเทศ แต่ทบี่ า้ นคุกพัฒนาสามารถบริหารการเงินอย่าง มีประสิทธิภาพ มีการจัดตัง้ สถาบันการเงินชุมชน ให้แต่ละคนมีบัญชีออมทรัพย์ ภายในชุมชน มีความใกล้ชิดสนิทกันดั่งญาติพี่น้อง ซึ่งเป็น ส่วนส�ำคัญทีท่ ำ� ให้ทกุ คนเข้ามาช่วยกันแก้ปญ ั หา โดยยึดหลักพื้นฐานของ ความรักบ้านเกิด และ อยากเห็นการพัฒนาที่ยั่งยืน นั่นเอง CONTACT ชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านคุกพั ฒนา คุณทรรศวรรรณ ลิสวน 08 9562 6230, 08 1040 7325

78 CBT ท�ำอย่างไรให้ยั่งยืน?


องค์การบริหารการพั ฒนาพื้ นที่พิเศษเพื่ อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)

79


CHAPTER 4

ผลประโยชน์ ด้านสังคม ผลประโยชน์จากการท่องเที่ยวโดยชุมชน และเมือ่ ด�ำเนินการท่องเทีย่ วโดยชุมชนเพือ่ ให้ ด้านสังคม คือผลประโยชน์ที่ประจักษ์ชัดที่สุด บรรลุเป้าหมายทีต่ งั้ ไว้ของชุมชนแล้ว ผลประโยชน์ และเกิดขึ้นตั้งแต่เริ่มต้น นั่นคือ การร่วมมือกัน ต่อมาทีเ่ กิดขึน้ ทัง้ ขณะด�ำเนินการและปลายทาง ของผลส� ำ เร็ จ คื อ ความปลอดภั ย ในชุ น ชน ของคนในชุมชน มิตรไมตรีในชุมชน การสร้างสังคมที่มีงาน ผลประโยชน์ตอ่ มาคือ ผลประโยชน์ดา้ นสังคม มีอาชีพ และ ก่อให้เกิดการคืนถิน่ ของหนุม่ สาว เชิงวัฒนธรรม จากการส�ำรวจชุมชน วัฒนธรรม ประเพณี วิถี ศิลปะ อาหาร บ้านเรือน และ สั ง คมที่ จ ะเกิ ด ขึ้ น จากการท่ อ งเที่ ย ว อัตลักษณ์ ทีเ่ ป็นมรดกทางสังคมของแต่ละชุมชน โดยชุมชนจึงอาจไม่ได้เป็นเพียงสังคมที่สมบูรณ์ ซึ่งไม่เพียงเป็นเสน่ห์ของการท�ำการท่องเที่ยว แต่ จ ะเป็ น สั ง คมที่ อ บอุ ่ น ด้ ว ยความร่ ว มมื อ ที่ โดยชุมชน แต่ยงั เป็น การค้นพบคุณค่า ทีก่ อ่ ให้เกิด เป็นหนึง่ เดียวกันของคนในชุมชน ซึง่ ชุมชนนครชุม ความภาคภูมิใจ ความมีส่วนร่วม และความเป็น จ.ก�ำแพงเพชร และ ชุมชนบ่อสวก จ.น่าน หนึ่งเดียวกันของชุมชน คือสองชุมชนต้นแบบของ อพท. ทีห่ ยิบอัตลักษณ์ ของชุมชน ทัง้ ด้านวิถชี วี ติ และวัฒนธรรมมาน�ำเสนอ แก่นกั ท่องเทีย่ วได้เป็นอย่างดี ทีนเี้ ราลองมาดูกนั ว่า ทัง้ สองชุมชนนัน้ เมือ่ ท�ำ CBT แล้วได้รบั ผลประโยชน์ ด้านสังคมอย่างไรกันบ้าง 80 CBT ท�ำอย่างไรให้ยั่งยืน?


ปลายทางของผลส�ำเร็จคือ ความปลอดภัยในชุนชน มิตรไมตรีในชุมชน ่ ีงานมีอาชีพ และ การสร้างสังคมทีม ก่อให้เกิดการคืนถิ่นของหนุ่มสาว

องค์การบริหารการพั ฒนาพื้ นที่พิเศษเพื่ อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)

81


CHAPTER 4

ผลประโยชน์ด้านสังคม

ชุมชนนครชุม จ.ก�ำแพงเพชร ได้รู้ว่าเอกลักษณ์คืออะไร “เหนืออืน ่ ใดนั้นคือ ใจของคนนครชุมแท้ ๆ ทีร ่ ักและภูมิใจในบ้านเกิด พร้อมช่วยกันส่งต่อของแท้ไปยังลูกหลาน เพื่ อรักษาของดีให้คงอยู่คู่นครชุม”

พื้นบ้าน แกงถั่วมะแฮะ ก็เป็นต้นต�ำรับที่น�ำมา จากเมืองเวียงจันทน์ ส.ป.ป.ลาว นอกจากนี้ ยังมีอาหารโบราณที่หากินได้ยาก อาทิ ขนม ดอกดิ น ซึ่ ง ใช้ น�้ ำ คั้ น จากดอกดิ น ที่ แ ทงยอด ระหว่างฤดูหนาวกับฤดูร้อนเป็นส่วนผสม หรือ เมี่ยงมะพร้าว ของว่างรสชาติอร่อย อีกหนึ่ง ของแท้แห่งนครชุมส่วนหนึ่งมาจากคนที่ ของดีของชุมชน อพยพโยกย้ายมาอยู่ที่นี่เมื่อครั้งอดีต ซึ่งน�ำเอา เอกลักษณ์ของชุมชนดั้งเดิมมาด้วย เช่น อาหาร เช่นเดียวกับบนเรือนไม้เก่าอายุกว่า 100 ปี บ้านของคุณยายประภาศรี เอกปาน หรือที่ ชาวบ้านเรียกกันว่า ยายจวบ ซึง่ ปัจจุบนั มีอายุกว่า 83 ปี คุณยายจวบยังคงท�ำขนมที่มีชื่อเก๋ ๆ ว่า ข้ า วตอกตั ด เป็ น ขนมโบราณที่ ห าทานยาก ในปัจจุบนั ขนมตอกตัดนีม้ คี วามเชือ่ ว่าเป็นขนม ทีเ่ กีย่ วกับความศรัทธาใน พระบรมธาตุเจดียาราม ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของชุมชนนั่นเอง ชุมชนนครชุม ยังคงเก็บรักษา เอกลักษณ์ของชุมชนเก่าแก่ จะเห็นได้ว่าการจะไปให้ถึงนครชุมนั้น ต้อง ทีม ่ ีประวัติศาสตร์มาเนิ่นนาน ค้นให้เจอของแท้! ซึง่ ถือเป็นเสน่หข์ องชุมชนแห่งนี้ คือต้นแบบของความย้อนยุค ของแท้ ต้นต�ำรับ CONTACT ชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนนครชุม ่ นแปลง ทีไ่ ม่ต้องเปลีย ชุมชนนครชุม จ.ก�ำแพงเพชร ยังคงเก็บ รั ก ษ า เ อ ก ลั ก ษ ณ ์ ข อ ง ชุ ม ช น เ ก ่ า แ ก ่ ที่ มี ประวัติศาสตร์มาเนิ่นนาน คือต้นแบบของความ ย้อนยุค ของแท้ ต้นต�ำรับ ทีไ่ ม่ตอ้ งเปลีย่ นแปลง แต่มองเห็นคุณค่าและน�ำเสนออย่างมีเอกลักษณ์

คุณสมศรี ค�ำพวงวิจิต 08 1281 8884

82 CBT ท�ำอย่างไรให้ยั่งยืน?


องค์การบริหารการพั ฒนาพื้ นที่พิเศษเพื่ อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)

83


CHAPTER 4

ผลประโยชน์ด้านสังคม

ชุมชนบ่อสวก จ.น่าน ได้ส่งต่อ…จากรุ่นสู่รุ่น “การสืบทอดและการสืบสานเป็นหัวใจส�ำคัญ ในการท่องเทีย ่ วโดยชุมชนอย่างยั่งยืน ต้องอาศัยการท�ำงานของคนรุ่นเก่าและคนรุ่นใหม่ คนรุ่นเก่าต้องมีหัวใจและจิตวิญญาณของความเป็นครู ส่วนคนรุ่นใหม่ต้องรักและศรัทธาในวิชาทีค ่ รูมอบให้”

ต.บ่อสวก อ.เมือง จ.น่าน เป็นชุมชนทีไ่ ด้รบั มรดกล�้ ำ ค่ า จากบรรพบุ รุ ษ นั่ น คื อ เตาเผา โบราณอายุราว 750 ปี ที่กระจายอยู่ทั่วบริเวณ อันแสดงให้เห็นถึงความเจริญทางศิลปวิทยา ของคนในอดีต ซึ่งท�ำเครื่องเคลือบดินเผาได้ อย่ า งสวยงาม และปั จ จุ บั น ยั ง ไม่ ส ามารถ ลอกเลียนแบบได้ โชคดีที่คนบ่อสวกเห็นคุณค่าของโบราณ ในท้องถิ่น โดยไม่ผลักดันให้เป็นหน้าที่ของรัฐ ในชุมชนจึงมีแหล่งเรียนรู้เตาเผาประวัติศาสตร์ ที่ มี ส ภาพสมบู ร ณ์ อ ยู ่ โดยเก็ บ รั ก ษาไว้ ที่ พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ เ ฮื อ นบ้ า นสวกแสนชื่ น โดยไม่ มี การเก็บค่าใช้จ่ายในการเข้าชม ภาพเด็ก ๆ เยาวชนที่มานั่งปั้นหม้อดินเผา คนรุ ่ น ใหม่ ที่ เข้ า มาเรี ย นรู ้ ก ารทอผ้ า ด้ ว ยมื อ โดยการสอนและถ่ายทอดจากคนรุน่ เก่า ล้วนเป็น ผลของการสืบทอดและสืบสาน ทีเ่ กิดขึน้ ภายใน ชุมชนโดยชุมชนเอง CONTACT ชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ่อสวก คุณสุทธิพงษ์ ดวงมณีรัตน์ 08 1028 9051 คุณสกาวเดือน มันจันทร์ 08 1885 2307

84 CBT ท�ำอย่างไรให้ยั่งยืน?


เตาเผาโบราณอายุราว 750 ปี ทีก ่ ระจายอยู่ท่ว ั บริเวณ อันแสดงให้เห็นถึงความเจริญ ทางศิลปวิทยาของคนในอดีต และปัจจุบัน ยังไม่สามารถลอกเลียนแบบได้

องค์การบริหารการพั ฒนาพื้ นที่พิเศษเพื่ อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)

85


CHAPTER 4

ผลประโยชน์ ด้านสิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมไม่ได้หมายถึงเพียงบ้านสวย ถนนสะอาด ตลาดใหญ่ หรือป่าไม้ทสี่ มบูรณ์แบบ แต่ สิ่ ง แวดล้ อ มคื อ ทุ ก พื้ น ที่ ใ นชุ ม ชน ที่ มี เอกลักษณ์และแตกต่างไปตามแต่ละชุมชน ไม่วา่ จะเป็นชุมชนชายทะเล ชุมชนเมือง ชุมชนป่า หรือชุมชนสวน ผลประโยชน์ ด ้ า นสิ่ ง แวดล้ อ มจากการ ท� ำ การท่ อ งเที่ ย วโดยชุ ม ชน จึ ง เป็ น การคื น สิง่ แวดล้อมสูช่ มุ ชน ผ่านเงือ่ นไขของการท่องเทีย่ ว ทีใ่ ช้ความสมบูรณ์ของสิง่ แวดล้อมในรูปแบบต่าง ๆ เป็นสิ่งที่น�ำเสนอในรูปแบบของการท่องเที่ยว ขณะเดียวกันการท�ำการท่องเที่ยวโดยชุมชนยัง

86 CBT ท�ำอย่างไรให้ยั่งยืน?

ป้องกันการเข้ามาของนายทุน ที่อาจสร้างเงิน สร้างรายได้จากการท่องเที่ยวให้กับชุมชน แต่ สิ่งที่ถูกท�ำลายอย่างเห็นได้ชัด คือสิ่งแวดล้อม จากการเข้ามาโดยไม่ค�ำนึงถึงชุมชน การท�ำการท่องเที่ยวโดยชุมชนจึงเป็นทั้ง การรักษาสิ่งแวดล้อมที่อาจเปลี่ยนแปลงไปจาก การถูกละเลย และปกป้องสิ่งแวดล้อมในชุมชน ไม่ให้ถกู รุกรานจากผูไ้ ม่รู้ ผูไ้ ม่รกั ซึง่ ชุมชนปลาบ่า และ ชุมชนกกสะทอน จ.เลย คือ สองชุมชน ต้นแบบของ อพท. ทีไ่ ด้เรียนรูก้ ารบริหารจัดการ ทรัพยากรทางธรรมชาติเชือ่ มโยงกับการท่องเทีย่ ว อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถบริหารจัดการ ให้ ค นและป่ า อยู ่ ร ่ ว มกั น ได้ รวมถึ ง สามารถ ปกป้องและรักษาสิ่งแวดล้อมดั้งเดิมของชุมชน ให้เป็นมรดกตกทอดสู่ลูกหลานสืบไป


การท�ำการท่องเทีย ่ วโดยชุมชน เป็นทั้งการรักษาสิ่งแวดล้อม ป้องกันจากการถูกละเลย และไม่ให้ถูกรุกราน จากผู้ไม่รู้ ผู้ไม่รัก

องค์การบริหารการพั ฒนาพื้ นที่พิเศษเพื่ อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)

87


CHAPTER 4

ผลประโยชน์ด้านสิง ่ แวดล้อม

ชุมชนปลาบ่า จ.เลย ได้ป่าคืน “การท่องเทีย ่ วไม่ใช่จุดหมายหลักทีท ่ �ำให้ชุมชนยั่งยืน แต่ชุมชนจะช่วยกันท�ำให้การท่องเทีย ่ ว เกิดความยั่งยืนได้ด้วยการรักษาสิ่งแวดล้อม”

ต้นไม้ ต้นน�้ำ ป่า ชีวิต...กับเรื่องราวของ ชุมชนปลาบ่า อ.ภูเรือ จ.เลย ที่ร่วมแรงร่วมใจ คืนผืนป่ากว่า 2,000 ไร่ ให้กับ เขตรักษาพันธุ์ สัตว์ป่าภูหลวง นับเป็นจุดเริ่มต้นของการฟื้นฟู ระบบนิเวศขนาดใหญ่ที่ให้ประโยชน์ยั่งยืนไปสู่ รุ่นลูกรุ่นหลาน

ส�ำหรับคนทีอ่ ยูต่ น้ น�ำ้ ย่อมรับทราบถึงความ เปลี่ ย นแปลงที่ เ ห็ น ได้ ชั ด จากสภาพแวดล้ อ ม ทีเ่ ปลีย่ นไป ซึง่ น�ำไปสูก่ ารฟืน้ ฟูทรัพยากรธรรมชาติ แต่กว่าจะมาถึงวันนี้ได้ต้องอาศัยความเสียสละ และการพูดคุยกัน เพื่อให้ชุมชนเห็นพ้องต้องกัน ว่า การคืนที่ดินท�ำกินให้เป็นพื้นที่ป่าจะเกิด ประโยชน์มหาศาล เพราะเมือ่ ระบบนิเวศสมดุล ชาวบ้านจะสามารถประกอบอาชีพ ท�ำมาหากิน ได้ง่ายขึ้น ถ้าพื้นที่ 1 ไร่ ปลูกต้นไม้ได้ราว 400 ต้น จะเท่ากับว่าในอนาคต พืน้ ที่ 2,000 ไร่ ซึง่ เคยเป็น ที่ เ พาะปลู ก ของชุ ม ชน จะปลู ก ต้ น ไม้ ไ ด้ ถึ ง 800,000 ต้น ที่แน่นอนว่าย่อมเปลี่ยนสภาพ เขาหัวโล้นให้กลายเป็นป่าที่สมบูรณ์ได้ในไม่ช้า CONTACT ชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนปลาบ่า คุณเชิด สิงห์ค�ำปอง 09 5701 3139

่ ินท�ำกิน การคืนทีด ่ ่าจะเกิดประโยชน์มหาศาล ให้เป็นพื้ นทีป เพราะเมือ ่ ระบบนิเวศสมดุล ชาวบ้านจะสามารถประกอบอาชีพ ท�ำมาหากินได้ง่ายขึน ้

88 CBT ท�ำอย่างไรให้ยั่งยืน?


องค์การบริหารการพั ฒนาพื้ นที่พิเศษเพื่ อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)

89


CHAPTER 4

ผลประโยชน์ด้านสิง ่ แวดล้อม

ชุมชนกกสะทอน จ.เลย ได้วิวสวย “ชุมชนกกสะทอน… โชคดีทม ี่ ีหุบเขาสีชมพู เป็นของขวัญ”

ภูลมโล คือ สถานทีท่ อ่ งเทีย่ วธรรมชาติเปิดใหม่ ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ และกลายเป็นจุดหมายสุดฮิต ส�ำหรับผูท้ อี่ ยากชมความงามของ ซากุระเมืองไทย ในบรรยากาศลมหนาวช่ ว งเดื อ นมกราคมกุมภาพันธ์ ที่สีชมพูของมวลดอกไม้กลายเป็น ฉากโรแมนติกซึ่งท�ำให้ชุดรับลมหนาวดูเก๋ไก๋ โดดเด่นขึ้นไปอีกหลายเท่าตัว

ภู ล มโล ตั้ ง อยู ่ ใ นเขตอุ ท ยานแห่ ง ชาติ ภูหินร่องกล้า บนพื้นที่รอยต่อ 3 จังหวัด ได้แก่ เลย พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ ในอดีตพื้นที่กว่า 1,200 ไร่ เคยเป็นแหล่งปลูกกะหล�่ำปลีของ ชาวเขาเผ่าม้ง ซึ่งได้เข้ามาจับจองพื้นที่ก่อนการ ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ ทางการจึงขอ ความร่วมมือให้ ช่วยกันปลูกต้นนางพญาเสือโคร่ง ซึ่งเป็นไม้ท้องถิ่นเพื่อแลกกับการผ่อนผันที่ดิน ท�ำกิน โดยมีกติกาว่าชาวม้งต้องคืนพืน้ ทีป่ า่ ให้กบั อุทยานฯ ภายในระยะเวลา 3 ปี จากกระแสการท่องเที่ยวที่เติบโตขึ้น ท�ำให้ จ�ำนวนนักท่องเทีย่ วเพิม่ ขึน้ ไปด้วย ทางชุมชนจึง มีการสร้างความเข้าใจให้คนในชุมชนตระหนักถึง การดูแลรักษาทรัพยากรและสภาพแวดล้อมของ ภูลมโล โดยมีกฎร่วมกันว่า ต้องไม่มกี ารก่อกองไฟ ห้ามนักท่องเที่ยวกางเต็นท์ และ การจ�ำกัด ปริมาณนักท่องเทีย่ วต่อวัน เพือ่ ความปลอดภัย และรักษาสภาพแวดล้อมของชุมชนไว้ให้ยั่งยืน

สร้างความเข้าใจให้คนในชุมชน ตระหนักถึงการดูแลรักษาทรัพยากร โดยมีกฎร่วมกันว่า ต้องไม่มีการก่อกองไฟ ่ วกางเต็นท์ ห้ามนักท่องเทีย ่ วต่อวัน และการจ�ำกัดปริมาณนักท่องเทีย 90 CBT ท�ำอย่างไรให้ยั่งยืน?

CONTACT ชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนกกสะทอน คุณนิยม กุลาชัย 08 4490 3169


จากประสบการณ์โดยชุมชนต้นแบบของ อพท. ทัง้ 6 ชุมชนข้างต้น จะเห็นได้วา่ การท�ำการท่องเทีย่ ว โดยชุมชน หรือ CBT นัน้ ไม่เพียงก่อให้เกิดรายได้เสริมซึง่ เป็นผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจเท่านัน้ แต่ CBT ยังสร้างผลกระทบเชิงบวก ทั้งทางด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม เพราะท้ายที่สุดแล้ว โจทย์หลักที่ทุกชุมชนต้องตระหนักถึง คือ การท�ำ CBT เพื่อความยั่งยืน…แล้วชุมชนของคุณล่ะ คิดไว้แล้วหรือยัง ว่าจะท�ำการท่องเที่ยวให้ยั่งยืนได้อย่างไร? องค์การบริหารการพั ฒนาพื้ นที่พิเศษเพื่ อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)

91


CHAPTER 4

ผลประโยชน์ต่อชุมชน ที่ไม่ได้ท�ำการท่องเที่ยวโดยตรง กระบวนการเชือ่ มโยงผลประโยชน์จากการ ท่ อ งเที่ ย วไปยั ง ชุ ม ชน เป็ น จิ๊ ก ซอว์ ส� ำ คั ญ ในกิจกรรมท่องเทีย่ ว เช่น อาหาร ทีพ่ กั กิจกรรม ของที่ระลึก ฯลฯ ซึ่งแต่ละชุมชนอาจมีไม่ครบ ทุกอย่าง แต่มกี ระบวนการเชือ่ มโยงกันเพือ่ เติมเต็ม การท่องเที่ยวและได้รับประโยชน์ร่วมกันได้

นอกจากนั้น ชุมชนยังสามารถ เชื่อมโยง ส่งต่อนักท่องเที่ยว ด้วยกันได้ หากมีกิจกรรม หรือวัตถุดบิ ทีช่ มุ ชนนัน้ ๆ ไม่มี โดยรูปแบบในการ รับผลประโยชน์จากการท่องเทีย่ วอาจเป็นรายได้ หรื อ การเผยแพร่ วั ฒ นธรรมของชุ ม ชนให้ นักท่องเที่ยวได้เรียนรู้ เช่น ชุมชนตะเคียนเตี้ย จ.ชลบุรี (ชุมชนต้นแบบของอพท.) ที่ท�ำเลที่ตั้ง ไม่ได้อยูใ่ นพืน้ ทีช่ ายฝัง่ ทะเล ได้สง่ ต่อนักท่องเทีย่ ว ที่ อ ยากเรี ย นรู ้ วิ ถี ช าวประมงไป ชุ ม ชนบ้ า น บางละมุง ชุมชนประมงพืน้ บ้านทีต่ งั้ อยูไ่ ม่ไกลกัน ซึ่ ง การส่ ง ต่ อ นั้ น เป็ น การเชื่ อ มชุ ม ชนสู ่ ชุ ม ชน ท�ำให้เกิดการแลกเปลี่ยนและเรียนรู้เรื่องการ ท�ำการท่องเที่ยวไปพร้อม ๆ กัน โดยการประสานประโยชน์ตอ่ กันที่ ส่งต่อกัน เป็นเครือข่าย นี้เอง ที่จะท�ำให้เกิดการปกป้อง การท่องเที่ยวโดยชุมชนร่วมกัน

92 CBT ท�ำอย่างไรให้ยั่งยืน?


ผลประโยชน์ ต่อประเทศ

การที่ชุมชนเข็มแข็ง ชีวิตของคนในท้องถิ่น มี คุ ณ ภาพ สามารถบริ ห ารจั ด การชุ ม ชนได้ ด้วยตนเอง ชุมชนมีจิตส�ำนึกรักบ้านเกิด มีความรู้ ในการพัฒนาชุมชน เข้าใจในอัตลักษณ์ของตนเอง และสรรค์สร้างสินค้าทีม่ คี ณ ุ ภาพก่อให้เกิดรายได้ กลับสูช่ มุ ชน จะเป็นการขยายผลจากชุมชนเล็ก ๆ ไปสู่ความเข้มแข็งของประเทศในที่สุด

โดยก่อนที่จะขยายผลจากความส�ำเร็จของ ชุมชนสูค่ วามส�ำเร็จของประเทศนัน้ ต้องบอกว่า กระบวนการท�ำ CBT ในขั้นตอนต่าง ๆ คือ ส่ ว นส� ำ คั ญ ของการพั ฒ นาอย่ า งเป็ น ระบบ รวมถึงส่งต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนอย่างเป็น รูปธรรม ซึ่งลักษณะของการพัฒนาเพื่อองค์รวม ที่ส�ำคัญมีดังนี้

องค์การบริหารการพั ฒนาพื้ นที่พิเศษเพื่ อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)

93


CHAPTER 4

การท�ำงานเพื่ อให้ เป็นไปในทิศทางเดียวกัน กระบวนการท�ำ CBT ท�ำให้เกิดการบูรณาการ ร่ ว มกั น ในเรื่ อ งของนโยบายการท่ อ งเที่ ย ว โดยชุมชนระหว่างภาครัฐให้เป็นไปในทิศทาง เดียวกัน ร่วมกันกับทุกภาคส่วน เพื่อให้การ ท่องเที่ยวไทยในภาพรวมมีแนวทางที่ชัดเจน โดยครอบคลุมมิติทั้งการท่องเที่ยวกระแสหลัก การเชือ่ มโยงระบบขนส่ง ไปจนถึงการมีสว่ นร่วม

ของชุมชน เพื่อให้เกิดการกระจายผลประโยชน์ จากการท่องเที่ยวไปสู่ชุมชนท้องถิน่ ให้มากที่สดุ จึงเป็นการพัฒนามาจากนโยบาย เริ่มต้นการ เปลี่ยนแปลงตั้งแต่ระดับประเทศ เพื่อเป็นแก่น ส�ำคัญที่จะพัฒนาทุกชุมชน โดยใช้โครงสร้าง เดียวกัน

ผลประโยชน์ต่อประเทศ

การจัดการโดยชุมชน เพื่ อความเข้มแข็งของชุมชนเอง ชุมชนที่เป็นเจ้าของทรัพยากรการท่องเที่ยวที่แท้จริง สามารถยืนหยัดได้ดว้ ยตัวเอง มีความสามารถทีจ่ ะไม่พงึ่ พา งบประมาณรัฐ มีระบบการจัดการการท่องเที่ยวที่เป็น มาตรฐาน มีความเข้มแข็งสามารถดูแลจัดการกิจกรรม การท่องเที่ยวโดยชุมชนด้วยตัวเอง เมื่อนักท่องเที่ยวได้รับ ความรู้จากการท่องเที่ยวในชุมชน ชุมชนก็ตระหนักถึง ความส�ำคัญในการช่วยกันดูแลรักษาสิง่ แวดล้อมของชุมชน ร่วมกัน นอกจากไม่ต้องพึ่งพิงแล้วยังเป็นก�ำลังส�ำคัญที่จะ ช่วยพัฒนาส่วนต่าง ๆ ของประเทศด้วย

94 CBT ท�ำอย่างไรให้ยั่งยืน?


เกิดการอนุรักษ์ ควบคู่การท่องเที่ยว การท่ อ งเที่ ย วโดยชุ ม ชนเป็ น หนึ่ ง ในเครื่ อ งมื อ ที่ ช ่ ว ย ท� ำ ให้ ชุ ม ชนมี วิ ถี ชี วิ ต ที่ ยั่ ง ยื น อนุ รั ก ษ์ ท รั พ ยากรธรรมชาติ ศิลปวัฒนธรรมของชุมชน โดยชุมชนสามารถบริหารจัดการ ทรัพยากรต่าง ๆ ได้เหมาะสม เพือ่ ประโยชน์สงู สุดต่อชุมชน และ สามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลีย่ นแปลงในอนาคต โดยทีเ่ ข้าใจ ถึงคุณค่าของวิถีชีวิต ประเพณี วัฒนธรรมท้องถิ่น รวมถึงท�ำให้ผู้ที่ ได้เข้ามาท่องเทีย่ วในพืน้ ทีข่ องตนรับรูถ้ งึ คุณค่า ซึง่ ศิลปวัฒนธรรม ดั ง กล่ า ว ล้ ว นเป็ น อั ต ลั ก ษณ์ ข องประเทศ แสดงให้ เ ห็ น ถึ ง อารยธรรมที่สั่งสมมานาน และเป็นที่ชื่นชมของนานาประเทศ

เพราะเยาวชน คือ หัวใจส�ำคัญของความยั่งยืน การท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่จะท�ำให้ เยาวชนในชุมชนสืบทอดคุณค่าทรัพยากรในท้องถิ่นของตนเอง หรืออีกนัยหนึ่งเยาวชนเป็นส่วนส�ำคัญที่จะท�ำให้การท่องเที่ยว โดยชุมชนเกิดความยั่งยืนอย่างแท้จริง ซึ่งความเข้มแข็งที่เกิดขึ้น ในชุมชนนัน้ สามารถขยายผลไปสูร่ ะดับประเทศได้อย่างต่อเนือ่ ง โดยเยาวชนจากรุ่นสู่รุ่น

เพราะฉะนั้นแล้ว การท่องเที่ยวโดยชุมชน หรือ CBT จึงไม่ได้ เป็นเพียงการพัฒนาชุมชน แต่เป็นการพัฒนา ประเทศสูช่ มุ ชนและพัฒนาชุมชนสูป่ ระเทศอย่าง เชื่อมโยงแน่นแฟ้น และเป็นการพัฒนาอย่าง มัน่ คง ผ่านกระบวนการมีสว่ นร่วมของคนในชุมชน มั่ ง คั่ ง จากการค้ น พบคุ ณ ค่ า ของทรั พ ยากร ที่ส่งต่อกันภายในชุมชนจากรุ่นสู่รุ่น และ ยั่งยืน ด้วยการที่ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองและรู้จัก น�ำคุณค่าจากสิ่งที่มีอยู่มาต่อยอดสร้างมูลค่า เสริมได้ในท้ายที่สุด

่ คง: มัน ชุมชนเรียนรู้ เข้มแข็ง สามัคคี ่ คัง ่ : มัง กระจายรายได้ พั ฒนาเศรษฐกิจฐานราก ่ ยืน: ยัง สมดุลระหว่างสิ่งแวดล้อม ชุมชนมีความสุข พั ฒนาบนฐานอัตลักษณ์และ ฐานทรัพยากรท้องถิ่น

องค์การบริหารการพั ฒนาพื้ นที่พิเศษเพื่ อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)

95


CHAPTER 5

CBT FOR TOMORROW ท่องเที่ยวโดยชุมชน เพื่ อวันข้างหน้า อย่ า งที่ ย�้ ำ กั น มาตั้ ง แต่ บ ทแรกจนถึ ง บทที่ 4 ว่าการท�ำท่องเที่ยวโดยชุมชน ไม่ได้ท�ำเพื่ อวันนี้ เดี๋ ย วนี้ เ ท่ า นั้ น แต่ ยั ง มองภาพไกลไปถึ ง ความยั่งยืนในอนาคต ทั้งมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิง ่ แวดล้อม และเพื่ อท�ำให้เห็นภาพชัดขึ้น เรามีบทสัมภาษณ์ ของ 5 บุคคลจากหลายหน่วยงาน ซึ่งแต่ละคน ต่ า งมี บ ทบาทส� ำ คั ญ ในการขั บ เคลื่ อ นการ ท่องเทีย ่ วโดยชุมชนของประเทศไทยในมิตต ิ า่ ง ๆ ทั้ ง ในแง่ น โยบาย ขั้ น ตอนการพั ฒ นาชุ ม ชน เทรนด์การท่องเที่ยว การมองหานักท่องเที่ยว และการท� ำ ตลาด ไปจนถึ ง ความท้ า ทายและ แนวโน้มการพัฒนาการท่องเทีย ่ วโดยชุมชนของ ประเทศไทย

96 CBT ท�ำอย่างไรให้ยั่งยืน?


องค์การบริหารการพั ฒนาพื้ นที่พิเศษเพื่ อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)

97


CHAPTER 5

S TA B I L I T Y, PROSPERITY & S U S TA I N A B I L I T Y TOURISM

การท่องเที่ยวที่ม่น ั คง มั่งคั่ง และยั่งยืน แม้เศรษฐกิจจะเป็นภาพใหญ่ในการมุง่ สร้าง ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ตามวิสัยทัศน์ของ รัฐบาลชุดปัจจุบนั แต่ปฏิเสธไม่ได้วา่ การท่องเทีย่ ว เป็ น อี ก หนึ่ ง ส่ ว นส� ำ คั ญ ในการขั บ เคลื่ อ น เศรษฐกิ จ ของประเทศ และแน่ น อนว่ า นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร รัฐมนตรีวา่ การ

กระทรวงการท่องเทีย่ วและกีฬา ก็มคี วามมุง่ มัน่ ในการพั ฒ นาการท่ อ งเที่ ย วของประเทศไทย โดยมี เ ป้ า หมายในหลากมิ ติ หลายระยะ ซึ่ ง หนึ่ ง ในนั้ น คื อ การกระจายรายได้ ลดความ เหลื่ อ มล�้ ำ ในสั ง คม และพั ฒ นาชุ ม ชนต่ า ง ๆ ให้สามารถพึง่ พาตัวเองได้ ด้วยความมัน่ คง มัง่ คัง่ และยั่งยืน

เป้าหมายการพั ฒนาการท่องเที่ยว

กระทรวงการท่องเทีย่ วและกีฬาได้มกี ารก�ำหนดแนวทางการพัฒนา (Roadmap) ในระยะ 20 ปี เพือ่ ให้สามารถ บรรลุเป้าหมายตามกรอบเวลาในการพัฒนาการท่องเที่ยวสู่การบรรลุวิสัยทัศน์ 20 ปี ทั้งในระยะสั้น 5 ปี (พ.ศ.2560-พ.ศ.2564) ระยะกลาง 10 ปี (พ.ศ.2560-พ.ศ.2569) และระยะยาว 20 ปี (พ.ศ.2560-พ.ศ.2579) เป้าหมายระยะสั้น 5 ปี (พ.ศ.2560-พ.ศ.2564)

• เพิ่มค่าใช้จ่ายต่อหัวของนักท่องเที่ยวเพื่อส่งเสริมเป็นแหล่งท่องเที่ยวคุณภาพ • เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการท่องเที่ยวของประเทศไทยขึ้นมาเป็น 1 ใน 30 อันดับสูงสุด ของโลก หรือ 7 อันดับสูงสุดของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (เทียบกับอันดับ 35 ของโลก และอันดับที่ 10 ของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก จากการจัดอันดับในปีพ.ศ.2558) • การกระจายรายได้และผลประโยชน์จากการท่องเที่ยวสู่ทุกพื้นที่ และทุกภาคส่วนเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 10 จังหวัดภายในปีพ.ศ.2564 (เทียบกับ 29 จังหวัดในปีพ.ศ.2558 ที่มีรายได้จากการท่องเที่ยวรวมต่อปีเกิน 6,000 ล้านบาท) • อันดับความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทยขึ้นมาเป็น 1 ใน 100 อันดับที่ดีที่สุดของโลก (เทียบกับอันดับที่ 116 ของโลกจากการจัดอันดับในปีพ.ศ.2558) • ประเทศไทยเป็น Gateway สู่การท่องเที่ยวใน CLMVT (กัมพูชา ลาว เมียนมา เวียดนาม และไทย) 98 CBT ท�ำอย่างไรให้ยั่งยืน?


นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

องค์การบริหารการพั ฒนาพื้ นที่พิเศษเพื่ อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)

99


CHAPTER 5

เป้าหมายระยะกลาง 10 ปี (พ.ศ.2560-พ.ศ.2569)

• ประเทศไทยเป็นแหล่งท่องเทีย่ วชัน้ น�ำของภูมภิ าคอาเซียนในอีกอย่างน้อย 1 กลุม่ (Segment) ใหม่ นอกเหนือจากการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ทะเลและชายหาด และการแพทย์ • ประเทศไทยมีนักท่องเที่ยวจากกลุ่มภูมิศาสตร์หลักเพิ่มขึ้นจากเดิมอย่างน้อย 1 กลุ่ม และ การใช้จ่ายต่อหัวต่อทริปสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องส�ำหรับกลุ่มภูมิศาสตร์หลัก • มีการก�ำหนดและพัฒนาเขตพืน้ ทีท่ อ่ งเทีย่ วเพิม่ เติม โดยเน้นการเชือ่ มโยงกับเขตพืน้ ทีท่ อ่ งเทีย่ วเดิม • การท่องเที่ยวยังคงเป็นหนึ่งในตัวจักรส�ำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและลดความเหลื่อมล�้ำ ของคนในชาติโดยชุมชนท้องถิ่นมีความพร้อมที่จะเป็นหนึ่งในผู้น�ำในการพัฒนาการท่องเที่ยว • ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการส่งเสริมความยั่งยืนในการท่องเที่ยวอย่างแท้จริง • ประเทศไทยเป็น Gateway สู่การท่องเที่ยวในอาเซียน เป้าหมายระยะยาว 20 ปี (พ.ศ. 2560-พ.ศ. 2579)

• ประเทศไทยเป็นแหล่งท่องเที่ยวชั้นน�ำของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในอีกอย่างน้อย 2 กลุ่ม (Segment) ใหม่ นอกเหนือจากการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ทะเลและชายหาด และการแพทย์ • ประเทศไทยมีนักท่องเที่ยวจากทุกภูมิภาคทั่วโลก และการใช้จ่ายต่อหัวต่อทริปเพิ่มสูงขึ้น อย่างต่อเนื่องส�ำหรับนักท่องเที่ยวทุกกลุ่ม • ทุกจังหวัดได้รับการพัฒนาการท่องเที่ยวตามศักยภาพและอัตลักษณ์ของแต่ละจังหวัด • การท่องเที่ยวเป็นรากฐานการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม โดยประชาชนทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม ในการพัฒนาและขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว • ประเทศไทยเป็นหนึ่งในผู้น�ำของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในด้านความยั่งยืนของอุตสาหกรรม การท่องเที่ยว • ประเทศไทยเป็น Gateway สู่การท่องเที่ยวในเอเชีย 100 CBT ท�ำอย่างไรให้ยั่งยืน?


บทบาทของการท่องเที่ยวโดยชุมชน (CBT)

การท่องเที่ยวโดยชุมชนได้มีบทบาทมากยิ่งขึ้น และถือเป็นกลไกที่ส�ำคัญในการขับเคลื่อน การพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทย หากแหล่งท่องเที่ยวชุมชนมีการพัฒนาให้มีศักยภาพ สูงขึ้น จะท�ำให้มีการกระจายตัวของนักท่องเที่ยวจากเมืองท่องเที่ยวและแหล่งท่องเที่ยวหลักไปยัง ชุมชนต่าง ๆ ได้มากยิ่งขึ้น เป็นการลดความแออัดและปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมในเมืองหลัก อีกทั้ง ท�ำให้ชุมชนได้รับผลประโยชน์หรือรายได้โดยตรงจากนักท่องเที่ยว ส่งผลให้เกิดการกระจายรายได้ และลดปัญหาความเหลื่อมล�้ำในสังคม ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักของรัฐบาล แนวทางส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชน

การส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นนโยบายส�ำคัญของรัฐบาลปัจจุบันภายใต้การน�ำของ นายกรัฐมนตรี (นายประยุทธ์ จันทร์โอชา) โดยมีเป้าหมายคือ การพัฒนาให้ชุมชนต่าง ๆ ให้มีความ มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน นอกจากนี้รัฐบาลโดยคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ (ท.ท.ช.) ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการการท่องเที่ยวโดยชุมชน โดยมีผู้แทนจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อ ก�ำหนดทิศทางการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนของประเทศไทย และล่าสุดได้มีการแต่งตั้ง คณะท�ำงานขับเคลือ่ นการพัฒนาตลาดเพือ่ การท่องเทีย่ วโดยชุมชน เพือ่ เผยแพร่ประชาสัมพันธ์แหล่ง ท่องเที่ยวโดยชุมชน ซึ่งกระจายตัวอยู่ทั่วประเทศให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายมากยิ่งขึ้น ในส่วนของกระทรวงการท่องเทีย่ วและกีฬาได้มอบหมายให้หน่วยงานต่าง ๆ ในสังกัด ด�ำเนินการ ส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน เช่น กรมการท่องเที่ยวจะให้การสนับสนุนการพัฒนา แหล่งท่องเทีย่ วโดยชุมชนในด้านการพัฒนาสิง่ อ�ำนวยความสะดวกในแหล่งท่องเทีย่ ว การอบรมและ พัฒนาบุคลากรในชุมชนให้มีความรู้ด้านการพัฒนาสิ่งอ�ำนวยความสะดวกในแหล่งท่องเที่ยว การอบรมและพัฒนาบุคลากรในชุมชนให้มคี วามรูด้ า้ นการวางแผนพัฒนาแหล่งท่องเทีย่ ว การบริหาร จัดการแหล่งท่องเที่ยว และการเป็นเจ้าบ้านที่ดี ส�ำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดทุกจังหวัด จะเข้าไปให้ค�ำปรึกษาแนะน�ำ รวมทั้งเป็นองค์กรพี่เลี้ยงให้แก่ชุมชน การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จะท�ำหน้าที่ประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชน เช่น โครงการ Village to the World ที่ด�ำเนินการอยู่ในปัจจุบัน นอกจากนั้นยังได้ร่วมมือกับ อพท. ในการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวที่เป็น ประโยชน์ต่อชุมชนให้เป็นรูปธรรมมากขึ้นด้วย ปัจจัยที่จะท�ำให้การท่องเที่ยวโดยชุมชนประสบความส�ำเร็จ

การพัฒนาศักยภาพและองค์ความรูก้ ารพัฒนาทีถ่ กู ต้องให้แก่บคุ ลากรในชุมชน เพือ่ ให้สามารถ บริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวด้วยตนเองได้ในระยะยาว รวมถึงมีกลุ่มคนรุ่นใหม่เข้ามามีส่วนร่วม ในการวางแผนและพัฒนา ใช้เทคโนโลยีการสื่อสารเข้ามาช่วยเพิ่มช่องทางการตลาด และสิ่งส�ำคัญ อีกประการหนึง่ คือ ชุมชนต้องค้นหาอัตลักษณ์ จุดเด่นหรือจุดขาย (Gimmick) แล้วน�ำมาสร้างเรือ่ งราว เพื่อให้แหล่งท่องเที่ยวมีความน่าสนใจและเป็นที่น่าจดจ�ำของนักท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้น องค์การบริหารการพั ฒนาพื้ นที่พิเศษเพื่ อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)

101


CHAPTER 5

ท้ายทีส ่ ุดแล้วตัวชีว ้ ัดของอพท. คือ ความสุขของคนในชุมชน ่ วในพื้ นทีพ ่ ิ เศษ และนักท่องเทีย

LO C A L COMMUNITIES’ HAPPINESS IS OUR HAPPINESS ความสุขของชุมชน คือความสุขของเรา

จากนโยบายระดั บ ชาติ สู ่ ภ าคปฏิ บั ติ โ ดย องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษ เพื่อการ ท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) หน่วยงานที่พร้อม รับฟัง ให้คำ� แนะน�ำ และสนับสนุนชุมชนในพืน้ ที่ พิ เ ศษให้ ส ามารถท�ำ การท่ อ งเที่ ย วโดยชุ ม ชน

(CBT) ได้อย่างยั่งยืน ซึ่ง 14 ปีที่ผ่านมา อพท. ด้วยการน�ำของ พันเอก ดร.นาฬิกอติภคั แสงสนิท มีผลงานเป็นที่ประจักษ์มากมาย โดยถือเอา ความสุ ข ของคนในชุ ม ชนและนั ก ท่ อ งเที่ ย ว เป็นตัวชี้วัดสูงสุด

14 ปีที่ผ่านมาของ อพท.

อพท. มีบทบาทในการพัฒนาและบริหารจัดการแหล่งท่องเทีย่ วบนพืน้ ทีพ่ เิ ศษ 6 แห่งและพืน้ ทีท่ เี่ ตรียมการ ประกาศเป็นพื้นที่พิเศษ เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เรามีบทบาทในการพัฒนาด้านความต้องการขายของ อุตสาหกรรมท่องเที่ยว พัฒนาด้านศักยภาพในการรองรับ พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเพื่อเพิ่มผลประโยชน์และ ลดผลกระทบเชิงลบ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของชุมชน โดยเป็นไปตามหลักวิชาการและ หลักสากลของสภาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก (Global Sustainable Tourism Council: GSTC) ซึ่ง ท้ายที่สุดแล้วตัวชี้วัดของ อพท. คือ ความสุขของคนในชุมชนและนักท่องเที่ยวในพื้นที่พิเศษ 102 CBT ท�ำอย่างไรให้ยั่งยืน?


พั นเอก ดร.นาฬิ กอติภัค แสงสนิท ผู้อ�ำนวยการองค์การบริหารการพั ฒนาพื้ นที่พิเศษ เพื่ อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท.

องค์การบริหารการพั ฒนาพื้ นที่พิเศษเพื่ อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)

103


CHAPTER 5

เพื่ อความยั่งยืนของการท่องเทีย ่ ว อพท. ยึดหลักว่าต้องพั ฒนาคน ่ ว ก่อนทรัพยากรและมูลค่าของแหล่งท่องเทีย

ภารกิจของ อพท.

แยกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นการบริหารพื้นที่พิเศษที่ต้องประสานภาคี เครือข่าย เพื่อขับเคลื่อนงาน ตามแผนแม่บทให้เห็นผลและประสบความส�ำเร็จซึ่งเป็นการท�ำงานจากบนลงล่าง ขณะที่ส่วนที่ 2 คือการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน เป็นการท�ำงานจากล่างขึ้นบน โดย อพท. มีหน้าที่ เข้าไปรับฟังชุมชนว่าเขาต้องการอะไร แต่สุดท้ายแล้วเขาต้องท�ำเอง เพราะนั่นคือบ้านของเขา ทรัพยากรของเขา อพท. มีหน้าที่แค่ไปรับฟัง ให้ค�ำแนะน�ำ หนุนเสริมให้เขาได้ท�ำในสิ่งที่อยากท�ำ โดยจะเน้นย�้ำเรื่องของ กระบวนการการมีส่วนร่วมเพื่อให้เกิดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เพราะฉะนั้นแนวทางของ อพท. จึงเป็นในลักษณะของ Matching Fund สมมติเราไปบอกว่ากิจกรรม ท่องเที่ยวนี้ดีและต้องใช้งบประมาณ 10 ล้านบาท เราก็ต้องบอกให้เขาร่วมลงขันด้วย เพื่อเป็นการยืนยันว่า เขาเห็นด้วยกับกิจกรรมนีแ้ ละอยากร่วมเป็นเจ้าของ หลังจากนัน้ เราจึงค่อย ๆ ลดเงินสนับสนุนลงจนเขาสามารถ ด�ำเนินการได้ด้วยตัวเอง เพราะว่านั่นเป็นสิ่งที่เขาอยากท�ำ รู้กระบวนการทั้งหมด สามารถท�ำต่อไปได้ และ ที่ส�ำคัญที่สุดคือ เขาต้องรู้จักการเก็บผลประโยชน์จากการท่องเที่ยวด้วย หลักการท�ำงาน

เพื่อความยั่งยืนของการท่องเที่ยว อพท. ยึดหลักว่าต้องพัฒนาคนก่อนทรัพยากรและมูลค่าของแหล่ง ท่องเที่ยว หลังจากนั้นจึงท�ำการตลาดตามฐานทรัพยากรที่มีอยู่ผ่านภาคีเครือข่ายของเราทั้งหมด ซึ่งความ ท้าทายอยูท่ คี่ วามร่วมมือกันของหน่วยงานหลักด้านการท่องเทีย่ ว ไม่วา่ จะเป็นกระทรวงการท่องเทีย่ วและกีฬา กรมการท่องเทีย่ ว และการท่องเทีย่ วแห่งประเทศไทย (ททท.) โดยมี อพท. เป็นหน่วยงานกลางในการบูรณาการ 104 CBT ท�ำอย่างไรให้ยั่งยืน?


เริ่มต้นท�ำการท่องเที่ยวโดยชุมชน

ชุมชนต้องเป็นผู้เริ่มต้นด้วยการจัดตั้งชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนขึ้นมา แบ่งมอบหน้าที่กัน ให้ ชั ด เจน เสร็ จ แล้ ว น� ำ เกณฑ์ ก ารพั ฒ นาการท่ อ งเที่ ย วโดยชุ ม ชนของประเทศไทย ข้ อ ไปเป็ น คู ่ มื อ ประเมินตัวเองในเบื้องต้น จากนั้นจึงจัดท�ำแผนยุทธศาสตร์ชมรม เมื่อครบวงรอบนี้แล้ว อพท. จะเข้าไป ช่วยเหลือ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพและท�ำตามแผนยุทธศาสตร์ที่ก�ำหนดไว้ CBT ในปัจจุบัน

การท่องเที่ยวโดยชุมชนไม่ใช่การท่องเที่ยวกระแสหลัก แต่การท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นการเดินทางไปใน ชุมชน หรือท�ำกิจกรรมท่องเที่ยวที่มีคุณค่า มีเอกลักษณ์ มีอัตลักษณ์เป็นของตัวเอง ถามว่าเป็นเทรนด์ไหม? ก็ตอบว่าเป็นเทรนด์ เพราะนักท่องเที่ยวปัจจุบันเริ่มหลีกหนีจากการท่องเที่ยวแบบธรรมดาทั่วไปกันแล้ว จากไทยสู่ลาว

โครงการสีเ่ หลีย่ มวัฒนธรรมล้านช้าง เริม่ ต้นจากเลย หนองคาย ไชยะบุรี หลวงพระบาง และเข้าสูเ่ วียงจันทน์ คืบหน้าไปมากแล้ว ตามนโยบายรัฐบาล Asean, One Destination ที่เชื่อมโยงไทยกับลาวเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งตอนนี้ CBT Thailand กลายเป็น CBT Lan Xang ไปแล้ว โดยทางการ ส.ป.ป. ลาวได้ต่อยอดองค์ความรู้ด้าน การท่องเที่ยวโดยชุมชนจากไทยที่ได้ผ่านการลองผิดลองถูกมาแล้ว นับเป็นนิมิตหมายอันดีในการส่งต่อ องค์ความรู้จากระดับประเทศสู่ระดับภูมิภาค องค์การบริหารการพั ฒนาพื้ นที่พิเศษเพื่ อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)

105


CHAPTER 5

นักท่องเทีย ่ วได้สัมผัสวิถีชีวิต ของคนเมืองเก่า โดยชุมชนเป็นผู้บริหาร ่ วเอง จัดการการท่องเทีย

THE SECRET TO SUCCESS ความลับสู่ความส�ำเร็จ กว่าที่ ชมรมส่งเสริมการท่องเทีย่ วโดยชุมชน เมืองเก่าสุโขทัย จะประสบส�ำเร็จดังทุกวันนี้ แน่นอนว่าไม่ใช่เรื่องง่าย ผ่านร้อนผ่านหนาว มาก็ไม่น้อย ทีนี้อะไรคือเคล็ดลับที่ท�ำให้ชุมชน

แห่งนี้สามารถเอาชนะอุปสรรคเหล่านั้นมาได้ นายปองเลิศ เฉลิมสิริโรจน์ ในฐานะประธาน ชมรมฯ จะเป็ น ผู ้ ม าไขค� ำ ตอบให้ กั บ เรา ไปพร้อม ๆ กัน

การท่องเที่ยวโดยชุมชน ในฐานะเครื่องมือพั ฒนาชุมชน

ปัจจุบันรายได้หลักของประเทศไทยคือ การท่องเที่ยว และที่สุโขทัยก็เป็นแหล่งท่องเที่ยวส�ำคัญ เป็นเมือง มรดกโลก ที่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติต่างอยากมาเที่ยวชม แต่รายได้ส่วนใหญ่กลับไม่ถึงมือชุมชน โดยตรง เราจึงเห็นว่าการท่องเทีย่ วโดยชุมชนเป็นอีกหนึง่ โอกาสทีจ่ ะสร้างรายได้เสริมให้กบั คนให้ชมุ ชน อีกทัง้ ยัง เป็นการเปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวได้มาสัมผัสวิถีชีวิตของคนเมืองเก่ากันมากขึ้น โดยชุมชนจะเป็นผู้บริหาร จัดการการท่องเที่ยวกันเอง อันส่งผลให้เกิดค่านิยมอนุรักษ์วัฒนธรรม มีจิตส�ำนึกรักบ้านเกิด มีความสามัคคี ในชุมชน ชุมชนสะอาด มีความสุข มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน สอดรับกับนโยบายของรัฐบาล 106 CBT ท�ำอย่างไรให้ยั่งยืน?


นายปองเลิศ เฉลิมสิริโรจน์ ประธานชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชน เมืองเก่าสุโขทัย

องค์การบริหารการพั ฒนาพื้ นที่พิเศษเพื่ อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)

107


CHAPTER 5

ขั้นตอนการพั ฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน ของชุมชนเมืองเก่าสุโขทัย

เราสร้างกลุ่มท�ำงาน และพัฒนาศักยภาพของคนท�ำงานให้รู้จักวิธีบริหารจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน และกลุม่ คนเหล่านัน้ ต้องออกพูดคุยแลกเปลีย่ นกับคนในชุมชน สร้างความเข้าใจและสร้างเครือข่ายคณะท�ำงาน เปิดโอกาสให้ทุกคนได้มีส่วนร่วม และออกแบบเส้นทางการท่องเที่ยว ไปพร้อม ๆ กับการประเมินตัวเองว่า ยังบกพร่องในด้านใดบ้าง และหาวิธแี ก้ไข ควบคูไ่ ปกับการท�ำงานร่วมกับหน่วยงานท้องถิน่ อย่างเทศบาลต�ำบล เมืองเก่า จุดที่ยากที่สุดของการท�ำท่องเที่ยวโดยชุมชน

ความขัดแย้ง ทั้งทางด้านการเมืองท้องถิ่น ความไม่เข้าใจของคนในชุมชนบางกลุ่ม หรือหน่วยงานราชการ ที่ยังยึดติดกับรูปแบบการพัฒนาเดิม ๆ ซึ่งชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชน เมืองเก่าสุโขทัยเอง มีวิธีแก้ ด้วยการออกชี้แจงและพูดคุยกับคนในชุมชน เพื่อสร้างเครือข่ายท�ำงานท่องเที่ยวไปด้วยกัน และต้องกระจายรายได้ สู่แหล่งท่องเที่ยวในชุมชนอย่างเป็นธรรม สร้างผลงานให้คนในชุมชนและหน่วยงานราชการต่าง ๆ ได้เห็นว่า การท่องเที่ยวที่ชุมชนเป็นคนคิดเอง ท�ำเอง บริหารจัดการเองนั้น สามารถสร้างความเข้มแข็งให้เกิดขึ้นได้ ซึ่งสุดท้ายไม่ว่าจะเกิดปัญหาอะไรขึ้นชุมชนก็สามารถอยู่ได้อย่างยั่งยืน 108 CBT ท�ำอย่างไรให้ยั่งยืน?


ทุกคนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ร่วมคิด ร่วมท�ำ ร่วมออกแบบ ่ ว เส้นทางการท่องเทีย

ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น จากการท�ำการท่องเที่ยวโดยชุมชน

ชุมชนมีรายได้เสริมจากการท่องเที่ยว ซึ่งส่งผลให้คนในชุมชนมีความสุข ชุมชนเข้าใจเรื่องการท่องเที่ยว โดยชุมชนอย่างเป็นธรรมชาติ นักท่องเที่ยวสามารถเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวในชุมชนได้เอง ซึ่งปัจจุบันมี หน่วยงานต่าง ๆ หันมาสนใจจัดงบประมาณให้กับชุมชนมากขึ้น เพื่อสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว เช่น จัดท�ำถนนคนเดิน เปิดบ้านต้อนรับนักท่องเที่ยว อย่างชุมชนบ้านใหม่ตระพังทอง ที่เปิดบ้านให้นักท่องเที่ยว เข้าไปเรียนรู้การท�ำเครื่องสังคโลก และเปิดคลาสให้นักท่องเที่ยวได้ลงมือเขียนลายสังคโลกด้วยตัวเอง หรือ แม้แต่การที่ชุมชนหันมาสนใจปรับภูมิทัศน์บ้านตัวเองให้สะอาดอยู่เสมอ ใส่ใจดูแลด้านสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น ปัจจัยที่ท�ำให้การท่องเที่ยวโดยชุมชนนั้นยั่งยืน

ชุมชนต้องเข้าใจเรื่องการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างถ่องแท้ และทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ร่วมคิด ร่วมท�ำ ร่วมออกแบบเส้นทางการท่องเที่ยว เพื่อกระจายรายได้อย่างทั่วถึง ที่สุดท้ายจะน�ำมาซึ่งความ สามัคคีและความสุขของทั้งคนในชุมชนและนักท่องเที่ยว ปัญหาจากการท�ำท่องเที่ยวโดยชุมชนและวิธีแก้ไข

ชุมชนไม่เข้าใจเรือ่ งการท่องเทีย่ วโดยชุมชน ไม่รวู้ ธิ บี ริหารจัดการ เอาความคิดของตนเป็นหลัก เพราะฉะนัน้ เราจึงจ�ำเป็นต้องมีกฎระเบียบในการท�ำงาน และการพัฒนาศักยภาพของคณะท�ำงานอยู่เสมอ เพื่อให้เข้าใจ รูปแบบของการท่องเที่ยวโดยชุมชนของตัวเองอย่างแท้จริง องค์การบริหารการพั ฒนาพื้ นที่พิเศษเพื่ อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)

109


CHAPTER 5

นักท่องเทีย ่ วได้เรียนรู้ ความเป็นท้องถิ่น ่ ุมชนเป็น ในแบบทีช

CBT NEXT STEP

การท่องเที่ยวโดยชุมชนที่ลึกซึ้งยิง ่ ขึ้น ปฏิ เ สธไม่ ไ ด้ ว ่ า ในรอบ 10 ปี ที่ ผ ่ า นมา สถาบันการท่องเที่ยวโดยชุมชน หรือ CBT-I เป็นหน่วยงานทีม่ บี ทบาทอย่างมากในการน�ำเอา องค์ความรู้ทางวิชาการและกระบวนการวิจัย มาพัฒนาการท่องเทีย่ วโดยชุมชนของประเทศไทย ให้กา้ วหน้าเทียบเท่าระดับสากล ซึง่ ในความเห็น ของ คุณพจนา สวนศรี อดีตผู้อ�ำนวยการ

สถาบั น การท่ อ งเที่ ย วโดยชุ ม ชน (CBT-I) นั้นมองว่า นอกจากการสนับสนุนความเข้มแข็ง ของชุ ม ชนในการจั ด การการท่ อ งเที่ ย วอย่ า ง ยั่งยืน ที่ถือเป็นหัวใจส�ำคัญของการท่องเที่ยว โดยชุมชนแล้ว การให้ความรู้กับนักท่องเที่ยว รวมถึงการท�ำงานร่วมกับประเทศเพื่อนบ้าน ยังเป็นสิ่งส�ำคัญที่ไม่ควรมองข้ามอีกด้วย

ความหมายของการท่องเที่ยวโดยชุมชนแบบเข้าใจง่าย

การท่องเที่ยวที่บริหารจัดการโดยชุมชน และชุมชนได้ประโยชน์จากการท่องเที่ยว ขณะที่นักท่องเที่ยว ได้เรียนรู้ความเป็นท้องถิ่นในแบบที่ชุมชนเป็น องค์ความรู้ของสถาบันการท่องเที่ยวโดยชุมชน (CBT-I)

CBT-I มีองค์ความรู้ 3 ด้านหลัก ๆ คือ 1.ด้านการเตรียมความพร้อมชุมชนให้เข้มแข็ง (Product) สามารถ รองรับนักท่องเทีย่ วได้ 2.ด้านการตลาดทีเ่ หมาะสมกับการท่องเทีย่ วโดยชุมชน (Marketing) ช่วยดูวา่ มีชอ่ งทาง และกลุม่ คนไหนบ้างทีจ่ ะส่งเสริมและร่วมท�ำงาน เพือ่ เชือ่ มโยงความต้องการของนักท่องเทีย่ วและชุมชนเข้าไว้ ด้วยกัน รวมถึงสร้างการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเจ้าของบ้านกับผู้มาเยือน และ 3.ด้านการบริหารจัดการ (Operation) เพื่อให้นักท่องเที่ยวเข้าไปแล้ว ส่งผลกระทบเชิงบวกกับทั้งชุมชนและนักท่องเที่ยว 110 CBT ท�ำอย่างไรให้ยั่งยืน?


นางสาวพจนา สวนศรี อดีตผู้อ�ำนวยการ สถาบันการท่องเที่ยวโดยชุมชน (CBT-I)

องค์การบริหารการพั ฒนาพื้ นที่พิเศษเพื่ อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)

111


CHAPTER 5

เริ่มต้นท�ำการท่องเที่ยวโดยชุมชน

ต้องบอกก่อนว่าไม่ใช่ทุกชุมชนที่ท�ำได้ เพราะฉะนั้นจึงจ�ำเป็นต้องมีเกณฑ์ในการเลือกชุมชนที่มีความ โดดเด่นและเหมาะสมทีจ่ ะท�ำ ซึง่ หากผ่านเกณฑ์นนั้ แล้ว ต้องหาค�ำตอบให้ได้วา่ อะไรคือแรงจูงใจของชุมชนนัน้ ๆ ในการมาท�ำการท่องเที่ยวโดยชุมชน และท�ำไปเพื่ออะไร ชาวบ้านมีความเข้าใจด้านบวกและด้านลบของการ ท่องเทีย่ วโดยชุมชนหรือไม่ เพราะไม่ใช่มองด้านดีดา้ นเดียว แต่ตอ้ งมองทัง้ สองด้าน ว่าจริง ๆ แล้ว มีดา้ นลบด้วย แล้วต้องรู้ด้วยว่าด้านลบนั้นคืออะไร และการท่องเที่ยวโดยชุมชนจะด�ำเนินไปได้ ไม่ได้อยู่แค่ที่ตัวผู้น�ำ แต่คนในชุมชนต้องมีความพร้อมและ ร่วมไม้รว่ มมือกัน ท�ำงานอย่างเป็นขัน้ เป็นตอน ผ่านความรูแ้ ละประสบการณ์ ไม่ใช่ผา่ นความรูส้ กึ เพียงอย่างเดียว นอกจากนั้น อาจต้องมีพี่เลี้ยงที่เข้าใจชุมชน เพราะการท�ำการท่องเที่ยวโดยชุมชน ไม่ใช่แค่การท�ำผลิตภัณฑ์ ทางการท่องเทีย่ วเท่านัน้ แต่เป็นการพัฒนาชุมชนด้วย และในขณะเดียวกันก็ตอ้ งเข้าใจตลาดของการท่องเทีย่ ว เพราะในช่วงเตรียมงาน ต้องมองให้ออกแล้วว่าใครจะมาเป็นนักท่องเที่ยวของชุมชน การท่องเที่ยวโดยชุมชนที่ประสบความส�ำเร็จ

ยากที่พูดว่าชุมชนไหนประสบความส�ำเร็จหรือล้มเหลว เพราะบางชุมชนมีภาพที่ประสบความส�ำเร็จและ มีชื่อเสียงมาก แต่พอเวลาผ่านไป ชุมชนกลับอ่อนแอลง เราจึงน่าจะพูดถึงปัจจัยของความส�ำเร็จมากกว่าว่า ก่อนทีช่ มุ ชนนัน้ จะประสบความส�ำเร็จ เขาผ่านอะไรมาบ้าง มีชว่ งเวลาไหนบ้างทีล่ ม้ เหลว มีวธิ แี ก้ปญ ั หาอย่างไร และเมื่อประสบความส�ำเร็จแล้ว สามารถรักษาเอาไว้ได้อย่างไร ที่บอกว่าพูดยาก เพราะเรื่องความส�ำเร็จ อาจเป็นมุมมองจากคนนอก ที่บางครั้งมองแค่ในแง่ปริมาณ “เอ้า! นักท่องเที่ยวเข้ามาเยอะ ถือว่าประสบความส�ำเร็จแล้ว” ซึ่งไม่ใช่ เพราะจริง ๆ แล้วต้องวัดกันที่คุณภาพ ของนักท่องเที่ยว วัดกันที่ความสุขของคนในชุมชน รวมถึงการรักษาวิถีชีวิตดั้งเดิมให้คงอยู่ 112 CBT ท�ำอย่างไรให้ยั่งยืน?


ชุมชนต้องมีความกล้าหาญ ้ หลัก และพร้อมจะหยุดเพื่ อตัง ไม่ใช่ว่ามุ่งเดินหน้าอย่างเดียว โดยทีถ ่ อยหลังไม่เป็น ความท้าทายของการพั ฒนา การท่องเที่ยวโดยชุมชนไปสู่ความยั่งยืน

การท่องเที่ยวโดยชุมชนจะยั่งยืนได้ ต้องท�ำให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต มีความชัดเจนในเป้าหมาย รวมถึง คอยติดตามและถอดบทเรียนเป็นระยะ ๆ อีกทั้งยังต้องตอบค�ำถามเหล่านี้ให้ได้ว่า 1.ชุมชนสามารถรักษาฐาน ทางธรรมชาติและวัฒนธรรมเอาไว้ได้หรือไม่? 2.มีระบบการจัดการที่ดีหรือไม่? 3.มีคนรุ่นใหม่ในการสืบทอด หรือไม่? 4.ส�ำนึกของความเป็นชุมชนยังมีอยู่หรือไม่? เพราะการท่องเที่ยวโดยชุมชนอาจจะไม่ใช่สิ่งที่ทุกคน สนใจท�ำ เราจึงพบว่าในหลายพื้นที่ มีการใช้การท่องเที่ยวโดยชุมชน เพื่อเอื้อต่อผลประโยชน์ส่วนตัว ทีนี้เมื่อประเมินดูแล้ว ผลที่ได้ผิดเพี้ยนไปจากเป้าหมายที่วางไว้ หรือชุมชนต้องตั้งรับกับการท่องเที่ยว มากเกินไปจนเกิดผลกระทบเชิงลบ ชุมชนต้องมีความกล้าหาญและพร้อมจะหยุดเพื่อตั้งหลัก ไม่ใช่ว่า มุ่งเดินหน้าอย่างเดียว โดยที่ถอยหลังไม่เป็น แนวโน้มการพั ฒนา การท่องเที่ยวโดยชุมชนในประเทศไทย

ถ้าเราเดินไปบนฐานความรูท้ มี่ อี ยู่ ไม่วา่ จาก CBT-I หรือ อพท. ก็จะผิดพลาดน้อย ยกตัวอย่างเกณฑ์ GSTC ทีส่ อดคล้องกับมาตรฐานสากล (ดูเกณฑ์การพัฒนาการท่องเทีย่ วโดยชุมชนของประเทศไทย หน้า 58-59) เป็นค�ำตอบ ของการบริหารการจัดการที่ยั่งยืนในระดับท้องถิ่น ซึ่งค�ำนึงถึงสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ คุณภาพชีวิต การ ท่องเที่ยว และการบริการ นอกจากนั้น ชุมชนยังต้องมีแกนกลางที่มีความรู้และเป็นที่ยอมรับ รวมถึงความรู้ด้านการตลาด เพราะ ในวันที่นักท่องเที่ยวสนใจการท่องเที่ยวโดยชุมชนมากขึ้น เราควรรักษาเทรนด์นี้ไว้ และหาวิธีเข้าถึงกลุ่มลูกค้า ที่สนใจเข้ามาเรียนรู้ชุมชนจริง ๆ ไม่ว่าจะเป็นประเด็นการจัดการสิ่งแวดล้อมโดยชุมชน การสนับสนุนสินค้า ท้องถิ่น หรือการมีพฤติกรรมการท่องเที่ยวที่อ่อนน้อมถ่อมตน เคารพผู้อื่น ซึ่งเรื่องเหล่านี้อาจต้องมีองค์กร ที่เข้ามาดูแลอย่างจริงจัง ไม่ใช่เป็นการให้แค่ข้อมูล แต่เป็นการให้ความรู้กับนักท่องเที่ยวที่จะเข้ามาท่องเที่ยว ในชุมชน เพื่อให้ตอบสนองคุณภาพของการท่องเที่ยว มากไปกว่านั้น ในอนาคตการท่องเที่ยวโดยชุมชนอาจก้าวไปสู่ความลึกซึ้งยิ่งขึ้น ทั้งในเรื่องภูมิสถาปัตย์ เรื่องบทบาทของผู้หญิงในการท�ำงาน หรือแม้แต่การท�ำงานร่วมกับประเทศเพื่อนบ้าน กลุ่มชาติพันธุ์ที่มี ประวัติศาสตร์ร่วมกัน เพื่อสร้างสันติภาพ และความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างประเทศ องค์การบริหารการพั ฒนาพื้ นที่พิเศษเพื่ อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)

113


CHAPTER 5

นักท่องเทีย ่ วอยากมาเรียนรู้ความเป็นท้องถิ่น และเข้าใจวัฒนธรรมของแต่ละประเทศ ่ การท่องเทีย ่ วโดยชุมชนก็ตอบโจทย์นม ซึง ี้ าก ๆ

LO C A L EXPERIENCE TOURISM

เมื่อเทรนด์ท่องเที่ยวท้องถิ่นก�ำลังมาแรง อีกหนึง่ มุมมองทีน่ า่ สนใจ จากผูป้ ระกอบการ รุน่ ใหม่ คุณอชิรญา ธรรมปริพตั รา ผูร้ ว่ มก่อตัง้ และกรรมการผูจ้ ดั การ บริษทั ไฮฟ์สเตอร์ จ�ำกัด บริษัทน�ำเที่ยวที่มีภารกิจหลักในการสร้างความ

เปลีย่ นแปลงการท่องเทีย่ วในประเทศไทยให้เกิด ความยั่งยืน ซึ่งเธอยอมรับว่าเป็นเรื่องน่ายินดี ทีท่ กุ วันนีค้ นไทยหันมาให้ความสนใจการท่องเทีย่ ว โดยชุมชนกันมากยิ่งขึ้น

เทรนด์การท่องเที่ยวโดยชุมชน

ปัจจุบันเทรนด์การท่องเที่ยวทั่วโลกได้เปลี่ยนแปลงไป นักท่องเที่ยวเริ่มเปลี่ยนจากการท่องเที่ยวแบบ เน้นสถานที่ (Destinaton Base) มาเน้นประสบการณ์มากขึน้ ซึง่ เทรนด์ทอ่ งเทีย่ วแบบท้องถิน่ (Local Experience) ก�ำลังมาแรง เพราะนักท่องเที่ยวอยากมาเรียนรู้ความเป็นท้องถิ่นและเข้าใจวัฒนธรรมของแต่ละประเทศ ซึ่งการท่องเที่ยวโดยชุมชนก็ตอบโจทย์นี้มาก ๆ ค่ะ ความรู้ ความเข้าใจ และความสนใจของคนไทยต่อการท่องเที่ยวโดยชุมชน

คนไทยเริม่ รูจ้ กั และเข้าใจการท่องเทีย่ วแบบชุมชนมากขึน้ จากทีเ่ คยเห็นแต่องค์กรต่าง ๆ เข้าไปจัดกิจกรรม เพื่อสังคม (CSR) แต่เดี๋ยวนี้นักท่องเที่ยวทั่วไปเข้าไปเที่ยวชุมชนกันมากขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าดีใจมาก อย่าง กลุ่มครอบครัวที่อยากให้ลูกไปหาประสบการณ์นอกห้องเรียน พาลูกไปเรียนรู้เรื่องป่าเขาและวัฒนธรรม ท้องถิ่น หรือกลุ่มคนเมือง ที่โหยหาธรรมชาติ ความสงบ และความเรียบง่ายของชีวิต 114 CBT ท�ำอย่างไรให้ยั่งยืน?


นางสาวอชิรญา ธรรมปริพัตรา กรรมการผู้จัดการและผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท ไฮฟ์สเตอร์ จ�ำกัด (HiveSters)

องค์การบริหารการพั ฒนาพื้ นที่พิเศษเพื่ อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)

115


CHAPTER 5

่ ว ก่อนทรัพยากรและมูลค่าของแหล่งท่องเทีย

ความสนใจของตลาดท่องเที่ยวต่อการท่องเที่ยวโดยชุมชน

ไม่วา่ บริษทั ท่องเทีย่ ว หรือนักท่องเทีย่ วต่างประเทศต่างก็อยากมาท�ำกิจกรรมท่องเทีย่ วกับชุมชนในบ้านเรา หลายคนบอกว่านอกจากวัด วัง ทะเล ภูเขา เขาอยากได้ประสบการณ์ท่องเที่ยวที่มากกว่านั้น อยากมารู้จัก ประเทศไทยอย่างลึกซึ้ง ไม่ใช่แค่ผิวเผิน ไม่ใช่แค่มาเห็น ถ่ายรูปแชะ ๆ แล้วจบ แต่อยากมาร่วมท�ำกิจกรรม กับคนท้องถิ่น เรียนรู้ และท�ำความรู้จักจริง ๆ แต่สิ่งที่ท้าทายคือ เขาไม่แน่ใจว่ามีกิจกรรมท่องเที่ยวอะไร ที่ไหนบ้าง จะจองและช�ำระเงินอย่างไร รวมถึงด้านภาษาและการบริหารจัดการทริปว่าเซอร์วิสเป็นอย่างไร ซึ่งนี่เป็นสิ่งที่เราต้องพัฒนาและให้ข้อมูลกับนักท่องเที่ยวให้ได้มากที่สุด การท่องเที่ยวโดยชุมชนกับการตั้งราคาขาย

การตัง้ ราคาคือ การตัง้ ตามมูลค่าและคุณภาพของสินค้า และการตัง้ ราคานัน้ ต้องเป็นตัวผลักดันให้การท่องเทีย่ ว เเละชุมชนยั่งยืน เพราะราคานั้นเป็นตัวชี้วัดตัวหนึ่งที่เราจะดึงดูดลูกค้ากลุ่มหนึ่งเข้ามา ซึ่งต้องเเน่ใจก่อนว่า ลูกค้ากลุ่มไหนที่เราอยากได้มาในชุมชน ตัวอย่างเช่น ถ้าตั้งราคาถูกมาก ๆ นั่นคือการที่เราต้องไปกดราคาคน ในชุมชนหรือเปล่า คนในชุมชนจะมีความสุขไหม แล้วลูกค้าทีด่ งึ ดูดเข้ามา เป็นนักท่องเทีย่ วทีม่ คี ณ ุ ภาพหรือเปล่า เขาจะเห็นค่าสิ่งที่เราน�ำเสนอไหม หรือแค่มาโฉบ ๆ ถ่ายรูป ดื่มเหล้า ส่งเสียงดัง ทิ้งขยะ ท�ำชุมชนสกปรก ชาวบ้านที่อยู่ก็ไม่มีความสุขเเละรู้สึกถูกรบกวน ในทางกลับกัน ถ้าเราตั้งราคาให้เหมาะสมกับคุณภาพและมูลค่าของสินค้า และสามารถดึงดูดลูกค้าที่ดี มีคุณภาพเข้ามา เขาเหล่านั้นมีความสนใจในการมาท่องเที่ยว เรียนรู้ หาประสบการณ์ท้องถิ่น มาแล้วให้ความ เคารพกับชุมชน คนในชุมชนมีรายได้อย่างยั่งยืน สิ่งแวดล้อมไม่ถูกท�ำลาย วัฒนธรรมดี ๆ ในชุมชนได้สืบสาน ชุมชนเราก็จะเติบโตไปอย่างยั่งยืนเเละมีความสุขในระยะยาว โปรแกรมท่องเที่ยวโดยชุมชนของ HiveSters ที่ได้รับความนิยม

จริง ๆ แล้วแต่ความสนใจของนักท่องเที่ยว เช่น บางคนชอบทานอาหารก็จะเลือกชุมชนที่มีจุดเด่น ด้านอาหาร หรือคนไหนชอบศิลปวัฒนธรรมก็จะไปชุมชนที่เน้นเรื่องนี้ ยกตัวอย่างชุมชนนางเลิ้ง ที่มีจุดเด่น เรื่องอาหารคาวหวาน รวมถึงวัฒนธรรมด้านการแสดง ส่วนราคาขายจะแล้วแต่จ�ำนวนนักท่องเที่ยวต่อทริป เริ่มต้นที่ 2,200 บาทต่อท่าน ชุมชนที่ตอบโจทย์นักท่องเที่ยว

อชิเชื่อว่าแต่ละชุมชนมีจุดเด่นของตัวเองอยู่เเล้ว ส�ำคัญคือ ต้องดึงจุดเด่นนั้นออกมาให้ได้ และจัดท�ำเป็น โปรแกรมท่องเที่ยวที่น่าสนใจ มีการสร้างนักสื่อความหมายมาเล่าเรื่องราวของชุมชน มีการตั้งราคาและ การบริหารจัดการด้านการท่องเทีย่ วทีด่ ี และเปิดขายให้กบั นักท่องเทีย่ ว แต่ทสี่ ำ� คัญคือ ชุมชนต้องเข้มแข็งและ คนในชุมชนมีความต้องการอยากท�ำเรื่องท่องเที่ยวจริง ๆ 116 CBT ท�ำอย่างไรให้ยั่งยืน?


กระบวนการมองหานักท่องเที่ยวที่ใช่

อยู่ที่การวางจุดยืน (Positioning) ของชุมชนเอง อาจคล้ายกับหนุ่มสาวที่ก�ำลังมองหาคู่ ถ้าเราท�ำตัว แบบไหนก็จะดึงดูดคู่แบบนั้น (ฮา) เช่น ถ้าชุมชนมีจุดเด่นด้านการท่องเที่ยวแบบแอดเวนเจอร์ และต้องการ นักท่องเที่ยวที่มคี ณ ุ ภาพวัยหนุ่มสาว ทีนไี้ ม่ว่าจะเป็นการท�ำโปรแกรม การท�ำการสือ่ สารการตลาด เล่าเรือ่ งราว การตั้งราคาก็จะต้องเป็นไปตามเป้าหมายนักท่องเที่ยวที่วางไว้ เช่น โปรแกรมที่ต้องเน้นกิจกรรมแอดเวนเจอร์ สื่อสารแบบฮิป ๆ ทันสมัย วัยรุ่นเข้าใจง่าย ดูตื่นเต้น ราคาก็อาจจะไม่ต้องสูงหรือต�่ำเกินไป เป็นราคาที่ลูกค้า กลุ่มเป้าหมายสามารถเข้าถึงได้ การมีส่วนร่วมของภาคเอกชนในการพั ฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนให้ย่ง ั ยืน

ภาคเอกชนเป็นตัวกลาง ที่สามารถเชื่อมโยงและพัฒนาทั้งชุมชนและนักท่องเที่ยวให้เติบโตอย่างยั่งยืน ส�ำหรับการพัฒนาชุมชนนัน้ เราสามารถใช้ประสบการณ์ในตลาดท่องเทีย่ ว ไม่วา่ จะเป็นความเข้าใจความต้องการ นักท่องเที่ยว ทั้งไทยเเละต่างประเทศ ไอเดียและความคิดของคนรุ่นใหม่ การท�ำโปรแกรมท่องเที่ยวที่น่าสนใจ ระบบการบริหารจัดการ ทักษะการเล่าเรื่องของนักสื่อความหมาย รวมถึงการสื่อสารและการตลาดมาช่วย พัฒนาชุมชน ส่วนการพัฒนานักท่องเทีย่ วนัน้ เราสามารถสร้างความตระหนักรู้ ให้นกั ท่องเทีย่ วเข้าใจเรือ่ งการท่องเทีย่ ว อย่างยัง่ ยืนได้มากขึน้ ยกตัวอย่างเช่น ก่อนเริม่ กิจกรรม เราจะจัดมีอธิบายสัน้ ๆ ให้ความรูเ้ กีย่ วกับการท่องเทีย่ ว อย่างยั่งยืนเเละนักท่องเที่ยวสามารถสร้างผลกระทบทางบวกอะไรได้บ้างผ่านการท่องเที่ยว หรือเวลาท�ำ กิจกรรมนาออร์แกนิก เราก็จะให้ความรู้เกี่ยวกับนาออร์แกนิก ข้อดีของนาออร์แกนิก และผลร้ายของนาเคมี เพื่อให้นักท่องเที่ยวมีความเข้าใจและได้เรียนรู้ไปพร้อม ๆ กับความสนุกสนานระหว่างท�ำกิจกรรม องค์การบริหารการพั ฒนาพื้ นที่พิเศษเพื่ อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)

117


ขอขอบคุณ นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร (สัมภาษณ์) 15 มิถุนายน 2560 พันเอก ดร.นาฬิกอติภัค แสงสนิท (สัมภาษณ์) 2 กรกฏาคม 2560 นายปองเลิศ เฉลิมสิริโรจน์ (สัมภาษณ์) 15 กรกฏาคม 2560 นางสาวพจนา สวนศรี (สัมภาษณ์) 13 กรกฏาคม 2560 นางสาวอชิรญา ธรรมปริพัตรา (สัมภาษณ์) 2 กรกฏาคม 2560 ข้อมูลอ้างอิง หนังสือเที่ยวนี้ที่ไม่เหมือนเดิม:องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน), 2558 หนังสือท่องเที่ยวโดยชุมชน Community Based Tourism: องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน), 2558 หนังสือเที่ยวชุมชนไปกับคน อพท.องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน), 2559



การท่องเทีย ่ วโดยชุมชนเพื่อความสมดุลทางเศรษฐกิจ สังคม และ สิง ่ งท่องเทีย ่ ว แต่ไม่ได้เพื่อการท่องเทีย ่ ว ่ แวดล้อม เพราะเราท�ำเรือ เราท�ำให้ชุมชนพึ่ งพาตัวเองได้ ประเทศไทยยั่งยืน

เที่ยวชุมชนไปกับคน อพท.

www.dasta.or.th

พั นเอก ดร.นาฬิ กอติภัค แสงสนิท ผู้อ�ำนวยการ อพท.


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.