Creating
Creative Tourism
Toolkit
คู มือกระบวนการพัฒนาและยกระดับกิจกรรมท องเที่ยวเชิงสร างสรรค
คูม่ อื กระบวนการพัฒนาและยกระดับ กิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ Creating Creative Tourism Toolkit
ผู้เขียน เกร็ก ริชาร์ดส จุฑามาศ วิศาลสิงห์ เอเลนา พาสชินเจอร์ คณะท�ำงาน อพท. เรียบเรียง สุทธิมา เสืองาม
พิมพ์ครั้งแรก พฤศจิกายน 2561
ผู้จัดท�ำ : องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) งานท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ส�ำนักท่องเที่ยวโดยชุมชน 118/1 อาคารทิปโก้ ชั้น 31 ถนนพระรามที่ 6 แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์ : 0-2357-3580-7 โทรสาร : 0-2357-3599 www.dasta.or.th Creative Tourism Network®
ที่ปรึกษาในการจัดท�ำ : บริษัท เพอร์เฟคลิงค์ คอนซัลติ้ง กรุ๊ป จ�ำกัด 129/171 เพอร์เฟคเพลส ถ.รัตนาธิเบศร์ ต.บางรักน้อย อ.เมือง นนทบุรี 11000 โทรศัพท์ : (6681) 807 0637 โทรสาร : (662) 985 4177 E-mail : Perfectlink1@yahoo.com บรรณาธิการ : ผศ.ดร.จุฑามาศ วิศาลสิงห์ บรรณาธิการร่วม : วัชรี ชูรักษา / ประภัสสร วรรธนะภูติ / ศราวุธ ทาค�ำ / ศิรตา ศิริธรรม ผู้เขียน : เกร็ก ริชาร์ดส / จุฑามาศ วิศาลสิงห์ / เอเลนา พาสชินเจอร์ ผู้เรียบเรียง : สุทธิมา เสืองาม ภาพปก : วีระชัย ปรานวีระไพบูลย์ ภาพประกอบ : Perfect Link Consulting Group / Creative Tourism Brain Bank / การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ส�ำนักงานท่องเที่ยวโดยชุมชน (อพท.) ประสานงานการผลิต : สุทธิมา เสืองาม / รมณ อมตธรรม ศิลปกรรม / ออกแบบปก / พิมพ์ที่ : บริษัท บุ๊คพลัส พับลิชชิ่ง จ�ำกัด 1111 / 16 หมู่บ้านกลางเมือง แยกรัชดา – ลาดพร้าว ซอย 2 แขวงจันทรเกษม เขตจตุจักร กทม. 10900 โทรศัพท์ 0-2938-0950 โทรสาร 0-2513-0063 ISBN : 978-616-8008-11-9
สารบัญ สารจาก องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษ เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)
04
สารจาก Creative Tourism Network®
05
บทน�ำ
06
บทที่ 1 องค์ประกอบหลักของการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
09
บทที่ 2 เปิดสมอง...ไขก๊อกความคิดสร้างสรรค์
35
บทที่ 3 เรื่องเล่า อรรถรส ลีลาน�ำเสนอ
65
แหล่งที่มาของข้อมูลอ้างอิง
94
คณะผู ้ ด� ำ เนิ น งานการท่ อ งเที่ ย วเชิ ง สร้ า งสรรค์
96
ประวัติผู้แต่ง
97
สารจาก องค์การบริหารการพัฒนาพืน้ ทีพ ่ เิ ศษเพือ่ การท่องเทีย่ ว อย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. ในฐานะองค์กร ทีม่ หี น้าทีห่ ลักในการประสาน ส่งเสริม และสนับสนุนการพัฒนาการท่องเทีย่ วอย่างยัง่ ยืน เราตระหนักดีวา่ การท่องเทีย่ ว อย่างยั่งยืนต้องมีรากฐานจากคนในชุมชนซึ่งเป็นเจ้าของทรัพยากร โดยชุมชนต้องสามารถบริหารจัดการทรัพยากร ท่องเที่ยวอย่างมีส่วนร่วม ทั้งร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมปฏิบัติ ร่วมรับผิดชอบ และร่วมรับผลประโยชน์ ซึ่งเป็น การบริหารจัดการโดยชุมชนและเพื่อชุมชนโดยแท้จริง “การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์” ถือเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ส�ำคัญในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยมุ่งเน้น การสร้างคุณค่าบนพื้นฐานอัตลักษณ์ความเป็นไทย วิถีชีวิต ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ ต่อยอดความคิดสร้างสรรค์ผ่านกิจกรรมท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสกับประสบการณ์ใหม่ที่ไม่เหมือนเดิม จากการลงมื อ ท� ำ กิ จ กรรมร่ ว มกั บ ชุ ม ชน เพื่ อ แลกเปลี่ ย นเรี ย นรู ้ เ อกลั ก ษณ์ ท ้ อ งถิ่ น และเข้ า ถึ ง ความรู ้ สึ ก ที่ มี ต่อชุมชน การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์จะช่วยสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและท�ำให้คนในชุมชนเชื่อมั่นในตนเอง มากยิ่งขึ้น ถือเป็นกุญแจส�ำคัญในการสร้างการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนที่แท้จริง อพท. ได้พัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนใน 6 พื้นที่พิเศษของประเทศไทย โดยด�ำเนินงานตามนโยบายหลัก ๆ คือ การท่องเทีย่ วโดยชุมชน (Community-based Tourism) การท่องเทีย่ วเชิงสร้างสรรค์ (Creative Tourism) การท่องเทีย่ ว ทีเ่ ป็นมิตรต่อสิง่ แวดล้อม (Low Carbon Tourism) ตลอดจนการท่องเทีย่ วด้านอืน่ ๆ ทีอ่ อกแบบมาเพือ่ เป็นกรณีศกึ ษา โดยถอดบทเรียนกระบวนการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบจากประสบการณ์และการทดลอง อพท. หวังเป็นอย่างยิ่งว่า “คู่มือกระบวนการพัฒนาและยกระดับกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์” เล่มนี้ จะเป็นประโยชน์ส�ำหรับการพัฒนา การท่องเทีย่ วเชิงสร้างสรรค์ทเี่ หมาะสมกับบริบทในพืน้ ทีอ่ นื่ ๆ และบรรลุเป้าหมายการพัฒนาการท่องเทีย่ วอย่างยัง่ ยืนต่อไป
นายทวีพงษ วิชัยดิษฐ รองผู้อ�ำนวยการ อพท. รักษาการผู้อ�ำนวยการ อพท.
4
คู่มือกระบวนการพัฒนาและยกระดับกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
สารจาก Creative Tourism Network® Creative Tourism Network® เป็นองค์กรระหว่างประเทศทีเ่ กิดขึน้ เพือ่ ส่งเสริมการท่องเทีย่ วเชิงสร้างสรรค์ทวั่ โลก วัตถุประสงค์ของเครือข่ายคือเพื่อสนับสนุนจุดหมายการท่องเที่ยวที่มีศักยภาพในการต้อนรับกลุ่มนักท่องเที่ยว เชิ ง สร้างสรรค์ผ่านบริการหลากหลายรูปแบบ ทุกปีจะมีการยกระดับการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์โดยมอบรางวัลให้ กับจุดหมายที่โดดเด่นในฐานะ "Creative Friendly Destinations" ที่ผ่านมาได้มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับ "แนวปฏิบัติ ที่ดีด้านการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์" ร่วมกับทีมนักวิชาการและทีมงานมืออาชีพส่งผลให้เครือข่ายสามารถจัดการ ฝึกอบรมเชิงปฏิบตั กิ าร การสัมมนา และการศึกษาดูงานทางด้านการท่องเทีย่ วเชิงสร้างสรรค์ ให้กบั หน่วยงานทีส่ นใจ โดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญของเราภายใต้การน�ำของศาสตราจารย์เกร็ก ริชาร์ดส หลายปีผ่านไปนับจากวันที่ ศาสตราจารย์เกร็ก ริชาร์ดสและคริสพิน เรมอนร์ ได้ให้นิยาม การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ที่นักเดินทางไม่คิดว่าจะเป็นไปได้ที่จะเดินทางไปเพื่อลงมือท�ำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกับศิลปิน จนวันนี้เราได้เห็นการ เปลีย่ นแปลงทีม่ นี กั เดินทางมากมาย เสาะหารูปแบบการท่องเทีย่ วทีแ่ ตกต่าง ได้มโี อกาสร่วมลงมือท�ำ พบปะ แลกเปลีย่ น กับคนในพื้นที่อย่างแท้จริง เราท�ำให้นักเดินทางแบบแบกเป้เที่ยว นักเดินทางกลุ่มครอบครัว นักเดินทางแบบหรูหรา ต่างผันตัวเองมาเป็นนักท่องเทีย่ วเชิงสร้างสรรค์ และทีน่ า่ ดีใจคือ การเปลีย่ นแปลงความต้องการนี้ ท�ำให้เราได้เปลีย่ นโฉม การท่องเที่ยวสู่รูปแบบที่มีการเข้าถึงการเรียนรู้ ไม่ว่าจะเป็นการได้ทอผ้า การได้ร่วมแสดงดนตรีกับศิลปินท้องถิ่น สามารถท�ำได้ผา่ นการร่วมกิจกรรมการท่องเทีย่ วเชิงสร้างสรรค์ ทีส่ ร้างความภาคภูมใิ จให้กบั ศิลปินท้องถิน่ และน�ำผลดี สู่เศรษฐกิจและการจัดการอย่างรับผิดชอบและยั่งยืน เครือข่ายการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ยินดีที่ได้มีส่วนร่วมในการถอดบทเรียนและจัดท�ำคู่มือนี้ร่วมกับ อพท. การเผย แพร่ความรู้และแนวทางผ่านคู่มือที่มาจากการได้ท�ำจริง จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง สมาชิกของเครือข่ายทั่วโลก ได้ผ่าน ประสบการณ์เหล่านี้เช่นกัน และพร้อมที่จะแลกเปลี่ยน ปรับใช้ แนวทางเหล่านี้ ความร่วมมือจะท�ำให้เราสามารถสร้างประสบการณ์สร้างสรรค์ได้อย่างมากมาย
แคโรลีน คูเรต์ ผู้อ�ำนวยการ the Creative Tourism Network®
คูม่ อื กระบวนการพัฒนาและยกระดับกิจกรรมท่องเทีย่ วเชิงสร้างสรรค์
5
เส้นทางการร่วมถอดรหัส การท่องเทีย่ วเชิงสร้างสรรค์ บ่อยครั้งที่การท่องเที่ยวทิ้งไว้ซึ่งความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าให้กับทั้งเจ้าบ้าน และผูม้ าเยือน เราหมดพลังไปมากมายกับการชีช้ วนพูดคุยกับแขกทีอ่ ตุ ส่าห์มา ถึงบ้าน แต่ดเู หมือนความตัง้ ใจฟังเรือ่ งราวจะมีนอ้ ยกว่าการมองหาสิ่งของสักชิ้น ติดมือกลับไป เมื่อได้พินิจ “สินค้า” ก็อาจจะมีค�ำถามจากการประเมิน ตัดสิน ราวกับว่างานฝีมือที่สร้างสรรค์ข้ึนมาด้วยพลังกาย พลังใจ พลังสมอง และ สองมือ นั้นปราศจากคุณค่าแห่งการด�ำรงอยู่
บทน�ำ
ไม่มีอะไรผิดปกติกับปรากฏการณ์ดังกล่าว เพราะการท่องเที่ยวแบบมวลชน (Mass Tourism) ส่งผลให้การไปเยือนสถานทีท่ คี่ วรค่าแก่การรืน่ รมย์กลายเป็น เรื่องเร่งรีบ เราจึงมีจุดช้อปปิ้งตามสถานที่ท่องเที่ยวให้ลูกทัวร์ได้แวะช้อปใน เวลาอันจ�ำกัด แต่ในท่ามกลางนักท่องเที่ยวที่หลากหลาย มักจะมีสักหนึ่งหรือ สองคนเสมอ ที่อยากรู้ว่า แหล่งผลิตต้นทางของชิ้นงานที่งดงามเหล่านี้อยู่ ที่ไหน เขาปรารถนาจะได้พบกับช่างทอ ช่างแกะ ช่างปั้น ช่างสาน ที่อดทนนั่ง หลังขดหลังแข็ง สร้างสรรค์ความงามให้กบั หัตถกรรมแต่ละชิน้ แต่จะมีวธิ กี าร อย่างไร เราจึงสามารถน�ำคนทัง้ สองฝัง่ มาพบกันในจุดสมดุล เพือ่ ให้นกั ท่องเทีย่ ว และเจ้าของบ้าน เจ้าของชุมชน เจ้าของผลงาน ต่างเติมเต็มพลังให้กันและกัน ผ่านประสบการณ์ลงมือท�ำอันรืน่ รมย์ ทีเ่ อือ้ ให้เกิดบรรยากาศแลกเปลีย่ นเรียนรู้ รากเหง้าและเรือ่ งราวอันมีเสน่หข์ องชุมชน ร่วมไปกับกระบวนการสร้างชิน้ งาน ที่เขาได้ “ท�ำเอง” แม้เมื่อยามอ�ำลาจากกัน สิง่ ที่มากกว่าค�ำ “ขอบคุณ” ยังเป็น พลังงานความสุขทีร่ นิ ไหลอยูใ่ นกระแสเลือด และลมหายใจทีห่ ล่อเลีย้ งชีวติ และ จิตวิญญาณไปได้อีกวาระหนึ่ง เงินไม่ใช่ยานพาหนะเดียวที่จะน�ำเราไปยังพื้นที่แห่งประสบการณ์อนั ลีล้ บั ของการเชื่อมต่อภูมิปัญญาจากคนรุ่นเก่าสู่คนรุ่นใหม่ในท่ามกลางกระแส การท่องเทีย่ วทีห่ ลากหลาย ซึง่ เราต่างส�ำรวจไปจนสุดขอบประสบการณ์ นับจาก การท่ อ งเที่ ย วแบบมวลชน (Mass Tourism) การท่ อ งเที่ ย วเชิ ง นิ เ วศ (Eco-tourism) การท่องเที่ยวสีเขียว (Green Tourism) การท่องเที่ยวโดย ชุมชน (Community Based Tourism) การท่องเทีย่ วเชิงวัฒนธรรม (Cultural Tourism) ครัง้ นีเ้ ราจะพาคุณเดินทางไปยังอีกพืน้ ทีห่ นึง่ ของการท่องเทีย่ ว นัน่ คือ การท่องเทีย่ วเชิงสร้างสรรค์ (Creative Tourism) ทีจ่ ะมาตอบค�ำถามว่าท�ำอย่างไร ให้การท่องเทีย่ วเป็นประสบการณ์อนั มีคณ ุ ค่าทีเ่ ติมเต็มห้วงเวลาแห่งการพบปะกัน ระหว่างนักท่องเที่ยวกับเจ้าของพื้นที่
6
คู่มือกระบวนการพัฒนาและยกระดับกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
คู่มือถอดรหัสการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เล่มนี้ประกอบด้วยกรณีศึกษาจากโครงการน�ำร่องขององค์การบริหาร การพัฒนาพืน้ ทีพ่ เิ ศษเพือ่ การท่องเทีย่ วอย่างยัง่ ยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. ทีไ่ ด้ไปสร้างห้องปฏิบตั กิ ารการท่องเทีย่ ว เชิงสร้างสรรค์ผ่านการทดลองและเรียนรู้ร่วมกับชุมชนเป้าหมาย 39 แห่ง เพื่อตอบค�ำถามส�ำคัญ 3 ข้อ คือ
การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์คืออะไร และมีองค์ประกอบอะไรบ้าง ? อะไรที่ท�ำให้การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์แตกต่างจากการท่องเที่ยวรูปแบบอื่น ? เราจะเปลี่ยนการท่องเที่ยวในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ การท่องเที่ยวเชิงเกษตร ให้เป็นการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ได้อย่างไร?
คณะผู ้ จัด ท� ำ ได้ ถ อดองค์ ค วามรู ้ ม าจากต้ น ฉบั บ ภาษาอัง กฤษชื่อ “Creating Creative Tourism Toolkit” ซึ่ง เป็ นความร่ ว มมื อระหว่ า ง อพท. ผศ.ดร.จุฑามาศ วิศาลสิงห์ ร่วมกับ Greg Richards และ Elena Paschinger ร่วม กันน�ำเสนอเครือ่ งมือพัฒนากิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ น�ำมาทดลอง และถอดบทเรียนร่วมกับคณะท�ำงาน Creative Tourism Brain Bank และชุมชนท่องเที่ยวในพื้นที่กรณีศึกษาการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ของอพท. เป็นคู่มือกระบวนการพัฒนา และยกระดับกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ โดยเนื้อหาแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลัก ๆ ได้แก่ บทที่ 1 ว่าด้วยการจ�ำแนก แยกแยะรูปแบบให้เห็นว่าการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ต่างจากการท่องเที่ยวรูปแบบอื่น อย่างไร และต้องมีอะไรเป็นองค์ประกอบส�ำคัญ บทที่ 2 น�ำคุณเข้าสูก่ ระบวนการสืบค้น ออกแบบ ร้อยเรียง พร้อมเครือ่ งมือทีช่ ว่ ยให้คณ ุ ประเมินได้วา่ สถานทีท่ เี่ หมาะสม กับการท�ำกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ควรเป็นอย่างไร บทที่ 3 เป็นการเข้าสู่ขั้นตอนส�ำคัญ ประกอบด้วย 3 S ได้แก่ เรื่องราว (Storytelling) อรรถรส (Senses) และ ลีลา (Sophistication) ที่มาช่วยตอบโจทย์ว่า ท�ำอย่างไรคุณถึงจะน�ำส่งจากเจ้าบ้านไปสู่ผู้มาเยือนได้อย่างเร้าใจ มีพลัง มีชีวิตชีวา น่ารื่นรมย์ และเรียนรู้อย่างมีความสุขและประทับใจ การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ถ้าออกแบบให้ดีจะเป็นกลไกส�ำคัญที่สร้างความภาคภูมิใจให้กับชุมชน ที่ได้น�ำเอกลักษณ์ ทางวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ที่สืบสาน มาแบ่งปันให้ผู้มาเยือนได้สัมผัส เมื่อเราปลูกความคิดสร้างสรรค์ลงไปในการ ท่องเที่ยว ย่อมผลิดอกออกผลไปสู่การเจริญงอกงามของชุมชน ความคิดสร้างสรรค์ไม่เพียงปลุกเร้าแรงบันดาลใจใน การน�ำเสนอสิ่งใหม่ ๆ อีกทั้งยังช่วยเจียระไนคุณค่าของสินทรัพย์ทางภูมิปัญญาที่มีอยู่แต่ดั้งเดิมให้สอ่ งประกาย แวววาวขึน้ โดยรวมศาสตร์และศิลป์แขนงต่าง ๆ ทีเ่ หล่าช่างฝีมอื ศิลปิน และนักเล่าเรือ่ งประจ�ำท้องถิน่ จะเป็นหัวหน้าทัวร์ คนส�ำคัญที่จะน�ำนักท่องเที่ยวเข้าสู่มิติของประสบการณ์การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ได้อย่างอิ่มเอมอารมณ์ “คุณจะเป็นใครในโรงละครแห่งนี้...โรงละครแห่งชีวิตและความสุนทรี ที่คุณสามารถเนรมิตเรื่องราว ให้ผู้ชมได้รับแรงบันดาลใจกลับไปได้ทุกครั้ง ถ้าพร้อมแล้ว เราเริ่มออกเดินทางกันเถอะ” คูม่ อื กระบวนการพัฒนาและยกระดับกิจกรรมท่องเทีย่ วเชิงสร้างสรรค์
7
#discoverself #thecreativeU
8
คู่มือกระบวนการพัฒนาและยกระดับกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
บทที่ 1
องค์ประกอบหลัก ของการท่องเที่ยว เชิงสร้างสรรค์
• การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์คืออะไรมีองค์ประกอบอะไรบ้าง ? • อะไรที่ท�ำให้การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์แตกต่างจากการท่องเที่ยวรูปแบบอื่น ? คูม่ อื กระบวนการพัฒนาและยกระดับกิจกรรมท่องเทีย่ วเชิงสร้างสรรค์
9
การเปลีย่ นผ่าน จากการท่องเทีย่ ว เชิงวัฒนธรรม ไปสู่การท่องเที่ยว เชิงสร้างสรรค์ หากคุณก�ำลังสงสัยว่าการน�ำนักท่องเที่ยวมาเรียนรู้จากครูภูมิปัญญาใน ท้ อ งถิ่น เช่น ท�ำขนมใส่ไส้ ปรุงอาหารพื้นบ้าน นวดแผนโบราณ หัดเขียนลาย สังคโลก ท�ำผ้าย้อมคราม ท�ำผ้าบาติก และอีกหลายกิจกรรมที่ท�ำได้ในชุมชน จะเรียกว่า “การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์” ได้หรือยัง เราลองมาส�ำรวจไป พร้อม ๆ กัน เพื่อหาค�ำตอบมาคลี่คลายความสงสัย แนวคิดเรือ่ ง “การท่องเทีย่ วเชิงสร้างสรรค์” (Creative Tourism) จัดว่าเป็นแนวคิด ทีค่ อ่ นข้างใหม่ เริม่ ปรากฎขึน้ เมือ่ ประมาณปี พ.ศ. 2543 โดยริชาร์ดส และเรย์มอนด์ (Greg Richards และ Crispin Raymond) ต่อมาในปี พ.ศ.2549 องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) จึงได้ก�ำหนด นิยามว่า “การท่องเทีย่ วเชิงสร้างสรรค์ คือ การเดินทางทีม่ งุ่ ไปสู่ค วามผู ก พั น และประสบการณ์จริงแท้ที่เกิดจากการเข้าไปมีส่วนร่วมในการเรียนรูศ้ ลิ ปะ มรดกทางวัฒนธรรม หรือคุณลักษณะพิเศษของพื้นที่นั้น และน�ำมาซึ่งความ เชือ่ มโยงกับผูค้ นซึง่ อาศัยอยูใ่ นพืน้ ที่ และเป็นผูร้ งั สรรค์วฒ ั นธรรมทีม่ ชี วี ติ นัน้ ” พั น เอก ดร.นาฬิ ก อติ ภั ค แสงสนิ ท อดี ต ผู ้ อ� ำ นวยการองค์ ก ารบริ ห าร การพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. ได้ก�ำหนดนโยบายและแนวทางการปฏิบัติงานเกี่ยวกับ “การท่องเที่ยว เชิงสร้างสรรค์ Creative Tourism” ซึง่ ได้กำ� หนดขอบเขตไว้วา่ “การท่องเทีย่ ว เชิ ง สร้ า งสรรค์ ” หมายถึ ง “การท่ อ งเที่ ย วที่ สั ม พั น ธ์ กั บ ประวั ติ ศ าสตร์ ศิลปวัฒนธรรม วิถชี มุ ชนและเอกลักษณ์สถานที่ โดยนักท่องเทีย่ วได้เรียนรู้ เพือ่ สร้างประสบการณ์ตรง ร่วมกับเจ้าของวัฒนธรรม และมีโอกาสได้ใช้ชีวิตร่วม กันกับเจ้าของสถานที่ และเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับประวัติศาสตร์ ศิลป วัฒนธรรม วิถีชุมชน และเอกลักษณ์ของสถานที่ ที่ไม่ใช่กิจกรรมที่เน้นรายได้ ของชุมชน แต่เป็นกิจกรรมที่เน้นคุณค่าของชุมชนเป็นส�ำคัญ”
10
คู่มือกระบวนการพัฒนาและยกระดับกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
เพราะเหตุใดนิยามของอพท. จึงกล่าวว่า “การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ไม่ใช่ กิจกรรมที่เน้นรายได้ของชุมชน แต่เน้นคุณค่าของชุมชน” คุณอาจจะคิดว่า ถ้าไม่เน้นรายได้ เราจะได้อะไรจากการท่องเทีย่ ว ถ้าไม่เน้นมูลค่าเป็นตัวเงิน เรา จะมาเสียเวลาท�ำการท่องเทีย่ วเชิงสร้างสรรค์ไปเพือ่ อะไร เหตุทเี่ ป็นเช่นนีเ้ พราะ การเติบโตของอุตสาหกรรมท่องเทีย่ วในช่วงหลายปีทผี่ า่ นมา ได้แปรเปลีย่ นคุณค่า ของศิลปะ หัตถกรรม วัฒนธรรม มรดกทางภูมิปัญญาให้กลายเป็นสินค้าที่ มีไว้เพือ่ การจับจ่ายซือ้ ขาย สิง่ ล่อใจทางวัตถุทำ� ให้ผปู้ ระกอบการหลายภาคส่วน ท�ำการท่องเทีย่ วโดยมิได้คำ� นึงถึงผลกระทบทีม่ ตี อ่ ชุมชน และทรัพยากร ตลอดจน การบริโภคที่มองทุกอย่างเป็นเพียงวัตถุส�ำเร็จรูปที่ผลิตได้จากโรงงานครั้งละ มาก ๆ ท�ำให้ความคิดสร้างสรรค์เดิมแท้ ทีม่ อี ยูใ่ นทุกชุมชนค่อย ๆ ลดทอนคุณค่า ลงไป เมื่อไม่มีใครสนใจสานต่อภูมิปัญญาของคนรุ่นเก่า แล้วเราจะเหลืออะไร ไว้ให้คนรุ่นต่อไปได้ภาคภูมิใจ ถ้ายังปล่อยให้กระแสการท่องเที่ยวเช่นนี้ด�ำเนิน ต่อไปเรื่อย ๆ อาจจะน�ำมาซึ่งการสูญเสียตัวตน และอัตลักษณ์ของคนในชาติ อย่างที่ไม่อาจจะประเมินค่าได้ ก่อนทีเ่ ราจะปล่อยให้รถด่วนขบวนท่องเทีย่ ว แล่นผ่านด้วยความเร็วสูง แถมตัด ทางด่วนข้ามแหล่งทรัพยากรและฉกฉวยจิตวิญญาณไปจากท้องถิ่น เราจึง ตัง้ สมมติฐานว่า “การท่องเทีย่ วเชิงสร้างสรรค์” จะเป็นอาวุธชิน้ ส�ำคัญในการรับมือ กับการสูญเสียเอกลักษณ์ทางจิตวิญญาณ ท่ามกลางความเชีย่ วกรากของโลก ที่เปลี่ยนแปลงไปด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ นี่อาจจะไม่ใช่ภารกิจของใครคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นภารกิจร่วมของเราทุกคน ในการปลุกวิญญาณชุมชน เหล่าศิลปิน ครูภมู ปิ ญ ั ญา ช่างฝีมอื ชุมชน ให้ลกุ ขึน้ มา เป็นกลไกส�ำคัญและเป็นกระบอกเสียงประกาศให้คนอื่นรู้ว่าเรามีดีอย่างไร ผ่านรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
คูม่ อื กระบวนการพัฒนาและยกระดับกิจกรรมท่องเทีย่ วเชิงสร้างสรรค์
11
12
คู่มือกระบวนการพัฒนาและยกระดับกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
การท่องเทีย่ วเชิงสร้างสรรค์ แตกต่างจากการท่องเที่ยวรูปแบบอื่นอย่างไร การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ จ�ำต้องมีส่วนร่วมอย่างกระตือรือร้น มากกว่าการตั้งรับอยู่กับที่ อยู่บนพื้นฐานของกระบวนการเรียนรู้ สอดร้อยเข้าไปเป็นหนึ่งเดียวกับสังคมนั้น มีนวัตกรรมและพลวัตใหม่ๆ มีความยั่งยืน และอยู่บนพื้นฐานทรัพยากรในท้องถิ่น ที่มา : Creative Tourism and Development Countries (Greg Richards, 2017) คูม่ อื กระบวนการพัฒนาและยกระดับกิจกรรมท่องเทีย่ วเชิงสร้างสรรค์
13
จากข้อความในหน้า 13 คงท�ำให้เราพอทราบว่า การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ไม่ใช่การสร้างอาคาร สถานที่ หรือแหล่งท่องเที่ยวขึ้นมาใหม่ และไม่ใช่การท�ำ ตามโปรแกรมการท่องเทีย่ วเชิงวัฒนธรรมหรือทัวร์ไหว้พระ 9 วัด ฯลฯ สิง่ ทีส่ ำ� คัญคือ ชุมชน จะต้องตัง้ ค�ำถามว่า นักท่องเทีย่ วจะมาท�ำกิจกรรมสร้างสรรค์อะไรได้บา้ งที่ ชุมชนของเรา ? มีกจิ กรรมเชิงวัฒนธรรม ประเพณีหรือเทศกาลอะไรบ้าง ทีน่ กั ท่องเทีย่ ว มีสว่ นร่วมได้? เขาจะเรียนรู้อะไรได้จากที่นี่? เรามีทักษะหรือประสบการณ์อะไรที่ ชุมชนอื่นหรือบ้านหลังอืน่ ๆ ไม่ม?ี ค�ำถามเหล่านีจ้ ะท�ำให้เราค้นพบมองมุมใหม่ ในพืน้ ทีเ่ ดิม ๆ และวัฒนธรรมดั้งเดิมที่เรามีอยู่แล้ว ถ้าเป็นแนวทางของการท่องเทีย่ วเชิงวัฒนธรรม เราจะน�ำอาคาร สถานทีส่ ำ� คัญ เช่น วัด พิพธิ ภัณฑ์ โบราณวัตถุ โบราณสถาน ในชุมชนมาเป็นตัวตัง้ โจทย์นำ� เทีย่ ว แต่ ก ารท่ อ งเที่ ย วเชิ ง สร้ า งสรรค์ เราจะสร้ า งสรรค์ กิ จ กรรมจากทั ก ษะ ภูมิปัญญา ศิลปะ วิถีการด�ำรงชีวิต ที่มีในชุมชน หรือสิ่งที่ท�ำกันอยู่ในชีวิต ประจ�ำวั น โจทย์ นี้ ค ล้ า ยกั บ เส้ น ผมบั ง ภู เ ขา นั่ น คื อ ท� ำ อย่ า งไรให้ เ รื่ อ ง ธรรมดา (ส�ำหรับเรา)เป็นประสบการณ์สร้างสรรค์อันน่าตื่นเต้น ส�ำหรับ นักท่องเที่ยว ดังนั้นจึงไม่ต้องน้อยใจหากชุมชนของเราไม่มีวัดเก่าแก่ โบราณสถาน หรือ พิพธิ ภัณฑ์ทอี่ ดั แน่นไปด้วยคลังสมบัตเิ ก่าแก่ ลองกลับมาดูทกั ษะพืน้ ๆ อันเป็น ภูมปิ ญ ั ญาทีใ่ ช้ในการท�ำมาหากินกันมาตัง้ แต่เมือ่ ครัง้ ปูย่ า่ ตายาย อาจจะมีบางสิง่ ที่จุดประกายในการท�ำกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นเสน่ห์เฉพาะ ในเอกลักษณ์ของเรา
14
คู่มือกระบวนการพัฒนาและยกระดับกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
ส�ำรวจ ทักษะ ภูมิปัญญา ศิลปะ ในชุมชน ใคร
คือ คนที่มีทักษะของศิลปิน ในชุมชนของเรา?
บ้าน สตูดิโอ
หรือพื้นที่สร้างสรรค์ชิ้นงาน สามารถเปิดรับนักท่องเที่ยว ได้หรือไม่?
อะไร
คือ ทักษะ ภูมิปัญญา ศิลปหัตถกรรม ที่เป็น อัตลักษณ์ ประจ�ำท้องถิ่นเรา
คูม่ อื กระบวนการพัฒนาและยกระดับกิจกรรมท่องเทีย่ วเชิงสร้างสรรค์
15
การท่องเที่ยว เชิงสร้างสรรค์ ในประเทศไทย
องค์ ก ารบริ ห ารการพั ฒ นาพื้ น ที่ พิ เ ศษเพื่ อ การท่ อ งเที่ ย วอย่ า งยั่ ง ยื น (องค์ ก ารมหาชน) หรื อ อพท. จึ ง เล็ ง เห็ น โอกาสในการพั ฒ นากิ จ กรรม ท่องเทีย่ วเชิงสร้างสรรค์ ให้เกิดขึน้ ในหลาย ๆ ชุมชนภายใต้การดูแลของ อพท. โดยใช้ คุณ ลั ก ษณะของ “การท่อ งเที่ย วเชิง สร้า งสรรค์” ที่ เกร็ก ริชาร์ดส ได้ประมวลไว้ในปี พ.ศ. 2553 (Richards, 2010) มาเป็นแนวทางในการพัฒนา กล่าวคือ 1. นักท่องเที่ยวและเจ้าของบ้านมีความผูกพันระหว่างกัน (Each engaging the other) 2. มีการแลกเปลีย่ นเรียนรูข้ า้ มวัฒนธรรมระหว่างนักท่องเทีย่ วและเจ้าของบ้าน (Cross-cultural engagement / cultural experience) 3. นักท่องเที่ยวและเจ้าของบ้านมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งทางวัฒนธรรมของ พืน้ ทีท่ เี่ ป็นแหล่งท่องเทีย่ ว (Spirit of place / deep meaning / understanding of the specific cultural of the place) 4. นักท่องเทีย่ วและเจ้าของบ้านมีประสบการณ์จากการมีสว่ นร่วม (Hands-on experience) 5. นักท่องเทีย่ วและเจ้าของบ้านมีการแลกเปลีย่ นข้อมูลระหว่างกัน / ส่งต่อ-ส่งผ่าน ประสบการณ์ (Exchange information / transformation and transformative experiences) 6. นักท่องเทีย่ วเป็นผูเ้ ข้าร่วมกิจกรรมมากกว่าเป็นแค่ผชู้ ม (More participate than observe) 7. นักท่องเที่ยวมีโอกาสพัฒนาศักยภาพในการสร้างสรรค์ของตนเองและ มี ส ่ ว นร่ ว มในการสร้ า งประสบการณ์ กั บ เจ้ า ของบ้ า น (Co-creating tourism experience) 8. มีความเป็นของแท้ เป็นของจริงแท้ทงั้ ในกระบวนการการผลิตและ ผลิตภัณฑ์ / ประสบการณ์จริง (Authentic both process and product / genuine experience)
16
คู่มือกระบวนการพัฒนาและยกระดับกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
9. เป็ น กิ จ กรรมที่ น ่ า จดจ� ำ มี ค วามประทั บ ใจและเข้ า ใจ (Memorable / I hear and I forget, I see and I remember, I do and I understand) 10. เป็นการท่องเที่ยวแบบจ�ำเพาะเจาะจงของนักท่องเที่ยว แต่ละคน (Tailor-made approach)
เลือกประสบการณ์ สร้างสรรค์
ทั้ง 10 ข้อที่กล่าวไปนั้น คือจุดร่วม
ของการท่องเทีย่ วเชิงสร้างสรรค์ และ การท่องเที่ยวโดยชุมชน การจะบรรลุ เป้าหมายการท่องเทีย่ วเชิงสร้างสรรค์ จ�ำต้องมีกระบวนการพัฒนาและยกระดับ กิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ซึ่ง เราจะกล่าวถึงในล�ำดับต่อไป
พูดคุยกับช่างฝีมอื ท้องถิน่ เรียนรูท้ กั ษะท้องถิน่ ทีไ่ ม่เหมือนใคร แบ่งปัน มุมมองและเรื่องราวเกี่ยวกับการสร้างผลงานชิ้นเอกของคุณเอง ล้วน กระตุน้ แรงบันดาลใจไม่รจู้ บ ทีท่ ำ� ให้เราค้นพบรูปแบบกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์
คูม่ อื กระบวนการพัฒนาและยกระดับกิจกรรมท่องเทีย่ วเชิงสร้างสรรค์
17
การแลกเปลี่ยน แรงบันดาลใจซึ่งกันและกัน สร้างตัวฉันที่ดีกว่าคนเดิม
เป้าหมาย ของคุณ คืออะไร คุณ
อยากได้ อ ะไรจากการพั ฒ นา การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ? 18
คู่มือกระบวนการพัฒนาและยกระดับกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
หลักเกณฑ์การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ : แนวทาง 10 ข้อ ในการออกแบบ บนพื้นฐานของชุมชน
การจัดการที่มุงเนนการมี สวนรวมของคนทองถิ่น
การจัดการที่สราง ผลประโยชนใหชุมชน
มีการคํานึงถึงดานสุขภาพ และความปลอดภัย
เปนกิจกรรมที่ไมทารุณสัตว
คูม่ อื กระบวนการพัฒนาและยกระดับกิจกรรมท่องเทีย่ วเชิงสร้างสรรค์
19
20
คู่มือกระบวนการพัฒนาและยกระดับกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
ความคิดสร้างสรรค์ ไม่เพียงปลุกเร้า แรงบันดาลใจในการน�ำเสนอสิ่งใหม่ ๆ อีกทั้งยังช่วยเจียระไนคุณค่าของ ทรัพย์สินทางภูมิปัญญาที่มีอยู่แต่ดั้งเดิม ให้ส่องประกายแวววาวขึ้น
คูม่ อื กระบวนการพัฒนาและยกระดับกิจกรรมท่องเทีย่ วเชิงสร้างสรรค์
21
แนวทางของชุมชน คือ เงื่อนไขเบื้องต้นส�ำหรับ การพัฒนาการท่องเทีย่ วอย่างยัง่ ยืน เพราะการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เป็นส่วนหนึ่งของการท่องเที่ยวโดยชุมชน จึงต้องมีการหารือวางแผนและสร้างเป้าหมายร่วมกัน แนวทางการพัฒนาร่วมกับ ชุมชนก็คอื ค้นหาให้ได้วา่ อะไรคือสิง่ ทีช่ มุ ชนให้ความส�ำคัญ และยินดีมสี ว่ นร่วม อย่างแข็งขันในกระบวนการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งจะน�ำ ประโยชน์มาสู่ชุมชนอย่างยั่งยืนในมิติต่างๆ ที่ครอบคลุมทั้งด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม สังคม วัฒนธรรม ประโยชน์อันยั่งยืนที่ชุมชนจะได้รับ อาจจะมา ในรูปแบบของการสร้างความเป็นน�้ำหนึ่งใจเดียวกันของคนในครอบครัว การ มี ส ่ ว นร่ ว มในการน� ำ เสนอเอกลั ก ษณ์ ท างวั ฒ นธรรม การร่ว มกันอนุรักษ์ สิง่ แวดล้อม การส่งต่อภูมปิ ญ ั ญาจากศิลปินพืน้ บ้านมาสูเ่ ยาวชนรุน่ ใหม่ ทัง้ นี้ การจ้างงาน การสร้างรายได้ ควรจะเป็นเป้าหมายที่ส�ำคัญรองลงมาจากการ สร้างความภาคภูมิใจในการมีส่วนร่วมของชุมชน
22
คู่มือกระบวนการพัฒนาและยกระดับกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
หลักเกณฑ์พนื้ ฐานทีจ่ ำ� เป็นต้องมี การจัดการที่มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของคนท้องถิ่น (Community Based Management) เป็นกิจกรรมที่ด�ำเนินการโดยคนในท้องถิ่น หรือเปิดโอกาสให้คนในท้อง ถิน่ สามารถเข้ามามีสว่ นร่วมในการบริหารจัดการ หรือคนในท้องถิน่ มีสว่ นร่วม อยูใ่ นส่วนหนึ่งส่วนใดของห่วงโซ่อุปทาน เป็นต้น การจัดการที่สร้างผลประโยชน์ให้ชุมชน (Community Benefitting through Tourism) เป็นกิจกรรมทีส่ ร้างผลประโยชน์ให้แก่ชมุ ชน ซึง่ อาจจะเป็นผลประโยชน์ในด้านใด ด้านหนึง่ ไม่วา่ จะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม เช่น ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม วั ฒ นธรรม หรื อ ด้ า นสิ่ ง แวดล้ อ มของชุ ม ชน หรือ คนในท้อ งถิ่นได้รับ ผลประโยชน์จากส่วนใดส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อุปทาน มีการค�ำนึงถึงด้านสุขภาพและความปลอดภัย (Health and Safety Requirement) ศิ ล ปะการต่ อ สู ้ ป ้ อ งกั น ตั ว กี ฬ าพื้ น บ้ า น ศิ ล ปะการใช้ ศ าสตราวุ ธ โบราณ หรือการท�ำอาหารที่อาศัยความร้อน ควรเพิ่มความระมัดระวัง ยิ่งขึ้น โดยเฉพาะกรณีที่มีเด็กเข้าร่วมกิจกรรม เป็นกิจกรรมที่ไม่ทารุณสัตว์ (Stop! Animal Abused) การน�ำช้างมาใช้ในการแสดงหรือน�ำลิงมาเก็บมะพร้าว แม้จะเป็นกิจกรรม ที่สอดคล้องกับวิถีการท�ำอาชีพแบบดั้งเดิม แต่เป็นการบังคับสัตว์ให้ท�ำ ตามสิง่ ทีม่ นุษย์ตอ้ งการ ก็อาจไม่ได้รบั การสนับสนุนในฐานะการท่องเทีย่ ว เชิงสร้างสรรค์
4 หลักการนี้เปรียบได้กับเสาเข็ม 4 ต้นที่ตอกลงไปบนดิน เพื่อเป็นฐานรองรับ
การพัฒนาอย่างยัง่ ยืน ก่อนขึน้ โครงสร้างของกิจกรรมท่องเทีย่ วเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งแน่นอนว่าทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมของท้องถิ่นอาจกลายเป็น สินทรัพย์มีค่าซึ่งดึงดูดการท่องเที่ยว จึงเป็นแรงผลักดันให้เกิดการรื้อฟื้น วัฒนธรรม ประเพณีที่สูญหาย อย่างไรก็ดี การเร่งรัดพัฒนาอย่างรวดเร็ว อาจจะเปิดโอกาสให้บคุ คลภายนอกเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์อนั เกินควร ชุมชน จึงจ�ำเป็นต้องเรียนรู้วิธีการจัดการกับอนาคตของตนเองอย่างเหมาะสม เมื่อฐานที่มั่นทั้ง 4 มีความแข็งแรงดีแล้ว เรายังมีหลักเกณฑ์ 10 ข้อให้คณ ุ น�ำไปประกอบการพิจารณาว่า คุณพร้อมหรือยัง? ทีจ่ ะท�ำเรือ่ งการท่องเที่ยวเชิง สร้างสรรค์ร่วมกับชุมชน
คูม่ อื กระบวนการพัฒนาและยกระดับกิจกรรมท่องเทีย่ วเชิงสร้างสรรค์
23
กรอบแนวคิด Creative Tourism : The 3S Principles จากคุณลักษณะ 10 ประการที่เกร็ก ริชาร์ดส ได้ประมวลไว้ (หน้า 15) เป็น หลักพืน้ ฐานทีใ่ ช้ได้กบั การท่องเทีย่ วหลายรูปแบบ ไม่จำ� เพาะเจาะจงว่าต้องเป็น การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เท่านั้น
หลักเกณฑ์ 10 ประการ ในการพัฒนา กิจกรรม ท่องเที่ยว เชิงสร้างสรรค์
ดังนั้น เพื่อให้การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์มีรูปแบบที่ชัดเจน จ�ำเป็นต้อง มี เ รื่ อ งของการสร้ า งสรรค์ (Creativity) และกระบวนการออกแบบ การท่องเที่ยว ซึ่งเรียกว่า The 3S Principles ประกอบด้วย
Stories Telling : Senses : Sophistication 1. เรือ่ งราว (Stories) มีเรือ่ งราวจากทุนวัฒนธรรมท้องถิน่ ทีผ่ า่ นการ สืบค้น ร้อยเรียง ออกแบบ และน�ำเสนอได้อย่างน่าสนใจ 2. อรรถรส (Senses) สามารถจับต้องได้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 (Sensory Analysis) ได้แก่ การมองเห็น (Seeing) การดมกลิ่น (Smelling) การได้ยิน (Hearing) การสัมผัส (Touching) และการลิม้ รส (Tasting) 3. ลีลา (Sophistication) กิจกรรมมีความลืน่ ไหล โดดเด่นและแตกต่าง สามารถกระตุน้ ให้เกิดความคิด สร้างสรรค์ รังสรรค์ผลงานใหม่ ๆ พร้อมทั้งมีการปรับปรุงพัฒนากิจกรรม อย่างต่อเนือ่ ง มีลลี าและชัน้ เชิงในการสือ่ ความหมายและน�ำเสนอ รูจ้ งั หวะ รู้วิธีที่เหมาะสมในการสร้างความน่าสนใจให้กับสิ่งที่น�ำเสนอ โดยกระบวนการออกแบบใน 3 หมวดใหญ่นี้ สามารถแยกย่อ ย ออกเป็น 10 ข้อ ได้แก่
การสืบค้นให้ได้ “เรื่องราว” (Stories) 1. กิ จ กรรมถู ก ออกแบบมาจากพื้ น ฐานของทุ น วั ฒ นธรรมท้ อ งถิ่ น และมี เอกลักษณ์เฉพาะตัวของท้องถิ่น 2. มีปราชญ์/ศิลปิน หรือ คนเล่าเรื่อง ที่สามารถออกแบบเรื่องราวที่สร้าง แรงบันดาลใจและเกิดความดึงดูดความน่าสนใจในการเรียนรูแ้ ละการสร้างสรรค์ ผลงาน
24
คู่มือกระบวนการพัฒนาและยกระดับกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
การร้อยเรียงให้ได้อรรถรส (Senses) 3. การออกแบบกิ จ กรรมเป็ น การได้ ฟ ั ง เพื่ อ เรี ย นรู ้ จากผู ้ รู ้ ที่ มี ประสบการณ์จริง ได้ร่วมท�ำสัมผัสจริง ท�ำให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ อย่างลึกซึ้ง และได้ความสนุก 4. มี ก ารออกแบบกิ จ กรรมที่ เ ปิ ด โอกาสให้ ไ ด้ มี ส ่ ว นร่ ว มพู ด คุ ย โต้ ต อบและแลกเปลี่ยนความคิดสร้างสรรค์ในการท�ำกิจกรรม ได้ ลงมือปฏิบัติร่วมกันระหว่างผู้มาเยือนกับเจ้าของบ้านหรือศิลปิน 5. กิ จ กรรมออกแบบโดยใช้ ป ระสาทสั ม ผั ส ทั้ ง 5 (สุนทรีย ภาพ) คือ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส อย่างครบถ้วน 6. สถานทีจ่ ดั กิจกรรมมีการออกแบบไว้อย่างเหมาะสมกับการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนและท�ำกิจกรรม
การออกแบบอย่างมีลลี าเหนือชัน้ น่าประทับใจ (Sophistication) 7. กิ จ กรรมถู ก ออกแบบไว้ ใ ห้ มี ค วามไหลลื่ น สามารถกระตุ ้ น ให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และได้สุนทรียภาพ 8. การออกแบบกิจกรรมเปิดโอกาสให้พัฒนาศักยภาพ ในการ สร้างสรรค์ผลงานของตัวเอง ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวอาจจะถึงขั้น สามารถสร้างแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ทั้งผู้มาเยือน และเจ้าของบ้านหรือศิลปิน 9. นักออกแบบกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์มีศักยภาพในการ สร้างความแตกต่างของกิจกรรม สร้างเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนใคร เพื่อประโยชน์ทางการตลาด 10. นักออกแบบกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์มีความพร้อมใน การสือ่ สารประชาสัมพันธ์และพัฒนากิจกรรมในรูปแบบต่าง ๆ อย่างต่อเนือ่ ง (ความคิดสร้างสรรค์ไม่หยุดนิ่ง) คูม่ อื กระบวนการพัฒนาและยกระดับกิจกรรมท่องเทีย่ วเชิงสร้างสรรค์
25
โดยเนื้อแท้ของการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ต้องอยู่บนพื้นฐานของความยั่งยืน เป็นประโยชน์ต่อชุมชน
26
คู่มือกระบวนการพัฒนาและยกระดับกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
คูม่ อื กระบวนการพัฒนาและยกระดับกิจกรรมท่องเทีย่ วเชิงสร้างสรรค์
27
The Checklist
The checklist หลักเกณฑ์ 10 ประการ ในการพั ฒนากิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
28
01
กิจกรรมถูกออกแบบมาจากพื้นฐานทองทุนวัฒนธรรมท้องถิ่น และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของ ท้องถิ่น
02
มีปราชญ์/ศิลปิน หรือคนเล่าเรื่องที่สามารถออกแบบเรื่องราวที่สร้างแรงบันดาลใจและเกิด ความดึงดูด ความน่าสนใจในการเรียนรู้และสร้างสรรค์ผลงาน
03
การออกแบบกิจกรรมเป็นการเรียนรู้จากผู้รู้ที่มีประสบการณ์จริง ได้ร่วมท�ำจริง ท�ำให้เกิดความรู้ ความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง และได้ความสนุก
04
มีการออกแบบกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ได้มีส่วนร่วมและแลกเปลี่ยนความคิดสร้างสรรค์ในการท�ำ กิจกรรม ได้ลงมือปฏิบัติร่วมกันระหว่างผู้มาเยือนกับเจ้าของบ้านหรือศิลปิน
05
กิจกรรมออกแบบโดยใช้ประสาทสัมผัสได้อย่างเด่นชัด (มีสุนทรียภาพขณะการท�ำกิจกรรม) เช่น รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส และ (ใจ) จิตวิญญาณ
06
สถานทีจ่ ดั กิจกรรมมีการออกแบบไว้อย่างเหมาะสมกับการเรียนรู้ แลกเปลีย่ นและสร้างสรรค์ผลงาน
07
กิจกรรมถูกออกแบบไว้ให้มคี วามไหลลืน่ สามารถกระตุน้ ให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และสุนทรียภาพ
08
การออกแบบกิจกรรมเปิดโอกาสให้พฒ ั นาศักยภาพในการสร้างสรรค์ผลงานของตัวเอง ซึง่ กิจกรรม ดังกล่าวอาจจะถึงขั้นสามารถสร้างแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ทั้งผู้มาเยือนและ เจ้าบ้านหรือศิลปิน
09
นักออกแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวสร้างสรรค์มีศักยภาพในการสร้างแบรนด์ให้แตกต่างทาง การตลาดอย่างสร้างสรรค์
10
นักออกแบบกิจกรรมท่องเทีย่ วสร้างสรรค์มคี วามพร้อมในการสือ่ สารกิจกรรมได้อย่างสร้างสรรค์ ในรูปแบบต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง (ความคิดสร้างสรรค์ไม่หยุดนิ่ง)
คู่มือกระบวนการพัฒนาและยกระดับกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
คูม่ อื กระบวนการพัฒนาและยกระดับกิจกรรมท่องเทีย่ วเชิงสร้างสรรค์
29
9 10 9.75
9 9 9.75
กิจกรรมของคุณเอง
ทีมอพท-พืน ที
ทีมอพท-ส่วนกลาง
2. มีปราชญ์/ศิลปิ น หรือ 1. (Story) กิจกรรมถูก คนเล่าเรือ งทีส ามารถ งราวทีส ร ้าง ออกแบบมาจากพืน ฐาน ออกแบบเรือ แรงบันดาลใจและเกิด ของทุนวัฒนธรรม ความดึงดูด ความ ท ้องถิน และมีเอกลักษณ์ น่าสนใจในการเรียนรู ้และ เฉพาะตัวของท ้องถิน สร ้างสรรค์ผลงาน (Having Their Roots) (Storytelling)
9.25
9
9
8
8
7
8
8
7
6.75
8
9
6.5
6
9
6.25
6
7
8. (Sophisticated) การ 4. (Sophisticated) มีการ ออกแบบกิจกรรมเปิ ด ออกแบบกิจกรรมทีเ ปิ ด 3. การออกแบบกิจกรรม โอกาสให ้พัฒนา 7. (Sophisticated) 5. (Senses) กิจกรรม โอกาสให ้ได ้มีสว่ นร่วม เป็ นการได ้ฟั งเพือ เรียนรู ้ ศักยภาพในการ ัด กิจกรรมถูกออกแบบไว ้ พูดคุยโต ้ตอบและ ออกแบบโดยใช ้ประสาท 6. (Place) 6. สถานทีจ จากผู ้รู ้ทีม ป ี ระสบการณ์ สร ้างสรรค์ผลงานของ ให ้มีความไหลลืน แลกเปลีย นความคิด สัมผัสได ้อย่างเด่นชัด (มี กิจกรรมมีการออกแบบไว ้ จริง ได ้ร่วมทําสัมผัสจริง ตัวเอง ซึง กิจกรรม สามารถกระตุ ้นให ้เกิด สร ้างสรรค์ในการทํา สุนทรียภาพขณะการทํา อย่างเหมาะสมกับการ (participative learning ดังกล่าวอาจจะถึงขัน กิจกรรม (active นและ ความคิดสร ้างสรรค์และ กิจกรรม) คือ รูป รส กลิน เรียนรู ้ แลกเปลีย สามารถสร ้างแรงบันดาล experiences) ทําให ้เกิด ได ้สุนทรียภาพ (Flow of ทํากิจกรรม participation) ได ้ลงมือ เสียง สัมผัส และใจ (จิต ใจในการสร ้างสรรค์สงิ ความรู ้ ความเข ้าใจอย่าง the Activities) วิญญาณ) ปฏิบต ั ริ ว่ มกันระหว่างผู ้มา ใหม่ ทัง ผู ้มาเยือนและ ลึกซึง และได ้ความสนุก เยือนกับเจ ้าของบ ้านหรือ เจ ้าของบ ้านหรือศิลปิ น ศิลปิ น (Level of Creativity)
การทําพระพิมพ์ดน ิ เผาสุโขท ัย บ้านพระพิมพ์ล ักษมณศิลป์ ต.เมืองเก่า อ.เมือง จ.สุโขท ัย
ทีมทีป รึกษา
0
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
6.5
8
8
6.5
8
9
10. (People and Sophisticated) นัก ออกแบบกิจกรรม 9. (Sophisticated) นัก ท่องเทีย วเชิงสร ้างสรรค์ ออกแบบกิจกรรม มีความพร ้อมในการ ท่องเทีย วเชิงสร ้างสรรค์ สารประชาสัมพันธ์ สือ ั ยภาพในการสร ้าง มีศก และพัฒนากิจกรรมใน ความแตกต่างของ รูปแบบต่าง ๆ อย่าง กิจกรรม สร ้างเอกลักษณ์ ต่อเนือ ง (ความคิด ทีไ ม่เหมือนใคร เพือ สร ้างสรรค์ไม่หยุดนิง ) ประโยชน์ทางการตลาด (Self-Creative Continuous Improvement)
ตัวอย่างการประเมินตามหลักเกณฑ์การพัฒนากิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
ทดสอบ ประเมินตัวเอง
ล� ำ ดั บ ต่ อ ไปให้ คุ ณ ลองน� ำ หลั ก เกณฑ์ ป ระกอบการพิ จ ารณา ข้ อ 1-10 มาเรียงในแนวขวาง เพื่อประเมินตนเองดูว่าในแต่ละข้อ คุณให้คะแนนตัวเอง เท่าไรจากจ�ำนวนเต็ม 100 คะแนน และเพื่อให้การประเมินมีน�้ำหนักเพียงพอ ต่อความมัน่ ใจในการก้าวเดินต่อไป ขอให้คณ ุ เชิญชวนผูท้ มี่ สี ว่ นได้สว่ นเสีย หรือ ผู้เชีย่ วชาญในแวดวงการท่องเทีย่ ว อีก 2-3 ท่าน มาช่วยให้คะแนน จากนัน้ ลอง ท�ำออกมาเป็นกราฟแท่ง (ดังตัวอย่างในหน้า 29) คุณจะรูว้ า่ อะไรคือจุดอ่อน จุด แข็งของคุณ ทักษะใดที่ดีอยู่แล้ว ทักษะใดต้องการการเติมเต็ม ทั้งนี้ ให้ระลึก ไว้เสมอว่า คะแนนไม่ใช่ตัวตัดสินสุดท้าย เพราะไม่ว่าจะเป็นด้านความรู้ ด้าน การสร้างสรรค์ ด้านการจัดการ คุณสามารถพัฒนาเพิ่มพูนทักษะเหล่านั้น ได้อย่างไม่มีวันสิ้นสุด
แผนการพัฒนาตัวเอง เมื่อได้ค�ำตอบจากตารางหน้า 29 แล้ว ลองวิเคราะห์ตัวคุณหรือชุมชนของคุณ ตามแนวทางค�ำถามในกรอบด้านล่าง
แผนการ พัฒนาตัวเอง
เปลี่ยนบ้านปรีดาภิรมย์ ให้เป็นสถานที่บันทึกความทรงจ�ำเมื่อมาที่จังหวัดสุโขทัย (ต้องหัดวาดลายสังคโลกให้คล่อง บนวัสดุประเภทต่าง ๆ ด้วยอุปกรณ์ที่ต่างกัน)
เรื่องราว :
ความสนใจทีม่ ตี อ่ ลวดลายสังคโลก ล้วนได้มาจากสิง่ ของเครือ่ งใช้ทอี่ ยูใ่ นบ้าน เราจะน�ำ เรื่องของลวดลายสิ่งของแต่ละชิ้น มาเชื่อมโยงกับความผูกพันในครอบครัว ชุมชน และสะท้อนให้เห็นมรดกในท้องถิ่นสุโขทัย - หน้าบ้านค่อนข้างร้อน ควรหาร่มคันใหญ่มาตั้ง เพื่อท�ำให้เป็นจุดต้อนรับ และจัด สถานที่ในบ้านให้สวยงาม น่าเยี่ยมชม - จุดกลิ่นหอม ๆ ในบ้าน - ตั้งจุดบริการน�้ำดื่มจากสมุนไพร และผลไม้เชื่อม ซึ่งเป็นของที่ท�ำเองในบ้าน - เตรียมอุปกรณ์ในการวาดลวดลายบนเสื้อ - เตรียมแพทเทิร์นลายสังคโลก - สัง่ ท�ำโต๊ะกลางเพือ่ วางอุปกรณ์ และให้นงั่ สบาย ๆ ส�ำหรับกลุม่ 10 คน (ถ้าเกินค่อย จัดโต๊ะเสริม)
อรรถรส :
ลีลาในการน�ำเสนอ :
30
ถ้าเล่าเรือ่ งลายสังคโลกอาจจะไม่นา่ สนใจ เราจะท�ำให้แตกต่าง โดยให้แขกทีม่ าเยือน ได้หัดวาดลายด้วยตนเองบนเสื้อของเขา
คู่มือกระบวนการพัฒนาและยกระดับกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
ลองท�ำดู คุณท�ำได้ คุณพร้อมหรือยังที่จะตอบค�ำถามด้วยตัวคุณเอง แผนการพัฒนาตัวเอง (กิจกรรมทีค่ ณ ุ ต้องการท�ำ คุณมี ความรูม้ ากแค่ไหน ทัง้ เรือ่ งทักษะ ความรู้ ความช�ำนาญ / ถ้ายัง ไม่มที กั ษะ จะหาใครมาช่วย เช่น ศิลปิน ปราชญ์ในชุมชน)
เรื่องราว : (เรื่องที่จะเล่า มีอะไรน่าสนใจ เชือ่ มโยงกับกิจกรรมได้อย่างไร)
อรรถรส : (สัมผัสทัง้ 5 รูป รส กลิน่ เสียง บรรยากาศ สถานที่)
ลีลาในการน�ำเสนอ : (เทคนิคในการน�ำเสนอทีแ่ ตกต่าง)
คูม่ อื กระบวนการพัฒนาและยกระดับกิจกรรมท่องเทีย่ วเชิงสร้างสรรค์
31
วางล�ำดับในการ ท�ำแผนพัฒนา
จากแผนภาพด้านบน คุณจะเห็นได้วา่ การท่องเทีย่ วเชิงสร้างสรรค์ คือการสร้าง ประสบการณ์ร่วมกันของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้ง 3 ภาคส่วน ได้แก่ ชุมชน การตลาด และนั ก ท่ อ งเที่ ย ว ซึ่ ง ความคิ ด สร้ า งสรรค์ ที่ จ ะมาบรรจบกั น พอดี จะต้องเติมเต็มประสบการณ์ของทุกฝ่าย ทั้งนี้ ศักยภาพของชุมชนที่จะ ดึงความคิดสร้างสรรค์ของนักท่องเทีย่ วให้ออกมาปรากฎเป็นรูปธรรม เป็นสิง่ ที่ สามารถพัฒนาได้ แต่ตอ้ งผ่านด่านของความกังวลสงสัย คุณจะรูส้ กึ อย่างไร
หากได้ยินประโยคเหล่านี้
นักการตลาด / ฝ่ายประชาสัมพันธ์กิจกรรม
นักท่องเที่ยว ฉันก็ไม่ได้มีความคิดสร้างสรรค์ ขนาดนัน้ (แสดงความลังเล เมือ่ ถูกชักชวนให้ลงมือท�ำ)
กิ จ กรรมของที่ นี่ มี เ อกลั ก ษณ์ ก็จริง แต่ท่าทางจะยากไปหน่อย และใช้เวลาท�ำนาน เราจะสื่อสาร ออกไปอย่างไรดี ว่าแต่ใครกันล่ะ จะมาเที่ยวที่นี่
นักเล่าเรื่อง / ศิลปินสมัครเล่น (ที่มีทักษะในตัวเองระดับหนึ่ง) ฉั น หวั ง ว่ า จะเล่ า เรื่ อ งให้ ส นุ ก และท�ำให้นา่ สนใจกว่านี้ แต่กลับ ท�ำได้ไม่ค่อยดี ก็บอกตั้งแต่ต้น แล้ ว ไงว่ า ฉั น ไม่ ไ ด้ มี พ รสวรรค์ ในด้านนี้
เราจ�ำลอง “3 เหลี่ยม 3 มุมของการมีส่วนร่วม” ให้คุณลองพิจารณาดูว่าใครบ้างที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
กับกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ หากทั้ง 3 ฝ่ายเริ่มต้นด้วยความลังเล ไม่แน่ใจ ย่อมท�ำให้กิจกรรมไม่ลื่นไหล เท่าที่ควร แต่ถ้าคุณเข้าใจโจทย์ และสามารถปรับกิจกรรมให้เข้ากับเวลาและความสนใจของนักท่องเที่ยว เปรียบได้กับ การเสิร์ฟอาหาร บางคนทานแค่นิดหน่อยก็พออร่อยได้ คงต้องจัดกิจกรรมแบบกระชับ จบไว ประทับใจ ส่วนบางคน มีเวลาเหลือเฟือต้องการรับรู้ประสบการณ์อย่างดื่มด�่ำ ก็สามารถยกขันโตกส�ำรับใหญ่มาเสิร์ฟให้อิ่มหน�ำส�ำราญใจ
แต่จงจ�ำไว้ว่า ขึ้นชื่อว่าผู้บริโภคแล้วย่อมต้องมีสิทธิ์เป็นผู้เลือกเสมอ ไม่มีอะไรล้มเหลวไปกว่า การเสิร์ฟอาหารในเมนูที่เขาไม่ได้อยากรับประทาน เพราะคนปรุงอาหารไม่ผิด คนชิมก็ไม่ผิด ขึ้นอยู่กับผู้น�ำเสนอ ต่างหาก ว่าคุณจะมีวิธีการโน้มน้าวอย่างไร ให้ผู้ฟังตื่นตาตื่นใจไปกับทุกรายการ พร้อมรื่นรมย์เบิกบานไปกับทุกเมนูที่ น�ำมาเสิร์ฟในคอร์สนี้
32 32
กระบวนการพัฒฒนาและยกระดั นาและยกระดับบกิกิจจกรรมท่ กรรมท่อองเที งเที่ย่ยวเชิ วเชิงงสร้สร้าางสรรค์ งสรรค์ คูคู่ม่มือือกระบวนการพั
สามภาคส่วนความร่วมมือ ในการพัฒนากิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
Visitor creativity elem eat e cr f th 3S o
s
ent
elem
CT-Interaction
tive
rea
he c
of t
ive
3S
ent
s
The VICM Model
Community creativity
Marketing creativity
3 S หมายถึง Storytelling – Senses – Sophistication
คูม่ อื กระบวนการพัฒนาและยกระดับกิจกรรมท่องเทีย่ วเชิงสร้างสรรค์
33
#thebreakthrough 34
คู่มือกระบวนการพัฒนาและยกระดับกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
บทที่ 2
เปิดสมอง...ไขก๊อก ความคิดสร้างสรรค์
Source : Perfect Link Consulting Group : research supported by Thailand Research Fund คูม่ อื กระบวนการพัฒนาและยกระดับกิจกรรมท่องเทีย่ วเชิงสร้างสรรค์
35
พร้อมที่จะไปต่อกันแล้วหรือยัง กับการพัฒนากิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
จากบทที่ 1 คุ ณ ได้ เ รี ย นรู ้ ห ลั ก เกณฑ์ 10 ประการ ที่ จ ะยกระดั บ การท่ อ งเที่ ย วรู ป แบบอื่ น ๆ ไปสู ่ ก ารท่ อ งเที่ ย ว เชิงสร้างสรรค์ จากนั้นจึงลองให้คะแนนตัวเองโดยไม่ล�ำเอียง เพื่อประเมินว่าตัวคุณหรือชุมชนพร้อมหรือยัง ส�ำหรับ การเปิดบ้านต้อนรับนักท่องเที่ยวภายใต้แนวคิดของการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
ในบทนี้ เราจะพาคุณไปท�ำความรู้จักกับ “ตัวละครหลัก” หรือ “จุดขาย” ที่มีอยู่แล้ว เพื่อน�ำเสนอให้นักท่องเที่ยว ได้สัมผัสและเกิดความประทับใจ เราจะเรียนรู้ไปพร้อมกันว่า 3 ขั้นตอนหลัก ได้แก่ สืบค้น ร้อยเรียง ออกแบบ ส�ำคัญ อย่างไรในการยกระดับการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ออกแบบ รอยเรียง อัตลักษณชุมชน ธรรมชาติ / วิถีชีวิต / ศิลปะ
ออกแบบ สัมผัสทั้ง 5 / พื้นที่การเรียนรู / พื้นที่สรางสรรค
สืบคน เรื่องราวจากทุนทางวัฒนธรรม ในทองถิ่น
รอยเรียง หาแนวคิด / ระดมสมอง / สัมมนา
36
เรื่องเลา / วิธีการเลาเรื่อง
คู่มือกระบวนการพัฒนาและยกระดับกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
ออกแบบ ลีลาการนำเสนอ / สื่อประชาสัมพันธ / สื่อสารการตลาด
ใช้หลักเกณฑ์ 10 ประการ เพื่อประเมินตนเองอีกครั้ง ก่อนไปต่อ :
คิดถึงสถานการณ์ในปัจจุบัน
คิดถึงผู้มาเยือน
คุณมีอะไรที่จะน�ำเสนอให้กับนักท่องเที่ยว? ผู้มาเยือนจะมีส่วนร่วมกับสิ่งที่คุณน�ำเสนอได้อย่างไร? และคุณจะมีวิธีการอย่างไรในการสร้างการมีส่วนร่วมครั้งนี้? พวกเขาเป็นใคร? มากันคราวละกี่คน? อะไรน�ำพาผู้มาเยือนให้มาเที่ยวที่บ้าน หรือชุมชนของคุณ?
สืบค้น ต้นทางแห่งแรงบันดาลใจ เมื่อถามว่า บ้านเรามีอะไรที่เหมาะสม กับกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์? คุณอาจจะพบกับค�ำตอบ 2 แนวทางคือ 1) มีมากมายจนไม่รู้ว่าจะหยิบอะไรมาเป็นจุดเด่น 2) มองไม่เห็นเลยว่าจุดเด่นของเราคืออะไร อย่าเพิง่ ปักใจเชือ่ ในค�ำตอบของคุณ และอย่าปิดกัน้ ความคิดด้วยมุมมองทีว่ า่ ของดีในชุมชนต้องเป็นสินค้าหัตถกรรม หนึ่งต�ำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์เท่านั้น
คูม่ อื กระบวนการพัฒนาและยกระดับกิจกรรมท่องเทีย่ วเชิงสร้างสรรค์
37
แผนภาพต่อไปนีจ้ ะช่วยให้คณ ุ สืบค้นได้กว้างขึน้ ไปอีกว่า อะไรคือสินทรัพย์ทซี่ อ่ นอยูใ่ นหีบสมบัตขิ องชุมชน
Foodie Experience
Handicraft
กลุมอาหาร สรางสรรค
Artists/Local Artisans
กลุมงานหัตถกรรม ทำมือ
กลุมคนศิลป ศิลปนทองถิ่น
8 กิจกรรม
ศักยภาพสูง ระดับ 1 ศักยภาพสูง ระดับ 2
39 กิจกรรม
ศักยภาพสูง ระดับ 3
มือปรุง
มือทอ
มือวาด มือปน
มือแกะ
รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส โครงสร้างการวิเคราะห์กิจกรรม
38
คู่มือกระบวนการพัฒนาและยกระดับกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
จากแผนภาพจะเห็นได้ว่า กิจกรรม ท่ อ งเที่ ย วเชิ ง สร้ า งสรรค์ จะต้ อ ง ประกอบด้วยสัมผัสที่ 5 ได้แก่ รูป รส กลิ่ น เสี ย ง สั ม ผั ส และมี ก าร ลงมือท�ำ น�ำมาซึ่งกิจกรรมที่สามารถ แลกเปลีย่ นเรียนรูร้ ว่ มกันได้ หากมอง เป็ น กลุ ่ ม ผู ้ เ ชี่ ย วชาญระดั บ ชุ ม ชน อาจจะแบ่งเป็นกลุม่ อาหารสร้างสรรค์ กลุม่ งานหัตถกรรมท�ำมือ และกลุม่ คนศิลป์ หรือศิลปินในท้องถิ่น
คุณอาจจะมีค�ำถามต่อมาว่าอะไรคือ ตัวชี้วัด “ความคิดสร้างสรรค์” ขณะที่ ชุมชนมองว่ากิจกรรมหรือผลิตภัณฑ์ เป็นของดีเด่น แต่นักท่องเที่ยวกลับ ไม่รู้สึก “ว้าว” เมื่อแรกเห็น เพื่อให้ เข้ า ใจง่ า ยขึ้ น เรามาลองพิ จ ารณา ขอบเขตของ “ความคิดสร้างสรรค์” จาก อนุกรมวิธานของการออกแบบ สร้างสรรค์ ซึง่ ปีเตอร์ นิลสันส์ (Peter Nilsons) ได้น�ำเสนอไว้ในปี พ.ศ.2554
คูม่ อื กระบวนการพัฒนาและยกระดับกิจกรรมท่องเทีย่ วเชิงสร้างสรรค์
39
Taxonomy of Creative Design
Novelty in Form
Peter Nilsons,2011
Variation
Novelty in Content
ปีเตอร์ นิลสันส์ ได้จำ� แนกแยกชัน้ ของการออกแบบสร้างสรรค์เป็น 5 ระดับ ทัง้ นี้ เราไม่ได้ให้นำ�้ หนักว่า สิ่งใดมีคุณค่ามากกว่าสิ่งใด ขึ้นอยู่กับโอกาสและสถานการณ์ ตลอดจนการให้คุณค่าของผู้มาเยือน ความคิดสร้างสรรค์มีตั้งแต่การถ่ายทอดของเดิมให้เหมือนต้นฉบับ ราวกับออกมาจากพิมพ์เดียวกัน ซึ่ง เป็นประโยชน์ในด้านการอนุรักษ์ สืบสาน มรดกที่ก�ำลังจะสูญหายไป จนถึงการน�ำสิ่งที่ได้เห็น สัมผัส และ กระทบใจ มาสร้างสรรค์ผลงานชิน้ ใหม่ ทีแ่ ตกต่างจากต้นทางจนไม่เหลือเค้าโครงร่างเดิม ซึง่ แสดงให้เห็น ตัวตนที่มีเอกลักษณ์ของผู้สร้างสรรค์ผลงาน
“ ไม่มีการสร้างสรรค์ใดที่ไร้ราก สิ่งใหม่ล้วนแปรสภาพจากสิ่งเดิม ของที่เพิ่งเกิด จึงเป็นการผันแปรจากเดิมในอดีตกาล ” Carlos Fuentes นักประพันธ์นวนิยายชาวเม็กซิกัน
40
คู่มือกระบวนการพัฒนาและยกระดับกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
การออกแบบสร้างสรรค์ ล�ำดับขั้น มีดังนี้
5
การลอกเลียนแบบ (Imitation) การลอกเลี ย นแบบ คื อ บั น ไดขั้ น แรกของการออกแบบสร้ า งสรรค์ เป็ น การจ� ำ ลองชิ้ น งานต้ น ฉบั บ ให้ เ หมื อ น มากที่สุด หากใช้ในทางที่ผิด เท่ากับขโมยแนวความคิดสร้างสรรค์ของบุคคลอื่นมาใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตน ถ้าใช้ในทาง ที่ถูก จะเป็นกระบวนเก็บรักษาของเก่าดั้งเดิมให้ยังคงอยู่ และคงคุณค่าแม้กาลเวลาจะเปลี่ยนไป การลอกเลี ย นแบบใช่ ว ่ า จะเป็ น ทั ก ษะที่ ท� ำ ได้ ง ่ า ย ในศิ ล ปหั ต ถกรรมไทยทุ ก แขนงล้ ว นแล้ ว แต่ ต ้ อ งอาศั ย ทั ก ษะ ในการลอกเลียนแบบ เพื่อให้ได้ผลงานที่งดงามดังฝีมือชั้นครูผู้เป็นต้นแบบ ข้อดีของการลอกเลียนแบบ คือ เราจะได้ ช่างฝีมือดีจ�ำนวนมากในชุมชน แต่ข้อเสีย คือ ผู้ที่ลอกเลียนแบบได้เหมือนต้นฉบับ อาจไม่กล้าขยับตนไปค้นหา แรงบันดาลใจในลักษณะที่เป็นตัวของตัวเอง
ปรับไปมา ทีท่าว่าเป็นของใหม่ (Variation) การปรับเปลีย่ นไปมา ท�ำให้เรายกระดับการออกแบบสร้างสรรค์ขนึ้ ไปอีกขัน้ จากการลอกเลียนแบบ ไปสูก่ ารปรับเปลีย่ น งานเดิ ม ที่ มี อ ยู ่ ก ่ อ นหน้ า นี้ โดยยั ง คงรู ป แบบหรื อ เนื้ อ หาที่ ส� ำ คั ญ ไว้ เช่ น เพลงเก่ า ที่ บ รรเลงด้ ว ยวิ ธี ก ารใหม่ หรือเพิม่ เครือ่ งดนตรีชนิ้ ใหม่เข้าไป ท�ำให้ทว่ งท�ำนองเดิมฟังดูรว่ มสมัยยิง่ ขึน้ ข้อดี คือ ท�ำให้งานสร้างสรรค์ทตี่ กยุคหรือ พ้นสมัยไปแล้ว กลับมาอยูใ่ นความสนใจของคนอีกยุคหนึง่ ได้ดี ข้อเสีย คือ ถ้าท�ำได้ไม่ดไี ปกว่าต้นฉบับเดิม อาจจะไม่ได้รับ การยอมรับเท่าของเดิม
บวกรวมให้เกิดใหม่ (Combination) เป็ น การผสมผสานงานตั้ ง แต่ ส องชิ้ น ขึ้ น ไป ในลักษณะที่เ ปลี่ย นแปลงรูปแบบ หรือ เนื้อ หาของงานเดิมทั้ง หมด ยกตัวอย่างเช่น เราไม่สามารถพูดได้วา่ iPhone ไม่เหมือนโทรศัพท์ หรือไม่เหมือนคอมพิวเตอร์ แต่กม็ บี างส่วนทีเ่ หมือน กับทัง้ สองอย่าง นีค่ อื ตัวอย่างผลงานการบวกรวมของสองสิง่ ใหม่ ทีไ่ ม่สามารถระบุได้วา่ เป็นสิง่ ใด สิง่ หนึง่ เพียงอย่างเดียว
คูม่ อื กระบวนการพัฒนาและยกระดับกิจกรรมท่องเทีย่ วเชิงสร้างสรรค์
41
รื้อสร้างใหม่ ใช้ของเดิมเติมให้ใหม่ (Transformation) รื้ อ สร้ า งใหม่ เป็ น การสร้ า งผลงานใหม่ ทั้ ง ในด้ า นรู ป แบบและเนื้อ หา แต่ยัง คงไว้ซึ่ง สาระหลักของงานต้นฉบับ (งานเดิม) เป็นการแปลงสภาพของเก่าไปสู่ของใหม่โดยยังคงรักษาแนวคิดหลักของงานเดิม โดยอาจจะใช้ หรือไม่ได้ใช้ วัสดุเดิม การรื้อสร้างใหม่เป็นพื้นฐานในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการท�ำงานอย่างสร้างสรรค์
สร้างใหม่ ต่อเติม เพิม่ จนไม่เห็นรอยเดิม (Original Creation) สุดท้ายการสร้างใหม่ คือ การสร้างสิ่งที่ไม่รู้จักก่อนหน้านี้ ซึ่งหลายคนอาจจะแย้งว่าสิ่งที่ว่าใหม่นั้น เป็นเพียงผล จากการน�ำรูปแบบอืน่ ๆ มารวมกันเพือ่ สร้างสรรค์งานใหม่เท่านัน้ แต่ผลลัพธ์คอื ความแปลกใหม่ ล�ำ้ ยุค โดยทีไ่ ม่สามารถ จดจ�ำหรือระลึกเทียบกับชิ้นงานเดิมก่อนหน้าได้ งานสร้างสรรค์ในประเภทนี้ไม่ว่าจะเป็นงานต้นฉบับหรือไม่ มักจะมี ลักษณะทีไ่ ม่เคยเห็นหรือไม่เคยได้ยนิ มาก่อน ตัวอย่างเช่น เมือ่ กุสตาฟ ไอเฟล (Gustave Eiffel) พัฒนาแผนงานส�ำหรับ หอคอยในกรุงปารีส ซึ่งได้จินตนาการโครงสร้างด้วยวิธีใหม่ทั้งหมด ค� ำ ถามที่ ว ่ า ชุ ม ชนมี อ ะไรเป็ น จุ ด เด่ น พอที่ จ ะท� ำ กิ จ กรรมท่ อ งเที่ ย วเชิ ง สร้ า งสรรค์ ให้ ล องมองหาช่ า งฝี มื อ ครูภมู ปิ ญ ั ญา ศิลปินผูช้ ำ� นาญ หรือผลงานสร้างสรรค์ทจี่ ะยกระดับไปสูช่ นิ้ งานศิลปะได้ อาทิ เครือ่ งจักสาน เครือ่ งทอง เครื่ อ งเงิ น เครื่ อ งโลหะ เครื่ อ งปั ้ น ดิ น เผา-เซรามิ ก เครื่อ งหิน เครื่อ งไม้ เครื่อ งรัก เครื่อ งหนัง เครื่อ งกระดาษ เครื่องแก้ว ผืนผ้าและการทอ ตลอดจนศาสตร์และศิลป์แขนงต่างๆ ได้แก่ นาฏศิลป์ ดนตรีไทย ช่างก่อเรือนเครื่องผูก แพทย์ทางเลือก หมอแผนโบราณ หมอสมุนไพร กีฬาพืน้ บ้าน ศิลปะการป้องกันตัวและศาสตราวุธโบราณ ผูเ้ ชีย่ วชาญภาษาถิน่ และภาษาพื้นเมือง ฯลฯ เหล่านี้คือต้นทางของกิจกรรมสร้างสรรค์
• Arts and crafts • Design • Architecture • Gastronomy • Health and healing • Languages • Spirituality • Nature • Sports
42
คู่มือกระบวนการพัฒนาและยกระดับกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
ตัวอย่างกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของ อพท.
บันทึกความทรงจ�ำในสุโขทัย ผ่านการวาดลวดลายสังคโลก และสร้างสรรค์ลายเส้นบนเสื้อที่วาด ด้วยมือคุณ ณ บ้านปรีดาภิรมย์ จังหวัดสุโขทัย
สานไม้ไผ่ สานชีวิต เรียนรู้เรื่องราวการก่อร่าง สร้างชุมชนจากความเพียรและความมหัศจรรย์ ของไม้ไผ่ ที่บ้านต้าม จังหวัดน่าน
เรียนรู้เรื่องราวการทอผ้าซิ่นตีนจก อันเป็นมรดกแห่งชุมชนหาดเสี้ยวและเรื่องเล่าในวิถีไทยพวน ที่ก�ำลังจะสูญหาย พร้อมสร้างสรรค์ชิ้นงานที่ตอบโจทย์แรงบันดาลใจเฉพาะคุณ ที่สุนทรีผ้าไทย จังหวัดสุโขทัย
เรียนร�ำไทยผ่านความงดงามของนาฏศิลป์ไทย เรียนรู้ภาษาท่าทางที่บ่งบอกความรู้สึก และเป็น บันทึกเล่มใหญ่แห่งมหรสพไทยที่สืบสานมานานหลายศตวรรษ ณ วิทยาลัยนาฏศิลปสุโขทัย คูม่ อื กระบวนการพัฒนาและยกระดับกิจกรรมท่องเทีย่ วเชิงสร้างสรรค์
43
ร้อยเรียง: เอกลักษณ์ ชีวิต ชุมชน สู่แนวคิดของ การท่องเที่ยว
คุ ณ มี ลิ ส ต์ ร ายชื่ อ ผู ้ มี ฝ ี มื อ มากมาย พร้อมเรือ่ งราว ประวัติ ต�ำนาน เบือ้ งหลัง ทีม่ า จนเขียนบันทึกชุมชนได้เล่มใหญ่ ปั ญ หาต่ อ มาก็ คื อ เราจะน� ำ เรื่ อ งดี เรื่องเด่น ทั้งหมดนี้ มาร้อยเรียงให้ เป็ น แนวคิ ด สร้ า งสรรค์ ที่ น ่ า สนใจ ได้อย่างไร ลองติดตามค�ำถามดังต่อไป นี้ แล้วค่อย ๆ ตอบไปทีละข้อ
ฉันจะตั้งชื่อ หีบสมบัติ ที่ซุกซ่อน เอกลั ก ษณ์ ของชุมชนนี้ ว่าอย่างไร?
เรื่ อ งเล่ า อั น มี ค ่ า มั ก จะมี ที่ ม าจาก ประวั ติ ศ าสตร์ ข องชุ ม ชนนั่ น เอง ลองเปิ ด หี บ สมบัติที่อัดแน่นไปด้ ว ย เรือ่ งราว แล้วหยิบมาพิจารณาทีละชิน้ ว่ามรดกในชุมชนเหล่านีพ้ ดู เรือ่ งอะไรบ้าง ถ้ า เปลี่ ย นเรื่ อ งที่ คุ ณ อยากจะเล่ า ให้ เ ป็ น บทหนั ง สักเรื่อ ง หนัง เรื่อ งนี้ มี เ ค้ า โครงเรื่ อ ง (plot) อย่ า งไร เค้าโครงเรื่อง (plot) ดังกล่าวนีอ้ าจ จะมาจากประวัติของที่บ้าน ประวัติ ของชุมชน เรือ่ งเล่าของสถานทีส่ ำ� คัญ อุ ต สาหกรรมในครัว เรือ น ประเพณี ท้องถิ่น จุดท่องเที่ยวตามธรรมชาติ หรื อ อะไรก็ ต ามที่ท�ำให้ชุมชนแห่ง นี้ มีเอกลักษณ์ จงหยิบสิ่งนั้นขึ้นมา
44
คู่มือกระบวนการพัฒนาและยกระดับกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
บันทึกของคุณ : จากเนื้อหาสู่แนวคิด
ประวัติ (เรื่องเล่า)
เค้าโครงเรื่องหลัก
ตัวละคร (ศิลปินท้องถิ่น หรือนักเล่าเรื่องในชุมชน)
เค้าโครงเรื่องหลัก
สถานที่ หรืออาคาร
เค้าโครงเรื่องหลัก
อุตสาหกรรม (เศรษฐกิจชุมชน การงาน อาชีพ)
เค้าโครงเรื่องหลัก
คูม่ อื กระบวนการพัฒนาและยกระดับกิจกรรมท่องเทีย่ วเชิงสร้างสรรค์
45
ควรหยิบสมบัติชิ้นใด มาพัฒนาต่อ มีหลักในการคัดสรรอย่างไร? ลองกลับไปพิจารณาหลักเกณฑ์ 10 ประการอีกครั้ง แล้ว ดูว่าบ้านไหนหรือกิจกรรมใดในชุมชนที่ได้คะแนนมากกว่า เพือ่ น ถ้าเปรียบเรือ่ งราวของสถานทีแ่ ห่งนัน้ หรือกิจกรรม เหล่านั้นเป็นบทหนัง เค้าโครงเรื่องใดที่โดนใจผู้ชม ลอง หยิบขึ้นมา 3 เรื่องก่อน แล้วลองเชื่อมโยงเค้าโครงเรื่อง กับตัวละครหลักแล้วกลับไปหาธี ม หรื อ แก่นของเรื่อง ถ้ า แก่ น เรื่ อ งเป็ น ความกล้ า หาญ ฟั ง แล้ ว จะรู ้ สึ ก ฮึ ก เหิ ม ถ้าแก่นเรือ่ งเป็นการฝ่าฟันอุปสรรค ฟังแล้วก็จะรูส้ กึ มีกำ� ลังใจ ถ้าแก่นเรือ่ งเป็นความรัก ฟังแล้วจะรูส้ กึ อบอวลและอิม่ เอม หากเรื่องใดมีความสมบูรณ์ในทุกองค์ประกอบ ตั้งแต่ แก่นเรื่อง เค้าโครงเรื่อง และตัวละคร ก็เตรียมเปิดฉาก แสดงเรื่องนั้นก่อนเลย
46
คู่มือกระบวนการพัฒนาและยกระดับกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
ฉันจะท�ำเรื่องนี้โดยล�ำพัง ได้หรือไม่? นีค่ อื ช่วงเวลาทีค่ ณ ุ ปล่อยของได้อย่างเต็มที่ จงเปิดโอกาส ให้ความคิดสร้างสรรค์รินไหลพรั่งพรู ลองออกไปยืนมอง ชุมชนผ่านสายตาผู้เชี่ยวชาญจากสาขาอาชีพต่าง ๆ แต่ถ้า ยังมองไม่เห็นแนวทางในการเชือ่ มโยง ร้อยเรียง ขอเชิญชวน ให้ คุ ณ หาที่ ป รึ ก ษา มาร่ ว มกั น สร้ า งสรรค์ กิ จ กรรม ให้มีความน่าสนใจ โดยเฉพาะในช่วงเวลาแห่งการฟูมฟัก และทดลองตลาดนั้นส�ำคัญยิ่ง ไม่จ�ำกัดว่าคุณต้องขอ ค�ำแนะน�ำจากผู้ท่ีท�ำงานในสายอาชีพท่องเที่ยวเสมอไป สายอาชีพอืน่ ๆ เช่น เชฟ สถาปนิก มัณฑณากร นักโฆษณา นักการตลาด ฯลฯ ก็อาจจะให้แง่มมุ สร้างสรรค์กจิ กรรมใหม่ ที่น่าสนใจจนคุณคิดไม่ถึงเลยทีเดียว
จงจ�ำไว้ว่า :
การท�ำเรื่องท่องเที่ยวให้ประสบความส�ำเร็จต้องอาศัย ความร่วมมือจากหลายภาคส่วน จงมองหาคณะทีป่ รึกษาทีม่ ี ทักษะ และมีประสบการณ์มาช่วยคุณขยายผลแห่งความส�ำเร็จ ทีป่ รึกษามีความส�ำคัญ จงเลือกอย่างมีกลยุทธ์ และเชิญให้ ถูกจังหวะ ถ้าก้าวแรกสามารถออกแบบกิจกรรมการท่องเทีย่ ว เชิ ง สร้ า งสรรค์ ใ ห้ ต อบโจทย์ ก ารตลาดได้ ก็ นั บ ว่ า มี ชั ย ไปกว่าครึ่ง คูม่ อื กระบวนการพัฒนาและยกระดับกิจกรรมท่องเทีย่ วเชิงสร้างสรรค์
47
DASTA Creative Tourism Brain Bank
การรวมตัวครั้งส�ำคัญของนักคิด นักสร้างสรรค์ของประเทศเพื่อพัฒนายกระดับการท่องเที่ยว เชิงสร้างสรรค์ นั ก ออกแบบแฟชั่ น สถาปนิ ก นั ก ออกแบบสไตล์ แ ละแนวคิ ด ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ผูส้ ร้างสรรค์บริการ เชฟศิลปิน นักเขียน บล็อกเกอร์ ธุรกิจเพือ่ สังคม ทีป่ รึกษา และนักวิจารณ์ด้าน ไลฟ์สไตล์ นักการตลาดและนักวางแผนการท่องเที่ยว การรวมตั ว ระหว่ า งผู ้ เ ชี่ ย วชาญในสาขาต่ า ง ๆ ซึ่ ง จะช่ ว ยคุณ ค้นหาวิธีการ และแนวทางในการน�ำเสนอเรือ่ งเล่าของชุมชน ศิลปวัฒนธรรม และแง่งามของ ความเป็นมนุษย์ได้อย่างน่าตื่นเต้น พวกเขาจะน�ำเรื่องราวของคุณโลดแล่นไป อย่างมีชวี ติ ชีวา ผ่านการออกแบบประสบการณ์ และกระบวนการสัมมนาเชิงปฏิบตั ิ
48
คู่มือกระบวนการพัฒนาและยกระดับกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
คูม่ อื กระบวนการพัฒนาและยกระดับกิจกรรมท่องเทีย่ วเชิงสร้างสรรค์
49
พิจารณาหัวข้อต่อไปนี้อีกครั้ง เพือ่ ทบทวนทางเลือกของคุณ ระดับของความเป็นต้นฉบับ ของแท้ เอกลักษณ์เฉพาะตน ระดับของคุณภาพ ความไม่ธรรมดา / ความดึงดูดใจ การศึกษา การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ความบันเทิง ความสนุกสนาน ตื่นเต้น ผจญภัย ความเชื่อมโยง ความสัมพันธ์ (ตามกรอบหรือห้วงเวลา) การสัญจรไปมาหากัน (แหล่งท่องเที่ยวที่อยู่ใกล้เคียงกัน) มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก (สถานที่ โครงสร้าง หรือบุคคลที่มีชื่อเสียง ฯลฯ) ความสัมพันธ์กับงานประจ�ำปี (เทศกาล ฤดูเก็บเกี่ยว การโยกย้ายถิ่นฐาน แหล่งท่องเที่ยวตามฤดูกาล ฯลฯ) ความสะดวกและปลอดภัยของผู้มาเยือน ความสมดุลระหว่างการแบ่งปันทรัพยากรให้กับผู้เยี่ยมชมและการเก็บรักษาเอาไว้ให้ชุมชน ความสามารถในการรักษาทรัพยากรให้อยู่ในสภาพที่ดีได้ตลอดระยะเวลาอันยาวนาน วิธีการที่เหมาะสมกับค่านิยมของชุมชน ความสามารถในการหาแหล่งเงินทุนมาสนับสนุน
50
คู่มือกระบวนการพัฒนาและยกระดับกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
ความคิดสร้างสรรค์ ในฐานะของกิจกรรม: การมีส่วนร่วมประสบการณ์แห่งการมีปฏิสัมพันธ์ ซึ่งเกิดขึ้นจนกลายเป็นพิธีกรรม
กรณีศึกษา
การท่ อ งเที่ ย วเชิ ง สร้ า งสรรค์ เ ป็ น กิ จ กรรมที่ ต ้ อ งอาศั ย การมี ส ่ ว นร่ ว ม อย่ า งสูงจากนักท่องเที่ยวและคนในท้องถิ่น เช่น การเรียนเป่าแก้วที่ริเวียร่า การเรียนเต้นร�ำพืน้ เมืองในบาร์เซโลนา การเรียนท�ำครัวซองต์ในปารีส และอีก หลากหลายกิจกรรมทีเ่ ปลีย่ นคนท้องถิน่ ให้เป็นครู เปลีย่ นนักท่องเทีย่ วให้เป็น นักเรียน คุณจะพบห้องเรียนอย่างไม่เป็นทางการเหล่านีเ้ ป็นส่วนหนึง่ ของชีวติ ประจ�ำวัน ในจุดหมายท่องเที่ยวส�ำคัญต่าง ๆ
Vacation with Artists
ได้รวบรวมกิจกรรมท่องเทีย่ ว เชิงสร้างสรรค์จาก 17 ประเทศ มาเป็ น แนวทางให้ กั บ คุ ณ ลองคลิกเข้าไปดูรายละเอียด ได้ที่ https://vawaa.com/
อนาสตาเซีย เป็นศิลปินอิสระที่อาศัยอยู่บนเกาะมายอร์การ์ ประเทศสเปน เธอเปิดบ้านเป็นโฮม สเตย์ และสอน การท�ำเซรามิกในสตูดิโอที่แวดล้อมไปด้วยต้นส้มและป่าสน เหมาะส�ำหรับนักท่องเที่ยวที่แสวงหาประสบการณ์ พิเศษไม่เหมือนใคร และยินดีจะจ่าย
คูม่ อื กระบวนการพัฒนาและยกระดับกิจกรรมท่องเทีย่ วเชิงสร้างสรรค์
51
ซิมเป็นทายาทของร้านท�ำเครื่องหวายบนเกาะปีนัง เขาได้ตระหนักว่าความรู้อันเป็นภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ คือสิ่งที่มีคุณค่าน่าส่งต่อ จึงเปิดสอนการสานเครื่องหวายและไม้ไผ่ ส�ำหรับนักท่องเที่ยวที่อยากค้นหาเสน่ห์ ที่แตกต่างของเกาะปีนัง ประเทศมาเลเซีย
52
คู่มือกระบวนการพัฒนาและยกระดับกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
อินเนส คือผูเ้ ชีย่ วชาญด้านมันดาลา อันเป็นศาสตร์โบราณทีช่ ว่ ยสร้างสมดุลของร่างกายและจิตใจ เธอน�ำมันดาลามา เป็นแนวทางในการบ�ำบัดสุขภาพและผ่อนคลาย พร้อมกระตุน้ พลังความคิดสร้างสรรค์ ทีน่ จี่ งึ เป็นเสน่หท์ แี่ ตกต่าง ส�ำหรับผู้มาเยือนเมืองลิสบอน ประเทศโปรตุเกส
คูม่ อื กระบวนการพัฒนาและยกระดับกิจกรรมท่องเทีย่ วเชิงสร้างสรรค์
53
หากคุณก�ำลังมองหาแรงบันดาลใจ ส�ำหรับการเริ่มต้นกิจกรรมท่องเที่ยว เชิงสร้างสรรค์ ลองเข้ามาที่เว็บไซต์ @ https://www.creativelena.com/ en/my-book เอเลนา พาสชินเจอร์ หนึ่งในคณะ ผู ้ เ ขี ย นหนั ง สื อ เล่ ม นี้ ได้ ร วบรวม ตั ว อย่ า งกิ จ กรรมที่ น ่ า สนใจ และ แนวคิดทีช่ ว่ ยให้คณ ุ รูว้ า่ การท่องเทีย่ ว เชิงสร้างสรรค์ไม่ยากเกินไป อย่างเช่น การร้อยมาลัย หรือการแกะสลักผลไม้ ฯลฯ ก็สามารถน�ำมาเป็นกิจกรรมที่ น่าสนใจได้
54
คู่มือกระบวนการพัฒนาและยกระดับกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
ออกแบบ – เล่าเรื่อง/ เติมแต่งสัมผัสทั้ง 5/ ลีลาการน�ำเสนอที่เหนือชั้น ตอนนี้ คุ ณ ควรจะมี ป ระโยคเด็ ด สั ก 2-3 ประโยค ที่ โ ฆษณาจุ ด ขายของ กิจกรรม หรือการท่องเทีย่ วเชิงสร้างสรรค์ของคุณ ให้โดนใจ ให้คณ ุ ลองนึกดูว่า ใครกันคือแขกคนส�ำคัญทีอ่ ยากให้มาเยือน กลุม่ เป้าหมายหลักเป็นใคร กลุม่ เป้า หมายรองเป็นใคร นึกถึงรายละเอียดให้มากที่สุดเท่าที่คุณจะนึกได้ (อายุ เพศ การศึกษา อาชีพ ความชอบ การแต่งตัว รสนิยม ความสนใจ รายได้ งานอดิเรก โสด มีครอบครัว มีลูก ฯลฯ)
คิดลงไปให้ละเอียดทีส่ ดุ เท่าทีค่ ณ ุ จะจินตนาการได้ แล้วมาดูกนั ว่า ผูม้ าเยือนตัวจริ ง มี อ ะไรใกล้ เ คี ย งกั บ ที่ คุ ณ คิ ด ไว้ มากน้อยแค่ไหน
คูม่ อื กระบวนการพัฒนาและยกระดับกิจกรรมท่องเทีย่ วเชิงสร้างสรรค์
55
สร้างนักท่องเที่ยวในจินตนาการ ใครคือกลุม่ เป้าหมายหลักของคุณ? ชื่อ.................................................................................................................... อายุ.................................................................................................................. เพศ................................................................................................................... เชื้อชาติ / สัญชาติ................................................................................................ เขาเดินทางท่องเที่ยวกับใคร (เพื่อนร่วมทาง)............................................................. ลองจินตนาการถึงรูปแบบการใช้ชีวิตของเขา : งานอดิเรก.......................................................................................................... เพลงโปรด.......................................................................................................... ชอบค้นหาข้อมูลท่องเที่ยวจากแหล่งใด..................................................................... นี่คือหน้าตาของนักท่องเที่ยวในจินตนาการ : (วาดรูปของเขาออกมา)
56
คู่มือกระบวนการพัฒนาและยกระดับกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
การใช้ ชี วิ ต แบบคนท้ อ งถิ่ น ก� ำ ลั ง เป็ น กระแสที่ ไ ด้ รั บ ความนิ ย มมากขึ้ น ในหมู่นักท่องเที่ยวที่ต้องการเข้าถึงประสบการณ์ใหม่ในทุกมุมโลก ลองมาดู ตัวอย่างนักท่องเที่ยวที่น่าสนใจ เพื่อเป็นแนวทางในการหากลุ่มเป้าหมาย ส�ำหรับคุณ กลุ่มพ่อแม่หนุ่มสาว เป็นกลุม่ ครอบครัวทีม่ เี วลาน้อย อาศัย ช่วงปิดเทอมพาลูกไปเที่ยว ร้อยละ 68 อยู่ในเมืองใหญ่ ร้อยละ 25 สนใจ หาข้อมูลท่องเที่ยวจากอินเตอร์เน็ต แต่มแี นวโน้มทีจ่ ะรับฟังค�ำแนะน�ำจาก ผูม้ ปี ระสบการณ์ตรง หรือบุคคลทีเ่ ขา เชื่อถือ ดังนั้น การซื้อทัวร์จากบริษัท ที่ มี ชื่ อ เสี ย ง หรื อ บริ ษั ท ที่ คุ ้ น เคย เป็นอย่างดี ยังคงได้รับความสนใจ กลุ่มคนรุ่นใหม่ วัยท�ำงาน หนุ่มสาวพลังงานสูงกลุ่มนี้ นิยมหา วันหยุดยาวไปเที่ยวไกล ๆ อย่างน้อย ปีละครั้ง ร้อยละ 67 นิยมหาข้อมูล จากอินเตอร์เน็ต ร้อยละ 70 ชอบไปงาน คอนเสิ ร ์ ต และอี เ วนท์ ที่ มี ด นตรี ร้อยละ 65 ชอบไปร่วมกิจกรรมเกีย่ วกับ กีฬา เช่น งานปัน่ จักรยาน หรืองานวิง่ ในจุดหมายที่สวยงาม กลุม่ นักท่องเทีย่ วเพือ่ หาประสบการณ์ แม้ว่าร้อยละ 70 ของนักท่องเที่ยว กลุม่ นีจ้ ะเป็นพนักงานองค์กรทีท่ ำ� งาน เต็มเวลา และอาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ แต่พวกเขาก็ไม่ให้ค�ำว่างานมาปิดกั้น โอกาสในการท่องเที่ยว ยิ่งเที่ยวบ่อย ยิง่ มีประสบการณ์มากขึน้ ในการหาดีล พิเศษจากช่องทางอินเตอร์เน็ต ที่ช่วย ให้เที่ยวได้อย่างประหยัด ข้อมูลจาก https://www.marketing-interactive.com/brands-are-you-targeting-these-3-travel-personas/ คูม่ อื กระบวนการพัฒนาและยกระดับกิจกรรมท่องเทีย่ วเชิงสร้างสรรค์
57
ออกแบบการไหลลื่นของกิจกรรม หัวใจของความสนุกอยู่ตรงนี้!!! ลองถอยกลั บ ไปเป็ น เด็ ก อี ก ครั้ ง เวลาเข้ า ค่ า ยเยาวชน หากต้ อ งยื น ฟั ง การอบรมอยู ่ ที่ จุ ด ใดจุ ด หนึ่ ง เกิ น 5 นาที เป็นต้องอยากหลับ (ถ้าไม่สนุก) แต่ถา้ คุณรูว้ า่ มีฐานต่าง ๆ รออยู่ พร้อมกิจกรรมทีค่ ณ ุ ไม่เคยท�ำ คุณจะตืน่ เต้นด้วยความ กระตือรือร้น สนใจ ใคร่รู้ และอยากค้นหา ในฐานะเจ้าบ้านหรือเจ้าของพืน้ ทีก่ จิ กรรม คุณจะท�ำให้ผมู้ าเยือนรูส้ กึ สนใจตลอดเวลาได้อย่างไร คุณสามารถสร้างสรรค์ กิจกรรมในพื้นที่ของคุณ โดยแบ่งออกเป็นฐานย่อย ๆ ได้หรือไม่ คุณออกแบบกระบวนการเรียนรู้ให้นักท่องเที่ยว ได้มีส่วนร่วมกับกิจกรรมในแต่ละขั้นตอน ทั้งที่จับต้องและท�ำตามได้ ไปจนถึงกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้แบ่งปัน ประสบการณ์ ความรู้ ทักษะ ที่ต้องใช้ทั้งตาดู หูฟัง ได้อย่างไร ยิ่งนักท่องเที่ยวได้มีส่วนร่วมกิจกรรมกับเจ้าบ้านมากขึ้นเท่าไร ความแปลกหน้าระหว่างกันจะเริ่มมลายหายไป เปิดพื้นที่แห่งการมีปฏิสัมพันธ์ระดับใหม่ ที่มีความเคารพและให้เกียรติซึ่งกันและกัน ในสภาวะนั้นเอง จะเริ่มไขก๊อก แห่งปฏิกิริยาการเกิดความคิดสร้างสรรค์ออกมา คุณสามารถสร้างเวทมนต์ในการเชือ่ มโยง แบบนี้ได้ เพียงเนรมิตสถานที่ของคุณ ให้ เ ป็ น ดุ จ ปราสาทในเทพนิ ย ายที่ นักท่องเที่ยวจะกลายร่างเป็นเด็กน้อย ที่ ส นุ ก สนานกั บ การกระหาย ใคร่ รู ้ ล ง มื อ ท� ำ แ ล ะ บ ร ร ลุ ห ้ ว ง เ ว ล า ที่ ต้องร้องว่า...
“เห็นมั้ย...ฉันก็ท�ำได้”
58
คู่มือกระบวนการพัฒนาและยกระดับกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
นี่คือเวทีของคุณ
ตารางที่ว่างอยู่นี้ เปิดโอกาสให้คุณออกแบบกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ในสถานทีข่ องคุณ โดยก�ำหนดพืน้ ทีต่ อ้ นรับ และพืน้ ทีท่ ำ� กิจกรรม หากมีขอ้ สงสัย และยังไม่พร้อมที่จะลงมือวาด ลองดูตัวอย่างเส้นทางกิจกรรมท่องเที่ยว เชิงสร้างสรรค์ ที่เป็นกรณีศึกษาของ อพท.
คูม่ อื กระบวนการพัฒนาและยกระดับกิจกรรมท่องเทีย่ วเชิงสร้างสรรค์
59
ตัวอย่างแผนผังกิจกรรม ท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ การท�ำพระพิมพ์ บ้านพระพิมพ์ ลักษมณศิลป์ ต.เมืองเก่า อ.เมืองสุโขทัย จ.สุโขทัย
เจ้าของกิจกรรม และชุดอุปกรณ์ คุณณรงค์ชัย โตอินทร์ (พี่กบ) 60
คู่มือกระบวนการพัฒนาและยกระดับกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
การเขียนลวดลาย สังคโลกลงผืนผ้า บ้านปรีดาภิรมย์ ต.เมืองเก่า อ.เมืองสุโขทัย จ.สุโขทัย
เจ้าของกิจกรรม และชุดอุปกรณ์ คุณธารารัตน์ ปรีดาภิรมย์ (ฝน) คูม่ อื กระบวนการพัฒนาและยกระดับกิจกรรมท่องเทีย่ วเชิงสร้างสรรค์
61
ท�ำโคมมะเต้า บ้านม่วงตึ๊ด ต.ภูเพียง อ.ภูเพียง จ.น่าน
เจ้าของกิจกรรม และชุดอุปกรณ์ คุณถิรนันท์ โดยดี หัวหน้ากลุ่มโคมค�ำ บ้านม่วงตึ๊ด 62
คู่มือกระบวนการพัฒนาและยกระดับกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
เรียนรู้การจักสาน บ้านต้าม ต.บ่อสวก อ.เมืองน่าน จ.น่าน
เจ้าของกิจกรรม และชุดอุปกรณ์ คุณศรีพรรณ กันตา
เมือ่ ได้ภาพผังกิจกรรม เราสามารถเริม่ วิเคราะห์ให้เห็นแนวทางในการปรับปรุง ล� ำ ดั บ กิ จ กรรมให้ เ กิ ด ความรู ้ สึ ก ร่ ว มที่ ส� ำ คั ญ ความไหลลื่ น ของกิ จ กรรม ขึ้นอยู่กับ เราอยากน�ำเสนอให้ได้อรรถรสเช่นใด แล้วค่อย ๆ ปรุงเรื่องเล่า อารมณ์ และลีลาการน�ำเสนอด้วยกัน ต้องทดลองท�ำ และรับฟังความคิดเห็น รื้อสร้างใหม่ อย่างนักสร้างสรรค์ มาทดลองท�ำกันในบทต่อไป คูม่ อื กระบวนการพัฒนาและยกระดับกิจกรรมท่องเทีย่ วเชิงสร้างสรรค์
63
64
คู่มือกระบวนการพัฒนาและยกระดับกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
บทที่ 3 เรื่องเล่า อรรถรส ลีลาน�ำเสนอ
คูม่ อื กระบวนการพัฒนาและยกระดับกิจกรรมท่องเทีย่ วเชิงสร้างสรรค์
65
เวทีพร้อม...คุณสามารถออกแบบกิจกรรมท่องเที่ยว เชิงสร้างสรรค์ได้แล้ว ในขั้นตอนนี้เราจะหยิบยืมศาสตร์ ของละครเวที มาสร้ า งประสบการณ์ ที่ จ ะตรึ ง ผู ้ ช ม ให้ อ ยู ่ กั บ คุ ณ และมี ส ่ ว นร่ ว มอย่างเต็มที่ หากเปรียบกับ การแสดงละครเวที สถานทีจ่ ดั กิจกรรมก็คอื “เวที” ศิลปิน ผูเ้ ล่าเรือ่ งและนักท่องเทีย่ วคือ “นักแสดง” เรือ่ งราวและ กิจกรรมที่ด�ำเนินไปคือ “บทละคร” ผู้มีส่วนร่วมสนับสนุน กิจกรรมคือ “ทีมงานเบื้องหลัง” ส่วนคุณคือ “ผู้ก�ำกับ การแสดง” ซึ่งสามารถแจกบทให้นักท่องเที่ยวและศิลปิน ท้องถิ่น ได้ร่วมเป็นผู้แสดงบนเวทีเดียวกัน ในนาทีนั้นเอง ที่การมีปฏิสัมพันธ์จะน�ำไปสู่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ในล�ำดับต่อไป
แล้วใครคือคนเขียนบท? บทละครมาจากไหน? ลองพิจารณาตารางต่อไปนี้ นี่คือเครื่องมือชิ้นส�ำคัญที่ช่วยให้ การสื่อสารเรื่องราวในชุมชนของคุณมีสีสัน และลื่นไหลยิ่งขึ้นกว่าเดิม
แบบฟอร์มการท�ำเรื่องเล่า ตัวอย่างของการร้อยเรียงเรื่องเล่าให้เข้ากับบรรยากาศ ซึ่งจะน�ำไปสู่การน�ำเสนอที่มีลีลาในล�ำดับต่อไป
ฉาก / ชื่อซีน แสงโคมแห่งชีวิต
66
สถานที่ (ใส่รูปประกอบฉากนี้)
บทพูด (หรือเสียง หรือเพลง)
อุปกรณ์เสริมที่ใช้ ประกอบการแสดง (ใส่รูป Props)
สวนเล็ก ๆ หน้าบ้าน มีเก้าอี้ วางใต้รม่ ไม้เขียวขจี ชวนให้ เย็นตา เย็นใจ
เล่ า เรื่ อ งธี ม ของกิ จ กรรม เกี่ ย วกั บ โคมมะเต้ า ซึ่ ง มี ความส� ำ คั ญ ในฐานะที่ เ ป็ น พุทธบูชามาแต่ครั้งโบราณ การท�ำโคมต้องอาศัยความ วิรยิ ะ อุตสาหะ และเป็นการฝึก สมาธิ
-เสิร์ฟน�้ำสมุนไพรที่เป็น เอกลักษณ์ของชุมชน - แจกไม้ไผ่ที่เหลาเป็น แท่งให้ผเู้ ข้าร่วมกิจกรรม ได้สัมผัสความกลมกลึง จากฝีมือการเหลาอย่าง ประณีตจากกลุม่ ผูส้ งู อายุ
คู่มือกระบวนการพัฒนาและยกระดับกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
คุณสามารถใช้ตารางนี้ ออกแบบกิจกรรม ของคุณตั้งแต่จุดเริ่มต้นจนจบกิ จ กรรม ฉาก / ชื่อซีน
สถานที่ (ใส่รูปประกอบฉากนี้)
บทพูด (หรือเสียง หรือเพลง)
อุปกรณ์เสริมที่ใช้ ประกอบการแสดง (ใส่รูป Props)
คูม่ อื กระบวนการพัฒนาและยกระดับกิจกรรมท่องเทีย่ วเชิงสร้างสรรค์
67
Storytelling การเล่าเรื่อง อย่างมีศิลปะ
“การตี ความ”
หมายถึงกระบวนการมองหาความเชื่อมโยงระหว่าง แก่นเรื่องกับแหล่งข้อมูล เพื่อหาวิธีที่ดีที่สุดในการเล่าเรื่อง เมื่อคุณน�ำข้อมูล ที่มีมาเรียงร้อยเข้าด้วยกันแล้ว จงสร้างประสบการณ์ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ได้ สัมผัสถึงตัวตนที่เป็นเนื้อแท้และเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร คุณไม่จ�ำเป็นต้อง มองหาต้นแบบเพื่อใช้เป็นมาตรฐาน เพราะสิ่งที่ดีที่สุดจะเกิดขึ้นเมื่อคุณปรับ เรื่องเล่าให้เข้ากับตัวคุณเอง ผ่านการน�ำเสนอในแบบฉบับของคุณ อย่างไร ก็ตาม การออกแบบเรื่องเล่าจะช่วยให้คุณวางแผนและเตรียมพร้อมส�ำหรับ การปฏิสัมพันธ์ได้ดียิ่งขึ้น
68
คู่มือกระบวนการพัฒนาและยกระดับกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
1. เรื่องเล่าและความหมาย การตีความเป็นพื้นฐานส�ำคัญที่ควร มุง่ เน้น ในการวางแผนพัฒนากิจกรรม ท่ อ งเที่ ย วเชิ ง สร้ า งสรรค์ เรื่ อ งเล่ า ที่ผ่านการตีความมาเป็นอย่างดี จะ ก�ำหนดประเภทของกิจกรรม ตลอดจน สิ่งอ�ำนวยความสะดวก และอุปกรณ์ ที่จ�ำเป็นต้อ งใช้ เช่น การพิมพ์พ ระ มี ค ว า ม ห ม า ย ถึ ง ค ว า ม ศ รั ท ธ า สัญลักษณ์ของสติ สมาธิ จักสานที่ บ้านต้าม มีความหมายมากกว่าเพียงแค่ การจักสาน แต่เป็นเรือ่ งเล่าของ คุณลุง และการต่อสู้ชีวิต
2. ประมวลแหล่งข้อมูล และหัวข้อที่มีในชุมชน เรื่ อ งเล่ า ที่ ดี เ กิ ด จากหั ว ข้ อ ที่ ส ามารถหยิ บ มาตี ค วามให้ เ ป็ น เรื่ อ งที่ น่ า สนใจ เช่น ประวัติชุมชน ประวัติศิลปิน การแสดงพื้นบ้าน สมุนไพร สัตว์ป่า ธรณีวิทยา ฯลฯ หัวข้อที่เป็นเรื่องธรรมดาส�ำหรับคุณ สามารถ ดึงดูดผู้ชมได้ดี หากน�ำเสนอได้อย่างน่าสนใจ
คูม่ อื กระบวนการพัฒนาและยกระดับกิจกรรมท่องเทีย่ วเชิงสร้างสรรค์
69
3. พัฒนาธีม สื่อความหมาย ส�ำหรับเรือ่ งเล่าของคุณ
เลือกหัวข้อกว้าง ๆ แล้วระดมความคิดร่วมกับชุมชน (เลือกได้หลายหัวข้อ) ตีกรอบให้แคบลง แล้วหยิบเฉพาะแนวคิดที่น่าสนใจขึ้นมา เขียนธีมให้เป็นประโยคที่สมบูรณ์
ตัวอย่าง ประเด็นกว้าง : หัวข้อที่หยิบขึ้นมา : ธีม / แก่นเรื่อง :
มรดกของสุโขทัยในอุตสาหกรรมเซรามิก ความส�ำคัญของรูปแบบที่มีเอกลักษณ์ แต่ละรูปแบบสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตของชาวสุโขทัย
สามารถเรียบเรียงให้เป็นประโยคที่สมบูรณ์ได้
4. ลักษณะของธีมที่ดี
สามารถบอกเล่าเรื่องราวของสถานที่ที่เชื่อมโยงเข้ากับผู้มาเยือนได้ดี เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย เป็นหัวข้อที่ผู้น�ำเสนอให้ความสนใจเป็นพิเศษ ผู้น�ำเสนอมีความรู้เกี่ยวกับธีมนั้นอย่างดี
70
คู่มือกระบวนการพัฒนาและยกระดับกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
5. จับคู่ธีมให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย ด้วยการสร้างสรรค์กจิ กรรมทีต่ อบโจทย์ความสนใจของผูเ้ ข้าร่วม โดยค�ำนึงถึง อายุ เพศ เชือ้ ชาติ และประสบการณ์ของผู้มาเยือน
6. ก�ำหนดวัตถุประสงค์ของเรือ่ งเล่า เมือ่ คุณต้องการให้ผมู้ าเยือนรูส้ กึ สนุกและมีสว่ นร่วม พร้อมทัง้ ได้รบั แรงบันดาลใจ ลองหาวัตถุหรือสิ่งของที่จับต้องได้มาประกอบการเล่าเรื่อง สิ่งของดังกล่าว ต้องสามารถน�ำพาจินตนาการของผู้ร่วมกิจกรรมไปสู่มิติที่ล�้ำลึกกว่าคุณค่า ที่จบั ต้องได้ คุณอาจหยิบยกอุปกรณ์ทใี่ ช้ทำ� งานในชีวติ ประจ�ำวัน เพือ่ เชือ่ มโยง ไปยังคุณค่าและความเชือ่ ทีม่ มี าแต่ดงั้ เดิม เช่น การได้จบั ไม้ไผ่ ก่อนทีจ่ ะมีการเหลา จนได้ที่ พร้อมน�ำไปประกอบเป็นโคม
7. ก�ำหนดวิธกี ารเล่าและคนเล่าเรือ่ ง ขั้นตอนที่ส�ำคัญคือการระบุว่าใครคือผู้เล่าเรื่อง หากกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของคุณ เกีย่ วข้องกับกลุม่ สมาชิกในชุมชนทีเ่ ป็นเจ้าของผลงาน คนทีค่ ณ ุ ต้องการอย่างน้อยหนึง่ คน ต้อง สามารถร้อยเรียงเรื่องเล่า พร้อมทั้งแนะน�ำขั้นตอนกิจกรรมสร้างสรรค์ทั้งหมด และกระตุ้นให้ ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ศึกษาข้อมูลต่อไปด้วยตนเองได้
การเล่าเรื่องโดยตรง การเล่าเรื่องโดยเจ้าของกิจกรรม เป็นหนึ่งในวิธีสื่อสารที่เข้าถึงกลุ่ม เป้า หมายได้ดีที่สุด แต่ใ นกรณีที่ ผูเ้ ล่าเรือ่ งต้องรับรองนักท่องเที่ยว หลายกลุ ่ ม ย่ อ มใช้ เ วลาไม่ น ้ อ ย หากมีมัคคุเทศก์ที่เข้าใจกิจกรรม จะช่วยผ่อนแรงได้มาก ลองหาวิธี ถ่ า ยทอดเรื่ อ งเล่ า ของคุ ณ ไปยั ง มัคคุเทศก์ราวกับว่าเป็นเรื่องเล่า ของเขาเอง
คูม่ อื กระบวนการพัฒนาและยกระดับกิจกรรมท่องเทีย่ วเชิงสร้างสรรค์
71
นักท่องเทีย่ วเรียนรูด้ ว้ ยตัวเอง ผ่านป้าย สัญลักษณ์ และสื่อต่าง ๆ ที่จัดวางไว้ในแต่ละจุดตลอดเส้นทางกิจกรรม ซึ่งเป็นการให้อิสระแก่ นักท่องเทีย่ วในการเรียนรู้ การลงทุนอาจต้องใช้งบประมาณสูงในช่วงเริม่ ต้น แต่ในระยะยาวจะช่วยแบ่งเบาแรง และยังช่วยขจัดอุปสรรคด้านภาษา อย่างไรก็ตามการมีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับผู้เข้าร่วมกิจกรรม ยังจ�ำเป็น ที่สุดส�ำหรับการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
- Tablet View - Desktop View - Mobile View
8. ตรวจสอบความ น่าเชื่อถือของเนื้อหา คุณภาพและความน่าเชื่อถือของเนื้อหา เป็ น ตั ว ก� ำ หนดคุ ณ ภาพของกิ จ กรรมด้วยเช่นกัน การ ออกแบบอุปกรณ์สอื่ ความหมาย ไม่จำ� เป็นต้องแพง แต่ต้องเน้นความถูกต้อง ในด้านเนื้อหาและคุณค่า ของเรื่องราวที่น�ำเสนอออกไป
OTO TYP E
9. ประเมินเรื่องเล่าและ ปรั บ เปลี่ ย นในเวลาที่ เหมาะสม การตีความเล่าเรื่องเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ซึ่งต้องอาศัย การตรวจสอบและปรับปรุงไปตามสถานการณ์ เมื่อเวลา เปลี่ยนไป นักท่องเที่ยวเปลี่ยนกลุ่ม ข้อมูลบางอย่างอาจจะ เปลีย่ นแปลง การตีความเรือ่ งเล่าจึงต้องมีความยืดหยุน่ และ ปรับเปลี่ยนได้ตามเงื่อนไขที่เปลี่ยนแปลง
72
คู่มือกระบวนการพัฒนาและยกระดับกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
ยกระดับการทองเที่ยวเชิงวัฒนธรรม สูการทองเที่ยวเชิงสรางสรรค
การทองเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
การทองเที่ยวเชิงสรางสรรค
คูม่ อื กระบวนการพัฒนาและยกระดับกิจกรรมท่องเทีย่ วเชิงสร้างสรรค์
73
Senses : ออกแบบพื้นที่ เพื่ อ กิ จ กรรม สร้างสรรค์ แนวคิดเรื่องสภาพแวดล้อมของสตูดิโอที่มีผลต่อกิจกรรมสร้างสรรค์ เป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง เห็นได้จากเมืองต่าง ๆ ทีต่ อ้ งการยกระดับไปสูจ่ ดุ หมายของการท่องเทีย่ วเชิงสร้างสรรค์ ต่างให้ความส�ำคัญกับสตูดโิ อเล็ก ๆ ในท้องถิ่นที่มีเอกลักษณ์ในตัวเอง การรวมตัวของกลุ่มศิลปินที่อยู่ในเมืองเหล่านี้ กลายเป็นกลยุทธ์เชิงรุกในการ ขับเคลือ่ นการท่องเทีย่ วเชิงสร้างสรรค์ ทีส่ ามารถดึงดูดผูอ้ าศัยใหม่ ๆ หนุม่ สาวทีม่ พี รสวรรค์ แรงงานทีม่ ฝี มี อื ตลอดจน การสนับสนุนจากภาครัฐหรือเอกชนที่ได้ประโยชน์จากการร่วมพัฒนาชุมชนเพื่อยกระดับไปสู่จุดหมายของเมือง สร้างสรรค์ เราก�ำลังพาคุณเข้าสู่ ส่ ว นส� ำ คั ญ ในล� ำ ดั บ ต่ อ มา ว่ า ด้ ว ยเรื่ อ ง ของ Senses หรื อ อรรถรส ประกอบด้วย การสร้างบรรยากาศ ผ่ า นประสาทสั ม ผั ส ทั้ง 5 ได้แก่ รูป รส กลิน่ เสียง และพืน้ ผิว สั ม ผั ส ซึ่ ง มี ผ ลต่ อ กิ จ กรรมท่ อ งเที่ ย ว เชิงสร้างสรรค์
74
คู่มือกระบวนการพัฒนาและยกระดับกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
บรรยากาศ การออกแบบบรรยากาศให้เหมาะกับ สถานที่ มี ผ ลโดยตรงต่ อ อารมณ์ ความคิด จินตนาการ และการแสดงออก อย่างสร้างสรรค์ บรรยากาศเกิดจาก องค์ประกอบร่วมกันของ อุณหภูมิ สี กลิ่ น เสี ย ง หรื อ เสี ย งเพลง ทีช่ ว่ ย สร้ า งอารมณ์ ใ ห้ ผู ้ เ ข้ า ร่ ว มกิ จ กรรม รู ้ สึ ก ผ่ อ นคลาย เป็ น กั น เอง และ สามารถแสดงความคิ ด สร้ า งสรรค์ ได้อย่างอิสระ หากจับคูธ่ มี กิจกรรมกับ บรรยากาศได้อย่างเหมาะสม จะให้ผล ในทิศทางที่คุณคาดหวัง
แผนผังด้านพื้นที่ การใช้ง านในสถานที่แ ต่ละแห่ง ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ ในการออกแบบเพื่อรองรับประโยชน์ใช้สอย ลองนึกถึง โรงภาพยนตร์ โบสถ์ หรือวัด ทีค่ ณ ุ เคยเยีย่ มชม การจัดวาง องค์ประกอบต่าง ๆ ในสถานที่เหล่า นั้นมีผ ลอย่า งไรต่อ การใช้บริการ ทีน่ งั่ ในโรงภาพยนตร์สบายพอหรือไม่หากต้อง นัง่ หลายชัว่ โมง หรือระยะห่างของเก้าอีบ้ นเครือ่ งบิน ช่วยให้ คุณหยิบเสือ้ ชูชพี ได้สะดวกหรือไม่ การจัดวางพืน้ ทีท่ เี่ หมาะสม กับการใช้งาน ระยะห่างระหว่างผู้มาร่วมกิจกรรมกับศิลปิน มีผลต่อการแลกเปลีย่ นความคิดเห็นและการแสดงความคิด สร้างสรรค์ คุณสามารถประเมินความลื่นไหลของกิจกรรม จากประสบการณ์ของผู้เข้าร่วม เพื่อรับฟังข้อเสนอแนะ ส�ำหรับการปรับปรุงต่อไป คูม่ อื กระบวนการพัฒนาและยกระดับกิจกรรมท่องเทีย่ วเชิงสร้างสรรค์
75
การสร้างตราสินค้า (เครื่องหมายสัญลักษณ์และสิ่งประดิษฐ์) ท้ายที่สุดแล้ว ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะ จดจ� ำ คุ ณ ได้ จ ากภาพลั ก ษณ์ แ ละ เอกลักษณ์ของคุณ ซึ่งภาพจ�ำเหล่านี้ สร้างได้จากสัญลักษณ์ เครื่องหมาย สิง่ ประดิษฐ์ ตลอดจนผลงานทีร่ วมกัน เป็นแบรนด์ ตัวอย่างนี้เห็นได้จากป้าย ต่าง ๆ ในโรงแรมซึ่งสร้างความมั่นใจ แก่ลูกค้า เมื่อไปยังสนามบิน คุณจะ พบป้ายบอกทางไปยังจุดต่าง ๆ ทีช่ ว่ ย ให้ขั้นตอนก่อนออกเดินทางเป็นไปได้ อย่ า งราบรื่ น นี่ คื อ องค์ ป ระกอบ พื้ น ฐานของการผสมผสานด้ า น การตลาดและการบริการ แบรนด์ของคุณสร้างความประทับใจได้ ตัง้ แต่แรกเห็นด้วยการออกแบบอาคาร สถานที่ ป้ า ย สิ่ ง แวดล้ อ มและ ภู มิ ทั ศ น์ ร อบตั ว อาคาร รวมถึ ง การตกแต่งภายใน และรายละเอียด ปลีกย่อยของเครือ่ งอ�ำนวยความสะดวก เช่ น เครื่ อ งปรั บ อากาศที่ จั ด วาง ให้กลมกลืนไปกับตัวอาคาร
76
คู่มือกระบวนการพัฒนาและยกระดับกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
นอกจากนี้ยังมีอีกหลายสิ่งที่ควรค�ำนึงถึง : บรรจุภัณฑ์ที่ใช้ในการจัดเก็บอุปกรณ์ เว็บไซต์ / เว็บเพจ เอกสารต่าง ๆ (เช่น กระดาษที่ใช้ในการน�ำเสนอกิจกรรม หัวจดหมาย โบรชัวร์) ชุดประจ�ำถิ่นหรือเครื่องแต่งกายที่สะท้อนอัตลักษณ์ท้องถิ่น และสอดคล้องกับกิจกรรม
เพราะบรรยากาศสามารถสร้างบริบท ในการสื่ อ สาร ก่ อ ให้ เ กิ ด การรั บ รู ้ เข้าใจ ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ก่อนที่ สมองจะตี ค วามหมาย ให้ คุ ณ ลอง ส� ำ ร ว จ ว ่ า ส ถ า น ที่ จั ด กิ จ ก ร ร ม ท่องเทีย่ วเชิงสร้างสรรค์ มีบรรยากาศ ทีพ่ ร้อมส�ำหรับการดึงเอาพลังความคิด สร้างสรรค์ออกมาแล้วหรือยัง
คูม่ อื กระบวนการพัฒนาและยกระดับกิจกรรมท่องเทีย่ วเชิงสร้างสรรค์
77
เมืองต่าง ๆ ที่ต้องการยกระดับไปสู่ จุดหมายของการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ต่างให้ความสาคัญกับสตูดิโอเล็ก ๆ ในท้องถิ่นที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
”
78
คู่มือกระบวนการพัฒนาและยกระดับกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
คูม่ อื กระบวนการพัฒนาและยกระดับกิจกรรมท่องเทีย่ วเชิงสร้างสรรค์
79
Sophistication : การออกแบบ อย่างมีลีลาเหนือชั้น น่าประทับใจ
ตอนนี้ คุ ณ มาถึ ง ขั้ น ตอนที่ ท ้ า ทาย ทีส่ ดุ แล้ว นัน่ คือการใส่ความคิดทัง้ หมด เข้ า ด้ ว ยกั น เพื่ อ เตรี ย มข้ อ ความใน การสร้างแบรนด์และสร้างแคมเปญ สื่อสารการตลาดออกไป ขอให้คุณกลับไปอ่านหลักเกณฑ์ 10 ประการ ในการสร้างกิจกรรมท่องเที่ยว เชิ ง สร้ า งสรรค์ ในบทที่ 1 อี ก ครั้ ง คุณจะพบว่า “การออกแบบอย่างมี ลีลาเหนือชั้นน่าประทับใจ” ประกอบ ด้วยหลักเกณฑ์ที่ส�ำคัญ 4 ข้อได้แก่
80
คู่มือกระบวนการพัฒนาและยกระดับกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
ทบทวนบทเรียน
กิจกรรมถูก ออกแบบไวให มีความไหลลื่น สามารถกระตุน ใหเกิดความคิด สรางสรรคและ ไดสุนทรียภาพ
การออกแบบกิจกรรม เปดโอกาสใหพัฒนา ศักยภาพในการ สรางสรรคผลงาน ของตัวเอง ซึ่งกิจกรรม ดังกลาวอาจจะถึงขั้น สามารถสราง แรงบันดาลใจในการ สรางสรรคสิ่งใหม ทัง้ ผูม าเยือน เจาของบาน หรือศิลปน
นักออกแบบกิจกรรม ทองเที่ยวสรางสรรค มีศักยภาพในการ สรางแบรนด ที่แตกตาง ทางการตลาด อยางสรางสรรค
นักออกแบบกิจกรรม ทองเที่ยวสรางสรรค มีความพรอม ในการสื่อสาร กิจกรรมได อยางสรางสรรค ในรูปแบบตาง ๆ อยางตอเนื่อง (ความคิดสรางสรรค ไมหยุดนิ่ง)
คูม่ อื กระบวนการพัฒนาและยกระดับกิจกรรมท่องเทีย่ วเชิงสร้างสรรค์
81
ณ จุดนี้คุณได้เป็นส่วนหนึ่งของการท่องเที่ยว เชิงสร้างสรรค์ทมี่ โี ครงสร้างซับซ้อนกว่าทีค่ ณ ุ คาดคิด เลือกพันธมิตรด้านการตลาดทีค่ ณ ุ วางใจ เพือ่ ช่วย ให้คุณเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ดียิ่งขึ้น เพราะ กว่าจะน�ำกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ถึงมือกลุม่ เป้าหมายทีใ่ ช่ ไม่ใช่เรือ่ งง่าย ในการท�ำงานน�ำร่องนี้ กิจกรรมต่าง ๆ ได้น�ำ สู ่ ต ลาดด้ ว ยความร่ ว มมื อ กั บ บริ ษั ท น� ำ เที่ ย ว ทีต่ อ้ งมีหวั ใจเดียวกัน คือเห็นคุณค่าของการอนุรกั ษ์ และพัฒนาอย่างสร้างสรรค์ จับมือ KTC: บริษทั บัตรกรุงไทย จ�ำกัด (มหาชน) ที่มีฐานลูกค้าที่มี ความสนใจการท่องเทีย่ วในรูปแบบต่าง ๆ การท�ำงาน ในโครงสร้างนี้ ทุกท่านต้องตระหนักถึง ข้อตกลง ทีม่ คี วามชัดเจน และพร้อมทีจ่ ะด�ำเนินงานอย่าง มืออาชีพ มีกติกา และมีข้อปฏิบัติที่มุ่งให้เกิด ประสิทธิภาพสูงสุด
82
คู่มือกระบวนการพัฒนาและยกระดับกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
คูม่ อื กระบวนการพัฒนาและยกระดับกิจกรรมท่องเทีย่ วเชิงสร้างสรรค์
83
»ÃÒªÞ ·ŒÍ§¶Ôè¹ / ¡Ô¨¡ÃÃÁ·‹Í§à·ÕèÂÇ àªÔ§ÊÌҧÊÃä / ¹Ñ¡Í͡Ẻ / ªØÁª¹
เส้นทางน�ำกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์สู่ตลาด
ตัวอย่างของกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ที่สามารถจัดกลุ่ม และน�ำเสนอผ่านช่องทางการตลาดได้อย่างหลากหลาย จุดประกายความคิด : สร้างมุมมองใหม่ เกี่ยวกับการท่องเที่ยวผ่านเรื่องราวของสถานที่ ภาพถ่ายวันหยุดธรรมดา ไม่ได้มีความหมายอีกต่อไป ส�ำหรับ นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ที่ต้องการแสดงให้เห็นถึงการเดินทาง ในมุ ม มองที่ แ ตกต่ า ง พวกเขาต้ อ งการแบ่ ง ปั น รู ปถ่า ยและ วิดโี อ ในฐานะทีเ่ ป็นอาสาสมัคร หรือมีสว่ นร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การท� ำ อาหาร หรื อ การเข้ า คลาสวาดภาพ ซึ่ ง เพื่ อ น ๆ ยังไม่เคยเห็น Vacation With an Artist (VAWAA) เป็นบริษัทที่ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2558 เพื่อน�ำเสนอทริปท่องเที่ยว กึ่งฝึกงานระยะสั้นกับศิลปินในท้องถิ่นที่ประสบความส�ำเร็จหรือมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับ ซึ่งคาดว่าจะเป็น ค�ำตอบส�ำหรับการท�ำให้วนั หยุดมีความหมายมากขึน้ ผ่านประสบการณ์อนั น่าจดจ�ำ จากการเข้าถึงศิลปิน หรือมีโอกาสสร้างงานร่วมกัน ซึง่ เป็นเรือ่ งของการสร้างความสัมพันธ์ในระดับทีเ่ ข้าถึงคนท้องถิน่ ในระหว่าง การเดินทาง Geetika Agrawal ซีอีโอของ VAWAA ได้กล่าวในงาน Skift Global Forum นิวยอร์กซิตี้ เมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2561 ว่า “เราก�ำลังมองหาวิธีที่จะพึ่งพาและท้าทายตัวเอง...เราต้องการ ท�ำความรู้จักกับตัวเราเองเพิ่มขึ้น”
Source: https://skift.com/2018/09/27/creating-new-twists-on-travel-through-stories-of-place
84
คู่มือกระบวนการพัฒนาและยกระดับกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
Variation with an Artist ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่แนะน�ำกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ใน 17 ประเทศ ท�ำให้เห็นว่า ศิลปินคนเดียว ก็สามารถสร้างประสบการณ์ให้กับนักท่องเที่ยวได้มากมาย หากคุณมีต้นทุน บวกกับภูมิปัญญา ในชุมชนอยู่แล้ว จงอย่ากลัวที่จะเปิดเผยตัวตนให้โลกรู้
คูม่ อื กระบวนการพัฒนาและยกระดับกิจกรรมท่องเทีย่ วเชิงสร้างสรรค์
85
ตัวอย่าง การน�ำเสนอทางการตลาดของกิจกรรมน�ำร่อง
86
คู่มือกระบวนการพัฒนาและยกระดับกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
คูม่ อื กระบวนการพัฒนาและยกระดับกิจกรรมท่องเทีย่ วเชิงสร้างสรรค์
87
88
คู่มือกระบวนการพัฒนาและยกระดับกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
คูม่ อื กระบวนการพัฒนาและยกระดับกิจกรรมท่องเทีย่ วเชิงสร้างสรรค์
89
สัมผัสการเดินทางทีใ่ ช้หวั ใจ ... ไม่ใช่แค่ตามอง
https://facebook.com/communityinnovationagency/
90
คู่มือกระบวนการพัฒนาและยกระดับกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
Backstreet Academy เป็นที่กล่าวถึงในฐานะตลาดส�ำหรับประสบการณ์การเดินทางที่ไม่เหมือนใคร โดยเชื่อมต่อนักท่องเที่ยวกับผู้เชี่ยวชาญ จากสาขาเฉพาะด้าน อาทิ ศิลปินและช่างฝีมอื จากเนปาล อินเดีย กัมพูชา เวียดนาม และลาว ซึง่ ศิลปินเหล่านี้ น�ำเสนอ หลักสูตรศิลปะและวัฒนธรรมท้องถิ่น หัตถกรรม กีฬาท้องถิ่น หรืออาหารพื้นบ้าน (Backstreet Academy 2015) หลักสูตรนี้เปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวสร้างผลงานชิ้นเอกด้วยตัวเอง จากความช่วยเหลือของผู้อาสาสอนที่เข้าใจ เกี่ยวกับประเพณีและวิถีชุมชนในท้องถิ่น เพราะความรู้ที่ได้รับจากประสบการณ์ตรงคือวิธีที่ดีที่สุดในการซึมซับ วัฒนธรรมของเมืองต่าง ๆ ยิ่งนักท่องเที่ยวมีส่วนร่วมมากขึ้นเท่าไร (ผ่านหลักสูตรการเรียนการสอน การฝึกอบรม) โอกาสในการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างคนในท้องถิ่นและนักท่องเที่ยวก็มีมากขึ้นเท่านั้น
www.backstreet academy.com หน่วยงานพัฒนากิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในประเทศไทย https://www.facebook.com/communityinnovationagency/
คูม่ อื กระบวนการพัฒนาและยกระดับกิจกรรมท่องเทีย่ วเชิงสร้างสรรค์
91
Be eventful! & Build Brand อะไรคือคุณค่าที่แตกต่าง? อะไรคือเอกลักษณ์และตัวตนของแบรนด์ที่ไม่เหมือนใคร? อะไรอยู่เบื้องหลังแรงบันดาลใจที่นักท่องเที่ยวจะได้กลับไป? อะไรคือกระบวนการที่ท�ำให้นักท่องเที่ยวค้นพบตัวตนของเขาใน มุมมองใหม่ที่ดีกว่าเดิม? ขอให้สนุกกับการสร้างแบรนด์ของคุณผ่านกิจกรรมการท่องเที่ยว เชิ ง สร้ า งสรรค์ ไม่ มี อ ะไรดี ไ ปกว่ า การทดลองท� ำ ซ�้ ำ ตั้ ง สมมติ ฐ าน แล้วหาวิธกี ารทดสอบด้วยตัวคุณเอง ความผิดพลาดคือผลลัพธ์ของการ พยายามอย่างไม่ย่อท้อ หากต้องการแรงบันดาลใจเพิ่มเติมในเรื่องการ ท�ำกิจกรรมเพือ่ การท่องเทีย่ วเชิงสร้างสรรค์ ลองเข้าไปเยีย่ มชมเว็บไซต์ www.backstreeacademy.com ซี่งรวมกิจกรรมสร้างสรรค์และวิธี น�ำเสนอทีน่ า่ สนใจ พร้อมจุดประกาย และจุดไฟในตัวคุณให้ลกุ โชนขึน้ มา ท�ำเรื่องท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เพื่อชุมชน
92
คู่มือกระบวนการพัฒนาและยกระดับกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
บันทึก ....................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................ ........................................................................................................................................................ ........................................................................................................................................................ ........................................................................................................................................................ ........................................................................................................................................................ ........................................................................................................................................................ ........................................................................................................................................................ ........................................................................................................................................................ ........................................................................................................................................................ ........................................................................................................................................................ ........................................................................................................................................................ ........................................................................................................................................................ ........................................................................................................................................................ ........................................................................................................................................................ ........................................................................................................................................................ ....................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................ ........................................................................................................................................................ ........................................................................................................................................................ ....................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................ ........................................................................................................................................................ ........................................................................................................................................................ ....................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................ ........................................................................................................................................................ ........................................................................................................................................................
คูม่ อื กระบวนการพัฒนาและยกระดับกิจกรรมท่องเทีย่ วเชิงสร้างสรรค์
93
แหล่งที่มาของข้อมูลอ้างอิง Can, I. (2012). In-between space and social interaction: a case study of three neighbourhoods in Izmir. University of Nottingham. Creative Tourism Network. 2014. [online], Available from Internet: http://www.creativetourismnetwork.org/ Evans, G. (2005). Measure for measure: evaluating the evidence of culture's contribution to regeneration. Urban studies, 42(5-6), 959-983. Evans, G. 2007. Creative Spaces, Tourism and the City, in Richards, G.; Wilson, J. (Eds.). Tourism, Creativity and Development. London, New York: Routledge, 57–72. Florida, R. (2002). The Rise of the Creative Class Basic Books. New York. Goodwin, H., and R. Santilli (2009), ‘Community-based tourism: a success?’ ICRT Occasional Paper no. 11, German Development Agency (GTZ), accessed at http://www.haroldgoodwin.info/uploads/ CBTaSuccessPubpdf.pdf. Hertzberger, H. (1991). Lessons for Students in Architecture trans: Ina. Huras, C. (2015), ‘“Community-based creative tourism” as a strategy for poverty reduction’, thesis, Taipei National University of the Arts. Landry, C. (2000). The Creative City: A Toolkit for Urban Innovators. Landry, C. (2008). The creative city: A toolkit for urban innovators: Earthscan. Lang, J. (2005). Urban design: A typology of procedures and products: Routledge. Lavrinec, J. 2014. Community Art Initiatives as a Form of Participatory Research: The Case of Street Mosaic Workshop, Creativity Studies 7(1): 52–65. http://dx.doi.org/10.3846/20297475.2014.933365 Markusen, A. (2006). Urban development and the politics of a creative class: evidence from a study of artists. Environment and planning A, 38(10), 1921. Óbidos, B., Emilia, R., Mizil, H., Enguera, I., & Viareggio, J. (2011). From creative industries to the creative place: Refreshing the local development agenda in small and medium-sized towns. Urbact Creative Clusters. Page, S., and J. Connell (2006), Tourism: A Modern Synthesis, London: Thompson Learning. Pohl, C. (2010). Investigating Cultural Sustainability. Cost. Richards, G. (2001). The development of cultural tourism in Europe. Cultural attractions and European tourism, 1-18. Richards, G. (2003). New directions for cultural tourism? In: Tourism Market Trends. Madrid: World Tourism Organization. Richards, G., & Queirós, C. (2005). ATLAS Cultural Tourism Research Project 2004: Survey Report: ATLAS.
94
คู่มือกระบวนการพัฒนาและยกระดับกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
Richards, G., & Wilson, J. (2007). Tourism, creativity and development: Psychology Press. Richards, G. (2011). Creativity and tourism: The state of the art. Annals of tourism research, 38(4), 1225-1253. Richards, G., & Palmer, R. (2012). Eventful cities: Routledge. Richards G, Wilson Jude (2006). Developing Creativity in Tourist Experiences: A Solution to The Serial Reproduction of Culture? Tourism Management 27(6):1209-1223. Richards, G., Pre-publication version of Richards, G. (2016) The challenge of creative tourism. Ethnologies, 38, 1-2, 31-42.Special issue on Créativité et médiation en tourisme et en patrimoine / Creativity and mediation in tourism and heritage Richards, G. and Duif, L. (2018) Small Cities with Big Dreams : Creative Placemaking and Branding Strategies. New York: Routledge. Santagata, W. (2002). Cultural districts, property rights and sustainable economic growth. International Journal of Urban and Regional Research, 26(1), 9-23. UNESCO Creative Cities Network. 2009–2014. [online], [cited 23 February 2015]. Available from Internet: http://www.unesco.org/new/en/culture/themes/creativity/creative-cities-network/ UNESCO Creative Cities Network. 2006. Towards Sustainable Strategies for Creative Tourism:Discussion Report of the Planning Meeting for 2008 International Conference on Creative Tourism. Paris: UNESCO.
คูม่ อื กระบวนการพัฒนาและยกระดับกิจกรรมท่องเทีย่ วเชิงสร้างสรรค์
95
คณะผู้ด�ำเนินงานการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์กรมหาชน) ทวีพงษ์ วิชัยดิษฐ สุเทพ เกื้อสังข์ วัชรี ชูรักษา วรรณวิภา ภานุมาต ประภัสสร วรรธณะภูติ พิติรัตน์ วงศ์สุทินวัฒนา ศราวุธ ทาค�ำ ศิรตา ศิริธรรม
รักษาการผู้อ�ำนวยการ อพท. รองผู้อ�ำนวยการ อพท. ผู้อ�ำนวยการส�ำนักท่องเที่ยวโดยชุมชน อพท. หัวหน้างานเสริมสร้างศักยภาพการท่องเที่ยว ปฏิบัติหน้าที่รองผู้อ�ำนวยการส�ำนักท่องเที่ยวโดยชุมชน อพท. หัวหน้างานท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ อพท. เจ้าหน้าที่พัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้างานยกระดับการท่องเที่ยวโดยชุมชน เจ้าหน้าที่พัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน เจ้าหน้าที่พัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน
Creative Tourism Brain Bank เกรียงกานต์ กาญจนะโภคิน ผศ.ดร.จุฑามาศ วิศาลสิงห์ เจนจิต ลัดพลี ทวีจิตร จันทรสาขา ธนาวุฒิ ศุภางคะรัตน์ นราธิป อ�่ำเที่ยงตรง ผศ.นุชนารถ รัตนสุวงศ์ชัย เบญจ มอนโกเมอรี่ ปรมา ทิพย์ธนทรัพย์ กิตติรัตน์ ปิติพานิช รศ.ดร.นวลน้อย ตรีรัตน์ พลอย จริยะเวช พันธุ์ทิพย์สุดา โปษยานนท์ พิทยา วรปัญญาสกุล ภานุภณ บุลสุวรรณ ภูริวัจน์ เดชอุ่ม รัฐสยาม ศีลคุณ วรวรรธน์ วราสถิรวัฒน์ วีระชัย ปรานวีระไพบูลย์ สถาพร สิริสิงห สมศักดิ์ บุญค�ำ สมิตร โอบายะวาทย์ สาธิตา โสรัสสะ รศ.ดร. สิงห์ อินทรชูโต สุรพล เศวตเศรนี อชิรญา ธรรมปริพัตรา
ประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วม บริษัท อินเด็กซ์ ครีเอทีฟวิลเลจ จ�ำกัด (มหาชน) กรรมการบริหาร บริษัท เพอร์เฟคลิงค์ คอนซัลติ้ง กรุ๊ป จ�ำกัด ผู้อ�ำนวยการการตลาดเพื่อการท่องเที่ยวและสันทนาการ บริษัท บัตรกรุงไทย จ�ำกัด (มหาชน) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการออกแบบสถาปัตยกรรม กรรมการผู้จัดการ บริษัท สยามร้าย ทราเวล จ�ำกัด กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฮาบิ จ�ำกัด ประธานหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการท่องเทีย่ ว คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรรมการสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยว ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคสาขาประเทศไทย ผู้อ�ำนวยการศูนย์คอนเซปแห่งอนาคตและการออกแบบ กลุ่มบริษัท บารามีซี่ จ�ำกัด ผู้อ�ำนวยการส�ำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy Agency) ผู้อ�ำนวยการสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการออกแบบงานศิลป์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการสื่อสาร รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บัตรกรุงไทย จ�ำกัด (มหาชน) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการออกแบบอาหาร อาจารย์ประจ�ำสาขานวัตกรรมการท่องเที่ยว คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บรรณาธิการ นิตยสาร Lonely Planet ฉบับภาษาไทย ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการออกแบบ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ดิ แอทติจูด คลับ จ�ำกัด ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการตลาด ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้ก่อตั้ง บริษัท โลเคิล อไลค์ จ�ำกัด กรรมการผู้จัดการ บริษัท OBA (The Office of Bangkok Architect) จ�ำกัด ประธาน มีเดีย แอนด์ บล็อกเกอร์ คลับ หัวหน้าศูนย์สร้างสรรค์การออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ปรึกษาอาวุโส บริษัท ประชารัฐรักสามัคคี วิสาหกิจเพื่อสังคม (ประเทศไทย) จ�ำกัด กรรมการผู้จัดการ และผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท ไฮฟ์สเตอร์ จ�ำกัด
Perfect Link Consulting Group ผศ.ดร.จุฑามาศ วิศาลสิงห์ ถนอมชัย ศุภวิรัชบัญชา สมยศ แก่นหิน รมณ อมตธรรม สุทธิมา เสืองาม นิสา คงศรี
96
Project Director Project Manager Senior Researcher Community Innovation Agency Manager Writer Mentor for Theater Design
คู่มือกระบวนการพัฒนาและยกระดับกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
ประวัติผู้แต่ง
เกร็ก ริชาร์ดส Greg Richards
จุฑามาศ (แจน) วิศาลสิงห์ Jutamas Jan Wisansing
เอเลนา พาสชินเจอร์ Elena Paschinger
เกร็ก ริชาร์ดส เป็นศาสตราจารย์ด้านการจัดการการท่องเที่ยวในมุมของการ จัดการเมืองและงานอีเวนท์ (Placemaking and Events) ที่มหาวิทยาลัย Breda University of Applied Sciences และเป็นศาสตราจารย์ดา้ น Leisure Studies ทีม่ หาวิทยาลัย Tilburg ประเทศเนเธอร์แลนด์ เป็นผูร้ เิ ริม่ และให้นยิ าม การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เป็นคนแรกของโลก มีผลงานด้านการท่องเที่ยว เชิงสร้างสรรค์อย่างกว้างขวาง เขาเป็นหนึง่ ในผูเ้ ชีย่ วชาญด้านการท่องเทีย่ วที่ ด�ำเนินโครงการต่าง ๆ นับตัง้ แต่ โครงการระดับชาติ องค์กรการท่องเทีย่ วระดับ ประเทศไปจนถึงระดับเทศบาล เป็นหนึ่งในผู้มีประสบการณ์อย่างกว้างขวาง ในด้านการศึกษาวิจัยด้านการท่องเที่ยว โดยก่อนหน้านี้มีบทความเผยแพร่ ที่ ม หาวิ ท ยาลัย London Metropolitan , Universitat Roviria I Virgili Tarragona (Spain) และมหาวิทยาลัยทางตะวันตกของอังกฤษ (Bristol, UK)
“คุณไม่มีทางคิดนอกกรอบได้เลย จนกว่าจะรู้ว่ามีอะไรติดอยู่ในกรอบ” จุฑามาศ (แจน) วิศาลสิงห์ ผูก้ อ่ ตัง้ กรรมการผูจ้ ดั การ และผูน้ ำ� ทีมสร้างสรรค์ นวัตกรรมที่ Perfect Link Consulting Group ซึ่งรวมกลุ่มผู้ที่มีบทบาทใน การส่งเสริมการท่องเทีย่ ว ในประเทศไทย เธอมีความเชีย่ วชาญด้านนวัตกรรมชุมชน และโปรแกรมการสร้างพลังแห่งการเปลีย่ นแปลง การท่องเทีย่ วเชิงสร้างสรรค์ การจัดการห่วงโซ่อุปทานอาหารแบบยั่งยืน และมีบทบาทส�ำคัญในการจัดตั้ง เครือข่าย ASEAN Gastronomy Tourism Network
เอเลนา พาสชินเจอร์ จบการศึกษาด้านการจัดการการท่องเทีย่ วจากประเทศ ออสเตรีย ที่ผันตัวไปเป็นนักเขียนด้านการท่องเที่ยว ครู ที่ปรึกษาทางธุรกิจ และวิทยากร เธอได้มสี ว่ นร่วมในการพัฒนาและส่งเสริมจุดหมายท่องเทีย่ วเชิง สร้างสรรค์ ผ่านการเป็นทีป่ รึกษาทางธุรกิจระหว่างประเทศ ความส�ำเร็จล่าสุด ของเธอยังรวมถึงการเผยแพร่คู่มือเล่มแรกที่เขียนเรื่องการเดินทางของ นักท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ Creative Traveler และคู่มือการท่องเที่ยวเชิง สร้างสรรค์ใน Costa Brava เธอเชีย่ วชาญหลายภาษา นับตัง้ แต่ ภาษาเยอรมัน อังกฤษ ฝรั่งเศส สเปน โปรตุเกส และคาตาลัน "เปลี่ยนโลกด้วยหนึ่งประสบการณ์การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์แต่ละครั้ง" (ดูบล็อกของเธอที่ www.creativelena.com) คูม่ อื กระบวนการพัฒนาและยกระดับกิจกรรมท่องเทีย่ วเชิงสร้างสรรค์
97
Designated Areas for Sustainable Tourism Administration (Public organization)- DASTA In collaboration with Creative Tourism Network www.dasta.or.th
98
คู่มือกระบวนการพัฒนาและยกระดับกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
I hear and I forget , I see and I remember, I do and I understand.
ถาไดยินก็จะลืม ถาไดเห็นก็จะจำ ถาไดทำก็จะเขาใจ
องค การบร�หารการพัฒนาพ�้นที่พ�เศษเพ�่อการท องเที่ยวอย างยั่งยืน (องค กรมหาชน) 118/1 อาคารทิปโก ชั้น 31 พระรามที่ 6 แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท : 0-2357-3580-7 โทรสาร : 0-2357-3599 www.dasta.or.th