สารบัญ สุขใจ สุโขทัย
03
เข้าใจ
พิมพ์ใจ
วาดไว้ ในใจ
ปั้น (ตาม) ใจ 09
08
ปั้นใจ
ทอใจ ชื่นใจ
อิ่มใจ พักใจ เย็นใจ น่าน
07
ตามใจ
15
18
จำ�ข้ึนใจ
ร่ืนรมย์ใจ
วัดตัว วัดใจ
14
สว่างใจ
23
22 สานใจ
อิ่มใจ พักใจ
27
ตามใจ
พิมพ์ครั้งที่ 1, 2561 จัดทำ�โดย งานท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ สำ�นักท่องเที่ยวโดยชุมชน องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) 2
ความในใจ
31
สุขมากโขที่สุโขทัย
เราทุกคนรู้จักสุโขทัยในฐานะจุดหมายแรกๆ ของประวัติศาสตร์ชาติ ไทย และเมืองทีไ่ ด้รบั การยกย่องให้เป็นมรดกโลก แต่นอกไปจากลายสือไทย ระบอบพ่อปกครองลูก ตำ�นานพระร่วงและขอมดำ�ดิน ที่ได้ยินได้ฟังผ่านๆ ในวิชาประวัติศาตร์ เราเองกลับไม่ได้รู้จักเมืองนี้เท่าไหร่นัก และก็ทำ�ให้อด คิดไม่ได้ว่า สุโขทัยจะมีอะไรให้เที่ยว แต่เมื่อเราได้มาเยือนเมืองนี้โดยมีเป้าหมายมากไปกว่าการถ่ายภาพ พระอาทิตย์ตกที่อุทยานประวัติศาสตร์ และกินก๋วยเตี๋ยวสุโขทัยจากเมือง ต้นตำ�รับ เราจึงได้พบกับเรื่องราว ผู้คน และประสบการณ์ที่ทำ�ให้เมืองนี้ เต็มไปด้วยชีวิตชีวาและความสร้างสรรค์ เพราะทุกกิจกรรมที่เราได้ลงมือทำ� ได้เติมเต็มเรื่องราวให้กับสถานที่ที่เราได้แวะไป และต่อยอดความเข้าใจ ที่เราเคยมีได้อย่างสนุกสนาน อย่าเพิ่งปักใจเชื่อ หากยังไม่ได้เอาใจมาเรียนรู้ผ่านการลงมือทำ�
3
เมื่อวิชาประวัติศาสตร์เข้าไปอยู่ในใจเรา ลื ม ตำ � ราที่ ว่ า คนไทยอพยพจากเทื อ กเขาอั ล ไต มาตัง้ ถิน่ ฐานสร้างเมืองล้านนาและสุโขทัยไปก่อน เพราะ หลั ก ฐานทางประวั ติ ศ าสตร์ ก็ แจ่ ม แจ้ ง อยู่ แ ล้ ว ว่ า เรา ‘มีอยู่’ กันบนผืนแผ่นดินนี้มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และเพื่อให้เห็นด้วยตาชัดๆ การเดินทางมายัง แหล่งโบราณคดีวัดชมชื่น ลงไปดูหลุมขุดที่ได้เห็น บรรพบุรุษเราตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ไล่ลำ�ดับ ตามชั้นดินขึ้นมาจนร่วมสมัยทวารวดีและขอม ก่อนจะ ต่อจิ๊กซอว์ประวัติศาสตร์ด้วยการแวะไป วัดเจ้าจันทร์ ที่อยู่ใกล้ๆ กัน เห็นความเรืองอำ�นาจของขอมที่มาสร้าง ปราสาทหินเป็นศาสนสถาน จนเมื่ออาณาจักรสุโขทัย เข้มแข็งในดินแดนแถบนี้ เราก็สร้างเจดีย์ทรงพุ่มข้าว บิณฑ์อันเป็นเหมือนซิกเนเจอร์แบบสุโขทัยที่ วัดพระศรี รัตนมหาธาตุเชลียง จนกระทั่งอาณาจักรอยุธยาแผ่ ไพศาลจนยึดครองสุโขทัยได้ในเวลาถัดมา จึงมาสร้าง พระปรางค์ครอบเจดีย์เดิมไว้อีกที ซากปรักหักพังของ วัดโบราณจึงเล่าเรือ่ งการเมืองและอำ�นาจของอาณาจักร โบราณได้อย่างสนุก
ขอย้อนกลับไปยุคที่มีเมืองโบราณอยู่สองแห่งในลุ่มแม่น้ำ�ยม คือเมืองสุโขทัย (ก่อนเป็น อาณาจักร) และเมืองเชลียง จากนัน้ ก็มกี ารสร้างเมืองศรีสชั นาลัยห่างจากเมืองเชลียงไปนิดหน่อย จนเมื่อสถาปนาอาณาจักรสุโขทัย ศรีสัชนาลัยก็กลายเป็นเมืองลูกหลวงที่กษัตริย์ต้องส่งคนมา ปกครอง ตามประวัติเล่าว่า พ่อขุนรามคำ�แหงและพระยาลิไทก็เคยมาครองเมืองนี้ก่อนขึ้นเป็น กษัตริย์สุโขทัยด้วย การมาเที่ยว อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย จึงเท่ากับการได้เห็น ทั้งความรุ่งเรืองและร่วงโรยของสุโขทัยไปพร้อมๆ กัน ทั้งใน วัดเจดีย์เจ็ดแถว ที่เหมือนตำ�รา เปรียบเทียบเจดีย์ทรงสุโขทัยแบบต่างๆ วัดช้างล้อม ที่มีช้างปูนปั้นล้อมเจดีย์ที่สวยโดดเด่น เลยไปจนถึง วัดนางพญา ที่เห็นร่องรอยศิลปะสมัยอยุธยาตอนต้นซึ่งเข้ามามีอิทธิพลในที่สุด 4
กลับมาที่ใจกลางเมืองเก่า ณ อุทยานประวัติศาสตร์สโุ ขทัย การเร่มิ ต้นที่ วัดพระพายหลวง ทีค่ ล้าย พระปรางค์สามยอดที่ลพบุรี ซึ่งเป็นคติในพุทธศาสนา นิกายมหายาน จนเมื่อสุโขทัยซึ่งนับถือพุทธศาสนา นิกายเถรวาทมีอ�ำ นาจ ก็เปลีย่ นให้กลายเป็นศาสนสถาน และเจดีย์ที่สร้างซ้อนทับกันใน 2 ยุค คือสุโขทัยยุคแรก ที่เราจะได้เห็นพระพุทธรูปที่ประดิษฐานรายรอบเจดีย์มี พระพักตร์อวบอ้วน เพราะได้อทิ ธิพลจากขอมและพุกาม แต่พระพุทธรูปที่สร้างซ้อนขึ้นในยุคพญาลิไทจะมีความ อ่อนช้อยสวยงามอย่างที่เราเคยเรียนในวิชาสร้างเสริม ประสบการณ์ชีวิต เช่นเดียวกับพระอจนะใน วัดศรีชุม ซึ่งถูกบูรณะในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม โดยมี ต้นแบบเป็นพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยเป็นต้นแบบนั่นเอง ไฮไลต์สำ�คัญอย่าง วัดมหาธาตุ แน่นอนว่า ต้องสวยงามถ่ายรูปขึ้นแน่นอน แต่ถ้ามองให้ลึกลง ไป คติโบราณในการสร้างวัดมหาธาตุนั้นมีฐานะ เทียบเท่ากับศาลหลักเมืองในปัจจุบัน (สังเกตดูสิ ทุกเมืองเก่าแก่จะต้องมีวดั มหาธาตุอยู่ เป็นความเชือ่ เรื่องศูนย์กลางจักรวาลแบบอินเดียโบราณ) และ ทีเ่ มืองสุโขทัยนี้ วัดมหาธาตุประกอบด้วยเจดีย์ วิหาร มณฑป โบสถ์ และเจดีย์ราย จำ�นวนมากถึง 200 องค์ และเราจะได้เห็นฐานพระพุทธรูปในวิหารที่เคย ประดิษฐานพระศรีศากยมุนี ซึง่ ภายหลังถูกอัญเชิญ ไปยังวัดสุทัศน์ กรุงเทพฯ จากที่เคยคิดว่าเมืองเก่า สุโขทัยช่างไกลตัว ความเชื่อมโยงเหล่านี้ก็ชวนให้ รู้สึกว่าใกล้ชิดมากขึ้น
เพื่อให้ครบถ้วน แนะนำ�ให้ลืมความน่าเบื่อของพิพิธภัณฑ์ แล้วเข้าไปดูโบราณวัตถุที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามคำ�แหง มองหารายละเอียอ่อนช้อยของพระพุทธรูปปางลีลาทีก่ �ำ เนิดขึน้ เป็น ครั้งแรกในโลก ณ อาณาจักรสุโขทัย ส่องลายสังคโลก เซรามิก โกอินเตอร์ของเมืองนีท้ สี่ ง่ ออกไปญีป่ นุ่ ในสมัยอยุธยา หรือพระพิมพ์ จากกรุทั่วสุโขทัยในบริบทที่นอกเหนือไปกว่าราคาของนักเลงพระเครื่อง ฯลฯ รับรองว่าจะได้ความเข้าใจที่ช่วยปะติดปะต่อจิกซอว์ เรื่องเล่าได้อย่างสนุกใจจนลืมตำ�ราไปเลย 5
บ้านพระพิมพ์ลักษมณศิลป์ ที่ประทับ เรื่องเล่าของสุโขทัยลงไปในใจคน “สุโขทัยมีเจดีย์เป็นร้อยๆ องค์ ทุกองค์มีพระพิมพ์อยู่ ข้างใน” พี่กบ-ณรงค์ชัย โตอินทร์ แห่งบ้านพระพิมพ์ ลักษมณศิลป์เริ่มต้นฉายภาพให้เรา ‘รู้จัก’ พระพิมพ์ที่ มากไปกว่าวัตถุมงคลราคาสูงลิ่วที่เซียนพระเล่นกัน หรือ แค่พระห้อยคอเอาไว้กันผีกันภัย “ถ้าศึกษาจริงๆ พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนให้เรานับถือ วัตถุ สิ่งเหล่านี้ถูกสร้างหลังพระพุทธเจ้าปรินิพพานเป็น พันๆ ปี แต่เป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้า ถ้าเราไม่เข้าใจ ว่าท่านสอนอะไร ก็เหมือนช้อนในชามแกงที่ไม่รู้รสแกง นั่นแหละครับ” หนุ่มใหญ่หนวดเยอะบอกเล่าด้วยสำ�เนียง สุโขทัยในจังหวะจะโคนที่ชวนฟัง ก่อนจะบอกที่มาของ พระพิมพ์ว่าถูกสร้างขึ้นด้วยคนโบราณที่อยากจะสืบสาน พระพุทธศาสนา เพราะเชื่อว่าสรรพสิ่งในโลกนี้ล้วนมีเกิด และมีดับ หรือแม้แต่เจดีย์ที่สูงใหญ่พังทลาย พระพิมพ์ ที่ถูกบรรจุอยู่ในกรุด้านในจะออกมาทำ�หน้าที่เป็นบันทึก เล่าเรื่องราวพุทธประวัติผ่านพระพุทธรูปในอิริยาบถต่างๆ แทนภาพถ่ายหรือบทจารึกนั่นเอง เพราะเติบโตมาในย่านอุทยานประวัติศาสตร์ ชอบ อ่านหนังสือ และชอบฟังผู้เฒ่าผู้แก่เล่าเรื่องราวในอดีต ทำ�ให้พี่กบแทบจะกลายเป็นตำ�ราประวัติศาสตร์เคลื่อนที่ เมื่อมีความหลงใหลในพระพิมพ์เป็นฐาน และเรียนรู้วิธี การพิมพ์พระจากอาจารย์อยู่หลายปี พี่กบจึงเริ่มพิมพ์ พระ บอกเล่าเรื่องราว และเปิดบ้านริมท้องนาเพื่อให้ นักท่องเที่ยวได้มาประทับความเป็นสุโขทัยไว้ในใจผ่าน การลงมือทำ� และไม่ใช่โรงพิมพ์พระสุดเข้มขึง ‘ขลัง’ พี่กบและ พี่แก้ม ภรรยา เปลี่ยนภาพจำ�ด้วยการต้อนรับแสนน่ารัก ไม่วา่ จะเป็นน้�ำ ดืม่ หรือขนมทีป่ ระดับประดาดอกไม้ เนือ้ ดิน พร้อมพิมพ์ทหี่ อ่ มาในใบตองสวย ผ้าเช็ดมือสะอาดสะอ้าน ผลไม้ตามฤดูกาลจากร่องสวน หอศิลป์ขนาดย่อมที่เก็บ รวบรวมภาพพิมพ์อิริยาบถต่างๆ ที่พบในสุโขทัยไว้อย่าง มากมายกว่า 450 พิมพ์ ไปจนถึงกิจกรรมที่นักท่องเที่ยว ต่างชาติ (หรือแม้แต่ชาวไทยอย่างเราๆ เอง) ต้องว้าว ทั้ง การหัดยิงธนูที่ทำ�ให้รู้ที่มาของคำ�ว่าเอ็นร้อยหวาย (เพราะ
การจะร้อยหวายธนูได้ ต้องเอาคันธนูวางปักลงไปตรง ข้อเท้าส่วนนั้น) ได้รู้จักหินแร่จากภูเขาสุโขทัยที่จุดไฟติด และเหตุ ผ ลที่ ต้ อ งสลั ก ชื่ อ ไว้ ห ลั ง พระพิ ม พ์ ที่ ท ดลองทำ � เพราะช่วยให้ชาวต่างชาติสามารถนำ�ผลงานออกนอก ประเทศได้ เนื่องจากชาวต่างชาติไม่สามารถนำ�พระพิมพ์ ซึ่งอาจจะเป็นวัตถุโบราณออกไป การมีชื่อสลักหลังจึง ยืนยันได้ว่าเป็นของที่ทำ�ขึ้นใหม่จากกิจกรรมนี้นั่นเอง “ทุกอย่างมีเรื่องเล่าครับ รูปลักษณ์ของพระก็มีเรื่อง เล่า ดินก็มีเรื่องเล่า วัดในสุโขทัยก็มีเรื่องเล่า กลับไปจาก บ้านผม เวลาคุณไปวัดในสุโขทัย คุณต้องรู้ว่าที่ที่จะมีกรุ พระพิมพ์อยู่คือฐานเจดีย์ ฐานองค์พระ และที่พื้นในจุด ที่พระมองลงไป ไม่เชื่อไปสังเกตดูว่ามีร่องรอยอยู่ไหม” พี่กบให้ข้อมูลสุดท้าย ที่ทำ�ให้การเดินเที่ยวโบราณสถาน ในอุทยานประวัติศาสตร์สนุกขึ้นอีกเท่า!
ณรงค์ชัย โตอินทร์
บ้านพระพิมพ์ลักษมณศิลป์
6
หัดวาดลายสังคโลกลงบนผืนผ้า ที่บ้านปรีดาภิรมย์ เพราะการจับปากกาไม่ใช่เพียงแค่การวาดเขียนลง บนกระดาษหรือผืนผ้า แต่คือบันทึกประสบการณ์และ ความทรงจำ�ลงไปในหัวใจด้วย นั่นทำ�ให้พี่ฝน-ธารารัตน์ ปรีดาภิรมย์ อยากร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการวาดความสุข ลงไปในหัวใจของนักท่องเที่ยว นอกเหนือจากการเป็น แม่ค้า ผ้าทอพื้นเมืองในอุทยานประวัติศาสตร์ พี่ฝนบอกว่าตัวเองไม่ได้มีพื้นฐานสังคโลก แต่เริ่มต้น ด้วยการคิดว่าตัวเราเองเป็นนักท่องเทีย่ วทีไ่ ม่มคี วามรูเ้ รือ่ ง สังคโลกเลย เธอจะอยากรู้อะไรบ้าง จากนั้นก็ไปศึกษา ข้อมูลว่าสังคโลกคืออะไร ขอความรู้จากนักโบราณคดี จากพิพธิ ภัณฑ์ชมุ ชน และร้านทีย่ งั สืบทอดการทำ�สังคโลก พร้อมทั้งสืบค้นความหมายของลวดลายต่างๆ และลงมือ ทำ�จริง “ลายปลาที่อยู่บนจาน ของจริงมันเหมือนปลาที่มี ชีวิต ขยับได้ เพราะมันเป็นศิลปะที่มีความอ่อนช้อย พลิ้ว ไหว ก็ใช้ตวั เองเป็นหนูทดลองทุกกระบวนการจนกลายเป็น กิจกรรมนี้ขึ้นมา เริ่มจากเราเขียนเป็นได้ยังไง เราก็สอน นักท่องเทีย่ วแบบนัน้ ถอดลายสังคโลกออกมาเป็นขัน้ ตอน หนึ่ง สอง สาม เพื่อให้ง่าย แล้วก็คิดว่าถ้าเขียนลงบน เสื้อยืดน่าจะดี เพราะนักท่องเที่ยวสามารถนำ�เสื้อกลับไป ใส่หรือเป็นของฝากได้ด้วย” พี่ฝนเล่าถึงที่มากิจกรรมด้วย ใบหน้ายิม้ แย้ม ก่อนจะเล่าถึงกิจกรรมเต็มรูปแบบทีจ่ ะเกิด ขึ้นในบ้านปรีดาภิรมย์ พี่ฝนเร่ิมต้นกิจกรรมด้วยการพาเราชมพิพิธภัณฑ์ ขนาดย่อมในบ้านปรีดาภิรมย์ ซึ่งจัดแสดงข้าวของสะสม ของครอบครั ว ที่ ส ามารถเล่ า ถึ ง วิ ถี ชี วิ ต ของชาวสุ โขทั ย ในอดีต ก่อนจะพามานั่งโต๊ะที่นอกชาน เล่าถึงเรื่องราว ที่ซ่อนอยู่ใน 20 ลวดลาย ทั้งลายปลา ลายหอยสังข์ ลายดอกบัว ลายดอกโบตั๋น ลายช่อเบญจมาศ ฯลฯ และ ให้เราเลือกลวดลายที่ชอบ ลองมือในกระดาษจนมั่นใจ ก่อนจะใช้ปากกาเพนต์ลงบนตัวเสื้อ “ทุกคนก็พยายามที่จะลองเขียนลายเองโดยไม่ต้อง ให้เราช่วย แค่แนะนำ�นิดๆ หน่อยๆ พอเสร็จเห็นเป็นผลงาน เขาก็ภมู ใิ จ บางคนบอกว่าไม่คดิ ว่าตัวเองจะทำ�ได้” เจ้าของ กิจกรรมยิ้มกว้างถึงสิ่งที่เธอเองก็ภูมิใจไปด้วย
ธารารัตน์ ปรีดาภิรมย์ บ้านปรีดาภิรมย์
และนอกไปจากความภาคภูมิใจในลวดลาย สิ่งที่ พี่ ฝ นตระเตรี ย มไว้ ให้ นั ก ท่ อ งเที่ ย วสั ม ผั ส ประสบการณ์ แบบสุโขทัยทีน่ า่ สนใจไม่แพ้กนั คือของว่างทีจ่ ดั เต็มทุกครัง้ ไม่ว่าจะเป็นน้ำ�ลอยดอกมะลิหอมชื่นใจจากมะลิปลอด สารพิษที่ปลูกเอง ผลไม้ตามฤดูกาล น้ำ�มะม่วงตลับนาค หอมชื่ น ใจหรื อ น้ำ � มะพร้ า วอ่ อ นอั ญ ชั น ส่ ว นขนมไทย พื้นบ้าน พี่ฝนบอกว่าไฮไลต์ประจำ�บ้านคือสังขยาชาวนา ขนมที่คนโบราณจะทำ�เวลาลงแขกเกี่ยวข้าว ด้วยการหุง ข้าวเหนียวคลุกกับมะพร้าวขูด จิ้มกับสังขยาผัดรสหวาน มันโรยหอมแดงเจียว นอกจากจะได้วาดไว้ในใจ ดูเหมือนเราจะได้วาด ความอร่อยไว้ในพุงด้วย! 7
มั น เป็ น เทคโนโลยี ที่ สู ง มากนะเมื่ อ เที ย บกั บ ความรู้ ห รื อ วิทยาการในสมัยนั้น เพราะฉะนั้นเราควรต่อยอดสิ ไม่ใช่ การทำ�เหมือนเดิม เราจะเห็นว่างานสังคโลกในอดีตมีเป็น ร้อยๆ ลาย วิธีการเคลือบแต่ละแห่งก็แตกต่างกัน ทุกคนมี สูตรของตัวเอง เราเองก็ต้องสร้างตัวเองขึ้นมาให้คนจดจำ� เราอย่างที่เป็นเราเช่นเดียวกัน” พี่ไก่และพี่อู๊ดพาเราเดินดู มิวเซียมขนาดย่อมในบ้าน ที่จัดแสดงผลงานชิ้นเด่นๆ ของ โมทนา ก่อนจะบอกเล่าจุดมุ่งหมายของบ้านที่ฟังแล้วหัวใจ พองโต ชิน้ งานเซรามิกหลากหลาย โดดเด่นด้วยรูปทรงประณีต สีเคลือบหลากหลาย เท็กซ์เจอร์ที่น่าสนใจ เลยรวมไปถึงงาน ลงทองดูรว่ มสมัย คือเอกลักษณ์ของโมทนาทีล่ ว้ นแล้วแต่เกิด จากการทดลองและเรียนรูอ้ ยูเ่ สมอ พีอ่ ดู๊ และพีไ่ ก่บอกว่า ทุก สิง่ ทุกอย่างล้วนมีผลต่อชิน้ งาน ตัง้ แต่แร่ธาตุทปี่ ระกอบในดิน วิธกี ารขึน้ รูป การทำ�เคลือบ และรายละเอียดแม้เพียงเล็กน้อย ดังนั้นการทำ�เซรามิกจึงเหมือนการเรียนรู้ตลอดชีิวิต และนั่นทำ�ให้โมทนาเซรามิกเป็นศูนย์เรียนรู้เซรามิก แบบครบวงจร “เราเป็นคนที่เห็นความเป็นไปได้ตลอดเวลา ใจคิดว่า มันเป็นไปได้ทเี่ ราจะทำ�ศูนย์การเรียนรู้ เพราะเรามีความรูเ้ รือ่ ง เซรามิกก็เพราะได้รับการถ่ายทอดมา และเราก็อยากจะ ถ่ายทอดต่อไป อยากเป็นโรงเรียนที่สอนพื้นฐานเกี่ยวกับ เซรามิกแล้วให้เขาไปต่อยอด ทำ�อย่างที่เขาอยากได้ เพราะ ถ้าเขาทำ�ตามครู มันจะไม่พัฒนา อยากให้เขาได้ทำ�งานใน แบบที่ชอบและได้แสดงตัวตนผ่านผลงานของตัวเอง” พี่ไก่ เล่าด้วยรอยยิ้มพร้อมแววตามุ่งมั่น เพราะจากการมีลุูกศิษย์ เข้ามาเรียนรู้กันยาวๆ การเปิดบ้านให้เด็กๆ ในชุมชนมา ทดลองใช้จินตนาการ ไปจนถึงการเปิดเวิร์กช็อปในช่วงเวลา สั้นๆ ให้นักท่องเที่ยวเข้ามาเรียนรู้การปั้นหรือการเขียนลาย ทำ�ให้ทงั้ คูเ่ ห็นความเป็นไปได้ตงั้ แต่การสร้างศิลปิน สร้างเด็ก วัยรุน่ ทีม่ แี รงบันดาลใจในการใช้ชวี ติ ไปจนถึงการสร้างความ สุขและความทรงจำ�ดีๆ ให้กับผู้มาเยือน และความตั้งใจที่น่าชืื่นใจนี้ คือสิ่งที่เราได้รับกลับบ้าน มาด้ ว ยนอกเหนื อ จากผลงานที่ ได้ ล งมื อ สร้ า งสรรค์ ผ่ า น กิจกรรมในโรงเรียนและโรงปั้นที่น่ารักแห่งนี้
ต่อยอดแรงบันดาลใจด้วยงานปั้น สร้างสรรค์ที่โมทนาเซรามิก หากการเดินทางคือการตามหาแรงบันดาลใจ โมทนา เซรามิกน่าจะเป็นจุดหมายที่ควรแวะมาตักตวงพลังสร้างสรรค์นี้เป็นอย่างยิ่ง ในแง่ของศิลปะเซรามิก บ้านนี้คือ pottery studio ที่มี ชือ่ เสียงในระดับนานาชาติมายาวนาน สร้างผลงานทีโ่ ดดเด่น มีเอกลักษณ์อย่างน่าชื่นชม แต่ที่มากไปกว่านั้น คือพลังของ คู่สามี-ภรรยานักสร้างสรรค์ พี่อู๊ดและพี่ไก่ เฉลิมเกียรติอนุรักษ์ บุญคง ที่แค่มานั่งคุยนั่งฟังทั้งคู่ถ่ายทอดความรู้ เกี่ ย วกั บ เซรามิ ก และทั ศ นคติ ในการสร้ า งผลงานก็ ได้ รั บ แรงบันดาลใจในการใช้ชีวิตไปเต็มๆ “การทำ�งานของโมทนาเซรามิกมีอยู่ 3 ส่วน คืองานเชิง พาณิชย์แบบ made to order งานเชิงอนุรักษ์ และงานศิลปะ งานเชิงอนุรักษ์คืองานที่มีสังคโลกเป็นแรงบันดาลใจ ไม่ใช่ การยกมาทัง้ หมด จุดมุง่ หมายของโมทนา นอกจากเราทำ�งาน เพื่อเลี้ยงตัวเองและสั่งสมความรู้ สั่งสมประสบการณ์ และ เราอยากทำ�งานที่จะไปอยู่ในมิวเซียมเพื่อเป็นที่จดจำ�ในยุค ของเรา ในช่วงแรกๆ หลายคนบอกว่าเราไม่รู้จักตัวเอง เรา ลืมรากเหง้า เพราะงานเราไม่ใช่สังคโลก แต่เรากลับคิดว่า อุตสาหกรรมการทำ�สังคโลกที่สุโขทัยเมื่อ 800 กว่าปีก่อน
ซื้อใจ พี่ไก่ อนุรักษ์ บุญคง และ พี่อู๊ด เฉลิมเกียรติ บุญคง โมทนาเซรามิก
ราคา 800 บาท 8
ราคา 500 บาท
สวนกิ่งก้อย ดอยปุย เซรามิกจากดิน สุโขทัยที่ทำ�ให้หัวใจคนปั้นพองโต ภารุจีร์ บุญชุ่ม สวนกิ่งก้อย ดอยปุย
พี่ปุย-ภารุจีร์ บุญชุ่ม คือลูกศิษย์คนเก่งของพี่อู๊ดและ พี่ไก่แห่งโมทนาเซรามิก ที่เข้าไปเรียนรู้งานปั้นอย่างจริงจัง หลังตัดสินใจกลับบ้านเกิดที่สุโขทัย หลังจากชวนคุยยาว ทำ�ให้เรารู้ว่าพี่ปุยเรียนจบมาทาง ด้านสังคมศาสตร์ เริม่ ต้นหลงใหลในงานเซรามิกเพราะอยาก ปัน้ แก้วเป็นของตัวเองหนึง่ ใบ แต่กเ็ ลือกทำ�งานเป็นเจ้าหน้าที่ มหาวิทยาลัยในกรุงเทพฯ ตามวุฒิการศึกษา แต่หลังจาก ถามตัวเองชัดๆ ว่าอยากจะแก่ไปแบบไหน เธอก็ตัดสินใจ กลับบ้านเกิดมารื้อฟื้นศาสตร์เซรามิก และตัดสินใจลงหลัก ปักฐานในสตูดิโอ สวนกิ่งก้อย ดอยปุย “พอกลับมาทำ�ก็ขดุ ดินแถวบ้านมารีด มานวด มาผสม เอง แล้วก็ค้นหาตัวเองด้วยว่า เราควรมีจุดยืนและมีความ ชัดเจนยังไง” นักปัน้ พูดน้อยแต่ท�ำ จริงบอกเล่า ก่อนจะชีช้ วน ให้ดูผลงานสำ�เร็จและที่เตรียมรอเข้าเตาเผาจำ�นวนมาก ซึ่ง สามารถสรุปความชัดเจนของเซรามิกสวนกิง่ ก้อย ดอยปุยว่า คืองานปั้นมือรูปทรงอิสระที่มีคาแร็กเตอร์น่ารักจนเหมือน กับว่าดินเผาเคลือบสีเหล่านั้นมีชีวิตขึ้นได้ด้วยมือของเธอ อีกหนึ่งจุดเด่นนอกเหนือไปจากสไตล์ที่เลียนแบบยาก พี่ปุยยังเลือกใช้ดินจากอำ�เภอศรีสัชนาลัย ซึ่งมีจุดเด่นคือ แร่ เหล็ ก ที่ อ ยู่ ในเนื้ อ ดิ น ซึ่ ง ทำ � ให้ เ กิ ด สี สั นที่ ส วยงามเป็ น เอกลักษณ์ “เมื่อชุบเคลือบแล้วนำ�ไปเผา ดินศรีสัชฯ จะ เหมือนมีความลึกลับซับซ้อน เพราะแร่เหล็กจะรวมตัวกับ สารเคลือบจนเกิดเป็นสีใหม่ ทำ�ให้เราลุ้นอยู่ตลอด” หลังจากคลุกคลีตสี นิทกับดินสุโขทัย และทำ�การทดลอง ด้วยการสร้างผลงานของตัวเองจนอยู่มือ พี่ปุยเริ่มเปิดบ้าน ให้คนที่สนใจเข้ามาเรียนรู้การทำ�เซรามิกในแบบเป็นกันเอง ขึ้นอยู่กับว่าอยากเรียนรู้มากน้อยแค่ไหน สำ�หรับคนมีเวลา น้อยก็สามารถมาเรียนรูห้ ลักการง่ายๆ และลงมือนวดๆ ปัน้ ๆ ตามแต่จินตนาการ ก่อนที่สวนกิ่งก้อย ดอยปุยจะรวบรวม ผลงานเข้าเตาเผาแล้วส่งตามกลับไปให้ทบ่ี า้ น แต่ส�ำ หรับคนที่ สนใจจริงจัง จะอยูโ่ ยงเรียนรูห้ ลายๆ วัน พีป่ ยุ ก็เปิดบ้านเลีย้ ง ข้าวและพาไปเที่ยวเหมือนเพื่อนมาเล่นที่บ้านยังไงยังงั้น
“เวลาคนมาที่บ้านเราก็อยากให้เขาได้รับความสุขและ ได้สิ่งที่ต้องการมากที่สุด วิธีการสอนจะเริ่มจากเขาอยากปั้น อะไรก่อน เพราะในแต่ละงานก็จะใช้เทคนิคไม่เหมือนกัน เหมือนเราสอนพื้นฐานก่อน แล้วให้เขาลองทำ�เอง คอยเป็น ผู้ช่วยให้คำ�แนะนำ�ว่าต้องทำ�อย่างไร เพราะคนปั้นจะรู้ดีที่สุด ว่าเขาต้องการเครือ่ งมือแบบไหนมาใช้ในงาน” ซึง่ ด้วยวิธกี าร เรียนการสอนแบบนี้ ทำ�ให้สวนกิ่งก้อย ดอยปุยเป็นจุดหมาย ของคนที่อยากปั้นอะไรตามใจโดยไม่ต้องมีกฎเกณฑ์หรือ ความงามพิมพ์นิยม เลยรวมไปถึงเด็กๆ ที่กำ�ลังสนุกไปกับ จินตนาการ (และมีพัฒนาการเป็นของแถมชิ้นโต) “งานปั้นเป็นงานที่เขาได้สื่อสารด้วยตัวเขาเอง ทั้งด้วย สิ่งที่เขาชอบ ขนาดของมือ น้ำ�หนักของมือ แค่บีบเนื้อดิน ก้อนหน่ึงออกมาก็ไม่เหมือนกันแล้ว มันคือเอกลักษณ์ของ แต่ละคน ที่เราอยากให้เขารู้สึกมั่นใจในสิ่งที่เขาเป็น” พี่ปุย ยืนยันหนักแน่นถึงสิ่งที่อยู่ในงานแต่ละชิ้น และชี้ชวนให้เรา ดูผลงานของเด็กๆ ที่เคยเข้าร่วมเวิร์กช็อป นั่นยืนยันได้ชัดถึงสิ่งที่พี่ปุยพูด เช่นเดียวกันกับงาน ของสวนกิ่งก้อย ดอยปุยเอง 150 บาท
ซื้อใจ
300 บาท 9
หัวเจอในผ้าตีนจกไทยพวน ที่สุนทรีผ้าไทย
ในภาษาพวน คำ�ว่า ‘หัวเจอ’ แปลว่าหัวใจ และการได้มาพบเจอวิถีทอผ้าของชาวไทยพวน ที่ชุมชนหาดเสี้ยวก็เหมือนการได้เจอ ‘หัวใจ’ ของความ เป็นไทยพวน ผ่านผ้าทอตีนจกสวยประณีต ที่เกิดจาก การใช้ขนเม่นเรียวเล็ก จกเส้นฝ้ายทีละเส้น ทีละเส้น แล้วทอจนเกิดเป็นลวดลายเอกลักษณ์เฉพาะตัว พี่มืด-รวิวรรณ ขนาดนิด แห่งสุนทรีผ้าไทยเล่าให้ ฟังว่า ชาวไทยพวนบ้านหาดเสี้ยวอพยพมาจากเมือง เชียงของ ประเทศลาว ผ่านเส้นทางหลวงพระบาง น่าน อุตรดิตถ์ แพร่ และเลือกลงหลักปักฐานที่สองฟากฝั่ง ริมแม่น้ำ�ยมที่เมืองศรีสัชนาลัยมาอย่างยาวนาน แต่ยัง คงรักษาวิถีชีวิต ประเพณี และความเป็นชาติพันธุ์ไว้ อย่างเหนียวแน่น โดยเฉพาะการทอผ้า ทีล่ กู สาวทุกบ้าน จะต้องทอผ้าเป็น และต้องทอตีนจกได้สวยงามตาม แบบฉบับไทยพวน “พี่ทอผ้าเป็นตั้งแต่อายุ 10 ขวบ ผ้าที่เรานุ่งทุกวัน คือซิ่นตีนดำ�และซิ่นตีนแดง ตีนหมายถึงส่วนล่างของ ผ้าถุง ถ้าเป็นสีแดงแปลว่าคนนุ่งยังเป็นสาวและยังโสด ส่วนหญิงที่แต่งงานแล้วหรือมีอายุหน่อยจะนุ่งซิ่นตีนดำ� ส่วนซิน่ ตีนจกเอาไว้ใส่ไปงานบุญ ไปวัด ไปร่วมพิธสี �ำ คัญ ต่างๆ สาวๆ ทุกคนต้องมีซิ่นตีนจกของตัวเองหนึ่งผืน” พี่มืดเล่าถึงจารีตที่สืบต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่นผ่านกี่ทอผ้า ซึง่ เอกลักษณ์เฉพาะของตีนจกบ้านหาดเสีย้ วคือลวดลาย โบราณ 9 ลาย และ 3 สี ที่บ่งบอกถึงชาติพันธ์ุและ ถิ่นฐาน นั่นคือพื้นตีนจกสีแดง ตัวจกสีเหลือง และซิ่น สีเขียว 10
จากที่เคยทอผ้าใช้เอง คุณแม่สุนทรี ขนาดนิด แม่ของพี่มืดเริ่มนำ�ผ้าทอไทยพวนไปเผยแพร่จนเป็น ทีร่ จู้ กั ในวงกว้างผ่านกลุม่ หัตถกรรมพืน้ บ้านโบราณหาด เสีย้ ว และได้เป็นครูภมู ปิ ญ ั ญาของสภาการศึกษา ความ คิดต่อยอดจากการรวมกลุม่ ทอผ้าขายจึงกลายเป็นศูนย์ การเรียนรูไ้ ทยพวน “เราคิดว่าจะทำ�ยังไงให้นกั ท่องเทีย่ ว เข้าใจผ้าของเรา เพราะในยุคที่ผ้าโรงงานเข้ามาตีตลาด ผ้าไทยทอมือ คนก็จะสงสัยว่าทำ�ไมผ้าทอของเราแพง พอเราทำ�เป็นศูนย์การเรียนรู้ มีสาธิตการทอผ้า แทนที่ จะมาดูได้แค่สินค้า ก็ได้เห็นวิธีทำ�ด้วย จากนั้นก็เริ่ม พัฒนากับองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการ ท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) ต่อ ให้นักท่องเที่ยวได้ลอง ทอผ้าตีนจกเอง เรียนรู้ว่าการจกลายนกคุ้มตัวเล็กๆ มัน ต้องใช้เวลา เขาจะได้รู้คุณค่าของงานผ้าตีนจก และได้ เรียนรู้เรื่องราวที่อยู่ในวิถีชีวิตของเรา ที่เลือกลายนกคุ้ม คือการคุ้มเหย้า คุ้มเรือน คุ้มผัว คุ้มเมีย เป็นการครอง เรือนกันอย่างมีความสุข เพราะลักษณะของลายเป็นนก คาบดอกไม้หันหน้าเข้าหากัน” พี่มืดเล่าถึงความหมาย น่ารักของลายที่อยู่บน ‘ผ้าเซ็ดสบ’ หรือผ้าผืนจิ๋วที่ชาว ไทยพวนเอาไว้เช็ดปากเวลาเคี้ยวหมากในอดีต ก่อนจะ แนะนำ�กิจกรรมใหม่คือการนำ�ผ้าทอชิ้นเล็กๆ มาอยู่ใน กรอบไม้ เป็นของแต่งบ้านชิ้นเก๋ที่นักท่องเที่ยวสามารถ นำ�กลับไปใช้ได้อีกชิ้น “คนทอผ้าเหมือนเป็นศิลปิน เขาจะไม่ค่อยยุ่งกับ ใคร และอาศัยดูลายผ้าจากผ้าเก่าแล้วทอตาม แต่คน รุ่นใหม่ที่มาดูไม่เป็น ต้องดูจากกราฟ เราก็ต้องถอดลาย เป็นกราฟออกมา และฝึกให้คนทอผ้าอ่านกราฟและ สือ่ สารกับคนรุน่ ใหม่ให้ได้ ซึง่ ตรงนีเ้ ป็นเรือ่ งทีส่ �ำ คัญกว่า การที่นักท่องเที่ยวได้มาเรียนรู้อีก เพราะเราได้ฝึกการ ถ่ายทอดสิง่ ทีเ่ รามี เทคนิคของคนทอผ้าแต่ละคนอาจจะ ไม่เหมือนกัน เพราะทุกคนเรียนรู้มาจากต่างครอบครัว
กัน แต่มนั ก็เป็นเสน่หแ์ ละเป็นความภูมใิ จ คนทอผ้าบอก ได้ว่า การทำ�งานนี้มีความสุขอย่างไร มันได้มากกว่า ค่ากิจกรรมที่นักท่องเที่ยวมาเรียนกับเรา แต่มันคือการ ได้ทำ�งานร่วมกัน ได้พัฒนาไปพร้อมๆ กัน” พี่มืดเล่า ทัง้ รอยยิม้ เพราะในฐานะชาวไทยพวน เธออยากต่อยอด ภูมิปัญญานี้ให้อยู่ต่อไปได้นานๆ และด้วยความตั้งใจที่ว่า ทำ�ให้พี่มืดเป็นมากกว่า โต้โผใหญ่ในการรวมกลุ่มคนทอผ้าเชิงอนุรักษ์ พี่มืด ยังหันมาเปลี่ยนผ้าทอพื้นถิ่นให้ร่วมสมัย เปลี่ยนเนื้อผ้า แข็งกระด้างด้วยการต้มและฟอกให้นิ่มจนใส่สบาย ซัก เครือ่ งได้ สีไม่ตก เปลีย่ นสีสนั ของเส้นฝ้ายให้ตอบเทรนด์ ตามใจคนรุ่นใหม่มากขึ้น รวมไปถึงสร้างแบรนด์ SUNTRE3 (อ่านว่า ซันทรี) ที่ร่วมทำ�งานกับดีไซเนอร์ทั้ง ชาวไทยและชาวต่างชาติ พัฒนาผลิตภัณฑ์เก๋ไก๋ที่นำ� 3 เทคนิคการทอตีนจกแบบไทยพวนแท้ อันได้แก่ จก ยก เข็น มาสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ทั้งหมวก กระเป๋า เก้าอี้ โคมไฟ ของแต่งบ้าน และอีกมากที่เท่เอามากๆ “เราทำ�เรื่องสมัยใหม่ แต่ก็ไม่ทิ้งอันเดิม เพราะ มันคือรากเหง้าที่เราต้องรักษาไว้ ก็เลยทำ�มาควบคู่กัน จะพัฒนาอะไรก็ขอให้ยังมีเทคนิคเดิมของเราอยู่ งาน ทุกชิ้นจะได้มีเรื่องราวของเราอยู่ตรงนั้นว่าเราใช้วิธีการ อย่างไร โชคดีที่เราเปิดให้คนเข้ามาทำ�งานกับเรา และ ยอมรับในส่ิงที่เขาคิดโดยที่เราเป็นพื้นฐาน มันสามารถ ทำ�งานร่วมกันได้ถ้าเรามีจุดมุ่งหมายเดียวกัน ดีไซเนอร์ ไม่รู้เรื่องผ้า เราไม่รู้งานดีไซน์ แต่ก็ทำ�งานร่วมกันได้ คน ทอผ้าก็ตน่ื เต้นทีไ่ ด้ท�ำ อะไรใหม่ๆ เป็นความภูมใิ จร่วมกัน” และหากเราอยากร่วมเป็นหนึ่งในความภูมิใจนั้น การได้เข้าไปลองเรียนรู้ ‘หัวเจอ’ ของผ้าตีนจกไทยพวน ที่สุนทรีผ้าไทย น่าจะทำ�ให้เราเข้าใจสิ่งที่พี่มืดพยายาม บอกกับเราด้วยรอยยิ้มตลอดการสนทนา
ซื้อใจ
รวิวรรณ ขนาดนิด สุนทรีผ้าไทย
ราคา 2,500 บาท 11
รสอร่อยชวนอิ่มอกอิ่มใจในแบบที่สุโขทัยเป็น
ก๋วยเตี๋ยวตาปุ้ย มาสุโขทัยก็ต้องกินก๋วยเตี๋ยวสุโขทัย และในบรรดาร้านใหญ่ เจ้าดัง เราชอบตาปุ้ยในความฟูลออพชั่นของการบริการ ละลานตา ไปด้วยเครื่องเคราหน้าหม้อก๋วยเตี๋ยวให้มองแม่ครัวหยิบๆ ปรุงๆ อย่างเพลินใจ เด็ดที่น้ำ�ตาลปี๊บ กากหมู ถั่วฝักยาวหั่นแฉลบ และ ถั่วลิสงคั่วใหม่พอให้เคี้ยวกรุบ เสิร์ฟมาในชามดินเผาจากทุ่งหลวง บ้านเดียวกัน นอกจากนีย้ งั มีเมนูเด็ดเป็นผัดกะเพราผูว้ า่ ฯ สูตรเฉพาะ ทีท่ า่ นผูว้ า่ สุโขทัยขอให้เอาหมูแดงเครือ่ งก๋วยเตีย๋ วไปผัดแบบจัดจ้าน ให้หน่อย โปะไข่ดาวอีกนิดก็ฟินไม่แพ้ก๋วยเตี๋ยวเลย
ลุงจ้อย ไม่ควรพลาดหากอยากชิมจิตวิญญาณท้องถิ่น ที่ร้านลุงจ้อย มีรายการปลาจากแม่น้ำ�ยมสดๆ ทั้งปลาค้าว ปลาเนื้ออ่อน ปลา รากกล้วย ปลากด ปลาคัง ที่จับได้ในวันนั้นๆ เนื้อแน่นไร้กลิ่น โคลนกลิ่นคาวแบบปลาเลี้ยงบ่อให้รำ�คาญใจ วิธีปรุงก็เด็ดขาด หากสั่งต้มโคล้งปลาย่าง รู้ไว้เลยว่าคือปลาที่ก่อเตาผิงไฟย่างเอง ให้ระอุควันหอมๆ ส่วนเมนูซิกเนเจอร์มีทั้งดอกโสนฉาบไข่ (เริ่ดกว่า ผัดไข่เพราะไข่ถกู ผัดแบบพอดิบพอดีฉาบดอกโสนกำ�ลังอร่อย) หลน ไข่ปลา น้ำ�พริกปลาย่าง ถามถึงเคล็ดลับ นอกจากปลาสด ไม่หวง เครื่อง เรื่องเล็กๆ น้อยๆ อย่างการเลือกพริกที่ปลูกในสวนสุโขทัย ยังให้กลิ่นรสเผ็ดหอมจัดจ้านที่ถูกใจเป็นที่สุด 12
ป้าแอ๊ด ปลาแม่น้ำ� อีกร้านชิลล์แบบบ้านๆ ริมแม่น้ำ�ยมที่อบอุ่นใจเหมือน
มาบ้านป้าที่ทำ�อาหารอร่อย ป้าบอกว่าสูตรเด็ดเคล็ดลับ เมนูต่างๆ ในร้านมาจากอาหารการกินสมัยอยู่แพ เพราะ ตอนนัน้ จับปลาได้อย่างง่ายดายจนเบือ่ จะกินปลา ก็พยายาม พลิ ก แพลงเมนู เรื่ อ ยมา เบื่ อ แกงกะทิ ก็ แ กงป่ า แกงส้ ม ผัดพริก ผัดขิง สลับกันไป ซึ่งเมนูเด็ดคือฉู่ฉี่ปลาเนื้ออ่อน ซึ่งจะเป็นแบบพริกสดหอมฉุนแปลกไปจากฉู่ฉี่เมืองไหน และถ้าหากสั่งเมนูนี้อาจต้องรอนานนิดเพราะป้าแอ๊ดต้อง โขลกพริกแกงทีละจานเพื่อความเพอร์เฟกต์สูงสุด อาหาร ส่วนใหญ่เป็นเมนูง่ายๆ แต่บอกเลยว่า ต้มยำ�ปลาช่อน ไข่เจียวหมูสับ หรือแม้แต่ซี่โครงหมูทอดที่ดูสามัญธรรมดา รสชาตินั้นอร่อยเกินมาตรฐานไปมาก
หมีข้าวพันผัก
อีกร้านชิลล์ริมน้ำ�ยมที่ให้เรากินข้าวเปิ๊บ ข้าวพันผัก ไข่ม้วน และเมนูนุ่มลิ้น ละลายใจ ในเพิ ง ไม้ ล มโชย ป้ า หมี เจ้ า ของร้ า นบอกว่ า ปรั บ ปรุ ง สู ต รจากข้ า วพั น ผั ก เมื อ งลั บ แล มา ขายคู่ กั บ ข้ า วเปิ๊ บ อั น เป็ น เมนู ดั้ ง เดิ ม ของชาว ศรีสัชนาลัย และเพราะความอร่อยชวนติดใจ และทำ�สดใหม่ทุกจาน ความน่ารักอีกอย่างคือ ข้าวพันผักร้านนี้เสิร์ฟในชามสังคโลกเขียนลาย เฉพาะแบบคัสตอมเมด ช่วยกันโปรโมตเสน่ห์ ของท้องถิ่นแบบร่วมด้วยช่วยกันอร่อย!
13
จุดพักเติมความชื่นใจ ของเหล่าคาเฟ่ฮอปปิ้ง
จงกลคาเฟ่ ร้านกาแฟที่ตั้งตามชื่อของคุณ ยายแห่งนี้ คือคาเฟ่เก๋ไก๋ในบรรยากาศ ร่มรื่นเกินหน้าเกินตาร้านกาแฟทั่วไป ถามไถ่ได้ความว่าพี่สาวเจ้าของร้าน เป็นสไตลิสต์ ส่วนบาริสต้าหนุ่มก็ให้ ความสำ � คั ญ กั บ เมนู เครื่ อ งดื่ ม เป็ น พิเศษ เราจึงได้ชิมเมนูสนุกๆ อย่าง T(h)ree Brother ที่รวมตัวกันระหว่าง ชาเขียว โกโก้ และเอสเพรสโซเข้มข้น เมโน่โซดาทีค่ ดั สรรเม็ดกาแฟหลายตัว มาสร้ า งเมนู ส ดชื่ น ไปจนถึ ง ลาเต้ อัญชันสีสวยหวาน นอกจากนี้ข้างๆ ร้านยังมีก๋วยเตี๋ยวสุโขทัยและผัดไทย สูตรโบราณมากให้สงั่ ขึน้ มากินสำ�หรับ คนอยากอิ่มท้อง
379 drip
คาเฟ่ที่ซ่อนตัวอยู่อย่างลึกลับกลางเมืองสุโขทัย ในพิกัดร่มรื่นใต้ถุนเรือนไม้ที่เก๋ไก๋กำ�ลังดี ร้านนี้เสิร์ฟ กาแฟ specialty หลายตัว เน้นการดริปแบบพิถีพิถัน จริงจัง และใส่ใจ แต่ใครอยากสั่งเมนูกาแฟทั่วไปก็มี เสิรฟ์ ให้ในบรรยากาศเย็นๆ เหมือนนัง่ เล่นอยูข่ า้ งโอ่งน้�ำ จึงไม่แปลกที่พิกัดร้านจะลึกลับ แต่ก็มีลูกค้าแวะมา ที่บ้านเลขที่ 379 นี้ไม่ขาดสาย
14
ที่พักชวนประทับใจในสุโขทัย ใครว่าสุโขทัยเป็นเมืองที่ไม่ต้องอยู่นาน ลองแวะมาเอกเขนกใจ ในทีพ ่ ก ั น่ารักเหล่านี้ รับรองว่าจะอยากอยูย ่ าวๆ จนไม่อยากเช็กเอาต์!
If you want to Hostel
แน็ก-ปริวัฒน์ วิเชียรโชติ บอกว่าโฮสเทลแห่งนี้คือการกลับบ้านของเขา เขาเป็นคนสุโขทัยโดยกำ�เนิด เคยเป็นครีเอทีฟโฆษณา เคยทำ�ร้านอาหาร เขากลับมาเปิดโฮสเทลที่บ้านเกิดของตัวเองเพราะอยากสร้างคอมมิวนิตี้ให้กับ นักท่องเที่ยวที่ชอบวิถีชีวิตง่ายๆ สบายๆ แบบที่โฮสเทลทั่วโลกเป็น นอกจากที่พักทั้งแบบดอร์มนอนรวมและห้อง เดี่ยว เขายังจัดสรรพื้นที่สำ�หรับลิฟวิ่งรูม นั่งสบาย คอมมอนรูม ไว้เป็นที่พบปะแลกเปลี่ยนของนักท่องเที่ยวหลากสัญชาติ ห้องครัวที่เปิดให้ทุกคนได้ตั้งเตา ปรุงเมนูกันอย่างอิสระ เลยรวมไปถึงดาดฟ้านั่งชิลล์ ให้นักท่องเที่ยวได้ใช้เวลาร่วมกัน แม้สิ่งเหล่านี้จะยัง ไม่เคยมีในสุโขทัย แต่กเ็ ป็นมาตรฐานทีโ่ ฮสเทลทัว่ โลก มี เขาจึงตัดสินใจทำ�สิ่งที่มากกว่านั้น co-host คือนิยามของสิ่งที่เขาทำ� “เราพยายามสร้างสังคมที่ทำ�ให้ทั้งลูกค้าและ คนในชุมชนรู้คุณค่าของตัวเอง ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร เมื่อคุณมาที่นี่คุณจะพบคุณค่าของตัวเอง เราเปิดกว้างให้อาสาสมัครเข้ามา ร่วมทำ�กิจกรรม และเปิดให้คนในชุมชนมาร่วมทำ�อะไรดีๆ เช่น มีอาจารย์ คนหน่ึงชอบไปคุยกับฝรั่งตามที่ต่างๆ เพื่อฝึกภาษา แต่เกสต์เฮาส์ส่วนใหญ่ จะไม่อนุญาตเพราะรู้สึกว่าเป็นการรบกวนแขกที่มาพัก แต่เราเปิดรับและ ชวนมาทำ�กิจกรรมร่วมกัน จนแขกที่มาพักก็ไปสอนภาษาอังกฤษให้กับเด็ก ที่โรงเรียน กลายเป็นกิจกรรมใหม่ๆ ที่ได้แบ่งปันสู่ชุมชนด้วย” แน็กบอกว่าการแบ่งปันของนักท่องเที่ยวที่มาเป็นเหมือนการขับคุณค่า ในตัวเองและได้สัมผัสถึงการทำ�อะไรเพื่อคนอื่น เขาเล่าว่า วันก่อนเพิ่งมี โคโฮสต์มาจากญี่ปุ่น เปิดครัวสอนเพื่อนๆ ในโฮสเทลทำ�ซูชิ ส่วนวันก่อน เขาก็รวมกลุ่มนักท่องเที่ยวไปลงโคลนจับปลากับชาวบ้าน แน่นอนว่าเหล่า นักท่องเที่ยวได้สนุกกับกิจกรรมแปลกใหม่ แต่คนที่สนุกและสุขกว่าดูจะเป็น ชาวสุโขทัยที่ได้ภูมิใจในความเป็นตัวเอง “เราพยายามขยับตัวเองให้เป็น destination คือเราไม่ได้อยากชวน ให้คนมาสุโขทัยแล้วมาพักที่เรา แต่เราอยากชวนให้คนมา If you want to Hostel แล้วออกไปเที่ยวสุโขทัย” ใครอยากยกมืออาสาไปเป็นโคโฮสต์ตั้งแต่บรรทัดนี้ เตรียมเก็บกระเป๋า ได้เลย! 15
Nakorn De Sukhothai Hip Hotel and Hong Rama Tearoom โรงแรมและคาเฟ่ทสี่ ร้างอยูบ่ นพืน้ ทีเ่ ก่าของหงษ์รามา โรงหนังใหญ่ประจำ�เมืองสุโขทัย เหมาะกับนักเดินทางทีช่ อบ ความสะดวกสบายแต่เป็นมิตรแบบโรงแรมขนาดเล็ก อยู่ ใจกลางเมืองที่สามารถเดินเล่นได้เพลินๆ หาของอร่อยกิน ได้ง่ายๆ เพราะใกล้ตลาดโต้รุ่ง และถ้าไม่อยากไปไหนไกล คาเฟ่และร้านอาหารด้านล่างก็เสิร์ฟทั้งอาหารไทยจานโต เมนูตะวันตกรสเด่นที่คนในพื้นที่ก็แวะมาอุดหนุนแน่นร้าน ทุกวัน เลยรวมไปถึงกาแฟและชาที่มีเมนูให้เลือกมากมาย ในบรรยากาศเย็นฉ่�ำ สูอ้ ณ ุ หภูมริ อ้ นฉ่าแบบสุโขทัยได้สบาย เลย
Sukhothai Garden อยากตื่ น เช้ า ทั น พระอาทิ ต ย์ สี ส้ ม และปั่ น จั ก รยานไปถึ ง อุ ท ยาน ประวัติศาสตร์ได้เลย สุโขทัยการ์เด้น คือทางเลือกที่น่ารัก ด้วยที่ตั้งในซอย สุโขทัยนครเขตเมืองเก่า แต่ไม่แออัด แน่นหนาเท่าเกสต์เฮาส์ริมถนน ห้อง พักดีได้มาตรฐาน มีสวนสีเขียวให้มอง เพลินใจ มีบ้านไม้หลังเก่าที่สวยและ ขลั ง กำ � ลั ง ดี ที่ สำ � คั ญ คื อ มี คุ ณ ลุ ง สุธัมม์เจ้าของบ้านคอยต้อนรับขับสู้ ด้วยความยิ้มแย้ม ผู้เปิดบ้านเก่าของ ตัวเองเพื่อเพิ่มรายได้ให้คนในชุมชน ทีม่ าทำ�งานด้วยกัน พร้อมๆ กับอยาก ให้นักท่องเที่ยวประทับใจในการมา เยือนสุโขทัยด้วยการบริการที่ดี 16
แนะนำ�เส้นทางเที่ยวตามแต่ใจ พร้อมพิกัดให้แวะพัก แวะอร่อย 1
สนามบินสุโขทัย/ สนามบินพิษณุโลก
สุนทรีผ้าไทย
หมีพันผัก
ที่อยู่ : 329 หมู่ 6 ต. หนองอ้อ อ. ศรีสัชนาลัย จ. สุโขทัย โทร. 089-858-8576
ที่อยู่ : 55 หมู่ 2 ถ. พิศาลดำ�ริ ต. หาดเสี้ยว อ. ศรีสัชนาลัย จ. สุโขทัย เวลา : เปิดอังคาร-อาทิตย์ (หยุดวันจันทร์) 08:00-17:00 น. โทร. 085-146-4244
Hong Rama Tearoom
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง
ที่อยู่ : 35 ถ. ประเสริฐพงษ์ ต. ธานี อ. เมือง จ. สุโขทัย เวลา : เปิดทุกวัน 08:00-16:00 น. โทร. 055-611-833
2
สนามบินสุโขทัย
จงกลคาเฟ่
โมทนาเซรามิก
ที่อยู่ : 107/4 ต. บ้านคลองกระจง อ. สวรรคโลก จ. สุโขทัย เวลา : เปิดทุกวัน 08:00-16:00 น. โทร. 064-313-3271
ที่อยู่ : 912 ต. เกาะตาเลี้ยง อ. ศรีสำ�โรง จ. สุโขทัย โทร. 086-443-2628, 094-714-6145
สุโขทัยการ์เด้น
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
ที่อยู่: 119 ซ. สุโขทัยนคร 1 ต. เมืองเก่า อ. เมือง จ. สุโขทัย โทรศัพท์: 084-751-1533
3
สนามบินสุโขทัย/ สนามบินพิษณุโลก
ก๋วยเตี๋ยวตาปุ้ย
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำ�แหง
ที่อยู่ : 2/147 สี่แยกคลองโพธิ์ ถ. จรดวิถีถ่อง ต. ธานี อ. เมือง จ. สุโขทัย เวลา : เปิดทุกวัน 07:30-16:00 น. โทร. 055-620-435
บ้านปรีดาภิรมย์
บ้านพระพิมพ์ลักษมณศิลป์
ที่อยู่ : 291/1 หมู่ 3 ต. เมืองเก่า อ. เมือง จ. สุโขทัย โทรศัพท์: 095-609-7855
ที่อยู่ : 51/7 หมู่ 8 บ้านเชตุพน ต. เมืองเก่า อ. เมือง จ. สุโขทัย โทร. 089-643-6219, 081-197-0535
สุโขทัยการ์เด้น
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
4
อุทยานประวัติศาสตร์ ศรีสัชนาลัย
สนามบินสุโขทัย/ สนามบินพิษณุโลก
ที่อยู่: 119 ซ. สุโขทัยนคร 1 ต. เมืองเก่า อ. เมือง จ. สุโขทัย โทรศัพท์: 084-751-1533
บ้านสวนกิ่งก้อย ดอยปุย
ลุงจ้อย
ที่อยู่ : 170/5 หมู่ 1 ต. บ้านหลุม อ. เมือง จ. สุโขทัย โทร. 089-484-9136
ที่อยู่: 204 หมู่ 7 ถ. จรดวิถีถ่อง ต. ธานี อ. เมือง จ. สุโขทัย เวลา: เปิดทุกวัน 10:00 - 22:00 น. โทร. 055-620-308
If you want to Hostel
ป้าแอ๊ด ปลาแม่น้ำ�
ที่อยู่ : 1-3 ถ. นิกรเกษม ต. ธานี อ. เมือง จ. สุโขทัย โทร. 063-779-7601
ที่อยู่ : ซ. วัดคูหาสุวรรณ ต. ธานี อ. เมือง จ. สุโขทัย เวลา : เปิดทุกวัน 11:30-23:00 น. โทร. 084-122-6425
17
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
เย็นหัวใจในเมืองน่าน
ก่อนหน้านี้เราแทบจะไม่รู้จักเมืองที่ซ่อนอยู่ในหุบเขาแห่งนี้ไปมาก กว่าต้นกำ�เนิดของแม่น้ำ�น่านที่ไหลรวมมาเป็นแม่น้ำ�สายหลักอย่างเจ้าพระยา จนกระทัง่ การเดินทางผ่านหุบเขามายังเมืองเหนือฝัง่ ตะวันออกนี้ เร่ิมสะดวกสบายขึ้น ประกอบการรวมตัวกันทำ�กิจกรรมน่ารักของคนน่าน ทำ�ให้เมืองเล็กๆ แห่งนี้ยิ้มให้และต้อนรับเราด้วยบรรยากาศเย็นใจ และ กลายเป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวรักความสงบ ชอบความ รื่นรมย์ และหลงเสน่ห์เรียบง่ายในเมืองเก่าแก่ที่แสนเย็นใจแห่งนี้ หลายปีผ่านไป น่านกลายเป็นเมืองท่องเที่ยวยอดฮิต เชื่อว่าหลาย คนต้องเคยมาถ่ายรูป (หรืออย่างน้อยก็เห็นเพื่อนแชร์รูปในโซเชียลมีเดีย) ซุ้มต้นลีลาวดีหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน ปั่นจักรยานไปกินของ หวานป้านิ่ม เซลฟี่กับปู่ม่านย่าม่านที่กระซิบรักกันอยู่ที่ผนังวัดภูมินทร์ ให้คนที่ไม่ได้มาด้วยอิจฉาเล่นกันมานักต่อนัก แต่นน่ั ยังไม่ใช่นา่ นทีเ่ ราอยากพาไปรูจ้ กั เพราะสิง่ ทีม่ ากไปกว่าสถานที่ เนื้อหอม น่านยังมีชุมชนน่ารัก ร้านค้าน่าแวะ วัฒนธรรมน่าทำ�ความรู้จัก และประสบการณ์ท่ีจะประทับลงไปในใจ มากไปกว่าการบันทึกไว้ด้วย รูปถ่ายอย่างที่เราคุ้นชิน และประสบการณ์ที่ว่า จะถูกบันทึกไว้ผ่านการลงมือทำ�
18
เมื่อการเดินทางทำ�ให้เราจดจำ� มากกว่าท่องจำ� หลังทำ�ความรู้จักสุโขทัยไปในทริปก่อน เราคงยัง พอจำ�กันได้ว่าสุโขทัยกับล้านนาเป็นเหมือนเพื่อนสนิท ทีเ่ กือ้ กูลกันมาบนเส้นทางประวัตศิ าสตร์ การได้มาเยือน เมื อ งน่ า นจึ ง เป็ น เหมื อ นการตรวจคำ � ตอบและยื น ยั น สิ่งที่เราได้เรียนรู้จากการเดินทาง ด้วยความที่พญาลิไทได้เสกสมรสกับธิดาเจ้าเมือง น่าน ความสัมพันธ์ของทั้งสองเมืองจึงแน่นแฟ้น เราจึง พบหลักฐานมากมายที่ยืนยันความเกื้อกูลใกล้ชิดนี้ ไม่ ว่าจะเป็นตัวอักษรในจารึกที่พัฒนามาจากลายสือไทย ของสุโขทัย พระธาตุแช่แห้ง ที่พญากรานเมืองสร้าง เพื่อบรรจุพระธาตุที่ได้รับพระราชทานมาจากพญาลิไท เลยรวมไปถึง วัดพระธาตุช้างค้ำ�วรวิหาร ที่มี เจดีย์ ช้างค้�ำ ทีค่ ล้ายคลึงกับวัดช้างล้อมทีศ่ รีสชั นาลัย และยัง มี พระพุทธนันทบุรีศรีศากยมุนี พระทองคำ�ซึ่งสร้าง ตามอย่างศิลปะสุโขทัยประดิษฐานอยู่ด้วย
หลังจากสุโขทัยเสื่อมอำ�นาจ ล้านนาก็เข้ามามีอิทธิพลให้เห็นผ่าน สถาปัตยกรรมต่างๆ อาทิ กระเบื้องจังโกที่ครอบองค์พระธาตุแช่แห้งใน เวลาต่อมาก็เป็นอิทธิพลจากล้านนาและพุกาม ส่วนสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ เราก็เร่มิ เห็นอิทธิพลตะวันตกอย่างการประดับประดาปูนปัน้ รูปใบอะแคนตัส ที่ช่างพม่าซึ่งเข้ามาในพื้นที่หลังเปิดสัมปทานป่าไม้ เลยรวมไปถึงอิทธิพล จากกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นด้วย ถ้าจะแวะไปเก็บภาพซุ้มลีลาวดี อย่าลืมมองหา วัดน้อย ที่มีประวัติ ความเป็นมาน่าสนใจไม่น้อย ตามประวัติเล่าว่า พระเจ้านครน่านได้เข้าเฝ้า รัชกาลที่ 5 และทูลว่าน่านมีวัดทั้งหมด 500 วัด แต่เมื่อกลับมาสำ�รวจ พบว่ามี 499 วัด จึงโปรดฯ ให้ช่างพื้นเมืองก่อสร้างวัดขนาดกะทัดรัดนี้ ตรงโคนต้นโพธิ์หน้าหอคำ�ที่ประทับ และตั้งชื่อว่าวัดน้อยให้สมกับขนาด 19
ส่วน วัดภูมินทร์ ยอดฮิต นอกจากจะไปมองหา ปู่ ม่ า นย่ า ม่ า นกระซิ บ กระซาบกั น เราต้ อ งรู้ เพิ่ ม เติ ม อีกหน่อยว่าปู่และย่าไม่ได้มีความหมายแบบภาษาไทย เพราะคำ�ว่า ม่าน หมายถึงพม่า คำ�ว่าปู่คือคำ�ที่ใช้เรียก ชายที่พ้นวัยเด็ก ส่วนย่า (ซึ่งจริงๆ ออกเสียงว่า ง่า) คือ คำ�เรียกหญิงสาว และอันที่จริงภาพอื่นๆ ในโบสถ์ก็ น่าสนใจ เพราะนอกจากจะเล่าเรือ่ งตามชาดก ยังบันทึก วิถีชีวิตชาวไทลื้อและฝรั่งมังค่าที่เริ่มเข้ามาในพื้นที่ใน ช่วงรัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นเวลาที่ ‘หนานบัวผัน’ ได้เขียน ภาพนี้ไว้
แต่ถ้าอยากจะตามเก็บงานของหนานบัวผันต่อ ต้องข้ามไปที่อำ�เภอท่าวังผา แล้วแวะไปที่ วัดหนองบัว ที่สันนิษฐานว่าหนานบัวผันมาสร้างสรรค์ผลงานเอาไว้ เพราะมีการใช้สีและภาพที่คล้ายคลึงกันจนสามารถ ชวนเพื่อนร่วมทริปมาเล่นโฟโต้ฮันต์์ด้วยกันได้เลย และคงจะฟินยิ่งกว่า ถ้าเลยเถิดไปเที่ยวเมืองปัว ขึ้น ดอยภูคา ไปสูดไอหมอก แวะสักการะ ศาลเจ้า หลวงภูคา ปฐมกษัตริย์แห่งเมืองน่าน แล้วเลี้ยวรถ ลัดเลาะไปจนถึง บ่อเกลือ ชิมรสเค็มที่เก่าแก่ระดับ เคยส่งออกไปยังอาณาจักรสุโขทัย เชียงใหม่ เชียงตุง หลวงพระบาง ไปยันสิบสองปันนา รับรองว่าทริปนี้จะทำ�ให้จำ�ได้ขึ้นใจในทุกเรื่องราว โดยไม่ต้องเสิร์ชกูเกิล!
20
ความรื่นรมย์ในใจเมื่อได้มาเยือน โฮงเจ้าฟองคำ� ของลูกหลาน อีกเรือนเล็กสำ�หรับคนที่ทำ�งานให้ในคุ้ม อีกเรือนคือครัวไฟซึ่งก็คือห้องครัว ส่วนอีกเรือนที่อยู่หน้า บ้านก็คือยุ้งข้าว เพราะเราถือว่าข้าวเป็นส่วนสำ�คัญของ บ้าน ทำ�นาได้ก็เอามาเก็บไว้ ข้าวของก็ทำ�ใช้กันเอง” แม่ ภัทร-ภัทราภรณ์ ปราบริปู ลูกสาวของเจ้าฟองคำ�เล่าถึง เรือนในบ้านและวิถีชีวิตที่ท่านเห็นมาตั้งแต่เล็กแต่น้อย เครื่องเรือนยุคเก่าและข้าวของในอดีตล้วนจำ�ลองวิถี ชีวิตของคนในคุ้มที่อยู่กันอย่างร่มเย็นและเรียบง่าย แต่ เมื่อเพ่งมองรายละเอียด เราจะพบมรดกทางวัฒนธรรม ซ่อนอยู่ในงานฝีมืองดงาม เช่น ลายปักผ้าหน้าหมอน อันแสนประณีต หรือผ้าทอแสนสวยที่ช่างรุ่นเก่ายังคง เหยียบกี่กระตุกลายกันอย่างขะมักเขม้นที่ใต้ถุนเรือน ว่ากันตามประวัติ เจ้าฟองคำ�เคยเป็นหัวหน้าช่างทอ ดูแลงานปัก ถัก ทอในราชสำ�นักที่คุ้มราชบุตร แม่ภัทร จึงยังคงรักษาฝีมือช่างเมืองน่านเอาไว้ไม่ให้สูญหาย “น่านเป็นเมืองเล็กๆ ติดต่อกับใครยาก ทุกบ้านจึง ต้องมีกี่ทอผ้า เราต้องปลูกฝ้ายกันเองและทอผ้าเป็น ถ้า เป็นลูกสะใภ้ก็ต้องทอให้พ่อให้แม่ ทอให้สามี ทอให้ตัวเอง ทอให้ลูก เมื่อก่อนเรามีเสื้อผ้ากันไม่กี่ชุด ขึ้นปีใหม่ทีก็ต้อง ทอผ้าใหม่ พอแต่ละคนคิดว่าอยากใส่ไปโชว์กันที่วัดเลย เกิดผ้าหลากหลายแบบที่ไม่เหมือนกัน แล้วแต่ใครจะทอ อย่างไร ไม่มกี ารทำ�เลียนแบบกัน ใช้สใี หม่ ลายใหม่ อยาก ได้สีอะไรก็ย้อมเอา” แม่ภัทรเล่า ก่อนที่แม่ๆ ใต้ถุนเรือน จะช่วยกันอธิบายการทอผ้าทีเ่ ต็มไปด้วยเรือ่ งราวผ่านเสียง สะล้อและกระบวนการทอผ้าที่แสนจะมีเสน่ห์ และทำ�ให้เราจดจำ�เรือนไม้หลังนี้ไว้ ในหมวดของ ความรื่นรมย์ใจในแบบที่น่านเป็น
ภาพเรื อ นไม้ ใ ต้ ถุ น สู ง ท่ า มกลางต้ น ไม้ ร่ ม รื่ น และ อากาศเย็นสบาย สร้างความรื่นรมย์ใจให้เราเพียงแค่ก้าว เท้าเข้ามาเยือน แต่เมื่อได้ทำ�ความรู้จักกับเรือนหลังนี้ ได้ เรี ย นรู้ เรื่ อ งราวที่ โลดแล่ น อยู่ ในผู้ ค น ผื น ผ้ า และราย ละเอียดที่มีชีวิตในแต่ละมุม เรายิ่งรู้สึกรื่นรมย์ใจในความ เป็นน่านและประวัติศาสตร์ที่ส่งต่อกันมายาวนาน โดย แรกเริ่มเดิมที เรือนหลังนี้คือคุ้มของเจ้าศรีตุมมา อธิบาย ง่ายๆ ว่าคือผู้มีศักดิ์เป็นหลานของเจ้ามหาวงศ์เจ้าผู้ครอง นครน่านองค์ที่ 6 จนตกทอดต่อกันมายังเจ้าฟองคำ�ผู้เป็น เหลน จึงถูกเรียกว่าโฮงเจ้าฟองคำ�นับแต่นั้น และด้วยการ อนุรักษ์ความเป็นบ้านล้านนาโบราณไว้อย่างครบถ้วน โฮงเจ้าฟองคำ�จึงได้รับรางวัลอนุรักษ์สถาปัตยกรรมดีเด่น จากสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ และ เปิ ด ให้ บุ ค คลทั่ ว ไปเข้ า เยี่ ย มชมพิ พิ ธ ภั ณฑ์ มี ชี วิ ต แห่ ง นี้ โดยไม่หวงห้าม “ตามธรรมเนียม เรือนเจ้านายจะมี 6 หลัง เรือน คู่แฝดจะเป็นเรือนพักอาศัยสำ�หรับเจ้าบ้าน อีกหลังเป็น
ภัทราภรณ์ ปราบริปู โฮงเจ้าฟองคำ�
21
ลงมือทำ�โคมส่องใจที่บ้านโคมคำ� เมื่ อ เราลองสั ง เกต เราจะพบเรื่ อ งราวโดยสั ง เขป ของที่นั่นเช่นที่เราได้ไปกราบสักการะพระธาตุหรือแวะไป เที่ยววัดในเขตเมืองน่าน สิ่งที่สังเกตเห็นได้ทั่วไปคือโคม กระดาษสาท้องถิ่นที่แขวนประดับประดาอยู่ตามชายคา และระเบียงคต ถามคนเก่าคนแก่ก็จะได้ความว่า ในอดีต ที่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้ คนต้องอาศัยแสงสว่างจากตะเกียง ส่วนโคมกระดาษที่เรียกว่าโคมมะเต้าเป็นสิ่งที่ใช้ในคุ้มใน วัง จึงถือเป็นสิริมงคล เวลาวันพระใหญ่ชาวบ้านจึงนิยม ทำ�โคมมะเต้าไปถวายวัดก่อนฟังเทศน์ฟงั ธรรมเพือ่ เป็นพุทธ บูชา แม้ว่าปัจจุบันไฟฟ้าจะส่องสว่างจนไม่ต้องพึ่งแสงไฟ จากโคมโบราณ แต่กม็ กี ารรือ้ ฟืน้ จารีตในอดีตกลับมา ด้วย เชื่อว่าหากทำ�โคมไปถวายในวันปีใหม่หรือวันเกิดจะทำ�ให้ ชีวิตพบแสงสว่างและความราบรื่น ที่พระธาตุแช่แห้งจึง เต็มไปด้วยโคมมะเต้าที่เขียนชื่อผู้ถวายอยู่มากมายนั่นเอง แต่ถ้าจะอุดหนุนโคมสำ�เร็จรูปถวายตามความเชื่อ เหมือนคนอื่นๆ ก็เหมือนจะยังเข้าไปไม่ถึงหัวใจของความ เป็นน่าน เลยอยากชวนมาที่บ้านโคมคำ�แห่งบ้านม่วงตึ๊ด ที่ยังสืบสานฮีตฮอยของความเป็นน่านด้วยการสอนทำ� โคมไฟมะเต้าแบบดัง้ เดิมทีบ่ า้ นโคมคำ� ของแม่ถริ นันท์ โดยดี
“มะเต้าก็คือแตงโม เรียกตามรูปลักษณะของโคมที่ กลมๆ เหมือนลูกแตงโมน่ะจ้ะ” แม่เฉลยชื่อเสียงเรียงนาม ของโคม ก่อนจะเล่ายาวไปถึงชื่อของบ้านม่วงตึ๊ดแห่งนี้ “บ้านม่วงตึ๊ดเป็นชุมชนเก่าแก่ นับถึงปัจจุบันก็ 275 ปี เข้าไปแล้ว เมื่อก่อนเป็นที่อุดมสมบูรณ์ มีต้นมะม่วงเยอะ จนเป็นป่าทึบ เราเรียกกันว่า มันเป็นตึ๊ด ตึ๊ดคือทึบ ก็เลย กลายเป็นบ้านม่วงตึ๊ดมาจนทุกวันนี้” ส่วนที่มาของบ้านโคมคำ�แห่งนี้ แม่บอกว่าเคยสอน ทำ�โคมซึง่ เป็นหลักสูตรท้องถิน่ ในโรงเรียนตาลชุมพิทยาคม ที่แม่เป็นคุณครูอยู่ เพราะอยากให้เด็กๆ เมืองน่านทุกคน รู้จักและทำ�โคมมะเต้าได้ ต่อมาจึงเกิดไอเดียเปิดบ้าน สอนนักท่องเทีย่ วทีอ่ ยากเรียนรูค้ วามเป็นน่านผ่านกิจกรรม ท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ “วัสดุส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ของเราค่ะ ไม่ต้องไปหาที่ อื่น โครงไม้ไผ่จากไผ่ข้าวหลามหรือไผ่บงก็หาได้จากป่า ในหมู่บ้านเรา กระดาษสามาจากอำ�เภอนาน้อย เหนียว และทนมาก แม่แขวนไว้ตามต้นไม้ ฝนตกไม่รู้กี่ตกแล้วยัง ไม่พังเลย ส่วนลวดลาย เราใช้กระดาษคำ� หรือกระดาษ สีทองมาทำ�เป็นลายประจำ�ยาม ในทางพระพุทธศาสนา เขาเรียกว่าลายวัชระ แปลว่าความมีสติปัญญา ส่วน ตัวโคม จะสังเกตเห็นว่าพลิกด้านไหนก็เป็นแปดเหลี่ยม ซึง่ มันเป็นนัยทางพุทธศาสนาคือมรรค 8 และส่วนหาง โคม น่านมีหางหลายแบบ แต่ทบี่ า้ นโคมคำ�แม้จะเอาตุงหรือช่อ อันเล็กๆ คนเหนือเรียกว่า จ้อ มาแต่งเป็นหาง เป็นตัวบ่ง บอกถึงชัยชนะและเป็นตัวดึงวิญญาณของญาติพี่น้องเรา ที่เสียชีวิตไปแล้วให้หลุดพ้นจากเคราะห์กรรม” ถามถึงกิจกรรม แม่บอกว่าจะรวมตัวกันมาเป็นหมู่ คณะหรือจับคู่กันมาคนสองคนก็ย่อมได้ เพียงแค่ต้องแจ้ง ล่วงหน้าให้เตรียมข้าวของไว้รอต้อนรับ พร้อมแนะนำ�ให้ แวะมาทำ�โคมก่อนไปสักการะพระธาตุ จะได้นำ�ผลงาน ตัวเองไปถวายเป็นพุทธบูชาด้วยความภูมิใจเป็นพิเศษ แต่แอบกระซิบว่า นอกจากความภูมิใจของเจ้าตัว ที่ได้ลงมือทำ� ในโคมทุกใบยังบรรจุความภูมิใจที่ได้ส่งต่อ ความเป็นน่านของคุณครูใจดีคนนี้ลงไปด้วย
แม่ถิรนันท์ โดยดี บ้านโคมคำ�
22
ทำ�ตุงค่าคิงแบบเทเลอร์เมดพอดีตัว ที่วัดพระเกิด ไม่ใช่แค่สูทเท่านั้นที่จะวัดตัวตัดกันแบบพอดีตัว การ ทำ�ตุงถวายเป็นพุทธบูชาก็ตอ้ งวัดตัวตัดแบบพอดีตวั เหมือน กัน ต้องเท้าความก่อนว่า ตุงเป็นวัฒนธรรมดั้งเดิมของ ชาวล้านนาที่มีหลากหลายประเภท เช่น ตุงไจที่ถวายเป็น ปัจจัยให้ผทู้ ลี่ ว่ งลับไปแล้วมาเกาะชายตุงไปสูภ่ พภูมทิ ดี่ ี ตุง ไส้หมูหรือตุงกระดิ่งดาวใช้ปักเจดีย์ทรายเพื่อให้มีเงินทอง แม่ดรุณี เทียมแสน แม่สุชาดา วัชราคม ไหลมาเทมาอย่างเม็ดทราย ส่วนตุงค่าคิง (ที่ออกเสียงว่า ตุงก้าคิง) เป็นตุงทีถ่ วายเพือ่ สะเดาะเคราะห์และต่ออายุให้ ยืนยาว คำ�ว่า ก้า หรือ ค่า เป็นภาษาไทยใหญ่ แปลว่า เท่า ส่วนคำ�ว่า คิง แปลว่า ตัวหรือคน ตุงค่าคิงจึงต้อง มีความยาวเท่ากับความสูงของเจ้าของตุงนั่นเอง แต่ด้วยความสร้างสรรค์ของอาจารย์คำ�รบ วัชราคม อดีตผู้อำ�นวยการวิทยาลัยเทคนิคจังหวัดน่านที่ได้เห็นคน ในชุมชนวัดพระเกิดร่วมกันทำ�ตุงไจถวายเป็นพุทธบูชา จึงศึกษาจากตำ�นานความเชื่อเก่าแก่ และลองออกแบบ ลายสำ�หรับตุงค่าคิงเป็นรูปคน และพัฒนาต่อเป็นเทวดา สวมใส่ชฎาและลายฉลุต่างๆ ที่มีคติธรรมอิติปิโส 108 ซ่อนอยู่ในลวดลาย จากตุงที่มีเพียงความยาวเท่าตัวคน จึงกลายเป็นตุงที่สวยงามและสอดรับกับศรัทธาความเชื่อ ที่อยู่เบื้องหลังด้วย และเมื่อมีการรวมกลุ่มกันของพ่อๆ แม่ๆ ในชุมชนวัดพระเกิดที่อาสาเป็นครูผู้ถ่ายทอด กิจกรรมเรียนรู้การทำ� ตุงค่าคิงก็กลายเป็นความสนใจของนักท่องเทีย่ ว ทัง้ ชาวไทยไปจนถึงชาวต่างชาติทสี่ นใจในวัฒนธรรมและเรือ่ งราวทีซ่ อ่ น อยู่ “ฝรั่งเขาชอบที่ได้ลองทำ� ส่วนคนไทยก็จะมีความเชื่อเรื่องการสะเดาะเคราะห์ ทำ�เสร็จก็เอาไปถวายที่วัด แขวน ในโบสถ์ หรือถวายทีต่ น้ สะหลี คือไม้งา่ มค้�ำ ต้นโพธิ์ เราเชือ่ ว่าจะช่วยค้�ำ ชูให้ชวี ติ เรายืดยาว เราเองก็รสู้ กึ ดีใจทีไ่ ด้ถา่ ยทอด วัฒนธรรมและได้ให้ความรู้ทางจริยธรรมให้คนรุ่นใหม่ เพราะเมื่อเขาได้มาลองทำ� เขาก็จะได้คติธรรมกลับไปด้วย” แม่สุชาดา วัชราคมบอกเล่าด้วยรอยยิ้ม “คนน่านเราถูกสอนมาตั้งแต่เล็กๆ ว่าต้องเข้าวัด พออยู่วัดเราจึงรู้สึกสุขกาย สบายใจ เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของ เรา” แม่ติ๋ม อาสาสมัครอีกคนบอกเราถึงวิถีชีวิตของชาวน่าน “ทุกวันนี้แม่ๆ พ่อๆ ก็ขี่จักรยานมากันคนละคัน มาช่วย กันทำ�คนละไม้คนละมือ ทำ�อย่างนี้ได้ทั้งสมาธิ ได้ทั้งความเพลิดเพลิน ได้สอนก็มีความสุข เหมือนเราได้บุญไปด้วย” ใครอยากมาวัดตัวและวัดหัวใจในความศรัทธา อย่าลืมติดต่อมาล่วงหน้าและแจ้งส่วนสูงพร้อมปีเกิดตามนักษัตร ก่อนมาหาพ่อๆ แม่ๆ ที่วัดพระเกิดแห่งนี้นะ 23
เรียนรู้วิธีจักสานด้วยใจที่บ้านต้าม เพราะเราอยูใ่ นยุคทีข่ า้ วของเครือ่ งใช้รอบตัวคือสิง่ ทีซ่ อื้ หามามากกว่าการลงมือทำ�ด้วยตัวเอง กว่าจะปะติดปะต่อ ได้วา่ เครือ่ งจักสานจากตอกไม้ไผ่คอื ทักษะดัง้ เดิมทีค่ นในอดีต ต้องมี เพื่อสานเครื่องไม้เครื่องมือในชีวิตประจำ�วัน ไม่ว่าจะ เป็นกระบุง กระจาด ตะกร้า เครื่องมือดักสัตว์ จับปลา หรือ แม้แต่สุ่มไก่ ก็ฟังดูเป็นเรื่องไกลตัว นีย่ งั ไม่ตอ้ งพูดถึง ‘เหิง’ ทีค่ นบ้านต้ามใช้ฝดั ข้าวให้เหลือ แต่เม็ดสวย หรือ ‘ซ้า’ ซึ่งเป็นตะกร้าสำ�หรับพกไปเก็บเห็ด ในป่าโดยเฉพาะ แต่ที่บ้านต้าม หมู่บ้านเล็กๆ ในเมืองน่านยังคงรักษา วิถีเดิมๆ ด้วยการรวมตัวของเหล่าสูงวัยบ้านใกล้เรือนเคียง ก่อตั้งกลุ่มมาสืบสานงานสานแบบดั้งเดิมเพื่อส่งขายเป็น สินค้า ไปพร้อมๆ กับเปิดศาลาประชาคมให้กลายเป็นพื้นที่ เรียนรู้เรื่องจักสานแบบโบร่ำ�โบราณ ให้นักท่องเที่ยวที่สนใจ เข้ามาเรียนรู้และลงมือทำ� จากเส้ นตอกย้ อ มสี ส ดใสไม่ กี่ เ ส้ น เหล่ า พ่ อ ๆ แม่ ๆ แห่งบ้านต้ามต่างช่วยกันคนละไม้คนละมือสอนนักท่องเทีย่ ว สานตัวสัตว์ จะเป็นม้า เป็นลา หรือเป็นยีราฟคอยาวก็แล้ว
แต่จินตนาการของนักท่องเที่ยวที่จะสานของที่ระลึกชิ้นจิ๋ว กลับบ้านไป แต่ความน่าสนใจของงานสานประยุกต์นี้อยู่ที่ ต้นตอของชิ้นงานจากความเชื่ออย่าง ‘ตาแหลว’ สัญลักษณ์ มงคลท่ีอยู่ในวิถีชีวิตคนล้านนา จากตอกไม้กี่เส้นที่สานให้กลายเป็นสัญลักษณ์หลาก หลาย มีฟงั ก์ชน่ั ทีใ่ ช้สอยแตกต่างกันไป ไม่วา่ จะเป็นตาแหลว ของพรานโบราณทีเ่ ข้าไปล่าสัตว์ลา่ กวาง เมือ่ พลบค่�ำ ถึงเวลา นอน เหล่าพรานจะถางหญ้าแล้วสานตาแหลวไปปักสี่ทิศ เพื่อป้องกันไม่ให้มีงูเงี้ยวเขี้ยวขอ ตะขาบ เสือ หรือแม้แต่ผี เข้ามากร้ำ�กราย ส่วนตาแหลวหมายนาจะปักไว้สี่มุมของ ท้องนาเพื่อทูลขวัญให้กับควายที่เราใช้งานเขา เป็นการ อธิษฐานเพื่อขอขมา ไม่ให้เป็นบาปกรรมติดตัวไป เช่นเดียว กับตาแหลวปักหม้อยาที่เป็นสัญลักษณ์ให้รู้ว่านี่คือยาที่ปรุง ตามตำ�รับและป้องกันไม่ให้ส่ิงชั่วร้ายปะปนลงไปในหม้อยา ไปจนถึงตาแหลวเจ็ดชั้นที่จะสานขึ้นแขวนเมื่อบ้านไหนมี คนตาย เป็นสัญลักษณ์ห้ามผีผู้ล่วงลับกลับเข้ามาในบ้าน และเดินทางต่อไปสู่ภพภูมิที่ดี “ตาแหลวเป็นของโบราณแต่นานแล้ว พ่อเองก็ได้รับ คำ�บอกเล่าจากผู้เฒ่าผู้แก่มา แล้วนำ�มาสืบสานให้กับกลุ่ม บ้ า นต้ า มนี้ สื บ ทอดต่ อ ไป” พ่ อ อุ๊ ย ของบ้ า นต้ า มบอกเล่ า ตำ�นาน ก่อนจะนำ�ขบวนพาเราขึน้ เขาเลียบลำ�ห้วยไปตามหา ไผ่ซงึ่ เป็นต้นตอของเส้นตอกเหล่านี้ ทัง้ ต้นไผ่บง ไผ่ขา้ วหลาม ไปพร้อมๆ กับแหงนหน้ามองต้นมะต๋าว หรือลูกชิดที่เรา คุ้นเคยกันดีนี่แหละ “บ้านต้ามคือถิ่นมะต๋าวและสาวงามจ้ะ” แม่ๆ เล่า พร้อมยิ้มเขิน ก่อนจะสัญญากับเราว่า ถ้ามาคราวหน้าจะทำ� ขนมจากมะต๋าวให้กิน
คุณตาเกษม จุณณวัตต
24
รสอร่อยแบบน่านๆ ที่กินใจคนชิม
เฮือนภูคา ในบรรดาร้านอาหารพื้นเมืองบรรยากาศดี เราขอโหวตให้เฮือนภูคา ชนะเลิศด้วยบรรยากาศ รสชาติ และความเพลิดเพลินใจในการปัน้ ข้าวเหนียว จิม้ น้�ำ พริกหนุม่ ซดแกงแค แซ่บยำ�ผักกูด และลิม้ รสหมูทอดมะแขว่น วัตถุดบิ กลิ่นฉุนที่ได้รับการยกย่องว่า มะแขว่นเมืองน่านหอมลึกถึงใจที่สุด และ นอกจากจะมากำ�กิน๋ เมืองกันอย่างเต็มพุงแล้ว ร้านนีย้ งั น่ารักด้วยการตกแต่ง ร้านด้วยหอม กระเทียม และพริกแห้ง แขวนไว้เป็นราวรอบเรือนไม้ใต้ถุนสูง ถามไถ่ได้ความว่าเจ้าของร้านเป็นเกษตรจังหวัด เลยต้องอุดหนุนสินค้าเกษตร มาตุนไว้ใช้ตลอดทั้งปี เลยได้ของแถมที่ช่วยให้ร้านดูดีแบบไม่มีใครเหมือน อีกต่างหาก
แอ๊ดด้าแซ่บเวอร์
ชื่ อ ร้ า นอาจจะให้ อารมณ์แปลกประหลาด จากร้ า นพื้ น ถิ่ น ไปบ้ า ง แต่ เมื่ อ เจอเมนู ส้ ม ตำ � ที่ เรี ย งรายดาหน้ า มาให้ เลือกแซ่บอย่างมากมาย ทั้งตำ�ลาว ตำ�ไทย ตำ�ซั่ว ตำ�ข้าวโพด และตำ�ซิกเนเจอร์ต่างๆ ควบมาพร้อมกับเมนูอาหารเหนือ ที่มีทั้งขนมจีนน้ำ�เงี้ยว ข้าวซอย ข้าวเหนียวราดลาบคั่ว ไก่ทอด ไส้อั่ว แถมบางวันยังมีเมนูพิเศษอย่างน้ำ�พริกแมงดา วุ้นเส้นผัดแหนม แกง บอน แกงผักปลัง ตำ�มะเขือ และอื่นๆ ที่เหมือนหากินได้ตามตู้กับข้าว ของอุ๊ยคำ� เป็นอีกร้านที่แนะนำ�หากเบื่อร้านแบบทัวริสต์ 25
ระเบียงดิน ฟาร์มสเตย์ และน่าน ไวน์เนอรี่ บรรยากาศเย็นๆ เวลาพลบค่ำ� ได้นั่งกินอาหารอยู่บนระเบียงชั้น สองของบ้านดิน มีอดีตนักดนตรีอย่างพี่พร วงเรนโบว์โชว์เพลงสดๆ ให้ฟัง อร่อยไปกับเมนูที่ไม่ควรพลาดอย่างแกงคั่วเห็ดถอบ และจิบไวน์ ท้องถิ่นที่หมักบ่มกันในฟาร์มหลังร้าน ถามพี่นิดาผู้เป็นภรรยา เจ้าของ ร้าน และคนเมืองน่านบอกว่า ไวน์เป็นอีกช่องทางในการช่วยเกษตรกร ในชุมชน เพิ่มมูลค่าให้ผลไม้ท้องถิ่น และทั้งคู่มีประสบการณ์จาก การได้ไปอยู่สองเมืองไวน์อย่างฝรั่งเศสและแคลิฟอร์เนียในอเมริกา จึง นำ�ความรู้เรื่องไวน์มาปรับใช้จนกลายมาเป็นไวน์รสนุ่ม ดื่มง่าย และ เข้ากับอาหารรสจัดจ้านแบบไทยๆ ได้ดีมากๆ เลย
Waansook Cafe
สำ�หรับคอกาแฟ ถึงจะเอนจอยอาหารท้องถิ่นแค่ไหน แต่ก็คงมีวัน ที่คิดถึงรสชาติของกาแฟดีๆ ชงพิถีพิถัน ยิ่งมี specialty coffee ให้เลือกด้วย ก็ยิ่งดีใจ และที่นี่ เราขอเลือก วันสุข คาเฟ่ คาเฟ่ที่เพิ่งเปิดได้ไม่นาน แต่ มีบาริสต้าและเจ้าของร้านที่เข้าอกเข้าใจในกาแฟ มีเมนูน่าตื่นเต้นให้เลือก นอกจากลาเต้ เอสเพรสโซ อเมริกาโน แฟลตไวต์ หรือกาแฟดริป เพราะ ที่นี่ยังมีฟักทองลาเต้ เชอร์รี่แพสชั่น คอฟฟี่ วานิลลาสกาย และอื่นๆ อีก เยอะ จะอยากสนทนากับบาริสต้าหน้า บาร์ หรือไปนัง่ ชิลล์รนื่ รมย์ขา้ งหน้าต่าง ชั้นสองก็เพลินดีเหมือนกัน 26
ที่พักชวนประทับใจในน่าน พักกาย พักใจ หลับตาฝันดี ณ ที่พักน่ารักหลากแบบที่เย็นใจ สมกับอยู่ในจังหวัดน่านอย่างแท้จริง
Cocoa Valley
ถึงจะไม่ใช่พืชท้องถิิ่นหรือวิถีดั้งเดิม แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าเราสนิท สนมกับโกโก้หรือเจ้าช็อกโกแลตกันมาตั้งแต่เล็กแต่น้อย ไม่ว่าจะผ่าน เครื่ อ งดื่ ม ชงสี เข้ ม ช็ อ กโกแลตหวานลิ้ น หรื อ เค้ ก ช็ อ กโกแลตรส เข้มข้นสะใจ เมื่อมาเยือนน่านครั้งนี้ เราจึงถือโอกาส แวะไปตีสนิท กับโกโก้ดูสักที ใช่ ที่อำ�เภอปัว จังหวัดน่านแห่งนี้ มีไร่โกโก้ด้วย! จากความรักในโกโก้และช็อกโกแลตของสองสามี-ภรรยา มนูญ ทนะวัง และจารุวรรณ จิณเสน ทั้งคู่จึงลองศึกษาเรื่องช็อกโกแลต อย่างจริงจัง ตั้งแต่วิธีการทำ�ช็อกโกแลตแสนอร่อย ก่อนจะถอยไปยัง ต้นทางอย่างการปลูกโกโก้ เมื่อเห็นความเป็นไปได้ ทั้งคู่จึงริเริ่มทำ� ไร่โกโก้ ไปพร้อมๆ กับรีโนเวตรีสอร์ตเดิมของครอบครัวให้กลายเป็น Cocoa Valley Resort และ Cocoa Valley Cafe เปิดรับนักท่องเที่ยวสาย เข้มที่ชอบกลิ่นและรสของช็อกโกแลต ให้มานั่งชิลล์ นอนชิลล์ ใน บรรยากาศกำ�ลังเพลินที่มองไปทางไหนก็เห็นแต่ท้องฟ้ากว้าง ป่าเขียว และเมืองปัว สำ�หรับคาเฟ่ฮอปปิ้ง ที่นี่เสิร์ฟเมนูโกโก้สุดเข้มข้นมากมาย ทั้ง เค้กช็อกโกแลตลาวาหยาดเยิ้ม โกโก้ฟองดูเดือดปุด ช็อกโกแลตร้อน จากโกโก้เข้มข้นร้อยเปอร์เซ็นต์ และนานาเมนูน่าสนใจ แต่สำ�หรับสาย กิจกรรม การมาพักที่นี่ยังมาพร้อมแพ็คเกจตะลุยไร่โกโก้ และเรียนรู้ การทำ�ช็อกโกแลตตั้งแต่การเก็บเกี่ยว การฝัดเมล็ดโกโก้ การคั่ว ไปจน ถึงเวิร์กช็อปการทำ�ช็อกโกแลตและข้าวของต่อยอดอื่นๆ อย่างสบู่โกโก้ หรือการย้อมผ้าจากเปลือกโกโก้ (น่าสนใจใช่ไหมล่ะ) ได้ข่าวว่าอนาคต อันใกล้จะมีเปิดเวิร์กช็อปสำ�หรับบุคคลทั่วไปที่ไม่ได้มาพัก แต่อยาก สนิทกับโกโก้ดูสักที จะขมอมหวานแค่ไหน ต้องมาลุยไร่กันสักตั้ง!
27
ศรีนวล ลอดจ์ จากห้องพักรายวันของคุณย่าศรีนวล ถูกรีโนเวตโดย หลานชายทีต่ ดั สินใจทิง้ งานโปรดักชัน่ เฮาส์กลับมาสานต่อ ธุรกิจในบ้านเกิด ในวันที่น่านยังเป็นเมืองเล็กๆ ที่ไม่ค่อยมี คนรู้จัก แต่ด้วยความน่ารักของที่พัก การต้อนรับอย่าง เป็นกันเอง และการพยายามขับเคลื่อนชุมชนให้รับมือกับ การเป็นเมืองท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ทำ�ให้ศรีนวลลอดจ์ กลายเป็นที่พักเนื้อหอมที่นักแบกเป้ทั่วโลกนิยมมาเยือน และยังคงเส้นคงวาความน่ารักติดกลิ่นอายศิลปะนี้ไว้ไม่ เปลี่ยนแปลง
ศรีปันนา อยากนอนเพลินๆ ริมทุ่งนาแต่ ไม่อยากออกไปไกลถึงอำ�เภอปัว นีค่ อื รีสอร์ตใหม่เอีย่ มทีต่ อบโจทย์ทงั้ ความ สะดวกสบายหลายดาว พิกดั ทีต่ งั้ ใกล้ เมืองมาก แถมยังมีทงุ่ นาสีเขียวสดใส ให้ ม องเพลิ น ไม่ รู้ เบื่ อ ยิ่ ง เป็ น ทริ ป ครอบครัวยิ่งตอบโจทย์ เพราะเด็กๆ จะวิ่ ง เล่ น ได้ ไม่ รู้ เบื่ อ ผู้ ใหญ่ ข าแข้ ง ไม่ค่อยดีก็อยู่ได้สบาย ส่วนสายแชะ ชอบถ่ายรูปก็มีมุมขึ้นกล้องให้เลือก เพียบ จะเลยไปชมวิวทั่วเมืองน่าน ที่วัดพระธาตุเขาน้อยก็อยู่ไม่ไกล เป็น อีกตัวเลือกที่น่าสนใจเชียวล่ะ 28
อุ่นไอมาง ณ สปัน
ชิลล์กว่านี้ก็ที่นี่อยู่ดีนี่แหละ! ที่พักเล็กจิ๋วริมน้ำ�ว้าที่เป็นเพียงเรือนไม้ หลังเล็กๆ แต่ควิ จองเต็มจนล้น เพราะได้รบั การบอกเล่ากันปากต่อปากว่าไม่ได้ มีดีแค่วิวเด่น อากาศดี และความเงียบสงบเท่านั้น แต่การบริการยังน่ารัก จนอยากจะพักไปนานๆ มีเสิร์ฟอาหารปรุงง่ายๆ จากแม่ครัวท้องถิ่นทั้งเช้าค่ำ� มีเต็นท์ให้นอนชิลล์ระดับชิดติดริมธาร และมีมวลของนักท่องเที่ยวที่ยิ้มแย้ม แบ่งปันตามประสาคนคอเดียวกัน จนมีทั้งแฟนขาจรและแฟนประจำ�กลับมา ซ้ำ�ๆ แม้ว่าต้องขึ้นเขาลดเลี้ยวแค่ไหนก็ตาม!
29
เที่ยวตามใจ เพลินตามทาง อร่อยตามชอบ และนอนตามสบาย 1
สนามบินน่าน
หออัตลักษณ์น่าน
วัดภูมินทร์ แอ๊ดด้าแซ่บเว่อร์
ทำ�ตุงค่าคิงที่ ชุมชนวัดพระเกิด
ที่ตั้ง : 25/12 ถ. ราษฎร์อำ�นวย ต. ในเวียง อ. เมือง จ. น่าน เวลา : 7:30-15:30 หยุดวันจันทร์ โทร. 084-949-9958
ที่ตั้ง : วัดพระเกิด ต. ในเวียง อ.เมือง จ. น่าน โทร. 081-765-2710
ศรีนวลลอดจ์ ที่ตั้ง : 40 ถ. หน่อคำ� ต. ในเวียง อ. เมือง จ. น่าน โทร. 054-710-174, 090-015-1692
2
สนามบินน่าน
วัดภูมินทร์
พระธาตุแช่แห้ง
3
บ้านโคมคำ�
วัดพระธาตุช้างค้ำ�
ที่ตั้ง : 152 หมู่ 4 ต.ม่วงตึ๊ด อ.ภูเพียง จ.น่าน โทร. 089-854-0387
สนามบินน่าน
ชุมชนจักสานบ้านต้าม
เตาเผาบ่อสวก
ที่ตั้ง : หมู่ 6 ต. บ่อสวก อ. เมือง จ. น่าน โทร. 094-234-4770
น่านศรีปันนา รีสอร์ท
พระธาตุเขาน้อย
ที่ตั้ง : 242 หมู่ 8 บ้านทุ่งขาม ต. ไชยสถาน อ. เมือง จ. น่าน โทร. 054-681-625
4
สนามบินน่าน
Cocoa Valley
วัดหนองบัว
บ่อเกลือ
ที่ตั้ง : 339 หมู่ 8 ต. ปัว อ. ปัว จ. น่าน เวลา : (ส่วนคาเฟ่) เปิดทุกวัน 9:00-19:00 โทร. 063-791-1619
ดอยภูคา
30
โฮงเจ้าฟองคำ�
ที่ตั้ง : 8 ถ. สุมนเทวราช ต. เวียง อ. เมือง จ. น่าน เวลา : 9:00-17:00 (หยุดวันจันทร์และอังคาร) โทร. 054-710-537, 089-560-6988
นิยามการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ในแบบฉบับของ อพท.
เที่ยวอย่างไรให้สร้างสรรค์? หลายคนคงนึกสงสัยว่ามันแตกต่างอย่างไรกับการพาตัวเอง ออกไปไกลกว่าเคย กิน ดื่ม ชื่นชมธรรมชาติ ถ่ายรูปกับแลนด์มาร์ก และเลือกซื้อของที่ระลึก แต่โดยนิยามการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในแบบฉบับของ อพท. ไม่ใช่แค่การเดินทางท่องเที่ยวเพื่อ ความเพลิดเพลินใจ แต่ยังต้องสามารถสนับสนุนให้นักท่องเที่ยวได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อทำ�ความ เข้าใจในคุณค่าวิถีชีวิต วัฒนธรรม และสภาพแวดล้อมของพื้นที่ท่องเที่ยวอย่างลึกซึ้ง โดยผ่าน ประสบการณ์ตรง ร่วมกับเจ้าของพื้นที่หรือเจ้าของวัฒนธรรม ฟังดูจริงจัง อธิบายง่ายกว่านัน้ คือ การทีเ่ ราได้ไปเทีย่ วโดยได้มปี ระสบการณ์ใหม่ๆ ในพืน้ ทีน่ นั้ ๆ ผ่านกิจกรรมที่ได้เรียนรู้เรื่องราวใหม่ๆ จากชุมชน ได้ลงมือทำ� ค้นพบความสามารถของตัวเอง และ ค้นพบจิตวิญญาณของสถานที่ ในขณะทีช่ มุ ชนเองก็ไม่ตอ้ งเปลีย่ นแปลงวิถชี วี ติ ของตนเองเพือ่ เอาใจ นักท่องเที่ยวเหมือนแหล่งท่องเที่ยวยอดฮิต นั่นจึงทำ�ให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็ง สามารถรักษา ตัวตนที่จริงแท้ของตัวเองไว้ได้ ซึ่งนำ�มาสู่ความยั่งยืนทางการท่องเที่ยวอย่างแท้จริง ด้วยบทบาท องค์การบริหารการพัฒนาพืน้ ทีพ่ เิ ศษเพือ่ การท่องเทีย่ วอย่างยัง่ ยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. คือหน่วยงานที่มีหน้าที่หลักในการประสาน ส่งเสริม และสนับสนุน การพัฒนาการ ท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และแนวคิดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ หรือ Creative Tourism ก็เป็น เครื่องมือหนึ่งในการพัฒนา โดยมุ่งเน้นการเพิ่มมูลค่าจากการสร้างคุณค่า (Value Creation) ตั้งอยู่ บนพื้นฐานของความเป็นไทย วิถีชีวิต ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ ซึง่ กิจกรรมท่องเทีย่ วเชิงสร้างสรรค์ทเี่ ราเลือกมาบอกเล่าใน ‘ใจใจ’ นี้ คือกิจกรรมทีส่ ร้างแรงบันดาล ใจและมีหัวใจของการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์อย่างเต็มเปี่ยม และนีค่ อื ความในใจที่ อพท. อยากชวนให้ทกุ คนได้เข้าใจ “การท่องเทีย่ วเชิงสร้างสรรค์” ทีเ่ ต็ม ไปด้วยคุณค่าและรอคอยนักท่องเที่ยวมาร่วมเรียนรู้ ลงมือทำ� และสร้างประสบการณ์โดยตรง ร่วมกับเจ้าของพื้นที่ และร่วมสร้างประโยชน์ให้ชุมชนท้องถิ่นได้อย่างยั่งยืน พันเอก (ดร.นาฬิกอติภัค แสงสนิท) ผู้อำ�นวยการ อพท.
31
องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) 118/1 อาคารทิปโก้ ชั้น 31 ถนนพระรามที่ 6 แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400 www.dasta.or.th www.facebook.com/เที่ยวชุมชนไปกับคน อพท.