การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ (Creative Tourism)
แนวคิดเรื่อง “การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์” (Creative Tourism) จัดว่าเป็น แนวคิดที่ค่อนข้างใหม่ เริ่มปรากฎขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2543 โดย ริชาร์ดส และเรย์มอนด์ (Greg Richards และ Crispin Raymond) ต่อมา ในปีพ.ศ.2549 องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) จึงได้ก�ำ หนดนิยามว่า “การท่องเทีย่ วเชิงสร้างสรรค์ คือ การเดินทาง ทีม่ งุ่ ไปสูค่ วามผูกพัน และประสบการณ์จริงแท้ทเ่ี กิดจากการเข้าไปมีสว่ นร่วม ในการเรียนรู้ศิลปะ มรดกทางวัฒนธรรม หรือคุณลักษณะพิเศษของพื้นที่นั้น และนำ�มาซึ่งความเชื่อมโยงกับผู้คนซึ่งอาศัยอยู่ในพื้นที่ และเป็นผู้รังสรรค์ วัฒนธรรมที่มีชีวิตนั้น”
1
กรอบแนวคิด Creative Tourism : The 3S Principles
จากคุณลักษณะ 10 ประการที่ เกร็ก ริชาร์ดส ได้ประมวลไว้ เป็นหลักพืน้ ฐานทีใ่ ช้ได้กบั การท่องเทีย่ วหลายรูปแบบ ไม่จ�ำเพาะ เจาะจงว่าต้องเป็นการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เท่านั้น ดังนัน้ เพือ่ ให้การท่องเทีย่ วเชิงสร้างสรรค์มรี ปู แบบทีช่ ดั เจน จ�ำเป็นต้องมีเรือ่ งของการสร้างสรรค์ (Creativity) และกระบวนการ ออกแบบการท่องเที่ยว ซึ่งเรียกว่า The 3S Principles
tories Telling :
enses :
ophistication
1. เรื่องราว (Stories)
มีเรื่องราวจากทุนวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ผ่านการ สืบค้น ร้อยเรียง ออกแบบ และน�ำเสนอได้อย่างน่าสนใจ
2. อรรถรส (Senses)
โดยกระบวนการ ออกแบบ ใน 3 หมวดใหญ่นี้ สามารถแยกย่อยออก เป็น 10 ข้อ
สามารถจับต้องได้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 (Sensory Analysis) ได้แก่ การมองเห็น (Seeing) การดมกลิ่น (Smelling) การได้ยิน (Hearing) การสัมผัส (Touching) และการลิม้ รส (Tasting)
3. ลีลา (Sophistication)
กิจกรรมมีความลืน่ ไหล โดดเด่นและแตกต่าง สามารถกระตุน้ ให้เกิดควาคิด สร้างสรรค์ รังสรรค์ผลงานใหม่ ๆ พร้อมทั้งมีการปรับปรุงพัฒนากิจกรรม อย่างต่อเนื่อง มีลีลาและชั้นเชิงในการสื่อความหมายและน�ำเสนอ รู้จังหวะ รู้วิธีที่เหมาะสมในการสร้างความน่าสนใจให้กับสิ่งที่น�ำเสนอ
หลักเกณฑ์ 10 ข้อ ่ วเชิงสร้างสรรค์ ในการพั ฒนากิจกรรมท่องเทีย การสืบค้นให้ได้ “เรื่องราว” (Stories) 1. 2.
กิจกรรมถูกออกแบบมาจากพื้นฐานของทุนวัฒนธรรมท้องถิ่นและมี เอกลักษณ์เฉพาะตัวของท้องถิ่น มีปราชญ์/ศิลปิน หรือ คนเล่าเรื่อง ที่สามารถออกแบบเรื่องราวที่สร้างแรง บันดาลใจ และเกิดความดึงดูดความน่าสนใจในการเรียนรูแ้ ละ การสร้างสรรค์ ผลงาน
การร้อยเรียงให้ได้อรรถรส (Senses) 3. 4. 5. 6.
การออกแบบกิจกรรมเป็นการได้ฟังเพื่อเรียนรู้ จากผู้รู้ที่มี ประสบการณ์จริง ได้รว่ มท�ำสัมผัสจริง ท�ำให้เกิดความรู้ ความเข้าใจอย่างลึกซึง้ และได้ความสนุก มีการออกแบบกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ได้มีส่วนร่วมพูดคุยโต้ตอบและ แลกเปลี่ยนความคิดสร้างสรรค์ในการท�ำกิจกรรม ได้ลงมือปฏิบัติร่วมกัน ระหว่างผู้มาเยือนกับเจ้าของบ้านหรือศิลปิน กิจกรรมออกแบบโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 (สุนทรียภาพ) คือ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส อย่างครบถ้วน สถานทีจ่ ดั กิจกรรมมีการออกแบบไว้อย่างเหมาะสมกับการเรียนรูแ้ ลกเปลีย่ น และท�ำกิจกรรม
การออกแบบอย่ า งมี ลี ล าเหนื อ ชั้ น น่ า ประทั บ ใจ (Sophistication) 7. กิจกรรมถูกออกแบบไว้ให้มีความไหลลื่น สามารถกระตุ้นให้เกิดความคิด สร้างสรรค์และได้สุนทรียภาพ 8. การออกแบบกิจกรรมเปิดโอกาสให้พัฒนาศักยภาพ ในการสร้างสรรค์ ผลงานของตัวเอง ซึง่ กิจกรรมดังกล่าวอาจจะถึงขัน้ สามารถสร้างแรงบันดาลใจ ในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ทั้งผู้มาเยือนและเจ้าของบ้านหรือศิลปิน 9. นักออกแบบกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์มีศักยภาพในการสร้างความ แตกต่างของกิจกรรม สร้างเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนใคร เพื่อประโยชน์ ทางการตลาด 10. นักออกแบบกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์มีความพร้อมในการสื่อสาร ประชาสัมพันธ์และพัฒนากิจกรรมในรูปแบบต่าง ๆ อย่างต่อเนือ่ ง (ความคิด สร้างสรรค์ไม่หยุดนิ่ง) 3
สารบัญ สุขใจ เข้าใจ
06
พิ มพ์ ใจ
สุโขทัย
05
10
วาดไว้ในใจ
เย็นใจ น่าน
12
33
จ�ำขึ้นใจ รื่นรมย์ใจ
ปั้นใจ
14
ปั้น(ตาม)ใจ
ชื่นใจ พั กใจ
38
สว่างใจ
40
วัดตัววัดใจ
42
16 18
ทอใจ
34
อิ่มใจ
ตามใจ
อิม ่ ใจ
26
28 32
46 48
สานใจ
22 ชื่นใจ
52 ตามใจ 56
50
พั กใจ
ความในใจ
57
พิ มพ์ ครัง ้ ที่ 3, 2563 จัดท�ำโดย ่ วเชิงสร้างสรรค์ ส�ำนักท่องเทีย ่ วโดยชุมชน องค์การบริหารการพั ฒนาพื้ นทีพ ่ ิ เศษเพื่ อการท่องเทีย ่ วอย่างยัง งานท่องเทีย ่ ยืน (องค์การมหาชน) 4
สุขมากโขที่สุโขทัย เราทุกคนรูจ้ กั สุโขทัยในฐานะจุดหมายแรกๆ ของประวัตศิ าสตร์ชาติไทย และเมืองทีไ่ ด้รบั การยกย่องให้เป็นมรดกโลก แต่นอกไปจากลายสือไทย ระบอบ พ่อปกครองลูก ตำ�นานพระร่วงและขอมดำ�ดิน ที่ได้ยินได้ฟังผ่านๆ ในวิชา ประวัตศิ าตร์ เราเองกลับไม่ได้รจู้ กั เมืองนีเ้ ท่าไหร่นกั และก็ท�ำ ให้อดคิดไม่ได้วา่ สุโขทัยจะมีอะไรให้เทีย่ ว แต่เมื่อเราได้มาเยือนเมืองนี้โดยมีเป้าหมายมากไปกว่าการถ่ายภาพ พระอาทิตย์ตกทีอ่ ทุ ยานประวัตศิ าสตร์ และกินก๋วยเตีย๋ วสุโขทัยจากเมืองต้น ตำ�รับ เราจึงได้พบกับเรือ่ งราว ผูค้ น และประสบการณ์ทท่ี �ำ ให้เมืองนีเ้ ต็มไปด้วย ชีวติ ชีวา และความสร้างสรรค์ เพราะทุกกิจกรรมทีเ่ ราได้ลงมือทำ�ได้เติมเต็ม เรือ่ งราวให้กบั สถานทีท่ เ่ี ราได้แวะไป และต่อยอดความเข้าใจทีเ่ ราเคยมีได้อย่าง สนุกสนาน อย่าเพิ่ งปักใจเชื่อ หากยังไม่ได้เอาใจมาเรียนรู้ ผ่านการลงมือทำ�
เมื่อวิชาประวัติศาสตร์ เข้าไปอยู่ในใจเรา 6
ลื ม ตำ � ราที่ ว่ า คนไทยอพยพจากเทื อ กเขาอั ล ไต มาตัง้ ถิน่ ฐานสร้างเมืองล้านนาและสุโขทัยไปก่อน เพราะหลัก ฐานทางประวัติศาสตร์ก็แจ่มแจ้งอยู่แล้วว่าเรา ‘มีอยู่’ กันบน ผืนแผ่นดินนีม้ าตัง้ แต่สมัยก่อนประวัตศิ าสตร์ และเพือ่ ให้เห็น ด้วยตาชัดๆ การเดินทางมายังแหล่งโบราณคดีวดั ชมชืน่ ลงไป ดูหลุมขุดค้นทีไ่ ด้เห็นบรรพบุรษุ เราตัง้ แต่สมัยก่อนประวัตศิ าสตร์ ไล่ลำ�ดับตามชั้นดินขึ้นมาจนร่วมสมัยทวารวดีและขอม ก่อนจะต่อจิก๊ ซอว์ประวัตศิ าสตร์ดว้ ยการแวะไป วัดเจ้าจันทร์ ที่อยู่ใ กล้ๆ กัน เห็นความเรืองอำ�นาจของขอมที่มาสร้าง ปราสาทหินเป็นศาสนสถาน จนเมือ่ อาณาจักรสุโขทัยเข้มแข็ง
ในดินแดนแถบนี้ เราก็สร้างเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์อันเป็น เหมือนซิกเนเจอร์แบบสุโขทัยที่ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เชลียง จนกระทั่งอาณาจักรอยุธยา แผ่ไพศาลจนยึดครอง สุโขทัยได้ในเวลาถัดมา จึงมาสร้างพระปรางค์ครอบเจดียเ์ ดิม ไว้อกี ที ซากปรักหักพังของวัดโบราณจึงเล่าเรือ่ งการเมืองและ อำ�นาจของอาณาจักรโบราณได้อย่างสนุก ขอย้อนกลับไปยุคที่มีเมืองโบราณอยู่สองแห่งในลุ่ม แม่น้ำ�ยม คือเมืองสุโขทัย (ก่อนเป็นอาณาจักร) และ เมือง เชลียง จากนั้นก็มีการสร้างเมืองศรีสัชนาลัยห่างจากเมือง เชลี ย งไปนิ ด หน่ อ ยจนเมื่ อ สถาปนาอาณาจั ก รสุ โ ขทั ย
ศรีสัชนาลัยก็กลายเป็นเมืองลูกหลวงที่กษัตริย์ต้องส่งคนมา ปกครองตามประวัตเิ ล่าว่า พ่อขุนรามคำ�แหงและพระยาลิไท ก็เคยมาครองเมืองนี้ก่อนขึ้นเป็นกษัตริย์สุโขทัยด้วย การมาเทีย่ ว อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย จึง เท่ากับการได้เห็น ทั้งความรุ่งเรืองและร่วงโรยของสุโขทัยไป พร้อมๆ กัน ทั้งใน วัดเจดีย์เจ็ดแถว ที่เหมือนตำ�ราเปรียบ เทียบเจดียท์ รงสุโขทัยแบบต่าง ๆ วัดช้างล้อม ทีม่ ชี า้ งปูนปัน้ ล้อมเจดียท์ สี่ วยโดดเด่น เลยไปจนถึง วัดนางพญา ทีเ่ ห็นร่อง รอยศิลปะสมัยอยุธยาตอนต้นซึ่งเข้ามามีอิทธิพลในที่สุด 7
กลั บ มาที่ ใ จกลางเมื อ งเก่ า ณ อุ ท ยาน ประวัติศาสตร์สุโขทัย การเร่ิมต้นที่ วัดพระพาย หลวง ที่คล้ายพระปรางค์สามยอดที่ลพบุรี ซึ่งเป็น คติในพุทธศาสนานิกายมหายาน จนเมื่อสุโขทัยซึ่ง นับถือพุทธศาสนานิกายเถรวาทมีอำ�นาจก็เปลี่ยน ให้กลายเป็นศาสนสถาน และเจดีย์ที่สร้างซ้อนทับ กั น ใน 2 ยุ ค คื อ สุ โ ขทั ย ยุ ค แรกที่ เ ราจะได้ เ ห็ น พระพุทธรูปทีป่ ระดิษฐานรายรอบเจดียม์ พี ระพักตร์ อวบอ้วน เพราะได้อิทธิพลจากขอมและพุกาม แต่ พระพุทธรูปทีส่ ร้างซ้อนขึน้ ในยุคพญาลิไทจะมีความ อ่อนช้อยสวยงาม อย่างที่เราเคยเรียนในวิชาสร้าง เสริมประสบการณ์ชีวิต เช่นเดียวกับพระอจนะใน วั ด ศรี ชุ ม ซึ่งถูกบูรณะในสมัยจอมพล ป. พิบูล สงคราม โดยมีต้นแบบเป็นพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย เป็นต้นแบบนั่นเอง ไฮไลต์สำ�คัญอย่าง วัดมหาธาตุ แน่นอนว่า ต้องสวยงามถ่ายรูปขึ้นแน่นอน แต่ถ้ามองให้ลึก ลงไป คติโบราณในการสร้างวัดมหาธาตุนนั้ มีฐานะ เทียบเท่ากับศาลหลักเมืองในปัจจุบัน (สังเกตดูสิ
ทุกเมืองเก่าแก่จะต้องมีวัดมหาธาตุอยู่ เป็นความ เชือ่ เรือ่ งศูนย์กลางจักรวาลแบบอินเดียโบราณ) และ ทีเ่ มืองสุโขทัยนี้ วัดมหาธาตุประกอบด้วยเจดีย์ วิหาร มณฑป โบสถ์ และเจดีย์ราย จำ�นวนมากถึง 200 องค์ และเราจะได้เห็นฐานพระพุทธรูปในวิหารทีเ่ คย ประดิษฐานพระศรีศากยมุนี ซึง่ ภายหลังถูกอัญเชิญ ไปยังวัดสุทัศน์ กรุงเทพฯ จากที่เคยคิดว่าเมืองเก่า สุโขทัยช่างไกลตัว ความเชื่อมโยงเหล่านี้ก็ชวนให้ รู้สึกว่าใกล้ชิดมากขึ้น เพือ่ ให้ครบถ้วน แนะนำ�ให้ลมื ความน่าเบือ่ ของ พิพธิ ภัณฑ์ แล้วเข้าไปดูโบราณวัตถุทพ่ี พิ ธิ ภัณฑสถาน แห่งชาติรามคำ�แหงมองหารายละเอียดอ่อนช้อยของ พระพุทธรูปปางลีลาทีก่ �ำ เนิดขึน้ เป็นครัง้ แรกในโลก ณ อาณาจักรสุโขทัย ส่องลายสังคโลก เซรามิก โกอิ น เตอร์ ข องเมื อ งนี้ ที่ ส่ ง ออกไปญี่ ปุ่ น ในสมั ย อยุธยา หรือ พระพิมพ์จากกรุท่ัวสุโขทัยในบริบทที่ นอกเหนือไปกว่าราคา ของนักเลงพระเครื่อง ฯลฯ รั บ รองว่ า จะได้ ค วามเข้ า ใจที่ ช่ ว ย ปะติ ด ปะต่ อ จิกซอว์เรื่องเล่าได้อย่างสนุกใจจนลืมตำ�ราไปเลย
“แนะน�ำให้ลืมความน่าเบื่อของพิ พิ ธภัณฑ์ แล้วเข้าไปดูโบราณวัตถุรับรองว่าจะได้ ความเข้าใจที่ช่วย ปะติดปะต่อจิกซอว์เรื่องเล่า ได้อย่างสนุกใจจนลืมต�ำราไปเลย”
9
บ้านพระพิ มพ์ ลักษมณศิลป์ ที่ประทับเรื่องเล่าของสุโขทัย ลงไปในใจคน “สุโขทัยมีเจดียเ์ ป็นร้อยๆ องค์ ทุกองค์มพี ระพิมพ์อยูข่ า้ งใน” พีก่ บ ณรงค์ชยั โตอินทร์ แห่งบ้านพระพิมพ์ลกั ษมณศิลป์เริม่ ต้น ฉายภาพให้เรา ‘รู้จัก’ พระพิมพ์ที่มากไปกว่าวัตถุมงคลราคา สูงลิว่ ทีเ่ ซียนพระเล่นกัน หรือแค่พระห้อยคอเอาไว้กนั ผีกนั ภัย “ถ้าศึกษาจริงๆ พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนให้เรานับถือวัตถุ สิ่งเหล่านี้ถูกสร้างหลังพระพุทธเจ้าปรินพิ พานเป็นพัน ๆ ปี แต่ เป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้า ถ้าเราไม่เข้าใจว่าท่านสอนอะไรก็ เหมือนช้อนในชามแกงทีไ่ ม่รรู้ สแกงนัน่ แหละครับ” หนุม่ ใหญ่ หนวดเยอะบอกเล่าด้วยสำ�เนียงสุโขทัยในจังหวะจะโคนทีช่ วน ฟัง ก่อนจะบอกทีม่ าของพระพิมพ์วา่ ถูกสร้างขึน้ ด้วยคนโบราณ ทีอ่ ยากจะสืบสานพระพุทธศาสนา เพราะเชือ่ ว่าสรรพสิง่ ในโลก นีล้ ว้ นมีเกิดและมีดบั หรือแม้แต่เจดียท์ ส่ี งู ใหญ่พงั ทลาย พระ พิมพ์ทถ่ี กู บรรจุอยูใ่ นกรุดา้ นในจะออกมาทำ�หน้าทีเ่ ป็นบันทึก เล่าเรือ่ งราวพุทธประวัตผิ า่ นพระพุทธรูปในอิรยิ าบถต่าง ๆ แทน ภาพถ่ายหรือบทจารึกนัน่ เอง 10
เพราะเติบโตมาในย่านอุทยานประวัตศิ าสตร์ ชอบอ่าน หนังสือ และชอบฟังผูเ้ ฒ่าผูแ้ ก่เล่าเรือ่ งราวในอดีต ทำ�ให้พ่ี กบแทบจะกลายเป็นตำ�ราประวัตศิ าสตร์เคลือ่ นที่ เมือ่ มีความ หลงใหลในพระพิมพ์เป็นฐาน และเรียนรูว้ ธิ กี ารพิมพ์พระจาก อาจารย์อยู่หลายปี พี่กบจึงเริ่มพิมพ์พระบอกเล่าเรื่องราว และเปิดบ้านริมท้องนาเพื่อให้นักท่องเที่ยวได้มาประทับ ความเป็นสุโขทัยไว้ในใจผ่านการลงมือทำ� และไม่ใช่โรงพิมพ์พระสุดเข้มขึง ‘ขลัง’ พีก่ บและพีแ่ ก้ม ภรรยา เปลีย่ นภาพจำ�ด้วยการต้อนรับแสนน่ารัก ไม่วา่ จะเป็น น้�ำ ดืม่ หรือขนมทีป่ ระดับประดาดอกไม้ เนือ้ ดินพร้อมพิมพ์ท่ี ห่อมาในใบตองสวย ผ้าเช็ดมือสะอาดสะอ้าน ผลไม้ตาม ฤดูกาลจากร่องสวน หอศิลป์ขนาดย่อมทีเ่ ก็บรวบรวมภาพ พิมพ์อริ ยิ าบถต่างๆ ทีพ่ บในสุโขทัยไว้อย่างมากมายกว่า 450 พิมพ์ ไปจนถึงกิจกรรมทีน่ กั ท่องเทีย่ วต่างชาติ (หรือแม้แต่ ชาวไทยอย่างเราๆ เอง) ต้องว้าว ทัง้ การหัดยิงธนูทท่ี �ำ ให้รทู้ ม่ี า ของคำ�ว่าเอ็นร้อยหวาย (เพราะการจะร้อยหวายธนูได้ ต้อง เอาคันธนูวางปักลงไปตรงข้อเท้าส่วนนัน้ ) ได้รจู้ กั หินแร่จาก ภูเขาสุโขทัยทีจ่ ดุ ไฟติด และเหตุผลทีต่ อ้ งสลักชือ่ ไว้หลังพระ
พิมพ์ท่ีทดลองทำ� เพราะช่วยให้ชาวต่างชาติสามารถนำ� ผลงานออกนอกประเทศได้ เนือ่ งจากชาวต่างชาติไม่สามารถ นำ�พระพิมพ์ซง่ึ อาจจะเป็นวัตถุโบราณออกไป การมีชอ่ื สลัก หลังจึงยืนยันได้วา่ เป็นของทีท่ �ำ ขึน้ ใหม่จากกิจกรรมนีน้ น่ั เอง “ทุ ก อย่ า งมี เ รื่ อ งเล่ า ครั บ รู ป ลั ก ษณ์ ข องพระ ก็ มี เรื่องเล่า ดินก็มีเรื่องเล่า วัดในสุโขทัยก็มีเรื่องเล่า กลับไป จากบ้านผม เวลาคุณไปวัดในสุโขทัย คุณต้องรู้ว่าที่ที่จะมี กรุพระพิมพ์อยู่คือฐานเจดีย์ ฐานองค์พระ และที่พื้นในจุด ที่พระมองลงไป ไม่เชื่อไปสังเกตดูว่ามีร่องรอยอยู่ไหม” พี่กบให้ข้อมูลสุดท้าย ที่ทำ�ให้การเดินเที่ยว โบราณสถาน ในอุทยานประวัติศาสตร์สนุกขึ้นอีกเท่า!
ณรงค์ชัย โตอินทร์
บ้านพระพิมพ์ลักษมณศิลป์
หัดวาดลายสังคโลกลงบนผืนผ้า ที่บ้านปรีดาภิรมย์
เพราะการจับปากกาไม่ใช่เพียงแค่การวาดเขียนลงบน กระดาษหรือผืนผ้า แต่คอื บันทึกประสบการณ์และความทรง จำ�ลงไปในหัวใจด้วย นั่นทำ�ให้พี่ฝน ธารารัตน์ ปรีดาภิรมย์ อยากร่วมเป็นส่วนหนึง่ ในการวาดความสุขลงไปในหัวใจของ นักท่องเที่ยว นอกเหนือจากการเป็นแม่ค้า ผ้าทอพื้นเมืองใน อุทยานประวัติศาสตร์ พีฝ่ นบอกว่าตัวเองไม่ได้มพี นื้ ฐานสังคโลกแต่เริม่ ต้นด้วย การคิ ด ว่ า ตั ว เราเองเป็ น นั ก ท่ อ งเที่ ย วที่ ไ ม่ มี ค วามรู้ เ รื่ อ ง 12
สังคโลกเลย เธอจะอยากรู้อะไรบ้าง จากนั้นก็ไปศึกษาข้อมูล ว่ า สั ง คโลกคื อ อะไร ขอความรู้ จ ากนั ก โบราณคดี จาก พิพิธภัณฑ์ชุมชน และร้านที่ยังสืบทอดการทำ�สังคโลก พร้อม ทั้งสืบค้นความหมายของลวดลายต่างๆ และลงมือทำ�จริง “ลายปลาที่อยู่บนจานของจริงมันเหมือนปลาที่มีชีวิต ขยับได้ เพราะมันเป็นศิลปะที่มี ความอ่อนช้อย พลิ้วไหวก็ใช้ ตัวเองเป็นหนูทดลองทุกกระบวนการจนกลายเป็นกิจกรรมนี้ ขึ้นมา เริ่มจากเราเขียนเป็นได้ยังไง เราก็สอนนักท่องเที่ยว
“ลายปลาที่อยู่บนจาน ของจริงมันเหมือนปลา ที่มีชีวิต ขยับได้ เพราะมัน เป็นศิลปะที่มี ความอ่อน ช้อย พลิ้วไหว”
แบบนั้น ถอดลายสังคโลกออกมาเป็นขั้นตอน หนึ่ง สอง สาม เพื่อให้ง่าย แล้วก็คิดว่าถ้าเขียนลงบนเสื้อยืดน่าจะดี เพราะ นักท่องเที่ยวสามารถนำ�เสื้อกลับไปใส่หรือเป็นของฝากได้ ด้วย” พีฝ่ นเล่าถึงทีม่ ากิจกรรมด้วยใบหน้ายิม้ แย้มก่อนจะเล่า ถึงกิจกรรมเต็มรูปแบบที่จะเกิดขึ้นในบ้านปรีดาภิรมย์ พี่ฝนเร่ิมต้นกิจกรรมด้วยการพาเราชมพิพิธภัณฑ์ขนาด ย่ อ มในบ้ า นปรี ด าภิ ร มย์ ซึ่ ง จั ด แสดงข้ า วของสะสมของ ครอบครัวทีส่ ามารถเล่าถึงวิถชี วี ติ ของชาวสุโขทัยในอดีต ก่อน จะพามานั่ ง โต๊ ะ ที่ น อกชาน เล่ า ถึ ง เรื่ อ งราวที่ ซ่ อ นอยู่ ใ น 20 ลวดลาย ทั้งลายปลา ลายหอยสังข์ ลายดอกบัว ลายดอก โบตัน๋ ลายช่อเบญจมาศ ฯลฯ และให้เราเลือกลวดลายทีช่ อบ ลองมือในกระดาษจนมัน่ ใจ ก่อนจะใช้ปากกาเพนต์ ลงบนตัวเสือ้ “ทุกคนก็พยายามทีจ่ ะลองเขียนลายเองโดยไม่ตอ้ งให้เรา ช่วย แค่แนะนำ�นิดๆ หน่อยๆ พอเสร็จเห็นเป็นผลงานเขาก็ภมู ใิ จ บางคนบอกว่าไม่คดิ ว่าตัวเองจะทำ�ได้” เจ้าของกิจกรรมยิม้ กว้าง ถึงสิง่ ทีเ่ ธอเองก็ภมู ใิ จไปด้วย นอกไปจากความภาคภู มิ ใ จในลวดลาย สิ่ ง ที่ พี่ ฝ น
ตระเตรียมไว้ให้นกั ท่องเทีย่ วสัมผัสประสบการณ์แบบสุโขทัย ที่น่าสนใจไม่แพ้กันคือของว่างที่จัดเต็มทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็น น้ำ�ลอยดอกมะลิหอมชื่นใจจากมะลิปลอดสารพิษที่ปลูกเอง ผลไม้ตามฤดูกาล น้ำ � มะม่วงตลับนาคหอมชื่นใจหรือ น้ำ � มะพร้าวอ่อนอัญชัน ส่วนขนมไทยพืน้ บ้าน พีฝ่ นบอกว่าไฮไลต์ ประจำ�บ้านคือสังขยาชาวนา ขนมที่คนโบราณจะทำ�เวลา ลงแขกเกี่ยวข้าว ด้วยการหุงข้าวเหนียวคลุกกับมะพร้าวขูด จิ้มกับสังขยาผัดรสหวานมันโรยหอมแดงเจียว นอกจากจะได้วาดไว้ในใจ ดูเหมือนเราจะได้วาด ความอร่อยไว้ในพุงด้วย!
ธารารัตน์ ปรีดาภิรมย์ บ้านปรีดาภิรมย์
13
ต่อยอดแรงบันดาลใจ ด้วยงานปั้นสร้างสรรค์ ที่โมทนาเซรามิก หากการเดินทางคือการตามหาแรงบันดาลใจ โมทนา เซรามิ ก น่ า จะเป็ น จุ ด หมายที่ค วรแวะมาตั ก ตวงพลั ง สร้างสรรค์นเ้ี ป็นอย่างยิง่ ในแง่ของศิลปะเซรามิก บ้านนี้คือ pottery studio ที่ มีชอื่ เสียงในระดับนานาชาติมายาวนาน สร้างผลงานทีโ่ ดด เด่นมีเอกลักษณ์อย่างน่าชืน่ ชม แต่ทมี่ ากไปกว่านัน้ คือพลัง ของคูส่ ามี-ภรรยานักสร้างสรรค์ พีอ่ ดู๊ และพีไ่ ก่ เฉลิมเกียรติอณุรักษ์ บุญคง ที่แค่มานั่งคุยนั่งฟังทั้งคู่ถ่ายทอดความรู้ เกีย่ วกับเซรามิกและทัศนคติในการสร้างผลงานก็ได้รบั แรง บันดาลใจในการใช้ชีวิตไปเต็มๆ “การทำ�งานของโมทนาเซรามิกมีอยู่ 3 ส่วน คืองาน เชิงพาณิชย์แบบ made to order งานเชิงอนุรักษ์ และงาน ศิลปะงานเชิงอนุรกั ษ์คอื งานทีม่ สี งั คโลกเป็นแรงบันดาลใจ ไม่ใช่การยกมาทั้งหมด จุดมุ่งหมายของโมทนา นอกจาก
เราทำ � งานเพื่ อ เลี้ ย งตั ว เองและสั่ ง สมความรู้ สั่ ง สม ประสบการณ์ และเราอยากทำ�งานที่จะไปอยู่ในมิวเซียม เพื่อเป็นที่จดจำ�ในยุคของเรา ในช่วงแรก ๆ หลายคนบอก ว่าเราไม่รจู้ กั ตัวเอง เราลืมรากเหง้า เพราะงานเราไม่ใช่สงั คโลก แต่เรากลับคิดว่า อุตสาหกรรมการทำ�สังคโลกทีส่ โุ ขทัยเมือ่ 800 กว่าปีกอ่ น มันเป็นเทคโนโลยีทสี่ งู มากนะเมือ่ เทียบกับ ความรู้หรือวิทยาการในสมัยนั้น เพราะฉะนั้นเราควรต่อย อดสิ ไม่ใช่การทำ�เหมือนเดิม เราจะเห็นว่างานสังคโลกใน อดีตมีเป็นร้อย ๆ ลาย วิธกี ารเคลือบแต่ละแห่งก็แตกต่างกัน ทุกคนมีสูตรของตัวเอง เราเองก็ต้องสร้างตัวเองขึ้นมาให้ คนจดจำ�เราอย่างที่เป็นเราเช่นเดียวกัน” พี่ไก่และพี่อู๊ด พาเราเดินดูมิวเซียมขนาดย่อมในบ้าน ที่จัดแสดงผลงาน ชิน้ เด่น ๆ ของโมทนา ก่อนจะบอกเล่าจุดมุง่ หมายของบ้าน ที่ฟังแล้วหัวใจพองโต
พี่ ไก่ อณุรักษ์ บุญคง และ พี่ อู๊ด เฉลิมเกียรติ บุญคง โมทนาเซรามิก
14
ชิ้นงานเซรามิกหลากหลายโดดเด่นด้วยรูปทรงประณีตสีเคลือบหลากหลาย เท็กซ์เจอร์ทน่ี า่ สนใจ เลยรวมไปถึงงานลงทองดูรว่ มสมัย คือเอกลักษณ์ของโมทนาที่ ล้วนแล้วแต่เกิดจากการทดลองและเรียนรู้อยู่เสมอ พี่อู๊ดและพี่ไก่บอกว่าทุกสิ่ง ทุกอย่างล้วนมีผลต่อชิน้ งาน ตัง้ แต่แร่ธาตุทป่ี ระกอบในดิน วิธกี ารขึน้ รูปการทำ�เคลือบ และรายละเอียดแม้เพียงเล็กน้อย ดังนั้นการทำ�เซรามิกจึงเหมือนการเรียนรู้ ตลอดชีิวิต และนั่นทำ�ให้โมทนาเซรามิกเป็นศูนย์เรียนรู้เซรามิกแบบครบวงจร “เราเป็นคนที่เห็นความเป็นไปได้ตลอดเวลาใจคิดว่ามันเป็นไปได้ทเ่ี ราจะทำ� ศูนย์การเรียนรู้ เพราะเรามีความรูเ้ รือ่ งเซรามิกก็เพราะได้รบั การถ่ายทอดมาและเรา ก็อยากจะถ่ายทอดต่อไป อยากเป็นโรงเรียนทีส่ อนพืน้ ฐานเกีย่ วกับเซรามิกแล้วให้ เขาไปต่อยอด ทำ�อย่างทีเ่ ขาอยากได้ เพราะถ้าเขาทำ�ตามครู มันจะไม่พฒ ั นา อยาก ให้เขาได้ท�ำ งานในแบบทีช่ อบและได้แสดงตัวตน ผ่านผลงานของตัวเอง” พีไ่ ก่เล่า ด้วยรอยยิม้ พร้อมแววตามุง่ มัน่ เพราะจากการมีลกุู ศิษย์เข้ามาเรียนรูก้ นั ยาวๆ การ เปิดบ้านให้เด็กๆ ในชุมชนมาทดลองใช้จินตนาการ ไปจนถึงการเปิดเวิร์กช็อป ในช่วงเวลาสั้นๆ ให้นักท่องเที่ยวเข้ามาเรียนรู้การปั้นหรือการเขียนลาย ทำ�ให้ทั้งคู่ เห็นความเป็นไปได้ตั้งแต่การสร้างศิลปิน สร้างเด็กวัยรุ่นที่มีแรงบันดาลใจในการ ใช้ชีวิต ไปจนถึงการสร้างความสุขและความทรงจำ�ดีๆ ให้กับผู้มาเยือน ความตั้งใจที่น่าชืื่นใจนี้ คือสิ่งที่เราได้รับกลับบ้านมาด้วยนอกเหนือ จากผลงานที่ ไ ด้ ล งมื อ สร้ า งสรรค์ ผ่ า นกิ จ กรรมในโรงเรี ย นและโรงปั้ น ที่น่ารักแห่งนี้ ซื้อใจ
ราคา 800 บาท
ราคา 500 บาท 15
สวนกิ่งก้อย ดอยปุย เซรามิก จากดินสุโขทัย ที่ท�ำให้หัวใจคนปั้นพองโต พี่ปุย-ภารุจีร์ บุญชุ่ม คือลูกศิษย์คนเก่งของพี่อู๊ดและพี่ ไก่แห่งโมทนาเซรามิก ทีเ่ ข้าไปเรียนรูง้ านปัน้ อย่างจริงจัง หลัง ตัดสินใจกลับบ้านเกิดที่สุโขทัย หลังจากชวนคุยยาว ทำ�ให้เรารู้ว่าพี่ปุยเรียนจบมาทาง ด้านสังคมศาสตร์ เริม่ ต้นหลงใหลในงานเซรามิกเพราะอยาก ปัน้ แก้วเป็นของตัวเองหนึง่ ใบ แต่กเ็ ลือกทำ�งานเป็นเจ้าหน้าที่ มหาวิทยาลัยในกรุงเทพฯ ตามวุฒกิ ารศึกษา แต่หลังจากถาม ตัวเองชัดๆ ว่าอยากจะแก่ไปแบบไหน เธอก็ตดั สินใจกลับบ้าน เกิดมารื้อฟื้นศาสตร์ เซรามิก และตัดสินใจลงหลักปักฐานใน สตูดิโอ สวนกิ่งก้อย ดอยปุย “พอกลับมาทำ�ก็ขุดดินแถวบ้านมารีด มานวด มาผสม เอง แล้วก็ค้นหาตัวเองด้วยว่า เราควรมีจุดยืนและมีความ ชัดเจนยังไง” นักปั้นพูดน้อยแต่ทำ�จริงบอกเล่า ก่อนจะชี้ชวน ให้ดูผลงานสำ�เร็จและที่เตรียมรอเข้าเตาเผาจำ�นวนมาก ซึ่ง สามารถสรุปความชัดเจนของเซรามิกสวนกิง่ ก้อย ดอยปุยว่า คืองานปัน้ มือรูปทรงอิสระทีม่ คี าแร็กเตอร์นา่ รักจนเหมือนกับ ว่าดินเผาเคลือบสีเหล่านั้นมีชีวิตขึ้นได้ด้วยมือของเธอ 16
อีกหนึ่งจุดเด่นนอกเหนือไปจากสไตล์ที่เลียนแบบยาก พี่ปุยยังเลือกใช้ดินจากอำ�เภอศรีสัชนาลัย ซึ่งมีจุดเด่นคือแร่ เหล็ ก ที่ อ ยู่ ใ นเนื้ อ ดิ น ซึ่ ง ทำ � ให้ เ กิ ด สี สั น ที่ ส วยงามเป็ น เอกลักษณ์ “เมือ่ ชุบเคลือบแล้วนำ�ไปเผา ดินศรีสชั ฯ จะเหมือน มีความลึกลับซับซ้อน เพราะแร่เหล็กจะรวมตัวกับสารเคลือบ จนเกิดเป็นสีใหม่ ทำ�ให้เราลุ้นอยู่ตลอด” หลังจากคลุกคลีตสี นิทกับดินสุโขทัย และทำ�การทดลอง ด้วยการสร้างผลงานของตัวเองจนอยูม่ อื พีป่ ยุ เริม่ เปิดบ้านให้ คนทีส่ นใจเข้ามาเรียนรูก้ ารทำ�เซรามิกในแบบเป็นกันเอง ขึน้ อยู่ กับว่าอยากเรียนรู้มากน้อยแค่ไหน สำ�หรับคนมีเวลาน้อยก็ สามารถมาเรียนรูห้ ลักการง่ายๆ และลงมือนวดๆ ปัน้ ๆ ตามแต่ จินตนาการ ก่อนทีส่ วนกิง่ ก้อย ดอยปุยจะรวบรวมผลงานเข้า เตาเผาแล้วส่งตามกลับไปให้ทบ่ี า้ น แต่ส�ำ หรับคนทีส่ นใจจริงจัง จะอยูโ่ รงเรียนรูห้ ลายๆ วัน พีป่ ยุ ก็เปิดบ้านเลีย้ งข้าวและ พาไป เทีย่ วเหมือนเพือ่ นมาเล่นทีบ่ า้ นยังไงยังงัน้ “เวลาคนมาทีบ่ า้ นเราก็อยากให้เขาได้รบั ความสุขและได้ สิง่ ทีต่ อ้ งการมากทีส่ ดุ วิธกี ารสอนจะเริม่ จากเขาอยากปัน้ อะไร
ภารุจีร์ บุญชุ่ม
สวนกิ่งก้อย ดอยปุย
ก่อน เพราะในแต่ละงานก็จะใช้เทคนิคไม่เหมือนกัน เหมือนเรา สอนพืน้ ฐานก่อน แล้วให้เขาลองทำ�เอง คอยเป็นผูช้ ว่ ยให้ค�ำ แนะนำ�ว่าต้องทำ�อย่างไร เพราะคนปัน้ จะรูด้ ที ส่ี ดุ ว่าเขาต้องการ เครื่องมือแบบไหนมาใช้ในงาน” ซึ่งด้วยวิธีการเรียนการสอน แบบนี้ ทำ�ให้สวนกิง่ ก้อย ดอยปุยเป็นจุดหมายของคนทีอ่ ยาก ปัน้ อะไรตามใจโดยไม่ตอ้ งมีกฎเกณฑ์หรือความงามพิมพ์นยิ ม เลยรวมไปถึงเด็กๆ ที่กำ�ลังสนุกไปกับจินตนาการ (และมี พัฒนาการเป็นของแถมชิน้ โต) “งานปัน้ เป็นงานทีเ่ ขาได้สอ่ื สารด้วยตัวเขาเอง ทัง้ ด้วยสิง่ ทีเ่ ขาชอบ ขนาดของมือ น้�ำ หนักของมือ แค่บบี เนือ้ ดินก้อนหน่งึ ออกมาก็ไม่เหมือนกันแล้ว มันคือเอกลักษณ์ของแต่ละคน ทีเ่ รา อยากให้เขารูส้ กึ มัน่ ใจในสิง่ ทีเ่ ขาเป็น” พีป่ ยุ ยืนยันหนักแน่นถึง สิ่งที่อยู่ในงานแต่ละชิ้น และชี้ชวนให้เราดูผลงานของเด็กๆ ทีเ่ คยเข้าร่วมเวิรก์ ช็อป นัน่ ยืนยันได้ชดั ถึงสิง่ ทีพ ่ ปี่ ยุ พูด เช่นเดียวกันกับงาน ของสวนกิ่งก้อย ดอยปุยเอง
ซื้อใจ
ราคา 150 บาท
ราคา 300 บาท 17
หัวเจอในผ้าตีนจกไทยพวน ที่สุนทรีผ้าไทย ในภาษาพวน คำ�ว่า ‘หัวเจอ’ แปลว่าหัวใจและการได้มา พบเจอวิถีทอผ้าของชาวไทยพวนที่ชุมชนหาดเสี้ยวก็เหมือน การได้เจอ ‘หัวใจ’ ของความเป็นไทยพวน ผ่านผ้าทอตีนจก สวยประณีต ที่เกิดจากการใช้ขนเม่นเรียวเล็ก จกเส้นฝ้ายที ละเส้น ทีละเส้น แล้วทอจนเกิดเป็นลวดลายเอกลักษณ์เฉพาะตัว พี่มืด-รวิวรรณ ขนาดนิด แห่งสุนทรีผ้าไทยเล่าให้ฟังว่า ชาวไทยพวนบ้ า นหาดเสี้ ย วอพยพมาจากเมื อ งเชี ย งของ ประเทศลาว ผ่านเส้นทางหลวงพระบาง น่าน อุตรดิตถ์ แพร่ และเลือกลงหลักปักฐานที่สองฟากฝั่งริมแม่น้ำ�ยมที่เมือง ศรีสชั นาลัยมาอย่างยาวนาน แต่ยงั คงรักษาวิถชี วี ติ ประเพณี และความเป็นชาติพันธุ์ไว้อย่างเหนียวแน่น โดยเฉพาะการ ทอผ้า ที่ลูกสาวทุกบ้านจะต้องทอผ้าเป็น และต้องทอตีนจก ได้สวยงามตามแบบฉบับไทยพวน 18
“พี่ทอผ้าเป็นตั้งแต่อายุ 10 ขวบ ผ้าที่เรานุ่งทุกวันคือซิ่น ตีนดำ�และซิ่นตีนแดง ตีนหมายถึงส่วนล่างของผ้าถุง ถ้าเป็น สี แ ดงแปลว่ า คนนุ่ ง ยั ง เป็ น สาวและยั ง โสด ส่ ว นหญิ ง ที่ แต่งงานแล้วหรือมีอายุหน่อยจะนุ่งซิ่นตีนดำ� ส่วนซิ่นตีนจก เอาไว้ใส่ไปงานบุญ ไปวัด ไปร่วมพิธีสำ�คัญต่างๆ สาวๆ ทุก คนต้องมีซิ่นตีนจกของตัวเองหนึ่งผืน” พี่มืดเล่าถึงจารีตที่สืบ ต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่นผ่านกี่ทอผ้า ซึ่งเอกลักษณ์เฉพาะของ ตีนจกบ้านหาดเสี้ยวคือลวดลายโบราณ 9 ลาย และ 3 สี ที่ บ่งบอกถึงชาติพนั ธ์แุ ละถิน่ ฐาน นัน่ คือพืน้ ตีนจกสีแดง ตัวจก สีเหลือง และซิ่นสีเขียว จากที่ เ คยทอผ้ า ใช้ เ อง คุ ณ แม่ สุ น ทรี ขนาดนิ ด แม่ของพีม่ ดื เริม่ นำ�ผ้าทอไทยพวนไปเผยแพร่จนเป็นทีร่ จู้ กั ใน วงกว้างผ่านกลุ่มหัตถกรรมพื้นบ้านโบราณหาดเสี้ยว และได้ เป็นครูภูมิปัญญาของสภาการศึกษา ความคิดต่อยอดจาก การรวมกลุ่มทอผ้าขายจึงกลายเป็นศูนย์การเรียนรู้ไทยพวน “เราคิดว่าจะทำ�ยังไงให้นักท่องเที่ยวเข้าใจผ้าของเรา เพราะ
ในยุคที่ผ้าโรงงานเข้ามาตีตลาดผ้าไทยทอมือ คนก็จะสงสัย ว่าทำ�ไมผ้าทอของเราแพง พอเราทำ�เป็นศูนย์การเรียนรู้ มี สาธิตการทอผ้า แทนทีจ่ ะมาดูได้แค่สนิ ค้า ก็ได้เห็นวิธที �ำ ด้วย จากนั้นก็เริ่มพัฒนากับองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษ เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) ต่อ ให้นักท่องเที่ยวได้ ลองทอผ้าตีนจกเอง เรียนรู้ว่าการจกลายนกคุ้มตัวเล็กๆ มัน ต้องใช้เวลา เขาจะได้รู้คุณค่าของงานผ้าตีนจก และได้เรียน รู้เรื่องราวที่อยู่ในวิถีชีวิตของเรา ที่เลือกลายนกคุ้มคือการคุ้ม เหย้า คุ้มเรือน คุ้มผัว คุ้มเมีย เป็นการครองเรือนกันอย่างมี ความสุข เพราะลักษณะของลายเป็นนกคาบดอกไม้หันหน้า เข้าหากัน” พี่มืดเล่าถึงความหมายน่ารักของลายที่อยู่บน ‘ผ้าเซ็ดสบ’ หรือผ้าผืนจิ๋วที่ชาวไทยพวนเอาไว้เช็ดปากเวลา เคี้ยวหมากในอดีต ก่อนจะแนะนำ�กิจกรรมใหม่คือการนำ�ผ้า ทอชิน้ เล็กๆ มาอยูใ่ นกรอบไม้ เป็นของแต่งบ้านชิน้ เก๋ทนี่ กั ท่อง เที่ยวสามารถนำ�กลับไปใช้ได้อีกชิ้น “คนทอผ้าเหมือนเป็นศิลปิน เขาจะไม่ค่อยยุ่งกับใคร 19
และอาศัยดูลายผ้าจากผ้าเก่าแล้วทอตาม แต่คนรุน่ ใหม่ทมี่ า ดูไม่เป็น ต้องดูจากกราฟ เราก็ตอ้ งถอดลายเป็นกราฟออกมา และฝึกให้คนทอผ้าอ่านกราฟและสือ่ สารกับคนรุน่ ใหม่ให้ได้ ซึง่ ตรงนีเ้ ป็นเรือ่ งทีส่ �ำ คัญกว่าการทีน่ กั ท่องเทีย่ วได้มาเรียนรูอ้ กี เพราะเราได้ฝึกการถ่ายทอดสิ่งที่เรามี เทคนิคของคนทอผ้า แต่ละคนอาจจะไม่เหมือนกัน เพราะทุกคนเรียนรูม้ าจากต่าง ครอบครั ว กั น แต่ มั น ก็ เ ป็ น เสน่ ห์ แ ละเป็ น ความภู มิ ใ จ คนทอผ้าบอกได้ว่า การทำ�งานนี้มีความสุขอย่างไร มันได้ มากกว่าค่ากิจกรรมที่นักท่องเที่ยวมาเรียนกับเรา แต่มันคือ การได้ท�ำ งานร่วมกันได้พฒ ั นาไปพร้อมๆ กัน” พีม่ ดื เล่าทัง้ รอยยิม้ เพราะในฐานะชาวไทยพวน เธออยากต่อยอดภูมปิ ญ ั ญานีใ้ ห้ อยู่ต่อไปได้นานๆ และด้วยความตั้งใจที่ว่า ทำ�ให้พี่มืดเป็น มากกว่าโต้โผใหญ่ในการรวมกลุ่มคนทอผ้าเชิงอนุรักษ์ พี่มืด ยังหันมาเปลี่ยนผ้าทอพื้นถิ่นให้ร่วมสมัย เปลี่ยนเนื้อผ้าแข็ง กระด้างด้วยการต้มและฟอกให้นิ่มจนใส่สบาย ซักเครื่องได้ สี ไ ม่ ต ก เปลี่ ย นสี สั น ของเส้ น ฝ้ า ยให้ ต อบเทรนด์ ต ามใจ คนรุ่ น ใหม่ ม ากขึ้ น รวมไปถึ ง สร้ า งแบรนด์ SUNTRE3 (อ่ า นว่ า ซั น ทรี ) ที่ ร่ ว มทำ � งานกั บ ดี ไ ซเนอร์ ทั้ ง ชาวไทย 20
ซื้อใจ
ราคา 2,500 บาท
และชาวต่างชาติ พัฒนาผลิตภัณฑ์เก๋ไก๋ที่นำ� 3 เทคนิค การทอตีนจกแบบไทยพวนแท้ อันได้แก่ จก ยก เข็น มาส ร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ทั้งหมวก กระเป๋า เก้าอี้ โคมไฟ ของ แต่งบ้าน และอีกมากที่เท่เอามากๆ “เราทำ�เรื่องสมัยใหม่ แต่ก็ไ ม่ทิ้งอันเดิม เพราะ มันคือรากเหง้าทีเ่ ราต้องรักษาไว้ ก็เลยทำ�มาควบคูก่ นั จะ พัฒนาอะไรก็ขอให้ยงั มีเทคนิคเดิมของเราอยู่ งานทุกชิน้ จะได้มเี รือ่ งราวของเราอยูต่ รงนัน้ ว่าเราใช้วธิ กี ารอย่างไร โชคดีที่เราเปิดให้คนเข้ามาทำ�งานกับเรา และยอมรับใน ส่ิงที่เขาคิดโดยที่เราเป็นพื้นฐาน มันสามารถทำ�งานร่วม กันได้ถ้าเรามีจุดมุ่งหมายเดียวกัน ดีไซเนอร์ไม่รู้เรื่องผ้า เราไม่รู้งานดีไซน์ แต่ก็ทำ�งานร่วมกันได้ คนทอผ้าก็ต่ืน เต้นทีไ่ ด้ท�ำ อะไรใหม่ๆ เป็นความภูมใิ จร่วมกัน” และหากเราอยากร่วมเป็นหนึ่งในความภูมิใจนั้น การได้เข้าไปลองเรียนรู้ ‘หัวเจอ’ ของผ้าตีนจกไทยพวนที่ สุนทรีผา้ ไทย น่าจะทำ�ให้เราเข้าใจสิง่ ทีพ่ มี่ ดื พยายามบอก กับเราด้วยรอยยิ้มตลอดการสนทนา
รวิวรรณ ขนาดนิด สุนทรีผ้าไทย
21
รสอร่อยชวนอิ่มอกอิ่มใจในแบบที่สุโขทัยเป็น
ก๋วยเตี๋ยวตาปุ้ย มาสุโขทัยก็ตอ้ งกินก๋วยเตี๋ยวสุโขทัย และในบรรดาร้าน ใหญ่เจ้าดัง เราชอบตาปุย้ ในความฟูลออพชัน่ ของการบริการ ละลานตาไปด้วยเครือ่ งเคราหน้าหม้อก๋วยเตีย๋ วให้มองแม่ครัว หยิ บ ๆ ปรุ ง ๆ อย่ า งเพลิ น ใจ เด็ ด ที่ น้ำ � ตาลปี๊ บ กากหมู ถัว่ ฝักยาวหัน่ แฉลบ และถัว่ ลิสงคัว่ ใหม่พอให้ เคีย้ วกรุบ เสิรฟ์ มาในชามดินเผาจากทุ่งหลวงบ้านเดียวกัน นอกจากนี้ยังมี เมนูเด็ดเป็นผัดกะเพราผูว้ า่ ฯ สูตรเฉพาะทีท่ า่ นผูว้ า่ สุโขทัยขอ ให้เอาหมูแดงเครือ่ งก๋วยเตีย๋ วไปผัดแบบจัดจ้านให้หน่อยโปะ ไข่ดาวอีกนิดก็ฟินไม่แพ้ก๋วยเตี๋ยวเลย
22
ลุงจ้อย ไม่ควรพลาดหากอยากชิมจิตวิญญาณท้องถิน่ ที่ร้านลุงจ้อยมีรายการปลาจากแม่น้ำ�ยมสดๆ ทั้ง ปลาค้าว ปลาเนื้ออ่อน ปลารากกล้วย ปลากด ปลา คังทีจ่ บั ได้ในวันนัน้ ๆ เนือ้ แน่นไร้กลิน่ โคลนกลิน่ คาว แบบปลาเลี้ยงบ่อให้รำ�คาญใจ วิธีปรุงก็เด็ดขาด หากสั่งต้มโคล้งปลาย่าง รู้ไว้เลยว่าคือปลาที่ก่อ เตาผิ ง ไฟย่ า งเองให้ ร ะอุ ค วั น หอมๆ ส่ ว นเมนู ซิกเนเจอร์มที งั้ ดอกโสนฉาบไข่ (เริด่ กว่าผัดไข่เพราะ ไข่ถูกผัดแบบพอดิบพอดีฉาบดอกโสนกำ�ลังอร่อย) หลนไข่ ป ลาน้ำ � พริ ก ปลาย่ า ง ถามถึ ง เคล็ ด ลั บ นอกจากปลาสดไม่หวงเครื่อง เรื่องเล็กๆ น้อยๆ อย่างการเลือกพริกที่ปลูกในสวนสุโขทัย ยังให้กลิ่น รสเผ็ดหอมจัดจ้านที่ถูกใจเป็นที่สุด 23
ป้าแอ๊ด ปลาแม่น้ำ� อีกร้านชิลล์แบบบ้านๆ ริมแม่น�้ำ ยมทีอ่ บอุน่ ใจ เหมือนมาบ้านป้าที่ทำ�อาหารอร่อย ป้าบอกว่าสูตร เด็ดเคล็ดลับเมนูต่างๆ ในร้านมาจากอาหารการกิน สมัยอยู่แพ เพราะตอนนั้นจับปลาได้อย่างง่ายดาย จนเบือ่ จะกินปลาก็พยายามพลิกแพลงเมนูเรื่อยมา เบื่อแกงกะทิ ก็แกงป่า แกงส้ม ผัดพริก ผัดขิง สลับ กันไป ซึง่ เมนูเด็ดคือฉูฉ่ ปี่ ลาเนือ้ อ่อน ซึง่ จะเป็นแบบ พริ ก สดหอมฉุ น แปลกไปจากฉู่ ฉี่ เ มื อ งไหน และ ถ้าหากสั่งเมนูนี้อาจต้องรอนานนิดเพราะป้าแอ๊ด ต้องโขลกพริกแกงทีละจานเพื่อความเพอร์เฟกต์ สูงสุด อาหารส่วนใหญ่เป็นเมนูงา่ ยๆ แต่บอกเลยว่า ต้มยำ�ปลาช่อน ไข่เจียวหมูสับ หรือแม้แต่ซี่โครง หมู ท อดที่ ดู ส ามั ญ ธรรมดา รสชาติ นั้ น อร่ อ ย เกินมาตรฐานไปมาก
24
หมี่ข้าวพั นผัก อีกร้านชิลล์ริมน้ำ�ยมที่ให้เรากินข้าวเปิ๊บ ข้าว พั น ผั ก ไข่ ม้ ว น และเมนู นุ่ ม ลิ้ น ละลายใจ ในเพิงไม้ลมโชย ป้าหมีเจ้าของร้านบอกว่าปรับปรุง สูตรจากข้าวพันผักเมืองลับแลมาขายคู่กับข้าวเปิ๊บ อันเป็นเมนูดั้งเดิมของชาวศรีสัชนาลัย และเพราะ ความอร่อยชวนติดใจและทำ�สดใหม่ทุกจาน ความ น่ารักอีกอย่างคือ ข้าวพันผักร้านนี้เสิร์ฟในชาม สังคโลกเขียนลายเฉพาะแบบคัสตอมเมด ช่วยกัน โปรโมตเสน่หข์ องท้องถิน่ แบบร่วมด้วยช่วยกันอร่อย! 25
จุดพั กเติมความชื่นใจ ของเหล่าคาเฟ่ฮอปปิ้ง
จงกลคาเฟ่ ร้านกาแฟที่ตั้งตามชื่อของคุณยายแห่งนี้ คือ คาเฟ่เก๋ไก๋ในบรรยากาศร่มรื่นเกินหน้าเกินตาร้าน กาแฟทัว่ ไป ถามไถ่ได้ความว่าพีส่ าวเจ้าของร้านเป็น สไตลิสต์ ส่วนบาริสต้าหนุม่ ก็ให้ความสำ�คัญกับเมนู เครื่องดื่มเป็นพิเศษ เราจึงได้ชิมเมนูสนุกๆ อย่าง T(h)ree Brother ที่รวมตัวกันระหว่างชาเขียว โกโก้ และเอสเพรสโซเข้มข้นเมโน่โซดาทีค่ ดั สรรเม็ดกาแฟ หลายตัวมาสร้างเมนูสดชื่น ไปจนถึงลาเต้อัญชัน สีสวยหวาน นอกจากนี้ข้างๆ ร้านยังมีก๋วยเตี๋ยว สุโขทัยและผัดไทยสูตรโบราณมากให้สั่งขึ้นมากิน สำ�หรับคนอยากอิ่มท้อง 26
379 DRIP คาเฟ่ ที่ ซ่ อ นตั ว อยู่ อ ย่ า งลึ ก ลั บ กลางเมื อ ง สุโขทัย ในพิกัดร่มรื่นใต้ถุนเรือนไม้ที่เก๋ไก๋กำ�ลังดี ร้านนี้เสิร์ฟกาแฟ specialty หลายตัว เน้นการดริป แบบพิถีพิถัน จริงจัง และใส่ใจ แต่ใครอยากสั่งเมนู กาแฟทั่วไปก็มีเสิร์ฟให้ในบรรยากาศเย็นๆ เหมือน นัง่ เล่นอยูข่ า้ งโอ่งน้�ำ จึงไม่แปลกทีพ่ กิ ดั ร้านจะลึกลับ แต่ก็มีลูกค้าแวะมาที่บ้านเลขที่ 379 นี้ไม่ขาดสาย
27
ที่พักชวนประทับใจ ในสุโขทัย
ใครว่าสุ โขทัยเป็นเมืองที่ไม่ต้องอยู่นาน ลองแวะมาเอกเขนกใจในที่พัก น่ารักเหล่านี้รับรองว่าจะอยากอยู่ยาวๆ จนไม่อยากเช็กเอาต์!
IF YOU WANT TO HOSTEL แน็ก-ปริวัฒน์ วิเชียรโชติ บอกว่าโฮสเทลแห่งนี้คือการ กลับบ้านของเขา เขาเป็นคนสุโขทัยโดยกำ�เนิด เคยเป็นครีเอทีฟโฆษณา เคยทำ�ร้านอาหาร เขากลับมาเปิดโฮสเทลที่บ้านเกิดของ ตัวเองเพราะอยากสร้างคอมมิวนิตี้ให้กับนักท่องเที่ยวที่ชอบ วิถีชีวิตง่ายๆ สบายๆ แบบที่โฮสเทลทั่วโลกเป็น นอกจากที่ พั ก ทั้ ง แบบดอร์ ม นอนรวมและห้ อ งเดี่ ย ว เขายังจัดสรรพืน้ ทีส่ �ำ หรับลิฟวิง่ รูม นัง่ สบาย คอมมอนรูม ไว้เป็น ที่พบปะแลกเปลี่ยนของนักท่องเที่ยวหลากสัญชาติ ห้องครัว ที่เปิดให้ทุกคนได้ตั้งเตาปรุงเมนูกนั อย่างอิสระ เลยรวมไปถึง ดาดฟ้านัง่ ชิลล์ให้นกั ท่องเทีย่ วได้ใช้เวลาร่วมกัน แม้สง่ิ เหล่านี้ จะยังไม่เคยมีในสุโขทัย แต่กเ็ ป็นมาตรฐานทีโ่ ฮสเทลทัว่ โลกมี เขาจึงตัดสินใจทำ�สิ่งที่มากกว่านั้น co-host คือนิยามของสิ่งที่เขาทำ� 28
“เราพยายามสร้างสังคมที่ทำ�ให้ทั้งลูกค้าและคนใน ชุมชนรู้คุณค่าของตัวเอง ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร เมื่อคุณมาที่นี่ คุณจะพบคุณค่าของตัวเอง เราเปิดกว้างให้อาสาสมัครเข้ามา ร่วมทำ�กิจกรรม และเปิดให้คนในชุมชนมาร่วมทำ�อะไรดีๆ เช่น มีอาจารย์คนหน่งึ ชอบไปคุยกับฝรัง่ ตามทีต่ า่ งๆ เพือ่ ฝึกภาษา แต่เกสต์เฮาส์ส่วนใหญ่จะไม่อนุญาตเพราะรู้สึกว่าเป็นการ รบกวนแขกที่มาพัก แต่เราเปิดรับและชวนมาทำ�กิจกรรม ร่วมกัน จนแขกที่มาพักก็ไ ปสอนภาษาอังกฤษให้กับเด็ก ทีโ่ รงเรียน กลายเป็นกิจกรรมใหม่ๆ ทีไ่ ด้แบ่งปันสูช่ มุ ชนด้วย” แน็ ก บอกว่ า การแบ่ ง ปั น ของนั ก ท่ อ งเที่ ย วที่ ม าเป็ น เหมือนการขับคุณค่าในตัวเองและได้สัมผัสถึงการทำ�อะไร เพื่อคนอื่น เขาเล่าว่า วันก่อนเพิ่งมีโคโฮสต์มาจากญี่ปุ่น เปิดครัวสอนเพื่อนๆ ในโฮสเทลทำ�ซูชิ ส่วนวันก่อนเขาก็รวม กลุ่มนักท่องเที่ยวไปลงโคลนจับปลากับชาวบ้าน แน่นอนว่า เหล่านักท่องเทีย่ วได้สนุกกับกิจกรรมแปลกใหม่ แต่คนทีส่ นุก และสุขกว่าดูจะเป็นชาวสุโขทัยทีไ่ ด้ภมู ใิ จในความเป็นตัวเอง “เราพยายามขยับตัวเองให้เป็น destination คือเรา ไม่ได้อยากชวนให้คนมาสุโขทัยแล้วมาพักที่เรา แต่เราอยาก ชวนให้คนมา If you want to Hostel แล้วออกไปเทีย่ วสุโขทัย” ใครอยากยกมืออาสาไปเป็นโคโฮสต์ตง้ั แต่บรรทัดนี้ เตรียมเก็บกระเป๋าได้เลย! 29
NAKORN DE SUKHOTHAI HIP HOTEL AND HONG RAMA TEAROOM โรงแรมและคาเฟ่ที่สร้างอยู่บนพื้นที่เก่าของหงษ์รามา โรงหนังใหญ่ประจำ�เมืองสุโขทัย เหมาะกับนักเดินทางทีช่ อบ ความสะดวกสบายแต่เป็นมิตรแบบโรงแรมขนาดเล็ก อยู่ ใจกลางเมืองที่สามารถเดินเล่นได้เพลินๆ หาของอร่อยกินได้ ง่ายๆ เพราะใกล้ตลาดโต้รงุ่ และถ้าไม่อยากไปไหนไกล คาเฟ่ และร้านอาหาร ด้านล่างก็เสิร์ฟทั้งอาหารไทยจานโตเมนู ตะวันตกรสเด่นที่คนในพื้นที่ก็แวะมาอุดหนุนแน่นร้านทุกวัน เลยรวมไปถึ ง กาแฟและชาที่ มี เ มนู ใ ห้ เ ลื อ กมากมายใน บรรยากาศเย็นฉ่ำ�สู้อุณหภูมิร้อนฉ่าแบบสุโขทัยได้สบายเลย
30
SUKHOTHAI GARDEN อยากตื่นเช้าทันพระอาทิตย์สีส้ม และปั่นจักรยานไปถึง อุทยานประวัตศิ าสตร์ได้เลย สุโขทัยการ์เด้นคือทางเลือกทีน่ า่ รัก ด้วยทีต่ งั้ ในซอยสุโขทัยนครเขตเมืองเก่า แต่ไม่แออัดแน่น หนาเท่าเกสต์เฮาส์ริมถนน ห้องพักดีได้มาตรฐาน มีสวนสี เขียวให้มองเพลินใจ มีบา้ นไม้หลังเก่า ทีส่ วยและขลังกำ�ลังดี ที่สำ�คัญคือมีคุณลุงสุธัมม์เจ้าของบ้านคอยต้อนรับขับสู้ด้วย ความยิ้มแย้ม ผู้เปิดบ้านเก่าของตัวเองเพื่อเพิ่มรายได้ให้คน ในชุมชนทีม่ าทำ�งานด้วยกัน พร้อมๆ กับอยากให้นกั ท่องเทีย่ ว ประทับใจในการมาเยือนสุโขทัยด้วยการบริการที่ดี 31
แนะน�ำเส้นทางเที่ยวตามแต่ใจ พร้อมพิ กัดให้แวะพั ก แวะอร่อย 1
สนามบินสุโขทัย/ สนามบินพิษณุโลก Hong Rama Tearoom
2
ที่อยู่ : 55 หมู่ 2 ถ.พิ ศาลด�ำริ ต.หาดเสี้ยว อ. ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย เวลา : เปิดอังคาร-อาทิตย์ (หยุดวันจันทร์) 08:00-17:00 น. โทร. 085-146-4244
ที่อยู่ : 329 หมู่ 6 ต.หนองอ้อ อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย โทร. 089-858-8576
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง
ที่อยู่ : 35 ถ. ประเสริฐพงษ์ ต. ธานี อ. เมือง จ. สุโขทัย เวลา : เปิดทุกวัน 08:00-16:00 น. โทร. 055-611-833
สนามบินสุโขทัย
หมี่พันผัก
สุนทรีผ้าไทย
จงกลคาเฟ่
โมทนาเซรามิก
ที่อยู่ : 107/4 ต.บ้านคลองกระจง อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย เวลา : เปิดทุกวัน 08:00-16:00 น. โทร. 064-313-3271
ที่อยู่ : 912 ต.เกาะตาเลี้ยง อ.ศรีส�ำโรง จ.สุโขทัย โทร. 086-443-2628, 094-714-6145
สุโขทัยการ์เด้น
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
ที่อยู่: 119 ซ.สุโขทัยนคร 1 ต.เมืองเก่า อ.เมือง จ. สุโขทัย โทรศัพท์: 084-751-1533
3
สนามบินสุโขทัย/ สนามบินพิษณุโลก
พิ พิ ธภัณฑสถานแห่งชาติ รามค�ำแหง
ก๋วยเตี๋ยวตาปุ้ย
ที่อยู่ : 2/147 สี่แยกคลองโพธิ์ ถ. จรดวิถีถ่อง ต. ธานี อ. เมือง จ. สุโขทัย เวลา : เปิดทุกวัน 07:30-16:00 น. โทร. 055-620-435
บ้านปรีดาภิรมย์
บ้านพระพิ มพ์ ลักษมณศิลป์
ที่อยู่ : 291/1 หมู่ 3 ต.เมืองเก่า อ.เมือง จ.สุโขทัย โทรศัพท์: 095-609-7855, 091-025-0519
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
สนามบินสุโขทัย/ 4 สนามบินพิษณุโลก If you want to Hostel ่ ยู่ : 1-3 ถ. นิกรเกษม ทีอ ต. ธานี อ. เมือง จ. สุโขทัย โทร. 063-779-7601
อุทยาน ประวัติศาสตร์ ศรีสัชนาลัย
่ ยู่ : 51/7 หมู่ 8 บ้านเชตุพน ทีอ ต.เมืองเก่า อ.เมือง จ. สุโขทัย โทร. 089-643-6219, 081-197-0535
สุโขทัยการ์เด้น ่ ยู:่ 119 ซ.สุโขทัยนคร 1 ต.เมืองเก่า อ.เมือง จ.สุโขทัย ทีอ โทรศัพท์: 084-751-1533
บ้านสวนกิ่งก้อย ดอยปุย ที่อยู่ : 170/5 หมู่ 1 ต.บ้านหลุม อ.เมือง จ.สุโขทัย โทร. 089-484-9136
ป้าแอ๊ด ปลาแม่น�้ำ
่ ยู่ : ซ. วัดคูหาสุวรรณ ทีอ ต. ธานี อ. เมือง จ. สุโขทัย เวลา : เปิดทุกวัน 11:30-23:00 น. โทร. 084-122-6425
ลุงจ้อย ที่อยู่: 204 หมู่ 7 ถ. จรดวิถีถ่อง ต. ธานี อ. เมือง จ. สุโขทัย เวลา: เปิดทุกวัน 10:00 - 22:00 น. โทร. 055-620-308
อุทยานประวัติศาสตร์ สุโขทัย
เย็นหัวใจในเมืองน่าน ก่อนหน้านี้เราแทบจะไม่รู้จักเมืองที่ซ่อนอยู่ในหุบเขาแห่งนี้ไปมากกว่า ต้นก�ำเนิดของแม่น น่านที่ไหลรวมมาเป็นแม่่น สายหลักอย่างเจ้าพระยา จนกระทั่งการเดินทางผ่านหุบเขามายังเมืองเหนือฝั่งตะวันออกนี้เริ่มสะดวก สบายขึ้น ประกอบการรวมตัวกันท�ำกิจกรรมน่ารักของคนน่าน ท�ำให้เมือง เล็กๆ แห่งนี้ยิ้มให้และต้อนรับเราด้วยบรรยากาศเย็นใจ และกลายเป็น จุดหมายปลายทางของนักท่องเทีย่ วรักความสงบ ชอบความรืน่ รมย์ และหลง เสน่ห์เรียบง่ายในเมืองเก่าแก่ที่แสนเย็นใจแห่งนี้ หลายปีผ่านไป น่านกลายเป็นเมืองท่องเที่ยวยอดฮิต เชื่อว่าหลายคน ต้องเคยมาถ่ายรูป (หรืออย่างน้อยก็เห็นเพื่อนแชร์รูป ในโซเชียลมีเดีย) ซุม้ ต้นลีลาวดีหน้าพิพธิ ภัณฑสถานแห่งชาตินา่ น ปัน่ จักรยานไปกินของหวาน ป้านิ่ม เซลฟี่กับปู่ม่านย่าม่านที่กระซิบรักกันอยู่ที่ผนังวัดภูมินทร์ ให้คนที่ ไม่ได้มาด้วยอิจฉาเล่นกันมานักต่อนัก แต่นั่นยังไม่ใช่น่านที่เราอยากพาไปรู้จัก เพราะสิ่งที่มากไปกว่าสถานที่ เนือ้ หอม น่านยังมีชมุ ชนน่ารัก ร้านค้าน่าแวะ วัฒนธรรมน่าท�ำความรูจ้ กั และ ประสบการณ์ที่จะประทับลงไปในใจ มากไปกว่าการบันทึกไว้ด้วยรูปถ่าย อย่างที่เราคุ้นชิน และประสบการณ์ท่ว ี ่า จะถูกบันทึกไว้ผ่านการลงมือท�ำ
33
เมื่อการเดินทางทำ�ให้เราจดจำ� มากกว่าท่องจำ�
34
หลังทำ�ความรูจ้ กั สุโขทัยไปในทริปก่อน เราคงยังพอจำ�กัน ได้วา่ สุโขทัยกับล้านนาเป็นเหมือนเพือ่ นสนิททีเ่ กือ้ กูลกันมาบน เส้นทางประวัตศิ าสตร์ การได้มาเยือนเมืองน่านจึงเป็นเหมือน การตรวจคำ�ตอบและยืนยันสิง่ ทีเ่ ราได้เรียนรูจ้ ากการเดินทาง ด้วยความทีพ่ ญาลิไทได้เสกสมรสกับธิดา เจ้าเมืองน่าน ความสัมพันธ์ของทัง้ สองเมืองจึงแน่นแฟ้น เราจึงพบหลักฐาน มากมายที่ยืนยันความเกื้อกูลใกล้ชิดนี้ ไม่ว่าจะเป็นตัวอักษร ในจารึกที่พัฒนามาจากลายสือไทยของสุโขทัย พระธาตุแช่ แห้ ง ที่ พ ญากรานเมื อ งสร้ า งเพื่ อ บรรจุ พ ระธาตุ ที่ ไ ด้ รั บ
พระราชทานมาจากพญาลิไท เลยรวมไปถึง วัดพระธาตุชา้ ง ค้ำ�วรวิหาร ที่มี เจดีย์ช้างค้ำ� ที่คล้ายคลึงกับวัดช้างล้อมที่ ศรี สั ช นาลั ย และยั ง มี พระพุ ท ธนั น ทบุ รี ศ รี ศ ากยมุ นี พระทองคำ�ซึง่ สร้างตามอย่างศิลปะสุโขทัยประดิษฐานอยูด่ ว้ ย หลังจากสุโขทัยเสื่อมอำ�นาจ ล้านนาก็เข้ามามีอิทธิพล ให้เห็นผ่านสถาปัตยกรรมต่างๆ อาทิ กระเบื้องจังโกที่ครอบ องค์พระธาตุแช่แห้งในเวลาต่อมาก็เป็นอิทธิพลจากล้านนา และพุกาม ส่วนสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ เราก็เร่ิมเห็นอิทธิพลตะวัน ตกอย่างการประดับประดาปูนปัน้ รูปใบอะแคนตัสทีช่ า่ งพม่า
ซึ่ ง เข้ า มาในพื้ น ที่ ห ลั ง เปิ ด สั ม ปทานป่ า ไม้ เลยรวมไปถึ ง อิทธิพลจากกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นด้วย ถ้าจะแวะไปเก็บภาพซุม้ ลีลาวดี อย่าลืมมองหา วัดน้อย ที่มีประวัติความเป็นมาน่าสนใจไม่น้อย ตามประวัติเล่าว่า พระเจ้านครน่านได้เข้าเฝ้ารัชกาลที่ 5 และทูลว่าน่านมีวัด ทั้งหมด 500 วัด แต่เมื่อกลับมาสำ�รวจ พบว่ามี 499 วัด จึ ง โปรดฯ ให้ ช่ า งพื้ น เมื อ งก่ อ สร้ า งวั ด ขนาดกะทั ด รั ด นี้ ตรงโคนต้นโพธิ์หน้าหอคำ�ที่ประทับ และตั้งชื่อว่าวัดน้อย ให้สมกับขนาด 35
ส่วน วัดภูมนิ ทร์ ยอดฮิต นอกจากจะไป มองหาปูม่ า่ น ย่าม่านกระซิบกระซาบกัน เราต้องรู้เพิ่มเติมอีกหน่อยว่า ปูแ่ ละย่าไม่ได้มคี วามหมายแบบภาษาไทย เพราะคำ�ว่า ม่าน หมายถึงพม่า คำ�ว่าปูค่ อื คำ�ทีใ่ ช้เรียกชายทีพ่ น้ วัยเด็ก ส่วนย่า (ซึ่งจริงๆ ออกเสียงว่า ง่า) คือคำ�เรียกหญิงสาว และอันที่จริง ภาพอืน่ ๆ ในโบสถ์กน็ า่ สนใจ เพราะนอกจากจะเล่าเรือ่ งตามชาดก ยั ง บั น ทึ ก วิ ถี ชี วิ ต ชาวไทลื้ อ และฝรั่ ง มั ง ค่ า ที่ เ ริ่ ม เข้ า มา ในพื้ น ที่ ใ นช่ ว งรั ช กาลที่ 5 ซึ่ง เป็ น เวลาที่ ‘หนานบั ว ผั น ’ ได้เขียนภาพนีไ้ ว้
36
แต่ถา้ อยากจะตามเก็บงานของหนานบัวผันต่อ ต้องข้าม ไปที่อำ�เภอท่าวังผา แล้วแวะไปที่ วัดหนองบัว ที่สันนิษฐาน ว่าหนานบัวผัน มาสร้างสรรค์ผลงานเอาไว้ เพราะมีการใช้สี และภาพที่คล้ายคลึงกันจนสามารถชวนเพื่อนร่วมทริปมา เล่นโฟโต้ฮันต์์ด้วยกันได้เลย และคงจะฟินยิ่งกว่า ถ้าเลยเถิดไปเที่ยว เมืองปัว ขึ้น ดอยภูคา ไปสูดไอหมอก แวะสักการะ ศาลเจ้าหลวงภูคา ปฐม กษัตริยแ์ ห่งเมืองน่าน แล้วเลีย้ วรถลัดเลาะไปจนถึง บ่อเกลือ ชิมรสเค็มที่เก่าแก่ระดับเคยส่งออกไปยังอาณาจักรสุโขทัย เชียงใหม่ เชียงตุง หลวงพระบาง ไปยันสิบสองปันนา รับรองว่าทริปนี้จะทำ�ให้จำ�ได้ขึ้นใจในทุกเรื่องราวโดย ไม่ต้องเสิร์ชกูเกิล! 37
ความรื่นรมย์ในใจเมื่อได้มาเยือน โฮงเจ้าฟองค�ำ ภาพเรือนไม้ใต้ถุนสูงท่ามกลางต้นไม้ร่มรื่นและอากาศ เย็นสบาย สร้างความรื่นรมย์ใจให้เราเพียงแค่กา้ วเท้าเข้ามา เยือน แต่เมือ่ ได้ท�ำ ความรูจ้ กั กับเรือนหลังนี้ ได้เรียนรูเ้ รือ่ งราวที่ โลดแล่นอยูใ่ นผูค้ น ผืนผ้า และรายละเอียดที่มีชีวิตในแต่ละ มุม เรายิ่งรู้สึกรื่นรมย์ใจในความเป็นน่านและประวัติศาสตร์ ทีส่ ง่ ต่อกันมายาวนาน โดยแรกเริม่ เดิมที เรือนหลังนีค้ ือคุ้มของ เจ้าศรีตุมมา อธิบายง่ายๆ ว่าคือผู้มีศักดิ์เป็นหลานของเจ้า มหาวงศ์เจ้าผู้ครอง นครน่านองค์ที่ 6 จนตกทอดต่อกันมายัง เจ้าฟองคำ�ผูเ้ ป็นเหลน จึงถูกเรียกว่าโฮงเจ้าฟองคำ� นับแต่นนั้ และ ด้วยการอนุรักษ์ความเป็นบ้าน ล้านนาโบราณไว้อย่างครบ ถ้วน โฮงเจ้าฟองคำ�จึงได้รบั รางวัลอนุรกั ษ์สถาปัตยกรรมดีเด่น จากสมาคมสถาปนิ ก สยามในพระบรมราชู ป ถั ม ภ์ และ เปิดให้บุคคลทั่วไปเข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์มีชีวิตแห่งนี้โดย ไม่หวงห้าม 38
“ตามธรรมเนียม เรือนเจ้านายจะมี 6 หลัง เรือนคูแ่ ฝดจะ เป็นเรือนพักอาศัยสำ�หรับเจ้าบ้าน อีกหลังเป็นของลูกหลาน อีก เรือนเล็กสำ�หรับ คนทีท่ �ำ งานให้ในคุม้ อีกเรือนคือครัวไฟซึง่ ก็คอื ห้องครัว ส่วนอีกเรือนทีอ่ ยูห่ น้าบ้านก็คอื ยุง้ ข้าว เพราะเราถือว่า ข้าวเป็นส่วนสำ�คัญของบ้าน ทำ�นาได้กเ็ อามาเก็บไว้ ข้าวของก็ ทำ�ใช้กนั เอง” แม่ภทั ร-ภัทราภรณ์ ปราบริปู ลูกสาวของเจ้าฟอง คำ�เล่าถึงเรือนในบ้านและวิถชี วี ติ ทีท่ า่ นเห็นมาตัง้ แต่เล็กแต่นอ้ ย เครื่องเรือนยุคเก่าและข้าวของในอดีตล้วนจำ�ลองวิถี ชีวิตของคนในคุ้มที่อยู่กันอย่างร่มเย็นและเรียบง่าย แต่เมื่อ เพ่งมองรายละเอียด เราจะพบมรดกทางวัฒนธรรมซ่อนอยู่ ในงานฝีมอื งดงาม เช่น ลายปักผ้าหน้าหมอนอันแสนประณีต หรือผ้าทอแสนสวยทีช่ ่างรุ่นเก่ายังคงเหยียบกีก่ ระตุกลายกัน อย่างขะมักเขม้นที่ใต้ถุนเรือน ว่ากันตามประวัติ เจ้าฟองคำ�เคยเป็นหัวหน้าช่างทอดูแล
งานปัก ถัก ทอในราชสำ�นักที่คุ้มราชบุตร แม่ภัทรจึงยังคง รักษาฝีมือช่างเมืองน่านเอาไว้ไม่ให้สูญหาย “น่านเป็นเมืองเล็กๆ ติดต่อกับใครยาก ทุกบ้านจึงต้องมี กี่ทอผ้า เราต้องปลูกฝ้ายกันเองและทอผ้าเป็น ถ้าเป็นลูก สะใภ้ก็ต้องทอให้พ่อให้แม่ ทอให้สามี ทอให้ตัวเอง ทอให้ลูก เมื่อก่อนเรามีเสื้อผ้ากันไม่ก่ีชุด ขึ้นปีใหม่ทีก็ต้องทอผ้าใหม่ พอแต่ละคนคิดว่าอยากใส่ไปโชว์กันที่วัดเลยเกิดผ้าหลาก หลายแบบทีไ่ ม่เหมือนกัน แล้วแต่ใคร จะทออย่างไร ไม่มกี าร ทำ�เลียนแบบกัน ใช้สใี หม่ ลายใหม่ อยากได้สอี ะไรก็ยอ้ มเอา” แม่ภัทรเล่า ก่อนที่แม่ๆ ใต้ถุนเรือน จะช่วยกันอธิบายการ ทอผ้าที่เต็มไปด้วยเรื่องราวผ่านเสียงสะล้อและกระบวนการ ทอผ้าที่แสนจะมีเสน่ห์ และทำ�ให้เราจดจำ�เรือนไม้หลังนี้ไว้ ในหมวดของ ความรื่นรมย์ใจในแบบที่น่านเป็น
ภัทราภรณ์ ปราบริปู โฮงเจ้าฟองคำ�
39
ลงมือท�ำโคมส่องใจที่บ้านโคมค�ำ เมือ่ เราลองสังเกต เราจะพบเรือ่ งราวโดยสังเขปของทีน่ นั่ เช่นที่เราได้ไปกราบสักการะพระธาตุหรือแวะไปเที่ยววัดใน เขตเมืองน่าน สิง่ ทีส่ งั เกตเห็นได้ทวั่ ไปคือโคมกระดาษสาท้อง ถิ่นที่แขวนประดับประดาอยูต่ ามชายคาและระเบียงคต ถาม คนเก่าคนแก่กจ็ ะได้ความว่า ในอดีตทีย่ งั ไม่มไี ฟฟ้าใช้ คนต้อง อาศัยแสงสว่างจากตะเกียง ส่วนโคมกระดาษที่เรียกว่าโคม มะเต้าเป็นสิง่ ทีใ่ ช้ในคุม้ ในวัง จึงถือเป็นสิรมิ งคล เวลาวันพระ ใหญ่ชาวบ้านจึงนิยมทำ�โคมมะเต้าไปถวายวัดก่อน ฟังเทศน์ ฟังธรรมเพือ่ เป็นพุทธบูชา แม้วา่ ปัจจุบนั ไฟฟ้าจะส่องสว่างจน ไม่ต้องพึ่งแสงไฟจากโคมโบราณ แต่ก็มีการรื้อฟื้นจารีตใน อดีตกลับมา ด้วยเชื่อว่าหากทำ�โคมไปถวายในวันปีใหม่ หรือวันเกิดจะทำ�ให้ชีวิตพบแสงสว่างและความราบรื่นที่ พระธาตุแช่แห้งจึงเต็มไปด้วยโคมมะเต้าที่เขียนชื่อผู้ถวาย อยู่มากมายนั่นเอง 40
แต่ ถ้ า จะอุ ด หนุ น โคมสำ � เร็ จ รู ป ถวายตามความเชื่ อ เหมือนคนอืน่ ๆ ก็เหมือนจะยังเข้าไป ไม่ถงึ หัวใจของความเป็น น่าน เลยอยากชวนมาที่บ้านโคมคำ�แห่งบ้านม่วงตึ๊ดที่ยังสืบ สานฮีตฮอยของความเป็นน่านด้วยการสอนทำ�โคมไฟมะเต้า แบบดัง้ เดิมทีบ่ า้ นโคมคำ� ของแม่ถริ นันท์ โดยดี “มะเต้าก็คือแตงโม เรียกตามรูปลักษณะของโคมที่ กลมๆ เหมือนลูกแตงโมน่ะจ้ะ” แม่เฉลย ชือ่ เสียงเรียงนามของ โคม ก่อนจะเล่ายาวไปถึงชือ่ ของบ้านม่วงตึด๊ แห่งนี้ “บ้านม่วง ตึ๊ ด เป็ น ชุ ม ชนเก่ า แก่ นั บ ถึ ง ปั จ จุ บั น ก็ 275 ปี เ ข้ า ไปแล้ ว เมื่อก่อนเป็นที่อุดมสมบูรณ์ มีต้นมะม่วงเยอะจนเป็นป่าทึบ เราเรียกกันว่า มันเป็นตึด๊ ตึด๊ คือทึบ ก็เลย กลายเป็นบ้านม่วง ตึ๊ดมาจนทุกวันนี้” ส่วนที่มาของบ้านโคมคำ�แห่งนี้ แม่บอกว่าเคยสอนทำ� โคมซึง่ เป็นหลักสูตรท้องถิน่ ในโรงเรียนตาลชุมพิทยาคมทีแ่ ม่
เป็นคุณครูอยู่ เพราะอยากให้เด็กๆ เมืองน่านทุกคนรู้จักและ ทำ�โคมมะเต้าได้ ต่อมาจึงเกิดไอเดียเปิดบ้านสอนนักท่อง เที่ยวที่อยากเรียนรู้ความเป็นน่านผ่านกิจกรรมท่องเที่ยวเชิง สร้างสรรค์ “วัสดุส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ของเราค่ะ ไม่ต้องไปหาที่อื่น โครงไม้ ไ ผ่ จ ากไผ่ ข้ า วหลามหรื อ ไผ่ บ ง ก็ ห าได้ จ ากป่ า ใน หมู่บ้านเรา กระดาษสามาจากอำ�เภอนาน้อย เหนียวและทน มาก แม่แขวนไว้ตามต้นไม้ ฝนตกไม่รู้กี่ตกแล้วยังไม่พังเลย ส่วนลวดลาย เราใช้กระดาษคำ� หรือกระดาษสีทองมาทำ�เป็น ลายประจำ�ยาม ในทางพระพุทธ-ศาสนาเขาเรียกว่าลายวัชระ แปลว่าความมีสติปัญญา ส่วนตัวโคม จะสังเกตเห็นว่าพลิก ด้านไหนก็เป็นแปดเหลี่ยม ซึ่งมันเป็นนัยทางพุทธศาสนาคือ มรรค 8 และส่วนหาง โคมน่านมีหางหลายแบบ แต่ทบี่ า้ นโคม คำ�แม้จะเอาตุงหรือช่ออันเล็กๆ คนเหนือเรียกว่า จ้อ มาแต่ง เป็นหาง เป็นตัวบ่งบอกถึงชัยชนะและเป็นตัวดึงวิญญาณของ ญาติ พีน่ อ้ งเราทีเ่ สียชีวติ ไปแล้วให้หลุดพ้นจากเคราะห์กรรม”
ถามถึงกิจกรรม แม่บอกว่าจะรวมตัวกันมาเป็นหมู่ คณะหรือจับคู่กันมาคนสองคนก็ย่อมได้ เพียงแค่ต้องแจ้ง ล่วงหน้าให้เตรียมข้าวของไว้รอต้อนรับ พร้อมแนะนำ�ให้ แวะมาทำ�โคมก่อนไปสักการะพระธาตุ จะได้นำ�ผลงาน ตัวเองไปถวายเป็นพุทธบูชาด้วยความภูมิใจเป็นพิเศษ แต่แอบกระซิบว่า นอกจากความภูมิใจของเจ้าตัว ที่ได้ลงมือทำ� ในโคมทุกใบยังบรรจุความภูมิใจที่ได้ส่งต่อ ความเป็นน่านของคุณครูใจดีคนนี้ลงไปด้วย
แม่ถิรนันท์ โดยดี บ้านโคมคำ�
41
42
ท�ำตุงค่าคิงแบบเทเลอร์เมด พอดีตัว ที่วัดพระเกิด
ไม่ใช่แค่สทู เท่านัน้ ทีจ่ ะวัดตัวตัดกันแบบ พอดีตวั การทำ� ตุงถวายเป็นพุทธบูชาก็ต้องวัด ตัวตัดแบบพอดีตัวเหมือนกัน ต้องเท้าความก่อนว่า ตุงเป็นวัฒนธรรมดั้งเดิมของชาว ล้านนาที่มีหลากหลายประเภท เช่น ตุงไจที่ถวายเป็นปัจจัย ให้ผู้ท่ีล่วงลับไปแล้วมาเกาะชายตุงไปสู่ภพภูมิที่ดี ตุงไส้หมู หรือตุงกระดิง่ ดาวใช้ปกั เจดียท์ รายเพือ่ ให้มเี งินทองไหลมาเท มาอย่างเม็ดทราย ส่วนตุงค่าคิง (ทีอ่ อกเสียงว่า ตุงก้าคิง) เป็น ตุงทีถ่ วายเพือ่ สะเดาะเคราะห์และต่ออายุให้ยนื ยาว คำ�ว่า ก้า หรือ ค่า เป็นภาษาไทยใหญ่ แปลว่า เท่า ส่วนคำ�ว่า คิง แปลว่า ตัวหรือคน ตุงค่าคิงจึงต้องมีความยาวเท่ากับความสูงของ เจ้าของตุงนั่นเอง 43
แม่ดรุณี เทียมแสน
แม่สุชาดา วัชราคม
44
แต่ด้วยความสร้างสรรค์ของอาจารย์คำ�รบ วัชราคม อดีตผู้อำ�นวยการวิทยาลัยเทคนิคจังหวัดน่านที่ได้เห็นคน ในชุ ม ชนวั ด พระเกิ ด ร่ ว มกั น ทำ � ตุ ง ไจถวายเป็ น พุ ท ธบู ช า จึงศึกษาจากตำ�นานความเชือ่ เก่าแก่ และลองออกแบบลาย สำ�หรับตุงค่าคิงเป็นรูปคน และพัฒนาต่อเป็นเทวดาสวมใส่ ชฎาและลายฉลุต่างๆ ที่มีคติธรรมอิติปิโส 108 ซ่อนอยู่ใน ลวดลายจากตุงที่มีเพียงความยาวเท่าตัวคนจึงกลายเป็นตุง ทีส่ วยงามและสอดรับกับศรัทธาความเชือ่ ทีอ่ ยูเ่ บือ้ งหลังด้วย และเมื่อมีการรวมกลุ่มกันของพ่อๆ แม่ๆ ในชุมชนวัด พระเกิดทีอ่ าสาเป็นครูผถู้ า่ ยทอด กิจกรรมเรียนรูก้ ารทำ�ตุงค่า คิงก็กลายเป็นความสนใจของนักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทยไป จนถึงชาวต่างชาติ ทีส่ นใจในวัฒนธรรมและเรือ่ งราวทีซ่ อ่ นอยู่ “ฝรั่งเขาชอบที่ได้ลองทำ� ส่วนคนไทยก็จะมีความเชื่อ เรื่องการสะเดาะเคราะห์ ทำ�เสร็จก็เอาไปถวายที่วัด แขวนใน
โบสถ์ หรือถวายทีต่ น้ สะหลี คือไม้งา่ มค้�ำ ต้นโพธิ์ เราเชือ่ ว่าจะ ช่วยค้ำ�ชูให้ชีวิตเรายืดยาว เราเองก็รู้สึกดีใจที่ได้ถ่ายทอด วัฒนธรรมและได้ให้ความรูท้ างจริยธรรมให้คนรุน่ ใหม่ เพราะ เมื่ อ เขาได้ ม าลองทำ � เขาก็ จ ะได้ ค ติ ธ รรมกลั บ ไปด้ ว ย” แม่สุชาดา วัชราคม บอกเล่าด้วยรอยยิ้ม “คนน่านเราถูกสอนมาตัง้ แต่เล็กๆ ว่าต้องเข้าวัด พออยูว่ ดั เราจึงรู้สึกสุขกาย สบายใจ เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของเรา” แม่ติ๋ม อาสาสมัครอีกคนบอกเราถึงวิถีชีวิตของชาวน่าน “ทุกวันนี้แม่ๆ พ่อๆ ก็ขี่จักรยานมากันคนละคัน มาช่วยกันทำ� คนละไม้คนละมือ ทำ�อย่างนีไ้ ด้ทง้ั สมาธิ ได้ทง้ั ความเพลิดเพลิน ได้สอนก็มีความสุข เหมือนเราได้บุญไปด้วย” ใครอยากมาวัดตัวและวัดหัวใจในความศรัทธา อย่าลืม ติดต่อมาล่วงหน้าและแจ้งส่วนสูงพร้อมปีเกิดตามนักษัตร ก่อนมาหาพ่อๆ แม่ๆ ที่วัดพระเกิดแห่งนี้นะ 45
เรียนรู้วิธีจักสานด้วยใจที่บ้านต้าม
46
คุณตาเกษม จุณณวัตต
เพราะเราอยู่ในยุคที่ข้าวของเครื่องใช้รอบตัวคือสิ่งที่ซื้อ หามามากกว่าการลงมือทำ�ด้วยตัวเอง กว่าจะปะติดปะต่อได้ ว่าเครื่องจักสานจากตอกไม้ไผ่คือทักษะดั้งเดิมที่คนในอดีต ต้องมี เพื่อสานเครื่องไม้เครื่องมือในชีวิตประจำ�วัน ไม่ว่าจะ เป็นกระบุง กระจาด ตะกร้า เครื่องมือดักสัตว์ จับปลา หรือ แม้แต่สุ่มไก่ ก็ฟังดูเป็นเรื่องไกลตัว นีย่ งั ไม่ตอ้ งพูดถึง ‘เหิง’ ทีค่ นบ้านต้ามใช้ฝดั ข้าวให้เหลือแต่ เม็ ด สวย หรื อ ‘ซ้ า ’ ซึ่ ง เป็ น ตะกร้ า สำ � หรั บ พกไปเก็ บ เห็ ด ในป่าโดยเฉพาะ แต่ที่บ้านต้าม หมู่บ้านเล็กๆ ในเมืองน่านยังคงรักษา วิถเี ดิมๆ ด้วยการรวมตัวของเหล่าสูงวัยบ้านใกล้เรือนเคียง ก่อ ตั้งกลุ่มมาสืบสานงานสานแบบดั้งเดิมเพื่อส่งขายเป็นสินค้า ไปพร้อมๆ กับเปิดศาลาประชาคมให้กลายเป็นพื้นที่เรียนรู้ เรื่องจักสานแบบ โบร่ำ�โบราณ ให้นักท่องเที่ยวที่สนใจเข้ามา เรียนรู้และลงมือทำ� จากเส้นตอกย้อมสีสดใสไม่กี่เส้น เหล่าพ่อๆ แม่ๆ แห่ง บ้านต้ามต่างช่วยกันคนละไม้คนละมือสอนนักท่องเทีย่ วสาน ตัวสัตว์ จะเป็นม้า เป็นลา หรือเป็นยีราฟคอยาวก็แล้วแต่ จินตนาการของ นักท่องเที่ยวที่จะสานของที่ระลึกชิ้นจิ๋วกลับ บ้านไป แต่ความ น่าสนใจของงานสานประยุกต์นอี้ ยูท่ ตี่ น้ ตอ ของชิน้ งานจากความเชือ่ อย่าง ‘ตาแหลว’ สัญลักษณ์มงคลท่ี อยู่ในวิถีชีวิตคนล้านนา จากตอกไม้กี่เส้นที่สานให้กลายเป็นสัญลักษณ์หลาก
หลาย มีฟงั ก์ชน่ั ทีใ่ ช้สอยแตกต่างกันไป ไม่วา่ จะเป็นตาแหลว ของพรานโบราณที่เข้าไปล่าสัตว์ล่ากวาง เมื่อพลบค่ำ�ถึง เวลานอน เหล่าพรานจะถางหญ้าแล้วสานตาแหลวไปปัก สีท่ ศิ เพือ่ ป้องกันไม่ให้มงี เู งีย้ วเขีย้ วขอ ตะขาบ เสือ หรือแม้แต่ ผีเข้ามากร้ำ�กราย ส่วนตาแหลวหมายนาจะปักไว้สี่มุมของ ท้ อ งนาเพื่ อ ทู ล ขวั ญ ให้ กั บ ควายที่ เ ราใช้ ง านเขา เป็ น การ อธิษฐานเพื่อขอขมาไม่ให้เป็นบาปกรรมติดตัวไป เช่นเดียว กับตาแหลวปักหม้อยาที่เป็นสัญลักษณ์ให้รู้ว่านี่คือยาที่ปรุง ตามตำ�รับและป้องกันไม่ให้ส่ิงชั่วร้ายปะปนลงไปในหม้อยา ไปจนถึงตาแหลวเจ็ดชั้น ที่จะสานขึ้นแขวนเมื่อบ้านไหน มีคนตาย เป็นสัญลักษณ์ห้ามผีผู้ล่วงลับกลับเข้ามาในบ้าน และเดินทางต่อไปสู่ภพภูมิที่ดี “ตาแหลวเป็นของโบราณแต่นานแล้ว พ่อเองก็ได้รับ คำ�บอกเล่าจากผู้เฒ่าผู้แก่มา แล้วนำ�มาสืบสานให้กับกลุ่ม บ้านต้ามนีส้ บื ทอดต่อไป” พ่ออุย๊ ของบ้านต้ามบอกเล่าตำ�นาน ก่อนจะนำ�ขบวนพาเราขึ้นเขาเลียบลำ�ห้วยไปตามหาไผ่ซึ่ง เป็นต้นตอของเส้นตอกเหล่านี้ ทั้งต้นไผ่บง ไผ่ข้าวหลาม ไปพร้อมๆ กับแหงนหน้ามองต้นมะต๋าว หรือลูกชิดที่เรา คุ้นเคยกันดีนี่แหละ “บ้านต้ามคือถิน่ มะต๋าวและสาวงามจ้ะ” แม่ๆ เล่าพร้อม ยิ้มเขิน ก่อนจะสัญญากับเราว่า ถ้ามาคราวหน้าจะทำ�ขนม จากมะต๋าวให้กิน 47
รสอร่อยแบบน่านๆ ที่กินใจคนชิม
เฮือนภูคา ในบรรดาร้านอาหารพื้นเมืองบรรยากาศดี เราขอโหวต ให้เฮือนภูคาชนะเลิศ ด้วยบรรยากาศ รสชาติ และความ เพลิดเพลินใจในการปัน้ ข้าวเหนียวจิม้ น้�ำ พริกหนุม่ ซดแกงแคแซ่บ ยำ�ผักกูด และลิ้มรสหมูทอดมะแขว่น วัตถุดิบกลิ่นฉุนที่ได้รับ การยกย่องว่า มะแขว่นเมืองน่านหอมลึกถึงใจที่สุด และ นอกจากจะมากำ�กิ๋นเมืองกันอย่างเต็มพุงแล้ว ร้านนี้ยังน่ารัก ด้วยการตกแต่งร้านด้วยหอม กระเทียม และ พริกแห้ง แขวน ไว้เป็นราวรอบเรือนไม้ใต้ถนุ สูง ถามไถ่ได้ความว่าเจ้าของร้าน เป็นเกษตรจังหวัด เลยต้องอุดหนุนสินค้าเกษตรมาตุนไว้ใช้ ตลอดทั้งปี เลยได้ของแถม ที่ช่วยให้ร้านดูดีแบบไม่มีใคร เหมือนอีกต่างหาก 48
แอ๊ดด้าแซ่บเวอร์ ชื่ อ ร้ า นอาจจะให้ อ ารมณ์ แ ปลก ประหลาดจากร้านพืน้ ถิน่ ไปบ้าง แต่เมือ่ เจอเมนูส้มตำ�ที่เรียงรายดาหน้ามาให้ เลือกแซ่บอย่างมากมาย ทัง้ ตำ�ลาว ตำ�ไทย ตำ�ซั่ว ตำ�ข้าวโพด และ ตำ�ซิกเนเจอร์ ต่างๆ ควบมาพร้อมกับเมนูอาหารเหนือ ที่ มี ทั้ ง ขนมจี นน้ำ � เงี้ ย ว ข้ า วซอย ข้ า ว เหนียวราดลาบคั่ว ไก่ทอด ไส้อั่ว แถม บางวั น ยั ง มี เ มนู พิ เ ศษอย่ า งน้ำ � พริ ก แมงดา วุ้นเส้นผัดแหนม แกงบอน แกง ผักปลัง ตำ�มะเขือ และอื่นๆ ที่เหมือน หากินได้ตามตูก้ บั ข้าวของอุย๊ คำ� เป็นอีก ร้านที่แนะนำ�หากเบื่อร้านแบบทัวริสต์
ระเบียงดิน ฟาร์มสเตย์ และน่าน ไวน์เนอรี่ บรรยากาศเย็นๆ เวลาพลบค่ำ� ได้นั่งกินอาหารอยู่บน ระเบี ย งชั้ น สองของบ้ า นดิ น มี อ ดี ต นั ก ดนตรี อ ย่ า งพี่ พ ร วงเรนโบว์โชว์เพลงสดๆ ให้ฟงั อร่อยไปกับเมนู ทีไ่ ม่ควรพลาด อย่างแกงคั่วเห็ดถอบ และจิบไวน์ท้องถิ่นที่หมักบ่มกันใน ฟาร์มหลังร้าน ถามพี่นิดาผู้เป็นภรรยา เจ้าของร้าน และคน เมืองน่านบอกว่า ไวน์เป็นอีกช่องทางในการช่วยเกษตรกรใน ชุมชน เพิ่มมูลค่าให้ ผลไม้ท้องถิ่น และทั้งคู่มีประสบการณ์ จากการได้ไปอยูส่ องเมืองไวน์อย่างฝรัง่ เศสและแคลิฟอร์เนีย ในอเมริกา จึงนำ�ความรู้เรื่องไวน์มาปรับใช้จนกลายมาเป็น ไวน์รสนุ่ม ดื่มง่าย และเข้ากับอาหารรสจัดจ้านแบบไทยๆ ได้ดีมากๆ เลย 49
50
Wansook Café สำ�หรับคอกาแฟ ถึงจะเอนจอยอาหารท้องถิ่นแค่ ไหน แต่ ก็ ค งมี วั น ที่ คิ ด ถึ ง รสชาติ ข องกาแฟดี ๆ ชง พิ ถี พิ ถั น ยิ่ ง มี specialty coffee ให้ เ ลื อ กด้ ว ย ก็ยิ่งดีใจ และที่นี่ เราขอเลือก วันสุข คาเฟ่ คาเฟ่ที่เพิ่ง เปิดได้ไม่นาน แต่มีบาริสต้าและเจ้าของร้านที่เข้าอก เข้าใจในกาแฟ มีเมนูน่าตื่นเต้น ให้เลือกนอกจากลาเต้ เอสเพรสโซ อเมริกาโน แฟลตไวต์ หรือกาแฟดริป เพราะที่ นีย่ งั มีฟกั ทองลาเต้ เชอร์รี่แพสชั่นคอฟฟี่ วานิลลาสกาย และอื่น ๆ อีกเยอะ จะอยากสนทนากับบาริสต้าหน้า บาร์ หรือไปนัง่ ชิลล์รนื่ รมย์ขา้ งหน้าต่างชัน้ สองก็เพลินดี เหมือนกัน
51
ที่พักชวนประทับใจในน่าน
พั กกาย พั กใจ หลับตาฝันดี ณ ที่พักน่ารัก หลากแบบที่เย็นใจสมกับอยู่ในจังหวัดน่านอย่างแท้จริง
COCOA VALLEY ถึงจะไม่ใช่พชื ท้องถินิ่ หรือวิถดี งั้ เดิม แต่กป็ ฏิเสธไม่ได้วา่ เราสนิทสนมกับโกโก้หรือเจ้าช็อกโกแลตกันมาตั้งแต่เล็กแต่ น้อย ไม่วา่ จะผ่านเครือ่ งดืม่ ชงสีเข้ม ช็อกโกแลตหวานลิน้ หรือ เค้กช็อกโกแลตรสเข้มข้นสะใจ เมื่อมาเยือนน่านครั้งนี้ เราจึง ถือโอกาส แวะไปตีสนิทกับโกโก้ดูสักที ใช่ ทีอ่ �ำ เภอปัว จังหวัดน่านแห่งนี้ มีไร่โกโก้ดว้ ย! จากความรักในโกโก้และช็อกโกแลตของสองสามี-ภรรยา มนูญ ทนะวัง และจารุวรรณ จิณเสน ทั้งคู่จึงลองศึกษาเรื่อง ช็อกโกแลตอย่างจริงจัง ตัง้ แต่วธิ กี ารทำ�ช็อกโกแลตแสนอร่อย ก่อนจะถอยไปยังต้นทางอย่างการปลูกโกโก้ เมื่อเห็นความ เป็นไปได้ ทัง้ คูจ่ งึ ริเริม่ ทำ�ไร่โกโก้ ไปพร้อมๆ กับรีโนเวต รีสอร์ต 52
เดิมของครอบครัวให้กลายเป็น Cocoa Valley Resort และ Cocoa Valley Cafe เปิดรับนักท่องเที่ยวสายเข้มที่ชอบกลิ่น และรสของช็อกโกแลต ให้มานัง่ ชิลล์ นอนชิลล์ ในบรรยากาศ กำ�ลังเพลินที่มองไปทางไหนก็เห็นแต่ท้องฟ้ากว้าง ป่าเขียว และเมืองปัว สำ � หรั บ คาเฟ่ ฮ อปปิ้ ง ที่ นี่ เ สิ ร์ ฟ เมนู โ กโก้ สุ ด เข้ ม ข้ น มากมาย ทัง้ เค้กช็อกโกแลตลาวาหยาดเยิม้ โกโก้ฟองดูเดือดปุด ช็อกโกแลตร้อนจากโกโก้ เข้มข้นร้อยเปอร์เซ็นต์ และนานา เมนูน่าสนใจ แต่สำ�หรับสายกิจกรรม การมาพักที่น่ียังมา พร้อมแพ็คเกจตะลุยไร่โกโก้ และเรียนรู้การทำ�ช็อกโกแลต ตั้งแต่การเก็บเกี่ยว การฝัดเมล็ดโกโก้ การคั่ว ไปจนถึงเวิร์กช็ อปการทำ�ช็อกโกแลตและข้าวของต่อยอดอืน่ ๆ อย่างสบ่โู กโก้ หรื อ การ ย้ อ มผ้ า จากเปลื อ กโกโก้ (น่ า สนใจใช่ ไ หมล่ ะ ) ได้ขา่ วว่าอนาคตอันใกล้จะมีเปิดเวิรก์ ช็อปสำ�หรับบุคคลทัว่ ไป ที่ไม่ได้มาพัก แต่อยากสนิทกับโกโก้ ดูสักที จะขมอมหวานแค่ไหน ต้องมาลุยไร่กันสักตั้ง! 53
ศรีนวล ลอดจ์ จากห้ อ งพั ก รายวั น ของคุ ณ ย่ า ศรี น วล ถู ก รี โ นเวตโดยหลานชายที่ ตัดสินใจทิ้งงานโปรดักชั่นเฮาส์กลับมา สานต่อธุรกิจในบ้านเกิด ในวันทีน่ า่ นยัง เป็นเมืองเล็กๆ ที่ไม่ค่อยมีคนรู้จัก แต่ ด้วยความ น่ารักของที่พัก การต้อนรับ อย่างเป็นกันเอง และการพยายาม ขับ เคลื่อนชุมชนให้รับมือกับการเป็นเมือง ท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ทำ�ให้ศรีนวลลอด จ์กลายเป็นทีพ่ กั เนือ้ หอมทีน่ กั แบกเป้ทวั่ โลกนิยมมาเยือน และยังคงเส้นคงวา ความน่ารักติดกลิ่นอายศิลปะนี้ไว้ ไม่ เปลี่ยนแปลง
ศรีปันนา อยากนอนเพลินๆ ริมทุ่งนาแต่ไม่อยากออกไปไกลถึง อำ�เภอปัว นี่คือรีสอร์ตใหม่เอี่ยมที่ตอบโจทย์ทั้งความสะดวก สบายหลายดาว พิกดั ทีต่ งั้ ใกล้เมืองมาก แถมยังมีทงุ่ นาสีเขียว สดใสให้มองเพลิน ไม่รเู้ บือ่ ยิง่ เป็นทริปครอบครัวยิง่ ตอบโจทย์ เพราะเด็กๆ จะวิ่งเล่นได้ไม่รู้เบื่อ ผู้ใหญ่ขาแข้งไม่ค่อยดีก็อยู่ ได้สบาย ส่วนสายแชะ ชอบถ่ายรูปก็มีมุมขึ้นกล้องให้เลือก เพียบ จะเลยไปชมวิวทั่วเมืองน่านที่วัดพระธาตุเขาน้อยก็อยู่ ไม่ไกล เป็นอีกตัวเลือกที่ น่าสนใจเชียวล่ะ
อุ่นไอมาง ณ สปัน ชิลล์กว่านีก้ ท็ น่ี อ่ี ยูด่ นี แ่ี หละ! ที่พักเล็กจิ๋วริมน้ำ�ว้าที่เป็น เพียงเรือนไม้หลังเล็กๆ แต่คิวจองเต็มจนล้น เพราะได้รับการ บอกเล่ากันปากต่อปากว่าไม่ได้มีดีแค่วิวเด่น อากาศดี และ ความเงียบสงบเท่านัน้ แต่การบริการยังน่ารักจนอยากจะพัก ไปนานๆ มีเสิร์ฟอาหารปรุงง่ายๆ จากแม่ครัวท้องถิ่นทั้งเช้า ค่ำ� มีเต็นท์ให้นอนชิลล์ระดับชิดติดริมธาร และมีมวลของนัก ท่องเทีย่ วทีย่ มิ้ แย้มแบ่งปันตามประสาคนคอเดียวกัน จนมีทงั้ แฟนขาจรและแฟนประจำ�กลับมาซ้ำ�ๆ แม้ว่าต้องขึ้นเขา ลดเลี้ยวแค่ไหนก็ตาม!
55
เที่ยวตามใจ เพลินตามทาง อร่อยตามชอบ และนอนตามสบาย 1
สนามบินน่าน
หออัตลักษณ์น่าน
ท�ำตุงค่าคิงที่ ชุมชนวัดพระเกิด
ที่ตั้ง : วัดพระเกิด ต. ในเวียง อ.เมือง จ. น่าน โทร. 081-765-2710
วัดภูมินทร์ แอ๊ดด้าแซ่บเว่อร์
ที่ตั้ง : 25/12 ถ.ราษฎร์อ�ำนวย ต.ในเวียง อ.เมือง จ.น่าน เวลา : 7:30-15:30 หยุดวันจันทร์ โทร. 084-949-9958
ศรีนวลลอดจ์
ที่ตั้ง : 40 ถ. หน่อค�ำ ต. ในเวียง อ. เมือง จ. น่าน โทร. 054-710-174, 090-015-1692
2
สนามบินน่าน
พระธาตุแช่แห้ง
3
สนามบินน่าน
วัดภูมินทร์ บ้านโคมคำ�
ที่ตั้ง : 152 หมู่ 4 ต.ม่วงตึ๊ด อ.ภูเพี ยง จ.น่าน โทร. 089-854-0387
เตาเผาบ่อสวก
น่านศรีปันนา รีสอร์ท
ที่ตั้ง : 242 หมู่ 8 บ้านทุ่งขาม ต.ไชยสถาน อ.เมือง จ.น่าน โทร. 054-681-625
4
สนามบินน่าน
บ่อเกลือ 56
วัดหนองบัว
วัดพระธาตุช้างค�้ำ โฮงเจ้าฟองคำ�
ที่ตั้ง : 8 ถ.สุมนเทวราช ต.เวียง อ.เมือง จ.น่าน เวลา : 9:00-17:00 (หยุดวันจันทร์และอังคาร) โทร. 054-710-537, 089-560-6988
ชุมชนจักสานบ้านต้าม ที่ตั้ง : หมู่ 6 ต.บ่อสวก อ.เมือง จ.น่าน โทร. 094-234-4770
พระธาตุเขาน้อย
Cocoa Valley
ที่ตั้ง : 339 หมู่ 8 ต.ปัว อ.ปัว จ.น่าน เวลา : (ส่วนคาเฟ่) เปิดทุกวัน 9:00-19:00 โทร. 063-791-1619
ดอยภูคา
นิยามการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ในแบบฉบับของ อพท.
องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. ในฐานะองค์กร ที่มีหน้าที่หลักในการประสาน ส่งเสริม และสนับสนุนการพัฒนาการท่อง เทีย่ วอย่างยัง่ ยืน เราตระหนักดีวา่ การท่องเทีย่ วอย่างยัง่ ยืนต้องมีรากฐานจากคนในชุมชนซึง่ เป็น เจ้าของทรัพยากร โดยชุมชนต้องสามารถบริหารจัดการทรัพยากรท่องเที่ยวอย่างมีส่วนร่วม ทั้ง ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมปฏิบัติ ร่วมรับผิดชอบ และร่วมรับผลประโยชน์ ซึ่งเป็นการบริหาร จัดการโดยชุมชนและเพื่อชุมชนโดยแท้จริง “การท่องเทีย่ วเชิงสร้างสรรค์ ” ในแบบฉบับของ อพท. ถือเป็นเครือ่ งมือหนึง่ ทีส่ �ำ คัญในการ พัฒนาการท่องเทีย่ วอย่างยัง่ ยืน ทีถ่ อดบทเรียนกระบวนการพัฒนา ประสบการณ์ และการปฏิบตั ิ จริงร่วมกับชุมชนและภาคีเครือข่าย โดยการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์มุ่งเน้นการสร้างคุณค่าบน ฐานอัตลักษณ์ความเป็นไทย วิถชี วี ติ ภูมปิ ญ ั ญาท้องถิน่ ศิลปวัฒนธรรม และประวัตศิ าสตร์ ต่อย อดความคิดสร้างสรรค์ผ่านกิจกรรมท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสกับประสบการณ์ใหม่ที่ ไม่เหมือนเดิม จากการลงมือทำ�กิจกรรมร่วมกับชุมชน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้เอกลักษณ์ท้องถิ่น และเข้าถึงความรู้สึกที่มีต่อชุมชน การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์จะช่วยสร้างความเข้มแข็งของ ชุมชน และความภาคภูมิใจในคุณค่าความเป็นไทยให้กับคนในชุมชนและผู้มาเยี่ยมเยือน ถือเป็นกุญแจสำ�คัญในการสร้างการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนไปด้วยกัน การท่องเทีย่ วเชิงสร้างสรรค์ที่ อพท. คัดสรรมาบอกเล่าใน “ใจใจ” เป็นการท่องเทีย่ วทีส่ ร้าง แรงบันดาลใจกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ และทำ�ให้คุณค้นพบศักยภาพของตัวคุณเอง และนี่คือความในใจที่ อพท. อยากชวนให้ทุกคนได้ร่วมเป็นนักท่องเที่ยวสร้างสรรค์(Creative Traveler) มาร่วมเรียนรู้ ลงมือทำ� สนุกกับกิจกรรมทีห่ ลากหลายและสร้างประสบการณ์โดยตรง กับเจ้าของบ้าน และร่วมสร้างประโยชน์ให้ชุมชนท้องถิ่นได้อย่างยั่งยืน
57
(นายทวีพงษ์ วิชัยดิษฐ) ผู้อำ�นวยการ อพท.