สุขใจ 03
สารบัญ
สุโขทัย
เข้าใจ
วาดไว้ 10 ในใจ
พิมพ์ใจ
ปั้น (ตาม) ใจ 14
ปั้นใจ 12
ทอใจ ชื่นใจ 24
อิ่มใจ
ตามใจ
พักใจ 26 เย็นใจ น่าน
31
จำ�ข้ึนใจ
ร่ืนรมย์ใจ
สว่างใจ 38
วัดตัว วัดใจ 41
อิ่มใจ
สานใจ
พักใจ 49
ตามใจ
พิมพ์ครั้งที่ 2, 2562 จัดทำ�โดย งานท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ สำ�นักท่องเที่ยวโดยชุมชน องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) 2
สุขมากโขที่สุโขทัย
ความในใจ 54
เราทุ ก คนรู้ จั ก สุ โ ขทั ย ในฐานะจุ ด หมายแรกๆ ของ ประวัติศาสตร์ชาติไทย และเมืองที่ได้รับการยกย่องให้เป็น มรดกโลก แต่นอกไปจากลายสือไทย ระบอบพ่อปกครองลูก ตำ�นานพระร่วงและขอมดำ�ดิน ที่ได้ยินได้ฟังผ่านๆ ในวิชา ประวั ติ ศ าตร์ เราเองกลั บ ไม่ ไ ด้ รู้ จั ก เมื อ งนี้ เ ท่ า ไหร่ นั ก และก็ทำ�ให้อดคิดไม่ได้ว่า สุโขทัยจะมีอะไรให้เที่ยว แต่เมื่อเราได้มาเยือนเมืองนี้โดยมีเป้าหมายมากไปกว่า การถ่ายภาพพระอาทิตย์ตกที่อุทยานประวัติศาสตร์ และ กินก๋วยเตีย๋ วสุโขทัยจากเมืองต้นตำ�รับ เราจึงได้พบกับเรือ่ งราว ผู้คน และประสบการณ์ที่ทำ�ให้เมืองนี้เต็มไปด้วยชีวิตชีวา และความสร้ า งสรรค์ เพราะทุ ก กิ จ กรรมที่ เราได้ ล งมื อ ทำ � ได้เติมเต็มเรื่องราวให้กับสถานที่ที่เราได้แวะไป และต่อยอด ความเข้าใจที่เราเคยมีได้อย่างสนุกสนาน อย่าเพิ่งปักใจเชื่อ หากยังไม่ได้เอาใจมาเรียนรู้ ผ่านการลงมือทำ�
3
ขอย้อนกลับไปยุคที่มีเมืองโบราณ อยู่สองแห่งในลุ่มแม่น้ำ�ยม คือเมือง สุ โ ขทั ย (ก่ อ นเป็ น อาณาจั ก ร) และ เมืองเชลียง จากนั้นก็มีการสร้างเมือง ศรีสัชนาลัยห่างจากเมืองเชลียงไปนิด หน่ อ ยจนเมื่ อ สถาปนาอาณาจั ก ร สุโขทัย ศรีสัชนาลัยก็กลายเป็นเมือง ลูกหลวงทีก่ ษัตริยต์ อ้ งส่งคนมาปกครอง ตามประวัติเล่าว่า พ่อขุนรามคำ�แหง และพระยาลิไทก็เคยมาครองเมืองนี้ ก่อนขึ้นเป็นกษัตริย์สุโขทัยด้วย
เมื่อวิชาประวัติศาสตร์เข้าไปอยู่ในใจเรา ลื ม ตำ � ราที่ ว่ า คนไทยอพยพจากเทื อ กเขาอั ล ไต มาตั้งถิ่นฐานสร้างเมืองล้านนาและสุโขทัยไปก่อน เพราะ หลั ก ฐานทางประวั ติ ศ าสตร์ ก็ แ จ่ ม แจ้ ง อยู่ แ ล้ ว ว่ า เรา ‘มี อ ยู่ ’ กั น บนผื น แผ่ น ดิ น นี้ ม าตั้ ง แต่ ส มั ย ก่ อ นประวั ติ ศาสตร์ และเพื่อให้เห็นด้วยตาชัดๆ การเดินทางมายังแหล่ง โบราณคดีวัดชมชื่น ลงไปดูหลุมขุดที่ได้เห็นบรรพบุรุษเรา ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ไล่ลำ�ดับตามชั้นดินขึ้นมาจน ร่วมสมัยทวารวดีและขอม
ก่อนจะต่อจิ๊กซอว์ประวัติศาสตร์ ด้วยการแวะไป วัดเจ้าจันทร์ ที่อยู่ ใกล้ๆ กัน เห็นความเรืองอำ�นาจของ ขอมที่มาสร้างปราสาทหินเป็นศาสน สถาน จนเมือ่ อาณาจักรสุโขทัยเข้มแข็ง ในดินแดนแถบนี้ เราก็สร้างเจดีย์ทรง พุ่มข้าวบิณฑ์อันเป็นเหมือนซิกเนเจอร์ แบบสุโขทัยที่ วัดพระศรีรตั นมหาธาตุ เชลียง จนกระทั่งอาณาจักรอยุธยา แผ่ไพศาลจนยึดครองสุโขทัยได้ในเวลา ถั ด มา จึ ง มาสร้ า งพระปรางค์ ค รอบ เจดีย์เดิมไว้อีกที ซากปรักหักพังของ วั ด โบราณจึ ง เล่ า เรื่ อ งการเมื อ งและ อำ�นาจของอาณาจักรโบราณได้อย่าง สนุก 4
การมาเทีย่ ว อุทยานประวัตศิ าสตร์ ศรี สั ช นาลั ย จึ ง เท่ า กั บ การได้ เห็ น ทั้งความรุ่งเรืองและร่วงโรยของสุโขทัย ไปพร้อมๆ กัน ทัง้ ใน วัดเจดียเ์ จ็ดแถว ที่ เหมื อ นตำ � ราเปรี ย บเที ย บเจดี ย์ ท รง สุโขทัยแบบต่าง ๆ วัดช้างล้อม ทีม่ ชี า้ ง ปูนปั้นล้อมเจดีย์ที่สวยโดดเด่น เลยไป จนถึ ง วั ด นางพญา ที่ เห็ น ร่ อ งรอย ศิลปะสมัยอยุธยาตอนต้นซึ่งเข้ามามี อิทธิพลในที่สุด
5
เพื่อให้ครบถ้วน แนะนำ�ให้ลืมความน่าเบื่อของพิพิธภัณฑ์ แล้วเข้าไปดูโบราณวัตถุที่ พิพธิ ภัณฑสถานแห่งชาติรามคำ�แหง มองหารายละเอียอ่อนช้อยของพระพุทธรูปปางลีลาที่กำ�เนิดขึ้น เป็นครัง้ แรกในโลก ณ อาณาจักรสุโขทัย ส่องลายสังคโลก เซรามิก โกอิ น เตอร์ ข องเมื อ งนี้ ที่ ส่ ง ออกไปญี่ ปุ่ น ในสมั ย อยุ ธ ยา หรื อ พระพิ ม พ์ จ ากกรุ ทั่ ว สุ โ ขทั ย ในบริ บ ทที่ น อกเหนื อ ไปกว่ า ราคา ของนักเลงพระ-เครื่อง ฯลฯ รับรองว่าจะได้ความเข้าใจที่ช่วย ปะติดปะต่อจิกซอว์เรื่องเล่าได้อย่างสนุกใจจนลืมตำ�ราไปเลย
กลั บ มาที่ ใ จกลางเมื อ งเก่ า ณ อุ ท ยาน ประวัตศิ าสตร์สโุ ขทัย การเร่มิ ต้นที่ วัดพระพาย หลวง ทีค่ ล้ายพระปรางค์สามยอดทีล่ พบุรี ซึง่ เป็น คติในพุทธศาสนานิกายมหายาน จนเมื่อสุโขทัย ซึ่ ง นั บ ถื อ พุ ท ธศาสนานิ ก ายเถรวาทมี อำ � นาจ ก็ เปลี่ ย นให้ ก ลายเป็ น ศาสนสถาน และเจดี ย์ ทีส่ ร้างซ้อนทับกันใน 2 ยุค คือสุโขทัยยุคแรกทีเ่ รา จะได้เห็นพระพุทธรูปที่ประดิษฐานรายรอบเจดีย์ มีพระพักตร์อวบอ้วน เพราะได้อิทธิพลจากขอม และพุ ก าม แต่ พ ระพุ ท ธรู ป ที่ ส ร้ า งซ้ อ นขึ้ น ในยุ ค พญาลิ ไ ทจะมี ค วามอ่ อ นช้ อ ยสวยงาม อย่างทีเ่ ราเคยเรียนในวิชาสร้างเสริมประสบการณ์ ชีวิต เช่นเดียวกับพระอจนะใน วัดศรีชุม ซึ่งถูก บูรณะในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม โดย มีตน้ แบบเป็นพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยเป็นต้นแบบ นั่นเอง
6
ไฮไลต์สำ�คัญอย่าง วัดมหาธาตุ แน่นอนว่า ต้องสวยงามถ่ายรูปขึ้นแน่นอน แต่ถ้ามองให้ลึก ลงไป คติ โ บราณในการสร้ า งวั ด มหาธาตุ นั้ น มี ฐ านะเที ย บเท่ า กั บ ศาลหลั ก เมื อ งในปั จ จุ บั น (สังเกตดูสิ ทุกเมืองเก่าแก่จะต้องมีวดั มหาธาตุอยู่ เป็นความเชื่อเรื่องศูนย์กลางจักรวาลแบบอินเดีย โบราณ) และทีเ่ มืองสุโขทัยนี้ วัดมหาธาตุประกอบ ด้ ว ยเจดี ย์ วิ ห าร มณฑป โบสถ์ และเจดี ย์ ราย จำ�นวนมากถึง 200 องค์ และเราจะได้เห็น ฐานพระพุ ท ธรู ป ในวิ ห ารที่ เ คยประดิ ษ ฐาน พระศรีศากยมุนี ซึ่งภายหลังถูกอัญเชิญไปยัง วัดสุทัศน์ กรุงเทพฯ จากที่เคยคิดว่าเมืองเก่า สุโขทัยช่างไกลตัว ความเชื่อมโยงเหล่านี้ก็ชวนให้ รู้สึกว่าใกล้ชิดมากขึ้น
7
บ้านพระพิมพ์ลักษมณศิลป์ ที่ประทับเรื่องเล่าของสุโขทัย ลงไปในใจคน
“สุ โขทั ย มี เจดี ย์ เป็ น ร้ อ ยๆ องค์ ทุ ก องค์ มี พระพิมพ์อยูข่ า้ งใน” พีก่ บ-ณรงค์ชยั โตอินทร์ แห่ง บ้านพระพิมพ์ลกั ษมณศิลป์เริม่ ต้นฉายภาพให้เรา ‘รู้ จั ก ’ พระพิม พ์ที่ม ากไปกว่ า วั ตถุ ม งคลราคา สู ง ลิ่ ว ที่ เซี ย นพระเล่ นกั น หรื อ แค่ พ ระห้ อ ยคอ เอาไว้กันผีกันภัย “ถ้าศึกษาจริงๆ พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนให้เรา นับถือวัตถุ สิ่งเหล่านี้ถูกสร้างหลังพระพุทธเจ้า ปริ นิ พ พานเป็ น พั น ๆ ปี แต่ เป็ นตั ว แทนของ พระพุทธเจ้า ถ้าเราไม่เข้าใจว่าท่านสอนอะไร ก็เหมือนช้อนในชามแกงที่ไม่รู้รสแกงนั่นแหละ ครับ” หนุ่มใหญ่หนวดเยอะบอกเล่าด้วยสำ�เนียง สุโขทัยในจังหวะจะโคนทีช่ วนฟัง ก่อนจะบอกทีม่ า ของพระพิมพ์วา่ ถูกสร้างขึน้ ด้วยคนโบราณทีอ่ ยาก จะสืบสานพระพุทธศาสนา เพราะเชื่อว่าสรรพสิ่ง ในโลกนี้ ล้ ว นมี เ กิ ด และมี ดั บ หรื อ แม้ แต่ เจดี ย์ ที่สูงใหญ่พังทลาย พระพิมพ์ที่ถูกบรรจุอยู่ในกรุ ด้านในจะออกมาทำ�หน้าทีเ่ ป็นบันทึก เล่าเรือ่ งราว พุทธประวัติผ่านพระพุทธรูปในอิริยาบถต่าง ๆ แทนภาพถ่ายหรือบทจารึกนั่นเอง 8
และไม่ใช่โรงพิมพ์พระสุดเข้มขึง ‘ขลัง’ พี่กบ และพีแ่ ก้ม ภรรยา เปลีย่ นภาพจำ�ด้วยการต้อนรับ แสนน่ารัก ไม่ว่าจะเป็นน้ำ�ดื่มหรือขนมที่ประดับ ประดาดอกไม้ เนื้ อ ดิ น พร้ อ มพิ ม พ์ ที่ ห่ อ มาใน ใบตองสวย ผ้ า เช็ ด มื อ สะอาดสะอ้ า น ผลไม้ ตามฤดูกาลจากร่องสวน หอศิลป์ขนาดย่อมทีเ่ ก็บ รวบรวมภาพพิมพ์อิริยาบถต่างๆ ที่พบในสุโขทัย ไว้อย่างมากมายกว่า 450 พิมพ์ ไปจนถึงกิจกรรม ที่นักท่องเที่ยวต่างชาติ (หรือแม้แต่ชาวไทยอย่าง เราๆ เอง) ต้องว้าว ทั้งการหัดยิงธนูที่ทำ�ให้รู้ที่มา ของคำ�ว่าเอ็นร้อยหวาย (เพราะการจะร้อยหวาย ธนูได้ ต้องเอาคันธนูวางปักลงไปตรงข้อเท้าส่วน นัน้ ) ได้รจู้ กั หินแร่จากภูเขาสุโขทัยทีจ่ ดุ ไฟติด และ เหตุผลที่ต้องสลักชื่อไว้หลังพระพิมพ์ที่ทดลองทำ� เพราะช่ ว ยให้ ช าวต่ า งชาติ ส ามารถนำ � ผลงาน ออกนอกประเทศได้ เนื่ อ งจากชาวต่ า งชาติ ไม่สามารถนำ�พระพิมพ์ซึง่ อาจจะเป็นวัตถุโบราณ ออกไป การมีชื่อสลักหลังจึงยืนยันได้ว่าเป็นของ ที่ทำ�ขึ้นใหม่จากกิจกรรมนี้นั่นเอง
“ทุกอย่างมีเรื่องเล่าครับ รูปลักษณ์ของพระ ก็มีเรื่องเล่า ดินก็มีเรื่องเล่า วัดในสุโขทัยก็มีเรื่อง เล่า กลับไปจากบ้านผม เวลาคุณไปวัดในสุโขทัย คุณต้องรู้ว่าที่ที่จะมีกรุพระพิมพ์อยู่คือฐานเจดีย์ ฐานองค์ พ ระ และที่ พื้ น ในจุ ด ที่ พ ระมองลงไป ไม่ เชื่ อ ไป สั ง เ ก ต ดู ว่ า มี ร่ อ ง ร อ ย อ ยู่ ไห ม ” พี่ ก บให้ ข้ อ มู ล สุ ด ท้ า ย ที่ ทำ � ให้ ก ารเดิ น เที่ ย ว โบราณสถานในอุ ท ยานประวั ติ ศ าสตร์ ส นุ ก ขึ้นอีกเท่า!
ณรงค์ชัย โตอินทร์
บ้ า นพระพิ ม พ์ ล ั ก ษมณศิ ล ป์
เพราะเติบโตมาในย่านอุทยานประวัตศิ าสตร์ ชอบอ่ า นหนั ง สื อ และชอบฟั ง ผู้ เฒ่ า ผู้ แ ก่ เ ล่ า เรือ่ งราวในอดีต ทำ�ให้พกี่ บแทบจะกลายเป็นตำ�รา ประวั ติ ศ าสตร์ เคลื่ อ นที่ เมื่ อ มี ค วามหลงใหล ในพระพิมพ์เป็นฐาน และเรียนรู้วิธีการพิมพ์พระ จากอาจารย์อ ยู่ห ลายปี พี่ก บจึง เริ่มพิมพ์พระ บอกเล่าเรื่องราว และเปิดบ้านริมท้องนาเพื่อให้ นั ก ท่ อ งเที่ ย วได้ ม าประทั บ ความเป็ น สุ โขทั ย ไว้ ในใจผ่านการลงมือทำ�
9
หัดวาดลายสังคโลก ลงบนผืนผ้า ที่บ้านปรีดาภิรมย์
เพราะการจับปากกาไม่ใช่เพียงแค่การวาด เขี ย นลงบนกระดาษหรื อ ผื น ผ้ า แต่ คื อ บั นทึ ก ประสบการณ์และความทรงจำ�ลงไปในหัวใจด้วย นั่นทำ�ให้พี่ฝน-ธารารัตน์ ปรีดาภิรมย์ อยากร่วม เป็นส่วนหนึง่ ในการวาดความสุขลงไปในหัวใจของ นักท่องเที่ยว นอกเหนือจากการเป็นแม่ค้า ผ้าทอ พื้นเมืองในอุทยานประวัติศาสตร์ พี่ฝนบอกว่าตัวเองไม่ได้มีพื้นฐานสังคโลก แต่เริม่ ต้นด้วยการคิดว่าตัวเราเองเป็นนักท่องเทีย่ ว ที่ไม่มีความรู้เรื่องสังคโลกเลย เธอจะอยากรู้อะไร บ้าง จากนั้นก็ไปศึกษาข้อมูลว่าสังคโลกคืออะไร ขอความรูจ้ ากนักโบราณคดี จากพิพธิ ภัณฑ์ชมุ ชน และร้านที่ยังสืบทอดการทำ�สังคโลก พร้อมทั้ง สืบค้นความหมายของลวดลายต่างๆ และลงมือ ทำ�จริง
10
“ลายปลาที่อยู่บนจาน ของจริงมันเหมือน ปลาที่มีชีวิต ขยับได้ เพราะมันเป็นศิลปะที่มี ความอ่อนช้อย พลิว้ ไหว ก็ใช้ตวั เองเป็นหนูทดลอง ทุ ก กระบวนการจนกลายเป็ นกิ จ กรรมนี้ ขึ้ น มา เริ่ ม จากเราเขี ย นเป็ น ได้ ยั ง ไง เราก็ ส อน นักท่องเทีย่ วแบบนัน้ ถอดลายสังคโลกออกมาเป็น ขั้นตอน หนึ่ง สอง สาม เพื่อให้ง่าย แล้วก็คิดว่า ถ้าเขียนลงบนเสื้อยืดน่าจะดี เพราะนักท่องเที่ยว สามารถนำ�เสือ้ กลับไปใส่หรือเป็นของฝากได้ดว้ ย” พี่ ฝ นเล่ า ถึ ง ที่ ม ากิ จ กรรมด้ ว ยใบหน้ า ยิ้ ม แย้ ม ก่ อ นจะเล่ า ถึ ง กิ จ กรรมเต็ ม รู ป แบบที่ จ ะเกิ ด ขึ้ น ในบ้านปรีดาภิรมย์ พี่ ฝ นเร่ิ ม ต้ น กิ จ กรรมด้ ว ยการพาเราชม พิ พิ ธ ภั ณฑ์ ข นาดย่ อ มในบ้ า นปรี ด าภิ ร มย์ ซึ่ ง จัดแสดงข้าวของสะสมของครอบครัวที่สามารถ เล่าถึงวิถีชีวิตของชาวสุโขทัยในอดีต ก่อนจะพา มานั่งโต๊ะที่นอกชาน เล่าถึงเรื่องราวที่ซ่อนอยู่ใน 20 ลวดลาย ทั้ ง ลายปลา ลายหอยสั ง ข์ ลายดอกบัว ลายดอกโบตั๋น ลายช่อเบญจมาศ ฯลฯ และให้ เราเลื อ กลวดลายที่ ช อบ ลองมื อ ในกระดาษจนมั่ น ใจ ก่ อ นจะใช้ ป ากกาเพนต์ ลงบนตัวเสื้อ
“ทุ ก คนก็ พ ยายามที่ จ ะลองเขี ย นลายเอง โดยไม่ต้องให้เราช่วย แค่แนะนำ�นิดๆ หน่อยๆ พอ เสร็จเห็นเป็นผลงานเขาก็ภูมิใจ บางคนบอกว่า ไม่คดิ ว่าตัวเองจะทำ�ได้” เจ้าของกิจกรรมยิม้ กว้าง ถึงสิ่งที่เธอเองก็ภูมิใจไปด้วย และนอกไปจากความภาคภูมิใจในลวดลาย สิ่ ง ที่ พี่ ฝ นตระเตรี ย มไว้ ให้ นั ก ท่ อ งเที่ ย วสั ม ผั ส ประสบการณ์แบบสุโขทัยที่น่าสนใจไม่แพ้กันคือ ของว่ า งที่ จั ด เต็ ม ทุ ก ครั้ ง ไม่ ว่ า จะเป็ นน้ำ � ลอย ดอกมะลิหอมชื่นใจจากมะลิปลอดสารพิษที่ปลูก เอง ผลไม้ตามฤดูกาล น้ำ�มะม่วงตลับนาคหอม ชื่นใจหรือน้ำ�มะพร้าวอ่อนอัญชัน ส่วนขนมไทย พืน้ บ้าน พีฝ่ นบอกว่าไฮไลต์ประจำ�บ้านคือสังขยา ชาวนา ขนมที่ ค นโบราณจะทำ � เวลาลงแขก เกี่ยวข้าว ด้วยการหุงข้าวเหนียวคลุกกับมะพร้าว ขูด จิม้ กับสังขยาผัดรสหวานมันโรยหอมแดงเจียว นอกจากจะได้วาดไว้ในใจ ดูเหมือนเราจะได้ วาดความอร่อยไว้ในพุงด้วย!
ธารารัตน์ ปรีดาภิรมย์
บ้ า นปรี ด าภิ ร มย์
11
ต่อยอดแรงบันดาลใจ ด้วยงานปั้นสร้างสรรค์ ที่โมทนาเซรามิก หากการเดินทางคือการตามหาแรงบันดาลใจ โมทนาเซรามิก น่าจะเป็นจุดหมายที่ควรแวะมา ตักตวงพลังสร้างสรรค์นเ้ี ป็นอย่างยิง่ ในแง่ของศิลปะเซรามิก บ้านนี้คือ pottery studio ที่มีชื่อเสียงในระดับนานาชาติมายาวนาน สร้างผลงานทีโ่ ดดเด่นมีเอกลักษณ์อย่างน่าชืน่ ชม แต่ที่มากไปกว่านั้น คือพลังของคู่สามี-ภรรยา นักสร้างสรรค์ พี่อู๊ดและพี่ไก่ เฉลิมเกียรติ-อนุรักษ์ บุญคงที่แค่มานั่งคุยนั่งฟังทั้งคู่ถ่ายทอดความรู้ เกี่ยวกับเซรามิกและทัศนคติในการสร้างผลงาน ก็ได้รับแรงบันดาลใจในการใช้ชีวิตไปเต็มๆ “การทำ�งานของโมทนาเซรามิกมีอยู่ 3 ส่วน คืองานเชิงพาณิชย์แบบ made to order งานเชิง อนุรักษ์ และงานศิลปะงานเชิงอนุรักษ์คืองานที่มี สังคโลกเป็นแรงบันดาลใจ ไม่ใช่การยกมาทัง้ หมด จุดมุ่งหมายของโมทนา นอกจากเราทำ�งานเพื่อ
เลีย้ งตัวเองและสัง่ สมความรู้ สัง่ สมประสบการณ์ และเราอยากทำ�งานทีจ่ ะไปอยูใ่ นมิวเซียมเพือ่ เป็น ที่จดจำ�ในยุคของเรา ในช่วงแรก ๆ หลายคนบอก ว่าเราไม่รู้จกั ตัวเอง เราลืมรากเหง้า เพราะงานเรา ไม่ใช่สังคโลก แต่เรากลับคิดว่า อุตสาหกรรมการ ทำ�สังคโลกที่สุโขทัยเมื่อ 800 กว่าปีก่อน มันเป็น เทคโนโลยีที่สูงมากนะเมื่อเทียบกับความรู้หรือ วิทยาการในสมัยนั้น เพราะฉะนั้นเราควรต่อยอด สิ ไม่ใช่การทำ�เหมือนเดิม เราจะเห็นว่างานสังค โลกในอดีตมีเป็นร้อย ๆ ลาย วิธีการเคลือบแต่ละ แห่งก็แตกต่างกัน ทุกคนมีสูตรของตัวเอง เราเอง ก็ตอ้ งสร้างตัวเองขึน้ มาให้คนจดจำ�เราอย่างทีเ่ ป็น เราเช่ น เดี ย วกั น ” พี่ ไ ก่ แ ละพี่ อู๊ ด พาเราเดิ น ดู มิวเซีย มขนาดย่อ มในบ้าน ที่จัดแสดงผลงาน ชิน้ เด่น ๆ ของโมทนา ก่อนจะบอกเล่าจุดมุง่ หมาย ของบ้านที่ฟังแล้วหัวใจพองโต
พีไ่ ก่ อนุรก ั ษ์ บุญคง และ พีอ ่ ด ู๊ เฉลิมเกียรติ บุญคง โมทนาเซรามิก 12
ชิ้ นงานเซรามิ ก หลากหลาย โดดเด่ นด้ ว ยรู ป ทรงประณี ต สีเคลือบหลากหลาย เท็กซ์เจอร์ทนี่ า่ สนใจ เลยรวมไปถึงงานลงทอง ดูร่วมสมัย คือเอกลักษณ์ของโมทนาที่ล้วนแล้วแต่เกิดจากการ ทดลองและเรียนรู้อยู่เสมอ พี่อู๊ดและพี่ไก่บอกว่า ทุกสิ่งทุกอย่าง ล้วนมีผลต่อชิ้นงาน ตั้งแต่แร่ธาตุที่ประกอบในดิน วิธีการขึ้นรูป การทำ�เคลือบ และรายละเอียดแม้เพียงเล็กน้อย ดังนั้นการทำ� เซรามิกจึงเหมือนการเรียนรู้ตลอดชีิวิต และนั่ น ทำ � ให้ โ มทนาเซรามิ ก เป็ น ศู น ย์ เ รี ย นรู้ เ ซรามิ ก แบบครบวงจร “เราเป็ นคนที่ เห็ นความเป็ น ไปได้ ต ลอดเวลา ใจคิ ด ว่ า มั น เป็นไปได้ท่เี ราจะทำ�ศูนย์การเรียนรู้ เพราะเรามีความรู้เรื่องเซรามิก ก็เพราะได้รับการถ่ายทอดมา และเราก็อยากจะถ่ายทอดต่อไป อยากเป็นโรงเรียนที่สอนพื้นฐานเกี่ยวกับเซรามิกแล้วให้เขาไป ต่อยอด ทำ�อย่างที่เขาอยากได้ เพราะถ้าเขาทำ�ตามครู มันจะไม่ พัฒนา อยากให้เขาได้ทำ�งานในแบบที่ชอบและได้แสดงตัวตน ผ่านผลงานของตัวเอง” พี่ไก่เล่าด้วยรอยยิ้มพร้อมแววตามุ่งมั่น เพราะจากการมีลกุู ศิษย์เข้ามาเรียนรูก้ นั ยาวๆ การเปิดบ้านให้เด็กๆ ในชุมชนมาทดลองใช้จินตนาการ ไปจนถึงการเปิดเวิร์กช็อปใน ช่วงเวลาสัน้ ๆ ให้นกั ท่องเทีย่ วเข้ามาเรียนรูก้ ารปัน้ หรือการเขียนลาย ทำ�ให้ทั้งคู่เห็นความเป็นไปได้ตั้งแต่การสร้างศิลปิน สร้างเด็กวัยรุ่น ที่มีแรงบันดาลใจในการใช้ชีวิต ไปจนถึงการสร้างความสุขและ ความทรงจำ�ดีๆ ให้กับผู้มาเยือน และความตั้งใจที่น่าชืื่นใจนี้ คือสิ่งที่เราได้รับกลับบ้านมาด้วย นอกเหนือจากผลงานที่ได้ลงมือสร้างสรรค์ผ่านกิจกรรมในโรงเรียน และโรงปั้นที่น่ารักแห่งนี้
ซื้อใจ
ราคา 800 บาท
ราคา 500 บาท 13
สวนกิ่งก้อย ดอยปุย เซรามิก จากดินสุโขทัย ที่ทำ�ให้หัวใจคนปั้นพองโต พี่ปุย-ภารุจีร์ บุญชุ่ม คือลูกศิษย์คนเก่งของพี่อู๊ดและพี่ไก่แห่งโมทนาเซรามิก ที่เข้าไปเรียนรู้งาน ปั้นอย่างจริงจัง หลังตัดสินใจกลับบ้านเกิดที่สุโขทัย หลังจากชวนคุยยาว ทำ�ให้เรารู้ว่าพี่ปุยเรียนจบมาทางด้านสังคมศาสตร์ เริ่มต้นหลงใหลในงานเซ รามิกเพราะอยากปั้นแก้วเป็นของตัวเองหนึ่งใบ แต่ก็เลือกทำ�งานเป็นเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยใน กรุงเทพฯ ตามวุฒิการศึกษา แต่หลังจากถามตัวเองชัดๆ ว่าอยากจะแก่ไปแบบไหน เธอก็ตัดสินใจ กลับบ้านเกิดมารื้อฟื้นศาสตร์ เซรามิก และตัดสินใจลงหลักปักฐานในสตูดิโอ สวนกิ่งก้อย ดอยปุย “พอกลับมาทำ�ก็ขุดดินแถวบ้านมารีด มา นวด มาผสมเอง แล้วก็ค้นหาตัวเองด้วยว่า เรา ควรมี จุ ด ยื น และมี ค วามชั ด เจนยั ง ไง” นั ก ปั้ น พูดน้อยแต่ทำ�จริงบอกเล่า ก่อนจะชี้ชวนให้ดูผล งานสำ�เร็จและที่เตรียมรอเข้าเตาเผาจำ�นวนมาก ซึ่ ง สามารถสรุ ป ความชั ด เจนของเซรามิ ก สวน กิ่งก้อย ดอยปุยว่า คืองานปั้นมือรูปทรงอิสระที่มี คาแร็กเตอร์น่ารักจนเหมือนกับว่าดินเผาเคลือบสี เหล่านั้นมีชีวิตขึ้นได้ด้วยมือของเธอ 150 บาท
อี ก หนึ่ ง จุ ด เด่ น นอกเหนื อ ไปจากสไตล์ ที่ เลียนแบบยาก พี่ปุยยังเลือกใช้ดินจากอำ�เภอ ศรีสชั นาลัย ซึง่ มีจดุ เด่นคือแร่เหล็กทีอ่ ยูใ่ นเนือ้ ดิน ซึ่ ง ทำ � ให้ เ กิ ด สี สั น ที่ ส วยงามเป็ น เอกลั ก ษณ์ “เมือ่ ชุบเคลือบแล้วนำ�ไปเผา ดินศรีสชั ฯ จะเหมือน มีความลึกลับซับซ้อน เพราะแร่เหล็กจะรวมตัวกับ สารเคลื อ บจนเกิ ด เป็ น สี ใหม่ ทำ � ให้ เราลุ้ น อยู่ ตลอด”
ซื้อใจ ภารุจีร์ บุญชุ่ม 300 บาท
14
สวนกิ่งก้อย ดอยปุย
หลังจากคลุกคลีตีสนิทกับดินสุโขทัย และ ทำ�การทดลองด้วยการสร้างผลงานของตัวเองจน อยู่ มื อ พี่ ปุ ย เริ่ ม เปิ ด บ้ า นให้ ค นที่ ส นใจเข้ า มา เรียนรู้การทำ�เซรามิกในแบบเป็นกันเอง ขึ้นอยู่กับ ว่าอยากเรียนรู้มากน้อยแค่ไหน สำ�หรับคนมีเวลา น้อยก็สามารถมาเรียนรู้หลักการง่ายๆ และลงมือ นวดๆ ปัน้ ๆ ตามแต่จนิ ตนาการ ก่อนทีส่ วนกิง่ ก้อย ดอยปุยจะรวบรวมผลงานเข้าเตาเผาแล้วส่งตาม กลับไปให้ที่บ้าน แต่สำ�หรับคนที่สนใจจริงจัง จะ อยู่โยงเรียนรู้หลายๆ วัน พี่ปุยก็เปิดบ้านเลี้ยงข้าว และ พาไปเที่ยวเหมือนเพื่อนมาเล่นที่บ้านยังไง ยังงั้น “เวลาคนมาที่ บ้ า นเราก็ อ ยากให้ เขาได้ รั บ ความสุขและได้สงิ่ ทีต่ อ้ งการมากทีส่ ดุ วิธกี ารสอน จะเริ่มจากเขาอยากปั้นอะไรก่อน เพราะในแต่ละ งานก็จะใช้เทคนิคไม่เหมือนกัน เหมือนเราสอนพืน้ ฐานก่อน แล้วให้เขาลองทำ�เอง คอยเป็นผู้ช่วยให้ คำ�แนะนำ�ว่าต้องทำ�อย่างไร เพราะคนปั้นจะรู้ดี ที่สุดว่าเขาต้องการเครื่องมือแบบไหนมาใช้ใน งาน” ซึ่งด้วยวิธีการเรียนการสอนแบบนี้ ทำ�ให้ สวนกิ่งก้อย ดอยปุยเป็นจุดหมายของคนที่อยาก ปั้นอะไรตามใจโดยไม่ต้องมีกฎเกณฑ์หรือความ งามพิมพ์นิยม เลยรวมไปถึงเด็กๆ ที่กำ�ลังสนุกไป กับจินตนาการ (และมีพัฒนาการเป็นของแถมชิ้น โต) “งานปัน้ เป็นงานทีเ่ ขาได้สอื่ สารด้วยตัวเขาเอง ทัง้ ด้วยสิง่ ทีเ่ ขาชอบ ขนาดของมือ น้�ำ หนักของมือ แค่บีบเนื้อดินก้อนหน่ึงออกมาก็ไม่เหมือนกันแล้ว มันคือเอกลักษณ์ของแต่ละคน ที่เราอยากให้เขา รูส้ กึ มัน่ ใจในสิง่ ทีเ่ ขาเป็น” พีป่ ยุ ยืนยันหนักแน่นถึง สิ่ ง ที่ อ ยู่ ใ นงานแต่ ล ะชิ้ น และชี้ ช วนให้ เ รา ดูผลงานของเด็กๆ ที่เคยเข้าร่วมเวิร์กช็อป นั่นยืนยันได้ชัดถึงสิ่งที่พี่ปุยพูด เช่นเดียวกัน กับงานของสวนกิ่งก้อย ดอยปุยเอง
15
หัวเจอในผ้าตีนจกไทยพวน ที่สุนทรีผ้าไทย ในภาษาพวน คำ�ว่า ‘หัวเจอ’ แปลว่าหัวใจ และการได้มาพบเจอวิถีทอผ้าของชาวไทยพวน ที่ชุมชนหาดเสี้ยวก็เหมือนการได้เจอ ‘หัวใจ’ ของ ความเป็นไทยพวน ผ่านผ้าทอตีนจกสวยประณีต ที่เกิดจากการใช้ขนเม่นเรียวเล็ก จกเส้นฝ้ายทีละ เส้ น ที ล ะเส้ น แล้ ว ทอจนเกิ ด เป็ น ลวดลาย เอกลักษณ์เฉพาะตัว
16
พีม่ ดื -รวิวรรณ ขนาดนิด แห่งสุนทรีผา้ ไทยเล่า ให้ฟงั ว่า ชาวไทยพวนบ้านหาดเสีย้ วอพยพมาจาก เมืองเชียงของ ประเทศลาว ผ่านเส้นทางหลวงพระ บาง น่าน อุตรดิตถ์ แพร่ และเลือกลงหลักปักฐาน ที่สองฟากฝั่งริมแม่น้ำ�ยมที่เมืองศรีสัชนาลัยมา อย่างยาวนาน แต่ยังคงรักษาวิถีชีวิต ประเพณี และความเป็นชาติพันธุ์ไว้อย่างเหนียวแน่น โดย เฉพาะการทอผ้า ที่ลูกสาวทุกบ้านจะต้องทอผ้า เป็ น และต้ อ งทอตี น จกได้ ส วยงามตาม แบบฉบับไทยพวน
“พี่ทอผ้าเป็นตั้งแต่อายุ 10 ขวบ ผ้าที่เรานุ่ง ทุกวันคือซิน่ ตีนดำ�และซิน่ ตีนแดง ตีนหมายถึงส่วน ล่างของผ้าถุง ถ้าเป็นสีแดงแปลว่าคนนุ่งยังเป็น สาวและยังโสด ส่วนหญิงทีแ่ ต่งงานแล้วหรือมีอายุ หน่อยจะนุ่งซิ่นตีนดำ� ส่วนซิ่นตีนจกเอาไว้ใส่ไป งานบุญ ไปวัด ไปร่วมพิธีสำ�คัญต่างๆ สาวๆ ทุก คนต้องมีซนิ่ ตีนจกของตัวเองหนึง่ ผืน” พีม่ ดื เล่าถึง จารีตที่สืบต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่นผ่านกี่ทอผ้า ซึ่ง เอกลั ก ษณ์ เฉพาะของตี นจกบ้ า นหาดเสี้ ย วคื อ ลวดลายโบราณ 9 ลาย และ 3 สี ที่บ่งบอกถึงชา ติพันธ์ุและถิ่นฐาน นั่นคือพื้นตีนจกสีแดง ตัวจกสี เหลือง และซิ่นสีเขียว
จากทีเ่ คยทอผ้าใช้เอง คุณแม่สนุ ทรี ขนาดนิด แม่ของพี่มืดเริ่มนำ�ผ้าทอไทยพวนไปเผยแพร่จน เป็นที่รู้จักในวงกว้างผ่านกลุ่มหัตถกรรมพื้นบ้าน โบราณหาดเสี้ยว และได้เป็นครูภูมิปัญญาของ สภาการศึกษา ความคิดต่อยอดจากการรวมกลุม่ ทอผ้าขายจึงกลายเป็นศูนย์การเรียนรู้ไทยพวน “เราคิดว่าจะทำ�ยังไงให้นกั ท่องเทีย่ วเข้าใจผ้าของ เรา เพราะในยุคที่ผ้าโรงงานเข้ามาตีตลาดผ้าไทย ทอมือ คนก็จะสงสัยว่าทำ�ไมผ้าทอของเราแพง พอ เราทำ�เป็นศูนย์การเรียนรู้ มีสาธิตการทอผ้า แทนที่ จะมาดูได้แค่สินค้า ก็ได้เห็นวิธีทำ�ด้วย จากนั้นก็ เริ่ ม พั ฒ นากั บ องค์ ก ารบริ ห ารการพั ฒ นาพื้ นที่ พิเศษเพือ่ การท่องเทีย่ วอย่างยัง่ ยืน (อพท.) ต่อ ให้ นักท่องเที่ยวได้ลองทอผ้าตีนจกเอง เรียนรู้ว่าการ จกลายนกคุ้มตัวเล็กๆ มันต้องใช้เวลา เขาจะได้ รู้คุณค่าของงานผ้าตีนจก และได้เรียนรู้เรื่องราวที่ อยู่ในวิถีชีวิตของเรา ที่เลือกลายนกคุ้มคือการคุ้ม เหย้า คุ้มเรือน คุ้มผัว คุ้มเมีย เป็นการครองเรือน กันอย่างมีความสุข เพราะลักษณะของลายเป็น นกคาบดอกไม้หันหน้าเข้าหากัน” พี่มืดเล่าถึง ความหมายน่ารักของลายที่อยู่บน ‘ผ้าเซ็ดสบ’ หรือผ้าผืนจิ๋วที่ชาวไทยพวนเอาไว้เช็ดปากเวลา เคีย้ วหมากในอดีต ก่อนจะแนะนำ�กิจกรรมใหม่คอื การนำ�ผ้าทอชิ้นเล็กๆ มาอยู่ในกรอบไม้ เป็นของ แต่งบ้านชิ้นเก๋ที่นักท่องเที่ยวสามารถนำ�กลับไป ใช้ได้อีกชิ้น
17
“คนทอผ้าเหมือนเป็นศิลปิน เขาจะไม่คอ่ ยยุง่ กับใคร และอาศัยดูลายผ้าจากผ้าเก่าแล้วทอตาม แต่คนรุ่นใหม่ที่มาดูไม่เป็น ต้องดูจากกราฟ เราก็ ต้องถอดลายเป็นกราฟออกมา และฝึกให้คนทอ ผ้ า อ่ า นกราฟและสื่ อ สารกั บ คนรุ่ น ใหม่ ใ ห้ ไ ด้ ซึ่งตรงนี้เป็นเรื่องที่สำ�คัญกว่าการที่นักท่องเที่ยว ได้มาเรียนรู้อีก เพราะเราได้ฝึกการถ่ายทอดสิ่งที่ เรามี เทคนิคของคนทอผ้าแต่ละคนอาจจะไม่ เหมื อ นกั น เพราะทุ ก คนเรี ย นรู้ ม าจากต่ า ง ครอบครัวกัน แต่มันก็เป็นเสน่ห์และเป็นความ ภูมใิ จ คนทอผ้าบอกได้วา่ การทำ�งานนีม้ คี วามสุข อย่างไร มันได้มากกว่าค่ากิจกรรมที่นักท่องเที่ยว มาเรียนกับเรา แต่มันคือการได้ทำ�งานร่วมกัน ได้พัฒนาไปพร้อมๆ กัน” พี่มืดเล่าทั้งรอยยิ้ม เพราะในฐานะชาวไทยพวน เธออยากต่อยอด ภูมิปัญญานี้ให้อยู่ต่อไปได้นานๆ 18
ซื้อใจ
ราคา 2,500 บาท
และด้ ว ยความตั้ ง ใจที่ ว่ า ทำ � ให้ พี่ มื ด เป็ น มากกว่าโต้โผใหญ่ในการรวมกลุ่มคนทอผ้าเชิง อนุรักษ์ พี่มืดยังหันมาเปลี่ยนผ้าทอพื้นถิ่นให้ร่วม สมัย เปลี่ยนเนื้อผ้าแข็งกระด้างด้วยการต้มและ ฟอกให้ นิ่ ม จนใส่ ส บาย ซั ก เครื่ อ งได้ สี ไม่ ต ก เปลี่ยนสีสันของเส้นฝ้ายให้ตอบเทรนด์ตามใจ คนรุ่ น ใหม่ ม ากขึ้ น รวมไปถึ ง สร้ า งแบรนด์ SUNTRE3 (อ่ า นว่ า ซั นทรี ) ที่ ร่ ว มทำ � งานกั บ ดีไซเนอร์ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ พัฒนา ผลิ ต ภั ณฑ์ เ ก๋ ไ ก๋ ที่ นำ � 3 เทคนิ ค การทอตี นจก แบบไทยพวนแท้ อันได้แก่ จก ยก เข็น มาสร้าง ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ทั้งหมวก กระเป๋า เก้าอี้ โคมไฟ ของแต่งบ้าน และอีกมากที่เท่เอามากๆ “เราทำ�เรือ่ งสมัยใหม่ แต่กไ็ ม่ทงิ้ อันเดิม เพราะ มั นคื อ รากเหง้ า ที่ เราต้ อ งรั ก ษาไว้ ก็ เ ลยทำ � มา ควบคู่กัน จะพัฒนาอะไรก็ขอให้ยังมีเทคนิคเดิม ของเราอยู่ งานทุกชิ้นจะได้มีเรื่องราวของเราอยู่ ตรงนั้นว่าเราใช้วิธีการอย่างไร โชคดีที่เราเปิดให้ คนเข้ามาทำ�งานกับเรา และยอมรับในส่งิ ทีเ่ ขาคิด โดยที่เราเป็นพื้นฐาน มันสามารถทำ�งานร่วมกัน ได้ถ้าเรามีจุดมุ่งหมายเดียวกัน ดีไซเนอร์ไม่รู้เรื่อง ผ้า เราไม่รงู้ านดีไซน์ แต่กท็ �ำ งานร่วมกันได้ คนทอ ผ้าก็ตน่ื เต้นทีไ่ ด้ท�ำ อะไรใหม่ๆ เป็นความภูมใิ จร่วม กัน” และหากเราอยากร่วมเป็นหนึง่ ในความภูมใิ จ นัน้ การได้เข้าไปลองเรียนรู้ ‘หัวเจอ’ ของผ้าตีนจก ไทยพวนที่สุนทรีผ้าไทย น่าจะทำ�ให้เราเข้าใจสิ่งที่ พี่ มื ด พยายามบอกกั บ เราด้ ว ยรอยยิ้ ม ตลอด การสนทนา
รวิวรรณ ขนาดนิด สุนทรีผ้าไทย
19
รสอร่อยชวนอิ่มอกอิ่มใจในแบบที่สุโขทัยเป็น
ก๋วยเตี๋ยวตาปุ้ย มาสุโขทัยก็ต้องกินก๋วยเตี๋ยวสุโขทัย และใน บรรดาร้านใหญ่เจ้าดัง เราชอบตาปุ้ยในความ ฟู ล ออพชั่ นของการบริ ก าร ละลานตาไปด้ ว ย เครือ่ งเคราหน้าหม้อก๋วยเตีย๋ วให้มองแม่ครัวหยิบๆ ปรุงๆ อย่างเพลินใจ เด็ดที่น้ำ�ตาลปี๊บ กากหมู ถั่วฝักยาวหั่นแฉลบ และถั่วลิสงคั่วใหม่พอให้ เคีย้ วกรุบ เสิรฟ์ มาในชามดินเผาจากทุง่ หลวงบ้าน เดียวกัน นอกจากนี้ยังมีเมนูเด็ดเป็นผัดกะเพราผู้ ว่าฯ สูตรเฉพาะทีท่ า่ นผูว้ า่ สุโขทัยขอให้เอาหมูแดง เครื่ อ งก๋ ว ยเตี๋ ย วไปผั ด แบบจั ด จ้ า นให้ ห น่ อ ย โปะไข่ดาวอีกนิดก็ฟินไม่แพ้ก๋วยเตี๋ยวเลย
20
ลุงจ้อย ไม่ควรพลาดหากอยากชิมจิตวิญญาณท้อง ถิน่ ทีร่ า้ นลุงจ้อยมีรายการปลาจากแม่น้�ำ ยมสดๆ ทั้งปลาค้าว ปลาเนื้ออ่อน ปลารากกล้วย ปลากด ปลาคั ง ที่ จั บ ได้ ใ นวั น นั้ น ๆ เนื้ อ แน่ น ไร้ ก ลิ่ น โคลนกลิ่นคาวแบบปลาเลี้ยงบ่อให้รำ�คาญใจ วิธี ปรุงก็เด็ดขาด หากสัง่ ต้มโคล้งปลาย่าง รูไ้ ว้เลยว่า คือปลาที่ก่อเตาผิงไฟย่างเองให้ระอุควันหอมๆ ส่วนเมนูซิกเนเจอร์มีทั้งดอกโสนฉาบไข่ (เริ่ดกว่า ผัดไข่เพราะไข่ถกู ผัดแบบพอดิบพอดีฉาบดอกโสน กำ�ลังอร่อย) หลนไข่ปลา น้ำ�พริกปลาย่าง ถามถึง เคล็ดลับ นอกจากปลาสด ไม่หวงเครือ่ ง เรือ่ งเล็กๆ น้อยๆ อย่างการเลือกพริกที่ปลูกในสวนสุโขทัย ยังให้กลิ่นรสเผ็ดหอมจัดจ้านที่ถูกใจเป็นที่สุด
21
ป้าแอ๊ด ปลาแม่น้ำ� อี ก ร้ า นชิ ล ล์ แ บบบ้ า นๆ ริ ม แม่ น้ำ � ยมที่ อบอุ่ น ใจเหมื อ นมาบ้ า นป้ า ที่ ทำ � อาหารอร่ อ ย ป้ า บอกว่ า สู ต รเด็ ด เคล็ ด ลั บ เมนู ต่ า งๆ ในร้ า น มาจากอาหารการกินสมัยอยู่แพ เพราะตอนนั้น จั บ ปลาได้ อ ย่ า งง่ า ยดายจนเบื่ อ จะกิ น ปลา ก็พยายามพลิกแพลงเมนูเรื่อยมา เบื่อแกงกะทิ ก็แกงป่า แกงส้ม ผัดพริก ผัดขิง สลับกันไป ซึ่ง เมนูเด็ดคือฉูฉ่ ปี่ ลาเนือ้ อ่อน ซึง่ จะเป็นแบบพริกสด หอมฉุนแปลกไปจากฉู่ฉี่เมืองไหน และถ้าหากสั่ง เมนูนี้อาจต้องรอนานนิดเพราะป้าแอ๊ดต้องโขลก พริ ก แกงที ล ะจานเพื่ อ ความเพอร์ เฟกต์ สู ง สุ ด อาหารส่วนใหญ่เป็นเมนูง่ายๆ แต่บอกเลยว่า ต้มยำ�ปลาช่อน ไข่เจียวหมูสับ หรือแม้แต่ซี่โครง หมูทอดที่ดูสามัญธรรมดา รสชาตินั้นอร่อยเกิน มาตรฐานไปมาก
หมีข้าวพันผัก อี ก ร้ า นชิ ล ล์ ริ ม น้ำ � ยมที่ ใ ห้ เ รากิ น ข้ า วเปิ๊ บ ข้าวพันผัก ไข่ม้วน และเมนูนุ่มลิ้น ละลายใจ ในเพิ ง ไม้ ล มโชย ป้ า หมี เ จ้ า ของร้ า นบอกว่ า ป รั บ ป รุ งสู ต ร จ า ก ข้ า ว พั น ผั ก เมื อ งลั บ แ ล มาขายคู่ กั บ ข้ า วเปิ๊ บ อั น เป็ น เมนู ดั้ ง เดิ ม ของ ชาวศรีสัชนาลัย และเพราะความอร่อยชวนติดใจ และทำ�สดใหม่ทุกจาน ความน่ารักอีกอย่างคือ ข้าวพันผักร้านนี้เสิร์ฟในชามสังคโลกเขียนลาย เฉพาะแบบคั ส ตอมเมด ช่ ว ยกั น โปรโมตเสน่ ห์ ของท้องถิ่นแบบร่วมด้วยช่วยกันอร่อย! 22
23
จุดพักเติมความชื่นใจ ของเหล่าคาเฟ่ฮอปปิ้ง
379 drip คาเฟ่ ที่ ซ่ อ นตั ว อยู่ อ ย่ า งลึ ก ลั บ กลางเมื อ ง สุโขทัย ในพิกัดร่มรื่นใต้ถุนเรือนไม้ที่เก๋ไก๋กำ�ลังดี ร้านนี้เสิร์ฟกาแฟ specialty หลายตัว เน้นการดริป แบบพิถีพิถัน จริงจัง และใส่ใจ แต่ใครอยากสั่ง เมนูกาแฟทั่วไปก็มีเสิร์ฟให้ในบรรยากาศเย็นๆ เหมือนนัง่ เล่นอยูข่ า้ งโอ่งน้�ำ จึงไม่แปลกทีพ่ กิ ดั ร้าน จะลึกลับ แต่ก็มีลูกค้าแวะมาที่บ้านเลขที่ 379 นี้ ไม่ขาดสาย
จงกลคาเฟ่ ร้านกาแฟที่ตั้งตามชื่อของคุณยายแห่งนี้ คือ คาเฟ่ เ ก๋ ไ ก๋ ในบรรยากาศร่ ม รื่ น เกิ น หน้ า เกิ นตา ร้านกาแฟทั่วไป ถามไถ่ได้ความว่าพี่สาวเจ้าของ ร้ า นเป็ น สไตลิ ส ต์ ส่ ว นบาริ ส ต้ า หนุ่ ม ก็ ใ ห้ ความสำ�คัญกับเมนูเครื่องดื่มเป็นพิเศษ เราจึงได้ ชิมเมนูสนุกๆ อย่าง T(h)ree Brother ที่รวมตัวกัน ระหว่างชาเขียว โกโก้ และเอสเพรสโซเข้มข้น เมโน่โซดาทีค่ ดั สรรเม็ดกาแฟหลายตัวมาสร้างเมนู สดชื่น ไปจนถึงลาเต้อัญชันสีสวยหวาน นอกจาก นี้ ข้ า งๆ ร้ า นยั ง มี ก๋ ว ยเตี๋ ย วสุ โขทั ย และผั ด ไทย สู ต รโบราณมากให้ สั่ ง ขึ้ น มากิ น สำ � หรั บ คน อยากอิ่มท้อง 24
25
ที่พักชวนประทับใจในสุโขทัย ใครว่าสุโขทัยเป็นเมืองที่ไม่ต้องอยู่นาน ลองแวะมาเอกเขนกใจ ในทีพ ่ ก ั น่ารักเหล่านี้ รับรองว่าจะอยากอยูย ่ าวๆ จนไม่อยากเช็กเอาต์!
If you want to Hostel แน็ก-ปริวัฒน์ วิเชียรโชติ บอกว่าโฮสเทลแห่ง นี้คือการกลับบ้านของเขา เขาเป็นคนสุโขทัยโดยกำ�เนิด เคยเป็นครีเอทีฟ โฆษณา เคยทำ � ร้ า นอาหาร เขากลั บ มาเปิ ด โฮสเทลที่บ้านเกิดของตัวเองเพราะอยากสร้าง คอมมิวนิตี้ให้กับนักท่องเที่ยวที่ชอบวิถีชีวิตง่ายๆ สบายๆ แบบที่โฮสเทลทั่วโลกเป็น นอกจากทีพ่ กั ทัง้ แบบดอร์มนอนรวมและห้อง เดีย่ ว เขายังจัดสรรพืน้ ทีส่ �ำ หรับลิฟวิง่ รูม นัง่ สบาย คอมมอนรู ม ไว้ เป็ นที่ พ บปะแลกเปลี่ ย นของ นั ก ท่ อ งเที่ ย วหลากสั ญ ชาติ ห้ อ งครั ว ที่ เปิ ด ให้ ทุกคนได้ตั้งเตาปรุงเมนูกันอย่างอิสระ เลยรวมไป ถึงดาดฟ้านัง่ ชิลล์ให้นกั ท่องเทีย่ วได้ใช้เวลาร่วมกัน แม้สิ่งเหล่านี้จะยังไม่เคยมีในสุโขทัย แต่ก็เป็น มาตรฐานที่โฮสเทลทั่วโลกมี เขาจึงตัดสินใจทำ� สิ่งที่มากกว่านั้น co-host คือนิยามของสิ่งที่เขาทำ�
26
“เราพยายามสร้างสังคมทีท่ �ำ ให้ทงั้ ลูกค้าและ คนในชุมชนรู้คุณค่าของตัวเอง ไม่ว่าคุณจะเป็น ใคร เมือ่ คุณมาทีน่ คี่ ณ ุ จะพบคุณค่าของตัวเอง เรา เปิดกว้างให้อาสาสมัครเข้ามาร่วมทำ�กิจกรรม และเปิดให้คนในชุมชนมาร่วมทำ�อะไรดีๆ เช่น มี อาจารย์คนหน่งึ ชอบไปคุยกับฝรัง่ ตามทีต่ า่ งๆ เพือ่ ฝึกภาษา แต่เกสต์เฮาส์ส่วนใหญ่จะไม่อนุญาต เพราะรู้สึกว่าเป็นการรบกวนแขกที่มาพัก แต่เรา เปิดรับและชวนมาทำ�กิจกรรมร่วมกัน จนแขกทีม่ า พั ก ก็ ไปสอนภาษาอั ง กฤษให้ กั บ เด็ ก ที่ โรงเรี ย น กลายเป็นกิจกรรมใหม่ๆ ทีไ่ ด้แบ่งปันสูช่ มุ ชนด้วย” แน็กบอกว่าการแบ่งปันของนักท่องเทีย่ วทีม่ า เป็นเหมือนการขับคุณค่าในตัวเองและได้สมั ผัสถึง การทำ�อะไรเพื่อคนอื่น เขาเล่าว่า วันก่อนเพิ่งมี โคโฮสต์มาจากญี่ปุ่น เปิดครัวสอนเพื่อนๆ ในโฮส เทลทำ�ซูชิ ส่วนวันก่อนเขาก็รวมกลุ่มนักท่องเที่ยว ไปลงโคลนจับปลากับชาวบ้าน แน่นอนว่าเหล่า นักท่องเที่ยวได้สนุกกับกิจกรรมแปลกใหม่ แต่คน ทีส่ นุกและสุขกว่าดูจะเป็นชาวสุโขทัยทีไ่ ด้ภมู ใิ จใน ความเป็นตัวเอง “เราพยายามขยับตัวเองให้เป็น destination คือเราไม่ได้อยากชวนให้คนมาสุโขทัยแล้วมาพัก ที่เรา แต่เราอยากชวนให้คนมา If you want to Hostel แล้วออกไปเที่ยวสุโขทัย” ใครอยากยกมืออาสาไปเป็นโคโฮสต์ตั้งแต่ บรรทัดนี้ เตรียมเก็บกระเป๋าได้เลย!
27
Nakorn De Sukhothai Hip Hotel and Hong Rama Tearoom โรงแรมและคาเฟ่ทสี่ ร้างอยูบ่ นพืน้ ทีเ่ ก่าของ หงษ์ ร ามา โรงหนั ง ใหญ่ ป ระจำ � เมื อ งสุ โขทั ย เหมาะกับนักเดินทางที่ชอบความสะดวกสบาย แต่เป็นมิตรแบบโรงแรมขนาดเล็ก อยู่ใจกลาง เมืองที่สามารถเดินเล่นได้เพลินๆ หาของอร่อย กิ น ได้ ง่ า ยๆ เพราะใกล้ ต ลาดโต้ รุ่ ง และถ้ า ไม่ อ ยากไปไหนไกล คาเฟ่ แ ละร้ า นอาหาร ด้ า นล่ า งก็ เ สิ ร์ ฟ ทั้ ง อาหารไทยจานโตเมนู ตะวันตกรสเด่นที่คนในพื้นที่ก็แวะมาอุดหนุน แน่นร้านทุกวัน เลยรวมไปถึงกาแฟและชาที่ มี เ มนู ใ ห้ เ ลื อ กมากมายในบรรยากาศเย็ น ฉ่ำ � สู้อุณหภูมิร้อนฉ่าแบบสุโขทัยได้สบายเลย
28
Sukhothai Garden อยากตื่นเช้าทันพระอาทิตย์สีส้ม และปั่น จั ก รยานไปถึ ง อุ ท ยานประวั ติ ศ าสตร์ ไ ด้ เ ลย สุโขทัยการ์เด้นคือทางเลือกที่น่ารัก ด้วยที่ตั้งใน ซอยสุโขทัยนครเขตเมืองเก่า แต่ไม่แออัดแน่น หนาเท่าเกสต์เฮาส์รมิ ถนน ห้องพักดีได้มาตรฐาน มีสวนสีเขียวให้มองเพลินใจ มีบ้านไม้หลังเก่า ที่สวยและขลังกำ�ลังดี ที่สำ�คัญคือมีคุณลุงสุธัมม์ เจ้าของบ้านคอยต้อนรับขับสู้ด้วยความยิ้มแย้ม ผู้เปิดบ้านเก่าของตัวเองเพื่อเพิ่มรายได้ให้คน ในชุมชนที่มาทำ�งานด้วยกัน พร้อมๆ กับอยาก ให้นกั ท่องเทีย่ วประทับใจในการมาเยือนสุโขทัย ด้วยการบริการที่ดี
29
แนะนำ�เส้นทางเที่ยวตามแต่ใจ พร้อมพิกัดให้แวะพัก แวะอร่อย สุนทรีผ้าไทย
สนามบินสุโขทัย/ สนามบินพิษณุโลก
1
Hong Rama Tearoom
2
สนามบินสุโขทัย
หมีพันผัก
ที่อยู่ : 329 หมู่ 6 ต.หนองอ้อ อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย โทร. 089-858-8576
ที่อยู่ : 55 หมู่ 2 ถ.พิศาลดำ�ริ ต.หาดเสี้ยว อ. ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย เวลา : เปิดอังคาร-อาทิตย์ (หยุดวันจันทร์) 08:00-17:00 น. โทร. 085-146-4244
วัดพระศรีรต ั นมหาธาตุเชลียง
ที่อยู่ : 35 ถ. ประเสริฐพงษ์ ต. ธานี อ. เมือง จ. สุโขทัย เวลา : เปิดทุกวัน 08:00-16:00 น. โทร. 055-611-833
เย็นหัวใจในเมืองน่าน
จงกลคาเฟ่
อุทยานประวัติศาสตร์ ศรีสัชนาลัย
โมทนาเซรามิก
ที่อยู่ : 107/4 ต.บ้านคลองกระจง อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย
ที่อยู่ : 912 ต.เกาะตาเลี้ยง อ.ศรีสำ�โรง จ.สุโขทัย
เวลา : เปิดทุกวัน 08:00-16:00 น. โทร. 064-313-3271
โทร. 086-443-2628, 094-714-6145
สุโขทัยการ์เด้น
อุทยานประวัติศาสตร์ สุโขทัย
ที่อยู่: 119 ซ.สุโขทัยนคร 1 ต.เมืองเก่า อ.เมือง จ. สุโขทัย โทรศัพท์: 084-751-1533
3
สนามบินสุโขทัย/ สนามบินพิษณุโลก
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำ�แหง
ก๋วยเตี๋ยวตาปุ้ย
ที่อยู่ : 2/147 สี่แยกคลองโพธิ์ ถ. จรดวิถีถ่อง ต. ธานี อ. เมือง จ. สุโขทัย เวลา : เปิดทุกวัน 07:30-16:00 น. โทร. 055-620-435
บ้านปรีดาภิรมย์
บ้านพระพิมพ์ลักษมณศิลป์
โทรศัพท์: 095-609-7855, 091-025-0519
โทร. 089-643-6219, 081-197-0535
ที่อยู่ : 291/1 หมู่ 3 ต.เมืองเก่า อ.เมือง จ.สุโขทัย
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
ทีอ ่ ยู่ : 51/7 หมู่ 8 บ้านเชตุพน ต.เมืองเก่า อ.เมือง จ. สุโขทัย
สุโขทัยการ์เด้น
ทีอ ่ ยู:่ 119 ซ.สุโขทัยนคร 1 ต.เมืองเก่า อ.เมือง จ.สุโขทัย โทรศัพท์: 084-751-1533
4
สนามบินสุโขทัย/ สนามบินพิษณุโลก If you want to Hostel ทีอ ่ ยู่ : 1-3 ถ. นิกรเกษม ต. ธานี อ. เมือง จ. สุโขทัย โทร. 063-779-7601
30
บ้านสวนกิ่งก้อย ดอยปุย ที่อยู่ : 170/5 หมู่ 1 ต.บ้านหลุม อ.เมือง จ.สุโขทัย โทร. 089-484-9136
ป้าแอ๊ด ปลาแม่น้ำ�
ทีอ ่ ยู่ : ซ. วัดคูหาสุวรรณ ต. ธานี อ. เมือง จ. สุโขทัย
เวลา : เปิดทุกวัน 11:30-23:00 น. โทร. 084-122-6425
ลุงจ้อย
ก่อนหน้านี้เราแทบจะไม่รู้จักเมืองที่ซ่อนอยู่ในหุบเขาแห่งนี้ ไปมากกว่าต้นกำ�เนิดของแม่น้ำ�น่านที่ไหลรวมมาเป็นแม่น้ำ�สาย หลักอย่างเจ้า-พระยา จนกระทั่งการเดินทางผ่านหุบเขามายัง เมืองเหนือฝั่งตะวันออกนี้เร่ิมสะดวกสบายขึ้น ประกอบการรวม ตัวกันทำ�กิจกรรมน่ารักของคนน่าน ทำ�ให้เมืองเล็กๆ แห่งนีย้ มิ้ ให้ และต้อนรับเราด้วยบรรยากาศเย็นใจ และกลายเป็นจุดหมาย ปลายทางของนักท่องเที่ยวรักความสงบ ชอบความรื่นรมย์ และ หลงเสน่ห์เรียบง่ายในเมืองเก่าแก่ที่แสนเย็นใจแห่งนี้ หลายปีผ่านไป น่านกลายเป็นเมืองท่องเที่ยวยอดฮิต เชื่อว่า หลายคนต้องเคยมาถ่ายรูป (หรืออย่างน้อยก็เห็นเพื่อนแชร์รูป ในโซเชียลมีเดีย) ซุม้ ต้นลีลาวดีหน้าพิพธิ ภัณฑสถานแห่งชาตินา่ น ปัน่ จักรยานไปกินของหวานป้านิม่ เซลฟีก่ บั ปูม่ า่ นย่าม่านทีก่ ระซิบ รักกันอยูท่ ผี่ นังวัดภูมนิ ทร์ ให้คนทีไ่ ม่ได้มาด้วยอิจฉาเล่นกันมานัก ต่อนัก แต่นน่ั ยังไม่ใช่นา่ นทีเ่ ราอยากพาไปรูจ้ กั เพราะสิง่ ทีม่ ากไปกว่า สถานทีเ่ นื้อหอม น่านยังมีชุมชนน่ารัก ร้านค้าน่าแวะ วัฒนธรรม น่าทำ�ความรูจ้ กั และประสบการณ์ทจี่ ะประทับลงไปในใจ มากไป กว่าการบันทึกไว้ด้วยรูปถ่ายอย่างที่เราคุ้นชิน และประสบการณ์ที่ว่า จะถูกบันทึกไว้ผ่านการลงมือทำ�
ที่อยู่: 204 หมู่ 7 ถ. จรดวิถีถ่อง ต. ธานี อ. เมือง จ. สุโขทัย
เวลา: เปิดทุกวัน 10:00 - 22:00 น. โทร. 055-620-308
อุทยานประวัติศาสตร์ สุโขทัย 31
เมื่อการเดินทางทำ�ให้เราจดจำ� มากกว่าท่องจำ�
หลังจากสุโขทัยเสื่อมอำ�นาจ ล้านนาก็เข้ามา มีอิทธิพลให้เห็นผ่านสถาปัตยกรรมต่างๆ อาทิ กระเบือ้ งจังโกทีค่ รอบองค์พระธาตุแช่แห้งในเวลา ต่อมาก็เป็นอิทธิพลจากล้านนาและพุกาม ส่วนสิง่ ปลูกสร้างอืน่ ๆ เราก็เร่มิ เห็นอิทธิพลตะวันตกอย่าง การประดั บ ประดาปู น ปั้ น รู ป ใบอะแคนตั ส ที่ช่างพม่าซึ่งเข้ามาในพื้นที่หลังเปิดสัมปทานป่า ไม้ เลยรวมไปถึงอิทธิพลจากกรุงรัตนโกสินทร์ตอน ต้นด้วย ถ้าจะแวะไปเก็บภาพซุ้มลีลาวดี อย่าลืมมอง หา วัดน้อย ที่มีประวัติความเป็นมาน่าสนใจไม่ น้อย ตามประวัติเล่าว่า พระเจ้านครน่านได้เข้า เฝ้ารัชกาลที่ 5 และทูลว่าน่านมีวัดทั้งหมด 500 วัด แต่เมื่อกลับมาสำ�รวจ พบว่ามี 499 วัด จึงโป รดฯ ให้ช่างพื้นเมืองก่อสร้างวัดขนาดกะทัดรัดนี้ ตรงโคนต้นโพธิ์หน้าหอคำ�ที่ประทับ และตั้งชื่อว่า วัดน้อยให้สมกับขนาด
หลังทำ�ความรูจ้ กั สุโขทัยไปในทริปก่อน เราคงยังพอจำ�กันได้ว่าสุโขทัยกับล้านนา เป็นเหมือนเพือ่ นสนิททีเ่ กือ้ กูลกันมาบนเส้น ทางประวัตศิ าสตร์ การได้มาเยือนเมืองน่าน จึงเป็นเหมือนการตรวจคำ�ตอบและยืนยัน สิง่ ทีเ่ ราได้เรียนรูจ้ ากการเดินทาง ด้วยความที่พญาลิไทได้เสกสมรสกับ ธิดา เจ้าเมืองน่าน ความสัมพันธ์ของทั้ง สองเมืองจึงแน่นแฟ้น เราจึงพบหลักฐาน มากมายที่ยืนยันความเกื้อกูลใกล้ชิดนี้ ไม่ ว่าจะเป็นตัวอักษรในจารึกทีพ่ ฒ ั นามาจาก ลายสือไทยของสุโขทัย พระธาตุแช่แห้ง ที่พญากรานเมืองสร้างเพื่อบรรจุพระธาตุ ที่ ไ ด้ รั บ พระราชทานมาจากพญาลิ ไ ท เลยรวมไปถึง วัดพระธาตุชา้ งค้�ำ วรวิหาร ที่มี เจดีย์ช้างค้ำ� ที่คล้ายคลึงกับวัดช้าง ล้อมที่ศรีสัชนาลัย และยังมี พระพุทธ นันทบุรศี รีศากยมุนี พระทองคำ�ซึง่ สร้าง ตามอย่างศิลปะสุโขทัยประดิษฐานอยูด่ ว้ ย 32
33
ส่วน วัดภูมินทร์ ยอดฮิต นอกจากจะไป มองหาปู่ม่านย่าม่านกระซิบกระซาบกัน เราต้อง รู้เพิ่มเติมอีกหน่อยว่าปู่และย่าไม่ได้มีความหมาย แบบภาษาไทย เพราะคำ�ว่า ม่าน หมายถึงพม่า คำ�ว่าปู่คือคำ�ที่ใช้เรียกชายที่พ้นวัยเด็ก ส่วนย่า (ซึ่งจริงๆ ออกเสียงว่า ง่า) คือคำ�เรียกหญิงสาว และอันที่จริงภาพอื่นๆ ในโบสถ์ก็น่าสนใจ เพราะ นอกจากจะเล่าเรื่องตามชาดก ยังบันทึกวิถีชีวิต ชาวไทลือ้ และฝรัง่ มังค่าทีเ่ ริม่ เข้ามาในพืน้ ทีใ่ นช่วง รัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นเวลาที่ ‘หนานบัวผัน’ ได้เขียน ภาพนี้ไว้
34
แต่ถ้าอยากจะตามเก็บงานของหนานบัวผัน ต่อ ต้องข้ามไปที่อำ�เภอท่าวังผา แล้วแวะไปที่ วั ด หนองบั ว ที่ สั น นิ ษ ฐานว่ า หนานบั ว ผั น มาสร้างสรรค์ผลงานเอาไว้ เพราะมีการใช้สีและ ภาพที่คล้ายคลึงกันจนสามารถชวนเพื่อนร่วม ทริปมาเล่นโฟโต้ฮันต์์ด้วยกันได้เลย และคงจะฟิ น ยิ่ ง กว่ า ถ้ า เลยเถิ ด ไปเที่ ย ว เมืองปัว ขึน้ ดอยภูคา ไปสูดไอหมอก แวะสักการะ ศาลเจ้าหลวงภูคา ปฐมกษัตริย์แห่งเมืองน่าน แล้วเลีย้ วรถลัดเลาะไปจนถึง บ่อเกลือ ชิมรสเค็ม ที่เก่าแก่ระดับเคยส่งออกไปยังอาณาจักรสุโขทัย เชี ย งใหม่ เชี ย งตุ ง หลวงพระบาง ไปยั น สิบสองปันนา รับรองว่าทริปนีจ้ ะทำ�ให้จ�ำ ได้ขนึ้ ใจในทุกเรือ่ ง ราวโดยไม่ต้องเสิร์ชกูเกิล!
35
ความรื่นรมย์ในใจเมื่อได้มาเยือน โฮงเจ้าฟองคำ�
ภาพเรือนไม้ใต้ถุนสูงท่ามกลางต้นไม้ร่มรื่น และอากาศเย็นสบาย สร้างความรื่นรมย์ใจให้เรา เพียงแค่กา้ วเท้าเข้ามาเยือน แต่เมือ่ ได้ท�ำ ความรูจ้ กั กับเรือนหลังนี้ ได้เรียนรูเ้ รือ่ งราวทีโ่ ลดแล่นอยูใ่ นผูค้ น ผืนผ้า และรายละเอียดทีม่ ชี วี ติ ในแต่ละมุม เรายิง่ รูส้ กึ รืน่ รมย์ใจในความเป็นน่านและประวัตศิ าสตร์ ทีส่ ง่ ต่อกันมายาวนาน โดยแรกเริม่ เดิมที เรือนหลังนี้ คือคุ้มของเจ้าศรีตุมมา อธิบายง่ายๆ ว่าคือผู้มี ศั ก ดิ์ เ ป็ น หลานของเจ้ า มหาวงศ์ เ จ้ า ผู้ ค รอง นครน่ า นองค์ ที่ 6 จนตกทอดต่ อ กั น มายั ง เจ้าฟองคำ�ผูเ้ ป็นเหลน จึงถูกเรียกว่าโฮงเจ้าฟองคำ� นับแต่นั้น และด้วยการอนุรักษ์ความเป็นบ้าน ล้านนาโบราณไว้อย่างครบถ้วน โฮงเจ้าฟองคำ�จึง ได้รับรางวัลอนุรักษ์สถาปัตยกรรมดีเด่น จาก สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ และ เปิดให้บุคคลทั่วไปเข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์มีชีวิต แห่งนี้โดยไม่หวงห้าม
“ตามธรรมเนียม เรือนเจ้านายจะมี 6 หลัง เรือนคู่แฝดจะเป็นเรือนพักอาศัยสำ�หรับเจ้าบ้าน อีก หลังเป็นของลูก หลาน อีก เรือนเล็กสำ� หรับ คนที่ทำ�งานให้ในคุ้ม อีกเรือนคือครัวไฟซึ่งก็คือ ห้องครัว ส่วนอีกเรือนที่อยู่หน้าบ้านก็คือยุ้งข้าว เพราะเราถือว่าข้าวเป็นส่วนสำ�คัญของบ้าน ทำ�นา ได้ ก็ เ อามาเก็ บ ไว้ ข้ า วของก็ ทำ � ใช้ กั น เอง” แม่ภทั ร-ภัทราภรณ์ ปราบริปู ลูกสาวของเจ้าฟองคำ� เล่าถึงเรือนในบ้านและวิถชี วี ติ ทีท่ า่ นเห็นมาตัง้ แต่ เล็กแต่น้อย เครื่องเรือนยุคเก่าและข้าวของในอดีตล้วน จำ�ลองวิถีชีวิตของคนในคุ้มที่อยู่กันอย่างร่มเย็น และเรียบง่าย แต่เมื่อเพ่งมองรายละเอียด เราจะ พบมรดกทางวัฒนธรรมซ่อนอยูใ่ นงานฝีมอื งดงาม เช่น ลายปักผ้าหน้าหมอนอันแสนประณีต หรือผ้า ทอแสนสวยทีช่ า่ งรุน่ เก่ายังคงเหยียบกีก่ ระตุกลาย กันอย่างขะมักเขม้นที่ใต้ถุนเรือน
ว่ากันตามประวัติ เจ้าฟองคำ�เคยเป็นหัวหน้าช่างทอดูแลงาน ปัก ถัก ทอในราชสำ�นักที่คุ้มราชบุตร แม่ภัทรจึงยังคงรักษาฝีมือ ช่างเมืองน่านเอาไว้ไม่ให้สูญหาย “น่านเป็นเมืองเล็กๆ ติดต่อกับใครยาก ทุกบ้านจึงต้องมีกี่ทอ ผ้า เราต้องปลูกฝ้ายกันเองและทอผ้าเป็น ถ้าเป็นลูกสะใภ้ก็ต้องทอ ให้พ่อให้แม่ ทอให้สามี ทอให้ตัวเอง ทอให้ลูก เมื่อก่อนเรามีเสื้อผ้า กันไม่กี่ชุด ขึ้นปีใหม่ทีก็ต้องทอผ้าใหม่ พอแต่ละคนคิดว่าอยากใส่ ไปโชว์กนั ทีว่ ดั เลยเกิดผ้าหลากหลายแบบทีไ่ ม่เหมือนกัน แล้วแต่ใคร จะทออย่ า งไร ไม่ มี ก ารทำ � เลี ย นแบบกั น ใช้ สี ใหม่ ลายใหม่ อยากได้สีอะไรก็ย้อมเอา” แม่ภัทรเล่า ก่อนที่แม่ๆ ใต้ถุนเรือน จะช่วยกันอธิบายการทอผ้าที่เต็มไปด้วยเรื่องราวผ่านเสียงสะล้อ และกระบวนการทอผ้าที่แสนจะมีเสน่ห์ และทำ�ให้เราจดจำ�เรือนไม้หลังนี้ไว้ ในหมวดของความรื่นรมย์ ใจในแบบที่น่านเป็น
ภัทราภรณ์ ปราบริปู โฮงเจ้ า ฟองคำ � 36
37
ลงมือทำ�โคมส่องใจที่บ้านโคมคำ�
เมื่ อ เราลองสั ง เกต เราจะพบเรื่ อ งราว โดยสังเขปของที่นั่นเช่นที่เราได้ไปกราบสักการะ พระธาตุหรือแวะไปเที่ยววัดในเขตเมืองน่าน สิ่งที่ สังเกตเห็นได้ทั่วไปคือโคมกระดาษสาท้องถิ่นที่ แขวนประดับประดาอยูต่ ามชายคาและระเบียงคต ถามคนเก่าคนแก่กจ็ ะได้ความว่า ในอดีตทีย่ งั ไม่มี ไฟฟ้ า ใช้ คนต้ อ งอาศั ย แสงสว่ า งจากตะเกี ย ง ส่วนโคมกระดาษที่เรียกว่าโคมมะเต้าเป็นสิ่งที่ใช้ ในคุ้มในวัง จึงถือเป็นสิริมงคล เวลาวันพระใหญ่ ชาวบ้านจึงนิยมทำ�โคมมะเต้าไปถวายวัดก่อน ฟังเทศน์ฟังธรรมเพื่อเป็นพุทธบูชา แม้ว่าปัจจุบัน
ไฟฟ้าจะส่องสว่างจนไม่ต้องพึ่งแสงไฟจากโคม โบราณ แต่กม็ กี ารรือ้ ฟืน้ จารีตในอดีตกลับมา ด้วย เชื่อว่าหากทำ�โคมไปถวายในวันปีใหม่หรือวันเกิด จะทำ � ให้ ชี วิ ต พบแสงสว่ า งและความราบรื่ น ที่พระธาตุแช่แห้งจึงเต็มไปด้วยโคมมะเต้าที่เขียน ชื่อผู้ถวายอยู่มากมายนั่นเอง
แต่ ถ้ า จะอุ ด หนุ น โคมสำ � เร็ จ รู ป ถวายตาม ความเชื่อเหมือนคนอื่นๆ ก็เหมือนจะยังเข้าไป ไม่ถึงหัวใจของความเป็นน่าน เลยอยากชวนมาที่ บ้านโคมคำ�แห่งบ้านม่วงตึ๊ดที่ยังสืบสานฮีตฮอย ของความเป็นน่านด้วยการสอนทำ�โคมไฟมะเต้า แบบดัง้ เดิมทีบ่ า้ นโคมคำ� ของแม่ถริ นันท์ โดยดี “มะเต้าก็คอื แตงโม เรียกตามรูปลักษณะของ โคมที่กลมๆ เหมือนลูกแตงโมน่ะจ้ะ” แม่เฉลย ชือ่ เสียงเรียงนามของโคม ก่อนจะเล่ายาวไปถึงชือ่ ของบ้านม่วงตึด๊ แห่งนี้ “บ้านม่วงตึด๊ เป็นชุมชนเก่า แก่ นับถึงปัจจุบนั ก็ 275 ปีเข้าไปแล้ว เมือ่ ก่อนเป็น ที่อุดมสมบูรณ์ มีต้นมะม่วงเยอะจนเป็นป่าทึบ เราเรี ย กกั น ว่ า มั น เป็ น ตึ๊ ด ตึ๊ ด คื อ ทึ บ ก็ เ ลย กลายเป็นบ้านม่วงตึ๊ดมาจนทุกวันนี้”
ส่วนที่มาของบ้านโคมคำ�แห่งนี้ แม่บอกว่า เคยสอนทำ�โคมซึง่ เป็นหลักสูตรท้องถิน่ ในโรงเรียน ตาลชุมพิทยาคมที่แม่เป็นคุณครูอยู่ เพราะอยาก ให้เด็กๆ เมืองน่านทุกคนรูจ้ กั และทำ�โคมมะเต้าได้ ต่อมาจึงเกิดไอเดียเปิดบ้านสอนนักท่องเที่ยวที่ อยากเรียนรู้ความเป็นน่านผ่านกิจกรรมท่องเที่ยว เชิงสร้างสรรค์
แม่ถิรนันท์ โดยดี บ้ า นโคมคำ �
38
39
“วัสดุส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ของเราค่ะ ไม่ต้อง ไปหาที่อื่น โครงไม้ไผ่จากไผ่ข้าวหลามหรือไผ่บง ก็หาได้จากป่าในหมู่บ้านเรา กระดาษสามาจาก อำ�เภอนาน้อย เหนียวและทนมาก แม่แขวนไว้ตาม ต้ น ไม้ ฝนตกไม่ รู้ กี่ ต กแล้ ว ยั ง ไม่ พั ง เลย ส่ ว น ลวดลาย เราใช้ ก ระดาษคำ � หรื อ กระดาษ สีทองมาทำ�เป็นลายประจำ�ยาม ในทางพระพุทธศาสนาเขาเรียกว่าลายวัชระ แปลว่าความมีสติ ปัญญา ส่วนตัวโคม จะสังเกตเห็นว่าพลิกด้านไหน ก็เป็นแปดเหลี่ยม ซึ่งมันเป็นนัยทางพุทธศาสนา คือมรรค 8 และส่วนหาง โคมน่านมีหางหลายแบบ แต่ ที่ บ้ า นโคมคำ � แม้ จ ะเอาตุ ง หรื อ ช่ อ อั น เล็ ก ๆ คนเหนือเรียกว่า จ้อ มาแต่งเป็นหาง เป็นตัวบ่ง บอกถึงชัยชนะและเป็นตัวดึงวิญญาณของญาติ พี่น้องเราที่เสียชีวิตไปแล้วให้หลุดพ้นจากเคราะห์ กรรม” ถามถึงกิจกรรม แม่บอกว่าจะรวมตัวกันมา เป็นหมู่คณะหรือจับคู่กันมาคนสองคนก็ย่อมได้ เพียงแค่ต้องแจ้งล่วงหน้าให้เตรียมข้าวของไว้รอ ต้อนรับ พร้อมแนะนำ�ให้แวะมาทำ�โคมก่อนไปสัก การะพระธาตุ จะได้นำ�ผลงานตัวเองไปถวาย เป็นพุทธบูชาด้วยความภูมิใจเป็นพิเศษ แต่แอบกระซิบว่า นอกจากความภูมิใจของ เจ้าตัวที่ได้ลงมือทำ� ในโคมทุกใบยังบรรจุความ ภู มิ ใจที่ ได้ ส่ ง ต่ อ ความเป็ นน่ า นของคุ ณครู ใจดี คนนี้ลงไปด้วย
ทำ�ตุงค่าคิงแบบเทเลอร์เมด พอดีตัว ที่วัดพระเกิด
ไม่ ใ ช่ แ ค่ สู ท เท่ า นั้ น ที่ จ ะวั ด ตั ว ตั ด กั น แบบ พอดีตัว การทำ�ตุงถวายเป็นพุทธบูชาก็ต้องวัด ตัวตัดแบบพอดีตัวเหมือนกัน ต้องเท้าความก่อนว่า ตุงเป็นวัฒนธรรมดัง้ เดิม ของชาวล้านนาที่มีหลากหลายประเภท เช่น ตุง ไจที่ถวายเป็นปัจจัยให้ผู้ที่ล่วงลับไปแล้วมาเกาะ ชายตุงไปสู่ภพภูมิที่ดี ตุงไส้หมูหรือตุงกระดิ่งดาว ใช้ ปั ก เจดี ย์ ท รายเพื่ อ ให้ มี เงิ นทองไหลมาเทมา อย่างเม็ดทราย ส่วนตุงค่าคิง (ที่ออกเสียงว่า ตุงก้าคิง) เป็นตุงที่ถวายเพื่อสะเดาะเคราะห์และ ต่ออายุให้ยนื ยาว คำ�ว่า ก้า หรือ ค่า เป็นภาษาไทยใหญ่ แปลว่า เท่า ส่วนคำ�ว่า คิง แปลว่า ตัวหรือคน ตุงค่าคิงจึงต้องมีความยาวเท่ากับความสูงของ เจ้าของตุงนั่นเอง แต่ดว้ ยความสร้างสรรค์ของอาจารย์ค�ำ รบ วัชราคม อดีตผูอ้ �ำ นวยการวิทยาลัยเทคนิคจังหวัดน่านทีไ่ ด้ เห็นคนในชุมชนวัดพระเกิดร่วมกันทำ�ตุงไจถวาย เป็ น พุ ท ธบู ช า จึ ง ศึ ก ษาจากตำ � นานความเชื่ อ เก่าแก่ และลองออกแบบลายสำ�หรับตุงค่าคิงเป็น รูปคน และพัฒนาต่อเป็นเทวดาสวมใส่ชฎาและ ลายฉลุ ต่ า งๆ ที่ มี ค ติ ธ รรมอิ ติ ปิ โ ส 108 ซ่อนอยูใ่ นลวดลาย จากตุงทีม่ เี พียงความยาวเท่า ตัวคนจึงกลายเป็นตุงที่สวยงามและสอดรับกับ ศรัทธาความเชื่อที่อยู่เบื้องหลังด้วย
แม่ดรุณี เทียมแสน
40
แม่สุชาดา วัชราคม
41
และเมื่อมีการรวมกลุ่มกันของพ่อๆ แม่ๆ ในชุมชนวัดพระเกิดที่ อาสาเป็นครูผู้ถ่ายทอด กิจกรรมเรียนรู้การทำ�ตุงค่าคิงก็กลายเป็น ความสนใจของนักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทยไปจนถึงชาวต่างชาติ ที่สนใจในวัฒนธรรมและเรื่องราวที่ซ่อนอยู่ “ฝรั่งเขาชอบที่ได้ลองทำ� ส่วนคนไทยก็จะมีความเชื่อเรื่องการ สะเดาะเคราะห์ ทำ�เสร็จก็เอาไปถวายทีว่ ดั แขวนในโบสถ์ หรือถวาย ทีต่ น้ สะหลี คือไม้งา่ มค้�ำ ต้นโพธิ์ เราเชือ่ ว่าจะช่วยค้�ำ ชูให้ชวี ติ เรายืด ยาว เราเองก็รู้สึกดีใจที่ได้ถ่ายทอดวัฒนธรรมและได้ให้ความรู้ทาง จริยธรรมให้คนรุ่นใหม่ เพราะเมื่อเขาได้มาลองทำ� เขาก็จะได้ คติธรรมกลับไปด้วย” แม่สุชาดา วัชราคม บอกเล่าด้วยรอยยิ้ม
42
“คนน่านเราถูกสอนมาตั้งแต่เล็กๆ ว่าต้องเข้าวัด พออยู่วัด เราจึงรู้สึกสุขกาย สบายใจ เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของเรา” แม่ติ๋ม อาสาสมัครอีกคนบอกเราถึงวิถชี วี ติ ของชาวน่าน “ทุกวันนีแ้ ม่ๆ พ่อๆ ก็ ขี่ จั ก รยานมากั นคนละคั น มาช่ ว ยกั นทำ � คนละไม้ ค นละมื อ ทำ�อย่างนี้ได้ทั้งสมาธิ ได้ทั้งความเพลิดเพลิน ได้สอนก็มีความสุข เหมือนเราได้บุญไปด้วย” ใครอยากมาวัดตัวและวัดหัวใจในความศรัทธา อย่าลืมติดต่อ มาล่วงหน้าและแจ้งส่วนสูงพร้อมปีเกิดตามนักษัตรก่อนมาหาพ่อๆ แม่ๆ ที่วัดพระเกิดแห่งนี้นะ
43
เรียนรู้วิธีจักสานด้วยใจที่บ้านต้าม
เพราะเราอยู่ในยุคที่ข้าวของเครื่องใช้รอบตัวคือสิ่งที่ซื้อหามา มากกว่าการลงมือทำ�ด้วยตัวเอง กว่าจะปะติดปะต่อได้ว่าเครื่อง จักสานจากตอกไม้ไผ่คือทักษะดั้งเดิมที่คนในอดีตต้องมี เพื่อสาน เครื่องไม้เครื่องมือในชีวิตประจำ�วัน ไม่ว่าจะเป็นกระบุง กระจาด ตะกร้า เครื่องมือดักสัตว์ จับปลา หรือแม้แต่สุ่มไก่ ก็ฟังดูเป็นเรื่อง ไกลตัว นี่ยังไม่ต้องพูดถึง ‘เหิง’ ที่คนบ้านต้ามใช้ฝัดข้าวให้เหลือแต่ เม็ ด สวย หรื อ ‘ซ้ า ’ ซึ่ ง เป็ น ตะกร้ า สำ � หรั บ พกไปเก็ บ เห็ ด ในป่าโดยเฉพาะ แต่ ที่ บ้ า นต้ า ม หมู่ บ้ า นเล็ ก ๆ ในเมื อ งน่ า นยั ง คงรั ก ษา วิถีเดิมๆ ด้วยการรวมตัวของเหล่าสูงวัยบ้านใกล้เรือนเคียง ก่อตั้ง กลุม่ มาสืบสานงานสานแบบดัง้ เดิมเพือ่ ส่งขายเป็นสินค้า ไปพร้อมๆ กับเปิดศาลาประชาคมให้กลายเป็นพื้นที่เรียนรู้เรื่องจักสานแบบ โบร่ำ�โบราณ ให้นักท่องเที่ยวที่สนใจเข้ามาเรียนรู้และลงมือทำ� จากเส้นตอกย้อมสีสดใสไม่กเี่ ส้น เหล่าพ่อๆ แม่ๆ แห่งบ้านต้าม ต่างช่วยกันคนละไม้คนละมือสอนนักท่องเที่ยวสานตัวสัตว์ จะเป็น ม้ า เป็ น ลา หรื อ เป็ น ยี ร าฟคอยาวก็ แ ล้ ว แต่ จิ น ตนาการของ นั ก ท่ อ งเที่ ย วที่ จ ะสานของที่ ร ะลึ ก ชิ้ นจิ๋ ว กลั บ บ้ า นไป แต่ ค วาม น่าสนใจของงานสานประยุกต์นอี้ ยูท่ ตี่ น้ ตอของชิน้ งานจากความเชือ่ อย่าง ‘ตาแหลว’ สัญลักษณ์มงคลท่ีอยู่ในวิถีชีวิตคนล้านนา
จากตอกไม้ กี่ เ ส้ น ที่ ส านให้ ก ลายเป็ น สัญลักษณ์หลากหลาย มีฟงั ก์ชน่ั ทีใ่ ช้สอยแตกต่าง กันไป ไม่ว่าจะเป็นตาแหลวของพรานโบราณ ที่เข้าไปล่าสัตว์ล่ากวาง เมื่อพลบค่ำ�ถึงเวลานอน เหล่าพรานจะถางหญ้าแล้วสานตาแหลวไปปัก สีท่ ศิ เพือ่ ป้องกันไม่ให้มงี เู งีย้ วเขีย้ วขอ ตะขาบ เสือ หรือแม้แต่ผีเข้ามากร้ำ�กราย ส่วนตาแหลวหมาย นาจะปักไว้สี่มุมของท้องนาเพื่อทูลขวัญให้กับ ควายทีเ่ ราใช้งานเขา เป็นการอธิษฐานเพือ่ ขอขมา ไม่ ใ ห้ เ ป็ น บาปกรรมติ ด ตั ว ไป เช่ น เดี ย วกั บ ตาแหลวปักหม้อยาที่เป็นสัญลักษณ์ให้รู้ว่านี่คือ ยาที่ปรุงตามตำ�รับและป้องกันไม่ให้ส่ิงชั่วร้าย ปะปนลงไปในหม้อยา ไปจนถึงตาแหลวเจ็ดชั้น ที่ จ ะสานขึ้ น แขวนเมื่ อ บ้ า นไหนมี ค นตาย เป็ น สัญลักษณ์หา้ มผีผลู้ ว่ งลับกลับเข้ามาในบ้าน และ เดินทางต่อไปสู่ภพภูมิที่ดี
“ตาแหลวเป็นของโบราณแต่นานแล้ว พ่อเอง ก็ได้รับคำ�บอกเล่าจากผู้เฒ่าผู้แก่มา แล้วนำ�มา สื บ สานให้ กั บ กลุ่ ม บ้ า นต้ า มนี้ สื บ ทอดต่ อ ไป” พ่ออุ๊ยของบ้านต้ามบอกเล่าตำ�นาน ก่อนจะนำ� ขบวนพาเราขึ้นเขาเลียบลำ�ห้วยไปตามหาไผ ่ ซึ่งเป็นต้นตอของเส้นตอกเหล่านี้ ทั้งต้นไผ่บง ไผ่ ข้าวหลาม ไปพร้อมๆ กับแหงนหน้ามองต้นมะต๋าว หรือลูกชิดที่เราคุ้นเคยกันดีนี่แหละ “บ้านต้ามคือถิน่ มะต๋าวและสาวงามจ้ะ” แม่ๆ เล่าพร้อมยิ้มเขิน ก่อนจะสัญญากับเราว่า ถ้ามา คราวหน้าจะทำ�ขนมจากมะต๋าวให้กิน
คุณตาเกษม จุณณวัตต 44
45
รสอร่อยแบบน่านๆ ที่กินใจคนชิม แอ๊ดด้าแซ่บเวอร์ เฮือนภูคา ในบรรดาร้านอาหารพื้นเมืองบรรยากาศดี เราขอโหวตให้เฮือนภูคาชนะเลิศ ด้วยบรรยากาศ รสชาติ และความเพลิดเพลินใจในการปัน้ ข้าวเหนียวจิม้ น้�ำ พริกหนุม่ ซดแกงแค แซ่บยำ�ผักกูด และลิ้มรสหมูทอดมะแขว่น วัตถุดิบกลิ่นฉุนที่ได้รับ การยกย่องว่า มะแขว่นเมืองน่านหอมลึกถึงใจที่สุด และนอกจากจะมากำ�กิ๋นเมือง กันอย่างเต็มพุงแล้ว ร้านนี้ยังน่ารักด้วยการตกแต่งร้านด้วยหอม กระเทียม และ พริกแห้ง แขวนไว้เป็นราวรอบเรือนไม้ใต้ถุนสูง ถามไถ่ได้ความว่าเจ้าของร้านเป็น เกษตรจังหวัด เลยต้องอุดหนุนสินค้าเกษตรมาตุนไว้ใช้ตลอดทั้งปี เลยได้ของแถม ที่ช่วยให้ร้านดูดีแบบไม่มีใครเหมือนอีกต่างหาก
ชื่อร้านอาจจะ ให้ อ ารมณ์ แ ปลก ประหลาดจากร้าน พื้ นถิ่ น ไปบ้ า ง แต่ เมือ่ เจอเมนูสม้ ตำ�ที่ เรียงรายดาหน้ามา ให้เลือกแซ่บอย่าง มากมาย ทั้งตำ�ลาว ตำ�ไทย ตำ�ซั่ว ตำ�ข้าวโพด และ ตำ�ซิกเนเจอร์ตา่ งๆ ควบมาพร้อมกับเมนูอาหารเหนือ ที่มีทั้งขนมจีนน้ำ�เงี้ยว ข้าวซอย ข้าวเหนียวราดลาบ คั่ว ไก่ทอด ไส้อั่ว แถมบางวันยังมีเมนูพิเศษอย่าง น้ำ�พริกแมงดา วุ้นเส้นผัดแหนม แกงบอน แกงผัก ปลัง ตำ�มะเขือ และอื่นๆ ที่เหมือนหากินได้ตามตู้ กับข้าวของอุ๊ยคำ� เป็นอีกร้านที่แนะนำ�หากเบื่อร้าน แบบทัวริสต์
ระเบียงดิน ฟาร์มสเตย์ และน่าน ไวน์เนอรี่ บรรยากาศเย็ น ๆ เวลาพลบค่ำ � ได้ นั่ ง กิ น อาหารอยู่บนระเบียงชั้นสองของบ้านดิน มีอดีต นักดนตรีอย่างพีพ่ ร วงเรนโบว์โชว์เพลงสดๆ ให้ฟงั อร่อยไปกับเมนู ทีไ่ ม่ควรพลาดอย่างแกงคัว่ เห็ด ถอบ และจิบไวน์ทอ้ งถิน่ ทีห่ มักบ่มกันในฟาร์มหลัง ร้าน ถามพี่นิดาผู้เป็นภรรยา เจ้าของร้าน และคน เมืองน่านบอกว่า ไวน์เป็นอีกช่องทางในการช่วย เกษตรกรในชุมชน เพิ่มมูลค่าให้ ผลไม้ท้องถิ่น และทัง้ คูม่ ปี ระสบการณ์จากการได้ไปอยูส่ องเมือง ไวน์อย่างฝรั่งเศสและแคลิฟอร์เนียในอเมริกา จึง นำ�ความรู้เรื่องไวน์มาปรับใช้จนกลายมาเป็นไวน์ รสนุ่ม ดื่มง่าย และเข้ากับอาหารรสจัดจ้านแบบ ไทยๆ ได้ดีมากๆ เลย
46
47
Wansook Café สำ�หรับคอกาแฟ ถึงจะเอนจอยอาหารท้องถิน่ แค่ไหน แต่ก็คงมีวันที่คิดถึงรสชาติของกาแฟดี ๆ ชงพิถีพิถัน ยิ่งมี specialty coffee ให้เลือกด้วย ก็ ยิ่ ง ดี ใจ และที่ นี่ เราขอเลื อ ก วั น สุ ข คาเฟ่ คาเฟ่ทเี่ พิง่ เปิดได้ไม่นาน แต่มบี าริสต้าและเจ้าของ ร้ า นที่ เ ข้ า อกเข้ า ใจในกาแฟ มี เมนู น่ า ตื่ น เต้ น ให้เลือกนอกจากลาเต้ เอสเพรสโซ อเมริกาโน แฟลตไวต์ หรือกาแฟดริป เพราะทีน่ ย่ี งั มีฟกั ทองลาเต้ เชอร์รี่แพสชั่นคอฟฟี่ วานิลลาสกาย และอื่น ๆ อีกเยอะ จะอยากสนทนากับบาริสต้าหน้าบาร์ หรือไปนั่งชิลล์รื่นรมย์ข้างหน้าต่างชั้นสองก็เพลิน ดีเหมือนกัน
ที่พักชวนประทับใจในน่าน พักกาย พักใจ หลับตาฝันดี ณ ที่พัก น่ารักหลากแบบทีเ่ ย็นใจสมกับอยูใ่ นจังหวัดน่าน อย่างแท้จริง
ถึ ง จะไม่ ใช่ พื ช ท้ อ งถิิ่ น หรื อ วิ ถี ดั้ ง เดิ ม แต่ ก็ ปฏิ เ สธไม่ ไ ด้ ว่ า เราสนิ ท สนมกั บ โกโก้ ห รื อ เจ้าช็อกโกแลตกันมาตั้งแต่เล็กแต่น้อย ไม่ว่าจะ ผ่านเครื่องดื่มชงสีเข้ม ช็อกโกแลตหวานลิ้น หรือ เค้กช็อกโกแลตรสเข้มข้นสะใจ เมื่อมาเยือนน่าน ครั้งนี้ เราจึงถือโอกาส แวะไปตีสนิทกับโกโก้ ดูสักที ใช่ ทีอ่ �ำ เภอปัว จังหวัดน่านแห่งนี้ มีไร่โกโก้ดว้ ย! จากความรั ก ในโกโก้ แ ละช็ อ กโกแลตของ สองสามี-ภรรยา มนูญ ทนะวัง และจารุวรรณ จิณเสน ทั้งคู่จึงลองศึกษาเรื่องช็อกโกแลตอย่ า งจริ ง จั ง ตัง้ แต่วธิ กี ารทำ�ช็อกโกแลตแสนอร่อย ก่อนจะถอย ไปยังต้นทางอย่างการปลูกโกโก้ เมือ่ เห็นความเป็น ไปได้ ทัง้ คูจ่ งึ ริเริม่ ทำ�ไร่โกโก้ ไปพร้อมๆ กับรีโนเวต รี ส อร์ ต เดิ ม ของครอบครั ว ให้ ก ลายเป็ น Cocoa Cocoa Valley
48
Valley Resort และ Cocoa Valley Cafe เปิดรับ นั ก ท่ อ งเที่ ย วสายเข้ ม ที่ ช อบกลิ่ น และรสของ ช็อกโกแลต ให้มานัง่ ชิลล์ นอนชิลล์ ในบรรยากาศ กำ�ลังเพลินทีม่ องไปทางไหนก็เห็นแต่ทอ้ งฟ้ากว้าง ป่าเขียว และเมืองปัว สำ�หรับคาเฟ่ฮอปปิ้ง ที่นี่เสิร์ฟเมนูโกโก้สุด เข้มข้นมากมาย ทัง้ เค้กช็อกโกแลตลาวาหยาดเยิม้ โกโก้ฟองดูเดือดปุด ช็อกโกแลตร้อนจากโกโก้ เข้มข้นร้อยเปอร์เซ็นต์ และนานาเมนูน่าสนใจ แต่ สำ�หรับสายกิจกรรม การมาพักที่นี่ยังมาพร้อม แพ็ ค เกจตะลุ ย ไร่ โ กโก้ และเรี ย นรู้ ก ารทำ � ช็อกโกแลตตั้งแต่การเก็บเกี่ยว การฝัดเมล็ดโกโก้ การคั่ว ไปจนถึงเวิร์กช็อปการทำ�ช็อกโกแลตและ ข้ า วของต่ อ ยอดอื่ น ๆ อย่ า งสบู่ โกโก้ หรื อ การ ย้ อ มผ้ า จากเปลื อ กโกโก้ (น่ า สนใจใช่ ไหมล่ ะ ) ได้ขา่ วว่าอนาคตอันใกล้จะมีเปิดเวิรก์ ช็อปสำ�หรับ บุคคลทั่วไปที่ไม่ได้มาพัก แต่อยากสนิทกับโกโก้ ดูสักที จะขมอมหวานแค่ไหน ต้องมาลุยไร่กนั สักตัง้ !
49
ศรีนวล ลอดจ์ จากห้องพักรายวันของคุณย่าศรีนวล ถูกรีโนเวตโดยหลานชาย ที่ตัดสินใจทิ้งงานโปรดักชั่นเฮาส์กลับมาสานต่อธุรกิจในบ้านเกิด ในวันที่น่านยังเป็นเมืองเล็กๆ ที่ไม่ค่อยมีคนรู้จัก แต่ด้วยความ น่ารักของที่พัก การต้อนรับอย่างเป็นกันเอง และการพยายาม ขับเคลื่อนชุมชนให้รับมือกับการเป็นเมืองท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ทำ�ให้ศรีนวลลอดจ์กลายเป็นที่พักเนื้อหอมที่นักแบกเป้ทั่วโลกนิยม มาเยือน และยังคงเส้นคงวาความน่ารักติดกลิ่นอายศิลปะนี้ไว้ ไม่เปลี่ยนแปลง
ศรีปันนา
อยากนอนเพลินๆ ริมทุง่ นาแต่ไม่อยากออกไปไกลถึงอำ�เภอปัว นี่คือรีสอร์ตใหม่เอี่ยมที่ตอบโจทย์ทั้งความสะดวกสบายหลายดาว พิกัดที่ตั้งใกล้เมืองมาก แถมยังมีทุ่งนาสีเขียวสดใสให้มองเพลิน ไม่รู้เบื่อ ยิ่งเป็นทริปครอบครัวยิ่งตอบโจทย์ เพราะเด็กๆ จะวิ่งเล่น ได้ไม่รู้เบื่อ ผู้ใหญ่ขาแข้งไม่ค่อยดีก็อยู่ได้สบาย ส่วนสายแชะ ชอบถ่ า ยรู ป ก็ มี มุ ม ขึ้ นกล้ อ งให้ เ ลื อ กเพี ย บ จะเลยไปชมวิ ว ทั่ ว เมื อ งน่ า นที่ วั ด พระธาตุ เขาน้ อ ยก็ อ ยู่ ไม่ ไ กล เป็ น อี ก ตั ว เลื อ กที่ น่าสนใจเชียวล่ะ
50
51
อุ่นไอมาง ณ สปัน เที่ยวตามใจ เพลินตามทาง อร่อยตามชอบ และนอนตามสบาย 1
สนามบินน่าน
แอ๊ดด้าแซ่บเว่อร์
ทำ�ตุงค่าคิงที่ ชุมชนวัดพระเกิด
ชิลล์กว่านีก้ ท็ น่ี อ่ี ยูด่ นี แ่ี หละ! ที่พักเล็กจิ๋วริมน้�ำ ว้าที่เป็นเพียง เรือนไม้หลังเล็กๆ แต่คิวจอง เต็มจนล้น เพราะได้รบั การบอก เล่ากันปากต่อปากว่าไม่ได้มีดี แค่วิวเด่น อากาศดี และความ เงียบสงบเท่านัน้ แต่การบริการ ยั ง น่ า รั ก จนอยากจะพั ก ไป นานๆ มีเสิร์ฟอาหารปรุงง่ายๆ จากแม่ ค รั ว ท้ อ งถิ่ นทั้ ง เช้ า ค่ำ � มีเต็นท์ให้นอนชิลล์ระดับชิดติด ริ ม ธ า ร แ ล ะ มี ม ว ล ข อ ง นักท่องเที่ยวที่ยิ้มแย้มแบ่งปัน ตามประสาคนคอเดี ย วกั น จนมี ทั้ ง แฟนขาจรและแฟน ประจำ�กลับมาซ้ำ�ๆ แม้ว่าต้อง ขึ้นเขาลดเลี้ยวแค่ไหนก็ตาม!
วัดภูมินทร์
หออัตลักษณ์น่าน
ที่ตั้ง : วัดพระเกิด ต. ในเวียง อ.เมือง จ. น่าน โทร. 081-765-2710
ที่ตั้ง : 25/12 ถ.ราษฎร์อำ�นวย ต.ในเวียง อ.เมือง จ.น่าน เวลา : 7:30-15:30 หยุดวันจันทร์ โทร. 084-949-9958
ศรีนวลลอดจ์
ที่ตั้ง : 40 ถ. หน่อคำ� ต. ในเวียง อ. เมือง จ. น่าน โทร. 054-710-174, 090-015-1692
2
วัดภูมินทร์
สนามบินน่าน พระธาตุแช่แห้ง
บ้านโคมคำ�
ที่ตั้ง : 152 หมู่ 4 ต.ม่วงตึ๊ด อ.ภูเพียง จ.น่าน โทร. 089-854-0387
3
สนามบินน่าน
เตาเผาบ่อสวก
น่านศรีปันนา รีสอร์ท
ที่ตั้ง : 242 หมู่ 8 บ้านทุ่งขาม ต.ไชยสถาน อ.เมือง จ.น่าน
วัดพระธาตุช้างค้ำ� โฮงเจ้าฟองคำ�
ที่ตั้ง : 8 ถ.สุมนเทวราช ต.เวียง อ.เมือง จ.น่าน
เวลา : 9:00-17:00 (หยุดวันจันทร์และอังคาร) โทร. 054-710-537, 089-560-6988
ชุมชนจักสานบ้านต้าม ที่ตั้ง : หมู่ 6 ต.บ่อสวก อ.เมือง จ.น่าน โทร. 094-234-4770
พระธาตุเขาน้อย
โทร. 054-681-625
4
สนามบินน่าน
บ่อเกลือ 52
วัดหนองบัว
Cocoa Valley
ที่ตั้ง : 339 หมู่ 8 ต.ปัว อ.ปัว จ.น่าน เวลา : (ส่วนคาเฟ่) เปิดทุกวัน 9:00-19:00 โทร. 063-791-1619
ดอยภูคา 53
นิยามการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ในแบบฉบับของ อพท. เที่ ย วอย่ า งไรให้ ส ร้ า งสรรค์ ? หลายคนคงนึ ก สงสั ย ว่ า มั น แตกต่ า งอย่ า งไรกั บ การพาตั ว เอง ออกไปไกลกว่าเคย กิน ดื่ม ชื่นชมธรรมชาติ ถ่ายรูปกับแลนด์มาร์ก และเลือกซื้อของที่ระลึก แต่โดยนิยามการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในแบบฉบับของ อพท. ไม่ใช่แค่การเดินทางท่องเที่ยว เพื่อความเพลิดเพลินใจ แต่ยังต้องสามารถสนับสนุนให้นักท่องเที่ยวได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อทำ�ความ เข้าใจในคุณค่าวิถีชีวิต วัฒนธรรม และสภาพแวดล้อมของพื้นที่ท่องเที่ยวอย่างลึกซึ้ง โดยผ่าน ประสบการณ์ตรง ร่วมกับเจ้าของพื้นที่หรือเจ้าของวัฒนธรรม ฟังดูจริงจัง อธิบายง่ายกว่านั้นคือ การที่เราได้ไปเที่ยวโดยได้มีประสบการณ์ใหม่ๆ ในพื้นที่นั้นๆ ผ่านกิจกรรมที่ได้เรียนรู้เรื่องราวใหม่ๆ จากชุมชน ได้ลงมือทำ� ค้นพบความสามารถของตัวเอง และ ค้นพบจิตวิญญาณของสถานที่ ในขณะที่ชุมชนเองก็ไม่ต้องเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของตนเองเพื่อเอาใจ นักท่องเที่ยวเหมือนแหล่งท่องเที่ยวยอดฮิต นั่นจึงทำ�ให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็ง สามารถรักษา ตัวตนที่จริงแท้ของตัวเองไว้ได้ ซึ่งนำ�มาสู่ความยั่งยืนทางการท่องเที่ยวอย่างแท้จริง ด้วยบทบาท องค์การบริหารการพัฒนาพืน้ ทีพ่ เิ ศษเพือ่ การท่องเทีย่ วอย่างยัง่ ยืน (องค์การมหาชน) หรื อ อพท. คื อ หน่ ว ยงานที่ มี ห น้ า ที่ ห ลั ก ในการประสาน ส่ ง เสริ ม และสนั บ สนุ น การพั ฒ นา การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และแนวคิดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ หรือ Creative Tourism ก็เป็น เครื่องมือหนึ่งในการพัฒนา โดยมุ่งเน้นการเพิ่มมูลค่าจากการสร้างคุณค่า (Value Creation) ตั้งอยู่บน พื้ นฐานของความเป็ น ไทย วิ ถี ชี วิ ต ภู มิ ปั ญ ญาท้ อ งถิ่ น ศิ ล ปวั ฒ นธรรม และประวั ติ ศ าสตร์ ซึง่ กิจกรรมท่องเทีย่ วเชิงสร้างสรรค์ทเ่ี ราเลือกมาบอกเล่าใน ‘ใจใจ’ นี้ คือกิจกรรมทีส่ ร้างแรงบันดาลใจและ มีหัวใจของการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์อย่างเต็มเปี่ยม และนี่คือความในใจที่ อพท. อยากชวนให้ทุกคนได้เข้าใจ “การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์” ที่เต็ม ไปด้วยคุณค่าและรอคอยนักท่องเที่ยวมาร่วมเรียนรู้ ลงมือทำ� และสร้างประสบการณ์โดยตรง ร่วมกับเจ้าของพื้นที่ และร่วมสร้างประโยชน์ให้ชุมชนท้องถิ่นได้อย่างยั่งยืน พันเอก (ดร.นาฬิกอติภัค แสงสนิท) ผู้อำ�นวยการ อพท.
54
องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) 118/1 อาคารทิปโก้ ชั้น 31 ถนนพระรามที่ 6 แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400 www.dasta.or.th www.facebook.com/เที่ยวชุมชนไปกับคน อพท.