เพาะครู ๐๒

Page 1


รู้จักกองทุนฯ

ห้องเรียนคุณครู

วิชาสังคมศึกษา

๑๒

ครูธรรม...คำ�ครู

๑๘

รู้จักคุณครู

๒๐

ชูใจ

๒ กล้าแรก ๖ ครูผู้สร้างโลก ๑๐ จิตจับใจ ๑๖ ชวนหัวคิด ๑๙ รู้ไว้ ใช่ว่า... ๒๘ คือความงอกงาม

๓๖

คณะทำ�งานจุลสารเพาะครู

ที่ปรึกษา ครูอ้อน - บุบผาสวัสดิ์ รัชชตาตะนันท์, ครูใหม่ - นัยฤดี สุวรรณาภินันท์, พ่อเอนก ปิ่นวนิชย์กุล, แม่เจี๊ยบ - กังสดาล ทองคำ� บรรณาธิการ ครูนีโม่ - อุษณีย์ ปุณโณปกรณ์ กองบรรณาธิการ แม่สาว - วรวสี ก้องสมุทร, แม่แจน - ปนิดา อติพญากุล, แม่รุ่ง - รุ่งนภา ธนะภูมิ, แม่วง - สุวรรณา ตั้งเจตนาพร, ครูหยก - วรรณวนัช บูรพาเดชะ, ครูปู - ณัฐนันท์ เทียนทอง ศิลปกรรม บริษัท ดร็อปคิก ดีไซน์ จำ�กัด ภาพปก ครูปู– ณัฐนันท์ เทียนทอง

จัดทำ�โดย

กองทุนพัฒนาครูวิถีพุทธโรงเรียนทอสี ๑๐๒๓/๔๖ ซอยปรีดีพนมยงค์ ๔๑ ถนนสุขุมวิท ๗๑ แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ ๑๐๑๑๐ โทรศัพท์ : ๐ ๒๗๑๓ ๐๒๖๐-๑ โทรสาร : ๐ ๒๓๙๑ ๗๔๓๓ อีเมล : info@thawsischool.com เว็บไซต์ : www.thawsischool.com

ดำ�เนินการพิมพ์โดย

บริษัท คิว พริ้นท์ แมแนจเม้นท์ จำ�กัด โทรศัพท์ : ๐ ๒๘๐๐ ๒๒๙๒


กล้าแรก

ลมหายใจ...แห่งต้นไม้

ช่างเป็นโมงยามอันงดงามเหลือเกิน ขณะที่ ผู้หญิงคนนั้นนั่งมองต้นไม้ที่เธอปลูกไว้หน้าบ้าน จากกล้าเล็กๆ ทีเ่ ติบโตขึน้ เป็นต้นไม้ได้อย่างแข็งแรง จนน่าอัศจรรย์ จิตใจของเธอจึงเต็มตืน้ ขึน้ มาทุกครัง้ ที่ได้มองต้นไม้ต้นนี้ ดูสิ ลำ�ต้นเจ้าช่างตั้งตรง เปลือกสีน้ำ�ตาลเข้ม เป็นมัน กิ่งก้านเหยียดยาวออกไปเหมือนแขนขา ของเด็ ก วั ย รุ่ น ที่ เ ก้ ง ก้ า งแต่ เ ต็ ม ไปด้ ว ยพลั ง ยาม สายลมพัดผ่าน ก้านอ่อนก็แกว่งไกวไปมาดูร่าเริง ยิง่ ใบนัน้ ทัง้ ดกหนาสดสะพรัง่ เขียวไล่ออ่ นแก่กนั ไป ราวกับศิลปินชั้นครูได้แต่งแต้มเอาไว้ คงเป็นเพราะจิตใจเอื้อเฟื้อของเพื่อนบ้านใน ละแวกหลายครอบครัวที่นอกจากจะใช้ร่มเงาของ ต้นไม้นี้เป็นสโมสรธรรมชาติในการพบปะสังสรรค์ กันสม่ำ�เสมอ ยังแบ่งปันเวลาอันมีค่าอาสามาช่วย กันรดน้ำ � พรวนดิน แถมยังช่วยแต่งกิ่งให้รูปทรงดู สวยงาม... บางคนก็มีปุ๋ยมาฝาก เล่าที่มาว่าทำ�จาก มูลไส้เดือนชั้นดี ด้วยเหตุนี้แล้วต้นไม้ของเธอจะ ไม่งอกงามได้อย่างไรกัน

แม้เมื่อมีคนมาขอตอนกิ่งไปปลูกหรือเก็บใบ และลูกไปทำ�ยา เธอก็ไม่เคยคิดว่าต้นไม้ของเธอจะ อ่อนแอลง เธอยังคงเชื่อมั่นเสมอว่ายิ่งให้ก็ยิ่งได้รับ ทั้งเพื่อความสมดุลของสรรพสิ่งและเป็นบุญกุศล ตามหลักพระพุทธศาสนาที่เธอศรัทธามาตลอดทั้ง ชีวิต เธอบอกกั บ ตั ว เองเสมอว่ า นี่ คื อ ภาพอั น มี คุณค่าที่ผู้คนในชุมชนต่างก็ปรารถนาความงดงาม ร่มเย็น และการเติบโตที่มั่นคง แม้ว่าต้นไม้นี้เมื่อ เริ่มต้นเธอจะเป็นคนปลูก แต่ท้ายที่สุดแล้วมันก็ ไม่ได้เป็นของเธออีกต่อไป ไม่ได้เป็นตัง้ แต่ ณ วินาที ที่หย่อนกล้าเล็กๆ นั้นลงด้วยสองมือของเธอ แต่เป็นของมวลดิน ละอองน้�ำ สายลมพัดโบก และทุกความอบอุน่ จากโลกใบนี้ เพือ่ ให้ผคู้ นทีเ่ ปีย่ ม ด้วยศรัทธาช่วยกันร่วมแรงร่วมใจเติมต่อ...ให้ลมหายใจ ของต้นไม้ต้นนี้...ยืนยาวตลอดไป

บทความนี้เขียนโดย ครูใหม่ - นัยฤดี สุวรรณาภินันท์ หัวหน้าฝ่ายวิชาชีวิตครู โรงเรียนทอสี ผู้ซึ่งเป็น หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งกองทุนพัฒนาครูวิถีพุทธโรงเรียนทอสีขึ้น นับได้ว่าเป็นบทความภาคต่อจาก ‘ผู้หญิง...ผู้ปลูกต้นไม้’ ที่เผยแพร่ในเพาะครู ฉบับปฐมฤกษ์ หลังจากกล้าปลูกกล้าแรกแล้ว การช่วยกันดูแลรักษาลมหายใจแห่งต้นไม้ให้เจริญ เติบโต แข็งแรง งอกเงย งดงาม ก็สำ�คัญเช่นกัน การมีส่วนร่วมของชุมชน จะช่วยให้กองทุนฯ นี้มีความยั่งยืน และ มั่นคง ขอบคุณทุกแรงกาย แรงใจ แรงทรัพย์ ที่มีส่วนช่วยสนับสนุนกองทุนฯ นี้มาโดยตลอด

ครูอ้อน – บุบผาสวัสดิ์ รัชชตาตะนันท์ ผู้อำ�นวยการโรงเรียนทอสี


รู้จักกองทุนพัฒนาครูวิถีพุทธโรงเรียนทอสี

พันธกิจของกองทุนพัฒนาครูวิถีพุทธโรงเรียนทอสี แบ่งเป็น ๓ ระยะ

ระยะยาว ระยะกลาง

ระยะสั้น

เจตจำ�นงของกองทุนพัฒนาครูวิถีพุทธโรงเรียนทอสี พั ฒ นาคุ ณ ภาพชี วิ ต และสร้ า งความมั่ น คง ระยะยาวให้แก่บุคลากรครูในระบบการศึกษา วิถีพุทธที่มีคุณภาพและจริยธรรมที่ดีงาม เพื่อ ถ่ายทอดให้เด็กนักเรียนอันเป็นกำ�ลังสำ�คัญของ ประเทศชาติในอนาคต

สร้างต้นแบบความร่วมมือทางด้านการพัฒนา ระบบการศึ ก ษาโดยอาศั ย การสนั บ สนุ น จาก องค์กรเอกชนและหน่วยงานต่างๆ จากสังคม ภายนอก

สนับสนุนการค้นคว้าพัฒนาระบบการศึกษาตาม ปรัชญาการศึกษาวิถพี ทุ ธ เพือ่ สามารถยังประโยชน์ สูงสุดแก่เด็กนักเรียนและการศึกษาของชาติ

กระตุน้ ให้สงั คมภายนอกเห็นความสำ�คัญของครู และได้มีส่วนร่วมในการยกระดับอาชีพครูอย่าง เป็นรูปธรรม ซึง่ จะช่วยนำ�บุคลากรทีม่ ี คุณภาพเข้าสู่ อาชีพครูมากยิ่งขึ้น ส่งผลต่อการพัฒนาระบบ การศึกษาทีม่ ผี ลโดยตรงต่อสังคมในอนาคตอย่าง มีนัยสำ�คัญ

สร้างเสริมสวัสดิการครู

พัฒนาวิชาชีพครู

การยกระดับมาตรฐานรายได้ รวมของครู โครงการเงินออมครู โครงการเงินกู้ฉุกเฉินครู โครงการต่างๆ ที่ส่งผลต่อการ ยกระดับมาตรฐานคุณภาพ ชีวิตครูโดยตรง

การจั ด ซื้ อ สิ่ ง อำ � นวยความ สะดวกเพื่ อ ประโยชน์ ต่ อ การ พัฒนาระบบการศึกษาวิถีพุทธ ทุ น การศึ ก ษาเพื่ อ ยกระดั บ มาตรฐานครู การฝึกอบรมและการดูงาน ของครู การทำ�งานวิจัยด้านการศึกษา วิถีพุทธเพื่อเผยแผ่ต่อสังคม

โรงเรียนทอสีมีความเชื่อว่าการนำ�เอาหลัก พุทธปัญญามาเป็นแนวทางการกำ�หนดวิธกี ารศึกษา เรียนรูผ้ า่ นภาวนา ๔ ซึง่ ได้แก่ ร่างกาย การปฏิสมั พันธ์ กับผู้อื่น จิตใจ และปัญญา จะนำ�ไปสู่การศึกษา ที่ ส มบู ร ณ์ การสร้ า งระบบการศึ ก ษาในรู ป แบบ ดังกล่าวให้เป็นผลสำ�เร็จนั้น จำ�เป็นต้องสร้างสังคม การศึกษาเรียนรูใ้ นทิศทางเดียวกันระหว่างโรงเรียน ครู และผู้ปกครอง โดยมีเด็กนักเรียนเป็นเป้าหมาย สำ�คัญ เด็ ก นั ก เรี ย นที่ เ รี ย นรู้ ใ นระบบการศึ ก ษา พุทธปัญญา จะได้รับการพัฒนาเป็นบุคคลที่มีวินัย มีสุขภาพจิตแข็งแรง รู้จักตัวเอง มีศรัทธาในตัวเอง

ต่อยอด ระบบการศึกษาวิถีพุทธ ก า ร ส นั บ ส นุ น โ ร ง เ รี ย น ที่ ต้ อ ง ก า ร จั ด ก า ร ศึ ก ษ า ใ น แนวทางการศึกษาวิถีพุทธ การจัดทำ�สือ่ และกิจกรรมต่างๆ เพือ่ เผยแผ่การศึกษาวิถพี ทุ ธ การให้ทนุ การศึกษาแก่นกั เรียน ผู้ด้อยโอกาส

มี ส มาธิ ใ นการเรี ย น มี ทั ศ นคติ ที่ ดี ต่ อ การเรี ย นรู้ มีทศั นคติทถี่ กู ต้องต่อสังคมและสิง่ แวดล้อม รวมถึง มีจริยธรรมภายใน บุคลากรครูเป็นหนึ่งในปัจจัยที่มีความสำ�คัญ ที่สุดที่จะหล่อหลอมเด็กๆ ให้เป็นไปในแนวทาง ที่สังคมพึงปรารถนา ครูที่เข้ามาทำ�งานการศึกษา วิ ถี พุท ธ จำ � เป็ น อย่ างยิ่ งที่ จะต้ อ งทุ่ ม เท เสี ยสละ มี ค วามมุ่ ง มั่ น ศรั ท ธา และแน่ ว แน่ ใ นแนวทาง ดั งกล่ าว กองทุ น พั ฒนาครู วิถี พุท ธโรงเรี ย นทอสี จึงเป็นสิ่งที่มีความสำ�คัญอย่างยิ่งยวด


ครูผู้สร้างโลก จดหมายจากครู

๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๖

เรียน โรงเรียนทอสี ผมเพิ่งเดินทางกลับจากการไปทำ�งานที่ประเทศอังกฤษ เมื่อประมาณครึ่งชั่วโมงที่ผ่านมา พอถึงบ้าน ก็ได้รับสิ่งพิมพ์ ‘เพาะครู’ จากท่านแล้ว ด้วยความขอบคุณอย่างยิ่ง ผมรู้สึกยินดีที่ได้มีโอกาสสัมผัส กับวิญญาณความเป็นครูของท่านทั้งหลายที่ได้แสดงออกด้วยความรู้สึกเป็นห่วงสังคมไทย ทำ �ให้ผม มีความสุขอย่างที่สุด ย้อนกลับไปสู่อดีตเมื่อ ๒ ปีที่ผ่านมา ในวันนั้นมีการจัดประชุมประธานสภาอาจารย์ทั่วประเทศ ซึ่งองค์กรนี้ผมเป็นผู้หนึ่งที่ริเริ่มก่อตั้ง วันนั้นองค์กรดังกล่าวได้เชิญผมไปร่วมกิจกรรมการประชุมคณะตัวแทนครูอาจารย์ที่มาจากสถาบัน ต่างๆ ผู้ที่นั่งด้านขวามือของผมคือ ‘รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ’ ผมได้ยินรัฐมนตรีพูดว่า “ขณะนี้ เราเปิดสอนวิชาครูในกระทรวงศึกษาธิการ แต่ก็มีคนสนใจเรียนน้อยเต็มที” ผมจึงพูดย้อนกลับไปว่า “ครูคอื วิญญาณของมนุษย์ทกุ คนทีม่ มี าตัง้ แต่เกิด ดังนัน้ การจัดการศึกษาจึง ไม่ควรส่งผลทำ�ลายวิญญาณความเป็นครูของมนุษย์ หากควรเป็นอิสรภาพในการเรียนรู้จากเด็กให้แก่ ทุกคน เพื่อจะได้ทำ�งานอย่างมีความสุข” ผมขอเชิญชวนให้ทุกคนรำ�ลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระองค์ท่านทรงประกอบกิจกรรมอันควรถือว่าสำ�คัญที่สุดสำ�หรับมนุษยชาติฝากไว้แก่แผ่นดินไทย สิ่งนั้นก็คือ ‘การประกาศเลิกทาส’ ซึ่งพระองค์ท่านทรงเตรียมการมาแล้วกว่า ๓๐ ปีจึงจะเป็นผลสำ�เร็จ แต่เดี๋ยวนี้การจัดการศึกษาของไทยใช้เด็กเป็นทาสทางความคิด ความจริงมนุษย์เราทุกคนที่เกิดมา ต่างก็มจี ติ วิญญาณทีเ่ ป็นตัวของตัวเองอันหมายถึงความซือ่ สัตย์สจุ ริต อย่างทีเ่ รียกกันว่า ‘เด็กเสมือนผ้าขาว อันบริสุทธิ์’ แต่ในปัจจุบันกลับนำ�เอาอิทธิพลวัตถุเข้าไปใส่ในจิตใจของเด็กทำ�ให้ขาดอิสรภาพภายใน จิตวิญญาณตนเอง ช่วงทีผ่ มดำ�รงตำ�แหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัย มีนสิ ติ ร่วมหมืน่ คน ภายในจิตใต้ส�ำ นึกของผมนัน้ รูส้ กึ อยู่เสมอว่าลูกศิษย์คือครูเรา เพราะตัวเราเองคนเดียวคงสอนใครเขาไม่ได้ทั่วถึง แต่คนร่วมหมื่นคน ถ้าเราไม่มคี วามรูส้ กึ อยูใ่ นจิตใต้ส�ำ นึกว่าเขาเป็นครูเรา ความเป็นผูใ้ หญ่ของเราก็ไม่สมควรได้รบั การยอมรับ นับถือ เวลาเด็กๆ เข้ามาถามปัญหาสารพัดอย่าง นั่นแหล่ะคือครูที่แท้จริง ซึ่งช่วยให้เราถูกสอบสัมภาษณ์ จากเด็ก เพราะฉะนั้นคนเป็นครูก็ควรเปิดใจให้อิสระอยู่เสมอ สิ่งนี้ใช่หรือเปล่าที่ควรถือว่าเป็นสัจธรรมของ ความเป็นผู้ใหญ่ ไม่ใช่เป็นผู้ใหญ่แต่วัย หากจิตใจต่ำ�ยิ่งกว่าเด็ก ผมขออวยพรให้ทุกคนจงประสบแต่ความสุขด้วยบุญกุศลอันแท้จริงด้วยเถิด ขอแสดงความนับถือ

ศาสตราจารย์ระพี สาคริก


ห้องเรียนคุณครู เรื่อง: ครูเชอรี่ – ฤทัย บุญทวีกิจ หัวหน้าช่วงชั้นประถมต้น โรงเรียนทอสี

ชุมชนทอสี ชุมชนกัลยาณมิตร ในรั้วโรงเรียนทอสีแห่งนี้ เกิดชุมชนที่มีความเชื่อว่า เด็กจะเป็นอย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับผู้ ใหญ่อย่างเรา เป็นผูแ้ สดงโลกให้เด็กเห็น ชุมชนจึงมีสว่ นสำ�คัญในการร่วมสร้างวัฒนธรรมทีด่ งี ามให้เกิดขึน้ และหนึง่ ในนัน้ คือ วัฒนธรรมการขอบคุณ ขอโทษ และชื่นชม ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องยากสำ�หรับผู้ ใหญ่อย่างเราบางท่าน แต่จะเป็นเรื่องไม่ยากเลยถ้าเราร่วมปลูกฝังกันตั้งแต่ยังเยาว์

ทุกๆ วันก่อนกลับบ้าน ครูมีช่วงเวลาให้เด็กได้ย้อนมอง ถึงการกระทำ�ต่างๆ ของตัวเองในแต่ละวัน และมีช่วงเวลาดีๆ ที่จะแบ่งปันความรู้สึกขอบคุณ ขอโทษ และชื่นชมกัน เด็กๆ จะยกมือแล้วบอกขอบคุณเพื่อนที่ช่วยเหลือเขาในสิ่งต่างๆ หรือไม่กข็ อบคุณคุณครู หรือแม้แต่ธรรมชาติรอบตัว ทำ�ให้เด็ก รูจ้ กั สังเกตและชืน่ ชมสิง่ ทีผ่ อู้ นื่ ทำ�ให้เรา พอพูดจบเพือ่ นๆ ก็จะ ยกมือไหว้และกล่าวคำ�ว่า สาธุ (แปลว่า ดีแล้ว)ให้เพื่อนคนที่ ทำ�สิ่งที่ดีนั้น

การกล่าว ๓ คำ�นี้จากใจ เป็นการลดอัตตา ตัวตนของเราได้เป็นอย่างดี

อี ก ครั้ ง ที่ ค รู ถ ามว่ า มี ใ ครอยากจะขอโทษ ใครไหม เพื่อเป็นการชำ�ระจิตใจของตนเองในสิ่งที่ อาจจะล่วงเกินกันโดยเจตนาหรือไม่เจตนาก็ตาม เพื่อฝึกให้เด็กกล้าที่จะยอมรับการกระทำ�ของตน และพร้อมที่จะขอให้เพื่อนอภัยให้ ไม่ใช่เรื่องง่าย ที่จะกล่าวขอโทษท่ามกลางบุคคลมากมาย แต่นี่ เป็นการฝึกลดอัตตาตัวตนอย่างหนึ่ง ซึ่งต้องผ่าน การฝึ ก และฝื น ตนเองตั้ ง แต่ ยั ง เล็ ก จนกลายเป็ น เรือ่ งปกติของชุมชนนีท้ ใี่ ห้โอกาสซึง่ กันและกันเสมอ ส่วนการชื่นชมหรือมุทิตาจิต เป็นเรื่องที่ทำ�ได้ ไม่ยากสำ�หรับเด็กๆ เป็นการช่วยลดการเปรียบเทียบ หรื อ แข่ ง ขั น แต่ หั น มาชื่ น ชมและให้ กำ � ลั ง ใจกั น และกันแทน

การกล่าว ๓ คำ�นี้ ขอบคุณ ขอโทษ ชื่นชม เป็นการลดอัตตาตัวตนของเราได้เป็นอย่างดี ชุมชน ทอสีจงึ ปลูกฝังการใช้ค�ำ เหล่านีใ้ ห้อยูใ่ นวิถชี วี ติ เช่น ในช่ ว งสุ ด ท้ า ยของการประชุ ม ครู แ ละผู้ ป กครอง ประจำ�ภาคการศึกษา หรือแม้แต่ในที่ประชุมคณะ ทำ�งานต่างๆ ของคุณครู ก็มีการนำ� ๓ คำ�วิเศษนี้มา ใช้เช่นกัน จนกลายเป็นวัฒนธรรมองค์กร ทำ�ให้ ชุ ม ชนนี้ เ ป็ น ชุ ม ชนแห่ ง การเรี ย นรู้ เป็ น ชุ ม ชน กัลยาณมิตรอย่างแท้จริง


จิตจับใจ เรื่อง: หมอมินบานเย็น จากเพจ ‘เข็นเด็กขึ้นภูเขา’ www.facebook.com/kendekthai

เมื่อเด็กดี กลายเป็น ‘แกะดำ�’ ในสายตาเพื่อน หมอมินได้มีโอกาสคุยกับเด็กคนหนึ่ง สมมติ ว่ า ชื่ อ น้ อ งบอล บอลเรี ย นอยู่ ชั้ น ป.๖ เป็ น เด็ ก ดี มีน�้ำ ใจ มีความรับผิดชอบ บอลชอบไปหาครูถามว่า มีอะไรให้ช่วยบ้าง ครูจะชมว่าบอลเป็นเด็กมีน้ำ�ใจ บอลจะไม่ เ ครี ย ดเลยถ้ า หากบอลได้ ทำ � อะไรดี ๆ แบบนี้ไปเรื่อย แต่สิ่งที่ทำ�ให้บอลเครียดจนต้องมา หาหมอ ก็เพราะว่าเพื่อนๆ ในห้อง ครั้งแรกที่มาหาหมอนั้น บอลมาด้วยเรื่องของ ปัญหาการเรียน คุณครูสงสัยว่าบอลเป็นสมาธิสั้น เพราะเรียนไม่ดี จำ�อะไรไม่คอ่ ยได้ เหม่อในห้องบ่อยๆ แต่จริงๆ แล้วอาการเหม่อลอยของบอลจนทำ�ให้ มีปญ ั หาการเรียนนัน้ ไม่ได้เกิดจากสมาธิสนั้ แต่เกิด จากความเครี ย ดสะสมจนทำ � ให้ เ ป็ น ปั ญ หาทาง อารมณ์และส่งผลถึงการเรียน บอลเล่าว่าเขามักจะถูกเพื่อนในห้องล้อและ แกล้งเรื่องที่เป็นคนดีบ่อยๆ เพื่อนมักหาว่าบอลเป็น ตัวประหลาดบ้าง ไม่ใช่คนบ้าง บางทีก็ใช้คำ�หยาบ พู ด ว่ า พ่ อ แม่ ที่ แ รงๆ ก็ คื อ ถู ก เพื่ อ นเอาดิ น สอสี มาระบายกระเป๋าจนเลอะสกปรก เอารองเท้าพละ ไปทิ้งขยะ บอลพยายามเล่าเรื่องนี้ให้ครูฟัง แต่ครูก็ ช่วยได้บ้าง ไม่ได้บ้าง เพื่อนในห้องส่วนใหญ่มักจะ มองว่ า บอลแปลกประหลาดที่ เ ป็ น เด็ ก ดี เ กิ น ไป บอลสงสั ย ว่ า ทำ � ไมการที่ เ ขาทำ � อะไรดี ๆ จึ ง ไม่ มี ใครมองเห็น และไม่เข้าใจ ซ้ำ�ยังถูกเพื่อนๆ หาว่า

ไม่เข้าพวกและเป็นแกะดำ� บอลไม่ใช่เด็กคนเดียวที่มีปัญหาแบบนี้ เด็ก หลายคนที่ไม่ทำ�ตามเพื่อนส่วนใหญ่ เช่น เด็กที่ ไม่ลอกข้อสอบทั้งที่เพื่อนลอกกันทั้งห้อง ก็ถูกว่า ว่าโง่ไม่ฉลาด เด็กที่ไม่ยอมเสพยาตามเพื่อนชวน ทำ�ให้ถกู เพือ่ นว่าว่าไม่เท่ ไม่เจ๋ง เด็กเหล่านีห้ ลายคน ในสังคมเรากำ�ลังเครียดกับการที่ไม่เป็นที่ยอมรับ ของเพื่อน และไม่แน่ใจกับการกระทำ�ของตัวเอง แล้วเราจะช่วยเด็กๆ เหล่านีใ้ ห้ยดึ มัน่ ในความดี ที่เขาเชื่อมั่นอย่างมีความสุขได้อย่างไรบ้าง หมอ คิดว่าสิ่งที่สำ�คัญที่เด็กต้องมีควบคู่กับความดี คือ ความเข้ ม แข็ ง ทางใจ หรื อ ภาษาอั ง กฤษเรี ย กว่ า resilience คือ ความสามารถในการปรับตัวต่อสูก้ บั ปัญหาในชีวิต อุปสรรคที่ต้องเผชิญ ถ้าแปลตรงตัว ก็ คื อ ความหยุ่ น ตั ว แม้ ว่ า จะมี แ รงกระทบแต่ ก็ สามารถคืนสภาพได้เหมือนเดิม สิ่งที่จะช่วยให้เด็ก มีความเข้มแข็งทางใจ ต้องปลูกฝังกันมาแต่เล็ก แต่น้อย โดยทำ�ให้เด็กรู้สึกว่า ‘ฉันมีคุณค่า’ และ ‘ฉันมีโอกาส’ ‘ฉันมีคุณค่า’ คือ ความรู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่า มีความสามารถทีจ่ ะทำ�ได้เท่าทีค่ วามสามารถตัวเอง มีอยู่ เชื่อมั่นในความคิดที่ถูกต้อง แม้ว่าคนอื่นจะ ไม่เห็นมันก็ตาม และ ‘ฉันมีโอกาส’ คือ การยอมรับ ในความผิดพลาดที่เกิดขึ้นได้ ไม่ว่าจะเป็นความ

ผิดพลาดของตัวเองหรือของคนอื่น และให้โอกาส ตัวเองและคนอื่นในการแก้ไขปรับปรุง ในจุดเริ่มต้นพ่อแม่ต้องทำ�ตัวเป็นตัวอย่างที่ดี ในเรื่องการมีความพยายามและมุ่งมั่นทำ�ให้ดีที่สุด โดยที่ ไ ม่ เ ครี ย ดเกิ น ไป มี ค วามสุ ข กั บ สิ่ ง ที่ เ ราทำ � ตั้งอยู่ในปัจจุบันและความเป็นจริง พ่อแม่ควรเปิด โอกาสให้เด็กได้ท�ำ อะไรด้วยตัวเองและได้เรียนรูเ้ อง บ้าง ถ้าทำ�ให้เขาทุกอย่าง คอยช่วยอยูต่ ลอด เด็กจะ ไม่มีทางรู้ว่าเขาทำ�อะไรได้หรือไม่ได้ แต่ต้องไม่ใช่ ให้เด็กทดลองเรื่องที่เป็นอันตรายกับเด็ก แม้ให้เด็ก ทำ�อะไรด้วยตัวเอง เราก็ควรคอยดูเขา ให้เขารับรูว้ า่ มีพอ่ แม่ทค่ี อยอยูข่ า้ งๆ หากเขาต้องการความช่วยเหลือ จริงๆ ก็ควรเข้าไปช่วย ถ้าดูแล้วเขาน่าจะพอทำ�ได้ ก็คอ่ ยๆ ให้ก�ำ ลังใจให้เขาลองทำ�เองก่อน และถึงแม้ ว่าเขาจะมีความเชือ่ มัน่ ว่าทำ�อะไรเองได้ เราควรฝึก ให้เขารูจ้ กั ทีจ่ ะขอความช่วยเหลือในยามจำ�เป็นด้วย นี่ก็เป็นอีกเรื่องที่เด็กควรจะเรียนรู้เช่นกัน นอกจากนี้หากเขาทำ�อะไรผิดพลาด ก็เป็น หน้าทีข่ องเราทีจ่ ะให้โอกาส ให้ก�ำ ลังใจ และปลอบโยน ลูกหลานก็เหมือนต้นไม้ที่ต้องดูแลรดน้ำ� กำ�ลังใจ ทีไ่ ด้ในวันนีจ้ ะเป็นสิง่ ทีเ่ ขาเก็บไว้เป็นภาพดีๆ ทีช่ ว่ ย ให้เขามีความหวังในยามทีท่ �ำ อะไรผิดหรือมีอปุ สรรค ในอนาคต เมื่อเขาให้โอกาสตัวเอง เข้าใจตัวเอง มากขึ้น เมื่อเห็นคนอื่นที่ทำ�ผิด เขาก็พร้อมจะเข้าใจ และให้โอกาสคนอื่นได้เช่นกัน ความทุกข์ที่เกิดขึ้น เพราะคนอืน่ ทำ�กับเขาก็จะลดน้อยลง เพราะกำ�ลังใจ ที่มีอยู่เป็นทุนเดิม เมื่ อ เด็ ก สามารถทำ � อะไรได้ แ ม้ ว่ า เป็ น เรื่ อ ง เล็กน้อย เช่น ตักข้าวกินเอง ใส่เสื้อเอง ควรชมเชย ให้กำ�ลังใจตั้งแต่เล็กๆ แต่ต้องเป็นการชมเชยที่อยู่ บนพื้นฐานความเป็นจริง ไม่ใช่ชมทั้งที่ไม่ได้เป็น แบบนั้น จะกลายเป็นการเยินยอเด็กที่ไม่เหมาะสม เมื่อมีคนอื่นยอมรับให้กำ�ลังใจ เด็กจะซึมซับ ความรูส้ กึ ภาคภูมใิ จนีไ้ ว้ และกลายเป็นแรงผลักดัน และกำ�ลังใจ เวลาทำ�ในสิ่งอื่นๆ ต่อไป หมอเคยอ่านหนังสืออยู่เล่มหนึ่งชื่อ ‘From

สิ่งที่ดีที่ตั้งใจทำ� แม้จะไม่มีใครเห็น แต่อย่างน้อย ตัวเราเองก็รู้ดี Here to Eternity’ มีคำ�พูดที่หมอชอบมาก เขียนไว้ ว่า “The little bit you and me might change the world,” Malloy smiled, “It wouldn’t show up until a hundred years after we were dead. We’d never see it.” “But it’d be there.” “สิง่ เล็กๆ ทีพ่ วกเราทำ�อาจช่วยเปลีย่ นโลกใบนี้ อาจไม่ มี ใ ครรู้ จ นกระทั่ ง เราตายไปหลายร้ อ ยปี เราอาจจะไม่มโี อกาสเห็นมันเลยด้วยซ�้ำ แต่สงิ่ ทีเ่ รา สร้างไว้จะคงอยู่ตลอดไป” บางที สิ่ ง ที่ ดี ที่ ตั้ ง ใจทำ � แม้ จ ะไม่ มี ใ ครเห็ น แต่อย่างน้อยตัวเราเองก็รู้ดี หมออยากเป็นกำ�ลังใจ ให้คนที่มีความตั้งใจที่จะทำ�อะไรดีๆ ทุกคน และถ้า การที่ เ ราจะเป็ น คนดี ทำ � ให้ เ ราต่ า งไปจากคนอื่ น แกะดำ�ตัวนั้นก็จะเป็นแกะที่น่ารักและงดงามที่สุด ในฝูง ด้วยความงามและคุณค่าจากภายใน ๑๐ ๑๑


วิชาสังคมศึกษา เรื่อง: แม่รุ่ง - รุ่งนภา ธนะภูมิ

คน พืช สัตว์ คือเพื่อนชีวิต เป็นกัลยาณมิตรต่อกัน

ปลูกจิตสำ�นึกรักธรรมชาติ ในใจดวงน้อย

“คน พืช สัตว์ คือ เพื่อนชีวิต เป็นกัลยาณมิตร ต่อกัน รวมกันอยู่อาศัยแบ่งปัน เป็นเพื่อนกันผูกพัน นานมา ต้นไม้ใหญ่ให้ร่มใบบัง นกน้อยทำ�รังอยู่บน ต้นไม้ แสงแดดส่องอากาศอุ่นสบาย สิ่งรอบกาย ของเราคือเพื่อน” ผู้เขียนเริ่มต้นด้วยเนื้อเพลงที่ผู้เขียนเคยแต่ง เพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอนของเด็กๆ ทอสี ชั้นประถม ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๕ ในบทเรียนเรื่อง ‘กัลยาณมิตร’ ที่กล่าวถึง ความผูกพันของ คน พืช สั ต ว์ ที่ ดำ � รงชี วิ ต อยู่ ไ ด้ ด้ ว ยการพึ่ ง พาอาศั ย กั น ในธรรมชาติ ในปั จ จุ บั น เรารั บ รู้ ข้ อ มู ล มากมายเกี่ ย วกั บ ปัญหาการตัดไม้ท�ำ ลายป่าของมนุษย์ ผูเ้ ขียนจึงเห็น

ประโยชน์จากการที่เราจะสอนเด็กๆ ให้เคารพและ รักในธรรมชาติที่เราอยู่ร่วมกันและอยากบอกเล่า ข้อมูลประสบการณ์ที่รับรู้และเรียนรู้มา มาแลก เปลี่ยน พูดคุยกัน เพื่อปลูกฝังให้เด็กๆ รักธรรมชาติ ไปด้วยกัน ผู้ เ ขี ย นเคยอ่ า นบทความของนายแพทย์ รังสฤษฎ์ กาญจนะวณิชย์ (คุณหมอหม่อง) อาจารย์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ หน่วยวิชาระบบหัวใจและ หลอดเลื อ ด คณะแพทยศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย เชียงใหม่ นอกจากเป็นคุณหมอแล้ว หมอหม่องยัง เป็นที่รู้จักในฐานะนักอนุรักษ์ธรรมชาติ และมัก อาสาพาเด็กๆ ดูนกและศึกษาธรรมชาติอยู่เสมอ คุณหมอให้ข้อคิดไว้ว่า

“การปลูกฝังจิตสำ�นึกรักธรรมชาติ ตั้งแต่วัย เด็กจากครอบครัวจนเติบใหญ่ ทำ�ให้ตระหนักถึง คุณประโยชน์ของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แม้ เพียงใบไม้ที่ร่วงหล่นก็มีความสำ�คัญต่อสิ่งมีชีวิต ในระบบนิเวศ ปัญหาหลายอย่างล้วนเกิดจากความ ป่วยของมนุษย์ทไี่ ม่ได้รบั ‘วัคซีน’ ป้องกันแต่วยั เยาว์ จึงตั้งใจที่จะปลูกฝังความคิดการอนุรักษ์ตั้งแต่เด็ก เป็นการฉีดวัคซีนคุม้ กันให้เด็กๆ มีความอ่อนโยนต่อ ธรรมชาติ และเข้าใจว่ามนุษย์มใิ ช่เจ้าของ หรือเป็น ศูนย์กลางของโลกทุกอย่าง” หมอหม่องเองก็ได้รับ แรงบั น ดาลใจจากคุ ณ แม่ ข องคุ ณ หมอที่ เ ป็ น นั ก อนุรักษ์ธรรมชาติเช่นกัน หมอหม่องมักใช้กุศโลบายในการสอนเรื่อง ธรรมชาติผ่านกิจกรรมดูนกที่ช่วยให้เด็กๆ สนุกและ เพลิดเพลินกับการเรียนรู้ธรรมชาติ “นกมีอยู่ทุกที่ เวลาเด็กเห็นสีสัน เห็นการเคลื่อนไหว เห็นลีลาของ นก ก็จะเกิดความประทับใจ เราสามารถทำ�ให้เด็ก ตาโตได้ ไม่ได้ฝืน เด็กก็สนุก เดินไปไหนก็ตามไป ดูนกด้วยกัน จากนั้นเริ่มฝึกให้เขาบันทึก วาดรูป ซึ่ง จะทำ�ให้เขาสนใจมากขึ้น” กิจกรรมดูนกทำ�ให้เด็กๆ เรียนรู้ว่ามนุษย์ไม่ใช่ศูนย์กลางของทุกอย่าง แต่ มนุษย์ชอบก้าวก่าย ไปจัดการสิ่งต่างๆ รอบตัว

การได้สมั ผัสเรือ่ งราวเหล่านี้ จะทำ�ให้เด็กๆ อ่อนโยน ขึน้ สิง่ ทีค่ ณ ุ หมอถ่ายทอดให้ฟงั จึงเป็นความประทับ ใจของผู้เขียน และเชื่อว่าเราสามารถนำ�มาใช้สอน เด็กๆ ได้ ช่ ว งปิ ด เทอมที่ ผ่ า นมา ครอบครั ว ของเรา เดินทางไปเยี่ยมคุณตาคุณยายที่ต่างจังหวัด เป็น โอกาสที่ ดี ที่ ไ ด้ พ าลู ก ไปเรี ย นรู้ ดู เ ห็ น สิ่ ง ต่ า งๆ ตามธรรมชาติ ได้รับอากาศดีๆ ที่หายากขึ้นทุกที เพราะทุกๆ วัน เราใช้เวลาส่วนใหญ่ในเมืองหลวง ที่มีมลพิษอยู่รอบตัว อากาศดีๆ ในต่างจังหวัดจึง ถือเป็นของขวัญที่ดีให้สุขภาพของพวกเรา ระหว่าง สองข้างทาง มีตน้ ไม้ใหญ่ให้รม่ เงา ชีวติ ความเป็นอยู่ ของผู้ ค นในชนบทที่ ยั ง พึ่ ง พาอาศั ย กั น อยู่ กั บ ธรรมชาติอย่างเรียบง่าย ช่วงที่ไปเป็นฤดูฝนและใน ๑๒ ๑๓


ปลูกฝังความคิด การอนุรักษ์ตั้งแต่เด็ก เป็นการฉีดวัคซีนคุ้มกัน ให้เด็กๆ มีความอ่อนโยน ต่อธรรมชาติ และเข้าใจว่ามนุษย์มิใช่เจ้าของ หรือเป็นศูนย์กลาง ของโลกทุกอย่าง

ปี นี้ มี ป ริ ม าณน้ำ � ฝนมาก เราจึ ง เห็ น ความอุ ด ม สมบูรณ์ของพื้นดิน ห้วย หนอง คลองบึง มีน้ำ�ให้ ผู้คนที่ยังดำ�รงชีพด้วยการหาปลา ได้พึ่งพาอาศัย ธรรมชาติ และเป็นส่วนหนึ่งอยู่ในธรรมชาติอย่าง กลมกลืน เราแวะไปนมัสการอัฐิหลวงปู่ชา ที่วัดหนองป่าพง จังหวัดอุบลราชธานี ในวัดมีความร่มรื่น สงบ เย็น มีตน้ ไม้ใหญ่มากมาย อากาศทีน่ จี่ งึ สะอาดและ บริสุทธิ์ รู้สึกขอบคุณอากาศดีๆ ที่ธรรมชาติมอบ ให้ เ รา และยั ง เป็ น ที่ อ ยู่ อ าศั ย ของสั ต ว์ น้ อ ยใหญ่ แม้สัตว์ตัวน้อย ก็ยังตัวใหญ่ มีผีเสื้อตัวโตๆ และ กระรอกตั ว โตมาก เห็ น แล้ ว อดคิ ด ไม่ ไ ด้ ว่ า สัตว์เหล่านี้โชคดี และมีบุญ เพราะนอกจากจะได้ อยู่ในธรรมชาติที่ปลอดภัย สงบ และไม่ถูกรบกวน จากมนุษย์ แล้วยังได้อยูใ่ นระบบนิเวศทีส่ มบูรณ์ดว้ ย วันต่อมา เราไปเที่ยวน้ำ�ตกกัน ได้เห็นความ

เชื่ อ มโยงของป่ า และสั ต ว์ ป่ า ทั้ ง นก และผี เ สื้ อ แมลงปอ ระหว่างทางเดินเพือ่ ไปจุดชมน�้ำ ตก แม้แต่ ดอกไม้ใบหญ้ายังงอกงาม เป็นความสมบูรณ์ของ ธรรมชาติโดยแท้จริง จึงใช้โอกาสนีส้ อนลูกถึงความ สัมพันธ์ของธรรมชาติ ให้เห็นการพึ่งพาอาศัยของ คน พืช สัตว์ ในธรรมชาติทเี่ ราสัมผัสได้จริงๆ เมือ่ ป่า อุดมสมบูรณ์ มีฝนตกมา ต้นไม้ และดินจะอุ้มน้ำ�ไว้ น�้ำ ตกเกิดจากตาน�้ำ ใต้ดนิ บนภูเขาจากภูเขาหลายๆ ลูก รวมเป็นเทือกเขา ตาน้ำ�ผุดมารวมกันกับน้ำ�ที่ขัง ตามแอ่งน้ำ�บนภูเขา เมื่อน้ำ�มีปริมาณมาก จะไหล ลงจากที่สูงบนภูเขาลงสู่ที่ต่ำ� หากเราตัดไม้ทำ�ลาย ป่ามากๆ ก็จะไม่มีต้นไม้อุ้มน้ำ�ไว้ ตาน้ำ�ใต้ดินก็จะ เหือดแห้งไป การทีเ่ ด็กๆ ได้สมั ผัสและเรียนรูธ้ รรมชาติ ตั้ ง แต่ ยั ง เล็ ก จะทำ � ให้ เ ด็ ก ๆ เห็ น คุ ณ ค่ า และรั ก ในธรรมชาติ เรี ย นรู้ ว่ า ตนเองเป็ น ส่ ว นเล็ ก ๆ ในธรรมชาติที่ยิ่งใหญ่ และเราต้องพึ่งพาอาศัยกัน

ป่ า ไม้ เ ป็ น ทรั พ ยากรธรรมชาติ ที่ สำ � คั ญ ต่ อ มนุษย์ เป็นแหล่งวัตถุดิบของปัจจัย ๔ คือ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค เมื่อป่าไม้ ถูกทำ�ลาย ก็สง่ ผลกระทบต่อสิง่ แวดล้อม ผลกระทบ ถึงดิน และแหล่งน้ำ� หากไม่มีต้นไม้ไว้คอยอุ้มน้ำ�ไว้ น้ำ�จะไหลท่วมบ้านเรือน เราคงไม่อาจปฏิเสธได้ว่า มนุษย์นี่แหละเป็นต้นตอของปัญหาสิ่งแวดล้อม ในธรรมชาติ และหลายครั้ ง แล้ ว ที่ ธ รรมชาติ ส่ ง สัญญาณบอกมนุษย์ แต่การแก้ปัญหาต่างๆ ล้วน ทำ�ที่ปลายเหตุเสมอมา และหากยังคงเป็นเช่นนี้ ต่อไป เราคงเหลือความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่าและ

ธรรมชาติไว้ให้ลกู หลานได้ยนิ ได้ฟงั แต่เพียงตำ�นาน เรื่องเล่าในนิทาน... ‘กาลครั้ ง หนึ่ ง นานมาแล้ ว ยั ง มี ผื น ป่ า อั น อุดมสมบูรณ์ สัตว์ป่าน้อยใหญ่อาศัยอยู่อย่างมี ความสุข’ ถึงวันนี้เราเรียนรู้ด้วยกันได้จริงๆ ว่า ผู้ใหญ่ อย่างเรา และเด็กๆ สามารถร่วมกันสร้างและรักษา ความจริงที่งดงามตามธรรมชาติด้วยกันได้... ไม่ใช่แค่ในนิทาน

ขอบคุณแรงบันดาลใจจาก คุณหมอหม่อง - นายแพทย์รังสฤษฎ์ กาญจนะวณิชย์

๑๔ ๑๕


ชวนหัวคิด เรื่อง: ครูแหม่ม – อาภาภัทร ไชยประสิทธิ์ ผู้ช่วยผู้อำ�นวยการโรงเรียนทอสี

เรียนรู้ ตั้งรับ ปรับตัว เมื่อวันก่อนได้ชมเทปบันทึกการแสดงเดี่ยว ไมโครโฟนของ คุ ณ โน้ ส -อุ ด ม พู ด ถึ ง การเข้ า สู่ ประชาคมอาเซียน ซึง่ ก็ได้มมุ คิดตลกๆ แบบแฝงสาระ ไว้อยูเ่ หมือนกันว่า AEC คืออะไร เราได้ยนิ กันบ่อยๆ แต่เรารู้จักมันแค่ไหน และเมื่อเราเข้าสู่ AEC แล้ว ย่อมต้องมีเรือ่ งทีต่ อ้ งเรียนรูแ้ ละตีโจทย์อกี มากมาย ทั้งข้อดี ผลกระทบ ข้อจำ�กัดของตัวเอง และของ เพือ่ นบ้านของเรา ซึง่ สิง่ ทีเ่ ราได้ยนิ กันบ่อยๆ คงเป็น เรื่องภาษา การใช้เทคโนโลยี การค้า การลงทุน การแลกเปลี่ ย นทางการศึ ก ษา การพั ฒ นาฝี มื อ แรงงาน ซึง่ เป็นสิง่ ทีส่ ะท้อนถึงค่านิยมทีป่ ระเทศชาติ ของเราให้ คุ ณ ค่ า กั บ การเติ บ โตทางเศรษฐกิ จ

การค้า แต่อยากขอชวนทุกท่านมาลองอ่านและ ช่วยกันคิดตามในมิติของการศึกษาเพื่อพัฒนาคน ร่วมกันนะคะ ในฐานะของครู อยากจะชวนคิ ด เรื่ อ ง พัฒนาการของเด็กทารกทีถ่ นัด ก่อนจะไปรูจ้ กั และ คุยกันต่อเรื่องอาเซียน เมื่อเด็กๆ เกิดมา สิ่งที่เขา ต้องเรียนรู้ ทำ�ความรู้จักกับโลกใบนี้อย่างแรก คือ การพยายามเอาชีวิตรอด การกิน การนอน การ ขับถ่าย ทีเ่ ด็กจะทำ�ได้เองตามสัญชาตญาณ เขาจะ พยายามแสดงออกถึงความต้องการ อารมณ์ ความ รู้สึกของตัวเอง และสิ่งมีชีวิตแรกในโลกใบนี้ที่เขา ต้องเรียนรูก้ ค็ อื ‘แม่’ เสียงหัวใจของแม่ กลิน่ เสียง

สัมผัสอ้อมกอด และน�้ำ นมจากอกแม่ จากนัน้ จึงเริม่ ไปรู้จักกับสมาชิกคนอื่นๆ ในครอบครัว จนเมื่อเขา ค่อยๆ เขาจะเติบโตขึน้ ก็เริม่ มีเพือ่ น มีสงั คมโรงเรียน และขยายออกไปเรือ่ ยๆ ซึง่ เมือ่ เริม่ การมีสงั คม สิง่ ที่ ตามมาก็คือ การเรียนรู้ที่จะเข้าใจตัวเองและผู้อื่น การปรั บ ตั ว เข้ า หากั น และเลื อ กกลุ่ ม ที่ เ ข้ า กั บ ความชอบ ความสนใจของตัวเองได้ ซึ่งถ้าเทียบ ประเทศของเราตอนนี้ เ ป็ น เด็ ก ทารกที่ กำ � ลั ง จะ ก้าวกระโดดไปเข้าโรงเรียน เข้าสังคม อยากรู้จัก คนเยอะๆ แต่ อ ยากจะชวนกั น คิ ด ว่ า เด็ ก คนนี้ ได้เรียนรู้จักตัวเองและแม่ของตัวเองดีพอหรือยัง คำ�ถามที่อยากจะถามต่อ คือ ‘ถ้าเราไม่รู้จักตัวเอง ไม่รจู้ กั แม่ ไม่รจู้ กั บ้านตัวเอง แต่เรากระโดดไปเรียนรู้ ครอบครัวคนอื่น ไปหาเพื่อนๆ เลย จะเกิดผลดี ผลเสีย อย่างไรกับเด็กคนนั้นบ้าง’ การที่จะสร้างเด็กคนหนึ่งให้เติบโตขึ้นอย่าง เข้มแข็ง มั่นคง สง่างาม ได้นั้นต้องใช้การศึกษา ซึ่งไม่ได้หมายถึงแค่การศึกษาในระบบโรงเรียน เท่ า นั้ น ท่ า นพุ ท ธทาสได้ เ คยเขี ย นหนั ง สื อ เรื่ อ ง ‘โรงเรียนที่ท่านยังไม่รู้จัก’ ได้น่าสนใจมากว่า ใน ห้องนอน ห้องนั่งเล่น ห้องรับแขก ห้องน้ำ� ห้องครัว ในบ้านก็ล้วนเป็นโรงเรียนของเด็กทั้งสิ้น เมื่อเด็ก ได้ เ รี ย นรู้ ห้ อ งต่ า งๆ ในบ้ า นเข้ า ใจความเป็ น อยู่ วัฒนธรรมในบ้านอย่างลึกซึ้งแล้ว เขาก็สามารถ ไปเที่ยวบ้านคนอื่น หรือชวนเพื่อนมาเที่ยวบ้าน ของเขาได้ เพื่อเรียนรู้ ตั้งรับ ปรับตัว ได้โดยยังเป็น ตัวของตัวเองอยู่ ในมิตแิ รกของการเข้าสูป่ ระชาคมอาเซียนก็คง เป็ น ไปในทำ � นองเดี ย วกั น กั บ การสร้ า งเด็ ก ให้ เข้มแข็งในสังคมทีใ่ หญ่ขนึ้ ฐานทีม่ นั่ คงทีส่ ดุ ก็นา่ จะ เริม่ ทีก่ ารรูจ้ กั เข้าใจตัวเอง ว่าเราเป็นใคร ต้องการ อะไร ชอบอะไร บ้ า นเราอยู่ กั น แบบไหน เรามี จุดเด่นอะไร สิ่งไหนดี สิ่งไหนไม่ดี จากนั้นเมื่อเรา

เริ่ ม เข้ า สั ง คมเราต้ อ ง ตั้ ง รั บ เป็ น ว่ า สิ่ ง ไหนที่ เ รา ต้ อ งการเพิ่ ม สิ่ ง ไหนที่ เ ราจะไม่ ใ ช้ ไม่ ต้ อ งการ ไม่เอา และค่อยๆ ปรับตัว เอามาใช้ โดยปรับให้ เข้ากับตัวเรา ฐานครอบครัวเราให้มากที่สุด เพื่อ ให้เราอยู่ร่วมกับคนอื่นได้โดยไม่สูญเสียความเป็น ตัวเอง คำ�ถามทีว่ า่ ความมัน่ คงเกิดจากอะไร? ถ้าเป็น อาคาร ก็คือ ฐานราก โครงสร้าง ถ้าเป็นต้นไม้ก็คือ รากใต้ดิน แล้วคนล่ะ? การศึกษาพุทธปัญญาได้พดู ถึงมิตทิ ลี่ กึ ลงไป อีกก็คือ มิติด้านจิตใจของคน การที่คนจะมั่นคง เข้มแข็งก็ต้องมาจากจิตใจที่เข้มแข็ง สมรรถภาพ จิตดี มีคณ ุ ธรรม รูถ้ กู -ผิด ดี-ชัว่ ซึง่ จิตใจทีม่ นั่ คงนัน้ เกิดด้วยแรงหนุนจาก ศีล และ ปัญญา และเมื่อ จิตใจเราเข้มแข็งขึน้ เรือ่ ยๆ ก็จะกลับไปเป็นแรงหนุน ให้ปัญญา และศีลพัฒนาขึ้นไปได้อีกเรื่อยๆ ซึ่ง เป็นการพัฒนาวิชาชีวติ แต่ถา้ เราจะเพียงเตรียมตัว เองในด้ า นการฝึ ก ภาษาเพื่ อ สื่ อ สารกั บ เพื่ อ น ก็เป็นการเตรียมพร้อมด้านวิชาการเพียงด้านเดียว ซึ่งไม่น่าจะเพียงพอต่อการก้าวไปในโลกกว้างที่ ต้องใช้ก�ำ ลังขับเคลือ่ นจากภายในสูภ่ ายนอก ทัง้ มิติ ของความเป็นคนและมิตขิ องประเทศชาติ วันนีเ้ รา ต้องกลับมาถามตัวเองว่า ‘เราเตรียมความพร้อมให้ ตัวเองในทุกมิติแล้วหรือยัง’

๑๖ ๑๗


ครูธรรม...คำ�ครู พุทธทาสภิกขุ

เรียงความถึงครู

เมื่อ ‘ครูธรรม’ ที่เหล่าพุทธศาสนิกชนรวมถึงคุณครูโรงเรียนทอสี นั บ ถื อ ได้ มี เ มตตาแสดงพระธรรมเทศนาในวาระต่ า งๆ เพาะครู จึ ง ขออนุญาตนำ� ‘คำ�ครู’ ที่ครูธรรมกล่าวถึงเรื่องการศึกษา เด็ก พ่อแม่ คุ ณ ครู ชุ ม ชน สั ง คม ตลอดไปจนถึ ง อนาคตของชาติ แ ละของโลก มาแบ่งปัน เพื่อให้เกิดการตื่นรู้ รับ และนำ�ไปปรับใช้ในการดำ�เนินชีวิต ได้อย่างมีปญ ั ญาประดุจประทีปนำ�ทาง ฉบับนีเ้ ราได้คดั สรรส่วนหนึง่ จาก พระธรรมเทศนาของพระเทพวิสุทธิเมธี หรือรู้จักในนาม พุทธทาสภิกขุ ที่ บ รรยาย ณ สวนโมกขพลาราม จั ง หวั ด สุ ร าษฎร์ ธ านี มาแบ่ ง ปั น ให้ตระหนักรู้ถึงธรรมของครู ที่เกี่ยวโยงถึงธรรมชาติของมนุษย์ทุกคน

ครู...ผู้ทำ�ตนเป็นตัวอย่างของความถูกต้อง

ครู...ผู้ทำ�งานให้โลกเกินค่าของประโยชน์ที่รับมา จากโลก

ครูเองต้องเป็นธรรมชีวีให้ ได้ เสียก่อน, แล้วครูก็สอนเด็ก และชี้ชวนให้สนใจได้

ครูก็ดี ธรรมชีวีก็ดี มีลักษณะ อย่างนี้ คือทำ�งานให้โลกเกินค่า ของสิ่งที่รับมาจากสังคม

“ถ้าครูจะถือหลักอันนี้ คือการสร้างเด็กๆ นีใ้ ห้มี ระบบธรรมชีวี*, มีชีวิตอยู่ด้วยความถูกต้องก็ยิ่งดี. แต่ ว่าครูเองต้องเป็นธรรมชีวใี ห้ได้เสียก่อน, แล้วครูกส็ อน เด็กและชีช้ วนให้สนใจได้. หรือว่าครูอธิบายจนมีความ เข้าใจ แล้วครูก็ทำ�ตนเป็นตัวอย่างแห่งบุคคลธรรมชีวี นี้อยู่ตลอดเวลา. ครูเป็นธรรมชีวีต้องเพื่อประโยชน์แก่ตัวเองและ เพื่อตัวอย่างให้แก่เด็ก ให้แก่ศษิ ย์ ครูเลยเป็นธรรมชีวี สองเท่า : ส่วนหนึ่งเป็นให้แก่ตัวเอง, ส่วนหนึ่งเป็น ตัวอย่างให้แก่เด็ก. การสอนด้วยการทำ�ตัวอย่างให้ดนู ี้ มีน�้ำ หนักมากกว่าการสอนด้วยปาก หรือสอนแต่ปาก, เพราะผู้รับคำ�สอนจะได้หลักฐานประจักษ์พยานไป ตั้ ง แต่ ที แ รก เพื่ อ ความแน่ ใ จว่ า สิ่ ง เหล่ า นี้ เ ป็ น สิ่ ง ที่ ประพฤติปฏิบตั ไิ ด้ ไม่เหลือวิสยั , แล้วก็ให้ผลเป็นความ สุขที่แท้จริง.”

“ผู้มีอุดมคติเป็นธรรมชีวีก็ดี เป็นครูก็ดี ทำ�งาน ได้ผลเกินค่าที่ได้รับผลตอบแทน ; ไม่ว่าใคร ต้องรับ ผลตอบแทน แต่วา่ ผลตอบแทนนัน้ บางคนทำ�งานให้ ไม่คมุ้ ค่า. แต่ถ้าเป็นครูที่มีอุดมคติแล้ว จะทำ�งานให้ แก่โลกมากมายเกินค่าของประโยชน์ที่ได้รับเอามา จากโลก เช่น เงินเดือน เป็นต้น ; ต้องทำ�ให้เกิดผลแก่ โลกเกินค่าของสิ่งที่รับเอามาจากโลก. ครู ก็ ดี ธรรมชี วี ก็ ดี มี ลั ก ษณะอย่ า งนี้ , คื อ ทำ�งานให้โลกเกินค่าของสิ่งที่รับมาจากสังคม. เรารับ ประโยชน์อะไรจากสังคม เป็นการตอบแทนอย่างนั้น อย่างนี้, เป็นเงินเดือนเท่านั้นเท่านี้, เป็นอะไรก็ตาม. แต่เราทำ�งานให้เกินค่าเสมอ เพราะเราเป็นผู้สร้างใน ทางจิตใจ ให้เกิดผลในทางจิตใจ, ตีราคาแล้วมันก็ มาก ก็เกินค่าของเงินเดือนที่เราได้รับ.”

พุทธทาสภิกขุ จาก หนังสือ ‘ธรรมสำ�หรับครู’ เรื่อง ‘ธรรมชีวีกับครูผู้สร้างโลก’ หน้า ๕๕ ๘ กันยายน ๒๕๒๗

พุทธทาสภิกขุ จาก หนังสือ ‘ธรรมสำ�หรับครู’ เรื่อง ‘การดำ�รงชีวิตอย่างครู นั่นแหล่ะคือธรรมชีวีชั้นครู’ หน้า ๘๐ ๑๕ กันยายน ๒๕๒๗

*ธรรมชีวี แปลว่า มีชีวิตอยู่ด้วยธรรมะ

ครู

ความหมายที่ฉันค้นพบ เรียงความอาจเป็นได้มากกว่าความเรียง ธรรมดา เมื่ อ ผู้ เ ขี ย นตั้ ง ใจเรี ย บเรี ย งร้ อ ย ถ้ อ ยคำ � ออกมาจากใจอั น บริ สุ ท ธิ์ เมื่ อ นักเรียนทั้งระดับประถมต้นและประถมปลาย โรงเรียนทอสีเขียนเรียงความในหัวข้อ ‘ครู สอนฉันให้รู้ว่า’ , ‘ครู...ความหมายที่ฉันค้น พบ’ และ ‘พระพุทธเจ้าครูของโลก’ ในวาระ วั น ไหว้ ค รู ผลงานของนั ก เรี ย นทุ ก คนได้ สะท้อนความรู้สึก-นึก-คิด ที่กลั่นกรองจาก ใจผ่านตัวหนังสือได้เป็นอย่างดี หนึ่งในเรียง ความที่รับคัดเลือกให้อ่านในงานวันไหว้ครู ๒๕๕๖ เป็ น ของน้ อ งอั น นา ชั้ น ป.๕ ที่ ไ ด้ ถ่ายทอดความหมายของครูที่นักเรียนคน หนึ่งได้ค้นพบได้อย่างน่าชื่นใจ


ครูตามธรรม

ขอเชิญร่วมบริจาคเงินสนับสนุนกองทุนพัฒนาครูวิถีพุทธโรงเรียนทอสี

ความรู้สึกและสิ่งที่ ได้เรียนรู้ จากการเป็น

ครูพุทธปัญญา

ผลงานเล็กๆ ที่คุณครูโรงเรียนทอสีร้อยเรียงออกมาจากความรู้สึกของการเป็น ‘ครูพุทธปัญญา’ และได้มีโอกาสจัดแสดงเป็นนิทรรศการน้อย ในงานตื่นรู้ ครั้งที่ ๓ ‘ส่องใน สว่างนอก’ ซึ่งงานทุกชิ้น ล้วนสร้างความประทับใจแก่ผู้อ่านอย่างยิ่ง ทั้งระหว่างคุณครูด้วยกันเอง เด็กนักเรียน รวมไปถึง ผู้ปกครอง และบุคคลทั่วไปที่มาร่วมชมงานด้วย

เพื่อช่วยกองทุนฯ ให้เติบโตก้าวหน้าต่อไปและสามารถบรรลุเจตจำ�นงซึ่งเป็นความตั้งใจ ในเบื้องต้น อันจะนำ�ไปสู่การดำ�เนินการอย่างเป็นรูปธรรมตามพันธกิจระยะยาวได้ ในที่สุด ข้าพเจ้ายินดีร่วมบริจาคเงินสนับสนุนกองทุนพัฒนาครูวิถีพุทธโรงเรียนทอสี ข้าพเจ้าชื่อ (นาย/ นาง/ นางสาว) ......................................................... นามสกุล .................................................................... เป็นผู้ปกครองของนักเรียน โรงเรียนทอสี โรงเรียนปัญญาประทีป ชื่อ (ด.ช./ ด.ญ / นาย / นางสาว) ........................................................................................... ชั้น ...................................... บุคคลทั่วไป หน่วยงาน / องค์กร / บริษัท ....................................................................... (โปรดระบุ) ที่อยู่ ...................................................................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................................................. โทรศัพท์ ................................................................. อีเมล์ .................................................................................................... ประสงค์จะบริจาคผ่านทาง บัตรเครดิต

AMERICAN EXPRESS

MASTER CARD

VISA

อื่นๆ ....................................

หมายเลขบัตรเครดิต ชื่อ-นามสกุล (ตามบัตร) ...................................................................................................................................... ลายมือชื่อผู้ถือบัตร (ตามบัตร) วันหมดอายุบัตร รูปแบบที่ประสงค์จะบริจาค แบบรายเดือน เป็นเงินจำ�นวน ๕๐๐ บาท/เดือน ๑,๐๐๐ บาท/เดือน .......................... บาท (........................................................) / เดือน เป็นระยะเวลา ๓ เดือน ๖ เดือน ๑๒ เดือน โดยเริ่มตั้งแต่ เดือน ....................................... พ.ศ ......................... แบบครั้งเดียว เป็นเงินจำ�นวน

๕๐๐ บาท

๑,๐๐๐ บาท .......................... บาท (........................................................)

* สำ�หรับผูบ้ ริจาคผ่านบัตรเครดิต ทุกสิน้ ปีทางกองทุนฯ จะจัดส่งใบเสร็จรับเงินให้ตามยอดเงินบริจาคในปีนน้ั ๆ โดยจะจัดส่งตามทีอ่ ยูท่ ท่ี า่ นระบุไว้ในแบบตอบรับบริจาคนี้

โอนเงิน เข้าบัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี ‘กองทุนพัฒนาครูวิถีพุทธโรงเรียนทอสี’ ธนาคารกสิกรไทย สาขาสุขุมวิท ๗๑ เลขที่ ๙๗๑- ๒-๐๘๒๔๓-๔ เป็นจำ�นวนเงิน ........................... บาท (...................................................................) ** เมื่อโอนเงินแล้ว กรุณาส่งสำ�เนาใบโอนเงิน พร้อมแบบตอบรับบริจาคนี้ ได้ที่ฝ่ายธุรการ โรงเรียนทอสี เพื่อกองทุนฯ จะดำ�เนินการตรวจสอบรายการบริจาค และจัดส่งใบเสร็จรับเงินตามที่อยู่ที่ท่านระบุไว้ในแบบตอบรับบริจาคนี้

ลงนาม .................................................... ผู้บริจาค วันที่ ....................... ขอบพระคุณในทุกความร่วมมือทีร่ ว่ มด้วยช่วยกันสนับสนุนกองทุนพัฒนาครูวถิ พ ี ทุ ธโรงเรียนทอสี และขออนุโมทนากับทุกท่านที่มีจิตศรัทธาให้การสนับสนุนกองทุนฯ นี้ ท่านสามารถส่งแบบตอบรับ บริจาคนี้ได้ที่ฝ่ายธุรการของโรงเรียนทอสี และหากท่านไม่ได้รับการติดต่อกลับจากทางกองทุนฯ หลังส่งแบบตอบรับบริจาคนี้ ภายใน ๗ วันทำ�การ กรุณาติดต่อฝ่ายบัญชี (ครูตา) โรงเรียนทอสี โทร. ๐ ๒๗๑๓ ๐๒๖๐-๑ ต่อ ๑๒๕ , ๑๔๐

** รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการศึกษา และมีมาตรการภาษีให้สิทธิ ประโยชน์พิเศษแก่เอกชนที่ช่วยเหลือสังคมโดยการบริจาคเพื่อสนับสนุน การศึกษา ให้ใช้สทิ ธิห์ กั ลดหย่อนได้เป็นจำ�นวน ๒ เท่าของเงินบริจาค แต่ ไม่เกิน ๑๐ % ของเงินได้สุทธิ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๕๕ เห็นชอบกับมาตรการนี้แล้ว สิทธิประโยชน์พิเศษนี้จะมี ผลกับการบริจาคในช่วงปี ๒๕๕๖-๒๕๕๘ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับมาตรการทาง ภาษีที่ทางรัฐบาลจะประกาศใช้อย่างเป็นทางการต่อไป


เรียบเรียง : แม่สาว – วรวสี ก้องสมุทร รู้ ไว้ ใช่ ว่า

มารู้จักกับโรงเรียนทอสี และโรงเรียนปัญญาประทีปกันเถอะ โรงเรียนทอสีและโรงเรียนปัญญาประทีป คือ โรงเรียนพุทธปัญญา ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาไปสู่การเป็นผู้มีปัญญา เข้าใจตนเอง รู้จักตนเอง สามารถบริหารจัดการความรู้สึกนึกคิดของตนเอง รวมถึงเข้าใจคนรอบข้างและสรรพสิ่งรอบตัว สามารถจัดการปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิต ตลอดจนมีความสุขในการดำ�เนินชีวิต และการเรียนรู้ ตลอดชีวิต โดยอาศัยหลักการไตรสิกขา อันได้แก่ ศีล สมาธิ และปัญญา ในการเรียนรู้ร่วมกันฉันกัลยาณมิตร ระหว่างนักเรียน คุณครู และผู้ปกครองอย่างใกล้ชิด

ครอบครัว ถือเป็นหัวใจสำ�คัญ ในการดูแลเด็กและเยาวชนในการใช้สื่อ

หนึ่งในความเท่าเทียมของมนุษย์ทุกคนคือ ใน ๑ วัน ทุกคนมีเวลา ๒๔ ชั่วโมง เท่ากัน และนับวัน ‘สื่อ’ จะเข้าไปครองพื้นที่ในการดำ�รงชีวิตประจำ�วันของเรา มากขึ้น จากงานวิจัยสภาวการณ์เด็กและเยาวชนในรอบปี ๒๕๕๔-๒๕๕๕ ในหัวข้อ มิติชีวิตกับสื่อ มาดูกันว่าใน ๒๔ ชั่วโมงของเด็กและเยาวชนไทยใน ระดับมัธยมศึกษาถึงอุดมศึกษา ถูกใช้ ไปกับอะไรบ้าง

ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบัน ทำ�ให้การเข้าถึงสื่อของ เด็กและเยาวชนในยุคดิจิทัลนี้ง่ายเพียงปลายนิ้วสัมผัส และสไลด์ จากข้ อ มู ล พบว่ า เด็ ก และเยาวชนระดั บ มัธยมศึกษาถึงอุดมศึกษา

91% 70% 58% 14% ใช้โทรศัพท์มือถือ

เวลาใน 1 วั น ของเด็กและเยาวชนไทย

ของโทรศัพท์มือถือที่ใช้ สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้

มีคอมพิวเตอร์ ใช้

มีแท็บเล็ต/ไอแพด เป็นของตัวเอง

24 Hrs. 198 นาที

(กว่า 3 ชั่วโมง)

เล่นอินเทอร์เน็ต

ดูโทรทัศน์และละครซีรีส์

โรงเรียนทอสี เปิดสอนในระดับอนุบาลถึงระดับประถมศึกษา สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ๐ ๒๗๑๓ ๐๒๖๐ / www.thawsischool.com โรงเรียนปัญญาประทีป เปิดสอนในระดับมัธยมศึกษา สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ๐๔๔ ๓๑๘ ๒๔๑ / www.panyaprateep.org

166 นาที

(2 ชม. 40 นาที)

177 นาที

(เกือบ 3 ชั่วโมง)

คุยโทรศัพท์หรือแชท ผ่านโปรแกรมต่างๆ

การใช้เวลาไปกับการเสพสื่อมากขึ้น อาจส่งผลให้ เวลาพั ก ผ่ อ นน้ อ ยลง ซึ่ ง มี ผ ลลบกระทบต่ อ พั ฒ นาการ ทางการเรียนรู้ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาสื่อครองชีวิต เด็กไทยไม่ให้ขยายตัวสูงขึ้น ครอบครัวถือเป็นหัวใจสำ�คัญ ในการดูแลเด็กและเยาวชนในการใช้สอ่ื การกำ�หนดกฎกติกา ในการใช้สื่อ และส่งเสริมให้ครอบครัวได้ทำ�กิจกรรมอื่น ร่วมกันมากขึ้น จะช่วยลดการใช้เวลาไปกับสื่อ อีกทั้งยัง เสริมสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวด้วย มาช่วยกันร่วม ดูแลเด็กๆ ของเรา โดยเริ่มจากผู้ใหญ่ควรเป็นตัวอย่างที่ดี วันนี้คุณใช้เวลาไปกับสื่อกี่ชั่วโมง

ขอขอบคุ ณ ข้ อ มู ล จาก Child Watch สภาวการณ์ เ ด่ น ด้ า นเด็ ก และเยาวชนในรอบปี ๒๕๕๔-๒๕๕๕ โดยสถาบันรามจิตติ ภายใต้ โครงการพัฒนาเครือข่ายจัดการเชิงพื้นที่ ในการวิเคราะห์ สภาวการณ์และขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กและเยาวชน โดยการสนับสนุนของสำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริม สุขภาพ (สสส.) ค้นหาและศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.childwatchthai.org


รู้จักคุณครู สัมภาษณ์: แม่แจน – ปนิดา อติพญากุล และคุณเอส – จักรภัทร พรหมสิงห์ ภาพ: ครูเอ็ม – เทิดศักดิ์ มหาวงศนันท์

ครู... ผู้ ให้ความรัก ก่อนที่จะให้ความรู้

เมื่องานประจำ�ที่ทำ�มาเกือบ ๑๐ ปีไม่ได้เติมเต็มชีวิต พนักงานบริษัทเอกชนดีกรีนักเรียนทุนเล่าเรียน หลวงคนหนึ่งเลือกที่จะเลิกใส่สูทผูกไทด์ เก็บกระเป๋าออกเดินทางห่างกรุงมาใช้ชีวิตเป็น ‘ครู’ (บ้านนอก) เลือกที่จะตั้งคำ�ถามชวนคิดวิเคราะห์ ก่อนที่จะบอกเครื่องมือหาคำ�ตอบ เลือกที่จะเติมเต็มชีวิตด้วยคำ�ว่า ‘ให้’ ก่อนที่จะรับจากใคร เพาะครู ฉบับนี้ ชวนมาทำ�ความรู้จักกับ คุณครูเปา - วิเชษฐ์ โพธิวิสุทธิ์วาที ครูผู้ชัดเจนในคำ�ตอบของใจ ว่าเพราะอะไรถึงเลือกที่จะมาเป็นครูผู้เพาะเมล็ดพันธุ์แห่งปัญญาให้กับศิษย์ ได้เติบโตทางความคิดได้ด้วยตัวเอง ช่วยแนะนำ�ตัวหน่อยค่ะ ผมชื่อวิเชษฐ์ โพธิวิสุทธิ์วาที เด็กๆ ครูและ ผู้ปกครองที่โรงเรียนเรียกผมว่าครูเปาครับ ตอนนี้ ทำ�งานที่โรงเรียนปัญญาประทีปได้เป็นปีที่ ๕ แล้ว ทำ�มาตั้งแต่ที่โรงเรียนเริ่มเปิดเลยหลายปีที่ผ่านมา สอนวิชาคณิตศาสตร์เป็นหลัก ตอนนีม้ าช่วยทำ�งาน ฝ่ายบ่มเพาะชีวิตนักเรียน ก่อนที่จะมาเป็นคุณครู ทีโ่ รงเรียนปัญญาประทีปก็ท�ำ งานเป็นทีป่ รึกษาด้าน สิ่งแวดล้อมและพลังงานอยู่เกือบ ๑๐ ปี แล้วก็ เปลี่ยนอาชีพมาทำ�งานด้านการศึกษาครับ

คุณครูเปาเรียนจบด้านอะไรมาคะ ผมจบด้ า นเศรษฐศาสตร์ ที่ ม หาวิ ท ยาลั ย เคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ ได้รับทุนเล่าเรียนหลวง ไปเรียนต่อปริญญาตรี ตั้งแต่จบชั้น ม.๖ ครับ ทำ�งานด้านเศรษฐศาสตร์มาเกือบ ๑๐ ปี แล้ว เปลี่ยนสายมาทางด้านการศึกษา ทำ�ไมครูเปา จับพลัดจับผลูเปลี่ยนมาทำ�งานด้านนี้ได้ ก็ไม่เชิงจับพลัดจับผลูเท่าไรนะครับ (หัวเราะ) คือจริงๆ ก่อนหน้านีก้ ไ็ ม่ได้คดิ จะมาเป็นครู แต่วา่ พอ ทำ�งานด้านเอกชนมาระยะหนึ่ ง ซึ่ ง ก็ ห ลายปี อ ยู่

เหมือนกัน คิดว่ามันยังไม่ค่อยเติมเต็มเท่าไหร่ เลย อยากจะหาอาชีพที่เติมเต็มให้กับตัวเองมากขึน้ เรา ทำ�งานกับเอกชน ทีแรกเลือกทำ�ในด้านสิง่ แวดล้อม และด้านพลังงาน เพราะคิดว่าเป็นสิง่ ทีเ่ ป็นประโยชน์ กั บ สั ง คมด้ ว ย แต่ ว่ า สั ก พั ก ก็ รู้ สึ ก ว่ า มั น ยั ง ไม่ ใ ช่ พยายามหาอะไรที่ใช่อยู่ สุดท้ายคิดว่าน่าจะเป็น อาชีพครูนแี่ หละทีช่ ว่ ยเหลือสังคมได้ และทำ�ให้รสู้ กึ ว่าตัวเองเป็นส่วนหนึง่ ในการพัฒนาสังคมขึน้ มาด้วย แล้วทำ�ไมจึงเลือกมาเป็นคุณครูโรงเรียนปัญญา ประทีป ตอนนั้ น เนี่ ย เอ่ อ ...ค่ อ นข้ า งจะเบื่ อ ชี วิ ต กรุงเทพฯ พอคิดได้ว่าอยากจะเป็นครูก็เลยลองหา โรงเรียนทีอ่ ยูต่ า่ งจังหวัดดู จริงๆ ส่วนหนึง่ เพราะเป็น คนชอบเทีย่ วต่างจังหวัด แล้วก็คดิ ว่า เอ๊ะ ถ้าเกิดเรา ได้ ไ ปใช้ ชี วิ ต อยู่ ต่ า งจั ง หวั ด มี บ รรยากาศดี ๆ อากาศดีๆ แทนทีเ่ ราจะได้ไปเทีย่ วปีหนึง่ ไม่กคี่ รัง้ เรา ก็ไปใช้ชีวิตตรงนั้นน่าจะมีความสุขมากกว่าด้วย ก็เป็นส่วนหนึ่งที่เลือกมาสมัครที่โรงเรียนปัญญา ประที ป จริ ง ๆ คื อ ตามหาโรงเรี ย น คล้ า ยๆ เป็ น

โรงเรียนในฝันมาหลายปีอยูเ่ หมือนกัน จนกระทัง่ ได้ ไปเห็นข้อความเปิดรับสมัครครูที่ด้านหลังหนังสือ ธรรมะของโรงเรียนทอสี จริงๆ รูจ้ กั โรงเรียนทอสีและ สนใจอยูก่ อ่ นแล้ว แต่วา่ โรงเรียนอยูใ่ นกรุงเทพฯ เลย ยังไม่ได้ตดั สินใจเลือกว่าจะไปสมัครทีโ่ รงเรียนทอสี พอมาเจอว่ามีเปิดโรงเรียนมัธยมปัญญาประทีป ที่โคราช ก็เลยสนใจ อีกเหตุผลหนึ่งคือ คิดว่าตัวเอง สอนเด็กมัธยมน่าจะเหมาะสมกว่า คือเราเล่นกับเด็ก เล็กๆ ไม่ค่อยเก่ง ถ้าสอนเด็กที่โตขึ้นมาหน่อยน่าจะ ง่ายกว่า เหมาะกว่าด้วยครับ นอกจากความรู้ สึ ก ที่ อ ยากเปลี่ ย นอาชี พ แล้ ว อะไรเป็นแรงบันดาลใจให้ครูเปาอยากเป็นครูคะ เหตุผลหลักคือ อยากจะมีสว่ นในการช่วยเหลือ สังคม แล้วคิดว่าอาชีพครูเป็นการช่วยพัฒนาสังคม ทีย่ งั่ ยืนกว่าในระยะยาว อีกส่วนหนึง่ คือ ตอนนัน้ ดูๆ อยู่หลายอาชีพเหมือนกันที่คิดว่าพอจะทำ�ได้ แต่ หลายอาชีพเราน่าจะทำ�ไม่ได้แล้ว ณ ตอนนั้น เช่น ถ้าเลือกจะทำ� เราจะต้องไปเริ่มอะไรใหม่ อย่างถ้า จะไปเป็นหมอ เป็นนักกฎหมาย หรืออะไรที่พอจะ ๒๐ ๒๑


การเป็นครูพุทธปัญญาที่ดีด้วย ครูเองก็ต้องพัฒนาหลายๆ ด้านเหมือนกัน เพราะว่าการที่จะไปสอนนักเรียน ถ้าตัวครูเองยังทำ�ไม่ ได้ จะไปสอนศิษย์ก็จะยากเหมือนกัน

ช่วยเหลือคนอื่นเขาได้ ต้องไปเริ่มเรียนรู้เฉพาะทาง นับหนึง่ กันใหม่ เลยเหลือตัวเลือกอยูไ่ ม่มาก และคิด ว่าอาชีพครูนี่แหล่ะน่าจะตอบโจทย์ของตัวเองที่สุด ในเมื่อเราไม่ได้เป็นครูมาก่อน ครูเปามีวิธีการ อย่างไรในการปรับตัวให้เข้ากับรูปแบบชีวิต ที่เปลี่ยนไปคะ ไม่ได้รู้สึกว่าจะต้องปรับอะไรมาก เพียงแต่ว่า อาจมีปัญหากับที่บ้านบ้าง เพราะที่บ้านอาจจะไม่ ค่อยเห็นด้วยเท่าไหร่ เป็นห่วงเรือ่ งการทีเ่ ราต้องย้าย ไปอยูต่ า่ งจังหวัด หรือทีว่ า่ เป็นครูเงินเดือนก็นอ้ ย จะ อยู่ได้ไหม แต่โดยส่วนตัว ผมคิดว่าไม่ได้มีปัญหา อะไรเลย อาจจะรู้สึกสบายมากกว่าทำ�งานอยู่กับ บริ ษั ท เอกชนด้ ว ย เพราะตอนทำ � งานกั บ บริ ษั ท เอกชนมีแรงกดดันค่อนข้างสูง จากลูกค้าก็ดี จาก บริษัทเองก็ดี ที่จะต้องมุ่งทำ�กำ�ไร และมีเป้าหมาย ทางธุรกิจหลายอย่าง และโดยพื้นฐานผมเองเป็น คนง่ายๆ อยู่แล้ว ไม่ได้ติดกับวัตถุอะไรมากมาย ไม่ ได้คิดว่าจะต้องมีนู่นมีนี่ ไปอยู่ที่โรงเรียนปัญญา ประทีปก็เลยใช้ชีวิตเรียบง่ายสบายๆ

จากทีฟ ่ งั ดูเหมือนว่าครูเปาจะได้คน้ พบแนวทาง ในการใช้ชีวิตตัวเอง จากการเปลี่ยนอาชีพมา เป็นครู เหมือนกับคิดว่าอาชีพนีแ้ หละคืออาชีพ ในฝันที่หาเจอ เพราะเวลา ๕ ปีที่เป็นครูมาไม่ ใช่น้อยๆ เลย เทียบเป็นครึ่งหนึ่งของที่เคย ทำ�งานกับบริษัทเอกชน แสดงว่ามีความสุขกับ การเลือกใช้ชีวิตแบบนี้ ผมได้เรียนรูห้ ลายอย่าง คือ พอเราเป็นฝ่ายให้ เราได้เรียนรูค้ วามสุขจากการให้มากขึน้ แต่กอ่ นทำ� อยู่บริษัทเอกชนก็จะคิดถึงแต่สิ่งที่ตัวเองจะได้ ไม่ ค่อยคิดถึงการให้คนอืน่ เท่าไหร่ พอเราเปลีย่ นความ คิดดู ได้ลองมาให้ดู แล้วก็เห็นความสุขจากการให้ ว่ามันเป็นอะไรที่ยั่งยืนกว่า ทราบมาว่าตอนแรกทีค่ รูเปาเข้ามาสอนวิชาเลข ที่โรงเรียนปัญญาประทีป ครูเปามีวิธีการสอน ของตัวเองที่ทำ�ให้นักเรียนเข้าใจเรื่องยากๆ ได้ ง่ายขึ้น พอจะเล่าให้ฟังหน่อยได้ไหมคะ

อย่างทีท่ ราบกันว่าวิชาเลขเป็นปัญหาของเด็ก

ส่ ว นใหญ่ ตั ว ผมเองก็ ไ ม่ ไ ด้ จ บทางด้ า นครู ห รื อ ทางด้านการสอนมาก่อน ช่วงแรกที่ไปสอนก็ต้อง ปรั บ ตั ว อยู่ เ ยอะเหมื อ นกั น และเหตุ ผ ลที่ เ ลื อ ก โรงเรียนวิถีพุทธด้วยก็เพราะคิดว่าสอนแล้วจะเน้น ทำ�ให้เด็กมีความสุขเป็นหลัก แรกๆ ที่สอนอาจจะ ตามใจเด็กนิดนึง คิดว่าเด็กชอบอะไร มีเกมอะไรก็ พยายามหามาให้เล่น ให้เขามีความสุขกับการเรียน แต่พอถึงจุดจุดหนึ่ง เราก็สังเกตว่า เอ๊ะ นี่มันไม่ใช่ แล้ว เพราะทำ�ให้เด็กติดกับการเล่นตลอด แล้วพอ เข้าไปที่เนื้อหาวิชาการจริงๆ เขาก็ไม่เอา เพราะว่า ตอนเขาเล่นมันสนุกกว่า เพลินกับการเล่นมากกว่า และสุดท้ายถามว่าสิง่ ทีเ่ ขาเล่นทีม่ นั แฝงเนือ้ หาทีเ่ ขา ควรจะได้เรียนรู้ พอเราลองทดสอบดู เขาก็ไม่ได้ สิ่ง ที่เขาจำ�ได้คือ ความสนุกในการเล่น เลยคิดว่าไม่ใช่ แล้ว ไม่น่าจะถูกทางที่อยากจะให้นักเรียนได้รับ อย่างในส่วนของวิชาเลขคือ ทำ�อย่างไรที่เขาจะไม่ กลัวตัวเลข และเข้าใจมันจริงๆ เข้าใจว่าเลขไม่ได้ เป็นอะไรทีเ่ กิดขึน้ มาเอง มันผ่านกระบวนการคิดของ มนุษย์นี่แหละ มันไม่ได้ยากเกินไป เพราะฉะนั้น พวกเขา - ในฐานะมนุษย์คนหนึ่งก็สามารถที่จะคิด ให้ได้คำ�ตอบ ได้วิธีการ หรือสูตรพวกนี้ขึ้นมาเองได้ เหมือนกัน ซึ่งช่วงแรกที่สอน ก็ยังไปได้ไม่ถึงหรอก แต่ พอได้มาเรียนรู้วิธีการของญี่ปุ่น ที่เรียกว่า Open Approach ซึ่งเป็นกระบวนการเรียนรู้แบบหนึ่ง ถ้า เป็นภาษาทางการศึกษาเขาเรียกว่าเป็น Constructionism คือการทีใ่ ห้นกั เรียนหรือผูเ้ รียนเป็นคนสร้าง องค์ความรู้ด้วยตัวเอง โดยที่ครูเป็นคนช่วยคอยจัด กระบวนการเรียนรู้ตรงนี้ให้เกิดขึ้น มันจึงไม่ใช่ว่า ความรูเ้ ป็นสิง่ ทีม่ าจากครูเป็นคนบอก ซึง่ จะต่างจาก สิ่งที่เราเคยเรียนมาในสมัยก่อนว่า ครูจะเป็นผู้สอน วิธคี ดิ หรือกระบวนการ ว่าสมการต้องทำ�อย่างนี้ สูตร ต้องเป็นอย่างนัน้ นักเรียนก็เรียนวิธกี ารใช้เครื่องมือ แล้วฝึกทดลองใช้ ซึ่งก็จะได้เรียนรู้แค่นั้นว่า เครื่อง มือเป็นอย่างไร เอาไปทดลองทำ�ตามนั้น แล้วได้ผล เป็นอย่างไร ซึง่ วิธแี บบเดิมมันจะจบอยูแ่ ค่นนั้ แต่สงิ่

ทีอ่ ยากจะให้นกั เรียนได้รใู้ นแบบ Constructionism คือภายใต้สถานการณ์ปญ ั หาทีค่ รูก�ำ หนดขึน้ ครูตอ้ ง พยายามจัดหากระบวนการเรียนรู้ที่จะพานักเรียน สังเกต ตั้งคำ�ถาม และคิดหาคำ�ตอบ จนนักเรียน สามารถสรุปเป็นองค์ความรู้ขึ้นมา และสามารถ สร้างเครือ่ งมือได้เองในทีส่ ดุ เช่น สมมุตวิ า่ เราจะขุด ดิน ถ้าเราสอนแบบเดิม ครูให้จอบนักเรียน แล้วก็ บอกว่า นี่คือจอบนะ เอาไว้ใช้ขุดดิน จากนั้นก็สอน วิธขี ดุ ดิน แล้วให้เด็กไปขุด แต่แบบ Constructionism ครูจะยังไม่ให้จอบกับนักเรียน แต่ให้นกั เรียนลองแก้ ปัญหาดูกอ่ น ครูอาจช่วยคำ�ถามเพือ่ เป็นการกระตุน้ ความคิด เช่น ทำ�ไมเราต้องใช้จอบล่ะ ทำ�ไมอยู่ดีๆ ถึงมีจอบขึน้ มา ให้ยอ้ นกลับไปคิด ซึง่ อาจมีวธิ ใี นการ ขุ ด ดิ น วิ ธี ก ารอื่ น อี ก ตั้ ง มากมาย แล้ ว ให้ นั ก เรี ย น รวบรวมประสบการณ์ที่ได้แลกเปลี่ยนและสรุปเป็น องค์ความรู้ จนบางคนอาจสามารถคิดค้นเป็นเครือ่ งมือ ในการขุดดินขึ้นเองได้ แล้วจากการนำ�วิธกี ารนีม้ าใช้ ครูเปาคิดว่ามันดีขน้ึ กว่าการสอนแบบเดิมอย่างไรบ้าง พอจะเห็น ความเปลี่ยนแปลงของเด็กไหมคะ จริงๆ แล้วตอนนี้ยังไม่ได้ใช้วิธีนี้จนเต็มขั้น ก่อนหน้านี้กระบวนการที่เราใช้อยู่ก็เป็นแบบกึ่งๆ Open Approach อยู่แล้ว คือพยายามตั้งคำ�ถาม กระตุ้นให้นักเรียนคิดอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าเราเจอ ปัญหาหลายอย่างในการสอน เช่นว่าพอถามคำ�ถาม ไปในห้อง เด็กที่จะตอบได้ก็เป็นเด็กหน้าเดิมๆ คือ เด็กเก่ง และ เด็กกล้าตอบ มันเลยใช้ได้เฉพาะกับ เด็กกลุ่มหนึ่ง เด็กที่ไปได้จะเห็นพัฒนาการดีว่า เขา คิดเองได้ ตอบได้ แต่เด็กกลุ่มที่ช้ากว่าเขาก็ยังไม่ เข้าใจ ยังตามไม่ทันอยู่ดี แต่วิธี Open Approach แบบที่ประเทศญี่ปุ่นค้นคว้ามามันจะสามารถช่วย เด็กอ่อนให้สามารถไปด้วยกันได้ด้วย ด้วยการจัด กระบวนการการเรียนรู้ แต่เดิมที่ครูตั้งคำ�ถามไปในห้อง จะมีนักเรียน แค่ส่วนหนึ่งที่ยกมือตอบ อีกส่วนหนึ่งก็จะเงียบ ซึ่ง ๒๒ ๒๓


ในส่วนของวิชาเลข คือทำ�อย่างไรที่เขาจะไม่กลัวตัวเลข และเข้าใจมันจริงๆ เข้าใจว่าเลขไม่ได้เป็นอะไรที่เกิดขึ้นมาเอง มันผ่านกระบวนการคิดของมนุษย์นี่แหละ มันไม่ได้ยากเกินไป เพราะฉะนั้น พวกเขา - ในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง ก็สามารถที่จะคิดให้ ได้คำ�ตอบ ได้วิธีการ หรือสูตรพวกนี้ขึ้นมาเองได้เหมือนกัน

จะเป็นกลุม่ เดิมๆ ครูอาจจะต้องเปลีย่ นวิธี เช่นว่าให้ ทุกคนเขียนก่อน ให้เขาลองทำ�แบบฝึกหัดเองก่อน กระบวนการของ Open Approach คือการโยนโจทย์ เข้าไป แต่เป็นโจทย์ทไี่ ม่ยากเกินไป แล้วก็ไม่งา่ ยเกิน ไป เพราะถ้ายากเกินเด็กก็ไม่สามารถแก้ได้ ในขณะ ทีถ่ า้ มันง่ายเกินไป ก็จะไม่กระตุน้ การเรียนรูข้ องเด็ก ซึง่ ตรงนีเ้ ป็นสิง่ ทีย่ ากมากๆ สำ�หรับครู เพราะครูตอ้ ง รู้ จั ก เด็ ก ว่ า เด็ ก แต่ ล ะคนมี ทั ก ษะ ความสามารถ ประมาณไหน พอเด็กได้ทดลองแก้ปญ ั หาด้วยตัวเอง โดยที่เราไม่ได้สอนวิธีการเขาก่อน แต่ละคนต่างคน ต่างทำ� แล้วก็มาแลกเปลีย่ นวิธกี ารกัน ซึง่ ท้ายสุดมัน จะมีวิธีการเกิดขึ้นมาหลายๆ แบบ รวมถึงในบาง โจทย์อาจจะมีค�ำ ตอบทีห่ ลากหลาย ไม่ได้เป็นคำ�ตอบ เดียว ซึง่ ตรงนีเ้ ป็นส่วนทีน่ กั เรียนจะได้เรียนรูด้ ว้ ยตัว เอง และได้เรียนรู้ซึ่งกันและกันด้วย นอกจากครูกับนักเรียนแล้ว อยากให้ครูเปาเล่า ถึงการแบ่งปันประสบการณ์หรือกลวิธีในการ สอนระหว่างครูกบั ครูดว้ ยกัน ว่าเป็นอย่างไรบ้าง

ตอนนีท้ โี่ รงเรียนปัญญาประทีปมีกระบวนการ หนึ่ ง ที่ ค วบคู่ กั น ไปกั บ Open Approach ก็ คื อ Lesson Study ที่เรียกว่าเป็นการพัฒนาครู พัฒนา บทเรียน พัฒนาชั้นเรียน ไปพร้อมๆ กัน แทนที่แต่ เดิมครูจะมาสอนแค่คนเดียว เราก็เริม่ ทีจ่ ะให้คณ ุ ครู ทำ�งานเป็นทีมมากขึน้ และได้รว่ มวางแผนการสอน ด้วยกัน เวลาสอนจึงจะมีครูคนหนึ่งสอน แล้วครู อีกคนหนึง่ คอยสังเกตการสอนอยูด่ ว้ ย หลังจากสอน เสร็จเราก็มาแลกเปลีย่ นความคิดสะท้อนกันว่าเป็น อย่างไรบ้าง เกิดการเรียนรูไ้ ปด้วยกัน อย่างเช่น จาก ทีเ่ ราคิดว่าถามคำ�ถามแบบนีไ้ ปแล้วนักเรียนจะตอบ กลับมาแบบนี้ เหตุการณ์จริงกลับไม่ใช่ เพราะว่า คำ � ถามนั้ น อาจจะกว้ า งเกิ น ไป หรื อ ว่ า เราอาจ ประเมินสิ่งที่นักเรียนได้เรียนรู้มาพลาดไป วิธีนี้จึง เป็นกระบวนการที่ครูจะได้ร่วมพูดคุยคิด วิเคราะห์ ถึงสิ่งที่เกิดขึ้นด้วยกัน แล้วช่วยกันคิดปรับแผนการ สอนในคาบต่อๆ ไป ซึ่งเริ่มทำ�ในปีที่ผ่านมา และใน อนาคตจะพยายามทำ�ให้มากขึ้น นอกจาก Lesson Study และการพูดคุยปรึกษากันเองในแต่ละวัน

อย่ า งไม่ เ ป็ น ทางการแล้ ว ในการประชุ ม ประจำ � สัปดาห์จะมีการผลัดเวียนให้ครูแต่ละคนมาแลก เปลีย่ นในเรือ่ งของปัญหาทีเ่ กิดขึน้ วิธกี ารจัดการกับ ปัญหาในการดูแลเด็กนักเรียนในสถานการณ์เหล่า นัน้ รวมถึงการแลกเปลีย่ นความเห็นจากครูทา่ นอืน่ ว่ามีใครเคยเจอสถานการณ์เหมือนหรือคล้ายกัน บ้าง เหตุการณ์เป็นอย่างไร แล้วทำ�อย่างไรผลทีเ่ กิด ขึ้ น เป็ น อย่ า งไร จึ ง เกิ ด กระบวนการแลกเปลี่ ย น การเรียนรู้ระหว่างครูด้วยกันเองที่เป็นประโยชน์ต่อ นักเรียนและการเรียนการสอนขึ้นมาด้วยเช่นกัน รวมไปถึงตอนนี้ที่โรงเรียนปัญญาประทีปเอง ก็มีการร่วมมือกับโรงเรียนรุ่งอรุณ โรงเรียนเพลิน พัฒนา โรงเรียนทอสี ตอนนี้เริ่ม ๔ โรงเรียนด้วยกัน คือ ทุก ๓ เดือนเราจะมาเจอเพือ่ แลกเปลีย่ นเรียนรู้ ซึ่งกันและกัน เช่น แต่ละโรงเรียนกำ�ลังทำ�โครงการ อะไรกันอยู่ ทำ�แล้วเป็นอย่างไร เห็นผลอย่างไร แล้ว โรงเรียนอื่นเคยทำ�ไหม มีปัญหาหรือข้อเสนอแนะ อะไรไหม เป็นลักษณะการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และ ร่วมมือกันในวงที่กว้างขึ้นระหว่างโรงเรียนที่มีเป้า

หมายประมาณเดียวกัน ซึ่งเริ่มมาได้ ๓ ครั้ง ในเวลา เกือบปีหนึ่งแล้วครับ บางโรงเรียนเวลามีนวัตกรรม ทีป่ ระสบความสำ�เร็จขึน้ มาไม่คอ่ ยอยากจะบอกคน อืน่ เพราะกลัวว่าจะเป็นคูแ่ ข่งกันอะไรอย่างนี้ แต่วา่ เราไม่ได้คดิ อย่างนัน้ อย่างโรงเรียนปัญญาประทีปที่ ก่อตั้งมา ก็อยากจะให้เป็นโรงเรียนต้นแบบอยู่แล้ว มีอะไรทีด่ เี ราก็อยากแบ่งปันให้คนอืน่ รู้ เพราะมันน่า จะมีประโยชน์กบั การศึกษาในภาพรวมมากกว่าครับ (ยิ้ม) และผมคิดว่าเราโชคดีมากที่ โรงเรียนรุ​ุ่นพี่ อย่ า งรุ่ ง อรุ ณ เพลิ น พั ฒ นา และทอสี ม าแบ่ ง ปั น ประสบการณ์ให้ ทำ�ให้เราได้เรียนรู้มากเลย การเป็ น ครู ที่ ดี ใ นความเห็ น ของครู เ ปาเป็ น อย่างไรคะ ครูท่ีดีอันดับแรกผมคิดว่าจะต้องมีความรัก ความเมตตากับเด็กก่อน ก็คือให้ความรักก่อนที่จะ ให้ความรู้ โดยพื้นฐานคือ พรหมวิหาร ๔ ซึ่งเป็นจุด เริม่ ต้นของการเป็นครู หรือการเป็นพ่อแม่อยูแ่ ล้ว เรา ต้องมีความรัก ความเมตตาอยากที่จะช่วยเหลือ ๒๔ ๒๕


พื้นฐาน คือ พรหมวิหาร ๔ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการเป็นครู หรือการเป็นพ่อแม่อยู่แล้ว เราต้องมีความรัก ความเมตตา อยากที่จะช่วยเหลือ อยากที่จะพัฒนาเด็ก เป็นตัวตั้งก่อน เพราะถ้าไม่มีตรงนี้ ลำ�พังมีความรู้อย่างเดียว แล้วไปถ่ายทอดก็อาจเจอปัญหาหลายอย่าง

อยากที่จะพัฒนาเด็ก เป็นตัวตั้งก่อน เพราะถ้าไม่มี ตรงนี้ ลำ�พังมีความรู้อย่างเดียวแล้วไปถ่ายทอดก็ อาจเจอปัญหาหลายอย่าง บางครั้งเด็กอาจจะต่อ ต้านหรือแสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสม และหาก ความสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับครูไม่ดี โอกาสทีเ่ ขาจะ ได้ความรู้จากครูก็อาจถูกปิดแคบลง เพราะถ้าเด็ก ไม่ได้ศรัทธาในตัวครูแล้ว ไม่ได้เชื่อฟังหรืออยากจะ เรียนรู้จากครู เขาก็จะไม่เปิดรับ ไม่ว่าเราจะสอน อะไรก็คงจะยาก ควรต้องเริม่ จากพรหมวิหารเป็นตัว ตั้งก่อน แต่ถ้าจะให้เริ่มถึงการเป็นครูพุทธปัญญาที่ ดีด้วย ครูเองก็ต้องพัฒนาหลายๆ ด้านเหมือนกัน เพราะว่าการทีจ่ ะไปสอนนักเรียน ถ้าตัวครูเองยังทำ� ไม่ได้ จะไปสอนศิษย์ก็จะยากเหมือนกัน ในขั้นนี้ก็ คือครูต้องทำ�ตัวให้น่านับถือ ถ้าครูไม่ทำ�ตัวให้น่า นับถือ นักเรียนก็จะไม่นบั ถือ แล้วเรือ่ งการสอนก็จะ เป็นไปได้ยาก สุดท้ายถ้าจะให้ได้ถงึ เป้าในความคิด ส่วนตัวของผมก็คือ ทำ�ให้นักเรียนเกิดสัมมาทิฏฐิ เกิดความคิดเห็นทีถ่ กู ต้อง ถ้าเราสามารถดึงนักเรียน

ไปถึงจุดนี้ ก็จะเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาศีล สมาธิ ปัญญาต่อไป ครูเปามีหลักธรรมประจำ�ใจอะไรที่ใช้ในชีวิต ประจำ�วันคะ ส่วนใหญ่ถ้าในการดำ �เนินชีวิตเวลาเราเจอ ปัญหา หรืออุปสรรคที่ต้องคิดแก้ไขในการทำ�งาน ต่างๆ มักจะใช้หลักอริยสัจ จริงๆ แล้วไม่ได้ถอื ว่าจะ ต้องเป็นหลักอริยสัจหรอก แต่มกั จะกลับเข้ามาถาม ตัวเองว่า เอ๊ะ ปัญหาคืออะไร สาเหตุคืออะไร แล้ว เราจะแก้มันอย่างไร อย่างนี้มากกว่า คือต้องตั้งสติ นิ ด หนึ่ ง การที่ เ ราจะต้ อ งพิ จ ารณาตรงนั้ น ให้ ดี ต้องมีสติและอยู่นิ่งๆ สักหน่อย บางทีถ้าเราวุ่นอยู่ กับอะไรหลายๆ อย่าง เราก็คิดไม่ออกเหมือนกันว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นเราจะจัดการกับมันอย่างไรดี เคยมีคนกล่าวว่าการเปลีย่ นแปลงการศึกษาไทย ต้องเริ่มต้นที่ครู ครูเปามีความเห็นในเรื่องนี้ อย่างไรบ้างคะ

ก็เห็นด้วยนะครับ แต่คดิ ว่าคนทีค่ วรจะเป็นครูคนแรก คือพ่อแม่ ควรเริม่ ต้นจากพ่อแม่กอ่ น ก่อนทีจ่ ะมาถึง โรงเรียน ถ้าเด็กที่ได้รับการบ่มเพาะจากที่บ้านมาดี ครูก็จะช่วยต่อยอดได้ไม่ยากเท่าไร คือ ทั้งบ้าน ทั้ง โรงเรียน ช่วยกัน แต่ถ้าทางบ้านขาดความเข้าใจใน เรื่องการบ่มเพาะลูก พ่อแม่บางคนให้ความรักมาก จนกลายเป็นตามใจ หรือว่าบางบ้านละเลยไม่ได้มี การกำ�หนดกฎ หรือมีกติกาที่ชัดเจนที่บ้าน เด็กจะ ค่อนข้างทำ�ตามใจตัวเอง ครูก็จะเหนื่อยหน่อย แต่ ว่าถ้าพ่อแม่และครูมาร่วมมือกันค่อนข้างจะเห็นผล ที่ตัวเด็กชัดเจนเลย ว่าเด็กจะพัฒนาไปได้เร็ว ทั้งครู ที่โรงเรียนและครูที่บ้านจึงต้องไปด้วยกัน สองจุดนี้ เป็นหลัก และต้องรวมถึงสิ่งต่างๆ ที่แวดล้อมอยู่ใน

สังคมไม่ว่าจะเป็นสื่อ หรือทุกคนในสังคมก็ดีเพราะ สิ่งเหล่านี้เป็นสื่อให้กับนักเรียนได้หมด นักเรียนดู คลิ ป วิ ดี โ อ ดู โ ทรทั ศ น์ แ ล้ ว เห็ น สภาพสั ง คมเป็ น อย่ า งไร เขาก็ เ รี ย นรู้ ว่ า สภาพสั ง คมเป็ น อย่ า งนี้ คนเห็ น แก่ ตั ว หรื อ ว่ า คนที่ เ สี ย สละเป็ น อย่ า งไร เห็นว่าสังคมปัจจุบันเป็นอย่างไร แล้วโตขึ้นเขาจะ เป็นอย่างไร หรือเขาเลือกที่จะเป็นอย่างไร

๒๖ ๒๗


คือความงอกงาม เรื่องและภาพ: ครูหยก – วรรณวนัช บูรพาเดชะ,

ครูโน้ต – บรรพต วรธรรมบัณฑิต, ครูปู – ณัฐนันท์ เทียนทอง

กิจกรรมที่ผ่านมาของกองทุนพัฒนาครูวิถีพุทธ โรงเรียนทอสี ม่วนชื่นน้องพี่ ทอสีสู่เหย้า ครั้งที่ ๒ : ปลูกดอกไม้ชื่นใจถึงดวงดาว ๒๖ มกราคม ๒๕๕๖ งาน ‘ม่วนชื่นน้องพี่ ทอสีสู่เหย้า’ จัดมาแล้ว สองครั้ ง วั ต ถุ ป ระสงค์ ข องการจั ด งานม่ ว นชื่ น ฯ ทัง้ สองครัง้ นอกจากจะเพือ่ ให้ผปู้ กครองและศิษย์เก่า มารวมตัวกัน เหมือนเป็นการกลับมาเยีย่ มเยียนบ้าน แล้ว ยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผูป้ กครอง และศิ ษ ย์ ปั จ จุ บั น จากการทำ � งานร่ ว มกั น อี ก ด้ ว ย ความศรัทธาของผูป้ กครองทีม่ ตี อ่ คุณครูท�ำ ให้ทกุ ท่าน เสียสละและทุ่มเทกำ�ลังกายและใจในการจัดงานนี้ เพื่อนำ�รายได้หลังหักค่าใช้จ่ายมอบให้กับกองทุน พัฒนาครูวิถีพุทธโรงเรียนทอสี ซึ่งถือเป็นการช่วย ส่งเสริมทักษะในวิชาชีพครู และเอื้อให้คุณครูของ ลูกๆ มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีและมั่นคงยิ่งขึ้น

การเตรียมงานในครัง้ นีเ้ ริม่ ตัง้ แต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๕๕ ใช้เวลาเตรียมงานทัง้ สิน้ ๘ เดือน คณะผูจ้ ดั งาน อันประกอบด้วยผู้ปกครองและครู เลือกหยิบยกเอา กิจกรรมการเรียนรู้ และสิ่งดีๆ ที่เกิดขึ้นภายในรั้วทอสี ไม่วา่ จะเป็นการประดิษฐ์ การเย็บปักถักร้อย การปลูกผัก การเรียนรู้ธรรมชาติ ศิลปะ ฯลฯ ขึ้นมาเป็นส่วนผสม ของกิจกรรมต่างๆ ในงาน โดยไม่ลืมที่จะเปิดพื้นที่ให้ ศิษย์เก่าได้เข้ามามีส่วนร่วมและเป็นส่วนหนึ่งของงาน มีพธิ บี ายศรีรบั ขวัญ น้องๆ ทอสีได้มโี อกาสมาต้อนรับพีๆ่ และศิ ษ ย์ เ ก่ า เองก็ ไ ด้ ก ราบระลึ ก คุ ณ คณะครู เป็ น บรรยากาศที่อบอุ่นและน่าประทับใจมาก

กอล์ฟการกุศล ‘ทอสีทีของพ่อ’ ครั้งที่ ๒ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ อีกหนึ่งกิจกรรมที่ได้รับความสนับสนุน จากคณะผู้ปกครองโรงเรียนทอสี เพื่อระดมทุน เข้ า สู่ ก องทุ น พั ฒ นาครู วิ ถี พุ ท ธโรงเรี ย นทอสี โดยในครั้ ง นี้ จั ด ขึ้ น ณ สนามกอล์ ฟ เลควู ด คั น ทรี่ ค ลั บ นอกจากผู้ เ ข้ า ร่ ว มการแข่ ง ขั น จะได้รับความสุขสนุกจากการออกกำ�ลังกาย และได้เชื่อมสัมพันธภาพอันดีระหว่างกันแล้ว ทุ ก ท่ า นยั ง ได้ อิ่ ม บุ ญ อิ่ ม กุ ศ ลจากการร่ ว ม สนับสนุนการพัฒนาบุคลากรครู และการศึกษา วิถีพุทธให้มีความยั่งยืนสืบไปอีกด้วย

๒๘ ๒๙


คือความงอกงาม เรื่อง: ครูจอย – จิรภัทร์ พูนกวิน

บันทึกจากป่าสวย เกิด ‘สานศิลป์’ ส่วนตัวแล้ว ครูจอยรูส้ กึ ดีใจมากกับการได้รบั เลือกให้เป็นหนึง่ ในผูเ้ ข้าร่วมกิจกรรม สานศิลป์ในป่าสวย ของโรงเรียนทอสีในครั้งแรกนี้ เพราะเคยได้ยินแต่ชื่อเสียงของ อาจารย์ปันยา ที่ครูพี่ๆ ได้กล่าวขานกันมา โดยตลอดว่า “อาจารย์สามารถสอนให้คนที่วาดรูปไม่เป็น วาดจนเป็นได้ และอาจารย์สามารถอ่านเรา และบอกความเป็นตัวเรา จากการดูผลงานศิลปะที่เราได้ทำ�” แค่ฟงั ชือ่ เสียงทีไ่ ด้รบั การยอมรับและกล่าวขาน กันมานาน ก็ทำ�ให้ครูจอยรู้สึกโชคดีมากๆ ที่จะได้ไปผจญภัยในครั้งนี้ ก่อนไปอดไม่ได้ทจี่ ะรูส้ กึ ประหม่า กังวล และกลัวกับการทีจ่ ะต้องวาดอะไรสักอย่างหนึง่ เพราะครัง้ สุดท้าย ที่ต้องวาดรูป ผสมสี และใช้พู่กัน คือ ตอนที่ครูจอยอยู่ประถม ๖ จำ�ได้ว่าคุณครูให้วาดรูปต้นไม้ แต่เราวาด ออกมาเหมือนกับเด็กอนุบาลที่พยายามจะหัดวาดรูปต้นไม้หยักๆ มีภูเขาด้านหลัง มีพระอาทิตย์ และนก รูปตัวเอ็ม ๒-๓ ตัวเป็นฉากหลัง หลังจากที่จบประถม ๖ แล้ว ครูจอยก็ไม่จับพู่กัน หรือพยายามจะวาดรูป อะไรอีกเลย บอกตัวเองว่า มันคงไม่ใช่แนวเราจริงๆ ล่ะ ได้แต่คิดในใจว่า “ศิลปะเอ๋ย ฉันคงจะได้แต่ชื่นชม เธอผ่านฝีมือคนอื่นเท่านั้น ฉันคงไม่สามารถเป็นผู้สร้างเธอขึ้นมาได้ด้วยตัวของฉันเอง”

ภารกิจที่ ๑ : การวาดภาพด้วยปากกา ในตอนแรกที่จะต้องเริ่มวาดภาพใบไม้ โดยดู จากใบที่อยู่บนพื้นข้างหน้า ก็รู้สึกกลัว เพราะตัวเรา เป็นคนไม่ชอบวาดใบไม้ มันดูมีรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ เต็มไปเสียหมด ก่อนจะลงมือวาด ก็พลอยคิด ไปว่า “แล้วฉันจะเก็บรายละเอียดของเส้นต่างๆ บนใบไม้ มาไว้ในใบที่ฉันจะวาดทั้งหมดได้อย่างไร เล่า...เฮ้อ” แต่เมือ่ ได้ลงมือทำ� โดยนำ�เอาวิธกี ารทีอ่ าจารย์ ปันยาสอนมาใช้ คือ ‘ไม่มองว่ามันคือใบไม้ แต่ให้ มองว่ า มั น คื อ เส้ น ลั ก ษณะต่ า งๆ เช่ น เส้ น ตรง เส้นโค้ง เส้นหยัก เป็นต้น’ เพียงเท่านัน้ เราก็สามารถ เริ่ ม วาดใบไม้ ได้ อ ย่ า งสนุ ก สนานเพลิ ด เพลิ น มีการวาดโดยใช้เส้นที่ลงน้ำ�หนักเบาๆ ออกมาเป็น เส้ น บางๆ และมี ก ารวาดลงน้ำ � หนั ก ที่ แ รงขึ้ น จนกลายเป็ น เส้ น ทึ บ ที่ ว าดซ้ำ � ๆ กั น เกิ ด เป็ น เงา

ของใบไม้ที่ตกกระทบลงพื้น เมือ่ วาดใบไม้จนเสร็จ ตรวจเช็กรายละเอียดต่างๆ จนเรารู้สึกว่า มันโอเคแล้ว ใจเรา ณ เวลานั้น รู้สึก ผ่อนคลาย โล่ง โปร่ง สบาย และมีความสุข เมื่อได้ เห็นผลงานตัวเองเป็นครั้งแรก คำ�สอนของอาจารย์ปันยา ทำ�ให้เราฉุกคิดถึง คำ�สอนของครูบาอาจารย์ตา่ งๆ ทีท่ า่ นได้กล่าวกันไว้ ว่า ‘มอง...ตามความเป็นจริง’ เมื่อนึกได้ ระลึกได้ ก็บอกกับตัวเองว่า “เอ้อ...มันก็แค่นั้นเองนี่หน่า แค่ มองมันเป็นเส้น แค่นั้นใจเราก็รู้สึกผ่อนคลายขึ้นมา ทันที ไม่เหมือนกับตอนทีเ่ รามองว่าเป็นใบไม้ ใจนีส้ นั่ กลั ว เหมื อ นจะโดนครู ดุ หากรู ป ที่ ว าดออกมา บิดเบี้ยวสักกระเบียดนิ้ว” เมื่อลองเชื่อมโยงการ วาดภาพเข้ากับหลักธรรม ก็ทำ�ให้รู้สึกว่า “จริงๆ แล้ว ธรรมะ (ธรรมชาติ) มีอยู่ในทุกๆ ที่ แม้แต่ บน ภาพวาดนี้ที่เราวาดก็ตาม” เมื่อจบภารกิจ การวาดรูปด้วยปากกา ใจก็ รู้สึกเบิกบาน เบิกบานเพราะเราได้เข้าใจเทคนิค การวาดภาพแบบง่ายๆ ที่ใครๆ ก็ทำ�ได้ และรู้สึก มั่นใจในตัวเองมากขึ้นว่า จริงๆ แล้วเราก็มีฝีมือ เหมือนกันนะเนี่ย ทำ�ให้มีกำ�ลังใจที่จะวาดภาพ ต่อไป ใจพร้อมที่จะฝึกเทคนิคต่างๆ ที่อาจารย์ จะสอนแล้ว

จริงๆ แล้ว ธรรมะ (ธรรมชาติ) มีอยู่ในทุกๆ ที่ แม้แต่บนภาพวาดนี้ ที่เราวาดก็ตาม

๓๐ ๓๑


ภารกิจที่ ๓ : วาดรูปด้วยสีน้ำ�

ภารกิจที่ ๒ : เดินไป วาดไป

ภารกิจนีอ้ าจารย์ให้ลกู ศิษย์เดินขึน้ น�้ำ ตก และ วาดรูปต้นไม้ ๔ ประเภทที่อยู่ระหว่างทางขึ้นที่เรา เห็ น แล้ ว เรารู้ สึ ก ชอบ อยากวาดเก็ บ ไว้ ใ นสมุ ด เป็นจำ�นวนทั้งสิ้น ๖๐ รูป แค่บวก ลบ คูณ หาร กัน ออกมาก็ เ ริ่ ม เหนื่ อ ยใจ “๖๐ รู ป ในเวลาเพี ย ง ๓ ชั่วโมง…แล้วฉันจะทำ�ทันได้อย่างไร” ครูจอยก็ไม่รอช้า เดินดุม่ ๆ ขึน้ ไปเรือ่ ยๆ สายตา ก็พลางมองหาสิง่ ทีเ่ ราเห็นแล้วประทับใจไปตามทาง แต่กว่าจะเจอภาพสักภาพที่เราอยากจะวาดเก็บ เอาไว้ ก็ยากเสียเหลือเกิน เพราะใบไม้ ใบหญ้า หรือ ลำ�ต้น ก็ดูจะคล้ายกันเสียหมด ครูจอยวาดได้เพียง ๕ รูปเท่านั้น แม้เวลาจะผ่านไปร่วมหนึ่งชั่วโมงแล้ว ก็ตาม เพราะครูจอยมัวแต่เพลิดเพลินกับบรรยากาศ ของน้ำ�ตกกระทิง ชั้นที่ ๔ ภาพเบื้องหน้าที่ปรากฏ แก่สายตา และได้รบั การประทับไว้ในใจหลังจากนัน้ เสมอมา คือภาพน้ำ�ตกที่ไหลมาจากน้ำ�ตกชั้นที่ ๕ ตกกระทบลงบนโขดหิน และไหลรวมกันไปเรื่อยๆ

ยังน�้ำ ตกชัน้ ต่อไป เมือ่ ได้เห็น ได้สมั ผัสภาพธรรมชาติ รอบด้ า น ไม่ ว่ า จะเป็ น ปลาที่ ว่ า ยอยู่ ใ นน้ำ� ผี เ สื้ อ ที่ โ บยบิ น ไปรอบๆ เสี ย งน้ำ � ตกที่ ไ หลกระทบกั น ตลอดเวลา เสียงต้นไผ่ที่พลิ้วไหวไปตามลม หรือ แม้แต่สายลมอ่อนๆ ที่พัดผ่านผิวของเราไป การได้อยู่ท่ามกลางบรรยากาศของธรรมชาติ แบบนี้ ส่งผลทำ�ให้จติ ใจของเราเบิกบาน เพลิดเพลิน สนุ ก สนาน หมดความกั ง วล เรี ย กได้ ว่ า รู้ สึ ก มี ความสุขมาก เสียจนปล่อยตัวปล่อยใจของตัวเอง ดื่มด่ำ�ไปกับธรรมชาตินอนกลิ้งเกลือกวาดรูปอยู่บน ก้อนหินก้อนใหญ่บนน้ำ�ตกชั้นที่ ๔ กันเลยทีเดียว ยิ่งได้สัมผัสกับธรรมชาติของต้นไม้ ใบหญ้า และลำ � ธาร ก็ ยิ่ ง ทำ � ให้ รู้ สึ ก เห็ น คุ ณ ค่ า และเห็ น ความงามของโลกที่ ไ ม่ ต้ อ งปรุ ง แต่ ง มากยิ่ ง ขึ้ น ความสวยงามทีธ่ รรมชาติแสดงให้เราเห็น ช่างแตกต่าง จากความงามที่เราเสพในตัวเมืองเสียเหลือเกิน

เป็นวิชาที่อยากเรียนมากที่สุด เพราะรู้สึกว่า การวาดรูปด้วยสีน้ำ�เป็นสิ่งที่ยากมากๆ ใจหนึ่งก็ ตืน่ เต้นทีจ่ ะได้เรียน อีกใจก็คดิ ไม่ออกว่าจะวาดอะไร และวาดแล้วจะออกมาเป็นอย่างไร อาจารย์ปันยาสอนเราตั้งแต่พื้นฐานเบื้องต้น ตั้งแต่สอนให้รู้จักแม่สีทั้ง ๓ สีแดง สีเหลือง และ สีน้ำ�เงิน สอนการผสมสีจากแม่สี การไล่เฉดสีต่างๆ อาจารย์ ส อนไป ลู ก ศิ ษ ย์ ก็ นั่ ง ทำ � ไปพร้ อ มๆ กั น ช่วงเวลาทีส่ นุกและเพลิดเพลินมากทีส่ ดุ คือ ช่วงการ ไล่เฉดสี เพราะเราไม่เคยรูม้ าก่อนเลยว่า เฉดสีตา่ งๆ มันเกิดมาจากแม่สีทั้ง ๓ นี้นี่เอง เมือ่ มองดูเฉดสีทถี่ กู วาดลงบนกระดาษ ก็ท�ำ ให้ รู้ สึ ก ถึ ง อารมณ์ ที่ ส ะท้ อ นออกมาจากสี นั้ น ๆ เช่ น สีเหลือง-รู้สึกเบิกบาน สีเขียว-รู้สึกสดชื่น สีฟ้า-รู้สึก เย็นสบาย สีแดง-รู้สึกถึงพลัง ความเข้มแข็ง สีม่วงรู้สึกถึงความลึกลับ น่าค้นหา เป็นต้น หลังจากได้ เทคนิคการผสมสีแล้ว ก็ถึงเวลาที่ทุกคนจะได้ลงมือ วาดภาพจากสีน้ำ� โดยไม่ใช้การร่างภาพด้วยดินสอ แต่ อ ย่ า งใด สิ่ ง นี้ เ ป็ น สิ่ ง ที่ ท้ า ทายศั ก ยภาพของ ตัวเองเป็นอย่างมากที่จะต้องดูวิว ผสมสี และวาด ภาพวิวนั้นๆ ออกมา แต่ด้วยเทคนิค ความมั่นใจ และกำ�ลังใจทีแ่ ต่ละคนได้สะสมกันมาตัง้ แต่วนั แรก พวกเราก็สามารถถ่ายทอดภาพเบือ้ งหน้าของตัวเอง ลงบนกระดาษได้อย่างสวยงาม ตามแบบตามสไตล์ ของแต่ละคน กิจกรรมสานศิลป์ในป่าสวยครั้งนี้ ทำ�ให้เรา ได้ ค้ น พบว่ า แต่ ล ะคนมี ศั ก ยภาพในตั ว เองมาก แค่ไหน ภาพของเพื่อนครูหลายๆ ท่าน ถูกถ่ายทอด ออกมา ราวกับว่าเป็นภาพของศิลปินผู้มีชื่อเสียง จนพวกเราอดที่ จ ะชื่ น ชมผลงานของกั น และกั น จนถึงทุกวันนี้เสียไม่ได้ ^_^

ครูจอยขอขอบพระคุณอาจารย์ปันยา ที่สอน ให้เราเห็นคุณค่าและรู้จักตนเอง รู้จักธรรมชาติ อันสวยงาม นอกจากนัน้ ยังช่วยดึงเอาศักยภาพและ ความมั่นใจออกมาจากแต่ละคนอีกด้วย และต้องขอขอบพระคุณทางโรงเรียนที่ได้จัด กิจกรรมดีๆ มีประโยชน์ให้แก่คณ ุ ครู ให้คณ ุ ครูได้ไป พักผ่อนจิตใจ ขัดเกลาพัฒนาตนเองในด้านต่างๆ และสามารถนำ � ประโยชน์ ที่ ไ ด้ จ ากกิ จ กรรมนี้ มาพัฒนาจิตวิญญาณของการเป็นครูต่อไป

ค่าย ‘สานศิลป์ในป่าสวย ครัง้ ที่ ๑’ จัดขึน้ เมือ่ วันที่ ๒๓ – ๒๕ ตุลาคม ๒๕๕๖ ณ อุทยานแห่งชาติเขาคิชกูฏ จังหวัดจันทบุรี ได้รับการสนับสนุนงบประมาณส่วนหนึ่งจากกองทุนพัฒนาครูวิถีพุทธโรงเรียนทอสี ซึ่งเป็นการขยายผลการดำ�เนินการ ตามพันธกิจระยะกลาง เพื่อฝึกอบรมและพัฒนาศักยภาพของคณะครู เพื่อที่จะดึงศักยภาพของนักเรียนได้ดียิ่งขึ้นต่อไป

๓๒ ๓๓


คือความงอกงาม เรื่อง: ครูใหม่ – นัยฤดี สุวรรณาภินันท์ หัวหน้าฝ่ายวิชาชีวิตครู โรงเรียนทอสี

เลขมงคล

๑ สิงหาคม ๒๕๕๖ ที่ผ่านมา กองทุนพัฒนา ครูวิถีพุทธโรงเรียนทอสีของพวกเราก็มีอายุครบ ๓ ปีแล้ว โครงการอาหารเช้า คือ โครงการแรกเริ่มของ เราที่ยังคงดำ�เนินการอย่างต่อเนื่อง ตอบโจทย์วิถี ชีวิตครูทอสีเกือบ ๘๐ คน ที่เน้นการให้เวลาใส่ใจ ดูแลเด็กๆ ตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นของวัน ด้วยโครงการนี้ คุณครูประหยัดเวลาในการซือ้ เตรียม หรือซือ้ อาหาร เช้ า เอง ทั้ ง ยั ง ได้ รั บ ประทานอาหารสดสะอาด ปราศจากผงชูรส และทีพ่ เิ ศษในปีนี้ คือ โครงการได้ จัดอาหารมังสวิรัติเพิ่มให้แก่ผู้ที่ไม่รับประทานเนื้อ สัตว์ด้วย ลองคำ�นวณกันเล่นๆ ว่า โครงการอาหารเช้า ที่เรียบง่าย และได้ประโยชน์นี้ช่วยลดปริมาณ การใช้และนำ�ถุงพลาสติกใส่อาหารเข้ามาใน โรงเรียนได้ประมาณถึง ๑๖๘,๓๐๐ ใบใน ๓ ปี

เลยทีเดียว ส่วน โครงการชวนครูออม อีกโครงการหนึ่ง ที่ช่วยฝึกวินัยการออมให้แก่คุณครู น่าทึ่งเหลือเกิน ว่า ๓ ปีที่ผ่านมา เงินสมทบของทั้ง ๒ ฝ่ายรวม แล้วประมาณถึง ๑,๔๓๒,๙๐๐ บาท ซึ่งเกิดจาก การสมทบของโรงเรียนให้แก่คุณครูเดือนละ ๔๐๐ บาท และคุณครูร่วมสมทบเองจากเดือนละ ๒๐๐ บาท และเพิ่มขึ้นเป็น ๓๐๐ บาทในปัจจุบัน นี่คือพันธกิจระยะสั้นที่เกิดขึ้น ส่วนก้าวต่อไป ของกองทุนฯ คือ การดำ�เนินการตามพันธกิจระยะ กลาง ได้ แ ก่ การให้ ทุ น การศึ ก ษาเพื่ อ ยกระดั บ มาตรฐานครู ซึ่งในภาคการศึกษาที่ ๒ ของปีการ ศึกษา ๒๕๕๖ นี้ ทางกองทุนฯ ได้มอบทุนการศึกษา ๒ ทุน แก่ นางสาวพิชญาภา หัดหิน (ครูอาร์) คุณครู ประจำ�ชั้นประถม ๒ และ นางสาวขนิษฐา พุทธสุขา (ครูฐา) คุณครูประจำ�ชัน้ เตรียมอนุบาล ทีส่ ำ�เร็จการ

ศึกษาได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพครู จากสถาบัน อาศรมศิลป์ ในเกณฑ์ดีมาก และทางสถาบันฯ ได้ มอบทุ น บางส่ ว นเพื่ อ ให้ ไ ด้ ศึ ก ษาต่ อ ระดั บ มหา บัณฑิต แขนงหลักสูตรการเรียนและการสอน ทาง กองทุ น ฯ จึ ง มอบทุ น การศึ ก ษาให้ อี ก ท่ า นละ ๖๐,๐๐๐ บาท เพื่อให้คุณครูทั้งสองได้นำ�วิชา ความรู้มาต่อยอดพัฒนาการเรียนการสอนของ เด็กๆ ในโรงเรียนให้ดียิ่งขึ้นต่อไป นอกจากนี้ ยังขยับขยายไปยังการฝึกอบรม ค่าย ‘สานศิลป์ในป่าสวย ครั้งที่ ๑’ เมื่อวันที่ ๒๓ – ๒๕ ตุลาคม ๒๕๕๖ ณ อุทยานแห่งชาติเขาคิชกูฏ จังหวัดจันทบุรี ซึ่งค่ายนี้ช่วยคุณครูให้เรียนรู้วิธีการ ปลดล็อกแม่กุญแจแห่งความกลัวในการวาดภาพ ของเด็กๆ ได้โดยวิทยากรชั้นครู อาจารย์ปัณยา ไชยะคำ� และหลายๆ คนยังได้ค้นพบตัวเองว่า การ วาดภาพนัน้ ไม่ยากอย่างทีค่ ดิ เพราะมีครูธรรมชาติที่ งดงามและมี เ สน่ ห์ อ ยู่ ร อบๆ ตั ว อากาศหรื อ ก็สดชื่นบริสุทธิ์ ช่วยให้การวาดภาพมีมิติทางจิต วิญญาณได้จริงๆ ดังปรากฏในนิทรรศการแสดงผลงานลายเส้น และสีน้ำ�ของผู้ร่วมค่ายทั้ง ๒๑ ท่าน ที่คุณครูน้ำ� อ้อย-น้ำ�อ้อย สืบดี บรรณารักษ์ของโรงเรียน และผู้ ประสานงานค่าย ได้จัดให้ชมกันที่บริเวณด้านข้าง ห้องสมุดของโรงเรียนในช่วงเดือนพฤศจิกายนทีผ่ า่ น มา พร้อมทัง้ มีเรือ่ งเล่าจากชาวค่ายในเพาะครูเล่มนี้ ด้วย ฝ่ายหาทุนของเราก็จดั กิจกรรมทีเ่ ป็นประโยชน์ แก่ชุมชน และช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่กองทุนฯ อย่าง ต่อเนื่อง คืองาน ‘ทอสีสู่เหย้า: ปลูกดอกไม้ชื่นใจถึง ดวงดาว ครัง้ ที่ ๒’ เมือ่ วันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๕๖ ซึง่ สร้างความประทับใจให้แก่ผู้ร่วมงานอย่างยิ่ง ทั้ง สถานที่ที่ตกแต่งอย่างสร้างสรรค์จากวัสดุเหลือใช้ เช่น ต้นไม้รีไซเคิล ประดับประดาด้วยดอกไม้จาก ขวดน้ำ�อัดลมพลาสติกหลากสี เศษไม้ เศษผ้า และ วัสดุนานา ที่แทบทุกคนต้องขอถ่ายรูปบรรยากาศ

ชื่นมื่นของการได้กลับมาพบกันของผู้คนทุกรุ่น ทุก วัย และการรณรงค์ ‘Zero Waste ขยะเป็น 0’ ซึ่งมี ครบทั้งจิงเกิ้ลเสียงร้องใสๆ ของเด็กๆ วิดีทัศน์ฉาย ปูพรมเพื่อรณรงค์ก่อนวันงาน การรับบริจาคจาน กระดาษ ตะเกียบไม้ และช้อนส้อมพลาสติกสำ�หรับ ใช้ในซุม้ อาหาร แผ่นป้ายแบบตัง้ เพือ่ ให้ความรู้ และ ทีมนักเรียน ครู ผู้ปกครอง ๓ ฝ่ายที่เข้มแข็ง จน สามารถลดขยะจาก ๑๐ ถุงดำ� (จากงานครั้ง ที่แล้ว) เหลือเพียง ๓ ถุง ได้อย่างน่าทึ่ง ส่งท้ายปีด้วยกิจกรรมกอล์ฟการกุศล ‘ทอสี ทีของพ่อ ครัง้ ที่ ๒’ ณ สนามกอล์ฟเลควูดคันทรีค่ ลับ อำ�เภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ มีก๊วนกอล์ฟของผู้ปกครอง และผู้ที่มีจิตศรัทธารวมพลังกันโชว์วงสวิงเพื่อกอง ทุนฯ ของเราอย่างอบอุ่น ซึ่งผู้สนับสนุนกองทุนพัฒนาครูวิถีพุทธ โรงเรียนทอสีของเรา สามารถนำ�ใบเสร็จไปลด หย่อนภาษีได้ ๒ เท่าของจำ�นวนเงินที่บริจาค* ด้วยกิจกรรมที่เกิดขึ้นทั้งหมดข้างต้น เราเชื่อ ว่ากองทุนฯ ที่พวกเราชาวทอสีได้ร่วมกันก่อตั้งนี้ จะ เติบโตก้าวหน้าไปอย่างไม่หยุดยัง้ เพือ่ สามารถบรรลุ เจตจำ�นงซึ่งเป็นความตั้งใจในเบื้องต้น อันจะนำ�ไป สูก่ ารดำ�เนินการอย่างเป็นรูปธรรมตามพันธกิจระยะ ยาวได้ในที่สุด

*รั ฐ บาลมี น โยบายส่ ง เสริ ม การศึ ก ษาและมี ม าตรการ ภาษี ใ ห้ สิ ท ธิ ป ระโยชน์ พิ เ ศษแก่ เ อกชนที่ ช่ ว ยเหลื อ สั ง คม โดยการบริ จ าคเพื่ อ สนั บ สนุ น การศึ ก ษา ให้ ใ ช้ สิ ท ธิ์ หั ก ลด หย่อนได้เป็นจำ�นวน ๒ เท่าของเงินบริจาค แต่ไม่เกิน ๑๐ % ของเงินได้สุทธิ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๕๕ เห็นชอบกับมาตรการนี้แล้ว สิทธิประโยชน์พิเศษนี้จะ มีผลกับการบริจาคในช่วงปี ๒๕๕๖-๒๕๕๘ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับ มาตรการทางภาษีทที่ างรัฐบาลจะประกาศใช้อย่างเป็นทางการ ต่อไป ๓๔ ๓๕


ชูใจ www.facebook.com/Phraprasong

ถังน้ำ�สองใบ ในดีมีเสีย ในเสียมีได้

ถังน้ำ�สองใบ จึงเอ่ยขอโทษ เจ้าของเห็นใจ หาบน้ำ�ผ่านไป ชูดอกออกช่อ ในดีมีเสีย

ใบหนึ่งรั่วไหล อย่าโกรธเกลียดชัง มิได้ถือโกรธ น้ำ�ไหลรั่วดี ลอองามตา ในเสียมีได้

ใส่น้ำ�อย่างไร ไม่เหมือนอีกถัง พร้อมชี้ประโยชน์ พืชพันธุ์ด้านนี้ ใครเดินผ่านมา เราควรฝึกใจ

น้ำ�ไม่เต็มถัง ใส่น้ำ�ได้ดี ถังน้ำ�ใบนี้ ขจีสดใส สุขตา สุขใจ มองให้เป็นเอย



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.