ทอสีสัมพันธ์ ๕๕/๒

Page 1

ฉบับประจำ�ปีการศึกษา ๒๕๕๕ ภาคเรียนที่

สานสั ม พั น ธ์ ช าวทอสี ส่ ง ต่ อ ความดี ส ู ่ ส ั ง คม

1


บทบรรณาธิการ ห่างหายกันไปพักใหญ่ๆ เว้นช่วงพบหน้ากันไปนาน กว่ า ที่ เ คย ตอนนี้ ท อสี สั ม พั น ธ์ ม าพบกั บ ผู้ อ่ า น ภาคเรียนละหนึ่งครั้ง (จากเดิมสองครั้ง) การพบกัน ครั้ง นี้ บรรณาธิ ก ารจู ง มื อ นั ก เขี ย นและคอลั ม นิ ส ต์ หน้าใหม่มาด้วย... บรรยากาศอบอุ่นขึ้นค่ะ นอกจาก คุณครูแล้ว ฉบับนี้มีผู้ปกครองหลายท่านยื่นมือเข้ามา ช่ ว ยขี ด เขี ย นเรื่ อ งราวภายในเล่ ม สี สั น ของเนื้ อ หา เราก็ปรับกันใหม่ ให้มีชีวิตมากขึ้น ลดสัดส่วนของการ รายงานข่าวสารลง ไม่ให้ซำ้�ซ้อนกับการแจ้งข่าวสาร ในช่องทางอื่นๆ ข้อเสนอแนะจากผู้ปกครองที่ได้รับกลับมาตั้งแต่ ภาคเรี ย นที่ แ ล้ ว เป็ น ประโยชน์ ต่ อ การทำ � งานของ กองบรรณาธิการมากทีเดียว ทำ�ให้ได้คอลัมน์ใหม่ๆ อย่ า ง ‘ภาษาภาพ’ ‘หน้ า นิ ท าน... อ่ า นด้ ว ยกั น ’ ‘คำ�ถามนี้... ช่วยกันตอบ’ ...ทำ�ให้ทำ�งานกันสนุกขึ้น คำ�นึงถึงประโยชน์ของผู้อ่านมากขึ้น ถ้าเปรียบเทียบ จุลสารเป็นชั้นเรียนเล็กๆ ก็คงจะเป็นชั้นเรียนที่เน้น วิชาชีวติ มากขึน้ แต่กไ็ ม่ละทิง้ วิชาการ เราเน้นไลฟ์สไตล์ แต่ก็ไม่ลืมที่จะเก็บบันทึกองค์ความรู้ไปพร้อมๆ กัน ทอสีสมั พันธ์ยงั คงตีพมิ พ์เป็นฉบับกระดาษจัดแจก ในโรงเรียนทอสี และเดินทางไปหาผู้อ่านทุกท่านผ่าน เว็ บ ไซต์ www.thawsischool.com ในรู ป แบบ Filpbook เหมื อ นเดิ ม นะคะ พลิ ก อ่ า นกั น ได้ ต าม อัธยาศัยค่ะ และหากอ่านแล้วมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติม หรือแม้แต่อยากจะยกมือและลุกขึ้นมาเป็นส่วนหนึ่ง ของทีมทำ�งาน กองบรรณาธิการก็ยังเปิดประตูต้อนรับ เสมอ ยินดีต้อนรับทั้งคุณครู ผู้ปกครอง และเด็กๆ เลยค่ะ ครูหยก - วรรณวนัช บูรพาเดชะ

สารบัญ สารจากครูใหญ่ ภาษาภาพ เด่นในรั้วทอสี: กว่าจะถึงวัน ‘ม่วนชื่น’ คำ�ถามนี้... ช่วยกันตอบ อยู่อย่างทอสี: สมาธิสร้างได้ หน้านิทาน... อ่านด้วยกัน ชวนคุย: เบิกบานในสวนผักฯ โยคะฝึกกายสบายจิต อ่านแล้วชื่นใจ ห้องเรียนพ่อแม่ เด็กทุกคนคือศิลปิน เรื่องเล่าจาก ‘ปัญญาประทีป’ เปิดหูเปิดตา รอบรั้ว คณะทำ�งาน

ที่ปรึกษา ครูอ้อน - บุบผาสวัสดิ์ รัชชตาตะนันท์, ครูแหม่ม - อาภาภัทร ไชยประสิทธิ์ บรรณาธิการ ครูหยก - วรรณวนัช บูรพาเดชะ ผู้ช่วยบรรณาธิการ กองบรรณาธิการ ครูปู - ณัฐนันท์ เทียนทอง, ครูนีโม่ - อุษณีย์ ปุณโณปกรณ์, แม่สาว - วรวสี ก้องสมุทร, แม่รุ่ง - รุ่งนภา ธนะภูมิ, แม่นุ้ย - พสุนธรา เทพปัญญา, แม่จูน - จูน ไกรฤกษ์, แม่ก้อย - อภิวัน เดชากรณ์, แม่ก้อย - มทิรา อู่อุดมยิ่ง พิสูจน์อักษร เบญจวรรณ แก้วสว่าง ศิลปกรรม กีรติ เงินมี ภาพประกอบปก ด.ช. กตัญญู วุฒิชัยธนากร (วิน) ป.๑ ดำ�เนินการพิมพ์ บริษัท คิว พริ้นท์ แมแนจเม้นท์ จำ�กัด โทรศัพท์ ๐ ๒๘๐๐ ๒๒๙๒ โทรสาร: ๐ ๒๘๐๐ ๓๖๔๙

จัดทำ�โดย

โรงเรียนทอสี ๑๐๒๓/๔ ๖ ซอยปรี ดี พ นมยงค์ ๔๑ ถนนสุ ขุ ม วิ ท ๗๑ คลองตันเหนือ วัฒนา กรุงเทพฯ ๑๐๑๑๐ โทรศัพท์: ๐ ๒๗๑๓ ๐๒๖๐-๑ โทรสาร: ๐ ๒๓๙๑ ๗๔๓๓ อีเมล: info@thawsischool.com เว็บไซต์: www.thawsischool.com

๔ ๕ ๖ ๑๒ ๑๔ ๒๐ ๒๒ ๒๗ ๒๘ ๓๐ ๓๒ ๓๔ ๓๖ ๓๘


HIGHLIGHT

<๖ ๑๒> กว่าจะถึงวัน ‘ม่วนชื่น’

แก้ปัญหาพี่น้อง ทะเลาะกันอย่างไรดี?

๑๔> สมาธิสร้างได้

๓๐ ๒๒

๒๐

๓๒

<๓๔

เวทีเสวนา ‘การศึกษาพุทธปัญญา’ ณ เมืองโคราช

3


ก่ อ นอื่ น ครู อ้ อ นต้ อ งขอถื อ โอกาสนี้ ขอบคุ ณ และขออนุ โ มทนาผู้ ป กครอง นั ก เรี ย น และคุ ณ ครู ทุ ก ท่ า นเป็ น อย่ า งยิ่ ง ที่ในช่วงปีใหม่ที่ผ่านมา ได้กรุณาล้างบ้าน ล้ า งตู้ และนำ � สิ่ ง ของที่ ไ ม่ ไ ด้ ใ ช้ ม ามอบให้ ร้ า นกุ ศ ลกำ � ลั ง สาม ของบางอย่ า งที่ เ ป็ น ประโยชน์ต่อโรงเรียนปัญญาประทีป เราจะ ไม่นำ�ออกจำ�หน่าย แต่นำ�ส่งโรงเรียนโดยตรง เพื่อใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไป เราได้ก้าวเข้าสู่ปีใหม่กันแล้ว ในปีใหม่ ๒๕๕๖ นี้ ครูอ้อนขอให้เราได้ ‘หมั่นทบทวน ชีวติ ’ ของเราอย่าง ‘สม่�ำ เสมอ’ ว่าในแต่ละปี แต่ละวัน เราทำ�อะไรอยู่ เราได้สร้างประโยชน์ และความสุขแก่ตวั เองและคนรอบข้างเพียงไร เรา ‘ยั ง อยู่ กั บ ที่ ’ หรื อ ‘ถอยหลั ง ’ หรื อ ‘เดิ น หน้ า ’ เราได้ ขั ด เกลากิ เ ลสอะไรให้ เบาบางลงบ้าง คุณธรรมข้อใดที่งอกงามขึ้น ในจิตใจของเรา ครูออ้ นเชือ่ ว่าเราทุกคนปรับปรุงตัวเองได้ เราไม่ จำ� เป็ นต้ องเป็น คนขี้โ มโห ขี้น้อ ยใจ

ขี้ อิ จ ฉา ขี้ เ กี ย จ ขี้ ส ารพั ด ไปตลอดชี วิ ต ถึ ง เวลาแล้ ว ที่ เ ราต้ อ งเปลี่ ย นแปลงตั ว เอง ครู อ้ อ นขอเป็ น กำ � ลั ง ใจให้ กั บ ทุ ก คน แต่ ที่ สำ � คั ญ ที่ สุ ด ก็ คื อ เราต้ อ งหมั่ น ให้ กำ � ลั ง ใจ ตัวเองและคนรอบข้าง หากเราดำ�เนินชีวิตอย่างมี ‘สติ’ และ ‘ปัญญา’ จะทำ�ให้เราได้ ‘กำ�ไรชีวิต’ ทุกวัน ทุกเวลา ขอให้เราทุกคนมาร่วมกัน ‘เจริญ สติ’ และ ‘เจริญปัญญา’ เพื่อความสุขสงบ ร่ ม เย็ น ของตั ว เองและครอบครั ว ตลอดจน ชุมชนและโลกใบนี้ค่ะ สุดท้ายนี้ ขออำ�นาจคุณพระศรีรตั นตรัย สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย และผลบุญที่เราทุกคน ได้ร่วมกันสั่งสมมา เป็นพลวปัจจัยให้ทุกท่าน และครอบครั ว มี ค วามสุ ข และมี พ ลั ง ที่ จ ะ สร้างสรรค์สิ่งที่ดีงามให้ยิ่งๆ ขึ้นไปตลอด ปีใหม่นี้ค่ะ ครูอ้อน - บุบผาสวัสดิ์ รัชชตาตะนันท์


ภาษาภาพ

ภาพ: พ่ออ้น - โชติวัฒน์ ลัทธะพานิชย์ (คุณพ่อของน้องโอม อ.๑)

... บางทีสิ่งที่เขาต้องการอาจไม่ใช่คำ�ตอบ แต่เป็นคนที่นั่งฟังปัญหาของเขาอย่างเห็นใจ เข้าใจ และไม่ประณามในความผิดพลาด หรือความไม่รู้ ความเยาว์ของเขา

ที่มา: หนังสือ เด็กน้อยโตเข้าหาแสง... ประสบการณ์ ‘คบเด็ก (เป็น) สร้างบ้าน (ได้)’ ของ ‘ป้ามล’ (ทิชา ณ นคร) ในบท ‘เด็กมีเสียง ผู้ใหญ่มีหู’ หน้า ๑๕๙ ๕

5


เด่นในรั้วทอสี

กว่าจะมาถึงวัน ‘ม่วนชื่น’ เรื่อง: แม่เจี๊ยบ - กังสดาล ทองคำ� (คุณแม่ของน้องมะปราง ป.๒), ครูนุ้ย - กนกอร บุญทวีกิจ, ครูหยก - วรรณวนัช บูรพาเดชะ

ผ่านพ้นไปแล้วด้วยดีส�ำ หรับงาน ‘ม่วนชื่นน้องพี่ ทอสีสู่เหย้า’ ครั้งที่ ๒ ที่ จัดขึ้นเมื่อวันเสาร์ที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๕๖ โดยในครั้ ง นี้ ค ณะผู้ จั ด งานได้ ตั้ ง ชื่ อ ธีมงานไว้วา่ ‘ปลูกดอกไม้ชน่ื ใจถึงดวงดาว’ แม่ เ จี๊ ย บ (คุ ณ แม่ ข องน้ อ งมะปราง) แม่งานฝ่ายผูป้ กครองเล่าว่า ในช่วงพูดคุย เพื่ อ เตรี ย มงาน มี คุ ณ แม่ ศิ ษ ย์ เ ก่ า ท่ า น หนึ่งเสนอว่า ทำ�ไมเราไม่จัดในธีมที่เป็น ทอสี อย่ า ง ‘เด็ ด ดอกไม้ ส ะเทื อ นถึ ง ดวงดาว’ ซึ่งเป็นหลักสูตรการเรียนรู้ของ ทอสี ที่ พ วกเราทั้ ง ศิ ษ ย์ เ ก่ า และศิ ษ ย์ ปัจจุบันต่างก็คุ้นเคยกันดี ได้ยินครั้งแรก คณะผู้จัดงานก็คล้ายจะเห็นชอบ... แต่ก็ ได้กลับมาคิดและมีการพูดคุยกันอีกครั้ง ว่ า ถ้ า เราไม่ เ ด็ ด ดอกไม้ ล่ ะ เรามาร่ ว ม ปลูกดอกไม้กันดีกว่าไหม เลยเป็น ที่มา ของชื่อ ‘ปลูกดอกไม้ชื่นใจถึงดวงดาว’ ในที่สุด

งานม่วนชื่นฯ จัดมาแล้วสองครั้ง วัตถุประสงค์ของการจัดงานม่วนชื่นฯ ทั้งสอง ครั้ง นอกจากจะเพื่อให้ผู้ปกครองและศิษย์เก่า มารวมตัวกัน เหมือนเป็นการกลับมาเยี่ยมเยียน บ้านแล้ว ยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง ผู้ ป กครองและศิ ษ ย์ ปั จ จุ บั น จากการทำ � งาน ร่วมกันอีกด้วย ความศรัทธาของผู้ปกครองที่มี ต่อคุณครูทำ�ให้ทุกท่านเสียสละและทุ่มเทกำ�ลัง กายและใจในการจัดงานนี้เพื่อนำ�รายได้หลังหัก ค่าใช้จ่ายมอบให้แก่ ‘กองทุนพัฒนาครูวิถีพุทธ โรงเรียนทอสี’ ซึ่งถือเป็นการช่วยส่งเสริมทักษะ ในวิชาชีพครู และเอื้อให้คุณครูของลูกๆ มีชีวิต ความเป็นอยู่ที่ดีและมั่นคงยิ่งขึ้น หากเล่าย้อนกลับไปคร่าวๆ...การเตรียม งานในครั้งนี้เริ่มต้นจากการจัดตั้งคณะกรรมการ กลางขึน้ มากลุม่ หนึง่ โดยเริม่ เตรียมงานกันตัง้ แต่ เดือนพฤษภาคม ๒๕๕๕ (รวมเวลาเตรียมงาน ทั้งสิ้น ๘ เดือน) คณะกรรมการกลุ่มนี้ทำ�หน้าที่ เป็นกลุ่มหัวหอกในการวางโครงสร้างการทำ�งาน


และกำ�หนดทิศทางการจัดงาน เนื่องจากเป็น กลุ่มที่มีประสบการณ์จากงานม่วนชื่นฯ ครั้งที่ ๑ มาแล้ ว เราแบ่ ง งานออกเป็ น แขนงต่ า งๆ มี แม่ เ จี๊ ย บเป็ น แม่ ง านฝ่ า ยผู้ ป กครอง ครู นุ้ ย เป็นแม่งานฝ่ายครู มีส่วนงานกิจกรรม ส่วนงาน สถานที่ ส่วนงานอาหาร ส่วนงานของที่ระลึก และสปอนเซอร์ ฯลฯ โดยครั้งนี้เราได้ แม่กิ่ง และพ่อจิ๊บ (ผู้ปกครองของน้องแบม) ทำ�หน้าที่ เป็นออร์แกไนซ์หลักในการจัดงาน มีแม่หน่อย (คุณแม่ของน้องโมกข์) เป็นที่ปรึกษา คณะผูจ้ ดั งานเลือกหยิบยกเอากิจกรรม การเรียนรู้และสิ่งดีๆ ที่เกิดขึ้นภายในรั้วทอสี ไม่ว่าจะเป็น การประดิษฐ์ การเย็บปักถักร้อย การปลูกผัก การเรียนรู้ธรรมชาติ ศิลปะ ฯลฯ ขึ้นมาเป็นส่วนผสมของกิจกรรมต่างๆ ในงาน โดยไม่ลืมที่จะเปิดพื้นที่ให้ศิษย์เก่าได้เข้ามามี ส่วนร่วมและเป็นส่วนหนึ่งของงาน เราจัดให้มี พิธีบายศรีสู่ขวัญ น้องๆ ทอสีได้มีโอกาสมา ต้อนรับพี่ๆ และศิษย์เก่าเองก็ได้กราบระลึกคุณ

คณะครู เป็นภาพที่อบอุ่นและน่าประทับใจมาก ภายในงาน เราก็ได้เห็นภาพแห่งความ ชื่นใจมากมายนับไม่ถ้วน ทั้งอ้อมกอด รอยยิ้ม และน้ำ�ตาแห่งความประทับใจของคุณครูอ้อน และคุณครูทุกท่านที่มอบให้ศิษย์เก่า ได้เห็นภาพ เด็กทอสีตัวน้อยๆ มารวมตัวกันในสนามหญ้า และสนุกกับของเล่นที่ทำ�จากธรรมชาติ คุณพ่อ พาลูกๆ มาเล่นไม้โถกเถก ถ้าเป็นเด็กเล็กก็จะเห็น ภาพคุณพ่อมาช่วยประคอง เด็กๆ ผู้ชายไปรวม ตั ว กั น มุ ง ดู แ มลงชนิ ด ต่ า งๆ ที่ ซุ้ ม ครอบครั ว ควบกล้ำ�ธรรมชาติ เหล่าคุณแม่ได้เพลิดเพลิน กับการทำ�กิจกรรมเวิร์กช็อป บ้างก็นั่งรับลมชม การแสดงและฟังการเสวนาของศิษย์เก่าที่บริเวณ ที่นั่งกองฟาง และอีกด้านหนึ่งของงาน เรายังได้ เห็นภาพครอบครัวอาสา พ่อ แม่ ลูก มาร่วมกัน รณรงค์เรื่องการลดปริมาณขยะ คุณพ่อคุณแม่ ที่เสียสละมาทำ�งานจิตอาสา ล้วนทำ�งานกัน อย่างเต็มที่ ด้วยความเป็นกัลยาณมิตรที่ดีต่อกัน ๗

7


บายศรีสู่ขวัญ


นโยบายดี

Zero Waste การรณรงค์ลดขยะให้เหลือศูนย์ หรือนโยบาย ‘Zero Waste’ ประสบความสำ�เร็จ เป็นอย่างสูง สามารถลดปริมาณขยะที่เกิดขึ้นในงานได้อย่างมาก มีขยะถุงดำ�ส่งทิ้งกับทาง กทม. เพียง ๑๐ ถุง (ในงานม่วนชื่น ครั้งที่ ๑ เกิดขยะถึง ๓๐ ถุง!) ส่วนที่เหลือเป็นขยะ ที่สามารถคัดแยกได้ทั้งหมด ทั้งนี้เกิดจากทีมงานรณรงค์ที่เข้มแข็ง ประกอบกับกิจกรรม ที่จัดในงานล้วนคำ�นึงถึงเรื่องปริมาณขยะที่จะเกิดขึ้น และที่สำ�คัญคือได้รับความร่วมมือ อย่างดีจากผู้ร่วมงาน... ชาวทอสี ทั้งรุ่นเล็กรุ่นใหญ่ช่วยกันหิ้วตะกร้า ภาชนะใส่อาหาร และกระติกน้ำ� มาเอง สนองรั บ กั บ สโลแกน ‘ตะกร้าเดียวเที่ยวทั่วงาน’ ที่ทีม ทอสี รั ก ษ์ โ ลกตั้ ง ใจใช้ ร ณรงค์ และประชาสั ม พั น ธ์ กั น ล่ ว งหน้ า ก่อนวันงาน

การจัดงานม่วนชื่นฯ ครั้งนี้ ทำ�ให้เกิดกระบวนการเรียนรู้มากมายในชุมชนทอสี ทำ�ให้คุณครูและ ผู้ปกครองเกิดทักษะในการทำ�งาน รู้จักการแก้ปัญหา โดยการนำ�คุณธรรมต่างๆ มาใช้ และเหนืออื่นใด การทำ�งานร่วมกันทำ�ให้เกิดความรัก ความผูกพัน และความสามั ค คี ใ นชุ ม ชน คณะทำ � งานต่ า งพู ด เป็นเสียงเดียวกันว่า “เหนื่อยกาย แต่ชื่นใจ” ๙

9


เสียงจากทีมงานทอสีรักษ์โลก

Zero Waste

๒ ๑

แม่มิก - ชัญญ์ชญา เฮทเดน (คุณแม่ของน้องเจส์ ป.๒ และน้องแม็กซซ์ อ.๓)

“ปลืม้ ใจและแอบยิม้ อยูค่ ะ่ ขออนุโมทนา กับคุณพ่อคุณแม่อาสาทุกท่านที่มาช่วยกันอย่าง เต็มที่ คุณครูและทีมผู้ปกครองผู้จัดงานทุกฝ่าย ที่ ช่ ว ยกั น ลุ้ น และให้ ค วามร่ ว มมื อ อย่ า งสุ ด ตั ว รวมถึงผู้มาเที่ยวงานทุกท่าน งานนี้สำ�เร็จไปได้ ด้ ว ยดี เ พราะความเป็ น ชาวทอสี ข องพวกเรา ทุกคน”

๓ ๔ ๕

แม่ตุ้ม - สุชาดา วิวัฒน์วิชา (คุณแม่ของน้องแตมแตม ป.๒)

“รูส้ กึ ดีตงั้ แต่เห็นผลสำ�รวจจากแบบ สอบถามทีช่ ใ้ี ห้เห็นว่า ๘๐% ของครอบครัวทอสี มีการคัดแยกขยะกันที่บ้านอยู่แล้ว และพอจบ งานก็ยิ่งปลาบปลื้มและยินดีสุดๆ... อยากให้ ทุกคนช่วยกันสานต่อการคัดแยกขยะ และช่วย กันรักษ์โลกต่อไปในชีวติ ประจำ�วันนะคะ ช่วยกัน คนละนิดคนละน้อย โลกก็จะฟืน้ ฟูได้เร็วขึน้ ค่ะ”

๑๐


แม่วรรณ - รวิวรรณ โฮริโนอุชิ (คุณแม่ของน้องไบรท์ ป.๔)

“ได้ลองเอาองค์ความรูเ้ รือ่ งZeroWaste ไปใช้ ใ นงานประกาศรางวั ล SVN (Social Venture Network - เครือข่ายธุรกิจเพื่อสังคม และสิ่ ง แวดล้ อ ม) ที่ จั ด ไปเมื่ อ วั น ที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ ผู้จัดงานบอกว่าจัดมา ๑๐ กว่าปีแล้ว สะเทือนใจทุกครั้งเนื่องจากมีขยะ เป็นจำ�นวนมาก ปีน้ีเป็นครั้งแรกที่มีการคัดแยก และจั ด การกั บ ขยะในงาน แม่ ว รรณทำ � ป้ า ย หาถัง หาสถานที่ และอยู่ให้คำ�แนะนำ� เก็บจน เสร็ จ แขกที่ ม าเกื อ บร้อยเปอร์เ ซ็นต์ใ ห้ความ ร่วมมือคัดแยกขยะ แม่บ้านไม่เหนื่อยในการ จั ด เก็ บ ทางร้ า นอาหารลดราคาให้ เ นื่ อ งจาก ช่วยให้ลูกน้องเขาไม่เหนื่อย... คิดว่าระบบนี้ เวิร์กจริงๆ ค่ะ กลับมาบ้านน่าจะเหนื่อยมาก แต่กลับไม่เหนือ่ ยเลย ข้าวเย็นก็ไม่ได้กนิ ขอบอก ว่าดีใจสุดๆ ที่สิ่งที่พวกเราคิดไว้ทำ�ได้จริงๆ”

แม่จู - เสาวนีย์ ศิลาทรัพย์อำ�ไพ (คุณแม่ของน้องวิน ป.๑)

“ความรูส้ กึ ของการมางานม่วนชืน่ ครัง้ ที๑่ กับ ๒ แตกต่างกันมาก ม่วนชื่น ๑ ได้เที่ยวทุก ซุ้ม กินทุกอย่าง ก็สนุกในแบบของผู้รับ แต่พอ หมดงานก็หมดกันไป แต่ม่วนชื่น ๒ ไม่ได้เที่ยว ทุกซุ้ม ไม่ได้กินทุกอย่าง แต่ก็สุขและสนุกมาก แต่เป็นในแบบของผู้ให้และผู้รับ ซึ่งความสุขใจ ที่ได้รับมันยังอยู่ท่วมท้นในใจอยู่ตลอด”

แม่อ้อม - เปมิกา รูปขจร (คุณแม่ของน้องธรรศ ป.๒ และน้องกะทิ ป.๑)

แม่ก้อย - มทิรา อู่อุดมยิ่ง (คุณแม่ของน้องพุด ป.๒ และน้องเพียร อ.๒)

“ก่อนวันงาน ทีมงานรวมถึงครูออ้ นและ ครูอน๋ั ยังพูดประโยคทีว่ า่ “เราทำ�ให้ดที ส่ี ดุ ส่วนผล จะเป็นอย่างไร ก็ให้มันเป็นไป” แสดงให้เห็นว่า พวกเราทีมงานไม่มีความมั่นใจเลยว่าผู้มาร่วม งานจะให้ความร่วมมือ แต่ผลที่ได้รับผิดคาด มากๆ คือทุกคนแม้แต่สตาฟฟ์ทมี ออร์แกไนเซอร์ ซึ่งเป็นคนข้างนอก ก็ยังนำ�กล่องมาซื้ออาหาร ถึงแม้จะไม่ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ก็ได้มากกว่า ทีพ่ วกเราหวังไว้มากมายหลายเท่านัก ได้ขนาดนี้ นอกจากจะดีใจมากแล้ว ยังเป็นการแสดงให้ เห็ น เลยว่ า แค่ เ ราพยายามขึ้ น อี ก นิ ด ใส่ ใ จ รายละเอียดสักหน่อย เราทุกคนก็มีส่วนช่วยโลก ใบนี้ที่เราอยู่กันได้ โดยไม่ได้เหลือบ่ากว่าแรง อะไรเลย”

แม่เชง - ขวัญพัฒน์ วิวัฒน์วิชา (คุณแม่ของน้องน้ำ�หอม ป.๓)

“ประทับใจมากๆกับผูม้ าเทีย่ วงานทุกท่าน ที่ให้ความร่วมมือมากๆ นำ�ภาชนะมาและมีสติ กับการนำ�ขยะลงถังจริงๆ อยากขอบคุณมากๆ กับความใส่ใจในรายละเอี๊ยดละเอียดของฝ่าย อาหาร และลืมขอบคุณไม่ได้เลยกับสปอนเซอร์ ใจดี ธนาคารไทยพาณิชย์ จำ�กัด (มหาชน) ที่ ส นั บ สนุ น เงิ น สดตั้ ง ตั ว ให้ ท อสี รั ก ษ์ โ ลก จำ � นวน ๔๐,๐๐๐ บาท และ หจก.โมเดิ ร์ น เฟอร์นิเจอร์ สนับสนุนถังขยะเป็นจำ�นวนเงิน ๓,๐๐๐ บาท ตอนนี้มีความสุข ที่เราได้มีโอกาส สร้างประโยชน์ตนและประโยชน์ท่านค่ะ”

“ขอขอบคุณ แม่ๆ ทีมงาน คุณครู ผู้ ป กครองอาสาทุ ก ท่ า น และเด็ ก ๆ ทุ ก คน ที่ร่วมด้วยช่วยกันทำ�ให้งานของเราผ่านไปด้วยดี และได้ผลลัพธ์ดีเกินคาด ถึงแม้ขยะจะไม่ได้ เป็นศูนย์ แต่ปริมาณขยะทีเ่ กิดขึน้ ในงานม่วนชืน่ ฯ ก็ลดลงได้จากการร่วมด้วยช่วยกันของทุกๆ ฝ่าย” ๑๑

11


คำ�ถามนี้... ช่วยกันตอบ

เรื่อง: แม่ก้อย - อภิวัน เดชากรณ์ (คุณแม่ของน้องซัน ป.๒ และน้องเซ้นส์ อ.๒), แม่ก้อย - มทิรา อู่อุดมยิ่ง (คุณแม่ของน้องพุด ป.๒ และน้องเพียร อ.๒)

แก้ปัญหาพี่น้องทะเลาะกันอย่างไรดี? สังคมทุกวันนีพ้ อ่ แม่สว่ นใหญ่มลี กู คนเดียว ค ร อ บ ค รั ว ที่ มี ลู ก ค น เ ดี ย ว ค ง ไ ม่ ไ ด้ เ จ อ กั บ ประสบการณ์นี้ แต่สำ�หรับครอบครัวที่มีลูกตั้งแต่ สองคนขึ้ น ไป ต้ อ งเคยมี ป ระสบการณ์ นี้ แ น่ น อน ประสบการณ์ ที่ ว่ า คื อ ‘ปั ญ หาพี่ น้ อ งทะเลาะกั น ’ วันนีเ้ ราลองมาฟังความคิด และวิธแี ก้ปญ ั หา ทัง้ จาก แง่มุมของผู้ใหญ่และของเด็กๆ กันนะคะ เพื่อที่ว่า อาจจะนำ�ไปปรับใช้กับครอบครัวของเราได้บ้าง “ส่วนใหญ่เรื่องที่ทะเลาะ เพราะน้องมาแกล้ง หนูจะแก้ปัญหาโดยยอมน้อง เพราะไม่อยากให้ น้องทำ�ต่อ” น้องวุ้นหวาน - ด.ญ. ภาวิดา บุญสิตานารา ป.๒

“ทะเลาะกับน้องเยอะเลยครับ ทะเลาะกันเรือ่ ง แย่งของ แล้วแก้ปัญหาโดยยอมให้น้องเล่นก่อน สักห้านาที แล้วก็ขอของน้องคืน น้องก็ยอมคืนให้ แต่ถ้าไม่ยอมทั้งสองคน ก็จะฟ้องแม่”

“ให้เขาคุยกัน อะไรคือต้นเหตุ ให้คุยกันเอง ถ้าไม่ได้ผล แม่ถึงจะไปคุย แต่ไม่ตัดสินทีเดียว ส่วนใหญ่ทะเลาะกันเรื่องแย่งของ ถ้าตกลงไม่ได้ โมโหกันอยู่ จับเอาคนน้องออกมาอยู่กับแม่ก่อน เพราะน้องมักจะคิดว่า ตัวเองเป็นคนเล็กต้องได้ก่อน แล้วให้น้องเล่า แต่แม่ไม่ตัดสิน อะไร พอเล่ า เสร็ จ ให้ น้ อ งนั่ ง รอ แล้ ว เราก็ แ ยกพี่ ไ ปอี ก ที่ โดยไม่ให้ได้ยินกัน ไปฟังพี่เล่ามั่ง แล้วเราก็นั่งจับเข่าคุยกัน สามคน ว่ามันสาเหตุอะไร เรื่องทะเลาะกันบางครั้งเราเครียด ก็คิดว่าเป็นปัญหา แต่ถ้าเราไม่เครียดมันเป็นเรื่องธรรมดา ของบ้านที่มีพี่น้อง สิ่งที่สำ�คัญที่สุดคือพ่อแม่ต้องมีสติให้มาก อย่าไปคิดว่าเรื่องราวที่เขาทะเลาะกันเป็นเรื่องใหญ่” แม่นัท - สายรุ้ง กาจู (คุณแม่ของน้องมินมิน ป.๕ และน้องมาวิน อ.๒)

น้องซัน - ด.ช. อาณา เดชากรณ์ ป.๒

“ส่วนใหญ่ทะเลาะเพราะแหย่กนั ขัน้ แรก แม่ จ ะไม่ เ ข้ า ไปยุ่ ง ให้ จั ด การแก้ ปั ญ หา กันเองก่อน แต่ถา้ ถึงลงไม้ลงมือ จะให้พด่ี แู ล น้องว่าน้องเจ็บตรงไหน ให้โอ๋น้อง ให้น้อง หาย ถ้ า โมโหด้ ว ยกั น ทั้ ง คู่ จั บ แยกออก จากกันคนละมุม แล้วค่อยเอามาคุยกันใหม่ ให้สงบอารมณ์พักหนึ่ง”

แม่นก - พรรณทิพา ลิ้มสวัสดิ์วงศ์ (คุณแม่ของน้องอู๋ ป.๒ น้องเอิร์ธ ป.๑ น้องอูโน่ อ.๒)

๑๒


“ถ้าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอยู่ในรถก็จะเตือนให้หยุด ถ้าไม่หยุดก็จะจอดรถ เพราะทำ�ให้แม่ไม่มีสมาธิขับรถ ลูกก็จะรูโ้ ดยอัตโนมัติ แล้วลูกก็จะบอกว่า จะหยุดแล้วครับ ไม่ทะเลาะแล้ว” แม่จินนี่ - อรริล ไชยะกุล (คุณแม่ของน้องกรรณ ป.๒ และน้องพัช อ.๓)

คำ�แนะนำ�จากจิตแพทย์เด็ก

คำ�แนะนำ�โดย: หมอมินบานเย็น

• เด็กๆอยูด่ ว้ ยกันอาจมีทะเลาะกันบ้าง บางทีถ้าไม่รุนแรง ก็ให้พ่อแม่ดูห่างๆ คอยให้ เขาจัดการการทะเลาะด้วยตัวเองก่อน ถ้าเล็ก น้อยก็ไม่เป็นไร แต่เข้าไปห้ามเมื่อมีการรุนแรง เช่น ตี เตะ ขว้างของใส่กัน จับแยกเลย บอกว่า ทำ�ไม่ได้ ทำ�แบบนี้หยุดเล่นกันเลย • กำ�หนดกฎกติกาของบ้านเลยว่า บ้ า นเราห้ า มใช้ กำ � ลั ง ห้ า มใครตี เตะ ฯลฯ ห้ า มพู ด คำ � หยาบ ที่ สำ � คั ญ คุ ณ พ่ อ คุ ณ แม่ ต้ อ ง ไม่ทำ�เพื่อเป็นตัวอย่างด้วย • ถ้าเด็กทะเลาะกันไม่มากบางทีใช้วธิ ี เบี่ยงเบนความสนใจก็ได้ผลดี เช่น พ่อพาน้อง ไประบายสี แม่พาพี่ไปเดินซื้อของ เลี่ยงอย่าเพิ่ง ให้เจอกันสักพัก เดี๋ยวก็กลับมาเล่นด้วยกันใหม่ • บางทีเด็กจะชอบให้เราตัดสินผิดถูก ไม่ต้องบอกว่าใครผิดหรือถูก แต่ให้ใช้คำ�พูด สะท้อนความรู้สึกของแต่ละคน เช่น “แม่รู้ว่า เอโกรธที่ น้ อ งทำ � บ้ า นเลโก้ ที่ เ อต่ อ มาทั้ ง วั น ล้ ม เอคงเสียดายและเสียใจมาก แม่เห็นใจ” อย่าเพิง่ ไปพู ด ว่ า น้ อ งไม่ ไ ด้ ตั้ ง ใจหรอก โกรธทำ � ไม น้องยังเด็ก คำ�พูดแบบนี้จะยิ่งทำ�ให้เด็กรู้สึกว่า

เราไม่ เ ข้ า ใจเขา ควรค่ อ ยๆ พู ด หลั ง จากที่ สะท้อนความรู้สึกแล้วจะดีกว่า เช่น “แม่รู้ว่าเอ โกรธมากนะลูก น้องคงไม่ได้ตั้งใจ มา เดี๋ยวเรา มาลองต่อกันใหม่ดีไหม แม่จะช่วยด้วย อาจจะ สวยกว่าเดิม ไหนชวนน้องมาช่วยกันด้วยดีกว่า” • บางทีเด็กจะบอกว่าถ้าพีห่ รือน้องได้ อะไร เขาก็ตอ้ งได้ดว้ ย เช่น พีไ่ ด้คา่ ขนมมากกว่า อยากได้เท่าพี่ ก็ต้องสอนเด็กว่าสิ่งของต่างๆ ที่พ่อแม่ให้ล้วนมีเหตุผล อย่างค่าขนมให้เท่ากัน ก็ไม่ได้เพราะพี่อายุมากกว่า ชั้นเรียนสูงกว่า ต้องมีกิจกรรมมีงานที่ต้องทำ�มากกว่า แต่พอ น้องโตเท่าพี่ แม่ก็จะให้ค่าขนมเท่ากับพี่ตอนนี้ เป็นต้น ไม่จำ�เป็นต้องให้เหมือนๆ กัน ต้องตาม เหตุและผล • สิง่ ทีต่ อ้ งหลีกเลีย่ งคือ การเปรียบเทียบ กันระหว่างพี่น้อง เช่น “ดูอย่างน้องสิ ทำ�การ บ้านแป๊บเดียวเสร็จ ไม่เห็นโอ้เอ้เหมือนเอเลย น้ อ งตั ว แค่ นี้ แ ต่ เ ก่ ง ว่ า เอตั้ ง เยอะนะ พ่ อ แม่ เดียวกันจริงหรือเปล่าเนี่ย” คำ�พูดแบบนี้ต้อง หลี ก เลี่ ย ง เป็ น จุ ด เริ่ ม ต้ น ของความอิ จ ฉากั น ระหว่างพี่น้องด้วย

คำ�ถามนี้... ช่วยกันตอบ คือพื้นที่ที่เปิดให้ชาวทอสีได้มีโอกาส ‘ถาม’ และ ‘ตอบ’ ปัญหาต่างๆ ร่วมกัน ท่านสามารถเสนอคำ�ถามหรือปัญหาที่ต้องการให้ชาวทอสีร่วมกันตอบหรือแสดงความเห็น เข้ามาได้ที่ info@thawsischool.com (อาทิ ปัญหาที่ประสบร่วมกันในชุมชน ปัญหาหรือคำ�ถาม เกี่ยวกับการเลี้ยงลูก-จิตวิทยาเด็กและครอบครัว) ๑๓

13


อยู่อย่างทอสี

เรื่อง: ครูแหม่ม - อาภาภัทร ไชยประสิทธิ์, ครูนีโม่ - อุษณีย์ ปุณโณปกรณ์, ครูปู - ณัฐนันท์ เทียนทอง

การเจริญสติเพือ่ สร้างสมาธิเริม่ ได้ตงั้ แต่วยั เด็ก ด้วยหลักการพืน้ ฐานง่ายๆ คือการ ดึงเอาสติและการระลึกรู้มาอยู่ที่ตัวเอง อยู่ที่เสียงที่ได้ยิน ภาพที่เห็น การทำ�ท่าทาง ประกอบ ความรู้สึกระลึกรู้ของร่างกาย จนไปถึงระลึกรู้ลมหายใจ เมื่อเราสามารถอยู่ กับตัวเอง จดจ่อต่อเนื่องได้นาน สมาธิก็จะเกิดขึ้น... ในช่วงวัยที่นักเรียนยังคงมีความ ต้องการเล่น เคลื่อนไหวร่างกาย ทดลองทำ� หรือค้น หาสิ่งที่แปลกใหม่ท้าทายนั้น คงเป็นเรื่องไม่ง่ายที่จะฝึกสมาธิหรือสร้างการเจริญสติให้เกิดขึ้นในชีวิตของพวกเขา แต่ก็เป็นเรื่องที่สามารถฝึกได้ถ้าได้รับการปลูกฝังและเห็นต้นแบบที่ดีงามจากคนรอบตัว

๑๔


รูปแบบการฝึกสมาธิในโรงเรียนทอสี สมาธิ ใ นตารางวิ ถ ี ช ี ว ิ ต ในช่วงเช้าชาวทอสีจะมีการฝึกสมาธิร่วมกัน ที่ ห น้ า แถวเคารพธงชาติ บ้ า ง ในห้ อ งเรี ย นบ้ า ง เป็ น กิ จ วั ต รและเป็ น เสมื อ นสั ญ ญาณการเริ่ ม ต้ น วันแห่งการเรียนรู้ ในระดับประถมศึกษา คุณครู จะกล่าวนำ�สมาธิให้แก่เด็กๆ ส่วนในระดับปฐมวัย มี ก ารใช้ ส มาธิ ป ระกอบเพลงหรื อ สมาธิ มื อ ให้ เหมาะสมกับวัยของเขา

สมาธิ ก ่ อ นเข้ า ชั ้ น เรี ย น เพือ่ เรียกรวมสติกอ่ นเริม่ เรียนวิชาใหม่ เป็นการเจริญสติในระหว่างวัน ปลุกประสาท ให้ตน่ื ตัวพร้อมรับสิง่ ใหม่ดว้ ยใจจดจ่อ เอือ้ ให้ เด็กๆ เกิดความสงบในจิตใจก่อนเริ่มเรียนรู้ ทำ�ให้เรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น

สมาธิ บ ู ร ณาการ กั บ สาระวิ ช า ในระหว่างเติมความรูใ้ ห้เด็กๆ คุณครูประจำ� แต่ ล ะสาระก็ ไ ม่ ลื ม ที่ จ ะคอยเสริ ม การเจริ ญ สติ รวบรวมสมาธิไปกับเนื้อหาการสอนในทุกครั้งที่มี โอกาส เป็นการบูรณาการความรู้คู่ไปกับการฝึก จิตใจ อาทิ เรียนรู้ภาษาอังกฤษผ่านกิจกรรมการ ร้องเพลงประสานเสียงแบบ Canon เรียนรู้ภาษา ไทยผ่านการผนวกบทกลอนหรือคำ�คล้องจองเข้า กับสมาธิแบบเคลื่อนไหวร่างกายประกอบจังหวะ ๑๕

15


การฝึกสมาธิในเด็กทำ�ได้จริงหรือไม่? มีประโยชน์อย่างไร?

ครูต้น ทัศน์เนตรดาว โสรัต หัวหน้าฝ่ายวิชาชีวิตนักเรียนระดับอนุบาล

“การใช้เพลงประกอบกิจกรรมฝึกสมาธิ เหมาะกับเด็กเล็กและเด็กอนุบาลที่ระดับความ นิ่งความจดจ่อยังค่อนข้างน้อย คุณครูจะทำ�ท่า ประกอบเพลง และให้เด็กทำ�ท่าและร้องเพลง ตาม เด็กจะชอบมาก บางคนถึงขนาดเอาไปสอน คุณพ่อคุณแม่ต่อที่บ้านด้วย เมื่อเพลงนั้นๆ ดัง ขึ้นมา เด็กจะรู้และทำ�ท่าประกอบโดยอัตโนมัติ เมื่ อ เด็ ก โตสั ก ชั้ น อ.๒ อ.๓ จะเริ่ ม ปรั บ วิ ธี เพื่อฝึกมากขึ้น โดยการให้เด็กๆ นั่งนิ่งฟังเพลง และเมื่อจบเพลง คุณครูจึงค่อยถามความหมาย และความรู้สึกหลังจากได้ฟังเพลงนั้นๆ”

ครูนาง วารุณี แสนกล้า ครูประจำ�ชั้น ป.๓

“การทีใ่ ห้เด็กฝึกท่องคำ�คล้องจองควบคู่ ไปกับการเคลือ่ นไหวร่างกาย เช่น ปรบมือ ตบตัก เดาะปาก ดีดนิ้ว ไปตามจังหวะ เป็นการพัฒนา ความจำ� ฝึกสมองซีกซ้ายและขวา พร้อมกับมี การเรียนรู้เรื่องพยางค์ พยัญชนะ วรรณยุกต์ ตัวสะกดไปด้วย และนอกจากเป็นการบูรณาการ ไปกับสาระภาษาไทยแล้ว ยังแต่งคำ�คล้องจอง ให้ ส อดคล้ อ งกั บ หน่ ว ยการเรี ย น คุ ณ ธรรม หรือมารยาทต่างๆ เพื่อสอนเด็กไปพร้อมๆ กับ การเสริมสร้างสมาธิได้อีกด้วยค่ะ”

ครูนุช กนิษฐา ชูขันธ์ ครูประจำ�ชั้น ป.๑

“การใช้จังหวะกำ�กับสมาธิด้วยการ เคลื่อนไหว นับว่าเป็นพื้นฐานสำ�คัญในการฝึก สมาธิเบื้องต้นในวัยเด็ก ตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล ถึงประถมศึกษา จังหวะจะเป็นตัวกำ�หนดการ เคลื่อนไหวของร่างกายอย่างมีทิศทาง ก่อให้เกิด สติ คือใจจะจดจ่อต่อเนื่องกับจังหวะที่ได้ยินและ กายที่เคลื่อนไหว เมื่อทำ�ไปเรื่อยๆ จะเกิดสมาธิ การฝึกแบบนี้เป็นการสร้างความสมดุลระหว่าง การเคลื่อนไหวของร่างกายภายในกับภายนอก ทำ � ให้ นั ก เรี ย นมี ค วามพร้ อ มที่ จ ะเรี ย น มี ประสิ ท ธิ ภ าพในการเรี ย นสู ง กว่ า ช่ ว งที่ จิ ต ใจ กระเจิดกระเจิงหรือฟุ้งซ่าน” Teacher Rei Raquel Rei Morgan English Teacher

“A canon is a piece of music in which two or more voices sing the same music starting at different times. As a mindfulness exercise, the students become alert, aware, and learn individuality while working in a team. This exercise brings about cognizance of the self and the people around us.”

๑๖


ภาพบันทึกและงานเขียนของเด็กๆ ป.๒

๑๗

17


เด็กๆ ป.๒ กับ ‘สมาธิก่อนนอน’

เมื่อครั้งเฉลิมฉลองวาระพุทธชยันตี เมื่ อ ช่ ว งวิ ส าขบู ช า ปี ๒๕๕๕ สำ �นั ก งาน กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ ได้จัดโครงการ ‘ธรรมะ ทำ�มะ ๒,๖๐๐ ปีแห่ง การตื่น ๒๖ วันเปลี่ยนชีวิต’ ขึ้นเพื่อรณรงค์ ให้ บุ ค คลทั่ ว ไปตระหนั ก และร่ ว มกั น สร้ า ง พฤติกรรมอันดี (หรือลดละเลิกพฤติกรรมที่ ไม่ดี) โดยเน้นให้ทำ�พฤติกรรมที่มุ่งให้ตนเอง เอาชนะตนเองต่อเนื่องเป็นเวลา ๒๖ วัน... คุณครูประจำ�ชั้น ป.๒ เห็นว่าเป็นโครงการที่ น่าสนใจและเป็นประโยชน์ จึงได้หยิบกิจกรรม การทำ�สมาธิก่อนนอนมาให้เด็กๆ ได้ทดลอง ปฏิบัติต่อเนื่องเป็นเวลา ๒๖ วัน ในภาคเรียนที่แล้ว เด็กๆ ป.๒ จึงได้ ปฏิบัติสมาธิก่อนนอน พร้อมทั้งจดบันทึกลง ในสมุดที่ทางโครงการจัดแจกให้ ผลตอบรับ เป็นที่น่าพอใจมาก ผู้ปกครองรู้สึกชื่นชอบ กิจกรรมนี้ ในบางครอบครัวผู้ปกครองได้มี ส่วนร่วมนั่งสมาธิกับลูกๆ ด้วย

พ่อเอนก เอนก ปิ่นวนิชย์กุล (คุณพ่อของน้องกันต์ ป.๒)

สิง่ ทีค่ ณุ พ่อสังเกตเห็นและรูส้ กึ ได้จาก การนั่งสมาธิของน้องกันต์คือ เด็กเคารพใน ตัวเอง รู้สึกดีกับตัวเอง และเชื่อในเรื่องความดี มากขึ้น เมื่อเขาได้ปฏิบัติ เขาจะเชื่อ และจะ เห็นด้วยตัวเอง แล้วก็จะคิดแต่เรือ่ งดีๆ คุณพ่อ รู้สึกได้เลยว่า จิตของเด็กไว และละเอียดกว่า ผู้ใหญ่อย่างเรา ถ้าเราโยงมาถึงเรื่อง ‘พ่อแม่ คือผู้แสดงโลก’ กิจกรรมนี้จะสอนผู้เป็นพ่อ เป็นแม่ได้ว่า เราจะทำ�อะไรก็ต้องระมัดระวัง เพราะจิตเด็กเขาไว เขาจะรู้สึกถึงสิ่งที่เราทำ� หรื อ อารมณ์ ที่ เ ราแสดงออกได้ เ ร็ ว มาก นอกจากนี้ ยั ง เห็ น ความเพี ย ร และความ ก้าวหน้าของลูก จากทีแ่ รกๆ นัง่ ห้านาที ตอนนี้ เรานั่งสมาธิกันครึ่งชั่วโมงแล้วครับ

๑๘


ในภาคเรียนที่ ๒ ของปีการศึกษา ๒๕๕๕ นี้ คุณครูประจำ�ชั้นยังเล็งเห็นประโยชน์ของ โครงการ จึงได้ต่อยอดกิจกรรมไปอีกหนึ่งภาคเรียน โดยในครั้งนี้เด็กๆ ได้ทำ�สมุดบันทึก ด้วยตนเอง พร้อมทัง้ ได้มกี ารเขียนสรุปสิง่ ทีแ่ ต่ละคนได้รบั จากการนัง่ สมาธิลงในแผ่นกระดาษ... สะท้อนความเป็นจริงที่ว่าพวกเขาสามารถฝึกสมาธิกันได้เป็นอย่างดี ได้เรียนรู้การฝึกจิตใจ ของตนเองด้วยตนเอง เป็นการทำ�สมาธิที่บ้านซึ่งเป็นวิถีการบ่มเพาะที่น่าชื่นชม

ครูอ้อม สุญาดา โสธร ครูประจำ�ชั้น ป.๒

ผลตอบรับที่ได้จากโครงการนี้คือเด็กๆ ๙๐ เปอร์เซ็นต์ นิ่ง มีสติและความสำ�รวมมากขึ้น ต่างจาก ก่อนทำ�โครงการนี้ ในส่วนของการเรียนรู้ เด็กๆ เขาได้ เรียนรู้ในเรื่องของการอยู่กับตัวเอง โดยการเลือกที่จะ ปิดตาและไม่สนใจฟังเสียงรบกวนจากรอบตัว สิ่งที่ครู ประทับใจคือ เด็กๆ สามารถเอาชนะใจตัวเองได้และ มีความอดทนต่อความไม่อยากได้มากขึ้น

คุณแม่ใจดี อาสาวัดไข้ ให้หนูๆ ในช่วงเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ทผี่ า่ นมา มีกลุม่ แม่ๆ อาสาเข้ามาเป็นกำ�ลังเสริม ช่วยประจำ�จุดวัดไข้ในช่วงเช้าที่โรงเรียน ซ้าย แม่รี่ - อัญชลี การุณกรสกุล (คุณแม่ของน้องจีน ป.๔ และน้องไทนี่ ป.๑) กลาง แม่เอ๋ - ศรีมาย แสงอารยกุล (คุณแม่ของน้องกาย ป.๔ และ น้องกันต์ ป.๑) และ ขวา แม่ก้อย - อภิวัน เดชากรณ์ (คุณแม่ของน้องซัน ป.๒ และน้องเซ้นส์ อ.๒) เข้ามาช่วยวัดไข้ให้เด็กๆ ทุกวันพฤหัสบดีและวันศุกร์ ตั้งแต่เจ็ดโมงครึ่ง และเข้าไปดูแล งานในห้องพยาบาลต่อจนกระทั่งสิบโมงเช้า นอกจากการวัดไข้แล้ว กลุ่มคุณแม่ยังให้ความ สำ�คัญและพยายามปลูกฝังเรื่องมารยาท ทั้งการสวัสดี การขอบคุณ ให้กับเด็กๆ อีกด้วย ทางโรงเรียนขอขอบพระคุณและอนุโมทนาคุณแม่อาสาทั้งสามท่านไว้ ณ ที่นี้ด้วยค่ะ ๑๙

19


หน้านิทาน... อ่านด้วยกัน

ภาพ: ครูย้ง - พีรพัฒน์ ตติยบุญสูง

พระสาคะตะเป็นพระทีน่ งั่ สมาธิเก่งมาก มี อ ยู่ ปี ห นึ่ ง พระสาคะตะได้ ธุ ด งค์ อ ยู่ แ ถวเมื อ ง โกสัมพี ทีเ่ มืองนีเ้ ดิมชาวบ้านได้ขอให้พระพุทธองค์ ทรงไปช่วยปราบพญานาคตัวใหญ่นา่ กลัว พญานาค ตัวนีเ้ ป็นพาล คอยรังควานชาวบ้านอยูท่ โ่ี รงบูชาไฟ ของพวกชฎิ ล แต่ พ ระพุ ท ธองค์ ไ ม่ ม าตามคำ � นิมนต์ เพราะไม่ต้องการให้ชาวบ้านเกิดความ เลื่ อ มใสนั บ ถื อ พระองค์ เพี ย งด้ ว ยเหตุ ผ ลว่ า ทรงเป็นผู้มีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ บังเอิญในวันหนึง่ พระสาคะตะได้ไปนัง่ สมาธิ อยู่ที่โรงบูชาไฟนั้น พญานาคซึ่งเป็นนาคนิสัยไม่ดี เห็นแล้วโกรธ ไม่พอใจ ที่มีพระเข้ามาในที่ของตน คิดว่าจะไล่พระสาคะตะออกไป จึงทำ�ให้ควันออก จากร่างกายมากมาย พระสาคะตะเห็นแล้วก็ไม่กลัว และท่านก็มีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ ได้ทำ�ให้ควันออก จากตัวท่านเหมือนกัน และควันของท่านก็มาก กว่าควันของพญานาค พญานาคเห็นแล้วประหลาดใจจึงพ่นไฟ ออกไป พระสาคะตะรู้ ทั น จึ ง เข้ า สมาธิ กำ � หนด เตโชกสิณ คือภาวนาเอาไฟเป็นอารมณ์ และก็ สามารถพ่ น ไฟออกมาจากตั ว ท่ า นไปชนกั บ ไฟ จากพญานาค สุดท้ายพระสาคะตะเป็นฝ่ายชนะ สยบฤทธิ์ ข องพญานาคได้ พวกชาวบ้ า นเห็ น อิทธิฤทธิ์ของท่านแล้วจึงเกิดความเคารพนับถือ

ศรั ท ธา เลื่ อ มใสท่ า นมาก อยากจะถวายของ จึงถามท่านว่าอะไรเป็นของหายากและของชอบใจ ของท่าน หรือที่จะเป็นประโยชน์ เพราะชาวบ้าน เหล่านี้อยากจะตอบแทนบุญคุณท่าน พระฉัพพัคคีย(พระที ์ ไ่ ม่เรียบร้อย)ถือโอกาส ตอบแทนพระสาคะตะ “ท่านตอบเองไม่ได้หรอก เดีย๋ วพวกเรา จะตอบให้ สิ่งที่ท่านชอบคือเหล้า เหล้าใสสีแดง ดังเท้านกพิราบ เป็นของหายาก เป็นของที่ชอบใจ ของพระทั้งหลาย” ชาวบ้านทราบแล้วก็ยนิ ดี เดีย๋ วคนนัน้ คนนี้ จะซื้ อ ให้ วั น รุ่ ง ขึ้ น พระสาคะตะเดิ น บิ ณ ฑบาต ทุกบ้านนิมนต์ทา่ นให้ฉนั เหล้าใสแดงดังเท้านกพิราบ “นิมนต์เจ้าค่ะ นิมนต์ทางนี้เจ้าค่ะพระ อาจารย์” ด้วยความทีท่ า่ นเกรงใจโยม จึงต้องฉัน ทุกบ้านตามที่ชาวบ้านถวาย ฉันแล้วก็เมา เดิน

๒๐


“นีแ่ หละโทษของการกินเหล้าการฉันเหล้า” พระองค์สรุป จากนัน้ พระพุทธองค์จงึ ทรงบัญญัตสิ กิ ขาบท ห้ามพระภิกษุสงฆ์ดื่มสุราเมรัย ด้วยเห็นถึงโทษ ๒ ประการ

โซเซจนล้มไปนอนกลิ้งอยู่ที่ประตูเมือง พอตอนสายพระพุทธองค์เดินเข้าไปในเมือง เห็นพระสาคะตะนอนกลิ้งอยู่ที่ประตูเมือง จึงทรง ให้พระช่วยกันหามไปไว้ที่วัด แล้วให้นอน จัดให้ ศีรษะหันไปทิศทางพระพุทธเจ้า แต่ความทีท่ า่ นยังไม่สร่างเมาพลิกไปพลิกมา สุดท้ายเท้าท่านก็ยื่นไปทางพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์เห็นแล้วจึงตรัสถามพระสงฆ์รูปอื่น “ปกติท่านสาคะตะเป็นผูท้ มี่ คี วามเคารพรัก ในพระตถาคตใช่ไหม?” “ใช่! พระเจ้าข้า” พระช่วยกันตอบ “และเดีย๋ วนีส้ าคะตะมีความเคารพรักใน พระตถาคตไหม?” พระพุทธองค์ทรงถาม “ไม่มีพระเจ้าข้า” “เมือ่ วันก่อนพระสาคะตะได้ปราบพญานาค ที่โรงบูชาไฟใช่ไหม?” “ใช่ พระเจ้าข้า” “เดี๋ยวนี้ อย่าว่าแต่พญานาคเลย แม้แต่ ปลาไหลตัวเล็กๆ ที่อยู่ในแม่น้ำ�จะชนะได้ไหม?” “ไม่ได้ พระเจ้าข้า”

ประการที่ ห นึ่ ง พอเมาแล้ ว ความเคารพ นับถือ ความรู้สึกที่ว่าอะไรผิดอะไรถูกก็จะหายไป ถึงแม้จะชั่วคราว สามารถทำ�สิ่งที่ปกติไม่กล้าทำ�ได้ เช่น พระสาคะตะผู้ไม่เคยแม้แต่จะคิดที่จะยื่นเท้า ออกไปทางพระพุ ท ธเจ้ า แต่ พ อเมาแล้ ว ทำ � ได้ ทำ � จนเสี ย สมณสารู ป เห็ น จากที่ ไ ปนอนกลิ้ ง อยู่ ประตูเมืองให้ชาวบ้านเห็น ทำ�ให้เกิดความรังเกียจ ความดูถูกดูหมิ่น ประการทีส่ อง ความสามารถด้านต่างๆ ก็หายไป เช่น แต่ก่อนสมาธิดีมาก สามารถพ่นไฟ ออกจากตัวท่านได้ เพราะท่านแน่วแน่มาก แต่พอ เมาแล้วหมดสภาพ ที่มา: หนังสือ ‘โหลหนึ่งก็ถึง: คุณธรรม ๑๒ ประการ เพื่อความ สำ�เร็จในการศึกษาวิถีพุทธ’ ซึ่งคัดจากพระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์ชยสาโร ปี ๒๕๔๗ เรื่อง ‘หลงนิวรณ์ปัญญาอ่อน’

ภาพวาดเรื่อง ‘พระสาคะตะเมาเหล้า’ ฝีมือเด็กๆ ป.๑ เมื่อครั้งครูย้งเข้าไปทำ�กิจกรรม ‘เล่าไปวาดไป’ กับเด็กๆ ในชั้นเรียน ๒๑

21


ชวนคุย

เบิกบานในสวนผัก ปลูกมิตรรักในโรงเรียน เรื่อง: ครูหยก - วรรณวนัช บูรพาเดชะ

“วันนี้แอบไปดูแปลงผักมา สลัดโต ขึ้นนิดหนึ่ง ตะไคร้แตกใบแล้ว แข่งกัน ชู ช่ อ เห็ น แล้ ว ชื่ น ใจ” ข้ อ ความในไลน์ แอพพลิเคชั่นยอดนิยมในสมาร์ทโฟน ของคนเมือง เด้งดึ๋งข้อความขึ้นมาสั้นๆ แต่ชวนให้ติดตาม... หลายเดือนที่ผ่าน มานี้ ครู ห ยกได้ มี โ อกาสคอยติ ด ตาม ข่ า วสารและเป็ น กำ � ลั งใจให้ กั บ ‘นั ก ปลูก’ กลุ่มหนึ่งในโรงเรียน เป็นกลุ่ม ผู้ ป กครองทอสี ที่ เ ป็ น ทั้ ง นั ก ปลู ก และ ‘นั ก เรี ย น’ ... และคงพู ด ได้ ว่ า เป็ น นักเรียนที่ขยัน (ปลูก) และเข้าเรียน สม่ำ � เสมอที่ สุ ด กลุ่ ม หนึ่ ง พ่ อ ๆ แม่ ๆ กลุ่มนี้เขานัดทำ�งานกลุ่มร่วมกันผ่านทั้ง ไลน์ เฟซบุ๊ก ทั้งส่งข่าวสาร ส่งน้ำ�ใจ และมาเจอะหน้าเจอตัวกันเพื่อลงแรง ในแปลงผักเป็นระยะๆ บางท่านอาจจะสังเกตเห็นแล้วว่า ตอนนี้ ที่ บ ริ เ วณข้ า งลานจอดรถของ โรงเรียน มีแปลงผักนามว่า ‘เบิกบาน’

กำ � เนิ ด ขึ้ น แล้ ว แต่ บ างท่ า นอาจยั ง ไม่ทราบถึงทีม่ าทีไ่ ป รวมถึงจุดมุง่ หมาย ของการทำ�แปลงผักนี้ บางท่านอาจจะ เคยเห็นสื่อประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้ ผู้ ป กครองมาทำ � กิ จ กรรมในแปลงผั ก ด้วยกัน แต่ก็อาจไม่รู้ชัดว่าใครกันหนอ ที่เป็นคนนำ�กิจกรรมเหล่านี้ เพื่อไขข้อ ข้องใจทั้งปวง ‘ชวนคุย’ ครั้งนี้ ครูหยก ได้มีโอกาสคุยกับแกนนำ�หลักของกลุ่ม คือ พ่อกุ๊ก - ชุมพล พิพัฒน์เมฆินทร์ (คุณพ่อของน้องปันปัน อ.๓ และน้อง แป๋มแป๋ม อ.๑) ผูป้ กครองสายกิจกรรม เจ้าเก่า พร้อมกันนี้ ยังได้ชวน คุณฤทธิ-์ ศุภฤทธิ์ ทวีเกียรติ กัลยาณมิตรจาก กลุ่ ม ‘เมื่ อ คนเมื อ งอยากปลู ก ผั ก ’ มาร่วมพูดคุยในฐานะผู้ที่ช่วยสนับสนุน กิจกรรมในสวนผักเบิกบานอีกคนด้วย

๒๒ 22


ก็ดีใจนะที่เขาอยากเข้ามากัน

พ่อกุ๊ก

คุณฤทธิ์

สวนผักเบิกบานที่บริเวณข้างลานจอดรถเกิดขึ้น มาได้อย่างไรคะ พ่ อ กุ๊ ก : มั น เริ่ม มาจากอยากจะปลูกผัก ในโรงเรียน เริ่มมาจากพอเราเรียนรู้เรื่องการ ปลูกผัก พอเริ่มเข้าใจกระบวนการการทำ�งาน ก็เลยอยากจะถ่ายทอดให้กับผู้ปกครอง ทีน้ีตอน แรกก็ ไ ปดู แ ปลงผั ก ในโรงเรี ย นก่ อ น พบว่ า มี ปัญ หาเรื่อ งแสงแดดไม่มี ปลูกอะไรก็ลำ�บาก ก็เลยมาดูพื้นที่ ที่ลานจอดรถนี้แดดเยอะมาก และเป็นที่รกร้างไม่ได้ทำ�ประโยชน์อะไร ก็เลย ลองคุยกับทางคุณครู และครูออ้ นทราบข่าวก็เลย ได้ถามครูอ้อนเรื่องนี้ หลักๆ คือจะปลูกผักเพื่อ การเรียนรู้ ไม่ได้เน้นเรื่องปลูกเพื่อกิน การเรียนรู้เป็นเป้าหมายเลยหรือคะ พ่อกุก๊ : ใช่ แต่กไ็ ม่ใช่เชิงเกษตรกร เป็นการ เรียนรู้ด้วยกัน เรียนรู้พร้อมๆ กัน แล้วพอท่าน ผู้หญิงเล็ก (ท่านผู้หญิงปรียา เกษมสันต์ ณ อยุธยา เจ้าของพื้นที่บริเวณที่จอดรถโรงเรียน) อนุญาต ก็เลยชักชวนกลุ่ม ‘เมื่อคนเมืองอยาก ปลูกผัก’ มาช่วย... หลังจากจัดอบรมผู้ปกครอง กับคุณปริ๊นท์หนึ่งรอบ และทำ�งานทางความคิด กับกลุ่มเมื่อคนเมืองอยากปลูกผักอีกหนึ่งรอบ ในช่วงแรกกลุม่ ผูป้ กครองในกลุม่ ‘ทอสีเบิกบาน’ (กลุ่มริเริ่มทำ�กิจกรรมอาสาต่างๆ ในกองทุน พัฒนาครูวิถีพุทธโรงเรียนทอสี) ก็มาช่วยกัน ทำ � งาน ในระยะต่ อ มาก็ มี พี่ ๆ เจ้ า หน้ า ที่ ใ น โรงเรี ย นมาช่ ว ยทำ � เช่ น พี่ บุ ญ ส่ ง พี่ อุ ด ม การทำ�งานก็ช่วยๆ กันทำ� ผมเองโดยส่วนตัว

คุณฤทธิ์มาร่วมงานกับพ่อกุ๊กที่ทอสีได้อย่างไรคะ คุณฤทธิ์: ผมกับพี่กุ๊ก เราไปอบรมที่บ้าน เจ้าชายผัก (คุณปริ๊นซ์ - นคร ลิมปคุปตถาวร แห่งกลุ่มสวนผักคนเมือง) ด้วยกัน พี่กุ๊กก็เคย เกริ่ น ๆ เปรยๆ ไว้ ว่ า ทางทอสี ก็ มี กิ จ กรรม ลักษณะนี...้ เราเห็นว่าสิง่ นีเ้ ป็นสิง่ ทีด่ ี มีประโยชน์ หลายอย่ า ง เราเคยไปทำ � กิ จ กรรมที่ บ้ า นพั ก ฉุกเฉิน ซึ่งตอนนั้นเราไม่ได้เป็นคนนำ�กิจกรรม แต่ เ ราเป็ น ผู้ ต ามที่ ดี คุ ณ ชู เ กี ย รติ (ชู เ กี ย รติ โกแมน บรมครูด้านเกษตรในเมืองคนสำ�คัญ) เขาไปทำ�แปลงผักให้น้องๆ ที่นั่น เราก็ได้อาศัย ว่าเราได้ไปร่วมด้วยช่วยกัน นอกจากน้องๆ เขา จะมีแปลงผักเอาไว้กินผักกันในองค์กรแล้ว ก็ยัง ทำ � ให้ เ ราเองได้ รู้ เ ทคนิ ค ในการปลู ก ผั ก ในเชิ ง ที่เป็นภาพใหญ่ขึ้น เป็นแบบเกษตรกรตัวจริง เพราะส่วนใหญ่เราก็ปลูกในกระถาง... จุดตรงนั้นเลยจุดประกายว่า เราเองก็ชอบ ทำ�งานสังคม ในส่วนของโรงเรียนทอสี เราก็อยาก จะโฟกั ส ว่ า ให้ เ กิ ด เป็ น แปลงผั ก ขึ้ น มาได้ จ ริ ง และเราก็อยากจะผลักดัน... การทำ�สวนผักเป็น งานที่ต้องดูแลต่อเนื่อง มีการบำ�รุงรักษาและ ดูแลเยอะ ถ้าคนไม่รักไม่ชอบ ‘ไม่ใจ’ ก็ไม่ ต่อเนื่อง เราอยากให้เกิดที่ใดที่หนึ่ง และเกิดจริง เรามาที่น่ีถึงแม้เราจะไม่ได้อะไร ออกค่าใช้จ่าย เอง หรือไม่มีใครจ้างให้เรามา แต่เรามาที่นี่แล้ว ก็รู้สึกสบายใจ ทำ�งานกับพ่อกุก๊ และชาวทอสี รูส้ กึ อย่างไรบ้างคะ คุ ณ ฤทธิ์ : พ่ อ กุ๊ ก เป็ น คนยื ด หยุ่ น มาก เขาเป็นคนที่ประเมินการทำ�งานตามกำ�ลังได้ดี เขาไม่บีบ ไม่ push มาก ซึ่งการทำ�งานแบบนี้ ใครทำ � งานด้ ว ยก็ ส บายใจ ที่ นี่ บ รรยากาศก็ ดี นโยบายของความเป็นวิถีพุทธเหล่านี้ ก็เป็นวิถี ที่เราใกล้เคียงกัน และเราเดินไปด้วยกันได้ ๒๓

23


ทราบมาว่าการปลูกผักที่คุณฤทธิ์ทำ�อยู่ ไม่ใช่ การเล็งที่ผลสัมฤทธิ์ใช่ไหมคะ คุณฤทธิ์: ใช่ๆ เราบอกอยู่แล้วว่าอย่าไป สนใจผลลัพธ์ การทำ�เพื่อหวังผลผลิต ผมไม่เห็นด้วยเลยนะ ผมกลับรู้สึก ว่าปลูกผักแล้วมันตายนี่ไม่เป็นไร นะ แต่ถ้าปลูกผักแล้วตาย แล้วเรา ไม่รู้ว่าตายเพราะอะไรนี่เรื่องใหญ่ มันเท่ากับว่าเราไม่ได้ ‘เรียนรู้’

ตอนนี้กำ� ลั ง ของคณะทำ � งานพอเพี ย งไหมคะ พ่อกุก๊ อยากให้กลุม่ ผูป้ กครองใหญ่กว่านีไ้ หมคะ พ่อกุก๊ : ถ้ากลุม่ ใหญ่กว่านีไ้ ด้กด็ คี รับ ผมเอง หลักๆ คือไม่ได้เน้นให้เราทำ�แปลงเกษตรเป็น เพื่อไปทำ�แปลงเองที่บ้าน แต่เป้าหมายหลักคือ การเรียนรู้ ให้คุณมีองค์ความรู้พอที่จะพึ่งพา ตนเองได้ เมื่อคุณมีความรู้แล้วคุณจะซื้อหรือจะ ปลูก หรือเลือกวิธีปฏิบัติอย่างไรก็แล้วแต่คุณ จะเน้นเรื่องการ ‘กินเป็น’ ทีนี้เมื่อคุณรู้แล้วว่า กินแบบไหนดี แต่คุณปลูกเองไม่ได้ แล้ววิธีไหน ทีเ่ ราจะกินผักอินทรียไ์ ด้ละ่ ... ก็เลยเชือ่ มโยงมาที่ เรื่อง ‘ตลาดสีเขียว’ ...ส่วนตัวผมคิดว่าการที่ กลุ่มที่โรงเรียนเราฝึกปลูกผักเอง คงไม่ใช่เพราะ

เราต้องการปลูกผักกินเองร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่เป็น การสร้างความเข้าใจในกระบวนการของเกษตรกร อินทรีย์ด้วย ว่าที่ผักอาจจะไม่สวยไม่งาม และ ราคาสูงนั้น เพราะอะไร นั่นเป็นเพราะผักที่ เกษตรกรอินทรีย์ปลูกไม่ใช่อุตสาหกรรม ไม่ใช่ ว่าเขาจะอัดเข้าไปหนึ่งร้อย แล้วได้มาเก้าสิบห้า ไม่ได้สั่งได้ ยังมีปัจจัยเรื่องดินฟ้าอากาศ การที่ เราเรียนรู้ที่จะปลูกเอง ทำ�ให้พวกเราได้รู้ด้วย ตัวเองถึงเรื่องเหล่านี้ แล้วความรู้สึกของกลุ่มผู้ปกครองที่มาช่วยทำ� สวนผักเบิกบานเป็นอย่างไรบ้างคะ พ่อกุ๊ก: คงจะไม่ถือเป็นกลุ่ม คงนับได้เป็น คน (หัวเราะ) หลายๆ คนก็มาเล่าให้ฟัง อย่าง แม่นัท (คุณแม่ของน้องมินมิน ป.๕ และน้อง มาวิน อ.๒) เขาก็ไม่ได้มาร่วมกิจกรรมทุกครั้ง แต่เขาก็มาเล่าให้ฟังทุกครั้ง หลังจากทำ�ปุ๋ยหมัก หรือทำ�อะไรที่ได้ผลก็จะมาเล่าให้ฟัง บางท่าน บอกว่าเมื่อก่อนก็บริโภคอย่างเดียว แต่มาตอนนี้ ก็เริ่มอยากจะทำ�น้ำ�หมักไปใช้กับห้องน้ำ�ที่บ้าน ใช้กับคลอง เวลาเห็นแม่ค้าจะทิ้งผัก เขาก็ไปขอ มาเพือ่ มาทำ�น้�ำ หมัก คือเขาเห็นประโยชน์ของเรือ่ ง การแยกขยะ และการทำ�เรื่องพวกนี้ ...ซึ่งผลที่ เกิดจากการปลูกผักไม่ใช่ว่าโดยตรงเสียทีเดียว

๒๔ 24


ตลาดวันจันทร์สเี ขียว ทีห่ น้าร้านพอเพียง ตลาดเกษตรอินทรีย์ ขนาดกะทั ด รั ด เปิ ด ให้ บ ริ ก ารทุ ก วั น จั น ทร์ ตั้งแต่บ่ายสองโมง จำ�หน่ายผักอินทรีย์ น้ำ� สลัด กะปิแท้ น้ำ�ตาลอินทรีย์ ไข่ไก่ ฯลฯ เป็ น ผลผลิ ต จากกลุ่ ม สวนผั ก เขตสายไหม กลุ่มกินเปลี่ยนโลก และผองเพื่อนชาวเกษตร อินทรีย์ ผู้ปกครองที่สนใจพกตะกร้า ถุงผ้า และภาชนะมาอุดหนุนได้นะคะ

แต่กเ็ ชือ่ มโยงไปในเรือ่ งอืน่ ๆ ทีเ่ กีย่ วกับสิง่ แวดล้อม ความสนใจของผู้คนในเรื่องการปลูกผักนี้เพิ่มขึ้น ชัดเจนไหมคะ ในช่วงปีที่แล้วหรือปีนี้ คุณฤทธิ์: ผมว่าปัจจัยบวกอาจจะเป็นเรื่อง น้ำ�ท่วมนะ แต่ก่อนหน้านี้ผมเชื่อว่าคนก็สนใจ อยูแ่ ล้วแหละ แต่วา่ ไม่มตี วั จุดประกายทีจ่ ะไปต่อ ในขณะที่ตอนนี้มีการขับเคลื่อนอย่างเป็นระบบ และจริงจังจาก สสส. โดยผ่านมูลนิธเิ กษตรกรรม ยั่งยืน เขาก็จะโปรโมตในเรื่องของ Thai City Farm หรือสวนผักคนเมือง ที่จะให้เกิดความ แพร่หลายหรือกระจายมากขึ้น ‘เมื่อคนเมือง อยากปลูกผัก’ เองเป็นกลุ่มอิสระ ก่อตั้งโดย ประชาชน เราเองก็เห็นว่าเป็นเรื่องดี ก็อยากจะ เผยแพร่ด้วยเหมือนกัน ก็มีคนมากขึ้น แต่ก็ สีเขียว

แนะนำ�สำ�หรับคนรัก

www.facebook.com/ cityfarmwww.facebook.com/BIG-

‘สวนผักเบิกบาน’ เข้าร่วมในโครงการ สวนผักคนเมือง ปัจจุบันพ่อกุ๊กได้เป็นตัวแทนของโรงเรียน ทอสี ใ นการดำ � เนิ น การให้ ส วนผั ก เบิ ก บาน เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในโครงการสวนผักคน เมืองเป็นที่เรียบร้อยแล้ว มูลนิธิเกษตรกรรม ยั่งยืน (ประเทศไทย) ซึ่งได้รับการสนับสนุน งบประมาณจาก สสส. จะให้ทุนสนับสนุนการ ดำ�เนินการในเบื้องต้นเป็นระยะเวลา ๑ ปี ทั้งนี้ เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการเลือก บริโภคที่ถูกต้องและการปลูกผักสวนครัวปลอด สารพิษด้วยวิถีทางตามแนวเกษตรอินทรีย์ เพื่อ ให้มีอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพไว้บริโภค และเป็นการพึ่งตนเองด้านอาหาร สอดคล้อง กับการเรียนรู้ในวิถีพุทธ-ปัญญาที่เป็นการเรียน รู้เรื่องการกินเป็นอยู่เป็น ๒๕

25


ปลู ก พื ช ผั ก อิ น ทรี ย์ ถ้ า เป็ น ไปได้ เ ราก็ จ ะขอ อุดหนุนเขาด้วย แล้วก็มีกลุ่มเด็กๆ ที่ธรรมศาสตร์ด้วยใช่ไหมคะ ที่เรารับของเขามาขายในร้านพอเพียง พ่อกุ๊ก: ใช่ๆ เราเห็นว่าเขาตั้งใจทำ� ทำ�กัน สองคน ผมก็ไปดูแปลง แม้จะปลูกในเมือง เขาก็ ไม่ได้ใช้เคมีในการปลูก ยังเป็นคนส่วนน้อย ...เทรนด์นมี้ า ส่วนใหญ่ ก็เป็นคนรักสุขภาพและตระหนัก แต่เขาไม่มี ทางเลือก พอเขาไม่มีทางเลือก เราก็ต้องสร้าง ทางเลือกเอง บางทีการจะไปซื้อผักอินทรีย์ ในท้องตลาด ถ้าศึกษาดีๆ แล้วก็จะพบว่ามี การหมกเม็ด หรือห้างฯ ที่บอกว่าสนับสนุน ทางนี้ ก็ ก ลั บ ตรวจเจอผั ก ชี ที่ มี ส ารพิ ษ เกิ น มาตรฐานห้าเท่า ก่อนหน้านี้เคยคุยกับพ่อกุ๊กในเรื่องที่ว่าจะนำ� ผักเข้าโรงครัวของโรงเรียน มีความเป็นไปได้ มากน้อยแค่ไหนคะ พ่ อ กุ๊ ก : เบื้ อ งต้นที่คุยกันไว้ ถ้าทำ�ได้ ก็อยากให้เข้าโรงครัว แต่ตอนนั้นผมยังไม่รู้ว่า โรงครัวทำ�งานอย่างไร หลังจากคุยกับโรงครัว แล้ว มันก็เป็นไปไม่ได้เลย (หัวเราะ) เพราะว่า โรงครัวเขาใช้ผักแต่ละชนิดวันละ ๑๐ กิโล (หัวเราะ) ซึ่งมันไม่ได้เลย อาจจะได้แค่มื้อ พิ เ ศษ แม้ แ ต่ ก ารที่ โ รงครั ว ไปรั บ ผั ก จาก เกษตรกรอิ น ทรี ย์ เ อง ก็ ยั ง ได้ ไ ม่ เ พี ย งพอ... ผมเลยคิดว่าอย่างนี้ ไหนๆ เราก็เชื่อมโยงไป ถึงเกษตรกรเลยดีกว่า เกษตรกรก็ซัพพอร์ตเรา เราก็ได้กินผักดีตามฤดูกาล เกษตรกรอินทรีย์ ที่ดีๆ เขาก็จะอยู่ได้... ทีนี้เกษตรกรพื้นที่เดียว ก็ไม่แน่ใจว่าจะซัพพอร์ตเราได้ตลอดหรือเปล่า... ผมเลยกลั บ ไปที่ ต ลาดสี เ ขี ย ว ซึ่ ง เขาเป็ น เซ็นเตอร์ดูแลเกษตรกร สนับสนุนเกษตรกร

ที่พ่อกุ๊กทำ�เรื่องนี้อยู่ทุกวันนี้ สิ่งที่พ่อกุ๊กได้รับคือ อะไรคะ พ่อกุ๊ก: สิ่งที่ผมทำ�แล้วได้เลยทันที คือรู้สึกตัวเองมีคุณค่า ทำ�ประโยชน์ ให้คนอื่น แค่นั้นเอง สิ่งต่างๆ ที่ได้มา อาจจะไม่ได้ตามเป้าที่วางไว้ แต่ก็ได้ ทำ�ประโยชน์แล้ว เป็นสิ่งที่ทำ�ปุ๊บก็ได้ เลย ไม่ต้องไปรอ

ไม่ต้องรอใครชื่นชม เราทำ� เราก็ได้เลย... ทุกสิ่ง ทุกอย่าง ผมพูดตรงๆ ผมก็ได้มาจากโรงเรียน เป็นเรื่องที่แล้วแต่ใครจะเก็บเกี่ยวได้ สืบสาวไปดู กันจริงๆ ผมว่านี่มาจากเรื่อง ‘เกิดมาทำ�ไม’* แค่ นั้ น เอง... ตอนแรกผมก็ ไ ม่ เ ชื่ อ ที แ รกก็ ดู แล้วเฉยๆ คงเป็นเรื่องที่สอนเด็ก แต่พอเราคิด ดู... ก็เออเนอะ เราเกิดมาทำ�ไมนะ เชือ่ มโยงไปคิด ก็เพราะมาจากเรื่องนี้ ไม่น่าเชื่อว่ามันก็เป็นสปริง บอร์ดไปได้ * เกิดมาทำ�ไม

เป็นละครประเพณีที่คณะครูจัดให้เด็กๆ ทอ สีที่เข้าใหม่ชมในช่วงวันแรกๆ ของการมาโรงเรียน เป็นละครเพลงที่มีตัวละครเอกเป็นลูกแพะ แพะน้อย ออกเดินทางไปถามคำ�ถามกับสัตว์ต่างๆ อาทิ หมู แมว นกยูง ว่า ‘เราเกิดมาทำ�ไม’ จนในที่สุดก็ได้ คำ�ตอบจากพี่พระอาทิตย์ว่า เราเกิดมาก็เพื่อสร้าง ประโยชน์ นั่นเอง

๒๖ 26


โยคะฝึกกายสบายจิต Yoga for Children

ท่ากระต่ายหมอบ Rabbit Posture เรียบเรียงเรื่อง: ครูน้ำ�อ้อย - น้ำ�อ้อย สืบดี ผู้แสดงท่าประกอบ : ต๊อดติ - ด.ช. อัครชัย มหาเปารยะ ป.๑

การฝึกโยคะ เป็นการออกกำ�ลังกายที่เบา ทำ�ให้แข็งแรง ไม่เหนื่อยมาก และไม่มีแรงกระแทก อย่าลืม...เล่นไปพร้อม กับลูกๆ สร้างความสัมพันธ์ ร่างกายสดชื่นและแข็งแรงกัน ทั้งครอบครัว ประโยชน์ : บริ ห ารกล้ า มเนื้ อ หลั ง เชิงกราน สะโพก ให้ยดื เหยียดและผ่อนคลาย เป็ น ท่ า ที่ ดี ที่ สุ ด ท่ า หนึ่ งในการผ่ อ นคลาย จะรู้สึกถึงความสบายตัว นั่งบนส้นเท้า โดยให้หลังเท้าสัมผัสราบกับพื้น

ยกแขนทั้งสองข้างชูขึ้นเหนือศีรษะ ให้ฝ่ามือประกบชิดกันเหมือนกำ�ลัง ไหว้ แขนตึง ยืดตัวจนรู้สึกตึงพร้อมทั้งค่อยๆ หายใจเข้าให้ลึกสุด ค่อยๆ โน้มตัวไปด้านหน้าอย่างช้าๆ จนแขนทั้งสอง สัมผัสกับพื้น ปลายนิ้วราบกับพื้น แต่ก้นยังอยู่บน ส้นเท้า พร้อมทั้งผ่อนลมหายใจออกช้า ค้างอยู่ในท่านี้สักครู่ หายใจเข้าออกช้าและลึก แล้วค่อยๆ ดันตัวขึ้น พร้อมทั้งหายใจเข้าให้ลึกแล้วผ่อนลมหายใจออกอย่างผ่อนคลาย หนังสืออ้างอิง : • โยคะเพื่อสุขภาพ โดย ชื่นชม สิทธิเวช • คุยตัวตัวกับครูโยคะ โดย ถือศีล ดิฐวัฒน์โยธิน • โยคะฝึกสมาธิ โดย เกศสุดา ชาตยานนท์ • Yoga for Children โดย Bel Gibbs • Yoga for Children โดย Swati and Rajiv Chanchani ๒๗

27


อ่านแล้วชื่นใจ เมื่ อ วั น ที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๕๖ พระอาจารย์ ช ยสาโรเมตตามาเยื อ นโรงเรี ย นทอสี และแสดงพระธรรมเทศนาแก่เด็กๆ และคุณครู หลังจากวันนั้น เหล่าเด็กๆ ชั้น ป.๓ ได้กลับ ไปเขียนบันทึกถึงการฟังธรรมจากพระอาจารย์ มีชิ้นงานที่ ‘อ่านแล้วชื่นใจ’ หลายชิ้น ในที่นี้ ขอยกมาให้อ่านกันสองชิ้นค่ะ

๒๘ 28


๒๙

29


ห้องเรียนพ่อเเม่

แนะวิธีอ่านหนังสือภาษาอังกฤษ กับลูกให้สนุก เรื่อง: แม่นุ้ย - พสุนธรา เทพปัญญา (คุณแม่ของน้องพีม ป.๕), แม่จูน - จูน ไกรฤกษ์ (คุณแม่ของน้องเจ็ม ป.๕ และน้องจีน ป.๒)

การอ่านหนังสือกับลูกเป็นกิจกรรมที่สนุก และเป็นการใช้เวลาอยู่ด้วยกัน ที่ดี ใช้เวลาเพียงสั้นๆ และทำ�ได้ทุกวัน การอ่านหนังสือนิทานภาษาอังกฤษ หากเริ่มตั้งแต่ เล็กๆ เด็กๆ จะเกิดความรักการอ่าน เกิดความคุ้นเคย และเห็นว่าเป็นเรื่องสนุก การที่ ได้ยินได้ฟังได้ผ่านตาบ่อยๆ จะทำ�ให้เด็กมีทัศนคติที่ดีกับภาษาอังกฤษ อีกทั้งหนังสือ ในยุคนี้มี ให้เลือกอ่านมากมาย ทั้งภาพประกอบที่สวยงามและเนื้อเรื่องที่สนุกสำ�หรับ เด็กทุกวัย การที่คุณพ่อคุณแม่อ่านหนังสือให้ลูกฟังเป็นประจำ�ที่บ้าน จะช่วยเพิ่มคลัง คำ�ศัพท์ให้กับลูกแบบธรรมชาติ โดยที่ไม่ต้องท่องจำ� เกร็ดการอ่านหนังสือนิทานกับลูกที่บ้าน • คุ ณ พ่ อ คุ ณ แม่ อ่ า นไปด้ ว ย ใช้ นิ้ ว ชี้ ไปด้ ว ยตามคำ � ที่ อ่ า น สลั บ กั บ ชี้ ไ ปที่ รู ป ภาพ ลูกจะเริ่มเชื่อมโยงคำ�ศัพท์ที่ได้ยินกับตัวหนังสือ ที่คุณแม่ชี้ประกอบกับรูปภาพ

• อ่านด้วยน้ำ�เสียงที่สนุก ออกเสียงสูงต่ำ� บ้ า งตามความตื่ น เต้ น ของเรื่ อ ง หรื อ ตาม ลักษณะของคำ� เช่นคำ�ว่า ‘huge’ ก็ลากเสียง ให้ยาวทุ้ม คำ�ว่า ‘tiny’ ก็ออกเสียงเล็กแหลม เหมือนหนู จะทำ�ให้ลูกๆ สนุก ขำ� และจำ�ได้ วิธีนี้บางครั้งลูกจะสามารถเดาความหมายได้เอง จากน้ำ�เสียง โดยที่ไม่ต้องแปล • อ่านเล่มเดิมซ้ำ�แล้วซ้ำ�อีกได้ แต่ต้อง เป็นเล่มทีล่ กู ชอบ ซึง่ ลูกก็จะอยากฟังซ้�ำ การอ่าน ซ้ำ�หลายๆ รอบ ลูกจะสามารถซึมซับคำ�ศัพท์

เข้าไปเองตามธรรมชาติ อ่านหลายๆ รอบเข้า ลูกก็จะหยิบมาพยายามอ่านเองโดยเลียนเสียง ตามที่ได้ยินมาจากคุณพ่อคุณแม่ • การอ่ า นให้ ลู ก ฟั ง ไม่ จำ � เป็ น ต้ อ งอ่ า น ทุกคำ�ตามในหนังสือ หากคุณพ่อคุณแม่เห็นว่า เป็นคำ�ศัพท์ที่ยากเกินสำ�หรับลูก ให้หาคำ�อื่น มาแทนในการอ่าน เช่น พบคำ�ว่า ‘sprinting’ เราก็ อ าจจะแทนด้ ว ย ‘running very fast’ ประโยคที่ยาวหรือซับซ้อน ก็อ่านให้เป็นประโยค ที่สั้นลงโดยใช้รูปประโยคที่ง่ายขึ้น เช่น “If you cannot tell us what you were doing with the jewels, then we shall have to guess. Was it to polish them?” ย่ อ เป็ น “You cannot tell us? We will guess then. You want to clean the jewels?” • อ่านไปด้วย พูดคุยไปด้วยก็ดีค่ะ เช่น “The whale was bleeding from the cut” คุณพ่อคุณแม่ก็อาจจะคุยต่อว่า... Remember when your brother fell and hit his head? He was ‘bleeding’ a lot. His T-shirt was all RED! จะทำ�ให้เกิดคำ�ศัพท์ที่มาเชื่อมโยงกับชีวิต ประจำ�วันได้ • เมื่อลูกอยากเริ่มอ่านเอง คุณพ่อคุณแม่ ควรอยู่ใกล้ๆ เมื่อลูกติดขัดอ่านไม่ออก

๓๐ 30


• ถ้าคิดว่าลูกรู้คำ�ศัพท์นี้ แต่อ่านไม่ออก ให้ช่วย break down word และออกเสียงทีละ ตัวอักษร เช่น T-R-EE • แต่ถ้าเป็นคำ�ศัพท์ที่ลูกยังจำ�ไม่ได้ เช่น ‘whale’ ให้ชี้ที่รูปภาพของคำ�นั้น และอาจจะ ให้ ตั ว เลื อ ก (แทนการให้ คำ � ตอบทั น ที ) เช่ น Do you think it’s a WHALE or a snail?

• ผลัดกันอ่านระหว่างแม่กับลูก แม่อ่าน สองประโยค พอถึงคำ�ที่ลูกอ่านได้ ให้หยุดรอ ให้ลูกอ่านแทน ให้เวลาเขาแกะคำ�ด้วยนะคะ สัก ๕-๑๐ วินาที หากไม่ได้ คุณแม่ก็อ่านคำ�นั้น ให้ และอ่านต่อไปตามปกติ • ในช่ ว งที่ ลู ก กำ � ลั ง หั ด อ่ า นออกเสี ย ง พยายามให้เป็นเรื่องสบายๆ ไม่กดดันให้อ่าน ให้ออก แต่ค่อยๆ ช่วยสอนให้เขาอ่านโดยการ ออกเสียงทีละตัวอักษร หรือให้ตัวเลือก เน้นที่ ความสนุกในเนื้อเรื่องของนิทาน และไม่เน้น เรือ่ งการอ่านให้ออก เด็กๆ จะเริม่ ติดใจทีจ่ ะหยิบ หนังสือออกมาให้แม่อ่านให้ฟัง สักวันหนึ่งเขา ก็จะพร้อมที่จะอ่านเอง

การเลือกหนังสือ • เลือกหนังสือนิทานที่มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับ สิ่ ง ที่ ลู ก สนใจ จะทำ � ให้ ลู ก มี ค วามอยากอ่ า น มากขึ้น เช่น หนังสือที่เกี่ยวกับสัตว์หรือกีฬา ที่ชอบ เช่น ฟุตบอล หรือเป็นหนังสือนิทานของ หนังการ์ตูนที่ลูกชอบมาก เช่น Transformers หรือ Brave • เลือกดูระดับความยากง่ายให้เหมาะสม กั บ ลู ก จำ � นวนหน้ า ไม่ ย าวเกิ น ไป มี รู ป ภาพ ประกอบที่ไม่วุ่นวาย เช่น หนังสือที่เป็น Step • นิทานที่ตลก อ่านสนุก ลูกๆ จะอยาก Reading เป็น Level 1-2-3-4 ของ Random อ่านมากกว่า เช่น เรื่อง The Farting Dog House เขียนโดย William Kotzwinkle • เลือกหนังสือที่มีการเขียนประโยคหลัก ขอแนะนำ�ห้องสมุด Neilson Hays Library ซ้�ำ ๆ เช่น เรือ่ ง Zog เขียนโดย Julia Donaldson อยูบ่ นถนนสุรวงศ์ ทีม่ หี นังสือนิทานภาษาอังกฤษ ให้เลือกยืมมากมาย ลองแวะไปดูได้ค่ะ

คอลัมน์ ‘ห้องเรียนพ่อแม่’ เปิดรับบทความและงานเขียนจากท่านผู้ปกครอง คุณครู และบุคคลทั่วไป ที่ต้องการแบ่งปันเทคนิควิธีการเลี้ยงดูลูกเพื่อส่งเสริมความเป็นพ่อแม่มืออาชีพ ท่านที่สนใจร่วมแบ่งปันเรื่องราว และภาพประกอบเรื่อง (ถ้ามี) สามารถส่งเรื่องของท่านมาที่ info@thawsischool.com ๓๑

31


เด็กทุกคนคือศิลปิน

ศิลปินทอสี เรื่อง: แม่สาว - วรวสี ก้องสมุทร (คุณแม่ของน้องข้าวหอม อ.๒)

ศิ ล ปะในโลกของเด็ ก นั้ น คื อ การแสดงออก อย่างอิสระเสรี เต็มไปด้วยความบริสทุ ธิ์ ตรงไปตรงมา ดังนั้น จึงอาจจะพูดได้ว่า เด็กแต่ละคนต่างก็มีความ เป็นศิลปินในแบบของตน ต่างก็สร้างสรรค์ผลงาน มาจากความคิ ดและจินตนาการที่งดงาม ในงาน ‘ม่วนชื่นน้องพี่ ทอสีสู่เหย้า’ ครั้งที่เพิ่งผ่านไป เด็กๆ ทอสีกลุ่มหนึ่งได้สร้างผลงาน DIY (Do It Yourself) ออกมาวางจำ�หน่ายในงาน เป็นผลงานหลากหลาย รูปแบบ ซึ่งล้วนมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง เรามาดู กัน นะคะว่ า ศิ ลปิ นชาวทอสีเขาสร้างสรรค์ผ ลงาน อะไรกันบ้าง

๒ ^ น้องไอซ์ - ด.ช. ธัชพล โควศุภมงคล ป.๒/๒ (ประดู่ ๒)

๑. แต้มสีให้กระถาง ตอนนี้เด็กๆ ป.๑ กำ�ลัง ปลู ก วอร์ เ ตอร์ เ ครสกั น ในช่ ว งของการจั ด งาน ม่วนชื่น ๒ ‘ปลูกดอกไม้ชื่นใจถึงดวงดาว’ กระถาง น้ อ ยน่ า รั ก ฝี มื อ ของเด็ ก ๆ กลายเป็ น ผลงานหนึ่ ง ที่สร้างสีสันให้กับงานนี้ ๒. กระเป๋าเงิน กับ พวงกุญแจ เศษผ้าเหลือใช้ จากงานของคุณแม่จว๋ิ ของน้องไอซ์ เป็นแรงบันดาลใจ ให้เกิดผลงานชิ้นนี้ น้องไอซ์ช่วยเลือกผ้าและตัดผ้า โดยมีคุณพ่อคุณแม่ช่วยเย็บให้ จากเศษผ้ากลายมา เป็นกระเป๋าและพวงกุญแจทีใ่ ช้ประโยชน์ได้อกี ครัง้

๑ ^ กลุ่มเด็กๆ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑

๓ ^ น้องปอง - ด.ญ. รมิดา ภวเวช ป.๒/๑ (ประดู่ ๑)

๓. ตุก๊ ตาหมี คุณแม่เองชอบเย็บผ้า ส่วนน้อง ปองชอบตุ๊กตา เลยตกลงกันว่าทำ�ตุ๊กตาหมีน่ารักๆ สักตัวมาขายในงานม่วนชื่นกันดีกว่า คุณแม่ช่วยเย็บ น้องปองช่วยใส่นุ่น หาเศษวัสดุเหลือใช้มาประกอบ จนสำ�เร็จเป็นผลงานทีแ่ สนน่ารัก ๔. บันไดงู ด้วยความที่ชอบเล่นบันไดงูเมื่อ ตอนเด็กๆ (กว่านี้) น้องป้อจึงอยากทำ�บันไดงู DIY มาแบ่งปันให้น้องๆ ได้เล่นบ้าง คิดว่าน่าจะทั้งสนุก และได้เรียนรู้เรื่องตัวเลขไปด้วย น้องป้อแสดงฝีมือ ทั้งวาด ระบายสีแผ่นเกม ปั้นลูกเต๋า และดัดแปลง

๓๒ 32


> น้องอันนา - ด.ญ. อันนา อัศวานันท์ ๕ ป.๔/๑ (ต้นโมก ๑)

๔ ^ น้องป้อ - ด.ช. พีรวัส ช่วงโชติ ป.๒/๒ (ประดู่ ๒)

๖ < น้องเอิงเอย - ด.ญ. จรัสเขมจุฑา จุลพิพัฒน์วงศ์ ป.๒/๑ (ประดู่ ๑)

๗ ^ น้องอู่จี๊ – ด.ช. อู่เงิน โอปนาบิกุล ป.๖ (ต้นกล้วย)

๘ ^ น้องปัน – ด.ช. วรปรัชญ์ ถนอมนาม ป.๔/๒ (ต้นโมก ๒)

เอาฝาขวดมาใช้เป็นหมากเดินเกม ๕. นุ่มนิ่มบนเท้าฉัน พรมสีสดใสชิ้นนี้ทำ�มา จากเสื้อยืดเก่าที่ไม่ใช้แล้ว นำ�เสื้อยืดมาตัดเป็นเส้น เหมือนเส้นไหม ผูกต่อกันเป็นเส้นยาวๆ แล้วมาถัก เป็นเปีย นำ�มาขดแล้วเย็บติดกัน ๖. พวงกุญแจกุก๊ กิก๊ น้องเอิงเอยเล่าว่า ทีบ่ า้ น มีแปรงสีฟันที่ใช้แล้วเยอะมาก เลยเอามาดัดแปลง เป็นพวงกุญแจ ด้วยสีสันที่สดใสสวยงาม เพิ่มเติม ด้วยลูกปัดสีตา่ งๆ ก็ได้มาเป็นพวงกุญแจกุก๊ กิก๊ สุดเก๋ แถมยังได้ความรู้สึกดีๆ ที่เอาของเหลือใช้มาทำ�ให้

เกิดประโยชน์อกี ครัง้ ๗. ทีแ่ ขวนพวงกุญแจ “งาน DIY ทำ�แล้วสนุก” น้องอู่จ๊ีว่าอย่างนั้น น้องอู่จ๊ีเดินหาเศษไม้ในบ้านได้ กิ่งมะขามที่มีรูปทรงตามที่ต้องการ และหาเศษไม้ แผ่นใหญ่จากร้านขายไม้เก่า นำ�มาประกอบและตอก ตะปูเอง ๘. แมลงมหั ศ จรรย์ น้ อ งปั น ชอบและรั ก แมลงมาก จึงนำ�เอาของเหลือใช้ เช่น ขวดยาคูลท์ ฝาขวดน้ำ � ช้อนพลาสติก ฯลฯ มาประกอบกับ อุปกรณ์ตกแต่งอืน่ ๆ ได้ออกมาเป็นตัวแมลงน่ารักๆ ๓๓

33


เรื่องเล่าจาก ‘ปัญญาประทีป’

เวทีเสวนา ‘การศึกษาพุทธปัญญา’ ณ เมืองโคราช เรื่อง: ครูณา - กฤษณา วรรณคำ�

ในภาคเรียนนี้ โรงเรียนปัญญาประทีปได้จัดวงเสวนาเล็กๆ ว่าด้วยเรื่อง การศึกษา พุทธปัญญา (Buddhist Wisdom for a Changing World) ขึ้น ในยามบ่ายของวันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๕๖ การเสวนาเริ่มต้นด้วยการชมวีดิทัศน์แนะนำ�โรงเรียน และตาม ด้วย วีดิทัศน์ผลงานเด็กๆ ในการนำ�เสนอโครงการเผยแพร่คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ของนักเรียนปัญญาประทีป (12 Wise Habits)*

วีดิทัศน์ที่เราเลือกเปิดให้ชมเป็นของกลุ่ม น้องจี น้องซินแบ็ท และน้องมิ่ง ซึ่งได้รับการ โหวตด้ ว ยคะแนนชื่ น ชมสู ง สุ ด เนื่ อ งมาจาก หนึง่ ... ความน่ารักน่าเอ็นดูของผูน้ �ำ เสนอทัง้ สาม สอง... มี ก ารแบ่ ง บทบาทหน้ า ที่ ไ ด้ เ หมาะสม และชาญฉลาด สาม... เล่นบทได้แนบเนียน รับไม้รับมุกกันอย่างลื่นไหล ชัดเจนในเนื้อหา สาระที่ตนรับผิดชอบ ที่สำ�คัญคือภาษาอังกฤษ ที่ ทั้ ง กลุ่ ม ใช้ ต ลอดการนำ � เสนอนั้ น พรั่ ง พรู เป็นธรรมชาติ... ในที่นั้น กลุ่มผู้ปกครองคือ แม่หน่อง แม่หลี แม่นัน และพ่อทร เป็นผู้ร่วม กลุ่ ม เสวนาด้ ว ย ผู้ ป กครองที่ เ คยรู้ จั ก น้ อ งมิ่ ง กล่าวว่า ไม่คิดว่าจะมีวันอย่างนี้สำ�หรับน้องมิ่ง เพราะก่อนนี้ มิ่งขี้อาย ไม่เข้ากลุ่ม ชอบปลีกตัว อยู่คนเดียว และยิ้มแทนการพูด นี่เป็นความ เปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดและน่ายินดีที่สุด

ในประเด็ น ความเปลี่ ย นแปลงในเชิ ง พัฒนาการก้าวกระโดดของเด็ก มีผู้ปกครอง ของน้องแทนไท ผู้ปกครองน้องต้นข้าว และผู้ ปกครองน้องซินแบ็ท ได้กรุณาแบ่งปันประสบการณ์ให้กับกลุ่มผู้ร่วมเสวนาฟัง ดังนี้... น้ อ งแทนไทก่ อ นไปเรี ย นปั ญ ญาประที ป เป็นเด็กช้า แต่ใจร้อนและขี้หงุดหงิด เหมือนเด็ก ทั่วไป ช่วงหลังๆ ที่พ่อขับรถไปรับกลับบ้าน หรือเวลานั่งรถที่พ่อขับ แล้วมีรถอื่นขับปาดหน้า มีรถเล็กขับตัดหน้าไม่รักษากฎ กติกา มารยาท หรือวินัยจราจร... คุณพ่อก็จะบ่น หรือใช้คำ�สบถ ไปตลอดทาง เพราะมี อ ารมณ์ ที่ ไ ม่ พ อใจ... แทนไทจะนั่งเงียบๆ รอให้พ่อบ่นเสร็จแล้วจึง ค่ อ ยๆ คุ ย กั บ พ่ อ ว่ า ... “คุ ณ พ่ อ บ่ น ไปก็ มี แ ต่ แทนไทเท่ า นั้ น ที่ ไ ด้ ยิ น เขาจะรู้ ไ หมครั บ ว่ า คุณพ่อโกรธเขา คุณพ่อโกรธใคร มีแต่แทนไท นั่งอยู่คนเดียว” เขาเย็นลง มีเหตุมีผลมากขึ้น ให้สติ แถมยังสอนคุณพ่อไปด้วย... นอกจากนั้น ในเรื่องอื่น ก็จะพบว่าลูกคิดด้วยเหตุผลมากขึ้น ไม่ต้องห้าม หรือมีกฎข้อบังคับในเรื่องที่เคยเป็น ประเด็นถกเถียง แม่หลี คุณแม่ของน้องต้นข้าว ซึ่งกำ�ลัง เรี ย นชั้ น ม.๓ วั น ที่ ไ ด้ อ ยู่ บ้ า นกั บ คุ ณ แม่ ช่ ว ง วันหยุด คุณแม่ซึ่งต้องดูแลลูกจ้างทำ�งานในร้าน บ่ อ ยครั้ ง ที่ อ ารมณ์ เ สี ย ก็ จ ะหงุ ด หงิ ด กั บ ความ

๓๔ 34


บกพร่องในหน้าที่ของคนงาน ก็ดุด่าว่ากล่าว และเอาอารมณ์ตนเองเป็นใหญ่... น้องต้นข้าว จะเป็นคนเข้ามาเตือนคุณแม่ว่า... คุณแม่จะไป โกรธเขาทำ�ไม เขาทำ�งานหนักเพื่อเราอยู่แล้ว เหนื่อยด้วย เขาก็คงอยากจะทำ�ให้ดี แต่คนเรา ก็ ผิ ด พลาดได้ เขาคงไม่ ไ ด้ ตั้ ง ใจ เราควรจะ เห็นใจเขา ให้โอกาสเขา... จิตใจของลูกละเอียด อ่อนขึ้น ให้สติให้เห็นอกเห็นใจผู้ที่ด้อยโอกาส กว่า และดูลูกมีความสุข ไม่ว่าจะอยู่กับตัวเอง หรืออยู่ในหมู่เพื่อนรุ่นเดียวกัน หรือญาติผู้ใหญ่ ก็ตาม... เมื่อลูกเป็นและมีในสิ่งเหล่านี้ แม่หลี คิดว่า เขาจะดูแลตัวเองได้ ดูแลผู้อื่นได้ อนาคต ข้างหน้าจะอย่างไร แม่หลีก็ไม่กังวลวิตกแล้ว... คุณแม่หน่องพูดถึงน้องซินแบ็ท... เมื่อก่อน ซินแบ็ทมีฉายาว่า ‘เจ้าตัวแสบ’ จะติดเพื่อน ติดคุยโทรศัพท์ กินอาหารจังก์ฟดู้ เจ้าคิดเจ้าแค้น เอาแต่ใจ ไม่ยอมใคร เถียงคำ�ไม่ตกฟากเมื่อไม่ พอใจ จะเอาอะไรก็จะต้องเอาให้ได้... สิ่งที่ เปลี่ยนไปในตัวลูกเป็นสิ่งที่เหนือความคาดหมาย ลูกไม่ค่อยคุยโทรศัพท์ ไม่เรียกร้อง ลองพาเขา

ไปทานอาหารตามร้านเดิมๆ ที่เคยชอบ ลูกจะ บอกเองว่า ไม่ดีกว่า ทานที่บ้านประหยัดกว่า และไม่เป็นอาหารขยะ จะชอบหรือไม่ชอบอะไร ก็ จ ะมี เ หตุ มี ผ ล ใคร่ ค รวญ ไม่ เ จ้ า อารมณ์ . .. อาการที่ เ คยเจ้ า แง่ แ สนงอน มี โ ลกส่ ว นตั ว เถียงคำ�ไม่ตกฟาก หายไป... หายไปเป็นคนละ คน... คุณแม่รู้สึกยินดีที่ได้ลูกสาวที่น่ารักกลับคืน มา ปกติโรงเรียนจะส่งเสื้อผ้านักเรียนซักรีดกับ ร้านในเมือง แต่น้องซินแบ็ทขอไม่ส่งเสื้อผ้าซัก เขาจะซักเองเพื่อประหยัดงบประมาณเอาไปทำ� กิ จ กรรมอื่ น เขาเป็ น คนริ เ ริ่ ม วั ฒ นธรรมการ ตื่นเช้าๆ เพื่อมาอ่านหนังสือในหมู่เพื่อนหอหญิง ทำ � ให้ เ พื่ อ นๆ หอชายก็ พ ยายามลุ ก ขึ้ น มาทำ � ในสิ่งดีๆ นี้ไปด้วย ผู้ เ ข้ า ร่ ว มเสวนาต่ า งพกคำ � ถามที่ มี ต่ อ ปรากฏการณ์ต่างๆ ที่จะเกิดแก่บุตรหลานมา แลกเปลี่ยนกันอย่างหลากหลาย ต่อโจทย์การ เรียนรู้ที่ไม่เน้นตัวความรู้ หากแต่เน้น ศีล สมาธิ ปัญญา กำ�กับการกิน-อยู่-ดู-ฟังเป็น การอยู่ร่วม กั น ในสิ่ ง แวดล้ อ มที่ เ ป็ น กั ล ยาณมิ ต ร ผู้ เ รี ย น เรียนรู้อย่างมีความสุขในระบบการดูแลคุ้มครอง ที่ออกแบบโดยครูผู้เป็นกัลยาณมิตร... คุณวิทิต ในกลุ่ ม ผู้ ป กครองจากองค์ ก รที โ อที ไ ด้ แ สดง ความเห็นเพิ่มเติมจากมุมมองของผู้เฝ้าสังเกต และติดตามความคืบหน้าของบุตรหลานเพื่อน ร่วมงาน เห็นความแตกต่างที่เป็นพัฒนาการ ก้าวกระโดด กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นสติ สมาธิ แล้วเกิดปัญญา... นี่น่าจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่รุ่นพ่อ แม่จะมอบให้แก่รุ่นลูกรุ่นหลานที่จะเป็นอนาคต ของสังคม

รับชมวีดิทัศน์ 12 Wise Habits Presentation Day ได้ที่ http://youtu.be/D2_njn-9lE4

๓๕

35


เปิดหูเปิดตา

หนังสือเก่าเล่าใหม่ เรื่อง: แม่รุ่ง - รุ่งนภา ธนะภูมิ (คุณแม่ของน้องลูกบัว ป.๒)

ช่วงนีใ้ กล้ปดิ เทอมกันแล้ว เรามาเตรียมหา กิ จ กรรมที่ จ ะชวนกั น ทำ � ร่ ว มกั น ในครอบครั ว เอาแบบเที่ยวสนุกและได้ความรู้ไปพร้อมๆ กัน นะคะ... แม่รุ่งขอแนะนำ�ให้ไปเดินเที่ยวเลือกซื้อ หนังสือกันที่งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ ๔๑ ซึ่ ง จะจั ด ขึ้ น ในวั น ที่ ๒๙ มี น าคม๘ เมษายน ๒๕๕๖ นี้ ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติ สิ ริ กิ ติ์ ค่ ะ กิ จ กรรมเลื อ กซื้ อ หนั ง สื อ กั น ทั้ ง ครอบครัวนี้ คุณพ่อ คุณแม่ และลูกๆ คงคุ้น เคยกันดี เมื่อไปแล้วก็จะกลับบ้านพร้อมหนังสือ มากมาย ทั้ ง ที่ เ ราเลื อ กซื้ อ เพราะเนื้ อ หาที่ ดี และหนั ง สื อ ที่ ล ดราคา ก่ อ นหน้ า นี้ แ ม่ รุ่ ง เอง เคยมีพฤติกรรมซื้อหนังสือมากมาย จนกระทั่ง งานหนังสือครั้งใหม่มาถึง ก็พบกว่าบางเล่มยัง ไม่ได้เปิดอ่านเลย เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงได้เรียนรู้ว่า นอกจากเที่ยวสนุก และได้ความรู้แล้ว จะต้องมี สติในการพิจารณาเลือกซื้อหนังสือมาเพื่อให้ได้ ประโยชน์อย่างแท้จริง เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดี ให้ลูกของเราด้วย

ในปี ต่ อ ๆ มาพฤติ ก รรมการซื้ อ จึ ง เปลี่ ย นไปค่ ะ จากการซื้ อหนั งสื อเล่ มที่ ออกใหม่หรือหนังสือน่าสนใจที่หาได้ตาม ร้านหนังสือทั่วๆ ไป มาเป็นการเดินเลือก ซื้ อ หนั ง สื อ ที่ มี คุ ณ ค่ า และหายากแทน แม้จะไม่ติดอันดับหนังสือขายดี แต่ติดอยู่ ในใจ เพราะเราอยากได้มานานแสนนาน จากการเดินค้นหา ปีที่แล้วแม่รุ่งได้พบ หนังสือเล่มน้อยเล่มหนึ่งที่ตามหามานาน คือหนังสือชื่อ ‘เด็กชายกมลเที่ยวบ้านทุ่ง’ แต่ ง โดย คุ ณ วาณิ ช จรุ ง กิ จ อนั น ต์ ภาพประกอบโดย คุณอรุณ วัชระสวัสดิ์ พิมพ์ครั้งแรกเมื่อ ๓๐ ปีก่อน! ‘เด็ ก ชายกมลเที่ ย วบ้ า นทุ่ ง ’ เป็ น หนังสือปกแข็ง พิมพ์สี ลายเส้นงดงาม แบบไทยร่วมสมัย ภาพวาดบรรยากาศ

๓๖ 36


แบบไทยๆ แม่รงุ่ เคยอ่านพบว่า คุณวาณิช ตั้ ง ใจแต่ ง เป็ น ร้ อ ยกรองสำ � หรั บ เด็ ก โดยเขี ย นเป็ น กาพย์ สุ ร างคนางค์ ๒๘* บรรยายเนื้อหางดงามตามคำ�ภาษาไทย แบบหนังสือภาพเด็กในยุคก่อนที่เด็กใน ยุคนี้หากได้อ่านก็ยังคงได้คุณค่าอยู่เช่นกัน ได้ ทั้ ง คุ ณ ค่ า ทางอารมณ์ ค วามรู้ สึ ก และ คุ ณ ค่ า ทางจริ ย ธรรมที่ แ สดงออกอยู่ ใ น เนื้อหา (เช่น การกราบไหว้ผู้ใหญ่) ได้ คุณค่าทางจินตนาการ ช่วยสร้างเสริมสติ ปัญญาอันเกิดจากการอ่านและมองเห็น ภาพวิถชี วี ติ แบบไทยๆ ทีส่ อดแทรกความรู้ ในเนื้อเรื่องที่สดใส พร้อมกันนี้ หนังสือ ยังมีคุณค่าทางสังคมอีกด้วย คือช่วยเอื้อ ให้เด็กๆ เรียนรู้เรื่องยุคสมัย หนังสือเล่มน้อยเล่มเก่านี้แฝงไปด้วย ความสุขในวันวานที่ส่งต่อถึงวันนี้ ทำ�ให้ ยิ้มได้ทุกครั้งที่หยิบอ่าน ในงานสัปดาห์

*กาพย์สุรางคนางค์ ๒๘ : ในหนึ่งบท มี ๒ บาท บาทแรกมี ๓ วรรค บาทที่สอง มี ๔ วรรค วรรคหนึ่ง มี ๔ คำ� รวมเป็น ๗ วรรค ในหนึ่งบท ถ้านับคำ�จะได้ ๒๘ คำ� ด้วยเหตุนี้จึงเรียกว่า กาพย์สุรางคนางค์ ๒๘

หนังสือแห่งชาติปีนี้ หากจัดสรรเวลาได้ แม่รุ่งอยากจะชวนให้แต่ละครอบครัวลอง เดินดูหนังสือด้วยกันบ้างค่ะ คุณพ่อ คุณแม่ และเด็ ก ๆ อาจได้ พ บหนั ง สื อ เก่ า ดี ๆ หรื อ แม้ แ ต่ ห นั ง สื อ ออกใหม่ ที่ น่ า สนใจ และไม่แน่ว่า หนังสือที่ได้มาอาจจะกลาย มาเป็ น หนั ง สื อ ในดวงใจของทุ ก คนใน ครอบครั ว ก็ ไ ด้ น ะคะ ส่ ว นตั ว แม่ รุ่ ง เอง ในปี นี้ ยั ง ตั้ ง ใจตามหาหนั ง สื อ เล่ ม น้ อ ย อีกหนึ่งเล่ม ซึ่งเป็นเล่มคู่กันกับ ‘เด็กชาย กมลเที่ยวบ้านทุ่ง’ คือหนังสือ ‘เด็กชาย ดวงเข้ า เมื อ ง’ จะพยายามเดิ น หาดู ค่ ะ ขอชวนทุ ก ๆ คนร่ ว ม ‘เปิ ด หู เ ปิ ด ตา’ และพาหัวใจออกเดินทางไปในโลกหนังสือ ด้วยกันนะคะ แล้วอย่าลืมกลับมาเล่าสู่ กันฟังบ้างเมื่อพบเจอกันที่โรงเรียนนะคะ

‘เพาะครู’ จุลสารเพื่อการพัฒนาครูผู้สร้างโลก กองทุนพัฒนาครูวิถีพุทธโรงเรียนทอสีได้จัดทำ�จุลสาร ‘เพาะครู’ ฉบับปฐมฤกษ์ขึ้น ในช่วงต้นปี ๒๕๕๖ จุลสารเล่มนี้จะทำ�หน้าที่สื่อสารความเคลื่อนไหวและส่งต่อองค์ ความรูต้ า่ งๆ ในประเด็นทีเ่ กีย่ วข้องกับการศึกษาและการบ่มเพาะ ‘ครู’ ผูซ้ งึ่ เป็นหัวใจของการ ศึกษา ผูส้ นใจสามารถขอรับจุลสารฉบับกระดาษได้ทหี่ อ้ งธุรการ โรงเรียนทอสี หรือติดตาม ฉบับออนไลน์ได้ที่ www.thawsischool.com/school-funds.html ทั้งนี้เพื่อเป็นการ พัฒนาจุลสารนี้ในฉบับต่อๆ ไป ทางคณะผู้จัดทำ�ยินดีรับความคิดเห็นจากท่านผู้อ่าน ท่านสามารถส่งความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะมาได้ที่ info@thawsischool.com ๓๗

37


ว ้ ั ร บ อ ร

์ เทียนทอง

ณัฐนันท ื่อง: ครูปู -

เร

พระอาจารย์ชยสาโรเมตตาแสดงพระธรรมเทศนา แก่เด็กๆ และคุณครู ณ โรงเรียนทอสี ๒๑ ม.ค. ๕๖ การเสวนา ‘สื่อเปลี่ยนคนได้จริงหรือ?’ ในงานระพีเสวนา ๖ โดยสถาบันอาศรมศิลป์ ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ๑๕ ธ.ค. ๕๕

งานกะฎีจีนศิลป์สามท่า ณ อุทยานสมเด็จย่าฯ ๒๔ พ.ย. ๕๕

ค่ายปฏิบัติธรรม ‘งอกงาม’ สำ�หรับผู้ปกครองและนักเรียนชั้น ป.๖ ณ โรงเรียนปัญญาประทีป อ.ปากช่อง ๒๑-๒๓ พ.ย. ๕๕ รายการ ‘ผูห้ ญิงถึงผูห้ ญิง’ มาสัมภาษณ์ครูออ้ นและ ถ่ายทำ�บรรยากาศในโรงเรียน ๒๐ พ.ย. ๕๕

๓๘ 38


งานปฏิบัติธรรมอาจาริยบูชา หลวงพ่อชา สุภัทโท ณ วัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี ๑๒-๑๗ ม.ค. ๕๖

โมเดิร์นไนน์ทีวีมาถ่ายทำ�สกู๊ปข่าว ‘การสอนเด็กเรื่องเอ็มคิว’ ที่โรงเรียนทอสี ๑๐ ม.ค. ๕๖

คณะครู Sembawang Primary School จากประเทศสิงคโปร์มาดูงานที่โรงเรียนทอสี ๒๖ พ.ย. ๕๕

้นฅนอวอร์ด’ ค น ‘ค น งา ม ว ร่ ป ไ รู ะค ณ ป.๕-๖ และค ่งประเทศไทย แห รม ธร น ฒ ั ว ์ ย น ู ศ ณ ๔ ่ ี ครั้งท ๑๔ ธ.ค. ๕๕

‘ห้องเรียนพ่อแม่’ สำ�หรับกลุ่มผู้ปกครองใหม่ในปีการศึกษา ๒๕๕๖ ก.พ. -มี.ค. ๕๖

39


...ปัจจุบันนี้เด็กของเราเริ่มเป็นคนไม่สู้ปัญหา จึงต้องเจอแต่ความทุกข์ และทุกข์มากด้วย ส่วนคนที่สู้ปัญหานั้น เขาสร้างจิตใจที่เป็นนักสู้ปัญหามาแล้ว พอเจอปัญหาก็บอกตัวเองว่าเราจะได้ปัญญา ก็เลยดี ใจชอบใจ ถ้าใครชอบใจที่เจอปัญหา ก็ปลอดภัยว่าจะพัฒนาแน่นอน เพราะว่าเขาจะเริ่มสู้ และจากการสู้ปัญหานั้น เขาก็จะพัฒนาปัญญาขึ้นมาได้ แล้วเขาก็จะประสบความสำ�เร็จ คือเปลี่ยนปัญหาให้เป็นปัญญา

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

40


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.