ทอสีสัมพันธ์ ๕๙/๑

Page 1

ฉบับประจำปการศึกษา

๒๕๕๙ ภาคเร�ยนที่ ๑ ฉบับลดละเลิกปองกันอกุศล ไดสรางรักษากุศลเพิ่มข�้น


ปีการศึกษา ๒๕๕๙ ภาคเรียนที่ ๑

บทบรรณาธิการ

สวัสดีครับ ปีนี้เป็นปีของความสัมพันธ์พิเศษที่เชื่อมโยงกัน ๓ ความสัมพันธ์ ได้แก่ ความสัมพันธ์ที่ ๑ โรงเรียนทอสีครบรอบ ๒๕ ปี ความสัมพันธ์ที่ ๒ ครูออ้ นได้รบั รางวัลการส่งเสริมการศึกษา เพื่อสันติภาพ จาก มูลนิธิการศึกษาเพื่อสันติภาพพระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) ซึ่งเป็นรางวัลอันทรงเกียรติ และเป็นรางวัลที่ ส่วนใหญ่นั้นมอบแก่พระสงฆ์ มีโอกาสไม่มากนักที่จะมอบแก่ ฆราวาส ความสัมพันธ์ที่ ๓ เป็นปีทคี่ รูอ้อนอายุครบ ๕ รอบ ๖๐ปี ปี ๒๕๕๙ นี้เป็นปีที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันเป็นพิเศษจริงๆ ทอสี สั ม พั น ธ์ ฉ บั บ นี้ ค รู เ หมได้ ม ารั บ ช่ ว งต่ อ จากครู โ น๊ ต และ ครูแหม่มในการเขียนบทบรรณาธิการ

พบกันใหม่ฉบับหน้า

ครูเหม เหม อุตรพันธ์

สวัสดีครับ

สารบัญ ๐๒ ๐๔ ๑๒ ๑๔ ๑๘ ๒๑ ๒๒ ๒๕ ๒๘ ๓๐ ๓๒ ๓๓ ๓๖

รู้จักครูทอสี เรื่องปก ทอสีรักษ์โลก เพาะครู ห้องเรียนพ่อเเม่ ชมนกชมไม้ เรื่องเล่าจาก ‘ปัญญาประทีป’ อ่านแล้วชื่นใจ ค�ำถามนี้ช่วยกันตอบ หน้านิทานอ่านด้วยกัน เด็กทุกคนคือศิลปิน เปิดหูเปิดตา รอบรั้ว

คณะท�ำงาน ที่ปรึกษา : ครูอ้อน บุบผาสวัสดิ์ รัชชตาตะนันท์, ครูแหม่ม อาภาภัทร ไชยประสิทธิ์, แม่แจง จุฬารัตน์ อินทรมหา ครูโหน่ง หทัยรัตน์ บุตรยิ่ง บรรณาธิการ : ครูเหม เหม อุตรพันธ์ กองบรรณาธิการ : ครูน�้ำอ้อย สืบดี, ครูอั๋น ธัชพล แก้วมะณี, ครูโก้ ปิยะ ตั้งพงศ์ธิติ, ครูหนิง ดวงฤทัย พุ่มชูศรี, ครูต้น ทัศน์เนตรดาว โสรัต, ครูปา่ น อนิวรรต อัครสุทธิกร, ครูทราย วิลาสินี มีทรัพย์, แม่รงุ่ รุง่ นภา ธนะภูม,ิ แม่น้อย คีตะวรรณ วิบูลย์สันติพงศ์, พ่ออ้น โชติวัฒน์ ลัทธะพานิชย์, แม่ต้อง ต้องหทัย เพชรชาติ ภาพปก : น้องป้อ ด.ช.พีรวัส ช่วงโชติ พิสูจน์อักษร : Dropkick Design ศิลปกรรม : Dropkick Design ด�ำเนินการพิมพ์ : บริษัท ไฮเรส จ�ำกัด โทรศัพท์ : ๐ ๒๒๐๔ ๑๙๕๕ โทรสาร : ๐ ๒๒๐๔ ๑๙๕๔

จัดท�ำโดย

โรงเรียนทอสี ๑๐๒๓/๔๖ ซอยปรีดีพนมยงศ์ ๔๑ ถนนสุขุมวิท ๗๑ คลองตันเหนือ วัฒนา กรุงเทพฯ ๑๐๑๑๐ โทรศัพท์ : ๐ ๒๗๑๓ ๐๒๖๐-๑ โทรสาร : ๐ ๒๓๙๑ ๗๔๓๓ อีเมล : info@thawsischool.com เว็บไซต์ : www.thawsischool.com อ่านย้อนหลังทอสีสัมพันธ์ ฉบับ Flip Book ได้ที่ issuu.com/tssp


สารจากครูใหญ่

Less is more แนวคิดหลักของทอสีสัมพันธ์ฉบับนี้ มาจากคุณครูเหม เจ้าหน้าที่งานสื่อสารองค์กร ผู้ซึ่งเพิ่งมารับงานทอสีสัมพันธ์เป็นฉบับแรก คุณครูเหมถามครูอ้อนว่า “คิดถึงอะไร...เมื่อได้ยินวลีนี้” ความรู้สึกแรกคือน่าสนใจ เพราะเป็นโอกาสดีที่เรา ทุกคนจะได้กลับมาทบทวนว่า รู้สึกอย่างไรเมื่อได้ยินวลีนี้ อีกทั้งมีความหมายและเกี่ยวข้องกับชีวิตเราอย่างไร เรื่องที่ ผุดขึ้นมาในหัวต่อจากนั้นเป็นเรื่องในอดีต สมัยเด็กๆ ครูอ้อน ตัวเล็กมาก เรียกว่าเล็กที่สุดในชั้นก็ว่าได้ มีบางครั้งที่ถูกแกล้ง ถูกแหย่ ถูกล้อเลียน แต่เราไม่เคยรู้สึกเลยว่ามีปมด้อย เพราะ ในความเป็นเด็กตัวเล็กใครๆ เห็นก็เอ็นดู เราได้รับความรัก ความเมตตามากมาย ดังนั้น การเป็นคนตัวเล็กก็ใช่ว่าจะไม่ดี

เสมอไป

นอกจากนั้น เวลาเปิดเทอมนักเรียนส่วนใหญ่จะใส่ชุด นักเรียนใหม่ รองเท้าใหม่กันแทบทั้งนั้น แต่ครอบครัวเรา จะต้องระมัดระวังค่าใช้จ่ายเพราะมีลูกถึง ๔ คน เมื่อครูอ้อน เป็นลูกสาวคนทีส่ อง ก็เลยต้องรับมรดกชุดนักเรียนและหนังสือ เรี ย นของพี่ ส าวมาโดยตลอดตั้ ง แต่ อ นุ บ าลจนจบมั ธ ยม แปลกดีที่เราไม่รู้สึกอิจฉาพี่สาว เกิดความน้อยเนื้อต�่ำใจหรือ สงสัยว่าเราเป็นลูกที่พ่อแม่ไม่รัก ในทางตรงกันข้ามกลับรู้สึก

ภูมิใจที่เราได้ช่วยพ่อแม่ประหยัดและเป็นความรู้สึกที่เมื่อ นึกถึงทีไรก็สุขใจเมื่อนั้น ครั้นพอเริ่มท�ำโรงเรียน เพื่อนๆ เขา

เพราะเป็นคนที่รู้สึกขาดรู้สึกพร่องและไม่พออยู่ตลอดเวลา ส่วน More is more ครูอ้อนจะตีความว่า ถ้ามองในเชิง

รูปธรรม คนที่ต้องการมาก เขายิ่งต้องท�ำมาก ยิ่งลงทุนมาก ยิ่ง ร�่ำรวยมาก เขาก็เสี่ยงมากด้วยเช่นเดียวกัน แต่ถ้ามองถึง ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อส่วนรวมต่อประเทศชาติ ต่อโลกใบนี้ อาจจะไม่คมุ้ ค่าเลยก็เป็นได้ แต่ถา้ มองในเชิงนามธรรม ยิง่ เรา

ท�ำดีมากขึ้น ไม่ใช่เราจะได้ดีมากขึ้น หรือได้ลาภยศสรรเสริญ มากขึ้น เพราะธรรมชาติมันไม่ได้เป็นเช่นนั้นเสมอไป แต่สิ่งที่ เราได้ แ น่ น อนและได้ อ ย่ า งเสมอต้ น เสมอปลาย ก็ คื อ คุ ณ ความดีที่ได้ท�ำนั้นจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในจิตใจ สิ่งที่ครูอ้อนคิด ใคร่ครวญนี้มันอาจจะยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์เนื่องด้วยมีพื้นที่ และเวลาอันจ�ำกัด ครูอ้อนก็ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ ซึ่งหากใคร มีมุมมองที่แตกต่างออกไปและอยากแบ่งปัน ครูอ้อนก็พร้อม ที่จะเรียนรู้ไปกับทุกท่าน สุดท้ายครูอ้อนถามตัวเองว่า การที่เรามีความคิดและ

ความรู้สึกดีๆ แบบนี้ เข้าใจโลกแบบนี้ เกิดขึ้นได้อย่างไร ครู อ้อนตอบตัวเองว่าเกิดจากความมัน่ คงในความรักความเมตตา การปลูกฝังทัศนคติดีๆ และสัมพันธภาพที่อบอุ่นในครอบครัว

ความคิดและจิตใจไม่ให้ตกร่องอกุศลจิตแบบนี้ เพราะมันจะ ดูดพลังสร้างสรรค์ออกจากตัวเราทันที แล้วถ้าเป็น More is

ที่บุพการีส่งต่อให้กับลูกๆ จากหน่วยเล็กที่สุดคือครอบครัว จน สามารถเป็นพลังยิง่ ใหญ่อนั จะผลักดันสร้างสรรค์ความงดงาม ให้เกิดขึ้นในสังคมชุมชน และโลกใบนี้ และเนื่องในช่วง เทศกาลวันแม่ ครูออ้ นขอน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายพระพร แม่ของแผ่นดินทีเ่ ป็นแบบอย่างอันงดงามและดียงิ่ แห่งการเป็น ผู้ที่ใส่ใจในรายละเอียดของชีวิตประชาราษฎร์ เพื่อให้อยู่ดีมี ความสุข และสานต่อปณิธานเศรษฐกิจพอเพียงที่เป็นสุดยอด ของการด�ำเนินชีวิตที่ยั่งยืน รวมทั้งถือโอกาสนี้กราบแทบเท้า บุพการีที่สร้างฐานอันมั่นคงในจิตใจ และความคิดที่พร้อมที่ จะเรียนรู้ให้แก่ครูอ้อนมาโดยตลอด ตั้งแต่ยังเป็นเด็กเล็กๆ ตราบจนบัดนี้

คือก�ำไร คนเหล่านี้คงไม่มีใครอยากคบหาสมาคมด้วยเท่าไหร่

ด้วยเมตตา ครูอ้อน

ล้วนแต่ท�ำโรงเรียนขนาดใหญ่มีนักเรียนจ�ำนวนนับพัน แต่เรา กลับรู้สึกว่าอยากท�ำโรงเรียนเล็กๆ ที่ครู เด็ก และผู้ปกครอง รู้จักกันหมด เป็นโรงเรียนเล็กๆ ที่เราพอจะดูแลได้ทั่วถึง ใครมี ปัญหาอะไรจะได้ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน สร้างความสุข ความ มั่นคง และความแน่นแฟ้นในครอบครัว จนสามารถแผ่ขยาย ไปสู่สังคมได้ไม่แพ้โรงเรียนใหญ่ นอกจาก Less is more แล้ ว ครู อ ้ อ นคิ ด ไปถึ ง

Less is less ว่าหมายถึงอะไร เช่น ถ้าเราคิดลบกับตัวเอง ก็จะ ยิ่งท�ำให้เราท้อแท้และหมดก�ำลังใจ ซึ่งทุกคนควรระมัดระวัง

less ล่ะ ครูอ้อนจะนึกถึงคนที่มีตัวตน มีความมั่นใจสูงเหมือน น�ำ้ ล้นแก้ว หรือคนทีม่ คี วามต้องการไม่สนิ้ สุด คิดว่าการกอบโกย

1


รู้จักครูทอสี เรื่อง/ภาพ ครูเหม-เหม อุตรพันธ์

ในทัศนะของคุณครูคิดว่ามีสิ่งใดที่ลดลงแล้วจะได้ประโยชน์เพิ่มขึ้น “selfless” โดย ครูมีมี่

“คาดหวังแต่น้อย” โดย ครูกานต์ ความคาดหวั ง เป็ น เหมื อ นดาบ สองคม ความคาดหวังท�ำให้เรามีแรง ที่จะท�ำให้เป็นดังหวัง หากแต่ความ คาดหวังนั่นเองที่จะเป็นสิ่งที่บั่นทอน เราหากมันไม่เป็นดังหวัง เหมือนยืน อยู่ปากเหวแล้วตกเหว เพราะฉะนั้น จึงเลือกทิ้งความคาดหวังไป ไม่ได้ หมายความว่าจะเป็นคนไม่คาดหวัง อะไร แต่ทงิ้ ความคาดหวังไปบางส่วน ทั้งกับตัวงานและตัวบุคคล ปล่อยให้ มันเป็นไปตามวิถขี องมันบ้าง ก็พบว่า ชี วิ ต สบายขึ้ น ง่ า ยขึ้ น ชี วิ ต ไม่ ตึ ง เกินไป สิ่งที่ได้มาคือรู้สึกปล่อยวาง มากขึ้น ไม่เหนื่อยกับการที่จะต้องไป คาดหวั ง เมื่ อ หั ว ใจไม่ เ หนื่ อ ย ก็ มี ความสุข

2

ภาคเรียนที่ ๑

สิ่งที่ลด ละ แล้วท�ำให้ได้มากขึ้นคือ การยึดมั่นถือมั่น ยึดถืออารมณ์ของ ตนเองเป็นใหญ่ เมื่อมีเรื่องส่วนตัว ที่ ท� ำ ให้ อ ารมณ์ ขุ ่ น มั ว แล้ ว เราไม่ สามารถขจัดความรู้สึกไม่ดีออกไป ได้หมด บ่อยครั้งที่เด็กๆ สัมผัสความ รู้สึกเราได้ว่าเราไม่ปกติ ท�ำไมช่วงนี้ คุณครูไม่ยิ้มเลย คุณครูอารมณ์ไม่ดี แน่ๆ เด็กๆ ก็จะผลัดกันเข้ามาถาม แล้ ว ก็ บ อกว่ า อยากให้ ค รู ยิ้ ม บ้ า ง การกระท�ำของเด็กๆ ท�ำให้เราฉุกคิด ได้ ว ่ า ต้ อ งพยายามละทิ้ ง เรื่ อ งบาง เรื่องที่รบกวนจิตใจออกไปให้หมด ยิม้ ให้เยอะ คิดมากให้นอ้ ยลง สิง่ ทีไ่ ด้ กลับมาก็คือ รอยยิ้มและความรู้สึกที่ ดีทั้งของเราและของนักเรียน ซึ่งมัน เป็นสิ่งที่มีค่ามากๆ เลยค่ะ

ปีการศึกษา ๒๕๕๙

“ท�ำเต็มตามก�ำลัง” โดย ครูม่อน ท� ำ น้ อ ยได้ ม ากเป็ น ค� ำ ที่ แ สดงถึ ง ความเรียบง่ายอยู่ในที ดูเป็นเรื่องดี แต่บางทีค�ำๆ นี้ก็ให้ความรู้สึกถึงค่า นิ ย มของยุ ค สมั ย ที่ ค นเราไม่ อ ยาก ลงทุนท�ำอะไรให้มากมาย แต่หวังผล เลอเลิศ หรือพูดง่ายๆว่าขี้เกียจ ไม่มี อารมณ์ ไ ม่ อ ยากจะท� ำ แต่ ค นเรา ไม่ ว ่ า จะใช้ ชี วิ ต แบบไหนต่ า งควร พยายามท�ำให้เต็มที่ จะท�ำน้อยให้ ได้ ม าก หรื อ จะท� ำ มากแต่ ไ ด้ น ้ อ ย บางครั้งก็ไม่ใช่ประเด็นหลักที่ควรจะ ใส่ใจเลย ขอให้เราใส่ใจในประเด็นที่ ว่ า เราลงมื อ ท� ำ และได้ ท� ำ ให้ เ ต็ ม ที่ หรื อ ยั ง ไม่ ใ ช่ เ พื่ อ พิ สู จ น์ ใ ห้ ใ ครได้ เห็นว่าเราแน่แค่ไหน แต่เพือ่ ให้เราได้ ภาคภูมใิ จว่าเราได้ทำ� เต็มทีแ่ ล้ว และ อย่าลืมใช้หลักธรรมเป็นหนทาง เพื่อ จะได้ไม่หลงระเริงไประหว่างเส้นทาง แห่งชีวิตนะครับ


“สมบัติของแม่” โดย ครูวิน ทุกวันของการท�ำงานข้าพเจ้าลดเรือ่ ง ความคิดว่าวันนี้จะใส่ชุดไหนดี ผ้า ฝ้าย ผ้าไทย ที่โรงเรียน รณรงค์ให้ใส่ มาท�ำงาน ท�ำให้ยิ่งมีความสุขอิ่มใจ ภูมใิ จเพิม่ ขึน้ ทุกวันทีไ่ ด้มาท�ำงานทีน่ ี้ ผูป้ กครอง ครูในโรงเรียน ป้าแม่บา้ น... เข้ามาพูดคุยเรื่องผ้าถุงของข้าพเจ้า ในบางครัง้ ทีไ่ ด้ทกั ทายกัน โอกาสทีจ่ ะ ได้ ใ ส่ ผ ้ า ไทยมี ไ ม่ บ ่ อ ยนั ก และที่ นี่ ท�ำให้ผ้าถุงที่ข้าพเจ้าขอยืมแม่มาใส่ ได้ ท� ำ ให้ ห ลายๆ คนเห็ น ลายผ้ า พื้นเมืองของชาวอิสาน

“ฟังตัวเองบ้าง” โดย ครูปลาย เมื่อกดหยุด i-tube ลง จึงได้ยินเสียง รอบๆ ตัว ผูค้ นคุยกันจอแจ เครือ่ งปัน่ กาแฟดังอย่างต่อเนื่อง หืม กระดิ่ง จากไหน เด็ ก ผู ้ ช ายผู ้ น ่ า รั ก พึ่ ง วิ่ ง ผ่านไป รวมไปถึงเสียงที่อยู่ข้างในจะ ว่าไป “เสียงที่อยู่ข้างใน” ก็ไม่อาจ ทราบเช่นกันว่าดังมาจากไหน “ใจ” ผู้คนทั่วไปนิยมเรียกกัน นั่นนะสิ ! มันดังแบบไหนกันนะ ขอก้มลงไปฟัง จะได้ไหม หูซ้ายจ๋าช่วยโน้มลงไป โน้ ม ลงไป เพื่ อ แนบกั บ หั ว ใจ ท� ำ อย่างไร ท�ำอย่างไร ก็ท�ำไม่ได้สักที หรือเป็นเพราะตัวเรานี้ มีคอสัน้ เกินไป ช่วยฉันหน่อย ช่วยฉันหน่อย หากฉัน ได้ยนิ เสียงมัน มันจะมีเสียงแบบไหน กันนะ เสียงข้างในทีพ่ วกเรามักลืมมัน ปิ ด ตา ปิ ด หู เปิ ด ใจ รั บ ฟั ง หน่ อ ย ของขวัญแด่ผู้ร่วมเดินทาง

“ใช้น้อย ท�ำมาก” โดยครูเม เปลี่ยนความคิดลบให้เป็นบวก เช่น ถ้าเวลาเราจะใช้ลิฟท์ขึ้นไปท�ำงาน ที่ชั้น 6 แต่มีเพียงเราแค่คนเดียวที่ จะใช้ในขณะนั้น เราอาจจะเปลี่ยน จากการใช้ลฟิ ท์เป็นการเดินขึน้ บันได เพื่อเป็นการออกก�ำลังกาย ช่วยให้ ร่า งกายสุขภาพแข็ง แรง และช่วย ลดการใล้พลังงานไฟฟ้าค่ะผลลัพธ์”

“พอใจง่ายๆ” โดย น้องกระแต (นศ.ฝึกงาน) “สิ่ ง ที่ พ ยายามจะลดคื อ ลดการ คาดหวั ง จากสิ่ ง ต่ า งๆ จากคนอื่ น หรื อ แม้ แ ต่ ค าดหวั ง จากตั ว เอง โดยทั่วไปเมื่อท�ำอะไรแล้วเราย่อม คาดหวังที่จะได้ผลลัพธ์ที่ดี แต่การที่ เราคาดหวั ง มั น จะเป็ น สาเหตุ ข อง ความผิ ด หวั ง เมื่ อ ไม่ ไ ด้ อ ย่ า งที่ ใ จ ต้องการ ดังนัน้ หากลดความคาดหวัง ลงไปได้ ก็ จ ะเป็ น การเพิ่ ม ความ สบายใจให้ กั บ ตั ว เราเอง มี ค วาม พอใจในการท�ำสิ่งต่างๆ อย่างดีที่สุด โดยไม่ต้องคาดหวังผลลัพธ์”

3


เรื่องปก เรื่อง / ภาพ ครูเหม-เหม อุตรพันธ์

Less is More...

สวนดุสิตโพล ปี ๒๕๕๙ รายงาน “๑๐ อันดับ เรื่องที่ท�ำให้คนไทย สะเทือนใจมากที่สุด ณ วันนี้” ๑. อาชญากรรม ฆ่าข่มขืน ๒. ความขัดแย้งแตกแยก ในสังคม ๓. อุบัติเหตุบนท้องถนน ๔. ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ถูกท�ำลาย ๕. การปฏิบัติตนของสงฆ์ ๖. ค้ายาบ้า มั่วสุม ยาเสพติด ๗. เด็ก คนชราถูกทอดทิ้ง และถูกทารุณกรรม ๘. เด็กทะเลาะวิวาท ยกพวกท�ำร้ายกัน ๙. ทารุณกรรมสัตว์ ๑๐. ค้ามนุษย์ ค้าประเวณี

4

ภาคเรียนที่ ๑

สิ่งเหล่านี้สะท้อนถึงปัญหา “การศึกษา” ของประเทศเราที่อาจจะไม่ ตอบโจทย์ จึงก่อให้เกิดเรื่องที่น่าสะเทือนใจจากผลส�ำรวจดังกล่าว พระธรรม ปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) ท่านได้เมตตาให้ธรรมะเป็นข้อคิดในการใช้ชีวิตไว้ว่า “การศึกษาเริ่มต้นเมื่อคนกินอยู่เป็น” ถ้าสังคมไทยยังกินอยู่ไม่เป็น ก็เท่ากับ ว่าการศึกษาเรายังไม่ได้เริ่มต้นขึ้นเลย การ “กินอยู่ไม่เป็น” บริโภคอาหารที่ ไม่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เน้นแต่รสอร่อยแม้จะไม่เป็นประโยชน์ ละเลย อาหารที่รสไม่อร่อยมากนักแต่มีประโยชน์ (เป็นกุศลในการบริโภค) เสพสื่อที่ เป็นพิษต่อจิตใจ การเสพสื่อที่ขาดวิจารณญาณท�ำให้เกิดการท�ำตามตัวอย่าง ที่ไม่น่าพึงประสงค์ เด็กอยู่กับสื่อมากกว่าอยู่กับครูผู้ปกครอง เพราะสื่ออยู่กับ เด็กเพียงปลายนิ้วสัมผัส ของอุปกรณ์สื่อสารไฮเทคต่างๆ แน่นอนสิ่งต่างๆ ที่ เด็กรับมานัน้ มีสงิ่ ดีแต่สงิ่ ทีไ่ ม่ดกี แ็ ถมติดมาด้วยกับการใช้งานทีข่ าดการดูแลที่ เหมาะสมกับพัฒนาการตามวัย การ “กินอยู่ไม่เป็น” ส่งผลกระทบครอบครัว สังคม ประเทศชาติ โลก จักรวาลภายนอกและจักรวาลภายใน(จิตใจ) ยิ่งใจ มนุษย์เหี้ยมโหดเท่าไร ภัยธรรมชาติยิ่งรุนแรงขึ้นเท่านั้น ดังประโยคที่ว่า “เด็ ด ดอกไม้ ส ะเทื อ นถึ ง ดวงดาว” สื่ อ ที่ เ ป็ น พิ ษ ต่ อ จิ ต ใจนั้ น จะกลั บ เป็ น ประโยชน์และตัวอย่างที่ไม่พึงประสงค์ให้พ่อแม่ลูกได้เรียนรู้ร่วมกันในการดู และวิเคราะห์ถึงผลดีและผลเสียจากเบื้องหลังของพฤติกรรมต่างๆ ที่อยู่ ในสื่ อ นั้ น ตามความเหมาะสมของวั ย ที่ เ ด็ ก โตพอที่ ส ามารถประมวลและ พิจารณาได้ ก่อเกิดเป็นการเรียนรู้ร่วมกันในครอบครัว ช่วยให้เข้าใจร่วมกัน หันหน้าเข้าหากันเพื่อหาทางออกมากกว่าจะหันหน้าออกจากกันเพื่อทางหนี

ปีการศึกษา ๒๕๕๙


“เราไม่อาจปิดแผ่นฟ้า ด้วยฝ่ามือ”

ที่เด็กจะได้ออกไปไกลๆ จากครอบครัว ถ้าเพียงแต่ครอบครัวร่วมมือในการ เรียนรู้ร่วมกันในสื่อที่เป็นพิษต่อจิตใจต่างๆ นั้นกลับไม่สามารถท�ำอะไรเด็กได้ ซ�้ำยังกลับกลายเป็นวัคซีนเสริมภูมิคุ้มกันได้เป็นอย่างดี ดังที่ป้ามล ป้ามล ทิ ช า ณ นคร ผู ้ อ� ำ นวยการศู น ย์ ฝ ึ ก และอบรมเด็ ก และเยาวชนบ้ า น กาญจนาภิเษก กล่าวไว้ว่า “เราไม่อาจปิดแผ่นฟ้าด้วยฝ่ามือ” แต่แผ่นฟ้าที่เรา อยู่ใต้ฟ้าเดียวกันนั้น เราสามารถกางร่ม หาที่หลบฝน หรือแม้กระทั่งสร้าง หลังคาป้องกันแม้ฝนจะตกลงมามากเท่าไร ฝนทีต่ กลงมาอย่างหนักเปรียบดัง ข้อมูลข่าวสารที่กว้างไกลและไร้พรหมแดนที่หล่นมาทับเด็กๆอย่างในยุค ปัจจุบันนั้น เราจะใช้อุปกรณ์กันฝนและกรองน�้ำฝนอย่างไรให้กลายเป็นตาน�้ำ แห่งปัญญาหล่อเลี้ยงจิตใจให้งอกงามท่ามกลางพายุฝนที่ตกลงมากระหน�่ำ อย่างรุนแรงไม่ขาดสาย ก็อยูท่ เี่ รานัน้ จะใช้เวลาทีเ่ รามีกบั การเรียนรูด้ ว้ ยกันใน ครอบครัวอย่างไร แม้จะเป็นเวลาเพียงเล็กน้อย จากเวลาส่วนใหญ่ในชีวิต ประจ�ำวันทีต่ อ้ งใช้ไปกับกิจการงานอืน่ ๆ แต่เวลาเพียงเล็กน้อยนีเ้ องทีส่ ามารถ ท�ำสิ่งที่ยิ่งใหญ่ สร้างจิตใจที่ดีงามให้งอกงามท่ามกลางความขาด ความพร่อง ความไม่พอดี ความทุกข์ต่างๆในสังคมเราได้อย่างไม่น่าเชื่อ สิ่งที่ส�ำคัญที่สุด นั้น สุภาษิตจีนโบราณกล่าวไว้ว่า “จุดตะเกียงดีกว่าด่าความมืด” เพราะ “โลก เปลี่ยนไป เมื่อใจเปลี่ยนแปลง” ดังที่พระอาจารย์ชยสาโร เมตตาให้ธรรมะเป็น ข้อคิดไว้ว่า “เชื่อว่าไม่มีก็งมงายพอๆกับกับเชื่อว่ามี ความสงสัยไม่ได้จบลง ที่การศึกษาหรือถามคนอื่น แต่จบลงที่การปฏิบัติ” แล้วพบกันใหม่ สวัสดีครับ

ป้ามล ทิชา ณ นคร ผู้อ�ำนวยการศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน บ้านกาญจนาภิเษก

5


เรื่องปก เรื่อง ครูต้น ทัศน์เนตรดาว โสรัต

ภาพ ครูทราย วิลาสินี มีทรัพย์

หากใครเดินผ่านอาคารใจงามในช่วงเวลาใกล้เที่ยง ก็คงได้ยิน “บทพิจารณาอาหาร” ฉบับน่ารักของน้องอนุบาลที่น้องเล็กสุดยังคง ฝึกท่องตามครู ส่วนพี่โตก็ท่องชัดถ้อยชัดค�ำขึ้นและอาจมีบ้างบางวัน ที่พร้อมใจกันรีบท่องให้จบเร็วๆ โดยมิได้นัดหมาย (เพราะหนูหิวแล้ว) นอกจากความหมายทีค่ รูพาทุกคนเข้าใจในบทกลอน ยังมีบทเรียนชีวติ อี ก มากมายรอให้ เ ด็ ก ได้ เ รี ย นรู ้ เพื่ อ ฝึ ก ตนให้ เ ป็ น ผู ้ ที่ . ..“กิ น เป็ น อยู่เป็น” “กินเป็น...กินอย่างไร” เด็กทอสีถกู ฝึกให้ “เลือกกิน” นัน่ คือเลือก อาหารที่ มี ป ระโยชน์ แ ละมี คุ ณ ค่ า ต่ อ ร่ า งกายมากกว่ า ตอบสนอง ความพอใจของลิ้นหรือรสชาติที่ถูกใจเท่านั้น ได้ฝึกให้พิจารณาถึง ประโยชน์ทรี่ า่ งกายจะได้รบั หรือทีเ่ รียกว่า “พิจารณาคุณค่าแท้” ดังนัน้ เมื่อเจออาหารที่ไม่คุ้นเคยหรือไม่ถูกปาก เด็กจะได้ฝึกและฝืนชิม เพื่อให้ชินกับรสชาติ เริ่มจากค่อยๆ ชิมทีละนิด ให้ตักอาหารเองจะกิน แค่ไหนก็ตามแต่ สิ่งส�ำคัญคือหนูต้องรับผิดชอบให้หมดจาน ไม่กิน ทิ้งขว้าง และถึงแม้จะเจออาหารที่ถูกใจ เด็กๆ ก็ยังต้องฝึกส�ำรวม โดยกินให้พอดีไม่มากเกินไปจนเบียดเบียนไม่แบ่งปันใครหรือทุกข์ เพราะจุกแน่นท้องในภายหลัง นอกจากนี้เด็กๆ ยังได้เรียนรู้ที่จะกิน อย่างมีมารยาททั้งเรื่องการนั่งให้เรียบร้อย การเคี้ยวปิดปาก ไม่คุย หัวเราะกันเสียงดัง หากท�ำหกก็ต้องเก็บเช็ดให้สะอาด รวมถึงรู้จักใช้ อุปกรณ์ได้อย่างถูกต้อง ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่เด็กถูกฝึกให้เป็นผู้ “กินเป็น หรือกินอย่างมีปัญญา” ส่วนการฝึกตนให้เป็นผู้ “อยู่เป็น” นั้น ก็เป็นสิ่งส�ำคัญที่เด็กๆ ได้เรียนรู้ในกิจกรรมวิถีชีวิต ฝึกส�ำรวมอินทรีย์ คือ กาย วาจา ใจ ในการปฏิสัมพันธ์กับสิ่งต่างๆ รอบตัวทั้ง บุคคล สิ่งของ และธรรมชาติ 6

ภาคเรียนที่ ๑

ปีการศึกษา ๒๕๕๙


ในความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เด็กเรียนรูใ้ นการอยูร่ ว่ มกันปรับ ตัวเข้าหากันเพือ่ จะอยูร่ ว่ มกันได้เป็นอย่างสงบสุข ไม่ยดึ ถือตัวเองเป็น ศูนย์กลาง เรียนรู้กฎกติกาโดยมีกติกาห้องที่ร่วมกันตั้งเพื่อปฏิบัติตาม ทิศทางเดียวกัน รู้จักมารยาททางสังคม รู้จักการเคารพให้เกียรติผู้อื่น ฝึกสือ่ สารทีเ่ ป็นกุศลไม่ทำ� ร้ายใครด้วยค�ำพูดและการกระท�ำ เรียนรูว้ า่ สองมือน้อยๆ ของเราสามารถสร้างประโยชน์ให้กบั ผูอ้ นื่ ได้ ในเรือ่ งของ ความสัมพันธ์กบั สิง่ ของหรือเทคโนโลยีนนั้ ปลูกฝังให้รจู้ กั ใช้ให้ถกู ต้อง ใช้ให้คุ้มค่าให้ถูกเวลาให้พอดี สอนให้เด็กเลือกที่คุณค่าแท้มากกว่า คุณค่าเทียมที่มาหลอกล่อใจให้หลงไปกับความสวยงามหรือความ ต้องการเพราะอยากมีอยากได้หรือเพื่อโอ้อวด รู้จักดูแลรักษาของใช้ ให้สะอาดคงสภาพใช้ได้นานๆ จัดเก็บเป็นระเบียบเรียบร้อย และใน ส่วนสุดท้ายคือการอยู่ร่วมกันในธรรมชาติ เด็กๆ ได้เรียนรู้การอยู่ร่วม กันอย่างเกื้อกูล ไม่ท�ำลาย ไม่เบียดเบียน รู้จักดูแลรักษา และเป็นผู้ให้ ตอบแทนคืนธรรมชาติ ทัง้ หมดนีอ้ ยูใ่ นกิจกรรมวิถชี วี ติ ของเด็กอนุบาลทีเ่ อาชีวติ เป็นตัว ตั้ง ทุกคนได้ฝึกฝนอย่างสม�่ำเสมอเพื่อหล่อหลอมให้เป็นเนื้อชีวิตเกิด เป็นพฤติกรรมคุ้นชินที่ดีงาม การกินการอยู่อาจดูเหมือนเป็นเรื่อง ธรรมดาเป็นเรื่องพื้นฐาน แต่ “กินเอยู่ให้เป็น” ส�ำหรับเด็กน้อยนั้นเป็น สิ่งส�ำคัญยิ่งใหญ่และท้าทายที่จะฝึกฝืนตนให้เป็นผู้เป็นอยู่อย่าง ถูกต้อง หากเด็กๆ สามารถปฏิบัติได้ก็จะได้ทั้งประโยชน์และความสุข เกิดความภาคภูมิใจ รู้สึกปลอดภัยมั่นใจว่าชีวิตที่ดีงามจะเกิดขึ้น อีกทั้งยังเป็นฐานในการฝึกส�ำรวมในเรื่องที่ยากขึ้นได้ต่อไป

7


เรื่องปก เรื่อง ครูหนิง - ดวงฤทัย พุ่มชูศรี ครูประจำ�ชั้น ป.๕

ภาพ ครูหนิง - ดวงฤทัย พุ่มชูศรี ครูประจำ�ชั้น ป.๕ ครูเหม อุตรพันธ์

ลดความวุ่น เพิ่มคุณภาพ...

สวัสดีค่ะ พอได้รับโจทย์จากฝ่ายสื่อสารฯ ว่า ในฉบับนี้จะเป็น เรื่องเกี่ยวกับ Less is more ครูหนิงก็เลยมานั่งคิดว่าจริงๆ แล้ว Less is more หมายถึงอะไรกันแน่ ก็เลยลองอ่านข้อมูล ต่างๆ มากมาย จนสรุปกับตัวเองได้ว่าในมุมมองของครูหนิง Less is more คือการ ที่เราลดอะไรที่มันเยอะแยะวุ่นวาย เหลือแต่สิ่งจ�ำเป็นให้เรียบๆ ง่ายๆ เพื่อให้เราจะมีเวลาและมีใจไปสัมผัสสิ่งอื่นๆ และสร้างประโยชน์ได้ มากขึ้น ถ้าจะพูดเรื่อง less is more ส�ำหรับการเป็นครูทอสีแล้ว เรื่อง แรกๆที่ผุดขึ้นมาในหัวก็คงไม่พ้นเรื่องของการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เมื่อเราได้เปลี่ยนจากการที่แต่และห้องมีครูประจ�ำชั้น 2 คน เหลือ ครูประจ�ำชั้นห้องละ 1 คน เมื่อประมาณปี 56 ตอนแรกที่ครูหนิงมาเป็นครูที่ทอสีนั้น ครูประจ�ำชั้น 1 คนจะมี หน้าที่สอน 1 วิชา อาจจะเป็นไทย เลข วิทย์ หรือสังคม อาทิตย์ละ ประมาณ 10 คาบ ต้องใช้เวลาในการเตรียมสอน ตรวจงาน สรุปการสอน อี ก หลายชั่ ว โมงและยั ง มี ห น้ า ที่ ที่ ดู แ ลเด็ ก ๆ ในทุ ก ๆ รายละเอี ย ด ทั้งวัน เช่น พูดคุยชวนคิดในเรื่องที่ intrend ของห้อง พาท�ำกิจกรรม 8

ภาคเรียนที่ ๑

ปีการศึกษา ๒๕๕๙


ทอจิตฯ ตรวจบันทึก สมุดสื่อ สมุดจดการบ้าน ไปทริป ดูแลผู้ปกครอง ประสานงานกับครูคนอื่น ตรวจหน่วยบริการ ดูแลพฤติกรรม เคลียร์ ปัญหา อบรมกล่อมเกลาจิตใจ เตรียมตัวเด็กขึน้ ชัน้ ถัดไป ขึน้ ธรรมมาศ เทศน์บ่น และอื่นๆ อีกมากมาย สรุป...คิวแน่นมากกกกก ถึงแม้จะมีครู 2 คนท�ำงาน แต่ต่างคนก็ต่างงานเต็มมือ ทั้งงาน ประจ�ำวิชาและงานห้อง ความเร่งรีบในเนื้องานท�ำให้เรารีบเร่งที่ จะสะสางเรื่ อ งต่ า งๆ และแน่ น อนมั น ท� ำ ให้ ค วามละเอี ย ดละออ ในหลายๆ เรื่องลดลงโดยรู้ตัวบ้าง ไม่รู้ตัวบ้าง จนตอนนั้นครูหนิงก็ แอบคิดในใจว่าถ้าเราประจ�ำชั้นอย่างเดียวก็น่าจะดีนะ เพราะเรา ไม่สามารถจัดสรรตัวเองได้จริงๆ... ฝ่ายบริหารของโรงเรียนก็มองเห็นจุดนีโ้ รงเรียนเราเลยมีนโยบาย ปรับโครงสร้างเหลือครูประจ�ำชั้น 1 คน ไม่สอนวิชาอื่น แต่เป็นครู ประจ�ำชัน้ ดูแลวิถชี วี ติ และสอนวิชาทีเ่ กีย่ วกับชีวติ โดยตรง เพือ่ เป็นการ พาคิด พาดูจิต ดูใจ ไตร่ตรอง คือ ช่วงโฮมรูม ทอจิตเจริญสติ ทอจิต คิดประมวล วิชาแนะแนว ทักษะชีวิต และ ชมรม เพื่อให้ครูได้มีเวลา ลงรายละเอียดกับวิถีชีวิตและจิตใจเด็กมากขึ้น ในตอนนั้นดีใจมาก แต่แอบกลัวอยู่นิดนึงว่า เดิมเราท�ำงานกันห้องละ 2 คน รวม 4 คนก็ อบอุ่นใจเพราะเป็นทีมใหญ่ ที่คอยช่วยเหลือกันได้คอยมาแปะมือ สลับตัวกันได้ ตอนที่เราไม่ไหว

บางทีในชีวติ ประจ�ำวัน ของเราอะไรทีส่ ามารถ “น้อย”ลงได้ เราอาจจะ ได้อะไร”มาก”กว่าทีค่ ดิ

9


การเปลี่ยนแปลงมาถึงจนถึงตอนนี้ก็ 3 ปีแล้วที่ครูหนิงเป็น ครู ป ระจ� ำ ชั้ น เดี่ ย วไม่ เ หงานะคะ เพราะเราก็ มี คู ่ คิ ด อยู ่ อี ก ห้ อ งนึ ง ให้อบอุน่ ใจ และสังเกตได้อกี ว่า การทีเ่ ราตัดความกังวลใจในเรือ่ งของ เวลาต่างๆออกไปเรากลับมี quality time ให้กับเด็กๆ มากขึ้น มีความ ละเอียดลออในการมองเรื่องต่างๆ มีเวลาฟังเสียงเด็กเวลาเค้ามาคุย มาปรึ ก ษา มี เ วลาใช้ ใ จในการสั ม ผั ส เรื่ อ งราวต่ า งๆ ที่ เ กิ ด ขึ้ น ได้ ใคร่ครวญ ไตร่ตรอง ก่อนที่จะคิด พูด หรือท�ำ นอกจากนั้นแล้วเรายังมี quality time กับเพือ่ นครูทสี่ อนวิชาอืน่ มากขึน้ ด้วยการ support เขา เวลาเข้ามาสอน และช่วยเด็กของเราให้เรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น

10

ภาคเรียนที่ ๑

ปีการศึกษา ๒๕๕๙


ชีวติ ประจ�ำวันของเรายุง่ และวุน่ วายจนไม่มเี วลาดูใจตนเอง หากปล่อยวาง ความคิดและเปิดโอกาสให้จติ ใจ สงบลงบ้าง ปัญญา ก็จะปรากฏให้เราเห็นเอง ชยสาโร ภิกขุ

เรียกได้ว่าเมื่อภาระงานน้อยลง ความวุ่นวายน้อยลง เรากลับ มีโอกาสที่จะท�ำงานดีๆ อีกมากมาย นอกจากจะมีเวลาให้ตัวเองแล้ว ยังมีเวลาที่จะมองคนอื่นด้วยใจที่สงบกว่าเดิม และเช่นกัน ครูหนิงเชื่อว่า บางทีในชีวิตประจ�ำวันของเราอะไร ทีส่ ามารถ”น้อย”ลงได้ เราอาจจะได้อะไร “มาก” กว่าทีค่ ดิ อย่างแน่นอน เหมื อ นดั ง ค� ำ สอนของพระอาจารย์ ช ยสาโรที่ ว ่ า “ชี วิ ต ประจ� ำ วั น ของเรายุ ่ ง และวุ ่ น วายจนไม่ มี เ วลาดู ใ จตนเอง หากปล่ อ ยวาง ความคิดและเปิดโอกาสให้จิตใจสงบลงบ้าง ปัญญาก็จะปรากฏให้ เราเห็นเอง” นี่แ หละค่ะ Less is More ของครูหนิง หวังว่าจะเป็นประโยชน์ บ้างนะคะ เจอกันครั้งหน้า สวัสดีค่ะ บ๊ายบายยยยยยย :)

11


ทอสีรักษ์โลก เรื่อง ครูอั๋น - ธัชพล แก้วมณี ภาพ ครูเหม - เหม อุตรพันธ์

โครงการทอสีรก ั ษ์โลก ถือก�ำเนิดมาได้ประมาณ ๑๐ ปีแล้ว ด้วยความตั้งใจและเห็นคุณค่าของทุกๆ อย่าง เรามักจะได้ยินค�ำว่า “มันยังใช้ได้อยู่นะ” “ลองเอาไปใช้...ไหม เสียดายนะ” จากครูอ้อน เป็นประจ�ำ จนกระทั่งครูอั๋นเข้ามาท�ำให้ทอสีรักษ์โลกเป็นรูปธรรม ขึ้นมาและมีทีมผู้ร่วมอุดมการณ์ที่เข้มแข็งมากๆ

ทำ�น้อย ได้มาก...

12

ภาคเรียนที่ ๑

ปีการศึกษา ๒๕๕๙


จากค�ำกล่าวที่ว่า “เด็ดดอกไม้ สะเทือนถึงดวงดาว” ความหมายนั้น คือการท�ำอะไรของเราเพียงเล็กน้อย ก็อาจจะส่งผลกระทบต่อธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมได้อย่างมากมายจนแทบไม่น่าเชื่อ ลองจินตนาการดูนะครับ ถ้ า พวกเราทานข้ า วเหลื อ เพี ย งคนละ๑ ช้ อ น ในโรงเรี ย นมี ป ระชากรอยู ่ ประมาณ ๕๐๐ คน เท่ากับปริมาณข้าวสวยเกือบ ๓๐ จาน แล้วเราคิดว่าส่งผล อย่ า งไรบ้ า ง พี่ เ ลี้ ย งในครั ว ที่ ต ้ อ งใช้ เ งิ น ซื้ อ และหุ ง ข้ า ว ใช้ น�้ ำ ใช้ ไ ฟฟ้ า มากเกิ น จริ ง การทิ้ ง เป็ น ขยะให้ กั บ พื้ น ที่ ก ลั บ สร้ า งภาระการจั ด เก็ บ ต่ อ ผู ้ เกี่ยวข้อง ถ้าจัดการไม่ถูกวิธีจะส่งกลิ่นเหม็น เป็นแหล่งแพร่เชื้อโรคต่อคน ในโรงเรียนเอง ชาวนาผู้ปลูกข้าวต้องปลูกข้าวมากขึ้นๆ ให้เพียงพอต่อความ ต้องการ ซึ่งต้องตัดต้นไม้เพื่อใช้เป็นที่ดินเพาะปลูก ใช้น�้ำ ใช้ปุ๋ยในปริมาณ ที่มาก มีผลท�ำให้ปัจจุบันนี้บ้านเราแห้งแล้ง น�้ำไม่พอใช้ และอากาศร้อนขึ้น ทุกปี ยิ่งร้อนก็ยิ่งเปิดแอร์บ่อยขึ้น ไอร้อนจากการท�ำงานของแอร์ก็ลอยขึ้นไป ท�ำลายชั้นบรรยากาศที่ปกคลุมโลก มีผลให้ความร้อนจากดวงอาทิตย์เข้ามา ถึงพื้นดินและสิ่งมีชีวิตได้โดยตรง อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น น�้ำแข็งที่ขั้วโลก ละลายเร็วขึ้น อนาคตน�้ำอาจจะท่วมโลกก็เป็นได้ โอ้...น่ากลัวจริงๆ แล้วเราท�ำอะไรได้บ้าง ท�ำใจ เพราะเปลี่ยนอะไรไม่ได้หรอก หรือเรา จะช่ ว ยกั น รั ก ษาโลกใบนี้ หรื อ อย่ า งน้ อ ยก็ ค วรป้ อ งกั น ปั ญ หาที่ อ าจจะ เกิดขึน้ ได้ ครูอนั๋ เสนอว่าเราใช้แนวคิด “ท�ำน้อยแต่ได้ผลมาก (Less is More)” ไปประยุกต์ใช้ก็ได้นะ เอาเรื่องที่เราถนัดหรือเข้าใจ เช่น ทานข้าวให้หมด, ปลูกต้นไม้ที่เราชอบ, แยกขยะก่อนทิ้ง ฯลฯ จริงๆ แล้วครูอั๋นเชื่อว่าทุกคนคิดได้อยู่แล้วว่าควรจะท�ำอะไร ที่ส�ำคัญ ขอแค่เพียงเริ่มต้นลงมือท�ำเท่านั้นเอง

...คิดได้แล้ว ก็ท�ำเลยนะครับ... ใครจินตนาการตามครูอั๋นแล้ว พร้อมลงมือ เริ่มที่ตัวเรา ยกมือเข้าขบวนมาเลยครับ

13


เพาะครู

เรื่อง / ภาพ พ่ออ้น โชติวัฒน์ ลัทธะพานิชย์ (คุณพ่อน้องโอม ป.๒ และน้องแอม อ.๓)

“ครู” คือหัวใจส�ำคัญ

ก่อนที่จะเล่าถึงความเป็นมาของกองทุนครูวิถีพุทธของทอสี ทุ ก คนคงจะเห็ น ด้ ว ยกั บ ผมว่ า “ครู ” คื อ หั ว ใจส� ำ คั ญ ที่ สุ ด ของ การสถาบันศึกษา ไม่วา่ จะเป็นโรงเรียนทอสีของเราหรือโรงเรียนไหนๆ ก็ตาม ครูที่ดีมีคุณภาพ นอกจากจะต้อง เป็นผู้ที่เข้าใจในเนื้อหา หลักสูตรด้านวิชาการที่สอนแล้ว ยังจะต้องมีความสามารถในการ เข้าถึงและเข้าใจจิตวิทยาของ นักเรียน เพือ่ กระตุน้ ให้เขามีความอยาก เรียนรู้ทั้งในด้านวิชาการและสิ่งรอบตัวเพื่อให้เด็กนักเรียนเหล่านั้น พัฒนาครบถ้วนรอบด้านทั้งทางกายและใจเติบโตขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่ ที่ดีต่อไป การที่คนคนนึงจะกลายเป็นครูที่ดีได้ จึงจ�ำเป็นต้อง ทุ่มเท ทั้ ง ก� ำ ลั ง กายและใจเพื่ อ ฝึ ก ฝนและพั ฒ นาตนเองเป็ น อย่ า งมาก ยิ่งในระบบการศึกษาวิถีพุทธนั้นยิ่งต้องใช้เวลาใน การท�ำความเข้าใจ มากขึ้ น เป็ น พิ เ ศษ เพราะหลั ก สู ต รแนวทางการใช้ ธ รรมะของ พุทธศาสนาเพื่อใช้ในการสอนนั้นไม่มีสอนในมหาวิทยาลัยทั่วๆ ไป ดังนั้นครูทุกคนที่เข้ามาอยู่ในรั้วโรงเรียนทอสีของเรา นอกจากจะต้อง มีพื้นฐานการศึกษา การเป็นครูมาแล้วยังจะต้องใช้เวลาในการอบรม และเรียนรู้เพิ่มเติมในด้านวิถีพุทธอีกด้วย ในขณะเดี ย วกั น ในโลกของสั ง คมปั จ จุ บั น ที่ ค ่ า ครองชี พ สู ง ท� ำ ให้ ต ่ า งคนต้ อ งท� ำ งานหาเลี้ ย งชี พ โดยปั จ จั ย ด้ า นผลตอบแทน ด้านรายได้จึงมีความส�ำคัญต่อการประกอบอาชีพครูอย่างหลีกเลี่ยง ไม่ได้ ดังนั้นการปรับรายได้ของครูให้สอดคล้องกับความจ�ำเป็น ของสถาวะเศรษฐกิจ เป็นส่วนส�ำคัญส่วนหนึ่งในการได้มาและ การรักษาบุคลากรครูที่ดีไว้ เพราะเป็นปัจจัยส�ำคัญต่อคุณภาพการ เรียนการสอนอย่างทีก่ ล่าวไว้ขนั้ ต้น หลายท่านเมือ่ อ่านถึงตรงนีอ้ าจจะ มองว่าเรื่องการเงินของครูน่าจะเป็นความรับผิดชอบเฉพาะส่วนของ โรงเรียนไม่เกี่ยวกับผู้ปกครอง แต่ในความเป็นจริง หากมองให้ลึกซึ้ง ยิง่ ขึน้ ถ้าความรับผิดชอบเรือ่ งนีเ้ ป็นของโรงเรียนฝ่ายเดียว ทางโรงเรียน มีทางเลือกแค่สามทาง ทางแรกคือการปรับค่าเล่าเรียนขึ้น การเลือกวิธีนี้หากต้องปรับ ให้สอดคล้องกับค่าใช้จา่ ยของครูเองจริงๆ อาจ ต้องปรับเพิม่ มาก และ การเพิม่ ทีม่ ากนัน้ ก็จะกระทบต่อค่าใช้จา่ ยของผูป้ กครอง กลายเป็นว่า ค่าเล่าเรียนของโรงเรียนจะเป็นตัวก�ำหนดคัดเลือกให้เหลือเฉพาะ ผู้ปกครองที่มีฐานะการเงินสูงพอที่จะจ่ายค่าเล่าเรียนสูงๆ นี้เท่านั้น ซึ่งทางผู้ บริหารโรงเรียนทอสีเองไม่อยากให้การศึกษาวิถีพุทธ สามารถเข้าถึงได้เฉพาะคนมีฐานะร�่ำรวยเพียงอย่างเดียว จึง พยายามอย่างเต็มความสามารถที่จะไม่เลือกวิธีการขึ้นค่าเล่า-

14

ภาคเรียนที่ ๑

ปีการศึกษา ๒๕๕๙


เรียนจนสูงมากเกินไป วิธที สี่ องคือการเลือกไม่ปรับรายได้ใดๆให้กบั ทางครู วิธนี อี้ าจจะ ใช้ได้ในระยะสัน้ แต่ในระยะยาวนัน้ จะไม่ยงั่ ยืน เพราะแม้วา่ ครูเหล่านัน้ จะมีความมุ่งมั่นที่จะเป็นครูแค่ไหน หรือมีความรักในองค์กรแค่ไหน แต่หากรายได้ไม่สามารถสร้างฐานะความเป็นอยู่ที่เพียงพอใน

การเลีย้ งตนและครอบครัวได้ยอ่ มจ�ำเป็นต้องหาแหล่งรายได้อนื่ ที่ดีกว่าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

วิ ธี ที่ ส ามนั้ น เป็ น วิ ธี ที่ มี ค วามเหมาะสมที่ สุ ด และเป็ น วิ ธี ที่ ทางโรงเรียนเลือกปฏิบัติ นั้นคือการเลือกที่จะเพิ่มค่าเล่าเรียนพอ ประมาณให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของภาวะเศรษฐกิจ แต่ ไม่มากถึงขนาดท�ำความเดือดร้อนให้กับ กลุ่มผู้ปกครองโดยรวม และ ในขณะเดียวกันก็เพิ่มรายได้ให้กับทางครูอย่างพอเพียง ตรงจุดนี้เอง จึ ง เป็ น ที่ ม าของกองทุ น ครู วิ ถี พุ ท ธโรงเรี ย นทอสี ข องเราเพื่ อ ช่ ว ย สนับสนุนทางโรงเรียนและครูอีกแรง โดยกองทุนครูวิถีพุทธโรงเรีบนทอสีนั้น เกิดขึ้นมาจาก เจตจ�ำนงของทั้งฝ่ายบริหารของโรงเรียนและคณะผู้ปกครอง ที่อยากจะมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสร้างความ มั่นคงระยะยาวให้แก่บุคลากร ครูในระบบการศึกษาวิถีพุทธ ปัญญาที่มีคุณภาพและจริยธรรมที่ดีงาม และสนับสนุนการ ค้นคว้าพัฒนาระบบการศึกษาตามปรัชญาการศึกษาวิถีพุทธ ปัญญา เพื่อให้ได้มาซึ่งการศึกษาที่ดีที่สุดของนักเรียนอันเป็น ทรัพยากรส�ำคัญของประเทศชาติในอนาคต การช่วยเหลือยกระดับคุณภาพชีวิตครูของกองทุนฯ แบ่งออก เป็น ๓ ระยะ ดังนี้ ๑. โครงการระยะแรก ทีท่ ำ� คือการเพิม่ รายได้ให้ครูดว้ ยการ “ลด” ค่าใช้จ่ายจ�ำเป็นในชีวิตประจ�ำวันและช่วยดูแลความเป็นอยู่ของครู ทุกคน อาทิ โครงการอาหารเช้าครูโดยทางกองทุนฯช่วยออกค่าใช้จา่ ย 15


และให้ทางหน่วยงานด้านอาหารของโรงเรียนเตรียมอาหารเช้าให้ครู ทุกคนทุกวัน, โครงการเงินกู้ฉุกเฉินโดยทางกองทุนฯส�ำรองเงินไว้ ส่วนนึงส�ำหรับให้ครูเบิกใช้ได้ในกรณีฉกุ เฉินและจ�ำเป็นจริงๆ, โครงการ ประกันอุบตั เิ หตุครูทที่ างกองทุนฯรับผิดชอบเบีย้ ประกันให้กบั ครูทกุ คน และโครงการชวนครูออม ทีท่ างโรงเรียนหักเงินเดือนครูเพือ่ น�ำเข้าฝาก ออมทรัพย์บวกกับเงินสมทบเทียบเท่าที่ทางกองทุนช่วยสนับสนุน เพื่อส่งเสริมให้ครูทุกคนมีเงินฝากไว้ใช้จ่ายในอนาคตอีกแรง ๒. โครงการระยะกลาง จะเน้นสนับสนุนในส่วนต่างๆ ทีจ่ ะเสริม สร้างเพิม่ พูนศักยภาพความสามารถในการสอน ของครูและรวมถึงการ สรรหาคิดค้นสื่อการเรียนการสอน โดยมีเป้าหมายเพื่อให้บุคลากรครู ของเรามีประสิทธิภาพในการอบรมสัง่ สอนนักเรียนทัง้ ทางด้านวิชาการ วิชาชีพและวิชาชีวิต ด้านศีลธรรมและจริยธรรมให้เต็มที่ เพื่อพัฒนา เด็กนักเรียนทอสี ให้มีศักยภาพมากยิ่งขึ้น อาทิ การสนับสนุนทุนการ ศึกษาให้คุณครูที่มีความต้องการศึกษาวิชาการที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม, ให้ทุนในการท�ำวิจัยด้านการศึกษาวิถีพุทธปัญญาเพื่อน�ำผลการวิจัย มาพัฒนาหลักสูตรของโรงเรียนให้แข็งแรงยิ่งขึ้น, และรวมถึงให้เงิน สนับสนุนในการแลกเปลีย่ นดูงานของครูทอสีกบั ครูสถาบันศึกษาอืน่ ๆ เพื่อแลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์ให้ กว้างไกลยิ่งขึ้น ๓. โครงการระยะยาว มีเป้าหมายทีจ่ ะเป็นส่วนร่วมในการขยาย

เผยแผ่ประโยชน์ของระบบการศึกษาวิถีพุทธไปสู่สังคมในวงกว้าง

โดยหวังว่าการศึกษาวิถีพุทธปัญญาจะมีส่วนช่วยให้เพิ่มศักยภาพใน การเรียนรู้ของเด็กไทย ให้มีทักษะที่สมดุลย์ทั้งด้านความรู้วิชาการ

16

ภาคเรียนที่ ๑

ปีการศึกษา ๒๕๕๙


ทั้งด้านจิตใจที่รู้จักตนเองและมีจริยธรรม จากค�ำสั่งสอนต่างๆ ใน พุทธศาสนาเป็นหลัก เพือ่ ส่งผลให้สงั คมไทยในอนาคต มีผนู้ ำ� ทีท่ งั้ เก่ง และเป็นคนดีเพื่อสังคมไทยที่แข็งแรงสืบต่อไป ทั้งนี้ทางกองทุนฯมีการระดมทุนรายได้หลักๆ อยู่สองทางคือ ทางแรกจากความอนุ เ คราะห์ ภ ายในชุ ม มุ น กั ล ยาณมิ ต รในหมู ่ ผูป้ กครองเราเอง เช่น รายได้จากกิจกรรมงานม่วนชืน่ น้องพีท่ อสีสเู่ หย้า ที่จัดทุกๆ ๓ ปี, รายได้จากการขายสินค้า ต่างๆ ตามเทศกาลทั่วๆ ไป เช่น สมุดบันทึก ก-ฮ ฉบับโรงเรียนทอสี, การจัด workshop อบรม พ่อแม่ และการระดมทุนครั้งใหญ่จัดทุกๆ ๒ ปีอย่างงานกอล์ฟที่ก�ำลัง จัดขึ้นในเดือนพฤศจิการยนนี้ ทางที่สองคือการได้รับความอนุเคราะห์จากองค์กรภาคธุรกิจ ภายนอกรั้วโรงเรียนที่ประสงค์จะปันงบประมาณด้านการ ท�ำ CRS มาสนับสนุนการศึกษา และเล็งเห็นความส�ำคัญของการศึกษาวิถพี ทุ ธ แบบของโรงเรียนทอสี โดยการบริจาคนัน้ จะเป็นการแสดงความรับผิด ชอบต่อสังคมแล้ว องค์กรเหล่านั้นยังได้รับสิทธิ์ในการลดหย่อนภาษี เพิ่มเติมอีกด้วย เรียกได้ว่าเป็นการท�ำที่ได้ทั้งบุญและประโยชน์ในที เดียวกัน สุดท้ายนี้ในฐานะตัวแทนกองทุนครูฯ ผมขอกราบขอบพระคุณ คุณพ่อคุณแม่ทุกท่านที่ร่วมสนับสนุนกิจกรรม ต่างๆ ของเราเสมอมา และอยากจะเรียนเชิญทุกๆ ท่านทีอ่ ยากมีสว่ นร่วมกับการท�ำงาน

ของกองทุนในอนาคต ไม่ว่าจะ เป็นการให้ค�ำเสนอแนะสิ่งที่กอง ทุนครูฯในเรื่องต่างๆ การเข้ามาร่วมท�ำงานตามความถนัดของ ตน เช่น ด้านการ ประชาสัมพันธ์ ด้านการระบบข้อมูลสาระสนเทศ

การเสริมองค์ความรูด้ า้ นอืน่ ๆ ทีส่ ำ� คัญให้กบั คุณครู หรือด้านอืน่ ๆ ทีผ่ ม อาจจะไม่ได้กล่าวถึง ณ ทีน่ ี้ รวมไปถึงเข้ามาร่วมกันก�ำหนดทิศทางการ บริหารงานของกองทุนฯ ในอนาคตอีกด้วย โดย สามารถติดต่อแจ้ง ความจ�ำนงค์ได้กบั คณะครูทโี่ รงเรียนหรือกับตัวผมเองหรือจะอีเมลหา ผมที่ ont142@gmail.com ก็ได้ครับ

ขอบพระคุณครับ พ่ออ้น โชติวัฒน์ ลัทธะพานิชย์

17


ห้องเรียนพ่อเเม่ เรื่อง / ภาพ แม่ต้อง ต้องหทัย เพชรชาติ

คุณแม่น้องตรอง อ.๓ และน้องตริน ป.๓

ห้องเรียนพ่อแม่เล่มนี้ เป็นมุมมองของครอบครัวหนึง่ ทีจ่ ะมาแบ่งปันวิธกี ารใช้เวลาคุณภาพของครอบครัว เขาให้ได้อา่ นกันนะครับ

เวลาเล็กเล็ก น้อยน้อย ของครอบครัว 18

ภาคเรียนที่ ๑

ปีการศึกษา ๒๕๕๙


คงมีคุณพ่อคุณ แม่หลายท่านที่รู้สึกว่าท�ำไมเราถึงมีเวลาให้ลูก น้อยจังเพราะมีงานประจ�ำหรือแม้แต่คุณแม่ที่เป็นแม่บ้านและมีงาน ที่รับผิดชอบที่ต้องท�ำอีกมหาศาล ส�ำหรับมนุษย์เงินเดือนหลายท่านคงเป็นความฝันทีอ่ ยากมีเวลา และใช้ชีวิตกับลูกให้ได้มากที่สุดแต่ ด้วยความจ�ำเป็นเพราะต้อง ไปท�ำงานเช้ากลับเย็น เป็นประจ�ำทุกวัน เรามาท�ำเวลาเล็กน้อย ในแต่ละวันให้เป็นเวลาคุณภาพ ที่เราสามารถท�ำอะไรร่วมกับลูกที่ เป็นเวลาแห่งความสุข เวลาแห่งการเรียนรู้ร่วมกันได้ ช่วงเช้าที่ต้อง นั่งรถมาส่งลูก เราก็ใช้เวลาพูดคุย เล่นเกมจากสิ่งรอบๆ ตัวช่วงรถติด อยู่บนถนน เช่น • แข่งกันบวกเลขจากทะเบียนรถ • ทายพยัญชนะบนทะเบียนรถ • หาตัวเลขทะเบียนรถที่มีจ�ำนวนมากเท่ากัน • ทายยี่ห้อรถ • เลือกยี่ห้อรถแล้วนับจ�ำนวนแข่งกัน • คุยกันเรื่องสถานที่ข้างๆถนนที่เห็น เวลาเย็นหลังจากทีเ่ ลิกงานกลับมาเจอกัน การพูดคุย แลกเปลีย่ น ประสบการณ์ของแต่ละวันระหว่างกัน สิ่งที่พ่อแม่ไปท�ำ ไปเจอมา สิ่งที่ลูกท�ำวันนั้น ทั้งเรื่องลูกมีความสุขชอบใจหรือไม่ชอบใจก็ตาม (แต่ตรงนี้ คุณพ่อคุณแม่ต้องไม่ใจร้อนนะคะ ต้องฝึกเป็นผู้เล่าและ ผู้ฟัง ที่ไม่คาดหวัง ไม่คาดคั้น ไม่พร�่ำสอนตลอดเวลา ต้องอดทน รอคอย ให้ลูกเกิดความสบายใจที่จะเล่าด้วยนะคะ) ช่วงก่อนนอน เป็นเวลาอบอุ่นที่จะได้อยู่ใกล้ชิดกับลูก คุณพ่อ คุณแม่ สามารถใช้ชว่ งเวลานี้ สร้างความสุข สานความรักความสัมพันธ์ ครอบครัว ไม่วา่ จะเป็นการอ่านนิทานก่อนนอน การเล่านิทานทีพ่ อ่ แม่ แต่งขึ้น หรือครอบครัวเราจะใช้การเล่าเรื่องราวในอดีตของครอบครัว ทีละเล็ก ทีละน้อย ซึ่งเด็กๆ จะรอคอย สนุกอยากฟังอีกทุกๆ คืน เวลาคุณภาพเพียงเล็กน้อยที่คุณพ่อคุณแม่มีให้ลูกในแต่ละวัน เมื่อรวมกันแล้วก็อาจเป็นสิ่งมีค่าและความทรงจ�ำที่ยิ่งใหญ่ของเด็กๆ ได้ในอนาคต ใช้ทุกวินาทีของวันเท่าที่คุณพ่อคุณแม่มีให้มากที่สุดกับ ลูกๆ นะคะ

เวลาคุณภาพเพียง เล็กน้อยทีค่ ณ ุ พ่อคุณแม่ มีให้ลกู ในแต่ละวัน เมือ่ รวมกันแล้วก็อาจเป็น สิง่ มีคา่ และความทรงจ�ำ ทีย่ งิ่ ใหญ่

19


ชมนกชมไม้ บทนำ� ครูน้ ำ�อ้อย สืบดี

20

ภาคเรียนที่ ๑

เรื่อง/ภาพ ด.ช.ภูริวัจน์ เรืองพงศ์ปรีชา ป.๑/๑ ด.ญ.เอรากุญชร ณ อยุธยา ป.๑/๒

ปีการศึกษา ๒๕๕๙

ด.ญ.จิราภัทร ผาสุพงษ์ ป.๑/๒


โรงเรียนทอสี เปิดการเรียนรู้ ไปสู่นอกห้องเรียน เพื่อให้เราเรียนรู้จากวิชาการที่จะ น�ำไปใช้กับชีวิต ธรรมชาติเป็นบทเรียนที่ยิ่งใหญ่ที่ท�ำให้เราเห็นตัวเองว่าเป็นเพียงส่วน เล็กๆ ส่วนหนึ่งของโลกใบนี้ เราเป็นเพียงกลไกหนึ่งที่มีส่วนสร้างหรือท�ำลายโลกนี้ได้ ดังนั้น สิ่งมีชีวิตเล็กๆ อย่างมนุษย์ต้องการเรียนรู้ว่า เราจะอยู่ร่วมกับสิ่งมีชีวิตอื่น อย่างไรให้เกื้อกูลกัน

21


เรื่องเล่าจาก ‘ปัญญาประทีป’ เรื่อง / ภาพ โรงเรียนปัญญาประทีป

สัมมาธุรกิจ

WHERE IS MY IDOL ?

ท่องไปในโลกนอกกะลา ค้นหาคนเก่งคนกล้าท�ำความดี

ปีการศึกษา ๒๕๕๙ นี้ พี่ ๆ นักเรียนปัญญาประทีป ชัน้ ม.๔-๕ ได้ไปทัศนศึกษาภายใต้โครงการ “Where is My Idol ?” ในวิชาบูรณาการ “เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว : สัมมาธุรกิจ” เพื่อเปิดโลกการเรียนรู้ให้นักเรียนได้ประจักษ์ถึงคุณค่าที่แท้จริงของการประกอบการงาน หรือธุรกิจ ที่ไม่เอาผลก�ำไรเป็นเป้าหมายสูงสุด ไม่เห็นค�ำว่า “ธุรกิจ” เท่ากับค�ำว่า “เงิน” แต่มุ่งจัดการ แก้ปัญหาโดยไม่เบียดเบียนตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม และเป็นไปเพื่อ สร้างประโยชน์สุขกับตนและส่วนรวมอย่างแท้จริง

22

ภาคเรียนที่ ๑

ปีการศึกษา ๒๕๕๙


เช้าตรู่ของวันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๕๙ คุณครูและนักเรียนปัญญาประทีป ๔๐ ชีวิต จึงมุ่งหน้าเดิน ทางขึ้นเหนือ เพื่อเดินทางไป จ.เชียงใหม่ เพื่อมองหาคนเก่งที่กล้าท�ำความดี ก่อร่างสร้างธุรกิจเพื่อ สังคม โดยปักหมุดหมายที่อยากไปเรียนรู้ไว้ ๗ แห่ง ถ้าเปรียบเป็นอาหารเหนือ ก็ต้องบอกว่า “กินดี กินล�ำ” ทุกจาน แหล่งเรียนรู้นี้ล้วนเป็นธุรกิจเพื่อสังคม แต่หากมองลงไปในรายละเอียด ก็จะแบ่งออก ได้เป็น ๕ ประเภท คือ ๑) ธุรกิจเพือ่ แก้ไขปัญหาชุมชนโดยบุคคล ได้แก่ ธุรกิจกาแฟอาข่าอ่ามา ๒) ธุรกิจท่องเที่ยวโดยชุมชน + องค์กร สนับสนุนการท่องเที่ยวโดยชุมชน ได้แก่ โฮมสเตย์แม่กำ� ปอง + Community Based Tourism Institute (CBTI) ๓) ธุ ร กิ จ ของผู ้ น� ำ เพื่ อ ใช้ เ ป็ น เครื่ อ งมื อ พั ฒ นาประเทศ ได้ แ ก่ โรงงานหลวงที่ ๑ (ฝาง) ๔) ธุรกิจเพื่อสังคมขนาดเล็ก ได้แก่ เวิ้ง มาลัย และชุมชนข้างวัด ๕) ธุรกิจการศึกษาเพื่อแก้ปัญหาสังคม ได้แก่ กลุม่ ละครมะขามป้อม และโฮงเฮือน สืบสานภูมิปัญญาล้านนา

23


โดยหวังใจว่านักเรียนจะได้เห็นและเรียนรู้แง่มุมความคิด ทัศนคติ อุดมการณ์ วิธีท�ำงานและการแก้ไข ปัญหาที่หลากหลาย และเป็น “ของจริง” เมื่อเวลาผ่านไป นักเรียนเริ่มรับรู้ถึงความแตกต่างของทริปนี้กับ ทริปอื่น ๆ ที่เคยไปมา เราไม่ค่อยได้ใช้แรงกาย แต่ใช้ความคิดกันอย่างหนักหน่วงที่จะพยายามฟังให้เข้าใจ จับประเด็น เชื่อมโยงความเกี่ยวข้องต่าง ๆ ของข้อมูลจ�ำนวนมากที่ไม่คุ้นเคยและถอดบทเรียนทุกค�่ำคืน หลายคนได้ฝึกดูใจ ดูความคิดของตนเองที่มีต่อสไตล์ของวิทยากรที่ไม่คุ้นเคยเพื่อลดอคติและเปิดใจกว้างให้ กับการเรียนรู้ สุดท้ายวิทยากรทุกท่าน บรรยากาศการเรียนรู้และกระบวนการถอดองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นตลอด ๕ วันก็ได้มอบความรู้ ประสบการณ์และความประทับใจแก่พวกเราทั้งด้านวิชาการ วิชาชีพและวิชาชีวิตเพื่อ น�ำมาใช้ในการด�ำเนินชีวิต ท�ำงานให้มีคุณค่าและเป็นไอเดียส�ำหรับโครงการธุรกิจเพื่อการเรียนรู้ต่อไปค่ะ

24

ภาคเรียนที่ ๑

ปีการศึกษา ๒๕๕๙


อ่านแล้วชื่นใจ

เรื่อง : ครูโก้-ปิยะ ตั้งพงศ์ธิติ หัวหน้าสาระภาษาไทย


26

ภาคเรียนที่ ๑

ปีการศึกษา ๒๕๕๙


27


คำ�ถามนี้... ช่วยกันตอบ เรื่อง / ภาพ ครูเหม-เหม อุตรพันธ์

LESS IS MORE

ลดอะไรแล้วได้ประโยชน์เพิ่ม...? ลดการเล่นเกมได้อ่านหนังสือเพิ่มขึ้น ลดการเอาเงินไปใช้จ่าย อย่างฟุ่มเฟือยจะได้มีเงินเก็บเยอะๆ เพื่อซื้อของที่จ�ำเป็น

ด.ช.นันธ์ณัฏฐ์ โกวพัฒนกิจ (เปรม) ป.๒

ไม่เอาเงินไปซื้อขนม เพื่อจะไปใช้จ่ายค่าเทอม ลดการรีบร้อนในการเขียน เพื่อการเขียนให้สวยเพิ่มขึ้น ด.ญ.จิตนิภา ภานุทัต (บาแกต) ป.๒

ลดการแกล้งน้องจะได้ดูแลน้องเพิ่มขึ้น ลดการพูดเสียงเบาเพื่อพูดเสียงดังให้สื่อสารชัดเจนมากขึ้น

ด.ญ.พีรญา วรสุวัฒน์ (พรีม) ป.๒

ลดการยึดมั่นในตัวเองมีทิฐิได้เพื่อนเพิ่มขึ้น ลดการเลือกกินแต่เฉพาะสิ่งที่ไม่ ชอบแต่ให้ประโยชน์จึงท�ำให้ผิวแห้งไม่มีวิตามินหล่อเลี้ยง เพิ่มการกินอาหาร ที่หลากหลาย ลดการเหม่อลอยเวลาเรียนพอเรียนไปแล้วเบื่อๆ ก็จินตนาการ เรื่องไร้สาระ ท�ำให้เรียนดีขึ้นเรียนเก่งขึ้นจากเรียนปานกลาง ด.ญ.น�้ำทอง กองจันทรา (ขิม) ป.๖

28

ภาคเรียนที่ ๑

ปีการศึกษา ๒๕๕๙


ลดการแกล้งเพื่อนเช่นเอาของไปซ่อน ได้เพื่อนมีเพื่อนคบหากันมากขึ้น ลดการขี้เกียจท�ำให้มีงานค้างน้อยลงมีเวลาว่างเพิ่มขึ้น ลดการเขียนบันทึกแบบลายมือไม่สวยท�ำให้งานเรียบร้อยขึ้น

ด.ช.พีรวัส ช่วงโชติ (ป้อ) ป.๖

ไม่แกล้งเพื่อนเอาปากกาสมุดไปซ่อน ท�ำให้ได้เพื่อนเพิ่มขึ้น ลดการติดเกมมีเวลาไปท�ำสิ่งที่ดีกว่ามากขึ้นอ่านหนังสือวรรณกรรม วิ่งออกก�ำลังกาย ลดการนอนดึกท�ำให้ส่วนสูงเพิ่มขึ้นเจริญเติบโตมากขึ้น ด.ช.ปุณณวิช ดีวิเศษพันธ์ (ปั้น) ป.๖

ลดความอิจฉาของตนเองเวลาเพื่อนได้คะแนนดีเราเองก็เป็นทุกข์เวลาอิจฉา ท�ำไมเราไม่ได้คะแนนดีบ้าง เราจะมีความสุขเพิ่มขึ้น ลดการเล่นเกมเพราะ ท�ำให้เสียสายตา ได้เพิ่มการออกก�ำลังเพื่อความแข็งแรง ลดการใช้ ทรัพยากร เช่น เปิดไฟแล้วไม่ปิดทิ้งขยะไม่ถูกถัง ได้ความภูมิใจจากการที่ท�ำ ด.ช.พศวีร์ ช่วงโชติ (เป้) ป.๖

ลดการดูทีวี เช่น การดูหนังดึกๆ จะได้การนอนเร็วขึ้น อ่านหนังสือเพิ่มค�ำศัพท์ความรู้ ลดการซื้อของเล่นให้น้อยลงเครื่องเขียน ที่อยากได้ ได้เงินออมได้ความภูมิใจที่เก็บเงินซื้อเอง เก็บเงินซื้อของที่จ�ำเป็น ลดความไม่รอบคอบเรื่องการท�ำข้อสอบอาจจะมีการเขียนผิด ท�ำให้เราได้คะแนนดีผลที่ภูมิใจในตัวเองกลับมา ด.ช.นวินวิชญ์ วิวัฒน์วิชา (แตมแตม) ป.๖

ด.ญ.ณพิชยา ธรรมาธิวัฒน์ (จันทน์กะพ้อ) ป.๖

ลดการลืมของเอาไว้ที่โรงเรียนหรือสถานที่อื่นๆ จะท�ำให้คนอื่นๆ พ่อแม่ เพื่อนๆ ไม่ต้องตามเก็บสิ่งของให้ ลดการซุ่มซ่ามเอามือไปโดนแก้วแล้ว ตกแตกที่ร้านขายเครื่องครัว ท�ำแก้วน�้ำหก จะท�ำให้ประหยัดเงินเพิ่มขึ้นใน การคืนค่าเสียหายลดความขี้เกียจเวลาเดินไปเรียนห้องดนตรีขี้เกียจเดินมา เอาเครื่อง recorder ขี้เกียจส่งเดี๋ยวค่อยส่งก็ได้แล้วลืม การบ้านตอนเช้า ทั้งๆ ที่ท�ำเสร็จหมดแล้วเลยไม่ได้ส่ง ท�ำให้กระชับกระเฉงเพิ่มขึ้นได้เวลา เพิ่มขึ้นไม่ต้องเสียเวลาคนอื่นมาบังคับให้รีบท�ำ 29


หน้านิทาน... อ่านด้วยกัน เรื่อง / ภาพ แม่น้อย-คีตะวรรณ วิบูลย์สันติพงศ์ (คุณแม่น้องฟ้า ป.๕)

30

ภาคเรียนที่ ๑

ปีการศึกษา ๒๕๕๙


31


เด็กทุกคนคือศิลปิน เรื่อง ครูป่าน-อนิวรรต อัครสุทธิกร

ภาพ ครูเหม-เหม อุตรพันธ์, ครูทราย-วิลาสินี มีทรัพย์

เด็กทุกคน คือศิลปิน ตอน ความคิดสร้างสรรค์ ของเด็กตัวโตๆ มีคนกล่าวว่ามนุษย์เติบโตมากับความคิดสร้างสรรค์ และจินตนาการเมื่อเติบโตขึ้น สิ่งเหล่านั้นจะค่อย ๆ จากไปตามเดือนวันปี อยู่ที่ว่าใครจะรักษาได้มากกว่ากัน

ผมมองว่าจริง ๆ แล้วทุกคนยังคงมีความ เป็นเด็กอยูใ่ นตัว นัน่ หมายถึงทุกคนมีความคิด สร้างสรรค์อยู่แล้ว สิ่งที่ยับยั้งมันไว้คือความ กลัว ที่ใหญ่ที่สุดคือกลัวที่จะผิด เพราะเรา เรียนมาให้อยู่ในความถูกต้องเสมอ รวมถึง วิ ช าที่ ไ ม่ น ่ า จะมี ผิ ด ถู ก อย่ า งศิ ล ปะก็ มั ก จะ ถูกพ่วงไปด้วย เพราะความไม่รู้ของผู้สอน การจะขจัดความกลัวประการแรกคือต้องกล้า ลองวาดเขียดอะไร มัว่ ๆ ผิดๆ บ้าง ท�ำอะไรจาก ความเคยชิ น เดิ ม ๆ เมื่ อ ถึ ง จุ ด หนึ่ ง เราจะ มี ค วามคิ ด ที่ จ ะริ เ ริ่ ม ซึ่ ง น� ำ ไปสู ่ สิ่ ง ที่ ดี ยิ่ ง ๆ ขึ้นไป หรือที่เรียกว่านวัตกรรมแบบนามธรรม หมายถึงระบบและวิธคี ดิ ทีเ่ ป็นปัจเจกลักษณะ การที่ผู้ใหญ่จะมีภาวะความนึกคิดแบบเด็กๆ จึงเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ ผู ้ ใ หญ่ ทุ ก คนก็ คื อ ศิ ล ปิ น เลิ ก มี เหตุผลบ้าง เลิกเอาแต่เข้าใจ ใช้ความรูส้ กึ มากๆ ที่ส�ำคัญจง “หยุดคิด”

32

ภาคเรียนที่ ๑

ปีการศึกษา ๒๕๕๙


เปิดหูเปิดตา เรื่อง / ภาพ

แม่รุ่ง-รุ่งนภา ธนะภูมิ (คุณแม่น้องลูกบัว ป.๖)

คุณค่าชีวิต น้อยนิดมหาศาล หากจะพูดถึงการใช้ชีวิตของผู้คนในยุคปัจจุบันนั้น มีหลายเหตุ ปั จ จั ย ที่ ส ่ ง ผลต่ อ การเลื อ กใช้ ชี วิ ต ของเรา บางคนใช้ ชี วิ ต เร่ ง รี บ บางคนก็ใช้ชวี ติ เรียบง่าย ตามเหตุและผลการใช้ชวี ติ ของแต่ละคน โดย มีเป้าหมายชีวิตที่แตกต่างกันออกไป เราเคยได้ยินส�ำนวน Less is more กัน ใช่ไหมคะส�ำนวนนี้ปรากฏครั้งแรกในบทกวีข องกวีเ อก ชาวอังกฤษRobert Browning ในศตวรรษที่19 ต่อมาจึงมีการน�ำมา ใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งในรูปแบบการด�ำเนินชีวิต การออกแบบ อาคารบ้ า นเรื อ นและงานศิ ล ปะแขนงต่ า งๆ ให้ เ รี ย บง่ า ยและใช้ ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม Less is more นั้นหมายถึงอะไร บางคนให้ค�ำนิยามแตกต่าง กันไป เช่น น้อยคือมาก ยิง่ น้อยยิง่ มาก ท�ำน้อยแต่ได้มาก ความหมาย ต่างๆ เหล่านี้ชวนให้นึกถึงมุมของการใช้ชีวิตที่ เรียบง่าย งดงาม และเกิดประโยชน์สูงสุด ได้เช่นกัน เมื่อย้อนกลับมามองการใช้ชีวิตของตัวเอง จึงตั้งค�ำถามต่อไป ว่า ที่ผ่านมาเราใช้ชีวิตอย่างไร ค�ำตอบที่ได้คือ ใช้ชีวิตแบบสบายๆ ตามกิเลสของตัวเองในหลายๆ เรื่องจนน่าตกใจ เช่นอยากได้อะไรก็ ซือ้ ตามความต้องการของตัวเอง และมีเหตุผลในการซือ้ เข้าข้างตัวเอง อยู่เสมอ โดยไม่ค�ำนึงถึงคุณค่าแท้ คุณค่าเทียมที่แท้จริง และลืมมอง ว่า อะไรคือ need (สิ่งจ�ำเป็นในชีวิต ที่ขาดไม่ได้) หรืออะไรคือ want (สิ่งไม่จ�ำเป็นในชีวติ ทีข่ าด ก็อยูไ่ ด้) เมือ่ มีขา้ วของต่างๆ เพิม่ มาในชีวติ มากขึ้น แทนที่จะมีความสุขจริงๆ แต่กลับท�ำให้ชีวิตยุ่งยากขึ้น จึง เริ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตใหม่ให้สอดคล้องกับหลักคิด “ท�ำน้อยแต่ได้มาก” เช่น • ลดการซื้อเสื้อผ้า ข้าวของเครื่องใช้ หนังสือให้น้อยลงท�ำให้ ประหยัด ค่าใช้จ่าย และจัดเก็บข้าวของต่างๆ ได้ง่ายขึ้น • เลือกท�ำอาหารจานเดียวบ้างแทนท�ำอาหารหลายอย่าง ท�ำให้ เก็บล้างภาชนะง่ายขึ้น และมีเวลาเพิ่มมากขึ้นเพื่อไปท�ำสิ่งอื่นได้อีก • ปลู ก ผั ก สวนครั ว ง่ า ยๆในบ้ า นไว้ ป ระกอบอาหาร ท� ำ ให้ ได้ ผั ก ปลอดภัยไว้รัปประทาน • ท�ำงานอดิเรก เช่น วาดรูป ปักผ้า ท�ำให้มีความสุขได้ง่าย และ ฝึกสมาธิได้เป็นอย่างดี ตัวอย่างเหล่านี้คือสิ่งที่แม่รุ่งได้ฝึกเปลี่ยนแปลงการใช้ชีวิต และเห็นผล เห็นความสุขของการใช้ชีวติ ในรูปแบบทีเ่ ราก�ำหนดเองได้ ให้เรียบง่าย และเป็นความสุขที่ยั่งยืนที่ต้องฝึกฝนกันต่อไปค่ะ 33


ครั้งหนึ่งได้อ่านพบข้อเขียนของครูป่าน ( อนิวรรต อัครสุทธิกร ) คุณครูศลิ ปะทีร่ .ร.ทอสีของเรา เขียนถึงการใช้เสือ้ ผ้าเท่าทีจ่ ำ� เป็น และ ดูแลง่าย.....ผ่านไป1ปี ก็อยู่ได้อย่างสบายๆ แถมมีเวลาท�ำอย่างอื่น เพิ่ ม มากขึ้ น คุ ณ ครู จึ ง มี เ วลาท� ำ สื่ อ การสอนที่ ส นุ ก มาฝากเด็ ก ๆ เสมอ และเป็นแบบอย่างของการใช้ชวี ติ ทีเ่ รียบง่าย และสร้างประโยชน์ ต่อผู้อื่นได้เป็นอย่างดี ช่วงปิดเทอมที่ผ่านมานี้ แม่รุ่งมีโอกาสไปเที่ยวเมืองชนบท ในประเทศอังกฤษ ได้พบเห็นเรื่องราวที่น่าประทับใจ และได้ข้อคิดดีๆ จากการใช้ชีวิตที่เรียบง่ายของบุคคลท่านหนึ่ง คือ คุณ Helen Beatrix Potter ผู้แต่งและวาดภาพประกอบ นิทานส�ำหรับเด็กที่น่าอ่าน มากมายไว้ให้เด็กๆทั่วทุกมุมโลกได้อ่านกันมาอย่างยาวนานเป็น ร้อยปี จนถึงปัจจุบันนี้ เรื่องที่คุ้นเคยกันดี คือThe Tale Of Peter Rabbit เล่าถึงความน่ารักซุกซนของกระต่ายน้อย Peter ที่ไม่เชื่อฟัง ค�ำสอนของแม่จนต้องพบเจอปัญหา แต่ในที่สุดตอนท้ายของนิทานก็ แฝงค�ำสอนที​ี่ดีๆให้เด็กๆได้คิดตามและเรียนรู้ได้ คุณ Beatrix Potter เกิดที่ London (ค.ศ.1866-1943) ตรงกับยุควิคตอเรียของประเทศ อังกฤษ ในวัยเด็กท่านมีเลี้ยงสัตว์เป็นเพื่อน เช่น สุนัข หนู กระต่าย นอกจากนีย้ งั มีความสนใจในธรรมชาติรอบๆ ตัว เช่น ศึกษาเรือ่ ง รา เห็ด มอส และจดบันทึกเป็นภาพวาดไว้ในทุกฤดูรอ้ น ครอบครัว คุณ Beatrix Potter จะพากันมาพักผ่อนชมธรรมชาติที่สวยงามในเมืองชนบทที่ Lake District เสมอ ความรักในธรรมชาติและการใช้ชีวิตของท่านจึง เรียบง่าย ห่างไกลจากความวุ่นวายในเมืองใหญ่ เมื่อเติบโตขึ้น... วันหนึ่ง คุณ Beatrix Potter ก็ได้ย้ายจาก London มาอยู่ที่ Hill Top Farm ใน Near Sawrey ซึ่งเป็นหมู่บ้านเล็กๆ ใน Lake District เพื่อใช้ ชีวติ ใกล้ชดิ ธรรมชาติทตี่ นรัก และสร้างแรงบันดาลใจในการแต่งนิทาน ส�ำหรับเด็กอีกมากมายหลายเรื่องมีวิวต่างๆ ในธรรมชาติของที่นี่เป็น ฉากในนิทาน เช่น The Tale Of Jemima Puddle-Duck และ The Tale Of Tom Kitten เรื่องราวสนุกๆ ที่ประทับใจเด็กๆ มาแล้วทั่วโลก

34

ภาคเรียนที่ ๑

ปีการศึกษา ๒๕๕๙


การได้ไปเยี่ยมชมบ้านของ คุณ Beatrix Potter ครั้งนี้ ท�ำให้ได้ เห็นการใช้ชวี ติ ทีเ่ รียบง่าย แม้จะผ่านกาลเวลามาอย่างยาวนาน150 ปี แต่คุณค่ายังงดงามเสมอ ส่งผ่านให้ผู้มาเยือนได้ระลึกถึงและเรียนรู้ การใช้ชีวิต แบบ Less is more อย่างแท้จริง จากสิ่งเล็กๆ คือการแต่ง นิทานให้เด็กๆ ได้อา่ น ได้เพลิดเพลิน เมือ่ มีรายได้มากมายจากการขาย หนังสือแล้ว คุณ Beatrix Potter น�ำเงินนี้มาซื้อที่ดินสะสมไว้ เพราะไม่ ต้องการให้คนน�ำที่ดินอันอุดมสมบูรณ์นี้ไปใช้ประโยชน์ในทางธุรกิจ

ในบั้นปลายชีวิต ท่านได้มอบที่ดินทั้งหมด 4000 เอเคอร์ และ ฟาร์มอีก15แห่ง ให้แก่ National Trust เพือ่ ดูแลรักษาทีด่ นิ เหล่านีไ้ ว้ให้ คงอยู่ตามธรรมชาติ และสงบงดงามเหมือนดั่งเช่นวันวาน เมื่อเปรียบ

เทียบกับธรรมชาติที่ยิ่งใหญ่ มนุษย์นั้นไซร้ตัวนิดเดียว เราเป็นแค่ส่วน เล็ ก ๆ ในธรรมชาติ ที่ เ รี ย นรู ้ แ ละเคารพธรรมชาติ ที่ ยิ่ ง ใหญ่ ไ ด้ . .. กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว สัตว์ตัวน้อยและต้นไม้ใหญ่ ก็ได้พักพิงและ พึ่งพากัน ในป่าแสนสุขแห่งนี้ตลอดไป :)

Tip Lake District National Park of England Hill Top Farm Writer ‘s house museum National Trust To Look after places of Historic Interest or Natural Beauty The world of Beatrix potter attraction www. hop-skip-jump.com เรื่องราวชีวิตคุณ Beatrix Potter ถูกสร้างเป็น ภาพยนต์เรื่องMrs. Potter เมื่อหลายปีก่อน แหล่งที่มาของภาพประกอบ http://www.vromansbookstore.com/book/9780723244325 http://blog.bookstellyouwhy.com/beatrix-potter-rebel-with-a-cause http://www.impawards.com/2006/miss_potter_ver5_xlg.html http://www.peterrabbit.com/about-beatrix-potter/

35


รอบรั้ว โรงเรียนทอสี เรื่อง / ภาพ ครูทราย วิลาสินี มีทรัพย์

กิจกรรมชั้นเรียน กิจกรรม give and get

วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๕๙

กิจกรรมธรรมะปฏิบัติธรรมผู้ปกครอง ครั้งที่ ๒-๓ นำ�โดย พระอาจารย์ชยสาโร วันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๙

กิจกรรมโรงเรียน ลงนามถวายพระพร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ ศาลาสหทัยสมาคม ในพระบรมมหาราชวัง วันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๙

กิจกรรมผู้ปกครอง อบรมภาษาชีวิต

วันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๙

กิจกรรมโรงเรียน รับขวัญเด็กอนุบาล

วันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๙

กิจกรรมโรงเรียน หล่อเทียนพรรษา

วันที่ ๒๑-๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๙

กิจกรรมผู้ปกครอง อบรมภาษาชีวิต

วันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๙

36

ภาคเรียนที่ ๑

ปีการศึกษา ๒๕๕๙


กิจกรรมโรงเรียน กิจกรรม One Proud Day วันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๙

กิจกรรมโรงเรียน วันไหว้ครู

วันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๙

กิจกรรมชั้นเรียน อ.๓ ทัศนศึกษาวัดญาณ

วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๕๙ กิจกรรมโรงเรียน วันแม่แห่งชาติ

วันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๕๙

กิจกรรมชั้นเรียน ป.๔ ทัศนศึกษาเขตวัฒนา

วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๕๙

กิจกกรมครู อบรมการจัดการพฤติกรรม กิจกรรมธรรมะ ปฏิบัติธรรมผู้ปกครอง ครั้งที่ ๑ นำ�โดย พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล

วันที่ ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๕๙

วันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๕๙

37


เชื่อว่าไม่มีก็งมงายพอๆ กับเชื่อว่ามี ความสงสัยไม่ได้จบลงที่การศึกษา หรือถามคนอื่น แต่จบลงที่การปฏิบัติ ชยสาโร ภิกขุ


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.