ฉบับประจำ�ปีการศึกษา ๒๕๕๖ ภาคเรียนที่
๒
สานสัมพันธ์ชาวทอสี ส่งต่อความดีสู่สังคม
บทบรรณาธิการ ดวงตะวันสาดแสงลับขอบฟ้า สายลมแห่งเหมันต์ฤดูพดั ผ่าน มาและกำ�ลังผ่านไป บ่อยครั้งที่ผมนั่งพักสายตาผ่านหน้าต่างห้อง ทำ�งานบนชั้น ๖ เก็บเกี่ยวความงามงดของแสงอาทิตย์อัสดงยามเย็น ก่อนหันกลับมาพินิจข่าวสารหรือเรื่องราวที่ตัวได้เก็บเกี่ยวมาระหว่าง วันทั้งในรั้วและนอกรั้วทอสี จนผมอดใจไม่ได้ที่จะต้องรีบบันทึกเรื่อง ราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นเป็นตัวอักษรผ่านทางหน้าเว็บไซต์และเฟสบุ๊ค เพื่อถ่ายทอดให้พ่อแม่ ผู้ปกครอง ครู ตลอดจนตัวนักเรียนเอง ได้ ร่วมดื่มด่ำ�ประสบการณ์ดีๆ เหล่านั้น ผมเริม่ รูจ้ กั โรงเรียนทอสีตงั้ แต่สมัยทีผ่ มทำ�งานร่วมกับเครือ ข่ายสนับสนุนการศึกษาทางเลือกเมื่อราว 3-4 ปีที่ผ่านมา ทว่าไม่ เคยคาดคิดมาก่อนว่าจะได้มีโอกาสมาเป็นส่วนหนึ่งของชาวทอสีใน วันนี้ สายลมแห่งโชคชะตาที่พัดพาผมมาที่นี่จึงเป็นสิ่งที่ผมเชื่อโดย ส่วนตัวว่า นั่นคือ “บุญ” ของชีวิตผมที่ทำ�ให้ผมได้มีโอกาสมาเรียนรู้ วิถีแห่งพุทธปัญญา ณ ที่แห่งนี้ ซึ่งผมต้องขอกราบขอบพระคุณคณะ ผู้บริหารโรงเรียนทุกท่านที่ได้กรุณาให้โอกาสผมพิสูจน์ความสามารถ ของตัวเอง โดยเฉพาะครูหยก กัลยาณมิตรผู้ซึ่งเปิดประตูสู่รั้วทอสีให้ กับผม ทั้งยังคอยเป็นที่ปรึกษา แนะนำ� ถ่ายทอดประสบการณ์อันมี คุณค่าของเธอให้กับผมอย่างมิรู้เหนื่อยหน่าย หลายคนถามผมว่าเป็นอย่างไรบ้างกับการทำ�งานทีน่ ี่ บ่อย ครั้งผมตอบอย่างไม่ลังเลว่า “เหนื่อยครับ” แต่หากถามต่อไปว่า เหนื่อยแล้วเป็นอย่างไร คำ�ตอบที่ผมตอบตัวเองได้อย่างไม่ลังเลเช่น กันก็คือ ผมมีความสุขที่ได้ทำ� เพราะแม้ว่าบ่อยครั้งแสงจากจอ คอมพิวเตอร์ในห้องทำ�งานของผมจะดับลงหลังจากแสงอาทิตย์ลับ ขอบฟ้า ทว่า ผมกลับรู้สึก “ภาคภูมิใจ” ทุกครั้งที่ได้ทำ�หน้าที่ ถ่ายทอดเรื่องราวเล็กๆ ที่ยิ่งใหญ่ของชาวทอสีให้เผยแพร่ไปในวง กว้าง จุลสารทอสีสมั พันธ์ฉบับนีค้ อื อีกหนึง่ ช่องทางการสือ่ สารทีจ่ ะ ช่วยให้ทุกท่านได้ร่วมกันสรรค์สร้างการศึกษาวิถีพุทธปัญญาให้เกิด ขึ้นจริงทั้งในและนอกรั้วทอสี แม้ไม่ใช่ฉบับแรก ทว่าเป็นฉบับปฐม ฤกษ์ของบก.หน้าใหม่อย่างผม หากมีสิ่งหนึ่งประการใดที่ผิดพลาด ไปกระผมยินดีน้อมรับและต้องกราบขออภัยมา ณ ที่นี้ แต่หาก จุลสารฉบับนี้มีคุณงามความดีใดๆ บังเกิดขึ้น ผมขอยก “คุณงาม ความดี” ทั้งปวงให้คณะบรรณาธิการผู้รังสรรค์จุลสารทอสีทั้งฉบับนี้ และฉบับก่อนหน้า รวมถึงคณะผู้บริหารโรงเรียน คณะครู และผู้ ปกครองทุกท่าน ที่ได้ร่วมกันก่อร่างสร้างวิถีแห่งพุทธปัญญาไว้อย่าง เหนื่อยยากครับ ครูโน้ตครับ บรรพต วรธรรมบัณฑิต
สารบัญ สารจากครูใหญ่ เด่นในรั้วทอสี คำ�ถามนี้... ช่วยกันตอบ เรื่องปก หน้านิทาน... อ่านด้วยกัน โยคะฝึกกายสบายจิต ภาษาภาพ อยู่อย่างทอสี อ่านแล้วชื่นใจ เด็กทุกคนคือศิลปิน ห้องเรียนพ่อแม่ เรื่องเล่าจาก ‘ปัญญาประทีป’ เปิดหูเปิดตา รอบรั้ว
2 3 9 11 19 21 22 23 27 29 31 33 35 37
อ่านย้อนหลังทอสีสัมพันธ์ฉบับ Flip Book ได้ที่ issuu.com/tssp
คณะทำ�งาน
ที่ปรึกษา ครูอ้อน - บุบผาสวัสดิ์ รัชชตาตะนันท์, ครูแหม่ม - อาภาภัทร ไชยประสิทธิ์, ครูหยก - วรรณวนัช บูรพาเดชะ บรรณาธิการ ครูโน้ต - บรรพต วรธรรมบัณฑิต กองบรรณาธิการ ครูทราย - วิลาสินี มีทรัพย์, แม่รุ่ง - รุ่งนภา ธนะภูมิ, แม่นุ้ย - พสุนธรา เทพปัญญา, แม่จูน - จูน ไกรฤกษ์, แม่ก้อย - อภิวัน เดชากรณ์, แม่ก้อย - มนทิรา อู่อุดมยิ่ง, ครู นํ้าอ้อย - นํ้าอ้อย สืบดี บรรณาธิการภาพ ครูย้ง - พีรพัฒน์ ตติยบุญสูง พิสูจน์อักษร พี่ถุงเปิ้ล - เบญจวรรณ แก้วสว่าง ศิลปกรรม พี่ก๊อง - กีรติ เงินมี ภาพประกอบปก น้องอ็อตโต้ - ด.ช. ศิริน ศิลาอ่อน อ.๓ ดำ�เนินการพิมพ์ บริษัท คิว พริ้นท์ แมแนจเม้นท์ จำ�กัด โทรศัพท์: ๐ ๒๘๐๐ ๒๒๙๒ โทรสาร: ๐ ๒๘๐๐ ๓๖๔๙
จัดทำ�โดย
โรงเรียนทอสี
๑๐๒๓/๔ ๖ ซอยปรี ดี พ นมยงค์ ๔๑ ถนนสุ ขุ ม วิ ท ๗๑ คลองตันเหนือ วัฒนา กรุงเทพฯ ๑๐๑๑๐ โทรศัพท์: ๐ ๒๗๑๓ ๐๒๖๐-๑ โทรสาร: ๐ ๒๓๙๑ ๗๔๓๓ อีเมล: info@thawsischool.com เว็บไซต์: www.thawsischool.com
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงกล่าวถึง หลักเรื่องบาทฐานของความสำ�เร็จ หรือหลักอิทธิ บาทไว้ ๔ ประการ อันได้แก่ ฉันทะ คือ ความ พึงพอใจ วิริยะ คือ ความพากเพียรพยายาม จิต ตะ คือ ความมุ่งมั่นเอาใจใส่ และวิมังสา คือ การใช้สติปัญญาหมั่นทบทวน เมือ่ องค์ประกอบทัง้ ๔ มาประชุมรวมกัน ย่อมนำ�มาซึ่งความสำ�เร็จและความภาคภูมิใจใน ความสำ�เร็จอย่างมิต้องสงสัย แม้วา่ ในระหว่างทางอาจมีลม้ -ลุก-คลุกคลาน บ้าง แต่หากสามารถปรับโลกทัศน์ด้วย วิมังสา ก็ยังสามารถภาคภูมิใจกับความล้มเหลว ในฐานะที่เป็นบาทก้าวสำ�คัญของความสำ�เร็จได้ ในเทอม ๒ แห่งปีการศึกษา ๒๕๕๖ ซึง่ เป็นช่วงเวลาคาบเกี่ยวสืบเนื่องจากเทอม ๑ ถือ เป็นอีกหนึ่งช่วงเวลาที่มีเรื่องราวดีๆ แห่ง “ความ ภาคภูมิใจ” เกิดขึ้นมากมาย เป็นเรื่องราวที่มี หลากหลายรสชาติผสมปนเปกันไป แน่นอนว่า ย่ อ มมี ทั้ ง สุ ข และทุ ก ข์ ทั้ ง สำ�เร็ จ และล้ ม เหลว ตามวิถีธรรมดาแห่งปุถุชน แต่ไม่ว่าอย่างไร พวก เราต่างก็ได้เรียนรู้ เก็บเกี่ยว และเติบโตจากเรื่อง ราวแห่งความพากเพียรพยายามเหล่านั้นอย่าง เต็มที่ หลังเปิดเทอมได้ ๒ วัน พีป่ ระถมซึง่ ได้รบั โจทย์ไปในช่วงปิดเทอม ต่างนำ�การบ้านที่ได้รับ ไปแปรเป็ น เรื่ อ งราวและผลงานที่ มี คุ ณ ค่ า มากมายเพื่อมานำ�เสนอใน “วันพราวเดย์” ขณะทีช่ ว่ งต้นเทอมทีผ่ า่ นมาก็มขี า่ วดีจาก
โรงเรียนปัญญาประทีป ที่นักเรียนกลุ่ม “คนกิน เกลือ” ศิษย์เก่าจากโรงเรียนทอสี สามารถกวาด รางวัลในงานประกาศผลรางวัลซูเปอร์กบจูเนียร์ ปี ๕ มาได้ถึง ๒ รางวัล ได้แก่ รางวัล “บท สารคดี ย อดเยี่ ย ม” และรางวั ล “ทั ก ษะแห่ ง อนาคต” ฟากฝัง่ คุณครูชาวทอสีทมี่ งุ่ มัน่ ทุม่ เทกับการ ฟูมฟักลูกๆ ในเทอมที่ผ่านมา ต่างช่วยกันรวบ รวมผลงานมาจัดแสดงไว้ในงาน “ชื่นใจครู” ที่ผู้ เข้าร่วมล้วนเปี่ยมไปด้วยรอยยิ้ม ส่วนคณะผูป้ กครองผูเ้ สียสละช่วยกันจัด งาน “กอล์ฟทอสี ทีของพ่อ” ครั้งที่ ๒ เพื่อระดม ทุนเข้าสู่กองทุนพัฒนาครูวิถีพุทธโรงเรียนทอสี ก็ ไ ด้ ช่ ว ยกั น ทำ�งานปิ ด ทองหลั ง พระอยู่ อ ย่ า ง เงียบๆ และสามารถระดมเงินเข้าสู่กองทุนฯ ได้ กว่า ๔.๗ แสนบาท ยังมีเรื่องราวต่างๆ อีกมากมายที่ไม่ สามารถเล่าให้หมดได้ภายในพื้นที่เพียงหนึ่งหน้า กระดาษ ซึ่ ง ครู อ้ อ นต้ อ งขอขอบคุ ณ และขอ อนุโมทนากับการลงแรงสร้างสรรค์เรื่องราวดีๆ แห่งความภาคภูมิใจของชาวทอสีทุกท่านมา ณ ที่นี้ และขอให้ทุกท่านช่วยกันบ่มเพาะและรักษา ฐานแห่งการสรรค์สร้างคุณความดีอันได้แก่อิทธิ บาททั้ง ๔ ให้เติบโตหยั่งรากลึกอย่างมั่นคง ทั้งที่ บ้าน ที่โรงเรียน และทุกๆ ที่บนแผ่นดิน ไม่ว่า เราจะอยู่แห่งหนใดก็ตาม - บุบผาสวัสดิ์ รัชชตาตะนันท์
เด่นในรั้วทอสี
เรื่อง: ครูโน้ต - บรรพต วรธรรมบัณฑิต
“ผ้าขาวม้า” กับกีฬาทอสี โห่ ฮี้ โห่ ฮี้ โห่ ฮี้ โห่ ฮี้ โหหหห... ฮิ้วววว... เสียงโห่ฮวิ้ ๓ ครัง้ ก่อนการแสดงแปรขบวนผ้าขาวม้าประกอบเพลงรักกันไว้เถิด ของน้องๆ นักเรียนชัน้ อนุบาล ๓ ช่วยปลุกเร้าอารมณ์ความรูส้ กึ คึกคักสนุกสนานให้ กับผู้ชมและผู้แสดงในงานกีฬาทอสีสามัคคีประจำ�ปีนี้ได้เป็นอย่างดี กว่าหนึ่งเดือนที่เด็กๆ ชั้นอนุบาล ๓ ออกมาฝึกซ้อมการแสดงที่สนามฟุตบอล อย่างตั้งอกตั้งใจ เพราะไม่ว่าแสงแดดจะสาดส่องร้อนแรงเพียงใด แต่พวกเขาก็ยัง เดินหน้าฝึกซ้อมกันอย่างไม่ย่อท้อ การแสดงชุดนี้มีความพิเศษอย่างไร และทำ�ไมต้องใช้ผ้าขาวม้า “ครูเปิ้ล” ลัก ษณาวดี จงวัฒนา คีย์แมนคนสำ�คัญผู้สร้างสรรค์การแสดง... มีคำ�ตอบ ๔
ของขวัญจากครูบาอาจารย์ ครูเปิ้ล กล่าวถึงที่มาที่ไปของการแสดงชุดผ้าขาวม้า ว่า เริ่มต้น จากการนำ�วีซีดีการออกกำ�ลังด้วยผ้าขาวม้าของท่านอาจารย์วิชิต เชื้อ เชิญ มาศึกษา จากนัน้ จึงทดลองนำ�มาใช้ครัง้ แรกในกิจกรรมอนุบาลแรก แย้ม ของนักเรียนอนุบาล ๓ ในช่วงเทอม ๒ ของปีการศึกษา ๒๕๕๕ ซึ่งเป็นการนำ�ท่าที่ท่านอาจารย์วิชิตออกแบบไว้เอามาประกอบดนตรี แล้วเสริมเรื่องการเคลื่อนที่ในลักษณะจินตลีลาเข้าไป จากนั้นทีมครู พละจึงนัดกันเข้าไปกราบเพื่อขอความรู้จากท่านในปีการศึกษา ๒๕๕๖ “ทีมครูพละโรงเรียนทอสีได้มีโอกาสไปไหว้ท่านอาจารย์วิชิต ซึ่ง ท่านเป็นอาจารย์อาวุโสสอนวิชาพละศึกษาที่โรงเรียนรุ่งอรุณ โดยเน้น เรื่องของวัฒนธรรมไทย เช่น การออกกำ�ลังด้วยวิชาฟันดาบ วิชากระบี่ กระบอง เราเข้าไปขอเป็นลูกศิษย์ทา่ น ซึง่ ท่านได้เมตตาให้ขอ้ คิดหลาย อย่างเกี่ยวกับศิลปะป้องกันตัวของไทย และยินดีให้เรานำ�วิชาการออก กำ�ลังกายด้วยผ้าขาวม้าที่ท่านเป็นผู้คิดค้นไปใช้ได้” ครูเปิ้ล กล่าว ต่อยอดจากครูสู่นักเรียน จากนั้นทีมครูพละจึงปรึกษาหารือกับคณะผู้บริหารโรงเรียนทอสีในการนำ� เอาวิชาของท่านอาจารย์วิชิตมาใช้ให้เกิดประโยชน์ โดยเริ่มนำ�ผ้าขาวม้ามาให้ คุณครูได้ออกกำ�ลังกายในช่วงปิดภาคเรียนที่ ๑ เดือนตุลาคม ปี ๒๕๕๖ และ ต่อยอดทันทีด้วยการนำ�มาให้เด็กๆ ในระดับชั้นอนุบาล ๓ ได้เรียนรู้ตั้งแต่ต้น เทอม ๒ ที่ผ่านมา “เนื่องจากเด็กๆ ต้องมีการแสดงในวันกีฬาสีเป็นประจำ�ทุกปี ปีนี้เราจึง คุยกับครูประจำ�ชั้นอนุบาล ๓ ทั้ง ๒ ห้อง เสนอเรื่องการแสดงผ้าขาวม้าซึ่งคุณครู เห็นด้วย จากนั้นก็ไปเสนอผู้ปกครองในช่วงปฐมนิเทศผู้ปกครองตอนต้นเทอม ให้ผู้ปกครองช่วยกันหาผ้าขาวม้ามาให้เด็กๆ คุณครูและผู้ปกครองจึงช่วยกันหา ผ้าขาวม้ามาเย็บ แล้วนำ�มาฝึกซ้อมในช่วงบ่ายโมงของทุกวันอังคาร วันพุธ และ วันพฤหัสบดี เมื่อเด็กๆ เริ่มมีความชำ�นาญในระดับหนึ่งแล้วจึงเริ่มฝึกการแสดง ประกอบจังหวะและการแปรขบวนให้เข้ากับเสียงดนตรี” เมือ่ ถามถึงรูปแบบการแสดงในครัง้ นี้ ครูเปิล้ กล่าวว่า เธอคือผูอ้ อกแบบ การแสดงทั้งหมด โดยศึกษาจากการแสดงดุริยางค์ที่ปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ยูทูป ส่วนประโยชน์ทไี่ ด้รบั นัน้ ครูเปิล้ บอกว่า เด็กๆ ได้ฝกึ ทัง้ ความแข็งแรงของร่างกาย ได้เรียนรู้อารมณ์ของตัวเอง ได้ฝึกการทำ�งานร่วมกับเพื่อนที่ต้องมีความสามัคคี และเชื่อใจกัน ได้ฝึกความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการนำ�เสนอท่าทางประกอบการ แสดง และที่สำ�คัญคือได้ซึมซับมรดกทางวัฒนธรรมของบรรพบุรุษที่ตกทอดกัน มาจากรุ่นสู่รุ่น ผ่านผ้าผืนน้อยๆ ที่เรียกกันว่า “ผ้าขาวม้า” ๕
เด่นในรั้วทอสี
เรื่อง: .......................
เปิด “ถุงผ้า” กอล์ฟทอสี... ทีของพ่อ หากใครได้มีโอกาสไปร่วมกิจกรรมการ แข่งขันกอล์ฟทอสี ทีของพ่อ คงต้องสะดุด ตาตั้งแต่เริ่มแรก เพราะหลังจากลงทะเบียน แล้ ว แทนที่ จ ะได้ รั บ แจกของที่ ร ะลึ ก เป็ น อุปกรณ์กฬี าจำ�พวก หมวก ถุงมือ กระเป๋า ฯลฯ ทว่างานนี้นอกจากจะมีเสื้อและลูกกอล์ฟ ตามธรรมเนียมแล้ว ยังมีการแจก “ถุงผ้า” ทอสี ทีของพ่อ ที่บรรจุไปด้วย “ธรรมะ” ทั้งหนังสือ ธรรมะ ซีดีธรรมะ และ ข้าวคุณธรรม ทำ�ไมต้องแจกของเหล่านี้ ????? พ่อป้อม กิตติโชติ ภวเวช เฉลยที่ ม าของการแจกของที่ ระลึกดังกล่าว ว่า เกิดจากการที่ บรรดาพ่อๆ ได้ช่วยกันคิดระดมสมองเพื่อให้ ๖
รูปแบบงาน กอล์ฟทอสี ทีของพ่อ ออกมาสอด คล้องกับทิศทางของโรงเรียน “ปกติการแข่งกอล์ฟจะเป็นลักษณะงาน รืน่ เริงบันเทิง มีการทานเหล้าทานเบียร์ แต่งาน กอล์ฟทอสี ทีของพ่อ ต้องไม่มีสิ่งเหล่านี้ และ พยายามสอดแทรกธรรมะเข้าไป เพือ่ ให้คนหัน มาหาธรรมะมากขึ้น และดำ�เนินชีวิตอย่างใช้ สติตามหลักปรัชญาของศาสนาพุทธ” สำ�หรับสปอนเซอร์ใหญ่ในการจัดหาของที่
ระลึกใส่ “ถุงผ้า” ทอสี ทีของพ่อ ใน ครั้งนี้ หนึ่งในนั้น คือ พ่อเซง บุณ เกียรติ วิวัฒนเดชา ที่ได้สนับสนุน ข้าวคุณธรรม ๑๕๐ ถุง พร้อมด้วย ซีดีธรรมะ “ชวนม่วนชื่น” เทศนา โดยพระอาจารย์พรหมวังโส พ่ อ เ ซ ง ก ล่ า ว ถึ ง เหตุ ผ ลที่ นำ�ข้ า ว คุ ณ ธรรมมาแจกใน กิจกรรมกอล์ฟทอสี ทีของพ่อ ว่า ได้รับแรงบันดาลใจมาจากภรรยาและลูกสาว คนโตที่ได้ร่วมกิจกรรมเข้าค่ายค้างแรม เพื่อ เรี ย นรู้ ร่ ว มกั บ กลุ่ ม ชาวนาคุ ณ ธรรมจั ง หวั ด ยโสธร ทีพ่ ยายามอนุรกั ษ์พนั ธุข์ า้ วและมีวถิ ชี วี ติ แบบพึ่งพาตนเองโดยไม่ใช้สารเคมีในการปลูก ข้าว เมื่อประมาณ ๒ ปีที่ผ่านมา จากนั้นพ่อ เซงและครอบครัวก็บริโภคข้าวจากกลุม่ ชาวนา คุณธรรมมาโดยตลอด “ข้าวเป็นของที่คนไทยทุกคนต้องกินเป็น ประจำ� ปัจจุบันผมเองก็เป็นสมาชิกของกลุ่ม ข้าวคุณธรรม การแจกข้าวคุณธรรมเท่ากับเรา ได้ช่วยชาวนาโดยตรง เนื่องจากทางทีวีบูรพา สนับสนุนกลุม่ ชาวนาคุณธรรมด้วยการเอาข้าว มาขายโดยไม่ได้ผ่านคนกลาง เมื่อเราแจกก็ เหมือนกับเราได้ช่วยเขาเผยแพร่ด้วย ถ้าหาก คนที่ได้รับไปเขาเห็นคุณค่าแล้วสนใจจริงๆ ก็เป็นการสนับสนุนเขา เพราะผมว่าชาวนา
ชื่อ “ทอสี ทีของพ่อ” มาจากการที่พ่อๆ ผู้ปกครอง ชาวทอสี เห็นบรรดาแม่ๆ รวมตัวกันจัดงานม่วน ชื่นครั้งที่ ๑ ในปี ๒๕๕๓ เมื่อได้โอกาสจัดกิจกรรม กอล์ฟการกุศลจึงใช้ค�ำ ว่า “ทีของพ่อ” เพือ่ หยอกบร รดาแม่ๆ ให้รู้ว่า “ทีใครทีมัน” ขอรับ...
ประเทศเรายิ่งทำ�ยิ่งจน ก็ต้องช่วยตัวเองแบบ นี้ ถ้าไปพึ่งคนกลางกับพึ่งรัฐนี่... ไม่มีทาง” และนี่คือเหตุผลว่า ทำ�ไมงานกอล์ฟทอสี ทีของพ่อ จึงต้องแจก “ถุงผ้า” ที่บรรจุไปด้วย ข้าวคุณธรรม หนังสือธรรมะ และซีดีธรรมะ ที่ ล้วนเป็นอาหารสมองรสเลิศ และกลายเป็นส่วน หนึง่ ในความภาคภูมใิ จเล็กๆ ของบรรดาพ่อๆ (และแม่ๆ) ผู้อยู่เบื้องหลังกิจกรรมกอล์ฟทอสี ทีของพ่อ ที่ต่างอิ่มบุญกับการร่วมสืบสานการ ศึกษาพุทธปัญญากันอย่างถ้วนหน้า
กิจกรรมกอล์ฟ “ทอสี ทีของพ่อ” สามารถระดมทุนเข้า “กองทุนพัฒนา ครูวิถีพุทธ” หลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้วทั้งสิ้น ๔๗๘,๒๒๑.๗๕ บาท เมื่อรวม รายได้จากการรับบริจาคแล้ว คิดเป็นรายรับทั้งสิ้น ๕๙๙,๗๒๑.๗๕ บาท ๗
เด่นในรั้วทอสี
เรื่อง/ภาพ: ครูทราย - วิลาสินี มีทรัพย์
รู้สึกอย่างไร เมื่ อ เห็ น ลู ก น้ อ ยค่ อ ยๆ ก้าวไกล
ผู้ ป กครองทุ ก ท่ า นคงได้ รู้ จั ก โครงการ “อยากเห็นลูกน้อยค่อยๆ ก้าว ไกล” กันมาบ้างแล้ว โดยในเทอม ๒ ปี การศึกษา ๒๕๕๖ นี้ ผู้ปกครองหลาย ท่านได้มีโอกาสสอนลูกๆ ในห้องเรียน ด้วยกิจกรรมที่ตนเองถนัด บางท่านก็ได้ มีโอกาสเป็นครูผู้ช่วย บางท่านได้เป็นผู้ ปกครองอาสา ทีมงานทอสีสัมพันธ์ขออาสาพาทุก ท่านไปสำ�รวจความคิดเห็นของผูป้ กครอง บางส่วนที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมอยากเห็น ลูกน้อยค่อยๆ ก้าวไกลในเทอมนี้กันค่ะ
๘
คุณแม่พอลล่า ผู้ปกครองน้องไลลา ทำ�กิจกรรมเล่านิทานให้ลูกๆ ฟัง
“รูส้ กึ ตืน่ เต้น ถ้ามีกจิ กรรมดีๆ แบบนีก้ อ็ ยาก มาร่วมอีก รู้สึกสนุกที่ได้เห็นบรรยากาศภายใน ห้องเรียน เพราะปกติไม่เคยมีโอกาสได้เห็นวิถี ชีวิตของเด็กๆ ในห้องเรียน เมื่อได้เห็นลูกๆ เรียนรู้อย่างสนุกก็รู้สึกสนุก” แม่หญิง ปุณยวีร์ เมธีเกตุสวัสดิ์ ผู้ปกครองน้องเชลซี ทำ�กิจกรรมการแสดงมายากล
“เป็นกิจกรรมที่ดีมาก คุณแม่ชอบมาก ไม่ เคยเห็นที่โรงเรียนอื่นทำ�แบบนี้ โรงเรียนนี้จะ เน้นให้ครอบครัวมีความใกล้ชิดสนิทกันอย่างนี้ ดีมากเลยค่ะ” แม่จ๋า สุจารี เปรมอนันต์ แม่ของน้องพาร์ท และน้องเพรา ร่วมกิจกรรมสอนลูกๆ มาแล้วหลายครั้ง
“เข้ามาร่วมการสอนหลายครั้งแล้ว ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมการแต่งหน้า ไอศกรีม การทำ�ไข่เค็มสมุนไพร การทำ�แป้งโดว์ การจัดกิจกรรมแบบนี้ ทำ�ให้สนิทกับคุณครูมากขึ้น รู้จักกับเพื่อนๆของลูกมากขึ้น เรารู้ว่าลูกเรา อยูท่ โี่ รงเรียนเป็นยังไง ในส่วนของลูกเอง เขาก็ภมู ใิ จว่าแม่มาสอน จะคอย ถามอยู่เสมอว่าแม่จะมาสอนหรือเปล่า ถ้าวันนี้เป็นวันที่แม่จะไปสอน ลูก ก็จะไปบอกเพื่อนๆ” พ่อใหญ่ นพสิทธิ์ เรืองพงศ์ปรีชา คุณพ่อน้องชีตาร์ และน้องทิกเกอร์
“ทางผูป้ กครองหลายคนก็สนใจ เนือ่ งจากได้คดิ สร้างสรรค์และ มีเวลาร่วมกับลูกๆ มากขึน้ วันนีร้ สู้ กึ ภูมใิ จว่าตัวเองก็ทำ�ได้เหมือน กัน เพราะถ้าอยูท่ บี่ า้ นเราก็คงไม่คดิ อะไรเป็นเรือ่ งเป็นราวขนาดนี้ ก็คงพาลูกไปทำ�กิจกรรมนอกบ้าน ซึง่ จริงๆ แล้วไม่จำ�เป็นต้องเสีย เงินเลย เราทำ�กิจกรรมแบบนีก้ ม็ คี วามสุขแล้ว เด็กๆ ก็ภมู ใิ จด้วย” ๙
คำ�ถามนี้...ช่วยกันตอบ
แม่ก้อย - อภิวัน เดชากรณ์ (คุณแม่ของน้องซัน ป.๓ และน้องเซ้นส์ อ.๓), แม่ก้อย - มนทิรา อู่อุดมยิ่ง (คุณแม่ของน้องพุด ป.๓ และน้องเพียร อ.๓), แม่จิ๊บ - พญ.อนันญา สินรัชตานันท์ (คุณแม่น้องนนท์ ป.๓ และน้องหนุน อ.๑)
เด็กไทยกับไอที ยุคสมัยนีช้ วี ติ ทีม่ คี วามเร่งรีบ อุปกรณ์ไอทีเป็นเสมือนปัจจัยที่ ๕ สำ�หรับทุก ครอบครัว และลูกๆก็สามารถเข้าถึงสื่อไอทีได้ง่ายจนกลายเป็นสิ่งที่น่ากังวลใจ ของหลายๆ ครอบครัว เราลองมาฟังความคิดเห็นของลูกๆ กันบ้างว่า พวกเขา มีมุมมองอย่างไรต่ออุปกรณ์เหล่านี้ ถ้ า ถามว่ า จำ�เป็ น ไหมสำ�หรั บ สมั ย นี้ จำ�เป็ น แต่ ไ ม่ ไ ด้ หมายความว่าต้องเล่นตลอดเวลา เราเล่นได้ตามสมควร เช่น คุย โทรศัพท์ ช่วยในการสื่อสาร ใช้เพื่อความบันเทิง มีโทษเวลาที่เรา ใช้มากเกินไป ทำ�ให้เราหลงกับสิ่งนั้น เราก็จะไม่ทำ�อะไรเลย ไม่ สนใจคนรอบข้าง ติดอยู่กับโลกโทรศัพท์มือถือ น้องเบ็น ด.ญ.รมิตา ศุภฤกษ์รัตน์ ป.๖ (ปอกระสา)
บางเรือ่ งก็มคี วามจำ�เป็น บางเรือ่ งก็ไม่มคี วาม จำ�เป็น อาจมีข้อความที่สำ�คัญส่งมาให้เราและมีไว้ หาข้อมูลที่เราอยากรู้ ถ้าเล่นเยอะจะติดเกม เวลา คุณพ่อ คุณแม่ไม่ให้เล่นก็จะโวยวาย บางคนอาจจะ ฆ่าตัวตายถ้าพ่อแม่ไม่ยอมให้เล่น น้องผิงผิง ด.ญ.ณัชชา สดุดีมีชัยทวีโชค ป.๒/๑ (ก้ามปู ๑)
ไม่จำ�เป็น มีไว้ใช้ดู Youtube วันเสาร์ อาทิตย์ วันละ 10 นาที ข้อเสีย คลื่นโทรศัพท์ทำ�สมองเสื่อม เป็นมะเร็งสมอง น้องเท็น ด.ช. ภาวิต บุญสิตานารา ป.๑/๒ (ต้นกล้วย ๒)
บางครั้งอาจจะจำ�เป็น บางครั้งก็ไม่จำ�เป็นเพราะเรา ไปใช้ในทางทีผ่ ดิ เอาไปเล่นเกม ข้อดีเอาไว้ตดิ ต่อธุระสำ�คัญ สำ�หรับตัวข้าวทิพย์จำ�เป็นเวลาที่ต้องโทรหาคุณพ่อคุณแม่ โทษของมันเล่นมากๆ ใช้มากๆ ทำ�ให้เราติด ทำ�ให้สายตา เสีย เราไปใส่ใจกับสิ่งเหล่านี้เกินไป น้องข้าวทิพย์ ด.ญ. พรรษชล วิไลหงษ์ ป.๕/๒ (ต้นโมก ๒) ๑๐
มันจำ�เป็นสำ�หรับบางคนที่งานยุ่ง มีงานเยอะ เปิดดูได้ ทันทีระหว่างทาง แต่ถ้าใช้เยอะจนติดทำ�ให้การเรียนตก การ ทำ�งานตก มีผลต่อสายตา ตอนนี้ใช้ไอแพดหาข้อมูล เล่น เกม ฟังเพลง ดูละคร บางครั้งนานเกินไป คุณแม่ก็ให้ปรับ เรื่องเวลาอยู่ครับ น้องแม็ค ด.ช. ธิติพันธ์ เจนรักมาตุภูมิ ป๔/๑ (สาละ ๑)
ปั้นคิดว่าไม่จำ�เป็น ที่สมัยนี้ชอบเล่นเกมกันเพราะ เรามีตดิ ฟุง้ ซ่าน แต่มนั ก็มปี ระโยชน์ในการหาข้อมูลต่างๆ แต่ส่วนใหญ่ไม่สนใจที่จะใช้หาความรู้ เวลาเล่นทำ�ให้เรา ไม่มีสมาธิ ถ้าเราติดเกมเราก็จะขาดสติ น้องปั้น ด.ช. ปรมินทร์ ปรมาภูติ ป.๓/๑ (ประดู่ ๑)
คาถาสำ�คัญป้องกันโรคติด IT ในปัจจุบันความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการสื่อสารทำ�ให้เกิดการหลั่งไหลของสิ่ง อำ�นวยความสะดวกต่างๆ ที่ทันสมัยรวมถึงอุปกรณ์ไอทีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น พีซี โน้ตบุ๊ค แท็บเล็ต และสมาร์ทโฟนประเภทต่างๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีทั้งประโยชน์และโทษอย่างอนันต์ อยู่ที่ว่าเราสามารถ เลือกใช้ได้อย่างถูกต้องหรือไม่ วันนี้หมอมีคาถาเด็ดสำ�หรับป้องกันการติดไอทีมาฝากค่ะ คาถามีสั้นๆว่า “รู้จัก รู้เท่า รู้ทัน” “รู้จัก” หมายถึง พ่อแม่ต้องรู้จักเทคโนโลยีและอุปกรณ์ต่างๆ ให้เท่าทันลูก และรู้วิธีการล็อค รหัสอุปกรณ์ “รู้เท่า” หมายถึง การรู้เท่าทันทั้งประโยชน์และโทษของอุปกรณ์ IT ว่าสามารถช่วยส่งเสริม การเรียนรู้ของเด็กได้เป็นอย่างดี ขณะเดียวกันก็มีความรุนแรงต่างๆ แอบแฝงอยู่ และเกมทุกชนิด สามารถทำ�ให้เกิดพฤติกรรมติดเกมได้ “รู้ทัน” หมายถึง ต้องรู้วิธีป้องกันการติดเกม ด้วยการมีกฎกติกาในการเล่นที่แน่นอน โดยมี ผู้ใหญ่คอยกำ�กับให้เป็นไปตามกติกานั้นอย่างสม่ำ�เสมอ ทัง้ นีพ้ อ่ แม่ควรสอนลูกให้รจู้ กั กิจกรรมยามว่างทีห่ ลากหลายและสามารถก่อให้เกิดความสุขได้ ไม่ตา่ งจากการเล่นเกมหรืออุปกรณ์ไอที และควรหมัน่ สังเกตพฤติกรรมของทุกคนในครอบครัวเพือ่ ให้ สามารถป้องกันพฤติกรรมการติดเกมได้แต่เนิ่นๆ ที่สำ�คัญพึงระลึกไว้เสมอนะคะว่า อุปกรณ์ IT ทั้ง หลายไม่ใช่พี่เลี้ยงลูกค่ะ ที่มา: พญ. อนันญา สินรัชตานันท์ (จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น รพ. ยุวประสาทไวทโยปถัมภ์)
คำ�ถามนี้...ช่วยกันตอบ คือพื้นที่ที่เปิดให้ชาวทอสีได้มีโอกาส ‘ถาม’ และ ‘ตอบ’ ปัญหาต่างๆ ร่วมกัน ท่านสามารถเสนอคำ�ถามหรือปัญหาทีต่ อ้ งการให้ชาวทอสีรว่ มกันตอบหรือแสดงความเห็นเข้า มาได้ที่ info@thawsischool.com (อาทิ ปัญหาที่ประสบร่วมกันในชุมชน ปัญหาหรือคำ�ถามเกี่ยวกับ การเลี้ยงลูก-จิตวิทยาเด็กและครอบครัว)
๑๑
อยู่อย่างทอสี
เรื่อง ครูโน้ต – บรรพต วรธรรมบัณฑิต
ความ ภาคภูมิใจ พจนานุกรม บาลี-ไทย ของพระอุดรคณาธิการ (ชวินทร์ สระคำ�) และ รศ. ดร. จำ�ลอง สารพัดนึก ได้ให้ความหมายของคำ� “ภาค” ไว้ว่า หมายถึง “ส่วน” และให้ความหมายของ คำ�ว่า “ภูมิ” หมายถึง แผ่นดิน, พื้น, ชั้น เมื่อวิเคราะห์โดยรากศัพท์ภาษาบาลีแล้ว “ภาคภูมิใจ” จึงมีนัยยะถึง “ส่วนแห่งพื้นของจิตใจ” ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า “ความภาคภูมิใจ” ถูกมองว่ามีความสำ�คัญในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของจิตใจ มนุษย์มาเนิ่นนานแล้ว ในเทอม ๒ ของปีการศึกษา ๒๕๕๖ นี้ มีกิจกรรมแห่งความภาคภูมิใจเกิดขึ้นหลายกิจกรรม หนึ่งในนั้น คือ “One Proud Day” ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ได้รับการจัดขึ้นเป็นครั้งแรกโดยเปิดโอกาส ให้เด็กๆ ได้นำ�ผลงานที่ทำ�ไว้ในช่วงปิดเทอมเดือนตุลาคม นำ�มาจัดแสดงให้เพื่อนๆ คุณครู และผู้ ปกครอง ได้ชมกันในช่วงเปิดเทอม ขณะที่ฟากฝั่งคุณครูก็มีกิจกรรมดีๆ ที่เรียกว่า “วันชื่นใจครู” ที่เปิดโอกาสให้คุณครูคัดเลือก ผลงานเด่นๆ นำ�มาจัดแสดงเพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ซึ่งกันและกัน หลายกิจกรรม แม้ดูเป็นเรื่องง่ายๆ แต่เป็นเรื่องที่ทำ�ให้เด็กๆ ได้เรียนรู้แบบบูรณาการอย่างไม่น่าเชื่อ ส่วนบางเรื่อง ที่ดูยากก็ถูกย่อยให้ดูง่ายและทำ�ให้รู้ว่า คุณครูทอสีนั้น “ไม่ธรรมดา” อีกหนึ่งกิจกรรมที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับความภาคภูมิใจโดยตรง ก็คือ “ศรัทธาสตรีท” ที่เปิด ๑๒
โอกาสให้เด็กๆ ได้แสดงความสามารถเนื่องในสัปดาห์วันเด็กแห่งชาติ งานนี้มีทั้งร้อง-เล่น-เต้น-โชว์ หลากลีลาหลายรสชาติ บางคนใช้เวลาในการฝึกซ้อมนานกว่า ๒ เดือนเพื่อเตรียมมาแสดงในงานนี้ โดยเฉพาะ เรื่องราวแห่งความภาคภูมิใจของชาวทอสีในเทอมนี้จะเป็นอย่างไรกันบ้าง... ไปติดตามกันเลย ครับ
๑๓
๑ เรื่อง: ครูโน้ต - บรรพต วรธรรมบัณฑิต ภาพ: พ่อถู - พิรุฬห์ภัค พิริยะภักดีกุล, ครูปู - ณัฐนันท์ เทียนทอง
สสี นั แหง่ วันพราวเดย์
เสียงเครื่องดนตรีอย่างเปียโนหรืออูคูเลเล่ ที่ก้องกังวาลเป็นระยะ คลอเคล้าเสียงใสๆ ของ เด็กๆ ประถม ที่ต่างนำ�เสนอผลงานของตัวเอง อย่างภาคภูมิใจ คือส่วนหนึ่งของบรรยากาศใน งานวันพราวเดย์ ที่หากใครมีโอกาสได้เข้าร่วม งานแล้วละก็ คงต้องมีรอยยิ้มอิ่มใจ ติดไม้ติดมือ กลับบ้านกันไปบ้างไม่มากก็น้อย ในเทอม ๒ ของปีการศึกษา ๒๕๕๖ นี้ นับ เป็นครั้งแรกที่โรงเรียนทอสีจัดให้มีกิจกรรม One Proud Day ขึ้น เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนใน ระดับประถมศึกษาได้สรรสร้างการบ้านช่วงปิด เทอมเดือนตุลาคมตามความสนใจ แล้วนำ�มาเส นอเพื่อนๆ คุณครู และคุณพ่อคุณแม่ในวันเปิด เทอมอย่างมีความสุข ครูเชอรี่ ฤทัย บุญทวีกิจ หัวหน้าช่วงชั้นที่ ๑ ระดับประถมศึกษา (ป.๑ - ๓) หนึ่งในแม่งาน คนสำ�คัญของวันพราวเดย์ บอกเล่าถึงที่มาของ กิจกรรมว่า ก่อนหน้านี้การบ้านปิดเทอมจะเน้น ไปที่วิชาการมากกว่าวิชาชีวิต และแต่ละชั้นปีจะ ๑๔
ให้การบ้านเด็กๆ ไม่เหมือนกัน จึงกลายเป็นโจทย์ ทีห่ ลายคนช่วยกันขบคิดว่า ทำ�อย่างไรให้เด็กๆ มี ฉันทะในการทำ�การบ้านพร้อมกับเปิดโอกาสให้เขา ได้ค้นหาความถนัดของตัวเอง ด้วยเหตุนี้วันพราว เดย์จึงได้ถือกำ�เนิดขึ้นเป็นครั้งแรก สำ�หรับกระบวนการของวันพราวเดย์ เริ่ม ตั้งแต่การประชุมร่วมกันระหว่างครูและเด็กๆ เพื่อชี้แจงให้เด็กๆ เกิดความเข้าใจและเริ่มตั้ง คำ�ถามถึงความชอบและความถนัดของตัวเอง จากนั้นให้เด็กๆ ได้กลับไปสื่อสารกับคุณพ่อคุณ แม่เพื่อให้ร่วมขบคิดกับเด็กๆ เมื่อได้โครงงานที่ ตอบโจทย์แล้วจึงกำ�หนดระยะเวลา ความถี่ และ กระบวนการทีส่ ามารถเขียนมาเป็นขัน้ ตอนสำ�หรับ นำ�เสนอ หลังจากนัน้ ก็ลงมือทำ�แล้วนำ�ผลงานทีไ่ ด้ มาแสดงในวันพราวเดย์ต่อไป “สิ่งที่เด็กนำ�เสนอไม่จำ�เป็นต้องท่องเลย เพราะทุกขัน้ ตอนเขาทำ�เอง เขาภูมใิ จทีน่ ำ�เสนอใน สิง่ ทีเ่ ขาทำ�จริง และสามารถตอบหลายคำ�ถามทีผ่ ู้ ปกครองถามได้ดี แม้ว่าจะเป็นเด็กเล็กๆ ก็ตาม”
ครูเชอรี่ กล่าว ทางด้านน้องเพลง ด.ญ.คีตา วิบูลย์สันติ พงศ์ ป.๔ กล่าวถึงความรูส้ กึ ทีไ่ ด้รว่ มแสดงผลงาน Clay work ว่า รูส้ กึ ดีทไี่ ด้มคี นอืน่ มาชืน่ ชมผลงาน และมาบอกว่าควรปรับปรุงตรงไหนอย่างไร ส่วน เหตุผลที่เลือกทำ�งานปั้นเพราะมีโอกาสไปเดิน งานอีเวนท์ที่พารากอนฮอล แล้วมีการให้เด็กๆ ได้ทดลองปั้นดิน จึงอยากปั้นบ้าง ประกอบกับที่ เคยเรียนปั้นดินตั้งแต่ตอนอายุ ๕ ขวบ และน้อง สาวก็ชอบปั้นดิน จึงเลือกทำ�งานปั้นเป็นการบ้าน มานำ�เสนอในวันพราวเดย์ “รู้สึกว่าได้พัฒนาวิธีปั้นและฝีมือ ปั้นไปปั้น มาก็เปลี่ยนเทคนิคแล้วก็ได้เทคนิคที่ดีกว่าเดิม เช่น เปลี่ยนจากการคลึงดินที่พื้นมาคลึงที่มือ ช่วยให้ดนิ กลมกว่าเดิม และอย่าใช้ไม้จมิ้ ฟันเสียบ เพราะถ้าไม้จมิ้ ฟันหลุดจะทำ�ให้ดนิ เสียทัง้ ก้อน ให้ ใช้วิธีปั้นแล้วติดกาวแทน” น้องเพลง กล่าวถึงสิ่ง ที่เธอได้เรียนรู้ ขณะที่ น้ อ งฮั ก กี้ ด.ช.ศิ ร ะเดช เสงี่ ย ม สมบูรณ์ ป.๔ กล่าวถึงโปรเจ็กต์เลี้ยงหนูแฮมส เตอร์ของเขาว่า อยากนำ�เสนอสิ่งที่ตัวเองทำ�เป็น ปกติ ด้วยเหตุบงั เอิญทีท่ ำ�ให้เขาได้หนูแฮมสเตอร์ ตัวนีม้ า และได้ฝกึ ความรับผิดชอบของตัวเองจาก การเลี้ยงเจ้าหนูตัวนี้ “ผมต้องมีความรับผิดชอบในการเลี้ยง ไม่ อย่างนั้นอาจจะเป็นอันตรายต่อหนู เช่น ต้อง เปลี่ยนน้ำ�ดื่มให้มันทุกเย็น เปลี่ยนสิ่งปูรองทุก อาทิตย์ เปลี่ยนทรายทุกอาทิตย์ ต้องคอยระวัง เอาของมาทับกรง ไม่อย่างนัน้ มันอาจจะหนีไปได้ ก็รู้สึกดีที่มีสัตว์เลี้ยงตัวเล็กๆ ของตัวเอง และได้ นำ�เสนอเรื่องเกี่ยวกับสัตว์ที่ผมชอบ” สำ�หรับครอบครัวกัลยาจิตร์โกศล ที่หลัง จากแม่เปิ้ล วิภาพร ศิระวุฒิ ได้ฟังโจทย์จาก ลูกสาวทั้ง ๒ คน เรื่อง “ประโยชน์ตน ประโยชน์ ท่าน” แล้ว ก็ชวนลูกๆ คือ น้องฟ้าใส ด.ญ. วิชญ์ วิภา กัลยาจิตร์โกศล ป.๒ และน้องจันทร์จา้ ด.ญ.
ระดาพร กัลยาจิตร์โกศล ป.๑ ช่วยกันระดมสมอง คิดหาโครงงานเด็ดๆ เป็นการใหญ่ ไอเดียของครอบครัวนี้มีตั้งแต่การทำ�ของ ขวัญให้ชมุ ชน ทำ�ขนมขาย ปลูกต้นไม้ แต่สดุ ท้าย ก็มาลงตัวทีก่ ารรณรงค์คดั แยกขยะในหมูบ่ า้ นของ คุณพ่อ คือ หมู่บ้านชัยพฤกษ์ แขวงแสมดำ� เขต บางขุนเทียน โดยใช้การแจกใบปลิวเพื่อให้เข้าถึง ทุกครัวเรือนภายในชุมชน งานนี้น้องฟ้าใสและน้องจันทร์จ้าได้มีส่วน ร่วมตลอดทั้งกระบวนการ ตั้งแต่การคิด การ สำ�รวจชุมชน การทำ�ใบปลิว และการเดินแจก ใบปลิว ซึ่งทั้งคู่ต่างได้เรียนรู้บทเรียนชีวิตเพิ่มขึ้น มากมายจากการทำ�การบ้านในครั้งนี้ “รูส้ กึ เหนือ่ ยแต่กพ็ ยายามต่อไป ไม่ทอ้ แจก เสร็จแล้วก็รสู้ กึ ดีใจ” จันทร์จา้ กล่าวถึงความรูส้ กึ ทีไ่ ด้รบั หลังจากการแจกใบปลิวจนครบทัง้ หมูบ่ า้ น ราว ๓๐๐ กว่าหลังคาเรือน “รู้สึกตื่นเต้นและรู้สึกว่าตัวเองได้พัฒนาใน หลายเรื่อง” น้องฟ้าใส บอกเล่าความรู้สึกในวัน พราวเดย์ ขณะที่แม่เปิ้ลหลังจากที่ได้รับเสียงสะท้อน จากลูกๆ ว่า คุณครูบางคนถึงกับหลั่งน้ำ�ตาด้วย ความปิติเมื่อได้เห็นผลงานของลูกๆ แล้ว ก็ยิ่ง เพิ่มความภาคภูมิใจให้คุณแม่เป็นทบเท่าทวีคูณ “ภูมิใจค่ะ อย่างเรื่องความอดทน ขณะที่ ทำ�ก็เริ่มลังเลว่าโปรเจ็กต์ของเราจะใหญ่เกินไป หรือเปล่า แต่วา่ เด็กๆ เขาก็อดทนทำ�ดีมากเลยค่ะ แจกใบปลิวก็ตากแดดร้อน เขาก็อดทนเดินตาก แดดจนแจกครบทุกบ้าน เด็กเขามีความอดทน มากขึ้น เข้าใจมากขึ้น ว่า เวลาทำ�งานต้องใช้ ความพยายามแล้วจะทำ�ให้สำ�เร็จ” แม่เปิล้ กล่าว และนีค่ อื บางส่วนเสีย้ วของวันพราวเดย์ วัน ที่เปลี่ยนการบ้านธรรมดาๆ ในช่วงปิดเทอม ให้ กลายเป็นการเดินทางสืบค้นเข้าไปภายในตัวตน ของเด็กๆ และแสดงออกมาอย่างมีสีสัน
๑๕
๒ เรื่อง: ครูโน้ต - บรรพต วรธรรมบัณฑิต ภาพ: ครูปู - ณัฐนันท์ เทียนทอง
“ชนื่ ใจคร”ู ความภูมิใจที่ ไม่จบสิ้น ไม่เฉพาะนักเรียนทอสีที่มีพื้นที่แสดงผลงานแห่งความภาคภูมิใจเท่านั้น... คุณครูทอสีเอง ก็มีโอกาสได้แสดงผลงานแห่งความภาคภูมิใจเช่นเดียวกัน ผ่านการ แสดงผลงานชิน้ โบว์แดงของคุณครูแต่ละท่านในเทอมนัน้ ๆ เพือ่ การแลกเปลีย่ นเรียนรูร้ ว่ ม กัน ในงาน “ชื่นใจครู”
ครู ประไพ
ครูประไพ ประดิษฐ์สุขถาวร หัวหน้าฝ่ายวิชาชีวิตประถม กล่าวถึงงานชื่นใจครูเมื่อวันที่๗ พ.ย. และวันที่ ๒๑ พ.ย. ที่ผ่านมาว่า เป็นการจัดขึ้นครั้งที่ ๒ หลังจากที่ครั้งแรกจัดขึ้นในเทอม ๒ ของปี การศึกษา ๒๕๕๕ แล้วได้เสียงตอบรับที่ดี “ก่อนหน้านี้เรามีการสรุปวิเคราะห์ทุกๆ ครึ่งเทอมอยู่แล้ว เรามอง ว่าในการสรุปวิเคราะห์มเี รือ่ งดีๆ ทีน่ า่ จะแบ่งปันแลกเปลีย่ นเรียนรูก้ นั แต่ ด้วยภาระงานทำ�ให้เราไม่สามารถคุยกันได้ทกุ เรือ่ ง เราจึงให้ครูแต่ละคน คัดเลือกเรื่องราวที่ดีที่สุดที่คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับผู้อื่นมานำ�เสนอ ทำ�ให้ครูท่านอื่นๆ สามารถนำ�ไปปฏิบัติหรือต่อยอดได้ไม่ยาก และเป็น ประโยชน์ในวงกว้าง” ครูประไพ กล่าว
<
ครูหนิง กำ�ลังสาธิตกิจกรรม cup song ให้เพื่อนครูได้ทดลองฝึกฝน
ครูหนิง
งานชืน่ ใจครูครัง้ นีม้ กี จิ กรรมหนึง่ ที่ดูจะได้รับความสนใจในวงกว้าง คือ กิจกรรม Cup song ที่สร้างสรรค์โดย ครูหนิง ดวงฤทัย พุม่ ชูศรี คุณครูประจำ� ชั้น ป.๔ ครูหนิงกล่าวถึงเหตุผลที่เลือกทำ� กิจกรรม Cup song ว่า เป็นกิจกรรม ที่สนุกไม่น่าเบื่อ อีกทั้งยังได้ฝึกสติและ ความสามัคคีไปพร้อมๆ กัน ๑๖
“เราวางแผนไว้วา่ จะใช้เวลาทัง้ ๒ เทอมในการฝึกฝนแบบค่อย เป็นค่อยไป เพือ่ นำ�การแสดงชุดนีไ้ ปแสดงในงานส่งพีๆ่ ป.๖ สำ�หรับ อุปสรรคก็มที งั้ เรือ่ งของคนและเรือ่ งของเวลา เราก็น�ำ มาพูดคุยกันใน วงว่าเหตุเกิดจากอะไร ให้เด็กๆได้วิเคราะห์ร่วมกัน “ปรากฏว่าเด็กๆ มีความพยายามในการฝึกซ้อม มีการนำ�ไป ประยุกต์ใช้กับการท่องกลอน ร้องเพลง ท่องสูตรคูณ มีการคิดท่า ใหม่ๆ ก็พอใจที่เด็กมีความคิดสร้างสรรค์และรู้จักทำ�งานเป็นทีม มากขึ้น” ครูหนิง กล่าว
ครูไล
<
ด.เด็กกตัญญู
ขณะที่ทางฟากฝั่งอนุบาลมีหลายกิจกรรมที่แม้ดู เป็นเรื่องง่ายๆ แต่กลับแฝงไว้ด้วยกระบวนการและวิธี คิดที่น่าสนใจมากมาย ยกตัวอย่างเช่น กิจกรรม ด.เด็ก กตัญญู ที่ครูไล วิไล จื้อเกร็ด อธิบายว่า เป็นกิจกรรม ทีฝ่ กึ ให้เด็กสามารถช่วยเหลือตัวเองได้โดยการฝึกรินนม ด้วยตัวเองทุกวันอย่างมีขั้นตอน ตั้งแต่วิธีการจับเหยือก วิธีการริน วิธีการวางเหยือก รวมถึงวิธีการทำ�ความ สะอาดเมื่อทำ�หก “เราอยากปลูกฝังให้นักเรียนอนุบาล ๑ ฝึกการดูแลตัวเอง บาง คนอาจจะมองว่าเด็กทำ�ไม่ได้ แต่ถ้าเราได้ฝึกอย่างสม่ำ�เสมอต่อเนื่อง เด็กก็จะเกิดศรัทธาในตัวเอง แล้วเราก็จะเห็นศักยภาพของเขา เมื่อเขา ภูมิใจ เขาก็ทำ�ได้” ครูไล เล่าต่อไปว่า กิจกรรมนี้ยังช่วยปลูกฝังให้เด็กรู้จักความ กตัญญูตั้งแต่ยังเล็ก เพราะนอกจากจะฝึกให้เด็กสามารถดูแลตัวเองได้ แล้ว ยังฝึกให้เด็กได้บริการเพื่อนๆ และกลับไปบริการพ่อแม่ต่อที่บ้าน ด้วย “พ่อแม่สะท้อนว่าลูกกลับไปบริการที่บ้าน ช่วยงานบ้าน เราก็ได้ กำ�ลังใจจากพ่อแม่และรูส้ กึ ภูมใิ จทีเ่ ด็กๆ ทำ�ได้ ตอนนีเ้ ด็กทุกคนสามารถ รินนมด้วยตัวเอง หยิบของว่างได้เอง รูจ้ กั บริการเพือ่ นๆ และบริการคุณ พ่อคุณแม่ ก็คดิ ว่าเป็นสิง่ ทีน่ า่ รักและควรทำ�ต่อๆ ไป” ครูไล กล่าวทิง้ ท้าย งานชื่นใจครูครั้งที่ ๒ จบลงแล้ว แต่ความรักความเสียสละที่ คุณครูมีต่อลูกศิษย์ไม่มีวันจบสิ้น การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ ดีๆ ของคุณครูทอสี จึงยังคงมีเรื่องราวที่น่าภาคภูมิใจให้พวกเราได้ชื่น ใจกันอยู่เสมอ... ๑๗
๓ ความทรงจ
เรื่อง: ครูโน้ต - บรรพต วรธรรมบัณฑิต ภาพ: ครูโน้ต - บรรพต วรธรรมบัณฑิต, ครูทราย - วิลาสินี มีทรัพย์
ำำ บนถนนสาย “ศรัทธาสตรีท” ๑
อ ีกหนึ่งงานที่ไม่กล่าวถึงคงไม่ได้ นั่นคืองานศรัทธาสตรีท งานที่เปิดโอกาสให้เด็กๆ ได้แสดงความสามารถกันแบบจัดเต็มทั้งวัน ค รูเชอรี่ ฤทัย บุญทวีกิจ หัวหน้าช่วงชั้นที่ ๑ ระดับประถมศึกษา (ป.๑ - ๓) กล่าวถึงงาน ศรัทธาสตรีท ว่า เป็นวันที่สร้างคุณค่าในตัวเอง ให้กับเด็กๆ โดยการเปิดพื้นที่ในการแสดงสิ่งที่ เขาสนใจหรือชืน่ ชอบ แม้มคี วามคล้ายคลึงกับวัน พราวเดย์ แต่มคี วามแตกต่างกันตรงทีง่ านศรัทธา สตรีทจะเน้นไปที่การแสดงเป็นหลัก “ปีก่อนหน้านี้มีคนสมัครเยอะมาก เราก็ ต้องมีการคัดเลือก ว่าลักษณะการแสดงเหมาะ สมกับพื้นที่และจำ�นวนผู้ชมหรือไม่ ปีนี้ครูอ้อน ต้องการให้เด็กทุกคนมีพนื้ ที่ จึงไม่มกี ารคัดเลือก ใครอยากแสดงอะไรก็แสดง ก็จะเป็นแบบไม่เป็น ทางการสักหน่อย ไม่เป็นเวทีใหญ่เหมือนปีที่
๑๘
ผ่านๆ มา เป็นความสมัครใจของเด็กๆ” น้องพิม พีชญาดา วงศ์โอสถพานิช ป.๓ กล่าวถึงความรู้สึกที่ได้ร่วมร้องเพลงแสงสุดท้าย ในงานศรัทธาสตรีท ว่า “รู้สึกตื่นเต้น เพราะว่า อาย วันนั้นอายตั้งแต่ตอนเช้า แต่ตอนนี้ไม่อาย แล้ว ร้องเสร็จแล้วก็หายตื่นเต้น หนูรู้สึกว่าเพื่อน ก็รอ้ งได้เหมือนกัน ทำ�ให้เรามีสมาธิมากขึน้ รูส้ กึ ชอบงานนี้ ถ้ามีอีกก็จะแสดงอีก” น้องอันนา อันนา อัศวานันท์ ป.๕ หนึ่ง ในสมาชิ ก ห้ อ งต้ น โมกที่ ร่ ว มร้ อ งเพลงรั ก เธอ ประเทศไทย กล่าวถึงเหตุผลที่เลือกเพลงนี้ว่า เป็นเพลงทีเ่ ข้ากับสถานการณ์ของประเทศ แม้วา่ ก่อนร้องเพลงจะรู้สึกประหม่าเพราะมีเวลาซ้อม
๒
แม่ ออย
๓
๔
แม่ออย ศิรดา อัศวานันท์ ( คุณแม่น้องอันนา ป.๕ )
“วันนี้อันนาร้องได้ดี แต่เขา ก็จะคอยห่วงเพื่อน ว่าคนไหนจะ ร้อง คอยส่งไมล์ ด้วยสถานการณ์ เฉพาะหน้าเด็กๆ ก็แก้ไขปัญหา เฉพาะหน้าได้ดี แต่โดยรวมด้วย เวลาซ้อมเท่านี้ก็พอใจ ฟังแล้วรู้สึก ภูมิใจ ทำ�ให้เรารู้สึกมีพลังกับการ รักประเทศไทย” แม่ แอน
แม่แอน - กัญจน์ณิชา วงศ์ธรากาญจน์ ( คุณแม่น้องพิม ป.๒ ) ๑. น้องอันนา (คนที่ ๓ จากซ้าย) ๒. ...................................... ๓. สมาชิกวง N3K ๔. น้องพิม
น้อยมาก แต่หลังจากร้องเสร็จแล้วก็รู้สึกโล่งใจ “โดยส่วนตัวก็แค่อยากไปร้องเพลงกับเพือ่ น เมื่อได้ทำ�ก็รู้สึกดีแล้ว” อันนา กล่าว ทางด้านน้องกัน ญาณิศา เกิดพรพุทธ มนต์ ป.๖ หัวหน้าวง N3K ที่รวมรวมสมาชิกซุ่ม ฝึกซ้อมเพลง “ไม่บอกเธอ” มาเป็นเวลากว่า 2 เดือน กล่าวถึงแรงบันดาลใจในการรวมวงดนตรี มาแสดงในวันศรัทธาสตรีทว่า “พวกเรารักดนตรีและอยากเป็นนักดนตรี อยู่ แ ล้ ว การได้ ม าเล่ น บนเวที ศ รั ท ธาสตรี ท ก็ เหมือนเป็นการเลือ่ นขัน้ ไปอีกระดับหนึง่ ปีนเี้ ป็นปี สุดท้ายที่พวกเราจะได้อยู่ในรั้วทอสีแล้ว จึงอยาก จะทำ�ปีนี้ให้ดีที่สุด” และก็ประสบความสำ�เร็จเป็นอย่างดี เมื่อ เสียงปรบมือดังกึกก้องหลังจากที่พวกเขาแสดง
“น้ อ งพิ ม มี พั ฒ นาการดี ขึ้ น เรือ่ ยๆ ปกติจะเป็นคนประหม่ามาก เวลาเห็นคนก็จะทำ�อะไรไม่ถูก วัน นี้รู้สึกภูมิใจ ทุกครั้งที่ดูก็จะภูมิใจ มาก วันนี้เขาทำ�ได้ดี” จบ อันเป็นผลจากการที่พวกเขาฝึกซ้อมมาอย่าง หนัก ทำ�ให้เวลาแสดงจริง พวกเขาแทบไม่ออก อาการประหม่าให้เราเห็นแม้แต่น้อย “ประทับใจมาก ภูมใิ จมาก” จึงเป็นคำ�ตอบ ทีส่ มาชิกวง N3K ประสานเสียงขึน้ มาพร้อมกันเมือ่ ถูกถามถึงความรูส้ กึ ทีไ่ ด้รว่ มงานศรัทธาสตรีท ซึง่ บ่งบอกได้เป็นอย่างดีวา่ แม้งานจะจบลง แต่ความ ทรงจำ�บนถนนสายศรัทธาเส้นนี้ จะยังคงติดตรา ตรึงใจของพวกเขาไปอีกนานเท่านาน...
๑๙
หน้านิทาน...อ่านด้วยกัน
รักษาไว้ให้ดีนะลูก หากเปรียบชีวิตเหมือนนิทานเรื่องหนึ่ง หน้านิทานอ่านด้วยกันฉบับนี้ แม่จูนขอเล่าเรื่องราว ดีๆ ทีน่ อ้ งเจ็มได้รบั จากรัว้ ทอสีผา่ นบันทึกทีแ่ ม่จนู เขียนไว้ให้นอ้ งเจ็มตัง้ แต่ชนั้ ป.๑ เพือ่ ฝากถึงลูกๆ ชัน้ ป.๖ ทุกคนทีก่ �ำ ลังจะเรียนจบในปีการศึกษานี้ ว่า ขอให้ลกู รักษาสิง่ ดีๆ เหล่านีไ้ ว้ให้ดนี ะลูก... ๑_ อยู่ที่ทอสี เราพบเจอคุณครู ผู้ใหญ่ หรือแม่แต่พี่ๆ เราจะ ยกมือไหว้จนเป็นเรื่องปกติ การไหว้ถือเป็นวัฒนธรรมที่ดีงามของ ไทย เมือ่ เราให้ความเคารพผูอ้ นื่ ผูอ้ นื่ ก็จะให้ความเคารพเราเช่นกัน เช่นเดียวกับการแต่งตัวที่เรียบร้อยเหมาะสม ถือเป็นการ แสดงความเคารพต่อสถานที่ที่เราไป และต่อบุคคลที่เราไปด้วย รวมถึงเป็นการแสดงความเคารพต่อตัวเอง เวลาลูกแม่ไปวัด ทุก คนจะชื่นชมการแต่งตัวและมารยาทที่เหมาะสมของลูก จนหลาย คนถามว่า “อยู่โรงเรียนอะไรคะ” .... รักษาความเป็นทอสีอันนี้ ไว้ให้ดีนะลูก ป.๒ (ส.ค. ๕๓)
ป.๓ (มี.ค. ๕๔)
๒๐
(ส.ค. ๕๓)
ป.๑
๒_ สมัยเรียนอยู่ที่ทอสี ลูกได้เรียนรู้การ ใช้ชีวิตแบบทุกข์ยากสุขง่าย ลูกมีความสุข ง่ายๆ ได้จากธรรมชาติรอบตัว ไม่วา่ เวลาจะ ผ่านไปอีกกี่ปี แค่ลูกออกไปเดินรับลม หรือ วิ่งเล่นเท้าเปล่าอย่างที่เราเคยทำ�ที่โรงเรียน แค่นี้ชีวิตก็มีความสุขได้แล้ว แม่ก็ยังชอบวิ่ง เล่นอยู่เลย... สนุกออก ๓_ วันนั้นลูกตกลงมาจากหลังม้าอย่าง แรง ทั้งๆ ที่กลัว ลูกก็ยังกลับขึ้นไปขี่ม้าต่อ ทันที และจากวันนั้นลูกก็รู้จักระวังตัวมาก ขึ้น ขี่ได้ดีขึ้น เพราะบทเรียนจากการตกม้า ทำ�ให้ลูกเรียนรู้ความไม่แน่นอนของม้าว่า เป็นเรือ่ งธรรมดา แม่ขอชืน่ ชมความเข็มแข็ง ของลูก การหมัน่ พิจารณาทบทวนสิง่ ทีเ่ ราทำ� รวมถึงการรู้จักปล่อยวางเมื่อเราทำ�สิ่งนั้น อย่างดีทสี่ ดุ แล้ว รักษาสิง่ เหล่านีไ้ ว้ให้ดนี ะคะ
ป.๔ (ม.ค. ๕๕)
๔_ จากวันนี้ลูกจะได้พบเจอผู้คนอีกมากหน้าหลายตา เพื่อนใหม่อาจมีทั้งดีและไม่ดีปะปนกันไป แต่หากวันใดหนู คิดถึงเพื่อนที่เป็นกัลยาณมิตร ขอให้นึกถึงเพื่อนๆ ที่ทอสี เพราะทุกคนได้เรียนรู้สิ่งที่สำ�คัญเหมือนกัน นั่นคือ ความเป็นคนดี เพื่อนๆ รุ่นนี้ โตมาด้วยกันตั้งแต่ อนุบาล รักกัน ทะเลาะกัน โกรธกัน ดีกัน หัวเราะกัน แกล้ง กัน ต่างๆ นานา ยังไงก็ยังอยากให้กลับมาหากันอยู่เสมอ รักษากัลยาณมิตรไว้ให้ดีนะคะลูก (พ.ย. ๕๕)
ป.๕
๕_
พระอาจารย์ชยสาโรเคยสอนไว้ว่า เวลาไปในที่ใหม่ๆ พบ คนใหม่ๆ เหตุการณ์ใหม่ๆ หากเราไม่แน่ใจว่าสิ่งใดดีหรือไม่ ให้ ยึดศีล ๕ เป็นเกณฑ์ การเลือกเพื่อนสำ�คัญมาก กัลยาณมิตรที่ดีจะพาเราไปพบ สิ่งที่ดีๆ คบคนให้เลือกที่ศีลเสมอกัน คือ ถือศีลถือความดีไม่น้อย ไปกว่าเรา การจะนึกถึงศีล ๕ ได้ ลูกต้องกลับมาอยู่กับตัวเองบ้าง รู้ว่า ตัวเองกำ�ลังทำ�อะไร รู้กาย รู้ใจ รู้เท่าทันอารมณ์ของตัวเอง หมั่น เจริญสติ ค่อยๆ คิด และรู้จักปล่อยวาง รักษาความดีของศีล ๕ ไว้ให้มั่นนะลูก ๖_
ป.๖ (ส.ค. ๕๖)
ตอนหัดถักหมวกไหมพรมไปถวายพระที่วัดป่า ตอน นั้นลูกรู้สึกว่ามันยากจริงๆ เพราะไม่เคยถักมาก่อน แต่ ความรู้สึกยาก คือตัวบอกว่าเรากำ�ลังเรียนรู้ และลูกก็เพียร พยายามจนสำ�เร็จ เมือ่ ลูกเข้าเรียนในระดับมัธยม เนือ้ หาวิชาการจะยาก ขึ้น ปัญหาอุปสรรคต่างๆ ก็จะยุ่งยากซับซ้อนขึ้นกว่าตอน อยู่ที่ทอสี อย่าลืมว่าความยากคือสัญลักษณ์ของการเรียน รู้ อะไรที่ง่ายแปลว่าเรารู้อยู่แล้ว รักษาความเพียรพยายาม ไว้นะลูก ๒๑
โยคะฝึกกายสบายจิต Yoga for Children
ท่าปลา (Fish) เรียบเรียงโดย : ครูน้ำ�อ้อย แสดงท่าโดย : ด.ช.ภัทร เปมอนันต์ (เพรา) ชั้นเตรียมอนุบาล
กลับมาพบกันอีกครัง้ กับคอลัมน์โยคะฝึกกายสบายจิต ฉบับนีค้ รู น้ำ�อ้อยขอแนะนำ�การฝึกโยคะท่าปลา ที่หากเล่นเป็นประจำ�จะทำ�ให้ ระบบหายใจดีขึ้น ขยายอก ขยายปอดและหลอดลม เหมาะกับผู้ที่ เป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ และอย่าลืมว่าหากคุณพ่อคุณแม่ได้ เล่นไปพร้อมกับลูก ก็จะเป็นโอกาสที่ดีในการได้ออกกำ�ลังกายแบบ สบายๆ และสนุกสนานร่วมกัน เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่จะช่วยเสริม สร้างสัมพันธภาพในครอบครัวได้เป็นอย่างดีค่ะ
๒
๑
ท่าเตรียม นอนหงายราบกับพื้น สองมือคว่ำ�รองไว้ใต้สะโพก เท้าชิด
ผ่อนคลายในท่าฟองน้ำ� (ท่าศพ) หายใจเข้าลึก หายใจออกยาว
๓ ๔
๕
หายใจเข้าให้ลึก และผ่อนหายใจออกยาวๆ พร้อมใช้ศอกดันพื้นยกลำ�ตัวท่อนบนขึ้นเล็ก น้อย แล้วตั้งศีรษะกับพื้นให้น้ำ�หนักอยู่ที่ศอก โก่งลำ�ตัวช่วงอกขึน้ หายใจเข้าออกช้าๆ ลึกๆ ๓ ครั้ง
ดันศอกและยกศีรษะขึน้ แล้วค่อยๆลดตัวลง นอนราบ ผ่อนคลาย ในท่าเตรียม
๖
๗
ทำ�ซ้ำ�ต่อเนื่อง ๓-๕ รอบ
พักในท่าท่าฟองน้ำ� หายใจเข้าลึก หายใจออกยาว หนังสืออ้างอิง : • YOGA FOR CHILDREN ผู้เขียน Mary Stewart and Kathy Phillips • โยคะเพื่อสุขภาพ ผู้เขียน ชื่นชม สิทธิเวช • คุยตัว...ตัวกับครูโยคะ ผู้เขียน ถือศีล ดิฐวัฒน์โยธิน
๒๒
ภาษาภาพ
ภาพ: พ่อหนู - ไพฑูรย์ บุญคงชื่น บทกวี: ครูโน้ต - บรรพต วรธรรมบัณฑิต
>1
>2
>3
>4
>5
>6
>7
>8
>9
ชีวิต อาจมี พลาดพลั้ง ชีวา อยู่ยัง หยัดสู้ ชีวี สุขทุกข์ ตามดู ชีพรู้ ตื่นรู้ โลกธรรม
๒๓
อยู่อย่างทอสี
เรื่อง/ภาพ: ครูทราย - วิลาสินี มีทรัพย์
แม่วรรณ รวิวรรณ โฮริโนอุชิ ทอสีคือคำ�ตอบ ผู้ปกครองหลายคนคงเคยตั้งคำ�ถามกับตัวเองว่า “โรงเรียนทอสี” ใช่คำ�ตอบสำ�หรับลูก สำ�หรับตัวเอง และสำ�หรับครอบครัว จริงหรือไม่ หลายท่านอาจได้รบั คำ�ตอบ ขณะทีห่ ลายท่านยังคงเพียรพยายามแสวงหา คำ�ตอบต่อไปอย่างไม่ลดละ สำ�หรับแม่วรรณ รวิวรรณ โฮริโนอุชิ เธอคือหนึ่งในผู้ที่เคยตั้งคำ�ถามเหล่านั้น และ อาศัยโอกาสเรียนรู้ไปพร้อมๆ กับน้องไบร์ท วีรวิชญ์ โฮริโนอุชิ ลูกชายคนเล็กที่เข้าเรียน ในรัว้ ทอสี โดยการนำ�วิถชี วี ติ ของชาวทอสีไปทำ�ให้เกิดขึน้ จริงทัง้ ทีบ่ า้ นและทีท่ �ำ งาน ไม่วา่ จะเป็น การตักบาตร การปฏิบัติธรรม โครงการทอสีรักษ์โลก ฯลฯ จนวันนี้เธอมั่นใจแล้ว ว่า โรงเรียนทอสี คือคำ�ตอบสุดท้ายที่ใช่เลย...
๒๔
อะไรทำ�ให้แม่วรรณนำ�วิถีชีวิตที่ทอสี กลับไปใช้ที่ บ้านและที่ทำ�งาน แม่วรรณ : การพาลูกคนเล็กคือน้องไบร์ท มาเรียนที่ทอสีให้ความรู้สึกที่แตกต่างตั้งแต่แรก ในความเป็นโรงเรียนวิถีพุทธ หรือการเน้นวิชา
ชีวิตมากกว่าวิชาการ เหมือนเป็นแรงบันดาลใจ แรกๆ ก่อนที่จะมาทำ�ตรงนี้ รู้สึกว่า โอ้โห... ใช่ เลย ประการต่อมา อยากพิสจู น์คำ�สอนของพระ อาจารย์ชยสาโร ที่ว่า ดีไม่ได้แปลว่าโง่ เมื่อเรา
เป็นคนดี เรายิ่งสามารถนำ�เอาสิ่งดีๆ ไป ใช้ได้มาก อะไรที่เรารู้สึกว่าดี ก็เอากลับ ไปทำ� ในทีส่ ดุ ก็จะเป็นตัวอย่างให้กบั ลูกๆ เขาก็จะได้เห็นว่า เขาได้ใช้วถิ ชี วี ติ อย่างนี้ จริงๆ ทั้งที่โรงเรียนและที่บ้าน อย่างเรื่องการแยกขยะ ก่อนหน้า นี้เราก็รู้วิชาการว่าต้องแยกขยะกี่ถัง แต่ เราก็รู้ว่าไม่มีหรอกในความเป็นจริงของ กรุงเทพฯ ไม่เคยรู้เลยว่าจะมีคนแยก ขยะ เราก็เก็บสิ่งนี้อยู่ในใจตลอดว่า เรา จะมีโอกาสได้ทำ�ตอนไหน พอมาส่งลูก ที่โรงเรียนเห็นคุณครูรณรงค์นำ�เอากล่อง นมมาใช้ใหม่ ก็รู้สึกอัศจรรย์ว่ามีคนทำ� แบบนี้ด้วยหรือ ที นี้ เ ราจะสอนลู ก ยั ง ไง ถ้ า ที่ โรงเรียนเขาทำ�แล้วที่บ้านไม่ทำ� ก็เลย กลับไปลองทำ�ที่บ้านก่อน โดยใช้คอน เซ็ปต์ที่ได้จากโรงเรียนว่า “คิดง่ายๆ ประหยัด ใช้การได้” ก็มีแค่สองถัง ถัง ขยะเศษอาหาร กับ ถังขยะรีไซเคิล เริ่ม ง่ายๆ จากการทำ�คนเดียวที่บ้าน
๑
๒
เรียนรู้แนวคิดเรื่อง “คิดง่ายๆ ประหยัด ใช้การได้” อย่างไร แม่วรรณ : ทุกสิ่งอย่างในโรงเรียนนี้ไม่ เหมือนโรงเรียนใหญ่ๆ ที่ต้องซื้อถังขยะสวยๆ ติดป้ายให้สวยงาม แต่ที่ทอสีแค่ทำ�ป้ายมาติดไว้ ที่ถังขยะเดิม เราเลยคิดว่า เราก็ทำ�เองได้ เริ่ม ต้นจากความศรัทธาในโรงเรียนก่อน ซึมซับจาก กระบวนการที่โรงเรียนทำ�ให้เห็นเป็นตัวอย่าง การที่ได้มาโรงเรียนแล้วสังเกต ก็จะได้ แนวคิดเอาไปปรับใช้ตลอด ยกตัวอย่างเช่น เรื่อง การเอาหนังสือมาแบ่งปันกัน เราก็เอากลับไปใช้ ที่ออฟฟิศบ้าง เพราะรู้สึกว่าโรงเรียนนี้มีจุดมุ่ง หมายในการสร้างคน เหมือนที่ท่านชยสาโรบอก ว่า จริงๆ การศึกษาวิถีพุทธก็คือการสอนทั้งเด็ก และผูใ้ หญ่ สิง่ ทีไ่ ด้แล้วไม่เอาออกไปทำ�เลยก็จะไม่ เกิดผลอะไร เราเองก็เหมือนได้กลับเข้ามาเรียน
๑. แรงบันดาลใจจากตระกร้ากล่องนม ๒. ........................................................
ใหม่ แต่เป็นการเรียนจากสือ่ การมาประชุม และ การมาปฏิบัติธรรม อย่างเรื่องหนังสือ เราบอกทุกคนที่ออฟฟิศ ว่า ให้แต่ละคนเอาหนังสือที่บ้านมาแบ่งปันกัน ก็ได้ผลมาก กลายเป็นกระแสการอ่านหนังสือ ขึ้นมา หรือเรื่องการตักบาตร บริษัทไม่เคยทำ�มา ก่อน ก็ลองทำ�ดู ได้ผลอย่างไรก็นำ�มาปรับปรุง แก้ไข หรือเรื่องคำ�คมที่ติดอยู่ตามมุมต่างๆ ของ โรงเรียน เราก็เอากลับไปทำ� เรือ่ งการปฏิบตั ธิ รรม เมือ่ ก่อนก็ไม่มโี อกาส เพราะต้องเลีย้ งลูก โรงเรียน นี้ก็ทำ�ให้เราได้มาปฏิบัติธรรม โชคดีที่ได้เจอพระ อาจารย์ปสันโนเป็นองค์แรก ทำ�ให้เปลี่ยนความ รู้สึกที่มาฟังเทศน์ ว่าสนุกกว่าที่เราคิดไว้เยอะ
๒๕
Gulius; no. Il horit vemnem dem nos et C. Bem dena, tabeffr emorum te nordiem intemor udemus; essul clusumusquam am quodien se, morenatil hebus suncleg ilinamd issidet quos, steris conesim oritume pon telis,
มาก หลังจากนั้นก็ได้ติดต่อโรงเรียนแล้วขอนิมน เคล็ดลับความสำ�เร็จคืออะไร แม่วรรณ : ต้องมีกำ�ลังใจให้ตัวเอง เราได้ พระอาจารประสงค์ ปริปุณโณ ไปที่บริษัท คือ ได้จากโรงเรียนเยอะมาก ผู้บริหารโรงเรียนและ กำ�ลังใจมาจากโรงเรียน โดยที่โรงเรียนไม่รู้ว่าให้ กำ�ลังใจอยู่ เพราะเราอยากพิสูจน์ คำ�สอนของ คุณครูเป็นกัลยามิตรที่ดีมาก พระอาจาย์ชยสาโร ที่ว่า คนดีไม่ได้แปลว่าโง่ ถ้าเราพิสูจน์ได้ เวลาใครมาถาม ก็จะสามารถ จากบ้านขยายไปสู่ที่ทำ�งานได้อย่างไร แม่วรรณ : เริ่มแรกก็พยายามหาข้อมูลเพิ่ม บอกคนอื่นได้อย่างเต็มปากเต็มคำ� ว่า “วิถีพุทธ เติม เริ่มคุยกับที่ออฟฟิศว่าจะทำ� แรกๆ ก็ยาก ปัญญา” ต้องใช้เวลา ใช้ความเสียสละความอดทน หน่อย น้องๆ ก็บอกว่า พี่ขอร้องอย่าเอามาทำ�ได้ ใครไม่ทำ�เราก็ไปทำ�เอง จนมาถึงจุดทีค่ นเห็นแล้ว ไหม ปกติงานก็ยุ่งอยู่แล้ว แต่ในใจเราคิดอย่าง รู้สึกว่า เห็นใจ เข้าใจ แล้วเขาก็จะช่วยกันทำ� ก็ พัฒนามาเรื่อยๆ เดียวเลยว่า “เราต้องทำ�ให้สำ�เร็จ” พอเราได้ลงมือแยกขยะ ก็จะเห็นว่ามัน เริม่ จากการพูดประชาสัมพันธ์ในบริษทั ก่อน พนักงานในบริษัทก็มีฟังบ้าง ไม่ฟังบ้าง แต่เรา ไม่ใช่แค่แยกขยะ มันคือการลดขยะ เราจะดูวา่ อัน โชคดีที่ได้แม่บ้านของบริษัทเป็นแนวร่วม ที่จริง ไหนไม่ดตี อ่ สุขภาพ เราก็รณรงอันนัน้ ก่อน เพราะ แม่บ้านเขาก็ไม่ชอบเพราะเขามีรายได้จากตรงนี้ ว่าคนจะกลัว อย่างเรื่อง “โฟม” เราทำ�แผ่นป้าย แต่เราก็นงั่ อธิบายให้เขาเข้าใจ แม่บา้ นก็เลยกลาย ไปติดไว้ตรงหน้าตู้ไมโครเวฟบ้าง หน้าถังขยะที่ มาเป็นแกนหลักที่สำ�คัญในเรื่องนี้ จนผ่านไป ๕ เขาจะเห็นได้บ้าง ก็มีหลายคนที่เขาใช้โฟมลดลง จากการแยกมาสู่การลด แล้วก็มารณรงค์ ปี บริษัทมีรายได้จากการขายขยะรีไซเคิลกว่า เก้าหมื่นบาท โดยเรานำ�เงินที่ได้ไปบริจาคคืนให้ เรื่องการใช้กล่องข้าว การใช้ถุงผ้า อะไรที่ทำ�ได้ กับสังคมด้วยการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติมา จากในออฟฟิศ ก็ให้ทำ�ตรงนั้นก่อน แล้วก็มา การลดการใช้ทรัพยากรในบริษัท เรามีอะไรที่จะ แล้วหลายครั้ง ๒๖
ลดได้ ก็คือบรรจุภัณฑ์ เรายอมจ่ายแพงกว่าเดิม ซองละ 50 สตางค์ เพื่อใช้ถุงพลาสติกที่เป็นมิตร ต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากการให้บริการของบริษัท มีการใช้ถุงพลาสติกเป็นจำ�นวนมาก เราจึงเลือก ใช้ผลิตภัณฑ์ถงุ พลาสติกทีม่ สี ว่ นผสมของวัตถุดบิ จากธรรมชาติ ซึ่งสามารถย่อยสลายได้ภายใน 2 ปี สามารถเป็นอาหารปลาได้เมื่อตกน้ำ� หรือเป็น อาหารใส้เดือนได้ถ้าเอาไปฝังดิน ทางบริษัทยอม จ่ายแพงกว่าเดิมเพราะอยากทำ�ให้เห็นจริงๆ ลูกค้าต้องจ่ายแพงขึ้นหรือไม่ แม่วรรณ : ไม่ค่ะ คือ ทางบริษัทแบกรับ ภาระต้นทุนที่เพิ่มขึ้น แต่เราคิดว่านั่นคือกำ�ไรที่ ยั่งยืน เราบอกทุกคนในบริษัทแบบนี้ ทำ�จนทุก คนในบริษัทมีความรู้สึกร่วมกันว่าบริษัทของเรา ทำ�เพื่อส่วนรวม กลายเป็นว่าจุดขายของเราคือ เรื่อง CSR พอทำ�ตรงนี้ สิ่งที่ได้มันมากกว่านั้นคือ พนักงานมีความสุข ทำ�ให้การบริการลูกค้าก็ดขี นึ้ ได้ผลลัพธ์อย่างไรบ้าง จากการนำ�วิถชี วี ติ ของชาว ทอสีไปใช้ทั้งที่บ้านและที่ทำ�งาน แม่วรรณ : หลังจากทำ�มาได้สามปี บริษัท DPEX ก็ได้รางวัลธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม จากเครือข่ายธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม มี คุณอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธาน นี่คือวิชา ชีวิตที่ทำ�ให้เราเข้าใจพนักงานมากขึ้น จากเมื่อ ก่อนประชุมบริษัทก็จะพูดแต่เรื่องของตัวเอง ว่า จะทำ�ยอดขายให้บริษัทอย่างไร แต่โรงเรียนนี้ ทำ�ให้เราคิดถึงคนอื่น หลังจากนั้นก็เลิกหมด ไม่ คุยเรือ่ งยอดขายบริษทั แล้ว มาคุยว่าจะทำ�อย่างไร ให้ทุกคนมีความสุข ตอนนั้น ไม่ได้สนใจเรื่องบริการของบริษัท แล้ว เปลี่ยนมาสนใจชีวิตความเป็นอยู่ของน้องๆ ก็เลยจัดทำ�โครงการปลดหนี้ให้พนักงาน เราก็ แก้ไขปลดหนี้ให้พนักงานรวมๆ แล้วหลายล้าน คนที่จะเข้าโครงการต้องมีการรักษาศีลห้าให้ได้
๓
๔
๕
๓. ถังขยะปิดป้ายง่ายๆ สไตล์ DPEX ๔. กล่องขยะพลาสติกรีไซเคิล ๕. รณรงค์เลิกใช้กล่องโฟม DPEX
ครบหนึ่งเดือน ตอนแรกก็ไม่มีคนเข้าร่วม แต่พอ มีหนึ่งคนประสบความสำ�เร็จ เขาก็จะไปบอกต่อ และรู้สึกภูมิใจที่ผ่านตรงนั้นมาได้ โครงการนี้ใช้ เวลาอยู่สองปีและประสบความสำ�เร็จมากที่สุด หลังจากทีเ่ ราทำ�เรือ่ งใส่ใจพนักงานมากกว่า ตัวผลิตภัณฑ์ แม้ยอดขายของเราจะไม่ได้เพิม่ ขึน้ มาก แต่ปรากฏว่ากำ�ไรของเราเพิ่มขึ้น บริษัทยัง คงกำ�ไรและคืนกำ�ไรให้กับพนักงานได้อย่างต่อ เนื่อง นี่คือสิ่งที่เราได้จากโรงเรียน นี่คือการตอบ โจทย์ทั้งหมด มันก็เลยทำ�ให้เราเข้าใจเลยว่า อ๋อ จริงๆ แล้ว การเรียนหนังสือแบบวิถีพุทธ ช่วย สร้างความสุขอย่างยั่งยืน แล้วก็มั่นคง ทำ�ให้เกิด ความมั่นใจว่า ถ้าลูกจะเข้าเรียนต่อที่โรงเรียน ปัญญาประทีป ก็เชื่อว่าถูกต้องที่สุดแล้ว
๒๗
อ่านแล้วชื่นใจ เรื่อง: ครูโน้ต - บรรพต วรธรรมบัณฑิต
ฉบับนี้หยิบบทกวีของ พี่กัน – ด.ญ. ญาณิศา เกิดพรพุทธมนต์ ป.๖ ที่ได้รจนาไว้ หลังกลับมาจากการไปออกภาคสนาม ณ วัดหนองป่าพง ตำ�บลโนนผึ้ง อำ�เภอวารินชำ�ราบ จังหวัดอุบลราชธานี อ่านแล้วชื่นใจแค่ไหนส่งเสียงสะท้อนมาได้นะครับ
๒๘
๒๙
ห้องเรียนพ่อเเม่ เรื่อง: แม่นุ้ย – พสุนธรา เทพปัญญา (คุณแม่ของน้องพีม ป.๖)
ย้ำ�ดูตน... ย้อนดูลูก คุณพ่อคุณแม่ทุกท่านคิดว่าเกรดเฉลี่ยของ ลูกมีความสำ�คัญมากไหมคะ หากยังพอจำ�กันได้ พ่อแม่ยคุ ก่อนส่วนใหญ่ จะให้ความสำ�คัญกับเกรดเป็นอย่างมาก โดย เฉพาะอย่างยิ่งในวิชาหลักต่างๆ เมือ่ มองย้อนกลับไปถึงวัยเด็กของแม่นยุ้ เอง วันหนึง่ ทีร่ สู้ กึ แย่มากๆ ในชีวติ คือ ตอนทีเ่ รียนอยู่ ชั้นม.5 คุณแม่ซื้อวีดีโอเรื่อง “Where There’s a Will, There’s an A” มาให้พร้อมทั้งบังคับให้นั่งดู จนจบ เนือ้ หาของวีดโี อบอกวิธวี า่ ต้องเรียนอย่างไร ทวนอย่างไร จึงจะได้ A ทุกวิชา แต่โดยส่วนตัวแล้วแม่นุ้ยไม่ใช่เด็กเรียนค่ะ คือ ถ้าเลือกได้กข็ อเลือกไม่เรียนไว้กอ่ น พยายาม ทำ�กิจกรรมหลายอย่างตั้งแต่ ม.ต้น เพื่อจะได้ขอ ออกไปซ้อมในเวลาเรียน ส่วนเรื่องเกรดแค่ทำ�ให้ ได้ดีพอใช้เพื่อจะได้ไม่โดนแม่ต่อว่าเท่านั้น ในใจ คิดแต่เรือ่ งเล่นทัง้ วัน เวลาเรียนเลขจะรูส้ กึ ปวดหัว มาก พอเดินออกจากห้องเรียนเมื่อไหร่เป็นหาย ปวดหัวทันที!!! ถ้าคุณพ่อคุณแม่มีลูกแบบแม่นุ้ย จะเลี้ยง แบบไหนดีคะ ในทางทฤษฎีพหุปัญญา หรือ Multiple Intelligences ของคุณ Howard Gardner กล่าว ว่า คนเรามีความถนัดและความไม่ถนัดหลายด้าน แตกต่างกันไป 8-10 ด้าน (สามารถหาข้อมูลเพิ่ม เติมได้จากกูเกิ้ลค่ะ) ด้วยเหตุนี้แม่นุ้ยจึงเห็นว่า การตั้งคำ�ถาม ต่อลูกๆ ว่า “ทำ�ยังไงให้ลูกเรียนได้เหมือนเด็ก คนอื่นๆ” อาจไม่สำ�คัญเท่ากับการถามว่า “ลูกมี ๓๐
ความถนัดทางด้านไหนเป็นพิเศษ” เพราะนั่นน่า จะทำ�ให้เราช่วยหนุนเสริมลูกๆ ให้เติบโตขึ้นมา เป็นผู้ใหญ่ได้อย่างมีความสุขมากกว่า แต่ก่อนที่จะเริ่มต้นค้นหาตัวตนและความ ถนัดของลูก แม่นุ้ยอยากจะชวนคุณพ่อคุณแม่ ทุกท่านได้ร่วมกันค้นหาตัวตนในวัยเด็กของทุก ท่านเสียก่อน ลำ�ดับต่อมาจึงเริ่มค้นหาตัวตนของ ลูกๆ โดยสามารถทำ�ได้ง่ายๆ ด้วยการสังเกตว่า ลูกทำ�อะไรเวลาทีเ่ ขาเบือ่ หรืออาจจะลองถามจาก คุณครูที่โรงเรียนก็ได้ค่ะ เมื่อได้ย้ำ�ดูตนและได้ย้อนดูลูกๆ แล้ว ก็ จะทำ�ให้เห็นและสามารถยอมรับความแตกต่าง ระหว่างตัวเองกับลูก และสามารถวางแผนใน การนำ�จุดเด่นจุดด้อยเหล่านั้นมาหนุนเสริมการ เรียนรู้ให้ลูกๆ ต่อไป ยกตัวอย่างตัวแม่นุ้ยเองเป็นคนชอบการ เรียนรู้ผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย ชอบวาดรูป แต่งนิทาน ชอบใช้จินตนาการ ชอบการทดลอง ชอบแกะเนื้อเพลงภาษาอังกฤษหรือท่องจำ�บท พูดจากหนังฝรั่ง สามารถเรียนรู้ได้ง่ายผ่านรูป และตัวอย่างต่างๆ แต่ไม่สามารถเข้าใจเลขหรือ วิทยาศาสตร์ที่ตีเป็นภาพไม่ได้ เป็นคนอยากรู้ อยากเห็นมากกว่าที่จะสนใจเรื่องเกรด และเมื่อ โตเป็นผู้ใหญ่ก็สนใจการทำ�งานที่ตอบโจทย์ชีวิต ได้มากกว่าเงินเดือน ขณะทีล่ กู ชายของแม่นยุ้ เป็น เด็กรักสัตว์และชอบธรรมชาติมาก ชอบเหม่อมอง ต้นไม้ในเวลาเรียน ชอบฟังเรือ่ งเล่า ไม่ชอบตึก ไม่ ชอบห้าง ไม่ชอบกีฬา และไม่ชอบภาษา หลังจากได้ลองย้ำ�ดูตนและย้อนดูลูกแล้ว
แม่นยุ้ จึงวางแผนใช้ความถนัดทางด้านภาษาของ ตัวเอง ค่อยๆ ถ่ายทอดให้ลกู คุน้ ชินกับการฟังและ การพูดภาษาอังกฤษตั้งแต่เด็กๆ และใช้วิธีการ ชักชวนให้ลูกดูสารคดีด้วยกันบ่อยๆ ส่วนความ สามารถทางด้านวิทยาศาสตร์ที่แม่นุ้ยไม่ค่อย ถนัด ก็ใช้วิธีการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมการทดลอง ที่ทำ�ให้ทั้งครอบครัวมีความสุขในการเรียนรู้ไป พร้อมๆ กัน เมื่ อ ลู ก โตขึ้ น แม่ นุ้ ย วางแผนให้ ลู ก อยู่ โรงเรียนประจำ�ในระดับมัธยม เพื่อให้ลูกได้อยู่ ใกล้ ชิ ดกั บธรรมชาตินอกเมืองหลวง และให้ ทางเลือกในชีวิตกับเขาไว้ว่า สามารถเข้าเรียน มหาวิทยาลัยเมื่อใดก็ได้ที่เขาต้องการ เพราะแม่ นุย้ เชือ่ ว่าการออกแบบสิง่ แวดล้อมในการเรียนรูท้ ี่ สอดคล้องกับตัวตนของเขา จะช่วยให้ลกู มีความ สุขมากกว่าในระยะยาว และเอื้อให้เขาสามารถ สร้างประโยชน์ต่อผู้อื่นได้ตามสมควร สำ�หรับการเสริมในด้านวิชาการ สิ่งที่แม่ นุ้ยคิดว่าใช่เลยสำ�หรับเด็กๆ ทุกคน คือ ต้องได้ รับแรงผลักด้านการอ่านทั้งภาษาไทยและภาษา อังกฤษ ซึ่งสามารถสร้างได้ด้วยการอ่านหนังสือ ให้ลูกฟังอย่างสม่ำ�เสมอทุกวันตั้งแต่เล็กๆ รวม ถึ ง ให้ โ อกาสเด็ ก ๆ ได้ คุ้ น ชิ น กั บ สารคดี แ ละ พิพิธภัณฑ์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ควรได้รับการปลูกฝัง ตั้งแต่เยาว์วัยเพราะจะสร้างได้ยากขึ้นเมื่อโตเป็น วัยรุ่นแล้วค่ะ ทั้ ง นี้ สิ่ ง ที่ จำ�เป็ น มากที่ สุ ด ไม่ ว่ า ลู ก จะมี ความถนัดทางด้านไหน ก็คือ ความมีคุณธรรม ค่ะ ซึง่ เป็นสิง่ ทีข่ าดมากๆ ในระบบการศึกษาของ ประเทศเรา ตรงจุดนี้ทุกบ้านคงต้องช่วยกันปลูก ฝังให้ลูกๆ เติบโตขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่ที่ดีมีคุณธรรม
> เด็กที่ถนัดศิลปะ ชอบเหม่อมองท้องฟ้า > เด็กที่ถนัดการเข้าสังคม ชอบคุยกับเพื่อนและชอบ ทำ�งานกลุ่ม > เด็กที่ถนัดใช้ร่างกาย ชอบขยับตัว สั่นขาหรือลุก เดิน > เด็กที่ถนัดภาษา ชอบแอบอ่านหนังสือใต้โต๊ะ > เด็กที่ถนัดทางคณิตศาสตร์หรือวิทยาศาสตร์ ชอบ หาเหตุผล > เด็กที่ชอบธรรมชาติมักช่างสังเกตและมีความ สามารถในการจำ�แนกหมวดหมู่ > เด็กที่ถนัดดนตรี ชอบเคาะจังหวะและคลิกปากกา ในเวลาเรียน
ในอนาคต ดังคำ�กล่าวของ Abraham Lincoln ที่ว่า “Whatever you are, be a good one.” ท้ า ยที่ สุ ด นี้ ข อให้ คุ ณ พ่ อ คุ ณ แม่ ทุ ก ท่ า น มีความสุขกับการค้นหาตัวตนร่วมไปกับลูกๆ พร้อมหนุนเสริมให้เขาเติบโตขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่ที่ ดีมีคุณธรรมกันนะคะ ฉบับนี้แม่นุ้ยลาไปก่อนค่ะ
หนังสือแนะนำ� The Element โดย Ken Robinson What Color Is Your Parachute? For Teens โดย Carol Christian ๓๑
เด็กทุกคนคือศิลปิน
เรื่อง: ครูโน้ต - บรรพต วรธรรมบัณฑิต
๑
เ นื่ อ ง ใ น ว โ ร ก า ส วั น เ ฉ ลิ ม พระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็ จ พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๖ เด็กๆ นักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ ๑ ได้เขียนบทกวีถวายพระพร เป็นกลอน ๔ พร้อมวาดภาพของพระองค์ ไว้บนปกของการ์ดวันพ่อที่พวกเขาบรรจง ทำ�ขึ้นอย่างสุดฝีมือ โดยมีครูนาง วารุณี แสนกล้า คอยดูแลให้คำ�ปรึกษาอย่างใกล้ ชิด แม้พวกเขาจะเป็นเพียงแค่เด็ก ป.๑ ตัว เล็กๆ ทว่าแววศิลปินที่ฉายออกมานั้น ขอบ อกว่า... ไม่ธรรมดา ๑. ด.ญ. สรชา พงษ์พิเชฐ (น้องแค็ท) ๒. ด.ญ. อเล็กซานดร้า ราดูโลวิช (น้องเออาร์) ๓. ด.ญ.พิชญาภา อัศวะประภา (ไอโกะ) ๔. ด.ช. ภาคิน สุขบันเทิง (ปูซาน) ๕. ด.ญ. พัฒน์นรี พิริยะภักดีกุล (น้องผึ้ง)
๔
๓๒
๑
๒
๓
๕
๓๓
เรื่องเล่าจาก ‘ปัญญาประทีป’
เรื่อง: ครูโน้ต – บรรพต วรธรรมบัณฑิต ภาพ: โรงเรียนปัญญาประทีป
“ส่องใน สว่างนอก” เมื่อคุณค่าแท้ไม่ได้อยู่ที่รางวัล
๑ เมื่อวันศุกร์ที่ ๒๒ พ.ย.๕๖ ที่ผ่านมา บริษัท ทีวีบูรพา จำ�กัด ได้จัดงานประกาศ ผลรางวัลซูเปอร์กบจูเนียร์ปี ๕ ณ Crystal Design Center ซึ่งผลปรากฏว่า ผลงาน สารคดี “ส่องใน สว่างนอก” ของทีม “คนกินเกลือ” จากโรงเรียนปัญญาประทีป สามารถกวาดรางวัลมาได้ถึง ๒ รางวัล ได้แก่ รางวัลทักษะแห่งอนาคต และรางวัล บทสารคดียอดเยี่ยม จากจำ�นวนผู้เข้าร่วมประกวดกว่า ๒๒๒ ทีม ครูแจ๊ด พัชนา มหพันธ์ รอง ผู้อำ�นวยการโรงเรียนปัญญา ประที ป เล่ า ถึ ง ที่ ม าของที ม คนกินเกลือว่า ประกอบไปด้วยนักเรียนจาก โรงเรียนปัญญาประทีปในระดับชัน้ มัธยมศึกษา ปีที่ ๒ ถึงมัธยมศึกษาปีที่ ๕ จำ�นวน ๑๑ คน โดยทุกคนที่มารวมตัวกันมีความรู้สึกคล้ายๆ ๓๔
กันว่า อยากลองทำ�สารคดีดูบ้าง หลังจากที่ ตัวเองเป็นผู้เสพสารคดีมาเป็นเวลานานพอ สมควรแล้ว หลังจากการพูดคุย มีประเด็นที่ทีมงาน ระดมสมองกันขึ้นมา ๓ เรื่อง คือ การสื่อสาร อริยสัจ ๔ และเทคโนโลยี สุดท้ายสมาชิกใน ทีมลงความเห็นเลือกประเด็นเรื่องการสื่อสาร
โดยใช้หลักการปิยวาจาในวงกลมกัลยาณมิตร ที่พวกเขาทำ�กันอยู่แล้วเป็นกิจวัตรที่โรงเรียน ปัญญาประทีป “เด็กๆ ต้องการสือ่ ให้เห็นว่า มนุษย์ทกุ วันนี้ ส่วนใหญ่มกั มองไปทีค่ นอืน่ เวลามีปญั หาอะไร เกิดขึน้ เรามักจะโทษผูอ้ นื่ แต่เราลืมกลับมามอง ตัวเอง กิจกรรมวงกลมกัลยาณมิตรทีเ่ ราทำ�อยู่ เป็นประจำ�ช่วยทำ�ให้เขามีโอกาสได้กลับเข้ามา มองตัวเอง เปิดใจรับฟังเสียงสะท้อนจากผูอ้ นื่ ที่ เป็นกัลยณมิตร ปวารณาตัวให้ทกุ ๆคนช่วยกัน ขัดเกลาตัวเรา ทำ�ให้เราได้ขัดเกลาตัวเองง่าย ขึ้น เพราะคนที่อยู่รอบข้างก็เหมือนกับกระจก สะท้อนให้เราเห็นตัวเองได้ชัดเจนขึ้น”
๒
๓
๑. กบจูเนียร์ ปี5 ................................... ๒. ครูอ้อนและคุณวิทิต ร่วมให้กำ�ลังใจทีมคนกินเกลือ ๓. กบจูเนียร์ ปี5 ...................................
ดูใจตัวเองอยู่เสมอ ตลอดจนการ “ส่องนอก” ออกมาด้วยการเรียนรู้กระบวนการทำ�งานร่วม กันเป็นทีม การมุ่งมั่นฟันฝ่าปัญหาอุปสรรคของพวก สำ�หรั บ รางวั ล ที่ ไ ด้ ม าในปี นี้ เ ป็ น สิ่ ง ที่ อ ยู่ เขาจนนาทีสุดท้าย จึงเป็นดั่งรางวัลที่พวกเขา นอกเหนือความคาดหมาย เนื่องจากโรงเรียน ได้รับแล้ว แม้ว่าพวกเขาจะได้รับหรือไม่ได้รับ ปัญญาประทีปเพิ่งเข้าร่วมส่งสารคดีประกวด รางวัลบนเวทีก็ตาม... ในโครงการกบจูเนียร์เป็นครัง้ แรก ประกอบกับ สิง่ ทีค่ รูแจ๊ดเน้นย้ำ�กับเด็กๆ ตัง้ แต่แรกเริม่ ก็คอื คุณค่าแท้ของการทำ�สารคดีเข้าประกวดในครัง้ นีห้ าใช่รางวัลไม่ หากแต่คอื การ “ส่องใน” เพือ่ ๓๕
เปิดหูเปิดตา
เรื่อง: ................ ภาพ: .......................
บทเพลงกล่อมชีวี เพลง เด็กดีกล่อมโลกงาม
๓๖
กลับมาพบกันอีกแล้วนะคะ ครั้งนี้มาพร้อม กับคำ�ชวนให้ มาร้องเพลง มาฟังเพลงเด็กด้วย กันค่ะ หรืออาจนึกสนุกลุกขึ้นมาแต่งเพลงเอง เอาไว้ ร้อง เล่น เต้นรำ� กันในครอบครัวก็เป็นอีก หนึ่งกิจกรรมดีๆ ที่สร้างความอบอุ่นและความ สุขในครอบครัวได้ไม่แพ้กจิ กรรมอืน่ ๆ เลยนะคะ การฝึกทำ�กิจกรรมทีไ่ ม่คนุ้ ชิน (ในชีวติ ประจำ�วัน เรามักทำ�ในสิ่งคุ้นเคย) จะช่วยในเรื่องการฝึก สมองของเราและลูก ไปได้ด้วยนะคะ เป็นการ บริหารสมองที่ดีอีกวิธีหนึ่งค่ะ หลายคนอาจตัง้ คำ�ถามว่า การฟังเพลงเด็กดี อย่างไร ทำ�ไมเด็กๆ จึงควรฟังเพลงเด็ก สำ�หรับ ผูใ้ หญ่แล้วการฟังเพลงเด็กอาจไม่สนุกสนาน ไม่ เร้าใจเหมือนเพลงของผู้ใหญ่ แต่เราก็ควรให้โอ กาสลูกๆ ของเราได้ฟังเพลงที่เหมาะสมตาม วัย เพื่อพัฒนาในด้าน จิตใจ และอารมณ์ ที่
เหมาะสม มีพัฒนาการด้านภาษาที่หลากหลาย แต่งดงาม เช่นเดียวกับการเลือกนิทาน เลือก หนังสือ ทีเ่ หมาะสมในแต่ละช่วงวัยให้ลกู ของเรา ครั้งหนึ่ง แม่รุ่งมีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรม อบรมแต่งเพลงให้ลูก โดยวิทยากร คุณศักดิ์สิริ มีสมสืบ (ลุงไวท์ของเด็กๆ) ท่านเป็นกวีซีไรต์ นักแต่งเพลงเด็ก ฯลฯ คุณลุงไวท์เล่าเรื่องผลก ระทบจากการที่เด็กเล็กๆ ฟังเพลงผู้ใหญ่ที่ไม่ เหมาะสมกับวัย ว่า “หากเด็กฟังแต่เพลงผู้ใหญ่ที่มีเนื้อหา เศร้า เหงา รัก มาตัง้ แต่เด็ก เมือ่ ถึงคราวเป็นวัยรุน่ ใน วัยนีม้ กี ารเปลีย่ นแปลงทางอารมณ์สงู จึงอาจส่ง ผลกระทบในด้านลบมากกว่าด้านบวก เด็กอาจ ให้ความสำ�คัญในเรือ่ งเศร้า เหงา รักมากเกินไป เพราะซึมซับเรื่องเหล่านี้มาตั้งแต่เด็ก และเสีย โอกาสในการเรียนรู้ภาษาที่งดงามในเพลงเด็ก
ไปอย่างน่าเสียดาย เนือ่ งจากการแต่งเพลงของ ผู้ใหญ่จะเน้นเนื้อหาให้ติดหูตามสมัยนิยม โดย มองข้ามความเหมาะสมทางภาษา ทีอ่ าจส่งผลก ระทบต่อเด็กๆ โดยตรง” จึงเป็นข้อมูลทีอ่ ยากฝากถึงคุณพ่อคุณแม่ทกุ คนในการเลือกบทเพลงดีๆ ให้ลูกของเรา แม้ เพลงเด็กดีๆ นัน้ จะหาได้ยากเต็มที แต่กย็ งั พอมี ให้คณุ พ่อคุณแม่ได้เลือกสรร เพราะบทเพลงดีๆ ความหมายดีๆ จะมีความสละสลวยสวยงาม ของภาษา เปรียบเสมือนอาหารที่มีประโยชน์ ช่วยหล่อเลีย้ งจิตใจผูฟ้ งั ดังนัน้ อาหารทางหูจงึ มี คุณค่าไม่ยงิ่ หย่อนไปกว่าอาหารทางกาย ทีค่ ณุ พ่อคุณแม่เลือกสรรให้ลูกๆ ของเรา ทั้งนี้หากคุณพ่อคุณแม่ท่านใดนึกสนุกอยาก แต่งเพลงง่ายๆ ให้ลกู ฟัง ลุงไวท์ได้ให้คำ�แนะนำ� เป็นหลักการง่ายๆ ไว้ 3 ข้อ คือ 1. ใช้คำ�ซ้ำ�ๆ 2. อย่าคิดมาก 3. แก่นความคิดเดียว “เพลงเด็กไม่ต้องคิดมาก เวลาจะแต่งเพลง อุทานออกมาก็เป็นเพลงได้ ละเมอก็เป็นเพลง ได้ ไม่ต้องจงใจ เพราะถ้าจงใจแต่ง มันจะเริ่ม ยาก” ลุงไวท์ อธิบาย คำ�แนะนำ�นี้สอดคล้องกับการแต่งเพลงครั้ง แรกๆ ที่แม่รุ่งเคยแต่งให้ลูกเมื่อยังเล็ก แล้ว พาลูกดูปลาทองในตู้ปลา เนื้อเพลงมีดังนี้ค่ะ “ปลาทอง 3 ตัว แก้มป่องๆ พุงป่องๆ ลอย ตุ๊บป่อง ตุ๊บป่อง ตุ๊บป่อง....” ซึ่งสามารถเรียก เสียงหัวเราะให้ครอบครัวของเราได้ไม่รู้ลืมเลย ทีเดียวนะคะ หลังจากเข้ารับการอบรมแล้ว เราช่วยกัน แต่ ง เพลงขึ้ น มาเพลงหนึ่ ง ชื่ อ “ดอกจำ�ปี สี นวล” เพลงนี้แต่งโดยใช้การสังเกตจากธรรมชา ติรอบๆ ตัว ที่บ้านเราปลูกต้นจำ�ปี แม่รุ่งชอบ เก็บดอกจำ�ปีให้ลูก เราร้องเล่นกันบ่อยๆ เคาะ
โต๊ะ ประกอบดนตรีกัน สนุกสนาน เพลิดเพลิน เลยค่ะ “ดอกจำ�ปีสีนวล ส่งกลิ่นหอมชื่นใจ อยาก เก็บไว้ให้ใคร ให้ฉันได้ไหมเธอ” ผ่านไป 2 ปี ลูกได้ช่วยใส่คอร์ดให้กับเนื้อ เพลงนี้ เรายังใช้ร้องเล่นกันอยู่บ่อยๆ เป็นความ สุขง่ายๆ แบบไม่เสียสตางค์ และมีรอยยิม้ อิม่ ใจ กันในครอบครัวทุกคนเลยนะคะ อีกเพลงหนึ่งชื่อเพลง “กอดแม่” แม่รุ่งแต่ง เพราะนึกถึงความทรงจำ�เมื่อครั้งลูกยังอยู่ในวัย เด็กเล็ก ลูกชอบนอนหนุนตักและนอนพักบน ไหล่ของแม่อยู่เสมอ “รักไหนไม่เทียมเท่า ความรักของเรา รักแม่ เท่าฟ้า ไหล่แม่เป็นที่พัก ตักแม่ไว้นอนอุ่น กอด หมอนที่นอนหนุน ก็ไม่อุ่นเหมือนกอดแม่เรา” จะเห็นได้ว่าการแต่งเพลงเด็กนั้นไม่ซับซ้อน ธรรมชาติของเด็กเล็กจะจดจำ�คำ�ซ้ำ�ๆ ง่ายๆ มีเสียงสูงๆ ต่ำ�ๆ ใช้คำ�คล้องจองกัน กิจกรรม การแต่งพลง ร้องเพลงกับลูก จึงเป็นความสุข เล็กๆ ที่ยิ่งใหญ่ และลูกสามารถสัมผัสได้จริงๆ บทเพลงที่แต่งขึ้นมาเพื่อลูก อาจไม่ใช่บทเพลง ที่ไพเราะที่สุด แต่เป็นบทเพลงจากหัวใจของพ่อ แม่ ความสุขที่เกิดขึ้นมาก็เป็นความสุขที่งดงาม เพียงพอแล้วค่ะ หากเจอะเจอทักทายกัน แม่รุ่งยินดีเสมอ มาแลกเปลีย่ นความสุขทางเสียงเพลงแบบเด็กๆ ไปด้วยกันนะคะ อย่าลืมนะคะ ร้องเพลงกับลูก วันละนิด จิตแจ่มใส ...ให้วัยเยาว์หวนกลับมา หว่านต้นกล้าเสียงดนตรี บทเพลงกล่อมชีวี เพลงเด็กดีกล่อมโลกงาม :) สวัสดีค่ะ
ขอบคุณข้อมูลจากกิจกรรม อบรมแต่งเพลงให้ลูก18-19 มิ.ย.2554 “เพลงเด็กอยู่หนใด” โดย กวีซีไรต์ คุณศักดิ์สิริ มีสมสืบ
๓๗
รอบรั้ว
...
...............
...............
......... เรื่อง: ......
พระอาจารย์ชยสาโรเยือนทอสีเนื่องในโอกาส เปิดเทอม ๒ / วันที่ ๖ พ.ย. ๕๖
ปฏิบัติธรรมผู้ปกครองครั้งที่ ๖ นำ�โดยพระอาจ ารย์ประสงค์ ปริปุณโณ / วันที่ ๑๔ พ.ย. ๕๖
ตักบาตรข้าวสวย / วันที่ ๑๐ ม.ค. ๕๗
ักเรียน ป.๒ พ่อกุ๊ก ชุมพล พิพัฒน์เมฆินทร์ พาน ๕๖ . พ.ย ๑๓ ปลูกข้าวโพดสาลี / วันที่
รายการ Study corner มาถ่ายทำ�รายการเมื่อวันที่ ๒๘ พ.ย. ๕๖
ผูป้ กครองโรงเรียนทอสีรว่ มจัดกิจกรรมกอล์ฟทอสีทขี องพ่อ ครั้งที่ ๒ / วันที่ ๒๐ พ.ย. ๕๖
กีฬาทอสีสามัคคีประถม / วันที่ ๒๕ ธ.ค.๕๖
้เด็กๆ
ครูย้ง พีรพัฒน์ ตติยะบุญสูง เล่านิทานวันคริสต์มาสให ฟัง / วันที่ ๒๔ ธ.ค. ๕๖
๓๘
ปฏิบัติธรรมผู้ปกครองค / วันที่ ๙ ม.ค.๕๗ รั้งที่ ๗ นำ�โดย พญ.อมรา มลิลา
พระอาจารย์ชยสาโรเยือนทอสีเนื่องในวันขึ้นปีใหม่ / วันที่ ๖ ม.ค. ๕๗
ป.๕-๖ ไปค่ายงอกงามที่โรงเรียนปัญญาประทีป / วันที่ ๑๓-๑๕ พ.ย. ๕๖
ปฏิบัติธรรมผู้ปกครองครั้งที่ ๘ นำ�โดยพระอาจารย์ไพศาล วิสาโล / วันที่ ๓ ก.พ. ๕๗
งป่าพง วันที่ ๑๔-๑๖ ม.ค. ๕๗
อาจาริยะบูชาหลวงปู่ชา ที่หนอ
พิธีถวายพระพรวันพ่อ วันที่ ๔ ธ.ค. ๕๖
นทอสี วันที่ ๑๔ พ.ย. ๕๖
ป.๓ เข้าค่ายเตรียมความพร้อมที่โรงเรีย
น (กีฬาสีประถม)
ียรติบัตรนักกีฬาดีเด่ นักเรียนประถมรับ๕เก๗ / วันที่ ๒๔ ม.ค.
วงดนตรีคนตาบอด คณะ HEAVEN SOUND เข้ามาแสดงดนตรีสดเพื่อหารายได้ / เมื่อวัสันงทีกั่ ด๒๒สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย ม.ค.๕๗
กีฬาทอสีสามัคคีอนุบาล / วันที่ ๗ ก.พ. ๕๗
๓๙
การศึกษานั้น เพื่อธรรม เพื่อบรมธรรม เพื่อธรรมาธิปไตย ให้ธรรมะครองโลก ฉะนั้นการศึกษานี้ ไม่ ใช่เพียงเพื่อความรอด หรือความเอาตัว รอดเป็นยอดดี ซึ่งนั่นเด็กๆ หรือคนขลาด จะพูดว่า เอาตัวรอดเป็นยอดดี การศึกษาไม่ ใช่เรื่องของคนขลาด เป็นเรื่องของคนมีปัญญา ต้องมีปัญญาแท้จริงและสูงสุด ฉะนั้นการศึกษาต้องเพื่อธรรม เพื่อธรรมาธิปไตย ไม่ ใช่เพื่ออาชีพ ไม่ ใช่เพื่อความรอด ไม่ ใช่เพื่อประชาธิปไตย ไปตามแบบสมัยวัตถุนิยม
พุทธทาสภิกขุ