ฉบับที่ ๓ / ปีการศึกษา ๒๕๕๔

Page 1

“ ตืน่ ”

เพื่อคืนคุณแผ่นดิน

ฉบับที่ / ๒๕๕๔ พฤศจิกายน - ธันวาคม ๒๕๕๔


บทบรรณาธิการ ผ่ า นไปอี ก หนึ่ ง ขวบปี ทบทวนดู แ ล้ ว พบว่ า หลายสิ่ ง หลายอย่ า งเปลี่ ย นแปลงไป มากบ้ า ง น้อยบ้าง ที่จะไม่เปลี่ยนเลยนั้นแทบหาไม่เจอ ไม่ต้อง มองทีไ่ หนไกล... ขนาดทอสีสมั พันธ์เองก็ยงั เปลีย่ นไป เราปรับรูปเล่มให้กะทัดรัดขึน้ เพิม่ สีสนั ให้หน้ากระดาษ และมีความพยายามจะปรับปรุงเนื้อหาสาระให้เป็น ประโยชน์แก่ผู้อ่านมากขึ้นในปีนี้ค่ะ ถ้าพูดถึงปีที่ผ่านไป หลายคนคงได้เรียนรู้และ เติบโตขึ้น บางคนเรียนรู้ที่จะล้ม บางคนเรียนรู้ที่ จะลุก เปียกปอนบ้าง หนาวเหน็บบ้าง เพือ่ นๆ หลายคน เล่าว่า ปีทผี่ า่ นมา เขาโตขึน้ กว่าเดิมหลายเท่า และได้รบั ประสบการณ์เพิ่มขึ้นหลายปี (แม้ว่าจะเพิ่งผ่านไป ปีเดียว) บางคนบอกว่าปีที่แล้วเป็นปีที่ดีที่สุด เพราะ ได้ เ จอเรื่ อ งเลวร้ า ยที่ สุ ด ชี วิ ต คนเรามหั ศ จรรย์ ดี ว่าไหมคะ สำ�หรับคนบางประเภท ทุกๆ อย่างเป็น “กำ�ไร” ของชีวิตทั้งนั้น ทอสีสัมพันธ์ฉบับ “ตื่น” เพื่อคืนคุณแผ่นดิน นี้ เนื้อหาสาระพิเศษหน่อยนะคะ เหตุการณ์อุทกภัยที่ เกิดขึ้นทำ�ให้เหล่า “นักเรียน” ทั้งรุ่นลุงและรุ่นหลาน ได้เรียนรู้อะไรตั้งมากมาย เหล่า “นักเขียน” เองก็มี เรือ่ งเล่าเยอะแยะ งานนีค้ งต้องให้ “นักอ่าน” ทัง้ หลาย ช่วยกัน ทำ�หน้าที่อ่านและติชมกันเข้ามาแล้วล่ะค่ะ ทางผู้จัดทำ�ยินดีน้อมรับทุกเสียงสะท้อนนะคะ เพราะ เสียงเหล่านี้จะเป็นเดซิเบลที่ก้องกังวานและทำ�ให้ พวกเราพัฒนายิ่งๆ ขึ้นไป โลกเราเปลีย่ นไปทุกวัน ยากทีค่ นเราจะควบคุม หรือกะเกณฑ์อะไรได้ ทว่า หากมนุษ ย์เรามีพลัง พอจะเปลี่ยนแปลงอะไรสักอย่าง ก็คงจะดี ไม่น้อย ถ้าเราตั้งหลักไว้ว่า การเปลี่ยนแปลงนั้นจะเป็นการ เปลีย่ นแปลงทีด่ ตี อ่ ชีวติ ตนเอง ชีวติ ผูอ้ นื่ และโลกใบนี้ สวัสดีปี ๒๕๕๕ ค่ะ ครูหยก – วรรณวนัช ฤกษ์ลัภนะนนท์

สารบั ญ สารจากครูใหญ่ ๘๔ พรรษา มหาราชัน “ตื่น” และ “รู้” ร่วมกัน ความสำ�เร็จของงาน “ตื่นรู้” ครั้งที่ ๑ นำ�้ขึ้น... ให้รีบปฏิบัต ิ บทสัมภาษณ์: พ่อเหมาะ - พันเอกนิธิ อิงคสุวรรณ “ทอสีรักษ์โลก” เปิดตัวธนาคารทรัพยากร นำ�้ท่วมหนัก ชาวทอสีที่รักทำ�อะไร? เรื่องเล่า “นอก” ห้องเรียน จดหมายจากครูแจ๊ด “เบิกบาน” กับการผลิบาน ตีฆ้องร้องป่าว การตื่นรู้ของข้าพเจ้าในฐานะผู้ปกครองทอสี

คณะทำ�งาน

บรรณาธิการ ครูหยก - วรรณวนัช ฤกษ์ลัภนะนนท์ กองบรรณาธิการ ครูแหม่ม - อาภาภัทร ไชยประสิทธิ์, แม่แจง - จุฬารัตน์ อินทรมหา, ครูนุ้ย - กนกอร บุญทวีกิจ, ครูใหม่ - นัยฤดี สุวรรณาภินันท์, ครูตู่ - กุลฤดี โอทกานนท์, ครูติ๊ก - เพ็ญประภา บุญญกฤติ, ครูอั๋น - พลณัฐ แก้วมณี, ครูนำ�้อ้อย - นำ�้อ้อย สืบดี, ครูโหน่ง - หทัยรัตน์ บุตรยิ่ง, ครูต้น - วิทูรพงศ์ วงศรีชู ศิลปกรรม กีรติ เงินมี ภาพปก ด.ช. เจส์ จรณ แฮทเดน (เจส์) ป.๑/๑ ดำ�เนินการพิมพ์ บริษัท คิว พริ้นท์ แมแนจเม้นท์ จำ�กัด โทรศัพท์: ๐ ๒๘๐๐ ๒๒๙๒ โทรสาร: ๐ ๒๘๐๐ ๓๖๔๙

จัดทำ�โดย

โรงเรียนทอสี ๑๐๒๓/๔๖ ซอยปรีดีพนมยงค์ ๔๑ ถนนสุขุมวิท ๗๑ คลองตันเหนือ วัฒนา กรุงเทพฯ ๑๐๑๑๐ โทรศัพท์: ๐ ๒๗๑๓ ๐๒๖๐-๑ โทรสาร: ๐ ๒๓๙๑ ๗๔๓๓ อีเมล: info@thawsischool.com เว็บไซต์: www.thawsischool.com

หน้า ๑ ๒ ๖ ๘ ๑๐ ๑๒ ๑๗ ๑๘ ๒๒ ๒๖ ๒๘ ๒๙ ปกหลัง


ฉบับนีค้ รูออ้ นขอนำ�บางประเด็นทีค่ รูออ้ นได้แบ่งปันประสบการณ์ตนเอง ใน งาน “ตื่นรู้” ครั้งที่ ๑ : การศึกษาพุทธปัญญา...ทางรอดของสังคมไทย เมื่อวันเสาร์ที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๕๔ ที่ผ่านมา มาขยายความเพื่อเป็นการ ทบทวนให้ทุกคนที่ไปหรือไม่ได้ไปร่วมงานได้ทราบว่าครูอ้อนตื่นรู้อะไรบ้าง เมื่อทำ�การศึกษาพุทธปัญญา ครูอ้อนตื่นรู้ว่า ‘การศึกษาที่แท้จริงคืออะไรและต้องทำ�อย่างไร’ ที่ผ่านมาการศึกษาไทยมุ่งเน้นการเรียนทางวิชาการ หรือเตรียม ความพร้อมเพือ่ ให้เด็กไปสอบเข้าทีอ่ นื่ ได้ ซึง่ พระอาจารย์ชยสาโร ถือว่าเป็นการ เรียนแบบ “ลืมตาหลับ” คือ รู้เรื่องโลกภายนอกมากมาย แต่ยังหลับใหล ไม่เข้าใจในชีวิตตนเอง ผู้อื่น สิ่งแวดล้อม และสร้างปัญหาให้กับตัวเอง สังคม และโลกใบนี้มากมาย อย่างที่เราประสบอยู่ทุกวันนี้ เนื้อหาสาระที่สำ�คัญยิ่งที่ขาดหายไป คือ การเรียนรู้เรื่องโลกภายใน ตัวเอง ที่ท่านอาจารย์เรียกว่า เป็นการเรียนรู้แบบ “หลับตาตื่น” ซึ่งจำ�เป็น อย่างยิ่งที่เราทุกคนต้องหลับตาเพื่อตื่นรู้ภายใน รู้จักและรู้ใจตนเองอย่าง แท้จริง ไม่แอบเข้าข้างตนเองหรือแอบว่าตนเอง หลายคนยังรู้สึกว่า การเจริญสติ นั่งสมาธิ การฝึกที่จะหยุดคิดอยู่กับ ปัจจุบนั หรือการปฏิบตั ธิ รรมเป็นยาขมหรือเป็นเรือ่ งยาก ทัง้ ๆ ทีร่ วู้ า่ เป็นสิง่ ทีด่ ี มีประโยชน์ จึงได้พาลูกเข้ามาโรงเรียนนี้ แต่อดไม่ได้ที่จะผลัดวันประกันพรุ่ง ทีจ่ ะเปิดใจศึกษาพิสจู น์ดว้ ยตนเองว่าการศึกษาพุทธปัญญาดีอย่างไร แตกต่าง จากการศึกษาทั่วไปอย่างไร และเป็นทางรอดของสังคมได้จริงหรือไม่ ครูออ้ นหวังว่าครอบครัวชาวทอสีทกุ คนจะตืน่ รู้ ไม่ปล่อยให้เวลาผ่านไป รีบฉวยโอกาสศึกษาเรียนรู้เรื่องโลกภายในเพื่อเราทุกคนจะได้พบกับความสุข ความสงบและเบิกบานตลอดปีใหม่นี้ ครูอ้อน - บุบผาสวัสดิ์ รัชชตาตะนันท์

๐๑


๘๔ พรรษา มหาราชัน

เด็กๆ นอกจากจะต้องเรียนความรู้แล้ว ยังต้องหัดทาการงานและทาความดีด้วย  เพราะการทางานจะช่วยให้มีความสามารถ มีความขยันอดทนพึ่งตนเองได้

และการทาดีนั้นจะช่วยให้มีความสุขความเจริญ ทั้งป้องกันตนไว้ไม่ให้ตกต่ำ�

พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระราชทานเพื่อเชิญลงพิมพ์ในหนังสือวันเด็ก ประจำ�ปี ๒๕๓๐

๐๒


๘๔ พรรษา มหาราชัน

พรรษา มหาราชัน เรื่อง: ครูโหน่ง - หทัยรัตน์ บุตรยิ่ง

เนื่องในวโรกาสที่วันที่ ๕ ธันวาคม ในปีนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเจริญพระชนมายุครบรอบ ๗ รอบ ๘๔ พรรษา พวกเราชาวทอสีได้รว่ มกันจัดพิธถี วายพระพร เพือ่ แสดงความกตัญญู กตเวทิตาและความจงรักภักดีต่อพระองค์ท่านขึ้นในช่วงเช้าของ วันศุกร์ที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔

พิธีถวายพระพรไปเป็นด้วยความเรียบง่ายและ พอเพียง คณะทำ�งานใช้เวลาเตรียมงานประมาณสอง สัปดาห์ พี่ๆ ประถม น้องๆ อนุบาล รวมถึงคุณครู บุคลากร และตัวแทนผู้ปกครองแต่งกายด้วยเสื้อผ้า โทนสีชมพู มารวมตัวกันที่ลานระเบียงไม้หน้าอาคาร ก่อกุศลด้วยใบหน้าที่เบิกบาน ทุกคนได้ร่วมกันสวดมนต์ นั่ ง สมาธิ ถ วายเป็ น พระราชกุ ศ ลแด่ พ ระองค์ ท่ า น พระมหากษัตริย์ผู้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อปวงชน ชาวไทยอย่างมากมายมาตลอด ๖๔ ปี ในครัง้ นี้ ครูหนู - บุศริน รัญเสวะ ได้กรุณาทำ�หน้าทีป่ ระธาน ในพิธี นำ�จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัยและเปิดกรวยดอกไม้ ถวายพระพรหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ มีตัวแทนนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ ๒ น้องโมกข์ - ด.ช.มหาสมุทร สุรีรัตน์ และ น้องพาย - ด.ญ.ศลิษา ไอล่า ทัค เป็นผูอ้ ญั เชิญพระบรมราโชวาท มาอ่านถ่ายทอดให้พวกเราฟัง นอกจากนี้ ครูแหม่ม - อาภาภัทร ไชยประสิทธิ์ ยังได้พูดคุยกับนักเรียนในเรื่อง ทศพิธราชธรรม ราชธรรม ๑๐ ประการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรง บำ�เพ็ญมาโดยสมำ่�เสมอ อันได้แก่ ทาน ศีล บริจาค ความซือ่ ตรง ความอ่อนโยน ความเพียร ความไม่โกรธ ความไม่เบียดเบียด ความอดทน และความเที่ยงตรง ช่วงสุดท้าย พิธีกรคนเก่ง น้องเก็ต - ด.ช.เนตรไท ภานุทัต และ น้องกอหญ้า - ด.ญ.นิชาภา ศรีบุตรตา ได้ เชิญให้ทุกคนร่วมกันร้องเพลงสดุดีมหาราชาและเพลง สรรเสริญพระบารมีด้วยความพร้อมเพรียง นักเรียนและ คุณครูบางส่วนได้มีโอกาสถ่ายภาพร่วมกันที่บริเวณหน้า พระบรมฉายาลักษณ์เพื่อเก็บไว้เป็นที่ระลึก บางคนถึงกับ หลั่งนำ�้ตาออกมาด้วยความปิติ ครูโหน่งขอขอบพระคุณ ทุกท่านที่มีส่วนร่วมในงานครั้งนี้มา ณ ที่นี้อีกครั้งหนึ่งค่ะ

๐๓


๘๔ พรรษา มหาราชัน

เรารักพระเจ้าอยู่หัว ตั้งแต่ฉันเกิดมาและจำ�ความได้ ฉันเห็นคุณพ่อคุณแม่ คุณตาคุณยาย และหลายๆ คนในบ้ า นบอกฉั น เมื่ อ นั่ ง ดู โ ทรทั ศ น์ กั น ในบ้ า น บอกฉั น ว่ า ในหลวงมาแล้ ว ให้ ฉั น กราบ และสอนให้ฉันรักในหลวง โดยที่ฉันยังไม่รู้ว่าทำ�ไมฉันต้องรักในหลวงด้วย เมื่อฉันโตขึ้นจนถึงปัจจุบัน ฉันได้ทราบถึงพระราชกรณียกิจต่างๆ ที่ท่านทรงทำ �เพื่อ ประชาชนมากมาย เช่น โครงการเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำ�ริ ซึ่งเป็นปรัชญา ที่ชี้แนวทางการดำ�รงชีวิตให้สามารถดำ�รงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนในกระแสแห่งความ เปลี่ยนแปลงต่างๆ พระราชกรณียกิจทางด้านการพัฒนาการศึกษาของเยาวชนเนื่องจากทรง เห็นความสำ�คัญของการศึกษา ซึ่งเป็นพื้นฐานอันสำ�คัญของชาติ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชทรัพย์จัดตั้ง มูลนิธิอานันทมหิดล ให้เป็นทุนการศึกษาในแขนงวิชาต่างๆ เพื่อให้นักศึกษาได้มีทุนออกไปศึกษาหาความรู้ต่อในวิชาการชั้นสูงในประเทศต่างๆ โดยไม่มี เงื่อนไขข้อผูกพันแต่ประการใด เพื่อจะได้นำ�ความรู้นั้นๆ กลับมาใช้พัฒนาประเทศชาติให้เจริญ ก้าวหน้าต่อไป นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ฯ ได้เสด็จเยีย่ มราษฎรในจังหวัดต่างๆ เป็นประจำ� ได้ทรงพบเห็นท้องถิ่นหลายๆ แห่งประสบปัญหาความแห้งแล้ง หรือขาดแคลนนำ�้เพื่ออุปโภค บริโภค และการทำ�เกษตร จึงได้มีพระราชดำ�ริค้นหาวิธีการที่จะทำ�ให้เกิดฝนตกนอกเหนือจาก ที่ได้รับจากธรรมชาติ โดยนำ�เทคโนโลยีนำ�สมัยมาใช้เพื่อให้เกิดฝน ชาวบ้านเรียกว่า “ฝนหลวง” โครงการตามพระราชดำ�ริของพระองค์มีทั้งการแก้ปัญหาภัยแล้ง ปัญหาอุทกภัย รวมไปถึงการ บำ�บัดนำ�้เสีย โครงการพัฒนาแหล่งนำ�้มีทั้งโครงการขนาดใหญ่สามารถช่วยแก้ไขปัญหาทั้ง ภัยแล้งและนำ�ท้ ว่ มได้ เช่น เขือ่ นป่าสักชลสิทธิ์ เขือ่ นดินทีใ่ หญ่ทสี่ ดุ ในประเทศไทยทีจ่ งั หวัดลพบุรี ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลที่ประสบปัญหานำ�้ท่วมและนำ�้เน่าเสียในคูคลอง ทรงมี พระราชดำ�ริเรื่องแก้มลิงควบคุมการระบายนำ�้จากแม่นำ�้เจ้าพระยา แม่นำ�้ท่าจีน ลำ�คลองต่างๆ ลงสู่อ่าวไทยตามจังหวะการขึ้นลงของระดับนำ�้ทะเล ทั้งยังเป็นการใช้นำ�้ดีไล่นำ�้เสียออกจาก คลองได้อีกด้วย เครื่องกลเติมอากาศ กังหันนำ�้ชัยพัฒนา ในการปรับปรุงคุณภาพนำ�้โดยการ เพิ่มออกซิเจน เป็นสิง่ ประดิษฐ์หนึง่ ของพระองค์ทไี่ ด้รบั การจดสิทธิบัตร นับเป็นพระมหากษัตริย์ พระองค์แรกในโลกที่ทรงทำ�ได้ และยังมีพระราชกรณียกิจอื่นๆ อีกมากมาย ถึงตอนนี้ฉันทราบแล้วว่า ทำ�ไมชาวไทยทุกคนจึงรักและเทิดทูนในหลวง เพราะว่าในหลวง ท่านได้จัดตั้งโครงการมากมายเพื่อคนไทยทุกคนจะได้อยู่อย่างมีความสุขไม่มีใครต้องเดือดร้อน โดยมิได้คำ�นึงถึงความสุขส่วนพระองค์เลย ด.ญ.พรภัสสร เดชอุดม ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖

๐๔


๘๔ พรรษา มหาราชัน

ข้าพเจ้าจะทำ�ความดีอะไรถวายพระเจ้าอยู่หัว ตั้งใจเรียน ทำ�หน้าที่ตัวเองให้ดีที่สุด ด.ญ.ธัญชนก เลิศเรืองปัญญวุฒิ (ป๋วย) ป.๓ ห้องโมก ๒

มีน้ำ�ใจและมีความรับผิดชอบ ด.ญ.รตน รัตนพล (แก่นแก้ว) ป.๔ ห้องปอกระสา

เดินตามรอยเท้าในหลวง

พอเพี ย ง ข้าพเจ้าจะทำ�ความดีอะไรถวายพระเจ้ สามัคคีกันให้มากาอยู่หัว ด.ญ.รมิตา ศุภฤกษ์รัตน์ (เบ็น) ป.๔ ห้องปอกระสา

สุอางองค์ รอดลอยทุกข์ (ฟ้า) ป.๕ ห้องต้นกล้วย

เป็นคนดีของประเทศชาติ ด.ช.ภัทรกร อิงคสุวรรณ (กัน) ป.๓ ห้องโมก ๑

รู้จักยอมในสิ่งที่ควรยอม อู่เงิน โวปนายิกุล (อู่จี๊) ป.๕ ห้องต้นกล้วย

รักษาศีล๕ ด.ญ.ณัฐชยา ขจรรุ่งศิลป์ (นัทจัง) ป.๒ ห้องสาละ ๑

เป็นประชาชนที่ดีของพ่อ

เพื่อไม่ให้พ่อเหนื่อย

ด.ช.ภัทรพล บุตรยิ่ง (โตโต้) ป.๖ ห้องก้ามปู

มีความซื่อสัตย์ต่อทุกคน

ด.ญ.ณพิชยา ธรรมาภิวัฒน์ (จันทร์กระพ้อ) ป.๑ ห้องประดู่ ๒

ปลูกต้นไม้

ด.ช.จุน ชลลัมพี (จุน) ป.๑ ห้องประดู่ ๑

๐๕


ตื่น และ รู้ ร่วมกัน

เรื่อง: ครูแหม่ม – อาภาภัทร ไชยประสิทธิ์

ภา คเรี ย นนี้ เ ราเ ริ่ ม ต้ น กั น อย่ า งทุ ลั ก ทุ เ ล พอสมควร เพราะเป็นภาวะทีค่ นไทยทุกคนตอ้ งเผชิญ กับความยากลำ�บาก ทั้งทางร่างกายและจิตใจ คง ปฏเิ สธไม่ได่วา่ “น้องนำ�”้ สร้างความทกุ ข์ยากให้แก่ ชีวติ เราพอสมควร แต่จะโทษนอ้ งนำ�เ้ ขาเสียทัง้ หมด ก็ไม่ได้นะคะ เพราะปัจจัยที่ทำ�ให้เรารู้สึกทุกข์นั้น มาจากหลายด้าน ทั้งข้อมูลทั้งข่าวสารที่ “มากมาย” และ “สับสน” และทีส่ �ำ คัญทีส่ ดุ ความทกุ ข์คงเกดิ ขึน้ เพราะ “ความไม่รู้” และ “ความกลัวในความไม่รู้” ของเรานัน่ เอง ในภาคเรียนนที้ างโรงเรียนและคุณครู ทุกคนจงึ ไม่รอช้าทีจ่ ะนำ�เรือ่ งทีอ่ ยูใ่ นความสนใจและ ใกล้ตัวเด็กมาเป็นเรื่องที่น่ารู้และต้องรู้ เพื่อปลุก พวกเราให้ตื่นขึ้นมาจากความไม่รู้ด้วยกัน

จากสถานการณ์ ที่ ผ่ า นมาเป็ น เหมื อ นเสี ย ง สัญญาณที่ดังขึ้นในตอนกลางดึกโดยที่เราไม่ทันได้ ตั้งตัว เป็นเสียงที่ทำ�ให้เราสะดุ้งจากภวังค์และค่อยๆ หันไปมองรอบๆ ตัวเพื่อรับรู้และพิจารณาร่วมกัน ในช่วงปิดเทอมทีผ่ า่ นมา เหล่าคุณครูได้ใช้วกิ ฤติ เหตุ ก ารณ์ นำ �้ ท่ ว มใหญ่ เ ป็ น โอกาสของการทบทวน และการวางแผนการเรียนการสอนให้เกิดประโยชน์ มากที่สุด ด้วยคำ�ถามที่ว่า “เพราะเหตุใดนำ�้จึงท่วม” เส้นทางของนำ�้มาอย่างไรและจะไปอย่างไร นำ�้ท่วม เกีย่ วกับตัวเราอย่างไรบ้าง เมือ่ นำ�ท้ ว่ มเราเห็นปัญหาที่ เกิดขึน้ จากสภาพแวดล้อม-ปัญหาทีเ่ กิดจากคน-ปัญหา ที่เกิดจากภัยธรรมชาติอะไรบ้าง การถามคำ�ถามที่ เหมื อ นปลุ ก ให้ ตื่ น จากความไม่ รู้ จากที่ บ อกว่ า “เขาว่ากันว่า” มาเป็นการศึกษา หาข้อมูล และนำ�มา เชื่อมโยงกับชีวิตของเด็กๆ ตามหลักการที่โรงเรียน ทอสีเน้นมาตลอดว่า สรรพสิ่งทุกอย่างล้วนสัมพันธ์กัน

ทุกสิ่งที่เกิดล้วนเป็นเหตุปัจจัยซึ่งกันและกัน ดังนั้นการ เรียนรู้ในภาคเรียนนี้จึงไม่ใช่เพียงการปลุกให้ตื่นจาก ความไม่รใู้ นเชิงข้อมูลเท่านัน้ แต่คณุ ครูยงั ต้องการปลุก ความไม่รู้ภายในด้วย สิ่งที่ต้องไม่ลืมคือว่า เราเองก็ เป็นเหตุปัจจัยหนึ่งของเหตุการณ์นี้ด้วยเช่นกัน วิ ธี ก ารปลุ ก วิ ธี ห นึ่ ง ที่ คุ ณ ครู นำ � มาใช้ คื อ การถามคำ�ถามกระตุน้ ให้คดิ ให้มมุ มองใหม่เพือ่ ชวนให้ คิด ให้เกิดมุมมองหลายด้านยิง่ ขึน้ รวมถึงการให้เด็กๆ ได้เรียนรู้จากสื่อต่างๆ เพื่อเปิดวิสัยทัศน์ให้กว้างขึ้น การออกแบบการเรียนรู้ในภาคเรียนนี้ ทุกระดับ ชั้นนำ�เรื่องของ “น้องนำ�้” มาเป็นสื่อหรือเครื่องมือการ เรียนรู้เพราะเป็นเรื่องใกล้ตัวและอยู่ในความสนใจ นำ� เหตุการณ์และเรื่องราวที่เกิดขึ้นมาเชื่อมโยงกับหน่วย บูรณาการ เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว ของแต่ละ ระดับชั้น รวมทั้งใช้เป็นเส้นทางนำ�ไปสู่การเรียนรู้สาระ วิชาต่างๆ สิ่งที่ฝ่ายวิชาชีวิตและคุณครูได้ออกแบบ ร่วมกันก็คือ การพาให้ลูกศิษย์ได้เรียนรู้... • เรามาจากไหน : เพราะการรู้ราก รู้อดีต จะทำ�ให้เข้าใจปัจจุบัน • เราอยูท่ ไี่ หน อยูอ่ ย่างไร : ประเทศไทย ทีท่ เี่ ราอยู่ และบ้านของเราอยู่ในภูมิประเทศ สภาพแวดล้อม และมีองค์ประกอบอย่างไร • ปรากฏการณ์ ท างธรรมชาติ - ภั ย พิ บั ติ ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นบนโลกใบนี้ สิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก บนโลกที่อาศัยเกื้อกูลกัน มีผลต่อกันและกันทั้งด้าน บวกและด้านลบ • เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้เพื่อการดำ�รงชีวิต และความปลอดภัยในชีวิต • การเตรียมตัวรับมือการสถานการณ์ไม่คาดคิด สิ่งของจำ�เป็นในชีวิต • โรค ภัย การดูแลป้องกันตัวเอง

๐๖


• รู้จักทิศทาง หมวดหมู่ การกะประมาณ การคำ�นวณ ความน่าจะเป็น สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงศาสตร์ที่จะ “ปลุก” ให้เราตื่นจากความ ไม่รู้ ตืน่ จากความเข้าใจผิดว่า ชีวติ จะเป็นไปเช่นนัน้ เสมอ แน่นอน ไม่เปลี่ยนแปลง และปลุกให้เราเริ่มหันมามองสิ่งรอบตัวและ การกระทำ�ของเราว่ามีส่วนสร้างเหตุปัจจัยในเรื่องต่างๆ ที่เกิดขึ้น บนโลกใบนี้อย่างไรบ้าง ร เมื่อเราถูกน้องนำ�้ “ปลุก” ให้ตื่นแล้ว ต่อไปเราคงต้อง หมั่น “รู้สึกตัว” ในแต่ละขณะของการดำ�เนินชีวิตด้วย สภาวะการ รูส้ กึ ตัวเป็นสภาวะทีเ่ ราเริม่ รับรูค้ วามเป็นจริงในโลก และใช้ชวี ติ ให้ เชือ่ มโยงกับเรือ่ งรอบตัว การรูส้ กึ ตัวนัน้ ก็คงเป็นเหมือนกับการมอง เห็นปัญหาและเริ่มแสวงหาแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ยั่งยืน หาก เหตุการณ์นเี้ ป็นเหมือนเสียงปลุกทีท่ �ำ ให้เรารูส้ กึ ตัว การรับรู-้ เรียนรู้ ก็สามารถเกิดขึน้ ได้ ผูใ้ หญ่กส็ ามารถเรียนรูไ้ ปพร้อมกับเด็กๆ เพือ่ ที่ในที่สุดจะนำ�เราให้ “ตื่น” จากความไม่รู้ในการใช้ชีวิต และ “รู้” แนวทางในการดำ�เนินชีวิตให้เป็นไปด้วยความไม่ประมาท เตรียม พร้อมทั้งร่างกาย จิตใจ ทั้งตนเองและลูกของเรา เพื่อเผชิญกับ สถานการณ์ต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต หากการจั ด การศึ ก ษาในชาติ ข องเรานั้ น ยั ง คงไม่ ใ ห้ ความสำ�คัญกับสภาวะการตื่นรู้ภายในของเด็ก แต่ไปให้ความ สำ�คัญกับความรู้เรื่องนอกตัว ก็คงเป็นเรื่องยากที่เด็กๆ จะเข้าใจ ความเป็นไปของโลก ชีวติ และสามารถเอาตัวรอดจากวิกฤติการณ์ ต่างๆ ได้ ดังนั้นการเรียนรู้ตามแนวทางพุทธปัญญา จึงเป็น คำ�ตอบให้กับการพัฒนาการศึกษาของชาติที่มีเป้าหมายในเรื่อง “การพัฒนาชีวติ ” ให้ผเู้ รียนเกิด ความ “ตืน่ ” และ ความ “รู”้ ในเรือ่ ง รอบตัวที่เชื่อมโยงกับชีวิตของตน มีทักษะการใช้ชีวิตและดำ�เนิน ชีวิตด้วยความไม่ประมาท เป็นแนวทางการศึกษาที่มุ่งพัฒนา คนให้เป็นมนุษย์ เพื่อให้มนุษย์สามารถพัฒนาสังคม ประเทศชาติ และโลกของเราต่อไป

๐๗


ความสำ�เร็จของงาน “ตื่นรู้” ครั้งที่ ๑

การศึกษาพุทธปัญญา.. ทางรอดของสังคมไทย เรื่อง: ครูหยก – วรรณวนัช ฤกษ์ลัภนะนนท์

สำ�เร็จลงอย่างสวยงามทีเดียวนะคะ สำ�หรับงาน “ตืน่ รู”้ ครัง้ ที่ ๑ ในหัวเรื่อง “การศึกษาพุทธปัญญา...ทางรอดของสังคมไทย” ที่คณะ ครู ผู้ปกครอง นักเรียนโรงเรียนทอสีและโรงเรียนปัญญาประทีป รวม ถึงมูลนิธปิ ญั ญาประทีป ได้รว่ มกันจัดขึน้ ทีค่ ริสตัลดีไซน์เซ็นเตอร์ เมือ่ วันเสาร์ที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๕๔ หากเล่าย้อนไปถึงบรรยากาศงานในวันนั้น ในพื้นที่นิทรรศการ ทั้งในส่วน นิทรรศการแสดงผลงานของนักเรียนโรงเรียนทอสี และ นิทรรศการศิลปะจัดวาง (Installation Art): (๑) คน หรือ มนุษย์ (๒) กิน อยู่ ดู ฟัง (๓) ๖ คำ�ถามและคำ�ตอบเรื่องพุทธปัญญา โดย พระอาจารย์ชยสาโร ล้วนถูกจัดสรรไว้อย่างลงตัว เนื้อหาของ นิทรรศการเป็นที่สนใจของผู้เข้าชมมาก... ถึงขนาดที่ บางท่านเอ่ยปากถามไถ่ว่า หากจบงานแล้วจะหาอ่าน เนื้อหานิทรรศการได้จากที่ไหนอีก เพราะอยากจะแบ่งให้ เพื่อนๆ ที่พลาดงานนี้ได้อ่านด้วย (งานนี้ไม่ต้องเป็นห่วง นะคะ จัดไว้ให้เรียบร้อยแล้วค่ะ!) การเสวนา “ปอกเปลือกการศึกษาไทย” ซึ่งดำ�เนิน การเสวนาโดย พ่อเช็ค - สุทธิพงษ์ ธรรมวุฒิ และ พี่ ตู่ - จิรา บุญประสพ ในส่วนถัดมาก็ดำ�เนินแต่ละช่วงไป อย่างเข้มข้น กลุ่มผู้ร่วมเสวนา ได้แก่ ป้ามล - ทิชา ณ นคร จากบ้านกาญจนาภิเษก รศ. ดร. โสรีช์ โพธิแก้ว จากคณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รศ. ดร.สมพงษ์ จิตระดับ จากคณะ ครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คุณอิมรอน เชษฐวัฒน์ คุณพ่อ อาสาของมูลนิธิเครือข่ายครอบครัว รวมถึงกลุ่มเยาวชนผู้เคยตกเป็น เหยื่อของปัญหาสังคม ได้พูดคุย แบ่งปัน และเปิดเผยประสบการณ์ อย่างตรงไปตรงมา ช่วงเวลาของการเสวนานี้ได้สร้างประโยชน์และ ความประทับใจให้กับผู้ฟังในวันนั้นเป็นอย่างมาก หลังจากการเสวนาจบลง พระอาจารย์ชยสาโร ได้เมตตา เผยแย้มดวงตาแห่งธรรมของพวกเราด้วยการแสดงพระธรรมเทศนา “การศึกษาพุทธปัญญา...ทางรอดของสังคมไทย” ตามมาด้วยการ แสดงจากกลุ่มเด็กๆ โรงเรียนปัญญาประทีป และก่อนจะจากกัน ไป ผู้เข้าร่วมงานทุกท่านยังได้ร่วมกันร้องเพลง “ความฝันอันสูงสุด”

พื้นที่นิทรรศการ และการสัมภาษณ์ผู้เข้าชมงาน

เปิ ด งานโดย ดร. วิ ทิ ต รั ช ชตาตะนั น ท์ ผู้ อำ � นวยการโรงเรี ย นปั ญ ญาประที ป ครู อ้ อ น – บุ บ ฝาสวั ส ดิ์ รั ช ตาตะนั น ท์ ผู้อำ�นวยการโรงเรียนทอสี และพิธีกรในงาน เปอร์ – สุวิกรม อัมระนันทน์

๐๘


อันเป็นบทเพลงที่เต็มเปี่ยมด้วยความหมาย นับเป็นการปิดงานที่ สมบูรณ์แบบมากทีเดียวค่ะ การจัดงาน “ตืน่ รู”้ ครัง้ ที่ ๑ นี้ ผูเ้ ข้าร่วมงานต่างให้การตอบรับ เป็นอย่างดี หลายๆ ท่านเอ่ยปากชืน่ ชมผูจ้ ดั งาน และรูส้ กึ ประทับใจ กับสิ่งที่เหล่าท่านผู้รู้ถ่ายทอดไว้ หลายท่านยอมรับว่าเริ่ม “ตื่นรู้” และตระหนักถึงปัญหาทีเ่ กิดขึน้ ในสังคม รวมทัง้ อยากจะริเริม่ ลงมือ ทำ�อะไรบางอย่างเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว สำ�หรับผู้ที่สนใจจะ ติดตามข่าวสารหรือความคืบหน้าในการจัดงานตืน่ รูค้ รัง้ ต่อไป ขอให้ ติดตามได้ที่ www.facebook.com/AwakeAndAware หรือ www.panyaprateep.org นะคะ

พระอาจารย์ชยสาโร เมตตาแสดงธรรมเทศนา

ขอขอบพระคุ ณ มู ล นิ ธิ ปั ญ ญาประที ป บริ ษั ท ที วี บู ร พาจำ � กั ด บริษทั แม่น�ำ ร้ อ้ ยสายจำ�กัด บริษทั เดอะแบนดิทส์จ�ำ กัด บริษทั พีเอ็มเซ็นเตอร์จ�ำ กัด บริษทั เดอะสตูดโิ อโปรดัคชัน่ จำ�กัด บริษทั เอสแอนด์พซี นิ ดิเคท และคริสตัลดีไซน์ เซ็นเตอร์ สำ�หรับแรงสนับสนุนในการจัดงาน

ส่วนหนึ่งของความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมงาน : • “ดีใจที่มีสังคมแบบนี้ อยากให้มีแนวร่วมมากขึ้น” • “ทำ�ให้เห็นภาพการศึกษาพุทธปัญญาในชีวิตจริง” • “มีความมั่นใจมากๆ ว่าการศึกษาพุทธปัญญาจะนำ�พาปัจเจกบุคคล ครอบครัว ชุมชนและประเทศชาติไปรอดแน่นอน” • “ประทับใจวิทยากร เด็กๆ ทั้ง ๓ ท่าน ขอชื่นชมในความกล้าหาญ สามารถนำ�มาเป็นบทเรียนได้” • “กราบขอบพระคุณทุกท่านที่มีส่วนในการร่วมแรงร่วมใจกันจัดงาน ‘ตืน่ รู’้ ครัง้ ที่ ๑ รูส้ กึ ประทับใจ และอิม่ เอมใจ ทีเ่ ห็นเเววตาและกิรยิ า ของเด็กๆ ที่มาร่วมงานเป็นเเววตาของผู้ที่ตื่นรู้เเละงดงาม ดีใจที่ เด็กๆ มีพื้นที่ที่ให้การศีกษาทางใจแก่เด็กๆ ด้วยบุคลากร ทีม่ คี วามเมตตา และหากมีสงิ่ ใดทีจ่ ะทำ�ให้มสี ว่ นให้ชมุ ชน แห่งการ ‘ตื่นรู้’ เเพร่หลายออกไปก็ยินดีค่ะ”  ท่านสามารถชมคลิปวีดีทัศน์ การเสวนา วีดีทัศน์ที่ฉายในงาน ภาพบรรยากาศ งาน และคลิกดาวน์โหลดเอกสาร “๖ คำ�ถามและ คำ�ตอบเรื่องพุทธปัญญา โดย พระอาจารย์ชยสาโร” ได้ที่ www.thawsischool.com

การแสดงของเด็กนักเรียน โรงเรียนปัญญาประทีป

ปิ ด งานด้ ว ยการร่ ว มกั น ขั บ ร้ อ งเพลง “ความฝันอันสูงสุด”

๐๙


นำ�้ ขึน้ ...ให้รีบปฏิบัติ

เรื่อง: ครูใหม่ – นัยฤดี สุวรรณาภินันท์ ฝ่ายวิชาชีวิตครู

ทุกเดือนตุลาคม พวกเราจะปฏิบัติธรรมประจำ�ปีที่บ้านบุญ อ.ปากช่อง โดยแผนเดิมเราจะเดินทางวันจันทร์ที่ ๑๗ ต.ค. ๕๔ และ ปฏิบัติถึงวันศุกร์ที่ ๒๑ ต.ค. ๕๔ จากนั้นก็จะเดินทางไปทอดกฐิน ที่วัดป่านานาชาติ จ.อุบลราชธานี แต่สถานการณ์นำ�้ทำ�ให้เราต้อง ประเมินกันวันต่อวัน สุดท้ายคือเส้นทางขาด เดินทางไม่ได้ กราบเรียน ปรึกษาพระอาจารย์ชยสาโร ท่านว่าถ้าเช่นนัน้ ก็ให้งด เราจึงเปลีย่ น แผนเดินทางตรงไปทอดกฐินเลย โดยมีคุณยายทอสีเป็นประธาน กฐิน ส่วนคุณวิทิตและคุณครูอ้อนเป็นหัวหน้าทีมคุณครูผู้ปกครอง นักเรียนโรงเรียนปัญญาประทีปและโรงเรียนทอสีทสี่ ามารถเดินทาง ไปได้ประมาณ ๓๐ กว่าคน ในงานทอดกฐิน คุณครูอั๋น นามสกุลทอสีรักษ์โลก ได้เตรียม อุปกรณ์ในการแยกขยะไปใช้ที่วัดเป็นครั้งแรก และที่น่าทึ่งคือ มีป้ายกำ�กับสะดุดตาทั้งภาษาไทยและอังกฤษสำ�หรับถังขยะทั้ง ๔ ประเภท : ขยะกระดาษ ขยะพลาสติก ขยะเปียก ขยะส่งเทศบาล ทีมดูแลแต่ละจุดก็จับคู่กันเข้มแข็งมากในการทำ�หน้าที่เตือนสติ ก่อนให้ความรู้แก่ผู้ที่เดินดุ่มๆ มาทิ้งแบบไม่มีไอเดียเลยว่าสิ่งที่อยู่ ในมือของเขานั้นควรจะลงถังไหน โอ้ย...สนุก กลับถึงกรุงเทพฯ พวกเราร่วมใจกันทำ�วัตรเช้านาน ๑ ชัว่ โมง ทุกวันจนถึงวันเปิดเทอม ทั้งสวดมนต์ นั่งสมาธิ ฟังธรรมจาก MP3 ธรรมเทศนาของพระอาจารย์ รวมทั้งแบ่งปันข่าวสารเรื่องจิตอาสา และถามไถ่ทุกข์สุขของพวกเรากันเอง นอกจากนั้น จิตใจของ พวกเราก็ ไ ด้ รั บ ภู มิ คุ้ ม กั น เพิ่ ม ขึ้ น ในวั น พฤหัสบดีที่ ๑๗ พ.ย. ๕๔ เพราะคุณหมอ อมรา มลิลา กรุณามาบรรยายเรื่อง “ธรรมะ ยามนำ�ท้ ว่ ม” และนำ�ปฏิบตั ใิ ห้แก่พวกเรา โดย แนะนำ�ให้ปล่อยวางความทุกข์ หมัน่ สร้างกุศล อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะพบเจอสถานการณ์ใด ในชีวิต (นำ�้ท่วม ดินทรุด ป่วย ฯลฯ) เปิ ด เทอมวั น แรก คื อ วั น จั น ทร์ ที่ ๒๑ พ.ย. ๕๔ พระอาจารย์ชยสาโรได้กรุณา ให้โอวาทวันเปิดเทอมแก่นักเรียนอนุบาล และ นำ�คุณครูประถมและคุณครูกองกลางปฏิบัติ

๑๐


ที่โรงเรียนทอสี พวกเราได้เดินจงกรมรอบอาคารเพาะปัญญา ฟังธรรม (แบบสดๆ) นั่งสมาธิ และเสวนาถามตอบตอนท้าย นำ� ความอิ่มเอมใจในรสพระธรรมแก่คุณครูที่เข้าร่วมเป็นอย่างยิ่ง พลิ ก แนวคิ ด พวกเราปรึ ก ษาหารื อ กั น ว่ า ที่ คุ ณ ครู ไ ด้ ถู ก บ่มเพาะมาตลอดในเรื่องของงานจิตอาสา แม้กระทั่งมูลนิธิฉือจี้ ประเทศไต้หวัน ก็ได้ไปมาแล้วนั้น จะมีโอกาสใดดีไปกว่านี้ที่มี สถานการณ์จริงมาให้ปฏิบัติเชิงประจักษ์ พวกเราจึงคิดปรับแผน แปรงบพัฒนาบุคลากรภาคเรียนที่ ๒ นำ�ลงสู่ห้องเรียนเพื่อให้ นักศึกษาทัง้ ระดับเด็กและผูใ้ หญ่ได้ท�ำ จิตอาสา เช่น โครงการ ๑ ต่อ ๑ ที่จัดโดยบริษัททีวีบูรพาของคุณพ่อเช็คและคุณแม่แก้ว (ผู้ปกครอง พี่กล่อมชั้น ป.๖) การช่วยฟื้นฟูบ้านคุณครูที่โดนนำ�้ท่วม หรือ สถานที่ที่ได้รับความเสียหายอื่นๆ ที่คุณครูเชื่อมโยงกับ Theme การสอนของห้องได้ จากนี้ไป... พวกเราจะพร้อมใจกันพัฒนาตนเองด้วยการ

“ตื่ น ” เพื่ อ คื น คุ ณ แก่ แ ผ่ น ดิ น ทั้ ง เพี ย ร ทำ�การศึกษาพุทธปัญญาทีพ่ ฒั นาทัง้ นักเรียน ครู และผู้ปกครองให้เป็นที่พึ่งแห่งตนและ ผู้อื่น และพัฒนาตนเองผ่านงานจิตอาสา เชิงประจักษ์โดยใช้หลัก ๓ ป. คือ “ปริยัติ” ด้วยการศึกษาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น พูดคุย แลกเปลี่ ย นข้ อ มู ล ข่ า วสารระหว่ า งคนใน ชุมชนและเครือข่าย “ปฏิบัติ” ด้วยการ ทำ�งานจิตอาสาอย่างเต็มกำ�ลังในแนวทางที่ วางแผนร่วมกัน และ “ปฏิเวธ” ด้วยการ หมั่นทบทวนปรับปรุงแนวคิด และกิจกรรม ที่ได้ทำ�ไป ให้เกิดประโยชน์ตน ประโยชน์ ท่าน อย่างแท้จริง

๔ หลากหลายเนื้อหาในการพัฒนาบุคลากร ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๕ ด้านสิปปทายก รใช้ Mandala • การแสดงบำ�บัด โดย • ภาษาชีวิต • ตื่นรู้ การศึกษาพุทธปัญญา • ศิลปะบำ�บัด โดยกา • สัมมนาเชิงปฏิบัติแนะนำ�สื่อการเรียน การใช้ Phychodrama • การศึกษาตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ย • การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ด้วย การสอนแนวใหม่ • สอนได้ เขียนแผนได้ ด้วยเทคนิคการสอนหลากหลา นิทรรศการและกิจกรรม ด้านกัลยาณมิตร • ประชุมโครงการยิ้มสดใสเด็ก กทม. • สุขาภิบาลอาหาร • จิตวิทยาแนวพุทธ นำ�โดย ดร.โสรีช์ โพธิแก้ว น - วิ่งเพื่อหัวใจอาสา เพื่อสังคมแห่งการ ฟันดี ปีที่ ๖ • การอบรมเชิงปฏิบัติการการปฐมพยาบาลเบื้องต้น • เดิ แบ่งปัน • ศึกษาดูงาน “ความสุขมวลรวมประชาชาติ” ประเทศภูฏาน กิจกรรม “ทำ�ไมธรรมะ” รู” นำ�โดย อาจารย์ประมวล เพ็งจันทร์ • ธรรมบรรยาย โดย พระอาจารย์ประจาก • เสวนาเรื่อง “จิตวิญญาณค “ปวารณาความเพียร” นำ�โดย • อบรม “มรณานุสติ” นำ�โดย ครูแป้ง - ไพรำ� นามวัฒน์ • กิจกรรม เขียน” โดย คุณวิภว์ บูรพาเดชะ ครูกุ้ง - ชื่นจิตต์ แสงทองสาย • บรรยายเรื่อง “สิ่งที่ผมได้เรียนรู้จากการ พระมหาพงศ์นรินทร์ • ฝึกการดูแลรักษา • ธรรมบรรยายเรื่อง “การศึกษาพุทธปัญญา และพุทธชยันตี” โดย ตนเองแนว “หมอเขียว” นำ�โดย ครูแอ้ - สุขุมาล อรุณสกุล

อ.ประมวล เพ็งจันทร์

พญ.อมรา มลิลา นำ�ปฏิบัติธรรมเป็นระยะๆ

คุณวิภว์ บูรพาเดชะ นักเขียนและ บรรณาธิการนิตยสาร happening

คณะครูแสดงความคิดเห็นในกิจกรรม “มรณานุสติ”

๑๑


บทสัมภาษณ์

พ่อของลูก ลูกของแผ่นดิน พ่อเหมาะ - พันเอกนิธิ อิงคสุวรรณ

การทำ�หน้าที่พ่อที่ดี อาจเป็นเรื่องเดียวกัน กับการเป็นลูกที่ดี และการสอนลูกที่ได้ผลที่สุดก็ คือการปฏิบัติตนเองเป็นแบบอย่าง ทอสีสัมพันธ์ฉบับ “ตื่น” เพื่อคืนคุณแผ่นดิน ฉบับนี้ ขอชวนให้ทุกท่านได้มีโอกาสทำ�ความรู้จัก กับ “พ่อเหมาะ” หรือ พันเอกนิธิ อิงคสุวรรณ คุณพ่อของน้องกอด (ป.๔) น้องกัน (ป.๓) และ น้องนะครับ (ชัน้ เด็กเล็ก) ผูท้ เี่ คยมอี กี ภาคหนึง่ ของ ชีวิตประจำ�การอยู่ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ บทบาทของการเป็นทหารรับใช้ชาติ จะมีความ เกี่ยวโยงกับบทบาทพ่อของลูกๆ อย่างไร พบกัน ครั้งนี้ ทั้งพ่อเหมาะและ “แม่กุ้ง” ภรรยาคู่ชีวิต ได้กรุณามาเป็นแขกรับเชิญพูดคุยกับคุณครูใน เรื่องนี้ค่ะ

ตระกูลของคุณพ่อเป็นทหารหรือเปล่าคะ พ่ อ เหมาะ: ไม่ เ ลยครั บ ครอบครั ว เป็นนักวิชาการ คุณปู่ คุณพ่อ โตขึ้นมาจาก ม.เกษตรศาสตร์ คนก่อตั้ง ม.เกษตรศาสตร์ คือ หลวงอิงคศรีกสิการ กับ หลวงสุวรรณวาจกกสิกจิ คุณปู่เป็นมือขวาของคุณหลวงทั้งสองท่าน ช่วง สงครามโลก ท่านเรียนกรุงเทพคริสเตียนแล้วมา ฝึกงานเป็นลูกมือของคุณหลวงทัง้ สองท่าน พอจบ ก็มาทำ�งานเป็นอาจารย์ที่ ม.เกษตรศาสตร์ จน เป็นอธิการบดี คุณพ่อเป็นสายวิชาการ พอเกษียณ แล้วก็ไปเป็นอธิการบดีที่ ม.อุบลราชธานี อยู่ ๔ ปี แล้วมาเลี้ยงหลาน ทางฝ่ายอา ก็ไปทางสาย กรมวิชาการเกษตร เป็นอาจารย์คณะคหกรรม คุณตาก็เคยอยู่กรมป่าไม้ จนเป็นรองอธิบดี-

ชื่อ : พันเอกนิธิ อิงคสุวรรณ ตำ�แหน่ง : หัวหน้ากองส่งกำ�ลังบำ�รุงมณฑลทหารบกที่ ๑๑ ถ.พระราม ๕ เขตดุสิต ราชวัตร และเป็นหัวหน้าฝ่าย ยุทธการหน่วยเฉพาะกิจนราธิวาส เมื่อ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๓ - ๓๐ กันยายน ๒๕๕๔

กรมป่าไม้แล้วเกษียณ คุณแม่เคยเป็นอาจารย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ คณิตศาสตร์ สรุปว่า ไม่มีใครมาทางสายทหารเลย แล้วทำ�ไมคุณพ่อจึงมาเป็นทหารคะ พ่อเหมาะ: ตั้งแต่ก่อน ๑๐ ขวบ พอเริ่ม อ่านหนังสือได้ ผมก็จะชอบอ่านหนังสือพิมพ์ เกี่ยวกับทหารที่รบกับผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ (ผกค.) ที่ทุ่งช้าง ชอบดูภาพยนตร์ที่เกี่ยวกับ ทหาร เวลาเรียนก็จะชอบเรียนสังคมศาสตร์ เรือ่ ง ประวัติศาสตร์ เหมือนเรามีเป้าหมายตั้งแต่เด็ก ว่าโตขึ้นเราจะเป็นทหาร ผมเรียนสาธิตเกษตรฯ ที่บ้านเป็นครอบครัวใหญ่ พอเย็นวันศุกร์ก็จะ ถูกจับเรียนเปียโนที่สยามกลการปทุมวัน พอครู ออกไปนอกห้องเราก็จะเกาะหน้าต่างดูนักเรียน

๑๒


บทสัมภาษณ์

เรื่อง: ครูนุ้ย – กนกอร บุญทวีกิจ ฝ่ายวิชาชีวิตผู้ปกครอง

นายร้อยนายเรือแข่งกีฬาที่สนามกีฬาแห่งชาติ พอเลิกแล้วเขาก็จะเดินออกมา เราก็คดิ ไว้วา่ โตขึน้ เราต้องสอบเข้าโรงเรียนนายร้อย เหตุ ใ ดคุ ณ พ่ อ จึ ง สมั ค รขอไปประจำ � การที่ ชายแดนใต้คะ พ่ อ เหมาะ: สถานการณ์ ส ามจั ง หวั ด ชายแดนภาคใต้ต้องใช้กำ�ลังเยอะ กำ�ลังในพื้นที่ ไม่พอ ต้องหมุนกำ�ลังพลจากภาคกลาง เหนือ อี ส าน ลงไปช่ ว ย ขณะที่ กำ � ลั ง ในภาคกลาง จะสนใจกับเหตุการณ์ความไม่สงบในกรุงเทพฯ ชายแดนเขมรด้ า นอรั ญ ประเทศ ชายแดน กาญจนบุรี ไทย-พม่า เป็นหลัก คนที่จะลงไป ทำ�งานที่ใต้จึงไม่พอ ผมก็สมัครขอไปหลายครั้ง แล้ว แต่วา่ บางครัง้ จังหวะไม่พอดี อย่างช่วงแรกที่ ลูกชายคนโต (น้องกอด) สุขภาพไม่แข็งแรง หรือ คนที่สาม (น้องนะครับ) เพิ่งเกิด วิ ช าชี พ ที่ ศึ ก ษาจากโรงเรี ย นนายร้ อ ย พระจุลจอมเกล้า หรือว่าสถาบันการทหารต่างๆ เป็นวิชาชีพเราและเป็น “วิชาชีพที่สอนให้คน รักษาแผ่นดิน” เสด็จปู่ คือพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในหลวงรัชกาลที่ ๕ ท่านก็เป็นผู้ให้กำ�เนิดโรงเรียนนายร้อย เหมือน ท่านฝากการบ้านไว้ให้นักเรียนนายร้อยทุกรุ่น ต้องปฏิบัติ คือต้องรักษาแผ่นดิน อย่าให้เสียไป มากกว่านี้ บางครั้งเห็นเจ้าหน้าที่สูญเสียเยอะ ประชาชน พระ ผมมองว่าศาสนาพุทธเป็นศาสนา ประจำ�ชาติ คือสัญลักษณ์ของประเทศไทย พระ วัด คนไทยพุทธ เวลาเห็นเขาสูญเสีย เรารู้สึก อยากไปมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาหรือทำ�ให้ สถานการณ์ดีขึ้น ... เคยได้ดูรายการเป็นการฝึก อาสาสมัครทหารพรานหญิงที่ภาคใต้ เรารู้สึกว่า ผูห้ ญิงยังไป เหมือนย่าโม คุณหญิงมุก คุณหญิงจัน

ท่านเสีย่ งจริง เท่าทีไ่ ด้ดจู ากทีวนี ะ ผูห้ ญิงเขายังไป เราเป็นผู้ชาย เราทำ�ไมไม่ไป คิดต่อไปเรื่อยๆ ว่า ถ้าวันใดวันหนึง่ ถ้าเราเสียดินแดนตรงนัน้ ไปโดยที่ ผมไม่ได้ลงไปทำ�อะไรเลย ผมคงเสียใจมาก ได้ปรึกษาภรรยาบ้างไหมคะในการตัดสินใจไป ในพื้นที่เสี่ยง พ่อเหมาะ: ธรรมชาติผหู้ ญิง สามีไปก็จะห่วง ผมจึงหักดิบเลย ถ้าบอกล่วงหน้า ๓๐ วัน ก็จะห่วง ๓๐ วัน ผมก็เลยบอกวันพฤหัส แล้ววันศุกร์ไปเลย ยอมทน ๑ คืน จะบ่นจะว่ายกให้เลย แม่กุ้ง: คืนนั้นโกรธมาก ก่อนหน้านั้นก็ พอได้เค้ามานิดๆ เหมือนกัน แต่กค็ ดิ ว่าเขาน่าจะ

ลึ ก ๆ ก็ ภู มิ ใ จที่ เ ขาเสี ย สละ และกุ้ ง ก็ จ ะพยายามสอนกอด กัน เวลาเขามีอารมณ์หวงของ เห็นแก่ตัว ก็จะบอกให้ดูตัวอย่าง จากพ่อ

บอกเรา แต่พอวันพฤหัสเย็นเห็นกล่องแบบทหาร เหมือนกล่องไปรบ กุ้งก็เดาว่า ต้องมีอะไรแน่ พอ ตอนกลางคืนเขาก็เรียกลูกไปบอกว่ามีอะไรจะพูด ด้วย พอพูดแค่นั้น มันโกรธ ทำ�ไมเพิ่งมาบอก วันนี้... ไปเมื่อไหร่... พอรู้ว่าไปพรุ่งนี้ ทำ�ใจ ลำ�บากมาก แรกๆ รับไม่ได้เลย ทุกคนช็อคกัน หมด คิดว่าทำ�ไมไม่ปรึกษาเรา แต่วันนี้คิดว่าถ้า ปรึกษา เราก็คงไม่ให้ไป เวลาผ่านไปก็ค่อยๆ เข้าใจ และลึกๆ ก็ ภูมใิ จทีเ่ ขาเสียสละ และกุง้ ก็จะพยายามสอนกอด กัน เวลาเขามีอารมณ์หวงของ เห็นแก่ตวั ก็จะบอก ให้ดตู วั อย่างจากพ่อ ตอนแรกอาจจะฝืนทีจ่ ะต้อง

๑๓


บทสัมภาษณ์

อธิบายลูก ว่าต้องเสียสละนะลูก คืออาจจะไม่ได้ มาจากใจร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่อยูไ่ ปจะเริม่ ซึมซับว่า เราต้องเสียสละจริงๆ พ่อเหมาะ: ผมบอกลูกว่า ในความเป็น ครอบครัวเดียวกัน สุขก็สุขด้วยกัน ทุกข์ก็ทุกข์ ด้วยกัน ยกตัวอย่าง ครั้งแรกที่กอดไม่สบาย ไม่ สบายคนเดียวนี่ป่วยทั้งบ้าน กอดรอดมาได้จน หายนี่ มีคนบริจาคสเต็มเซลล์ให้ (น้องกอดเคยได้ รับการปลูกถ่ายไขกระดูกเนื่องจากเป็นโรคเลือด จาง และได้รับบริจาคสเต็มเซลล์จากคนไทยซึ่ง ไม่ใช่ญาติพี่น้องกันเป็นรายแรกในประเทศไทย) เราก็พูดตลอดเวลาว่า คนที่บริจาคนี่ไม่ได้ช่วย กอดคนเดียว แต่ช่วยชีวิตคนทั้งบ้าน ช่วยทั้ง ครอบครัวทีแ่ ทบจะตายทัง้ เป็น นีเ่ ป็นตัวอย่างแรก สุขก็สุขด้วยกัน ทุกข์ก็ทุกข์ด้วยกัน ไม่ใช่ว่าผม เสียสละคนเดียว ครอบครัวทหารเสียสละหมด เพราะพ่อไม่อยู่ พ่อตาย พ่อบาดเจ็บ พ่อพิการ ถูกปลด ยังมีคนที่เสี่ยงกว่าผมอีกเยอะ เสี่ยงตาย ทุม่ เททำ�งาน ในภาพรวมครอบครัวทหารก็จะเป็น อย่างนี้ พ่อไปเสียสละ ลูกก็เสียสละด้วย แม่กุ้ง: กุ้งก็ค่อยๆ เรียนรู้ เขาบอกไว้ตั้งแต่ ก่อนแต่งงานแล้ว เป็นครอบครัวทหาร เป็นเมีย ทหารต้องเสียสละนะ แต่ก็ยังไม่ค่อยเข้าใจ ก็นึก ว่าเสียสละแล้ว ช่วงปีก่อนที่ต้องไปอยู่ที่ ราบ ๑๑ ศอฉ. อันนัน้ ก็คดิ ว่าเสียสละแล้ว เป็นช่วงปิดเทอม หายไปสองเดือนครึง่ กลับมาน้อยกว่านีอ้ กี อยูใ่ น กรุงเทพฯ ก็จริง ลูกก็อยู่กับเราตลอด กุ้งก็รู้สึก เสียสละแล้ว พอเจอเรื่องนี้อีก ยิ่งหนักกว่าเดิม พ่ อ เ ห ม า ะ : เ ร า เ ข้ า ใ จ ธ ร ร ม ช า ติ แต่งงานกัน เขารักเรา เป็นห่วงเรา คนที่ไม่ ได้ อ ยู่ ใ นพื้ น ที่ ซึ่ ง เสพข้ อ มู ล จากข่ า ว จาก สื่ อ มวลชนอย่ า งเดี ย ว ก็ จ ะไม่ รู้ ว่ า ความจริ ง

เป็นอย่างไร เสีย่ งมากน้อยแค่ไหน ในชัน้ ยศอย่าง ผม ไปเป็นฝ่ายเสนาธิการ ไปใช้ความคิดสู้กับคน พวกนัน้ เราวางแผน มีล�ำ ดับรองลงไปทีเ่ ป็นระดับ ปฏิบตั ิ งานทีผ่ มไปทำ�งานยังไม่เสีย่ งทีส่ ดุ แต่เป็น ความรับผิดชอบของเราส่วนหนึ่งต่อครอบครัวที่ เราก็ต้องรู้รักษาตัวรอดกลับมาหาเขาเหมือนกัน ในการนำ�ตรงนี้ก็ไม่ใช่ว่าไม่ออกไปไหนเลย เรา ต้องออกไปกำ�กับดูแลงาน ในพื้นที่มีคนที่ไม่ได้ ออกทีวีและเสียสละอีกมากมาย และไม่ได้เป็น ข่าว พวกนั้นล้วนแต่เสี่ยงกว่าผมทั้งนั้น พอได้ไป ผมมีเวลาลงไปทำ�งาน ๑ ปี โดย เราไม่เคยอยูใ่ นพืน้ ทีเ่ ลย ผมต้องออกไปรูจ้ กั พืน้ ที่ ให้เร็วทีส่ ดุ โดยใช้เวลาสัน้ ทีส่ ดุ หน้าทีค่ อื วางแผน ปฏิ บั ติ ต่ า งๆ คื อ ไปใช้ ค วามคิ ด สู้ กั บ เขา ทำ � อย่างไรให้เราคุมสถานการณ์ได้ เอาความรู้ที่เรา มีทั้งหมด เอาความคิด สติ อย่างที่พระพุทธเจ้า ท่านสอน ทำ�อย่างไรให้ลูกน้องเราสูญเสียน้อย ที่สุด บาดเจ็บน้อยที่สุด ตายน้อยที่สุด...

ศาสนาพุ ท ธ เป็ น ศาสนา ประจำ�ชาติ พระภิกษุสงฆ์มีหน้าที่ สื บ ท อ ด พ ร ะ พุ ท ธ ศ า ส น า ผมเป็ น ทหารของชาติ ผมก็ ต้ อ งมี ห น้ า ที่ ป กป้ อ งศาสนา พุทธ ที่ลงไปใต้ก็คือป้องกันพระ ป้องกันวัด ถามว่าทำ�อะไร คือ หนึง่ ... ทำ�ตัวเองให้ดกี อ่ น สอง... ทำ�ครอบครัวให้ดี

๑๔


บทสัมภาษณ์

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการที่ได้ไปอยู่ที่นั่นคืออะไรคะ พ่ อ เหมาะ: การแก้ ปั ญ หาสถานการณ์ ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นภัย ทับซ้อน ทหารเพียงองค์กรเดียว แก้ไขไม่ได้ หน่ ว ยงานของรั ฐทุกหน่วย ทุกกระทรวงต้อง ร่วมกันแก้ปัญหา โดยเฉพาะเรื่อง “การศึกษา” ปัจจุบันที่ลงไปแก้เป็นทหาร ถ้าผมไปยืนอยู่หน้า แถวทหาร ก็อาจจะดูวา่ ใหญ่ เพราะผมยศพันเอก แต่ถ้าเทียบกับปัญหาที่เกิดขึ้นผมตัวเล็กนิดเดียว ถ้าเทียบกับปัญหาที่เกิดขึ้น ผมเป็นแค่เฟืองตัว หนึ่งเท่านั้น เป็นทหารจะต้องมีคณุ ธรรมอะไรบ้างคะนอกจาก ความเสียสละ พ่อเหมาะ: มีผบู้ งั คับบัญชาคนหนึง่ สอนผม ท่านเป็นอดีตผู้บังคับกองพันตอนผมเป็นผู้หมวด พูดสั้นๆ “จงปฏิบัติงานตามหน้าที่ให้ดีที่สุด” ผม ก็จำ�ใส่ใจมาตลอด ผมสอนลูกน้องผมก็ใช้คำ�นี้ คือ หน้าที่เราคืออะไร ในธุรกิจเอกชนจะมี Job Description ทหารก็มีเหมือนกัน ทุกตำ�แหน่งจะ มีหน้าที่เขียนไว้หมด รับผิดชอบอะไรบ้าง ทหาร นอกจากจะมีหน้าที่ตรงนั้นแล้ว ก็จะมีหน้าที่ที่ เสด็จปูท่ า่ นฝากเอาไว้ เป็นหน้าทีข่ อง จปร.ทุกคน หน้าทีข่ องคนไทย สิง่ ทีเ่ ป็นพระบรมราโชวาทของ ในหลวงทุกครั้งทุกปี ถ้ามีโอกาสนำ�ไปปฏิบัติได้ ศาสนาพุทธ เป็นศาสนาประจำ�ชาติ พระภิกษุสงฆ์ มีหน้าที่สืบทอดพระพุทธศาสนา ผมเป็นทหาร ของชาติ ผมก็ต้องมีหน้าที่ปกป้องศาสนาพุทธ ที่ ลงไปใต้ก็คือป้องกันพระ ป้องกันวัด ถามว่าทำ� อะไร คือ หนึ่ง... ทำ�ตัวเองให้ดีก่อน สอง... ทำ� ครอบครัวให้ดี ตอนนี้ผมมีลิงอยู่ ๓ ตัวที่บ้าน ก็ ต้องกลับมาปราบลิง

คุณพ่อมีหลักในการเลี้ยงดูลูกอย่างไรคะ พ่อเหมาะ: เด็กผู้ชายอย่าดุมาก ปกติเล่น ก็เล่นเหมือนเพื่อน แต่เวลาดุก็ดุจริง แต่ว่าเวลา ผมดุลูก คุณแม่ก็จะไม่ขัด ผมเอามาจากทหาร อย่างฝึกทหารเกณฑ์ทเี่ ข้ามาใหม่ มีหวั หน้า มีรอง คนหนึ่งก็จะดุ อีกคนหนึ่งก็จะปลอบ สลับบทกัน ได้ เวลาผมดุ แม่จะใจดี แต่เวลาแม่ดุ ผมจะใจดี จะไม่ดุลูกพร้อมกัน ๒ คน ลูกชาย ๓ คนอาจจะ ซนบ้าง แต่เราดุอย่างมีเหตุมีผล เราก็อยากให้ เขาโตขึ้นไปอย่างมีเหตุมีผล ถ้ามีอารมณ์ ภรรยา ก็จะเบรก คือไม่ให้ใช้อารมณ์ เรื่องห้ามปรามจะ ผมเป็นหลัก เรือ่ งสอน ใส่ใจรายละเอียด การบ้าน การเรียน สุขภาพ คุณแม่จะเป็นหลัก โ ร ง เ รี ย น น า ย ร้ อ ย จ ะ ส อ น ว่ า “ถ้ า จะเป็ น ผู้ นำ � ที่ ดี ต้ อ งเป็ น ผู้ ต ามที่ ดี ก่ อ น” ไม่ใช่เป็นเรือ่ งของการปิดกัน้ ความคิด แต่เป็นเรือ่ ง ของการเรียนรู้การมีวินัย เปิดโอกาสให้ตัวเองได้ รับสิทธิ์การเรียนรู้ต่างๆ ผมเลี้ยงลูกเหมือนพ่อ ไม่ค่อยพูด แต่ทำ�โทษจริง พ่อจะพูดให้ไปคิดต่อ

๑๕


บทสัมภาษณ์

เป็นหลัก ถ้าเราไม่มีวินัยที่จะฟังพ่อหรือคิดตาม พ่อ เราก็จะไม่ได้รับสิ่งดีๆ จากพ่อ หรือพ่อเขา ทำ�อะไรดีๆ เราไม่เดินตาม เสียวินัย เราก็ไม่ได้ เรียนรูท้ จี่ ะทำ�ดีตาม มันก็สอดคล้องทีว่ า่ การเป็น ผู้นำ�ที่ดีก็ต้องเป็นผู้ตามที่ดี แม่กุ้ง: ได้เรียนรู้อะไรจากพ่อเหมาะเยอะ เวลาที่เขาสอนลูกเหมือนได้สอนแม่ด้วย ทำ�ไมถึงย้ายจากโรงเรียนนานาชาติมาที่ทอสีคะ แม่กุ้ง: ตอนแรกกอดไม่สบาย เราจึงให้ เรี ย นใกล้ บ้ า นไว้ ก่ อ นเป็ น โรงเรี ย นอิ น เตอร์ ที่ อยู่ในซอยบ้าน พอซัมเมอร์ ก็จะส่งมาเรียนที่นี่ ไม่ใช่ที่นั่นไม่ดีแต่มันอาจจะไม่ถูกจริตเรา เพราะ วิชาการไม่ใช่สิ่งที่สำ�คัญที่สุดสำ�หรับเราและลูก เรา วิชาการก็เอาตัวไม่รอดเหมือนกัน แต่ตอนแรก ที่มาทอสีกุ้งยอมรับว่าลังเล เหมือนเดินถอยหลัง คืออยู่อินเตอร์ มี Global Network แต่พ่อเอ (ผู้ปกครองของน้องกัญจน์-เกรซ) บอกว่าถ้ามา ทุกซัมเมอร์มันก็ไม่ใช่การปลูกฝังที่ต่อเนื่อง มันก็ ไม่ได้ทกุ อย่าง เพียงแต่วา่ เราเห็นว่าอันไหนสำ�คัญ ทีส่ ดุ มันก็ตอ้ งได้อย่างเสียอย่างอยูแ่ ล้ว ทีเ่ ราคิดว่า ภาษาสำ�คัญมันก็ไม่ใช่ทสี่ ดุ แต่สงิ่ นีม้ นั ต้องปลูกฝัง มันต้องใช้เวลา พ่อเหมาะก็บอกว่าจะวัดผลจะวัด กันไม่ได้ ณ วันนีห้ รอก เพราะทักษะชีวติ วิชาชีวติ

ต้องใช้การปลูกฝัง และใช้เวลา พ่อเหมาะ: เรือ่ งภาษาไม่ส�ำ คัญเท่าการสอน คนให้เป็นมนุษย์ เช่น ผมสอนลูกว่าต้องเข้าคิว สังคมต้องมีระเบียบ ต้องให้เกียรติคนที่มาก่อน โรงเรียนเก่าสอนแต่ให้รเู้ ขาแต่ไม่รเู้ รา แต่ทนี่ สี่ อน ให้รู้เราก่อน ผมมองว่าสังคมในอนาคตมันจะมี อะไรที่เลวร้ายอีกเยอะ เด็กที่โตขึ้นไปต้องพร้อม ที่จะรับมือ สิ่งแรกที่เด็กต้องมี คือ “สติ” ซึ่งก็มี ศาสนาพุทธที่สอนเรื่องนี้ แม่ กุ้ ง คิ ด ว่ า ตนเองเปลี่ ย นแปลงไปหรื อ ไม่ ค ะ ทั้งด้านทัศนคติ และแนวคิดต่างๆ แม่กุ้ง: กุ้งว่าที่ครูอ้อนพูดถูกต้องที่สุดเลย ครูอ้อนบอกว่า ผู้ปกครองก็เป็นนักเรียนด้วย การมีลูกก็คือลูกสอนเราอยู่แล้ว กุ้งชอบบันทึก มาก พอมาปฏิบัติธรรมได้ข้อคิดกลับไป การ เรียนรู้มันไม่สิ้นสุด ไม่ใช่ว่าจบรับปริญญาแล้ว มี ธุรกิจส่วนตัว มีลูกแล้วคือจบ ไม่ต้องเรียนแล้ว ที่นี่สอนไว้อย่างนั้น อยากฝากอะไรทิ้งท้ายไว้ไหมคะ พ่อเหมาะ: ผมเชื่อว่าสติมาอันดับหนึ่งใน การแก้ ไ ขปั ญ หาทุ ก อย่ า ง หลายคนมี ปั ญ หา ที่พลาดเพราะเขาขาดสติ มีทหารหลายคนที่รอด มาได้เพราะเขามีสติ สติเป็นสิ่งแรกเลย ที่ทอสี สอนสติให้ลกู ผม ทุกวันนีผ้ มจึงไปทำ�งานได้อย่าง สบายใจเพราะว่าผมมีภรรยาที่ดี เป็นแม่ที่ดีของ ลูกๆ และมีโรงเรียนที่ดีให้ลูกเรียน

๑๖


“ทอสีรักษ์โลก” เปิดตัวธนาคารทรัพยากร เรื่อง: ครูอั๋น – พลณัฐ แก้วมะณี ผู้ดูแลโครงการทอสีรักษ์โลก

ธนาคารทรัพยากรเริ่มเปิดรับฝากแล้วครับ งานนี้นอกจาก เด็กๆ จะได้ชว่ ยพิทกั ษ์สงิ่ แวดล้อมด้วยการคัดแยกขยะรีไซเคิลแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมให้น�ำ ความรูจ้ ากการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรือ่ ง การชั่งและคำ�นวณ มาใช้ให้เกิดประโยชน์อีกทางหนึ่งด้วย เด็กๆ ทีห่ อบหิว้ ขยะรีไซเคิลมาฝากธนาคารต่างก็มบี คุ ลิกและจิตวิญญาณ ของผูพ้ ทิ กั ษ์โลกทีแ่ ตกต่างกันไป น้องๆ ประถมต้น แม้จะตัวเล็ก แต่กม็ หี วั ใจผูพ้ ทิ กั ษ์สงิ่ แวดล้อมทีย่ งิ่ ใหญ่ ทุกครัง้ ทีม่ าร่วมกิจกรรม ครูอั๋นเห็นขยะรีไซเคิลที่ถือมาเองและที่คุณพ่อคุณแม่ช่วยขนย้าย ตามมาให้ มีการจัดอย่างเป็นระเบียบ เด็กๆ มีความกระตือรือร้น และตั้งอกตั้งใจในการเข้าร่วมกิจกรรมนี้อย่างมาก (ครูอั๋นคิดว่า พวกเขากำ�ลังสนุกไปกับการฝากเงินด้วยขยะรีไซเคิลนั่นเอง) ครูอนั๋ เองมุง่ หวังทีจ่ ะให้เด็กๆ ทุกคน ได้เรียนรูก้ ระบวนการ คัดแยกขยะที่ถูกวิธี และนำ�ความรู้ที่ได้จากโรงเรียน กลับไป ใช้ที่บ้าน ทำ�การคัดแยกขยะจนเป็นนิสัยประจำ�ตัว เพื่อเป็น แบบอย่างให้กบั คนในสังคมต่อไป ข้อดีของการคัดแยกขยะก่อนทิง้ คือ ทำ�ให้ขยะที่รีไซเคิลได้เข้าสู่กระบวนการให้ได้มากที่สุด เพื่อ ลดการใช้ทรัพยากรใหม่และพลังงานที่สูญเสียไปในการผลิต ไม่ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ การนำ�ขยะรีไซเคิลมา แลกเปลี่ยนเป็นเงินออม ในรูปแบบของการฝากธนาคาร ก็ยัง เป็นการส่งเสริมให้เด็กได้รจู้ กั คุณค่าของเงิน ใช้เงินให้เป็น ซึง่ ครูอนั๋ เห็นว่าเป็นเรื่องสำ�คัญที่ควรให้เด็กมีวินัยในการใช้จ่าย ขยะรีไซเคิลในปัจจุบันมี ๔ ประเภทด้วยกัน คือ กระดาษ พลาสติก โลหะ และ แก้ว* เด็กๆ อย่าลืมแยกประเภทก่อนจะนำ� มาเข้าธนาคารทรัพยากรนะครับ แล้วอย่าลืมชักชวนคุณพ่อ คุณแม่ และเพื่อนๆ มาช่วยกันคัดแยกขยะก่อนนำ�ไปทิ้งทุกครั้ง เพื่อช่วย พิทักษ์โลกของเราให้สวยงามตลอดไป *ทางธนาคารฯ ยังไม่สะดวกรับขยะรีไซเคิลที่ทำ�จากแก้ว ทัง้ นีส้ ว่ นหนึง่ ก็เพือ่ ความปลอดภัยและความสะดวกในการนำ�ขยะ มาโรงเรียนของเด็กๆ นั่นเองครับ

๑๗


“นำ�้ท่วมหนัก ชาวทอสีที่รักทำ�อะไร?”

นำ�้ ท่วมหนัก ชาวทอสีที่รักทำ�อะไร? เรื่อง: ครูหยก – วรรณวนัช ฤกษ์ลัภนะนนท์

เหตุการณ์นำ�้ท่วมหนักในปี ๒๕๕๔ ที่ผ่านมา คงจะเป็นหนึ่งในเหตุการณ์ สำ�คัญในหน้าประวัติศาสตร์ของประเทศไทย ก่อนที่มวลนำ�้จะเดินทางมาถึง เมืองหลวงอย่างกรุงเทพมหานคร หลายๆ จังหวัดในประเทศต้องแบกรับนำ�้ ปริมาณมหาศาลไว้ หากนับเวลาตั้งแต่เริ่มเกิดอุทกภัยในช่วงเดือนกันยายน จนถึงปัจจุบัน (มกราคม ๒๕๕๕) ก็เป็นเวลาราว ๔ เดือนแล้ว ถ้าถามว่า ในช่วง ๔ เดือนแห่งวิกฤตนี้ เราได้ลงมือทำ�อะไรไปบ้าง ได้ดแู ลตนเอง ครอบครัว และเกือ้ กูล ผูอ้ นื่ มากน้อยแค่ไหน ชาวทอสีกค็ งจะมีค�ำ ตอบทีด่ ีให้กบั ตัวเองบ้างนะคะ เหล่านี้ เป็นบางส่วนของภาพที่ประมวลจากเหตุการณ์ที่ชาวทอสี ได้ร่วมกันลงมือทำ� ในช่วง กันยายน - ธันวาคม ที่ผ่านมาค่ะ

ขอชื่ น ชมพ่ อ แม่ ที่ พ าลู ก ๆ มาเป็ น อาสาสมั ค รครั บ นี่ไม่ใช่แค่การช่วยผู้ประสบภัย แต่ยังช่วยสร้างประชากรที่ มีคุณภาพให้กับประเทศด้วย

ทรงกลด บางยี่ขัน – บรรณาธิการนิตยสาร a day ๒๐ ก.ย. ๕๔

ป.๖ เป็นตัวแทนไปบริจาคของช่วยนำ�้ท่วมที่สภากาชาดไทย

๒๒ ก.ย. ๕๔

ป.๔ เป็นแม่งานจัดตลาดนำ�้ระดม รายได้ช่วยเหลือผู้ประสบภัยนำ�้ท่วม

๓ ต.ค. ๕๔

ช่วงปิดเทอม คุณครูจัด Garage Sale ขายสินค้าช่วยนำ�้ท่วม

๗ ต.ค. ๕๔

ปัญญาประทีป-ทอสี ร่วมใจช่วยเหลือพี่น้องผู้ประสบภัย

๑๘


“นำ�้ท่วมหนัก ชาวทอสีที่รักทำ�อะไร?”

๑๒ ต.ค. ๕๔

ปัญญาประทีป-ทอสี ช่วยปรุงและบรรจุอาหารที่ทีวีบูรพา

๑๔ ต.ค. ๕๔

ครูโหน่ง ครูไล ครูปริม ครูเปิ้ล ครูแนน จำ�หน่ายเสื้อผ้าหารายได้ช่วยผู้ประสบภัย

๑๔ ต.ค. ๕๔

คณะครูช่วยกันบรรจุทรายที่วัดหงษ์ทอง

๑๔ ต.ค. ๕๔

ครูทอสีไปลงแรงที่กองพันทหารราบที่ ๑๑

๑๕ ต.ค. ๕๔

ครูแจ๊ด ครูหยก น้องจีจากปัญญาประทีป บรรจุกระสอบทรายที่เขตทวีวัฒนากับกลุ่มอาสาฯ คนไทยช่วยนำ�้ท่วม

๑๖ ต.ค. ๕๔

ดร.วิทิต ครูอ้อน คุณครู และเด็กๆ ช่วยกันบรรจุทรายที่คลอง ๕

๑๙ ต.ค. ๕๔

ครูอั๋นตั้งทีมทำ�นำ�้จุลินทรีย์ EM ที่โรงเรียน เพื่อนำ�ส่งบ้านอาสาใจดี

๘ พ.ย. ๕๔

คุณพ่อมณเฑียร (คุณพ่อของน้องไม้-น้องมีนา) นำ�ทีมคุณครู ขนส่งอาหารและสิ่งของไปช่วยผู้ประสบภัยย่านฝั่งธนบุรี

๑๑ พ.ย. ๕๔

ครูหนิงนำ�ทีมคุณครูร่วมทำ�ความสะอาด เมืองอยุธยากับ ททท.

๑๙


“นำ�้ท่วมหนัก ชาวทอสีที่รักทำ�อะไร?”

๑๑ พ.ย. และ ๒ ธ.ค. ๕๔

มอบของบริจาคและอีเอ็มบอลที่กองทัพเรือไทย

๑๖ พ.ย. ๕๔

คณะนักเรียน ครู ผู้ปกครองไปบริจาคอาหาร ชุดหมีป้องกันนํ้า ถุงเท้า ฯลฯ ที่ กองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์

๑๘ พ.ย. ๕๔

ศ.ดร.ศิริชัย กาญจนวาสี คณบดีคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ รับมอบอีเอ็มบอลจาก ครูอั๋น เพื่อให้เจ้าหน้าที่คณะได้ใช้ประโยชน์

๑๗ และ ๒๗ ธ.ค. ๕๔

ทอสี-ปัญญาประทีป ร่วมกับโครงการ ๑ ต่อ ๑ ของทีวีบูรพา ช่วยฟื้นฟูทาสีอาคารและรั้วโรงเรียน และเลี้ยงอาหารเหล่าจิตอาสา ที่โรงเรียนวัดมณฑลประสิทธิ์ จ.พระนครศรีอยุธยา

>รวมมิตรศิษยานุศิษย์จิตอาสา

อาสาทอสีตงั้ หน่วยปรุงและบรรจุอาหาร ในช่วงปิดภาคเรียน ต.ค. - พ.ย. ๕๔

๒๐


“นำ�้ท่วมหนัก ชาวทอสีที่รักทำ�อะไร?”

ครู รุ จ นำ � ที ม ผลิ ต เสื้ อ ชู ชี พ ทำ � มื อ จาก ขวดนำ�้พลาสติกและเสื้อยืดเก่า ได้แม่ออย และผู้ปกครองมาช่วยกันหลายท่าน

ครู อั๋ น นำ � ทั พ ปั้ น อี เ อ็ ม บอลช่ ว ยบำ � บั ด นำ �้ เ สี ย คณะครู ผู้ปกครอง และเด็กๆ ทั้งศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบัน ร่วมแรง ร่วมใจกันปั้นอีเอ็มบอลในช่วงปิดเทอมได้ราวสองหมื่นลูก! ทางโรงเรียนขอขอบพระคุณผู้มีจิตอาสาทุกท่าน ทั้งบุคลากรโรงเรียนทอสี คุณครู ผู้ปกครอง เด็กๆ รวมถึงกัลยาณมิตรจากหลายหน่วยงาน อาทิ กลุม่ เพือ่ นของท่านผูป้ กครอง คณะครูจากโรงเรียน เซนต์โยเซฟ กองพันทหารราบที่ ๑๑ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และกองทัพเรือไทย

๒๑


เรื่องเล่า

“นอก” ห้องเรียน

“ค่ า ยงอกงาม” ค่ายปฏิบตั ิธรรมทีส่ อนให้ลงมือทำ� เรื่อง: ครูหยก – วรรณวนัช ฤกษ์ลัภนะนนท์

เมื่อพูดถึง “ค่าย” หลายคนอาจจินตนาการถึงภาพ กิจกรรมโลดโผน การตะลุยฐานแบบหลุดโลก หรือด่านทรมาน ร่างกายแบบโหดๆ อย่างในหน่วยฝึกทหาร แต่เมื่อพูดถึง “ค่ายงอกงาม” เด็กๆ ทอสีหลายคนที่เคยผ่านประสบการณ์ ค่ายนี้มาแล้ว คงจะไม่แปลกใจเลย หากจะบอกว่านอกจาก ไม่ต้อง “หลุดโลก” แล้ว ค่ายนี้ยังเน้นให้เรา “มีสติ” กันมาก เป็นพิเศษด้วยซำ�้ไป ค่ายงอกงามเป็นกิจกรรมพิเศษของนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ ๕ และปีที่ ๖ ที่ปฏิบัติกันเป็นประจำ�ทุกปี ก่อนจะ สำ�เร็จการศึกษา เด็กๆ ป.๖ (พ่วงด้วยน้องใหม่ชิมลางอย่าง น้องๆ ป.๕) จะได้มีโอกาสใช้เวลาพิเศษ กับคนพิเศษ เป็น เวลาประมาณ ๓ วันในค่ายที่ปากช่อง ที่ว่า “พิเศษ” ก็คือ เด็กๆ ได้ใช้เวลาปฏิบัติธรรมร่วมกับคุณพ่อคุณแม่นั่นเองค่ะ โดยในปี ก ารศึ ก ษานี้ พระอาจารย์ ช ยสาโรได้ เ มตตานำ � ปฏิบัติธรรมในช่วงวันที่ ๙-๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๔ และที่พิเศษ กว่าทุกครั้ง ก็คือนี่เป็นครั้งแรกที่ทีมคุณครูเลือกจัดค่ายที่ โรงเรียนปัญญาประทีป ต่างจากเดิมที่เคยจัดที่บ้านไร่ทอสี เมื่ออยู่ในค่าย ไม่ใช่แค่ “ร่างกาย” เท่านั้นที่ต้องฝึก เด็กๆ ยังต้องรู้จักฝึกและฝืน “จิตใจ” และขัดเกลา “ชีวิตด้าน ใน” ของตนเองควบคูไ่ ปด้วย นอกจากการเรียนรูท้ จี่ ะรูจ้ กั การ ใช้ชวี ติ ด้วยตัวเอง ทัง้ การจัดทีน่ อนหมอนมุง้ การตืน่ แต่เช้ามา ออกกำ�ลังกายท่ามกลางความหนาวเย็น (ถึง ๑๔ องศา!) และ ความมีวินัยแล้ว เด็กๆ ยังต้องเรียนรู้ที่จะรู้จักดูแลผู้อื่น รู้จัก อยู่ร่วมกับผู้อื่น และ “อยู่ร่วมกับตนเอง” ให้เป็นด้วย

> พับดอกใบเตย-ร้อยมาลัย มอบให้บุพการี เป้าหมายไปค่าย

เป้าหมายในการไปค่ายงอกงามเพื่อกล่อมเกลา จิตใจ เพือ่ ให้ได้อยูก่ บั ตัวเอง อยูก่ บั ตัวเองเพือ่ จะได้รคู้ วามสุข ที่แท้จ ริง เพื่อให้มี สติ รู้ อยู่ตลอดเวลา โดยผ่านการทำ � กิจกรรมต่างๆ เช่น เดินจงกรม นั่งสมาธิ สวดมนต์ กวาด ใบไม้ ร้อยมาลัยให้พ่อ-แม่ ปิดวาจา เพื่อให้แนวทางใน การดำ�เนินชีวิตได้ข้อธรรมหรือหลักธรรมเอาไปใช้ในชีวิต ประจำ�วัน การที่เราไปอยู่ในพื้นที่สีเขียว เงียบสงบ ทำ�ให้ เรามีสมาธิในการปฏิบัติธรรม เพื่อฝึกจิตให้ไม่วอกแวก ฝึกให้มีสมาธิ แม้จะมีเสียงจากภายนอกมารบกวน เช่น เสียงลมพัดแรงๆ เสียงเครื่องยนต์ รถบรรทุก เสียงเปิด ประตูเข้าออกค่ะ ด.ญ. พรภัสสร เดชอุดม (แบ่มแบ๊ม) ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖

เตรียมตัวไปค่ายงอกงาม

เรื่องเตรียมของเป็นเรื่องที่สำ�คัญ อย่าลืมเสื้อผ้า ของใช้ และเสื้อกันหนาว แต่ที่สำ�คัญต้องเตรียมใจให้ พร้อม อย่ากลัวทีจ่ ะไปค่ายงอกงาม อย่าคิดว่าไม่อยากไป ค่ายงอกงาม เราไม่ได้ต้องไปค่ายทหาร เพราะความจริง แล้วเราได้เรียนรูส้ งิ่ ต่างๆ มากมาย ถึงอากาศจะหนาวแต่ ภายในก็อุ่นสบาย ด.ญ.จิตรรดา ประภากมล (มินะ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕

ขอเชิญทุกท่านชมคลิปวีดีโอ/รับฟังไฟล์เสียงการปฏิบัติธรรม ชมภาพบรรยากาศ ในค่าย พร้อมดาวน์โหลดรูปภาพต้นฉบับ และอ่าน ก้ามปูนวิ ส์ ฉบับพิเศษ “ปฎิบตั ธิ รรมค่าย งอกงาม” ฝีมือเด็กๆ ป.๖ ได้ที่ www.thawsischool.com นะคะ (หรือจะติดต่อทำ�สำ�เนา ไฟล์ภาพจากครูประจำ�ชั้นก็ได้ค่ะ)

๒๒


เรื่องเล่า

“นอก” ห้องเรียน

“หัวใจอาสา ชาวทอสี ไม่เคยทิ้งกัน”

อ.๓ ช่วยทำ�ความสะอาดบ้านครูเปิ้ลและครูแนนหลังเหตุการณ์นำ�้ ท่วม เรื่อง: ครูเปิ้ล – ลักษณาวดี จงวัฒนา

> รักษาศีล เรียนรู้สมาธิ มุ่งสู่ปัญญา

> ดูแลตนเองได้ อยู่ร่วมกับผู้อื่นเป็น

> ธรรมะรอบกองไฟ (ปีนี้เราได้ดูจันทรุปราคาร่วมกันด้วย)

> ไ ป ร ษ ณี ย บั ต ร วาทะธรรมทีเ่ ด็กๆ ประทับใจ

ที่ขึ้นหัวเรื่องแบบนี้ เพราะว่ามันมีที่มา เนื่องจากครูเปิ้ลได้เป็นหนึ่ง ใน ผ.ป.ส.อ.ท.ภ. (ผู้ประสบอุทกภัย) แบบว่าไม่อยากตกยุคสมัย พอนำ�้ เริ่มลด และโรงเรียนมีโครงการอยากให้นักเรียนแต่ละระดับได้ฝึกตนเอง ให้มีหัวใจจิตอาสา คุณครูระดับอนุบาล ๓ จึงได้ลงมติเป็นเอกฉันท์ว่าเรา จะไปช่วยกันจัด Big Cleaning (ขอมีภาษาอังกฤษสักหน่อย) กันที่บ้าน ครูเปิ้ล ซึ่งตอนแรกกะไว้ว่าจะไปประมาณกลางเดือนธันวาคม แต่ด้วย บุญที่ทำ�มาทำ�ให้นำ�้ในหมู่บ้านลดลงอย่างรวดเร็ว จึงกะทันหันไปหน่อย สำ�หรับการเตรียมงาน แต่คณุ ครู อ.๓ ก็ไม่บน่ อะไรสักคำ� แถมยังให้ความ ร่วมมือจัดเป็นลักษณะ Family Trip คือครอบครัวไหนว่างก็อาสามาช่วยกัน งานนี้ได้ความร่วมมือจากทุกครอบครัว ทั้งแรงกาย ของใช้ และ อุปกรณ์ที่มาใช้ในการทำ�ความสะอาดอย่างเหลือเฟือ และได้ไปแจกให้ บ้านรอบข้าง งานนี้กินใจชาวหมู่บ้านร็อคการ์เด้นโฮม ๑ ไปอย่างเต็มๆ ทั้งคุณพ่อ คุณแม่ และลูกๆ ได้ทำ�งานร่วมกัน เด็กๆ ได้เห็นว่าคุณพ่อ คุณแม่ ทำ�งานอย่างสนุกสนานไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ลูกๆ ได้เห็นว่าพ่อ แม่ไม่ได้รู้สึกสกปรกกับงานที่ทำ� ไม่ได้รังเกียจกับสิ่งที่เห็น นั่นก็นับว่า ลูกๆ ได้เห็นเป็นตัวอย่าง ได้เรียนรู้วิธีการทำ�ความสะอาด เก็บกวาด ทำ�งานร่วมกับผู้อื่น บทเรียนที่พ่อแม่ได้ปลูกฝังให้ลูกมีจิตสำ�นึกที่ดีโดยที่ เด็กๆ ได้ซึมซับโดยไม่รู้ตัว (พ่อแม่คือผู้แสดงโลก) ลืมบอกไปว่ายังมีอีก ฝูง เอ่ย! ทีมงานหนึง่ ทีค่ รูเปิล้ และครอบครัวจะลืมไม่ได้ ก็คอื ทีมคุณครูทอสี ทีไ่ ม่รจู้ กั เหน็ดจักเหนือ่ ย ทำ�งาน อย่างกับทำ�ที่โรงเรียนคือ ลุยอย่างมีระบบ ระเบียบ สามัคคี คุณครูบางคนมาถึงปุป๊ ไม่พดู พล่ามทำ�เพลง จับไม้กวาดได้ จับสก็อตไบร์ทได้ ก็ลงมือ ขัด ขัด ขัด ถู ถู ถู แล้วก็กวาด กวาด กวาด ครูเปิ้ล อยากบรรยายสักสองสามหน้ากระดาษแต่เนื้อที่ ไม่พอที่จะบรรยาย สุ ด ท้ า ยนี้ ค รู เ ปิ้ ล ครู แ นน และปาล์ ม (ลูกชาย) ขอขอบคุณในความเป็นกัลยาณมิตรของ ทุกๆ คน ที่ไม่เคยทอดทิ้งกันค่ะ สาธุ.


เรื่องเล่า

“นอก” ห้องเรียน

จิตอาสาภาคสนาม

ป.๔ ร่วมกับกองทัพเรือ ลงพื้นที่ช่วยเหลือผู้ประสบภัยในย่านพุทธมณฑลสาย ๕

เมื่อวัน พฤหัสบดีที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๕๔ ที่ผ่านมา คณะครู ผู้ปกครอง และเด็กๆ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ได้ร่วมกันกับกองทัพเรือไทย นำ�อาหารและสิ่งของที่ประชาชนรวมถึง ชาวทอสีบริจาคเข้ามา ไปลงพืน้ ทีบ่ ริจาคช่วยเหลือชาวบ้านในย่านพุทธมณฑลสาย ๕ การทำ�งาน จิตอาสาภาคสนามครั้งนี้ เด็กๆ ได้เรียนรู้จากเหตุการณ์จริง สถานที่จริง เกิดเป็นความรู้สึก และความรับรู้ใหม่ๆ หลายคนเขียนบันทึกเล่าถึงประสบการณ์ในครั้งนี้ไว้อย่างน่าสนใจทีเดียว

น้ำ�ทว่ มกับน้ำ�ใจ ต่างกันอย่างไร

ผมคดิ ว่า นำ�ท้ ว่ มกับนำ�ใ้ จต่างกันที่ นำ�ท้ ว่ มจะ พัดมาแต่ความเศร้า แต่นำ�้ใจจะพามาแต่ความสุข และนำ�้ท่วมมีวันแห้งเหือดหายไป แต่นำ�้ใจไม่มีวัน แห้งหายไปจากประเทศไทย และนำ�้ท่วมมีแต่จะ พามาแตส่ งิ่ อันตราย แต่น�ำ ใ้ จมีแต่จะพามาแต่สงิ่ ดี ด.ช. หัสชัย อิงคสุวรรณ (กอด) ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔

๒๔


เรื่องเล่า

“นอก” ห้องเรียน

สิ่งที่ฉันได้จากการทำ�จิตอาสาช่วยน้ำ�ท่วม ฉันได้เรียนรู้ว่า มีคนที่เสียสละเพื่อที่เราจะได้ไม่โดนวิกฤตินำ�้ท่วม ได้เห็น ความลำ�บากของคนหลายๆ คนที่เป็นผู้ประสบภัย เรื่องการขับรถ การใช้ชีวิตใน พื้นที่ประสบภัย ได้เรียนรู้วิธีเดินในนำ�้ที่มีพื้นขรุขระ ต้องก้าวทีละนิด หรือเดินในที่ แห้งๆ อย่างระมัดระวัง และต้องมีความรับผิดชอบในการเตรียมอุปกรณ์เพือ่ เดินทาง ไปที่ที่นำ�้ท่วม และเข้าใจเรื่องการช่วยเหลือโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน จริงๆ แล้วเรา ไม่ใช่ไม่ได้สงิ่ ตอบแทน แต่สงิ่ ทีเ่ ราได้นนั้ ก็คอื ความซาบซึง้ ใจทีร่ สู้ กึ ได้จากการ “ให้” นั่นเอง และสิ่งที่สำ�คัญที่เราได้จากการทำ�จิตอาสาครั้งนี้ก็คือ การได้มีส่วนร่วมช่วย ในสังคม โดยไม่แบ่งว่าเป็นเด็ก หรือผู้ใหญ่ เด็กก็ช่วยในส่วนที่เด็กช่วยได้ ผู้ใหญ่ก็ ช่วยในส่วนที่ผู้ใหญ่ทำ�ได้ และเราควรพยายามช่วยให้ได้มากที่สุด โดย ด.ญ.ญาณิศา เกิดพรพุทธมนต์ (กัน) ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔

ปัจจัยที่ทำ�ให้เกิดอุทกภัย

าฉันไม่เกี่ยว ช่างน่าสงสารที่ กว่ บอ คน บาง คน มี า รมด มธร รตา ก จั ฏ วั น ็ โลกมีนำ�้หมุนเวียนเป ่าแค่คุณสีฟันอย่างถูกวิธีด้วยนะ โลกก็สะเทือน ว ้ ู ร ไม่ ลว งเห อ ต้ เหย งระ อ ต้ ง ็ งแข อ ต้ ล ผ ุ หต เ มี กฎเกณฑ์ ปู่ย่าเขารู้จักตัวเอง รู้จักโลก รู้ว่าการที่คน น ่ รุ คน ว แล้ ม ่ ริ เ ย์ ษ ุ มน อ ่ มื เ แต่ ร อะไ อ ่ เพื หน ไ ่ ที เมื่อไรต้องไหลไป งอาศัยธรรมชาติ หากต้องทำ�สิง่ ใดที่ ้ อ ต ด้ ่ ไ อยู ิ ต ี ว ี ช จะม หา อ ่ เพื ว ตั นอก ง ่ ิ ส ้ นรู ย เรี าติ อยากจะควบคุมธรรมช หาย (เสียสมดุล) ต่อธรรมชาติ ี ย มเส ควา ด กิ เ ให้ อ ก่ อาจ ม ควา นอง ส ติ มชา ธรร ุ ม วิธแี ละสร้างเครือ่ งมือมาควบค พิธีขอโทษและทำ�การแก้ไขเท่าที่ทำ�ได้ งมี อ ต้ เอง ว ตั า ว่ ม ลื เอง ว ตั ก ั จ ้ ู ร ไม่ ด ุ ส ่ ี นท จนใ งตน ต้องการขอ ่นเราต้องตื่นได้แล้ว หากใครตื่นแล้วต้อง รุ คน � ำ ระท ก ดี อวด ง ั ละย แ าติ มช ธรร ของ ง ่ นึ เป็นเพียงอณูห ให้รู้ด้วยจะได้ตื่นด้วยกัน เราอาจมี ว ั ต ล้ นใก กค บอ ย์ ษ ุ ยมน า ท้ ด สุ ด้ ไ ิ ชาต รรม นะธ การต่างๆ ที่คิดว่าจะช นโลกของเผา่ พันธุม์ นุษย์หรือ ่ ู บ าอย เวล ด ะยื ่ จ ที พอ ั ง พล น อ ดร้ อ ดื จนเ ตน ของ � ก็ถูกผลสะท้อนของการกระทำ ั บ หู ห ลั บ ตา ต่ อ ไป ให้ ลู ก หล าน รั บ กร รม แล ะ หล ่ ี นท อ ้ สะท ผล ของ ง ่ นึ นห ว งส่ ย เพี น ็ มเป ว ่ ท ้ � นำ ย ภั บรรพบุรุษสาปแช่ง คนบางคนไม่ทราบ หรือทราบแต่ไม่นำ�พา ว่าต้นเหตุ ที่ ทำ � ให้ ต นต้ อ งได้ รั บ คว าม เดื อ ดร้ อ นเนื่ อ งจ าก พยายามเปลี่ยนโลกจนโลกบางเสี้ยวเสียสมดุล โลกมี คุณครูนำ�้อ้อย สืบดี ครูประจำ�ชั้นอนุบาล ๓ บ ลั ก ย์ ษ ุ มน มา บ กลั ล ุ มด ส ให้ การ ด จั อ ่ เพื การ กระบวน ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ า เขล คน ย า ร้ � ำ ท าติ มช ธรร าติ มช ธรร บอกว่าเป็นภัย อย่ า งพ วก เรา ต้ อ งสู้ ต้ อ งเอ าช นะ แต่ ทำ � ไม ยิ่ ง สู้ ยิ่งเดือดร้อน ธรรมชาติใจร้าย

๒๕


จดหมายจากครูแจ๊ด ก้าวที่สามแห่งการพัฒนาของปัญญาประทีป เรื่อง: ครูแจ๊ด – พัชนา มหพันธ์

“ครูขา...หนูตนื่ เต้น” เสียงจากความรูส้ กึ ของเด็กๆ ที่ กำ�ลังใจเต้นตุม๊ ๆ ต่อมๆ ขณะกำ�ลังรอเข้าห้องแข่งขันทักษะ วิชาการต่างๆ ในงาน “ปากช่องวิชาการสู่มาตรฐานสากล : Focus on Asean Education” ทีเ่ พิง่ ผ่านไปสดๆ ไม่กชี่ วั่ โมง ที่ผ่านมานี้ สิ่งที่ครูเลือกทำ�ขณะนั้น ไม่ใช่การมุ่งติวเข้ม จนวินาทีสุดท้าย เพื่อให้ลูกศิษย์ได้มาซึ่งการ ชิ ง ชั ย จากผูอ้ นื่ หากแต่เป็นการส่งถ่ายพลังใจถึงใจให้สดใส ไม่ขนุ่ ด้วยความอยาก อยากชนะ... อยากได้รางวัล “ทำ�ดีที่สุด” เท่านั้นคือหน้าที่ของเรา ณ ขณะนี้ คือสิ่งที่ครูบอก แม้อาจมีผลการแข่งขันที่ทำ�ให้ครูอดไม่ได้ที่จะปลื้ม แต่สงิ่ ทีท่ �ำ ให้ครูยมิ้ ชืน่ ในใจ และแสดงความยินดีกบั ลูกศิษย์ ด้วยมุทิตาจิตมากกว่า คือ ความมุ่งมั่น ความอดทนใจสู้ และเพียรพยายาม การมีสติและสมาธิ ความร่วมมือร่วมใจ ประสานพลังสร้างสรรค์อย่างสามัคคีของเด็กๆ ทุกคน ไม่วา่ จะสมัครเข้าแข่งขันวิชาหรือเรื่องใด ประเภทเดี่ยว คู่ หรือ เป็นทีม ที่สำ�คัญกว่านั้นคือ การรู้คุณค่าแท้ของการแข่งขัน ไม่เห่อเหิมกับค่าของรางวัล (แม้บางคนอาจแอบบ่นเสียดาย ตามประสา) ผู้ปกครองหลายท่านที่ได้ไปร่วมให้กำ�ลังใจ ติดขอบสนามทั้งงานแข่งขันวิชาการครั้งนี้และแข่งกีฬาเขต ในวันที่ ๒๓-๒๕ พ.ย. ที่ผ่านมาคงได้สัมผัสสิ่งที่ครูแจ๊ด เล่าให้ฟังนี้ด้วยตนเอง เด็กๆ ปัญญาประทีปได้เริ่มฉายแวว นักเรียนที่ได้รับการบ่มเพาะพุทธปัญญาที่พ่อแม่และครูเห็น ว่าเป็น สิ่ ง สำ� คั ญ ที่ สุ ด ให้เราได้ชื่นใจกันแล้วค่ะ หนึง่ เดือนทีผ่ า่ นมา เด็กๆ อาจบ่นกันว่าไม่ได้เรียน เลย มีแต่ทำ�กิจกรรม สำ�หรับครูแล้ว ทุกสิ่งที่ผ่านเข้ามาคือ ห้องเรียน ตั้งแต่การเข้าร่วมแข่งกีฬากลุ่มโรงเรียนเอกชน เขต ๔ ของ อ.ปากช่อง ซึ่งนักเรียนของเราได้เข้าร่วมลง แข่งบาสเกตบอลชาย-หญิง และกรีฑา กันเกือบทัง้ โรงเรียน แม้ว่าเราจะยังใหม่และอ่อนซ้อมในเรื่องของทักษะการเล่น สมรรถภาพทางกายและความเป็นทีม แต่ความอดทนใจสู้ ของเด็กๆ ทำ�ให้คุณครูและเพื่อนๆ แผดเสียงเชียร์สุดใจ แม้แต้มคะแนนการแข่งขันของเรายังน้อย แต่ครูเชือ่ ว่าเด็กๆ ได้แต้มแห่งการเรียนรู้ ได้เห็น “กายและใจ” ตนเองชัดแจ๋ว

ความเครียดตัง้ แต่กอ่ นลงแข่งทำ�เอาบางคนถึงขนาดนอน ไม่หลับ ขับถ่ายไม่สะดวก ปวกเปียกกำ�ลังอย่างที่ไม่เคย เป็นมาก่อน เด็กบางคนเล่าให้ครูฟังว่า ขณะเล่นเหมือน คนตาบอด เบลอไปหมด เพราะตื่นสนามแต่ไม่ตื่นรู้ บาง คนบอกว่าอยู่โรงเรียน วิ่งเท่าไหร่ก็ไม่เหนื่อยแม้สนามเรา จะใหญ่กว่า แต่เวลาลงแข่งทำ�ไมจึงหมดแรงอย่างง่ายดาย บทเรียนเช่นนี้ โดยทัว่ ไปไม่ถกู สอน เพราะเป้าหมาย ของการแข่งขันคือการเอาชนะผู้อื่น ทีมอื่น โรงเรียนอื่น แต่ครั้งนี้เด็กๆ คงได้เห็นภาพคุณครูที่ไม่กลัวหน้าแตก ปรบมือชืน่ ชมและให้ก�ำ ลังใจคูต่ อ่ สูไ้ ปพร้อมๆ กับลูกศิษย์ ตนเอง แม้เขาจะทิ้งคะแนนห่างเราลิ่ว ภาพคุณครูเดิน เข้าไปแสดงมุทิตาจิต พร้อมขอบคุณเด็กๆ และผู้ฝึกสอน ของทีมคูแ่ ข่ง ภาพคุณครูพาให้เด็กปล่อยวาง ไม่เคืองแค้น และให้อภัยเมื่อเกิดการกระทบจากการเล่นของคู่ต่อสู้ เพราะถ้าเป็นเพื่อนเราเองเราคงไม่โกรธ แต่พอแบ่งฝ่าย แบ่งสีแล้ว ต่อมให้อภัยไม่คอ่ ยทำ�งาน ภาพคุณครูผฝู้ กึ ซ้อมที่ ไม่โกรธ ไม่บน่ ว่า หรือโทษใครคนใดในทีม เมือ่ เล่นผิดพลาด การแข่งขันครัง้ นีจ้ งึ ถือเป็นอีกหนึง่ เวทีการแข่งขันกับจิตใจ และกิเลสตัณหาของเราเองทุกคน ไม่วา่ เด็กหรือครู ไม่ได้ แข่งขันกับผูอ้ นื่ ไม่มใี ครถูกโหวตออก คอมเมนต์เตเตอร์ทนี่ ี่ คือ ครู และเพื่อนผู้เป็นกัลยาณมิตร พาให้เรียนรู้ ยอมรับ ความจริงตามธรรมชาติที่เกิดขึ้น เห็นเหตุปัจจัยและผลที่ เชื่อมโยงถึงกันทั้งหมด เป็นไปเพื่อการขัดเกลา พัฒนา และแข่งขันกับตนเอง จากนี้ไปจะต้องทำ�อย่างไรบ้างเป็น ความท้าทายที่น่าสนุกของเราทุกคน นอกจากกิจกรรมการเรียนรู้ชีวิตผ่านการเข้าร่วม เวทีแข่งขันที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว พระอาจารย์ชยสาโรได้ เมตตานำ�ตัวแทนคณะครู ผูป้ กครอง และนักเรียนชัน้ ม.๓ ไปเดินธรรมยาตรา เพือ่ เปิดตาในดูโลกในใจ ณ ป่าเต่าดำ� จ.กาญจนบุรี อีกประสบการณ์ทมี่ ผี ใู้ หญ่ใจกุศลหลายท่าน ร่วมแรงกายแรงใจจัดโอกาสให้นักเรียนทั้งสองระดับของ ปัญญาประทีปได้ไปท่องโลกทีร่ งุ รังเร้นลับในใจ ซึง่ เราหวัง เป็นอย่างยิ่งที่จะให้เป็นทริปประจำ�ของนักเรียนชั้น ม.๓ โปรดติ ด ตามดู ภ าพถ่ า ยและอ่ า นบทความสะท้ อ น การเรี ย นรู้ ของเด็ ก และครู ในเฟซบุ คและเว็ บ ไซท์ ของ ปัญญาประทีปนะคะ ขณะทีพ่ ี่ ม.๓ กำ�ลังเพลินเรียนรูใ้ นป่าใหญ่ คณะครู และน้อง ม.๑-๒ ก็ได้รับโอกาสจากบริษัททีวีบูรพาให้เข้า

๒๖


ร่วมงานประกาศผลรางวัลกบจูเนียร์ ปี ๓ หัวข้อ “กบรักโลก” ในวันพฤหัสบดีที่ ๑ ธ.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นโครงการประกวด สารคดีสั้น ความยาว ๕ นาที ของนักเรียนมัธยมปลายและ อาชีวศึกษาตอนต้นทั่วประเทศ ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิด จากพีเ่ ลีย้ งทีมสารคดีคณุ ภาพ “กบนอกกะลา” จากกิจกรรม นี้ เด็กปัญญาประทีปได้เรียนรู้อะไรบ้าง ลองสัมภาษณ์ลูกๆ ของเราดูนะคะ แต่สำ�หรับคุณครูนั้น คิดว่าการพา เด็กๆ ให้ได้มาเห็นด้วยตา ฟังด้วยหู สัมผัสถึงสิง่ ที่ รุ่นพี่ในวัยใกล้เคียงได้ ส ร ร ส ร้ า ง ขึ้นด้วยจิต และการกระทำ�ที่ ส ร้ า ง ส ร ร ค์ อย่างแท้จริง นัน้ อาจจะเป็นแรงบันดาลใจ เป็นร่องรอยให้ลกู ๆ ของเราเดินตาม ไม่ครั่นคร้ามต่อการใช้พลังอย่าง ที่ผู้ใหญ่แบบเราต้อง ส า ธุ ให้ดังๆ อีกวิชาชีวิตที่ทางโรงเรียนคิดว่าเป็นสาระ สำ � คั ญ ยิ่ ง ที่ พ วกเราควรต้ อ งเรี ย นรู้ แ ม้ จ ะไม่ ออกสอบคื อ ปั ญ หาจริ ง ที่ เ กิ ด ขึ้ น ในสั ง คมและงาน “ปากช่องวิชาการสู่มาตรฐานสากล: จิตอาสาขัดเกลาตนสร้างประโยชน์ท่าน โดยในวันเสาร์ที่ Focus on Asean Education” ๑๗ ธ.ค. ๕๔ คณะครูและนักเรียนทุกระดับชั้นได้ไปลงพื้นที่ อาสาฟื้นฟู โ รงเรี ยนวั ด มณฑลประสิท ธ์ ที่อำ�เภอวังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งได้รับผลกระทบจากมหาอุทกภัย ที่ผ่านมาทำ�ให้เกิดความเสียหายทั้งในส่วนของอาคารเรียน และครุภัณฑ์ชั้นล่าง บริเวณสนามกีฬา และสวนหย่อมของ โรงเรียนแทบทั้งหมด สำ�หรับครั้งแรกนี้ เราได้ช่วยทาสี กำ�แพงร่วมกับพี่น้องชาวทอสี ทีมงานบริษัททีวีบูรพาซึ่งเป็น ผู้ช่วยประสานงานหลักให้กับเรา และ กลุ่มนักศึกษาอาสา อีก ๒๐ คน “สิ่งเดียวที่คิดจะแข่งขัน นั่นคือตัวของเรา อาจจะเคย ดีแล้วเมื่อวันเก่า แต่มันยังไม่พอ” * *จากเพลง “ต้องดีกว่าเก่า” ของตั้ม สมประสงค์ ที่ใช้ในงานกีฬาปัญญาประทีป

๒๗


“เบิกบาน” กับการผลิบาน b:

c:

a: วันเวลาผ่านไปไวจริงๆ ตอนนี้ กองทุนพัฒนาครูวิถีพุทธ โรงเรียนทอสี ได้ด�ำ เนินงานมากว่าปีแล้วนะคะ หันไปมองลูกๆ ของ เราก็โตขึ้นกว่าเดิมมาก (ส่วนนักศึกษารุ่นผู้ใหญ่อย่างเราๆ ก็แก่ ลงไปพอสมควร) ช่วงเวลาทีผ่ า่ นมา ทางกองทุนฯ ได้รบั นำ�ใ้ จและ แรงสนับสนุนจากผู้ใหญ่ใจดีหลายท่าน กลุ่มผู้ปกครองมีความ เหนียวแน่น ช่วยกันทำ�งานควบคู่ไปกับคุณครู ทำ�ให้กองทุนฯ นี้ สามารถขับเคลือ่ นและพัฒนาไปได้สมวัย หลายๆ โครงการเป็นรูป เป็นร่างและกำ�ลังเติบโต ทัง้ โครงการชวนครูออม โครงการอาหาร เช้าของคุณครู การเปิดตัวธนาคารทรัพยากร หรือแม้แต่ ร้านพอเพียง เอง ก็กำ�ลังจะมีความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ เกิดขึ้นเร็วๆ นี้ บางท่านอาจยังสงสัยว่าคณะทำ�งานของกองทุนพัฒนาครู วิถีพุทธโรงเรียนทอสีมีขั้นตอนการทำ�งานอย่างไร และทำ�ไมจึง ต้องก่อตั้งกองทุนฯ นี้ขึ้นด้วย พบกันครั้งนี้ ครูหยก ในฐานะคน ทำ�งานในส่วนประชาสัมพันธ์กองทุนฯ ขออนุญาตเล่าให้ฟังใน รายละเอียดเพิ่มเติมอีกสักนิดค่ะ... ในช่วงทีผ่ า่ นมา คณะทำ�งานกองทุนฯ จะนัดประชุมกันเป็น ระยะๆ เฉลี่ยเดือนละ ๑ ครั้ง (แต่เจอหน้ากันบ่อยกว่านั้นมาก) ทั้งคุณพ่อ คุณแม่ คุณครูส่วนกลาง และคุณครูผู้สอน จะพูดคุย ร่วมกัน ช่วยกันคิด และนำ�เสนอโครงการใหม่ๆ รวมทั้งพยายาม พัฒนาโครงการเดิมทีอ่ าจจะยังบกพร่องอยูใ่ ห้สมบูรณ์ยงิ่ ขึน้ งานนี้ ต้องบอกว่า คณะผู้ปกครองมีพลังเหลือล้นจริงๆ ค่ะ นำ�เสนอ ไอเดียไว้หลากหลาย หลังจากได้ไอเดียมาแล้ว เราก็จะมาคุยกัน เพือ่ กลัน่ กรองให้เป็นกิจกรรมจริงกันอีกครัง้ ทัง้ นีก้ จ็ ะช่วยกันดูแล ให้อยูใ่ นวิถขี องทอสี คืออยูใ่ นวิถคี วามพอเพียง เกิดคุณค่าแท้ และ เกิดประโยชน์ต่อชุมชนเล็กๆ นี้ ส่วนจะมีโครงการหรือกิจกรรม อะไรอีกบ้าง ก็ขอให้คอยติดตามกันต่อไปนะคะ “ทำ�ไมต้องก่อตั้งกองทุนฯ ขึ้นมาดูแลครู ทั้งๆ ที่โรงเรียนก็ เป็นองค์กรทีด่ แู ลครูอยูแ่ ล้ว?” คำ�ถามนีน้ า่ จะเป็นข้อสงสัยยอดฮิต ของหลายๆ ท่านที่ยังขาดข้อมูล หากจะว่ากันตามข้อเท็จจริง

๒๘

แล้ว คงปฏิเสธไม่ได้เลยว่าคุณครูทอสีก็ไม่ต่างจาก คุณครูในทีอ่ นื่ ๆ ในแง่ของค่าใช้จา่ ยและการครองชีพ กองทุนพัฒนาครูวิถีพุทธโรงเรียนทอสีนี้ เกิดขึ้นมา จากพลังของกลุ่มผู้ปกครองที่ต้องการ “เสริมแรง” และเกื้อกูลดูแลคุณครูเป็นพิเศษ อย่างไรก็ตาม ทาง โรงเรียนและคณะครูเองก็เล็งเห็นถึงความสำ�คัญของ การเกือ้ หนุนและ “พึง่ พาตนเอง” เป็นหลักใหญ่ ดังนัน้ คณะครู ท อสี จึ ง ไม่ อ าจปฏิ บั ติ ต นเป็ น ผู้ รั บ เพี ย ง อย่างเดียวได้ สุดท้ายจึงเกิดเป็นการทำ�งานร่วมกัน คุ ณ ครู เ องก็ ร่ ว มทำ � งาน ร่ ว มเป็ น แกนในการจั ด กิจกรรมให้เกิดดอกผลแก่กองทุนฯ และเพื่อพัฒนา และยกระดับคุณภาพชีวิตของตนเองด้วย พบกันครั้งนี้ มีความคืบหน้าและข่าวสารจาก แม่ออย – ศิรดา อัศวานันท์ ผู้จัดการกองทุนฯ (และคุณแม่ของน้องอันนา ป.๓ และน้องอิงค์ อ.๓) มาบอกกั น ด้ ว ยค่ ะ ชวนชมภาพบรรยากาศ “ค่ายทอสีเบิกบาน” ด้วยกันนะคะ แล้วเจอกันอีกที ในทอสีสัมพันธ์ฉบับหน้าค่ะ

a. เหล่าคุณแม่เรียนวาดภาพสีนำ�้กับครูย้ง b. เรียนงานเย็บกับแม่เปี๊ยก c. แม่บีสอนทํานํ้ายาเอนกประสงค์และนํ้ายาล้างมือ จากสมุนไพร d. เรียน Decoupage กับแม่ออย e. คุณพ่อมณเฑียรสอนถ่ายภาพเด็ก f. ครูกิ๊ฟสอนเย็บสมุดเล่มสวย ท่ า นที่ มี ค วามประสงค์ จ ะร่ ว ม สนับสนุนกองทุนฯ ทั้งในรูปแบบการลงมือ ลงแรงอาสาและการร่วมสมทบทุน กรุณา ติดต่อ ครูโหน่ง - หทัยรัตน์ บุตรยิ่ง ที่ โรงเรียนทอสี หรือ โทร. ๐๒ ๗๑๓ ๐๒๖๐ ขอบพระคุณค่ะ ติดตามความคืบหน้าต่างๆ ของกองทุนพัฒนาครู วิถพี ทุ ธโรงเรียนทอสีได้ที่ www.thawsischool.com นะคะ พบกับ การปรับปรุงใหม่ของเว็บไซต์นี้อีกครั้งเร็วๆ นี้ค่ะ


d:

e:

เรื่อง: ครูหยก – วรรณวนัช ฤกษ์ลัภนะนนท์

f:

ค่ายทอสีเบิกบาน เนื่องจากเหตุการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้น ทำ�ให้ไม่สามารถจัดกิจกรรมได้ตามวันที่เคยแจ้งไว้ จึงขอเลื่อนกำ�หนดการออกไปดังนี้ ค่ายของเด็กอนุบาลและประถม จะจัดหลังปิดเทอม ๒ คือในวันศุกร์ที่ ๒๐ และ วันจันทร์ที่ ๒๓ - วันพุธที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๕๕  สำ�หรับ Workshop* ของผู้ปกครองได้เริ่มมีการจัดไปแล้ว ซึ่งได้แจ้งผ่านทางโทรศัพท์ กิจกรรมที่ได้เริ่มไปแล้ว ได้แก่ กิจกรรมงานเย็บ จัดทุกวันพุธ หลังส่งลูกตอนเช้า เริ่มตั้งแต่ พุธที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ กิจกรรม Decoupage จัดวันพุธที่ ๗ และ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๕๔ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๒.๐๐ น. ที่ชั้น ๖ อาคารก่อกุศล  กิจกรรมงานเย็บสมุด  จัดวันพฤหัสที่ ๑ และ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๕.๐๐ น. ที่ชั้น ๖ อาคารก่อกุศล  กิจกรรมถ่ายภาพ จัดในวันเสาร์ที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๔ เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. ที่ลานนำ�้พุ  * สำ�หรับ Workshop อื่นๆ จะแจ้งวันอีกครั้ง

เปิดรับงานเขียนเพื่อตีพิมพ์ในหนังสือ “อ่านแล้วชื่นใจ”

ขณะนี้ทางโรงเรียนทอสีกำ�ลังเปิดรับบทความและงานเขียนจาก คุณครู ผู้ปกครอง และเด็กๆ (รวมทั้งผู้ปกครองเก่าและศิษย์เก่าทอสี) เพื่อรวมเล่มตีพิมพ์เป็นหนังสือ “อ่านแล้วชื่นใจ” กันอยู่ค่ะ หนังสือเล่มนี้ จะรวบรวมเรื่องราว “ชื่นใจ” ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชุมชน/ในครอบครัวทอสี เรือ่ งทีเ่ ล่าอาจจะเป็นเรือ่ งราวความประทับใจในตัวลูกศิษย์ ความ

สมัครด่วน! ครูและบุคลากรพุทธปัญญา ปีการศึกษา ๒๕๕๕ ตำ�แหน่งงานที่โรงเรียนทอสี • กลุ่มงานครู ครูประจำ�ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ - ๖ ๕ ตำ�แหน่ง คุณสมบัติ ชาย / หญิง อายุ ๒๕ ปีขึ้นไป มีประสบการณ์การสอนสาระคณิตศาสตร์ / วิทยาศาสตร์ ใฝ่รู้ กระตือรือร้น ช่างสังเกต ละเอียดรอบคอบ และมีวินัย มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู พิจารณาเป็นพิเศษ

• กลุ่มงานบุคลากร เจ้าหน้าที่บุคคล ๑ ตำ�แหน่ง เจ้าหน้าที่การเงิน (ต้องจบวุฒิการเงิน / บัญชี) ๑ ตำ�แหน่ง เจ้าหน้าที่ร้านพอเพียง ๑ ตำ�แหน่ง คุณสมบัติ ชาย / หญิง อายุ ๓๐ ปีขึ้นไป ซื่อสัตย์ ละเอียดรอบคอบ สามารถทำ�งานนอกเวลาได้ ใช้โปรแกรม Microsoft Office ได้ดี ส่งเอกสารการสมัครที่ hr.thawsi@gmail.com หรือ โทร. ๐ ๒๗๑๓ ๐๒๖๐-๑ ต่อ ๑๐๗ , ๐๘๐ ๙๙๘ ๕๕๕๔

ปลืม้ ใจในพฤติกรรมของลูก หรือแม้แต่เรือ่ งราวความภูมใิ จในตัวของเด็กๆ ทอสีเองก็ได้ จุดมุง่ หมายของการผลิตหนังสือเล่มนีก้ เ็ พือ่ จะสร้าง “กำ�ลังใจ” และแบ่งปันประสบการณ์ดีๆ ให้กันและกัน ตอนนี้มีคุณครูหลายๆ ท่าน ส่งงานเขียนเข้ามาแล้ว หลายเรื่องอ่านแล้วได้พลัง ทั้งยังช่วยตอกยำ�้ ให้หมุดหมายของการจัดการศึกษาพุทธปัญญาแข็งแรงยิ่งขึ้นอีกด้วย ผู้สนใจสามารถส่งงานเขียนที่ ครูหยก โทร. ๐ ๒๗๑๓ ๐๒๖๐ ต่ อ ๒๒๒ หรื อ ส่ ง อี เ มลมาที่ info@thawsischool.com ภายใน วันที่ ๒๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ ตำ�แหน่งงานที่โรงเรียนปัญญาประทีป • กลุ่มงานครู ครูประจำ�ชั้นมัธยมต้น และมัธยมปลาย หลายตำ�แหน่ง สาระวิชา: คณิตศาสตร์, วิทยาศาสตร์ (โดยเฉพาะฟิสิกส์) ภาษาไทย, ภาษาอังกฤษ, สังคม ศาสนา และวัฒนธรรม การงาน อาชีพ และเทคโนโลยี, พละศึกษา • กลุ่มงานบุคลากร เลขาฝ่ายวิชาการ เจ้าหน้าที่บุคคล เจ้าหน้าที่มูลนิธิปัญญาประทีป

๑ ตำ�แหน่ง ๑ ตำ�แหน่ง ๑ ตำ�แหน่ง

ส่งเอกสารประกอบการสมัครที่ panyaprateep@gmail.com หรือ โทร. ๐๘๐ ๙๙๐ ๘๔๐๔

๒๙


การตื่นรู้ของข้าพเจ้าในฐานะผู้ปกครองทอสี

สืบเนือ่ งจากเอกสาร “ขอความร่วมมือท่านผูป้ กครองงดมอบของขวัญ ปีใหม่แด่ครูอ้อน” ที่จัดไว้ในสมุดสื่อเมื่อวันที่ ๙ ธ.ค. ๕๔

ถ่ายเอกสารหรือตัดส่วนนี้ส่งที่ห้องธุรการ ภายในวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๕๕

สำ�หรับท่านผู้ปกครองที่ประสงค์ จะมอบ “ของขวัญปีใหม่” ให้ครูออ้ น คุณครูใหญ่ของเรา ขอให้ใช้พนื้ ทีน่ เี้ ป็นพืน้ ทีแ่ บ่งปันประสบการณ์และ เรือ่ งราวแห่งการตืน่ รูข้ องตนเองได้อย่างอิสระ ในโอกาสปีใหม่ ๒๕๕๕ ครูออ้ นขอขอบพระคุณในนำ�ใ้ จไมตรี ของทุกท่านที่มี ให้กันเสมอมา และขอขอบพระคุณที่ให้ความร่วมมืองดมอบสิ่งของเป็นของขวัญต้อนรับ ปีใหม่* ความเห็นอันเป็นประโยชน์และตัวอักษรทุกบรรทัดจากกัลยาณมิตรนี้ จะเป็นของขวัญที่มีคุณค่า สำ�หรับครูอ้อนและโรงเรียนทอสีอย่างแท้จริง ขอขอบพระคุณและสวัสดีปีใหม่ค่ะ


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.