ฉบับที่ ๔ / ปีการศึกษา ๒๕๕๓

Page 1

ทอสีสัมพันธ์ ฉบั บ ธั น วาคม ๒๕๕๓ - มี น าคม ๒๕๕๔ ปี ก ารศึ ก ษา ๒๕๕๓

“วันคืนล่วงไป เรากำ�ลังทำ�อะไรอยู่” ิ


คุ ย กั บ ครู อ ้ อ น เผลอแผล็ บ เดี ย วจะจบปี ก ารศึ ก ษา ๒๕๕๓ แล้ ว “เวลา” นั้นไม่คอยท่าใครจริงๆ สิ่งที่เราทำ�สมำ่�เสมอ ไม่ ว่าจะเป็นกลางเทอมหรือปลายเทอม คือการทบทวนว่าเราได้ใช้เวลา ทีผ่ า่ นมาอย่างไร เราได้ท�ำ เต็มทีใ่ นเรือ่ งประโยชน์ตนและประโยชน์ ท่านหรือไม่ เพื่อที่ว่าการเดินทางของชีวิตต่อไปจะได้ไม่เผลอหรือ พลาดอีก “ตารางจัดสรรชีวิต” หรือ “ปฏิทิน” ที่ทุกบ้านมีในทุก จุดของบ้านจะเป็นตัวช่วยที่ดีและง่ายที่สุดในการวางแผนการใช้ เวลาในช่วงปิดเทอมอย่างมีคุณภาพและมีคุณค่า การวางแผนชีวติ หรือการใช้ตารางจัดสรรชีวติ นัน้ ดูเหมือน เป็นเรื่องพื้นๆ แต่ถ้าหากไม่ฝึกใช้ ไม่ลงมือทำ�จริงๆ เรื่องง่ายๆจะ เป็นเรื่องยากของชีวิตและจะทำ�ให้ชีวิตเราล่องลอยและไร้ทิศทาง ครูอ้อนหวังว่าสิ่งที่เรากำ�ลังพยายามทำ�อยู่ คือทำ�ให้ชาว ทอสีเป็นผูท้ จี่ ดั สรรชีวติ ตนเองเป็น เป็นผูท้ รี่ คู้ า่ ของเวลา ใช้เวลาเป็น ให้เกิดประโยชน์และความสุขทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น ให้คุ้มกับการ ที่ได้เกิดเป็นมนุษย์และได้อยู่โรงเรียนวิถีพุทธ ครูอ้อน

ปฏิ ท ิ น ทอสี ๑๑ มี.ค. ๒๓ – ๒๕ มี.ค. ๒๗ มี.ค. – ๒ เม.ย. ๒ – ๕ เม.ย. ๖ – ๑๗ เม.ย. ๒ พ.ค. ๓ พ.ค. ๓ – ๔ พ.ค. ๔ พ.ค.

เรียนวันสุดท้าย ปีการศึกษา ๒๕๕๓ ครูไปอบรมปฐมวัยที่โรงเรียนเพลินพัฒนา ครูไปเรียนรู้ที่ค่ายหมอเขียว ครูไปเที่ยวประจำ�ปีเชิงจิตอาสา โรงเรียนปิดทำ�การ เตรียมความพร้อมนร.เข้าใหม่ เด็กเล็ก-อนุบาล ปฐมนิเทศนักเรียนประถมเข้าใหม่ จำ�หน่ายชุดนักเรียนและหนังสือเรียน ๐๙.๐๐ น. ประชุมพบปะผู้ปกครอง ป.๔-๖ ๑๓.๓๐ น. ประชุมพบปะผู้ปกครอง ป.๒-๓ ๗ พ.ค. ๐๙.๐๐ น. ประชุมพบปะผู้ปกครอง อ.๒ ๑๓.๓๐ น. ประชุมพบปะผู้ปกครอง อ.๓ ๑๑ – ๑๒ พ.ค. ค่ายนักเรียนชั้น ป.๑ ที่โรงเรียนทอสี ๑๘ พ.ค. นักเรียนประถมเปิดภาคเรียน ๑/๒๕๕๔ ๒๓ พ.ค. นักเรียนอนุบาลเปิดภาคเรียน ๑/๒๕๕๔ บรรณาธิการ วรรณวนัช ฤกษ์ลัภนะนนท์ (ครูหยก) กองบรรณาธิการ จุฬารัตน์ อินทรมหา (แม่แจง) กนกอร บุญทวีกิจ (ครูนุ้ย) อาภาภัทร ไชยประสิทธิ์ (ครูแหม่ม) ปริมภร กฤษณายุธ (ครูปริม) นัยฤดี สุวรรณาภินันท์ (ครูใหม่) กุลฤดี โอทกานนท์ (ครูตู่) พลณัฐ แก้วมณี (ครูอั๋น) วิไลลักษณ์ ทิสาละ (ครูนก) พีรพัฒน์ ตติยบุญสูง (ครูย้ง) ฤทัย ตติยบุญสูง (ครูเชอรี่) ไพรำ� นามวัฒน์ (ครูแป้ง) ลาวัลย์ สภาพญาติ (ครูตา) วรรณนิภา เจริญพุทธคุณ (ครูติ๊ก) อรุณทิพย์ มนต์ไตรเวศย์ (แม่แป๋ม) หทัยรัตน์ บุตรยิ่ง (ครูโหน่ง) ด.ญ. ลฎาภา อินทรมหา (นี้ด) ศิลปกรรม พีรพัฒน์ ตติยบุญสูง (ครูย้ง) วรรณวนัช ฤกษ์ลัภนะนนท์ (ครูหยก)

Editor’s Note

บทบรรณาธิ ก าร

ทอสีสัมพันธ์ฉบับนี้ แม่แจงได้ส่งไม้ให้ครูหยกรับหน้าที่ บรรณาธิการต่อ นับเป็นประสบการณ์ใหม่ที่ดี และเป็นการเปิด โอกาสให้ตัวเองได้เรียนรู้ในหลายเรื่อง (ต้องขอบพระคุณแม่แจงที่ มอบโอกาสให้ อีกทั้งคอยช่วยเหลือ ดูแล และถามไถ่อยู่เสมอๆ) ในฉบับนี้ เนื้อหาสาระในภาพกว้างจะเป็นการรวมมิตร เหตุการณ์ รวมถึงกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงครึ่งหลังของภาค เรียนที่ ๒ เรื่องราวดีๆ ได้ถูกถ่ายทอดโดยนักเขียนหลายๆ ท่าน คอลัมน์ต่างๆ เรียงรายให้ผู้อ่านได้ใช้เวลาเปิดรับและทัศนาตลอด ทั้งเล่ม สำ�หรับคนที่ยังนึกไม่ออกว่าช่วงปิดเทอมนี้จะทำ�อะไรดี ก็ ขอให้ลองพลิกอ่านในเล่มดูนะคะ อาจจะให้แนวคิดได้บ้าง (เด็กๆ อย่าลืมพลิกดูท้ายเล่มด้วยล่ะ ฉบับนี้มีเกมให้เล่นกันด้วยค่ะ!) ขอให้มีความสุขกับทอสีสัมพันธ์ในมือเล่มนี้นะคะ และ สำ�หรับผูท้ ตี่ อ้ งการจะอ่านทอสีสมั พันธ์ฉบับสีส่ ี ก็ขอให้ตดิ ตามอ่าน ได้จาก www.thawsischool.com เร็วๆ นี้ค่ะ ครูหยก

สารบั ญ ตีฆ้องร้องป่าว มีข่าวมาบอก ๓ ประมวลกิจกรรมทอสี ๔ เรื่องเล่าจากชั้นเรียน ๑๐ ผู้ปกครองปฏิบัติธรรม นำ�ครอบครัวเป็นสุข ๑๔ Back to Nature กับ ชมรมนิยมธรรมชาติ ๑๖ สุขภาพดี มีพลัง : คลอโรฟิลล์สดจากธรรมชาติ ๑๗ สิ่งเล็กน้อยที่ลูกทำ� แต่มีค่ายิ่งใหญ่ ๑๘ ที่นี่ ทอสี อีกก้าวของการเติบโต ๑๙ ธรรม ธรรม พัก พัก ๒๑ ฅนเล็ก... เคลื่อนโลก ๒๒ พื้นที่นี้... พื้นที่ปัญญาประทีป : อาจาริยบูชาหลวงปู่ชา ๒๔ อาจาริยบูชา ๗๒ ปี พระพรหมคุณาภรณ์ ๒๗ บทสัมภาษณ์ : คือเธอ ที่เปลี่ยนไป ๒๘ การ์ตูนทอสีรักษ์โลก “หนูดีกับพี่มานะ” ๓๑ ๖ เส้นทาง ครูทอสีสร้างกุศล ๓๒ คลื่นลูกใหม่ ๓๔ ศิษย์เก่าทอสี : หนูดี มีดีที่ความคิด ๓๖ เปิดหู – เปิดตา – เปิดใจ ๓๘ แนะนำ�กิจกรรมช่วงปิดเทอม ๓๙ เกม “ปลูกป่า ค้นหาสมดุลชีวิต” ปกหลัง


โดย ครูหยก

เปิดรับภาพถ่ายและคำ�ถาม เพื่อจัดทำ�หนังสือของพระอาจารย์ชยสาโร เนื่องด้วยพระอาจารย์ชยสาโรได้มีความ คิดริเริ่มจะทำ�หนังสือภาพขึ้น ๑ เล่ม และหนังสือ ถ่ายทอดวิธีการเลี้ยงดูลูกขึ้น ๑ เล่ม ทางโรงเรียน จึ ง ขออนุ ญ าตเป็ น สื่ อ กลางเปิ ด รั บ ภาพถ่ า ยและ คำ � ถามเกี่ ย วกั บ การเลี้ ย งลู ก จากผู้ ป กครองและ บุคคลทั่วไป ท่ า นผู้ มี จิ ต อาสาที่ ส นใจจะร่ ว มส่ ง ไฟล์ภาพมาเป็นภาพประกอบหนังสือ หรือ มี ความประสงค์ จ ะส่ ง คำ � ถามและข้ อ สงสั ย เกี่ ย ว กั บ การเลี้ ย งดู ลู ก หลานถึ ง พระอาจารย์ ช ยสาโร

สามารถส่ ง อี เ มลแนบรู ป ถ่ า ยและคำ � ถามมาได้ ที่ info@thawsischool.com (สามารถส่งรูปถ่ายได้ ไม่จำ�กัดหัวข้อและประเด็นการนำ�เสนอ.เมื่อผู้จัดทำ� ได้ รั บ แล้ ว จะนำ � ไปคั ด สรรเพื่ อ ให้ พ ระอาจารย์ ชยสาโรเมตตาใส่ข้อความหรือข้อธรรมที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดพิมพ์เผยแพร่ต่อไป *สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ ครูหยก (เจ้าหน้าที่สื่อสารองค์กรโรงเรียนทอสี) โทร. 02 713 0260 ต่อ 223

เปิดแล้ว! Facebook และ Twitter ของทอสี ขณะนีโ้ รงเรียนทอสี ได้เริม่ สือ่ สารผ่าน Fan Page อย่างไรก็ดี การใช้งาน Facebook (หรือแม้แต่สื่อ ใน Facebook และ Twitter เป็นเวลาเกือบ ๒ เดือนแล้ว อื่นๆ) อย่างไม่มีวินัยอาจก่อให้เกิดผลเสียได้เช่นกัน คุณครูจึง หวั ง ว่ า ช่ อ งทางทั้ ง สองจะสามารถช่ ว ยส่ ง ต่ อ เรื่ อ งราวข่ า ว ขอยกคำ�สอนของพระอาจารย์ไพศาล วิสาโล มาฝากให้อ่าน ประชาสัมพันธ์ดีๆ ไปถึงมือพวกเราชาวทอสี รวมทั้งแบ่งปัน เพื่อเตือนสติดังข้อความข้างล่างนี้ค่ะ... ถึงบุคคลภายนอกโรงเรียนได้มากขึ้นนะคะ ความเหงาและโดดเดี่ยวท่ามกลางฝูงชน ทำ�ให้ผู้คนหันไปหาเฟซบุ๊ค เพื่อคลาย ความเหงา และตอบสนองความเป็น somebody ทำ�ให้ช่วยบรรเทาความเหงาโดดเดี่ยว และรู้สึกไร้คุณค่า ด้วยเหตุนี้มันจึงทำ�ให้ผู้คนหลงใหลถึงขั้นเสพติด อันนี้ยังไม่ต้องพูดถึง การเล่นเกม ซึ่งมีเสน่ห์ดึงดูดผู้คนให้หลงใหลเพลิดเพลินจนเสพติดได้ สติ จึงมีความสำ�คัญในการใช้เฟซบุ๊ค ขณะเดียวกันก็ควรมีวินัยในการใช้สื่อแบบ นี้ด้วย เช่น กำ�หนดกับตนเองว่าจะใช้วันละกี่ชั่วโมง การแบ่งเวลาให้ดี จะช่วยได้ รวมทั้ง เตือนตนด้วยว่า ชุมชนที่ดีที่สุดคือชุมชนที่เราเห็นหน้าเห็นตากัน ใช้ชีวิตร่วมกัน และ ทำ�กิจกรรมร่วมกัน ดังนั้นจึงควรแบ่งเวลาให้กับครอบครัว และเพื่อนบ้านด้วย ในทัศนะของพุทธศาสนา เราควรแยกแยะระหว่าง “คุณค่าแท้” กับ “คุณค่า เทียม” . . . สื่อและเครื่องมือไฮเทคก็เช่นกัน เราต้องแยกแยะให้ชัดเจน ว่าคุณค่าแท้ 3 ช่องทางออนไลน์ของทอสี : คืออะไร เช่น เป็นช่องทางการรับรู้และเผยแพร่ข่าวสาร เพื่อเพิ่มพูนสติปัญญา เปิดมุม มองให้กว้าง ส่วนคุณค่าเทียมนั้น ได้แก่ ความบันเทิง ความสนุกสนาน หรือความเท่ www.thawsischool.com หากเรามองข้ามคุณค่าแท้ ไปหลงใหลคุณค่าเทียม มันก็จะเป็นโทษแก่ตัวเรา ทั้งกาย facebook.com/thawsi และใจ * *คัดจากตอนหนึ่งของบทความใน Facebook ของ พระไพศาล วิสาโล twitter.com/thawsi เขียนเมื่อวันที่ ๗ มกราคม ๒๕๕๔

ทอสีสัมพันธ์ ฉบับธันวาคม ๒๕๕๓ - มีนาคม ๒๕๕๔ ปีการศึกษา ๒๕๕๓


ปก่อนปิร ดะภาคเรี ม วยนทีล่ ๒กิ ปการศึ จี กกษาร ร๒๕๕๓ม ศรั ท ธาสต รี ท

คุณครูพละนำ�ทีมไปจัดงานวันเด็ก

๗ ม.ค. ๕๔

ที่วัดญาณเวศกวัน ๙ ม.ค. ๕๔

“วันเด็กหนูอยากทำ�อะไร” ประโยคนี้เป็นที่มาของกิจกรรม “ถนนสายศรัทธา” หรือ “ศรัทธาสตรีท” ที่มีจุดประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กๆ ได้มีเวทีในการเปิด ศักยภาพของตนเอง ได้รู้จักตัวเองและตระหนักว่าเราทุกคนล้วนมีคุณค่าในตัวเอง ในปีนี้การแสดงออกมีความหลากหลายมาก ทั้งการเต้นประกอบเพลงไทยและเทศ การแสดงฮูลาฮูปลีลาประกอบเพลง การเล่นมายากล การแสดงตลก การแสดงเดีย่ ว ไมโครโฟน การเต้นแบบบอยแบนด์ ฯลฯ

ค่ายลูกเสือเมืองกำ�แพงแสน ๒๗-๒๘ ม.ค. ๕๔

นักเรียนชั้น ป.๕ - ป.๖ จำ�นวน ๔๐ ชีวิต และทีมคุณครู ๑๔ ชีวิต ได้ไปใช้ ช่วงเวลาในกิจกรรมเข้าค่ายที่ค่ายลูกเสือเมืองกำ�แพงแสน จ.นครปฐม กิจกรรมนีเ้ น้นให้เด็กๆ เรียนรูก้ ารใช้ชวี ติ แบบเรียบง่าย อนุรกั ษ์สงิ่ แวดล้อม เน้นการทำ�งานเป็นทีม รูจ้ กั กล้าแสดงออกให้ถกู กาลเทศะ มีระเบียบวินยั รู้จักทำ�งานร่วมกับผู้อื่นและมีความสนุกสนานกับการใช้ชีวิต ๔

ทอสีสัมพันธ์ ฉบับธันวาคม ๒๕๕๓ - มีนาคม ๒๕๕๔ ปีการศึกษา ๒๕๕๓

คุณครูทมี พละได้ตระเตรียมของขวัญและกิจกรรม สนุกๆ ไปมอบให้กับเด็กๆ ที่มาร่วมงาน โดยมีจุด มุ่งหมายให้เด็กๆ ได้เกิดพัฒนาการทั้งด้านกาย จิ ต ใจ สมาธิ ศี ล และปั ญ ญา ได้ รั บ ทั้ ง ความ สนุกสนาน ความท้าทาย ตืน่ เต้น ได้ฝกึ ปฏิสมั พันธ์ ของมือ กาย กล้ามเนือ้ ส่วนต่างๆ ได้รจู้ กั กฎ กติกา การแก้ปญ ั หาเฉพาะหน้า ได้ออกกำ�ลังกาย มีความ กัลยาณมิตรต่อกัน เอื้อเฟื้อ ได้เพื่อนใหม่ รู้จัก แบ่งปัน รวมถึงได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

พระอาจารย์ชยสาโรเยือนโรงเรียน ๒๗-๒๘ ม.ค. ๕๔

พระอาจารย์ชยสาโรเมตตามาเยือนโรงเรียน โดยได้รับ บิ ณ ฑบาตข้ า วสวย รั บ ถวายเครื่ อ งบริ ข าร เมตตา สนทนาธรรมกับผูป้ กครอง คณะครู และญาติธรรม รวม ทั้งแสดงธรรมเทศนาให้แก่เด็กๆ ทั้งระดับประถมและ อนุบาล ท่านสามารถรับฟังไฟล์เสียงธรรมเทศนาได้ที่ www.thawsischool.com (คลิกที่เมนู “เว็บธรรม” เลือกกิจกรรมเทศน์ในเดือน “กุมภาพันธ์”)


ทีมพลศึกษานำ�ทีมนักเรียนไปแข่งบาสฯ

งานกอล์ฟการกุศล “ทอสี ทีของพ่อ” ๒๒ ก.พ. ๕๔

ที่สาธิตประสานมิตร ๑๐ ก.พ. ๕๔

เด็ ก ๆ ชั้ น ป.๕-๖ ไปร่ ว มแข่ ง ขั น บาสเกตบอลกับพี่ๆ ชั้น ม.๑-๓ ของ โรงเรียนสาธิตประสานมิตร (เรียกว่าไป เป็นคู่ซ้อมให้พี่ๆ ก็ได้จ้า) บรรยากาศ การแข่งขันเต็มไปด้วยความสนุกสนาน และตั้งใจ งานนี้แต้มคะแนนออกมาที่ ๒๘ : ๒๐ แม้จะไม่ได้กำ�ชัยชนะกลับมา แต่เด็กๆ ก็ประทับใจ รวมถึงได้สร้าง ความประทั บ ใจให้ กั บ พี่ ๆ ที่ ส าธิ ต ประสานมิตรไม่นอ้ ย (พีๆ่ กระซิบว่าเด็ก ทอสีเยี่ยมมาก!)

นิ ท รรศการ “อนุ บ าลแรกแย้ ม ประถมเปล่ ง บาน” ช่ ว งปลายภาคเรี ย นที ่ ๒

กลุม่ ผูป้ กครองร่วมกันจัดงานกอล์ฟการกุศล เพือ่ จัดหารายได้สนับสนุนการพัฒนาครูและกองทุน พัฒนาครูวถิ พี ทุ ธ งานนีด้ �ำ เนินไปอย่างราบรืน่ และ สวยงาม ต้องขอขอบพระคุณท่านผู้มีส่วนร่วมทุก ท่านมา ณ ที่นี้ค่ะ ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ ในทอสีสัมพันธ์ฉบับต่อไป

Thawsi Recital ๓ มี.ค. ๕๔

ขมวดท้ายภาคเรียนด้วยความชืน่ มืน่ เช่นเคย งานนิทรรศการปลายภาคในปีนแี้ บ่งวัน จัดแสดงเป็นหลายวันตามระดับชั้น เด็กๆ แสดงศักยภาพอย่างเต็มที่ การแสดง หลายๆ ชุดสร้างความสนุกสนานและตรึงใจผู้ชม ส่วนนิทรรศการเป็นไปอย่าง เรียบง่ายแต่คงความน่ารักในแบบฉบับทอสีไว้ได้เช่นเคย ติดตามรับชมภาพและคลิป การแสดงทาง www.thawsischool.com และ Facebook เร็วๆ นี้ค่ะ

ความสามารถทางดนตรีเป็นทักษะทีม่ อิ าจละเลย ได้ ด้ ว ยเป็ น กิ จ กรรมที่ เ พลิ ด เพลิ น และเป็ น ประโยชน์ต่อพัฒนาการทางสมอง ร่างกาย และ จิตใจ การแบ่งปันเสียงดนตรีให้ผู้ฟังและผู้ชมเป็น หนึ่ ง ในนำ �้ จิ ต นำ �้ ใจที่ ช าวทอสี มี ใ ห้ กั น เสมอๆ บรรยากาศงานทอสีรีไซเทิลในปีนี้ชุ่มชื่นไปด้วย รอยยิ้มและความปลื้มปิติ เสียงเพลงที่ขับขานดัง กังวานตามวัยและศักยภาพ เป็นเสียงน้อยๆ จาก สรวงสวรรค์ (ในหัวใจของผู้เล่น) ที่ช่วยชะโลม หัวใจของเราผู้ฟังได้เป็นอย่างดี

ทอสีสัมพันธ์ ฉบับธันวาคม ๒๕๕๓ - มีนาคม ๒๕๕๔ ปีการศึกษา ๒๕๕๓


เด็กเล็ก

อนุบาล ๑ (ดอกเข็ม)

อ.๑ (ดอกเข็ม) ไปเที่ยวสวนรถไฟ • ๑๔ พ.ย. ๕๓ ยามเช้าวันอาทิตย์พลพรรคห้องดอกเข็มได้จัดทริปครอบครัวแบบสบายๆ เป็นกันเองที่สวนรถไฟ เหล่าพ่อแม่ลูกและคุณครูได้ร่วมกันทำ�กิจกรรมเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ ได้สนุกสนานและใกล้ชิด กับธรรมชาติ เด็กๆ ได้รจู้ กั วงจรชีวติ ของผีเสือ้ ได้เรียนรูก้ ารพึง่ พาอาศัยและเกือ้ กูลกันของธรรมชาติ รอบตัว แต่ละครอบครัวได้ช่วยกันถ่ายทอดความประทับใจลงสู่งานศิลปะ ได้เป็นชิ้นงานเพ้นท์ ผ้ากันเปื้อนเก๋ๆ สามารถชมคลิปสารคดีสั้นๆ ถ่ายทอดบรรยากาศและจุดประสงค์ของกิจกรรมนี้ ได้ที่ www.vimeo.com/16916028 (ขอบพระคุณพ่อ Julian สำ�หรับการผลิตวีดีทัศน์ดีๆ ค่ะ) คณะน้องหนูห้องเด็กเล็กไปสวนรถไฟ ๙ ม.ค. ๕๔ ไม่มีคำ�ว่า “เด็กเกินไป” สำ�หรับการเรียนรู้ เด็กๆ ห้องดอกพุดออกเดินทางไปสวนรถไฟ ได้ ทำ�กิจกรรมสนุกๆ และมีโอกาสชมสวนผีเสื้อ งานนีเ้ ด็กๆ ชืน่ ชอบและมีความสุขกับธรรมชาติ นอกโรงเรียนกันอย่างมากทีเดียวค่ะ

อนุบาล ๑ (ดอกแก้ว)

อนุบาล ๑ (จำ�ปี)

อ.๑ (ดอกแก้ว) ไปบ้านน้องแต่มแต๊ม • ๑๓ ธ.ค. ๕๓ เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ทั้งผู้ปกครองเก่าและผู้ปกครองใหม่ได้ทำ�ความรู้จักกันมากขึ้น ส่วนเด็กๆ ก็ได้เรียนรู้ว่า “บ้าน” มีส่วนประกอบอะไรบ้าง เรียนรู้ความแตกต่างของแต่ละ บ้าน ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมในบ้านของเพื่อน และได้รู้จักมารยาทในการเข้าสังคม อ.๑ (ดอกแก้ว) ไปเที่ยวฟาร์มโชคชัย • ๑๖ ม.ค. ๕๔ ชาวดอกแก้วเลือกวันดีๆ คือวันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๕๔ ซึ่งเป็นวันครูและเป็นวันที่อากาศ หนาวกำ�ลังดีเป็นวันสำ�หรับ Family Trip ตลอดเวลา ๓ ช.ม. ในฟาร์มโชคชัย เด็กๆ ได้เรียน รู้ธรรมชาติของวัว รู้ว่านมมาจากไหน ได้ชมการรีดนม ชมการสาธิตการทำ�ไอศครีมจากนม สดๆ และนัง่ รถพวงมาลัยเทีย่ วชมฟาร์มอย่างเพลิดเพลิน คุณครูเล่าว่าในช่วงท้าย เด็กๆ ชาว ดอกแก้วได้นำ�พวงมาลัยมากราบคุณครูไก่และคุณครูอัญด้วย เป็นอีกหนึ่งทริปที่น่าประทับ อ.๑ (จำ�ปี) พบปะกันที่บ้านน้องพอดี • ๑๖ ม.ค. ๕๔ ชาวดอกจำ�ปีได้ร่วมกันจัดกิจกรรมพบปะสังสรรค์เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างกันขึ้นที่บ้านของ คุณพ่อพงศ์ธร และ คุณแม่จุฑา ธาราไชย (ผู้ปกครองของน้องพอดี) งานนี้ทุกคนใช้หลัก “พอเพียงและประหยัดทรัพยากร” แต่ละครอบครัวนำ�ภาชนะใส่อาหารมาเอง จึงเกิดขยะน้อยมาก เด็กๆ ได้ใช้โอกาสที่ตรงกับวันครูมอบบทเพลง “พระคุณที่สาม” และพวงมาลัยระลึกคุณแด่คุณครู และร่วมกันฉลองวันคล้ายวันเกิดให้น้องต้นเทียน ด้วยการร้องเพลง “ใครหนอ” ให้คุณแม่ของน้องต้นเทียน เป็นการปลูกฝังความกตัญญูให้กับเด็กๆ ทุกคน ของขวัญที่มอบให้น้องต้นเทียนเป็นเค้ก กระดาษที่เพื่อนๆ ช่วยกันทำ� ปิดท้ายด้วยกิจกรรมจับฉลากแสนสร้างสรรค์ คือนำ�ของสภาพดีที่มีอยู่ในบ้านของตนมาร่วมจับฉลาก ๖

ทอสีสัมพันธ์ ฉบับธันวาคม ๒๕๕๓ - มีนาคม ๒๕๕๔ ปีการศึกษา ๒๕๕๓


อนุบาล ๓

อนุบาล ๒

อ.๓ ไปเกี่ยวข้าวที่บ้านครูธานี จ. ปทุมธานี ๑ ธ.ค. ๕๓ เด็กๆ ได้เรียนรู้เรื่องข้าวจากการปฏิบัติจริงทุก ขัน้ ตอน ตัง้ แต่การไถนา หว่านกล้า ปักดำ� นวด ข้าว ตำ�ข้าวด้วยครกกระเดื่อง ครกซ้อมมือ ฝัด ข้าวด้วยกระด้ง และแยกเมล็ดข้าวด้วยเครื่อง สีฝัดที่อาศัยแรงคนและทิศทางลม หนูๆ มี ความสนใจและกระตื อ รื อ ร้ น ในการลงมื อ ปฏิบัติ ลงแขกร่วมกันเป็นกลุ่มๆ พวกเขาบอก ว่ากิจกรรมน่าสนใจทุกฐานการเรียนรู้ ไม่พบ ใครบ่นว่าเหนื่อยเลยแม้แต่คนเดียว

อ.๒ ไปทัศนศึกษาพิพธิ ภัณฑ์ธรรมชาติวทิ ยา ๒๐ ม.ค. ๕๔ เป็ น การทั ศ นศึ ก ษาที่ ใ ห้ ป ระสบการณ์ ต รง เกีย่ วกับความรูเ้ รือ่ งธรรมชาติและชีวติ รอบตัว เด็กๆ ได้ศึกษาเรื่องมดและแมลง ได้สังเกต สัมผัส และสำ�รวจจากของจริง

อ.๒ ไป Family Trip ที่จังหวัดระยอง ๒๙-๓๐ ม.ค. ๕๔ เด็ ก ๆ ได้ ป ระสบการณ์ ต รงจากการไปทำ � กิจกรรมครอบครัวสัมพันธ์ เห็นคุณค่าความ สัมพันธ์ของคน-พืช-สัตว์ โดยการทำ�ตัวเป็นนัก สำ�รวจตัวน้อย สนใจดูแลสิ่งแวดล้อมรอบตัว และได้เรียนรู้ภาษาชีวิตจากการไปท่องเที่ยว

ประถมศึกษาปีที่ ๑

อ.๓ ไป Family Trip ที่ จ.กาญจนบุรี ๑๒-๑๓ ก.พ. ๕๔ ภายใต้แสงแดดยามเที่ยงและเสียงหัวเราะอัน ครื้นเครงจากการทำ�กิจกรรม ชาวอนุบาล ๓ ได้ข้อคิดซึ่งเป็นเสียงสะท้อนจากคุณพ่อท่าน หนึ่งว่า “การทำ�กิจกรรมในครั้งนี้ สิ่งแรกที่ได้ ก็คือความสนุกสนานและการสร้างสัมพันธ์ที่ดี ต่อกัน แต่ลึกลงไปพบว่าสิ่งที่เราได้ทำ�ร่วมกัน ล้ ว นแล้ ว แต่ ไ ด้ ส าระ ความรู้ ข้ อ คิ ด และ บ่มเพาะคุณธรรม ซึ่งเป็นสิ่งที่เคยมองข้าม...”

ป.๑ ไปเรียนรู้แพทย์แผนไทย • ๑๓ ม.ค. ๕๔ เด็กๆ ได้เรียนรู้วิถีชีวิตของคนไทยในการดูแลตนเองและการเลือกใช้สมุนไพรมารักษา โรค ได้เรียนรู้วิธีการนวด ท่านวด และการทำ�ลูกประคบ อีกทั้งได้เชื่อมโยงความรู้กับ สาระความรู้เรื่องมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ การเกื้อกูลกันระหว่างคน-พืช-สัตว์

ป.๑ ไปซื้อของที่ร้านภูฟ้า • ๒๑ ม.ค. ๕๔ สืบเนื่องจากโครงการกระปุกบุญที่เด็กๆ ได้แบ่งเงินออมเป็น ๔ ส่วน หนึ่งส่วนในนั้นได้ นำ � มาใช้ ใ นการเลื อกซื้ อสิน ค้าที่ร้านภูฟ้าเพื่อใช้ก ราบเท้าคุ ณ พ่ อ คุ ณ แม่ เป็ น การ เชื่อมโยงกับหน่วยการเรียนรู้เรื่อง “หนี้ศักดิ์สิทธิ์” ทอสีสัมพันธ์ ฉบับธันวาคม ๒๕๕๓ - มีนาคม ๒๕๕๔ ปีการศึกษา ๒๕๕๓


ประถมศึกษาปีที่ ๑ (ต่อ) ป.๑ ไป Family Trip ที่ปากช่อง • ๒๒-๒๓ ม.ค. ๕๔

ประถมศึกษาปีที่ ๓

เด็กๆ ได้เรียนรู้การอยู่ร่วมกันอย่างกัลยาณมิตร ตระหนักเห็นคุณค่าการอนุรักษ์ป่าไม้และ ธรรมชาติ ได้เรียนรู้ลักษณะภูมิประเทศของปากช่อง รวมถึงความสัมพันธ์ของคน-พืช-สัตว์ ป.๑ ไปทำ�กิจกรรมที่บ้านบางแค ๒ • ๔ ก.พ. ๕๔ เชื่อมโยงกับหน่วยการเรียนรู้ “หนี้ศักดิ์สิทธิ์” เด็กๆ ได้เรียนรู้เรื่องการดูแลผู้ใหญ่ เพื่อปู พื้นฐานในเรื่องความกตัญญู เด็กๆ และผู้ปกครองได้ร่วมบริจาคของใช้และเงิน พร้อมทั้งได้ ทำ�กิจกรรมสันทนาการและการนวดแผนไทยให้กับผู้สูงอายุบ้านพักคนชรา

ป.๓ ชมนิทรรศการ Dialogue in the Dark ๓ ก.พ. ๕๔ เด็กๆ โดยสารรถไฟฟ้าไปชมนิทรรศการนี้ที่ จัตรุ สั จามจุรี ได้เดินทางในห้องจำ�ลองทีน่ �ำ ทาง โดยผูพ้ กิ ารทางสายตา ในภาวะทีต่ ามองไม่เห็น พวกเขาได้เรียนรู้และพัฒนาการทำ �งานของ ประสาทสัมผัสอื่นๆ ได้ฝึกใช้จินตนาการ ฝึกใช้ สติกบั ฐานกาย อีกทัง้ ได้รคู้ ณ ุ ค่าของดวงตาและ เข้าใจผู้อื่นที่แตกต่างจากตนเอง

ประถมศึกษาปีที่ ๒ ป.๒ ไปทัศนศึกษาวัดพระแก้ว • ๑๙ ม.ค. ๕๔ เด็กๆ ได้เรียนรูป้ ระวัตแิ ละความเป็นมาของพระแก้ว มรกต รวมทัง้ การสร้างวัดพระศรีรตั นศาสดารามเป็น อารามหลวง สิ่งที่เด็กๆ ประทับใจมากที่สุด คือ งาน จิตรกรรมภาพวาดสีฝุ่นรูปรามเกียรติ์ ซึ่งเด็กๆ ได้ให้ ความสนใจและได้รบั คำ�ชืน่ ชมว่า “รูม้ ากกว่าวิทยากร เสียอีก” เล่นเอาเด็กๆ ยิ้มน้อยยิ้มใหญ่ไปตามๆ กัน

ป.๒ ไปเรียนรู้ที่กรมทรัพยากรนำ�้ • ๒๔ พ.ย. ๕๓ ได้เรียนรูใ้ นช่วงของภาวะนำ�ท้ ว่ มและสถานการณ์ทเี่ กิดขึน้ ในประเทศไทยในขณะนัน้ โดยได้ เรียนรู้เครื่องมือตรวจสอบวัดระดับนำ�้ที่มากเกินความจำ�เป็น เด็กๆ ได้รู้จักแม่นำ�้ที่มีผล ทางการเกษตรในประเทศไทย รวม ๒๕ สาย ป.๒ ไปทัศนศึกษาที่วัดโพธิ์ • ๑๕ ธ.ค. ๕๓ ได้เรียนรูว้ ดั แห่งแรกของกรุงรัตนโกสินทร์ อันเป็นวัดประจำ�ของรัชกาลที่ ๑ ได้รปู้ ระวัตศิ าสตร์ รอยต่อระหว่างธนบุรีกับรัตนโกสินทร์ และได้เรียนรู้ท่าฤาษีดัดตนที่เป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน ซึ่งปัจจุบันประยุกต์เป็นท่าโยคะต่างๆ อีกทั้งได้เรียนรู้ศิลปะและเจดีย์ประจำ �รัชกาล ได้รู้ วัฒนธรรมต่างชาติ เช่น ที่มาของตุ๊กตาจีน (อับเฉา) ฯลฯ ๘

ทอสีสัมพันธ์ ฉบับธันวาคม ๒๕๕๓ - มีนาคม ๒๕๕๔ ปีการศึกษา ๒๕๕๓

ป.๒ ไป Family Trip ราชบุรี • ๒๒-๒๓ ม.ค. ๕๔ ครู ผู้ปกครอง และเด็ก ได้มีโอกาสใช้เวลาร่วมกันที่ อุทยานหุ่นขี้ผึ้งสยาม ได้ชมการแสดงหนังใหญ่และ เข้าชมพิพธิ ภัณฑ์หนังใหญ่ทวี่ ดั ขนอน รวมทัง้ ได้ไปทำ� กิจกรรมที่ไร่ปลูกรัก ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์เข้ากับการเกษตร ป.๒ ไปศูนย์วิจัยป่าชายเลน • ๙ ก.พ. ๕๔ เป็ น การบู ร ณาการวิ ช าวิ ท ยาศาสตร์ เข้ า กั บ วิ ช า ธรรมชาติ เด็กๆ ได้เรียนรูร้ ะบบนิเวศ ประโยชน์ และ คุณค่าของป่าชายเลน เปิดโอกาสให้รู้จักเชื่อมโยงสู่ ระบบนิเวศในร่างกายของคนเรา อีกทั้งรู้จักมอง สุนทรียภาพความงามของสิ่งแวดล้อม


ประถมศึกษาปีที่ ๔ ป.๔ ไปค่ายป่าต้นนำ�้ • ๘-๑๑ ธ.ค. ๕๓

เป็นครั้งแรกที่ชาวห้องต้นกล้วยได้ไปเข้าค่าย ๓ วัน ๔ คืน ที่ต่างจังหวัด เด็กๆ ได้ความรู้และความสนุกสนานมากมายจากการเข้าค่ายป่าต้นนำ�้ ของมูลนิธิกระต่ายในดวงจันทร์ ได้นอนในป่า ๑ คืน นอนที่เนินทราย ๑ คืน และนอนทีม่ ลู นิธิ ๑ คืน (รายละเอียดเชิงลึกอยูใ่ นทอสีสมั พันธ์ฉบับ ที่แล้ว หาอ่านย้อนหลังได้ค่ะ)

ป.๓ ไปเกี่ยวข้าวที่บ้านครูน้ำ�อ้อย ๕-๖ ม.ค. ๕๔ อ่านรายละเอียดที่หน้า ๑๒

ประถมศึกษาปีที่ ๕

ป.๓ ไปทำ�นาที่บ้านครูธานี ๘ ก.พ. ๕๔ นักเรียนห้อง ป.๓ ได้เรียนรูก้ ระบวนการสีขา้ วโดยใช้เครือ่ งมือโบราณ รู้กระบวนการทำ�แป้งและแปรรูปอาหาร เรียนรู้ลักษณะของควาย วิธีการทำ�คันนา รวมถึงตระหนักรู้คุณค่าของข้าวและชาวนา

ป.๕ ไป Family Trip ศูนย์ภูมิรักษ์ จ.นครนายก ๑๒-๑๓ ก.พ. ๕๔ เด็ ก ๆ ได้ เข้ า ชมฐานการเรี ย นรู้ ก ารทำ � ของใช้ ใ นบ้ า น อาทิ นำ �้ ย า เอนกประสงค์ แชมพู สบู่เหลว ปุ๋ยหอม ฯลฯ และนำ�ความรู้มาต่อยอด ใช้ในการจัดฐานในโรงเรียนและงานนิทรรศการ

ป.๕ ไปทัศนศึกษาที่พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย ๒๔ ม.ค. ๕๔ เป็ น การทั ศ นศึ ก ษาเพื่ อ เรี ย นรู้ ป ระวั ติ ค วามเป็ น มาของพิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ วิวัฒนาการเงินตราของไทย บทบาทของธนาคารแห่งประเทศไทยและ ธนาคารพาณิชย์

ประถมศึกษาปีที่ ๖

ป.๖ ไปร้องเพลงถวายพระพรที่ ร.พ. ศิริราช และทัศนศึกษาที่พิพิธภัณฑ์คองดอน ๑๑ ม.ค. ๕๔ นักเรียนชั้น ป.๖ เลือกถวายความจงรักด้วยเสียงเพลงในบทเพลง “ต้นไม้ของพ่อ” โดยได้ นำ�ถวายต่อหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ของในหลวงที่โรงพยาบาลศิริราช (ชมคลิปได้ที่ www.thawsischoo.com) หลังจากการถวายพระพร เด็กๆ ได้ไปทัศนศึกษาที่พิพิธภัณฑ์ คองดอน ได้เรียนรู้เรื่องกายวิภาคและระบบต่างๆ ในร่างกาย เรียนรู้เรื่องไตรลักษณ์และ คุณค่าการเกิดเป็นมนุษย์

ป.๖ ไปงานอาจาริยบูชาหนองป่าพง/เที่ยวลาว ๑๔ ม.ค. ๕๔ นักเรียนห้องประดู่นัดเจอกันที่หัวลำ�โพงเพื่อนั่ง รถไฟตู้นอนไปจนถึงอุบลฯ และต่อรถบัสไปที่ลาว ใต้ ได้แวะชมนำ�ต้ กทีผ่ าส้วมและตาดผาแต้ม ชมเสา เฉลียงและภาพเขียนสีโบราณ รวมทั้งเข้าร่วมงาน อาจาริยบูชาที่วัดหนองป่าพง

ทอสีสัมพันธ์ ฉบับธันวาคม ๒๕๕๓ - มีนาคม ๒๕๕๔ ปีการศึกษา ๒๕๕๓


เรื่องเล่า... จากชั้นเรียน ฐานนวด-ฤาษีดัดตน ฐานคลินิกหมอภาษา และฐานขัดรองเท้า โดย ชั้น ป.๑

เล่าโดย ครูนาง คุณครูประจำ�ชั้น ป.๑ (สาละ) บันทึกเรื่องเล่า โดย ครูหยก เสียงเจื้อยแจ้วแว่วมาแต่ไกล หนูน้อยผู้ทำ�หน้าที่เป็น ประชาสัมพันธ์ประจำ�ห้อง ป.๑ เอ่ยปากชักชวนคุณครูและ ผู้ปกครองที่เดินผ่านไปมาให้แวะเวียนฐานของตนเองที่บริเวณลาน นำ�้พุหน้าตึกอนุบาล ในฐานการนวด เด็กๆ ได้เรียนรู้ที่จะใช้การนวดบริการ ผู้ใหญ่ อันได้แก่ คุณพ่อคุณแม่ ครูอาจารย์ โดย ป.๑ ได้จัดให้มี ทั้งฐานฤาษีดัดตน และการนวดด้วยมือ การนวดโดยใช้อุปกรณ์ เช่น ลูกเทนนิส ลูกกอล์ฟ ลูกกลิ้ง ฯลฯ รวมถึงการนวดด้วยนำ�้มัน สมุนไพรหอมระเหยต่างๆ

๑๐

ทอสีสัมพันธ์ ฉบับธันวาคม ๒๕๕๓ - มีนาคม ๒๕๕๔ ปีการศึกษา ๒๕๕๓

ในส่ ว นของคลิ นิ ก หมอภาษาจะมี คุ ณ หมอระดั บ ชั้ น ประถมศึกษาปีที่ ๑ หลายท่าน คอยทำ�การทดสอบการออกเสียง การวาดและเคลื่อนไหวลิ้น การอ่านคำ�ไทยและการอ่านประโยค ยาวๆ พร้อมทั้งแจ้งผลการทดสอบให้คนไข้ทราบ (ในคลินิกนี้ ดูไป แล้ว หมอเนยจะได้รับความนิยมเป็นพิเศษ) คุณหมอรุ่นเยาว์ทำ� หน้าที่อย่างแข็งขัน สร้างความประทับใจให้คนไข้ตัวโตๆ ได้ไม่น้อย ในฐานสุดท้าย คือฐานขัดรองเท้า เด็กๆ จะนั่งลงบนเสื่อ โชว์ความสามารถการขัดรองเท้าของตนเอง เรียกได้ว่านักเรียนชั้น ป.๑ ดูแลตัวเอง ดูแลรองเท้าของตัวเองกันได้แล้วทุกคน และแสดง ให้เห็นว่าการขัดรองเท้าไม่ใช่เรื่องยากสำ�หรับพวกเขาอีกต่อไป


ภาพผลงานที่ นั ก เรี ย นวาดเป็ น พระบรมสาทิ ศ ลั ก ษณ์ (ภาพวาด) ของในหลวงของเรา เมื่อเดินเข้าไปชมใกล้ๆ พบว่า บน กระดาษวาดเขียนแต่ละแผ่นมีข้อความดีๆ เขียนกำ�กับไว้ด้วย โดย ข้อความเหล่านี้เป็นข้อความที่แปลมาจากหนังสือ Life’s Little Instructions ของ H. Jackson Brown, Jr.

ภาพสีนำ�้ “ในหลวง” โดยฝีมือศิลปินน้อย ชั้น ป.๒

เล่าโดย ครูหน่า คุณครูประจำ�ชั้น ป.๒ (ต้นโมก) บันทึกเรื่องเล่า โดย ครูหยก

กว่ า จะออกมาเป็ น ผลงานสวยๆ.ให้ พ วกเราได้ ชื่ น ชม ในเบื้ อ งต้ น ศิ ล ปิ น น้ อ ยแต่ ล ะคนจะเลื อ กพระบรมฉายาลั ก ษณ์ (ภาพถ่าย) และข้อความที่ตัวเองชอบมาเป็นต้นแบบก่อน คุณครู เป็นผู้คอยให้คำ�แนะนำ�เรื่องกติกาการจัดวางภาพ โดยขอให้เป็น ภาพในหลวงในลักษณะที่เห็นพระพักตร์ (ใบหน้า) ชัดเจน เว้นพื้นที่ สำ�หรับข้อความให้เหมาะสม

หลายคนที่ได้มีโอกาสเดินขึ้นตึกประถมบอกว่ารู้สึกสะดุด ตากับบอร์ดผลงานสีนำ�้บริเวณริมทางเดินของบันได สีสันที่สดใส และเส้นสายลายสีนำ�้บนแต่ละชิ้นงานสะท้อนความเป็นตัวตนได้ อย่างชัดเจน ครูหน่าเล่าว่าในชั้นเรียนห้องต้นโมกได้บูรณาการ ศิลปะเข้ากับบทเรียนที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ไทย

เด็กๆ เองได้เรียนรู้ทั้งการวางพื้นที่ ทักษะทางศิลปะ และ เกิดความภูมิใจในตัวเองไปพร้อมๆ กัน ท่านผู้อ่านสามารถชมภาพ วาดได้บริเวณทางเดินขึ้นลงของอาคารประถม หรือพลิกอ่านทอสี สัมพันธ์ฉบับสี่สีได้ที่ www.thawsischool.com เร็วๆ นี้ค่ะ ทอสีสัมพันธ์ ฉบับธันวาคม ๒๕๕๓ - มีนาคม ๒๕๕๔ ปีการศึกษา ๒๕๕๓

๑๑


ไม่ลองลงมือ ไม่รู้! เล่าโดย ครูเชอรี่ คุณครูประจำ�ชั้น ป.๓ (ปอกระสา) พวกเราชาวต้นปอกระสาโชคดีมากที่ได้มีโอกาสไปเรียนรู้ กระบวนการการผลิตข้าว และได้ลงมือกันจริงๆ ที่บ้านครูนำ�้อ้อย จ.กาญจนบุรี ในช่วงวันที่ ๕-๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๔ ในเทอมแรก เด็กชาวกรุงอย่างเรา (ซึ่งหาพื้นที่ซ้อมการดำ�นาได้แสนยาก) ได้รับ ความเมตตาจากคุณลุง คุณป้า และคุณยาย ที่บ้านครูนำ�้อ้อยช่วย สอนเรื่องการปลูกข้าว แม้จะยากบ้างแต่ก็ตั้งใจกันดี ในเทอม ๒ พวกเรารอฟังข่าวการเติบโตของข้าวที่เราไป ปลูกอยู่เป็นระยะๆ แต่ก็ยากที่จะควบคุมดินฟ้าอากาศทำ�ให้นำ�้ท่วม จนข้าวของพวกเราเสียหายไปบ้าง และการที่อากาศแปรปรวนก็ ทำ�ให้รู้เวลาที่ข้าวออกรวงได้ยาก แต่ในที่สุด พวกเราก็ได้ไปเกี่ยว ข้าวที่พอจะเหลือรอดบ้าง

ในครั้งนี้พวกเราไปกัน ๒ วัน ๑ คืน พอไปถึงก็ลงมือเกี่ยว ข้าวกันเลย แต่กว่าจะทำ�ได้คล่องก็ครึ่งค่อนวันแล้ว เรื่องที่ทุกคน กังวลคือการใช้เคียว ที่ต้องมีสติอย่างมากก็จะทำ�ให้ได้แผลกันน้อย ลง หลายคนเริ่มตระหนักแล้วว่า กว่าจะดำ�กว่าจะเกี่ยวนั้นแสนยาก แต่รางวัลแห่งความสำ�เร็จก็คือ การเห็นข้าวที่หายไปแถบหนึ่งของ ผืนนา

๑๒

เฮ...เฮ ทอสีสัมพันธ์ ฉบับธันวาคม ๒๕๕๓ - มีนาคม ๒๕๕๔ ปีการศึกษา ๒๕๕๓

พวกเราได้ พั ก เหนื่ อ ยโดยการเล่ น กองฟางและเล่ น ใน อ่างเก็บนำ�้อย่างสนุกสนาน อาหารมื้อเที่ยงจึงเป็นมื้อที่อร่อยมาก เป็นพิเศษ หลังจากที่ทำ�งานตากแดดมาทั้งวัน ตอนกลางคืนเป็น ช่วงพูดคุยกัน คุณตาคุณยายตามบ้านต่างๆ เล่าถึงความภูมิใจใน การเป็นชาวนาและการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตจากอดีตถึงปัจจุบัน ตอนดึกพวกเราได้นอนกางมุ้ง นอนหลับสบาย วันถัดมา พวกเราได้ ลองทำ�เส้นขนมจีนและไม้กวาด ได้ลองชิมขนมจีนกันคนละหลาย ชาม ในการไปทำ�กิจกรรมครั้งนี้ พวกเราได้เรียนรู้ว่า หลายอย่างที่ เราได้มา เกิดจากความเหนื่อยยากของผู้คนจำ�นวนมาก เราจึงควร เห็นคุณค่าของสิ่งเหล่านั้น


MAP ME แผนที่ประเทศฉัน เล่าโดย ครูจิ๊บ คุณครูทดลองงาน ชั้น ป.๕ (ก้ามปู) บันทึกเรื่องเล่า โดย ครูหยก Map me เป็นกิจกรรมที่ครูจิ๊บได้มีโอกาสทำ�เวิร์คช็อป มาก่อนเมื่อครั้งเรียนอยู่ที่ประเทศอังกฤษ สำ�หรับกระบวนการของ การทำ�กิจกรรมนี้ จะเริ่มต้นที่การจับคู่นักเรียน ให้คนหนึ่งนอนลง บนกระดาษปรู๊ฟแผ่นใหญ่ และอีกคนที่เหลือทำ�หน้าที่ลากเส้นรอบ ตัวเพื่อนที่นอนอยู่ (นอนท่าอะไรก็ได้ สามารถยกไม้ยกมือได้) จาก นั้นก็สลับหน้าที่กัน... เมื่อได้รูปวาดบนประดาษแล้ว คุณครูจะเริ่มทำ�ความ เข้าใจถึงกติกาในการเขียนและลงสี กติกาง่ายๆ ก็คือ ให้มองว่าภาพ เส้นร่างบนกระดาษนี้เป็นเสมือน “แผนที่ประเทศ” เส้นที่ลากไว้ เป็นเขตแดนของประเทศ เด็กๆ สามารถใส่ “จังหวัด” ต่างๆ ลงไป ในประเทศ กำ�หนดขนาดของจังหวัดให้ใหญ่เล็กได้ตามชอบใจ

ในแต่ละจังหวัดจะมีชื่อจังหวัดเป็นชื่อความรู้สึกนึกคิด ทัศนคติ ความคิดความฝัน หรือพฤติกรรมเด่นๆ ของตัวเอง ยกตัวอย่างเช่น มีนำ�้ใจ ดื้อ ขี้โมโห ชอบดูทีวีนานๆ ใจดี รักสัตว์ ฯลฯ โดยมีข้อตกลงพิเศษร่วมกันว่าจะวาดจังหวัดรูป “หัวใจ” ไว้ที่ พิกัดกลางหน้าอก (เว้นพื้นที่ในหัวใจให้ว่างไว้ก่อน) เมื่อใส่จังหวัดลงภายในประเทศเรียบร้อยแล้ว คุณครูจะ เปิดโอกาสให้เด็กๆ เขียนบนพื้นที่นอกเขตแดนบ้าง โดยเขียนคำ�ว่า “Family” ไว้ที่ทิศเหนือ เขียนคำ�ว่า “School” ไว้ทางทิศตะวัน ออก และเขียนคำ�ว่า “Friends” ไว้ทางทิศตะวันตก พร้อมทั้งใส่ ทัศนคติหรือความรู้สึกนึกคิดที่ตัวเองมีต่อแต่ละหัวข้อลงไป สิ่งที่ สำ�คัญมากในขั้นตอนถัดมา คือ ให้โอกาสเด็กๆ คิดไตร่ตรองแล้วใส่ “สิ่งที่ต้องการให้ผู้อื่นจดจำ�เกี่ยวกับตัวเรา” ลงไปในช่อง “หัวใจ” ให้หัวใจทำ�หน้าที่เป็น “เมืองหลวง” ที่กำ�หนดทิศทางของประเทศ (เน้นความสำ�คัญกับเด็กๆ ในจุดนี้เป็นพิเศษ) เด็กๆ จะได้ตั้งชื่อ

ประเทศของตัวเอง และเขียนไว้ที่พื้นที่ทางด้านทิศใต้ท้ายกระดาษ ถัดจากนั้นจึงเริ่มขั้นตอนการระบายสี สีที่ใช้จะมีอยู่ ๕-๖ สี โดยมีกติการะหว่างกันว่า แต่ละสีจะ สื่อความหมายที่แตกต่าง โดยกำ�หนดให้ สีแดงแทนความโกรธ สีดำ� และสีนำ�้ตาลแทนความเศร้า สีเขียวแทนความสงบ สีเหลืองแทน ความพอใจ และสีส้มแทนความสดใสร่าเริง (สำ�หรับสีส้มนี้ คุณครู เลือกใช้คำ�ว่า “ลั้ลลา” สื่อความหมายแทน) เด็กๆ สามารถเลือก ระบายสีได้ตามใจ จะเลือกสีไหนมาระบายในส่วนใดของร่างกาย ก็ได้ ปริมาณมากน้อยเท่าใดก็ได้

กิจกรรม Map me หรือ “แผนที่ประเทศฉัน” จะช่วย สะท้อนให้เด็กได้มองเห็นภาพรวมของตนเอง คุณครูจะไม่สรุป ความถูกผิดในกิจกรรม แต่จะปิดท้ายด้วยการให้เด็กๆ ได้เขียนเล่า ความรู้สึกเกี่ยวกับกิจกรรมลงในสมุดบันทึกเพื่อวิเคราะห์ตนเอง ด้วยตนเอง (ชมตัวอย่างบันทึกได้ที่เว็บไซต์ของโรงเรียนเร็วๆ นี้) เหล่ า นี้ เ ป็ น เพี ย งส่ ว นหนึ่ ง ของเรื่ อ งเล่ า จากชั้ น เรี ย น เท่านั้น ท่านผู้อ่านสามารถติดตามหลากหลายกิจกรรมดีๆ ของ ชั้นเรียนอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่ www.thawsischool.com ค่ะ ทอสีสัมพันธ์ ฉบับธันวาคม ๒๕๕๓ - มีนาคม ๒๕๕๔ ปีการศึกษา ๒๕๕๓

๑๓


ผู้ปกครองปฏิบัติธรรม นำ�ครอบครัวเป็นสุข โดย แม่แจง (ฝ่ายวิชาชีวิตผู้ปกครอง)

ชีวิตที่สมบูรณ์ ชีวิตที่ดี จำ�ต้องมีจุดมุ่งหมายที่สูงกว่า เพียงแค่ผลตอบแทนจากการทำ�มาหากิน ต้องมีความหมายสูง กว่าโลกธรรมต่างๆ บางคนมัวแต่แสวงหาอำ�นาจ ต้องการเป็น ผู้มีชื่อเสียงโดยลืมไปว่า โด่งดังเท่าไรก็ตาม ตายแล้วไม่กี่ปีก็ไม่มี ใครจำ�เขาได้ ในชีวิตการทำ�งาน การฝึกจิตให้เข้มแข็งไม่ท้อแท้ต่อ อุปสรรคและไม่ประมาทในยามรุ่งเรือง ย่อมป้องกันอันตรายได้ดี นักปราชญ์เรียกว่า อยู่อย่างกินปลาโดยก้างไม่ติดคอ คือถึงแม้ว่า จำ�เป็นต้องดำ�เนินชีวิตท่ามกลางสิ่งแวดล้อมที่วุ่นวาย การทำ� สมาธิก็ช่วยให้ไม่ต้องวุ่นวายตาม ผลที่เห็นได้ชัดอยู่ตรงที่ว่า การ ทำ�หน้าที่หรือการทำ�งานทุกอย่าง ต้องมีอุปสรรคอยู่เสมอ เกิด จากคนอื่นก็มี เกิดจากสิ่งแวดล้อมก็มี เกิดจากเศรษฐกิจโลกก็มี บางครั้งปัญหาที่เกิดจากภายนอกเราแก้ได้ ในขณะที่บางปัญหา เหลือวิสัยที่จะแก้ไข ไม่มีทางสู้ ต้องทำ�ใจยอมรับแล้วเรียนรู้จาก ประสบการณ์

ธรรมะไม่ได้เกิดอยู่ที่อื่นไกล หากเกิดที่กาย ที่วาจา ที่ ใจของเราแต่ละคน หากแต่เราจะน้อมธรรมะเข้ามาสู่ใจเพื่อ ประโยชน์สุขของตัวเรา ครอบครัว และสังคมที่เราอยู่อาศัย ไม่ใช่ ของง่ายเลย ต้องฝืนความเคยชินและนิสัยเก่าพอสมควร ใน เบื้องต้นเรายังอ่อน ต้องการกำ�ลังใจจากข้างนอกค่อนข้างมาก ท่านจึงให้เราคบผู้ที่ศึกษาดีแล้ว ปฏิบัติดีแล้ว เพื่อได้วิธีที่ถูกต้อง และเพื่อได้ความมั่นใจว่าการปฏิบัติมีผลจริงไม่เหลือวิสัย ๑๔

ทอสีสัมพันธ์ ฉบับธันวาคม ๒๕๕๓ - มีนาคม ๒๕๕๔ ปีการศึกษา ๒๕๕๓

ธรรมบรรยายของพระอาจารย์ ช ยสาโรเน้ น ยำ �้ ใ ห้ พ วก เราเห็นความสำ�คัญของการปฏิบัติธรรม เจริญสติ ภาวนา ว่าเป็น เรื่องสำ�คัญของชีวิตที่เราต้องตระหนักและทำ�ให้เกิดขึ้น เพราะใน พระพุทธศาสนา เราทุกคนต้องเป็นนักศึกษา การศึกษาคำ�สอนของ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ก็คือการศึกษาเรื่องของเราเอง เพราะธรรมะของพระองค์ทั้งหมดทั้งสิ้น มีความมุ่งมั่นอยู่ในสอง เรื่องคือ หนึ่ง การเปิดเผยธรรมชาติของมนุษย์ และ สอง การชี้แนะ แนวทางปฏิบัติต่อธรรมชาตินั้นให้ถูกต้อง


การปฏิบัติธรรมผู้ปกครอง ทั้งหมด ๑๑ ครั้ง ที่โรงเรียนจัด ให้กับผู้ปกครองในปีการศึกษานี้ จบลงแล้วนะคะ ก่อนอื่นต้องขอ อนุโมทนาท่านผู้ปกครองทุกท่าน ที่ให้ความร่วมมือในการเข้าอบรม ปฏิบัติธรรมตามที่โรงเรียนกำ�หนดกันอย่างอบอุ่น แม้ว่าหลายๆ ท่านจะจัดสรรเวลากันค่อนข้างลำ�บากก็ตาม

การปฏิบัติธรรมในแต่ละครั้ง ท่านอาจไม่ได้ความสงบ กลับไป แต่สิ่งที่ได้เรียนรู้อาจคือการรู้ว่าความไม่สงบและฟุ้งซ่านใน บรรยากาศที่เงียบสงบนั้นเป็นอย่างนี้เอง ความเมื่อยล้า ไม่สบาย กายที่ทางธรรมเรียกว่า ทุกขเวทนาทางกายนั้น มันเป็นเช่นนี้เอง หนอ ธรรมบรรยายที่ได้รับในแต่ละครั้ง เราหวังให้เป็นเครื่องมือ สำ�คัญที่ท่านสามารถจะหยิบใช้ได้เมื่อต้องพบกับเหตุการณ์ต่างๆ ทั้งสุขและทุกข์ในชีวิต หรืออย่างน้อยก็เป็นเครื่องเตือนสติให้เราได้ ยั้งคิดให้รอบคอบก่อนสร้างเหตุ เพราะผลย่อมมาแต่เหตุที่เราสร้าง หวังว่าการปฏิบัติธรรมที่โรงเรียนตั้งใจจัดขึ้นเพื่อให้ผู้ปกครองได้ พัฒนา ขัดเกลาจิตใจให้สงบร่มเย็น มีสัมมาทิฏฐิในการดูแลตัวเอง สำ�หรับเรื่องวัน เวลา ในการจัดปฏิบัติธรรม มีผู้ปกครอง และครอบครัว จะเป็นสิ่งที่ผู้ปกครองเห็นประโยชน์และยินดีมาเข้า หลายท่านมีความประสงค์ให้จัดวันเสาร์ อาทิตย์ และอีกหลายท่าน ร่วมกันต่อไปนะคะ อยากให้จัดวันธรรมดา ทางโรงเรียนเองก็พยายามจะจัดให้ได้ทั้ง วันธรรมดาและเสาร์อาทิตย์เท่าๆ กัน เพื่อให้สะดวกกับผู้ปกครอง ทั้ง ๒ กลุ่มนะคะ อย่างไรก็ตาม วันและเวลาที่เราจัดได้นั้น ต้อง ขึ้นกับความสะดวกของผู้นำ�ปฏิบัติเป็นสำ�คัญด้วย ที่ผ่านมาจึงอาจ ไม่สามารถเฉลี่ยให้เท่าๆ กันได้ แต่ก็จะพยายามจัดให้ได้ตรงความ ต้องการมากขึ้นในปีต่อไปนะคะ สุดท้ายในฐานะที่เราเป็น พ่อ แม่ ผู้แสดงโลก ขอฝาก ข้อความตอนหนึ่งจากพระธรรมเทศนาของพระอาจารย์ชยสาโร ใน เรื่องพ่อแม่ผู้แสดงโลก ไว้ส่งท้ายดังนี้ค่ะ

สำ�หรับเรื่องวันและเวลาในการจัดปฏิบัติธรรม มีผู้ปกครองหลาย

“การภาวนา ไม่ว่า ทางกาย ทางศีล ทางจิต ทางปัญญา ล้วนแต่ มีผลต่อลูก เป็นการแสดงโลกให้ลูกเห็นความงามของคุณธรรม” ทอสีสัมพันธ์ ฉบับธันวาคม ๒๕๕๓ - มีนาคม ๒๕๕๔ ปีการศึกษา ๒๕๕๓

๑๕


Back to Nature

กับชมรมนิยมธรรมชาติ

ชมรมนิยมธรรมชาติกำ�ลังย่างเข้าปีที่ ๖ ในปีการศึกษา ๒๕๕๔ ใน ทอสีสัมพันธ์ฉบับนี้จึงขอเท้าความถึงที่มาของชมรมฯ สำ�หรับผู้ ปกครองน้องใหม่ที่อาจยังไม่ค่อยรู้จักชมรมฯ กันหน่อยนะคะ ชมรมนิยมธรรมชาติทอสี ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ๒๕๔๘ โดยกลุ่มครู และ.ผู้ปกครองที่ให้ความสำ�คัญกับเรื่องของธรรมชาติ ประกอบ กับขณะนั้นเรามี อาจารย์วัชระ อยู่สวัสดิ์ ซึ่งเป็นนักธรรมชาติ วิทยา และเป็นที่ปรึกษาให้กับโรงเรียน อีกทั้งช่วยอบรมครูและ สอนเด็กๆ มาแล้วเป็นเวลาหลายปี อาจารย์วัชระมองเห็นว่าการ ที่เด็กๆ เรียนรู้เรื่องของธรรมชาติที่โรงเรียนแล้ว แต่ที่บ้านยังอยู่ใน บริบทของชาวเมืองที่สิ่งแวดล้อมยังค่อนข้างห่างไกลกับธรรมชาติ อยู่ การเรียนรู้ดังกล่าวก็มิอาจสมบูรณ์ได้ จึ ง เกิ ด ความคิ ด ริ เ ริ่ ม ร่ ว มกั น ในการที่ จ ะส่ ง เสริ ม ให้ ส ถาบั น ครอบครัวได้มีโอกาสใช้วันว่างร่วมกันในเรื่องธรรมชาติ ซึง่ สามารถ สร้างการเรียนรู้ในมิติต่างๆ ได้อย่างดีสำ�หรับทุกเพศทุกวัย ชมรม นิยมธรรมชาติทอสีจึงก่อตั้งขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ • • •

สนับสนุนให้เกิดความเข้าใจในคุณค่าของระบบนิเวศธรรมชาติ ส่งเสริมให้เกิดความรัก ความรู้ ความเข้าใจในธรรมชาติ และ สิ่งแวดล้อมของสังคมทั้งในและนอกโรงเรียน ส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยลงมือปฏิบัติจริง เกิดการแลกเปลี่ยนแหล่งความรู้แก่สมาชิก ก่อให้เกิดความสมานฉันท์ในครอบครัว โรงเรียน และสมาชิก

• • ๑๖

ทอสีสัมพันธ์ ฉบับธันวาคม ๒๕๕๓ - มีนาคม ๒๕๕๔ ปีการศึกษา ๒๕๕๓

โดย ครูนุ้ย

ลั ก ษณะของชมรมจะเป็ น การจั ด กิ จ กรรมพาสมาชิ ก ศึ ก ษา ธรรมชาติในแบบต่างๆ เช่น ดูนก ดูแมลง ดูต้นไม้ แหล่งนำ�้ โดย มีวิทยากรนำ�ชม และเก็บค่าบำ�รุงของสมาชิกเพื่อนำ�ไปซื้ออุปกรณ์ เช่น กล้อง หนังสือ เพื่อการศึกษาธรรมชาติ ในปีการศึกษา ๒๕๕๓ นี้ ทางชมรมฯ กำ�หนดนโยบายใหม่ คือไม่จัดเก็บค่าสมาชิกใหม่ (ชาวชุมชนทอสีทุกคนจะได้เป็น สมาชิกโดยอัตโนมัติ) เนื่องจากการจัดกิจกรรมชมรมฯ นั้นจะ ต้องไม่ตรงกับกิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียน จึงไม่สามารถกำ�หนด วั น จั ด กิ จ กรรมอย่ า งชั ด เจนได้ . สำ � หรั บ ปี ก ารศึ ก ษานี้ เราได้ จั ด กิ จ กรรมศึ ก ษาธรรมชาติ ป่ า ชายเลนกั น ที่ . “บ้ า นไม้ ช ายเลน” จ.สมุทรสงคราม เมื่อวันที่ ๒๗ มกราคม ๒๕๕๔ โดยมีกิจกรรม นั่งเรือชมธรรมชาติ ปลูกป่าชายเลน เล่นกระดานเลน และทาน อาหารบนกระเตง ผู้ร่วมกิจกรรมทุกคนได้รับทั้งสาระและความ สนุกสนานกลับบ้านกันถ้วนหน้า


สุขภาพดี มีพลัง โดย ครูนำ�้อ้อย

สูตรและวัตถุดิบ ใช้สมุนไพรฤทธิ์เย็น อาทิ ย่านางเขียว ๕-๒๐ ใบ ใบเตย ๑-๓ ใบ บัวบก ครึ่ง-๑ กำ�มือ หญ้าปักกิ่ง ๓-๕ ต้น ใบอ่อมแซบ (เบญจรงค์) ครึ่ง-๑ กำ�มือ ผักบุ้ง ครึ่ง-๑ กำ�มือ ใบเสลดพังพอน ครึ่ง-๑ กำ�มือ หยวกกล้วย ครึ่ง-๑ คืบ ว่านกาบหอย ๓-๕ ใบ (จะใช้อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกันก็ได้)

ย่านาง

วิธีปรุง

ขับพิษ ลดไข้ ดับร้อน

โขลกหรือปั่นสมุนไพรต่างๆ ให้ละเอียด ผสมกับนำ�้เปล่า ๑-๓ แก้ว (บางครั้งอาจผสมนำ�้มะพร้าว นำ�้ตาล นำ�้มะนาว นำ�้มะขาม ที่รสไม่จัด เกินไป เพื่อทำ�ให้ดื่มได้ง่าย) แล้วกรองเอากากออก

เตยหอม

บำ�รุงหัวใจ ลดนำ�้ตาลในเลือด

นำ�นำ�ท้ ไี่ ด้มาดืม่ ครัง้ ละประมาณ ครึง่ -๑ แก้ว วันละ ๑-๓ ครัง้ ก่อนอาหาร หรือตอนท้องว่างหรือดื่มแทนนำ�้ตอนที่รู้สึกกระหายนำ�้ โดยปริมาณการ ดื่มและความเข้มข้นของสมุนไพร อาจมากหรือน้อยกว่านี้ก็ได้ ตามความ ต้องการของร่างกาย ณ เวลานัน้ ๆ โดยดูความพอดีได้จากความรูส้ กึ ทีก่ ลืน ง่าย ไม่ฝืดไม่ฝืน ไม่พะอืดพะอม และความสบายตัว กรณีที่ดื่มนำ�้สมุนไพรฤทธิ์เย็นสดแล้วรู้สึกไม่สบาย สามารถเติมนำ�้ร้อน เพิม่ หรือนำ�ไปต้มให้เดือดก่อนดืม่ หรืออาจเติมน้�ำ สมุนไพรฤทธิร์ อ้ นก่อน ดื่มก็ได้ (เช่น นำ�นำ�้ต้มขมิ้น/ขิง/ตะไคร้ มาผสม) อย่างไรก็ดี สำ�หรับท่าน ทีร่ า่ งกายมีฤทธิเ์ ย็น ก็อาจดืม่ สมุนไพรฤทธิร์ อ้ นอย่างเดียวก็ได้ ถ้าดืม่ แล้ว รู้สึกสบาย

ผักบุ้ง

ขับพิษ บำ�รุงสายตา

ใบบัวบก

ลดความดัน คลายเครียด

ภาวะของร่างกาย ๘๐% จะมีอาการของภาวะร้อนเกินไป แสดงเป็นอาการดังต่อไปนี้ ตาแดง ตาแห้ง แสบตา ปวดตา ขอบตาคลำ�้ มีสิวฝ้า มีตุ่มร้อนในช่องปาก เหงือกอักเสบ นอนกรน ปากคอแห้ง ริมฝีปากแห้ง ผมร่วง หงอกก่อนวัย มีรังแค ไข้ขึ้น ปวดหัว ตัวร้อน ครัน่ เนือ้ ครัน่ ตัว มีเส้นเลือดขอด มีรอยจำ�เ้ ขียว คลำ�้ ปวดบวมแดงร้อนตามร่างกายหรือตาม ข้อ กล้ามเนื้อเกร็งค้าง กดเจ็บ เป็นตะคริว บ่อยๆ ผิวหนังผิดปกติคล้ายรอยไหม้ เกิดฝี หนอง ตกกระสีนำ�้ตาลหรือสีดำ�ตามร่างกาย

ท้องผูก ปัสสาวะมีปริมาณน้อย สีเข้ม มัก ปัสสาวะช่วงเที่ยงคืนถึงตี ๒ (คนที่ร่างกาย ปกติ สมดุล จะไม่ตื่นปัสสาวะกลางดึก) เป็น เริม งูสวัด หายใจร้อน เสมหะเหนียวข้น ขาว ขุ่น สีเหลืองหรือสีเขียว บางทีเสมหะพันคอ โดยสารยานยนต์มักอ่อนเพลียและหลับขณะ เดินทาง เลือดกำ�เดาออก มักง่วงนอน หลังกิน ข้าวอิม่ ใหม่ๆ เป็นมากจะยกแขนขึน้ ไม่สดุ ไหล่ ติ ด หน้ า มื ด คลื่ น ไส้ มั ก แสดงอาการเมื่ อ

อากาศร้อนหรือเปลี่ยนอิริยาบถเร็วเกิน หรือ ทำ�งานเกินกำ�ลัง เจ็บเหมือนมีเข็มแทงหรือไฟ ช็อต หรือร้อนเหมือนไฟเผา อ่อนล้า อ่อนเพลีย แม้นอนพักก็ไม่หาย รู้สึกร้อนแต่เหงื่อไม่ออก เจ็บปลายลิ้น แสดงว่าหัวใจร้อนมากถ้าเป็น มากจะเจ็บแปลบที่หน้าอก และอาจร้าวไปที่ แขน เจ็บคอ เสียงแหบ คอแห้ง หิวมาก หิว บ่อย หูอื้อ ตาลาย ส้นเท้าแตก เจ็บส้นเท้า

ทอสีสัมพันธ์ ฉบับธันวาคม ๒๕๕๓ - มีนาคม ๒๕๕๔ ปีการศึกษา ๒๕๕๓

๑๗


โดย แม่แจง

ของขวัญวันเกิดที่ได้เตรียมการมาถึง ๕ เดือนอย่างตั้งใจและใส่ใจ ทำ�ให้ผู้เป็นแม่ชื่นใจอย่างบอกไม่ถูกทีเดียว เราซึ่งเป็นผู้ฟังก็พลอย สาธุ... กับเรื่องราวอันงดงามนี้

ช่างทำ�ผมของแม่

เหรียญ ๕ บาทที่ร้านขนมปัง

“แม่แจง มีเหรียญ ๕ บาท ให้หนูแลกไหมคะ” “มีค่ะ หนูจะเอาไปทำ�อะไรเหรอ” แม่แจงไม่ได้รับคำ�ตอบใดๆ แต่สักครู่ เด็กคนนั้นนำ�กระดาษทิชชู ห่อละ ๕ บาท มายื่นให้แม่ของเธอ เพราะก่อนหน้านั้นเธอรู้ว่าแม่ ไดัถามหากระดาษทิชชูเพราะแม่ไม่มีใช้ ทำ�เอาแม่แจงอึ้งไปกับ ความละเอียดอ่อนของเธอในการใส่ใจเรื่องราวเล็กน้อยของแม่

วันเกิดของแม่

เด็กคนนี้ได้นำ�ของขวัญที่ห่อด้วยกระดาษสวยงามมาให้แม่ เมื่อ แม่แกะออกดูได้เห็นหนังสือธรรมะ ๒ เล่ม แม่ถามว่า “หนูไป ได้มาอย่างไร” เพราะปกติเวลาซื้อหนังสือ แม่จะเป็นผู้จ่ายเงิน ให้ ย่อมรู้ว่าลูกซื้อหนังสืออะไรมาบ้าง และแม่ไม่เคยเห็นหนังสือ ๒ เล่มนี้ เมื่อได้คำ�ตอบจึงได้รู้ว่าลูกนำ�หนังสือของตัวเองไปแลก ในงานสัปดาห์มนต์รักอักษร ที่โรงเรียนจัดให้มีการแลกหนังสือ ได้ ซึ่งงานนี้จัดขึ้นในเดือนกรกฏาคม ห่างจากวันเกิดแม่ที่เกิดใน เดือนธันวาคมถึง ๕ เดือนทีเดียว และเมื่อแม่ถามว่า “ทำ�ไมเลือก หนังสือนี้ให้แม่” ลูกตอบว่า “ก็หนูเห็นแม่ชอบอ่านก่อนนอน”

เย็นวันหนึ่ง ค่อนข้างมืดแล้ว แม่กำ�ลังขับรถกลับบ้านกับลูก พร้อม กับบ่นเรื่องผมของตนที่รู้สึกคันมากแล้วและอยากจะแวะร้านทำ� ผม แม่กำ�ลังตัดสินใจว่าจะแวะร้านทำ�ผมดีหรือไม่ โดยไม่รู้ว่าลูก ภาวนาอยู่ในใจว่า “แม่อย่าแวะนะ” ในที่สุดลูกก็สมใจเพราะแม่ไม่ ได้แวะจริงๆ เมื่อกลับถึงบ้านสักพัก แม่ได้ยินเสียงลูกเรียกหา “แม่ มานี่หน่อยค่า... นอนตรงนี้ หนูจะสระผมให้” สิ่งที่แม่เห็นคือ ลูก ได้เตรียมที่สำ�หรับสระผมไว้อย่างดี ให้แม่ได้นอนสบายๆ พร้อม หนังสือให้อ่านเพื่อผ่อนคลายเหมือนร้านทำ�ผมไม่มีผิดเลยทีเดียว แล้ววันนั้นลูกก็ได้เป็นช่างสระผมให้แม่สมใจ ฟังแล้วก็ต้องบอก ว่า... สาธุให้ดังๆ สิ่งที่ลูกได้ทำ� หากเราแค่มองผ่านว่า ก็เป็นเรื่อง ธรรมดาที่เกิดขึ้นในวันหนึ่งของชีวิตก็เท่านั้น มันคงน่าเสียดาย ที่ทำ�ให้เราไม่ได้รู้ถึงหัวใจของคุณธรรมที่ชื่อว่า “กตั ญ ญู ” ในใจ ลูก โดยเฉพาะหากลูกเป็นเด็กที่ใครๆ หรือแม้แต่ตัวแม่และพ่อเอง ก็ไม่ค่อยชื่นชมนัก สิ่งเล็กน้อยที่ลูกได้ทำ�ด้วยความตั้งใจ หากเราพ่อแม่ได้ อนุโมทนาในความน่ารักความดีงามของลูก คงเป็นเหมือนนำ�้ทิพย์ ที่มาเติมเต็มให้ใจของลูกเบิกบาน เก็บไว้เป็นพลังให้พร้อมทำ�สิ่ง ดีงามนี้ต่อไป แต่หากพ่อแม่ไม่เห็นค่าสิ่งเล็กน้อยที่ลูกตั้งใจทำ� ลูก คงค่อยๆ หมดแรง (ใจ) และหยุดทำ�ไปในที่สุด ถึงวันนั้นหากเราไป รำ�่ ร้องให้ลูกทำ� แล้วลูกไม่ทำ� คงต้องคิดให้ดีว่า “เป็นเพราะใคร”

เรื่องราวที่เล่ามา เป็นเรื่องของ พิชชี่ พิชญา เพ็ญพัฒน์ ณ อยุธยา นักเรียนชั้นประถม ๖ ของเราค่ะ เรามาช่วยกัน “ค้นหา” สิ่งเล็กน้อยที่ลูกทำ�ที่เรียกว่า “คุณธรรมความดี” และเติมเต็มสิ่งนี้ในใจลูกๆ ของเรากันนะคะ หากใครมีเรื่องราวดีๆ ของลูกๆ ที่น่าชื่นชม บอกผ่านมาทางทอสีสัมพันธ์ได้นะคะ เพื่อเผยแพร่คุณธรรม ความดีงามให้งอกงามเต็มโรงเรียนและสังคมต่อไปค่ะ ๑๘

ทอสีสัมพันธ์ ฉบับธันวาคม ๒๕๕๓ - มีนาคม ๒๕๕๔ ปีการศึกษา ๒๕๕๓


โดย ครูแหม่ม ฝ่ายวิชาชีวิตนักเรียน

ปีการศึกษา ๒๕๕๓ กำ�ลังจะผ่านพ้นไป สิ่งต่างๆ ก็ ย่ อ มเปลี่ ย นแปลง ไม่ เ พี ย งแต่ ด้ า นร่ า งกายของเด็ ก ๆ ( และคุณครู ) แต่ด้านความคิดอ่านของเด็กๆ เองก็มีความ เปลี่ยนแปลงและงอกงามขึ้นเช่นกัน คุณพ่อ คุณแม่เห็นอย่าง นั้นเหมือนคุณครูไหมคะ

จากวัยเด็กน้อยที่ร้องไห้โยเยหรือต้องให้คุณพ่อคุณแม่ ช่วยเหลือดูแล ก็ก้าวเข้าสู่วัยเด็กโตที่ดูแลตัวเองได้ดีพอสมควร ใน ปีการศึกษานี้ ชุมชนชาวทอสีของเรามีเรื่องราวต่างๆ ที่เป็นความ ทรงจำ�มากมายร่วมกัน ซึ่งสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นไม่ได้เป็นเพียงเพราะ โรงเรียนเป็นผู้จัดสรรให้เกิดขึ้นเท่านั้น แต่ยังได้กำ�ลังกาย กำ�ลังใจ ของท่านผู้ปกครองเข้ามาสนับสนุนให้คุณครูมีแรงฮึดสู้ เหนื่อยแค่ ไหนก็ไม่ท้อ (แอบมีถอยบ้างนิดหนึ่งค่ะ) และในทุกๆ กิจกรรมนั้น เป็นงานของเราทุกคน เด็กได้มีส่วนร่วมปฏิบัติงานกับคุณครูด้วย ไม่ว่าจะเป็นงานพิเศษวาระประจำ�ปีของเรา เช่น งานม่วนชื่นน้อง พี่ทอสีสู่เหย้า งานอาจาริยบูชาพระพรหมคุณาภรณ์ ๗๒ ปี ที่หอ ประชุมใหญ่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และทีห่ อจดหมายเหตุทา่ น พุทธทาส บริเวณสวนรถไฟ และยังมีงานประจำ�ปีของเรา เช่น กีฬา ทอสีสามัคคี ศรัทธาสตรีท (วันเด็ก) รวมถึงกิจกรรมอนุบาลแรกแย้ม ประถมเปล่งบาน และการแสดงดนตรีทอสีรีไซเทิล อีกด้วย (นี่ยัง ไม่นับกิจกรรมทัศนศึกษาของห้อง และกิจกรรมครอบครัวสัมพันธ์ อีกนะคะ)

ตามนโยบายของโรงเรียนทีเ่ ห็นความสำ�คัญเรือ่ งของการนำ� พุทธธรรมเข้ามาสู่วิถีชีวิตของชาวชุมชน ตั้งแต่การฝึกตนด้วยการ สวดมนต์ ฝึกสมาธิ ระลึกถึงศีล ๕ กิจกรรมวันพระที่จัดให้เด็กๆ ได้ ตักบาตร ฟังธรรม และการปฏิญาณตนตาม “หลักชาวพุทธ” เมื่อ ช่วงเข้าพรรษาที่ผ่านมา ซึ่งกิจกรรมต่างๆ เหล่านี้ได้รับการตอบรับ จากทางบ้านเป็นอย่างดี และคุณครูก็หวังว่าหากเข้าไปอยู่ในวิถีของ ครอบครัวก็จะเป็นบุญเป็นกุศลของเด็กๆ ด้วยค่ะ นอกจากนี้ในด้าน การเรียนรู้ของเด็กๆ นั้น วิชาที่โรงเรียนได้สร้างขึ้นเพื่อนำ�ลงสู่เด็กๆ ของเรานั้นก็เป็นวิชาที่อยากจะขอบอกว่าที่มหาวิทยาลัยก็ไม่ได้สอน ค่ะ เพราะวิชานี้เป็นวิชาที่ว่าด้วยเรื่องของการพัฒนาตัวเอง ที่เรา เรียกกันว่า “วิชาชีวติ ” ไงคะ คุณพ่อ คุณแม่ทไี่ ด้ยนิ ชือ่ นีค้ �ำ นีบ้ อ่ ยๆ อย่างเพิ่งเปิดผ่านนะคะ ลองอ่านดูอีกสักครั้งว่า วิชานี้เขาสอนอะไร กันบ้าง

ชีวิตในวันหนึ่งเราใช้เวลากับเรื่องอะไรบ้างคะ? ถ้าเป็น เด็กเล็กก็คงตอบได้ไม่ยากว่า กิน นอน เล่น (น่าอิจฉาจนผู้ใหญ่บาง คนอยากกลับไปเป็นเด็กอีกครั้ง) พอเด็กโตขึ้นมาอีกหน่อยก็เริ่มมี เรื่องเรียน การทำ�กิจกรรมการงาน (ที่อาจจะชอบบ้าง ไม่ชอบบ้าง ตามอารมณ์) และพอโตขึ้นมาเริ่มจะเป็นวัยรุ่นก็เริ่มมีเรื่องการคบ เพื่อน การทำ�งานร่วมกันเป็นกลุ่ม ซึ่งจะเห็นว่ากระบวนการเหล่า นี้เราทุกคนคงเคยผ่านกันมาแล้วทั้งนั้น แต่เคยมีบ้างไหมคะที่จะมี คนมาชวนเราคิด ชวนเราคุย พาเราดูตัวเองและพร้อมที่จะเชื่อว่า ตัวเรานี้มีความสามารถที่จะช่วยเหลือดูแลตัวเองได้ เราสามารถอยู่ ร่วมกับผู้อื่น ธรรมชาติ และสรรพสิ่งได้อย่างมีความสุขด้วยการไม่ เบียดเบียน หรือการพาเราวิเคราะห์ว่า อันตัวเรานี้มีข้อเด่นอะไร ทอสีสัมพันธ์ ฉบับธันวาคม ๒๕๕๓ - มีนาคม ๒๕๕๔ ปีการศึกษา ๒๕๕๓

๑๙


และมีข้อด้อยหรือข้อควรปรับปรุงอะไรบ้าง ซึ่งกระบวนการเหล่านี้ เชื่อว่าผู้ใหญ่อย่างเราๆ หลายคนไม่เคยเข้าไปศึกษาเรียนรู้เพื่อนำ�มา ใช้ในการพัฒนาชีวิตอย่างจริงจังแน่ๆ แต่เด็กที่เรียนโรงเรียนวิถีพุทธ เด็กๆ ได้เรียนรู้กระบวนการเหล่านี้ค่ะ ภาพที่คนคาดหวังว่าจะพบเห็นในเด็กวิถีพุทธ คือ เด็กที่ เรียบร้อยราวผ้าพับไว้ สงบ นิ่ง แต่จริงๆ แล้วสำ�หรับเด็กวิถีพุทธ (ที่ ทอสี) พวกเขาก็ยังเป็นวัยที่กำ�ลังเรียนรู้ ร่าเริง ซน และมีทำ�ผิดทำ� พลาดกันบ้างตามประสา แต่สิ่งที่เด็กวิถีพุทธต้องเรียน ต้องรู้ ต้อง เข้าใจ คือ “ความเป็นนักศึกษา” ต่างหาก ดังนั้นเมื่อเกิดเหตุการณ์ บางอย่างขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเกิดอุบัติเหตุ การทะเลาะเบาะแว้ง ทำ�ร้ายกันทางร่างกาย ทางวาจา การคุยเล่นไม่ตั้งใจเรียน หรืออื่นๆ อีกมากมาย จะถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็นการเรียนรู้ระหว่างครู และนักเรียนถึงเรื่องของสาเหตุ ปัจจัย สิ่งเกื้อหนุน ผลกระทบทั้ง ต่อตนเองและผู้อื่นให้รอบด้าน รวมทั้งวิธีการแก้ไขพัฒนาตนเอง ไม่ว่าจะเป็นการพาเด็กๆ ทำ�เพียร ๔ (วิเคราะห์ตนเอง) ตั้งแต่ ระดับอนุบาล การเปิดวงสุนทรียสนทนาร่วมกัน การเปิดใจคุยกัน ถึงปัญหาต่างๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เรานำ�มาเรียนรู้ร่วมกัน ไม่ได้ ปล่อยผ่านไปให้เป็นแค่เรื่องธรรมดาที่เกิดขึ้น แต่เป็นเรื่องที่เราต้อง ศึกษา ทำ�ความเข้าใจร่วมกัน ไม่ใช่แค่เพื่อแก้พฤติกรรมการพูด การ เล่น หรือการเรียน เท่านั้น แต่เป็นการฝึกการนำ�หลักพุทธธรรมมา ใช้เพื่อให้เกิดปัญญาและความรู้ความเข้าใจในการดำ�เนินชีวิต การ เข้าใจตนเอง และเข้าใจผู้อื่นตามหน่วยการเรียนรู้วิชา “เด็ดดอกไม้ สะเทือนถึงดวงดาว” ของเราทั้ง ๖ บทเรียนในระดับอนุบาล และ

๒๐

ทอสีสัมพันธ์ ฉบับธันวาคม ๒๕๕๓ - มีนาคม ๒๕๕๔ ปีการศึกษา ๒๕๕๓

๑๒ บทเรียนในระดับประถม ผนวกกับบทเรียนสุดท้ายก่อนจบจาก โรงเรียนทอสีก็คือ “แกะสลักชีวิต” ซึ่งบทเรียนเหล่านี้จะเป็นภูมิ ต้านทานให้กับเด็กๆ ในวันที่เขาเติบโตขึ้น สิ่ ง สำ � คั ญ ที่ จ ะช่ ว ยสนั บ สนุ น ให้ เ กิ ด ความงอกงามขึ้ น ก็ คือ การที่ทางบ้านได้นำ�เอาวิถีการเรียนรู้นี้ไปใช้ พร้อมกันนั้นก็ ต้องสร้างวินัยเป็นพื้นฐานในบ้านขึ้นมาร่วมกัน แบบที่ว่า “วินัยมา ปัญญาเกิด” เพราะวินัยเป็นตัวสร้างกรอบ แนวการปฏิบัติ เป็น ฐานที่มั่นคงของชีวิต เหมือนบ้านที่มีโครงสร้าง มีฐานแข็งแรง มี ตัวบ้านที่ประณีต งดงาม น่าอยู่ เหมาะแก่การใช้งาน ซึ่งก็เปรียบ เหมือนการก่อร่างสร้างปัญญาให้รู้หลักความจริงตามธรรมชาติ เช่น ไม่มีอะไรที่เกิดขึ้นเอง มันต้องมีเหตุ มีปัจจัย ไม่มีอะไรที่เกิดขึ้นโดย ไม่มีมีผลต่อสิ่งอื่น หรือไม่มีอะไรที่เป็นอยู่อย่างนั้น ไม่เปลี่ยนแปลง แม้กระทั่งความคิด ความเชื่อของเราเอง จากนั้นจึงต่อเติมเสริม รายละเอียดเข้าไป เช่น หน้าต่าง ประตู ที่อาจเปรียบได้เหมือน วิชาการที่เด็กต้องเรียนรู้เพื่อประโยชน์ในการศึกษาต่อ เราคงไม่อยากอยู่บ้านที่มีแต่ฐานที่แข็งแรง แต่ตัวบ้าน โย้เย้ สลึมสลัว หรือบ้านที่มีประตูเยอะหน้าต่างแยะ มีแต่คน เข้า คนออกพลุกพล่านจนไม่ปลอดภัย ทุกคนคงต้องการบ้านที่มี ฐานแข็งแรง ตัวบ้านสวยงาม และมีหน้าต่างประตูพอเหมาะพอดี สามารถคัดกรองคนเข้าออกและป้องกันภัยแก่ค นในบ้ า นได้ กั น ทุกคนใช่ไหมคะ ถ้าเราระลึกได้อย่างนี้แล้ว เครื่องมือก็พร้อมแล้ว ลงมือได้เลยค่ะ


เริ่มต้นที่ “วินัย” คำ�ที่เหมือนจะเครียด กดดัน แต่ความจริงคือ ฐานที่เด็กจะยืนได้อย่างมั่นคงว่า มันจะไม่เอียง ไม่โย้ ไม่หัก เพราะมีคานรองรับอยู่ ควบคู่กับการ “สร้างปัญญา” ที่เป็นกระบวนการที่ฝึกการคิด วิเคราะห์ ไตร่ตรอง เชื่อมโยงให้รอบ เป็นเหมือน การแกะสลักบ้านของเราให้งดงาม ประณีต และเมื่อทั้งสองสิ่งนี้ดำ�เนินไปด้วยกัน “บ้านนี้อยู่แล้วดี” แน่นอน

ภาพปริศนาธรรม จากพระอาจารย์ชยสาโร ให้ไว้ในการปฏิบัติธรรมบ้านพอ จ.เชียงใหม่ ๒๒-๒๙ มกราคม ๒๕๕๔ ทอสีสัมพันธ์ ฉบับธันวาคม ๒๕๕๓ - มีนาคม ๒๕๕๔ ปีการศึกษา ๒๕๕๓

๒๑


ฅนเล็ก... เคลื่อนโลก

ณ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เมื่อวันที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๕๔ หลังจากรายการ “คนค้นฅน” หยิบยกเอาเรื่องราวชีวิต ของคนเล็กๆ แต่หัวใจใหญ่คับโลกอย่าง ยายยิ้ม จันทร์พร หรือ ยายยิ้ม ยิ้มเย้ยยาก หญิงชราวัย 80 ปี และ สด เยล จอย สาม สหายผู้พิการมานำ�เสนอตามแบบฉบับคนต้นเรื่องที่มีชีวิตน่าค้นหา เรื่องราวของพวกเขากลับไม่ใช่เพียงแค่ออกอากาศแล้วผ่านเลยไป มันแปรเปลี่ยนเป็นยาบำ�รุงใจ แรงบันดาลใจ พลังใจ และกำ�ลังใจ ที่ ให้พลังกับผู้คนในโลกที่ปกติและไม่ปกติ เอามาขับเคลื่อนประยุกต์ ใช้กับชีวิตต่อไป กระแสความชื่ นชมยายยิ้ ม ที่ ใช้ ชี วิ ต อยู่ ก ลางป่าเขาคน เดียว พร้อมๆ กับการทำ�ความดีแบบปิดทองหลังพระ เพราะตลอด ระยะเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา ยายยิ้มค่อยๆ สร้างฝายเพื่อถวาย “ในหลวง” เพียงลำ�พัง และคำ�พูดสั้นๆ ตรงๆ ไม่มีอะไรแอบแฝง ไม่ต้องแปลความหมายให้มากความ มันซาบซึ้งใจ กินใจ ให้ใครต่อ ใคร จึงมีผู้คนมากมายขึ้นไปช่วยยายยิ้มสร้างบ้านใหม่ ช่วยสร้าง ฝาย หอบเอาอาหารข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ นานาไปให้ แต่ยายยิ้ม ก็ยังใช้ชีวิตประหยัดพอเพียงเหมือนเคย รวมไปถึงแรงศรัทธาในความเพียรพยายามของ สด เยล จอย สาม เกลอที่ไม่คิดว่าตัวเองมีปมด้อยไปกว่าใคร พวกเขาทุ่มเท ที่จะใช้ชีวิตเฉกเช่นเหมือนธรรมดา แต่มันกลับไปกระทบโดนใจ ๒๒

ทอสีสัมพันธ์ ฉบับธันวาคม ๒๕๕๓ - มีนาคม ๒๕๕๔ ปีการศึกษา ๒๕๕๓

คนปกติผู้ที่กำ�ลังอยู่ในอารมณ์ท้อแท้ หรือคนไม่ปกติอีกหลายคน จนก่อเกิดการเปลี่ยนแปลงภายในใจของผู้คนร่วมสังคม คนเล็กๆ ผู้จุดประกายและเติมเต็มความรู้สึกที่ขาดหายไป หลายรายการ ติดต่อพวกเขาไปสัมภาษณ์ หลายๆ คนนำ�ความพยายามของพวก เขาไปสร้างกำ�ลังใจ จุดประกายไฟในตัวเอง บ่ายแก่ๆ ของวันพฤหัสบดีที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๕๔ รายการ “คนค้นฅน” จึงนัดหมายล้อมวงคุยพูดคุยเสวนากับ แขกคนพิเศษอย่าง ยายยิ้ม สด เยล จอย รวมไปถึง คุณหมอ โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ หมอนักคิดนักพัฒนาให้ชาวบ้านใน ชนบทมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น อาจารย์ประมวล เพ็งจันทร์ นัก ปรัชญาผู้เลือกเดินเท้าเพื่อแสวงหาสัจธรรม และความเป็นมนุษย์ ที่แท้จริง พระมหาพงษ์นรินทร์ ฐิตวังโส พระหนุ่มผู้หว่านเมล็ด พันธุ์แห่งธรรมะและปลูกฝังแรงบันดาลใจแก่เยาวชน ฯลฯ ณ ลาน กิจกรรม หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ สวนรถไฟ บรรยากาศภายในงานเรียกได้ว่า อบอุ่น อิ่มเอม ร่มเย็นใจ เหล่าบรรดาแฟนคลับหรือผู้ที่ชื่นชมชื่นชอบวิถีชีวิต การใช้ชีวิต ความพยายาม ความตั้งใจของยายยิ้มและสามเกลอ สด เยล จอย ต่างทยอยมาร่วมงานกันอย่างเนืองแน่น ก่อนที่ สุทธิพงษ์ ธรรมวุฒิ ประสาน อิงคนันท์ และ แก้วตา ปริศวงศ์


“ยายรู้สึกภูมิใจมากที่ได้ขึ้นไปทำ�ฝาย ขอให้รายการคนค้นฅน สามเกลอ ลูกหลานทุกๆ คนมีความสุข ความเจริญ ยายไม่มี อะไรจะตอบแทน ขอให้ทุกๆ คนมีความสุข เจริญรุ่งเรือง” ยาย ยิ้ม กล่าว “อยากอยู่ได้ด้วยตัวเอง ไม่เป็นภาระให้กับใคร ผมเลยขอแม่ ออกมาใช้ชีวิตด้วยตัวเอง” สด สามเกลอ กล่าว “มันคือความตื้นตันใจว่าคนตัวเล็กๆ คนหนึ่งที่ไม่มีค่าในสังคม ใช้ชีวิตเรียบง่าย และอยู่อย่างไม่มีคุณค่า แต่สังคมได้มองเห็น โดยผ่านสื่อหรือว่าผ่านอะไรก็ตาม ให้เห็นอีกชีวิตที่ไม่ใช่นิยาย ชีวิตที่เป็นจริงล้วนๆ ซึ่งสามารถเปลี่ยนชีวิตให้คนเล็กๆ อย่าง พวกเรามีโอกาสทางสังคมมากขึ้น ผมรู้สึกว่าสิ่งนี้เป็นสิ่งที่ มหัศจรรย์ที่สุด เท่าที่เคยพบเคยเห็นมา” เยล สามเกลอ กล่าว

ั ั

จะเริ่มพูดคุยกับ ยายยิ้ม สด เยล และจอย พร้อมๆ ผู้ร่วมถ่ายทอด แรงบันดาลใจอีกหลายท่าน และนี่คือคำ�พูดจากใจที่พวกเขาฝากไว้

“พลังของคนเล็กๆ ไม่มีอำ�นาจยึดครองพื้นที่บนโลก แต่มีอำ�นาจยึดครองพื้นที่ในจิตใจของเรา” สุทธิพงษ์ ธรรมวุฒิ

ขอบพระคุณข้อมูลจาก www.kapook.com *ชมคลิปรายการคนค้นฅน ตอน “ฅนเล็ก...เคลื่อนโลก” ได้ที่ www.thawsischool.com (คลิกเมนู “แลกเปลี่ยนแบ่งปัน”)

ทอสีสัมพันธ์ ฉบับธันวาคม ๒๕๕๓ - มีนาคม ๒๕๕๔ ปีการศึกษา ๒๕๕๓

๒๓


พื้นที่นี้... พื้นที่ปัญญาประทีป

โดย น้องนี้ด และ แม่แป๋ม เพื่อเป็นการระลึกถึง พระโพธิญาณเถร หรือ หลวงปู่ชา สุภัทโท พระวิปัสสนาจารย์แห่งวัดหนองป่าพง ซึ่งท่านได้ละสังขารไป เมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๓๖ พุทธศาสนิกชนและศิษยานุศิษย์ของหลวงปู่ชา ทั้งในประเทศและต่างประเทศ จึงได้ร่วมกันจัดกิจกรรม ปฏิบัติธรรม ณ วัดหนองป่าพง ตำ�บลโนนผึ้ง อำ�เภอวารินชำ�ราบ จังหวัดอุบลราชธานี ขึ้นทุกปี สาธุชนจะได้มีโอกาสฟังธรรม เดินจงกรม นั่งสมาธิ ถือศีล รวมทั้งร่วมกันจัดตั้งโรงทานเพื่อประกอบอาหาร ถวายพระภิกษุ สามเณร และผู้ร่วมปฏิบัติธรรม ในปีนกี้ จิ กรรมปฏิบตั ธิ รรมอาจาริยบูชาหลวงปูช่ าจัดขึน้ ระหว่างวันที่ ๑๒-๑๗ มกราคม ๒๕๕๔ คณะครู ผูป้ กครอง และเด็กๆ จาก โรงเรียนทอสีและโรงเรียนปัญญาประทีปก็ได้เข้าไปมีส่วนร่วมบุญในช่วงวันที่ ๑๔-๑๗ มกราคมนี้ด้วย บทความ ๒ บทต่อไปนี้ เป็นข้อความ แบ่งปันประสบการณ์ของ พี่นี้ด นักเรียนชั้น ม.๒ โรงเรียนปัญญาประทีป และ แม่แป๋ม ผู้ปกครองน้องป่าน ชั้น ป. ๓ โรงเรียนทอสี น้อง นี้ดจะทำ�หน้าที่เป็นตัวแทนของเด็กๆ ปัญญาประทีป บอกเล่าบรรยากาศงาน สิ่งที่พบเจอ และความประทับใจที่ได้รับ ส่วนแม่แป๋มเองก็ จะทำ�หน้าที่สะท้อนกลับความน่ารักของเด็กๆ ปัญญาประทีปออกมาจากมุมมองของผู้ใหญ่ที่ได้ร่วมทำ�กิจกรรมแห่งบุญครั้งนี้ด้วย

ทัศนศึกษา “งานอาจาริยบูชา พระโพธิญาณเถร” วันที่ ๑๔-๑๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๔ ณ วัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี โดย ด.ญ. ลฎาภา อินทรมหา (นี้ด) ชั้น ม.๒ ฉันเคยไปงานอาจาริยบูชามา 2 ครั้งแล้ว ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 3 ของฉัน แต่ก่อน ไปฉันก็ยังมีความรู้สึกกลัวต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นกลัวความลำ�บาก กลัวทำ�กิจกรรม ตามตารางเวลาไม่ทัน ฯลฯ แต่เมื่อไปถึงวัดจริงๆ แล้ว เอาเข้าจริงสิ่งที่เคยกลัวก่อนไปทั้ง หลายแหล่นั้นกลับหายไปเป็นปลิดทิ้ง เพราะมันเป็นแค่กิเลสที่ “กังวลไปล่วงหน้า” เท่านั้นเอง ตลอดงานนี้ฉันรู้สึกสนุกมากที่ได้ร่วมทำ�กิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการช่วยงานที่โรงทานของโรงเรียน การได้เดินตามพระ บิณฑบาตในช่วงเช้าของวันที่ ๑๕ การสวดมนต์ทำ�วัตรเย็น ฯลฯซึ่งฉันรู้สึกมีความสุขกับทุกๆ กิจกรรม คงเป็นเพราะกิจกรรมทุกๆ กิจกรรม นั้นอบอวลไปด้วยสิ่งที่เรียกว่า “บุญ” นั่นเอง ทำ�ให้ฉันรู้สึกดีใจและไม่ผิดหวังเลยที่มาที่นี่ ที่ที่เป็นโอกาสอันดีในการได้มาทำ�บุญ ฝึก และ ฝืนกิเลสของตัวเอง แน่นอนว่าระหว่างงานนั้น ฉันก็มีความรู้สึกคิดถึงความสะดวกสบายที่โรงเรียนบ้าง หรือมีความรู้สึกที่เป็นอกุศลบ้าง ๒๔

ทอสีสัมพันธ์ ฉบับธันวาคม ๒๕๕๓ - มีนาคม ๒๕๕๔ ปีการศึกษา ๒๕๕๓


แต่ฉันก็พยายามไม่ใส่ใจสิ่งเหล่านั้นมากเกินไปนัก แค่รู้ว่ามันมาแล้ว พลังแห่งศรัทธาต่อพระพุทธศาสนาจริงๆ เป็นสิง่ ทีน่ า่ อนุโมทนาอย่างยิง่ และระหว่างงาน ฉันได้เห็นนำ�้ใจและการช่วยเหลือกันมากมายของ เดี๋ยวมันก็ผ่านไป ทำ�ให้สิ่งเหล่านั้นไม่มารบกวนปัจจุบันตรงหน้า ผู้ที่เข้ามาร่วมงานนี้ ทั้งผู้ที่เปิดโรงทาน อยากทำ�บุญจากใจจริงโดย ไม่หวังผลตอบแทน การช่วยเหลือเล็กๆ น้อยๆ ไม่ว่าจะเป็นช่วยถือ ของ หรือเข้าไปช่วยงานต่างๆ การเอาใจใส่ดูแลคนรอบข้างเหมือน เป็นลูกเป็นหลาน ทั้งๆ ที่บางคนอาจจะเพิ่งรู้จักกันด้วยซำ�้ ความ น่ารักของเพื่อนๆ ที่คอยบริการผู้ใหญ่ ความน่ารักของทุกคนที่ช่วย งานกันอย่างเต็มที่ ฯลฯ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็เป็นภาพเล็กๆ ในช่วงหนึ่ง ของชีวิตที่งดงามที่สุด ซึ่งฉันจะประทับไว้ในใจ ไม่รู้ลืม สิ่งสำ�คัญ คือ การนำ�สิ่งที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ในชีวิต ประจำ�วัน โดยที่ฉันจะนำ�คุณธรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นความอดทน การมีสติอยู่กับปัจจุบัน การสำ�รวมระวังอินทรีย์ การตั้งมั่นในศีล ฯลฯ มาต่อยอดทำ�อย่างต่อเนื่องในชีวิตประจำ�วันของฉันเอง แม้ว่า งานนี้จะจบลงไปแล้ว แต่คุณธรรมต่างๆ เหล่านี้ ฉันจะพยายาม จากการมาร่วมงานอาจาริยบูชา ฉันคิดว่าสิ่งที่สำ�คัญที่สุด ฝึกฝนอย่างสมำ่�เสมอในชีวิตประจำ�วัน หากมีเผลอหรือมีผิดพลาด ที่ฉันได้รับ คือ การได้ “เห็น” ตัวเอง โดยมีคุณธรรมต่างๆ เป็น บ้างก็ให้มันเป็นบทเรียนอีกบทหนึ่งในชีวิตที่ทำ�ให้เราได้เรียนรู้ เครือ่ งมือเตือนใจ เช่น เห็นกิเลสของตัวเองทีอ่ ยากทานอาหารเย็น และฉันก็จะนำ�สิ่งดีๆ ที่ฉันเห็นคนอื่นมีในงานนี้ เช่น การ (ระหว่างงานนี้ฉันและเพื่อนๆ คุณครูได้ถือศีล ๘ กันเกือบทุกคน) ทำ�ความดีโดยไม่หวังผลตอบแทน การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน การ ซึ่งสิ่งที่มาช่วยได้คือ สติ ตั้งมั่นในศีล การสำ�รวมระวังอินทรีย์ ไม่ ตั้งมั่นในวิถีทางของตัวเองอย่างไม่หวั่นไหว ฯลฯ มาสร้างให้เกิดขึ้น ทำ�อะไรที่เป็นการรบกวนแก่ผู้ร่วมงาน เห็นความง่วงของตัวเอง ในตัวเองด้วยเช่นกัน เพื่อให้เราเป็น “มนุษย์” ที่พัฒนาขึ้นไปอีก ระหว่างที่เนสัชชิกในคืนสุดท้าย ซึ่งก็ใช้ความอดทน พยายามเดิน ตามลำ�ดับ... จงกรมบ้าง นั่งสมาธิบ้าง เพื่อไม่ให้ตัวเองหลับ และในคืนนั้นฉันก็ได้ การมางานอาจาริยบูชาครั้งนี้ ฉันได้เรียนรู้และรับสิ่งดีๆ คุณธรรมที่เด่นชัด คือ ความอดทน จริงๆ แม้ว่าจะปฏิบัติได้ไม่เต็มที่ กลับไปต่อยอดมากมาย ทำ�ให้ฉันมั่นใจได้ว่า ทุกๆ ปี ไม่ว่าจะอีก ก็ตาม เพราะฉันสัปหงกเกือบทั้งคืนและหลับไปในตอนตีหนึ่ง... กี่ปีก็ตาม ฉันก็จะมาร่วมงานนี้แน่นอน นอกจากคุณธรรมต่างๆ ที่ฉันได้รับแล้ว ฉันยังได้เห็นพลัง แห่งศรัทธาของผู้ที่เข้าร่วมงานนี้ ไม่ว่าจะชาย หญิง เด็ก ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ ชาวไทย ชาวต่างชาติ นับพันคนต่างเข้าร่วมงานนี้ด้วย

ทอสีสัมพันธ์ ฉบับธันวาคม ๒๕๕๓ - มีนาคม ๒๕๕๔ ปีการศึกษา ๒๕๕๓

๒๕


อะไรเป็นผลตอบแทน มีเพียง “ความสุขใจ” เท่านั้นที่ได้รับในการ มาทำ�งาน เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการแสดงมุทิตาจิตต่อครูบาอาจารย์ ที่เราเคารพ ผ่านการทำ�งานที่ต้องแข่งกับเวลาที่ต้องบอกว่าใช้ใจ ล้วนๆ ในการทำ�งาน (เพราะต้องตื่นตี ๔ เพื่อมาทำ�อาหารที่โรงทาน สำ�หรับถวายพระ) สถานที่แห่งนี้เป็นจุดเริ่มต้นของใครหลายๆ คน รวมทั้งแม่แป๋มเองที่พบว่า “ความสุขที่ปราศจากวัตถุคืออะไร” ที่นี่ไม่มีแม้แต่เครื่องอำ�นวยความสะดวกใดๆ เลยที่เราเคยมี เคยอยู่ และเคยชินกับความสบายต่างๆ ซึ่งแม่แป๋มคิดว่าเป็นเรื่องสำ�คัญ และมีผลอย่างมากมายต่อการเรียนรู้ของเด็กๆ ผ่านประสบการณ์ จริงที่เด็กได้เจอด้วยตัวของเขาเอง

“เมล็ดพันธุ์ที่เติบโต”

โดย แม่แป๋ม (ผู้ปกครองน้องป่าน ชั้น ป.๓ โรงเรียนทอสี) ในมุมมองของคุณแม่คนหนึ่งที่ได้เห็นความเปลี่ยนแปลง ของเด็กๆ ปัญญาประทีป จากปีที่แล้ว และหลายครั้งที่แม่แป๋ม ได้มีโอกาสเจอเด็กๆ จากวันวานสู่วันนี้ อีกครั้งที่วัดหนองป่าพง สถานที่ ร วมใจแห่ ง ความกตั ญ ญู ก ตเวทิ ต าต่ อ ครู บ าอาจารย์ “หลวงปู่ชา สุภัทโท” แม่แป๋มเห็นความเติบโตของเด็กๆ โรงเรียน ปัญญาประทีปที่ไม่ใช่เพียงแค่การเติบโตทางร่างกายเพียงอย่าง เดียวแต่มีความพร้อมมากขึ้นต่อวิชาชีวิตที่เด็กๆ ได้ออกมาเรียนรู้ ร่วมกันนอกห้องเรียน ตั้งแต่การเดินทางที่ยาวไกล รวมทั้งการไป ในสถานที่ที่ไม่มีความสะดวกสบายใดๆ รองรับ แต่สิ่งที่แม่แป๋มเห็น กลับพบว่าเด็กๆ ปัญญาประทีปมีความตั้งใจ และรู้หน้าที่ของตัว เองเป็นอย่างดีว่าไปวัดหนองป่าพงเพื่ออะไร แม้จะเดินทางไปด้วย ความเหน็ดเหนื่อยแต่เด็กๆ กลับพร้อมใจกันเข้ามาขอทำ�งานในโรง ทานที่เราทำ�งานร่วมกันโดยไม่รีรอและลงมือทันทีด้วยความตั้งใจ

คุณครูเป็นต้นแบบที่ดีโดยการลงมือทำ�พร้อมกันกับเด็ก เป็นภาพที่น่าชื่นชมและประทับใจค่ะ แม่แป๋มเชื่อว่าความศรัทธา เกิดขึ้นได้ด้วยการมีใจให้กัน ไปด้วยกัน ทำ�อะไรด้วยกัน คำ�ว่า “ศรัทธา” ย่อมไม่ได้เกิดจากการกระทำ�เพียงอย่างเดียวแต่มีใจเป็น องค์ประกอบ แม่แป๋มเห็นแววตาแห่งความมุ่งมั่นและใช้ใจทำ�งาน ของคุณครูปัญญาประทีปแล้วก็อดที่จะดีใจแทนผู้ปกครองเด็กๆ ปัญญาประทีปไม่ได้ เมล็ดพันธุ์ที่ดีเติบโตไม่ได้ถ้าไม่มีคนรดนำ�้ พรวนดิน เอาใจใส่ เฉกเช่นเด็กๆ ของเราจะเติบโตเป็นคนดีได้ นอกจากทางพ่อแม่แล้ว คุณครูคือผู้ที่มีส่วนสำ�คัญเช่นกัน ในการ ดูแลให้เมล็ดพันธุ์เติบโตเป็นต้นไม้ที่แข็งแรงและอยู่ได้ด้วยตัวของ เขาเองในวันข้างหน้า

แม่ แ ป๋ ม ขออนุ โ มทนากั บ คุ ณ ครู ปั ญ ญาประที ป ทุ ก ๆ ท่านที่ใช้หัวใจทำ �งานทุ่มเทดูแลเอาใจใส่ต่อลูกศิษย์ตัวน้อยที่ กำ�ลังเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในวันข้างหน้าด้วยความรักและเมตตา แม่แป๋มว่านี้คือความงอกงามที่เกิดขึ้นในจิตใจของเด็กที่ อย่างยิ่ง และเชื่อมั่นว่า ในวันที่เขาเติบโต เขาจะเป็นคนที่คิดเป็น มีจิตอาสาด้วยตัวของเขาเอง แม่แป๋มเฝ้าดูความกระตือรือล้นที่จะ และสุขเป็นอย่างแน่นอน ขอเป็นกำ�ลังใจในการทำ�งานที่ยิ่งใหญ่ ทำ�งานอย่างเต็มกำ�ลังของตัวเอง ลูกบางคนโตขึ้นมากกว่าปีที่แล้ว อย่างมีความสุขค่ะ แต่สิ่งที่เห็นชัดคือความสำ�รวมระวังทั้งทางกายและวาจาของเด็ก โดยที่ไม่ต้องมีคุณครูคอยมาบอก ขณะที่คุณครูก็เป็นแบบอย่างที่ดี โดยไม่ต้องมีการพูด นั่นคือการลงมือทำ�ไปพร้อมๆ กันกับลูกศิษย์ ด้วย การไปวัดหนองป่าพง พวกเราที่เคยไปจะรู้ดีว่าไม่ได้และไม่มี ๒๖

ทอสีสัมพันธ์ ฉบับธันวาคม ๒๕๕๓ - มีนาคม ๒๕๕๔ ปีการศึกษา ๒๕๕๓


พุทธธรรมาภิวัฒน์

อาจาริยบูชา ๗๒ ปี พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) วันที่ ๑๒ - ๑๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๔

“ พระเดชพระคุ ณ .พระพรหมคุ ณ าภรณ์ ได้ ร่ ว มแสดงความคิ ด เห็ น และแลกเปลี่ ย นวิ ธี คิ ด แนวพุ ท ธใน (ป.อ.ปยุ ต ฺ โ ต) ..เป็นผู้ที่ได้อุทิศชีวิตเพื่อความดีงามและ ประเด็นต่างๆ อย่างกว้างขวาง รวมทั้งได้มีพิธีประกาศร่างปฏิญญา

ความเจริญทั้งของตนเองและผู้อื่น..ท่านเป็นกัลยาณมิตร ของชาวพุทธทั้งในเมืองไทยและต่างประเทศโดยแท้ ผู้ที่มี โอกาสเข้าใกล้ท่านเจ้าคุณ หรือแม้จะเพียงแค่ได้อ่านหนังสือ หรือฟังซีดีของท่านเท่านั้น ก็มักจะได้รับประโยชน์เกินคาด บางสิ่งบางอย่างที่ไม่เคยเข้าใจ ก็ได้เข้าใจ บางสิ่งบางอย่าง ที่เข้าใจบ้างแล้วแต่ไม่ชัดเจน ก็ได้ความแจ่มแจ้ง บางสิ่งบาง อย่างที่เคยเข้าใจผิดก็ได้สำ�นึกและปล่อยวาง เหมือนได้หงาย ของควำ�่ ทำ�ให้เกิดกำ�ลังใจที่จะพัฒนาพฤติกรรม จิตใจ และ ปัญญาของตน ท่านเจ้าคุณทำ�ให้ชาวพุทธเราได้เข้าใจความ หมายของคำ�ว่า ‘นักปราชญ์’ ได้ดียิ่งขึ้น” ข้อความข้างต้นนี้ เป็นคำ�นำ�ที่พระอาจารย์ชยสาโร ได้ เขียนถึงท่านพระพรหมคุณาภรณ์ ด้วยความซาบซึ้งในพระคุณของ ท่าน ทำ�ให้ความเข้าใจของเรายิ่งแจ่มชัดขึ้นว่า เหตุใดท่านจึงได้รับ การยกย่องว่าเป็น “ปราชญ์แห่งพระพุทธศาสนา”

งาน “พุทธธรรมาภิวัฒน์ อาจาริยบูชา ๗๒ ปี พระพรหม คุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)” เป็นงานที่จัดขึ้นเพื่อแสดงความกตัญญู กตเวทิตาต่อท่านในวาระที่ท่านมีอายุครบรอบ ๗๒ ปี เมื่อวันที่ ๑๒ - ๑๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๔ ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ เป็นงานอภิปราย บรรยายธรรม และเสวนาแนวคิด ทางพระพุทธศาสนาของท่านพระพรหมคุณาภรณ์ เพื่อนำ�มา ประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์กับชีวิตในปัจจุบัน ประเด็นครอบคลุม ทั้งด้านการแพทย์แนวพุทธ นิติศาสตร์แนวพุทธ สังคมศาสตร์แนว พุทธ วิทยาศาสตร์แนวพุทธ ศึกษาศาสตร์แนวพุทธ และ รัฐศาสตร์ แนวพุทธ ในงานครั้ ง นี้ ค ณะนั ก เรี ย นทอสี ไ ด้ มี โ อกาสร่ ว มแสดง กตเวทิตาคุณโดยได้จัดเตรียมการแสดง “พระพุทธเจ้าชนะมาร” ไปแสดงเพื่อน้อมใจระลึกคุณของท่าน บรรยากาศภายในงานที่จัด ในหอประชุมใหญ่ธรรมศาสตร์เป็นไปอย่างเรียบง่าย ท่านวิทยากร

ว่าด้วยพุทธธรรมนำ�สันติธรรมตามเจตนารมณ์พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) ในช่วงก่อนปิดงานด้วย โรงเรียนทอสีจะนำ�เสียงการอภิปราย เสียงบรรยายธรรม รวมถึงคลิปวีดีโอการแสดงมาให้รับฟังและรับชมกันที่เว็บไซต์ใน โอกาสต่อไป ติดตามได้ที่ www.thawsischool.com เร็วๆ นี้

เสวนาธรรมในหัวข้อ “การปลูกฝังพุทธธรรมกับคนรุ่นใหม่” โดยรองศาสตราจารย์ประภาภัทร นิยม, อ.อนินทิตา โปษะกฤณะ, ครูอ้อน บุบผาสวัสดิ์ รัชชะตาตะนันท์

อภิปรายธรรม “มองพุทธธรรมาภิวัฒน์ผ่านวิทยาศาสตร์ การแพทย์และสิ่งแวดล้อมสมัยใหม่” โดย พญ.ดร.อมรา มลิลา, คุณหญิง พญ.พรทิพย์ โรจนสุนันท์, ผศ.ยงยุทธ จรรยารักษ์

เสวนาธรรมในหัวข้อ “การขับเคลื่อนร่างปฏิญญาพุทธธรรม ในมิติจิตใจและสังคมเพื่อพัฒนามนุษย์” โดย ศ.ดร.อภิชัย พันธเสน, ศ. ดร. สุมน อมรวิวัฒน์, นายพระนาย สุวรรณรัฐ, นายสมผล ตระกูลรุ่ง

ทอสีสัมพันธ์ ฉบับธันวาคม ๒๕๕๓ - มีนาคม ๒๕๕๔ ปีการศึกษา ๒๕๕๓

๒๗


บทสัมภาษณ์

สัมภาษณ์เมื่อวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ โดย ครูหยก

สำ�หรับบทสัมภาษณ์ครั้งนี้ แม่หลิง ผู้ปกครองของน้อง ปิงปิง ชั้น ป.๓ และน้องซูชิง ชั้น อ.๓ ได้กรุณาสละเวลามา แบ่งปันทัศนะในมุมมองของผู้ปกครองทอสีในขวบปีที่ ๕ เรานั่งพูด คุยอย่างเป็นกันเองที่บริเวณริมสนามฟุตบอลอาคารประถม เสียง หยอกล้ อและเสี ย งดนตรีจ ากการซัก ซ้อมการแสดงสำ�หรับช่ว ง นิทรรศการปลายภาคของเด็กๆ ดังเป็นพืน้ หลังให้กบั บทสนทนา แต่ ก็หาได้ลดทอนความน่าสนใจของเรื่องราวที่คุณแม่ถ่ายทอดให้ คุณแม่เริ่มต้นการเรียนรู้ของลูกที่โรงเรียนในลักษณะนี้ แบบทอสี นี้ มีสาเหตุที่มาอะไรเป็นพิเศษไหมคะ คือโดยส่วนตัวเองคุณพ่อ (พ่อเซง) เขาไม่อยากให้ลกู เน้นวิชาการเลย เพราะตัวเขาเองก็เป็นคนเรียนหนังสือไม่เก่ง เขาเป็นเด็กหลังห้อง เป็นเด็กกิจกรรม โตมากับกลุ่มเพื่อน กับกิจกรรมต่างๆ แต่วิชาการ เขาไม่เอา แต่เขาก็เห็นชีวติ เห็นความแตกต่างระหว่างเด็กทีเ่ รียนเก่ง ในห้อง กับเด็กทีไ่ ม่เก่งเลย เด็กทีค่ รูวา่ ตลอดแต่ได้โอกาสจากครู คือ คุณพ่อเป็นคนที่ได้รับโอกาส เขาเลยมองว่าวิชาการมันไม่สำ�คัญกับ ชีวิตการทำ�งาน หรือกับชีวิต (มากขนาดนั้น) ดังนั้นเริ่มต้นเขาเลย มองหาโรงเรียนที่มีกิจกรรม และให้ “วิชาชีวิต” แต่ตอนนั้นเรายัง ไม่รู้จักคำ�นี้ เรารู้แต่ว่าเน้นเรื่องชีวิต เรื่องความสุข แล้วก็ใกล้บ้าน ตอนนั้นหลิงก็ไม่ได้คิดว่าวิถีพุทธเป็นอย่างไร ไม่รู้จัก เอาแค่ว่ามุ่งไป ที่ลูกก่อน ให้ลูกได้มีความสุข เน้นกิจกรรม แล้วก็ให้เขาได้ช่วยเหลือ ตนเอง แต่พอเข้ามาจริงๆ เนี่ย คือคุณพ่อเขาเห็นชีวิตมาเยอะ เพราะฉะนั้น เขาก็จะสอนหลิงในเรื่องชีวิต ให้เราค่อยๆ คิด ค่อยๆ ปรับ คือหลิง เองเป็นคนใจร้อน แล้วเวลาทำ�อะไรจะใช้แต่ความรูส้ กึ เอาความรูส้ กึ นำ�ความคิด ฉันรู้สึกอย่างนี้ ฉันจะทำ� ฉันไม่สน แต่พอเข้ามาที่นี่ปุ๊บ ทีโ่ รงเรียนก็ให้ปฏิบตั ธิ รรม ให้เราได้ฟงั ได้อา่ น เราก็เริม่ เข้าใจว่า เออ เนอะ มันไม่ใช่วา่ แก่แล้วค่อยไปวัด สมัยก่อนเราจะมองว่าคนแก่ถงึ จะไปวัด ฉันยังไม่แก่ ฉะนั้นฉันยังไม่ไปวัด ฉันจะไม่ฟังธรรม ฉัน จะไม่อะไรทั้งนั้น แต่พอผ่านเวลาไปนานๆ แล้วได้มาเจอเพื่อนๆ ... ต้องบอกเลยว่าทีน่ ไี่ ด้อกี อย่างคือ กัลยาณมิตร รูส้ กึ ว่าเราได้เจอ กลุ่มคนที่ต่อกันง่าย ปรับเข้าหากันง่าย เหมือนเรามีวงของวิถีชีวิตที่ใกล้เคียงกันด้วยหรือเปล่าคะ ใช่ๆ อันนีส้ ว่ นหนึง่ หลักและแนวทางดำ�เนินการชีวติ ด้วย แม้วถิ ชี วี ติ ของแต่ละคนต่างกัน แต่แนวคิดหลักมีสว่ นหนึง่ ทีเ่ รามาทางเดียวกัน การได้ทำ�กิจกรรมร่วมกันก็มีส่วน อย่างการปฏิบัติธรรมนี่ พอเราได้ มาแล้วดี ก็พยายามชวนคนที่เขาไม่ได้มาให้ได้มาบ้าง ๒๘

ทอสีสัมพันธ์ ฉบับธันวาคม ๒๕๕๓ - มีนาคม ๒๕๕๔ ปีการศึกษา ๒๕๕๓

ตอนที่คุณแม่มาปฏิบัติครั้งแรกเป็นอย่างไรบ้างคะ ครั้งแรกกลัว กลัวว่าจะนั่งสมาธิไม่ได้ กลัวว่าจะทำ�ไม่ได้ แต่พอมา ทำ�จริงๆ เอ๊ะ! คำ�ว่าฟังเทศน์ไม่ได้น่ากลัวหรือน่าเบื่ออย่างที่รู้สึก อย่างพระอาจารย์ประสงค์นี่ โอ้โห สนุกมาก ไม่วา่ จะเป็นข้อคิด การ เล่นเกมว่าคุณมีสติหรือไม่มีสติ แล้วก็อย่างอันหนึ่งที่ดี คือ “เราฟัง หรือเปล่า” เพราะปัจจุบันนี้เราฟังกันน้อย พูดเยอะ แต่พอเราได้ฟัง อาจารย์ดีๆ มีแค่คำ�ว่า “สติ” เราก็ไม่พลาด แต่ถ้าไม่มี แต่ใช้ความ เคยชิน มันก็พลาดหมด การฟังเทศน์นี้ พูดอีกแง่ ไม่รวู้ า่ คุณแม่จะเหมือนครูหยกหรือเปล่า คือเรารู้สึกว่าเราได้ฟังจริงๆ คือนั่งลงและตั้งใจฟัง เปิดโอกาสให้ ตัวเองฟังจริงๆ ถ้าเราเปิดใจก็ใช่คะ่ หนึง่ คือคุณจะต้องเปิดใจก่อน แล้วเราจะรับอะไร ได้เยอะ พอเราได้เริ่มได้นิดๆ หน่อยๆ เราก็อยากจะเพิ่มเติมมากขึ้น อย่างครัง้ ของคุณยายจำ�เนียร หลิงตามคุณยายไปเลย ไปปฏิบตั สิ าม วัน แต่ตอนนั้นไปเดี่ยวเลย ไม่ได้ชวนเพื่อนไป พอเราเปิดใจ เราได้ กลับมาเต็มๆ เราได้รู้ว่า ธรรมะไม่ใช่สำ�หรับคนแก่ละ ยิ่งคุณได้รับ เร็วเท่าไหร่ ยิง่ เด็ก ยิง่ ดี สิง่ ทีค่ ณ ุ ได้คอื จิตใจเรา ความเข้มแข็งภายใน ไปกระแทกกระทบจะมีสติเร็วขึน้ ตัง้ ตัวได้เร็วขึน้ ลุกได้เร็วขึน้ อย่าง สมัยก่อนตอนทีแ่ ต่งงานมาใหม่ๆ หลิงเป็นเด็กต่างจังหวัด ไม่เคยออก จากบ้าน จนแต่งงานมา ต้องย้ายครอบครัว เราโฮมซิก (homesick) อ่อนแอในด้านจิตใจ อ่อนแอโดยที่เราไม่รู้ตัวเอง เราเปลี่ยนไปเลย จากเดิมที่ใจเย็น มองโลกในแง่ดี กลายเป็นมองโลกในแง่ร้ายขึ้น ทะเลาะกับแฟนเยอะขึ้น อะไรนิดหน่อยก็ออกเลย


เหมือนกับว่าเดิมเราก็ไม่ได้เห็นส่วนนี้ของตัวเอง พอเจอปัญหา แล้วค่อยเห็นใช่ไหมคะ ใช่ เวลาโกรธ ยอมรับเลยว่าเราจมกับความโกรธ วัน สองวัน สามวัน นอนจมกับความโกรธ ไม่สบายใจ ความเศร้า จนเป็นโรคซึมเศร้า ต้องเทคยาเป็นปี แต่ ณ วันหนึง่ ทีเ่ ราได้เข้ามาเรียนรูเ้ รือ่ งธรรมะ แล้ว บอกกับตัวเอง มานั่งอยู่กับตัวเอง แล้วถามตัวเองว่าเราเป็นอะไร ใช่ ไหม เราเป็นอย่างนั้นไหม แล้วเราจะยอมจมอยู่กับมันอย่างนั้นไหม แล้วเราก็ลุกขึ้นมาบอกกับตัวเองว่า ใช่ แต่เราต้องค่อยๆ ฟื้น ณ วัน นัน้ เราก็จะหยุดยาไปเลย หมอก็บอกว่าห้ามหยุดนะ แต่เราก็บอกตัว เองว่าเราไม่ละ เราตัดเลย แล้วก็ค่อยๆ ฟื้นตัวเราเอง มันก็ไม่ใช่ว่าดีเลยนะคะ ต้องค่อยๆ จากเดิมที่เคยจมกับความเศร้า หมอง กับความทุกข์ ก็มีความรู้สึกว่า ฉันรู้ละว่าตอนนั้นฉันกำ�ลัง โกรธ เหมือนเราได้สติเร็วขึ้น ได้รู้ตัว โกรธอยู่นะ เศร้าอยู่นะ ถ้าคุณ อยากจะจมอยูก่ บั มันก็จมนะ แต่รตู้ วั เหมือนทีค่ รูบาอาจารย์บอกว่า ถ้าเราจะไปตัดมันตรงนั้น บางทีมันไม่ได้นะ เพียงแต่ว่าเรารู้ตัวแล้ว เราจะใช้เวลากับมันแค่ไหน แล้วคุณข้ามพ้นมันไปได้เร็วแค่นนั้ ตอน แรกเราก็ไม่ได้สังเกตว่าเราดีขึ้น แฟนจะเป็นคนบอกหลิงว่า หลิงดี ขึ้นเยอะมากเลย จะมีคนมาบอกว่าเราเปลี่ยน

ในกรณีความเปลี่ยนแปลงของแม่หลิง ถ้าใช้คำ�ว่า “ซึมซับ” กับ “ทันที” ก็คือ... เป็นแบบซึมซับมากกว่า ใช้ระยะเวลา ๕ ปี ซึง่ ตรงนีเ้ ป็น ๕ ปีทคี่ อ่ ยๆ ดีขึ้น เย็นลง รู้ตัวเองเร็วขึ้น เบรกตัวเองได้ แต่ถามว่าหลุดไหม ก็มี หลุดแน่นอนแหละคนเรา แต่ก็พยายามรู้ตัวว่าเราหลุดละ หรือถ้า เรารู้ทันปุ๊บ แทนที่จะบ่น ๑๐ นาที เราก็เหลือ ๕ นาทีแล้วก็เงียบ แล้วก็ออกจากเหตุการณ์ตรงนั้น สมัยก่อนเราจะทิ้งเหตุการณ์ตรง นั้นไม่ได้เลย เราจะละไม่ได้ กำ�เอาไว้ จมลงไป คือเราให้ความสำ�คัญมั่นหมาย ก็เลยไม่ยอมปล่อยใช่ไหมคะ ใช่ ชีวิตลูกคือชีวิตเรา ฉันต้องการให้ลูกดีวันนี้ “ต้องวันนี้” ลูกเห็นความเปลี่ยนแปลง หรือเคยพูดอะไรเกี่ยวกับเราไหมคะ เขาไม่เคยมาพูด แต่จะเห็นเลยว่าเวลาที่เราเย็น เวลาที่เราเบา เขาก็ จะเบาไปด้ ว ย ถ้ า ช่ ว งไหนที่ เราวี น อารมณ์ เขาก็ จ ะวี น ตามเรา หงุดหงิดตามเรา เป็นเหมือนการแสดงโลก เขาเห็นเราเป็น เขาก็เป็น แบบนั้น ใช่ค่ะ เวลาอยู่ที่บ้าน มีวิธีปฏิบัติแบบไหนคะ หลิงจะไม่ได้นั่งสมาธิ แต่ถ้าเวลาที่อยู่กับสิ่งไหน จะบอกตัวเองเลย ว่าจะอยู่กับสิ่งนี้ เช่น การอ่านหนังสือ อย่างที่คุณยายจำ�เนียรบอก ไว้ คืออย่างเราทานข้าวก็ให้รวู้ า่ เราทานข้าว เราอยูก่ บั วิถชี วี ติ ประจำ� วัน อยู่กับสิ่งที่เราทำ� อย่างขับรถ ก็รู้ว่าเราขับรถ ไม่ได้ไปตามความ เคยชิน ไม่ใช่ว่าขับแล้ว...วี๊ด...มาถึงแล้ว แต่เป็นลักษณะว่า เราขับ รถนะ นี่มือซ้ายมือขวาจับพวงมาลัยนะ เราเลี้ยวซ้าย เราเลี้ยวขวา คือให้ได้สติ การที่เรามีกัลยาณมิตร มีส่วนช่วยอะไรในชีวิตเราบ้างคะ การชักชวนกันไปปฏิบตั ธิ รรมก็เป็นข้อดีสว่ นหนึง่ แต่ทเี่ รามองว่าทำ� ร่วมกันแล้วดีมากก็คอื Family Trip การได้ไปด้วยกัน ไปร่วมกัน เรา ได้ แ ลกเปลี่ ย น เราได้ เ ห็ น ได้ ป ระสบการณ์ ก ารเลี้ ย งลู ก ที่ ม า แลกเปลี่ยนกัน หรือบางทีเรามองเห็นกันโดยไม่ต้องพูดด้วยซำ�้ ได้ เห็นประสบการณ์ เช่นเขามีความอดทนกับลูก ลูกเขาวีน แต่ทำ�ไม เขาจัดการได้ มีอยูค่ รัง้ เคยไปเจอผูป้ กครองที่ (โรงเรียน) อืน่ แต่เขาไปเดีย่ ว ในขณะ ที่เราไปเป็นกลุ่ม เขาเข้ามาถามว่าเรามาจากโรงเรียนอะไร... ทอสีสัมพันธ์ ฉบับธันวาคม ๒๕๕๓ - มีนาคม ๒๕๕๔ ปีการศึกษา ๒๕๕๓

๒๙


“ อย่างประเด็นพ่อแม่ผแู้ สดงโลกเลย ถ้าเราไม่เคยพูดขอโทษให้ลกู เห็น หรืออย่าง บางทีเราทำ�ผิดก็ไม่ขอโทษลูก หรือไปตั้งแง่กับลูก ถ้าเป็นอย่างนั้นลูกก็จะไม่เห็น ไม่รู้ว่าขอโทษคืออะไร ”

ทำ�ไมผูป้ กครองมารวมตัวกันได้มากขนาดนี้ ซึง่ เขาบอกว่าดีมาก เขา มองว่าเป็นสิ่งสำ�คัญ ลูกๆ ได้มีปฏิสัมพันธ์กัน ครอบครัว พ่อ แม่ ได้ คุยกัน ทำ�กิจกรรมร่วมกัน ซึง่ ทางเขาเองไม่มี จะมีแต่การแข่งขัน เช่น ลูกคุณไปเรียนพิเศษที่ไหน เขาจะเน้นวิชาการมากกว่า ว่าลูกเขาจะ ต้องเก่ง แต่อย่างกิจกรรมอย่างนี้ เขาไม่เคยมีและไม่เคยมีแนวคิดว่า จะมี ซึ่งตรงนี้เราก็รู้สึกว่าเป็นโอกาสที่ดีของเรา แล้วตอนที่คุณแม่พาลูกมาเรียนที่ทอสี คุณแม่รู้ไหมคะว่าที่นี่มี นักศึกษา ๓ กลุ่ม คือ เด็ก ครู และผู้ปกครอง ที่เรียนรู้ร่วมกัน อ้อ ไม่รู้ ยอมรับเลยค่ะว่าที่ชีวิตเปลี่ยน คนแรกที่ต้องขอบคุณ คือ แฟน เพราะเขามาเจอโรงเรียน ขอบคุณญาติที่พามาดูโรงเรียน และ ก็ต้องขอบคุณลูกที่เข้ามาอยู่ที่นี่แล้วเหมือนกับว่าดึงเราเข้ามาด้วย มีประสบการณ์อะไรบ้างไหมคะ ที่รู้สึกว่าลูกให้อะไรเราโดยตรง (คิดนาน) จะมีครั้งหนึ่ง เป็นกรณีของคุณพ่อ เราเครียดๆ กับหลาย เรื่องและสับสนกับตัวเอง ก็เลยบอกแฟนว่า เราจะไปเกาะมันนอก ด้วยความเป็นห่วง เขาก็บอกว่าขอไปด้วยได้ไหม เราเห็นว่าเขาห่วง ก็เลย... โอเค ทีนี้ถ้าคุณพ่อไป แล้วลูกล่ะจะทิ้งไว้ได้ไง ก็เลย อะ ตัดสินใจที่จะไปด้วยกันหมด ... ตอนนั้นพอไปถึงรู้เลยว่าคิดถูกแล้ว ที่เรามากับครอบครัว บรรยากาศไม่น่าไปคนเดียว แล้วคุณพ่อเอง เขาเป็นคนกลัวทะเล แต่หลิงกับลูกไม่ได้เป็นคนกลัวทะเล ก็ไปซื้อ สน็อก แม่กับลูกก็ดำ�ไปก่อนละ คุณพ่อเขาก็ตามมา ทีนปี้ งิ ปิงเขาอาจจะเป็นเด็กทีก่ ล้า ไม่กลัว อาจจะด้วยวัยหรืออาจจะ ด้วยตัวเขาเองหรือเปล่าก็ไม่รู้ เขาได้เห็นโลกใต้ทะเล เขาก็สวยก็ชอบ เขาก็ตขี าไปเลยกลางทะเล คุณพ่อเห็นก็ อ่าว ทำ�ไงล่ะ ลูกฉันไปแล้ว ๓๐

ทอสีสัมพันธ์ ฉบับธันวาคม ๒๕๕๓ - มีนาคม ๒๕๕๔ ปีการศึกษา ๒๕๕๓

เขาก็ตาม แต่พอไปถึงปุ๊บ เขาก็รู้สึกว่า เอ๊ะ ลูกยังไม่กลัวเลย แล้ว เขากลัวอะไร พอไปถึงแล้วเขาได้เห็นความสวยงามจริงๆ แล้วเขา ก็เลยรู้สึกว่าเขารักทะเลขึ้นมา แล้วพอหลังจากนั้นเขาก็ชวนไป ทะเล ทีนี้ไปไหนไปกัน ในกรณีคุณพ่อจะเห็นชัดเป็นรูปธรรมเลยว่าลูกนำ� คือการสน็อก เกิล แต่ในกรณีของแม่หลิงล่ะค่ะ เราได้เห็นเลยว่าเราไปเป็นครอบครัวมันอบอุน่ กว่า วันนัน้ ก็เลยบอก ขอบคุณแฟน แต่เขาเองก็บอกว่าเขาเองก็ขอบคุณเราที่ทำ�ให้เขาได้ เห็นทะเลที่เขาไม่เคยชอบเลย แล้วอย่างวัฒนธรรมการขอบคุณกัน ครอบครัวแม่หลิงมีมาตัง้ แต่ ต้นเลยหรือเปล่าคะ ขอบคุณจะไม่ค่อยนะ เราจะรู้สึกเขิน แต่เดี๋ยวนี้เราจะรู้สึกกล้ามาก ขึ้นที่จะพูดว่า “ขอบคุณนะ” “ขอโทษนะ” มันเกิดมาจากอะไรคะ เหมือนเราทำ�แล้วเรารู้สึกสบายใจ ได้ปลดปล่อยกับสิ่งที่เราค้างคา อยู่กับแค่คำ�ว่า “กลัว” หรือ “ไม่กล้า” เนี่ย มันค้างอยู่ในใจลึกๆ จน เก็บหรือสะสมไว้ จนบางครัง้ เกิดเป็นความเครียดหรือเปล่าก็ไม่รู้ แต่ บางครัง้ การทีเ่ ราได้พดู ออกไป ได้ขออโหสิกรรมออกไป มันทำ�ให้มนั หมด มันจบเป็นเรื่อง สำ�หรับเรื่องนี้ หยกเองมองว่าสำ�หรับตัวเอง เดิมทีเราไม่ได้มีการ ขอบคุณหรือขอโทษบ่อยๆ แต่เป็นเพราะวัฒนธรรมที่ทอสีสอน เราให้ทำ�ด้วย เดิมมีทั้งความไม่ชินด้วย แล้วก็เขินด้วยอย่างที่


คุณแม่บอก แล้วอีกส่วนเราอาจจะยังไม่รู้คุณค่าวันเวลาด้วย คิด ว่าไม่เป็นไรหรอก ยังมีเวลาอยู่ เดี๋ยวต่อไปค่อยพูดก็ได้ ใช่ การกระทำ�นี้พอได้ลองทำ�แล้วเหมือนได้ทะลายกำ�แพงด้วยนะ อย่างประเด็นพ่อแม่ผู้แสดงโลกเลย ถ้าเราไม่เคยพูดขอโทษให้ลูก เห็น หรืออย่างบางทีเราทำ�ผิดก็ไม่ขอโทษลูก หรือไปตั้งแง่กับลูก ถ้าเป็นอย่างนั้นลูกก็จะไม่เห็น ไม่รู้ว่าขอโทษคืออะไร ... ยิ่งได้ฟัง พระอาจารย์ไพศาลเรื่องมรณสติ ยิ่งรู้เลยว่า โอ้โห เวลาคนเราเนี่ย เราไม่รู้พรุ่งนี้ด้วยซำ�้ ทีท่ า่ นบอกว่าเราไม่รดู้ ว้ ยซำ�ว้ า่ ชาติหน้ากับพรุง่ นีอ้ ะไรจะมาก่อน ใช่ บางอย่างเราทำ�ได้ เราไม่ควรรอ ทำ�เถอะ ทำ�อย่างไรให้วันนี้มี ความสุข จากการสนทนากับแม่หลิง ครูหยกได้เรียนรู้ว่าความสุขของคุณแม่ไม่ได้มีขอบเขตอยู่เพียงแค่ในเนื้อในตัวของคุณแม่เท่านั้น แต่ มันได้ส่งผ่านมาถึงในใจของคุณแม่ มาถึงใจของครูหยกเอง และไม่แน่ว่า บัดนี้ความสุขความอิ่มเอมมวลเดียวกันนี้ อาจจะส่งต่อไปถึงหัวใจ ของผู้อ่านหลายๆ ท่านด้วยแล้วก็เป็นได้ ท้องทะเลกว้างใหญ่ สวยงาม และเป็นมิตร เมื่อเรากล้าที่จะเปิดใจยอมรับและเรียนรู้ หลายสิ่งที่เราไม่เคยล่วงรู้ ไม่เคยสัมผัส บาง ครั้งก็ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่เราคิดไว้ ธรรมชาติ หรือ ธรรมะ เป็นครูที่คอยสอนเราอยู่เสมอๆ ในเรื่องดังกล่าว สาธุ. เรื่อง: ครูอั๋น / ภาพ: วันดี

การ์ตูนทอสีรักษ์โลก

หนูดี กับ พี่มานะ ตอน “ทำ�ไมต้องแยกขยะ”

โอ้ยโย๋.. ทำ�ไมพี่มานะ ไม่แยกขยะล่ะคะ?

ก็ทรัพยากรแต่ละชิ้นต้องใช้พลังงานในการผลิตทั้งนั้น เช่น กระดาษ ๑ แผ่น ก่อนที่เราจะได้ใช้ เราต้องตัดต้นไม้ เราใช้ทั้งพลังงานไฟฟ้าและนำ�้ในการผลิต แถมพอใช้เสร็จ ก็ยังต้องใช้พลังงานในการกำ�จัดขยะอีก กิจกรรมเหล่านี้มีผลโดยตรงกับโลกของเรา ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนด้วย

ทิ้งลงถังก็พอแล้วน่า แยกทำ�ไมกัน

๑ ๕ ยังไม่พอค่ะ ต้องแยกด้วย ขยะบางอย่างนำ�ไปรีไซเคิลและ นำ�กลับมาใช้ประโยชน์ได้อีก... พี่รู้ไหมคะ การไม่แยกขยะ หมายถึงเราเป็นส่วนหนึ่งที่กำ�ลัง ทำ�ลายโลกอยู่ด้วยนะคะ

หา ! ทำ�ลายโลกเลยเหรอ อะไรกันเนี่ย ยังไงๆ ไม่เข้าใจ

อ้อ เข้าใจแล้ว ถ้าทิ้งขยะไม่ถูกประเภท ขยะจะไม่ได้รับการจัดการ อย่างเหมาะสม

พี่ไม่อยากทำ�ลายโลก ขอทิ้งใหม่แล้วกัน ถูกถังละทีนี้

เมี๊ยวๆ ดีจังเลย

๓ ทอสีสัมพันธ์ ฉบับธันวาคม ๒๕๕๓ - มีนาคม ๒๕๕๔ ปีการศึกษา ๒๕๕๓

๓๑


“ชี ว ิ ต คื อ การเดิ น ทาง” หลายคนคงคุ้นเคยกับประโยคนี้เป็นอย่างดี ทว่า “เส้ น ทางใดเล่ า คื อ หนทางสู ่ ป ลายทางออก ที ่ ส ว่ า งไสว” คำ�ถามนีห้ รือเปล่านะทีเ่ ป็นสาระสำ�คัญทีน่ อ้ ยคนนักจะค้นพบและมีโอกาสสัมผัสถึง พบกันครัง้ นี้ ฝ่ายวิชาชีวติ ครูขอแบ่งปัน ๖ เรื่องราวการเดินทางของคุณครูทอสี ๖ คน แต่ละคนมีวิถีของตนเอง เลือกที่จะออกเดินทางไปตามทางที่ตนเองสนใจ และกรุณานำ�เรื่อง ราวที่ตนเองประทับใจมาแบ่งปันไว้ ณ ที่นี้

ครูตา กับ เส้นทางอาจาริยบูชา ณ วัดหนองป่าพง

“สิ่งที่ประทับใจอย่างหนึ่งเมื่อมาร่วมงานนี้ คือการออกโรงทาน มีผู้คนมาร่วมออกโรงทาน ประมาณสี่ร้อยกว่าโรง เยอะมากๆ อาหารที่เราจำ�ขึ้นใจและเบื่อมากที่สุด เห็นจะไม่พ้น ข้าวจี่ กับ ก๋วยเตี๋ยวญวน เพราะเดินไปที่ไหนก็จะเจออาหารสองอย่างนี้เสมอ เรียกว่าอยากกินเมื่อไหร่มี ให้เหลือเฟือ วันสุดท้ายของงานเด็กๆ ทอสีที่ไปร่วมงานก็ไม่ไปมือเปล่า นำ�หนังสือเครื่องเขียนไป แจกเด็กๆ ที่นั่นด้วย ผู้คนต่อแถวมารับกันยาวเลย มีทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ... ท้องฟ้าวันอาจาริยบูชา หลวงปู่ชาดูร่มรื่นอากาศไม่ร้อน ผู้คนนั่งรายล้อมตามถนน เฝ้ารอดูขบวนพระภิกษุที่มาร่วมงาน ถ้าประเมินจากสายตาน่าจะเป็นหมื่น เมื่อขบวนพระภิกษุเดินผ่าน เรารู้สึกขนลุกเลยทีเดียว โอ้โฮ! ลูกศิษย์ของหลวงปู่มากจริงๆ ท่านเป็นอาจารย์ที่ผู้คนให้ความเลื่อมใสศรัทธามากรูปหนึ่ง เห็น แล้วรู้สึกประทับใจ”

๒ ครูย้ง กับ เส้นทางปฏิบัติธรรมที่บ้านพอ “ไปครั้งนี้ผมตั้งใจปฏิบัติมาก ช่วงแรกก็มีคิดถึงบ้านมาก แต่พอ วันที่ ๒ – ๓ ก็ดีขึ้นและตั้งใจมากขึ้น ขอบอกเลยว่าอาหารที่บ้านพอ หรูและอร่อยมากๆ ทุกมื้อ ที่พักเป็นเต็นท์ (ของผู้ชายทุกคน) พักสบาย เป็นเต็นท์ส่วนตัว อากาศเย็นสบาย ช่วงเช้าถึงกับหนาว มากๆ พระอาจารย์สอนธรรมะให้หลักมรณสติ คิดถึงความ ไม่เที่ยงของร่างกาย การไปปฏิบัติธรรมคราวนี้ได้รับหน้าที่เป็นคน เปิดปิดไฟเวลาเช้าและคำ่�ที่ศาลา และช่วยงานวาดภาพต่างๆ เช่น ปิดวาจา ปิดมือถือ และช่วยวาดภาพประดับโคมลอยเพื่อใช้ปล่อย ในคืนสุดท้าย”

ครูนุ้ย กับ เส้นทางการระลึกคุณ “หลวงตามหาบัว” พระอริยสงฆ์ผู้สง่างาม

“หลังจากเดินทางไปถึง จ. อุดรธานี และได้ไปเฝ้าท่านในวันเสาร์ จนกระทั่งวันที่ท่านละสังขารอย่างสงบในเวลา ๐๓.๕๓ น. ของวัน อาทิตย์ที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๕๔ ก็พบว่าตนเองนัน้ ล่องลอยเหมือนคน ที่ขาดเสาหลักใหญ่ที่เป็นที่พึ่งทางจิตใจไปเสียแล้ว เป็นความทุกข์ จากความพลัดพราก บิ ด าทางธรรม ไปแบบตลอดกาล จะไม่ได้ พบท่านแล้ว หลายสัปดาห์ผ่านไปลึกๆ ยังคงถามตัวเองว่าท่านไม่ อยู่แล้วจริงๆ หรือ? ความสูญเสียอันยิ่งใหญ่ในครั้งนี้ทำ�ให้ตนเอง ได้เรียนรู้เรื่องที่ว่า ความพลัดพราดเป็นทุกข์อย่างยิ่ง ทุกคน เกิดมาต้องแก่ เจ็บ ตายเป็นธรรมดา รู้สึกว่าตนเองยังใช้ชีวิตอยู่ บนความประมาท เมื่อครั้งท่านยังอยู่ท่านมักจะขอบิณฑบาตกับ ลูกศิษย์เสมอว่า หลวงตาขอบิณฑบาตนะ ทุกวันก่อนนอนให้สวด มนต์นั่งสมาธิ วันละ ๕ นาที ๑๐ นาทีก็ยังดีนะ ตนเองก็ทำ�ได้ บ้าง ไม่ได้บ้าง พอตอนนี้ท่านไม่อยู่ จึงหันมาปฏิบัติตามที่ท่านเคย บิณฑบาตไว้ทุกวันไม่ขาด เพื่อความไม่ประมาทและความเจริญ ของชีวิต” ๓๒

ทอสีสัมพันธ์ ฉบับธันวาคม ๒๕๕๓ - มีนาคม ๒๕๕๔ ปีการศึกษา ๒๕๕๓


๖ เส้นทาง ครูทอสีสร้างกุศล โดย ฝ่ายวิชาชีวิตครู

ตู่ กับ เส้นทางสู่สุขภาวะที่ดี ที่ค่ายหมอเขียว ๔ ครู(ใจเพชร กล้าจน) “จากหลักการใช้ปัจจัยที่หาได้ในตัวหรือใกล้ตัว ไม่มีโทษ ประหยัดเรียบง่าย หมอเขียวทดลองและค้นพบหลักที่ช่วย รักษาอาการเจ็บป่วยของตัวเราเองได้อย่างมากมาย ไม่น่า เชื่อว่ารวดเร็วและได้ผลดี พิสูจน์ได้ด้วยตัวเราเองเช่นเดียว กับธรรมะในบทสวดมนต์ที่เราคุ้นเคยกันว่า สันทิฏฐิโก อะกาลิ โก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิติ (เป็น สิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำ�กัดกาล เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกับผู้อื่นว่าท่านจงมา ดูเถิด เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน ดังนี้) หมอเขียวเป็นครูที่เอาใจใส่ในการสอนให้เราสังเกตตัว เอง ความปกติและผิดปกติของร่างกายเราเอง และวิธีประพฤติ ปฏิบัติตนให้หายป่วยเท่าที่เราจะทำ�ได้ หมอเขียวไม่สนใจว่าเรา จะทำ�ได้มากหรือน้อย แต่มีความสุขแล้วที่ได้ถ่ายทอดอย่างเต็ม ความสามารถของตัวเอง”

เส้นทางละครธรรมะ ๕ ครู“พระพุโหน่ทงธเจ้กัาบชนะมาร” “ครูโหน่งและทีมงานรู้สึกปลื้มปิติ และยินทีที่ได้ทำ�งานถวาย เป็นอาจาริยบูชาแด่ท่านพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) ครู ของครูทอสี เด็กๆ ก็รู้สึกเช่นเดียวกัน การเริ่มต้นของพวกเราจึง มี ศรัทธา อยู่บนเป้าหมายเดียวกัน ทำ�ให้การทำ�งานราบรื่น มี บางจุดที่พวกเราเจอปัญหาและอุปสรรค แต่พวกเราก็ใช้พลัง ศรัทธาข้ามพ้นปัญหาอุปสรรคต่างๆ ไปอย่างง่ายดาย การที่ เรามีเวลาสั้นๆ ประมาณ ๗ วัน คุณครูที่อยู่เบื้องหลังก็ร่วมแรง ร่วมใจ แบ่งงานตามที่ได้วางแผนไว้ และเริ่มปฏิบัติงานทันที เด็กๆ ได้เสียสละเวลามาโรงเรียนแต่เช้าเพื่อซักซ้อมในบทบาท และหน้าที่ที่ตัวเองได้รับมอบหมาย”

ครูติ๊ก กับ เส้นทางธรรมยาตรา ธรรมาธรรมชาติศึกษา สำ�นักสงฆ์เหมืองเต่าดำ� “ฉันก้มหน้าก้มตาเดิน... ตามหายอดเขา หวังจะไปให้ถึงจุด สูงสุด เพราะเชื่อว่าสวยที่สุด หมดไปวันหนึ่งแล้วก็หาไม่เจอ โชคดีที่ท่านอาจารย์เมตตาให้คำ�ตอบกับฉันว่า ยอดเขา ก็คือจุด ที่เราแวะพัก ที่ที่มีศาลาอยู่ตรงนั้น เพียงแต่ว่าอาตมาไม่ได้ให้คน มาตัดต้นไม้ออกเสียบ้าง มันจึงดูรกๆ เหมือนไม่มีจุดชมวิว หากไม่ ได้ท่านอาจารย์ไขข้อสงสัย ฉันคงหมกมุ่นอยู่กับความคิด ความ หวัง และความฝัน ที่สำ�คัญฉันคงมองไม่เห็นความสวยงามของ ธรรมชาติที่อยู่ใกล้มือฉันแค่เอื้อมจริงๆ ” เหล่านี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของเรื่องราวที่คัดมาจากบทความที่คุณครูทั้ง ๖ ท่าน ได้กรุณาเขียนแบ่งปันไว้ ท่านสามารถ ติดตามอ่านฉบับเต็มได้เพิ่มเติมที่ www.thawsischool.com เร็วๆ นี้ค่ะ ทอสีสัมพันธ์ ฉบับธันวาคม ๒๕๕๓ - มีนาคม ๒๕๕๔ ปีการศึกษา ๒๕๕๓

๓๓


โดย ครูแป้ง พอพูดชื่อชมรม “คลื ่ น ลู ก ใหม่ ” หลายๆ คนคงยังไม่ คุ้นหูกันนะคะ เพราะถือว่าเป็นชมรมน้องใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นในปีการ ศึกษานี้เองค่ะ เริ่มจากความบังเอิญที่คุณครูแหม่มได้เริ่มคิดและคุย เล่นๆ กับครูแป้งในช่วงปิดเทอมปีที่แล้วว่าอยากให้มีการกระจาย เสียงในโรงเรียน ครูแป้งก็รีบกระโดดฮุบโอกาสดีไว้ทันที เพราะ เคย(แอบ)ฝันว่าอยากให้มีกิจกรรมกระจายเสียงในโรงเรียนทอสี ไปๆ มาๆ ชมรมนี้ก็เลยได้ถือกำ�เนิดขึ้นโดยมีคุณครูปริมช่วยร่วมตั้ง ชื่อชมรมให้

คลื่นลูกใหม่ เราก็เลยลองเริ่มกันแบบค่อยๆ เป็นค่อยๆ ไป โดยเริ่ม จากการทำ�ความเข้าใจถึงบทบาทของการกระจายเสียงในโรงเรียน หน้าที่ของผู้ประกาศ คุณสมบัติต่างๆ ที่ผู้ประกาศควรจะมี ได้ฝึก การออกเสียงภาษาไทยให้ถูกต้อง ลองอ่านสคริปต์และอัดเสียงมา ออกอากาศกัน สุดท้ายเด็กๆ ก็ได้ลองร่างสคริปต์กันเอง การทำ�งาน ในช่วงแรกก็มีขลุกขลักบ้างเพราะระบบยังไม่ลงตัว มาถึงวันนี้เรามีสมาชิกคลื่นลูกใหม่อยู่ ๔ คน เป็นสมาชิก เก่าจากเทอมที่แล้ว ๓ คน คือ ดีเจกอด (หัสชัย) ซึ่งเริ่มเป็นผู้ชำ�นาญ การเป็นดีเจเสียแล้วเพราะทั้งปฏิบัติได้ ใจรัก และได้กำ�ลังใจเต็มที่ จากคุณแม่กุ้ง และ ดีเจพีม (อิสรา) จาก ป.๓ กับ ดีเจทาญ่า (ชัชญา) จาก ป.๕ ซึ่งเปลี่ยนหน้าที่จากช่างเทคนิคเครื่องเสียงในเทอมที่แล้ว มาทำ�หน้าที่ผู้ประกาศได้ดีอย่างน่าชื่นชมในเทอมนี้ นอกจากนี้เรา ก็ได้ต้อนรับสมาชิกใหม่จากระดับชั้น ป.๓ มาอีกหนึ่งคน คือ ดีเจ ปาล์ม (อภิชญ์) ซึ่งก็มีความพยายามที่จะเรียนรู้งานอย่างตั้งใจค่ะ ตอนนี้เราเปลี่ยนเวลาออกอากาศมาเป็นช่วงเวลาชมรม คือ ประมาณบ่าย ๒ โมงครึ่งของวันศุกร์ ดีเจทั้งหลายเริ่มมีความ ชำ�นาญในการทำ�งาน สามารถอ่านสคริปต์ ออกความคิดเห็นแก้ สคริปต์ และ ออกอากาศสดได้ในเวลาชมรม ซึ่งถือเป็นการก้าวไป ข้างหน้าอีกหนึ่งก้าวของเด็กๆ ถึงแม้จะเป็นก้าวเล็กๆ แต่ก็ทำ�ให้ครู ชมรมนี้จัดอยู่ในกลุ่มกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนของโรงเรียน แป้งกับครูแนนมีกำ�ลังใจสู้ต่อไป เพื่อทำ�ให้ชมรมเล็กๆ นี้คงอยู่และ ทอสี มาถึงวันนี้ก็เกือบปีแล้วค่ะ เราเริ่มทำ�ชมรมนี้ด้วยความ เติบโตในปีการศึกษาหน้าต่อไป ตั้งใจว่านอกจากการให้สาระความรู้และความบันเทิงกับผู้ฟังแล้ว ดีเจของเราก็ควรที่จะได้เรียนรู้ถึงกระบวนการคัดเลือกสิ่งดีๆ .ที่ เป็นประโยชน์และเหมาะสมให้กับผู้ฟัง และมีส่วนช่วยเสริมสร้าง คุณธรรม สนับสนุนผู้ฟังในการพัฒนาตนตามหลักไตรสิกขาที่เป็น เป้าหมายของโรงเรียน ในเทอมแรกเราเกือบตั้งชมรมไม่สำ�เร็จ เพราะสมาชิกที่ สมัครมีไม่ถึง ๔ คน ซึ่งถือเป็นจำ�นวนขั้นตำ�่ ที่จะเปิดชมรมได้ แต่ พอรวมตัวเข้ากับ “ชมรมช่างเทคนิคฝ่ายเครื่องเสียง” ของคุณครู แนน (ชาย) ก็เลยได้สมาชิกพอที่จะเปิดชมรมได้ค่ะ (เย้!) ทีแรก เด็กๆ ที่มาเข้าชมรมเองก็ยังงงๆ ค่ะว่าอะไรคือกิจกรรมของชมรม ๓๔

ทอสีสัมพันธ์ ฉบับธันวาคม ๒๕๕๓ - มีนาคม ๒๕๕๔ ปีการศึกษา ๒๕๕๓


ตลอดการร่วมงานกัน นอกจากเด็กๆ จะมีโอกาสลองฝึก ทำ�หลายๆ ขั้นตอน ตั้งแต่การระดมสมองคิดหัวข้อการออกอากาศ ครั้งต่อไป การเสาะหาและรวบรวมข้อมูล การทดลองร่างสคริปต์ และการออกอากาศสดแล้ว เด็กๆ ยังได้มีโอกาสวิเคราะห์การ ทำ�งานของตนเองและเพื่อนร่วมชมรมเป็นระยะ เพื่อหาจุดดีที่ควร รักษาไว้และพัฒนาต่อ และพูดคุยกันถึงข้อควรปรับปรุงร่วมกัน

นอกจากนี้ยังได้แสดงความรู้สึกของตนในการทำ�งานใน ชมรม จากการเป็นครูที่ปรึกษาชมรมนี้ ครูแป้งเองก็ได้เรียนรู้สิ่ง ใหม่ๆ จากเด็กๆ เยอะแยะเช่นกัน ถือเป็นการทำ�งานร่วมกันที่สนุก มากๆ เลยค่ะ ครูแป้งกับครูแนนเลยอยากขอแบ่งปันความน่ารัก ของเด็กๆ ให้ได้ลองอ่านกันด้วย

ในภาคการศึกษาใหม่ เด็กๆ ที่ยังไม่มีโอกาสลองสัมผัส ประสบการณ์การเป็นดีเจ แต่มีความสนใจ ก็อย่าลืมมาสมัคร เข้าชมรมกันนะคะ ส่วนคนที่อยากจะเสนอหัวเรื่องการนำ�เสนอ หรือขอเพลงในการออกอากาศก็หยอดไว้ที่ตู้ไปรษณียสีแดงของ โรงเรียนได้เลยค่ะ ทอสีสัมพันธ์ ฉบับธันวาคม ๒๕๕๓ - มีนาคม ๒๕๕๔ ปีการศึกษา ๒๕๕๓

๓๕


• เริ่มคำ�ถามแรกง่ายๆ เลยค่ะ จากทอสีไปสู่รุ่งอรุณ

จากประถมสู่มัธยม พบความแตกต่างอะไรบ้างคะ? .หลายอย่างค่ะ ตั้งแต่เรื่องการเรียนก็มีที่ไม่เหมือนกัน สถานที่ ห้องเรียนก็ต่างออกไป แล้วก็เวลาการเรียนที่รุ่งอรุณก็จะเลิกช้ากว่า เวลาเรียนจะเยอะกว่า ก็คือเริ่ม ๘ โมงพร้อมกัน แต่ที่รุ่งอรุณจะเลิก ๕ โมง ตอนแรกก็ไม่ค่อยชินเท่าไหร่ เพราะว่ามันก็เย็นอยู่ค่ะ แต่ว่า พอเรียนไปเรือ่ ยๆ ก็รสู้ กึ โอเค ก็ดี ปรับตัวได้ ... การเรียนก็ตา่ งออกไป เนื้ อ หาก็ ห นั ก มากขึ้ น อยู่ ที่ โ น่ น เขาจะเน้ น เรื่ อ งการเรี ย นรู้ ด้ ว ย ตัวเองเยอะ ครูจะไม่ได้สอนทุกอย่าง ยกตัวอย่างเช่น ม.ปลายจะมีให้ ทำ�โปรเจค เช่นหนูเองทำ�โปรเจคเกี่ยวกับเรื่องทรัพยากร ข้อมูลนี่หนู ก็ตอ้ งหาเอง ตามห้องสมุด เว็บ หรือว่ามีถงึ ขนาดว่าไปนอกสถานทีไ่ ป สัมภาษณ์จากผู้รู้ก็มี เราจะคิดเอง หาข้อมูลเอง ครูจะเป็นที่ปรึกษา เฉยๆ ทำ�ให้เราได้เรียนรูอ้ ะไรเยอะ ส่วนในเรือ่ งวิถชี วี ติ จะใกล้เคียงกัน

ล่าสุดได้ขา่ วมาว่าหนูดที �ำ คะแนนสอบเข้าคณะอักษรศาสตร์ ที่จุฬาฯ ได้ อยากให้เล่าให้ฟังนิดหนึ่งว่าเรามีวิธีการเตรียม ตัวเพื่อเข้าเรียนอย่างไรคะ? อ๋อ ของอักษรฯ เขาจะรับแบบตรง คือให้ยื่นคะแนน GAT กับ PAT แล้วก็ยื่นเกรด GPAT เข้าไป เราก็แค่สอบสะสมคะแนนไว้ก่อน สามารถสอบได้มากกว่า 1 ครัง้ จะมีวชิ า เช่น ภาษาญีป่ นุ่ เป็นคะแนน PAT ที่ให้เราเลือกได้เอง ส่วน GAT จะเป็นพวกอังกฤษกับพาร์ท เชื่อมโยงที่ต้องอ่านจับใจความ ก็ไปสอบตรงนั้นก่อนแล้วก็เก็บ คะแนนไว้ แล้วก็เก็บเกรดที่ได้มาตอน ม.ปลาย พอถึงเวลาก็เอา ๓๖

คะแนนไปยืน่ ให้เขา แล้วเขาก็จะเอาไปคัดแล้วก็เรียกไปสัมภาษณ์คะ่ การเตรียมตัวสอบนี้ นอกจากแง่วชิ าการแล้ว คิดว่าคุณสมบัติ อะไรของเราที่ช่วยให้เราเอนท์ติดได้คะ? น่าจะเป็นความชอบของเรา เพราะว่าเรื่องภาษาก็เพราะว่าชอบ ด้วยก็เลยรูส้ กึ ว่าถนัดมากกว่าอย่างอืน่ ถ้าเป็นคณิตหรือวิทย์กค็ อื เรา ไม่ชอบเลย แล้วก็เรียนได้แย่มาก คือตัง้ แต่เลือกสายก็แน่ใจมากว่าจะ เรียนสายศิลป์ตั้งแต่อยู่ ม.ต้นเลย แล้วเรารูไ้ ด้อย่างไรคะ ว่าเราชอบอะไร หรือว่ารูต้ งั้ แต่เมือ่ ไหร่? จริงๆ ตอนแรกเริ่มจากรู้ว่าเราไม่ชอบอะไรก่อน พออยู่ ป.ปลาย ก็เริม่ ๆ รูว้ า่ เราไม่คอ่ ยไหวกับเลขแล้ว เพราะว่าสอบไม่คอ่ ยผ่าน ก็เลย มาคิดดูวา่ วิชาไหนทีเ่ ราทำ�ได้ดบี า้ ง ก็จะมีพวกภาษาอังกฤษอะไรแบบ นี้ที่ทำ�ได้ดีกว่า แล้วก็รู้สึกโอเคนะ ไม่ได้ทรมานในการเรียน ตอนที่เราเรียนอยู่ทอสี มีกิจกรรมอะไรที่เราทำ�แล้วยังไม่ค่อย เห็นประโยชน์หรือว่าไม่ชอบ แต่พอเราออกไปแล้วกลับรู้สึก ว่าดีจังเลยที่ได้ทำ�กิจกรรมนี้บ้างไหมคะ? อ๋อ... ก็เป็นเรื่องการสวดมนต์นั่งสมาธิอะไรพวกนี้ค่ะ เพราะว่า ตอนนัน้ ยังเด็กอยู่ก็ไม่ค่อยรู้ว่าทำ�ไปแล้วจะได้อะไร ตอนนี้ก็จะรู้มาก ขึน้ พอไปอยูร่ งุ่ อรุณเขาก็มเี หมือนกัน การสวดมนต์ แต่เขาจะไม่คอ่ ย เคร่งเท่ากับที่นี่ ที่นี้พอเราไปทำ�ที่โน่น เราจะรู้สึกว่ามันเป็นเรื่องที่ ง่ายไปเลย เพราะว่าเราฝึกมาเยอะแล้ว เคร่งในที่นี้คือทำ�เป็นประจำ� ทุกวันแล้วก็สมำ�่ เสมอน่ะค่ะ อยู่ที่โน่นอาจจะมีจำ�นวนครั้งน้อยกว่า แล้วในชีวิตประจำ�วัน เช่น ก่อนอ่านหนังสือ เราได้ใช้การนั่ง สมาธิมาช่วยไหมคะ? ถ้าโดยปกติก็ไม่ได้บ่อยมากค่ะ จะไม่ได้นั่งสมาธิ แต่จะเป็นการ ทำ�ให้ใจตัวเองสงบ ก่อนทีจ่ ะทำ�อะไรก็จะทำ�ใจให้สงบก่อน ให้มสี มาธิ แล้วค่อยทำ� หรือถ้าเกิดอารมณ์เรามันเปลีย่ น เช่น โกรธ ก็จะพยายาม คิดบอกตัวเองว่ากำ�ลังโกรธอยู่ แล้วก็พยายามที่จะรู้ตัวว่าใจเราเป็น อย่างไร ทำ�ให้เรารู้สึกดีขึ้นได้ มาอยู่กับใจตัวเอง ทีนี้ ในเรื่องการเรียนนี้ ทางบ้านมีส่วนช่วยอะไรกับการเรียน ด้วยไหม? อย่างไรคะ? ก็ มี ค่ ะ อย่ า งเรื่ อ งโรงเรี ย นก็ เ ป็ น คุ ณ พ่ อ คุ ณ แม่ ที่ เ ลื อ ก ให้มาตลอด และเราก็รสู้ กึ ดีทไี่ ด้เรียนตามทีพ่ อ่ แม่คาดหวังให้เราเรียน

• • •

ทอสีสัมพันธ์ ฉบับธันวาคม ๒๕๕๓ - มีนาคม ๒๕๕๔ ปีการศึกษา ๒๕๕๓


แล้วก็กอ่ นทีจ่ ะรูว้ า่ สอบติด คุณพ่อคุณแม่กช็ ว่ ยดูตลอดเกีย่ วกับเรือ่ ง วิชาต่างๆ เรามีปัญหาหรือไม่เข้าใจตรงไหนก็จะคอยช่วยเท่าที่ช่วย ได้ ... อย่างเรื่องเริ่มเรียนภาษาญี่ปุ่น ก็ช่วง ม.๓ ตอนแรกอยากเรียน เพราะว่าชอบพวกการ์ตนู ญีป่ นุ่ (หัวเราะ) ก็เลยขอคุณแม่ แล้วคุณแม่ ก็ให้ แล้วพอเรียนไปเรื่อยๆ ก็โอเคค่ะ เรียนได้ แล้วก็ไม่ได้ล้มเลิก เมื่อกี้ได้ยินว่าที่บ้านสนับสนุนเรื่องการเรียนในสิ่งที่เราชอบ อย่างนั้นถ้าขอลองถามว่า ถ้าทางบ้านคาดหวังให้เราเรียน ในคณะหรือในด้านที่เราไม่ชอบ จะทำ�อย่างไรคะ? ก็คงจะหนักใจนิดหน่อย (หัวเราะ) แต่ว่าก็คงจะต้องลองเรียนดู ก่อนค่ะ ถ้าพ่อแม่อยากให้เรียนมากขนาดนัน้ ก็เรียนก็ได้คะ่ แต่ถา้ เกิด เข้าไปเรียนแล้วเราไม่ไหวหรือไม่โอเค ก็อยากจะลองปรึกษาพ่อแม่ดู ว่าเนี่ยเราไม่ชอบอย่างนี้นะ ถ้าจะเปลี่ยนได้หรือเปล่า แล้วก็อธิบาย เหตุผลให้พ่อแม่ฟังว่าทำ�ไม ก็น่าจะได้ค่ะ เหมือนหลายๆ คนที่เรียน บางอย่างมาแล้วสุดท้ายก็ไม่ชอบ ก็เปลี่ยนไปทำ�อย่างอื่น สำ�หรับหนูดี คิดว่าการที่เราเปลี่ยนอะไรในวินาทีสุดท้ายนี่ สายไปไหมคะ? จริงๆ มันก็อาจจะไม่สาย คือจริงๆ แล้วก่อนที่จะมาได้อักษรฯ ตอนแรกก็คิดว่าอาจจะเข้ารัฐศาสตร์ ก็เลือกไว้สองอย่าง แล้วก็มี อยู่ช่วงหนึ่งที่รู้สึกว่าน่าจะเลือกรัฐศาสตร์เป็นอันดับหนึ่ง แล้วก็ลอง ไปเรียนติวดูนิดหนึ่ง แต่ว่าไม่ได้หนัก แค่ลองเรียนเป็นพื้นฐานวิชา เกี่ยวกับรัฐศาสตร์ว่าชอบหรือเปล่า ตอนแรกก็รู้สึกว่าน่าจะได้ แต่ ว่าพอไปๆ มาๆ ก็รู้สึกว่ามันไม่เหมาะกับเราเลย เพราะรัฐศาสตร์ จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเมือง ต้องติดตามข่าวสาร แต่ว่าเราเองก็ ขี้เกียจติดตาม (หัวเราะ) ทีแรกเรานึกว่าเราสนใจ เพราะที่เลือกจะ เป็นรัฐศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จะมีเรื่องภาษาเข้ามา เกี่ยวข้อง แต่ว่าสุดท้ายมันก็จะเชื่อมโยงไปถึงเรื่องการเมืองข่าวสาร อยู่ดี ก็เลยเปลี่ยนใจทีหลังเป็นอักษรฯ

• แล้วการ์ตูนล่ะคะ ตอนนี้ยังอยู่ในชีวิตเราไหม?

พอโตขึ้ น ก็ เริ่ ม น้ อ ยแล้ ว ค่ ะ การ์ ตู น แต่ ก็ ยั ง มี ห ลายอย่ า งที่ เกี่ยวกับญี่ปุ่น เช่น ภาพยนตร์ หรือซีรี่ส์ หรือว่าเพลง ก็ยังมีอยู่ แล้ว ก็สนใจประเทศเขา เมื่อต้นปีที่ผ่านมาก็ได้ไปแลกเปลี่ยนมาเดือน ครึ่งด้วย คือเป็นโครงการของโรงเรียน คือว่ามีครูญี่ปุ่นที่โรงเรียนเขา ติดต่อให้ ก็เลยได้ไปที่จังหวัดชิกะเดือนครึ่ง ไปอยู่กับโฮสต์ที่นั่น เป็น บ้านเขาที่นั่น แล้วก็ไปโรงเรียนพร้อมกับโฮสต์ที่นั่น

• คือเป็นการเรียนรู้นอกห้อง เจอของจริง... อย่างเรื่องของการ

เรียนรู้ ครูอยากถามความเห็นเกี่ยวกับการเรียนพิเศษเพื่อ เตรียมศึกษาต่อว่า เราจำ�เป็นต้องเรียนพิเศษเพือ่ ให้เอนท์ตดิ ไหม คะ เป็นไปได้ไหมที่เราจะเอนท์ติดโดยไม่เรียนพิเศษเพิ่ม มี . เพื่อนๆ ที่ไม่เรียนพิเศษไหมคะ? อืม... ก็มอี ยูค่ นค่ะทีค่ ณ ุ แม่เขาไม่ให้เรียน แต่วา่ เขาก็เรียนได้ใช้ได้ บางทีก็ดีกว่าบางคนที่เรียนพิเศษ เขาก็ตั้งใจอ่านหนังสือ บางทีการ เรียนพิเศษเหมือนเสริมเรา บางทีเราเรียนไม่ใช่เพื่อติวเพื่อกวดวิชา ทุกอย่างไปสอบ เหมือนถ้าเราเรียนในสิ่งที่เราชอบ เช่น เรียนภาษา ญี่ปุ่นเพราะว่าเราอยากจะรู้อย่างนี้ก็น่าจะโอเค แต่ว่าถ้าเกิดไปเรียนวิทย์ เรียนสังคม เรียนอะไรหลายๆ อย่าง เพือ่ แค่ไปสอบอย่างเดียว มันก็แค่นนั้ น่ะค่ะ มันไม่ได้เอาไปใช้อะไรต่อ เกือบสุดท้ายแล้ว จะฝากอะไรถึงน้องๆ ที่ทอสีไหมคะ? ก็อยากให้น้องๆ ทุกคนตั้งใจเรียนรู้ในสิ่งต่างๆ ที่โรงเรียนทอสีให้ ค่ะ เพราะว่ามันก็ต่างจากที่อื่นเยอะ แล้วก็มีประโยชน์กับทุกๆ คน สมมุตวิ า่ จบไป ถ้าเรายังจำ�สิง่ ทีท่ างโรงเรียนให้ได้ ก็จะเป็นประโยชน์ กับเราในอนาคต แล้วก็อาจจะมีข้อได้เปรียบในบางเรื่องที่ที่อื่นไม่มี อย่างเช่น เรือ่ งการควบคุมตัวเอง หรือว่าการมีปฏิสมั พันธ์ทดี่ กี บั ผูอ้ นื่ อยากขอบคุณใครไหมคะ ที่ทำ�ให้เรามาเป็นเราทุกวันนี้? อย่างแรกก็ขอบคุณ คุณพ่อกับคุณแม่ ที่ดูแลมา แล้วก็ช่วย ส่งเสริมจนหนูได้เป็นหนูทุกวันนี้ แล้วก็ คุณครู ทุกท่านที่สอนมา ตั้งแต่อนุบาลจนถึง ม.๖ ทุกท่านก็ได้ให้ความรู้ แล้วก็นอกจากความ รูก้ ไ็ ด้สอนในแง่คดิ แล้วก็การใช้ชวี ติ ต่างๆ ทีเ่ ป็นประโยชน์คะ่ ขอบคุณ เพื่อนๆ ทุกคน และคนอื่นๆ ที่ทำ�ให้ชีวิตนี้มีความสุข ... ก็ขอบคุณ ตัวเอง ด้วย เหมือนตัวเราบางทีก็มีบางอย่างที่ไม่อยากทำ� หรือบาง อย่างทีร่ สู้ กึ ว่าน่าเบือ่ แต่เราก็อดทนแล้วก็ฝา่ ฟันมาได้ถงึ ตอนนี้ ก็รสู้ กึ ว่าเราทำ�ได้ดีพอสมควรค่ะ

• •

คุ ณ ครู กั บ พี่ ห นู ดี ไ ด้ พู ด คุ ย กั น ไม่ ย าวนั ก เราจบการ สัมภาษณ์ลงในเย็นวันพฤหัสบดีวันเดิม แต่สิ่งที่ไม่เหมือนเดิม คือคุณครูได้มีโอกาส “รับฟัง” และ “ได้ยิน” ความรู้สึกนึกคิด ของเด็กวัยก่อนมหาวิทยาลัยคนหนึ่ง คุณครูคิดว่าเสน่ห์ที่แท้จริง ของเด็ ก สมั ย นี้ อ าจไม่ ใช่ เ พี ย งรู ป ลั ก ษณ์ ภ ายนอก แต่ เ ป็ น ที่ “ความคิดที่ดี” พี่หนูดีได้มอบคำ�ตอบในหลายๆ คำ�ถาม และได้ สละเวลามาถ่ายทอดความคิดความเห็น คุณครูต้องขอขอบคุณ ไว้ ณ ที่นี้อีกครั้งหนี่งค่ะ ทอสีสัมพันธ์ ฉบับธันวาคม ๒๕๕๓ - มีนาคม ๒๕๕๔ ปีการศึกษา ๒๕๕๓

๓๗


เปิดหู เปดตา เปิดใจ

แนะนำ�สื่อและกิจกรรมดีๆ โดย ครูหยก

คลายปม ๒

หนั ง สื อ รวบรวมคำ � ถามและ คำ�ตอบที่พระอาจารย์ชยสาโรได้ เมตตาตอบไว้เมื่อครั้งแสดงธรรม เทศนาในวาระต่างๆ “คลายปม” เล่มนี้ เป็นคลายปม ลำ�ดับเล่มที่ ๒ พิมพ์แจกเป็น ธรรมบรรณาการด้วยศรัทธาของ ญาติโยม ท่านที่สนใจสามารถขอรับได้ที่ ฝ่ายงานธรรมะ/กองทุนธรรมะ ร.ร.ทอสี (งานหนังสือซีดีธรรมะ) โทรศัพท์ : ๐ ๒๗๑๓ ๓๖๗๔ อีเมล : dhamma@thawsischool.com หรืออ่านฉบับออนไลน์ได้ที่ www.thawsischool.com/dhamma-book.html

หนั ง สื อ ชุ ด ประสบการณ์ ห้ อ งเรี ย นธรรมชาติ “นกเงือก นักปลูกป่า” และ “แมลงปอ ถึงหยดนำ�้สุดท้าย”

หนังสือทั้งสองเล่มจัดทำ�โดยกลุ่มครอบครัวควบกลำ�้ธรรมชาติ ภายในประกอบด้วยเนื้อหาสาระและภาพประกอบที่เกิดขึ้นจาก การเรียนรู้ร่วมกันของเด็กๆ ครอบครัว และน้าเกรียง (คุณครู ห้องเรียนธรรมชาติ) ผู้อ่านจะได้เรียนรู้ความมหัศจรรย์และ น่าทึ่งของชีวิตนกเงือกและแมลงปอ ที่ท้ายเล่มมีแผ่นวีดีทัศน์ จัดไว้ให้ศึกษาเพิ่มเติม หากสนใจขอรับหนังสือ คลิกไปชม รายละเอียดได้ที่ www.doublenature.net หรือหาซื้อที่ ศูนย์หนังสือจุฬาและศูนย์หนังสือเกษตร

หนังสือโยคะเด็ก “แปลงกายเป็นดอกไม้บาน” รวมท่าโยคะสำ�หรับเด็กปฐมวัยหรือวัยอนุบาล ซึ่งจะช่วยสร้างพัฒนาการด้านความจำ� และสุขภาพจิตใจ ร่างกาย รวมไปถึงระบบกล้ามเนื้อต่างๆ ซึ่ง “โยคะเด็ก แปลงกายเป็นดอกไม้บาน” เล่มนี้ ได้เชื่อมโยงท่าโยคะแต่ละท่าให้ เข้ากับธรรมชาติ จึงช่วยให้เด็กๆ ได้ทั้งความสนุกสนานในขณะฝึก รวมทั้งได้สุขภาพกายและจิตที่ดีด้วย ผู้สนใจ สามารถหาซื้อได้ตามร้านหนังสือชั้นนำ�ทั่วไป

ขอเชิญชมนิทรรศการที่ไม่ต้องใช้ตาดู

“Dialogue in the Dark”

จัดแสดงเวลา ๑๐.๓๐ – ๑๙.๓๐ น. ทุกวัน ที่จัตุรัสวิทยาศาสตร์ บริเวณชั้น ๕ ของอาคารจามจุรีสแควร์ นิทรรศการนี้มีแนวความคิดและพัฒนาสร้างโดย Dr.Andreas Heinecke ชาวเยอรมัน และได้พัฒนาเป็นนิทรรศการชั่วคราวและถาวร โดยจัดแสดงมาแล้วกว่า ๑๓๐ เมือง ใน ๒๒ ประเทศ ทั่วโลก นิทรรศการนี้จะกระตุ้นให้ผู้ชมได้ตระหนักถึงความสำ�คัญของประสาท สัมผัสในร่างกายของคนเรา จัดแสดงบนพื้นที่ประมาณ ๖๐๐ ตารางเมตร เป็นห้องนิทรรศการที่มืดสนิท ตกแต่งบรรยากาศโดยจำ�ลอง สถานการณ์ การดำ�เนินกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำ�วันตามวิถีชีวิตของผู้คนในแต่ละท้องถิ่น ผู้นำ�ชมนิทรรศการเป็นผู้พิการทางสายตา มีการบรรยายถึงลักษณะและบรรยากาศภายในห้องนิทรรศการให้กับผู้ชมฟัง และให้เข้าถึงบรรยากาศต่างๆ ผ่านทางประสาทการรับรู้ เช่น เสียง อุณหภูมิ การสัมผัส รส และกลิ่น เป็นต้น ขอบพระคุณข้อมูลจากเว็บไซต์ขององค์กรพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ http://www.nsm.or.th/nsm2009/WebDID

ติดตาม “เปิดตา เปิดหู เปิดใจ” แบบออนไลน์ได้ที่เมนู “แลกเปลี่ยนแบ่งปัน” ใน www.thawsischool.com นะคะ ๓๘

ทอสีสัมพันธ์ ฉบับธันวาคม ๒๕๕๓ - มีนาคม ๒๕๕๔ ปีการศึกษา ๒๕๕๓


โดย ครูปริม ฝ่ายวิชาชีวิตนักเรียน

ปิดเทอมใหญ่นี้เป็นช่วงเวลาพักผ่อนของเด็กๆ ประมาณ ๒ เดือน ที่ค่อนข้างยาวเลยนะคะ ยามใดที่โรงเรียนปิดเทอม คุณพ่อคุณแม่ก็มักต้องรับบทบาทเพิ่มขึ้นในการดูแลลูกอย่างใกล้ชิด บ้างก็สวมบทบาทเป็น “ผู้จัดการส่วนตัว” ในการจัดสรร เวลาให้กับลูกอย่างเกิดประโยชน์สูงสุด รวมทั้งสวมบทบาทแทนโรงเรียนในการจัดกิจกรรม หลักสูตรการเรียนรู้ต่างๆ เพื่อ เอื้อให้ลูกได้เรียนรู้และพัฒนาอย่างเต็มที่ตามแต่ละช่วงวัย ในพื้นที่นี้ ทางโรงเรียนขอแนะนำ�กิจกรรมดี มีประโยชน์ เพื่อเป็น ตัวช่วยให้ท่านผู้ปกครองที่อาจจะยังไม่ได้เตรียมกิจกรรมให้กับลูกๆ เป็นกิจกรรมสนุกๆ พร้อมทั้งได้เรียนรู้อย่างมีคุณภาพ รวม ถึงแนะนำ�สถานที่ที่สามารถเดินทางได้สะดวกและไม่ไกลจากกรุงเทพฯ ค่ะ

• ไปเยี่ยมญาติผู้ใหญ่ในวันหยุด • ไปทำ�บุญ ที่วัดใกล้บ้าน

ทำ�ทาน กับบ้านเด็กกำ�พร้าหรือคนชรา • เที่ยวชมวัดในกรุงเทพฯ เช่น วัดอรุณราชวราราม วัดโพธิ์ วัดพระแก้ว วัดบวรนิเวศน์วิหาร นิทรรศน์รัตนโกสินทร์ โลหะปราสาท วัดญาณเวศกวัน (พุทธมณฑล สาย ๔) ภูเขาทอง • เที่ยวจังหวัดใกล้กรุงเทพฯ เช่น เมืองเก่าอยุธยา ตลาดนำ�้อโยธยา (จ.อยุธยา) ตลาดสามชุก วัดไผ่โรงวัว (จ.สุพรรณบุรี) ตลาดร้อยปี (แปดริ้ว) ไร่ปลูกรัก (จ.ฉะเชิงเทรา) วิถีไทยในสวนสามพราน กราบพระปฐมเจดีย์ (จ.นครปฐม) ตลาดนำ�้อัมพวา (จ.สมุทรสาคร) • เที่ยวพิพิธภัณฑ์ เช่น มิวเซียมสยาม (ติดกับวัดโพธิ์) งานศิลป์แผ่นดิน ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม ศูนย์วิทยาศาสตร์ปทุมธานี ท้องฟ้าจำ�ลอง เรือพระราชพิธี พิพิธภัณฑ์การเกษตร (อาคารสำ�นัก พิพิธภัณฑ์และวัฒนธรรมการเกษตร) ฯลฯ หาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.bangkoktourist.com • กิจกรรมค่ายฤดูร้อน เช่น ค่ายวิทยาศาสตร์ฤดูร้อน ซึ่ง มีค่ายสนุกและน่าสนใจให้เลือกมากมายหลายช่วงเวลา หาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.sciplanet.org • ห้องสมุด TK Park (CTW) Book Tower (สาธร) นีลสันเฮย์ส ห้องสมุดมารวย ฯลฯ

• อ่านหนังสือกับลูกและลงสมุดบันทึกทุกวัน • ดูแลตัวเอง ทั้งเรื่องการกิน การอยู่ • จัดหน้าที่ในบ้านให้รับผิดชอบทุกวัน เช่น กรอกนำ�้

เช็ดโต๊ะ ล้างจาน กวาดใบไม้ ตัดล้างกล่องนม เป็นต้น • ทำ�กิจกรรมที่สนใจต่อจากที่โรงเรียน เช่น การทดลอง ทางวิทยาศาสตร์ (หาดูได้จากหนังสือที่ห้องสมุด) การปักผ้า ปักแผ่นเฟรม ปลูกต้นไม้ งานศิลปะประดิษฐ์ ร้อยดอกไม้ พับดอกบัว เป็นต้น • ทำ�การบ้าน ตามที่คุณครูประจำ�ชั้นให้ไว้ • สวดมนต์ ไหว้พระ แผ่เมตตา ก่อนนอน • ร่วมประกอบอาหาร เช่น ล้าง หั่น เด็ด ผสมส่วนผสม ต่างๆ เป็นต้น นอกจากนี้ คุณครูขอฝากเรื่องการชมโทรทัศน์ และสื่อต่างๆ ที่อยากจะขอเน้นยำ�้อีกครั้งว่า “ควรหลีก เลี่ยงการดูละครและภาพยนตร์ที่ไม่เหมาะกับเด็ก รวม ทั้งหนังยอดมนุษย์ที่มีการต่อสู้” เนื่องจากจะเป็นการ กระตุ้ น ส่ ง เสริ ม ความสนใจในพฤติ ก รรมบางด้ า นที่ ไ ม่ เหมาะสม หรือถ้าไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ทั้งหมด คุณพ่อ คุณแม่ควรจะเป็นผู้ร่วมคัดเลือกรายการหรือหนังที่จะนั่ง ดูกับลูก รวมทั้งกำ�หนดเวลาให้เหมาะสม เรื่องการบ้าน คุณครูอยากขอความร่วมมือให้ ทางบ้านจัดสรรเวลาทำ�การบ้านร่วมกับลูก การบ้าน เป็นงานสำ�คัญของนักเรียน ทำ�ให้ได้ทบทวนบทเรียน ประเมินว่าเข้าใจบทเรียนนั้นหรือไม่ และที่สำ�คัญ คือ เป็นการฝึกความรับผิดชอบและการจัดสรรเวลาทำ�งาน ในหน้าที่ให้เรียบร้อย ทอสีสัมพันธ์ ฉบับธันวาคม ๒๕๕๓ - มีนาคม ๒๕๕๔ ปีการศึกษา ๒๕๕๓

๓๙


ปลู ก ปา่ ค้ น หาสมดุ ล ชี ว ิ ต “ป่าไม้และชีวิตต่างก็ต้องการความสมดุล” ท้ายเล่มฉบับนี้ คุณครูขอชวนเด็กๆ มาเล่นเกมสร้างสมดุลให้ชีวิตโดยการวาดภาพ ป่ าไม้ (ตามกติกาข้างล่าง) เกมนี้ให้เวลาเล่นเพียง ๒ สัปดาห์ในระหว่างช่วงปิดเทอม นะคะ วาดเสร็จแล้วนำ�ภาพที่เสร็จสมบูรณ์มาหย่อน ลงที่ตู้ไปรษณีย์สีแดงในโรงเรียนได้เลยค่ะ คุณครูจะนำ�มาจัดบอร์ดเพื่อแบ่งปันให้ชาวทอสีได้ชื่นชมกันในปีการศึกษาหน้า (เย่! จะได้รู้เสียที ว่าเด็กๆ ทอสีจัดสรรเวลาในช่วงปิดเทอมกันยอดเยี่ยมขนาดไหน) กติกาการเล่น* : วาด ดอกไม้ เพิ่มเติมลงในภาพครั้งละ ๑ ดอก หลังจาก วาด สัตว์ เช่น นก แมลง กระต่าย เพิ่มเติมลงในภาพครั้ง ทำ�กิจกรรมที่ เกิดประโยชน์แก่ผอู้ นื่ อาทิ ช่วยคุณพ่อคุณแม่ท�ำ งาน ละ ๑ ตัว หลังจากทำ�กิจกรรมหมวด สนุกสนาน บันเทิง พักผ่อน บ้าน ไปเยี่ยมเยียนญาติผู้ใหญ่ นวดให้ผู้ใหญ่ ช่วยเหลือคนที่ด้อย อาทิ เล่นเกม เล่น Facebook เล่นอินเทอร์เน็ต ดูโทรทัศน์ ดูหนัง โอกาสกว่าเรา ฯลฯ ฟังเพลง อ่านการ์ตูน นอนกลางวัน ฯลฯ วาด ต้นไม้ เพิ่มเติมลงในภาพครั้งละ ๑ ต้น หลังจากทำ� กิจกรรมที่เพิ่มพูนความรู้หรือ เกิดประโยชน์แก่ตนเอง อาทิ อ่าน หนังสือ ทำ�การบ้าน ชมสารคดี ไปพิพธิ ภัณฑ์ ไปห้องสมุด ซักเสือ้ ผ้า ของตนเอง ซ่อมของใช้ของตนเอง ฯลฯ

วาด ผลไม้ บนต้นไม้ (ต้นที่เราเคยวาดไว้ ต้นใดก็ได้) หลัง จากทำ�กิจกรรมที่ ขัดเกลาจิตใจของตนเอง อาทิ สวดมนต์ นัง่ สมาธิ ตักบาตร ไปทำ�บุญ ฟังเทศน์ ฯลฯ

ระยะเวลาเล่นเกมปลูกป่าของฉัน : คือ ระหว่างวันที่ ............................. ถึงวันที่ ..............................

ให้คะแนนตัวเองหลังจากผ่านไปแล้ว ๒ สัปดาห์ : ป่าไม้แห่งชีวิตสมดุลน้อย ไม่หลากหลาย น่าจะพัฒนาต่อไป ป่าไม้แห่งชีวิตสมดุลดี น่าพอใจ น่าจะรักษาความสมดุลไว้

ตัดหน้านี้มาหย่อนลงตู้ไปรษณีย์ทอสีในวันเปิดเทอม

*ลงสีได้ตามใจชอบ / สำ�หรับเด็กเล็ก ผู้ปกครองสามารถร่วมเล่นกับลูก


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.