ฉบับที่ ๑ / ปีการศึกษา ๒๕๕๔

Page 1

ทอสีสัมพันธ์ ฉบับ ‘หน้าที่นักเรียน’ ๓-๔ -ส อน

๒-

- ๘ - เย็นคล้ายพ้น

๑-

ระจก ก น อ ื ม เห

๖-

ามเศร้าหมอง ว ค หนือ

๕-

ตระหนี่ อย่า

แดด

๙ - ๑๐ - ห่างทุกข์ไ กล ลิบ ฉบั บ พฤษภาคม - กรกฎาคม ๒๕๕๔ ปี ก ารศึ ก ษา ๒๕๕๔


คุ ย กั บ ครู อ ้ อ น เด็กๆ หลายคนคงจำ�ได้ว่า บทเรียนที่ครูอ้อนมักนำ�มาคุย กับเด็กๆ ในตอนเปิดเทอม คือบทเรียนอะไร? โอวาทวันเปิดเทอม ทีพ่ ระอาจารย์ชยสาโรให้ไว้เมือ่ ปี ๔๗ “เปิดเทอมใหม่ให้ใช้ปญ ั ญา เป็นพลัง ขยันก็เรียน ขี้เกียจก็เรียน สนุกก็เรียน ไม่สนุกก็เรียน เพราะความขี้เกียจ ความสนุก ความไม่สนุก เป็นเพียงอารมณ์ ชั่ววูบเดี๋ยวก็ผ่านไป การเรียนจะให้สนุกตลอดเวลาเป็นไปไม่ได้ อาตมาเองบางครัง้ ก็ขเี้ กียจแต่ไม่ตอ้ งไปสนใจมัน เพราะมันเป็น แค่อารมณ์” ครูอ้อนรู้สึกว่าโอวาทนี้สั้น ง่าย และจับใจ ช่วยเตือน สติเราได้ดี เมื่อไหร่ที่เรารู้สึกเบื่อ ก็ขอให้เราทุกคนนึกถึงโอวาทนี้ สำ�หรับคุณครู การทำ�บทเรียนให้สนุกไม่นา่ เบือ่ เป็นเรือ่ ง ไม่ง่ายเลย ยิ่งในยุคนี้ที่เด็กๆ ชินกับความเร็วและการเร้าจาก สื่อรอบตัวตลอดเวลา จึงมีเด็กบางกลุ่มที่สนุกและเด็กอีกกลุ่มที่ไม่ สนุกกับการเรียนเลย อย่างไรก็ตาม คุณครูทอสีทุกคนจะพยายาม ใช้สติและปัญญาทำ�ให้บทเรียนน่าสนใจเท่าที่จะทำ�ได้ สำ�หรับนักเรียน ครูออ้ นขอให้นกั เรียนทอสีทกุ คน อย่าเอา อารมณ์เป็นที่ตั้ง ขอให้ฝึกข่มใจควบคุมตนให้เป็นนักเรียนที่ดี เป็น ผูฟ้ งั ทีด่ ี ไม่พดู ไม่ท�ำ ตามทีอ่ ยาก คิดพิจารณาสิง่ ทีไ่ ด้ยนิ ได้ฟงั ได้เรียนรู้ หากไม่เข้าใจขอให้มีความกล้าที่จะถามด้วยความอ่อนน้อม เพียง เท่านี้ก็เป็นการทำ�บุญมหาศาล ทำ�ให้ครูมีพลังและกำ�ลังใจที่จะ ทำ�งานการศึกษาวิถแี ห่งพุทธปัญญานีอ้ ย่างไม่ลดละและมีความสุข ท้ายนี้ครูอ้อนขอเป็นตัวแทนคณะผู้บริหารและคุณครู ทุกท่าน ปวารณาไว้ ณ ต้นเทอมนี้ว่าหากมีสิ่งใดที่นักเรียนหรือ ผู้ปกครองอยากแนะนำ�หรือเสนอแนะ ทางโรงเรียนขอน้อมรับไว้ เพื่อพิจารณา และขอให้ถือเป็นหน้าที่ที่ผู้ปกครองและเด็กจะต้อง ให้เสียงสะท้อนเพือ่ การพัฒนาชุมชนแห่งนีใ้ ห้เป็นชุมชนแห่งบัณฑิต ตามนโยบายและปรัชญาของโรงเรียนทีต่ งั้ ไว้ ครูออ้ นเชือ่ ว่า ชุมชน จะงอกงามและงดงามได้เพราะเสียงสะท้อนจากกัลยาณมิตร จึง เป็นหน้าที่ของเราทุกคนที่ต้องช่วยกันทำ�ตัวให้เป็นแบบอย่างที่ดี และกล้าให้เสียงสะท้อนที่ประกอบด้วยเมตตาและปัญญาต่อกัน และกันอย่างสมำ่�เสมอ ครูอ้อน บรรณาธิการ วรรณวนัช ฤกษ์ลัภนะนนท์ (ครูหยก) กองบรรณาธิการ จุฬารัตน์ อินทรมหา (แม่แจง) กนกอร บุญทวีกิจ (ครูนุ้ย) อาภาภัทร ไชยประสิทธิ์ (ครูแหม่ม) นัยฤดี สุวรรณาภินันท์ (ครูใหม่) พลณัฐ แก้วมณี (ครูอั๋น) พัชนา มหพันธ์ (ครูแจ๊ด) วิไลลักษณ์ ทิสาละ (ครูนก) พีรพัฒน์ ตติยบุญสูง (ครูย้ง) ไพรำ� นามวัฒน์ (ครูแป้ง) วิทูรพงศ์ วงศรีชู (ครูต้น) ปริมภร กฤษณายุธ (ครูปริม) วัฒนา อ่อนคำ� (ครูวัฒนา) คุณวารุณี แสนกล้า (ครูนาง) นำ�้อ้อย สืบดี (ครูนำ�้อ้อย) รุจจลักษณ์ มีแสง (ครูรุจ) กาญจนา ใจการ (ครูนิ่ม) พุทธชาติ นกชม (ครูหน่า) อรอุมา ฤกษ์สันทัด (ครูเล็ก) อำ�พร แสนศักดิ์ (ครูแนน) กนิษฐา ชูขันธ์ (ครูนุช) วรรณนิภา เจริญพุทธคุณ (ครูติ๊ก) ปิยรัฐ มรรคยาธร (ครูจิ๊บ) สุวัลลีย์ พลสุโพธิ์ (ครูกี้) ศิลปกรรม พีรพัฒน์ ตติยบุญสูง (ครูย้ง) วรรณวนัช ฤกษ์ลัภนะนนท์ (ครูหยก)

Editor’s Note

บทบรรณาธิ ก าร

พบกันผ่านหน้ากระดาษอีกครั้งนะคะ รู้สึกดีจังที่ได้คุย กันผ่านหน้ากระดาษบางๆ แทนที่จะเป็นจอคอมพิวเตอร์หนาๆ ชีวิตปัจจุบันเราใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กันมาก ขึ้น ซึ่งเราเองก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่าเทคโนโลยีเหล่านี้มีคุณประโยชน์ หลายประการ อย่างไรก็ดี ในยุคทีเ่ ด็กๆ (และผูใ้ หญ่) หลายๆ คน สนุกสนานกับเฟซบุค ทวิตเตอร์ และมือถือหน้าจอสไลด์ จะมีสกั กีค่ น ทีไ่ ด้ใช้ประโยชน์และเข้าถึง “หัวใจ” ของการสือ่ สารอย่างแท้จริง? “ง่วงนอนจังเลย” “หิวข้าวที่ซู๊ด” หลายคนระบายความ รูส้ กึ บนสเตตัสในเฟซบุค แทนทีจ่ ะแก้ความง่วงด้วยการไปเข้านอน หรือแก้ความหิวด้วยการกินข้าว หรือการอัพเดทสเตตัสอาจกลาย เป็นวัฒนธรรมใหม่ไปแล้ว? คล้ายว่านัน่ เป็นตัวช่วยให้เราแสดงออก ได้ทันที ทุกที่ ทุกเวลา โดยไม่ต้องผ่านการคิดพิจารณาถึงระดับ ความสำ�คัญหรือคุณประโยชน์ของการสื่อสาร แบบนี้ใช่หรือไม่? ครูหยกเองภูมใิ จแทนเด็กทอสีทไ่ี ด้เรียนรูอ้ ริยสัจตัง้ แต่เล็ก ได้เรียนรูว้ า่ เมือ่ เกิดทุกข์แล้วควรจะสืบสาวหาเหตุ ค้นหาหนทางแก้ไข ด้วยวิธีท่ฉี ลาด รวมถึงมีความอดทนอดกลั้นได้พอสมควร เมื่อเกิด อารมณ์ไม่ถูกใจก็ไม่แสดงออกอย่างตามอกตามใจตัวเอง... สเตตัส บนเฟซบุคอาจจะเป็นวัฒนธรรมใหม่ทท่ี นั สมัยฉับไว แต่อย่างไรก็ตาม “เรา” ในฐานะผูเ้ ล่นผูใ้ ช้งาน ก็นา่ จะเป็นผูก้ �ำ หนดได้บา้ ง ว่าเราจะ เล่นจะใช้งานแบบตามใจตัวเองมากน้อยแค่ไหน ควรปล่อยให้เครือ่ งมือ อย่างเฟซบุคหรือทวิตเตอร์เป็นฝ่ายกำ�หนดเรามากน้อยแค่ไหน สติเป็นสิ่งสำ�คัญไม่ว่าจะในยุคใด หวังว่าผู้อ่านทุกคนจะมีความ สุขบนสติและรืน่ รมย์กบั การสือ่ สารอย่างพอเหมาะพอดีนะคะ ครูหยก

สารบั ญ

ปฏิทินทอสี / เกิดอะไรในทอสี? ๓ เด็กทอสีไปไหนกันมาบ้าง? ๔ ตีฆ้องร้องป่าว มีข่าวมาบอก ๗ บ่มเพาะพื้นที่ พื้นที่แห่งการบ่มเพาะ ๘ เรื่องเล่าจากชั้นเรียน ๑๐ เปิดเทอม ๕๔ ๑๒ ขำ�ขัน โดย ครูหน่า : นานมาแล้ว ๑๔ การบ้าน เรื่องใหญ่กว่าที่คิด ๑๕ ทอสีรักษ์โลก ๑๖ แนะนำ�ห้องสมุดใหม่ ๑๗ พ่อแม่ผู้แสดงโลก กับ “หน้าที่ของลูก” ๑๘ กอล์ฟทอสี ทีของพ่อ (บ้างนะครับ!) ๒๐ สุขภาพดี มีพลัง : โยคะฝึกกายสบายจิต ๒๒ การอ่านหนังสือกับลูก ๒๓ ภูฏาน “ดินแดนแห่งมังกรสายฟ้า” ๒๖ บทสัมภาษณ์ : หน้าต่างแห่งโอกาสทองของการเรียนรู้ ๒๘ พึ่งตัวพึ่งตนคืออะไร? ๓๑ พื้นที่นี้... พื้นที่ปัญญาประทีป ๓๒ มนต์รักอักษร ๓๕ เปิดหู – เปิดตา – เปิดใจ ปกหลัง


ปฏิ ท ิ น ทอสี ๒๖ ก.ค. ๕๔ ผ้าป่าละครคณะมรดกใหม่ ๓๐ ก.ค. ๕๔ อบรมหลักภาษาไทยเบื้องต้น ๗ ส.ค. ๕๔ (๐๘.๐๐ น.- ๑๑.๐๐ น.) ปฏิบัติธรรมผู้ปกครอง ครั้งที่ ๓ โดยพระราชญาณกวี ๑๑ ส.ค. ๕๔ พิธีถวายพระพร ๑๒ ส.ค. ๕๔ วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ๑๘ ส.ค. ๕๔ วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ๒๔ ส.ค. ๕๔ (๐๘.๓๐ น. - ๑๑.๐๐ น.) ประชุมการนำ�เสนอหลักสูตรประถมทอสี สำ�หรับผู้ปกครองอนุบาล ๒๘ ส.ค. ๕๔ (๐๙.๐๐ น.- ๑๕.๐๐ น.) ปฏิบัติธรรมผู้ปกครอง ครั้งที่ ๔-๕ โดย พระอาจารย์ชยสาโร ณ ปัญญาประทีป อ.ปากช่อง ๒๙ ส.ค. – ๙ ก.ย. ๕๔ รับใบสมัครนักเรียน อ.๓ ทอสี เข้า ป.๑ ๑ - ๒ ก.ย. ๕๔ ชำ�ระค่าเทอม ๒/๕๔ ๕ - ๙ ก.ย. ๕๔ งานประถมเปล่งบาน ๑/๕๔ ๑๒ - ๑๖ ก.ย. ๕๔ งานอนุบาลแรกแย้ม ๑/๕๔ ๑๘ ก.ย. ๕๔ (๐๘.๐๐-๑๑.๐๐ น.) ปฏิบัติธรรมผู้ปกครองครั้งที่ ๖ โดยพระมหาพงศ์นรินทร์ ฐิตวํโส ๑๙ - ๒๑ ก.ย. ๕๔ ประถมสอบปลายภาคเรียนที่ ๑/๒๕๕๔ ๒๓ ก.ย. ๕๔ เรียนวันสุดท้าย ภาคเรียนที่ ๑/๒๕๕๔ *กำ�หนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลง ติดตาม การอัพเดทได้ที่ www.thawsischool.com

เกิดอะไรในทอสี? งานบ ุ ญ -ไหว้ ค รู ๑๖ มิ.ย. ๕๔

ปีนที้ างโรงเรียนได้ผนวกเอางานทำ�บุญโรงเรียนเข้ากับพิธไี หว้ครู เด็กๆ และคุณครู ทอสีได้ร่วมกันทำ�บุญ เจริญทาน ศีล และภาวนาด้วยกัน พระอาจารย์ชยสาโร เมตตามาให้โอวาท เหล่านักเรียนได้กล่าวปวารณาตน และกราบคุณครูประจำ�ชัน้ ในช่วงท้ายสุด คุณครูได้ร่วมกันร้องเพลง “คนเก่งคนดี” มอบแก่ศิษย์ทุกคน

อบรมภาษาชีวิตโดยครูอ้อน ๙ ก.ค. ๕๔

ผูป้ กครองเข้าร่วมอบรม “ภาษาชีวติ เพือ่ พัฒนาการ เรียนรูภ้ าษาของลูก” กับครูออ้ นอย่างสนุกสนาน ใน ช่วงอบรมมีการเปิดวีดีทัศน์บทบาทสมมุตินำ�แสดง โดย ครูอั๋น ครูเต๋า และครูเปิ้ล เรียกเสียงหัวเราะจน หลายๆ ท่านถึงกับเอ่ยปากชม ติดตามคลิปและไฟล์ เสียงการอบรมได้ในเว็บไซต์โรงเรียนเร็วๆ นี้ค่ะ

สัปดาห์หล่อเทียนพรรษา ๑๑ - ๑๔ ก.ค. ๕๔

เด็กๆ เรียนรู้กระบวนการการ หล่ อ เที ย นพรรษากั บ ครู ย้ ง พร้ อ มทั้ ง ร่ ว มกั น ปวารณาตน เนื่องในโอกาสเข้าพรรษา เทียน ทีไ่ ด้มาทัง้ หมด ๑๐ ต้น ได้รบั การ บรรจุหีบห่อและขนส่งไปใช้งาน ในถิ่นทุรกันดาร

หมายเหตุ: เนื่องด้วยปัญหาระบบคอมพิวเตอร์ภายในองค์กร ทางโรงเรียนขออภัยที่ไม่ได้ เผยแพร่คลิปการแสดงปลายภาคเรียน ๕๓/๒ ทีผ่ า่ นมาในเว็บไซต์โรงเรียน ตามทีไ่ ด้แจ้งไว้ใน ทอสีสมั พันธ์ฉบับทีแ่ ล้ว ทางทีมงานจะแก้ไขปัญหานีแ้ ละจัดให้ทา่ นผูป้ กครองยืมแผ่นวีดที ศั น์ ที่ห้องสมุดแทนนะคะ ทอสีสัมพันธ์ ฉบับพฤษภาคม - กรกฎาคม ๒๕๕๔ ปีการศึกษา ๒๕๕๔


เด็กทอสีไปไหนกันมาบ้าง?

การทัศนศึกษาทั้งหมดในช่วงครึ่งแรกของภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๕๔ ๑ มิ.ย. ๕๔ ๑๐ มิ.ย. ๕๔ ๑๔ มิ.ย. ๕๔ ๒๒ มิ.ย. ๕๔

ป.๓ ไปศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง ครั้งที่ ๑ ป.๓ ไปศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง ครั้งที่ ๒ ป.๖ ไปพิพิธภัณฑ์กายวิภาคศาสตร์คองดอน ป.๕ ไปพิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณี และ ท้องฟ้าจำ�ลอง ๒๒ มิ.ย. ๕๔ ป.๒ ไปทำ�บุญที่วัดพระราม ๙ ๑ ก.ค. ๕๔ ป.๖ ทัศนศึกษาศูนย์วัสดุรีไซเคิล อ่อนนุช

๕ ก.ค. ๕๔ ๘ ก.ค. ๕๔ ๘ ก.ค. ๕๔

ป.๔ ทัศนศึกษาที่มิวเซียมสยาม ป.๕-๖ เยี่ยมชมโรงเรียนปัญญาประทีป ป.๕ ไปพิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหิน ป.๖ ไปบ้านปราสาท-ปราสาทหินพิมาย ป.๑ ทัศนศึกษาพิพิธภัณฑ์กายวิภาค มศว.ประสานมิตร ๑๓ ก.ค. ๕๔ ป.๓ ไปศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง ครั้งที่ ๓

ป.๓ เรียนรู้ “วิถีบ้านๆ กับ การเดินทางของข้าว” ๑ และ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๕๔

ครูรุจ ครูยูริ ครูวิ และครูน้องแนน วางแผนนำ�ทีมเด็ก นักเรียน ป.๓ ห้องโมก ๑ และโมก ๒ ไปทัศนศึกษาที่ ศูนย์กสิกรรม ธรรมชาติมาบเอื้อง จังหวัดชลบุรี ไว้ ๕ ครั้ง (ตลอดภาคเรียนแรก) พบกันครั้งนี้ ทางโรงเรียนขอเล่าถึงกิจกรรม “วิถีบ้านๆ กับ การ เดินทางของข้าว” ใน ๒ ครั้งแรกกันสักนิดค่ะ ในวันที่ ๑ มิ.ย. ๕๔ เด็กๆ ได้เดินทางไปที่มหาลัยคอกหมู (อีกชือ่ หนึง่ ของศูนย์กสิกรรมแห่งนี้ ซึง่ ก่อตัง้ โดย อ.วิวฒ ั น์ ศัลยกำ�ธร) เพื่อไปเตรียมพื้นที่แปลงนา เด็กๆ ได้สังเกตการณ์การไถนาโดยใช้ ควายไทย การหมักเศษฟาง การปรับปรุงดิน ได้ทำ�ความรู้จักและ เรียนรู้วิธีการใช้งานเครื่องไม้เครื่องมือของชาวนา อาทิ คันไถ คราด ๔

ทอสีสัมพันธ์ ฉบับพฤษภาคม - กรกฎาคม ๒๕๕๔ ปีการศึกษา ๒๕๕๔

กระด้ง ยุง้ ข้าว ครกกระเดือ่ ง เครือ่ งสีขา้ ว นอกจากนีย้ งั ได้ถอื โอกาส สัมผัสวิถบี า้ นๆ ของภาคอีสาน ได้เรียนรูก้ ารอนุรกั ษ์โพน บ่อนำ�ส้ ร้าง การทำ�นาข้าวแห้ง วิธีการเก็บรักษาข้าว (เล้าข้าว) ศาลตาแฮก ประเพณีบุญบั้งไฟ อาหารการกินอย่างอีสาน (แซบหลาย!) ส่วนในวันที่ ๑๐ มิ.ย. ๕๔ เป็นครั้งที่ ๒ ที่เด็กๆ ไปสานต่อ พืน้ ทีน่ าทีไ่ ด้เตรียมไว้ คือไปเรียนรูเ้ รือ่ งการเตรียมพันธุข์ า้ ว คัดเมล็ด แช่ขา้ ว และหว่านเมล็ดพันธุข์ า้ วลงแปลงตกกล้า หลังจากนัน้ จึงแบ่ง ฐานกันเรียนรู้การปลูกข้าวในนาขั้นบันได การปลูกหญ้าแฝกเพื่อ อนุรักษ์ดินและนำ�้ การทำ�ฝายชะลอความชุ่มชื้น รวมทั้งเรียนรู้วิถี บ้านๆ ของภาคเหนือ ทั้งวิถีการกินอยู่อย่างชาวเหนือ การละเล่น ต่างๆ อย่างโพงพาง ซิกโก๋งเก๋ง (เดินไม้ไผ่ต่อขา)


นานาความประทับใจ ของผู้ปกครองห้องต้นโมก “ดีใจแทนลูกๆ ทีไ่ ด้รซู้ ง้ึ ถึงคุณค่า ของข้าวอย่างแท้จริงจากการลงมือปฏิบัติเอง กว่าจะได้ขา้ วมา ๑ จาน ๓ มือ้ ต้องใช้ตน้ ข้าว ๑ ต้น ทีอ่ อกรวงเต็มที่ แค่พวกเราไปทดลองดํานาในแปลง เล็กๆ ก้มๆ เงยๆ เพือ่ ปักต้นกล้าแค่ ๑๐ กว่านาที ยัง เมือ่ ยล้าและร้อนมาก กลับมาลูกบอกว่าจะไม่กนิ ข้าว เหลื อ และถ้ า ไปกิ น ข้ า วนอกบ้ า นจะเตรี ย ม ทัพเพอร์แวร์ไปใส่ขา้ ว ฟังแค่นก้ี ด็ ใี จแทนชาวนาแล้ว” แม่ปุ๊ก / คุณแม่น้องมาซาโกะ น้องมิวะ น้องไอโกะ “รูส้ กึ ว่าคนไทยมีมนั สมองและความคิดดีๆ ทีไ่ ด้กอ่ ตัง้ ศูนย์กสิกรรม แบบนี้ในประเทศ ทำ�ให้คนไทยได้มีงานและสามารถพึ่งตนเองได้ และ สามารถนำ�ไปปฏิบัติจริงในการประกอบอาชีพได้ ซึ่งถามว่าพวกเรานั้นอยู่ ไกลจากสิง่ ต่างๆ เหล่านีแ้ ต่ถา้ ได้กลับมาย้อนมาดูเราก็สามารถนำ�ไปประยุกต์ ใช้ได้เช่นเดียวกัน เช่น เรื่องสบู่ นำ�้ยาล้างรถ ยาสระผม และนำ�้ยาล้างจานที่ เราสามารถหาซือ้ ได้งา่ ยในห้างสรรพสินค้า แต่ถา้ เราได้ไปเรียนรูใ้ นวิธกี ารทำ� ซึ่งมันไม่ได้ยากมาก เราก็สามารถนำ�มาใช้ในชีวิตประจำ�วันได้ โดยเฉพาะ เจ้าหน้าที่ทุกท่านและวิทยากรที่ได้พูดคุยนั้น ดูเผินๆ เหมือนคนธรรมดา ทัว่ ๆ ไป แต่จริงๆ แล้วถ้าได้เข้าไปสอบถามเรือ่ งทีอ่ ยากจะรู้ วิทยากรทุกท่าน จะมีความรูท้ ลี่ กึ ซึง้ กับสิง่ ทีต่ นเองได้ท�ำ อยูเ่ ป็นอย่างดี และอยากทีจ่ ะแบ่งปัน ให้กับลูกๆ ของพวกเราอย่างตั้งใจและจริงใจ ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ ประโยชน์ได้รับคือประสบการณ์ที่ดี เพราะตั้งแต่เกิดจนเป็นแม่ถึง ปัจจุบันนี้ก็ไม่เคยได้ไปเห็นกระบวนการทำ �นา เริ่มจากคัดเมล็ดพันธุ์ที่ดี หว่านข้าว ดำ�นา และจะรอจนกว่าข้าวทีเ่ ราหว่านนัน้ โตเพือ่ ทีจ่ ะไปเก็บเกีย่ ว ค่ะ ที่แน่ว่าจะไปแน่ๆ คือวันเก็บเกี่ยว อีกประมาณ ๖ เดือน สุดท้ายได้เห็น ความมีน�ำ ใ้ จของเพือ่ น ป.๓ ด้วยกันเอง คือ น้องปิงปิงยกตะกร้าของอยู่ น้อง ติ๊นาได้รีบวิ่งเข้าไปช่วย ขออนุโมทนานะคะ” แม่นุช / คุณแม่ของน้องหมิงหมิง “ประทับใจในโอกาสที่โรงเรียนได้ให้กับลูกๆ และเราผู้ ปกครองได้ความรู้ ขัน้ ตอนของการทำ�นา และ ได้เรียนรูว้ ถิ ชี าวบ้าน ในทุกภาคของเมืองไทย ถึงแม้จะเป็นแปลงทดลองที่มีขนาดเล็ก แต่ เราก็ ไ ด้ สั ม ผั ส จริ ง หรื อ แม้ วิ ถี ชี วิ ต จะเป็ น เพี ย งการละเล่ น บางอย่าง และ อาหารประจำ�ภาค แต่ก็ทำ�ให้เด็กๆ ได้จดจำ� และ สัมผัสจริง ไม่ใช่แค่ได้ยนิ หรืออ่าน ทำ�ให้เด็กเกิดแรงบันดาลใจ และ สนใจที่จะหาความรู้ในเรื่องนี้ต่อไป เด็กๆ ได้จำ�สิ่งที่ได้เรียนรู้ และ เห็นเป็นภาพความทรงจำ�ของเขาตลอดไป เห็ น ความอดทนของเด็ ก ไม่ ว่ า จะต้ อ งเจอกั บ ความ แตกต่างที่ตนเองไม่เคยได้สัมผัส เช่นลงไปเหยียบโคลน บางคนก็ สนุก บางคนก็ไม่ชอบ แต่ก็ได้ทำ�จริงกันทุกคน และหลังจากเลอะ แล้ ว ทุ ก คนก็ มี ค วามสุ ข หรือการไปทำ�นา เด็กๆ จะ โดนแมลงกัดต่อย ก็ต้องมี ความอดทน และพยายาม ห า ท า ง ป้ อ ง กั น ต่ อ ไ ป เด็กๆ ได้มีโอกาสเข้าไป อาบนำ�้ในห้องนำ�้

“เจ้าหน้าที่ของที่ศูนย์ฯ ให้การต้อนรับ เด็กๆ และคุณครู เป็นอย่างดี ให้ข้อมูลและความรู้ เยอะมาก บางครั้งเด็กๆ มัวแต่คุยกัน แต่พี่ๆ ก็ยัง ตั้งอกตั้งใจบอกข้อมูลรายละเอียดต่อไป อย่างไม่ ย่อท้อ เด็กๆ ได้ลงปฏิบัติจริงๆ ลุยโคลน วิ่งเล่นอยู่ ในแปลงนาสาธิต ได้เห็นควายมาไถนา (ขอบอกว่า ควายตัวใหญ่มาก เด็กๆ ตื่นเต้นน่าดู) ได้หว่าน เมล็ดพันธุ์ข้าวเอง และครั้งต่อไปก็จะได้ เก็บ และ ดำ� ต้นกล้าเองค่ะ และอีกอย่างที่ดี คือได้เรียนรู้วิถี การดำ�รงชีวิตของชาวนาในภาคต่างๆ ว่ามีความ แตกต่างกันอย่างไร ตอนนีท้ ไี่ ด้เรียนไปคือ ภาคอีสาน และ ภาคเหนือ ได้ดูแบบการสร้างบ้าน ดูแปลงนา (ภาคเหนือ นาต้องทำ�เป็นแบบขั้นบันได เพราะ อะไร?) เด็กๆ ได้ปลูกหญ้าแฝก ปลูกเพื่ออะไร? และ ได้ชิมอาหารพื้นบ้านของทั้งสองภาค ซึ่งอร่อยมาก ค่ะ เด็กๆ ทานจนหมด โดยเฉพาะส้มตำ�ไม่เหลือค่ะ” แม่หลิง / คุณแม่ของน้องปิงปิงและน้องซูชิง

ที่มีคางคกก็ตกใจกัน แต่ก็เป็นครั้งหนึ่งที่ได้เจอ พวกเราทีใ่ ช้ชวี ติ ส่วนใหญ่ในเมืองคอนกรีต ก็มโี อกาสได้ สัมผัสธรรมชาติชนบท บางอย่างเราก็ไม่ชิน เราก็ไม่ชอบ แต่เมื่อ ได้เรียนรูก้ เ็ กิดความเข้าใจ และมองเห็นวิธแี ละวิถชี วี ติ ทีแ่ ตกต่าง กัน ถ้าเราได้เรียนรูก้ นั และกันจะทำ�ให้ชอ่ งว่างความแตกต่างใน ด้านความคิดที่มีอยู่มากในปัจจุบันนี้แคบลง ทำ�ให้ปัญหาสังคม และการเมืองลดลงได้ ทำ�ให้เรียนรูว้ า่ ความรูน้ นั้ ไม่ได้มอี ยูแ่ ต่ทโี่ รงเรียน หรือ มหาวิทยาลัย และไม่จำ�เป็นว่าความรู้สมัยใหม่จะดีที่สุด แต่ ความรูม้ อี ยูท่ กุ ที่ และความรูท้ ไี่ ด้มาจากการลงมือปฏิบตั ิ หรือ ความรู้จากการทำ�นาก็มีประโยชน์มาก ถ้าเราสามารถนำ�มา ผสมผสานกันเพือ่ ให้ลกู เราได้เรียนรู้ พวกเขาคงเป็นพลเมือง ของประเทศทีด่ ตี อ่ ไป ไม่ใช่การไปเรียนรูค้ รัง้ นีจ้ ะมีประโยชน์ แต่เฉพาะเด็กๆ คุณแม่ทไ่ี ปก็ได้เกิดความรูแ้ ละความคิดใหม่ ขึน้ ด้วย จึงต้องขอขอบคุณคณะคุณครู ป.๓ และโรงเรียนที่ ให้โอกาสนีค้ ะ่ ” ศิรดา อัศวานันท์ (แม่ออย) คุณแม่ของน้องอันนาและน้องอิงค์ ทอสีสัมพันธ์ ฉบับพฤษภาคม - กรกฎาคม ๒๕๕๔ ปีการศึกษา ๒๕๕๔


อ.๒ เที่ยว Day Trip ที่บ้านน้องพอดี ๑๒ มิถุนายน ๒๕๕๔

บรรยากาศของเปิดเทอมใหม่ชา่ งคึกคักครึกครืน้ เสียจริงค่ะ หลังจากปิดเทอมใหญ่ไปนาน โรงเรียนและห้องเรียนของเรากลับมา มีชีวิตชีวาอีกครั้ง โดยเฉพาะอนุบาล ๒ ห้องเฟื่องฟ้า รอยยิ้ม เสียง หัวเราะ เสียงคุยกันเจือ้ ยแจ้วของเจ้าตัวเล็กห้องดอกจำ�ปีทเี่ ติบโตมา เป็นพี่อนุบาล ๒ ในภาคเรียนนี้นั่นเองค่ะ แต่ เอ... มีเพื่อนหนึ่งคน หายไป... น้องต้นเทียนนั่นเอง ที่ต้องย้ายโรงเรียนกระทันหัน ด้วย ความคิดถึงของเด็กๆ ทีมคุณแม่จึงรวมตัวกัน จัดงานเลี้ยงอำ�ลาน้อง ต้นเทียน พร้อมพบกันในโอกาสพิเศษ คือวันเกิดของน้องนีรา น้อง แคท น้องพรีม ในวันอาทิตย์ที่ ๑๒ พฤษภาคม ด้วย

ต่อด้วยช่วงเวลาแห่งความสุขสันต์ ที่เจ้าของวันเกิดทั้ง ๓ คนจะ แสดงความกตัญญูต่อคุณพ่อคุณแม่ผู้ให้กำ�เนิดด้วยการ กราบและมอบพวงมาลัยหอมๆ แทนคำ�ขอบคุณ พ่อ แม่ ลูก กอดกัน หอมกัน ช่างเป็นภาพทีเ่ ห็นเมือ่ ไหร่หวั ใจก็พองโตทุกทีคะ่ แถมยังได้ ร้องเพลงประสานเสียง “ใครหนอ” ไปกับเสียงกีตาร์ของคุณพ่อน้อง พานิก้า อบอุ่นจริงๆ ค่ะ

ครอบครัวเฟื่องฟ้าทั้ง ๒๑ ครอบครัวและครูแหววที่เคารพ รักของเด็กๆ ครูนิ่ม ครูน้องณี ครูรถเมล์ ครูประจำ�ชั้นห้องปัจจุบัน ได้มารวมตัวกันทีบ่ า้ นน้องพอดี แถวพระราม ๙ นีเ่ องค่ะ บรรยากาศ เป็นไปด้วยความอบอุ่นเป็นกันเอง เริ่มต้นกิจกรรมดีๆ ในสวน ด้วย การกล่าวต้อนรับของน้องพอดีเจ้าของบ้านค่ะ จากนั้นก็เป็นงาน ศิลปะ ระบายสีตกุ๊ ตาโปสเตอร์... ระหว่างนี้ ทีมพ่อแม่นดั แนะกันเรือ่ ง งานครอบครัวสัมพันธ์ของห้อง เอ?!? จะไปที่ไหนกันดีนะ ตรงไหนที่ สะดวกให้หนูๆ ได้เรียนรู้หน่วยธรรมชาติ ใครมีไอเดียก็แลกเปลี่ยน กันค่ะ เวลาผ่านไปไม่นานผลงานของหนูเสร็จแล้ว... ได้เวลาอิ่มท้อง ด้วยอาหาร เครื่องดื่ม ที่แต่ละบ้านได้รับมอบหมายให้มาแบ่งปันกัน

จากนั้นก็เป็นเวลาสบายๆ เด็กๆ วิ่งเล่นกัน พ่อๆ แม่ๆ ครู นั่งคุยกัน ตะวันเริ่มคล้อย เราย้ายกิจกรรมเข้าไปในบ้าน ๓ พี่น้อง พี่ พิณ พี่เพลง น้องเพิร์ธ โชว์ฝีมือตีขิม พี่แทน น้องพอดี โชว์ฝีมือเล่น เปียโนให้ได้ฟังกันค่ะ สุดท้ายไม่มีงานเลี้ยงใดไม่เลิกรา... เด็กๆ ร้องเพลงอำ�ลาให้กบั น้องต้นเทียนและมีสมุดเฟรนด์ชปิ ผลงานศิลปะ และ ดอกไม้แทนใจมอบให้เพื่อนรักก่อนจากกันค่ะ งานนี้จบด้วยดี แถมเต็มไปด้วยความรู้สึกดีๆ กิจกรรมดีๆ ที่ได้ทำ�ร่วมกัน ห้องไหน อยากจะนำ�ไปเป็นแนวทางการจัดกิจกรรมก็ไม่วา่ กันนะคะ แต่ทแี่ น่ๆ อีกไม่กี่อึดใจ ห้องเฟื่องฟ้าของเราจะมีกิจกรรมดีๆ แบบนี้ต่อไป แน่นอนค่ะ แล้วไม่ลืมที่จะมาแบ่งปันความสุขให้นะคะ

ทอสีสัมพันธ์ ฉบับพฤษภาคม - กรกฎาคม ๒๕๕๔ ปีการศึกษา ๒๕๕๔

เอร็ดอร่อย และที่สำ�คัญไม่มากเกินไปพอดีๆ ตามแนวทอสีเสียด้วย อย่างนี้ต้องขอสาธุให้นะคะ


โดย ครูหยก ฝ่ายสื่อสารองค์กรฯ

“แกะรอยธรรม” เปิดรับจิตอาสาถอดเสียงธรรมเทศนา ท่านผู้ปกครอง คุณครู หรือญาติธรรมที่สนใจจะช่วยเหลืองานเผยแพร่ธรรมะด้วย การถอดเสียงธรรม สามารถแจ้งความจำ�นงเข้าร่วมกลุ่ม “แกะรอยธรรม” และติดต่อ รับไฟล์เสียงเพื่อถอดเสียงเป็นไฟล์ข้อความได้ที่ ครูหยก โทร. ๐๒ ๗๑๓ ๐๒๖๐ ทั้งนี้ ไฟล์ข้อธรรมที่ถอดเสียงเรียบร้อยแล้วจะได้รับการจัดเก็บเข้าระบบและเผยแพร่ ควบคู่กับไฟล์เสียงธรรมะ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจ รวมถึงญาติธรรมผู้บกพร่อง ทางการได้ยินต่อไป ขออนุโมทนาค่ะ นอกจากในเว็บไซต์ของโรงเรียนแล้ว ปัจจุบันทางห้องสมุดได้จัดซีดีเสียงธรรมเทศนา ในวาระต่างๆ ไว้ให้ท่านผู้ปกครองยืมไปฟังได้อีกทางหนึ่งด้วยนะคะ

งาน “การศึกษาพุทธปัญญา ทางรอดของสังคมไทย” วันเสาร์ที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๕๔ เวลา ๑๓.๐๐ น. - ๑๗.๐๐ น. (โดยประมาณ) จัดโดย : มูลนิธิปัญญาประทีป โรงเรียนปัญญาประทีป โรงเรียนทอสี สถานที่ : Crystal Design Center (CDC) โรงเรียนทอสีขอเรียนเชิญผู้ปกครองทุกท่านเข้าร่วมงาน “การศึกษาพุทธปัญญา ทางรอดของสังคมไทย” งานที่จัดขึ้น เพื่อ สื่อสารเรื่องการศึกษาพุทธปัญญา ระบบการศึกษาของโรงเรียนทอสี และโรงเรียนปัญญาประทีป ให้ผู้ปกครองทอสี-ปัญญา ประทีป กลุ่มเครือข่ายโรงเรียนพุทธปัญญา สาธารณชน และสื่อมวลชน เกิดความเข้าใจอย่างชัดเจนถึงหลักการของการจัดการ ศึกษา เพื่อสร้างและพัฒนาเด็กให้มีพุทธปัญญาอันจะเป็นที่พึ่งที่สำ�คัญที่สุดของมนุษย์ในการดำ�รงอยู่อย่างรู้เท่าทันโลกที่มีการ เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในทุกๆ ด้าน ให้เกื้อกูล เกิดประโยชน์กับทั้งตนเองผู้อื่น และธรรมชาติแวดล้อม กำ�หนดการอย่าง ละเอียด จะเรียนให้ทราบอีกครั้งค่ะ

การสื่อสารในชุมชนทอสี ทุกวันนี้ทางโรงเรียนพยายามพัฒนาการสื่อสารภายในชุมชน โดยเฉพาะกั บ ผู้ ป กครองให้ ชั ด เจนและครอบคลุ ม ยิ่ ง ขึ้ น นอกจากการพบปะพูดคุยกันโดยตรงที่โรงเรียนแล้ว ยังมีอีก หลายช่องทางสำ�หรับสื่อสารระหว่างกัน ได้แก่

โทรขึ้นอยู่กับการตกลงกันของกลุ่มผู้ใช้งาน) ทางโรงเรียนหรือ คุณครูประจำ�ชั้นจะใช้งาน Call Tree ในการแจ้งข่าวสารที่ เร่งด่วน รวมทั้งต้องการตรวจสอบให้มั่นใจว่าทุกคนได้ทราบ ข่าว (ต่างจาก SMS ที่ข่าวสารอาจตกหล่น ไปไม่ถึงผู้ปกครอง)

• สมุดสื่อ

• เครือข่ายออนไลน์ ท่านผู้ปกครองจะได้รับข่าวสารและการแจ้งข้อมูลต่างๆ จาก (Web Site / Facebook / Twitter) ทางโรงเรียนผ่านสมุดสื่อนี้เป็นระยะๆ ขอความร่วมมือให้ ท่านผู้ปกครองทุกท่านเปิดอ่านสมุดสื่ออย่างสมำ่�เสมอ ทั้งนี้ สำ�หรับครอบครัวที่มีพี่น้อง ทางโรงเรียนจะใส่เอกสารไว้ เฉพาะในกระเป๋าของนักเรียนคนน้อง เพื่อเป็นการประหยัด ทรัพยากรกระดาษ

ท่ า นผู้ ป กครองสามารถติ ด ตามข่ า วสารภายในโรงเรี ย น ข่าวสารชุมชน รวมถึงแบ่งปันข่าวสารที่น่าสนใจเหล่านี้ได้ ทุกวันผ่านเว็บไซต์หลัก: www.thawsischool.com

ในส่วนของบอร์ดกิจกรรม ขณะนี้ทางโรงเรียนกำ�ลังปรับปรุง ภูมิทัศน์และอาคารสถานที่ รวมถึงจัดสรรพื้นที่ของบอร์ด • ข้อความสั้น (SMS) กิจกรรมให้เหมาะสม บอร์ดวิถีชีวิตและบอร์ดแจ้งข่าวสำ�หรับ ใช้สำ�หรับแจ้งข่าวสั้นที่ค่อนข้างเร่งด่วน ขอความกรุณาท่าน ผู้ปกครอง สำ�หรับคุณครู และบอร์ดกิจกรรมของเด็กๆ จะ ผู้ปกครองที่ไม่ได้รับข้อความข่าวสารช่วยติดต่อแจ้งที่ห้อง ได้รับการจัดวางให้เหมาะสมลงตัวและสะดวกแก่การรับและ ธุรการ หรือ ครูก้อย (ฝ่ายวิชาชีวิตผู้ปกครอง) นะคะ เข้าถึงข้อมูลเร็วๆ นี้ค่ะ

• เครือข่ายแจ้งข่าวสารทางโทรศัพท์ (Call Tree)

หลักการของ Call Tree คือการโทรศัพท์ต่อๆ กันไปเป็น เครือข่ายวงกลม คนแรกโทรไปหาคนที่สอง และโทรต่อๆ กัน ไปจนวนกลับมาที่คนแรก (ลำ�ดับและการแยกเส้นทางการ

สถานการณ์การจราจรหน้าโรงเรียน ดังที่ได้แจ้งไว้ในสมุดสื่อ ทาง ส.น. คลองตัน ได้ขอให้ท่าน ผู้ปกครองงดเลี้ยวขวาออกจากประตูโรงเรียนในช่วงเร่งด่วน ทางโรงเรียนขอใช้พื้นที่นี้ขอบพระคุณที่ให้ความร่วมมือค่ะ ทอสีสัมพันธ์ ฉบับพฤษภาคม - กรกฎาคม ๒๕๕๔ ปีการศึกษา ๒๕๕๔


โดย ครูหนู

บ่มเพาะพื้นที่ พื้นที่แห่งการบ่มเพาะ สวัสดีค่ะ ดีใจจริงเปิดเทอมแล้ว เด็กๆ กลับมาคงจะ ตื่นตาตื่นใจกับการเปลี่ยนแปลงของสถานที่หลายสิ่งหลายอย่าง มีทั้งที่สร้างเสร็จแล้ว และที่อยู่ในระหว่างการดำ�เนินการก่อสร้าง เก็บงาน ทางโรงเรียนได้มีการวางแผนที่จะพัฒนาสถานที่ให้สำ�เร็จ เรียบร้อยภายในช่วง ๒ เดือนที่ปิดเทอม แต่ในความเป็นจริง เมื่อ เราได้เริ่มก่อสร้างแล้วก็มีเหตุให้ต้องยืดเยื้อออกไปกับสิ่งที่ไม่ได้อยู่ ในแผนการ อาทิเช่น เมื่อรื้อเครื่องเล่นบนสนามทรายที่เก่ามาก แล้วออก พบว่ามีการชำ�รุดผุพัง ทำ�ให้ต้องสร้างเครื่องเล่นใหม่ทั้ง อนุบาลและประถม เป็นต้น ดังนั้นเวลาที่กำ�หนดไว้จึงต้องขยาย ออกไป มีสิ่งดีๆ ที่ครูหนูได้เรียนรู้จากการก่อสร้างครั้งนี้ที่อยาก จะแบ่งให้กับเด็กๆ ว่ากว่าจะมาถึงจุดนี้เราต้องทำ�อะไรบ้าง เริ่มแรก ช่วงวางแผนการทำ�งาน ซึ่งเป็นช่วงปรึกษากับ ผู้ออกแบบ เป็นช่วงที่สำ�คัญมาก เป็นช่วงที่ทางโรงเรียนต้องบอก ถึงความต้องการ ความจำ�เป็นและข้อจำ�กัดต่างๆ ของโรงเรียน ให้กับทางผู้ออกแบบได้รับทราบ ผู้ออกแบบ ชื่อ “พี่แมว” เป็น ผู้ที่เคยทำ�งานให้กับโรงเรียนอื่นมาก่อน และเราประทับใจในผล งานของเขา เมื่อผู้ออกแบบเข้าใจความต้องการของทางโรงเรียน และวัตถุประสงค์ของการใช้งาน เขาจะเป็นผู้ช่วยทางโรงเรียน มองภาพรวมของโรงเรียนทั้งหมด และออกแบบอาคารให้ออกมา สมดุลย์สอดคล้องกันอย่างสวยงามทั้งโรงเรียน สิ่งที่เราต้องบอกผู้ ออกแบบ เช่น จำ�นวนห้องเรียน ขนาดของห้องและพื้นที่ พื้นที่ รับประทานอาหาร พื้นที่ทำ�กิจกรรม พื้นที่เล่น ทางเดินเชื่อม ระหว่างอาคารต้องให้สมดุลย์กัน และห้องที่เราต้องการสามารถ ดัดแปลง โยกย้ายจากห้องที่มีอยู่เดิมได้ไหม หรือต้องสร้างใหม่ จุดประสงค์ของการใช้ห้องแต่ละห้อง ยกตัวอย่างเช่น ห้องเรียน ห้องสมุด ห้องธุรการ ห้องประชุม ห้องนำ�้ ลักษณะ การใช้ห้องจะไม่เหมือนกัน สถานที่ภายนอกห้องเรียนก็เช่น เดียวกัน ทุกจุดของโรงเรียนควรจะต้องเป็นแหล่งเรียนรู้ท่ามกลาง บรรยากาศที่ร่มรื่นด้วยธรรมชาติ ๘

ทอสีสัมพันธ์ ฉบับพฤษภาคม - กรกฎาคม ๒๕๕๔ ปีการศึกษา ๒๕๕๔

สร้างตรงไหนภายในที่ดินนี้ ที่จะไม่กระทบกระเทือนกับ อาคารหรือห้องที่มีอยู่แต่เดิม โดยยังคงสามารถรักษาบรรยากาศ ของโรงเรี ย นให้ ดู ร่ ม รื่ น สวยงามด้ ว ยต้ น ไม้ ใ หญ่ เขี ย วชะอุ่ ม อยู่ ตลอดเวลา ความปลอดภัยของนักเรียน สิ่งที่สำ�คัญยิ่งในการคิด พิจารณาในแต่ละจุด เราต้องคำ�นึงถึงความปลอดภัยของนักเรียน พยายามไม่ให้มีจุดบกพร่องที่จะก่อให้เกิดอุบัติเหตุหรือเปิดช่อง ให้กับผู้ไม่ประสงค์ดีเข้ามาในโรงเรียนได้ ประตูเข้า-ออก และการ จราจรที่จะอำ�นวยความสะดวกให้กับผู้ปกครองและที่จะไม่ก่อ ความเดือดร้อนให้กับบุคคลภายนอกที่ใช้ถนนเดียวร่วมกับเรา ความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ที่เด็กๆ ได้เห็น มีอะไรบ้าง ๑. ถนนเข้าโรงเรียน มีการเปลี่ยนแปลงจากประตูท่ีเคยเป็นประตูทางออกเป็นประตู ทางเข้าของโรงเรียน เส้นทางเดินรถจะเป็นถนนที่แนบไปกับอาคาร เพาะปัญญาด้านข้างไปด้านหลัง ไปออกประตูสร้างใหม่ที่เชื่อมเข้า ลานจอดรถของท่านผู้หญิงเล็ก และออกจากโรงเรียนทางประตู ด้านนั้น จะเป็นถนนเดินทางเดียว ที่ไม่ตัดผ่านเข้ามาในพื้นที่ของ เด็กๆ ในโรงเรียน ดังนั้นจะมีความปลอดภัยกับนักเรียนมากขึ้น ๒. อาคารธุรการ เป็นอาคารสร้างใหม่ ๓ ชั้น ส่วนของห้องธุรการจะเป็นห้องเล็ก ๆ สูงขึ้นไป ๓ ชั้น และส่วนที่เป็นหลังคาความสูง ๓ ชั้น จะปกคลุม ลานสนามบาสเกตบอล(เดิม) เป็นลานโล่งที่นักเรียนสามารถผลัดเปลี่ยนกันมาทำ�กิจกรรมต่างๆ เป็นจุดที่ล้างจาน เป็นจุดที่นักเรียน นั่งคอยผู้ปกครอง เป็นจุดที่ผู้ปกครองนั่งคอยลูกๆ โดยไม่เปียกฝน ได้เป็นอย่างดี ๓. ห้องสมุด ย้ายไปอยู่ชั้นล่างของอาคารไม่วุ่น ซึ่งมีขนาดเล็กลง แต่มีชานไม้ ด้านหน้าและด้านข้างที่กว้างขวาง เด็กๆ สามารถออกมาอ่าน หนังสือและทำ�กิจกรรมบริเวณที่ต่อเติมใหม่ได้


๔. ระเบียงไม้ เป็นทางเดินต่อเชื่อมระหว่างห้องสมุดของอาคารไม่วุ่นและอาคาร ก่อกุศล เป็นระเบียงไม้หลังคาไม้เชด้าที่สวยงาม ร่มรื่นด้วยแนว ต้นไม้ด้านข้างและบ่อนำ�้มีไม้นำ�้ ดูร่มเย็น อบอุ่น น่าสบาย ซึ่ง คุณครูพาเด็กๆ มาทำ�กิจกรรมนอกห้องเรียนได้อย่างดี (จุดนี้เคย เป็นสนามทรายของอนุบาล) ทางโรงเรียนได้ใช้พื้นที่นี้ในการจัด กิจกรรมวันพระทุกครั้ง รวมทั้งใช้จัดกิจกรรมวันไหว้ครูที่ผ่านมา ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบของทั้งนักเรียนและคุณครู ๕. สนามทรายอนุบาลพร้อมเครื่องเล่นไม้ ได้ย้ายมาอยู่บริเวณส่วนในของสนามหญ้าอนุบาล บนสนามทราย มี เครื่องเล่นไม้ที่มีบ้านต้นไม้ ชิงช้า บาร์โหน บันไดเชือก ไม้ลื่น เพื่อให้เด็กๆ ได้มีโอกาสพัฒนากล้ามเนื้อในการปีนป่ายอย่างใช้สติ และได้ใช้จินตนาการในการเล่นอย่างสนุกสนาน เด็กๆ ชอบมาก สนามหญ้ายังมีอยู่เหมือนเดิม มีการจัดเตรียมที่ล้างมือและล้าง เท้าใหม่อย่างสวยงาม ๖. สนามทรายประถมพร้อมเครื่องเล่นไม้ อยู่ที่จุดสนามทรายประถมเดิม ขนาดเครื่องเล่นไม้จะใหญ่กว่า ของอนุบาล ประกอบด้วย ภูผาจำ�ลอง กำ�แพงเชือก ขอนไม้หรรษา บ้านไม้บันไดเวียน ไต่เชือกหรรษา สะพานขอนไม้ บันไดเชือก บันไดปีกไม้ บันไดหน้าผา ไม้ลื่นคลายทุกข์ ระเบียงไม้สบายตัว บันไดไต่ต้นไม้ สลิงโรยตัว ชิงช้าสามัคคี ชิงช้ารื่นรมย์และ ชิงช้าพาสนุก ที่ท้าทายให้เด็กประถมได้มาเล่น ซึ่งในช่วงนี้คุณครู พละได้ทยอยพาเด็กไปเรียนรู้วิธีการเล่นอย่างมีสติและปลอดภัย ๗. ส่วนของสนามฟุตบอลและสนามบาสเกตบอล ทางโรงเรียนได้ขยายพื้นที่ส่วนของดงกล้วยเดิมออกไปเพื่อทำ � เป็นสนามบาสฯ ซึ่งอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง ผู้รับเหมาจะ เข้ามาดำ�เนินการเฉพาะวันเสาร์อาทิตย์เท่านั้น เพื่อทำ�พื้นดิน ส่วนนั้นให้แน่นก่อนเทคอนกรีต เวลาฝนตกก็ทำ�ไม่ได้ และถ้าเรา รีบร้อนเกินไป พื้นสนามจะร้าวได้ ขอให้เด็กๆ อดใจรอนิดหนึ่ง จะได้สนามที่มีคุณภาพ ส่วนของสนามฟุตบอลได้ปลูกหญ้าเป็น

ส่วนใหญ่แล้ว รอให้หญ้าเติบโตดี ประมาณในช่วงเดือนกรกฎาคม เด็กๆ จะลงไปเล่นสนามฟุตบอลได้ การก่อสร้าง ช่วงระยะเวลาก่อสร้างไม่ถึง ๒ เดือน ซึ่งมีช่วงหยุดสงกรานต์ประมาณ ๕ – ๗ วัน เป็นช่วงที่คนงาน กลับบ้านต่างจังหวัด และฝนตกตลอดเวลา สำ�หรับการก่อสร้าง ดังรายละเอียดข้างต้น (เดิมที) คือต้องให้ทันเปิดเทอม ผู้รับเหมา ต้องให้คนงานทำ�งานกลางวันบ้าง กลางคืนบ้าง และถ้ากลางวัน ฝนตก ต้องทำ�กลางคืน บางวันฝนตกทั้งกลางวันกลางคืน วันนั้น ก็ไม่มีการก่อสร้าง เพราะโครงสร้างของเราเป็นเหล็กต้องใช้ไฟฟ้า เชื่อม ถ้ามีนำ�้ก็อันตราย เป็นช่วงเวลาที่เครียดสำ�หรับผู้รับเหมา และโรงเรียน ทุกอย่างต้องดี เรียบร้อย ปลอดภัย และให้ทันเวลา ซึ่งเป็นไปได้ยาก ช่วงใกล้เปิดเทอม คุณอ้อนและทีมงานอาคาร สถานที่และพี่เลี้ยงต้องลงไปช่วยเหลือในรายละเอียดต่างๆ เพื่อ ให้งานเสร็จเร็วขึ้น ทั้งบรรจุทรายแก้วใส่ถุง ย้ายทราย ขนไม้ ขนเหล็ก ขนหิน ขนกระเบื้อง ทำ�ความสะอาดพื้นที่ให้สะอาดและ ปลอดภัยจากตะปู เศษเหล็ก เศษไม้ และสิ่งสกปรกทั้งหลาย เพื่อ เตรียมตัวต้อนรับเด็กๆ ตอนเปิดเทอม ทุกคนเหนื่อยมาก แต่มี ความสามัคคีกันดี อยากให้งานเสร็จด้วยดี ตลอดการก่อสร้าง ทางโรงเรียนได้รับความอนุเคราะห์ ช่วยเหลือจาก คุณทินกร (คุณพ่อของน้องทีที ห้องดอกบัว) เป็นที่ปรึกษาในด้านพิจารณาราคาค่าก่อสร้างในทุกส่วนของการ ก่อสร้างให้เหมาะสม ทำ�ให้ทางโรงเรียนประหยัดค่าใช้จ่ายในการ ก่อสร้าง และสามารถนำ�เงินที่ประหยัดไว้ไปทำ�รายการก่อสร้าง ส่วนที่จำ�เป็นส่วนอื่นๆ ได้ ทางคุณทินกรยังได้ส่งวิศวกรมาช่วยดู การทำ�งานของผู้รับเหมาตลอดการก่อสร้าง ซึ่งทางโรงเรียนรู้สึก ซาบซึ้งในความเป็นกัลยาณมิตรและขอบพระคุณมา ณ ที่นี้ เมื่อ การก่ อ สร้ า งสถานที่ทุก จุ ด ดั ง กล่ า วข้ า งต้ น เสร็ จ สมบูรณ์พร้อมใช้ ครูหนูขอฝากให้เด็กๆ ช่วยกันดูแลรักษาสถานที่ ต่างๆ ให้คงสภาพเดิมให้มากที่สุด รวมถึงเคารพกฎกติกาการเล่นและการใช้สถานที่อย่างดีที่สุดด้วยนะคะ ทอสีสัมพันธ์ ฉบับพฤษภาคม - กรกฎาคม ๒๕๕๔ ปีการศึกษา ๒๕๕๔


ป.๑ เรียนรู้การแต่งเพลง “ฉัน” เล่าเรื่องโดย ครูนุชและครูกี้ คุณครูประจำ�ชั้น ป.๑

“เพลง” ไม่เพียงแต่ทำ�ให้เด็กๆ ได้ผ่อนคลาย สนุกสนาน เบิกบานเท่านั้น แต่เพลงยังก่อให้เกิดพลังการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ เป็นการส่งเสริมพัฒนาการด้านความคิด จินตนาการ ทักษะการใช้ภาษา รวมถึงการรู้จังหวะ ทำ�นอง ที่จะนำ�ไปสู่การพัฒนาทักษะการฟังที่ดีมี คุณภาพ นอกจากนี้ เพลงยังช่วยให้เด็กมีความมั่นใจในตนเองอีกด้วย

จาก “เพลงช้าง” สู่ “เพลงฉัน”

ตัวอย่างเพลงที่เด็กๆ แต่ง : “มิ มิ มิ มิวะเป็นเด็กผู้หญิง มิวะเป็นลูกคนกลาง มีพี่น้อง ชอบเล่นมายากลกับต้นเตย มิ มิ มิ มิ มิวะ” น้องมิวะ ห้องประดู่ ๑

ถ้าพูดถึง “เพลงช้าง” ใครๆ ก็รู้จัก และมักจะร้องได้ เพลงช้าง เป็นเพลงที่ คุณหญิงชิ้น ศิลปบรรเลง แต่งเนื้อร้องขึ้น โดยใช้ทำ�นอง พม่าเขว ซึ่งมีอยู่ในหลักสูตรภาษาไทยเล่มภาษาพาที เมื่อคุณครูสอน เพลงช้างจบ เราก็มีแผนให้เด็กๆ ทดลองแต่งเพลง “ฉัน” ซึ่งมีกติกาว่าใน เนื้อร้องของเพลงฉันจะต้องมีเรื่องราวของ “ตัวฉัน” ใส่ลงไปด้วย โดย เวลาขับร้อง จะใช้ทำ�นองเดียวกับเพลงช้าง เด็กๆ สนุกสนานเพลิดเพลิน ในการแต่งเนื้อร้องมาก สำ�หรับคนที่ยังเขียนหนังสือไม่คล่อง ก็จะ พยายามร้องเนื้อออกมาให้คุณครูฟัง และให้คุณครูจดเนื้อร้องให้

“ฮี ฮี ฮี น้องฮี เป็นเด็กผู้ชาย น้องฮีเป็นลูกคนเล็ก “ป้อ ป้อ ป้อ ชอบเล่นฟุตบอลและไวโอลีน น้องป้อเป็นเด็กผู้ชาย ฮี ฮี ฮี ฮี ฮีโร่” น้องป้อเป็นฝาแฝดเป้ น้องฮีโร่ ห้องประดู่ ๒

นอกจากนี้ ยังมีเด็กๆ บางคน ที่ ส นใจเรื่ อ งการใช้ ภ าษากั บ บทเพลง สามารถไปแต่งต่อด้วยตนเองได้อีก

ตัวอย่างเพลงต่อยอด

“ใจ ใจเอย ใจเอยนั้นลอยไปไหน ใจต้องอยู่กับที่ใจ ใจยังลอยไปอยู่ที่ลูกม้า ชอบเล่นฟุตบอลทุกวัน ลา ล้า ลา ลา ลา ลา” ป้อ ป้อ ป้อ ป้อ ป้อ ป้อ” น้องเอิงเอย ห้องประดู่ ๑

น้องป้อ ห้องประดู่ ๒

“ซัน ซัน ซัน น้องซันเป็นเด็กผู้ชาย น้องซันเป็นลูกคนโต มีน้องชื่อเซ้น และชอบเล่น ของเล่น วิ่งเล่น ซัน ซัน ซัน ซัน ซัน ซัน” น้องซัน ห้องประดู่ ๑

๑๐

ทอสีสัมพันธ์ ฉบับพฤษภาคม - กรกฎาคม ๒๕๕๔ ปีการศึกษา ๒๕๕๔

ในวัย ป.๑ การแต่งเพลงอาจจะ ยังไม่เน้นฉันทลักษณ์มากนัก เพราะจะ ทำ�ให้เด็กขาดความมั่นใจ คุณครูขอเพียง ให้เด็กกล้าถ่ายทอดออกมาเสียก่อน เด็ก จะเข้าใจและเรียนรู้สิ่งที่ถูกต้องในขั้นถัดไป โดยมีเราเหล่าผู้ใหญ่คอยให้ข้อมูล


ป.๖ เรียนรู้อริยสัจผ่านการละคร เล่าเรื่องโดย ครูเล็ก ครูจิ๊บ ครูติ๊ก คุณครูประจำ�ชั้น ป.๖ กิ จ ก ร ร ม นี้ เริ่ ม ต้ น ด้ ว ย ก า ร เ ต รี ย ม ความพร้อมจากการแสดงท่าทางง่ายๆ ผ่านท่าทาง และสีหน้าเพื่อบอกเล่าความรู้สึก สถานที่ และ เหตุการณ์ต่างๆ เช่น ความรู้สึกดีใจ-เศร้าใจ ใช้ ร่างกายแสดงท่าทางเป็นสิ่งของต่างๆ (อะไรก็ได้) ใน โรงเรียนทอสี รวมทั้งใช้ร่างกายและสีหน้าแสดงเป็น คน สัตว์ สิ่งของที่อยู่ในเหตุการณ์สึนามิที่ญี่ปุ่น หลังจากอุ่นเครื่องกันแล้ว คุณครูจึงแบ่ง เด็กออกเป็น ๔ กลุ่ม และแจกข่าวซึ่งเป็นประเด็นร้อน ในช่วงนั้นๆ ให้เด็กๆ ได้อ่าน และร่วมกันจินตนาการ สรุ ป เป็ น ภาพที่ น่ า จะเป็ น ภาพข่ า วของข่ า วนั้ น ๆ ออกมาเป็นภาพภาพเดียว (เป็นภาพนิ่งที่ใช้ร่างกาย แสดงออกโดยต้องสามารถสื่อเรื่องราวในข่าวได้) จากนั้นเพื่อนๆ จะเวียนกันมาดูภาพข่าว ของแต่ละกลุ่ม (ผลัดกันดู ผลัดกันแสดง) และ พยายามทายว่ า ภาพนั้ น มาจากข่ า วอะไรบ้ า ง หลังจากดูภาพข่าวเสร็จ เด็กๆ จะกลับไปวิเคราะห์ ข่าวนั้น โดยใช้กระบวนการทางอริยสัจพิจารณาว่า สิ่งใดเป็น ทุกข์ (ปัญหา) สมุทัย (ต้นเหตุของปัญหา) นิโรธ (เป้าหมายที่ควรเป็น) และมรรค (หนทาง ในการแก้ปัญหา) ในข่าวเหล่านั้น เพื่อนำ�เสนอ บทวิเคราะห์หน้าชั้นเรียนให้เพื่อนกลุ่มอื่นๆ ได้ฟัง กิจกรรมการเรียนรู้อริยสัจผ่านการละครนี้ เด็กๆ ได้มีโอกาสเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่เกิดขึ้น เพื่อทำ�ให้เกิดความเข้าใจ เหตุการณ์ในมุมมองที่ลึกซึ้งขึ้น ก่อนที่จะนำ�ความรู้เหล่านั้นมาวิเคราะห์และหาวิธีการแก้ไข

นาฬิกาตัวเลขสองวง

เล่าเรื่องโดย ครูแนน ครูประจำ�สาระวิชาคณิตศาสตร์ ถ่ายทอดเรื่องเล่าโดย ครูหยก

ดู จ ากภาพแล้ ว นั บ เป็ น นาฬิ ก าที่ ส ร้ า งสรรค์ และใช้ประโยชน์ได้ดีทีเดียวค่ะ ครูแนนเล่าว่าเธอหา ข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตแล้วเห็นว่ามีนาฬิกาแบบนี้ใช้กัน ดูน่าสนใจ และน่าจะนำ�มาใช้สอนให้เด็กๆ ประถมต้น เรียนรู้การดูเวลาอย่างสนุกได้ สีดำ�ที่อยู่รอบๆ วงของเรือนจะช่วยบอกให้เรา รู้ว่าเวลาที่เข็มชี้อยู่เป็นช่วงกลางคืน ตัวเลขที่มีอยู่ ๒ ชั้น จะช่วยให้เด็กๆ เข้าใจตัวเลขบอกเวลาแบบ ๒๔ ชั่วโมง ได้ง่ายขึ้น เก๋จริงๆ เลยว่าไหม! เหล่านี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของกิจกรรมในชั้นเรียนที่น่าสนใจ ท่านผู้อ่านสามารถติดตามอ่านเรื่องเล่าในชั้นเรียนของระดับชั้นอื่นๆ ได้ที่ www.thawsischool.com อีกทางหนึ่งนะคะ จะมีเรื่องราวมาเล่าสู่กันฟังตลอดปีการศึกษาเลยค่ะ ทอสีสัมพันธ์ ฉบับพฤษภาคม - กรกฎาคม ๒๕๕๔ ปีการศึกษา ๒๕๕๔

๑๑


๕๔

เปิดเทอม โดย ครูแหม่ม ฝ่ายวิชาชีวิตนักเรียน

สวัสดีคะ่ ท่านผูป้ กครองชาวทอสีทกุ ท่าน เปิดเรียนได้ ๙ สัปดาห์ ครึง่ ทางของภาคเรียนที่ ๑ แล้วนะคะ ปีการศึกษานีม้ ี ความเปลีย่ นแปลงมากมายเกิดขึน้ ในโรงเรียนของเราดังทีท่ กุ ท่าน ทราบกันดีอยูก่ ค็ อื การปรับปรุงภูมทิ ศั น์โดยรวมของโรงเรียนให้ เหมาะสมกับการเรียนรูข้ องเด็กๆ สร้างแหล่งเรียนรูแ้ ห่งใหม่ใน โรงเรียน และย้ายเอาห้องสมุดลงมาให้ใกล้ชิดชุมชนมากยิ่งขึ้น การปรับแนวทางเดินเข้าโรงเรียนทางใหม่ ให้กันแดด กันฝน และปลอดภัยจากรถ ก็เป็นอีกเรื่องที่โรงเรียนให้ความสำ�คัญ แต่สิ่งที่เด็ก ๆ ตื่นเต้น ตื่นตา ตื่นใจมากที่สุดก็คือ เครื่องเล่น สนามทรายทั้งของน้องอนุบาลและพี่ประถม และสนามหญ้า เขียวขจีของเรานี่แหละค่ะ อย่าว่าแต่เด็กๆ เลยค่ะ คุณครูเอง ก็แอบตื่นเต้นเหมือนกัน

ก่อนใช้งานจริง และบอกจุดอันตรายในการเล่น ที่เด็กๆ ต้อง ระมัดระวัง ซึ่งเด็กๆ ทำ�ได้ดี มีความเข้าใจ รู้คิดมาก แต่ตอน ปฏิบัติการเล่นจริงก็ต้องติดตามกันต่อไปนะคะ

ในภาคเรียนนี้การเรียนก็เข้มข้นขึ้นเป็นลำ�ดับ คุณครู เองก็พยายามจัดปรับบทเรียนทั้งหมดทุกสาระวิชาของการ เรียน และทุกช่วงเวลาในชีวิตของเด็กๆ ที่โรงเรียนให้เป็นการ เรียนรู้ ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายเลยสำ�หรับทั้งครูและเด็ก เนื่องจาก ชีวิตของเรามักจะแยกส่วนการเรียนกับชีวิตอยู่เสมอ แต่เมื่อ โรงเรียนทอสีมีหลักการชัดเจนว่า การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทั้งใน วิถีชีวิตประจำ�วันและในห้องเรียน ดังนั้นครูจึงต้องทำ�หน้าที่ทั้ง ผู้แสดงโลกและผู้สอนไปพร้อมกัน งานนี้จึงไม่ง่าย ไม่หมูเลยค่ะ เพราะครูเองก็ยังเป็นผู้ที่ต้องฝึกตนเองด้วยเช่นกัน แต่อย่างไร ก็ตาม พวกเราก็มีครูคือพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง เป็นหลักของใจที่ จะพาให้เราทำ�งานสำ�คัญนี้ให้ได้ค่ะ แต่อาจจะมีดีบ้าง กระท่อน ในช่วงเปิดเทอมใหม่ท่ีทุกอย่างดูจะยังไม่เข้าที่เข้าทาง กระแท่นบ้างก็ขอให้คุณพ่อคุณแม่ทุกท่านโปรดเอ่ยปาก โปรด กลับกลายเป็นโอกาสอันยิ่งใหญ่ที่เด็กๆ จะได้เรียนรู้โลกที่ เตือนคุณครู เป็นกัลยาณมิตรที่ดีต่อกันอย่างที่เป็นมาเสมอด้วย แตกต่างจากชีวิตประจำ�วันของเขา เราได้ศึกษาพื้นที่ก่อสร้าง นะคะ ได้มองเห็นกระบวนการทำ�งานของช่าง และเฝ้าดูการก่อร่าง สร้างตัวของการก่อสร้างส่วนต่างๆ เห็นการเปลี่ยนแปลง ในระดับอนุบาล บทเรียนของลูกๆ ไม่ว่าจะเป็น โรงเรียนในจุดต่างๆ ซึ่งเป็นการเติบโตไปพร้อมๆ กันระหว่าง “ตั้งตัว” ในอนุบาล ๑ “ถอดรหัส สายใยชีวิต” ในอนุบาล ๒ โรงเรียนและนักเรียน การเรียนรู้ที่เรานำ�มาใช้เป็นบทเรียนของ หรือ “สุขเป็นก็เป็นสุข” ในอนุบาล ๓ ก็ยังคงเป็นเนื้อหาเกี่ยว เด็กๆ ก็คือ เรื่องการระวังภัยอันตรายจากการก่อสร้าง ให้ กับตัวเองเป็นสำ�คัญ เป็นการเน้นเรื่อง กายและศีล ของเด็กๆ เด็กๆ ได้เป็นผู้ร่วมสำ�รวจความเรียบร้อยของสนาม เครื่องเล่น ทุกระดับชั้น ด้านกายนั้น นอกจากจะหมายความถึงการพัฒนา ๑๒

ทอสีสัมพันธ์ ฉบับพฤษภาคม - กรกฎาคม ๒๕๕๔ ปีการศึกษา ๒๕๕๔


ร่างกายให้เกิดความแข็งแรงแล้ว ยังรวมถึงการปฏิสัมพันธ์กับ โลกใบนี้อีกด้วย เด็กวัยอนุบาลยังคงต้องเรียนรู้โลกรอบตัว ของใช้ส่วนตัว ของเล่น ของกิน และธรรมชาติ อย่างมีสติ มี ความอ่อนโยน อ่อนน้อม สามารถพึ่งพาและช่วยเหลือตัวเองได้ และเรียนรู้การใช้ชีวิตที่ประณีตในทุกวันอีกด้วยค่ะ ส่วนด้าน ศีลนั้น ครูให้ความหมายของการอยู่ร่วมกันเป็นสำ�คัญด้วย ไม่ ว่าจะเป็นการอยู่ร่วมกับเพื่อน ครู ต้นไม้ สัตว์ต่างๆ ที่ล้วนแต่ เป็นเพื่อนร่วมโลก ร่วมทุกข์ ร่วมสุขกันทั้งสิ้น จึงเป็นสิ่งสำ�คัญ ที่เด็กๆ ต้องรู้จักการอยู่ร่วมกับคนอื่น และปฏิบัติตัวตามกติกา ตามกาลเทศะได้

น้องเล็กสุดของประถม คือ ประถม ๑ ทีล่ กู เองก็ยงั อยูใ่ น ช่วงปรับตัวกับการเรียนอย่างมีแบบแผนมากขึน้ ..คุณพ่อคุณแม่เอง ก็ตอ้ งปรับตัวเช่นกันใช่ไหมคะ อย่าลืมใช้โอกาสนีเ้ รียนรู้ ทำ�ความ เข้าใจสภาวะนีร้ ว่ มกันว่าสิง่ ใดบ้างทีต่ อ้ งทำ� และจัดสรรเวลา ร่วมกับลูกๆ หวังว่าทุกบ้านจะผ่านไปด้วยดีนะคะ

ระดับพี่ ประถมปลาย บทเรียนในเทอมนี้ก็เข้มข้นขึ้น ตามตัว ทั้งด้านวิชาชีวิตและวิชาการ เด็กๆ จะได้เจอบทฝึกตน มากขึ้น งานเยอะขึ้น เรียนหนักขึ้น ต้องทำ�งานกลุ่มมากขึ้น รายงาน โครงงานเยอะขึ้น ซึ่งทุกอย่างที่ครูให้เด็กๆ ได้ทำ�นั้นก็ เพื่อให้เด็กๆ มีความรู้ ได้ฝึกทักษะการทำ�งานทั้งแบบเดี่ยวและ คุณพ่อคุณแม่อาจเคยสงสัย หรือกำ�ลังสงสัยว่า เด็ก แบบกลุ่ม รวมทั้งฝึกวินัย ความประณีต และความรับผิดชอบ อนุบาลฝึกได้แล้วหรือ ลูกไม่เล็กเกินไปที่จะฝึกหรือ? ครูเองคง อีกด้วย ต้องบอกว่า ช่วงนี้คือช่วงการสร้างพฤติกรรมคุ้นเคยของลูกๆ เราอยากให้ลูกเป็นอย่างไรก็ต้องสร้างตั้งแต่วันนี้ ไม่รอพรุ่งนี้ นะคะ เพราะ วันนี้มีวันเดียว รอพรุ่งนี้ไม่ได้แล้วค่ะ ส่วน ระดับประถมต้น บทเรียนของลูกๆ ก็ยังคงเป็น เรื่องตัวเองกับสิ่งรอบตัวเหมือนเดิม แต่จะมีเนื้อหาที่ต้องเรียน ต้องรู้มากขึ้น และยังมีสาระวิชาอื่นๆ ที่ลูกต้องเรียนควบคู่กัน ไปอีก วัยประถมต้นไม่ใช่เรื่องง่าย ยังต้องอาศัยการประคับประคองจากผู้ปกครองอยู่นะคะ บทเรียนของภาคเรียนที่ ๑ ของประถมต้นจึงถูกสร้างขึ้นเพื่อตอบโจทย์ชีวิตของเด็กๆ เรียง ลำ�ดับกันไปตั้งแต่ “ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน” “ กัลยาณมิตร” และ “เมล็ดพันธุ์แห่งความดี”

ช่วงนี้ก็ยังต้องการความช่วยเหลือจากผู้ปกครองอีก อยู่ดีค่ะ ทั้งเรื่องการอธิบาย ยำ�้ ซำ�้ บทเรียนที่ยากขึ้น การ ดูแลจัดสรรเวลาในการทำ�การบ้าน งานบ้าน และการให้สติใน การทำ�งานให้ละเอียด ให้ประณีตยิ่งขึ้น การทำ�งานของบ้าน และโรงเรียนจึงต้องสื่อสารและทำ�ความเข้าใจ สร้างทิศทางให้ ถูกต้องเหมือนจัดหางเสือให้หันไปในทิศทางเดียวกันอยู่เสมอ นะคะ คุณพ่อ คุณแม่ อาจมีความกังวลในเรื่องการเรียน การ สอบของลูกในช่วงประถมปลายมาก นั่นเป็นภาวะที่เกิดขึ้น และจะผ่านพ้นไปด้วยดีได้แน่นอน ถ้าคุณพ่อคุณแม่มั่นคง เป็น หลักที่ดีให้กับลูก (ช่วงนี้พ่อแม่เน้นปฏิบัติธรรมกันหน่อยนะคะ) ทอสีสัมพันธ์ ฉบับพฤษภาคม - กรกฎาคม ๒๕๕๔ ปีการศึกษา ๒๕๕๔

๑๓


นอกจากเรือ่ งเรียน ช่วงวัยนีต้ อ้ งการผูร้ บั ฟังและให้ค�ำ ปรึกษาทีด่ ดี ว้ ย หลายบ้านทีล่ กู จะมีเรือ่ งจากห้องเรียน เรือ่ งเพือ่ น เรือ่ ง ครู มาเล่าทีบ่ า้ น เป็นโอกาสทองของคุณพ่อคุณแม่ทจ่ี ะศึกษาพัฒนาการทางอารมณ์ของลูกวัยนี้ และ ฝึกสติ ปัญญา ของเราทีจ่ ะเป็น ผูร้ บั ฟังทีด่ ี เป็นผูใ้ ห้ค�ำ แนะนำ�ทีด่ ี ให้สติกบั ลูก เพราะการเปลีย่ นวัยครัง้ นีเ้ ป็นการก้าวเข้าสูว่ ยั รุน่ เป็นการเริม่ ต้น ช่วงวัยสำ�คัญที่จะ นำ�พาชีวิตข้างหน้าของลูก การพาให้ลกู มีสติรคู้ ดิ มีปญ ั ญาตามหลักพุทธศาสนา จึงเป็นหัวใจสำ�คัญของทัง้ คุณพ่อคุณแม่ และ คุณลูก เพราะ การให้สติ ให้ทศั นคติทถ่ี กู ต้องในการใช้ชวี ติ ให้วธิ กี ารแก้ปญ ั หา และให้ก�ำ ลังใจนัน้ เป็นมรดกชิน้ สำ�คัญทีเ่ ราให้ กับลูกได้ตง้ั แต่วนั นีค้ ะ่

“นานมาแล้ ว ” ขำ�ขัน โดยครูหน่า น้องร่มไม้ (ทองฉาบ) มาบอกครูนางว่า: “ครูนางครับ อานนท์ยืมเงินร่มไม้ไปแล้วยังไม่คืนเลยครับ” ครูนาง: “ยืมไปเมื่อไหร่ล่ะ” น้องร่มไม้: “ก็เมื่อตอนนั้นน่ะ ผมเดินไปเตะฟุตบอล อานนท์ก็ตามไปขอยืมเงิน ผมก็ไปเล่นสนามทรายอานนท์ก็ตามไปอีก ผมเดินไปไหนต่อไหนก็ยัง ตามไปยืม ผมก็เลยให้อานนท์ยืมไป ๑๐ บาทครับ” ครูนาง: “ยืมไปตอนไหนล่ะ เมื่อวานหรือ” น้องร่มไม้: “ไม่ใช่ครับ อานนท์ยืมไปตั้งแต่อยู่ ป.๑ ยังไม่คืนครับ (ตอกยำ�้) ครูนาง “ฮ่า” (ขำ�... ยืมตั้งแต่ปีที่แล้วเนี่ยนะ) ครูนางก็เลยเรียกอานนท์มาถาม ร่มไม้ก็เล่าเหตุการณ์ในอดีตทั้งหมดให้อานนท์ฟัง... อานนท์: “เอ่อ...อานนท์จำ�ไม่ได้แล้วล่ะร่มไม้” ครูก็ว่า... เรื่องราวมันนานเกินไปแล้วล่ะร่มไม้ ! ๑๔

ทอสีสัมพันธ์ ฉบับพฤษภาคม - กรกฎาคม ๒๕๕๔ ปีการศึกษา ๒๕๕๔


การบ้ า น เรื อ ่ งใหญ่ ก ว่ า ที ค ่ ด ิ โดย ฝ่ายวิชาชีวิตนักเรียน ความหมายของการบ้าน การบ้าน หมายถึง งานที่ครูมอบหมายให้นักเรียนทำ�ให้สำ�เร็จนอก ห้องเรียน ส่วนมากจะเป็นงานที่นักเรียนต้องทำ�จากที่บ้านมาส่ง เพื่อให้นักเรียนได้พัฒนาตนเองในด้านต่างๆ ทั้งวิชาการและวิชา ชีวิต เช่น การอ่าน การทบทวนเนื้อหาที่เรียน การฝึกทักษะที่จำ�เป็น เพิ่มเติม และที่สำ�คัญคือ การบ้านเป็นการส่งต่องานจากโรงเรียน ไปสู่บ้าน เพื่อให้ผู้ปกครองและลูกได้ใช้เวลาร่วมกันสร้างลักษณะ นิสัยในการทำ�งานและยังเป็นโอกาสที่ผู้ปกครองจะได้ติดตาม พัฒนาการในการเรียนของลูก ลักษณะของการบ้าน เป็นการทบทวนเรื่องที่เรียนไปแล้วจากโรงเรียน เป็นเรื่องใหม่ที่ต้องการให้เตรียมหาข้อมูลเพิ่มเติมร่วมกับ ผู้ปกครอง เป็นการฝึกทักษะที่จำ�เป็นต้องฝึกเพิ่มเติม เป็นการงานที่ต้องทำ�ต่อเนื่องจากที่โรงเรียนหรือเป็นงานที่ ผู้ปกครองต้องเข้ามามีส่วนร่วม ข้อแนะนำ�สำ�หรับผู้ปกครอง ๑. ผู้ปกครองสามารถช่วยจัดตารางเวลาและจัดเตรียมสถานที่ ทำ�การบ้านให้ได้ - ใช้ตารางจัดสรร/ปฏิทิน/นาฬิกา โดยการจัดเวลาทำ�การบ้าน ประจำ� สมำ่�เสมอ และใช้เวลาต่อครั้งไม่มากจนเกินไป (อนุบาล ไม่ควรเกิน ๒๐ นาที) - สถานที่ในการทำ�การบ้านควรมีความสงบ ไม่ถูกเร้าหรือรบกวน จากเสียงโทรทัศน ของเล่นหรือการพูดคุย มีโต๊ะ เก้าอี้ หรือที่นั่ง ที่พอเหมาะกับตัวเด็กๆ ไฟสว่างเพียงพอ มีอุปกรณ์เครื่องเขียน-

•• ••

ครบ มีพจนานุกรม หรือป้ายพยัญชนะ สระ ที่เป็นเครื่องมือที่จะ ช่วยเด็กในการทำ�งานได้ ๒. ผู้ปกครองควรเปิดโอกาสให้เด็กมีโอกาสคิด ลงมือปฏิบัติด้วย ตนเอง และไม่แทรกแซงความคิดจนเด็กเกิดความไม่มั่นใจ กลัวผิด เด็กควรได้รับการส่งเสริมและพัฒนาให้เกิดการเรียนรู้ด้วย ตัวเองด้วย ๓. ผู้ปกครองไม่ควรทำ�การบ้านให้เด็ก คะแนนจากผลงานควรจะ เป็นสิ่งชี้บ่งถึงความสามารถของตัวเด็กเอง ไม่ใช่ความสามารถ ของผู้ปกครอง (อย่างไรก็ตามบางครั้งครูอาจจะให้การบ้านที่เกิน ความสามารถของเด็กที่จะทำ�ได้ด้วยตัวเองเพื่อที่จะให้ผู้ปกครอง เข้ามาช่วยเหลือเด็กนักเรียนเช่นกัน) ๔. กรณีที่เด็กทำ�งานผิดพลาด เขียนผิด คำ�นวณผิด ผู้ปกครองควร ขอให้ลูกทบทวนอีกครั้ง และแนะนำ�วิธีทบทวนให้ลูก ไม่ควรแก้ ข้อผิดพลาดให้ลูกโดยบอกคำ�ตอบให้ หรือเขียนให้ลอกตาม เพราะเป็นการสร้างลักษณะนิสัยที่ไม่ดีและไม่ได้ฝึกการคิดหรือ การสังเกตให้กับลูกอีกด้วย ๕. หากการบ้ า นมี ป ริ ม าณมากหรื อ ไม่ เ หมาะสมกั บ นั ก เรี ย น ผู้ปกครอง สามารถสื่อสารกับครูถึงปัญหาที่เกิดขึ้นโดยตรง หรือ ผ่านฝ่ายวิชาชีวิต เพื่อแก้ปัญหาร่วมกันและสามารถพัฒนา ผู้เรียนเป็นรายบุคคล การบ้านสามารถสร้างฉันทะในการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ หากผูป้ กครองใช้เวลาร่วมกับลูกอย่างมีคณ ุ ภาพ ระยะเวลาเหมาะสม และไม่มีภาวะความเครียด ซึ่งอาจกดดันให้ลูกมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อ การทำ�การบ้านและการเรียนรู้ต่อไปได้ เห็นไหมคะว่า “การบ้าน เรื่องใหญ่กว่าที่คิด” จริงๆ ทอสีสัมพันธ์ ฉบับพฤษภาคม - กรกฎาคม ๒๕๕๔ ปีการศึกษา ๒๕๕๔

๑๕


ทอสีรักษ์โลก

โดย ครูอั๋น

“สะบายดี ชาวทอสีทุกคน” ครูอั๋นขอทักทายด้วยภาษาลาวสักนิด (“สะบายดี” แปลว่า “สวัสดี”) คำ�นีค้ รูอน๋ั ฟังในฐานะคนไทยแล้วรูส้ กึ ว่าซือ่ ๆ ดูเรียบง่ายน่ารักดี ตอนนี้คำ�ทักทายนี้นิยมใช้กันในหมู่วัยรุ่นที่เคยดูหนังเรื่องสะบายดีหลวงพระบาง หรือไม่ก็เคยไปเที่ยวเมืองลาวมาก่อน ภาษาลาวมีคำ�ศัพท์น่ารักๆ หลายคำ� ไว้มี โอกาสครูอั๋นจะมาเล่าให้ฟังครับ วันนี้ครูอั๋นหาบทความดีๆ มาให้ชาวทอสีได้อ่านกัน ๒ บทความ ซึ่งมีความ เกี่ยวโยงกันบนความต่างของเนื้อหา เรื่องแรกเกี่ยวกับต้นเหตุ อีกเรื่องเกี่ยวกับ ปลายเหตุ แล้วเหตุคืออะไร? ลองอ่านและพิจารณาดูนะครับ

๑ Recycling = Love

มีคนบอกว่า “รัก” เป็นคำ�กริยา เพราะฉะนั้นเราต้อง แสดงออก โดยเฉพาะแสดงออกว่าคุณรักและเอื้ออาทรต่อโลกที่ กำ�ลังป่วยไข้อย่างเช่นทุกวันนี้ การแสดงออกว่าเรารักและห่วงใย โลกจำ�เป็นต้องอาศัยการปฏิบัติอย่างจริงจัง ประเภทหิ้วถุงผ้าเพื่อ “อินเทรนด์” ไม่เพียงพออีกต่อไปแล้ว ในประเทศตะวันตก มาตรการ 3R Reduce-ReuseRecycle กลายเป็นคัมภีร์ของเด็กๆ ที่เกิดขึ้นหลังปี ๑๙๘๐ ไป เรียบร้อยแล้ว มาตรการปลุกจิตสำ�นึกที่เข้มข้นทำ�ให้พลเมืองของ เขาซึมซับความหมายของการ Reduce (ใช้ลดลง) Reuse (ใช้ ซำ�้) Recycle (นำ�ไปหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่) เป็นอย่างดีและ แสดงออกอย่างเป็นรูปธรรม เริ่มตั้งแต่การคัดแยกขยะอย่างจริงจัง โดยเฉพาะขยะ พลาสติ ก ซึ่ ง ผู้ ผ ลิ ต ต้ อ งระบุ ช นิ ด ของพลาสติ ก บนบรรจุ ภั ณ ฑ์ เพื่อให้ง่ายต่อการคัดแยกเพื่อนำ�กลับไปหมุนเวียนนำ�มาใช้ใหม่ หรือรีไซเคิลนั่นเอง ปัจจุบัน เทคโนโลยีการรีไซเคิลก้าวหน้าไป มาก โดยเฉพาะการรีไซเคิลพลาสติกที่สามารถนำ�กลับไปผลิต เป็นเส้นใยที่ใช้ทอเป็นผืนและตัดเย็บเป็นข้าวของเครื่องใช้ได้ หลายชนิด การรีไซเคิลช่วยให้เราไม่ต้องรบกวนธรรมชาติมาก เกินไปและช่วยให้เกิดการใช้ลดลงตามมาอย่างไม่ต้องสงสัย จะว่าไปแล้วมาตรการ 3R ก็คือความประณีตของ การใช้ชีวิตนั่นเอง การใช้เวลาเพื่อคัดแยกอย่างเป็นรูปธรรม ไม่ต่างอะไรจากการเจริญสติที่จะต้องทำ�อย่างมีจิตสำ�นึกและ ด้วยความรู้สึกที่ดีงาม การที่เราใส่ใจแม้เรื่องเล็กๆ น้อยๆ อย่างการฉุกคิดได้ถึงผลกระทบของขวดนำ�้พลาสติกต่อความ เป็นไปของโลกที่เราอาศัยอยู่ ถือเป็นบันไดขั้นแรกของการ แสดงออกซึ่งความรักและเคารพธรรมชาติ รวมทั้งชุมชนที่เรา อาศัยอยู่ แค่เราไม่ทิ้งทุกอย่างที่ไม่ใช้อย่างพรำ่�เพรื่อจนก่อให้ เกิ ด ปั ญ หาขยะล้ น เมื อ งก็ เ ท่ า กั บ เราได้ แ สดงออกซึ่ ง ความรั ก และความห่วงใยต่อโลกและเพื่อนมนุษย์รวมถึงลูกหลานเราใน ๑๖

ทอสีสัมพันธ์ ฉบับพฤษภาคม - กรกฎาคม ๒๕๕๔ ปีการศึกษา ๒๕๕๔

อนาคต แค่เราคิดจะรีไซเคิลให้ได้มากที่สุด เราก็ได้แสดงออกให้ โลกทั้งใบเห็นว่าเรารักโลกนี้มากแค่ไหน เพราะฉะนั้น Recycling = Love จริงแท้แน่นอน ที่มา: คัดจากนิตยสาร GO GREEN

๒ ต้นทุนที่คนมักง่ายต้องจ่าย ในประเทศไทยไม่มีใครสนใจเรื่องการบริหารจัดการ เรื่องขยะโดยไม่สนใจสิ่งแวดล้อมกันอย่างจริงจัง เพราะคิดเพียง ว่า “รัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องจัดการให้ฉัน ฉันก็ จะทิ้งๆๆ ขยะแบบนี้ ฉันเสียภาษี จ่ายค่าเก็บขยะเรียบร้อย จบ แล้วหน้าที่พลเมืองของฉัน” แต่ในประเทศญี่ปุ่นไม่ใช่แบบนั้น เขามีค่าใช้จ่าย มีราคา มีต้นทุนที่ประชาชนต้องรับ ไม่เช่นนั้นประชาชนจะไม่สำ�นึกและ ไม่ระวัง ทิ้งขยะเรี่ยราดไปทั่ว ขณะเดียวกันรถเก็บขยะของรัฐ ที่มารับขยะในแต่ละวันจะรับขยะไม่เหมือนกัน เช่นวันจันทร์รับ พลาสติก วันอังคารรับกระดาษ วันพุธรับโลหะ ฯลฯ หากทิ้งไว้ที่ จุดรับผิดประเภทรถขยะจะไม่รับเด็ดขาด ประเทศนี้มีค่าจัดการขยะ ซึ่งต้องมีการซื้อจากร้าน สะดวกซื้อ แล้วจะได้ตราสัญลักษณ์มาติดที่ถุงแต่ละชนิดประเภท ถ้าไม่มีเครื่องหมายนี้ รถเก็บขยะก็จะไม่รับเช่นกัน และต้องทิ้ง ไว้ที่จุดรับให้ถูกวันและชนิดด้วย ราคาค่าจัดการขยะแต่ละชนิด จะไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับต้นทุนที่แท้จริง ทำ�ให้ประชาชนคิดก่อนใช้ และใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า

... สำ�หรับชาวญี่ปุ่นแล้ว นี่คือ วิถีชีวิตของคนทั้งชาติ ที่มา: คัดจากหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์


ควันหลง

การประกวดตราสัญลักษณ์ทอสีรักษ์โลก โครงการทอสีรักษ์โลก เกิดขึ้นมาจากการรวมพลังจากชาวทอสีหลายท่าน ที่ ตระหนักรูถ้ งึ คุณค่าของสิง่ แวดล้อมใกล้ตวั ทีต่ อ้ งช่วยกันรักษา โดยมีผขู้ บั เคลือ่ นอย่างจริงจัง คือ ครูหนุ่ม โดยได้วางระบบการจัดการไว้อย่างเหมาะสมกับสถานที่ของโรงเรียน และ ทีมงานของครูหนุ่มในขณะนั้นได้ช่วยกันสร้างจากแนวความคิดให้เป็นรูปธรรมขึ้นมา โดย ได้สื่อให้รู้ว่าโครงการนี้เป็นของชาวทอสีทุกคน ให้ชาวทอสีนำ�แนวทางเหล่านี้ไปใช้ในชีวิต ประจำ�วัน เช่น การใช้ถุงผ้า การคัดแยกทรัพยากรที่ยังใช้ได้ เป็นต้น ครูอั๋นได้มีโอกาสมาสานต่อโครงการนี้ตั้งแต่ปี ๒๕๕๓ เป็นต้นมา สิ่งหนึ่งที่คิดไว้ คือ การประกวดตราสัญลักษณ์ ที่เป็นผลงานจากนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา ครูอั๋น และครูน�ำ อ้ อ้ ยได้รว่ มกันจัดการประกวดโดยใช้เวลาของวิชาศิลปะและวิชากอท.ของแต่ละ ชั้นที่เข้าสอน ใช้เวลา ๑-๒ คาบ ให้นักเรียนออกแบบความคิด จินตนาการแล้วสื่อสารออก มาเป็นภาพวาดของโครงการฯ การประกวดครั้งนี้ครูอั๋นและครูนำ�้อ้อยได้รับรู้ถึงแนวความคิดและความเข้าใจ ของนักเรียนเกี่ยวกับโครงการนี้ ได้รับรู้ว่านักเรียนสนุกที่ได้มีส่วนร่วมกับงานนี้ ครูอั๋นได้ รวบรวมชิ้นงานทั้งหมดส่งให้กรรมการหลายๆ ท่านช่วยคัดเลือก โดยหลักการให้คะแนนก็ คือ การสื่อสารความหมายของภาพและความคิดสร้างสรรค์เป็นหลัก ความสวยงามเป็น เรื่องรอง มีหลายภาพที่ถูกใจกรรมการ กรรมการดูไปก็อมยิ้มกันไปบ้าง ทึ่งกับงานบ้าง จน ได้สรุปงานที่ผ่านการเข้ารอบคัดเลือกมา ๑๐ ชิ้น และหนึ่งในนั้นจะใช้เป็นตราสัญลักษณ์ ประจำ�โครงการทอสีรักษ์โลก ทางโรงเรียนได้จัดงานมอบรางวัลให้แก่ผู้ผ่านการคัดเลือกทั้ง ๑๐ คน โดยมี คุณบุศริน รัญเสวะ (ครูหนู) ผูจ้ ดั การโรงเรียนทอสี ให้เกียรติเป็นผูม้ อบป ระกาศนียบัตรและ ของทีร่ ะลึกเมือ่ เดือนกุมภาพันธ์ทผ่ี า่ นมา บรรยากาศเต็มไปด้วยความปิตยิ นิ ดีของทุกๆ คน

แนะนำ�ห้องสมุดใหม่

รายชื่อนักเรียนที่ได้รับรางวัล : ๑. ด.ญ.นันทนัช วณิชวรกุล (พี่พีช) ๒. ด.ญ.ภูณิศา วงศ์สุวรรณนิธิ (พี่จินนี่) ๓. ด.ญ. ภาวิสา เศรษฐบุตร (พี่บาส) ๔. ด.ญ.ยศยา ลีละนันทชาติ (แบมบี๋) ๕. ด.ญ.ภูษณิศา บุรีรัตน์ (พี่ภู) ๖. ด.ญ.ปัณณพร ลีลาเกตุ (ปั้น) ๗. ด.ญ.พิชญ์สินี ทองซ้อนกลีบ (มายด์) ๘. ด.ญ.มีนเมธี อามระดิษ (บีม) ๙. ด.ช.กวีทิป เจริญประวัติ (ตูน) ๑๐. ด.ญ.เตยาไหมไทย ราดูโลวิช (เตยา) ชิ้นงานที่ได้รับเลือกให้ใช้เป็นตราสัญลักษณ์ ได้แก่ งานของ ด.ญ.นันทนัช วณิชวรกุล (ตราสัญลักษณ์รูปลูกโลกในหน้าซ้ายมือนี่ล่ะคือ ฝี มื อ พี่ พี ช !) จากนี้ ไ ปเราจะได้ เ ห็ น ตราสัญลักษณ์นี้อยู่ตามที่ต่างๆ อาทิ ศาลารักษ์ โลก ทางเข้าโรงเรียน กระเป๋าผ้า เสือ้ ยืด ฯลฯ ขอขอบคุ ณ ครู ห นุ่ ม ผู้ ริ เริ่ ม ครู นำ �้ อ้ อ ยที่ ปรึกษา และผูส้ นับสนุนโครงการฯ ทุกๆ ท่าน โดย ครูสุพัตรา (ครูกุ้ง) บรรณารักษ์ผู้น่ารัก

ห้องสมุดโรงเรียนทอสี เดิมจากชั้น ๒ อาคารเพาะปัญญา ขณะนี้ย้ายลงมาที่บริเวณชั้น ๑ อาคารไม่วุ่น แล้วนะคะ สถานที่สะดวก สวยงามด้วยระเบียงไม้ เหมาะกับการนั่งอ่านเป็นอย่างยิ่ง กว่าจะมาเป็นห้องสมุดใหม่ ครูกุ้งขออนุโมทนากับ ทีมงานของคุณพ่อน้องทีที คุณครู และพี่เลี้ยงทุกท่าน ที่มีส่วนร่วมในการย้ายในครั้งนี้ด้วยนะคะ พร้อมกันนี้ ขอแจ้งระเบียบการ ใช้ห้องสมุดให้ทราบอีกครั้ง เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงเรื่องเวลาการเปิด-ปิด ดังนี้ เวลาเปิดให้บริการ จันทร์–พุธ และ ศุกร์ ๐๗.๓๐ – ๑๖.๑๕ น. / พฤหัสบดี ๐๗.๓๐ – ๑๕.๓๐ น. การทำ�บัตรสมาชิกห้องสมุด เตรียมรูปถ่ายขนาด ๑ นิ้ว ๑ รูป ยืม-คืนทุกครั้งกรุณานำ�บัตรมาด้วย : นักเรียน ยืมหนังสือได้ครั้งละ ๓ เล่ม เป็นระยะเวลา ๓ วัน ครู ยืมหนังสือได้ครั้งละ ๗ เล่ม เป็นระยะเวลา ๗ วัน วารสาร / นิตยสาร ยืมได้ครั้งละ ๒ เล่ม เป็นระยะเวลา ๓ วัน เทป / ซีดี ยืมได้ครั้งละ ๒ แผ่น เป็นระยะเวลา ๓ วัน ค่าปรับส่งคืนเกินกำ�หนด หนังสือ วารสาร นิตยสาร เทป ซีดี ปรับวันละ ๑ บาท/เล่มหรือแผ่น ชำ�รุดหรือสูญหาย ผู้ยืมจัดหามา ทดแทน หรือทดแทนเป็นเงินตามราคาหนังสือเล่มนั้น กรณีบัตรหาย แจ้งทำ�บัตรใหม่ครั้งละ ๑๐ บาท การแบ่งหมวดหนังสือ ห้องสมุดโรงเรียนทอสีแบ่งหมวดหนังสือเป็นแบบระบบทศนิยมดิวอี้ ซึ่งแบ่งเป็น ๑๐ หมวดดังนี้ ๐๐๐ : ความรู้ทั่วไป / ๑๐๐ : ปรัชญา / ๒๐๐ : ศาสนา / ๓๐๐: สังคม / ๔๐๐ : ภาษา / ๕๐๐ : วิทยาศาสตร์ / ๖๐๐ : เทคโนโลยี / ๗๐๐ : ศิลปะและนันทนาการ / ๘๐๐ : วรรณคดี / ๙๐๐ : ประวัติศาสตร์ ผู้ปกครองน้องอนุบาลสามารถขอทำ�บัตรยืม-คืนได้ที่ห้องสมุด แล้วพบกันที่ห้องสมุดนะคะ ทอสีสัมพันธ์ ฉบับพฤษภาคม - กรกฎาคม ๒๕๕๔ ปีการศึกษา ๒๕๕๔

๑๗


พ่อแม่ผู่้แสดงโลก กับ “หน้าที่ของลูก”

โดย แม่แจง ฝ่ายวิชาชีวิตผู้ปกครอง

ทำ�หน้าที่เมื่อลูกกำ�ลังสับสนต่อรองว่าไม่ทำ�ได้หรือไม่ เพื่อ ประคับประคองการทำ�หน้าที่นักเรียนของลูกให้ผ่านไปได้อย่างดี พร้อมๆ กับการปลูกฝัง คุณค่า คุณธรรม ที่ลูกจะได้จากการ ทำ�หน้าที่นักเรียนของลูก เพื่อให้ลูกตระหนักถึงคุณค่าที่แท้ของ การทำ�หน้าที่นักเรียน ซึ่งจะประทับในใจและเป็นพลังในการ เป็นผู้ใฝ่เรียนรู้ต่อไป ดูเหมือนไม่ยาก แต่ก็ไม่ง่ายเลย เราจะปฏิบัติกัน อย่างไรเพื่อให้เราสามารถแสดงความรู้สึกต่างๆ ตามเจตนา ที่เรามีต่อลูก และพาลูกทำ�หน้าที่นักเรียนได้อย่างดีงาม มี เครื่องมืออะไรไว้หยิบใช้ได้รวดเร็วทันเวลาบ้างหนอ

ภาพเด็กเล็ก เด็กอนุบาล เดินเข้าโรงเรียนด้วยตัวเอง น่ารัก น่าประทับใจยิง่ นัก พีๆ่ ประถมทำ�หน้าทีร่ บั ส่งน้องไปห้องเรียน ก่อนมาเข้าแถวเพือ่ เริม่ ต้นบทเรียนของตัวเอง น่าชืน่ ใจจังค่ะ เปิดเทอมมาได้เกือบ ๒ เดือนแล้วนะคะ ลูกๆ ก็ได้เริ่ม ปฏิบัติหน้าที่นักเรียนของตัวเองกันอย่างจริงจังแล้ว แน่นอน การทำ�หน้าที่ของลูกอาจยังไม่สมบูรณ์อย่างที่พ่อแม่อย่างเรา คาดหวังไว้ หรือลูกบางคนก็พยายามปฏิบัติหน้าที่นั้นอย่างดี เหลือเกินจนพ่อแม่แอบเครียด ถึงเวลาพ่อแม่ซึ่งเป็นนักศึกษา ระดับผู้ใหญ่ต้องตั้งสติกันให้มั่น เพื่อให้การทำ�หน้าที่ “พ่อแม่ ผู้แสดงโลก” เป็นไปอย่างราบรื่น มีดุลยภาพ ที่สำ�คัญระหว่าง การทำ�หน้าที่นั้น น่าจะเกิดบรรยากาศของความสงบร่มเย็นกัน ทั้ง พ่อ แม่ และลูก ลูกยังคงต้องการความรัก ความห่วงใย ความเห็นอกเห็นใจ กำ�ลังใจ เพื่อทำ�หน้าที่นักเรียนของลูก และสิ่งที่ลูก ต้องการให้พ่อแม่บอกเพื่อสร้างความรู้สึกมั่นคงปลอดภัยของ ลูก คือ การบอกขอบเขตความรับผิดชอบและหน้าที่ที่เขาต้อง ทำ�อย่างชัดเจน จริงจัง รวมทั้งกำ�กับดูแลให้ลูกทำ�ให้ได้ คอย ช่วยเหลือเมื่อลูกท้อแท้ เสียกำ�ลังใจ คอยให้คำ�ยืนยันว่าต้อง ๑๘

ทอสีสัมพันธ์ ฉบับพฤษภาคม - กรกฎาคม ๒๕๕๔ ปีการศึกษา ๒๕๕๔

ข้อแรก ข้อสำ�คัญของชีวิต เจริญสติด้วยการภาวนา (นั่งสมาธิ เดินจงกรม) สมำ่�เสมอ เพื่อให้สติมาเป็นเบรกได้ทัน เวลา เพราะเวลาที่เราทำ�หน้าที่พ่อและแม่อยู่ มักมีเรื่องราว ไม่พึงประสงค์ จากลูกรักหรือสิ่งอื่นๆ มารบกวนโดยไม่ทัน ตั้งตัวเสมอ ทำ�ให้พ่อแม่อย่างเราเผลอสติ ไม่ได้ทำ�ในสิ่งที่ควร ทำ� หรือทำ�ในสิ่งที่ไม่ควรทำ�กับลูกอยู่เสมอ เราจึงต้องตั้งสติให้ มั่น เพราะในภาวะปกติเราคงทำ�หน้าที่ได้อย่างดี ภาวะที่เรา ต้องระวังให้มาก คือเวลาเหนื่อย เครียดจากภาระงาน หรือ จากคุณลูกที่อยู่ในจังหวะไม่ฟัง ไม่ทำ� ด้วยเหตุปัจจัยที่เราต้อง ค้นหาและช่วยเหลือให้ถูกวิธี คราวนี้ก็ต้องใช้คุณธรรมสำ�คัญ ช่วยเป็นด่านแรก คือ ขันติ ความอดทน อดกลั้น ต่อด้วย พรหมวิหาร ๔ เริ่มตั้งแต่เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา ให้ สมดุล พอเหมาะ พอดี เราจึงต้องฝึกใช้คณ ุ ธรรมให้ช�ำ นาญ อย่างที่


พระอาจารย์ชยสาโรเคยแสดงธรรมว่า “ลูกคือตัวแทนคุณธรรม ของพ่อแม่นั่นเอง” อย่างนั้นใครต้องการจะเป็นพ่อแม่ที่มีคุณ ธรรมสูงๆ คงต้องให้ลูกเปิดโอกาสให้ได้ฝึกฝนคุณธรรมมากๆ แล้วค่ะ (ไม่รู้น่ากลัวหรือน่าดีใจนะคะ) ข้อต่อมา ตัง้ สติได้แล้ว ปัญญาก็ตามมา ปัญญาจะมาได้ ทัน ต้องมีขอ้ มูลสัง่ สมมากพอทีจ่ ะให้ปญ ั ญาทำ�งานได้ทนั ท่วงที จะทำ�ได้ เราก็ตอ้ งมีขอ้ ธรรม หลักธรรม องค์ความรูต้ า่ งๆ ทีไ่ ด้ฟงั ได้อา่ นมามากพอ เพราะเราไม่สามารถเป็นพ่อแม่ทใ่ี ห้ปญ ั ญากับ ลูกได้ถา้ มีแค่สญ ั ชาตญาณ หลักธรรมทีน่ า่ จะนำ�มาใช้พาลูกคิด วิเคราะห์พิจารณาเพื่อให้เกิดปัญญาในการทำ�หน้าที่นักเรียนที่ สำ�คัญๆ อย่าง อิทธิบาท ๔ คุณธรรมทีน่ �ำ ไปสูค่ วามสำ�เร็จ ที่ ประกอบด้วย ฉันทะ ความรักทีจ่ ะเรียนรู้ วิรยิ ะ ความเพียร ไม่ยอ่ ท้อ จิตตะ ความตัง้ ใจแน่วแน่ วิมงั สา ทบทวนตรวจสอบ เพือ่ ปรับปรุงตัวเองอย่างสมำ�่ เสมอ และ ขันติ ความอดทน ทีล่ กู ต้องใช้เกือบตลอดเวลาเมือ่ ต้องเผชิญกับสิง่ ทีไ่ ม่ชอบ ไม่ถกู ใจซึง่ คือความจริงทีล่ กู ต้องข้ามพ้นให้ได้ดว้ ยตัวของลูกเอง

ให้ลูกรู้ว่าพ่อและแม่จะอยู่เคียงข้างลูกเสมอไม่ว่าเรื่องราวนั้น จะดีหรือร้าย เพื่อเรียนรู้ จดจำ� ก้าวผ่านเรื่องราวนั้นๆ ด้วยกัน อย่าลืมให้กำ�ลังใจ ชื่นชมเมื่อลูกทำ�หน้าที่ได้ดีขึ้น รวมทั้งไม่ลืม ลูกๆ ที่ทำ�หน้าที่ได้ดีสมำ่ �เสมอนะคะ ลูกที่ทำ�ดีอยู่แล้วก็ยัง ต้องการคำ�ชื่นชมจากเราเช่นกันค่ะ

ไม่ยากแต่ก็ไม่ง่าย อย่างที่บอกค่ะ งานของพ่อแม่ต้อง อาศัยความตั้งใจ จัดสรรเวลาลงมือทำ�อย่างจริงจัง ทบทวน ตัวเองสมำ่�เสมอว่าเราเผลอลืมลูกไปตอนไหนบ้างแล้วหนอ ไม่ว่าจากเหตุผลอะไร รีบกลับมาทำ�หน้าที่ด่วนนะคะ เรา ชาวพุทธที่มีหลักของไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ใน การดำ�เนินชีวิต ต้องไม่ประมาทเรื่องวันเวลาที่ผ่านไป วันเวลา ของการทำ�หน้าที่พ่อแม่ผู้แสดงโลกก็เช่นกัน ผ่านเราไปทุกวันๆ หากเราเผลอปล่อยปละละเลย คนที่น่าเห็นใจคือลูกของเรา ก่อนจะให้ปัญญากับลูก ก็อย่าละเลย ช่วงเวลาสำ�คัญ ที่ไม่มีผู้แสดง “โลกแห่งการเป็นนักเรียน” ที่ถูกต้องที่ดีงาม แห่งใจเชื่อมใจ ที่จะทำ�ให้ลูกรู้ว่าความรักความเมตตาที่ไม่มี ให้ลูกประทับไว้ในใจ เป็นรากฐานแห่งความสำ�เร็จของลูกใน เงื่อนไขนั้น ลูกจะได้จากพ่อและแม่เสมอ รับฟังความรู้สึกของ ภายหน้าต่อไป ลูกรักอย่างตั้งใจ ไม่ว่าความรู้สึกนั้นจะร้ายจนน่าตกใจ หรือดี ขอเป็นกำ�ลังใจ และอนุโมทนาในความอดทน ความ จนน่าปลื้มใจก็ตาม (การยอมรับในความรู้สึก ไม่ได้หมายความ เสียสละ ในการทำ�หน้าที่พ่อแม่ผู้แสดงโลกของทุกท่านนะคะ ว่าต้องยอมรับการกระทำ�นั้นด้วย หากการกระทำ�นั้นไม่ถูกต้อง ไม่ดีงาม และกระทบหรือเป็นอุปสรรคทำ�ให้หน้าที่นักเรียนต้อง บกพร่องไป) พร้อมเข้าใจ เห็นใจ ในความรู้สึกนั้นอย่างจริงใจ ทอสีสัมพันธ์ ฉบับพฤษภาคม - กรกฎาคม ๒๕๕๔ ปีการศึกษา ๒๕๕๔

๑๙


กอล์ฟทอสี ทีของพ่อ (บ้างนะครับ!) คุ ณ ครู แ ละผู้ ป กครองทอสี ที่ มี โ อกาสได้ ช่ ว ยงาน “ม่วนชื่นน้องพี่ ทอสีสู่เหย้า” คงจะมีความชื่นชมและประทับใจ “พ่อกุ๊ก” หนึ่งในผู้ปกครองแกนหลักในการจัดงานครั้งนั้น ผู้ซึ่งได้ ฉายาจากทุกคนว่า “นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ” เพราะเป็นผู้ที่ อยู่เบื้องหลังการจัดการเรื่องสถานที่งานทั้งหมดแบบเงียบๆ ตาม สไตล์เฉพาะตัว พ่อกุ๊กได้รับความไว้วางใจจากทั้งทางโรงเรียนและ ผู้ปกครองในการให้เป็นพ่องานกอล์ฟการกุศล “ทอสี ทีของพ่อ” ซึ่งงานนี้เป็นทีของพ่อจริงๆ บรรดาคุณแม่ทั้งหลายต้องเปลี่ยน บทบาทเป็นช้างเท้าหลังกันเป็นแถว นี่คือสิ่งที่ประทับใจในเบื้องต้น ของคุณครู ได้เห็นบรรดาพ่อๆ (ซึ่งบางคนอาจไม่ค่อยมีโอกาสได้ พบปะกัน) มาประชุมเตรียมงานและมาร่วมลงสนามแข่งขันกันด้วย

พ่อกุ๊ก และครอบครัว พ่อกุ๊กเข้ามาช่วยจัดกิจกรรม ช่วยเหลือโรงเรียนได้อย่างไรคะ เล่าถึงที่มาที่ไปของกองทุนก่อนแล้วกัน เพราะ พี่เอนก (คุณพ่อของ น้องกันต์) เขาก็อยากจะให้โรงเรียนวิถีพุทธนี่คงอยู่ไว้ ไม่อยากให้มี ปัญหากระจุกกระจิกก็เลยอยากจะช่วย ตรงไหนช่วยได้เขาก็อยาก ช่วย ทีนี้ก็เลยมาเป็นที่มาว่าน่าจะมีเงินสนับสนุน เป็นเงินกองหลัก จริงๆ หลักก็เป็นพี่เอนก แล้วเขาก็เลยชวน แม่เมต เข้ามา แล้วแม่ เมตก็เลยคุยๆ กับทีม ช่วยกันจัดตั้งเป็นกองทุน ... ซึ่งทางโรงเรียน เองก็มีเงินตั้งต้นสำ�หรับกองทุน (ครูวิถีพุทธ) นี้ เท่าที่ทราบมา พ่อกุ๊กเองก็ช่วยในงานม่วนชื่นฯ เยอะมาก มันคือไม่มีคนทำ�ครับ (หัวเราะ) แล้วผมก็ทำ�สายนี้มาอยู่แล้ว ถาม ว่ายากไหม ผมว่ามันไม่ยาก ... ผมทำ�งานด้านอีเวนท์โปรดักชั่นไง ก็คือผมทำ�พวกโครงสร้าง พวกเวทีอยู่แล้ว แล้วถามว่าสเกลแบบนี้ และไม่ได้ซับซ้อนมาก สำ�หรับผมคุยกันอาทิตย์เดียวก็จบได้เลยอยู่ แล้ว เพียงแต่ว่าตอนแรกผมก็ยังไม่รู้ว่าสเกลงานจะขนาดไหน จะว่า ไปงานก็ขยายๆๆ จากจุดเริ่มต้นนะครับ (ยิ้ม)

ความประทับใจต่อมา คือภาพบรรยากาศทีม่ กี ลุม่ แม่บา้ น (ทหารบก) ไปช่วยกันเป็นกองเชียร์และสร้างสีสนั ให้งานตัง้ แต่เช้า มี ทั้งการแต่งตัวด้วยสีสันสดใส ให้กำ�ลังใจบรรดาพ่อๆ ให้มีแรงหวด ลูกกอล์ฟ พอช่วงบ่ายแก่ๆ ก็เป็นเวลาที่ลูกๆ ทอสีไปสมทบ ได้ บรรยากาศของครอบครัวหรรษาจริงๆ ค่ะ สำ�หรับท่านที่ยังไม่เคยรู้จัก “พ่อกุ๊ก” คุณพ่อชุมพล พิพัฒน์เมฆินทร์ (ผู้ปกครองของ น้องปันปัน และ น้องแป๋มแป๋ม) หัวเรือใหญ่ที่ช่วยขับเคลื่อนงานครั้งนี้ หรือไม่เคยทราบถึงที่มาที่ไป ของงานกอล์ฟการกุศลครั้งนี้ ทางโรงเรียนหวังว่าบทสัมภาษณ์นี้จะ ทำ�ให้ท่านผู้อ่านได้เข้าใจบทบาทของงานและสิ่งที่พ่อกุ๊กตั้งใจทำ�ไว้ มากขึ้นบ้างนะคะ และขอขอบพระคุณพ่อกุ๊กมา ณ โอกาสนี้ด้วยค่ะ ช่วยแต่ไม่รู้จะลงไปช่วยตรงไหนก็เยอะเหมือนกัน แล้วในส่วนของ พ่อๆ ที่ทำ�หน้าที่บริหาร จะมาช่วยในลักษณะผมก็คงไม่ได้เพราะ ไม่มีเวลา แกก็เลยคิดว่าถ้าเป็นงานกอล์ฟ พ่อๆ ที่เป็นผู้บริหารก็น่า จะมีส่วนช่วยได้ นี่คือที่มาของการเลือกที่จะจัดงานกอล์ฟด้วยใช่ไหมคะ ใช่ๆ เพราะว่าตรงนี้ด้วย แล้วส่วนหนึ่งก็คือ พ่อๆ เอง เขาก็เล่น กอล์ฟกันอยู่แล้ว มีการรวมกลุ่มกัน โดยส่วนตัวผมไม่ได้เล่นกอล์ฟ งานนี้ก็ไม่ได้ตี (หัวเราะ) คือ พอรู้จักพ่อเอนกมาก่อน ตั้งแต่งาน ม่วนชื่นฯ นั่นล่ะ แกก็บอกว่าลองๆ ช่วยดูหน่อย ผมก็คิดว่าก็ได้ เพราะงานก็ไม่ได้ซับซ้อนอะไร ไอเดียที่เป็นกอล์ฟนี่มาจากพี่เอนก ทีนี้เล่าคร่าวๆ นะครับ เรื่องกอล์ฟกับโรงเรียน ในช่วงแรกก็เป็น เส้ น ขนานกั น ..(ในแง่ แ นวคิ ด เรื่ อ งสนามกอล์ ฟ กั บ ประเด็ น สิ่ ง แวดล้ อ ม..ในช่ ว งแรกเป็ น ช่ ว งที่ โรงเรี ย นทบทวนเป็ น พิ เ ศษ) ช่ ว งแรกที่ ผ มทำ � งานก็ ค่ อ นข้ า งอึ ด อั ด เหมื อ นกั น ..เพราะจะ ประชาสัมพันธ์ก็ไม่ได้ ดูเทาๆ อยู่เหมือนกัน (หัวเราะ) เหมือนเรา แอบๆ ทำ� ก็มีพ่อๆ ที่เขาเล่นกอล์ฟมาช่วย แต่เป็นในแง่การหาก๊วน ในแง่ของการจัดการจริงๆ แล้วก็มีผมคนเดียว (หัวเราะ) อย่างงานโปสเตอร์ ใครเป็นคนออกแบบเหรอคะ ดูเป็นมืออาชีพมาก อ๋อ ผมหาคุณพ่อที่ทำ�กราฟฟิก ได้ คุณพ่อน้องปิ๊บปี่กับน้องเปเน่ มาช่วย ที่เขาทำ�ร้าน In The Mood of Love และเขาทำ�กราฟฟิก อยู่แล้ว จริงๆ ผมก็รู้ว่าเขางานยุ่ง ผมก็เลยขอหน่อย แล้วก็มีนั่งจัด เองด้วย ให้เขาทำ� Logo ทำ� Key Visual แล้วผมก็มานั่งจัดเองอีก ต่อหนึ่ง ก็ทำ�ให้งานเร็วขึ้น

ในงานกอล์ฟการกุศล คนที่ช่วยๆ กันจัดกิจกรรมมีใครบ้างคะ งานกอล์ฟก็ต่อเนื่องมาจากงานม่วนชื่นฯ ก็พ่อเอนกอีกนั่นแหละ ในทีมคุยกันว่าจะจัดทุกปีไหมคะ คิดว่าน่าจะมีความต่อเนื่องของกองทุน แล้วเราเห็นกันว่างาน ถ้าไม่ขัดกับนโยบายโรงเรียน ก็ควรจะมีทุกปี เพราะงานเอง ม่วนชื่นฯ แม่ๆ ทำ�งานกันเยอะ ในส่วนของพ่อๆ เองก็คงอยากจะ ไม่ยาก การจัดการไม่ยาก ใช้เวลาน้อย หลักๆ งานจริงๆ จะอยู่ที่การ ๒๐

ทอสีสัมพันธ์ ฉบับพฤษภาคม - กรกฎาคม ๒๕๕๔ ปีการศึกษา ๒๕๕๔


เรื่องโดย ครูนุ้ย ฝ่ายวิชาชีวิตผู้ปกครอง / บทสัมภาษณ์โดย ครูหยก ฝ่ายสื่อสารองค์กรฯ

หาคนเข้ามาสมัครเท่านั้นเอง อย่างในครั้งที่ผ่านมา คนก็ให้ความ ร่วมมือโอเคระดับหนึ่ง ... เพียงแต่ว่าเรื่อง Timing กระชั้นไปนิด และด้วย Target ของเราเป็นกลุ่มผู้บริหาร ในช่วงเดือนนั้นเป็น เดือนกุมภาพันธ์ จะมีผลในแง่ของผู้บริหารที่เป็นบริษัทจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์ จะมีประชุมผู้ถือหุ้นในช่วงนั้น เป็นช่วงที่จะ ต้องประกาศผลรายไตรมาส ก็เลยมีผลเยอะเหมือนกัน แล้วกลุ่มแม่ๆ กับงานนี้ก็อาจจะส่วนร่วมน้อยหน่อยหรือเปล่าคะ ก็น้อยหน่อย แต่ก็ยังมีขอให้ แม่ออย ช่วยในส่วนสปอนเซอร์ จริงๆ แล้วถ้าจะนับในส่วนของการลงมือทำ� พ่อๆ ก็จะทำ�ได้น้อยนะถ้า เทียบกับตอนที่แม่ๆ ทำ�ม่วนชื่นฯ เพราะแม่ๆ ทำ� Full Time ได้

ได้ชอบมาก อย่างถ้าใจร้อน ก็จะลงไปที่การเล่นเลย ถ้าเราวอกแวก ใจร้อนนิดหนึ่ง ทิศทางก็เปลี่ยนไปเลย ถ้าจะมองในแง่ของการฝึก จิต ก็เชื่อมโยงได้ถ้าจะเชื่อมโยง ต้องค่อนข้างนิ่งพอสมควร ในงานหน้าๆ พ่อกุ๊กจะเป็นตัวหลักในการจัดการอีกไหมคะ ส่วนตัวผม พอมาถึงระยะหนึ่งแล้วผมจะรู้ว่าผมไม่ได้ทำ�งานเพื่อเงิน แล้ว จริงๆ ผมก็ไม่ได้มีเงินเยอะ (หัวเราะ) ผมทำ�งานแบบนี้ ผมมี เวลาที่จะทำ�ให้คนอื่นได้เยอะขึ้น การไม่ทำ�งานเพื่อเงิน ความคิด แบบนี้ส่วนหนึ่งมาจากครอบครัว มาจากลูก จากที่ได้อ่าน วัยที่ศูนย์ ถึงเจ็ดแปดขวบ ถ้าเราให้เวลากับเขาเต็มที่ เหมือนกับให้รากฐาน เขามั่นคง เขาก็คงไม่เป๋ ก็เลยคิดว่าช่วงนี้น่าจะให้กับเขาค่อนข้าง เยอะ แล้วหลังจากนั้น สมมุติว่าเราต้องทำ�งานเพิ่มค่อยว่ากัน ถ้า เราละเลยเขาในช่วงแรก เรามีเงินเยอะในตอนหลัง ก็เอามาใช้กับ เขาไม่ได้แล้ว

แสดงว่าปัจจัยสำ�คัญในการเป็นพ่องานแม่งานก็คือเรื่องของ... “เวลา” อันดับหนึ่งเลย แล้วก็ในเรื่องของ “การประสานงาน” มี ความสามารถที่จะประสานทุกทิศ (หัวเราะ) งานนี้เราก็ไม่อยาก จะรบกวนโรงเรียน เพราะงานนี้เป็นงานที่ผู้ปกครองอยากจะช่วย พ่อกุ๊กมีอะไรจะฝากเพื่อเป็นกำ�ลังใจให้คนอื่นๆ ในฐานะของคน โรงเรียน โรงเรียนเองก็มีภาระหน้าที่อยู่แล้ว โฟกัสในสิ่งที่โรงเรียน เป็นพ่องานแม่งานไหมคะ ที่ถามแบบนี้เพราะบางทีหลายคนอาจ ทำ�ก็ถูกต้องแล้ว รู้สึกว่าการจะเป็นคนจัดการอะไรนั้นเราทำ�ไม่ได้หรอก เพราะเรา ไม่ถนัด อย่างพ่อกุ๊กทำ�งานอีเวนท์มา อาจจะมีความถนัดอยู่แล้ว แล้วในเรื่องการเล่นกอล์ฟ พ่อกุ๊กมีแนวคิดอย่างไรบ้างคะ จึงสามารถทำ�งานช่วยเหลือต่างๆ ได้ ถ้าเป็นเมื่อก่อน ผมว่ากอล์ฟก็โอเค มีความกำ�้กึ่งอยู่ตรงที่บางคนก็ ก็อาจจะมีสว่ นนะ แต่วา่ จริงๆ แล้วอย่างทีผ่ มทำ�งานทีห่ มูบ่ า้ น มองในแง่ที่ว่ามีการพนันหรือเปล่า แต่ผมว่าในมุมของการพนัน ก็มี (ทีพ่ อ่ กุก๊ อาศัยอยูป่ จั จุบนั ) พอไม่มคี นทำ� ผมก็สามารถทำ�งาน อยู่ทุกกีฬา ถ้าเราจะเล่น ผมเองเลยไม่มองในแง่นั้น การเงิน ซึง่ เป็นงานทีไ่ ม่เกีย่ วกันเลย ผมเองคิดว่า “มันอยูท่ ใ่ี จ” ถ้า จะทำ�อะไรมันทำ�ได้ทง้ั นัน้ อยูท่ ใ่ี จว่าอยากจะทำ�หรือเปล่าเท่านัน้ แล้วในประเด็นสิ่งแวดล้อมล่ะคะ เอง เพราะเวลาเข้าไปทำ�จริงๆ แล้ว ถ้าเราทำ�ไม่เป็น เราก็สามารถ เมื่อก่อนผมก็เคยมีคำ�ถามนะ แต่มันก็แล้วแต่สนามแต่ละที่ด้วย ถ้า หาตัวช่วยต่างๆ มาช่วยเราได้อยูแ่ ล้ว อย่างการเงินก็ไม่ใช่งานทีถ่ นัด ที่ที่เขาไปกินในส่วนของอุทยานฯ ก็ไม่ดี แต่เราบวกลบเป็น เราก็ท�ำ ได้ (หัวเราะ) จริงๆ แล้วผมมีความเชือ่ อยูอ่ ย่าง คือ ทุกคนก็ท�ำ ได้หมดทุกอย่าง อยูท่ เ่ี ราจะทำ�ไหมเท่านัน้ ถ้าอย่างนั้นประเด็นก็ไม่ใช่ว่ากอล์ฟไม่ดี แต่อยู่ที่สนามกอล์ฟนั้น เอง แล้วอย่างเวลาเราก็มเี ท่ากัน อยูท่ เ่ี ราจะแบ่งให้หรือเปล่า กลุม่ มีที่มาอย่างไร ผูป้ กครองทอสีเองก็มบี างรุน่ ทีเ่ หนียวแน่นมาก อย่างงานม่วนชืน่ ฯ ผม ใช่ ถ้าเป็นพื้นที่รกร้างมาจัดสรร ผมก็ว่าไม่น่าเกี่ยว คิดว่าเกิดจากการทีเ่ ขาเหนียวแน่น พองานมาปุบ๊ เขาก็กระจายได้เร็ว แล้วเท่าที่พ่อกุ๊กพอทราบ กีฬากอล์ฟมีประโยชน์อย่างไรบ้างคะ ผมเองก็ไม่เล่น แต่เท่าที่รู้มา เล่นกอล์ฟนี่ส่วนหนึ่งก็ต้องมีความ ซื่อสัตย์กับตัวเอง เพราะเวลาเล่น (กันเอง) แต่ละคนตีแล้วลูกก็ กระจัดกระจาย ไม่มีใครมามองว่าลูกอยู่ตรงนั้นจริงไหม อย่างตี ไปแล้วไปติดต้นไม้แล้วเราไปโยนออกมา หรือตีไปแล้วไม่โดนลูก เขาก็ต้องนับเป็นหนึ่งครั้ง ซึ่งถ้าเราไม่ซื่อสัตย์เราก็ไม่นับก็ตีใหม่ ... เป็นการฝึกตัวเรา แล้วอย่างเรื่องใจก็มีส่วน ผมเคยเล่นนะ แต่ก็ไม่

ในงานกอล์ฟ พ่อกุ๊กมีความประทับใจอะไรเป็นพิเศษบ้างคะ ก็จะได้เห็นความร่วมมือของคุณพ่อ อย่างในงานชวนม่วนชื่นจะ แทบไม่เห็นคุณพ่อเลย น้อยมาก แต่ในงานกอล์ฟนี่ คุณพ่อก็จะช่วย กัน คืออาจจะไม่ได้ช่วยในเรื่องของแรง แต่ช่วยในเรื่องการประสาน งาน ดึงเครือข่ายกันมา เวลาประชาสัมพันธ์น้อยมาก แต่เขาดึงกัน มาพรึ่บเดียว แล้วเป็นฐานไว้แล้ว ในการจัดในครั้งต่อไปก็จะง่ายขึ้น ทอสีสัมพันธ์ ฉบับพฤษภาคม - กรกฎาคม ๒๕๕๔ ปีการศึกษา ๒๕๕๔

๒๑


สุขภาพดี มีพลัง

ท่างูเห่า (Cobra) ขั้นตอนโยคะ : ๑. นอนควำ่�หน้ากับพื้น สองมือวางแนบข้างลำ�ตัว ระดับอก หายใจเข้าเพื่อเตรียม ๒. หายใจออกพร้อมกับเหยียดแขนสองแขนขึ้นตรง ยกลำ�ตัวเฉพาะท่อนบน ส่วนลำ�ตัวท่อนล่างและเท้า ปล่อยให้ราบติดพื้น แหงนหน้าขึ้นไม่ห่อไหล่ ๓. ทรงตัวในท่านี้สักครู่ หายใจเข้าออกลึกและยาว ๓-๕ ครั้ง ๔. ยกเท้าคู้เข้าไปหาศีรษะให้มากที่สุด ๕. ทรงตัวในท่านี้สักครู่ หายใจเข้าออกลึกและยาว ๓-๕ ครั้ง ๖. ค่อยๆ ลดเท้าและขาลงแตะพื้นช้าๆ ๗. ลดแขนลง นอนควำ�่ ก้มหน้า พักเหนื่อยก่อน (ควรทำ� ๓-๕ รอบ)

ประโยชน์ : ช่วยให้กระดูกสันหลังมีความยืดหยุ่น ขยายปอดและ ถุงลม กระตุ้นอวัยวะภายในช่องท้อง ระบบขับถ่ายดี ลดกรดในกระเพาะอาหาร หากฝึกเป็นประจำ�จะช่วย บรรเทาอาการเจ็บปวดก่อนมีประจำ�เดือนของผู้หญิง หลังจาก ๓ เดือน อาการจะหายไป (โยคะเริ่มเล่นได้ ตั้งแต่ ๓ ขวบขึ้นไป)

๒๒

ทอสีสัมพันธ์ ฉบับพฤษภาคม - กรกฎาคม ๒๕๕๔ ปีการศึกษา ๒๕๕๔


โดย ฝ่ายวิชาชีวิตนักเรียน

ก า ร อ่ า น แ ล ะ เ ขี ย น หลักการของโรงเรียน

โรงเรียนทอสีมีแนวทางการสอนแบบพุทธปัญญาที่ ใช้ธรรมะเป็นหลักในการจัดทำ�หลักสูตรการพัฒนาผู้เรียนทั้ง ๒ ระดับ โดยนำ�วิชาชีวิตเป็นตัวตั้งและเรียนวิชาการควบคู่ ไปกับวิชาชีวิต ซึ่งแนวทางการเรียนวิชาการของโรงเรียน จะเน้นการเรียนรู้แบบเป็นรูปธรรม เป็นธรรมชาติ เป็นการ บูรณาการผ่านการปฏิบัติเพื่อนำ�สู่ความเข้าใจ คิดเปรียบเทียบ และเชื่อมโยง แก้ปัญหา จนถึงการนำ�ไปสู่การประยุกต์ใช้เพื่อ สร้างประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น

กระตุ้นความสนใจในภาษา : ชี้ชวน นำ� กระตุ้นให้ลูกสังเกต ภาษารอบตัวทั้งในบ้าน นอกบ้านมีป้ายบอกข่าว กระดานข่าว มีมุมหนังสือ และผู้ปกครองเป็นแบบอย่างที่ดีของการอ่านและ เขียน จัดสรรความคุ้นเคย : สร้างบรรยากาศในการอ่านเขียนให้ เหมาะสม สงบ มีมุมหนังสือเล็กๆ ของลูก และจัดเวลาให้ลูก อ่าน เขียน วาด บันทึก ทุกวัน เตรียมพร้อมเขียน : พาลูกออกกำ�ลังพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่ เช่น แขน ไหล่ หลัง (เพื่อความคงทนในการนั่ง การจับดินสอ) และ ทำ�กิจกรรม การงาน ฝึกกล้ามเนื้อเล็ก คือ มือ อุ้งมือ นิ้วมือ ข้อมือ สมำ�่ เสมอทุกวันตั้งแต่ลูกยังเล็ก เตรียมสมอง ๒ ซีก : พาลูกออกกำ�ลังกายแบบองค์รวมทั้ง ร่างกาย เช่น การวิ่ง ว่ายนำ�้ เบรนยิมนาสติก เช่น กลิ้ง ม้วน หมุน แกว่ง โยก

การสร้างเหตุ

ซึ่งสิ่งที่ต้องเตรียมลูกนั้น ทางโรงเรียนได้แจ้งและยำ�้ เสมอว่า เป็นสิ่งที่พ่อแม่ทำ�ร่วมกับลูกได้ ไม่ต้องพึ่งพาใครหรือ เมื่อลูกเริ่มเข้าสู่การเรียนอ่านเขียน คุณครูมีหลักใน สถาบันใดเพิ่มเติม ด้วยการทำ�งานชีวิตกับลูก เช่น การทำ�งาน การสอนภาษาให้กับลูกที่เริ่มต้นมาตั้งแต่ระดับเริ่มต้น ซึ่งการ บ้าน เช็ดบ้าน ซักผ้า ขัดห้องนำ�้ ทำ�อาหาร ล้างจาน รดนำ�้ต้นไม้ สอนลูกนั้นมี ปัจจัยส่งเสริมการอ่าน เขียน หลายอย่าง ดังที่ได้ ปลูกต้นไม้ และอีกมากมาย ที่จะฝึกลูกได้ทั้งทักษะชีวิต ทักษะ ยำ�้กับคุณพ่อ คุณแม่เสมอมา คือ ทางภาษา และความพร้อมในการอ่านเขียน ความเป็นนักอ่าน : อ่านหนังสือกับลูกที่บ้าน (แบบมีความสุข นอกเหนือจากปัจจัยในการเตรียมลูกเป็นขั้นๆ เพื่อเข้า ไม่ใช่การสอนหนังสือทุกวันตั้งแต่ยังเป็นเด็กน้อยๆ) สู่การเรียนรู้นั้น สิ่งที่สำ�คัญมากที่สุดที่เป็นตัวส่งเสริมให้ลูก ทอสีสัมพันธ์ ฉบับพฤษภาคม - กรกฎาคม ๒๕๕๔ ปีการศึกษา ๒๕๕๔

๒๓


ได้ใช้ศักยภาพที่เราเตรียมมาได้อย่างเต็มที่ ก็คือ การฝึกการ รับฟัง เคารพกติกา การเล่าเรื่อง ฝึกการนั่งทำ�กิจกรรมสงบ เช่น อ่านหนังสือ วาดภาพ ร้อยลูกปัด ปักผ้า ปั้นแป้งโดว์ โดย จัดช่วงเวลากิจกรรมตามวัย เช่น เริ่มที่ ๕ นาที แล้วค่อยๆ เพิ่มขึ้นตามความสามารถและวัยของลูก

การเก็บเกี่ยวผล การเขียนหนังสือ เป็นดอกผลทีเ่ ราต้องรอเวลาในการ เก็บเกีย่ วหลังจากทีไ่ ด้สร้างเหตุไปแล้ว ลูกเองก็มลี �ำ ดับการเรียน รูต้ ามวัย และตามศักยภาพของเด็กแต่ละคน การให้เด็กๆ ได้มี โอกาสขีดเขียน วาดภาพประกอบเป็นบันทึกประจำ�ตัว บันทึกนิทาน ตัง้ แต่ยงั เล็ก โดยทำ�สมำ่ �เสมอ เช่น ๒-๓ วัน/ครัง้ การ วาดภาพประกอบเรือ่ งหรือหลังการทำ�กิจกรรมต่างๆ ทีโ่ รงเรียน ทุกวัน ซึง่ ตามธรรมชาติของเด็กนัน้ มีพฒ ั นาการเขียนเป็นลำ�ดับ (จากการเก็บข้อมูลการเขียนของภาษาธรรมชาติ) คือ ้นการขีดเขี่ยแบบมีความหมายและไม่มีความหมาย • ขั(อาจเป็ นเส้นขีดเขี่ย ยุ่งๆ วงๆ) างมีจุดหมาย • ขั(เริ้น่มการวาดภาพอย่ มีรูปทรงแต่ยังไม่เป็นรูปร่างที่ถูกต้องหรือชัดเจน) ดเขียนเลียนแบบภาพ ประสบการณ์ในชีวิต •• ขัขั้น้นการขี การขีดเขียน เลียนแบบการเขียนของผู้ใหญ่ (อาจต่างจากการวาดภาพ) ยนเลียนแบบตัวอักษรของผู้ใหญ่ • ขั(เขี้นยการเขี นเป็นตัวๆ เหมือนผู้ใหญ่แต่ยังอ่านไม่ออก) ยนคำ�ที่คุ้นเคย เช่น ชื่อของตนเอง •• ขัขั้น้นการเขี การเขียนเรียงคำ�อย่างต่อเนื่อง ยงคำ� ตามรูปแบบภาษาเขียนทั่วไป •• ขัขั้น้นเขีเขียยนเรีนตามการออกเสี ยง (พยายามสะกดคำ�ตามเสียงที่ ได้ยิน ไม่ถูกตามมาตราตัวสะกด สระ) ภาษา (เริ่มเขียนแบบ • ขัต่้นอเนืแสดงความสามารถทางการใช้ ่อง มีการดำ�เนินเรื่องราว มีภาษาแสดงความรู้สึก และมีพัฒนาการด้านความถูกต้องมากขึ้นตาม ประสบการณ์)

๒๔

ทอสีสัมพันธ์ ฉบับพฤษภาคม - กรกฎาคม ๒๕๕๔ ปีการศึกษา ๒๕๕๔

ขั้นตอนการอ่านและการเขียนของเด็กจึงต้องค่อยเป็น ค่อยไปตามลำ�ดับขั้น เพราะสิ่งสำ�คัญคือการสร้าง เหตุ ปัจจัย ไม่เปรียบเทียบเด็กทุกคนว่าต้องเหมือนกัน เท่ากัน และอย่า หวังผลโดยที่ยังไม่ได้สร้างเหตุ

บทบาทผู้ปกครองในการสอนอ่าน ในการที่ผู้ปกครองต้องมีบทบาทในการสอนภาษาให้ ลูกนั้น ทางโรงเรียนมีเป้าหมายหลักในการเรียนรู้ของลูกก็คือ สร้างฉันทะ (ความใฝ่รู้ อยากเรียนรู้ อยากรู้) มีความสุขกับการ เรียนที่เป็นไปตามศักยภาพรายบุคคล และสามารถนำ�ภาษา ไปใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้และสร้างประโยชน์ต่อไปได้ ดังนั้นรูปแบบการสอนภาษาให้กับลูกนั้น จึงควรเป็นลำ�ดับและ วิธีการอ่านที่ไม่กระโดดข้ามขั้น โดยผู้ปกครองอาจออกแบบวิธี การอ่านโดยดูความพร้อมของลูกเป็นสำ�คัญ

ข้ อ แนะนำ � สำ � หรั บ ผู้ ป กครองในการอ่ า นกั บ ลู ก ที ละขั้นเป็นลำ�ดับ คือ การอ่านหนังสือกับลูกควรอ่านให้ได้ ภาพรวมหรือใจความใหญ่ก่อนลงรายละเอียดย่อย เช่น การอ่านนิทานกับลูก เล่าให้จบเพื่อทราบเค้าโครงเรื่องและดู ภาพทั้งหมด จากนั้นจึงป้อนคำ�ถามกระตุ้นการคิด ชวนคุย เชื่อมโยง เมื่อลูกเริ่มสนใจให้ลองอ่านแบบชี้ตัวอักษรให้เห็นคำ� กับ เสียง ทิศทางของประโยค ชี้ตัวอักษรต่างๆ ชี้ให้เห็นถึงสระ เสียงเดี่ยวไปถึงสระผสม คือจากง่ายไปยาก สิ่งที่ต้องระวังคือ ผู้ปกครองหลายท่านมักจะอ่านกับลูกแล้วข้ามขั้นภาพรวมไปที่ รายละเอียดของหลักภาษาจนทำ�ให้อรรถรสในการอ่านหายไป ซึ่งนั่นจะทำ�ให้ทั้งผู้ปกครองและลูกเกิดภาวะความเครียด กังวล ที่เป็นภาวะที่ทำ�ร้ายฉันทะในตัวของลูกให้สูญเสียไปด้วย


๑๐ ขั้นบันได

สู่พัฒนาการอ่านแบบภาษาชีวิต ฟังและอ่าน INPUT

ยนรู้ห้ภลัาษาไทยในระดั บต่อบไปต่อไป เรีเรียนรู กภาษาไทยในระดั อ่านเป็นประโยคสั้นๆ ไม่ซับซ้อนได้ อ่านแบบสะกดคำ�ด้วยสระเสียงเดี่ยว

อ่านคำ� แยกแยะ พยัญชนะ สระ

พูด และ เขียน OUTPUT

อ่านทีละคำ� แบบจำ� เดา และ เชื่อมโยงกับความรู้เดิม อ่านคำ�ศัพท์จากชีวิตประจำ�วันได้มากขึ้น อ่านและท่องจำ�พยัญชนะไทยได้มากขึ้นจนถึง ๔๔ ตัว

เข้าใจเสียงพยัญชนะต้นบางตัวที่รู้จัก และ ผันและเชื่อมโยงเสียงพยัญชนะต้นได้ อ่านคำ�ที่คุ้นเคยในชีวิตประจำ�วันได้แบบเป็นคำ�ๆ โดยจดจำ�คำ�เป็นเหมือนรูปภาพ เริ่มจดจำ�ออกเสียงได้ เลียนเสียงได้

วิธีการเรียนรู้ : สังเกต จดจำ� เดา เชื่อมโยง

ทอสีสัมพันธ์ ฉบับพฤษภาคม - กรกฎาคม ๒๕๕๔ ปีการศึกษา ๒๕๕๔

๒๕


โดย ครูจ้อย ครูแป้ง ครูใหม่

ภู ฏ า น

“ดินแดนแห่งมังกรสายฟ้า”

เมื่อช่วงปิดภาคเรียนใหญ่ปลายปีการศึกษา ๒๕๕๓ ที่ผ่านมา คุณครูทอสีและ คุณครูปัญญาประทีปได้มีโอกาสเดินทางติดตามพระอาจารย์ชยสาโรไปเรียนรู้ และเพิ่มพูนประสบการณ์ที่ประเทศภูฏาน ทอสีสัมพันธ์ฉบับนี้ขอเป็นตัวแทน ส่งผ่านเรื่องราวจากคุณครู ๓ ท่าน อันได้แก่ ครูจ้อยจากโรงเรียนปัญญาประทีป และ ครูแป้ง ครูใหม่ จากโรงเรียนทอสี

ภูฏาน (Bhutan) ตั้งอยู่ทางเหนือของอินเดีย และ ทางใต้ของเทือกเขาหิมาลัย ประเทศนี้เป็นประเทศเล็กๆ มีพื้นที่ เพียง ๔๗,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร ในขณะที่มีประชากรราวเจ็ด แสนกว่าคนเท่านั้น ถือว่าเบาบางมาก เนื่องจากพื้นที่เป็นภูเขา เสียส่วนใหญ่ ภูฏานไม่มีทางออกทะเล แต่มีแม่นำ�้หลายสายซึ่ง ไหลมาจากเทือกเขาหิมาลัย ทำ�ให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ ผู้คน จึงตั้งถิ่นฐานกระจายกันระหว่างหุบเขาต่างๆ ที่มีแม่นำ�้ไหล ผ่าน ทั้งทางตอนกลางและตอนใต้ของประเทศ การกระจายตัว กันนี้ทำ�ให้ผู้คนไม่สามารถเดินทางติดต่อกันได้ง่ายนัก ดังนั้น ภูฏานจึงประกอบด้วยชนกลุ่มน้อยมากมาย มีภาษาถิ่นกว่า ๒๐ ภาษา และไม่สามารถรวมตัวกันเป็นประเทศได้จนกระทั่ง เมื่อไม่กี่ร้อยปีที่ผ่านมานี้เอง ชาวภูฏานส่วนใหญ่ยังชีพด้วยเกษตรกรรม เช่น การ ทำ�นาข้าว หรือปลูกมันฝรั่ง โดยปลูกในนาขั้นบันได เนื่องจาก มีพื้นที่สูงชันเกือบครึ่งค่อนประเทศ ถือเป็นภูมิปัญญาในการ ปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดี ภูฏาน จะเรียกว่าเป็นเมืองพุทธก็ว่าได้ ชาวภูฏาน ่ ทธแบบวัชรยาน ซึ่งได้รับอิทธิพลจาก ๓ ใน ๔ นับถือศาสนาพุ ธิเบต ดังนั้นไม่ว่าจะไปทางไหน เสียงของกงล้อภาวนาที่หมุน อย่างช้าๆ และภาพธงภาวนาหลากสีที่พริ้วสะบัดยามต้องลม จึงเป็นเสมือนฉากประกอบของเหตุการณ์เกือบทุกเหตุการณ์ใน ประเทศเล็กๆ แห่งนี้ ในสายตาของนักเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก ภูฏานอาจ จัดเป็นประเทศหนึ่งที่ถูกเรียกว่า.“จน”.แต่ทุกวันนี้ประเทศนี้ เป็นที่รู้จักในเวทีระดับนานาชาติในฐานะผู้นำ�แนวคิดเกี่ยวกับ “ความสุ ข มวลรวมประชาชาติ ” .หรื อ .“Gross.National Happiness” (GNH) ซึ่งแสดงจุดยืนที่ชัดเจนในการพัฒนา ประเทศที่ พ ยายามรั ก ษาสมดุ ล ระหว่ า งด้ า นวั ต ถุ แ ละด้ า น จิตใจ แนวคิดนี้ได้รับความสนใจมากจากชาวโลก โดยเฉพาะ นักเศรษฐศาสตร์นอกกระแสที่มีงานวิจัยซึ่งชี้ชัดว่าเงินอย่าง เดียวไม่สามารถยืนยันความสุขได้ และการได้ครอบครองวัตถุ มากก็ไม่สามารถยืนยันความสุขได้เช่นกัน เราได้รบั รูม้ าว่า เมือ่ รัฐบาลภูฏานทำ�การวัด“ความสุข” ของผู้คนในแต่ละเมืองนั้น ชาวเมืองทิมพู (Timphu) ซึ่ง เป็นเมืองหลวง และมีสาธารณูปโภคค่อนข้างครบครัน กลับมี “ความสุข” น้อยกว่า ชาวเมืองฮา (Haa) ซึ่งไฟฟ้ายังเข้าไม่ ทั่วถึงเสียอีก... สิ่งที่น่าสนใจในประเด็นนี้ก็คือ คนภูฏานนั้นให้ “ค่าของความสุข” อย่างไร ๒๖

ทอสีสัมพันธ์ ฉบับพฤษภาคม - กรกฎาคม ๒๕๕๔ ปีการศึกษา ๒๕๕๔

ภูฏานผ่านสายตาของครูจ้อย คุณครูจากโรงเรียนปัญญาประทีป

เมือ่ ได้ไปสัมผัสภูฏาน แม้เพียงแผ่วๆ ทำ�ให้เห็น ว่าประเทศนี้ก็ดูไม่ต่างจากประเทศกำ�ลังพัฒนาประเทศอื่นๆ ในโลก ทีว่ างแนวทางพัฒนาประเทศโดยเริม่ จากเกษตรกรรม การค้า ไปจนถึงการส่งเสริมอุตสาหกรรม แต่ทต่ี า่ งจากประเทศ อืน่ ๆ คือ ภูฏานเลือกทีจ่ ะ “เปลีย่ นแปลงอย่างช้าๆ” หากไม่เช่น นัน้ แล้ว ภูฏานคงจะไม่ยอมจำ�กัดจำ�นวนนักท่องเทีย่ วทีจ่ ะนำ�เงิน มากมายเข้าประเทศ เพราะกลัวว่าเขาเหล่านัน้ จะมาเพิม่ อัตรา เร่งของการเปลีย่ นแปลง อย่างไรก็ตาม ขณะนีภ้ ฏู านกำ�ลังเผชิญ กับความท้าทายใหม่เพิม่ ขึน้ ทุกๆ วัน โดยเฉพาะการอนุญาตให้ ประชาชนดูทวี หี รือใช้อนิ เทอร์เน็ตเมือ่ ประมาณ ๑๐ กว่าปีทผ่ี า่ น มา กลายเป็นช่องทางใหญ่ทท่ี �ำ ให้ขอ้ มูลจากโลกภายนอกได้พา เอาวิถใี หม่ทะลักเข้าไปในดินแดนทีเ่ งียบสงบแห่งนี้ เมื่อเราไปถึงนั้น เด็กๆ ที่พวกเราไปพบต่างจดชื่อ ของเราเพื่อไปขอ add เป็น friend ใน Facebook ยืนยันว่า โลกของพวกเขากว้างกว่าที่เราคิดไว้เยอะ ในขณะที่ขยะจาก ครัวเรือนที่ชาวภูฏานเคยฝังดินเพื่อกำ�จัด บัดนี้ไม่สามารถทำ�ได้ อีกต่อไป เนื่องจากขยะแบบใหม่ ไม่สามารถถูกกำ�จัดด้วยกลไก ทางธรรมชาติอีกต่อไปแล้ว ภาพทิวทัศน์สวยงามเบื้องหน้า สลับกับกองขยะข้างทางจึงเป็นภาพที่เราเห็นจนชินตาในเมือง ใหญ่ๆ นี่คือสิ่งที่ถูกเรียกว่า “การพัฒนา” ที่กระทำ�ต่อประเทศ แล้วประเทศเล่า จึงเป็นที่น่าจับตามอง (และน่าเป็นห่วง) อย่าง ยิ่งว่าการพัฒนาบน “ทางสายกลาง” ของภูฏานนั้นจะต้าน กระแสความเปลี่ยนแปลงที่เชี่ยวกรากได้หรือไม่ คิดๆ แล้วก็


คล้ายกับสิง่ ทีพ่ วกเรากำ�ลังทำ�อยู่ การศึกษาแบบพุทธปัญญา คือ การ ศึกษาทีท่ วนกระแส ทวนนิสยั ทวนความเคยชินของสังคม เหมือน กับการว่ายทวนกระแสนำ�้..แน่นอนว่าย่อมเหนื่อยกว่าตามกระแส แต่เรายังคงยืนยันทีจ่ ะทำ�ต่อไปก็เพราะเราเชือ่ ว่าเรากำ�ลังสร้างคนให้ สามารถเดินทวนกระแสกิเลสและพร้อมเผชิญทุกข์ดว้ ยสติและปัญญา

ตั้งคำ�ถามมากมายหลังจากที่ได้ฟังนิทานธรรมะแสนสนุกจากท่าน อาจารย์หน้าแถวอนุบาลและประถม คำ�ถามเกือบสุดท้ายจากเด็ก ประถมต้นคนหนึ่งถึงกับทำ�ให้หลายคนในคณะเราทั้งอึ้งทั้งยิ้มกว้าง ด้วยความเอ็นดู เพราะช่างเป็นคำ�ถามที่น่ารักและแสดงให้เห็นว่า เด็กคนนั้นตั้งใจ “ยืน” ฟังนิทานและใส่ใจกับรายละเอียดของเรื่อง มากแค่ไหน ทั้งๆ ที่การแสดงหน้าแถวและการสนทนานั้นกินเวลา เกือบชั่วโมง (และเด็กๆ ก็ “ยืนดูนิ่งๆ” อยู่เกือบชั่วโมง) สิ่งที่เห็น ทำ�ให้อดอยากมีเวลาทำ�ความรู้จักกับดินแดนแห่งนี้นานกว่า ๕ วัน ที่มีไม่ได้

ความสุขของครูที่ภูฏาน...ในทัศนะของครูใหม่ ความประทั บ ใจของครู แ ป้ ง “ดินแดนแห่งมังกรสายฟ้า”.(แปลมาจากคำ�ว่า.DrukYul อ่านว่า ดรุกยุล) ทีห่ ลายๆ คนยกให้เป็นดัง “สวรรค์บนพืน้ ดิน” แห่ ง นี้เ ป็ น ดิ น แดนที่ผู้ไ ปเยื อ นสามารถสั ม ผั ส ได้ ถึง ความสงบนิ่ง ลุม่ ลึก ทัง้ จากวิถชี วี ติ การเป็นอยูท่ ย่ี งั มีความใกล้ชดิ ธรรมชาติอยูม่ าก และจากภูมปิ ระเทศทีเ่ ต็มไปด้วยหุบเขาป่าสน และสายนำ�เ้ ย็นไหล เอือ่ ยบ้างแรงบ้าง ทีม่ องเห็นได้เป็นระยะตลอดทางทีร่ ถของคณะ เราซึ่งได้ติดตามท่านอาจารย์ชยสาโรไปภูฏานเมื่อเดือนพฤษภาคม นีเ้ คลือ่ นตัวแล่นผ่าน ถนนแคบๆ ทีค่ ดเคีย้ วเลีย้ วเลาะไปตามเขาลูก ต่างๆ ภาพแห่งความสงบและรอยยิม้ ของคนถิน่ ข้างทางทำ�ให้รบั รู้ ได้ถงึ ความเป็นมิตรและเป็นธรรมชาติของพวกเขาได้อย่างดี คณะของเราได้มีโอกาสไปเยี่ยมโรงเรียนที่ภูฏานจำ�นวน ๔ โรงเรียน มีทั้งโรงเรียนประถมและโรงเรียนมัธยมที่เป็นโรงเรียน ชื่อดังของประเทศ และได้สัมผัสถึงความใฝ่รู้ และเป็นมิตรของ เด็กๆ ชาวภูฏาน ถึงแม้ในบางโรงเรียน เด็กๆ จะไม่กล้าแสดงออก ในตอนแรก แต่เมื่อมีคนแรกเริ่มเปิดทางด้วยการกล้าถามกล้าตอบ คนต่อๆ ไปก็จะผลัดกันร่วมการสนทนาสลับกันไปไม่หยุด สะท้อน ให้เห็นถึงความกระหายใฝ่เรียนใฝ่รู้ในตัวพวกเขาได้อย่างน่าชื่นชม ในห้องเรียนมัธยมต้นของโรงเรียน Chakhanka LLS เด็กๆ แสดง ความตั้งใจที่จะถามและตอบคำ�ถามท่านอาจารย์ โดยไม่ใส่ใจกับ การเลื่อนเวลาไปรับประทานอาหารกลางวัน ทั้งที่มีเพื่อนต่างห้อง มาแกร่วรออยู่ และที่น่าประทับใจอีกเหตุการณ์ เกิดขึ้นที่โรงเรียน รัฐบาลชื่อ Jigme Losel School ที่เด็กๆ ประถมตัวเล็กๆ ผลัดกัน

เห็นครูภูฏานก็เหมือนเห็นครูไทย เห็นครูไทยก็เหมือน เห็นครูภูฏาน เพราะครูส่วนใหญ่... ไม่ว่าที่ไหนๆ ก็จะคล้ายๆ กัน คือมีความเสียสละ ทุ่มเท อดทน มีชีวิตความเป็นอยู่แบบพอเพียง แล้วก็มีความสุข และความภาคภูมิใจในอาชีพของตนเอง ตลอด ๓ วันทีไ่ ปเยีย่ มชมโรงเรียน ๔ แห่ง ทัง้ เอกชน และรัฐบาล ในภาพรวมดูคณ ุ ครูอายุไม่มากนัก และมีความเป็น กัลยาณมิตรกับนักเรียนสูง อาจเป็นเพราะโดยพืน้ ฐานทางสังคม และ วิถชี วี ติ ทีไ่ ม่เน้นการแข่งขัน เขาจึงมีเวลาให้กนั และกันค่อนข้างมาก ตอนเช้าทุกคนจะหิ้วตะกร้าอาหารมา จากบ้าน แล้วเอาวางรวมกันทีโ่ ต๊ะหน้า ห้องเพือ่ ล้อมวงร่วมกันรับประทานตอน กลางวัน อบอุน่ ดี ห้องพักครูบางโรงเรียน ดูโปร่งโล่งน่าสบาย มีโต๊ะกลางตัวยาวให้ ครูได้ท�ำ งานและใช้ประชุมร่วมกัน ครูภูฏานทั้งประเทศแต่งกายด้วยชุดประจำ�ชาติสวยงาม ทั้งหญิงและชาย และต่างก็ไม่ได้รับเงินเดือนมากนัก โดยรัฐจะดูแล ให้ได้รับโอกาสที่เท่าเทียมกันคือทางด้านการอบรมวิชาการและ วิชาชีพ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับนโยบายหรือเรื่องที่สำ�คัญๆ เพราะ ภูฏานไม่ได้เป็นประเทศที่ร่ำ�รวย สิ่งที่เขาเน้นคือความสุขที่ไม่ได้ ยึดโยงกับวัตถุ แต่ให้คุณค่าทางด้านจิตใจ ความเมตตาต่อกัน และ การร่วมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืน ภู ฏ านในวั น นี้ . ..อาจต้ า นทานกระแสโลกาภิ วั ต น์ ไ ม่ ใ ห้ เข้าไปเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของผู้คนในประเทศได้ยาก ซึ่งเป็น ความท้าทายของครูภูฏานเองเหมือนกันว่าจะเป็นผู้รู้เท่าทันและ สนับสนุนให้ผู้เรียนเกิดปัญญาในการใช้ชีวิตบนโลกที่เต็มไปด้วย การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเช่นนี้ได้อย่างไร ทอสีสัมพันธ์ ฉบับพฤษภาคม - กรกฎาคม ๒๕๕๔ ปีการศึกษา ๒๕๕๔ ๒๗


หน้าต่างแห่งโอกาสทองของการเรียนรู้ บทสัมภาษณ์คุณแม่ปุย คุณแม่ของสองลูกน้อยฝาแฝด “ปอ” และ “ป่าน”

สวัสดีค่ะ ครอบครัวชาวทอสี วันนี้ครูปริมมีเรื่องดีๆ ที่ อยากนำ�เสนอ แต่ก ่อนอื่นต้องขอเกริ่น โดยพูดถึงสำ�นวนที่ว่า “ตีเหล็กเมือ่ ไฟร้อน นวดโคลนเมือ่ มีน�ำ ”้ สำ�นวนนีม้ คี วามหมายว่า เวลาตีเหล็กต้องอาศัยตอนที่ไฟกำ�ลังแรง และถ้าจะนวดโคลนต้อง อาศัยตอนที่มีนำ�้ มักใช้กับการรู้จักใช้เวลาหรือโอกาสในการทำ�งาน ที่ได้เริ่มทำ�แล้วให้ทำ�ต่อไปจนสำ�เร็จ คนเราทำ�อะไรก็ตาม เมื่อมี โอกาสดีๆ มาถึง หรือโอกาสอำ�นวยก็ตอ้ งรีบถือโอกาสช่วงนัน้ ทำ�ให้ เสร็จ อย่าปล่อยให้โอกาสดีๆ นี้หลุดลอยไป ซึ่งบางครั้งโอกาสดีเช่น นี้คงจะหาได้ยาก เช่นกัน ในเรื่องการเลี้ยงดูลูกที่จะมีช่วงๆ หนึ่งที่ เรี ย กว่ า ช่ ว งหน้ า ต่ า งแห่ ง โอกาสทองของการเรี ย นรู้ หรื อ Window of Opportunity หน้าต่างแห่งโอกาสทองของการเรียนรู้ หรือ Window of Opportunity คือ การที่สมองมีช่วงเวลาที่เป็นโอกาสทองใน การวางพื้นฐานการเรียนรู้ แต่ละเรื่องแตกต่างกันไป เป็นช่วงเวลาที่ ประตูการเรียนรูใ้ นสมองเปิดกว้างเต็มที่ แม้หน้าต่างแห่งโอกาสนีจ้ ะ เกิดขึ้นตามวัยของเด็ก แต่เด็กจะไม่สามารถเปิดหน้าต่างเองได้ คุณพ่อคุณแม่คอื คนสำ�คัญทีจ่ ะต้องคอยสังเกต และคอยแง้มหน้าต่าง แห่งโอกาสนี้ให้กับลูก เพื่อเบิกทางให้เขาก้าวไปสู่ความสามารถ เฉพาะของตนเองในแต่ละด้าน ซึ่งหากเวลาล่วงเลยไปโดยไม่ได้รับ การใส่ใจ หน้าต่างบานนี้จะค่อยๆ ปิดตัวลง และจะไม่หวนกลับมา ส่วนของเด็กๆ เอง เรื่องเรียนหนังสือนั้น เมื่อมีเวลาว่างก็ให้รีบใช้

เวลาว่างให้เกิดประโยชน์มากที่สุด เช่น อ่านหนังสือในยามว่าง นอกเหนือจากการเรียนในห้องเรียน หมั่นทบทวนอยู่เสมอ ขณะที่ คนอื่นเขาไม่ค่อยอ่านหนังสือหรือมัวแต่เล่นหรือทำ�กิจกรรม เราก็ อ่านให้เต็มที่ ถึงเวลาสอบจะได้ไม่ตอ้ งลนลานหรือกระวนกระวายใจ ว่าอ่านไม่ทนั แบบนีย้ งั สามารถเรียกว่าตีเหล็กเมือ่ ไฟร้อนด้วยนะคะ เอาละค่ะ เกริ่นนำ�มาพอสมควรแล้ว ครูปริมมีเรื่องเล่าดีๆ ที่อยากแบ่งปันของ ครอบครัวน้องปอ-ป่าน (ด.ญ. ศศมน และ ด.ญ. ศศลักษณ์ ทรงประไพ) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ที่ คุณพ่อคุณแม่ไม่ปิดทิ้งหน้าต่างบานนี้ไปเฉยๆ แต่ยังเปิดรับสายลม เย็นแห่งโอกาส แถมยังสามารถใช้เป็นโอกาสทองในการส่งเสริม ศักยภาพที่มีอยู่ในตัวของน้องได้เป็นอย่างดีด้วยค่ะ เราคุยกันด้วย บรรยากาศสบายๆ ช่วงเย็นวันศุกร์ มีคุณแม่ปุย คุณครูหน่า (คุณครู ประจำ�ชั้นขณะนั้น) และครูปริม เพื่อร่วมซึมซับการดูแลเอาใจใส่ที่ คุณแม่มใี ห้นอ้ ง และผลักดันให้นอ้ งส่งงานเข้าประกวด ได้รบั หลายๆ รางวั ล จนถึ ง สามารถได้ รั บ รางวั ล พระราชทานจากสมเด็ จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการประกวดโครงการ “โตชิบานำ�สิ่งที่ดีสู่ชีวิต” ปีล่าสุด ซึ่งเป็นผลงานที่ได้รับรางวัลจาก ผูเ้ ข้าประกวดทัว่ ประเทศ และน้องยังได้เป็นตัวแทนเด็กไทยส่งภาพ ไปแสดงร่วมงานที่ประเทศโปแลนด์ ถึง ๒ ปีติดกันด้วยค่ะ เรามาดู กันนะคะว่าคุณแม่ท�ำ อย่างไร จึงได้มกี จิ กรรมดีๆ เช่นนีเ้ กิดขึน้ ในบ้าน ครูปริม/ครูหน่า : ขอทราบทีม่ าทีไ่ ปก่อนทีล่ กู ๆ จะรักทีจ่ ะทำ�งาน ศิลปะจนถึงทุกวันนี้ ทำ�อย่างไร หรือแนวทางชีน้ �ำ อย่างไรจึงทำ�ให้ ลูกค้นหาสิ่งที่ชอบเจอตั้งแต่ยังเล็กคะ คุณแม่ปุย : คือ ด้วยความที่ทั้งคุณพ่อ และคุณแม่เป็นศิลปิน คือ เรียนมาทางด้านการออกแบบ ชอบงานศิลปะจึงทำ�ให้เมื่อเวลา ครอบครัวได้ไปต่างจังหวัด เวลาปิดเทอม จะไปอยูท่ เี่ ดียวนานๆ คือ ทะเล สิ่งที่ต้องเตรียมคือสมุดสเกตช์ภาพที่ต้องมีคนละเล่ม เมื่อไป ถึ ง ทะเลก็ จ ะนั่ ง วาดรู ป กั น ไป ใครอยากเขี ย นอะไรก็ เ ขี ย น

๒๘

ทอสีสัมพันธ์ ฉบับพฤษภาคม - กรกฎาคม ๒๕๕๔ ปีการศึกษา ๒๕๕๔


บทสัมภาษณ์

สัมภาษณ์โดย ครูปริม และ ครูหน่า

เขียนเหมือนไม่เหมือนก็เขียน เราอยู่กันแบบที่ไม่มีการดูโทรทัศน์ วิทยุ คือคุณพ่อก็เขียน คุณแม่กเ็ ขียน ลูกๆ ก็ตอ้ งเขียนไปโดยปริยาย เพราะมีแค่สมุดกับสี คือจริงๆ อยากให้ลูกได้ซึมซับกับธรรมชาติ ลูกๆ ก็จะค่อยๆ ซึมซับกันไป แต่ก็เป็นผลพลอยได้ที่ลูกชอบงาน ศิลปะและได้จากวิถีชีวิตและอิทธิพลจากพ่อและแม่ทำ�ให้เห็นด้วย

คิดถึงอะไร น้องก็จะคิดไปถึงเรื่องที่ชอบ เรื่องการใช้เรือก็จะไม่มี ควันพิษ ส่วนน้องอีกคนก็ชอบเรื่องการใช้ใบตองแทนโฟม ซึ่งก็เข้า ล็อกคุณแม่เลยทีเ่ พิง่ ไปตลาดนำ�ม้ า คุณแม่กเ็ ห็นโอกาสดึงเอาเรือ่ งที่ ว่า อย่างนั้นก็ลองเขียนเกี่ยวกับตลาดนำ�้ดีไหม ลูกก็ลองเขียนงาน และส่งเข้าประกวดซึ่งก็ได้รับรางวัลในที่สุด

ครูปริม/ครูหน่า : ขอถามที่มาของงานที่ได้รับรางวัลฯ จาก สมเด็จพระเทพฯ ว่าได้ผลงานมาอย่างไรคะ คุณแม่ปุย : งานชิ้นนี้จะเป็นธีมเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมหรือ เกี่ยวกับวิถีชีวิตก็ได้ ซึ่งส่วนใหญ่เวลาจะเขียนงานต้องให้เขาร่วมอยู่ ในเนือ้ หานัน้ ด้วย ไม่อย่างนัน้ ลูกก็จะไม่ยอมทำ� ถ้าบอกให้เขียนก็จะ ไม่ค่อยเขียนเหมือนเขาจะไม่มีอารมณ์ร่วมกับสิ่งที่ทำ� แต่ถ้าลูกรู้สึก อยากเขียนก็จะเขียน ทำ�งานศิลปะให้มีความสุข ตัวคุณแม่เองก็ไม่ อยากให้ลกู ทำ�งานจากการทีค่ ณ ุ แม่คอยบอก อยากให้ลกู ได้รสู้ กึ ร่วม กับงานที่ทำ� งานต่างๆ ที่นำ�มาให้ลูกลองทำ�จะพยายามหาเกี่ยวกับ เรื่องที่เขามีประสบการณ์ หรืออยู่ในบทเรียนนั้นๆ พอดี คุณแม่เคย ลองเหมือนกัน ทีห่ าชิน้ งานมาซึง่ ไม่อยูใ่ นชีวติ ประจำ�วัน แล้วก็จะมา นั่งมองหน้ากัน เขียนไม่ออก ก็เลยเลิกเขียนกันไป สำ�หรับงานนี้ ก่อนหน้าที่จะทำ�งานชิ้นที่ได้รับรางวัลจาก สมเด็จพระเทพฯ ครอบครัวไปตลาดนำ�ก้ นั เลยถามลูกว่า ถ้าจะเขียน รูปให้เพื่อนๆ ที่อยู่ต่างประเทศดูเกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจะ

ครูหน่า : ในเรื่องเทคนิค เขาปรึกษาคุณแม่หรือไม่ คุ ณ แม่ ปุ ย : ในเรื่ อ งเทคนิ ค เราต้ อ งช่ ว ยเขา ด้ ว ยความที่ เขา ประสบการณ์ยงั น้อย ส่วนเรือ่ งเนือ้ หาของงานก็จะทัง้ เราและลูกช่วย กัน ในการเขียนคุณแม่ก็จะไกด์นิดหน่อย แล้วเขาก็จะเขียนเอง ครูปริม/ครูหน่า : น้องจะเริ่มโตขึ้นเรื่อยๆ มีความยากแค่ไหนใน การชี้ชวนให้น้องทำ�สิ่งต่างๆ เพราะน้องก็เริ่มมีความคิดเป็นของ ตนเอง คุณแม่ปุย : ในเรื่องการเขียนรูป ไม่เป็นเรื่องยากเลยในการให้ทำ� ชิน้ งาน เขาจะมีความสุขในการเขียนรูป แต่กจ็ ะเริม่ มีค�ำ ถามทีว่ า่ เขา จะเรียนเลขทำ�ไม เรียนสังคมทำ�ไม เมื่อเขาอยากที่จะเขียนรูป จะ เรียนวิชาอื่นๆ ไปเพื่ออะไร ตัวคุณแม่ก็ต้องทั้งให้กำ�ลังใจและต้อง คอยให้เหตุผล คือตัวเขาเคยดูสารคดีเกี่ยวกับสถาบันสอนศิลปะใน ประเทศอิตาลี และเขาก็พูดออกมาว่าเขาต้องไปเรียนที่นี่ให้ได้ ซึ่ง ตอนช่วง ป.๑ ก็จะมีลำ�บากมาก เพราะน้องปอจะยากมากที่จะ

ทอสีสัมพันธ์ ฉบับพฤษภาคม - กรกฎาคม ๒๕๕๔ ปีการศึกษา ๒๕๕๔

๒๙


“ อย่างประเด็นพ่อแม่ผแู้ สดงโลกเลย ถ้าเราไม่เคยพูดขอโทษให้ลกู เห็น หรืออย่าง บางทีเราทำ�ผิดก็ไม่ขอโทษลูก หรือไปตั้งแง่กับลูก ถ้าเป็นอย่างนั้นลูกก็จะไม่เห็น ไม่รู้ว่าขอโทษคืออะไร ”

ทำ�การบ้านได้ ถึงกับร้องไห้ คือจะไม่เอาเลย จะวาดรูปอย่างเดียว แต่จะแตกต่างกันคืออีกคนจะมีความรับผิดชอบต้องทำ�การบ้านก่อน คือโชคดีทลี่ กู อยูด่ ว้ ยกันเหมือนจะดึงกันไว้ คือ พออีกคนทำ�เสร็จ อีก คนก็จะรู้สึกว่าตนเองก็ต้องทำ�ให้เสร็จเหมือนกัน คือเขาจะช่วยกัน ครูปริม : แล้วการเรียนในห้องเรียนเป็นอย่างไรบ้างคะ ครูหน่า : เขาก็พอไปได้ ไม่เป็นทีห่ นักใจของครู คือน้องจะเป็นสมอง ซีกขวา คือคุณครูก็จะเข้าใจในความเป็นตัวตนของเด็ก คือเขาก็จะ มีความรับผิดชอบในหน้าที่ คืออาจจะมีชว่ งทีเ่ ขาสุดโต่ง ยังหาความ พอดีไม่เจอจึงอาจทำ�ให้ต้องใช้เวลา คุณแม่ปยุ : คือถ้าลูกอยากทำ�อะไรก็จะให้ท�ำ เลย เช่น ลูกอยากทาน ข้าวเองก็จะให้ทานเลย แต่ตอ้ งยอมรับว่าต้องเลอะ คือจะทานได้เร็ว กว่าเด็กในวัยเดียวกัน ซึง่ คุณแม่กไ็ ม่คดิ ว่าจะส่งผลกับการเขียนงาน ศิลปะ คือพอลูกอยากเขียนก็ให้เขียน ยอมรับว่าให้เขาเขียนในห้อง ของตัวเอง ฝาผนังห้องจะเต็มเลย คือตัวคุณแม่ก็จะทดลองเหมือน กันเพราะเป็นลูกคู่แรก คือเราจะตกลงกันก่อนว่าเขียนได้เฉพาะ ห้องนอนเขา ทีอ่ นื่ เขียนไม่ได้เพราะว่าเป็นพืน้ ทีข่ องคนอืน่ ถึงเขา จะเด็ก แต่เขาก็รับรู้ได้นะคะว่าเขามีพื้นที่ของเขา ทำ�ได้อย่าง เต็มที่ในพื้นที่ของตนเอง ในส่วนห้องอื่นๆ จะไม่มีเขียนเลย ใน ขณะที่เราเห็นหลาน (ลูกพี่สาว) จะเขียนไม่ได ้เขาก็จะแอบไปเขียน ที่อื่นตลอด ตรงนู้น ตรงนี้ เต็มไปหมด แล้วพอโตหน่อย ผ่านไปสัก ระยะหนึ่ง เขาบอกเราเองเลยว่าห้องเขาทำ�ไมมันเละ เขาก็จะอยาก ที่จะได้ห้องสวยๆ เราก็... จะอย่างไร เมื่อเละ ก็ไปทาสีห้องใหม่ ซึ่ง ปัจจุบันก็ทาใหม่เรียบร้อยแล้ว ปัจจุบันก็จะเป็นการทำ�งานเป็น ชิ้นงานแล้วก็จะนำ�มาแขวนที่ห้องโดยใช้ผนังห้องตัวเองเป็นที่โชว์ ผลงาน เปลี่ยนรูปนั้นรูปนี้ไปเรื่อย เป็นแกลลอรี่ส่วนตัวของน้องไป น้องเองพอเริ่มเขียนและเริ่มสนุก พออยู่ประมาณ อ.๓ ๓๐

ทอสีสัมพันธ์ ฉบับพฤษภาคม - กรกฎาคม ๒๕๕๔ ปีการศึกษา ๒๕๕๔

น้องจะเริม่ ทีจ่ ะอยากเขียนให้เหมือนให้ได้ (ภาพเหมือนจริง) แล้วเริม่ ที่จะไม่เขียนเอง โดยจะให้คุณพ่อคุณแม่ช่วยเขียนให้ เราเองก็เขียน ให้ในช่วงแรกๆ และคิดว่านี่ไม่ใช่แล้ว ก็จะไม่ยอมเขียนให้ จะให้เขา เขียน เขาก็จะพยายามเขียนในแบบที่อยากได้ และเราใช้วิธีนี้คือเขา เขียนรูปอะไรมา เราก็พยายามมองให้เหมือนแล้วกัน คือเราจะให้ เป็นงานที่ลูกทำ�ออกมาเองจะไม่ไปเติมให้ แต่จะคอยบอกว่ามันน่า จะเป็นแบบนั้นแบบนี้นะ คือจะให้คำ�แนะนำ�แทน พอลูกลองทำ�ใน แบบที่เราแนะนำ� ก็จะบอกว่าลูกว่า “ใช่เลยนี่แหละกวาง” ส่วนจะ เหมือนหรือไม่เหมือนอีกเรื่องหนึ่ง ครูปริม : การเขียนงานศิลปะของน้องมีผลกับการเรียนอย่างไร คุณแม่ปุย : น้องก็จะทำ�งานที่ชอบ คือเมื่อไหร่ที่เป็นงานที่ชอบน้อง ก็ดิ่งกับงานนั้นได้นาน ครูหน่า : มีอยู่ช่วงหนึ่งที่น้องจะเขียนรูปแบบแรเงาในงานส่งครู ครู ก็จะช่วยโดยการสนับสนุนว่า เหมือนมากเลย ก็ทำ�ให้เพื่อนๆ สนใจ ในงานที่น้องทำ�ด้วย น้องจะมีสมาธิจดจ่อกับตัวงานที่น้องอยากทำ� เด็กที่ชอบศิลปะก็จะเห็นความงาม คือเห็นอะไรที่คนอื่นไม่เห็น คือ เวลาพาไปทริป เด็กที่ชอบในงานศิลปะ เขาก็จะพูดออกมาเองว่า อยากวาดรูป ถ้าความสนใจมีมากขึน้ ก็จะเข้าไปถึงทีว่ า่ ทำ�ได้อย่างไร ใช้วสั ดุอะไร ประกอบอย่างไร แล้วมันก็จะสือ่ ไปถึงเด็กทีจ่ ะสร้างงาน ถ้าเป็นการวาดภาพก็จะทำ�อย่างไรให้มนั เหมือน ถ้าเป็นงานสามมิติ ก็จะคิดต่อว่ามันจะต้องใช้วสั ดุอะไร ก็จะมองในรายละเอียด จะมอง ในมุมทีค่ นทีไ่ ม่ชอบมองไม่เห็นจะมีความลึกในการมองไม่เหมือนกัน มั น ก็ จ ะเชื่ อ มโยงหมด เพราะศิ ล ปะมั น จะมี อ ยู่ ใ นทุ ก ๆ วิ ช า วิทยาศาสตร์ก็มีศิลปะ นี่เป็นบางส่วนในการนั่งคุยกันสบายๆ และได้กลเม็ดการ ดูแลลูกๆ มาฝาก หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์กบั ท่านผูอ้ า่ นบ้างนะคะ


พึ่งตัวพึ่งตนคืออะไร?

โดย ครูวัฒนา

วิธีปรุง

วิชา ‘พึง่ ตัวพึง่ ตน’ ตนประกอบด้วยร่างกายและจิตใจ

ผสู้ อนวิชาพึง่ ตัวพึง่ ตน ครู

เกี่ยวกับการเอาชีวิตรอด การรู้เท่าทันภัยพิบัติหรือปัญหาต่างๆ ต้องเริ่มจากตัวเราเอง จากการเรียนรู้ การสังเกต ประสบการณ์ ข่าวสาร สิ่งใกล้ตัว และที่สำ�คัญต้องเท่าทันปัจจุบัน ดูๆ ไปแล้วการเรียนรู้วิชาพึ่งตัวพึ่งตน กับ การเรียนวิชา ลูกเสือ เป้าหมายก็ไม่ได้แตกต่างกันสักเท่าไหร่ เพียงแต่เป็นการ ปรั บ เนื้ อ หาบางส่ ว นให้ อ ยู่ กั บ ปั จ จุ บั น มากขึ้ น พฤติ ก รรมใน ชีวติ ประจำ�วันในสังคม การทำ�ตัวให้มคี ณ ุ ค่ามีประโยชน์ (กับตนเอง และผู้อื่น) อันเป็นการดำ�เนินตามนโยบายปรัชญาของโรงเรียน พูดถึงการเรียนการสอนแล้ว นักเรียนก็ยังมีความรู้สึกที่ดี สนุกสนาน ตั้งใจ สนใจ ถึงขนาดช่วยกันออกแบบโลโก้ ประจำ�วิชา เลยละครับ นี่คือตัวอย่างบางโลโก้ . . .

อาจรวมความได้ว่า เมื่อร่างกาย + จิตใจมีการกระทำ�กิจกรรมใดๆ ก็ จ ะเกิ ด การเรี ย นรู้ เ กิ ด ปั ญ ญา เกิ ด ประสบการณ์ คำ � ว่ า “พึ่งตัวพึ่งตน” หมายความว่า ควบคุมอินทรีย์ของตนเองได้ คิด และตัดสินใจโดยใช้ปัญญา ทำ�ในสิ่งที่ดีที่ถูกต้อง หาทางแก้ปัญหา อุปสรรคด้วยตนเอง ไม่จำ�เป็นต้องคอยพึ่งพาผู้อื่น นอกจากนี้ ใน ขณะที่พึ่งตนเองได้แล้ว ยังสามารถเป็นที่พึ่งพาของผู้อื่นได้ด้วย ดัง เช่ น การศึ ก ษาหาความรู้ จำ � เป็ น ต้ อ งพึ่ ง ตั ว เองให้ ม าก ดู แ ล พฤติกรรมการเรียนของตนเอง รับผิดชอบ สนใจ ตั้งใจ ฯลฯ โดย ครูจะเป็นผู้อบรมสั่งสอนแนะนำ� เมื่อผู้ที่ศึกษาเล่าเรียนตั้งใจและ ใส่ใจเล่าเรียน ก็จะเกิดปัญญา คือความรู้ และนำ�ความรู้ที่ได้รับไป พัฒนาตัวเอง และสังคม รวมถึงประเทศชาติได้ต่อไป

ป.๑ : ครูวัฒนา และ ครูเปิ้ล ป.๒ : ครูตู่ และ ครูกุ้ง ป.๓ : ครูแสบ และ ครูแนน

ป.๔ : ครูย้ง ป.๕ : ครูอั๋น ป.๖ : ครูแมน

ในปัจจุบันสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัวเรา ไม่ว่าจะ เป็นธรรมชาติหรือสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นมา เริ่มเป็น ปัญหา มีการเปลีย่ นแปลง สังเกตจากการเกิดภัยพิบตั ิ ต่างๆ เช่น สึนามิ ไฟป่า นำ�้ท่วม พายุ ฯลฯ ฉะนั้นการเรียนรู้

ทอสีสัมพันธ์ ฉบับพฤษภาคม - กรกฎาคม ๒๕๕๔ ปีการศึกษา ๒๕๕๔

๓๑


ก้าวที่สามแห่งการเรียนรู้ของปัญญาประทีป ฉบับที่ ๒ / ๒๕๕๔

ในภาคเรียนนี้ โรงเรียนปัญญาประทีปได้ออกจดหมายส่งถึงผู้ปกครองไปแล้วรวม ๓ ฉบับ เนื้อความในจดหมาย แต่ละฉบับบอกเล่าเรื่องราวที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านอย่างยิ่ง ทอสีสัมพันธ์ฉบับนี้ขออนุญาตยกเอาก้าวที่สาม แห่งการเรียนรู้ของปัญญาประทีป ฉบับที่ ๒ ประจำ�ปี ๒๕๕๔ มาให้อ่านกันนะคะ ถ้าผู้อ่านเห็นว่าน่าประทับใจ และ สนใจจะอ่านฉบับที่ ๑ และ ๓ (รวมถึงฉบับอื่นๆ) เพิ่มเติม ก็ขอให้ติดตามอ่านที่ www.thawsischool.com ต่อได้ค่ะ ทั้งนี้ โรงเรียนทอสีจะนำ�เรื่องราวดีๆ จากโรงเรียนปัญญาประทีปและนำ�จดหมายจากครูแจ๊ดมาเผยแผ่แบ่งปันกันเรื่อยๆ นะคะ

“ ผ ม เ ข้ า ใ จ ว่ า แม้ ก ระทั่ ง กั บ คุ ณ พ่ อ คุ ณ แม่ ที่ เ ขาอยู่ ด้ ว ยกั น มา ตั้งแต่ต้น ไว้ใจกัน เขายังมีปัญหาเลย เวลาผมคุยกับเพื่อนหรือคนที่เขา มีลูก ทุกคนจะบ่นเป็นเสียงเดียวกันหมดเลยว่า มันยุ่งยากมากเลยช่วงนี้ ตอนที่เป็น เด็กเล็ก โอเคเลยนะคือว่าเราสามารถที่จะชี้จะสั่ง จะคิดจะกำ�หนดให้เขาได้ แต่พอเป็นช่วงขึ้น สู่มัธยมเท่านั้น อะไรที่เป็นสิ่งที่สั่งจะต้องถูกปฏิเสธ เพราะฉะนั้น เมื่อวานตอนที่ แนะนำ�ตัว ตอนเย็นที่บอกว่าชอบหรือไม่ชอบอะไรนั้น คำ�พูดว่าชอบกับไม่ชอบเป็นคำ�เดียวกันเลย คือไม่ ชอบกฎระเบียบ ไม่ชอบให้ใครสั่ง ไม่ชอบให้ใครมากำ�หนด และก็บอกว่าสิ่งที่ชอบคือ “อิสระ” ทั้งที่จริงสอง สิ่งนี้คืออันเดียวกัน แต่เขาสามารถตอบได้ในแง่ชอบและไม่ชอบ ทีนี้ถ้าเราเข้าใจธรรมชาติตรงนี้ เข้าใจแล้วก็มี ปัญหาตามมาว่าจะปฏิบัติได้อย่างไร ตรงนี้สิโจทย์ยาก เขาไม่นิ่ง ไม่ใช่แปลว่าเช้าเป็นอย่างนี้ บ่ายก็จะเป็นแบบนี้ ใช่ไหมครับ อันนี้ละความหนักของครู ที่เราจะต้องทำ�อย่างไร ที่จะอยู่กับเขา เขาเป็นอย่างนี้จะเป็นเฉพาะช่วง ระยะเปลี่ยนผ่าน ไม่ได้เป็นสถานะที่จะถาวร เหมือนกับเราเปลี่ยนจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง ช่วงระยะเปลี่ยน ผ่านนี้จึงสับสน ทีนี้เราจะช่วยให้เกิดการเปลี่ยนผ่านที่เป็นคุณกับชีวิตเขาได้อย่างไร ตรงนี้ละครับที่เป็นหน้าที่ เป็นภารกิจที่หนัก อาจจะต้องใช้พลัง ความรู้ ความสามารถเพิ่มขึ้นอีกเป็นเท่าตัว แต่ก็ท้าทายนะ... ต้องให้ครูคิดเหมือนกับบวชพระ เราไม่ได้เป็นพระที่ดีในวันแรกที่เราบวช ต้องใช้ เวลานานบำ�เพ็ญสมณธรรม เวลาเราบอกว่าเรามีพระผู้นี้ที่ทรงศีล เป็นพระที่บรรลุธรรม ให้สังเกต ว่าท่านบวชมากี่ปี บางทีสามสิบสี่สิบห้าสิบปี นั่นก็คือหมายความว่าท่านใช้วิธีบ่มเพาะ สมณธรรมอยู่ตั้งสี่สิบห้าสิบปี กว่าจะเกิดสมณธรรม ความเป็นพระที่จะทำ�ให้ ประชาชนโน้มตัวลงกราบ ผมคิดว่าความเป็นครูก็เหมือนกัน...” อาจารย์ ดร.ประมวล เพ็งจันทร์ เช้าวันจันทร์ที่ ๖ เดือน ๖ ณ ปัญญาประทีป

๓๒

ทอสีสัมพันธ์ ฉบับพฤษภาคม - กรกฎาคม ๒๕๕๔ ปีการศึกษา ๒๕๕๔


พื้นที่นี้... พื้นที่ปัญญาประทีป

แล้ ว ก็ ถึ ง วั น ที่ โรงเรี ย นปั ญ ญาประที ป มี โ อกาสได้ ต้อนรับ อาจารย์ ดร.ประมวล เพ็งจันทร์ “ครูผู้แสดงโลก” หรือที่พวกเราเรียกท่านว่า “ลุงมวล” แม้วัยของท่านจะแค่ ๕๐ ต้นๆ แต่ด้วยการที่ท่านสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตมา อย่างที่ไม่ธรรมดา ทำ�ให้เรารู้สึกว่าท่าน “เก๋า” จริงๆ ใน เรื่องของการเรียนรู้ชีวิตที่มนุษย์คนหนึ่งพึงมี แม้เรื่องราวของเด็กและครูในสองสัปดาห์ที่ผ่านมา จะเต็มไปด้วย “ความรู้สึก” ทั้งที่เป็นกุศลและอกุศลต่างๆ นานาในการใช้ชีวิตระยะปรับเปลี่ยนช่วงเปิดเทอมใหม่นี้ แต่ สิ่งหนึ่งที่พวกเราส่วนใหญ่รู้สึกคล้ายกัน คือ ความรู้สึกอบอุ่น สุขสงบ เบาสบาย จากการที่ได้ฟังเรื่องเล่าจากชีวิตจริงของ ลุงมวล ซึ่งเปี่ยมไปด้วยสาระ ความหมาย และคุณค่าที่มี ต่อจิตใจของพวกเรา “ผมเป็นคนไม่มีหัวข้อ” ลุงมวลบอก พวกเรา “แต่ท่านมีหัวใจที่ดีงาม” พวกเราอยากบอกลุงมวล

แม้วันนี้พวกเราจะได้รับพลัง ได้เรียนรู้วิธีการคิด การ รู้จักใคร่ครวญ ซาบซึ้งถึงคุณค่าของผู้คนและสรรพสิ่งต่างๆ แต่ เราต่างมีหน้าที่ก้าวเดินเรียนรู้ต่อไปให้เข้าถึงธรรม คือ ความ จริงของสรรพสิ่งทั้งปวง ให้เห็นเป็น “ปัจจัตตัง” ตามวิถีของ ตน คุณพ่อคุณแม่สามารถติดตามฟังเรื่องราวของลุงมวลที่มา จุดไฟให้ใจอุ่นและพาพวกเราครุ่นคิดถึงตัวอย่างของผู้ที่สุขง่าย ทุกข์ยาก ได้จากเฟซบุคของเราในไม่ช้านี้ค่ะ

ปีนี้โรงเรียนได้กำ�หนดให้ทุกเช้าวันอังคารหลังทำ�วัตร สั้น เป็นวันที่จัดให้มี “วงกลมกัลยาณมิตร” เพื่อเปิดโอกาส ให้เด็กๆ ชะล้างความรู้สึกที่ค้างคาในใจ ได้ขอบคุณ ขอโทษ ชื่นชมผู้อื่น ครูสังเกตว่าเด็กๆ หลายคน โดยเฉพาะนักเรียน เก่าของเรา ไม่เคอะเขินเวลาที่พูดคำ�ว่า “ขอบคุณ” และมี ความกล้าหาญที่จะพูด “ขอโทษ” ต่อผู้อื่นเมื่อตนกระทำ�ผิด พิ ธี ก รรมนี้ เ ป็ น สิ่ ง ที่ โรงเรี ย นทอสี แ ละปั ญ ญาประที ป เรี ย นรู้ จากสังคมของสงฆ์ เป็นพื้นฐานที่เอื้อให้แต่ละบุคคลมีโอกาส ตรวจสอบตนเอง กล้าที่จะยอมรับ ฝึกฝืนที่จะวางอัตตาของ ตน รวบรวมความคิดที่ถูกต้องแสดงออกเป็นการกระทำ�ที่จะ ชื่นชม หรือขอโทษผู้อื่น อย่างที่ลุงมวลได้แสดงทัศนะไว้ในข้างต้นว่า เด็กๆ วัย มัธยมต้นนี้ เป็นช่วงที่ยากมาก ครูบอกซ้าย เด็กไปขวา “หนู ไม่ชอบ...” “ทำ�ไมไม่...” “แหวะ... อี๋...!!!” “ชอบ...ไม่ชอบ... อยาก...ไม่อยาก...” คำ�หรือประโยคแบบนี้เราอาจได้ยินตอน เด็กๆ อยู่ชั้นอนุบาลหรือประถม แต่ดีกรีของความจริงจัง ความถี่และความแรงคงไม่เท่าเด็กๆ ในวัยมัธยมนี้ ที่สำ�คัญการ ส่งต่อ ถ่ายเทพลังและความคิดของเด็กในวัยนี้ไปได้เร็วและ ทอสีสัมพันธ์ ฉบับพฤษภาคม - กรกฎาคม ๒๕๕๔ ปีการศึกษา ๒๕๕๔

๓๓


แรงขึ้นเป็นลำ�ดับ ครูจึงต้องเปิดใจที่จะเรียนรู้เข้าใจธรรมชาติ ของเขาในฐานะเด็กวัยรุ่น และศึกษา เหตุ ปัจจัยของความคิด พื้นฐานจิตใจ และพฤติกรรมนั้นๆ ของเด็กเป็นปัจเจก ซึ่ง แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงในแต่ละคน งานครูวิถีพุทธจะไม่มีทาง ที่จะสำ�เร็จได้ถ้าปราศจากการผนึกกำ�ลังทั้งกายและใจจาก คุณพ่อคุณแม่ทุกคน สิ่งที่ท่านผู้ปกครองสามารถช่วยได้ในช่วงแรกเริ่มของ ปีการศึกษานี้ คือการให้กำ�ลังใจและพาให้คิดถึงคุณ โทษ และ ทางออกของสิ่งที่ทำ� ให้เขาเรียนรู้จักคำ�ว่า “ฝึก-ฝืน” กับการ ดำ�เนินชีวิตที่บ้านบ้าง เพราะการใช้ชีวิตในโรงเรียนประจำ�ที่ ปัญญาประทีปนั้นจะว่าง่ายก็ง่าย เพราะมีการกำ�หนดเวลา และกิจกรรมต่างๆ พร้อมให้เด็กๆ เลือก การที่ไม่ต้องเดินทาง ทุกวัน การที่มีคุณครูที่ใกล้ชิดดูแลเอาใจใส่รายบุคคล แต่จะ ว่ายากก็ว่ายากสำ�หรับเด็กในวัยนี้ วัยที่รักอิสระ รังเกียจกฎ กติกา หรือระเบียบวินัย ถึงแม้กฎ กติกาต่างๆ จะน้อยมาก แล้วในความคิดของครู แต่สำ�หรับเด็กวัยนี้ เด็กสามารถเกิด ความรู้สึกว่าอยู่ใน “สถานกักกัน” พยายามที่จะทลายกำ�แพง แห่งกติกาที่ถูกกำ�หนดขึ้นเพื่อให้เอื้อต่อการอยู่ร่วมกันในวิถี แห่งพุทธปัญญา ครูผู้ซึ่งมีหน้าที่อบรมบ่มเพาะให้เด็กๆ ทำ�สิ่ง ที่ถูกที่ควร มากกว่าสิ่งที่ถูกกิเลสถูกใจ จึงต้องอาศัย “กำ�ลัง ภายใน-ภายนอก” อย่างแรงกล้าที่จะฝ่าผ่านตัณหาของตนเอง

ทะลุไปช่วยเหลือเด็กๆ ได้ ความร่วมมือร่วมใจ ความคิดเห็นที่ สอดคล้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างบ้านและโรงเรียนจึง เป็นสิ่งสำ�คัญยิ่ง ที่จะช่วยกันประคองพาเด็กๆ ผ่านพ้นระยะ เปลี่ยนผ่านนี้ให้เป็นคุณ ความสุขบางชนิดอาจนำ�มาซึ่งความทุกข์ในที่สุด ใน ทางกลับกัน ความทุกข์ยากบางอย่างจะนำ�มาซึ่งความสุขใน ตอนท้าย ตัวอย่างของชีวิตที่ทุกข์ในเบื้องต้นแต่สุขในบั้นปลาย มีมากมาย ดังคำ�สอนของพระอาจารย์ชยสาโรที่กล่าวไว้ใน หนังสือ “เพื่อนนอก เพื่อนใน” ... การปฏิบัติเป็นสิ่งที่ยากลำ�บาก แต่ว่ามรรคจะเกิดขึ้นโดย อาศัยความยากลำ�บากง่ายกว่าที่จะเกิดขึ้นจากความสะดวกสบาย เพราะความสะดวกสบายมักทำ�ให้เราประมาท แต่ เมื่อเรากำ�ลังสู้กับกิเลสนี่แหละที่เราจะมีความก้าวหน้าในการ ปฏิบัต ิ ฉะนั้นเมื่อเราเกิดความรู้สึกขลุกขลักตะเกียกตะกาย หรือล้มลุกคลุกคลานก็ไม่เป็นไร อันนี้เป็นเครื่องชี้ให้เห็นว่า การปฏิบัติของเรากำ�ลังเข้าที่เหมือนกับว่าเขามานวดเส้นเรา ที่ไหนไม่เจ็บเราก็ไม่ให้เขานวดแต่พอถูกที่เจ็บ เออ!ๆ เข้าท่า แล้วมันถูกแล้ว เพราะว่ามันปวด การปฏิบัติต้องเป็นอย่างนี้ มันต้องปวด มันต้องเจ็บมันต้องลำ�บากเสียก่อนอย่างที่ภาษิต อีสานท่านว่า “มักง่ายได้ยาก ลำ�บากได้ดี”

๓๔

ทอสีสัมพันธ์ ฉบับพฤษภาคม - กรกฎาคม ๒๕๕๔ ปีการศึกษา ๒๕๕๔

ด้วยความเคารพยิ่ง ครูแจ๊ด


มนต์รักอักษร

กลุ่มสาระภาษาไทยในปีนี้ กิจกรรมมนต์รักอักษรตอนสำ�คัญ เริ่มต้นจากยี่สิบเจ็ดมิถุนา อนุรักษ์ภาษาไทยให้ศิษย์มี ร่วมสืบสานความเป็นไทยให้คงอยู่ เรียนรู้ผ่านการเล่นเกมเปรมปรีดา ชาวประถมภิรมย์ธรรมยำ�้ให้คิด ชั้น ป.หนึ่ง ก ถึง ฮ ก่อฤดี ชั้น ป.สาม สำ�นวนไทยใส่เรื่องข้าว ประถมปลายสำ�นวนไทยในชีวา กวีเอกสุนทรภู่ผู้เปรื่องปราชญ์ ถ่ายทอดโดยผู้เชี่ยวชาญอาจารย์สุธี อีกยังมีแต่งนิทานคุณธรรม วิริยะจิตตะทั่วทุกคน เปิดพจนานุกรมเขียนคัดไทย เต็มบรรทัดตัวบรรจงคงความดี ชมละครมรดกใหม่วัยแรกรุ่น ขอเชิญชวนทุกท่านนั้นติดตาม ปิดฉากด้วยมนต์ภาษาพาบรรเลง เจ็ดนักษัตริย์ร่วมเทิดไท้องค์จักรี ภาษาสวยด้วยเสียงเพลงเคร่งทำ�นอง อักษรต้นคำ�ควบกลำ�้ยำ�้ลีลา กราบขอบคุณผู้ร่วมงานทุกๆ ท่าน เห็นคุณค่าภาษาไทยใฝ่กรรมดี ขอกุศลผลบุญนี้นี่ทำ�ไว้ เจริญทางโลกและธรรมนำ�พาตน

โดย กลุ่มสาระภาษาไทย

พวกเรามีเรื่องราวข่าวสร้างสรรค์ ประชาสัมพันธ์บอกกล่าวเพลาดี กรกฎายี่สิบเก้าชาวทอสี สำ�นึกดีมีจิตใจใฝ่ธรรมา ศิษย์ใฝ่รู้คู่คุณธรรมนำ�ศึกษา ทายปริศนาคำ�กลอนสอนชีวี ภาษาชีวิต ภาษาไทย ในวิถี ป.สองมีเรื่องไตรยางค์สร้างปัญญา อีกเรื่องราวคำ�สุภาพซาบซึ้งหนา คำ�ราชาศัพท์กษัตริย์ถนัดดี ความสามารถด้านภาษาพาสุขศรี ชาวทอสีมีฉันทะศรัทธาตน เรียงความยำ�้นำ�ให้คิดศิษย์ฝึกฝน ตรวจตราตนวิมังสาพาสิ่งดี สร้างนิสัยรักเขียนอ่านผ่านวิถี คำ�วลีมีสัมมาภาษางาม ละครหุ่นเรื่องสังข์ทองของสยาม ความงดงามวัฒนธรรมยำ�้ว่าดี ขับกล่อมเพลงพระราชนิพนธ์คนทอสี ภูบดีที่ยี่สิบเก้าบอกกล่าวมา จังหวะคล่องร้องออกเสียงชัดเจนหนา ภาษาท่าหน้ายิ้มแย้มแจ่มใสดี พร้อมใจกันประสาทประสิทธิ์ศิษย์ทอสี ทุกคนมีวิชชาพัฒนาตน บันดาลให้ใฝ่ทางสัมฤทธิ์ผล ประสบผลแห่งนิพพานทุกกาลเทอญ

ทอสีสัมพันธ์ ฉบับพฤษภาคม - กรกฎาคม ๒๕๕๔ ปีการศึกษา ๒๕๕๔

๓๕


เปิดหู เปดตา เปิดใจ

แนะนำ�สื่อและกิจกรรมดีๆ โดย ครูหยก

ภาพยนตร์ “พุทธศาสดา” ภาพยนตร์เฉลิมพระเกียรติ ๘๔ พรรษา มหาราชา

“พุทธศาสดา” เป็นภาพยนตร์แอนิเมชั่นที่ได้รบั พระราชทานพระอนุญาตให้จดั ทำ�จาก สมเด็จพระเจ้าพีน่ างเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ภาพยนตร์เรื่องนี้ นำ�เสนอเรื่องราวพุทธประวัติตั้งแต่ช่วงประสูติจนกระทั่งถึงช่วงปรินิพพาน มีความยาวทั้งสิ้น ๔๐ ตอน (ประมาณ ๔ ชั่วโมง) พระอาจารย์ชยสาโรก็เป็นท่านหนึ่งที่มีส่วนร่วมในโครงการ จัดสร้างภาพยนตร์ชุดนี้ โดยท่านได้เมตตาตรวจสอบส่วนบทภาพยนตร์ภาษาอังกฤษ สามารถรับชมภาพยนตร์เรื่องนี้ได้ทาง ช่องทีวีไทย ในวันพฤหัสบดี เวลา ๑๗.๓๐ น. หรือ ชมและดาวน์โหลดแต่ละตอนได้ทางเว็บไซต์ www.buddha-thushaveiheard.com ทั้งนี้ ห้องสมุดโรงเรียนทอสีได้จัดดีวีดีไว้ให้ท่านผู้ปกครองและเด็กๆ ยืมด้วยอีกทางหนึ่งค่ะ

ภาพยนตร์ “ขุนรองปลัดชู”

หัวหน้ากองอาสาอาทมาตนามว่า “ขุนรองปลัดชู” ได้ชื่อว่าเป็นวีรชนที่มีเรื่องราว บันทึกในพงศาวดารเพียง ๒ บรรทัด แต่กลับเป็นที่กล่าวขวัญถึงในแง่ของวีรกรรมแห่ง ความกล้าหาญและความรักชาติอย่​่างแพร่หลายในกลุ่มชาวบ้านในอำ�เภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง หลังจากจัดฉายภาพยนตร์เรื่องนี้ที่โรงหนังสกาล่าจบไปแล้ว มีผู้คนถาม ถึงและสนใจจะติดตามชมภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นจำ�นวนมาก ล่าสุดมีการเผยแพร่คลิปนี้ ทางอินเทอร์เน็ตแล้วค่ะ ขอเชิญทุกท่านชมได้ทาง www.thaiunsunghero.com หรือ รับชมตอนย่อยผนวกการเสวนาได้ทุกวันจันทร์ เวลา ๒๓.๐๐ น. ทางทีวีไทยนะคะ

หนังสือ “เพื่อนในสวน” โดยสำ�นักพิมพ์มูลนิธิเด็ก

บันทึกของเด็กหญิงตัวน้อย ชื่อ “ดอกไม้” ดอกไม้ผู้ชอบการแต่งเพลง เธอจะแต่งเพลงและร้องเพลงให้ เพื่อนสนิท แมลงปอกับไส้เดือนจิ๋วฟัง เมื่อใดที่เด็กน้อยมีเรื่องสงสัย หรือต้องตัดสินใจ เด็กน้อยจะมา หาแมลงปอกับไส้เดือนจิ๋ว ให้ช่วยคิดหาวิธีแก้ปัญหา เด็กน้อยได้รับคำ�แนะนำ�ต่างๆ จากแมลงปอและ ไส้เดือนจิ๋วมากมาย เรื่องราวทั้งหมดได้ถูกจดบันทึกและรวบรวมเป็นสมุดเล่มน้อย “เพื่อนในสวน” ที่มาข้อมูล: เว็บไซต์มูลนิธิเด็ก http://www.ffc.or.th

นิทรรศการ “Know-How ชาวนา นักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง”

วันที่จัดแสดง: ๑๒ พฤษภาคม - ๒๕ กันยายน ๒๕๕๔ | ๑๐.๐๐ - ๑๘.๐๐ น. (ปิดวันจันทร์) สถานที่: เข้าชมฟรีที่มิวเซียมสยาม มิวเซียมสยามร่วมกับสถาบันอาศรมศิลป์ ขอเชิญทุกท่านร่วมปฏิบัติการชาวนามือใหม่ เกาะติดทุกความเป็นไปในนากลางกรุง ทุ่งสีทองกับนิทรรศการ “Know-How ชาวนา นักค้นคว้าแห่งท้องทุ่ง” ที่เนรมิตแปลงนาข้าว ขั้นตอนในการปลูกและเครื่องมือเครื่องใช้ มาจัดตั้งไว้ใจกลางเมือง ตลอดจนเรียนรู้ภูมิปัญญาวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวนา และร่วม อัพเดตข่าวสาร กิจกรรม เฝ้าดูการเจริญเติบโตของต้นข้าวใน RICE PROJECT RICE NOW! ตั้งแต่ช่วงเตรียมไปจนถึงจบนิทรรศการฯ ได้ที่ www.facebook.com/museumsiamfan สอบถามโทร. ๐๒ ๒๒๕ ๒๗๗๗ ที่มาข้อมูล: http://www.museumsiam.com


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.