ฉบับที่ ๔ / ปีการศึกษา ๒๕๕๔

Page 1

ฉบับที่ / ปีการศึกษา ๒๕๕๔ มกราคม - มีนาคม ๒๕๕๕


บทบรรณาธิการ “กีฬา กีฬา เป็นยาวิเศษ แก้กองกิเลสทำคนให้เป็นคน” เสียงเพลง กราวกี ฬ า ดั ง แว่ ว มาจากกลุ่ ม เด็ ก ๆ ชั้ น ประถมต้ น ในบ่ า ยร้ อ นๆ กลางเดือนกุมภาพันธ์ เพลงท่อนนี้คุ้นหูใครต่อใครมานานแล้ว (ใช้ร้อง กันครั้งแรกในการแข่งกีฬาสีของโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๗) ความคุ้นเคยจนทำให้ขยับปากร้องตามกันได้ทั้งเมืองนี้ เมื่อมาพิจารณาเนื้อร้องดูให้ดี คล้ายว่าบทเพลงกำลังสอนให้เราเรียนรู้ อะไรบางอย่าง... โมงยามแห่ ง การเรี ย นรู้ ที่ บ างคนเห็ น ว่ า จะเกิ ด ขึ้ น ได้ เ ฉพาะใน ห้ อ งเรี ย นสี่ เ หลี่ ย ม แท้ จ ริ ง แล้ ว เกิ ด ขึ้ น ได้ ทุ ก หนแห่ ง ไม่ ว่ า จะจาก แว่วเสียงของบทเพลง จากเสียงหัวใจที่เต้นตึกตักบนเวทีการแสดง จากกองกิเลสแห่งความอยากเอาชนะบนสนามฟุตบอล จากเสียงเชียร์ และกำลั ง ใจชุ่ ม ๆ ข้ า งสระว่ า ยน้ ำ หรื อ จากรอยขี ด เส้ น ใต้ ถี่ ๆ ในสมุดตัวโน้ตสำหรับซ้อมดนตรี บ่อยครั้งที่ศิลปะ กีฬา ดนตรี รวมถึง การละเล่นและกิจกรรมนันทนาการต่างๆ เชื้อชวนให้เราใช้เขาเป็นสื่อ สู่บทเรียนแห่งการเรียนรู้ ให้เราได้น้อมกลับมามองตัวเอง น้อมกลับมา พิจารณาอารมณ์ความรู้สึก น้อมใจเราให้รู้จักเพ่งพินิจจนเกิดปัญญา เกิดเป็นการค้นพบและมองเห็น “ธรรม”

สารบัญ

หน้า สารจากครูใหญ่ ๑ ‘เรียนรู้’ ผ่านความบันเทิง ดนตรี และกีฬา ๒ แรงบันดาลใจจากงานคนค้นฅนอวอร์ด ครั้งที่ ๓ ๗ ๒ ทศวรรษแห่งการจากไปของหลวงปู่ชา ๘ แมนดาลา ศาสตร์แห่งการสื่อสารกับตนเองและผู้อื่น ๑๐ บทสัมภาษณ์: ครอบครัว ‘ธนะภูมิ’ ๑๒ เรื่องเล่าจากชั้นเรียน ๑๗ ทอสีรักษ์โลก: เชื่อมั่นในสิ่งที่ทำ ทำในสิ่งที่เชื่อมั่น ๒๓ ห้องเรียนพ่อแม่ผู้แสดงโลก ๒๔ จดหมายจากครูแจ๊ด ๒๖ กองทุนพัฒนาครูฯ: ความเบิกบานของนักเรียนตัวโต ๒๘ ตีฆ้องร้องป่าว ๒๙ โยคะฝึกกายสบายจิต ปกหลัง

สำหรั บ นั ก เรี ย นตั ว น้ อ ยๆ ในโรงเรียนทอสี โลกทั้งใบนี้เป็นดั่ง เวทีกว้างสุดลูกหูลกู ตาสำหรับพวกเขา การเรียนรู้ผ่านกิจกรรมพิเศษ ต่างๆ ทีโ่ รงเรียน อาจเป็นก้าวแรกๆ ที่ช่วยให้เขาได้ฝึกฝนตนเองให้รู้จัก เผชิญกับความขึน้ -ลงของจิตใจ เป็น การเปิดโอกาสให้พวกเขาได้เรียนรู้ แบบเปิดตารูโ้ ลกภายนอก และไม่ลมื ที่จะเปิดใจรู้โลกในใจของตนเองไป พร้อมกันด้วย ครูหยกเชือ่ ว่า การเรียน รู้ทั้งด้านนอกและด้านในควบคู่กัน ไปเช่นนี้ จะช่วยเติมเต็มชีวิตน้อยๆ ให้เกิดดุลยภาพ และเอื้อให้เขาเกิด ความเข้าใจในตนเองมากขึ้น ครูหยก - วรรณวนัช ฤกษ์ลัภนะนนท์

คณะทำงาน

ลัภนะนนท์ บรรณาธิการ ครูหยก - วรรณวนัช ฤกษ์าภัทร ไชยประสิทธิ์, กองบรรณาธิการ ครูแหม่ม - อาภ - กนกอร บุญทวีกิจ, แม่แจง - จุฬารัตน์ อินทรมหา, ครูนุ้ยู่ - กุลฤดี โอทกานนท์, ครูใหม่ - นัยฤดี สุวรรณาภินันท์, ครูต ั๋น - พลณัฐ แก้วมะณี, ครูติ๊ก - เพ็ญประภา บุญญกฤติ, ครูอ - หทัยรัตน์ บุตรยิ่ง, ครูน้ำอ้อย - น้ำอ้อย สืบดี, ครูโหน่ง ครูต้น - วิทูรพงศ์ วงศรีชู ศิลปกรรม กีรติ เงินมี ล (ภู), ด.ญ.ณัชชา ภาพประกอบปก ด.ช.ภูฟ้า เองตระกู สดุดีมีชัยทวีโชค (ผิงผิง) ชั้น อ.๓ แนจเม้นท์ จำกัด ดำเนินการพิมพ์ บริษัท คิว พริ้นท์ แม ๒๘๐๐ ๓๖๔๙ โทรศัพท์: ๐ ๒๘๐๐ ๒๒๙๒ โทรสาร: ๐

จัดทำโดย

โรงเรียนทอสี ถน นสุ ขุ ม วิ ท ๗๑ ๑๐ ๒๓ /๔ ๖ ซอ ยป รี ดี พ นม ยง ค์ ๔๑ คลองตันเหนือ วัฒนา กรุงเทพฯ ๑๐๑๑๐๐ ๒๓๙๑ ๗๔๓๓ โทรศัพท์: ๐ ๒๗๑๓ ๐๒๖๐-๑ โทรสาร: อีเมล: info@thawsischool.com เว็บไซต์: www.thawsischool.com


ฉบับนี้ขอทำความเข้าใจเรื่อง “ศรัทธา” หรือ “สัทธา” คำๆ นี้ครูอ้อนเริ่มรู้จักและเข้าใจอย่าง แท้จริงเมื่อทำการศึกษาพุทธปัญญา และรู้สึกว่า มั น สำคั ญ มากต่ อ ชี วิ ต เรา เมื่ อ ๑๐ ปี ที่ แ ล้ ว ครูอ้อนทำโรงเรียนอนุบาลแนวเตรียมความพร้อม แต่เมือ่ จะเปิดระดับประถมศึกษา ท่านอาจารย์ชยสาโร ได้เมตตามาให้หลักการจัดการศึกษาพุทธปัญญา ทำให้คุณอ้อนเห็นภาพการทำการศึกษาที่ถูกต้อง และชัดเจน เพราะศรัทธาในบรมครูและครูบาอาจารย์ ครูอ้อนจึงเพียรพยายามศึกษาและทำความเข้าใจ ลงมือทำอย่างจริงจัง ทำให้ครูออ้ นยิง่ มีศรัทธามากขึน้ ในองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และยิ่งเชื่อมั่นว่า การศึกษาพุทธปัญญานี่แหละคือทางรอดของสังคม ศรั ท ธาในพระพุ ท ธศาสนานั้ น ต่ า งจาก ศรัทธาในลัทธิศาสนาอื่น เพราะศรัทธาในพระพุทธศาสนาประกอบด้ ว ยปั ญ ญา และจะต้ อ งนำไปสู่ วิริยะความเพียร จะไม่จบอยู่ที่ศรัทธา ความเพียร พยายามจึงเป็นเครื่องพิสูจน์ศรัทธา และศรัทธาใน พระพุทธศาสนาจะต้องนำไปสู่ศรัทธาในศักยภาพ ของตนเองและผู้อื่น ดั ง นั้ น ในการทำการศึ ก ษาพุ ท ธปั ญ ญา เบื้ อ งต้ น ผู้ ใ หญ่ ต้ อ งเชื่ อ มั่ น ในศั ก ยภาพของเด็ ก

ไม่ ต้ อ งรอให้ เ ขาโตก่ อ นแล้ ว จึ ง เปิ ด โอกาสให้ เ ขา ลงมือทำ เพราะกว่าจะถึงวันนั้นมันก็อาจจะสาย เกินแก้และเกินแกงเสียแล้ว ต้องเชื่อว่าเขาพึ่งตัวเอง และช่ ว ยเหลื อ ผู้ อื่ น ได้ โดยผู้ ใ หญ่ เ ปิ ด โอกาส ให้ เ ขาได้ เ รี ย นวิ ช าชี วิ ต อย่ า งสม่ ำ เสมอ พาคิ ด พาทำ คอยให้ ก ำลั ง ใจอยู่ ข้ า งๆ ช่ ว ยเหลื อ เป็ น ครั้ ง คราว เพี ย งแค่ นี้ ก็ ส ามารถปลู ก ฝั ง ให้ เ ด็ ก มี ศ รั ท ธาเชื่ อ มั่ น ในตนเองจนเกิ ด วิ ริ ย ะที่ จ ะ เรียนรู้ เป็นนักศึกษาตลอดชีวิต เผชิญปัญหาต่างๆ อย่างไม่ย่อท้อ การที่เราจะปลูกศรัทธาให้กับใครหรือให้เขามี ศรัทธาในตัวเรา ผูป้ ลูกต้องมีศรัทธาในตนเองก่อนว่า เราสามารถ รักษาสิ่งดีๆ ที่มีอยู่แล้วให้งอกงามยิ่งขึ้น สร้างสิ่งที่ดีงามที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้นได้ ละสิ่งที่ไม่ดีที่ เกิดขึน้ แล้วให้หมดไปได้ ป้องกันสิง่ ไม่ดที ยี่ งั ไม่เกิดไม่ ให้เกิดขึ้นได้ เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ลูกหลานเรา ขอให้เรามาช่วยกันสร้างเหตุให้เราทุกคน มีศรัทธาในตนเอง โดยเป็นศรัทธาที่ประกอบด้วย ปัญญา อันจะนำไปสู่ความเพียรพยายามที่จะพัฒนา ชีวิตเราและลูกหลานให้เกิดประโยชน์และความสุข ทั้งในปัจจุบันและอนาคต ครูอ้อน - บุบผาสวัสดิ์ รัชชตาตะนันท์

สืบเนื่องจากท้ายเล่มจุลสารฉบับที่แล้ว ครูอ้อนขอขอบพระคุณ ในน้ำใจของท่านผูป้ กครองทีก่ รุณาเขียนแบ่งปันเรือ่ งราวแห่งการ ตื่นรู้ของตนเองให้ครูอ้อนได้อ่านมา ณ ที่นี้ด้วยนะคะ

๐๑


กิจกรรมพิเศษ


กิจกรรมพิเศษ

‘เรียนรู้’

ผ่านความบันเทิง ดนตรี และกีฬา เรื่อง: ครูแหม่ม – อาภาภัทร ไชยประสิทธิ์ ฝ่ายวิชาชีวิตนักเรียน

แต่ ล ะคนคงมี ช่ ว งเวลาที่ พิ เ ศษในแต่ ล ะปี ใ ช่ ไ หมคะ ส ำ ห รั บ โ ร ง เ รี ย น ท อ สี เรามี ช่ ว งเวลาพิ เ ศษมากมาย แต่ชว่ งเวลาที่ “พิเศษเป็นพิเศษ” ก็ เห็นจะเป็นช่วงเวลาในภาคเรียน ที่ ๒ นีล่ ะ่ ค่ะ ด้วยเรามีหลากหลาย กิ จ กรรมที่ เ ป็ น เวที ใ ห้ ช าวทอสี ได้เข้ามามีส่วนร่วม เรียกว่าได้ทั้ง ความสนุ ก และแสดงศั ก ยภาพ ของตนเอง ซึ่ ง สำหรั บ เด็ ก ๆ กิ จ กรรมทุ ก อย่ า งที่ เ ขาได้ เ ห็ น ได้ลงมือทำ ผ่านการปฏิบัติ ทั้ง ร้อง เล่น เต้น และแสดง นั้น ถือว่าเป็นหัวใจของการเรียนรู้ ซึ่งโรงเรียนก็พยายามสนับสนุนและ ส่งเสริมให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ผ่านกิจกรรมเหล่านี้อยู่เสมอ กิ จ กรรมแรกในภาคเรี ย นนี้ ข องเรา คื อ “ศรั ท ธาสตรี ท ” กิจกรรมที่เปิดเวทีในช่วงวันเด็กให้เป็นของขวัญแก่เยาวชนของชาติ ให้พวกเขาได้มโี อกาสสมัครเข้าร่วม ได้แสดงสิง่ ทีต่ นเองมีความมัน่ ใจ และถนัด ซึ่งรูปแบบก็มีทั้งการ ร้อง เล่น เต้น แสดง ที่ทำให้ผู้ใหญ่ หลายคนทึง่ ในความสามารถ ในความตัง้ ใจ ในความสร้างสรรค์ และ ได้หัวเราะกับความน่ารักของเด็กๆ อย่างเต็มที่ ในปีนี้ทางโรงเรียน ได้จัดการแสดงนี้นานต่อเนื่อง ๑ สัปดาห์ เพื่อให้เด็กๆ ทุกคนมี โอกาสได้ฉายแววอย่างเต็มที่ เพราะเรามีความเชื่อที่ว่า “เด็กควรได้ มีโอกาสแสดงศักยภาพและมีความชืน่ ชมในตัวเองก่อนทีจ่ ะก้าวต่อไป ข้างหน้าได้อย่างมั่นคง” “กีฬาทอสีสามัคคี” ก็เป็นอีกกิจกรรมที่เปิดโอกาสที่ให้เด็กๆ ได้รว่ มสนุกและแสดงศักยภาพ ฐานกายถือเป็นฐานทีส่ ำคัญมากสำหรับ เด็กวัยอนุบาลและประถม ศักยภาพทางด้านกีฬาจึงเป็นอีกหนึง่ เรือ่ งที่ เราให้ความสำคัญ สำหรับในปีการศึกษานี้ เราได้เลือ่ นวันงานกีฬาสีฯ มาที่ เ ดื อ นมี น าคม โดยกำหนดวั น จั ด กิ จ กรรมหลั ก ไว้ ๒ วั น คื อ ฝ่ า ยประถมจั ด ในวั น เสาร์ ที่ ๑๐ มี น าคม ๒๕๕๕ และฝ่ายอนุบาลจัดในวันเสาร์ที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๕๕ ซึ่งหลักในการ จัดกีฬาทอสีสามัคคีนนั้ ก็คอื การเอือ้ ให้เด็กๆ มีโอกาสแสดงศักยภาพ ทางร่างกายและทางกีฬาของตนเอง รวมถึงการมีส่วนร่วมในเกม ทุกคนได้ลงเล่น พยายามด้วยกัน ไม่ว่าคนเก่งหรือไม่เก่งก็ล้วนมีส่วน ต่อทีมทัง้ สิน้ สิง่ สำคัญทีอ่ ยากให้เกิดขึน้ ในบรรยากาศของการแข่งขัน

กี ฬ า คื อ การแสดงพลั ง ในทางบวก ทั้งการเล่นแบบทีม การรู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย การแข่งขันกับตัวเอง และการ เชี ย ร์ ใ ห้ ก ำลั ง ใจกั น อย่ า งสร้ า งสรรค์ ทางฝ่ า ยวิ ช าชี วิ ต ขอฝากให้ ท่ า น ผู้ปกครองร่วมนำหลักการนี้ไปขยายผล คุ ย กั บ ลู ก ที่ บ้ า นอย่ า งต่ อ เนื่ อ งด้ ว ย นะคะ แพ้หรือชนะคงไม่ใช่เรื่องใหญ่ แต่ความพยายาม ความตั้งใจ และ การรู้จักเป็นผู้ให้ผู้รับต่างหาก ที่เป็น บทเรียนที่เด็กๆ ควรเรียนรู้จากกีฬา สำหรับผู้ที่รักในเสียงดนตรีและ เสี ย งเพลง คงทราบกั น ดี ว่ า ใน ช่วงปลายภาคเรียน เรายังมีกิจกรรม การแสดงดนตรี “Thawsi Recital” ของนักเรียน ให้ติดตามกันอีกงานหนึ่ง เด็กๆ ทอสีได้มาช่วยกันนำเสนอผลงาน การเรียนรูว้ ชิ าดนตรีอนั เป็นสิง่ ทีพ่ วกเขา พร่ำฝึกฝนกันมาตลอดปีให้พวกเราได้ ชมได้ฟังกัน สำหรับนักเรียนทอสีแล้ว “ดนตรี ” มิ ไ ด้ ห มายเพี ย งทั ก ษะทาง ดนตรีเท่านั้น แต่เรายังให้ความสำคัญ ต่อเรื่องวินัยในการเรียนรู้ การควบคุม ตนเอง ความเข้าใจในการเล่น และ การทำงานเป็นทีมอีกด้วย

๐๓


กิจกรรมพิเศษ

“ ฉันทะในการเรี ยนรูป้ ระวัตศิ าสตร์ไทย ของ น้องเบญจ์” เรื่อง: อรุณภรณ์ เทียนเงิน (คุณแม่ของ น้องเบญจ์ – เบญจ์ เทียนเงิน ป.๑)

ในงาน “ศรัทธาสตรีท” ปีการศึกษา ๒๕๕๔ นี้ เบญจ์มโี อกาสออกไป แสดงความสามารถด้วยการเล่าเรื่องราวประวัติสมเด็จพระนเรศวร มหาราช โดยสามารถจำรายละเอียดของเรื่องและชื่อของผู้เกี่ยวข้อง กับพระนเรศวรได้อย่างแม่นยำ เมื่อขอให้เบญจ์ช่วยเปิดเผยที่มาของ ความสนใจนี้ เบญจ์เปิดเผยอย่างจริงจังว่า เริ่มต้นจากการที่ในห้องเรียนมีหนังสือเรื่อง “สงครามเก้าทัพ” ซึ่งเบญจ์หยิบมาอ่านอย่างสม่ำเสมอ (เป็นการอ่านจากการดูรูปเพราะ ยังอ่านตัวหนังสือไม่ออก) กระทั่งวันหนึ่ง คุณพ่อพาไปเดินที่งานหนังสือ แห่งชาติ และถามว่าลูกสนใจหนังสืออะไร เบญจ์รีบตอบว่าสนใจ หนังสือประวัติศาสตร์ คุณพ่อเลยซื้อให้หลายเล่ม เช่น สงครามเก้าทัพ สมเด็จพระนเรศวร คุณหญิงโม หลังจากนัน้ คุณแม่กไ็ ด้อา่ นให้นอ้ งเบญจ์ ฟังก่อนนอน โดยเบญจ์ขอให้อ่านเล่มเดิมๆ เหล่านี้อยู่เป็นสิบๆ รอบ คุณแม่พยายามชวนอ่านเล่มอื่นๆ บ้าง เพราะคุณแม่เริ่มจะเบื่อที่ต้อง อ่านซ้ำๆ แต่ก็ไม่สำเร็จ ถ้าแม่ไม่ยอมอ่านเพราะกำลังยุ่งกับน้องพิมล์ เบญจ์ก็จะนั่งและนอนดูรูปเองอย่างตั้งใจ เมื่ อ มี ง านหนั ง สื อ อี ก คุ ณ พ่ อ จึ ง ได้ ซื้ อ หนั ง สื อ เรื่ อ งอื่ น ๆ ให้เพิ่มเติม คราวนี้ นอกจากต้องพึ่งคุณแม่ เบญจ์นึกทางออกใหม่ได้ คือตอนรับประทานอาหารเช้าก่อนไปโรงเรียน เบญจ์ได้ขอให้ป้าตุ๊ ซึ่งเป็นแม่ครัวอ่านให้ฟังทุกวัน คุณแม่ซื้อดีวีดีสมเด็จพระนเรศวรภาค ๑ และ ๒ ให้เบญจ์ ซึ่งเบญจ์เองชอบดูเฉพาะแผ่น ๒ โดยดูเป็นสิบๆ รอบอย่างเคย เมื่อ น้องพิมล์เรียกร้องขอดูอย่างอื่นบ้าง คุณแม่จึงให้มีการตกลงกันเองว่า จะแบ่งเวลากันอย่างไร หากเจรจาอย่างสงบไม่ได้ ต้องอดดูทั้งสองคน เดาว่าเบญจ์คงจะมีวิธีการต่อรองกับน้องพิมล์ เพราะเวลาเจ็ดสิบ เปอร์เซ็นต์จะเป็นของเบญจ์ หลังจากนั้น คุณพ่อได้พาเบญจ์ไปดูหนังในโรงภาพยนตร์ หนัง เรื่องแรกที่เบญจ์ได้ดู คือเรื่องพระนเรศวร ๔ ... คราวนี้เบญจ์กลับบ้าน ขอคุณแม่เปิดดู YouTube เป็นประจำ Search คำว่า “พระนเรศวร” “พระยาพิชัย” “คุณหญิงโม” และอื่นๆ ที่เป็นของชอบ แต่เนื่องจาก พระนเรศวรได้ถูกสร้างเป็นหนังหลายภาค และมีการโปรโมทมากมาย เนื้อหาส่วนใหญ่ที่เจอก็เลยเป็นเรื่องพระนเรศวร ภายหลังคุณแม่ได้ซื้อ ดีวีดีภาค ๓ และ ๔ ให้ เบญจ์ก็ดูเป็นสิบๆ รอบอีก คุณพ่อลอง ซึ้อดีวีดีสามก๊กให้ดูบ้าง เบญจ์ก็ชอบ แต่ไม่จดจ่อเท่ากับความสนใจใน

๐๔

ประวัติศาสตร์ไทย เบญจ์เล่าว่าฉากที่ชอบมากที่สุด คื อ ฉากที่ ต้ อ งใช้ อุ บ ายในการโจมตี ข้าศึก เช่น ศึกกับพระยาเชียงใหม่ ที่ มี ก ารออกอุ บ ายให้ พ ระราชมนู ทำเป็นพ่าย แล้วล่อให้ข้าศึกตามมา เพื่ อ ซุ่ ม ยิ ง โดยปื น ใหญ่ หรื อ ฉาก ยิงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตง ข้อคิดที่ เบญจ์ ไ ด้ คื อ ก่ อ นทำอะไรควรมี การคิ ด ก่ อ นทำและไม่ ป ระมาท อย่ า ทำเหมื อ นพระมหาอุ ป ราชาที่ เข้ า ตี เ มื อ งคั ง โดยประมาทจึ ง แพ้ พระนเรศวรมีการวางแผนอย่างดีจึง ชนะอย่างง่ายดาย เบญจ์ให้ข้อคิดว่า เป็นคนไทยเลยชอบประวัตศิ าสตร์ไทย และบอกกับเพื่อนๆ ที่เป็นคนไทยว่า ควรมี ค วามสนใจเรื่ อ งใดเรื่ อ งหนึ่ ง เกี่ยวกับความเป็นไทย เพราะเราเป็น คนไทยควรภูมิใจในแผ่นดินของเรา สนใจในเรื่ อ งของประเทศอื่ น ๆ ได้ แต่ เ ป็ น การได้ “ความรู้ ” ไม่ ใ ช่ “ความภูมิใจ”


กิจกรรมพิเศษ

๐๕


กิจกรรมพิเศษ

“ ยิ้มของ

ยิม” นักเต้นผู้พากเพียร

เรื่อง: ธีระพล จารุเกษมกิจ (คุณพ่อของ น้องยิม – วิธวินท์ จารุเกษมกิจ ป.๑)

ย้ อ น เ ว ล า ก ลั บ ไ ป ป ร ะ ม า ณ ๕ - ๖ ปี ที่ แ ล้ ว ขณะนั้นน้องยิมอายุราว ๔ ขวบกว่าๆ คุณพ่อคุณแม่เห็นว่า น้องยิมชอบฟังเพลงของศิลปินต่างๆ โดยดูจากมิวสิกวีดีโอ โดยน้องยิมจะชอบและนั่งอยู่ได้นานๆ วันหนึ่งน้องยิมมีโอกาส ได้ดูการประกวดการร้องเพลงของ The Star และ Academy Fantasia โดยดูกับคุณแม่และป้าๆ ที่ติดตามเชียร์นักร้องที่ เข้ า ประกวด ซึ่ ง ปี นั้ น เป็ น The Star รุ่ น ที่ ๒ ซึ่ ง มี พี่บี้ - สุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว เข้าร่วมแข่งขัน น้องยิมก็ได้ตาม เชียร์พี่บี้จนถึงรอบชิงชนะเลิศ แต่เสียดายที่พี่บี้ได้อันดับ ๒ น้องยิมติดตามผลงานของพี่บี้มาตลอดทุกอัลบั้ม และได้ตาม ดูดวี ดี คี อนเสิรต์ ของพีบ่ ดี้ ว้ ย ซึง่ น้องยิมจะดูดวี ดี แี ต่ละชุดซ้ำไป ซ้ำมา และในที่สุดก็เริ่มเต้นตามในแต่ละเพลงของทุกอัลบั้ม ซึ่งตอนแรกก็ได้แค่ท่าทางนิดๆ หน่อยๆ แต่เมื่อ ๒ ปีหลังมานี้ เนื่องจากน้องยิมโตขึ้น ความสามารถและพัฒนาการเพิ่มขึ้น ก็เลยทำให้เต้นได้ตามจนจบเพลง น้องยิมชอบดูดีวีดีคอนเสิร์ตพี่บี้ และเต้นตามทุกวันๆ จนวันหนึ่งก็มีข่าวดีจากคุณป้าของน้องยิมว่า เขาขอนัดพบพี่บี้ ที่ตึกแกรมมี่ได้ เนื่องจากหน้าที่การงานของคุณป้าเกี่ยวข้อง และได้ร่วมงานกับกลุ่มทีมงานของเอ็กแซ็กท์ ซึ่งทางทีมงาน ได้ ต อบรั บ ให้ มี โ อกาสนั ด เจอกั บ พี่ บี้ ห ลั ง จากวั น ที่ น้ อ งยิ ม ได้ เ ต้ น แสดงความสามารถในกิ จ กรรม “ศรั ท ธาสตรี ท ” ของโรงเรียนเพียงหนึ่งวัน

๐๖

วั น ถั ด มาในตอนเย็ น หลั ง เลิ ก เรี ย น น้ อ งยิ ม ได้ พ บกั บ พี่ บี้ ที่ ค่ า ยเอ็ ก แซ็ ก ท์ ตึ ก จี เ อ็ ม เอ็ ม แกรมมี่ เมื่ อ ได้ พ บกั บ พี่ บี้ น้องยิมดีใจมาก และพี่บี้ได้ให้ของที่ระลึกมา เยอะมาก ทั้งเสื้อยืด หนังสือพร้อมลายเซ็น และยังสอนน้องยิมเต้นอีกด้วย โดยเริ่มจาก การที่น้องยิมเต้นให้พี่บี้ดู แล้วพี่บี้จึงสอนเต้น ให้ท่าดูสวยขึ้น ในวันนั้นน้องยิมดีใจมาก และ กลั บ มาก็ ยั ง ดู ค ลิ ป วี ดี โ อภาพในวั น ที่ พ บพี่ บี้ ซึ่งคุณพ่อถ่ายเก็บไว้แทบทุกวันเลย


งาน ก า จ จ ใ ล า ด น ั บ ง ร แ ทณวัฒี่ ๓น์ ชั้น ป.๕ ง ้ ั ร ค ด ์ ร อ ว อ น ฅ น ้ คุ คนค เรื่อง: ด.ช.ณภัทร ใช่ ว่ า คนดี นั้ น จะต้ อ งเป็ น คนเรี ย นหนั ง สื อ เก่ ง เป็ น คนร่ ำ รวย เป็นคนมีบุคลิกภาพดี จริงๆ แล้วทุกคนก็สามารถเป็นคนดีได้ ถึงแม้จะมี อวัยวะไม่ ค รบก็ ต าม เคยเห็นไหมว่า คนพิการ คนจน พยายามทำ ความดีโดยไม่หวังสิ่งตอบแทนเยอะกว่าคนที่มีส่วนประกอบร่างกายครบ และคนรวยคนอื่นๆ ยิ่งสภาพสังคมในสมัยนี้ จะมีคนดีน้อยลง และมี “คนสร้างปัญหาให้แก่ประเทศ” หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า “คนเลว” มากกว่า ที่จะนำพาประเทศไปสู่ความเสื่อมเสีย ถ้าเราละเลยปัญหานี้ ไปเรื่อยๆ ประเทศไทยอาจจะไม่เหลือคนดีเลยก็ได้ แต่ประเทศไทยก็ยัง โชคดีที่มีคนดีกลุ่มเล็กๆ มาสร้างประโยชน์เพื่อผลักดันให้ประเทศไทย เจริญก้าวหน้ามากขึ้น ในความคิ ด ของคนส่ ว นใหญ่ คิ ด ว่ า คนดี คื อ คนที่ ป ฏิ บั ติ ดี ปฏิบัติชอบ แต่ความคิดของผมแตกต่างจากความคิดคนอื่นนิดหน่อย กล่ า วคื อ คนดี นั้ น เป็ น คนที่ ท ำความดี โ ดยไม่ ห วั ง สิ่ ง ตอบแทน เช่ น เงินทอง ขนม ฯลฯ และประโยชน์นั้นจะต้องส่งผลดีต่อตนเองและผู้อื่น หรือที่เรียกว่า “ประโยชน์ตน ประโยชน์ท่าน” ผมจะยกตัวอย่างที่เป็น แรงบันดาลใจ จากงานมอบรางวัลและเชิดชูเกียรติ คนค้นฅนอวอร์ด ครั้ ง ที่ ๓ ให้ ฟั ง ... เรื่ อ งแรก... ครู เ ข็ ม อยากจะทำอาชี พ หนึ่ ง คื อ การเป็ น คุ ณ ครู วั น หนึ่ ง เธอได้ ป ระสบกั บ ปั ญ หาแก๊ ง เด็ ก เกเร เด็กแว้น เด็กไม่มีความกตัญญู ฯลฯ เธอจึงได้เปิดโรงเรียนที่มีชื่อว่า “โรงเรียนปลายข้าว” ขึ้น เหตุที่ตั้งชื่อนี้ก็เพื่อเปรียบว่าเด็กๆ เหล่านั้น เหมื อ นปลายข้ า วที่ ไ ร้ ค่ า แต่ ก ำลั ง จะพร้ อ มที่ จ ะนำมาขั ด เกลา เพิ่ ม พู น ความรู้ แ ละใช้ เ วลาว่ า งให้ เ ป็ น ประโยชน์ เปลี่ ย นให้ ก ลาย เป็นเมล็ดข้าวที่ดีและพร้อมจะเติบโตขึ้นเป็นคนดีในสังคม ประโยชน์ต่อ ตนเองของครูเข็ม คือทำให้ตวั เองมีความสุขทางจิตใจ ส่วนประโยชน์ทา่ นคือ ทำให้เยาวชนไทยห่างไกลจากอบายมุข และทำให้สังคมมีความสุขขึ้น เรื่องที่สอง คือมีผู้ชายคนหนึ่ง (อาจารย์กำพล ทองบุญนุ่ม) เขาเคยเป็นอดีตนักกีฬา แต่โชคร้ายที่เขาต้อง ประสบอุบัติเหตุ ทำให้เขาพิการ ระยะเวลา ๑๖ ปีแรกที่เขาโดนอุบัติเหตุ เขารู้สึกสิ้นหวังและโกรธตัวเองมาก จึงทำให้เขาจมอยูใ่ นความทุกข์ ต่อมาเขาได้คน้ พบหนทางแห่งการพ้นทุกข์ นัน่ ก็คอื ธรรมะ เขาได้เขียนจดหมายไปหา หลวงพ่อคำเขียน และได้รับจดหมายตอบกลับ ทำให้เขาแจ่มแจ้งในเรื่องธรรมะ และนำมาสั่งสอนคนอยู่เสมอ ประโยชน์ตนคือ ทำให้ตวั เรามีความสุขทางจิตใจและสามารถดับทุกข์ได้ ส่วนประโยชน์ทา่ นคือ ทำให้ผคู้ นมีความสงบ และเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนามากขึ้น คนที่ทำพฤติกรรมอย่างนี้ คือคนดี เห็นไหมว่าคนดีนั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับฐานะ ศักดิ์ศรี ระบบของร่างกาย มันขึ้นอยู่กับความเต็มใจของเราที่อยาก ทำความดี และพฤติกรรมที่เราทำลงไป จำไว้เลยว่าเราควรทำความดีโดยไม่หวังผลตอบแทน เพื่อผลักดันสังคมไทย ให้มีความเจริญรุ่งเรืองและให้ตัวเองมีความสุข ดั่งคำกลอนของท่านพุทธทาสที่ว่า “เป็นมนุษย์เป็นได้เพราะใจสูง เหมือนหนึ่งยูงมีดีที่แววขน ถ้าใจต่ำเป็นได้แต่เพียงคน ย่อมเสียทีที่ตนได้เกิดมา” ๐๑ พระอาจารย์ชยสาโรเมตตาแสดงธรรมในงาน ๐๒ อ.เดชา ศิริภัทร รับรางวัลเกียรติยศจากพระไพศาล วิสาโล ๐๓ อ.กำพล ทองบุญนุ่ม กับรางวัลผู้สร้างแรงบันดาลใจ ๐๔ ครูเข็ม - สุภาณี ยังสังข์ ครูสอนชีวิตแห่งโรงเรียนปลายข้าว

๐๗


ทศวรรษแห่งการ จากไปของหลวงปู่ชา เรื่อง: ครูหนู – บุศริน รัญเสวะ

สิ่งที่ประทับใจในการไปร่วมงานอาจาริยบูชาหลวงปู่ชา ๑๖ มกราคม ของทุกปี คือ ความรู้สึกเป็นสุขและเป็นบุญ เหลือเกิ น ในการได้ มี ส่ วนร่วมในการทำโรงทานผลไม้และ ทำอาหารร่วมกันเพื่อนำถวายคณะพระสงฆ์วัดป่าลูกศิษย์ หลวงปูช่ าทีเ่ ดินทางมาจากทุกสารทิศ เพือ่ มาแสดงความกตัญญู ต่อหลวงปู ่ คณะพระสงฆ์จะทยอยกันเดินทางมาล่วงหน้า เพราะฉะนั้นพวกเราจึงต้องไปเตรียมตัวทำอาหารและ ผลไม้ก่อนวันที่ ๑๖ เช่นเดียวกัน ถึงแม้เราจะต้องนอนเต็นท์ อาบน้ำร่วมกับคนอืน่ ๆ กินอาหารโรงทาน แต่เราก็ไม่ได้รสู้ กึ เป็นทุกข์เลย ทุกเช้า ตอนตีสามเราจะตื่นด้วยเสียงตามสายทำวัตรเช้าของ พระสงฆ์ ซึง่ ดังกระหึม่ ไปทัว่ วัดหนองป่าพง ใจหนึง่ อยาก นั่งสวดมนต์ทำวัตรอยู่ในเต็นท์นั้น แต่อีกใจหนึ่งก็ห่วง หน้าที่ที่มีต่อโรงทานที่ต้องไปทำ ตัดสินใจล้างหน้า แปรงฟั น เดิ น ไปโรงทานทำหน้ า ที่ ข องตน เช้ า ๆ ยังได้ยินเสียงสวดมนต์ สายหน่อยคนมาร่วมทำงานมากขึ้น สมาธิในการฟังจะน้อยลง ทุกคนตัง้ ใจทำอย่างประณีต สะอาด รวดเร็ว ได้เรียนรู้การปอกผลไม้และการจัดผลไม้จากป้าเปีย การทำผักจากป้าเพลินและพี่จ๋าเจ้าเก่าทุกปี ในวันแรกๆ นักเรียนโรงเรียนปัญญาประทีป ชั้น ม.๑ จะเข้ามาช่วยกันทำงานล้างผัก หั่นผัก แกะห่อแหนมเห็ด มีงานการทำกันทุกคน พร้อมกับคุณพ่อและคุณแม่ น่ารักมาก เช่นเดียวกันปีนี้ผู้ปกครองชั้น ป.๖ โรงเรียนทอสีจัด Family Trip มาที่นี่ ได้เข้ามาช่วยเหลือในการทำงานอย่างแข็งขันทั้งคุณพ่อ และคุ ณ แม่ ช่ ว ยจั ด ผลไม้ หุ้ ม พลาสติ ก ถาดผลไม้ แกะห่ อ แหนมเห็ ด ทุ ก คนมี ค วามอภิ ร มย์ ใ นการทำงาน ไปพู ด คุ ย กั น ไป ถึ ง แม้ ศ าลาจะแน่ น หนาแทบจะหาที่ นั่ ง ไม่ได้ก็ตาม พอถึงเวลา ทั้งเด็ก ครู ผู้ปกครอง ก็ช่วยกัน

๐๘

ยกถาดผลไม้ เ ข้ า ไปถวายพระสงฆ์ ใ นวั ด หนองป่ า พง แต่ ล ะถาดหนั ก พอสมควร เด็กๆ ยกกันได้ดี ไม่มีใครบ่นเลย ได้ทำงาน ตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนความ ใจเป็นกุศล น่าชื่นชมและชื่นใจจริงๆ ปีนี้ท่านอาจารย์ชยสาโรอาพาธ สองวัน แรกท่ า นไม่ ไ ด้ อ อกมาฉั น เช้ า กั บ คณะสงฆ์ วั ด ป่ า นานาชาติ ที่ พ วกเราได้ มี โ อกาสไป


กราบและกินอาหารเช้าที่นี่ แต่ท่านเมตตากับนักเรียนชั้น ป.๖ เป็นอย่างมาก ในวันที่ ๑๕ มกราคม เวลาบ่าย ๒ โมง ท่านได้เล่า ประวัตขิ องหลวงปูช่ าให้เด็กๆ ฟัง และได้ตอบปัญหากับผูป้ กครองอีก ๒-๓ ข้อ ทั้งๆ ที่ท่านไม่ค่อยจะมีแรง เด็กๆ ช่างมีบุญจริงๆ ปีนหี้ ลวงปูช่ ามรณภาพครบ ๒๐ ปี มีพระสงฆ์มารวมกันมากกว่าปกติ ท่านอาจารย์สุเมโธก็มา ท่านเป็นลูกศิษย์ชาวต่างชาติองค์แรกของ หลวงปู่ชา ท่านอาจารย์ปรีชาก็มา ท่านวชิโร ท่านเขมธัมโม และ พระสงฆ์ทวี่ ดั ป่านานาชาติเกือบ ๗๐ รูปมาร่วมงานกันมากมาย เด็กๆ ได้มโี อกาสกราบท่านอย่างใกล้ชดิ ในวันนัน้ มีพธิ ถี วายพระไตรปิฎก แด่วัดป่านานาชาติ ซึ่งพวกเราโชคดีได้ร่วมงานอยู่ในเวลานั้น จึงได้ มีโอกาสร่วมในพิธีอันศักดิ์สิทธิ์นี้ด้วย ในวันที่ ๑๖ มกราคม ซึ่งเป็นครบรอบวันมรณภาพหลวงปู่ชา ครบ ๒๐ ปีในปีนี้ มีการเวียนเทียนรอบพระเจดีย์เหมือนทุกปี พวกเราจะไปคอยอยูต่ รงทางเดินรอบๆ พระเจดีย์ เราจะเห็นพระสงฆ์ ลูกศิษย์หลวงปู่จำนวนมากเป็นพันรูปเดินอย่างช้าๆ สงบ สำรวม ท่านอาจารย์ชยสาโรอยูใ่ นขบวนพระสงฆ์ดว้ ย บรรยากาศความเงียบ สงบ เต็มไปด้วยพลัง ทำให้เรารู้สึกถึงความรัก ความศรัทธา ความกตั ญ ญู ก ตเวที ความระลึกถึง ที่ลูกศิษย์มีต่อหลวงปู่ไม่ เสื่อมคลาย รู้สึกเป็นบุญเหลือเกินที่ได้เก็บภาพอันน่าประทับใจนี้ หลังจากการเวียนเทียน เราได้มีโอกาสเข้าไปกราบหลวงพ่อ เลี่ยม เจ้าอาวาสวัดหนองป่าพง เป็นครั้งแรกที่ได้กราบท่าน รู้สึก ซาบซึ้งใจว่าเราช่างมีบุญที่ได้กราบท่าน เพราะไม่ใช่ง่ายๆ ที่จะได้ พบท่านในวันงานทีม่ คี นมากมายแบบนี้ ท่านได้ให้โอวาสเรือ่ งสัมมาทิฏฐิและดูแลสุขภาพกายให้ด ี ซึง่ พวกเรารับเข้ามาใส่ใจและจะปฏิบตั ิ ตาม หลังจากนั้นพวกเราได้มีโอกาสทำวัตรเย็น และนั่งสมาธิใน และรอบพระเจดีย์ บำเพ็ญเพียรถวายแด่หลวงปู่ชาตามอัธยาศัย ที่สุดแห่งที่สุด ทุกครั้งที่ได้มีโอกาสมาร่วมงานอาจาริยบูชา เราจะได้เห็นภาพของพ่อออกแม่ออกและบุคคลที่รักและศรัทธาใน หลวงปู่ เข้ามาปฏิบตั ธิ รรมบำเพ็ญทาน ศีล ภาวนา ในวัดหนองป่าพง อย่างพร้อมเพรียงกัน พลังแห่งบุญกุศลได้แผ่คลุมวัดหนองป่าพง ตลอด ๔-๕ วันนัน้ พวกเราชาวทอสีและปัญญาประทีป ก็เป็นหนึง่ ใน ผู้ที่ได้มีส่วนร่วมในการบำเพ็ญบุญกุศลตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนด้วย เช่นกัน มากบ้างน้อยบางตามสติกำลัง เป็นการปฏิบัติธรรมบูชาที่ นำความสุขมาสู่พวกเราทุกคนและอยากจะกลับมาอีกทุกปี

เด็กๆ ป.๑ จัดดอกไม้ถวาย หลวงปู่ชาที่ศาลารู้แจ้ง

๐๙


แมนดาลา ศาสตร์แห่งการ สื่อสารกับตนเองและผู้อื่น เรื่อง: ครูตู่ – กุลฤดี โอทกานนท์ ฝ่ายวิชาชีวิตครู

ท่ า นผู้ อ่ า นคะ เคยทำนายความคิ ด และ อารมณ์ของคนได้อย่างถูกต้องจากรูปที่เขาวาด ไหมคะ? และคุณเคยตัง้ ใจจะวาดรูปสักหนึง่ รูป ที่ เมื่อวาดเสร็จแล้วรูปนั้นเหมือนกับที่ตั้งใจไว้เปี๊ยบ ไหมคะ? ถ้าคำตอบ คือ “เคยค่ะ” “เคยครับ” ก็ เป็นไปได้ว่าคุณมีพื้นฐานการสื่อสารด้วยรูปภาพ อยู่ในเนื้อในตัวมากพอสมควร

รู ป ภาพ คื อ เครื่ อ งมื อ สื่ อ สารทั้ ง เรื่ อ งที่ เรารู้ตัวว่าจำได้ และเรื่องที่เราไม่รู้ตัวว่าจำได้ เราสามารถตั้งใจวาดเรื่องใดเรื่องหนึ่งล่วงหน้า ได้ แต่ในระหว่างการวาดรูปนัน้ ร่างกายและความ รู้สึกของเรามีบทบาทกำหนดรายละเอียดต่างๆ ในรูปภาพมากมาย เพราะความคิ ด ของเรามั ก จะไม่ ส ามารถ ควบคุมรายละเอียดเหล่านัน้ ได้รอ้ ยเปอร์เซ็นต์ เช่น สีที่เลือก ตำแหน่ง/ขนาด/ลักษณะของสิ่งต่างๆ ในรูป จำนวน สัญลักษณ์ ท่าทีระหว่างการวาด ฯลฯ

๑๐


หากเรานำรูปที่เราวาดเสร็จแล้วมาพิจารณาโดยสังเกตใน รายละเอียดของภาพ เราอาจจะค้นพบความหมายที่ซ่อนอยู่ใน ประสบการณ์ ความคิด ความรูส้ กึ และความต้องการของเราโดย ไม่รตู้ วั เองมาก่อน หรือเห็นหลักฐานยืนยันสิง่ ทีเ่ ราพอจะรูเ้ กีย่ วกับ ตัวเอง แต่ไม่แน่ใจหรือเลือกที่จะไม่ยอมรับ (หากเป็นด้านลบ) ขณะเดี ย วกั น กระบวนการวาดรู ป รู ป หนึ่ ง ทำให้ เ รา ได้ใช้เวลาสื่อสารกับความต้องการของตนเองอย่างต่อเนื่อง ได้รับรู้ผลที่เกิดขึ้นจากการสื่อตนเองออกมาเป็นรูปธรรม และ ได้มีโอกาสทบทวนว่าเราควรจะปรับอะไรในรูป เพื่อให้รูปนั้น หรือรูปที่เราจะวาดครั้งต่อไปดีขึ้น เช่น ภาพนี้ไม่ชัดเจนเบลอๆ เราจะลงสีให้คมและสดใสขึ้น ภาพนี้ดูไม่สมดุลย์ หากเราเติม... ก็ดูดีขึ้นเลย ฯลฯ เมื่ อ ชี วิ ต เราขาดความสมดุ ล ย์ เรามี ค วามต้ อ งการ บางอย่ า งเกิ ด ขึ้ น แต่ ไ ม่ รู้ ชั ด เจนว่ า เราขาดสมดุ ล ย์ อ ย่ า งไร ทำไมเราต้องการแบบนี้ ลองสื่อสารกับตัวเองด้วยการวาดภาพ ดูสิคะ เมื่อวาดเสร็จคุณอาจจะรู้สึกผ่อนคลาย สดชื่น และรู้สึก เป็นมิตรกับตัวเองมากขึ้น และถ้ามีเวลาพินิจพิเคราะห์ภาพนั้น อีกที คุณก็อาจจะเข้าใจตัวเองมากขึ้นว่าควรจะทำอะไรต่อไป

สำหรั บ ภาพประกอบเรื่ อ งที่ เ ห็ น อยู่นี้ เป็นภาพบรรยากาศจากกิจกรรม การวาดภาพ “แมนดาลา – MANDALA” สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาล ๓ ซึ่งครูตู่ได้ นำทฤษฎีทไี่ ด้รบั จากการอบรมโดยคุณครู นีรา ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะบำบัดจาก ประเทศอิสราเอลมาใช้พัฒนาเด็ก ใ น ขั้ น ต อ น ข อ ง กิ จ ก ร ร ม คุ ณ ครู มี ก ระดาษสี ข าวขนาด A4 ให้คนละ ๑ แผ่น โดยมีลายเส้นดินสอ รู ป วงกลมขนาดเส้ น ผ่ า ศู น ย์ ก ลาง ๑๕ นิ้ ว อยู่ ต รงกลางหน้ า กระดาษ คุณครูให้โจทย์เด็กๆ เพียงว่า “ให้นกั เรียน วาดอะไรก็ได้ด้วยสีที่ครูมีให้ (สีเทียน / สี Oil Pastels / สีไม้) บนกระดาษแผ่นนี้ โดยใช้เวลาประมาณ ๒๐ นาที”

การอบรมและพัฒนาบุคลากร ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๔ ด้านสิปปทายก • ดูงานที่โรงเรียนเพลินพัฒนาและวรรณสว่างจิต • ศึกษากรุงรัตนโกสินทร์ • การบริหารจัดการในชั้นเรียน จัดโดย โรงเรียนเกษมพิทยาคม • ความรู้คู่บ้าน • การพัฒนาดินเพื่อการทำเกษตรอินทรีย์ โดย ไร่ยิ้มเขียว ด้านกัลยาณมิตร • การฟังด้วยหัวใจ จัดโดย เสมสิกขาลัย • เดินทางไปเป็นเจ้าภาพกฐิน ณ วัดป่านานาชาติ จ.อุบลฯ • เยีย่ มชมโรงเรียนในภูฏาน • เปิดโรงทานงานอาจาริยบูชา ณ วัดหนองป่าพง จ.อุบลฯ • ร่วมอบรมปฏิบัติธรรม ณ บ้านพอ นำโดย พระอาจารย์ชยสาโร • ร่วมปฏิบตั ธิ รรมงานอาจาริยบูชา ๒๐ ปี พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺ โท) ละสังขาร ณ หอจดหมายเหตุทา่ นพุทธทาส สวนรถไฟ • ร่วมงาน “คนค้นฅนอวอร์ด ครั้งที่ ๓* • การปฏิบัติธรรม ณ โรงเรียนทอสี นำโดย พระอาจารย์ชยสาโร * • ร่วมปฏิบัติธรรม ผูป้ กครอง ณ ปัญญาประทีป นำโดย พระอาจารย์ชยสาโร • ร่วมปฏิบตั ธิ รรมวันอาทิตย์ ณ บ้านบุญ นำโดย พระอาจารย์ชยสาโร กิจกรรม “ทำไมธรรมะ” • การแสดงพระธรรมเทศนา “การศึกษาพุทธปัญญา” นำโดย พระมหาพงศ์นรินทร์ • โครงการ “๑ ต่อ ๑” ร่วมงานจิตอาสา กับทีวีบูรพา • การแสดงพระธรรมเทศนา โดย พระอาจารย์ปสันโน • การบรรยายธรรม โดย พ.ญ.อมรา มลิลา • กิจกรรม “การวาดภาพและแปลความแบบ Mandala” • การเสวนาเรื่อง “จาก ๑ ครูผู้ให้ สู่แรงบันดาลใจไม่สิ้นสุด” นำโดย พ่อเช็ค แม่แก้ว ทีวีบูรพา • สวดมนต์ นั่งสมาธิ ดูคลิปพระธรรมเทศนา โดย พระครูธรรมธรครรชิต วัดญาณเวศกวัน *เป็นการอบรมบุคลากรทั้งโรงเรียน

๑๑


บทสัมภาษณ์

ครอบครัวน้อยนักเดินทาง

เรื่อง: ครูนุ้ย - กนกอร บุญทวีกิจ / ครูหยก - วรรณวนั

ช ฤกษ์ลัภนะนนท์

หากเปรยี บ “การเรียนรู”้ กับ “การเดนิ ทาง” เส้นทางเดินของแต่ละครอบครัวคงประกอบขึน้ ด้วยหลักคิด หลักปฏิบัติ และรายละเอียด บนผิวทางที่คล้ายคลึงกันบ้าง แตกต่างกันบ้าง พบกันครั้งนี้ โรงเรียนทอสีขอพาทุกท่านมาพูด คุยกับ แม่รุ่ง - รุ่งนภา ธนะภูมิ และ พ่อจ๋อย รภัส ธนะภูมิ ถึงประสบการณ์และเรื่องราว แห่งการเรียนรู้ผ่านเส้นทางของเสียงดนตรีและ กิจกรรมนา่ รักๆ ภายในครอบครัวของเขาทัง้ สอง และลูกน้อย น้องลูกบัว – ด.ญ. นารา ธนะภูมิ นักเรียนชั้น ป.๑ กันสักนิดค่ะ อยากให้ เ ล่ า ให้ ฟั ง ตั้ ง แต่ เ รื่ อ งการใช้ ชี วิ ต ครอบครัว พ่อแม่มีแนวคิดอย่างไรในการให้การ ศึกษาลูก ทีบ่ า้ นพ่อแม่มสี ว่ นในการส่งเสริมลูกอย่างไร ทำกิจกรรมอะไรกับลูกคะ แม่ รุ่ ง : เราหาแนวทางการศึ ก ษา แบบนี้ ใ ห้ ลู ก อยู่ แ ล้ ว เด็ ก เขายั ง มี ธ รรมชาติ ความเป็นเด็ก พื้นฐานคือเรื่องของกาย และใจ ตามมาด้วยฐานความคิด พอดีโชคดีที่ได้มีโอกาส เลี้ยงลูกเอง ในความเหนื่อย เราได้รับประโยชน์ เ ร า ไ ด้ เ ห็ น พั ฒ น า ก า ร ข อ ง ลู ก ชั ด เ จ น มันจึงตามมาด้วยความสุข ก่อนที่จะเข้ามาเรียนที่นี่ คิดว่าจะทำอย่างไร ให้ มี ค วามสุ ข กั บ การเลี้ ย งลู ก ได้ เพราะเป็ น คนที่ เ คยทำงานมาทั้ ง ชี วิ ต เวลาที่ เ ราเคยมี สังคมที่เราเคยมี เคยอ่านหนังสือ เขาบอกว่าการ เลี้ ย งลู ก ไม่ ใ ช่ เ รื่ อ งสนุ ก แต่ ว่ า เราจะต้ อ ง ทำให้ ไ ด้ ว่ า ทำอย่ า งไรให้ เ รามี ค วามสุ ข กั บ ลู ก ลูกเป็นส่วนหนึ่งของเรา เราเป็นส่วนหนึ่งของลูก ต้องเริ่มด้วยกิจกรรมง่ายๆ พอดีชอบและมีความสุข

๑๒

กั บ การได้ ว าดรู ป กั บ ลู ก สวยไม่ ส วยไม่ ส ำคั ญ แค่ ไ ด้ ถ่ า ยทอดมาแล้ ว ได้ คุ ย ได้ พ าลู ก ทำ มั น ยิ่ ง ใหญ่ ม ากกั บ สิ่ ง ที่ แ ม่ ท ำออกมาให้ ลู ก เห็ น และเขาพยายามทำตาม ที่สำคัญเมื่อเขาทำตาม ก็จะไม่ไปวิจารณ์ว่าสวยไม่สวย ตื่ น เ ต้ น ม า ก เ มื่ อ เ ห็ น ผ ล ง า น ข อ ง ลู ก ทุกอย่างเชือ่ มกันหมด การแสดงออกของเรา เชือ่ มดึง ให้ลูกเข้ามาหาเรา ให้เขามีความสุขไปด้วย อยู่กับ เขาอย่างนั้นทั้งวันทั้งคืน ทำกิจกรรมผ่านตัวหนังสือ ท ำ เ ก ม แ ม้ ก ร ะ ทั่ ง ใ น ชี วิ ต ป ร ะ จ ำ วั น อย่ า งเช่ น พาลู ก ไปทะเล เราก็ ใ ช้ เ ปลื อ กหอย ว า ง เ รี ย ง จั บ คู่ ท ร ง ก ล ม ท ร ง ย า ว ๆ เราก็ เ อามาวางเรี ย ง ลู ก ก็ วิ่ ง จั บ คู่ บ นกระดาษ ที่เป็นผืนทราย แล้วเอาเปลือกหอยขีดลากแทน ดินสอ เขาสามารถจับคู่ได้ เหมือนเกมในสมุด แต่เราไม่ตอ้ งเอาสมุดไป ก็จะเล่นอย่างนีก้ บั ลูก ถ้าเขา ทำความดีกจ็ ะวาดผ่านเกมบันไดงู ซึง่ จะมีจดุ เริม่ ต้น และมี จุ ด ปลาย เช่ น เขาอยากทานไอศกรี ม ห รื อ ไ ป ท ะ เ ล ก็ จ ะ มี จุ ด เ ริ่ ม ต้ น เ ป็ น เ ด็ ก


บทสัมภาษณ์

ปลายทางเป็นทะเล ทำความดีตามช่อง ไม่ตอ้ งยาก ประมาณ ๑๕-๒๐ ช่อง ใช้สติ๊กเกอร์ติด ทำความดี ๑ ครั้ง เอาสติ๊กเกอร์แปะ ๑ ช่อง เขาจะสนุกมาก พ อ ใ ก ล้ ๆ ถึ ง ป ล า ย ท า ง เ ข า ก็ จ ะ ตื่ น เ ต้ น ว่าจะได้ไปทะเลจริงๆ พ่ อ จ๋ อ ย : เราเลี้ ย งลู ก กั น มาเอง ตั้ ง แต่ ลู ก ออกมาดู โ ลก ก็ อ ยากจะให้ กิ น นมแม่ ก็เลยศึกษากัน แม่รุ่งก็พยายามให้นมแม่อย่างเดียว จน ๒ ขวบ ๓ เดือน โตขึ้นมาก็เป็นเด็กแข็งแรง ช่วงที่เขาให้นมแม่ เขาเหนื่อย ผมก็ทำกับข้าวให้ ตื่ น ตี ห้ า ไ ป ต ล า ด ทุ ก ข์ ย า ก ด้ ว ย กั น ม า เราก็เติบโตไปพร้อมกับลูก เติบโตอย่างไรคะ? พ่อจ๋อย : คือบางอย่างลูกก็สอนเราเหมือนกัน สอนเรื่ อ งความอดทน เราไม่ เ คยเป็ น พ่ อ คน แต่เราเคยเป็นลูกคนมา ตอนเด็กเราเป็นอย่างไร เรา คงทำอย่างนี้กับพ่อแม่มา พ่อแม่เราก็คงเหนื่อยมา แม่รุ่ง : ทำให้เราคิดมากขึ้น จะพูดกับลูกมันก็ เป็นศิลปะ กระบวนการคิดมันก็มาก่อน คิดแล้วเราก็ ส่งผ่านความคิดถึงลูก สมัยก่อนทีท่ ำงานไม่ใช่ตวั เอง วันนี้เลย เราทำงาน อะไรไม่ถูกต้องไม่เคยยอมเลย แต่วันนี้เราเรียนรู้ว่าจริงๆ บางอย่างมันก็มีเงื่อนไข อื่นประกอบด้วย โตขึ้นเพราะว่าลูกมาเข้าโรงเรียน ยอมรั บ ว่ า ทอสี ท ำให้ รุ่ ง เปลี่ ย นเยอะมาก วั น ที่ ลู ก มาเรี ย น เรารู้ แ ล้ ว ว่ า เราตั้ ง ใจจะทำอะไร เราเห็นโรงเรียนมีแนวทางชัดเจน เลือกตรงนี้เพราะ มองแล้วว่าเราจะได้ปฏิบัติฝึกตนด้วยพร้อมกับลูก เราไม่ เ คยสนใจเรื่ อ งธรรมะ ไม่ เ คยอ่ า น หนังสือธรรมะมาก่อน แล้ววันหนึ่งมาอ่านหนังสือ ทีน่ ี่ รูส้ กึ ว่าเข้าใจง่าย แล้วรูส้ กึ ว่าปฏิบตั ไิ ด้จริง มีเหตุมีผล และเราอยากเป็นแบบนั้น อยาก ทำให้ได้อย่างนั้น คือ สุขง่าย ทุกข์(ได้)ยาก และลู ก ก็ ต้ อ งเรี ย นรู้ เราเองไม่ เ คยฝึ ก มาก่อน รุง่ จะบอกลูกเสมอเวลาเขาบอกว่า ทำไมคุณแม่โกรธบัว ทำไมคุณแม่ทำ ทำไมคุ ณ แม่ โ มโห เราก็ จ ะบอกว่ า เพราะคุณแม่ไม่เคยฝึก คุณแม่พาบัวมา อยู่ที่นี่ แม่หวังว่าบัวโตขึ้นบัวจะไม่เป็น

แบบแม่ และทุ ก วั น นี้ แ ม่ ก็ เ รี ย นไปพร้ อ มกั บ ลู ก เขาก็ จ ะเข้ า ใจว่ า คุ ณ แม่ ม าปฏิ บั ติ ธ รรม คุ ณ แม่ ก็ ไ ด้ เ รี ย นไปเหมื อ นเขา ถ้ า เราตั้ ง ใจทำสิ่ ง ที่ ดี มันเห็นผล คือตอนนี้แม่โกรธน้อยลง แม่มีความสุข กับชีวิตมากขึ้น หัดมองในแง่บวก จะพูดอะไรกับ เขาก็ต้องคิดก่อน บางทีโมโหมากก็ต้องคิดก่อน สั ก เดี๋ ย วก็ ต้ อ งคุ ย กั บ ลู ก อยู่ ดี ใช้ วิ ธี ก อดไว้ ก่ อ น แล้วเขาจะหยุด จะใช้เวลาทีล่ กู โมโห ถ้าเราใช้วธิ ดี ลุ กู มั น เหมื อ นกระจก เราก็ จ ะได้ สิ่ ง นั้ น กลั บ มา คือจะไม่ต่อว่าเขาตอนนั้น เดี๋ยวเราค่อยมานั่งคุยกัน และเราต้ อ งใช้ วิ ธี นี้ ส ม่ ำ เสมอตั้ ง แต่ เ ล็ ก จนโต ไม่ อ ย่ า งนั้ น เขาจะสั บ สน ตอนเล็ ก ถ้ า ลู ก โมโห เราก็จะใช้วิธี Time Out* ถ้าพ่อแม่โมโหก็จะไม่ให้ ลูกเห็นว่าเรากำลังขัดแย้ง การเลี้ ย งเบื้ อ งต้ น คื อ ความสม่ ำ เสมอ ทำกิ จ กรรมก็ ส ม่ ำ เสมอ ให้ เ ห็ น ว่ า เป็ น เรื่ อ งที่ มี ความสุ ข ลู ก บั ว จะมี ค วามสุ ข กั บ คำว่ า การบ้ า น เพราะว่าตอนเล็กๆ เรามีลูกพี่ลูกน้อง เราจะพาเขา ไปเจอทุกปิดเทอม สิ่งที่เขาเรียนรู้คือ เวลาที่พี่ทำ การบ้าน ลูกบัวจะถือสีกบั กระดาษวิง่ เข้าไปแล้วบอก ว่าทำการบ้านด้วย คือเราพยายามจัดสิ่งแวดล้อม คือพีท่ ำการบ้าน ห้ามลูกไปยุง่ แต่ให้นงั่ เงียบๆ ข้างๆ แต่ทำการบ้านของลูกได้ ถ้าเราทำอะไรสม่ำเสมอ ลูกสามารถพัฒนาตนเองได้ตลอดเวลา แล้วพอถึงวัย ปัญหาเขาอาจจะน้อยลง Time Out หรือการขอเวลานอก คือการแยกตัวเด็กออกมา จากสิ่งที่เขากำลังทำ ไม่ใช่การลงโทษเขา แต่เป็นการให้โอกาส เขาได้นั่งเฉย (อาจจะบนเก้าอี้สักตัว หรือในมุมหนึ่งของห้อง) ให้เขา ได้คิดทบทวนเหตุการณ์และเหตุผลของพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม จนเกิดความสงบและค่อยๆ ปรับพฤติกรรมของตนเอง

มีวิธีการอะไรที่ได้จากโรงเรียน แล้วนำไปปรับใช้ที่บ้านไหมคะ? พ่ อ จ๋ อ ย : ทอสี ท ำให้ ลู ก บั ว รู้ จั ก บั น ทึ ก เยอะขึ้ น ผมพาไปเที่ ย ว เยอรมั น ด้ ว ยกั น แม่ ก็ จ ะถามว่ า ลู ก บั ว วั น นี้ จ ะ บั น ทึ ก อ ะ ไ ร


บทสัมภาษณ์

วันนี้เจออะไรมาบ้าง ก็จะวาดรูปบ้าง เขียนบ้าง เวลาผ่ า นไปเห็ น วิ ว สวยๆ ผมก็ จ ะหยุ ด ถ่ า ยรู ป ลูกบัวก็จะนั่งวาดรูป เขามีสมุดบันทึกติดตัวตลอด และผมก็จะเก็บผลงานลูกไว้ แม่รุ่ง : โรงเรียนช่วยหลายอย่าง บางอย่าง ตรงกันอยู่แล้วไม่ต้องปรับให้ยาก แต่สิ่งที่เรารู้ว่าเรา ต้องให้เพิม่ เติมก็มอี ยู่ ลูกคนหนึง่ จะทำอะไรขึน้ มาได้ คุ ณ พ่ อ คุ ณ แม่ ส ม่ ำ เสมอมากๆ ทำซ้ ำ ๆ บ่ อ ยๆ กิจกรรมอะไรก็ตาม บางทีคณุ แม่บางท่านอาจจะรูส้ กึ ... เล่านิทานไม่เป็น เล่าไม่สนุก วาดไม่สวย รุง่ ขอบอก ว่าลบออกไปเลยสิ่งเหล่านั้น แค่ลูกได้ฟังเสียงแม่ เล่นกับเขา วาดกับเขา มันที่สุดแล้ว พ่อแม่คือฮีโร่ ของลูก ถ้าเราไปบล็อกตรงนั้น ลูกจะถูกปิดโอกาส โดยที่เขายังไม่ได้ทดลองเลย สิ่งที่แม่วาดในตอนนี้ อาจจะไม่เหมือนที่แม่วาดตอนเด็กๆ ทำได้ทั้งนั้น เพราะมันออกมาจากความรักลูก เป็นความมหัศจรรย์ อย่างเรื่องนมแม่ จะมีฮอร์โมนแห่งความสุขที่จะ หลั่งออกมาทุกครั้งที่เรามีความสุขกับลูก เราจะ ทำได้หลายอย่างที่เราไม่เคยคิด รุ่งคิดว่าเราสำคัญ และถ้าเราทำบ่อยๆ เชื่อว่าจะทำได้ และสิง่ ทีท่ ำได้อกี อย่าง คือการทีค่ ณุ พ่อคุณแม่ ชอบอ่านหนังสือ เวลาไปร้านหนังสือ มีคนถามว่า ทำอย่างไรให้ลกู ชอบอ่านหนังสือ คือรุง่ ไม่ให้ดทู วี เี ลย

๑๔

จนกระทั่ง ๓ ขวบ เพราะมีความรู้สึกว่ามี กิจกรรมอื่นที่น่าทำกว่า เช่น คุณแม่เป็นม้า ให้ลกู คุณพ่อเป็นเครือ่ งบินให้ลกู วิง่ เล่นทีส่ นาม แม้กระทั่งใบไม้ที่สนามหน้าบ้าน แข่งกันเก็บ เขาก็ทำได้ กิจกรรมมันมีอยู่รอบตัว เอาใบไม้ มาร้อยแต่งเป็นอินเดียนแดงตั้งแต่เด็ก หรือ ม้าก้านกล้วย เขาเป็นเด็กสนุกมาก ถ้าลูกไม่อยู่ โรงเรียนนี้แล้ว ลูกจะอยู่ที่ไหนได้ (หัวเราะ) พ่อจ๋อย : เขาบอกว่าของเล่นที่ดีที่สุด คือพ่อกับแม่ แม่รุ่ง : ของเล่นอย่างอื่นเล่นพังแล้ว ก็ ข ว้ า งทิ้ ง ลู ก บั ว ขึ้ น เครื่ อ งบิ น ตั้ ง แต่ เ ด็ ก ไปไหนทุกคนถามว่าทำไมลูกไม่ร้อง ไม่ได้คุ้น เด็ ก ทุ ก คนก็ ต้ อ งปรั บ แต่ กิ จ กรรมที่ รุ่ ง ทำ กับลูกคือ พับกระดาษโอริกามิ มันเป็นเรื่อง ทักษะของการพัฒนาการทางสมอง ควบคู่ ไปกับจินตนาการกล้ามเนื้อมือ ที่ญี่ปุ่นเด็กนักเรียน เขาจะมีกระดาษพวกนี้ไว้ติดกระเป๋า เราไม่ต้อง ขนาดนั้น ที่โรงเรียนอาจจะมีช่วงพักเบรก เป็น เศษกระดาษที่ เ ราตั ด ไว้ เ หลื อ ใช้ เด็ ก ๆ พั บ ได้ มั น มี ค วามสุ ข มากกว่ า ของเล่ น อื่ น ๆ คุ ณ พ่ อ พั บ เครื่องบิน ร่อนไปมันเอียงก็แก้ไขได้ เขาก็เห็นว่ามัน เป็นของเล่นที่แก้ไขได้ ด้วยพัฒนาการของเครื่องบิน นีข้ องพ่อทีไ่ ม่มอี ะไรเลย แต่เอามาทำเป็นอย่างอืน่ ได้ เบื่อเครื่องบินก็เอามาทำเป็นอย่างอื่น ได้เยอะมาก ฝึกสมาธิเด็ก ฝึกความนิ่ง ฝึกกล้ามเนื้อมือ สายตา ทุกอย่างสัมพันธ์กนั หมด แล้วขึน้ เครือ่ งบินเขาก็ไม่เคย ร้อง เพราะในกระเป๋าเป้เล็กๆ ของเขาจะมีกล่องสี กระดาษวาดรูป กระดาษโอริกามิ ไม่เคยกวนใคร อยากให้แบ่งปันถึงที่มาที่ไปของการร้องเพลง และการแต่งเพลงกับลูกสักนิดค่ะ แม่รุ่ง : ตอนเล็กๆ ก็ร้องเพลงกับลูกตอน อาบน้ำสระผม เอาเพลงทีม่ เี นือ้ อยูแ่ ล้วมาเปลีย่ นเป็น ชื่อลูกบัว หรือแต่งขึ้นมาเอง อุ้มลูกบัวตอนเล็กๆ หรื อ มี ป ลาทองอยู่ ใ นตู้ ก็ ร้ อ ง “ปลาทองสามตั ว แก้ ม ป่ อ งๆ พุ ง ป่ อ งๆ ลอยตุ๊ บ ป่ อ งๆๆ” แล้ ว ก็ โ ยกตั ว เขาก็ หั ว เราะตรงคำว่ า “ป่ อ งๆ” เด็กเล็กชอบเสียงขึ้นเสียงสูง ซึ่งเป็นเสียงพ่อเสียงแม่


บทสัมภาษณ์

มาตั้งแต่เล็ก เขาอาจจะร้องได้ เขาอาจจะดูน่ารัก สนุกสนาน สดใส ธรรมชาติเด็กจะจดจำไว้ เมื่อเป็น วัยที่มีความรู้สึกอื่นเข้ามาเกี่ยวจะเห็นผลที่ตามมา พ่อจ๋อย : เขาพยายามสื่อว่าเพลงที่เหมาะกับ ช่วงวัยของเด็กจะมีกลุ่มหนึ่ง ไม่ใช่ว่าเราเอามุมมอง ของผู้ใหญ่ไปมองว่าให้เด็กฟังเพลงของผู้ใหญ่ อาจ จะดูน่ารักว่าเด็กร้องได้เหมือนของผู้ใหญ่ แม่ รุ่ ง : คุ ณ พ่ อ คุ ณ แม่ ต้ อ งเสี ย สละมาก บางทีเราอยากฟังเพลงของเรามาก พอโตขึ้นเราก็ ต้องแบ่งเวลากับเขา นานหรือยังคะที่ไปเรียนฟังเพลง แม่รุ่ง : ประมาณเดือนกรกฎาคม ปี ๒๕๕๔ ก็ เ ลยขี ด ๆ เขี ย นๆ มาประมาณ ๑๐ เพลง (ในช่วงที่สัมภาษณ์ แม่รุ่งยังไม่ได้ทำอัลบั้มเพลง “เมล็ดน้อยนักเดินทาง”) ได้เรื่องบ้างไม่ได้เรื่อง บ้ า งแต่ ก็ มี ค วามสุ ข กั บ ทุ ก เพลงที่ แ ต่ ง เพลง “ดึ ก แล้ ว ” ร้ อ งให้ ฟั ง แล้ ว เขาบอกว่ า เป็ น เพลง ที่ ต ลกที่ สุ ด ในโลก ธรรมชาติ ข องเด็ ก ทุ ก คน เพลงเป็นสิ่งที่เข้าถึงได้ง่าย พอๆ กับภาพศิลปะ เหมือนกับการสวดมนต์ทนี่ ี่ ลูกสวดมนต์ได้เยอะมาก ยาวมาก เสี ย งสวดมนต์ เ หมื อ นเสี ย งเพลง เขาจะฟังคำที่คล้องจอง สิ่งที่ได้จากการเล่นหรือ องเพลงกับลูก พอเขาจำทำนองที่สั้นและคุ้นได้ ธรรมชาติ ข องเด็ ก ทุ ก คน เพลงเป็ น ร้เขาก็ จ ะร้ อ งกั บ เรา นั่ น คื อ ความสำเร็ จ ของแม่ สิ่ ง ที่ เ ข้ า ถึ ง ได้ ง่ า ย พอๆ กั บ ภาพศิ ล ปะ ไม่สนเลยว่าเพลงจะเพราะไม่เพราะ ยอมรับว่าต้อง เหมื อ นกั บ การสวดมนต์ ที่ นี่ ลู ก สวดมนต์ ไปเกลานิดหน่อย หลังจากนั้นลูกก็แต่งกับแม่ด้วย ได้เยอะมาก ยาวมาก เสียงสวดมนต์เหมือน ตั ว อ ย่ า ง เ นื้ อ เ พ ล ง ที่ ลู ก บั ว ช อ บ คื อ เ พ ล ง เสียงเพลง เขาจะฟังคำที่คล้องจอง สิ่งที่ได้ “ของขวั ญ ยามนิ ท รา” เนื้ อ เพลงคื อ ...ดึ ก แล้ ว คื น นี้ มี ด วงดาว ส่ อ งสกาวทอแสงมากอดเธอ จากการเล่นหรือร้องเพลงกับลูก พอเขา สดใจงดงามอยู่เสมอ มีเพียงเธอกับดาวเข้านิทรา จำทำนองที่สั้นและคุ้นได้ เขาก็จะร้อง หลับฝันเห็นดาวอยู่เต็มฟ้า ปรารถนาให้ดาวอยู่ กับเรา นั่นคือความสำเร็จของแม่ ในฝัน ส่งยิ้มให้กันเป็นของขวัญยามนิทรา ส่งใจลงมาหลับเคียงเธอ สิง่ ทีไ่ ด้จากวันแรกทีก่ ลับมาจากเรียน เปลี่ ย นเนื้ อ นิ ด หน่ อ ย เปลี่ ย นคำ ฟังเพลง เขาพูดถึงความรักที่มีต่อลูก ให้ ล งตั ว วั น ที่ อ บรมเสร็ จ วั น ที่ ส อง หรื อ สิ่ ง ที่ เ ราจะถ่ า ยทอดให้ ลู ก ผ่ า น มีคอนเสิร์ตเล็กๆ ของผู้ร่วมอบรม วันนั้น บทเพลง ถ้าเราจะเอาเพลงอะไรก็ได้ตาม ลู ก บั ว ไปด้ ว ย เขาเหนื่ อ ยแล้ ว ก็ ห ลั บ ท้องตลาดให้ลกู มันเหมือนเอายาพิษให้ลกู พอเขาหลับ ก็นกึ ขึน้ มาได้วา่ อยากแต่งเพลง คือเด็กวัย ๑๒-๑๓ ปี เขาซึมซับสิ่งเหล่านี้ มหั ศ จรรย์ ม าก ถ้ า เราฝึ ก บ่ อ ยๆ ทำบ่ อ ยๆ เราต้องสนุกไปให้ได้กับลูก ทำไปเรื่อยๆ สักวันหนึ่ง มั น ก็ จ ะเข้ า กั น ได้ ดี กั บ ลู ก ลู ก ก็ จ ะเรี ย นรู้ เ รา มีกิจกรรมหลักๆ กับลูก หาพื้นที่ให้ลูก เราไม่ได้ให้ลกู ดูทวี เี ยอะ สิง่ ทีเ่ รารูส้ กึ ว่าดีกบั ลูก คือการฟังวิทยุ ฟังเพลง หมายถึงในรถ ช่วงเช้าๆ ฟังวิทยุ คลืน่ ๑๐๕ คลืน่ สีขาวเพือ่ เด็กและครอบครัว เขาฟังอย่างนีม้ า ๔ ปีแล้ว คลืน่ นีก้ จ็ ะมีเพลง มีนทิ าน เราก็ตอ้ งเสียสละไม่ฟงั เพลงตัวเองเลย เพราะเราเชือ่ ว่าเรามีเวลามากกว่านัน้ เขาก็ฟงั เพลง ชอบร้องเพลง แล้วก็พาเขาไปเรียนเปียโน บางครัง้ เขาก็แต่งเพลงเอง วั น หนึ่ ง เขามี ก ารอบรมของ สสส. ในโครงการ “เพลงเด็กอยู่หนใด” เราแต่งเพลงให้ลูกอยู่แล้ว แต่ เ ราอยากได้ ห ลั ก ปรากฏว่ า ไม่ มี ห ลั ก เลย คุณศักดิส์ ริ ิ มีสมสืบ กวีซไี รท์ เขาให้แนวทางหนึง่ ข้อ คือออกมาจากใจ ไม่ต้องมีสัมผัส เริ่มจากสิ่งใกล้ตัว อาบน้ ำ สระผม กิ น ข้ า ว เขาได้ ยิ น แม่ ร้ อ ง เขาก็ เ ริ่ ม อยากแต่ ง บ้ า ง เราก็ ช วนเขามา บัวท่อนหนึ่ง แม่ท่อนหนึ่ง แล้วเขาก็ไปกดเปียโน เขาก็ จ ะเริ่ ม ใส่ ค อร์ ด ให้ แ ม่ ซึ่ ง ก็ ยั ง ไม่ เ ป็ น เพลง แต่ก็มีความสุข


บทสัมภาษณ์

ให้ลูกบ้าง ก็ลองเลย รุ่งคิดว่าเป็นข้อดีของการฟังเพลง เยอะ ชอบฟังเพลงเด็ก ซื้อติดรถไว้ ตอนนั้นยังไม่มีลูก เป็ น เพลงเด็ ก ที่ มี เ นื้ อ หา เพลงเด็ ก มี ม นตร์ วิ เ ศษ ทุ ก ครั้ ง ที่ ฟั ง เพลงเด็ ก หายเครี ย ด หายปวดหั ว ซีดีแผ่นนั้นลูกบัวก็ได้ฟัง ประทับใจอะไรในตัวลูกบัวคะ?

แม่รุ่ง : เขาเป็นเด็กมีความสุขกับทุกอย่าง ที่ทำ รุ่งขอบคุณครูนุช (ครูนุช - กนิษฐา ชูขันธ์ ครูประจำชั้น ป.๑/๑) เพราะลูกมาอยู่กับคุณครู มากกว่ารุ่ง เราอยู่กับลูก ๒๔ ชั่วโมง เหนื่อยมาก คุณครูอารมณ์ดีนี่สำคัญ คุณครูอาจถ่ายทอดให้ลูก เต็มๆ ลูกอาจจะได้มาจากครูนุชด้วย เขาจะจำจาก คุณครูแล้วไปเล่า ตอนเล็กๆ อยู่กับครูเต๋าก็ขำมาก แม่รุ่งมีอะไรจะฝากทิ้งท้ายไว้ไหมคะ ไม่มสี งิ่ อืน่ ใด นอกเหนือจากความรักทีพ่ อ่ แม่มี ให้ลกู ซึง่ ทุกคนมีอยูเ่ ต็มเปีย่ ม นอกเหนือจากนัน้ เรา จะทำอย่างไรให้ลูกเราโตขึ้นเหมือนต้นไม้ที่แข็งแรง เขาโดนลมอาจจะพัดไปตามบ้าง แต่เขาสามารถอยูไ่ ด้ สุขง่าย ทุกข์ยาก ด้วยความรักและความตัง้ ใจดี ปัจจุบนั แม่รงุ่ ได้ สร้างผลงานเพลงชุด “เมล็ดน้อยนักเดินทาง” ออกมา ให้พวกเราได้ชื่นชมและชื่นใจกันแล้ว อย่างไรก็เป็น กำลังใจให้กบั แม่รงุ่ และครอบครัวด้วยนะคะ เพลงเด็ก ในมุมมองที่แตกต่างแบบนี้หากฟังได้ไม่ง่ายนักค่ะ

เพลงสำหรับเด็ก ชุด “เมล็ดน้อยนักเดินทาง” โดยแม่รุ่ง

จากบทเพลงที่แต่งให้ลูกสาวกลายมาเป็นอัลบั้มแรกในชีวิต รวม ๑๗ บทเพลง จากความรักของแม่ รวมทั้งเพลง “คุณธรรม ๑๒ ประการ” “ทอสีที่คิดถึง” และ “รุง้ งามโลกงาม” ทีแ่ ต่งด้วยความระลึกถึงโรงเรียนทอสี ท่านผูป้ กครองทีส่ นใจ อุดหนุน ผลงานของแม่รุ่งได้ที่ร้านพอเพียง โรงเรียนทอสี / ร้านน้องท่าพระจันทร์ @The crystal เรียบทางด่วนเอกมัย-รามอินทรา / หรือสั่งซื้อโดยตรงที่ facebook.com/mae.rung “ความจริงใจและความรักที่เราสัมผัสได้จากบทเพลงต่างๆ ของแม่รุ่งในอัลบั้ม ‘เมล็ดน้อยนักเดินทาง’ นั้น ทำให้ผมฟังแล้วอยากกลับไปเป็นเด็กจริงๆ ครับ” วิภว์ บูรพาเดชะ นักวิจารณ์ดนตรี นักแต่งเพลง บรรณาธิการนิตยสารศิลปะบันเทิง happening

คลื่น ๑๐๕ คลื่นสีขาวเพื่อเด็กและครอบครัว

สถานีวิทยุคุณภาพที่เผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร และความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการ สร้างเสริมคุณธรรม จริยธรรม วิธคี ดิ ทักษะการใช้ชวี ติ และความสามารถในการจัดการ ปัญหาได้อย่างเหมาะสมให้แก่เด็ก เยาวชน และครอบครัว นอกจากฟังทางคลืน่ วิทยุแล้ว ท่านยังสามารถฟังรายการสดและย้อนหลังผ่าน www.media4family.net ได้อีกด้วย

๑๖


เรื่องเล่าจากชั้นเรียน

“ชีวิตเมืองกรุง ๒๕๕๔” ผู้เล่าเรื่อง: ครูจิ๊บ – ปิยรัฐ มรรคยาธร ครูประจำชั้น ป.๖

เด็กๆ ป.๖ ใช้เวลา ๘ คาบ ในการเรียนรู้ ๑๐ ขั้นตอน ในการสร้างงานทัศนศิลป์ “ภาพถ่าย” ร่วมกันในรูปแบบกลุม่ ซึง่ หัวข้อนีไ้ ด้มาจากหน่วยการเรียนรูเ้ รือ่ ง “ทัศนศิลป์สะท้อนชีวติ ” การทำงานแบ่ ง ออกเป็ น ทั้ ง หมด ๓ ส่ ว นใหญ่ ๆ คื อ (๑) การเตรียมความพร้อม (๒) การสร้างผลงาน และ (๓) การนำเสนอและวิเคราะห์ ในด้านการเตรียมความพร้อม (๑.๑) ครูจิ๊บใช้ภาพข่าว น้ำท่วมเป็นโจทย์ให้เด็กๆ ได้ลองตีความและแสดงท่าทาง สี ห น้ า สื่ อ อารมณ์ ใ นภาพ โดยเลี ย นแบบการแสดงออก อารมณ์ให้เหมือนภาพโจทย์มากที่สุด (๑.๒) เด็กๆ แต่ละ กลุ่มช่วยกันหาข่าวที่มีข้อมูลซึ่งน่าจะเกี่ยวโยงกับภาพข่าวนั้น เพื่อทำให้เข้าใจความคิด แรงจูงใจ และการกระทำของ คนในภาพ (๑.๓) เด็กๆ นำข้อมูลมาประกอบกับจินตนาการ แสดงออกมาเป็นเรื่องราวที่อาจเกิดขึ้นก่อนหน้าภาพนั้น โดย การแสดงจะจบลงเป็นช็อตภาพนิ่งของกลุ่ม ในด้านการสร้างผลงานภาพ (๒.๑) เด็กๆ ช่วยกันกำหนด แนวความคิดที่ต้องการนำเสนอในภาพ พร้อมร่างภาพเพื่อให้ เห็นการจัดวางคน อุปกรณ์ ฉาก ฯลฯ จากนัน้ (๒.๒) แต่ละกลุม่ เสนอขายความคิดของกลุม่ ตนเอง โดยคุณครูเป็นผูต้ งั้ คำถาม เพือ่ ให้เด็กอธิบายและวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของการจัดวาง ภาพนั้น (๒.๓) แต่ละกลุ่มวางแผนการเตรียมฉาก อุปกรณ์ และเสื้อผ้าที่จะใช้ในภาพ โดยถ้าองค์ประกอบใดในภาพ ไม่ ส ามารถจั ด หาได้ จะต้ อ งช่ ว ยกั น วางแผนประดิ ษ ฐ์ ชิ้ น งานนั้ น ขึ้ น มา (๒.๔) ในคาบต่อมา เด็กๆ นำอุปกรณ์ทั้งหมดที่ใช้ในงาน อาทิ ฉาก อุปกรณ์ เสื้อผ้า มาซักซ้อมจัดวางให้ได้ตรงตามภาพร่างของกลุ่ม ในขั้นตอนนี้เด็กๆ จะต้องกำหนดสิ่งที่ควรเสริมและควรลดในผลงาน อันเป็นข้อมูลสำคัญที่จะ ช่วยพัฒนาการถ่ายภาพจริงในคาบต่อไป มาถึงขั้นตอนสุดท้ายในส่วนของ การสร้างผลงาน คือ (๒.๕) การลงมือถ่ายภาพ ในส่วนนี้ คุณครูจะเป็นเพียง ผู้สังเกตการณ์อยู่ห่างๆ ไม่เข้าไปแทรกแซงการทำงานของแต่ละกลุ่ม เด็กๆ ทำงานตามที่ตนเองได้ซักซ้อมไว้ และนำข้อมูลที่ได้วิเคราะห์มาปรับปรุงการ ทำงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ในการทำงานขั้นตอนสุดท้ายสองขั้นตอน เริ่มจาก (๓.๑) การนำเสนอ ผลงานชิน้ สำเร็จ เด็กๆ นำภาพร่าง งานเขียน แนวความคิด และภาพถ่ายจริง มาจัดวางและตกแต่งเป็นอัลบัม้ ภาพเพือ่ นำเสนอผลงานให้กบั ผูช้ ม หลังจากนัน้ (๓.๒) ย้อนกลับมาสำรวจวิเคราะห์สิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้จากกระบวนการ การทำงานแต่ละขั้นตอน เพื่อให้ได้เห็นวิธีการทำงานของตนเองได้ดียิ่งขึ้น

โดยในท้ายที่สุด เด็กๆ ต้องสามารถเสนอ แนะขั้นตอนการทำงานที่เหมาะสมสำหรับ ตนเองได้ กิจกรรมจัดฉากถ่ายภาพจากมุมมอง ของเด็กๆ นี้ ต้องอาศัยการประยุกต์ทักษะ การแสดง การจัดวางองค์ประกอบ การเลือกสี และการถ่ายภาพ เพื่อนำมาสร้างงานศิลปะ ที่ ส ามารถบอกเล่ า และสะท้ อ นสั ง คมใน ยุคสมัยของตนเอง เป็นการเชื่อมโยงศิลปะ กับชีวิตของพวกเขา

๑๗


เรื่องเล่าจากชั้นเรียน

มองกิจกรรมมัดย้อม ผู้เล่าเรื่อง: ครูนุช - กนิษฐา ชูขันธ์ ครูประจำชั้น ป.๑

เป็ น ที่ รู้ กั น ว่ า เด็ ก จะเรี ย นรู้ ไ ด้ ต้ อ งมี ฉั น ทะ ฉันทะจะเกิดขึ้นได้นั้น จะต้องมีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ นั่นคือ การเห็นคุณค่าในสิง่ ทีท่ ำ เคารพในความสามารถของตนเอง (ว่าฝึกได้ เรียนรู้ได้) ได้มีโอกาสร่วมวางแผนในการคิด มีส่วนร่วมในการเตรียมสื่ออุปกรณ์ ตลอดถึงการได้ลงมือ ทำจริงด้วยตนเอง ท้ายที่สุดได้ระดมสมองช่วยกันสรุป ถึ ง สิ่ ง ที่ ไ ด้ เ รี ย นรู้ ร่ ว มกั น เกิ ด เป็ น ความรู้ เ ชิ ง ประจั ก ษ์ เป็นการเรียนรู้อย่างมีความหมาย เกิดการจำได้หมายรู้ ซึ่งไม่ใช่ความรู้ที่เกิดจากการท่องจำตำราเท่านั้น มีคำพูดหลากหลายของเด็กๆ ชาวประดู่ ๑ และ ประดู่ ๒ ที่บ่งบอกถึงความสุข ความภูมิใจ ความสำเร็จ อันเกิดจากการเรียนรู้ รู้สึกสนุกสนานมากๆ ในการทำ มัดย้อม ตอนที่มัดเสื้อด้วยหนังยางสนุกมาก ตื่นเต้น มีความสุขทีไ่ ด้ทำ ทำไม่ยาก ได้ความรูท้ เี่ อาไปฝึกทำเองได้ ทำเสื้ อ เก่ า ให้ เ ป็ น เสื้ อ ใหม่ ไ ด้ นำมาใส่ ไ ด้ อี ก ครั้ ง ไม่ต้องทิ้งขว้าง สามารถนำมาใส่ในกิจกรรมกีฬาสีได้โดย ไม่ต้องซื้อเสื้อใหม่ สิ่งที่ลืมไม่ได้ในการสอนเด็ก คือได้มี ทักษะในการสังเกตเปรียบเทียบ เพราะทักษะ นี้มีความจำเป็นที่จะนำไปสู่การเข้าใจเรื่อง คอนเสปท์ (Concept) ของสิ่งต่างๆ การสอน แบบบูรณาการไม่ใช่เรื่องยาก แต่ก็ไม่ง่าย เพราะต้องกลั่นกรองทำงานล่วงหน้ามาแล้ว ๑-๒ ชิ้นก่อนลงสู่เด็ก

๑๘


เรื่องเล่าจากชั้นเรียน

ภาพศิลปะบันทึกความประทับใจ “เมื่อข้าพเจ้าไปทัศนศึกษาที่หอศิลป์ฯ” ผู้เล่าเรื่อง: ครูหน่า – พุทธชาติ นกชม ครูประจำชั้น ป.๒

จากการทั ศ นศึ ก ษาของเด็ ก ๆ ชั้ น ประถมศึ ก ษาปี ที่ ๒ ที่ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เมือ่ วันที่ ๒๑ ธันวาคม ทีผ่ า่ นมา คุณครูประจำชั้นได้เปิดโอกาสให้เด็กๆ ถ่ายทอดความรู้สึกและความ ประทับใจจากการไปทัศนศึกษาผ่านงานศิลปะภาพวาด เด็กๆ สามารถ เลือกบันทึกความประทับใจต่อสิ่งที่ตนเองสนใจได้ทั้งจาก นิทรรศการ จิตรกรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั รางวัลพูก่ นั ทอง / นิทรรศการ “เมืองจมน้ำ” / นิทรรศการ “ต้องรอด” / และงานนิทรรศการ ภาพถ่ายจากเหตุการณ์อุทกภัย การชืน่ ชมและน้อมใจชมผลงานศิลปะทีห่ ลากหลาย เช่น จิตรกรรม ประติมากรรม สื่อผสม ที่มีทั้งสองและสามมิติ มีส่วนช่วยให้เด็กๆ เกิด การรับรูแ้ ละจินตนาการทีก่ ว้างและลึกขึน้ กระบวนการการศึกษาเรียนรู้ รับผัสสะ และเคารพอ่อนน้อมต่อชิ้นงานของผู้อื่น ส่วนหนึ่งก่อให้เกิด เป็นแรงบันดาลใจในการสร้างชิ้นงานของตนเอง

๑๙


เรื่องเล่าจากชั้นเรียน

โมเดลเมือง

ผู้เล่าเรื่อง: ครูวิ – วิศนี เครือวนิชกรกุล ครูประจำชั้น ป.๓

๒๐

โมเดลเมือง เป็นงานทีเ่ กิดขึน้ จากการเชือ่ มโยงเรือ่ งราวอุทกภัย ปี ๒๕๕๔ ทีเ่ กิดขึน้ มาลงสูก่ ารเรียนรูก้ ารทำงานโดยบูรณาการหลาย สาระวิชาเข้ามารวมกับโครงงานเด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว การทำงานของครู วิ แ ละครู ยู ริ เ ริ่ ม ด้ ว ยการเล่ า เรื่ อ งราว ข่าวน้ำท่วมผ่านประสบการณ์ที่ครูและนักเรียนในห้องพบ ก่อนให้ เด็กๆ ชมคลิปวีดโี อ รูส้ ู้ Flood และร่วมกันสรุปสิง่ ทีไ่ ด้เรียนรูอ้ อกมา หลังจากนั้น เราจึงเริ่มมอบหมายให้เด็กๆ ออกแบบเมืองในฝันของ ตัวเองออกมา โดยมีโจทย์ว่า เมืองนี้จะต้องเป็นเมืองที่ไม่ถูกน้ำท่วม ภาพการออกแบบเมืองที่เด็กๆ คิดมีมายมาย หลายๆ ภาพเป็น แบบเมืองทีล่ อยอยูบ่ นฟ้าหรือบนภูเขาสูง โจทย์ขอ้ ต่อไปของคุณครูคอื ให้เด็กๆ แบ่งกลุม่ ออกเป็น ๙ กลุม่ และให้แต่ละกลุม่ ร่วมกันวิเคราะห์วา่ หากต้องการสร้างเมืองที่ไม่ประสบปัญหาน้ำท่วมนี้ เด็กๆ จะเลือก ภาพร่างของใครมาเป็นต้นแบบเพือ่ ลงมือสร้างเมืองขึน้ มา และต้องดู ว่าภาพร่างไหนสามารถสร้างเมืองได้จริง เด็กๆ จึงร่วมกันแสดง ความคิดเห็นและหาข้อสรุปออกมา ผลคือ ทุกกลุม่ ลงมือวาดภาพเมือง ขึ้นมาใหม่ โดยนำส่วนดีของภาพที่เพื่อนวาดมาสร้างเป็นเมืองใหม่ ในฝันของกลุ่มตนเอง และปรับแต่งจินตนาการของตนให้สามารถ ลงมือทำได้จริงๆ หลังจากนั้นเด็กๆ ทุกกลุ่มจึงได้ลงมือสร้างเมือง ของตนเอง บรรยากาศการลงมือทำงานเป็นไปด้วยความสนุกสนาน ตื่นเต้นทั้งครูและนักเรียน เพราะทุกๆ คนร่วมด้วยช่วยคิด ช่วยปั้น วางแผน แบ่งหน้าที่การทำงาน และใช้เวลาในการลงมือปั้น สร้าง งานโมเดลเมืองเกือบสองอาทิตย์ ในเมืองของทุกกลุ่มจะมีทั้งเขื่อน แม่นำ้ ทะเล ภูเขา และในบางกลุม่ ลงรายละเอียดของสัตว์ทอี่ ยูใ่ นน้ำ ทำให้การทำงานใช้เวลานาน เมื่อได้งานมาแล้วจึงได้เริ่มการ ทดลองเทน้ำครั้งแรก เพื่อดูว่าเมืองที่วางแผนไว้รอดจากน้ำหรือไม่ ผลคื อ แทบทุ ก กลุ่ ม ต้ อ งปรั บ แก้ ง านใหม่ เพราะเมื อ งจมน้ ำ เนื่ อ งจากไม่ มี ท างระบายน้ ำ หรื อ พนั ง เขื่ อ นต่ ำ เกิ น ไป หรื อ ประตูระบายน้ำปิดทำให้นำ้ ล้นมา ครูจงึ ให้นกั เรียนแก้งานครัง้ ทีส่ อง และลงมือเทน้ำอีกครัง้ ครัง้ นีม้ บี างกลุม่ ผ่านการทดสอบ แต่เด็กๆ ก็ ยังรูส้ กึ ว่าเมืองของตนน่าจะระบายน้ำได้ดกี ว่านีจ้ งึ นำกลับไปแก้งาน อีกครัง้ ทัง้ นี้ กลุม่ ทีง่ านยังไม่ผา่ นก็ลงมือแก้ไขงานของตนครัง้ สุดท้าย เพื่อที่จะได้ทำการทดลองรวม ๙ เมืองเป็นหนึ่งประเทศ


เรื่องเล่าจากชั้นเรียน

จากการทำงานมาสองครัง้ น้องปัน – ด.ช. วรปรัชญ์ ถนอมนาม ได้เสนอว่า ทำไมไม่ลองให้น้ำกระจายบ้างล่ะครับ จะได้เหมือน ฝนตกจริงๆ เรียกว่าไอเดียเก๋มาก! คุณครูก็เลยนำแนวคิดมาใช้ ทั้งเทน้ำออกจากเขื่อนและเมื่อมีน้ำเหลือค้างอยู่ หากเกิดฝนตกหนัก จะเป็นอย่างไร สรุปว่างานครั้งที่สามนี้ผ่านค่ะ เพราะเมืองทั้งหมด สามารถระบายน้ำออกไปได้ สุดท้ายของการทำงาน ครูจึงให้ นั ก เรี ย นสรุ ป เรื่ อ งราวการเรี ย นรู้ แ ละความประทั บ ใจทั้ ง หมด การทำงานครั้งนี้ทำให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ทักษะของการทำงานเป็นทีม การฝึกสังเกต ความเอื้ออาทรต่อกัน และที่สำคัญทำให้เด็กบางคน ได้แสดงศักยภาพที่ซ่อนเร้นของตนเองให้เพื่อนๆ ได้เห็นและเกิด การยอมรับในตัวเขา กิจกรรม “โมเดลเมือง” นี้นับเป็นกิจกรรมที่ สร้างสรรค์จนิ ตนาการ ความคิด รวมทัง้ เปิดโอกาสให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ สังเกตสิ่งรอบตัว และเชื่อมโยงสู่การพัฒนาชีวิตตนเองได้ในที่สุด

บันทึกภาพน้ำท่วมด้วยดินสอและทรายสี ผู้เล่าเรื่อง: ครูไก่ – รัชนี บุญยมาลิก ครูประจำชั้น อ.๒

สื บ เนื่ อ งจากที่ คุ ณ ครู ไ ด้ พ าเด็ ก ๆ เรี ย นรู้ ห น่ ว ย “ถอดรหัสสายใยชีวิต” เรื่อง “วิกฤตอุทกภัยน้ำท่วม” แบ่งการ เรียนรูอ้ อกเป็น ๓ สถานการณ์ ได้แก่ ก่อนน้ำท่วม-ระหว่างน้ำท่วมหลังน้ำท่วม ช่วงที่เรียนรู้เรื่องราว “ระหว่างน้ำท่วม” พบว่าเด็กๆ ไม่ค่อยได้รับประสบการณ์ตรง คือ บ้านที่อยู่อาศัยของตนเองไม่ ประสบปัญหาน้ำท่วม คุณครูจงึ จัดหาภาพข่าวเกีย่ วกับผูป้ ระสบภัย น้ำท่วมมาให้เด็กๆ ได้ชม หลังจากนั้น ก็พูดคุยและสรุปประเด็น กับเด็กๆ ว่า เราเห็นอะไรตอนเกิดน้ำท่วมบ้าง ใครบ้างทีไ่ ด้รบั ความ เดือดร้อน ผู้ประสบภัยปฏิบัติตนอย่างไรบ้าง แล้วถ้าปีหน้าภัย น้ำท่วมมาถึงตัวเราถึงบ้านเรา เด็กๆ จะทำอย่างไร ในขั้นตอนท้ายสุด คุณครูให้เด็กๆ วาดบันทึกภาพเกี่ยวกับ น้ำท่วมที่เด็กๆ ได้เห็นด้วยดินสอและระบายสีโดยใช้ทรายสีและ ดินสอสีไม้ เหล่าเด็กๆ ได้ถ่ายทอดสิ่งที่เห็นออกมาอย่างตั้งใจ จดจ่อกับชิ้นงาน แต่ละคนวาดและโรยทรายสีกันเต็มแผ่นและ เต็มที่

๒๑


เรื่องเล่าจากชั้นเรียน

กิจกรรมฝึกสมาธิและฝึกความพร้อมในการเขียน ของนักเรียนอนุบาล ผู้เล่าเรื่อง: ครูน้ำอ้อย - น้ำอ้อย สืบดี ครูประจำชั้น อ.๓

ขดเส้น...เล่นสี

คุณครูเปิดโอกาสให้เด็กๆ เลือกใช้สีเทียนสีใด ก็ได้ตามชอบ เขียนเส้นโค้งขดให้เล็กที่สุดเริ่มจากตรง กลางกระดาษแลว้ ลากเส้นขดใหก้ ว้างออกไปทีละนิด... ทีละนิด จนเตม็ แผ่นกระดาษ จากนนั้ เลือกใช้สนี ำ้ ระบาย บนชิ้นงานตามความพอใจ เด็กๆ ที่ได้ทำกิจกรรมนี้จะ เกิ ด สมา ธิ ใ นกา รคว บคุ ม การใ ช้ ก ล้ า มเนื้ อ มื อ ให้ ไ ด้ เส้นโค้งทีข่ ดได้หลาย... หลาย... หลายรอบ สนุกกับการ เลือกใช้สีที่หลากหลาย ผ่อนคลายเมื่อได้ใช้สีน้ำที่ใส สว่าง เบาบาง ภูมใิ จเมือ่ เห็นผลงานทีส่ ดใสของตัวเอง และ ยังช่วยเพิ่มพูนจินตนาการในระหว่างที่ได้ชื่นชมผลงาน ของเพื่อนๆ ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนแก่กันและกัน

ขดเส้นไหม...เป็นใยแมงมุม

เราใช้ไม้เสียบลูกชิ้นที่ตัดปลายแหลมออกแล้ว ๒ อัน มามัดรวมกันแล้วกางออกเป็น ๔ ขา (หากใช้ ๓ อันจะเป็น ๖ ขา หรือใช้ ๔ อัน ก็เป็น ๘ ขา) เลือกไหมพรมสีที่ชอบมาพันรอบ แต่ละขาหมุนวนไปเรือ่ ยๆ จนเต็มความยาวของไม้ เด็กๆ สามารถ เลือกสลับสีไหมพรมได้อย่างที่ต้องการ กิจกรรมนี้เด็กได้ใช้ สมาธิในขณะพันเส้นไหม ได้ฝึกกล้ามเนื้อ มีความเพียรในงาน ในชิ้นงานที่สองที่สาม เด็กๆ สามารถพัฒนางานขึ้นได้เรื่อยๆ โดยเกิดความท้าทายในการสร้างงาน (เริ่มจาก ๔ ขาที่ง่ายหน่อย ชิ้นต่อๆ มาเพิ่มเป็น ๖ ขา ๘ ขาตามลำดับ) การสร้างสรรค์งาน ที่มีความยากขึ้นเรื่อยๆ นั้น ในที่สุดเด็กจะสามารถออกแบบ ลวดลายของการพันเส้นไหมได้เอง ทัง้ สองกิจกรรมข้างต้นทำให้คณุ ครูมคี วามเข้าใจในตัวเด็ก มากขึน้ โดยสังเกตได้จากการเลือกใช้สขี องเด็ก เห็นถึงความอดทน ความเพียร ความประณีตในการทำงานของเด็กแต่ละคน

๒๒


ทอสีรักษ์โลก

เชื่อมั่นในสิ่งที่ทำ ทำในสิ่งที่เชื่อมั่น เรื่อง: ครูอั๋น – พลณัฐ แก้วมะณี

ครูดีใจเป็นอย่างมากที่เห็นเด็กๆ และผู้ปกครองตื่นตัวกันเรื่อง จัดการขยะ ซึ่งดูได้จากความร่วมมือในการนำขยะรีไซเคิลมาส่ง เข้าธนาคารอย่างมืออาชีพมากขึ้น มีการแยกประเภทอย่างชัดเจน แห้งสะอาด จัดเก็บใส่ภาชนะพร้อมส่ง บางรายขอถุงใบใหญ่ที่ใส่ของ มากลับไปใช้ซ้ำด้วย (Reuse) หรือมีการนำถุงผ้ามาใช้ใส่ของแล้ว ถ่ายออกเพือ่ ลดการใช้ถงุ (Reduce) เชือ่ ว่าเป็นสิง่ ทีเ่ ด็กๆ และผูป้ กครอง ได้ต่อยอดความคิดนี้ขึ้นมาเอง ลำพังครูอั๋นคนเดียวคงคิดอะไรไม่ รอบด้าน ต้องช่วยกันครับ คนละไม้คนละมือจึงจะดี ปริมาณขยะรีไซเคิลที่มาส่งก็มีมากขึ้น ซึ่งครูอั๋นเชื่อว่าเกิดจาก ความตั้ ง ใจที่ จ ะรวบรวมสิ่ ง เหลื อ ใช้ จ ากการบริ โ ภคในบ้ า นมาใช้ ประโยชน์ให้มากขึ้น กับตัวเราและสังคมรอบตัว ถ้าครอบครัวใดที่ทำ อย่างนี้สม่ำเสมอจะทำให้เกิดความเคยชินที่ดีครับ มีผลดีหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการช่วยลดปริมาณขยะ นำทรัพยากรเข้าสู่กระบวนการ รีไซเคิลให้มากที่สุด เพื่อลดการใช้พลังงานและใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่า แต่ที่เด็กๆ ชอบที่สุดน่าจะเป็นตัวเงินทบรวมของครั้งที่ ๑, ๒ และ ๓ รวมกัน ซึ่งจะได้รับในปลายเทอมนี้ ซึ่งมีจำนวนพอให้เด็กๆ ฝันถึง ของอร่อยที่อยากรับประทานหรือซื้อของใช้ที่ต้องการ (ดูได้จาก รอยยิ้มและแววตาชวนฝันเมื่อทราบจำนวนเงิน) ซึ่งอาจจะไม่ตรงกับ เจตนารมณ์ของธนาคารนัก แต่ก็รับได้เพราะเป็นความรู้สึกจริงๆ ของเด็ก พวกเขาไม่ได้เสแสร้ง นีค่ อื ประโยชน์โดยตรงทีส่ มั ผัสจับต้องได้ เป็นความภูมใิ จของเด็ก ผูใ้ หญ่ไม่ควรปฏิเสธเรือ่ งนี้ สำหรับผูใ้ หญ่แล้ว ผลแห่งการกระทำนี้ไม่ได้อยู่ที่ตัวเงินเล็กน้อยเหล่านั้น เป็นเพียง คุณค่าเทียม คุณค่าแท้ทที่ า่ นได้สร้างขึน้ ก็คอื “การทีเ่ รามีศรัทธาในสิง่ ดีงามที่เราทำ” ถึงแม้ไม่มีใครเห็น ไม่มีใครชื่นชมก็ไม่เป็นไร เทวดา ฟ้าดิน แม้แต่ตัวเราเองก็เห็นครับ ...วันนี้คุณได้ศรัทธาและชื่นชม ตัวเองหรือยังครับ?

จากจุดเล็กๆ สู่สังคมใหญ่

๑๘ ม.ค. ๕๕ คณะจากบริษัททีวีบูรพา ได้ ม าเยี่ ย มชมดู ง านการจั ด การทรั พ ยากร ที่ โ รงเรี ย น คณะเจ้ า หน้ า ที่ จ ากที วี บู ร พาได้ ทำกิจกรรมร่วมกับธนาคารทรัพยากร โดย การทดสอบการคั ด แยกทรั พ ยากรที่ เ ด็ ก ๆ ได้นำมาฝากไว้ที่ธนาคาร และเก็บองค์ความรู้ ไปใช้ประโยชน์ต่อไป ๑ ก.พ. ๕๕ คณะครูจาก Jigme Losel Primary School ประเทศภูฏาน มาเยี่ยมชม โรงเรียนทอสี และดูงานโครงการทอสีรักษ์โลก คณะครูจากภูฏานได้ให้ความสนใจโครงการ เป็นอย่างมาก ได้ร่วมเรียนรู้วิธีการสานตะกร้า จากกล่องนม และรับสูตรการผลิตน้ำหมักต่างๆ ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ บ่ายของวันที่ ๑ ก.พ. ๕๕ ทีมงานสถานี โทรทัศน์ไทยพีบเี อสได้มาถ่ายทำและสัมภาษณ์ ครูอั๋น ครูเชอรี่ (หัวหน้าสาระคณิตศาสตร์) และเด็กๆ เกีย่ วกับการดำเนินงานของธนาคาร ทรัพยากรเพื่อออกอากาศในสกู๊ปข่าวเช้า แม้ จ ะเป็ น เพี ย งจุ ด เล็ ก ๆ ในสั ง คมโรงเรียนของเรา ครูอนั๋ ก็ขอให้นกั เรียนทุกคนมี กำลังใจและมีความภาคภูมิในตัวเอง ที่ได้เป็น ส่วนหนึ่งที่ช่วยพัฒนาสังคมไปสู่ทิศทางที่ดีขึ้น แม้ วั น นี้ อ าจเป็ น เพี ย งจุ ด เริ่ ม ต้ น ของความ เชื่อมั่นและพลังศรัทธา แต่เมื่อทุกคนรวมพลัง กัน ครูเชือ่ ว่าพวกเราจะเป็นตัวอย่าง และมีสว่ น กระตุ้ น การพั ฒ นาด้ า นสิ่ ง แวดล้ อ มของ ประเทศต่อไป


ห้องเรียน

ผู้แสดงโลก

เรื่อง: แม่แจง – จุฬารัตน์ อินทรมหา ฝ่ายวิชาชีวิตผู้ปกครอง

พ่อ แม่ เป็นผูท้ แี่ สดงโลกให้ลกู เป็นครูของลูก อยู่ตลอดเวลา ไม่ใช่เฉพาะเวลาที่เราสั่งสอนหรือ ตักเตือน โลกนีเ้ ป็นทีใ่ หม่สำหรับเด็ก และเขาต้องการ ผู้นำทางที่เขาไว้ใจได้ ลูกจึงมองเราอยู่ตลอดเวลา หากพ่ อ แม่ เ ป็ น ตั ว อย่ า งในการเป็ น คนสุ ข ง่ า ย ทุกข์ยาก เด็กที่อยู่ในบ้านนั้นอาจจะมีสัญญาที่ดีต่อ บ้านนัน้ ตลอดชีวติ ก็ได้ สำหรับเด็ก ก็ไม่นา่ แปลกใจว่า เขาถื อ ว่ า พ่ อ แม่ เ ป็ น ตั ว อย่ า งในทุ ก สิ่ ง ทุ ก อย่ า ง พร้อมทีจ่ ะอยูใ่ นโลกทีพ่ อ่ แม่กำหนดให้ พ่อแม่จงึ มี โอกาสยอดเยี่ยมที่จะให้สิ่งที่ดีงามแก่ลูก เพราะ เขาอยู่ ใ นความดู แ ลของเรา “นิ สั ย ของเรา จะเป็นมาตรฐานของลูกไปตลอดชีวิต” * พระอาจารย์ชยสาโรท่านแสดงธรรมให้เรา ได้ ต ระหนั ก ถึ ง ความสำคั ญ ของการเป็ น พ่ อ แม่ ผู้ เ ป็ น บุ ค คลที่ ลู ก ได้ เ ห็ น ได้ ใ กล้ ชิ ด ได้ ผู ก พั น ตั้งแต่เริ่มแรกที่เขาลืมตาดูโลก สิ่งที่พ่อแม่ ทำ พูด คิด สามารถถ่ายทอดให้ลูกซึมซับได้ตลอดเวลา ไม่ว่าทางด้านดีหรือไม่ดี ไม่ว่าเราจะเจตนาหรือไม่ และมีผลต่อลูกมากกว่าสิง่ ทีพ่ อ่ แม่พร่ำสอนแต่ไม่ได้ ทำ พูด คิด

๒๔

โรงเรียนทอสี ได้พยายามชี้แจงให้ผู้ปกครอง ตระหนักและทบทวนถึงคำว่า “พ่อแม่ผู้แสดงโลก” มาโดยตลอด เพราะเราเห็ น สิ่ ง ที่ เ ด็ ก ๆ แสดงออกทางการกระทำ การพูด การคิด ที่เป็นผล มาจากการเป็นแบบอย่างของพ่อแม่อย่างชัดเจน “ห้องเรียนพ่อแม่ผู้แสดงโลก” เป็นห้องเรียนที่ โรงเรียนทอสีจัดขึ้น เพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจ แก่ผู้ปกครองที่ลูกจะมาเข้าเรียนใหม่ในปีการศึกษา ๒๕๕๕ เราหวังให้ห้องเรียนนี้เป็นที่ที่ได้สร้างความ เข้าใจ เป็นทีท่ ใี่ ห้กำลังใจ เป็นทีท่ ใี่ ห้เครือ่ งมือในการ ดูแลตัวเองและลูก เป็นทีท่ ใี่ ห้ความรูส้ กึ ถึงความเป็น กัลยาณมิตรระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครองใหม่และ ผูป้ กครองด้วยกัน ห้องเรียนนีเ้ พิง่ เปิด (เป็นครัง้ แรก) ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม ๒๕๕๕ โดย ท่านผู้ปกครองจะเข้าอบรม ๔ ครั้ง รวม ๑๒ ชั่วโมง การอบรมที่ผ่านไปอาจจะยังไม่สมบูรณ์แบบตามที่ เราตัง้ ใจ หรือตามทีผ่ ปู้ กครองคาดหวัง แต่หอ้ งเรียน นี้จะทำหน้าที่เป็นจุดเริ่มต้นแห่งการตระหนักรู้ใน การเป็น “พ่อแม่ผู้แสดงโลก” ให้กับคุณพ่อ คุณแม่ ครูคนแรกของลูก แม่แจงในฐานะของหนึง่ ในวิทยากร


๑. แม่แจงเป็นหัวเรือหลักในกิจกรรมห้องเรียนพ่อแม่ผู้แสดงโลก / ๒. กิจกรรม “เขียนจดหมายถึงลูกรัก” / ๓. ร่วมแบ่งปันประสบการณ์ในการเลี้ยงลูก

ที่ดูแลการอบรมนี้ ขอเป็นกำลังใจในการทำหน้าที่ การปฏิ บั ติ ธ รรม เป็ น สิ่ ง ที่ โ รงเรี ย นให้ อันยิ่งใหญ่ของคุณพ่อคุณแม่ทุกท่านค่ะ ความสำคัญ เชื่อมั่นว่าผู้ปกครองจะได้พัฒนาโลก ภายในไปพร้อมๆ กับโลกภายนอกที่ท่านใช้ชีวิต การปฏิบัติธรรมผู้ปกครอง ในปีการศึกษา ๒๕๕๔ อยู่ทุกวัน เป็นช่วงเวลาสงบ ได้ปล่อยวางอารมณ์ ๑๑ ครั้ ง ที่ โ รงเรี ย นจั ด ปฏิ บั ติ ธ รรมให้ ท่ า น ระงับความฟุ้งซ่านของจิตใจ มีสติอยู่กับปัจจุบัน ผู้ปกครองในปี ก ารศึ ก ษานี้ผ่านไปเรียบร้อยแล้ว อันจะส่งผลให้รู้ตัว และปล่อยวางอารมณ์ได้จริงใน นะคะ ทุกครั้งที่การปฏิบัติธรรมสิ้นสุดลง คณะผู้จัด ชีวิตประจำวัน ก็รสู้ กึ ชืน่ ใจ จากการอ่านใบประเมิน พบว่าผูป้ กครอง ขออนุ โ มทนาท่ า นผู้ ป กครองทุ ก ท่ า นที่ ไ ด้ ได้ประโยชน์จากการมาปฏิบตั ธิ รรม มากน้อยต่างกัน จัดสรรเวลามาปฏิบัติธรรมตามที่โรงเรียนกำหนด ตามแต่เหตุปัจจัย เป็นแบบอย่างของการเคารพกฎระเบียบของโรงเรียน ในชี วิ ต ประจำวั น มั ก มี อุ ป สรรคมากมาย ให้กบั ลูกได้เป็นอย่างดี เป็นอีกครัง้ หนึง่ ทีเ่ ราได้แสดง มีสิ่งเร้าที่ยั่วยุให้เราสุขกับทางเนื้อหนังตลอดเวลา โลกแห่งการเคารพระเบียบและกติกาให้ลกู เห็นอย่าง เวลาการงานทำให้เราเครียด ไม่สงบ ขอให้มอง เป็นรูปธรรม สาธุ. เป็ น การเรี ย นรู้ ท้ า ทายกั บ การปฏิ บั ติ ธ รรมใน ชี วิ ต ตั ว เอง กำลั ง ใจ ความเข้ ม แข็ ง ของจิ ต ใจ คุณภาพจิตของเรา จะพัฒนาได้จากการภาวนา *คัดจากพระธรรมเทศนาโดยพระอาจารย์ชยสาโร (ทำสมาธิ เดินจงกรม) การภาวนาทำให้ชวี ติ ของเรา เรียบง่ายชั่วคราว ทำให้ได้มองเห็นในสิ่งที่ชีวิต การงานประจำวันไม่เคยเห็น ทำให้เรารูเ้ รือ่ งภายใน ของตัวเองได้มากขึ้น หลายด้าน หลายมุม*

๒๕


จดหมายจากครูแจ๊ด “พฤกษาแห่งศีลธรรม”

เรื่อง: ครูแจ๊ด – พัชนา มหพันธ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียนปัญญาประทีป

กลับมาพลิกอ่านหนังสือ “เยาวชนกับความรอด ของสังคม” ของพระอาจารย์พุทธทาส อีกครั้ง เพื่อทบทวน ถึ ง มรดกธรรมที่ ท่ า นฝากไว้ ด้ ว ยความห่ ว งใยเด็ ก และ เยาวชน ท่านตัง้ คำถามชวนคิดว่า “ต้นไม้ตอ้ งการอะไรบ้าง และต้นไม้ศีลธรรมในจิตใจคนนี้ มันต้องการอะไรบ้าง อะไรคือแผ่นดิน อะไรคือน้ำ อะไรคืออาหาร อะไรคือ แสงแดด อะไรคือสิง่ แวดล้อม การป้องกันทีด่ ”ี ท่านได้พดู ถึง การปลูกต้นไม้ว่ามี ๓ ข้อ คือ ๑) การเพาะพั น ธุ์ ที่ ดี ยิ่ ง ขึ้ น ไปกว่ า พั น ธุ์ เ ดิ ม “พ่อแม่ที่ดีนั้น คือ พันธุ์ที่ดีแล้วก็ดีในการที่จะระมัดระวัง ให้เกิดพันธุ์ที่ดียิ่งออกมาเป็นลูกหลาน” ๒) การบำรุงรักษา คือทุกเรื่องที่จะให้ต้นไม้นั้นงอกงาม ได้แก่ เรื่องน้ำ อาหาร แสงแดด สิ่งแวดล้อม เป็นต้น ๓) การตัดแต่ง (Pruning) โดยทั่วไปเรามักจะไม่ ค่อยสนใจคำนี้ ที่จริงการตัดแต่งสำคัญมาก กิ่งที่เป็นโรค ถ่วงความเจริญนั้นต้องคอยตัดออก ต้นไม้ที่ไม่ถูกตัดแต่ง “ก็ไม่เจริญงอกงามให้ผลดีฉนั ใด เด็กๆ ทีไ่ ม่ได้รบั การตัดแต่ง คือ ไม่มีการควบคุม การตัดการแต่ง ที่ไม่ใช่การตามใจ หรือบำรุงบำเรอ ก็จะเป็นอย่างนั้น เช่นเดียวกัน” พ ฤ ก ษ า แ ห่ ง ปั ญ ญ า ป ร ะ ที ป แม้ จ ะมี วั น ที่ ค รู แ อบล้ า จากการปลิ ด กิ่ ง ที่ เ ป็ น โรคร้ า ยของทั้ ง ตนเองและของต้ น ไม้ น้ อ ยๆ แต่ ล ะต้ น ณ ที่ แ ห่ ง นี้ สิ่ ง หนึ่ ง ซึ่ ง ครู ทุ ก คนร่ ว มกั น แบ่ ง ปั น คื อ เรือ่ งราวความงอกงามของกิง่ ก้าน ดอก ผล ทีป่ รากฎให้ได้เห็น ได้ดม หรือแผ่ขยายให้ร่มเงาแก่เพื่อนผู้ร่วมหยัดยืนอยู่ เคียงข้าง ดังเช่น สิง่ ทีเ่ กิดขึน้ จาก งานแข่งขันวิชาการระดับชัน้ ม.ต้น (อีกแล้ว) ซึง่ เด็กๆ ของเราได้สมัครเข้าร่วมการแข่งขัน เกื อ บครบทุ ก คน ครั้ ง นี้ จั ด ขึ้ น ที่ โ รงเรี ย นรุ่ ง อรุ ณ วิ ท ยา เมื่อวันพุธที่ ๘ ก.พ.๒๕๕๕ ที่ผ่านมา “บ อ ล ลู น ล อ ย แ ล้ ว” ในที่สุด “น้อง ม.๑ คึกคัก” ก็ปล่อยของแบบไม่มีกั๊ก แรงกระพือของความกระตือรือร้นทำให้บอลลูนใหญ่ยักษ์ ที่ช่วยกันคิดค้นประดิษฐ์ขึ้นมาถึงซึ่งปัจจัยให้ลอยล่องขึ้น ไปในอากาศ แม้จะลอยล่องอยู่ไม่นานตามความไม่เที่ยง

๒๖

ของธรรมชาติ แต่ ก็ ท ำให้ ค วามชื่ น ใจในเหตุ ปั จ จั ย ที่ ต่างเพียรสร้างปรากฎขึ้น เป็นโอกาสให้เพื่อนพ้องน้อง ม.๑ พี่ ๆ และคุ ณ ครู ได้ อ นุ โ มทนาร่ ว มกั น งานนี้ การลอยของบอลลูนไม่ใช่ พ ร ะ เ อ ก หากแต่ความ ส า มั ค คี ของ “คนเล็กหัวใจใหญ่” (ขอยืมชือ่ รางวัลจาก คนค้นฅนอวอร์ด) การเรียนรู้จากข้อผิดพลาด และ ความพากเพียรไม่ยอมแพ้ต่อกิเลสตัณหาของพวกเขา ต่างหาก ที่น่าสาธุให้ดังดัง ... ลอยไม่ลอยหนูไม่สน ขอแค่ล้มแล้วลุกเท่านั้น อีกการแข่งขันที่พาให้เรียนรู้ธรรม คือ การแข่งขัน สตรี ท บาสรวมชาย-หญิ ง (Street Basketball) ซึ่งครั้งนี้ นักกีฬาทั้งรุ่นพี่รุ่นน้องประสานใจ แสดงให้ เห็นถึงพลังของการถอย ลดทอนความยึดมั่นในตัวตน ปล่ อ ยให้ เ พื่ อ นแต่ ล ะคนได้ ท ำหน้ า ที่ อ ย่ า งเต็ ม ที่ กลายเป็นทีมที่รับ-ส่งกันได้อย่างดีกว่าที่ผ่านมา และช่วย ปลุกให้ฮีโร่ทั้งหลายได้เรียนรู้ที่จะอ่อนน้อมถ่อมตนรู้จัก ยอมรับความสามารถที่แตกต่างและเห็นคุณค่าของผู้อื่น ลูกหลานเราน่าชื่นใจใช่ไหมคะ “ค ว า ม ส ง บ ช่วยให้มนุษย์ทำงานต่างๆ ได้” แม้งานนี้ นักเรียนปัญญาประทีปจะได้เหรียญรางวัล มามากมายจากเกือบทุกรายการที่ส่ง แต่หาใช่ประเด็นที่ ครูจะหยิบยกขึ้นมาตั้งบนแท่นบูชาให้เกิดศรัทธาหรือ กำลังใจไม่ แต่ทว่า ความสงบในใจนี่หนา คือ คาถาแห่ง ความลุลว่ งของแต่ละบุคคล การเรียนรูใ้ นเรือ่ งนีต้ า่ งหาก คือหัวข้อที่เราต่างพูดคุยย้ำให้เข้าถึงใจ เด็กๆ หลายคน รู้สึกตนว่าพลั้งพลาดขาดสติ ปล่อยจิตให้เศร้าหมอง ไม่ เ มตตาตนเองและผู้ อื่ น ทั้ ง ก่ อ นการแข่ ง ขั น ขณะที่ แ ข่ ง ขั น หรื อ แม้ ก ระทั่ ง หลั ง การแข่ ง ขั น ทั้งที่มันผ่านพ้นไปแล้ว บางคนยอมรับว่าอ่อนซ้อมเพราะ ประมาท จึงเกิดความไม่มั่นใจ ยืนเครียดเกร็งไปหมด ขณะที่ ต้ อ งพู ด หน้ า ชุ ม ชน จึ ง ทำให้ ค ะแนนในส่ ว น การแสดงออกหล่นหาย ทั้งที่ได้คะแนนในด้านทักษะ ความรู้ ความสามารถ จากคณะกรรมการเต็ ม ล้ น บางคนแอบคิว้ ขมวด ไม่พอใจ เมือ่ รูว้ า่ ตนซึง่ ได้อนั ดับสาม มี ค ะแนนน้ อ ยกว่ า อั น ดั บ หนึ่ ง เพี ย งสองคะแนน โอ ลูกจ๋า... เด็กหลายคนทีม่ กั จะถามครูวา่ “นัง่ สมาธิไปทำไม” คงจะได้คำตอบบ้างแล้วล่ะค่ะครานี้ หลับตานอกเพื่อให้เห็นกิ่งก้านแห่งความทะยาน


อยากได้ อยากมี อยากเป็น ไม่อยากได้ ไม่อยากมี ไม่อยากเป็น ต่างๆ นานา ที่มาของความทุกข์ทั้งปวงที่ปรากฎขึ้นในใจตนไงคะลูก นี่คือสิ่งที่ ครูพยายามสอนโดยไม่พูด แต่ให้หนูทำมาโดยตลอด “การอบรม คื อ การศึ ก ษาที่ ไ ม่ ต้ อ งใช้ ค ำพู ด ไม่ ต้ อ งใช้ ตำรั บ ตำรา ไม่ ต้ อ งใช้ ดิ น สอปากกา นี่ เ ราเรี ย กว่ า การอบรม คื อ ให้ เ ขาประพฤติ ก ระทำอยู่ ตามที่ เ ขาได้ ศึ ก ษามานั่ น แหละ” พระอาจารย์พุทธทาส การศึกษาแบบ “ทวนกระแส” คือ การพาให้เรารูค้ วามแรงของกระแส ทำให้เราต่างได้คดิ ตัดสินใจอยูท่ กุ ขณะว่าเราจะเลือก “ตาม” หรือ “ทวน” หากการ “ตาม” นัน้ เป็นสิง่ ทีเ่ ลือก คงมิตอ้ งมีการฝึกฝืน อบรมขัดเกลาตน หรื อ พึ่ ง พาผู้ ใ ดแต่ อ ย่ า งใด แต่ ห ากเลื อ กที่ จ ะ “ทวนกระแส” สิ่งที่เราผู้ซึ่งยังเวียนวนอยู่ในกระแส น้ำนี้ คงขาดไม่ ไ ด้ ซึ่ ง กั ล ยาณมิตร ผู้คอยช่วย สนั บ สนุ น ส่ ง พลั ง ให้ ขั บ เคลื่ อ น และฉุ ด รั้ ง เมื่ อ เผลอไหลลื่นลง แล้ ว เราเหล่ า กั ล ยาณมิ ต รจั ก ทำเช่ น ไร เล่ า ให้ ลู ก หลานของเราผู้ มี บุ ญ (ได้ เ รี ย นรู้ ธรรมแต่เยาว์วัย) รู้จักเห็นคุณค่าของการฝึกฝืน บั ง คั บ ควบคุ ม จิ ต ใจตน ไม่ ใ ห้ ฟู ใ ห้ แ ฟบขึ้ น ลง ตามความพอใจไม่ พ อใจกั บ โลกภายนอก ในชีวิตประจำวันของตน เบื่อ สนุก อร่อย ไม่อร่อย ชอบ ไม่ชอบ เอา ไม่เอา เหนื่อย ร้อน หนาว รำคาญ คัน ช้าไป เร็วไป เช้าไป สายไป ซ้ำ เซ็ง สวย ไม่สวย ง่ายไป ยากไป... เยอะไป น้อยไป... โอยโอยโอย. เสียงบ่น โอดครวญเหล่านี้ ถ้าปล่อยให้ดังออกมาแล้วลอยผ่านไป นานๆ ครั้ง คงไม่เป็นไรมากนัก แต่ถ้าคั่งค้างลอยก้องอยู่ในใจ เกิดขึ้น ตัง้ อยู่ ดับไปบ่อยๆ โดยไม่มสี ติรเู้ นือ้ รูต้ วั อาจขุดร่องให้เราตกอยูใ่ นภวังค์ แห่งทุกข์ สุขสงบได้ยาก สร้างโลกภายในที่หมกมุ่นอยู่กับกิเลส ตัณหา และพกพาโลกนี้ไปทุกที่ ความสามารถและพลังในการขับเคลื่อนตนเอง ไปในทิศทางทีเ่ ป็นกุศลอาจค่อยๆ ลดลง ตัดโอกาสในการกระฉับกระเฉง ตื่นเรียนรู้สิ่งที่เป็นสาระและประโยชน์ที่แท้จริงของชีวิตอย่างน่าเสียดาย “อาการของความสงบคื อ ไม่ มี อ ะไรขาด ไม่ มี อ ะไรเกิ น มันพอดีพองาม มันอิ่มตัว .... ความอยากเกิดจาก การขาดความสงบ ... ปกติของใจ คือ สงบ อิ่ม พอ” * *คัดจากพระธรรมเทศนาของพระอาจารย์ชยสาโร ณ บ้านพอ ๒๕๕๕

๒๗


กองทุนพัฒนาครูวิถีพุทธโรงเรียนทอสี

ความเบิกบานของนักเรียนตัวโต เรื่อง: แม่ออย – ศิรดา อัศวานันท์ (คุณแม่ของน้องอันนา ป.๓ และน้องอิงค์ อ.๓)

นับเป็นค่ายที่ยาวนานที่สุดค่ายหนึ่ง ของทั้งผู้จัดและผู้เรียน สำหรับออย การทำงานครั้งนี้ เป็นงานที่ให้ประสบการณ์มากอีกงานหนึ่ง และให้เราได้เรียนรู้ อะไรเพิ่มมากขึ้น ก่อนอื่นต้องขอขอบพระคุณโรงเรียนทอสีที่เปิดโอกาสให้ออยได้ เข้ามามีส่วนร่วมในการทำงานในโรงเรียน ได้ทดลองและเรียนรู้ไปพร้อมกัน งานนี้สืบเนื่องมาจาก พวกเราเหล่าผู้ปกครองอยากทำอะไรดีๆ เพื่อคุณครู โรงเรียนทอสีที่สั่งสอนและดูแลลูกๆ ของเราเป็นอย่างดีและทุ่มเทอย่างมาก จึงเกิดงาน “ม่วนชื่นน้องพี่ ทอสีสู่เหย้า” ขึ้น และเกิด “กองทุนพัฒนาครูวิถีพุทธ โรงเรียนทอสี” ขึ้นตามมา ค่ า ยทอสี เ บิ ก บาน แบ่ ง ออกเป็ น ๓ ส่ ว น คื อ ค่ า ยของผู้ ป กครอง ค่ายของคุณครู และค่ายของเด็กๆ ค่ายเบิกบานครั้งที่ ๑ นี้ เดิมทีเราจะจัดกันใน ช่วงปิดเทอมเดือนตุลาคม ๒๕๕๔ แต่เกิดวิกฤตการณ์นำ้ ท่วมครัง้ ใหญ่ของกรุงเทพฯ จึงทำให้เราต้องเลือ่ นออกไป สำหรับค่ายของผูป้ กครองก็มาจัดอบรมในช่วงหลังส่งลูก ในตอนเช้า และก่อนรับลูกในตอนบ่าย ของภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๔ ค่ายผู้ปกครอง มีกิจกรรมทั้งหมด ๑๐ รายการ ได้แก่ เย็บสมุด โดยครูกิ๊ฟ / ทำตะกร้า โดยคุณยายน้องจ๊ะจ๋า, แม่จ,ี๋ แม่จนั ทร์, แม่ร,ี่ อาบี / วาดสีนำ้ โดย ครูยง้ / ทำ Journal แบบ Collage โดยแม่นยุ้ แบบสีนำ้ โดยแม่กอ้ ย / เย็บผ้า โดยแม่เปีย๊ ก / ล้างพิษเนือ้ หมู หุงข้าวสีแ่ ผ่นดิน โดยออย / ถ่ายรูป โดยพ่อเฑียร / ปัน้ ดิน โดยนายดี / วาดสีน้ำมัน โดยครูป่าน / งานไม้ โดยพี่บุญส่ง (สำหรับ ๓ งานท้ายสุดยังไม่ได้จัด เพราะรอคุณครูว่าง แต่จะให้เสร็จภายในปิดเทอมนี้แน่นอนค่ะ) กิจกรรมที่ยาวนานที่สุด คือกระเป๋าเย็บมือของแม่เปี๊ยก เราเริ่มมาเจอกัน วันพุธที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ หลังจากนัน้ เราก็มาพบกันทุกวันพุธ และก็มนี กั เรียน เพิ่ ม ขึ้ น เรื่ อ ยๆ ต้ อ งขอขอบคุ ณ แม่ เ ปี๊ ย กมากๆ ที่ เ สี ย สละเวลาเข้ า มาสอน ถ้าใครสนใจเรียน ขึ้นมาเยี่ยมชมห้องกิจกรรม (ชั้น ๓ อาคารธุรการ) ได้นะคะ สำหรับกิจกรรม “หุงข้าวสีแ่ ผ่นดิน” ตอนแรกจะเชิญวิทยากรเข้ามาสอน แต่เวลาไม่อำนวย ออยเลยตัดสินใจสอนเอง เพราะเราก็ทำอยู่แล้วที่บ้าน และอยากจะมาบอกสูตรและวิธีทำเพื่อนำไปทำเองที่บ้านได้* เราสอน “การล้ า งพิ ษ เนื้ อ หมู ” ซึ่ ง เป็ น การล้ า งสิ่ ง สกปรกและสารเคมี ต กค้ า ง ในเนื้อหมูออก โดยใช้น้ำด่าง (น้ำขี้เถ้า) ออยไปเรียนรู้เรื่องนี้จากป้าเพชร ออยคิดว่าเรื่องนี้เป็นทางเลือกถ้าเราสนใจ และถ้าสามารถนำไปทำได้ก็จะ เกิดประโยชน์ต่อเราและคนในครอบครัว *อ่านวิธีทำน้ำด่างสำหรับใช้ล้างเนื้อหมูหรือผัก และข้อความแสดง ความประทับใจของเหล่าผูป้ กครองผูเ้ ข้าร่วมกิจกรรมค่าย ได้ทบี่ อร์ดกิจกรรม หน้าห้องธุรการ หรือ www.thawsischool.com

๒๘

ท่านทีม่ คี วามประสงค์จะร่วมสนับสนุนกองทุนฯ ทัง้ ในรูปแบบการ ลงมือลงแรงอาสาและการร่วมสมทบทุน กรุณาติดต่อ ครูโหน่ง - หทัยรัตน์ บุตรยิ่ง ที่โรงเรียนทอสี หรือ โทร. ๐๒ ๗๑๓ ๐๒๖๐ ขอบพระคุณค่ะ


a: ร้านพอเพียงเปิดจำหน่ายอาหารเช้า ตั้งแต่

๐๗.๓๐-๐๘.๓๐ น. จันทร์-ศุกร์ และเปิดร้านอีกรอบในช่วง ๑๔.๓๐-๑๖.๓๐ น. ท่านทีต่ อ้ งการจะอุดหนุนสินค้าจาก ทางร้านสามารถมาใช้บริการได้ในเวลาดังกล่าว สื บ เนื่ อ งจากการพิ จ ารณา b: ของคณะกรรมการสมาคมสหพันธ์

สตรีเพื่อสตรี โรงเรียนทอสีได้รับ คั ด เลื อ กให้ เ ป็ น หนึ่ ง ใน ๘๔ โรงเรี ย นคุ ณ ธรรม ที่ มี ก ารสอน คุณธรรม จริยธรรม และศีลธรรม แก่นกั เรียน ครูหนู - บุศริน  รัญเสวะ ผู้จัดการโรงเรียนทอสี เป็นตัวแทน เข้ า รั บ โล่ เ ชิ ด ชู เ กี ย รติ “โรงเรี ย นคุ ณ ธรรม ดร.เที ย ม โชควัฒนา” ในวันเสาร์ที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๕๕ ณ เวทีกลางแจ้ง สวนลุมพินี

d: จากการทดสอบทางการศึ ก ษาระดั บ ชาติ

ขั้ น พื้ น ฐาน (O-NET) ของสำนั ก บริ ห ารงานคณะ กรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๓ บัดนี้ได้ประกาศผลเรียบร้อยแล้ว โดยนักเรียน ป.๖ โรงเรียนทอสีได้ผลการทดสอบในระดับเหรียญทอง ด้วยทางโรงเรียนตระหนัก E: ถึงความปลอดภัยและสวัสดิภาพ

ของสมาชิกในชุมชนทอสี ขณะนี้ ทางโรงเรียนได้ดำเนินการติดตั้ง กล้องวงจรปิด (CCTV) เพื่อเฝ้า รั ก ษาและระวั ง ความปลอดภั ย ของบุ ค คลและสถานที่ เ ป็ น ที่ เรียบร้อยแล้ว

F:

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา กำหนด c: จั ด พิ ธี ม อ บ ร า ง วั ล “ ห นึ่ ง แ ส น ค รู ดี ”

ในวั น ที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๕๕ ที่ ผ่ า นมา ณ หอประชุมคุรสุ ภา คุณครูจากโรงเรียนทอสีที่ ได้รับรางวัลมีจำนวน ๖ ท่าน ได้แก่ ครูวัฒนา วัฒนา อ่อนคำ, ครูกุ้ง - ชื่นจิตต์ แสงทองสาย, ครูไล - วิไล จื้อเกร็ด, ครูต้น - ทัศน์เนตรดาว โสรัต, ครูรุจ - รุจจลักษณ์ มีแสง, ครูนิ่ม กาญจนา ใจการ

เพือ่ ให้เด็กและผูป้ กครอง เกิ ด ความสะดวกในการใช้ บริการห้องสมุดโรงเรียนมากขึน้ ทางโรงเรียนขอปรับเวลาเปิดปิดห้องสมุดเป็น เวลา ๐๗.๓๐๑๗.๐๐ น. ทุกวัน จันทร์-ศุกร์

โรงเรียนทอสีขอเชิญท่านผู้ปกครอง G: ที่สนใจร่วมทำกิจกรรมยามเช้าที่โรงเรียน

ทอสีตามอัธยาศัย - ทำวัตรเช้า นั่งสมาธิ ฟังเสียง ธรรมเทศนาสั้น ที่ห้องพระ อาคารใจงาม (ชั้น ๒ ของอาคารเด็กเล็ก) ทุกวันอังคาร และพฤหัสบดี เวลา ๐๗.๓๐-๐๘.๐๐ น. - รำกระบองเพื่อสุขภาพ ที่สนาม บาสเกตบอล ทุ ก วั น พุ ธ และศุ ก ร์ เวลา ๐๘.๐๐-๐๘.๓๐ น. (บางวันมีกิจกรรมโยคะ โดยแม่เอ คุณแม่ของน้องปันปัน ป.๕ เข้า มาเสริมด้วย)

๒๙


โยคะ ท่าตั๊กแตนตัวเล็ก Little Grasshopper

เรียบเรียงเรื่อง: ครูน้ำอ้อย – น้ำอ้อย สืบดี ผู้แสดงท่าประกอบ: น้องเฟย์ – ด.ญ. วีรินทร์ อรุณสกุล อ.๓

โยคะฝึกกายสบายจิต Yoga for Children ขอแนะนำคุณพ่อคุณแม่ทกุ ท่านว่า เด็กทีม่ ปี ญ ั หาทางบุคลิกภาพ และสมรรถภาพจิต เช่น ขาโก่ง หลังค่อม การทรงตัวไม่ดี สมาธิสั้น ใจร้อน ขี้โมโห มีปัญหาในการเรียนรู้นั้น เหมาะที่จะฝึกโยคะมากๆ เลยค่ะ การเล่นโยคะเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยแก้ไขได้ ทดลองดูนะคะ ดีจริงๆ ขอบอก ประโยชน์ : หากเล่ น เป็ น ประจำจะช่ ว ยป้ อ งกั น หอบหื ด และ หลอดลมอั ก เสบ ระบบย่ อ ยอาหารจะดี ขึ้ น ท้ อ งไม่ ผู ก แก้ ท้ อ งอื ด คล่องแคล่วว่องไวเหมือนตั๊กแตน นอนคว่ำหน้ากับพื้น วางคางจรดพื้น แยกขาสองข้าง ห่างกันเล็กน้อยและเหยียดตรง วางแขนทั้งสองไว้ข้างลำตัว แบมื อ คว่ ำ ลงแนบพื้ น ปลายนิ้ ว มื อ ชี้ ไ ปทางเท้ า ให้ฝ่ามืออยู่ชิดต้นขา

หายใจเข้าลึกๆ ยกขาข้างซ้ายขึน้ ให้สงู ทีส่ ดุ โดยทีเ่ ข่าไม่งอ ค้างไว้นบั ๑ - ๓ หายใจออกยาวๆ พร้อมกับวางขาลงเบาๆ

ยกขาข้างขวาขึ้นบ้าง ทำเหมือนขาข้างซ้าย หายใจเข้ า ลึ ก ๆ ยกขาสองข้ า งขึ้ น ให้สูงที่สุด โดยที่เข่าไม่งอ ค้างไว้นับ ๑ - ๓ หายใจออกยาวๆ พร้อมกับวางขาลงเบาๆ อย่าให้กระแทกพื้น ทำซ้ำต่อเนื่องทั้ง ๔ ขั้นตอน จำนวน ๓-๕ รอบ แล้วพักในท่าจระเข้ตามรูป

หนังสืออ้างอิง • โยคะเพื่อสุขภาพ โดย ชื่นชม สิทธิเวช • คุยตัวตัวกับครูโยคะ โดย ถือศีล ดิฐวัฒน์โยธิน • โยคะฝึกสมาธิ โดย เกศสุดา ชาตยานนท์ • Yoga for Children โดย Bel Gibbs • Yoga for Children โดย Swati and Rajiv Chanchani


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.