
1 minute read
ยาเฉพาะตัว” ในอนาคต
“คุณเคยแพ้ยาเพนิซิลินหรือไม่” “เคยแพ้ยาอื่น ๆ หรือไม่” “ท�ำไมคน สองคนเป็นโรคเดียวกัน กินยาตัวเดียวกัน ขนาดเท่ากัน แต่คนเดียวเท่านั้นที่ยาได้ผล” ค�ำพูดนี้มีนัยว่ายามีผลต่อคนแตกต่างกัน แพทย์สังเกตเห็นเหตุการณ์เช่นนี้มานานแล้ว จึงท�ำให้เกิดการค้นคว้าวิจัยและในอนาคตจะน�ำไปสู่การใช้ยาเฉพาะคน (personalized medicine) ซึ่งก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการรักษามากที่สุด สาขาการแพทย์และเภสัชวิทยาที่มีชื่อว่า pharmacogenomics (ซึ่งมาจาก pharmaco + genomics หรือ เภสัช + พันธุกรรม) เกิดขึ้นอย่างไม่เป็นทางการ ในทศวรรษของปี 1950 กว่าจะมีบทความจริงจังตีพิมพ์ที่มาจากงานวิจัยก็ประมาณ ปี 1961 มีรายงานแรกในปี 1956 ว่ามีคนไข้จ�ำนวนไม่น้อยเป็นอัมพาตหรือถึงแก่ชีวิต หลังจากฉีดยา succinylcholine ระหว่างวางยาสลบ จึงท�ำให้เกิดความสงสัยว่าคนไข้ ที่ประสบเหตุเหล่านี้อาจมียีนส์ที่แตกต่างจากคนอื่น ยีนส์ (gene) ที่ว่านี้อยู่ในแต่ละเซลล์ของสิ่งมีชีวิต เปรียบเสมือนกับค�ำสั่ง ให้ร่างกายท�ำงาน ส�ำหรับมนุษย์นั้นมีโครโมโซมอยู่ 23 ตัว (2 คู่รวม 46 ตัว) DNA คือการประกอบกันขึ้นของโครโมโซม เป็นเส้นยาวมองไม่เห็นด้วยตาเปล่าประมาณ 1.3 เมตร บรรจุ 3,000 ล้าน “ค�ำสั่ง” ซึ่งมาจากยีนส์จ�ำนวนประมาณ 19,000- 20,000 ซึ่งอยู่ในโครโมโซมเหล่านี้เพื่อให้ร่างกายมนุษย์ทุกส่วนท�ำงานผ่านการหลั่ง ของสารต่าง ๆ ในร่างกาย
DNA จึงเปรียบเสมือน “ต�ำรากับข้าว” ของชีวิตโดยอยู่ในแต่ละเซลล์ โดยมียีนส์เป็นผู้ออกค�ำสั่ง มนุษย์มีร้อยละ 99.5 ของ 3,000 ล้านข้อมูล (เรียกว่า genomes ซึ่งคือ genetic information หรือข้อมูลด้านพันธุกรรม) ที่เหมือนกัน ส่วนที่แตกต่างกันเพียงร้อยละ 0.5 ท�ำให้แต่ละคนมีความสามารถในการตอบรับต่อยา ได้แตกต่างกันมากมายเพราะหมายถึงนับล้าน ๆ ของข้อแตกต่างระหว่าง DNA ของ คนสองคน ในปี 2000 มนุษย์ประสบผลส�ำเร็จในการท�ำแผนที่ DNA กล่าวคือใน ความยาว 1.3 เมตรของDNA สามารถบอกได้พอประมาณว่าตรงยีนส์ตัวใดของ โครโมโซมตัวใดที่มีหน้าที่สั่งให้มีการหลั่งของสารใดเพื่อให้ร่างกายส่วนใดท�ำงาน ปัจจุบันสามารถรู้ได้มากพอควรจากแผนที่ DNA ของแต่ละคนว่ามีความ เสี่ยงที่จะเป็นโรคทางพันธุกรรมใด ท่านผู้อ่านคงจ�ำเรื่องราวของดาราภาพยนตร์ชื่อดัง Angelina Jolie ตัดสินใจตัดนมและมดลูกทิ้งเพราะญาติใกล้ชิดหลายคนเป็นมะเร็ง ที่สองอวัยวะนี้ หลังจากดูแผนที่ DNA แล้วเห็นว่ามีโอกาสที่จะเป็น เธอจึงตัดสินใจ ตัดทิ้งเสียเลยก่อนหน้าที่ยีนส์ที่ไม่สมบูรณ์จะ “ก๊ง” และสั่งค�ำสั่งที่ผิด ๆ ออกไปจนมี ก้อนเนื้อเติบโตขึ้นเร็วผิดปกติซึ่งก็คือโรคมะเร็ง การแตกต่างของยีนส์ระหว่างบุคคล ท�ำให้ปฏิกิริยาที่มีต่อยาแตกต่างกัน ออกไป บางคนยาได้ผล ไม่ได้ผล หรือได้ผลแต่มีผลข้างเคียงสูง หรือมีแต่ผลข้างเคียง อย่างเดียว เหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะเมื่อร่างกายรับยาเข้าไป มันก็จะผ่านกระบวนการ ย่อยสลายและดูดซึมโดยร่างกาย (metabolize) ยาจะผ่านกระบวนการนี้อย่างไรและ ร่างกายมีปฏิกิริยาต่อมันอย่างไร สิ่งที่เป็นตัวก�ำหนดส่วนหนึ่งก็คือยีนส์ของเรา กล่าว คือยีนส์เหล่านี้มีผลต่อ “เครื่องจักร” ซึ่งรับผิดชอบกระบวนการดังกล่าว การเข้าใจว่ายีนส์ที่แตกต่างกันมีผลอย่างไรต่อกระบวนการดูดซับ สามารถ ช่วยให้แพทย์ตัดสินใจได้แม่นย�ำว่าควรให้ยาตัวใด ด้วยขนาดเท่าใด จึงจะเป็นผลดีที่สุด แก่คนไข้ ดังนั้น pharmacogenomics จึงเป็นศาสตร์ที่นักวิทยาศาสตร์ศึกษาข้อมูลที่ ออกมาจากยีนส์ของแต่ละคนเพื่อให้บอกได้ว่าปัจจัยพันธุกรรมใดซึ่งมีอิทธิพลต่อการมี ปฏิกิริยาต่อยา
Advertisement
พูดง่าย ๆ ก็คือต้องการค้นให้พบยีนส์ของแต่ละคนที่ท�ำให้เกิดปฏิกิริยาต่อ ยาตัวหนึ่ง ถ้าหายีนส์ตัวที่เกี่ยวพันกับการตอบรับยาตัวนี้ได้ แพทย์ก็จะพยากรณ์ได้ว่า คนไข้จะมีปฏิกิริยาต่อยาตัวนี้อย่างไร และควรให้ด้วยประมาณเท่าใด สิ่งที่นักวิจัยเหล่านี้ต้องการก็คือการพัฒนาบททดสอบยีนส์ (genetic tests) ของแต่ละคนที่มีปฏิกิริยาต่อยาแต่ละตัว หรือแต่ละครอบครัวของชุดตัวยาเพื่อที่จะได้ รู้ว่าควรใช้ยาใดที่เกิดผลดีที่สุดแก่คนไข้ มีผลข้างเคียงน้อยที่สุด และนี่คือการผลิตยา เฉพาะขึ้นมาของแต่ละคน (personalized medicine) ในการรักษาโรคหนึ่ง ๆ ทิศทางของการผลิตยาเช่นนี้ในอนาคตจะท�ำให้เกิดการรักษาพยาบาลที่มี ประสิทธิภาพที่สุด ตัวอย่างเช่น การรักษาโรคมะเร็งบางชนิดมีราคาแพงมาก แต่อาจ ได้ผลเฉพาะคนที่มียีนส์บางลักษณะเท่านั้น คนไข้ที่มียีนส์ลักษณะอื่นก็จะไม่ตอบรับ กับยาตัวนี้ ดังนั้นจึงเป็นการสูญเสียเปล่า และเป็นการรักษาที่ไม่ได้ผลอีกด้วย หากมี ความเข้าใจโรคอย่างถ่องแท้และมีการรักษาพยาบาลผ่าน pharmacogenomics ทรัพยากรก็จะถูกใช้ไปได้เต็มที่ในการรักษาที่ถูกทาง ซึ่งจะท�ำให้เกิดผลดีแก่คนไข้ มากกว่า Pharmacogenomics ก้าวหน้าไปมากในปัจจุบัน แต่ก็ยังมีหนทางอีก ยาวไกลในอนาคต ยิ่งรู้มากขึ้นก็ยิ่งเห็นว่ามนุษย์ได้ใช้วิธี “ตัดเสื้อตัวเดียวให้คนทุก คนใส่” มานาน เสื้อบางตัวก็เล็กไปแต่ถูกบังคับให้ใส่จนหายใจไม่ออกและเสียชีวิต บางตัวก็พอใส่ได้ให้ความอบอุ่นและความงาม บางตัวก็ใหญ่เกินไปจนหลวม แต่ก็ พอถูไถไปได้ถึงแม้จะซื้อมาด้วยราคาแพงมากก็ตาม ถ้าแม้นหาผ้าหนา ๆ มาห่มก็จะ ไม่หนาวและแถมใส่สบาย สวยงาม และถูกกว่ามากด้วย การจะรู้ว่าตัวคนใส่มีร่างกายขนาดใด มีรสนิยมอย่างไร ก่อนที่จะตัดเสื้อให้ ด้วยชนิดของผ้าหนาหรือบางเพียงใด จึงเป็นเรื่องส�ำคัญมากเพราะจะได้ใส่สบายและ ถูกใจคนใส่ ทั้งหมดนี้ไม่หนีงานวิจัยอันยาวนานในการศึกษายีนส์และปฏิกิริยาที่มีต่อ ยาชนิดต่าง ๆ ของแต่ละบุคคล มีกรณีที่เกิดขึ้นจริงกับแม่ที่คลอดลูกด้วยวิธีผ่าท้อง แพทย์ให้ยามาตรฐานคือ codeine เพื่อลดความเจ็บปวดหลังผ่าตัดเหมือนกรณีทั่วไป หลังจากนั้นเธอวิงเวียน
ศีรษะ อาเจียร และเห็นว่าลูกที่กินนมเธอดูหงอย ๆ และไม่ค่อยกินนม แพทย์จึง สั่งให้หยุดยาตัวนี้ อาการก็กลับมาเป็นปกติ แพทย์ลงความเห็นว่าถ้าแม้นให้เธอผ่าน บททดสอบยีนส์ก่อนรับยาก็จะพบว่าเธอมียีนส์ซึ่งมีชื่อว่า CYP2D6 ซ้อนกันสองตัว จนท�ำให้เธออยู่ในกลุ่มของผู้มีการดูดซับยาเข้าสู่ระบบร่างกายอย่างรวดเร็ว ซึ่งอธิบาย การแพ้ยา codeine ที่มีรากมาจากฝิ่นเพื่อระงับความปวด personalized medicine คือยาในอนาคตซึ่งก�ำลังก่อตัวอย่างรวดเร็วโดย ในขั้นแรกอาจเป็นยาเฉพาะพันธุกรรมของแต่ละเชื้อชาติ เพศ หรือเผ่าพันธุ์ ซึ่งตีวง ลงมาเล็กกว่าการให้ยาตัวเดียวกันส�ำหรับอาการป่วยเดียวกันส�ำหรับทุกคนดังเช่น ในปัจจุบัน
อย่าเสียใจที่เกิดมาเร็วเกินไป ทุกอย่างเป็นไปตามขั้นตอนของการพัฒนา ครั้งต่อไปพยายามเลือกเกิดให้ถูกยุคสมัยก็แล้วกันจะได้มียาที่รักษาเฉพาะตัวได้อย่าง ชะงัด
Destiny is not a matter of chance, it is a matter of choice. It is not a thing to be waited for, it is a thing to be achieved. ชะตากรรมมิใช่เรื่องที่เกิดขึ้นเองโดยบังเอิญ หากเป็นเรื่องของการเลือก มันมิใช่สิ่งที่จะรอคอยให้มาถึง แต่เป็นสิ่งที่ต้องลงมือกระท�ำเพื่อให้บรรลุ
William Jennings Bryan (นักการเมืองอเมริกัน ค.ศ.1860-1925)
No man or woman is worth your tears and the only one who is, will never make you cry. ไม่มีชายหรือหญิงคนใดคุ้มกับน�้ำตาของคุณ แต่หากจะมีสักคน คนนั้นก็จะไม่มีวันท�ำให้คุณร้องไห้
Life is 10% what happens to you and 90% how you react to it. ชีวิตคือสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวคุณ 10 เปอร์เซ็นต์ และ 90 เปอร์เซ็นต์คือคุณมีปฏิกิริยาอย่างไรต่อมัน
Charles R. Swindoll (นักสอนศาสนาชาวอเมริกัน ค.ศ.1934-)
When you teach your son, you teach your son’s son. เมื่อคุณสอนลูกชายคุณ คุณก�ำลังสอนลูกชายของลูกชายคุณ
