1 minute read

หนึ่งบรรทัดนิยายกลายเป็นแนวคิด

เพียงหนึ่งบรรทัดจากนิยายที่แสดงให้เห็นถึงความลึกซึ้งของชีวิตสามารถ เป็นฐานเพื่อการต่อยอดเป็นแนวคิดที่น่าสนใจได้อย่างไม่น่าเชื่อ “ครอบครัวทั้งหมดที่มีความสุขมีลักษณะเหมือนกัน แต่ละครอบครัวที่ไม่มี ความสุขต่างก็ไม่มีความสุขตามเส้นทางของตนเอง” (Happy families are all alike; every unhappy family is unhappy in its own way.) ประโยคเริ่มต้นของ นิยายดังก้องโลกชื่อ Anna Karenina (1877) ของ Leo Tolstoy ให้ข้อคิดในเรื่อง ความสุขที่น่าคิดยิ่ง ถ้าแม้น Leo Tolstoy นักเขียนผู้ได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในนักเขียนที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ของโลกมีชีวิตอยู่ในวันนี้ก็จะมีอายุ 190 ปี ประโยคที่เขาทิ้งไว้นี้เป็นที่รู้จักกันทั่วโลก มีผู้เอามาแปลเป็นกฎโดยให้ชื่อว่า Anna Karenina Principle ซึ่งสามารถเอามา ประยุกต์ได้อย่างกว้างขวางในชีวิต ความหมายของประโยคแรกของนิยายเรื่องนี้ก็คือครอบครัวที่มีความสุขจะ มีลักษณะที่คล้ายกัน เช่น มีความรักเห็นอกเห็นใจกัน มีฐานะทางเศรษฐกิจที่มั่นคง มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน รักและปรารถนาดีต่อกันอย่างจริงใจ ฯลฯ ส่วนครอบครัว ที่ไม่มีความทุกข์นั้น มีสาเหตุมาจากร้อยแปดพันประการ แต่ละครอบครัวก็มีการไม่มี ความสุขในลักษณะที่แตกต่างจากกันไป

สิ่งที่ Tolstoy บอกก็คือมันมีเงื่อนไขของการมีครอบครัวที่มีความสุขซึ่ง ทุกครอบครัวจะต้องมีเหมือนกัน ส่วนครอบครัวที่ขาดความสุขนั้นขาดเงื่อนไขบางข้อ ไปและอาจขาดไม่เหมือนกันด้วย ดังนั้นหากต้องการมีครอบครัวที่มีความสุขแล้วจะ ต้องสร้างเงื่อนไขดังว่าทั้งหมดให้ครบ ประโยคที่ก้องโลกนี้อีกกว่าร้อยปีต่อมาก็มีคนเอามาตีความให้มันลึกซึ้งอย่าง ผิดแปลกออกไปบ้างและเอามาเรียกเป็นกฎโดยระบุว่า “การขาดสิ่งหนึ่งไปในชุดของ สิ่งที่จ�ำเป็น จะท�ำให้ความพยายามที่กระท�ำอยู่นั้นล้มเหลวลง ดังนั้นความพยายามที่ ส�ำเร็จก็คือการหลีกเลี่ยงในทุก ๆ ทางไม่ให้เกิดการขาดสิ่งนั้น” พูดง่าย ๆ ก็คือครอบครัวจะมีความสุขก็เมื่อประสบความส�ำเร็จในทุก ๆ เรื่องที่ส�ำคัญดังกล่าวแล้ว หากล้มเหลวไปในเรื่องใดเรื่องหนึ่งจะน�ำไปสู่การไม่มี ความสุข ดังนั้นมันจึงมีหนทางมากกว่าในการที่ครอบครัวจะไม่มีความสุขมากกว่ามี ความสุข ฟังดูแล้วอาจหดหู่ แต่ Tolstoy ก�ำลังพูดถึงความจริงของชีวิตเพื่อให้ทุก ครอบครัวระวัง และปลอบใจการไม่มีความสุขของครอบครัว ดังที่ปรากฏในนิยาย Anna Karenina ตัวอย่างของการประยุกต์ Anna Karenina Principle คือเรื่องที่สัตว์ป่า น้อยชนิดที่จะได้กลายมาเป็นสัตว์ที่มนุษย์เอามาเลี้ยงใช้งาน Jared Diamond ใน หนังสือดังชื่อ Guns, Germs and Steel (1997 ) ใช้กฎข้อนี้มาอธิบายอย่างน่าสนใจ เขาบอกว่าในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ มีสัตว์ที่มนุษย์น�ำมาใช้งาน (domesticated animals) น้อยชนิดมาก โดยแยกเป็น 6 ลักษณะด้วยกันกล่าวคือ (1) สัตว์พันธุ์นั้น ต้องไม่จู้จี้เลือกอาหารมาก (2) ต้องมีอัตราการเติบโตที่สูงจึงจะคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ (3) ต้องแพร่พันธุ์ในที่กักขังได้ ถ้าไม่ยอมผสมพันธุ์ก็เพิ่มจ�ำนวนไม่ได้ (4) ต้องไม่มี อารมณ์ฉุนเฉียวและดุร้าย ตัวอย่างเช่น ม้าลาย ฃึ่งรักอิสระและมีอารมณ์ต่างจาก ม้าปกติจึงเอามาใช้งานไม่ได้ (5) สัตว์พันธุ์ที่ตื่นง่ายไม่เหมาะอย่างยิ่ง และ (6) สัตว์พันธุ์ที่มีลักษณะความสัมพันธ์ทางสังคมแนวตั้ง เช่น สุนัข แกะ วัว (มีจ่าฝูง) เหมาะสม แต่ประเภทรักอิสระ ชอบอยู่ตัวเดียวโดด ๆ นั้นไม่เหมาะสม เมื่อพิจารณาดูแล้วจะเห็นว่าพันธุ์สัตว์ที่สามารถเอามาใช้งานได้อย่างประสบ ผลส�ำเร็จนั้นมีน้อยมากเพราะมีไม่ครบ ทั้ง 6 ลักษณะดังกล่าวนี้ ซึ่งคล้ายกับกรณีของ

Advertisement

การขาดความสุขในครอบครัวซึ่งมักมีบางองค์ประกอบที่ขาดไป ผู้อ่าน Anna Karenina นับร้อย ๆ ล้าน ๆ คน อ่านหนังสือเล่มนี้อย่าง ชื่นชมผู้แต่ง เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับชีวิตจริงของผู้คนในระดับชาวบ้านและชนชั้น กลางในรัสเซียในยุคนั้นที่เต็มไปด้วย โลภะ โทสะ โมหะ และราคะ (เฉกเช่นเดียวกับ ยุคสมัยอื่น) Anna Karenina เป็นตัวน�ำของเรื่องที่ชีวิตไปโยงใยกับญาติ เพื่อน และ ญาติสามี เธอหลงรักชายรูปหล่อจนเป็นชู้กัน ทิ้งสามีและลูก จนในที่สุดพบแต่ความ ทุกข์เพราะชายหนุ่มไม่ต้องการความผูกพัน ในความทุกข์เธอก็มีความสุขสลับกันไป เพราะได้ยอมรับความเสี่ยงทุกอย่างแม้แต่ชีวิตของเธอเพื่อหาความรักแท้และก็พบ ความจริง ในที่สุดหลังจากยอมแพ้ชะตากรรม เธอก็ฆ่าตัวตาย Tolstoy เขียนได้สะเทือนอารมณ์ผู้อ่าน ให้ทั้งคติการด�ำเนินชีวิต และ แง่คิดเกี่ยวกับความรักทั้งในแง่บวกและแง่ลบ เขาบอกว่า “ความรักท�ำให้ความเป็น มนุษย์สูงขึ้น” แต่ขณะเดียวกันก็ท�ำให้เกิดความทุกข์ แต่กระนั้น “โรมานซ์และรักแท้” นั้นมีจริง (ถ้าหาเจอ) แต่ก็ต้องสุ่มเสี่ยงหาดังเช่น Anna Karenina ความรู้สึกหนึ่งที่เกิดขึ้นกับผู้อ่านก็คือ ความรู้สึกไม่เป็นธรรมกับชะตากรรม ของเธอ แต่ Tolstoy ก็พยายามบอกว่าการคิด “เป็นธรรม” หรือ “ไม่เป็นธรรม” นั้น ไม่เกิดประโยชน์แต่อย่างใด สู้การคิดแง่บวกเพื่อต่อสู้กับสถานการณ์ที่ไม่เป็นธรรมจะ เหมาะสมกว่า Leo Tolstoy มีชื่อทางการว่า Count Lev Nikolayevich Tolstoy (1828-1910) เกิดในครอบครัวขุนนาง (จริง ๆ เป็นท่านเคาทน์) ทิ้งผลงานส�ำคัญคือ War and Peace (1869) และนิยายส�ำคัญอีกนับเป็นสิบ ๆ เรื่อง ข้อเขียนของเขา ในเรื่องความไม่รุนแรง จุดประกายความคิดของบุคคลส�ำคัญในชั่วคนต่อมาในศตวรรษ ที่ 20 เช่น มหาตมะ คานธี และ Martin Luther King Jr. คนทั่วโลกแปลหนังสือของเขาเป็นภาษาท้องถิ่น รวมกันนับเป็นหมื่นเล่ม ในเกือบทุกภาษาของโลก เฉพาะ Anna Karenina นั้นมีคนแปลจากภาษารัสเซียเป็น ภาษาอังกฤษถึง 10 เวอร์ชั่น ถูกสร้างเป็นละคร ภาพยนตร์และโอเปร่าตลอดระยะ เวลา 141 ปี นับเป็นร้อย ๆ ครั้ง

ชีวิตอันน่าสลดใจของ Anna Karenina ในการแสวงหาความรักแท้เป็น เรื่องน่าสนใจและเป็นบทเรียนแก่ชีวิตหญิงชายจ�ำนวนมากมายในโลก นิยายอมตะ เรื่องนี้ได้รับการยอมรับในโลกว่าเป็นนิยายที่ดีที่สุดเรื่องหนึ่งในประวัติศาสตร์ Anna Karenina Principle เตือนใจให้ผู้คนระมัดระวังในการพยายาม กระท�ำสิ่งใดก็ตามว่าความส�ำเร็จนั้นมีปัจจัยที่คล้ายคลึงกันและจ�ำเป็นต้องมีให้ครบ ในขณะที่ความล้มเหลวนั้นเกิดขึ้นได้ง่ายกว่ามากเพราะเพียงขาดปัจจัยหนึ่งไปเท่านั้น ชีวิตและการมีความสุขนั้นเป็นสิ่งเปราะบาง หากมีชีวิตที่ดีและมีความสุข แล้วต้องประคับประคองมันไว้ให้ดี อย่าได้นึกว่าเมื่อเราท�ำดีแล้วโลกจะมีความเป็น ธรรมให้เรา ความจริงก็คือไม่มีอะไรที่จะประกันให้โลกมีความเป็นธรรมแก่มนุษย์ ไม่ว่าผู้ใดก็ตาม

ชาวพุทธที่ดีต้องเชื่อในเรื่องการกลับชาติมาเกิดหรือไม่? (ผู้เขียนถามท่านทะไลลามะ ที่ธรรมศาลาอินเดีย เมื่อปลายตุลาคม 2561) ท่านตอบว่า “ไม่จ�ำเป็น ชาตินี้ท�ำให้ดีที่สุดก็แล้วกัน ถ้าบังเอิญชาติหน้ามีจริงก็จะได้ประโยชน์ไปเอง”

Think with you brain. จงคิดด้วยสมอง

จากภาพยนตร์ชุด Medici (2018)

There is no love; there are only proofs of love. สิ่งที่เรียกว่าความรักนั้นไม่มี จะมีก็แต่สิ่งที่ได้พิสูจน์ความรัก

Pierre Reverdy (กวีเอกชาวฝรั่งเศส ค.ศ.1889-1960)

The best way to keep one’s word is not to give it. วิธีที่ดีที่สุดในการรักษาค�ำพูดก็คือไม่ให้เสียแต่แรก

Napoleon Bonaparte (นายทหารและกษัตริย์ฝรั่งเศสผู้ยิ่งใหญ่ ค.ศ.1769-1821)

A foolish man lives for himself. A wise man lives with a purpose. คนเขลามีชีวิตเพื่อตัวเอง คนฉลาดด�ำเนินชีวิตอย่างมีเป้าหมาย

life is random

This article is from: