บทความวิชาการ ประชุมวิชาการชาติยมกับพหุวัฒนธรรม

Page 1

วันที่ 22- 23 ธันวาคม 2551 ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติ โรงแรม ดิเอ็มเพรส เชียงใหม่ สนับสนุนโดย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์




บทความในหนังสือดังกล่าวเป็นลิขสิทธิ์ของสำ�นักกิจการชาติพันธุ์ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ การตีพิมพ์บทความ ดังกล่าวเพื่อเผยแพร่ ควรได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ ผู้จัดพิมพ์: ศูนย์ภูมิภาคด้านสังคมศาสตร์และการพัฒนาอย่างยั่งยืน คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 239 ถนนห้วยแก้ว ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200 โทรศัพท์ 053-943595 โทรสาร 053-893-279 e-mail: rcsd@chiangmai.ac.th URL: http://rcsd.soc.cmu.ac.th ออกแบบและจัดทำ�รูปเล่ม: โค-ขยัน มีเดีย ทีม 131 หมู่ 3 ต.แม่เหียะ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50100 โทรศัพท์ 053-114066 e-mail: co_kayan@mac.com พิมพ์ครั้งที่ 1 จำ�นวนพิมพ์ 1,000 เล่ม




7

สังคมไทยในอดีตเป็นสังคมที่ยอมรับความหลากหลายทางชาติพันธุ์ และการอยู่ร่วมกันของกลุ่มชาติพันธุ์ แนวคิดชาตินิยมที่ก่อตัวขึ้นมาพร้อมๆ กับการกระบวนการสร้างรัฐชาติ ได้ส่งผลต่อการให้นิยามวัฒนธรรมประจำ� ชาติและอัตลักษณ์ประจำ�ชาติ ศาสนา ภาษา แนวคิดเรื่องการพัฒนาและระบบคุณค่าทางสังคมภายใต้รัฐชาติไทย เหล่านี้ ได้นำ�ไปสู่การกดทับ และทำ�ลายอัตลักษณ์ วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ของกลุ่มคนที่ด้อยกว่า กลุ่ม ชาติพันธุ์ ตลอดจนกลุ่มอารยธรรมย่อย นอกจากนี้ ยังนำ�ไปสู่อคติทางชาติพันธุ์ ที่มองกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีวิถีชีวิตและ วัฒนธรรมที่แตกต่างไปอย่างเป็น “คนอื่น” และการสร้างภาพแบบเหมารวม เช่น ชาวเขาทำ�ลายป่าและค้ายาเสพ ติด ชาวมุสลิมชอบใช้ความรุนแรง ในบางครั้งนำ�ไปสู่ความขัดแย้งทางชาติพันธุ์และความรุนแรงในสังคม นอกจากนี้ นโยบายการพัฒนาภายใต้วาทกรรมความทันสมัย ผ่านโครงการพัฒนาต่างๆ ของรัฐทีเ่ ข้าไปดำ�เนิน งานในชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ มักมุ่งเน้นไปที่ปัญหาความมั่นคงของชาติและการส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนแปลง การผลิตไปสูร่ ะบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ได้สง่ ผลกระทบต่อกลุม่ ชาติพนั ธุ์ เช่น การจำ�กัดสิทธิในการเข้าถึงทรัพยากร การปรับเปลี่ยนจากวิถีชีวิตแบบยังชีพเข้าสู่ระบบการตลาด โครงการพัฒนาต่างๆ นั้น ยังละเลยการให้ความสำ�คัญ กับมิติทางวัฒนธรรม อันประกอบด้วยความหลากหลายและซับซ้อนของประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น พลังทางวัฒนธรรม ทุนทางสังคม ตลอดจนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการกำ�หนดชะตากรรมของตนเอง ซึ่งมิไม่ได้ เปิดพื้นที่ให้กลุ่มวัฒนธรรมต่างๆ ได้ตอบโต้หรือเคลื่อนไหวเพื่อแสดงออกถึงอัตลักษณ์ของตน การประชุมวิชาการ “ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม” ที่จัดขึ้นในวันที่ 22-23 ธันวาคม 2551 ณ ศูนย์ประชุม นานาชาติ ดิเอ็มเพรส จังหวัดเชียงใหม่ โดยศูนย์ภูมิภาคด้านสังคมศาสตร์และการพัฒนาอย่างยั่งยืน คณะ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับสถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยการสนับสนุนจากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมัน่ คงของมนุษย์ วัตถุประสงค์ ทีจ่ ะทบทวนแนวความคิดในการพัฒนากลุม่ ชาติพนั ธุใ์ นมิตทิ างวัฒนธรรม ในแง่มมุ ต่างๆ เช่น สิทธิมนุษยชน สุขภาพ การจัดการทรัพยากรฯลฯ อีกทั้งยังเป็นการเปิดเวทีการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนองค์ความรู้และประสบการณ์ และสร้าง เครือข่ายการทำ�งานด้านชาติพันธุ์ระหว่างหน่วยงานรัฐ นักวิชาการ องค์กรพัฒนาเอกชน และผู้สนใจทั่วไป ในการประชุมดังกล่าวมีผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ 450 คน จากภาคส่วนต่างๆ อาทิเช่น นักวิชาการ นักวิจัย เจ้าหน้าที่องค์กรพัฒนาเอกชน เจ้าหน้ารัฐ นักพัฒนา นักศึกษา กลุ่มชาติพันธุ์ องค์กรชาวบ้าน และผู้สนใจทั่วไป รูปแบบการประชุมประกอบด้วย การบรรยายพิเศษและบทความแนวคิด การนำ�เสนอบทความและกรณีศึกษา การ อภิปรายกลุ่มย่อยและกรณีศึกษาจากพื้นที่ การแสดงนิทรรศการและการฉายภาพยนตร์ หนังสือบทความวิชาการเล่มนี้ เป็นการรวบรวมบทปาฐกถา บทความที่ได้มีการนำ�เสนอในการประชุมดัง กล่าว เพื่อเป็นการเผยแพร่ให้กับผู้สนใจทั่วไป คณะผู้จัดใคร่ขอขอบคุณสำ�นักกิจการชาติพันธุ์ กระทรวงการพัฒนา สังคมและความมัน่ คงของมนุษย์ทเี่ ล็งเห็นความสำ�คัญเกีย่ วกับประเด็นชาติพนั ธุใ์ นสังคมไทย ให้การสนับสนุนการจัด ประชุมและการจัดพิมพ์หนังสือรวบรวมบทความวิชาการ และหวังเป็นอย่างยิง่ ว่าการประชุมดังกล่าวกับทัง้ เนือ้ หาใน หนังสือเล่มนี้จะนำ�ไปสู่การอภิปราย ถกเถียง และการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายในรูปธรรมกับทั้งในเชิงวิชาการเกี่ยว กับชาติพันธุ์ในมิติต่างๆ ในสังคมไทยต่อไป คณะกรรมการผู้จัดการประชุม

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

คำ�นำ�


สารบัญ

พิธีเปิดการประชุมวิชาการชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม

12

ปาฐกถานำ� ปาฐกถานำ� ศาสตราจารย์ ดร. นิธิ เอียวศรีวงศ์

19

ปาฐกถาพิเศษ นโยบายสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและชนกลุ่มน้อย ศาสตราจารย์ วิทิต มันตราภรณ์

25

ชาติ-รัฐ-ชื่อ-ชาติพันธุ์ เอกลักษณ์ หรือพหุลักษณ์ ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ

31

นโยบายของรัฐและความหลากหลายทางชาติพันธุ์ นโยบาย​ทาง​ภาษา​สำ�หรับก​ ลุ่ม​ชาติพันธุ์ ศ. ดร. สุ​วิไล เปรม​ศรี​รัตน์

43

ชาติพันธุ์กับสิทธิมนุษยชน สิทธิ​มนุษย​ชน​กับ​ชาติพันธุ์ใ​น​สังคม​ไทยกรณี​ศึกษา​จาก​คณะ​กรรมการ​สิทธิม​ นุษย​ชน​แห่ง​ชาติ สุนี ไชย​รส

57

เขตแดน ผู้คน และสัญชาติ จากมุมมองสิทธิมนุษยชน ดร. ศรีประภา เพชรมีศรี

73

ประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์ การ​จำ�แนก​กลุ่ม​ชา​ติ​พันธ์ุ​: ปัญหา​และ​ข้อ​เสนอ​แนะ ผศ.ดร.ฉวีวรรณ ประจวบ​เหมาะ

87

รัฐกับประวัติศาสตร์ รศ. ดร. อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์

114

ประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์มอญนอกแบบเรียนประวัติศาสตร์รัฐชาติ องค์ บรรจุน

128

ชาตินิยม ชาติพันธุ์กับสุขภาพและการศึกษา การศึกษาในภาษาดั้งเดิมในมุมมองของประเด็นสิทธิมนุษยชน: กรณีศึกษาภาษาเขมรของชนชาติดั้งเดิมเขมร ในจังหวัดสุรินทร์ ประเทศไทย 145 ชัยมงคล เฉลิมสุขจิตศรี


สิทธิในทรัพยากรในมิติชาติพันธุ์สัมพันธ์ อำ�นาจนิยม ท้องถิ่นนิยม และเสรีนิยมใหม่ กับบทพรรณาว่าด้วยสิทธิชุมชน ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี

153

ชาวประมงพื้นบ้านจังหวัดชายแดนภาคใต้ในสถานการณ์ความรุนแรง มุมมองในมิติชาติพันธุ์สัมพันธ์ ดร.เลิศชาย ศิริชัย

166

การจัดการศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ในบริบทของ พหุวัฒนธรรม สังคมหพุภาษาในยุคที่ไร้ถิ่นฐาน: นโยบายและปฏิบัติการจากมุมมองข้ามวัฒนธรรม ดร. ยุกติ มุกดาวิจิตร

183

การศึกษากับคนชายขอบ: กรณีศึกษาของกลุ่มชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทย อาจารย์ ชูพินิจ เกษมณี

197

การจัดการศึกษาในพื้นที่พหุวัฒนธรรม: กรณีศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ดร. สุกรี หลังปูเต๊ะ

205

ก้าวหน้าข้ามอคติทางชาติพันธุ์ในยุคโลกาภิวัตน์: สื่อ การแสดง และวรรณกรรม “ตลก” ในสื่อบันเทิง “ผู้ร้าย” ในข่าวอคติของ(ชน)ชาติ..(ชน)ชั้น และความลักลั่นของวาทกรรม สุภัตรา ภูมิประภาส

215

อคติชาติพันธุ์ในภาพยนตร์ไทยหลังวิกฤตเศรษฐกิจ 2540 อาจารย์ ฐนธัช กองทอง

234

ภูมิรัฐศาสตร์ และชาติพันธุ์ชายแดน พัฒนาการของการเกิด “พื้นที่ภาคเหนือและพื้นที่ชายแดนในภาคเหนือ” ของรัฐไทยสมัยใหม่: มิติทางชาติพันธุ์บนเศรษฐศาสตร์การเมือง และ ภูมิรัฐศาสตร์ของรัฐอาณานิคมแห่งสยาม จากอดีตจนถึงปัจจุบัน ดร. พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ “กฎหมายมีไว้เลี่ยงหรือไม่ก็ใช้ประโยชน์”: ด่านพรมแดนของรัฐ กับการปรับตัว และต่อรองของคนชายแดน กรณีศึกษาด่านพรมแดนช่องเม็ก จ. อุบลราชธานี อาจารย์พฤกษ์ เถาถวิล

249 260

ความยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อม? เมื่อโครงการพัฒนาของรัฐ ละเมิดหลักศรัทธาของชุมชน: กรณีศึกษาโครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติ และโรงแยกก๊าซธรรมชาติ ไทย-มาเลเซีย ศุภวรรณ ชนะสงคราม

273


สัญชาติและสิทธิความเป็นพลเมือง เกย์: อัตลักษณ์ทางเพศที่ต้องการพื้นที่ นที ธีระโรจนพงษ์

283

ประวัติศาสตร์ และความหลากหลายทางวัฒนธรรม อดีต-ปัจจุบันและความหลากหลายทางวัฒนธรรมใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ อาจารย์แพร ศิริศักดิ์ดำ�เกิง

295

ชีวิตในสังคมหลากชาติพันธุ์ของคนชายแดนใต้ มะรอนิง สาและ

311

การวิเคราะห์ภาพรวม โครงการวิจัยการพัฒนาชุมชนโดยชุมชนในสถานการณ์ความขัดแย้งในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ อาจารย์อลิสา หะสาเมาะ

318

อคติทางชาติพันธุ์ และชาติพันธุ์ในพื้นที่สื่อ “พม่าและชนกลุ่มน้อย: ดาวร้ายที่ไม่เคยเปลี่ยนบนสื่อไทย” วันดี สันติวุฒิเมธี

347

อคติทางชาติพันธุ์ และชาติพันธุ์ในพื้นที่เล็กๆ ของสื่อ ภาพันธ์ รักษ์ศรีทอง

360

สรุปสาระสำ�คัญของการประชุมและข้อสังเกต สรุปสาระสำ�คัญของการประชุมและข้อสังเกต “ชาติพันธุ์ พหุวัฒนธรรม ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่นํ้าโขง” ดร. ชยันต์ วรรธนะภูติ

373



บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

12

พิธีเปิด การประชุมวิชาการชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม ศูนย์ประชุมนานาชาติ โรงแรมดิเอ็มเพรส จังหวัดเชียงใหม่ วันที่ 22 ธันวาคม 2551 กล่าวรายงานการประชุมโดย คุณศตวรรษ สถิตย์เพียรศิริ ผูอ้ �ำ นวยการสำ�นักกิจการชาติพนั ธุ์ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมัน่ คง ของมนุษย์ กราบเรียน ผูต้ รวจราชการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมัน่ คงของมนุษย์ครับ ท่านขวัญเมือง บวรอัศว กุล ท่านอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดร.พงษ์ศักดิ์ อังกสิทธิ์ ท่านวิทยากร ท่านผู้มีเกียรติทุกท่านครับ ด้วยพื้นฐานปัญหาทางสังคมของประเทศไทย ส่วนหนึ่งเกี่ยวข้องกับความเป็นชาติพันธุ์ ซึ่งมีพื้นฐานมา จากชาติพันธุ์นี้มีอยู่ทั่วไปในโลกนี้ ในประเทศต่างๆ ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องทบทวนความคิดในเรื่องนี้กัน เพราะว่าการที่ ประเทศไทยจะมีอนาคตต่อไปในโลกนี้ เรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องที่ต้องศึกษา ต้องค้นคว้า ปัจจุบนั เรามีพลเมืองในท้องถิน่ ห่างไกล ทีห่ า่ งไกลทัง้ พืน้ ทีแ่ ละอาจจะเป็นกลุม่ ทีเ่ รียกว่าเป็นกลุม่ คนชายขอบ ทางสังคม กลุ่มคนเหล่านี้ขาดโอกาส ถูกละเมิดสิทธิ บางกลุ่มก็ยังช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ อย่างเช่นชาวมอแกลนทาง ใต้ ชาวมาบลีในจังหวัดน่านและจังหวัดแพร่ กลุ่มซาไก นอกจากนัน้ ก็ยงั มีปญ ั หาทีเ่ ป็นผลมาจากการเผยแพร่ลทั ธิการก่อการร้ายในภาคใต้ ปัญหาทีเ่ กิดจากแรงงาน จากประเทศเพือ่ นบ้านและต่างประเทศทีอ่ พยพเข้ามาทำ�งานในประเทศไทย ปัญหาอืน่ ทีเ่ กีย่ วข้องก็อาจจะมีกลุม่ นัก ท่องเที่ยวที่เข้ามาท่องเที่ยว นักแสวงโชคหรือแม้กระทั่งผู้ที่เข้ามาแสวงหาภรรยาคนไทย หรือคนป่วยที่เข้ามารักษา พยาบาลในประเทศไทย และก็กลุ่มคนเกษียณอายุในหลายๆ ประเทศที่เข้ามาตั้งรกรากในประเทศไทย กระทบถึง สังคมไทยทัง้ สิน้ แต่วา่ ปัญหาเหล่านีย้ งั ไม่มแี นวทางทีจ่ ะทำ�ให้เกิดนโยบายทีเ่ หตุเป็นผล และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน พืน้ ฐานการเข้าถึงหลักคิดในการแก้ปญ ั หาประเภทนี้ จำ�เป็นจะต้องทบทวนวิธคี ดิ ของสังคม ซึง่ ก็เป็นผลพวงมา จากการสร้างและการพัฒนาประเทศในอดีต และเราจึงจำ�เป็นต้องมีหนังสือทีเ่ รียกว่าเป็นตำ�ราหรือหนังสือทีส่ ามารถ จะอธิบายสาเหตุของปัญหาในทุกแง่มุม กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จึงได้ริเริ่มร่วมกับ ศูนย์ภูมิภาคด้านสังคมศาสตร์และการพัฒนาอย่างยั่งยืน คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สถาบันวิจัย สังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิจาก มหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วประเทศที่ได้ช่วยกันสละเวลาค้นคว้า ในการเขียนบทความต่างๆ รวมแล้วกว่า 20 บทความ เพื่อจัดทำ�เอกสารดังกล่าว ซึ่งเอกสารหนังสือก็อยู่ในมือท่านแล้ว การประชุมครั้งนี้ จึงเป็นการเสนอบทความเพื่อทบทวนวิธีคิด เพื่อการวิเคราะห์ การวิพากษ์ เพื่อการมีส่วน ร่วมในการเคลื่อนไหวทางสังคม เพื่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ให้สังคมไทยมีความมั่นคง ความเสมอภาค ความ เท่าเทียมกัน และความยุติธรรมทางสังคมสืบไป


13

กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุม โดย ศาสตราจารย์ ดร.พงษ์ศักดิ์ อังกสิทธิ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นมัสการพระคุณเจ้า ท่านผู้ตรวจราชการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ท่านกงสุล ใหญ่สหรัฐอเมริกาประจำ�จังหวัดเชียงใหม่ ท่านผู้อำ�นวยการสำ�นักกิจการชาติพันธุ์ กระทรวงการพัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์ ท่านคณบดีคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียใหม่ ท่านอาจารย์ ดร. ชยันต์ วรรธนะภูติ ประธานจัดตั้งศูนย์ภูมิภาคด้านสังคมศาสตร์และการพัฒนาอย่างยั่งยืน คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ท่านวิทยากร ท่านคณาจารย์ ท่านนักวิชาการอาวุโส ท่านผู้มีเกียรติทุกท่าน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกทีจ่ ดั ตัง้ ขึน้ ตามนโยบายของรัฐบาลในภูมภิ าคของประเทศไทย ในภาคเหนือ ซึง่ การจัดตัง้ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่นนั้ อยูท่ า่ มกลางความหลากหลายของวัฒนธรรมและกลุม่ ชาติพนั ธุ์ จึงทำ�ให้มหาวิทยาลัยมีโอกาสทำ�งานในความหลากหลายบนหลายระดับ อาทิเช่น การสนับสนุนส่งเสริมบุคลากรของ มหาวิทยาลัยในการศึกษาวิจัยและพัฒนากลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในภาคเหนือ โดยความร่วมมือกับสถาบันวิจัยชาวเขา มูลนิธิโครงการหลวงและหน่วยงานวิจัยจากต่างประเทศ มหาวิทยาลัยยังได้ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการอนุรักษ์ ศิลปวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในพื้นที่ล้านนาด้วย นอกจากนี้ ในทางด้านการศึกษานัน้ มหาวิทยาลัยยังมีนโยบายทีจ่ ะเปิดโอกาสให้การศึกษาแก่กลุม่ ชาติพนั ธุ์ ในระดับปริญญาตรี ซึ่งเป็นไปตามนโยบายที่จะสนับสนุนเยาวชนชาวไทยภูเขา เข้ามาศึกษาในระดับปริญญาตรีมา นับสิบกว่าปีแล้ว และก็ยังคงเปิดโอกาส ให้โควตาจำ�นวนหนึ่งกับกลุ่มชาติพันธุ์ในภาคเหนือ และปัจจุบันครอบคลุม ถึงกลุ่มชาติพันธุ์ในภูมิภาคต่างๆ ด้วย มหาวิทยาลัยนอกจากให้การสนับสนุนและส่งเสริมให้นักศึกษาได้รับการศึกษาแล้ว ยังให้โอกาสนักศึกษา ได้เข้าใจเรียนรู้ความแตกต่างหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์ กิจกรรมของนักศึกษาที่จัดเป็นชมรมนักศึกษาชาติพันธุ์ ชมรมพื้นบ้านล้านนา ชมรมนักศึกษาอีสาน ชมรมนักศึกษาอิสลามเป็นต้น ปัจจุบันมหาวิทยาลัยมีนโยบายส่งเสริม การศึกษาความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน การศึกษาชาติพันธุ์เป็นสาขาหนึ่งที่มหาวิทยาลัยให้ความสำ�คัญ และให้การ สนับสนุนการจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศทางชาติพันธุ์และการพัฒนาที่ยั่งยืนขึ้น การจัดประชุมทางวิชาการในวันนี้ นับว่าเป็นความร่วมมือของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และกระทรวงการพัฒนา สังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษาและสถาบันการวิจัย ตลอดจนกลุ่มที่ เกีย่ วข้องกับการพัฒนา การศึกษาชาติพนั ธุ์ เพือ่ ประมวลสถานการณ์และการศึกษาสถานภาพการวิจยั ด้านชาติพนั ธุ์ และมิตทิ างวัฒนธรรมในความหลากหลายในหลายๆ ทาง ไม่วา่ จะเป็นสิทธิมนุษยชน การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ การศึกษาปัญหาทางด้านสุขภาพและอื่นๆ ซึ่งก็หวังว่าการสัมมนา แลกเปลี่ยนความคิดผลงานวิจัยสองวันที่กำ�ลัง จะดำ�เนินต่อไปนี้ จะเป็นจุดที่ก่อให้เกิดความเข้าใจในความหลากหลายทางชาติพันธุ์ เพราะฉะนั้น การจัดประชุม ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรมในครั้งนี้ นับว่าเป็นประโยชน์ในการพัฒนาการและสร้างความรู้ ในความหลากหลายใน ชาติพันธุ์เป็นอย่างยิ่ง ในนามของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งได้ร่วมจัดการสัมมนาในครั้งนี้ ขอต้อนรับทุกท่านที่เข้าร่วมการประชุม ในครั้งนี้ หวังไว้อย่างยิ่งว่า ท่านผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่านจะได้แลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็น และสามารถที่จะ แสวงหาความรูร้ ว่ มกันในด้านวิชาการครัง้ นีอ้ ย่างเต็มที่ ขอต้อนรับอีกครัง้ หนึง่ ครับ และขอให้การประชุมครัง้ นีป้ ระสบ ความสำ�เร็จตามเป้าหมายทุกประการ ขอขอบคุณมากครับ

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

บัดนี้ ได้เวลาอันสมควรแล้ว ผมขอกราบเรียนเชิญท่านอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่กล่าวต้อนรับ และ ท่านประธานในพิธีได้กล่าวเปิดการประชุมเรื่องชาตินิยมและพหุวัฒนธรรมด้วยครับ ขอบคุณครับ


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

14

กล่าวเปิดการประชุมโดย คุณขวัญเมือง บวรอัศวกุล ผู้ตรวจราชการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นมัสการพระคุณเจ้า ท่านอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ท่านผู้อ�ำ นวยการสำ�นักกิจการชาติพันธุ์ ท่าน คณบดีคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และท่านผู้อำ�นวยการสถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และแขกผู้มีเกียรติทุกท่าน ก่อนอื่นดิฉันต้องขอประทานโทษ จริงๆ วันนี้ท่านปลัดกระทรวงท่านตั้งใจจะมาเอง เนื่องจากว่าเป็นนิมิตที่ กระทรวงฯ ปรารถนาที่จะดำ�เนินการทางด้านสวัสดิการให้กับกลุ่มชาติพันธุ์ของประเทศไทยทั้งหมด บังเอิญท่านติด ราชการด่วน ท่านเลยมอบให้ดิฉัน ผู้ตรวจการกระทรวงฯ ซึ่งประจำ�เขตของจังหวัดเชียงใหม่มาเป็นประธานในวันนี้ แทน ซึ่งดิฉันก็รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มาเปิดการประชุมชาตินิยมและพหุวัฒนธรรมในวันนี้ เมื่อสักครู่ได้เรียนคุยกับท่านคณบดีว่า จริงๆ แล้ววันนี้จะมีท่านผู้มีเกียรติมาร่วมประชุมทั้งหมดสี่ร้อยกว่า ท่าน ซึ่งทางกระทรวงฯ เดิมที่เราต้องดูแลคนที่ด้อยโอกาส แต่ปัจจุบันนี้ พอเราเป็นกระทรวงเราก็ต้องดูแลประชาชน ทั้งหมดที่อยู่ในประเทศไทยกว่า 60 ล้านคน ซึ่งโดยสังคมของประเทศไทย พื้นฐานของเราก็มาจากหลายๆ ชาติพันธุ์ หลายๆ วัฒนธรรมและก็หลายๆ ภาษามาอยูร่ ว่ มกันในประเทศไทย แต่กม็ บี างกลุม่ ซึง่ เราบางท่านอาจจะไม่รจู้ กั ก็อยู่ ในประเทศไทยด้วยเหมือนกัน นอกจากพี่น้องที่อยู่บนพื้นที่สูงที่เราเรียกว่าชาวเขา ก็ยังมีหลายๆ ชาติ หลายๆ เผ่า พันธุ์ที่มาอยู่ในประเทศไทย อย่างที่เมื่อสักครู่ที่ท่านผู้อำ�นวยการศตวรรษ สถิตย์เพียรศิริ พูด อย่างเช่นเผ่ามอแกลน และก็หลายๆ กลุ่มอีกทางภาคใต้ กลุ่มเงาะ ซาไกก็เป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งเหมือนกัน ซึ่งกลุ่มนี้อาจจะเข้าถึงสิทธิ ความเสมอภาคเท่ากับคนกลุ่มใหญ่ในประเทศไทยอาจจะยังไม่ได้รับสวัสดิการอันนี้นะคะ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมัน่ คงของมนุษย์คดิ ว่าเป็นนิมติ หมายอันดี ทีเ่ ราได้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาร่วมในการที่จะนำ�ความรู้ทางวิชาการด้านชาติพันธุ์ต่างๆ ที่มีอยู่ในประเทศไทย มา จับเพื่อจะได้เป็นพื้นฐานในการให้สวัสดิการกับทุกชาติพันธุ์ที่อยู่ในประเทศไทย และก็อย่างเมื่อครู่ที่ท่านผู้อำ �นวย การศตวรรษ ได้เรียนไว้แล้วว่าทุกท่านก็จะได้ตำ�ราทางวิชาการทีจ่ ะร่วมกันคิดและร่วมกันวิพากษ์ในวันนี้ ซึง่ จะทำ�ให้ เกิดความเสมอภาคของทุกชาติพันธุ์ที่อยู่ในประเทศไทย ตลอดจนวัฒนธรรมต่างๆ ซึ่งเมื่อก่อนในประวัติศาสตร์ ประเทศไทยเราอาจจะหวงแหนวัฒนธรรมไทย ภาษาไทย แล้วก็ทำ�ให้เหมือนว่าเราจะติดกรอบที่เราจะไม่ยอมรับใน วัฒนธรรมอื่น แต่ตอนนี้กระทรวงก็ได้เปิดเวทีขึ้นมาเพื่อให้ทุกชาติพันธุ์มามีส่วนร่วมคิด และทางอาจารย์ที่เป็นนัก วิชาการ จากผู้มีประสบการณ์ ท่านอาวุโสทั้งหลาย ท่านมาร่วม คิดและมาร่วมวิพากษ์กัน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ให้ กับทุกชาติพันธุ์ที่อยู่ในประเทศไทย ทางกระทรวงฯ หวังว่า การประชุมครั้งนี้ จะประสบผลสำ�เร็จและก็ให้สิทธิและความเสมอภาคแก่ทุกกลุ่ม ซึ่ง จะเป็นเรื่องที่จะเกิดขึ้นในอนาคตต่อๆ ไป ในอดีตเป็นอย่างไรมา เราพยายามที่จะแก้ไขอดีตและก็ทำ�ปัจจุบันให้คน ทั้ง 66 ล้านคนมีความเสมอภาค ทัดเทียมกันด้วยหลักสิทธิตามรัฐธรรมนูญของประเทศไทยนะคะ ในวันนี้ดิฉันต้องขอกราบขอบพระคุณ ท่านอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ท่านคณบดี คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ท่านผูอ้ ำ�นวยการสำ�นักกิจการชาติพนั ธุแ์ ละแขกผูม้ เี กียรติและท่านผูม้ ปี ระสบการณ์อาวุโสทัง้ หลาย ตลอดจนนักวิชาการทัง้ หลายทีใ่ ห้เกียรติมาร่วมประชุมวันนี้ และขอให้การประชุมครัง้ นีจ้ งสำ�เร็จลุลว่ งอย่างทีท่ กุ ท่านปรารถนา และก็ขอให้นำ�ความรูท้ ที่ กุ ท่านมีชว่ ยกันตกผลึกแนวคิดทีจ่ ะเกิดขึน้ ในวันนีเ้ พือ่ จะได้เป็นแนวทางให้กบั กระทรวงฯ และภาครัฐ ในการนำ�สวัสดิการต่างๆ และก็นำ�สิทธิเสมอภาคไปสู่พี่น้องทุกชาติพันธุ์ที่อยู่ในประเทศไทย สุดท้ายนี้ก็หวังว่า การประชุมครั้งนี้จะสำ�เร็จลุล่วงไปตามที่ทุกคนปรารถนา และได้เวลาอันเป็นมงคลแล้ว ดิฉันขอเปิดการประชุมวิชาการชาตินิยมและพหุวัฒนธรรมตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป และขอขอบพระคุณทุกท่านที่มา


15

ชี้แจ้งเป้าหมายการประชุม โดย อาจารย์ ดร. ชยันต์ วรรธนะภูติ หัวหน้าศูนย์ภมู ภิ าคด้านสังคมศาสตร์และการพัฒนาอย่างยัง่ ยืน คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ท่านอธิการบดี ท่านคณบดีคณะสังคมศาสตร์ ท่านกงสุลอเมริกันประจำ�จังหวัดเชียงใหม่ ท่านอาจารย์อาวุโสและ ท่านผู้มีเกียรติทุกท่าน ประการแรก ผมต้องขอขอบพระคุณท่านอาจารย์และวิทยากรจำ�นวนหลายๆ ท่านที่ผมไปขอร้องให้มาช่วย งานครั้งนี้ ซึ่งเป็นงานที่ค่อนข้างจะใหญ่ ท่านก็เสียเวลาเตรียมตัวเขียนบทความ เตรียมความคิดมาร่วมแลกเปลี่ยน แบ่งปันความรู้ให้กับพวกเรา ก็ต้องขอขอบพระคุณมาตรงนี้ด้วย ประการทีส่ อง ซึง่ ก็เป็นเรือ่ งสำ�คัญเหมือนกัน คือ ท่านผูเ้ ข้าสัมมนา ซึง่ แต่เดิมคุณศตวรรษ ผูอ้ �ำ นวยการสำ�นัก กิจการชาติพันธุ์ ท่านได้ตกลงกับผมว่าเราจะจัดประชุมขนาดกลาง คือประมาณ 150-200 คน เพื่อที่จะให้เกิดการ แลกเปลี่ยนในประเด็นเหล่านี้ได้อย่างง่ายดายและเป็นกันเอง แต่หลังจากที่ประกาศไปแล้ว มีผู้สนใจลงทะเบียนเข้า มาร่วมประชุมทางวิชาการในครั้งนี้ ในช่วงแรกประมาณ 250 คน และก็หลังจากนั้น เราเมื่อมีเสียงร้องตามมา เราก็ ปฏิเสธไม่ได้ จึงเปิดโอกาสให้ทุกท่านเข้ามาและขณะนี้เข้าใจว่ามีประมาณ 450 คน อันนี้ก็จะมีปัญหาตามมาอย่าง น้อยสองสามประการ ประการแรก คือว่า อาหารที่เตรียมไว้อาจจะไม่พอ ซึ่งพวกเราก็ได้เรียนท่านทั้งหลายที่จะมา ร่วมกับเรา ว่าหากว่าจะมาก็ขอความกรุณาช่วยตัวเองนะครับ เพราะว่างานสัมมนาก็ไม่ได้เก็บค่าลงทะเบียนเหมือน งานสัมมนาอื่นๆ เพราะว่าประเด็นปัญหาเรื่องของชาติพันธุ์เป็นเรื่องใหญ่ อย่างที่ท่านผู้อำ�นวยการได้กล่าวมาแล้ว จำ�เป็นทีจ่ ะต้องอาศัยความร่วมมือและระดมความคิดในการแลกเปลีย่ นกัน ท่านเข้ามาก็มาช่วยกันคิดว่าอนาคตของ สังคมเราจะเป็นอย่างไรนะครับ มันอาจจะไม่ใช่แต่จะต้องมีสองสีอย่างเดียว แต่ว่ามันอาจจะต้องพหุวัฒนธรรมหรือ ว่าพหุลักษณ์ ถึงจะทำ�ให้เกิดการแลกเปลี่ยนกัน สำ�คัญ

ประการที่สองที่ผมอยากจะถือโอกาสก่อนที่เราจะเข้าสู่รายการ เรียนต่อท่านสักสองสามข้อที่จะเป็นประเด็น

ประการแรกก็คือชื่อของหัวข้อการประชุมครั้งนี้ ชาตินิยมและพหุวัฒนธรรม ท่านผู้อำ�นวยการกิจกรรมสำ�นัก ชาติพนั ธุแ์ ละท่านผูต้ รวจฯ ได้กล่าวถึงกลุม่ ชาติพนั ธุท์ หี่ ลากหลายในสังคมไทย รวมกระทัง่ ผูท้ เี่ ข้ามาพำ�นักในประเทศ ในระยะเวลาที่ยาวนานในฐานะของแขกหรือแรงงานก็ตาม มันอาจจะทำ�ให้เราเข้าใจไปว่า การสัมมนาครั้งนี้จะมุ่ง ไปที่การพิจารณาถึงปัญหาและก็ปัญหาต่างๆ ทางด้านเศรษฐกิจการเมืองของกลุ่มชาติพันธุ์ บางกลุ่มเป็นผู้ด้อย โอกาส ยกตัวอย่างเช่น กลุ่มมอแกลนที่ท่านได้กล่าวมา แต่ผมใคร่ขอกราบเรียนว่า ในโอกาสที่เรามาแลกเปลี่ยน กันในคราวนี้ อาจจะขอเรียนให้ท่านผู้มีเกียรติทั้งท่านผู้ที่เป็นวิทยากรและท่านผู้เข้าร่วมในการอภิปรายว่า ขอความ กรุณาได้พจิ ารณาความหมายของชาติพนั ธุใ์ นความหมายทีก่ ว้าง ก็คอื ไม่ใช่เฉพาะชนกลุม่ น้อยทีแ่ ต่เดิมเข้าใจว่าชาว เขาอย่างเดียวนะครับ แต่มนั หมายความถึงกลุม่ ทางวัฒนธรรมอืน่ ๆ รวมทัง้ กลุม่ ทีพ่ ดู ภาษาไทยอย่างพวกเราทีอ่ ยูใ่ น ทีน่ ดี้ ว้ ย คือความเป็นกลุม่ ชาติพนั ธุท์ เี่ ป็นชนกลุม่ น้อยและกลุม่ ใหญ่ทมี่ ปี ฏิสมั พันธ์กนั หลายสังคม และในปฏิสมั พันธ์ ดังกล่าวอาจจะมีบางกลุม่ ทีเ่ สียโอกาสไม่ได้รบั การดูแลหรือว่าได้รบั การปฏิบตั อิ ย่างไม่เท่าเทียม หรือเกิดการรังเกียจ ทางชาติพันธุ์หรือการกีดกันทางชาติพันธุ์ ทางเชื้อชาติเป็นต้น ประการที่สองก็คือว่า ชาตินิยมและพหุวัฒนธรรม เป็นคำ�คู่กันที่ยืนอยู่มีลักษณะของคู่ตรงกันข้าม ผมหรือ ผู้ที่จัดงานในครั้งนี้ไม่ได้ต้องการที่จะให้เกิดประเด็นของการมองปัญหาอย่างแคบ แต่อยากเรียนเสนอว่าชาตินิยมที่

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

ร่วม ท่านพระคุณเจ้าด้วยนะค่ะ และท่านกงสุลสหรัฐอเมริกาประจำ�จังหวัดเชียงใหม่ ท่านให้เกียรติมาร่วมงานใน วันนี้ และท่านผู้มีเกียรติทุกท่านด้วยค่ะ ขอบพระคุณค่ะ


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

16

เราเอามาไว้เป็นประเด็นสำ�คัญมันทำ�ให้เกิดความรู้สึกว่ามีกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มหนึ่งที่มีความเหนือว่าชาติพันธุ์อื่น ดัง นั้นความเป็นพหุลักษณ์ทางวัฒนธรรมจึงเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ไม่ง่ายนัก อันนี้จึงเป็นประเด็นใหญ่ที่เราได้กราบเรียน ขอเชิญท่านอาจารย์อาวุโส ท่านวิทยากรเป็นผู้นำ�ความคิดให้เราคิดถึงเรื่องนี้ ว่าลักษณะของความเป็นชาตินิยมใน สังคมไทยมัน ทำ�ให้เกิดความหลากหลายทางวัฒนธรรมและพหุวัฒนธรรมได้จริงแท้หรือไม่ อันนี้เป็นประเด็นที่ผม คิดว่าน่าจะเป็นประเด็นสำ�คัญที่เราอยากจะทำ�ให้เกิดขึ้น นำ�ไปสู่องค์ความรู้ชุดหนึ่งที่ท่านผู้อำ�นวยการสำ�นักกิจการ ชาติพันธุ์ หรือนักวิชาการที่สนใจในเรื่องนี้ได้สานต่อไป ส่วนประเด็นต่อไป คือว่าในการพิจารณาถึงความสัมพันธ์ระหว่างชาตินิยมรัฐและชาติพันธุ์ดังที่เราได้เตรียม การ ก็จะเห็นว่าเราได้ขอเรียนเชิญนักวิชาการนำ�เสนอบทความที่เป็นแนวคิดหรือนำ�เสนอปาฐกถานำ� อภิปรายกลุ่ม และก็มีการอภิปรายกลุ่มย่อย คือพยามให้การประชุมคราวนี้มีทั้งส่วนที่เป็นแนวคิด ส่วนที่เป็นเสนอแนวคิดหลายๆ คนร่วมกันในกลุ่มย่อย รวมทั้งมีการจัดนิทรรศการและก็การจัดการเสนอภาพยนตร์และการแสดงของกลุ่มชาติพันธุ์ ต่างๆ ผมว่าคิดว่าบรรยากาศนีน้ า่ จะทำ�ให้ทงั้ นักวิชาการและผูเ้ ข้าร่วมท่านอืน่ สามารถทีจ่ ะแลกเปลีย่ นกันและนำ�ไปสู่ การถกเถียงและการอภิปรายที่ได้ผลในเชิงนโยบายและในเชิงปฏิบัติ เราได้เรียนรู้ปัญหาที่มีความสลับซับซ้อนตั้งแต่ ปัญหาของกลุม่ ชนกลุม่ น้อยในภาคเหนือและพีน่ อ้ งทีม่ าจากสามจังหวัดในภาคใต้ แต่ทงั้ หมดนี้ ผมคิดว่าสิง่ ทีเ่ ราอยาก จะได้ในการอภิปรายกลุ่มย่อย แน่นอนเรื่องมันคงเป็นเรื่องใหญ่และเรามีเวลาในการพูดคุยกันน้อย คงไม่เพียงและ หากเป็นไปได้ผมอยากจะเห็นการสรุป ทางเราจะจัดเจ้าหน้าทีไ่ ว้เพือ่ สรุปประชุมกลุม่ ย่อย จะเห็นได้วา่ คราวนี้ ในการ อภิปรายกลุ่มย่อยเราไม่ได้ทำ�เหมือนกับที่อื่น มีการเสนอผลการประชุมกลุ่มย่อย เพราะว่าเวลาจำ�กัด ดังนั้นจึงมีเจ้า หน้าที่ มีเลขาประจำ�กลุ่ม ที่สรุปประเด็น นำ�ประเด็นให้คณะทำ�งานได้นำ�มาสรุปและทำ�เป็นรายงานการประชุมอีก ครั้งหนึ่ง หากท่านมีความคิด ข้อเสนอประการใดที่นอกจากจะเสนอในการอภิปรายกลุ่มย่อยแล้วหรืออาจจะพบว่า ไม่มเี วลาเพียงพอก็อาจจะเขียนหรือบันทึกส่งมาให้เจ้าหน้าทีห่ รือเลขานุการประจำ�กลุม่ ได้ พวกเรายินดีทจี่ ะนำ�ความ คิดเห็นเหล่านี้มาผนวกและจัดทำ�เป็นรายงานเพื่อใช้สำ�หรับหน่วยงาน เช่น สำ�นักกิจการชาติพันธุ์และก็สำ�หรับพวก เราซึ่งเป็นนักวิชาการที่ต้องเสนอ ต้องทำ�วิจัยและก็ต้องทำ�งานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้นะครับ นอกเหนือจากการอภิปราย การบรรยาย และการเสนอความคิดแล้ว ตอนเย็นของวันนี้ก็จะมีการจัดประชุม เชิงวิชาการสำ�หรับท่านที่สนใจจะทำ�งาน จะเขียนงานของท่านที่เกี่ยวกับเรื่องที่ท่านสนใจและจัดพิมพ์เป็นภาษา อังกฤษ อันนี้เป็นงานเราจัดร่วมกับสำ�นักพิมพ์แม่โขงเพรส ท่านที่มีต้นฉบับอยู่แล้วต้องการจะนำ�ไปพิมพ์ ก็สามารถ จะติดต่อได้ และในนั้นก็มีวิทยากรที่มีชื่อเสียงคือ ดร. คริส เบเกอร์ ซึ่งเป็นนักวิชาการ นักเขียนและก็บรรณาธิการที่ มีบทบาทสำ�คัญในการผลิตตำ�ราและเขียนหนังสือเกี่ยวกับสังคมไทยมาช่วยเป็นวิทยากร หวังว่าท่านทั้งหลายที่มา ร่วมประชุมครั้งนี้คงจะถือโอกาสเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการในตอนเย็นวันนี้ด้วย และมีภาพยนตร์ที่ให้ชมกัน ซึ่ง เขาบอกว่าเป็นภาพยนตร์ที่น่าสนใจมาก ชื่อว่า กระเป๋านักเรียนของหงสา ซึ่งได้รับรางวัลชนะเลิศภาพยนตร์สั้น ใน การประกวดภาพยนตร์ครั้งที่ 6 ที่กรุงเทพฯ จึงเรียนมา เพื่อเชิญให้ทุกท่านเข้าร่วมกัน ขอขอบพระคุณครับและหวัง ว่าท่านจะได้รับประโยชน์ มีความสุขในการประชุมและแลกเปลี่ยนทางความคิดในการพบกันครั้งนี้ครับ



ปาฐกถานำ�


19

ศาสตราจารย์ ดร. นิธิ เอียวศรีวงศ์2

สวัสดีครับ ท่านผู้มีเกียรติทุกท่าน ผมขอเริ่มดังนี้ รัฐจารีตของไทยตั้งแต่โบราณนะครับ ไม่ว่าอยุธยา ต้น กรุงรัตนโกสินทร์ หรือยุคสมัยใดก็ตามแต่ ต่างถือว่าความหลากหลายทางชาติพันธุ์ของข้าราษฎร ไม่ใช่เป็นของ พลเมืองนะครับ แต่เป็นเกียรติยศของแผ่นดิน เพราะฉะนัน้ ในวรรณกรรมต่างๆ เราจะพบว่าจะมี “การออก” ทีใ่ นสมัย ก่อนเรียกว่า การออกสิบสองภาษา  คือแสดงให้เห็นถึงความหลากหลายของข้าราษฎรที่มีทั้งมอญ ฝรั่ง จีน ญวน เขมร อะไรก็แล้วแต่ ทั้งหมดเหล่านี้ถือเป็นการแสดงเกียรติยศของเมืองทั้งสิ้น การออกสิบสองภาษาในวรรณกรรม โบราณนั้นบางทีอาจจะมีตลกเกีย่ วกับบางชาติพันธุบ์ ้าง  แต่ความตลกนัน้ เน้นไปในด้านความแปลกมากกว่าในด้าน การเหยียดกลุ่มชาติพันธุ์ รัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของไทยเกิดขึ้นในสมัยราชการที่ 5 ได้รับเอามรดกจากรัฐจารีตของไทยโบราณ มาดังกล่าวคือว่าความหลากหลายของประชาชนหรือข้าราษฎรของรัฐในระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้นเป็นสิ่ง ที่ดี เป็นเกียรติยศของพระเจ้าแผ่นดิน นะครับ แต่ในขณะเดียวกัน บรรยากาศทางการเมืองระหว่างประเทศ ในสมัย สมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้น มีเงื่อนไขของจักรวรรดินิยมแวดล้อมอยู่ ไม่ว่าพระเจ้าแผ่นดิน หรือรัฐบาลไทยในสมัยนั้น ก็อาจจะเกรงว่า ข้าราษฎรบางส่วนจะไม่พอใจการปกครองของกษัตริย์ไทย และอาจจะหนีไปอยู่ภายใต้ร่มธงของ มหาอำ�นาจตะวันตกได้ อันนี้ก็อาจจะเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่จะต้องไม่มีการเลือกปฏิบัติระหว่างชาติพันธุ์ โดยเฉพาะ อย่างยิ่งคนจีน ในช่วงนั้นคนจีนมีจำ�นวนมากและอยู่ใกล้ชิดอำ�นาจ คืออยู่ใกล้ชิดกับเมืองหลวง ถ้าเผื่อทำ�ให้คนจีน ไม่พอใจ คนจีนก็อาจจะไปอยู่ใต้ร่มธงฝรั่ง ด้วยเหตุนี้ รัฐจึงค่อนข้างปฏิบัติต่อกลุ่มชาติพันธุ์ในแง่ดี ขณะเดียวกัน นั้น ในสมัยรัชกาลที่ 5 เช่นเดียวกัน เราก็จะพบการเปลี่ยนแปลง หรือการเคลื่อนไหวบางอย่างในด้านความคิดของ ผู้ปกครองด้วย เพราะว่ารัฐไทยในช่วงนั้น ก็เกรงหรืออ่อนไหวต่อการรุกของจักรวรรดินิยม ฉะนั้นในระยะแรก ที่มี การแบ่งประเทศหรือราชอาณาจักรออกเป็นมณฑลต่างๆ นั้นยังใช้ชื่อนั้นตามกลุ่มชาติพันธุ์ ต่อมาในภายหลังหรือ แม้แต่ในสมัยรัชกาลที่ 5 เองก็เริ่มนำ�ชื่อทิศทางภูมิศาสตร์มาแทนชื่อกลุ่มชาติพันธุ์ในการเรียกชื่อมณฑลต่างๆ คือ มณฑลพายัพ มณฑลอุดร และอื่นๆ  แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่ค่อยชัดเจนนักว่า ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของ ราชอาณาจักรสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในสมัยรัชกาลที่ 5 นั้นอยู่ที่ไหนกันแน่ ผมเดาว่าน่าจะอยู่ที่พระราชอำ�นาจของ พระมหากษัตริย์ คือทุกคนในแผ่นดินเป็นข้าแผ่นดิน แล้วมณฑลต่างๆ ก็ถกู จัดวางไว้ตามทิศของพระราชอำ�นาจ พระ ราชอำ�นาจจะอยู่ตรงกลาง น่าสังเกตว่า การเน้นทิศและไม่มีการพูดถึงกลุ่มชาติพันธุ์ ไม่มีทั้งการเหยียดและไม่มีการ ส่งเสริมทัง้ สองอย่าง ก็เหมือนกับการทีร่ ฐั สมบูรณาญาสิทธิราชย์ไทยในช่วงนัน้ ได้กลับไปรับเอามรดกหรือกลับไปอยู่ ในสมัยของจารีต ก็คือว่าไม่เน้นเรื่องของชาติพันธุ์ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 ระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ถูกคุกคาม จากการปฏิวัติไปสู่ระบบสาธารณรัฐของประเทศจีนอย่างค่อนข้างมาก แต่ขณะเดียวกันนั้น ความคิดของระบบ ประชาธิปไตยก็หลัง่ ไหลจากตะวันตกมาสูป่ ระเทศไทยมากขึน้ เหมือนกัน ทำ�ให้มกี ารใช้นโยบายทีเ่ รียกว่าชาตินยิ ม ซึง่ อาจจะเป็นจุดเริ่มต้นของชาตินิยมไทย แต่เป้าหมายของชาตินิยมในสมัยรัชกาลที่ 6 นั้นไม่ใช่สิ่งที่เราเข้าใจโดยทั่วๆ ไปเช่นชาตินิยมในปัจจุบันนี้ เป้าหมายสำ�คัญของชาตินิยมในสมัยนั้น คือการระดมความจงรักภักดีต่อราชบังลังก์ โดยพระมหากษัตริย์เป็นศูนย์รวมของชาติและศาสนา ในขณะเดียวกันก็ไม่เน้นชาติพันธุ์ด้วย แม้แต่กลุ่มคนจีนนั้น 1 ถอดความจากปาฐกถานำ�ในการประชุมวิชาการชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม 2 นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ อดีตอาจารย์ประจำ�ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

ปาฐกถานำ�1


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

20

ขอเพียงแต่มีความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ไทย ก็ถือว่าเป็นคนไทย ความเป็นคนไทยจึงขึ้นอยู่กับความจงรัก ภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยเป็นหลัก เพราะฉะนั้นชาตินิยมในยุคสมัยรัชกาลที่ 6 ก็คือการระดมความจงรัก ภักดีตอ่ สถาบันพระมหากษัตริยน์ นั่ เอง ในขณะเดียวกันในปลายของสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เริม่ มีงานวิชาการที่ พูดถึงเรื่องไทย ชนเผ่าไท หรือไตที่อยู่นอกประเทศไทย และกล่าวถึงประวัติศาสตร์ที่พยายามชี้ให้เห็นความสืบเนื่อง ของคนที่อยู่ในประเทศไทยในปัจจุบันนี้กับคนที่เรียกตัวเองว่าไต คนเหล่านี้มีความสัมพันธ์กันทำ�ให้เริ่มเกิดความคิด ว่า ใครก็ตามที่อยู่ในประเทศไทยช่วงนั้น และใช้ภาษาไทยเป็นภาษาแม่ ภาษานํ้านม ภาษาตั้งแต่เกิด ล้วนแต่สังกัด อยู่ในชาติพันธุ์ไท หรือไต ที่ว่านี้ทั้งสิ้น หลังการปฏิวัติ  พ.ศ. 2475 ไปแล้ว สิ่งที่น่าประหลาดของการปฏิวัติ ปี 2475 ก็คือถึงแม้จะเรียกตัวเองว่า เป็นการปฏิวัติ ซึ่งหมายถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครองก็จริง แต่ว่าไม่ค่อยได้สร้างวัฒนธรรมที่เป็นของตนเองมาก นัก ส่วนใหญ่รับเอามรดกมาจากสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ รวมทั้งรับเอาแนวคิดชาตินิยมของรัชกาลที่  6 มา เป็นอุดมการณ์สำ�คัญของรัฐหลัง 2475 ด้วย จากเดิมพระมหากษัตริย์ที่เคยเป็นศูนย์กลางของชาตินิยมได้กลายเป็น เรือ่ งของชาติพนั ธุด์ ว้ ยการสร้างความเหมือนกันทางชาติพนั ธุแ์ ละวัฒนธรรมของประเทศไทย เพราะฉะนัน้ หลัง   2475 ชาตินิยมของไทยก็ไม่ได้แตกต่างจากชาตินิยมในสมัยรัชกาลที่  6  มากนัก แตกต่างแต่เพียงว่าศูนย์กลางแทนที่จะ เป็นพระมหากษัตริย์  กลายมาเป็นความเป็นอันหนึง่ อันเดียวกัน  หรือความเหมือนกันนะครับ  เพราะฉะนัน้  จึงไม่มที ี่ เหลือให้แก่ความหลากหลายทางวัฒนธรรมและทางชาติพันธุ์ในความเป็นชาติของไทยอีกเลย สาเหตุที่เป็นเช่น นี้ เพราะว่าผู้นำ�ในช่วงนั้นคือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม  ต้องการจะใช้ชาตินิยมให้เป็นฐานของการหาความนิยม ทางการเมือง ก็คือ ต้องการขยายดินแดน แต่อ้างความเป็น ไต ไท ความเป็นชาติพันธุ์เดียวกันของประเทศไทยเป็น ข้ออ้างในการขยาย ดินแดน ขณะเดียวกันเราก็ต้องยอมรับด้วยว่าในยุโรปเองในช่วงนั้น เชื้อชาติก็กลายเป็นฐานของการขยาย แสนยานุภาพของยุโรปด้วย อีกส่วนหนึ่งที่สำ�คัญในการใช้นโยบายชาตินิยมแบบนี้คือ การกีดกันคนจีนให้ออกไป จากอำ�นาจทางการเมือง ปล่อยให้มีอำ�นาจในทางเศรษฐกิจได้ แต่ไม่ให้มีสิทธิในทางการเมือง รัฐได้กันให้การเมือง เป็นเวทีสำ�หรับคนที่สามารถสร้างหรือรักษา หรือปลอมตัวให้มีความเป็นไทยได้เต็มที่ร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะฉะนั้น ตั้งแต่ช่วงนี้เป็นต้นมาจะมีการกดขี่ในทางวัฒนธรรม ในทางชาติพันธุ์ ในทางภาษา แล้วบางครั้งก็มีความพยายาม ขยายการกดขีน่ ไี้ ปในทางเศรษฐกิจด้วย แต่ไม่ส�ำ เร็จ เช่นเป็นต้นว่า ในช่วงระหว่างสงครามก็พยายามขยายการเลือก ปฏิบัติ การกีดกันในทางเศรษฐกิจในหมู่คนจีน สิ่งที่ผมต้องการทำ�ความเข้าใจในเบื้องต้นก็คือว่า เวลาเราพูดถึงชาติพันธุ์ วัฒนธรรมหรือ อัตลักษณ์ เรามัก ให้ความสำ�คัญแก่ความภาคภูมิใจต่อการมีอัตลักษณ์ที่เป็นของตนเองอย่างเด่นชัด แต่ในขณะเดียวกันก็ขอเตือนไว้ ด้วยว่า อัตลักษณ์เป็นฐานของการผลิตของทางเศรษฐกิจด้วย คืออัตลักษณ์ไม่ใช่ความเป็นญวน ความเป็นมอญเฉยๆ ความเป็นมอญ ความเป็นญวนเป็นฐานในการผลิตทางเศรษฐกิจด้วย เช่นเป็นต้นว่า การที่คุณปั้นหม้อดินเผาขาย คุณไม่ได้ขายแต่ตัวดินเผาอย่างเดียว คุณกำ�ลังขายความเป็นมอญด้วย และในกระบวนการผลิต ความเป็นมอญถูก ใช้เป็นเครือ่ งมือ ไปจนถึงการส่งออกสูต่ ลาด ในขณะเดียวกัน อัตลักษณ์ยงั เป็นอำ�นาจการต่อรองในทางการเมืองด้วย เวลาทีช่ าวเขาบอกว่าถูกสร้างอัตลักษณ์เป็นผูท้ ำ�ลายป่า นัน่ หมายถึงว่าอำ�นาจการต่อรองทางการเมืองของชาวเขาใน การใช้ทรัพยากรบนภูเขาก็ลดลงไปทันที เวลาทีค่ ณ ุ ขับไล่ชาวเขาออกมาจากถิน่ ทีอ่ ยูข่ องเขา ทำ�ให้แหล่งผลิตของเขา ลงมาอยูข่ า้ งล่าง คนส่วนใหญ่กไ็ ม่ได้รสู้ กึ อะไรกับการเบียดเบียนรังแกชาวเขา เหตุผลก็เพราะว่าอัตลักษณ์ของชาวเขา นั้นถูกคนข้างล่างสร้างขึ้นมาให้กลายเป็นตัวอันตรายต่อทรัพยากรสำ�คัญคือ ป่าไม้ของประเทศ ในขณะเดียวกัน อัต ลักษณ์ก็เกีย่ วข้องกับการพัฒนาด้วย ผมหมายความว่า ถ้ากลุม่ ชาติพันธุ์ตา่ งๆ จะต้องต่อยอดความรู้ของตนเองจาก ความรู้ฝรั่ง โดยคนอื่นเป็นผู้ต่อให้ คุณก็จะหมดอำ�นาจ หมดโอกาส ผมหมายความว่า ถ้ากะเหรี่ยงมีโอกาสที่จะต่อ ยอดความรูจ้ ากความรูต้ ะวันตก หรือความรูใ้ หม่ทงั้ หลายทีเ่ กิดขึน้ ในโลกนี้ กะเหรีย่ งก็จะมีอำ�นาจทัง้ ในทางการเมือง


21

ประการแรกสุด ผมคิดว่าชาติไทย หรือความเป็นชาติของไทย เป็นสิ่งที่ถูกสถาปนามาจากข้างบน ไม่ได้เกิด ขึ้นจากสำ�นึกอย่างกว้างขวางของประชาชนที่อยู่ภายในรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ หรือรัฐอะไรก็แล้วแต่ว่าเรามีบาง อย่างร่วมกัน เรามีผลประโยชน์ร่วมกัน เรามีอนาคตร่วมกัน ที่จะร่วมอยู่ในชาติเดียวกัน แล้วก็แบ่งปันผลประโยชน์ อย่างยุตธิ รรมต่อกันและกัน แต่เป็นสิง่ ทีข่ า้ งบนยัดลงมาให้เกิดความสำ�นึกผ่านสือ่ ผ่านช่องทางอืน่ ๆ มากกว่า เหตุดงั นัน้ ความเป็นไทยจึงไม่ใช่เกิดขึน้ โดยสำ�นึกทีย่ อมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรม ความหลากหลายทางชาติพนั ธุ์ มาแต่ต้น แต่มาจากข้างบนคิดว่าอะไรคือความเป็นชาติ

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

มีโอกาสในทางเศรษฐกิจ และอื่นๆ  มากกว่าการที่จะให้คนไทยเป็นคนต่อยอดความรู้แบบไทย แล้วเอาความรู้ที่ต่อ ยอดแล้วนั้นไปยัดให้กะเหรี่ยงอีกทีหนึ่ง  เพราะฉะนั้นเรื่องของชาติพันธุ์  เรื่องของอัตลักษณ์  เรื่องของพหุวัฒนธรรม  จึงมีความหมายมากกว่าว่า คนเหล่านั้นถูกปฏิบัติในฐานะของมนุษย์ที่เท่าเทียมกันหรือไม่เท่านั้น แต่ยังหมาย ถึงโอกาสทางเศรษฐกิจหรืออำ�นาจต่อรองทางการเมือง และอื่นๆ  ตามมาอีกมากมาย เมื่อเกิดการเบียดเบียน กดขี่ กีดกัน เลือกปฏิบัติกับคนกลุ่มที่ไม่สามารถจะนับว่าเป็นชาติพันธุ์ไต หรือไทได้ ทางรอดของคนต่างๆ  โดย ส่วนใหญ่ก็คือเปลี่ยนอัตลักษณ์ตัวเองให้กลายเป็นไทยเสีย แต่การกระทำ�แบบนั้นจะสามารถรอดได้ก็จริง แต่ว่า คนจำ�นวนน้อยมากในประเทศไทยที่สามารถทำ�อย่างนั้นได้ ส่วนใหญ่จะทำ�ไม่ได้ อีกข้อหนึ่งที่น่าสังเกตเกี่ยวกับ ลักษณะไทยคือสิ่งที่รัฐบอกว่า ลักษณะไทย คืออัตลักษณ์แบบไทย ถามว่ามันเกิดมาจากไหน มันไม่ได้เกิดขึ้น มาจากการศึกษารวบรวมเอาลักษณะที่หลากหลายต่างๆ มาจากประชาชน แม้แต่กลุ่มที่พูดภาษาไทยหรือกลุ่มที่ อาจจะถือว่าเป็นชาติพันธุ์ไทย จริงๆ  แล้วมันเกิดขึ้นมาจากการสร้างขึ้นโดยรัฐเอง รัฐเป็นคนบอกเองต่างหากว่า คนไทยต้องเป็นอย่างนั้น คนไทยต้องเป็นอย่างนี้ และหากถามว่าการเป็นอย่างนั้น อย่างนี้ เอามาจากไหน ก็ เอามาจากที่เขาสร้างขึ้น ไม่ได้มาจากการรวบรวมสิ่งที่เป็นจริงในสังคม เพราะฉะนั้นการที่คนจะเป็นไทยได้จริงๆ  ตามที่รัฐมองเห็น จึงจำ�เป็นต้องเป็นคนที่มีวิถีชีวิตอย่างหนึ่ง มีการศึกษาอย่างหนึ่ง มีฐานะทางเศรษฐกิจอย่าง หนึ่ง และอาจจะมีฐานะทางสังคมอีกอย่างหนึ่งด้วยจึงสามารถมีลักษณะไทยครบบริบูรณ์ อย่างที่รัฐไทยต้องการ ได้ แม้แต่คนที่อยู่ในชาติพันธุ์ไทยแต่ไม่ได้มีฐานะทางเศรษฐกิจอย่างนั้น ไม่ได้มีวิถีชีวิตอย่างนั้น หรือไม่สามารถมี วิถีชีวิตอย่างนั้นได้ ไม่สามารถมีการศึกษาอย่างนั้นได้ ก็กลายเป็นพลเมืองชั้นสองไปโดยอัตโนมัติ คือไม่ได้ถกู กีดกัน โดยชาติพันธุ์ แต่คุณยังมีลักษณะไทยไม่บริบูรณ์ อย่างเช่นเป็นต้นว่า คุณยังกินปลาร้าอยู่ การกินแบบนี้ก็ทำ�ให้คุณ เป็นไทยน้อยลงไปโดยปริยายในสายตาของรัฐ ฉะนั้นจากความเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ อาจจะโดยตั้งใจหรือไม่ก็แล้วแต่ มันได้ถูกขยายไปสู่ความเป็นชนชั้นอาจจะโดยไม่ได้ตั้งใจ อย่างไรก็ตาม ความเป็นไทยมีความหมายเกินกว่ากลุ่ม ชาติพันธุ์ มันมีความหมายรวมไปถึง ความเป็นชนชั้นอยู่ด้วย เวลาเราพูดถึงพหุวัฒนธรรม บางทีอาจจะต้องคิดสัก หน่อย ในกรณีประเทศไทย อาจจะต้องคิดมากไปกว่ากลุ่มชาติพันธุ์ อาจจะต้องคิดไปถึงเรื่องของอาชีพด้วย อาจจะ ต้องคิดไปถึงสถานภาพทางเศรษฐกิจ และสังคมด้วย และแน่นอนอาจจะต้องคิดถึงเรือ่ งชนชัน้ ด้วย เพราะว่าคนเหล่า นั้นไม่ได้มีวัฒนธรรมที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน คนไทยที่อยู่ในสลัมกับคนไทยที่อยู่ในบางกะปิ มันเป็นพหุวัฒนธรรม มันเป็นวัฒนธรรมที่ไม่ได้เหมือนกันนะครับ นโยบายพัฒนาหลัง พ.ศ. 2500 นำ�มาซึ่งการแย่งชิงทรัพยากร และความ ที่ไม่มีลักษณะไทยที่สมบูรณ์ก็เป็นช่องทางในการลิดรอนสิทธิ และอำ�นาจในการต่อสู้ ต่อรองไปหมด อย่างเช่นกรณี ชาวเขาที่ผมไปพูดเมื่อสักครู่นี้ พวกเขาหมดสิทธิหรือหมดอำ�นาจในการต่อรองเรื่องการใช้ทรัพยากรของเขาโดยสิ้น เชิง  เพราะว่าหลัง พ.ศ. 2500 ไม่ใช่เฉพาะอำ�นาจของทางการเมืองอย่างเดียวแล้ว แต่รัฐได้เป็นตัวแทนให้คนบาง กลุ่มกำ�หนดการใช้ทรัพยากรลึกลงไปถึงระดับล่างมากขึ้น มากขึ้นตามลำ�ดับทุกที แล้วความเป็นไทย หรือความ ไม่เป็นไทย ได้ถูกใช้ในการลิดรอนหรือกำ�หนดสิทธิในการต่อรองเรื่องของทรัพยากรของคนต่างๆ ไม่ใช่เฉพาะกลุ่ม ชาติพันธุ์อย่างเดียว ผมหมายถึงอย่างที่พูดไปแล้ว แม้แต่พลเมืองไทยที่ไม่เต็มขั้นทั้งหลาย ผมคิดว่ามันเกิดขึ้นจาก อย่างที่ อาจารย์ชยันต์ได้พูดถึงในตอนแรกนะครับว่าชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรมอาจจะไม่ใช่พวกตรงข้ามกันก็ได้ แต่ กรณีของไทย เป็นขั้วตรงข้าม ทั้งหมดที่ผมพูดมาถึงตรงนี้ ผมคิดว่ามันเกิดจากข้อบกพร่องของชาตินิยม หรือความ เป็นชาติเลยก็ว่าได้ และมันมีอะไรบ้าง เท่าที่ผมนึกออกมีอยู่ 3 - 4 ประการ


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

22

ประการที่ 2 ผมคิดว่าชาตินิยมไทยถูกใช้เพื่อประโยชน์ทางการเมืองของคนข้างบนมาตั้งแต่เริ่มต้น คือตั้งแต่ รัชกาลที่ 6 ก็ใช้เพื่อประโยชน์ในการเสริมสร้างความจงรักภักดีแก่สถาบันพระมหากษัตริย์ ต่อมาก็ใช้เพื่อกีดกันคน บางกลุ่มให้ออกไปจากวงการเมือง วงอำ�นาจ เป็นต้น สิ่งที่ผลักลงมา สิ่งที่ยัดลงมาข้างล่าง มันจึงไม่เอื้อต่อสำ�นึก ความเป็นชาติ แต่เป็นผลประโยชน์ทางการเมืองของกลุม่ คนข้างบนมากกว่าสำ�นึกความเป็นชาติทแี่ ท้จริง จึงไม่รองรับ ความหลากหลายทางชาติพันธุ์และวัฒนธรรมทั้งสิ้น ขณะเดียวกันที่น่าสังเกตคือ เราเป็นชาติ โดยไม่นำ�ไปสู่ความ คิดเรื่องความเสมอภาค คือความเสมอภาคนี้เป็นหลักการพื้นฐานของความเป็นชาติ เราทุกคนต่างรักชาติมาก แต่ ความรักชาติเหล่านี้ไม่มีฐานอยู่บนความเสมอภาค เราไม่มีฐานความรู้และความเป็นเจ้าของประเทศอย่างเท่าเทียม กัน เพราะว่าความเป็นชาตินั้นเป็นสิ่งที่ถูกยัดมาจากข้างบน ยัดมาในลักษณะหาประโยชน์ทางการเมือง จึงไม่นำ�ไป สู่สำ�นึกเรื่องของความเสมอภาคของพลเมืองนะครับ ประการต่อมา ผมคิดว่าชาตินิยมไทยหรือความหลากหลายทางชาติพันธุ์และวัฒนธรรมของไทยยังขาดฐาน ความรูท้ ที่ �ำ ให้คนในสังคมเข้าใจความหลากหลายเหล่านีด้ ว้ ย ฐานความรูอ้ นั แรกก็คอื ว่า ระบบการศึกษาทุกระบบไม่ ได้ตงั้ ใจทีจ่ ะให้คนเรียนมีส�ำ นึกว่าเรามีเพือ่ นร่วมชาติทมี่ คี วามแตกต่างในทางวัฒนธรรมมากมายอันนีก้ พ็ ดู กันมามาก แล้ว เห็นได้ชัดนะ แต่ผมอยากจะพูดว่าแม้แต่การศึกษาในระดับที่สูงไปกว่านั้น คือสูงกว่าโรงเรียนทั่วๆ  ไป โดยทั่วๆ  ไปเราก็ศึกษาความหลากหลายทางวัฒนธรรมและทางชาติพันธุ์ค่อนข้างน้อย ถ้าพิจารณา การศึกษาประวัติศาสตร์ ของชาติจริงๆ  คือการศึกษาประวัตศิ าสตร์ตา่ งๆ  ของภาคกลางเท่านัน้ เอง แล้วก็อา้ งว่า ประวัตศิ าสตร์ของภาคกลาง คืออดีตของคนทัง้ ประเทศไทย วัฒนธรรมแห่งชาติกเ็ หมือนกัน ไปผูกพันอยูก่ บั บางภาค สมัยหนึง่ ค่อนข้างผูกพันอย่าง มากกับภาคกลาง จนถึงปัจจุบนั นีก้ ผ็ กู พันอย่างค่อนข้างมากกับวิถชี วี ติ ของคนบางกลุม่ เท่านัน้ มันไม่ได้ผกู พันกับคน ทุกๆ กลุ่ม การศึกษาที่จะนำ�ไปสู่ความรู้ในด้านนี้ในระดับที่ลึกขึ้นก็เพิ่งเริ่มทำ�กันมาไม่นานนัก ผลงานออกมาก็ไม่สู้ จะมากนัก สื่อเองก็ขาดความรู้ สังคมทั้งหมดก็ขาดความรู้ กรณีพจนานุกรมมอญ-ไทยทุกเล่มที่มีในประเทศไทย หรือที่มีในโลกก็ว่าได้ ไม่ได้ทำ�ในมหาวิทยาลัยสักเล่มเดียว เป็นต้น ชี้ให้เห็นว่ามอญซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีความ สำ�คัญค่อนข้างมาก โดยเฉพาะในภาคกลาง ที่จริงในภาคเหนือด้วย แต่ว่าการศึกษาเกี่ยวกับคนเหล่านี้ไม่ได้กระทำ� โดยสถาบันการศึกษาเท่ากับความรักในวัฒนธรรมของเขาเอง กลับกลายเป็นว่า เจ้าอาวาสวัดโน้นวัดนี้เป็นผู้ทำ�การ ศึกษาบ้าง เป็นคนที่สนใจ เป็นนักวิชาการที่อยู่ข้างนอกมากกว่า ประเด็นสุดท้ายที่จะพูดถึง คือข้อบกพร่องความเป็นชาติของเรา ก็คือเราพูดถึงพหุวัฒนธรรมท่ามกลางการ รวมศูนย์ที่มากขนาดนี้ได้อย่างไร พหุวัฒนธรรมต้องเปิดโอกาสให้มีความหลากหลาย แต่ประเทศไทยเรารวมศูนย์ ค่อนข้างมาก ไม่ใช่การรวมศูนย์เฉพาะด้านการปกครอง อันนัน้ ไม่ตอ้ งพูดถึง เราทุกคนรูอ้ ยูแ่ ล้ว การรวมศูนย์ทางการ ศึกษา การรวมศูนย์ทางด้านศาสนาด้วย รวมศูนย์ในเรื่องของระบบเกียรติยศด้วย คือระบบเกียรติยศที่เป็นของท้อง ถิ่นนั้นแทบจะไม่มีเลย ตัวอย่างเช่น สมณะศักดิ์ สมัยก่อนในอีสานมีการจัดวางลำ�ดับสมณะศักดิ์เองที่ไม่ได้ตรงกับ ของภาคกลาง แต่วนั หนึง่ เมือ่ มีการปฏิรปู ศาสนา เกียรติยศของพระสงฆ์ทงั้ หมดได้ขนึ้ อยูก่ บั ระบบสมณะศักดิท์ ภี่ าค กลางซึง่ เป็นผูจ้ ดั วางเอาไว้ทงั้ หมด ชาวบ้านหรือคนท้องถิน่ อีสานไม่สามารถทีจ่ ะมีระบบเกียรติยศทีเ่ ป็นอิสระของตัว เองได้ ไม่วา่ คุณจะมองระบบเกียรติยศใด ศิลปินแห่งชาติอะไรก็แล้วแต่ ทัง้ หมดเหล่านีเ้ ป็นระบบเกียรติยศทีร่ วมศูนย์ แม้แต่เศรษฐกิจเองก็รวมศูนย์ เช่นกรณีการผลิตสินค้า เราไม่ได้ผลิตเพื่อคนที่อยู่ข้างๆ เราเท่าไหร่นัก เพราะว่าตลาด ภายในประเทศนั้นแค่ 20 % เท่านั้น ที่เหลือ 80 % นั้นเราผลิตให้คนที่เราไม่เคยเห็นหน้า ในขณะที่ในอเมริกานั้น เขาบอก 80 % ของการผลิตของเขานั้นให้กับคนที่อยู่บริเวณแถวๆ นั้นมากกว่าจะผลิตให้กับคนที่อยู่ไกลจนมองไม่ เห็น เพราะฉะนั้นเศรษฐกิจจึงมีลักษณะรวมศูนย์ด้วยตัวของมันเอง ก็ยิ่งทำ�ให้เรามองไม่เห็นความหลากหลายทาง ชาติพันธุ์ของวัฒนธรรมนั้นมากขึ้น ในปัจจุบันนี้ปฏิเสธไม่ได้ว่าลักษณะพหุวัฒนธรรมในสังคมไทยมองเห็นได้เด่นชัดขึ้น ทั้งหมดเหล่านี้ผมเข้าใจ ว่ามาจากงานวิชาการ ที่ทำ�ให้เรามองเห็นความเชื่อทางศาสนาที่แตกต่าง มองเห็นภาษาที่แตกต่าง และอื่นๆ ตรงนี้


23 22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

มันก็ค่อนข้างจะชัดเจน แต่เมื่อเรามีสำ�นึกมากขึ้น อย่างน้อยในกลุ่มนักวิชาการและคนที่มีการศึกษาว่า สังคมไทย จริงๆ แล้วไม่ใช่สังคมที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน สังคมที่เป็นเนื้อเดียวกัน จริงๆ เป็นสังคมที่มีความหลากหลายมาก ถามว่าชาตินยิ มไทยได้คลีค่ ลายตัวเอง ได้เปลีย่ นตัวเองเพือ่ รองรับสำ�นึกใหม่ของความหลากหลายอันนีห้ รือไม่ ผมคิด ว่าไม่ กรณีที่มองเห็นได้ชัดคือกรณีของเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือกรณีของมลายูมุสลิม ในภาคใต้ คือเมื่อตอนที่เกิดเหตุครั้งแรกในปี พ.ศ.2544 ผมคิดว่าสำ�นึกเกี่ยวกับความหลากหลายนั้นยังไม่ค่อยมี แต่ ปัจจุบนั นีม้ มี ากขึน้ แล้ว ยอมรับว่า เขากับเรามีความแตกต่างกัน แล้วถามว่าเรายอมรับความหลากหลายมากแค่ไหน ผมคิดว่าไม่ค่อยมี ยังมีการบิดเบือนตัวเองจากประวัติศาสตร์ เช่นเป็นต้นว่าให้รักษาดินแดนส่วนนั้นไว้ เหมือนกับที่ บรรพบุรุษได้หลั่งเลือดมา โดยไม่ได้คิดว่าบรรพบุรุษเป็นคนละบรรพบุรุษกัน แล้วก็มีเลือดคนละฝั่ง ต่างคนต่างหลั่ง ด้วยกันทั้งคู่ แต่เราบอกให้คิดถึงบรรพบุรุษ ดังนั้นยิ่งคิดถึงบรรพบุรุษยิ่งต้องสู้มากขึ้น งานวิชาการที่ก้าวหน้ามากขึ้น ก็ทำ�ให้เกิดความสนใจในเรื่องมลายูมากขึ้น จริงๆ ก็ยังไม่เพียงพอ จนถึงทุกวันนี้ เรายังไม่ได้พัฒนาแม้แต่ของง่ายๆ ว่าจะถ่ายเสียง ภาษาของมลายูท้องถิ่นออกมาเป็นอักษรอื่น คือเวลานี้ถ่ายได้ด้วยเสียงอักษร ยาวี อย่างเดียว แต่ว่า คุณไม่สามารถถ่ายมาเป็นภาษาไทย มีอาจารย์บางท่านในภาคใต้ พยายามที่จะถ่ายออกมาเป็นอักษรภาษาไทยนะ แต่ก็ยังไม่เป็นที่ยอมรับกัน เป็นต้น จะใช้อักษรละตินแบบที่ใช้ในมาเลเซียก็ไม่ได้ เพราะว่าเสียงของมลายูทางภาค ใต้นั้นก็ไม่ได้ตรงกับเสียงในมาเลเซีย มันมีเสียงพิเศษบางอย่าง แค่นี้เรายังไม่ได้ทำ�เลย เพราะฉะนั้นก็ยังไม่เพียงพอ แล้วก็ไม่แน่ใจว่าสักวันหนึ่งถ้าเหตุการณ์สงบไปแล้ว หรือแยกดินแดนไปแล้ว เราจะยังคงยืนหยัดความสนใจทาง ด้านวิชาการต่อไปหรือไม่ ในกรณีด้านการศึกษา ผมคิดว่าเราไม่สามารถปรับเปลี่ยนอะไรได้เลยนะ มีคณะกรรมการ สมานฉันท์ เมื่อสมัยครั้งโน้นได้เสนอให้ใช้ภาษามลายูท้องถิ่นในการสอนระดับประถม ระดับเริ่มต้นสำ�หรับเด็กก่อน เพือ่ ไม่ให้เด็กต้องเผชิญทัง้ ความรูท้ ตี่ อ้ งเรียนในโรงเรียนและเผชิญทัง้ ปัญหาการสือ่ สาร ก็เริม่ ต้นด้วยภาษามลายูทอ้ ง ถิ่นก่อน ก็ไม่สำ�เร็จ จนถึงทุกวันนี้ก็ยังไม่สามารถทำ�อย่างนั้นได้ เรารู้ว่าจำ�เป็นต้องมีการพัฒนาเข้าไปใน 3 จังหวัด 4 จังหวัดภาคใต้มากขึ้น แต่ว่าการพัฒนาที่เราคิดก็ยังเป็นวางแผนการพัฒนาจากส่วนกลางว่า จะต้องมีสิ่งนั้นสิ่งนี้ มากกว่าการลงไปฟังความเห็น ความต้องการ หรือการพัฒนาที่ต่อยอดความสามารถของชาวบ้านมลายู มุสลิมที่ มีอยู่ เช่นเวลาคุณพูดถึงอาหารฮาลาล คุณกำ�ลังนึกถึงอุตสาหกรรมอาหารในภาคกลางขยายออกไปทำ�อาหารฮา ลาลในภาคใต้ โดยรับวัตถุดบิ จากเรือประมง ซึง่ อาจจะมีฐานอยูท่ สี่ มุทรสาคร ไม่ได้มฐี านอยูท่ ปี่ ตั ตานี ไม่มใี ครคิดถึง อาหารฮาลาล ทีเ่ ชือ่ มโยงกับเลีย้ งแพะ ซึง่ ชาวบ้านทำ�กันอยูม่ ากมายไม่มใี ครคิดถึงอาหารฮาลาลทีเ่ ชือ่ มโยงกับประมง ชายฝั่ง ซึ่งชาวบ้านทำ�กันอยู่มากมาย เพราะฉะนั้นผมคิดว่าตัวอย่างกรณีของมลายูมุสลิมในภาคใต้ ก็น่าจะชี้ให้เห็น ถึงชาตินิยมแบบเก่า ผมคงไม่ต้องอธิบายมาก ผมก็คงมีเพียงเท่านี้ ขอบพระคุณมากครับ


ปาฐกถาพิเศษ นโยบายสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และชนกลุ่มน้อย


25

ศาสตราจารย์ วิทิต มันตราภรณ์2

ในเรื่องชนกลุ่มน้อยกับสิทธิมนุษยชน มีคำ�ถามที่น่าจะได้คิดไตร่ตรอง ประเด็นแรกคือสิทธิที่อ้างถึงนั้นเป็น สิทธิของปัจเจกหรือสิทธิของกลุม่ นีเ่ ป็นข้อสงสัยซึง่ ถกเถียงกันมานาน สิทธิทงั้ สองมีความไม่เหมือนกันอย่างไร สิทธิ ของปัจเจกอาจจะเป็นสิทธิที่จะไม่ถูกทรมาน สิทธิที่จะเข้าโรงเรียน เป็นต้น แต่พอบอกว่าเป็นสิทธิของกลุ่มอาจจะ มีอะไรที่เพิ่มเติมขึ้นมาเช่น สิทธิในการกำ�หนดอนาคตของตนเอง เสียงของกลุ่มที่จะมีส่วนร่วมในการปกครอง การ เลือกตั้งในฐานะกลุ่มไม่ใช่หนึ่งคนเท่านั้น นี่คือข้อคำ�ถามหนึ่งว่าสิทธิที่เราพูดถึงนั้นเป็นสิทธิของคนเดียวหรือเป็น สิทธิของกลุ่ม สิทธิคนเดียวหรือสิทธิปัจเจกนั้นมีอยู่แล้วแต่สิทธิของกลุ่มมีหรือไม่ เป็นอย่างไร และมีอะไรนอกเหนือ จากสิทธิของปัจเจกหรือไม่ ประเด็นที่สอง คือ มีความสับสนในประเทศไทยเป็นอย่างยิ่ง เกี่ยวกับความเข้าใจเรื่องสิทธิระหว่างสิทธิของ ชนกลุ่มน้อยเหมือนสิทธิของชนพื้นเมือง ซึ่งที่จริงไม่เหมือนครับ หลายคนอาจจจะสับสนและเข้าใจว่าชนพื้นเมือง เหมือนกับชนกลุ่มน้อย ชนพื้นเมืองคือคนที่อยู่มาก่อนนานแล้ว เช่น ชาวอะบอริจิน ประเทศออสเตรเลีย อาศัยอยู่ ในดินแดนนี้มาก่อนชาวผิวขาว ในด้านหนึ่งกลุ่มเหล่านี้ก็เป็นชนกลุ่มน้อยเพราะมีจำ�นวนน้อยกว่า แต่ในบางครั้งชน พืน้ เมืองจะอยูใ่ นสภาพชนกลุม่ มากไม่ใช่ชนกลุม่ น้อย จำ�นวนมากไม่ใช่จ�ำ นวนน้อย เช่น ประเทศฟิจิ เกาะฟิจิ กลุม่ ชนพื้นเมืองฟิจิจะมีจำ�นวนมาก ส่วนกลุ่มเชื้อสายอินเดียที่เข้ามาตอนหลังจะมีจำ�นวนน้อย แต่กลุ่มเชื้อสายอินเดีย มีนํ้าหนักทางเศรษฐกิจและการเมืองมากถึงขนาดเป็นนายก แต่ก็มีรัฐประหารในภายหลัง เพราะฉะนั้นฝากไว้เล็ก น้อยว่าสิทธิของชนกลุม่ น้อยกับชนพืน้ เมืองไม่เหมือนกัน เพราะในบางครัง้ ชนพืน้ เมืองอาจจะอยูใ่ นสภาพทีเ่ ป็นเสียง ข้างมากไม่ใช่เสียงข้างน้อย และนอกจากนัน้ ชนพืน้ เมืองทีผ่ มมาพูดทีเ่ ชียงใหม่เมือ่ สองเดือนทีแ่ ล้วปัจจุบนั นีม้ ตี ราสาร มีปฏิญญา มีแถลงการณ์ของสหประชาชาติโดยตรงซึง่ ประเทศไทยเห็นด้วย แถลงการณ์นถี้ งึ แม้ไม่ใช่นติ กิ รรมสัญญา อนุสญ ั ญา ข้อตกลงร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่มนี าํ้ หนักมากในการชักจูงให้โลกปฏิบตั ติ าม รวมทัง้ ประเทศไทยในปฏิญญา ว่าด้วยสิทธิของชนพื้นเมือง ในฐานะที่เป็นกลุ่มชนพื้นเมือง และสิ่งหนึ่งที่แตกต่างจากสิทธิของปัจเจกในกรณีที่เป็น ชนพืน้ เมืองคือว่าสิทธิของชนพืน้ เมืองในปัจจุบนั ตามตราสารสหประชาชาติลา่ สุดทีป่ ระเทศไทยเห็นชอบด้วยคือสิทธิใน การกำ�หนดอนาคตของตนเอง หมายความว่าสิทธิในฐานะที่เป็นกลุ่มที่จะมีเสียง มีนํ้าหนักในการเข้าไปร่วมบริหาร จัดการประเทศรวมถึงการปกครอง  อันนีห้ มายความว่าเป็นสิทธิในฐานะเป็นกลุม่ เป็นก้อน ในฐานะเป็นชุมชนทีม่ สี ทิ ธิ เข้าไปเลือกตั้ง มีนํ้าหนักในการบริหารจัดการประเทศ ส่วนชนกลุ่มน้อยจะเห็นว่าไม่มีตราสารระหว่างประเทศ ไม่มี เอกสารระหว่างประเทศ ไม่มแี ถลงการณ์ทรี่ ะบุไว้อย่างแน่ชดั ว่ามีสทิ ธิในการกำ�หนดอนาคตของตนเอง ชนกลุม่ น้อย ไม่มีเอกสารการตกลงในระดับสากลว่าชนกลุ่มน้อยในฐานะเป็นกลุ่มที่มีสิทธิในการกำ�หนดอนาคตของตนเอง อันนี้ โลกไม่ได้มกี ารยอมรับจนปัจจุบนั ไม่เหมือนกับชนพืน้ เมืองทีป่ จั จุบนั นีโ้ ลกยอมรับ หลักทีส่ �ำ คัญมากก็คอื มีสทิ ธิใน เรื่องการกำ�หนดอนาคตของตนเอง และสำ�คัญมากเพราะว่าในเรื่องของชนพื้นเมือง การกำ�หนดอนาคตของตนเอง หมายความว่าอะไร ในตราสารของชนพื้นเมืองเขาระบุเอาไว้เลยว่าย่อมรวมถึง self-government หรือ autonomy คือ การปกครองตนเองได้ด้วยในถิ่นที่ตนเกี่ยวข้อง แต่ไม่ถึงขั้นแยกประเทศ นี่คือกรณีชนพื้นเมือง ส่วนชนกลุ่มน้อย 1 ถอดความจากปาฐกถาพิเศษ “นโยบายสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและชนกลุ่มน้อย” ในการประชุมวิชาการชาตินิยมกับ พหุวัฒนธรรม 2 อาจารย์ประจำ�คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

นโยบายสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและชนกลุ่มน้อย1


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

26

ในระดับสากลหรือในระดับโลกไม่ได้ให้การรับรอง รองรับในฐานะเป็นกลุม่ ว่ามีสทิ ธิในการกำ�หนดอนาคตของตนเอง ดังนั้นนัยยะทางด้าน self-government หรือ autonomy ก็ไม่เกิดขึ้น อย่างไรก็ดี ชนกลุ่มน้อยที่เป็นชนพื้นเมืองก็ สามารถอ้างสิทธิในฐานะเป็นชนพื้นเมือง ชนกลุ่มน้อยที่เป็นชนพื้นเมืองด้วยก็สามารถมีสิทธิในการกำ�หนดอนาคต ของตนเอง รวมถึง self-government และ autonomy แต่ไม่คลุมถึงการแยกตนจากรัฐหรือประเทศได้ ทีนี้ในเรื่องข้อตกลงระหว่างประเทศมีทั้งปฏิญญา แถลงการณ์ และอนุสัญญาหรือสนธิสัญญา ปฏิญญา หรือแถลงการณ์ก็คือคล้ายๆ เป็นมติ คำ�แถลงออกมาเป็นหลักสากล declaration ไม่ได้ผูกมัดร้อยเปอร์เซ็นต์แต่อาจ จะมีนํ้าหนัก เป็นจารีตที่ผูกมัดได้ ไม่เหมือนสนธิสัญญาหรืออนุสัญญา ที่เป็นนิติกรรมสัญญาที่ทำ�คือผูกมัด ต้อง มีความรับผิดชอบต่อเวทีสากล ถูกตรวจตราได้ง่ายมากขึ้น ถูกบีบได้ง่ายมากขึ้น ถ้ารัฐเป็นภาคีสัญญา  บางครั้ง ประเทศไทยเป็นภาคีที่เอื้อต่อสิทธิของชนพื้นเมืองและชนกลุ่มน้อยไม่มากก็น้อย ประเด็นทีส่ าม คือเมือ่ ทราบว่าเป็นชนกลุม่ น้อยหรือชนพืน้ เมืองแล้วจะทำ�อย่างไรต่อ จะให้รฐั กำ�หนดให้หรือไม่ ผมเคยทำ�รายงานสิทธิเด็กกรณีประเทศไทย แล้วเขียนในรายงานนัน้ ว่าชาวใต้เป็นชนกลุม่ น้อยทางใต้ แต่พวกเขาบอก ว่าไม่ใช่ พวกเราไม่ใช่ชนกลุ่มน้อย เราเป็นชนกลุ่มใหญ่ในภาคใต้ อย่ามาเรียกว่าเราเป็นชนกลุ่มน้อย คำ�ถามของ ผมคือ แล้วตกลงว่าชาวใต้เป็นอะไรกันแน่ แล้วชาวเขาเป็นอะไรกันแน่ แล้วใครเป็นคนกำ�หนดว่าเป็นชนพืน้ เมืองหรือ เป็นชนกลุม่ น้อย นีค่ อื ปัญหาโลกแตก สิง่ ทีช่ ดั ทีโ่ ดยสากลบอกว่าไม่ใช่รฐั กำ�หนด ไม่ใช่สทิ ธิของรัฐทีจ่ ะมากำ�หนดว่า ใครเป็นชนกลุม่ น้อยหรือใครเป็นชนพืน้ เมือง โดยปริยายก็หมายความว่ากลุม่ กำ�หนดตนเองโดยการใช้หลักฐานพิสจู น์ แล้วจะพิสูจน์อย่างไร หากท่านมีประวัติศาสตร์ท่านก็เสนอมา ท่านมีภาษา มีวิธีแต่งกาย มีวัฒนธรรม มีศาสนา ท่านก็เสนอมา นี่คือพยานหลักฐานทั้งนั้น แล้วโลกก็จะยอมรับว่าเป็นชนพื้นเมือง หรือชนกลุ่มน้อย เพราะฉะนั้นที่ สำ�คัญมากในเรื่องของการพิสูจน์ตนเอง ท่านต้องเขียนประวัติศาสตร์ของตัวท่านเองไม่ใช่ให้รัฐเขียนประวัติศาสตร์ ของท่านเท่านั้น สิ่งแรกที่สำ�คัญที่สุดไม่ใช่กฎหมาย คือประวัติศาสตร์  อย่าปล่อยให้รัฐเขียน แต่ประวัติศาสตร์ต้อง มีความหลากหลายเพราะฉะนั้นเป็นสิทธิของท่านที่จะช่วยกันเขียนประวัติศาสตร์ของตัวท่านเอง ส่วนฝ่ายอื่นเขาจะ เชื่อหรือไม่ ไม่เป็นไรหรอกครับ อย่างไรก็ตาม เราพบว่ามีศัพท์สากลที่เกี่ยวข้องกับชนกลุ่มน้อยคือ ethnic หรือ cultural minority ซึ่งหมายถึง ชนกลุ่มน้อยโดยชาติ เชื้อชาติ ภาษา และหรือวัฒนธรรม ศาสนา เพราะฉะนั้นการจำ�แนกกลุ่มก็น่าจะมาจากพูด ภาษาเดียวกันก็คงใช่ เป็นกลุ่ม ส่วนจะเป็นชนกลุ่มน้อยหรือไม่ก็แล้วแต่ แต่ว่าหนึ่งในลักษณะของชนกลุ่มน้อยควร จะเป็นอย่างนั้น อาจจะถือศาสนาเดียวกันก็ได้ ศาสนานี้ตีความแบบกว้างย่อมคลุมถึง animism ก็ได้ ไม่จำ�เป็น ต้องเป็น พุทธ อิสลาม หรือ คริสต์ อาจจะเป็นการปฏิบัติตามวัฒนธรรมของตนเองก็ได้ หากพิจารณาการแสดงออกในหลายกรณีก็คือ การต่อต้านการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ กฎหมายระหว่าง ประเทศเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นบนสุญญากาศ แต่ได้เกิดขึ้นมาตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง ถ้าเราทบทวน ประวัติศาสตร์การสร้างตราสาร เอกสาร สนธิสัญญาสากล เราพบว่าตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 19 – 20 สนธิสัญญา มีความหลากหลายมากในเรื่องของชนกลุ่มน้อย โดยเฉพาะในกลุ่มยุโรป ก่อนที่จะมีตราสารสากลเสียอีกหลังจาก สงครามโลกครัง้ ทีส่ อง ชนกลุม่ น้อยทีถ่ กู ฆ่าตายมากสุดคือ ชาวยิว ซึง่ เราเรียกว่าฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ และการแสดงทัศนะ หลังจากการทารุณโหดร้ายที่เกิดขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ในเรื่องตราสารสากลก็มีให้เห็นคือ หนึ่ง ปฏิญญา ว่าด้วยสิทธิของบุคคล ไม่ใช้คำ�ว่ากลุ่ม เขาใช้คำ�ว่า person บุคคลที่เป็นส่วนของ national ethnic เนื่องจากนี่เป็น ปฏิญญาไม่ใช่สนธิสัญญา คือ การปกป้อง อัตลักษณ์ของชนกลุ่มน้อย เพื่อให้มีสิทธิที่จะมีวัฒนธรรม ภาษา และ การถือศาสนา และมีสิทธิที่จะมีส่วนร่วมในชีวิต มีสิทธิที่จะสร้างสมาคมของตนเองขึ้นมา และรัฐจะใช้มาตรการ ที่เหมาะสม เพื่อใช้วัฒนธรรมภาษาแม่ ในเรื่องการศึกษาก็จะพยายามส่งเสริมวัฒนธรรมชนกลุ่มน้อยและจะต้อง มีนโยบายเพื่อปฏิบัติ


27

ขณะนีม้ ปี ระเด็นเกีย่ วกับสิทธิของแรงงานต่างด้าว จะทำ�อย่างไรเพือ่ เข้าถึงการศึกษา และการรักษาพยาบาล คนเหล่านี้จะได้สิทธิบัตร 30 บาท หรือบัตรทองหรือไม่ คำ�ตอบคือไม่ได้ นอกจากนี้ยังมีกลุ่มเกย์ กลุ่มผู้หญิง เด็ก คนพิการ คนเหล่านี้จะได้รับสิทธิจากรัฐและถูกเลือกปฏิบัติอย่างไรบ้าง และในบางครั้งต้องยอมรับว่าแม้ในชนกลุ่ม น้อยเองก็มีการเลือกปฏิบัติ เช่น ชนกลุ่มน้อย ถูกเลือกปฏิบัติจากกลุ่มนี้ และเมื่อเป็นชนกลุ่มน้อยและเป็นผู้อพยพ ลี้ภัยและเป็นผู้หญิง เป็นเด็ก อาจจะโดนความรุนแรงในบ้านหรือนอกบ้าน สำ�หรับประเทศไทยเรื่องนี้ก็คงแทรกอยู่ ในกฎหมายหลายส่วน ซึ่งก็ต้องมาพิจารณาว่าเหมาะสมกับมาตรฐานสากลหรือไม่ รัฐธรรมนูญในปัจจุบันมีมาตรา ที่เกี่ยวข้องในเรื่องการห้ามการเลือกปฏิบัติ ทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน โดยไม่เลือกปฏิบัติ และในเรื่องนี้ถ้าท่านคิดว่า ท่านไม่ได้รับความเป็นธรรมจากรัฐ ท่านก็สามารถรวมกลุ่มอะไรก็แล้วแต่ก็เป็นสิทธิของท่าน และ หรือ อาจจะ เรียกร้องในศาล ท่านที่เคารพคงจำ�ได้อย่างคดีของแม่อาย ชาวบ้านได้สัญชาติแล้วถูกถอน ก็เป็นการเลือกปฏิบัติ ชนิดหนึ่งก็มีการฟ้องต่อศาลปกครอง เจ้าหน้าที่ก็ยังไม่ยอมอีกในครั้งนั้น ฟ้องกันไปฟ้องกันมาจนถึงศาลปกครอง สูงสุด และชาวบ้านเป็นฝ่ายชนะ ซึง่ ก็ถกู ต้อง  แต่กฎหมายไทยในบางครัง้ คดีทงั้ หลายทีต่ ดั สินไปแล้วไม่ผกู มัดในทุกๆ กรณี ไม่มีบรรทัดฐาน ดังนั้นฝ่ายที่อยู่นอกกรอบพันกว่าคนหรืออะไรก็แล้วแต่ก็ต้องฟ้องกันอีก และในรัฐธรรมนูญ ฉบับปัจจุบันท่านมีสิทธิที่จะฟ้องในศาลรัฐธรรมนูญแล้วเป็นครั้งแรก สมัยก่อนไม่เคยฟ้องในศาลรัฐธรรมนูญได้ แต่ ต้องใช้คดีอาญาอื่นๆ ให้หมดเสียก่อน เพราะฉะนั้นในอนาคตปัจเจก กลุ่ม ฟ้องศาลรัฐธรรมนูญได้ คณะกรรมการ สิทธิมนุษยชนแห่งประเทศไทยในอนาคตก็จะฟ้องในศาลรัฐธรรมนูญได้ สรุปก็คอื ว่าต้องไม่ใช้แต่กฎหมาย แต่นโยบาย และการปฏิบัติก็ต้องให้ดีขึ้นด้วยนะครับ กรณีเรื่องสัญชาตินั้นก็เห็นได้ชัดว่า ปัจจุบันเรามี พ.ร.บ. สัญชาติใหม่ของปีนี้ ที่เอื้อมากขึ้นแต่ก็ต้องผลักดัน ให้การปฏิบัติที่ดีขึ้นคือ ข้อ 1 ใต้ พ.ร.บ. นี้บุคคลที่เคยถูกถอนสัญชาติภายใต้ประกาศคณะปฏิวัติที่เรียกว่า 337 จะ ได้สัญชาติคืนมา ข้อ 2 พ.ร.บ. สัญชาติใหม่จะพิจารณากลุ่มที่เข้ามาก่อนปี 1995 โดยตามหลักการจะให้สัญชาติ กับกลุ่มที่เข้ามาในประเทศไทยก่อนปี 1995 และข้อที่ 3 ใน พ.ร.บ. สัญชาติใหม่นี้ก็คือ เด็กที่เกิดขึ้นในไทยถึงแม้พ่อ แม่มีสภาพเป็นผู้หลบหนีเข้าเมือง จะไม่ถูกกำ�หนดว่าเป็นผู้หลบหนีเข้าเมืองด้วย เพราะเด็กไม่ได้ผิดอะไร เด็กไม่ได้ หลบหนีเข้ามา และกระทรวงมหาดไทยจะต้องตั้งกำ�หนดประเภทใหม่ขึ้นให้กับเด็กเช่นที่ว่า แต่อย่างน้อยเด็กจะไม่

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

ทีนี้ที่เกี่ยวกับเราโดยตรงในปัจจุบัน คือ ไทยมีสนธิสัญญาฉบับหนึ่งที่ใกล้เรื่องนี้มากคือ สนธิสัญญาที่ห้าม การเลือกปฏิบัติเรื่องเชื้อชาติ ซึ่งไทยเป็นภาคีและภายใต้สนธิสัญญานี้เราจะต้องรายงานต่อสหประชาชาติ ซึ่ง รายงานฉบับแรกของประเทศไทยที่จะเสนอต่อสหประชาชาติกำ�ลังทำ�กันอยู่ แล้วก็มีหลายส่วนที่เกี่ยวกับชนกลุ่ม น้อยในเรื่องของภาษา ที่ดิน ความเป็นอยู่ทั้งหลาย สนธิสัญญาฉบับนี้ ปี 1965 ก็ต่อต้านการเหยียดผิว การ เลือกปฏิบัติทั้งหลาย และนอกจากนั้นก็มีการประกันสิทธิหลายส่วน เช่น สิทธิทางด้านการศึกษา สิทธิในเรื่องการ ไร้สัญชาติ และอื่นๆ อันนี้ก็เป็นประโยชน์ ซึ่งเราก็ใช้เพื่อรุกในการเปลี่ยนแปลงกฎหมายและการปฏิบัติในไทยใน ปัจจุบัน นอกจากนั้นเราเป็นภาคีของสนธิสัญญาอีกฉบับที่เรียกว่า กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางพลเรือน และการเมือง ซึ่งข้อ 27 ของปฏิญญาได้บอกว่ารัฐจะไม่ปฏิเสธสิทธิทางด้านวัฒนธรรม ศาสนา และภาษาของ ชนกลุม่ น้อย  ในฐานะทีค่ นเหล่านีร้ วมกลุม่ กันเอง และปัจจุบนั ก็ยงั อยูใ่ นข้อ 30 ของข้อตกลงอีกฉบับในเรือ่ งของสิทธิ เด็กด้วย เมือ่ 3 - 4 ปีกอ่ น มีการประชุมระดับโลกทีเ่ มือง Durban ทางตอนใต้ของแอฟริกา เกีย่ วข้องกับการต่อต้านการ เหยียดผิว การเกลียดชังคนต่างด้าว และการมีอคติตอ่ หลายๆ ฝ่าย ซึง่ อันนีก้ ไ็ ด้ทำ�ให้ไทยมีทงั้ กฎหมายและเยียวยา ทางการละเมิด  และปัจจุบันทางสหประชาชาติมีผู้ตรวจสอบในเรื่องของสิทธิของชนกลุ่มน้อย  ถ้าชนกลุ่มน้อยคิด ว่าถูกละเมิดสิทธิ และมีอะไรที่ด่วนที่จะขอให้สหประชาชาติเจรจากับประเทศไทยหรือประเทศอื่น ก็สามารถ ติดต่อไปได้เลยที่ข้าหลวงสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ ดังเช่นสองสามปีก่อนมีชนกลุ่มน้อยชาวพม่าบอกว่าถูก ละเมิดสิทธิ ก็ติดต่อสหประชาชาติไปและเจ้าหน้าที่คนนี้ก็พยายามติดต่อกับรัฐบาลพม่าขอความเป็นธรรมให้แก่ ชนกลุ่มน้อยที่ถูกละเมิดสิทธิ


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

28

อยู่ในสภาพเป็นผู้หลบหนีเข้าเมืองแล้ว เพราะถ้าอยู่ในสภาพนั้นก็อาจจะถูกดันออก ถูกเนรเทศซึ่งก็มิชอบเพราะว่า เด็กพวกนี้เกิดในไทย นี่เป็นกฎหมายสัญชาติที่ดีขึ้นในหลักการแต่ก็ต้องช่วยกันปฏิบัติให้ดีขึ้น ในเรื่องทะเบียนเกิด ทะเบียนราษฎร์ ก็น่าจะดีขึ้นในอดีตนั้นสูติบัตรไม่สามารถออกให้ได้กรณีเป็นลูกของผู้ อพยพหรือแรงงานต่างด้าว แต่ปัจจุบันนี้ในกฎหมายทะเบียนราษฎร์ใหม่ซึ่งจะต้องปฏิบัติทุกคนในประเทศไทยไม่ ว่าจะเข้ามาโดยชอบหรือไม่ชอบจะมีเลข 13 หลัก แต่ในนั้นก็อาจจะมีตัวเลขที่ไม่เหมือนกัน นี่ก็จะเห็นหรือจะเรียก ว่าเลือกปฏิบัติหรือไม่ก็ไม่ทราบ ก็จะเห็นในนั้นว่าเขามาจากไหน แต่อย่างน้อยเขาก็มีอะไรที่ถือได้ให้เห็น ไม่ใช่ว่า ไม่มีกระดาษอะไรเลยในมือ แล้วก็ถูกบีบ ถูกอะไรโดยบางฝ่ายที่ไม่ค่อยเอื้อ อีกส่วนก็คือในเรื่องของการบริหารจัดการที่ดิน ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ชุมชนได้เรียกร้องและก็มีการ ระบุในรัฐธรรมนูญว่าชุมชนจะต้องมีสิทธิมีส่วนร่วมมากขึ้นในการปกป้องสิ่งแวดล้อม การทำ� EIA หรือการประเมิน ผลกระทบต่อสิง่ แวดล้อม แต่พบว่า EIA บางทีกส็ ายเกินไป  ข้อมูลก็ไม่ทนั ต่อเหตุการณ์ ประชาชนก็ไม่มสี ว่ นร่วมอย่าง แท้จริง อย่างไรก็ตาม ก็หวังว่าในอนาคตน่าจะดีขึ้น จริงๆ  แล้ว ผมขอฝากไว้ในที่นี้ด้วยว่าน่าจะเพิ่มการประเมิน ผลกระทบทางด้านสิทธิมนุษยชนด้วย Human Right Impact Assessment (HRIA) หรือจะเรียกว่า Social Impact Assessment (SIA) แล้วเรือ่ งนีก้ ม็ คี วามเกีย่ วข้องกับ พ.ร.บ. ป่าชุมชนด้วย ซึง่ ก็เถียงกันมานาน ล่าสุด พ.ร.บ. ป่าชุมชน ถึงแม้ผ่านสภาแล้วแต่ไม่กี่อาทิตย์ก็โมฆะไป เพราะว่าในช่วงเข้าไปในสภาไม่ครบองค์คณะ ศาลเลยตัดสินว่าโมฆะ ไปก็เลยต้องเริ่มกันใหม่ในเรื่องของ พ.ร.บ. ป่าชุมชน ผมกำ�ลังตามคำ�พิพากษาอยู่เรื่องนี้ ในกฎหมายฉบับนี้ เรา ต้องมาพิจารณาอีกว่าใครคือชุมชน อยู่กันมานานแค่ไหน กรอบกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเรือนและการเมืองทีเ่ ราเป็นภาคีอยู่ ไม่ได้ระบุวา่ จะต้องแทรกภาษา ของชนกลุ่มน้อยไปในกระบวนการศึกษาร้อยเปอร์เซ็นต์ บอกแต่ว่ารัฐจะต้องไม่ปฏิเสธสิทธิที่จะใช้ภาษาในส่วนที่ เกี่ยวข้องกับการชุมนุมของกลุ่ม แต่ว่าจริงๆแล้วในทางปฏิบัติเราก็อยากจะให้มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้นในการ เรียนภาษาและข้ามวัฒนธรรม เพราะ ฉะนัน้ เรือ่ งนีท้ างใต้มกี ารโต้วาทีวา่ จะให้ใช้วฒ ั นธรรมมากน้อยเพียงใด ภาษา แม่ซึ่งเป็นปัตตานี - มลายู เท่าที่ผมเข้าใจภาษาพูดจะเป็นภาษาปัตตานี – มลายู ภาษาเขียนจะเรียกว่ายาวี ซึ่งเอา มาจากอาราบิค แต่ก็เถียงกันอยู่ตอนนี้ว่าจะให้ใช้ภาษาเหล่านี้ได้มากน้อยเพียงใด  ส่วนศาสนาในหลายส่วนก็ดีขึ้น หลายๆ ส่วนก็ยังมีปัญหาอยู่ ตัวอย่างก็คือว่า พอเกิดเหตุเช่นกรณี กรือเซะ หรือ ตากใบ ประชาชนชาวมุสลิมถูก ผลกระทบ การตัดสินในศาลค่อนข้างจะช้าและยากมาก ประชาชนมีความรู้สึกว่าตนไม่ได้รับความเป็นธรรม ถ้าจะ มีการชดใช้แต่เงินหรืออะไรอย่างนี้อาจไม่เพียงพอ สิ่งที่พวกเขาเรียกร้องคือความเป็นธรรมความโปร่งใส หรือกรณี คดี คุณสมชาย นีละไพจิต ศาลได้ตัดสินแล้วลงโทษเจ้าหน้าที่ 1 คน หลายฝ่ายก็เห็นแล้วว่าไม่เพียงพอ ไม่ได้รับ ความเป็นธรรม สรุปคือ ในการปกป้องคุ้มครองสิทธิของชนกลุ่มน้อยก็มีกรอบในเรื่องการปกป้องสิทธิมนุษยชนที่ฝากไว้ ก็คือ กฎหมายทีเ่ อือ้ หรือจะต้องแก้ไขกฎหมายทีไ่ ม่เอือ้ กฎหมายทีเ่ อือ้ ก็เช่นมาตรา 90 ของรัฐธรรมนูญประเทศไทยยังไม่มี กฎหมายห้ามเลือกปฏิบตั โิ ดยตรง เรามีทางอ้อมโดยผ่านรัฐธรรมนูญ แต่บางประเทศมี พ.ร.บ. ต่อต้านการเลือกปฏิบตั ิ แม้วา่ ประเทศไทยจะไม่มกี ฎหมายทีเ่ อือ้ แต่เรามีนโยบายแผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคม แผนสิทธิมนุษยชน ก็นา่ จะเอือ้ ทางด้านนี้ โครงการทีเ่ อือ้ อันหนึง่ ทีผ่ มเน้นเสมอ คือโครงการระหว่างเยาวชนข้ามวัฒนธรรม ระหว่างชาวเขา กับไม่ใช่ ชาวเขา ระหว่างชาวใต้กับชาวเหนือ เป็นการสร้างจิตสำ�นึกที่ดีที่เอื้อต่อกันตั้งแต่เด็ก ปฏิบัติที่เอื้อก็จะเป็นตัวอย่างที่ ดีและน่าจะขยายออกไป แต่ที่สำ�คัญที่สุดคือเจ้าหน้าที่ที่ดีก็มี เราก็ต้องเอื้อกับเขาด้วย นอกจากนี้ต้องมีกลไกและ บุคลากรที่เอื้อ กรรมการสิทธิมนุษยชนก็ช่วยเหลือหลายฝ่าย เท่าที่ทำ�ได้ กลไกที่ไม่เป็นทางการเช่น สมาคม กลุ่ม นักกฎหมาย พวกนี้ก็ช่วยกันทั้งนั้นร่วมกัน ทรัพยากรที่ดีที่เอื้อ ก็ไม่ใช่แต่งบประมาณ แต่อาจจะเป็นจากจิตใจ ของพวกเราอาสาสมัคร ผมภูมิใจมาก


29 22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

ข้อมูลและการติดตาม ควบคุมก็สำ�คัญ คือประชาชนก็มีสิทธิในเรื่องนี้เช่นเดียวกัน การศึกษาที่เอื้อก็คือการ ศึกษาที่มีความหลากหลายวัฒนธรรมให้มากยิ่งขึ้น แต่ว่าในตอนนี้สิ่งที่สำ�คัญมากประการหนึ่งคือประวัติศาสตร์ ทีม่ าจากมุมเดียว เรามาช่วยกันประวัตศิ าสตร์ทมี่ คี วามหลากหลายมากขึน้ ประวัตศิ าสตร์ชนกลุม่ น้อย เป็นต้น อันนี้ ก็คือจะต่อต้านชาตินิยมที่ไม่เป็นคุณในบางส่วน สุดท้ายก็คือว่าการสร้างสมรรถภาพทุกฝ่ายโดยมีการแบ่งปันข้อมูล และร่วมสร้างจิตใจ การให้พลังด้วยกัน การมีส่วนร่วม การสร้างเครือข่ายความร่วมมือข้ามวัฒนธรรม ข้ามกลุ่ม ให้มากยิ่งขึ้น


ปาฐกถาพิเศษ ชาติ-รัฐ-ชื่อ-ชาติพันธุ์ เอกลักษณ์ หรือพหุลักษณ์


31

ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิร2ิ

สวัสดีครับท่านผู้มีเกียรติ ท่านสุภาพบุรุษและสุภาพสตรี เราจะดูวีซีดีก่อน แล้วเดี๋ยวผมก็จะคุยให้ฟัง และผมมีเพาเวอร์พ้อยท์ (Power Point) เล็กๆ น้อยๆ ซึ่งเพิ่ง ทำ�เสร็จเมื่อตะกี้นี้เอง เอามาฉายด้วย  ประเด็นที่เอามาฉายในวีซีดี ผมอยากจะขอเกริ่นนิดหนึ่งก็คือว่า นามของ ประเทศนี้นะครับ “ประเทศไทย” หรือว่า “ไทยแลนด์” นี้นะครับ กับนามของประเทศที่เคยเป็น “ไซแอม” (Siam) หรือ “สยาม” นี้ เป็นประเด็นซึ่งนักวิชาการของเรามองข้าม รวมทั้งผมด้วยนะครับ ผมเคยมองข้ามแล้วผมก็คิด ว่า “ไทยแลนด์” กับ “ไซแอม” ก็ อินเตอร์เชงเชเบิ้ล (inter-changeable) หรือเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาก็ได้ มันเหมือนกัน เพราะฉะนั้น ผมก็รับว่าชื่อของประเทศเป็น “ไทยแลนด์” ก็เป็นประเทศไทย เป็นราชอาณาจักรไทยไปแล้วนะครับ แต่ว่าเมื่อผมมาศึกษาจริงๆ แล้ว ผมคิดว่าประเด็นนามของประเทศ ประเด็นที่เป็น “สยาม” หรือเป็น “ไทย” มัน สำ�คัญมากๆ เป็นประเด็นที่ถูกมองข้ามโดยนักวิชาการโดยเฉพาะอย่างยิ่งวงการประวัติศาสตร์ของชาติหรือว่าแห่ง ชาติ อันนี้เป็นความสำ�เร็จอย่างยิ่งเลยของระบอบใหม่ของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม และคณะราษฎร์ ที่ทำ�ให้คน เชื่อว่ามัน อินเตอร์เชงเชเบิ้ล (inter-changeable) แต่ผมคิดว่ามันเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาล เพราะฉะนั้น มันนำ�มา สู่ประเด็นที่เรามาพูดกันในวันนี้ เรื่องเอกลักษณ์ก็ดี อัตลักษณ์ก็ดี พหุลักษณ์ก็ดี ทั้งเรื่องของลัทธิชาตินิยม ซึ่งผมว่า ตั้งแต่เช้ามา ตั้งแต่อาจารย์นิธิ อาจารย์เสกสรร และอาจารย์สายชลนั้น ดูไปด้วยกันเป็นอย่างดีนะครับ น่าสนใจเป็น อย่างดีจนทำ�ให้ผมมีความรู้สึกว่า ตัวเองไม่น่าจะพูดแล้ว เขาก็พูดกันหมดแล้วนะครับ แต่ว่าอย่างไรก็ตาม ผมก็ยัง คิดว่าในการเสนอนั้น นักวิชาการของเราก็ยังมองข้ามประเด็นเรื่องชื่อ เพราะคิดว่านามนั้นสำ�คัญฉะไหน? ชื่ออะไรก็ หอมหมด ผมไม่แน่ใจ เพราะมันตามมาด้วยอะไรต่อมิอะไรหลายอย่าง ดังนั้น ก็อยากให้ท่านดูวีซีดีนี้สั้นๆ แล้วเดี๋ยว ผมจะกลับมาพร้อมด้วย เพาเวอร์พอยท์ (Power point) (รายละเอียดในวีซีดี เกี่ยวกับสยาม) พิธีกร: สวัสดีครับท่านผู้ชม ขอต้อนรับเข้าสู่รายการประวัติศาสตร์นอกตำ�รา รายการที่จะเปิดข้อมูลใหม่ๆ ด้าน ประวัติศาสตร์ ในช่วงที่มีกระแสที่เรียกร้องว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงชื่อประเทศไทยไปเป็นชื่อเดิมคือ “สยาม” ท่าน ผู้ชมคงสงสัยว่าทำ�ไมมีกระแสนี้เกิดขึ้นมา และเหตุใดต้องเปลี่ยนเป็น “สยามประเทศ” หรือ “ประเทศสยาม” เรื่อง ราวทั้งหมดเราจะนำ�เสนอใน “สยามประเทศ” หรือว่า “ประเทศสยาม” ในตอนนี้ครับ เชิญครับ ถาม: “สยาม” กับ “ไทย” เอาอันไหน? ดร. ชาญวิทย์: ชื่อ “สยาม” น่ะดีกว่าชื่อ “ประเทศไทย” เพราะฉะนั้น สยามคือที่รวมพลของคนหลากหลาย ถาม: “สยาม” หรือ “ไทย” นามนั้นสำ�คัญมากหรือ? 1 ถอดความจากปาฐกถาพิเศษ “ชาติ-รัฐ-ชื่อ-ชาติพันธุ์ เอกลักษณ์ หรือพหุลักษณ์” ในการประชุมวิชาการชาตินิยมกับ พหุวัฒนธรรม 2 อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปัจจุบันดำ�รงตำ�แหน่งเลขานุการมูลนิธิโครงการตำ�ราทางสังคมศาสตร์และ มนุษยศาสตร์

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

ชาติ-รัฐ-ชื่อ-ชาติพันธุ์ เอกลักษณ์ หรือพหุลักษณ์1


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

32

พิธีกร: นี่คือความเคลื่อนไหวครั้งใหญ่ของคนกลุ่มหนึ่ง ซึ่งนำ�โดยนักวิชาการจากหลายสถาบัน เป้าหมายเพื่อผลัก ดันให้มีการเปลี่ยนชื่อประเทศไทยกลับไปใช้ชื่อเดิม นั่นก็คือประเทศ “สยาม” เหตุที่มีการเคลื่อนไหวในช่วงเวลานี้ ก็เพราะว่าเป็นช่วงที่ยกร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 ถาม: ประเทศไทย ถ้าอยากจะยอมรับความหลากหลายเหล่านี้ก็ต้องเปลี่ยนเป็นประเทศสยาม พิธีกร: การผลักดันให้มีการเปลี่ยนชื่อจากประเทศไทยให้กลับไปใช้ชื่อ “สยาม” โดยให้บัญญัติไว้เลยในรัฐธรรมนูญ นั้นก็เพราะว่ารัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดและที่สำ�คัญสุดเมื่อบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญจะทำ�ให้เกิดการยอมรับ ในวงกว้างขวางต่อไป และที่สำ�คัญ คำ�ว่า “สยาม” สะท้อนถึงความเป็นจริงและผืนแผ่นดินนี้ ซึ่งเป็นแหล่งรวมของ ผู้คนหลากหลายเผ่าพันธุ์ ดร. ชาญวิทย์: ในแง่ของชาติพันธุ์ ชนชาติประเทศนี้ไม่ได้รวมเฉพาะเชื้อชาติไทย พิธีกร: เหตุผลที่นักวิชาการกลุ่มนี้นำ�เสนอนั้นก็คือว่ายุคก่อนประวัติศาสตร์ ดินแดนแถบอุษาคเนย์หรือเอเชียตะวัน ออกเฉียงใต้ มนุษย์ส่วนใหญ่ยังไม่ได้ตั้งหลักแหล่งถาวร จึงได้มีการเคลื่อนย้ายถิ่นฐานภายไปมาอยู่ตลอดเวลา เมื่อ เข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์ ดินแดนแถบนี้ยังคงมีการเคลื่อนย้ายของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ อย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งจนถึง ปัจจุบนั เราจึงพบว่าประเทศต่างๆ ในอุษาคเนย์แต่ละประเทศมีการปะปนของกลุม่ ชาติพนั ธุส์ งู บางประเทศมีมากกว่า ร้อยชนเผ่า ในดินแดนที่เรียนว่าประเทศไทยมีอย่างน้อย 57 ชนเผ่า ในปัจจุบนั มีการศึกษาพบว่ากลุม่ คนไทยเป็นคนอีกกลุม่ หนึง่ ทีเ่ คลือ่ นย้ายเข้ามาอยูด่ นิ แดนทีเ่ รียกว่า “สุวรรณภูมิ” หรือ เรียกว่า “ประเทศไทย” ในปัจจุบัน อย่างน้อยก็ศตวรรษที่ 19 จากการที่ทฤษฎีทางประวัติศาสตร์ไม่อาจสรุปแน่ชัด ลงไปได้ แต่อย่างไรก็ตาม เรือ่ งถิน่ กำ�เนิดของกลุม่ คนไทยนัน้ ในปัจจุบนั มีความคิดเห็นว่าน่าจะมาจากเขตภาคใต้ของ จีน ปัจจุบันเรายังพบกลุ่มชาติพันธุ์ที่พูดภาษาตระกูลไทย - ลาว ซึ่งปรากฏตัวกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป โดยเฉพาะ อย่างยิ่งในเขตภาคใต้ของจีน ในดินแดนที่เรียกว่าอุษาคเนย์ รวมไปถึงดินแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย ในทีส่ ดุ กลุม่ คนไทยทีโ่ ยกย้ายเข้ามาอยูใ่ นดินแดนประเทศไทยปัจจุบนั ได้เริม่ แผ่อทิ ธิพลสถาปนาความเป็นใหญ่เหนือ ชาติพันธุ์อื่นๆ ที่เจริญมาก่อน และได้ร่วมอาศัยอยู่ร่วมปะปนกับกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ แต่อย่างไรก็ตาม ดินแดนแห่ง นี้กลับไม่ได้ถูกเรียกว่าประเทศไทย อันหมายถึงกลุ่มคนไทใหญ่อย่างที่หลายคนเข้าใจ ดินแดนนี้เป็นที่รับรู้ของผู้คน ต่างถิ่นซึ่งจะเรียกดินแดนนี้ว่า “สยาม” “เสียม” “สาม” “ฉาน” ซึ่งคำ�เรียกนี้มีมานานนับพันปีแล้ว ดร. ชาญวิทย์: คำ�นี้ ผันแปรมาจากคำ�โบราณมากๆ กว่า 1,000 ปีขึ้นไปแน่ๆ นะครับ ตระกูลไทย - ลาว ออกเสียง ว่า “สับ” หมายความเป็นแหล่งนํ้า ทำ�มาหากินได้ ในภาษาเขมรออกเสียงว่า “เสียม” มอญออกเสียงเป็น “เซม” จีนออกเสียงเป็น “เสียม” จีนนั้นตั้งแต่สมัยราชวงศ์ซ่งก็เรียกเราว่าเสียม พอสมัยราชวงศ์หมิงนั้นเอาคำ�ว่า “เสียม” มาบวกกับคำ�ว่า “ละโว้” ก็กลายเป็น “เสียมโล้” หรือ “เสียมล้อ” พิธีกร: ตั้งแต่อยุธยามาจนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ก็รับรู้อย่างเป็นทางการว่าดิน แดนนี้ชื่อ “สยาม” แล้วเป็นนามที่ผู้คนต่างถิ่นรับรู้และใช้เรียกดินแดนนี้สืบต่อกันมา ดร. ชาญวิทย์: อย่างเป็นทางการนั้นต้องๆ กลับไปแน่นอนนะครับพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ท่านนั้นรับคำ� ว่า “สยาม” มาเป็นชื่อของประเทศเลยนะครับ เพราะฉะนั้น บางคนขนานนามท่าน ว่า “พระเจ้ากรุงสยาม” พอมา รัชกาลที่ 5 จะลงพระนามว่า “สยามมินทร์” (สยาม+อินทรา) แปลว่าผู้เป็นใหญ่ในสยามนะครับ พิธีกร: คำ�ว่า “สยาม” เป็นนามที่หมายความว่าดินแดนที่เต็มไปด้วยชาติพันธุ์ เหล่านี้สามารถสะท้อนความเป็นจริง ได้อย่างสมบูรณ์ แต่ถงึ ทีส่ ดุ แล้วประเทศสยามกลับต้องถูกเปลีย่ นชือ่ เป็นประเทศไทยในสมัยจอมพล ป. พิบลู สงคราม ปีพุทธศักราชปี 2482 ในวาระครบรอบ 7 ปีของการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบบสมบูรณาญาสิทธิราช มาเป็นระบอบประชาธิปไตย จอมพล ป. พิบลู สงคราม หรือนายพลตรีหลวงพิบลู สงคราม (ยศในขณะนั้น) ได้ก้าวขึ้น


33

ย้อนกลับไปพบว่าบุคคลทีม่ อี ทิ ธิพลทางความคิดต่อ จอมพล ป. และมีบทบาทสำ�คัญอย่างยิง่ ต่อการผลักดันใน เรือ่ งของการเปลีย่ นชือ่ ประเทศเข้าสูก่ ารประชุมคณะรัฐมนตรีคราวนัน้ ก็คอื หลวงวิจติ รวาทการ อธิบดีกรมศิลปากรและ ยังดำ�รงตำ�แหน่งรัฐมนตรีลอยอยู่ในรัฐบาลของจอมพล ป. เพียงไม่กี่วันหลังเดินทางกลับจากกรุงฮานอย ประเทศ เวียดนาม ตามคำ�เชิญของสำ�นักฝรั่งเศสแห่งปลายบูรพาทิศ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการ หลวงวิจิตรวาท การได้นำ�เสนอข้อมูลต่อคณะรัฐมนตรี ในระหว่างที่เดินทางไปประเทศอินโดจีนว่าได้พบกับกลุ่มคนไทยที่ได้อาศัย อยู่ในประเทศเวียดนาม และชี้ให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่ของชนชาติไทย รวมทั้งยังมีคนไทยอีกจำ�นวนมากอาศัยอยู่ กระจัดกระจายกว้างขวางทั่วไป เหตุผลที่ต้องเปลี่ยนชื่อประเทศ ก็ด้วยคำ�ว่า “สยาม” เป็นชื่อเก่าที่เขมรใช้เรียก ดินแดนแถบนี้ เมื่อคนไทยอพยพลงมาจากจีน ตั้งเป็นรัฐสุโขทัย คนเลิกใช้ชื่อนี้ แต่จีนยังเรียกตามเขมร และฝรั่งก็ เรียกตามจีน ทั้งที่คนในดินแดนแถบนี้เลิกเรียกตัวเองว่า “สยาม” ไปตั้งแต่สมัยสุโขทัยแล้ว อีกทั้งคนเชื้อชาติไทยใน ประเทศอื่นๆ ก็คิดว่าตนเองเป็นไทย ไม่ใช่สยาม ทั้งหมดนี้คือหลวงวิจิตรวาทการได้อธิบายต่อคณะรัฐมนตรีในคราว นัน้ แต่ยงั มีบางอย่างมากกว่าเหตุผลทางประวัตศิ าสตร์ตามทีห่ ลวงวิจติ รวาทการกล่าวอ้างหรือไม่? และเหตุผลทีแ่ ท้ จริงของการเปลี่ยนชื่อจากประเทศสยามมาเป็นไทยคืออะไร? ดร. ชาญวิทย์: ก็ด้วยเหตุผลของเชื้อชาตินิยมแหละครับ ถ้าเรามองไปแล้ว ยุคนั้นเป็นยุคของเชื้อชาตินิยมในรูปแบบ ของนาซี - ฟาสซิสม์ ยุคนัน้ เป็นรูปแบบของชาตินยิ ม อย่างเช่นลัทธิทหารของคนญีป่ นุ่ อะไรทำ�นองนีน้ ะครับ จึงทำ�ให้ รัฐบาลในสมัยนัน้ คิดว่าคำ�ว่า “ไทย” นัน้ เหมาะสมมาก ก็เลยเปลีย่ นชือ่ เป็น “ประเทศไทย” เปลีย่ นชือ่ เป็นไทยแลนด์ (Thailand) ในภาษาอังกฤษ ในอีกด้านหนึ่งนั้นก็พยายามเสนอว่าชื่อนี้เป็นชื่อที่ทันสมัยกว่า ก้าวหน้ากว่า ส่วนคำ� ว่า “สยาม” หรือคำ�ว่า “ไซแอม” (Siam) นั้นเป็นชื่อที่ล้าหลัง ตกเวทีประวัติศาสตร์ไปแล้ว ถูกไปผูกติดกับระบอบ สมบูรณาญาสิทธิราช ราชาธิปไตย อะไรทำ�นองนัน้ อันนีเ้ ป็นวิธตี คี วามของกลุม่ อำ�มาตยธิปไตยในช่วงหลัง พ.ศ. 2475 พิธีกร: แนวคิดการเปลี่ยนชื่อจาก จอมพล ป. พิบูลสงคราม และหลวงวิจิตรวาทการ สะท้อนแนวคิดในสิ่งที่เรียกกัน ว่า “เชื้อชาตินิยม” และความเป็นเชื้อชาตินิยมนี่เองก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า เบื้องต้นเป็นไปเพื่อการต่อต้านชาวจีนที่กำ�ลัง เริ่มมีบทบาทมากขึ้นในประเทศสยามในขณะนั้น อาจารย์สลุ กั ษณ์: และมันสมองคนสำ�คัญคือหลวงวิจติ รวาทการ ซึง่ น่าแปลกนะครับ หลวงวิจติ รวาทการแสดงความ เป็นคนจีนมากกว่าไทยนะครับ อย่างเช่น กิมเหลียง (ชื่อจีนของหลวงวิจิตรวาทการ - ผู้แปล) และคนพวกนี้ก็ต้องการ ความเป็นคนไทยจ๋า หลวงวิจิตรฯ ก็เล่นงานจีนมากเลยนะครับ สมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม แล้วก็เล่นงานชนชาติ อืน่ ในเมืองไทย แต่ตอนนัน้ เราลืมไปว่าเป็นเอาอย่างฮิตเลอร์ ชือ่ ประเทศเปลีย่ นไปในตอนทีฮ่ ติ เลอร์เป็นใหญ่ ฮิตเลอร์ ก็เช่นเดียวกันนะครับ ใช้คำ�ว่า Deutschland เราก็ใช้คำ�ว่า “ไทยแลนด์”

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

เป็นนายกรัฐมนตรีด้วยวัยเพียง 42 ปี เมื่อดำ�รงตำ�แหน่งมาได้เพียง 6 เดือนเศษ จอมพล ป.พิบูลสงครามได้สร้าง ความเปลี่ยนแปลงครั้งสำ�คัญของสยามประเทศ ด้วยการประกาศเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน เป็นวันชาติ และให้ถือเป็น วันหยุดราชการ นับเป็นครั้งแรกที่วันหยุดราชการไม่เกี่ยวเนื่องกับศาสนาหรือราชวงศ์เหมือนอย่างที่เคยเป็นมา ใน วันเดียวกันยังมีการวางศิลาฤกษ์อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยที่ถนนราชดำ�เนิน นับเป็นอนุสาวรีย์ความหมายสมัยใหม่ ที่ไม่ใช่สัญลักษณ์ของสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างที่เคยเป็นมา แต่เป็นสัญลักษณ์ของประชาธิปไตย ทั้งหมดนี้นับ เป็นการเสนอความหมายใหม่ใหม่ของ จอมพล ป. ที่อยู่ตรงกันข้ามกับระบอบราชาธิปไตยเดิม ก่อนเปลี่ยนแปลง การปกครองความหมายใหม่ที่ว่านี้ยังหมายรวมถึงการประกาศเปลี่ยนชื่อของประเทศจาก “สยาม” เป็น “ไทย” อีกด้วย การประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม พุทธศักราช 2482 วาระสุดท้ายของการประชุม จอมพล ป. นายกรัฐมนตรีได้นำ�เรื่องการเปลี่ยนชื่อประเทศสยามเข้าสู่การประชุมคณะรัฐมนตรี เป็นวาระจร  จนในที่สุดได้ นำ�ไปสู่การออกประกาศสำ�นักนายกรัฐมนตรีลงวันที่ 24 มิถุนายน 2482 ว่าด้วยรัฐนิยมให้ใช้ชื่อประเทศ ประชาชน และสัญชาติ จาก “สยาม” มาเป็น “ไทย” และนำ�ไปสู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญตามมาในที่สุด


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

34

พิธีกร: แต่กระบวนการเปลี่ยนจากคำ� “สยาม” เป็น “ไทย” ไม่ได้ยุติลงเพียงชื่อประเทศ แต่ยังหมายถึงทุกสิ่งที่มีคำ� ว่า “สยาม” เข้าไปเกี่ยวข้อง ดร. ชาญวิทย์: กลุ่มอำ�นาจนิยมอำ�มาตยาธิปไตย เปลี่ยนชื่อประเทศ “สยาม” เป็น “ไทย” เปลี่ยน “พระสยามเทวาธิ ราช” เป็น “พระไทยเทวาธิราช” เปลีย่ น “สยามสมาคม” “ธนาคารสยามกัมมาจล” แล้วเปลีย่ นชือ่ “มหาวิทยาลัย วิชาธรรมศาสตร์และการเมือง” เป็น “มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์” (เสียงเพลงชาติชาติสยาม) แผ่นดินสยามนามประเทืองว่าเมืองทอง ไทยเข้าครองตั้งประเทศเขตแดนสง่า สืบเผ่าไทยดึกดำ�บรรพ์บุราณลงมา ร่วมรักษาสามัคคีทวีไทย บางสมัยศัตรูจู่โจมตี ไทยพลีชีพร่วมรวมรุกไล่ เข้าลุยเลือดหมายมุ่งผดุงไผท สยามสมัยบุราณรอดตลอดมา อันดินแดนสยามคือว่าเนื้อของเชื้อไทย นํ้ารินไหลคือว่าเลือดของเชื้อข้า เอกราษฎร์คือเจดีย์ที่เราบูชา เราจะสามัคคีร่วมมีใจ รักษาชาติประเทศเอกราชจงดี ใครยํ่ายีเราจะไม่ละให้ เอาเลือดล้างให้สิ้นแผ่นดินไทย สถาปนาสยามให้เทอดไท ไชโย พิธีกร: แม้กระทั่งเพลงชาติสยามที่มีมาแต่เดิมก็ได้รับการปรับเปลี่ยนเนื้อร้องใหม่ให้เป็นเพลงชาติไทย อาจารย์สุลักษณ์ : เพลงชาติ แต่ก่อนนี้เป็น “ประเทศสยามนามประเทืองว่าเมืองทอง ไทยเข้าครองรัฐ..” ซึ่งมีหลวง วิจิตรมาตราเป็นคนแต่ง เปลี่ยนมาเป็น “ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย” ผมมีเชื้อเจ๊กอยู่ด้วยนะ ต้องมา โกหกตัวเองด้วยทำ�ไม อันนี้ผิดมากเลยนะครับ พิธีกร: สำ�หรับ จอมพล ป.พิบูลสงครามแล้ว เรื่องการสร้างฐานสนับสนุนในหมู่มหาชน ไม่มีอะไรดีเท่ากับการปลุก กระแสชาตินิยม หรือการปลุกใจให้รักชาติ ดังนั้น นับตั้งแต่การเปลี่ยนชื่อประเทศ “สยาม” เป็น ไทย” ได้สำ�เร็จ จอมพล ป. ได้นำ�ประชาชนเข้าสู่กระบวนการสร้างชาติ ในรูปแบบที่เรียนว่า “รัฐนิยม” หลายครั้ง เพื่อนำ�ประเทศ ไปสู่ความเป็นทันสมัย อาจารย์สุลักษณ์: จอมพล ป. บอกว่า สมบูรณ์แล้ว เราไม่เอาแล้ว “สยาม” มันล้าหลัง มันโบราณ มันนุ่งโจงกระเบน กัน ก็บอกโจงกระเบนมันทำ�เองนะ กินหมากกัน ล้าหลัง สั่งให้เลิก ตัดต้นหมากหมดเลยครับ เพราะเราจะทันสมัย แล้ว เราจะศิวิไลซ์แล้ว จะเอาอย่างฝรั่ง พิธีกร: แนวคิดชาตินิยมนี้ได้ถูกพัฒนาไปสู่การทำ�สงคราม เพื่อผนวกดินแดนสร้างมหาอาณาจักรไทย ด้วยการปลุก ระดมคนไทยเพือ่ ให้เรียกร้องดินแดนคืนจากฝรัง่ เศส และเป็นจุดเริม่ ต้นของการสงครามระหว่างไทยกับฝรัง่ เศส ตาม มาด้วยสงครามโลกครั้งที่ 2 เคียงข้างกับประเทศญี่ปุ่น ทำ�ให้ไทยบุกเข้ายึดครองดินแดนของอังกฤษ อันได้แก่เชียง ตุงและเมืองพานในรัฐฉาน รวมทั้ง 4 รัฐมลายูทางทิศใต้ อันได้แก่ ไทรบุรี กลันตัน ปะริดและตรังกานู ทั้งหมดเป็น การตอกยํ้าให้เห็นถึงแนวคิด ในลักษณะของการขยายอาณาจักร เช่นเดียวกับลัทธินาซี - ฟาสซิสม์ของเยอรมันและ ลัทธิทหารของญี่ปุ่นในช่วงเวลาเดียวกัน อาจารย์สุลักษณ์: เผอิญในช่วงนั้นทั้ง 3 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทยด้วย ก็มียุคของผู้นำ�เผด็จการ แล้วก็มีความรู้สึก ที่มันอาจจะไม่ตรงกันทั้งหมด เยอรมันเป็นแบบหนึ่ง ญี่ปุ่นก็เป็นอีกแบบหนึ่ง สำ�หรับญี่ปุ่นนั้นต้องการที่จะสร้าง เขาเรียกว่า “วงไพบูลย์ในภาคบูรพา” อย่างนี้เป็นต้น ของไทยเราก็มีความใฝ่สูงทำ�นองเดียวกันว่าเราจะรวบรวม


35

พิธีกร: ถึงแม้วันนี้เวลาจะผ่านมาเกือบ 70 ปีหลังจากเปลี่ยนชื่อจากประเทศสยามเป็นไทย แม้ดูจะไม่ใช่เป็นเรื่อง สำ�คัญในทัศนะของหลายคน แต่มรดกจากลัทธิเชื้อชาตินิยมของ จอมพล ป. ยังคงส่งผลให้ปรากฏเป็นปัญหา ให้ เห็นอยู่จนกระทั่งทุกวันนี้ อาจารย์สลุ กั ษณ์: ผมคิดว่าการเปลีย่ นชือ่ จากสยามมาเป็นไทยนัน้ มันมีปญ ั หาอยูต่ ลอดมา บางปัญหามีความรุนแรง ขึ้นและชัดเจนขึ้น อย่างเช่นปัญหาในกรณีภาคใต้ก็ดี และก็ยังมีคนอีกเยอะแยะที่ไม่เป็นข่าว คือพวกตามพรมแดน ต่างๆ กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มชาวเขาอะไรต่างๆ เพราะฉะนั้น เวลาที่คนมาถามผมว่าปัญหาภาคใต้ ผมก็ต้องพูดว่า ปัญหาอย่างภาคใต้เกิดขึ้นทั่วประเทศ เพราะฉะนัน้ คำ�ว่า “ไทยแลนด์” นัน้ มากับความฉ้อฉล มาจากความกดขีค่ นอืน่ โดยเฉพาะชนกลุม่ น้อย คนเล็ก คนน้อย โดยที่หลับหูหลับตาเดินตามฝรั่ง เพราะเวลาใช้คำ�ว่า “ไทยแลนด์” หรือ “ประเทศไทย” นั้น เราถูกบังคับ ตั้งแต่ฝรั่งนะครับ คุณเกิดไม่ทัน ผู้หญิงไม่ต้องใส่หมวก ผู้ชายก็ต้องใส่หมวกนะครับ อย่างอื่นๆ  ยังมีอยู่ เคารพ ธงชาติ 8 โมงเช้า และ 6 โมงเย็น ยังอยู่นะครับ ยังมีกฎหมายอยู่ มันต้องเลิกสิ่งเหล่านี้ครับ แต่เราเลิกไม่ได้ เพราะ อะไร? เพราะทหารยังเป็นนักอนุรักษ์อยู่ พิธีกร: แทบไม่น่าเชื่อว่าในการประชุมคณะรัฐมนตรีครั้งแรก ที่มีการนำ�เรื่องการเปลี่ยนชื่อประเทศเข้าสู่วาระการ ประชุม เมื่อปีพุทธศักราช 2482 ปัญหาในเรื่องรัฐปัตตานีได้เคยถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นข้อคัดค้านอย่างเข้มแข็งจาก นาวาเอกหลวงธำ�รงนาวาสวัสดิ์ ทีพ่ ดู ถึงผลเสียของการเปลีย่ นชือ่ จากสยามเป็นไทย เพราะนัน่ หมายถึงการสร้างความ รู้สึกแบ่งแยกระหว่างกลุ่มชนไทยกับกลุ่มชนอื่นๆ  อย่างชัดเจน แม้จะมีความพยายามจะเปลี่ยนแปลงให้กลับไปใช้ ชื่อประเทศสยามอยู่หลายครั้งหลังจากจอมพล ป.พิบูลสงครามหมดอำ�นาจลง แต่กลับไม่ประสบความสำ�เร็จ เช่น ในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2492 ของฝ่ายอนุรักษ์นิยมอย่างนายควง อภัยวงศ์ ครานั้นการลงคะแนนเสียงใน สภา ฝ่ายเห็นด้วยกับชื่อสยามต้องแพ้คะแนนไปอย่างเฉียดฉิว 14 เสียง ต่อ 18 เสียง เรื่องชื่อประเทศสยามได้กลับ มาเป็นหัวข้อถกเถียงกันอีกครั้งในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2511 สมัยที่จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ครองอำ�นาจ ผู้ที่ ได้ชื่อว่าเป็นผู้ฟื้นฟูบทบาทของพระมาหากษัตริย์ แต่ในการลงมตินั้นฝ่ายเห็นด้วยกับชื่อสยามกลับพ่ายแพ้ไปอย่าง ขาดลอย 5 เสียง ต่อ 134 เสียง แต่ที่น่าแปลกใจอย่างยิ่งก็คือ ในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2517 อันเป็นยุคหลัง การปฏิวตั ิ 14 ตุลา ของนิสติ นักศึกษาและประชาชน ทีบ่ รรยากาศแห่งอำ�นาจนิยมและทหารกำ�ลังตกตํา่ การถกเถียง ระหว่างชือ่ ประเทศสยามและไทยได้กลับมาสูก่ ารพิจาณาของสภาอีกครัง้ แต่กเ็ ป็นเพียงการอภิปรายของสมาชิกสภา นิติบัญญัติประปรายเพียง 2 - 3 คนเท่านั้น ดร. ชาญวิทย์: มีความพยายามที่จะเปลี่ยนกลับไปใช้ “สยาม” แต่ว่าเรื่องมันใหญ่ เวลาเปลี่ยน ต้องเปลี่ยนที่ รัฐธรรมนูญใช่ไหมครับ การแก้รัฐธรรมนูญนี้ยากมากนะครับ ยกเว้นจะต้องทำ�การปฏิวัติรัฐประหารยึดอำ�นาจ โดย กลุ่มสยามหนุ่ม อะไรทำ�นองนี้ ยึดปุบ เปลี่ยนชื่อเลย ในทำ�นองนี้อาจจะได้ในการเปลี่ยนรัฐธรรมนูญใหม่ คนที่ เป็นกรรมการ ถ้าเกิดคุณได้ สสร. สนช. เป็นฝ่ายอำ�มาตยาธิปไตย เขาก็เอาชื่อ “ไทยแลนด์” นะครับ เขาไม่เอาชื่อ “ไซแอม” ไม่เอาชื่อสยามอันนี้คือปัญหา อาจารย์สุลักษณ์: ผมเรียนได้เลยครับว่าการเปลี่ยนชื่อนั้นจะเปลี่ยนได้ก็ต่อเมื่อคุณมีจิตสำ�นึกที่ถูกต้อง การเปลี่ยน เป็นสยาม ก็หมายความว่าพวกเราที่พูดภาษาไทย ต้องไม่ยึดถือตัวเราว่าเป็นคนไทย บางคนถูกเรียกว่าเจ๊กก็อาย ผมก็เป็นเจ๊กนะ เราอาย เราต้องไม่อายในกำ�พืดของเรา ยายเราเป็นเขมร ย่าเราเป็นญวน เราต้องภูมิใจอย่างนี้ ครับ เพราะฉะนั้นการเปลี่ยนชื่อประเทศเนี่ยะมันจะเปลี่ยนได้ก็ต่อเมื่อคน โดยเฉพาะคนที่อ้างตัวว่าเป็นคนมีความรู้ พวกที่เป็นคนชั้นสูง ต้องเปลี่ยนจิตสำ�นึกครับ

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

คนที่เป็นเชื้อชาติไทย ซึ่งมีอยู่ในหลายประเทศ ในจีน ในพม่า ในอินโดจีน อะไรต่างๆ ต้องการรวบรวมคนเหล่านี้ ให้เป็นหนึ่งเดียว แต่การรวบรวมคนเหล่านี้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน หมายความว่าเป็นการขยายอาณาจักรออกไป


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

36

อาจารย์เสน่ห์: คือ ลำ�พังชื่อมันคงไม่ทำ�ให้เกิดอะไรเปลี่ยนแปลงหรอก แต่ผมได้พูดตอนหนึ่งว่าชื่อกับความสำ�นึก ในความมั่นคงของตัวเอง และความสำ�นึกในความสัมพันธ์กับคนที่ชาติพันธุ์แตกต่างกัน มันไปด้วยกัน เพราะฉะนั้น นอกเหนือจากการเปลี่ยนชื่อแล้ว เราคงต้องมาทบทวนนโยบายความสัมพันธ์ภายในประเทศ พิธกี ร: วันนีช้ ดั เจนแล้วว่าความพยายามทีจ่ ะเปลีย่ นชือ่ นามประเทศกลับไปสู่ “สยาม” กำ�ลังอ่อนแรงลงทุกขณะ ขณะ ทีค่ นรุน่ ใหม่ไม่เคยได้รบั รูร้ ากเหง้าทางประวัตศิ าสตร์ทแี่ ท้จริงของตัวเอง เพราะเรือ่ งราวทีเ่ กีย่ วข้องกับสยามเหล่านีไ้ ม่ เคยถูกบรรจุอยู่ในตำ�ราเรียนของสถานศึกษา จึงไม่อาจกล่าวโทษหรือโยนความผิดใดๆ หากพวกเขาไม่สามารถคิด ไปไกลเกินกว่าสิ่งที่พวกเขาคุ้นเคยอยู่เสมอ ดร. ชาญวิทย์: เพราะว่าเรื่องนี้ไม่อยู่ในตำ�ราประวัติศาสตร์ มันนอกตำ�ราประวัติศาสตร์ พูดตรงๆ นะครับ กระทรวง ศึกษาก็ไม่บรรจุเอาไว้ให้ เพราะฉะนัน้ เราจะไปโทษเยาวชนคนหนุม่ สาวก็คงไม่ได้นะครับ เพราะเขาอาจจะคิดไม่ไกล ไปกว่า “สยามสแควร์” หรือ “สยามพารากอน” (จบการนำ�เสนอ วีซีดี) ดร. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อันนี้ก็เป็นรายการที่ คุณอดิศักดิ์ ศรีสม เขาทำ�นะครับ แล้วผมก็ไปขอเขามาเอามาก็อปปี้ ขายบ้าง แจกบ้าง ไล่ตามแจกท่านอะไรอย่างนี้ แล้วก็ขอยืนยันว่า อาจารย์เสน่ห์ อาจารย์สุลักษณ์ และผม ไม่ได้นัดกันเลยนะครับ ที่ พูดออกมาคล้ายๆ กัน เกี่ยวกับเรื่องของจิตสำ�นึกก็ดี การพัฒนาประเทศก็ดี ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นหลังจาก การเปลี่ยนชื่อ “สยาม” มาเป็นไทยนี้ เราไม่ได้นัดกันเลย ผมอยากจะเชื่อว่าเมื่อเช้านี้อาจารย์นิธิ อาจารย์เสกสรร และก็อาจารย์สายชล ก็ไม่น่าจะได้นัดกันนะครับ ต่างคนก็ต่างอยู่ ผมเองก็ไม่ได้นัดกับ 3 ท่านนั้นเลย แต่คิดว่าคง พูดในทำ�นองซึง่ ใกล้เคียงกันนะครับ เพราะฉะนัน้ ก็ตอ้ งขออภัยท่าน ซึง่ คิดว่าแนววิธคี ดิ แบบนีเ้ ป็นวิธคี ดิ ทีใ่ ช้ไม่ได้นะ ครับ ก็คงขออภัยด้วย โยนความผิดให้อาจารย์ชยันต์ เพราะว่าเป็นคนเชิญคนเหล่านีน้ ะครับ ผมไม่ได้เป็นคนเชิญ ถึง แม้ว่าจะเป็นหัวโขนเป็นประธานกรรมการอำ�นวยการของศูนย์ RCSD อยู่ก็ตาม ขอเรียนอีกว่า เมือ่ สักครูน่ อี้ าจารย์เอกกมลแนะนำ�ว่าผมก็ถกู กล่าวหาว่าเป็นนักวิชาการขายชาติ ความจริงผม ไม่ได้ถูกกล่าวหาอย่างนั้นตรงๆ นะครับ อย่างมากคนเขาจะมองข้ามผมไป เนื่องจากเห็นว่าพูดไปก็ไม่มีความหมาย แล้ว แก่แล้วพูดไปก็ไม่มีสื่อไปลงเท่าไหร่ สื่อกระแสหลักก็ไม่ค่อยเอาเราไปลง สัมภาษณ์ ก็ไม่เคยสัมภาษณ์ ยกเว้น จะมีสื่อที่ดีๆ น่ารักๆ บางฉบับก็จะมาสัมภาษณ์ไปบ้าง เพราะฉะนั้น เขาก็ไม่ได้เป็นคนกล่าวหาว่าเป็นนักวิชาการ ขายชาติ แต่คนอืน่ จะถูกกล่าวหา แต่ผมก็เคยถูกบรรยากาศแบบนีเ้ มือ่ ไปพูดทีม่ หาวิทยาลัยทักษิณ ทีจ่ งั หวัดสงขลา วันหนึง่ ผมไปบรรยายก็พดู ถึงกรณีปราสาทเขาประวิหาร ผมก็พดู ไปอย่างทีผ่ มคิด เขียนแล้วก็พมิ พ์ขายไปหลายทีแล้ว แล้วก็มีผู้ฟังคนหนึ่งลุกขึ้นมาถามอย่างดุดันว่าถ้าเผื่อผมเป็นรัฐมนตรีว่าการต่างประเทศ ผมจะทำ�อย่างไรในเรื่องนี้ ขอให้ตอบอย่างคนไทย ผมมึนเลยนะ ในที่สุดเอาอย่างนี้ดีกว่า ผมขอตอบอย่างนี้ คำ�ว่า “ไทย” นี่ คุณทักษิณก็ เอาไปตั้งเป็นชื่อพรรคไทยรักไทยแล้ว ส่วนคำ�ว่า “ไทย” คุณบรรหารก็เอาไปตั้งเป็นชาติไทยไปแล้วนะ ไทยๆ อะไร เยอะแยะ ผมขอไม่เป็นไทยดีกว่า ผมขอเป็นสยามนะครับ ผมก็ตอบไปอย่างนั้นนะ ผมก็เลยโชคดีกลับจากสงขลา ได้ เพราะพระสยามเทวาธิราชช่วยผม ขอเข้าเรื่องประเด็นที่ผมถูกให้พูดอย่างสั้นๆ คือประเด็นที่ว่าด้วย ชาติ รัฐ นามประเทศ ชาติพันธุ์ แล้วผมก็ ตั้งคำ�ถามตามพวกนักวิชาการด้านมานุษยวิทยา - สังคมวิทยาอย่างอาจารย์อานันท์  อาจารย์ชยันต์ ฯลฯ ผมก็ตั้ง ชื่อตามเขาไป ตั้งคำ�ถามไปว่าเป็นเอกลักษณ์หรือพหุลักษณ์ ผมคิดว่านักศึกษาปี 1 ก็คงตอบได้ใช่ไหมครับ? ว่า เอาเข้าจริงแล้วคำ�ตอบน่าจะคือ พหุลักษณ์ ใช่ไหมครับ? ผมก็ตั้งมันไปอย่างนั้นแหละนะครับ คุณก็คงตอบได้ ว่า มันเป็นพหุลักษณ์จะดีกว่านะครับ


37

ในกรณีของเราชาติเรานีผ้ มคิดว่า การเปลีย่ นนามประเทศและการแก้ไขราชธรรมนูญ จากราชอาณาจักสยาม เป็นราชอาณาจักรไทย หรือ Siam เป็น Thailand เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2482 นั้นเป็นผลผลิตของลัทธิชาตินิยมไทย สยามที่เป็นส่วนผสมของ 2, 3 และ 4 แปลว่ามาจากสิ่งซึ่งเป็น Ethno - linguistic Nationalism ส่วนหนึ่ง (ความเป็นไทย ภาษาไทยที่อาจารย์สายชลพูด) แปลว่ามาจากส่วนที่เป็น Official Nationalism อยู่แบบหนึ่ง ก็คือแบบที่ได้อิทธิพลมา จากรัสเซียและญี่ปุ่น ในการประดิษฐ์คำ�ขวัญขึ้นมา ที่เรียกว่าเรียกว่าชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ อันนี้เป็นส่วน ของ Official Nationalism และอีกส่วนหนึ่งที่เป็นส่วนผสมที่เราได้มา เนื่องจากเราไม่ได้เป็นอาณานิคมใช่ไหมครับ? เพราะฉะนั้นก็เป็นส่วนผสมหลายๆ แบบ ก็คือเรื่องของการต่อต้านอาณานิคมฝรั่งเศส ซึ่งเราจะเห็นในกรณีของการ เปลีย่ นชือ่  มันเข้ามาด้วยเรือ่ งของการสร้างวาทกรรม เรียกร้องดินแดน แล้วเสียไปเท่าไรล่ะ? แปดแสนตารางกิโลเมตร ใช่ไหมครับ? เหลือเพียงแค่นี้เอง ห้าแสนเท่านั้นเอง อะไรทำ�นองนี้ เพราะฉะนั้นก็เป็นส่วนผสมนะครับ ปัจจุบันก็มี ส่วนที่เป็น Long Distant Nationalism อย่างที่เราเห็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอินเตอร์เนต ในประเด็นทีส่ าม กรณีของชาติเรานีค่ อื ตัวอย่างคลาสสิก จากลัทธิชาตินยิ มทีเ่ กิดขึน้ ในสยามและไทย นับตัง้ แต่ สมัยรัชกาลที่ 6 ผมคิดว่าอันนี้คือตัวอย่างคลาสสิกของความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างการเมืองภายในประเทศกับ นโยบายระหว่างต่างประเทศ ซึง่ แปลว่า Domestic Politics บวกกับสิง่ ซึง่ เป็น Foreign Politics เป็นส่วนหนึง่ ของการเมือง นี่แหละ ทำ�ไมประเด็นการเรียกร้องของดินแดนจึงขึ้นมา? ทำ�ไมประเด็นเรื่องปราสาทพระวิหารซึ่งหลับใหลเป็นเวลา นานแล้วจึงถูกปลุกขึ้นมา? ผมคิดว่ามันหลีกไม่พ้นการเมืองภายในและนโยบายต่างประเทศ เพราะฉะนั้นตัวอย่างที่ ผมจะทำ�ให้ทา่ นเห็น ซึง่ เห็นแล้วจากวีซดี เี มือ่ สักครูน่ ี้ ก็คอื ว่าเมือ่ เกิดการเปลีย่ นแปลง 2475 ซึง่ มีการเปลีย่ นแปลงการ ปกครอง เราจะเรียกว่ารัฐประหาร หรือเรียกว่าการปฏิวัติ หรือ อภิวัตน์ ก็ตาม ผมคิดว่า 2475 นั้นเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อ

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

เมื่อเช้านี้อาจารย์เสกสรรเริ่มต้นด้วยพระอาจารย์ของอาจารย์นะ คือพูดถึงอาจารย์เบเนดิก แอนเดอร์สัน ในตอนจบใช่ไหมครับ? ผมก็เลยเอาอาจารย์มหาคุรุ แอนเดอร์สัน ขึ้นพูดต่อต้นก็แล้วกันนะครับ เพราะว่าผมเพิ่ง หลอกอาจารย์เบน แอนเดอร์สัน ให้ไปบรรยายล้างสมองนักศึกษา นักวิชาการคนรุ่นใหม่ ประมาณจูเนียร์ๆ ทั้ง หลายที่พนมเปญเมื่อ 2 วันนี้เอง อาจารย์เบน แอนเดอร์สัน ก็ไปบรรยายโดยการสรุปง่ายๆ สำ�หรับนักวิชาการรุ่น ใหม่ที่เป็นเขมร เป็นลาว เป็นเวียดนาม ว่าเรื่องของลัทธิชาตินิยมของอาจารย์ที่ปรากฏชื่อว่า อิมแมจิน คอมมิวนิตี้ (Imagined Community) มีอยู่กี่ประเภท อันนี้น่าสนใจมากนะครับ อาจารย์เขาย่อให้อย่างดี เพราะหนังสือเล่มนั้นอ่าน ค่อนข้างลำ�บาก หนังสือเล่มสำ�คัญของอาจารย์เบน แอนเดอร์สัน แปลเป็นภาษาทั้งหมดในโลกนี้ประมาณ 30 กว่า ภาษา หนังสือ Imagined Community นี้เราแปลเป็นภาษาไทยว่า “ชุมชนจินตกรรม” ใช้คำ�ว่าจินตกรรม เพราะคำ� ว่า Imagine ไม่ใช่ Imagination นะครับ อาจารย์เบน แอนเดอร์สันก็สรุปบอกว่า ชาตินิยมทั้งหลายในโลกก็น่าจะมี 5 ประเภท กลุ่มแรกเลยก็คือสิ่งที่เรียกว่า Creole - nationalism อันนี้ก็เป็นในเรื่องของลูกผสมอะไรทั้งหลาย ที่ไปอยู่ ในโลกใหม่ ไปอยู่ในลาตินอเมริกา ที่กลายมาเป็นอาร์เจนตินา เปรู เม็กซิโก อะไรก็ตาม รวมทั้ง USA อันนี้อาจารย์ จะเรียกว่า Creole - nationalism อีกกลุ่มหนึ่งอาจารย์เรียก Ethno-linguistic Nationalism กลุ่มนี้อยู่ในยุโรป ซึ่งแตก ออกมาจากอาณาจักรเก่าๆ อย่างเช่น Ottoman Empire, Austria-Hungary อะไรทำ�นองนั้น แล้วอีกกลุ่มหนึ่งก็คือเป็น Official Nationalism ซึ่งอาจารย์ก็บอกว่าเป็นกลุ่มประเทศรัสเซีย ญี่ปุ่น และสยาม อาจารย์จะกรุ๊ปมันไว้ตรงนี้ และ หลายท่านก็คงจะเห็นแล้วว่าในบทความที่อาจารย์ธงชัย วินิจกุล เอาไปขยายความต่อ ก็คือเรียกว่าราชาชาตินิยม ผมเอามาเล่นต่อ ใช้คำ�ว่า อำ�มาตยาเสนาชาตินิยม กลุ่มที่สี่ เรียกว่ากลุ่ม Anti - colonial Nationalism สิ่งที่เราเห็น ก็คือว่าในบรรดาอดีตในอาณานิคมทั้งหลายที่ลุกขึ้นมาสู้เพื่อเอกราช รอบๆ บ้านเราก็ใช่ และสุดท้ายน่าสนใจมาก นะครับ อาจารย์ได้ตั้งข้อสังเกตแล้วเขียนเป็นบทความเล็กๆ ชื่อว่า Long Distant Nationalism อันนี้เป็นของใหม่ซึ่ง เพิง่ เกิด มันมากับ Globalization (โลกาภิวตั น์) มากับอินเตอร์เนต มันมากับการทีม่ คี นอพยพโยกย้ายกับคนทีม่ จี �ำ นวน มากเลยนะครับไปอยู่ต่างแดน ไม่ว่าจะเป็นไอรีส ลาว ขะแมร์ เวียด ไทยที่ไปอยู่อเมริกา คนที่ลุกขึ้นมาด่าคุณสมัคร สุนทรเวช จำ�ได้ไหมครับ ที่ไปถึงเท็กซัส ว่าขายชาติ อันนั้นหละคือ Long Distant Nationalism น่าสนใจมากนะ อัน นี้เป็นปรากฏการณ์ใหม่ ซึ่งเราจะเห็นว่ามันผลุบๆ โผล่ๆ ให้เราเห็นอยู่ตลอดเวลา


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

38

ที่สำ�คัญมากเพราะว่ามันตามมาด้วยความไร้เสถียรภาพทางการเมืองใช่ไหมครับ มันมีปฎิวัติซํ้าโดยคณะราษฎรเอง เพียงยังไม่ถงึ 1 ปีเลย คือ 20 มิถนุ ายน 2476 และมันก็ตามมาด้วยกบฏหรือเราจะเรียกว่า Counter Coup ก็ได้นะครับ ของกบฏบวรเดช ตามมาด้วยความไม่มั่นคงสำ�หรับรัฐบาลใหม่ ระบอบใหม่ ก็คือรัชกาลที่ 7 สละราชสมบัติ คือปี พ.ศ. 2477 ผมคิดว่าลำ�ดับเหตุการณ์นี้จะทำ�ให้เราเห็นว่าเนื่องจากรัฐบาลใหม่ของคณะราษฎรนั้นมีความไม่มั่นคง ทางการเมืองสูงมากๆ ดังนั้น ในขณะเดียวกันบริบทของโลกก็คือสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้เกิดขึ้นแล้วในยุโรป หลาย คนก็คงจำ�ได้ว่าเยอรมันนียึดครองปารีส ปีนั้นแหละก็คือปีที่สยามกลายเป็นไทย ถูกเปลี่ยนชื่อ ตอนนั้นก็ถูกเปลี่ยน เป็นแฟชั่นหมด ใช่ไหมครับ? “สมบูรณ์ ชุณหะวัณ” เปลี่ยนเป็น “ชาติชาย ชุณหะวัณ” อย่างที่บ้านผม พ่อผมก็ถูก เปลี่ยนจาก “เชิง แก่นแก้ว” เป็น “เชิง เกษตรศิริ” ทั้งๆ ที่ไม่มีนาเลย ที่ดินก็ไม่มีนะครับ เป็นแฟชั่นของการเปลี่ยน ชื่อตอนนั้น ท่านลองไปหาตัวอย่างเถอะ บรรพบุรุษของท่านก็มีการเปลี่ยนชื่อกันเยอะแยะเลยในตอนนั้น หลังจาก การเปลี่ยนชื่อแล้วนโยบายลัทธิการเปลี่ยนเชื้อชาตินิยมที่เราว่านี้ก็แผ่ขยายดินแดนอย่างมากมายใช่ไหมครับ? เรียก ร้องดินแดน เป็นการสร้างวาทกรรมอย่างหนึง่ ว่าเราสูญเสีย เราเสียดินแดน ความจริงเรือ่ งดินแดนมันมีทงั้ เสียและได้ เผลอๆ ทีค่ ดิ ว่ามีอยูน่ มี่ นั ก็ไม่ใช่ดนิ แดนในความหมายของรัฐชาติปจั จุบนั อย่างทีอ่ าจารย์ได้เสกสรรพูด เป็นเรือ่ งของ ประเทศราช เพราะฉะนัน้ หลังจากการเปลีย่ นชือ่ เท่านัน้ นโยบายก็เป็นเชือ้ ชาตินยิ มเรียกร้องดินแดนอย่างแรง  พ.ศ. 2483 ก็เกิดสงครามในอินโดจีน แล้วก็ได้ดินแดนจากอินโดจีนของฝรั่งเศสที่ตกอยู่ในกัมพูชาและลาวมาใช่ไหม? ได้ อะไรล่ะ? อย่างที่เรารู้กัน ได้เสียมราช พระตะบอง ศรีโสภณ เสียมราชก็คือนครวัด นี่ก็ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นจังหวัดพิบูล สงคราม ผมเชื่อว่าคนที่นี้ส่วนใหญ่ไม่รู้นะครับ เพราะมันไม่อยู่ในตำ�ราเรียน เพื่อนรักของผม คืออาจารย์ฉลาดชาย รมิตานนท์ อยู่ใน มช. นี้ แกบอกว่าแกเกิดในจังหวัดพิบูลสงคราม ก็บอกว่าเอ๊ะ จังหวัดนี้มันไม่มี เขาบอกคุณไม่รู้นี่ ว่า จอมพล ป. เข้าไปยึดแล้วพ่อคุณถูกส่งไปทำ�งานที่พิบูลสงคราม ไปเสียมราช แล้วคุณก็ไปเกิดที่นั่นในใบเกิดของ คุณก็เกิดจังหวัดพิบูลสงคราม อันนี้ก็เป็นประวัติศาสตร์ที่เราก็ไม่ได้เรียนรู้ เพราะฉะนั้น บางทีเราก็เข้าใจไม่ได้ว่า ทำ�ไมเพื่อนบ้านถึงไม่ค่อยชอบหน้าเรา ทีผมไม่เคยคิดเลย แต่ได้ยินมาอีกอันหนึ่งก็คือว่าจังหวัดพระตะบองที่ยึดคืน เพราะฉะนั้นก็จะมีเรื่องเล่ากันมาเยอะมากในกลุ่มคนพระตะบองก็คือว่าข้าราชการไทย หรือพวกเสียม (Siam) พวก ไทยนี่ เมือ่ เข้าปกครองพระตะบอง มันจะจับเรา ถ้าเกิดเรากินหมากกับนุง่ โจงกระเบน คุณย่าคุณยายของคนทีผ่ มคุย ด้วย เขาก็บอกว่าเวลาจะเจอข้าราชการเสียม (เขาเรียกพวกเราว่าเสียม หรือไทย) ถ้าเขาเห็นพวกเสียมเดินมา เขา ก็จะรีบเอาผ้าซิ่นครอบโจงกระเบน แล้วก็เดินไป พอลับตาพวกเสียม เขาก็เอาผ้าซิ่นออกแล้วก็นุ่งโจงกระเบนอย่าง เดิม อันนี้เรานึกไม่ออกเลยนะครับ ผมคิดไม่ออกเลย ถ้าเผื่อว่าไม่เรียนรู้ประวัติศาสตร์ ผมไปดูรูปพ่อแม่ผมเมื่อพ่อ แม่ผมแต่งงานนะครับ ยายผมไปรดนํ้า ยายผมนุ่งโจงกระเบน ในรูปนะ แต่ว่าเมื่อผมจำ�ความได้ ยายไม่ได้นุ่งโจง กระเบนแล้ว ยายนุ่งซิ่นแล้วก็เลิกโจงกระเบนไป เพราะว่าดูจอมพล ป. พิบูลสงครามจัดการเพียงแต่ว่ามวยผมดอก กระทุ่มอยู่ แล้วก็กินข้าวด้วยมือ เพราะฉะนั้น ยายก็เป็นคนสุดท้ายในตระกูลของเราที่กินข้าวด้วยมือ แม่ก็ไม่เอา แล้ว ผมก็ไม่ อันนี้ก็เป็นประเด็นวัฒนธรรม ที่น่าสนใจก็คือปี พ.ศ. 2484 ปีที่ผมเกิดมา ประเทศไทยของผมก็ได้ดิน แดนมาเยอะแยะเลยใช่ไหมครับ? regaining (ได้กลับคืนมา) ได้ทั้งประสาทเขาพระวิหารและประสาทวัดภูด้วย หลาย ท่านที่มาจากอีสานใต้อาจจะนึกไม่ออกเลยว่าปราสาทวัดภูนั้นก็เคยขึ้นอยู่กับประเทศไทยแบบเดียวกับปราสาทเขา พระวิหาร แต่ทำ�ไมเราก็ไม่เรียกร้อง อันนี้ก็ไม่รู้นะครับ เรื่องมันเหมือนกันเลย ต่อมาก็ได้รับดินแดน ผมใช้คำ�ว่า รีซีพ วิ่ง (receiving) คือเชียงตุง เมืองพานในรัฐฉาน รวมทั้งกลันตัน ตรังกานู เคดะ และปะลิด เมื่อเช้าก็มีคนตั้งคำ�ถาม ว่าโชคดีหรือโชคร้ายก็ไม่รู้ ต้องคืนไปหมด เพราะว่าถ้าไม่คืน น่าสนใจมากนะครับ ตอนนี้สุลต่านแห่งตรังกานูเป็น พระราชาธิบดีแห่งมาเลเซีย ผมเพิ่งไปมาเมื่อปีที่แล้ว ไปสอนหนังสือที่กัวลาลัมเปอร์ และที่กลันตัน อยากไปดูตรง ที่เห็นคลองนราธิวาสติดกับกลันตัน ปรากฏว่าตรังกานูนั้นมีนํ้ามัน รวยมากเลย รวยมากๆ นึกไม่ออกเหมือนกันนะ ครับ แต่ว่าประวัติศาสตร์นั้น ถ้า (if) ต้องศึกษาประวัติศาสตร์จากสิ่งที่เกิดขึ้น เมื่อเช้ามีคนตั้งคำ�ถามว่า ถ้าอยู่กับ เราเป็นยังไง แค่ 3 จังหวัดนี้ก็เอาไม่อยู่แล้วนะครับ


39

ลัทธิชาตินิยมเช่นนี้ที่ในปัจจุบันนั้นผสมปนเประหว่างราชาชาตินิยมและอำ�มาตยาเสนาชาตินิยมนั้นก็ยังอยู่ กับเราๆ ท่านๆ จะเห็นได้จากกรณีรื้อฟื้นคืนชีพของปราสาทเขาพระวิหารในการเมืองใหม่ของม็อบธิปไตยที่ดำ�เนิน มาอย่างยึดเยื้อยาวนานตั้งแต่ 2548 - 2549 - 2550 - 2551 ที่บานปลายไปจนถึงการยึดถนน สถานที่ราชการ ทำ�เนียบ รัฐบาลตลอดสนามบินนานาชาติ ณ วันนี้คำ�ถามของเราก็คือว่า รัฐบาลใหม่ของนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์จะเป็นการเมืองใหม่หรือรักษาความ เข้มข้นกับมรดกของการเมืองเก่าไว้หรือไม่? และรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศคนปัจจุบันจะดำ�เนินนโยบาย การต่างประเทศแบบสายเหยี่ยว ตามที่ได้ปราศรัยไว้หลายครั้งหลายคราบนเวทีพันธมิตรหรือไม่? นี่เป็นปัญหาที่ ต้องติดตามและน่าวิตกยิ่งสำ�หรับความสัมพันธ์ระหว่างไทยและกัมพูชา และสำ�หรับอาเซียนโดยรวม  ผมคิดว่า ประเด็นที่เราพูดกันวันนี้ ประเด็นชาตินิยมนี่มันโยงไปถึงสิ่งที่กำ�ลังเกิดขึ้นในท้องถนน สิ่งที่เรากำ�ลังเห็นว่าเป็นสีแดง สีเหลือง สีฟ้า สีเขียว สีขาว สีอะไรก็ไม่รู้ การเปลี่ยนประเทศจากสยาม (Siam) นี่ จากการอิงชื่อกับสถานที่หรือนาม ทางภูมิศาสตร์ ผมถือว่า “เสียม” “สยาม” นี่เป็นชื่อของสถานที่นะครับ เป็นชื่อบ้านน่ะ เหมือนบ้านทรายทอง เป็น Place name เปลี่ยนมาเน้นที่เชื้อชาติ ตระกูล สายเลือด (Race) มาเป็นไทยนี่ มันคล้ายๆ ว่าถ้าเราคิดว่าเนื่องจาก หม่อมแม่กับหญิงเล็ก ใช่ไหมครับ? ซึ่งมีนามสกุลว่า “สว่างวงศ์ ณ อยุธยา” เข้ามาอยู่ในบ้านทรายทองนาน จนคิด ว่าเป็นของตัวเอง วันดีคืนดีก็ลุกขึ้นมาเปลี่ยนชื่อบ้านนั้นเป็นบ้านสว่างวงศ์ ผมคิดว่าเป็นอย่างนั้นนะครับ ชื่อบ้านก็ คือชื่อบ้าน ชื่อคนมันก็อีกเรื่องหนึ่งนะครับ ถ้าเผื่อเรายกตัวอย่างอย่างนั้นเราอาจจะเห็น เพราะฉะนั้น การใช้เชื้อชาติ การใช้ Race เราก็เห็นนะครับ อย่างที่คุณสุลักษณ์พูดเมื่อตะกี้นี้ในวีซีดี  เพลงชาติซึ่งประดิษฐ์ขึ้นใหม่ในการสร้าง ชาติ เดิมเราไม่มีเพลงชาติ เรามีแต่เพลงสรรเสริญพระบารมีนะครับ เพลงชาติเพิ่งมีเมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง แล้วก็มีเนื้อเก่าว่าเป็นเพลงชาติสยาม แต่พอเปลี่ยนเป็นเชื้อชาติไทย ก็ออกมาเป็น “ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติ เชื้อไทย” อย่างที่เราเห็นในปัจจุบัน เพราะฉะนั้นอาจารย์สุลักษณ์บอกว่า อย่างนี้มันก็โกหกแต่แรกแล้ว นี่รวมเลือด เนื้อชาติเชื้อไทย ยังไงแกบอกแกเป็นเชื้อเจ๊ก อันนี้เป็นสิ่งซึ่งผมคิดว่าการเมืองเมืองไทยเป็นสิ่งเกิดเพลงชาติไทย แล้ว เบียดเพลงสรรเสริญพระบารมีออกไป กลายไปอยู่ตอนคํ่า ตอนปิดสถานี หรือการฉายหนัง ใช่ไหมครับ? 8 นาฬิกา ต้องเพลงชาติ 18 นาฬิกาต้องเพลงชาติ ลองสังเกตใช่ไหมครับ? สังเกตดูนะครับ เพราะฉะนั้น หลายท่านอาจจะไม่ ทราบนะครับ เมื่อเกิดเพลงชาติ เพลงสรรเสริญพระบารมีถูกย่อ เหลือแต่เพียงว่า “ข้าวรพุทธเจ้า เอามะโนและศิระ

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

สรุป นี่คือผลของการเมืองภายในและการต่อสู้ระหว่างระบอบใหม่ของคณะราษฎร์ กับระบอบเก่าของคณะ เจ้า (New VS Ancient Regimes) ผมคิดว่าถ้าใครอ่านศิลปวัฒนธรรมเมื่อฉบับสองฉบับที่แล้ว เขามีการเอาโคเตชั่น (Quotation) ของ จอมพล ป.พิบลู สงคราม การต่อสูร้ ะหว่างระบอบใหม่กบั ระบบเก่าจะดำ�เนินต่อไป ผมว่าชัดเจนมากๆ ในการเมืองเก่าๆ ใหม่ๆ ที่กำ�ลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน เป็นผลของการเปลี่ยนแปลงของชาตินิยมไทยสยามของรัชกาล ที่ 6 จากราชาชาตินิยม ความจงรักภักดีต่อสถาบันกษัตริย์ มาเป็นอำ�มาตยาเสนาชาตินิยมของ จอมพล ป. พิบูล สงคราม หลวงวิจิตรวาทการและคณะราษฎร เป็นการสร้างชาติ รัชกาลที่ 6 จะใช้คำ�ว่า “ปลุก” ปลุกใจเสือป่า ชาตินิยมของท่าน ให้ตั้งข้อ สังเกตแสดงว่ามีอยู่แล้วแต่ต้องการปลุกให้ตื่นขึ้น แต่ผมว่าวิธีคิดของคณะราษฎร์สร้าง ชาติใน Nation Building แปลว่าแต่ก่อนนั้นไม่มี ผมคิดว่าคำ�ว่า “ปลุก” กับคำ�ว่า “สร้าง” นี่ต่างกันนะครับ เป็นการ สร้างชาติในทศวรรษที่ 1930, 1940 ที่เน้นความเป็นชาติ ที่เชื้อชาติ คือที่ Race ผมคิดว่าคำ�นี้มันมีประวัติศาสตร์ของ มัน บางคน อาจจะหนีไปใช้คำ�ว่า Ethnicity อะไรก็ตาม แต่ผมคิดว่าหัวใจของมันอยู่ที่ Race มันเป็น Racism อย่าง หนึ่งในแบบของสงครามโลกครั้งที่สอง ในระบบของนาซี - ฟาสซิส์ม ของเยอรมัน ของมุสโสลินี ของญี่ปุ่น ซึ่งใช้มา ถึงระบอบสฤษดิ์ - ถนอม - ประภาส  ถ้าเผื่อไม่มีกรณีสวรรคตของรัชกาลที่ 8 พ.ศ. 2489 ถ้าไม่มีรัฐประหาร 2490 ของจอมพลผิน ชุณหะวัณ ผมคิดว่าประวัติศาสตร์ปัจจุบันนี้จะคนละเรื่องเลย ผมอยากจะคิดว่าอย่างนั้น เพราะว่า สะดุดหมดเลย ขบวนการประชาธิปไตยสะดุดหมดเลย กลายเป็นอำ�มาตยาเสนาธิปไตย แล้วในที่สุดก็มีการรื้อฟื้น พระราชอำ�นาจนำ�อย่างที่เราเห็นในทศวรรษ 1960 ซึ่งตอนนี้เราก็เห็นปรากฏการณ์นี้ในท้องถนนและในการเมือง ใน 2 - 3 ปีที่ผ่านมา


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

40

กราน นบพระภูมิบารบรมกษัตริย์ไทย ขอบันดาร ธ ประสงค์ใด” จบเลย ถูกตัดออกหมดเลย พระสยามบรมธิวา สกลายเป็นพระไทยเวทวาธิราชนะครับ หลายคนอาจจะนึกไม่ออกนะครับ ถ้าท่านมีบัตร ATM ของธนาคารไทย พาณิชย์ หยิบขึ้นมาดูซิครับ ชื่อภาษาไทยคือ ไทยพาณิชย์ ชื่อภาษาอังกฤษเป็น Siam Commercial Bank อันนี้น่า สนใจไหมครับ เพราะฉะนั้น อันนี้คือมรดกของสิ่งซึ่งเกิดตั้งแต่ พ.ศ. 2482 เกือบ 70 ปีมาแล้ว นี่เป็นการสร้างเอกลักษณ์อันเป็นอัตลักษณ์ของคนในชาติที่ถูกกำ�หนดโดยเบื้องบน อย่างที่อาจารย์นิธิพูด ว่าเราคือใคร เราเป็นใคร กดทับความหลากหลายหรือพหุลักษณ์ที่มีมาแต่ดั้งเดิม ที่มีจำ�นวนคนมากมายหลายเผ่า ชาติพันธุ์ ลานหรือล้านนาต้องผันตัวเป็นลานหรือล้านนาไทย ต้องใส่คำ�นี้เข้าไปใช่ไหมครับ เดิมไม่มีนะครับ แล้วก็ ถูกกำ�หนดโดยศูนย์กลางว่าให้เป็นมณฑลลาวเฉียง ก่อนที่จะมาเปลี่ยนชื่อเป็นมณฑลพายัพ ซึ่งน่าสนใจมากในแง่ ของอัตลักษณ์ คนที่นี้สร้างปฏิกิริยาตอบโตที่ว่าตัวเองเป็นคนเมือง อันนี้ผมว่าน่าสนใจนะครับ แล้วเวลาเราพูดถึงสิ่ง ที่เราคิดว่าเป็น Identity หรืออัตลักษณ์นั้น มันไม่ได้อยู่ในนี้นะครับ มันอยู่ข้างนอก แปลว่าถ้านั่งอยู่ที่นี่ ผมก็บอก ว่าผมเป็นคนกรุงเทพฯ ผมไม่บอกว่าผมเป็นคนไทยหรอก เมื่อผมคุยกับเพื่อนๆ น่ะ หรือผมไปนั่งดื่ม (drink) คนถาม ว่าเป็นใครมาจากไหน ผมก็บอกว่าผมเป็นคนกรุงเทพฯ ผมจะไม่บอกว่าผมเป็นคนไทย เพราะว่าคนนั้นถามผม เมื่อ ผมไปอเมริกา Where are you from? Who are you? ผมก็จะบอกว่า ไทยแลนด์ แล้วฝรั่งก็จะบอก ไทหวัน บอก โน ไทยแลนด์ ฝรั่งบอก ไทหวัน ทะเลาะกันแทบตาย ผมก็เลยรู้สึกหงุดหงิดกับคำ�นี้มากเลยนะ อัตลักษณ์ คืออยู่ตรง นู้นเลยนะ (ทำ�ท่า) บางทีเราคิดว่ามันอยู่ในนี้นะ ผมว่าไม่ใช่ ไม่ใช่นะครับ ฉะนั้น ในกรณีของคนเมืองเหนือของเรา ต้องสร้างอัตลักษณ์ตอบโต้ดว้ ยคำ�ว่าเป็นคนเมือง ผมว่าเช่นเดียวกับลาวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือทีถ่ กู กำ�หนดให้ เป็นมณฑลลาวกาว ลาวพวน ลาวกลาง แล้วต้องกลายเป็นอีสาน อุดร และนครราชสีมา และสร้างอัตลักษณ์ตอบโต้ ว่าเป็น อีสาน ในที่สุด น่าสนใจไหมครับ? ผมคิดว่ารัฐสยามในรัชกาลที่ 5 กำ�หนดว่าอะไรๆ เป็นอะไร ด้วยการเรียก ตามชาติพันธุ์นี่ ผมคิดว่าไม่ได้ก�ำ หนดจากกรุงเทพฯ คิดว่ากำ�หนดด้วยการใช้นครราชสีมาเป็นตัวกำ�หนด เพราะว่าที่ กรุงเทพฯ นั้นเป็นไทยสยามใช่ไหมครับ ส่วนอื่นๆ เป็นลาว ดังนั้น มณฑลที่เรารู้จักว่านครราชสีมาหรือโคราช เดิม ชื่อมณฑลลาวกลาง เมื่อกลาง ข้างบนของกลางก็คืออุดรใช่ไหมครับ ก็คือพวนแล้วในที่สุดเปลี่ยนพวนเป็นอุดร อีก ด้านหนึ่งก็คือลาวกาวก็คืออุบลราชธานี ก็ถูกเปลี่ยนเป็นอีสาน แล้วอีกด้านหนึ่งคือเชียงใหม่ซึ่งเป็นลาวเฉียง ที่ถูก เปลี่ยนเป็นพายัพ พายัพไม่ได้แปลว่าเหนือนะครับ ผมคิดว่าแปลว่าตะวันตกเฉียงเหนือ ผมคิดว่าคนอาจจะนึกไม่ ออกนะครับว่าวิธีคิดในรุ่นนั้นว่าเขาคิดอย่างไร ทำ�ไมถึงตั้งชื่อแบบนั้น อันนี้เป็นทำ�นองเดียวกันที่เรารู้จักว่ามณฑล เขมรก็กลายเป็นมณฑลบูรพา อันนีเ้ ป็นเหตุการณ์ส�ำ คัญมาก หลัง รศ. 112 เหตุการณ์ปากนํา้ (Paknam Incident) ถ้าจะว่าไปแล้วรัฐส่วนกลาง จากกรุงเทพฯ ประสบความสำ�เร็จไม่นอ้ ยทัง้ ในภาคเหนือและภาคอีสานกับผูท้ ถี่ กู มองว่าไม่ใช่ไทยมาก่อน เหมือนกับ ความสำ�เร็จทีเ่ กิดขึน้ กับคนเชือ้ สายจีนเชือ้ สายมอญในกรุงเทพฯ และในภาคกลางเป็นส่วนใหญ่ แต่ดงั ทีเ่ ราทราบกัน ดีว่านโยบายและการปฏิบัติทำ�นองนี้ไม่เป็นผลกับ 3-4 จังหวัดภาคใต้ ผมใช้คำ�ว่า “3 - 4” เพราะว่าไม่ใช่ 3 จังหวัด อย่างเดียว สงขลาบางอำ�เภอก็ใช่นะครับ คือในกรณีของปัตตานี ยะลา นราธิวาสและบางส่วนของสงขลา ขอจบอย่างนี้ว่า นามของประเทศไทย หรือว่า Thailand ที่เปลี่ยนมาจากสยาม หรือว่า Siam นั้นเป็นนามที่มี ปัญหาในเรือ่ งของเชือ้ ชาติ ยกย่องและยํา้ เน้นของความสำ�คัญของเพียงเชือ้ ชาติเดียว กดทับและกีดกันชาติพนั ธุอ์ นื่ ๆ อันหลากหลาย อันเป็นส่วนประกอบของรัฐสมัยใหม่ ผมคิดว่านามประเทศไทย (Thailand) เป็นนามที่ล้าหลัง ที่เน้น ความเป็นเอกลักษณ์ที่มีความเป็นเอกพจน์ คับแคบ มีจิตใจคับแคบ เป็น Nation ที่คับแคบ (narrow minded) ขัดกับ ความเป็นจริงของมนุษยชาติที่เป็นพหุลักษณ์ ที่มีความหลากหลาย และที่มีจิตใจกว้างขวาง ผมคิดว่าเราต้องการ ชาติที่ใจกว้างนะครับ ถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราจะต้องตั้งคำ�ถามกันอีกว่า นามนั้นสำ�คัญไฉน? หากจะเลี่ยงเคราะห์ กรรมร่วมชาติที่กำ�ลังอุบัติขึ้นต่อหน้าต่อตาเราปัจจุบันนี้ของการเมืองเก่าของระบอบใหม่กับระบอบเก่า เราจะคงชื่อ ของ “วันทอง” ไว้หรือจะกลับไปเป็น “พิมพ์พิลาไล” กันดี?


41

คุณปนัดดา: ชื่อปนัดดา พู่เจริญศรีค่ะ จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น ขอบคุณอาจารย์ที่ชมว่าหน้าตาดี ชอบมากเลย คุณอภิสิทธิ์ นามสกุลเวชชาชีวะ มีเชื้อสายเวียดนามค่ะ ดร. ชาญวิทย์: ถูกต้องครับ ถูกต้อง เดี๋ยวมารับรางวัล คุณอภิสิทธิ์ ตระกูลนี้นี้ ผมว่านามสกุลเดิมน่าจะเป็น เหงียน เหงียน อะไรทำ�นองนี้นะครับ เขามาจากเมืองกำ�ปอด เมืองกำ�ปอดเป็นเมืองท่าอยู่ติดกับเวียดนาม คนเวียดมาอยู่ กำ�ปอดเยอะมากเลย แล้วเมื่อกำ�ปอดแตก เวียดนามกับสยามแย่งเมืองกัมพูชากัน ตระกูลนี้ก็เลยหนีมาอยู่จันทบุรี เยอะมากเลยนะครับทีม่ าอยูจ่ นั ทบุรี  จันทวิมลก็เชือ้ สายเวียด เพราะฉะนัน้ ประเทศของเรารวมเลือดเนือ้ ชาติเชือ้ ไทย ลาว เมือง อีสาน มอญ ขะแมร์ กุย แต้จิ๋ว แคะ กวางตุ้ง ฮกเกี้ยน ไหหลำ� จาม ชวา มลายู ซาไก มอแกน คุณอ่าน ไปเถอะครับ เยอะแยะมากมายเลยครับ เพราะฉะนั้นก็.....พหุลักษณ์ครับ ขอบคุณครับ

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

อันนี้มีแถมครับ ถ้าใครทายถูกผมจะให้รางวัล (ฉายภาพ) อันนี้เป็นรูปอภิสิทธิ์กับคุณเนวินครับ และต่อไปอีก รูปหนึ่ง เป็นรูปคุณเนวินจูงพญาช้างสารมาให้คุณทักษิณนั่ง นี่เป็นรูปที่ผมได้จากในอินเตอร์เนต ผมชอบมากเลย ผมจะถามนะครับ ให้ตอบแล้วมีรางวัล ยกมือนะครับ หลายคนก็ทราบใช่ไหมครับว่า ความเป็นคนไทย คนบุรีรัมย์ ของคุณเนวินมีเชื้อสายมาจากขะแมร์ใช่ไหมครับ? ไม่ขอใช้คำ�ว่า “เขมร” นะครับ เพราะคำ�ว่า “เขมร” คนกัมพูชา/ คนขะแมร์ปัจจุบันไม่ชอบ เขาคิดว่ามันเหมือนกับคำ�ว่า “เจ๊ก” มันเป็นการดูถูก ผมก็คิดว่าจะไม่ใช้นะครับ จะใช้คำ� ว่าขะแมร์ หรือกัมพูชา ลองสังเกตนะครับในวิทยุในโทรทัศน์จะใช้คำ�ว่ากัมพูชา เหมือนกับคำ�ว่า “ญวน” ก็ไม่ควร ใช้เหมือนกันนะครับเพราะว่า “ญวน” เป็นคำ�ของขะแมร์ที่ไทยกับลาวไปยืมมา คนเวียดคิดว่าคำ�ว่า “ญวน” นั้น เหมือนกับคำ�ว่า “เจ๊ก” ไม่ชอบอีกเหมือนกันครับ คนอีกจำ�นวนหนึ่ง บางคนก็ไม่คิดมาก ถ้าไม่มีการศึกษามากก็ไม่ คิดมากเป็นชาวบ้านก็จะไม่คิดมาก อันนี้เป็นเรื่องของชาติพันธุ์ บางทีต้องมีการศึกษาถึงจะมีชาตินิยมมาก คำ�ถาม คือ คุณอภิสิทธิ์เป็นคนไทย เป็นคนกรุงเทพ เป็นนักเรียนนอก นามสกุลเพราะมาก เป็นนักเรียนอินเตอร์นะครับ ถาม ว่าตระกูลเวชชาชีวะมีเชื้อสายอะไร ยกมือซิครับ เอาคนที่ใส่ผ้าพันคอสีขาว คนที่หน้าตาเข้าท่าเนี๊ยะ


นโยบายของรัฐและความหลากหลายทางชาติพันธุ์


43

ศ. ดร. สุ​วิไล เปรม​ศรี​รัตน์2

ภาษา​เป็น​สิ่ง​ที่​ดำ�รง​อยู่​คู่​กับ​ชุมชน​มนุษย์ ภาษา​ไม่​ได้​เป็น​เพียง​เครื่อง​มือ​สื่อสาร​แต่​เป็น​ ระบบ​วิธี​คิด วัฒนธรรม​และ​วิถี​ชีวิตข​ อง​แต่ละ​กลุ่ม​ชน โดย​ภาษา​เป็น​ระบบ​สัญลักษณ์​ที่​คนใน​ แต่ละ​กลุม่ ใ​ช้ท​ �ำ ความ​เข้าใจ​และ​สร้าง​ความ​หมาย​ให้แ​ ก่โ​ลก ทัง้ ท​ อ​ี่ ยูล​่ อ้ ม​รอบ​ตวั เ​อง​และ​ภายใน​ ตัว​เอง และ​ภาษา​ยัง​เป็น​เครื่อง​บอก​สมาชิก​ภาพ​ของ​กลุ่ม การ​ใช้​ภาษา​ใด​ภาษา​หนึ่ง​ของ​คน​ กลุ่ม​ใด​กลุ่ม​หนึ่ง​เป็น​พฤติกรรม​และ​อุดมการณ์​ทาง​สังคม เป็น​ปูม​บันทึก​ภูมิปัญญา ประวัติ ของ​กลุ่ม​คน และ​ยัง​เป็น​เครื่อง​มือ​ช่วย​พัฒนาการ​เรียน​รู้​ทาง​สมอง​และ​จิตใจ​ของ​มนุษย์​ตั้งแต่​ วัย​ทารก​สู่​วัย​ผู้ใหญ่ I. ลักษณะ​พหุ​ภาษา พหุ​วัฒนธรรม​ใน​สังคม​ไทย เอเชียอ​ าคเนย์เ​ป็นด​ นิ แ​ ดน​ทม​ี่ ค​ี วาม​ซบั ซ​ อ้ น​หลาก​หลาย​ทาง​ภาษา​และ​ชาติพนั ธุม​์ าก​ทสี่ ดุ แ​ ห่งห​ นึง่ ข​ อง​โลก อัน​ เป็น​ผล​มา​จาก​พัฒนาการ​ทาง​ประวัติศาสตร์ การเมือง สังคม วัฒนธรรม​ที่​ผู้คน​หลาก​หลาย​แผ่นพ​ ันธุ์​ได้​สร้าง​ร่วม​กัน​ มา​เป็นเ​วลา​ยาวนาน ประเทศไทย​ใน​ปจั จุบนั ซึง่ ต​ งั้ อ​ ยูใ​่ จกลาง​แผน​ดนิ เ​อเชียอ​ าคเนย์ จึงเ​ป็นด​ นิ แ​ ดน​ทป​ี่ ระกอบ​ขนึ้ ด​ ว้ ย​ ประชากร​ที่​มี​ความ​หลาก​หลาย​ทาง​ด้าน​ภาษา วัฒนธรรม​ชาติพันธุ์​เป็น​อย่าง​มาก ใน​จำ�นวน​ประชากร​กว่า 60 ล้าน​ คน​ประกอบ​ขึ้น​จาก​กลุ่มช​ าติพันธุ์​ภาษา​ทั้ง​สิ้น​ถึง​กว่า 70 กลุ่ม3 กระจาย​อยู่​ใน​ส่วน​ต่างๆ ของ​ประเทศ ภาษา​เหล่า​นี้​ มี​ความ​เกี่ยวข้อง​กัน​ทาง​ด้าน​เชื้อ​สาย​โดย​จัด​อยู่​ใน​ตระกูล​ภาษา 5 ตระกูล ได้แก่ ตระกูล​ไท (24 กลุ่ม), ตระ​กลู​ ออ​ส​ โตร​เอเชีย​ติก (23 กลุ่ม), ตระ​กู​ลออ​ส​โตรเน​เซียน (3 กลุ่ม), ตระกูล​จีน-ธิเบต (18 กลุ่ม) และ​ตระ​กู​ลม้ง-เมี่ยน (2 กลุ่ม) โดย​กลุ่ม​ชาติพันธุ์ภ​ าษา​เหล่า​นี้ มี​สถานภาพ​ทาง​สังคม​และ​บทบาท​หน้าที่​แตก​ต่าง​กัน​ไป​ใน​ระดับ​ประเทศ ระดับ​ท้อง​ ถิน่ ภ​ มู ภิ าค และ​ระดับช​ มุ ชน โดย​มภ​ี าษา​ไทย​ซงึ่ เ​รียก​ทาง​วชิ าการ​วา่ “ภาษา​ไทย​มาตรฐาน” เป็นภ​ าษา​ราชการ/ ภาษา​ ประจำ�​ชาติ​ที่​ใช้​เชื่อม​โยง​กลุ่ม​ชาติพันธุ์​ภาษา​ต่างๆ เข้า​ด้วย​กัน ภาษา​ไทย​มาตรฐาน​เป็น​ภาษา​ที่​พัฒนา​มา​จาก​ภาษา​ ไทย​กลาง​ซึ่ง​ใช้​ใน​กลุ่มช​ นชั้น​สูง ผู้​มี​การ​ศึกษา​และ​มี​อิทธิพล​ใน​วงการ​เมือง​การ​ปกครอง​ใน​สมัยอ​ ยุธยา ทั้งนี้​เนื่องจาก​ เป็นเ​มือง​หลวง​เก่าม​ า​หลาย​รอ้ ย​ปี (William Smalley 1994) จึงไ​ด้ม​ กี​ าร​พฒ ั นา​ภาษา​ทใี​่ ช้ใ​น​ราชการ โดย​เฉพาะ​อย่าง​ยงิ่ ​ ภาษา​เขียน ซึง่ พ​ ฒ ั นา​มา​จาก​ภาษา​อนิ เดียต​ อน​ใต้ (ภาษา​พรา​ม/ี เทว​นาค​ร)ี และ​ใช้ต​ อ่ เ​นือ่ ง​กนั ม​ า​จนถึงป​ จั จุบนั ภาษา​ ไทย​มาตรฐาน​ได้​รับ​อิทธิพล​จาก​หลาย​ภาษา เช่น ภาษา​บาลี​สันสกฤต เขมร จีน และ​ภาษา​อังกฤษ และ​เป็น​ภาษา​ เดียว​ที่​ใช้เ​ป็น​ภาษา​ราชการ และ​ถือว่า​เป็นภ​ าษา​ประจำ�​ชาติ ใช้​ใน​การ​ติดต่อ​ทั่วไป​ใน​ระดับ​ประเทศ ส่วน​ภาษา​อื่นๆ เป็นภ​ าษา​ที่​ใช้​ใน​ชุมชน​ท้อง​ถิ่น ทั้ง​ระดับ​ท้อง​ถิ่น​ตาม​ภูมิภาคและ​ระดับ​ชุมชน​ท้อง​ถิ่น 1 การอ้างอิงบทความ ควรได้รับอนุญาตจากเจ้าของบทความ 2 ศูนย์ศึกษาและฟื้นฟูภาษาและวัฒนธรรมในภาวะวิกฤตสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัย มหิดล 3 ข้อมูลน​ ม​ี้ า​จาก​บทความ สถานการณ์ท​ าง​ภาษา​ใน​สงั คม​ไทย​กบั ค​ วาม​หลาก​หลาย​ทาง​ชาติพนั ธุ.์ วารสาร​ภาษา​และ​วฒ ั นธรรม ปี​ที่ 25 ฉบับ​ที่ 2. สถาบันวิจัย​ภาษา​และ​วัฒนธรรม​เพื่อ​พัฒนา​ชนบท มหาวิทยาลัย​มหิดล. โดย​สุ​วิไล เปรม​ศรี​รัตน์. 2549. และ​จาก​บทความ Suwilai Premsrirat. 2006. “Language Situation: Thailand” Encyclopedia of Languages and Linguistics, 2nd Edition, Oxford: Elsevier Limited.

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

นโยบาย​ทาง​ภาษา​สำ�หรับ​กลุ่ม​ชาติพันธุ1์


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

44

ภาษา​ไทย​มาตรฐาน

ระดับ​ท้อง​ถิ่น​ภูมิภาค

(ภาษา​คำ�​เมือง, ลาว​อีสาน, ปักษ์​ใต้, ไทย​กลาง)

ระดับ​ประเทศ

ระดับ​ชุมชน​ท้อง​ถิ่น

ภาษา​ไทย​ถิ่น​ตาม​ภูมิภาค

ภาษา​ชุมชน​ท้อง​ถิ่น​กลุ่ม​ชาติพันธุ์​ต่างๆ

ทัง้ นี​้ โดยทีภ​่ าษา​ไทย​มาตรฐาน​เป็นภ​ าษา​ทใ​ี่ ช้ใ​น​กจิ กรรม​ทาง​ราชการ​ระดับช​ าติ​และ​ใช้โ​อกาส​ทเ​ี่ ป็นท​ างการ​ทกุ ประเภท เป็น​สื่อ​ใน​การ​เรียน​การ​สอน​ใน​โรงเรียน​และ​เป็น​ภาษา​ของ​สื่อสาร​มวลชน​ทุก​แขนง เช่น วิทยุ, โทรทัศน์, หนังสือพิมพ์ท​ วั่ ท​ งั้ ป​ ระเทศ ส่วน​ใน​แต่ละ​ภมู ภิ าค​มก​ี าร​ใช้ภ​ าษา​ทอ้ ง​ถนิ่ ต​ าม​ภมู ภิ าค ซึง่ พ​ ดู โ​ดย​ประชากร​สว่ น​ใหญ่แ​ ละ​ ใช้เ​ป็น​ภาษา​กลาง​ใน​การ​สื่อสาร​ระหว่าง​กลุ่ม​ชาติพันธุ์​ภาษา​ต่างๆ เช่น ภาษา​คำ�​เมือง ใช้​เป็น​ภาษา​กลาง​ใน​เขต​ภาค​ เหนือ​ตอน​บน, ลาว​อีสาน​ใช้​ใน​เขต​ภาค​อีสาน (ตะวัน​ออก​เฉียง​เหนือ) ภาษา​ปักษ์​ใต้​ใช้​เขต​ภาค​ใต้ เป็นต้น ส่วน​ภาษา​ ของ​ชุมชน​ท้อง​ถิ่น​มัก​เป็น​ภาษา​กลุ่ม​ชาติพันธุ์ ซึ่ง​มี​ทั้ง​ภาษา​ชุมชน​ท้อง​ถิ่น​ใน​กลุ่ม​ตระกูล​ไท ซึ่ง​พูด​ใน​ภูมิภาค​ต่างๆ ภาษา​พลัดถ​ นิ่ ซึง่ ส​ ว่ น​มาก​เป็นภ​ าษา​ตระกูลไ​ท​จาก​นอก​ประเทศ​ทเ​ี่ ข้าม​ า​ตงั้ ถ​ นิ่ ใ​น​เขต​ประเทศไทย​ดว้ ย​ปญ ั หา​การเมือง สงคราม และ​การ​ทำ�​มา​หากิน เช่น ภาษา​ลาว​ต่างๆ ใน​ภาค​กลาง เป็นต้น ภาษา​ใน​ตระกูล​อื่นท​ ี่​อาจ​จัด​อยู่ใ​น​กลุ่ม​นี้ ได้แก่ ภาษา​มอญ ซึ่ง​ได้อ​ พยพ​มา​อยู่​ใน​ประเทศไทย​มา​เป็น​เวลา​นาน เข้า​มา​รับ​ราชการ​และ​ดำ�เนิน​ชีวิต​โดย​สงบ​สุข​ มา​เป็นเ​วลา​นาน นอกจาก​นี้​ยัง​มี​ภาษา​ใน​เขต​ตลาด​หรือต​ ัว​เมือง ได้แก่ ภาษา​จีน​ต่างๆ และ​ภาษา​เวียดนาม (เฉพาะ​ อีสาน​ตอน​บน) มี​กลุ่มภ​ าษา​ใน​เขต​แนว​ชายแดน ซึ่ง​เป็นก​ลุ่ม​ขนาด​ใหญ่ โดย​ต่อ​เนื่อง​กับก​ ลุ่ม​ชน​ที่​เกี่ยวข้อง​ทาง​เชื้อ​ สาย​ข้าม​พรมแดน​ประเทศ เช่น ชาว​เขา​ต่างๆ (อา​ข่า ลี​ซู ละ​หู่ ม้ง เมี่ยนฯ) ใน​ภาค​เหนือ, ภาษา​มอญ​และ​กะเหรี่ยง​ ใน​ทาง​ภาค​ตะวันต​ ก, ภาษา​เขมร​ถิ่นไ​ทย4 ทาง​ภาค​ตะวันอ​ อก​และ​ตะวันอ​ อก​เฉียง​เหนือแ​ ละ​ภาษา​มลายูถ​ ิ่นใ​น​จังหวัด​ ชายแดน​ภาค​ใต้ เป็นต้น รวม​ทั้ง​มี​กลุ่มภ​ าษา​เล็กๆ ซึ่ง​เป็น​ภาษา​ใน​วงล้อม​ของ​ภาษา​อื่นๆ ได้แก่ ชอง กะ​ซอง ซัม​เร ชุ​อุง มลา​บรี เกน​ซิว(ซาไก) ญัฮ​กุร โซ่(ทะวืง) ลัวะ(ละเวือะ) ละว้า(ก๋​อง) อึม​ปี บิ​ซู อู​รักล​ ะ​โวย และ​มอ​เกล็น นอกจาก​ ภาษา​ต่างๆ ​ใน​สังคม​ไทย​แล้ว การ​ใช้​ภาษา​ต่าง​ประเทศ​เพื่อ​การ​ศึกษา​และ​ธุรกิจ​และ​การเมือง​ก็​มี​ความ​สำ�คัญ​มาก​ ขึ้น​เรื่อยๆ โดย​ภาษา​อังกฤษ​จะ​มี​ความ​สำ�คัญ​มาก​ที่สุด ภาษา​ญี่ปุ่น​และ​โดย​เฉพาะ​อย่าง​ยิ่งภ​ าษา​จีน​กำ�ลังม​ ี​บทบาท​ มาก​ขึ้น​เรื่อยๆ นอกจาก​นี้​ภาษา​เพื่อน​บ้าน เช่น ภาษา​เวียดนาม ลาว พม่า มาเล​เซีย ฯลฯ มี​ความ​สำ�คัญ ทั้ง​ด้าน​ เศรษฐกิจ สังคม​และ​การเมือง เช่น​เดียวกัน ความ​หลาก​หลาย​ของ​ภาษา​และ​วัฒนธรรม​ของ​กลุ่ม​ชาติพันธุ์​ต่างๆ แสดง​ถึง​ความ​หลาก​หลาย​ของ​ระบบ​ ความ​คิด ภูมิปัญญา ปรัชญา วัฒนธรรม การ​ดำ�รง​ชีวิต แต่​เดิม​มา​สังคม​ไทย​มี​ลักษณะ​เป็น​สังคม​พหุภ​ าษา ภาษา​ ต่างๆ มีหน้าท​ ี่ทาง​สังคม​แตก​ต่าง​กัน ประชากร​ไทย​ใน​ชุมชน​ท้อง​ถิ่นจ​ ึงม​ ักจ​ ะ​เป็นผ​ ทู้​ ีพ่​ ูดไ​ด้ 2 ภาษา​หรือ 3 ภาษา หรือ​ มากกว่า ใน​ชวี ติ ป​ ระจำ�​วนั โดย​ใช้ภ​ าษา​ทอ้ ง​ถนิ่ ใ​น​ครอบครัว หรือใ​น​ชมุ ชน ใช้ภ​ าษา​กลาง​ของ​ทอ้ ง​ถนิ่ (แต่ละ​ภมู ภิ าค) เพือ่ ต​ ดิ ต่อแ​ ละ​คา้ ขาย​ตา่ ง​กลุม่ และ​ใช้ภ​ าษา​ไทย​กลาง (ไทย​มาตรฐาน) ใน​โรงเรียน​และ​สถาน​ทร​ี่ าชการ รวม​ทงั้ ก​ าร​ใช้​ ภาษา​ต่าง​ประเทศ​ใน​แวดวง​การ​งาน​และ​การ​ศึกษา เป็นต้น ซึ่ง​วิถี​การ​ใช้​ต่าง​ภาษา​ใน​ต่าง​วาระ​และ​ต่าง​กิจกรรม​เช่น​ นี้​เป็น​สิ่ง​ที่ป​ ฏิบัติ​กัน​อยู่​โดย​ทั่วไป ยกเว้น​ใน​กลุ่มช​ น​ขนาด​ใหญ่​ตาม​แนว​ชายแดน เช่น กลุ่มช​ าว​เขา​เผ่า​ต่างๆ ใน​เขต​ ภาค​เหนือ​หรือ​กลุ่มผ​ ู้​พูด​ภาษา​มลายูถ​ ิ่น​ใน​จังหวัด​ชายแดน​ภาค​ใต้​ซึ่ง​มี​ประวัติศาสตร์​เป็น​รัฐช​ ายฝั่ง (รัฐ​ปา​ตานี) ก่อน​ ขึ้นก​ ับก​ าร​ปกครอง​ของ​ไทย มีภ​ าษา ศาสนา วัฒนธรรม​เป็นเ​อกลักษณ์พ​ ิเศษ​ของ​ตนเอง​และ​แตก​ต่าง​ออก​ไป​จาก​ส่วน​ 4 ชื่อนี้มาจากการประชุมการพัฒนาระบบเขียนภาษาเขียนด้วยอักษรไทย ครั้งที่ 3 เมื่อปี 2533 ที่จังหวัดสุรินทร์ ที่ประชุม ประกอบด้วยคณะอาจารย์จากมหาวิทยาลัย บุคลากรจากการศึกษานอกโรงเรียนและชาวบ้านเจ้าของภาษาเขมรสุรินทร์ บุรีรัมย์และศรีสะเกษ


45

II. วิกฤต​ทาง​ภาษา​ของ​กลุ่ม​ชาติพันธุ์ แต่​อย่างไร​ก็ตาม​ จาก​การ​ที่​สังคม​โลก​อยู่​ใน​ภาวะ​ของ​การ​เปลี่ยนแปลง​อย่าง​รวดเร็ว​ใน​ยุค​ปัจจุบัน จึง​ทำ�ให้​ ภาษา​เกิดก​ าร​เปลีย่ นแปลง​อย่าง​รวดเร็วก​ ว่าป​ กติเ​ป็นอ​ ย่าง​มาก โดย​เฉพาะ​อย่าง​ยงิ่ ใ​น​ทศวรรษ​ทผ​ี่ า่ น​มา กลุม่ ช​ าติพนั ธุ​์ ภาษา​ต่างๆ ล้วน​ได้ร​ ับผ​ ลก​ระ​ทบ​อย่าง​รุนแรง สา​เห​ตหุ​ ลักๆ มา​จาก​โลกา​ภวิ​ ัตน​ ์ ระบบ​เศรษฐกิจ การเมือง สังคม และ​ วัฒนธรรม​สมัยใ​หม่ซ​ งึ่ ม​ อ​ี ทิ ธิพล​จาก​โลก​ตะวันต​ ก​ได้ม​ ก​ี าร​แพร่ข​ ยาย​อย่าง​ไร้พ​ รมแดน ด้วย​อ�ำ นาจ​และ​ความ​เจริญด​ า้ น​ การ​สื่อสาร​มวลชน​ที่​ทรง​พลัง ทำ�ให้​สามารถ​เข้า​ถึง​ใน​เกือบ​ทุก​พื้นที่ แม้​ใน​เขต​ห่าง​ไกล โดย​เฉพาะ​อย่าง​ยิ่ง​สื่อ​วิทยุ​ และ​โทรทัศน์ รวม​ทั้ง​หนังสือพิมพ์ ซึ่ง​โดย​ปกติ​สื่อ​เหล่า​นี้​จะ​ใช้​ภาษา​ใหญ่ เช่น ภาษา​ราชการ​หรือ ภาษา​นานาชาติ (ภาษา​อังกฤษ) สภาวะ​การ​ด�ำ รง​ชีวิตข​ อง​ผู้คน​ด้าน​การ​ใช้ภ​ าษา​จึงเ​ปลี่ยนแปลง​ไป สาเหตุท​ สี่​ �ำ คัญอ​ ีกป​ ระการ​คือ การ​ ที่​หน่วย​งาน​รัฐ​กำ�หนด​นโยบาย​ทางการ​ศึกษา​ที่​ใช้​เฉพาะ​ภาษา​ราชการ​เพียง​ภาษา​เดียว​เป็น​สื่อ​ใน​การ​ศึกษา ทำ�ให้​ ภาษา​ทอ้ ง​ถนิ่ ห​ มด​ความ​หมาย​และ​เยาวชน​ไม่เ​ห็นป​ ระโยชน์ข​ อง​ภาษา​ทอ้ ง​ถนิ่ ข​ อง​ตน อีกท​ งั้ น​ โยบาย​หรือท​ า่ ท​ ข​ี่ อง​รฐั ท​ ​ี่ ส่งเ​สริมก​ าร​ใช้ภ​ าษา​ราชการ​เพียง​อย่าง​เดียว​นั้นท​ ำ�ให้ภ​ าษา​อื่นๆ ​หมด​หน้าทีแ่​ ละ​ความ​สำ�คัญ สำ�หรับส​ ื่อสาร​มวลชน​ ซึ่ง​เป็น​แหล่ง​ของ​การ​เผย​แพร่ข​ ้อมูล​ข่าวสาร​และ​บันเทิง​คดี​ต่างๆ ใช้​ภาษา​ราชการ​เป็น​หลัก ใน​ปัจจุบัน​สามารถ​เข้า​ถึง​ ใน​บ้าน​ใน​เกือบ​ทุก​พื้นที่​ของ​ประเทศ ทำ�ให้​เกิด​การ​เผย​แพร่​ความ​รู้​ความ​เข้าใจ​เหตุการณ์​ต่างๆ ด้วย​ภาษา​ราชการ รวม​ถึง​โอกาส​ใน​การ​ทำ�งาน​ที่​ใช้​ภาษา​ไทย​และ​การ​แต่งงาน​ข้าม​กลุ่ม​ที่​ทำ�ให้​การ​ใช้​ภาษา​ของ​กลุ่ม​ตน​ลด​ลง สาเหตุ​ ปัญหา​และ​สภาวะ​ข้าง​ต้น​นำ�​ไป​สู่​ทัศนคติ​ทาง​ลบ​ของ​เจ้าของ​ภาษา​ที่​ไม่​เห็น​คุณค่า​และ​ประโยชน์​ของ​ภาษา​ชาติพันธุ์​ ของ​ตน​ใน​โลก​ปัจจุบัน พ่อ​แม่ ปู่ย่า ตา​ยาย เริ่ม​พูด​กันค​ นละ​ภาษา​กับล​ ูก​หลาน ใน​ที่สุด​ก็เ​ลิก​พูด​ภาษา​ของ​ตน​กับ​ลูก​ หลาน คน​รุ่นเ​ยาว์ม​ กี​ าร​ใช้ภ​ าษา​ราชการ​มาก​ขึ้นแ​ ละ​ใช้ภ​ าษา​ชุมชน​ท้อง​ถิ่นข​ อง​ตน​ลด​ลง​เรื่อยๆ หรือเ​ลิกใ​ช้ เปลี่ยน​ไป​ ใช้​ภาษา​ราชการ​เพียง​ภาษา​เดียว หรือ​ใช้​เฉพาะ​ภาษา​ใหญ่ๆ ทำ�ให้​ความ​สามารถ​ใน​การ​ใช้​สอง​หรือส​ าม​ภาษา​ใน​หมู่​ เยาวชน​ลด​นอ้ ย​ลง​ไป​เรือ่ ยๆ ด้วย​เหตุด​ งั ก​ ล่าว​ใน​ปจั จุบนั ภ​ าษา​ของ​กลุม่ ช​ าติพนั ธุต์​ า่ งๆ กลุม่ เ​ล็กก​ ลุม่ น​ อ้ ย​จ�ำ นวน​มาก​ อยู่​ใน​ภาวะ​ถดถอย​วิกฤต​เสี่ยง​ต่อ​การ​สูญ​สลาย จาก​งาน​วิจัย​ของ​สุ​วิไล​และ​คณะ (2545) ได้​พบ​ว่า​มี​อย่าง​น้อย​ถึง 14 กลุ่มช​ าติพันธุ์​ภาษา​ที่​อยู่​ใน​ภาวะ​วิกฤต​รุนแรง​ใกล้ส​ ูญ ได้แก่ ชอง กะ​ซอง ซัม​เร ชุ​อุง มลา​บรี เกน​ซิว(ซาไก) ญัฮ​กุร โซ่(ทะวืง) ลัวะ(ละเวือะ) ละว้า(ก๋​อง) อึม​ปี บิ​ซู อู​รักล​ ะ​โวย และ​มอ​เกล็น ภาษา​เหล่า​นี้​เป็นก​ลุ่มภ​ าษา​ขนาด​เล็ก​ที่​อยู่​ใน​ วงล้อม​ของ​กลุ่มภ​ าษา​อื่นท​ เี่​ป็นก​ลุ่มใ​หญ่ก​ ว่า ทั้งนี​้ โดย​หลาย​กลุ่มเ​ป็นก​ลุ่มช​ น​ดั้งเดิมใ​น​พื้นที่ แต่ไ​ด้ม​ กี​ ลุ่มผ​ พู้​ ดู ภ​ าษา​ อื่นๆ ใกล้​เคียง​อพยพ​เข้า​มา​อยู่​ปะปน​จำ�นวน​มาก เช่น กลุ่ม​ญัฮ​กุรใ​น​เขต อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา​และ จ.ชัยภูมิ ทำ�ให้​การ​ใช้​ภาษา​ของ​กลุ่ม​ชาติพันธุ์​ลด​ลง​เรื่อยๆ และ​ภาษา​ที่​ใช้​ก็​มี​ลักษณะ​เพี้ยน​ไป​ตาม​อิทธิพล​ของ​ภาษา​ไทย​ซึ่ง​ เป็น​ภาษา​ราชการ ใน​บาง​พื้นที่​และ​บาง​กลุ่ม​เลิก​ใช้​ภาษา​ชาติพันธุ์​ภายใน​ครอบครัว ชุมชน เช่น กลุ่ม​ชอง ผู้​อาวุโส​ ชอง บ่น​ว่า“เด็กๆ มัน​ไม่พ​ ูดแ​ ล้ว” พระ​สี ซึ่ง​เป็น​พระ​ภิกษุ​ชาว​ชอง​และ​อดีตค​ รู กล่าว​ว่า “เมื่อ 50 ปี​ที่​แล้ว​ครูไ​ป​บอก​ ผู้​ปกครอง​ไม่​ให้​พูด​ชอง​กับล​ ูก ด้วย​เกรง​ว่า​เด็ก​จะ​พูด​ไทย​ไม่​ได้ มา​ถึง​ตอน​นี้​เด็ก​ชอง​พูด​ภาษา​ชอง​ไม่​ได้ ต้อง​กลับม​ า​ เรียน​ภาษา​ชอง​ใน​โรงเรียน” ลักษณะ​การ​ถดถอย​ของ​ภาษา​และ​การ​ใช้น​ ก​ี้ �ำ ลังเ​กิดม​ าก​ขนึ้ เ​รือ่ ยๆ ใน​หลาย​กลุม่ ช​ น บาง​ กลุ่ม​มีข​ นาด​เล็กม​ าก เช่น มลา​บรี(ตอง​เหลือง), เกน​ซิว(ซาไก), ละว้า(ก๋​อง) มี​ผู้พ​ ูด​เพียง​จำ�นวนนับ​ร้อย ทำ�ให้ย​ าก​ที่​ จะ​ดำ�รง​รักษา​ไว้​ได้ใ​น​โลก​ของ​การ​เปลี่ยนแปลง​ปัจจุบัน ใน​จำ�นวน​ภาษา​กลุ่ม​ภาวะ​วิกฤต​ใกล้ส​ ูญ​มีจ​ ำ�นวน​ถึง 9 กลุ่ม เป็น​ภาษา​กลุ่ม​มอญ-เขมร ตระ​กลู​ ออ​สโ​ตร​เอเซียต​ ิก ซึ่ง​เป็นก​ลุ่ม​ภาษา​ดั้งเดิม​ของ​ดิน​แดน​สุวรรณภูมิ โดยที่ภ​ าษา​กะ​ ซอง ซัม​เร และ​ชุ​อุง มี​โอกาส​น้อย​มาก​ที่​จะ​ดำ�รง​อยู่​ได้​และ​คง​สูญ​สิ้น​ไป​ตาม​อายุขัย​ของ​ผู้พ​ ูด​ที่​มี​อยู่​ไม่​กี่​สิบค​ น นอกจาก 14 กลุ่มว​ ิกฤต​ใกล้​สูญด​ ัง​กล่าว ภาษา​ของ​กลุ่มช​ าติ​พันธุ์​อื่นๆ แม้​กลุ่ม​ขนาด​ใหญ่ ล้วน​อยู่​ใน​สถานะ​ ที่​ไม่​ปลอดภัย​และ​แสดง​ให้​เห็น​ความ​ถดถอย เปลี่ยนแปลง​ใน​การ​ใช้​ภาษา โดย​เฉพาะ​อย่าง​ยิ่ง​ใน​ด้าน​การ​ใช้ค​ ำ�​ศัพท์​

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

กลาง ส่วน​กลุ่มเ​ขมร​ถิ่น​ไทย​มี​ประวัติศาสตร์ต​ ่อ​เนื่อง​มา​จาก​อาณาจักร​เขมร​โบราณ เป็นต้น รวม​ทั้ง​ประชากร​ใน​กลุ่ม​ ชาติพันธุ์​จำ�นวน​ไม่น​ ้อย​โดย​เฉพาะ​อย่าง​ยิ่ง​ใน​เขต​ชนบท​ห่าง​ไกล​หรือเ​ขต​ชายแดน ซึ่ง​ยังม​ ี​ปัญหา​การ​สื่อสาร​และ​การ​ เข้า​ไม่​ถึง​บริการ​ของ​รัฐ​ที่​ผ่าน​ภาษา​ราชการ เช่น​การ​จัดการ​ศึกษา ต่อ​เนื่อง​มา​แต่​อดีต​ถึง​ปัจจุบัน


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

46

และ​ไวยากรณ์ ซึ่ง​มี​อิทธิพล​มาก​จาก​ภาษา​ราชการ อันไ​ด้แก่ กลุ่ม​ภาษา​วิกฤต​ตาม​แนว​ชายแดน ได้แก่ ภาษา​มอญ ภาษา​มลายูถ​ ิ่น ภาษา​เขมร​ถิ่นไ​ทยฯ หรือแ​ ม้แต่ ภาษา​คำ�​เมือง ลาว​อีสาน ปักษ์ใ​ต้ ซึ่งเ​ป็นภ​ าษา​ซึ่งใ​ช้เ​ป็นภ​ าษา​กลาง​ ใน​แต่ละ​ภมู ภิ าค ใน​ปจั จุบนั ​แม้วา่ ย​ งั ค​ ง​มผ​ี พ​ู้ ดู จ​ �ำ นวน​มาก​และ​ยงั ค​ ง​ใช้พ​ ดู ท​ วั่ ไป​โดย​ใช้ส​ �ำ เนียง​ทอ้ ง​ถนิ่ แต่ค​ �​ ำ ศพั ท์แ​ ละ​ ลักษณะ​ทาง​ไวยากรณ์​จำ�นวน​มาก​เปลี่ยน​เป็น​ภาษา​ไทย​กลาง (ภาษา​ไทย​มาตรฐาน) เนื่อง​มา​จาก​ระบบ​การ​ศึกษา​ และ​สื่อสาร​มวลชน ซึ่ง​เจ้าของ​ภาษา​อาวุโส​ตระหนัก​ถึง​ปัญหา​ที่​กำ�ลังเ​กิด​ขึ้นน​ ี้ การ​เปลี่ยนแปลง​ของ​ภาษา​และ​วัฒนธรรม การ​เปลี่ยนแปลง​ไป​ใช้​ภาษา​อื่น​หรือ​เลิก​ใช้​ภาษา การ​ตาย​ของ​ ภาษา​ที่​กำ�ลัง​เกิดข​ ึ้น​เป็น​ปัญหา​ระดับโ​ลก นักภ​ าษาศาสตร์ Michel Krauss (1992) ได้​ทำ�นาย​ไว้​ว่า ร้อย​ละ 90 ของ​ ภาษา​ใน​โลก​ปัจจุบัน​ซึ่ง​มี​ประมาณ 6,000 ภาษา อยู่​ใน​ภาวะ​วิกฤต และ​หาก​ไม่มี​ดำ�เนิน​การ​อย่าง​ใด ภาษา​เหล่า​นี้​ อาจ​จะ​ไม่​สามารถ​ดำ�รง​อยู่​ได้​พ้น​ศตวรรษ​นี้ ซึ่ง​ภาษา​เหล่า​นี้​คือ​ภาษา​ของ​กลุ่ม​ชาติพันธุ์​ต่างๆ ที่​มิได้​มี​สถานะ​เป็น​ ภาษา​ที่​ใช้ใ​น​ระบบ​การ​ศึกษา​นั่นเอง มี​เพียง​ร้อย​ละ 10 เท่านั้นท​ ี่​อยู่​ใน​ภาวะ​ที่​ปลอดภัย ซึ่ง​ได้แก่​ภาษา​ราชการ​หรือ​ ภาษา​ประจำ�​ชาติ​ต่างๆ “สูญภ​ าษา คือ สูญภ​ มู ปิ ญ ั ญา​ทอ้ ง​ถนิ่ ” การ​สญ ู เ​สียภ​ าษา​เป็นการ​สญ ู เ​สียม​ รดก​ทาง​วฒ ั นธรรม​และ​ภมู ปิ ญ ั ญา​ ทีส​่ บื เ​นือ่ ง​กนั ม​ า​เป็นร​ ะยะ​เวลา​ยาวนาน บาง​ภาษา​มร​ี ะบบ​เขียน​และ​วรรณคดีล​ าย​ลกั ษณ์อ​ กั ษร​เป็นข​ อง​ตนเอง​มา​กอ่ น มี​การ​บันทึก​ภูมิปัญญา​ด้าน​ต่าง ๆ เอา​ไว้​มากมาย แต่​ขณะ​นี้​มีผ​ ู้​ที่​สามารถ​เข้า​ถึง​ภูมิปัญญา​เหล่า​นี้​ได้​น้อย​ลง​เรื่อย ๆ เพราะ​ความ​สามารถ​ใน​การ​เข้าใจ​ภาษา​ของ​คน​รุ่น​ใหม่​ลด​ลง นอกจาก​นี้ ​ภาษา​ท้อง​ถิ่นข​ อง​กลุ่มช​ าติพันธุ์​จำ�นวน​มาก​ เป็นภ​ าษา​ทไ​ี่ ม่มรี​ ะบบ​ตวั เ​ขียน การ​ทไี​่ ม่มร​ี ะบบ​เขียน​มไิ ด้ห​ มายความ​วา่ ภ​ าษา​เหล่าน​ ไ​ี้ ม่มรี​ ะบบ​บนั ทึกภ​ มู ปิ ญ ั ญา​ของ​ เจ้าของ​ภาษา วรรณคดีม​ ุข​ปาฐ​ะห​ ลาก​หลาย​รูป​แบบ​ของ​กลุ่ม​ชน​ต่าง ๆ ซึ่ง​กระจาย​อยู่​ใน​ส่วน​ต่างๆ ของ​ประเทศ​นั้น​ เป็น​คลัง​ของ​ภูมิปัญญา​ที่​ยัง​ไม่ไ​ด้​มี​การนำ�​ออก​มา​ใช้​ประโยชน์​อย่าง​เป็น​ระบบ การ​กำ�หนด​ระบบ​เขียน​ที่​คน​ส่วน​มาก​ สามารถ​ใช้ได้​ไม่​ยาก​นัก ทำ�ให้​เจ้าของ​ภาษา​ส่วน​มาก​มี​ส่วน​ร่วม​ใน​การ​สืบค้น​และ​บันทึก​ถ่ายทอด​ภูมิปัญญา​ต่างๆ ได้ ดัง​นั้น​ภาษา​ท้อง​ถิ่น​ของ​กลุ่ม​ชาติพันธุ์​จึง​เป็นล​ ายแทง​หรือแ​ ผนที่น​ ำ�ทาง​การ​เข้า​ถึง​คุณค่า​ของ​ทรัพยากร​ใน​ท้อง​ถิ่น​ ของ​แต่ละ​กลุ่มช​ น หาก​ภาษา​เสื่อม​สลาย​ไป คน​อาจ​ถกู ต​ ัดขาด​จาก​ทรัพยากร​เพราะ​ขาด​แผนทีน่​ ำ�ทาง ความ​รด​ู้ ้าน​ชื่อ​ พรรณ​ไม้​สมุนไพร​ใน​ภาษา​ท้อง​ถิ่น รวม​ทั้ง​การ​ใช้​ประโยชน์ กำ�ลังจ​ ะ​สูญ​สลาย​ไป​เพราะ​ผู้ร​ ู้​วัย​อาวุโส​ทั้ง​หลาย​มีส​ ังขาร​ ร่วง​โรย​ไป​ทกุ ว​ นั ป้าร​ วง​ชาว​มอญ​แห่งล​ มุ่ น​ าํ้ แ​ ม่ก​ ลอง อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี บอก​เล่าภ​ าวะ​การ​เสือ่ ม​ถอย​ของ​ภาษา​มอญ​ ทีก่​ ำ�ลังเ​กิดข​ ึ้น โดย​เปรียบ​กับผ​ ล​ไม้ว​ ่า “มันก​ ำ�ลังจ​ ะ​หลุดจ​ าก​ขั้วแ​ ล้วน​ ะ” และ​พดู ถ​ ึงค​ วาม​พยายาม​ทจี่​ ะ​ฟื้นฟูภ​ าษา​ว่า​ เป็น “เป็นล​ ม​หายใจ​เฮือก​สุดท้าย​ของ​เรา” ปัญหา​โลก​ร้อน​ใน​ปัจจุบัน​เป็น​ปัญหา​ทาง​กายภาพ​ที่​ทุก​คน​สัมผัส​ได้ แต่​ปัญหา​การ​เสื่อม​สลาย​ของ​ภาษา​ และ​ภูมิปัญญา​ท้อง​ถิ่น​ของ​กลุ่ม​ชาติพันธุ์​ต่างๆ สิ่ง​ที่​กำ�ลัง​เกิด​ขึ้น เป็น​ปัญหา​ใหญ่​ไม่​แพ้​กัน​ที่​คน​ส่วน​มาก​ยัง​ไม่รู้​สึก​ ถึง​ปัญหา โดย​เฉพาะ​ผู้​ที่​ไม่ใ​ช้​เจ้าของ​ภาษา​ที่​กำ�ลัง​ประสบ​ปัญหา​จะ​เข้าใจ​ได้​ยาก อย่างไร​ก็ตาม​ ใน​ปัจจุบัน​องค์กร​ ระหว่าง​ประเทศ​ได้ม​ ก​ี าร​รณรงค์เ​พือ่ ส​ งวน​รกั ษา​ความ​หลาก​หลาย​ทาง​ภาษา​และ​วฒ ั นธรรม​ของ​มนุษยชาติไ​ว้เ​พือ่ ค​ นใน​ ยุค​ต่อ​ไป ใน​ปัจจุบัน​เป็นก​ระ​แส​โลก​ที่​เริ่ม​มี​การ​พูด​ถึง​มาก​ขึ้น​เรื่อยๆ ดัง​ตัวอย่าง​การ​แสดง​ความ​ห่วงใย​ของ​เลขาธิการ​ องค์กร​สหประชาชาติ เนื่อง​ใน​โอกาส​ที่​ได้​ประกาศ​ให้ป​ ี 2008 นี้เ​ป็น​ปี​แห่งภ​ าษา​สากล “ The loss of these languages would not only weaken the world’s culture diversity, but also our collective knowledge as a human race,” (Bun Ki-moon–UN Secretary General)

III. การ​พลิก​ฟื้น​สถานการณ์​ของ​ชุมชน​ท้อง​ถิ่น สิทธิท​ าง​ภาษา สิทธิ​มนุษย​ชน​พื้น​ฐาน สถานการณ์​ทาง​สังคม​ของ​กลุ่ม​ชาติพันธุ์​ภาษา​ใน​ภาวะ​วิกฤต โดย​ทั่วไป​ใน​ปัจจุบัน กลุ่ม​ชาติพันธุ์​กลุ่ม​เล็ก​ กลุ่ม​น้อย​อยู่​ใน​สภาพ​อ่อนแอ ขาด​ความ​เชื่อ​มั่น​ต่อ​ตนเอง​และ​กลุ่ม​ของ​ตน เยาวชน​ละทิ้ง​มรดก​ทาง​วัฒนธรรม​ของ​ บรรพบุรษุ ส่วน​มาก​ยงั ค​ ง​ไม่ส​ ามารถ​ปรับต​ วั เ​อง​เข้าส​ โ​ู่ ลก​ของ​สงั คม​ใหญ่ไ​ด้อ​ ย่าง​สมบูรณ์ ไม่ป​ ระสบ​ผล​ส�ำ เร็จท​ างการ​


47

“การ​แสดง​สิทธิ​ทาง​ภาษา​ผ่าน​นว​ัตกร​รม​ทางการ​ศึกษา​จาก​ชุมชน” ใน​แง่​ของ​ปัญหา​ด้าน​สิทธิ​มนุษย​ชน​นั้น กลุ่ม​ชาติพันธุ์​ต่างๆ มี​สิทธิ​ทาง​ภาษา​ที่​จะ​ใช้​ภาษา​ของ​ตนเอง ทั้ง​ใน​ที่​รโหฐาน คือ ใน​บ้าน​ของ​ตน ใน​ชุมชน​ของ​ตน​ และ​ใน​ที่​สาธารณะ​ต่างๆ รวม​ทั้ง​สามารถ​ใช้​ภาษา​ของ​ตนเอง​ใน​การ​จัด​ระบบ​การ​ศึกษา​สำ�หรับ​เยาวชน ทั้งนี้โ​ดย​มี​ผล​ งาน​วจิ ยั จ​ าก​ประเทศ​ตา่ งๆ ทีพ​่ สิ จู น์แ​ ละ​สนับสนุนป​ ระโยชน์ข​ อง​การ​ใช้ภ​ าษา​แม่ข​ อง​แต่ละ​กลุม่ ช​ าติพนั ธุเ​์ ป็นส​ อื่ ใ​น​การ​ ศึกษา(ข้อมูล​จาก​องค์​กร​ยู​เนส​โก) ทั้ง​ใน​แง่ข​ อง​การ​แก้​วิกฤต​ทาง​ภาษา โดย​อนุรักษ์ฟ​ ื้นฟูภ​ าษา​และ​ภูมิปัญญา​ท้อง​ถิ่น และ​ใน​แง่ข​ อง​การ​พฒ ั นาการ​ศกึ ษา​และ​คณ ุ ภาพ​ชวี ติ นอกจาก​นก​ี้ าร​รณรงค์ “การ​ศกึ ษา​เพือ่ ท​ กุ ค​ น” (Education for All) ของ​องค์​กร​ยเู​นส​โก​ซึ่ง​ประเทศไทย​ก็​ร่วม​เป็น​สมาชิก ทำ�ให้​มี​ความ​พยายาม​ที่​จะ​แสวงหา​ซึ่ง​รูป​แบบ​การ​เรียน​การ​สอน​ และ​การ​สื่อสาร​ทเี่​หมาะ​สม​สำ�หรับก​ ลุ่มช​ าติพันธุแ์​ ละ​นำ�​ไป​สกู่​ าร​ส่งเ​สริมก​ าร​รห​ู้ นังสือ การ​รักษา​ภาษา​และ​วัฒนธรรม​ ท้อง​ถิ่น และ​การ​สร้าง​ประชากร​ไทย​คุณภาพ ดัง​นั้น​ การ​กำ�หนด​ภาษา​ที่​จะ​ใช้​เป็น​สื่อ​เพื่อ​การ​เรียน​การ​สอน​ที่​เหมาะ​ สม​สำ�หรับ​เด็ก​กลุ่มช​ าติพันธุ์​จึง​มี​ความ​สำ�คัญ เพื่อ​ผล​สัมฤทธิ์​ทางการ​ศึกษา​และ​ความ​สุข​ของ​เด็ก​ใน​การ​เรียน​รู้

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

ศึกษา​ใน​ระบบ​โรงเรียน​ตาม​ทตี่​ ้องการ ไม่มอ​ี นาคต​และ​เส้นท​ าง​เดินท​ ชี่​ ัดเจน ไม่มค​ี วาม​มั่นคง​ทั้งด​ ้าน​สถานะ​ภาพ​ทาง​ สังคม​วฒ ั นธรรม​และ​คณ ุ ภาพ​ชวี ติ ซึง่ ใ​น​สายตา​ของ​คน​ทวั่ ไป​จะ​มอง​วา่ ก​ ลุม่ ค​ น​เหล่าน​ เ​ี้ ป็นก​ลมุ่ ท​ พ​ี่ ฒ ั นา​ยาก ยาก​ทจ​ี่ ะ​ ประสบ​ความ​สำ�เร็จ​ใน​โลก​ปัจจุบัน​เป็น​ชุมชน​ล้า​หลัง ภาษา​ของ​กลุ่มช​ น​เล็กๆ ก็​จะ​ค่อยๆ สูญ​สลาย​ไป เปลี่ยน​ไป​พูด​ ภาษา​ใหญ่ ปรับต​ ัว​เข้า​กับก​ ับส​ ังคม​ใหญ่​ภายนอก ซึ่ง​บาง​ส่วน​ก็​ประสบ​ความ​สำ�เร็จ แต่​จำ�นวน​มาก​ก็​ยัง​ไม่​สามารถ​ ปรับต​ วั ไ​ด้ หรือย​ งั ไ​ม่เ​ป็นท​ ย​ี่ อมรับข​ อง​สงั คม​ภายนอก และ​จาก​การ​ทบ​ี่ าง​พนื้ ทีใ​่ ช้ภ​ าษา​ทอ้ ง​ถนิ่ ท​ แ​ี่ ตก​ตา่ ง​ไป​จาก​ภาษา​ ไทย​มาตรฐาน​ทีใ่​ช้เ​ป็นภ​ าษา​ราชการ​หรือเ​ป็นเ​ครื่อง​มือใ​น​การ​บริหาร​ราชการ​แผ่นดิน และ​ให้การ​ศึกษา​ขั้นพ​ ื้นฐ​ าน​แก่​ เยาวชน​ของ​ชาติ ทำ�ให้​กลุ่ม​ชน​ที่​มี​ภาษา​ท้อง​ถิ่น​ที่​แตก​ต่าง​ไป​จาก​ภาษา​ไทย มี​ปัญหา​ไม่​สามารถ​เข้า​ถึง​บริการ​ของ​ รัฐ การ​ขาด​ประสิทธิภาพ​ทั้ง​ใน​ด้าน​การ​ฟัง-พูด-อ่าน-เขียน ส่ง​ผล​ให้ค​ น​จำ�นวน​หนึ่งไ​ม่​สามารถ​เข้า​ถึง​ภาษา​กลาง​ของ​ ประเทศ ทำ�ให้ข​ าด​โอกาส​ใน​การ​แสวงหา​ความ​กา้ วหน้าไ​ด้ท​ ดั เทียม​กบั ป​ ระชาชน​ไทย​กลุม่ ท​ ม​ี่ ค​ี วาม​สามารถ​ดา้ น​ภาษา​ ไทย​เป็น​อย่าง​ดี แต่​อย่างไร​ก็ตาม ​การ​ละเลย​ไม่​ให้ค​ วาม​สำ�คัญ​กับ​ภาษา​ท้อง​ถิ่น​ของ​กลุ่ม​ชาติพันธุ์​ซึ่ง​เกิด​ขึ้น​อย่าง​ต่อ​ เนือ่ ง​ใน​สงั คม​ไทย​ทผ​ี่ า่ น​มา​ได้พ​ สิ จู น์ใ​ห้เ​ห็นว​ า่ ส​ ว่ น​ใหญ่ก​ อ่ ใ​ห้เ​กิดผ​ ล​เสียม​ ากกว่าผ​ ล​ดี เพราะ​ประชาชน​ยอ่ ม​เกิดค​ วาม​ หวาดระแวง​สงสัยต​ ่อ​ภาค​รัฐ​ว่า​มี​อคติ​และ​ไม่ใ​ห้​ความ​เท่าเ​ทียม​ใน​การ​พัฒนา​แก่​คนใน​ชาติ​ที่​มี​ความ​แตก​ต่าง​กันท​ าง​ ภาษา​และ​วัฒนธรรม การ​พัฒนา​ที่​ผ่าน​มา​เป็นการ​บังคับ​ให้ค​ น​ต้อง​เลือก​ระหว่าง​ความ​ก้าวหน้า​ทาง​สังคม​กับ​การ​ทิ้ง​ อัต​ลักษณ์​ความ​เป็น “ตนเอง” ดัง​เช่น กลุ่ม​ชาติพันธุ์​กลุ่ม​ใหญ่​ตาม​แนว​ชายแดน เช่น กลุ่ม​คน​ไทย​มุสลิม​เชื้อ​สาย​ มลายูใ​น​จงั หวัดช​ ายแดน​ภาค​ใต้ มีป​ ญ ั หา​การ​ถดถอย​ของ​ภาษา​ซงึ่ เ​กิดข​ นึ้ อ​ ย่าง​ตอ่ เ​นือ่ ง​เช่นเ​ดียว​กบั ก​ ลุม่ ช​ าติพ​ นั ธุอ​์ นื่ ๆ เห็น​ได้​ชัดเจน​จาก​การ​ตาย​ของ​ภาษา​มลายู​ใน​เขต​จังหวัด​สตูล และ​การ​ใช้​ภาษา​ผสม​ปะปน​ระหว่าง​ภาษา​มลายู​ท้อง​ ถิ่น​และ​ภาษา​ไทย รวม​ทั้ง​ภาษา​มาเลเซียใ​น​บาง​กลุ่ม ซึ่ง​กำ�ลัง​เกิด​มาก​ขึ้น​เรื่อยๆ โดย​เฉพาะ​ใน​เขต​เมือง แต่​ใน​ขณะ​ เดียวกันเ​นือ่ งจาก​การ​ทเ​ี่ ขต​สาม​จงั หวัดช​ ายแดน​ภาค​ใต้ม​ ป​ี ระชากร​พดู ภ​ าษา​มลายูป​ า​ตานีจ​ �ำ นวน​มาก ความ​แตก​ตา่ ง​ ด้าน​อัต​ลักษณ์ท​ าง​ภาษา​วัฒนธรรม ความ​เชื่อ​และ​การ​สื่อ​ความ​หมาย การ​ติดต่อส​ ื่อสาร​ใน​ระดับล​ ึก​จึง​ยัง​เป็น​ปัญหา​ เป็น​อย่าง​มาก คน​จำ�นวน​ไม่น​ ้อย​ไม่​สามารถ​เข้า​ถึง​การ​ศึกษา การ​ปกครอง การ​ยุติธรรม ฯลฯ ซึ่ง​สื่อสาร​ผ่าน​ภาษา​ ราชการ​ได้อ​ ย่าง​เต็มท​ ี่ นำ�​ไป​สก​ู่ าร​ขาด​ความ​เท่าเ​ทียม​ใน​การ​ด�ำ รง​ชวี ติ อีกท​ งั้ ม​ ค​ี วาม​หวาดระแวง ว่าม​ ค​ี วาม​จงใจ​ทจ​ี่ ะ​ ทำ�ลาย​อัต​ลักษณ์​ทาง​วัฒนธรรม​ความ​เป็น​มลายู​และ​ศาสนา​อิสลาม​โดย​ผ่าน​การ​จัดการ​ศึกษา​ใน​ระบบ จึง​ทำ�ให้​คน​ ส่วน​มาก​ไม่มค​ี วาม​มนั่ คง​ใน​อตั ล​ กั ษณ์ค​ วาม​เป็นต​ วั ต​ น​ของ​ตนเอง​และ​กลุม่ การ​ให้ค​ วาม​ส�ำ คัญก​ บั ภ​ าษา​นเ​ี้ ห็นไ​ด้จ​ าก​ คติ​ประจำ�​กลุ่มค​ น​ที่​พูดภ​ าษา​มลายูว​ ่า “สิ้น​ภาษา​คือ​สิ้น​ชาติ” ซึ่ง​ตรง​กับ​คติ​ของ​คน​มอญ ซึ่ง​อาจ​เป็น​สาเหตุ​หนึ่ง​ที่​ก่อ​ ให้​เกิด​การ​ต่อ​ต้าน มี​ความ​พยายาม​ที่​จะ​รักษา​อัต​ลักษณ์​ทาง​ภาษา​และ​วัฒนธรรม​ของ​ตน บาง​ครั้ง​รุนแรง​จน​ควบคุม​ ไม่​ได้ ความ​ไม่​มั่นคง​ทาง​ภาษา​นำ�​ไป​สู่​ปัญหา​ความ​ไม่​มั่นคง​ทางการ​ศึกษา ความ​ไม่​มั่นคง​ใน​คุณภาพ​ชีวิต​ด้าน​ต่างๆ และ​กระทบ​ถึง​ปัญหา​ความ​มั่นคง​ภายใน​ของ​ประเทศ


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

48

ใน​ปัจจุบัน​ได้ม​ ี​ความ​พยายาม​จาก​ชุมชน​ท้อง​ถิ่น​กลุ่มช​ าติพันธุ์​ใน​การ​แก้ไข​ปัญหา โดย​ร่วม​มือ​กับ​นักว​ ิชาการ​ หา​แนวทาง​การ​จัดการ​ศึกษา​โดย​ใช้​ภาษา​ท้อง​ถิ่นเ​ป็น​สื่อ นับ​ว่า​เป็น​นวัตกรรม​ทางการ​ศึกษา​ไทย ซึ่ง​แบ่ง​ได้​เป็น​สอง​ รูป​แบบ ดังนี้ 1. แนวทาง​อนุรักษ์​ฟื้นฟู​ภาษา​และ​วัฒนธรรม การ​จัดการ​เรียน​การ​สอน​ภาษา​ท้อง​ถิ่นห​ รืออ​ ักษร​ดั้งเดิม เป็น​ วิชา ฯ ดังนี้ • หลาย​กลุ่มช​ าติพันธุ์​ที่​อยู่ใ​น​ภาวะ​วิ​ฤต​ใกล้ส​ ูญ เช่น ชอง ญัฮ​กุร โซ่(ทะวืง) ลัวะ(ละเวือะ)ฯ ได้​ร่วม​มือก​ ับ​ นัก​วิชาการ​ด้าน​ภาษา ดำ�เนิน​งาน​โครงการ​ฟื้นฟู​ภาษา โดย​มีก​ าร​เพิ่ม​พื้นที่ก​ าร​ใช้​ภาษา จำ�นวน​คน ผู้​ใช้​ ภาษา เช่น การ​ขยาย​การ​ใช้​ภาษา​พูด​ไป​สู่ภ​ าษา​เขียน โดย​มีก​ าร​สร้าง​ระบบ​ภาษา​เขียน​และ​ขยาย​ไป​สู่​การ​ สอน​ใน​โรงเรียน เป็นต้น • จัดการ​เรียน​การ​สอน​ภาษา​ของ​กลุ่มช​ าติพันธุ์​เป็น​วิชา​หนึ่ง เช่น หลักสูตร​ท้อง​ถิ่น/ หลักสูตร​เพิ่ม​เติม(แบบ​ หลักสูตร​ภาษา​ชอง) ซึ่ง​ใช้​กับก​ รณี​ที่​ภาษา​อยู่​ใน​ภาวะ​วิกฤตรุนแรง • การ​จัดการ​เรียน​การ​สอน​ภาษา​มอญ​และ​อักษร​มอญ ภาษา​ลาน​นา​และ​ตัว​เมือง เป็นต้น 2. แนวทาง​การ​จัดการ​ศึกษา แบบ​ทวิ​ภาษา(หรือ​พหุภ​ าษา) • การ​จัดการ​เรียน​การ​สอน​โดย​ใช้ภ​ าษา​แม่ห​ รือภ​ าษา​กลุ่มช​ าติพันธุเ์​ป็นส​ ื่อก​ าร​เรียน​การ​สอน​ควบคูก่​ ับภ​ าษา​ ราชการ วิธีน​ ี้​ซึ่ง​ใช้​กับ​กลุ่มช​ าติพันธุข์​ นาด​ใหญ่​ตาม​แนว​ชายแดน​และ​กรณี​ที่​เด็ก​ยัง​ไม่​สามารถ​เข้า​ถึง​ภาษา​ ราชการ โดย​การ​ใช้​ภาษา​แม่​เป็นส​ ื่อ​ใน​ช่วง​แรกๆ ของ​การ​ศึกษา และ​มีก​ าร​เชื่อม​โยง​เข้า​สู่ภ​ าษา​ไทย เช่น ภาษา​มลายูถ​ ิ่น กลุ่ม​เขมร​ถิ่น​ไทย กลุ่ม​มอญ​สังข​ละ และ​กลุ่ม​ชาว​เขา​ตาม​แนว​ชายแดน เป็นต้น ดัง​ตัวอย่าง​จาก​กรณี​การ​ฟื้นฟูภ​ าษา​ใน​ภาวะ​วิกฤต​ใน​ประเทศไทย​ของ​กลุ่มช​ อง จันทบุรี ใน​ฐานะ​ที่​เป็น​ภาษา​ ใน​ภาวะ​วกิ ฤต​ใกล้ส​ ญ ู 5 และ​การ​จดั การ​ศกึ ษา​แบบ​ทวิภ​ าษา โดย​ใช้ภ​ าษา​มลายูถ​ นิ่ แ​ ละ​ภาษา​ไทย​เป็นส​ อื่ ใ​น​การ​จดั การ​ เรียน​การ​สอน​สำ�หรับ​เยาวชน​ไทย​มุสลิม​เชื้อ​สาย​มลายู​ใน​จังหวัด​ชายแดน​ภาค​ใต้6 ผล​จาก​การ​ดำ�เนิน​งาน​ของ​ชุมชน​ที่​ผ่าน​มา​แสดง​ให้เ​ห็น​ว่าการ​ฟื้นฟู​และ​การ​พัฒนา​ภาษา นอกจาก​จะ​ช่วย​ใน​ การ​ชะลอ​การ​เปลี่ยนแปลง​และ​การ​ตาย​ของ​ภาษา​และ​ภูมิปัญญา​ท้อง​ถิ่น​แล้ว ยัง​เป็นการ​ฟื้นฟู​อัต​ลักษณ์​และ​ความ​ มั่นใจ​ของ​กลุ่ม​ชน​เจ้าของ​ภาษา​และ​เป็นการ​พัฒนา​ความ​เข้ม​แข็ง​ของ​ชุมชน อีก​ทั้ง​ก่อ​ให้​เกิด​ความ​สุข​และ​พลัง​กลุ่ม ทำ�ให้เ​กิด​การ​ทำ�งาน​ร่วม​กัน​อย่าง​มีป​ ระสิทธิภาพ ทัง้ นี​้ ใน​ปจั จุบนั ม​ ก​ี ลุม่ ช​ าติพนั ธุท​์ เ​ี่ ข้าร​ ว่ ม​โครงการ​ฟนื้ ฟูจ​ �ำ นวน​กว่าส​ บิ ก​ ลุม่ ภ​ าษา ซึง่ ใ​น​กระบวนการ​ฟนื้ ฟูภ​ าษา ชุมชน​ได้ม​ สี​ ่วน​ร่วม​ใน​การ​พัฒนา​ภาษา​ทุกข​ ั้นต​ อน ชุมชน​มคี​ วาม​พอใจ​และ​ภูมิใจ​โดย​เจ้าของ​ภาษา​ได้แ​ สดง​ความ​คิด​ เห็นเ​กี่ยว​กับง​ าน​ฟื้นฟูภ​ าษา ดังเ​ช่น ผู้ใหญ่ท​ อง​พิทักษ์ ชาว​ญัฮก​ ุรจ​ าก อ.เทพสถิต จ.ชัยภูม​ิ ได้ก​ ล่าว​ถึงโ​อกาส​เข้าร​ ่วม​ งาน​วา่ “ผม​ภมู ใิ จ​ทสี่ ดุ ใ​น​ชวี ติ ทีไ​่ ด้ส​ ร้าง​ระบบ​เขียน​ภาษา​ญฮั ก​ รุ ไ​ว้ใ​ห้ล​ กู ห​ ลาน” และ​ค�​ ำ กล่าว​ขอ​งอุสต​ าซ อับด​ ลุ ร​ อ​ฮมี ต.ตำ�​มะ​ลงั อ.เมือง จ.สตูล (เจ้าของ​ภาษา​มลายูถ​ นิ่ ส​ ตูล ซึง่ ก​ �ำ ลังอ​ ยูใ​่ น​ภาวะ​วกิ ฤต) และ​เข้าร​ ว่ ม​งาน​ใน​โครงการ​จดั การ​ เรียน​การ​สอน​แบบ​ทวิ​ภาษา สรุป​เป็นภ​ าษา​ไทย​ได้​ว่า “โครงการ​นี้​มี​ประโยชน์เ​ป็น​อย่าง​ยิ่ง​เพราะ​จะ​ช่วย​กู้ศ​ ักดิ์ศรี​ของ​ 5 ราย​ละเอียด​ดจ​ู าก​หนังสือเ​รือ่ ง “ประสบการณ์ฟ​ นื้ ฟูภ​ าษา​ใน​ภาวะ​วกิ ฤต​ใน​ประเทศไทย: กรณีภ​ าษา​ชอง จังหวัดจ​ นั ทบุร”ี โดย​ ศูนย์​ศึกษา​และ​ฟื้นฟู​ภาษา​และ​วัฒนธรรม​ใน​ภาวะ​วิกฤต สถาบันวิจัย​ภาษา​และ​วัฒนธรรม​เพื่อ​พัฒนา​ชนบท มหาวิทยาลัย​ มหิดล. 2551 6 ราย​ละเอียด​ดจ​ู าก​บทความ​เรือ่ ง “การ​จดั การ​เรียน​การ​สอน​โดย​ใช้ภ​ าษา​ทอ้ ง​ถนิ่ แ​ ละ​ภาษา​ไทย​เป็นส​ อื่ : กรณีก​ าร​จดั การ​ศกึ ษา​ แบบ​ทวิ​ภาษา(ภาษา​ไทย-มลายูถ​ ิ่น)ใน​โรงเรียน​เขต​พื้นที่​สี่​จังหวัดช​ ายแดน​ภาค​ใต้”. วารสาร​วิจัย​เพื่อ​การ​พัฒนา​เชิง​พื้นที่.โดย​ สุ​วิไล เปรม​ศรี​รัตน์แ​ ละ​คณะ, 2551.


49

ด้วย​เหตุ​ดัง​กล่าว​ข้าง​ต้น เพื่อ​แก้​การ​ถดถอย การ​สูญ​เสีย​ภาษา​และ​ภูมิปัญญา​ท้อง​ถิ่น​และ​เพื่อ​ประโยชน์​ใน​ การ​เข้า​ถึง​บริการ​ของ​รัฐ​ด้าน​ต่างๆ และ​การ​หวัง​ผล​ที่​จะ​ก่อ​ให้​เกิด​ความ​สมานฉันท์​และ​ความ​มั่นคง​ใน​คุณภาพ​ชีวิต​ ของ​ประชากร​ใน​ชาติ​โดย​ทั่วไป​นั้น หน่วย​งาน​รัฐ​จึง​ควร​มี​การ​ทบทวน​ระบบ​การ​ศึกษา โดย​เฉพาะ​อย่าง​ยิ่ง​ใน​ส่วน​ที่​ เกี่ยว​กับ​การ​ใช้​ภาษา และ​การ​กำ�หนด​นโยบาย​ภาษา​แห่ง​ชาติ (ซึ่ง​ยังไ​ม่มี​อย่าง​เป็น​ทางการ) ให้​เอื้อ​ต่อ​การ​ใช้​ภาษา​ ของ​ชาติพนั ธุ์ ซึง่ เ​ป็นภ​ าษา​แม่ห​ รือภ​ าษา​ทห​ี่ นึง่ ข​ อง​เด็กใ​น​ระบบ​การ​ศกึ ษา เพือ่ ส​ ร้าง​ประชากร​ไทย​ทม​ี่ ค​ี ณ ุ ภาพ​บน​ฐาน​ ของ​อตั ล​ กั ษณ์ท​ อ้ ง​ถนิ่ ท​ แ​ี่ ข็งแกร่งต​ าม​ความ​ปรารถนา​ของ​กลุม่ ช​ าติพนั ธุแ​์ ละ​ใน​ขณะ​เดียวกันก​ ส​็ ามารถ​เข้าถ​ งึ อ​ ตั ล​ กั ษณ์​ ความ​เป็นป​ ระชากร​ไทย​ใน​ระดับช​ าติด​ ว้ ย ความ​เป็นไ​ทย​ของ​ชน​ใน​ชาติ มิได้ห​ มายความ​วา่ ท​ กุ ค​ น​จะ​ตอ้ ง​สละ​อตั ล​ กั ษณ์​ ทาง​ภาษา​และ​วฒ ั นธรรม​ทอ้ ง​ถนิ่ ข​ อง​ตน และ​ใช้เ​ฉพาะ​ภาษา​ไทย​และ​วฒ ั นธรรม​ไทย​ของ​สว่ น​กลาง​เพียง​อย่าง​เดียว แต่​ ความ​สามารถ​ทจ​ี่ ะ​ด�ำ รง​อตั ล​ กั ษณ์ท​ อ้ ง​ถนิ่ ข​ อง​แต่ละ​กลุม่ ช​ าติพนั ธุภ​์ าษา โดยทีส​่ ามารถ​สอื่ สาร​และ​อยูร​่ ว่ ม​กบั ป​ ระชากร​ ไทย​กลุ่ม​อื่นๆ ใน​สังคม​ไทย เข้า​ถึง​บริการ​ของ​รัฐ​ด้าน​ต่างๆ อย่าง​เท่า​เทียม มี​ความ​มั่นคง​ใน​ชีวิต​และ​มี​คุณภาพ​ชีวิตท​ ี่​ ปรารถนา จะ​ทำ�ให้​เกิดอ​ ัต​ลักษณ์ข​ อง​ความ​เป็นไ​ทย​ใน​ระดับ​ชาติ​ไป​พร้อม​กัน เป็น​ประชากร​ไทย​ที่​มีค​ ุณภาพ

IV. นโยบาย​ภาษา​แห่ง​ชาติเ​พื่อ​การ​พัฒนา​สังคม​พหุภ ​ าษา พหุ​วัฒนธรรม​ทยี่​ ั่งยืน จาก​สถานการณ์ท​ าง​ภาษา​ใน​ประเทศไทย รวม​ทงั้ ว​ กิ ฤต​ทาง​ภาษา​ทก​ี่ �ำ ลังเ​กิดข​ นึ้ แ​ ละ​ความ​ตอ้ งการ​ของ​ชมุ ชน​ ท้อง​ถนิ่ ท​ ก​ี่ ล่าว​มา​แล้วข​ า้ ง​ตน้ แนวทาง​ทจ​ี่ ะ​น�​ ำ ไป​สน​ู่ โยบาย​ทาง​ภาษา​ของ​ประเทศไทย น่าจ​ ะ​มา​จาก​ความ​คดิ พ​ นื้ ฐ​ าน​ ว่า​ความ​หลาก​หลาย​ทาง​ภาษา​ใน​สังคม​ไทย​นั้น นับว​ ่า​เป็น​ทรัพยากร​ที่ล​ ํ้าค่า​ของ​ประเทศ ปัญหา​ต่างๆ ที่​ประสบ​เป็น​ สิง่ ท​ ต​ี่ อ้ ง​จดั การ​ใน​ทศิ ทาง​ทก​ี่ อ่ ใ​ห้เ​กิดป​ ระโยชน์ต​ อ่ ท​ กุ ฝ​ า่ ย แต่ป​ ญ ั หา​อยูท​่ ว​ี่ า่ ส​ งั คม​ระดับช​ าติจ​ ะ​บรู ณ​าก​ าร​ความ​หลาก​ หลาย​ทาง​ภาษา​และ​วฒ ั นธรรม​เข้าด​ ว้ ย​กนั อ​ ย่าง​ประสาน​กลมกลืนไ​ด้อ​ ย่างไร โดยที่ก​ าร​ประสาน​กลมกลืนน​ ี้ มิใช่ก​ ลืน​ ทาง​วัฒนธรรม ซึ่ง​เป็นการ​กำ�จัด​ความ​หลาก​หลาย​ทาง​วัฒนธรรม นโยบาย​แบบ​ใด การ​ศึกษา​แบบ​ใด​จึง​จะ​ทำ�ให้​คน​ ชอง คน​ไทย​มุสลิมเ​ชื้อ​มลายู คนม้ง คน​ยอง​หรือช​ าว​เขา​เผ่า​ต่างๆ สามารถ​เป็น​คน​ไทย ใน​ขณะ​ที่​ยัง​คง​ดำ�รง​รักษา​อัต​ ลักษณ์​ความ​เป็น​คน​ชอง คน​ยอง คนปกา​กะญอ คนม้ง​และ​คน​มลายู​ปา​ตานี​ไว้​ได้​ใน​เวลา​เดียวกัน ใน​ภาพ​รวม​ของ​ ประเทศ​จึง​มี​ความ​จำ�เป็น​ที่​จะ​สร้าง​สังคม​พหุ​ภาษา​อย่าง​แท้จริง โดย​เป็น​สังคม​ที่​มี​ความ​หลาก​หลาย​ทาง​ภาษา​ที่​มาก​ ไป​กว่าเ​พียง​การ​ธ�ำ รง​รกั ษา​ภาษา​ทม​ี่ อ​ี ยูใ​่ น​แต่ละ​ทอ้ ง​ถนิ่ แต่ละ​ภมู ภิ าค​และ​การ​สร้าง​ความ​สามารถ​ใน​การ​ใช้ภ​ าษา​ไทย​ ทีเ​่ ป็นส​ อื่ ก​ ลาง​ระหว่าง​คนใน​ชาติ และ​ยงั ม​ ค​ี วาม​จ�ำ เป็นต​ อ้ ง​พฒ ั นา​ความ​สามารถ​ทาง​ภาษา​อนื่ ๆ ทัง้ ท​ เ​ี่ ป็นภ​ าษา​หลัก​ ของ​ประเทศ​เพื่อน​บ้าน และ​ภาษา​ต่าง​ประเทศ​ที่ใ​ช้​เป็น​สื่อ​กลาง​ของ​การ​ติดต่อ​สื่อสาร​ใน​ระดับ​นานาชาติ ด้วย​ความ​ จำ�เป็น​เหล่า​นี้​เรา​จึง​ต้อง​มีน​โย​บาย​ที่​สามารถ​ให้​แนวทาง​ที่จ​ ะ​จัดการ​กับ​ความ​หลาก​หลาย​ของ​ภาษา​ท้อง​ถิ่น​ได้​อย่าง​ เหมาะ​สม โดย​มีน​โย​บาย​ทำ�นุ​บำ�รุง​ภาษา​ไทย​ซึ่ง​เป็น​ภาษา​ประจำ�​ชาติ ภาษา​นานาชาติ รวม​ทั้ง​ภาษา​ท้อง​ถิ่น​ของ​ ชุมชน​กลุ่ม​ชาติพันธุ์​ต่างๆ เพื่อ​สงวน​รักษา​ความ​หลาก​หลาย​ทาง​ภาษา​และ​วัฒนธรรม​ซึ่ง​เป็น​ทรัพยากร​สำ�คัญ​ของ​ ประเทศ และ​เพื่อ​สร้าง​พื้น​ฐาน​ทางการ​ศึกษา เศรษฐกิจ และ​วัฒนธรรม​ที่​เข้ม​แข็ง นำ�​ไป​สู่ก​ าร​พัฒนา​คุณภาพ​ชีวิต​ที่​ มั่นคง การ​สร้าง​สันติสุข​แก่​ชน​ใน​ชาติ และ​เพิ่มข​ ีด​ความ​สามารถ​ใน​การ​แข่งขัน​กับ​นานา​ประเทศ นโยบาย​ส�ำ หรับภ​ าษา​ของ​ชาติพนั ธุท​์ พ​ี่ งึ ป​ ระสงค์น​ นั้ ค​ วร​เป็นน​ โยบาย​ทจ​ี่ ะ​สนับสนุนท​ งั้ ก​ าร​สร้าง​ความ​สามารถ​ ใน​การ​ธ�ำ รง​รกั ษา​ภมู ปิ ญ ั ญา​และ​วฒ ั นธรรม​ทอ้ ง​ถนิ่ แต่ใ​น​ขณะ​เดียวกันก​ ช​็ ว่ ย​เชือ่ ม​โยง​ให้ค​ นใน​ทอ้ ง​ถนิ่ ส​ ามารถ​เข้าถ​ งึ ​ การ​ศึกษา​และ​การ​พัฒนา​ของ​สังคม​ชาติใ​น​ภาพ​รวม และ​สามารถ​ก้าว​ทันพ​ ัฒนาการ​ของ​โลก​ได้อ​ ย่าง​เท่าท​ ัน โดย​การ​ สนับสนุนก​ าร​ใช้ภ​ าษา​ทอ้ ง​ถนิ่ ใ​น​ระบบ​การ​ศกึ ษา​เป็นส​ อื่ ก​ าร​ศกึ ษา​รว่ ม​กบั ภ​ าษา​ประจำ�​ชาติ และ​ภาษา​นานาชาติ เพือ่ ​

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

ชาว​มลายู ขอ​วิงวอน​ต่อ​พระเจ้า​ช่วย​ดล​บันดาล​ให้โ​ครงการ​นี้​มั่นคง​ยืนนาน​ตลอด​ไป” และ​คำ�​กล่าว​ของ อ.ประชุม​พร สังข์​น้อย กลุ่ม​เขมร​ถิ่น​ไทย ผู้​อำ�นวย​การ​โรงเรียน​บ้านโพธิ์​กอง อ.ปราสาท จ.สุรินทร์ ซึ่งก​ ล่าว​ถึงโ​อกาส​ที่​ได้​อนุรักษ์​ ฟื้นฟู​ภาษา​ท้อง​ถิ่น​ว่า “เป็น​คุณค่า​ต่อ​ชีวิต เด็ก​ที่​พูด​ภาษา​ท้อง​ถิ่น เขียน​อ่าน​ภาษา​ท้อง​ถิ่นไ​ด้ จะ​มี​ความ​กตัญญู​ต่อ​ ท้อง​ถิ่น รัก​วัฒนธรรม รัก​พ่อ​แม่ เป็น​วัคซีน​ที่​จะ​ป้องกัน​และ​พัฒนา​เยาวชน​ไป​ใน​ทาง​ที่​ดี”


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

50

สร้าง​คน​ไทย​ใน​สังคม​พหุ​ภาษาและ​พหุ​วัฒนธรรมเป็น​คน​ไทย​ที่​มี​ราก​แข็ง​แรง​จาก​ระดับ​ท้อง​ถิ่น ระดับ​ภูมิภาค ระดับ​ ชาติ และ​ระดับ​นานาชาติ จาก​การ​ศึกษา​นโยบาย​ภาษา​ของ​ประเทศ​ต่างๆ ใน​เอเชียแ​ ปซิฟิกไ​ด้พ​ บ​ลักษณะ​ของ​นโยบาย​ใน​หลาย​รปู แ​ บบ ได้แก่ 1) กลุ่ม​ที่​ไม่ส​ นับสนุน​ความ​หลาก​หลาย​ทาง​ภาษา​และ​ขจัด​ความ​แตก​ต่าง​หลาก​หลาย​ให้ม​ ี​น้อย​ที่สุด โดย​กลืน​ หรือ​เลิก​ภาษา​ต่างๆ ​และ​ใช้​แต่เ​ฉพาะ​ภาษา​ราชการ​หรือภ​ าษา​ประจำ�​ชาติ​เพียง​ภาษา​เดียว 2) กลุ่มท​ ี่​ไม่​สนับสนุนก​ าร​ มีภ​ าษา​วัฒนธรรม​ที่​หลาก​หลาย แต่​ถ้าห​ าก​มี​การ​ใช้ ภาษา​ต่างๆ เหล่า​นั้น ไม่มี​สถานะ​ทาง​กฎหมาย 3) กลุ่ม​ที่​ไม่มี​ นโยบาย​ภาษา (ซึ่ง​หมายความ​ว่า​ภาษา​ใหญ่​เท่านั้น​ที่​จะ​ครอบ​ครอง​พื้นที่) และ 4) กลุ่มท​ ี่​สนับสนุนก​ าร​ใช้​พหุภ​ าษา​ ใน​สังคม ทั้งนี้​โดย​หาก​พิจารณา​เฉพาะ​นโยบาย​ภาษา​ที่เ​กี่ยว​กับ​การ​ศึกษา แผนภูมิ​ต่อ​ไป​นี้​แสดง​แนว​นโยบาย​ภาษา​ เพื่อ​การ​ศึกษา​ที่ พบ​อยู่​ใน​ปัจจุบัน​ซึ่ง​แบ่งไ​ด้​เป็น 5 รูป​แบบ ดังนี้

นโยบาย​ภาษา​เพื่อ​การ​ศึกษา (รูปแ​ บบ​ต่างๆ ) 1.  สนับสนุน​การ​เรียน​ 2.  มี​การ​สอน​ภาษา​ 3.  มกี​ าร​ใช้ภ​ าษา​ท้อง 4.  ไม่มีก​ าร​ใช้​ภาษา​ 5.  ห้าม​ไม่​ให้ใ​ช้​ การ​สอนโดยการใช้ ท้อง​ถิ่นเ​ป็นว​ ิชา​ ถิ่น​เป็น​ครั้งค​ ราว ท้อง​ถิ่นใ​น​ชั้นเ​รียน ภาษา​ท้อง​ถิ่น​ ใน​ชั้น​เรียน​ ภาษาท้องถิ่น (และ หนึ่งใ​น​โรงเรียน เพื่อช​ ่วย​ให้​ อาจมีการใช้นอก ภาษาชาติพันธุ์) (จัดการ​โดย​ นักเรียน​เข้าใจ ชั้นเรียน และ​ใน​โรงเรียน และการศึกษาแบบ ท้อง​ถิ่น) ​บท​เรียน ทวิภาษา/พหุภาษา

ผล​จาก​การ​วิจัย​ใน​ชุมชน​ท้อง​ถิ่นต​ ่างๆ พบ​ว่า​ประชากร​ไทย​กลุ่ม​ชาติพันธุ์​ต่างๆ นั้น​มี​ความ​ตระหนักถ​ ึง​ความ​ สำ�คัญข​ อง​ภาษา​ไทย​ซงึ่ เ​ป็นภ​ าษา​ราชการ/ภาษา​ประจำ�​ชาติแ​ ละ​มค​ี วาม​ประสงค์ท​ จ​ี่ ะ​มค​ี วาม​รแ​ู้ ละ​ใช้ภ​ าษา​ไทย​ให้ใ​ช้ได้​ เป็น​อย่าง​ดี​รวม​ถึง​ภาษา​อื่น ใน​ขณะ​เดียว​กับท​ ี่​ต้องการ​รักษา​อัต​ลักษณ์​ทาง​ด้าน​ภาษา​และ​วัฒนธรรม​ของ​ตน​ให้ด​ ำ�รง​ อยู่ โดย​ประสงค์​จะ​ให้​มีก​ าร​เรียน​การ​สอน​ภาษา​ท้อง​ถิ่น รวม​ทั้ง​ระบบ​อักษร​ดั้งเดิม(ถ้า​มี) ใน​โรงเรียน บาง​กลุ่มช​ น​ที่​มี​ ปัญหา​การ​เข้า​ไม่​ถึง​บริการ​ด้าน​การ​ศึกษา​ของ​รัฐ ไม่​ประสบ​ความ​สำ�เร็จ​ใน​การ​เรียน เนื่องจาก​อุปสรรค​ด้าน​ภาษา​แม่​ ต่าง​จาก​ภาษา​ของ​โรงเรียน ทำ�ให้​ผล​สัมฤทธิ์​การ​ศึกษา​ตํ่า เด็ก​ไม่​เข้าใจ​บท​เรียน​และ​การ​สอน​อย่าง​ชัดเจน ก็​มี​ความ​ ประสงค์​จะ​ให้​มี​การ​ใช้​ภาษา​ท้อง​ถิ่น (ซึ่ง​เป็น​ภาษา​แม่ข​ อง​แต่ละ​กลุ่ม​ชาติพันธุ์) เป็นส​ ื่อใ​น​การ​เรียน​การ​สอน​ควบคู่​ไป​ กับภ​ าษา​ไทย​ใน​ชว่ ง​แรก​ของ​การ​เริม่ เ​รียน เพือ่ ล​ ด​ความเครียด ความ​ทกุ ข์ท​ เ​ี่ กิดจ​ าก​ปญ ั หา​ดา้ น​การ​สอื่ สาร​ส�ำ หรับเ​ด็ก​ ที่​เพิ่ง​จาก​บ้าน​เข้า​สู่​โรงเรียน และ​ช่วย​ใน​การ​เรียน​รู้ข​ อง​เด็ก​ให้​เป็น​ไป​ตาม​ธรรมชาติ ทำ�ให้ม​ ี​ความ​สุข​ใน​การ​เรียน​และ​ มี​พัฒนาการ​ทาง​ความ​คิดส​ ร้างสรรค์ พร้อม​ที่​จะ​เรียน​รู้​เชิง​ลึกต​ ่อย​อด​ต่อ​ไป โดย​มี​การ​เชื่อม​โยง​จาก​ภาษา​ท้อง​ถิ่นเ​ข้า​ สู่​ภาษา​ไทย​ที​ละ​ขั้นๆ อย่าง​เป็น​ระบบ​และ​มั่นคง นำ�​ไป​สู่​การ​เรียน​สาระ​วิชา​ต่างๆ และ​การ​เรียน​เชื่อม​โยง​ไป​สู่​ภาษา​ อื่นๆ ต่อ​ไป​ตาม​ความ​ต้องการ ซึ่ง​สิ่ง​เหล่า​นี้​จะ​อยู่​ใน​ขอบข่าย​ของ​สิทธิ​มนุษย​ชน​ขั้นพ​ ื้น​ฐาน นโยบาย​ภาษา​แห่งช​ าติท​ ส​ี่ นับสนุนส​ งั คม​พหุภ​ าษา พหุว​ ฒ ั นธรรม จะ​ตอ้ งการ​สนับสนุนส​ ง่ เ​สริมก​ าร​ใช้ภ​ าษา​ ท้อง​ถนิ่ / ภาษา​แม่ข​ อง​เด็กเ​ป็นส​ อื่ ใ​น​การ​ศกึ ษา รวม​ทงั้ ใ​น​สอื่ มวลชน​ควบคูไ​่ ป​กบั ภ​ าษา​ประจำ�​ชาติแ​ ละ​ภาษา​นานาชาติ เนื่องจาก 1) ช่วย​ผล​สัมฤทธิ์ท​ างการ​เรียน​ของ​เด็กใ​ห้เ​รียน​ดีข​ ึ้น เช่น การ​ศึกษา​แบบ​ทวิ​ภาษา 2) สงวน​รักษา​อัต​ลักษณ์​ทาง​ภาษา​และ​วัฒนธรรม​ท้อง​ถิ่น​ให้ด​ ำ�รง​อยู่​ได้ 3) สร้าง​ความ​เข้าใจ​อัน​ดี​ระหว่าง​ภาษา​และ​วัฒนธรรม​ต่างๆ เพื่อ​การ​อยู่ร​ ่วม​กันอ​ ย่าง​สันติสุข


51

V. สรุป ความ​หลาก​หลาย​ทาง​ภาษา วัฒนธรรม​และ​ภมู ปิ ญ ั ญา​เป็นท​ รัพยากร​ทล​ี่ าํ้ ค่าข​ อง​ประเทศ เรา​จะ​ตอ้ ง​มก​ี าร​ดแู ล​ รักษา มีก​ าร​กำ�หนด​นโยบาย​ทชี่​ ัดเจน​มผี​ ล​ทาง​กฎหมาย เพื่อจ​ ะ​ได้น​ ำ�​ไป​สกู่​ าร​ปฏิบัติ โดย​กำ�หนด​แผนการ​ทำ�งาน​และ​ วิธี​การ​ปฏิบัติเ​พื่อ​ใช้​ภาษา​ให้​เป็น​ประโยชน์​ใน​การ​อนุรักษ์ภ​ ูมิปัญญา​ท้อง​ถิ่น​และ​พัฒนา​สังคม เท่า​ที่​ผ่าน​มาน​โย​บาย​ ภาษา​ของ​ประเทศ​ทไ​ี่ ด้ร​ บั ก​ าร​สง่ เ​สริมใ​ห้ม​ ก​ี าร​ปฏิบตั จ​ิ ะ​ให้ค​ วาม​ส�ำ คัญก​ บั ภ​ าษา​ไทย​มาตรฐาน (หรือภ​ าษา​ไทย​กลาง) เท่านั้น ภาษา​ท้อง​ถิ่น​ซึ่ง​ภาษา​ของ​กลุ่ม​ชาติพันธุ์​ต่างๆ นอกจาก​จะ​ไม่​ได้​รับ​การ​ส่งเ​สริม​และ​ทำ�นุบ​ ำ�รุง​รักษา ยัง​ทำ�ให้​ ปัจจุบัน​ภาษา​กำ�ลัง​อยู่​ใน​ขั้น​วิกฤต​ใกล้​สูญ​ถึง 14 ภาษา หาก​ภาษา​เหล่า​นั้น​สูญหาย​ไป วัฒนธรรม ความ​รู้​ของ​ มนุษยชาติ​ส่วน​หนึ่ง​ย่อม​สญ ู หาย​ไป​ด้วย นอกจาก​นั้น​การ​ไม่​ให้ค​ วาม​สำ�คัญ​กับ​ภาษา​ท้อง​ถิ่น​และ​ชาติพันธุ์ ทำ�ให้เ​กิด​ ความ​ไม่​เข้าใจ​ระหว่าง​รัฐ​และ​ประชาชน แสดง​ให้​เห็น​ว่า​รัฐ​ไทย​ไม่​ให้ค​ วาม​สำ�คัญ​กับภ​ าษา​และ​การ​ดำ�รง​ชีวิต​ของ​คน​ กลุ่ม​ต่างๆ ใน​ประเทศ ดัง​นั้น​นโยบาย​ภาษา​ที่​พึง​ประสงค์​คือ นโยบาย​ภาษา​ที่​สนับสนุน​สังคม​ไทย​ให้​เป็น​สังคม​พหุ​ ภาษา สนับสนุน​ประชา​กร​ให้​รักษา​อัต​ลักษณ์​ทาง​ภาษา​และ​วัฒนธรรม​ท้อง​ถิ่นข​ อง​แต่ละ​กลุ่มช​ าติพันธุ์ ใน​ขณะ​เดียว​ กับ​ที่​สามารถ​ที่​จะ​ใช้​ภาษา​และ​ปฏิบัติต​ น​ได้​อย่าง​เหมาะ​สม​ตาม​วัฒนธรรม​ไทย ซึ่ง​เป็น​ภาษา​และ​วัฒนธรรม​แห่งช​ าติ เป็น​เส้น​ทาง​ไป​สู่​ความ​รู้​สากล​และ​โลก​ภายนอก รวม​ทั้ง​การ​ศึกษา​ภาษา​และ​วัฒนธรรม​นานาชาติ​เพื่อ​การ​แข่งขัน​ให้​ เท่าท​ นั ส​ งั คม​โลก ดังน​ นั้ ​การ​ทบทวน​และ​ก�ำ หนด​นโยบาย​ภาษา​แห่งช​ าติแ​ ละ​นโยบาย​ภาษา​ส�ำ หรับก​ าร​ศกึ ษา มีค​ วาม​ จำ�เป็น​ที่​จะ​ต้อง​ให้​ความ​สำ�คัญ​กับภ​ าษา​ท้อง​ถิ่น (ภาษา​แม่) ภาษา​ราชการ/ ประจำ�​ชาติ ภาษา​นานาชาติ โดย​ต้อง​มี​ การ​วางแผน​ทเ​ี่ หมาะ​สม​เพือ่ ป​ ระสิทธิภาพ​ใน​การ​ด�ำ เนินง​ าน​และ​สามารถ​แก้ไข​ปญ ั หา​วกิ ฤต​ทาง​ภาษา​และ​ความ​ขดั แ​ ย้ง​ ทาง​วัฒนธรรม ดัง​ข้อ​เสนอ​แนวทาง​แก้ไข​ปัญหา​ที่​เกิด​ขึ้น​ใน​ปัจจุบัน ดังนี้ 1. ปัญหา​การ​ถดถอย​และ​เสื่อม​สลาย​ของ​ภาษา​ต่างๆ ใน​ยุค​ปัจจุบัน ซึ่ง​กำ�ลังเ​กิด​ขึ้น​อย่าง​รวดเร็ว​และ​รุนแรง เป็น​ปัญหา​เช่น​เดียว​กับ​ปัญหา​การ​สูญ​เสียค​ วาม​หลาก​หลาย​ทาง​ชีวภาพ เช่น การ​สูญ​พันธุ์​พืชแ​ ละ​พันธุ์​สัตว์ ปัญหา​ นี้​เป็น​ปัญหา​ระดับ​โลก สำ�หรับใ​น​ประเทศไทย​ปัจจุบัน​มี​อย่าง​น้อย​ที่สุด​ถึง 14 กลุ่ม​ภาษา ที่​อยู่​ใน​ภาวะ​วิกฤต​ใกล้ส​ ูญ ส่วน​ภาษา​อื่น ๆ ​ที่​ไม่ใช่​ภาษา​ราชการ (ไม่​ได้​ใช้​ใน​การ​ศึกษา​และ​สื่อมวลชน) ซึ่ง​ได้แก่ ภาษา​ของ​กลุ่มช​ าติพันธุ์​ต่างๆ​ ล้วน​อยู่​ใน​ภาวะ​ไม่​ปลอดภัย การ​สูญ​เสีย​ความ​หลาก​หลาย​ของ​ภาษา​เป็นการ​สูญ​เสีย​ระบบ​ความ​รู้ ภูมิปัญญา​ด้าน​ ต่างๆ เครื่อง​มือ​สื่อสาร​และ​สื่อ​ของ​การ​ศึกษา​ที่​มี​ประสิทธิภาพ รวม​ทั้ง​ประวัติศาสตร์​และ​อัต​ลักษณ์​ความ​เป็น​ตัว​ตน ความ​มั่นคง มั่นใจ​ใน​การ​ดำ�รง​ชีวิต ความ​หลาก​หลาย​ทาง​ภาษา​และ​วัฒนธรรม​ถือว่า​เป็น​มรดก​ของ​มนุษยชาติ การนำ�​ภาษา​ท้อง​ถิ่น​เข้า​สู่​ระบบ​ การ​ศึกษา​และ​สื่อมวลชน จึง​เป็นการ​รักษา​ความ​หลาก​หลาย​ของ​ภาษา​และ​วัฒนธรรม​ท้อง​ถิ่น​ที่​สำ�คัญ ซึ่ง​เป็น​ส่วน​ หนึ่ง​ของ​การ​รณรงค์​ใน​ระดับโ​ลก เพื่อ​รักษา​ภาษา​และ​วัฒนธรรม​และ​เพื่อ​พัฒนา​ให้น​ ำ�​ไป​ใช้​ให้เ​กิด​ประโยชน์​ต่อ​ไป 2. ปัญหา​ผล​สัมฤทธิ์​ทางการ​ศึกษา​ของ​เด็ก​กลุ่ม​ชาติพันธุ์​ที่​มี​ภาษา​แม่​ต่าง​ไป​จาก​ภาษา​ของ​โรงเรียน​ตํ่า​กว่า​ เกณฑ์​มาตรฐาน เนื่องจาก​ปัญหา​ทาง​ด้าน​ภาษา คือ ไม่​สามารถ​เข้า​ถึง​ระบบ​ศึกษา​และ​การ​บริการ​ต่างๆ ของ​รัฐ ทำ�ให้​ไม่​ประสบ​ความ​สำ�เร็จ​ใน​การ​เรียน​เท่า​เทียม​กับ​ผู้​อื่น ไม่มี​โอกาส​ใน​การ​งาน​อาชีพ นำ�​ไป​สู่ป​ ัญหา​สังคม​ต่างๆ การ​ใช้ภ​ าษา​แม่ข​ อง​เด็ก (ภาษา​ทอ้ ง​ถนิ่ ข​ อง​กลุม่ ช​ าติพนั ธุ)์ เ​ป็นส​ อื่ ใ​น​การ​จดั การ​เรียน​การ​สอน​ควบคูไ​่ ป​กบั ภ​ าษา​ ไทย (ภาษา​ราชการ) จะ​ช่วย​ใน​การ​เรียน​รู้​ของ​เด็ก ทำ�ให้​ไม่​เครียด ไม่มี​ปัญหา​ความ​ต่าง​ของ​ระบบ​ความ​คิด สามารถ​ คิด​สร้างสรรค์​เชื่อม​โยง​สิ่ง​ต่างๆ ได้ ทำ�ให้​ผล​การ​เรียน​ดี​ขึ้น

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

นอกจาก​นโยบาย​ทาง​ภาษา (กำ�หนด​สถานะ​ของ​ภาษา) แล้ว จะ​ตอ้ ง​มก​ี าร​การ​วางแผน​ทาง​ภาษา​เพือ่ ใ​ห้บ​ รรลุ​ นโยบาย โดย​มี​การ​พัฒนา​ภาษา​ท้อง​ถิ่น​กลุ่มช​ าติพันธุ์ เพี่อ​ใช้​ใน​การ​ศึกษา เช่น การ​สร้าง​ระบบ​เขียน สร้าง​ความ​เป็น​ มาตรฐาน ขยาย​ค�​ ำ ศพั ท์-พจนานุกรม สร้าง​หนังอ​ า่ น/วรรณกรรม​ทอ้ ง​ถนิ่ สร้าง​ระบบ​ไวยากรณ์ รวม​ทงั้ ข​ ยาย​พนื้ ทีก​่ าร​ ใช้​และ​ผู้​ใช้ เป็นต้น


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

52

3. ปัญหา​ความ​มั่นคง การ​ใช้​ภาษา​ท้อง​ถิ่นเ​ป็น​สื่อ​ใน​การ​ศึกษา​และ​การ​สื่อสาร​เป็น​สิทธิ​มนุษย​ชน​ขั้นพ​ ื้น​ฐาน (สิทธิท​ าง​ภาษา) ทำ�ให้เ​กิดค​ วาม​เข้าใจ​อนั ด​ ใ​ี น​บรรดาก​ลมุ่ ป​ ระชาชน​ใน​ชาติ มีค​ วาม​เสมอ​ภาค​และ​ความ​เท่าเ​ทียม​กนั ใ​น​ สังคม เป็นการ​ให้โ​อกาส แสดง​ความ​จริงใจ ให้เ​กียรติ ทำ�ให้เ​กิดค​ วาม​เข้าใจ​ใน​เจตนา​ทด​ี่ ี ซึง่ จ​ ะ​น�​ ำ ไป​สส​ู่ นั ติสขุ ท​ ย​ี่ งั่ ยืน ทั้งนี้ ​โดย​หลาย​ชุมชน​ท้อง​ถิ่น​ได้​เริ่ม​ทดลอง​หา​แนวทาง หลาย​กลุ่ม​ช่วย​ผลักด​ ัน ร้องขอ​พื้นที่ส​ ำ�หรับภ​ าษา​ท้อง​ ถิ่นก​ ลุ่มช​ าติพันธุ์ และ​เป็นท​ นี่​ ่าย​ ินดีท​ รี่​ าชบัณฑิตยสถาน​ได้เ​ห็นค​ วาม​สำ�คัญแ​ ละ​ขณะ​นไี้​ด้ก​ ำ�ลังด​ ำ�เนินก​ าร​เพื่อจ​ ัดท​ ำ�​ นโยบาย​ภาษา​แห่งช​ าติ ซึ่งจ​ ะ​ให้โ​อกาส​แก่ภ​ าษา​ท้อง​ถิ่นต​ ่างๆ ใน​การ​ศึกษา​และ​สื่อสาร​มวลชน​ซึ่งจ​ ะ​นำ�​ไป​สกู่​ าร​แก้ไข​ ปัญหา​ดัง​กล่าว​ข้าง​ต้น และ​ผลัก​ดัน​นโยบาย​ภาษา​เพื่อ​การ​ศึกษา​ของ​ชาติ​ที่​เหมาะ​สม​ต่อ​ไป


53

สุว​ ไิ ล เปรม​ศรีร​ ตั น์. 2551. “การ​จดั การ​เรียน​การ​สอน​โดย​ใช้ภ​ าษา​ทอ้ ง​ถนิ่ แ​ ละ​ภาษา​ไทย​เป็นส​ อื่ : กรณีก​ าร​จดั การ​ศกึ ษา​ แบบ​ทวิภ​ าษา (ภาษา​ไทย-มลายูถ​ นิ่ ) ใน​โรงเรียน​เขต​พนื้ ทีส​่ จ​ี่ งั หวัดช​ ายแดน​ภาค​ใต้”. วารสาร​วจิ ยั เ​พือ่ ก​ าร​พฒ ั นา​ เชิงพ​ นื้ ที.่ ปีท​ ี่ 1 ฉบับท​ ี่ 1 เดือน​กนั ยายน-ตุลาคม 2551. กรุงเทพมหานคร: สำ�นักงาน​กองทุนส​ นับสนุนก​ าร​วจิ ยั . . 2550. “เครื่อง​มือ​ใน​การ​อนุรักษ์​และ​ฟื้นฟูภ​ ูมิปัญญา”. วารสาร​ภาษา​และ​วัฒนธรรม. ปี​ที่ 26 ฉบับท​ ี่ 1-2 มกราคม-ธันวาคม 2550. นครปฐม: สถาบันวิจัย​ภาษา​และ​วัฒนธรรม​เพื่อ​พัฒนา​ชนบท มหาวิทยาลัยม​ หิดล. . 2549. “สถานการณ์​ทาง​ภาษา​ใน​สังคม​ไทย​กับ​ความ​หลาก​หลาย​ทาง​ชาติพันธุ์”. วารสาร​ภาษา​และ​ วัฒนธรรม ปี​ที่ 25 ฉบับ​ที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2549. นครปฐม: สถาบันวิจัย​ภาษา​และ​วัฒนธรรม​เพื่อ​ พัฒนา​ชนบท มหาวิทยาลัย​มหิดล. . 2548. “วิกฤต​ทาง​ภาษา​และ​วฒ ั นธรรม​ของ​กลุม่ ช​ าติพนั ธุ:์ ปัญหา​หรือโ​อกาส”. วารสาร​ภาษา​และ​วฒ ั นธรรม. 24(1): 5-17. นครปฐม: สถาบันวิจัย​ภาษา​และ​วัฒนธรรม​เพื่อ​พัฒนา​ชนบท มหาวิทยาลัยม​ หิดล. . 2542. “ภาษา​และ​กลุ่มช​ าติพันธุ์​ใน​ภาค​กลาง”. สารานุกรม​วัฒนธรรม​ไทย​ภาค​กลาง เล่ม 10. หน้า 46994707. นครปฐม: สถาบันวิจัย​ภาษา​และ​วัฒนธรรม​เพื่อ​พัฒนา​ชนบท มหาวิทยาลัยม​ หิดล. . 2542. “ภาษา​และ​ชาติพันธุ์​ใน​เขต​ที่ราบสูง​โคราช”. สังคม​และ​วัฒนธรรม​ใน​ประเทศไทย. หน้า 267-284. ศูนย์​มานุษยวิทยา​สิ​ริน​ธร มหาวิทยาลัย​ศิลปากร. . 2541. “พัฒนา​สื่อ​ภาษา​พื้น​บ้าน กรณี​ภาษา​เขมร​ถิ่น​ไทย”. นครปฐม: สถาบันวิจัย​ภาษา​และ​วัฒนธรรม​ เพื่อ​พัฒนา​ชนบท มหาวิทยาลัย​มหิดล. สุว​ ไิ ล เปรม​ศรีร​ตั น์ และ​คณะ. 2549. รายงาน​วจิ ยั . “โครงการ​ภาษา​มลายูท​ อ้ ง​ถนิ่ ใ​น​ประเทศไทย: การ​ศกึ ษา​สถานการณ์​ ทาง​ภาษา การ​พัฒนา​และ​การ​วางแผน​การ​ใช้​ภาษา​เพื่อ​การ​ศึกษา​และ​การ​สื่อสาร​ที่​มี​ประสิทธิภาพ​ใน​สาม​ จังหวัด​ชายแดน​ภาค​ใต้. นครปฐม: ศูนย์​ศึกษา​และ​พัฒนา​สันติ​วิธี มหาวิทยาลัย​มหิดล. . 2547. รายงาน​การ​วิจัย. “แผนที่​ภาษา​ของ​กลุ่มช​ าติพันธุ์​ต่างๆ ใน​ประเทศไทย”. กรุงเทพมหานคร: คุรุ​ สภา. . 2545. “แผนที่​ภาษา​ของ​กลุ่ม​ชาติพันธุ์​ต่างๆ ใน​ประเทศไทย”. วารสาร​ภาษา​และ​วัฒนธรรม ปี​ที่ 21 ฉบับ​ที่ 1 มกราคม-เมษายน 2545 หน้า 5-35.นครปฐม: สถาบันวิจัย​ภาษา​และ​วัฒนธรรม​เพื่อ​พัฒนา​ชนบท มหาวิทยาลัย​มหิดล. ศูนย์​ศึกษา​และ​ฟื้นฟู​ภาษา​และ​วัฒนธรรม​ใน​ภาวะ​วิกฤต. 2551. “ประสบการณ์​ฟื้นฟู​ภาษา​ใน​ภาวะ​วิกฤต​ใน​ ประเทศไทย: กรณีภ​ าษา​ชอง จังหวัดจ​ ันทบุรี”. นครปฐม. สถาบันวิจัยภ​ าษา​และ​วัฒนธรรม​เพื่อพ​ ัฒนา​ชนบท มหาวิทยาลัยม​ หิดล. Suwilai Premsrirat. 2008. “Language for National Reconciliation: Southern Thailand”. EENET (Enabling Education Network Magazine). Issue 12 August 2008 (www.eenet.org.uk). . 2007. “Endangered Languages of Thailand”. International Journal of Sociology of Language. 186(2007): 75-93. . 2007. “Revitalization Ethnic Minority Language”. Sang Saeng Magazine. No.18 Spring 2007. UNESCO . 2006. “Language Situation: Thailand”. Encyclopedia of Languages and Linguistics. 2nd Edition, Oxford: Elsevier Limited. . 2001. “The future of Nyah Kur”. In Robert S. Bauer, ed. Collected Papers on “Southeast Asian and Pacific Linguistics”. pp. 155-165. Canberra: The Australian National University.

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

บรรณานุกรม


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

54

. 1998. “Language maintenance and language shift in minority languages of Thailand”. In Studies in Endangered Languages. Paper from “the International Symposium on Endangered Languages”. Tokyo. November 18-20 1995. ed. Kazuto Matsumura. Suwilai Premsrirat and Dennis Malone. 2006. “Language development and language revitalization in Asia”. MKS 35:101-120. Grimes, Barbara F. (Editor) 2000. Ethnologue Vol. I. Languages of the World, Ethnologue Vol. II Maps and Indexes. Fourtheen Edition. Texas: SIL International. Smalley, William A. 1994. Linguistic Diversity and National Unity. Chicago: The University of Chicago Press.


ภาค​ผนวก

55

โครงการวิกฤตภาษา/ อัตลักษณ์ ตามแนวชายแดน

• มลายูถิ่น • มอญ • เขมรถิ่นไทย • ม้ง

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

แผนที่แ​ สดง​โครงการ​ฟื้นฟู​ภาษา​ที่​กำ�ลัง​ดำ�เนิน​การ​อยู่​ใน​โครงการ


ชาติพันธุ์กับสิทธิมนุษยชน


57

สุนี ไชย​รส2

การ​ละเมิดส​ ิทธิ​มนุษย​ชน​และ​การ​กระทำ�​ที่​ไม่​เป็น​ธรรม​ใน​มิติ​ต่างๆ ต่อ​กลุ่ม​ชาติพันธุ์​ใน​สังคมไทย​เกิด​ขึ้น​และ​ ดำ�รง​อยู่​มายา​วนา​นอ​ย่าง​ต่อ​เนื่อง ยิ่ง​ยุค​เผด็จการ​ใน​อดีต กลุ่ม​ชาติพันธุ์​บน​พื้นที่ส​ ูงท​ ั้ง​ใน ภาค​เหนือ ตะวัน​ตก ตะวัน​ ออก​เฉียง​เหนือ ได้ร​ บั ผ​ ล​กระทบ​จาก​การ​ถกู อ​ พยพ ถูกป​ ราบ​ปราม​ดว้ ย​ขอ้ หา​คอมมิวนิสต์ ประกอบ​กบั ข​ อ้ ส​ งสัยว​ า่ อ​ าจ​ เข้า​ร่วม​กับ​กอง​กำ�ลัง​ชนก​ลุ่ม​น้อย​ต่างๆ ใน​พม่า ลาว ข้อ​อ้าง​เพื่อ​ความมั่น​คง​อื่นๆ​ จนถึง​พัวพันก​ ับ​ยา​เสพ​ติด​และ​อีก​ ข้อหา​สำ�คัญ​คือ​การ​บุกรุกท​ ำ�ลาย​ป่า จึง​ถูกล​ ะเมิด​สิทธิ​มนุษย​ชน​โดย​แทบ​ไม่มี​ทาง​ต่อ​รอง​ใดๆ แม้ใ​น​สถานการณ์แ​ ห่งป​ ระชาธิปไตย​จนถึงป​ จั จุบนั ก็ย​ งั ม​ ก​ี รณีจ​ �ำ นวน​มาก​ทไ​ี่ ม่เ​ป็นท​ ร​ี่ บั ร​ ตู้ อ่ ส​ าธารณะ​เนือ่ งจาก​ ข้อ​จำ�กัด​ใน​การ​ลุก​ขึ้น​มาปก​ป้อง​สิทธิ​ของ​กลุ่ม​ชาติพันธุ์​เอง ความ​จำ�กัด​แบบ​คน​ชาย​ขอบ ใน​โอกาส​ที่​องค์กร​พัฒนา​ เอกชน​และ​สื่อมวลชน​จะ​เข้าไป​รับ​รู้​และ​ติดตาม​ได้​อย่าง​ทั่วถ​ ึง นอกจาก​นี้​ส่วน​ใหญ่​การ​ละเมิด​สิทธิ​มนุษย​ชน​หรือก​ าร​ กระทำ�​ทไ​ี่ ม่เ​ป็นธ​ รรม เป็นผ​ ล​จาก​การ​ด�ำ เนินก​ าร​ของ​ภาค​รฐั ไม่ว​ า่ ร​ ะดับน​ โยบาย​ของ​รฐั บาล ปัญหา​จาก​กฎหมาย​หรือ​ การ​กระทำ�​ของ​เจ้า​หน้าที่​รัฐ ทำ�ให้​การ​ร้อง​ทุกข์​ต่อ​หน่วย​งาน​ต่างๆ ไม่​ค่อย​ได้​รับ​การ​แก้ไข​อย่าง​จริงจัง เมื่อ​ประกอบ​ กับ​ผู้คน​ใน​สังคม​มี​ทัศนคติ​เชิง​ลบ​ที่​ไม่​เข้าใจ​ประวัติศาสตร์​และ​วิถี​ชีวิต​ของ​กลุ่ม​ชาติพันธุ์​ด้วย ทำ�ให้ห​ ลาย​กรณี​ที่​มีผ​ ล​ กระทบ​รุนแรง​ต่อพ​ วก​เขา​อย่าง​ยิ่ง แม้จ​ ะ​เป็นท​ ี่​รับร​ ู้ข​ อง​สาธารณะ​ก็ตาม​ก็​ยังถ​ ูกเ​พิกเ​ฉย​ไม่ไ​ด้ร​ ับก​ าร​แก้ไข ทั้งร​ าย​กรณี หรือ​ปัญหา​จาก​กฎหมาย​และ​นโยบาย​โดย​รวม จาก​การ​ต่อสูข้​ อง​ประชาชน​คัดค้าน​เผด็จการ และ​ประชาชน​มสี​ ่วน​ร่วม​ใน​การ​ร่าง​และ​ผลักด​ ันร​ ัฐธรรมนูญแ​ ห่ง​ ราช​อาณาจักร​ไทย พุทธ​ศักราช 2540 ทำ�ให้​มี​บทบัญญัติ​รับรอง​ศักดิ์​ศรี​ความ​เป็น​มนุษย์ สิทธิเ​สรีภาพ ทั้งร​ าย​บุคคล และ​สิทธิ​ชุมชน​อย่าง​กว้าง​ขวาง และ​มี​มาตรการ/ กลไก​ใน​การ​ส่ง​เสริมแ​ ละ​คุ้มครอง​สิทธิ​มนุษย​ชน การ​มีอ​ งค์กร​อิสระ​ ต่างๆ รวม​ทั้ง​คณะ​กรรมการ​สิทธิ​มนุษย​ชน​แห่ง​ชาติ (กสม.) ซึ่งเ​จตนารมณ์​สำ�คัญ ให้​มีหน้าท​ ี่​โดยตรง​ใน​การ​ส่ง​เสริม​ และ​คุ้มครอง​สิทธิ​มนุษย​ชน ให้​เป็น​ไป​ตาม​รัฐธรรมนูญ​และ​พันธ​กรณี​ระหว่าง​ประเทศ​ที่​ไทย​เป็น​ภาคี กสม.จึง​มีหน้า​ที่​หลัก​ใน​การ​ตรวจ​สอบ​เรื่อง​ร้อง​เรียน หรือ​หยิบยก​ขึ้น​มา​ตรวจ​สอบ​แม้​ไม่มี​ผู้​ร้อง​เรียน เพื่อ​ ทำ�ความ​จริง​ให้​ปรากฏ​อย่าง​เที่ยง​ธรรม​ต่อ​ทุก​ฝ่าย โดย​ไม่​จำ�กัด​การ​พิจารณา​เฉพาะ​ความ​ชอบ​ด้วย​กฎหมาย กฎ​ระเบียบ​เท่านั้น ไม่​จำ�กัด​อายุ​ความ​ของ​เรื่อง ไม่จ​ ำ�กัด​เฉพาะ​คน​มี​สัญชาติ​ไทย สามารถ​ตรวจ​สอบ​การ​ ละเมิด​จาก​เอกชน รวม​ทั้ง​เจ้า​หน้าที่​หรือ​หน่วย​งาน​ของ​รัฐ รวม​ทั้ง​ตรวจ​สอบ​ผล​กระทบ​ต่อ​สิทธิ​มนุษย​ชน​ จาก​กฎหมายและ​นโยบาย​ของ​รัฐ ดัง​นั้น​ นอกจาก​การ​ตรวจ​สอบ​การ​ละเมิด​สิทธิ​มนุษย​ชน​ราย​กรณีต​ ่อ​คน​เล็ก​คน​ น้อย คน​ชาย​ขอบ​ทก​ี่ ลไก​ปกติไ​ม่ด​ แู ล หรือก​ าร​ละเมิดส​ ทิ ธิช​ มุ ชน​ใน​การ​มส​ี ว่ น​รว่ ม​ตดั สินใ​จ กสม. จึงม​ หี น้าท​ ห​ี่ ลักค​ วบคู​่ ไป​ด้วย​ใน​การ​ตรวจ​สอบ​และ​เสนอ​แนะ​ต่อก​ ฎหมาย กฎ ระเบียบ และ​นโยบาย​ของ​รัฐ และ​ที่​สำ�คัญ​คือ​การ​ทำ�งาน​ร่วม​กับ​เครือ​ข่าย​ทั้ง​ภาค​รัฐ​และ​ภาค​เอกชน ใน​การ​รณรงค์​เสริม​สร้าง​วัฒนธรรม​ สิทธิ​มนุษย​ชน เพื่อ​ให้​สังคม​ตระหนัก​และ​มี​จิตสำ�นึก​เรื่อง​สิทธิ​มนุษย​ชน ศักดิ์​ศรี​ความ​เป็น​มนุษย์ สิทธิ​เสรีภาพ​และ​ 1 การ​อ้างอิง​บทความ ควร​ได้​รับอ​ นุญาต​จาก​เจ้าของ​บทความ 2 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

สิทธิม​ นุษย​ชน​กับ​ชาติพันธุ์​ใน​สังคม​ไทยกรณี​ศึกษา​จาก​ คณะ​กรรมการ​สิทธิ​มนุษย​ชน​แห่ง​ชาติ1


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

58

ความ​เสมอ​ภาค โดย​เฉพาะ​อย่าง​ยิ่งก​ าร​ส่ง​เสริม​ให้​บุคคล​และ​ชุมชน​ลุก​ขึ้นม​ า​ต่อสู้​ด้วย​ตนเอง จึง​จะ​เป็น​รากฐาน​ของ​ การ​ส่ง​เสริม​และ​คุ้มครอง​สิทธิ​มนุษย​ชน​อย่าง​เข้มแ​ ข็ง​และ​มั่นคง รัฐธรรมนูญ​แห่งร​ าช​อาณาจักร​ไทย พ.ศ. 2550 ได้​เพิ่ม​อำ�นาจ​หน้าที่​ขอ​งก​สม. จาก​การ​ผลัก​ดัน​ของ กสม. และ​ภาค​ประชา​สังคม โดย​ให้ กสม. เสนอ​เรื่อง​โดยตรง​ต่อ​ ศาล​รัฐธรรมนูญ เพื่อ​ให้​วินิจฉัย​กรณี​กฎหมาย​ใด​ขัด​ต่อ​รัฐธรรมนูญ เสนอ​ต่อ​ศาล​ปกครอง​กรณี​กฎ​ระเบียบ​และ​การ​ กระ​ทำ�​ใดๆ ​ของ​ภาค​รัฐ​และ​เจ้า​หน้าที่​ของ​รัฐ​ขัด​ต่อ​รัฐธรรมนูญ และ​การ​ฟ้อง​ต่อ​ศาล​ยุติธรรม​แทน​ผู้​เสีย​หาย​ใน​กรณี​ จำ�เป็น​และ​เพื่อ​ประโยชน์​ส่วน​รวม ใน​ช่วง 7 ปี​ของ​การ​ดำ�เนิน​งาน​ของ กสม. ชุด​แรก3 ตั้ง​แต่ 1 ตุลาคม 2544 – 30 กันยายน 2551 จาก​เรื่อง​ ร้อง​เรียน 4,568 เรื่อง ถ้าพ​ ิจารณา​เฉพาะ​ปัญหา​ที่ก​ ลุ่ม​ชาติพันธุ์​ต่างๆ ร้อง​เรียน​โดยตรง หรือม​ ี​ผู้ร​ ้อง​เรียน​แทน จะ​ มี​จำ�นวน​ไม่​มาก​นัก​ประมาณ 169 เรื่อง (3.70 %) แต่​มี​เกือบ​ทุก​กลุ่มช​ าติพันธุ์​ทั้ง​ที่​มีส​ ัญชาติ​ไทย​แล้ว และ​กำ�ลังร​ อ​ กระบวนการ​พิสูจน์​สัญชาติ​ไทย คือ กะเหรี่ยง ปกากะญอ ม้ง ลี​ซู ลา​หู่ อิ่วเมี่ยน ลื้อ ลัวะ อา​ข่า ไทย​ใหญ่ ดาร​ะอั้ง​ และ​ชาวเล ซึ่ง​มี​สาม​กลุ่มค​ ือ มอ​แกน มอ​แกลน และ​อรู​ ัก​ลา​โว้ย หลาย​คำ�ร้อง​หมาย​รวม​ถึงป​ ัญหา​เชิง​นโยบาย​และ​ กฎหมาย​ที่​กระทบ​ต่อ​กลุ่มช​ าติพันธุ์​เกือบ​ทั้งหมด ทั้งนี้​ ส่วน​ใหญ่​จะ​มี​องค์กร​พัฒนา​เอกชน​ร้อง​เรียน​แทน และ​มักจ​ ะ​ เป็น​ปัญหา​ร่วม​กัน​ทั้ง​ชุมชน โดย​เฉพาะ​การ​ไร้​สัญชาติ การ​ขาด​สิทธิ​ใน​ที่ดินท​ ำ�​กินแ​ ละ​ที่​อยู่​อาศัย การ​ถูกจ​ ำ�กัด​การ​ เข้า​ถึง​บริการ​สาธารณะ​ต่างๆ ของ​รัฐ และ​สิทธิ​ใน​กระบวนการ​ยุติธรรม นอกจาก​นี้ ยัง​รวม​ถึงก​ ลุ่มค​ น​ไทย​พลัด​ถิ่น​ใน​สาม​จังหวัด​หลัก​คือ ประจวบคีรีขันธ์ ระนอง และ​ชุมพร หลาย​ หมืน่ ค​ น​ทเ​ี่ รียก​ตวั เ​อง​ดว้ ย​ความ​ขมขืน่ ใ​จ​วา่ “คน​ไทย​ถนิ่ พ ​ ลัด”4 เนือ่ งจาก​เป็นค​ น​ไทย​ทก​ี่ ลับก​ ลาย​เป็นค​ นใน​พม่าห​ ลัง​ จาก​มกี​ าร​แบ่งเ​ขตแดน​กันใ​หม่ใ​น​ประวัติศาสตร์ร​ ะหว่าง​ไทย​กับพ​ ม่า เมื่ออ​ พยพ​กลับม​ า​กถ็​ กู ป​ ฏิเสธ​การ​มส​ี ัญชาติไ​ทย กลาย​เป็นค​ น​สญ ั ชาติพ​ ม่า ลูกห​ ลาน​จ�ำ นวน​มาก​แม้เ​กิดใ​น​ไทย​กไ​็ ม่มโี​อกาส​ได้ร​ บั ส​ ญ ั ชาติไ​ทย พวก​เขา​ตา่ ง​เฝ้าร​ อ​คอย​ การ​แก้ไข​ของ​รัฐ​เพื่อ​ให้​ได้​มา​ซึ่ง​สัญชาติ​ไทย​ยาวนาน​มา​แล้ว ใน​ก ารนำ �​เสนอ​บ ทความ​นี้ จะ​ไ ม่ ​พิ จ ารณา​ไ ป​ถึ ง ​ก รณี ​เรื่ อ ง​ร้ อ ง​เรี ย น​ข อง​ก ลุ่ ม ​แ รงงาน​ข้ า ม​ช าติ และ​ ผู้ ​ลี้ ​ภั ย ​เนื่ อ งจาก​มี ​ลั ก ษณะ​เฉพาะ​อ อก​ไ ป และ​ผู้ ​เขี ย น​เห็ น ​ว่ า การ​นำ �​เสนอ​เฉพาะ​ก ลุ่ ม ​ช าติ พั น ธุ์ ​ที่ ​มี ​สั ญ ชาติ ​ ไทย หรือ​กำ�ลัง​รอ​กระบวนการ​พิสูจน์​หรือ​ดำ�เนิน​การ​ให้​ได้​มา​ซึ่ง​สัญชาติ​ไทย รวม​ทั้งคน​ไทย​พลัด​ถิ่น จะ​ทำ�ให้​ เข้าใจสถานการณ์​การ​ละเมิดส​ ิทธิ​มนุษย​ชน หรือ​การ​กระทำ�​ที่​ไม่​เป็น​ธรรม​ต่อ​กลุ่ม​ชาติพันธุ์​ชัดเจน​ยิ่ง​ขึ้น

ประเด็น​และ​กรณี​ตัวอย่าง​ของ​คำ�ร้อง​เรียน เมือ่ กสม. ได้ร​ บั คำ�​รอ้ ง​เรียน หรือม​ ม​ี ติห​ ยิบยก​ขนึ้ ม​ า​พจิ ารณา กสม.จะ​มอบ​หมาย​ให้ค​ ณะ​อนุกรรมการ​ชดุ ต​ า่ งๆ​ ซึ่ง​มี​องค์​ประกอบ​จาก​องค์กร​พัฒนา​เอกชน นัก​วิชา​การ​ร่วม​ด้วย ตรวจ​สอบ​ทำ�ความ​จริง​ให้​ปรากฏ​อย่าง​เที่ยง​ธรรม หรือ​ไกล่​เกลี่ย​หารือ​กับ​หน่วย​งาน​ที่​เกี่ยวข้อง​ใน​กรอบ​ของ​การ​คุ้มครอง​สิทธิ​มนุษย​ชน รวม​ทั้ง​การ​รณรงค์​วัฒนธรรม​ สิทธิ​มนุษย​ชน และ​จัด​ทำ�​รายงาน​ผล​การ​ตรวจ​สอบ​การ​ละเมิด​สิทธิ​มนุษย​ชน​เสนอ​ต่อ กสม. เพื่อ​กำ�หนด​มาตรการ​ แก้ไข​ปญ ั หา​และ​ขอ้ เ​สนอ​แนะ​เชิงน​ โยบาย เสนอ​ตอ่ ห​ น่วย​งาน​ทเ​ี่ กีย่ วข้อง​จนถึงน​ ายก​รฐั มนตรีแ​ ละ​รฐั สภา ซึง่ ใ​น​ปญ ั หา​ สัญชาติ​จะ​อยู่​ใน​คณะ​อนุกรรมการ​ด้าน​สิทธิ​ของ​กลุ่ม​ชาติพันธุ์​เป็น​หลัก นอกจาก​นั้น​จะ​ดำ�เนิน​การ​ตาม​ประเด็น​โดย​ 3 โดย​รัฐธรรมนูญ​แห่ง​ราช​อาณาจักร​ไทย พ.ศ. 2540 และ พ.ร.บ. คณะ​กรรมการ​สิทธิ​มนุษย​ชน​แห่ง​ชาติ พ.ศ. 2542 กสม.ดำ�รง​ ตำ�แหน่งว​ าระ​เดียว 6 ปี ซึ่ง​ครบ​วาระ​ใน​วัน​ที่ 12 ก.ค. 2550 แต่​เนื่องจาก​มี​การ​รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 และ​มี​การ​ร่าง​ รัฐธรรมนูญใ​หม่ พ.ศ. 2550 ซึง่ ม​ ก​ี าร​แก้ไข​จ�ำ นวน คุณสมบัติ และ​ทมี่ า​ของ​การ​สรรหา ต่าง​จาก​เดิมม​ าก จึงต​ อ้ ง​แก้ไข​กฎหมาย​ ให้​เป็นไ​ป​ตาม​รัฐธรรมนูญ ซึ่งจ​ นถึง 15 พ.ย. 2551 ร่าง​กฎหมาย​ที่ กสม.เสนอ​ผ่าน​คณะ​รัฐมนตรี ยัง​อยู่​ใน​ขั้น​ตอน​ของ​คณะ​ กรรมการ​กฤษฎีกา กสม.ชุด​แรก​จึง​ต้อง​ปฏิบัติ​หน้าที่​ต่อ​ไป​ตาม​กฎหมาย จนกว่า กสม.ชุด​ใหม่​จะ​เข้า​มา​ปฏิบัติ​หน้าที่ 4 รายงาน​สรุป การ​สัมมนา​แลก​เปลี่ยน​เรียน​รู้​เพื่อ​เสริม​สร้าง​เครือ​ข่าย​ส่ง​เสริม​และ​คุ้มครอง​สิทธิ​มนุษย​ชน​ของ​กลุ่ม​คนใน​พื้นที่​ ชายแดน​ระหว่าง​ประเทศ “สิทธิช​ ุมชน​กับค​ น​ไทย​พลัด​ถิ่น: สิทธิ​และ​ข้อ​เท็จ​จริง” วัน​ที่ 6-7 มกราคม 2548 ณ โรงแรม​หาด​ ทอง จ.ประจวบ​คีรีข​ ันธ์ จัด​โดย คณะ​อนุกรรมการ​สิทธิ​ของ​กลุ่ม​ชา​ติ​พันธ์​ุและ​เครือ​ข่าย


59

แสดงสัดส่วนเรื่องร้องเรียนของกลุ่มชาติพันธุ์ที่ยังไม่ได้รับสัญชาติ ข้อมูลถึงวันที่ 30/9/51 รวมเรื่อง 108 กรณี

ขอให็ได้รับสัญชาติ 83% สิทธิในชีวิตและร่างกาย 5% สิทธิในบริการสาธารณสุข/ สิทธิคนพิการ 4% สิทธิการประกอบอาชีพ/ การเดินทาง 4% สิทธิการศึกษา 4%

แสดงสัดส่วนเรื่องร้องเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีสัญชาติไทย ข้อมูลถึงวันที่ 30/9/51 รวมเรื่อง 61 คำ�ร้อง ละเมิดสิทธิในกระบวน การยุติธรรม 39% เพิกถอนสัญชาติ 10% อื่นๆ 2% โครงการพัฒนา/ สัมปทาน 13% กลุ่มทุนออกเอกสิทธิ ทับที่ทำ�กิน 8%

ป่าสงวนทับที่ทำ�กิน/ ความมั่นคง 28%

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

คณะ​อนุกรรมการ​สิทธิ​ใน​การ​จัดการ​ที่ดิน​และ​ป่า คณะ​อนุกรรมการ​สิทธิ​ใน​ทรัพยากร​ชายฝั่ง นํ้า แร่ พลังงาน​และ​สิ่ง​ แวดล้อม หรือ​คณะ​อนุกรรมการ​เฉพาะ​กิจ​คุ้มครอง​สิทธิ​มนุษย​ชน ชุด 1 - 4 ถ้า​จำ�แนก​ตาม​ประเภท​การ​ร้อง​เรียน​ที่​ สำ�คัญ จนถึง 30 กันยายน 2551 ใน 169 คำ�ร้อง​จะ​มี​สอง​กลุ่ม​หลัก คือ กลุ่ม​ชาติพันธุ์​ที่​ยังไ​ม่​ได้​รับ​สัญชาติ​ไทย และ​ กลุ่ม​ที่​มี​สัญชาติ​ไทย ซึ่ง​พอ​จะ​จำ�แนก​ปัญหา​ตาม​ประเภท​การ​ร้อง​เรียน ได้​ดังนี้


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

60

1) กลุ่ม​ชาติพันธุ์​ทยี่​ ัง​ไม่มสี​ ัญชาติ​ไทย ส่วน​ใหญ่​มี​การ​สำ�รวจ​และ​ขึ้น​ทะเบียน​เป็น​บัตร​สี​ต่างๆ ใน​กลุ่ม​บุคคล​บน​พื้นที่​สูง แต่​ก็​ยัง​ไม่​ได้​รับ​โอกาส​ที่​ จะ​พิสูจน์​เพื่อ​ได้​รับ​สัญชาติ​ไทย ทั้ง​ที่​มี​มติ​คณะ​รัฐมนตรี​และ​แนวทาง​ปฏิบัติ​ต่างๆ ​ของ​รัฐ​มา​ยาวนาน​แล้ว ทำ�ให้​ไม่​ สามารถ​เข้า​ถึง​สิทธิ​และ​บริการ​ต่างๆ ​ขั้น​พื้น​ฐาน​ของ​รัฐ​ใน​ทุกด​ ้าน​เท่า​เทียม​กับ​ผู้​มีส​ ัญชาติ​ไทย ทั้ง​สิทธิ​ใน​การ​ศึกษา เสรีภาพ​ใน​การ​เดิน​ทาง การ​ทำ�งาน/การ​ประกอบ​อาชีพ การ​มี​ที่ดิน​ทำ�​กินแ​ ละ​ที่​อยู่​อาศัย​การ​รักษา​พยาบาล สิทธิ​คน​ พิการ ฯลฯ กระทั่ง​บาง​ส่วน​จำ�ยอม​ขึ้น​ทะเบียน​เป็นแ​ รงงาน​ข้าม​ชาติ เพื่อ​ให้​มีง​ าน​ทำ�​นอก​เขต​ที่​อยู่​ได้​นอกจาก​นี้ ยัง​มี​ จำ�นวน​มาก​ทต​ี่ กหล่นจ​ าก​การ​ส�ำ รวจ​ทผ​ี่ า่ น​มา ซึง่ ม​ กั อ​ ยูใ่​น​พนื้ ทีห​่ า่ ง​ไกล แม้จ​ ะ​อยูใ่​น​ครอบครัวห​ รือช​ มุ ชน​เดียวกัน แต่​ ก็ไ​ม่ส​ ามารถ​ขนึ้ ท​ ะเบียน​เพิม่ เ​ติมไ​ด้ ซึง่ ท​ �ำ ให้เ​สีย่ ง​ตอ่ ก​ าร​ถกู ผ​ ลักด​ นั อ​ อก​นอก​ประเทศ​ใน​ฐานะ​คน​เข้าเ​มือง​ผดิ ก​ ฎหมาย คำ�ร้อง​เรียน​ของ​กลุ่ม​ไร้​สัญชาติ มี 108 คำ�ร้อง (รวม​กรณีค​ น​ไทย​พลัด​ถิ่น 9 คำ�ร้อง) จำ�แนก​ตาม​ประเด็น​ ปัญหา​หลัก​ของ​การ​ร้อง​เรียน​ได้ด​ ังนี้ 1.1) คำ�ร้อง​ขอ​ให้​ได้​รับ​สัญชาติ​ไทย มี 91 คำ�ร้อง แต่​เกี่ยวข้อง​กับ​ผู้คน​หลาย​หมื่น​ราย ทั้งหมด​อยู่​ใน​ การ​ตรวจ​สอบ การ​เสนอ​แนะแนว​ทาง​แก้ไข​ทั้ง​เชิง​นโยบาย และ​กฎหมาย งาน​รณรงค์ โดย​คณะ​อนุกรรมการ​ด้าน​ สิทธิ​กลุ่ม​ชาติพันธุ์ ซึ่ง​มี​การ​จัด​ทำ�​รายงาน​ผล​การ​ตรวจ​สอบ โดย กสม. และ​มี​ข้อ​เสนอ​แนะ​เชิง​นโยบาย​รวม​เป็น​ รายงาน​ฉบับ​เดียวกัน เกี่ยวข้อง​ประมาณ 40 กว่า​คำ�ร้อง5 นอกจาก​นี้​ยัง​มี​งาน​วิจัยและ​การ​เผย​แพร่เ​อกสาร​เกี่ยว​กับ​ กลุ่มช​ าติพันธุ์ และ​คน​ไทย​พลัดถ​ ิ่น6 1.2) สิทธิ​ใน​การ​ศึกษา ใน​ปัจจุบัน เด็ก​ๆ ​พอ​มี​โอกาส​ได้​รับ​การ​ผ่อน​ผัน​ให้​ได้​เรียน​หนังสือ​ใน​หมู่บ้าน​หรือ​ หมู่บ้าน​ใกล้​เคียง​ตาม​อัตภาพ​แม้​ไม่มี​สัญชาติ​ไทย แต่​เมื่อ​ต้อง​เรียน​สูง​ขึ้น​ไป​จะ​ประสบ​ปัญหา​เมื่อ​ต้อง​ออก​ไป​เรียน​ นอก​พนื้ ทีเ​่ พราะ​มร​ี ะเบียบ​หา้ ม​คน​บน​พนื้ ทีส​่ งู หรือค​ น​ไทย​พลัดถ​ นิ่ เ​ดินท​ างออก​นอก​อ�ำ เภอ​ทอ​ี่ ยู่ แม้จ​ ะ​มค​ี วาม​พยายาม​ แก้ไข​ปัญหา​ร่วม​กัน​ของ​หลาย​หน่วย​งาน​ทำ�ให้​เด็ก​ไร้ส​ ัญชาติ​รวม​ทั้งคน​ไทย​พลัด​ถิ่น​สามารถ​เรียน​ถึงร​ ะดับ ​ปวช. หรือ ปวส.จำ�นวน​ไม่​น้อย แต่​ก็ย​ ัง​ต้อง​ประสบ​ปัญหา​ใบ​ประกาศนียบัตร​ที่​ได้​รับ​มี​การ​ระบุ​ว่า ไม่มี​สัญชาติ​ไทย หรือร​ ะบุ​ว่า​ สัญชาติ​พม่า และ​เมื่อ​มี​โอกาส​สอบ​เข้าศ​ ึกษา​มหาวิทยาลัยไ​ด้​หรือไ​ด้​ทุน​ไป​ศึกษา​ต่อ​ต่าง​ประเทศ ก็​จะ​ประสบ​ปัญหา​ ต่อ​เนื่อง​ใน​เรื่อง​นี้​อีกร​ วม​ถึง​ปัญหา​การ​ละเมิด​เฉพาะ​ราย​ที่​เป็น​ผล​จาก​รัฐ​ไม่​สนใจ​แก้ไข​ปัญหา​โดย​เร็ว กรณี​ตัวอย่าง - กรณี นาย​ยุทธนา ผ่า​มว​ ัน ซึ่ง​เกิดใ​ น​ไทย พ่อ​แม่เ​ป็น​เชื้อ​สาย​เวียดนาม​อพยพ​แต่​ก็​เกิด​ใน​ ไทย ช่วง​หนึ่ง​พ่อ​แม่​ได้​รับ​สัญชาติ​ไทย แต่ม​ า​ถูก​ถอน​สัญชาติ​โดย​ประกาศ​คณะ​ปฏิวัติ​ฉบับ​ที่ 337 พ.ศ. 2515 ซึ่งต​ าม​ มาตรา 7(3)แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ. 2508 ไม่​กระทบ​ต่อ​สิทธิ​ของ​ลูก​ที่​ต้อง​ได้​สัญชาติ​ไทย ต่อม​ า​แม่​ได้​รับ​คืน​สัญชาติ​ ไทย แต่​นาย​ยุทธนา​ได้บ​ ัตร​ประจำ�​ตัว​เป็น​ญวน​อพยพ และ​ยัง​ไม่​ได้​รับ​การ​แก้ไข​ตาม​ที่​ร้อง​เรียน​ไป​ยาวนาน ทำ�ให้แ​ ม้​ จะ​ได้เ​รียน​จน​สอบ​เข้าค​ ณะ​แพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ม​ หาวิทยาลัยไ​ด้ แต่เ​มือ่ ม​ ข​ี อ้ ก​ �ำ หนด​วา่ ต​ อ้ ง​มส​ี ญ ั ชาติไ​ทย​เพราะ​ ผูกมัด​ต้อง​ใช้​ทุน จึง​ไม่​อาจ​เข้า​ศึกษา​ได้ต​ ่อ​มา​เพิ่ม​ชื่อ​ให้​มี​บัตร​ประชาชน​แต่​ก็เ​สีย​สิทธิ​ใน​การ​ศึกษา​ไป7 5 รายงาน​ผล​การ​ตรวจ​สอบ ที่ 128/2551. รายงาน​ผล​การ​ตรวจ​สอบ​การ​ละเมิดส​ ิทธิม​ นุษย​ชน ที่จ​ ัดท​ ำ�​โดย​คณะ​อนุกรรมการ​ชุด​ ต่างๆ เมื่อผ​ ่าน​การ​เห็นช​ อบ​จาก​คณะ​กรรมการ​สิทธิม​ นุษย​ชน​แห่งช​ าติ (กสม) เพื่อเ​สนอ​ต่อห​ น่วย​งาน​ต่างๆ รวม​ทั้งส​ าธารณะ จะ​มี​การ​รวบรวม​จัดพ​ ิมพ์​เผย​แพร่ร​ ายงาน โดย​มี​ฉบับ​ที่ 1 รวบรวม​รา​ยงานฯ​ปี 2545 - 2547 ฉบับท​ ี่ 2 ปี 2548 ฉบับ​ที่ 3 ปี 2549 มี 3 เล่ม คือ​เล่ม 1 สิทธิ​ใน​กระบวนการ​ยุติธรรม เล่ม 2 สิทธิ​ชุมชน และ​เล่ม 3 สิทธิ​ด้าน​สังคม ปัจจุบัน​กำ�ลัง​จัด​พิมพ์ ปี 2550 ซึ่ง​มี 4 เล่ม โดย​เพิ่มส​ ิทธิ​ชุมชน​ฐาน​ทรัพยากร​เป็น 2 เล่ม ซึ่ง​ผู้​สนใจ​สามารถ​ขอ​เอกสาร​เหล่า​นี้​ได้ และ​โดย​ทั่วไป​จะ​ มี​การ​เผย​แพร่ผ​ ่านเว็บ​ไซต์ข​ อง กสม. 6 สำ�นักงาน กสม. จัด​พิมพ์​เอกสาร​หลาย​เล่ม อาทิ “รายงาน​การ​ศึกษา​องค์​ความ​รู้ เพื่อ​ส่ง​เสริม​สิทธิ​มนุษย​ชนก​ลุ่ม​ชา​ติ​พันธ์​ุ กรณี​ศึกษา: สบ​ยอน, ปี 2548 ประสบการณ์​การ​ส่ง​เสริม​และ​คุ้มครอง​สิทธิ​ของ​ผู้​พลัด​ถิ่น​ภายใน​ประเทศ, ปี 2551 และ​หลัก​ การ​ชี้แนะ​ว่า​ด้วย​การ​พลัด​ถิ่นภ​ ายใน​ประเทศ พร้อม​คู่มือ​ประยุกต์​ใช้​หลัก​การ​ชี้แนะ, ปี 2551 7 รายงาน​ผล​การ​ตรวจ​สอบ​ที่ 6/2549. ดู​ใน​รา​ยงานฯ​ฉบับ ปี 2549 เล่ม 3 สิทธิ​ด้าน​สังคม หน้า 251 – 256


61

1.3) สิทธิ​ใน​ที่ดิน​ทำ�​กิน​และ​ที่​อยูอ่​ าศัย/การ​ประกอบ​อาชีพ แม้จ​ ะ​มี​บัตร​บุคคล​บน​พื้นที่​สูง หรือค​ น​ไทย​ พลัด​ถิ่น​ก็​ต้อง​ขอ​อนุญาต​ต่อ​นาย​อำ�เภอ​ถ้า​จะ​ไป​ทำ�งาน​ต่าง​พื้นที่ และ​ยัง​ต้อง​เสีย​เวลา​ใน​การ​มา​ต่อ​ทะเบียน​ทุก 3 เดือน และ​เสีย​ค่า​ใช้​จ่าย​ทุก​ครั้ง​อีก​ด้วย ใน​หลาย​กรณี​จึง​มี​บุคคล​ผู้​มี​บัตร​บน​พื้นที่​สูง​หรือ คน​ไทย​พลัด​ถิ่น​ตัดสิน​ใจ​ หา​งาน​ทำ�​เฉพาะ​หน้า​โดย​ไป​จด​ทะเบียน​แรงงาน​ข้าม​ชาติ ซึ่ง​มี​เวลา​อย่าง​น้อย​คราว​ละ 1 ปี และ​ได้​รับ​โอกาส​ใน​การ​ มี​งาน​ทำ� หรือ​ได้ร​ ับ​บริการ​สาธารณสุข​บาง​ด้าน​มาก​กว่า ทั้ง​ที่ท​ ราบ​ว่า​จะ​มีผ​ ล​เสีย​ต่อ​กระบวนการ​พิสูจน์​สัญชาติ​ไทย​ ของ​ตนเอง​ใน​อนาคต นอกจาก​นี้ ​ปัญหา​หลัก​ที่​สำ�คัญ​คือ ไม่​สามารถ​จะ​มี​สิทธิ​ได้​รับ​ที่ดิน​ทำ�​กิน​หรือ​ที่​อยู่​อาศัย​ใดๆ ไม่​ว่า​จะ​ เป็นการ​ผ่อน​ผัน​ให้​ครอบ​ครอง​ทำ�​กิน​ใน​พื้นที่​ป่า​ตาม​มติ​คณะ​รัฐมนตรี 30 มิถุนายน 2551 และ​มติ​อื่น​ๆ หรือ​ไม่มี​ โอกาส​ได้​รับ​การ​จัดสรร​ที่ สปก. 4 – 01 เช่น​เดียว​กับ​บุคคล​ใน​ชุมชน​เดียวกัน​เมื่อ​มีก​ าร​ประกาศ​เขต​ปฏิรูป​ที่ดิน ทั้งท​ ี่​ เป็นว​ ิถี​ชีวิต​ของ​กลุ่ม​ชาติพันธุ์​โดย​ทั่วไป​ที่​อยู่​ใน​พื้นที่ส​ ูง​มา​แต่​เดิม หรือ​อยู่​ใน​พื้นที่ม​ ี​การ​ประกาศ​เขต​ป่า​ทับที่​ดิน และ​ ถ้า​มี​โครง​การ​ใดๆ ​ของ​รัฐ​เข้าไป​ใน​พื้นที่​ดังก​ ล่าว ก็​จะ​ไม่​ได้​รับ​สิทธิ​ใน​ค่า​เวนคืน ค่า​ชดเชย หรือใ​ช้​สิทธิ​ใน​การ​คัดค้าน​ ผล​กระทบ​ที่​เกิดข​ ึ้น​ต่อ​ตนเอง หรือ​แม้แต่​ไม่มี​โอกาส​จะ​ซื้อ​ที่ดินเ​ป็น​ของ​ตนเอง กรณี​ตัวอย่าง - “คน​ไทย​ถิ่นพ ​ ลัด” ที่ อ.ท่าแ​ ซะ จ.ชุมพร8 เข้า​มา​อยู่​ใน​ไทย​ยาวนาน และ​ได้​รับ​การ​ผ่อน​ ผัน​ให้​ทำ�​กิน​ได้​บ้าง​ใน​พื้นที่​ป่า​สงวน​เสื่อมโทรม​ที่​ประกาศ​เขต​ปฏิรูป​ที่ดิน แต่​ไม่มี​โอกาส​จะ​ได้​รับ​เอกสาร​สิทธิ สปก. 4 – 01 ต้อง​รอ​จนกว่า​จะ​พิสูจน์​สัญชาติไ​ทย​จบ​สิ้น ซึ่ง​ไม่มี​ใคร​ตอบ​ได้​ว่า เมื่อ​ใด ขณะ​ที่​พื้นที่​ทำ�​กินบ​ ริเวณ​ดังก​ ล่าว​มี​ ความ​พยายาม​ของ​รัฐจ​ ะ​ก่อสร้าง​เขื่อน​ท่าแ​ ซะ ซึ่งม​ กี​ าร​คัดค้าน​ต่อเ​นื่อง​มายา​วนา​นทำ�​ให้ย​ ังส​ ร้าง​ไม่ไ​ด้ แต่ค​ น​ถิ่นพ​ ลัด​ ไทย​ซึ่งแ​ ม้​จะ​กังวล​ต่อ​การ​ถูก​นํ้า​ท่วม​โดย​ไม่​ได้​รับ​ค่า​ชดเชย ก็​ไม่​กล้า​ร้อง​เรียน​คัดค้าน​ร่วม​กับ​ชุมชน​คน​ไทย กรณี​ตัวอย่าง - กรณี​ถูก​หลอก​หรือ​ฉ้อโกง​จาก​ความ​ต้องการ​มี​ที่ดิน​ทำ�​กิน​และ​อยู่​อาศัย กลุ่ม​ที่​รอ​การ​ พิสูจน์​สัญชาติ​ไม่มี​สิทธิ​ใน​การ​ซื้อ​ขาย​ที่​ดิน​ใดๆ แต่​ก็​มี​ความ​จำ�เป็น​ที่​จะ​มี​ที่ดิน​ทำ�​กิน​และ​มี​ที่​อยู่​อาศัย​ใกล้​ชุมชน​เพื่อ​ ให้ล​ ูกห​ ลาน​ได้​เข้า​มา​เรียน​หนังสือ และ​ตนเอง​มี​โอกาส​ทำ�งาน ทำ�ให้​มีห​ ลาย​กรณี​ที่​เป็น​เหยื่อ​ผู้​ที่ฉ​ ้อโกง​นำ�​ที่ดิน สปก. 4 – 01 มา​ขาย​ให้​เสียท​ ั้ง​เงิน​และ​บาง​กรณี​ยังอ​ าจ​ถูก​ดำ�เนิน​คดี​ได้ 1) กรณี​ชุมชน​บ้าน​ใหม่​หนอง​ผึ้ง ต.อิน​ทขิล อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่9 ที่​สื่อมวลชน​นำ�​เสนอ​ข่าว​ใหญ่​โต​ เสมือน​หนึง่ ม​ ช​ี าว​พม่าจ​ �ำ นวน​มาก​บกุ ม​ า​ตงั้ ช​ มุ ชน​ใหญ่ก​ ลาง​เมือง ทัง้ ท​ ส​ี่ ว่ น​ใหญ่เ​ป็นบ​ คุ คล​บน​พนื้ ทีส​่ งู ท​ มี่ า​ซอื้ ท​ ี่ สปก. 4 – 01 คนละ​เล็กน​ ้อย​ปลูกบ​ ้าน​อยู่​รวม​กัน​ใกล้​เขต​เมือง ใน​ขณะ​ที่​ถูก​คำ�​สั่ง​ให้​ออก​นอก​พื้นที่ม​ ี​บุตร​หลาน​เป็น​นักเรียน​ ถึง 100 กว่า​คน ​โดย​ไม่มีม​ าตรการ​เยียว​ยา​เด็ก​ๆ ขณะ​ที่​ผู้​ไม่มี​บัตร​บุคคล​บน​พื้นที่​สูง​โดย​เฉพาะ​ผู้​สูง​อายุห​ ลาย​สิบ​คน​ ถูกก​ ักตัว​รอ​การ​สอบสวน​นับ​เดือน​ฝาก​ไว้​ที่​สถานี​ตำ�รวจ ก่อน​ถูก​ส่ง​กลับ​ใน​ฐานะ​ผู้​เข้า​เมือง​ผิด​กฎหมาย 2) กรณี​ชุมชน​บ้าน​วัง​โคน​เปือย อ.บ้านด่านลานหอย จ.สุโขทัย ซึ่ง​ยัง​ไม่​ได้​รับ​สัญชาติ​มา​ซื้อ​ที่ สปก. 4 – 01 ปลูกบ​ ้าน​พัก​เป็นช​ ุมชน กำ�ลัง​ถูก​คำ�​สั่ง​จาก สปก.ให้​ออก​ไป มิ​เช่น​นั้นจ​ ะ​ถูก​ดำ�เนิน​คดี10

8 คำ�ร้อง​ที่ 550/2548 (คณะ​อนุกรรมการ​สิทธิ​ใน​การ​จัดการ​ที่ดิน​และ​ป่า) และ​คำ�ร้อง​ที่ 149/2549 (คณะ​อนุกรรมการ​ด้าน​สิทธิ​ ของ​กลุ่มช​ า​ติพ​ ันธ์​ุ) 9 คำ�ร้อง​ที่ 171/2551 10 คำ�ร้อง​ที่ 306/2551

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

ข้อ​สังเกต​คือ ใน​กรณี​ที่​สาธารณะ​สนใจ​และ​เป็นการ​ศึกษา​ต่อ​ใน​ระดับ​สูง​ก็​อาจ​จะ​มี​การ​ร่วม​มือ​กัน​แก้​ปัญหา​ ไป​ได้​บ้าง​ใน​เฉพาะ​ราย​แต่​ยัง​ไม่ใช่ม​ าตรการ​แก้ไข​ปัญหา​โดย​ทั่วไ​ป​และ​ยั่ง​ยืน


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

62

1.4) สิทธิ​ใน​การ​เข้า​ถึง​บริการ​ของ​รัฐ และ​สิทธิ​คน​พิการ การ​เข้า​รับ​บริการ​สาธารณสุข​โดย​ทั่วไป​ก็​จะ​ถูก​ จำ�กัด​สิทธิ​มาก​กว่า​คน​ไทย​ทั่วไป รวม​ทั้ง​ไม่​สามารถ​เข้า​ถึง​นโยบาย​การ​ดูแล​คน​พิการ คน​ชรา การ​ได้​รับ​ค่า​ชดเชย​เมื่อ​ เกิด​นํ้า​ท่วม หรือ​ค่า​ชดเชย​เมื่อ​เกิด​อุบัติเหตุ และ​บริการ​อื่นๆ​ ของ​รัฐ​ใน​ทุกร​ ะดับ กรณี​ตัวอย่าง - มูลนิธิ​กระจกเงา​เชียงราย ร้อง​เรียน​แทน ด.ช.อา​จ่อ มา​เยอะ ผู้​พิการ​ทาง​หู​โดย​เด็ก​ ถูก​ปฏิเสธ​การ​ออก​ใบรับ​รอง​ความ​พิการ​จาก​โรง​พยาบาล ถูก​ปฏิเสธ​การ​จด​ทะเบียน​คน​พิการ​จาก​สำ�นักงาน​ พัฒนา​สังคม​และ​ความ​มั่นคง​ของ​มนุษย์ รวม​ถึงก​ าร​ถกู ป​ ฏิเสธ​ไม่ใ​ห้เ​ข้าเ​รียน​ใน​โรงเรียน​สอน​คน​หห​ู นวก จ.เชียงใหม่11 1.5) สิทธิใ​ น​ชีวิตแ​ ละ​ร่างกาย และ​สิทธิใ​ น​กระบวนการ​ยุติธรรม กรณีต​ วั อย่าง 1) การ​ขม่ ขูค​่ กุ คาม​ผป​ู้ ฏิบตั ง​ิ าน​ศนู ย์ป​ ฏิบตั ก​ิ าร​รว่ ม​เพือ่ แ​ ก้ไข​ปญ ั หา​ประชาชน​บน​พนื้ ที​่ สูง (ศปส.) ของ​เครือ​ข่าย​ชน​เผ่า​และ​ชาติพันธุ์ ซึ่ง​เป็น​เครือ​ข่าย​สมาชิก​สหพันธ์เ​กษตรกร​ภาค​เหนือ (สกน.) ด้วย​ การ​ปา​ระเบิด​ใส่​รถยนต์ท​ ี่​จอด​ไว้ ขณะ​ให้ข​ ้อมูลค​ วาม​รู้เ​พื่อ​ช่วย​เหลือ​ชาว​บ้าน​เรื่อง​การ​ลง​รายการ​สัญชาติ​ใน​เขต​พื้นที่​ บ้าน​โป่งไฮ ต.แม่ส​ ​ลองใน อ.แม่​ฟ้า​หลวง จ.เชียงราย (แต่​ไม่​อาจ​สืบสวน​หา​ตัว​คนร้าย​ได้)12 2) แกน​นำ�​คน​ไทย​พลัด​ถิ่น​ถูก​กำ�นัน​ที่ อ.เมือง จ.ระนอง​ข่มขู่​ว่า​จะ​ทำ�ร้าย​ร่างกาย13 3) กรณี​ชาวม้ง 3 คน​ถูกฆ ​ าตกรรม (มี​บัตร​บุคคล​บน​พื้นที่​สูง) ที่ อ.หล่มเก่า จ.เพชรบูรณ์ มีก​ าร​ให้​ ข่าว​โดย​เจ้าห​ น้าทีต​่ �ำ รวจ​วา่ เป็นผ​ ค​ู้ า้ ย​ า​บา้ 14 กสม.ตรวจ​สอบ​พบ​วา่ ไ​ม่มป​ี ระวัตพ​ิ วั พันค​ า้ ย​ า​ใน​ทกุ ห​ น่วย​งาน​ของ​รฐั จึง​มี​มาตรการ​แก้ไข​ปัญหา​ให้​เร่ง​จับกุม​คน​ฆ่า ให้​กองทุนช​ ดเชย​ความ​เสีย​หาย​ใน​คดี​อาญา​ช่วย​เหลือ​เยียวยา และ​ให้​ มี​หนังสือ​รับรอง​เพื่อ​ฟื้นฟู​เกียรติย​ ศ​ชื่อ​เสียง​ของ​ผู้​เสีย​ชีวิต 2) กลุ่มช​ าติพันธุ์​ที่​มี​สัญชาติ​ไทย ประเด็น​และ​กรณี​ตัวอย่าง​ของ​คำ�ร้อง​เรียน​ต่อ กสม. (จาก 61 คำ�ร้อง) เช่น

2.1) รัฐ​ใช้​อำ�นาจ​เพิก​ถอน​สัญชาติไ​ ทย​โดย​ไม่มี​กระบวนการ​ตรวจ​สอบ​ก่อน และ​ไม่มี​ การ​แก้ไข​เยียวยา​ที่​เป็น​ธรรม (6 คำ�ร้อง) กรณี​ตัวอย่าง- นาย​อำ�เภอ​แม่อาย จ.เชียงใหม่ ได้​จำ�หน่าย​ราย​ชื่อ​ของ​ชาว​บ้าน​ที่​มี​สัญชาติ​ไทย จำ�นวน 1,243 คน ออก​จาก​ทะเบียน​บ้าน (ท.ร.14)15 เมื่อ​วัน​ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2545 โดย​มิได้​แจ้ง​ให้​ชาว​บ้าน​ผู้​ได้​ รับผ​ ล​กระทบ​คัดค้าน​หรือ​แสดง​ข้อ​เท็จ​จริง​เพื่อ​พิสูจน์​ตน​แต่​อย่าง​ใด ซึ่ง​เป็นการ​ลิดรอน​สิทธิ​ขั้น​พื้น​ฐาน​ของ​ประชาชน​ ทั้งส​ ัญชาติ​และ​บริการ​สาธารณะ​ต่างๆ สะท้อน​ถึงแ​ นวทาง​แก้ไข​ปัญหา​ของ​รัฐ​ที่​ใช้​อำ�นาจ​เป็น​หลัก ผลัก​ภาระ​ใน​การ​ พิสูจน์​และ​เรียก​ร้องขอ​ความ​เป็น​ธรรม​ให้​อยู่​ที่​ประชาชน กสม.มี​ข้อ​เสนอ​ต่อ​กระทรวง​มหาดไทย​เร่ง​ด่วน ให้​เพิ่ม​ชื่อ​บุคคล​ที่​ถูก​เพิก​ถอน​ทั้งหมด 1,243 คน กลับ​เข้า​ สู่​ทะเบียน​ราษฎร (ท.ร.14) แล้ว​ตรวจ​สอบ​บุคคล​เป็น​ราย​กรณี รวม​ทั้ง​ควร​แนะนำ�​ช่อง​ทาง​ที่​เหมาะ​สม​ให้​บุคคล​ที่​มี​

11 12 13 14 15

คำ�ร้อง​ที่ 520/2547 รายงาน​ผล​การ​ตรวจ​สอบ​ที่ 124/2551 คำ�ร้อง​ที่ 780/2550 รายงาน​ผล​การ​ตรวจ​สอบ​ที่ 16/2547 ดู​ใน​รายงาน​ผล​การ​ตรวจ​สอบ​ฯ พ.ศ. 2545 – 2547 หน้า 242 – 286 ดู​ราย​ละเอียด​ใน ภาค​ผนวก​ของ“รายงาน​การ​ศึกษา​องค์​ความ​รู้ เพื่อ​ส่ง​เสริม​สิทธิ​มนุษย​ชนก​ลุ่ม​ชา​ติ​พันธ์​ุกรณี​ศึกษา: สบ​ ยอน” และ รายงาน​ผล​การ​ปฏิบัติ​งาน​ประจำ�​ปี 2548 ของ​คณะ​กรรมการ​สิทธิ​มนุษย​ชน​แห่ง​ชาติ หน้า 5


63

แม้จ​ ะ​เป็นข​ า่ ว​ใหญ่โ​ต มีอ​ งค์กร​ตา่ งๆ ร​ วม​ทงั้ กสม. พยายาม​หารือก​ บั ห​ น่วย​งาน​ทเ​ี่ กีย่ วข้อง​อย่าง​ตอ่ เ​นือ่ ง​จนถึง​ ศาล​ปกครอง​มี​คำ�​วินิจฉัย​ให้​คืน​สัญชาติ​ไทย​ก่อน ก็​ยัง​มี​กระบวนการ​แก้​ปัญหา​ล่าช้า​มาก​จนถึง​ปัจจุบัน 2.2) การ​ถูก​ละเมิด​สิทธิใ​ น​กระบวนการ​ยุติธรรม (24 คำ�ร้อง) โดย​เฉพาะ​ปัญหา​จาก​นโยบาย​ปราบ​ปราม​ ยา​เสพ​ติด เช่น การ​ถูกข​ ึ้น​บัญชี​ดำ� การ​ค้นแ​ ละ​จับ​โดย​ไม่มี​หมาย​ศาล การ​ถูก​ตั้ง​ข้อหา​โดย​เอา​ของ​กลาง​มาก​ลั่นแ​ กล้ง การ​ถูก​ยึด​ทรัพย์​อย่าง​ไม่​เป็น​ธรรม การ​ถูก​ฆ่า​เสีย​ชีวิต และ​รัฐ​ให้ข​ ่าว​ต่อ​สาธารณะ​ว่า​เป็น​ผู้ค​ ้า​ยา​เสพ​ติด โดย​ไม่มี​การ​ ติดตาม​ผก​ู้ ระทำ�​ผดิ และ​ท�ำ ให้เ​สือ่ ม​เสียเ​กียรติย​ ศ​ชอื่ เ​สียง และ​บาง​กรณีเ​มือ่ ม​ ก​ี าร​รอ้ ง​เรียน​ความ​ไม่เ​ป็นธ​ รรม​เรือ่ ง​สทิ ธิ​ ใน​ที่ดิน ก็​ถูกก​ ลั่น​แกล้งก​ รณี​บัญชี​ดำ�​ยา​บ้า หรือใ​น​บาง​กรณี​เมื่อ​จะ​อพยพ​ชุมชน​จาก​พื้นที่เ​ดิม ก็​อ้าง​ถึง​การ​เป็น​แหล่ง​ ค้า​ยา​เสพ​ติด​หรือ​เส้น​ทาง​ผ่าน​ของ​ยา​เสพ​ติดด​ ้วย กรณี​ตัวอย่าง - 1) ชาว​อา​ข่า​ที่ อ.แม่สรวย จ.เชียงราย ถูกจ​ ับผิด​ตัว จน​ต้อง​ไป​อยู่​ใน​คุก​เกือบ 1 ปี กสม.มีม​ าตรการ​ให้​สอบ​วินัย​เจ้า​หน้าที่​ตำ�รวจ​ที่​เกี่ยวข้อง และ​ให้​จ่าย​ชดใช้16 2) สมาคม​ลี​ซเู​พื่อ​ส่ง​เสริม​การ​ศึกษา​ภูมิ​ปัญญา​และ​สิ่ง​แวดล้อม ร้อง​เรียน​ว่า​ใน​ช่วง​นโยบาย​ปราบ​ปราม​ ยา​เสพ​ติด กลุ่มช​ าติพันธุ์​ลี​ซู​ได้​เสียช​ ีวิต (ถูก​ฆ่า​ตัดตอน) ถูก​ยิง​ทิ้งท​ ั้ง​ที่​ไม่มี​ของ​กลาง บาง​ราย​ถูก​อุ้ม ทั้งนี้​ ผู้​เสีย​ชีวิต​ บาง​ราย​ไม่​เคย​เกี่ยวข้อง​กับย​ า​เสพ​ติด บาง​ราย​ที่เ​สีย​ชีวิต​ก็เ​ลิก​เสพ​ยา​เสพ​ติด​แล้ว ทำ�ให้​มี​เด็ก​ที่​ต้อง​เป็น​กำ�พร้า ภริยา​ ของ​ผู้​เสีย​ชีวิต​ต้อง​รับ​ภาระ​เลี้ยง​ดคู​ รอบครัว จำ�เป็น​ต้อง​ไป​ประกอบ​อาชีพ​ใน​สถาน​อาบ อบ นวด และ​ขาย​บริการ​ทาง​ เพศ​ใน​สถาน​ทต​ี่ า่ ง ๆ เป็นเ​หตุใ​ห้ต​ ดิ เ​ชือ้ เ​อช​ไอ​วี และ​น�​ ำ เข้าส​ ช​ู่ มุ ชน​มาก​ขนึ้ ทำ�ให้ว​ ฒ ั นธรรม​ประเพณี และ​ความ​มนั่ คง​ ของ​ครอบครัว​ได้ล​ ่ม​สลาย จึง​ขอ​เรียก​ร้อง​ให้​รัฐ​ชดเชย​ค่า​เสีย​หาย​ให้ก​ ับ​ผู้ไ​ด้​รับ​ผล​กระทบ​ดัง​กล่าว17 2.3) การ​ถูก​อพยพ​โยก​ย้าย​ถิ่นฐาน หรือ​ถูก​ยึดค​ รอง​ที่ดิน​ทำ�​กิน (กลุ่ม​สิทธิ​ใน​ที่ดิน​นี้​มี 30 คำ�ร้อง ) โดย​ ไม่มี​มาตรการ​รองรับ​ที่​เหมาะ​สม​และ​เป็น​ธรรม ถูก​จับกุม​ดำ�เนิน​คดี ถูก​ทำ�ลาย​ทรัพย์​สิน ด้วย​ข้อหา​สำ�คัญ​คือ​การ​ บุกรุก​เขต​ป่าส​ งวน​หรือ​ป่าต​ ้นนํ้า ทั้ง​ที่​ชุมชน​จำ�นวน​มาก​อยู่ม​ า​ก่อน​ที่​จะ​มี​การ​ประกาศ​เขต​ป่า ตาม​วิถี​ชีวิต​ดั้งเดิม​ของ​ กลุ่ม​ชาติพันธุ์ หรือ​มี​โครงการ​ต่างๆ ​ของ​รัฐ หรือ​อนุญาต​ให้​กลุ่ม​ทุน​ดำ�เนิน​การ​เข้าไป​ใน​ชุมชน ซึ่ง​เป็น​ปัญหา​ใหญ่​ ร่วม​กับ​ประชาชน​ใน​ชนบท​ทั่ว​ประเทศ18 แต่​สำ�หรับ​กลุ่ม​ชาติพันธุ์​จะ​มี​ลักษณะ​เฉพาะ​ของ​ปัญหา​ที่​รุนแรง​กว่า และ​มี​ นัยข​ อง​การ​เลือก​ปฏิบัตทิ​ ไี่​ม่เ​ป็นธ​ รรม กรณีท​ เี่​กิดข​ ึ้นน​ มี​้ ผี​ ล​กระทบ​ต่อช​ ุมชน​จำ�นวน​มาก มิใช่เ​ฉพาะ​ราย​บุคคล​และ​มัก​ จะ​เกี่ยว​เนื่อง​ถึง​สิทธิ​ใน​กระบวนการ​ยุติธรรม​จาก​การ​ถูกจ​ ับกุม​ดำ�เนิน​คดี กลุ่ม​ที่​สำ�คัญ​คือ 2.3.1) ปัญหา​ปา่ ​สงวน​แห่งช​ าติท​ บั ซ​ อ้ น​ทดี่ นิ ท​ �​ ำ กนิ ​ทอ​ี่ ยู่​อาศัยแ​ ละ​ปญ ั หา​ความ​มนั่ คง ทีผ่​ ่าน​มา​รัฐบาล​ ประกาศ​เขต​ปา่ ไ​ม้ถ​ าวร หรือป​ า่ ส​ งวน​แห่งช​ าติ โดย​ไม่มก​ี ระบวนการ​ส�ำ รวจ​ตรวจ​สอบ​วา่ ม​ ร​ี าษฎร​ครอบ​ครอง​ท�​ ำ กนิ ม​ า​ ก่อน​หรือไ​ม่อ​ ย่างไร จนถึงป​ จั จุบนั ก​ ย​็ งั ไ​ม่ไ​ด้แ​ ก้ไข​ปัญหา​นอี้​ ย่าง​จริงจัง ดังน​ นั้ เ​หตุผล​เพือ่ อ​ นุรักษ์ป​ า่ ห​ รือส​ ิ่งแ​ วดล้อม ก็​ ยัง​ใช้ได้​เกือบ​ทุก​กรณี​ใน​การ​ให้​ออก​จาก​พื้นที่ มี​การ​จับกุม​ดำ�เนิน​คดี​ทั้ง​อาญา​และ​แพ่ง​จำ�นวน​มาก มี​การ​อพยพ​โดย​ ไม่มีม​ าตรการ​รองรับ นอกจาก​นี้ ​ใน​อดีต​ที่​รัฐ​ต่อสู้​กับ พคท. มี​การ​อพยพ​ชุมชน​กลุ่ม​ชาติพันธุ์​ให้​ออก​จาก​พื้นที่ป​ ่า​บาง​ แห่ง ด้วย​ความ​กงั วล​วา่ จ​ ะ​สนับสนุน พคท. เมือ่ ส​ งคราม​สงบ​ลง​ชมุ ชน​เหล่าน​ นั้ ม​ กั ข​ อก​ลบั ม​ า​ท�​ ำ กนิ ใ​น​พนื้ ทีเ​่ ดิมข​ อง​ตน 16 รายงาน​ผล​การ​ตรวจ​สอบ​ที่ 7/2548, ดู​ใน​รา​ยงานฯ ปี 2548 หน้า 34 – 44 17 คำ�ร้อง​ที่ 228/2550 18 ดู​ราย​ละเอียด​ในหนังสือ​ที่​จัด​พิมพ์​โดย​สำ�นักงาน​คณะ​กรรมการ​สิทธิ​มนุษย​ชน​แห่ง​ชาติ คือ “เสียง​จาก​ประชาชน การ​ต่อสู้​ เพื่อส​ ิทธิใ​น​ที่ดิน กรณี​ร้อง​เรียน ปี 2540 – 2550 และ​บท​เรียน​ของ​คณะ​อนุกรรมการ​สิทธิ​ใน​การ​จัดการ​ที่ดิน​และ​ป่า, 2551 มี 5 เล่ม (โดย​เฉพาะ เล่ม 1 และ​เล่ม 5) และ​ในรายงาน​สถานการณ์​การ​จัดการ​สิทธิ​ใน​ที่ดิน​และ​ป่า ปี 2545 – 2548

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

คุณสมบัติ​ไม่​ครบ​ถ้วน​ตาม​องค์​ประกอบ​ของ​บุคคล​สัญชาติ​ไทย เพื่อ​ให้​ได้​รับ​สิทธิ​ประโยชน์​ตาม​ที่​เห็น​สมควร ทั้งนี้​ โดย​ใช้ก​ ระบวนการ​แบบ​มี​ส่วน​ร่วม​ระหว่าง​ประชาชน​และ​หน่วย​งาน​ต่าง ๆ ที่​เป็น​ภาคี​ความ​ร่วม​มือ​ใน​กรณีด​ ัง​กล่าว


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

64

เนื่องจาก​การ​ถูก​อพยพ​ออก​ไป​จะ​ไม่มี​ที่ดิน​ที่​เหมาะ​สม​เพียง​พอ​ต่อ​ชุมชน หลาย​กรณี​เจ้า​หน้าที่​ของ​รัฐ​เอง​ก็​อนุญาต และ​พวก​เขา​ได้​รับ​สิทธิ​ผ่อน​ผัน​ทำ�​กินร​ อ​การ​พิสูจน์​สิทธิ​ตาม​มติ​คณะ​รัฐมนตรี​ด้วย กรณี​ตัวอย่าง 1) ชาว​ม้​งบ้าน​ป่า​กลาง อ.ปัว จ.น่าน โดย​เจ้า​หน้าที่ร​ ัฐ​ระดับ​อธิบดี​กรม​ป่า​ไม้ ร่วม​ด้วย​เจ้า​ หน้าที่​ของ​รัฐ ชักนำ�​ราษฎร​พื้น​ราบ​จำ�นวน​มาก​ไป​ร่วม​ตัด​ฟันท​ ำ�ลาย​ต้น​ลิ้นจ​ ี่​หลาย​พัน​ต้น ปลูก​ป่า​ทับ​ซ้อน​พื้นที่ท​ ำ�​กิน และ​คุกคาม​จน​ชาว​ม้​งบ้าน​ป่า​กลาง​ไม่​สามารถ​เข้าไป​ใน​ที่​ทำ�​กิน​ได้ โดย​อ้าง​ว่า​บุกรุก​ไป​อยู่​ป่า​ต้นนํ้า​และ​แย่ง​ชิง​นํ้า​ จาก​ชาว​พื้น​ราบ โดย​ปกปิดข​ ้อเ​ท็จ​จริงท​ ี่​มี​การ​ตรวจ​สอบ​โดย​หน่วย​งาน​ของ​รัฐ​ใน​ระดับ​จังหวัด​ชัดเจน​แล้ว​ว่า กลุ่ม​ชาว​ ม้​งบ้าน​ป่า​กลาง​มี​สิทธิ​ทำ�​กินต​ าม​มติ ครม. 30 มิถุนายน 2541 เช่น​เดียว​กับ​ชน​เผ่า​อื่นๆ​ ​และ​ชาว​พื้นร​ าบ​ที่​ทำ�​กิน​อยู่​ใน​ ป่า​บริเวณ​เดียวกัน และ​มี​การ​ปลูกล​ ิ้นจ​ ี่​อยู่จ​ ำ�นวน​มาก​เช่น​กัน เหตุ​เกิด​ตั้ง​แต่​ปี 2542 และ​ยังไ​ม่​ได้​รับ​การ​แก้ไข กสม. ส่ง​รายงาน​ผล​การ​ตรวจ​สอบ​ว่า​มี​การ​ละเมิดส​ ิทธิ​มนุษย​ชน​ร้าย​แรง​ถึง​นายก​รัฐมนตรีต​ ั้ง​แต่​ปี 2548 และ​มี​กระบวนการ​ ติดตาม​การ​แก้ไข​ปญ ั หา ปัจจุบนั เ​พิง่ ม​ า​ถงึ ข​ นั้ ต​ อน​ทจ​ี่ งั หวัด และ​คณะ​กรรมการ​ทแ​ี่ ต่งต​ งั้ โ​ดย​รอง​นายก​รฐั มนตรีย​ อมรับ​ ว่า​ต้อง​มี​การ​จ่าย​ค่า​ชดเชย​และ​พิจารณา​ให้​ได้​มี​ที่​ทำ�​กิน แต่​ก็​ยัง​ไม่​ได้​รับ​การ​ชดใช้​เยียว​ยา​ใดๆ ขณะ​ที่​ต้อง​เป็น​หนี้​ ธนาคาร​เพื่อก​ ารเกษตร​และ​สหกรณ์ก​ ารเกษตร​จาก​การ​ปลูกล​ ิ้นจ​ ี่​ที่​ภาค​รัฐส​ นับสนุนใ​ห้ป​ ลูกต​ ั้งแ​ ต่ต​ ้น ณ วันน​ ี้​จึงเ​พียง​ อยูใ่​น​ขั้นต​ อน​ที่ กสม.ส่งเ​รื่อง​ให้ร​ ัฐสภา​พิจารณา​เพื่อด​ ำ�เนินก​ าร​ต่อไ​ป​ตาม​รัฐธรรมนูญ และ​ก�ำ ลังร​ อ​การ​บรรจุว​ าระ​อยู​่ ใน​สภา​ผู้​แทน​ราษฎรและ​วุฒิ​สภา19 2) ราษฎร​บ้าน​นํ้า​ยาว ต.อวน อ.ปัว จ.น่าน ได้​รับ​ความ​เดือด​ร้อน​จาก​โครงการ​ปลูก​ป่า FTP 25 จ.น่าน ทั้ง​ ทีใ​่ น​อดีตร​ ฐั ม​ ก​ี าร​สนับสนุนใ​ห้ช​ มุ ชน​ใกล้ป​ า่ ท​ ม​ี่ ก​ี าร​เคลือ่ น​ไหว​ขอ​ งพคท. บุกเ​ข้าไป​ท�​ ำ กนิ ใ​น​ปา่ เ​พือ่ ก​ ดดันแ​ ละ​เบียด​ขบั ​ พื้นที่​เคลื่อนไหว​ของ พคท. จน​มี​ผู้​พิการ​จาก​การ​เหยียบ​ทุ่นร​ ะเบิด​จำ�นวน​ไม่​น้อย แต่​เมื่อ​สงคราม​ยุติ​ลง​กลับ​นำ�​พื้นที่​ ไป​ให้​โครงการ​ปลูกป​ ่า​เฉลิมพระเกียรติข​ อง​การ​สื่อสาร​แห่ง​ประเทศ​ไทย (กสท.) ทำ�ให้​กระทบ​ต่อท​ ี่ดิน​ทำ�​กินด​ ั้งเดิม ซึ่ง​ ก​สม.ตรวจ​สอบ​และ​หารือท​ ุกฝ​ ่าย จน​นำ�​มา​ซึ่งข​ ้อส​ รุปย​ อมรับร​ ่วม​กันใ​ห้ก​ รม​ป่าไ​ม้ห​ า​พื้นทีใ่​หม่ใ​ห้ กสท. ขณะ​เดียวกัน​ เร่งรัด​การ​แก้​ปัญหา​ที่ดิน​และ​สร้าง​ความ​มั่นคง​ให้​ราษฎร20 2.3.2) ปัญหา​ปา่ อ​ นุรกั ษ์ หรือป​ า่ ต​ น้ นํา้ ทับซ​ อ้ น​ทท​ี่ �​ ำ กนิ แ​ ละ​ทอ​ี่ ยูอ​่ าศัย ปัญหา​ทร​ี่ นุ แรง​และ​ขยาย​ตวั เ​พิม่ ​ ขึน้ เ​ป็นผ​ ล​จาก​การ​ประกาศ​เขต​อทุ ยาน​แห่งช​ าติ และ​ปา่ อ​ นุรกั ษ์ โดย​ขาด​การ​มส​ี ว่ น​รว่ ม​ตรวจ​สอบ​ทดี่ นิ ท​ �​ ำ กนิ แ​ ละ​ทอ​ี่ ยู​่ อาศัย​ของ​ราษฎร ซึ่ง​สืบ​เนื่องจาก​การ​ประกาศ​ป่าส​ งวน​ใน​อดีต และ​ยัง​ไม่​ได้​รับ​การ​แก้ไข​ปัญหา​พิพาท เมื่อ​ประกาศ​ เขต​อทุ ยาน​หรือเ​ขต​อนุรกั ษ์ท​ บั ซ​ อ้ น​ลง​ไป​ใน​สภาพ​ทก​ี่ ฎหมาย​อทุ ยาน​มค​ี วาม​เข้มง​ วด​มาก​ยงิ่ ก​ ว่าป​ า่ ส​ งวน โอกาส​จงึ ย​ งิ่ ​ ยาก​ขึ้น​ที่​ราษฎร​จะ​ได้​รับ​การ​แก้ไข​ปัญหา​ที่ดิน รวม​ถึง​มี​สิทธิ​จัดการ​ดูแล​ป่า​ชุมชน​จำ�นวน​มาก​ที่​ได้​ร่วม​กัน​ดูแล​รักษา​ ไว้ ทำ�ให้​เกิด​การ​ละเมิด​สิทธิ และ​การ​กระทำ�​ที่​ไม่​เป็น​ธรรม​มาก​ยิ่ง​ขึ้น ปัจจุบัน​กำ�ลัง​มี​การ​เร่งรัด​เตรียม​ประกาศ​เขต​ อุทยาน​แห่งช​ าติ​เพิ่ม​ขึ้น​อีก​จำ�นวน 38 แห่ง อัน​จะ​กระทบ​ต่อ​กลุ่มช​ าติพันธุ์ และ​ชาวเล​เพิ่ม​ขึ้น​อีกจ​ ำ�นวน​มาก กรณี​ตัวอย่าง 1) ราษฎร​เผ่า​ลี​ซู​และ​อา​ข่า บ้าน​ห้วย​โก๋น ต.ป่า​ตุ้ม อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ ถูกอ​ ำ�เภอ​ พร้าว​สั่ง​ให้​อพยพ​ออก และ​ใช้​กำ�ลัง​นับ​ร้อย​คน​มา​จับกุม​ดำ�เนิน​คดี​โดย​ไม่มี​การ​ตรวจ​สอบ​หลัก​ฐาน​ทั้ง​ที่​ได้​ครอบ​ ครอง​ทำ�​กิน​โดย​ได้​รับ​สิทธิ​ผ่อน​ผัน​ตาม​มติ ครม.วัน​ที่ 11 พ.ศ. 2542 และ​เป็น​ปัญหา​ความ​ล่าช้า​ใน​กระบวนการ​ตรวจ​ สอบ​พิสูจน์​สิทธิ​ของ​อุทยาน​แห่ง​ชาติ​ศรี​ลาน​นาและ​หน่วย​งาน​รัฐ​เอง21 2) กลุ่ม​อิ่วเมี่ยน บ้าน​วัง​ใหม่ อ.วังเหนือ จ.ลำ�ปาง ถูกอ​ ุทยาน​แห่งช​ าติ​ดอย​หลวง จ.ลำ�ปาง สั่ง​รื้อถ​ อน​ และ​ทำ�ลาย​ต้นก​ าแฟ​และ​พืชผ​ ล โดย​สำ�นักงาน​ป่าไ​ม้เ​ขต​ลำ�ปาง​ได้ส​ ั่งอ​ พยพ​กลุ่มช​ าติพันธุห์​ ลาย​เผ่าท​ ีอ่​ าศัยอ​ ยูใ่​น​เขต​ ต้นนํ้าบ​ ริเวณ​รอย​ต่อ 3 จังหวัด คือ​ลำ�ปาง เชียงราย และ​พะเยา จำ�นวน 5 หย่อม​บ้าน ให้​ลง​มา​อยู่​บริเวณ​เดียวกัน 19 รายงาน​ผล​การ​ตรวจ​สอบ​ที่ 29/2549, เพิ่ง​อ้าง. และ​ใน​รา​ยงานฯ​ฉบับ ปี 2549 เล่ม 2 สิทธิ​ชุมชน หน้า 153 – 172 20 คำ�ร้อง​ที่ 752/2550 21 รายงาน​ผล​การ​ตรวจ​สอบ​ที่ 380/2550


65

3) การเต​รย​ี ม​ประกาศ​อทุ ยาน​แห่งช​ าติไ​ ทย​ประจัน ทับซ​ อ้ น​พนื้ ทีท​่ �​ ำ กนิ ม​ ายา​วนา​นข​อง​ชาว​กะเหรีย่ ง​ บ้านตาก​แดด อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี เมื่อ​ก​สม.ตรวจ​สอบ​และ​ผลัก​ดัน​ให้ม​ ีก​ ระบวนการ​มี​ส่วน​ร่วม​ของ​ประชาชน ก็​ เป็น​เรื่อง​ดี​ที่​มี​การ​ร่วม​มือ​ใน​การ “กัน” พื้นที่ท​ ำ�​กินแ​ ละ​บริเวณ​ที่​ชาว​บ้าน​เสนอ​ขอ​เป็น​ป่า​ชุมชน​ไว้ด​ ้วย อย่างไร​ก็ตาม​ ปัจจุบัน​ยัง​มี​ข้อ​โต้แ​ ย้ง​ที่​ราษฎร​ต้องการ​ให้​เป็นพ​ ื้นที่ สปก. แต่​กรม​ป่า​ไม้​ให้ สทก.(สิทธิท​ ำ�​กิน) เท่านั้น 2.3.3) ปัญหา​สั่ง​อพยพ​ชุมชน​ด้วย​ข้อ​อ้าง​ว่า​เป็น​แหล่ง​ปลูก​ยา​เสพ​ติด หรือ​พัวพัน​แหล่ง​เส้น​ทาง​ ยา​เสพ​ตดิ ช​ ายแดน ข้ออ​ า้ ง​นถ​ี้ กู ท​ าง​อ�ำ เภอ​และ​ก�ำ นันผ​ ใู้ หญ่บ​ า้ น ใช้อ​ �ำ นาจ​สงั่ ใ​ห้อ​ พยพ​ออก​โดย​ไม่ช​ อบ​ดว้ ย​กฎหมาย ทั้ง​ยัง​ไม่มี​มาตรการ​รองรับ​และ​มาตรการ​แก้ไข​เยียว​ยา​ใดๆ กรณี​ตัวอย่าง- ชน​เผ่า​อา​ข่า​บ้าน​ห้วย​เกิด ต.บ้านหลวง อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ ถูกน​ าย​อำ�เภอ​สั่ง​อพยพ​ ออก​จาก​พื้นที่​ใน​ทันที ด้วย​เหตุผล​ว่า​ชุมชน​เป็น​แหล่ง​พัก​ยา​เสพ​ติด​อยู่​ใน​เขต​พื้นที่​ป่า​ต้นนํ้า​และ​อยู่​ห่าง​ไกล​จาก​เขต​ การ​ปกครอง กสม.ได้​ดำ�เนิน​การ​ตรวจ​สอบ​และ​หารือใ​ห้​ทาง​อำ�เภอ​ยุติ​คำ�​สั่ง​ดัง​กล่าว​แล้ว23 2.3.4) ปัญหา​จาก​โครงการ​พัฒนา​ของ​รัฐ หรือ​การ​ให้​สัมปทาน​แก่​เอกชน กรณี​ตัวอย่าง - 1) ชาว​กะเหรี่ยง​บ้าน​ป่าผ​ าก ต.วัง​ยาว อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี ซึ่งม​ ี​วิถี​ชีวิต​อนุรักษ์​ ป่า​และ​ทำ�​ไร่​หมุนเวียน​ต้อง​ออก​จาก​ที่​ทำ�​กิน​ดั้งเดิม​ซึ่ง​อยู่​มา​นับ​ร้อย​ปี เพราะ​มี​โครงการ​ต่างๆ ​มา​ทับ​ซ้อน​ที่​ทำ�​กิน คือ​ สร้าง​สถานีอ​ าหาร​สตั ว์ อ่าง​เก็บน​ าํ้ การ​ประกาศ​เขต​อทุ ยาน​แห่งช​ าติแ​ ละ​การ​ปลูกป​ า่ เ​ฉลิมพระเกียรติ จน​พวก​เขา​ไม่ม​ี ทีท​่ �​ ำ กนิ เ​หลือแ​ ม้แต่น​ อ้ ย​และ​ไม่มห​ี น่วย​งาน​ใด​รบั ผ​ ดิ ช​ อบ​จน​ผา่ น​ไป​เกือบ 10 ปี ทัง้ ท​ ม​ี่ บ​ี นั ทึกข​ อง​หลาย​หน่วย​งาน​รฐั ร​ บั ​ รู้​และ​มีข​ ้อ​ตกลง​ใน​เบื้อง​ต้น​ว่า​ต้อง​มี​ที่ดิน​ทำ�​กิน​ชดเชย ใน​ที่สุด​ถูกจ​ ับกุม 5 ราย ศาล​อุทธรณ์ใ​ห้จ​ ำ�​คุก​โดย​รอ​ลงอาญา คดี​อยู่​ชั้น​ฎีกา​แต่​กำ�ลัง​จะ​ถูก​ฟ้อง​เรียก​ค่า​เสียห​ าย​ทาง​แพ่ง​อีก กรณีน​ ี้ กสม.หารือเ​พือ่ แ​ ก้ไข​ปญ ั หา​โดย​จดั ป​ ระชุมห​ ลาย​ครัง้ ท​ งั้ ร​ ะดับจ​ งั หวัดแ​ ละ​สว่ น​กลาง​ถงึ ข​ นั้ น​ ายก​รฐั มนตรี ก่อน​จัด​ทำ�​รายงาน​ผล​การ​ตรวจ​สอบ​ใน​ปี 2549 ปัจจุบัน​เพิ่ง​จะ​ได้​รับก​ าร​แก้ไข​ให้ผ​ ู้ไ​ม่มี​ที่​ทำ�​กินจ​ ริง​ๆ 14 ครอบครัว ได้​ รับ​สิทธิ​ทำ�​กิน​ใน​บริเวณ​เดิม 106 ไร่ โดย​พวก​เขา​ยืนยันจ​ ะ​รักษา​การ​เป็น​กรรมสิทธิ์ร​ ่วม​ของ​ชุมชน​และ​พยายาม​รักษา​ วิถี​ชีวิต​ไร่​หมุนเวียน​ดั้งเดิม​ไว้​ต่อ​ไป​แม้​จะ​ได้​รับ​พื้นที่​ไม่​มาก​พอ​สำ�หรับ​วิถี​ไร่​หมุนเวียน แต่​กรม​ป่า​ไม้​ก็​ยัง​ให้​เพียง​การ​ ขอ​ใช้​ประโยชน์​โดย​ให้​ลงชื่อ​เป็น​ราย​บุคคล​เพราะ​ไม่มี​ระเบียบ​รองรับ และ​ยัง​ไม่​จบ​สิ้น​กระบวนการ​อนุญาต​เพื่อ​เข้า​ ทำ�​กิน​ได้​จนถึง ณ ขณะ​นี้24 2) การ​ถูก​อพยพ​จาก​การ​สร้าง​เขื่อน​ศรีนครินทร์ อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี25 ซึ่ง​มี​การ​ก่อสร้าง​ปี 2516 โดย​ไม่มก​ี ารเต​รย​ี ม​การ​พนื้ ทีจ​่ ดั สรร​รองรับท​ เ​ี่ หมาะ​สม​และ​เพียง​พอ​ตอ่ ร​ าษฎร 1,200 ครอบครัว ซึง่ ร​ วม​ทงั้ ช​ าว​กะเหรีย่ ง​ ใน​หมู่บ้าน​เก่า​แก่​บริเวณ​นั้น และ​ต่อ​มายัง​มี​การ​ประกาศ​เขต​ป่า​อนุรักษ์​ปี 2524 ทับ​ซ้อน​ที่ดิน​ทำ�​กิน​ที่​จัดสรร​ให้​บาง​

22 คำ�ร้อง​ที่ 383/2551 23 คำ�ร้อง​ที่ 762/2550 24 รายงาน​ผล​การ​ตรวจ​สอบ​ที่ 52/2549 , ดูใ​น​รา​ยงานฯ ปี 2549 เล่ม 2 สิทธิช​ ุมชน หน้า 230 – 252 และ​รายงาน​สถาน​กา​รณ์ฯ ปี 2545 – 48 25 รายงาน​ผล​การ​ตรวจ​สอบ​ที่ 316/2550, ดู​ใน​รา​ยงานฯ ปี 2550

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

โดย​จดั สรร​ทท​ี่ �​ ำ กนิ ใ​ห้ค​ รอบครัวล​ ะ 10 ไร่ แต่ม​ ส​ี ภาพ​แห้งแ​ ล้งจ​ น​ชาว​บา้ น​ตอ้ ง​ไป​หา​รบั จ้าง​จ�ำ นวน​มาก มี 12 ครอบครัว​ ที่​ไม่​สามารถ​ไป​ทำ�งาน​ที่​อื่น​และ​ขอ​ดูแล​พืช​ผล​เดิม​ที่​อยู่​ใน​พื้นที่ โดย​มี​ข้อ​ตกลง​กับ​กระทรวง​เกษตร​ว่า​จะ​ไม่​บุกรุก​ป่า​ เพิ่มแ​ ละ​จะ​ร่วม​กันด​ แู ล​รักษา​ป่า ต่อม​ า​มก​ี าร​บุกรุกป​ ่า เจ้าห​ น้าทีไ่​ด้เ​หมา​รวม​ว่าช​ าว​บ้าน​กลุ่มน​ บี้​ ุกรุก ใน​วันท​ ี่ 29 ก.ค. 2551 กอง​กำ�ลัง​ผสม​กว่า 200 คน​นำ�​โดย​หัวหน้า​อุท​ยาน​ฯ ได้​เข้า​ตัด​ทำ�ลาย​พืช​ผล​ทั้งหมด​ของ​ชาว​บ้าน22


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

66

ส่วน รวม​ทั้ง​ทับ​ซ้อน​ชุมชน​กะเหรี่ยง​เก่า​แก่ใ​น​บริเวณ​นั้นอ​ ีก​ด้วย ซึ่ง​จนถึง​ปัจจุบัน​ยังไ​ม่​กันพ​ ื้นที่อ​ อก​ให้ร​ าษฎร ทั้ง​ใน​ พื้นที่​จัดสรร​หลัง​การ​สร้าง​เขื่อน และ​พื้นที่​ทำ�​กินด​ ั้งเดิม ทำ�ให้​บาง​ส่วน​ถูก​จับกุม​รวม​ทั้ง​ชาว​กะเหรี่ยง 3) ชาว​ลี​ซู บ้าน​หัวนํ้าล​ ีซอ ต.ท่า​ตอน อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่26 เดิม​อำ�เภอ​สั่ง​ให้อ​ พยพ​เฉพาะ​ที่​อยู่อ​ าศัย​ มา​ขอ​อยูก​่ บั ห​ มูบ่ า้ น​อนื่ ร​ มิ ถ​ นน​ไกล​ออก​มา 6 กิโลเมตร โดย​อา้ ง​วา่ อ​ ยูใ​่ กล้ช​ ายแดน​เป็นเ​ส้นท​ าง​ขน​ยา​เสพ​ตดิ แ​ ต่ใ​ห้ก​ ลับ​ ไป​ท�​ ำ กนิ ท​ เ​ี่ ดิม ต่อม​ า​ใช้พ​ นื้ ทีด​่ งั ก​ ล่าว​สง่ เ​สริมก​ าร​ปลูกผ​ กั ข​ อง​โครงการ​หลวง จึงก​ ลาย​เป็นการ​ยดึ ท​ ท​ี่ �​ ำ กนิ โ​ดย​ไม่มก​ี าร​ จัดหา​ที่​ทำ�​กิน​รองรับ และ​มี​การ​ตัด​ฟัน​ต้น​ลิ้น​จี่​โดย​อ้าง​ว่า​ราษฎร​ยินดี​ยก​ให้ โดย​ให้​เข้าไป​ทำ�งาน​รับจ้าง​ใน​โค​รง​การ​ฯ ได้​บ้าน​ละ 1 คน วัน​ละ 100 บาท แต่​ที่​อยู่​ก็​แออัด​และ​เดิน​ทาง​ไกล​มาก​ไป​กลับ​วันล​ ะ 12 กิโลเมตร ที่​สำ�คัญ​คือ​พวก​ เขา​ต้องการ​ดำ�รง​วิถี​ชีวิต​เดิมม​ ี​ที่ดิน​ปลูกข​ ้าว​กิน​เอง จาก​รายงาน​ผล​การ​ตรวจ​สอบ​ฯ​โดย กสม.และ​มี​การ​ปรึกษา​หารือ​ หลาย​ครั้ง ใน​ที่สุด​ก็เ​ยียวยา​แก้ไข​ปัญหา​ไป​ได้บ​ ้าง โดย​ได้ที่​ดิน​ปลูก​ข้าว​กลับ​มา​บาง​ส่วน และ​มี​การ​ปรับปรุง​เงื่อนไข​ การ​รับจ้าง​และ​ฝึก​อบ​รม​อื่น​ๆ ​ประกอบ แต่ย​ ัง​มี​ปัญหา​ที่​อยู่แ​ ออัด และ​บาง​ส่วน​ยัง​ไม่​ได้​สัญชาติ 4) ชุมชน​กะเหรี่ยง​บ้าน​แม่​ตาว ต. แม่​ตาว และ ต.พระ​ธาตุ​ผา​แดง อ.แม่สอด จ.ตาก ได้​รับ​ผล​กระทบ​ จาก​สาร​แคดเมียม​จำ�นวน​มาก​ใน​นา​ข้าว​และ​แหล่ง​นํ้า รวม​ทั้ง​ปัญหา​สุขภาพ โดย​ราชการ​ไม่มี​การ​ตรวจ​สอบ​อย่าง​ จริงจัง​ถึงต​ ้น​เหตุ​ที่มา​และ​แก้ไข จน​ปัจจุบัน​ก็​ยัง​มี​สาร​แคดเมียม​ตกค้าง​อยู่ เพียง​แต่​บริษัท​ที่​ผลิต​แร่​สังกะสี​บริเวณ​ต้น นํ้า ร่วม​สมทบ​เงิน​กับง​ บ​ประมาณ​ของ​รัฐ มา​ซื้อ​ข้าว​มี​สาร​พิษ​ที่​ปลูก​บริเวณ​ดัง​กล่าว​ไป​ทำ�ลาย​ทิ้งอ​ ยู่​สอง​สาม​ปี และ​ ต่อ​มา​รัฐ​ให้ช​ าว​บ้าน​เปลี่ยน​วิถี​การ​ผลิต​จาก​ทุ่ง​นา​ที่​อุดม​สมบูรณ์​ทั้ง​ของ​คน​ไทย​และ​ชาว​กะเหรี่ยง ให้​เป็น​ไร่​อ้อย และ​ ยาง​พารา โดย​ชาว​กะเหรี่ยง​ต่อสู้​ไม่ย​ อม​ละทิ้ง​การ​ปลูก​ข้าว​ตาม​วิถี​ชีวิต​ของ​ตนเอง27 5) ชุมชน​กะเหรี่ยง​บ้าน​แม่ลาน้อย อ.แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน ได้ร​ ับ​ผล​กระทบ​ต่อ​สภาพ​แวดล้อม​และ​ ระบบ​นิเวศ​จาก​การ​ระเบิด​หิน​ภูเขา​ข้าง​หมู่บ้าน​และ​ทุ่ง​นา 8 ปี ทั้ง​ที่​ประทาน​บัตร​เดิม​เป็น​เห​มือ​ง​แร่​ฟลู​ออไรด์​ซึ่ง​ไม่​ กระทบ​ต่อ​ชุมชน เมื่อ​หมด​อายุป​ ระทาน​บัตร ชุมชน​จึง​ต่อสู้​คัดค้าน​การ​ต่อ​อายุป​ ระทาน​บัตร​อย่าง​เข้ม​แข็ง28 6) ชุมชน​กะเหรี่ยง​มะต้อง​สู้ (ทุ่ง​ก้าง​ย่าง) ต.ไทรโยค อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี ถูก​อพยพ​เนื่องจาก​ กองพล​ทหาร​ราบ​ที่ 9 อ้าง​การ​ใช้​พื้นที่​เพื่อ​ความ​มั่นคง​และ​ปลูก​ป่า​เมื่อ​ปี 2530 ชาว​บ้าน​ส่วน​ใหญ่​ยอม​อพยพ​ออก​ โดย​ทหาร​จัด​ที่​ให้​ข้าง​นอก แต่​ไป​อยู่​ไม่ไ​ด้​เนื่องจาก​ทับที่​ทำ�​กิน​ของ​ผู้​อยู่​มา​ก่อน แต่อ​ ีก​กลุ่ม​หนึ่ง​ไม่​ยอม​อพยพ​ออก ซึ่ง กสม.พบ​ว่า ชุมชน​นี้​อยู่​มา​ยาวนาน​แล้ว​ก่อน​พระ​ราช​กฤษฎีกา​สงวน​หวง​ห้าม​ที่​ของ​ทหาร พ.ศ. 2481 จึง​เสนอ​ให้​นำ�​ พวก​เขา​กลับ​คืน​ถิ่น​เดิม29 2.4 การ​ละเมิด​จาก​การ​ไม่​เคารพ​สิทธิ​ชุมชน เรื่อง​วิถี​วัฒนธรรม​ของ​กลุ่ม​ชาติพันธุ์ 2.4.1) ชาว​ลา​หู่​ถูก​จับ​เพราะ​ปลูก​กัญ​ชง ใน​เนื้อที่ป​ ระมาณ 1 งาน ที่ อ.ขุนต​ าล จ.เชียงราย เพื่อ​ใช้​ใน​การ​ ประกอบ​พิธีกรรม และ​เพื่อ​นำ�​ใย​กัญ​ชง​มา​ทำ�​ผ้า ไม่ใช่​ปลูก​พืช​เสพ​ติดตาม​ที่​เจ้า​หน้าที่ต​ ำ�รวจ​ที่มา​จับกุม​เข้าใจ และ​ เป็นการ​จับ​โดย​ไม่มีห​ มาย​ศาล30 2.4.2) การ​ไม่​ยอมรับ​วิถี​ทำ�​ไร่​หมุนเวียน​ของ​ชาว​กะเหรี่ยง ซึ่ง​เป็น​วิถี​วัฒนธรรม​ดั้งเดิม​ที่​อยู่​กับ​ป่า​อย่าง​ อนุรักษ์ โดย​มี​รอบ​การ​หมุนเวียน 7 - 10 รอบ​กว่า​จะ​กลับ​มา​ปลูก​ใน​ที่​เดิม​อีก​ครั้ง​แบบ​กรรมสิทธิ์ร​ ่วม​ของ​ชุมชน โดย​ ทั่วไป​จะ​ไม่​ตัด​ต้นไม้​ใหญ่ ไม่​ตัดต​ ้นไม้​ริม​ห้วย ปลูก​ข้าว​ไร่ พริก​กะเหรี่ยง ผัก และ​ยาสูบ ใน​พื้นท​ ี่​เล็ก​ๆ แต่ละ​ปี เมื่อ​มี​ 26 27 28 29 30

รายงาน​ผล​การ​ตรวจ​สอบ​ที่ 17/ 2549 , ดู​ใน​รา​ยงานฯ ปี 2549 เล่ม 2 สิทธิ​ชุมชน หน้า 80 – 87 รายงาน​ผล​การ​ตรวจ​สอบ​ที่ 28/2549 , ดู​ใน​รา​ยงานฯ ปี 2549 เล่ม 2 สิทธิ​ชุมชน หน้า 119 – 152 รายงาน​ผล​การ​ตรวจ​สอบ​ที่ 64/2549 , ดู​ใน​รา​ยงานฯ ปี 2549 เล่ม 2 สิทธิ​ชุมชน หน้า 327 - 339 รายงาน​ผล​การ​ตรวจ​สอบ​ที่ 90/2549 , ดูใ​น​รา​ยงานฯ ปี 2549 เล่ม 2 สิทธิ​ชุมชน คำ�ร้อง​ที่ 620/ 2547


67

นอกจาก​นี้ ชุมชน​กะเหรี่ยง​ทีม่​ ี​วิถชี​ ีวิตแ​ บบ​ทำ�​ไร่ห​ มุนเวียน กลับถ​ ูกอ​ คติม​ ายา​วนา​นว่าเ​ป็นการ​ทำ�​ไร่เ​ลื่อนลอย ทำ�ลาย​ป่า ไม่​ว่า​จะ​มี​งาน​วิชา​การ​หรือ​ข้อมูล​เชิงป​ ระจักษ์​เพียง​ใด แต่​กฎหมาย และ​มติ ครม. 30 มิย. 2541 ที่​เน้น​ว่า​ ต้อง​มี​การ​ครอบ​ครอง​ทำ�​กิน​อย่าง​ต่อ​เนื่อง หน่วย​งาน​ของ​รัฐ​จึง​ยืนยัน​มา​โดย​ตลอด​ว่า​ชาว​กะเหรี่ยง​ไม่​ได้​ทำ�​กิน​อย่าง​ ต่อ​เนื่อง ดัง​นั้น ​เมื่อ​จะ​มี​การ​สำ�รวจ​และ​กัน​พื้นที่​ทำ�​กินเ​ดิม​ออก​ก่อน​ประกาศ​เขต​อุทยาน จึงไ​ม่​นับ​รวม​พื้นที่ห​ มุนร​ อบ​ ตาม​วถิ ไ​ี ร่ห​ มุนเวียน​หรือไ​ร่ซ​ าก​ดงั ก​ ล่าว แต่จ​ ะ​นบั เ​ฉพาะ​พนื้ ทีท​่ �​ ำ กนิ ข​ ณะ​ส�ำ รวจ​ใน​ปจั จุบนั เ​ท่านัน้ ทำ�ให้ล​ ะเลย​ตอ่ ก​ าร​ อนุรักษ์​วิถี​ชีวิต​แห่ง​ความ​พอ​เพียง​และ​อนุรักษ์​ป่า​ของ​ชุมชน​กะเหรี่ยง ใน​ที่สุด​จึง​เท่ากับ​เป็นการ​ผลัก​ดัน​ให้​ถาง​พื้นที่​ เตียน​โล่ง​และ​ส่ง​เสริม​การ​ปลูก​พืช​เชิงเดี่ยว โดย​เฉพาะ​ข้าว​โพด​ที่​ทำ�ลาย​สภาพ​แวดล้อม เช่น​เดียว​กับ​สภาพ​ปัญหา​ ของ​การ​ปลูก​พืช​เชิงเดี่ยว​โดย​ทั่วไป กรณี​ตัวอย่าง 1) การเต​รี​ยม​ประกาศ​เขต​อุทยาน​แห่ง​ชาติ​ลำ�คลอง​งู​ทับ​ซ้อน​ชุมชน​กะเหรี่ยง บ้าน​ ค​ลิ​ตี้​ล่าง อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี โดย​ไม่​ยอมรับ​การ​สำ�รวจ​พื้นที่ท​ ี่​ครอบ​ครอง​ทำ�​กิน​และ​อนุรักษ์ป​ ่า​ตาม​ตาม​วิถี​ ไร่​หมุนเวียน ทั้งท​ ี่​เป็น​ชุมชน​เก่าแ​ ก่​และ​อยู่​มา​ก่อน​การ​ประกาศ​เขต​ป่า​สงวน โดย​ชุมชน​ร่วม​กับ​มูลนิธิ​สืบ​นาค​ะ​เสถียร​ และ​เจ้าห​ น้าทีท​่ มี่ า​ส�ำ รวจ​ดว้ ย​บาง​ชว่ ง ขอ​กนั พ​ นื้ ทีเ​่ ป็นท​ ท​ี่ �​ ำ กนิ แ​ ละ​ใช้ป​ ระโยชน์แ​ บบ​กรรมสิทธิร​์ ว่ ม​ของ​ชมุ ชน​ออก​จาก​ พื้นที่​ที่​จะ​ประกาศ​อุทยาน​ประมาณ 5,425 ไร่ เพื่อ​รักษา​วิถี​ไร่​หมุนเวียน​ของ​ตนเอง​ซึ่ง​มี​ประชากร​กว่า 50 หลังคา​เรือน โดย​จดั แ​ บ่งเ​ป็นพ​ นื้ ทีไ่​ร่ห​ มุนเวียน​และ​พนื้ ทีเ่​กษตร​ประมาณ 3,492 ไร่ ส่วน​ทเ​ี่ หลือเ​ป็นพ​ นื้ ทีถ​่ นน ห้วย พืน้ ทีช่​ มุ ชน และ​ พื้นที่​อนุรักษ์​จัดการ​ป่าช​ ุมชน แต่​สุดท้าย​กรม​อุทยาน​แห่ง​ชาติ สัตว์​ป่าและ​พันธุ์​พืช กลับ​เสนอ​กัน​พื้นที่อ​ อก​ให้ช​ ุมชน​ เพียง 2,700 ไร่ ซึ่ง​จะ​ส่ง​ผล​กระทบ​ต่อ​ระบบ​วง​รอบ​การ​ทำ�​ไร่​หมุนเวียน ประเพณี​และ​การ​ดำ�รง​วิถี​ชีวิต​ของ​ชุมชน​ที่​ เกี่ยว​เนื่อง​กับก​ าร​ทำ�​ไร่​หมุนเวียน31 ชุมชน​กะเหรีย่ ง​บา้ น​คล​ ต​ิ ล​ี้ า่ ง​ยงั ไ​ด้ร​ บั ผ​ ล​กระทบ​รา้ ย​แรง​จาก​การ​ท�​ ำ เหมือง​ตะกัว่ แ​ ละ​ปล่อย​สาร​ตะกัว่ ล​ ง​ล�ำ ห้วย​ จน​ผู้คน​เจ็บ​ป่วย​ร้าย​แรง ต่อ​มา​ฟ้อง​บริษัท​ทำ�​เหมือง​ซึ่ง​ศาล​อุทธรณ์พ​ ิ​พาก​ษา​ให้จ​ ่าย​ค่า​เสีย​หาย 29.55 ล้าน​บาท32 2) กรณี​การ​ประกาศ​เขต​อุทยาน​แห่ง​ชาติ​พุ​เตย ทับที่​ทำ�​กิน​ของ​ชาว​กะเหรี่ยง​บ้าน​ห้วย​หิน​ดำ� ต.วัง​ยาว อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุร33ี 2.4.3 วิถี​ชีวิต ชาวเล (ชาว​มอ​แกน มอ​แกลน และ​อู​รัก​ละ​โว้ย) ใน​ฐานะ​ประมง​พื้น​บ้าน ที่​ต้อง​อยู่​ริม​ ทะเล โดน​ข้อหา​บุกรุก​ชายฝั่ง บุกรุก​อุทยาน​และ​ถูก​บังคับ​อพยพ กรณี​ตัวอย่าง - ชาว​อู​รัก​ละ​โว้ยบ​ ้าน​สังกะ​อู้ อำ�เภอ​เกาะลันตา จ.กระบี่ ถูก​เจ้า​หน้าที่อ​ ุทยาน​แห่ง​ชาติ​ หมู่​เกาะลันตา​จับกุม​ดำ�เนิน​คดี​ใน​ข้อหา​ดำ�​ปลิง​ใน​เขต​อุทยาน​แห่ง​ชาติ (เกาะ​รอก) และ​ถูก​เจ้า​หน้าที่​หน่วย​อนุรักษ์​ ทาง​ทะเล จังหวัด​กระบี่ จับกุม​ในข้อ​หา​ใช้​อวน​รุน​ช้อน​กุ้ง​เคย​มา​ทำ�​กะปิ พื้นที่ด​ ัง​กล่าว​ชาว​อรู​ ักล​ า​โว้ย​ได้​ใช้​เป็น​แหล่ง​ ทำ�​ประมง​มา​หลาย​ชั่ว​อายุ​คน แต่​ปัจจุบัน​กฎหมาย​ทำ�ให้​ได้​รับ​ความ​ยาก​ลำ�บาก​ใน​การ​ประกอบ​อาชีพ​อย่าง​มาก34

31 32 33 34

รายงาน​การ​ตรวจ​สอบ​ที่ 430/2551 คำ�ร้อง​ที่ 677/2550 และ​ใน​รายงาน​ผล​การ​ปฏิบัติ​งาน​ประจำ�​ปี 2550 สำ�นักงาน​คณะ​กรรมการ​สิทธิ​มนุษย​ชน​แห่​งชาติ รายงาน​ผล​การ​ตรวจ​สอบ​ที่ 59/2549, ดู​ใน​รา​ยงานฯ ปี 2549 คำ�ร้อง​ที่ 511/2551

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

การ​ประกาศ​ป่า​สงวน​แห่ง​ชาติ​หรือ​ป่า​อนุรักษ์ จึง​กลาย​เป็น​ว่าช​ ุมชน​บุกรุก​ป่า แม้​จะ​มีม​ ติ ค.ร.ม. 30 มิ.ย. 2541 ผ่อน​ ผันใ​ห้ท​ �​ ำ กนิ ร​ะหว่าง​รอ​กระบวนการ​พสิ จู น์ส​ ทิ ธิใ​น​เขต​อทุ ยาน​และ​ปา่ ส​ งวน​และ​ให้ม​ ก​ี าร​กนั อ​ อก​กอ่ น​ประกาศ​เขต​อทุ ยาน​ แห่งช​ าติใ​หม่ แต่ก​ ระบวนการ​พสิ จู น์ส​ ทิ ธิม​ กั จ​ ะ​เสียเ​ปรียบ​กฎหมาย​และ​กระบวนการ​ของ​รฐั เนือ่ งจาก​ไม่มเ​ี อกสาร​สทิ ธิ​ หรือ​หลัก​ฐาน​ทาง​ราชการ และ​ใช้​แต่​การ​พิสูจน์​ภาพถ่าย​ทาง​อากาศ​เป็น​หลัก


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

68

2.5 การ​ออก​เอกสาร​สิทธิ​ของ​กลุ่ม​ทุน ทับ​ซ้อน​ที่ดิน​ทำ�​กิน​และ​ที่​อยู่​อาศัย​ของ​กลุ่ม​ชาติพันธุ์ ปัญหา​ การ​แย่งช​ งิ ท​ ดี่ นิ อ​ นั เ​ป็นท​ รัพยากร​ปจั จัยก​ าร​ผลิตข​ นั้ พ​ นื้ ฐ​ าน​ทม​ี่ จ​ี �ำ กัด โดย​กลุม่ ท​ นุ ท​ งั้ ใ​น​ประเทศ และ​ทนุ ข​ า้ ม​ชาติ รวม​ ทั้ง​โครงการ​ที่​รัฐ​สนับสนุน ก่อ​ให้​เกิดก​ าร​ละเมิดส​ ิทธิ​มนุษย​ชน​ต่อร​ าษฎร​ใน​ขอบเขต​ทั่ว​ประเทศ มี​การ​กว้าน​ซื้อ​ที่ดิน​ที่​ ไม่มี​เอกสาร​สิทธิ​ของ​ชุมชน​เพื่อ​ทำ�​ธุรกิจ​การเกษตร​และ​แหล่ง​ท่อง​เที่ยว​จำ�นวน​มาก และ​มี​การ​เอื้อ​ประโยชน์​ระหว่าง​ กลุ่ม​ทุน​กับ​เจ้า​หน้าที่​ของ​รัฐ​บาง​ส่วน​โดย​การ​ออก​เอกสาร​สิทธิ​มิ​ชอบ ปัญหา​นี้​เรื้อรัง​และ​ไม่​ได้​รับ​การ​สะสาง​แก้ไข​ให้​ จริงจัง​ใน​การ​จัดการ​ผู้​ผิด และ​ช่วย​แก้ไข​การ​ฟ้อง​ขับ​ไล่​ชุมชน​ที่​อยู่ม​ า​ก่อน​แต่​ไม่มี​เอกสาร​สิทธิ ทั้งคน​ไทย​ทั่วไป และ​ กลุ่ม​ชาติพันธุ์​ที่​เสีย​เปรียบ โดย​เฉพาะ​อย่าง​ยิ่ง​หลัง​เหตุ​กา​รณ์สึ​นา​มิ​ที่​สร้าง​ความ​สูญ​เสีย​ใหญ่​หลวง​ที่​ภาค​ใต้ ปัญหา​ นีไ​้ ด้แ​ สดงออก​มา​อย่าง​เด่นช​ ดั กว้าง​ขวาง​และ​กอ่ ค​ วาม​เดือด​รอ้ น​อย่าง​ยงิ่ ต​ อ่ ช​ าวเล ซึง่ ม​ ก​ี าร​จ�ำ แนก​เป็นส​ าม​กลุม่ ห​ ลัก คือ ​ชาว​มอ​แกน ชาว​มอ​แกลน และ​ชาว​อู​รัก​ละ​โว้ย ทั้งท​ ี่​ได้​รับ​สัญชาติ​ไทย​และ​ยังไ​ม่​ได้​รับ โดยที่​พวก​เขา​ไม่​เคย​รับ​รู้​ มา​ก่อน​เลย​ว่า ชุมชน​ที่​อยู่ก​ ัน​มายา​วนา​นทำ�ไม​จึงก​ ลาย​เป็น​ที่ดิน​ที่ม​ ี​เอกสาร​สิทธิ​ของ​กลุ่มท​ ุน หลังค​วาม​สูญเ​สีย​จาก​ สึ​นา​มิท​ ี่​ร้าย​แรง หลาย​ชุมชน​ถูกฟ​ ้อง​ขับไ​ล่​จาก​กลุ่ม​ทุนแ​ ละ​มา​ร้อง​เรียน​ต่อ กสม. กรณี​ตัวอย่าง 1) ชาว​มอ​แกน​บ้าน​ทับต​ ะวัน ต.บาง​ม่วง อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา ถูก​กลุ่มท​ ุน​อ้าง​เอกสาร​ สิทธิ​มา​ฟ้อง​ขับ​ไล่​หลัง​สึ​นา​มิ35 ซึ่ง กสม.ตรวจ​สอบ​ทั้ง​จาก​พยาน​บุคคล และ​ภาพถ่าย​ทาง​อากาศ​แล้ว​พบ​ว่า มีป​ ัญหา​ เอกสาร​ขอ้ เ​ท็จจ​ ริงข​ อง​หน่วย​งาน​ของ​รฐั ส​ ญ ู หาย​กรณีท​ มี่ า​ของ​พนื้ ทีใ​่ น​ประทาน​บตั ร​เหมือง​แร่ ซึง่ ต​ าม​กฎหมาย​จะ​ตอ้ ง​ กลับเ​ป็นพ​ ื้นทีด่​ ังเ​ดิม ไม่ส​ ามารถ​ออก​เอกสาร​สิทธิใ​ห้เ​อกชน​ได้ถ​ ้าเ​ป็นพ​ ื้นทีข่​ อง​รัฐ ถึงก​ ระนั้นก​ ็ตาม ช​ าว​มอ​แกน​มา​อยู่​ ใน​พื้นที่​นี้​หลาย​สิบ​ปีแ​ ล้ว โดย​เจ้าของ​ที่ดิน​ไม่เ​คย​เข้า​มา​ทำ�​ประโยชน์​จึง​เท่ากับ​เสีย​สิทธิ​การ​ครอบ​ครอง​ไป​ดัง​นั้น​จึง​ให้​ เพิก​ถอน​เอกสาร​สิทธิ และ​ให้​รัฐบาล​เร่งรัด​การ​รับรอง​สิทธิ​ให้​ชาว​มอ​แกน​ที่​อยู่​มา​ตั้ง​แต่​ก่อน​สึ​นา​มิ รวม​ทั้ง​ช่วย​เหลือ​ เยียวยา​ผล​จาก​สึ​นา​มิ​ด้วย แต่​ปัจจุบัน​เรื่อง​อยู่​ใน​ชั้น​ศาล ทำ�ให้ช​ าว​ทับ​ตะวัน​ลำ�บาก​มาก 2) ชาว​อู​รัก​ละ​โว้ย​ที่​เกาะ​หลี​เป๊ะ อ.เมือง จ.สตูล ซึ่งไ​ด้​บุกเ​บิก​จับจอง​ที่ดิน​บน​เกาะ​หลี​เป๊ะ แต่​ต่อ​มาก​ลับ​ พบ​ว่าที่​ดิน​ของ​พวก​ตน​กลาย​เป็น​ที่ดิน​ของ​นายทุน​ไป​เสีย​แล้ว ทั้ง​ที่​ไม่​เคย​ขาย​หรือม​ อบ​ให้น​ ายทุน​ราย​ใด36 3) ชาว​มอ​แกน​ทเี่​กาะ​หลาว​นอก อ.เมือง จ.ระนอง ถูกเ​อกชน​อ้าง​เอก​สา​รสิทฺธิ น.ส.3 ทับทีด่​ ิน​ทำ�​กิน และ​ก�ำ ลังม​ ก​ี ารเต​รย​ี ม​ประกาศ​อทุ ยาน​แห่งช​ าติท​ บั ซ​ อ้ น​ดว้ ย นอกจาก​นย​ี้ งั ม​ ป​ี ญ ั หา​อทิ ธิพล​มา​คกุ คาม​ชาว​มอ​แกน และ​ ชาว​มอ​แกน​ถูกเ​ลือก​ปฏิบัติท​ ี่​ไม่​เป็นธ​ รรม​ใน​การ​ไป​ขอรับ​บริการ​ทาง​สาธารณสุข37 4) ชาว​มอ​แกน(ไทย​ใหม่) และ​ชาว​อู​รัก​ละ​โว้ย ที่​ชุมชน​หาด​รา​ไวย์ อ.เมือง​ภูเก็ต จ.ภูเก็ต ทีอ่​ พยพ​มา​ จาก​ประเทศ​อินโดนีเซีย​กว่า 200 ปี เข้า​มา​ตั้ง​ชุมชน​อยู่ท​ ี่​ริม​ทะเล​กว่า 1,000 คน มี​อาชีพ​หลักค​ ือ​หา​ปลา หา​หอย​และ​ รับจ้าง​ทั่วไป ปี 2512 พระบาท​สมเด็จ​พระเจ้า​อยู่​หัวเ​สด็จ​ประพาส​และ​เยี่ยม​ชุมชน ต่อ​มา​ผู้ใหญ่​บ้าน​อ้าง​ว่า​มีโ​ฉนด ทำ�ให้​ชาว​บ้าน​ขอ​นํ้า​ประปา​และ​ไฟฟ้าไ​ม่ไ​ด้ ทั้ง​ที่​มี​ทะเบียน​บ้าน​ถาวร​ถึง 117 หลังคา​เรือน ซ่อมแซม​บ้าน​ที่​ทรุดโ​ทรม​ ไม่​ได้ และ​สร้าง​ห้อง​สุขา​ก็ไ​ม่​ได้ นอกจาก​นี้​ยัง​มี​การ​ขยาย​ถนน​หลวง​ผ่าน​ชุมชน สร้าง​คู​ระบาย​นํ้า​ก่อใ​ห้​เกิด​นํ้า​ท่วม​ขัง​ ใน​ชุมชน​และ​ไหล​ลง​บ่อนํ้า​ของ​ชุมชน​ที่​มี​เพียง​บ่อ​เดียว กสม.ตรวจ​สอบ​ภาพถ่าย​ทาง​อากาศ​ของ​กรม​แผนที่​ทหาร ใน​ปี 2519 ปี 2538 และ 2545 ประกอบ​กับ​หลัก​ ฐาน​ของ​โรงเรียน​ที่​มี​ทะเบียน​นักเรียน​เมื่อ​ปี 2475 และ​มี​นักเรียน​จาก​ชุมชน​นี้​เข้า​เรียน​ตั้ง​แต่​ปี 2482 เห็น​ว่า​มี​การ​ออก​

35 รายงาน​ผล​การ​ตรวจ​สอบ​ที่ 25/2548. ดูใ​น​หนังสือท​ จี​่ ดั พ​ มิ พ์โ​ดย สำ�นักงาน กสม เรือ่ ง “พืน้ ทีป​่ ระสบ​ธรณีพ​ บิ ตั ส​ิ น​ึ า​มิ รายงาน​ การ​ละเมิด​สิทธิ​มนุษย​ชน​ปัญหา​ที่ดิน 2549 และ รายงาน​สถาน​กา​รณ์ฯ ปี 2548 หน้า 396 – 400 36 รายงาน​ผล​การ​ตรวจ​สอบ​ที่ 81/2549 ,ดู​ใน​รา​ยงานฯ ปี 2549 เล่ม 2 สิทธิ​ชุมชน หน้า 423 – 443 37 คำ�ร้อง​ที่ 339/2548


69

กติกา​ระหว่าง​ประเทศ และ​กฎหมาย​ที่​เกี่ยวข้อง ใน​การ​พิจารณา​ของ กสม. กติกา​ระหว่าง​ประเทศ​ว่า​ด้วย​สิทธิ​ทางการ​เมือง​และ​สิทธิ​พลเมือง กติกา​ระหว่าง​ประเทศ​ว่า​ด้วย​สิทธิ​ทาง​เศรษฐกิจ สังคม และ​วัฒนธรรม อนุสัญญา​ว่า​ด้วย​สิทธิเ​ด็ก อนุสัญญา​ว่า​ด้วย​การ​ขจัด​การ​เลือก​ปฏิบัตทิ​ าง​เชื้อ​ชาติ​ทุก​รูป​แบบ ปฏิญญา​วา่ ด​ ว้ ย​สทิ ธิข​ อง​ประชาชาติท​ อ้ ง​ถนิ่ ด​ งั้ เดิมแ​ ห่งส​ หประชาชาติ (รับรอง​โดย​สมัชชา​สหประชาชาติ​ ตาม​ข้อ​มติ​ที่ 61/295 เมื่อ​วัน​ที่ 13 กันยายน 2550 ตาม​ข้อ​เสนอ​แนะ​ของ​ข้อ​มติค​ ณะ​มนตรีส​ ิทธิ​มนุษย​ชน​ที่ ½ เมื่อว​ ัน​ที่ 29 มิถุนายน 2549) รัฐธรรมนูญ​แห่ง​ราช​อาณาจักร​ไทย พุทธ​ศักราช 2540 และ 2550 โดย​เฉพาะ​อย่าง​ยิ่ง​มาตรา 4 มาตรา 26 มาตรา 30 มาตรา 66, 67 สิทธิ​ชุมชน และ​แนว​นโยบาย​พื้นฐ​ าน​แห่ง​รัฐ บท​วิเคราะห์ แม้ป​ ระเทศ​ไทย​จะ​เป็นส​ มาชิกส​ หประชาชาติ และ​รว่ ม​ลง​นาม​เป็นภ​ าคี หรือร​ บั รอง​มข​ี อ้ ผ​ กู พันก​ บั ก​ ติกา​ระหว่าง​ ประเทศ และ​ปฏิญญา​วา่ ด​ ว้ ย​สทิ ธิม​ นุษย​ชน​จ�ำ นวน​มาก รวม​ทงั้ ม​ ก​ี าร​ตอ่ สูข​้ อง​ประชาชน​เปลีย่ นแปลง​จาก​ยคุ เ​ผด็จการ​ เป็น​ระบอบ​ประชาธิปไตย​โดย​มี​พระ​มหา​กษัตริย์​เป็น​ประมุข มี​รัฐธรรมนูญ​ที่​มี​ความ​ก้าวหน้า​เรื่อง​ศักดิ์​ศรี​ความ​เป็น​ มนุษย์ สิทธิ​เสรีภาพ และ​ความ​เสมอ​ภาค แต่​จาก​การ​ตรวจ​สอบ​โดย​คณะ​กรรมการ​สิทธิ​มนุษย​ชน​แห่ง​ชาติ​ทั้ง​ราย​ กรณีเ​พือ่ ท​ �ำ ความ​จริงใ​ห้ป​ รากฏ​อย่าง​เทีย่ ง​ธรรม การ​ไกล่เ​กลีย่ ใ​น​กรอบ​สทิ ธิม​ นุษย​ชน จนถึงก​ าร​จดั ท​ �​ ำ รายงาน​ผล​การ​ ตรวจ​สอบ​การ​ละเมิดส​ ิทธิ​มนุษย​ชน โดย กสม. ซึ่งม​ ี​การ​กำ�หนด​มาตรการ​แก้ไข​ปัญหา และ​ข้อเ​สนอ​แนะ​เชิง​นโยบาย​ และ​กฎหมาย รวม​ถึงก​ าร​ทคี่​ ณะ​อนุกรรมการ​ชุดต​ ่างๆ ได้จ​ ัดการ​ศึกษา การ​จัดส​ ัมมนา​วิชา​การ​และ​เชิงป​ ฏิบัตก​ิ าร​เพื่อ​ แก้ไข​ปัญหา ร่วม​กับอ​ งค์กร​เครือข​ ่าย สถาบันว​ ิชา​การ และ​หน่วย​งาน​ต่างๆ ข​ อง​รัฐ มา​โดย​ตลอด มีข​ ้อค​ ้นพ​ บ​ทชี่​ ัดเจน​ ว่า​กลุ่ม​ชาติพันธุ์​ยัง​ถูก​ละเมิดส​ ิทธิ​มนุษย​ชน​และ​มี​การ​ปฏิบัติ​ที่​ไม่​เป็น​ธรรม ทั้ง​ต่อ​กรณี​ราย​บุคคล และ​สิทธิ​ชุมชน​ใน​ การ​จัดการ​ฐาน​ทรัพยากร และ​การ​มี​สิทธิ​มี​ส่วน​ร่วม​ใน​การ​ตัดสิน​ใจ ทุกร​ ะดับ สถานการณ์​การ​ละเมิดส​ ิทธิ​มนุษย​ชน และ​สาเหตุ​แห่ง​ปัญหา อาจ​นำ�​เสนอ​ได้​ใน​สอง​ลักษณะ​ดังนี้ 1) การ​ถูก​ละเมิด​สิทธิ​มนุษย​ชน​เช่น​เดียว​กับ​ประชาชน​ไทย​ทั่วไป ใน​ปัญหา​โครงสร้าง​ภาพ​รวม​ของ​ เศรษฐกิจ การเมือง สังคม​และ​วัฒนธรรม​แห่ง​สังคม​ไทย เช่น 1.1) สิทธิใ​ น​กระบวนการ​ยตุ ธิ รรม โดย​เฉพาะ​กรณีผ​ ล​กระทบ​จาก​นโยบาย​ปราบ​ปราม​ยา​เสพ​ตดิ (และ​ ข้อหา​บกุ รุกท​ �ำ ลาย​ปา่ ) ประชาชน​ทวั่ ไป​กไ็ ด้ร​ บั ผ​ ล​กระทบ​จาก​บญ ั ชีด​ �ำ การ​กล่าว​หา​และ​ยดั ย​ า​บา้ การ​ถกู ล​ อบ​ฆา่ เ​สีย​ ชีวิต​จำ�นวน​มาก​โดย​จับ​ผู้​ฆ่า​ไม่​ได้ และ​มี​การ​สรุป​ทันที​ว่า​เป็นการ​ฆ่า​ตัดตอน​ของ​กลุ่ม​ค้า​ยา​เสพ​ติด​จน​ส่ง​ผล​กระทบ​ ต่อ​เกียรติ​ยศ​ชื่อ​เสียง​ของ​ผู้คน และ​การ​ยึดท​ รัพย์​สิน​ที่​ไม่​เป็น​ธรรม ดัง​เช่น สถิติ​คำ�ร้อง​เรียน​กรณี​นโยบาย​ปราบ​ปราม​ ยา​เสพ​ติด​ปี 2546-47 พุ่งส​ ูง​อย่าง​มาก แม้ก​ รณี​ร้อง​เรียน​ประเด็น​นี้​ของ​กลุ่ม​ชาติพันธุ์​จะ​มี​ไม่​มาก มี​ความ​เป็น​ไป​ได้​ว่า​ เนื่องจาก​ข้อ​จำ�กัด​ที่​ไม่มีส​ มาคม​ของ​กลุ่มช​ าติพันธุ์ หรือ​องค์กร​พัฒนา​เอกชน​ที่​ทำ�งาน​กับช​ ุม​ชน​นั้น​ๆ

38 รายงาน​ผล​การ​ตรวจ​สอบ​ที่ 470/2550, ดู​ใน​รา​ยงานฯ ปี 2550

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

เอกสาร​สิทธิ​ทับที่​ชุมชน จึง​ให้​กรม​ที่ดิน​เพิก​ถอน และ​ออก​เอกสาร​สิทธิ​ให้​ชุมชน​ชาว​ไทย​ใหม่ รวม​ทั้ง​ให้​จังหวัด​ดูแล​ สิทธิ​ขั้น​พื้น​ฐาน​เรื่อง​นํ้าและ​ไฟฟ้า38


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

70

1.2) การ​ถูก​ประกาศ​เขต​ป่า​ทับที่​ดิน​ทำ�​กิน​และ​ที่​อยู่​อาศัย รวม​ทั้ง​การ​อพยพ​ชุมชน เฉพาะ​สถิติ​ของ​ คณะ​อนุกรรมการ​สิทธิ​ใน​การ​จัดการ​ที่ดิน​และ​ป่า​จนถึง 30 กันยายน 2551 ใน​ประเด็น​นี้​มี​ถึงป​ ระมาณ 100 กรณี โดย​ เป็นก​ลุ่มช​ าติพันธุ์ 15 กรณี ซึ่ง​ทำ�ให้ กสม.เสนอ​ต่อศ​ าล​รัฐธรรมนูญ​เพื่อ​วินิจฉัย​ว่า พ.ร.บ.อุทยาน​แห่ง​ชาติ พ.ศ. 2504 มาตรา 6 ว่า​ด้วย​การ​กำ�หนด​ที่ดิน​ให้​เป็นเ​ขต​อุทยาน ขัด​ต่อ​รัฐธรรมนูญ39 เพราะ​กระทำ�​โดย​พนักง​ าน​เจ้า​หน้าที่แ​ ละ​ คณะ​กรรมการ​อทุ ยาน​แห่งช​ าติแ​ ต่เ​พียง​ฝา่ ย​เดียว โดย​ประชาชน​ใน​พนื้ ทีไ​่ ม่มส​ี ว่ น​รว่ ม​ใน​การ​ส�ำ รวจ​พนื้ ที่ ซึง่ ก​ อ่ ป​ ญ ั หา​ มา​อย่าง​กว้าง​ขวาง​และ​ยาวนาน โดย​ใน​ปจั จุบนั ก​ รม​อทุ ยาน​แห่งช​ าติ สัตว์ป​ า่ แ​ ละ​พนั ธุพ์​ ชื ก็ก​ �ำ ลังเ​ตรียม​ประกาศ​เพิม่ ​ อีก 38 แห่ง 1.3) การ​ถกู เ​วนคืน และ​ผล​กระทบ​จาก​โครงการ​ของ​รฐั เช่น สัมปทาน​สวน​ปา่ ท​ งั้ ข​ อง​องค์การ​อตุ สาหกรรม​ ป่าไ​ม้ และ​สวน​ป่า​เอกชน การ​สร้าง​เขื่อน​และ​อ่าง​เก็บ​นํ้าต​ ่างๆ ​ทั่ว​ประเทศ การ​ให้ป​ ระทาน​บัตร​เหมือง​แร่ 1.4) การ​ถูก​เอกสาร​สิทธิ​กลุ่ม​ทุน​ทับที่​ดิน​ของ​บุคคล​และ​ชุมชน​จำ�นวน​มาก​ใน​ทั่ว​ประเทศ 2) ปัญหา​ทม​ี่ ล​ี กั ษณะ​เฉพาะ​ของ​กลุม่ ช​ าติพนั ธุ์ ทีส​่ รุปไ​ ด้ว​ า่ ป​ ญ ั หา​ทห​ี่ นักห​ น่วง​ทสี่ ดุ แ​ ละ​เป็นร​ ากฐาน​ ของ​ปัญหา​ทั้ง​มวล คือ 2.1) การ​เป็นค​ น​ไร้ส​ ญ ั ชาติจ​ �ำ นวน​มาก​และ​เฝ้าร​ อ​การ​แก้ไข​เยียวยา​ของ​รฐั ม​ ายาวนาน ประเด็นน​ ส​ี้ ง่ ผ​ ล​ ร้าย​แรง​ต่อ​การ​ละเมิดศ​ ักดิ์ศ​ รี​ความ​เป็น​มนุษย์ สิทธิ​เด็ก การ​เข้า​ไม่​ถึง​สิทธิ​ขั้น​พื้นฐ​ าน​และ​บริการ​ของ​รัฐ​ทั้ง​มวล รวม​ ถึง​การ​ถูก​เลือก​ปฏิบัติท​ ี่​ไม่​เป็นธ​ รรม รวม​ทั้ง​การ​ถูก​รีด​ไถ ถูก​ฉ้อโกง​และ​ไม่​อาจ​หา​งาน​ทำ� ไม่มี​เสรีภาพ​ใน​การ​เดิน​ทาง​ เช่นค​ น​ไทย​ทั่วไป 2.2) การ​มี​อคติ​ทั้ง​จาก​หน่วย​งาน​ของ​รัฐ และ​สังคม ทำ�ให้​การ​ถูก​ละเมิด​เกิด​ความ​รุนแรง​ยิ่ง​ขึ้น ดัง​เช่น กรณี​ม้ง​ป่า​กลาง จ.น่าน ที่ม​ ี​อคติข​ อง​คน​พื้น​ราบ​สมทบ​กับ​การ​ใช้​อำ�นาจ​มิ​ชอบ​ของ​เจ้า​หน้าที่ร​ ัฐ​ระดับ​สูง​ไป​ด้วย และ​ ถูก​ละเลย​ไม่​ได้​รับ​การ​แก้ไข​ปัญหา​ยาวนาน​ถึง​ปัจจุบัน หรือก​ รณีช​ าว​กะเหรี่ยง​ป่าผ​ าก จ.สุพรรณบุรี ถูกก​ ระทำ�​จาก​โครงการ​ต่างๆ ข​ อง​รัฐอ​ ย่าง​ต่อเ​นื่อง​ถึง 4 โครงการ​ ใหญ่ โดย​ละเลย​ค�ำ ร้อง​ทกุ ข์พ​ วก​เขา​ยาวนาน นอกจาก​ไม่มก​ี ระทัง่ ข​ า้ ว​กนิ ย​ งั ถ​ กู จ​ บั กุมด​ �ำ เนินค​ ดีข​ อ้ หา​บกุ รุกป​ า่ ต​ อ้ ง​ใช้​ วงเงินป​ ระกัน​ตัว​สูง ถ้า​ไม่​ได้​รับก​ าร​ช่วย​เหลือ​จาก​สภา​ทนายความ​และ​หลาย​ฝ่าย รวม​ทั้ง กสม. ก็​จะ​ยิ่ง​ประสบ​ชะตา​ กรรม​หนัก​หน่วง​ยิ่ง​ขึ้น ปัจจุบัน​คดี​ยัง​ไม่​ถึงที่ส​ ุด นอกจาก​นี้ อคติแ​ ละ​ความ​ไม่เ​ข้าใจ​ถงึ ว​ ถิ ช​ี วี ติ ว​ ฒ ั นธรรม​ของ​กลุม่ ช​ าติพนั ธุ์ ยังท​ �ำ ให้เ​ชือ่ โ​ดย​ไม่ต​ รวจ​สอบ ทำ�ให้​ หลาย​กรณี​กระทำ�​ต่อ​พวก​เขา​ประ​หนึ่ง​มิใช่​คน​ไทย หรือ​ไม่​เคารพ​ศักดิ์​ศรี​ความ​เป็น​มนุษย์ และ​ส่ง​ผล​ต่อ​การ​ทำ�ลาย​ วัฒนธรรม ภูมิ​ปัญญา​ของ​กลุ่มช​ าติพันธุ์ เช่น ไร่​หมุนเวียน 2.3) ความ​เคยชินใ​ น​การ​ใช้อ​ �ำ นาจ​เหนือป​ ระชาชน​ของ​หน่วย​งาน​และ​เจ้าห​ น้าทีข​่ อง​รฐั และ​ไม่ย​ อมรับ​ สิทธิต​ าม​รัฐธรรมนูญ โดย​เฉพาะ​การ​มี​ส่วน​ร่วม​ของ​ประชาชน เมื่อ​ประกอบ​กับ​การ​ขาด​อำ�นาจ​ต่อ​รอง การ​ไม่รู้​ สิทธิแ​ ละ​กฎหมาย ขาด​โอกาส​ใน​การ​ศกึ ษา รวม​ทงั้ ไ​ม่มช​ี อ่ ง​ทางการ​รอ้ ง​ทกุ ข์ท​ ม​ี่ ป​ี ระสิทธิภาพ การ​ไม่อ​ ยูใ​่ น​ความ​สนใจ​ และ​รับ​รู้​ของ​สาธารณะ​โดย​ง่าย กระทั่ง​ปัญหา​การ​สื่อสาร​และ​ภาษา ทำ�ให้​มี​แนว​โน้ม​ที่​การ​ละเมิด​สิทธิ​มนุษย​ชน​ต่อ​ กลุ่ม​ชาติพันธุ์​เป็นไ​ป​อย่าง​รุนแรง 39 มาตรา 6 บัญญัติ​ว่า“เมื่อ​รัฐบาล​เห็น​สมควร​กำ�หนด​บริเวณ​ที่ดิน​แห่ง​ใด​ที่​มี​สภาพ​ธรรมชาติ​เป็น​ที่​น่า​สนใจ ให้​คง​อยู่​ใน​สภาพ​ ธรรมชาติ​เดิม​เพื่อ​สงวน​ไว้​ให้​เป็น​ประโยชน์​แก่​การ​ศึกษา​และ​รื่นรมย์​ของ​ประชาชน ก็​ให้​มี​อำ�นาจ​กระทำ�​ได้​โดย​ประกาศ​พระ​ ราช​กฤษฎีกา และ​ให้​มี​แผนที่แ​ สดง​แนว​เขต​แห่ง​บริเวณ​ที่​กำ�หนด​นั้น แนบ​ท้าย​พระ​ราช​กฤษฎีกา​ด้วย บริเวณ​ที่​กำ�หนด​นี้​เรียก​ ว่า “อุทยาน​แห่ง​ชาติ” ดูร​ าย​ละเอียด​ใน​คำ�ฟ้อง​ของ กสม.ต่อ​ศาล​รัฐธรรมนูญ ซึ่ง​กำ�ลัง​อยู่​ใน​ขั้น​ตอน​การ​พิจารณา​ของ​ศาล​ รัฐธรรมนูญ


71

บท​สรุป การ​ละเมิดส​ ทิ ธิม​ นุษย​ชน​ตอ่ ก​ ลุม่ ช​ าติพนั ธุต​์ า่ งๆ โดย​เฉพาะ​อย่าง​ยงิ่ ใ​น​มติ ก​ิ ระบวนการ​ยตุ ธิ รรม และ​สทิ ธิช​ มุ ชน​ ท้อง​ถนิ่ ใ​น​การ​จดั การ​และ​มส​ี ว่ น​รว่ ม​ตดั สินใ​จ​ใน​ฐาน​ทรัพยากรธรรมชาติ สิง่ แ​ วดล้อม และ​คณ ุ ภาพ​ชวี ติ แท้จริงแ​ ล้วเ​ป็น​ ประเด็น​ปัญหา​ร่วม​กับป​ ระชาชน​กลุ่ม​ต่างๆ ทั่ว​ประเทศ โดย​เฉพาะ​ใน​ชนบท อัน​เป็น​ผล​จาก​ทิศทาง​การ​พัฒนา​ที่​เน้น​ แต่​การ​ส่ง​เสริม​การ​ลงทุน การ​ส่ง​ออก และ​ตัวเลข​การ​เติบโต​ทาง​เศรษฐกิจ เน้น​ความ​เติบโต​และ​เข้ม​แข็ง​ของ​กลุ่ม​ทุน​ ทั้ง​ทุน​ข้าม​ชาติ และ​ทุน​ภายใน​ประเทศ มาก​กว่า​เอา​คน​เป็น​ตัว​ตั้ง โดยที่​โครงสร้าง​การ​จัดการ​ปัญหา​ของ​รัฐ​ทุกร​ ะดับ​ ยัง​ใช้​แต่​อำ�นาจ​เป็น​หลัก ละเลย​และ​ไม่เ​คารพ​ต่อ​สิทธิ​ประชาชน​ตาม​รัฐธรรมนูญ มี​ปัญหา​กฎหมาย กฎ ระเบียบ ที่​ ยัง​ล้า​หลังแ​ ละ​ขัด​ต่อ​รัฐธรรมนูญจ​ ำ�นวน​มาก เมื่อป​ ระกอบ​กับ​พรรคการเมือง​และ​รัฐบาล​ทุก​ยุค​สมัยไ​ม่มนี​ โยบาย​และ​ เจตจำ�นง​ที่​ชัดเจน ที่​จะ​สร้าง​ความ​มั่นคง​ใน​ที่ดิน​ทำ�​กินแ​ ละ​ที่​อยู่​อาศัย ไม่มีก​ าร​ปฏิรูป​ที่ดิน และ​ยังฝ​ ัง​ลึก​กับ​ความ​ไม่​ เข้าใจ​ใน​มิติ​สิทธิ​มนุษย​ชน และ​ความ​มี​อคติ​ต่อ​กลุ่ม​ชาติพันธุ์ โดย​เฉพาะ​อย่าง​ยิ่ง​อ้าง​แต่​ฐาน​ความ​มั่นคง​เป็น​หลัก ทำ�ให้ไ​ม่มก​ี าร​เร่งรัดด​ �ำ เนินก​ าร​เรือ่ ง​สญ ั ชาติไ​ทย​อนั เ​ป็นส​ ทิ ธิข​ นั้ พ​ นื้ ฐ​ าน​ของ​มนุษย์ และ​เป็นฐ​ านราก​ใน​การ​เข้าถ​ งึ ส​ ทิ ธิ​ และ​บริการ​ต่างๆ โดย​เฉพาะ​กลุ่ม​ที่​ควร​จะ​ได้ร​ ับ​มา​เป็น​เวลา​ยาวนาน​แล้ว รวม​ทั้งคน​ไทย​พลัด​ถิ่น

บน​เส้น​ทาง​แห่ง​การ​ต่อสู้​และ​เรียน​รู้​ของ​กลุ่ม​ชาติพันธุ์ แม้​จะ​อยู่​พื้นที่​ห่าง​ไกล กระจัดกระจาย​และ​มี​ข้อ​จำ�กัด​นานัปการ กลุ่ม​ชาติพันธุ์​ต่างๆ มี​การ​เรียน​รู้ สร้าง​ความ​ ตระหนัก​มาก​ขึ้น​และ​เข้ม​แข็ง​ขึ้น​ใน​การ​ต่อสู้​เพื่อ​สิทธิ​ความ​เป็น​ธรรม ดัง​จะ​เห็น​ได้​จาก​มี​การ​พัฒนาการ​รวม​กลุ่ม​ใน​ แต่ละ​กลุม่ ช​ าติพนั ธุ์ และ​การ​ท�ำ งาน​ขา้ ม​กลุม่ ช​ าติพนั ธุ์ รวม​ทงั้ ป​ ระสาน​งาน​กบั เ​ครือข​ า่ ย​องค์กร​พฒ ั นา​เอกชน สถาบัน​ วิชา​การ และ​องค์กร​ระหว่าง​ประเทศ ทำ�ให้​การ​ปกป้อง​สิทธิ และ​การ​รณรงค์​เพื่อ​ส่งเ​สริม​และ​คุ้มครอง​สิทธิ​มนุษย​ชน​ เป็น​ไป​ใน​ทิศทาง​ที่​ดี​ขึ้น รวม​ทั้ง​เครือ​ข่าย​คน​ไทย​พลัดถ​ ิ่น ใน​การ​ขึ้น​ทะเบียน​องค์กร​พัฒนา​เอกชน​ที่​เป็น​นิติบุคคล ตาม พ.ร.บ.คณะ​กรรมการ​สิทธิ​มนุษย​ชน​แห่ง​ชาติ พ.ศ. 2542 เพื่อ​ร่วม​มี​ส่วน​ใน​คัด​เลือก​คณะ​กรรมการ​สรรหา “กรรมการ​สิทธิ​มนุษย​ชน​แห่ง​ชาติ” (ก่อน​รัฐธรรมนูญ 2540 ถูกฉ​ ีก​ทิ้ง​ไป) และ​การ​ทำ�งาน​ร่วม​มือ​อย่าง​ใกล้​ชิด หรือเ​ป็น​ตัวแทน​รับ​เรื่อง​ร้อง​เรียน​ให้ กสม. ใน​บรรดา​องค์กร​ ที่​ขึ้น​ทะเบียน​ทั้งหมด 73 องค์กร (ณ วัน​ที่ 11 พฤศจิกายน 2551) ปรากฏ​ว่า​ได้​รับ​ความ​สนใจ​จาก​องค์กร​นิติบุคคล​ ของ​กลุ่ม​ชาติพันธุ์ 8 องค์กร กสม. เอง​มไิ ด้ม​ ค​ี วาม​ประสงค์จ​ ะ​ให้ม​ ก​ี าร​ขนึ้ ท​ ะเบียน หรือจ​ �ำ กัดก​ าร​ท�ำ งาน​เฉพาะ​องค์กร​นติ บิ คุ คล แต่ก​ ฎหมาย​ บัญญัติ​ไว้ ซึ่ง​ใน​ความ​เป็น​จริง​ตลอด 7 ปี​ที่​ผ่าน​มา กสม.ให้​ความ​สำ�คัญ​ใน​การ​ทำ�งาน​ร่วม​กับ​องค์กร​เครือ​ข่าย​ทั้ง​ ชาว​บ้าน องค์กร​พัฒนา​เอกชน และ​นัก​วิชา​การ ที่ไ​ม่​เป็น​นิติบุคคล​จำ�นวน​มาก ซึ่งม​ ี​หลาย​องค์กร​ที่​เป็นก​ลุ่มช​ าติพันธุ์ หรือ​เป็น​องค์กร​ที่​ทำ�งาน​ประเด็น​กลุ่มช​ าติพันธุ์ รวม​ทั้ง​เครือ​ข่าย​คน​ไทย​พลัด​ถิ่น นอกจาก​การ​ร้อง​เรียน​แทน​กลุ่ม​ชาติพันธุ์ สมาคม และ​องค์กร​ต่างๆ ​เหล่า​นี้​ยัง​มี​ส่วน​อย่าง​สำ�คัญ​ใน​การ​ สนับสนุน​งาน​ของ กสม. เช่นก​ าร​รวบรวม​ข้อมูล​ข้อ​เท็จ​จริง เพราะ​ผู้​เสีย​หาย​เอง​ยังม​ ี​ข้อ​จำ�กัดอ​ ยู่​ไม่​น้อย และ​ร่วม​กัน​

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

2.4) การ​ขาด​นโยบาย​ของ​รัฐ​ใน​มิติ​สิทธิ​มนุษย​ชน และ​กลไก​แก้ไข​ปัญหา​ที่​มี​ประสิทธิภาพ แม้​จะ​มี​ การ​จัด​ทำ� “นโยบาย​และ​แผน​ปฏิบัติ​การ​แม่บท​แห่ง​ชาติ​ว่า​ด้วย​สิทธิ​มนุษย​ชน” ใน​โอกาส​ครบ​รอบ 50 ปี​ของ​ ปฏิญญา​สิทธิ​มนุษย​ชน​สากล และ​ค​รม.มี​มติ​เห็นช​ อบ​เมื่อ 17 ตุลาคม 2543 แต่​จน​แผน​ปฏิบัติก​ าร​นี้​หมด​วาระ​ลง​ใน​ ปี 2548 (ปัจจุบัน​ รัฐบาล​กำ�ลัง​เตรียม​ร่าง​แผน​แม่บท​สิทธิ​มนุษย​ชน​แห่ง​ชาติ​ฉบับ​ที่ 2) ก็ไ​ม่มี​หน่วย​งาน​ระดับ​สูง​ของ​ รัฐ​มา​เป็น​เจ้า​ภาพ​ติดตาม​และ​กำ�กับด​ ูแล​ให้​เกิด​การ​ปฏิบัติ​ที่​เป็น​รูป​ธรรม​แต่​อย่าง​ใด และ​เกือบ​ทุกก​ รณี​สะท้อน​อย่าง​ ชัดเจน​ใน​ความ​ล่าช้า​ใน​การ​แก้ไข​ปัญหา​ร้อง​ทุกข์​ใน​กลไก​ปกติ​ของ​รัฐ ทั้ง​ส่วน​กลาง​และ​ระดับ​จังหวัด รวม​ทั้ง​แม้​จะ​มี​ รายงาน​ผล​การ​ตรวจ​สอบ​โดย กสม.เสนอ​ต่อ​นายก​รัฐมนตรี​แล้ว​ก็ตาม


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

72

สร้าง​ความ​รับ​รู้​สิทธิ​เสรีภาพ การ​สร้าง​ความ​เข้มแ​ ข็ง​ใน​กระบวนการ​ดำ�เนิน​งาน​ของ​ชุมชน รวม​ทั้ง​การ​ประสาน​เรียน​รู้​ กับ​ชุมชน และ​หน่วย​งาน​ต่างๆ จนถึง​การ​ทำ�งาน​เครือ​ข่าย​ระหว่าง​ประเทศ ซึ่ง​ทิศทาง​เช่น​นี้​มี​ส่วน​สำ�คัญ​ยิ่ง​ใน​การ​ส่ง​ เสริมแ​ ละ​ปกป้อง​สิทธิ​มนุษย​ชน​ให้​กลุ่ม​ชาติพันธุ์​อย่าง​มั่นคง​ต่อ​ไป

ข้อ​เสนอ​แนะ​ใน​การ​ขับ​เคลื่อน​เพื่อ​การ​เคารพ​สิทธิ​มนุษย​ชน​ของ​กลุ่ม​ชาติพันธุ์ (และ​คน​ไทย​พลัดถ​ ิ่น) 1) ทิศทาง​การ​ต่อสู้​เพื่อ​สิทธิ​เสรีภาพ​ของ​กลุ่ม​ชาติพันธุเ์​อง จะ​ต้อง​ทำ�งาน​ร่วม​กับ​ประชาชน​ไทย​โดย​ รวม ประสาน​การ​แก้ไข​ปญ ั หา​เรือ่ ง​ทศิ ทาง​การ​พฒ ั นา และ​ความ​ไม่เ​ป็นธ​ รรม​ใน​โครงสร้าง​สงั คม ใน​การ​ท�ำ ให้​ โครงสร้าง​และ​ทิศทาง​การเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม ของ​สังคม​ไทย​เปลี่ยนแปลง ด้วย​การ​พัฒนา​ทยี่​ ึดป​ ระชาชน​เป็น​ ตัว​ตั้ง​อย่าง​แท้จริง โดย​เฉพาะ​ปัญหา​การ​ปฏิรูปท​ ี่ดิน การ​แก้ไข​ปัญหา​ที่ดินถ​ ูก​ทับ​ซ้อน​จาก​กลุ่ม​ทุน​และ​รัฐ การ​เคารพ​ สิทธิก​ าร​มส​ี ่วน​ร่วม​รับร​ ตู้​ ัดสินใ​จ และ​จัดการ​ฐาน​ทรัพยากร​ของ​ชุมชน ก่อน​ก�ำ หนด​แผน​พัฒนา​ภาค แผน​พัฒนา​สาขา จนถึง​แผน​พัฒนา​ทุก​ระดับ รวม​ทั้ง​ก่อน​การ​ดำ�เนิน​โครง​การ​ใดๆ ประกอบ​กับ​การ​เป็น​สังคม​ประชาธิปไตย​ที่แท้​จริง ดัง​นั้น​การ​ใช้อ​ ำ�นาจ​รัฐ​ทุก​ระดับต​ ้อง​ได้​รับก​ าร​ตรวจ​สอบ​จาก​ประชาชน 2) สังคม​ไทย​ต้อง​รณรงค์​ร่วม​กัน​ใน​การ​สร้าง​ความ​เข้าใจ​ต่อ​วิถี​ชีวิต วัฒนธรรม​ของ​กลุ่ม​ชาติพันธุ์ และ​เคารพ​ต่อ​ความ​ต่าง​กัน โดย​ประสาน​ความ​ร่วม​มือ​ให้​มาก​ที่สุด​บน​พื้น​ฐาน​การ​แก้ไข​ปัญหา​ร่วม​กัน ทั้ง​ใน​การ​ จัดการ​ป่า การ​จัดการ​นํ้า​และ​อื่น​ๆ ทั้ง​ใน​ระดับ​รัฐ /ภูมิภาค องค์กร​ปกครอง​ส่วน​ท้อง​ถิ่น ใน​ชุมชน หรือร​ ะหว่าง​ชุมชน รวม​ทั้ง​การ​เผย​แพร่​ภูมิ​ปัญญา​ของ​พวก​เขา เช่น กรณี​สึ​นา​มิ ที่​ชาวเล พา​ดารา​และ​นัก​ท่อง​เที่ยว​วิ่ง​หนี​ขึ้น​ที่​สูง​จน​ ปลอดภัย การ​ยอมรับ​เศรษฐกิจ​พอ​เพียง​แบบ​วิถี​ไร่​หมุนเวียน ซึ่ง​สอดคล้อง​กับ​การ​รักษา​สภาพ​แวดล้อม หรือ​กรณี​ ประวัติ​ความ​เป็น​มา​ของ​ชุมชน​แม่อาย ที่​ถูกเ​พิก​ถอน​ทะเบียน​และ​การ​มีส​ ัญชาติ​ไทย​อย่าง​ไม่​เป็น​ธรรม 3) รัฐบาล​ต้อง​เร่งรัด​มาตรการ​แก้ไข​ปัญหา​สัญชาติ โดย​จัด​กระบวนการ​สำ�รวจ​ให้​ทั่ว​ถึงแ​ ละเร่ง​การ​ พิสจู น์ส​ ญ ั ชาติไ​ทย​ให้ก​ บั ก​ ลุม่ ช​ าติพนั ธุแ​์ ละ​คน​ไทย​พลัดถ​ นิ่ โ​ดย​เร่งด​ ว่ น โดยทีร​่ ะหว่าง​ตรวจ​สอบ​และ​แก้ไข​ปญ ั หา ต้อง​ชว่ ย​ให้พ​ วก​เขา​ได้ร​ บั ส​ ทิ ธิข​ นั้ พ​ นื้ ฐ​ าน​ใน​ความ​เป็นม​ นุษย์ เช่น การ​ศกึ ษา การ​รกั ษา​พยาบาล อาชีพ สาธารณูปโภค 4) ต้อง​มก​ี าร​แก้ไข​ยทุ ธศาสตร์ก​ าร​จดั การ​ปญ ั หา​สถานะ​และ​สทิ ธิบ​ คุ คล​และ​การ​ผอ่ น​ผนั ใ​ ห้บ​ คุ คล​บน​ พืน้ ทีส​่ งู แ​ ละ​ชมุ ชน​บน​พนื้ ทีส​่ งู อ​ าศัยอ​ ยูช​่ วั่ คราว​ทเ​ี่ น้นม​ ติ ค​ิ วาม​มนั่ คง​เป็นด​ า้ น​หลัก ให้เ​น้นก​ าร​สร้าง​ความ​มนั่ คง​ ของ​มนุษย์​เป็น​หลัก โดย​มี​กระบวนการ​มี​ส่วน​ร่วม​ของ​องค์กร​ภาคี​ต่างๆ และ​แก้ไข​กฎหมาย กฏ​ระเบียบ​ต่างๆ ​ที่​ไม่มี​ กระบวนการ​มี​ส่วน​ร่วม​ของ​ประชาชน และ​ชุมชน 5) ทีส​่ �ำ คัญท​ สี่ ดุ ค​ อื ต้อง​มก​ี าร​จดั การ​เรือ่ ง​สทิ ธิใ​ น​ทดี่ นิ ท​ �​ ำ กนิ แ​ ละ​ทอ​ี่ ยูอ​่ าศัยใ​ ห้ม​ นั่ คง ทัง้ แ​ ก่ป​ ระชาชน​ ทั่วไป และ​ต่อ​กลุ่ม​ชาติพันธุ์ มี​การ​ปฏิรูป​ที่ดิน​ที่​กระจาย​สิทธิ​การ​ถือ​ครอง​ที่ดิน​อย่าง​เป็น​ธรรม ใน​เฉพาะ​ หน้าต​ อ้ ง​ชะลอ​การ​ประกาศ​เขต​อทุ ยาน​แห่งช​ าติแ​ ละ​ปา่ อ​ นุรกั ษ์เ​พิม่ เ​ติม โดย​เร่งรัดก​ าร​มส​ี ว่ น​รว่ ม​ของ​ประชาชน​ใน​การ​ ตรวจ​สอบ​และ​กัน​พื้นที่​ของ​ประชาชน​ที่​ครอบ​ครอง​อยู่ก​ ่อน และ​ตระหนักถ​ ึง​วิถี​ไร่​หมุนเวียน​ด้วย


73

ดร. ศรีประภา เพชรมีศรี 2

บทนำ� “เขตแดนคือเส้นสมมุตทิ กี่ ำ�หนดขอบเขตทางกายภาพของเขตอำ�นาจการปกครองของรัฐหรือขอบเขตอำ�นาจ อธิปไตย อันหมายถึงขอบเขตของหน่วยบริหาร” ในระดับระหว่างประเทศ รัฐชาติกำ�หนดขอบเขตทางกายภาพด้วย สิง่ ทีเ่ รียกว่าดินแดน และขอบเขตทางประชากรด้วยสัญชาติ3 คนชาติของรัฐใดรัฐหนึง่ ได้รบั การยอมรับว่าเป็นสมาชิก ของชุมชนทางการเมืองนัน้ ๆ ส่วนคนทีไ่ ม่ได้เป็นคนชาติกเ็ ป็นต่างด้าว หรือคนต่างชาติซงึ่ ไม่มสี ทิ ธิทจี่ ะได้รบั การปฏิบตั ิ หรือได้รับสิ่งที่เป็นสิ่งมีคุณค่าของสังคม (membership goods) เหมือนคนที่อยู่ในฐานะสมาชิก การแบ่งแยกระหว่าง คนชาติและคนที่ไม่ได้เป็นคนชาติ บางครั้งและบ่อยครั้ง ชัดเจนเสียยิ่งจนทำ�ให้เกิดความรู้สึกแยก “เรา” และ “เขา” และยิ่งเป็นการตอกยํ้าสิ่งที่เรียกว่ารัฐที่กีดกัน (exclusive state) ให้สิทธิเฉพาะสมาชิก การผ่านเข้า-ออกเขตแดนจึง มีการจำ�กัดและต้องควบคุม แน่นอนที่สุดว่า การกำ�หนดเขตแดนสนองวัตถุประสงค์บางประการ Coleman และ Harding มองว่า “เขตแดน และพรมแดนของประเทศใช้เพื่อเป็นเครื่องหมายกำ�หนดหน่วยบริหารเพื่อกำ�กับควบคุมการผลิตและการจัดสรร ทรัพยากรของโลก”4 ทั้งสองคนมองว่า เขตแดนทางการเมือง แม้ว่าจะดูไร้เหตุผลและไม่เป็นธรรม หากสมมุติขึ้น เพือ่ ความสะดวก แต่กม็ คี วามหมายในเชิงคุณธรรมเพราะมันเป็นสิง่ กำ�หนดขอบเขตทีภ่ ายในพรมแดนนัน้ ๆ หลักการ การกระจายความเป็นธรรม (distributive justice) จะถูกนำ�มาใช้ เพื่อจัดสรรทรัพยากรให้แก่สมาชิกของชุมชนทางการ เมืองของดินแดนที่สมมุติขึ้น ผู้ที่อยู่นอกเขตแดนไม่มีสิทธิเรียกร้องทรัพยากรดังกล่าว การจัดสรรทรัพยากรในบรรดา สมาชิกของชุมชนแต่ละแห่ง ขึ้นอยู่กับว่าเขามีคุณสมบัติสอดคล้องเงื่อนใขที่หลักการนั้นวางไว้หรือไม่ 5 แน่นอนที่สุด แนวคิดดังกล่าวนี้ เป็นแนวคิดทีส่ นับสนุนรัฐทีก่ นั คนทีไ่ ม่ได้เป็นสมาชิกออก และก่อให้เกิดสิง่ ทีเ่ รียกว่าการเลือกปฏิบตั ิ กับคนที่ไม่ได้เป็นคนชาติหรือสมาชิกของชุมชนการเมืองนั้นๆ แต่ Coleman และ Harding ก็ยอมรับว่า เขตแดนทางการเมือง (และเศรษฐกิจ) ไม่เป็นธรรมและไม่สมบูรณ์ กระนั้นก็ตาม ผู้มีอำ�นาจทางการเมืองของระบบรัฐชาติสมัยใหม่ใช้เขตแดนทั้งในเชิงแนวคิดและในทางปฎิบัติเพื่อ กำ�กับความเป็นสมาชิกในลักษณะของสัญชาติและคนชาติ แม้ว่าในปัจจุบันพรมแดนของชุมชนทางการเมืองไม่ เพียงแต่ไม่เพียงพอที่จะอธิบายความชอบธรรมได้แล้ว ยังถูกท้าทายโดยเศรษฐกิจโลก เทคโนโลยีการสื่อสาร เครือ 1 การอ้างอิงบทความ ควรได้รับอนุญาตจากเจ้าของบทความ 2 สำ�นักงานสิทธิมนุษยชนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล 3 William Wetherall, Nationality in Japan, in Soo Im Lee, et al, (eds), Japan’s Diversity Dilemmas: Ethnicity, Citizenship, and Education, New York, iUniverse, Inc., New York, 2006, p.11 4 Jules L.Coleman and Sarah K.Harding, Citizenship, the demands of justce, and the moral relevance of political borders, in Schwartz, Warren,ed., Justice in Immigration, p.35 5 เพิ่งอ้าง หน้า 38.

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

เขตแดน ผู้คน และสัญชาติ จากมุมมอง สิทธิมนุษยชน1


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

74

ข่ายระหว่างประเทศและเครือข่ายข้ามชาติ วัฒนธรรมที่มีความเป็นพหุมากขึ้นก็ตาม6 Seyla Benhabib ชี้ให้เห็นว่า “สัญชาติและแนวปฏิบัติเรื่องความเป็นสมาชิกของชุมชนทางการเมืองเป็นเรื่องของพิธีกรรมบางอย่างซึ่งชาติถูก และได้ผลิตซํ้าภายในขอบเขตดินแดนหนึ่งๆ การควบคุมพรมแดนซึ่งยึดโยงกับอธิปไตยในแนวคิดของรัฐชาติสมัย ใหม่ เพื่อที่จะประกันความ “บริสุทธิ์” ของชาติในห้วงเวลาด้วยนโยบายเกี่ยวกับความสัมพันธ์และการติดต่อสื่อสาร และการปฏิสัมพันธ์ในแง่พื้นที่”7 เธอโต้แย้งต่อไปว่า “ประวัติศาสตร์ของสัญชาติและความเป็นพลเมืองหรือคนชาติ แสดงให้เห็นว่า ชาตินิยมเป็นอุดมการณ์ที่พยายามจับเอาความเป็นจริงที่ซับซ้อน ควบคุมไม่ได้ อุ้ยอ้ายเทอะทะมา ใส่แบบพิมพ์ทอี่ ยูบ่ นพืน้ ฐานของหลักการปกครองทีถ่ กู ลดทอนให้เป็นเรือ่ งง่ายๆ อย่างเช่นแนวคิดการเป็นสมาชิกของ ชาติ ผลก็คือทุกชาติมีความเป็นอื่นของตนเองทั้งภายในและภายนอก”8 ข้อโต้แย้งดังกล่าวนี้ ตอกยํ้าสิ่งที่ Benedict Anderson เรียกว่า “ชุมชนจินตนาการ” รัฐชาติ เป็นชุมชนทางการเมืองที่จินตนาการขึ้น มันถูกจินตนาการให้จำ�กัด และมีอธิปไตย และเพราะจินตนาการนี้เอง ที่รัฐชาติเป็นหน่วยที่กีดกัน”9 ซึ่งหมายความว่า คนบางกลุ่มบางประเภท สามารถเป็นส่วนหนึง่ ของชุมชนทีถ่ กู สร้างขึน้ บนพืน้ ฐานของหลักเกณฑ์ทกี่ �ำ หนดขึน้ แคบๆ ในขณะทีค่ นอืน่ อีกจำ�นวน มากถูกกีดกันออกไป และนี่เป็นความจริงสำ�หรับทุกชาติ หากแต่นยั ยะของเขตแดนไม่อาจเข้าใจได้เพียงจากมุมมองของพรมแดนหรือพืน้ ทีท่ างภูมศิ าสตร์ เขตแดนถูก สร้างขึ้นในพื้นที่ทางวัฒนธรรมและทางสังคมเช่นกัน ยิ่งไปกว่านั้น เขตแดนสามารถถูกสร้างขึ้นอย่างง่ายดายทั้งโดย ตัวเราและในตัวเราเอง รวมถึงในสังคมเราด้วย การเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกแห่ง การเลือกปฏิบัติต่อกลุ่มชาติพันธ์ และชนกลุ่มน้อยในประเทศไทย โดยบ่อยครั้งและบางครั้งอาจไม่ได้เกี่ยวข้องกับสัญชาติหรือความเป็นต่างชาติ แต่ ดูเหมือนเหตุผลเป็นเพียงเพราะว่า “เขาต่างจากเรา” บทความฉบับนี้ เป็นความพยายามที่จะพิจารณาการเมืองเรื่องเขตแดนและสัญชาติและการเมืองเรื่องความ แตกต่างโดยผ่านเรื่องราวของชีวิตคนโดยเฉพาะในประเทศไทย ข้อโต้แย้งหลักอยู่ที่ว่า เมื่อรัฐชาติใดก็ตามตัดสินว่า ใคร(ควร)จะเป็นสมาชิก หรือเมื่อคนหรือคนบางกลุ่มปฏิบัติต่อคนอีกกลุ่มหนึ่งต้อยตํ่ากว่า เพียงเพราะว่าเขาถูกมอง ว่าแตกต่าง และด้วยเหตุแห่งความแตกต่างนั้นด้อยกว่า เป็นการทรยศต่อหลักการสิทธิมนุษยชน หลักการที่เน้นว่า มนุษย์ทุกคนเท่าเทียมกัน และมนุษย์ทุกคนมีสิทธิขั้นพื้นฐานเท่าเทียมกัน10 บทความเริ่มต้นจากเรื่องราวจริงของผู้คนที่มีตัวตนอยู่จริงๆ ในสังคมไทย หลังจากนั้น จะวิเคราะห์แนวคิดว่า ด้วยชุมชนทางการเมือง สมาชิกของชุมชนทางการเมืองและการเข้าถึงสิงทีเ่ รียกว่าสิง่ มีคณ ุ ค่าสำ�หรับสมาชิก ในส่วน ที่สาม บทความจะศึกษาประเด็นเรื่องการเลือกปฏิบัติซึ่งอาจไม่เกี่ยวข้องกับความเป็นคนชาติหรือคนต่างชาติ โดย มองจากแง่มมุ การเมืองเรือ่ งความแตกต่าง ในแง่มมุ นี้ แนวคิดเรือ่ งเขตแดนจะถูกตีความกว้างขวางกว่าการหมายถึง พรมแดนทางกายภาพและทางการเมือง แต่ครอบคลุมถึงพรมแดนทางสังคม วัฒนธรรมและจิตวิทยา ในส่วนสุดท้าย บทความจะวิเคราะห์นโยบายและการปฏิบัติของรัฐชาติที่เรียกตัวเองว่าเป็นชุมชนการเมืองเสรีประชาธิปไตย และ พฤติกรรมทีแ่ สดงออกต่อประชาชนทีอ่ าศัยอยูใ่ นขอบเขตดินแดน ในการวิเคราะห์จะใช้กรอบหลักการและมาตรฐาน สิทธิมนุษยชนที่ยอมรับกันเป็นสากล

6 7 8 9 10

Seyla Benhabib, The Rights of Others: Aliens, Residents and Citizens, Cambridge University Press, 2004, p.1 อ้างแล้ว หน้า 18 เพิ่งอ้าง Benedict Anderson, Imagined Communities: Reflections on the Origin and Spread of Nationalism, London, 2000, p. 6 Jean Hampton, Immigration, justice and identity, in Schwartz, Warren,ed., Justice in Immigration, p.77


75

โซมุ พาเมียว11 “โซมุ” หนุม่ กะเหรีย่ งเพียงคนเดียวในหมูบ่ า้ น “แม่ด”ึ๊ ทีพ่ อจะฟังและพูดภาษาไทยได้บา้ ง ในจำ�นวนประชากร ประมาณ 90 คน ที่ยังอยู่กับวิถีชีวิตกะเหรี่ยงดั้งเดิม ไม่ว่าจะเป็นภาษา หรือการกินการอยู่ แม่ดเึ๊ ป็นหมูบ่ า้ นบนเนินราบเล็กๆ ริมแม่นาํ้ สาละวินเกือบสุดฝัง่ ไทย ตามแผนทีป่ ระเทศไทยแล้ว หมูบ่ า้ นแห่งนี้ น่าจะอยูใ่ นเขตปกครองของ อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮอ่ งสอน แต่ในความเป็นจริงแล้วชุมชนแห่งนีเ้ สมือนไม่มตี วั ตนอยูใ่ น ทะเบียนของรัฐไทย เพราะแทบไม่มีสิ่งใดบ่งบอกเป็นสัญลักษณ์ของทางการไทย ไม่เคยมีการสำ�รวจ และไม่มีหน่วย งานใดๆ มาสอบถามเป็นจริงเป็นจังไม่มีแม้แต่ครูดอย มีเพียงป้ายเก่าๆ อันเดียวที่เขียนเป็นภาษาไทยว่า “ระเบียบ หมู่บ้าน”ซึ่งชาวบ้านไม่รู้ว่ามันคืออะไร เพราะไม่มีใครอ่านออก เมือ่ ไม่กปี่ กี อ่ น ชาวแม่ดยึ๊ งั ไม่รจู้ กั มักคุน้ กับโลกภายนอกเลย พวกเขาแทบไม่รจู้ กั แม้แต่คำ�ว่า “สัญชาติ” หรือ “เขตแดน” และยังคงข้ามฝั่งแม่นํ้าที่เป็นเส้นแบ่งแดนราชอาณาจักรไทยและพม่า ไป-มาเพื่อทำ�ไร่หมุนเวียนตามวิถี ชน แต่ระยะหลังพวกเขาเริ่มรับรู้ความเปลี่ยนแปลงที่กำ�ลังกลํ้ากรายเข้ามา โดยเฉพาะโซมุที่คึกคะนองล่องเรือออก ไปบ้านแม่สามแลบ อ.สบเมย จนถูกจับขังคุกอยู่หลายคืน ในข้อหาต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง ในห้องขัง โซมุได้รับ การสอนให้ร้องเพลงชาติไทย ทำ�ให้โซมุเข้าใจว่าการร้องเพลงชาติไทยอาจช่วยแก้ไขปัญหาบางอย่างให้เด็กๆ ได้ใน อนาคต ดังนั้น เมื่อโซมุกลับมาอยู่บ้านพร้อมกับความตั้งใจสอนหนังสือเด็กๆ ในหมู่บ้าน 20 กว่าคน ด้วยความเห็น ชอบของชุมชน เขาจึงตั้งอกตั้งใจสอนให้เด็กในหมู่บ้านร้องเพลงชาติ ซึ่งก็เป็นเรื่องยากที่จะจดจำ�สำ�หรับคนที่ยังพูด ภาษาไทยไม่คล่องอย่างเขา และเด็กที่เพิ่งหัดเรียนภาษาไทย “เมื่อ 2 ปีก่อนมีทหารไทยเข้ามาหาชาวบ้าน เขาบอกว่าถ้าอยู่กันดีๆ ก็อยู่ได้ อย่าสร้างความวุ่นวายก็แล้ว กัน” ผู้เฒ่าพาเมียวเล่าถึงคนแปลกหน้ากลุ่มแรกๆ ที่เข้าเข้ามาถึงหมู่บ้าน ผู้เฒ่าเป็นคนแรกที่ข้ามฝั่งสาละวินมาปักหลักอยู่แม่ดึ๊เมื่อ 17 ปีก่อน แต่ในอดีตบรรพบุรุษของแกทำ�มาหากิน ข้ามนํ้ากันไปมาอยู่ในละแวกนี้ “เมื่อก่อนเราไม่คิดว่าที่นี่เป็นประเทศไหน แต่เป็นที่อยู่ของคนกะเหรี่ยง เคยมีคนมาสอบถาม เหมือนกันว่ามี บัตรมั้ย เราก็บอกว่าไม่มี เรื่องก็เงียบไป” ภาสกร จำ�ลองราช เจ้าของเรือ่ งเล่าเรือ่ งนีร้ ะบุวา่ “ปัจจุบนั กลุม่ ชาติพนั ธุต์ า่ งๆ ต้องประสบปัญหาเพราะการ แบ่งเขตแดนระหว่างรัฐไทยและรัฐพม่าโดยการตีกรอบอย่างหยาบๆ ทำ�ให้เกิดปัญหาเรื่องสัญชาติขึ้นมากมายตั้งแต่ เหนือจรดใต้ เพียงแต่ปญ ั หาของกลุม่ ชาวเขายังถูกซุกไว้ใต้พรม ไม่เหมือนกับภาคใต้ทรี่ ะเบิดออกมาในวันนี้ แต่ความ รุนแรงของปัญหาไม่ตา่ งกันเลย และเป็นประเด็นหลักเดียวกัน คือการไม่ยอมรับความหลากหลายของกลุม่ ชาติพนั ธุ”์ 12 “เราไม่อยากกลับไปฝั่งโน้น เพราะมีการสู้รบกันมากเหลือเกิน” ผู้เฒ่าวัย 67 ปี เล่าด้วยนํ้าเสียงเหนื่อยหน่าย ภาสกร ฯ ตัง้ ข้องสังเกตว่า ทุกวันนีแ้ ม้ครอบครัวของผูเ้ ฒ่าจะยังอยูอ่ ย่างปกติสขุ แต่รดู้ วี า่ ยังมีปญ ั หาต้องตาม มาอีกมากในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ระยะหลังชาวบ้านเริ่มเข้าใจแล้วว่าชีวิตในวันนี้ย่อมไม่เหมือนวันก่อน เส้นพรมแดน และสัญชาติมีความสำ�คัญมากขึ้นทุกวัน 11 ดัดแปลงและตัดตอนจากจากบทความโดย ภาสกร จำ�ลองราช เผยแพร่ครั้งแรก มติชน วันที่ 3 กรกฎาคม 2548 ,หน้า 8 พิมพ์ซํ้า ใน ปิ่นแก้ว อุ่นแก้ว (บรรณาธิการ) คนไร้รัฐไร้สัญชาติในรัฐไทย กรุงเทพ สำ�นักพิมพ์วิญญูชน กรกฎาคม 2550 หน้า 143-148 12 ภาสกร จำ�ลองราช เพิ่งอ้าง

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

เรื่องจริงจากชายแดนและเรื่องจริงในเขตแดนไทย


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

76

โซมุและอีกหลายคนเดินทางเข้าประเทศไทยอย่างผิดฏหมายและสถานะทางกฎหมายของคนเหล่านี้ก็ยัง ถูกมองโดยรัฐไทยและเจ้าหน้าที่ว่าไม่ถูกต้อง สถานะของบุคคลจะยังคงผิดกฏหมายต่อไปตราบใดที่เขายังไม่ได้รับ เอกสารประจำ�ตนทีถ่ กู ต้อง และนีเ่ ป็นกรณีของอาจารย์อายุ นามเทพ หนึง่ ในจำ�นวนแม่ไร้รฐั -ไร้สญ ั ชาติ ในประเทศไทย

อายุ นามเทพ...แม่ไร้รัฐของเรมีย13์ พันธุท์ พ ิ ย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร เขียนถึง อายุ โพ ว่าเกิดเมือ่ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 ณ ปาพัน คอทุเรย์ ประเทศพม่า จากบิดามารดาเชื้อชาติกะเหรี่ยง สัญชาติพม่า แม้เกิดในประเทศพม่า รัฐพม่าไม่เคยยอมรับ ความเป็นคนสัญชาติพม่าของอายุ และไม่ปรากฏว่ามีการยอมรับอายุในทะเบียนราษฎรของประเทศใดเลยในโลก ครอบครัวของอายุได้เดินทางเข้ามาในประเทศไทยพร้อมกับบิดามารดาตั้งแต่ พ.ศ. 2499 ซึ่งในช่วงต่อมา บิดาของอายุได้รับการยอมรับจากรัฐบาลไทยในสถานะ “คนอพยพลี้ภัยทางการเมือง” และได้รับอนุญาตให้อาศัย อยู่ในประเทศไทย อายุได้รับการศึกษาจนจบมัธยมศึกษาปีที่ 5 และจบปริญญาตรีที่วิทยาลัยพายัพเมื่อ พ.ศ. 2521 ทำ�งานเป็น อาจารย์ประจำ�ภาควิชาดุริยศิลป์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ ตั้งแต่ พ.ศ. 2521 จนถึงปัจจุบันรวมเป็น ระยะเวลาร่วม 30 ปี ในวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2521 อาจารย์อายุได้จดทะเบียนสมรสตามกฎหมายไทยกับนายเธียร ชัย นามเทพ คนสัญชาติไทย บุคคลทั้งสองมีบุตรด้วยกัน 2 คน คือ นายเรมีย์ นามเทพ และนายศิลา นามเทพ บุตร ทั้งสองมีสัญชาติไทย นายเธียรชัยถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ. 2528 ความไร้รัฐของอาจารย์อายุ นามเทพส่งผลกระทบถึงบุตร 2 คนในขณะที่เขายังไม่บรรลุนิติภาวะ ในจดหมาย ถึงนายกรัฐมนตรี พันตำ�รวจโท ทักษิณ ชินวัตร ที่เรมีย์เขียนเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 เขาเล่าถึงปัญหา ความไร้รัฐของอาจารย์อายุว่า “ปัญหาที่แม่เป็นคนไร้สัญชาติ ได้ส่งผลกระทบถึงพวกผมในช่วงที่อายุยังไม่บรรลุนิติภาวะอยู่หลายครั้ง เช่น ตอนที่เราสองคนพี่น้องอายุ 13 และ11 ขวบ เราเคยได้รับคัดเลือกให้เข้าในคณะนักร้องประสานเสียงสยช. ไปที่ ฟิลิปปินส์ คราวนั้นเราเกือบจะไม่ได้ไปแล้ว เพราะแม่ไม่มีเอกสารยืนยันตนจากทางราชการเพื่อเซ็นรับรองเรา แต่ก็ ยังโชคดีที่งานครั้งนั้น ประธานของคณะนักร้องเยาวชนไทยคือ ดร.สายสุรีย์ จุติกุล ท่านช่วยรับรองให้ แต่ต่อมา ตอน ที่ผมอายุ 16 ปี อาจารย์ที่สอนเปียโนผม คือ Miss Jamie Shark ได้ติดต่อให้ผมไปร่วม Music Camp สำ�หรับเยาวชน ดนตรีทอี่ เมริกา แต่กม็ าติดทีป่ ัญหาเดิมอีก คุณแม่ไปติดต่อที่ ตม. แต่กก็ ลับได้รับคำ�แนะนำ�มาว่า ให้อยูเ่ งียบๆ อย่าง นีก้ ด็ แี ล้ว ขืนโวยวายเรียกร้องมากมาย พวกผมอาจจะถูกถอนสัญชาติกไ็ ด้ แม่กเ็ ลยต้องกลับมาอยูเ่ งียบๆ อย่างทีเ่ ขา บอก เพื่อไม่ให้พวกผมเดือดร้อน แต่ความจริงก็เดือดร้อนไปแล้ว...”14 อาจารย์อายุได้ด�ำ เนินการร้องขอแปลงสัญชาติเป็นไทยในกรณีพเิ ศษ โดยพิจารณาคุณานุปการทีอ่ าจารย์อายุ สอนดนตรีให้แก่นักศึกษาไทยมายาวนาน แต่อำ�นาจในการอนุญาตให้สัญชาติไทยเป็นอำ�นาจดุลพินิจของรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงมหาดไทยเท่านั้น จนถึงวันนี้ (ธันวาคม 2551) คำ�ขอสัญชาติของอาจารย์อายุ ที่ดำ�เนินการมาจน แล้วเสร็จและได้รับความเห็นชอบมาแล้วทุกขั้นตอน ยังคงรออยู่เพียงหนังสืออนุญาตให้แปลงสัญชาติของรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงมหาดไทย ซึ่งดูเหมือนเวลาได้ล่วงเลยมาหลายปีแล้ว การได้มาซึง่ สัญชาติหรือสถานะอืน่ ใดทีถ่ กู ต้องตามกฎหมายดูเป็นเรือ่ งทีย่ ากยิง่ สำ�หรับคนจำ�นวนมาก แต่การ ถอนสัญชาติคนจำ�นวนมากในทันใดในเวลาเดียวกันดู (ออกจะเป็นเรื่อง) ง่าย (เกินไป ?) เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2545 13 ตัดตอนและเรียบเรียงจาก พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร อายุ นามเทพ...แม่ไร้รัฐของเรมีย์ ใน ปิ่นแก้ว อุ่นแก้ว (บรรณาธิการ) เพิ่งอ้าง หน้า 138-141 14 เพิ่งอ้าง


77

เรื่องราวชีวิตของคนเดินทางจากชายแดนมาสู่กรุงเทพ และเรื่องต่อไปนี้ เป็นเรื่องของคนๆ หนึ่งที่เกิดและ เติบโตในเขตแดนไทยแต่ไม่มีสถานะและเอกสารใดๆ ติดตัวจนกระทั่งตัดสินใจจดทะเบียนแรงงานต่างด้าว

โซบี …คนไร้ทั้งรัฐและสัญชาติ และเรียนไม่เก่ง15 ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล เล่าถึง “โซบี” คนไร้รัฐ (Stateless Person) ว่า นอกจากโซบีจะไร้รัฐแล้ว โซบียัง เป็นคนไร้สัญชาติ (Nationalityless Person) ด้วย พ่อกับแม่ของโซบี เป็นชาวโรฮิงยา (Rohingya) ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อย กลุ่มหนึ่งในรัฐพม่า พ่อและแม่หลบหนีการกวาดล้างของรัฐบาลพม่า โดยเลือกข้ามพรมแดนมายังรัฐไทยในปี พ.ศ. 2520 ก่อนเขาเกิด พ่อเขาเสียชีวิตด้วยโรคมาลาเรียที่ด่านเจดีย์สามองค์ อำ�เภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี จุดแรก ในรัฐไทยที่เขาและครอบครัวอาศัยอยู่ระยะหนึ่ง ต่อมาแม่เขาก็เดินทางเข้ามายังกรุงเทพฯ ตามคำ�ชักชวนของเพื่อน โรฮิงยาที่อพยพเข้าเมืองไทยมาด้วยกัน โซบีเกิดทีช่ มุ ชนแออัดแถวพระโขนง ในปี 2525 ด้วยฝีมอื หมอตำ�แย โซบีไม่มใี บเกิด เพราะแม่ของโซบีรสู้ ถานะ ตัวเองดีว่าเป็นคนหลบหนีเข้าเมือง ใบเกิดหรือสูติบัตรของลูกชายคนหนีเข้าเมืองจึงดูไม่จำ�เป็น และอันตรายเกินไป ที่จะได้มา โซบีเริม่ ทำ�งานขายกระดาษทิชชูตงั้ แต่เป็นเด็กชายตัวเล็กๆ เริม่ จากแถวสุขมุ วิท สีลมไปจนถึงสายใต้เก่าจนสาย ใต้ย้ายไปที่ใหม่ แม่โซบีเสียชีวิตตอนโซบีอายุได้ประมาณ 10 ปี โซบีเติบโตโดยลำ�พังและด้วยการเอื้อเฟื้อของเพื่อน บ้าน อายุประมาณ 15-16 ปี โซบีย้ายไปอยู่กับเพื่อนแถวปากเกร็ด เพื่อนร่วมชาติพันธุ์โรฮิงยาสอนโซบีทำ�โรตี โซบีจึง มีกจิ การเป็นของตัวเองในเวลาไม่นานนัก เขาเร่ขายโรตีอยูแ่ ถวปากเกร็ด จังหวัดนนท์ จนย้ายไปอยูแ่ ถววงเวียนใหญ่ ผูเ้ ขียนเรือ่ งชีวติ ของโซบี คือ ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กลุ รูจ้ กั โซบีเมือ่ ครัง้ ทีเ่ ขามาร้องขอความช่วยเหลือจากสภา ทนายความว่าอยากได้สญ ั ชาติไทย ข้อความตอนหนึง่ ทีเ่ ขาเขียนในแบบฟอร์มคำ�ร้องนัน้ มีใจความทำ�นองว่า “ผมทำ� ผิดอะไร ในเมื่อผมเกิดในเมืองไทย ทำ�ไมผมจึงไม่มีสัญชาติไทยเหมือนเด็กคนอื่นๆ” โซบีเคยเจอถูกตำ�รวจจับและส่งตัวออกนอกรัฐไทยเพื่อส่งไปยังฝั่งเมียวดี 2-3 ครั้ง และทุกครั้งเขาก็พยายาม หาทางกลับมาฝั่งไทย ใน 1-2 ครั้งแรก เขาเดินเท้าไกลมากและต่อรถหลายต่อกว่าจะถึงกรุงเทพฯ เมื่อถูกถามว่า ทำ�ไมถึงพยายามกลับเข้ามาในรัฐไทย เขาตอบว่า “แล้วจะให้ผมไปอยู่ไหน ผมเกิดที่นี่ เติบโตที่นี่ ภาษาพม่าผมก็ พูดไม่เป็น ไปอยู่ที่โน่นจะให้อยู่ยังไง อยู่กับใคร บ้านผม ครอบครัวผมอยู่ที่นี่ ผมเป็นคนที่นี่นะ แม้ว่ากฎหมายจะไม่ ยอมรับผมก็ตามเถอะ” ประมาณ 2 ปีก่อน โซบีไปจดทะเบียนแรงงานต่างด้าว บัตรแสดงตนใบแรกในชีวิตของเขา คือ “บัตรแรงงาน ต่างด้าว” ที่มีระบุว่า เขามี “สัญชาติพม่า” โซบีบอกว่าแม้สิ่งที่เขาอยากได้มากที่สุด คือการเป็นคนไทย เพราะเขา จะได้เดินเร่ขายโรตีอร่อยๆ ของเขาได้อย่างสบายใจไม่ต้องกลัวที่จะถูกจับหรือต้องเสียสตางค์ มีเงินเก็บเพื่อเรียน หนังสืออย่างที่อยากเรียน เรียนให้สูงเท่าที่กำ�ลังเขาจะสามารถส่งเสียตัวเอง ฯลฯ แต่การที่ได้ ‘บัตรมาใบหนึ่ง’ ชีวิต 15 ตัดตอนและเรียบเรียงจาก ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล โซบี …คนไร้ทั้งรัฐและสัญชาติ และเรียนไม่เก่ง ใน ปิ่นแก้ว อุ่นแก้ว (บรรณาธิการ) เพิ่งอ้าง หน้า 157-163

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

กระทรวงมหาดไทย โดยการเสนอของผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ได้ประกาศถอนสัญชาติชาวบ้านแม่อายจำ�นวน 1,243 คนในคราวเดียวกัน ประชากรทั้งหมู่บ้านตกเป็นคนไร้สัญชาติโดยทันที ต่อมาชาวบ้านได้ฟ้องคดีไปยังศาล ปกครองซึง่ มีค�ำ วินจิ ฉัยทีช่ ดั เจนว่า การถอนสัญชาติของคนเหล่านัน้ โดยเจ้าหน้าทีไ่ ม่ถกู ต้องตามกฎหมาย พร้อมกับมี คำ�สัง่ ให้หน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้องคืนสัญชาติให้คนเหล่านัน้ อย่างไรก็ตาม เพือ่ ให้ได้สญ ั ชาติคนื ชาวบ้านแต่ละคนจะต้อง ดำ�เนินการตามกระบวนการตามกฎหมาย จนถึงกลางปี 2551 ชาวบ้านจำ�นวนหนึง่ ยังคงรอคอยการได้สญ ั ชาติคนื มา


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

78

ของเขาก็น่าจะเริ่มมั่นคงขึ้นมาบ้าง อย่างไรก็ดี แม้จะมีบัตรอนุญาตทำ�งาน โซบีก็ยังคงถูกตำ�รวจจับ เพราะดูเหมือน บัตรอนุญาตทำ�งาน ไม่อนุญาตให้ทำ�อาชีพขายโรตี ดรุณี ฯ ให้ความเห็นว่า สถานะบุคคลตามกฎหมาย (Personal Legal Status) ของโซบีเป็นทัง้ คนไร้สญ ั ชาติและ 16 ไร้รฐั อาจกล่าวได้วา่ เขาเป็นคนตกหล่นบัตรสีเขียวขอบแดง แต่ระยะเวลา 25 ปีนบั แต่เขาเกิดและเติบโตขึน้ ในสังคม ไทย ก็ยอ่ มเป็นช่วงเวลาทีย่ าวนานเพียงพอสำ�หรับการก่อตัวและดำ�รงอยูข่ องความผูกพันทีม่ ตี อ่ ผูค้ นและเรือ่ งราวใน สังคมไทย อย่างไรก็ตาม พิจารณาตามยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะและสิทธิบคุ คล (มติคณะรัฐมนตรีเมือ่ วัน ที่ 18 มกราคม 2548) กล่าวได้ว่า โซบีอาจจัดอยู่ใน “กลุ่มที่ 6” โซบีอาจไม่ต้องเป็นคนไร้รัฐอีกต่อไป หากได้รับการ สำ�รวจเพื่อจัดทำ�ทะเบียนประวัติและบัตรประจำ�ตัว ภายใต้ระเบียบสำ�นักทะเบียนกลางว่าด้วยการสำ�รวจและจัดทำ� ทะเบียนสำ�หรับบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน 2548 อย่างไรก็ดี สถานะบุคคล “บุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน” ยังห่างไกลเป้าหมายการเป็นคนไทยของโซบี และมันก็ไม่ใช่สิ่งรับประกันว่าเขาจะได้เป็นคนไทย ประเด็นปัญหาสถานะบุคคลและสัญชาติในประเทศไทยค่อนข้างซับซ้อน ดังนั้น เพื่อความเข้าใจ จำ�เป็นต้อง พิจารณาสถานการณ์ของประชากรในประเทศ กล่าวได้วา่ ในประเทศไทย มีผคู้ นจำ�นวนมากอาศัยอยูโ่ ดยไม่มสี ถานะ บุคคลหรือไม่มเี อกสารประจำ�ตน เหตุผลของการไม่มเี อกสารประจำ�ตนหรือไม่มสี ถานะบุคคลอาจแตกต่างกันออกไป เช่นการทีไ่ ม่ได้แจ้ง/จดทะเบียนการเกิดต่อเจ้าหน้าที่ หรือเจ้าหน้าทีไ่ ม่รบั จดทะเบียนการเกิด หรือบางคนอาจถูกทอด ทิง้ กลุม่ ทีส่ องเป็นชาวเขาชนกลุม่ น้อยซึง่ ส่วนใหญ่อาศัยอยูต่ ามชายแดนในพืน้ ทีส่ งู /พืน้ ทีห่ า่ งไกลทางภาคเหนือตาม แนวตะเข็บชายแดนไทย-พม่า ไทย-ลาว เป็นต้น ด้วยเหตุผลด้านความมัน่ คง รัฐบาลไทยลังเลทีจ่ ะให้สญ ั ชาติไทยกับ ชาวเขาชนกลุ่มน้อยบางกลุ่ม (ในขณะที่บางกลุ่ม ได้สัญชาติไทยโดยไม่ยากนัก) กลุ่มที่สาม คือกลุ่มแรงงานต่างด้าว ซึ่งมีทั้งที่ถูกกฎหมายและไม่ถูกกฎหมาย กลุ่มที่ประสบปัญหามากที่สุด ได้แก่ กลุ่มที่เข้าเมืองโดยผิดกฎหมายและ ไม่มีเอกสารแสดงตน กลุ่มนี้ ยังอาจแบ่งย่อยออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่จดทะเบียนแรงงานและมีใบอนุญาตทำ�งาน ในประเทศไทยชั่วคราว และกลุ่มที่ไม่ได้จดทะเบียน ซึ่งหมายความว่า ทั้งการเข้าเมืองและการทำ�งานอยู่ในฐานะไม่ ถูกต้องตามกฎหมาย กลุ่มที่สี่ คือคนที่หนีเข้าประเทศไทยเนื่องจากภัยสู้รบในประเทศพม่า คนกลุ่มนี้ อาจมีสถานะ ผู้ลี้ภัย (refugees) ผู้อพยพเข้ามาเพื่อหาที่พักพิงเนื่องจากเหตุผลทางการเมือง (asylum seekers) จำ�นวนหนึ่งอาศัย อยู่ในที่พักพิงชั่วคราวบริเวณชายแดนไทย-พม่า ทังนี้ยังอาจรวมผู้หลบหนีเข้าเมืองชาวม้งจากลาว อย่างไรก็ตาม การแยกประเภทคนที่ไม่มีสถานะบุคคลออกเป็นกลุ่มๆ ข้างต้น อาจดูฉาบฉวย และอาจไม่สะท้อนข้อเท็จจริงมาก นัก เช่น ชาวเขาชนกลุ่มน้อยที่เกิดในประเทศไทย อาจจดทะเบียนเป็นแรงงานต่างด้าว เพื่อจะได้มีโอกาสมีงานทำ� และทำ�งาน ในขณะที่แรงงานจำ�นวนหนึ่ง อาจมีคุณสมบัติเป็นผู้ลี้ภัย แต่ไม่ได้รับสถานะผู้ลี้ภัยจากรัฐบาลไทยหรือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น

16 รัฐไทย โดยกรมการปกครองได้ดำ�เนินการสำ�รวจเพื่อจัดทำ�ทะเบียนประวัติและบัตรประจำ�ตัวชุมชนบนพื้นที่สูง (บัตรสีเขียว ขอบแดง) โดยเป็นการดำ�เนินการภายใต้โครงการสำ�รวจชุมชนบนพื้นที่สูงจากงบประมาณโครงการเงินกู้พิเศษ (มิยาซาวา) ซึ่งเป็นไปตามแผนแม่บทเพื่อการพัฒนาชุมชน สิ่งแวดล้อม และการควบคุมพืชเสพติดบนพื้นที่สูง ฉบับที่ 2 พ.ศ.2540– 2544 ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติแผนแม่บทฯ นี้เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2540 โดยวัตถุประสงค์ของโครงการสำ�รวจชุมชนบน พื้นที่สูงจากงบประมาณโครงการเงินกู้พิเศษ (มิยาซาวา) นี้ จะเป็นไปเพื่อสำ�รวจชาวเขา หรือชนกลุ่มน้อยบนพื้นที่สูงที่เข้า เมืองมาภายหลังวันที่ 3 ตุลาคม 2528 จนถึงวันที่ 15 กันยายน 2542 ซึ่งสถานะของคนกลุ่มนี้คือ ผู้หลบหนีเข้าเมืองพื้นที่ที่ เป็นที่อยู่ของชาวเขาเผ่าต่างๆ และชนกลุ่มน้อย หรือเป็นที่ตั้งบ้านเรือนและที่ทำ�กินที่มีความลาดชัน โดยเฉลี่ยมากกว่าร้อย ละ 35 หรือมีความสูงกว่าระดับนํ้าทะเล 500 เมตรขึ้นไป ในจังหวัดต่างๆ 20 จังหวัด คือ จังหวัดกาญจนบุรีกำ�แพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ ตาก น่าน ประจวบคีรีขันธ์ พะเยา พิษณุโลก เพชรบุรี เพชรบูรณ์ แพร่ แม่ฮ่องสอน ราชบุรีเลย ลำ�ปาง ลำ�พูน สุโขทัย สุพรรณบุรี อุทัยธานี และจังหวัดที่ผู้อ�ำ นวยการทะเบียนกลางกำ�หนดเพิ่มเติมภายหลัง ปรากฎตามข้อ 6 แห่ง ระเบียบสำ�นักทะเบียนกลางว่าด้วยการพิจารณาลงรายการสถานะบุคคลในทะเบียนราษฎรให้แก่บุคคลบนพื้นที่สูง พ.ศ. 2543 (หมายเหตุ โดย ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล)


79

แต่ตัวเลขข้างต้นนั้น อาจไม่สะท้อนข้อเท็จจริงในรัฐไทยทั้งหมด ดังที่กล่าวแล้วว่า คนจำ�นวนหนึ่งแม้จะเกิด ในประเทศไทยจากพ่อแม่ที่เป็นชนพื้นเมืองรวมถึงชาวเขา ชนกลุ่มน้อย หรือผู้ที่อพยพเข้ามาจากนอกประเทศไทย อาจตัดสินใจจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า ลาว กัมพูชา18 กรณีของ โซบี เป็นตัวอย่างหนึ่งซึ่งจำ�เป็นที่ รัฐไทยต้องพิจารณาอย่างจริงจัง การได้มาซึ่งสัญชาติหรือการมีสถานะบุคคลในประเทศไทยเป็นเรื่องยากสำ�หรับคนบางกลุ่ม ดังที่ได้เห็นจาก ตัวอย่างเรื่องเล่าชีวิตจริงข้างต้น แต่ดูเหมือนจะไม่ได้เป็นประเทศเดียว กรณีของประเทศญี่ปุ่น กรีซ และอีกหลายๆ ประเทศ คนจำ�นวนหนึ่งก็ประสบปัญหาเช่นเดียวกันแม้ว่าปัจจัยเงื่อนไขจะต่างกันอยู่บ้างก็ตาม ตัวอย่างที่ชัดเจน อาจเป็นกรณีของประเทศญี่ปุ่นซึ่งมีคนนับล้านที่อยู่ในประเทศญี่ปุ่นโดยไม่ถือว่าเป็น “สมาชิกของชุมชนการเมือง ญี่ปุ่น” อย่างแท้จริง และกระบวนการที่จะเข้าถึงความเป็นสมาชิกสมบูรณ์ดูจะไม่ง่ายนัก โดยเฉพาะคนเชื้อสาย เกาหลีในประเทศญี่ปุ่น “ดิฉนั เกิดในญีป่ นุ่ และเป็นคนเชือ้ สายเกาหลีรนุ่ ทีส่ าม ปัจจุบนั ดิฉนั ได้สญ ั ชาติญปี่ นุ่ แล้ว แต่นนั่ หลังจากเวลา ร่วม 30 ปี ดิฉันยื่นขอสัญชาติญี่ปุ่นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2518 ตอนที่ดิฉันอายุ 18 ปี ดิฉันต้องยื่นเอกสารถึงสามครั้ง จนเมื่อปี 2544 นี่เองที่ดิฉันได้รับสัญชาติ เมื่อดิฉันยังเป็นเด็ก ดิฉันไม่กล้าใช้ชื่อเกาหลี เพราะกลัวเพื่อนจะดูถูก ดิฉัน พูดภาษาเกาหลีไม่ได้ หรือหากดิฉันพูดได้ คนเกาหลีก็คงไม่เห็นว่าดิฉันเป็นเกาหลีอยู่ดี”19 หากคนเชื้อสายเกาหลีในญี่ปุ่นเลือกที่จะขอสัญชาติญี่ปุ่นซึ่งทำ�ได้ แต่คนเชื้อสายเกาหลีจำ�นวนหนึ่งกลับ เลือกที่จะคงสัญชาติเกาหลีไว้ เช่นอาจารย์ชาวเกาหลีหลายคนที่ผู้เขียนมีโอกาสได้พูดคุยด้วย “ผมเป็นคนเชื้อสาย เกาหลีรุ่นที่สาม ผมเกิด โตและเรียนหนังสือในประเทศญี่ปุ่น แต่ผมไม่ต้องการเป็นคนญี่ปุ่นเพราะคนญี่ปุ่นดูถูกเรา และเลือกปฏิบตั กิ บั เรา กระบวนการแปลงสัญชาติ/ขอสัญชาติส�ำ หรับผมเป็นกระบวนการทีน่ า่ อดสู อัตลักษณ์เกาหลี ของเราและวัฒนธรรมเราไม่ได้รับการยอมรับ แต่ถึงอย่างไร ผมก็แยกระหว่างคนญี่ปุ่นกับรัฐชาติญี่ปุ่น ผมมีลูกชาย คนหนึ่งตอนนี้อายุ 8 ขวบ ผมไม่ต้องการให้เขาขอสัญชาติญี่ปุ่น”20 Atsuko Abe อธิบายว่า “นโยบายการให้สญ ั ชาติทเี่ ข้มงวดของญีป่ นุ่ มีสว่ นบัน่ ทอนความรูส้ กึ และทำ�ลายความ ต้องการของคนทีค่ ดิ จะขอสัญชาติญปี่ นุ่ “Zainichi” หรือการขอมีถนิ่ ทีอ่ ยูถ่ าวรในญีป่ นุ่ โดยเฉพาะคนหนุม่ สาว อาจไม่ ได้เป็นสาเหตุเดียวที่ทำ�ให้คนเหล่านั้นหันหลังให้กับการแปลงสัญชาติ แต่บ่อยครั้ง กระบวนการของราชการและเจ้า

17 กฤตยา อาชวนิจกุล และคณะ แรงงานต่างด้าวและประเด็นการบริหารการศึกษาในประเทศไทย สถาบันวิจัยประชากรและ สังคม มหาวิทยาลัยมหิดล มกราคม 2550 18 เนื่องจากมีเพียงแรงงานต่างด้าวจากสามประเทศ คือ พม่า กัมพูชา และลาว ที่ได้รับให้จดทะเบียนตามนโยบายผ่อนผันให้ แรงงานต่างด้าวทำ�งานในประเทศไทยได้ 19 Dr. Soo Im Lee จากคำ�บรรยาย เมื่อ 10 ตุลาคม 2550 เกียวโต ประเทศญี่ปุ่น 20 จากการพูดคุยเป็นการส่วนตัวเมื่อ 23 ตุลาคม 2550 ที่ โอซากา

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

ในปี 2550 กฤตยา อาชวนิจกุลและคณะ ได้รวบรวมสถิติของกลุ่มต่างๆ ในประเทศไทย การศึกษาพบว่า ยังมีคน (ไทย) ที่ไม่มีเอกสารประจำ�ตนที่ถูกต้อง รวมถึงชาวเขา ชนกลุ่มน้อย อีก จำ�นวน 514,420 คน ในจำ�นวนนี้ เป็นเด็ก 69,229 คน จนถึงตุลาคม 2549 มีแรงงานต่างด้าว (ที่จดทะเบียน) จำ�นวน 1.52 ล้านคน จะเห็นได้ว่า เมื่อ รวมสองกลุ่มข้างต้น มีคนจำ�นวนถึง 2,021,643 คนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยอย่างผิดกฎหมายและ/หรือไม่มีสถานะ บุคคล ในจำ�นวนกว่าสองล้านคนนี้ มีเด็กอายุระหว่าง 5-18 ปี ถึง 249,129 คน หรือประมาณ 12.30 % ของคนที่ อาศัยอยู่ในประเทศไทยโดยไม่มีสถานะบุคคลทางกฎหมาย17


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

80

หน้าทีท่ ที่ ำ�ให้คนเหล่านัน้ รูส้ กึ เสียศักดิศ์ รีมสี ว่ นอยูม่ าก นอกจากนัน้ ข้อเท็จจริงทีว่ า่ การมีสองสัญชาติของคนเกาหลี ในญี่ปุ่นไม่เป็นที่ยอมรับ ทำ�ให้คนเหล่านี้ ไม่อยากแปลงสัญชาติเช่นกัน21 ในประเทศญีป่ นุ่ จากสถิตเิ มือ่ เดือนธันวาคม 2549 มีคนทีไ่ ม่ใช่คนชาติทอี่ ยูใ่ นประเทศญีป่ นุ่ อย่างถูกต้องตาม กฎหมาย อยู่ 2,084,919 คน คนเชื้อสายเกาหลีจะเป็นคน “ต่างชาติ”จำ�นวนมากที่สุดในญี่ปุ่น คือประมาณ 598,219 คน แล้ว ยังมีคนจีนจำ�นวน 560,741 คน รองลงมาคือคนเชื้อสายบราซิล 312,979 คน คนฟิลิปปินส์ 193,488 คน นอกจากนั้น ยังมีคนเชื้อสายเปรู อเมริกัน ไทย เวียดนาม อินโดนีเซีย อินเดีย และอื่นๆ อีกกว่าสี่แสนคน22 รัฐบาล ญี่ปุ่นยืนยันว่าไม่มีแรงงานผิดกฎหมายในญี่ปุ่น น่าสนใจว่ามีผู้รับการฝึกอบรมทำ�งานอยู่ตามโรงงานต่างๆ ในญี่ปุ่น อยู่ถึง 800,000 คน ตัวเลขทีป่ รากฏมีความสำ�คัญ เนือ่ งจากเป็นทีร่ บั รูว้ า่ ญีป่ นุ่ มีนโยบายคนเข้าเมืองทีเ่ ข้มงวด Atsuko Abe อธิบาย ว่า การแก้ไขกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองเมือ่ ปี 2533 ไม่ได้เปลีย่ นนโยบายคนเข้าเมืองแต่อย่างไร เนือ่ งจากเป้าหมาย หลัก คือ “การควบคุมการเข้า-ออกประเทศญีป่ นุ่ ของผูค้ น และไม่มอี ะไรเกีย่ วข้องกับข้อทีว่ า่ คนเข้าเมืองเหล่านัน้ เป็น “คนคนหนึง่ ” 23 แต่ตวั เลขข้างต้นบอกอะไรบ้าง ทีน่ า่ สนใจก็คอื กฎหมายคนเข้าเมืองอนุญาตให้คนเชือ้ สายญีป่ นุ่ รุน่ ที่ สองและสามจากต่างประเทศ โดยเฉพาะบราซิล เปรู และฟิลปิ ปินส์ อยูใ่ นญีป่ นุ่ ได้โดยไม่มเี งือ่ นไข24 คนเหล่านีแ้ ม้จะ ไม่ได้เกิดและเติบโตในประเทศญีป่ นุ่ แต่ดว้ ยเหตุทเี่ ขามีบรรพบุรษุ เป็นคนญีป่ นุ่ ทำ�ให้ได้รบั การยอมรับให้เป็นสมาชิก ของชุมชนทางการเมืองญี่ปุ่นอย่างง่ายดาย ทั้งยังมีสิทธิที่จะเข้าถึงสิ่งมีคุณค่าของสมาชิกด้วย

ชุมชนทางการเมือง สมาชิกทางการเมือง และการเข้าถึงสิ่งมีคุณค่าของสมาชิก อะไรคือชุมชนทางการเมือง ใครคือสมาชิกทางการเมือง และอะไรคือสิง่ ทีม่ คี ณ ุ ค่าในสังคมทีส่ มาชิกของชุมชน ทางการเมืองหนึง่ ๆ มีสทิ ธิและทำ�ไมคนทีเ่ ป็นเจ้าของเรือ่ งราวชีวติ ข้างต้น ไม่วา่ จะเป็นโซมุ พ่อเฒ่าพาเมียว โซบี และ อาจารย์อายุ นามเทพ จึงไม่อาจเข้าถึงสิ่งมีคุณค่าเหล่านั้นได้ หรือทำ�ไมเขาจึงถูกปฏิเสธการเป็นสมาชิกของชุมชน ทางการเมืองไทย ในส่วนนี้ จะพยายามตอบคำ�ถามต่างๆ ดังกล่าว ดังที่ได้กล่าวไว้ในบทนำ� หน่วยทางการเมืองถูกกำ�หนดโดยเขตแดนทางภูมิศาสตร์/กายภาพ พร้อมๆ กับสิทธิ สภาพทางกฎหมาย มีรัฐบาลและหน่วยบริหารย่อยๆ ลงไป แนวปฏิบัติทั่วไปของรัฐชาติหนึ่งๆ ก็คือ การที่รัฐนั้นๆ กำ�หนดเขตแดนทางกายภาพโดยดินแดน และกำ�หนดเขตแดนด้านประชากรด้วยสัญชาติ แม้ว่านักทฤษฏีรัฐศาสตร์ เช่น Benedict Anderson จะโต้แย้งว่า ชุมชนทางการเมืองเป็นเพียงชุมชนจินตนาการ แต่แนวคิดที่ถูกครอบงำ�โดย โมเดล Westphalian ก็ยังเชื่อว่า รัฐยังมีอำ�นาจอันชอบธรรมทางการเมืองที่เป็นหนึ่งเดียวกันเหนือดินแดนที่มีการขีด เส้นเขตแดนอย่างชัดเจน และอำ�นาจนัน้ ถือเป็นอำ�นาจสูงสุด25 แม้แนวคิดนี้ ดังทีก่ ล่าวแล้ว นับวันจะถูกท้าทาย แต่ยงั คงได้รบั การยอมรับอย่างกว้างขวาง และเราไม่อาจปฏิเสธได้วา่ ในภาวะความสัมพันธ์ระหว่างประเทศปัจจุบนั รวมถึง ระเบียบระหว่างประเทศ ชุมชนทางการเมืองทีม่ อี ำ�นาจอธิปไตยทีเ่ ราเรียกว่ารัฐชาติดจู ะยิง่ ถูกทำ�ให้แข็งแกร่งขึน้ ทุกที หากพิจารณาในเชิงประวัตศิ าสตร์ อาจกล่าวได้วา่ รัฐชาตินนั่ เองทีก่ อ่ นนัน้ พยายามทำ�ทุกวิถที างทีเ่ อือ้ อำ�นวย ประชากรจำ�นวนมากและทำ�ให้คนเหล่านั้นรู้สึกว่าเขามีบางอย่างร่วมกัน รัฐชาตินั่นเองที่สร้างความเชื่อมั่นและ 21 Atsuko Abe, Citizenship, Colonial Past and Immigration Policy – A Comparative Study between Japan and the United Kingdom, in Obirin Review of International Studies, No.18, 2006, Obirin University, pp.107-130 22 Statistics compiled by Yuji KIMURA, RINK, Osaka City, October 25, 2007 23 Atsuko Abe อ้างแล้ว 119. 24 Atsuko Abe อ้างแล้ว 119. 25 เพิ่งอ้าง หน้า 120.


81

Seyla Benhabib ชีใ้ ห้เห็นว่าเขตแดนทางการเมืองกำ�หนดบางคนว่าเป็นสมาชิก และคนอืน่ ว่าเป็นต่างชาติ และ การเป็นสมาชิกจะมีความหมายก็เพียงเมื่อมีพิธีกรรมของการเป็นสมาชิก พิธีกรรมของการเข้าถึงการเป็นส่วนหนึ่ง และสิทธิพิเศษทั้งหลาย ระบบรัฐชาติปัจจุบันวางระเบียบกำ�กับการเป็นสมาชิกในลักษณะหลักประเภทเดียวเท่านั้น คือ คนชาติ29 เธอชี้ต่อไปว่า สัญชาติในโลกสมัยใหม่หมายเพียงความเป็นสมาชิกในชุมชนทางการเมืองที่ผูกพันเข้า ด้วยกัน โดยเฉพาะรัฐชาติ ระบบการเมืองของดินแดนที่ผูกติดอยู่กับอธิปไตยสามารถดำ�เนินไปได้ด้วยการกำ�หนด ควบคุมและวางกฎเกณฑ์เกี่ยวกับประชากร พลเมืองคือปัจเจกที่มีสิทธิในฐานะสมาชิกที่จะอาศัยอยู่ภายในขอบเขต ดินแดนและจะต้องขึ้นอยู่กับอำ�นาจการบริหารของรัฐ30 รูปแบบดังกล่าวที่เริ่มต้นในประเทศต่างๆ ในยุโรปตะวันตก ถูกลอกเลียนโดยรัฐสมัยใหม่ในทุกภูมิภาครวมถึงเอเชีย ภายใต้รูปแบบดังกล่าว คนชาติคือผู้ที่เป็นสมาชิกทางการ เมืองเต็มรูปแบบในชุมชนทางการเมืองหนึ่งๆ แต่ใครที่จะมีสิทธิเป็นสมาชิกและใครสามารถเข้าถึงการเป็นสมาชิกของชุมชนทางการเมือง ดูเหมือนจะมี ความเห็นพ้องและยอมรับกันในหมู่รัฐ-ชาติทั้งหลายในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการได้มาซึ่งสัญชาติว่า การให้สัญชาติอยู่ บนสองพื้นฐาน หลักๆ คือ การให้สัญชาติโดยหลักสายเลือดหรือที่เรียกว่า jus sanguinis และการให้สัญชาติโดย หลักดินแดน หรือ jus soli แต่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา รัฐที่ให้สัญชาติโดยหลักสายเลือดประสบปัญหากับการที่มี คนต่างชาติอยู่ภายในเขตประเทศหลายรุ่น ดังนั้นจึงรับเอาการให้สัญชาติแก่เด็กที่เกิดจากพ่อแม่ที่เป็นคนต่างด้าว บางกลุ่มบางรุ่น ในขณะเดียวกัน รัฐบางรัฐที่เคยใช้หลักดินแดนก็หันมาจำ�กัดสิทธิที่จะได้สัญชาติโดยกำ�เนิดแก่บุตร ของผู้ย้ายถิ่น(ที่ไม่ใช่ชั่วคราวและถูกกฎหมาย)31 แต่ไม่ว่าจะเป็นกรณีไหนก็ตาม สัญชาติมักจะได้รับโดยกำ�เนิด และ ไม่ว่าจะเป็นการให้สัญชาติด้วยวิธีไหนก็ตาม รัฐบางรัฐให้สัญชาติกับผู้ที่เกิดในประเทศและจะกลายเป็นคนไร้รัฐ แต่ สัญชาติจะไม่ให้แก่ผู้ที่เกิดนอกประเทศจากพ่อแม่ที่ไม่ได้เป็นคนชาติ แต่สามารถได้สัญชาติโดยการแปลงสัญชาติ

26 Seyla Benhabib อ้างแล้ว หน้า 4. 27 J.Habermas, The inclusion of other, in Studies in Political Theory, C.Cronin and P.de Greif, (eds.), Cambridge (Mass.), MIT Press, 1998, p.132. 28 Citizenship, First published Friday, 13 October, 2006. 29 Seyla Benhabib อ้างแล้ว หน้า 5. 30 อ้างแล้ว หน้า 1. 31 T. Alexander Aleinikoff and Douglas Klusmeyer (codirectors), Citizenship Policies for an Age of Migration, MPI, Washington, D.C., 2002, p.2.

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

ความจงรักภักดีอันถือว่าจำ�เป็นที่รัฐชาติจะดำ�เนินไปและดำ�รงอยู่ได้ แต่ละชุมชนทางการเมืองได้สร้างสิ่งที่เรียกว่า อัตลักษณ์ร่วม ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งอันเหนียวแน่นและความเป็นหนึ่งเดียวทางสังคมภายในเขตแดนของรัฐ นัก คิดหลังชาตินิยม เห็นว่า การอ้างอิงถึงสัญชาติเดียวกันทำ�ให้รัฐสามารถรวบรวมผู้คนที่อาศัยอยู่ในเขตแดนบนพื้น ฐานของบรรพบุรุษเชื้อสายเดียวกัน มีประวัติศาสตร์ร่วมกัน ภาษาเดียวกัน .... 26 อำ�นาจอธิปไตย ดินแดนของรัฐ จึง กลายเป็นกรอบพืน้ ฐานอันจำ�เป็นของความเป็นพลเมือง และในทางกลับกัน สัญชาติกเ็ ป็นกรอบพืน้ ฐานอันจำ�เป็นต่อ อธิปไตยและดินแดนของรัฐ “สัญชาติทั้งในฐานะสถานะทางกฎหมายและในฐานะกิจกรรมกลายเป็นเงื่อนไขปัจจัย ในการดำ�รงอยู่ของชุมชนทางการเมืองที่ยึดโยงกับดินแดนที่อาจขยายได้ตามกาลเวลาและกลายเป็นจุดสำ�คัญของ อัตลักษณ์ร่วมกัน”27 แม้ว่าความเชื่อดังกล่าวจะถูกท้าทายด้วยโลกาภิวัตน์ที่ทำ�ให้เขตแดนไม่อาจปิดกั้นอะไรได้ แต่ รัฐส่วนใหญ่กย็ งั ยึดติดอยูก่ บั คำ�นิยามทางการของสมาชิกและชุมชนทางการเมืองทีเ่ ป็นสถาบันอันเป็นทางการ โดยตัง้ สมมุตฐิ านว่ารัฐมีทงั้ สิทธิตามกฎหมายและจริยธรรมทีจ่ ะเลือกสมาชิกของตนเอง และมีสทิ ธิทจี่ ะเปิดหรือปิดชายแดน การผูกขาดอำ�นาจเหนือดินแดนก็ดำ�เนินผ่านนโยบายสัญชาติและคนเข้าเมือง28


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

82

ในประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น น่าสนใจว่าเพียงไม่กี่ศตวรรษที่ผ่านมา สถานะทางกฎหมายของประชาชน ในทัง้ สองประเทศมีฐานะเป็น “ข้าแผ่นดิน” ของจักรพรรดิหรือของกษัตริย์ (พระเจ้าแผ่นดิน) ไม่ใช่สถานะของพลเมือง เช่นเดียวกับอีกหลายประเทศในโลก ประเทศไทยรับหลักการให้สัญชาติโดยการเกิดแก่คนบางคน ประเทศไทยไม่ ยอมรับการมีสองสัญชาติ ในญี่ปุ่น นโยบายสัญชาติดังกล่าวนี้มีผลกระทบอย่างสูงกับคนเชื้อสายเกาหลีและไต้หวัน ที่อาศัยอยู่ในญี่ปุ่นมาหลายรุ่น ในประเทศไทยนโยบายดังกล่าวนี้มีผลกระทบต่อชาวเขาชนกลุ่มน้อยและชนพื้น เมืองที่อาจอาศัยอยู่ในประเทศไทยก่อนที่คนไทยจะเข้ามาครอบครอง และมีผลถึงคนที่เพิ่งเข้ามาใหม่ซึ่งสถานะทาง กฎหมายยังเป็นปัญหา จากเรื่องราวชีวิตที่เล่าไปตอนต้นทำ�ให้เห็นว่าญี่ปุ่นและประเทศไทย ก็เป็นสองประเทศในบรรดาอีกหลาย ประเทศที่รับเอาแนวคิดของการผูกโยงการเป็นสมาชิกทางสังคมเข้ากับชาติพันธ์ุ ประเทศไทยและญี่ปุ่นให้สัญชาติ บนพืน้ ฐานของผูใ้ ห้ก�ำ เนิดมากกว่าสถานทีเ่ กิด คนๆ หนึง่ ได้รบั สัญชาติไทย/ญีป่ นุ่ โดยอัตโนมัตหิ ากเกิดจากพ่อแม่ทมี่ ี สัญชาติไทย/ญีป่ นุ่ ไม่วา่ เขาจะเกิดทีไ่ หนก็ตาม ในขณะทีเ่ ด็กทีเ่ กิดจากพ่อแม่ทไี่ ม่ได้เป็นคนชาติแต่เกิดในประเทศไทย/ ญี่ปุ่น จะไม่สามารถได้รับสัญชาติไทย/ญี่ปุ่นโดยอัตโนมัติ แต่จะกลายเป็นคนไทย/ญี่ปุ่นได้ ก็โดยการแปลงสัญชาติ ดังนั้นคนที่อาจไม่พูดภาษาไทย/ญี่ปุ่นเลย ไม่เคยอยู่ในประเทศไทย/ญี่ปุ่นเลย และมีความเชื่อมโยงกับประเทศไทย/ ญีป่ นุ่ เพียงเพราะว่าพ่อแม่บรรพบุรษุ จากประเทศไทย/ญีป่ นุ่ ไปเมือ่ นานมาแล้ว แต่กลับมีสทิ ธิทางกฎหมายดีกว่าเด็กที่ เกิดจากแรงงาน ผูล้ ภี้ ยั หรือลูกชาวเขาชนกลุม่ น้อยทีเ่ กิดและเติบโตในประเทศเรา ได้รบั การศึกษาและรับวัฒนธรรม เรา และไม่สามารถพูดภาษาอื่นใดได้นอกจากภาษาไทย/ญี่ปุ่น32 นอกจากเขาเหล่านั้น จะไม่มีสิทธิในการได้รับสัญชาติแล้ว แต่ยังไม่อาจเข้าถึงสิ่งมีคุณค่าในฐานะพลเมืองได้ อีกด้วย แล้วอะไรคือที่เรียกว่าสิ่งมีคุณค่าในฐานะสมาชิก Jules L. Coleman และ Sarah K.Harding แบ่งประเภทของสิ่งที่มีคุณค่าไว้หลายรูปแบบ ซึ่งหมายรวมถึง33 1) งานทำ� ผู้ที่มีถิ่นถาวรโดยทั่วไปจะทำ�งานอะไรก็ได้ มีข้อยกเว้นเพียงอย่างเดียว คือ คนที่ไม่ได้เป็นคน ชาติไม่สามารถทำ�งานราชการหรือภาครัฐได้ ผู้ที่มีถิ่นพำ�นักชั่วคราวโดยทั่วไปจะมีข้อจำ�กัดในการทำ�งาน บางประการ นักท่องเที่ยว นักศึกษา และเจ้าหน้าที่ของรัฐต่างประเทศและครอบครัวไม่มีสิทธิทำ�งาน คน ต่างด้าวผิดกฎหมาย ในหลักการ ไม่มีสิทธิในการมีงานทำ� แต่ในทางปฏิบัติ แม้จะมีบทลงโทษถึงขนาด ข้อหาอาชญากรรม คนต่างด้าวผิดกฎหมายหรือผู้ไม่มีเอกสารประจำ�ตนยังคงเดินทางเข้ามาในประเทศ และมีงานทำ� ซึ่งโดยทั่วไปเป็นงานที่อันตราย สกปรกและในสภาพที่เลวร้าย 2) บริการฉุกเฉินและทรัพยากรทางเศรษฐกิจสังคม สิทธิในทรัพยากรทางเศรษฐกิจสังคมถูกกำ�หนดโดยความ ถาวรของถิน่ ทีอ่ ยูแ่ ละความถูกต้องตามกฎหมายของสถานะมากกว่าสัญชาติ บริการฉุกเฉินบางอย่าง เช่น การบริการทางการแพทย์ อาจมีให้สำ�หรับทุกคน ในขณะที่การบริการบางอย่าง เช่น การศึกษา ค่าช่วย เหลือบุตร เป็นต้น อาจถูกจำ�กัด อย่างไรก็ตาม การเข้าถึงสิ่งเหล่านี้อาจแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสถานะของ ผู้รับและนโยบายของแต่ละประเทศ 3) การมีสว่ นร่วมทางการเมือง สิง่ มีคณ ุ ค่าในฐานะสมาชิกประเภทนีถ้ อื ว่าเป็นสิทธิเฉพาะของคนทีเ่ ป็นพลเมือง เท่านั้น สิทธิในการเลือกตั้งและลงสมัครรับเลือกตั้งโดยทั่วไปไม่ใช่สิทธิของคนต่างชาติ อย่างไรก็ตาม ใน บางประเทศ สิทธิดงั กล่าวนีข้ ยายไปถึงผูท้ ไี่ ม่ได้เป็นคนชาติ รูปแบบอย่างอืน่ ของการมีสว่ นร่วมทางการเมือง เช่นการเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานอาจมีได้ในบางประเทศที่ถือว่าเป็นเสรีประชาธิปไตย

32 จาก Jean Hampton, Immigration, justice and identity, in Schwartz, Warren, ed., Justice in Immigration 33 Jules L.Coleman and Sarah K.Harding, Op.Cit., pp. 26-34.


83

ในหลายแง่มมุ สิง่ มีคณ ุ ค่าทีไ่ ด้รบั ยากมากคือถิน่ ทีอ่ ยูถ่ าวรและสัญชาติ และนีก่ น็ า่ จะเป็นสิง่ ทีม่ คี ณ ุ ค่าทีผ่ ยู้ า้ ย ถิ่น ผู้ไร้สัญชาติและคนไร้รัฐแสวงหามากที่สุด นั่นไม่ได้หมายความว่า สิ่งที่มีคุณค่าอื่นๆ เช่น การมีส่วนร่วมทางการ เมือง ทรัพยากรทางเศรษฐกิจสังคมและบริการต่างๆ รวมถึงงานทำ�จะง่ายที่จะได้มา การเข้าถึงสิ่งที่มีคุณค่าเหล่า นั้น ขึ้นอยู่กับกฎหมายและนโยบายของแต่ละประเทศ และขึ้นอยู่กับเจตนารมณ์ทางการเมือง รวมถึงระดับความ เปิดกว้างและประชาธิปไตย แต่ในหลายหรือทุกกรณี สิงที่มีคุณค่าต่างๆ เหล่านั้นมีให้กับปัจเจกแต่ละคนแตกต่าง กันไปตามสถานะที่แตกต่างกัน เรื่องราวของโซมุ อาจารย์อายุ นามเทพ และโซบี ซึ่งอยู่อย่างไม่มีตัวตนทางกฎหมายในเขตแดนไทยแสดงให้ เห็นถึงความผิดปกติในนโยบายเกีย่ วกับการเป็นสมาชิกและการเข้าถึงสิง่ มีคณ ุ ค่าของสมาชิก แท้จริงแล้ว เป็นเครือ่ ง บ่งชี้ให้เห็นถึงสังคมที่ไม่เป็นธรรมและไม่ยุติธรรม ที่เส้นแบ่งระหว่างเขตดินแดน อธิปไตยและสัญชาติ ขาดการเกี่ยว โยงกับความเป็นมนุษย์และความรับผิดชอบของรัฐ สำ�หรับโซมุ อายุ นามเทพ และโซบี รวมถึงคนอีกกว่าครึ่งล้านใน ประเทศไทยทีเ่ กิดและอาศัยอยูบ่ นผืนแผ่นดินไทยแต่ไม่มเี อกสารทีถ่ กู ต้อง ซึง่ หมายถึงสถานะทางการกฎหมาย ตาม สำ�นวนที่ Seyla Benhabib เรียกว่าเป็นรูปแบบหนึ่งของ civil death เขาเหล่านั้นอยู่ในภาวะ civil death เพียงเพราะ บังเอิญเกิดมาภายในเขตแดนทางการเมืองที่ปฏิเสธสิทธิของเขาในฐานะมนุษย์ที่เป็นส่วนหนึ่งของสังคมไม่ใช่เพราะ เขาเลือก ในประเทศไทยอันเป็นเขตแดนทางการเมืองมีปัญหายิ่ง แม้สำ�หรับผู้ที่ควรจะถือว่าเป็นสมาชิก หากพรมแดนทางการเมืองทำ�ให้มนุษย์ไร้ตัวตนทางกฎหมาย และทำ�ให้เขาไม่ได้รับสิ่งมีคุณค่าทางสังคมที่ จำ�เป็น ในทุกสังคม เราจะพบเห็นพรมแดนอีกแบบหนึง่ ทีถ่ กู สร้างขึน้ และน่าจะเป็นเขตแดนทีย่ ากทีจ่ ะเข้าใจ ไม่จำ�เป็น ต้องกล่าวถึงว่ายากแก่การยอมรับนั่นคือการเลือกปฏิบัติ ซึ่งในที่สุดทำ�ให้คนส่วนหนึ่งถูกผลักสู่ชายขอบ

บทสรุป เขตแดน และสิทธิมนุษยชนไร้พรมแดน หากพิจารณาจากสิ่งที่เสนอไปข้างต้น จะเห็นว่า แนวปฏิบัติของรัฐไทยหรือรัฐญี่ปุ่นชี้ให้เห็นว่า หากจะเป็น “ส่วนหนึ่งของเรา” ไม่เพียงแต่จะต้องมีอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมบางอย่าง แต่ต้องมีความเกี่ยวพันทางพันธุกรรม บางอย่างกับสมาชิกคนอื่นๆ ซึ่งหมายถึงมีสายเลือดบางสาย ดังนั้น ไม่ว่าคนคนนั้นจะเกิดที่ไหนและเติบโตที่ไหน แต่รัฐบาลญี่ปุ่น/ไทยก็ยังคงให้สิทธิในสัญชาติไทย/ญี่ปุ่นแก่เด็กที่เกิดจากพ่อแม่ญี่ปุ่น/ไทย ทั้งสองประเทศ มีแนวคิด ชาตินิยมเกี่ยวกับสัญชาติ ที่น่าเป็นห่วงคือเขตแดนและสัญชาติ ดูจะเกี่ยวโยงกับชาตินิยมเข้มข้นขึ้นทุกที ไม่เพียงแต่ชาติพนั ธ์หุ รือพันธุกรรมจะเป็นเหตุท�ำ ให้คนจำ�นวนหนึง่ ถูกกีดกันจากการเป็นสมาชิกและการเข้าถึง สิ่งมีคุณค่าสำ�หรับสมาชิก แต่ Hampton ยังเพิ่มเติมว่ายังมีการกีดกันบนพื้นฐานทางคุณค่า มีสมมุติฐานว่า คุณค่า เป็นสิ่งที่ตายตัว แต่สมมุติฐานดังกล่าวนี้ไม่มีหลักฐาน ระบบคุณค่าเปลี่ยนแปลงไปตามเวลาที่เปลี่ยนไปตามคน แต่ละรุ่น เด็กๆ อาจยึดถือคุณค่าบางอย่างแตกต่างจากพ่อแม่ การกำ�หนดความเป็นญี่ปุ่นหรือความเป็นไทยไว้ก่อน

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

4) สิทธิในการมีถนิ่ ทีอ่ ยูถ่ าวร การมีถนิ่ ทีอ่ ยูถ่ าวรโดยทัว่ ไปในหลายประเทศมีเงือ่ นไขข้อจำ�กัดบางประการ ผูม้ ี สิทธิในถิน่ ทีอ่ ยูถ่ าวรจำ�เป็นต้องมีคณ ุ สมบัตสิ อดคล้อง หรือในบางกรณี อาจต้องมีคณ ุ สมบัตเิ ช่นเดียวกับผูท้ ี่ เป็นสมาชิกเต็มรูป อาจกล่าวได้วา่ ในประเทศไทย รัฐบาลไม่มนี โยบายให้สทิ ธิในถิน่ ทีอ่ ยูถ่ าวรแก่คนต่างชาติ 5) การคุม้ กันจากการถูกส่งกลับ/เนรเทศ เอกสิทธิคมุ้ กันจากการถูกเนรเทศ เป็นสิทธิพเิ ศษทีส่ �ำ คัญยิง่ ประการ หนึง่ ของผูท้ เี่ ป็นพลเมือง สำ�หรับคนทีไ่ ม่ใช่คนชาติ เอกสิทธินอี้ าจขึน้ อยูก่ บั หลายปัจจัย ปัจจัยอย่างหนึง่ คือ ระยะเวลาในการอาศัยอยู่ โดยทั่วไป ผู้ที่ไม่ได้เป็นคนชาติไม่ว่าจะมีถิ่นที่อยู่ถาวรหรือชั่วคราว หรือสมาชิก ที่ผิดกฎหมายอาจถูกส่งกลับได้ คนต่างชาติผิดกฎหมายสามารถถูกส่งกลับได้ตลอดเวลา 6) สัญชาติ สัญชาติจะได้รับโดยการเกิดในดินแดนนั้นๆ ตามหลักดินแดนหรือตามพ่อแม่ตามหลักสายเลือด สัญชาติไม่เคยให้กับคนที่เกิดนอกประเทศจากพ่อแม่ที่ไม่ใช่คนชาติ แต่อาจแปลงสัญชาติได้ หรือโดย กระบวนการขอสัญชาติ และขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่แตกต่างกันในแต่ละประเทศ


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

84

กีดกันคนจำ�นวนมากทีถ่ กู มองว่า “ไม่เหมือนเราหรือเหมือนเราไม่พอ” 34 แท้จริงแล้ว การกีดกันบนพืน้ ฐานของคุณค่า ถูกใช้เพื่อปิดบังการกีดกันที่อยู่บนฐานทางชาติพันธุ์ ทางวรรณะ ทางเพศ ซึ่งในหลายประเทศรวมถึงประเทศไทยไม่ ยอมรับ การกีดกันนี้ถือเป็นผลผลิตทางอ้อมของความอยุติธรรมและความไม่เท่าเทียมในหลายรูปแบบในสังคมเรา Hampton ยํ้าต่อไปว่า หากประเทศนั้นยังคงปฏิเสธสิทธิในสิ่งมีคุณค่าในฐานะสมาชิกแก่คนที่ไม่ได้เป็นคน ชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศและสร้างคุณประโยชน์อย่างยาวนานในขอบเขตของพรมแดนหนึ่งๆ เช่นเดียวกับคนชาติ ก็เสมือนเป็นการทำ�ให้เกิดระบบที่มีชนชั้นที่แตกต่างของคนในสังคม35 มันเป็นเรื่องที่เลวร้ายพอๆ กันที่แม้ในกลุ่มคน ที่เป็นคนชาติ ประชาชนก็ยังได้รับการปฏิบัติแตกต่างกัน การเมืองเรื่องความแตกต่างนี้ ก่อให้เกิดความรู้สึกไม่พอใจ และความแตกแยกซึ่งนำ�ไปสู่ความขัดแย้งซึ่งก่อความสูญเสียแก่คนทุกกลุ่ม ประเทศไทยซึง่ อ้างตลอดมาว่าเป็นสังคมเสรีประชาธิปไตยแต่ดเู หมือนทำ�ทุกวิถที างทีจ่ ะปฏิเสธสัญชาติแก่คน ทีม่ ภี มู หิ ลังทางชาติพนั ธุแ์ ละวัฒนธรรมแตกต่างจากคนส่วนใหญ่ จะเห็นว่าในกรณีของประเทศไทยผูบ้ ริหารทำ�ให้คน บางกลุ่มสูญเสียสัญชาติ และทำ�ให้คนกลายเป็นคนไร้สัญชาติหรือไร้รัฐ นั่นหมายถึง รัฐไทยกำ�ลังละเมิดพันธกรณีที่ กำ�หนดไว้ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนอืน่ ๆ โดยเฉพาะ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางการเมืองและสิทธิพลเมือง มาตรา 15 ของปฏิญญาสากลฯ บัญญัติว่า ทุก คนมีสิทธิในสัญชาติ และบุคคลจะถูกตัดสิทธิในการมีสัญชาติหรือถูกปฏิเสธสิทธิที่จะเปลี่ยนสัญชาติมิได้ มาตรา 24 ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางการเมืองและสิทธิพลเมืองบัญญัติสิทธิดังกล่าวนี้ไว้เช่นเดียวกัน และ ประเทศไทยก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงพันธกรณีได้ ในฐานะภาคีของกติกาฯ ดังกล่าว หากเราอ่านมาตรฐานสิทธิมนุษยชนอย่างระมัดระวัง เราจะเห็นว่าทุกคนมีสิทธิ ไม่ว่าเขาจะมีสถานะทาง กฎหมายและสังคมอย่างไร ทุกคนมีสิทธิในชุมชนการเมืองที่เขาควรถูกตัดสินไม่ใช่จากคุณลักษณะที่กำ�หนดโดย ชาติกำ�เนิด แต่ควรเป็นการกำ�หนดจากสิ่งที่เขาทำ�และคิด36 การที่คนจำ�นวนหนึ่งถูกปฏิเสธความเป็นสมาชิกและสิ่ง มีคุณค่าในฐานะสมาชิกภายใน “เขตแดน” เพียงเพราะสถานะทางกฎหมายและเพียงเพราะเขาเป็น “อย่างที่เป็น อยู่” เป็นสิ่งที่ไม่อาจรับได้ เราเชื่อว่าไม่มีมนุษย์คนไหนผิดกฎหมายและเราทุกคนมีความเท่าเทียมกัน เรามีสิทธิ เพียงเพราะเราเป็นมนุษย์ ดังนั้น สิทธิมนุษยชนจึงไม่มีพรมแดน มิติ/ความหมายของพรมแดนที่กีดกันมนุษย์จึงไม่ สามารถอธิบายได้อีกต่อไป

34 เพิ่งอ้าง 35 เพิ่งอ้าง 36 Seyla Benhabib อ้างแล้ว 99.


85

1. Anderson, Benedict, Imagined Communities: Reflections on the Origin and Spread of Nationalism, London, 2000. 2. Aleinikoff, T.Alexander, and Douglas Klusmeyer (codirectors), Citizenship Policies for an Age of Migration, MPI, Washington, D.C., 2002. 3. Atsuko Abe, Citizenship, Colonial Past and Immigration Policy – A Comparative Study between Japan and the United Kingdom, in Obirin Review of International Studies, No.18, 2006, Obirin University, pp.107-130. 4. Benhabib, Seyla, The Rights of Others: Aliens, Residents and Citizens, Cambridge University Press, 2004. 5. Citizenship, Standford Encyclopedia of Philosophy, http://plato.standford.edu/entries/citizenship/, visited on April 21, 2001. 6. Furukawa Shun’ichi and Menju Toshihiro (eds.), Japan’s Road to Pluralism, Japan Center for International Exchange, Tokyo, 2003. 7. Habermas, Jergens, The inclusion of other, in Studies in Political Theory, C.Cronin and P.de Greif, (eds.), Cambridge (Mass.), MIT Press, 1998 8. Hicks,George, Japan’s Hidden Apartheid: The Korean Minority and the Japanese, Ashgate, Brookfield USA, 1998. 9. Kok-Chor Tan, Justice Without Borders: Cosmopolitanism, Nationalism and Patriotism, Cambridge, Cambridge University Press, 2004. 10. Kritya Achavanijkul, Migrants and the issue of management of education in Thailand, IPSR, Mahidol University, January, 2007. 11. Mario Jorge Yutzis, Racial discrimination based on descent: A challenge for all human beings, in IMADR, Peoples for Human Rights, Vol.9, October 2004. 12. Soo Im Lee, et al, (eds), Japan’s Diversity Dilemmas: Ethnicity, Citizenship, and Education, New York, Universe, Inc., New York, 2006. 13. Thongchai Winichakul, Siam Mapped: A History of the Geo-body of a Nation, Silkworm Books, Chiangmai, 1994. 14. Warren , F.Schwartz, ed., Justice in Immigration, Cambridge University Press, Cambridge, 1995. 15. ปิ่นแก้ว อุ่นแก้ว (บรรณาธิการ) คนไร้รัฐไร้สัญชาติในรัฐไทย กรุงเทพ: สำ�นักพิมพ์วิญญูชน กรกฎาคม 2550

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

เอกสารอ้างอิง


ประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์


87

ผศ.ดร.ฉวีวรรณ ประจวบ​เหมาะ2

บทนำ� การ​จำ�แนก​กลุ่ม​ชา​ติ​พันธ์​ุเป็นการ​จัด​ประเภท (Classification) กลุ่ม​บุคคล​หรือ​กลุ่ม​คน ซึ่ง​มี​ลักษณะ​ ร่วม​กบั ก​ า​รจำ�แนก​และ​จดั ป​ ระเภท​สรรพ​สงิ่ ต​ า่ งๆ ไม่ว​ า่ จ​ ะ​เป็นส​ ตั ว์ พืช สิง่ ของ โรค​ภยั ไ​ข้เ​จ็บ และ​อนื่ ๆ​ คือก​ าร​แยกแยะ​ เห็นว​ า่ สิง่ น​ นั้ ค​ อื อ​ ะไร​หรือเ​รียก​วา่ อ​ ะไร มีค​ วาม​เหมือน​กนั ห​ รือค​ ล้าย​กนั ก​ บั ส​ งิ่ อ​ นื่ ๆ​ ทีอ​่ ยูห่​ มวด​หมูห​่ รือป​ ระเภท​เดียวกัน และ​แตก​ต่าง​จาก​สิ่ง​ที่​อยู่ใ​น​หมวด​หมู่/ประเภท​อื่นด​ ้วย​เกณฑ์​บาง​ประการ การ​จำ�แนก​ประเภท​สรรพ​สิ่ง​ต่างๆ จึง​มี​องค์​ประกอบ​สำ�คัญ​ดังนี้ คือ - ชื่อ​เรียก​ของ​สิ่ง​ที่​ถูกจ​ ำ�แนก - ชื่อ​ประเภท หรือ หมวด​หมู่​ของ​การ​จำ�แนก - เกณฑ์​หรือ​คุณลักษณะ​ที่​ใช้​ใน​การ​จำ�แนก​และ​จัด​ประเภท - ความ​รู้สึก​หรือ​ท่าที​ที่​แฝง​อยู่​ใน​การ​จำ�แนก​กลุ่มห​ รือป​ ระเภท​ที่​ถูก​จำ�แนก ใน​ประวัตศิ าสตร์ก​ าร​ศกึ ษา​ทาง​ชา​ตพ​ิ นั ธ์ว​ุ ทิ ยา มีน​ กั ม​ านุษยวิทยา​หลาย​คน​ให้ค​ วาม​สนใจการ​จ�ำ แนก​ประเภท​ สรรพ​สงิ่ ต​ า่ งๆ ของ​กลุม่ ช​ น​ทม​ี่ ว​ี ฒ ั นธรรม​แตก​ตา่ ง​จาก​คน​ตะวันต​ ก อย่าง​เช่นใ​น​ทศวรรษ​ของ 2460 Boas (1888 อ้าง​ใน M.Harris 1968) สนใจ​เรือ่ ง​การ​จ�ำ แนก​สข​ี อง​เอ​สกิโม หรือน​ กั ค​ ดิ ใ​น​แนว​ชา​ตพ​ิ นั ธ์ว​ุ รรณ​าใ​หม่ (New Ethnography)3 อย่าง​ เช่น C.Frake (1961) สนใจ​เรื่อง​การ​จัด​ประเภท​โรค (ใน C.Eastman 1975 และ​ฉวีวรรณ ประจวบ​เหมาะ 2544) หรือ​ข้อ​ สังเกต​ของ Foucault (1970) เกีย่ ว​กบั ก​ าร​จ�ำ แนก​ประเภท​สตั ว์ใ​น​สารานุกรม​ของ​จนี ซ​ งึ่ แ​ ตก​ตา่ ง​จาก​การ​จ�ำ แนก​ประเภท​ สัตว์ใ​น​ชีววิทยา และ​ทำ�ให้​เห็น​ว่าการ​จำ�แนก​ประเภท​สรรพ​สิ่ง​ต่างๆ มี​หลักเ​กณฑ์​ที่​แตก​ต่าง​กันไ​ป​ใน​วัฒนธรรม​ต่างๆ และ​อาจ​จะ​แตก​ต่าง​อย่าง​สิ้น​เชิงจ​ าก​ระบบ​การ​จำ�แนก​ประเภท​ใน​ทาง​วิชา​การ อย่างไร​ก็ตาม​ ผู้เ​ขียน ​มี​ข้อ​สังเกต​ว่า​ แม้วา่ จ​ ะ​มง​ี าน​วจิ ยั ท​ าง​มานุษยวิทยา​ทใ​ี่ ห้ค​ วาม​สนใจ​กบั ค​ วาม​คดิ ใ​น​การ​จ�ำ แนก​สรรพ​สงิ่ ต​ า่ งๆ ข​ อง​คน​ทอ​ี่ ยูใ​่ น​วฒ ั นธรรม​ ต่างๆ ​อยู่​ไม่​น้อย แต่​งาน​ที่​นำ�​เสนอ​ความ​คิด​ของ​คนใน​หรือข​ อง​กลุ่ม​ชน​ต่างๆ ​ใน​การ​จำ�แนก​ชา​ติ​พันธ์​ุกลับ​มีน​ ้อย​มาก ใน​บทความ​นผ​ี้ เ​ู้ ขียน​พยายาม​จะ​ส�ำ รวจ​ประวัตแ​ิ ละ​ความ​เป็นม​ า​และ​ความ​หลาก​หลาย​ของ​การ​จ�ำ แนก​กลุม่ ช​ น​ จน​มา​เป็นการ​จำ�แนก​กลุม่ ช​ า​ตพ​ิ นั ธ์ใ​ุ น​สาขา​วชิ า​มานุษยวิทยา​ซงึ่ เ​ป็นส​ าขา​วชิ า​หนึง่ ท​ ม​ี่ ค​ี วาม​สนใจ​เป็นพ​ เิ ศษ​ใน​ความ​ หลาก​หลาย​ของ​มนุษย์​และ​วัฒนธรรม และ​พยายาม​ชี้​ให้​เห็น ว่าที่​จริง​แล้ว​การ​จำ�แนก​กลุ่ม​คน​หรือ​กลุ่ม​ชน​ใน​สังคม​ ต่างๆ ​มี​ลักษณะ​ที่​หลาก​หลาย ซึ่ง​การ​จำ�แนก​กลุ่ม​ชา​ติ​พันธ์​ุเป็น​เพียง​ลักษณะ​หนึ่ง​ของ​การ​จำ�แนก​กลุ่ม​ชน​ที่​มี​ความ​ 1 การ​อ้างอิง​บทความ​นี้ ค​ วร​ได้​รับอ​ นุญาต​จาก​เจ้าของ​บทความ 2 ศูนย์ม​ านุษยวิทยา​สิ​รินธ​ ร (องค์การ​มหาชน) 3 Marvin Harris (1968:568) อธิบาย​ว่า​เป็น​แนวทาง​การ​ศึกษา​วัฒนธรรม​ที่​พยายาม​ปรับปรุง​มาตรฐาน​การ​รวบรวม​วิเคราะห์​ และ​พรรณนา​ข้อมูล​โดย​มี​แรง​บันดาล​ใจ​จาก​เทคนิค​การ​ศึกษา​ใน​ภาษาศาสตร์ ซึ่ง D. Kaplan และ R. Manners(1972) ขยาย​ ความ​ว่า​แนวคิด​นี้​มี​พื้นฐ​ าน​ความ​คิด​ว่า​มี​ความ​สัมพันธ์​ระหว่าง​ภาษา​และ​ระบบ​คิด​กับ​แบบแผน​พฤติกรรม​ของ​มนุษย์ โดยที่​ การ​ทำ�ความ​เข้าใจ​ระบบ​คิด​โดย​เฉพาะ​การ​จำ�แนก​สรรพ​สิ่ง​ต่างๆ ต้อง​อาศัย​การ​วิเคราะห์​ความ​หมาย​และ​ความ​สัมพันธ์​ของ​ คำ�​ศัพท์ใ​น​เรื่อง​ต่างๆ ​ของ​กลุ่ม​ชน​นั้นๆ​

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

การ​จำ�แนก​กลุ่มช​ า​ติ​พันธ์​ุ: ปัญหา​และ​ข้อ​เสนอ​แนะ1


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

88

หมาย​แตก​ต่าง​กัน​ไป​ตาม​วัตถุประสงค์​และ​แนวคิด​ใน​การ​จำ�แนก และ​การ​จำ�แนก​แต่ละ​แบบ​ก็​จะ​ถูก​มอง​ว่า​มี​ปัญหา​ บาง​ประการ​ซึ่ง​จำ�เป็น​ต้อง​มี​การ​แก้ไข นอกจาก​นี้​ภารกิจ​ของ​ผู้​เขียน​ใน​ฐานะ “ที่​ปรึกษา” คณะ​ทำ�งาน​พัฒนา​ฐาน​ข้อมูล​งาน​วิจัย​ทาง​ชา​ติ​พันธ์​ุใน​ ประเทศ​ไทย​และ​เอเชีย​ตะวัน​ออก​เฉียง​ใต้​ของ​ศูนย์​มานุษยวิทยา​สิ​ริน​ธร​ได้​ทำ�ให้​ต้อง​ทำ�ความ​เข้าใจ​เรื่อง​การ​จำ�แนก​ ชา​ติ​พันธ์​ุใน​งาน​วิจัย​ต่างๆ และ​พบ​ว่า​งาน​วิจัย​ทาง​ชา​ติ​พันธ์​ุต่างๆ ​ได้​สะท้อน​ปัญหา​ต่างๆ ที่​มี​ใน​การ​จำ�แนก​ชา​ติ​พันธ์​ุ จึงจ​ ะ​น�​ ำ เสนอ​ใน​ฐานะ​เป็นก​ รณีต​ วั อย่าง​ของ​ปญ ั หา​และ​ผเ​ู้ ขียน​พยายาม​จะ​เสนอ​แนะ​ขอ้ คิด และ​หลักก​ าร​บาง​ประการ​ หาก​ทาง​ราชการ​และ​รัฐ​มี​ความ​ประสงค์​จะ​จำ�แนก​กลุ่ม​ชา​ติ​พันธ์​ุใน​ประเทศ​ไทย เพราะ​การ​จำ�แนก​ดัง​กล่าว​อาจ​จะ​มี​ นัย​ยะ​สำ�คัญ​ใน​เรื่อง​สิทธิ​มนุษย​ชน​และ​สิทธิ​ความ​เป็น​พลเมือง​ซึ่ง​เป็น​ปัญหา​ใน​เรื่อง​มนุษยธรรม​และ​กฎหมาย

พัฒนาการ​การ​จำ�แนก​กลุ่ม​ชน/กลุ่ม​คนใน​สังคมศาสตร์ (เน้นม​ านุษยวิทยา) ความ​หลาก​หลาย​ของ​การ​จำ�แนก​กลุ่ม​ชน ใน​โลก​ของ​คน​ธรรม​ดา​ทวั่ ๆ​ ไป​ทอ​ี่ ยูใ​่ น​สงั คม​และ​วฒ ั นธรรม​ตาม​ยคุ ส​ มัยต​ า่ งๆ การ​จ�ำ แนก​กลุม่ ค​ นใน​สงั คม​ชมุ ชน​ หรือท​ อ้ ง​ถนิ่ ข​ อง​ตนเอง​เป็นเ​รือ่ ง​ปกติ เช่น ใน​สงั คม​ไทย​สมัยศ​ กั ดินา​ผูค้ น​กอ​็ าจ​จะ​จ�ำ แนก​ตวั เ​อง​และ​กลุม่ ต​ วั เ​อง​ได้อ​ ย่าง​ หลาก​หลาย เช่น พวก​เรา​เป็นไ​พร่ พวก​เขา​เป็นน​ าย หรือพ​ วก​เขา​เป็นเ​จ้า หรืออ​ าจ​จะ​จ�ำ แนก​วา่ น​ เ​ี่ ป็นพ​ วก​คน​ดี ส่วน​พวก​ นั้น​เป็น​โจร​หรือ​อาจ​จะ​จำ�แนก​ว่า​นี่​เป็นพ​ วก​ผู้ชาย นั่น​พวก​ผู้​หญิง หรือพ​ วก​นั้น​เป็น​คน​บ้าน(หมู่บ้าน) บาง​ตะ​ไนย์ แต่​ พวก​เรา​ที่​นี่​เป็น​คน​บ้าน (หมู่บ้าน) กลาง หรือ​พวก​บ้าน​นั้นเ​ป็น​มอญ ส่วน​พวก​บ้าน​เรา​เป็น​ลาว การ​จำ�แนก​จึง​มีค​ วาม​ หลาก​หลาย​แบบ​ไม่รจ​ู้ บ​แล้วแ​ ต่เ​กณฑ์ท​ ยี​่ ก​ขึ้นม​ า​จำ�แนก​เพื่อใ​ช้ป​ ระโยชน์ใ​น​การ​แสดง​ให้เ​ห็นล​ ักษณะ​การ​ร่วม​กันข​ อง​ คน​ทอี่​ ยูใ่​น​กลุ่มห​ รือใ​น​ประเภท​เดียวกันซ​ ึ่งม​ นี​ ัยย​ ะ​ของ​ความ​สัมพันธ์เ​กี่ยวข้อง​ซึ่งก​ ันแ​ ละ​กันใ​น​บาง​ลักษณะ เช่นค​ วาม​ ใกล้ช​ ดิ ไ​ว้ว​ างใจ ทีม​่ ค​ี วาม​แตก​ตา่ ง​ไป​จาก​บคุ คล​ทอ​ี่ ยูใ​่ น​อกี ป​ ระเภท/กลุม่ ห​ นึง่ ซ​ งึ่ แ​ ม้วา่ อ​ าจ​จะ​มค​ี วาม​สมั พันธ์ก​ นั ไ​ด้ แต่​ เป็น​ความ​สัมพันธ์​ที่​ต่าง​ลักษณะ​กัน อย่าง​เช่น​ใน​สังคม​จีน​สมัยก​ ่อน ความ​เป็น​เครือ​ญาติ​มีค​ วาม​สำ�คัญ​ต่อ​ความ​รู้สึก​ และ​การ​ได้ส​ ิทธิใ​น​ทรัพย์ส​ ินบ​ าง​อย่าง​โดย​เฉพาะ​ลกู ชาย​คน​โต​สืบแ​ ซ่ ผีบ​ รรพ​บุรุษข​ ้าง​พ่อแ​ ละ​ที่ดิน ฉะนั้น ผ​ ทู้​ อี่​ ยูใ่​น​แซ่​ เดียวกัน​จะ​มี​กิจกรรม​หรือ​พิธีกรรม​เซ่น​ไหว้​ผี​บรรพ​บุรุษ​ร่วม​กัน​และ​ให้ค​ วาม​สำ�คัญ​กับ​ญาติ​โดย​เฉพาะ​ที่​เป็น​ผู้ชาย​ใน​ สาย​ข้าง​พ่อ ใน​โลก​ทรรศน์​ของ​พวก​เขา​บุคคล​ที่​อยู่​ต่าง​แซ่​จะ​มี​ความ​ใกล้​ชิด​น้อย​กว่า​ผู้​ที่​อยู่​ใน​แซ่​เดียวกัน จาก​หลัก​ฐาน​ทาง​ชา​ติ​พันธ์​ุวรรณ​า​เกี่ยว​กับ​สังคม​และ​วัฒนธรรม​ดั้งเดิม​ที่​มี​ความ​ซับ​ซ้อน​ยัง​ไม่​มาก​นัก ความ​ สัมพันธ์ท​ าง​สาย​เลือด​และ​การ​แต่งงาน​มกั เ​ป็นเ​กณฑ์ส​ �ำ คัญใ​น​การ​จ�ำ แนก​กลุม่ ค​ นใน​ชมุ ชน และ​เมือ่ ส​ มั พันธ์ก​ บั ค​ นนอก​ ชุมชน​หรือท​ อ้ ง​ถนิ่ ข​ อง​ตน หมูบ่ า้ น​หรือท​ อ้ ง​ถนิ่ ก​ อ​็ าจ​จะ​เป็นอ​ กี เ​กณฑ์ห​ นึง่ ท​ ม​ี่ ค​ี วาม​ส�ำ คัญใ​น​การ​จ�ำ แนก หรืออ​ าจ​จะ​ม​ี เกณฑ์​อื่นๆ เช่น ภาษา​และ​แบบแผน​พฤติกรรม​บาง​ประการ เช่น วิธี​การ​ผลิต​และ​เพาะ​ปลูก​หรือค​ วาม​เชื่อ​เรื่อง​ผีเ​ป็น​ เกณฑ์ส​ �ำ คัญใ​น​การ​จ�ำ แนก ส่วน​สงั คม​และ​วฒ ั นธรรม​ทม​ี่ ค​ี วาม​ซบั ซ​ อ้ น​มาก​ขนึ้ อ​ ย่าง​เช่นสังคม​รว่ ม​สมัยก​ จ​็ ะ​มเ​ี กณฑ์ท​ ​ี่ จำ�แนก​ทซ​ี่ บั ซ​ อ้ น​หลาก​หลาย​มาก​ยงิ่ ข​ นึ้ อย่าง​เช่น จำ�แนก​ตาม​เกณฑ์อ​ าชีพว​ า่ น​ นั่ เ​ป็นพ​ วก​ชาวนา พวก​ครู นัน่ เ​ป็นพ​ วก​ ข้าราชการ​และ​นั่น​พวก​พ่อค้า หรือ​อาจ​จะ​จำ�แนก​ตาม​ลักษณะ​ความ​สัมพันธ์​ใน​การ​ผลิต​อย่าง​เช่น​นี่​พวก​นายทุนแ​ ละ​ นั่น​พวก​กรรมกร หรือ​จำ�แนก​ตาม​การ​เป็น​แนว​ร่วม​เคลื่อนไหว​ทางการ​เมือง อย่าง​เช่น​พวก​พันธ​มิตรฯ หรือพ​ วก​นปช. ซึ่ง​ใน​ที่​นี้​ไม่​อาจ​จะ​กล่าว​ถึง​การ​จำ�แนก​อย่าง​ครอบคลุม​ทั้งหมด​ได้​เพราะ​มี​สารพัด​ชนิด​ใน​การ​จำ�แนก​และ​จัด​ประเภท นัก​สังคมศาสตร์​ใน​สาขา​วิชา​การ​ต่างๆ เช่น มานุษยวิทยา สังคมวิทยา และ​รัฐศาสตร์​ต่าง​ก็​มี​พัฒนาการ​ใน​ การ​จำ�แนก​กลุ่ม​คน เช่น สังคมวิทยา​มี​ความ​พยายาม​ใน​การ​หา​เกณฑ์​จำ�แนก​ชนชั้นใ​น​สังคม เช่น ชนชั้นล​ ่าง ชนชั้น​ กลาง และ​ชนชั้น​สูง หรือ​จำ�แนก​ตาม​ความ​สัมพันธ์​เชิง​อำ�นาจ​อย่าง​ เช่น ​ชนก​ลุ่ม​ใหญ่ และ​ชนก​ลุ่ม​น้อย ซึ่ง​เกณฑ์​ จำ�แนก​ดัง​กล่าว​จะ​มี​หลาย​มิติ​ครอบคลุม​และ​ซับ​ซ้อน​มาก​กว่า​เกณฑ์​จำ�แนก​ของ​คน​ธรรมดา​ทั่วไป ใน​บทความ​นี้​จะ​ เน้นก​ ารนำ�​เสนอ​พัฒนาการ​การ​จำ�แนก​กลุ่ม​คน/กลุ่ม​ชน ใน​สาขา​วิชา​มานุษยวิทยา​เป็น​หลัก เนื่องจาก​พื้นที่บ​ ทความ​


89

พัฒนาการ​การ​จำ�แนก​กลุ่ม​คนใน​สาขา​วิชา​มานุษยวิทยา ตาม​ข้อ​สังเกต​ขอ​ง อ​ลัน บาร์​นาร์ด (A. Barnard 2007:15-16) แม้​จะ​ไม่มี​ข้อ​ยุติ​ว่า​มานุษยวิทยา​ใน​ฐานะ​ เป็น​ความ​คิด​เกิด​ขึ้น​เมื่อ​ใด​แน่ นับ​ตั้ง​แต่​สมัย​กรี​ก​โรมัน​เลย​ทีเดียว หรือ​นับ​ตั้ง​แต่​คริสต์​ศตวรรษ​ที่ 17-18 แต่​ นักม​ านุษยวิทยา​สว่ น​ใหญ่ค​ ง​พอ​จะ​เห็นพ​ อ้ ง​กนั ไ​ด้ว​ า่ ม​ านุษยวิทยา​ใน​ฐานะ​เป็นส​ าขา​วชิ า​การ​อาจ​จะ​ถอื ก​ �ำ เนิดป​ ระมาณ​ กลาง​คริสต์​ศตวรรษ​ที่ 19 และ​ได้​พัฒนา​จน​มี​การ​เรียน​การ​สอน​ใน​มหาวิทยาลัยไ​ม่​นาน​หลัง​จาก​นั้น จาก​จดุ เ​ริม่ ต​ น้ ม​ านุษยวิทยา​ให้ค​ วาม​สนใจ​ใน​ความ​หลาก​หลาย​ของ​มนุษย์ใ​น​ทาง​กายภาพ/ชีวภาพ​และ​วฒ ั นธรรม (Jones 2005: 40-41) ซึง่ ​นกั ​มานุษยวิทยา​ได้​สรุป​ประเด็น​ศกึ ษา​หลัก​ใน​มานุษยวิทยา​ดว้ ย​ถอ้ ยคำ�​ท​่แี ตก​ตา่ ง​กนั ​บา้ ง​เล็ก​ น้อย เช่น สต็​อก​กิ้ง (Stocking 1968) ระบุ​ว่า​ประวัติศาสตร์​แนวคิด​ทาง​มานุษยวิทยา​ก็​คือ “การ​ศึกษา​เอกภาพ​ใน​ ความ​หลาก​หลาย​ของ​มนุษย์​อย่าง​เป็น​ระบบ” ส่วน​แคป​แลน​และ​แมน​เนอ​ร์ส (Kaplan and Manners 1972:2) ระบุ​ว่า​ นัก​มานุษยวิทยา​สนใจ​จะ​แสวงหา​คำ�​ตอบ 2 เรื่อง​ที่​เกี่ยว​เนื่อง​กัน​คือ ระบบ​วัฒนธรรม​ที่​แตก​ต่าง​กัน​ทำ�งาน​อย่างไร และ​ความ​แตก​ต่าง​เหล่า​นี้​เกิดข​ ึ้น​ได้​อย่างไร หาก​พิจารณา​พัฒนาการ​ความ​คิดใ​น​การ​จำ�แนก​กลุ่มช​ น​ใน​มานุษยวิทยา​แล้วจ​ ะ​เห็นว​ ่าม​ ที​ ี่มา​จาก​สอง​ทิศทาง​ ด้วย​กันซ​ ึ่งเ​กี่ยว​พันก​ ับโ​จทย์แ​ ละ​ประเด็นห​ ลักใ​น​การ​ศึกษา​ของ​มานุษยวิทยา​คือค​ วาม​หลาก​หลาย​ของ​มนุษย์ใ​น​ทาง​ ชีวภาพ​และ​ความ​หลาก​หลาย​ของ​วัฒนธรรม​มนุษย์ ใน​บทความ​นี้​จะ​เน้น​การนำ�​เสนอ​พัฒนาการ​ความ​คิด​ใน​การ​ จำ�แนก​กลุ่ม​ชน​ที่​มี​รากฐาน​มา​จาก​ความ​สนใจ​ใน​ทาง​วัฒนธรรม​ซึ่ง​เป็น​สาขา​ย่อย​ส่วน​หนึ่ง​ที่​เรียก​ว่า​ชา​ติ​พันธ์​ุวิทยา​ หรือม​ านุษยวิทยา​สังคม​และ​วัฒนธรรม ซึ่งม​ ี​การ​เปลี่ยนแปลง​ไป​ตาม​แนว​ทฤษฎีใ​น​ยุค​สมัยต​ ่างๆ และ​ใน​การนำ�​เสนอ​ ได้​อาศัย​ข้อ​สรุป​ของ Jones (2005) เป็น​แนว​โดยที่ผ​ ู้​เขียน​จะ​เสริม​ข้อคิด​และ​ประเด็น​ต่างๆ ให้​มีร​ าย​ละเอียด​มาก​ขึ้น บทบาท​มโน​ทศั น์ “ชนชาติ” (race) “วัฒนธรรม” (culture) และ “ภาษา” (language) ใน​คริสต์ศ​ ตวรรษ 194 ใน​ การ​จำ�แนก​กลุ่ม​ชน มโน​ทัศน์ “ชนชาติ” ใน​ต้น​คริสต์​ศตวรรษ​ที่ 19 (ก่อน​กำ�เนิด​สาขา​วิชา​มานุษยวิทยา) Jones (2005: 40) ตั้ง​ข้อ​สังเกต​ว่า​ใน​ตอน​ต้น​คริสต์​ศตวรรษ​ที่ 19 ความ​สนใจ​ใน​เรื่อง​ความ​หลาก​หลาย​ของ​ มนุษย์​ได้​หวน​คืน​มา​อีก​ครั้ง​หนึ่ง ผล​ที่​ตาม​มา​ก็​คือ​ความ​พยายาม​ใน​การ​จัด​ประเภท​กลุ่ม​ชน (human groups) ด้วย​ มโน​ทศั น์ “ชนชาติ” แต่ม​ ค​ี วาม​แตก​ตา่ ง​กนั ใ​น​เกณฑ์จ​ �ำ แนก​ คอื  ​นกั ค​ ดิ ฝ​ า่ ย​หนึง่ จ​ �ำ แนก​โดย​อาศัยเ​กณฑ์ใ​น​เรือ่ ง​ลกั ษณะ​ ทาง​กายภาพ​โดย​มี​สมมุติฐาน​ว่า​กลุ่ม​ชน​ต่างๆ มี​ความ​แตก​ต่าง​มา​แต่​แรก​เริ่ม ส่วน​อีก​ฝ่าย​หนึ่ง อย่าง​เช่น Pritchard 1973 (1813)5 อาศัย​ภาษา​เป็น​เกณฑ์​จำ�แนก​โดย​มี​สมมุติฐาน​ว่า​กลุ่ม​ชนชาติ​ต่างๆ ที่​แตก​ต่าง​กัน​อาจ​จะ​มี​ต้น​กำ�เนิด​ ร่วม​กัน​และ​แตก​แขนง​กัน​ไป​ตาม​เงื่อนไข​ทาง​สภาพ​แวดล้อม​และ​กาล​เวลา​ที่​ผ่าน​ไป ใน​แง่​นี้​ชนชาติ​มีค​ วาม “ลื่น​ไหล” (fluid) ไม่ต​ ายตัว​แบบ​ฝ่าย​แรก นับ​ว่า​ใน​ต้น​คริสต์​ศตวรรษ​ที่ 19 มานุษยวิทยา​ภาย​ภาพ​และ​ชา​ติ​พันธ์​ุวิทยา​มี​ความ​คิด​ ที่​แตก​ต่าง​กัน​ใน​เรื่อง​เกณฑ์​จำ�แนก​ชนชาติ บทบาท​มโน​ทัศน์ “วัฒนธรรม” ใน​บริบท​ของ​แนว​ทฤษฎี​วิวัฒนาการ​ใน​ช่วง​หลัง​ของ คริสต์​ศตวรรษ​ที่ 19 ใน​การ​ศึกษา​ความ​หลาก​หลาย​ของ​มนุษย์ ใน​ทศวรรษ​ของ 1860 และ 1870 (ประมาณ​ทศวรรษ​ของ 2400 และ 2410) พัฒนาการ​ของ​แนว​ทฤษฎีว​ วิ ฒ ั นาการ​ สังคม​และ​วัฒนธรรม​ได้น​ ำ�​ไป​สกู่​ าร​จัดป​ ระเภท​กลุ่มช​ น​เพื่ออ​ ธิบาย​ความ​หลาก​หลาย​ของ​มนุษย์โ​ดย​ให้ค​ วาม​สนใจ​กับ​ 4 ใน​บาง​กรณี​จำ�เป็นต​ ้อง​ใช้ค​ ริสต์ศั​​ กราช​ระบุเ​วลา​เพื่อ​ให้​เห็น​บริบท​ทาง​ความ​คิด​ที่​มี​อยู่​ใน​สังคม​ตะวัน​ตก 5 อ้าง​ใน Jones 2005:42

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

มี​อยู่​จำ�กัด​และ​สาขา​วิชา​มานุษยวิทยา​เป็น​สาขา​วิชา​ที่​ให้​ความ​สำ�คัญ​และ​มีป​ ระสบการณ์​ใน​การ​จำ�แนก​กลุ่มค​ นใน​ วัฒนธรรม​ที่​หลาก​หลาย


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

90

การ​จัด “ลำ�ดับ​ขั้น​ทาง​วัฒนธรรม อย่าง​เช่น ใน​งาน​ของ อี.ไท​เลอ​ร์ (E.Tylor) และ​มอร์แ​ กน (Morgan)6 จน​โบ​แอส​ได้​ วิ​พาก​ษ์ว​ ิจารณ์แ​ นวคิดว​ ิวัฒนาการ​วัฒนธรรม​รวม​ทั้ง​มโน​ทัศน์ช​ นชาติ​ด้วย​ใน​ช่วง​เวลา​ต่อ​มา ความ​สนใจ​ของ​นกั ว​ วิ ฒ ั นาการ​วฒ ั นธรรม​ใน​การ​จ�ำ แนก​ความ​แตก​ตา่ ง​จงึ เ​น้นไ​ป​ทป​่ี ระเภท​และ​ล�ำ ดับข​ น้ั ว​ ฒ ั นธรรม​ ของ​มนุษยชาติม​ าก​กว่าก​ าร​จำ�แนก​กลุ่มช​ น​ซึ่งก​ ็ส​ อดคล้อง​กับป​ ระเด็นศ​ ึกษาที่ต​ ้องการ​อธิบาย​ความ​หลาก​หลาย​ทาง​ วัฒนธรรม​ใน​กรอบ​ของ​การ​เปลี่ยนแปลง​วัฒนธรรม​ของ​มนุษยชาติ​มาก​กว่า​ต้องการ​จะ​เสนอ​ภาพ​ให้​เห็น​วัฒนธรรม​ ของ​แต่ละ​กลุ่ม บทบาท​มโน​ทศั น์ค​ วาม​หลาก​หลาย​ทาง​วฒ ั นธรรม (cultures) กับแ​ นวคิดป​ ระวัตศิ าสตร์เ​ฉพาะ​ถนิ่ (historical particularism) ใน​ปลาย​ค​ริสต์​ศตวรรษ​ที่ 19 และ​ต้น​คริสต์​ศตวรรษ​ที่ 20 ใน​การ​ศึกษา​กลุ่ม​ชน ใน​ทศวรรษ​ของ 1880 โบ​แอส ได้​วิ​พาก​ษ์​วิจารณ์​แนว​ทฤษฎี​วิ​วัฒนา​การ​และ​นำ�​เสนอ​แนวทาง​ใหม่​ใน​การ​ ศึกษา​วัฒนธรรม​โดย​เรียก​ว่า​แนวทาง​การ​ศึกษา​ประวัติศาสตร์​เฉพาะ​ถิ่น ตาม​ความ​คิด​ของ​เขา ความ​แตก​ต่าง​ทาง​ ชนชาติ​และ​ภาษา​ไม่​เป็น​อุปสรรค​ต่อ​การ​แพร่​ขยาย​หรือ​กระจาย​ความ​คิด ฉะนั้น​ พฤติกรรม​มนุษย์​จึง​ถูก​กำ�หนด​ โดย​กระบวนการ​เรียน​รู้​ทาง​วัฒนธรรม แต่​วัฒนธรรม​ใน​ความ​สน​ใจ​ของ​โบ​แอส​คือ แบบแผน​พฤติกรรม​มนุษย์​ ใน​แต่ละ​ท้อง​ถิ่น​ซึ่ง​ใน​ความ​คิด​ของ​เขา​วัฒนธรรม​ต่างๆ มี​ทั้ง​ที่​คล้ายคลึง​และ​แตก​ต่าง​กัน ซึ่ง​เป็น​หัวใจ​สำ�คัญ​ ใน​การ​ศึกษา​เปรียบ​เทียบ​วัฒนธรรม​ต่างๆ ใน​ทาง​มานุษยวิทยา (Harris 1968: 384, Voget 1975:319-329 และ Boas 1975 orig. 1896) ใน​ช่วง​เวลา​ดัง​กล่าว​นี้ (ระหว่าง​ปลาย​คริสต์​ศตวรรษ​ที่ 19 ถึงค​ ริสต์​ศตวรรษ​ที่ 20) ความ​สนใจ​ใน​การ​จำ�แนก​ และ​จัดป​ ระเภท​กลุ่ม​ชน​ของ​นัก​มานุษยวิทยา​โดย​เฉพาะ​อย่าง​ยิ่งใ​น​สห​รัฐ​อเม​ริก​ า​ซึ่ง​โบ​แอ​สมี​บทบาท​อย่าง​สำ�คัญ​ใน​ การ​พัฒนาการ​เรียน​การ​สอน​และ​การ​วิจัย​มานุษยวิทยา จึง​มุ่ง​ไป​ที่ “วัฒนธรรม” (Jones 2005: 40) มาก​กว่า​ที่​ตัว “กลุ่ม​ชน” เอง ส่วน​ใน​อังกฤษ​ก็​เน้น​การ​จำ�แนก​ลักษณะ​โครงสร้าง​สังคม โดย​ให้​ความ​สำ�คัญ​กับ​ประเภท​กลุ่ม​ชน​ที่​ เรียก​ว่า “เผ่าพ​ ันธ์​ุ” (tribe) หรือ​เรียก​ว่า “สังคม​เผ่า​พันธ์​ุ (tribal society) ที่​คิด​ว่า​มีล​ ักษณะ​โดด​เดี่ยว เป็น​หนึ่งเ​ดียว ความ​สัมพันธ์​มี​พื้น​ฐาน​จาก​ความ​เป็น​เครือ​ญาติ ผูกพัน​อยู่​กับ​ขอบเขต​พื้นที่ และ​มี​จิตสำ�นึก​ใน​ระบบ​คุณค่า​และ​ อัต​ลักษณ์ร​ ่วม​กัน (Jones 2005: 48) อย่างไร​ก็ตาม​ เป็น​ที่​น่า​สังเกต​ว่าการ​ให้​ความ​สนใจ​จำ�แนก​ประเภท​ที่​ดู​เหมือน​ว่า​แตก​ต่าง​กัน​นั้น​ก็​มี​จุด​ร่วม​ กัน​ใน​แง่​ที่​ว่าการ​สถาปนา​ความ​สำ�คัญ​ของ​มโน​ทัศน์ “วัฒนธรรม” และ “โครงสร้าง​สังคม” ขึ้น​มา​ทำ�ให้​หันเห​ความ​ สนใจ​ไป​จาก​การ​จัด​ประเภท “กลุ่ม​ชน” โดย​มโน​ทัศน์ “ชนชาติ” ซึ่งอ​ าศัย​เกณฑ์​ทาง​ชีวภาพ​ใน​การ​กำ�หนด​กลุ่ม​ชน และ​หัน​มา​ให้​ความ​สนใจ​กับ “วัฒนธรรม” แทน และ​มี​ความ​พยายาม​จะ​จำ�แนก​วัฒนธรรม​ของ​กลุ่ม​ชน​ใน​โลก​ออก​ เป็นห​ น่วย​ต่างๆ ที่​คิด​ว่า​แยก​ได้​ชัดเจน (Jones 2005: 48)

6 Tylor (orig. 1871) ได้​ประดิษฐ์ค​ วาม​หมาย​ของ​คำ�​ว่า “วัฒนธรรม” ใน​ทาง​มานุษยวิทยา​เป็น​คน​แรก ซึ่ง​แม้ว่า​ความ​หมาย​ นั้นไ​ด้​ถูกป​ รับ​เปลี่ยน​ไป​ตาม​แนวคิด​ต่างๆ แต่​สาระ​บาง​ประการ​นั้น​ยัง​มี​ร่วม​กัน​อยู่ เช่น เป็น​พฤติกรรม​ของ​มนุษย์​ที่​สืบทอด​ ทาง​สังคม​ได้​มา​จาก​การ​เรียน​รู้​ใน​ฐานะ​ที่​เป็น​ส่วน​หนึ่ง​ของ​กลุ่ม​ซึ่ง Tylor ได้​จำ�แนก​ลำ�ดับ​ขั้น​วิวัฒนาการ​ความ​เชื่อ​ของ​มนุษย์​ ออก​เป็น 3 ลำ�ดับ​ขั้นจ​ าก​ลำ�ดับ​ขั้น​ตํ่าส​ ูง​ลำ�ดับ​ขั้น​ที่​สูง​คือ​ความ​เชื่อ​ใน​ภูตผี​วิญญาณ (animism) ความ​เชื่อ​ใน​เทพ​หลาย​องค์ (poly-theism) และ​ความ​เชื่อใ​น​พระเจ้า​องค์​เดียว (monotheism)


91

ใน​ช่วง​ระหว่าง​ทศวรรษ​ของ 1940-1960 นัก​มานุษยวิทยา 2 คน คือ เลส​ลี ไวท์ (Leslie White) และ​จู​เลี่ยน สจ๊วต (Julian Steward) มี​บทบาท​สำ�คัญ​ใน​การ​ฟื้นฟู​และ​ปรับปรุง​แนว​ทฤษฎี​วิวัฒนาการ (ฉวีวรรณ ประจวบ​เหมาะ 2532) ทำ�ให้​นักม​ านุษยวิทยา​หลาย​คน เช่น ซาห์​ลิน (Sahlins) และ​เรดฟีลด์ (Redfield) สนใจ​ใน​การ​จำ�แนก​ประเภท​ กลุ่ม​ชน​ที่​มีว​ ัฒนธรรม​ต่าง​ประเภท​กัน เช่น กลุ่ม​ชน​เร่ร่อน (Steward 1955, Service 1966) เผ่าพ​ ันธ์​ุ/ชน​เผ่า (Sahlins 1968) หรือช​ าวนา​ชาวไร่ (Redfield 1941, Wolf 1966) และ​พยายาม​เสนอ​ภาพ​ร่วม​หรือแ​ บบแผน​วัฒนธรรม​ของ​กลุ่ม​ ชน​ใน​แต่ละ​ประเภท ซึ่ง​มโน​ทัศน์​เหล่า​นี้​ก็ได้ถ​ ูก​ใช้​มา​เป็น​ระยะ​เวลา​นาน​แม้​กระทั่ง​ถึงป​ ัจจุบัน​นี้ บทบาท​มโน​ทัศน์ “กลุ่ม​ชา​ติ​พันธ์ุ”​ (ethnic group) กับ​กระแส​การ​เคลื่อนไหว​ใน​เรื่อง​สิทธิ​มนุษย​ชน การ​ต่อ​ต้าน​การ​ใช้​มโน​ทัศน์ “ชนชาติ” ใน​การ​จำ�แนก​กลุ่ม​ชน​ของ​นักม​ านุษยวิทยา​หลาย​คน​ไม่​ได้​จำ�กัด​อยู่​แต่​ ใน​สาขา​วิชา​ โดย​พยายาม​หาม​โน​ทัศน์​ใหม่ๆ อย่าง​เช่น “วัฒนธรรม” และ “สังคม”เป็นท​ าง​เลือก​ดัง​ที่​กล่าว​มา​แล้ว​ นั้น เพราะ​นัก​มานุษยวิทยา​ใน​อีก​ส่วน​หนึ่ง​ได้​เข้า​มี​ส่วน​ร่วม​ใน​การ​ประชุม​และ​ออก​แถลงการณ์7ของ​ยูเนส​โก​เกี่ยว​กับ​ เรื่อง​การ​จำ�แนก​กลุ่มช​ น​โดย​ปฏิเสธ มโน​ทัศน์ “ชนชาติ” รวม​ถึง 4 ครั้ง คือ ค.ศ.1950 แถลงการณ์เ​รื่อง​ปัญหา​ชนชาติ ค.ศ.1951 แถลงการณ์เ​รื่อง​ธรรมชาติ​ของ​ชนชาติ​และ​ความ​แตก​ต่าง​ทาง​ชนชาติ ค.ศ.1964 แถลงการณ์เ​รื่อง​ข้อ​เสนอ​เกี่ยว​กับ​มิติ​ทาง​ชีวภาพ​ของ​ชนชาติ ค.ศ.1967 แถลงการณ์เ​รื่อง​อคติท​ าง​ชนชาติ เนื่องจาก​แถลงการณ์​แต่ละ​ฉบับ​มี​ราย​ละเอียด​ประกอบ​อย่าง​มาก ใน​บทความ​นี้​ผู้​เขียน​จะ​เน้น​สาระ​สำ�คัญ​ ใน​แถลงการณ์​ฉบับ​ที่ 1 ซึ่ง​ทำ�ให้​การ​แพร่​ขยาย​การ​ใช้​มโน​ทัศน์ “กลุ่ม​ชา​ติ​พันธ์​ุ” (ethnic group) ใน​การ​จำ�แนก​ กลุ่มช​ า​ติพ​ ันธ์​ุเป็นไ​ป​อย่าง​กว้าง​ขวาง​มาก​ขึ้น สาระ​สำ�คัญข​ อง​แถลงการณ์ก​ ็​คือ​นักว​ ิชา​การ​จาก​ศาสตร์ต​ ่างๆ เห็นพ​ ้อง​ ต้อง​กัน​ว่า มนุษย์​มี​สปีช​ีส์​เดียว และ​อาจ​จะ​มี​บรรพ​บุรุษ​ร่วม​กัน ปรากฏการณ์​ความ​หลาก​หลาย​ของ​กลุ่ม​ชน​ต่างๆ ซึ่ง​อาจ​จะ​เรียก​ว่า​ความ​หลาก​หลาย​ทาง​วัฒนธรรม​อาจ​จะ​เกิด​จาก​หลาย​เงื่อนไข เช่น การ​เลือกสรร​โดย​ธรรมชาติ “ชนชาติ” ซึ่ง​หมาย​ถึง​กลุ่ม​ประชากร​ย่อย​ของ​มนุษย์​ที่​มี​ลักษณะ​ความ​แตก​ต่าง​ใน​ทาง​ชีวภาพ​และ​กายภาพ​บาง​ ประการ ซึ่งม​ ี​หลักส​ ำ�คัญ​คือ​ความถี่ข​ อง “genes” ปัญหา​สำ�คัญ​ที่​เป็น​อยู่​ก็​คือ​การ​จำ�แนก “ชนชาติ” ไม่​ได้​กำ�หนด​ใน​ ลักษณะ​เชิงช​ ีวภาพ​ดัง​กล่าว​ซึ่ง​มีเ​กณฑ์ช​ ัดเจน แต่​จำ�แนก​กันต​ ามใจ​นึก เช่น ใช้เ​กณฑ์​ภาษา ศาสนา หรือว​ ัฒนธรรม ทำ�ให้​เกิด​ความ​สับสน​เพราะ​ว่า​กลุ่ม​ชน​ที่​จำ�แนก​ตาม​เกณฑ์​เหล่า​นี้ ไม่​จำ�เป็น​ต้อง​สอดคล้อง​กับ​เกณฑ์​ทาง​ชีวภาพ และ​ไม่ว​ ่า​นักม​ านุษยวิทยา​จะ​จำ�แนก​มนุษย์​ด้วย​เกณฑ์​อะไร​ก็ตาม​จะ​ไม่มี​วัน​รวม “ลักษณะ​ทาง​สติ​ปัญญา” (mental characteristics) เข้า​ไว้​ด้วย และ​หลักฐ​ าน​ทาง​วิทยาศาสตร์​ก็ไ​ม่มี​มาก​พอที่​จะ​บ่ง​ชี้​ว่า​ความ​แตก​ต่าง​ทาง​ชีวภาพ​ก่อ​ให้​ เกิดค​ วาม​แตก​ตา่ ง​ทาง​วฒ ั นธรรม​อย่าง​ส�ำ คัญจ​ น​ท�ำ ให้ก​ ลุม่ ช​ น​ตา่ งๆ มีค​ วาม​ส�ำ เร็จท​ าง​วฒ ั นธรรม​ทแ​ี่ ตก​ตา่ ง​กนั ทีจ​่ ริง​ ประวัติศาสตร์​และ​ประสบการณ์​ทาง​วัฒนธรรม​ต่าง​หาก​ที่อ​ าจ​จะ​อธิบาย​ความ​แตก​ต่าง​ของ​กลุ่ม​ชน​ได้ เพราะ​มนุษย์​ มี​ความ​สามารถ​ร่วม​กันใ​น​เรื่อง​การ​เรียน​รู้ การ​ยืด​หยุ่นแ​ ละ​ปรับ​ตัว ข้อ​เสนอ​ก็​คือ​ให้​ใช้​คำ�​ว่า “กลุ่ม​ชา​ติ​พันธ์​ุ” (ethnic group) แทน​ค�​ ำ วา่ “ชนชาติ” เพราะ​ค�​ ำ นี้ (ethnic group) น่าจ​ ะ​เป็นค​ �​ ำ ทม​ี่ ป​ี ระโยชน์ใ​น​การ​ชกั นำ�​ให้พ​ จิ ารณา​การ​จ�ำ แนก​ กลุม่ ช​ น​ได้อ​ ย่าง​ถกู ต​ อ้ ง​ขนึ้ เพราะ​วา่ เ​ป็นค​ �​ ำ ใหม่ย​ งั ไ​ม่มค​ี วาม​สบั สน​มาก​เท่าค​ วาม​หมาย​ของ “ชนชาติ” ใน​เบือ้ ง​ตน้ ก​ ลุม่ ​ ชา​ตพ​ิ นั ธ์ห​ุ มายความ​วา่ เ​ป็นก​ลมุ่ ค​ น​ทใ​่ี น​ทาง​กายภาพ​หรือใ​น​ทาง​วฒ ั นธรรม​ถกู ม​ อง​วา่ เ​ป็นก​ลมุ่ ท​ ม​่ี ล​ี กั ษณะ​แตก​ตา่ ง​ออก​ 7 นัก​วิชา​การ​ที่​เกี่ยวข้อง​กับ​การ​ศึกษา​และ​ร่าง​แถลงการณ์​มา​จาก​หลาย​สาขา​วิชา เช่น มานุษยวิทยา ชีววิทยา ชีวเคมี มนุษยศาสตร์ พันธุก​ รรม​ศาสตร์ จิตวิทยา​สังคม​และ​สังคมวิทยา

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

บทบาท​มโน​ทัศน์ “กลุ่ม​ชน​เร่ร่อน” (band) “เผ่า​พันธ์​ุ/ชน​เผ่า” (tribe) และ “สังคม​ชาวนา​ชาวไร่” (peasant Society) ใน​ช่วง​กลาง​ของ​คริสต์​ศตวรรษ​ที่ 20 กับแ​ นว​ทฤษฎี​วิวัฒนาการ​สมัย​ใหม่​ใน​การ​ศึกษา​กลุ่ม​ชน


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

92

ไป​จาก​กลุ่มอ​ ื่น​ๆ นัย​ยะ​ของ​มโน​ทัศน์ “กลุ่ม​ชา​ติ​พันธ์​ุ” ก็​คือว​ ่า​เป็น “คำ�ถาม​ไม่ใช่​คำ�​ตอบ” อย่างไร​ก็ตาม​ ใน​ความ​ เห็น​ของ​ผู้​เขียน​การ​จัด​กลุ่มช​ า​ติ​พันธ์​ุที่ป​ รากฏ​ใน​คำ�​อธิบาย​ประกอบ​แถลงการณ์ (Montagu 1972: 76-80) ยัง​ไม่​ชัดเจน​ และ​เน้นก​ าร​จ�ำ แนก​ใน​กายภาพ​มาก​กว่าท​ าง​วฒ ั นธรรม​และ​มอง​ตา​กู (Montagu 1972) ยอมรับว​ า่ น​ กั ม​ านุษยวิทยา​เห็น​ ไม่​ตรง​กัน​ใน​การ​จำ�แนก​กลุ่ม​ชา​ติ​พันธ์​ุ อย่างไร​ก็ตาม​ตั้ง​แต่​ทศวรรษ​ของ 1950 เป็นต้น​มา ใน​มานุษยวิทยา​และ​สังคมวิทยา ได้​มี​การ​ใช้​คำ�​ว่า “กลุ่ม​ ชา​ติ​พันธ์​ุ” เพื่อ​ระบุ​กลุ่ม​ชน​กัน​อย่าง​แพร่​หลาย​มาก​ขึ้น (Zenner 1996: 393) แต่​มโน​ทัศน์​ต่างๆ ที่​ใช้​จำ�แนก​และ​จัด​ ประเภท​มา​ก่อน​หน้า​นี้​อย่าง​เช่น “กลุ่ม​ชน​เร่ร่อน” “เผ่า​พันธ์​ุ” “ชาวนา​ชาวไร่” ก็​ยัง​ใช้​กันอ​ ยู่ นอกจาก​นี้​ยัง​มี​มโน​ทัศน์​ อื่น​ที่​ถูก​นำ�​เสนอ​ขึ้น​มา​ใหม่​เช่น “หน่วย​วัฒนธรรม” (culture unit) ของ​แน​รอล (Naroll 1964) ซึ่งค​ ิด​ว่า​มโน​ทัศน์​นี้​อาจ​ จะ​มี​ประโยชน์​ใน​การ​สำ�รวจ​เปรียบ​เทียบ​วัฒนธรรม ความ​หมาย​ของ​หน่วย​วัฒนธรรม​คือ “กลุ่ม​ชน​ที่​ใช้​ภาษา​ร่วม​กัน​ และ​มก​ี าร​ตดิ ต่อส​ อื่ สาร​โดย​อาจ​จะ​อยูร​่ ว่ ม​รฐั เ​ดียวกันห​ รืออ​ าจ​จะ​เป็นส​ ว่ น​หนึง่ ข​ อง​กลุม่ ท​ ม​ี่ ก​ี าร​ตดิ ต่อก​ นั ข​ า้ ม​รฐั ” ซึง่ ใ​น​ คำ�​นิยาม​นี้​ใช้เ​กณฑ์ 3 เกณฑ์ คือ ภาษา อาณาเขต และ​องค์กร​ทางการ​เมือง และ​เขา​เสนอ​ว่า​ให้จ​ ัด​ประเภท​หน่วย​ วัฒนธรรม​ออก​เป็น 4 รูป​แบบ เช่น แบบ​โฮ​ปี แบบ​แอสแทค แบบ​ทา​รา​สกัน8 ซึ่ง​เขา​ก็​ยํ้า​ด้วย​ว่า มโน​ทัศน์ “หน่วย​ วัฒนธรรม​เป็นห​ น่วย​ใน​อดุ มคติ สำ�หรับเ​ป็นม​ าตรฐาน​การ​อา้ งอิง ใน​การ​ส�ำ รวจ​จริงอ​ าจ​จะ​ไม่พ​ บ​หน่วย​ทม​ี่ ล​ี กั ษณะ​ดงั ​ กล่าว เพราะ​การ​จำ�แนก​หน่วย​วัฒนธรรม​แบบ​นี้​เพื่อ​ประโยชน์​ใน​การ​วิเคราะห์​เปรียบ​เทียบ​แบบแผน​วัฒนธรรม​ที่​อยู่​ ใน​ใจ​ของ​เจ้าของ​วัฒนธรรม แต่​เขา​ก็ต​ ั้ง​ข้อ​สังเกต​ว่า​อาจ​เป็น​ไป​ได้​ว่า​เกณฑ์​ที่เ​จ้าของ​วัฒนธรรม​ใช้​จำ�แนก​กลุ่ม​ตัว​เอง อาจ​จะ​แตก​ต่าง​ไป​จาก​เกณฑ์​ที่​ใช้​ใน​การ​จำ�แนก​หน่วย​วัฒนธรรม Zenner (1996) ได้​ตั้งข​ ้อ​สังเกต​ว่า​คำ�​อื่น​ๆ อาจ​มี​การ​ใช้​กัน​น้อย​ลง​ด้วย​เหตุผล​ต่างๆ เช่น ​คำ�​ว่า​เผ่า​พันธ์​ุ(tribe) ถูกม​ อง​ว่า​มีน​ ัย​ยะ​ของ​ความ​ไร้อ​ ารยธรรม สะท้อน​อคติ​ของ​จักรวรรดินิยม​ตะวัน​ตก เพราะ​คำ�​ว่า “tribe” มาจาก​ภาษา​ ละติน​ว่า “tribu” ซึ่ง​หมาย​ถึง​คน​ป่า​เถื่อน​ที่​อยู่​นอก​อาณาจักร ถึง​แม้ว่า​เมื่อ​ถูก​นำ�​มา​ใช้​ใน​มานุษยวิทยา มิได้​ใช้​ใน​ ความ​หมาย​ดูถูกก​ ็ตาม (Sahlin 1968) ส่วน​คำ�​ว่า “ethnic group” หรือ กลุ่ม​ชา​ติ​พันธ์​ุ ดู​จะ​มี​ความ​หมาย​เป็นก​ลาง​ มาก​กว่า ค​ อื ม​ ค​ี วาม​หมาย​วา่ เ​ป็นก​ลมุ่ ช​ น​ทม​ี่ ว​ี ฒ ั นธรรม​รว่ ม​กนั แ​ ต่เ​กณฑ์จ​ �ำ แนก​อาจ​จะ​แตก​ตา่ ง​กนั ด​ งั ท​ แ​ี่ น​รอล (Naroll 1964) ได้ต​ ั้งข​ ้อ​สังเกต​ไว้ ตัวอย่าง​การ​ใช้​มโน​ทัศน์​นี้​ใน​สมัย​แรก​ๆ เช่น ใน​ปี 1960 ปรากฏ​ใน​หนังสือ Ethnic Group of Mainland Southeast Asia ซึ่ง​ได้​มี​ความ​พยายาม​ใน​การ​จำ�แนก​กลุ่มช​ า​ติ​พันธ์​ุใน​เอเชีย​ตะวัน​ออก​เฉียง​ใต้​โดย​ใช้​ภาษา​ เป็นม​ าตรการ​หลัก อย่างไร​ก็ตาม​ ใน​ทศวรรษ​ของ 1960 นัก​มานุษยวิทยา​หลาย​คน​โดย​เฉพาะ​อย่าง​ยิ่ง​ที่​ศึกษา​กลุ่ม​ชน​ใน​เอเชีย-​ ตะวัน​ออก​เฉียง​ใต้ เช่น ลีช (Leach 1964) ได้​ตั้งข​ ้อ​สังเกต​ว่า​พวก​กะฉิ่น (Kachin) ซึ่ง​มี​หลาย​กลุ่ม​ภาษา​และ​พูด​กันไ​ม่​ ค่อย​รู้​เรื่อง​ดี​แต่​ยัง​คิด​ว่า​เป็น​คะฉิ่น​ด้วย​กัน หรือ​เมอร์​แมน (Moerman 1967) ซึ่ง​ศึกษา​ลื้อ​ใน​ทาง​เหนือ​ของ​ประเทศ​ ไทย ได้​เสนอ​ว่าการ​จำ�แนก “กลุ่ม​ชา​ติ​พันธ์​ุ” น่า​จะ​ต้อง​พิจารณา​จิตสำ�นึก​ด้วย​ว่า​เขา​คือ​ใคร และ​ต้อง​ทำ�ความ​ เข้าใจ “กลุ่ม​ชา​ติพ​ ันธ์​ุ” ใน​ลักษณะ​ที่​สัมพันธ์​กับก​ ลุ่ม​ใกล้​เคียง​ที่ม​ ี​ปฏิ​สัมพันธ์​กันด​ ้วย กรณี “ลื้อ” กับ​คน​เมือง​ใน​ทาง​ เหนือข​ อง​ไทย​เป็นต​ ัวอย่าง​ทนี่​ ่าส​ นใจ​เพราะ​เป็นก​ลุ่มอ​ ยูใ​่ กล้เ​คียง​ร่วม​ท้อง​ถิ่นก​ ันแ​ ละ​มวี​ ิถชี​ ีวิตท​ แี่​ ทบ​จะ​ไม่แ​ ตก​ต่าง​กัน​ มาก​นัก​ไม่​ว่า​จะ​เป็น​ลักษณะ​การ​ผลิตและ​ความ​เชื่อ รวม​ทั้ง​ภาษา​และ​เสื้อผ้า ความ​แตก​ต่าง​ที่​มี​อยู่​มี​เพียง​เล็ก​น้อย แต่​ก็​มาก​พอที่​จะ​ทำ�ให้ “ลื้อ” แยกแยะ​ตัว​เอง​จาก “คน​เมือง” ข้อ​สังเกต​ของ​เมอร์​แมน​คือ​ว่า​ชื่อ​เรียก​และ​ความ​หมาย​ ของ​การ​เป็นก​ลุ่ม​ชา​ติ​พันธ์​ุมิได้​ผูกพัน​เชื่อม​โยง​กับ​ภาษา​และ​วัฒนธรรม​เท่านั้น ยัง​เกี่ยวข้อง​กับ​ความ​หมาย​ใน​ทาง​ ประวัติศาสตร์​ด้วย

8 เช่น​แบบ​โฮ​ปี​จะ​เป็นก​ลุ่ม​ชน​ที่​ไม่มี​รัฐ แต่​มี​ภาษา​พูด​ร่วม​กัน​และ​มี​การ​ติดต่อ​เชื่อม​โยง​กัน อย่าง​เช่น​พวก​โฮ​ปี (อินเดีย​น​แดง กลุ่มห​ นึ่งท​ ี่​อยู่ใ​น​สหรัฐอเมริกา)


93

การ​จำ�แนก “กลุ่ม​ชา​ติ​พันธ์​ุ” แนว​ใหม่​ใน​กระแส​ความ​สนใจ​จิตสำ�นึก​ชา​ตพ ิ​ ันธ์​ุ การ​วิ​พาก​ษ์​วิจารณ์​ของ​นัก​มานุษยวิทยา​และ​นัก​สังคม​ศาสตร์​อื่น​ๆ ใน​เรื่อง​ที่​มี​การ​เหมา​รวม​ความ​สอดคล้อง​ อย่าง​สมบูรณ์ร​ ะหว่าง​กลุม่ ช​ น​กบั แ​ บบแผน​พฤติกรรม​หรือก​ ลุม่ ช​ า​ตพ​ิ นั ธ์ก​ุ บั ว​ ฒ ั นธรรม​ได้ข​ ยาย​ตวั ม​ าก​ขนึ้ ห​ ลังท​ ศวรรษ​ ของ 1960 ซึ่ง​นำ�​ไป​สู่​พัฒนาการ​การ​ศึกษา​กลุ่ม​ชา​ติ​พันธ์​ุใน​อีก​แนว​หนึ่ง​ใน​ชา​ติ​พันธ์​ุวิทยา​และ​สาขา​วิชา​อื่น เช่น สังคมวิทยา และ​รัฐศาสตร์ คือ การ​แสวงหา​ความ​รู้เ​กี่ยว​กับ​จิตสำ�นึก​ใน​เรื่อง​ความ​เป็น​ชา​ติ​พันธ์​ุ ความ​แตก​ต่าง​ทาง​ ชา​ติ​พันธ์​ุ และ​ความ​สัมพันธ์​ทาง​ชา​ติ​พันธ์​ุซึ่ง​แม้​จะ​มี​ความ​หลาก​หลาย​ใน​ประเด็น​วิจัย​และ​มโน​ทัศน์​สำ�คัญ​ใน​การ​ แสวงหา​คำ�​ตอบ​แต่​ประเด็น​หลักม​ ี​ร่วม​กัน​คือ​เน้นก​ าร​ศึกษา​ความ​เป็นก​ลุ่ม​ชา​ติพ​ ันธ์​ุ(ฉวีวรรณ ประจวบ​เหมาะ 2547) ที่​ครอบคลุม​ประเด็น​ต่างๆ ซึ่ง​เชื่อม​โยง​กัน คือ (1) กระบวนการ​จำ�แนก​กลุ่ม​ชา​ติพ​ ันธ์​ุโดย​คนใน​กลุ่ม (2) การ​เรียน​รู้​และ​แสดงออก​อัต​ลักษณ์​ชา​ติพ​ ันธ์​ุใน​บริบท​ต่างๆ (3) ความ​รู้สึก​และ​ความ​สัมพันธ์​ระหว่าง​กลุ่มช​ า​ติ​พันธ์​ุ (4) ปฏิ​สัมพันธ์​ระหว่าง​บุคคล​ที่​ต่าง​กลุ่ม​ชา​ติ​พันธ์​ุ (5) กระบวนการ​ดำ�รง​รักษา​พรมแดน​ระหว่าง​กลุ่ม​ชา​ติพ​ ันธ์​ุ (6) กระบวนการ​เปลี่ยนแปลง​ใน​ทาง​ชา​ติพ​ ันธ์​ุ

การ​จำ�แนก​กลุ่ม​ชา​ติ​พันธ์ุ​ใน​กรอบ​การ​ศึกษา​ปฏิส​ ัมพันธ์​ทาง​สังคม (Social Interactionism) ใน​ช่วง​หัว​เลี้ยว​หัวต่อ​ของ​การ​ศึกษา “กลุ่ม​ชา​ติ​พันธ์​ุ” ใน​เชิง​วัตถุวิสัย​ซึ่ง​เน้น​การ​จำ�แนก​กลุ่มชา​ติ​พันธ์​ุโดย​ คนนอก​อย่าง​เช่น​นัก​มานุษยวิทยา​โดย​อาศัย​เกณฑ์​วัฒนธรรม​บาง​ประการ​ที่​ได้​กำ�หนด​ไว้​โดย​มีเ​ป้า​หมาย​การ​จำ�แนก​ กลุ่มช​ าติพันธุ์​เพื่อ​การ​เปรียบ​เทียบ​วัฒนธรรม​สำ�หรับอ​ ธิบาย​ความ​หลาก​หลาย​ทาง​วัฒนธรรม​กับ​การ​ศึกษา​กลุ่ม​ชา​ติ​ พันธ์แ​ุ นวทาง​ใหม่ ซึ่งม​ ล​ี ักษณะ​จิตวิสัยท​ ีใ่​ห้ค​ วาม​ส�ำ คัญก​ ับค​ วาม​รู้สึกน​ ึกคิด จิตสำ�นึกว​ ่าต​ ัวเ​อง​เป็นใ​คร แตก​ต่าง​จาก​ คนใน​กลุม่ อ​ นื่ อ​ ย่างไร ทำ�ให้เ​กณฑ์จ​ �ำ แนก​ชา​ตพ​ิ นั ธ์ม​ุ า​อยูท​่ ค​ี่ วาม​รสู้ กึ แ​ ละ​จติ สำ�นึกข​ อง “คน” ทีเ​่ ป็นเ​จ้าของ​วฒ ั นธรรม และ​ความ​หมาย​ของ​วัฒนธรรม​ที่​จะ​ใช้​ใน​การ​จำ�แนก นักม​ านุษยวิทยา​ที่​มี​บทบาท​สำ�คัญ​คน​หนึ่ง​คือ บาร์​ทซ์ (Barth 1969) ตาม​ข้อ​สรุปข​ อง​ฉวีวรรณ ประจวบ​เหมาะ (2547) “เขา​ชี้​ให้​เห็นช​ ัดเจน​ว่า การ​จะ​เข้าใจ​ปรากฏการณ์​ทาง​ชา​ติ​ พันธ์​ุ ต้อง​พิจารณา​ความ​คิด​และ​จิตสำ�นึก​ของ​คนใน​แต่ละ​กลุ่ม​ว่า​ลักษณะ​ใด​ทาง​วัฒนธรรม​มี​ความ​หมาย​กับ​ความ​ เป็นก​ลุ่ม​ชา​ติ​พันธ์​ุของ​พวก​เขา เพราะ​กลุ่ม​ชน​ต่างๆ อาจ​จะ​มี​แบบแผน​วัฒนธรรม​ร่วม​กัน​บาง​อย่าง​อัน​เกิด​จาก​การ​ ปรับ​ตัว​สภาพ​แวดล้อม​ใกล้​เคียง​กัน แต่​ต่าง​ฝ่าย​ก็​มอง​ว่า​ไม่ใช่​พวก​เดียวกัน ข้อ​เสนอ​ขอ​งบาร์ทซ์​ก็ค​ ือ ให้​เปลี่ยน​มุม​ มอง​จาก​ “กลุ่ม​ชา​ติ​พันธ์​ุ” เป็น​หน่วย​ที่​มี​วัฒนธรรม​ร่วม​กัน​มา​มอง​ใน​แง่​ของ​การ​เป็น “รูป​แบบ​การ​จัด​ระเบียบ​สังคม​ อย่าง​หนึ่ง” เมื่อ​เรา​หัน​มา​มอง​ใน​แง่​นี้ ประเด็น​สำ�คัญ​ใน​การ​พิจารณา​ก็​คือ การ​ที่​สมาชิก​ของ​กลุ่ม​เรียก​ตัว​เอง​หรือ​ ถูก​เรียก​โดย​คน​อื่น​ว่า​เป็น​ใคร หรือ​เป็น​สมาชิก​ของ​กลุ่ม​ชา​ติ​พันธ์​ุใด​ใน​กระบวนการ​ปฏิ​สัมพันธ์​ซึ่ง​มี​ต่อ​กัน​และ​แม้ว่า​ ลักษณะ​ทาง​วัฒนธรรม​ยัง​มี​ความ​สำ�คัญ​อยู่ แต่​เน้น​เฉพาะ​ลักษณะ​ที่​เลือก​เป็น​สัญลักษณ์​ของ​ความ​แตก​ต่าง​ทาง​ชา​ ติ​พันธ์​ุระหว่าง​กลุ่ม​ชน​ต่างๆ มิใช่​ภาพ​รวม​ของ​วัฒนธรรม​ทั้งหมด ใน​แง่​นี้​ ความ​เป็นก​ลุ่ม​ชา​ติ​พันธ์​ุก็​เปรียบ​เสมือน​

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

เลอ​วาย​น์ (Levine) และ​แคม​ป์เบลล์ (Campbell) ใน คศ.1972 ได้​วิ​พาก​ษ์​ว่าที่​จริง​นัก​มานุษยวิทยา​ใน​สมัยน​ ั้น​ ยังไ​ม่ไ​ด้ส​ นใจ​ความ​หมาย​ของ​กลุม่ ช​ า​ตพ​ิ นั ธ์อ​ุ ย่าง​จริงจังเ​พราะ​ให้ค​ วาม​สนใจ​ใน​ประเด็นท​ าง​วฒ ั นธรรม​มาก​กว่า ดังน​ นั้ ​ จึง​มัก​เข้าใจ​กัน​หลวม​ๆ ว่า กลุ่มช​ า​ติ​พันธ์​ุหนึ่ง​ก็​คือ​เจ้า​ของ​วัฒน​ธรรม​หนึ่งๆ​ ร่วม​กัน (ฉวีวรรณ ประจวบ​เหมาะ 2547) ซึ่ง​ยัง​ถือว่า​เป็นการ​จำ�แนก​วัฒนธรรม​มาก​กว่า​เป็นการ​จำ�แนก​กลุ่ม​ชา​ติ​พันธ์​ุ


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

94

สถาน​ภา​พอื่นๆ ใน​สังคม เช่น เพศ​สภาพ ชนชั้น หรือว​ ัย​วุฒิ​ที่​กลาย​เป็น​เครื่องหมาย​ของ​การ​ปฏิ​สัมพันธ์​ที่​จะ​ทำ�ให้ผ​ ู้​ ปฏิส​ ัมพันธ์ร​ วู้​ ่าค​ วร​ปฏิบัตติ​ ่อก​ ันอ​ ย่างไร และ​จะ​ใช้ม​ าตรฐาน​และ​มาตรการ​ใด​เป็นห​ ลักก​ าร​ทถี่​ กู ต​ ้อง​และ​เหมาะ​สมใน​ การ​ปฏิบัติ​ต่อ​กัน​เพียง​แต่ม​ ี​ความ​หมาย​ครอบคลุม​กว่า หาก​พิจารณา​ความ​คิด​ขอ​งบาร์ทซ์​ที่​เกี่ยวข้อง​กับ​กลุ่ม​ชา​ติ​พันธ์​ุใน​แนวทาง​ที่​กล่าว​ข้าง​ต้น​นี้ เรา​ไม่​อาจ​จะ​ มอง​เห็น​ความ​เป็น​รูป​ธรรม​ของ​กลุ่ม​ชา​ติ​พันธ์​ุใดๆ ได้​เพราะ “กลุ่ม​ชา​ติ​พันธ์​ุ” เป็น​เพียง​กลุ่ม​อ้างอิง​ตาม​ความ​คิด​ ของ​ปัจเจกบุคคล​ที่​ได้​จัด​ประเภท​ตัว​เอง หรือ​กำ�หนด​กลุ่ม​ให้​ปัจเจกบุคคล​อื่น​โดย​อาศัย​สัญลักษณ์​ทาง​วัฒนธรรม​ บาง​ประการ เพราะ​ใน​ความ​เป็น​จริง​อาจ​เป็น​ไป​ได้​ที่​หลาย​ๆ คน​ถูก​กำ�หนด​ให้เ​ป็นก​ลุ่ม​ชา​ติ​พันธ์​ุหนึ่ง อาจ​ระบุ​ตัว​เอง​ เป็นอ​ กี ก​ ลุม่ ช​ า​ตพ​ิ นั ธ์ห​ุ นึง่ ไ​ด้ ฉะนัน้ สิง่ ท​ จ​ี่ ะ​มค​ี วาม​ส�ำ คัญใ​น​การ​วจิ ยั จ​ งึ ไ​ม่ใช่ก​ ลุม่ ช​ า​ตพ​ิ นั ธ์แ​ุ ต่เ​ป็นก​ ระบวนการ​ระบุแ​ ละ​ แสดง​อัต​ลักษณ์​ทาง​ชา​ติพ​ ันธ์​ุ(ethnic identity) และ​เอกลักษณ์​ทาง​ชา​ติ​พันธ์​ุ(ethnic category) ใน​การ​ปฏิ​สัมพันธ์​ใน​ สถานการณ์​ต่างๆ เมื่อ​เป็นเ​ช่น​นี้​บาร์​ทซ์จ​ ึง​ให้ค​ วาม​สำ�คัญ​กับ “พรมแดน​ชา​ติ​พันธ์​ุ” (ethnic boundary) ซึ่ง “แยก​เขา​ แยก​เรา” (exclusion and inclusion) โดย​อาศัย​ลักษณะ​ทาง​วัฒนธรรม​เป็น​สัญลักษณ์​กำ�หนด​ความ​เป็นก​ลุ่ม​ชา​ติ​พันธุ์​ ตาม​หลักเ​หตุผล​นี้ การ​ที่​คน​สอง​คน​ต่าง​ระบุว​ ่า​เป็นก​ลุ่ม​ชา​ติ​พันธ์​ุเดียวกัน แสดง​ว่า​ใน​การ​ปฏิ​สัมพันธ์​คน​ทั้งส​ อง​ต่าง “เล่นเ​กม​เดียวกัน” (playing the same game) แต่​หาก​ต่าง​ชา​ติ​พันธ์​ุกัน ก็​จะ​ตระหนักว​ ่า​มี​ข้อ​จำ�กัด​ใน​การ​ปฏิ​สัมพันธ์ ต้อง​ระ​แวด​ระวัง​กัน​และ​กลาย​เป็น​พรมแดน​ใน​การ​ปฏิ​สัมพันธ์ ใน​ทศั นะ​ของ​ผเ​ู้ ขียน​แม้ว​ า่ บ​ าร์ท​ ซ์ใ​ช้ม​ โน​ทศั น์ “กลุม่ ช​ า​ตพ​ิ นั ธ์”​ุ แต่ท​ จ​ี่ ริงใ​น​การ​ศกึ ษา​ของ​เขา เขา​มไิ ด้พ​ จิ ารณา “ความ​เป็นก​ลุ่ม” ใน​เชิง​วัตถุวิสัย เรื่อง​ที่​เขา​สนใจ​ก็​คือ​การ​ปฏิ​สัมพันธ์​ระหว่าง​บุคคล​ที่​ต่าง​กลุ่ม​ชา​ติ​พันธ์​ุ และ​การ​ แสดงออก​ทาง​อัตล​ ักษณ์​ชา​ติ​พันธ์​ุของ​บุคคล​ใน​บริบท​ใด​บริบท​หนึ่งข​ อง​การ​ปฏิ​สัมพันธ์ นักม​ านุษยวิทยา​ทร​ี่ ว่ ม​สมัยก​ บั บ​ าร์ท​ ซ์ซ​ งึ่ แ​ ม้จ​ ะ​ให้ค​ วาม​สนใจ​ใน​การ​ปฏิส​ มั พันธ์ข​ อง​บคุ คล​ทต​ี่ า่ ง​ชา​ตพ​ิ นั ธ์แ​ุ ต่ย​ งั ​ มีค​ วาม​สนใจ​ให้ค​ วาม​สำ�คัญก​ ับค​ วาม​เป็นก​ลุ่มใ​น​เชิงว​ ัตถุวิสัยใ​น​การ​นิยาม​กลุ่มช​ า​ตพิ​ ันธ์ค​ุ ือ แ​ อบ​เนอร์ โค​เฮน (Abner Cohen 1974) ซึ่งก​ ำ�หนด​ความ​หมาย​ของ “กลุ่ม​ชา​ติ​พันธ์​ุ” ว่า​เป็นก​ลุ่ม​คน​ที่​มี​แบบแผน​พฤติกรรม​บาง​อย่าง​ร่วม​กัน​ ผ่าน​กระบวนการ​เรียน​รู้คุณ​ค่า/ค่า​นิยม โดย​มี​การ​จัด​ระเบียบ​ความ​สัมพันธ์​ใน​กลุ่ม จน​มี​ความ​แตก​ต่าง​จาก​กลุ่ม​อื่น​ ๆ ที่​อยู่​ร่วม​สังคม​กัน​หรือ​อยู่​ใกล้เ​คียง​กัน

ข้อ​สังเกต​ใน​เรื่อง​การ​จำ�แนก​กลุ่ม​ชน​ต่างๆ ใน​ชา​ติ​พันธ์ุ​วิทยา: บทบาท วัฒนธรรม ภาษา กลุ่ม​ชน​เร่ร่อน เผ่าพ ​ ันธ์​ุจนถึง​กลุ่ม​ชา​ตพ ิ​ ันธ์​ุ จาก​การ​ทบทวน​การ​จำ�แนก​กลุ่ม​ชน​ใน​สาขา​ย่อย​ชา​ติ​พันธ์​ุวิทยา​และ​มานุษยวิทยา ​จะ​เห็น​ว่า​ได้​มี​การ​ปฏิเสธ​ การ​จำ�แนก​กลุ่ม​ชน​โดย​มโน​ทัศน์ “ชนชาติ” (race) ที่​เน้น​การ​จำ�แนก​โดย​ลักษณะ​ทาง​ชีวภาพ​และ​พันธุ​กรรม​ที่​คิด​ว่า​ ยังไ​ม่มหี​ ลักฐ​ าน​เพียง​พอ​และ​มอง​ว่าเ​ป็นม​ โน​ทัศน์แ​ ฝง​ด้วย​อคติ ทีจ่​ ริงช​ า​ติพ​ ันธ์วุ​ ิทยา​และ​ใน​ยุคต​ ้นๆ (ช่วง​ปลาย​คริสต์​ ศตวรรษ​ที่ 19 จนถึงท​ ศวรรษ​ของ 1960) การ​จำ�แนก​และ​จัด​ประเภท​กลุ่ม​ชน​มิใช่​เป้า​หมาย​หลักใ​น​การ​ศึกษา ซึ่ง​เน้น​ การ​อธิบาย​ความ​หลาก​หลาย​ทาง​วัฒนธรรม​ด้วย​แนวทาง​ต่างๆ เช่น แนวคิด​วิวัฒนาการ​คลาส​สิค แนวคิด​การ​แพร่​ ขยาย​วฒ ั นธรรม แนวคิดโ​ครงสร้าง​และ​การ​หน้าที่ แนวคิดป​ ระวัตศิ าสตร์เ​ฉพาะ​ถนิ่ แนวคิดว​ ฒ ั นธรรม​และ​บคุ ลิกภาพ หรือ​แนวคิด​วิวัฒนาการ​ใหม่ หลัก​การ​ใน​การ​จำ�แนก​จึง​อยู่​ที่​ความ​แตก​ต่าง​ใน​แบบแผน​วัฒนธรรม หรือ​ประเภท​ของ​ วัฒนธรรม​มาก​กว่า​ความ​แตก​ต่าง​ของ​กลุ่ม​ชน มโน​ทัศน์​ที่​ใช้​จำ�แนก​จึง​แตก​ต่าง​กัน​ไป​ตาม​แนวคิด​และ​ปรากฏการณ์​ ใน​ยุค​สมัยต​ ่างๆ ที่​มี​การ​ศึกษา เช่น ความ​คิด​ที่​ว่า​ความ​หลาก​หลาย​ทาง​วัฒนธรรม​ใน​ท้อง​ถิ่น​ต่างๆ เป็น​ผล​มา​จาก​ การ​ทค​ี่ วาม​กา้ วหน้าใ​น​ทาง​วฒ ั นธรรม​ของ​มนุษยชาติอ​ ยูใ​่ น​ระดับท​ ต​ี่ า่ ง​กนั ก็จ​ �ำ แนก​ประเภท​ตาม​ระดับค​ วาม​กา้ วหน้า​ ของ​วัฒนธรรม​ใน​มิติ​ต่างๆ หรือ​จาก​การ​ที่​กลุ่มช​ น​ที่​นัก​มานุษยวิทยา​ศึกษา มัก​จะ​อยู่​กระจัดกระจาย​เป็นก​ลุ่ม​เล็ก​ๆ มี​ การ​ติดต่อ​กัน​ไม่​มาก​นัก และ​ไม่​ได้เ​ป็น​ส่วน​หนึ่ง​ของ​รัฐ ทำ�ให้ม​ โน​ทัศน์​เผ่า​พันธ์​ุช่วย​ทำ�ให้​เห็น​ภาพ​ที่​เรียก​ว่า “กลุ่ม​ชน​ หนึ่ง” มี “วัฒนธรรม​หนึ่ง” แต่​เมื่อ​ปรากฏการณ์​ที่​สนใจ​เปลี่ยนแปลง​เช่น การ​ที่​กลุ่ม​ชน​เข้าไป​เป็น​ส่วน​หนึ่ง​ของ​รัฐ มี​


95

ใน​ปจั จุบนั ​มโน​ทศั น์ท​ ม​ี่ ค​ี วาม​หมายก​วา้ ง​ขวาง​ครอบคลุมใ​น​การ​จ�ำ แนก​กลุม่ ช​ น​โดย​อาศัยเ​กณฑ์ท​ าง​วฒ ั นธรรม​ ยังม​ อ​ี ยูห่​ ลาก​หลาย แต่ม​ โน​ทศั น์ “กลุม่ ช​ า​ตพ​ิ นั ธ์”​ุ ใช้ก​ นั แ​ พร่ห​ ลาย​มาก​ทสี่ ดุ โดยทีย่​ งั ม​ ค​ี วาม​หมาย​ทห​ี่ ลาก​หลาย​และ​ หละ​หลวม​ซงึ่ ใ​น​สว่ น​หนึง่ เ​ป็นผ​ ล​มา​จาก​มมุ ม​ อง​ทต​ี่ า่ ง​กนั ใน​มมุ ห​ นึง่ เ​น้นค​ วาม​เป็นว​ ตั ถุวสิ ยั ข​ อง​กลุม่ แต่อ​ กี ม​ มุ ห​ นึง่ เ​น้น​ ลักษณะ​จิตวิสัยข​ อง​สมาชิก​กลุ่มใ​น​เรื่อง​อัตล​ ักษณ์​ชา​ติ​พันธ์​ุที่จ​ ริง​ใน​ระยะ​หลังป​ รากฏการณ์​ความ​เป็นก​ลุ่ม​ชา​ติ​พันธ์ุ​ แทบ​จะ​ไม่เ​ป็นท​ ส​ี่ นใจ​อกี ต​ อ่ ไ​ป ความ​สนใจ​ทาง​ชา​ตพ​ิ นั ธ์ไ​ุ ด้ผ​ นั แปร​ไป​สม​ู่ โน​ทศั น์แ​ ละ​ปรากฏ​กา​รณ์อ​ นื่ ๆ​ เช่น จิตสำ�นึก​ ชา​ติ​พันธ์​ุ (ethnicity) “อัต​ลักษณ์​ชา​ติพ​ ันธ์​ุ” (ethnic identity) “พรมแดน​ชา​ติ​พันธ์​ุ” (ethnic boundary) “คน​พลัด​ถิ่น” (diaspora) “พื้นที่​สังคม​ข้าม​พรมแดน” (transnationalism) และ​อื่นๆ​ แต่​ใน​บทความ​นี้​ผู้​เขียน​จะ​ขอ​สะท้อน​ปัญหา​โดย​ การนำ�​เสนอ​แต่เ​รือ่ ง​ปญ ั หา​การ​ใช้ม​ โน​ทศั น์ “กลุม่ ช​ า​ตพ​ิ นั ธ์”​ุ ใน​การ​จ�ำ แนก​กลุม่ ช​ น​ตา่ งๆ จาก​ประสบการณ์ก​ าร​พฒ ั นา​ ฐาน​ข้อมูลง​ าน​วิจัยท​ าง​ชา​ตพิ​ ันธ์​ุ(ใน​ประเทศ​ไทย​และ​เอเชีย​ตะวัน​ออก​เฉียง​ใต้) ของ​ศูนย์ม​ านุษยวิทยา​สริ​ ิน​ธร เท่านั้น

ภาพ​สะท้อน​ปัญหา​การ​จำ�แนก​กลุ่ม​ชา​ตพ ิ​ ันธ์ุ​จาก​ประสบการณ์ก​ าร​พัฒนา​ฐาน​ข้อมูล​ งาน​วิจัย​ทาง​ชา​ติ​พันธ์ุฯ​ หลัก​การ​สำ�คัญ​ใน​การ​พัฒนา​ฐาน​ข้อมูลง​ าน​วิจัย​ทาง​ชา​ติ​พันธ์​ุ ศูนย์​มานุษยวิทยา​สิ​ริน​ธร​ได้​เริ่ม​ดำ�เนิน​การ​พัฒนา​ฐาน​ข้อมูล​งาน​วิจัย​ทาง​ชา​ติ​พันธ์​ุ (โดย​เน้น​ที่​เกี่ยว​กับ​กลุ่ม​ ชา​ติ​พันธ์​ุที่​อยู่ใ​นประ​เทศ​ไทย​เป็น​อันดับ​แรก) มา​ตั้ง​แต่​ปี พ.ศ.2546 เพื่อ​ให้ส​ ะดวก​ต่อ​นักว​ ิชา​การ​ที่​สนใจ​ใน​การ​สืบค้น​ และ​ประมวล​ภาพ​ประเด็นว​ จิ ยั ท​ าง​ชา​ตพ​ิ นั ธ์ส​ุ �ำ หรับเ​ป็นพ​ นื้ ฐ​ า​นข​อง​การ​ศกึ ษา​วจิ ยั ภ​ าค​สนาม​ใน​ระดับล​ กึ ต​ อ่ ไ​ป เพราะ​ ใน​สภาวการณ์​ปัจจุบัน​ งาน​วิจัย​ทาง​ชา​ติ​พันธ์​ุปรากฏ​กระจัดกระจาย​อยู่​ตาม​สถาบัน​วิชา​การ​ต่างๆ ยัง​ไม่​สะดวก​ต่อ​ การ​ค้นคว้า หลัง​จาก​ที่​ได้​ศึกษา​ฐาน​ข้อมูล​ต่างๆ ที่​เกี่ยวข้อง​กับ​วัฒนธรรม​และ​กลุ่ม​ชา​ติ​พันธ์​ุซึ่ง​มี​ทั้ง​ใน​ประเทศ​ไทย และ​ ต่าง​ประเทศ9 แล้ว คณะ​ทำ�งาน​เห็นว​ ่าแ​ ต่ละ​สถาบันท​ มี่​ รี​ ะบบ​ฐาน​ข้อมูลจ​ ะ​มร​ี ปู แ​ บบ​ของ​ตนเอง​ตาม​วัตถุประสงค์ข​ อง​ แต่ละ​แห่ง ซึ่ง​ยังไ​ม่​สอดคล้อง​กับค​ วาม​ต้องการ​ของ​ศูนย์ฯ อย่าง​สมบูรณ์ อย่าง​เช่น e-HRAF (Human Relation Area Files - Collection of Ethnography) ของ​มหาวิทยาลัยเ​ยล (Yale University) สหรัฐอเมริกา ได้​จัด​ระบบ​ฐาน​ข้อมูลโ​ดย​ จำ�แนก​ตาม “เขต​วัฒนธรรม/ภูมิศาสตร์” ส่วน​ชื่อ​กลุ่ม​ชา​ติ​พันธ์​ุจะ​อยู่​ภายใน “เขต​วัฒนธรรม” หรือ​ภูมิ​ภา​คนั้นๆ นอกจาก​นี้ e-HRAF ได้​ระบุ​สถานภาพ​ข้อมูล​แบบ​สั้นๆ ไว้​ข้าง​หน้า​ภาย​ใต้​หัวข้อ “Description” ส่วน​ข้อมูล​ลำ�ดับ​ ต่อม​ า​จะ​เป็นร​ าย​ชอื่ ผ​ เ​ู้ ขียน​และ​หวั เ​รือ่ ง​ของ​บทความ​หรือห​ นังสือท​ เ​ี่ กีย่ ว​กบั ก​ ลุม่ ช​ า​ตพ​ิ นั ธ์ด​ุ งั ก​ ล่าว ซึง่ ไ​ด้ร​ บั ก​ าร​คดั ส​ รร​ แล้วต​ าม​ด้วย Cultural Summary ทีจ่​ ำ�แนก​ตาม​หัวเ​รื่อง​ย่อย​หรือป​ ระเด็นย​ ่อย​ต่างๆ (Subject Categories) (ภาค​ผนวก 1) ใน​ทสี่ ดุ ค​ ณะ​ท�ำ งาน​ตดั สินใ​จ​จะ​พฒ ั นา​ระบบ​ฐาน​ขอ้ มูลท​ ค​ี่ ดิ ว​ า่ น​ า่ จ​ ะ​เป็นไ​ป​ตาม​ความ​ตอ้ งการ​และ​ความ​จ�ำ เป็น​ ของ​ศูนย์​รวม​ทั้ง​ที่​จะ​เป็น​ประโยชน์ต​ ่อ​ผู้ใ​ช้​ฐาน​ข้อมูลด​ ้วย​แนวทาง​ต่อ​ไป​นี้​คือ

9 คณะ​ทำ�งาน​ที่​รับ​ผิด​ชอบ​ประกอบ​ด้วย ฉวีวรรณ ประจวบ​เหมาะ ส​ริน​ยา คำ�​เมือง สม​รักษ์ ชัย​สิงห์​กานา​นนท์ บุญสม ชีร​วณิชย์​กุล และ​สกุล สาระ​จันทร์ (โปรแกรมเมอร์)

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

ปฏิ​สัมพันธ์​กับ​คน​กลุ่ม​อื่น​ๆ และ​อำ�นาจ​รัฐ​อย่าง​เข้ม​ข้น​ประกอบ​กระแส​ความ​เคลื่อนไหว​ใน​เรื่อง​สิทธิ​มนุษย​ชน มโน​ ทัศน์​กลุ่มช​ า​ติ​พันธ์​ุทำ�​หน้าที่​ได้​ดีก​ ว่า แต่​เมื่อ​นัก​มานุษยวิทยา​สนใจ​ปรากฏ​จิตสำ�นึก​ชา​ติ​พันธ์​ุ การ​นิยาม​หรือจ​ ำ�แนก​ ประเภท​กลุ่ม​ชา​ติ​พันธ์​ุเริ่ม​มี​ความ​สำ�คัญ​น้อย​ลง ใน​ขณะ​ที่ก​ าร​จำ�แนก​กลุ่ม​ชา​ติ​พันธ์​ุแต่ละ​กลุ่มม​ ี​ความ​สำ�คัญ​มาก​ขึ้น


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

96

1. ขอบเขต​พนื้ ที่: ฐาน​ข้อมูล​จะ​ครอบคลุม​งาน​วิจัยท​ าง​ชา​ติ​พันธ์​ุ10 ใน​ประเทศ​ไทย​และ​เอเชีย​ตะวันอ​ อก​เฉียง​ ใต้​โดย​ใน​ระยะ​แรก​จะ​เน้น​งาน​วิจัย​ทาง​ชา​ติ​พันธ์​ุใน​ประเทศ​ไทย​ก่อน 2. โครงสร้าง​ของ​ฐาน​ข้อมูล​และ​หัว​เรื่อง​ใน​การ​สืบค้น: สามารถ​จะ​ให้​ผู้​ใช้​สืบค้น​ได้​จาก​หลาย “คำ�​ค้น” หรือ “ดัชนี” เช่น - ชื่อ​ผู้​แต่ง - ชื่อ​เรื่อง - ชื่อก​ ลุ่มช​ า​ติ​พันธ์​ุ - หัว​เรือ่ ง​เนือ้ หา (Subject Categories) ซึง่ ​มี 31 Categories (ภาค​ผนวก 2) ซึง่ โครงสร้าง​หวั ​เรือ่ ง​มี 3 ประเภท คือ

- ข้อมูล​เกี่ยว​กับผ​ ู้​สรุป​งาน และ​เวลา​ส่ง​งาน

- ข้อมูล​ที่​ใช้​ค้นคว้า​ใน​ลักษณะ​เดียว​กับ​ห้อง​สมุด

- ข้อมูล​ที่​เป็น​เนื้อหา​ของ​งาน​วิจัย

3. การนำ�​เสนอ​งาน​วิจัยท​ าง​ชา​ติ​พันธ์ุˆ​ คณะ​ทำ�งาน​มี​ความ​เห็น​ร่วม​กัน​ว่า​หาก​จะ​นำ�​เสนอ​งาน​วิจัย​ทาง​ชา​ติ​พันธ์​ุใน​ลักษณะ​เดียวกัน e-HRAF คงจะ​ เป็นป​ ัญหา​ใน​การ​ดำ�เนิน​การ​ที่​จะ​ต้อง​ขอ​ความ​ร่วม​มือจ​ าก​นักว​ ิชา​การ​ต่างๆ มา​เขียน​สังเคราะห์​ข้อมูล​จาก​งาน​วิจัย​ที่​ เกี่ยว​กับก​ ลุ่มช​ า​ตพ​ิ ันธ์ต​ุ ่างๆ ซึ่งจ​ ะ​ต้อง​ใช้เ​วลา​และ​อาจ​มปี​ ัญหา​ใน​เรื่อง​การ​ตีความ​และ​บรู ณ​าก​ าร​ข้อมูล จึงน​ ่าจ​ ะ​เป็น​ ประโยชน์ต​ อ่ น​ กั ว​ จิ ยั ท​ ใ​ี่ ช้บ​ ริการ​ฐาน​ขอ้ มูลม​ าก​กว่า หาก​จะ​น�​ ำ เสนอ​ขอ้ ส​ รุปเ​นือ้ หา​จาก​งาน​วจิ ยั /บทความ​ทาง​ชา​ตพ​ิ นั ธ์ุ แต่ละ​งาน​ตาม​หัว​เรื่อง​ที่​ได้​กำ�หนด​ไว้ 4. ขอบเขต​ความ​หมายก​ลุ่ม​ชา​ติ​พันธ์​ุ เนื่องจาก​ฐาน​ข้อมูลค​ วร​จะ​ครอบคลุมค​ วาม​หลาก​หลาย​ของ​งาน​วิจัยท​ าง​ชา​ติ​พันธ์ุ​ที่ท​ ำ�​ในยุคส​ มัยต​ ่าง​กันห​ รือ​ ภาย​ใต้แ​ นวคิดห​ รือม​ โน​ทศั น์ท​ ตี​่ า่ ง​กนั ความ​หมาย​ของ​กลุม่ ช​ า​ตพ​ิ นั ธ์จ​ุ งึ ถ​ กู ก​ �ำ หนด​ไว้อ​ ย่าง​กว้าง​คอื “กลุม่ ช​ นก​ลมุ่ ห​ นึง่ ​ ทีม​่ อง​เห็นว​ า่ ก​ ลุม่ ข​ อง​ตน​มค​ี วาม​แตก​ตา่ ง​ใน​ทาง​วฒ ั นธรรม​และ​จ�ำ แนก​ตวั เ​อง​จาก​กลุม่ อ​ นื่ ห​ รือเ​ป็นก​ลมุ่ ท​ ถ​ี่ กู จ​ �ำ แนก​โดย​ กลุ่ม​อื่นว​ ่า​มีล​ ักษณะ​เฉพาะ​หรือ​เอกลักษณ์ท​ าง​วัฒนธรรม” ปัญหา​ที่​ตาม​มา​จาก​การ​กำ�หนด​ความ​หมายก​ลุ่ม​ชา​ติ​พันธ์​ุใน​แนว​กว้าง​แบบ​นี้​คือ ​กลุ่ม​ชน​ที่​มี​วัฒนธรรม​แตก​ ต่าง​กัน​จะ​เข้า​ข่าย​การ​เป็นก​ลุ่ม​ชา​ติ​พันธ์​ุได้​ไม่​เว้น​แต่​คน​ไทย​ภาค​กลาง ภาค​เหนือ ภาค​ตะวัน​ออก​เฉียง​เหนือ(อีสาน) และ​ภาค​ใต้ ซึ่งถ​ ูก​มอง​ว่า​เป็น​คน​ส่วน​ใหญ่​ของ​ประเทศ ทำ�ให้​ปริมาณ​งาน​วิจัย​ทาง​ชา​ติ​พันธ์​ุจะ​มี​อย่าง​มหาศาล คณะ​ ทำ�งาน​จึง​ต้อง​กำ�หนด​ลำ�ดับ​ของ​กลุ่มช​ า​ติพ​ ันธ์​ุที่​จะ​ปฏิบัติ​การ​ไว้​ดังนี้​คือ ปีแ​ รก รวบรวม​ข้อมูลแ​ ละ​สังเคราะห์​งาน​วิจัย​ทาง​ชา​ติ​พันธ์​ุที่​เกี่ยว​กับ ม้ง กะเหรี่ยง ไทย (ที่​อพยพ​เข้า​มา​ใน​ ช่วง​ประมาณ​สมัยก​ รุงธนบุรี​ต่อร​ ัตนโกสินทร์ อย่าง​เช่น ลาว​พวน ลาว​โซ่ง และ​อื่น​ๆ โดย​จะ​ยัง​ไม่​ดำ�เนิน​การ​กับ​กลุ่ม​ คน​ไทย​ที่​เป็น​คน​ท้อง​ถิ่น​ของ​ภาค​ต่างๆ และ​มุสลิม ซึ่ง​นับ​ว่า​เป็น​ปัญหา​อีก​เหมือน​กัน​เพราะ​มุสลิม​เป็น​คำ�​เรียก​รวม​ ตาม​ศาสนา ซึ่ง​หาก​จะ​จำ�แนก​ได้อ​ อก​เป็นห​ ลาย​กลุ่มต​ าม​ลักษณะ​ทาง​วัฒนธรรม และ​ประวัติศาสตร์ เช่น คน​มลายู (ส่วน​ใหญ่อ​ ยูส​่ าม​จงั หวัดช​ ายแดน​ภาค​ใต้) คน​ไทยมุสลิม (ซึง่ อ​ าศัยต​ าม​ชายฝัง่ ท​ ะเล​ภาค​ใต้ต​ อน​บน​หรืออ​ ยูใ​่ น​กรุงเทพ) อย่างไร​ก็ตาม​คณะ​ทำ�​งาน​ฯ ได้​ตกลง​กัน​ว่า​ให้​เรียก​รวม​อย่าง​นี้​ไป​ก่อน​เมื่อ​ได้​ข้อมูล​แล้ว​จึง​มา​จำ�แนก​ใน​ภาย​หลัง 10 คณะ​ทำ�งาน​ตัดสิน​ใจ​ใช้ “งาน​วิจัย​ทาง​ชา​ติ​พันธ์​ุ” เพื่อ​ให้​ครอบคลุม​งาน​วิจัย​ต่างๆ ซึ่ง​สนใจ​ความ​เป็น​ชา​ติ​พันธ์​ุใน​ลักษณะ​ ต่างๆ ใน​ช่วง​หลัง​ทศวรรษ 1980 ซึ่งใ​น​หลาย​กรณี​ไม่​ได้​ใช้​มโน​ทัศน์ “กลุ่ม​ชา​ติ​พันธ์​ุ”


97

ส่วน​หลัง​จาก​นั้น​ก็​พยายาม​เก็บตก​งาน​ที่​ค้าง​จาก​ของ​ปี​ที่ 1 และ​ปี​ที่ 2 และ​รวบรวม​ข้อมูลท​ ี่​เกี่ยว​กับก​ ลุ่ม​ชา​ติ​ พันธ์​ุอื่น​ๆ เพิ่มเ​ติม แต่​ยัง​ยกเว้น​คน​ไทย​ใน​ท้อง​ถิ่น​ของ 4 ภูมิภาค

การ​ดำ�เนิน​การ​และ​ปัญหา​ใน​เรื่อง​การ​จำ�แนก​ชา​ตพ ิ​ ันธ์ุ​และ​ชื่อ​เรียก​ชา​ตพ ิ​ ันธ์ุ​ ใน​การ​จัด​ระบบ​ฐาน​ข้อ​มูล​ออน​ไลน์ ใน​ระหว่าง​การ​ดำ�เนิน​การ​พัฒนา​ฐาน​ข้อมูล​มี​อุปสรรค​ต่างๆ นานา​ใน​การ​สรุป​ประเด็น​และ​น�​ ำ เสนอ​ข้อมูล​และ​ จัดร​ ะบบ​ขอ้ มูลเ​พือ่ ท​ ด​ลอง​ออน​ไลน์ ใน​ปท​ี ี่ 2 แต่ป​ ญ ั หา​ส�ำ คัญท​ สี่ ดุ ซ​ งึ่ เ​กีย่ ว​กบั ก​ าร​สมั มนา​นค​ี้ อื เรือ่ ง​การ​จ�ำ แนก​และ​จดั ​ ประเภท​กลุม่ ช​ า​ตพ​ิ นั ธ์โ​ุ ดย​เฉพาะ​อย่าง​ยงิ่ ก​ าร​เรียก​ชอื่ ก​ ลุม่ ช​ า​ตพ​ิ นั ธ์เ​ุ พือ่ ก​ าร​จดั ร​ ะบบ​สบื ค้น ท​ จ​ี่ ริงป​ ญ ั หา​นไ​ี้ ด้ม​ ก​ี าร​คาด​ การณ์ไ​ว้แ​ ล้วต​ งั้ แ​ ต่เ​มือ่ เ​ริม่ ด​ �ำ เนินก​ าร แต่ป​ ญ ั หา​ทเ​ี่ กิดข​ นึ้ จ​ ริงล​ กึ ลํา้ ก​ ว่าท​ ไี่ ด้ค​ าด​คดิ ไ​ว้ม​ าก​จงึ ท​ �ำ ให้ค​ ณะ​ท�​ ำ งาน​ฯ ต้อง​ พยายาม​ทดลอง​แก้ไข​ปัญหา​โดย​ดำ�เนิน​การ​จัด​เสวนา​ว่า​ด้วย​ชื่อ​เรียก “ลัวะ” และ “เสวนา​ว่า​ด้วย​ชื่อเ​รียก​กะเหรี่ยง” รวม​ทั้ง​การ​สำ�รวจ​พื้นที่​จังหวัด​น่าน เชียงราย เชียงใหม่ และ​แม่ฮ่องสอน ที่​มี​กลุ่มค​ น​ที่​ถูก​เรียก​ว่า “ลัวะ” ถึง 2 ครั้ง และ​ใน​ที่สุด​คณะ​ทำ�งาน ต้อง​เขียน​หนังสือ​ปริศนา​วงศาคณา​ญาติ “ลัวะ” ใน​ประเทศ​ไทย11 ซึ่ง​เป็นการ​ปริ​ทัศน์​งาน​ วิจัย​เกี่ยว​กับ “ลัวะ” และ​กลุ่มท​ ี่​ถูก​พิจารณา​ว่า​มี​ความ​เกี่ยวข้อง​ใน​อดีต เพื่อ​พยายาม​ให้​เรื่อง​นี้​มีค​ วาม​ชัดเจน​ขึ้น​เท่า​ ทีจ่​ ะ​เป็นไ​ป​ได้ต​ าม​งาน​วิจัยท​ มี่​ อี​ ยู่ ใน​บทความ​นจี้​ ึงพ​ ยายาม​ทบทวน​และ​นำ�​เสนอ​ปัญหา​เกี่ยว​กับก​ าร​จำ�แนก​กลุ่มช​ า​ติ​ พันธ์แ​ุ ละ​ชื่อเ​รียก​ทีม่​ ปี​ ระสบการณ์จ​ าก​การ​พัฒนา​ฐาน​ข้อมูลง​ าน​วิจัยท​ าง​ชา​ตพิ​ ันธ์ข​ุ อง​ศนู ย์ม​ านุษยวิทยา​สร​ิ ินธ​ ร โดย​ ให้ข​ ้อมูลเ​กี่ยว​กับก​ ลุ่ม​ที่​ถูกเ​รียก​ว่า “ลัวะ” เป็น​หลัก ทีจ​่ ริงเ​รือ่ ง​ชอื่ เ​รียก​กลุม่ ช​ า​ตพ​ิ นั ธ์เ​ุ ป็นเ​รือ่ ง​ทเ​ี่ กีย่ ว​พนั ก​ บั ก​ าร​จ�ำ แนก​ชา​ตพ​ิ นั ธ์​ุแ​ ต่เ​พือ่ ค​ วาม​ชดั เจน​ผเ​ู้ ขียน​จะ​แยก​ นำ�​เสนอ​ปญ ั หาใน​การ​พฒ ั นา​ระบบ​ฐาน​ขอ้ มูลง​ าน​วจิ ยั ท​ าง​ชา​ตพ​ิ นั ธ์เ​ุ พือ่ ก​ าร​สบื ค้นแ​ บ​บออน​ไลน์ช​ อื่ เ​รียก​กลุม่ ช​ า​ตพ​ิ นั ธ์​ุ ทีถ​่ กู ต​ อ้ ง​และ​สอดคล้อง​กนั จ​ ะ​มป​ี ระโยชน์ต​ อ่ ก​ าร​สบื ค้น เช่น บรรณานุกรม​และ​เนือ้ หา​งาน​วจิ ยั ต​ าม subject categories ต่างๆ จะ​สามารถ​สืบค้น​ได้​ตาม​ชื่อ​กลุ่มช​ า​ติ​พันธ์​ุ ปัญหา​ที่​พบ​คือ​ว่า​กลุ่มช​ า​ติ​พันธ์​ุแต่ละ​กลุ่ม​ใน​ฐาน​ข้อมูล​มีชื่อ​เรียก​ ที่​หลาก​หลาย​ขาด​ความ​ชัดเจน​และ​ไม่​ลง​รอย​จน​ยาก​ที่​คณะ​ทำ�​งาน​ฯ จะ​วินิจฉัย​ผิด​ถูก​ได้​ทำ�ให้​เกิด​ปัญหา​กับ​การ​จัด​ ระบบ​ฐาน​ข้อมูลท​ ี่​มี​ความ​ชัดเจน​ใน​การ​จำ�แนก​แยกแยะ เอื้อ​อำ�นวย​ต่อ​การ​ค้นคว้า​และ​ทำ�ความ​เข้าใจ กรณี​ตัวอย่าง​เกี่ยว​กับ​ปัญหา​ชื่อเ​รียก​และ​การ​จำ�แนก​กลุ่ม​ชา​ตพ ิ​ ันธ์​ุ: ละว้า ลเวือะ ปรัย ถิ่น ลัวะ ปะ​หล่อ​ง อุก​๋อง ข่าว​ ้า และ​ปลัง ใน​ปลาย​ปีท​ ี่​สอง​ของ​การ​ดำ�เนิน​การ คณะ​ทำ�​งาน​ฯ ได้​บันทึกข​ ้อมูล​ที่​มี​ใน​ขณะ​นั้น​ออน​ไลน์ เพื่อ​ทดลอง​การ​ใช้​ งาน​โดย​จัด​ระเบียบ​ตาม​ชื่อเ​รียก​ชา​ติ​พันธ์​ุที่​เป็น​ชื่อ​เรื่​อง​ของ​งาน​วิจัย​จึง​ได้​พบ​ปัญหา​เรื่อง​ชื่อ​เรียก​และ​การ​จำ�แนก​ชา​ติ​ พันธ์ุ​ใน​หลาย​กลุ่ม​ชา​ติพ​ ันธ์​ุด้วย​กัน ใน​บทความ​นี้​ขอ​เสนอ​เพียง​กลุ่ม​ที่​เกี่ยว​ข้อ​งกับลัวะ ปัญหา​ชื่อ​เรียก​ชา​ตพ ิ​ ันธ์​ุ จาก​การ​ตรวจ​สอบ​ขอ้ มูลใ​น​งาน​วจิ ยั ท​ าง​ชา​ตพ​ิ นั ธ์ท​ุ ไ​ี่ ด้ท​ ดลอง On-line ซึง่ ไ​ด้จ​ ดั เ​ก็บต​ าม​ชอื่ เ​รียก​ชา​ตพ​ิ นั ธ์ท​ุ เ​ี่ ป็น​ หัว​เรื่​อง​ของ​งาน​วิจัย​ตาม​ตาราง​ตรวจ​สอบ​ข้อมูล​การ​เรียก​ชื่อ​กลุ่ม​ชา​ติ​พันธ์​ุ

11 ใน​ขณะ​นี้ก​ ำ�ลัง​แก้ไข “ร่าง” ก่อน​นำ�​เสนอ​ศูนย์​มานุษยวิทยา​สิ​ริน​ธร พิจารณา​พิมพ์

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

ปี​ที่ 2 รวบรวม​ข้อมูล​เกี่ยว​กับม​ อญ จีน ลี​ซู ลาฮู เมี่ยน(เย้า) ละว้า เวียด และ​มลา​บรี


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

98

ตาราง​ตรวจ​สอบ​ข้อมูล​ชื่อ​เรียก​ชา​ติ​พันธ์ุ​ ลำ�ดับ​งาน​ที่ ชื่อ​ผู้​เขียน ชื่อ​กลุ่ม​ชา​ติพ​ ันธ์​ุ ภาษา ที่​ผู้​เขียน​ใช้ 1 2 3 4 5

ชื่อ​เรียก​ตัว​เอง

ชื่อท​ ี่​คน​อื่น​เรียก

พื้นที่ศ​ ึกษา

คณะ​ท�​ ำ งาน​ฯ พบ​วา่ ง​ าน​วจิ ยั ส​ ว่ น​ใหญ่จ​ ะ​ใช้ช​ อื่ เ​รียก​ชา​ตพ​ิ นั ธ์ต​ุ าม​ทต​ี่ นเอง​อยาก​จะ​เรียก หรือค​ นใน​ทอ้ ง​ถนิ่ เ​รียก หรือทาง​ราชการ​เรียก​มาก​กว่าท​ ค​่ี นใน​กลุม่ ช​ า​ตพ​ิ นั ธ์น​ุ น้ั เ​รียก​ตวั เ​อง​หรือใ​น​หลาย​ๆ งาน​ไม่ไ​ด้ส​ นใจ​วา่ ค​ นใน​กลุม่ ช​ า​ตพ​ิ นั ธ์​ุ นัน้ ​เรียก​ตัว​เอง​ว่า​อะไร อย่าง​เช่น ใน​งาน​หนึ่ง​ระบุ​ว่า​ศึกษา “ลัวะ” หรือ “ละว้า”12 ที่​บ้าน​ละ​อูบ แต่​ใน​ตัว​งาน​ได้​ระบุ​ ว่า​มีชื่อ​เรียก​ตัว​เอง​ว่า “ลเวือะ” และ​คน​ไทย​ล้าน​นา​เรียก​ว่า “ลัวะ” ส่วน​ไท​ใหญ่​เรียก​ว่า “ข่า​วะ” เป็นต้น เมื่อ​พิจารณา​ภาพ​รวม​ของ​งาน​วิจัย​ที่​ถูก​จัด​กลุ่ม​ภาย​ใต้​ชื่อ​เรียก “ลัวะ” หรือ “ละว้า” (ตาม​ที่ร​ ะบุ​โดย​ผู้​แต่ง) แล้ว​พบ​ว่า​ได้​เหมา​รวม​กลุ่มท​ ี่​เรียก​ตนเอง​ว่า - ลัวะ (มัล และ​ไปร/ปรัย)

ที่​อยู่​ใน​หมู่บ้าน​ต่างๆ ของ จ.น่าน

- ลเวือะ

ที่​อยู่​ใน​หลาย​หมู่บ้าน อ.แม่สะเรียง เช่น บ่อ​หลวง บ้านจอม​แจ้ง

- ละว้า

ที่​อยู่​บ้าน​ละ​อูบ

- ลเวื้อ

บ้าน​บ่อ​หลวง

- ละ​เวีย

บ้าน​เฮาะ อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่

- ปลัง

บ้าน​ห้วย​นํ้า​ขุ่น เชิง​ดอย​ตุง จ​เชียงราย

ˇ

และ​ชื่อ​เรียก​เหล่า​นี้​เพิ่มค​ วาม​ซับ​ซ้อน​และ​สับสน​ขึ้น​เมื่อ​พิจารณา​ชื่อ​ที่​เรียก​โดย​กลุ่มช​ า​ติ​พันธ์​ุอื่น​หรือท​ ี่ทาง​ ราชการ​เรียก ผู้​เรียก

ชื่อท​ ี่​ถูก​คน​อื่น​เรียก

ชื่อ​เรียก​ตัว​เอง

- ทาง​ราชการ

ถิ่น

ลัวะ

- ไท​ลื้อใ​น​จีน

ข่า​วะ

ละเวือะ

- ไทย​ล้าน​นา

ลัวะ

ลเวือะ

- ไทย​ภาค​กลาง

ละว้า

ลเวือะ

- พม่า

ปะ​หล่อง​

ละว้า

- ไต/ไท​ใหญ่

ไต​หลอ​ย

ละว้า(นับถือ​พุทธ​ศาสนา)

- ทาง​ราชการ

ลัวะ

ปลัง

12 มี​งาน​วิจัย​ที่​ศึกษา “ลัวะ” ที่ท​ ำ�​โดย​ชาว​ตะวันต​ ก​มา​ก่อน​หน้า​นี้​และ​เรียก​ว่า “ละว้า” (Lawa)


99

ชื่อท​ ี่​ถูก​คน​อื่น​เรียก

ชื่อ​เรียก​ตัวเ​อง

- ทาง​ราชการ

ลัวะ

อุก​๋อง

- คน​กาญจนบุรี

ละว้า

อุก​๋อง

นอกจาก​นี้ ​เมื่อ​ใช้​ชื่อ​เรียก​ชา​ติ​พันธ์​ุตาม​หัว​เรื่อง​ของ​งาน​วิจัย งาน​ที่​ใช้​ชื่อ​เรียก “ถิ่น” จึง​ถูก​จำ�แนก​แยก​ จาก “งาน​วิจัย​ที่​ใช้​ชื่อ​ลัวะ” แต่​เมื่อ​ดู​ชื่อ​เรียก​ตัว​เอง​ใน​งาน​เหล่า​นี้​แล้ว​จะ​เห็น​ว่า​เรียก​ตัว​เอง​ว่า “ลัวะ” ทั้งหมด และ​ ใน​หลาย​ๆ งาน​ยัง​ระบุ​ด้วย​ว่า “ถิ่น” ไม่​พอใจ​ที่ถ​ ูก​เรียก​ว่า “ถิ่น” สถานการณ์เ​ช่นน​ นี้​ ่าจ​ ะ​สร้าง​ความ​สับสน​ให้ผ​ ใู้​ช้ฐ​ าน​ข้อมูลเ​พราะ​ไม่รวู้​ ่าเ​ป็นก​ลุ่มใ​ด​กันแ​ น่เ​พราะ​งาน​วิจัยท​ ที​่ ำ�​ เกี่ยว​กับ “ลัวะ” บาง​ชุมชน กลับ​ถูกจ​ ัด​ว่า​เป็น “ถิ่น” ส่วน​งาน​ที่ถ​ ูกจ​ ัด​ว่า​เป็น “ลัวะ” กลับ​มี​ทั้ง “ลัวะ” และ​ที่​ไม่​ใช่​ ลัวะ ซึง่ จ​ �ำ เป็นต​ อ้ ง​มก​ี าร​แก้ไข แต่ข​ อ้ มูลใ​น​งาน​วจิ ยั ไ​ม่เ​พียง​พอทีค​่ ณะ​ท�ำ งาน​จะ​วนิ จิ ฉัยไ​ด้โ​ดย​ล�ำ พังเ​พราะ​ใน​งาน​วจิ ยั ​ เหล่า​นี้​ส่วน​ใหญ่​ทำ�​กัน​ใน​ยุค​ต้นๆ ที่​ไม่​ได้​ให้​ความ​สนใจ​ใน​นิยาม​และ​การ​จำ�แนก​ตนเอง​ของ​กลุ่ม​ชา​ติ​พันธ์​ุ คณะ​ทำ�​ งานฯ จึงพ​ ยายาม​สะสาง​ปัญหา​นี้​โดย​เชิญ​นัก​วิชา​การ​สาขา​ต่างๆ เช่น มานุษยวิทยา ประวัติศาสตร์ และ​วัฒนธรรม ทีม​่ ค​ี วาม​เชีย่ วชาญ​เกีย่ ว​กบั ก​ ลุม่ ต​ า่ งๆ ทีถ​่ กู เ​รียก​วา่ “ลัวะ” หรือ “ถิน่ ” พร้อม​ทงั้ ส​ มาชิกช​ า​ตพ​ิ นั ธ์จ​ุ าก​หลาย​ทอ้ ง​ถนิ่ ม​ า​ แลก​เปลีย่ น​ขอ้ คิดเ​ห็นแ​ ละ​พยายาม​จะ​วนิ จิ ฉัยช​ อื่ เ​รียก​กลุม่ ช​ า​ตพ​ิ นั ธ์ท​ุ เ​ี่ หมาะ​สม​และ​ถกู ต​ อ้ ง แม้วา่ ไ​ม่ไ​ด้ข​ อ้ ย​ ตุ ทิ​ งั้ หมด​ จาก​การ​เสวนา​ครั้ง​นั้น แต่​ได้ข​ ้อ​สรุป​จาก​การ​เสวนา​ใน​เรื่อง​การ​เรียก​ชื่อ กลุ่มช​ า​ติ​พันธ์​ุว่า ควร​เรียก​ตาม​ที่​สมาชิก​กลุ่ม​ ชา​ติ​พันธ์​ุนั้น​เรียก​อย่าง​เช่น “ลเวือะ” ก็​ควร​เรียก​ชื่อช​ า​ติ​พันธ์​ุตาม​อัต​ลักษณ์​ชา​ติ​พันธ์​ุ (ชื่อ​ที่​เขา​เรียก​ตัว​เอง) เพราะ​ เป็น​ชื่อ​ที่​แสดง​ถึง​ความ​ภูมิใจ ใน​ถิ่นฐาน ประวัติศาสตร์ และ​สัญลักษณ์​วัฒนธรรม​ที่​บ่ง​บอก​ความ​เป็น​ตัว​ตน​ของ​เขา ใน​ขณะ​ที่​ชื่อ​ที่​คน​อื่น​เรียก​อาจ​แฝง​ไว้ด​ ้วย​ความ​หมาย​ที่​ไม่​ดี​หรือแ​ ฝง​ท่าที​ที่​ดูถูก ทำ�ให้ส​ มาชิก​กลุ่ม​ชา​ติ​พันธ์​ุไม่​อาจ​จะ​ ยอมรับ​ชื่อ​ที่​คน​อื่น​เรียก​ได้ใ​น​หลาย​ชุมชน​อย่าง​เช่น “ลัวะ” ที่​จังหวัด​น่าน​ไม่​ยอมรับ​ชื่อเ​รียก “ถิ่น” เพราะ​รู้สึก​ว่า​เป็น​ คำ�​ที่​ดูถูก​และ​บาง​กลุ่มเ​ช่น “ปลัง” ซึ่ง​ถูกก​ ำ�หนด​ให้​เป็น “ลัวะ” ไม่​ขัดข้อง​ที่​จะ​ใช้ “ลัวะ” แต่​จะ​ยินดี​ที่​จะ​ใช้ “ปลัง” มาก​กว่า นอกจาก​นี้​ชื่อ​ที่​คน​อื่น​เรียก​ก็ม​ ัก​จะ​มี​ความ​แตก​ต่าง​กันต​ าม​กลุ่ม​ชา​ติพ​ ันธ์​ุของ​ผู้เ​รียก อย่าง​เช่น กลุ่มท​ ี่​เรียก​ ตัว​เอง​ว่า “ก่อง” หรือ “กว๋อ​ ง” ซึ่ง​อยู่​บริเวณ​ชายแดน​พม่า-ไทย ใน​เขต​จังหวัด​สุพรรณบุรี​จะ​ถูก​เรียก​ว่า “ลัวะ” ใน​ ทาง​ราชการ และ​ถูกเ​รียก​ว่า “ละว้า” โดย​คน​ไทย​ใน​ท้อง​ถิ่น เป็นต้น เพื่อ​ให้​มี​ความ​ชัดเจน​ขึ้น​ใน​เรื่อง​ชื่อ​เรียก​กลุ่ม​ชา​ติ​พันธ์​ุคณะ​ทำ�งาน​จึง​ได้​ออก​สำ�รวจ​พื้นที่​ที่​มี​งาน​วิจัย​เกี่ยว​กับ​ กลุ่ม​ที่​ถูก​เรียก​ว่า ลัวะ ละว้า ลเวือะ ปรัย ถิ่น คือ จังหวัดเ​ชียงใหม่ (มี​ละเวือะ ลวะ) เชียงราย (ปลัง) แม่ฮ่องสอน (ลเวือะ) และ​จังหวัด​น่าน (ลัวะ มัล ปรัล และ​ถิ่น) ซึ่ง​ข้อมูลท​ ี่​ได้​มา​ยืนยันว​ ่าการ​ให้ค​ วาม​สำ�คัญ​กับ​ชื่อเ​รียก​ตัว​เอง​ของ​ กลุม่ ช​ า​ตพ​ิ นั ธ์น​ุ า่ จ​ ะ​เป็นห​ ลักก​ าร​ทถ​ี่ กู ต​ อ้ ง ซึง่ เ​ป็นไ​ป​ตาม​แนวคิดใ​น​เรือ่ ง​จติ สำ�นึกช​ า​ตพ​ิ นั ธ์​ุ(ethnicity) ใน​ชา​ตพ​ิ นั ธ์ว​ุ ทิ ยา​ อยู่​แล้ว แต่​เนื่องจาก​เป็นฐ​ าน​ข้อมูล​สำ�หรับ​การ​ค้นคว้า​จำ�เป็น​ต้อง​มี​ชื่อ​อื่นๆ​ ให้ส​ ำ�หรับ​การ​สืบค้น​ด้วย อย่างไร​ก็ตาม ​คณะ​ทำ�​งาน​ฯ ได้ท​ ำ�การ​สำ�รวจ​ความ​คิดแ​ ละ​ความ​รู้สึกใ​น​เรื่อง​ชื่อเ​รียก​ชา​ติพ​ ันธ์ตุ​ าม​ชุมชน​บาง​ ชุมชน​ที่​ระบุ​ใน​งาน​วิจัย ได้​พบ​ว่า​โดย​ทั่วไป​แล้ว​มี​ความ​ประสงค์​ที่​จะ​เรียก​ตัว​เอง​และ​กลุ่ม​ตัว​เอง​ตาม​ชื่อ​ดั้งเดิม​มาก​ กว่า​ที่​จะ​ใช้​ชื่อ​ที่​คน​อื่น​เรียก​แม้ว่า​ใน​หลาย​ชุมชน​อย่าง​เช่น ลเวือะ​ที่​บ่อ​หลวง​ไม่​ขัดข้อง​หาก​ถูก​เรียก​ว่า “ลัวะ” แต่​ก็​ จะ​ยินดี​มาก​กว่า​หาก​ถูกเ​รียก​ว่า ลเวือะ และ​ใน​ชุมชน​ที่ถ​ ูก​ระบุ​ว่า​เป็น “ถิ่น” ไม่มี​ใคร​ยอมรับ​เป็น “ถิ่น” ซึ่ง​ก็เ​ป็น​ไป​ ตาม​ข้อ​สรุป​จาก​การ​เสวนา แต่​คณะ​ทำ�งาน​พบ​ความ​ซับ​ซ้อน​ใน​เรื่อง​อัต​ลักษณ์​ชา​ติ​พันธ์​ุมาก​ขึ้น กล่าว​คือ ​เมื่อ​มอง​ ใน​มิติ​ทาง​ประวัติศาสตร์ อัต​ลักษณ์​ชา​ติ​พันธ์​ุอาจ​เปลี่ยนแปลง​และ​ทำ�ให้​เกิด​ความ​หลาก​หลาย​ได้​อย่าง​เช่น “ลวะ” บาง​คนใน​บริเวณ​บาง​หมู่บ้าน​แถบ​หางดง บาง​คน​ระบุ​ว่า​เป็น “ลัวะ” บาง​คน​บอก​ว่า​เป็น “ไต​ยวน” และ​บาง​คน​บอก​ ว่า​เป็น “ลวะ” นอกจาก​นี้​หาก​พิจารณา​เรื่อง​ตำ�นาน​การ​อพยพ​แล้ว “ลวะ” และ “ลเวือะ” น่าจ​ ะ​เป็นก​ลุ่มเ​ดียวกัน​ ใน​อดีต แต่​ใน​ปัจจุบัน​แยกแยะ​ตัวเ​อง​ออก​จาก​กัน และ​คณะ​ทำ�​งาน​ฯ ไม่​อาจ​จะ​สืบค้น​ได้​ว่า​ชื่อ​เรียก​ใด​เก่า​แก่ก​ ว่า​กัน

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

ผู้​เรียก


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

100

และ​แตก​แขนง​กัน​ออก​มา​หรือ​ที่​จริง​ก็​แตก​ต่าง​กัน​แต่​แรก เรื่อง​นี้​จึง​เกี่ยวข้อง​กับ​การ​จำ�แนก​กลุ่ม​ชา​ติ​พันธ์​ุที่​มี​มิติ​ของ​ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และ​การเมือง ซึ่ง​ดู​เหมือน​ว่า​จะ​ซับ​ซ้อน​กว่า​ชื่อ​เรียก​ชา​ติ​พันธ์​ุ

ปัญหา​การ​จำ�แนก​กลุ่ม​ชา​ติ​พันธ์​ุ: กรณี “ลัวะ” และ​วงศา​คณา​ญาติ ปัญหา​การ​จ�ำ แนก​กลุม่ ช​ า​ตพ​ิ นั ธ์อ​ุ อก​เป็นก​ลมุ่ ย​ อ่ ย13 ก็เ​ป็นป​ ญ ั หา​ส�ำ คัญอ​ กี ป​ ญ ั หา​หนึง่ ท​ พ​ี่ บ​ใน​การ​พฒ ั นา​ระบบ​ ฐาน​ข้อมูล​งาน​วิจัย​ทาง​ชา​ติ​พันธ์​ุเพราะ​หาก​สามารถ​จัด​หมวด​หมู่ไ​ด้​ใน​ฐาน​ข้อมูล​นักว​ ิจัย​ที่​ใช้​ฐาน​ข้อมูล ก็พ​ อ​จะ​มอง​ เห็นค​ วาม​สมั พันธ์ “ฉันท์ญ ​ าติ” ของ​กลุม่ ช​ า​ตพ​ิ นั ธ์ต​ุ า่ งๆ ทีเ​่ กีย่ วข้อง แต่ด​ เ​ู หมือน​วา่ การ​จ�ำ แนก​กลุม่ ช​ า​ตพ​ิ นั ธ์ต​ุ าม​สาย​ สัมพันธ์ท​ ม​ี่ อ​ี ยูไ​่ ม่ส​ อดคล้อง​กนั เ​สียทีเ​ดียว เพราะ​เกณฑ์จ​ �ำ แนก​อาจ​จม​ ค​ี วาม​แตก​ตา่ ง​กนั ไ​ป และ​งาน​วจิ ยั ท​ าง​ชา​ตพ​ิ นั ธ์​ุ ต่างๆ ไม่ไ​ด้ใ​ห้ค​ วาม​สนใจ​กับจ​ ิตสำ�นึกช​ า​ตพิ​ ันธ์ใ​ุน​แง่ว​ ่า “คิดว​ ่าเ​ป็นใ​คร เรียก​ตัวเ​อง​ว่าอ​ ย่างไร แตก​ต่าง​จาก​ลุ่มอ​ ื่นใ​น​ เกณฑ์​อะไร และ​กลุ่มใ​ด​บ้าง​ที่​มี​ความ​สัมพันธ์​ใกล้​ชิด” ใน​เมื่อ​เป็น​เช่น​นี้​การ​จำ�แนก​จึง​ขาด​มุมม​ อง​ของ​คนใน​ที่​จะ​ช่วย​ ใน​การ​พิจารณา การ​จำ�แนก​ชา​ตพ​ิ ันธ์เ​ุป็นการ​จำ�แนก​โดย​นักว​ ิชา​การ​หรือน​ ักป​ กครอง​ตาม​เกณฑ์ท​ ตี่​ ้องการ ปัญหา​นกี้​ ็​ เกิด​ขึ้น​กับ​ทุก​กลุ่ม​ชา​ติพ​ ันธ์​ุแต่​เนื่องจาก​มี​พื้นที่​จำ�กัด​จะ​ขอ​ยก​ตัว​อย่า​งก​รณีลัวะ และ​วงศา​คณา​ญาติ14 ซึ่ง​ทาง​คณะ​ ทำ�​งาน​ฯ ได้​พยายาม​ดำ�เนิน​การ​ทดลอง​แก้ป​ ัญหา​ไป​บ้าง​แล้ว

ภาพ​จำ�ลอง​การ​จำ�แนก​กลุ่ม​ชา​ติ​พันธ์ุ/​กลุ่ม​ผู้​ใช้ภ​ าษา งาน​วิจัย​ใน​ชา​ติ​พันธ์​ุวิทยา​ไม่​ได้น​ ำ�​เสนอ​การ​จำ�แนก​ชา​ติ​พันธ์​ุของ​กลุ่ม​ต่างๆ ที่​น่า​จะ​เกี่ยวข้อง​มี​ความ​สัมพันธ์​ เป็น​ญาติ​ของ​ลัวะ การ​จำ�แนก​ชา​ติ​พันธ์​ุที่​มี​อยู่​เป็​นการ​จำ�แนก​ทาง​ภาษาศาสตร์​ซึ่ง​ก็​มีอ​ ยู่​หลาก​หลาย คณะ​ทำ�งาน​จึง​ เลือก​ระบบ​การ​จำ�แนก​กลุ่มภ​ าษา​ตระ​กู​ลออ​ส​โตร​เอเชีย​ติก (Austroasiatic) โดย​เฉพาะ​ที่​อยู่ใ​น​กลุ่ม​มอญ-เขมร ซึ่ง​เชื่อ​ ว่า​กลุ่ม​ต่างๆ ที่​ใช้​ภาษา​ใน​ตระกูล​นี้​เป็นก​ลุ่ม​คน​ดั้งเดิม​ใน​เอเชีย​ตะวัน​ออก​เฉียง​ใต้ (สุ​วิไล เปรม​ศรี​รัตน์ และ​คณะ 2547)15 ส่วน​การ​จำ�แนก​ดังก​ ล่าว​จะ​ถูก​ต้อง​สมบูรณ์​หรือไ​ม่​เป็น​เรื่อง​ที่​ต้อง​มี​การ​ศึกษา​กันต​ ่อ​ไป คณะ​ทำ�​งาน​ฯ ไม่​อาจ​ 13 การ​จ�ำ แนก​กลุม่ ช​ า​ตพ​ิ นั ธ์ใ​ุ น​ทน​ี่ แ​ี้ ตก​ตา่ ง​ไป​จาก​การ​จดั ป​ ระเภท​แบบ​ทน​ี่ กั ม​ านุษยวิทยา​สาย​แนว​ทฤษฎีววิ ฒ ั นาการ​พยายาม​จะ​ จัด​ทำ�​คือ แบ่ง​หมวด​หมู่​ตาม​ลักษณะ​ความ​คล้ายคลึง​กับ​และ​แตก​ต่าง​กัน​ใน​ลักษณะ​ทาง​วัฒนธรรม ใน​ที่​นี้​เป็นการ​จัด​หมวด​ หมู่​หรือ​กลุ่ม​ตาม​สาย​สัมพันธ์ หรือ​ความ​เป็น​ญาติ​นั้น​เอง กล่าว​คือ​ แม้​ใน​ปัจจุบัน​จะ​ถือว่า​เป็นก​ลุ่ม​ชา​ติ​พันธ์​ุที่​แตก​ต่าง​กัน​ แต่​ใน​อดีต​บรรพ​บุรุษ​อาจ​จะ​เคย​ร่วม​เป็นก​ลุ่ม​เดียวกัน แต่​การ​อพยพ​หรือ​ภาวะ​กา​รณ์​อื่น​ๆ ทำ�ให้​เกิด​การ​แตก​กลุ่ม​ชา​ติ​พันธ์ุ​ ขึ้น หรือใ​น​ปัจจุบันย​ ัง​ถือว่า​เป็นก​ลุ่ม​ชา​ติ​พันธ์ุ​เดียวกัน แต่​แยก​ย่อย​ออก​เป็นก​ลุ่ม​ต่างๆ 14 ใน​ความ​พยายาม​ที่​จะ​ทดลอง​แก้​ปัญหา​เรื่อง​การ​จำ�แนก​ใน​เชิง​สัมพันธ์ คณะ​ทำ�​งาน​ฯ ได้​ทบทวน​ข้อ​ค้น​พบ​ต่างๆ ใน​งาน​วิจัย​ เพื่อ​ตรวจ​สอบ​ร่อง​รอย​ความ​สัมพันธ์​ระหว่าง​กลุ่ม​ชา​ติ​พันธ์​ุที่​กำ�หนด​โดย​ชื่อ​ที่​เขา​เรียก​ตัว​เอง​ใน​ชื่อ​เรื่อง “ปริศนา​วงศาคณา​ ญาติ “ลัวะ” ใน​ประเทศ​ไทย” ซึ่ง​ขณะ​นี้​อยู่ร​ ะหว่าง​การ​แก้ไข​ก่อน​เสนอ​ให้​ศูนย์​มานุษยวิทยา​สิ​ริน​ธ​รพิ​จา​รณา​จัด​พิมพ์ 15 ดู​นานา​ภาษา​ใน​เอเชีย​อาคเนย์​ภาค​ที่ 1: ภาษา​ตระ​กู​ลออ​ส​โตร​เอเชีย​ติก​และ​ตระกูล​จีน-ทิเบต โดย​คุณ​หญิง​สุริยา รัตน​กุล (2543) ซึ่งอ​ ธิบาย​ประวัตแิ​ ละ​หลักเ​กณฑ์ก​ าร​จัดภ​ าษา​ตระ​กล​ู ออ​สโ​ตร​เอเชียต​ ิก แต่จ​ าก​บทความ​ของ David D. Thomas (1964) “A Survey of Austroasiatic and Mon-Khmer Comparative Studies” ได้​ตั้ง​ข้อ​สังเกต​ว่า ออ​ส​โตร​เอเชีย​ติก​เป็น​ตระกูล​ภาษา​ใน​ เอเชียต​ ะวันอ​ อก​เฉียง​ใต้ ทีไ​่ ด้ถ​ กู ส​ ถาปนา​โดย​ยงั ไ​ม่มห​ี ลักฐ​ าน​พสิ จู น์อ​ ย่าง​ชดั เจน​ท�ำ ให้จ​ �ำ นวน​ภาษา​ทจ​ี่ ดั อ​ ยูใ​่ น​ตระกูล ยังเ​ป็น​ ที่​ถก​เถียง​และ​กำ�หนด​แน่​ไม่​ได้ อย่างไร​ก็ตาม​พอที่​จะ​มี​ความ​เห็น​ร่วม​กัน​ว่า​ตระกูล​ภาษา​ดัง​กล่าว​มี​อยู่​จริง คือ ประกอบ​ด้วย​ มอญ-เขมร ปะ​หล่อ​งอิก มุน​ดา (Munda) และ​อาจ​จะ​มี​อื่น​ๆ ที่​ถก​เถียง​กัน​โดยที่​ปัญหา​สำ�คัญ​ใน​เรื่อง​การ​มี​ข้อมูล​ไม่​เพียง​พอ​ ใน​การ​จำ�แนก​ยัง​คง​มี​อยู่ ซึ่ง​ปัญหา​นี้​ก็​ยัง​คง​อยู่ใ​น​ปัจจุบัน​ดัง​ปราก​ฎ​ใน​งาน​ของ David Bradley (1994) “East and Southeast Asia” ใน Atlas of the World’s Languages ซึ่ง​ตั้งข​ ้อ​สังเกต​ใน​ทำ�นอง​เดียวกัน​ว่าย​ ัง​มี​ความ​เห็น​ไม่​ตรง​กัน​ใน​การ​จำ�แนก​กลุ่ม​ ย่อย​หรือ​การ​รวม​ภาษา​เวียดนาม​ใน​มอญ-เขมร​เหนือ​ด้วย อย่าง​เช่น Thomas and Headley (1970) จำ�แนก​ให้​สาขา​มอญ-เขมร​ เหนือ​ประกอบ​ด้วย Palaungic และ Khmuic แต่ Felus (1974a) เห็น​ว่า​ควร​รวม Palaungic และ Khmuic และ​เพิ่ม​กลุ่ม “Mang” (ซึ่ง​ถูกจ​ ัด​ว่า​เป็นก​ลุ่ม​ย่อย​ของ Palaungic โดย Thomas and Headley ปัญหา​ลักษณะ​นี้​มี​อยู่​ทั่วไป​ใน​การ​จำ�แนก​ภาษา​ตระ​กู​ลออ​ส​โตร​เอ​เชีย​ติค​และ​มอญ​เขมร ทำ�ให้​เป็นการ​ยาก​ต่อ​คณะ​ทำ�​งาน​ฯ ซึง่ ม​ ไิ ด้ม​ ค​ี วาม​ช�ำ นาญ​ใน​ทาง​ภาษาศาสตร์จ​ ะ​เลือก​ระบบ​การ​จ�ำ แนก​ทค​ี่ ดิ ว​ า่ เ​หมาะ​สม​ทสี่ ดุ เพราะ​ไม่พ​ บ​ความ​ชดั เจน​ใน​เกณฑ์​ จำ�แนก​ซึ่ง​อาจ​จะ​เป็น​ใน​เรื่อง​ลักษณะ​เสียง​หรือ​คำ�​ศัพท์​ที่​คล้ายคลึง​กัน จึง​ตัดสิน​ใจ​เลือก​ระบบ​การ​จำ�แนก​ของ ดร.สุ​วิไล เปรม​ศรี​รัตน์ ซึ่งค​ ้นคว้า​วิจัย​ใน​เรื่อง​การ​จำ�แนก​กลุ่ม​ภาษา​ใน​ประเทศ​ไทย​มา​นาน​พอ​สมควร


101

กลุ่มต​ ่างๆ ที่​ถกู ​จัด​อยู่​ใน​ภาษา​ตระ​กล​ู ออ​ส​โตร​เอเชีย​ติก​โดย​เฉพาะ​มอญ-เขมร ได้​ถกู จ​ ำ�แนก​ออก​เป็น​สาม​สาย​ ย่อย (สุ​วิไล เปรม​ศรี​รัตน์ และ​คณะ 2547: 19) ดังนี้ คือ

จาก​การ​จำ�แนก​กลุ่มผ​ ู้​ใช้​ภาษา​ดังก​ ล่าว​ปรากฏ​ว่า​สาย​มอญ-เขมร​เหนือ ซึ่ง​รวม “ลัวะ” อยู่​ด้วย​แยก​เป็นก​ลุ่ม​ ย่อย​ดังนี้ คือ กลุ่มป​ ะ​หล่อ​ง ประกอบ​ด้วย ละเม็ด ว้า ลเวือะ ปะ​หล่อ​ง (ดาร​ะอั้ง) ปลัง และ​สาม​เต้า กลุ่ม​ขมุ ประกอบ​ด้วย ขมุ มัล ปรัย (ลัวะ) และ​มลา​บรี กลุ่มเ​วีย​ตดิก ประกอบ​ด้วย เวียดนาม และ​โซ่ (ทะวืง)16 คณะ​ท�ำ งาน​จงึ ว​ เิ คราะห์เ​ปรียบ​เทียบ​เพือ่ ห​ า​รอ่ ง​รอย​ความ​เป็นว​ งศา​คณา​ญาติข​ อง​กลุม่ ช​ า​ตพ​ิ นั ธ์ใ​ุ น​แต่ละ​กลุม่ ​ ตาม​ประเด็น​ต่างๆ (เท่า​ที่​จะ​มี​ข้อมูล​ใน​งาน​วิจัย) คือ ประวัติช​ ุมชน ประวัติการ​อพยพ อัตล​ ักษณ์​ชา​ติพ​ ันธ์​ุและ​ความ​ คิด​ความ​สัมพันธ์​กับ​กลุ่มอ​ ื่น​ๆ ตลอด​จน​การ​วิเคราะห์​เปรียบ​เทียบ ภาษา ความ​เชื่อ ลักษณะ​การ​จัด​ระเบียบ​สังคม และ​ตำ�นาน​ชา​ติ​พันธ์​ุ ซึ่ง​พบ​ว่า​หลัก​ฐาน​อาจ​จะ​ยัง​ไม่​เพียง​พอที่​จะ​สรุป​ได้​อย่าง​ชัดเจน​ แต่​มี​ข้อ​สังเกต​เบื้อง​ต้น​เกี่ยว​ กับ​ความ​เป็น​วงศา​คณา​ญาติ​ใน​กลุ่มป​ ะ​หล่อ​งอิก และ​กลุ่ม​ขมุ​อิกด​ ังนี้ กลุ่ม​ขมุ​อิก คณะ​ทำ�งาน​ยัง​ไม่พ​ บ​หลัก​ฐาน​หรือ​ร่อง​รอย​ใน​ทาง​ประวัติศาสตร์ หรือ​ตำ�นาน​ชา​ติพ​ ันธ์​ุและ​วัฒน​ธรรม​ว่า​ลัวะ กำ�​มุ และ​มลา​บรี​ซึ่ง​เป็น​ผู้​ใช้​ภาษา​ใน​กลุ่ม​ขมุ​อิก​มี​ความ​เกี่ยวข้อง​กัน ทั้งนี้​อาจ​เป็น​เพราะ​ว่า​โจทย์​นี้​มิใช่​โจทย์​สำ�คัญ​ ใน​งาน​วิจัย​ใน​ฐาน​ข้อมูลเ​พราะ​งาน​วิจัย​แต่ละ​งาน​มี​จุด​มุ่ง​หมาย​การ​ศึกษา​เฉพาะ​กลุ่ม​และ​เฉพาะ​ประเด็น​มาก​กว่าท​ ี่​ 16 กลุ่ม​เวียต​ติก​ได้​ถูก​ตัด​ออก​ไป​เพราะ​ไม่มี​งาน​วิจัย​ใด​นำ�​เอา​มา​สับสน​กับ “ลัวะ” นอกจาก​นั้น​ยัง​เป็นก​ลุ่ม​ที่​ถูก​จำ�แนก​ความ​ สัมพันธ์ท​ ี่​ห่าง​ออก​ไป

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

จะ​ประเมิน​ได้​เพราะ​ขาด​ความ​เชี่ยวชาญ​ใน​เกณฑ์​จำ�แนก​ทาง​ด้าน​ภาษาศาสตร์ แต่​ขอ​อาศัย​การ​จำ�แนก​ดัง​กล่าว​เป็น​ ข้อ​สันนิษฐาน​เบื้อง​ต้น​สำ�หรับ​การ​พิจารณา​วงศาคณา​ญาติ “ลัวะ”


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

102

จะ​แสดง​ความ​สมั พันธ์ก​ บั ก​ ลุม่ อ​ นื่ ๆ​ โดย​เฉพาะ​อย่าง​ยงิ่ ไ​ม่มง​ี าน​วจิ ยั ท​ ว​ี่ เิ คราะห์ค​ วาม​สมั พันธ์ท​ าง​ชา​ตพ​ิ นั ธ์ผ​ุ า่ น​ต�ำ นาน​ ชา​ติ​พันธ์​ุหรือ​โลก​ทัศน์​ชา​ติ​พันธ์​ุ หาก​พิจารณา​ข้อมูล​ทาง​ประวัติศาสตร์​ใน​ช่วง​เวลา​ที่​เกิน 500 ปี ก็​เป็น​ไป​ได้​ยาก​เพราะ​แต่ละ​กลุ่ม​ไม่มี​ บันทึกเ​กีย่ ว​กบั อ​ ดีต โดย​เฉพาะ​อย่าง​ยงิ่ ก​ าร​อพยพ​ยา้ ย​ถนิ่ ฐาน มีแ​ ต่ค​ �​ ำ บอก​เล่าซ​ งึ่ ไ​ม่อ​ าจ​ระบุเ​วลา​และ​สถาน​ทท​ี่ ช​ี่ ดั เจน​ ได้ และ​อยู่​ใน​ความ​ทรง​จำ�​ของ​คน​ไม่เ​กิน 100 ปี จาก​หลักฐ​ าน​ลักษณะ​นี้​เรา​อาจ​ถือ​ได้​ว่า​ทั้ง 3 กลุ่ม ต่าง​ชา​ติ​พันธ์​ุกัน​ เพราะ​แต่ละ​กลุม่ ก​ ม​็ เ​ี รือ่ ง​เล่าท​ แี​่ ตก​ตา่ ง​กนั ไ​ป เรือ่ ง​เล่าข​ อง​ลวั ะ​วา่ ด​ งั้ เดิมอ​ ยูใ่​น​พนื้ ทีท​่ เ​ี่ ป็นป​ ระเทศ​ไทย​ใน​ปจั จุบนั กำ�​ม​ุ และ​มลา​บรี​มี​ประวัติ​อพยพ​มา​จาก​พื้นที่​อื่น (ลาว) ส่วน​ร่อง​รอย​ทาง​วัฒนธรรม​ก็​มีน​ ้อย​มาก​ที่​จะ​เชื่อม​โยง​ถึงกัน​ได้​เช่น​ การ​สืบ​ผี​ของ “ลัวะ” เน้น​ข้าง​ฝ่าย​หญิง ส่วน​การ​สืบ​ผี​ของ​ขมุ เน้น​ข้าง​ฝ่าย​ชาย (มี​ข้อ​ยกเว้น​บ้าง) สำ�หรับ​การ​สืบ​ผี​ ของ มลา​บรี มี​ข้อมูล​ไม่ช​ ัดเจน แต่​พิจารณา​จาก​บริบท​แล้ว​น่า​จะ​เป็น​ทาง​ฝ่าย​ชาย ดัง​นั้น​ตาม​หลักฐ​ าน​ที่​มีอ​ ยู่​ถ้า​จะ​ เป็น​วงศา​คณา​ญาติ​กัน​ก็​ต้อง​เมื่อ​นาน​มา​แล้ว​อย่าง​เร็ว​สุด​ก็​เกิน​กว่า​ร้อย​ปี สำ�หรับ “ลัวะ” ที่ใ​น​ทาง​ภาษาศาสตร์​แยก​เป็น “มัล” และ “ปรัย” นั้น จาก​การ​สำ�รวจ​เกณฑ์​ที่ลัวะ​จำ�แนก​ ตัว​เอง​ปรากฏ​ว่า​เป็น​เกณฑ์ท​ าง​วัฒนธรรม คือ​พิธีกรรม​หลัง​จาก​เก็บ​เกี่ยว​ข้าว ซึ่ง​ได้​แยก​เป็น “ลัวะ” โส​ลด​หลวง และ “ลัวะ​ดอก​แดง” พร้อม​ทั้ง​มี​ตำ�นาน​ชา​ติพ​ ันธ์​ุทำ�ให้​แยก​เป็น 2 กลุ่ม​ด้วย และ​ใน​การ​สำ�รวจ​พื้นที่​ที่​ถูกร​ ะบุ​ว่า​เป็นช​ ุมชน​ของ​คน​ที่​เรียก​ตัว​เอง​ว่า “ปรัย” หรือ “ไพร” ยัง​ไม่​พบ​ว่า​มีค​ น​ที่​ เรียก​ตัว​เอง​ด้วย​ชื่อ​เรียก​ดังก​ ล่าว กลุ่ม​ปะ​หล่อง​ อิก เมื่อ​ทบทวน​เรื่อง​ราว​ของ​กลุ่ม​ชา​ติ​พันธ์​ุที่​ใช้​ภาษา​ใน​กลุ่ม​ย่อย​ปะ​หล่อ​งอิก ซึ่ง​มีลเวือะ ลวะ ปลัง สาม​เต้า และ​ดาร​ะอั้ง คณะ​ทำ�​งาน​ฯ ได้พ​ บ​ใน​งาน​วิจัย​ต่างๆ ว่า ลเวือะ ลวะ น่าจ​ ะ​เคย​ร่วม​กลุ่ม​ชา​ติ​พันธ์​ุเดียวกัน​มา​เป็น​เว​ลา​ นาน​แต่ใ​น​ชว่ ง​เวลา​ทผ​ี่ า่ น​มา​อาจ​จะ​ประมาณ​ไม่เ​กินร​ อ้ ย​ปี เริม่ ม​ ค​ี วาม​แตก​ตา่ ง​ใน​ทาง​ชา​ตพ​ิ นั ธ์แ​ุ ต่ย​ งั ไ​ม่ส​ มบูรณ์เ​พราะ​ กลุม่ 2 กลุม่ น​ ม​ี้ เ​ี รือ่ ง​เล่าเ​กีย่ ว​กบั ต​ น้ ก​ �ำ เนิด และ​การ​อพยพ​รว่ ม​กนั มีว​ รี บ​ รุ ษุ ค​ น​เดียวกันค​ อื ขุนห​ ลวง​วร​ิ งั ค​ ะ แต่ “ลวะ” อาจ​จะ​เป็นเ​พียง​อตั ล​ กั ษณ์ช​ า​ตพ​ิ นั ธ์ใ​ุ น​ความ​ทรง​จ�​ ำ ของ​คน​บาง​คน​เพราะ​สญ ั ลักษณ์ข​ อง​ความ​เป็น “ลวะ” เช่น ภาษา ความ​เชื่อ​เรื่อง​ผี และ​การ​สืบ​ผี การ​บริโภค​ข้าว​เจ้า​ก็​เปลี่ยน​แปร​ไป​กับ​วัฒนธรรม​ของ​ไต-ยวน ที่​อยู่​รอบ​ๆ จริง​ๆ แล้ว​ หาก​มี​งาน​วิจัย​เกี่ยว​กับ​อัต​ลักษณ์​ชา​ติ​พันธ์​ุของ​วัย​รุ่น​ก็​อาจ​จะ​พบว่า​พวก​เขา​เป็น “ไต-ยวน” หรือ “คน​เมือง” หรือ “คน​ไทย” ไป​หมด​แล้ว​ก็ได้ ใน​ขณะ​ที่​ลเวือะ​แม้ว่า​จะ​มีการ​ปรับ​เปลี่ยน​ทาง​วัฒนธรรม​ไป​บ้าง แต่​ยังธ​ ำ�รง​สัญลักษณ์​ วัฒนธรรม​ที่​บ่ง​บอก​ความ​เป็น​ชา​ติ​พันธ์​ุเดิม​ได้ เช่น ภาษา การ​ถือ​ผี​บรรพ​บุรุษ​ข้าง​พ่อ การ​ทำ�​ไร่​หมุนเวียน​หรือ​การ​ มี​เสา​สะ​ก้าง​ใน​ชุมชน​แต่ก​ าร​เปลี่ยน​ไป​นับถือ​คริสต์​ศาสนา​ของ​ชุมชน​บาง​ชุมชน ซึ่ง​ทำ�ให้ท​ ิ้ง​ผี อาจ​จะ​มีผ​ ล​กระทบ​ใน​ ระยะ​ยาว​ต่อ​ความ​เป็น​ชา​ติ​พันธ์​ุเดียวกัน​อย่างไร​บ้าง​หรือ​ไม่​นั้น​คง​ต้อง​อาศัย​การ​ศึกษา​ต่อ​ไป แต่​จาก​การ​สำ�รวจ​ใน​ ระยะ​สั้น​ยัง​ไม่​เห็น​ผล​ชัดเจน เพียง​แต่ผ​ ู้คน​รู้สึกใ​น​ความ​แตก​ต่าง​ทาง​ศาสนา​บ้าง ส่วน​ปลังแ​ ละ​สาม​เต้า นัน้ ย​ งั ไ​ม่มง​ี าน​วจิ ยั ท​ ศ​ี่ กึ ษา​ใน​ทาง​ลกึ แต่จ​ าก​ส�ำ รวจ​ใน​ระยะ​สนั้ ข​ อง​คณะ​ท�ำ งาน​เอง​พวก​ เขา​คิด​ว่า​แตก​ต่าง​กัน แต่​มี​ความ​ใกล้​ชิดก​ ัน​เพราะ​มา​จาก​ต้น​กำ�เนิด​เดียวกัน​แต่​แยก​ย้าย​กัน​ไป​คนละ​ทาง ปลัง​อพยพ​ มา​จาก​สิบ​สอง​ปัน​นา​โดยตรง แต่ส​ าม​เต้า​ได้อ​ พยพ​ไป​อยู่​ที่เ​ทือก​เขา​สาม​เต้า​ใน​ดิน​แดน​ไทย​ใหญ่​ประเทศ​พม่า​มา​ก่อน จาก​หลักฐ​ าน​ทมี่​ อี​ ยูไ​่ ม่ม​ าก​นกั ใ​น​ปจั จุบันท​ งั้ ใ​น​เรื่อง​ความ​รสู้ ึก เรือ่ ง​บอก​เล่า และ​ประเพณี พิธีกรรม ไม่มรี​ อ่ ง​รอย​อะไร​ ที่​จะ​บ่ง​บอก​ว่า​มี​ความ​สัมพันธ์​กับล​ เวือะ โดยที่​มี​ข้อ​สังเกต 2 ประการ คือ ประการ​แรก​ผู้ใ​ห้​ข้อมูลท​ ี่​เป็น​ลเวือะ​และ​ ปลัง บอก​ว่า​หาก​ใช้​เวลา​อยู่ด​ ้วย​กัน​จะ​เข้าใจ​ภาษา​ของ​กันแ​ ละ​กัน​มาก​กว่า​ที่​จะ​เข้าใจ “ลัวะ” เมือง​น่าน ใน​ประการ​ ที่ 2 ใน​ขณะ​ที่​ไป​สำ�รวจ​มี​ผู้ใ​ห้​ข้อมูล​ท่าน​หนึ่ง​บอก​ว่า​ใน​ชุมชน​ยัง​มี​เสา​กะ​ก้าง​อยู่ จึง​ไม่​อาจ​สรุปไ​ด้​ใน​ปัจจุบัน ต้อง​ทิ้ง​ ไว้​เป็น​ปม​ให้ก​ ับ​ผู้​สนใจ​ศึกษา​ต่อ​ไป​ทั้งนี้​รวม​ทั้ง​เรื่อง​ของ “ดาร​ะอั้ง” ซึ่ง​ยัง​มีข​ ้อมูล​ไม่​มาก​นัก


103

ความ​สัมพันธ์​ระหว่าง ลเวือะ(ลวะ) และ​ลัวะ ประเด็นท​ น​ี่ า่ ส​ นใจ​กค​็ อื ค​ วาม​สบั สน​ใน​ชอื่ เ​รียก​ชา​ตพ​ิ นั ธ์ร​ุ ะหว่าง​ลเวือะ หรือล​ วะ กับ ลัวะ ทัง้ ท​ ท​ี่ งั้ ส​ อง​กลุม่ น​ อ​ี้ ยู​่ ใน​พื้นที่​ที่​ต่าง​กัน17 และ​ต่าง​ก็​บอก​ว่า​อยู่​ใน​ท้อง​ถิ่น​นั้นม​ า​นาน​มาก​แล้ว และ​ผู้​ให้​ข้อมูล​หลาย​คน​ที่​เป็น​ลเวือะ​และ​ลัวะ​ ได้​บอก​ว่า​พูด​ภาษา​กัน​ไม่รู้​เรื่อง และ​ไม่​คิดว​ ่า​มีค​ วาม​สัมพันธ์​ใดๆ ทั้ง​ใน​เชิง​ประวัติศาสตร์ และ​วัฒนธรรม โดย​เฉพาะ​ อย่าง​ยิ่งลเวือะ​ปฏิเสธ​ที่​จะ​ถูกเ​รียก​ว่า “ลัวะ” และ​แม้ว่า “ลวะ” จะ​ยอม​เรียก​ตัว​เอง​ว่า “ลัวะ” กับ​คน​ภายนอก คำ�​ว่า “ลัวะ” จึง​เป็น​เพียง​คำ�​ที่​คน​ไต-ยวน​เรียก “ลเวือะ” หรือ “ลวะ” เมื่อ​พิจารณา​ลักษณะ​ทาง​วัฒนธรรม​แล้ว​ก็​เห็น​ความ​แตก​ต่าง​อย่าง​ชัดเจน​ใน​เรื่อง​การ​สืบ​ผี​ที่​ลเวือะ​สืบ​ข้าง​พ่อ แต่ล​ วั ะ​สบื ผ​ ข​ี า้ ง​แม่ และ​ไม่มป​ี ระเพณีต​ งั้ เ​สา​สะ​กา้ ง​ใน​ชมุ ช​ น​อย่าง​ลเวือะ อย่างไร​กต็ าม​ได้ม​ ง​ี าน​วจิ ยั ท​ พ​ี่ ยายาม​สบื ค้น​ ความ​เก่าแ​ ก่แ​ ละ​ความ​สมั พันธ์ใ​น​อดีตร​ ะหว่าง “ลเวือะ” และ “ลัวะ” ซึง่ ค​ ณะ​ท�​ ำ งาน​ฯ เห็นว​ า่ น​ า่ ส​ นใจ​และ​นา่ จ​ ะ​ทงิ้ ไ​ว้​ เป็นป​ ม​ปริศนา​ให้ศ​ กึ ษา​หา​หลักฐ​ าน​กนั ต​ อ่ สุรยิ า รัตน​กลุ (2527) ได้อ​ าศัยห​ ลักฐ​ าน​การ​บนั ทึกใ​น​จารึกห​ ลักท​ ี่ 13 (จารึก​ ใน​มหา​ศักราช​ที่​ตรง​กัน​ปี พ.ศ.2053)18 ซึ่ง​เป็น​เรื่อง​เกี่ยว​กับ​การ​ประดิษฐาน​รูป​พระ​อิศวร ของ​พระยา​ศรีธ​ รรม​โศก​ราช และ​มี​ประกาศ​ห้าม​ราษฎร​จูง​วัว​ไป​ขาย​ให้​แก่ “ละว้า” ซึ่ง​ทำ�ให้​ตีความ​ได้​ว่า​คน​ไทย​รู้จัก “ละว้า” มา​อย่าง​น้อย​เป็น​ เวลา​ห้า​ร้อย​ปีแ​ ล้ว และ​แสดง​ว่า​มี​ละว้า​อยู่​ใน​บริเวณ​ที่​เป็น​จังหวัด​กำ�แพงเพชร​ใน​ปัจจุบัน​ด้วย นอกจาก​นี้​ได้​อ้าง​งาน​ ของ Seidenfaden (1923) ซึ่งก​ ล่าว​ถึงห​ ลักฐ​ าน​เกี่ยว​กับ “ละว้า” (Lawa) ใน​พงศาวดาร​พม่าว​ ่า​ใน ค.ศ.1613 (พ.ศ.2456) พวก​ละว้าไ​ด้ช​ ว่ ย​อนุชา​กษัตริยพ​์ ม่าจ​ าก​เรือล​ ม่ ใ​น​ตอน​บน​ของ​ลมุ่ น​ าํ้ แ​ ม่ก​ ลอง และ​ใน​ปต​ี อ่ ม​ า​กช​็ ว่ ย​ชท​ี้ าง​ให้ก​ องทัพพ​ ม่า​ โจมตีเ​มือง​เชียงใหม่ หลักฐ​ าน​แสดง​ความ​เก่าแ​ ก่ข​ อง “ละว้า19(ลเวือะ) มาก​กว่าน​ ก​ี้ ค็ อื ต​ �ำ นาน​จาม​เทวีว​ งศ์20 ซึง่ อ​ าจ​จะ​ ทำ�ให้เ​ห็น​ว่า​ลเวือะ​อยู่​ใน​พื้นที่​เชียงใหม่​มา​นาน​กว่า 1,300 ปี ซึ่ง​สุริยา (2527) ตั้ง​ข้อ​สังเกต​ว่า​ทั้ง​ที่​หลักฐ​ าน​ต่างๆ ใช้​ คำ�​ว่า “ละว้า” แต่​คน​ท้อง​ถิ่น​ใน​ภาค​เหนือ​กลับ​เรียก​พวก​เขา​ว่า “ลัวะ” จาก​ข้อส​ ังเกต​พร้อม​หลักฐ​ าน​ดัง​กล่าว คณะ​ ทำ�​งาน​ฯ ตีความ​ว่า ลเวือะ​และ​ลัวะ ไม่​น่า​จะ​เกี่ยวข้อง​กัน​หรือเ​ป็น​ญาติ​กันภ​ ายใน 1,300 ปี​มา​นี้ แต่​หาก​นาน​กว่า​นั้น​ ก็ค​ ง​เป็นเ​รื่อง​ที่​ต้อง​แสดง​หลักฐ​ าน​ทาง​ภาษา เพราะ​หลัก​ฐาน​อื่น​ๆ ไม่มี​ปรากฏ งาน​วจิ ยั อ​ กี ง​ าน​หนึง่ ซ​ งึ่ ส​ นใจ​ใน​ความ​เก่าแ​ ก่ข​ อง “ละว้า” และ​ความ​สมั พันธ์ก​ บั ก​ ลุม่ อ​ นื่ ๆ​ คือง​ าน​ของ Cholthira Satyawadhna (1991) ซึ่งศ​ ึกษา​เปรียบ​เทียบ​ข้อมูลภ​ าค​สนาม​กลุ่ม​ชา​ติ​พันธ์​ุ3 กลุ่มใ​น 3 พื้นที่ คือ “ละว้า” ใน​ยูน​นาน ลเวือะ​ใน​เชียงใหม่ และ​ลัวะ​ใน​จังหวัด​น่าน21 ซึ่ง​ใน​การ​จำ�แนก​กลุ่มช​ า​ติ​พันธ์​ุ“ละว้า” จะ​เป็น​คำ�​กลาง (generic term) ที่​รวม​กลุ่ม​ย่อย​ว้า ลเวือะ และ​ลัวะ ใน​ปัจจุบัน​ไว้​ด้วย​กัน หรือก​ ล่าว​อีกน​ ัย​หนึ่ง​ก็​คือ​ว่า ว้า ลเวือะ และ​ลัวะ เป็น​วงศา​ คณา​ญาติ​กัน ตาม​ที่​ปราก​ฎ​ใน Table I: Classification of Lawa Ethnonyms ดังนี้​คือ 17 ชุม​ชนลเวือะ​และ​ลวะ อยู่​ทาง​ด้าน​ตะวันต​ ก​ของ​ภาค​เหนือ ซึ่ง​ใกล้​ไป​ทาง​พม่า ส่วน​ลัวะ​อยู่​ทาง​ด้าน​ตะวันออกใกล้​ไป​ทาง​ลาว และ​ไม่ป​ ราก​ฎช​ มุ ช​ นลเวือะ​ในระ​หว่าง​กลาง​ทเ​ี่ ป็นล​ �ำ พูน ลำ�ปาง พะเยา และ​แพร่ อย่าง​ชดั เจน​จะ​อธิบาย​ดว้ ย​การ​อพยพ​คงจะ​ เป็น​ไป​ได้​ยาก 18 พบ​ที่จ​ ังหวัด​กำ�แพงเพชร 19 เป็นการ​สันนิษฐาน​ของ Seidenfaden 20 ซึ่ง​เขียน​ขึ้น​ใน​ช่วง​เวลา​ประมาณ​ปี พ.ศ.2000 แต่​เรื่อง​ราว​มี​ความ​เก่า​แก่​กว่าน​ ั้น​คือ​ประมาณ พ.ศ.1200 ที่​ขุน​หลวง​วิ​รังค​ ะ (วีร​ บุรุษ​ละว้า) หลง​รัก​พระนาง​จาม​เทวีจ​ น​เกิด​สงคราม​สู้​รบ 21 อา​จาร​ย์​ชลธิ​รา ได้​นำ�​เสนอ​สาระ​สำ�คัญ​ใน​การ​เสวนา​ไป​บ้าง​แล้ว แต่​ใน​งาน​วิจัย​เรื่อง The Dispossessed: An Anthropological Reconstruction of Lawa Ethnohistory in the Light of Their Relationship with the Tai (1991) มีข​ ้อมูล​ที่​น่า​สนใจ​เกี่ยว​กับ “ว้า” ใน​ยูน​นาน​ซึ่ง​บ่ง​บอก​ว่า​ใน​ทาง​วัฒนธรรม​แล้ว​ใกล้​ชิ​ดกับลเวือะ​มาก

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

อย่างไร​ก็ตาม​ใน​เบื้อง​ต้น​อาจ​จะ​เสนอ​ได้​ว่า​กลุ่ม​ชา​ติ​พันธ์​ุลเวือะ ปลัง และ​ดาร​ะอั้ง ใน​กลุ่ม​ปะ​หล่อ​งอิก หาก​ จะ​มค​ี วาม​สมั พันธ์ใ​น​เชิงว​ ง​ศาณ​าญ ​ าติใ​กล้ช​ ดิ ก​ นั ก​ ค​็ ง​เป็นเ​มือ่ ห​ ลาย​รอ้ ย​ปม​ี า​แล้ว เพราะ​ใน​ปจั จุบนั พ​ วก​เขา​ไม่ไ​ด้ร​ �ำ ลึก​ ถึง​ความ​เป็น​ญาติ​แต่อ​ ย่าง​ใด


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

104

ภาพ​จ�ำ ลอง​นมี้​ คี​ วาม​น่าส​ นใจ​และ​น่าจ​ ะ​ช่วย​ตอบ​ปม​ปริศนา​ไป​ส่วน​หนึ่ง แต่ย​ ังย​ กเว้นเ​รื่อง “ลัวะ” เมือง​น่าน​ที่​ ใน​ทาง​ภาษาศาสตร์ไ​ด้จ​ ดั อ​ ยูใ​่ น​กลุม่ ย​ อ่ ย​ขมุอ​ กิ ต​ า่ ง​จา​กลเวือะ​และ​วา้ ซึง่ ถ​ กู จ​ ดั อ​ ยูใ​่ น​กลุม่ ป​ ะ​หล่อง​ อิก ซึง่ ส​ อดคล้อง​กบั ​ โลก​ทศั น์ช​ า​ตพ​ิ นั ธ์ข​ุ อง​ผใ​ู้ ห้ข​ อ​้ มูลท​ เี​่ ป็นล​ เวือะ​และ​ลวั ะ และ​จาก​การ​ทบทวน​งาน​วจิ ยั ต​ า่ งๆ ของ​กลุม่ ส​ อง​กลุม่ โ​ดย​คณะ​ ทำ�งาน ก็​ไม่​พบ​หลัก​ฐาน​ความ​เกี่ยวข้อง​กัน​ทั้ง​ใน​เชิง​ประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์​บอก​เล่า​และ​ตำ�นาน​ชา​ติ​พันธ์​ุรวม​ ทั้ง​การ​สืบ​ผี​บรรพ​บุรุษ​และ​ประเพณี​ปฏิบัติต​ ่างๆ ใน​งาน​วิจัย​ต่างๆ เหล่า​นั้น ลักษณะ​ที่​นับ​ได้​ว่า​มีร​ ่วม​กันก็เ​ห็นจะ​เป็น​ เพียง​ชื่อ​เรียก​ชา​ติ​พันธ์​ุที่​ถูกค​ นนอก​เรียก “ลัวะ” เท่านั้น​อย่างไร​ก็ตาม ชลธิ​รา สัต​ยา​วัฒนา​ได้​มี​หลักฐ​ าน​อื่น​ๆ ที่อ​ าจ​ จะ​อยู่​ใน​ช่วง​ก่อน​ประวัติศาสตร์ เช่น ภาพ​คน​บน​กลอง​กบ ซึ่ง​ควร​ค่า​กับ​การ​พิจารณา เพราะ​ใน​งาน​วิจัย​ต่างๆ ที่​มีอ​ ยู่​ ไม่​ได้​ให้​ข้อมูล​และ​หลัก​ฐาน​ใน​ลักษณะ​ดัง​กล่าว อย่างไร​ก็ตาม​หลัก​ฐาน​ดัง​กล่าว​นั้น​จะ​แสดง​ลักษณะ​ทาง​วัฒนธรรม​ ของ​ว้า​ที่​สัมพันธ์​กับ​ลเวือะ​มา​กก​ว่า​ลเวือะ​กับล​ ัวะ​เมือง​น่าน จึง​คง​ต้อง​เป็น​ประเด็น​ที่​ต้อง​พิจารณา​หา​หลักฐ​ าน​กัน​ต่อ​ ไป ด้วย​ข้อมูล​ที่​มี​อยู่​ลเวือะ​กับ​ลัวะ น่า​จะ​มี​ความ​เป็น​ญาติ​กันน​ ้อย​มาก จาก​การ​ทบทวน​งาน​วจิ ยั เ​กีย่ ว​กบั “ลัวะ” และ​วงศา​คณา​ญาติเ​มือ่ ม​ อง​ยอ้ น​หลังก​ ย​็ งั ม​ ป​ี ม​ปริศนา​มากมาย​เกีย่ ว​ กับ​การ​จำ�แนก​ชา​ติพ​ ันธ์​ุ (รวม​การ​แตก​ตัว​ทาง​ชา​ติ​พันธ์​ุด้วย) ชื่อ​เรียก​ชา​ติ​พันธ์​ุการ​จัด​ประเภท​ชา​ติ​พันธ์​ุและ​โลก​ทัศน์​ ชา​ติ​พันธ์​ุ การ​ทบทวน​นี้​ช่วย​ตอบ​ปัญหา​ไป​บาง​อย่าง​ได้ แต่​ก็ม​ ี​ปม​ใหม่​ขึ้นม​ า เช่น อัต​ลักษณ์​ชา​ติ​พันธ์​ุลเวือะ​มีท​ ี่มา​ ที่​ไป​อย่างไร จะ​แผลง​มา​จาก​อัต​ลักษณ์​ชนชั้น​จะ​เป็น​ไป​ได้​หรือ​ไม่ และ​ยัง​มี​คำ�ถาม​มากมาย​ที่​จะ​เกี่ยว​กับ​วงศา​คณา​ ญาติ “ลัวะ” เช่นก​ าร​เปลีย่ นแปลง​อตั ล​ กั ษณ์ช​ า​ตพ​ิ นั ธ์แ​ุ ละ​วฒ ั นธรรม​ความ​หมาย​ของ​การ​เคลือ่ นไหว เรือ่ ง​สงิ่ แ​ วดล้อม และ​วัฒนธรรม การ​เปลี่ยนแปลง​ใน​เรื่อง​การ​จัด​ระเบียบ​สังคม​และ​ความ​เชื่อ​พิธีกรรม​อัน​เกี่ยว​เนื่อง​กับ​โลกา​ภิ​วัตน์​ใน​ งาน​นี้​คณะ​ทำ�​งาน​ฯ ได้​แค่เ​พียง​หวัง​ว่า​น่า​จะ​ได้​มี​ระบบ​ชื่อ​เรียก​ที่เ​หมาะ​สม​สอดคล้อง​กับ​ประวัติศาสตร์ ลักษณะ​ทาง​ วัฒนธรรม​และ​จิตสำ�นึก​ชา​ติ​พันธ์​ุของ​กลุ่ม​ชา​ติ​พันธ์​ุต่างๆ ใน​ประเทศ​ไทย​โดย​เริ่ม​ที่​วงศา​คณา​ญาติ “ลัวะ” ซึ่ง​ยัง​มี​ ความ​สับสน​เพื่อ​ว่า​คณะ​ทำ�งาน​สามารถ​จัด​ระบบ​ข้อมูล​ใน​ฐาน​ข้อมูลไ​ด้​อย่าง​ถูก​ต้อง​เป็น​ประโยชน์​ต่อ​นักว​ ิจัย​ที่​จะ​ใช้​ ข้อมูล และ​ที่​สำ�คัญ​ใน​หลัก​การ​แล้ว​ผู้คน​ย่อม​มี​ความ​ภาค​ภูมิ​ใน​ชื่อ​เรียก​ของ​ตนเอง ชื่อ​ที่​ผู้​อื่น​ตั้ง​ให้​หรือ​ใช้​เรียก​หาก​ ไม่​เป็น​ที่​ยอมรับ​ย่อม​นำ�​ไป​สู่ค​ วาม​รู้สึกข​ อง​การ​เสียเ​กียรติ​ภูมิ​และ​ความ​หมางใจ

ปัญหา​ชื่อ​เรียก​และ​การ​จำ�แนก​ชา​ติ​พันธ์​ุใน​ความ​หมาย​ของ​รัฐ จาก​ตัวอย่าง​ดัง​กล่าว​จะ​เห็น​ว่าการ​จำ�แนก​กลุ่ม​ชา​ติ​พันธ์​ุและ​ชื่อ​เรียก​ชา​ติ​พันธ์​ุมิใช่​จะ​จัด​ระเบียบ​ลงตัว​ได้​ ง่าย​ใน​ฐาน​ข้อมูล เนื่องจาก​ใน​งาน​วิจัย​หลาย​งาน​ไม่​ได้​สนใจ​ว่า​สมาชิกช​ า​ติ​พันธ์​ุที่​เป็น​เป้า​หมาย​ของ​การ​ศึกษา เรียก​


105

ปัญหา​สำ�คัญ​ก็​คือ​ว่า​ขอบเขต​ความ​หมาย​ของ​ชื่อก​ ลุ่ม​ที่​ตัว​เอง​เรียก​กับ​ชื่อ​กลุ่ม​ที่​คน​อื่นเ​รียก​ไม่​สอดคล้อง​กัน​ เสียทีเ​ดียว จาก​การ​วเิ คราะห์ก​ าร​จ�ำ แนก​กลุม่ ช​ า​ตพ​ิ นั ธ์ท​ุ พ​ี่ อ​มขี อ​้ มูล​ อย​บ​ู่ า้ ง​ใน​งาน​วจิ ยั ต​ า่ งๆ ใน​ฐาน​ขอ้ มูล และ​ใน​การ​ สำ�รวจ จาก​การ​ทดลอง​สัมภาษณ์ “ลัวะ” และ​วงศา​คณา​ญาติ​ใน​เรื่อง​การ​จำ�แนก​ตัว​เอง คณะ​ทำ�งาน​พบ​ว่า​ชื่อ​เรียก​ ชา​ตพิ​ ันธ์ท​ุ สี่​ มาชิกใ​ช้จ​ ำ�แนก​ตัวเ​อง​จะ​มค​ี วาม​หมาย​ทจี​่ ำ�กัดแ​ ละ​มขี​ นาด​กลุ่มท​ เี​่ ล็ก ใน​ขณะ​ทชี่​ ื่อเ​รียก​ชา​ตพิ​ ันธ์ท​ุ คี่​ น​อื่น​ เรีย​ ก​จะ​ครอบคลุมก​ ลุม่ ช​ า​ตพ​ิ นั ธ์ห​ุ ลาย​กลุม่ ช​ า​ตพ​ิ นั ธ์​ุ(ทีจ​่ �ำ แนก​ตวั เ​อง) เนือ่ งจาก​งาน​ตา่ งๆ มิใ​คร่ไ​ด้ส​ นใจ​ศกึ ษา​ศกึ ษา​ การ​จ�ำ แนก​กลุม่ ต​ วั เ​อง​และ​ความ​สมั พันธ์ท​ ม​ี่ ต​ี อ่ ก​ ลุม่ อ​ นื่ ๆ​ ซึง่ อ​ าจ​เกีย่ วข้อง​เป็นญ ​ าติก​ นั ใน​ความ​คดิ ข​ อง​ผเ​ู้ ขียน ปัญหา​ เหล่าน​ เ​ี้ ป็นป​ ญ ั หา​ทาง​วชิ า​การ​ซึง่ ค​ ง​ตอ้ ง​คน้ คว้าแ​ ละ​พยายาม​แก้ไข​ปญ ั หา​กนั ต​ อ่ ไ​ป​เพือ่ ส​ ร้าง​ความ​เข้าใจ​ใน​การ​ใช้ฐ​ าน​ ข้อมูลง​ าน​วิจัยท​ าง​ชา​ตพ​ิ ันธ์ขุ​ อง​นกั ว​ จิ ยั ท​ ส​ี่ นใจ​ทาง​ชา​ตพ​ิ นั ธ์​ุแต่ก​ าร​จ�ำ แนก​ชา​ตพ​ิ นั ธ์โ​ุ ดย​รฐั ซ​ งึ่ จ​ ะ​เป็นเ​รือ่ ง​สทิ ธิใ​น​ทาง​ กฎหมาย​อาจ​จะ​มี​ปัญหา​มาก​กว่าเ​พราะ​จะ​เกี่ยวข้อง​กับ​สิทธิ​ต่างๆ เช่น สิทธิ​การ​เป็น​พลเมือง หรือ​สิทธิ​มนุษย​ชน​ซึ่ง​ เรื่อง​นี้​เป็น​เรื่อง​ที่​ผู้​เขียน​ยัง​ไม่​คุ้น​เคย​มาก​นัก เพราะ​ไม่ใช่​นักก​ ฎหมาย แต่​พยายาม​จะ​นำ�​เสนอ​ข้อ​สังเกต​บาง​ประการ​ จาก​ความ​พยายาม​ท�ำ ความ​เข้าใจ​การ​จ�ำ แนก​ชา​ตพ​ิ นั ธ์จ​ุ าก​ประสบการณ์ข​ อง​สาขา​วทิ ยา​มานุษยวิทยา การ​จ�ำ แนก​ชา​ ติพ​ ันธ์ท​ุ ปี่​ รากฏ​ใน​งาน​วิจัยท​ าง​ชา​ตพ​ิ ันธ์ใ​ุน​ฐาน​ข้อมูลดังท​ ไี​่ ด้น​ ำ�​เสนอ​กรณีศ​ ึกษา​แล้วแ​ ละ​รวม​ทั้งก​ าร​จำ�แนก​ชา​ตพิ​ ันธ์ุ โดย​รัฐ ซึ่ง​ได้​มีผ​ ู้​ศึกษา​ไว้บ​ ้าง​แล้ว​อย่าง​เช่น​กรณี​เวียดนาม​และ​ไทย กรณี​เวียดนาม พิเชฐ สาย​พันธ์ุ (2549: 7) ได้ต​ ั้งข​ ้อ​สังเกต​ว่าการ​ศึกษา​ทาง​ชา​ติ​พันธ์​ุของ​เวียดนาม​ในระ​ยะ​แรก “เน้น​แนวทาง​ ของ​ประวัติศาสตร์ช​ า​ตพ​ิ ันธ์ใ​ุน​ทิศทาง​ของ​การ​เคลื่อน​เข้าม​ า​รวม​กันเ​ป็นร​ ัฐช​ าติเ​วียดนาม​สมัยใ​หม่ใ​น​ปัจจุบัน” และ​ใช้​ เวลา​กว่าย​ สี่ บิ ป​ ใ​ี น​การ​จ�ำ แนก​กลุม่ ช​ า​ตพ​ิ นั ธ์ท​ุ ม​ี่ อ​ี ยูใ​่ น​เวียดนาม​จน​กระทัง่ ส​ �ำ นักงาน​สถิตแ​ิ ห่งช​ าติซ​ งึ่ ด​ แู ล​เรือ่ ง​ประชากร​ ประสบ​ความ​สำ�เร็จก​ าร​จำ�แนก​ใน ค.ศ.1979 (2522) การ​จำ�แนก​กลุ่มช​ า​ติพ​ ันธ์ขุ​ อง​เวียดนาม​จึงม​ ีล​ ักษณะ​เป็นท​ างการ​ โดย​กำ�หนด​ว่า​มี​จำ�นวน 54 กลุ่ม​เป็นการ​แน่นอน22 จาก​การ​วิเคราะห์​ของ​พิเชฐ สาย​พันธ์ุ เกณฑ์​การ​จำ�แนก​ที่​สำ�คัญ​คือ​ตระกูล​ภาษา​ซึ่ง​ประกอบ​ด้วย 5 ตระกูล​ ภาษา​ใหญ่​คือ 1. Austro – Asiatic

(He Nam A)

2. Austronesian

(He Nam Dao)

3. Sino – Tibetan

(Han Tang)

4. Thai-Kadai

(Thai-Kadai)

5. Hmong-Yao

(Hmong-Dao)

ซึง่ พ​ เิ ชฐ ได้ต​ งั้ ข​ อ้ ส​ งั เกต​ปญ ั หา​การ​จ�ำ แนก​กลุม่ ช​ า​ตพ​ิ นั ธ์ใ​ุ น​เวียดนาม​วา่ เ​ป็น “การ​ผกู โ​ยง​ระหว่าง​ประวัตศิ าสตร์​ ชา​ติ​พันธ์​ุ อัตล​ ักษณ์​ชา​ติ​พันธ์​ุ และ​เงื่อนไข​ทางการ​เมือง​ของ​ชาติ​เวียดนาม และ​ทำ�ให้​มี​ความ​พยายาม​ที่​จะ​ให้ค​ วาม​ หมาย​ของ​ชื่อ​เรียก​ชา​ติ​พันธ์ุ​ของ​กลุ่มช​ า​ติพ​ ันธ์ุท​ ี่​จำ�แนก​แยก​ย่อย​อยู่​ใน​ตระกูลภ​ าษา 5 ตระกูลด​ ังก​ ล่าว ตัวอย่าง​ที่​เห็น​ 22 ก่อนหน้านี้การจำ�แนกและจำ�นวนกลุ่มผันแปรไปตามเหตุผลต่างๆ ทำ�ให้ตกลงกันไม่ได้ เช่น ปี 1972 ระบุว่ามี 37 กลุ่ม ใน ปี 1974 มีรวมกันทั้งหมด 59 กลุ่ม แบ่งตามภาคดังนี้ ภาคเหนือ = 36 กลุ่ม ภาคใต้ = 23 กลุ่ม

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

ตัวเ​อง​วา่ อ​ ย่างไร​หรือใ​น​หลาย​งาน​วจิ ยั ไ​ด้ใ​ห้ข​ อ้ มูลก​ าร​เรียก​ชา​ตพ​ิ นั ธ์ด​ุ ว้ ย แต่ก​ ย​็ งั เ​รียก​ชอื่ ท​ ต​ี่ นเอง​เห็นว​ า่ เ​หมาะ​สม​กว่า ซึ่ง​มัก​เป็น​ชื่อ​ที่​คน​อื่น​เรียก​และ​ความ​หมาย​ไม่ด​ ี หรือถ​ ูก​มอง​โดย​คนใน​ว่า​ความ​หมาย​ไม่​ดี


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

106

ชัดเจน​คือ​กลุ่ม​ชา​ติพ​ ันธ์​ุต่างๆ ที่​พูดภ​ าษา​ตระกูล​ไท​ถูกท​ างการ​เวียดนาม​จำ�แนก​ออก​เป็น 2 กลุ่ม คือ “ไท” (Thai) และ “ไต” (Tay) เท่านั้น​ ทั้ง​ที่​มี​กลุ่ม​ที่​เรียก​ตัว​เอง​แตก​ต่าง​กันไ​ป​นับ​สิบ​กลุ่ม เช่น ไท​ดำ� ไท​ทอ ไท​แดง ไท​เมือย​ ไท​ แถง ไท​ห่าง​ต่ง ไท​เมือง ไทญ้อ ไท​เชียง ผู้ไ​ท ไท​คั่ง​และ​ไท​หมก​จิว เป็นต้น ซึ่ง​นัก​วิชา​การ​เวียดนาม​ก็​ยังม​ ี​ข้อคิด​เห็น​ ที่​ไม่​สอดคล้อง​กัน​นัก​ใน​การ​จัด​กลุ่มค​ น​ไท​และ​คน​ไต และ​ตาม​ข้อ​สังเกต​ของ Charles Keyes (2002:1187) การ​จำ�แนก​ ชา​ตพ​ิ นั ธ์ใ​ุ น​ลกั ษณะ​ดงั ก​ ล่าว​ได้ท​ �ำ ให้ค​ วาม​หลาก​หลาย​ทาง​ชา​ตพ​ิ นั ธ์ถ​ุ กู ต​ ก​ี รอบ​ไว้อ​ ย่าง​เป็นท​ างการ​และ​จะ​ยงั ไ​ม่ใช่ค​ �​ ำ ตอบ​สดุ ท้าย​ส�ำ หรับว​ า่ ใ​คร​บา้ ง​คอื ป​ ระชากร​หรือก​ ลุม่ ช​ น​ของ​เวียดนาม อย่างไร​กต็ าม​ใน​งาน​ทงั้ ส​ อง​งาน​ดงั ก​ ล่าว​ยงั ไ​ม่ม​ี ความ​ชัดเจน​ใน​เรื่อง​ความ​สัมพันธ์​ระหว่าง​การ​จำ�แนก​กลุ่มช​ า​ติ​พันธ์​ุกับ​สิทธิ​และ​ความ​เสมอ​ภาค​มาก​นัก กรณี​ประเทศ​ไทย Charles Keyes (2002:1179) ตั้งข​ ้อ​สังเกต​ว่า​ความ​คิด​เรื่อง “ชาติ​ไทย” ซึ่ง​สะท้อน​ความ​คิด​เรื่อง​กา​รบู​รณา​การ​ ชาติ (national integration) ที่ไ​ด้​เริ่ม​พัฒนา​มา​ตั้งแ​ ต่​สมัยพ​ ระบาท​สมเด็จพ​ ระ​จุล​จอม​เกล้า ค่อน​ข้าง​มี​ความ​หมายก​ว้าง​ ใน​แง่​ที่​นับ​รวม​กลุ่มช​ น​ต่างๆ ที่​อาศัย​อยู่ใ​น​สยาม​อย่าง​เช่น​กลุ่ม​คน​ที่​พูด​ภาษา​ตระกูล​ไท ซึ่ง​พอ​พูด​กัน​รู้เ​รื่อง​จะ​ถูกจ​ ัด​ ว่า​ร่วม​ภาษา​เดียวกัน ส่วน​คน​ที่​นับถือพ​ ุทธ​ศาสนา​แม้ว่า​จะ​ต่าง​ภาษา​กันก​ ็ถ​ ือว่า​ร่วม​ศาสนา​เดียวกัน ด้วย​วิธี​คิด​แบบ​ นี้​ใน​ต้น​คริสต์​ศตวรรษ​ที่ 20 สัดส่วน​ประชากร​ไทย​ประมาณ 85% ถือว่า​เป็น​ส่วน​หนึ่ง​ของ​ชาติ​ไทย หาก​มีค​ วาม​แตก​ ต่าง​ภายใน​ก็ถ​ ือว่า​เป็น​ความ​แตก​ต่าง​ทาง​ภูมิภาค (เช่น​เป็น​คน​เหนือ คน​ภาค​กลาง คน​อีสาน และ​คน​ใต้) ทั้ง​ที่ “คน​ อีสาน” อาจ​จะ​เหมา​รวม “ลาว” และ “เขมร” ซึ่ง​มี​ความ​แตก​ต่าง​ทาง​ภาษา​และ​วัฒนธรรม​ด้วย ใน​ทศวรรษ​ของ พ.ศ. 2470-2480 แนวคิด​เรื่อ​งบู​รณา​การ​ชาติ​มี​ความ​เข้ม​ข้น​ขึ้น​และ​ปรากฏ​ใน​นโยบาย​ผสม​ กลมกลืน​กลุ่ม​ชน​ต่างๆ ภาย​ใต้​การนำ�​ของ​นายก​รัฐมนตรี​ที่​ชื่อ​ว่า​จอมพลแปลก พิบูล​สงคราม โดย​อาศัย​แนวคิด “ชนชาติ​ไทย” (Thai race) ซึ่ง​มี​เป้า​หมาย​สำ�คัญ​คือ​ คน​จีน​โพ้น​ทะเลใน​ประเทศ​ไทยและ​คน​ที่​พูด​ภาษา​ตระกูล​ไท​ที่​ กระจาย​ตวั อ​ ยูใ​่ น​ตอน​ใต้ข​ อง​จนี ลาว เวียดนาม และ​พม่า ทำ�ให้ก​ าร​จ�ำ แนก​ชา​ตพ​ิ นั ธ์เ​ุ ป็นไ​ป​ใน​ลกั ษณะ​ทม​ี่ ก​ี าร​แยก​กนั ​ ชัดเจน​เด็ด​ขาด​ว่า “เป็น​ใคร” จีนหรือ​ไทย ​เพราะ​การ​สังกัด​กลุ่มแ​ ต่ละ​กลุ่ม​ก็​มีส​ ัญลักษณ์​ทาง​วัฒนธรรม​เช่น สำ�หรับ​ คน​ไทย​พูด​ภาษา​ไทย ชื่อ​ไทย​และ​เรียน​โรงเรียน​ไทย การ​เลือก​เป็น​คน​จีน ก็​อาจ​จะ​ถูกจ​ ำ�กัด​สิทธิ​บาง​ประการ หรือถ​ ูก​ เลือก​ปฏิบัติ​โดย​เจ้า​หน้าที่​ราชการ เท่าท​ ผ​ี่ า่ น​มายังไ​ม่พ​ บ​หลักฐ​ าน​ทว​ี่ า่ ท​ างการ​ของ​ไทย​ได้พ​ ยายาม​จะ​จ�ำ แนก​กลุม่ ช​ า​ตพ​ิ นั ธ์ต​ุ า่ งๆ อย่าง​เป็นร​ ะบบ​ และ​ครอบคลุม​แบบ​จีน เวียดนาม และ​ลาว การ​จำ�แนก​กลุ่มช​ า​ติ​พันธ์​ุอย่าง​เป็น​ทางการ​มัก​จะ​ขึ้น​อยู่​กับ​บริบท​ใน​ทาง​ ประวัติศาสตร์​และ​นโยบาย​อย่าง​เช่น​ใน​สมัย​ที่​จอม​พลสฤษดิ์ ธนะ​รัช​ต์ เป็น​นายก​รัฐมนตรี ซึ่ง​เป็น​ยุค​ที่​มี​การ​พัฒนา​ ประเทศ​แบบ​วางแผน​และ​เป็น​ยุค​สมัย​ที่​การ​กดดัน​จาก​สหประชาชาติ​ให้​ปราบ​ปราม​การ​เพาะ​ปลูก และ​จำ�หน่าย​ฝิ่น​ ใน​ประเทศ​ไทย ได้​รับ​การ​ตอบ​รับเ​ป็น​อย่าง​ดีใ​น​ประกาศ​ของ​คณะ​ปฏิวัติ 9 ธันวาคม 2501 และ​เนื่องจาก “ชาว​เขา” ถูกม​ อง​ว่าม​ คี​ วาม​เกี่ยวข้อง​กับก​ าร​ปลูกฝ​ ิ่นจ​ ึงไ​ด้ถ​ กู จ​ ำ�แนก​ออก​มา​เพื่อก​ าร​ปฏิบัตกิ​ าร​สงเคราะห์แ​ ละ​พัฒนา จะ​ได้เ​ลิก​ ปลูก เสพย์ และ​จำ�หน่าย​ฝิ่น เมื่อม​ ี​การ​ตั้งค​ ณะ​กรรมการ​อำ�นวย​การ​พัฒนา​และ​สงเคราะห์​ชาว​เขา​ใน​ปี พ.ศ. 2502 ซึ่ง​ นำ�​ไป​สู่​การ​ตั้ง​กอง​พัฒนา​และ​สงเคราะห์​ชาว​เขา​และ​ศูนย์วิจัย​ชาว​เขา (ใน​ขณะ​นั้น​เป็น​ส่วน​หนึ่งข​ อ​งก​องฯ ที่​จะ​รับ​ผิด​ ชอบ และ​ค้นคว้า​วิจัย​เกี่ยว​กับช​ าว​เขา) จาก​การ​สำ�รวจ​ภาค​สนาม​ของ​คณะ​ทำ�​งาน​ฯ “ปลัง” ใน​จังหวัด​เชียงราย​ถูกจ​ ำ�แนก​ให้เ​ป็น “ลัวะ”ใน​ปี พ.ศ. 2529 และ​ถูก​จัด​ว่า​เป็น “ชาว​เขา” จึง​ทำ�ให้​มี​โอกาส​ได้​สัญชาติ​ไทย​และ​บัตร​ประชาชน​ใน​ช่วง​เวลา​ต่อ​มา เมื่อ​แรก​ที่​หน่วย​งาน​ทั้ง​สอง​เริ่ม​ปฏิบัติ​งาน​ได้​นิยาม “ชาว​เขา” ว่า​มี 6 เผ่า ซึ่ง​ถูก​เรียก​ดังนี้ค​ ือ กะเหรี่ยง แม้ว เย้า ลีซอ มูเซอ​ร์ และ​อีก้อ ใน​ปัจจุบัน​นี้​การ​นิยาม “ชาว​เขา” ได้​เปลี่ยน​ไป​เป็นก​ลุ่ม​ชา​ติ​พันธ์​ุบน​พื้นที่ส​ ูง (Tribal Research Institute 1995) ขยาย​ออก​ไป​ครอบคลุมก​ ลุ่ม​ต่างๆ ถึง 10 กลุ่ม คือ กะเหรี่ยง แม้ว (ม้ง) มูเซอ อีก้อ เย้า ถิ่น ลีซอ ลัวะ ขมุ ตอง​เหลือง โดย​ชื่อ​เรียก​และ​การ​จำ�แนก​กลุ่มช​ า​ติ​พันธ์​ุเหล่า​นี้​กำ�หนด​โดย​คนนอก


107

ใน “ระเบียบ​ส�ำ นักท​ ะเบียน​กลาง​วา่ ด​ ว้ ย​การ​พจิ ารณา​ลง​รายการ​สถานะ​บคุ คล​ใน​ทะเบียน​ราษฎร​ให้แ​ ก่บ​ คุ คล​ บน​พื้นที่​สูง พ.ศ.2543” ได้​มี​ความ​ชัดเจน​ใน​ชื่อ​เรียก​และ​การ​จำ�แนก​ใน​ข้อ 6 ว่า “ข้อ 6 ใน​ระเบียบ​นี้ ถ้า​ข้อความ​มิได้แ​ สดง​ให้​เห็น​เป็น​อย่าง​อื่น “ชาว​ไทย​ภูเขา” หมายความ​ว่า กลุ่ม​ชา​ติ​พันธ์​ุดั้งเดิม​ที่​อาศัย​ทำ�​กิน​หรือ​บรรพ​ชน​อาศัย​ทำ�​กิน​อยู่​บน​พื้นที่​สูง​ ใน​ราช​อาณาจักร ซึ่ง​มี​วัฒนธรรม ประเพณี ความ​เชื่อ ภาษา​และ​การ​ดำ�เนิน​ชีวิต ที่​มีเ​อกลักษณ์​เฉพาะ​ตัว ประกอบ​ ด้วย 9 ชา​ติ​พันธ์​ุหลัก23คือ (1) กะเหรี่ยง หรือ​ซึ่ง​อาจ​เรียก​ว่า ปกา​เกอะญอ(สกอว์) โพล่ง(โปว์) ตอง​สู(ปะ​โอ) บะแว (บะเว) (2) ม้ง

หรือ​ซึ่ง​อาจ​เรียก​ว่า แม้ว

(3) เมี่ยน

หรือ​ซึ่ง​อาจ​เรียก​ว่า เย้า, อิ้วเมี่ยน

(4) อา​ข่า

หรือ​ซึ่ง​อาจ​เรียก​ว่า อีก้อ

(5) ลา​หู่

หรือ​ซึ่ง​อาจ​เรียก​ว่า มูเซอ

(6) ลี​ซู

หรือ​ซึ่ง​อาจ​เรียก​ว่า ลีซอ

(7) ลัวะ

หรือ​ซึ่ง​อาจ​จะ​เรียก​ว่า ละเวือะ, ละว้า, ถิ่น, มัล, ปรัย

(8) ขมุ (9) มลา​บรี หรือ​ซึ่ง​อาจ​เรียก​ว่า คน​ตอง​เหลือง และ​กลุ่มช​ า​ติ​พันธ์​ุที่​มีล​ ักษณะ​เช่น​เดียว​กับ​ชาว​ไทย​ภูเขา​ซึ่ง​มี​ผู้​อำ�นวย​การ​ทะเบียน​กลาง​กำ�หนด​เพิ่ม​เติม “พืน้ ทีส​่ งู ” หมายความ​วา่ พืน้ ทีท​่ เ​ี่ ป็นท​ อ​ี่ ยูข​่ อง​ชาว​เขา​เผ่าต​ า่ งๆ และ​ชนก​ลมุ่ น​ อ้ ย หรือเ​ป็นท​ ต​ี่ งั้ บ​ า้ น​เรือน​และ​ท​ี่ ทำ�​กนิ ท​ ม​ี่ ค​ี วาม​ลาด​ชนั โ​ดย​เฉลีย่ ม​ าก​กว่าร​ อ้ ย​ละ 35 หรือม​ ค​ี วาม​สงู ก​ ว่าร​ ะดับน​ าํ้ ท​ ะเล 500 เมตร​ขนึ้ ไ​ป ใน​จงั หวัดต​ า่ งๆ 20 จังหวัด คือ จังหวัด​กาญจนบุรี กำ�แพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ ตาก น่าน ประจวบคีรีขันธ์ พะเยา พิษณุโลก เพชรบุรี เพชรบูรณ์ แพร่ แม่ฮ่องสอน ราชบุรี เลย ลำ�ปาง ลำ�พูน สุโขทัย สุพรรณบุรี อุทัยธานี และ​จังหวัด​ที่​ผู้​อำ�นวย​ การ​ทะเบียน​กลาง​กำ�หนด​เพิ่ม​เติมภ​ าย​หลัง “บุคคล​บน​พื้นที่​สูง” หมายความ​ว่า บุคคล​ซึ่ง​เป็น​ชาว​ไทย​ภูเขา คน​ไทย หรือก​ ลุ่มช​ น​อื่น​ๆ ที่อ​ าศัย​อยู่​บน​ พื้นที่​สูง ซึ่ง​รัฐบาล​ไม่ไ​ด้​มีน​โย​บาย​ดูแล​ดำ�เนิน​การ​เป็นการ​เฉพาะ และ​ให้ค​ วาม​หมายความ​รวม​ถึง​บุคคล​บน​พื้นที่​สูง​ ที่​อพยพ​ลง​มา​อาศัย​อยู่บ​ น​พื้น​ราบ​ด้วย “สถานะ​บุคคล” หมายความ​ว่า สถานภาพ​ตาม​กฎหมาย​ว่า​ด้วย​สัญชาติ กฎหมาย​ว่า​ด้วย​คน​เข้า​เมือง​และ​ กฎหมาย​ว่า​ด้วย​การ​ทะเบียน​คน​ต่างด้าว

23 กลุ่ม “ถิ่น” หาย​ไป​ใน​ชุด​จำ�แนก 2543

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

เรา​อาจ​สนั นิษฐาน​ได้ว​ า่ ว​ ตั ถุประสงค์ก​ าร​นยิ าม​และ​จ�ำ แนก​กลุม่ ช​ า​ตพ​ิ นั ธ์เ​ุ หล่าน​ เ​ี้ พือ่ เ​ป็นข​ อบเขต​ของ​การ​ปฏิบตั ​ิ งาน​ของ​หน่วย​งาน​ตา่ งๆ ทีเ​่ กีย่ วข้อง​ท�ำ ให้ก​ ลุม่ ช​ า​ตพ​ิ นั ธ์ท​ุ ไ​ี่ ด้ถ​ กู จ​ �ำ แนก​ได้ม​ ส​ี ทิ ธิใ​น​การ​เข้าถ​ งึ บ​ ริการ​และ​สวัสดิการ​หรือ​ โครงการ​พฒ ั นา​และ​สงเคราะห์ต​ า่ งๆ ของ​หน่วย​งาน​ตา่ งๆ ดังก​ ล่าว ซึง่ ร​ วม​โครงการ​ตา่ งๆ ทีเ​่ ป็นข​ อง​องค์กร​หรือร​ ฐั บาล​ ใน​ต่าง​ประเทศ​ด้วย​และ​ตั้ง​แต่ป​ ี พ.ศ. 2513 เป็นต้น​มา การ​จำ�แนก​กลุ่ม​เหล่า​นี้​ได้​เป็น​ฐาน​สำ�คัญ​ของ​การ​พิจารณา​ลง​ รายการ​สัญชาติ​ไทย​ใน​ทะเบียน​บ้าน​ให้


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

108

หาก​การ​จำ�แนก​กลุ่ม​ชา​ติ​พันธ์​ุของ​รัฐ​มีค​วาม​เกี่ยวข้อง​กับ​สิทธิ​การ​เป็น​พลเมือง​หรือส​ ิท​ ธิ​อื่นๆ​ เช่น เมื่อร​ ัฐบาล​ ไทย​ยอมรับ​และ​รับรอง​วัน “ชน​เผ่า​พื้น​เมือง​ใน​ประเทศ​ไทย” ตาม​ปฏิญญา​สหประชาชาติ​ว่า​ด้วย​สิทธิ​ชน​พื้น​เมือง (United Nations Declaration on the Rights of Indigenous Peoples)24 หรือจ​ าก​การ​ลง​นาม​ใน​ภาคยานุวัติ​สาร​เข้า​เป็น​ ภาคีอ​ นุสัญญา​ว่าด​ ้วย​การ​ขจัดก​ าร​เลือก​ปฏิบัตท​ิ าง​เชื้อช​ าติใ​น​ทุกร​ ปู แ​ บบ (พ.ศ. 2546)25 ก็เ​ป็นเ​รื่อง​ละเอียด​อ่อน​ทตี​่ ้อง​ มี​การ​จำ�แนก​และ​ให้​ความ​หมาย​อย่าง​รอบคอบ​และ​ชัดเจน​เพราะ​จะ​เป็น​เรื่อง​ที่​เกี่ยวข้อง​กับ​กฎหมาย​และ​การ​ดำ�เนิน​ การ​อย่าง​ยุติธรรม

บท​ส่ง​ท้าย: สรุปป​ ัญหา​และ​ข้อ​เสนอ​แนะ​ใน​เรื่อง​การ​จำ�แนก​กลุ่ม​ชา​ตพ ิ​ ันธ์​ุ ใน​บทความ​น​ี้ ผูเ​้ ขียน​พยายาม​จะ​แสดง​ให้เ​ห็นป​ ระวัตศิ าสตร์และ​ความ​หลาก​หลาย​ของ​การ​จ�ำ แนก​กลุม่ ช​ น​ภาย​ ใต้ม​ โน​ทศั น์ใ​น​สงั คมศาสตร์ โดย​เฉพาะ​ใน​สาขา​มานุษยวิทยา​ซงึ่ ใ​ห้ค​ วาม​สนใจ​ใน​ปรากฏการณ์ค​ วาม​หลาก​หลาย​ของ​ มนุษย์​และ​วัฒนธรรม​และ​แสดง​ให้​เห็น​ว่าการ​จำ�แนก​จะ​มี 3 ลักษณะ​ที่​สำ�คัญ​คือ 1. จำ�แนก​ประเภท​และ​หน่วย​ของ​กลุ่ม​ชน มีม​ โน​ทัศน์​ต่างๆ เช่น กลุ่ม​ชน​เร่ร่อน ชน​เผ่า/เผ่า​พันธ์​ุสังคม​ชาวนา​ ชาวไร่ (peasant soceity) และ​กลุ่ม​ชา​ติพ​ ันธ์​ุ ซึ่ง​ขอบเขต​ความ​หมาย​สัมพันธ์​กับ​แนวคิด​ต่างๆ ​ใน​การ​อธิบาย​มนุษย์​ และ​วัฒนธรรม 2. จำ�แนก​กลุ่ม​ชา​ติ​พันธ์​ุ เช่น ม้ง เมี่ยน ลัวะ ลเวือะ ซึ่ง​สัมพันธ์​กับ​เกณฑ์​ใน​การ​จำ�แนก​ใน​ทาง​วิชา​การ​และ​ วัตถุประสงค์​ของ​การ​จำ�แนก 3. การ​จัด​หมวด​หมู่​กลุ่ม​ชา​ติ​พันธ์​ุที่​มี​ความ​เกี่ยว​ข้อง​กัน หรือ มี​ความ​สัมพันธ์​ใน​ทาง​ภาษา วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และ​การเมือง ใน​บทความ​นี้​ ผู้​เขียน​ให้​ความ​สนใจ​กับ​สอง​ประเด็น​หลัง​และ​พยายาม​นำ�​เสนอ​ปัญหา​จาก​ประสบการณ์​การ​ พัฒนา​ฐาน​ข้อมูลง​ าน​วิจัยท​ าง​ชา​ตพิ​ ันธ์ขุ​ อง​ศูนย์ม​ านุษยวิทยา​สริ​ ินธ​ ร ทีก่​ าร​จำ�แนก​และ​ชื่อเ​รียก​ชา​ติพ​ ันธ์ขุ​ อง​กลุ่มช​ า​ ติพ​ นั ธ์ท​ุ งั้ ห​ ลาย​ใน​ฐาน​ขอ้ มูลม​ ค​ี วาม​หลาก​หลาย​และ​ไม่ล​ งตัวก​ นั น​ กั ซ​ งึ่ ผ​ เ​ู้ ขียน​ได้น​ �​ ำ เสนอ​กลุม่ ท​ น​ี่ กั ว​ จิ ยั เ​รียก​วา่ “ลัวะ” มา​เป็น​ตัวอย่าง ดัง​ราย​ละเอียด​ที่​ปรากฏ​ใน​บทความ​แล้ว ปัญหา​ส�ำ คัญก​ ค​็ อื น​ กั ว​ จิ ยั ม​ กั เ​รียก​กลุม่ ท​ ต​ี่ น​ศกึ ษา​ดว้ ย​ชอื่ ท​ ค​ี่ น​อนื่ เ​รียก​และ​ยงั ไ​ม่ใ​คร่ส​ นใจ​การ​จ�ำ แนก​ชา​ตพ​ิ นั ธ์​ุ ของ​คนใน​กลุม่ ท​ ศ​ี่ กึ ษา ทำ�ให้เ​รา​ยงั ข​ าด​ขอ้ มูลส​ �ำ คัญท​ จ​ี่ ะ​น�​ ำ มา​ประกอบ​การ​พจิ ารณา ทำ�ให้ก​ าร​จ�ำ แนก​กลุม่ ช​ า​ตพ​ิ นั ธ์ุ และ​การ​จัด​หมวด​หมู่​กลุ่มย​ ัง​มี​ปัญหา​ใน​ทาง​วิชา​การ​อยู่ และ​สำ�หรับ​สมาชิก​ชา​ติ​พันธ์​ุเอง​ใน​หลาย​กรณีไ​ม่​พึง​พอใจ​ใน​ ชื่อ​ที่​ถูก​เรียก​และ​ไม่เ​ห็น​ด้วย​กับก​ าร​จัดห​ มวด​หมู่​กลุ่ม​ชา​ติ​พันธ์​ุของ​นักว​ ิชา​การ ใน​ขณะ​นี้ ผ​ เ​ู้ ขียน​ใน​ฐานะ “ทีป​่ รึกษา” “โครงการ​พฒ ั นา​ฐาน​ขอ้ มูลง​ าน​วจิ ยั ท​ าง​ชา​ตพ​ิ นั ธ์ข​ุ อง​ศนู ย์ม​ านุษยวิทยา​ สิร​นิ ธ​ ร อยูใ​่ น​ระหว่าง​การ​ด�ำ เนินก​ าร​ทดลอง​แก้ป​ ญ ั หา​ชอื่ เ​รียก​และ​การ​จ�ำ แนก​กลุม่ ช​ า​ตพ​ิ นั ธ์เ​ุ พือ่ ก​ าร​สบื ค้นโ​ดย​พยายาม​ วิเคราะห์จ​ าก​งาน​วจิ ยั ท​ ม​ี่ อ​ี ยูใ​่ น​ฐาน​ขอ้ ม​ ลู ฯ​ การ​เสวนา​แลก​เปลีย่ น​ระหว่าง​นกั ว​ ชิ า​การ​ผเ​ู้ ชีย่ วชาญ และ​ขอ้ คิดแ​ ละ​ความ​ รู้สึก​ของ​สมาชิก​ชา​ติ​พันธ์​ุแต่ละ​กลุ่ม ใน​การ​สำ�รวจ​เบื้อง​ต้นเ​พื่อ​หา​ข้อย​ ุติ​เท่า​ที่​จะ​เป็น​ไป​ได้ 24 ผู้​เขียน​ยังไ​ม่​เห็น​การ​จำ�แนก​ชา​ติพ​ ันธ์ุ​ของ​ทางการ​ไทย แต่​จาก​เอกสาร “มหกรรม​เผ่า​พื้น​เมือง​แห่ง​ประเทศ​ไทย” เครือ​ข่าย​ชน​ เผ่า​พื้นเ​มือง​แห่ง​ประเทศ​ไทย​ประกอบ​ด้วย กะเหรี่ยง ขมุ คะฉิ่น ชอง ญัอ​กุร ไท​เขิน ไท​ทรง​ดำ� ไทย​ยวน ไทย​อง ไท​ลื้อ ไท​ ใหญ่ ไต่​หย่า ปี​ซู ปะ​หล่อ​ง (ดาร​ะอั้ง) มลา​บรี มอญ มอ​แกลน มอ​แกน ม้ง เมี่ยน ลัวะ ละ​หู่ ลี​ซู อา​ข่า และ​อรู​ ัก​ละ​โว้ย ส่วน​ ใน United Nations Declaration on the Rights of the Indigenous Peoples ไม่​ได้​นิยาม​ชัดเจน​ใน​เรื่อง​ขอบเขต​ความ​หมาย 25 ใน​ร่าง “รายงาน​ผล​การ​ดำ�เนิน​งาน​ของ​ประเทศ​ไทย​ตาม​อนุสัญญา​ว่า​ด้วย​การ​ขจัด​การ​เลือก​ปฏิบัติ​ทาง​เชื้อ​ชาติ​ใน​ทุก​รูป​ แบบ” มี​การ​กล่าว​ถึง​ชน​เผ่า​และ​ชา​ติ​พันธ์​ุต่างๆ ใน​ทุก​ภูมิภาค ประชากร​กลุ่ม​พิเศษ​และ​คน​ไทย​ใน​สาม​จังหวัด​ภาค​ใต้ คน​ มลายู มุสลิม แต่​ใน​ลักษณะ​เป็น​ข้อมูล​มาก​กว่า​จะ​เป็นการ​จำ�แนก​อย่าง​เป็น​ระบบ


109

1. ให้​ความ​สำ�คัญ​กับช​ ื่อ​เรียก​และ​การ​จำ�แนก​ชา​ติ​พันธ์​ุของ​กลุ่ม​ชา​ติ​พันธ์​ุต่างๆ เอง 2. หาก​จะ​ใช้​เกณฑ์​ทาง​วิชา​การ​ใน​การ​จำ�แนก​และ​จัด​หมวด​หมู่ ควร​ระบุอ​ ย่าง​ชัดเจน เพื่อ​ประโยชน์​การ​แก้ไข​ ปรับปรุง​ใน​ภาย​หลัง 3. ควร​ค�ำ นึงด​ ว้ ย​วา่ ก​ ลุม่ ช​ า​ตพ​ิ นั ธ์​ุชือ่ เ​รียก​ชา​ตพ​ิ นั ธ์แ​ุ ละ​การ​จ�ำ แนก​ชา​ตพ​ิ นั ธ์ม​ุ ไิ ด้ต​ ายตัวห​ รือด​ �ำ รง​อยูแ​่ บบ​ถาวร แต่ท​ จี่​ ริงแ​ ล้วม​ ลี​ ักษณะ​พลวัตซ​ ึ่งบ​ ริบท​ทาง​ประวัติศาสตร์ สังคม และ​การเมือง หรือเ​จตนารมณ์แ​ ละ​วัตถุประสงค์ข​ อง​ การ​ใช้​เป็น​เรื่อง​ที่​เรา​ควร​ทำ�ความ​เข้าใจ​และ​ใช้​เป็นก​รอบ​ใน​การ​พิจารณา​ด้วย 4. หาก​จะ​มี​การ​ดำ�เนิน​การ​จำ�แนก​กลุ่ม​ชา​ติพ​ ันธ์​ุโดย​รัฐ​แบบ​จีน นอกจาก​จะ​คำ�นึง​หลักก​ าร​ที่ 1-3 ใน​ลักษณะ​ เดียว​กบั น​ กั ว​ ชิ า​การ​แล้ว ความ​ชดั เจน​ใน​เรือ่ ง​วตั ถุประสงค์ท​ เ​ี่ กีย่ ว​กบั ส​ ทิ ธิข​ อง​กลุม่ ช​ า​ตพ​ิ นั ธ์ท​ุ จ​ี่ ะ​จ�ำ แนก​มค​ี วาม​จ�ำ เป็น และ​ควร​ศกึ ษา​ความ​เชือ่ ม​โยง​และ​ความ​ซาํ้ ซ​ อ้ น และ​ลกั ล​ นั่ ข​ อง​ปฏิญญา หรืออ​ นุสญ ั ญา​ตา่ งๆ ทีเ​่ กีย่ วข้อง​กบั ส​ ทิ ธิข​ อง​ ชา​ติ​พันธ์​ุและ​วัฒนธรรม ​ตลอด​จน​ข้อ​ถก​เถียง​ที่​ว่า​ควร​จะ​มี​การ​จำ�แนก​กลุ่มช​ า​ติ​พันธ์​ุเพื่อ​การ​จัดการ​เรื่อง​สิทธิ​หรือไ​ม่ ภาค​ผนวก 1: โครงสร้าง e-HRAF Culture: North American Hmong Religion: North America Country: United states Description:

Country: United States

ข้อมูล………… File Table of Content (ราย​ชื่อ​ผู้​เขียน​และ​บทความ​หรือ​หนังสือ​ที่​เขียน เช่น...) Bishop, Kent Ausburn: The Hmong of Central California…………………………………….. ……………………………………………………………………………………………………… Cultural Summary: North American Hmong Authors: …………………………………………………………………………………………….. Ethnonyms Meo, Miao, M’peo, H’Mong. Mong, Moob. Hmoob Orientation Identification and Location ข้อมูล Linguistic Affiliation ข้อมูล History and Cultural Relations

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

ข้อ​เสนอ​แนะ​ใน​เบื้อง​ต้น​จึง​เป็นห​ ลัก​กา​รก​ว้าง​ๆ ว่า


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

110

ข้อมูล Settlements ข้อมูล Economy ข้อมูล Etc…. นอกจาก​นี้​งาน​วิจัย​บาง​เล่มห​ รือ​บาง​บทความ​ที่​อยู่ใ​น​ราย​ชื่อ​เอกสาร​ข้าง​หน้าจ​ ะ​ถูก “scanned” เก็บ​ไว้​ใน​ฐาน​ และ​ผู้​ใช้​จะ​สามารถ​สืบค้น​เพื่อ​หา​ใน​งาน​ได้​ใช้​ระบบ Subject Categories ที่​มี​รหัสแ​ ละ​หมวด​หมู่​ชัดเจน เช่น 100 orientation 101 identification 102 maps 103 place names 104 glossary 105 cultural summary etc. ภาค​ผนวก 2: Subject Categories ใน​ฐาน​ข้อมูลง​ าน​วิจัย​ทาง​ชา​ติ​พันธ์​ุศูนย์​มานุษยวิทยา​สิ​ริน​ธร Text Analyst: Subject: Author: Title: Document Type: Total Pages: Source: Year of publication: Location of Document: Focus: Theoretical Issues: Ethnic Group(s) focused in the Study: Language and Linguistic Affiliations: Community Site and Environment:


111

Study Period: History of the Group and Community: Demography (population number and structure, migration, birth and death): Economy (natural resources, resource utilization, technology, production, exchange, and consumption): Social Organization (marriage, family structure types, kinship including descent groups, other kinds of grouping such as client-patron relationship, classes, interested groups and socialization): Political Organization (power structure and relations, leadership, factions, conflicts, relationship to state, social control, laws): Belief Systems (beliefs, values, ideology, religious rites and practices): Education and Socialization: Health and Medicine (sanity, beliefs related to health and healing): Folklore (myths, legends, stories and play): Arts and Crafts (architecture, clothing, literature, handicrafts, songs, dances, etc.): Ethnicity (ethnic identity, identification, ethnic maintenance, boundaries and relation): Socio-cultural and Identity Change: Other issue: Abstract: Map & Illustration: Date of Report:

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

Settlement Pattern:


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

112

บรรณานุกรม คณะ​กรรมการ​จัด​งาน​มหกรรม​ชน​เผ่า​พื้นเ​มือง​แห่ง​ประเทศ​ไทย. 2551. เอกสาร​งาน​มหกรรม​ชนเผ่า​พื้น​เมือง​แห่ง​ ประเทศ​ไทย. ม.ป.ท. คณะ​ทำ�งาน​พัฒนา​ฐาน​ข้อมูล​งาน​วิจัย​ทาง​ชา​ติ​พันธ์​ุ ศูนย์​มานุษยวิทยา​สิ​ริน​ธร (องค์การ​มหาชน). 2551. ปริศนา​ วงศาคณา​ญาติ “ลัวะ” ใน​ประเทศ​ไทย: ลเวือะ ลวะ ปลัง สาม​เต้า และ​ดาร​ะอั้ง กับ​ลัวะ ขมุ มลา​บรี (ต้นฉบับ​เพื่อเ​สนอ​ศูนย์​มานุษยวิทยา​สิ​ริน​ธร​จัด​พิมพ์) ชาร์ลส์ เอฟ คาย​ส์ (ผู้​เขียน), ศิริ​รัตน์ แอด​สกุล (ผู้​แปล). 2541. การเมือง​เรื่อง​ชา​ตพ ิ​ ันธ์​ุใน​ประเทศไทย แปล​จาก Politics of Ethnicity เอเชีย​ปริ​ทัศน์ ปี​ที่ 19 ฉบับ​ที่ 2 ฉวีวรรณ ประจวบ​เหมาะ. 2525. “กลุ่มช​ า​ติพ​ ันธ์​ุ” (หน่วย​ที่ 6) เอกสาร​การ​สอน​ชุดว​ ิชา​สังคมศึกษา 4 หน่วย​ที่ 1-8. มหาวิทยาลัย​สุโขทัยธ​ ร​รมาธิ​ราช . 2532. รวม​บทความ​เกี่ยว​กับ​แนว​ทฤษฎีว​ ิวัฒนาการ​วัฒนธรรม. เอกสาร​ประกอบ​การ​สอน​ คณะ​สังคมวิทยา​และ​มานุษยวิทยา มหาวิทยาลัย​ธรรมศาสตร์ . 2544. “เอกลักษณ์​และ​พัฒนาการ​ของ​ระเบียบ​วิธี​วิจัย​ใน​มานุษยวิทยา” จุลสาร​ไทย​คดี​ศึกษา ปี​ที่ 18 ฉบับท​ ี่ 1 (สิงหาคม - ตุลาคม) . 2546. “คน​ไท” เป็นก​ลุ่ม​ชา​ติ​พันธ์​ุเดียว​หรือ​ไม่ หาก​จะ​มอง​แบบ Barth บทความ​วิชา​การ​ และ​ความ​ทรง​จำ�​เนื่อง​ใน​โอกาส​เกษียณ​อายุ​ราชการ รอง​ศาสตราจารย์ส​ ุ​มิตร ปิตพ ิ​ ัฒน์. กรุงเทพฯ: โรง​พิมพ์​ซัน​ต้า เพลส . 2547. ทบทวน​แนวทาง​การ​ศกึ ษา​ชา​ตพ ​ิ นั ธ์ข​ุ า้ ม​ยคุ ส​ มัยก​ บั ก​ าร​ศกึ ษาใน​สงั คม​ไทย ว่าด​ ว้ ย​ แนวทาง​การ​ศึกษา​ชา​ติ​พันธ์​ุ. กรุงเทพฯ: ศูนย์​มานุษยวิทยา​สิ​ริน​ธร (องค์การ​มหาชน) . 2549. “ปริศนา​ว่า​ด้วย​อัต​ลักษณ์​และ​เอกลักษณ์​ชา​ติ​พันธ์​ุของ​กลุ่ม​ที่​ใช้ภาษา​ตระกูล​ไท” รวม​ บทความ​ทาง​สงั คมวิทยา​และ​มานุษยวิทยา​ปี 2549 คณะ​รฐั ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ม​ หาวิทยาลัย. สุภ​ างค์ จัน​ทวน​ิช บรรณาธิการ. กรุงเทพฯ: ศรี​บูรณ​์​คอมพิวเตอร์​การ​พิมพ์. พิเชฐ สาย​พันธ์. 2549. รายงาน​วิจัย “โครงการ​สำ�รวจ​องค์​ความ​รู้​ชา​ตพ ิ​ ันธ์​ุวิทยา​ใน​เวียดนาม” กรุงเทพฯ: ศูนย์​ มานุษยวิทยา​สิ​ริน​ธร (องค์การ​มหาชน) พิพฒ ั น์ กระแจะ​จนั ทร์. 2550. การ​สร้าง​ภาพ​ลกั ษณ์ข​ อง​กลุม่ ช​ า​ตพ ​ิ นั ธ์​ุ“ชาว​เขา” ใน​สงั คม​ไทยระหว่าง​ทศวรรษ 2420 และ 2520. วิทยานิพนธ์​หลักสูตร​ปริญญา​อักษร​ศาสตร​มหา​บัณฑิต สาขา​ประวัติศาสตร์ ภาค​วิชา​ ประวัติศาสตร์ คณะ​อักษร​ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์​มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัย​ชาว​เขา. 2545. กลุ่ม​ชา​ตพ ิ​ ันธ์​ุบน​พื้นที่​สูง. กรุงเทพฯ: กรม​ประชาสงเคราะห์ . 2538. 30 ปี​สถาบันวิจัย​ชาว​เขา. กรม​ประชาสงเคราะห์ กระทรวง​แรงงาน​และสวัสดิการ​สังคม สำ�นัก​ทะเบียน​กลาง กรม​การ​ปกครอง กระทรวง​มหาดไทย. 2543. ระเบียบ​สำ�นัก​ทะเบียน​ว่า​ด้วยการ​พิจารณา​ ลง​รายการ​สถานะ​บุคคล​ใน​ทะเบียน​ราษฎร​ให้​แก่​บุคคล​บน​พื้นที่​สูง พ.ศ. 2543 Banks, Marcus. 1997. Ethnicity: Anthropological Constructions. London: Routledge. Barnard, Alan. 2007. History and Theory in Anthropology. Cambridge: Cambridge University Press. Barth, Fredrik. 1969a. Introduction in Ethnic Groups and Boundaries, ed. F. Barth. Boston Little Brown. .1969b. “Pathan Identity and Maintainance. Boas, Franz. 1888. The Central Eskimo. Washington: Smithsonian Institute. Cohen, Abner. 1974 “Introduction”: The Lesson of Ethnicity” Urban Ethnicity, ed. A. Cohen.London:Tavistock. Eastman, Carol.1975. Aspects of Language and Culture. San Francisco: Chandler & Sharp Publishers Inc. Eriksen, Thomas.1993. Ethnicity and Nationalism: Anthropological Perspectives. London: Pluto Press.


113 22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

Foucault, Michel. 1970. The Order of Things. New York: Vintage Books. Frake, Charles.1961. “The Diagnosis of Disease among the Subanum of Mindanao” American Anthropologist, 63:113-132. Keyes, F. Charles. 2002. “The Peoples of Asia”: Science and Politics in The Classification of Ethnic Groups in Thailand, China and Vietnam” The Journal of Asian Studies, 61 No.4,1163-1203. Harris, Marvin.1968. The Rise of Anthropological Theory. New York: Thames Y. Cromwell Company. Indigenous Knowledge and Peoples Network. 2008. United Nations Declaration on the Rights of Indigenous Peoples. n.d. Jones, Sian. 2005. The Archaeology of Ethnicity. New York: Routledge. Zenner, Walter. 1996. “Ethnicity”, Encyclopedia of Cultural Anthropology, vol. 2. New York: Henry Holt and Company. Kaplan, David and Robert Manners. 1972. Culture Theory. London: Prentice-Hall International. Inc. Leach, Edmund. 1964. Political Systems of Highland Burma. London: The Athlone Press. Levine, Robert A. and Donald Campbell.1972. Ethnocentrism: Theories of Conflict, Ethnic Attitude and Group Behavior. New York: John Wiley & Sons. Mantague, Asley. 1972. Statement on Race. London: Oxford University Press. Moerman, Michael. 1967. “Ethnic Identification in a Complex Civilization: Who are the Lue?. American Anthropologist, Vol.67, No.5, 1215-1230. Morgan, Henry Lewis. 1974(1877). Ancient Society. Gloucester, Mass: Peter Smith. Murdock, George.1957. “World Ethnographic Sample”. American Anthropologist, vol.59. Naroll, Raoul. 1964. ”On Ethnic Unit Classification”. Current Anthropology, Vol.5 No.4, p.306-312. Prichard, J.C. 1973. (orig.1813) Researches into the Physical History of Man. Chicago: University of Chicago Press. Redfield, Robert.1941. The Folk Culture of Yucatan. University of Chicago Press. Chicago Press. Sahlins, Marshal. 1968. Tribesmen. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice-Hall, Inc. Satayawadhana, Cholthira. 1991 The Dispossessed: An Anthropological Reconstruction Lawa Ethnohistory. Satyawadhna, Cholthira. 1991. The Dispossessed: An Anthropological Reconstruction of Lawa Ethnohistory in the Light of their Relationship with the Tai. Bangkok: Thammasat University, 1991. Sathipiansiri, Satawat and Nipatvej Suebsaeng. 2001. Desk Reviewers: Hill Tribe Situation in Thailand. Tribal Research Institute. Service, Elman.1968. The Hunters. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice-Hall, Inc. Stocking, George. 1968. Race, Culture and Evolution: Essays in the History of Anthropology. New York: Free Press. Tylor, Edwards. 1873. Primitive Culture. London: John Murray. Vermeulen, Hans & Cora Gloves (eds.). 2000. The Anthropology of Ethnicity Beyond Ethnic Group and Boundaries. Amsterdam: Het Spinhuis. Voget, Fred. 1975. A History of Ethnology. New York: Holt, Rinehart and Winston. Wolf, Eric. 1966. Peasants. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice-Hall, Inc.


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

114

รัฐกับประวัติศาสตร์1 รศ. ดร. อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์2

ความเปลีย่ นแปลงทีเ่ กิดขึน้ ในรัฐและสังคมไทยในวันนีไ้ ม่ได้มเี ฉพาะด้านกายภาพ หากแต่มคี วามเปลีย่ นแปลง ทีล่ กึ ซึง้ เกิดขึน้ ในส่วนลึกของระบบอารมณ์ความรูส้ กึ นึกคิดของคน งานทีย่ ากยิง่ ของนักสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ก็คือการทำ�ความเข้าใจและอธิบายความเปลี่ยนแปลงที่อยู่ลึกลงไปจากพฤติกรรมของคนในสังคม การเลือกว่าจะ ศึกษาอะไรเพื่อช่วยให้เข้าใจความเปลี่ยนแปลงที่อยู่ลึกลงไปนั้นเป็นเรื่องของการเลือกที่ส�ำ คัญ ในที่นี้ขอเลือกการ ศึกษาความเปลี่ยนแปลงของประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์มีความหมายที่หลากหลาย แต่ในระดับที่คนยอมรับกันนั้นมีความหมายสองมิติซ้อนทับกัน ความหมายแรก ได้แก่ อดีตหรือประวัติศาสตร์จริงๆ ที่ผ่านมาของมวลมนุษยชาติ (Human Past) ซึ่งไม่มีใครปฏิเสธ ได้ว่าไม่มีจริง เพราะหากปฏิเสธว่าไม่มีจริงก็คงจะตอบไม่ได้ว่าสังคมที่เรายืนอยู่นี้มาได้อย่างไร ความหมายที่สอง คือ “ความรู้-ความเข้าใจ” ในความเปลี่ยนแปลงของประวัติศาสตร์หรืออดีตจริงๆ ของมนุษย์ ซึ่งกลายเป็นวิชา ประวัติศาสตร์ดังที่เราเรียกกันอยู่ในปัจจุบัน การสร้าง “ความรู้-ความเข้าใจ” ในความเปลี่ยนแปลงของประวัติศาสตร์หรืออดีตจริงๆ ของมนุษย์ ก็แบ่งได้ อีกสองความหมาย ความหมายแรก ได้แก่ ความพยายามจะสร้างกรอบความเข้าใจในประวัติศาสตร์หรืออดีตจริงๆ ของมนุษย์ทงั้ หมดทัง้ มวล ว่าสังคมมนุษย์จากอดีตจนถึงปัจจุบนั นัน้ ขับเคลือ่ นมาได้ดว้ ยพลังหรือปัจจัยสำ�คัญๆ อะไร บ้าง เช่น กลุ่มมาร์กซิสต์เสนอว่าพลังนี้ก็คือวิถีการผลิตของสังคม (Mode of Production) สำ�หรับสังคมไทยก่อนสมัย ใหม่ เราเชื่อกันว่าประวัติศาสตร์ของมนุษย์ถูกกำ�หนดไว้แล้วตามธรรมชาติ (หรือตาม “ธรรมะ”) ให้เกิดขึ้นและเสื่อม ลง (คนในสังคมมีความสามารถในการเข้าถึง “ความจริง” หรือเข้าถึงหลักธรรมของศาสนาได้น้อยลงจนกระทั่งเมื่อ ถึงห้าพันปีกไ็ ม่มใี ครเข้าใจอีก จนเกิดกลียคุ ขึน้ พระมหากษัตริยใ์ นยุคจารีตไม่สามารถเปลีย่ นแปลงวิถปี ระวัตศิ าสตร์ นี้ได้ หากแต่พระมหากษัตริย์สามารถที่จะ “ลบศักราช” เพื่อทำ�ให้รู้สึกว่าอีกนานกว่าจะถึงช่วงเวลาของกลียุค กรอบ วิธอี ธิบายประวัตศิ าสตร์ของศาสนาพุทธทีฝ่ งั แน่นอยูใ่ นระบบคิดของคนในสังคมไทยนีเ้ รียกว่า “คติปญ ั จอันตรธาน” ขณะที่เกิดการสร้างกรอบการอธิบายประวัติศาสตร์ทั้งหมดดังกล่าวข้างต้น ก็มีความพยายามจะให้เกิดการ ศึกษาประวัติศาสตร์อีกลักษณะหนึ่งขึ้นมา ซึ่งทำ�ให้เกิดการสร้าง “ความรู้-ความเข้าใจ” ในความเปลี่ยนแปลงของ ประวัติศาสตร์หรืออดีตจริงๆ ของมนุษย์ในความหมายที่สอง ซึ่งก็คือ ความพยายามจะสร้างและศึกษาอดีตของ มนุษย์ หรือ “ศาสตร์ของประวัติศาสตร์” เพื่อที่จะทำ�ให้เกิดการศึกษาจนเข้าใจในความเปลี่ยนแปลงของสังคมใน แต่ละช่วงเวลา หรือทำ�ความเข้าใจในความสลับซับซ้อนของอุบัติการณ์ใดอุบัติการณ์หนึ่ง ที่เกิดขึ้นในช่วงใดช่วง หนึ่งของประวัติศาสตร์ สำ�หรับการศึกษา/การอธิบายอดีตของมนุษย์ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่าวิชาประวัติศาสตร์นั้นมีความหมายยิ่ง แม้วา่ มนุษย์ไม่มที างทีจ่ ะเข้าสูค่ วามจริงแท้ของอดีตได้ แต่มนุษย์กไ็ ด้สร้างความเข้าใจต่ออดีตของตนตลอดมา เพราะ ความเข้าใจหรือความทรงจำ�ต่ออดีตมีความหมายต่อมนุษย์อย่างสูงในแง่ของจินตนาการต่อสังคมในปัจจุบันและ อนาคต ทีม่ นุษย์ทกุ คนจะต้องเผชิญและจะต้องเตรียมการต่างๆ ไว้เพือ่ รับมือกับมันอย่างดีทสี่ ดุ เท่าทีจ่ ะสามารถทำ�ได้ 1 การอ้างอิงบทความ ควรได้รับอนุญาตจากเจ้าของบทความ 2 อาจารย์ประจำ�ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


115

ปัญหาทีส่ �ำ คัญทีต่ อ้ งทำ�ความเข้าใจกันก่อน ก็คอื อะไรคือความทรงจำ�ร่วมกันของสังคม? กรอบของความทรง จำ�ร่วมของสังคมนัน้ ไม่ได้เกิดขึน้ มาลอยๆ หากแต่ถกู กำ�หนดโดยสถาบันทางอำ�นาจในแต่ละยุคแต่ละสมัย ด้วยเหตุน้ี จึงมีการศึกษาพัฒนาการของการเขียนประวัตศิ าสตร์ทท่ี �ำ ให้เข้าใจถึงพัฒนาการทีแ่ ตกต่างกันของการเขียนประวัตศิ าสตร์ ในแต่ละยุคแต่ละสมัย เพื่อที่จะทำ�ให้เข้าใจถึงความเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่นำ�ไปสู่การปรับเปลี่ยน “ความทรงจำ� ร่วมกัน” ในประวัติศาสตร์ แสวงหาแนวทางในการสร้าง สืบทอด และปรับเปลี่ยน “ความทรงจำ�ร่วมกัน” ที่เหมาะ สมต่อยุคสมัย เหตุที่ต้องมีการศึกษาระบบคิดของสังคม เพื่อเข้าใจความทรงจำ�ร่วมกันของคนในสังคมนั้น ก็เพราะความ ทรงจำ�ร่วมกันของสังคมรูปแบบหนึ่งก็จะเป็นพลังจรรโลงสังคมรูปแบบหนึ่ง และเมื่อสังคมมีความเปลี่ยนแปลงเกิน กว่าที่ความทรงจำ�ร่วมของสังคมแบบเดิมจะรักษาพลังในการอธิบายต่อไปได้ การสร้างความทรงจำ�ร่วมของสังคม แบบใหม่ก็จะเกิดขึ้นเพี่อที่จะทำ�ให้สังคมเคลื่อนต่อไปโดยไม่เสื่อมสลายไป บทความนี้อยากจะชักชวนท่านทั้งหลายให้เข้ามาร่วมพิจารณาความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในปริมณฑลของ ระบบอารมณ์ความรู้สึกนึกคิด โดยเน้นด้านการรับรู้ การสร้าง และความเปลี่ยนแปลงความรู้ประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้น ในสังคม เพื่อชี้ให้เห็นถึง “หน่ออ่อน” ของความเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่กำ�ลังเกิดขึ้น โดยแบ่งออกเป็น 4 ประเด็น สำ�คัญ ได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประวัตศิ าสตร์ไทย ความเปลีย่ นแปลงร่วมสมัยของประวัตศิ าสตร์ไทย ความ หมายทางการเมืองของความเปลี่ยนแปลงความรู้ประวัติศาสตร์ และบทสรุป: รัฐกับประวัติศาสตร์

1. ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประวัติศาสตร์ไทย ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประวิติศาสตร์เป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกิดรัฐแบบใหม่ที่ ต้องสร้างสายสัมพันธ์ทางสังคมในจินตนาการของคนภายในรัฐ ก็ได้เกิดการเขียน “ประวัติศาสตร์ชาติ” ขึ้นมา เพื่อ ให้เกิดความทรงจำ�ร่วมกัน (collective memory) ลักษณะหนึ่งที่เน้นก็คือคนทั้งหลายในขอบเขตของรัฐนั้นมีอดีตและ ปัจจุบันร่วมกัน ซึ่งมีนัยว่าจะต้องสร้างอนาคตร่วมกันต่อไป ความทรงจำ�ร่วมกันของประวัตศิ าสตร์ชาติแต่ละชาติมคี วามแตกต่างอันเกิดจากบริบทความเปลีย่ นแปลงทาง สังคมเศรษฐกิจการเมืองของแต่ละสังคมก่อนการก่อเกิดรัฐแบบใหม่ ช่วงแรกของการเกิดประวัติศาสตร์ชาติของทุก รัฐ มักจะเป็นการศึกษาประวัติศาสตร์การเมืองที่วีรบุรุษของรัฐได้สร้างวีรกรรมเพื่อสร้างรัฐและชาติขึ้นมา แม้ว่ามี ความแตกต่างในประวัตศิ าสตร์ของแต่ละชาติ ในแง่ของการนำ�เอาประชาชนกลุม่ ต่างๆ เข้ามามีสว่ นร่วมในการสร้าง ประวัตศิ าสตร์ของชาติให้ชาติกา้ วหน้าขึน้ นัน้ ไม่เท่ากัน แต่จะมากหรือน้อยแล้วแต่การมีสว่ นร่วมของกลุม่ พลเมืองใน กระบวนการสร้างรัฐแบบใหม่ แต่แกนกลางของประวัตศิ าสตร์สมัยใหม่ของทุกรัฐก็จะเป็นบทบาทของ “ชาติ” ทัง้ สิน้ 3 ภายหลังจากการเกิดรัฐแบบใหม่แล้ว การต่อสู้ทางการเมืองภายในรัฐและการเปลี่ยนรูปรัฐก็ได้ท�ำ ให้เกิด ความเปลี่ยนแปลงการเขียนประวัติศาสตร์ชาติของแต่ละชาติมาเป็นระยะๆ เช่น กรณีของการเปลี่ยนแปลงรัฐมาสู่ รัฐสังคมนิยมของประเทศจีน4

3 Anthony D. Smith, The Nation in History. Historiographical Debates about Ethnicity and Nationalism (Cambridge, 2000). 4 Brian Moloughney, Nation, Narative and China’s New History in Roy Starrs (ed) Asian Nationalism in an Age of Globalization Japan Library 2001: 205-222

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

ประวัติศาสตร์เป็นความจำ�เป็นของสังคมมนุษย์เพราะประวัติศาสตร์เป็นเสมือน “ความทรงจำ�ร่วมกัน” ของ สังคม และเป็นกลไกที่สำ�คัญในการก่อรูปของสังคมให้เป็นไปในรูปแบบที่สังคมต้องการ การสร้างและการถ่ายทอด ประวัติศาสตร์จึงเป็นพันธกิจของมนุษยชาติเสมอมา


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

116

ความเปลี่ยนแปลงของรัฐไทยก็เช่นเดียวกัน เมื่อเริ่มเกิดรัฐแบบใหม่ขึ้นในรัชกาลที่ 4 ก็ได้เกิดการเขียน ประวัติศาสตร์แบบใหม่ขึ้นมา เพื่อที่จะตอบสนองแก่การสร้างรัฐและสถาบันกษัตริย์ลักษณะใหม่ โดยเน้นความ สำ�คัญของพระมหากษัตริยใ์ นการนำ�ชาติไปสูค่ วามก้าวหน้า ความเปลีย่ นแปลงทีเ่ กิดขึน้ ในรัชสมัยต่อๆ มาก็เป็นการ เพิ่มเติมให้ “ชาติ” เข้ามาเป็นศูนย์กลางของประวัติศาสตร์มากขึ้นตามลำ�ดับ โดยที่แกนกลางของประวัติศาสตร์ยัง คงได้แก่สถาบันพระมหากษัตริย์ ก่อนเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมเศรษฐกิจได้ท�ำ ให้เกิดคน กลุ่มใหม่ขึ้น เช่น ข้าราชการ พ่อค้า นักหนังสือพิมพ์ คนกลุ่มใหม่ในสังคมไทยเริ่มอึดอัดกับระบอบการปกครอง สมบูรณาญาสิทธิราชย์ และได้เริ่มเขียนประวัติศาสตร์ใหม่ที่แตกต่างไปจากกรอบประวัติศาสตร์ของรัฐชาติ กล่าว คือ ได้เพิ่มสามัญชนคนธรรมดาให้มีบทบาทในฐานะ “ผู้กระทำ�การ” ในประวัติศาสตร์ แม้ว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 แต่ความเปลี่ยนแปลงนั้นไม่ได้ลงถึงรากถึงโคน ความ จำ�เป็นต้องประนีประนอมกับอำ�นาจเดิม และการสืบทอดบางด้านจากอุดมการณ์รัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของ บรรดาผูก้ อ่ การเปลีย่ นแปลงการปกครอง จึงทำ�ให้ไม่มกี ารเปลีย่ นแปลงโครงเรือ่ งของประวัตศิ าสตร์ชาติไทย นอกจาก การเขียนประวัติศาสตร์แบบเน้นเรื่องราวของเชื้อชาติไทย และเติมบทบาทของสามัญชนที่ประกอบวีรกรรมเพื่อชาติ เข้าไปในประวัติศาสตร์ เช่น ท้าวสุรนารี ชาวบ้านบางระจัน เป็นต้น5 กรอบโครงประวัติศาสตร์ชาติไทยจึงเป็นมรดก ของรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์โดยแท้ และประวัติศาสตร์ในโครงเรื่องเดิมนี้สามารถดำ�รงอยู่โดยปราศจากคู่แข่งที่ ทัดเทียมกัน เพราะมีการใช้อำ�นาจรัฐกีดกันเบียดขับประวัติศาสตร์แบบอื่น เช่น ประวัติศาสตร์แบบมาร์กซิสต์ที่เผย แพร่ในทศวรรษ 2490-2500 การปฏิวัติและการพัฒนาประเทศในยุคจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นต้นมา ที่ได้ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลง ในรูปแบบของรัฐอย่างลึกซึ้ง รัฐได้ขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวางอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ขณะเดียวกันก็เกิด กลุ่มคนใหม่ๆ ขึ้นมาในสังคม แต่การเขียนและการศึกษาประวัติศาสตร์ยังคงอยู่ภายใต้โครงเรื่องเดิม เพราะการ ขึ้นมามีอำ�นาจของจอมพลสฤษดิ์จำ�เป็นต้องอาศัยความชอบธรรมจากสถาบันพระมหากษัตริย์ จึงได้เสริมสร้าง ความเข้มแข็งให้แก่สถาบันพระมหากษัตริย์ในหลายมิติและหลายรูปแบบ ประกอบกับการขยายอำ�นาจรัฐเกิดขึ้น พร้อมกับการสถาปนาอำ�นาจเด็ดขาดของผู้นำ� จึงทำ�ให้สร้างความสำ�นึกในความสำ�คัญของผู้นำ� ซึ่งเป็นประโยชน์ ต่อรัฐราชการทีร่ วมศูนย์อำ�นาจในมือผูน้ ำ� กรอบโครงประวัตศิ าสตร์ชาติจงึ ได้ถกู สร้างสรรค์อย่างต่อเนือ่ งเพือ่ จรรโลง อำ�นาจของผู้นำ�ภายใต้สถาบันพระมหากษัตริย์ ส่วนประชาชนมีบทบาทในประวัติศาสตร์เฉพาะในเรื่องของการเสีย สละชีวิตและเลือดเนื้อเพื่อชาติเท่านั้น ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจึงยังไม่ได้มีผลสั่นคลอน กรอบโครงประวัติศาสตร์เดิมที่มีอิทธิพลต่อเนื่องมา จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ซึ่งมีผลทำ�ให้ส่วนยอดสุดของระบบราชการที่ผู้สืบทอดอำ�นาจจากจอม พลสฤษดิ์ คือ จอมพลถนอมและจอมพลประภาส ต้องหมดอำ�นาจไป และส่งผลทำ�ให้โครงสร้างทางอำ�นาจระดับ บนปรับเปลี่ยน กล่าวคือ ความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่ทำ�ให้ส่วนยอดสุดของอำ�นาจได้หลุดออกไป ทำ�ให้ไม่มี คนกลุ่มใดสามารถที่จะเถลิงอำ�นาจหรือขึ้นมาครองอำ�นาจนำ�ได้ ประกอบกับการครองอำ�นาจมาอย่างยาวนานของ จอมพลถนอมและจอมพลประภาสส่งผลทำ�ให้ทหารทัง้ หลายทีอ่ ยูภ่ ายใต้อำ�นาจนัน้ ไม่มใี ครทีจ่ ะสามารถครองอำ�นาจ นำ�แทน บรรยากาศการเมืองเช่นนี้ ทำ�ให้สถาบันพระมหากษัตริยไ์ ด้กลายมาเป็นศูนย์กลางของอำ�นาจเพียงศูนย์กลาง เดียว ในยามที่เกิดภาวะดุลทางอำ�นาจเช่นนี้ หากกลุ่มใดสามารถเคลื่อนเข้าใกล้ชิดหรืออ้างอิงความใกล้ชิดสถาบัน

5 อรรถจักร สัตยานุรักษ์ ความเปลี่ยนแปรของสำ�นึกทางประวัติศาสตร์กับความเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย รัชกาลที่ ๔ ถึง พ.ศ. ๒๔๗๕ วิทยานิพนธ์อักษรศาสตร์มหาบัณฑิต ประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ๒๕๓๐


117

การต่อสู้ทางการเมืองหลัง พ.ศ. 2516 จนถึง 6 ตุลาคม 2519 ยิ่งทำ�ให้สถาบันพระมหากษัตริย์ทรงมีอำ�นาจ สูงเด่นมากขึน้ เพราะการเคลือ่ นไหวของขบวนการฝ่ายซ้ายทีเ่ ข้มข้นมากขึน้ ได้เป็นแรงผลักดันให้เกิดการตอกยํา้ กรอบ โครงประวัติศาสตร์แบบเดิมมากขึ้น ตามไปด้วยโดยเน้นบทบาทของประชาชนคนไทยในอดีตที่ได้เสียสละชีวิตและ เลือดเนื้อพิทักษ์รักษาชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์เอาไว้ บทเพลงปลุกใจจำ�นวนมาก ซึ่งโดยมากเป็นการกระตุ้น ให้นึกถึงบรรพบุรุษที่เสียสละชีวิตอุทิศให้ชาติได้ถูกผลิตขึ้น7และสื่อสารออกไปอย่างกว้างขวางพร้อมๆ กับการจัดตั้ง กองกำ�ลังชาวบ้าน ที่สำ�คัญได้แก่ ลูกเสือชาวบ้าน ซึ่งได้ขยายออกไปทั่วทุกพื้นที่ในประเทศไทย จนอาจจะกล่าวได้ ว่าการต่อสู้ทางการเมืองในช่วงสามปี ระหว่าง พ.ศ. 2516 - 2519 นี้ได้ท�ำ ให้ความเปลี่ยนแปลงทางอำ�นาจในสังคม อย่างลึกซึ้ง เพราะชาวบ้านได้ถูกดึงเข้ามาสู่การกลายเป็นพลเมือง ผู้จงรักภักดีต่อสถาบันชาติและสถาบันพระมหา กษัตริย์อย่างกว้างขวางในทุกพื้นที่ของรัฐไทย กล่าวได้ว่าผลกระทบอันเกิดจากเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 - 6 ตุลาคม 2519 ส่งผลให้สำ�นึกประวัติศาสตร์ ชาติได้เข้ามาฝังในชีวติ ของประชาชน พร้อมกันนัน้ ความรูท้ างประวัตศิ าสตร์ทอ้ งถิน่ แบบชาตินยิ มก็ได้ขยายออกไปสู่ จังหวัดต่างๆ โดยเฉพาะจังหวัดที่มีสถาบันการศึกษาระดับสูง โดยมุ่งเน้นให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่แนบแน่นของท้อง ถิ่นกับรัฐส่วนกลางที่ประกอบกันขึ้นมาเป็นชาตินั่นเอง ในอีกด้านหนึง่ ผลกระทบจากเหตุการณ์การลุกฮือขึน้ ของนักศึกษาและประชาชนจนสามารถโค่นล้มเผด็จการ ได้นนั้ ได้ท�ำ ให้เกิดความตืน่ ตาตืน่ ใจในพลังอำ�นาจของประชาชน จึงทำ�ให้นกั ศึกษาจำ�นวนไม่นอ้ ยสามารถสือ่ สารได้ กับสำ�นึกทางประวัตศิ าสตร์ชดุ ใหม่ ทีก่ ลุม่ ผูป้ ฏิบตั งิ านพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยนำ�มาถ่ายทอดและจัดตัง้ ให้ ั นาการทาง มีการศึกษากัน แม้วา่ นักศึกษาจำ�นวนไม่มากนักทีศ่ กึ ษาลัทธิมารก์ซสิ ต์อย่างจริงจัง8 แต่สว่ นใหญ่กร็ บั รูพ้ ฒ ประวัติศาสตร์ห้าขั้นตอน ซึ่งเป็นเสมือนสัจธรรมที่นักศึกษาค้นพบว่าสังคมจะต้องดำ�เนินไปตามวิถีประวัติศาสตร์ห้า ขัน้ ตอนนัน้ อย่างแน่นอน “สัจธรรม” นีก้ ลายเป็นพลังทางความคิดให้นกั ศึกษาจำ�นวนมากเปลีย่ นตนเองกลายเป็นนัก ต่อสู้เพื่อประชาชนที่มุ่งผลักดันวิถีแห่งประวัติศาสตร์ให้ดำ�เนินไปสู่ความก้าวหน้าตามครรลองของมัน การต่อสูท้ างการเมืองของทัง้ สองฝ่ายในช่วงดังกล่าวนัน้ ยกระดับประวัตศิ าสตร์เข้าสูค่ วามคิดนามธรรมทีส่ รุป รวบยอดทางประวัติศาสตร์ (conceptual metaphor) ให้สู่ความเข้าใจทั้งหมดของวิถีประวัติศาสตร์จากจุดยืนทาง อุดมการณ์ของกลุ่มตนเอง ความพ่ายแพ้ทางยุทธศาสตร์ของฝ่ายคอมมิวนิสต์ในเอเชียและความขัดแย้งภายในพรรคฯ ได้ทำ�ให้พรรค คอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยต้องสูญสลายไปในต้นทศวรรษ 2520 ส่งผลให้กรอบความคิดทางประวัติศาสตร์แบบ มาร์กซิสต์หมดพลังสำ�หรับการเคลื่อนไหวเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคมไทย เหลือเพียงการเป็นกรอบสำ�หรับการวิเคราะห์ สังคมของนักวิชาการบางท่านเท่านั้น รัฐและการเมืองไทยมีเสถียรภาพมากขึน้ หลังการล่มสลายของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย จึงทำ�ให้การ สืบทอดกรอบความคิดทางประวัตศิ าสตร์ชาติแบบเดิมในสังคมไทยโดยรวมทีข่ ยายตัวออกอย่างกว้างขวางแล้ว สามารถ 6 โปรดดู สำ�นักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ส่วนไทยนิทัศน์ ศักดินากับการพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรมไทยใน ปัจจุบัน / ส่วนไทยนิทัศน์ , กรุงเทพฯ: สำ�นักงาน, ๒๕๔๖ 7 เช่น “บรรพบุรุษของเราแต่โบราณ ปกบ้านป้องเรือน คุ้มเหย้า เสียเลือดเสียเนื้อมิใช่เบา หน้าที่เรารักษาสืบไป ลูกหลาน เหลนโหลนภายหน้า จะได้มีพสุธาอาศัย อนาคตจะต้องมีประเทศไทย ...... 8 เกษียร เตชะพีระ “เส้นทางความคิดของขบวนการนักศึกษาไทยในรอบ ทศวรรษ ๑๔ ตุลาคม: การปฏิวัติกระบวนทัศน์สอง ครั้ง” วารสารเศรษฐศาสตร์การเมือง มกราคม-มีนาคม ๒๕๒๗

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

พระมหากษัตริยไ์ ด้กจ็ ะทำ�ให้เกิดอำ�นาจเหนือคนกลุม่ อืน่ จึงส่งผลให้สถาบันพระมหากษัตริยท์ รงมีอ�ำ นาจสูงมากขึน้ อย่างที่ไม่เคยปรากฎมาก่อนหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24756


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

118

ดำ�เนินต่อไปอย่างกว้างขวางและอย่างต่อเนื่อง วันหยุดในปฏิทิน การให้ความสำ�คัญแก่บุคคลในประวัติศาสตร์ การ รณรงค์สร้างกิจกรรมทางสังคมรูปแบบต่าง ๆ ในทุกระดับ รายการโทรทัศน์ไม่ว่าจะเป็นโฆษณาหรือรายการอื่นๆ ฯลฯ ที่อยู่ภายใต้ตามกรอบความคิดประวัติศาสตร์ชาติ เพิ่มปริมาณขึ้นมาก แม้แต่การเผชิญหน้ากับวิกฤติการณ์ ทางเศรษฐกิจในปี พ.ศ. 2540 ก็มีการหวนกลับไปดึงเอาเรื่องราว “วีรชนชาวบ้านบางระจัน” ขึ้นมาใช้เพื่อสร้างความ ร่วมมือร่วมใจกันในการฝ่าฟันภัยที่เกิดขึ้น กรอบโครงประวัตศิ าสตร์ชาติแบบเดิมทีฝ่ งั แน่นในระบบอารมณ์ความรูส้ กึ นึกคิดของสังคมได้กลายเป็นเสมือน “ความจริงของประวัติศาสตร์” ที่ไม่มีวันเปลี่ยนแปลง ได้ส่งผลต่อสังคมหลายประการ ประการแรก ได้ทำ�ให้ความใส่ใจอยากจะเรียนรูป้ ระวัตศิ าสตร์ของสังคมได้เสือ่ มสลายไป เพราะทุกคนเสมือน รับรูอ้ ยูว่ า่ ความเปลีย่ นแปลงของสังคมไทยถูกกำ�หนดหรือดูแลรักษาไว้แล้วโดยสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึง่ ทำ�ให้ความ รู้สึกสัมพันธ์เกี่ยวข้องด้วยกับวิถีประวัติศาสตร์ของคนไทยทั่วไปนั้นลดน้อยถอยลงตามไปด้วย ประการที่สอง ได้ทำ�ให้คนในสังคมทอดทิ้งการสร้างพลังของตนเองในการตัดสินใจในเรื่องสำ�คัญ แต่มอบไว้ เป็นภาระของสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยเฉพาะทางด้านการเมือง ดังที่เห็นได้ว่าเมื่อเกิดปัญหาที่ไม่สามารถตกลง กันได้ก็มักจะคำ�นึงถึงการพึ่งพระบารมีของพระมหากษัตริย์ ประการทีส่ าม ได้ทำ�ให้คนรูส้ กึ ว่าประวัตศิ าสตร์ไม่มปี ระโยชน์สำ�หรับชีวติ บุคคลในฐานะปัจเจกบุคคล เพราะ ไม่ตอบสนองต่อปัญหาทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และวัฒนธรรมที่ตนต้องเผชิญในชีวิตจริง การที่สังคมไม่สนใจประวัติศาสตร์จึงไม่ได้เกิดขึ้นเพราะ “คนไม่สนใจ” หากแต่เกิดขึ้นเพราะคนในสังคมรู้สึก “พอเพียง” กับประวัติศาสตร์ทเี่ ป็นอยู่ และไม่รจู้ ักประวัติศาสตร์แบบอื่นๆ ทีส่ ามารถจะรับใช้สังคมและชีวิตในแง่มุม ที่หลากหลายมากกว่าประวัติศาสตร์ชาติแบบเดิม อย่างไรก็ตาม แม้ว่าความเปลี่ยนแปลงของรัฐที่ดำ�เนินมาโดยไม่มีจุดแตกหักที่รุนแรง จะทำ�ให้การถ่ายทอด สำ�นึกประวัติศาสตร์ชาติเป็นไปได้อย่างมีพลัง จนครองความรู้สึกนึกคิดทางประวัติศาสตร์ของสังคมได้ยาวนาน กระทั่งกล่าวได้ว่ารัฐสามารถที่จะควบคุม “ความจริงทางประวัติศาสตร์” ได้ แต่ก็มีความเปลี่ยนแปลงความคิดทาง ประวัตศิ าสตร์อยูใ่ นหลายระดับซึง่ น่าจะเป็นดัชนีชใี้ ห้เห็นถึง “บางสิง่ บางอย่าง” ทีเ่ ริม่ หลุดพ้นออกไปจากการควบคุม “ความจริงทางประวัติศาสตร์” ของรัฐ

2. ความเปลี่ยนแปลงร่วมสมัยของประวัติศาสตร์ไทย ความเปลีย่ นแปลงในการศึกษาประวัตศิ าสตร์ในรอบยีส่ บิ ปีทผี่ า่ นมา มีความหมายทางการเมืองของความรู้ ใน แง่ทไี่ ด้เริม่ เปิดทางให้แก่การสร้างความรูห้ รือความจริงทางประวัตศิ าสตร์แบบใหม่ๆ ให้มกี ารประกวดประชันได้มากขึน้ ความเปลี่ยนแปลงในการศึกษาประวัติศาสตร์ที่สำ�คัญ ได้แก่ การเกิดขึ้นของประวัติศาสตร์ 3 แบบ คือ การศึกษาประวัติศาสตร์เชิงวิชาการ การศึกษาประวัติศาสตร์การเมืองแบบวิพากษ์ และการศึกษาประวัติศาสตร์ “ท้องถิ่น”

การศึกษาประวัติศาสตร์การเมืองเชิงวิชาการ เป็นผลผลิตจากการขยายตัวของการศึกษาระดับอุดมศึกษาในทศวรรษ 2500 เป็นต้นมา ซึ่งการขยายตัวของ การศึกษาระดับอุดมศึกษาได้ทำ�ให้เกิดการขยายตัวของความคิดเรื่อง “เสรีภาพทางวิชาการ” ตามไปด้วย พลังของ ความคิดเรื่อง “เสรีภาพทางวิชาการ” นี้ ทำ�ให้เกิด “นักประวัติศาสตร์” ที่ต้องซื่อตรงต่อวิชาประวัติศาสตร์ พร้อมกัน นั้นก็ได้เปลี่ยนความหมายของการศึกษาประวัติศาสตร์จากความจริงแท้ที่รัฐได้สร้างและควบคุมไว้ มาสู่การศึกษา ประวัติศาสตร์เพื่อทำ�ให้เรามองอดีตที่ผ่านของเราได้ใกล้เคียงความจริงที่สุด


119

ทศวรรษ 2510 ถือได้ว่าการศึกษาประวัติศาสตร์นิพนธ์ได้ขยายตัวอย่างมาก อาจารย์ฉลอง สุทราวาณิชย์ เขียนเรื่อง “วิวัฒนาการการเขียนประวัติศาสตร์ไทย”11 อาจารย์ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ได้เขียนวิทยานิพนธ์บทที่สอง ว่าด้วยการศึกษาประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทยในจารีตตำ�นานและพงศาวดาร12 อาจารย์กอบเกื้อ สุวรรณทัต-เพียร เขียน เรื่อง “การเขียนประวัติศาสตร์แบบชาตินิยม: พิจารณาหลวงวิจิตรวาทการ” 13 อัจฉราพร กมุทพิสมัย เขียนเรื่อง “แนวการเขียนประวัติศาสตร์ของหลวงวิจิตรวาทการ” 14 อานันท์ กาญจนพันธุ์ เขียน “ตำ�นานและลักษณะความ คิดทางประวัติศาสตร์ในล้านนาระหว่างพุทธศตวรรษที่ 20 และ 21”15 เป็นต้น พัฒนาการของการศึกษาการเขียนประวัติศาสตร์นิพนธ์ได้ดำ�เนินต่อมาจนถึงงานชิ้นสำ�คัญของอาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ ที่ว่าด้วย ประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์ในพงศาวดารอยุธยา16 และการวิพากษ์หลักฐานอย่างลึกซึ้ง ในหนังสือ การเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุร17ี การศึกษาประวัตศิ าสตร์นพิ นธ์ถอื เป็นจุดเริม่ ต้นของการรือ้ ความจริงแท้ทางประวัตศิ าสตร์ทร่ี ฐั ควบคุมไว้ เพราะ ได้เปิดเผยให้เห็นถึงโครงเรื่องที่ถูกกำ�กับโดยบริบททางสังคมและสถานะของผู้เขียนความจริงของประวัติศาสตร์ชุด นั้นๆ การทำ�งานทางประวัตศิ าสตร์ของนักวิชาการอาชีพ ทำ�ให้เกิดการเข้าใจในความหมายของประวัตศิ าสตร์และ การทำ�งานวิจัยทางประวัติศาสตร์ที่ลึกซึ้งขึ้น อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ได้เขียน “วิธีการวิจัยทางประวัติศาสตร์” ที่ ต้องการให้เข้าใจทั้งวิธีคิดและวิธีการทางประวัติศาสตร์ 18 พร้อมกันนั้น การขยายพรมแดนความรู้ทางประวัติศาสตร์แบบวิชาการ ก็เคลื่อนไปสู่การพิจารณาพลังทาง เศรษฐกิจทีเ่ ป็นปัจจัยกำ�หนดความเปลีย่ นแปลงของประวัตศิ าสตร์19 อาจารย์ฉตั รทิพย์ นาถสุภาได้บกุ เบิกการศึกษา 9 นิธิ เอียวศรีวงศ์ “ประวัติศาสตร์นิพนธ์ตะวันตก” กรุงเทพ: โครงการตำ�รามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 10 ชาญวิทย์ เกษตรศิริ สุชาติ สวัสดิ์ศรี ปรัชญาประวัติศาสตร์ กรุงเทพ: โรงพิมพ์พิฆเนศ 2518 และประวัติศาสตร์และนัก ประวัติศาสตร์ไทย กรุงเทพ: โรงพิมพ์พิฆเนศ 2518 11 ฉลอง สุนทราวาณิชย์ วิวัฒนาการการเขียนประวัติศาสตร์ไทย ใน ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อ้างแล้ว 12 Charnvit Kasetsiri The Rise of Ayudhaya: A History of Siam in the Fourteenth and Fiftheen Centuries. Oxford University Press. 13 กอบเกื้อ สุวรรณฑัต-เพียร “การเขียนประวัติศาสตร์แบบชาตินิยม: พิจารณาหลวงวิจิตรวาทการ” วารสารธรรมศาสตร์ มิถุนายน-กันยายน 2519. 14 อานันท์ กาญจนพันธ์ุ เขียน “ตำ�นานและลักษณะความคิดทางประวัติศาสตร์ในล้านนาระหว่างพุทธศตวรรษที่ 20 และ21” วารสารธรรมศาสตร์ มิถุนายน - กันยายน 2519. เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ปริญญาโทของท่าน 15 นิธิ เอียวศรีวงศ์ ประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์ในพระราชพงศาวดารอยุธยา กรุงเทพ: สำ�นักพิมพ์บรรณากิจ 2522 16 นิธิ เอียวศรีวงศ์ การเมืองสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พิฆเนศ 2529 17 คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ การสัมมนา “ทฤษฏีและ แนวทางศึกษาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทย” วันที่ 25 พฤษภาคม 2519 18 นิธิ เอียวศรีวงศ์ หลักฐานทางประวัติศาสตร์ในประเทศไทย กรุงเทพฯ: สำ�นักพิมพ์บรรณากิจ 2525. 19 คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ การสัมมนา “ทฤษฏีและ แนวทางศึกษาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทย” วันที่ 25 พฤษภาคม 2519

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

การศึกษาประวัติศาสตร์นิพนธ์ที่เริ่มขึ้นราว พ.ศ. 2510 เป็นต้นมา มีส่วนทำ�ให้นักศึกษาประวัติศาสตร์มอง เห็นว่าการเขียนงานประวัติศาสตร์ที่เคยเชื่อว่าเป็นความจริงแท้อย่างแน่นอนนั้น แท้ที่จริงแล้วถูกกำ�กับด้วยบริบท ทางการเมืองและสังคม อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ซึ่งได้รับความคิดจาก Collingwood ได้เขียนหนังสือเรื่อง ประวัติ ศาสตร์วรรณา ขึน้ ในปี 25139 ในช่วงเวลานัน้ หนังสือสองเล่มทีถ่ กู กล่าวขวัญถึงกันมาก ได้แก่ รวมบทความเกีย่ วกับ ปรัชญาประวัตศิ าสตร์และประวัตศิ าสตร์นพ ิ นธ์ โดย อาจารย์ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และอาจารย์สุชาติ สวัสดิ์ศรี10


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

120

ประวัตศิ าสตร์เศรษฐกิจหมูบ่ า้ นไทย ซึง่ เป็นแรงบันดาลใจให้มกี ารศึกษาประวัตศิ าสตร์เศรษฐกิจหมูบ่ า้ นในภูมภิ าค อื่น ๆ อย่างกว้างขวาง การยอมรับว่าการศึกษาประวัติศาสตร์เป็นวิชาการ และต้องเป็นการศึกษาที่มีพลังในการอธิบายความเป็น จริงในประวัติศาสตร์ที่ครอบคลุมมิติต่าง ๆ ของสังคมกว้างขวางขึ้น ทำ�ให้เกิดการข้ามพรมแดนของ “วิธีวิทยาทาง ประวัติศาสตร์” ซึ่งไม่เพียงแต่จะข้ามไปสู่การนำ�ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์มาใช้เท่านั้น บทบาทของนักมานุษยวิทยา ก็ท�ำ ให้ประวัตศิ าสตร์ได้รบั อานิสงส์อย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิง่ อาจารย์อานันท์ กาญจนพันธ์ุ อาจารย์ ม.ร.ว. อคิน ระพีพัฒน์ อาจารย์สุเทพ สุนทรเภสัช อาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม อาจารย์ไชยันต์ รัชชกุล อาจารย์ยศ สันตสมบัติ รวมไปถึงเมื่อกระแสความคิดแบบหลังสมัยใหม่มีอิทธิพลมากขึ้น ก็ได้มีนักวิชาการรุ่นใหม่เข้ามามีบทบาทในการ ศึกษาประวัติศาสตร์มากขึ้น การศึกษาแบบหลังสมัยใหม่สอดคล้องไปกับหลักการกว้างๆ ของการศึกษาประวัติศาสตร์แบบวิชาการที่ ขยายตัวมาก่อนหน้านีแ้ ล้ว โดยเฉพาะหลักคิดทีพ่ ยายามจะ “รือ้ ” ชุดความคิดทีเ่ ชือ่ หรือยอมรับกันมานานว่า “จริง” โดยจะแสดงให้เห็นว่าเป็นความจริงที่ถูกสร้างขึ้นมา งานที่สำ�คัญมากได้แก่ การศึกษาของอาจารย์สมเกียรติ วัน ทะนะ อาจารย์เกษียร เตชะพีระ อาจารย์ธงชัย วินิจจะกุล ซึ่งต่อมาก็มีอิทธิพลในการศึกษาประวัติศาสตร์อีกหลาย เรื่อง (การศึกษาของนักวิชาการกลุ่มนี้จะกล่าวถึงอีกครั้งหนึ่งข้างหน้า) การสร้างความรูท้ างประวัตศิ าสตร์ใหม่โดยนักวิชาการประวัตศิ าสตร์และนักสังคมศาสตร์กอ่ ให้เกิดความอึดอัด ในกลุ่มนักประวัติศาสตร์ที่ยังคงสืบทอดกรอบความคิดของประวัติศาสตร์ชาติแบบเดิม จนทำ�ให้เกิดการปฏิเสธการ ใช้ทฤษฏีในการศึกษาประวัติศาสตร์ แต่ในท้ายที่สุด การศึกษาประวัติศาสตร์ในระดับอุดมศึกษาก็หลีกไม่พ้นที่จะ ต้องใช้แนวคิดหรือทฤษฏีเป็นเสมือนแว่นในการจัดความสัมพันธ์ของข้อมูลที่หลากหลาย การศึกษาประวัติศาสตร์การเมืองแบบวิพากษ์ เป็นการพัฒนาการที่สำ�คัญในการศึกษาประวัติศาสตร์ การศึกษาประวัติศาสตร์ของกลุ่มนี้จะแบ่งออกได้เป็นสองกลุ่ม กลุ่มแรก ได้แก่ การศึกษาประวัติศาสตร์การเมือง แบบวิพากษ์เพื่อหา “บุคคลที่กระทำ�การผิดพลาดในประวัติศาสตร์” และการศึกษาประวัติศาสตร์เชิงวิพากษ์เพื่อ รื้อถอนชุดความจริงที่รัฐสถาปนา การศึกษาประวัติศาสตร์การเมืองแบบวิพากษ์เพื่อหา “บุคคลที่กระทำ�การผิดพลาดในประวัติศาสตร์” นั้น มีมานานแล้วแต่เมื่อก่อนนั้นเพียงแค่พยายามหา “แพะรับบาป” ให้แก่เหตุการณ์รุนแรงในรัฐ เช่น การศึกษาเพื่อ ประณามชนชั้นสูงในสมัยอยุธยาที่มัวเมาไม่เอาใจใส่การบริหารบ้านเมืองจนทำ�ให้เกิดเสียกรุง ซึ่งเป็นการศึกษาเพื่อ ใช้เป็นบทเรียนในการสร้างความสามัคคีของคนในชาติ การศึกษาประวัติศาสตร์เชิงวิพากษ์เพื่อหา “บุคคลที่กระทำ�ผิดพลาด” หรือหา “แพะ” ในประวัติศาสตร์ เป็นการศึกษาประวัติศาสตร์อีกลักษณะหนึ่งที่แตกต่างไปจากกลุ่มอื่นๆ เพราะนักประวัติศาสตร์ที่สังกัดแนวคิดนี้มัก จะมีภาพหรือมองเห็นแนวโน้มของความเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์บางอย่างอยู่ในกรอบคิดอยู่แล้ว แต่ประวัติ ศาสตร์จริงๆ ไม่ได้เป็นอย่างนั้น จึงจะพยายามพิสูจน์ว่าความผิดพลาดในประวัติศาสตร์ที่ทำ�ให้ความเปลี่ยนแปลง ไม่เป็นไปอย่างที่ควรจะเป็นนั้น เป็นเพราะบุคคลใดทำ�ผิดพลาดไว้อย่างไรบ้าง การตั้งตำ�ถามของนักประวัติศาสตร์ แนวคิดนี้มักจะเป็นทำ�นอง “ถ้า....” เพื่อแสดงให้เห็นว่าหากบุคคลนั้นทำ�อีกอย่างหนึ่ง ก็จะส่งผลให้ประวัติศาสตร์ เปลี่ยนแปลงไปในอีกลักษณะหนึ่ง นักประวัตศิ าสตร์ทม่ี ชี อ่ื เสียงในกลุม่ นี้ ได้แก่ อาจารย์สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล และเริม่ มีนกั ประวัตศิ าสตร์รนุ่ หลัง บางคนผลิตงานลักษณะเดียวกันนีอ้ อกมา แม้ว่างานเขียนประวัติศาสตร์กลุ่มนี้ยังมีไม่มากนัก แต่เนื่องจากการเลือกหัวข้อศึกษาของนักประวัติศาสตร์ แนวคิดนีม้ คี วามท้าทายอย่างตรงไปตรงมาต่อแกนกลางของกรอบความคิดหลักของประวัตศิ าสตร์ชาติ จึงทำ�ให้เป็น


121

การศึกษาประวัติศาสตร์เชิงวิพากษ์และรื้อถอน “ชุดความจริงสถาปนา” ดังกล่าวนี้นับเป็นการศึกษาที่ได้รับ แนวความคิดทั้งจากกลุ่มนักประวัติศาสตร์วิชาการที่พยายามใส่บริบทให้แก่ทุกปรากฏการณ์ในประวัติศาสตร์ และ แนวคิดแบบหลังสมัยใหม่ นักประวัติศาสตร์เชิงวิพากษ์อีกแบบหนึ่งที่พยายามสร้างความรู้ใหม่โต้ตอบความรู้ทางประวัติศาสตร์ชุดเดิม ซึ่งแม้ว่าจะไม่ท้าทายกรอบโครงประวัติศาสตร์ชาติโดยตรง แต่ก็มีส่วนทำ�ให้รับรู้ได้ถึงความสลับซับซ้อนของความ เปลีย่ นแปลงทางประวัตศิ าสตร์มากกว่าทีจ่ ะให้นาํ้ หนักแต่เฉพาะบุคคลในประวัตศิ าสตร์ การศึกษาทีส่ �ำ คัญของกลุม่ นี้ ได้แก่ การศึกษาการขยายตัวของอาวุธปืนของอาจารย์ฉลอง สุนทราวณิชย์ การศึกษาการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ของอาจารย์นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ การศึกษาความคิดในขบวนการนักศึกษาของอาจารย์ประจักษ์ ก้อง กีรติ การศึกษาขบวนการเสรีไทยของอาจารย์สรศักดิ์ งามขจรกุลกิจ และการศึกษาเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงทาง เศรษฐกิจการเมืองช่วงทศวรรษ 2490 ถึง พ.ศ.2500 ของณัฎฐพงษ์ สกุลเลี่ยว เป็นต้น 20 ส่วนการศึกษาประวัตศิ าสตร์เชิง “รือ้ ถอนความรูท้ สี่ ถาปนา” นัน้ เป็นแนวโน้มใหม่ของการศึกษาประวัตศิ าสตร์ เป้าหมายการศึกษาของนักประวัติศาสตร์กลุ่มนี้เป็นความพยายามที่จะอธิบายปรากฏการณ์ที่ประวัติศาสตร์ชาติ ถือว่าเป็นเรื่องใหญ่และเรื่องสำ�คัญยิ่ง ให้ลดทอนความหมายลงมาอยู่ในระดับที่เป็นปรกติสามัญของปรากฏการณ์ เฉกเช่นเดียวกันในโลกทั่วไป ในทัศนะของของนักประวัติศาสตร์กลุ่มนี้ ความจริงแท้นั้นสำ�คัญน้อยกว่าสิ่งที่คนใน สังคมเชื่อว่าจริง และสิ่งที่สังคมเชื่อว่าจริงนั้นล้วนแล้วแต่ได้รับการสร้างขึ้นมาในยุคหลังทั้งสิ้น หรือหากสร้างขึ้นมา ในยุคนั้นก็สร้างขึ้นมาจากปัจจัยที่อยู่นอกเหนืออำ�นาจของผู้นำ�หรือบุคคลสำ�คัญในประวัติศาสตร์ เช่น การเปลี่ยน ความรู้เรื่อง “ภูมิศาสตร์” หรือความเปลี่ยนแปลงการรับรู้เรื่อง “ร่างกายและเชื้อโรค” การศึกษาที่สำ�คัญได้แก่การศึกษาของอาจารย์ธงชัย วินิจจะกุล อาจารย์เกษียร เตชะพีระ ซึ่งส่งอิทธิพลต่อ นักประวัติศาสตร์อีกหลายคน ซึ่งบางคนก็รับอิทธิพลทั้งจากอาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ และจากทั้งสองท่านที่กล่าว มาข้างต้น การศึกษาเชิงวิพากษ์และรือ้ ถอนความจริงชุดสถาปนาในช่วงหลังนีม้ หี ลายท่าน เช่น อาจารย์มรกต เจวจินดา ศึกษาเรื่องภาพลักษณ์ปรีดี พนมยงค์ อาจารย์สายพิณ แก้วงามประเสริฐ ศึกษาการเมืองในอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี อาจารย์มาลินี คุ้มสุภา ศึกษาความหมายของอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย อาจารย์ทวีศักดิ์ เผือกสม ศึกษารัฐเวชกรรม และงานศึกษาชุดใหญ่และครอบคลุมเวลาทีย่ าวนานของ อาจารย์สายชล สัตยานุรกั ษ์ ทีศ่ กึ ษาการสร้างความหมาย “ชาติไทย” และ “ความเป็นไทย” กระแสหลักจากยุคแรกถึงยุคปัจจุบัน เป็นต้น ความเปลี่ยนแปลงที่ส�ำ คัญในการศึกษาประวัติศาสตร์ที่ขยายตัวมากในช่วงสิบปีหลังนี้ ได้แก่ การศึกษา ประวัติศาสตร์ “ท้องถิ่น” ซึ่งมีพัฒนาการที่น่าสนใจหลายประการด้วยกัน กล่าวคือ การศึกษาประวัติศาสตร์ท้อง ถิน่ นัน้ เกิดขึน้ ภายใต้กรอบรัฐชาตินบั ตัง้ แต่จกั รวรรดินยิ มสยามได้ขยายอำ�นาจออกไปครอบครองดินแดนโดยรอบ จน กระทั่งถึงช่วงของการต่อสู้ทางการเมืองครั้งสำ�คัญระหว่างรัฐไทยกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่เกิดขึ้นในช่วง พ.ศ. 2516 ถึง พ.ศ. 2519 ได้ส่งผลทำ�ให้เกิดการ “ลงทุน” ของรัฐในการสร้างความรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นขึ้นมา กล่าวคือ การเคลื่อนไหวทางการเมืองของขบวนการนักศึกษา และชาวไร่ชาวนาในช่วงสามปีหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ได้ก่อให้เกิดความตื่นตระหนกขึ้นในสังคมไทย ว่า จะบั่นทอนเอกภาพและความมั่นคงของชาติ ทำ�ให้รัฐพยายามที่จะหาทางยับยั้งการขยายตัวของลัทธิการเมือง 20 นักวิชาการรุน่ ใหม่อกี จำ�นวนไม่นอ้ ยทีท่ �ำ งานในลักษณะนี้ ต้องขออภัยทีไ่ ม่สามารถกล่าวนามท่านได้ทงั้ หมด เช่น การศึกษา ของอาจารย์ จีรพล เกตุจุมพล อาจารย์ วรีศักดิ์ เส่ย อาจารย์ณัฐพงศ์ ใจจริง เป็นต้น

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

ที่จบั ตามองจากทัง้ ฝ่ายกลไกอำ�นาจรัฐทีพ่ ะวงต่อความรูท้ ก่ี ระทบกระเทือน “ความรูท้ ส่ี ถาปนา” และจากนักวิชาการ ทัว่ ไป (อย่างใจระทึก)


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

122

ที่รัฐถือว่าไม่เป็นไทยและเป็นอันตรายต่อชาติ และวิธีหนึ่งที่รัฐไทยได้ค้นพบและใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือ การ สร้างประวัติศาสตร์ท้องถิ่นขึ้นมานั่นเอง ทั้งนี้โดยมุ่งหวังให้เกิดการมองความเป็นมาของท้องถิ่นต่างๆ ที่อยู่ภายใต้ การปกครองและการกำ�หนดทิศทางความเปลี่ยนแปลงโดยศูนย์กลางอำ�นาจของรัฐไทยและพึ่งพาพระมหากษัตริย์ ไทย พร้อมกับเกิดความภูมิใจที่ได้มีส่วนสำ�คัญในการรักษาเอกราชของชาติไทยอีกด้วย ในช่วงทศวรรษ 2520 มีการสัมมนาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นขึ้นในวิทยาลัยครูและมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ มากกว่า 30 ครั้ง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และวิทยาลัยครูในเขตภาคเหนือตอนบนก็มีบทบาทในการจัดสัมมนา ประวัติศาสตร์หลายครั้ง พร้อมกันนั้นก็ได้สร้างหลักสูตรการเรียนการสอนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ล้านนาขึ้นมาด้วย ภายใต้กรอบโครงของการศึกษา “ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น” ที่มองท้องถิ่นเป็นส่วนหนึ่งอันแบ่งแยกไม่ได้ของ ประวัติศาสตร์ชาติ ได้สร้างสำ�นึกแห่งความเป็น “ท้องถิ่น” ที่เป็นหนึ่งเดียวหรือเป็นส่วนหนึ่งของชาติไทยและเป็น “ชาติไทย “ ที่คนไทยทุกคนต้องรักและรักษาไว้ด้วยชีวิต ยังไม่เกิดการศึกษา “ท้องถิ่น” จากมุมมองหรือแนวคิดพื้น ฐานที่ตระหนักถึงความแตกต่างและแตกแยกจากประวัติศาสตร์ชาติไทย รัฐไทยประสบความสำ�เร็จอย่างมากในการสร้างสำ�นึกประวัติศาสตร์ “ท้องถิ่น” ในกรอบประวัติศาสตร์ชาติ คือ สามารถเชื่อมเอาผู้คนในท้องถิ่นให้เกิดความสำ�นึกรักและหวงแหนแผ่นดินของตนเองที่เชื่อมต่อกับแผ่นดินส่วน กลางอย่างเป็นเนื้อเดียวกัน พร้อมกับมีความรักชาติไทยโดยรวมเป็นอย่างมากด้วย ในกรอบโครงประวัติศาสตร์ท้อง ถิ่นเช่นนี้ไม่ได้แบ่งพื้นที่ในประวัติศาสตร์ให้แก่ชีวิตทางสังคมของชาวบ้าน เพราะภายใต้กรอบโครงนี้ บุคคลหรือท้อง ถิ่นจะมีค่าหรือจะได้รับการกล่าวถึงก็ต่อเมื่อบุคคลหรือท้องถิ่นย่อยนั้นๆ มีความสัมพันธ์ในทางใดทางหนึ่งกับความ เป็นไปของประวัติศาสตร์ “ชาติ” ความเปลี่ยนแปลงของกรอบโครงความคิดที่จะใช้ในการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ส่วนหนึ่งเกิดขึ้นจาก วงการวิชาการสาขาอื่น เช่น เศรษฐศาสตร์ มานุษยวิทยา และนักพัฒนาเอกชน ความเปลี่ยนแปลงของการศึกษา ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นนี้เกิดขึ้น หลังจากที่นักวิชาการที่ศึกษาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ คือ อาจารย์ฉัตรทิพย์ นาถ สุภา ได้ทำ�งานเปิดพื้นที่หรือเปิดช่องทางให้แก่การศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่หลุดออกจากกรอบความคิดแบบ เดิม อาจารย์อานันท์ กาญจนพันธุ์ อาจารย์ฉลาดชาย รมิตานนท์ อาจารย์ยศ สันตสมบัติ นักมานุษยวิทยาที่สร้าง กรอบการอธิบายวัฒนธรรมชุมชนไว้อย่างดี การพัฒนาความรู้ของนักมานุษยวิทยาและการทำ�งานของนักพัฒนา เอกชนก็ได้ร่วมสร้างแนวทางการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นในมุมมองใหม่ขึ้นมาอีกทางหนึ่ง อันได้แก่ การเกิด สำ�นักประวัติศาสตร์ “วัฒนธรรมชุมชน” ขึ้นมา การรวมกลุ่มของสำ�นักคิดวัฒนธรรมชุมชนระหว่างนักวิชาการ นักพัฒนาเอกชน และผู้นำ�ชาวบ้านในที่ต่างๆ เกิดขึ้นจากความปรารถนาที่จะแก้ไขปัญหาความยากจนของชาวบ้าน โดยเน้นให้แสวงหาคำ�ตอบจากหมู่บ้าน กลุ่ม สำ�นักคิดนีค้ อ่ ยๆ สร้างปฏิบตั กิ ารทางสังคมทีส่ �ำ คัญด้วยการจัดตัง้ ชาวบ้านให้เข้ามาร่วมคิดร่วมแก้ปญ ั หาของตนเอง ปฏิบัติการของสำ�นักคิดวัฒนธรรมชุมชนได้ก่อให้เกิดการสร้างพลังทางความรู้ที่สำ�คัญหลายประการ21 ประการแรก ได้ทำ�ให้เกิดรากฐานของการรวมกลุม่ ชาวบ้านบนพืน้ ฐานของการจัดการทรัพยากรโดยชุมชน ดัง จะเห็นได้จากการเคลื่อนไหวของชาวบ้านในทุกหัวระแหงของประเทศไทยที่เรียกร้องสิทธิการจัดการทรัพยากรด้วย “สิทธิชุมชน” จนสามารถบรรจุไว้ในรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2540 ซึ่งเมื่อถูกบรรจุไว้ในรัฐธรรมนูญครั้งหนึ่งแล้ว ก็ย่อม หมายความว่าไม่มีทางที่จะลบความคิดออกไปจากสังคมนี้ได้ง่ายๆ อีกต่อไป

21 อรรถจักร สัตยานุรักษ์ นิเวศประวัติศาสตร์ กรุงเทพ: สำ�นักพิมพ์คบไฟ 2543


123

ประการที่สาม ได้ทำ�ให้เกิดเครือข่ายของชาวบ้านที่เคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้อง “สิทธิชุมชน” อย่างกว้างขวาง การสร้างเครือข่ายของชาวบ้านถือได้ว่าเป็นการเริ่มต้นเปลี่ยนแปลงของชาวบ้านเองในการต่อรองทางการเมือง การขยายตัวของความรู้และปฏิบัติการของสำ�นักคิดวัฒนธรรมชุมชนเป็นไปอย่างกว้างขวาง จนทำ�ให้การ ตัดสินใจทางการเมืองหลายครั้งจำ�เป็นต้องมีการทบทวนเพราะกลุ่มชาวบ้านไม่ยินยอม เช่น การสร้างเขื่อนในหลาย พื้นที่ รวมทั้งได้เกิดการสร้างฐานความรู้ใหม่ๆ บนกรอบวิธีเช่นนี้อย่างกว้างขวาง แม้ว่าสำ�นักคิดวัฒนธรรมชุมชนจะมีคุณูปการต่อสังคมไทยในหลายด้าน แต่สาระสำ �คัญของสำ�นักคิด วัฒนธรรมชุมชนนี้ กลับเป็นเครื่องกีดขวางการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ที่จะทำ�ให้รู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงใน ชนบท เพราะกรอบความคิดของสำ�นักคิดนี้มุ่งเน้นว่าทำ�อย่างไรให้ชาวบ้านรักษา “มรดกเก่า” หรือ “มรดกชุมชน” เอาไว้ให้มากที่สุด ประวัติศาสตร์ของสำ�นักวัฒนธรรมชุมชนจึงเป็นอดีตที่งดงามอย่างยิ่ง (The good old times)22 การมุ่งเน้นอยู่เฉพาะที่ “มรดกเก่าหรือประวัติศาสตร์ที่ตายตัว” ที่ดำ�รงอยู่โดยเชื่อว่านั่นคือสาระสำ�คัญของ ชุมชนชาวบ้าน ได้ทำ�ให้เกิดการสร้างความรู้อีกมากมายที่มีลักษณะ “หยุดนิ่ง” (static) และยกระดับขึ้นมาเป็นสาระ สำ�คัญเพียงหนึง่ เดียว ซึง่ ได้ท�ำ ให้เกิดการขยายภาพของชาวบ้านส่วนน้อยในชุมชนให้กลายเป็นภาพตัวแทนของชุมชน ทั้งหมด โดยที่ไม่ได้ทำ�ความเข้าใจบริบทของการธำ�รงรักษา “มรดกเก่า” ว่าเกิดขึ้นในเงื่อนไขความจำ�เป็นอย่างไร หากแต่สรุปเอาก่อนแล้วว่าการรักษา “มรดกเก่า” คือชีวติ จิตใจของชาวบ้าน การสร้างความรูข้ องสำ�นักคิดวัฒนธรรม ชุมชนจึงมีลักษณะของการหยิบเอาชาวบ้านส่วนน้อยมาอธิบายชุมชนชาวบ้านทั้งหมด ความเปลี่ยนแปลงในการศึกษาประวัติศาสตร์ “ท้องถิ่น” ในระยะหลัง23 ได้เริ่มมีผู้หันมาสู่การศึกษา ประวัติศาสตร์ “ชุมชน” ในความหมายที่มุ่งศึกษาพัฒนาการของความสัมพันธ์ภายในกลุ่มชาวบ้าน ขณะเดียวกัน ก็ไม่ได้มีเพียงการศึกษาเฉพาะชุมชนที่อยู่ในระบบเศรษฐกิจแบบพอเพียงและเป็นอิสระจากอำ�นาจรัฐ หากแต่ศึกษา ประวัติศาสตร์ของ “ชุมชน” ที่มีปฏิสัมพันธ์กับเงื่อนไขและพลังทางการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรมจากภายนอกที่ เข้ามากระทบชุมชน กล่าวได้วา่ การศึกษาประวัตศิ าสตร์ “ชุมชน” ได้รบั อิทธิพลมาจากการเขียนประวัตศิ าสตร์หรือการศึกษาของ สำ�นัก “วัฒนธรรมชุมชน” เพียงแต่พยายามที่จะมองประวัติศาสตร์ของชาวบ้านหรือชุมชนให้มีลักษณะพลวัตและมี พลังในการปรับเปลี่ยนตนเองเพื่อตอบโต้หรืออยู่ร่วมกับความเปลี่ยนแปลงจากภายนอก24

22 การสร้างอดีตที่งดงามลักษณะเช่นนี้ เกิดขึ้นในทุกประเทศ โปรดดู Eva Osterberg Mentalities and Other Realities: Eassys in Medival and Early Modern Scandinavian, Lund University Press 1991, การวิพากษ์แนวคิดวัฒนธรรมชุมชนของสังคม ไทยที่สำ�คัญ ได้แก่ การศึกษาของอาจารย์ยุกติ มุกดาวิจิตร อาจารย์ Atsushi Kitahara อาจารย์ Andrew Walker อาจารย์ Shiniichi Shigatomi 23 เนื่องจากมีการศึกษาพัฒนาการของการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นภาพรวมทั้งหมดที่ดีเยี่ยมอยู่แล้ว โดย อาจารย์ ยงยุทธ ชูแว่น ผู้เขียนจึงขอเลือกเสนอเฉพาะในส่วนที่เห็นว่าเป็นความเปลี่ยนแปลงที่ส�ำ คัญในการชี้ให้เห็นความเปลี่ยนแปลงของ ระบบอารมณ์ความรู้สึกนึกคิด 24 ส่วนใหญ่ของการศึกษาประวัติศาสตร์ “ชุมชน” เกิดขึ้นในกลุ่มนักวิชาการ และชาวบ้านที่ทำ�งานร่วมอยู่ในองค์ใหม่ที่ตั้งขึ้น มาในราวหนึ่งทศวรรษ เช่น สำ�นักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย ซึ่งได้รับแนวความคิดมาจากอาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม อาจารย์ฉัตรทิพย์ นาถสุภา อาจารย์สุทธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ เป็นต้น รวมถึง สำ�นักงานส่งเสริมสุขภาพ ( สสส.) และองค์กร กองทุนตระกูล “ส” ทั้งหลาย

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

ประการที่สอง ได้ทำ�ให้เกิดการประดิษฐ์สร้างและจัดวางตำ�แหน่งแห่งที่ของ “พลังทางภูมิปัญญา” ของชาว บ้านในสังคม ดังจะเห็นได้จากการเกิดคำ�ว่า “ปราชญ์ชาวบ้าน” “ภูมิปัญญาท้องถิ่น” ฯลฯ ซึ่งได้ส่งผลให้เกิดความ เปลี่ยนแปลงการรับรู้ชาวบ้านได้ในหลายมิติ


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

124

การศึกษาประวัตศิ าสตร์ “ชุมชน” ทีม่ ปี ฏิสมั พันธ์กบั เงือ่ นไขและพลังทางการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรมชุมชน อาจจะเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า “การศึกษาประวัติศาสตร์ชุมชนท้องถิ่น” ซึ่งหมายความถึง การศึกษา “ชุมชน” ที่ ประกอบขึน้ ด้วยกลุม่ คนทีม่ คี วามสัมพันธ์กนั โดยตรงและมีความสัมพันธ์ทแี่ นบแน่น เสมอภาค และช่วยเหลือกัน แต่ละ ชุมชนไม่สามารถอยู่อย่างเป็นอิสระได้ มีความจำ�เป็นตั้งแต่อดีตกาลมาแล้วที่ “ชุมชน” ต้องสร้างเครือข่ายเชื่อมโยง ไปถึงชุมชนอื่นๆ เพื่อการแลกเปลี่ยนสินค้าหรือร่วมมือกันในการจัดการ “ทรัพยากรสาธารณะ” หรือ “สมบัติชุมชน” ความสัมพันธ์ที่มีลักษณะเป็นเครือข่ายเช่นนี้มีผลต่อการดำ�รงอยู่ของชุมชนเป็นอย่างยิ่ง การศึกษาการจัดการ “สมบัติสาธารณะ” นอกจากจะทำ�ให้เข้าใจถึงความเปลี่ยนแปลงในการจัดการสมบัติ สาธารณะของชุมชนแทนการเน้นมุมมองของรัฐดังกล่าวแล้ว ยังต้องการเสนอมุมมองการศึกษาประวัติศาสตร์ “ชุมชน-หมู่บ้าน” ในอีกแนวทางหนึ่ง กล่าวคือ การศึกษา “สมบัติสาธารณะ” นี้ แท้ที่จริงแล้วก็คือความพยายาม เข้าใจในเรื่อง “พื้นที่” ของชาวบ้านซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความเปลี่ยนแปลง เป็น “พื้นที่” ที่ชีวิตชาวบ้านทั้งหลายมีความ ผูกพันอยู่ ไม่ว่าจะเป็นแม่นํ้าลำ�ธาร ที่นา ที่สาธารณะอื่นๆ เช่น วัด ป่า ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เป็นแกนกลางของสายใยของ ชุมชนเพราะทุกคนต้องร่วมมือในการดูแลรักษาและใช้ประโยชน์ในการดำ�รงชีวติ ความเปลีย่ นแปลงทีเ่ กิดขึน้ ในพืน้ ที่ ของชาวบ้าน มักจะเป็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสมบัติของชุมชน ที่อาจจะกว้างขวางหรือแคบกว่า “หมู่บ้าน” ตามขอบเขตพื้นที่ที่ถูกกำ�หนดโดยรัฐ พื้นที่ทางประวัติศาสตร์ของชาวบ้านนี้ย่อมแตกต่างไปจากพื้นที่ประวัติศาสตร์ ของรัฐชาติอย่างสิ้นเชิง มิติของการศึกษาประวัติศาสตร์ “ชุมชน-หมู่บ้าน” ที่สำ�คัญอีกประการหนึ่งที่ควบคู่กับการพิจารณา “พื้นที่ ทางประวัติศาสตร์แบบใหม่” ได้แก่ ความคิดเรื่อง “เวลา” ในการศึกษาเพื่อเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของ “พื้นที่ ทางประวัติศาสตร์” ก็จะทำ�ให้เข้าใจได้ถึงมิติของเวลาคือความเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลาหรือตามบริบทของ “ชุมชน-หมู่บ้าน” ด้วย นั่นคือเป็นการพิจารณา “เวลา” ตามสายตาของชาวบ้าน ซึ่งเป็นการทำ�ให้ “เวลา” เป็นของ ชาวบ้านเอง เช่น การให้ชาวบ้านผู้เฒ่าผู้แก่ระบุถึงความเปลี่ยนแปลงสำ�คัญๆ ที่เกิดแก่ชีวิตของพวกเขา ซึ่งก็คือการ แบ่งเวลา (periodisation) ตามความรู้สึกนึกคิดของชาวบ้านนั่นเอง การศึกษาประวัตศิ าสตร์ชมุ ชนมีเป้าหมายต้องการที่จะ “คืนประวัตศิ าสตร์” ให้แก่ชาวบ้าน เพราะเชื่อว่าชาว บ้านมีประวัติศาสตร์คือความทรงจำ�เกี่ยวกับอดีตของชุมชนตนเอง แต่พวกเขาถูกทำ�ให้ลืมประวัติศาสตร์ของชุมชน จากการขยายตัวของรัฐในช่วงทีผ่ า่ นมา ประวัตศิ าสตร์ของชุมชนนีไ้ ม่ได้หมายความเพียงแค่ความทรงจำ�เกีย่ วกับเหตุ การณ์สำ�คัญๆ ที่เกิดขึ้นในชุมชนหรือความทรงจำ�เกี่ยวกับอดีตแบบแยกส่วน เช่น ความทรงจำ�เกี่ยวกับพันธุ์ข้าว วิธี รักษาโรคด้วยสมุนไพร ฯลฯ แต่หมายถึงภาพรวมของพลวัตความสัมพันธ์ภายในชุมชนและความสัมพันธ์กับ “โลก ภายนอก” ตลอดจนความเปลี่ยนแปลงที่สำ�คัญที่เกิดขึ้นในระบบความสัมพันธ์ดังกล่าวด้วย

3. ความหมายทางการเมืองของความเปลี่ยนแปลงความรู้ประวัติศาสตร์ ความเปลีย่ นแปลงในการเขียนประวัตศิ าสตร์ทง้ั หมดทีก่ ล่าวข้างต้นเป็นผลมาจากความเปลีย่ นแปลงทางเศรษฐกิจ สังคมที่ดำ�เนินมาตั้งแต่ต้นทศวรรษ 2500 เพราะความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจสังคมได้ทำ�ให้เกิด “คนกลุ่มใหม่” ขึ้นมาอย่างน้อยสองระลอกด้วยกัน ระลอกแรกได้แก่คนชั้นกลางที่เป็นผลิตโดยตรงกับการขยายตัวของการศึกษา ระดับอุดมศึกษาในทศวรรษ 2500 และโดยมากแล้วเป็นลูกหลานของคนจีนทีเ่ ปลีย่ นมาสูค่ วามเป็นไทยหลังการปฏิวตั ิ สังคมนิยมของประเทศจีน คนชัน้ กลางกลุม่ นีไ้ ด้มโี อกาสเรียนหนังสือทำ�งานเฉพาะด้านและมีบทบาทอย่างสูงในการ พัฒนาประเทศไทย คนชั้นกลางกลุ่มนี้ได้เผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งสำ�คัญๆ ของไทยมาโดย ตลอด และประสบความสำ�เร็จในระดับหนึ่งในการพยายามสอดแทรก “ตนเอง” เข้าสู่ประวัติศาสตร์ของชาติ โดย ผ่านการสร้างบทบาทของชนชัน้ กลางในประวัตศิ าสตร์ไทย ไม่วา่ จะเป็นการศึกษาเรือ่ งกระฎุมพีสมัยต้นรัตนโกสินทร์


125

พร้อมกับการสอดแทรกตนเองเข้าไปเป็นส่วนหนึง่ ของประวัตศิ าสตร์ชาติ การขยายตัวของรัฐออกไปสูภ่ มู ภิ าค นับตั้งแต่ต้นทศวรรษ 2500 ซึ่งทำ�ให้เกิดความเปลี่ยนแปลง”พื้นที่” ใหม่ โดยเกิดการสร้างพื้นที่กายภาพ พื้นที่ทาง สังคมและพื้นที่ทางความรู้สึกนึกคิด ก็เปิดโอกาสให้ “คนชั้นกลาง” รุ่นใหม่นี้เข้ารับบทบาทที่สำ�คัญในการพัฒนา ประเทศ อันทำ�ให้เป็นปัจจัยยืนยันความมีตัวตนของตนเอง26 ความเปลี่ยนแปลงระลอกที่สองเกิดขึ้นกับคนในชนบท กล่าวคือ คนที่อยู่ในพื้นที่ชนบทไม่ได้อยู่ในภาคการ ผลิตเกษตรกรรมอย่างเดียวอีกต่อไปแล้ว รายได้สว่ นใหญ่มาจากการทำ�งานนอกภาคการเกษตร อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ เพียงแค่คนในพื้นที่ชนบทออกเดินทางไปทำ�งานหาเงินสดนอกพื้นที่เท่านั้น หากแต่ระบบการผลิตในพื้นที่ชนบท เองก็ไม่ใช่การผลิตด้านเกษตรกรรมอย่างเดิมอีกต่อไป กล่าวได้ว่า เกิด “คนชั้นกลางรุ่นใหม่”ในชนบทขึ้นมาอย่าง เป็นกลุ่มก้อนทางสังคมที่ชัดเจน กลุม่ “คนชัน้ กลางรุนใหม่” ทีป่ รากฏอย่างชัดเจนในราวทศวรรษที่ 2530 ได้แทรกตนเองเข้าสูว่ ถิ ปี ระวัตศิ าสตร์ ด้วยการเข้าไปมีส่วนร่วมสร้าง “วัฒนธรรมชุมชม” ที่ประกอบสร้างขึ้นมาเป็นสังคมไทย และเข้ามาร่วมสร้าง ประวัติศาสตร์ “ชุมชน” ให้กว้างขวางมากขึ้น ซึ่งทำ�ให้สามารถดึงเอา “สมบัติชุมชน” มาเป็นปัจจัยในการปรับตัว ทางด้านเศรษฐกิจ เช่น การทำ�โฮมสเตย์ การทำ�สินค้าหมู่บ้าน เป็นต้น เมื่อรัฐบาลทักษิณได้พยายามขยายฐานเสียงของตนเอง ซึ่งเปิดโอกาสให้เกิดการขยายตัวของ “คนชั้นกลาง รุ่นใหม่” ในชนบท ด้วยการใช้เงินงบประมาณจำ�นวนไม่น้อยไปสู่การสร้างงานในชนบท ซึ่งการขยายตัวและการ เปลี่ยนบทบาทของรัฐในสมัยของรัฐบาลทักษิณนี้ ได้ช่วยเสริมให้ชาวนาจำ�นวนมากที่ไม่ได้เป็นชาวนาเต็มเวลาอยู่ แล้วนั้น กลายมาเป็นผู้ประกอบการรายย่อยหรือ “คนชั้นกลางใหม่ในชนบท” เข้มข้นมากขึ้น ทำ�ให้ความคิดของ “สำ�นักวัฒนธรรมชุมชน” นั้นเริ่มอ่อนพลังลงไป ประกอบกับการขยายอำ�นาจรัฐในสมัยของทักษิณนั้นได้ทำ�ให้เกิดการสร้าง “ประชาชน” (constructing the people) ขึ้นมาในชนบทแทนการสร้าง “ชุมชน” (constructing the village) จึงทำ�ให้เกิดการเคลื่อนไหวทางการเมือง ของประชาชนที่ต้องการจะเข้ามามีส่วนในประวัติศาสตร์ของชาติกว้างขวางมากขึ้น ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงทางสังคมเศรษฐกิจที่ได้ก่อให้เกิดกลุ่มคนทางสังคมใหม่ๆ ที่ต้องการมีส่วนร่วม ในประวัติศาสตร์ของชาติ และนำ�มาสู่ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในการศึกษาประวัติศาสตร์ที่กล่าวมาข้างต้น เกิด ขึน้ จากความอึดอัดของคนในสังคมไทยทีป่ รารถนาจะมีชวี ติ ในอดีตร่วมอยูป่ ระวัตศิ าสตร์ของชาติ หากแต่กรอบโครง ประวัตศิ าสตร์ชาติทรี่ ฐั ได้สร้างและจรรโลงขึน้ นัน้ ไม่สามารถทีจ่ ะเปิด “พืน้ ทีใ่ นประวัตศิ าสตร์” ให้แก่คนกลุม่ อืน่ ๆ ดัง นั้น จึงมีความพยายามที่จะเสนอแนวความคิดที่จะสร้าง “ประวัติศาสตร์ของชาติ” ที่มีพื้นที่ให้แก่กลุ่มคนหลายได้มี ส่วนร่วมในชาติของตนเอง นักวิชาการที่ปรารถนาจะสร้าง “ความทรงจำ�ร่วมกัน” ของทั้งสังคมหรือ “ประวัติศาสตร์ชาติ” ได้เสนอกรอบ ความคิดในการศึกษาและสร้างประวัติศาสตร์ของชาติใหม่ โดยแบ่งยุคสมัยของประวัติศาสตร์ชาติไทยใหม่ทั้งหมด 25 การศึกษาคนจีนในสังคมไทยที่ผ่านมาติดกับดักทางความคิดเรื่อง “การผสมกลมกลืน” จนด้านหนึ่งทำ�ให้เกิดการยอมรับ ความเป็นไทยได้สะดวกขึน้ แต่ในขณะเดียวกันอีกด้านหนึง่ กลับทำ�ให้ไม่สามมารถเข้าใจคนจีนโดยรวมหรือคนจีน-จนได้ จน บางเหตุการณ์ไม่สามารถเข้าใจได้จนถึงปัจจุบัน เช่น กรณีการจลาจลพลับพลาไชย โปรดรออ่านการศึกษาประเด็นนี้ โดย สิทธิเทพ เอกสิทธิพงษ์ บทความเร่ื่อง คนจีน-จนในวรรณกรรม และ การศึกษากรณีจราจลพลับพลาไชย ( ยังไม่ได้ตีพิมพ์ ) 26 โปรดรออ่านการศึกษาเรื่อง: การสถาปนาความหมาย “พื้นที่ประเทศไทย” ในยุคพัฒนา ทศวรรษที่ 2500 ของภิญญพันธ์ พจนลาวัลย์ ซึ่งกำ�ลังอยู่ระหว่างการเขียนเป็นวิทยานิพนธ์

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

การศึกษาบทบาทคนชั้นกลางในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง การศึกษาเรื่องบทบาทของคนจีนทั้งในการเมืองครั้ง สำ�คัญของประวัตศิ าสตร์ไทยหลังเสียกรุงศรีอยุธยา และการศึกษา ”คนจีน” ผ่านกระบวนทัศน์ “การผสมกลมกลืน”25


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

126

เพื่อที่จะให้คนทุกกลุ่มได้เข้ามามีส่วนร่วมในชาติไทย งานที่สำ�คัญได้แก่ ประวัติศาสตร์แห่งชาติ “ซ่อม” ฉบับ เก่า “สร้าง” ฉบับใหม่ ของ นิธิ เอียวศรีวงศ์27 อาจกล่าวว่าความรูท้ างประวัตศิ าสตร์แบบใหม่เป็นความรูท้ จี่ ะช่วยให้เกิด “การคืนการตัดสินใจ” ให้แก่คนใน สังคม ต่างจากความรู้ทางประวัติศาสตร์ชาติแบบเดิมที่สร้างความชอบธรรมแก่ผู้น�ำ ที่ผกู ขาดอำ�นาจในการตัดสินใจ แทนสังคมตลอดมา แต่ความเปลีย่ นแปลงทีก่ �ำ ลังเกิดขึน้ ในปริมณฑลของการศึกษาประวัตศิ าสตร์ก�ำ ลังเสนอทางออกให้แก่สงั คม ไทย คือประวัติศาสตร์ของชาติแบบที่รวมเอาคนทุกกลุ่มเข้ามาร่วมสร้างสรรค์สังคมไทย แม้ว่าจนถึงปัจจุบันจะยัง ไม่สามารถสถาปนาความรู้หรือความจริงทางประวัติศาสตร์แบบใหม่ให้เป็นกระแสกหลักได้ก็ตาม แต่ก็จำ�เป็นต้อง พยายามต่อไป เพราะ “ตาข่ายแห่งความทรงจำ�ครอบคลุมเวลา แต่เป็นฐานให้แก่ความเป็นจริงในปัจจุบนั และความคาดหวัง ในอนาคต ฉะนั้นการถักทอตาข่ายแห่งความทรงจำ�ใหม่จึงเป็นความเจ็บปวดในทุกสังคม แม้กระนั้นก็เป็น ความจำ�เป็น เพราะไม่มีสังคมใดสามารถเผชิญความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นชั่วนาตาปีได้ ด้วยความทรงจำ� ที่ไม่ทำ�ให้ตนเองพร้อมที่จะเผชิญกับปัจจุบันและเข้าใจปัจจุบันได้จริง…” 28

4. บทสรุป: รัฐกับประวัติศาสตร์ ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสังคมไทยไม่ใช่เพียงความเปลี่ยนแปลงทางกายภาพเท่านั้น หากแต่เป็นความ เปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคม และลึกลงไปสู่ความเปลี่ยนแปลงของระบบอารมณ์ความรู้สึกนึกคิด ความเปลีย่ นแปลงของความหมายทางประวัตศิ าสตร์ทนี่ า่ ทึง่ กลับสวนทางกับความสนใจศึกษาประวัตศิ าสตร์ ที่ลดลงโดยเฉพาะในแวดวงการศึกษาระดับอุดมศึกษา ประวัติศาสตร์กลายเป็นวิชาที่ไม่มีนักศึกษาสนใจจะลง ทะเบียนเรียน ดังที่หน่วยราชการพบว่ามีคนไทยเรียนประวัติศาสตร์เพียงสองพันกว่าคนเท่านั้นเอง ความสนใจในการศึกษาประวัติศาสตร์ที่ลดลงนั้นอยู่ในแวดวงการศึกษาที่เป็นทางการเท่านั้น ดังจะเห็นว่า นักเรียนนักศึกษาทีต่ ดั สินใจเรียนวิชาประวัตศิ าสตร์เป็นวิชาเอกนัน้ ลดน้อยลงอย่างมาก แต่ในขณะเดียวกันการขยาย ตัวของการ “รื้อฟื้น” หรือการศึกษาประวัติศาสตร์ชุมชนของชาวบ้านก็เกิดขึ้นอย่างกว้างขว้าง การขยายตัวของการ ศึกษาประวัติศาสตร์ของนักวิชาการที่เพิ่มคุณภาพในการทำ�ความเข้าประวัติศาสตร์นอกกรอบประวัติศาสตร์ชาติ แบบเดิมก็หนักแน่นมากขึ้น ปฏิเสธไม่ได้วา่ ความเปลีย่ นแปลงทีเ่ กิดขึน้ ในสังคมไทยนัน้ เกิดขึน้ จากรัฐ ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสังคมเป็น พลังของความเปลี่ยนแปลงตลอดมา รัฐเป็นผู้จรรโลงระบบของสังคมให้ดำ�เนินต่อไปได้ หากเมื่อใดที่รัฐไม่สามารถ ทำ�ให้ความเปลี่ยนแปลงทั้งหลายบรรดามีดำ�เนินต่อไปได้ การเปลี่ยนแปลงรูปแบบรัฐก็จะต้องเกิดขึ้น ความเปลีย่ นแปลงของความรูท้ างประวัตศิ าสตร์ทเี่ ปลีย่ นแปลงมา แม้วา่ ส่วนใหญ่จะไม่ทา้ ทายรัฐโดยตรง แต่ก็ ไม่ได้อยูใ่ นกรอบของประวัตศิ าสตร์ชาติทคี่ บั แคบอีกต่อไป รัฐไม่สามารถกำ�กับความรูห้ รือความจริงทางประวัตศิ าสตร์

27 หนังสือ “ประวัติศาสตร์แห่งชาติ “ซ่อม” ฉบับเก่า “สร้าง” ฉบับใหม่” ของ นิธิ เอียวศรีวงศ์ และมีการสัมมนาหนังสือ เล่มนี้ ในหัวข้อ “ทำ�ไมต้องซ่อมและสร้างประวัติศาสตร์แห่งชาติใหม่” จัดโดย ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมี ผศ.เกรียงศักดิ์ เชษฐพัฒนวานิช คณะมนุษยศาสตร์ ศ. สุรัสวดี อ๋องสกุล คณะมนุษยศาสตร์ และ รศ. สมโชติ อ๋องสกุล คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นวิทยากรเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2251 เค้าโครง ความคิดในหนังสือเล่มนี้ได้ถูกขยายออกสู่สาธารณะมากขึ้น โดย คุณสุจิตต์ วงศ์เทศ หนังสือพิมพ์มติชน 28 นิธิ เอียวศรีวงศ์ (บทนำ�พิมพ์ครั้งที่ 2) การเมืองสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี กรุงเทพฯ: สำ�นักพิมพ์มติชน 2543


127

การเขียนประวัติศาสตร์ที่เป็น “อิสระ” จากรัฐมากขึ้นสะท้อนความเข้มแข็งของสังคมมากขึ้นด้วย การเมือง ที่ครั้งหนึ่งถูกกำ�กับจากรัฐจะต้องถูกกำ�กับจากสังคมมากขึ้นตามไปด้วย ความขัดแย้งและความรุนแรงที่เกิดขึ้น ทั้ง จากรัฐและกลุม่ คนในสังคมวันนีส้ ว่ นหนึง่ เป็นผลมาจากความตึงเครียดระหว่างสำ�นึกทางประวัตศิ าสตร์ทเี่ ปลีย่ นแปลง มานัน้ เอง ความเปลีย่ นแปลงไปสูอ่ นาคตทีง่ ดงามจะเกิดขึน้ ได้กโ็ ดยทีพ่ ลังทางสังคมต้องช่วยกันกดดันให้รฐั เปิดพืน้ ที่ ทางประวัติศาสตร์ให้แก่สังคมที่หลากหลายเพื่อที่จะให้คนทั้งหมดในสังคมไทยได้มีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์ชาติ ของเขาได้อย่างแท้จริง

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

ให้เข้ากรอบประวัตศิ าสตร์ชาติได้อกี แล้ว ความพยายามทีจ่ ะปฏิเสธการดำ�รงอยูข่ องประวัตศิ าสตร์ทหี่ ลากหลายอาจ จะนำ�มาซึ่งความอึดอัดที่ทวีมากขึ้น และอาจจะนำ�ผลเสียมาสู่สังคมมากกว่าจะเกิดผลดีอย่างที่รัฐต้องการ


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

128

ประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์มอญนอกแบบเรียน ประวัติศาสตร์รัฐชาติ1 องค์ บรรจุน2

ประวัติศาสตร์รัฐชาติ ส่วนหนึ่งอ้างอิงมาจากบันทึกพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจของกษัตริย์ หรือที่ รู้จักกันดีคือ พงศาวดาร3 ผู้คนจำ�นวนมากเข้าใจว่า พงศาวดารก็คือประวัติศาสตร์ของชาติ ทั้งที่การเขียนพงศาวดาร นั้นเน้นเฉพาะเรื่องราวกษัตริย์ ในฐานะมหาราชนักรบ นักปกครองผู้ทำ�นุบำ�รุงชาติ ศาสนา และสถาบันพระมหา กษัตริย์ หรือ ผู้กอบกู้เอกราช ในฐานะสมมุติเทพเจ้ามหาชีวิตของไพร่บ้านพลเมืองในขอบขันฑสีมา พงศาวดารส่วน ใหญ่มไิ ด้กล่าวถึงบทบาทสามัญชน นอกจากจะมีเหตุตอ้ งข้องเกีย่ วกับราชกิจในทางใดทางหนึง่ ซึง่ ไม่เพียงแต่บทบาท ของสามัญชนเท่านั้น แม้แต่บทบาทของพระมเหสีสตรีนางใน ทั้งที่อยู่ในฐานะมารดาและพระภรรยาของกษัตริย์ ผู้ บันทึกประวัติศาสตร์ก็มิได้เห็นเป็นสาระมากนัก รวมทั้งบทบาทด้านมืดของพระบรมวงศานุวงศ์ในราชวงศ์ที่ครอง อำ�นาจก็มักไม่ปรากฏในหน้าพงศาวดาร จะมีก็เพียงประวัติศาสตร์บอกเล่า (Oral History) นอกจากราชวงศ์ที่ถูกโค่น ล้ม เนื่องจากผู้มีอำ�นาจย่อมคัดกรองเรื่องราวที่ต้องการบันทึกเท่านั้น เนื้อหาของประวัติศาสตร์ในพงศาวดารจึงไม่ค่อยปรากฏเรื่องราวของผู้คนพลเมืองเล็กๆ ในสังคม อย่างไร ก็ตามแม้ในอดีตบ้านเมืองจะปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราช แต่ราษฎรห่างไกลก็เพียงแต่ยอมรับในอำ�นาจ แต่ ไม่เคยได้รบั แรงบีบจากรัฐโดยตรง ซึง่ ในปัจจุบนั แม้จะได้ชอื่ ว่ามีการปกครองในรูปแบบประชาธิปไตย แต่พลังอำ�นาจ สื่อสารมวลชน มีการผลิตซํ้าโฆษณาชวนเชื่อตลอดเวลา ส่งผลให้ประชาชนยอมรับฐานะผู้ตํ่าต้อยของตนและฐานะ ที่สูงส่งของชนชั้นปกครอง การผลิตซํ้าตอกยํ้าให้ประชาชนคล้อยตาม พร้อมใจสวมเสื้อสีต่างๆ ที่ร้ายแรงคือการที่ ประชาชนตกอยูภ่ ายใต้อ�ำ นาจการผลิตซํา้ ผ่านสือ่ ยอมรับเอาประวัตศิ าสตร์รฐั ชาติมาเป็นประวัตศิ าสตร์หมูบ่ า้ น หรือ แม้แต่ประวัตศิ าสตร์ตน้ ตระกูลของตน ถือเป็นการสร้างวัฒนธรรมรัฐชาติขนึ้ ใหม่ โดยใช้ความรูส้ กึ จงรักภักดีและภาพ ความเป็นไทย เป็นเครื่องมือที่สำ�คัญ ดังนั้นในการศึกษาเกี่ยวกับชาติพันธุ์มอญ อันเป็นส่วนหนึ่งของความหลากหลายในสังคมไทย จึงมีความ จำ�เป็นที่จะต้องเรียนรู้ภูมิหลัง ทำ�ความเข้าใจระบบความคิดและตัวตนคนมอญ เพื่อนำ�ไปสู่การอยู่ร่วมกันบนพื้น ฐานของความเข้าใจในความต่าง

1 การอ้างอิงบทความ ควรได้รับอนุญาตจากเจ้าของบทความ 2 นักวิชาการอิสระและประธานชมรมเยาวชนมอญ กรุงเทพฯ 3 พงศาวดาร มาจากรากศัพท์ภาษาสันสกฤตว่า วงศ์+อวตาร ซึ่งคำ�ว่า วงศ์ ก็คือ วงศ์ตระกูล ส่วน อวตาร เป็นคำ�ที่ใช้เรียก พระนารายณ์ ซึ่งแบ่งภาคลงมาถือกำ�เนิดเพื่อดับยุคเข็ญในโลกมนุษย์ ดังนั้นคำ�ว่า พงศาวดารจึงหมายถึง ประวัติราชวงศ์ พงศ์อวตารแห่งศรีอยุธยา ซึ่งคำ�ว่า แห่งศรีอยุธยานั้นมาจาก พระราชพงศาวดารที่เป็นเรื่องของกษัตริย์แต่เพียงสมัยกรุง ศรีอยุธยาเท่านั้น แต่ภายหลังกลายเป็นว่าหมายรวมถึงประวัติราชวงศ์เฉพาะพระมหากษัตริย์ อย่างไรก็ตาม พงศาวดารจัด ได้วา่ เป็นการเขียน “ประวัตศิ าสตร์นพิ นธ์” อย่างหนึง่ อีกอย่างหนึง่ คือการเขียนแบบตำ�นาน โดยจะเรียกว่า จารีตพงศาวดาร และจารีตตำ�นาน


129

นักภาษาศาสตร์และนักมานุษยวิทยา จัดแบ่งให้ชาติพนั ธุม์ อญอยูใ่ นกลุม่ ผูใ้ ช้ภาษามอญ-เขมร (Mon-Khmer) ตระกูลออสโตร-เอเชียติค (Austro-Asiatic) จากการศึกษาพบว่าการตั้งอาณาจักรในอดีตนั้นมิได้เป็นเอกเทศชัดเจน มีพื้นที่ซ้อนทับลื่นไหลไปตาม ศูนย์กลางของอำ�นาจ บางครั้งขยายใหญ่กินพื้นที่กว้างครอบคลุมเมืองเล็กเมืองน้อย บางครั้งลีบเล็กเมื่อเมืองเล็ก เมืองน้อยตั้งตนเป็นอิสระ หรือผันตนเองเข้าหาขั้วอำ�นาจอื่น เป็นไปตามสภาวะผู้นำ� เศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ในขณะนั้น4 พงศาวดารทั้งของพม่าและไทย ยืนยันว่าอารยธรรมมอญรุ่งเรืองในพม่าตอนล่างก่อนพุทธศตวรรษที่ 14 แต่ ขาดรายละเอียดทางฝั่งพม่า เนื่องจากการขุดค้นและศึกษาหลักฐานโบราณคดีมีน้อย โดยเฉพาะบริเวณพม่าตอน ล่างยังไม่มีการขุดค้นหรือการศึกษาที่เป็นระบบ ทำ�ให้นักวิชาการส่วนใหญ่สันนิษฐานว่าอารยธรรมมอญยุคแรกเริ่ม อยู่แถบภาคกลางของไทย แต่มีความเป็นไปได้ว่าทั้งแถบภาคกลางของไทยและพม่าตอนล่างเป็นแหล่งอารยธรรมที่ เจริญรุ่งเรืองควบคู่กันมา5 วัฒนธรรมและชาติพันธุ์มอญจึงมีทั้งในส่วนที่เป็นประเทศไทยและประเทศพม่า ได้แก่ อาณาจักรทวารวดี และหริภุญชัย โดยขุดพบจารึกภาษามอญเป็นจำ�นวนมาก จารึกที่เก่าที่สุด ได้แก่ จารึกวัดโพธิ์ร้าง พบที่จังหวัด นครปฐม คาดว่าจารึกขึ้นในราว พ.ศ. 1143 ซึ่งผู้คนและวัฒนธรรมมอญในยุคนั้นได้กลืนกลายเป็นวัฒนธรรมไทยไป หมดแล้ว (นักวิชาการหลายท่านเชือ่ ว่าชาวมอญในวัฒนธรรมทวารวดีทยี่ งั คงหลงเหลืออยูใ่ นปัจจุบนั ได้แก่ชาว ญัฮกุร ในอำ�เภอเทพสถิตย์ จังหวัดชัยภูมิ) ความข้อนี้สอดคล้องกับความเห็นของคึกฤทธิ์ ปราโมช ที่ว่า “...เหตุที่คนมอญ เข้ากันได้ดีกับสังคมไทย ก็เป็นเพราะว่ามอญได้ทิ้งวัฒนธรรมจำ�นวนมากเอาไว้ให้ วัฒนธรรมมอญและวัฒนธรรม ไทยจึงกลายเป็นนํ้าเนื้อเดียวกัน...”6 รวมทั้งสายสัมพันธ์ระหว่างชาติพันธุ์มอญและชาติพันธุ์ไทยในระดับราชสำ�นัก เช่น กรมสมเด็จพระอมรินทรามาตย์ พระบรมราชินีในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงเป็น มอญ7 ดังนั้นจึงจะเห็นได้ว่า เมื่อครั้งที่มอญอพยพครั้งใหญ่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้ โปรดเกล้าฯให้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั หรือพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ามงกุฎ ในขณะนัน้ ทีม่ พี ระชนมายุ เพียง 9 พรรษา เสด็จพร้อมขุนนางผู้ใหญ่ออกไปรับขบวนมอญอพยพที่ด่านเจดีย์สามองค์ 8 ส่วนความเป็นมอญที่อยู่ในสังคมไทยปัจจุบันนี้ เป็นมอญที่อาศัยอยู่ในเมืองมอญ ซึ่งเคยมีอาณาจักรของ ตนเอง ได้แก่ สะเทิม เมาะตะมะ และหงสาวดี ซึ่งเป็นประเทศพม่าในปัจจุบัน เมื่อมอญเสียเอกราช ชาวมอญที่ทน การกดขี่ข่มเหงไม่ไหว จึงอพยพเข้าไทยอย่างเป็นทางการ โดยมีใบบอกมายังพระเจ้าแผ่นดินล่วงหน้า รวมทั้งสิ้น 9 ครั้ง9 ได้แก่ ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2082 สมัยสมเด็จพระชัยราชาธิราช ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2127 สมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชา ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2136 สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช 4 5 6 7 8 9

สุรัสวดี อ๋องสกุล. (2543). ชุมชนโบราณในแอ่งเชียงใหม่-ลำ�พูน. หน้า 17. Emmanuel Guillon. (1999). The Mons: A Civilization of Southeast Asia. P 72-43. คึกฤทธิ์ ปราโมช. (2529). เหตุที่มอญอพยพ. ใน คอลัมน์ซอยสวนพลู, สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์. กรมศิลปากร. (2539). ปฐมวงศ์ พระราชพงศาวดารย่อ. ใน ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 4. หน้า 19-20. กรมพระยาดำ�รงราชานุภาพ. (2547). พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 2. หน้า 189. สุภรณ์ โอเจริญ. (2541). มอญในเมืองไทย. หน้า 52-74.

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

1. ภูมิหลังชนชาติมอญ


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

130

ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2175 สมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2203 สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2290 สมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ครั้งที่ 7 พ.ศ. 2317 สมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ครั้งที่ 8 พ.ศ. 2358 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ครั้งที่ 9 พ.ศ. 2367 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทัง้ นี้ ไม่นบั รวมการอพยพในวิถชี วี ติ ปกติซงึ่ มีการเคลือ่ นไหวไปมาตามแนวตะเข็บชายแดนอยูต่ ลอดเวลา ชาว มอญเหล่านีเ้ ป็นกำ�ลังสำ�คัญของไทย ทัง้ แรงงานเกษตรกรรม และกำ�ลังป้องกันประเทศ ชาวมอญมีสทิ ธิเช่นเดียวกับ ชาวไทย หากชาวมอญทำ�เรื่องเสื่อมเสียก็ย่อมส่งผลถึงชื่อเสียงของไทยด้วย ดังเมื่อ พ.ศ. 2306 สมเด็จพระเจ้าเอก ทัศได้ออกพระราชกำ�หนดห้ามชาวมอญแต่งงานกับชาวตะวันตก ซึ่งแสดงให้เห็นว่าชาวมอญเป็นพลเมืองไทยโดย สมบูรณ์ สามารถตั้งบ้านเรือน รับราชการ ตลอดจนการสมรสกับชาวไทย และหล่อหลอมรวมกันเป็นหนึ่งเดียวอยู่ ในสังคมไทย ดังกรณีเจ้าแม่วัดดุสิต หรือหม่อมเจ้าหญิงอำ�ไพ ราชธิดาของสมเด็จพระเอกาทศรถ และเป็นพระนม ของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช สมรสกับขุนนางที่สืบตระกูลมาจากนายทหารมอญที่ติดตามสมเด็จพระนเรศวร มหาราชมายังอยุธยา บุตรของเจ้าแม่วัดดุสิตคือเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) บรรพบุรุษของพระปฐมบรมราชชนก ในราชวงศ์จักรี10

2. มอญในบริบทสังคมไทย ชาวมอญที่อพยพเข้ามาเมืองไทยทุกยุคทุกสมัยมักเป็นที่ต้องการของพระมหากษัตริย์เกือบทุกพระองค์ โดย มากแล้วหัวหน้าคณะผู้อพยพมักได้รับบำ�เหน็จรางวัลในฐานะผู้ที่ทำ�คุณประโยชน์ เนื่องจากไพร่พลจำ�นวนมากที่ ติดตามเข้ามาจะเพิ่มแสนยานุภาพให้กับกองทัพ และเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ชาวมอญเหล่านั้นบางส่วนเมื่อ อยู่นานเข้าก็ได้แต่งงานกับคนไทย ทำ�ให้ผู้คนทั้งสองชนชาติกลมกลืนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ปัจจุบันจึงไม่สามารถ แยกแยะชาติพนั ธุห์ รือลักษณะทางกายภาพได้ชดั เจน มีเพียงด้านวัฒนธรรมเท่านัน้ ทีย่ งั สามารถระบุได้วา่ วัฒนธรรม มอญจำ�นวนมากได้ผสมผสานอยู่ในสังคมไทย ได้แก่ ภาษา คำ�ไทยที่มีรากจากภาษามอญนั้นมีอยู่มากกว่า 697 คำ�11 ส่วนมากเป็นคำ�ไทยเก่าแก่ที่เชื่อกันว่าเป็น คำ�ไทยแท้ เช่น กรุง มาจากภาษามอญว่า เกริง คำ�ว่า คลอง มาจากภาษามอญว่า โกล่ง ที่แปลว่าทาง คำ�ว่า นาย หมายถึงผูบ้ วชเรียนแล้ว ส่วนคำ�ว่า เท่งทึง ทีค่ นไทยใช้เป็นคำ�สแลง หมายถึงตายนัน้ มาจากคำ�พูดของตัวละคร “พล นิกรกิมหงวน” โดยนิยมใช้กันต่อมา ซึ่งเกิดจากเสียงตะโพนมอญในงานศพว่า “เท่ง...ทึง...” ศาสนา ชาวไทยรับพุทธศาสนานิกายเถรวาทผ่านทางมอญตัง้ แต่สมัยสุโขทัย พุทธศาสนาของมอญและไทยจึง มีความสัมพันธ์กนั อย่างแนบแน่น ในสมัยพระมหาธรรมราชา เมือ่ พระมหาเถรคันฉ่องลอบทูลแผนปลงพระชนม์พระ นารายณ์มหาราชโดยกษัตริย์พม่า ภายหลังเมื่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราชประกาศอิสรภาพ พระมหาเถรคันฉ่องได้ โดยเสด็จพร้อมไพร่พลมอญจำ�นวนมากมายังกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้ปนู บำ�เน็จแด่พระมหาเถร คันฉ่อง สร้างวัดและแต่งตัง้ ให้ด�ำ รงตำ�แหน่งพระสังฆราช รวมทัง้ เชือ่ ถือศรัทธาในวัตรปฏิบตั ขิ องพระมอญ ให้มพี ธิ สี วด พระปริตรมอญในราชสำ�นัก ทำ�นํา้ พระพุทธมนต์ประพรมพระบรมมหาราชวัง ขจัดปัดเป่าสิง่ ชัว่ ร้าย นํา้ พระพุทธมนต์ อีกส่วนหนึ่งสำ�หรับพระมหากษัตริย์โสรจสรงและสรงพระพักตร์ ซึ่งประเพณีนี้ยังคงถือปฏิบัติสืบมาจวบจนปัจจุบัน 10 ธำ�รงค์ศักดิ์ อายุวัฒนะ. (2544). ราชสกุลจักรีวงศ์ และ ราชสกุลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช. หน้า 9. 11 วัฒนา บุรกสิกร. (2541). รายงานการวิจัยเรื่องลักษณะคำ�ไทยที่มาจากภาษามอญ. หน้า 107.


131

อาหาร วัฒนธรรมการกินของมอญและไทยใกล้เคียงกัน คือ กินข้าวเจ้าเป็นอาหารหลัก ส่วนอาหารมอญที่ เป็นที่ยอมรับและกลายเป็นอาหารไทยไปแล้ว ได้แก่ ขนมจีน ข้าวแช่ เป็นต้น นาฏศิลป์ดนตรี ไทยได้รับอิทธิพลด้านนาฏศิลป์ดนตรีมอญมากมาย เนื่องจากธรรมชาติของชาวมอญนั้น ชอบศิลปะ ดนตรี รักการขับร้องฟ้อนรำ� เมื่ออพยพเข้ามาเมืองไทย ก็ได้นำ�เครื่องดนตรีและความรู้ทางดนตรีติดตัว มาด้วย12 โดยทีม่ คี วามเชือ่ ในหมูช่ าววังว่า คนทีม่ เี ชือ้ สายมอญนัน้ มักมีความสามารถทางดนตรีตดิ ตัวมาตัง้ แต่เกิด13 ครูดนตรีมอญคนสำ�คัญจากปทุมธานีสองท่าน คือ ครูเจิ้น ดนตรีเสนาะ และ ครูสุ่ม ดนตรีไพเราะ มีบทบาท ในการเผยแพร่ดนตรีมอญ ครูเจิน้ ได้อยูก่ บั สมเด็จกรมพระนครสวรรค์วรพินจิ จนเกิดเพลง “แขกมอญบางขุนพรหม” ส่วนครูสมุ่ ได้สนิทสนมแลกเปลีย่ นทางดนตรีกบั หลวงประดิษฐ์ไพเราะ จนเกิดเพลงไทยสำ�เนียงมอญจำ�นวนมาก เช่น กระต่ายเต้น หรือ ราชนิเกลิง ทีใ่ ช้เดินเรือ่ งในการแสดงลิเก รวมทัง้ มอญดูดาว เพลงประจำ�มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพลงมอญร้องไห้ ในละครราชาธิราช ตอนสมิงพระรามหนีเมีย แต่งโดยครูมนตรี ตราโมท ขับร้องโดยครู เหนี่ยว ดุริยพันธุ์ ที่ทำ�ให้ผู้ชมสะเทือนใจร้องไห้ตาม หรือ เพลงม่านมงคล ในตอนสมิงพระรามแต่งงานกับพระธิดา พระเจ้ากรุงอังวะ ที่ผู้ชมทุกวัยชื่นชอบ ต่อมา ทนงศักดิ์ ภักดีเทวา ได้นำ�มาขับร้องใหม่เปลี่ยนชื่อเป็น “ไม่รักไม่ว่า” ที่ขึ้นต้นว่า “รู้ๆ อยู่มิควรคู่กับจอมใจ...” ซึ่งก็ยังได้รับความนิยมอย่างสูง และสำ�หรับเพลงสุนทราภรณ์ ส่วนมากเป็น เพลงสำ�เนียงมอญทั้งสิ้น เนื่องจากครูเอื้อ สุนทรสนาน ท่านเป็นมอญอัมพวา สมุทรสงคราม นอกจากทำ�นองเพลง มอญแล้ว ในเนื้อเพลงยังกล่าวถึงชาวมอญอยู่หลายแห่ง โชติ ดุริยพันธุ์ ผู้สืบเชื้อสายมอญท่านหนึ่ง ได้แต่งบทไหว้ครู เพื่อรำ�ลึกถึงพระคุณของบรรพชนและครูดนตรี ชาวมอญ ได้แก่ “ข้าขอกราบก้มประนมกร ไหว้ครูมอญที่อยู่ไกลในหงสา ได้ค้นคิดประดิษฐ์เพลงอันลือชา

ดุจสำ�เนียงภาษาของรามัญ...”14

ดังจะเห็นได้ว่ามีผู้โดยมากมีความคิดเชิงชาตินิยม หวงแหน ปกป้องวัฒนธรรมไทยแท้ประเพณีไทยดั้งเดิม ซึ่งไม่เป็นจริง เนื่องจากวัฒนธรรมไทยจนกระทั่งทุกวันนี้ล้วนมีที่มาจากชนชาติต่างๆ โดยรอบ สิ่งสำ�คัญจึงอยู่ที่การ เลือกรับ ปรับเปลี่ยนให้เหมาะสม รวมทั้งไม่ทึกทักเอาเป็นของตนโดยเหยียบยํ่าเจ้าของต้นแบบวัฒนธรรมเหล่านั้น

การปิดกั้นการแสดงออกทางวัฒนธรรม สถานะของชาวมอญในเมืองไทย เป็นคนไทยโดยกฎหมาย ซึ่งยากต่อการแยกแยะลักษณะทางกายภาพ ของชาวมอญออกจากชาวไทยได้ ในขณะเดียวกันชาวมอญจำ�นวนมากยังรักเชื้อชาติของตน พยายามอนุรักษ์ฟื้นฟู วัฒนธรรมประเพณี รักษาอัตลักษณ์ความเป็นมอญ

12 สโมสรศิลปวัฒนธรรม. (ธันวาคม, 2546). แบกพาทย์ฆ้องหนีพม่าจากเมืองมอญถึงเมืองปทุมธานี: ชะอุ่ม ดนตรีเสนาะ ผู้ สืบทอดฆ้องมอญ จากบรรพบุรุษ. ศิลปวัฒนธรรม. 25(2) หน้า 140-141. 13 พูนพิศ อมาตยกุล. (2529). นักร้องสตรีไทยในอดีต. ใน อนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพ อุษา คันธมาลัย. หน้า 11. 14 นิคม มัฆมาน. (2531). ประวัตคิ วามเป็นมาของหนังสือมอญ. ใน สถิตปิ ระชากรมอญในปัจจุบนั เกีย่ วกับคนมอญและชนชาติ มอญ. หน้า 12.

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงปรารภว่าพระสงฆ์ในพุทธศาสนาขณะนั้น ประพฤติหย่อนยาน และเมื่อได้พบกับพระสงฆ์มอญผู้ปฏิบัติน่าเลื่อมใส พระองค์จึงทรงยึดพระสงฆ์มอญเป็นแม่ แบบ ก่อตั้งธรรมยุตินิกาย


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

132

ในขณะทีช่ าวมอญในเมืองมอญ ประเทศพม่า อยูใ่ นภาวะเดือดร้อนทัง้ ภัยสงคราม การกดขีร่ ดี ไถของเจ้าหน้าที่ รัฐ และภาวะเศรษฐกิจ ชาวพม่าจึงหลบหนีเข้าเมืองมาเป็นแรงงานต่างด้าวอยูใ่ นเมืองไทยจำ�นวนมาก ส่วนมากอาศัย อยู่ในจังหวัดใหญ่ที่มีกิจการอุตสาหกรรม เช่น กรุงเทพฯ สมุทรปราการ สมุทรสงคราม ตาก เชียงใหม่ ชลบุรี ชุมพร ระนอง ภูเก็ต เป็นต้น แท้จริงแล้วส่วนหนึง่ เป็นชาวมอญ เป็นต้นว่า แรงงานต่างด้าวในจังหวัดสมุทรสาคร จำ�นวนกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ เป็นชาติพันธุ์มอญ นอกจากนั้นประกอบไปด้วยกลุ่มชาติพันธุ์ไทใหญ่ ปกากะญอ (กะเหรี่ยง) ทวาย และพม่า15 เมื่อมอญจากเมืองมอญได้มีปฏิสัมพันธ์กับชาวมอญในเมืองไทย พรมแดนประเทศก็ไม่สามารถแบ่งกั้น คนออกจากกันได้ และด้วยวัฒนธรรมประจำ�ชาติพันธุ์ อันได้แก่ ภาษา ศาสนา อาหาร การแต่งกาย ความเชื่อ ยึด เหนี่ยวมอญทั้งสองเมืองเข้าไว้ด้วยกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มอญทั้งสองเมืองนั้นมีประวัติศาสตร์ของบรรพชนร่วมกัน ในยุคสมัยที่รัฐบาลพยายามสร้างรัฐชาติ (Nation-State) แบบรัฐเดียวเชื้อชาติเดียวตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ ใน สมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม ที่ต้องการรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย ทั้งที่ความเป็นจริงคนในเมืองไทยมีหลากหลาย เชื้อชาติมากกว่า 70 กลุ่ม16 แต่รัฐกลับทำ�ลายความหลากหลายทางวัฒนธรรม (Culture Diversity) ทำ�ให้ทุกคนในรัฐ ชาติเหลือเพียงสำ�นึกชาติพันธุ์เดียวคือ “ไทย” เท่านั้น ทุกชาติพันธุ์ต้องเรียนภาษาไทย แต่งกายแบบรัฐนิยม รำ�วง มาตรฐาน ชื่อเพลง บุคคล และสถานที่ ที่ระบุเชื้อชาติมอญ จีน แขก ลาว เขมร ญวน ล้วนถูกเปลี่ยนเป็นไทย ข้างต้นเป็นเหตุการณ์ทเี่ กิดขึน้ เมือ่ ราว 60 ปีทแี่ ล้ว แต่เหตุการณ์ท�ำ นองเดียวกันกลับเกิดขึน้ อีกในหลายจังหวัด สำ�หรับในกรณีของจังหวัดสมุทรสาคร มีประกาศจากผู้ว่าราชการจังหวัดถึงสถานประกอบการทุกแห่งทำ�นองว่า มี แรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา เข้ามาทำ�งานเป็นจำ�นวนมากก่อปัญหาด้านต่างๆ ได้แก่ ปัญหาด้าน สาธารณสุข ผู้ติดตาม เด็กไร้สัญชาติ ปัญหาอาชญากรรม และการทำ�ผิดกฎหมาย รวมทั้งการเผยแพร่วัฒนธรรม ประเพณีต่างด้าวในเทศกาลและงานต่างๆ ซึ่งเป็นการไม่เหมาะสม ไม่ควรให้การสนับสนุนเพราะจะทำ�ให้เกิดความ รู้สึกว่าเป็นเจ้าของชุมชน อาจเกิดปัญหาด้านความมั่นคงและผิดนโยบายรัฐบาล คำ�สั่งของผู้ว่าราชการก็เป็นคำ�สั่งของรัฐชาติ เพราะผู้ว่าราชการก็คือตัวแทนของรัฐชาติ เมื่อถูกกดดันจาก สื่อมวลชนและองค์กรเอกชน ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาครได้เชิญทุกฝ่ายเข้าประชุมชี้แจง “ผมสนับสนุนให้มาทำ�มาหากิน ส่งเงินกลับบ้าน เพราะเป็นคนเหมือนกัน แต่ไม่ต้องการให้มาตั้งเป็นชุมชน รกรากอยู่กันตลอด ก็เลยเป็นที่มาของหนังสือฉบับนี้ เพราะเวลานี้ มีภาษาพม่าเต็มบ้านเต็มเมืองจนเว่อร์ไปหมด... แต่ปัจจุบันจะมาสร้างชาติมอญ มาจัดงานวันชาติ ก็ไปจัดในสถานทูต ไปเข้าวัดทำ�บุญ ผมไม่เคยว่า แต่ถ้ามาสร้าง ลักษณะนี้ ผมมีความเป็นห่วงเรื่องความมั่นคง มันคนละประเด็นกัน ผมยอมถึงขนาดไปตักบาตรเทโวที่วัดเจษ วัด เจ้าคณะจังหวัด แต่รับไม่ได้กับการที่มีคนใส่โสร่งสีแดงไปเดินเก็บของ มีคนถ่ายรูป ผู้ว่าบอกห้ามถ่าย เพราะไม่รู้ว่า ไปตักบาตรที่ประเทศพม่าหรือเปล่า ผมบอกหลวงพ่อ ให้พวกนี้ไปใส่กางเกง ผมไม่ว่าเลย เพราะผู้ว่าสมุทรสาครไป ตักบาตร แต่คนพม่าเดินเก็บตามเอาของออกจากบาตรพระ ผมดูแล้วมันไม่ใช่ แต่ถา้ ไปใส่กางเกงเดินเก็บไม่มปี ญ ั หา 17 จึงเป็นที่มาของหนังสือฉบับนี้ที่ผมเขียนออกไป ....” ผู้ประกอบการในพื้นที่ที่ได้รับเชิญมาร่วมรับฟังในครั้งนั้น ได้เสนอความเห็นต่อที่ประชุมด้วยเช่นกัน เป็นต้น ว่า “...ผมจ้างมาเป็นแรงงาน ไม่ได้จ้างมาให้ร่วมงาน จัดงาน จัดกิจกรรมวัฒนธรรม...” และ “...ถ้าทำ�หมันแรงงาน ต่างด้าวได้ ผมสนับสนุน ควรทำ�ไปเลย...”

15 มูลนิธิรักษ์ไทยและกลุ่มภาคี. (2550). เมื่อลูกหลานแรงงานมอญต้องเรียนภาษาพม่าในเมืองไทย. เสียงรามัญ. ใน สรุป รายงานการจัดกิจกรรมโครงการพัฒนาชีวิตเด็กข้ามชาติในจังหวัดสมุทรสาคร. เอกสารเผยแพร่ความรู้. หน้า 14. 16 สุวิไล เปรมศรีรัตน์. (2547). แผนที่ภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในประเทศไทย. หน้า 15. 17 ประกาศจังหวัดสมุทรสาคร ลงวันที่ 26 ตุลาคม 2550.


133

ปัจจัยสำ�คัญสิ่งหนึ่งได้แก่ ผู้คนไม่ว่ากลุ่มชาติพันธุ์ใดๆ ที่มีวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์เป็นของตนเอง วัฒนธรรมท้องถิ่น ภาษา ขนบธรรมเนียมจารีตประเพณี ค่านิยม ความเชื่อ ศิลปะ การร้องรำ�ทำ�เพลง งานประเพณี ล้วนเป็นสิทธิโดยชอบธรรมของกลุ่มคนนั้นๆ บางส่วนของวัฒนธรรมดังกล่าวสะท้อนให้เห็นลักษณะเฉพาะของเชื้อ ชาติ เผ่าพันธุ์ ศาสนา พื้นที่ทางภูมิศาสตร์ ประวัติความเป็นมา ความเชื่อถือศรัทธา ตราบเท่าที่วัฒนธรรมและ ขนบธรรมเนียมประเพณีดังกล่าวไม่ขัดต่อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ไม่ขัดต่อศีลธรรม และจริยธรรม สิทธิในวัฒนธรรมท้องถิ่นและขนบธรรมเนียมจารีตประเพณี ย่อมเป็นสิ่งที่ใครจะละเมิดมิได้ จุดที่ต้องตระหนักก็คือ ประชาชนของประเทศหนึ่งๆ ย่อมถูกคาดหวังให้มีความภักดีต่อการเป็นประชาชน ของประเทศนั้น จะต้องมีความรักชาติ เสียสละชีวิตเพื่อชาติ ไม่ก่อปัญหาสังคมอันจะเป็นการทำ�ลายชาติในทาง อ้อม มีหน้าที่เสียภาษี รับราชการทหาร และอื่นๆ ขณะเดียวกันก็มีความรู้สึกภูมิใจต่อความเป็นคนของชาติ ภูมิใจ ในวีรกรรมของบรรพชน มีความรู้สึกเป็นหนี้บุญคุณต่อแผ่นดินที่อาศัยอยู่ นี่คือสิ่งที่คาดหวังตามปกติของสังคมที่ รวมกันเป็นรัฐและรวมกันเป็นชาติ แต่ในขณะเดียวกันการคาดหวังให้มคี วามรูส้ กึ ในส่วนทีก่ ล่าวถึงเบือ้ งต้นนัน้ ก็มไิ ด้ หมายความว่าจะต้องละทิง้ เอกลักษณ์พเิ ศษของตนอันเป็นลักษณะจำ�เพาะของเชือ้ ชาติ เผ่าพันธุ์ ศาสนา ชุมชน และ พืน้ ทีข่ องตน ดังนัน้ รัฐจึงไม่ควรยกเอาความมัน่ คงของชาติมาปิดกัน้ การแสดงออกอย่างประเทศทีเ่ จริญแล้วปฏิบตั กิ นั สือ่ มวลชนบางสือ่ ไม่ชดั เจนในบทบาทและหน้าทีข่ องตนเอง ในกรณีของการนำ�เสนอประเด็นเกีย่ วกับแรงงาน ต่างด้าว รายงานบางชิ้นสะท้อนปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนที่ถูกละเมิดโดยรัฐ บางชิ้นต้องการบอกเล่าเรื่องราวความ เป็นมนุษย์ เมตตาธรรมข้ามเส้นพรมแดนรัฐชาติ บางชิ้นนำ�เสนอปัญหาแรงงานในแง่มุมที่เป็นภัยต่อความมั่นคง แรงงานที่เป็นพาหะนำ�โรคร้าย แรงงานที่นำ�วัฒนธรรมต่างด้าวเข้ามาครอบงำ�วัฒนธรรมไทย แรงงานที่แย่งงานคน ไทย และตัวอย่างที่เลวร้ายก็คือ รายงานพิเศษทางโทรทัศน์ ใช้คำ�ประกาศเชิญชวนผู้ชมให้คอยติดตามชม เป็นต้น ว่า “พม่าทะลักเมืองไทย” หรือ “พม่าล้นเมือง”18 เริ่มต้นรายการด้วยการบทบรรยายฉากชีวิตแรงงานจากประเทศ พม่าทีป่ ระสบภัยพิบตั ิ ประกอบกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองทีเ่ ลวร้าย เป็นเหตุผลให้ตอ้ งหลบหนีเข้าเมือง ไทยในฐานะแรงงานต่างด้าว มีการสัมภาษณ์เจ้าหน้าทีร่ ฐั พาเจ้าหน้าทีล่ งพืน้ ทีก่ วาดล้างจับกุมโดยมีกล้องถ่ายภาพ ตามติด ตบท้ายด้วยคำ�อธิบายจากนักวิชาการและความคิดเห็นจากองค์กรเอกชนเพียงเล็กน้อย ซึ่งการนำ�เสนอใน ลักษณะนี้ ยากที่จะเข้าใจได้ว่าสื่อมวลชนได้ทำ�หน้าที่ของตนเองอย่างดีที่สุดแล้ว

18 ไทยพีบีเอส. (2551). พม่าล้นเมือง. ในรายการ เปิดปม. ออกอากาศเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2551 เวลา 21.00-21.30 น.

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

การที่ผู้ว่าราชการออกประกาศห้ามแรงงานต่างด้าวเผยแพร่วัฒนธรรม ห้ามคลอดลูก ห้ามนุ่งโสร่ง แม้แต่ ห้ามใช้ภาษาต่างด้าว โดยเฉพาะภาษาและวัฒนธรรมมอญนั้น ผิดตั้งแต่สามัญสำ�นึก ผิดหลักสิทธิมนุษยชน และ ผิดรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หากศึกษาประวัติศาสตร์ดีพอจะพบว่าวัดมอญกว่า 200 วัดทั่วประเทศมีป้าย ชื่อวัด และใบลานคัมภีร์เทศน์เป็นภาษามอญทั้งสิ้น ผู้คนชาติพันธุ์ใดๆ ก็ล้วนสื่อสารกันด้วยภาษาของตน การห้าม แรงงานต่างด้าวค่าแรงตํ่าไม่ให้เผยแพร่วัฒนธรรม ในขณะที่แรงงานต่างด้าวเงินเดือนสูง เช่น เกาหลี ญี่ปุ่น อเมริกัน สามารถเผยแพร่ภาษา อาหาร ทรงผม ภาพยนตร์ได้อย่างเสรี ในทางกลับกันคำ�ถามที่มีต่อรัฐไทยและคนไทยคือ รัฐ ไทยจะจัดการอย่างไรกับคนไทยที่ไปทำ�งานต่างประเทศ ทั้งที่เข้าเมืองถูกต้องและลักลอบเข้าเมืองถูกจับในคดีต่างๆ เช่นลักทรัพย์ ค้าประเวณี การสร้างวัดไทยพุทธ สอนภาษาไทย รำ�ไทย คำ�ถามที่ต้องตอบก็คือ สิทธิและความเท่า เทียมมีจริงหรือ และต้องไม่ลืมว่าระบบการปกครองที่ดี คือ ระบบที่มีเอกภาพท่ามกลางความแตกต่างอย่างลงตัว (Unity in Diversity)


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

134

3. ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นมอญ ประวัติศาสตร์ส่วนกลางมักบันทึกแบบแนวดิ่งจากบนสู่ล่าง ไม่ได้มองด้วยสายตาคนใน จึงพบได้ว่า ประวัตศิ าสตร์เรือ่ งเดียวกันแต่ตา่ งมุมมองและรายละเอียดโดยสิน้ เชิง และแน่นอนว่าเมือ่ มีความขัดแย้ง ประวัตศิ าสตร์ รัฐชาติมักมีความน่าเชื่อถือและได้รับการยอมรับเสมอ ตัวอย่างของประวัติศาสตร์ท้องถิ่นมอญที่อยู่นอกแบบเรียน ประวัติศาสตร์รัฐชาติ ได้แก่ ความวุ่นวายปลายสมัยธนบุรี ชาวมอญที่อพยพเข้ามายังพระราชอาณาจักรไทยทุกยุคทุกสมัยล้วนมีบทบาทร่วมกับกองทัพไทยต่อสู้กับ ข้าศึกมาด้วยกันแทบทุกครั้ง พระยารามัญวงศ์ (มะโดด) เดิมรับราชการตำ�แหน่งหลวงบำ�เรอศักดิ์ บุตรของสมิงนรเดชะ ขุนนางมอญที่ อพยพเข้ามาในสมัยอยุธยา พระยารามัญวงศ์ (มะโดด) มีน้องสาวชื่อ ทองคำ� ถูกนำ�ถวายตัวเข้ารับราชการฝ่ายใน เป็นเจ้าจอมอยูง่ านในกรมพระราชวังบวรฯ สมัยพระเจ้าอยูห่ วั สุรยิ าศน์อมรินทร์ เมือ่ กรุงศรีอยุธยาแตก ทองคำ�หนีไป อยูเ่ มืองนครราชสีมา ต่อมาเมือ่ พระเจ้าตากสินมหาราชคิดกอบกูเ้ อกราช ทองคำ�และเครือญาติ รวมทัง้ พระยารามัญ วงศ์ (มะโดด) จึงเข้ารับราชการกับพระเจ้าตากสินมหาราชที่กรุงธนบุรี ด้วยความคุ้นเคยกันในวัยเด็ก ประกอบกับ เจ้านายฝ่ายในสูญหายไปมากตอนเสียกรุง พระเจ้าตากสินมหาราชโปรดเกล้าฯให้ ทองคำ� ซึ่งรู้ธรรมเนียมในวังเป็น อย่างดีเป็นอธิบดีพระคลังฝ่ายใน ควบคุมดูแลฝ่ายในทั้งหมด ชาววังนิยมเรียกว่า “ท้าวทรงกันดารทองมอญ”19 ส่วน พระยารามัญวงศ์ (มะโดด) รับราชการในตำ�แหน่งจักรีมอญ เป็นที่ พระยารามัญวงศ์ ตำ�แหน่งเดิมเมื่อสมัยอยุธยา ดูแลว่ากล่าวเป็นใหญ่ฝ่ายมอญทั้งหมด ขุนนางมอญอีกกลุ่มหนึ่งคือ เจ้าพระยามหาโยธา (เจ่ง) น้องชายพระยาทะละ กษัตริย์มอญ เมื่อคิดกอบกู้ เอกราชไม่สำ�เร็จได้อพยพเข้ามายังธนบุรีเมื่อ พ.ศ. 2317 ในขณะนั้นพระยารามัญวงศ์ (มะโดด) มีบทบาทสูงอยู่ใน กรุงธนบุรี พระเจ้าตากสินมหาราชจึงโปรดเกล้าฯให้พระยาเจ่งและไพร่พลไปอยู่ที่เมืองปากเกร็ด คอยสกัดทัพพม่า และตั้งด่านขนอนเก็บภาษีเรือเข้าออก20 ในตอนปลายสมัยธนบุรี เมื่อเกิดกบฏพระยาสรรค์ ขณะที่สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกไปราชการทัพที่ เขมร พระยาสรรค์ได้เข้าร่วมกับพวกกบฏ ได้แก่ ขุนสุระ นายบุนนาคบ้านแม่ลา และขุนแก้วน้องพระยาสรรค์ นำ� ทัพเข้าโจมตีกรุงธนบุรี ปล้นพระราชวังและบังคับให้พระเจ้าตากสินมหาราชออกผนวช เตรียมตั้งกองทหารต่อสู้กับ สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริยศ์ กึ (รัชกาลที่ 1) และเมือ่ สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริยศ์ กึ กลับมาได้จดั การความวุน่ วาย ในกรุงธนบุรีจนสงบเรียบร้อยตามบันทึกในหน้าประวัติศาสตร์ที่หาอ่านได้ทั่วไป ประวัตศิ าสตร์รฐั ชาติกล่าวถึงมูลเหตุความวุน่ วายอันส่งผลให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริยศ์ กึ ต้อง “จัดการ” กับพระเจ้าตากสินมหาราช ก่อนปราบดาภิเษกขึน้ ครองราชเป็น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ตัง้ ราชวงศ์จักรีและสร้างพระราชวังขึ้นใหม่ยังฝั่งตรงข้ามกับพระราชวังเดิมของพระเจ้าตากสินมหาราช ประวัติศาสตร์ รัฐชาติกล่าวถึงที่มาที่ไปในแนวระนาบ แต่การเมืองภายในโดยเฉพาะฝ่ายขุนนางมอญมีตื้นลึกหนาบางมากกว่านั้น เนื่องจากขุนนางมอญในขณะนั้นมี 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งมีพระยารามัญวงศ์ (มะโดด) และพระยากลางเมืองนายกอง มอญเป็นหัวหน้า ยึดมัน่ และจงรักภักดีในพระเจ้าตากสินมหาราช อีกฝ่ายหนึง่ คือ พระยาเจ่งและพระยาราม เชือ้ สาย กษัตริยม์ อญเป็นหัวหน้า ยึดมัน่ และจงรักภักดีในสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริยศ์ กึ เมือ่ สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ ศึกทราบข่าวความวุ่นวายในกรุงธนบุรี ก็ให้พระยาสุริยอภัยยกทัพเมืองนครราชสีมาเข้ามากรุงธนบุรี พระยาสรรค์ก็ 19 ประยุทธ สิทธิพันธ์. (2505). ต้นตระกูลขุนนางไทย. หน้า 117. 20 นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2547). การเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี. หน้า 440-441 และ 452.


135

ภายหลังที่สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์เป็น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอด ฟ้าจุฬาโลก สถาปนาราชวงศ์จักรี และสร้างพระราชวังแห่งใหม่แล้ว ได้โปรดเกล้าฯให้ยกเลิกตำ�แหน่งพระยารามัญ วงศ์ที่มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา แต่งตั้งตำ�แหน่งจักรีมอญ ให้พระยาเจ่งเป็นที่ เจ้าพระยามหาโยธา21 เหตุการณ์ความวุ่นวายเมื่อปลายสมัยธนบุรี จะเห็นได้ชัดว่าขุนนางมอญมีบทบาทในการสนับสนุนสงคราม ภายในอย่างมาก ขุนนางมอญแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม หนุนอำ�นาจอยู่คนละขั้ว แต่มอญกลุ่มใหญ่นิยมในตัว สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก เพราะมีเชื้อสายมอญเช่นเดียวกัน และกรมสมเด็จพระอมรินทรามาตย์ (นาก) พระบรมราชินีเป็นมอญบางช้าง เมืองอัมพวา แม้ไม่มีหลักฐานว่าในเหตุการณ์ครั้งนั้นว่าท่านผู้หญิงนากมีบทบาท ทางด้านการเมืองเหมือนอย่างเจ้าศิริรดจา ท่านผู้หญิงของเจ้าพระยาสุรสีห์อย่างไร แต่เห็นได้ชัดว่าเมื่อครั้งที่หลวง ยกกระบัตรมาเข้ากับพระเจ้าตากสินมหาราช ท่านผู้หญิงนากได้ร่วมเดินทางมากับหลวงยกกระบัตร อยู่เคียงข้างมา โดยตลอด และสันนิษฐานว่าคุณนากคงมีส่วนสนับสนุนให้พระราชโอรส (พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย) ติดตามบิดาไปในการสงครามตั้งแต่เยาว์วัย เพื่อปลูกฝังความเป็นชายชาติทหาร เจริญรอยตามอย่างบิดา การเลือกขั้วของพระยาเจ่งในปลายสมัยธนบุรี ที่เลือกฝ่ายสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก เชื่อได้ว่านอก จากศักดิ์ศรีความเป็นเชื้อพระวงศ์มอญที่มีศักดินาสูงกว่าพระยารามัญวงศ์ (มะโดด) เมื่อครั้งอยู่ในเมืองมอญแต่เมื่อ อยู่ในเมืองไทยแล้วกลับเป็นเพียงขุนนางใหม่ศักดิ์ศรีตํ่ากว่าแล้ว อีกส่วนหนึ่งคงเนื่องมาจากการที่สมเด็จเจ้าพระยา มหากษัตริย์ศึก เจ้าพระยาสุรสีห์ และท่านผู้หญิงนาก ล้วนมีเชื้อสายมอญด้วยเช่นเดียวกัน อังกฤษคิดตั้งประเทศมอญขึ้นใหม่ สืบเนื่องจากเมื่อเจ้าพระยามหาโยธา (เจ่ง) อพยพเข้ามายังกรุงธนบุรี โดยมีเจ้าพระยามหาโยธา (ทอเรียะ) บุตรทีเ่ กิดในเมืองมอญติดตามมาด้วย จากคุณงามความดีในการช่วยเหลือจัดการความวุน่ วายเมือ่ ปลายสมัยธนบุรี ทำ�ให้ขุนนางมอญกลุ่มนี้เจริญเติบโตในหน้าที่การงานมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งฝ่ายหน้า และการถวายบุตรหลานที่เป็น สตรีเข้ารับราชการฝ่ายใน ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว อังกฤษเข้ามาทำ�สงครามกับพม่า หลังยึดหัวเมืองและประเทศราชของพม่าได้บางส่วนแล้ว อังกฤษคิดจะตัง้ ประเทศมอญขึน้ ใหม่ โดยขอให้ไทยไปช่วย รบกับพม่า เนือ่ งจากเห็นว่าไทยกับพม่านัน้ ทำ�สงครามขับเคีย่ วกันมาโดยตลอด โดยสัญญาว่าจะยกประเทศมอญให้ เป็นเมืองขึ้นของไทย เนื่องจากขณะนั้นอังกฤษสืบหาเชื้อพระวงศ์มอญที่เหมาะสมไม่ได้ จึงได้ขอตัวเจ้าพระยามหา โยธา (ทอเรียะ) ไปเป็นกษัตริย์ แต่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่โปรดเกล้าฯให้ตามที่ขอ เนื่องจากทรงมี พระบรมราชวินิจฉัยว่า อังกฤษเอาเปรียบ จะยกดินแดนที่ดอนตอนในที่ติดกับพม่าให้ แต่ทางด้านนอกซึ่งเป็นเมืองท่าค้าขายสำ�คัญ อยูต่ ดิ ทะเลอังกฤษจะเก็บเอาไว้ เท่ากับว่ายกดินแดนให้เพือ่ เอาเป็นกันชนพม่า หากเมือ่ ใดทีอ่ งั กฤษได้พม่าทัง้ ประเทศ ก็อาจรวมเอาประเทศมอญที่ตั้งขึ้นใหม่ไปด้วย จะเป็นชนวนเหตุให้เกิดบาดหมางกัน รวมทั้งดินแดนด้านในดังกล่าว อยู่ห่างไกล ยากต่อการดูแลปกครอง 21 กรมศิลปากร. (2512). เรื่องตั้งเจ้าพระยากรุงรัตนโกสินทร์. พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ หม่อมหลวงชูชาติ กำ�ภู. หน้า 13.

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

ให้กรมขุนสงครามยกพลเข้าปล้นบ้านพระยาสุริยอภัยจนเกิดสู้รบกันขึ้น เจ้าศิริรดจา ท่านผู้หญิงของเจ้าพระยาสุร สีห์ได้ร่วมมือกับพระยาเจ่ง พระยาราม ที่อยู่ข้างสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ช่วยกันจัดกองเรือไปช่วยพระยา สุริยอภัยจนได้รับชัยชนะ ภายหลังสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกเสด็จกลับจากเขมร ได้สอบสวนตัดสินคดีความ ทำ�การสำ�เร็จโทษพระเจ้าตากสินมหาราช รวมทั้งพระยารามัญวงศ์ (มะโดด) ที่ยืนยันจงรักภักดีในพระเจ้าตากสิน มหาราช จึงถูกประหารชีวิตตายตกไปตามกัน


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

136

อีกประการหนึง่ คือ เจ้าพระยามหาโยธา (ทอเรียะ) กับชาวมอญต่างอพยพเข้ามาอยูเ่ มืองไทยเป็นจำ�นวนมาก และหลายครั้ง จนกลายเป็นคนไทยไปหมดแล้ว จึงยากที่จะให้ไปได้ หากให้ไปเมืองไทยก็จะหมดกำ�ลังคนและต้อง อ่อนแอลงอย่างมาก และประการสำ�คัญตัวเจ้าพระยามหาโยธา (ทอเรียะ) นั้นไม่เต็มใจที่จะกลับไป22 เนื้อความที่ปรากฏในประวัติศาสตร์รัฐชาติมีแต่เพียงเท่านี้ แต่จากการศึกษาพบข้อกังขาคือ คนในชนชาติใด ก็ย่อมรักและผูกพันในเครือญาติแผ่นดินถิ่นเกิดของตน รวมทั้งต้องการมีอำ�นาจเป็นใหญ่มากกว่าที่จะยอมเป็นเบี้ย ล่างของคนชนชาติอื่น หากไม่เช่นนั้นแล้วเหตุใดเมื่อเจ้าพระยามหาโยธา (ทอเรียะ) รู้แล้วว่าพระบาทสมเด็จพระนั่ง เกล้าเจ้าอยู่หัวไม่ยอมให้กลับไปเป็นกษัตริย์ปกครองเมืองมอญ จึงขออนุญาตไปรับญาติพี่น้องของตนที่ยังคงหลง เหลืออยู่ในเมืองมอญกลับมาเป็นกรณีพิเศษ เพราะเกรงว่าสงครามระหว่างอังกฤษและพม่าจะเป็นอันตรายต่อเครือ ญาติของตน ทัง้ ทีก่ อ่ นหน้านัน้ เป็นระยะเวลายาวนานร่วม 50 ปี ไม่ได้คดิ จะกลับไปรับ รวมทัง้ เครือญาติทยี่ งั คงอยูใ่ น เมืองมอญก็มิได้คิดหาทางหนีมาจากพม่า อาจจะเป็นด้วยว่าเจ้าพระยามหาโยธา (ทอเรียะ) ยังมีความหวังอยู่ตลอด เวลาว่าสักวันหนึ่งจะกลับไปกอบกู้เอกราชแก่ชาติมอญ แต่ด้วยเพราะสิ้นหวังแล้ว ทั้งเกรงพม่าอยู่เดิม ไหนจะชาติ มหาอำ�นาจที่เข้ามาใหม่อย่างอังกฤษ ดังนั้นเหตุที่ว่าเจ้าพระยามหาโยธา (ทอเรียะ) ไม่เต็มใจกลับไปเมืองมอญจึง ไม่น่าเป็นไปได้ และที่สำ�คัญ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวประจักษ์ชัดอยู่ว่า ขณะนั้นเมืองไทยมีพลเมือง น้อย หากมอญนับแสนคนกลับออกไป เมืองไทยย่อมต้องอ่อนแอลงอย่างมากนั่นเอง ความข้อหนึ่งที่ประวัติศาสตร์รัฐชาติมักไม่กล่าวถึงคือ สงครามระหว่างมอญและไทย โดยมักกล่าวถึงมาโดย ตลอดว่าเป็นเครือญาติ บ้านพี่เมืองน้อง จนชาวมอญในเมืองไทยเองก็เชื่อเช่นนั้น เพราะดูจะสมเหตุสมผลกับการ สภาวการณ์ปัจจุบันที่อยู่ในฐานะ “ชาวไทยเชื้อสายมอญ” ได้อพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารอยู่ในเมืองไทย มี สถานภาพเป็นคนไทยตามกฎหมาย แต่ในความเป็นจริงแล้ว รัฐไทยเป็นฝ่ายยกกองทัพไปยึดเอาเมืองมะริด ทวาย ตะนาวศรี ซึง่ เป็นหัวเมืองมอญตอนใต้ และทุกครัง้ ทีต่ อ้ งการทำ�สงครามกับพม่าก็จะต้องยึดหัวเมืองมอญปล้นสะดม สะสมเสบียงกรังเพื่อใช้ในการเดินทัพทุกครั้ง23 ศิลาจารึกสมัยพ่อขุนรามคำ�แหงระบุว่า กรุงหงสาวดีของมอญเป็นเมืองขึ้นของสุโขทัย สอดคล้องกับประวัติ ของมะกะโท หรือ พระเจ้าฟ้ารั่ว ที่เคยทำ�ราชการอยู่ในกรุงสุโขทัย ภายหลังได้เป็นกษัตริย์ปกครองเมืองเมาะตะมะ โดยได้รับการสนับสนุนจากพ่อขุนรามคำ�แหงมหาราช24 ครัง้ นัน้ มะกะโทได้พาพระธิดาเทพสุดาสร้อยดาว พระราชธิดาพ่อขุนรามคำ�แหงกลับไปเป็นใหญ่ทเี่ มืองเมาะ ตะมะ ระหว่างที่พ่อขุนรามคำ�แหงยกทัพไปทำ�สงครามและฝากบ้านเมืองไว้กับมะกะโท ไม่ว่ามะกะโทจะหนีไปเอง หรือมีผู้ใหญ่รู้เห็นเปิดประตูวัง เตรียมช้างม้าไพร่พลเสบียงกรังรออยู่พร้อมสรรพก็ตามแต่ ซึ่งหลักใหญ่ใจความใน พงศาวดารมอญ พม่า และ ไทยกล่าวไว้สอดคล้องกัน รวมทั้ง เซอร์ อาเธอ แฟร์ และนักวิชาการตะวันตกหลายท่าน ต่างเชื่อว่าเรื่องราวของมะกะโทนั้นมีเค้ามูลในประวัติศาสตร์ แต่รายละเอียดโดยพิศดารนั้นอาจเป็นการแต่งเติมขึ้น ภายหลัง และไม่ว่ามะกะโทจะเป็นมอญ ไทใหญ่ หรือไทน้อยก็ตาม ก็ต้องเป็นใหญ่อยู่ภายใต้ดินแดนและวัฒนธรรม มอญที่เข้มแข็ง และก็ต้องเป็นเช่นนั้นอยู่ดี ดังที่กองทัพมองโกลบุกยึดจีน หรือกองทัพฉาน (ไทใหญ่) บุกยึดพม่าได้ ในระยะหนึ่ง แต่ด้วยทั้งสองชนชาติมีวัฒนธรรมที่ด้อยกว่า ชนะสงครามอาวุธแต่แพ้สงครามวัฒนธรรม ต้องอยู่ภาย ใต้วัฒนธรรมที่เข้มแข็ง จึงไม่อาจธำ�รงจักรวรรดิของตนเอาไว้ได้ 22 กรมศิลปากร. (2538). มอญที่เกี่ยวกับไทย. พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระรามัญมุนี (สมัย กมโล) อดีต เจ้าอาวาสวัดป้อมวิเชียรโชติการาม และอดีตเจ้าคณะจังหวัดสมุทรสาคร ณ เมรุวดั ป้อมวิเชียรโชติการาม อำ�เภอเมือง จังหวัด สมุทรสาคร วันที่ 9 เมษายน พุทธศักราช 2538. หน้า 65-66. 23 กรมศิลปากร. (2538). ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 1. หน้า 137. และ กรมศิลปากร. (2538). พระราชพงศาวดารฉบับพระราช หัตถเลขา เล่ม 1. หน้า 327, 331, 386 และ 702. 24 กรมศิลปากร. (2538). พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา เล่ม 1. หน้า 87.


137

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขุนนางมอญมีบทบาทค่อนข้างโดดเด่นทั้งฝ่ายหน้าและ ฝ่ายใน โดยฝ่ายหน้านั้นมีตระกูลขุนนางมอญรับราชการในตำ�แหน่งสำ�คัญมาอย่างต่อเนื่อง ส่วนฝ่ายใน นอกจาก สมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ พระมเหสีในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้าจอมเชื้อสายมอญ และ ยังมีนางในเชื้อสายมอญอีกหลายท่าน แอนนา เลียวโนเวนส์ ครูสอนหนังสือพระราชโอรสธิดาในพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กล่าวว่าราชสำ�นักในขณะนั้นมีความเป็นมอญเข้มข้นมาก25 เจ้าจอมเชื้อสายมอญในรัช สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้แก่ เจ้าจอมเล็ก เจ้าจอมบุนนาค เจ้าจอมทับทิม เจ้าจอมจัน เจ้า คุณจอมมารดาสำ�ลี พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพรรณราย ซึ่งบุคคลสำ�คัญที่จะกล่าวถึงเป็นกรณีพิเศษคือ เจ้า จอมมารดาซ่อนกลิ่น ไม่ปรากฏหลักฐานว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดปรานในตัวเจ้าจอมมารดาซ่อนกลิ่น มากน้อยเพียงใด มีเพียงหลักฐานจากบันทึกของแอนนาว่า เจ้าจอมมารดาซ่อนกลิ่นไม่เป็นที่โปรดปรานนัก ซึ่งน่าจะ เป็นเพราะทรงระแวงญาติพน่ี อ้ งของเจ้าจอมมารดาซ่อนกลิน่ ทีม่ บี ทบาทสำ�คัญในการปกครองหัวเมืองทีม่ เี ชือ้ สายมอญ ว่าจะไม่ซื่อตรงจงรักภักดีต่อแผ่นดินไทย26 ประกอบกับกรณีของ “กบฏเจ้าฟ้าเหม็น” พระราชโอรสในสมเด็จ พระเจ้าตากสินมหาราช เกิดแต่พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ซึ่งในครั้งนั้น พระองค์เจ้าชายทับ (พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว) สรุปการสอบสวนว่ามีขุนนางร่วมก่อการทั้งสิ้น 10 ท่าน เป็นขุนนางมอญ 4 ท่าน และหนึ่งในนั้นคือ สมิงศิริบุญ (โดด)27 บุตรเจ้าพระยามหาโยธา (เจ่ง) แม้เหตุการณ์ในครั้ง นั้นส่อเค้าว่าเป็นการใส่ความเพื่อ “ตัดไม้ไม่ไว้หน่อ ฆ่าพ่อไม่เลี้ยงลูก” 28 ก็ตาม เป็นเหตุสืบเนื่องให้พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงระแวงขุนนางในตระกูล “คชเสนี” ถึงกับเคยลงโทษเจ้าจอมมารดาซ่อนกลิ่นเมื่อครั้งทูล ขอให้แต่งตั้งน้องชายเป็นเจ้าเมืองนครเขื่อนขันธ์แทนบิดา สิ่งที่น่าสนใจก็คือ สมิงศิริบุญ (โดด) บุตรชายเจ้าพระยา มหาโยธา (เจ่ง) ไม่ปรากฏชื่อในหนังสือสาแหรกตระกูลลำ�ดับสกุลคชเสนี เรื่องที่เจ้าจอมมารดาซ่อนกลิ่นถูกลงโทษจำ�คุก สอดคล้องกับข้อความในตอนท้ายของพระราชหัตถเลขาของ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่มีไปถึงแอนนา ซึ่งขณะนั้นแอนนาเดินทางไปทำ�ธุระอยู่ที่สิงคโปร์ ความ สำ�คัญของพระราชหัตถเลขาฉบับนี้ที่เกี่ยวข้องกับเจ้าจอมมารดาซ่อนกลิ่นอยู่ที่ตอนท้ายของพระราชหัตถเลขาคือ “ป.ล.2 ฉันขอแจ้งให้เธอทราบว่าฉันได้ให้อภัยโทษแก่เจ้าจอมมารดาซ่อนกลิ่น นักเรียนของเธอ ตามคำ�ขอร้องของ สมเด็จเจ้าพระยาแล้ว” 29 เหตุการณ์ที่เจ้าจอมมารดาซ่อนกลิ่นถูกจำ�คุกปรากฏอยู่ในหนังสือของแอนนาเรื่อง The English Governess at the Siamese Court บทที่ 12 เรื่อง Shadows and Whispers of the Harem เนื่องจากเจ้าจอม มารดาซ่อนกลิ่นให้พระองค์เจ้ากฤษฎาภินิหาร ถวายฎีกาต่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ทรงแต่งตั้ง น้องชายของตนเป็นเจ้าเมืองนครเขื่อนขันธ์ (พระประแดง) แทนบิดาคือ พระยาดำ�รงค์ราชพลขันธ์ (จุ้ย) ที่เสียชีวิตไป ตำ�แหน่งเจ้าเมืองนครเขื่อนขันธ์ตั้งแต่ท่านแรกจนถึงท่านที่ 8 เป็นบุคคลในตระกูล “คชเสนี” มาโดยตลอด เจ้าเมืองคนที่ 3-5 เป็นบุตรของพระยาดำ�รงค์ราชพลขันธ์ (จุ้ย) และล้วนเป็นน้องชายของเจ้าจอมมารดาซ่อนกลิ่น ทั้งสิ้น ได้แก่ พระยามหาโยธา (นกแก้ว) บุตรคนที่ 5 พระขยันสงคราม (เจ๊ก หรือ แป๊ะ หรือทออาง) บุตรคนที่ 9 25 26 27 28

มาร์กาเร็ต แลนดอน. (2542). แอนนากับพระเจ้ากรุงสยาม. แปลโดย กัณหา แก้วไทย. หน้า 254. ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย. (มีนาคม, 2538). เจ้าจอมมารดาซ่อนกลิ่น. ใน ศิลปวัฒนธรรม. หน้า 132. กรมพระยาดำ�รงราชานุภาพ. (2546). เล่มเดิม. หน้า 8. ปรามินทร์ เครือทอง. (2547).กบฏเจ้าฟ้าเหม็น: “โอรส” รัชทายาทพระเจ้าตาก “นัดดา” พระพุทธยอดฟ้าฯ. หน้า 135, และ 142-145 และ 151. 29 ปรามินทร์ เครือทอง. (กุมภาพันธ์, 2547). จดหมายคิงมงกุฎถึงแอนนา เปลี่ยนจาก To เป็น Dear และคดีเจ้าจอมมารดา ซ่อนกลิ่น. ศิลปวัฒนธรรม. 25(4). หน้า 97.

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

การเมืองว่าด้วยเรื่องเจ้าจอมมารดาซ่อนกลิ่น


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

138

และ พระยาเกียรติ์ (ขุนทอง) บุตรคนที่ 6 อย่างไรก็ตามตำ�แหน่งเจ้าเมืองนครเขื่อนขันธ์ก็มักจะตกเป็นของบุคคลใน ตระกูลคชเสนี ซึ่งในขณะนั้นก็คงต้องเป็นบรรดาบุตรของพระยาดำ�รงค์ราชพลขันธ์ (จุ้ย) ทว่าการเรียงลำ�ดับการเข้า รับตำ�แหน่งเจ้าเมืองนั้นมิได้เรียงตามลำ�ดับอายุอาวุโส ซึ่งไม่แน่ชัดว่าพิจารณาที่ฐานะภรรยาของพระยาดำ�รงค์ราช พลขันธ์ (จุ้ย) ด้วยหรือไม่ ว่าเป็นภรรยาเอกหรืออนุภรรยา มูลเหตุดังกล่าวข้างต้นจึงอาจเป็นเรื่องภายในที่ทำ�ให้มีการแข่งขันกันเอง ในการวิ่งเต้นเข้ารับตำ�แหน่งเจ้า เมือง ระหว่างบุตรภรรยาเอกและบุตรที่เกิดจากอนุภรรยา และทำ�ให้เจ้าจอมมารดาซ่อนกลิ่นต้องเข้าไปมีส่วนร่วม การที่เจ้าจอมมารดาซ่อนกลิ่นถูกข้อหาบ่อนทำ�ลายพระราชอำ�นาจ เนื่องจากญาติพี่น้องเชื้อสายมอญของเจ้าจอม มารดาซ่อนกลิ่นและสายสัมพันธ์กับตระกูลขุนนางอื่นๆ ล้วนมีบารมีมากในบ้านเมืองขณะนั้น พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงระแวงบุคคลในตระกูลนี้จะคิดร้ายต่อแผ่นดิน30 สอดคล้องกับการที่แอนนาเข้าไปขอร้อง ให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง) ยื่นมือเข้ามาช่วยนั้นก็คงเนื่องด้วยเหตุผล 2 ประการคือ ประการแรก สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง) มีอำ�นาจบารมีอย่างมากในแผ่นดินขณะนั้น ตั้งแต่ การสนับสนุนให้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นครองราชย์ ซึ่งคนในตระกูลบุนนาคนี้ยังคงมีอิทธิพลใน ราชสำ�นักต่อเนือ่ งถึงต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ดังมีความอึดอัดพระทัยในการบริหารงาน แผ่นดินภายใต้คำ�แนะนำ�อย่างเข้มงวดของผู้สำ�เร็จราชการแทนพระองค์ ในช่วงที่พระองค์ยังไม่ทรงบรรลุนิติภาวะ31 ประการที่สอง มีการสมรสระหว่างบุคคลในสายตระกูล “บุนนาค” และสายตระกูล “คชเสนี” มาอย่างต่อ เนื่อง เช่น ปราง คชเสนี น้องสาวคนที่ 8 ของเจ้าจอมมารดาซ่อนกลิ่น ได้เป็นหม่อมในสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรี สุริยวงศ์ (ช่วง)32 พลอย คชเสนี น้องสาวคนที่ 10 ได้เป็นภรรยาพระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชุ่ม) และ คุณหญิงปิ๋ว บุนนาค ธิดาสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง) น้องสาวของเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร) ได้เป็นภรรยาของพระ มหาโยธา (นกแก้ว) อัครราชทูตกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ แสดงให้เห็นว่าในช่วงเวลานั้นตระกูล “คชเสนี” กับตระกูล “บุนนาค” มีความใกล้ชิดกันมาก ซึ่งส่วนหนึ่งน่า จะเกิดจากการสมรสกันระหว่างเจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (บุนนาค) กับคุณนวล น้องสาวของคุณนาก (กรมสมเด็จ พระอมรินทรามาตย์) ตระกูลบุนนาคทีม่ เี ชือ้ สายมอญกับตระกูล คชเสนี ทีม่ คี วามเป็นมอญเข้มข้น จึงเข้ากันได้อย่าง สนิทสนมและผูกพันแน่นแฟ้น การถูกคุมขังของเจ้าจอมมารดาซ่อนกลิ่นครั้งนั้นยังอยู่ในความทรงจำ�ของลูกหลานในราชสกุลกฤดากร และ ตระกูลคชเสนี มาโดยตลอด ลูกหลานบางท่านเชื่อว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้า อยู่หัว ศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์สุเอ็ด คชเสนี เชื้อสายเจ้าพระยามหาโยธา (เจ่ง) กล่าวว่าได้รับการบอก เล่าสืบต่อกันมาภายในตระกูล33 ว่าการทีเ่ จ้าจอมมารดาซ่อนกลิน่ ถูกคุมขังครัง้ นัน้ ไม่ได้เกิดจากการทูลขอให้แต่งตัง้ พี่ ชายเป็นเจ้าเมือง แต่เป็นเพราะพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ทรงระแวงบุคคลในตระกูลคชเสนีเป็นทุนเดิม34 ประกอบกับพระองค์มีพระสนมมาก เจ้าจอมมารดาซ่อนกลิ่นมีโอกาสถวายตัวเพียงครั้งเดียวก็ตั้งครรภ์ พระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั จึงทรงเคลือบแคลงพระทัยว่าเจ้าจอมมารดาซ่อนกลิน่ มีชู้ ถึงกับพระราชทานนามพระ 30 ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย. (มีนาคม, 2538). เล่มเดิม. หน้า 132. 31 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. (2516). พระราชพิธีสิบสองเดือน. หน้า 57-58. 32 กรมพระยาดำ�รงราชานุภาพ. (2508). ลำ�ดับสกุลคชเสนีกับโบราณคดีมอญ. ที่ระลึกในงานฌาปนกิจศพ คุณหญิงจำ�เริญ พิพิธมนตรี. หน้า 39. 33 สุเอ็ด คชเสนี เป็นผูใ้ ห้สมั ภาษณ์, องค์ บรรจุน เป็นผูส้ มั ภาษณ์, ทีโ่ รงพยาบาลศิรริ าช แขวงศิรริ าช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ เมื่อ 24 กรกฏาคม 2548. 34 ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย. (มีนาคม, 2538). เล่มเดิม. หน้า 132.


139

การกระจายตัวของชุมชนมอญในเมืองไทย มอญทีอ่ พยพมาอยูใ่ นเมืองไทย โดยมากพระมหากษัตริยม์ กั โปรดเกล้าฯให้ตงั้ บ้านเรือนอยูใ่ นทีร่ าบลุม่ นํา้ ภาค กลาง บริเวณใกล้ตัวเมืองชั้นใน ได้แก่ พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี กรุงเทพฯ สมุทรปราการ สมุทรสาคร ราชบุรี และกาญจนบุรี แต่ในระยะเวลาต่อมาเมื่อสถานการณ์การเมืองรายรอบประเทศเบาบางลง ประกอบกับ เมื่อราษฎรมีปัญหาที่ดินทำ�กินคับแคบ รวมทั้งนโยบายภายหลังการทำ�สนธิสัญญาเบาวริ่ง พระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั โปรดเกล้าฯให้มกี ารขุดคลอง เพือ่ การเปิดพืน้ ทีท่ ำ�นาให้มากขึน้ ชาวมอญในหลายชุมชนจึงไป ตัง้ บ้านเรือนยังพืน้ ทีเ่ หล่านัน้ รวมทัง้ การอพยพไปตามแหล่งทำ�มาหากิน และเส้นทางเดินเรือค้าขายเครือ่ งปัน้ ดินเผา ได้แก่ ลพบุรี สระบุรี นครปฐม สุพรรณบุรี อ่างทอง ชัยนาท สิงห์บุรี นครนายก ปราจีนบุรี สมุทรสงคราม ฉะเชิงเทรา เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ระยอง ชลบุรี เชียงใหม่ ลำ�พูน ลำ�ปาง ตาก กำ�แพงเพชร สุโขทัย นครสวรรค์ อุทัยธานี พิษณุโลก นครราชสีมา ชัยภูมิ ชุมพร และ สุราษฎร์ธานี จากการศึกษาเท่าที่มีหลักฐานในปัจจุบันพบว่ามีชุมชน มอญอยู่ในเมืองไทยทั้งสิ้น 35 จังหวัด ในอดีตนักวิชาการ มักอ้างอิงแหล่งที่ดินทำ�กินซึ่งพระมหากษัตริย์พระราชทานให้ตั้งแต่แรกอพยพมาอยู่ใน เมืองไทย จึงมักสรุปว่าในชุมชนมอญที่พระมหากษัตริย์มิได้พระราชทานที่ดินให้อยู่ตั้งแต่แรกเริ่ม ก็ต้องอพยพไป จากจังหวัดที่พระราชทานที่ดินให้อยู่แต่เดิม ดังนั้นงานวิชาการที่กล่าวถึงชุมชนมอญในเมืองไทยหลายชิ้นจึงผิดไป จากความเป็นจริง ดังเช่นกรณีของชุมชนมอญในจังหวัดสมุทรสาคร มีทั้งที่อพยพเข้ามาอย่างเป็นทางการ ทางการ ไทยได้จดบันทึกวันเวลาและจำ�นวนผูอ้ พยพเอาไว้อย่างชัดเจน ชาวมอญส่วนหนึง่ อพยพจากเมืองมอญโดยตรง ไม่มี การจดบันทึกเอาไว้อย่างเป็นทางการ คนทั่วไปรู้แต่เพียงว่ามีมอญอยู่ที่พระประแดง สามโคก และปากเกร็ด เพราะประวัติศาสตร์ไทยระบุชัดว่า อพยพโดยมีใบบอกมาล่วงหน้า พระเจ้าแผ่นดินโปรดเกล้าฯให้จดั กองทัพไปรับและจัดสถานทีใ่ ห้อยูอ่ ย่างเป็นทางการ แต่ชาวมอญในจังหวัดสมุทรสาครที่เป็นกลุ่มดั้งเดิมนั้น คาดว่าอพยพมาไม่มากแล้วค่อยๆ รวมตัวกันภายหลัง หรือ เข้ามาตั้งแต่ก่อนที่จะมีการบันทึกเอาไว้อย่างเป็นทางการ โดยชาวมอญในจังหวัดสมุทรสาครน่าจะอพยพเข้าเมือง ไทยร่วมสมัยกับชาวมอญในจังหวัดราชบุรี ซึ่งเป็นตะเข็บชายแดน โดยชาวมอญทั้งสองชุมชนมีความคล้ายคลึงกัน หลายประการ เช่น อายุของสถาปัตยกรรมมอญ วิถีชีวิต และภาษาพูด พระไตรสรณธัช (เย็น) เกิดที่บ้านคลองครุ ตำ�บลท่าทราย จังหวัดสมุทรสาครอุปสมบทที่วัดบวรนิเวศฯ มี สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ เป็นพระอุปปัชฌาย์ มีความเชี่ยวชาญในภาษามอญและ บาลี มีลูกศิษย์เคารพศรัทธามาก ภายหลังพระไตรสรณธัช (เย็น) ได้ลาสิกขาเข้ารับราชการเป็นมหาดเล็กในกรม พระนเรศวรฤทธิ์ เป็นเวลา 1 ปี แล้วเดินทางไปเมืองมอญเมื่อ พ.ศ. 2419 จากนั้นได้ตัดสินใจอุปสมบทอีกครั้งที่นั่น ท่านเป็นผู้ที่นำ�พุทธศาสนาแบบธรรมยุติกนิกายจากเมืองไทยไปเผยแพร่ที่เมืองมอญ และเป็นผู้ก่อตั้งพุทธศาสนา ธรรมยุติกนิกาย ในเมืองมอญ เมื่อ พ.ศ. 2384 ซึ่งชาวมอญในเมืองมอญ ประเทศพม่า นิยมเรียกธรรมยุติกนิกาย

35 แหล่งเดิม. หน้าเดียวกัน.

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

ราชโอรสเป็นการการประชดประชันว่า “พระองค์เจ้ากฤษฎาภินิหาร” และทรงแสดงออกให้เห็นเสมอว่าไม่ทรงโปรด เจ้าจอมมารดาซ่อนกลิ่นและพระราชโอรสองค์นี้35 อย่างไรก็ตามเจ้าจอมมารดาซ่อนกลิ่นได้ประพฤติตนตามจารีต ประเพณีเป็นที่ประจักษ์ชัด สามารถพิสูจน์ตนเองกระทั่งได้รับความเคารพนับถือจากพระบรมวงศานุวงศ์ และพระ มหากษัตริย์รัชกาลต่อๆ มาทุกรัชกาล


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

140

ว่า นิกายมหาเย็น ท่านได้สร้างวัดมอญธรรมยุติขึ้นที่นั่นทั้งสิ้น 52 วัด รวมทั้งวัดที่ชื่อ “วัดมหาเย็น” ปัจจุบันมีวัด นิกายมหาเย็นทั้งสิ้น 102 วัด36 พระครูสาครสีลคุณ (ตู้) เจ้าอาวาสวัดคลองครุ ตำ�บลท่าทราย จังหวัดสมุทรสาคร เล่าว่าตนเองและผู้สูงอายุ ชาวมอญในจังหวัดสมุทรสาครได้ยินและจดจำ�เรื่องราวของอาจารย์เย็นได้เป็นอย่างดี เพราะยายของอาจารย์ตู้นั้น เป็นน้องสาวอาจารย์เย็น เช่นเดียวกับชาวมอญบ้านกะมาวักในเมืองมอญ ต่างรับรูป้ ระวัตขิ องอาจารย์เย็นเป็นอย่าง ดีเช่นกัน ล้วนยืนยันว่าอาจารย์เย็นเป็นมอญที่เกิดในเมืองไทย ตั้งรกรากที่บ้านคลองครุ จังหวัดสมุทรสาคร มีบุตร ธิดา 10 คน คนโตเป็นหญิงชื่อโต่น อาจารย์เย็นเป็นคนที่ 2 ยายของอาจารย์ตู้เป็นคนที่ 3 คนที่ 4-9 ไม่มีใครทราบ ประวัติ เพราะเข้าไปอยู่ในวังที่กรุงเทพฯ ส่วนคนที่ 10 เป็นหญิงชื่อ มิเจ่าะ (แปลว่าลูกสาวคนที่สิบ)37 อาจารย์เย็น เกิดเมื่อ พ.ศ. 2384 เป็นลูกคนที่ 2 คาดว่ามีอายุห่างจากพี่สาว 1-2 ปี ขึ้นไป ตอนที่อาจารย์เย็น เกิด พ่อแม่ของท่านคงอายุราว 20 ปี พ่อและแม่ของอาจารย์เย็นคงมาอยู่ที่บ้านคลองครุอย่างน้อยก่อน พ.ศ. 2362 ซึ่งเป็นช่วงเวลาใกล้เคียงกับการอพยพครั้งใหญ่ของมอญในสมัยรัชกาลที่ 2 คือ พ.ศ. 2358 แต่ในการอพยพครั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยโปรดเกล้าฯให้ไปตัง้ บ้านเรือนอยูท่ สี่ ามโคก ปากเกร็ด และพระประแดง มิได้ กล่าวถึงสมุทรสาคร แต่อาจเป็นไปได้ว่าในการอพยพครั้งนั้น ซึ่งเป็นการอพยพครั้งใหญ่มาก เป็นจำ�นวนถึง 40,000 คนเศษ อพยพกันเข้ามาหลายเส้นทางเพราะถูกพม่ากดดันอย่างหนัก ฉะนั้นในการอพยพจึงอาจมีการตกหล่น พลัด หลงกันบ้าง เมื่อเดินทางล่วงเข้ามายังสมุทรสาคร จึงปักหลักอยู่รอญาติที่จะตามมาและดูทีท่าทางการไทยว่าจะมีน โยบายลงมาอย่างไร วัดประจำ�ชุมชนมอญในตำ�บลบ้านเกาะมี 2 แห่ง คือ วัดบางปลา สร้างเมื่อ พ.ศ. 2320 และวัดเกาะ สร้าง เมื่อ พ.ศ. 2318 ซึ่งกรมศิลปากรระบุว่าอุโบสถวัดเกาะมีรูปแบบสถาปัตยกรรม การตกแต่งรวมทั้งพระพุทธรูปทรง เครื่องยืนในอุโบสถ เป็นศิลปะแบบมอญ สมัยอยุธยาตอนปลาย แม้หลักฐานที่กล่าวถึงการเข้ามาของชาวมอญในจังหวัดสมุทรสาครที่เป็นลายลักษณ์อักษรเพียงกรณีเดียว คือ พระบาทสมเด็จพระนัง่ เกล้าเจ้าอยูห่ วั โปรดเกล้าฯให้สร้างป้อมและขุดคลองสุนขั หอน และโปรดฯให้ยกครัวมอญ ในเจ้าพระยามหาโยธา (ทอเรียะ) ไปทำ�มาหากินที่จังหวัดสมุทรสาครเมื่อ พ.ศ. 2371 แต่ประวัติของวัดป้อมวิเชียร โชติการาม ตำ�บลมหาชัย ซึ่งอยู่ติดกับป้อมดังกล่าวนั้น กรมศาสนาระบุว่าสร้างเมื่อ พ.ศ. 2323 ดังนั้นวัดแห่งนี้ต้อง มีมาก่อนสร้างป้อม ในปี พ.ศ. 2371 แต่ภายหลังเมื่อมีชาวมอญเข้ามาอาศัยอยู่ ใช้วัดนี้ในการประกอบพิธีกรรมทาง ศาสนามาตลอด วัดนี้จึงกลายเป็นวัดมอญในที่สุด สุภรณ์ โอเจริญ กล่าวว่ามอญในจังหวัดสมุทรสาครอพยพมาจากจังหวัดปทุมธานีและพระประแดง เป็นมอญ ที่มาสร้างและอยู่ดูแลป้อม อีกพวกหนึ่งไปขุดคลองสุนัขหอน หลังจากขุดลอกคลองเสร็จแล้ว ไม่ได้โยกย้ายออกไป ยังคงทำ�มาหากินที่ริมคลองสุนัขหอน คือ เขตตำ�บลท่าจีน ตำ�บลบางกระเจ้า ตำ�บลบ้านบ่อ ตำ�บลบางโทรัด และ ตำ�บลกาหลง นอกจากนี้ สุภรณ์ โอเจริญ ยังกล่าวว่าแหล่งใหญ่ของมอญในเมืองไทย อยู่ที่ปทุมธานี แหล่งที่อยู่ สำ�คัญรองๆ ลงมา คือ ลุ่มนํ้าแม่กลอง อำ�เภอบ้านโป่ง อำ�เภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี และในจังหวัดกาญจนบุรี บริเวณที่สำ�คัญและเป็นที่รู้จักกันดี คือ ปากลัดหรือพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ บริเวณอื่นๆ “จะพบได้บ้าง ที่มหาชัย จังหวัดสมุทรสาคร…..”

36 เถรรูปป่อดต็อย. (2506). อ่อดธุป่อดต๊อยอะจาตะละกุ่นแหมะฮาเย็น หมั่วฮานโกมเก๊าสะเนอุปปะเต่เกิ่นแหมะฮาเย็น สักกะ หราด 1237 ปะตอนโหล่ เกิ่นแหมะฮาเย็นโรง. (อักษรมอญ). หน้า 1. 37 มะระ ทอลุม เป็นผูใ้ ห้สมั ภาษณ์, องค์ บรรจุน เป็นผูส้ มั ภาษณ์, ทีบ่ า้ นเกาะ ตำ�บลอำ�แพง อำ�เภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร เมื่อ 20 มกราคม 2547.


141

สอดคล้องกับเรื่องเล่าเกี่ยวกับการไปมาหาสู่กันของชาวมอญในสองตำ�บลนี้ยังบ้านกะมาวัก เมืองมะละแห ม่งตลอดเวลา นางมะระ ทอลุม เจ้าพิธีรำ�ผีมอญชาวบ้านเกาะ เล่าว่าญาติคนหนึ่งซึ่งเป็นอาของพระอาจารย์จบ วัด ศรีบูรณาวาส (วัดโคก) ได้ไปแต่งงานกับคนที่บ้านกะมาวัก แล้วไม่ยอมกลับมา ลูกหลานพากันไปตามซึ่งได้ทราบว่า เสียชีวิตแล้วที่นั่น38 นายพลอย น้องชายพระภิกษุนาค ผูเ้ ป็นปราชญ์มอญคนหนึง่ ของสมุทรสาคร เคยมีครอบครัว มีบตุ ร 3 คนใน เมืองไทย ได้ไปอยู่หมู่บ้านกะมาวัก เมืองมะละแหม่ง แต่งงานใหม่ มีบุตร 1 คน และเสียชีวิตที่บ้านกะมาวัก พระอาจารย์หงส์ ฐิตาธัมโม อดีตเจ้าอาวาสวัดเจ็ดริ้ว (พ.ศ. 2466–2485) เป็นผู้หนึ่งที่มักเดินทางระหว่าง เมืองไทยและบ้านกะมาวักเพื่อหาสมุนไพร เมื่อ พ.ศ. 2482 ท่านไปประเทศพม่าถึง 4 เดือน ในครั้งนั้นท่านพักอยู่ใน หมู่บ้านกะมาวักเป็นเวลา 1 เดือนเต็ม พระครูสาครกิจโกศล (จ้อน) อดีตเจ้าอาวาสวัดเจ็ดริว้ (พ.ศ. 2488–2528) พระสงฆ์มอญท่านนีน้ บั ว่ามีอปุ การะ คุณต่อชาวมอญในเมืองไทยและชาวมอญในพม่ามาก ท่านเดินทางไปพม่า พักอยู่ที่บ้านกะมาวักเป็นประจำ� เมื่อ ท่านมรณภาพไป ชาวมอญในเมืองมะละแหม่ง ได้ร่วมใจกันมาสร้างปราสาทเผาศพที่งดงามตามแบบศิลปะมอญ ถวายให้ในเมืองไทย39 พิศาล บุญผูก เล่าว่าย่าของตนชื่อ ปริก ชาวเรือหัก เกิด พ.ศ. 2410 มีพี่ชายชื่อ เดช เป็นนักดนตรีปี่พาทย์ มอญ บ้านเกาะ จังหวัดสมุทรสาคร เคยไปรับจ้างแสดงดนตรีที่บ้านกะมาวักเสมอๆ ได้ไปพบท่ารำ�มอญโบราณ และ นำ�มาถ่ายทอดให้กับน้องสาว คือย่าปริก ต่อมาได้แต่งงานกับปู่ทอเจ่าะ ชาวไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี ในที่สุดได้ย้าย ครอบครัวมาอยู่ที่เกาะเกร็ด ทำ�การถ่ายทอดวิชามอญรำ�ให้กับลูกหลานสืบมาจนทุกวันนี้40 บ้านกะมาวัก เป็นชุมชนขนาดใหญ่ เป็นแหล่งผลิตตำ�ราและศึกษาเรียนรูน้ บั แต่อดีตจวบจนปัจจุบนั สิง่ ทีโ่ ยงใย คนมอญและธำ�รงรักษาความเป็นมอญที่สำ�คัญสิ่งหนึ่งคือ “การนับถือผี” นับเป็นศาสนาแรกของผู้คนทุกชนชาติ ใน ส่วนของคนมอญยังคงนับถือผีควบคู่กับพุทธศาสนา ผีที่คนมอญนับถือคือผีบรรพชน ซึ่งชาวมอญเคารพยำ�เกรง ไม่ กล้าฝ่าฝืนข้อห้ามของผี ซึง่ ข้อปฏิบตั ใิ นการบูชาผีนนั้ เทียบได้กบั จารีต หรือกฎหมายในปัจจุบนั เป็นเครือ่ งมือควบคุม สังคม และการนับถือผีทสี่ ามารถรัดโยงความเป็นเครือญาติ และหลงเหลือหลักฐานสะท้อนวิถชี วี ติ ของชาวมอญบ้าน กะมาวัก เมืองมะละแหม่ง กับชาวมอญที่บ้านเกาะ และบ้านท่าทราย จังหวัดสมุทรสาครได้อย่างชัดเจนก็คือ การ สืบทอดการนับถือผีผ่านลูกชายของครอบครัว โดยทั่วไป คนมอญสืบทอดการนับถือผีผ่านลูกชายคนหัวปีของครอบครัว ในเมืองมอญ มีเพียงหมู่บ้านเดียว เท่านั้นที่สืบทอดการนับถือผีผ่านลูกชายคนเล็กของครอบครัว คือ บ้านกะมาวัก เมืองมะละแหม่ง และในเมืองไทย 38 ธีระ ทรงลักษณ์. (2530). สิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับเจ็ดริ้ว. หน้า 70-72. 39 พิศาล บุญผูก เป็นผู้ให้สัมภาษณ์, องค์ บรรจุน เป็นผู้สัมภาษณ์, ที่บ้านเลขที่ 77 หมู่ 1 ตำ�บลเกาะเกร็ด อำ�เภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เมื่อ 24 พฤษภาคม 2546. 40 พิศาล บุญผูก เป็นผู้ให้สัมภาษณ์, องค์ บรรจุน เป็นผู้สัมภาษณ์, ที่บ้านเลขที่ 77 หมู่ 1 ตำ�บลเกาะเกร็ด อำ�เภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เมื่อ 24 พฤษภาคม 2546.

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

นับว่าข้อมูลนี้ไม่ถูกต้อง เนื่องจากผลการสำ�รวจของ สุเอ็ด คชเสนี เมื่อปี พ.ศ. 2512 ที่ลงพื้นที่สำ�รวจด้วย ตนเองโดยได้รบั ความร่วมมือจากกำ�นัน ผูใ้ หญ่บา้ น ครูอาจารย์และผูน้ �ำ ชุมชนซึง่ ล้วนเป็นมอญ พบว่ามอญในจังหวัด สมุทรสาครมีมากเป็นอันดับ 2 ของประเทศ น้อยกว่าจังหวัดอันดับหนึ่ง คือจังหวัดปทุมธานีเพียง 1,918 คน เท่านั้น สิ่งสำ�คัญคือผู้สูงอายุในตำ�บลบ้านเกาะและตำ�บลท่าทรายยืนยันว่าไม่มีใครมีญาติพี่น้องอยู่ที่จังหวัดปทุมธานี โดย คาดว่ามอญในสองตำ�บลนี้ มาจากบ้านกะมาวักในเมืองมอญโดยตรง


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

142

ก็มีมอญเพียงกลุ่มเดียวเท่านั้นที่นับถือผีผ่านลูกชายคนเล็ก คือ มอญย่านบ้านเกาะ บ้านท่าทราย และมอญที่โยก ย้ายไปสมุทรสาครเท่านั้น ไม่พบในชุมชนมอญใดๆ ในเมืองไทยเลย กล่าวได้ว่าชุมชนมอญที่สมุทรสาครในยุคแรกตั้งถิ่นฐานนั้น อยู่ที่ตำ�บลบ้านเกาะ และตำ�บลท่าทราย มิได้ อพยพมาจากจังหวัดปทุมธานี แต่อพยพมาจากบ้านกะมาวัก เมืองมะละแหม่งโดยตรง คาดว่าอพยพเข้ามาก่อน พ.ศ. 2362 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ดูได้จากอายุการสร้างวัด ซึ่งชาวมอญมักสร้างวัดขึ้น ภายในชุมชนของตนทันทีที่ตั้งบ้านเรือนมั่นคงแล้ว เพื่อให้พระสงฆ์ที่อพยพร่วมมาด้วยอยู่จำ�พรรษา เป็นที่ประกอบ พิธที างศาสนา และเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้าน สะท้อนถึงความเก่าแก่ของชุมชน ต่อมาก็ได้สร้างวัฒนธรรมท้อง ถิ่นเฉพาะตัว ก่อนที่จะนำ�ติดตัวไปยังชุมชนอื่นเมื่ออพยพโยกย้ายไปภายหลัง เช่น บางบัวทอง ไทรน้อย บางเลน หนองจอก มีนบุรี ลาดกระบัง บางกระดี่ และ ชลบุรี

สรุป สำ�นึกร่วมทางประวัติศาสตร์ และการต่อสู้กับการล่มสลายของวัฒนธรรมมอญ ด้วยการประกาศตัวตนออก สู่สังคมโลก เป็นการสะท้อนความต้องการพื้นที่ที่จะธำ�รงรักษาความเป็นมอญ นับจากที่ในอดีตที่ต้องต่อสู้กับแรง กดดันจากอำ�นาจรัฐ ผ่านระบบการศึกษาจากส่วนกลาง ที่บ่มเพาะวัฒนธรรมความเป็นไทยอย่างมาก แม้ปัจจุบัน รัฐชาติได้ผ่อนปรนเปิดโอกาสให้ชุมชนมอญได้สำ�แดงตัวตนได้มากยิ่งขึ้น แต่สถานการณ์กลับเลวร้ายกว่าในอดีต เนื่องจากระบบการศึกษาแบบเก่าที่ท�ำ ลายตัวตนคนมอญจนเกือบสูญสลาย เทคโนโลยีสารสนเทศ นโยบายการ พัฒนาวัตถุ ล้วนดึงดูดเยาวชนให้ออกไปจากชุมชนเข้าสู่ส่วนกลาง เยาวชนรุ่นใหม่ปฏิเสธรากเหง้า เนื่องจากไม่ได้ เรียนรู้ประวัติศาสตร์บรรพชน ขาดความภาคภูมิใจในชาติพันธุ์ จึงไม่มีสำ�นึกที่จะธำ�รงความเป็นชาติพันธุ์ของตน ในขณะทีผ่ เู้ ฒ่าผูแ้ ก่ในชุมชนต้องลุกขึน้ มาต่อสูก้ บั ความล่มสลาย ต่อสูก้ บั หน่วยงานรัฐทีย่ งั เข้าไม่ถงึ การศึกษาระบบ ใหม่ และต้องต่อสู้กับเยาวชนลูกหลานของตัวเองที่ถูกรัฐไทยกลืนกลายตัวตน อย่างไรก็ตามสิ่งเหล่านี้ย่อมเป็นสิ่ง ยืนยันการมีอยู่ คนมอญยังคงทำ�หน้าที่ของตน ด้วยหวังว่าจะได้ส่งผ่านวัฒนธรรมมอญที่ตนได้รับจากบรรพชน ให้ เป็นมรดกตกทอดมอบแด่เยาวชนมอญในรุ่นต่อไปตามเจตนารมณ์



ชาตินิยม ชาติพันธุ์กับสุขภาพและการศึกษา


145

ชัยมงคล เฉลิมสุขจิตศรี2

ชาวเขมรในประเทศไทย: ชนดั้งเดิมที่ได้รับการปฏิเสธการมีอยู่จากสังคมไทย อารยธรรมเขมรทีห่ ยัง่ รากฝังลึกและแพร่กระจายในประเทศไทยโดยเฉพาะอย่างยิง่ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนล่าง หรือที่เรียกว่าอีสานใต้ของประเทศไทยนั้น มีประชากรเขมรซึ่งเป็นประชากรดั้งเดิมของภูมิภาคแห่งนี้ หลัก ฐานที่ปรากฏอย่างชัดเจนคือ ปราสาทจำ�นวนมากกว่า 300 หลัง ซึ่งแพร่กระจายในบริเวณตอนล่างของภาคตะวัน ออกเฉียงเหนือ หรือที่เรียกว่า “แอ่งโคราช” นอกไปจากหลักฐานด้านวัตถุแล้วยังมีหลักฐานด้านภาษาและมนุษย์ให้ เห็นประจักษ์พยานโดยในจังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ นั้นประมาณการว่ามีจำ�นวนประชากรเชื้อสายเขมรเป็น จำ�นวนกว่าหนึ่งล้านคน โดยประชากรเชื้อสายเขมรที่ยังคงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีเขมรได้อย่างเหนียวแน่น มีอยู่เป็นจำ�นวนมากในจังหวัดสุรินทร์ ซึ่งมีจำ�นวนประมาณ 60% หรือกว่า 600,000 คน นอกไปจากประเพณีแล้ว ประชากรในจังหวัดสุรินทร์ยังคงพูดภาษาเขมรเป็นส่วนใหญ่ แม้ว่าจำ�นวนผู้ที่อ่านและเขียนภาษาเขมรในปัจจุบันได้ นั้นมีจำ�นวนไม่ถึง 1% ของประชากรทั้งหมด มรดกทางวัฒนธรรมเขมรนั้นยังคงมีให้เห็นมาจนถึงปัจจุบันนี้ ในรูปแบบของมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้อง ได้และวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ปราสาทใหญ่น้อยมีจำ�นวนเท่าที่หลงเหลือให้เห็นจำ�นวน 33 หลังในจังหวัดสุรินทร์ และจำ�นวนมากกว่า 300 แห่งในนับตั้งแต่จังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ และศรีสะเกษ นอกเหนือไปจากด้าน ศิลปะการแสดง เช่น กันตรึม เจรียง อาไย เป็นต้น แต่กระนั้นสิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ จำ�นวนประชากรที่พูดภาษาเขมร ในจังหวัดสุรนิ ทร์กลับลดลงในระยะเวลาหลายปีทผี่ า่ นมา โดยเฉพาะอย่างยิง่ เด็กและเยาวชน อันเนือ่ งมาจากสาเหตุ หลายประการด้วยกัน เช่น ความเชื่อและค่านิยมที่เปลี่ยนแปลงไปโดยอิทธิพลของสื่อมวลชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โทรทัศน์ และนโยบายการขยายการศึกษาภาคบังคับในชนบทอย่างทั่วถึงในหลายทศวรรษที่ผ่าน การใช้เฉพาะแต่ เพียงภาษาไทยในการเรียนการสอน เกณฑ์เด็กเข้าเรียนนัน้ มีจำ�นวนช่วงอายุทนี่ อ้ ยลง และสาเหตุสำ�คัญคือ ทรรศนะ คติของเจ้าของภาษาเองทีม่ องเห็นว่าการเรียนภาษาเขมรไม่สามารถนำ�ไปประกอบอาชีพให้เกิดประโยชน์ได้ และการ ปฏิเสธวัฒนธรรมดั้งเดิมของตนเอง ซึ่งทัศนคติเช่นนี้มีที่มาและที่ไป ความเชื่อของประชากรและบุคลากรทางการศึกษาบางส่วนเองที่ว่า ถ้าหากเด็กพูดภาษาเขมรจะทำ�ให้พูด ภาษาไทยหรือเรียนภาษาไทยได้ไม่ดหี รือเข้ากับเพือ่ นไม่ได้ โดยอาจจะสับสนและออกเสียงไม่ชดั อีกประการหนึง่ คือ ภาษาเขมรหรือภาษาท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น ภาษากูยและภาษาลาว ยังไม่เคยมีการบรรจุเข้าหลักสูตรหรือการเรียนการ สอนในสถานศึกษาตัง้ แต่ระดับพืน้ ฐานไปจนถึงระดับสูงภายในจังหวัด แม้กระทัง่ ภาษาเขมรซึง่ เป็นภาษาทีร่ ะบบการ เขียนนับเป็นพันปีในระยะเวลากว่าครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา รัฐบาลส่วนกลางโดยกระทรวงศึกษาธิการไม่อนุญาตให้มี 1 การอ้างอิงบทความ ควรได้รับอนุญาตจากเจ้าของบทความ 2 โครงการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมภาษาเขมร สมาคมภาษาและวัฒนธรรม จังหวัดสุรินทร์ (สภวส.)

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

การศึกษาในภาษาดั้งเดิมในมุมมองของประเด็นสิทธิ มนุษยชน: กรณีศึกษาภาษาเขมรของชนชาติดั้งเดิม เขมรในจังหวัดสุรินทร์ ประเทศไทย1


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

146

การเรียนการสอนภายในสถานศึกษา ผู้เขียนเองได้เคยยื่นขออนุญาตจัดตั้งโรงเรียนสอนภาษาเขมร ทำ�ให้ทราบว่า ภาษาเขมรได้เคยถูกขึ้นบัญชีเป็นภาษาต้องห้ามไม่ให้มีการเรียนการสอนโดยสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ส่วน ภาษากูยซึง่ เป็นภาษาทีไ่ ม่มรี ะบบการเขียนนัน้ ตกอยูใ่ นสภาวะทีก่ ำ�ลังจะหมดสิน้ ไปในไม่ชา้ นี้ อันเนือ่ งมาจากภาษา กูยเป็นภาษาที่ไม่มีระบบการเขียน สาเหตุอีกประการหนึ่งคือ ความสัมพันธ์กับพระราชอาณาจักรกัมพูชามีส่วนทำ�ให้รัฐบาลในอดีตที่ผ่านมอง เห็นว่า ปัญหาภาษาเป็นปัญหาด้านความมั่นคง ถ้าหากมีประชากรที่พูดภาษาเขมรมากจะทำ�ให้มีปัญหาด้านการ ปกครอง และความรู้สึกของการเป็นเขมรนั้นอาจจะทำ�ให้เกิดการเรียกร้องดินแดนส่วนนี้ ดังเช่นที่เกิดในสามจังหวัด ภาคใต้ ซึ่งมีประชากรดั้งเดิมเป็นชาวมาเลย์พูดภาษามาเลยและภาษายาวี พ.ศ. 2505 ซึ่งประเทศไทยและพระราช อาณาจักรกัมพูชาได้เกิดกรณีพิพาทเขาพระวิหารในสมัยรัฐบาลของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และประเทศไทยแพ้ คดีศาลโลกได้ตัดสินให้ประเทศไทยต้องคืนดินแดนปราสาทเขาพระวิหารให้แก่พระราชอาณาจักรกัมพูชาซึ่งมีพระ มหากษัตริย์นโรดมสีหนุวรมันเป็นพระประมุข รัฐบาลไทยในสมัยของจอมพลสฤษฏดิ์ ธนะรัชต์ ได้ห้ามไม่ให้มีการ เรียนภาษาเขมร หรือแม้แต่กระทัง้ การพูดภาษาเขมรในทีส่ าธารณะนัน้ เป็นสิง่ ทีต่ อ้ งห้าม ประชากรในจังหวัดสุรนิ ทร์ บุรีรัมย์ และศรีสะเกษต้องเปลี่ยนชื่อและนามสกุลแบบเขมรมาเป็นแบบไทยซึ่งมักจะใช้ภาษาบาลีและสันสกฤตเป็น ส่วนใหญ่ และคัมภีร์ใบลานนั้นพระสงฆ์ต้องนำ�มาเผาทิ้งอันเนื่องมาจากคำ�สั่งจากรัฐบาลกรุงเทพฯ กระนั้นมีพระ สงฆ์และประชาชนเป็นจำ�นวนมากที่รักในภาษาดั้งเดิมของตนเองได้นำ�คัมภีร์ใบลานเหล่านี้ไปแอบซ่อนไว้นับเป็น จำ�นวนไม่น้อย เมื่อพัฒนาการการเมืองภายในประเทศไทยได้พัฒนาเข้าสู่ระบบประชาธิปไตยมากยิ่งขึ้นและรัฐธรรมปี พ.ศ. 2540 นับว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่ได้ระบุถึง “สิทธิมนุษยชน” ไว้ในรัฐธรรมนูญ และสถานการณ์ในประเทศและ รอบประเทศได้ผอ่ นคลายไป แต่กระนัน้ ไม่ปรากฏมีโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาชัน้ สูงภายในจังหวัดเปิดสอนภาษา เขมร หรือภาษาท้องถิ่นอื่น ๆ อย่างเป็นระบบให้แก่นักเรียนและนักศึกษา ประชากรเชื้อสายเขมรหลายคนต่างแปลก ใจทีม่ โี รงเรียนสอนภาษาจีนซึง่ ตัง้ มาเป็นระยะเวลานาน ในปัจจุบนั มีหลายๆ โรงเรียนต่างเปิดสอนภาษาญีป่ นุ่ ภาษา เกาหลี หรือแม้กระทัง้ ภาษาจีนเองก็ตาม ผูบ้ ริหารมหาวิทยาลัยท่านหนึง่ ได้เคยกล่าวกับโครงการไว้วา่ “เรียนไปทำ�ไม ภาษาเขมร?” ซึง่ ทัศนคติแบบนีน้ เี่ องซึง่ ทำ�ให้ไม่มกี ารเรียนการสอนภาษาเขมรอย่างเป็นระบบใน แม้แต่มหาวิทยาลัย เองซึ่งนับถือกันว่าเป็นสถาบันการศึกษาระดับสูงของจังหวัด ดร.วิจติ ร ศรีสะอ้าน อดีตรัฐมนตรีวา่ การกระทรวงศึกษาธิการ ได้ให้สมั ภาษณ์ไว้ประมาณเดือนมิถนุ ายน พ.ศ. 2550 ไว้วา่ ในเนือ่ งมาจากวิกฤตภาษาไทยซึง่ มีจ�ำ นวนนักเรียนทีใ่ ช้ภาษาไทยได้ไม่ถกู ต้องตามมาตรฐานของกระทรวง ศึกษา และผลสัมฤทธิ์ในการเรียนภาษาไทยของจังหวัดสุรินทร์มีผลที่ไม่น่าพึงพอใจ โดยดร.วิจิตร ศรีสะอ้านได้ให้ สัมภาษณ์เกี่ยวกับภาษาท้องถิ่นไว้ว่า “กระทรวงศึกษาธิการได้ยกเลิกคำ�สั่งห้ามสอนภาษาท้องถิ่นในสถานศึกษา ภายใต้การกำ�กับของกระทรวงศึกษา กระนั้นการจัดทำ�หลักสูตรนั้นให้ทางสำ�นักงานพื้นที่เขตการศึกษาเป็นผู้จัดทำ� เนื่องจากในประเทศไทยนั้นมีภาษาท้องถิ่นเป็นจำ�นวนมาก” กระนั้น หลักสูตรภาษาท้องถิ่นไม่จำ�เพาะเจาะจงแต่ภาษาเขมรแม้กระทั่งภาษากูยและภาษาลาวยังไม่มีการ พิจารณาอย่างเป็นรูปธรรม ในกรณีของภาษาเขมรซึง่ มีระบบการเขียนสามารถทีจ่ ะนำ�มาสอนได้โดยทันทีนนั้ ยังไม่มี การเรียนการสอนในโรงเรียนทัง้ ในระดับประถมและมัธยมศึกษาภายในจังหวัด ผูเ้ ขียนได้สมั ภาษณ์ผบู้ ริหารการศึกษา ในจังหวัด และได้ข้อมูลว่าสาเหตุที่ไม่มีการสอนภาษาเขมรนั้น เนื่องมาจากไม่มีครูผู้สอนและนักเรียนส่วนใหญ่ยังมี ปัญหาด้านการเรียนภาษาไทย และครูส่วนใหญ่ยังมีความเชื่อว่า “เด็กที่พูดภาษาถิ่นโดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษาเขมร จะเกิดความสับสนและเรียนภาษาไทยไม่ได้ดี”


147

โครงการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมภาษาเขมร นั้นก่อตั้งในปี พ.ศ. 2549 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการอนุรักษ์ มรดกทางวัฒนธรรมภาษาเขมร โดยผ่านการศึกษาทั้งในและนอกระบบ นอกเหนือไปจากการผลักดันทางกฎหมาย และการส่งเสริมให้มีการเรียนการสอนภาษาเขมรในสถานศึกษาภายในจังหวัดสุรินทร์ โดยจัดให้มีการอบรมภาษา เขมรให้แก่บุคคลทั่วไปและบุคลากรทางการศึกษา โครงการฯ ได้จัดตั้งศูนย์การเรียนภาษาเขมรนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 โดยมีจำ�นวนศูนย์ฯ ทั้งสิ้นจำ�นวน 6 ศูนย์ ดังต่อไปนี้คือ 1) ศูนย์การเรียนภาษาเขมรบ้านภูมิโปน ตำ�บลบ้านดม อำ�เภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2551 2) ศูนย์การเรียนภาษาเขมรบ้านจรูย ตำ�บลลำ�ดวน อำ�เภอลำ�ดวน จังหวัดสุรินทร์ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2550 3) ศูนย์การเรียนภาษาเขมรวัดแสงบูรพา ตำ�บลสวาย อำ�เภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2551 4) ศูนย์การเรียนภาษาเขมรชุมชนหนองบัว ตำ�บลในเมือง อำ�เภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2551 5) โครงการนำ�ร่องห้องเรียนภาษาเขมร โรงเรียนศรีมงคล บ้านศรีมงคล ตำ�บลบ้านดม อำ�เภอสังขะ จังหวัด สุรินทร์ เริ่มต้นเมื่อภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2551 โดยมีคุณครูสุวชัน ชาญเชี่ยวเป็นผู้สอน 6) ศูนย์การเรียนภาษาเขมรบ้านโพธิกอง ตำ�บลเชื้อเพลิง อำ�เภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 โดยในแต่ละหมู่บ้านนั้น ก่อนที่จะจัดให้มีการเรียนการสอน โครงการฯ ได้มีการพบปะกับประชาชนเพื่อ สอบถามถึงความพร้อมและความต้องการ เช่น โครงการสอนภาษาเขมรบ้านโพธิกอง ตำ�บลเชือ้ เพลิง อำ�เภอปราสาท จังหวัดสุรนิ ทร์ โครงการฯ ได้ปรึกษาหารือกับชาวบ้านและผูใ้ หญ่บา้ นโดยชาวบ้านได้แสดงออกถึงความกังวลว่าภาษา เขมรนั้นจะหมดไปเพราะเด็ก ๆ และเยาวชนรุ่นใหม่ไม่สามารถพูดภาษาเขมรได้ ซึ่งโดยทั่วไปประชากรที่มีอายุ 40 ปี สามารถที่จะสื่อสารเป็นภาษาเขมรได้ “ภาษาเขมรจังหวัดสุรนิ ทร์ไม่สามารถทีจ่ ะสือ่ สารกับภาษาเขมรทีใ่ ช้กนั ในประเทศกัมพูชาได้” ซึง่ เป็นทัศนคติ ของคุณครูท่านหนึ่งของโรงเรียนบ้านโพธิ์กอง ซึ่งเมื่อทางโครงการได้เขียนตัวอักษรเขมรและสะกดให้ฟัง คุณครูท่าน นัน้ ก็สามารถทีจ่ ะอ่านได้ เช่นเดียวกับชาวบ้านซึง่ เคยคิดว่า ภาษาเขมรจังหวัดสุรนิ ทร์นนั้ พูดกันไม่รเู้ รือ่ งกับภาษาเขมร ในประเทศกัมพูชา สิง่ เหล่าได้รบั การปลูกฝังโดยไม่วา่ จะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม โดยผ่านสถานศึกษาหรือบุคลากร ทางการศึกษาซึ่งพยายามทำ�ให้ประชากรจังหวัดสุรินทร์ได้มองเห็นว่า เป็นคนละพวกกับคนเขมรในประเทศกัมพูชา ซึ่งทัศนคตินี้เป็นทัศคติที่ยืนอยู่บนความเชื่อที่ฝังรากหยั่งลึกในสังคมไทยที่ว่า “อยู่เมืองไทยพูดภาษาไทย เป็นคน ไทยต้องพูดแต่ภาษาไทยเท่านั้น” โครงการสอนภาษาเขมรโดยใช้อักษรไทยนั้น เป็นสิ่งที่ควรจะต้องพิจารณาให้ถ่องแท้ สถาบันภาษาเพื่อการ พัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จดั ทำ�โครงการร่วมกับโรงเรียนบ้านโพธิก์ องและโรงเรียนบ้านอำ�ปึล ซึง่ มีประเด็น ที่จะต้องพิจารณาหลายประการ ถึงความเหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อภาษาเขมรนั้นมีตัวอักษรและระบบการ เขียนมาเป็นเวลา 1,496 ปี แล้วนั้นการสอนภาษาเขมรโดยใช้ภาษาไทยให้แก่เด็ก ๆ นั้นน่าจะเป็นการไม่เหมาะสม โครงการให้การศึกษาภาษาแม่ (Mother Tongue Language in Education) นั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ภาษาที่ไม่มีระบบ การเขียน และสำ�หรับประชากรที่ไม่สามารถที่จะสื่อสารในภาษาชาติได้ ซึ่งในที่นี้คือภาษาไทย เด็ก ๆ ในโรงเรียนนั้น สามารถทีจ่ ะสือ่ สารในภาษาไทยได้เป็นอย่างดี อีกประการหนึง่ คือ ความก้าวหน้าในการศึกษาเด็ก ๆ หรือผูเ้ รียนควร ทีจ่ ะได้เรียนรูใ้ นสิง่ ใหม่และการอ่านเขียนภาษาเขมรได้นนั้ เมือ่ เด็กเรียนในระดับสูงแล้วนัน้ สามารถทีจ่ ะนำ�ไปประกอบ

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

การก่อตั้งโครงการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมภาษาเขมร ในปี พ.ศ. 2549


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

148

อาชีพได้ หรือการเรียนต่อไปในสถาบันการศึกษาระดับสูง ซึ่งแท้ที่จริงเด็กไม่มีความสับสนจากการเรียนภาษาหลาย ภาษาเลย ตรงกันข้ามการเรียนภาษาดัง้ เดิมก่อนนัน้ จะทำ�ให้เด็กสามารถเรียนภาษาชาติได้เป็นอย่างดี เช่น กรณีของ ภาษาไทยและภาษาเขมรนั้นถ้าหากผู้สอนมีความรู้ทั้งภาษาไทยและเขมรเป็นอย่างดีแล้ว การเรียนภาษาเขมรกลับ จะทำ�ให้เด็ก ๆ สามารถเรียนภาษาไทยได้เป็นอย่างดีเนื่องมาจากความใกล้ชิดของภาษาทั้งสอง ข้อที่แตกต่างกันที่ เห็นได้อย่างชัดเจนคือ ด้านเสียงเท่านั้นซึ่งภาษาไทยและเขมรมีระบบเสียงที่แตกต่างกัน การจัดการศึกษานั้นถ้าหากนำ�ไปพิจารณาประกอบกับประเด็นของความมั่นคงแล้วเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ยาก ดังเช่น ที่ได้เกิดขึ้นในระยะเวลาหลายทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งประเทศไทยต้องประสบกับปัญหาความมั่นคงในหลาย กรณี แต่กระนัน้ ในปัจจุบนั ทัศนคติและมุมมองด้านความมัน่ คงแบบจารีตนัน้ ดูจะใช้ไม่ได้กบั สถานการณ์และเงือ่ นไข ทีเ่ ปลีย่ นแปลงไป ภาษาจีนและเวียดนามนัน้ สมัยหนึง่ เป็นภาษาทีต่ อ้ งห้ามแต่ในปัจจุบนั ภาษาจีนและเวียดนามกลับมี โรงเรียนทัง้ ในและนอกระบบเปิดทำ�การสอนกันอย่างแพร่หลายทัง้ ในส่วนกลางและส่วนภูมภิ าค ตรงกันข้ามกับภาษา เขมรซึ่งแม้ว่าจะมีประชากรเจ้าของภาษานับจำ�นวนมากกว่าล้านคน สถานที่เรียนภาษานั้นกลับมีการเรียนการสอน ในจังหวัดที่มีประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาลาว เช่น มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบล หรือแม้แต่ กระทั่งมหาวิทยาลัยศิลปากร ในกรุงเทพเป็นต้น โครงการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมภาษาเขมร และสมาคมภาษาและวัฒนธรรม จังหวัดสุรินทร์ (สภวส.) ได้ก่อตั้งศูนย์การเรียนภาษาเขมรบ้านภูมิโปน ตำ�บลบ้านดม อำ�เภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์นั้น เป็นการกลับไปสู่จุด เริ่มต้นของภาษาเขมรในจังหวัดสุรินทร์และดินแดนอีสานใต้ และอีกประการหนึ่งเพื่อเป็นการบูชาบรรพบุรุษและนัก ปราชญ์ชาวเขมรสุรนิ ทร์ซงึ่ ได้คดิ ค้นภาษาเขมรให้ลกู หลานได้มภี าษาไว้ไม่ให้นอ้ ยหน้าชนชาติซงึ่ มีอารยธรรมในส่วน ต่าง ๆ ของโลก โดยเป็นการกลับไปสู่จุดเริ่มต้น ปราสาทภูมิโปนมีศิลาจารึกซึ่งระบุมหาศักราช 434 หรือ พ.ศ. 1055 ไว้อย่างชัดเจน ปราสาทภูมิโปนเป็นปราสาทที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทยและแม้แต่ในประเทศกัมพูชา ก่อสร้างใน ระหว่างศตวรรษที่ 5 และที่ 6 ซึ่งอยู่ระหว่างตอนปลายของสมัยฟูนันและตอนต้นของสมัยเจนลา โดยในพิธีเปิดการ เรียนการสอนได้มีการถวายสักการบูชาบรรพบุรุษและนักปราชญ์เขมร ซึ่งได้คิดค้นอักษรเขมรให้ลกู หลานได้มีภาษา ไว้ใช้ไม่ให้น้อยหน้าใคร มีประชาชนเข้าร่วมเป็นจำ�นวนกว่า 100 คน นำ�โดยผู้ใหญ่บ้านภูมิโปน ซึ่งเป็นการแสดงให้ เห็นว่า ประชาชนมีความรักในภาษาและวัฒนธรรมดัง้ เดิมของตนเอง ซึง่ โครงการฯ ไม่ได้ประกาศให้ทราบแต่อย่างใด

​วัฒนธรรมกับการสร้างความเป็นไทย การศึกษาของประเทศไทยนับตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบบสมบูรณาญาสิทธิราชในปี พ.ศ. 2475 เป็นต้นมาได้เน้นถึงการสร้างชาติไทยและความเป็นไทย ดังที่ได้แสดงไว้ในเพลงชาติและเมื่อก่อนปี พ.ศ. 2540 นัน้ ประชาชนจะต้องระบุถงึ เชือ้ ชาติของตนเองไว้วา่ เป็น “เชือ้ ชาติไทย” โดยในสมัยรัฐบาลของจอมพล ป.พิบลู สงคราม โดยหลวงวิจิตรวาทการได้มีการแต่งตำ�ราประวัติศาสตร์ไทยซึ่งเน้นยํ้าถึงแนวนโยบายของรัฐในการเป็น “ไทย” และ การสร้างความรู้สึกของไทยว่า “ถูกรุกราน” จากชาติมหาอำ�นาจเช่น ฝรั่งเศส เป็นต้น นโยบายการศึกษาในช่วงแรกของรัฐบาลไทยนั้นได้ให้ความสำ�คัญแก่ “ความเป็นไทย” และนโยบายนี้ยังคง ต่อเนือ่ งมาจนถึงปัจจุบนั โดยจะเห็นได้จาก แนวนโยบายของสำ�นักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ “ข้อที่ 3 ส่ง เสริมวัฒนธรรมพื้นบ้านและวัฒนธรรมของกลุ่มชนในท้องถิ่น เพื่อให้ประชาชนมีความเข้าใจ เห็นคุณค่าและยอมรับ วัฒนธรรมของท้องถิน่ ซึง่ กันและกัน ก่อให้เกิดการผสมผสานทางวัฒนธรรม อันจะนำ�ไปสูก่ ารอยูร่ ว่ มกันอย่างสันติสขุ ในชาติ และมีความรักหวงแหนวัฒนธรรมไทยยิ่งขึ้น” ซึ่งเป้าหมายหลักแล้วคือ การสร้างวัฒนธรรมไทยหรือความ เป็นไทยโดยผ่านการส่งเสริมวัฒนธรรมพื้นบ้านและวัฒนธรรมของกลุ่มชนในท้องถิ่น สำ�หรับแนวนโยบายของรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช นัน้ ได้ระบุไว้ในนโยบายสังคม ข้อ 3.7 ส่งเสริมให้ทกุ ภาค ส่วนของสังคมมีสว่ นร่วมในการพัฒนาสังคมไทย ให้เป็นสังคมทีม่ สี นั ติสขุ อย่างยัง่ ยืน บนฐานของวัฒนธรรมไทยและ


149

นโยบายกระทรวงวัฒนธรรม - ยุทธศาสตร์ที่ 1 รักษา สืบทอดวัฒนธรรมของชาติและความหลากหลาย ของ วัฒนธรรมท้องถิ่นให้คงอยู่อย่างมั่นคง (ข้อ 3. ฟื้นฟู สืบทอด ภูมิปัญญาไทย) - ยุทธศาสตร์ที่ 2 สร้างค่านิยม จิตสำ�นึก และภูมิปัญญาคนไทย (ข้อ 1. สร้างและ พัฒนาแหล่งเรียนรู้ เพื่อให้โอกาสแก่ประชาชนอย่างทั่วถึง ทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับนานาชาติ)

ประเด็นสิทธิมนุษยชนในการศึกษา ประเด็นสิทธิมนุษยชนในการศึกษาในประเทศไทยนั้นเป็นสิ่งที่นักบริหารการศึกษาหลายคนไม่ตระหนักถึง ความจำ�เป็นที่จะต้องให้ความสนใจ ผู้บริหารสถานศึกษาส่วนใหญ่มองว่าประเทศไทยมีภาษาไทยเป็นภาษาแม่ของ ประชาชนทุกคน และทรัพยากรทีม่ ใี ช้ไปเพือ่ สำ�หรับการปรับปรุงการสอนภาษาไทยเท่านัน้ โดยตัวอย่างทีเ่ ห็นได้ชดั เจน คือ จำ�นวนนักเรียนในสำ�นักพื้นที่การศึกษาเขต 1 สุรินทร์นั้น มีจำ�นวนนักเรียนที่อ่านเขียนภาษาไทยไม่ได้จำ�นวน 1,200 คน ผูบ้ ริหารการศึกษามองว่าเป็นเพราะนักเรียนส่วนใหญ่นนั้ พูดภาษาเขมรทำ�ให้มปี ญ ั หาด้านการเรียนภาษา ไทย ซึง่ นัน่ อาจจะเป็นการหาแพะรับบาปอย่างง่ายดาย โดยไม่คำ�นึงถึงความเหมาะสมของหลักสูตร ซึง่ มีการกำ�หนด จากส่วนกลางโดยกระทรวงศึกษาธิการ โดยไม่ได้มกี ารพิจารณาถึงความเหมาะสมของแต่ละท้องถิน่ แม้วา่ กระทรวง ศึกษาธิการจะอนุญาตให้สถานศึกษาในสังกัดสามารถบรรจุหลักสูตรการเรียนรูท้ อ้ งถิน่ ได้ แต่จำ�นวนวิชาทีน่ กั เรียนจะ ต้องศึกษานัน้ มีจ�ำ นวนมากเกินพออยูแ่ ล้ว และครูเองมีงานประจำ�ทีม่ ากอยูแ่ ล้ว จากการสอบถามจากสำ�นักพืน้ ทีก่ าร ศึกษาในจังหวัดสุรินทร์เอง ปรากฏว่าสำ�นักพื้นที่การศึกษากลับไม่เคยเก็บสถิติโดยแยกตามภูมิหลังทางวัฒนธรรม ของนักเรียน เพื่อนำ�มาศึกษาให้ชัดเจนว่า “กรณีเด็กเรียนภาษาไทยไม่ได้ดีนั้นเกิดจากภาษาท้องถิ่นจริงหรือ?” รายงานการประชุมของคณะกรรมการบริหารของยูเนสโกครั้งที่ 179 ระหว่างวันที่ 1 ถึง วันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2551 ณ สำ�นักงานใหญ่ยูเนสโก กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ได้ซึ่งได้มีผู้แทนจากกระทรวง ศึกษาธิการได้เข้าร่วมในการประชุม โดยนางสาวดุริยา อมตวิวัฒน์ ผู้แทนไทยในการประชุมดังกล่าว ได้ กล่าวต่อที่ประชุมว่าประเทศไทยได้ให้การสนับสนุนยูเนสโกการดำ�เนินการในโอกาสดังกล่าว เนื่องจาก ประเทศไทยได้ให้ความสำ�คัญกับสิทธิมนุษยชนว่าเป็นค่านิยมหลักอันหนึง่ ทีค่ วรนำ�ไปสอนให้แก่เด็กตัง้ แต่ ยังเล็กอยู่ เพื่อเป็นการปลูกฝังค่านิยมการรู้จักเคารพสิทธิของผู้อื่น และในปีนี้ ประเทศไทยได้เตรียมการ จัดกิจกรรมเพือ่ ร่วมเฉลิมฉลองในวาระดังกล่าว โดยมีกจิ กรรมประกวดความรู้ ความสามารถในด้านต่างๆ ทีเ่ กีย่ วข้องกับเรือ่ งสิทธิมนุษยชน โดยจัดกิจกรรมสำ�หรับนักเรียน นักศึกษาตัง้ แต่ระดับประถมศึกษาจนถึง ระดับมหาวิทยาลัย และจะระดมความร่วมมือจากทุกภาคส่วนของสังคมเข้ามาร่วมการดำ�เนินการในครัง้ นี้ และนายชินภัทร ภูมริ ตั น์ รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ผูแ้ ทนสำ�รองกรรมการบริหารยูเนสโกของไทยได้กล่าว สนับสนุนให้ยูเนสโกให้ความสำ�คัญและสนับสนุนการดำ�เนินงานด้านการศึกษาเพื่อปวงชน เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย การศึกษาเพื่อปวงชนในปี พ.ศ. 2558 โดยเน้นกลุ่มเป้าหมายที่ยังตกหล่นให้เข้ามาอยู่ในระบบการศึกษาเพื่อให้เกิด ความสำ�เร็จอย่างแท้จริง นอกจากนี้ ยังได้กล่าวถึงความสำ�คัญของการเรียนการสอนสำ�หรับผู้ที่ใช้ภาษาแม่ที่แตก ต่างจากภาษาราชการ โดยเรียกร้องให้ยูเนสโกส่งเสริมให้มีการศึกษาวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ เพื่อให้มีการกำ�หนด นโยบายการเรียนการสอนสำ�หรับกลุ่มชาติพันธุ์ให้เหมาะสม เพื่อไม่ให้ภาษาเป็นอุปสรรคต่อเนื้อหาการเรียนรู้ และ

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

ใช้สื่อทุกรูปแบบในการสร้างสรรค์สังคม รักษาสืบทอดศิลปวัฒนธรรมของชาติและความหลากหลายของวัฒนธรรม ท้องถิ่น เพื่อเชิดชูคุณค่าและจิตวิญญาณของความเป็นไทย ตลอดจนสร้างความสามัคคีเอื้ออาทรสมานฉันท์ของ สังคมและประเทศชาติส�ำ หรับแนวนโยบายของกระทรวงวัฒนธรรม ได้จำ�แนกยุทธศาสตร์ของการเสริมสร้างวัฒนธรรม ของชาติไว้ดังต่อไปนี้คือ


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

150

ยังได้กล่าวส่งเสริมบทบาทของยูเนสโกในการส่งเสริมการปฏิสัมพันธ์ข้ามวัฒนธรรมและลัทธิความเชื่อต่างๆ เพื่อส่ง เสริมการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข กระนั้น สิ่งเหล่านี้ยังห่างไกลจากการนำ�ไปปฏิบัติ เมื่อได้สอบถามผู้บริหารการศึกษาในท้องถิ่น เองกลับให้ข้อมูลว่ากระทรวงศึกษาธิการไม่ได้เคยมีคำ�สั่งในเรื่องประเด็นการสอนภาษาดั้งเดิมหรือภาษา แม่นอกเหนือไปจากภาษาไทยให้แก่เด็กในสถานศึกษาในสังกัดของกระทรวงศึกษาธิการเลย ในทางปฏิบตั ิ แล้วหลักสูตรของคณะศึกษาศาสตร์หรือครุศาสตร์หลายมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งมหาวิทยาลัย ราชภัฏซึ่งเดิมนั้นเป็นวิทยาลัยการฝึกหัดครู นั้นไม่ได้ให้ความรู้แก่นักศึกษาในประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ภาษาท้องถิ่น ครูในโรงเรียนหลายแห่งห้ามไม่ให้นักเรียนใช้ภาษาเขมรในโรงเรียน ซึ่งแม้จะไม่มีการสั่งการอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร แต่ข้อมูลที่ได้จากการสอบถามกับผู้ปกครองนั้น ครูจะ ห้ามไม่ให้นักเรียนพูดภาษาเขมรแม้กระทั่งการหยอกล้อกับเพื่อนในโรงเรียน ซึ่งการกระทำ�เช่นนี้เป็นการ ละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน และแม้แต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 66 ได้ บัญญัตไิ ว้วา่ “บุคคลซึง่ รวมกันเป็นชุมชน ชุมชนท้องถิน่ หรือชุมชนท้องถิน่ ดัง้ เดิม ย่อมมีสทิ ธิอนุรกั ษ์หรือ ฟื้นฟูจารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น และของชาติ และมีส่วนร่วมใน การจัดการ การบำ�รุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม รวมทั้งความหลาก หลายทางชีวภาพอย่างสมดุลและยั่งยืน” หรือแม้แต่คำ�ประกาศองค์การสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิของ ชนชาติดั้งเดิม ปี พ.ศ. 2549 มาตราที่ 14 ข้อที่ 1 ได้ระบุไว้ว่า...ชนชาติดั้งเดิมมีสิทธิที่จะก่อตั้งและบริหารระบบการศึกษาและสถาบันเพื่อให้การศึกษา ในภาษาดั้งเดิมของตน ในลักษณะที่เหมาะสมกับวัฒนธรรมและวิธีการเรียนการสอน ข้อที่ 2 ได้ระบุไว้ว่า ชนชาติดั้งเดิมโดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กมีสิทธิในทุกระดับและรูปแบบของการศึกษาของรัฐ โดยไม่มีรังเกียจเดียดฉันท์

บทสรุป การศึกษาและสิทธิมนุษยชนนัน้ นับเป็นแนวคิดทีใ่ หม่ในสังคมไทย แม้กระทัง่ สถาบันการศึกษาเองยังคงสับสน กับแนวความคิดชาตินยิ มดังเช่นทีไ่ ด้น�ำ เสนอในบทความนี้ สิทธิมนุษยชนเป็นการเคารพสิทธิขนั้ พืน้ ฐานของความเป็น มนุษย์ในการที่จะรักษาอารยธรรมดั้งเดิมของตนเองไว้ ชาวเขมรสุรินทร์เอง ถึงแม้ว่าจะเป็นพลเมืองของประเทศไทย กระนั้นพวกเขาย่อมมีสิทธิที่จะรักษาวัฒนธรรมดั้งเดิมของตนเองไว้โดยผ่านทางด้านการศึกษา ซึ่งจะต้องเป็นแนว นโยบายของรัฐบาลทีจ่ ะต้องจัดให้มกี ารศึกษาในภาษาดัง้ เดิม ณ ทีๆ่ มีชนชาติดงั้ เดิมอยูอ่ าศัยเป็นจำ�นวนพอสมควร และมีการเรียกร้องให้รฐั จะต้องจัดการศึกษาในภาษาท้องถิน่ ให้รวมทัง้ งบประมาณและบุคลากรทีม่ คี วามรูแ้ ละความ สามารถเพียงพอที่จะจัดการเรียนการสอนให้ได้อย่างเป็นระบบ แนวความเชื่อแบบจารีตที่ว่า ถ้าหากปล่อยให้มีการเรียนการสอนภาษาดั้งเดิมของแต่ละชาติพันธุ์แล้วจะก่อ ให้เกิดปัญหาทางด้านการเมืองและการปกครอง ชาวเขมรอาจจะต้องการแยกประเทศไปรวมกับประเทศกัมพูชา ชาวลาวอาจจะต้องการแยกประเทศไปรวมกับชาวลาวในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และชาวมาเลย์ ในปัตตานี ยะลา และนราธิวาส อาจจะต้องการแยกประเทศเป็นประเทศอิสระ สิ่งเหล่านี้ไม่สามารถที่จะเกิดขึ้นได้ เลยในรัฐที่รัฐบาลกลางได้ให้ความเสมอภาคและการเคารพในวัฒนธรรมดั้งเดิมของท้องถิ่น กรณีการแยกประเทศ ในยุโรปตะวันออกนั้นเกิดจากการกดขี่ทางด้านเชื้อชาติ เช่น กรณีของยูโกสลาเวีย เป็นต้น เมื่อการปกครองนั้นไม่ ได้เกิดขึ้นโดยธรรมแล้วเมื่อมีโอกาสกลุ่มชาติพันธุ์ที่ถูกกดขี่ย่อมที่จะไม่ต้องการอยู่ร่วมเป็นประเทศกับกลุ่มชาติพันธุ์ ที่เคยมีอำ�นาจปกครอง ในกรณีที่เห็นชัดเจนคือ ประเทศอินเดียซึ่งมีภาษานับเป็นพันภาษาทั้งภาษาที่มีเฉพาะภาษา พูดและภาษาที่มีทั้งภาษาเขียน เช่น ภาษาทมิฬ ในอินเดียตอนใต้เป็นต้น ยังไม่เคยมีการพยายามแบ่งแยกดินแดน


151 22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

เกิดขึน้ เลยในประวัตศิ าสตร์ของรัฐทมิฬซึง่ ภาษาประจำ�รัฐ คือ ภาษาทมิฬและภาษาฮินดีซงึ่ เป็นภาษาประจำ�ชาติ แต่ กรณีของประเทศศรีลังกากลับเป็นการแสดงออกถึงความไม่พอใจของชาวทมิฬ ซึ่งเป็นคนกลุ่มน้อยต่อชาวสิงหลซึ่ง เป็นชาวพุทธ สิทธิมนุษยชนเป็นเครื่องชี้ให้เห็นถึงความเจริญก้าวหน้าของแต่ละสังคม สังคมที่ปล่อยให้มีการละเมิด สิทธิมนุษยชนอย่างแพร่หลายเอิกเกริกนั้นย่อมเป็นสังคมที่ไม่มีการพัฒนาและล้าหลัง และไม่ได้รับการยอมรับจาก สังคมนานาอารยประเทศ


สิทธิในทรัพยากรในมิติชาติพันธุ์สัมพันธ์


153

ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี2

บทนำ� สิทธิชุมชน ในฐานะทั้งที่เป็นมโนทัศน์และวาทกรรม ได้ถือกำ�เนิดขึ้นในบริบทของสังคมไทยมาไม่น้อยกว่า สามทศวรรษ อันเป็นผลโดยตรงมาจากการเมืองเรื่องความขัดแย้งในสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติของพุทธ ทศวรรษที่ 2530 สิทธิชุมชนในฐานะมโนทัศน์ เกิดขึ้นในช่วงเปลี่ยนผ่านที่สำ�คัญของประวัติศาสตร์การจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติของไทย กล่าวคือการสิ้นสุดลงของยุคการค้าท่อนไม้ (หรือที่เรียกกันว่าสัมปทานทำ�ไม้) อันเป็น มรดกตกทอดของเศรษฐกิจแบบอาณานิคม ไปสู่ยุคการค้าที่ดิน (หรือที่เรียกกันว่าสัมปทานสวนป่า) และการค้า ธรรมชาติ (Escobar 1996) (หรือทีเ่ รียกกันว่าการจัดการป่าแบบอุทยาน) มโนทัศน์สทิ ธิชมุ ชนตอบโต้โดยตรงต่ออำ�นาจ นิยม (authoritarianism) ของการจัดการทรัพยากรที่มีลักษณะรวมศูนย์ไว้ที่รัฐ โดยเสนอแนวทางการกระจายอำ�นาจ และการจัดการหลายระนาบ (หรือที่อานันท์ กาญจนพันธุ์เรียกว่า การจัดการเชิงซ้อน (multiple levels of management) โดยเสนอให้ชุมชน เป็นหน่วยพื้นฐานสำ�คัญในการจัดการทรัพยากร ในแง่วาทกรรม สิทธิชุมชน เป็นเครื่องมือทางภาษาที่สำ�คัญ ที่ได้ทำ�หน้าผนวกรวม และผนึกแน่นแบบแผน ความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนกับทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นต่างๆ ที่ทั้งแตกต่าง ทั้งหลากหลายเข้าเป็นอันหนึ่งอัน เดียวกันทางประเพณีภายใต้วาทกรรมว่าด้วยป่าชุมชน วาทกรรมประดิษฐ์ดังกล่าวยังได้ทำ�หน้าที่ในเชิงจินตนาการ ในการเชื่อมโยงชุมชนที่ทั้งรู้จักและไม่รู้จักกัน ทั้งที่แตกต่าง คล้ายคลึง ไปตลอดจนไม่มีอะไรร่วมกันทางวัฒนธรรม นับแต่ชุมชนที่ตั้งถิ่นฐานในเขตภูเขา ไปจนพื้นราบ และชายทะเล เข้าเป็นเครือข่าย และขบวนการทางสังคมที่มีอัต ลักษณ์ร่วมกัน ในฐานะ “ชุมชนในเขตป่า” ที่เชิดชูความเป็นชุมชน และที่ได้สร้างความเชื่อร่วมกันว่าได้ท�ำ หน้าที่ ในการท้าทายอุดมการณ์อำ�นาจนิยมของรัฐ ในการผลักดันในเกิดการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างอำ�นาจในการเข้า ถึงและจัดการทรัพยากร โดยมีเป้าหมายรูปธรรมสำ�คัญ คือ การผลักดันให้เกิดการกระจายอำ�นาจผ่านกฎหมายป่า ชุมชน บทพรรณนาว่าด้วยสิทธิชุมชนในสามทศวรรษที่ผ่านมา เป็นบทพรรณนาที่มีเสียงเป็นอันหนึ่งอันเดียว และ เป็นไปในทางเดียวกัน ในการชักชวนให้เชือ่ มัน่ ในศักยภาพ และพลังของชุมชนในการดูแลรักษาป่าทีไ่ ม่ดอ้ ยไปกว่ารัฐ แต่การเคลื่อนไหวเรื่องสิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากรในไทย กลับเป็นขบวนการทางสังคมที่ถกู โจมตีจาก แทบทุกฝ่าย นักอนุรกั ษ์สงิ่ แวดล้อมเห็นว่า การอนุรกั ษ์ทชี่ มุ ชนกล่าวอ้าง ไม่ใช่อะไรอืน่ นอกจากการอนุรกั ษ์เทียม ทีถ่ กู ใช้เพือ่ เป็นเครือ่ งมือในการโฆษณาชวนเชือ่ เพราะธรรมชาติทแี่ ท้นนั้ ย่อมไม่อาจอยูร่ ว่ มโลกกับมนุษย์ได้ นักนิเวศวิทยา การเมือง เช่น Peter Vandergeest ก็ได้วิพากษ์ขบวนการป่าชุมชน ว่าประนีประนอมกับมโนทัศน์กระแสหลักเกี่ยวกับ การอนุรักษ์ ที่ผลักดันกฎหมายที่มีฐานคิดที่ไม่เพียงแต่ไม่ได้ตั้งคำ�ถามกับแนวทางป่าอุทยานและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ ป่า แต่ยงั ขีดวงล้อมจำ�กัดสิทธิทางเกษตรกรรมของชุมชนในเขตป่าเสียอีกด้วย (1996, 1999) และเมือ่ เร็วๆ นี้ หนังสือที่ วิจารณ์ขบวนการสิทธิชุมชนโดยตรง Forest Guardians, Forest Destroyers: the Politics of Environmental Knowledge 1 การอ้างอิงบทความ ควรได้รับอนุญาตจากเจ้าของบทความ 2 อาจารย์ประจำ�ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

อำ�นาจนิยม ท้องถิ่นนิยม และเสรีนิยมใหม่ กับบทพรรณาว่าด้วยสิทธิชุมชน1


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

154

in Northern Thailand โดย Tim Forsyth และ Andrew Walker (2008) นักคิดที่ Chris Baker (2008) ขนานนามว่าเป็น นักเสรีนิยมใหม่ทางด้านสิ่งแวดล้อม ก็ได้เสนออย่างฟันธงว่า ในความเป็นจริงแล้ว บทพรรณนาว่าด้วยสิ่งแวดล้อม ของขบวนการสิทธิชมุ ชนในไทย ไม่ได้มตี �ำ แหน่งแห่งทีใ่ นการคัดง้างอุดมการณ์อ�ำ นาจนิยมอย่างทีม่ กั กล่าวอ้างกันแต่ อย่างใด หากแต่ส่งเสริม สนับสนุนวาทกรรมว่าด้วยวิกฤตสิ่งแวดล้อมกระแสหลัก และจองจำ�ให้ชุมชนเกษตรกรรม อยู่ภายในกรงขังอุดมคติของเกษตรกรรมแบบยังชีพที่ปฏิเสธการดำ�รงชีพเชิงพาณิชย์3 ผูเ้ ขียนเห็นว่า ข้อวิพากษ์จากรอบทิศดังกล่าว ชีใ้ ห้เห็นถึงข้อจำ�กัดสำ�คัญของขบวนการเคลือ่ นไหวสิทธิชมุ ชน ที่พยายามทำ�หน้าที่หลายประการพร้อมๆ กันในเวลาเดียวกัน ทั้งในแง่มโนทัศน์ที่ต้องการคัดง้างกับอำ�นาจนิยม ในการจัดการทรัพยากร ในแง่การสะท้อนข้อเท็จจริงและปรากฏการณ์ทางสังคม และในแง่ยุทธวิธีหรือยุทธศาสตร์ ทางสังคม ซึ่งหน้าที่แต่ละประเภทต่างก็ไม่แนบสนิทซึ่งกันและกันนัก และบ่อยครั้งก็ขัดแย้งกันเอง (ตัวอย่างเช่น การเน้นยุทธวิธีที่หวังผลสำ�เร็จในการเคลื่อนไหว บ่อยครั้งที่นำ�ไปสู่การประนีประนอมในเชิงมโนทัศน์) และในขณะ เดียวกัน ในกระบวนการทำ�งานในหลายระนาบดังกล่าว กลับไม่สามารถสร้างพลวัตของมิติในแต่ละด้าน ในทาง ตรงข้าม บทพรรณนาว่าด้วยชุมชน สิทธิ และสิ่งแวดล้อมที่สร้างขึ้นมา กลับมีลักษณะที่ค่อนข้างแน่นอนตายตัว คาดเดาได้ และกลายเป็นเป้าโจมตีจากนักวิชาการจากหลายสำ�นักดังที่กล่าวมาแล้ว นอกจากนี้ ผู้เขียนยังเห็นอีก ว่าข้อวิพากษ์ที่มีต่อสิทธิชุมชนนั้น ได้สะท้อนให้เห็นถึงความแตกต่างของมุมมองอย่างน้อยสามประเภทที่มีต่อการ เคลื่อนไหวของสิทธิชุมชน กล่าวคือ อำ�นาจนิยม ท้องถิ่นนิยม และเสรีนิยมใหม่ ที่มีต่อการเมืองเรื่องทรัพยากรใน ที่สูงของภาคเหนือของไทย บทความชิ้นนี้ ใช้งานเขียนของ Forsyth and Walker เป็นเครื่องมือในการสำ�รวจข้อถกเถียงว่าด้วยสิทธิชุมชน ภายใต้การประทะกันของมุมมองทัง้ สามประเภทดังกล่าว เพือ่ ชีใ้ ห้เห็นถึงข้อจำ�กัดของมโนทัศน์และปฏิบตั กิ ารว่าด้วย สิทธิชมุ ชน โดยหวังว่าการทบทวนและสนทนากับบทวิพากษ์ทตี่ งั้ ขึน้ จากงานดังกล่าว น่าจะช่วยเปิดมิตกิ ารทำ�ความ เข้าใจความสัมพันธ์อนั ซับซ้อนระหว่างสามองค์ประกอบทีส่ ำ�คัญ คือ รัฐ ตลาด และท้องถิน่ อันเป็นบริบทสำ�คัญของ การเมืองเรื่องทรัพยากรบนที่สงู ที่มีอิทธิพลในการควบคุมและกำ�กับวิธีคิดที่มีต่อการเคลื่อนไหวเรื่องสิทธิการจัดการ ทรัพยากรและการดำ�รงชีพในเขตป่าในภาคเหนือของไทย

ว่าด้วยรัฐ ในบทพรรณนาของขบวนการเคลือ่ นไหวเรือ่ งสิทธิชมุ ชน4 รัฐและมโนทัศน์ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติมกั ถูกจัดวางไว้ในตำ�แหน่งทีอ่ ยูต่ รงข้ามกับชุมชนเสมอ องค์กรพัฒนาเอกชน และนักสังคมศาสตร์จำ�นวนหนึง่ วิเคราะห์ เห็นว่า ปัญหาสำ�คัญของการเสือ่ มโทรมลงของทรัพยากรธรรมชาติในไทยนัน้ มีสาเหตุมาจากการผูกขาดอำ�นาจการ จัดการทรัพยากรไว้ทรี่ ฐั แต่ผเู้ ดียว ทัง้ นีโ้ ดยทีก่ รอบคิดว่าด้วยสิทธิในกฎหมายของไทย ยอมรับแต่เพียงสิทธิ 2 ประเภท เท่านั้น คือ สิทธิในทรัพยากรของรัฐและสิทธิในทรัพยากรของปัจเจกบุคคล โดยละเลยข้อเท็จจริงที่ว่า ยังมีสิทธิอีก ประเภทหนึง่ ทีด่ แู ลและจัดการทรัพยากรมาเป็นเวลานานภายใต้ระบบจารีตประเพณีในท้องถิน่ สิทธิประเภทดังกล่าว ได้ถูกขนานนามว่า “สิทธิชุมชน”

3 ข้อวิจารณ์ดังกล่าว ได้ปรากฏนับแต่ปี 2001 ในงานเขียนของ Andrew Walker (2008) เรื่อง Karen Consensus, ethnic politics and resource-use legitimacy in northern Thailand ซึ่งวิพากษ์ขบวนการ NGO และการสร้างภาพตัวแทนของชาวกะเหรี่ยงที่ เน้นแต่ด้านการดำ�รงชีพที่พึ่งพิงธรรมชาติ และจงใจละเลยมิติด้านการค้าและการแลกเปลี่ยนกับตลาดอันเป็นส่วนหนึ่งของ วิถีชีวิตของชุมชนกะเหรี่ยงมาตลอดช่วงประวัติศาสตร์ 4 ในบทความชิ้นนี้ ผู้เขียนใช้คำ�เรียก ขบวนการสิทธิชุมชน เฉพาะในความหมายของขบวนการป่าชุมชน ทั้งนี้ ผู้เขียนเข้าใจดี ว่า สิ่งที่เรียกว่าขบวนการสิทธิชุมชน มีความหลากหลาย ไม่ได้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน หรือเห็นพ้องต้องกันในทุกเรื่อง


155

แต่จริงหรือไม่ ทีข่ บวนการสิทธิชมุ ชน และรัฐ ต่างก็มกี รอบคิดทีต่ า่ งและตรงข้ามกันในเรือ่ งเกีย่ วกับทรัพยากร คำ�ถามชวนเถียงดังกล่าว ได้ถูกตั้งขึ้นในหนังสือเล่มล่าสุดของ Tim Forsyth และ Andrew Walker (2008) เรื่อง Forest Guardians, Forest Destroyers โดยฟอร์ไซธ์และวอล์กเกอร์ ได้ตั้งโจทย์ที่ท้าทายขบวนการสิทธิชุมชน โดยเสนอแย้งว่า แม้ว่าโดยผิวนอกแล้วขบวนการสิทธิชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ขบวนการป่าชุมชนในไทย จะเคลื่อนไหวในการเมือง ที่ดูเสมือนว่าอยู่ตรงกันข้าม และคัดง้างกับอำ�นาจนิยมในการจัดการทรัพยากรของรัฐ แต่ในความเป็นจริงแล้ว วาท กรรมทีผ่ ลิตโดยขบวนการสิทธิชมุ ชน กลับไม่ได้แตกต่างจากวาทกรรมของรัฐแต่อย่างใด มิหนำ�ซํา้ ยังเสริมอำ�นาจให้ วาทกรรมกระแสหลักกลับมีความเข้มแข็งขึน้ อีกด้วย กระบวนการดังกล่าว ฟอร์ไซธ์และวอล์กเกอร์ เรียกว่า discourse coalition หรือ พันธมิตรทางวาทกรรม ซึ่งเกิดขึ้นจากการที่ผู้กระทำ�การต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นรัฐ NGO กลุ่มสิ่งแวดล้อม หรือแม้กระทั่งชาวบ้าน ที่แม้จะเห็นต่างในที่มาของปัญหาสิ่งแวดล้อม แต่ต่างก็เห็นพ้องต้องกันใน “บทพรรณนาว่า ด้วยสิ่งแวดล้อม” (environmental narrative) กระแสหลักอันกำ�หนดและกำ�กับข้อถกเถียง ท่าที สมมติฐาน การตัดสิน และความเชือ่ ว่าด้วยปัญหาทรัพยากรในไทย การสร้างพันธมิตรทางวาทกรรมดังกล่าว อาจเกิดขึน้ ทัง้ โดยทีต่ งั้ ใจและ ไม่ตั้งใจ ยกตัวอย่างเช่น รัฐกับนักอนุรักษ์ อาจมีแนวคิดที่ต่างกันในการพิจารณาว่าป่าอุทยานควรถูกจัดการอย่างไร แต่ข้อถกเถียงของทั้งสองฝ่าย กลับสนับสนุนฐานคิดเดียวกันว่าด้วยเกษตรกรบนที่สูงเป็นผู้ทำ�ลายป่า (Forsyth and Walker 2008:23) หรือ กลุม่ ชาติพนั ธุบ์ นทีส่ งู ภายใต้การสนับสนุนของ NGO อาจสร้างความชอบธรรมและทุนทางการ เมืองของตนด้วยการสร้างภาพลักษณ์ในการเป็นผูร้ กั ษาป่า แต่ดว้ ยการกระทำ�ดังกล่าว กลับได้ผลิตซํา้ ข้อสมมติฐาน ที่มีอยู่แล้วว่าด้วยปัญหาการทำ�ลายป่า (เช่น ระบบเกษตรเชิงพาณิชย์) พร้อมทั้งนำ�เสนอทางเลือกของเกษตรกรรมที่ เหมาะสม (และสอดรับกับวาทกรรมอนุรักษ์กระแสหลัก) (อ้างแล้ว หน้าเดียวกัน) ฟอร์ไซธ์และวอล์กเกอร์เห็นว่า พันธมิตรเชิงวาทกรรมนัน้ เกิดขึน้ จากการยอมรับทัง้ โดยพฤตินยั และนิตนิ ยั ต่อ สมมติฐาน และความเชือ่ ทีม่ ตี อ่ วิกฤตสิง่ แวดล้อม และความศักดิส์ ทิ ธิข์ องป่าอนุรกั ษ์ โดยมิได้ตงั้ คำ�ถามต่อทีม่ าของ ความรู้ หรือการรับรู้ดังกล่าว การยอมรับโดยปราศจากข้อสงสัยต่อวาทกรรมว่าด้วยวิกฤตสิ่งแวดล้อมดังกล่าว ได้ ทำ�ให้โจทย์ปญ ั หาเกีย่ วกับสิง่ แวดล้อม ถูกตีกรอบไปในทิศทางเดียวกัน และปิดกัน้ วิธคี ดิ และการตัง้ โจทย์ในแบบอืน่ ๆ อันเป็นกระบวนการที่ฟอร์ไซธ์และวอล์กเกอร์เรียกว่า การปิดกั้นของโจทย์ปัญหา (problem closure) ในกรณีของข้อ ถกเถียงว่าด้วยการอนุรักษ์ป่า สิ่งที่มักพบคือ การยอมรับโดยนัยโดยทุกฝ่าย ไม่ว่าจะรัฐ NGO หรือชุมชนว่าป่าเป็น แหล่งกำ�เนิดของฝน การลดลงของป่าเชื่อมโยงกับฝนแล้ง ดังนั้น ในขณะที่รัฐมุ่งโจมตีชุมชนเกษตรกรรมบนที่สูงว่า เป็นตัวการในการทำ�ลายป่า และดังนั้น จึงก่อให้เกิดฝนแล้ง ข้างฝ่าย NGO ก็มักพยายามพิสูจน์ให้เห็นว่า ชุมชนนั้น รักษาป่า และมิได้ขยายเกษตรกรรมรุกเข้าไปในเขตป่า หรือในขณะที่รัฐและกลุ่มอนุรักษ์ วิจารณ์ว่า “ชาวเขา” ทำ� ลายต้นนํ้า ก็ตอบโต้ด้วยตรรกะเดียวกันว่า ป่านั้นเป็นหัวใจของการจัดการนํ้าอย่างยั่งยืนของชุมชน หรือการยอมรับ

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

สิทธิชุมชนนั้นได้ถูกนิยามในหลากหลายความหมาย อย่างไรก็ตาม นิยามส่วนใหญ่ มักอ้างอิงคุณลักษณะที่ แตกต่าง และตรงกันข้ามกับระบบสิทธิแบบรัฐ ดังเช่น บทพรรณนาที่ว่าสิทธิชุมชนนั้นเป็นกฎเกณฑ์ที่พัฒนาขึ้นมา จากจารีตปฏิบตั ขิ องชุมชน ในขณะทีก่ ฎหมายนัน้ กำ�หนดเป็นลายลักษณ์อกั ษรโดยรัฐ สิทธิชมุ ชนเป็นสิทธิเชิงซ้อน ใน ขณะทีส่ ทิ ธิของรัฐเป็นสิทธิเชิงเดีย่ วแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด สิทธิชมุ ชนเน้นการมีสว่ นร่วม ในขณะทีส่ ทิ ธิของรัฐเน้นการ กีดกันสิทธิชุมชนมีเป้าหมายเพื่อการดำ�รงชีพ ในขณะที่สิทธิแบบรัฐมีเป้าหมายเพื่อการค้า ฯลฯ การเคลื่อนไหวของ ขบวนการสิทธิชมุ ชนจึงเป็นการพยายามคัดง้างกับลักษณะอำ�นาจนิยมของรัฐ ทีผ่ กู ขาดอำ�นาจไว้ภายใต้สถาบันหลัก ของรัฐเพียงสถาบันเดียว คือ กรมป่าไม้ มาเป็นเวลานาน ด้วยมิจฉาทิฐิที่ว่ารัฐนั้นเป็นสถาบันที่มีประสิทธิภาพมาก ทีส่ ดุ ในการจัดการทรัพยากรป่าไม้ การชู “ชุมชน” ในฐานะสถาบันทีม่ อี ดุ มการณ์ แบบแผนปฏิบตั ิ และวัฒนธรรมใน การจัดการทรัพยากรที่แตกต่างโดยสิ้นเชิงจากรัฐ ของขบวนการสิทธิชุมชน ในแง่ยุทธศาสตร์แล้ว จึงเป็นการตีความ สิทธิในมิติที่แตกต่างไปจากกรอบคิดกระแสหลัก ด้วยการให้ความสำ�คัญกับ “ท้องถิ่น” ในการกำ�หนดชะตากรรม ของตนเองบนฐานทรัพยากรที่มีอยู่


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

156

อย่างปราศจากการพิสูจน์ในความสัมพันธ์ระหว่างการลดลงของป่ากับการพังทลายของหน้าดิน กับการลดลงของ ปริมาณนํ้า (แทนที่จะเป็นการเพิ่มขึ้นของความต้องการในการใช้นํ้า) กับการลดลงของความหลากหลายทางชีวภาพ ตลอดจนการมองแต่ภาพลบของเกษตรเชิงพาณิชย์และการใช้สารเคมี เป็นต้น การปิดกั้นของโจทย์ปัญหานั้น ไม่ เพียงต่อทำ�ให้บดบังความเป็นไปได้ในการเข้าใจปัญหาทรัพยากรบนทีส่ งู ด้วยกรอบคิดทีแ่ ตกต่างออกไปเท่านัน้ หาก แต่ยังมีผลให้ขบวนการสิทธิชุมชนที่ดูเหมือนจะทำ�งานเพื่อต่อรองและคัดง้างกับรัฐ กลับสนับสนุนและผลิตซํ้าความ เชื่อกระแสหลักด้วยการตอกยํ้าบทพรรณนาว่าด้วยความสำ�คัญของป่า ที่มีต่อฝน หน้าดิน ปริมาณนํ้า ฯลฯ อันเป็น วาทกรรมที่ผลิตและเผยแพร่โดยรัฐมาโดยตลอด ฟอร์ไซธ์และวอล์กเกอร์ ได้ใช้งานศึกษาทัง้ ของตนเองและของนักวิทยาศาสตร์ทา่ นอืน่ ในการคัดง้างกับความ เชื่ออันคุ้นชินต่างๆ ว่าด้วยอุทกวิทยา การพังทลายของหน้าดิน และความหลากหลายทางชีวภาพ สิ่งที่น่าสนใจคือ การศึกษาทางวิทยาศาสตร์จำ�นวนไม่น้อยที่ชี้ให้เห็นว่า ความสัมพันธ์ระหว่างป่าต้นนํ้า ฝน และการไหลของนํ้านั้นมี ความซับซ้อนมากกว่าบทพรรณนาว่าด้วยสิ่งแวดล้อมที่มักกล่าวอ้างกัน ทั้งนี้ เพราะในขณะที่ความเชื่อกระแสหลัก มักเปรียบเทียบป่าว่าเป็นดั่งฟองนํ้า ที่ดูดซับนํ้าไว้ แต่สิ่งที่มักไม่ได้กล่าวถึงคือ ป่านั้นก็ใช้นํ้าด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะ อย่างยิ่งในช่วงที่ต้นไม้กำ�ลังเติบโตในพื้นที่ปลูกสร้างสวนป่า หรือความเชื่อที่ว่าป่านั้นเป็นแหล่งกำ�เนิดฝน ในขณะ ที่ความเป็นจริงแล้ว ที่มาของฝนในภาคเหนือของไทยนั้น มาจากเงื่อนไขของสภาวะอากาศของลมมรสุม มากกว่า การปล่อยความชื้นขึ้นสู่บรรยากาศของป่า ดังนั้น สถิติของปริมาณฝนจึงเพิ่มขึ้นในหลายปีที่ผ่านมาแม้ว่าพื้นที่ป่า จะลดลงก็ตาม หรือความเชื่อที่ว่าป่าช่วยป้องกันนํ้าท่วมหรือการชะล้างพังทลายของดิน แต่ในความเป็นจริงแล้ว ความสามารถของป่าในการลดแรงไหลของนํ้าและนํ้าป่านั้น ขึ้นกับปัจจัยอื่นๆ ที่สำ�คัญด้วย เช่น การมีหรือไม่มีพายุ และปริมาณฝนที่ตกว่ามากน้อยเพียงใด ในขณะเดียวกัน งานศึกษาทางวิทยาศาสตร์หลายชิ้นต่างก็ชี้ให้เห็นว่า การ เปลี่ยนสภาพป่าเป็นพื้นที่เกษตรนั้น มีผลต่อการไหลของนํ้าน้อยมาก เมื่อเทียบกับถนน และเส้นทางคมนาคมต่างๆ ในขณะเดียวกัน ปัญหาของปริมาณนํ้าที่ขาดแคลนในหน้าแล้งนั้น ฟอร์ไซธ์และวอล์กเกอร์เห็นว่า ทั้งรัฐและทั้ง NGO ต่างก็ละเลยทีก่ ล่าวถึงทีม่ าทีต่ น้ ตอของสาเหตุทสี่ �ำ คัญ กล่าวคือ การเข้าถึงนํา้ และการใช้นาํ้ ทีเ่ พิม่ มากขึน้ ในพืน้ ทีร่ าบ เมือ่ พิจารณาจากข้อวิพากษ์ดงั กล่าวเบือ้ งต้น จะเห็นได้วา่ แม้วา่ ในการเมืองเรือ่ งทรัพยากรทีผ่ า่ นมา ขบวนการ สิทธิชุมชน จะจัดวางตนเองในตำ�แหน่งแห่งที่ที่แตกต่างจากรัฐ โดยเฉพาะในกรอบคิดเรื่องอำ�นาจและสิทธิ แต่หาก ตั้งคำ�ถามไปยังเรื่องความรู้แล้ว ขบวนการสิทธิชุมชนและรัฐ ต่างก็มีฐานความเชื่อเกี่ยวกับทรัพยากรป่าไม้ที่ไม่ต่าง กัน ซึ่งนำ�มาสู่การผลิตซํ้าชุดความรู้กระแสหลัก (ไม่ว่าจะเป็นความรู้ที่ถูกอ้างว่าเป็นวิทยาศาสตร์หรือความรู้ท้องถิ่น ก็ตาม) ที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ที่ให้ความสำ�คัญกับป่าต้นนํ้า แยกป่าและเกษตรกรรมออกจากกัน ผลิตซํ้าภาพ ตัวแทนของความเป็นป่าและชุมชนในป่า ที่ตรงข้ามกับเมืองและชุมชนในเมือง แม้ว่าจะภายใต้ข้อโต้แย้งที่ตรงข้าม กัน (ในขณะที่รัฐโจมตีว่าชุมชนในป่าว่าเป็นผู้ทำ�ลายป่า NGO แย้งว่าชุมชนในป่าเป็นผู้รักษาป่า) แต่ด้วยตรรกะอัน เดียวกัน คือ ป่าต้นนํ้านั้น มีไว้เพื่อเก็บรักษาฝนและนํ้า ในแง่นี้แล้ว ทั้งอำ�นาจนิยมโดยรัฐ และท้องถิ่นนิยมโดย NGO และชุมชน ต่างก็รว่ มในวาทกรรมว่าด้วยป่าชนิดเดียวกัน คือป่าทีป่ ลอดพ้นจากเกษตรกรรมและกิจกรรมเชิงพาณิชย์ ซึง่ ได้กลายเป็นกรอบคิดทีก่ ำ�กับมโนทัศน์วา่ ด้วยป่าชุมชน และขบวนการเคลือ่ นไหวเรือ่ งพรบ.ป่าชุมชน ดังที่ ฟอร์ไซธ์ และวอล์กเกอร์ ได้วิพากษ์ไว้ดังนี้ The community forest campaign is, to a significant extent, framed by the predominant preoccupation with forest conservation: indeed this seems its inherent “problem closure.”…The irony is that the advocates of community forestry have ended up promoting the official position that the campaign set out to oppose: that agricultural presence and forest conservation are incompatible. This is the discursive power of narratives. (p.57-8)


157

ปัญหาสำ�คัญจึงไม่น่าจะใช่การสมรู้ร่วมคิดกับรัฐในการผลิตซํ้าวาทกรรมป่าต้นนํ้าของขบวนการสิทธิชุมชน หากแต่เป็นคำ�ถามที่ว่าเหตุใดบทพรรณนาว่าด้วยป่าชุมชนในแบบอื่นๆ ที่ตั้งคำ�ถามหรือกระทั่งคัดง้างต่อความรู้ วิทยาศาสตร์กระแสหลักว่าด้วยป่า จึงไม่ได้มีสถานะสำ�คัญนักในการเคลื่อนไหวของขบวนการป่าชุมชน ผู้เขียน เห็นว่า ความโน้มเอียงในการผลิตสร้างวาทกรรมประเภทเดียวกัน ซํ้าแล้วซํ้าเล่าของป่าชุมชน ไม่ว่าในลักษณะของ การตอกยํ้าศักยภาพในการอนุรักษ์ป่าของชุมชน หรือการเน้นเพียงระบบคุณค่า ภูมิปัญญา จารีตประเพณีที่ผูกพัน ชุมชนกับป่าไว้ก็ดี นั้นย่อมไม่อาจหลีกเลี่ยงผลที่ตามมาของการสร้างภาพแทนที่ตายตัว (stereotype) ที่ไม่เพียงแต่ ยากที่จะเปลี่ยนแปลง หากแต่ยังมีผลต่อการสร้างภาพลักษณ์แบบคู่ตรงข้ามอีกด้วย ของการเป็นผู้รักษาป่า vs. ผู้ ทำ�ลายป่า อีกด้วย สาเหตุหนึ่งนั้นอาจเป็นเพราะการมุ่งเน้นแต่ต้องการจะปฏิรูปเชิงสถาบันของขบวนการป่าชุมชน ที่มีเป้าประสงค์หลักในการผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนเปลี่ยนกรอบคิดว่าด้วยกฎ กติกา การจัดสรรทรัพยากรเสียใหม่ ด้วยการกระจายอำ�นาจลงสู่ท้องถิ่น และถ่ายโอน หรือปรับบทบาทและหน้าที่ของสถาบันหลักของรัฐจากการกีดกัน สิทธิไปสู่การสนับสนุนและพัฒนา อย่างไรก็ตาม การมุ่งเน้นเชิงสถาบันเพียงอย่างเดียว ได้ทำ�ให้การตีความมิติเรื่อง อำ�นาจของขบวนการป่าชุมชน นั้นจำ�กัดอยู่แต่ในเพียงคำ�ถามว่าด้วยการจัดสรรสิทธิ โดยลืมไปว่าสิทธิและสถาบัน 5 สมศักดิ์ สุขวงศ์ เสนอว่าควรพิจารณาว่า ที่ดินถูกใช้อย่างไร มากกว่ามุ่งแต่จะมองว่าป่ารักษาดินได้ดีกว่าเกษตร เพราะการ ปลูกพืชคลุมดินอย่างเหมาะสมนั้น ในหลายกรณีช่วยรักษาดินมากกว่าป่าที่มีแต่ต้นไม้ขนาดใหญ่ เช่นเดียวกัน ในงานวิจัย เรื่องไร่หมุนเวียน: สถานภาพและความเปลี่ยนแปลง อันเป็นงานวิจัยร่วมระหว่างนักวิชาการ องค์กรพัฒนาเอกชน และชาว บ้าน ก็ค้นพบว่า การชะล้างพังทลายของหน้าดินในพื้นที่ไร่หมุนเวียนนั้นตํ่ากว่าการชะล้างพังทลายหน้าดินในป่าธรรมชาติ หลายเท่าตัว นอกจากนี้ ยังมีงานอีกจำ�นวนไม่นอ้ ย ทีโ่ ต้แย้งรัฐทีส่ นใจแต่เพียงความหลากหลายทางชีวภาพในพืน้ ทีป่ า่ ด้วย การให้ความสำ�คัญต่อความหลากหลายทางชีวภาพในพืน้ ทีเ่ กษตร เช่น งานของยศ และอานันท์และคณะ เป็นต้น งานเขียน เหล่านี้ ไม่ถูกอ้างอิงในงานของฟอร์ไซธ์และวอล์กเกอร์แต่อย่างใด

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

ผู้เขียนเห็นว่า ข้อวิพากษ์ของฟอร์ไซธ์และวอล์กเกอร์ที่มีต่อทั้งรัฐและขบวนการสิทธิชุมชนนั้น แม้ว่าจะมี ลักษณะลดทอนย่อส่วนอยูบ่ า้ ง (โดยเฉพาะมุมมองทีม่ ตี อ่ ขบวนการสิทธิชมุ ชน ดังทีจ่ ะได้กล่าวต่อไป) แต่กไ็ ด้เปิดมุม มองที่น่าสนใจหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การวิเคราะห์การเมืองว่าด้วยทรัพยากร ด้วยมุมมองเชิงวาทกรรม ซึ่งได้เปลี่ยนฐานการพิจารณาการเมืองป่าชุมชน จากความขัดแย้งเรื่องสิทธิไปสู่การสมยอมในเชิงวาทกรรม ทั้งนี้ ฟอร์ไซธ์และวอล์กเกอร์ได้ตั้งคำ�ถามสำ�คัญต่อตรรกะที่ควบคุมและกำ�กับข้อถกเถียงเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากร ที่ ชีใ้ ห้เห็นว่าในสนามของความขัดแย้งว่าด้วยทรัพยากรนัน้ ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ และขบวนการสิทธิชมุ ชน อาจไม่ ได้เป็นไปตามความเข้าใจทีม่ กั คุน้ กันเสมอไป ขัว้ ทีต่ รงข้ามกันทางความคิดเกีย่ วกับอำ�นาจการจัดสรรทรัพยากร (อาทิ อำ�นาจเบ็ดเสร็จและสิทธิเชิงเดีย่ วแบบรัฐ vs. อำ�นาจแบบมีสว่ นร่วมและสิทธิชมุ ชน) แท้ทจี่ ริงแล้ว อาจเป็นขัว้ เดียวกัน ทีเ่ ห็นร่วมกันในความรูเ้ กีย่ วกับทรัพยากรก็เป็นได้ อย่างไรก็ตาม ฟอร์ไซธ์และวอล์กเกอร์เอง กลับไม่ได้อธิบายว่า ด้วย เหตุอันใด รัฐและกลุ่มต่างๆ จึงพร้อมใจกัน เห็นพ้องต้องกันโดยไม่ได้ตั้งคำ�ถามต่อตรรกะว่าด้วยวิกฤตของป่าต้นนํ้า จนก่อให้เกิดพันธมิตรทางวาทกรรม (discourse coalition) ขึ้น จะเป็นด้วยความไม่ใส่ใจ (ignorant) หรือด้วยความรู้เท่า ไม่ถึงการณ์ หรืออื่นๆ ผู้เขียนเห็นว่าการละเลยในการตอบคำ�ถามดังกล่าวได้ท�ำ ให้ข้อวิพากษ์ของฟอร์ไซธ์และวอล์ก เกอร์ตอ่ ขบวนการสิทธิชมุ ชนนัน้ มีลกั ษณะทีฉ่ าบฉวย และสุม่ เสีย่ งต่อชวนให้เข้าใจไปในเชิงการสมรูร้ ว่ มคิด (ระหว่าง รัฐและ NGO) ที่หลุดออกจากบริบทการต่อสู้และต่อรองทางการเมืองที่กินระยะเวลายาวนานหลายทศวรรษ สิ่งที่พึง พิจารณาประการหนึ่งคือ อาจไม่จริงนัก ที่ขบวนการสิทธิชุมชนและงานวิชาการในสายดังกล่าวนั้นไม่เคยตั้งคำ�ถาม ในเชิงความรู้วิทยาศาสตร์เกี่ยวกับป่าต้นนํ้า ดังที่ฟอร์ไซธ์และวอล์กเกอร์กล่าวอ้าง (และอาจเป็นการง่ายเกินไปที่จะ เลือกเอาเพียงงานบางชิ้น และปักหมุดในฐานะตัวแทนของขบวนการป่าชุมชนทั้งหมด) ข้อวิพากษ์ต่อความรู้กระแส หลักในการอนุรักษ์ปรากฏในงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นงานของผู้เขียนเองที่ตั้งคำ�ถามเกี่ยวกับนิยามที่แตกต่างของป่า ต้นนํ้าระหว่างรัฐและชาวบ้าน งานวิจัยขององค์กรพัฒนาเอกชนบางองค์กรที่ตั้งคำ�ถามต่อแนวทางการฟื้นฟูป่าด้วย การถางป่าและปลูกใหม่และผลกระทบต่อนํ้า ตลอดจนความคิดเห็นของนักวนศาสตร์ชุมชนบางท่านที่มีต่อบทบาท ของพื้นที่ไร่หมุนเวียน หรือพื้นที่เกษตรบนที่สูง ที่ไม่ได้ด้อยไปกว่าป่าในการรักษาหน้าดิน5


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

158

สิทธิต่างๆ ที่เรียกร้องให้มีขึ้นนั้น อาจไม่ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอำ�นาจในเชิงความรู้ที่กำ�กับนิยามความหมาย ของป่า คุณสมบัติของป่า ตลอดจนความสัมพันธ์อันหลากหลายลักษณะระหว่างชุมชนกับป่า ซึ่งกินความตั้งแต่ การยังชีพไปจนถึงการพาณิชย์ และการสะท้อนภาพที่แท้จริงของการดำ�รงชีพในป่าที่ไม่ได้แยกเกษตร ตลาด และ ป่าออกจากกัน อันเป็นภาพสะท้อนที่ปรากฏในการเคลื่อนไหวผลักดัน พรบ.ป่าชุมชน (ดังที่ถูกวิพากษ์ในงานหลาย ชิ้น อาทิ Vandergeest 1996 ) หรือกระทั่งการเคลื่อนไหวเพื่อรักษาป่าของกลุ่มต่างๆ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่จำ�เป็นต้อง พิจารณาคือ การรือ้ ถอนเชิงความรูน้ นั้ อาจเป็นสิง่ ทำ�ได้งา่ ยในบทพรรณนาของงานวิชาการในรัว้ สถาบันวิชาการ แต่ การรื้อถอนเชิงความรู้ในฐานะขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม ย่อมต้องเผชิญกับคำ�ถามสำ�คัญว่าด้วย โอกาสความ เป็นไปได้ในทางวัฒนธรรม (cultural opportunity) ที่กำ�กับสนามและกติกาของการต่อรองเชิงอำ�นาจ ยุทธศาสตร์การ เคลือ่ นไหวการเลือก และตัดสินใจว่าสิง่ ใดเป็นสิง่ ทีเ่ ป็นไปได้ และสิง่ ใดเป็นสิง่ ทีเ่ ป็นไปไม่ได้ หรือเสีย่ งต่อการไม่ได้รบั การสนับสนุน จนทำ�ให้ไม่สามารถบรรลุผลทางการเมือง วัฒนธรรมการเคลื่อนไหวดังกล่าว บ่อยครั้งได้นำ�ไปสู่แนว โน้มของการเน้นเป้าประสงค์เชิงปฏิบัตินิยม (pragmatism) ของขบวนการสิทธิชุมชน ที่ในท้ายที่สุดแล้ว การได้มาซึ่ง การมีส่วนร่วมที่มากขึ้น และอำ�นาจต่อรองในการได้มาซึ่งสิทธิในการเข้าถึงและจัดการทรัพยากร จึงเกิดขึ้นภายใต้ การผลิตซํ้าบทพรรณนาและความรู้กระแสหลักว่าด้วยการอนุรักษ์ ที่รัฐรับรองและเห็นชอบ ที่ไม่สามารถพัฒนาไป สู่มิติที่ท้าทายในเชิงญาณทัศน์เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนและธรรมชาติ

ตลาด vs. การยังชีพ ผมยืนยันอีกครั้งว่า “คนกับป่า” ต้องอยู่ด้วยกันได้ แต่ต้องทำ�ให้ “คนรักป่า” เรายังมีที่ที่เป็นประโยชน์ที่จะสร้าง “wealth” (ความมั่งคั่ง) ให้กับคนไทย สร้าง wealth ให้กับประชาชนได้อีก มากมาย เพียงแต่ว่าเราอย่าไปมองว่าธุระไม่ใช่ ÒÇทักษิณ ชินวัตร6 พันธมิตรทางวาทกรรมอีกประเภทหนึ่ง ที่พบมากในข้อถกเถียงเกี่ยวกับทรัพยากรและการดำ�รงชีพบนที่สูง นั้นเกี่ยวข้องกับประเด็นเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งทั้งนักอนุรักษ์ และนักสิทธิชุมชน ที่แม้จะขัดแย้ง และ แตกต่างในทรรศนะที่มีต่อชุมชนเกษตรกรรมในเขตป่า ต่างก็เห็นพ้องกันในระดับหลักการว่าด้วยการอนุรักษ์ ฝ่าย แรกนั้นมองว่าชุมชนเป็นสาเหตุของการลดลงของความหลากหลายทางชีวภาพในเขตป่า แต่ฝ่ายหลังเห็นว่าชุมชน เป็นผู้ทำ�นุรักษาความหลากหลายทางชีวภาพตามธรรมชาติ แต่ทว่าทั้งสองฝ่ายต่างก็เห็นร่วมกันในความสำ�คัญ จำ�เป็นของการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ และพื้นที่ป่าในฐานะระบบนิเวศสำ�คัญ และต่างก็โจมตี และ ประณามระบบเกษตรเชิงพาณิชย์ในฐานะตัวการสำ�คัญที่สร้างความเสื่อมโทรมให้กับความอุดมสมบูรณ์ของความ หลากหลายทางชีวภาพ ฟอร์ไซธ์และวอล์กเกอร์เห็นว่า ทัง้ นักอนุรกั ษ์และนักสิทธิชมุ ชน ต่างก็เห็นร่วมกันในบทพรรณนาว่าด้วยวิกฤต ของความหลากหลายทางชีวภาพ ที่ต่างก็ชี้ไปยังนโยบายการส่งเสริมเกษตรกรรมเชิงพาณิชย์ การปลูกพืชเชิงเดี่ยว และการใช้สารเคมีวา่ เป็นต้นเหตุของความวิกฤตทีเ่ กิดขึน้ และถึงแม้วา่ ทัง้ สองฝ่ายจะเห็นต่างกันในเรือ่ งความสัมพันธ์ ระหว่างวิถกี ารดำ�รงชีพของมนุษย์และความหลากหลายทางชีวภาพ โดยฝ่ายแรกเห็นว่าการดำ�รงชีพของมนุษย์นนั้ ไป ด้วยกันไม่ได้กับการรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ (เพราะมนุษย์รังแต่จะใช้และทำ�ลายเพื่อประโยชน์ส่วนตน) ฝ่ายหลังเห็นว่าวิถีการดำ�รงชีพที่เป็นคุณต่อระบบนิเวศที่หลากหลายนั้น คือการดำ�รงชีพแบบยังชีพ แต่ทั้งสองฝ่าย ต่างก็เห็นพ้องต้องกันว่า ในปริมณฑลของความหลากหลายทางชีวภาพนั้น ไม่มีที่ว่างสำ�หรับตลาด

6 อ้างในมติชนรายวัน “ทักษิณ โชว์ไอเดีย พลิกที่ดินทุกตารางนิ้วเป็นเครื่องพิมพ์เงินให้คนจน” 1 ธันวาคม 2545


159

ฟอร์ไซธ์และวอล์กเกอร์ ได้ท้าทายพันธมิตรทางวาทกรรมของทั้งฝ่ายอำ�นาจนิยมและท้องถิ่นนิยมด้านสิ่ง แวดล้อม ด้วยการนำ�เสนอทางเลือกใหม่ในการตัดสินให้ค่าสารเคมีทางการเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทบาทของ สารเคมีทางการเกษตรที่มีต่อครัวเรือนเกษตรกรรมที่ยากจน ทั้งนี้ ทั้งสองเห็นว่าสิ่งที่มักไม่ค่อยถูกกล่าวถึงคือ ใน ช่วงเปลี่ยนผ่านที่สำ�คัญที่ชุมชนเกษตรกรรมบนที่สูงถูกบีบบังคับให้จำ�ต้องเลิกการปลูกฝิ่น ถูกลดและจำ�กัดพื้นที่ ทำ�กินลง ตลอดจนต้องเผชิญกับภาวะการเพิ่มขึ้นของประชากร สารเคมีทางเกษตรมีบทบาทสำ�คัญที่ช่วยให้การ เปลี่ยนแปลงของสังคมเกษตรกรรมบนที่สูงเป็นไปได้อย่างไม่ยากลำ�บากมากนัก ด้วยศักยภาพในการเพิ่มผลผลิต ต่อหน่วยพืน้ ทีแ่ ละช่วยให้การทำ�เกษตรแบบเข้มข้นในพืน้ ทีอ่ นั จำ�กัดกลายเป็นสิง่ ทีเ่ ป็นไปได้ นอกจากนีแ้ ล้ว ฟอร์ไซธ์ และวอล์เกอร์ยังได้อ้างงานวิจัยต่างๆ เพื่อชี้ให้เห็นว่า คำ�กล่าวอ้างที่มักได้ยินอยู่เสมอว่ายาปราบศัตรูพืชได้ปนเปื้อน ในนํ้า ทำ�ลายแหล่งต้นนํ้าลำ�ธาร และพันธุ์สัตว์นํ้าทั้งต้นนํ้าและปลายนํ้า กลับไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่หนัก แน่นเพียงพอ ในขณะที่ปัญหาเรื่องสุขภาพจากการใช้สารเคมีนั้น ปัญหาของ ดี.ดี.ที จากการฉีดกำ�จัดเชื้อมาลาเรีย นั้นมีความรุนแรงมากกว่าหลายเท่าแต่กลับไม่มีค่อยมีการพูดถึง (อ้างแล้ว หน้า 197) แม้ว่าทั้งสองจะไม่ได้ปฏิเสธถึง ผลลบที่มีต่อสุขภาพของยาปราบศัตรูพืช แต่ได้เสนอว่า ภาพลักษณ์ในแง่ลบของการใช้สารเคมี มักถูกเชื่อมโยงกับ ลักษณะทางชาติพันธุ์ (อาทิ ม้งกะหลํ่า) ก่อให้เกิดการสร้างตราประทับที่ฝังแน่นที่มีผลต่อการเหยียดทางชาติพันธุ์ ทั้งนี้ โดยที่กระบวนการดังกล่าว ไม่ได้เกิดขึ้นจากการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์หรือความเข้าใจอย่างถ่องแท้ที่มี ต่อความเสีย่ ง และประโยชน์ของการใช้สารเคมีทางการเกษตรแต่อย่างใด หากแต่เป็นไปตามความโน้มเอียงทางการ เมืองว่าด้วยความเชือ่ ทีช่ นี้ �ำ ทัศนคติทมี่ ตี อ่ วิถกี ารดำ�รงชีพ “ทีเ่ หมาะสม” ของชุมชนบนทีส่ งู ทีม่ อี ยูก่ อ่ นแล้ว นอกจาก นี้แล้ว แม้ว่าการใช้สารเคมีทางการเกษตรจะเป็นสิ่งที่ปฏิบัติกันโดยทั่วไปในแทบทุกกลุ่มชาติพันธุ์ ทั้งที่อาศัยอยู่บน ที่สูงและในที่ราบ แต่เป็นที่รู้กันว่า กลุ่มชาติพันธุ์ม้งมักกลายเป็นกลุ่มที่ถูกตราหน้าว่าใช้สารเคมีอย่างเข้มข้น ไม่รับ ผิดชอบ และสร้างมลพิษให้กับต้นนํ้าลำ�ธาร นอกจากนี้แล้ว ภาพลักษณ์ที่มักถูกสร้างขึ้นตรงข้ามกับเกษตรที่ใช้สาร เคมี (ดังนั้นจึงเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม) คือ เกษตรอินทรีย์ (เป็นมิตรกับธรรมชาติ) ฟอร์ไซธ์และวอล์กเกอร์ เห็น ว่า การโฆษณาสรรพคุณของเกษตรอินทรีย์โดย NGO และหน่วยงานของรัฐ มักฉายภาพให้เห็นในลักษณะที่ตรงกัน ข้ามกับเกษตรแบบใช้สารเคมี ทัง้ นีส้ งิ่ ทีบ่ ทพรรณนาว่าด้วยเกษตรอินทรียม์ กั ไม่ได้กล่าวถึง คือ ระบบเกษตรดังกล่าว มีระเบียบและกฎเกณฑ์ทมี่ รี ายละเอียดเคร่งครัด ใช้แรงงานอย่างเข้มข้นทีไ่ ม่ใช่วา่ เกษตรกรทุกคนจะสามารถเปลีย่ น มาปฏิบัติได้ง่ายๆ นอกจากนี้ เกษตรกรรมในระบบดังกล่าวยังได้ถูกดึงเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งธุรกิจอุตสาหกรรมเกษตร ภายใต้บริษัททั้งในและต่างประเทศแล้ว

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

สำ�หรับนักเสรีนิยมใหม่ทางสิ่งแวดล้อม เช่น ฟอร์ไซธ์และวอล์กเกอร์แล้ว การปฏิเสธตลาดและเกษตรกรรม เชิงพาณิชย์ในการอธิบายความเป็นไปของทรัพยากรของการดำ�รงชีพบนทีส่ งู นัน้ ก่อให้เกิดปัญหาการแยกขัว้ ตรงข้าม ระหว่างสิ่งที่ดี (อนุรักษ์) และสิ่งที่เลว (ทำ�ลาย) ในหลายมิติด้วยกัน ในมิติเชิงชาติพันธุ์ กลุ่มชาติพันธุ์บางกลุ่ม เช่น ชาวม้ง ที่ผูกพันกับระบบตลาดมากกว่ากลุ่มอื่น มักจะถูกวิพากษ์และประณามว่าเป็นผู้ทำ�ลายป่า โดยนักอนุรักษ์ ในขณะเดียวกัน นักสิทธิชุมชนก็มักจะเลือกนำ�เสนอแต่เฉพาะภาพลักษณ์ของนักอนุรักษ์ของกลุ่มชาติพันธุ์บางกลุ่ม เช่น กะเหรี่ยง หรือหากจะกล่าวถึงชาวม้ง ก็จะเลือกเฉพาะกรณีที่มีแบบแผนและวิถีชีวิตที่สอดคล้องกับบทพรรณนา กระแสหลักเท่านัน้ (เช่น ประเพณีการอนุรกั ษ์ปา่ ดงเซ้งของม้งบ้านป่าไผ่ เป็นต้น) ในมิตดิ า้ นความรู้ บทพรรณนาของ นักสิทธิชมุ ชนนัน้ ปฏิเสธองค์ประกอบทุกด้านของตลาด ซึง่ ฟอร์ไซธ์และวอล์กเกอร์เห็นว่า ส่วนหนึง่ ได้รบั อิทธิพลจาก ขบวนเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมในระดับสากล เช่น งานของ Vandana Shiva ที่โจมตีระบบทุนนิยมและการปฏิวัติ เขียว ในฐานะเงื่อนไขสำ�คัญของวิกฤตสิ่งแวดล้อม และปฏิเสธนวัตกรรม และเทคโนโลยีทุกประเภทที่ถูกประดิษฐ์ และขับเคลื่อนโดยตลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สารเคมีทางการเกษตร ซึ่งได้กลายเป็น “ศัตรูตัวร้าย” ที่ทำ�ลายองค์ ประกอบทางธรรมชาติ และวิถีชีวิต “ตามธรรมชาติ” ในเขตที่สูง ความ(รับ)รู้เกี่ยวกับสารเคมีทางการเกษตรไม่ว่า จะเป็นปุ๋ยหรือยาปราบศัตรูพืช จึงถูกตัดสินล่วงหน้าไปเรียบร้อยแล้วว่า เป็น anti-thesis ของการอนุรักษ์พันธุ์พืช และพันธุ์สัตว์ในท้องถิ่น


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

160

การมองตลาด และพืชเศรษฐกิจในมุมมองทีล่ บ ได้บดบังคำ�ถามทีส่ ำ�คัญเกีย่ วกับการเปลีย่ นแปลงของสังคม เกษตรกรรมบนทีส่ งู ทีว่ า่ ด้วยเหตุผลอะไร ชุมชนจำ�นวนไม่นอ้ ยจึงละทิง้ วิถกี ารผลิตแบบยังชีพ หันเข้าสูต่ ลาดในระดับ ต่างๆ กัน ฟอร์ไซธ์และวอล์กเกอร์ ได้ใช้งานศึกษาเพื่อชี้ให้เห็นว่า ในความเป็นจริงแล้ว การอนุรักษ์ และการดำ�รงชีพ ในระบบเกษตรสมัยใหม่ อาจไม่จำ�เป็นต้องเป็นขั้วตรงข้ามซึ่งกันและกันเสมอไป อาทิงานศึกษาของ Waranoot and Dearden ที่พบว่า ชาวม้งในหมู่บ้านแห่งหนึ่งเลือกที่หันเข้าหาการปลูกไม้ดอกเมืองหนาว เพราะรายได้ต่อหน่วยพื้นที่ สูง ใช้พื้นที่น้อย ดังนั้นจึงช่วยลดแรงกดดันที่ที่ดินทำ�กินลดลง และใช้แรงงานเข้มข้น จึงลดเวลาของแรงงานชายใน การล่าสัตว์ในป่าอีกด้วย ในกรณีอื่นๆ การหันเข้าหาเกษตรเชิงเดี่ยวเกิดขึ้นในพื้นที่ๆ ประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนเกษตรแบบยังชีพไม่สามารถสร้างหลักประกันความมั่นคงในการดำ�รงชีพได้อีกต่อไป ฟอร์ไซธ์และวอล์กเกอร์เห็น ว่า ในบทพรรณนาขององค์กรพัฒนาเอกชนส่วนใหญ่มกั วาดภาพพืชเศรษฐกิจเชิงเดีย่ วแบบคับแคบ ลดทอนย่อส่วน เป็นแบบแผนเดียวกัน ด้วยภาพลักษณ์ของพืชชนิดเดียวปลูกในพื้นที่กว้างขวาง ไม่ต่างจากที่ปรากฏใน American Midwest (หน้า 223) ซึ่งไม่ได้สะท้อนความเป็นจริงของพืชเศรษฐกิจบนที่สูง และทั้งยังปิดกั้นไม่ให้เห็นบทบาทของ พืชเศรษฐกิจที่มีต่อการปรับตัวของวิถีการดำ�รงชีพบนที่สูงอีกด้วย ผู้เขียนเห็นว่า มุมมองเรื่องตลาดและระบบทุนนิยมบนที่สูงของฟอร์ไซธ์และวอล์กเกอร์ เป็นตัวอย่างที่ สะท้อนทัศนะเสรีนิยมทางสิ่งแวดล้อมที่เด่นชัด สำ�หรับฟอร์ไซธ์และวอล์กเกอร์แล้ว วิถีการผลิตแบบยังชีพดั้งเดิม นั้น เป็นระบบการผลิตที่อยู่ในปริมณฑลของอดีต ที่สัมพันธ์กับธรรมชาติประเภทที่หนึ่ง (First Nature) ที่ไม่มีบทบาท ด้านการผลิตเชิงพาณิชย์ ในขณะที่วิถีการผลิตเชิงพาณิชย์ และปฏิสัมพันธ์ต่อธรรมชาติที่เปลี่ยนไป เป็นระบบการ ผลิตในปริมณฑลปัจจุบัน ที่สัมพันธ์กับธรรมชาติที่ถูกนิยามใหม่ (second Nature) ที่รองรับการผลิตในระบบทุนนิยม (Escobar 1996) แม้ว่าฟอร์ไซธ์และวอล์กเกอร์จะไม่ได้อธิบายอย่างแน่ชัดว่า พวกเขามองวิถีการผลิตแบบยังชีพเช่นไร นอกเหนือจากการอ้างบทพรรณนาขององค์กรพัฒนาเอกชน แต่การปิดป้ายเศรษฐกิจแบบยังชีพว่าเป็น “ภาพลักษณ์ โรแมนติกของวิถีชีวิตบนที่สูง” (หน้า 224) ก็ไม่ได้ช่วยให้พ้นไปจากทางตันของโจทย์ปัญหาเท่าใดนัก ทั้งนี้ เพราะ รัฐเอง ทั้งในระดับสถาบัน และในระดับตัวแทนที่ทำ�งานในเขตที่สูง ตลอดจนองค์กรอันทรงอำ�นาจระหว่างประเทศ (เช่น ADB) ต่างก็เห็นพ้องและสนับสนุนแนวทางตลาดในการเปลี่ยนวิถีการผลิตแบบยังชีพ (ไร่หมุนเวียน) ของกลุ่ม ชาติพนั ธุต์ า่ งๆ ให้เปลีย่ นวิถชี วี ติ และการใช้ทรัพยากรทีต่ อบสนองกับตลาดมากขึน้ ดังจะเห็นได้นบั ตัง้ แต่ขอ้ ความของ อดีตนายกรัฐมนตรีของไทย ไปจนกระทัง่ แนวทางการส่งเสริมเกษตรในทีส่ งู ของหน่วยงานรัฐต่างๆ และแม้กระทัง่ เจ้า หน้าทีป่ า่ ไม้เอง ก็มกั ไม่ตามจับกุมเกษตรกรทีท่ �ำ เกษตรเชิงพาณิชย์ เพราะเห็นว่าเป็นเกษตรกรรมแบบถาวรแล้ว หาก แต่วิถีการผลิตแบบยังชีพ เช่นไร่หมุนเวียนต่างหากที่ตกเป้าหมายของการจับกุมอยู่ทุกปี เช่นนี้แล้ว เราจะพบว่า มุม มองที่พ้องต้องกันในเรื่องตลาด ระหว่างอำ�นาจนิยม และเสรีนิยมใหม่ ได้กลายเป็นพันธมิตรทางวาทกรรมที่สำ�คัญ ในบทพรรณนาเกีย่ วกับเกษตรกรรมบนทีส่ งู ทีป่ ฏิเสธและมักมองการยังชีพในลักษณะทีต่ ายตัว และไม่เป็นทีต่ อ้ งการ โดยรัฐและทุน แม้ว่าประเด็นตลาดที่ยกมาโดยฟอร์ไซธ์และวอล์กเกอร์ จะเป็นประเด็นที่ท้าทายต่อขบวนการสิทธิชุมชน แต่ ข้อจำ�กัดของข้อถกเถียงของทัง้ สองคือ การฉายภาพของขบวนการสิทธิชมุ ชนทีค่ อ่ นข้างแบนราบ ฉาบฉวย (simplified) และขาดพัฒนาการ ผู้เขียนเห็นว่า ข้อจำ�กัดสำ�คัญของแนวทางการวิเคราะห์แบบบทพรรณนา (narrative analysis) ประการหนึ่งคือ การมุ่งอยู่แต่ที่ตัวบท ซึ่งได้ถูกคัดเลือกมาจากภาพตัวแทนเฉพาะที่เห็นแล้วว่าสอดคล้องกับแนว การวิเคราะห์ที่วางไว้อยู่แล้วล่วงหน้า โดยขาดการวิเคราะห์สัมพันธ์เชื่อมโยงกับปรากฏการณ์จริงในสังคม ในกรณี ของฟอร์ไซธ์และวอล์กเกอร์ งานสำ�คัญจำ�นวนไม่น้อยที่เกี่ยวกับการศึกษาระบบเกษตรบนที่สูง ทั้งแบบยังชีพและ เชิงพาณิชย์ขององค์กรพัฒนาเอกชน และนักวิชาการ ได้ตกหล่นหายไป และไม่ได้ถูกนับรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของ ขบวนการสิทธิชุมชน การตกหล่นดังกล่าว ทำ�ให้ฟอร์ไซธ์และวอล์กเกอร์เอง ไม่สามารถมองเห็นมุมมองที่ซับซ้อน กว่า “ภาพโรแมนติก” ของ “ฝ่ายประชาชน” ที่มีต่อวิถีการผลิตแบบยังชีพ การศึกษาเรื่องไร่หมุนเวียน: สถานภาพ และการเปลี่ยนแปลง โดยคณะสังคมศาสตร์ ได้ชี้ให้เห็นถึง แนวทางอันหลากหลายของการปรับตัวของชุมชนบนที่


161

ผูเ้ ขียนเห็นว่าทางออกหนึง่ ในการไปให้พน้ จากขัว้ ตรงข้ามระหว่างการยังชีพและตลาดนัน้ อยูท่ กี่ ารพิจารณา วิถีการผลิตทั้งสองในลักษณะที่เป็นพลวัต และวิภาษวิธี ในด้านหนึ่ง ผู้เขียนเห็นด้วยกับฟอร์ไซธ์และวอล์กเกอร์ที่ว่า บทพรรณนาเกีย่ วกับสิทธิชมุ ชนนัน้ บ่อยครัง้ ทีป่ รากฏในสือ่ สาธารณะในภาพลักษณ์ของการยังชีพแบบดัง้ เดิม ทีห่ า่ ง ไกลจากตลาด เพือ่ สร้างการยอมรับและความชอบธรรมต่อการดำ�รงอยูข่ องชุมชนภายใต้วาทกรรมกระแสหลักว่าด้วย การอนุรักษ์ โดยไม่สัมพันธ์กันนักกับบทพรรณนาอีกประเภทที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของวิถีการผลิต ตลาด และระบบการเกษตรเชิงพาณิชย์ แต่ในขณะเดียวกัน ผูเ้ ขียนก็เห็นแย้งกับฟอร์ไซธ์และวอล์กเกอร์ ทีม่ องความสัมพันธ์ ระหว่างการยังชีพ และการพาณิชย์ในลักษณะที่แยกขั้ว ไม่ต่างจากบทพรรณนาขององค์กรพัฒนาเอกชนเท่าใดนัก เพียงแต่กลับด้านกัน ความสัมพันธ์ระหว่างการดำ�รงชีพเพื่อยังชีพ และการดำ�รงชีพเชิงพาณิชย์นั้น ไม่จำ�เป็นที่จะ ต้องมีลักษณะที่เป็นวิวัฒนาการแบบเส้นตรง หรือเป็นขั้วตรงข้ามเสมอไป หากแต่อาจเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน7 (การ แบ่งพื้นที่บางส่วนในการผลิตเพื่อขาย เพราะการผลิตข้าวเพียงอย่างเดียวไม่สามารถพอเพียงต่อการยังชีพได้ตลอด ปี ซึ่งเป็นสิ่งที่ปฏิบัติกันมาตั้งแต่ยุคการปลูกฝิ่น การขายผลผลิตจากป่า การพัฒนาการท่องเที่ยว การทำ�งานรับจ้าง ฯลฯ เพื่อเสริมระบบการยังชีพ) หรือคัดง้างกัน (อาทิ ความขัดแย้งในการอ้างสิทธิการใช้ที่ดินระหว่างครัวเรือน หรือ ระหว่างครัวเรือนและชุมชน ที่มีเป้าประสงค์ที่ขัดกัน) นอกจากนี้ สิ่งที่เรียกกว่าตลาด หรือผลิตเพื่อการพาณิชย์นั้น ก็ เป็นประเด็นที่มีความซับซ้อนในตัวของมันเอง ที่ไม่อาจสรุปแบบเหมารวมแบบง่ายๆ ในลักษณะเดียว เพราะมีตั้งแต่ ตลาดที่ถูกกำ�หนดโดยระบบพันธะสัญญา (ของบริษัท โครงการหลวง และอื่นๆ ) ตลาดท้องถิ่น (อันเป็นที่ไหลเวียน ของสินค้าพืชเศรษฐกิจ จากพ่อค้าคนกลางไปสู่ตลาดส่วนกลาง) ไปจนถึงตลาดทางเลือก (อันเป็นการรวมกลุ่มของ เกษตรกรภายใต้การสนับสนุนของ NGO ในการผลิตสินค้าเกษตรอินทรียแ์ ละขายในตลาดเฉพาะ) ทีใ่ นหลายๆ ชุมชน ดำ�รงอยู่พร้อมๆ กับการผลิตข้าวเพื่อยังชีพ ปัญหาจึงไม่ใช่ระบบใด “จริง” กว่ากัน แต่ปัญหาที่มักไม่ค่อยได้รับการ พูดถึงทั้งในบทพรรณนาของเสรีนิยมใหม่ อำ�นาจนิยม หรือกระทั่งท้องถิ่นนิยม ก็คือ วิถีการดำ�รงชีพทั้งในแบบยังชีพ และเพื่อการค้า ดำ�รงอยู่อย่างไร ในความสัมพันธ์เช่นไร ในสภาวะที่ทรัพยากรถูกปิดล้อมมากขึ้นเรื่อยๆ และตลาด แบบใดที่เป็นคุณ และแบบใดที่เป็นโทษต่อวิถีชีวิตของชุมชน

ท้องถิ่นนิยม มโนทัศน์ส�ำ คัญอันหนึง่ ในขบวนการเคลือ่ นไหวสิทธิชมุ ชน คือ ความเป็นท้องถิน่ หรือท้องถิน่ นิยม ซึง่ กินความ ทั้งในแง่พื้นที่ (ต่างจากเมืองศูนย์กลาง ) วัฒนธรรม (อันหลากหลายแตกต่างตามชาติพันธุ์) และความรู้ (ที่ต่างจาก วิทยาศาสตร์แบบประจักษ์นิยม และอรรถประโยชน์นิยม) ฟอร์ไซธ์และวอล์เกอร์ ได้วิจารณ์มโนทัศน์ท้องถิ่นนิยมที่ 7 การดำ�รงชีพในภาคเกษตรนั้น ไม่เคยมีลักษณะของการประกอบอาชีพแบบเดียวมาแต่ไหนแต่ไร หากแต่เป็นไปในลักษณะ ของการดำ�รงชีพอย่างหลากหลาย (livelihood diversification) ความเข้าใจดังกล่าว เป็นสิ่งที่เป็นที่รับรู้ทั่วไปในงานเขียนต่างๆ ขององค์กรพัฒนาเอกชน และนักสังคมศาสตร์

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

สูงเมื่อต้องเผชิญกับแรงกดดันในการลดที่ดินทำ�กินลง ซึ่งการเปลี่ยนระบบการผลิตเข้าสู่การพาณิชย์มากขึ้น เป็น ทางเลือกหนึ่ง ในขณะเดียวกัน การเลือกที่จะสัมพันธ์กับตลาดแบบใด/ประเภทใด (ซึ่งสัมพันธ์กับทรัพยากรที่มีอยู่ ในชุมชน และไม่จำ�เป็นต้องเป็นทรัพยากรทางการเกษตรเพียงอย่างเดียว แต่อาจรวมถึงทรัพยากรในป่า ภูมิทัศน์ หรืออื่นๆ ที่สามารถพัฒนาเป็นสินค้าได้) และจะยังชีพเช่นไร เป็นโจทย์ที่เกี่ยวข้องกับเงื่อนไขที่หลากหลายและซับ ซ้อน ทั้งเงื่อนไขความรุนแรงของแรงกดดันเรื่องที่ดินจากรัฐ ลักษณะเฉพาะของภูมินิเวศ ตลอดจนความเข้มแข็งของ สถาบันในชุมชน นอกจากนี้แล้ว การเลือกที่จะดำ�รงชีพแบบยังชีพ หรือแบบตลาด ยังอาจมีที่มาจากมิติด้านอำ�นาจ อีกด้วย เช่น การกลับไปยึดที่ดินคืนจากโครงการปลูกป่าของกรมป่าไม้แล้วนำ�กลับมาทำ�ไร่หมุนเวียนของบางชุมชน การเลือกวิถีการยังชีพในกรณีนี้ จึงมีนัยยะทางเศรษฐกิจครัวเรือนเท่าๆ กับนัยยะทางการเมืองของการต่อต้านต่อ ความไม่เป็นธรรมของรัฐ


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

162

ใช้ในงานเขียนในแวดวงป่าชุมชนว่า มีปัญหาหลายประการด้วยกัน ประการแรก บทพรรณนาว่าด้วยท้องถิ่น มักมี แนวโน้มของการขีดเส้นแบ่งความจำ�เพาะเจาะจงของความเป็นชุมชน ราวกับว่าดำ�รงอยู่ภายนอกปริมณฑลของรัฐ และตลาด ประการที่สอง มโนทัศน์ว่าด้วยท้องถิ่น หรือความรู้ท้องถิ่นนั้น ไม่จำ�เป็นเสมอไปที่จะมีนัยยะในแง่บวก หรือก่อให้เกิดการสร้างเสริมอำ�นาจแก่ผทู้ ถี่ กู นิยามว่าเป็นผูอ้ ยูใ่ นท้องถิน่ เสมอไป ทัง้ นีเ้ พราะความเป็นท้องถิน่ นัน้ ใน สายตาของภายนอกแล้ว ได้ถูกจัดวางไว้ในตำ�แหน่งแห่งที่ที่ด้อย ต้อยตํ่า และแปลกแตกต่างไปจากคนส่วนใหญ่ใน ศูนย์กลาง การนิยามความรูว้ า่ ท้องถิน่ หรือประเพณี อาจเท่ากับเป็นการตอกยํา้ โครงสร้างอำ�นาจทีไ่ ม่เท่าเทียมทีด่ �ำ รง อยู่แล้วตามการนิยามของคนภายนอก และโดยยํ้าความหมาย (ที่เป็นลบ) ให้เป็นอยู่เช่นนั้นเสมอ ไม่เปลี่ยนแปลง และประการที่สาม มโนทัศน์ท้องถิ่นนิยมที่ใช้โดย NGO และนักวิชาการสายสิทธิชุมชน มักเป็นไปแบบเลือกสรร เพื่อ ตอบโต้กบั รัฐและทุน และดังนัน้ จึงมักเน้นด้านทีเ่ ป็นเกษตรกรรมแบบยังชีพและความสัมพันธ์กบั ทรัพยากรธรรมชาติ ตามแบบจารีตประเพณี โดยน้อยนักทีจ่ ะมีงานทีก่ ล่าวถึงภูมปิ ญ ั ญาท้องถิน่ ทีเ่ กีย่ วกับเกษตรกรรมเชิงพาณิชย์ การใช้ สารเคมี หรือกระทั่งยุทธวิธีในการสร้างความสัมพันธ์กับเจ้าหน้าที่รัฐ ลักษณะทั้งสามประการดังกล่าว ฟอร์ไซธ์และ วอล์กเกอร์เห็นว่า ได้สร้างกรอบคิดว่าด้วยท้องถิน่ ประเภทหนึง่ ขึน้ มา และปิดกัน้ การมองท้องถิน่ ในมิตทิ แี่ ตกต่างออก ไป ซึ่งก่อให้เกิดภาวะการปิดกั้นของโจทย์ปัญหา (problem closure) โดยปริยาย บทพรรณนาว่าด้วยความเป็นท้องถิ่น และชุมชนที่มีลักษณะตายตัว และจำ�กัด ปรากฏชัดในขบวนการ เคลื่อนไหวเรื่อง พรบ.ป่าชุมชน ฟอร์ไซธ์และวอล์กเกอร์ เห็นว่า สิ่งที่เรียกว่า “ชุมชน” ที่ปรากฏในร่างกฎหมายป่า ชุมชนฉบับประชาชนนั้น ได้จำ�กัดและตีกรอบความเป็นชุมชนไว้ในลักษณะที่สร้างปัญหาอย่างน้อยสองประการคือ ประการแรก การเน้นชุมชน ที่มีลักษณะที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มีความต่อเนื่องทางวัฒนธรรมร่วมกัน ซึ่งเป็นการ นิยามที่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญปี 2540 และประการที่สอง การไม่รวมเอาสิทธิในที่ดินเกษตรกรรมรวมไว้ในกฎหมาย ซึ่งเท่ากับเป็นการยอมรับแนวคิดกระแสหลักว่าด้วยสิ่งแวดล้อม ที่กีดกันสิทธิในการดำ �รงชีพออกจากการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ ฟอร์ไซธ์และวอล์กเกอร์เห็นว่า การนิยามชุมชนในลักษณะดังกล่าว ไม่เพียงแต่กีดกันชุมชน ประเภทอื่นๆ เช่น ชุมชนตั้งใหม่ ที่มีที่มาจากหลายรากเหง้าที่ไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทางวัฒนธรรมออกไปเท่านั้น แต่กรอบคิดอันแยกขัว้ ดังกล่าวนัน้ ไม่ตา่ งอะไรจากมโนทัศน์เชิงพืน้ ทีอ่ นั ทรงอำ�นาจทีม่ มี านับแต่ประวัตศิ าสตร์ในการ แบ่งแยก “เมือง” ออกจาก “ป่า” ในขณะที่ปริมณฑลเมือง ถูกให้ความหมายในฐานะพื้นที่อารยะ ความเจริญ คน พื้นราบ ปริมณฑลป่า กลับถูกนิยามในด้านตรงข้าม ที่มีนัยยะของโลกก่อนอารยะ ความเถื่อน ความล้าหลัง ชน ในป่า คู่ตรงข้ามของพื้นที่ดังกล่าวปรากฏในมโนทัศน์ป่าชุมชน ที่ไม่เพียงกักขัง “ชุมชน” ใน “ป่า” ไม่ให้สามารถที่ จะเปลี่ยนแปลง หรือสัมพันธ์กับโลกอารยะได้ หากเกษตรกรรมเป็นตัวแทนของความเจริญ และโลกของชนพื้นราบ แล้ว การปฏิเสธสิทธิในการทำ�กินในพื้นที่ปาชุมชน จึงเท่ากับเป็นการปฏิเสธความสัมพันธ์ที่ดำ�รงอยู่จริงระหว่าง เมืองกับป่า ตลอดจนการเคลื่อนไหวข้ามพื้นที่และข้ามประเภท (cross category) ของชนในสองปริมณฑลมาตลอด ประวัติศาสตร์อีกด้วย ข้อวิพากษ์ว่าด้วยชุมชนและท้องถิ่นดังกล่าวของฟอร์ไซธ์และวอล์กเกอร์ว่าไปแล้ว ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่าง ใด ปัญหาว่าด้วยสารัตถะนิยม (essentialism) ในการนิยามชุมชน วัฒนธรรม และกลุ่มชนเป็นประเด็นที่อยู่ในข้อถก เถียงในแวดวงมานุษยวิทยามาตั้งแต่ทศวรรษที่ 1980 งานจำ�นวนไม่น้อยของนักมานุษยวิทยา ต่างก็ตั้งคำ�ถามต่อ การนิยาม พรรณนา ตลอดจนตีความสิ่งที่เรียกว่าวัฒนธรรม ที่อ้างอิงกับพื้นที่ ความต่อเนื่อง ความเป็นอันหนึ่งอัน เดียวกัน ซึง่ ได้น�ำ ไปสูภ่ าวะของการมองวัฒนธรรมและกลุม่ ชนอย่างหยุดนิง่ ไม่เคลือ่ นไหว ขาดการเปลีย่ นแปลง และ ไม่เชื่อมโยงพลังภายนอก ไม่ว่าจะเป็นรัฐหรือตลาด อันที่จริง การตั้งคำ�ถามต่อสารัตถะนิยมในการมองวัฒนธรรม ชุมชน และหมู่บ้าน ไม่ได้จำ�กัดวงอยู่แต่ในแวดวงมานุษยวิทยาตะวันตกเท่านั้น แต่ในวงการวิชาการไทย การ พยายามมองหมูบ่ า้ นในมุมมองเชิงปัญหาและตัง้ คำ�ถามต่อการนิยามคำ�จำ�กัดความทีค่ งที่ โรแมนติกนัน้ มีมานับแต่ คริสต์ทศวรรษที่ 1980 เช่นกัน (เช่น Hirsch 1993) หรือแม้กระทั่งนักวิชาการในสายสิทธิชุมชนที่ถูกโจมตีอย่างหนักใน งานของฟอร์ไซธ์และวอล์กเกอร์ ก็เป็นหัวหอกสำ�คัญในการวิพากษ์ลักษณะเชิงอุดมคติของหมู่บ้านศึกษา (ดูอานันท์


163

แม้ว่าผู้เขียนจะเห็นด้วยกับปัญหาสารัตถะนิยมในทางมโนทัศน์ดังที่วิพากษ์โดยฟอร์ไซธ์และวอล์กเกอร์ว่า ด้วยความเป็นท้องถิ่นหรือความเป็นชุมชน แต่ผู้เขียนเห็นว่า มีความจำ�เป็นที่จะต้องทำ�ความเข้าใจปัญหานี้หลาย ประการ ก่อนที่จะกล่าวประณามขบวนการเคลื่อนไหวป่าชุมชน/สิทธิชุมชนว่าละเลย หรือไม่เข้าใจในความเป็นจริง อันหลากหลายของท้องถิ่น ทั้งนี้ปัญหาสำ�คัญไม่น่าจะใช่ประเด็นเรื่องการเมืองเรื่องความรู้ ดังที่ฟอร์ไซธ์และวอล์ก เกอร์กล่าวอ้าง หากแต่เป็นการเมืองเรื่องยุทธศาสตร์ ที่กำ�หนดโอกาสทางวัฒนธรรม (cultural opportunity) ที่อาจ เอื้ออำ�นวย หรืออาจปิดกั้นพื้นที่ความเป็นไปได้ที่เรื่องหนึ่งๆ จะสามารถสื่อสารได้กับกลุ่มคนต่างๆ ในสังคม การเน้น มิตดิ า้ นภูมปิ ญ ั ญาในการอนุรกั ษ์ธรรมชาติของชุมชนก็ดี ความเป็นอันหนึง่ อันเดียวกันของชุมชนก็ดี เป็นยุทธศาสตร์ การสร้างภาพตัวแทนทีแ่ ม้แต่ชาวบ้านเองก็เลือกใช้เพือ่ เพิม่ สถานภาพการต่อรองของตนในสนามของอำ�นาจทางการ ของรัฐที่ปิดกั้นการเข้าถึงทรัพยากรของตน (โปรดดู Yos 2004 ) สิ่งที่ฟอร์ไซธ์และวอล์กเกอร์ไม่ได้ตระหนักก็คือ บท พรรณนาที่ถูกสร้างขึ้นนั้น ไม่ได้เกิดขึ้นในสุญญากาศ หรือเป็นเพียงตัวบทที่ถูกเขียน เผยแพร่ ถกเถียงทางปัญญา ดังเช่นในโลกวิชาการ หากแต่ถกู ผลิตและประดิษฐ์ขนึ้ ในความสัมพันธ์ทางอำ�นาจอันซับซ้อน ภายใต้กระบวนการต่อ รองอันยาวนาน และภายในบริบทการต่อสู้ดิ้นรนในชีวิตประจำ�วันเพื่อให้หลุดพ้นจากการถูกเบียดขับและกดขี่จาก อำ�นาจนิยมทางสิ่งแวดล้อมของรัฐและกลุ่มนักอนุรักษ์กระแสหลัก และในสนามการต่อรองของความสัมพันธ์ทาง อำ�นาจอันไม่เท่าเทียมดังกล่าว การเรียนรู้ในเชิงยุทธศาสตร์และการเลือกพื้นที่และภาพลักษณ์ที่เป็นไปได้ในการต่อ รอง จึงมีความสำ�คัญมากกว่าการนำ�เสนอ “ความจริงทั้งหมด” ที่สะท้อนความซับซ้อน และสัจจธรรมสมบูรณ์ของ “ชุมชน” และ “ท้องถิ่น” และชาวบ้านเองก็ตระหนักดีถึงความแตกต่างระหว่างความเป็นไปในชีวิตประจำ�วัน และ ภาพแสดงตัวแทนว่าด้วยความเป็นชุมชน ในแง่นี้ ในความเป็นไปได้ในการเมืองว่าด้วยการอนุรักษ์แล้ว การเลือกนำ� เสนอภาพตัวแทนของการอนุรักษ์ มากกว่าการใช้ประโยชน์จากทรัพยากร การยังชีพมากกว่าการพาณิชย์ ตลอดจน สิทธิชุมชนในเขตป่า มากกว่าสิทธิในที่ดินทางการเกษตร8 นั้นวางอยู่เหตุผลเชิงยุทธศาสตร์จากการวิเคราะห์ความ เป็นไปได้ตามความเป็นจริง (pragmatic) เป็นสำ�คัญ อย่างไรก็ตาม ไม่ได้หมายความว่า ยุทธศาสตร์การเลือกแบบปฏิบัตินิยมดังกล่าว จะไม่มีปัญหาการคล้อย ตามวาทกรรม และภาพตัวแทนที่เป็นประโยชน์ต่อการต่อรองทางการเมืองนั้น แม้ว่าจะช่วยเพิ่มอำ�นาจต่อรองให้ กับชุมชน แต่ก็สร้างข้อจำ�กัดด้วยเช่นกัน ดังที่ผู้เขียนได้เคยตั้งข้อสังเกตไว้ (Pinkaew 2001) การสร้างภาพตัวแทน เพียงประเภทเดียวที่คงที่และกลายเป็นภาพลักษณ์ถาวร (อาทิ กะเหรี่ยงนักอนุรักษ์) นั้น ถึงที่สุดแล้ว ย่อมกลายเป็น อุปสรรคที่สำ�คัญ เพราะภาพลักษณ์ดังกล่าวได้กลายเป็นภาพลักษณ์ที่ตายตัวและยากต่อการเปลี่ยนแปลง ทั้งยัง ปิดกั้นการรับรู้ของสังคมต่อมิติด้านอื่นๆ ของชุมชน หรือกระทั่งชุมชนประเภทอื่นๆ นอกภาพลักษณ์อันคุ้นชิน (อาทิ ชุมชนผู้อพยพ) ผู้เขียนเห็นว่า ปัญหาของขบวนการสิทธิชุมชนนั้น ไม่ได้อยู่ที่การผลิตบทพรรณนาว่าด้วยท้องถิ่นเชิง สารัตถะนิยมมากเกินไป หากแต่อยูท่ กี่ ารปล่อยให้สารัตถะนิยมว่าด้วยท้องถิน่ เพียงประเภทเดียวครอบงำ�ยุทธศาสตร์ 8 ข้อวิจารณ์ของฟอร์ไซธ์และวอล์กเกอร์ที่ว่าขบวนการป่าชุมชนนั้น ละเลยประเด็นเรื่องสิทธิทางการเกษตรนั้น เป็นข้อวิจารณ์ ทีไ่ ม่ตรงกับความเป็นจริงนัก เพราะขบวนการเดียวกันนัน้ เอง ก็ท�ำ งานเคลือ่ นไหวในประเด็นสิทธิในทีด่ นิ ทางการเกษตร โดย เฉพาะสิทธิตามประเพณีในไร่หมุนเวียนด้วยเช่นกัน โดยมีขอบเขตทีจ่ �ำ กัดอยูเ่ ฉพาะในภาคเหนือเป็นสำ�คัญ การแยกประเด็น สิทธิในป่า ออกจากสิทธิในที่ดินทำ�กินนั้น ส่วนหนึ่งเป็นการแบ่งตามความเป็นไปได้ในการรณรงค์ อย่างไรก็ตาม ข้อวิจารณ์ ของฟอร์ไซธ์และวอล์กเกอร์ที่ว่า การแยกประเด็นเกษตรกรรมออกจากป่านั้น เท่ากับเป็นการเห็นพ้องไปกับมโนทัศน์กระแส หลักของรัฐนั้น ก็อาจไม่จริงนัก เพราะชุมชนจำ�นวนไม่น้อย ก็ไม่ได้มองพื้นที่สองประเภทนี้ เป็นพื้นที่เดียวกัน (ดังสะท้อนให้ เห็นได้จากข้อห้ามตามความเชื่อท้องถิ่น ที่กำ�หนดพื้นที่หลายประเภทที่ห้ามไม่ให้มีการทำ�การเกษตร เช่น พื้นที่สบห้วย พื้น ที่ตานํ้า ฯลฯ ) และการแบ่งดังกล่าวนั้น ในหลายพื้นที่ ก็มีมาก่อนการแบ่งพื้นที่โดยรัฐ ในแง่นี้ จึงอาจเป็นการด่วนสรุปเกิน ไปที่จะมองว่า พันธมิตรทางวาทกรรมที่เกิดขึ้นนั้น เป็นการผลิตซํ้าวาทกรรมแบบรัฐ

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

2544) ข้อกังขาสำ�คัญ จึงไม่นา่ จะใช่เหตุใดจึงมองไม่เห็นปัญหาทีเ่ กิดจากการสร้างและผลิตซํา้ ความเป็นสารัตถะนิยม ของหมู่บ้าน ชุมชน และวัฒนธรรม หากแต่เป็น ด้วยเหตุใดขบวนการเคลื่อนไหวป่าชุมชนจึงยังคงเลือกที่จะใช้ด้านที่ เป็นสารัตถะนิยมว่าด้วยชุมชน ในการผลักดันเพื่อให้เกิดการรับรองสิทธิของชุมชนในการจัดการทรัพยากรในเขตป่า


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

164

การเคลื่อนไหวเรื่องสิทธิในทรัพยากรนานเกินไป จนทำ�ให้วาทกรรมว่าด้วยท้องถิ่นขาดพลัง และกลายเป็นเพียงสิ่งที่ กล่าวกันไปเช่นนั้นเอง โดยไม่ได้มีความหมายหรือสาระที่สำ�คัญดังที่เคยเป็น (cliché)

สรุป หากบทพรรณนานัน้ คือผลผลิตทางสังคมทีผ่ ลิตขึน้ โดยกลุม่ คนในสังคมในบริบทเฉพาะทางสังคม ประวัตศิ าสตร์ และวัฒนธรรม เพื่อบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับโลกทางสังคมแล้ว บทพรรณนาย่อมไม่เคยว่างเว้นจากการถูกตีความ โต้แย้ง และถูกตีความใหม่อีกครั้ง บทพรรณนาว่าด้วยสิทธิชุมชนก็เช่นเดียวกัน ที่แม้ว่าจะถูกเขียนขึ้นและถูกใช้เพื่อ สือ่ สารถึงมุมมองทีม่ ตี อ่ ทรัพยากร รัฐ และชุมชน ในบริบทของความขัดแย้งในการเข้าถึงทรัพยากร เจตจำ�นงทีต่ อ้ งการ ตอบโต้กับอำ�นาจนิยมในการจัดการทรัพยากรของขบวนการดังกล่าว อาจไม่จำ�เป็นที่จะเป็นสิ่งเดียวกับผลลัพธ์ที่ เกิดขึ้นเสมอไป ดังที่งานของฟอร์ไซธ์และวอล์กเกอร์ ได้ชี้ให้เห็น มุมมองว่าด้วยป่า และชุมชนของขบวนการสิทธิ ชุมชน ในท้ายที่สุดแล้ว อาจยังคงเสริมอำ�นาจวาทกรรมกระแสหลัก ที่แยกส่วนความเป็นป่าและการดำ�รงชีพออก จากกันอยู่เช่นเดิม ที่ละเลย และมองไม่เห็นบทบาทของตลาด และการเปลี่ยนแปลงไปสู่วิถีชีวิตทันสมัยของชุมชน เกษตรกรรมบนที่สูง แต่หากข้อจำ�กัดสำ�คัญของขบวนการสิทธิชมุ ชน คือแนวโน้มของการเชิดชูทอ้ งถิน่ นิยม และต่อต้านตลาดอย่าง ไม่ลืมหูลืมตาแล้ว ดูเหมือนสิ่งที่ฟอร์ไซธ์และวอล์กเกอร์ลืมที่จะกล่าวถึง คือข้อวิพากษ์ของทั้งสองที่มีต่อทั้งรัฐ และ ขบวนการสิทธิชมุ ชน ตลอดจนการเชิดชูตลาดโดยปราศจากเงือ่ นไขและไร้ขอ้ กังขา กลับสะท้อนให้เห็นถึงจุดยืนแบบ เสรีนิยมใหม่ในเรื่องทรัพยากรของทั้งสองอย่างชัดเจน อันตัวแทนทางความคิดของสถาบันทุน ที่ได้รับการสนับสนุน จากรัฐ หรือสถาบันรัฐเองที่ส่งเสริมแนวคิดดังกล่าว (ดังนั้น จึงเป็นพันธมิตรทางวาทกรรมอีกประเภทหนึ่ง) และทั้ง ยังมีอ�ำ นาจอย่างมากในการเมืองสิง่ แวดล้อม และมีบทบาทสำ�คัญต่อการผลักดันการเปลีย่ นแปลงในเขตทีส่ งู มาโดย ตลอด ผู้กระทำ�การและปฏิบัติการดังกล่าวกลับไม่ปรากฏในบทวิเคราะห์เรื่องเล่า ข้อเสนอว่าด้วยพันธมิตรทางวาท กรรม หรือการปิดโจทย์ปัญหาอย่างน่าประหลาดใจ บทความชิน้ นี้ ได้ใช้งานเขียนของฟอร์ไซธ์และวอล์กเกอร์ เป็นแว่นในการมองขบวนการสิทธิชมุ ชน ซึง่ ดำ�เนิน ไปในบริบทของการปฏิสมั พันธ์ของแนวคิดอย่างน้อยสามประเภทด้วยกัน คือ อำ�นาจนิยม ท้องถิน่ นิยม และเสรีนยิ ม ใหม่ ในการจัดการทรัพยากร ทั้งสามแนวคิดไม่ได้ด�ำ รงอยู่อย่างโดดๆ หรือไม่ได้วางอยู่ในขั้วที่ตรงข้ามกันเสมอไป แต่บ่อยครั้งที่ทำ�งานไปในแนวทางที่กลับเสริมอำ�นาจทางความคิดของกันและกัน ข้อจำ�กัดสำ�คัญประการหนึ่งของ ขบวนการสิทธิชุมชนจึงอยู่ที่การขาดการตระหนักถึงสัมพันธภาพอันซับซ้อนทางแนวคิดและปฏิบัติการอันผกผันดัง กล่าว ตลอดจนการขาดการพัฒนายุทธศาสตร์ทวี่ พิ ากษ์เพียงพอในการเข้าใจกับแนวคิดทัง้ สาม และในการเชือ่ มโยง แนวคิดดังกล่าวกับความเป็นไปในความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนและทรัพยากรที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ข้อจำ�กัด ดังกล่าว ได้ทำ�ให้ขบวนการสิทธิชุมชนได้แต่ผลิตซํ้าวาทกรรมประเภทเดียวมาเป็นเวลากว่าสามทศวรรษ


165

อานันท์ กาญจนพันธุ์. 2544. มิติชุมชน: วิธีคิดท้องถิ่น ว่าด้วยสิทธิ อำ�นาจและการจัดการทรัพยากร. กรุงเทพฯ: สำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย Baker, Chris. 2008. “Trees do not create water: An Iconoclastic and provocative study of forests, science and politics in Thailand,” Bangkok Post, 01/09/2008. (Review of Tim Forsyth and Andrew Walker (2008) Forest guardian, forest destroyers: the politics of environmental knowledge in northern Thailand.) Escobar, Arturo. 1996. “Constructing nature: elements for a post-structural political ecology,” in R. Peets and M. Watts (eds.) Liberation Ecology: Environment, and Development, and Social Movement. (Pp.46-68), New York: Routledge. Hirsch, Philip (ed.). 1993. The Village in Perspective: Community and Locality in Rural Thailand. Chiang Mai: Social Research Institute. (5 short articles) Forsyth, Tim and Andrew Walker. 2008. Forest Guardians, Forest Destroyers: The Politics of Environmental Knowledge in Northern Thailand. Seattle: University of Washington Press. Pinkaew Laungaramsri. 2001. Redefining Nature: Karen Ecological Knowledge and the Challenge to Modern Conservation Paradigm. Chennai: Earthworm. Vandergeest, Peter. 1996. “Property rights in protected areas: Obstacles to community involvement as a solution in Thailand”, Environmental Conservation 23(3):259-68. -------------------- 1999. “Reply: Protected areas and property rights in Thailand,” Environmental Conservation 26(1):7-9. Walker, Andrew. 2001. “The Karen consensus, ethnic politics and resourse-use legitimacy in northern Thailand”. Asian Ethnicity. 2(2), Pp. Waranoot Tungitttiplakorn. 2002. “Limitations of subsistence agriculture in the Highlands”, In Environmental Protection and Rural Development in Thailand: Challenges and Opportunities, ed. P. Dearden. Bangkok: White Lotus. Yos Santasombat. 2004. “Karen cultural capital and the political economy of symbolic power”, Asian Ethnicity, 5(1) Pp.105-120.

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

เอกสารอ้างอิง


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

166

ชาวประมงพื้นบ้านจังหวัดชายแดนภาคใต้ใน สถานการณ์ความรุนแรง มุมมองในมิติชาติพันธุ์สัมพันธ์1 ดร.เลิศชาย ศิริชัย2

สามจังหวัดชายแดนภาคใต้มี 2 จังหวัดที่มีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเล คือจังหวัดปัตตานีและจังหวัดนราธิวาส โดย จังหวัดปัตตานีมีพื้นที่ 6 อำ�เภอที่ติดชายฝั่งทะเล มีหมู่บ้านชาวประมงพื้นบ้าน 52 หมู่บ้าน มีประชากรประมงพื้น บ้านกว่า 80,000 คน ส่วนจังหวัดจังหวัดนราธิวาสมีจำ�นวนหมู่บ้านและประชากรประมงพื้นบ้านประมาณครึ่งหนึ่ง ของจังหวัดปัตตานี การเป็นชาวประมงพื้นบ้านใน 2 จังหวัดนี้ แม้ในเบื้องต้นจะประสบปัญหาเหมือนกับประมงพื้นบ้านทั่วไป คือได้รับผลกระทบจากการเข้ามาแย่งชิงทรัพยากรของประมงพาณิชย์ แต่ว่าก็มีความแตกต่างกันมากด้วยเงื่อนไขที่ สำ�คัญ 2 ประการ เงือ่ นไขแรก พวกเขาเป็นชาว “มุสลิมมลายู” เช่นเดียวกับคนส่วนใหญ่ใน 3 จังหวัดชายแดนภาค ใต้ ทำ�ให้วฒ ั นธรรมและภาษาทีใ่ ช้มลี กั ษณะคล้ายกับคนในประเทศมาเลเซีย ประเด็นสำ�คัญน่าจะอยูท่ ภี่ าษาและวัตร ปฏิบตั ขิ องการเป็นมุสลิมมลายู คือชาวบ้านใช้ภาษามลายูทอ้ งถิน่ มีนอ้ ยคนทีพ่ ดู ภาษาไทยได้ และน้อยมากทีพ่ ดู ได้ คล่องแคล่วพอเพียงที่จะใช้สื่อสารกับคนทั่วไปได้ และการปฏิบัติตามหลักศาสนาอิสลามที่โดยทั่วไปแล้วจะมีความ เคร่งครัดกว่ามุสลิมในเขตอื่น ทำ�ให้เมื่อเกิดวิกฤติทรัพยากรทางทะเลเสื่อมโทรมจนชาวบ้านไม่สามารถจะดำ�รงชีวิต ด้วยการหากินในทะเลได้อกี ต่อไป ชาวประมงพืน้ จากจังหวัดปัตตานีและนราธิวาสส่วนใหญ่กจ็ ะปรับตัวด้วยการเดิน ทางเข้าไปทำ�งานในเขตประเทศมาเลเซีย ทั้งที่งานไม่ได้ดีมากกว่าที่มีอยู่ในเมืองไทย เช่น ส่วนใหญ่ชาวบ้านกลุ่มนี้ก็ จะไปทำ�งานเป็นลูกเรือประมง แต่ที่เลือกไปในพื้นที่ประเทศมาเลเซียก็เพราะคนที่นั่นว่าพูดภาษาเดียวกัน และมีวิถี ปฏิบัติทางศาสนาคล้ายกัน ในขณะที่พวกเขายากจะหางานทำ�ในเขตประเทศไทย เพราะทั้งภาษา การปฏิบัติตาม ศาสนา และวัฒนธรรมอื่นๆ ไม่เปิดโอกาสให้ทำ�ได้โดยง่าย เงื่อนไขที่สอง พื้นที่ 3 จังหวัดภาคใต้ไม่เพียงมีคนส่วนใหญ่เป็น “มุสลิมมลายู” เท่านั้นแต่ยังเป็นดินแดนที่ มีความขัดแย้งอย่างรุนแรงในด้านการเมือง โดยในด้านแรกเป็นด้านการเมืองในโครงสร้างของรัฐชาติ ที่รัฐปัตตานี ถูกสยามผนวกเข้าสู่ความเป็นรัฐชาติเดียวกัน ทำ�ให้เกิดการต่อสู้ของกลุ่มผู้ปกครองเดิมที่ต้องการปลดแอกปัตตานี จากรัฐชาติสยาม ด้านที่สองเป็นการเมืองเรื่องชาติพันธุ์ที่รัฐชาติต้องการดูดกลืนวัฒนธรรมของชาวมุสลิมมลายูให้ เป็นคนไทยในสายตาของคนกรุงเทพฯ ในขณะทีช่ าวมุสลิมมลายูกพ็ ยามต่อสูท้ จี่ ะรักษาอัตลักษณ์ของพวกตนไว้ โดย เฉพาะอัตลักษณ์อนั เนือ่ งมาจากศาสนา ซึง่ ในทีส่ ดุ ทำ�ให้ขบวนการต่อสูเ้ พือ่ อิสระของรัฐปัตตานีทนี่ �ำ โดยกลุม่ เจ้าเมือง เดิมกับขบวนการต่อสู้เพื่อศาสนากลายเป็นขบวนการที่เคลื่อนไหวไปในทำ�นองเดียวกัน ภายใต้ภาษาที่เรียกขานกัน ว่า “ขบวนการแบ่งแยกดินแดน”

1 บทความนี้ผู้เขียนใช้ข้อมูลจากการศึกษาภาคสนามเป็นหลัก 2 อาจารย์ประจำ�สำ�นักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์


167

ชาวประมงพื้นบ้านในบริบทของความขัดแย้ง ชุมชนชาวประมงพืน้ บ้านในจังหวัดปัตตานีและนราธิวาสเกิดขึน้ มานานแล้ว อย่างน้อยก็ประมาณ 200 ปี แต่ หากเปรียบเทียบกับชุมชนชาวนาซึ่งอยู่ถัดเข้าไปในพื้นที่ด้านในแล้ว ชุมชนชาวประมงพื้นบ้านที่ตั้งอยู่ใกล้ทะเลใน ปัจจุบันจะเกิดขึ้นทีหลัง เพราะแต่เดิมชาวบ้านต้องทำ�นาเป็นหลักเพื่อมีข้าวบริโภค และหากจะทำ�ประมงในทะเล ประกอบด้วยก็สามารถออกมาตามคลองได้ สาเหตุสำ�คัญที่ชาวบ้านขยับขยายออกมาตั้งชุมชนบริเวณชายฝั่งก็ เนือ่ งจากทีด่ นิ ทีเ่ หมาะแก่การทำ�นามีเจ้าของหมดแล้ว โดยเฉพาะทีด่ นิ จำ�นวนมากเป็นของเจ้าเมืองและสืบต่อมาทาง เครือญาติ จากการสังเกตถึงนํา้ เสียงของบรรพบุรษุ ของคนรุน่ ปัจจุบนั ทีก่ ล่าวถึงเจ้าเมืองสมัยนัน้ ก็มไิ ด้ชนื่ ชมเจ้าเมือง นัก และไม่เคยรู้ถึงความพยายามต่อสู้กับสยามในการกู้เมืองคืน ดังนั้น ขบวนการเคลื่อนไหวของกลุ่มเจ้าเมืองและ ทายาทที่ต่อสู้กับรัฐชาติสยามจึงไม่ได้หมายความว่าประชาชนส่วนใหญ่จะสนับสนุนด้วย ลักษณะเฉพาะของชุมชนประมงพื้นบ้านส่วนใหญ่ คือ มีที่เพาะปลูกน้อยหรือไม่มีเลย ชาวบ้านจะมีเฉพาะ ที่ดินปลูกบ้านเป็นหลัก ทั้งนี้เพราะที่ชายฝั่งทะเลไม่เหมาะแก่การเพาะปลูกประการหนึ่ง อีกประการหนึ่งการอาศัย ทรัพยากรในทะเลก็พอที่จะทำ�ให้คนกลุ่มนี้ดำ�รงชีวิตอยู่ได้ นับแต่อดีตมาแล้วที่คนกลุ่มนี้ไม่ค่อยมีการเคลื่อนไหวใน เรือ่ งการต่อต้านอำ�นาจของรัฐชาติไทย เป็นเพราะว่าไม่ใช่เขตเคลือ่ นไหวของขบวนการแบ่งแยกดินแดนซึง่ เคลือ่ นไหว อยู่ตามเขตป่าเขามากกว่า อีกทั้งการทำ�มาหากินของชาวบ้านนั้นเกี่ยวข้องกับทางราชการหรือคนกลุ่มอื่นๆ น้อย เพราะพวกเขาเพียงอาศัยผลผลิตที่มีอยู่ในทะเลแล้ว ไม่ต้องลงทุนเพาะปลูกที่ต้องมีเงื่อนไขติดต่อสัมพันธ์กับทาง ราชการและคนกลุ่มอื่นๆ มากกว่า เช่น การซื้อปัจจัยการผลิต การเช่าที่ดิน การขายผลผลิตให้พ่อค้าคนกลาง การ ชลประทาน การเกี่ยวข้องกับนโยบายของรัฐบาล ในขณะที่ชาวประมงพื้นบ้านเมื่อได้ผลผลิตก็มักนำ�ไปขายตามตลาดนัดหรือไม่ก็มีพ่อค้าในหมู่บ้านหรือย่าน ใกล้เคียงรับปลาไปขาย นอกจากนี้ ภารกิจของการประมงทำ�ให้ชาวบ้านไม่ว่างพอที่จะทำ�งานเคลื่อนไหวทางการ เมืองหรือสนใจเรือ่ งทีไ่ กลตัว เพราะเศรษฐกิจของพวกเขานัน้ เป็นเศรษฐกิจแบบวันต่อวัน คือต้องออกไปหาปลาทุกวัน ครอบครัวถึงจะพออยูร่ อดได้ ดังนัน้ จึงพบว่าชาวประมงพืน้ บ้านเกือบจะไม่ได้ออกไปเกีย่ วข้องกับทางราชการเลย เด็ก ในชุมชนก็ออกไปเรียนหนังสือน้อยแม้แต่การศึกษาภาคบังคับก็มีผู้เรียนสำ�เร็จน้อย เช่น คนที่มีอายุในช่วงประมาณ 40 ปีในชุมชนในปัจจุบันจะเรียนสำ�เร็จการศึกษาภาคบังคับไม่ถึง 10 เปอร์เซ็นต์ของเด็กในวัยเรียนทั้งหมด ผู้ที่เรียน ไม่ส�ำ เร็จดังกล่าวจะไม่ได้เรียนอะไรต่ออีกเลยแม้แต่สายศาสนา ส่วนผูท้ สี่ ำ�เร็จการศึกษาภาคบังคับก็มนี อ้ ยมากทีอ่ อก ไปเรียนต่อ และทีไ่ ปเรียนต่อส่วนใหญ่กไ็ ปเรียนสายศาสนา ทีเ่ ด็กในชุมชนและผูป้ กครองไม่เห็นความสำ�คัญของการ ศึกษาก็เนือ่ งจากไม่มคี วามจำ�เป็นในชีวติ ของเขา พวกเขาสามารถออกทะเลหารายได้เลยโดยไม่ตอ้ งอาศัยความรูจ้ าก ภายนอกอะไรอีก และผู้ที่พอจะเรียนมากกว่าคนอื่นในที่สุดก็กลับมาเป็นชาวประมงเช่นเดียวกับผู้ที่ไม่ได้เรียน ไม่ได้ มีความสำ�เร็จทางด้านหน้าที่การงานที่เกิดจากการศึกษาที่พอจะเป็นแรงจูงใจให้แก่คนในชุมชน ในช่วงนี้ ความคิดว่าพวกเขาเป็นพลเมืองของประเทศไหนนั้น ตามปกติจะไม่มีความหมายอะไรเลยสำ�หรับ พวกเขา เพราะเขาไม่ได้อยูไ่ ด้เพราะเป็นพลเมืองของประเทศไหน เขาอยูข่ องเขาเอง ใช้ความรูแ้ ละกลไกความสัมพันธ์ ของเขาเอง หากถามในเชิงทีจ่ ะให้เขาตอบว่าเป็นคนไทยหรือเปล่า เขาก็จะบอกว่าเป็นคนมลายู นับถือศาสนาอิสลาม ซึง่ จะเห็นได้วา่ เขาบอกว่าเขาเป็นใครจากลักษณะทางวัฒนธรรมทีต่ า่ งจากคนกลุม่ อืน่ ไม่ใช่บอกจากการเป็นสมาชิก ของรัฐชาติ แต่ว่าเขาก็บอกต่อไปว่าเขาเป็นประชากรของประเทศไทย อยู่ในดินแดนของประเทศ ดังนั้นมุมมองของ ชาวประมงพื้นบ้านจึงเห็นความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรมของประชาชนที่อยู่ในดินแดนประเทศเดียวกัน

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

ดังนัน้ ปัญหาของชาวประมงพืน้ บ้านในจังหวัดปัตตานีและนราธิวาสจึงไม่เพียงเป็นเรือ่ งของการเผชิญหน้ากับ ความเสือ่ มโทรมของทรัพยากรและความขัดแย้งกับกลุม่ ประมงพาณิชย์เท่านัน้ แต่ยงั อยูภ่ ายใต้บริบทการเคลือ่ นไหว เรื่องการเมืองของรัฐชาติและการเมืองของความเป็นชาติพันธุ์อีกด้วย


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

168

โดยความแตกต่างหลากหลายดังกล่าวจะใช้บอกว่าว่าใครเป็นใคร ควรจะมีความสัมพันธ์กันอย่างไร ความแตกต่าง หลากหลายดังกล่าวก็คือสิ่งที่เรียกว่า “ความเป็นชาติพันธ์ุ” การคิดเรื่องความไม่ยุติธรรมจากรัฐไทยจนนำ�ไปสู่การตั้งคำ�ถามในเชิงที่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐนั้น ตามปกติจะ ไม่เกิดขึ้นโดยตัวชาวบ้านเอง ยกเว้นแต่จะมีเหตุการณ์ส�ำ คัญมากๆ ที่แสดงให้เห็นว่าชาวมุสลิมมลายูถูกเจ้าหน้าที่ ของรัฐไทยกระทำ�อย่างโหดเหี้ยม โดยไม่มีการหาตัวผู้กระทำ�ผิดมาลงโทษ เช่น กรณีฆ่า 5 ศพที่สะพานกอตอใน ปลายปี 2518 ซึ่งก่อให้เกิดการประท้วงของชาวมุสลิมมลายูจำ�นวนมากที่หน้าศาลากลางจังหวัดปัตตานี และที่นั่น เกิดเหตุระเบิดทำ�ให้มีผู้เสียชีวิตไปอีก 12 คน และอุสต้าซท่านหนึ่งถูกมือมืดยิงตายขณะใช้ไมโครโฟนบนเวทีส่งเสียง “อะซาน” (เสียงเรียกชาวมุสลิมให้มาทำ�นมัสการสรรเสริญพระเจ้า) หลังเกิดเหตุระเบิด เป็นเหตุให้ทางเจ้าหน้าตำ�รวจ ต้องเข้ามาผลักดันให้ชาวบ้านออกจากหน้าศาลากลาง ชาวบ้านจึงไปร่วมชุมชุมกันที่มัสยิดกลางปัตตานี และที่นี่มี ชาวมุสลิมมลายูทั่วสารทิศได้ทยอยเข้ามาร่วมชุมชนนับแสนคน กล่าวได้ว่าการชุมชนครั้งนี้ของประชาชนเป็นการ ชุมนุมครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ปัตตานี3 ซึ่งก็มีชาวประมงพื้นบ้านจำ�นวนมากออกไปร่วมชุมนุมด้วย แต่ถึงแม้ จะมีเหตุการณ์ดังกล่าวตัวชาวบ้านเองก็ยังคงคิดในแง่ให้รัฐจับตัวผู้กระทำ�ผิดมาลงโทษ การที่เกิดความคิดไปถึงขั้น ความขัดแย้งทางชาติพันธุ์ในลักษณะรัฐซึ่งปกครองโดยชาวพุทธกระทำ�ต่อชาวมุสลิมมลายูนั้น ไม่ได้เกิดโดยตัวชาว บ้านเอง แต่จะมีขบวนการปลุกสร้างให้ชาวบ้านเกลียดชังรัฐไทยโดยใช้เหตุผลหลัก 2 ประการ คือ รัฐไทยโหดร้ายและ กดขี่ชาวมุสลิม และแต่เดิมชาวมุสลิมเคยมีอาณาจักรปัตตานีที่ยิ่งใหญ่แต่ถูกรัฐไทยยึดไป แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ชาวบ้านทุกคนจะเห็นด้วยตามกระแสดังกล่าวโดยง่าย เช่น ในเหตุการณ์ความรุนแรงดังกล่าวนี้ ชาวประมงพื้นบ้าน บางส่วนที่ออกไปร่วมชุมนุมในครั้งนั้นได้ตั้งข้อสังเกตแต่ครั้งนั้นว่าเหตุการณ์ที่บานปลายออกไปอย่างมากนั้น น่าจะ ไม่ใช่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติ แต่น่าจะมีแกนนำ�การชุมนุมบางส่วนต้องการให้เกิดขึ้นด้วย ที่กล่าวประเด็นนี้ขึ้นมาไม่ได้ต้องการแก้ต่างให้แก่รัฐ หรือโยนความผิดให้แก่คนบางกลุ่ม แต่ต้องการชี้ให้ เห็นว่าเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นนั้นชาวมุสลิมมลายูไม่ได้คิดเหมือนกันทั้งหมด หรือมองแต่ความชั่วร้ายของรัฐแบบ ตายตัวโดยไม่มีการจำ�แนกแยกแยะ อย่างไรก็ตาม แม้ในสถานการณ์เช่นนี้จะสร้างความรู้สึกร่วมในการต่อต้านรัฐไทยในลักษณะของความเป็น คนละพวกให้แก่ชาวบ้านจำ�นวนไม่น้อย แต่เมื่อกลับเข้าสู่ชีวิตประจำ�วันที่ชาวบ้านต้องอยู่กับการออกทะเลและทำ� กิจกรรมต่อเนื่องเพื่อการดำ�รงชีวิต ความคิดเรื่องความขัดแย้งกับรัฐด้วยประเด็นทางชาติพันธุ์จะค่อยๆ เบาบางลง เพราะในชีวิตของพวกเขานั้นเกี่ยวข้องกับทางราชการน้อยมาก เนื่องจากสามารถพึ่งพิงทรัพยากรในทะเลได้เป็น อย่างดี แต่ว่าแผลแห่งความรู้สึกพวกนี้สามารถถูกสะกิดขึ้นมาได้อีก หากมีเหตุการณ์ที่พวกเขาคิดว่าถูกกระทำ�หรือ ไม่ได้รับความชอบธรรมจากรัฐ ความเป็นจริงที่กล่าวมายืนยันได้จากข้อเท็จจริงว่าก่อนที่บริเวณชายฝั่งจะถูกประมงพาณิชย์รุกราน ชุมชน ชาวประมงพื้นบ้านอยู่กันอย่างค่อนข้างสงบสุข ชาวบ้านเกือบไม่มีความจำ�เป็นใดๆ ที่ต้องเคลื่อนย้ายแรงงานออก ไปหางานทำ�ภายนอก การต่อต้านรัฐหรือการเข้ามาสร้างความรุนแรงของรัฐกล่าวได้ว่าเกือบไม่มี แต่เมื่อท้องทะเล เสื่อมโทรมลงอย่างรวดเร็วจากการุกรานของประมงพาณิชย์ความขัดแย้งโดยตรงระหว่างรัฐและชาวประมงพื้นบ้าน ก็เกิดขึ้นอย่างชัดเจน เพราะนอกจากรัฐจะไม่ปฏิบัติตามกฎหมายเพื่อปกป้องชาวบ้านแล้ว รัฐยังมีท่าทีสนับสนุน ประมงพาณิชย์ในการเข้ามาทำ�ประมงในเขตชายฝั่งอีกด้วย ทั้งที่เป็นการกระทำ�ที่ผิดกฎหมาย

3 ชัยวัฒน์ สถาอานันท์. ความรุนแรงกับการจัดการ “ความจริง” หน้า 153 – 156.


169

จากการต่อสู้ของขบวนการแบ่งแยกดินแดน และความก้าวหน้าด้านความคิดเรื่องสิทธิเสรีภาพของโลกสมัย ใหม่ทำ�ให้รัฐไทยยอมรับการมีส่วนร่วมของชาวมุสลิมมลายูใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มากขึ้น ซึ่งมีทั้งการยอมรับ ในกระบวนการทีเ่ กิดโดยปกติทวั่ ไป เช่น การเลือกตัง้ นักการเมืองระดับชาติ นักการเมืองท้องถิน่ ระดับต่างๆ และการ มอบอำ�นาจลักษณะพิเศษบางอย่างให้ เช่น อำ�นาจของคณะกรรมการอิสลามประจำ�จังหวัด แต่การเคลื่อนไหวเช่น นี้ก็ไม่อาจบอกได้ว่ากลุ่มหรือคณะดังกล่าวคือตัวแทนของคนมุสลิมมลายู แต่เป็นการเปิดโอกาสให้คนบางกลุ่มขึ้น มามีอำ�นาจมากกว่า แม้ว่าในระยะแรกทายาทของท่านหะยีสุหรง โต๊ะมีนา ผู้นำ�ศาสนาคนแรกที่กล้าท้าทายอำ�นาจ รัฐชาติไทย จะได้รับเลือกตั้งเป็นผู้แทนราษฎร แต่ว่าก็ได้มาระยะหนึ่งเท่านั้น หลังจากนั้นทายาทคนดังกล่าวก็ไม่มี โอกาสได้รับเลือกตั้งอีกเลย และทายาทรุ่นต่อมาลงสมัครรับเลือกตั้งก็ไม่ได้รับเลือกตั้งเช่นกัน ผู้แทนราษฎรกลาย เป็นกลุ่มผลประโยชน์ที่ได้รับการเลือกตั้ง และกลุ่มนี้ได้คะแนนเสียงมาจากการใช้เงินและอิทธิพลเป็นสำ�คัญ ไม่ได้ สะท้อนตัวตนของชาว “มุสลิมมลายู” ที่หลากหลาย ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในเขตชนบท แม้คณะกรรมการอิสลามประจำ� จังหวัดก็ได้รับการวิจารณ์จากชาวมุสลิมด้วยกันว่าเป็นเพียงกลุ่มคนที่เข้าไปสู่อำ�นาจเพื่อผลประโยชน์บางอย่างของ ตัวเอง ไม่ได้ทำ�อะไรเพื่อมุสลิมส่วนรวม ชาวประมงพืน้ บ้านมีประสบการณ์ในเรือ่ งทีก่ ล่าวถึงนีอ้ ย่างชัดเจน กล่าวคือเมือ่ พวกเขาเดือดร้อนจากการถูก ประมงพาณิชย์บุกรุกเข้ามาทำ�กินถึงเขตชายฝั่ง แต่ไม่เคยปรากฏว่ามีผู้แทนระดับต่างๆ เข้ามาช่วยเหลือเลย แม้ชาว บ้านพากันออกจากหมูบ่ า้ นไปขอพบผู้แทนราษฎร หรือผูท้ ไี่ ด้อำ�นาจมาจากการอาศัยการอ้างถึงการเป็นตัวแทนของ ชาวมุสลิมมลายู ปรากฏว่ามีแต่คนหลบหน้าไม่ยอมพบด้วย แม้เมื่อชาวบ้านทุกข์หนักถึงต้องทิ้งบ้านและลูกเมียไป หางานรับจ้างทำ�ในประเทศมาเลเซีย ก็ยงั ไม่มผี นู้ �ำ ดังกล่าวเห็นอกเห็นใจและพยายามหาทางช่วยชาวประมงพืน้ บ้าน ปกป้องชายฝั่ง ทั้งที่การกระทำ�ของประมงพาณิชย์นั้นผิดกฎหมายอยู่แล้ว ที่กล่าวถึงหัวข้อนี้ก็เพื่อจะชี้ให้เห็นว่าสำ�หรับชาวประมงพื้นบ้านโดยทั่วไปแล้วแทบจะไม่มีประเด็นในเรื่อง การเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลไทยอันเนื่องมากจากประเด็นทางชาติพันธุ์ รวมทั้งในบางครั้งยังขัดแย้งกับกลุ่มคนที่ เคลื่อนไหวในลักษณะของการอ้างถึงความเป็นชาติพันธุ์เป็นฐานของการเคลื่อนไหวด้วย ประเด็นการเคลื่อนไหว ของชาวประมงพื้นบ้านกลับอยู่ที่ฐานทรัพยากรเป็นหลัก แล้วจึงโยงไปสู่ประเด็นทางชาติพันธุ์ แต่ก็เป็นประเด็นทาง ชาติพันธุ์ที่ต่างไปจากขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อแบ่งแยกดินแดน

ชาวประมงพื้นบ้าน ทรัพยากร และชาติพันธุ์ แต่เดิม ชาวประมงพื้นบ้านทั่วไปเกือบจะไม่ได้ตั้งคำ�ถามว่าพวกเขาคือคนของประเทศใด ผู้นำ�ของเขาคือใคร พวกเขาสามารถดำ�รงอยู่และผลิตสร้างความเป็นพวกเขาผ่านความอุดมสมบูรณ์ของท้องทะเล ซึ่งยังไม่มีคนกลุ่มใด มาแย่งชิง สำ�หรับคนกลุม่ อืน่ ก็มกี ารคบกันโดยปกติดว้ ยวิธคี ดิ และการปรับตัวของพวกเขาเอง โดยพบว่าในพืน้ ทีช่ มุ ชน ของชาวประมงพื้นบ้านนั้นก็มีชาวพุทธอยู่ ซึ่งมีทั้งอยู่ในหมู่บ้านเดียวกัน และแยกหมู่บ้านกัน แต่ว่ามีการคบหากัน โดยปกติ บางพืน้ ทีก่ ม็ ชี าวพุทธทีต่ งั้ หมูบ่ า้ นอยูใ่ นเข้าไปและทำ�นาเป็นอาชีพหลักได้ใช้เวลาว่างบางช่วงออกมาเป็นลูก เรือของชาวประมงมุสลิม นอกจากนี้ ชุมชนชาวประมงมุสลิมส่วนใหญ่จะมีชาวจีนเข้าไปตัง้ บ้านเรือนอยูใ่ นชุมชนและ ประกอบอาชีพค้าขาย บางพืน้ ทีม่ ชี าวจีนเข้ามาตัง้ บ้านเรือนอยูห่ ลายหลังประกอบอาชีพรับซือ้ สัตว์นาํ้ จากชาวมุสลิม ไปตากแห้งขาย ประชาชนที่ต่างชาติพันธุ์กันนี้อยู่กันอย่างปกติ ไม่ได้มีนัยของความขัดแย้งอันเนื่องมาจากชาติพันธุ์ ต่างกัน เนื่องจากการอยู่ด้วยกันของพวกเขาไม่ได้ถูกนิยามด้วยความแตกต่างในเรื่องชาติพันธุ์ แต่นิยามด้วยความ เหมือนกันบนการใช้ฐานทรัพยากรร่วมกัน หรือต่อเนื่องกัน พึ่งพาอาศัยกัน ความเป็นชาติชาติพันธุ์จึงเป็นเพียงการ รับรู้ว่าใครเป็นใคร อย่างไร เพื่อจะสร้างความสัมพันธ์ต่อกันอย่างเหมาะสม ดังจะเห็นว่าทั้งคนจีน คนพุทธ และคน มุสลิมมลายู ต่างก็เข้าใจความแตกต่างทางวัฒนธรรมซึ่งกันและกันและปรับตัวอยู่ร่วมกันได้ เช่น ชาวจีนสามารถตั้ง

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

การต่อต้านอำ�นาจรัฐและการยอมลดทอนอำ�นาจของรัฐ


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

170

ร้านขายของชำ�อยูใ่ นหมูบ่ า้ นชาวมุสลิม โดยสามารถปรับตัวบนพืน้ ฐานของการสืบทอดวัฒนธรรมทีส่ �ำ คัญของตนไว้ ในขณะที่ยอมรับอัตลักษณ์ของชาวมุสลิมมลายู ไม่ทำ�อะไรที่ขัดแย้งกับหลักศาสนาและวิถีชีวิตด้านต่างๆ ของชาว มุสลิมมลายู เป็นต้น เช่น ในปัจจุบันร้านค้าคนจีนในชุมชนยังตั้งหิ้งบูชาเทพเจ้าของตนได้เช่นเดียวกับชาวจีนทั่วไป ยังสามารถนำ�ผ้ายันต์ทเี่ ขียนตัวอักษรจีนติดอยูท่ ปี่ ระตูรา้ นอย่างเห็นเด่นชัด วันตรุษจีนก็มกี ารประกอบพิธกี รรมของตัว เอง สามารถนำ�เนือ้ หมูเข้าไปใช้ประกอบพิธกี รรมภายในบ้านของตัวเอง รวมทัง้ แจกอัง้ เปาให้แก่เด็กมุสลิมในหมูบ่ า้ น ด้วย แม้เมื่อตายไปลูกหลานก็สามารถสร้างฮวงซุ้ยบรรจุศพพ่อแม่ไว้ในบริเวณหมู่บ้าน ส่วนกับอำ�นาจรัฐหรือข้าราชการในพื้นที่นั้นชาวประมงพื้นบ้านจะยุ่งเกี่ยวน้อยมาก เนื่องจากไม่มีอะไรที่จะ ต้องไปติดต่อ อีกทั้งจะติดต่อก็ยากเนื่องจากพูดคนละภาษา ในขณะเดียวกันข้าราชการก็ไม่ได้ลงไปในพื้นที่ เพราะ ไม่มีความจำ�เป็นอะไรต้องไป อีกทั้งก็พูดกันคนละภาษาเช่นกัน ดังนั้น ชาวบ้านและข้าราชการจะมีลักษณะที่เรียก ต่างคนต่างอยู่มากกว่า แต่ถึงไม่ค่อยได้เกี่ยวข้องกับทางราชการ ชาวประมงพื้นบ้านก็ยอมรับกฎหมายที่ประชากรของประเทศควร จะต้องยอมรับ จะเห็นได้ชัดเจนจากการทำ�บัตรประจำ�ตัวประชาชน ซึ่งพบว่าคนส่วนใหญ่พยายามดิ้นรนออกไปทำ� บัตรประจำ�ตัวประชาชน แม้เขาจะพูดไทยไม่ได้ ต้องมีคนทีพ่ ดู ไทยได้นำ�ไป ซึง่ บางชุมชนก็เป็นผูใ้ หญ่บา้ น บางชุมชน ก็เป็นคนในหมู่บ้านที่พอรู้ภาษาไทย กรณีเช่นนี้ชาวบ้านคนดังกล่าวจะต้องจ่ายค่ารถหรือค่าใช้จ่ายอื่นๆ ให้แก่คนที่ นำ�ไปด้วย ซึง่ หมายถึงว่าชาวบ้านจะต้องตัง้ ใจอย่างมากถึงจะทำ�บัตรประชาชนได้ โดยทีท่ างราชการยังคงใช้ระเบียบ ปฏิบตั ใิ นการทำ�บัตรประชาชนให้แก่ชาวมุสลิมมลายูเช่นเดียวกับคนไทยในพืน้ ทีอ่ นื่ ๆ ส่วนผูท้ ไี่ ม่ได้ท�ำ บัตรประชาชน ซึง่ มีอยูเ่ ล็กน้อยนัน้ ก็พบว่าไม่ใช่เพราะว่าเขาต่อต้านอำ�นาจรัฐ แต่เป็นปัญหาขัดแย้งในพืน้ ที่ ทำ�ให้เขาไม่สะดวกทีจ่ ะ ทำ�บัตร เช่น ไม่ถูกกับผู้ใหญ่บ้านซึ่งจำ�ต้องติดต่อเป็นอันดับแรกในการทำ�บัตรประชาชน อีกตัวอย่างหนึ่งคือการเกณฑ์ทหาร ซึ่งก็พบว่าชาวบ้านพยายามทำ�ให้ถูกต้องตามกฎหมายเช่นกัน ทั้งที่ การกระทำ�ดังกล่าวขัดแย้งกับวิถชี ีวิตของพวกเขาอย่างมาก กล่าวคือชาวมุสลิมในชุมประมงพื้นบ้านจะแต่งงานและ มีลูกตั้งแต่อายุยังน้อย เมื่ออายุได้ 21 ปีซึ่งต้องถูกเกณฑ์ทหารนั้น พวกเขาจะเป็นหัวหน้าครอบครัวที่ต้องรับผิดชอบ เมียและลูกแล้ว เขาจะละทิ้งไปไม่ได้ เพราะอาชีพของพวกเขาคือการออกทะเล ซึ่งเป็นงานของผู้ชายเป็นหลัก การ ยอมไปเป็นทหารหมายถึงการทิ้งให้ลูกเมียอยู่แต่ลำ�พัง นอกจากนี้ การไปใช้ชีวิตในค่ายทหารก็ยากที่คนที่มีวิถีชีวิต แบบเขาจะไปอยู่ได้ เช่น พวกเขาไม่ถนัดในการใช้ภาษาไทย จะพูดกับใครก็ยาก จะฟังคำ�สั่งก็ไม่ค่อยรู้เรื่อง การ ละหมาด การถือศีลอด การกินอาหาร ล้วนมีอุปสรรคทั้งสิ้น การที่ชาวมุสลิมพยายามปฏิบัติให้ถูกกฎหมายคือการไม่ให้ตกอยู่ในข่ายของพวกหนีเกณฑ์ทหาร โดยเขา พยายามทุกวิถที าง เช่น ในช่วงทีย่ งั เสียเงินให้เจ้าหน้าทีผ่ เู้ กีย่ วข้องกับการเกณฑ์ทหารได้ ผูท้ มี่ เี งินก็พยายามทำ� ญาติ พีน่ อ้ งก็พยายามรวมเงินช่วยเหลือกัน แต่สว่ นใหญ่จะออกไปเสีย่ งดวงจับใบดำ�ใบแดง การตัดสินใจหลบหนีการเกณฑ์ ทหารนัน้ จะเป็นวิธที ใี่ ช้อนั ดับท้ายสุด แม้โดยประมาณแล้วจะมีผหู้ นีทหารประมาณครึง่ หนึง่ ของผูท้ คี่ วรจะไปเป็นทหาร แต่เป็นการหนีหลังจากทีพ่ ยายามด้วยวิธอี นื่ ๆ แล้ว และเป็นการหนีดว้ ยความจำ�เป็น ไม่ใช่หนีเพราะต้องการต่อต้านรัฐ ทั้งนี้ หากถามว่ามีคนในชุมชนประมงพื้นบ้านบ้างหรือไม่ที่เข้าร่วมขบวนการแบ่งแยกดินแดน คำ�ตอบก็คือมี บ้าง แต่เป็นคนที่ถกู จัดตั้งโดยขบวนการแบ่งแยกดินแดนขบวนการใดขบวนการหนึ่ง ซึ่งเป็นเรื่องเฉพาะคน ไม่ใช่เป็น วิถีปกติของชาวประมงพื้นบ้าน และคงมีไม่มากนัก เพราะจากการพูดคุยกับชาวประมงพื้นบ้านที่มีอายุอยู่ในช่วงนั้น ในหลายชุมชน มีน้อยมากที่ทราบว่ามีใครในชุมชนที่เคลื่อนไหวต่อต้านรัฐ และที่ทราบก็มีน้อยรายจริงๆ และที่มีอยู่ ก็ไม่ได้เคลื่อนไหวอะไรมาก เนื่องจากชาวบ้านไม่สนใจ เพราะทุกคนต้องยุ่งอยู่กับการออกทะเลและทำ�กิจกรรมต่อ เนือ่ ง อีกทัง้ เรือ่ งการต่อต้านรัฐก็เป็นเรือ่ งไกลตัว ข้อเท็จจริงนีส้ ามารถยืนยันได้จากการทีช่ าวบ้านเคลือ่ นไหวเมือ่ เดือด ร้อนจากการบุกรุกเข้ามาในเขตชายฝั่งของประมงพาณิชย์ ซึ่งปรากฏว่าชาวบ้านทำ�กันอย่างสะเปะสะปะ ไร้ระบบ และทิศทางทาง การเคลื่อนไหวจึงไม่บังเกิดผลอะไร ชาวบ้านจำ�นวนมากต้องเลิกทำ�ประมงและอพยพเข้าไปขาย


171

สรุปก็คอื แต่เดิมชาวบ้านออกไปเกีย่ วข้องกับทางราชการดังตัวอย่างทีย่ กมาไม่มากนัก และเป็นการเกีย่ วข้อง ตามขั้นตอนปฏิบัติที่ชัดเจน ไม่ใช่เป็นการไปติดต่อในเชิงที่มีข้อเสนอ ต่อรอง หรือการขอรับการช่วยเหลือ ตามความ รู้สึกของชาวบ้านนั้นช่วงที่พวกเขาเข้าไปติดต่อกับทางราชการอย่างจริงจัง และข้าราชการก็รู้สึกว่าได้ยุ่งเกี่ยวกับชาว ประมงพื้นอย่างจริงจังก็เมื่อเกิดวิกฤติการณ์ทะเลเสื่อมโทรม ซึ่งอยู่ในช่วงปี 2520 เป็นต้นมา ทั้งนี้เกิดจากเรือประมง พาณิชย์ทั้งอวนรุนและอวนลากบุรุกเข้าไปในเขตชายฝั่งซึ่งเป็นเขตทำ�กินของชาวประมงพื้นบ้าน ส่งผลให้ทั้งทะเล เสื่อมโทรมและเครื่องมือประมงของชาวประมงพื้นบ้านถูกทำ�ลาย ทำ�ให้ชาวประมงพื้นบ้านไม่สามารถจับสัตว์ทะเล เพื่อการดำ�รงชีวิตได้เช่นเดิม ในขณะที่เครื่องมือก็ถูกทำ�ลายอย่างต่อเนื่อง โดยเครื่องมือประเภทอวนที่ถูกทำ�ลายนี้ ชาวบ้านสามารถใช้ได้หลายปี และเมื่อถูกทำ�ลายแล้วก็ยากจะซื้อได้ใหม่ ดังนั้นความเดือดร้อนนี้จึงรุนแรงมาก ซึ่ง พบว่าในช่วงต้นทศวรรษ 2530 ทีช่ าวประมงพื้นบ้านเดือดร้อนมากนัน้ มีแรงงานชาวประมงพื้นบ้านในจังหวัดปัตตานี และนราธิวาสประมาณครึ่งหนึ่งของแรงงานประมงทั้งหมดต้องเดินทางไปหางานรับจ้างทำ�ในประเทศมาเลเซีย ใน จำ�นวนนี้มีไม่น้อยที่เป็นผู้ที่มีครอบครัวแล้ว โดยต้องทิ้งภรรยาและลูกไว้เบื้องหลัง เมือ่ ชาวบ้านได้รบั ความเดือดร้อนในระยะแรกพวกเขาพยายามไปเจรจากับเจ้าของเรือประมงพาณิชย์โดยตรง ทั้งนี้เพราะเรือประมงพาณิชย์ดังกล่าวมักจอดพักอยู่ในเขตเมือง เช่น ปัตตานี นราธิวาส สายบุรี โดยพยายามไป ขอร้องว่าอย่าเข้ามาในเขตชายฝั่งเพราะเครื่องมือของเขาเสียหายมาก ซึ่งการขอร้องดังกล่าวได้ผลบ้างเล็กน้อยคือ เจ้าของเรือบางรายยอมจ่ายเงินให้แก่ชาวบ้านทีเ่ ครือ่ งมือเสียหาย แต่วา่ เรือประมงพาณิชย์ยงั คงเข้ามาในเขตชายฝัง่ อย่างต่อเนื่อง และเพิ่มปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆ และการเรียกร้องค่าชดเชยเครื่องมือที่เสียหายเริ่มไม่ได้ผล คือไม่มีใคร ยอมรับและจ่ายให้อีก ความเดือดร้อนที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทำ�ให้ชาวบ้านเริ่มนึกถึงทางราชการว่าน่าจะช่วยพวกเขา ได้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าปัญหาด้านทรัพยากรมีความสำ�คัญต่อชาวบ้านมาก และสำ�คัญกว่าปัญหาความขัดแย้งทาง ชาติพันธุ์ด้วยซํ้า เพราะที่ผ่านมาชาวบ้านรับรู้ถึงปฏิบัติการของทางราชการในแง่มุมของการใช้ความรุนแรงต่อชาว มุสลิมมลายู และหากไม่จำ�เป็นก็ไม่ออกไปยุ่งเกี่ยวกับทางราชการ การเคลือ่ นไหวนีข้ องชาวบ้านช่วยสนับสนุนได้เป็นอย่างดีวา่ ชาวประมงพืน้ บ้านกับทางราชการนัน้ เกือบจะไม้ ได้เกี่ยวข้องกันเลยในอดีต ดังจะเห็นได้ว่าเมื่อชาวประมงพื้นบ้านตัดสินใจไปขอให้ทางราชการช่วยเหลือ แต่พวกเขา ในทุกหมู่บ้านไม่รู้ว่าจะไปหาข้าราชการอะไร ที่ไหน เพราะพวกเขาไม่เคยไป และไม่มีความรู้เกี่ยวกับระบบราชการ ดังนั้นจึงพบว่าชาวบ้านในหมู่บ้านต่างๆ จะมีวิธีไปหาข้าราชการต่างกันไป บางหมู่บ้านใช้วิธีฝากผู้ใหญ่บ้านไปบอก ทางราชการ บางหมูบ่ า้ นมีชาวบ้านบางคนทีม่ ญ ี าติอยูข่ า้ งนอกก็ขอให้ชว่ ยพาไปหาราชการ ซึง่ ก็ปรากฏว่ามักไปไม่ถกู หน่วยงานทีร่ บั ผิดชอบเกีย่ วกับทรัพยากรชายฝัง่ บางหมูบ่ า้ นใช้วธิ วี า่ เมือ่ มีขา้ ราชการคนใดผ่านเข้ามาในหมูบ่ า้ นก็ออก ไปร้องเรียน ซึ่งพบว่าข้าราชการที่เข้ามาไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับปัญหาเลย เช่น มีอาจารย์จากมาหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เข้าไปศึกษาเรื่องนกและผ่านไปทางหมู่บ้าน ชาวบ้านก็เข้าไปร้องเรียนปัญหา ซึ่งแน่นอน ว่าการร้องเรียนต่อทางราชการลักษณะนี้ไม่ได้ผลอะไร ในขณะที่ความเดือดร้อนของพวกเขาทวีมากขึ้น พวกเขาจึง พยายามหาทางไปบอกข้าราชการอย่างจริงจังขึ้น โดยในที่สุดชาวบ้านได้รวมกลุ่มกันไปร้องเรียนที่อำ�เภอ บางกลุ่ม ไปร้องเรียนกับตำ�รวจ บางกลุ่มไปร้องเรียนกับนายอำ�เภอ ผลครั้งแรกคือทางราชการรับปากว่าจะช่วยเหลือ แต่เรื่อง ก็เงียบหาย ชาวบ้านออกไปตามเรื่องอีกหลายครั้ง ทางราชการก็เริ่มบ่ายเบี่ยง ในที่สุดก็หลบหน้าไม่พบกับชาวบ้าน

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

แรงงานในประเทศมาเลเซีย จนอีกหลายปีต่อมาจึงสามารถเชื่อมต่อกับนักพัฒนาเอกชนได้ การเคลื่อนไหวของชาว บ้านจึงเป็นระบบและมีทิศทางชัดเจน ซึ่งแสดงว่าไม่มีการแทรกแซงจากขบวนการเคลื่อนไหวแบ่งแยกดินแดน หรือ อีกนัยหนึง่ ขบวนการแบ่งแยกดินแดนมีอทิ ธิพลน้อยมากในเขตชุมชนประมงพืน้ บ้าน ทัง้ ทีใ่ นเวลาเดียวกันนีข้ บวนการ ได้เคลื่อนไหวอย่างเข้มข้นในเขตป่าเขา


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

172

นายอำ�เภอบางคนเมื่อชาวบ้านออกมาร้องเรียนถึงกับงุนงงว่า ยังมีชาวบ้านทำ�ประมงแบบพื้นบ้านอย่างนั้น อยู่ด้วยหรือ ซึ่งเป็นตัวอย่างแสดงว่านายอำ�เภอไม่เคยรู้เรื่องชาวบ้าน และไม่เคยดำ�เนินนโยบายใดๆ เกี่ยวกับชาว ประมงพื้นบ้าน เมือ่ ชาวบ้านพบกับประสบการณ์เช่นนี้ เขาก็สรุปได้วา่ ทางราชการไม่สนใจปัญหาของพวกเขา ชาวบ้านเริม่ ตัง้ คำ�ถามว่าพวกเขาอาจจะถูกมองว่าไม่ใช่คนไทย ทางราชการจึงไม่สนใจใยดี เขาจึงเลิกหวังที่จะพึ่งรัฐ และคิดถึงชาว มุสลิมที่มีอำ�นาจอยู่ในโครงสร้างอำ�นาจของรัฐ โดยคิดว่าคนกลุ่มนี้ทั้งนับถือศาสนาเดียวกัน และพูดภาษาเดียวกัน กับพวกเขา จึงน่าจะสนใจช่วยเหลือพวกเขามากกว่าข้าราชการซึ่งเป็นคนพุทธ พวกเขาจึงพากันไปหาสมาชิกสภาผู้ แทนราษฎร นักการเมืองท้องถิ่นในเขตพื้นที่ของตน ในสถานการณ์เช่นนี้หากนักการเมืองมุสลิมดังกล่าวหาทางช่วย เหลือชาวบ้านอย่างจริงจัง ประเด็นความรู้สึกทางชาติพันธุ์ของชาวบ้านก็อาจจะเข้มข้นขึ้น แต่เหตุการณ์ไม่ได้เป็น เช่นนั้น เพราะนักการเมืองมุสลิมก็ทำ�ตัวเหมือนข้าราชการ คือรับปากแต่ไม่ทำ�อะไรเลย เมื่อชาวบ้านติดตามผลก็ บ่ายเบี่ยง แล้วก็จบลงด้วยการหลบหน้าไม่พบกับชาวบ้าน ลักษณะเช่นนี้ชาวบ้านจึงมองว่า ความเป็นคนพุทธหรือ มุสลิมก็ไม่มอี ะไรแตกต่างกันในการเข้าใจปัญหาและช่วยเหลือพวกเขา บางคนยังมีความรูส้ กึ ไปในทำ�นองทีไ่ ม่พอใจ นักการเมืองชาวมุสลิมมากกว่าด้วย ด้วยเหตุผลว่าทัง้ นับถือศาสนาเดียวกันและพูดภาษาเดียวกัน ปรากฏการณ์เช่น นี้มีผลดีต่อรัฐไทยในแง่ที่ว่าชาวบ้านธรรมดาไม่ได้รู้สึกเป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐในแง่ของความเป็นชาติพันธุ์ที่แตกต่างกัน มากนัก เพราะคนมุสลิมด้วยกัน พูดภาษาเดียวกัน ก็กระทำ�ต่อเขาไม่แตกต่างจากข้าราชการ ชาวประมงพื้นบ้านใช้เวลาไม่ตํ่ากว่า 2 ปี เทียวไปเทียวมาหลายรอบเพื่อขอความช่วยเหลือจากทางราชการ และนักการเมืองชาวมุสลิมดังกล่าว ในขณะที่ปัญหาการถูกรุกรานจากประมงพาณิชย์รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ในที่สุดชาว บ้านก็ไม่รู้จะหันหน้าไปพึ่งใคร ก็เกิดปรากฏการณ์ของการจับอาวุธขึ้นต่อสู้กับประมงพาณิชย์ การเคลื่อนไหวของ ชาวประมงพืน้ บ้านทีก่ ล่าวมาแต่ตน้ เป็นการเคลือ่ นไหวแบบกลุม่ ใครกลุม่ มัน เป็นแบบกลุม่ ตามธรรมชาติทเี่ กิดขึน้ ใน แต่ละหมู่บ้าน ยังไม่มีการเชื่อมโยงระหว่างหมู่บ้าน และมีบางหมู่บ้านที่ไม่ได้เคลื่อนไหวอะไร แต่ที่มีการเคลื่อนไหว จะเคลื่อนไหวไปในแนวคล้ายกัน ทั้งนี้เนื่องจากทางเลือกของชาวประมงพื้นบ้านมีจำ�กัด ดังนั้นการจับอาวุธขึ้นต่อสู้ ของชาวประมงพื้นบ้านจึงปรากฏในหลายพื้นที่ การจับอาวุธดังกล่าวก็คือการนำ�ปืนที่พอจะมีอยู่เช่นปืนลูกซอง ลูก กรด ปืนแก๊ป ยิงเรือประมงพาณิชย์ที่เข้ามาบริเวณชายฝั่งในเวลากลางคืน บางกลุ่มนำ�เรือออกไปไล่ยิงเรือประมง พาณิชย์ ในบางพื้นที่ชาวบ้านออกไปยึดเรือประมงพาณิชย์มาเผาทำ�ลาย แต่ชาวบ้านก็ทำ�ได้ไม่นาน ต้องหยุดไป เพราะทางประมงพาณิชย์ได้น�ำ อาวุธมาตอบโต้ บางลำ�มีตำ�รวจลงมาอยู่ในเรือด้วย รวมทั้งตำ�รวจซึ่งไม่เคยเข้ามา ในหมู่บ้านเลยก็เข้าไปสืบหาผู้ลงมือต่อเรือประมงพาณิชย์ตามที่เจ้าของเรือประมงพาณิชย์ไปแจ้งความ ในขณะที่ ชาวบ้านก็ประสบปัญหาในการหาเงินไปซื้อกระสุนปืน ประสบการณ์ในช่วงนีท้ �ำ ให้ความรูส้ กึ ของชาวบ้านทีม่ ตี อ่ ทางราชการไปในทางของการเป็นคนละพวกมากขึน้ ช่วงต่อจากนีช้ าวประมงพืน้ บ้านก็ไม่สามารถเคลือ่ นไหวอะไรได้อกี นอกจากการดิน้ รนเพือ่ เอาชีวติ รอด ส่วนหนึง่ เข้าไป ทำ�งานรับจ้างในประเทศมาเลเชีย ส่วนทีเ่ หลือก็ทนทำ�ประมงอยูแ่ ม้จะจับสัตว์นาํ้ ได้นอ้ ยมากก็ตาม พวกเขาจึงอยูอ่ ย่าง ยากลำ�บาก และพยายามมองหาผู้ที่พอจะช่วยเหลือเขาได้ หากในช่วงดังกล่าวมีการเคลื่อนไหวของขบวนการแบ่ง แยกดินแดน ชาวประมงพื้นบ้านก็อาจจะเชื่อมต่อกับขบวนการการนี้ได้โดยง่าย ดังจะเห็นว่าเมื่อมีนักพัฒนาเอกชน เข้ามาทำ�งานในจังหวัดปัตตานี พอชาวประมงพื้นบ้านรู้ข่าวก็ออกไปหาแม้จะไม่รู้ว่านักพัฒนาเอกชนคือใคร เพียง แต่รู้ว่าพวกนี้สนใจปัญหาของชาวบ้าน ซึ่งนักพัฒนาเอกชนกลุ่มดังกล่าวเป็นกลุ่มที่มาจากองค์กรพัฒนาเอกชนด้าน สิ่งแวดล้อม แต่ไม่ได้เข้ามาในปัตตานีด้วยปัญหาความขัดแย้งของชาวประมงพื้นบ้านดังที่กล่าวมา เพราะปัญหาดัง กล่าวถูกปิดเงียบอยู่ในพื้นที่ ไม่ว่าจะจากทางราชการ นักการเมืองมุสลิม หรือสื่อสารมวลชนต่างๆ การเข้ามาสนับสนุนของนักพัฒนาเอกชนทำ�ให้ชาวประมงพืน้ บ้านเริม่ ชัดเจนขึน้ ว่าเขาคือใคร เขามีดอี ะไร เขา ควรจะเอาสิ่งที่เป็นเขาและสิ่งที่เขามีไปต่อรองกับคนกลุ่มอื่นอย่างไร แต่ก็พบว่าการเข้ามาสนับสนุนของนักพัฒนา


173

แต่เมือ่ นำ�ประเด็นทรัพยากรมาสร้างการเคลือ่ นไหวก็หนีไม่พน้ ทีป่ ระเด็นทางชาติพนั ธุจ์ ะเข้ามาเกีย่ วข้อง เพราะ การทีจ่ ะให้รฐั บาลหรือทางราชการ และสาธารณะทัว่ ไป เห็นตัวตนและให้ความสำ�คัญต่อการเคลือ่ นไหวของชาวบ้าน ชาวบ้านจำ�เป็นต้องหยิบลักษณะทางชาติพนั ธุเ์ ข้ามานำ�เสนอด้วย ดังพบว่าประเด็นสำ�คัญทีข่ บวนการเคลือ่ นไหวของ ชาวบ้านนำ�ขึน้ มาเสนอก็คอื ประเด็นแรกหลักศาสนาอิสลามนัน้ กำ�หนดให้ชาวมุสลิมรักษาทรัพยากร โดยกล่าวถึงคำ� สอนของพระศาสดาที่ว่า “พระเจ้ามอบทรัพยากรมาให้ประชาชนใช้ประโยชน์ หากไม่ใช้ห้ามทำ�ลาย” เพื่อยืนยันว่า กลุ่มพวกเขาแตกต่างจากกลุ่มอื่น คือมีความมุ่งมั่นในการรักษาทรัพยากร เพราะไม่เพียงการคิดถึงประโยชน์ในโลก นี้เท่านั้น แต่ยังเป็นพระบัญชาของพระเจ้าด้วย ประเด็นที่สอง ชาวบ้านพยายามนำ�เสนอว่า เมื่อพวกเขาเดือดร้อน ไม่สามารถพึ่งพาทรัพยากรได้เช่นเดิม พวกเขาไม่สามารถปรับตัวได้อย่างคนไทยทั่วไป เพราะพวกเขาพูดภาษาไทย ไม่ได้หรือพูดได้น้อย และวิถีชีวิตไม่เหมือนกับวิถีชีวิตของคนไทยทั่วไป ดังนั้นชาวประมงพื้นบ้านจึงเลือกที่จะไปหา งานทำ�ในประเทศมาเลเซีย ซึ่งมีทั้งภาษาและวิถีที่ชีวิตที่คล้ายคลึงกัน ชาวประมงพืน้ บ้านได้เคลือ่ นไหวเสนอข้อมูลและแสดงตัวตนต่อทางราชการโดยตรง เพือ่ ให้เข้ามาดำ�เนินการ ตามกฎหมาย ในการห้ามและจัดการเรือประมงพาณิชย์ที่เข้ามาทำ�ประมงในเขตชายฝั่ง ในขณะเดียวกันก็พยายาม เสนอต่อสาธารณะด้วย เพื่อให้พวกเขามีพื้นที่ทางสังคมมากขึ้น ซึ่งเงื่อนไขดังกล่าวนี้จะกลับไปกดดันให้รัฐและทาง ราชการสนใจปัญหาของพวกเขามากขึ้น ปัญหาสำ�คัญที่ทำ�ให้เรื่องชาติพันธุ์กลายเป็นประเด็นขึ้นมาอยู่ที่รัฐและทางราชการไม่รู้ร้อนรู้หนาวต่อการ เคลือ่ นไหวของชาวบ้าน นอกจากไม่มกี ารเคลือ่ นไหวใดๆ ในการแก้ปญ ั หาให้ชาวบ้านแล้ว ยังถึงกับบิดพลิว้ ข้อตกลง สำ�คัญที่ชาวบ้านยอมรับเงื่อนไขเวลาที่ทางราชการขอในการดำ�เนินการตามกฎหมายกับประมงประมงพาณิชย์ แต่ ในเวลา 2 ปีที่ทางราชการขอ ทางราชการกลับไม่ได้ดำ�เนินการอะไรเลย และเมื่อครบกำ�หนดเวลาทางราชการกลับ ปฏิเสธข้อตกลงอย่างไม่สนใจใยดี และไม่มีเหตุผลที่จะอธิบายให้ชาวบ้านฟังได้ จึงเป็นที่มาของการชุมนุมปิดศาลา กลางจังหวัดปัตตานีเมื่อวันที่ 14 – 16 มิถุนายน 2543 ในการชุมชนครั้งนั้นมีผู้มาร่วมชุมนุมประมาณ 10,000 คน ในจำ�นวนนี้กลุ่มหลักคือชาวประมงพื้นบ้านที่เดือดร้อนและคับแค้นใจที่ทางราชการบิดพลิ้วข้อตกลง ซึ่งแน่นอนว่า ชาวบ้านกลุ่มนี้ตั้งคำ�ถามมากขึ้นเกี่ยวกับอำ�นาจของทางราชการที่มองไม่เห็นหรือไม่ให้ความสำ�คัญต่อการมีอยู่ของ ประมงพื้นบ้าน แต่ที่น่าสนใจเพิ่มขึ้นของการชุมนุมครั้งนี้ก็คือมีชาวบ้านหรือชาวมุสลิมมลายูที่ไม่ได้เป็นประมงพื้น บ้านเข้าร่วมชุมนุมด้วย ซึ่งเป็นเหตุผลเกี่ยวกับความเป็นชาติพันธุ์โดยตรง คือมาร่วมเพราะรู้สึกว่าเป็นพวกเดียวกัน และ “พวกเดียวกัน” ดังกล่าวไม่ได้รับความชอบธรรมจากรัฐ ในขณะที่รัฐและข้าราชการเองแต่เดิมไม่ได้ให้ความสนใจชาวประมงพื้นบ้าน แต่เมื่อมีชาวบ้านมาชุมนุม จำ�นวนมากจนสามารถปิดศาลากลางจังหวัดได้ รัฐบาลและข้าราชการก็ตกใจ แต่ไม่ได้ตกใจเหมือนการชุมนุมของ ชาวบ้านคนยากจนทั่วไป เพราะทางราชการได้เชื่อมโยงไปถึงประวัติศาสตร์ที่ผ่านไปไม่นานของขบวนการแบ่งแยก ดินแดน และเกรงว่าหากสร้างความไม่พอใจให้ชาวบ้านมากขึ้นอาจจะเป็นเงื่อนไขของการเคลื่อนไหวแบ่งแยกดิน แดนอีก รัฐบาลจึงส่งรัฐมนตรีที่รับผิดชอบลงมาเจรจากับชาวบ้าน และได้ข้อตกลงในลักษณะที่ทางราชการยอมรับ อำ�นาจต่อรองของชาวบ้านมากขึ้น และหลังจากนี้ชาวประมงพื้นบ้านภายใต้การนำ�ของชมรมชาวประมงพื้นบ้าน จังหวัดปัตตานี4ก็สามารถเจรจาต่อรองกับทางราชการได้อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้การแก้ปัญหาการรุกรานของประมง

4 ข้อมูลที่ผู้เขียนใช้ จะเป็นข้อมูลที่เกิดขึ้นใน จ.ปัตตานีเป็นหลัก เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่ผู้เขียนติดตามสถานการณ์มาโดยตลอด

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

เอกชนนั้นไม่ได้นำ�ประเด็นชาติพันธุ์เข้ามาสร้างความรู้สึกในการเคลื่อนไหว แต่ใช้ประเด็นเรื่องทรัพยากรเป็นหลัก โดยใช้ความคิดที่ว่าชาวบ้านนั้นอยู่รอดด้วยการอาศัยทรัพยากร และช่วยกันดูแลรักษาทรัพยากรให้อุดมสมบูรณ์ เพื่อเป็นหลักประกันในความอยู่รอดของตนเอง


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

174

พาณิชย์ได้ผลตามลำ�ดับ ผลทีเ่ กิดขึน้ ชัดเจนก็คอื ทะเลอุดมสมบูรณ์ขนึ้ ชาวบ้านทีอ่ พยพไปทำ�งานในประเทศมาเลเซีย ก็สามารถกลับบ้านมาทำ�ประมงเป็นจำ�นวนมาก กล่าวได้วา่ การเคลือ่ นไหวของชาวประมงพืน้ บ้านทีเ่ ริม่ ต้นด้วยปัญหาทรัพยากรได้ขยายไปสูป่ ระเด็นทางชาติพนั ธุ์ โดยทางราชการยอมรับอำ�นาจต่อรองของชาวบ้านมากขึน้ ด้วยเกรงว่าปัญหาจะลุกลามไปสูก่ ารเคลือ่ นไหวแบ่งแยก ดินแดนเช่นในอดีต ทั้งนี้จะเห็นได้ชัดเจนว่าหน่วยราชการที่พยายามเข้าใจและช่วยแก้ปัญหาอย่างกระตือรือร้นมาก ที่สุดคือศูนย์อำ�นวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต) ซึ่งเป็นหน่วยราชการที่ถูกสร้างขึ้นมา เพื่อทำ�งานแก้ ปัญหาของชาวบ้านใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ในลักษณะของการเข้าใจเรื่องความเป็นชาติพันธุ์โดยตรง ในขณะที่ ชาวประมงพืน้ บ้าน ก็ตระหนักว่าการเคลือ่ นไหวต่อรองกับทางราชการนัน้ ตัวตนของความเป็นชาติพนั ธุม์ คี วามสำ�คัญ ที่ทางราชการรับฟัง ดังนั้นในการเจรจากับทางราชการทุกครั้งชาวบ้านจะไปกันหลายคน เช่น ถ้าเป็นเรื่องธรรมดา ไม่ตึงเครียด ชาวบ้านก็ไปกันเป็นหลักสิบขึ้นไป ถ้าเป็นเรื่องตึงเครียด อาทิ การไปทวงถามคำ�ตอบจากทางราชการ เกี่ยวกับการปราบปรามประมงพาณิชย์ที่ทำ�ผิดกฎหมาย ชาวบ้านก็จะไปกัน 200-300 คนเป็นอย่างน้อย และทุกคน จะแสดงออกซึ่งอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์อย่างเข้มแข็ง เช่น การแต่งกาย การพูดมลายู การหยุดทำ�ละหมาดระหว่าง ประชุม โดยเฉพาะการพูดมลายูนั้นชาวบ้านส่วนใหญ่พูดไทยไม่ได้ ซึ่งแต่เดิมจะไม่กล้าไปติดต่อกับทางราชการด้วย ตนเอง แต่คราวนี้ชาวบ้านกล้าไปประชุม ถึงแม้แกนนำ�จะเป็นผู้ใช้ภาษาไทยได้ดี แต่ในที่ประชุมชาวบ้านจะร่วม แสดงความคิดเห็นด้วย โดยแกนนำ�จะช่วยสรุปออกมาเป็นภาษาไทยให้ข้าราชการฟัง รวมทั้งกระบวนการของการ อ้างเหตุผลในการประชุมต่อรองนั้นชาวบ้านก็จะอ้างหลักศาสนาอิสลามเป็นหลักด้วยในทุกเรื่อง ซึ่งถึงแม้จะเป็น หลักศาสนาที่ผ่านการตีความโดยพวกเขาแล้ว แต่ประเด็นอยู่ที่ว่าพวกเขาพยายามเจรจาภายใต้ชุดความรู้ที่แสดง ถึงความเป็นชาติพันธุ์ การเคลื่อนไหวของชาวประมงพื้นบ้านภายใต้เงื่อนไขดังกล่าว ทำ�ให้ชาวบ้านสามารถต่อรองกับทางราชการ ได้มากขึ้นเรื่อยๆ จนจังหวัดปัตตานีได้กฎหมายพิเศษสำ�หรับป้องกันปราบปรามการทำ�ประมงแบบทำ�ลายที่จังหวัด อื่นไม่มี เช่น กฎกระทรวงว่าด้วยการห้ามใช้อวนรุนทำ�การประมงในเขตจังหวัดปัตตานี ในขณะที่หน่วยราชการก็ให้ ความร่วมมือกับชาวบ้านมากขึ้นในการตรวจจับการใช้เครื่องมือประมงที่ผิดกฎหมาย ในอีกด้านหนึ่งที่ควบคู่กันไปคือ ชาวประมงพื้นบ้านสามารถสร้างการเคลื่อนไหวในพื้นที่สาธารณะได้มาก ขึ้นอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน ชาวประมงพื้นบ้านเป็นที่รู้จักมากขึ้นผ่านการปรากฏเรื่องราวในสื่อสารมวลชนทั้งใน หนังสือพิมพ์ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ มีงานวิจัยเกี่ยวกับชาวประมงพื้นบ้านเผยแพร่หลายเล่มทั้งที่เป็นภาษา ไทยและภาษาอังกฤษ มีผู้คนเข้าไปศึกษาและเยี่ยมเยียนชาวประมงพื้นบ้านถึงในชุมชนมากมายทั้งชาวไทยและ ชาวต่างประเทศ ผู้นำ�ชาวประมงพื้นบ้านได้เป็นวิทยากรในที่ประชุมทางวิชาการต่างๆ และได้รับรางวัลเกี่ยวกับการ เป็นผู้นำ�หลายรางวัล อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการใช้ความเป็นชาติพันธุ์ในการเคลื่อนไหวต่อรอง แต่ก็จะเห็นได้ชัดเจนว่าชาวบ้านไม่ ได้ใช้ความเป็นชาติพนั ธุใ์ นลักษณะแก่นแท้ทมี่ อี ยูอ่ ย่างแน่นอนแล้ว แต่จะเป็นการสร้างขึน้ หรือปรับใช้ในสถานการณ์ การต่อรองต่างๆ เช่น ในการประชุมปกติทวั่ ไปชาวบ้านทีพ่ ดู ภาษาไทยไม่ได้กจ็ ะนัง่ ฟังเฉยๆ ปล่อยให้แกนนำ�เป็นฝ่าย เสนอความคิดเห็นแทนชาวบ้าน แต่การประชุมกับทางราชการชาวบ้านกลุ่มนี้ก็จะเตรียมตัวที่จะพูดในที่ประชุมด้วย หรือการอ้างหลักของศาสนาทีเ่ ชือ่ มโยงกับการใช้ทรัพยากรชาวบ้านจะอ้างเป็นพิเศษเมือ่ เจรจากับทางราชการ ซึง่ ใน ชีวิตประจำ�วันของเขาเหตุผลแบบนี้พวกเขาจะไม่ได้อ้างถึง ทั้งนี้จะเห็นได้ชัดเจนว่าการเสนอถึงความเป็นชาติพันธุ์ในการเคลื่อนไหวดังกล่าว ชาวประมงพื้นบ้านไม่ได้ เสนอเพื่อเป็นเครื่องมือของความขัดแย้งเพื่อนำ�ไปสู่การปกครองตนเอง หรือการเรียกร้องความเป็นอิสระจากรัฐ แต่ เป็นการพยายามให้รัฐเห็นความสำ�คัญของความแตกต่างหลากหลาย เห็นตัวตนของพวกเขาและใช้อำ�นาจรัฐช่วย ปกป้องทรัพยากรที่พวกเขาพึ่งพิงอยู่ ถึงแม้การเคลื่อนไหวของชาวบ้านจะเป็นไปด้วยความยากลำ�บาก และใช้เวลา


175

ชาวประมงพื้นบ้านในสถานการณ์ความรุนแรง ก่อนเกิดความรุนแรงครั้งใหม่ใน 3 จังหวัดภาคใต้นับแต่เดือนเมษายน 2547 เป็นต้นมา การเคลื่อนไหวของ ชาวประมงพืน้ บ้านนับว่าประสบผลสำ�เร็จมากขึน้ เป็นลำ�ดับ ไม่เพียงชาวบ้านจะมีทรัพยากรให้พงึ่ พาได้มากขึน้ เท่านัน้ แต่เป็นความหวังของขบวนการเคลื่อนไหวของชาวประมงพื้นบ้านในหลายพื้นที่ว่าการเคลื่อนไหวของชาวประมงพื้น บ้านที่ปัตตานีจะเป็นตัวอย่างการเคลื่อนไหวให้ศึกษาได้เป็นอย่างดี เมือ่ ความรุนแรงเริม่ ต้นขึน้ ชาวบ้านก็คดิ ว่าทางราชการเป็นผูส้ ร้าง แต่กไ็ ม่เข้าใจว่าสร้างไปเพือ่ อะไร แต่เยาวชน ที่ถูกฆ่าตายไปจำ�นวนมากในวันเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2547 มีผลให้ชาวบ้านจำ�นวนไม่น้อยแค้นใจรัฐ เนื่องจากผู้ที่ ตายหลายคนเกี่ยวดองกันทางเครือญาติ แม้จะอยู่ต่างชุมชนกันก็ตาม ยิ่งเมื่อเกิดกรณีตากใบทมิฬความแค้นใจรัฐ ก็มีมากขึ้น แต่ชาวบ้านส่วนใหญ่ก็ไม่ได้คิดเรื่องการแบ่งแยกดินแดน หรือการเป็นอิสระจากรัฐไทย เพราะประเด็น นี้ไม่ใช่ความคิดของพวกเขา เมื่อความรุนแรงขยายตัวขึ้น มีคนถูกฆ่าตายมาก คนมุสลิมก็ถูกฆ่าตายด้วย แม้ผู้นำ�ศาสนาก็ถูกฆ่า พร้อมๆ กันนี้ก็เกิดการเคลื่อนไหวในหมู่บ้านชาวประมงพื้นบ้านชัดเจนขึ้น คือมีคนในหมู่บ้านติดต่อกับคนภายนอกแบบเปิด เผยมากขึ้น เช่น ใช้โทรศัพท์มือถือติดต่อกับภายนอกตลอดทั้งวัน ขับรถจักรยานยนต์ออกไปภายนอกบ่อยๆ มีการ ประชุมกลุ่มชาวบ้านในหมู่บ้าน มีคนต่างหมู่บ้านเข้ามาในหมู่บ้าน มีการนำ�ผู้หญิงขึ้นรถออกไปนอกหมู่บ้านในวันที่ มีการใช้กลุ่มผู้หญิงคลุมหน้าประท้วงการกระทำ�ของรัฐ กระทั่งการใช้พื้นที่ชุมชนที่ปิดลับ เช่น ป่าชายเลนเป็นที่ฝึก อาวุธให้สมาชิกของขบวนการต่อต้านรัฐ ต่อมาชาวบ้านก็เข้าใจชัดเจนขึ้นว่าขบวนการเคลื่อนไหวก่อความรุนแรงดังกล่าว เป็นขบวนการที่ดำ�เนิน การต่อเนื่องมาตลอดหลังจากที่การเคลื่อนไหวของขบวนการแบ่งแยกดินแดนเงียบหายไปเมื่อประมาณ 20 เศษที่ ผ่านมา โดยผู้แสดงที่สำ�คัญคือบุคลากรทางศาสนา โดยในบางหมู่บ้านมีผู้นำ�ศาสนาสูงอายุ (หรือทายาท) ที่ปฏิบัติ งานต่อเนื่องมาจากความคิดของท่านหะยีสุหรง เป็นแกนหลัก5 บางหมู่บ้านเป็นผู้นำ�ศาสนารุ่นหลังที่ถูกนำ�เข้าไปสู่ ขบวนการและมีความคิดไปทำ�นองเดียวกัน บางหมูบ่ า้ นไม่มผี นู้ ำ�ศาสนาทีเ่ คลือ่ นไหวทางด้านนี้ จะมีกแ็ ต่เฉพาะเด็ก รุน่ ใหม่ทผี่ า่ นการปลูกฝังมาจากโรงเรียนสอนศาสนา ลักษณะเช่นนีก้ ารเคลือ่ นไหวในหมูบ่ า้ นก็จะมีไม่มาก ชุมชนทีม่ ี การเคลื่อนไหวมากก็คือชุมชนที่มีผู้นำ�ศาสนาเคลื่อนไหวอย่างจริงจัง โดยผู้นำ�ศาสนาที่อยู่ในขบวนการต่อต้านรัฐดัง กล่าว ดำ�เนินการใต้ดนิ ในลักษณะปลูกฝังความคิดให้แก่เยาวชนด้วยขบวนการสอนศาสนาตัง้ แต่เล็กๆ และสนับสนุน เด็กให้ไปเรียนในปอเนาะหรือโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาที่อยู่ในเครือข่าย รวมทั้งบางส่วนได้รับการสนับสนุนให้ไป ศึกษาต่อยังประเทศตะวันออกกลางด้วย ขบวนการปลูกฝังเยาวชนดังกล่าวไม่ได้ทำ�แบบเปิดเผยทัว่ ไป แต่จะคัดเลือก เด็กที่มีแววซึ่งจะปรากฏให้เห็นในกระบวนการเรียนการสอนที่มีการปลูกฝังเรื่องนี้ในเบื้องต้น ดังนั้น ผู้กระทำ�หลักใน การเคลื่อนไหวเรื่องนี้ในหมู่บ้านและออกไปเชื่อมกับขบวนการเคลื่อนไหวที่อยู่ภายนอกหมู่บ้านคือ ผู้นำ�ศาสนาและ เยาวชนที่ผ่านการปลูกฝังด้วยกระบวนการสอนศาสนาดังกล่าว

5 ในช่วงทีข่ บวนการเคลือ่ นไหวแบ่งแยกดินแดนยังเคลือ่ นไหวโดยโดยใช้กองกำ�ลังปฏิบตั กิ ารอยูต่ ามป่าเขานัน้ ผูน้ �ำ ศาสนาใน ชุมชนประมงพื้นบ้านที่สนับสนุนขบวนการก็มีอยู่แล้วในบางหมู่บ้าน เพียงแต่ไม่ได้เป็นพลังหลักในการเคลื่อนไหว บทบาท ที่มีจึงปรากฏในลักษณะของการส่งผ่านข่าวสารสู่ชาวบ้านในชุมชน และการสนับสนุนด้านเสบียงอาหาร เป็นต้น

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

นับสิบปีแต่ชาวบ้านก็อดทน และพยายามพลิกแพลงกลยุทธ์การเคลือ่ นไหวอยูต่ ลอดเวลา ซึง่ แสดงให้เห็นอย่างชัดเจน ว่าสำ�หรับชาวประมงพืน้ บ้านส่วนใหญ่นนั้ ไม่เคยคิดถึงการไม่ยอมรับรัฐไทย แต่เป็นไปในแนวทางทีต่ อ้ งการให้รฐั ไทย ช่วยดูแลปัญหาของพวกเขาอย่างจริงจังมากกว่า


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

176

นอกจากนี้ ผู้นำ�ศาสนายังมีบทบาทสำ�คัญในการนำ�เรื่องราวที่ผ่านการให้ความหมายของขบวนการเข้ามาสู่ การเรียนรูข้ องชาวบ้านผ่านการประชุมในมัสยิดในทุกวันศุกร์และการอบรมศาสนาซึง่ มีทกุ สัปดาห์เช่นกัน รวมทัง้ การ เรียกชาวบ้านประชุมในโอกาสต่างๆ ที่เห็นสมควร ซึ่งแน่นอนว่าเรื่องราวดังกล่าวก็คือความเลวร้ายของรัฐ อย่างไรก็ตามไม่ได้หมายความว่าหลักการของศาสนาอิสลามจะมีสาระที่ปลูกฝังให้ผู้เรียนออกมาก่อความ รุนแรง แต่ขบวนการเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐดังกล่าวได้ใช้กระบวนการสอนศาสนาเคลื่อนไหวสร้างคนรุ่นใหม่ตามที่ ต้องการ ทั้งนี้ ผู้นำ�ศาสนาและสถาบันสอนศาสนาที่อยู่ในเครือข่ายนี้เป็นเพียงบางส่วนของผู้นำ�ศาสนาและสถาบัน สอนศาสนาเท่านั้น แต่ว่าก็มากพอที่จะสร้างสถานการณ์ให้รุนแรงอยู่ในปัจจุบันได้ การเคลือ่ นไหวของขบวนการต่อต้านรัฐในปัจจุบนั เคลือ่ นไหวก่อการในพืน้ ทีท่ กี่ ว้างขวางกว่าแต่เดิม เนือ่ งจาก เป็นการเคลื่อนไหวแบบใต้ดินไม่ใช่การเคลื่อนไหวแบบการใช้กองกำ�ลังที่ชัดเจนแบบเดิม และการสร้างความรุนแรง ในปัจจุบันมีเป้าหมายที่กว้างขวางกว่าเดิมมาก ทำ�ให้พื้นที่ชุมชนประมงพื้นบ้านกลายเป็นพื้นที่การเคลื่อนไหวของ ขบวนการด้วย แต่ว่าการเคลื่อนไหวของขบวนการต่อต้านรัฐในชุมชนประมงพื้นบ้านก็แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับเงื่อนไข ที่สำ�คัญ 2 ประการ ประการแรกคือการมีผู้นำ�ศาสนาที่มีความผูกพันกับขบวนการเคลื่อนไหว และปฏิบัติงานอย่าง จริงจังหรือไม่ ถ้ามีการเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐก็ค่อนข้างจะเข้มข้น แต่ว่าเงื่อนไขนี้ก็ไม่ใช่เงื่อนไขที่ชี้ขาดสถานการณ์ได้ เนื่องจากนี้ยังต้องขึ้นอยู่กับเงื่อนไขฝ่ายชาวบ้าน เพราะชาวบ้านไม่ได้สืบทอดอุดมการณ์ต่อต้านรัฐไทยมาแบบผู้นำ� ศาสนา อีกทัง้ ไม่ได้มฐี านะทางเศรษฐกิจหรือรายได้อย่างผูน้ ำ�ศาสนา ซึง่ เป็นเงือ่ นไขประการทีส่ อง คือ ชาวบ้านประสบ ปัญหาในการดำ�รงชีวิตหรือไม่ ปัญหาดังกล่าวของชาวบ้านจะเกี่ยวเนื่องกับทรัพยากรในทะเล กล่าวคือ ทรัพยากร อยูใ่ นสภาพทีช่ าวบ้านพึง่ พาได้หรือไม่ และรัฐพยายามช่วยเหลือชาวบ้านในเรือ่ งนีอ้ ย่างไรหรือไม่ เพราะในความเป็น จริงถึงจะมีขบวนการต่อต้านรัฐไทยเคลื่อนไหวอยู่ในหมู่บ้าน แต่ก็มีคนไม่มากนักที่นิยมชมชอบอย่างจริงจัง ที่มีอยู่ ส่วนใหญ่จะได้แก่ผู้นำ�ศาสนาและเยาวชนที่ผ่านการปลูกฝังของผู้นำ�ศาสนาระดับต่างๆ ที่อยู่ในขบวนการ6 และพ่อ แม่พี่น้องของคนกลุ่มนี้บางส่วนอีกจำ�นวนหนึ่ง ส่วนชาวบ้านทั่วไปจะไม่แน่นอนว่าจะเป็นสมาชิกของขบวนการหรือ ไม่ ขึน้ อยูก่ บั สถานการณ์ของการทำ�มาหากิน หากทะเลอุดมสมบูรณ์พวกเขาก็จะไม่สนใจเรือ่ งอืน่ นอกจากการยุง่ อยู่ กับการออกทำ�มาหากินในทะเล แต่หากทะเลไม่มีสัตว์น�ำ ให้เขาจับ ขบวนการเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐก็จะมาชักชวนให้ เข้าไปร่วมขบวนการโดยง่าย ด้วยเหตุผลพื้นฐานว่ารัฐไม่สนใจใยดีชาวบ้าน และความรู้สึกเช่นนี้จะเข้มข้นขึ้นเมื่อมี ข่าวว่าทางราชการได้ปราบปรามชาวมุสลิมอย่างรุนแรง ชาวบ้านทั่วไปในชุมชนประมงพื้นบ้านจึงอยู่ในลักษณะของ การเอียงไปเอียงมาตามสภาพการการทำ�มาหากินของตน การปลุกเร้าให้ชาวบ้านรู้สึกว่ารัฐเป็นปัญหาอย่างได้ผลนั้น ได้รับแรงเสริมจากแนวปฏิบัติของรัฐในการแก้ ปัญหาความรุนแรงใน 3 จังหวัดภาคใต้ด้วย โดยรัฐเน้นการแก้ปัญหาความมั่นคงด้วยการทหาร และการมองว่า ทัศนคติของเยาวชนมุสลิมมลายูในการอยู่ร่วมกับคนอื่นและที่มีต่อรัฐไทยนั้นมีปัญหา วิธีแก้คือการพยายามปรับ เปลี่ยนทัศนคติของเยาวชนดังกล่าว ในขณะที่ชีวิตความอยู่รอดของชาวบ้านกลับถูกปล่อยปละละเลยและปล่อยให้ อยู่ภายใต้กลไกรัฐตามปกติ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนก็คือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นต่อชาวประมงพื้นบ้านเอง เพราะปัญหาวิกฤติการณ์ทาง ทะเลรัฐยังคงปล่อยให้หน่วยงานตามปกติดแู ล แม้เรือ่ งทีส่ ำ�คัญคือการออกตรวจจับการทำ�ประมงแบบผิดกฎหมาย ก็ ยังคงเป็นหน้าทีก่ ารดูแลของหน่วยเรือตรวจการประมงทะเล ของกรมประมง ข้าราชการทีป่ ฏิบตั หิ น้าทีก่ ย็ งั หมุนเวียน ตามปกติ ไม่มีการคัดเลือกที่มีความเฉพาะเจาะจง ดังนั้นหากข้าราชการคนใดเอาจริงเอาจัง การทำ�งานร่วมกับชาว 6 ในระยะหลังพบว่าเยาวชนที่เคลื่อนไหวทำ�งานให้ขบวนการต่อต้านรัฐนั้นไม่ใช่เกิดจากกลุ่มที่มีความศรัทธาในศาสนาหรือมี อุดมการณ์เกี่ยวกับการแบ่งแยกดินแดนเท่านั้น แต่เกิดจากการจัดการของขบวนการด้วย เช่น การใช้อามิสินจ้าง


177

ข้ออ้างของข้าราชการดังกล่าวยิ่งฟังขึ้นเมื่อเขาแสดงให้เห็นว่าได้ทำ�เรื่องเสนอไปยังฝ่ายความมั่นคงเพื่อขอ กำ�ลังสนับสนุนในการปราบปรามชาวประมงทีท่ �ำ ผิดกฎหมาย แต่ไม่ได้รบั การสนับสนุนใดๆ แม้แต่กลุม่ ของชาวประมง พื้นบ้านก็ทำ�เรื่องขอการสนับสนุนลักษณะเดียวกันนี้แต่ก็ได้รับแต่ความเพิกเฉยเช่นกัน ทหารเรือถึงกับเคยให้เหตุผล ว่าทหารเรือมีหน้าที่ด้านความมั่นคงไม่มีหน้าที่ปราบปรามการทำ�ประมงที่ผิดกฎหมาย นอกจากนี้ แต่เดิมขบวนการตรวจจับของชาวบ้านยังได้รับการสนับสนุนจากตำ�รวจในพื้นที่และอาสาสมัคร รักษาดินแดน(อส.)ในการร่วมออกตรวจจับกับชาวบ้าน แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบกำ�ลังส่วนนี้ก็ถูกนำ�ไปใช้ ในปัญหาความมั่นคง และไม่มีมาช่วยสนับสนุนชาวบ้านอีก สถานการณ์ของชาวบ้านก็คอื ไม่มที างราชการมาร่วมกับชาวบ้านในการออกตรวจจับ การปฏิบตั งิ านของหน่วย ราชการที่เกี่ยวข้องกับการตรวจจับก็ไม่มี ชาวบ้านต้องนำ�เรือตรวจการของตนเองออกปฏิบัติการเพียงลำ�พัง แต่ก็ไม่ สามารถจับกุมผู้กระทำ�ผิดกฎหมายได้ เนื่องจากไม่มีใครเป็นเจ้าหน้าที่ตามกฎหมาย การที่ชาวบ้านพยายามนำ�เรือ ตรวจการณ์ออกไปก็หวังว่าพอจะขู่ให้ผู้ที่คิดกระทำ�ผิดกฎหมายเกรงกลัวได้บ้าง แต่ในไม่ช้าก็เป็นที่รู้กันทั่วไปว่าบน เรือตรวจการณ์ของชาวบ้านไม่มพี นักงานตามกฎหมายประจำ�อยู่ ความเกรงกลัวก็ไม่มอี กี ต่อไป ในช่วงนีม้ เี รือประมง พาณิชย์จากภายนอกเขามาปฏิบัติการในเขตชายฝั่ง จ.ปัตตานีจำ�นวนมาก ในปี 2548 คณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ(กอส.)ได้เข้าไปสนับสนุนการตรวจจับของชาว บ้านโดยได้ร้องขอให้ทางราชการสนับสนุนกำ�ลังในการตรวจจับเป็นเวลา 6 เดือน ซึ่งทางราชการได้ส่งกำ�ลังตำ�รวจ ชายตระเวนชายแดนเข้ามาสนับสนุน ทำ�ให้มีการตรวจจับกันอย่างจริงจัง สามารถจับเรือประมงที่ทำ�ผิดกฎหมาย ได้หลายลำ� ทำ�ให้เรือประมงพาณิชย์ไม่กล้าเข้ามาปฏิบัติการในเขตที่กฎหมายห้าม ที่กล้าแอบเข้ามาก็มีน้อยมาก ประกอบกับสถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่ 3 จังหวัดทวีมากขึ้น และมีแนวโน้มของการใช้ความรุนแรงไปในทางที่ ไม่มกี ารเลือกว่าใครเกีย่ วข้องกับเหตุการณ์หรือไม่ ทำ�ให้หลังจากการถอนตัวออกไปแล้วของกองกำ�ลังตำ�รวจตระเวน ชายแดนหลังปฏิบตั งิ านครบ 6 เดือน ก็ไม่มปี ระมงพาณิชย์จากภายนอกกล้าเข้ามารบกวนอีก ทีก่ ล้าเข้ามาก็มนี อ้ ยมาก แต่สถานการณ์กลับพลิกผันมาอีกด้านหนึง่ คือขบวนการต่อต้านรัฐได้หนั มาสร้างการเคลือ่ นไหวทางทะเลด้วย ในขณะที่รัฐยังเคลื่อนไหวอยู่เฉพาะบนบกเป็นหลัก ทำ�ให้แนวรบทางทะเลของขบวนการต่อต้านรัฐทำ�ได้อิสระมาก โดยขบวนการนี้พยายามแสดงให้ชาวบ้านเห็นว่ารัฐไทยไม่ได้สนใจรักษาประโยชน์ของชาวบ้าน รวมทั้งไม่สามารถ ปกป้องชาวบ้านได้ด้วย วิธีการที่ขบวนการนี้ดำ�เนินการก็คือการสนับสนุนให้ชาวบ้านทำ�ประมงโดยใช้เครื่องมือผิด กฎหมาย เพื่อให้จับสัตว์นํ้าได้มากๆ โดยแปลงเรือของตนเป็นเรืออวนลากเล็ก ซึ่งตอนแรกก็เริ่มต้นจากกลุ่มประมง วัยรุ่นที่ขบวนการสามารถเข้าไปแทรกแซงได้ ต่อมาชาวประมงพื้นบ้านทั่วไปซึ่งไม่สามารถใช้เครื่องมือแบบเดิมจับ สัตว์นํ้าได้พอแก่การดำ�รงชีวิต หรือเกิดแรงจูงใจจากการที่เห็นชาวบ้านคนอื่นจับสัตว์นํ้าได้มากจากการแปลงเครื่อง มือเป็นอวนลากเล็ก จึงได้เปลี่ยนแปลงเครื่องมือของตนตามบ้าง ยิ่งมีชาวบ้านเปลี่ยนไปใช้อวนลากเล็กมากขึ้น ก็ ยิ่งเป็นแรงผลักดันให้ผู้ที่ยังเหลือต้องเปลี่ยนเครื่องมือตามบ้าง เนื่องจากการตรวจจับของชาวบ้านในระยะนี้ทำ�เกือบไม่ได้แล้ว เนื่องจากไม่มีทางราชการเข้ามาสนับสนุน และผู้กระทำ�ผิดล้วนเป็นชาวบ้านด้วยกันเอง รวมทั้งมีขบวนการต่อต้านรัฐสนับสนุนการทำ�ผิดกฎหมายอยู่ด้วย ชาว

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

บ้านในการออกตรวจจับก็จะเป็นไปด้วยดี แต่หากได้ขา้ ราชการทีไ่ ม่สนใจปฏิบตั หิ น้าที่ การออกตรวจจับก็แทบจะไม่มี ทัง้ การออกตรวจจับเองและการร่วมมือกับชาวบ้าน ซึง่ นับว่าเป็นโชคร้ายของชาวบ้านทีพ่ วกเขาต้องพบกับข้าราชการ ประเภทนี้เป็นส่วนใหญ่ในช่วงของสถานการณ์ความรุนแรงจนถึงปัจจุบัน แต่ทั้งนี้ข้าราชการฝ่ายดังกล่าวก็มีข้ออ้าง ที่ทุกฝ่ายพอฟังได้ กล่าวคือสถานการณ์ของความปลอดภัย โดยข้าราชการประจำ�เรือตรวจการณ์ประมงทะเลจะให้ เหตุผลว่าผู้ก่อการร้ายใช้อาวุธทันสมัย ในขณะที่อาวุธของพวกเขานั้นเป็นอาวุธธรรมดา และกำ�ลังคนก็มีจำ�กัดมาก


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

178

บ้านทีเ่ คยร่วมขบวนการตรวจจับก็ไม่กล้าดำ�เนินการ ซึง่ นอกจากไม่สามารถจับกุมใครได้ เพราะไม่มฝี า่ ยราชการเข้า มาร่วมมือด้วยแล้ว ยังเป็นการเสี่ยงต่อชีวิตด้วย ถ้าเป็นเช่นนีก้ ารดำ�เนินงานของชมรมชาวประมงพืน้ บ้านจังหวัดปัตตานีเป็นอย่างไร ซึง่ พบว่าชาวประมงระดับ แกนนำ�ยังพยายามที่ดำ�เนินงานของตนเองต่อไป แต่ต้องประสบปัญหาความยุ่งยากทั้งจากการไม่สามารถดูแลท้อง ทะเลให้ปราศจากการใช้เรือ่ งมือแบบผิดกฎหมายได้เหมือนเดิม และปัญหาความไม่ปลอดภัยจากการก่อการร้าย ส่วน ชาวประมงพื้นบ้านทั่วไปแต่เดิมก็สนับสนุนการดำ�เนินงานของชมรมฯ แต่การสนับสนุนของชาวบ้านก็มีลักษณะที่ สอดคล้องกับชีวติ ประจำ�วันของพวกเขา คือ การทีส่ ามารถออกทะเลทำ�ประมงเลีย้ งครอบครัวได้ เนือ่ งจากการดำ�เนิน งานของชมรมฯ นั้นสามารถป้องกับการเข้ามาบุกรุกทำ�ลายของการทำ�ประมงพาณิชย์ได้มาก แต่เมื่อทางชมรมฯ ไม่ สามารถรักษาทะเลได้เช่นเดิม การปรับตัวเพือ่ ความอยูร่ อดจึงมีความจำ�เป็น นอกจากนี้ ชาวประมงดังกล่าวยังได้รบั การหนุนเสริมทางความคิดจากขบวนการเคลือ่ นไหวต่อต้านรัฐ ทัง้ ผ่านการประชุมทางศาสนา การพูดคุยแบบประชิด ตัว และการประชุมกลุ่ม เพื่อกระตุ้นให้ชาวบ้านเห็นความไม่จริงใจของรัฐที่มีต่อชาวบ้าน ซึ่งก็กล่าวได้ว่าการทำ�งาน เช่นนี้ของขบวนการเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐได้ผลพอสมควร เพราะพวกชาวบ้านไม่เคยเห็นเจ้าหน้าที่รัฐเข้ามาทำ�งาน ด้านชีวิตความเป็นอยู่ของเขาเลย นอกจากงานด้านความมั่นคง และชาวบ้านจะถูกตอกยํ้าความคิดอยู่ตลอดเวลา ถึงการที่ชาวมุสลิมถูกทางราชการจับกุม ทำ�ร้าย รวมทั้งการนำ�เยาวชนไปเข้าค่ายฝึกอบรม สำ�หรับแกนนำ�ชาวประมงพืน้ บ้านเชือ่ ว่าสภาพการณ์เช่นนีเ้ นือ่ งมาจากทะเลเสือ่ มโทรมจากการทีท่ างชมรมฯ ไม่สามารถเคลื่อนไหวดูแลทะเลได้เหมือนเดิม หากทะเลอุดมสมบูรณ์ชาวบ้านก็ไม่มีเวลาไปยุ่งเกี่ยวกับขบวนการ และไม่มีเหตุผลอะไรที่จะไปเชื่อฟังการเผยแพร่ความคิดของขบวนการ เหตุผลของแกนนำ�ชมรมฯ มีข้อยืนยันหลาย ประการ นอกจากประสบการณ์ที่รับรู้ได้ของพวกเขาซึ่งเป็นคนในพื้นที่อยู่แล้ว ข้อยืนยันแรก คือ ยังมีชุมชนประมงพื้นบ้านหลายชุมชนที่ชาวบ้านยังคงทำ�ประมงด้วยเครื่องมือแบบเดิม และไม่สนใจการเคลื่อนไหวของขบวนการต่อต้านรัฐ แม้ว่าขบวนการเคลื่อนไหวพยายามที่จะสร้างการเคลื่อนไหว อยู่ในพื้นที่นี้บ้างก็ตาม เหตุผลสำ�คัญของชุมชนกลุ่มนี้ก็คือเขายังทำ�ประมงแบบเดิมได้ เนื่องจากเขตทำ�กินของพวก เขาอยู่ในเขตนํ้าลึก เรืออวนลากเล็กที่เกิดขึ้นใหม่ดังกล่าวไม่สามารถปฏิบัติการได้ เพราะนํ้าลึกเกินไป ส่วนเรืออวน รุนใหญ่ซงึ่ เป็นเรือประมงพาณิชย์จากภายนอกทีเ่ คยเข้ามาสร้างความเดือดร้อนให้แก่ชาวบ้านนัน้ ในปัจจุบนั ไม่มแี ล้ว หรือมีน้อยมาก ด้วยเหตุผลที่กล่าวไปแล้ว ชาวบ้านในชุมชนเหล่านี้จึงยังคงดำ�เนินชีวิตของพวกเขาไปอย่างปกติ คือ ใช้เวลาส่วนใหญ่ในการออกทะเลและทำ�กิจกรรมต่อเนื่อง ข้อยืนยันที่สอง สามารถเห็นได้จากผลที่เกิดจากการดำ�เนินงานของชมรมฯ7เอง กล่าวคือ แม้ว่าทางชมรมฯ จะไม่สามารถออกตรวจตราทะเลเพื่อป้องกันการทำ�ประมงแบบทำ�ลายทะเลได้เช่นเดิม แต่พวกเขาก็พยายามสร้าง กิจกรรมอื่นๆ เท่าที่พอจะทำ�ได้เพื่อเสนอให้เห็นถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้นจากการทำ�ประมงแบบทำ�ลายทะเล และหา ทางกระตุน้ ให้ทกุ คนร่วมกันรักษาทะเล เช่น การร่วมมือกับโรงเรียนเพือ่ นำ�เด็กมาเรียนรูเ้ กีย่ วกับทะเลและวิถขี องชาว ประมงพื้นบ้าน การทำ�ซั้งและปะการังเทียม การปล่อยสัตว์นํ้า และแม้ว่าทางชมรมฯจะไม่สามารถปฏิบัติงานได้ใน หลายพื้นที่ซึ่งเคยเป็นพื้นที่ที่ทางชมรมปฏิบัติงานได้ผลและเป็นฐานที่มั่นในการสร้างการเคลื่อนไหวมาก่อน เพราะ เป็นพื้นที่ที่ชาวบ้านหันไปทำ�อวนลากเล็กกันมาก และขบวนการต่อต้านรัฐสามารถสร้างการเคลื่อนไหวได้อย่างเข้ม แข็ง แต่ชมรมฯก็พยายามไปหาพื้นที่ใหม่ที่พอดำ�เนินการได้ แม้ว่าทางชมรมฯ จะได้รับคำ�เตือนอย่างไม่เป็นทางการ อยู่บ้าง แต่แกนนำ�ก็ไม่เชื่อว่าจะเกิดผลอะไร เนื่องจากพวกเขาทำ�เพื่อชาวมุสลิมมลายูและไม่ยุ่งเกี่ยวกับเรื่องความ รุนแรงไม่ว่าจะเกิดจากฝ่ายไหนก็ตาม แต่ในที่สุดการสั่งสอนแกนนำ�ดังกล่าวจากขบวนการต่อต้านรัฐก็เกิดขึ้น โดย 7 ในปี 2548 ชมรมชาวประมงพืน้ บ้านจังหวัดปัตตานีได้จดทะเบียนเป็นสมาคมชาวประมงพืน้ บ้านจังหวัดปัตตานี ในบทความ นี้จะเรียกชื่อเดิมทั้งหมดเพื่อไม่ให้สับสน


179

จากที่กล่าวมา จะเห็นได้ว่าทางขบวนการต่อต้านรัฐเข้าใจดีว่าการจะทำ�ให้ชาวประมงพื้นบ้านเห็นว่าการ เคลือ่ นไหวของพวกเขาเป็นประเด็นทางชาติพนั ธ์ุ และเข้ามามีสว่ นร่วมในการเคลือ่ นไหวดังกล่าว ก็ตอ่ เมือ่ ต้องทำ�ลาย ความมั่นคงของการพึ่งพิงทรัพยากรไปเสียก่อน จึงสามารถเชื่อมโยงให้เห็นว่ารัฐปกครองพวกเขาอย่างมีอคติใน ลักษณะทีเ่ รียกว่าอคติทางชาติพนั ธ์ุ เพราะประเด็นสำ�คัญทีข่ บวนการใช้หว่านล้อมชาวบ้าน ก็คอื รัฐเพิกเฉยไม่สนใจ ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้าน สนใจแต่การปราบปรามเข่นฆ่าชาวมุสลิมมลายู ซึ่งคำ�หว่านล้อมนี้ชาวบ้านสามารถ รับรู้ได้จากความเดือดร้อนของพวกเขาเอง ซึ่งผิดกับปัจจุบันชาวบ้านส่วนหนึ่งรู้สึกว่าเป็นผู้ครอบครองทะเลอย่าง แท้จริง แม้จะดัดแปลงเครื่องมือไปใช้อวนลากเล็กซึ่งเป็นเครื่องมือทำ�ลายทะเลเช่นกัน แต่ว่าในปัจจุบันชาวบ้านยัง คงจับสัตว์นํ้าได้จากประสิทธิภาพของเครื่องมือ กว่าผลกระทบต่อทะเลจะปรากฏชัดก็คงต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง และถึงแม้ทะเลจะเสื่อมโทรมจริงแต่ประโยชน์ที่เกิดขึ้นก็เกิดแก่ตัวชาวบ้านไม่ใช่เกิดแก่ประมงพาณิชย์อย่างเช่นใน อดีต และที่สำ�คัญเช่นกันก็คือเขาไม่ต้องกลัวว่าจะมีใครออกมาตรวจจับ สำ�หรับประเด็นความเป็นชาติพันธุ์นั้น พบว่าขบวนการต่อต้านรัฐต้องการสร้างให้เป็นแก่นแท้ ให้ชาวบ้าน รู้สึกว่าพวกเขามีแก่นแท้ของความเป็นมุสลิมมลายู ในขณะที่รัฐพยายามทำ�ลายแก่นแท้ของความเป็นมุสลิมที่ว่านี้ ซึ่งที่จริงแล้วจะเห็นว่าแก่นแท้ดังกล่าวนี้ก็ถูกสร้างขึ้นมาโดยขบวนการเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐนั่นเอง ด้วยกระบวนการ ที่เกิดขึ้นทั้งในส่วนของการบิดเบือนคำ�สอนทางศาสนา การบิดเบือนประวัติศาสตร์ และการสร้างปฏิบัติการให้เห็น ผลตามคำ�สอนที่บิดเบือน ดังจะเห็นจากการใช้ความรุนแรงสั่งสอนกลุ่มแกนนำ�ชาวประมงพื้นบ้านในฐานะที่ไม่เป็น มุสลิมมลายูที่ดี เพราะไปร่วมมือกับรัฐที่ทำ�ร้ายพวกเดียวกันเอง ในอีกด้านหนึ่งก็จะเห็นได้ชัดเจนเช่นกันว่าแกนนำ� ชาวประมงพืน้ บ้านคิดว่าการเคลือ่ นไหวของพวกตนจะไม่ถกู ทำ�ร้ายจากขบวนการต่อต้านรัฐ เพราะเป็นการทำ�งานเพือ่ ช่วยเหลือชาวประมงพื้นบ้าน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิมมลายู แสดงว่าทั้ง 2 ฝ่ายตีความความเป็นชาติพันธ์มุสลิม มลายูแตกต่างกัน ส่วนชาวบ้านทั่วไปก็ตีความต่างออกไปตามสถานการณ์ เช่นในช่วงที่ทะเลอุดมสมบูรณ์ พวกเขา ก็ร่วมมือกับชมรมชาวประมงพื้นบ้าน ซึ่งทำ�งานร่วมกับเจ้าหน้าที่รัฐ แต่ในช่วงที่ทะเลเสื่อมโทรมชาวบ้านกลับเข้าไป ใกล้ขบวนการต่อต้านรัฐ และเห็นว่ารัฐไทยคือปัญหาของพวกเขา

รัฐกับความเข้าใจประเด็นความเป็นชาติพันธุ์ ความขัดแย้งและความรุนแรงใน 3 จังหวัดภาคใต้มักได้รับการอธิบายโดยให้นํ้าหนักที่ประเด็นความเป็น ชาติพันธุ์ คือ การอธิบายว่าเขต 3 จังหวัดคือปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ในอดีตคืออาณาจักรปัตตานี ซึ่งผู้คน นับถือศาสนาและมีวัฒนธรรมต่างๆ จัดอยู่ในกลุ่มชาติพันธุ์ที่เรียกว่ามุสลิมมลายู แตกต่างจากคนในสยามโดยสิ้น เชิง แต่สยามในสมัยรัชการที่ 5 ได้ผนวกเอาปัตตานีเป็นส่วนหนึ่งของรัฐชาติสยาม และจากนั้นเป็นต้นมาผู้ปกครอง ของรัฐชาติสยามก็พยายามทีจ่ ะดูดกลืนวัฒนธรรมของผูค้ นในอาณาจักรปัตตานีเดิมให้เป็นอย่างวัฒนธรรมกรุงเทพฯ จึงนำ�มาสู่การเคลื่อนไหวต่อต้าน และความต้องการเป็นอิสระ รัฐยังมองเหตุการณ์ความรุนแรงในปัจจุบนั ด้วยความคิดเช่นนี้ ดังนัน้ การแก้ปญ ั หาจึงมุง่ ไปทีก่ ารใช้ก�ำ ลังทหาร และการปรับเปลี่ยนทัศนคติของคนในพื้นที่ โดยเฉพาะเยาวชน ซึ่งรัฐเห็นว่าเป็นกำ�ลังสำ�คัญในการก่อการครั้งนี้ การ 8 ที่ทำ�การชมรมฯ ตั้งอยู่ชายฝั่งคลองในหมู่บ้านชาวประมงพื้นบ้านแห่งหนึ่งในเขต อ.หนองจิก จ.ปัตตานี

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

มีผู้ก่อการร้ายจำ�นวนหนึ่งพร้อมอาวุธครบมือบุกเข้าไปยังที่ทำ�การของชมรมฯ ในตอนกลางคืน8 แล้วเผาที่ทำ�การ ชมรมฯ และเรือตรวจการณ์ของชมรมฯ และจับตัวนายกชมรมฯและแกนนำ�อีกจำ�นวนหนึ่ง ข่มขู่ให้เลิกทำ�งานของ ชมรมฯ และเลิกติดต่อกับทางราชการ หากไม่เลิกจะกลับมาลงโทษ วัตถุประสงค์ของขบวนการก็คือไม่ต้องการให้ มีการเคลื่อนไหวเพื่อฟื้นฟูทะเล เพราะหากทะเลได้รับการฟื้นฟูโดยการนำ�ของชมรมฯ ซึ่งแน่นอนว่าต้องร่วมมือกับ ทางราชการ การชักนำ�ให้ชาวบ้านไปอยู่ภายใต้อิทธิพลของขบวนการก็เป็นไปได้ยาก


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

180

ใช้กำ�ลังทหารเพื่อควบคุมสถานการณ์นั้นคงเป็นที่คุ้นเคยกันดี เพราะเป็นแบบแผนหลักที่รัฐใช้มาแต่เดิมแล้ว แต่ใน ความรุนแรงครั้งนี้รัฐฟังข้อเสนอทางวิชาการมากขึ้น โดยเฉพาะความเข้าใจเรื่องพหุลักษณะทางวัฒนธรรม แต่ว่า รัฐกลับไปมองปัญหาอยู่ที่ตัวของชาวบ้าน คือ ชาวมุสลิมใน 3 จังหวัดภาคใต้ไม่สามารถอยู่ร่วมกับคนกลุ่มอื่นได้จึง คิดจะแยกดินแดนหรือต้องการปกครองตนเอง กิจกรรมทีร่ ฐั เข้าไปสนับสนุนอย่างจริงจังก็คอื การนำ�เยาวชนไปศึกษา ดูงานในจังหวัดต่างๆ และต่างประเทศ จุดประสงค์สำ�คัญก็คือการนำ�เยาวชนไปศึกษาชาวมุสลิมในที่ต่างๆ ว่าเขา สามารถอยู่ร่วมกับคนกลุ่มอื่นๆ ได้อย่างไร การเข้าใจและการดำ�เนินนโยบายแก้ปัญหาความรุนแรงในภาคใต้ของรัฐดังกล่าวนี้ มีปัญหา 2 ประการ ประการแรก การให้ความสำ�คัญเรื่องความเป็นชาติพันธุ์นั้นน่าจะถูกต้อง แต่รัฐมองความเป็นชาติพันธุ์ที่ มีความหมายเป็นแก่นแท้ในตัวมันเอง จึงมุ่งไปที่การแก้ที่ตัวบุคคลที่ครอบครองแก่นแท้ความเป็นชาติพันธุ์นั้น โดย ไม่สนใจว่าสำ�หรับชาวบ้านทั่วไปนั้นไม่ได้มีแก่นแท้ทางชาติพันธุ์อะไรให้ยึดถือ ความเป็นชาติพันธุ์ของพวกเขาถูก อธิบายอย่างสอดคล้องกับเงื่อนไขการดำ�รงชีวิต สำ�หรับชาวประมงพื้นบ้านก็คือความอุดมสมบูรณ์ของทะเล แต่รัฐ ไม่เคยสนใจเรื่องนี้ ไม่ไยดีว่าชาวบ้านจะอยู่กันอย่างไร การไม่สามารถพึ่งพาฐานทรัพยากรได้เช่นเดิมของชาวบ้าน จึงถูกเชื่อมโยงกับความไม่สนใจใยดีของรัฐ ประการที่สอง ประเด็นความเป็นชาติพันธุ์ที่รัฐเข้าใจและมองอยู่ในปัจจุบันมองจากพื้นฐานการเคลื่อนไหว ของขบวนการแบ่งแยกดินแดนแบบเหมารวม ว่าคนมุสลิมทั้งหมดใน 3 จังหวัดก็เป็นเช่นนี้ และนักวิชาการบางส่วน ก็ตกอยู่ในกับดักความคิดเช่นนี้ ข้อเสนอในการแก้ปัญหาจึงออกมาในลักษณะของการให้ 3 จังหวัดเป็นเขตปกครอง พิเศษหรือเป็นเขตปกครองตนเอง ซึง่ สอดคล้องกับความต้องการของขบวนการเคลือ่ นไหวต่อต้านรัฐทีต่ อ้ งการแยกดิน แดน 3 จังหวัดเป็นรัฐอิสระ แต่ในความเป็นจริงคือชาวบ้านส่วนใหญ่เขาไม่ได้คิดเช่นนี้ ความคิดของเขาจะเน้นอยู่ที่ บทบาทของรัฐในการช่วยปกป้องให้เขาดำ�รงชีวิตอยู่ได้ ที่สำ�คัญก็คือการช่วยปกป้องทะเลให้อุดมสมบูรณ์ พวกเขา ไม่ได้คดิ ว่าประเทศไทยไม่ใช่ประเทศของเขา หรือต้องสร้างประเทศใหม่ แกนนำ�ชาวประมงพืน้ บ้านได้เสนอความคิด อย่างชัดเจนว่า เขาจะคิดถึงประเทศใหม่ได้อย่างไร เพราะขนาดแกนนำ�ทีเ่ คลือ่ นไหวก่อความรุนแรงอยูเ่ ขายังไม่รเู้ ลย ว่าคือใคร ประเทศใหม่ทวี่ า่ นีค้ อื อะไร ใครจะปกครอง แม้แต่ชาวบ้านทัว่ ไปซึง่ บางช่วงอาจจะโน้มเอียงไปทางขบวนการ แต่กเ็ ป็นการโน้มเอียงไปเฉพาะในส่วนทีเ่ ห็นว่าจะทำ�ให้พวกเขาหากินในทะเลได้ดกี ว่าเดิม มีนอ้ ยมากทีค่ ดิ ไปถึงเรือ่ ง การแบ่งแยกดินแดนและการสร้างประเทศใหม่ ดังนัน้ กลุม่ ทีก่ อ่ ความรุนแรงอยูน่ นั้ เป็นเพียงกลุม่ คนไม่มาก แต่ชาวบ้าน ส่วนใหญ่อยู่ในส่วนที่ต้องเงียบเฉย ไม่ใช่เพราะสนับสนุน แต่เพราะรู้ว่ารัฐไม่สามารถรักษาความปลอดภัยให้เขาได้

สรุป บทความนี้ต้องการแสดงให้เห็นว่าจากประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในชุมชนประมงพื้นบ้านประเด็นความรุนแรง ที่เกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบันไม่ได้เริ่มต้นจากประเด็นความขัดแย้งทางชาติพันธุ์แต่เป็นประเด็นของการแย่งชิงทรัพยากร การหลงติดอยู่ในกับดักของอคติทางชาติพันธุ์ทำ�ให้การดำ�เนินการของรัฐและการสร้างข้ออธิบายทางวิชาการต่างๆ ไปเข้าทางการเคลื่อนไหวของขบวนการต่อต้านรัฐที่สร้างความรุนแรงอยู่ขณะนี้ ทำ�ให้ในด้านหนึ่งรัฐไปติดกับดักการ แก้ปัญหาแก่นแท้ทางชาติพันธุ์ที่ขบวนการก่อความรุนแรงพยายามสร้างขึ้น ซึ่งเท่ากับการแก้ปัญหาของรัฐตามหลัง ขบวนการก่อความรุนแรงตลอดเวลา เช่น การทุ่มงบประมาณนำ�เยาวชนไปเข้าค่ายอบรมหรือนำ�ไปศึกษาดูงานยังที่ ต่างๆ ซึ่งนอกจากจะได้ผลน้อยในการแก้ปัญหาแล้วยังเป็นการสร้างความขัดแย้งซํ้าซ้อนขึ้นมาอีก ในอีกด้านหนึ่งรัฐ ก็ทอดทิง้ ประชาชนให้เผชิญปัญหาในเรือ่ งความอยูร่ อดของพวกเขาตามลำ�พัง ซึง่ ก็เข้าทางขบวนการก่อความรุนแรง อีกเช่นกัน เพราะสามารถชักนำ�ชาวบ้านให้เข้ามาสนับสนุนการเคลื่อนไหวของขบวนการได้ ประเด็นสำ�คัญอยูท่ คี่ วามอุดมสมบูรณ์ของฐานทรัพยากรทีช่ าวบ้านต้องพึง่ พา ซึง่ ไม่เพียงชาวประมงพืน้ บ้าน ทีต่ อ้ งพึง่ พาทะเลเท่านัน้ แต่ยงั มีคนอีกหลายกลุม่ ทีต่ อ้ งพึง่ พาทรัพยากรทีเ่ กีย่ วข้องกับการดำ�รงชีวติ ของพวกเขา หาก


181

เอกสารอ้างอิง ชัยวัฒน์ สถาอานันท์. ความรุนแรงกับการจัดการ “ความจริง” เอกสารรายงานการวิจัยเสนอต่อสำ�นักงาน กองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2545. ฉวีวรรณ ประจวบเหมาะ. “ทบทวนแนวทางการศึกษาชาติพันธุ์ข้ามยุคสมัยกับการศึกษาสังคมไทย”, ใน ว่าด้วย แนวทางการศึกษาชาติพันธุ์. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร, 2547. ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี. “อัตลักษณ์ ชาติพันธุ์ และความเป็นชายขอบ”. ใน อัตลักษณ์ ชาติพันธุ์ และความเป็น ชายขอบ. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร, 2546. เลิศชาย ศิริชัย. “ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมของประชาชนในเขตจังหวัดชายแดนภาคใต้ จากความรุนแรงสู่ สันติวิธี: ศึกษากรณีการเคลื่อนไหวของชาวประมงพื้นบ้าน จังหวัดปัตตานี”. ใน ความรู้กับการแก้ปัญหา ความขัดแย้ง: กรณีวิกฤติชายแดนภาคใต้. บรรณาธิการโดย อุทัย ดุลยเกษม และเลิศชาย ศิริชัย. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิเอเชีย, 2548. Fenton, Steve. Ethnicity. Polity Press in Association with Blackwell Publishing Ltd., 2003. Horstmann, Alexander. Class, Culture and Space: The Construction and Shaping of Communal Space in South Thailand. Research Institute for the Languages and Cultures of Asia and Africa (ILCAA), 2002. Gilquin, Michel. The Muslims of Thailand. Translated by Michael Smithies. Irasec: Silkworm Books, 2002. Guibernau, Montserrat and John Rex. The Ethnicity Reader: Nationalism, Multiculturalism and Migration. Polity Press in Association with Blackwell Publishing Ltd., 1999.

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

รัฐและผู้เกี่ยวข้องสามารถสนับสนุนให้ชาวบ้านกลุ่มต่างๆ เข้าถึงและจัดการดูแลทรัพยากรที่พวกเขาใช้ประโยชน์ให้ เป็นฐานความอยูร่ อดของพวกเขาได้อย่างยัง่ ยืน ก็ไม่ตอ้ งกลัวปัญหาความขัดแย้งทางชาติพนั ธุ์ อีกทัง้ จะช่วยให้เข้าใจ ชาวมุสลิมมลายูอย่างแตกต่างหลากหลายกันมากขึ้น อันจะนำ�ไปสู่การอธิบายและการแก้ปัญหาที่มีความเฉพาะ เจาะจงมากขึ้น ไม่ใช่กระทำ�แบบเหมารวมอย่างที่เป็นอยู่


การจัดการศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ในบริบทของ พหุวัฒนธรรม


183

ดร. ยุกติ มุกดาวิจิตร2

มีการศึกษาจำ�นวนมาก ที่พบว่าชุมชนทางการเมืองสมัยใหม่ที่เรียกกันว่า “รัฐชาติ” (nation-state) มักต้อง สร้างขึ้นมาจากการมีเอกภาพทางภาษาหรือกล่าวว่าได้เป็นรัฐ “เอกภาษา” (unillingualism) เช่น เอร์นส์ เกลเนอร์ นักมานุษยวิทยาผู้เชี่ยวชาญยุโรปและเจมส์ สก๊อต นักรัฐศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เสนอคล้ายๆ กันว่าการสร้างรัฐ-ชาติสมัยใหม่ ต้องการทำ�ให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทางวัฒนธรรมสำ�คัญคือ การทำ�ให้ ภาษาในรัฐหนึ่งๆ มีเอกภาพ (Gellner 1983; Scott 1998) ในยุโรป กรณีประเทศฝรั่งเศสมักถูกหยิบยกขึ้น เป็นตัวอย่าง สำ�คัญที่ชี้ให้เห็นว่า การเกิดขึ้นของรัฐฝรั่งเศสสมัยใหม่เป็นการทำ�ให้ภาษาฝรั่งเศสสำ�เนียงปารีสกลายเป็นภาษาที่ คนในเขตแดนฝรั่งเศสทุกคนพูดภาษานี้ จากที่แต่เดิมอย่าว่าแต่ภาษาฝรั่งเศสสำ�เนียงปารีสเดิมเลย แม้แต่ภาษา ฝรั่งเศสสำ�เนียงต่างๆ กันก็มีคนพูดไม่ถึงครึ่งหนึ่งของประเทศ (Weber 1979) ทัศนะทำ�นองเดียวกันนี้ที่ถูกกล่าวอ้าง กันบ่อยๆ ได้แก่แนวคิดเรื่อง “จินตนาการความเป็นชุมชนชาติ” (imagined community) ของเบนเนดิก แอนเดอร์สัน นักรัฐศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แอนเดอร์สันชี้ให้เห็นว่ารัฐสมัยใหม่สร้าง “ความเป็นพวกเรา” (we-ness) ขึ้นมาจากอุตสาหกรรมการพิมพ์ขนาดใหญ่แบบทุนนิยม (print capitalism) เช่นหนังสือพิมพ์และนวนิยาย และในขณะเดียวกันเอกภาษาจึงเป็นนโยบายที่สำ�คัญในการสร้างชุมชนชาติ (Anderson 1992) อย่างไรก็ดี ข้อค้นพบเหล่านีอ้ าจจะไม่ใช่ขอ้ เท็จจริงทีเ่ ป็นความจำ�เป็นทางประวัตศิ าสตร์โลก อาจจะไม่จ�ำ เป็น เสมอไปทีก่ ารก่อตัวของรัฐ-ชาติสมัยใหม่จะต้องดำ�เนินรอยตามแนวทางนโยบายเอกภาษาอย่างหลีกเลีย่ งไม่ได้ มีผตู้ งั้ ข้อสังเกตว่านโยบายเอกภาษาเป็นความเชือ่ ของชนชัน้ นำ�ทางการเมืองในประเทศต่างๆ ทีม่ กั มีความเข้าใจว่า ชุมชน ทางการเมืองจำ�เป็นต้องอาศัยภาษากลาง ภาษาหนึ่ง หาไม่แล้วจะเกิดความระสํ่าระสาย ตัวอย่างทัศนะดังกล่าว ได้แก่ทัศนะของ John Stuart Mill นักปราชญ์คนสำ�คัญในยุคสมัยใหม่ (Esman 1992: 383) การที่หลายๆ ประเทศใน ปัจจุบันดำ�เนินนโยบายเอกภาษาจึงอาจเป็นผลมาจากความเชื่อที่ว่า ประเทศหนึ่งจะต้องมีภาษาเพียงภาษาเดียว เป็นภาษากลางหรือว่าภาษาแห่งชาติมากกว่าที่จะเป็นความจำ�เป็นทางประวัติศาสตร์และการเมือง ข้อเท็จจริงอีก ด้านหนึ่งจึงบอกเล่าตรงกันข้ามกันกับข้อค้นพบข้างต้นว่าประเทศต่างๆ มากมายทั่วโลกไม่ได้ดำ�เนินนโยบายภาษา ตามแนวทางเอกภาษาดังกล่าวเท่านั้น และการดำ�เนินนโยบายเอกภาษาไม่ได้จำ�เป็นต้องนำ�ไปสู่ความสงบสุขของ ชุมชนทางการเมืองที่เรียกว่า รัฐ-ชาติ เสมอไป ตัวอย่างในหลายๆ ประเทศชี้ว่านโยบายเอกภาษาจะนำ�ไปสู่ความ ระสํ่าระสายทางการเมือง ประสบกับปัญหาความขัดแย้งจนถึงอาจจะนำ�ไปสู่ความรุนแรง ดังนั้นจึงมีประเทศต่างๆ มากมายที่ดำ�เนินนโยบาย “พหุภาษา” (multilingualism) (Esman 1992) ยิ่งกว่านั้น เมื่อโลกก้าวเข้าสู่ยุคที่เกิดภาวะ ไร้ถิ่นฐาน อำ�นาจรัฐถูกพาดข้ามจนแทบจะหมดพลังจากอำ�นาจของพลังโลกาภิวัตน์ คำ�ถามคือ มีทางเลือกของ นโยบายภาษาเช่นไรบ้างสำ�หรับรัฐ-ชาติสมัยใหม่ บทความนี้ต้องการค้นหาว่า รัฐ-ชาติในโลกปัจจุบัน อันเป็นโลกในยุคของโลกาภิวัตน์ (globalization) ควร ดำ�เนินนโยบายภาษาในลักษณะใด ในยุคที่นักมานุษยวิทยาอย่างอรชุน อัพปาดูราย เสนอว่าเกิด “ภาวะไร้ถิ่นฐาน” 1 การอ้างอิงบทความ ควรได้รับอนุญาตจากเจ้าของบทความ 2 อาจารย์ประจำ�คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

สังคมหพุภาษาในยุคที่ไร้ถิ่นฐาน: นโยบายและปฏิบัติ การจากมุมมองข้ามวัฒนธรรม1


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

184

(deterritorialization) คืบคลานเข้าไปในแทบทุกอนูของชีวิตทางสังคมและวัฒนธรรม ไม่ว่าจะเป็นด้านชาติพันธุ์ ด้าน การสื่อสาร ด้านเงินทุน ด้านเทคโนโลยี และด้านอุดมการณ์ (Appadurai 1996) ผู้เขียนสนใจค้นหาว่า มีความเป็นไป ได้อย่างไรทีร่ ฐั ชาติจะจัดการกับนโยบายภาษาให้สอดคล้องกับการเปลีย่ นแปลงในโลกดังกล่าว แทนทีจ่ ะเป็นปฏิปกั ษ์ อย่างรุนแรงกับภาวะไร้ถิ่นฐานจนอาจก่อปฏิกิริยาดังที่เกิดขึ้นในประเทศไทยเมื่อสามปีที่ผ่านมา (กรณีขบวนการ พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ดู ยุกติ 2551) หรือสร้างโลกเสมือนที่ปิดตนเองอยู่ในคู่ตรงข้างลวงตาระหว่าง ชุมชนกับโลกาภิวัตน์ (กรณีแนวคิดวัฒนธรรมชุมชน ดู ยุกติ 2548) ผู้เขียนต้องการค้นหาว่า ในยุคนี้เราจะมีแนวทาง เชิงนโยบายภาษาใดที่สามารถยอมรับสภาวะไร้ถิ่นฐาน โดยที่ชุมชนชาติไม่เสียอธิปไตยในการจัดการตนเองพร้อมๆ กับที่จะไม่ต้านทานภาวะไร้ถิ่นฐานจนกระทั่งปิดตัวเองอยู่ในกะลาชุมชนชาติ บทความนีแ้ บ่งการนำ�เสนอออกเป็นสีส่ ว่ น (1) ภาษาคือมรดกทางปัญญา อภิปรายถึง ความสำ�คัญของภาษา ต่อกระบวนการคิดการเรียนรูข้ องมนุษย์  (2) ภาษาและอัตลักษณ์ชาติพนั ธุ์ ชีใ้ ห้เห็นถึงบทบาทสำ�คัญของภาษาต่อการ สร้างชุมชน (3) ภาษาและนโยบายทางภาษาในภาวะไร้ถิ่นฐาน นำ�เสนอตัวอย่างนโยบายภาษาในประเทศต่างๆ ที่ กำ�ลังเผชิญกับภาวะไร้ถนิ่ ฐานในยุคโลกาภิวตั น์ (4) ชุมชนชาติไทยหลากสำ�เนียงหลายภาษา อาศัยกรอบการวิเคราะห์ และประสบการณ์ขา้ มวัฒนธรรมจากทีอ่ ภิปรายไปในสามส่วนแรก มาเสนอกรอบนโยบายภาษาในประเทศไทย เพือ่ การธำ�รงไว้ซึ่งมรดกทางปัญญาและการดำ�รงอยู่อย่างมีศักดิ์ศรีของชุมชนพหุภาษาท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์ ภาษา คือ มรดกทางปัญญา ภาษาไม่ได้เป็นเพียงเครือ่ งมือสือ่ สารของมนุษย์ แต่ภาษายังกำ�หนดแนวทางการ คิด กำ�หนดความคิด นักมานุษยวิทยาภาษาชีใ้ ห้เห็นว่าไวยากรณ์และชุดคำ�ศัพท์ตา่ งๆ ของภาษาแสดงให้เห็นว่า คน ในวัฒธรรมภาษาทีแ่ ตกต่างกัน มีกระบวนการรับรูแ้ ละทำ�ความเข้าใจโลกทีแ่ ตกต่างกันในแง่ของไวยากรณ์ภาษา บิดา ของนักมานุษยวิทยาอเมริกนั สมัยใหม่ อย่าง Franz Boas ตัง้ ข้อสังเกตว่าภาษาของชาวอินเดียนในสหรัฐอเมริกาทีเ่ ขา ศึกษาจำ�นวนมาก แสดงให้เห็นว่า คนอินเดียคิดถึงสิ่งต่างๆ ในลักษณะที่ต้องผูกติดกับเหตุการณ์เฉพาะหน้าในชีวิต ประจำ�วัน หรือจะต้องมีองค์ประกอบของผู้กระทำ�การหรือกรรมของสิ่งต่างๆ เสมอ หรือพูดอีกอย่างหนึ่งได้ว่า ภาษา ของชาวอินเดียนแสดงให้เห็นว่าชาวอินเดียนไม่มคี วามจำ�เป็นต้องคิดถึงสิง่ ต่างๆ อย่างเป็นมโนทัศน์ลอยๆ แบบเดียว กับที่ชาวยุโรปคิด เช่น หากภาษาอังกฤษกล่าวว่า “the eye is the organ of seeing” ชาวอินเดียนจะต้องกล่าวว่า “ตาของใครคนใดคนหนึ่งเอาไว้ใช้มอง” ชาวอินเดียนไม่มีมโนทัศน์ “ดวงตา” ที่เป็นนามธรรมแยกออกต่างหากจาก ผู้เป็นเจ้าของดวงตา ในขณะเดียวกัน ชาวอินเดียนอาจไม่มีมโนทัศน์ “อวัยวะ” ที่หมายถึงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ตลอดจนชาวอินเดียนไม่มคี วามจำ�เป็นต้องแยกแยะมโนทัศน์ “การมอง” ออกมาอย่างลอยๆ โดยเปรียบเทียบกับมโน ทัศน์ของกิริยาอื่นๆ เช่น การรัก (love) การเห็นใจ (pity) ที่ชาวอินเดียนก็มักไม่กล่าวถึงอย่างลอยๆ เช่นกัน อย่างไรก็ดี โบแอสยํา้ ว่าทีเ่ ป็นดังนีไ้ ม่ได้หมายความว่าชาวอินเดียนจะไม่สามารถคิดถึงมโนทัศน์ “ดวงตา” “อวัยวะ” “การมอง” ได้ หากแต่เพราะในชีวติ ของชาวอินเดียน การคิดถึงมโนทัศน์เหล่านีอ้ ย่างลอยๆ ไม่ใช่สงิ่ ทีจ่ ำ�เป็นแก่ชวี ติ ของพวกเขา ชาวอินเดียนไม่ได้มีสติปัญญาตํ่ากว่าชาวยุโรป เพียงแต่วิถีชีวิตเขาไม่ได้เรียกร้องให้ต้องใช้ภาษาแบบเดียวกับที่ชาว ยุโรปใช้ และภาษาชองชาวยุโรปเองแต่เดิมก็ไม่ได้มีการใช้ภาษาแบบเป็นมโนทัศน์ลอยๆ เช่นกัน (Boas 1964 [1911]) ต่อมาลูกศิษย์ของโบแอส คือ Edward Sapir และ Benjamin Lee Whorf ได้พัฒนาความคิดดังกล่าว จนเป็นที่ รูจ้ กั กันในนาม “สมมติฐานซาเปียร์-วอร์ฟ” (Sapir-Whorf hypothesis) ข้อเสนอหลักของทัง้ สองคือ ประการแรก มนุษย์ จัดการ จัดประเภทสภาพแวดล้อมทัง้ ทางธรรมชาติและสังคม การจัดการระบบสภาพแวดล้อมดังกล่าวแสดงออกมา ในภาษา ประการที่สอง การเรียนรู้ภาษา จึงมีส่วนกำ�หนดการเรียนรู้สิ่งๆ ต่างๆ ของมนุษย์ กรณีศกึ ษาหนึง่ ของวอร์ฟทีเ่ ป็นทีก่ ล่าวอ้างเสมอๆ ได้แก่ การเปรียบเทียบความคิดเกีย่ วกับเวลา ในภาษายุโรป ภาษาอินเดียนโฮปีในสหรัฐอเมริกา ขณะที่ภาษายุโรปทั่วไปแยกเวลาออกเป็นส่วนๆ ในแนวนอน แต่ในภาษาที่ไม่ใช่ ภาษายุโรปทัว่ ไปจำ�นวนมาก แยกเวลาออกเป็นเพียงก่อนและหลัง วอร์ฟยกตัวอย่างภาษาโฮปีเทียบกับภาษาอังกฤษ ว่า สำ�หรับภาษาโฮปี มีเพียงกิริยาสองลักษณะ กิริยาที่ระบุสถานะความจริงที่เห็นได้กับกิริยาที่ระบุลักษณะหรือแง่


185

ในระดับของคำ�ศัพท์ การศึกษาเปรียบเทียบภาษาต่างๆ แสดงให้เห็นชัดเจนว่า ภาษาไม่ได้น�ำ เสนอโลกอย่าง ตรงไปตรงมา หากแต่วธิ ที คี่ นในแต่ละวัฒนธรรมและภาษาจัดจำ�แนกสิง่ ต่างๆ มีสว่ นกำ�หนดการเรียกและไม่เรียกขาน สิ่งต่างๆ ตลอดจนมีส่วนในการรวบรวบหรือแยกแยะสิ่งต่างๆ เป็นต้นว่า ในแอฟริกาตะวันออก นักมานุษยวิทยาชื่อ ดังอย่าง E. E. Evans-Prichard พบ ว่าชาวนูเออร์ (Nuer) จัดจำ�แนกประเภทวัวซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงที่สำ�คัญต่อเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองของพวกเขาอย่างละเอียด ชาวนูเออร์มีค�ำ ศัพท์เรียกวัว จัดจำ�แนกประเภทวัว และมีการตั้งชื่อ วัว ตลอดจนชื่อสมาชิกสังคมตามชื่อวัวอย่างซับซ้อนพิศดารมาก (Evans-Pritchard 1940) ในทำ�นองเดียวกัน Stevan Feld นักมานุษยวิทยาการดนตรี ได้ศึกษาเสียงนกและการจัดประเภทนกตามเสียงร้องของชาวคาลูลี (Kaluli) ในบา บัวนิวกินี พบว่านกที่มีความสำ�คัญต่อชาวคาลูลีที่สุดคือ นกเขาชนิดหนึ่ง เนื่องจากชาวคาลูลีเชื่อว่านกเขากับนกอีก สาม-สีช่ นิดในกลุม่ เดียวกันเป็นนกทีร่ อ้ งเสียงภาษาคนตาย นกกลุม่ นีจ้ งึ เป็นนกทีส่ ำ�คัญในพิธกี รรม ส่วนนกชนิดอืน่ ๆ มีความสำ�คัญและไม่สำ�คัญลดหลั่นกันไปตามเสียงร้องของพวกมัน เช่น นกบางชนิดเรียกชื่อตัวเอง นกบางชนิดพูด ภาษาคนได้ (Feld 1990 [1982]) กรณีศกึ ษาทีน่ า่ สนใจอีกกรณีหนึง่ ได้แก่ คำ�ศัพท์เรียกอวัยวะ เนือ่ งจากการจัดประเภทสิง่ ต่างๆ เป็นการสร้าง ลักษณะทั่วไปด้วยการเลือกสรรบางคุณลักษณะที่สังเกตได้ วิธีที่แต่ละภาษาจัดประเภทสิ่งต่างๆ จึงแตกต่างกันออก ไป ร่างกายโดยรวมๆ ถูกแบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ แม้กระทัง่ สิง่ ทีด่ เู หมือนง่าย เช่น การแบ่งสัดส่วนของร่างกายระหว่าง “มือ” กับ “แขน” ก็อาจทำ�ให้เราเห็นถึงความแตกต่างในการจัดประเภทของภาษาที่แตกต่างกันได้ (Hickerson 2000: 151-153) ดังปรากฏว่าในภาษา Lokono (ในอเมริกาใต้) มีคำ�ว่า kobo ที่หมายถึงมือและแขนส่วนล่าง ส่วน duna หมายถึงแขนส่วนบน ส่วนภาษา O’odham คำ�ว่า nowi หมายถึงตลอดลำ�แขนจนถึงมือ ส่วนภาษา O’odham คำ�ว่า nowi หมายถึง ตลอดลำ�แขนจนถึงมือ ในแง่นี้ หากจะแปลคำ�ว่ามือหรือแขนระหว่างสองภาษานี้ ก็จะมีปัญหามาก ในทำ�นองเดียวกัน ภาษาไทยมีค�ำ ว่า “ใจ” กับ “คอ” ทีม่ คี วามหมายทีแ่ ทนกันได้ แม้วา่ ภาษาไทยกลางปัจจุบนั จะไม่ใช้ในลักษณะดังกล่าวแล้ว เช่น มีวลี “นิสัยใจคอ” แม้คำ�ว่า “นิสัย” จะไม่ใช่ภาษาไทย แต่คำ�ว่า “ใจคอ” ก็ไม่ น่าจะเป็นคำ�ที่เป็นสร้อยที่ไม่มีความหมาย เพราะภาษาไทยมีสำ�นวน “ใจคอจะไม่ช่วยเหลือกันเลยหรือ” หรือ “จะ ทำ�ร้ายกันได้ลงคอหรือ” หากเทียบกับภาษาไท ในถิ่นอื่น เช่น ภาษาไตดำ� (Black Tai) ในเวียดนาม คำ�ว่า “หัวใจ” กับ “หัวคอ” สามารถใช้แทนกันได้ในความหมายเดียวกับที่ภาษาไทยใช้คำ�ว่า “หัวใจ” ที่น่าสนใจ คือ ในแง่ของ การจัดประเภทอวัยวะ การที่ภาษาไทยและภาษาไตดำ�จัดประเภท “ใจ” กับ “คอ” ว่าเป็นอวัยวะแสดงความรู้สึก ได้เช่นเดียวกัน ทั้งๆ ที่ไม่มีความเชื่อมโยงกันโดยตรงในเชิงกายภาพ หากจะยังไม่ล้ากับตัวอย่าง ผู้เขียนมีตัวอย่าง คำ�ศัพท์ที่แสดงความรู้สึกทำ�นองเดียวกันนี้ในภาษาเวียดนาม แทนที่จะใช้คำ�ว่า “ใจ” หรือ “คอ” ภาษาเวียดนาม มักใช้คำ�ว่า “lòng” หรือ “bụng” ที่แปลตามตรงได้ว่า “ไส้” และ “พุง” ว่าตามลำ�ดับ เช่น คำ�ว่า “yên lòng” (สบาย ไส้) แปลว่า “สบายใจ” คำ�ว่า “tốt bụng” (ดี พุง) แปลว่า “ใจดี” จะเห็นได้ว่าวิธีการที่คนในวัฒนธรรมและภาษา ที่แตกต่างกัน คิดเกี่ยวกับอวัยวะต่างๆ แตกต่างกัน แม้ว่าวัฒนธรรมต่างภาษากัน ต่างก็มีคำ�ศัพท์ที่ระบุถึงอวัยวะ เหล่านั้นเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ดี ไม่ใช่วา่ การคิดของมนุษย์จะถูกจำ�กัดอย่างตายตัวตามไวยกรณ์ ชุดคำ�ศัพท์ และการจัดจำ�แนกสิง่ ต่างๆ  นักภาษาศาสตร์ที่ให้ความสนใจต่อการเรียนรู้อย่าง จอร์จ แลคอฟฟ์ เสนอว่า อาศัยอยู่ในโลกของการเทียบ

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

มุมของการกระทำ� เช่น หากว่าชาวโฮปีเห็นว่ามีคนกำ�ลังวิ่งอยู่ (running) เห็นว่าวิ่งไปแล้ว (ran) หรือเห็นว่ากำ�ลังจะ ออกวิ่ง (running) เขาก็จะพูดคำ�เดียวกันคือคำ�ว่า Wari แปลว่า “การวิ่ง (ตามที่เป็นจริงๆ )” ในขณะที่ภาษายุโรป เช่น ภาษาอังกฤษจะพูดแตกต่างกันออกไปตาม tense แต่หากชาวโฮปีไม่เห็นว่าคนวิ่งหายไปแล้ว (ran) หรือจะมีคนมาวิ่ง (will run) หรือมีคนวิ่งที่เป็นนักวิ่ง (runs) เขาจะใช้คำ�ต่างๆ กันว่า Era wari “จำ�ได้ว่ามีการวิ่ง” Warikni “เดาว่าน่าจะ มีการวิ่ง” และ Warikngwe “นักวิ่งมักวิ่ง” ในขณะที่ภาษาอังกฤษก็ใช้คำ�ต่างกัน จะเห็นว่าภาษาโฮปีแยกเพียงการ วิ่งเท่าที่คนพูดเห็นจริงๆ ไม่ว่าจะก่อนหรือหลังกับการวิ่งที่มีลักษณะแตกต่างกัน (Whorf 1956)


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

186

เคียง (metaphor) ตลอดเวลา การใช้ภาษาของมนุษย์แสดงให้เห็นว่า เราไม่สามารถคิดโดยไม่ได้เทียบเคียงสิ่งที่เรา กำ�ลังคิดถึงกับสิ่งอื่นๆ เสมอ กล่าวอีกอย่างหนึ่งได้ว่าเรานิยามสิ่งหนึ่งด้วยสิ่งอื่นๆ เสมอ หากแต่การเทียบเคียงนั้น เกิดขึ้นมาจากประสบการณ์แรกเริ่มที่ใกล้ตัวมนุษย์นั่นเอง ฉะนั้นในแง่หนึ่ง ภาษาและความคิดเป็นสิ่งสร้างหรือถูก กำ�หนดโดยสังคม แต่ในอีกด้านหนึ่งภาษาและความคิดเกิดขึ้นมาจากประสบการณ์ในการแยกแยะสิ่งต่างๆ ออก จากตัวตนเรา การแยกแยะพื้นที่จากการรับรู้ตัวเราเอง หากแต่เมื่อเราเติบโตขึ้นภาษาได้เข้ามาจัดการกับการเทียบ เคียงสิ่งต่างๆ แตกต่างกัน (Lakoff 1980) แม้ว่าไวยากรณ์ (grammar) คำ�ศัพท์ (lexicon) การจัดประเภทสิ่งต่างๆ (taxonomy) กำ�หนดให้มนุษย์มีความรู้ แตกต่างกัน ภาษาที่แตกต่างกันบรรจุไว้ด้วยวัฒนธรรมการมองโลก การเรียนรู้โลกที่แตกต่างกัน การมีภาษาที่หลาก หลายก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อการทำ�ความเข้าใจโลกของมนุษย์ ภาษาและวัฒนธรรมไม่ได้กำ�หนดความคิดอย่าง ตายตัวเสมอไป แม้ว่าภาษาจะทำ�ให้มนุษย์ในวัฒนธรรมต่างๆ มองโลกอย่างสัมพัทธ์แตกต่างกันออกไป แต่มนุษย์ ก็สามารถเรียนรู้กันและกันได้ ทั้ง Boas และ Whorf วางรากฐานให้กับการศึกษามานุษยวิทยาภาษายืนยันเช่นนั้น เพราะในขณะที่พวกเขาบอกว่าภาษาแตกต่างกันให้ความคิดที่แตกต่างกัน พวกเขาก็ไม่ได้ปฏิเสธเลยว่ามนุษย์จะ เรียนรูู้ภาษาและวิธีคิดที่แตกต่างกันนั้นไม่ได้เลย3 ความหลากหลายของภาษาจึงช่วยให้เราได้รจู้ กั ทัง้ ข้อจำ�กัดของแต่ละวิธคี ดิ ของภาษาใดภาษาหนึง่ และขยาย ขอบเขตการเรียนรู้จากการศึกษาภาษาหนึ่งไปยังอีกภาษาหนึ่ง หรือกล่าวได้ว่ายิ่งมนุษย์มีภาษาหลายภาษาใช้ ยิ่ง ช่วยขยายพรมแดนการเรียนรูข้ องมนุษย์ให้กว้างไกลออกไป มากกว่าการมีเพียงภาษาและโลกทัศน์จ�ำ กัดคับแคบอยู่ ในภาษาใดภาษาเดียว สังคมพหุภาษา จึงเพิ่มการเรียนรู้ระหว่างมนุษย์ได้ดียิ่งกว่าสังคมเอกภาษา

ภาษาและอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ นอกจากภาษาจะเป็นกรอบสำ�คัญทีม่ สี ว่ นในการกำ�หนดความคิดแล้ว ตัวภาษาเองยังเป็นแง่มมุ ทางวัฒนธรรม ประการสำ�คัญที่กลุ่มคนนำ�มาใช้บ่งชี้อัตลักษณ์ชาติพันธุ์ ระบุความเป็น เรา-เขา อัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ (ethnic identity) เป็นความสำ�นึกร่วมกันของกลุ่มคนที่แสดงออกเพื่อบ่งชี้ ความเป็นเรา-เขา การบ่งชี้อัตลักษณ์ชาติพันธุ์จึง ประหนึ่งว่าเป็นการสร้าง “พรมแดนทางชาติพันธุ์” (ethnic boundaries) (Barth 1969) การศึกษาทางมานุษยวิทยาใน ปัจจุบันชี้ว่า อัตลักษณ์ชาติพันธุ์ไม่ได้มีลักษณะตายตัว ทั้งนี้เนื่องจาก ประการแรก อัตลักษณ์ชาติพันธุ์เป็นสิ่งที่ถูก เลือกสรรขึ้นอยู่กับว่าคนในกลุ่มเราหรือคนนอกกลุ่มเราจะเลือกหยิบเอาแง่มุมใดในวัฒนธรรมหรือลักษณะเฉพาะ ทางกายภาพบางประการ มาใช้บ่งชี้ความเป็นชาติพันธุ์ ประการที่สอง อัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์เป็นสำ�นึกที่สร้างขึ้น มาได้และถูกทำ�ลายได้ ประการทีส่ าม อัตลักษณ์ชาติพนั ธุเ์ ป็นผลมาจากการต่อรองทางการเมือง ไม่ใช่สงิ่ ทีท่ กุ คนใน สังคมเดียวกันจำ�เป็นที่จะต้องเห็นพ้องต้องกัน หรือยอมรับร่วมกันเหมือนกันหมด อัตลักษณ์ชาติพันธุ์ของกลุ่มชาติ พันธุ์หนึ่งๆ จึงมีลักษณะเป็นกระบวนการ มีความเปลี่ยนแปลงแตกต่างกันไปในแต่ละช่วงเวลาของประวัติศาสตร์ อัตลักษณ์ชาติพันธุ์จินตนาการขึ้นมาจากภาษา จึงมีลักษณะเป็นกระบวนการเช่นกัน หากเป็นดังนั้น ภาษาจึงเป็นดังที่ Susan Gal นักมานุษยวิทยาภาษากล่าวไว้ว่า “ไม่เพียงชุมชนต่างๆ จะเป็น สิ่งที่ถูกจินตนาการขึ้นมา [ดังที่เบเนดิก แอนเดอร์สันว่าไว้] “ภาษาก็เป็นสิ่งที่ถูกจินตนาการขึ้นมาก่อนที่ความเป็น เอกภาพของมันจะบรรลุผลทางสังคม” (Gal 1998:325) การคิดคำ�นึงและการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษา จึงมีความ สำ�คัญต่ออัตลักษณ์ชาติพนั ธุ์ สิง่ เหล่านีร้ วมเรียกว่า “อุดมการณ์ของภาษา” (language ideologies) อันได้แก่ “ชุดความ เชื่อเกี่ยวกับภาษาที่ผู้ใช้ภาษานำ�มาใช้ได้ความชอบธรรมต่อโครงสร้างและการใช้ภาษา[ตลอดจน] การเปลี่ยนแปลง 3 ภายหลัง the theory of meaning หันไปเน้นที่ ethnography of speaking มากขึ้น ทำ�ให้การคิดขึ้นกับทั้ง context และชุดคำ� ศัพท์และไวยากรณ์ ไม่ใช่ context-free ดังในอดีตที่ทั้ง Sapir-Whorf และ Saussurean structuralism หรือแม้แต่ที่ Lakoff เสนอ ดู Hymes 1970 และ Bauman 1996


187

ตัวอย่างที่เห็นกันได้ทั่วไปคือ กรณีการแบ่งแยกภาษาอังกฤษออกเป็นภาษาอังกฤษแบบ British และแบบ American ที่ไม่เพียงการออกเสียงในภาษา แต่การสะกดคำ�ในภาษาเขียนยังแสดงถึงความพยายามแบ่งแยกความ เป็นอัตลักษณ์ของภาษา ตัวอย่างที่ใกล้ตัวยิ่งกว่านั้นได้แก่ ภาษาไทยที่ทางราชการกำ�หนด ความพยายามสร้าง ลักษณะเฉพาะตัวที่แตกต่างจากภาษาไทยถิ่นและภาษาไทยที่คนใช้ในชีวิตประจำ�วัน เช่น การออกเสียงควบกลํ้า การออกเสียง ร แบบรัวลิ้น และการใช้ภาษาสุภาพ ลักษณะของการใช้ภาษาเหล่านี้ สร้างบรรทัดฐานของภาษาและ ทำ�ให้สำ�เนียงราชการมีฐานะเหนือว่าภาษาไทยสำ�เนียงอื่น ตลอดจนทำ�ให้ภาษาไทยสำ�เนียงราชการเป็นอัตลักษณ์ ของความเป็นชาติไทย การสร้ า งอั ต ลั ก ษณ์ ช าติ พั น ธุ์ุ ข องภาษาไม่ ไ ด้ เ ป็ น สิ่ ง ที่ เ กิ ด ขึ้ น มาอย่ า งฉั บ พลั น อุ ด มการณ์ ข องภาษา เป็นกระบวนการที่ยาวนาน ประกอบไปด้วยการจิตนาการและการสร้างปฏิบัติการของการใช้ภาษาในสามลักษณะ (Gal 1998: 328) ประการแรก คือ กระบวนการสร้างภาพตัวแทน (iconization) ในกระบวนการนี้ ความแตกต่างของ ภาษาที่ถูกนำ�มาใช้เป็นดัชนีบ่งชี้ความแตกต่างของสังคมได้กลายมาเป็นภาพตัวแทนความแตกต่างของสังคม การ สร้างภาพตัวแทนสังคมด้วยองค์ประกอบของภาษาได้เลือกหยิบเอาลักษณะบางอย่างของภาษามาใช้แสดงว่าเป็น ลักษณะเฉพาะของสังคม ประการที่สอง คือ กระบวนการแบ่งแยกความแตกต่างของสังคมเพิ่มซํ้าขึ้น (recursiveness) เป็นการแยกอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ของภาษาออกมาจากความแตกต่างประการแรก ทำ�ให้เกิดเป็นกลุ่มย่อยของ ภาษาและอัตลักษณ์ของภาษา ประการที่สาม คือ การลบล้างภาษา (erasure) เป็นการทำ�ลายให้ภาษาสาบสูญไป จากการศึกษาประวัติศาสตร์ภาษาไต (Tai หรือ Thái ในภาษาเวียดนาม) สำ�เนียงต่างๆ ในเวียดนาม ผู้ เขียนพบว่ากระบวนการของการสร้าง (และการทำ�ลาย) อัตลักษณ์ภาษาไตถิ่นต่างๆ มีลักษณะสอดคล้องกันกับ กระบวนการดังกล่าวอย่างสลับซับซ้อน และเป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวพันอย่างยิ่งกับความเปลี่ยนแปลง ทางการเมืองในท้องถิ่นของชาวไตเองและความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองประเทศเวียดนาม ยกตัวอย่างเช่น ในยุค ก่อนการเปลีย่ นแปลงการปกครองเป็นสังคมนิยม ชุมชนไตก่อนและระหว่างยุคอาณานิคมฝรัง่ เศส แบ่งออกเป็นกลุม่ ย่อย อย่างน้อย 3 สำ�เนียงถิ่นฐานใหญ่ๆ ได้แก่ ไตดอน (White Tai) ไตดำ� (Black Tai) และไตแดง (Red Tai) สำ�เนียง ต่างๆ เหล่านี้แตกต่างกันไม่ว่าจะในแง่ของการใช้พยัญชนะ สระ และเสียงวรรณยุกต์ แม้ว่าชาวไตในทั้งสามถิ่นจะ พูดภาษาได้หลากหลายภาษาและมีจำ�นวนหนึง่ ทีส่ ามารถพูดภาษาถิน่ ไตได้หลากหลายถิน่ แต่วา่ ภาษาถิน่ หลักทีค่ น ไตแต่ละถิน่ ใช้บง่ ชีส้ ร้างภาพตัวแทนความแตกต่างระหว่างกัน คือ สำ�เนียงหลักทัง้ สามดังกล่าว (Yukti 2007:141-182) นอกจากนัน้ ผูเ้ ขียนพบว่าการแบ่งแยกสำ�เนียงพูดดังกล่าว สอดคล้องกับอำ�นาจการปกครองและการสืบทอด อำ�นาจทางการเมืองของชนชัน้ นำ�ชาวไตในเวียดนาม นอกจากนัน้ ในแต่ละกลุม่ เองยังมีกระบวนการแยกย่อยสำ�เนียง ถิ่น เช่น ถิ่นไตดอน แยกย่อยออกเป็นไตดอนเมืองไลและไตดอนเมืองซอ ในทางการเมือง ทั้งสองเมืองนี้เกี่ยวข้อง กัน หากแต่ช่วงชิงการเป็นผู้นำ�กันอย่างเข้มข้น ในทำ�นองเดียวกัน ไตแดงก็แยกย่อยออกเป็นไตแดงถิ่นต่างๆ ที่มี การแข่งขันอำ�นาจทางการเมืองของชนชั้นนำ�ระหว่างเมืองไตแดงเหล่านั้นเช่นกัน แต่สำ�หรับภาษาต่างๆ ที่กลุ่มชาติ พันธุอ์ นื่ ๆ ใช้กนั ด้วยกระบวนการกลืนกลายทำ�ให้กลุม่ ชนกลุม่ ต่างๆ ทีอ่ าศัยในชุมชนชาวไตกลายเป็นแรงงานทำ�งาน รับใช้ชนชั้นนำ�ชาวไต ภาษาของพวกเขาจึงถูกทำ�ให้สญ ู หายไป จนปัจจุบันแทบจะหาคนพูดภาษาเหล่านั้นไม่ได้บาง ถิ่น (Yukti 2007: 141-182)

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

ทางสังคมและความสัมพันธ์เชิงอำ�นาจที่สอดแทรกอยู่ในกระบวนการใช้ภาษา (Woolard and Schieffelin 1994:57-58) ในการนี้ ภาษาและองค์ประกอบบางส่วนของภาษาจึงถูกนำ�มาใช้บง่ ชีอ้ ตั ลักษณ์ชาติพนั ธุไ์ ด้พร้อมๆ กับการสร้างอัต ลักษณ์ชาติพันธุ์จากภาษาดังกล่าว ยังเป็นกระบวนการของความสัมพันธ์เชิงอำ�นาจ ตลอดจนการสร้างอัตลักษณ์ ชาติพันธุ์ จากภาษาดังกล่าวยังนำ�มาซึ่งการกำ�หนดแนวทางการใช้ภาษาให้กับผู้คนในสังคม ทั้งนี้เพื่อแบ่งแยกเราเขา ในปฏิบัติการของการใช้ภาษา


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

188

หากแต่ว่า เวียดนามในยุคสมัยใหม่หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองไปเป็นสังคมนิยม เกิดกระบวนการจัด จำ�แนกอัตลักษณ์จากภาษาขึน้ ใหม่ เนือ่ งจากรัฐเวียดนามเหนือต้องการสนับสนุนให้ชนกลุม่ น้อยใช้ภาษาของตนเอง เป็นสือ่ การเรียนการสอนในโรงเรียน เป็นการทำ�ให้ภาษาชนกลุม่ น้อยเป็นภาษาทางราชการในถิน่ นัน้ ๆ ชาวไตเองก็ได้ รับสิทธิดังกล่าวเช่นกัน แต่เนื่องจากรัฐเวียดนามขณะนั้นจำ�เป็นต้องเลือกภาษาไตดำ� เนื่องจากเป็นกลุ่มคนที่ช่วย เหลือพรรคคอมมิวนิสต์ในสงครามขับไล่ฝรัง่ เศสมากทีส่ ดุ ในยุคทศวรรษ 1950s - 1960s ภาษาไตดำ�จึงกลายเป็นภาพ ตัวแทนภาษาไตทั้งมวล ในขณะเดียวกับที่ภาษาไตดำ�และภาษาไตทั้งหมดถูกนับว่าเป็นภาษาย่อยๆ ในภาษาต่างๆ ในยุคนี้ รัฐเวียดนามใช้เกณฑ์ในการจัดจำ�แนกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในประเทศ พร้อมๆ กันนั้นชาวไตกลุ่มย่อยอื่นๆ ทั้งไตดอนและไตแดงต่างก็เริ่มกังวลว่าภาษาถิ่นและวรรณคดีของพวกตนจะสูญหายไป (Yukti 2007: 260-313) จะเห็นได้ว่า การสร้างอัตลักษณ์กลุ่มชาติพันธุ์จากภาษาเป็นกระบวนการที่สลับซับซ้อน และสามารถส่งผล เปลี่ยนแปลงสถานะของภาษาได้เสมอ ที่สำ�คัญ คือ ความเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นเกิดขึ้นมาจากกระบวนการทางการ เมืองที่คัดเลือกสร้างขึ้นใหม่ แยกย่อย และหลายครั้งที่เป็นการทำ�ลายความหลากหลายของภาษา ประเด็นที่สำ�คัญ สำ�หรับการพิจารณาในที่นี้คือ เนื่องจากภาษาไม่ได้เป็นเพียงสื่อกลางสำ�หรับการสื่อสาร การดำ�เนินนโยบายภาษา ใดๆ ก็ตาม จึงไม่ได้มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงเฉพาะตัวภาษา หากแต่ยังเกี่ยวพันกับจินตนาการที่ผู้คนมีต่อตนเอง และผู้อื่น พร้อมๆ กับที่นโยบายภาษาได้สร้างชุมชนภาษาและจิตนาการชุมชนหนึ่งๆ ขึ้นมา มันได้ก่อให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงที่อาจถึงกับทำ�ลายชุมชนภาษาและจิตนาการชุมชนต่างๆ ลงไป นโยบายภาษาใน รัฐ-ชาติ สมัยใหม่ ต่างๆ จึงมักก่อให้เกิดความขัดแย้งที่อาจเป็นชนวนของความรุนแรงระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ได้เสมอ ความขัดแย้งดัง กล่าวเกิดขึ้นทั้งเพื่อที่กลุ่มชาติพันธุ์ุแต่ละกลุ่มจะยังคงต้องการรักษาอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ของภาษาตนเองไว้ เพื่อต่อ ต้านการครอบงำ�ของอุดมการณ์ภาษาของรัฐและกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ และเพื่อสร้างอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ของภาษาขึ้น ใหม่ ความสลับซับซ้อนของกระบวนการดังกล่าวจะมีมากขึ้นเมื่อโลกก้าวเข้าสู่ยุคแห่งภาวะไร้ถิ่นฐานที่การถ่ายเท ของสิ่งต่างๆ ข้ามถิ่นเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว

ภาษาและนโยบายภาษาในภาวะไร้ถิ่นฐาน อรชุน อัพปาดูราย นักมานุษยวิทยาผู้โด่งดัง ขนาดนามโลกยุคปัจจุบันว่าเป็น “ยุคสมัยใหม่ขนาดมหึมา” (modernity at large) ลักษณะพิเศษของโลกยุคนี้ ได้แก่ การที่ถิ่นฐานต่างๆ ล้วนถูกคุกคาม แทรกซึมจากถิ่นฐานอื่นๆ ทั้งการเคลื่อนไหวของผู้คนข้ามถิ่นฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการอพยพของผู้คนและแรงงาน การเคลื่อนย้ายของเงิน ทุน สื่อและเทคโนโลยีที่เอื้อต่อการไหลเวียนของผู้คน เงินทุน และอุดมการณ์ ความเคลื่อนไหวดังกล่าวล้วนแผ่ซ่าน ครอบคลุมไปทั่วโลก ทำ�ให้ถิ่นฐานที่เคยมีอยู่ ที่เคยยึดมั่นกันอยู่เสื่อมพลังลงไป โลกาภิวัตน์นั้นครอบคลุมแผ่ซ่านไป ทั่วโลก ทั้งปริมณฑลของสังคม ชนชาติ เศรษฐกิจ การสื่อสาร เทคโนโลยี ความรู้และวัฒนธรรม (Appadurai 1996) ในภาวะดังกล่าว นักภูมิศาสตร์มาร์กซิสต์ผู้โด่งดังอย่าง เดวิด ฮาร์วี เห็นว่า ภาวะเช่นนี้นำ�ระบบโลกก้าวเข้าสู่ภาวะ หลังสมัยใหม่ที่สำ�คัญ คือ การที่โลกยุคนี้เกิดการย่นย่อของเวลาและพื้นที่ (time-space compression) (Harvey 1989) อย่างไรก็ดี ในด้านหนึง่ ภาวะไร้ถนิ่ ฐานสัน่ คลอนความมัน่ คงของถิน่ ฐานชุมชนรัฐ ทำ�ให้อ�ำ นาจและความเป็น ชุมชนรัฐ-ชาติอ่อนล้าลง (Hardt and Negri 2000; ไชยรัตน์ 2549) แต่ในอีกด้านหนึ่ง ภาวะไร้ถิ่นฐานกระตุ้นให้ท้อง ถิ่นและความเป็นถิ่นฐานกลับตื่นตัวต่ออัตลักษณ์ตนเองมากยิ่งขึ้น ดังเช่นปฏิกิริยาตอบโต้ต่อโลกาภิวัตน์ในลักษณะ fundamentalism ทีเ่ กิดขึน้ ทัว่ โลก ในแง่ของการเมืองอัตลักษณ์ชาติพนั ธุแ์ ละภาษา ผูเ้ ขียนมองว่าภูมศิ าสตร์ของภาษา ชุมชน ภาษาอุดมการณ์ของภาษา และจินตนาการชุมชนชาติพันธุ์ผ่านภาษาไม่ได้ถูกย่นย่อ ยุบรวมให้ควบแน่น เช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นกับการไหลเวียนของทุน สินค้า และอุดมการณ์ในแบบที่ฮาร์วีเสนอ ตรงกันข้าม ในยุคภาวะไร้ ถิ่นฐานภูมิศาสตร์ของภาษาและชุมชนในจินตนาการของภาษาเกิดการซ้อนทับ เบียดเสียดและอาจจะปะทะกันของ อุดมการณ์ภาษาและอัตลักษณ์ชาติพันธุ์มากยิ่งขึ้น


189

แต่เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงในโลกยุคไร้ถิ่นฐานที่การเคลื่อนย้ายของคน สินค้า ทุน และวัฒนธรรมข้าม พรมแดนมีความเข้มข้นมากยิ่งขึ้น ตัวอย่างจากหลายๆ รัฐในปัจจุบันชี้ว่า ไม่สามารถคงนโยบายภาษาดังเดิมไว้ได้ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดกรณีหนึ่งคือประเทศสหรัฐอเมริกา เดิมทีสหรัฐฯ ไม่ได้ประกาศนโยบายภาษาอย่างชัดเจน แต่ กระนั้นก็ตาม แนวปฏิบัติทั่วไปส่อไปในทางที่เห็นได้ว่า สหรัฐฯดำ�เนินนโยบายเอกภาษา ถือว่าภาษาอังกฤษแบบ อเมริกนั เป็นภาษากลางทีพ่ ลเมืองทุกคนต้องรู้ สำ�หรับภาษาอืน่ ๆ รัฐบาลสหรัฐฯไม่ได้กดี กัน หากแต่การใช้ควรเป็นไป อย่างจำ�กัดและรัฐไม่ได้สนับสนุนเป็นพิเศษ หากแต่ตั้งแต่ทศวรรษ 1960s เป็นต้นมา เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง ประชากรผูอ้ พยพอย่างสำ�คัญ ประชากรผูใ้ ช้ภาษาสเปนไหลทะลักจากแมกซิโกและทะเลแคริบเบียนเป็นจำ�นวนมาก จนกระทั่งรัฐบาลท้องถิ่นจำ�เป็นต้องให้บริการสาธารณะหลายๆ ด้านเป็นภาษาสเปน (Esman 1992:384) ในปัจจุบนั หลายๆ รัฐทีม่ ชี ายแดนติดอเมริกากลางและแคริบเบียน จำ�เป็นต้องเรียกร้องให้เจ้าหน้าทีร่ ฐั รูภ้ าษา สเปน ในขณะเดียวกันกับทีภ่ าษาสเปนกำ�ลังเป็นภาษาทีข่ ยายบทบาทไปทัว่ สหรัฐฯ อิทธิพลของภาษาสเปน ประการ หนึ่ง สามารถดูได้จากความนิยมที่มีต่อดนตรีและนักร้องเพลงภาษาสเปนในสหรัฐฯ ทุกวันนี้มีการจัดประกวดดนตรี ที่ยิ่งใหญ่และสำ�คัญระดับเดียวกับ Grammy Awards เรียกว่า Latin Grammy Awards ที่ให้รางวัลเพลงภาษาสเปนที่ ส่งเข้าประกวดจากทั่วโลก รายการนี้จัดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 ณ สถานี Columbia Broadcasting System (CBS) ฉะนั้น ผู้คนอพยพที่แต่เดิมต้องยอมรับที่จะถูกลืนกลายให้เข้ากับ “melting pot” ในปัจจุบันพวกเขามีอำ�นาจ ต่อรองในการธำ�รงและสร้างสรรค์ชมุ ชนภาษาและอัตลักษณ์ของตนเองไว้ได้ โลกไร้ถนิ่ ฐานบีบบังคับให้ไม่เพียงรัฐบาล แต่ยังรวมถึงภาคประชาสังคมสหรัฐฯ จำ�ต้องยอมรับภาษาของผู้อพยพ กรณีสหรัฐฯแสดงให้เห็นว่า รัฐ-ชาติ ที่เคย ดำ�เนินนโยบายเอกภาษา เพือ่ สร้างเอกภาพของคนในชาติ กลับต้องยอมรับทีจ่ ะปรับเปลีย่ น ผ่อนปรนให้กบั นโยบาย พหุภาษา แม้จะในบางท้องถิ่นเท่าที่จำ�เป็นก็ตาม4 อันที่จริงในสหรัฐฯ มีชาวอินเดีย ชาวเอเชียตะวันออก และชาว ยุโรปหลากหลายชุมชนภาษาในหลายๆ มหานคร ที่มีหนังสือพิมพ์และวรรณกรรมตีพิมพ์ด้วยภาษาและอักขระของ ตนเองอย่างสมํ่าเสมออยู่แล้ว เพียงแต่ในขนาดไม่ใหญ่เท่ากรณีภาษาสเปน จึงน่าสนใจว่าในอนาคต เป็นไปได้หรือ ไม่ที่ชุมชนภาษาอื่นๆ จะสามารถต่อรองสร้างชุมชนภาษาของตนที่เข้มแข็งขึ้นมาเช่นเดียวกันกับชุมชนภาษาสเปน ไม่เพียงแต่ประเทศเอกภาษาอย่างสหรัฐอเมริกาที่ได้รับผลกระทบ ประเทศที่สืบทอดนโยบายพหุภาษาอย่าง ต่อเนือ่ งอย่างสาธารณะรัฐสังคมนิยมเวียดนามก็ยงั ได้รบั ผลกระทบจากภาวะไร้ถนิ่ ฐาน เวียดนามดำ�เนินนโยบายพหุ ภาษามาตัง้ แต่เปลีย่ นการปกครองจากระบบศักดินา ภายใต้อ�ำ นาจของเจ้าอาณานิคมฝรัง่ เศสมาเป็นระบบสังคมนิยม เมื่อปี พ.ศ. 2497 หากแต่ในแต่ละยุคในแต่ละท้องถิ่นมีความเข้มข้นของนโยบายแตกต่างกัน

4 อย่างไรก็ดี ไม่ได้หมายความว่าบางส่วนของสังคมและภาครัฐจะไม่แสดงความขุ่นเคืองต่อปรากฏการณ์ดังกล่าว

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

ชุมชนรัฐ-ชาติ ล้วนเกิดมาจากความหลากหลายทางภาษาและชาติพันธุ์ ในระยะที่ภาวะของความไร้ถิ่นฐาน ยังไม่ได้คุกคามอำ�นาจรัฐอย่างรุนแรงเช่นในปัจจุบัน ปัญหาสำ�คัญของรัฐ-ชาติ ในอดีตยังคงอยู่ที่ทางสองแพร่ง ระหว่างการสร้างชุมชนรัฐ-ชาติที่เป็นชุมชนภาษาแบบเอกภาษา (unilingualism) หรือพหุภาษา (multilingualism) เช่น กรณีประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขณะที่สิงค์โปร์ อินโดนีเชีย และมาเลเชียดำ�เนินนโยบายพหุภาษา ประเทศไทยเลือกดำ�เนินนโยบายเอกภาษา (Esman 1990) ในเอเชียใต้ อินเดียเป็นตัวอย่างคลาสสิกของการเลือกใช้ นโยบายพหุภาษา โดยอาศัยภาษาเจ้าอาณานิคมซึ่งถือว่าเป็นภาษาที่ปลอดจากอคติชาติพันธุ์ภายในอินเดีย เพื่อ ลดความขัดแย้งเป็นหนึ่งในภาษาทางการ นี่เป็นวิธีการเดียวกับที่ประเทศในทวีปแอฟริกาอย่างแอฟริกาใต้เลือกใช้ ส่วนในทวีปอเมริกา ประเทศแคนาดาเป็นตัวอย่างที่ดีของประเทศที่ใช้นโยบายพหุภาษาในยุโรป ขณะที่ฝรั่งเศสใช้ นโยบายเอกภาษามาตั้งแต่ยุคปฏิวัติฝรั่งเศส หลายประเทศในยุโรป เช่น สหภาพโชเวียตแต่เดิมและสวิสเซอร์แลนด์ เลือกใช้นโยบายพหุภาษา (Esman 1992)


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

190

เหตุที่เวียดนามดำ�เนินนโยบายพหุภาษาตั้งแต่แรกเริ่มก่อตั้งรัฐ-ชาติหลังยุคอาณานิคม เพราะโครงสร้างของ ชุมชนภาษาในเวียดนามเป็นชุมชนพหุภาษา แม้ว่าในแง่ของจำ�นวนประชากร ชุมชนผู้ใช้ภาษาที่แตกต่างออกไป จากภาษาของชนกลุ่มใหญ่ของประเทศคือชาวเวียด จะนับได้เพียงประมาณ 15% ของประชากรเวียดนามทั้งหมด แต่กลุ่มชนเหล่านี้อาศัยอยู่ในพื้นที่สูงภาคเหนือ ภาคกลางและพื้นที่ราบภาคใต้ เป็นพื้นที่เกินกว่าครึ่งหนึ่งของพื้นที่ ประเทศ ที่สำ�คัญยิ่งกว่า นั้นคือ การสร้างรัฐ-ชาติเวียดนาม อาศัยการก่อตัวโอบล้อมจากชุมชนพหุภาษาเหล่านี้ เพื่อ เข้ายึดฐานที่มั่นสำ�คัญๆ ของเจ้าอาณานิคมฝรั่งเศสและอเมริกัน อย่างไรก็ดีรัฐสังคมนิยมเวียดนามถือว่า ภาวะพหุ ภาษาไม่ใช่ภาวะที่จะดำ�รงอยู่ได้ตลอดไป เป้าหมายปลายทางของนโยบาย คือ การสร้างชุมชนเอกภาษาในที่สุด แรกทีเดียว เมื่อปี พ.ศ. 2498 เป็นต้นมา เวียดนามเหนือจัดตั้งเขตปกครองตนเองสามเขต ทางพื้นที่สูงด้าน ตะวันตกหนึง่ เขต พืน้ ทีส่ งู ด้านตะวันออกหนึง่ เขต และพืน้ ทีส่ งู ใกล้ทรี่ าบลุม่ แม่นาํ้ แดงอีกหนึง่ เขต เขตปกครองตนเอง เหล่านีจ้ ดั การเรียนการสอนเป็นภาษากลุม่ ชาติพนั ธุท์ เี่ ป็นกลุม่ ชาติพนั ธุท์ มี่ จี �ำ นวนมากในแต่ละเขตปกครอง เช่น “เขต ปกครองตนเองภาคตะวันตกเฉียงเหนือ” จัดการเรียนการสอนเป็นภาษาไตและภาษาม้ง ส่วนเขตปกครองตนเองภาค ตะวันออกจัดการเรียน การสอนเป็นภาษาไต่และภาษาม้ง5 นอกจากนั้นยังส่งเสริมการใช้ภาษาชนกลุ่มน้อย ให้เป็น ภาษาราชการ สามารถใช้ในกิจการของรัฐด้านต่างๆ ควบคู่กันไปกับภาษาเวียดนาม รัฐยังได้จัดพิมพ์หนังสือพิมพ์ ภาษาและอักษรไตเผยแพร่ในเขตปกครองตนเอง อย่างไรก็ดี ในระยะเวลาดังกล่าวรัฐเวียดนามเหนือก็ประสบปัญหามากมาย ในการดำ�เนินนโยบาย ดังกล่าว เนื่องจากในแต่ละเขตปกครองตนเอง ล้วนมีกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ หลากหลายกลุ่มและในกลุ่มชาติพันธุ์ขนาดใหญ่ ของพื้นที่เขตปกครองตนเอง ก็ยังแยกย่อยออกเป็นหลายกลุ่มย่อย เช่นทางตะวันตกเฉียงเหนือมีกลุ่มชาติพันธุ์ไต ม้ง เย้า ขมุ ลื้อ ไหย หม่าง ห่าหยี่ ฯลฯ กลุ่มไตมีทั้งไตดอน ไตดำ� ไตแดง ม้ง มีม้งดำ� ม้งขาว “ม้งฮวา” ฯลฯ ทำ�ให้ เกิดความขัดแย้งขึ้นทั้งระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์และระหว่างกลุ่มย่อยในแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ เนื่องจากรัฐไม่สามารถจัด ให้มกี ารเรียนการสอนภาษาของแต่ละกลุม่ ชาติพนั ธุ์ และกลุม่ ย่อยของแต่ละกลุม่ ชาติพนั ธุย์ งั ไม่พอใจทีภ่ าษาถิน่ ของ ตน ไม่ได้รับการคัดเลือกเป็นภาษามาตรฐาน จนกระทั่งถึงพ.ศ. 2518 เมื่อรัฐบาลสังคมนิยมทางเหนือชนะสงคราม ที่รบกันยาวนานกับสหรัฐอเมริกาและประสบความสำ�เร็จในการรวมประเทศ การสอนภาษาชนกลุ่มน้อยในพื้นที่เขต ปกครองตนเองจึงได้ถูกยกเลิกไป พร้อมๆ กับการยกเลิกการปกครองในระดับเขตปกครองตนเอง แต่รัฐเวียดนามยัง คงรับรองสิทธิในการใช้ภาษาและอักษรชนกลุม่ น้อยไว้ในมาตราแรกๆ ของรัฐธรรมนูญ เพียงแต่วา่ รัฐไม่ได้จดั ให้มกี าร เรียนการสอนอย่างเป็นระบบดังเช่นที่เคยเป็นมา เกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในเวียดนามขึ้นอีกครั้งหนึ่งในปี พ.ศ. 2529 เมื่อเวียดนามยกเลิกนโยบาย สังคมนิยมและหันหัวเรือประเทศเข้าสู่ระบบทุนนิยมอย่างค่อนข้างเต็มตัว รัฐยอมให้เอกชนดำ�เนินธุรกิจด้วยตนเอง มีทรัพย์สินส่วนตัวได้ แสวงหากำ�ไรได้ ตลอดจนซื้อขายที่ดินครอบครองที่ดินได้ หากแต่การเปลี่ยนแปลงนี้เป็นไปใน ทางเศรษฐกิจเป็นหลัก รัฐเวียดนามยังคงสงวนการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองให้รวมศูนย์อยู่ที่พรรคฯดังเดิม และยัง คงควบคุมนโยบายวัฒนธรรม และอุดมการณ์อย่างเข้มงวด ผู้เขียนบอกไม่ได้ชัดเจนว่าการเปลี่ยนแปลงนี้กระทบต่อ นโยบายภาษาอย่างตรงไปตรงมาอย่างไร หากแต่หลังจากการปรับเปลี่ยนนโยบายเศรษฐกิจดังกล่าวแล้ว เกิดความ เคลื่อนไหวสำ�คัญๆ ต่อนโยบายภาษาในเวียดนามสองประการ ประการแรก มีความช่วยเหลือทางการเงินจากต่างประเทศทัง้ จากเอกชน รัฐบาล และจากชุมชนกลุม่ ชาติพนั ธุ์ ส่วนน้อย เวียดนามพลัดถิ่นที่หนีจากประเทศไปในช่วงที่ประเทศกลายเป็นสังคมนิยม เงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ เหล่านีห้ ลัง่ ไหลเข้าประเทศเวียดนามจำ�นวนมาก ส่วนหนึง่ เป็นเงินทีอ่ งค์การระหว่างประเทศเข้ามาผลักดันให้ชนกลุม่ 5 ส่วนในเวียดนามใต้ซงึ่ ในขณะนัน้ เป็นอีกประเทศหนึง่ ต่างหาก ดำ�เนินนโยบายเอกภาษาและพยายามกลืนกลายชนกลุม่ น้อย ในทางวัฒนธรรมอย่างเข้มข้น ในแง่นี้ นโยบายของเวียดนามเหนือจึงเป็นนโยบายที่ใช้หว่านล้อม โน้มน้าวให้ชนกลุ่มน้อย ทางภาคใต้เห็นว่า รัฐบาลคอมมิวนิสต์ให้ความสำ�คัญต่อสิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ มากกว่ารัฐบาลเสรีนิยมทางภาคใต้


191

ประการที่สอง เงินที่ช่วยเหลือส่วนหนึ่งเข้ามาเพื่อแสดงความกระด้างกระเดื่องต่อระบบคอมมิวนิสต์ ที่ยังคง รวมศูนย์อ�ำ นาจอยูก่ ารก่อการต่อต้านรัฐบาลครัง้ ใหญ่ทสี่ ดุ หลังจากการสิน้ สุดลงของสงครามเวียดนามได้แก่ การเดิน ขบวนประท้วงเรือ่ งสิทธิทางศาสนาและสิทธิการถือครองทีด่ นิ ของกลุม่ ชาติพนั ธุส์ ว่ นน้อยในทีร่ าบสูงภาคกลาง (Central Highlands) เมื่อปี 2543 และ 2546 หลังจากนั้นมา รัฐเวียดนามได้ทบทวนรื้อฟื้นนโยบายพหุภาษา นัยว่าอย่างน้อย เพื่อที่เจ้าหน้าที่รัฐ จะได้สามารถสื่อสารกับกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ได้อย่างตรงไปตรงมามากขึ้น สาระสำ�คัญของนโยบายภาษายุคใหม่ของเวียดนามได้แก่ การจัดการเรียนการสอนภาษาและอักษรชนกลุ่ม น้อยให้แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ปฏิบัติภารกิจในพื้นที่ๆ ชนกลุ่มน้อยอาศัยอยู่ นอกจากนั้นในบางถิ่น รัฐยังจัดให้มีการ เรียนการสอนภาษาชนกลุ่มน้อยในฐานะวิชาเสริมหรือวิชาเลือก พร้อมทั้งจัดทำ�แบบเรียนภาษาชนกลุ่มน้อยด้วย อักษรที่ออกแบบโดยนักวิชาการของรัฐ จะเห็นได้ว่า เมื่อชุมชนพลัดถิ่นในปัจจุบันกลับมามีอิทธิพลและเมื่อพลังท้องถิ่นจับมือกับโลกาภิวัตน์ท้าทาย รัฐ-ชาติ รัฐที่รวมศูนย์อำ�นาจอย่างเบ็ดเสร็จอย่างเวียดนามก็จำ�เป็นต้องรื้อฟื้น การดำ�เนินนโยบายพหุภาษาอย่าง จริงจังขึ้นมา ในปัจจุบันผู้เขียนได้เข้าร่วมสังเกตการณ์ด้วยตนเอง และพบว่าในหมู่บ้านต่างๆ ในพื้นที่สูงภาคเหนือ และภาคกลาง รวมถึงกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในที่ราบลุ่มนํ้าโขงทางภาคใต้ ทั้งชาวจาม ชาวจีน และชาวขแมร์ ผู้คนที่ เป็นสมาชิกกลุ่มชาติพันธ์ุต่างๆ ต่างก็มีส่วนร่วมในการสร้างนโยบายและดำ�เนินนโยบายพหุภาษาด้วยตนเองอย่าง แข็งขัน จึงน่าสังเกตว่า นอกจากชุมชนภาษาจะได้รับการรื้อฟื้นหรือสร้างขึ้นใหม่ในบางกรณีแล้ว ผู้คนที่รับผลของ นโยบายยังเป็นผู้ร่วมปฏิบัติการอย่างจริงจังด้วย6 จากทั้งสองกรณีข้างต้น แสดงให้เห็นว่าทางเลือกสำ�หรับนโยบายภาษาในแต่ละประเทศ ไม่ได้จำ�เป็นต้อง เป็นนโยบายเอกภาษาหรือพหุภาษาอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น เมื่อเผชิญกับภาวะไร้ถิ่นฐาน รัฐ-ชาติบางรัฐปรับตัว ด้วยการยอมรับ ผ่อนปรนตามความต้องการของประชาสังคม ทั้งนี้เพื่อลดแรงกดดันที่อาจเป็นเงื่อนไขนำ�ไปสู่ความ ขัดแย้งและความรุนแรงในที่สุด

ชุมชนชาติไทยหลากสำ�เนียงหลายภาษา นับตัง้ แต่เกิดชุมชนรัฐ-ชาติ สยามและไทยเป็นต้นมา ประเทศไทยเลือกดำ�เนินนโยบายเอกภาษา ประเทศไทย นำ�เอาภาษาและจินตนาการชุมชนภาษาเดีย่ วมาครอบลงบนความหลากหลายของชุมชนภาษาและอักษร ภาษาไทย ถิ่นกรุงเทพถูกถือว่าเป็น “ภาษากลาง” บังคับให้ทุกคนทั่วประเทศพูด เมื่อดูโครงสร้างความหลากหลายของภาษา จะพบว่าประชากรในประเทศไทย เพียงไม่เกินร้อยละ 25 ที่พูดภาษาไทยสำ�เนียงมาตรฐานหรือภาษาไทยกรุงเทพฯ แต่อีกกว่าร้อยละ 55 พูดภาษาไทยสำ�เนียงอื่นๆ ที่มีเสียงและคำ�ศัพท์เฉพาะท้องถิ่น และประชากรในประเทศไทยอีก เกือบร้อยละ 20 ไม่ได้มีภาษาตระกูลไท/ไตเป็นภาษาแม่ แม้ว่าเขาจะเป็นพลเมืองไทย (Reynolds 1991:95) ยิ่งกว่า นั้น ในปัจจุบันหากเราจะนับรวมผู้ใช้แรงงานข้ามพรมแดนอีกจำ�นวนไม่น่าจะน้อยกว่าร้อยละ 10 ของประชากรทั้ง ประเทศ ทำ�ให้สัดส่วนประชากรที่พูดภาษาไทยกรุงเทพฯ เป็นภาษาแม่มีขนาดเล็กลงไปยิ่งขึ้นอีก ดังนั้นจึงกล่าวได้ ว่า โดยข้อเท็จจริงแล้วชุมชนภาษาของรัฐไทยเป็นชุมชนพหุภาษา คนส่วนใหญ่ในประเทศไทยเป็นคนที่ใช้ภาษาสอง ภาษาขึ้นไป ทั้งภาษากลาง ภาษาไทถิ่น ภาษาตระกูลต่างๆ และภาษาข้ามพรมแดน ภาษาไทยถิ่นกรุงเทพฯเองนั่น แหละที่เป็นภาษาที่สองสำ�หรับคนส่วนใหญ่ของประเทศ 6 ดูรายละเอียดของนโยบายภาษาในเวียดนามเพิ่มเติมได้ใน Yukti 2007: 240-313, 317-321

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

น้อยฟื้นฟู เรียนรู้ภาษาและอักษรของตนเอง แม้ว่าโครงการเหล่านั้นจะเป็นโครงการระยะสั้น แต่ก็ช่วยเริ่มต้นรื้อฟื้น ความสนใจต่อภาษาและอัตลักษณ์ชาติพนั ธุข์ องภาษากลุม่ ชาติพนั ธุต์ า่ งๆ ได้อย่างมีพลัง นอกจากนัน้ โครงการเหล่า นี้ยังช่วยให้คนรุ่นหลังได้เริ่มตระหนักถึงคุณค่าของภาษาและวัฒนธรรมของตนเอง


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

192

ในแง่ของ “ อุดมการณ์ภาษา” การหยิบเอาภาษาไทถิ่นกรุงเทพฯมาบังคับใช้เป็น ภาษากลางและภาษา ราชการของไทยเป็นกระบวนการที่ทั้ง หนึ่ง สร้างภาพแทน “ภาษาไทย/คนไทย” ด้วยภาษาไทถิ่นๆ หนึ่ง สอง ใช้ ลักษณะเฉพาะของภาษาเพื่อสร้างความแตกต่างระหว่าง “คนไทย” กับ “คนชาติอื่น” และ สาม จำ�กัดและอาจถึง กับขจัดความหลากหลายของภาษาในประเทศไทย ประการแรก การหยิบยกเอาพยัญชนะบางตัวมาเป็นภาพแทน“คนไทย/ภาษาไทย” จำ�กัดจินตนาการชุมชน ภาษาและชุมชนชาติไทย ตัวอย่างเช่น เสียงพยัญชนะที่นักภาษาศาสตร์ชาติ/ อำ�นาจนิยมไทยมักเลือกมาเชิดชูคือ อักษร “ร” เราถูกฝึกกันตั้งแต่ยังเล็กยังน้อยในโรงเรียนว่าต้อง ออกเสียง “ร” ให้ชัด บัณฑิตจาก “สำ�นักเทวาลัย” เสาหลักของภาษาศาสตร์ชาติ/ อำ�นาจนิยมแถว สามย่านแทบทุกคนล้วนออกเสียง “ร” อย่างเน้นหนักชัดเจนจนเกิน จริง ในประเทศไทย เสียง “ร” กลายเป็นเสียงบังคับอย่างยิ่งยวดในการสอบเป็นผู้ประกาศข่าววิทยุ-โทรทัศน์ ราวกับ ว่าคนไทยจะสิ้นชาติไปหากว่าออกเสียง “ร” ไม่ชัด ประการที่สอง ภาพแทน “ภาษาไทย/คนไทย” ได้ย้อนมาจำ�แนกแตกต่าง “ภาษาไทย/คนไทย” ออกจาก “ภาษาอื่น/คนชาติอื่น” เช่นในกรณีเสียง “ร” ที่ประเทศไทยเน้นนั้น ไม่ได้เป็นเสียงที่มีความสำ�คัญมากนักหรือเกือบ ไม่มีคนใช้ภาษาไต/ไทถิ่นใดใช้ คนเหนือ คนอีสานในประเทศไทย และคนลาว คนไตในประเทศอื่นๆ มักใช้เสียง “ฮ” มากกว่าเสียง“ร” ประการที่สาม การสร้างภาษาไทยถิ่นหนึ่งขึ้นเป็น “ภาษากลาง” จึงไม่ได้เป็นกระบวนการซื่อๆ เพียงแค่เลือก หยิบเอาภาษาไทถิน่ ใดขึน้ มาอย่าง “เป็นกลาง” แต่เป็นการกระทำ�ความรุนแรง ทัง้ ฆาตกรรม และก่ออัตวินบิ าตกรรม ทางภาษา กระบวนการให้กำ�เนิดภาษากลางในแบบทีป่ ระเทศไทยทำ�ตลอดมาจึงเป็นการฆาตกรรมภาษาและชุมชน พหุภาษาไปด้วยในตัว ทำ�ให้ภาษาเหล่านั้นกลายเป็นภาษาที่เชย ล้าหลัง เป็นการค่อยๆ ฆ่าชุมชนภาษาให้ตายไป หรืออยู่ในภาวะเกือบสูญพันธุ์ ในระดับที่รุนแรงยิ่งกว่านั้น ภาษากลางยังทำ�ให้ผู้พูดภาษาไทถิ่น ภาษาตระกูลต่างๆ ในแดนเราและภาษาข้ามพรมแดน ฆ่าภาษาแม่ตนเองตายอย่างจงใจ เพราะเมื่อภาษากลางสถาปนาขึ้นมามั่นคง แล้ว มันได้ทำ�ให้ภาษาไทถิ่น ภาษาต่างๆ ในแดนเราและภาษาข้ามพรมแดนกลายเป็นภาษาที่คนรุ่นใหม่ ในชุมชน พหุภาษาไม่อยากพูด พูดแล้วอาย รูส้ กึ ล้าหลังเมือ่ พูด ทำ�ให้คนรุน่ ใหม่ไม่อยากสือ่ สารกับคนรุน่ เก่าด้วยภาษาทีไ่ ม่ใช่ ภาษากลาง และรู้สึกว่าคนรุ่นเก่าล้าหลัง ชุมชนชาติไทยในยุคแห่งภาวะไร้ถิ่นฐานจำ �เป็นต้องเร่งหาหนทางลดการฆาตกรรมชุมชนพหุภาษา ลด อัตวินิบาตกรรมต่อภาษาต่างๆ ในชุมชนพหุชาติไทย และปรับนโยบายภาษาเสียใหม่ให้สอดคล้องกับโครงสร้าง ความหลากหลายของชุมชนภาษา พร้อมๆ กับที่เราจะต้องสร้างสรรค์ชุมชนภาษาเพื่อการอยู่ร่วมกันของผู้ใช้ภาษา ที่หลากหลาย ก่อนที่ปฏิบัติการภาษากลางจะเป็นเชื้อไปให้แก่ความรุนแรง ต่อปัญหานี้ ผู้เชี่ยวชาญนโยบายภาษา อย่างมิลตัน เอสแมนเสนอว่า “ให้ใช้เอกภาษาหากเป็นไปได้ ให้ใช้พหุภาษาหากจำ�เป็น แต่ไม่ใช่วา่ จะต้องใช้นโยบาย พหุภาษาเพียงอย่างเดียวโดยสิ้นเชิง” (Esman 1992:395) ตามข้อแนะนำ�ดังกล่าว เราอาจสร้าง “จินตนาการชุมชนชาติหลากสำ�เนียงหลายภาษา” (multilingual imagined community) ขึน้ มาเพือ่ เป็นกรอบหลักของนโยบายภาษา ในจินตนาการนี้ ชุมชนชาติไม่ได้จ�ำ เป็นทีจ่ ะต้องมีเอกภาษา และไม่จำ�เป็นต้องมีเอกภาพทางวัฒนธรรม หากแต่สามารถสื่อสารกันได้พร้อมๆ กับยอมรับความแตกต่างระหว่าง ภาษาและวัฒนธรรม เพือ่ การเรียนรูม้ รดกวัฒนธรรมข้ามภาษา ไม่วา่ จะเป็นภาษาไทถิน่ ภาษาต่างๆ ในแดนเรา หรือ ภาษาข้ามพรมแดน เราอาจแบ่งประเภทของภาษาออกตามจินตนาการหลายชั้นที่ซ้อนทับกันได้ ดังนี้ 1) ชุมชนรัฐ-ชาติ สร้างขึ้นมาจาก “ภาษากลาง” ที่จะต้องรักษาความเป็นกลางโดยไม่มีลักษณะยึดติดกับ ชาติพันธุ์อย่างลำ�เอียง ไม่มีสถานะเหนือกว่า สูงส่ง พิเศษกว่าภาษาไทถิ่น ภาษาต่างๆ ในแดนเราและ ภาษาข้ามพรมแดน ไม่ควรเป็นภาพแทน “ภาษาไทย/ชาติไทย” ที่ตายตัวอีกต่อไป ภาษาไทยกรุงเทพ


193 22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

ควรถูกจินตนาการให้เหมือน Bhasa Indonesia หรือภาษาอังกฤษในอินเดียหรือแอฟริกาใต้ ซึ่งเป็นภาษา ที่ถูกเลือกมาใช้เพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งของอคติต่อภาษา ไม่ใช่เพื่อทำ�ให้ภาษาอื่นๆ ด้อยค่าลงไป หากคนจากถิ่นใด จากชุมชนภาษาข้ามพรมแดนใด พูดภาษากรุงเทพไม่ชัด จะต้องไม่เป็นประเด็นให้ ขบขัน วิพากษ์วิจารณ์ แก้ไขอย่างเอาเป็นเอาตาย และภาษากรุงเทพไม่จำ�เป็นต้องเป็นภาษาเพื่อการ เรียนรู้ระดับสูงเพียงภาษาเดียว 2) ชุมชนภาษาไทถิ่น เช่น ภาษาลาว ภาษาเมือง หรือภาษาไทถิ่นอื่นๆ เช่น ภาษา (ลาว) โซ่ง จะต้องไม่ถูก ทำ�ให้เป็นอื่น ทำ�ให้ด้อยค่ากว่าภาษาไทถิ่นกรุงเทพ ภาษาและวรรณกรรมไทในถิ่นต่างๆ จะต้องได้รับ การสนับสนุนคํ้าจุนจากรัฐ โดยเริ่มต้นจากการส่งเสริมให้ผู้ใช้ภาษาไทถิ่นเป็นภาษาแม่ ได้ศึกษาภาษา และวัฒนธรรมเหล่านั้นอย่างลึกซึ้งตั้งแต่อายุยังน้อย จะต้องไม่กีดกันการใช้ภาษาไทถิ่น ในสื่อมวลชน ในโรงเรียน และในที่สาธารณะอื่นๆ หากไม่ถึงกับจะเป็นการทำ�ให้การสื่อสารข้ามภาษาไทถิ่นบิดเบือน สาระของข่าวสารข้อมูล หรือแม้แต่ความบันเทิง กรณีศึกษาที่ประเทศไทยอาจเรียนรู้การใช้ภาษาไทถิ่น ในที่สาธารณะได้ ได้แก่ประเทศเวียดนาม ในเวียดนามปัจจุบันภาษาเวียดถิ่นต่างๆ ไม่ได้เป็นสิ่งต้องห้าม ไม่ให้ใช้ในโรงเรียนหรือสื่อมวลชน และไม่ได้เป็นวัตถุของความขบขัน อย่างมีอคติดังที่มักเกิดขึ้นกับผู้ใช้ ภาษาถิ่นในประเทศไทย 3) ชุมชนภาษาต่างๆ ในแดนเรา เช่น ภาษามลายู ภาษาแขมร์ ภาษาพม่า รัฐไม่เพียงต้องให้การรับรอง แต่ต้องจัดให้มีบริการสาธารณะต่างๆ ในภาษาเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นบริการทางการศึกษา สาธารณสุข กระบวนการยุติธรรม ทำ�นองเดียวกับที่จังหวัดควิเบกในแดนาดา ที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นหลัก หรือกรณี อื่นๆ อีกมากมายในโลก เช่นอินเดียที่แต่ละรัฐล้วนใช้ภาษาของตนเองเป็นภาษาทางการ สวิสเซอร์แลนด์ ที่มีภาษามากกว่าสองภาษาใช้ในถิ่นต่างๆ สิทธิในการใช้ภาษาต่างๆ ในแดนเรา จะต้องได้รับการรับรอง และยึดถือปฏิบัติจริงไม่น้อยหน้าภาษาไทถิ่นและภาษากลาง 4) ชุมชนภาษาข้ามแดน ในบางถิ่นฐานที่มีความจำ�เป็นทางประชากร มีความต้องการของชุมชน เช่น ชุมชนภาษามอญในสมุทรสาคร ซึ่งมีประชากรแรงงานข้ามพรมแดนชาวมอญอาศัย และทำ�งานอยู่ หนาแน่น รัฐต้องยอมรับให้มีการใช้ภาษามอญในกิจกรรมสาธารณะของชาวมอญข้ามพรมแดน ต้อง จัดให้มีบริการสาธารณะหรือแม้แต่การจัดการศึกษาในภาษาข้ามแดนต่างๆ แม้จะไม่ต้องถึงกับระดับ ที่บางมลรัฐในสหรัฐอเมริกาปฏิบัติ แต่ก็ควรจะเรียนรู้ประสบการณ์จากมลรัฐเหล่านั้น นอกจากจะเป็น ประโยชน์กับผู้ใช้แรงงานข้ามแดนเหล่านี้เองแล้ว การจัดการศึกษาและบริการต่างๆ ในภาษาที่ผู้ใช้ แรงงานข้ามแดนรู้ และเข้าใจได้ดี ยังเป็นการพัฒนาประสิทธิภาพแรงงานข้ามแดนเหล่านี้ได้อย่างตรงไป ตรงมา มีประโยชน์แก่ทั้งผู้จ้างและผู้รับจ้าง ดีกว่าการบังคับให้พวกเขาต้องเรียนรู้และตอบโต้กับสิ่งต่างๆ จากภาษาที่เขาอาจต้องใช้เวลาอีกหลายปีกว่าจะมีทักษะดีพอ เพื่อให้บรรลุการสร้างสรรค์ชุมชนชาติไทยพหุภาษาดังกล่าว เจ้าหน้าที่รัฐที่ทำ�งานบริการ ประชาชนในท้อง ถิ่นต่างๆ ในชุมชนภาษาต่างๆ จะต้องรู้ภาษามากกว่าสองภาษา เจ้าหน้าที่รัฐจะต้องเปลี่ยนทัศนคติ จากการมอง ว่าประชาชนต้องเรียนรูท้ จี่ ะสือ่ สารกับเจ้าหน้าที่ เจ้าหน้าทีต่ า่ งหากทีจ่ ะต้องเรียนรูจ้ ากประชาชนเพือ่ ทีจ่ ะสือ่ สารจาก ประชาชน ภาษาไทถิ่นและภาษาอื่นๆ จะต้องถูกกำ�หนดให้เป็นข้อกำ�หนดสำ�คัญในการปฏิบัติงานในท้องถิ่น หรือไม่ เช่นนั้น รัฐจะต้องดำ�เนินการให้คนในท้องถิ่นต่างๆ ได้เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ฝ่ายบริการประชาชน สื่อสารกับประชาชน ตามถิ่นต่างๆ


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

194

สรุป ภาษาเป็นมรดกทางความคิดและอัตลักษณ์แห่งตัวตนทางวัฒนธรรมที่สำ�คัญของมนุษย์ ความหลากหลาย ของภาษาจึงเป็นทั้งคลังทางปัญญาและเครื่องบ่งชี้และสร้างชุมชน ความหลากหลายของภาษาไม่เพียงไม่เป็น อุปสรรคในการสร้างสรรค์ชุมชนชาติ หากแต่มันยังช่วยขยายขอบฟ้าการรับรู้ของมนุษย์และสร้างทางเลือกต่างๆ ใน การจินตนาการชุมชน แม้ว่ารัฐ-ชาติจำ�นวนมากจะเลือกแนวทางการดำ�เนินนโยบายภาษาแบบเอกภาษา ประสบการณ์ของชุมชน รัฐ-ชาติจ�ำ นวนมากแสดงให้เห็นว่า ชุมชนรัฐ-ชาติไม่จ�ำ เป็นทีจ่ ะต้องสร้างขึน้ มาจากการดำ�เนินนโยบายเอกภาษา จาก ประสบการณ์ของชุมชนชาติพหุภาษาทัว่ โลกแสดงให้เห็นว่า ชุมชนชาติสามารถสร้างขึน้ มาจากความหลากหลายของ ชุมชนภาษา พร้อมๆ กับที่ยังสามารถธำ�รงความหลากหลายนั้นไว้ได้ ในท้ายที่สุดของบทความนี้ ผู้เขียนเสนอกรอบของการดำ�เนินนโยบายพหุภาษาใน ประเทศไทยยุคโลกาภิ วัตน์ ที่สำ�คัญคือ ประเทศไทยควรคงความสำ�คัญของภาษากลางไว้ หากแต่ลดฐานะพิเศษของภาษาไทถิ่นกลางลง พร้อมๆ กับเพิ่มโอกาสที่ภาษาไทถิ่นต่างๆ ภาษาอื่นๆ ในแดนเราและภาษาข้ามพรมแดน ได้แสดงบทบาทประสาน เสียงอย่างพร้อมเพรียงกับภาษาไทถิน่ กลางผูเ้ ขียนเชือ่ ว่า แนวทางนีเ้ ป็นแนวทางหนึง่ ทีจ่ ะสามารถลดความตึงเครียด ของความหลากหลายของชุมชนภาษาและการรุกเข้ามาของพลังโลกาภิวัตน์ได้


195

ภาษาไทย ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. 2549. รัฐ-ชาติ กับ(ความไร้)ระเบียบโลกชุดใหม่. กรุงเทพฯ: วิภาษา. ยุกติ มุกดาวิจิตร. 2548. อ่าน “วัฒนธรรมชุมชน: วาทศิลป์และการเมืองของชาติพันธุ์ุนิพนธ์แนววัฒนธรรมชุมชน”. ฟ้าเดียวกัน. กรุงเทพฯ . 2551. “ความกระวนกระวายต่อภาวะไร้ถิ่นฐานกับการเมืองไทย”. วิภาษา 2(5):55-59.

ภาษาอังกฤษ Anderson, Benedict R. O’G. 1991. Imagined Communities: Reflections on the Origin and Spread of Nationalism. London: Verso. Appadurai, Arjun. 1996. Modernity at Large: Cultural Dimensions of Globalization. Minneapolis: University of Minnaesota Press. Barth, Fredrik. 1969. Ethnic Groups and Boundaries. Boston: Allen and Unwin. Bauman, Richard, and Joel Sherzer. 1996. Explorations in the Ethnography of Speaking. Cambridge: Cambridge University Press. Boas, Franz. 1964[1911]. Linguistics and Ethnology. In Language in Culture and Society: A Reader in Linguistics and Anthropology. D. Hymes, ed. New York: Harper and Row. Esman, Milton J. 1992. The State and Language Policy. International Political Science Review 13(4):381-396. Evans-Pritchard, E. E. 1940. The Nuer. Oxford: Oxford University Press. Feld, Stven. 1990[1982]. Sound and Sentiment: Birds, Weeping, Poetics, and Song in Kaluli Expression. Philadelphia: University of Pennsylvania Press. Gal, Susan. 1998. Multiplicity and Contention among Language Ideologies: A Commentary. In Language Ideologies: Practicea and Theory. B. B. Schieffelin, K. A. Woolard, and P. V. Kroskrity, eds. Pp. 317-331. New York: Oxford University Press. Gellner, Ernest. 1983. Nations and Nationalism. Oxford: Blackwell. Hartd, Michael, and Antonio Negri. 2000. Empire. Cambridge, MA: Harvard University Press. Harvey, David. 1989. The Condition of Postmodernity: An Inquiry into the Origins of Cultural Change. Cambridge, MA: Blackwell. Hickerson, Nancy Parrott. 2000. Linguistic Anthropology. second edition. New York: Holt, Rinehart, and Winston. Hymes, Dell. 1970. Linguistic Method in Ethnography: Its Development in the United States. In Method and Theory in Linguistics. P. Garvin, ed. Pp. 249-325. The Hague: Mouton. Lakoff, George and Mark Johnson. 1980. Metaphors We Live By. Chicago: University of Chicago Press. Reynolds, Craig. 1991. National Identity and Its Defenders: Thailand, 1939-1989. Victoria, Australia: Monash University. Scott, James C. 1998. Seeing Like a State: How Certain Schemes to Improve the Human Conditions have Failed. New Haven: Yale University Press. Weber, Eugen. 1979. Peasants into Frenchmen: The Modernization of Rural French 1870-1914. Stanford: Stanford University Press.

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

บรรณานุกรม


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

196

Whorf, Benjamin Lee. 1956. Science and Linguisticss. In Language, Thought, and Reality. J. B. Carroll, ed. Cambridge, Massachusetts: The MIT Press. Woolard, Kathryn, and Bambi B. Schieffelin. 1994. Language Ideology. Annual Review of Anthropology 23:55-82. Yukti Mukdawijitra. 2007. Multilingualism and Ethnicity: The Case of Ethnic Tai in the Vietnamese State. University of Wisconsin-Madison.


197

อาจารย์ ชูพินิจ เกษมณี2

เนื้อหาโดยย่อ ถึงแม้การศึกษาของไทยได้ผา่ นการปฏิรปู มานับตัง้ แต่ทไี่ ด้มกี ารประกาศใช้ “พระราชบัญญัตกิ ารศึกษาแห่ง ชาติ พุทธศักราช 2542” เป็นต้นมาแล้วก็ตาม ยังมีกลุม่ คนชายขอบจำ�นวนไม่นอ้ ยทีไ่ ม่สามารถเข้าถึง ยังขาดความ เท่าเทียมกันในการเข้าถึง และไม่ได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพเต็มตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย จึงจำ�เป็นที่จะต้องมีการตรวจสอบทั้งในเชิงหลักการและในทางปฏิบัติในอุดมคติของ “การจัดการศึกษาเพื่อ สาธารณชนที่มีคุณภาพ” ว่ารัฐสามารถทำ�ได้มาก-น้อยเพียงใด โดยเฉพาะเมื่อเกี่ยวข้องกับกลุ่มชนเผ่าพื้นเมือง ซึ่ง องค์การสหประชาชาติเพิ่งประกาศ “ปฏิญญาแห่งสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิของชนเผ่าพื้นเมือง” เมื่อเร็ว ๆ นี้ ยิ่งไปกว่านั้น บทความนี้ยังประสงค์ที่จะตรวจสอบคุณภาพของเนื้อหาของการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่ง มีความสัมพันธ์กับทิศทางการศึกษาที่รัฐเป็นผู้กำ�หนดขึ้นว่ามีความเหมาะสมสอดคล้องเพียงใดต่อสภาพเศรษฐกิจสังคม การเมือง และวัฒนธรรม โดยเฉพาะของกลุ่มชนเผ่าพื้นเมืองในปัจจุบัน สุดท้ายนี้ บทความยังต้องการนำ�เสนอข้อเสนอแนะบางประการในระดับนโยบาย สำ�หรับการจัดการศึกษาที่ เกี่ยวข้องกับกลุ่มชนเผ่าพื้นเมืองที่มีความหลากหลายอยู่ในสังคมไทย

อารัมภบท สืบเนื่องจากการที่รัฐบาลไทยได้มีจดหมาย(ลงวันที่ 11 เมษายน 2551) โต้ตอบถึงผู้รายงานพิเศษว่าด้วย สถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของชนเผ่าพื้นเมือง แห่งคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่ง สหประชาชาติ โดยปฏิเสธว่าไม่มีชนเผ่าพื้นเมือง (Indigenous People) อยู่ในประเทศไทย รัฐบาลยืนยันว่าชาวเขา ในประเทศไทยเป็นผูอ้ พยพเข้าสูป่ ระเทศ เป็นผูท้ โี่ ดยธรรมชาติและภูมหิ ลังทางประวัตศิ าสตร์มไิ ด้เป็นชนเผ่าพืน้ เมือง ของประเทศ รัฐบาลจึงระบุว่าเมื่อประเทศไทยไม่มีชนเผ่าพื้นเมือง จึงไม่มีพันธกรณีใด ๆ ที่จะต้องแจกแจงเกี่ยวกับ ประเด็นของชนเผ่าพื้นเมืองแต่อย่างไร3 นี่ทำ�ให้เราต้องกลับไปพิจารณาคำ�นิยามที่ปรากฏอยู่ในเอกสารรายงานของ สหประชาชาติ ดังนี้

1 การอ้างอิงบทความนี้ ควรได้รับอนุญาตจากเจ้าของบทความ 2 อาจารย์ประจำ�ภาควิชาพื้นฐานของการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 3 S. James Anaya, “Promotion and Protection of all Human Rights, Civil, Political, Economic, Social and Cultural Rights, Including the Right to Development”, Report of the Special Rapporteur on the Situation of Human Rights and Fundamental Freedoms of Indigenous People, Addendum, Human Rights Council, Ninth session, Agenda item 3, General Assembly, United Nations, A/HRC/9/9/Add.1/Corr.1, 10 September 2008, p. 2, pa. 473.

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

การศึกษากับคนชายขอบ: กรณีศึกษาของกลุ่มชนเผ่า พื้นเมืองในประเทศไทย1


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

198

‘ชุมชน ประชาชน ประชาชาติที่เป็นชนเผ่าพื้นเมือง คือผู้ที่โดยความสืบเนื่องทางประวัติศาสตร์กับ สังคมก่อนการรุกรานและก่อนการล่าอาณานิคมที่เข้ามาสู่เขตแดนของพวกเขา พิจารณาตนเองว่ามีความ แตกต่างไปจากภาคส่วนอืน่ ๆ ของสังคม ทีใ่ นปัจจุบนั มีอยูท่ วั่ ไปหรือในบางส่วนในดินแดนเหล่านัน้ ปัจจุบนั พวกเขาประกอบกันขึ้นเป็นกลุ่มที่มิใช่กลุ่มครอบงำ�ของสังคม และมีความมุ่งมั่นที่จะอนุรักษ์ พัฒนาและ ถ่ายทอดสู่คนรุ่นอนาคต ซึ่งเขตแดนของบรรพบุรุษและอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ของตน อันเป็นฐานของการ ยังคงดำ�รงอยู่ในฐานะประชาชน ที่สอดคล้องไปกับแบบแผนทางวัฒนธรรม สถาบันทางสังคม และระบบ นิติธรรมของตน’ (EC/N.4/Sub.2/1986/7/Add.4, pa. 379)

ซึง่ ธนาคารโลกได้ยอมรับเอานิยาม “ชนเผ่าพืน้ เมือง” ของสหประชาชาติมาใช้อยูใ่ นนโยบายของธนาคาร โดย แจกแจงว่ามีลักษณะดังต่อไปนี้ (ก) การระบุตนเองว่าเป็นชนเผ่าพื้นเมืองโดยมีผู้อื่นยอมรับ (ข) มีความผูกพันร่วม ต่อที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติ (ค) มีสถาบันทางวัฒนธรรมตามประเพณี สถาบันทางเศรษฐกิจ สถาบันทางสังคม หรือการเมืองทีแ่ ยกออกจากสังคมทีค่ รอบงำ� และ (ง) ภาษาชนเผ่าพืน้ เมืองทีม่ กั จะแตกต่างไปจากภาษาทางการของ ประเทศ4 ดังนี้ เราจึงเห็นได้ว่า ชาวเขาที่รัฐบาลกล่าวถึงย่อมอยู่ในขอบเขตความหมายเดียวกันกับชนเผ่าพื้นเมือง (Indigenous People) ตามนิยามของสหประชาชาตินั่นเอง ทั้งยังรวมไปถึงกลุ่มชาติพันธุ์ส่วนน้อยอื่น ๆ เช่น ชาวอุรัก ละโว้ย มอแกน มอแกลน ชาวไทยมุสลิมเชื้อสายมาเลย์ และมันนิ ในภาคใต้ เป็นต้น ยิ่งไปกว่านั้น การที่รัฐบาล กล่าวอ้างว่า “ชาวเขาเป็นผูอ้ พยพเข้าสูป่ ระเทศ เป็นผูท้ โี่ ดยธรรมชาติและภูมหิ ลังทางประวัตศิ าสตร์มไิ ด้เป็นชนเผ่าพืน้ เมืองของประเทศ” ยังมีความคลาดเคลือ่ นไปจากข้อเท็จจริงอยู่หลายส่วน ชื่อ “ชาวเขา” มิได้หมายถึงกลุม่ ชาติพันธุ์ เดี่ยว เพราะตามนิยามของทางราชการ ระบุว่า ชาวเขา ‘หมายถึงกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ที่มีเชื้อชาติ ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมและความเชื่อที่แตกต่างไปจากคนไทยส่วนใหญ่ จำ�นวน 9 เผ่าหลัก ได้แก่ แม้ว เย้า มูเซอ ลีซอ อีก้อ กะเหรี่ยง ลัวะ ถิ่น ขมุ และมีกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ ที่มีลักษณะเช่นเดียวกัน’ (กองสงเคราะห์ชาวเขา, 2541: 3) ในจำ�นวนกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ที่กล่าวนามมานี้มีหลายกลุ่มที่จัดอยู่ในกลุ่มตระกูลภาษามอญ-เขมร ในสายใหญ่ “ออสโตรเอเชียติก” ได้แก่ ลัวะ ถิ่น และขมุ รวมทั้ง มลาบรี กล่าวได้ว่าเป็น “ชนพื้นถิ่น” (Native People) อยู่ในดิน แดนของตนนี้ ชาวกะเหรี่ยงเชื่อว่าบรรพบุรุษของตนได้อาศัยอยู่ในถิ่นแถบนี้มาไม่น้อยกว่า 700 ปี ส่วนกลุ่มอื่น ๆ ที่ บรรพบุรุษเคยอพยพมาจากประเทศจีน ได้ประมาณกันว่าหลายกลุ่มเข้าสู่ประเทศไทยร่วม 200 ปีมาแล้ว อาจเรียก ได้ว่ามีประวัติการอพยพคู่ขนานไปกับการก่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ได้ทีเดียว ด้วยเหตุนี้ ผู้เขียนจึงตั้งใจเรียกกลุ่มชาติพันธุ์ส่วนน้อยบนพื้นที่สูง ที่ทางราชการเคยใช้ว่า “ชาวเขา” หรือ “ชาวไทยภูเขา” และกลุม่ ชนทีม่ ลี กั ษณะคล้ายคลึงกันว่า “ชนเผ่าพืน้ เมือง” ตลอดบทความนี้ ในความหมายเดียวกัน กับที่สหประชาชาติได้นิยามไว้ พร้อมทั้งขอตำ�หนิคำ�ปฏิเสธการมีอยู่ของชนเผ่าพื้นเมืองที่รัฐบาลไทยได้ตอบไปยัง สหประชาชาติไว้ ณ ที่นี้ด้วย

การศึกษาถ้วนหน้า ในวันที่ 5 – 9 มีนาคม พ.ศ. 2533 ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับโลกว่าด้วยการศึกษาถ้วน หน้าขึ้น โดยมีผู้แทนรัฐบาลจาก 115 ประเทศ ผู้แทนหน่วยงานระหว่างรัฐบาล 20 แห่ง และผู้แทนองค์กรพัฒนาภาค เอกชน 150 แห่งเข้าร่วม โดยมีผู้เข้าร่วมจำ�นวน 1,500 คน ที่ประชุมได้มีการรับรองเอกสารสำ�คัญคือ “ปฏิญญาโลก ว่าด้วยการศึกษาถ้วนหน้า” (World Declaration on Education for All) ซึ่งมีวิสัยทัศน์และพันธกรณีสอดคล้องไปกับ เจตนารมณ์ของ “พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542” และฉบับปรับปรุงแก้ไข พ.ศ. 2545 โดยเฉพาะ มาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวได้สะท้อนทัศนะของสังคมที่มีมนุษยธรรมอย่างยิ่ง ดังมีข้อความดังต่อไปนี้ 4 World Bank, “Legal Note on Indigenous Peoples”, 8 April 2005, p. 6, pa. 24.


199

การจัดการศึกษา ต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อย กว่าสิบสองปีที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย การจัดการศึกษาสำ�หรับบุคคลซึ่งมีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม การสื่อสารและการเรียนรู้ หรือมีร่างกายพิการ หรือทุพพลภาพ หรือบุคคลซึ่งไม่สามารถพึ่งตนเองได้ หรือ ไม่มีผู้ดูแล หรือด้อยโอกาส ต้องจัดให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิและโอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็น พิเศษ...’ (ตัวเน้นของผู้เขียน) (พรบ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542) จากผลการสำ�รวจของ “เครือข่ายติดตามการศึกษาไทย” ในช่วงหลังของปี พ.ศ. 25505 โดยวิธกี ารสุม่ ตัวอย่าง ระดับครัวเรือนจำ�นวน 1,252 ราย จาก 52 หมู่บ้าน 36 ตำ�บล 16 อำ�เภอ ใน 9 จังหวัดของภาคเหนือ อีสาน กลาง และใต้ โดยครอบคลุมกลุ่มผู้ด้อยโอกาสต่างๆ ได้แก่ ชนเผ่าพื้นเมือง ชุมชนแออัด แรงงานข้ามชาติ ชุมชนไกล คมนาคม และชาวไทยพลัดถิ่น สำ�หรับชนเผ่าพื้นเมืองในการสำ�รวจครั้งนี้ ประกอบด้วย กะเหรี่ยง (288 ครัวเรือน) ลัวะ (88 ครัวเรือน) มอแกน (85 ครัวเรือน) อ่าข่า (82 ครัวเรือน) ม้ง (50 ครัวเรือน) การสำ�รวจนี้ได้พบว่าสภาพการ ศึกษาของคนในครัวเรือนมีดังนี้

ในบรรดากลุม่ ผูด้ อ้ ยโอกาสต่าง ๆ ยังคงมีผทู้ ไี่ ม่ได้รบั การศึกษาเลยอยูถ่ งึ ร้อยละ 15 ของประชากรในครัวเรือน ทั้งหมด ประมาณครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 51) ได้รับการศึกษาเพียงระดับประถมศึกษาเท่านั้น และในระดับที่สูงขึ้นไปคือ มัธยมฯต้น มัธยมฯปลาย และอุดมศึกษา จำ�นวนผู้ได้รับการศึกษายิ่งลดลงไปกว่าครึ่งของระดับนั้น ๆ ประกอบขึ้น เป็นรูปปิรามิดยอดแหลมที่สมบูรณ์

5 ขณะนี้อยู่ในระหว่างจัดพิมพ์รายงานฉบับสมบูรณ์

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

‘มาตรา 10


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

200

และเมื่อพิจารณาเฉพาะระดับการศึกษาของบุตรในครัวเรือนเหล่านั้น ได้พบสภาพดังต่อไปนี้

ˇ

ยังมีบุตรในครัวเรือนถึง 190 คนที่ไม่ได้รับการศึกษาในรูปแบบใด ๆ เลย และส่วนใหญ่ยังคงมีโอกาสเข้าสู่ ระบบการศึกษาเพียงระดับประถมศึกษาเท่านั้น ข้อมูลเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าสภาพการจัดการศึกษายังคงห่างไกล จากข้อบังคับของกฎหมายที่ ‘ต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อย กว่าสิบสองปี...’ นอกจากนี้ จากการสำ�รวจระดับชุมชน จำ�นวน 25 แห่ง พบว่ามีโรงเรียนใน 20 ชุมชน มีศูนย์การเรียนรู้ 5 ชุมชน มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 16 ชุมชน และชุมชนที่ไม่มีสถานศึกษารูปแบบใด ๆ เลย 4 แห่ง การจัดการศึกษาจึง ยังไม่ทั่วถึงตามนัยของกฎหมายอีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้น ข้อความในวรรคสองของมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติฯดัง กล่าวยังได้เน้นให้กลุ่มผู้ด้อยโอกาสมีสิทธิและโอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษ ซึ่งตาม “นโยบายการ จัดการศึกษาสำ�หรับเด็กด้อยโอกาส” ซึ่งรัฐบาลได้เห็นชอบมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 ได้ผนวกรวมเด็กขาดโอกาส/ ยากจนเข้าไม่ถึงบริการ ที่รวมถึงเด็กชนกลุ่มน้อย เด็กชาวเขาและเด็กชาวไทยต่างวัฒนธรรมไว้ด้วย (สำ�นักงาน เลขาธิการสภาการศึกษา, 2548: 7-8, 29) เอกสารดังกล่าวได้กำ�หนดทั้งนโยบายและยุทธศาสตร์ไว้โดยละเอียด อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลเชิงประจักษ์ เราได้พบว่าสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในชุมชนบนพื้นที่สูง ทั้งในรูปแบบ โรงเรียนและศูนย์การเรียนรู้ชุมชน ส่วนใหญ่มีเพียงระดับประถมศึกษาเท่านั้น นั่นหมายความว่าเด็กชนเผ่าพื้นเมือง ที่จะต้องเรียนให้จบการศึกษาภาคบังคับ 9 ปี (มัธยมศึกษาปีที่ 3) ผู้ปกครองจำ�เป็นต้องส่งเด็กไปเรียนต่อยังที่อื่น ซึ่ง ส่วนใหญ่คอื การส่งเด็กเข้าเมือง และทำ�ให้ผปู้ กครองชนเผ่าพืน้ เมืองต้องมีคา่ ใช้จา่ ยเพือ่ การศึกษาของบุตรทีม่ ากกว่า ผูป้ กครองทีอ่ ยูใ่ นเมืองในส่วนของค่าเดินทาง ค่าทีพ่ กั และค่ากินอยูข่ องเด็ก ข้อสังเกตในเรือ่ งการศึกษาภาคบังคับคือ เราบังคับแต่ผู้ปกครองให้ปฏิบัติตาม แต่กลับไม่บังคับรัฐให้ต้องจัดการศึกษาภาคบังคับให้ทั่วถึงด้วย


201

การศึกษาของ “เครือข่ายติดตามการศึกษาไทย” ยังได้พบด้วยว่าผูป้ กครองของกลุม่ ผูด้ อ้ ยโอกาสต่าง ๆ เหล่า นี้ยังมีที่ต้องจ่ายค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการศึกษาอยู่หลายรายการ โดยแบ่งเป็นประเภทต่าง ๆ ดังนี้ รายการที่ต้องจ่ายให้แก่สถานศึกษา (ระดับประถมศึกษา) เกินกว่า 100 ครัวเรือน: ได้แก่ หนังสือเรียน (367 คร.) ชุดพลศึกษา (294 คร.) อาหารกลางวัน/ขนม (192 คร.) สมุด เครื่องเขียน อุปกรณ์ (124 คร.) เรียนคอมพิวเตอร์ (112 คร.) ชุดลูกเสือ/ยุวกาชาด/เนตรนารี (108 คร.) เงิน บริจาค (104 คร.) และค่าประกันอุบัติเหตุ (104 คร.) น้อยกว่า 100 ครัวเรือน: ได้แก่ ชุดนักเรียน กระเป๋า-รองเท้า-ถุงเท้า ค่าบำ�รุงการศึกษา เรียนภาษาต่าง ประเทศ บัตรประจำ�ตัวนักเรียน สาธารณสุข/สาธารณูปโภค ค่าจัดทำ�เอกสารประกอบการเรียน ปฐมนิเทศ บำ�รุง ห้องสมุด บำ�รุงลูกเสือ/ยุวกาชาด/เนตรนารี แฟ้มสะสมผลงาน-ใบงาน อุปกรณ์การงาน-ศิลปะ พาหนะเดินทาง ค่าที่ พัก และอื่น ๆ ทั้งยังมีค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการศึกษาที่ต้องจ่ายให้แหล่งอื่น ๆ รวมทั้งค่าใช้จ่ายพิเศษที่สถานศึกษาเรียกเก็บ เช่น ค่าเข้าค่าย ค่าดูงาน และค่าชุดแสดง เป็นต้น แน่นอนว่าสภาพทีเ่ ป็นอยูน่ ยี้ อ่ มห่างไกลจาก “การจัดการศึกษาขัน้ พืน้ ฐานโดยไม่เก็บค่าใช้จา่ ย” อย่างยิง่ อัน พบเห็นได้ทั่วไปทั้งโรงเรียนของรัฐและเอกชน ด้วยเหตุนี้ หากพิจารณาจากมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติฯดังกล่าวเพียงมาตราเดียว เราจึงได้พบว่า แม้ เวลาจะได้ผ่านไปเกือบสิบปีที่ได้ประกาศใช้กฎหมายฉบับนี้ รัฐบาลยังไม่สามารถดำ�เนินการหรือไม่เคร่งครัดในการ ปฏิบัติให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายแต่อย่างไร ยิ่งไปกว่านั้น การละเลยไม่ปฏิบัติตามมาตรา 10 นี้ยัง เป็นการไม่ปฏิบัติตาม “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550” มาตรา 49 “ปฏิญญาสากลแห่งสิทธิ มนุษยชน” พ.ศ. 2491 ของสหประชาชาติ มาตรา 26 “อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก” มาตรา 28 “กติการะหว่าง ประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม” มาตรา 13 และมาตรา 14 และ “ปฏิญญาโลกว่า ด้วยการศึกษาถ้วนหน้า” ซึ่งประกาศขึ้น ณ ประเทศไทยเอง ตลอดจน “นโยบายการจัดการศึกษาสำ�หรับเด็ก ด้อยโอกาส” ของรัฐบาล ซึ่งทั้งหลายทั้งปวงนี้มีทั้งที่ผูกพันและไม่ผูกพันทางกฎหมาย เรายังจะต้องมีกฎหมายและ นโยบายอีกกี่ฉบับที่จะทำ�ให้รัฐบาลไทยจำ�ต้องหันมาปฏิบัติตามได้โดยไม่บิดพลิ้ว

คุณภาพของการจัดการศึกษาสำ�หรับชนเผ่าพื้นเมือง 1. โครงสร้างการบริหาร-จัดการ ถึงแม้วา่ กฎหมายจะกำ�หนดให้โรงเรียนแต่ละแห่งต้องมีคณะกรรมการสถานศึกษาทำ�หน้าทีก่ �ำ กับและส่งเสริม สนับสนุนกิจการของสถานศึกษา แต่ดเู หมือนบทบาทหน้าทีย่ งั ไม่ชดั เจน โดยเฉพาะองค์ประกอบทีเ่ ป็นกรรมการจาก ชุมชนดูจะน้อยกว่าทีค่ วรและขาดการพัฒนาศักยภาพกรรมการให้สามารถทำ�หน้าทีไ่ ด้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำ�ให้เห็น ว่าแนวทางการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของไทยยังห่างไกลจากแนวคิดเรื่อง “ชุมชนควบคุมการศึกษา” (Community

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

ข้อมูลเชิงประจักษ์ยังได้พบว่า ผู้ปกครองในชุมชนบนพื้นที่สูงหลายแห่งมักจะบ่นเชิงตัดพ้อว่าครูไม่ค่อยสอน เต็มเวลา โดยเฉพาะครูทมี่ ภี มู ลิ �ำ เนาและครอบครัวอยูใ่ นพืน้ ราบทีใ่ ช้วนั จันทร์และวันศุกร์เป็นวันเดินทางขึน้ -ลงหมูบ่ า้ น ดังนั้น จึงมีเวลาสอนจริงเพียง 3 วันต่อสัปดาห์ คือ วันอังคารถึงวันพฤหัสบดีเท่านั้น รวมทั้งครูของศูนย์การศึกษา นอกโรงเรียนที่อยู่ทำ�หน้าที่ในชุมชนไม่ครบตามจำ�นวนวันที่กำ�หนดไว้ต่อเดือนด้วย จึงไม่อาจคาดหวังคุณภาพที่ดี นักในการให้บริการทางการศึกษา


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

202

Control of Education) ซึ่งกำ�ลังเป็นกระแสที่แพร่หลายออกไปในประเทศตะวันตก (โปรดดู Hass, 1987) ในทางปฏิบัติ คณะกรรมการโรงเรียนจึงมักถูกครอบงำ�โดยผู้บริหารของโรงเรียนแห่งนั้นเอง ระบบการสรรหาและบรรจุครูมกั จะใช้วธิ กี ารเปิดรับทัว่ ไป ซึง่ ทำ�ให้ขา้ ราชการครูทไี่ ด้รบั การบรรจุตอ้ งข้ามภาค กันไป-มา รวมทั้งพื้นที่ที่มีลักษณะพิเศษ เช่น ถิ่นทุรกันดาร หรือชุมชนของชนเผ่าพื้นเมือง ได้ครูจากนอกพื้นที่มาทำ� หน้าที่ จึงทำ�ให้เกิดการขอย้ายตามมาจำ�นวนมาก จนถึงขั้นมีการต้องซื้อสถานที่ลงระหว่างครูด้วยกัน โดยเฉพาะ ปัญหาครูละทิ้งหน้าที่หรือทำ�หน้าที่ไม่เต็มเวลาในพื้นที่ยากลำ�บาก ซึ่งกลายเป็นปัญหาเรื้อรังมาตลอด

2. คุณภาพของเนื้อหาการเรียนรู้ กฎหมายกำ�หนดให้สำ�นักงานการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นผู้จัดทำ�หลักสูตรแกนกลางเพื่อความเป็นไทย ความ เป็นพลเมืองที่ดีของชาติ การดำ�รงชีวิต และการประกอบอาชีพ ตลอดจนเพื่อการศึกษาต่อ และให้สถานศึกษาขั้น พื้นฐานมีหน้าที่จัดทำ�สาระของหลักสูตรตามวัตถุประสงค์ในวรรคหนึ่งในส่วนที่เกี่ยวกับสภาพปัญหาในชุมชนและ สังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณลักษณะอันพึงประสงค์ต่าง ๆ อันเป็นความหมายเดียวกันกับหลักสูตรแกนกลางหรือ หลักสูตรแห่งชาติกบั หลักสูตรท้องถิน่ ซึง่ เท่าทีผ่ า่ นมา โรงเรียนส่วนใหญ่ยงั คงประสบความยากลำ�บากกับการจัดทำ� หลักสูตรท้องถิ่น มีบ้างที่จัดทำ�เนื้อหาที่สะท้อนภูมิปัญญาท้องถิ่นในลักษณะที่เป็นเสี้ยวส่วน เช่น การสอนทอผ้าพื้น บ้าน และเครื่องหัตถกรรมพื้นบ้าน เป็นต้น อาจกล่าวได้วา่ โดยพัฒนาการ การจัดการศึกษาสำ�หรับประชาชนได้ถกู ใช้เป็นเครือ่ งมือในการสร้างอุดมการณ์ แบบรัฐชาติที่มุ่งหล่อหลอมให้ผู้คนในสังคมเกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน (โปรดดู นิธิ เอียวศรีวงศ์, 2538 และ ลักขณา ปันวิชยั , 2542) การจัดการศึกษาขัน้ พืน้ ฐานยังคงเป็นไปเพือ่ มุง่ ผลิตกำ�ลังคนเข้าสูว่ งราชการและภาคธุรกิจอุตสาหกรรมและความเป็นสังคมทันสมัยมากกว่าที่จะมุ่งผลิตคนที่จะสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมและวิถีชีวิตแบบ ท้องถิ่น อันหมายรวมถึงการดำ�รงรักษาอัตลักษณ์ของความเป็นชนเผ่าพื้นเมืองไว้ด้วย

3. การศึกษาสิทธิมนุษยชน นับเป็นเรื่องแปลกจนถึงขั้นเหลือเชื่อที่จะกล่าวว่า การศึกษาของไทยไม่เคยให้ความสำ�คัญต่อการปลูกฝัง ทัศนคติและค่านิยมทางสังคมในการเคารพต่อหลักสิทธิมนุษยชนมาโดยตลอด แม้ในพระราชบัญญัตกิ ารศึกษาแห่ง ชาติจะได้กล่าวถึง (มาตรา 7) ‘รู้จักรักษาและส่งเสริมสิทธิ หน้าที่ เสรีภาพ...’ ดูเหมือนเป็นข้อความที่กล่าวถึงอย่าง ไม่จริงจังนัก เพราะมิติของหลักสิทธิมนุษยชนจำ�เป็นต้องให้ความสำ�คัญทั้งในด้านของการส่งเสริมและการคุ้มครอง เพราะสังคมทีข่ าดมาตรการในการคุม้ ครองสิทธิมนุษยชนย่อมไม่อาจประสบความสำ�เร็จในการส่งเสริมสิทธิแต่เพียง ด้านเดียว หากเราย้อนกลับไปดู “ปฏิญญาสากลแห่งสิทธิมนุษยชน” “อนุสญ ั ญาว่าด้วยสิทธิเด็ก” และ “กติกา ระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม” จะพบว่าเอกสารทั้งสามฉบับได้เน้นเรื่อง การเคารพในสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน การส่งเสริมความเข้าใจ ความอดทนอดกลั้น และมิตรภาพใน หมู่ประชาชาติทั้งปวง และในกลุ่มเชื้อชาติ กลุ่มชาติพันธุ์ หรือกลุ่มศาสนา อันเป็นคุณสมบัติที่จำ�เป็นในสังคมพหุ วัฒนธรรม (Multicultural Society) อันเป็นลักษณะทีพ่ บเห็นได้ในสังคมสมัยใหม่ทวั่ ไป ไม่มที ใี่ ดในกฎหมายและ นโยบายด้านการศึกษาแห่งชาติทไี่ ด้เน้นยํา้ คุณสมบัตทิ ตี่ อ้ งปลูกฝังเหล่านีเ้ ลย ด้วยเหตุนี้ สังคมไทยจึงมีความสับสน มาโดยตลอดเมือ่ มีขอ้ ถกเถียงทีเ่ กีย่ วข้องกับประเด็นของสิทธิมนุษยชน การละเมิดสิทธิมนุษยชน และการเลือกปฏิบตั ิ รวมทั้งพฤติกรรมที่รัฐบาลได้กระทำ�ลงไปในการปฏิเสธการมีอยู่ของชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทย ด้วยเหตุนี้ เราจึงไม่เห็นการศึกษาทีเ่ คารพต่ออัตลักษณ์ของชนเผ่าพืน้ เมืองหรือกลุม่ ชาติพนั ธุส์ ว่ นน้อย ไม่เห็น คุณค่าของภูมิปัญญาแบบชนเผ่าพื้นเมือง ไม่เห็นความจำ�เป็นที่จะต้องสืบทอดและพัฒนาต่อเนื่องในวิถีชีวิต ความ เชื่อทางศาสนา และภาษาของชนเผ่าพื้นเมืองอยู่ในระบบการศึกษาของไทย


203

บทความนี้จึงใคร่ขอเชิญชวนให้เรามาตั้งความหวังร่วมกันว่า: • รัฐไทยจะปฏิบัติตามข้อผูกพันทางกฎหมายทั้งในระดับชาติและระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ของประชาชนกลุ่มต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่ในรัฐ • หน่วยงานของรัฐมีการปรับเปลี่ยนทัศนคติจากความคิดที่ว่า ความแตกต่างเป็นปัจจัยคุกคามต่อความ มั่นคงของชาติ มาสู่ความคิดที่ว่า ความหลากหลายเป็นพลังขับเคลื่อนสังคม • การกำ�หนดนโยบายการศึกษาจะเคารพต่อสิทธิในการกำ�หนดตนเองของชนเผ่าพื้นเมืองและชุมชนท้อง ถิ่น โดยเน้นให้ชุมชนหรือท้องถิ่นเข้ามากำ�กับดูแลสถานศึกษาของตนเต็มตามความหมาย พร้อมทั้งเปิด โอกาสให้พวกเขากำ�หนดทางเลือกวิถีชีวิตของตนเองไม่ว่าจะเป็นเส้นทางที่มุ่งสู่โลกาภิวัตน์หรือมุ่งที่จะ สืบทอดมรดกวัฒนธรรมของบรรพชน • ระบบการศึกษาของไทยจะผนวกการศึกษาสิทธิมนุษยชนไว้ในทุกระดับชั้น ที่มุ่งสร้างสรรค์สังคมที่ผู้คน มีความเคารพในความแตกต่างทางวัฒนธรรมของกันและกัน ซึ่งรวมถึงการบรรจุการสอนภาษาแม่ของ พวกเขาเข้าไว้ในระบบการศึกษาด้วย • รัฐไทยจะมุ่งมั่นดำ�เนินการให้บรรลุถึงสภาพการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีความเสมอภาค ทั่วถึง และมี คุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายอย่างแท้จริง • ผู้บริหารการศึกษาระดับตัดสินใจจะมองเห็นความสำ�คัญและความจำ�เป็นที่จะต้องสรรหาครูที่เป็นชนเผ่า พื้นเมืองหรือเป็นคนในท้องถิ่นเข้าร่วมอยู่ในคณะครูของสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ของพวกเขา รวมทั้ง การสร้างแรงจูงใจและการตอบแทนให้แก่ครูที่ทำ�หน้าที่อยู่ในพื้นที่ยากลำ�บาก • สถาบันผลิตครูจะเห็นความจำ�เป็นของการผลิตครูพันธุ์ใหม่ที่มีศักยภาพในการทำ�หน้าที่ในบริบทของ ความแตกต่างทางวัฒนธรรม และมีความเข้าใจในแนวคิดและวิธีการปฏิบัติของ “การศึกษาพหุ วัฒนธรรม” (Multicultural Education)

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

ความหวังข้างหน้า


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

204

บรรณานุกรม กองสงเคราะห์ชาวเขา การพัฒนาชาวเขาภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 กรม ประชาสงเคราะห์ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม, 2541. กลุม่ ชาติพนั ธุแ์ ละการพัฒนา “ระบบการศึกษาทีพ ่ อเพียง นโยบายการศึกษาแบบให้เปล่ากับค่าใช้จา่ ยทีแ่ พง ขึ้น/สูงขึ้น”, สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับเครือข่ายการศึกษาเพื่อเด็ก, 2549, (เอกสาร ถ่ายสำ�เนา). ขวัญชีวนั บัวแดง และคณะ “รายงานการวิจยั องค์กรพัฒนาเอกชนกับการส่งเสริมการศึกษาแก่กลุม่ ชาติพนั ธุ์ บนพื้นที่สูง”, สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2550, (เอกสารถ่ายสำ�เนา). คณะอนุกรรมการการศึกษาและการพัฒนา รายงานการวิจยั การได้รบั สิทธิในบริการการศึกษาขัน้ พืน้ ฐานจาก รัฐ, คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, 2549. เครือข่ายการศึกษาเพื่อเด็กภาคเหนือ “สรุปการประชุมเวทีวิเคราะห์นโยบายการศึกษาและทบทวนข้อเสนอ แนะของเครือข่ายการศึกษาเพื่อเด็ก”, องค์การแอ๊คชั่นเอดประเทศไทย, ณ ห้องประชุมมูลนิธิไว.เอ็ม. ซี.เอ. กรุงเทพฯ สาขาพะเยา, 7 พฤศจิกายน 2549. นิธิ เอียวศรีวงศ์ “ชาติไทย และเมืองไทยในแบบเรียนประถมศึกษา” ใน นิธิ เอียวศรีวงศ์ ชาติไทย เมืองไทย แบบเรียนและอนุสาวรีย์, กรุงเทพฯ: มติชน, 2538. ประภาส ปิ่นตบแต่ง และคณะ “รายงานวิจัยการเข้าถึงโอกาสทางการศึกษาของเด็กแรงงานพม่า กรณี ศึกษาพื้นที่ แม่สอด มหาชัย และคุระบุรี”, คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตยในพม่า, 2550, (เอกสารถ่ายสำ�เนา). ลักขณา ปันวิชัย “อุดมการณ์รฐั ของรัฐไทยในแบบเรียนชัน้ ประถมศึกษา (พ.ศ. 2435-2533): ไม่มชี าติของประชาชน ไทยในแบบเรียน”, รัฐศาสตร์สาร, 2542. สำ�นักงานเลขาธิการสภาการศึกษา นโยบายการจัดการศึกษาสำ�หรับเด็กด้อยโอกาส, กรุงเทพฯ: สกศ., 2548. __________ . การจัดการศึกษาแก่เด็กต่างด้าวและผู้ไม่มีสัญชาติไทยในประเทศไทย,กระทรวงศึกษาธิการ, 2551. Anaya, S. James “Promotion and Protection of all Human Rights, Civil, Political, Economic, Social and Cultural Rights, Including the Right to Development”, Report of the Special Rapporteur on the Situation of Human Rights and Fundamental Freedoms of Indigenous People, Addendum, Human Rights Council, Ninth session, Agenda item 3, General Assembly, United Nations, A/HRC/9/9/Add.1/Corr.1, 10 September 2008. Cole, M. (ed.) Education, Equality and Human Rights, London: Routledge Falmer, 2000. Hass, G. “Who Should Plan the Curriculum?”, in Curriculum Planning, A New Approach, ed. By Glen Hass, Boston: Allyn and Bacon, Inc., 1987, pp.326-330. Osler, A. and Starkey, H. Teacher Education and Human Rights, London: David Fulton, 1996. World Bank, “Legal Note on Indigenous Peoples”, 8 April 2005.


205

ดร. สุกรี หลังปูเต๊ะ2

บทนำ� จังหวัดชายแดนภาคใต้อนั ประกอบด้วย จังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส สตูลและสงขลา มีลกั ษณะพิเศษใน ความเป็นพื้นที่พหุวัฒนธรรม เพราะประชาชนมีวิถีการดำ�เนินชีวิตที่แตกต่างไปจากประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ความแตกต่างดังกล่าวได้แก่ ความแตกต่างด้านเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรม ประชาชนส่วนใหญ่ในพื้นที่แห่งนี้ยกเว้นจังหวัดสงขลาจะนับถือศาสนาอิสลาม และใช้ภาษามลายูท้องถิ่นในการ สือ่ สารในชีวติ ประจำ�วัน แม้บางคนสามารถจะพูดภาษาไทย แต่สว่ นใหญ่มกั จะสือ่ สารด้วยภาษามลายู หากคูส่ นทนา ของเขาสามารถพูดภาษามลายู ทั้งนี้เพราะภาษามลายูเป็นภาษาแม่ในพื้นที่นี้มาเป็นระยะเวลายาวนาน ชาวมุสลิม ในจังหวัดชายแดนภาคใต้จะสอนลูกหลานให้พดู ภาษามลายู เด็กๆ เหล่านีส้ ว่ นใหญ่จะพูดภาษาไทยได้ตอ่ เมือ่ ได้เรียน ภาษาไทยในโรงเรียนของรัฐ ความจริงภาษามลายูส�ำ หรับมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้มคี วามหมายมากกว่าภาษา ที่ใช้ในการสื่อสาร เพราะภาษามลายูมีนัยว่าผู้พูดเป็นมุสลิม ด้วยเหตุนี้มุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้บางครั้งจะ ถูกเรียกว่าเป็นชาวมลายู เพราะมลายูในที่นี้นอกเหนือจะหมายถึงเชื้อชาติแล้วมลายูดังกล่าวยังหมายถึงความเป็น มุสลิม และผู้ที่พูดภาษามลายูได้ถือเป็นผู้ที่สามารถรักษาอัตลักษณ์ของความเป็นมุสลิม ในทัศนะของอิสลามมุสลิมที่ดีจะเป็นผู้ที่ยึดมั่นกับหลักคำ�สอนของศาสนาอิสลาม ซึ่งถือเป็นวิถีในการดำ�เนิน ชีวิต และการดำ�เนินชีวิตที่ถูกต้องนั้นจะต้องเป็นวิถีที่วางอยู่บนพื้นฐานของศาสนา ซึ่งการรู้จักศาสนาจะต้องผ่าน กระบวนการการศึกษา ด้วยเหตุนกี้ ารศึกษาจึงมีความสำ�คัญอย่างยิง่ สำ�หรับชาวมุสลิม ความสำ�คัญและความจำ�เป็น ในการแสวงหาความรู้นี้เอง ที่เป็นแรงผลักดันหลักที่ก่อให้เกิดสถาบัน การศึกษารูปแบบต่างๆ ในสังคมมุสลิม โดย เฉพาะอย่างยิ่งสังคมมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในบรรดาสถาบันการศึกษาที่มีอยู่ในพื้นที่แห่งนี้ ปอเนาะถือ ได้ว่าเป็นสถาบันการศึกษาที่มีบทบาทสำ�คัญทั้งในอดีตและปัจจุบัน ปอเนาะ3จะเป็นสถาบันการศึกษาที่เก่าแก่ที่สุด สถาบันหนึ่ง ที่สามารถรักษาเอกลักษณ์ของตนเองได้ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงมาในทุกยุคสมัย อย่างไร ก็ตามปอเนาะในอดีตจะไม่มหี ลักสูตรทีเ่ ป็นลายลักษณ์อกั ษร แต่ในปัจจุบนั ได้มคี วามพยายามจากภาครัฐโดยอาศัย กระบวนการมีสว่ นร่วมจากปอเนาะให้มกี ารพัฒนาหลักสูตรของปอเนาะ แต่ปอเนาะส่วนใหญ่จะมีหลักสูตรของตนเอง หลักสูตรทีภ่ าครัฐพัฒนาขึน้ มานัน้ ไม่คอ่ ยได้รบั การตอบรับทีด่ จี ากส่วนใหญ่ของปอเนาะ การนำ�เสนอกรอบหลักสูตร ให้กับสถาบันศึกษาปอเนาะเพื่อปอเนาะจะได้พัฒนาหลักสูตรของตนเองถือเป็นสิ่งที่สำ�คัญและมีความจำ�เป็น 1 การอ้างอิงบทความ ควรได้รับอนุญาตจากเจ้าของบทความ 2 อาจารย์ประจำ�คณะศิลปศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา 3 ปอเนาะมีรากศัพท์มาจากภาษาอาหรับคำ�ว่า “ ฟุนดุก” หมายถึงที่พัก โรงแรม (Munjid, 1976:597) ส่วนคำ�ว่าฟุนดุกเองมา จากรากศัพท์ภาษากรีโกอาราบิก (Creco-Arabic) คำ�ว่า “Pandokein” หมายถึงที่พัก สำ�หรับประชาชนในจังหวัดชายแดนภาค ใต้ พวกเขาจะมีสำ�เนียงการพูดที่มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง กล่าวคือ การอ่านออกเสียงของพวกเขาโดยส่วนใหญ่แล้วจะ ไม่ออกเสียงสะกดตัวสุดท้าย คำ�ว่าฟุนดุก จึงกลายเป็น”ฟุน”ุ ตัวสะกดพยางค์แรกและพยางค์ทสี่ องจะไม่ออกเสียง คำ�ว่า”ฟุ นุ” ต่อมาจึงเพี้ยนมาเป็น “ปอเนาะ” ในที่สุด

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

การจัดการศึกษาในพื้นที่พหุวัฒนธรรม: กรณีศึกษา จังหวัดชายแดนภาคใต้1


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

206

นอกเหนือจากปอเนาะแล้วตาดีกา (TADIKA)4 ก็เป็นอีกสถาบันการศึกษาหนึง่ ทีม่ บี ทบาทสำ�คัญในการจัดการ เรียนการสอนให้กบั ยุวชนมุสลิม ตาดีกาจะมีการเรียนการสอนเฉพาะวิชาศาสนา หนังสือเรียนส่วนใหญ่จะเป็นภาษา มลายู มีหนังสือทีเ่ ป็นภาษาอาหรับเฉพาะรายวิชาภาษาอาหรับเท่านัน้ ภาษาทีใ่ ช้ในการเรียนการสอนคือภาษามลายู ท้องถิ่นปะปนกับภาษามลายูกลาง ส่วนหนังสือเรียนจะเป็นภาษามลายูกลาง แต่การอธิบายเนื้อหาจะเป็นภาษา มลายูถิ่นคล้ายๆ กับสำ�เนียงภาษามลายูของรัฐกลันตันของประเทศมาเลเซีย ปัจจุบนั เฉพาะในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้มสี ถาบันศึกษาปอเนาะ 300 กว่าแห่ง มีตาดีกา 1,632 แห่ง และ มีโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามทั้ง 15 (1) และ (2) อีก 200 กว่าโรง ชาวมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้จะให้ ความสำ�คัญกับการศึกษาทีเ่ กีย่ วกับศาสนา แต่พวกเขาก็ไม่ละเลยทีจ่ ะศึกษาวิชาการสามัญ เพราะความรูใ้ นอิสลาม มิได้แยกระหว่างวิชาการศาสนาและสามัญ ด้วยเหตุผลดังกล่าวสถาบันการศึกษาที่ไม่มีการเรียนการสอนเกี่ยวกับ ศาสนาจะไม่ได้รบั ความนิยมและการตอบรับทีด่ จี ากสังคมมุสลิม และนีค่ อื สาเหตุส�ำ คัญทีม่ สุ ลิมส่วนใหญ่ไม่นยิ มส่ง บุตรหลานให้เรียนในโรงเรียนของรัฐทีไ่ ม่มกี ารเรียนการสอนเกีย่ วกับศาสนา แต่การทีม่ สุ ลิมจำ�นวนเกือบสองแสนคน เรียนในโรงเรียนประถมของรัฐนั้น ก็เพราะการศึกษาระดับประถมเป็นการศึกษาภาคบังคับและโรงเรียนเอกชนสอน ศาสนาอิสลามหรือโรงเรียนเอกชนสามัญของมุสลิมที่เปิดสอนระดับประถมศึกษามีจำ�นวนน้อยมาก เยาวชนมุสลิม จึงไม่มีทางเลือกจำ�เป็นที่จะต้องเรียนในโรงเรียนของรัฐ สำ�หรับศาสนิกอื่นที่ไม่ใช่มุสลิมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้จะเลือกเรียนในโรงเรียนของรัฐเป็นส่วนใหญ่ บางส่วนที่เลือกเรียนในโรงเรียนเอกชนสามัญนั้นก็เพราะเหตุผลเกี่ยวกับมาตรฐานการเรียนหรือความสะดวกของผู้ ปกครอง กล่าวโดยสรุปแล้วในพืน้ ทีแ่ ห่งนีก้ ารจัดการศึกษาจะมีอย่างน้อยสองรูปแบบ กล่าวคือ การจัดการศึกษาของ รัฐที่มีลักษณะคล้ายกับการจัดการศึกษาในภูมิภาคอื่นๆ ของประเทศ และการจัดการศึกษาของเอกชนซึ่งส่วนใหญ่ เป็นแบบเอกชนสอนศาสนาอิสลาม การจัดการศึกษาทั้งสองรูปแบบนี้จะเป็นไปแบบคู่ขนาน โดยการจัดการศึกษา แบบเอกชนสอนศาสนาอิสลามจะได้รับความนิยมในบรรดาชาวมุสลิมซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของพื้นที่

2. สภาพปัญหาในการจัดการศึกษาในสังคมพหุวัฒนธรรม ปัญหาการศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้นับเป็นปัญหาที่สำ�คัญที่สุดประการหนึ่งในการแก้ไขปัญหา ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งนี้เพราะว่าเมื่อคุณภาพการศึกษาตํ่าก็ย่อมส่งผลกระทบต่อปัญหา สุขภาพ การว่างงาน การถูกเอารัดเอาเปรียบ การเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม และต้องตกเป็นเหยื่อของผู้ไม่หวังดีใน ที่สุด ดังนั้น ความอ่อนแอของระบบการศึกษาสามัญของเยาวชนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น พบว่า ปี 2545 ประชากรอายุ 20-29 ปี ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้รับการศึกษาสามัญโดยเฉลี่ยรวม 8.3 ปี ขณะที่จังหวัด อื่นๆ ในภาคใต้ได้รับ 9.5 ปี และในภาคอื่นๆ ได้รับ 9 ปี ประชากรวัยเรียนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้สามารถ 4 ตาดีกา เป็นคำ�ยืมจากภาษามลายูว่า Taman Didikan Kanak-kanak (TADIKA) หมายถึงสถานที่สำ�หรับอบรมเลี้ยงดูเด็ก มี ความแตกต่างกับสถานรับเลี้ยงเด็กทั่วไป คือ จะมีการเตรียมความพร้อมของเด็กในเรื่องของศาสนาและวัฒนธรรมควบคู่ กับการเลี้ยงดูตามมาตรฐานสากลทั่วไป เช่น มีการสอนคัมภีร์อัลกุรอ่านและวัจนะของท่านศาสดา พร้อมๆ กับการฝึกวัตร ปฏิบตั ปิ ระจำ�วัน ประจำ�เดือน และประจำ�ปีให้แก่เด็กด้วย ตาดีกาเป็นแหล่งเรียนรูอ้ สิ ลาม และเป็นสถาบันการศึกษาสำ�หรับ ยุวชนมุสลิมที่เก่าแก่ที่สุดสถาบันหนึ่งที่ถือกำ�เนิดในสามจังชายแดนภาคใต้ เดิมทีสถาบันการศึกษาแห่งนี้จะถูกเรียกว่า โรง เรียนฟัรฎุอนี มัดราสะฮ เสอโกละฮมลายูหรือบาลาเศาะทีม่ าจากคำ�ว่าบาลัยเศาะลาฮทีม่ กั จะนำ�มาเป็นโรงเรียนตาดีกา เมือ่ มีการใช้คำ�ว่าตาดีกาในประเทศมาเลเซีย คำ�ว่า “ตาดีกา” ก็ถกู นำ�มาใช้เรียกสถาบันการศึกษาแห่งนี้ สถาบันการศึกษาแห่ง นี้มุสลิมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ส่วนใหญ่จะเรียกว่า “โรงเรียน” แต่นักวิชาการจะไม่ค่อยเรียกว่าโรงเรียน บางท่าน เรียกว่าศูนย์อบรมหรือเรียกว่าตาดีกาอย่างเดียว การเรียกตาดีกาว่าศูนย์อบรม ศูนย์ หรือเรียกว่าตาดีกาอย่างเดียวน่าจะ มีความถูกต้องมาก กว่าจะเรียกว่าโรงเรียนตาดีกา เพราะการเรียกว่าโรงเรียนตาดีกานั้นจะมีค�ำ สองคำ�ที่หมายถึงสถาบัน กล่าวคือ โรงเรียนและสวน ในที่นี้หมายถึงศูนย์ หากแปลตรงๆ คำ�ว่าโรงเรียนตาดีกาก็จะหมายถึงโรงเรียนศูนย์อบรมเด็ก เล็ก คำ�ว่าโรงเรียนศูนย์อบรมเด็กเล็กจะดูเป็นคำ�ที่แปลก ตามความเห็นของผู้วิจัย คำ�ว่าตาดีกาอย่างเดียวน่าจะเป็นคำ�ที่ เหมาะที่จะเรียกสถาบันแห่งนี้


207

ปัญหาในระดับผลการศึกษาที่ตํ่ากว่าเกณฑ์ปกตินั้นหมายถึง การศึกษาสายสามัญและอาจจะเป็นปัญหา ที่เกิดขึ้นกับเยาวชนมุสลิมเท่านั้น เนื่องจากผู้ปกครองส่วนใหญ่ต้องการให้บุตรหลานเรียนศาสนาควบคู่ไปกับการ เรียนสายสามัญ จึงมักให้เรียนในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม และยังมีผปู้ กครองบางส่วนทีย่ งั คงนิยมให้เรียน ศาสนาเพียงอย่างเดียว จึงส่งบุตรหลานให้เรียนสถาบันศึกษาปอเนาะ พบว่า เด็กมุสลิมในสามจังหวัดชายแดนภาค ใต้ประมาณ 2 ใน 3 จะถูกผูป้ กครองส่งไปเรียนในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ซึง่ มีชั่วโมงเรียนรวมกันสัปดาห์ ละ 35 ชั่วโมงเทียบกับโรงเรียนของรัฐที่มีชั่วโมงเรียน 25 ชั่วโมงในหนึ่งสัปดาห์ นอกจากนี้ยังมีศนู ย์การศึกษาอิสลาม ประจำ�มัสยิด (ตาดีกา) ที่สอนศาสนาพื้นฐานสำ�หรับเด็กและเยาวชน เป็นสิ่งที่ชุมชนจัดให้มีการศึกษาสำ�หรับเด็กๆ ในหมู่บ้านเพื่อที่จะให้บุตรหลานได้เรียนศาสนาโดยไม่จำ�กัดอายุ ดังนั้น นอกจากเรียนศาสนาที่โรงเรียนตามปกติ แล้วเด็กก็จะไปเรียนที่โรงเรียนตาดีกาหรือศูนย์การศึกษาศาสนาอิสลามประจำ�มัสยิด เด็กที่เรียนในโรงเรียนตาดีกา เป็นเด็กกลุ่มที่เรียนในโรงเรียนรัฐบาลเพียงแต่เรียนในวันเสาร์-อาทิตย์ หรือวันจันทร์กับวันพฤหัสตอนเย็น คือเรียน นอกเวลาเรียนปกติ ดังนั้นจะเห็นได้ว่า นักเรียนมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ต้องแบกภาระการเรียนมากกว่านักเรียนใน ภูมภิ าคอืน่ ๆ กล่าวคือนักเรียนในพืน้ ทีน่ ตี้ อ้ งเรียนทัง้ วิชาการศาสนาและวิชาการสามัญทีม่ ากจนเกินไป ส่วนโรงเรียน ของรัฐที่ให้ความสำ�คัญกับวิชาสามัญไม่ค่อยได้รับความนิยม และไม่สามารถที่จะดึงความสนใจของสังคมมุสลิมได้ เพราะไม่สามารถตอบสนองความต้องการของสังคมมุสลิมทีต่ อ้ งการสนับสนุนให้บตุ รหลานของตนได้เรียนวิชาสามัญ ควบคู่กับวิชาศาสนาในจำ�นวนคาบที่เพียงพอ สาเหตุหลักที่ทำ�ให้เกิดปัญหาดังกล่าวนั้นพอจะสรุปได้ดังต่อไปนี้

2.1 ปัญหาการจัดการศึกษาที่ขาดการมีส่วนร่วมอย่างเหมาะสมจากท้องถิ่น ในปัจจุบัน การจัดการศึกษาในพื้นที่นี้ยังขาดการมีส่วนร่วมที่เหมาะสมจากชุมชน ในทางตรงกันข้ามรัฐกลับ เข้ามาแทรกแซงการจัดการศึกษาของท้องถิน่ โดยปราศจากความเข้าใจมิตทิ างวัฒนธรรมอย่างแท้จริงและขาดการมี ส่วนร่วมของภาคประชาชนอย่างเหมาะสมจึงทำ�ให้ประชาชนไม่คอ่ ยจะยอมรับและไม่เชือ่ มัน่ ในการจัดการศึกษาทีม่ า จากรัฐ ดังนั้นรัฐจึงควรให้คนในพื้นที่เป็นเจ้าภาพในการจัดการศึกษาเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่มีประชากร มุสลิมเกือบทั้งหมดเพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในพื้นที่ที่ยั่งยืน งานวิจัยของดลมนรรจน์ บากา และ เกษตรชัย และหีม แสดงให้เห็นว่าบทบาทผูน้ �ำ มุสลิมในการพัฒนาการศึกษาของสังคมมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ผลการ วิจัยพบว่า ผู้นำ�มุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้มีบทบาทที่เป็นจริงในการพัฒนาการเรียนการสอนประจำ�มัสยิดอยู่ ในระดับปานกลาง สำ�หรับบทบาทที่เป็นจริงและบทบาทที่คาดหวังของผู้นำ�มุสลิมในการพัฒนาโรงเรียนตาดีกา พบ ว่า ผู้นำ�มุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้มีบทบาทที่เป็นจริงในการพัฒนาโรงเรียนตาดีกาอยู่ในระดับปานกลางเช่น กัน และมีบทบาทในการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรตํ่าที่สุด6

5 รายงานคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ, มปป. 6 ดลมนรรจน์ บากาและคณะ. 2547. รายงานการวิจยั เรือ่ งการมีสว่ นร่วมของชาวชนบทในจังหวัดชายแดนภาคใต้ในการพัฒนา เศรษฐกิจแบบพอเพียง. ปัตตานี: วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.หน้า 20

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

จบการศึกษาระดับอุดมศึกษาได้เพียงร้อยละ 2 ในด้านคุณภาพการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการทดสอบ ทั่วประเทศโดยกระทรวงศึกษาธิการพบว่า นักเรียนจากสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้คะแนนตํ่ากว่านักเรียนในภา คอื่นๆ ในทุกวิชายกเว้นภาษาอังกฤษ5


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

208

2.2 การจัดการศึกษาที่ขาดความเข้าใจมิติทางวัฒนธรรม และอัตลักษณ์ของพื้นที่ การจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นให้มุสลิมปรับเปลี่ยนความเชื่อทางศาสนา วิถีชีวิต และวัฒนธรรม ที่เคยปรากฏ ในอดีตนั้น เป็นการจัดการศึกษาที่ขาดมิติของความเข้าใจในมิติทางวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ของพื้นที่อย่างชัดเจน ความไม่เข้าในมิติดังกล่าวนั้นจะไม่ส่งผลดีต่อกระบวนการจัดการศึกษาในภูมิภาคนี้ ในปัจจุบันยังมีโรงเรียนของรัฐ ที่ยังจัดตารางเรียนที่ไม่เอื้อต่อการปฏิบัติศาสนกิจของผู้เรียน ซึ่งสิ่งดังกล่าวนี้ถือเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนต่อความ รู้สึกของสังคมมุสลิม ซึ่งสิ่งเหล่าอาจจะกลายเป็นเงื่อนไขสำ�หรับที่จะทำ�ให้สังคมมุสลิมขาดความไว้วางใจกับการ จัดการศึกษาของภาครัฐ กุสุมา ลานุย, อัจฉรา สัปปพันธ และศุภศิริ หงสฤทธิพันธุ (2535:77-83)ได้ ศึกษาวิจัยเรื่อง ความตองการใน การศึกษาตอของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปที่ 3 ในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนร้อยละ 96.75 ต้องการศึกษาต่อหลังจากจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยนักเรียนส่วนใหญ่ ร้อยละ 53.05 ต้องการศึกษาต่อสายสามัญควบคู่สายศาสนา นักเรียนที่ต้องการศึกษาต่อสายศาสนาต้องการศึกษา ต่อถึงระดับชั้น 10 ร้อยละ 54.05 ต้องการศึกษาต่อในประเทศร้อยละ 75.68 ต้องการศึกษาต่อในจังหวัดปัตตานี ร้อย ละ 64.86 นักเรียนร้อยละ 56.76 มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาต่อสายศาสนาเพื่อจะได้นำ�ความรู้ไปใช้ในการประกอบ ศาสนกิจของตนเองและครอบครัว และนักเรียนร้อยละ 59.46 ต้องการประกอบอาชีพเป็นครูสอนศาสนาหลังจาก ศึกษาต่อจนจบศาสนาชั้นสูงสุด นักเรียนทีต่ อ้ งการศึกษาต่อสายสามัญ ต้องการศึกษาต่อถึงระดับสูงกว่าปริญญาตรีถงึ ร้อยละ 36.20 ต้องการ ศึกษาต่อในจังหวัดปัตตานีร้อยละ 36.20 ต้องการศึกษาต่อในโรงเรียนสังกัดกรมสามัญสามัญศึกษาร้อยละ 46.80 ต้องการศึกษาต่อสายวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์ ร้อยละ 82.98 และนักเรียนร้อยละ 43.62 ต้องการศึกษาต่อระดับ มหาวิทยาลัยหลังจากจบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 นักเรียนที่ต้องการศึกษาต่อสายศาสนาควบคู่สามัญ ต้องการศึกษาต่อในโรงเรียนเดิมร้อยละ 53.64 ต้องการ ศึกษาต่อในโรงเรียนแห่งใหม่ร้อยละ 46.36 ต้องการศึกษาต่อในจังหวัดปัตตานีร้อยละ 32.57 ต้องการศึกษาต่อสาย สามัญถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลายร้อยละ 37.93 ต้องการศึกษาต่อสายศาสนาถึงระดับชั้น 10 ร้อยละ 39.46 นักเรียนร้อยละ 41.38 มีจดุ มุง่ หมายในการศึกษาต่อสายสามัญเพือ่ จะได้นำ�ความรูไ้ ปประกอบอาชีพ นักเรียนร้อยละ 53.64 มีจุดมุ่งหมายในการศึกษาต่อสายศาสนาเพื่อจะได้น�ำ ความรู้ไปใช้ประกอบศาสนากิจของตนเองและ นักเรียน ร้อยละ 64.37 ต้องการศึกษาต่อทั้งสายศาสนาและสายสามัญเพราะคิดว่าสามารถได้ประโยชน์จากการเรียนทั้งสอง สาขาวิชาควบคู่กัน นักเรียนทีไ่ ม่ตอ้ งการศึกษาต่อร้อยละ 3.25 สาเหตุทไี่ ม่ตอ้ งการศึกษาต่อเพราะต้องการหางานทำ�ร้อยละ 43.75 และร้อยละ 50 ต้องการทำ�งานช่วยเหลือพ่อแม่หลังจากจบการศึกษา นักเรียนที่ต้องการศึกษาต่อมีปัญหาด้านค่าใช้จ่ายสูงกว่าปัญหาด้านอื่นๆ และปัญหาเรื่องความสามารถใน การเรียนวิชาต่างๆ เป็นลำ�ดับรองลงมา นักเรียนทีต่ อ้ งการศึกษาต่อต้องการความช่วยเหลือเกีย่ วกับข้อมูลการศึกษา ต่อมากกว่าด้านอื่นๆ 7

7 กุสุมา ลานุย, อัจฉรา สัปปพันธ และศุภศิริ หงสฤทธิพันธุ. 2535. รายงานการวิจัยเรื่อง ความตองการในการศึกษาตอของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปที่ 3 ในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้. ปัตตานี: คณะศึกษา ศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. หน้า 77-83


209

1) นักเรียนส่วนใหญ่ต้องการศึกษาต่อสายศาสนาควบคู่สามัญ ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงควรให้ความ สนใจในการพัฒนามาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามให้มากขึ้นโดยการจัดหา บุคลากรและงบประมาณสนับสนุน รวมทัง้ การจัดหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนใน จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพือ่ เปิดโอกาสให้เยาวชนมุสลิมได้ศกึ ษามากขึน้ นอกจากนัน้ หน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้อง ควรพิจารณาเรือ่ งมาตรฐานและคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดยะลา นราธิวาส และสตูลด้วย ทั้งนี้เนื่องจากนักเรียนต้องการเรียนต่อที่จังหวัดปัตตานีในอัตราส่วนที่สูงกว่า จังหวัดอื่นๆ 2) การศึกษาต่อสายศาสนาโรงเรียนสามารถจัดได้เพียงชัน้ 10 เป็นส่วนใหญ่ทมี่ นี กั เรียนบางส่วนต้องการเรียน สูงกว่าระดับชัน้ นี้ หน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้องจึงจำ�เป็นทีจ่ ะต้องพิจารณาจัดการศึกษาสายศาสนาในระดับทีส่ งู ขึน้ เพือ่ ตอบสนองความต้องการผูเ้ รียน ซึง่ จะเป็นการลดค่าใช้จา่ ยผูเ้ รียนต้องเสียไปเพราะต้องไปเรียนศาสนา ต่างประเทศนอกจากนัน้ การพัฒนามาตรฐานการศึกษาสายศาสนาจะต้องทำ�ให้อยูใ่ นระดับทีใ่ กล้เคียงกัน ในแต่ละจังหวัดเพือ่ ให้ผเู้ รียนได้มโี อกาสในการเรียนอย่างเต็มที่ โดยไม่ตอ้ งเดินทางไปเรียนในจังหวัดทีม่ ชี อื่ เสียง ทั้งนี้เพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการเรียนลง 3) หน่วยงานต่างๆ และสถาบันของรัฐควรให้ความสำ�คัญเรื่องการประชาสัมพันธ์ข้อมูลด้านการศึกษาต่อ เนื่องจากการตัดสินใจในการศึกษาต่อสาขาวิชาต่างๆ นั้น ข้อมูลด้านการศึกษาและข่าวสารต่างๆ รวมถึง การบริการแนะแนวทีด่ เี ป็นสิง่ ทีม่ คี วามสำ�คัญต่อการตัดสินใจของผูเ้ รียน ดังนัน้ สถาบันการศึกษาต่างๆ ควร ได้เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ข้อมูลให้ผู้เรียนกลุ่มนี้เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจ

2.3 การจัดการศึกษาที่ไม่สอดคล้องกับความต้องการของพื้นที่ มุสลิมต้องการการศึกษาที่มีคุณธรรมนำ�ความรู้และคุณธรรมดังกล่าวต้องเป็นคุณธรรมที่มาจากหลักคำ�สอน ของศาสนาทีจ่ ะต้องอาศัยการเรียนการสอนวิชาอิสลามศึกษา แต่เป็นทีน่ า่ เสียดายทีก่ ารจัดการศึกษาในโรงเรียนของ รัฐส่วนใหญ่ยงั ไม่เป็นไปตามความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ในพืน้ ที่ ในปัจจุบนั วิชาอิสลามศึกษาเป็นส่วนหนึง่ ของสาระสังคม ศาสนาและวัฒนธรรม ไม่ใช่เป็นหลักสูตร ปัจจุบันยังมีโรงเรียนของรัฐที่มีการเรียนการสอนอิสลาม ศึกษาเพียง 2- 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ แม้จะมีโรงเรียนที่นำ�ร่องสอนอิสลามศึกษามากกว่า 8 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ แต่สิ่ง นี้มิได้มีแรงผลักดันจากความเข้าใจมิติทางวัฒนธรรม แต่เป็นแรงผลักดันจากจำ�นวนของนักเรียนในโรงเรียนรัฐที่มี จำ�นวนน้อยลงทุกปี จนอาจจะทำ�ให้โรงเรียนของรัฐบางโรงจะต้องปิดกิจการลง เพราะมุสลิมเลือกทีจ่ ะเรียนในโรงเรียน เอกชนสอนศาสนาอิสลามที่มีสอนวิชาอิสลามศึกษามากพอที่จะนำ�ไปใช้ในการดำ�เนินชีวิต

2.4 การจัดการศึกษาแบบรวมศูนย์อำ�นาจที่ส่วนกลาง การกำ�หนดนโยบายด้านการจัดการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ทรี่ วมศูนย์อำ�นาจทีส่ ว่ นกลางเป็นปัญหา เชิงระบบและโครงสร้าง ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานรับผิดชอบโดยตรงในการดูแลโรงเรียนเอกชนประเภทสอนศาสนา อิสลาม เนื่องจากจังหวัดชายแดนภาคใต้มีลักษณะพิเศษ การกำ�หนดนโยบายและการจัดการศึกษาที่จะให้เป็นรูป แบบเดียวกันทั่วประเทศย่อมจะไม่สอดคล้องกับบริบทของการของท้องถิ่น การกระจายอำ�นาจและการมีส่วนร่วมที่ สมดุลจากบุคคลที่เหมาะสมนั้นเป็นสิ่งที่สำ�คัญยิ่ง และเป็นทางออกที่ดีในการแก้ปัญหาการจัดการศึกษาในจังหวัด ชายแดนภาคใต้ รัฐต้องกล้าพอที่จะให้จังหวัดชายแดนภาคใต้จัดการศึกษาของเขาเอง โดยใช้บุคลากรในพื้นที่ที่ พวกเขายอมรับและเป็นบุคคลที่เข้าใจมิติทางวัฒนธรรมของพวกเขา รัฐเป็นเพียงพี่เลี้ยงช่วยดูพวกเขา หากพวกเขา ต้องการความช่วยเหลือ พวกเขาสามารถกำ�หนดรูปแบบการจัดการศึกษาของพวกเขาได้เอง และเป็นการศึกษาที่ สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่นอย่างแท้จริง

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

อย่างไรก็ตาม จากงานวิจัยดังกล่าวสามารถสรุปได้ว่า


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

210

ในปัจจุบนั ยังไม่มหี น่วยงานหลักทีร่ บั ผิดชอบโดยตรงทีจ่ ะมาดูแลการจัดการศึกษาของโรงเรียนประเภทเอกชน สอนศาสนาอิสลาม แม้จะมีการฝากให้ส�ำ นักงานการศึกษาเอกชน(สช.)ดูแล แต่การดูแลดังกล่าวมิได้เป็นการดูแลใน ฐานะหน่วยงานรับผิดชอบโดยตรง ทำ�ให้การพัฒนาและการดูแลโรงเรียนประเภทดังกล่าวมีปัญหามาตลอด และ ปัญหาดังกล่าวได้ทำ�ให้เกิดช่องว่างระหว่างภาครัฐกับโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ซึง่ ช่องว่างดังกล่าวบางครัง้ ก็นำ�ไปสู่ปัญหาอื่นๆ เช่นปัญหาอคติ หรือความหวาดระแวงที่มีระหว่างรัฐและโรงเรียนประเภทเอกชนสอนศาสนา อิสลาม ดังนั้น การที่ไม่มีหน่วยงานโดยตรงจากภาครัฐที่จะมาดูแลโรงเรียนของมุสลิมในพื้นที่ ทำ�ให้ให้มีการมองว่า รัฐไม่ได้ทุ่มเทอย่างแท้จริงในการแก้ปัญหาการศึกษาที่หมักหมมมานาน ภาครัฐมีความพยายามที่จะให้มีนโยบายและยุทธศาสตร์ในการจัดการศึกษาในพื้นที่เพื่อลดเงื่อนไขที่จะนำ� ไปสู่การก่อความไม่สงบในพื้นที่ แต่ในทางปฏิบัติยังปรากฏมีผู้ปฏิบัติในท้องที่บางคนที่ยังไม่ปฏิบัติตาม จนเป็นเหตุ ให้ประชาชนในพืน้ ขาดความเชือ่ ใจต่อภาครัฐ และกลับมองว่ารัฐไม่มคี วามจริงใจในการแก้ปญ ั หาการศึกษาในพืน้ ที่ แม้รัฐจะมีสำ�นักงานคณะกรรมการอิสลามเป็นที่ปรึกษาให้กับภาครัฐ แต่ในทางปฏิบัติการขอคำ�ปรึกษาจาก ภาครัฐนัน้ ยังมีจ�ำ กัด และบางครัง้ คำ�ปรึกษาก็ไม่ได้รบั การปฏิบตั อิ ย่างจริงจัง เนือ่ งจากบางครัง้ รัฐใช้มมุ มองของความ มัน่ คงมองการจัดการศึกษาในพืน้ ที่ โดยเฉพาะอย่างยิง่ การจัดการศึกษาของสังคมมุสลิม การใช้มมุ มองดังกล่าวบาง ครัง้ ก็น�ำ ไปสูค่ วามหวาดระแวงทีม่ ตี อ่ การจัดการศึกษาของมุสลิมในพืน้ ทีค่ วามระแวงดังกล่าวบางครัง้ ก็นำ�ไปสูข่ อ้ เสนอ ที่ไม่สร้างสรรค์ และบางครั้งก็กลายมาเป็นประเด็นสำ�หรับผู้ไม่หวังดีใช้เป็นเงื่อนไขต่างๆ ดังนั้นงานวิจัยหลายเรื่องที่ ได้น�ำ เสนอว่าให้คนในพืน้ ทีเ่ ป็นเจ้าภาพในการจัดการศึกษาในพืน้ ที่ แต่คำ�ว่าคนในพืน้ ทีใ่ นทีน่ หี้ มายถึงมุสลิมทีเ่ ข้าใจ ศาสนาจริงๆ และมีความรู้ในเรื่องการจัดการศึกษา ไม่ใช่คนในพื้นที่ที่ไม่เข้าใจศาสนา แต่รัฐกลับมองว่าเป็นคนใน พื้นที่ที่ประชาชนต้องการ

2.5 การจัดการศึกษาที่ขาดความเข้าใจในธรรมชาติ ของสถาบันการศึกษา ความพยายามทีจ่ ะนำ�สถาบันการศึกษาตามอัธยาศัยมาเป็นสถาบันการศึกษาในระบบก็เป็นอีกปัญหาหนึง่ ที่ เรื้อรังมาตลอด เช่นความพยายามที่จะเอาสถาบันศึกษาปอเนาะ หรือตาดีกาซึ่งเป็นสถาบันที่จัดการการศึกษาตาม อัธยาศัยมาเป็นสถาบันการศึกษาในระบบมักได้รับการต่อต้านจากชุมชน ทำ�ไมไม่ทำ�ปอเนาะให้เป็นปอเนาะ ตาดี กาให้เป็นตาดีกาตามที่ชุมชนต้องการจริงๆ การพัฒนาให้สถาบันศึกษาปอเนาะให้เป็นปอเนาะดั่งเดิม และตาดีกา ได้คงความเป็นตาดีกา ยกเว้นบางปอเนาะที่ต้องการพัฒนาเป็นปอเนาะสมัยใหม่ การพัฒนาสถาบันศึกษาปอเนาะ หรือตาดีกาให้เข้ามาในระบบควรเป็นไปด้วยความสมัครใจของประชาชนมิใช่เพราะการบีบบังคับหรือเพราะสภาวะ จำ�ยอมที่ทำ�ให้สถาบันเหล่านั้นได้มาอยู่ในระบบ อีกทั้งการกระทำ�ดังกล่าวทำ�ให้เกิดช่องระหว่างรัฐและมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ช่องว่างดังกล่าวมีมา เป็นระยะเวลายาวนาน มุสลิมบางส่วนเข้าใจว่ารัฐจะใช้การศึกษาเป็นเครือ่ งมือในการกลืนวัฒนธรรมมลายูมสุ ลิมให้ หมดสิน้ ฝ่ายรัฐก็มองสถาบันการศึกษาทีส่ อนศาสนาทีช่ มุ ชนตัง้ ขึน้ มาโดยเฉพาะตาดีกา สถาบันศึกษาปอเนาะ และ โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามบางแห่งว่าเป็นแหล่งบ่มเพาะอุดมการณ์แบ่งแยกดินแดน และอุดมการณ์ทใี่ ช้ความ รุนแรง อีกทั้งเยาวชนที่เข้ารับการศึกษานาสถาบันศึกษาเหล่านี้ ก็ถูกมองว่าอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ความ ไม่สงบ จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำ�ให้ชาวมุสลิมในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ไม่นิยมให้บุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียน รัฐ จากความไม่เข้าใจของรัฐบาลที่มีต่อการจัดการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ดังกล่าวนั้น ทำ�ให้บางครั้ง คนของรัฐออกมาวิพากษ์วจิ ารณ์สถาบัน การศึกษาของมุสลิม เช่นสถาบันศึกษาปอเนาะ โรงเรียนเอกชนสอนศาสนา อิสลาม และตาดีกา บางครั้งก็ถึงขั้นให้เสนอให้ปิดสถาบันการศึกษา ข้อเสนอดังกล่าวมีผลทางลบต่อชุมชนมุสลิมที่ มีความภาคภูมใิ จกับสถาบันเหล่านี้ จากปรากฏการณ์นที้ ำ�ให้การให้การสนับสนุนส่งเสริมสถาบันดังกล่าวไม่เพียงพอ


211

นาวาลย์ ปานากาเซ็ง (2544 ) คุณภาพการศึกษาของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในสามจังหวัดชายแดน ภาคใต้ พบว่า คุณภาพการศึกษาของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามมาตรา 15(1) และมาตรา 15(2) ส่วนใหญ่อยู่ ในระดับทีค่ วรปรับปรุงโดยเร่งด่วนถึงพอใช้ในทุกปัจจัยคุณภาพ โดยเฉพาะอย่างยิง่ คุณภาพการศึกษาของโรงเรียนที่ ได้รับเงินอุดหนุนในอัตราร้อยละ 60 และร้อยละ 40 คุณภาพการศึกษาของโรงเรียนมาตรา 15(2) ที่ตั้งอยู่ในจังหวัด ยะลา ปัตตานีและนราธิวาสส่วนใหญ่ อยู่ในระดับที่ควรปรับปรุงโดยเร่งด่วนถึงพอใช้ในทุกปัจจัยคุณภาพ ปัญหา และข้อเสนอแนะของการปฏิบัติงานตามเกณฑ์คุณภาพของสำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน ซึ่งโรงเรียน เอกชนสอนศาสนาอิสลามในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ประสบปัญหามากที่สุดในแต่ละปัจจัยคุณภาพคือ ปัญหา ไม่ปฏิบัติตามปรัชญาและเป้าหมายซึ่งโรงเรียนควรแก้ไขปัญหาโดยการจัดให้นักเรียนและบุคลากรทุกคนมีส่วนร่วม ในการกำ�หนดปรัชญาและเป้าหมายโรงเรียน ปัญหาการจัดหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอนไม่สอดคล้อง กับปรัชญาเป้าหมายของโรงเรียน ความต้องการของนักเรียนและชุมชน โรงเรียนควรแก้ปัญหาด้วยการจัดหลัก สูตร และกระบวนการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับปรัชญาเป้าหมายของโรงเรียน ความต้องการของนักเรียนและ ชุมชน ปัญหาขาดแคลนบุคลากรไม่เพียงพอกับภาระหน้าที่งานที่มากขึ้น โรงเรียนควรแก้ปัญหาด้วยการจัดสรรงาน และมอบหมายงานให้เหมาะสมกับความสามารถ ความถนัดและความสนใจของบุคลากร ปัญหางบประมาณไม่พยี ง พอ ปัญหาทีเ่ กีย่ วกับผูบ้ ริหารขาดความรูค้ วามชำ�นาญในการบริหารงานต่างๆ ปัญหาการดูแลติดตามความประพฤติ ของนักเรียนยังไม่ทั่วถึง โรงเรียนควรแก้ปัญหาด้วยการเปิดโอกาสให้นักเรียนและผู้ปกครองได้เข้ามาร่วมมือกันใน การพัฒนาวินัยนักเรียน และนักเรียนบางส่วนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตํ่ากว่าเกณฑ์ที่โรงเรียนกำ�หนดโรงเรียนควร แก้ปัญหาด้วยการพัฒนาครูให้สามารถจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ8 อีกปัญหาหนึง่ ทีม่ ผี ลต่อคุณภาพการศึกษาในพืน้ ทีด่ งั กล่าวอย่างมาก คือ ปัญหาด้านครูและบุคลากรทางการ ศึกษา ทัง้ นี้ นอกจากปัญหาการขาดขวัญและกำ�ลังใจในการปฏิบตั งิ านอันเนือ่ งมาจากเหตุการณ์ความไม่สงบ ความ รู้สึกไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินจากเหตุการณ์ความไม่สงบที่คร่าชีวิตครู บุคลากรและนักเรียน และบุคคลอื่นๆ ปัญหาพื้นฐานเรื่องการขาดแคลนครูที่มีคุณภาพก็ยังมีอยู่ในทุกพื้นที่โดยเฉพาะในวิชาหลัก 4 วิชา ได้แก่ ภาษา ไทย ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ซึ่งร้อยละ 70 ของอัตราครูที่ขาดแคลนครูตกอยู่ใน 4 วิชาหลักนี้ ปัญหาความไม่สงบยังทำ�ให้ครูที่มีประสบการณ์การสอนสูงๆ ขอย้ายออกจากพื้นที่กว่า 1500 คน ในรอบสามปี โดย เฉพาะครูไทยพุทธ ในขณะที่ครูที่บรรจุใหม่เข้าไปเป็นพนักงานราชการก็มีประสบการณ์น้อย ครูที่มีขีดความสามารถ จากภูมิภาคอื่นๆ ก็หวาดกลัวไม่กล้าสมัครเข้าไปสอนในพื้นที่ จึงยิ่งทำ�ให้สถานการณ์การขาดแคลนครูที่มีคุณภาพ ยิ่งขาดแคลนเพิ่มขึ้นรวมทั้งเหตุการณ์ความไม่สงบยังทำ�ให้ความสัมพันธ์กับชุมชนและการมีส่วนร่วมของชุมชนใน กิจการต่างๆ ของโรงเรียนอ่อนแอลง ส่งผลกระทบต่อคุณภาพการจัดการศึกษาอย่างเป็นลูกโซ่ ในรอบสามปีทผี่ า่ นมา ปัญหาเรือ่ งความไม่ปลอดภัยของคณะครูและบุคลากรทางการศึกษาเป็นปัญหาใหญ่ ที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อประสิทธิภาพในการจัดการศึกษา สภาพโรงเรียนที่ถูกเผาหรือทำ�ลายกว่า 200 แห่ง ครู บุคลากร นักเรียน นักศึกษาที่บาดเจ็บหรือเสียชีวิตกว่า 300 คน เป็นปัจจัยที่ทำ�ให้คณะครูเสียขวัญกำ�ลังใจไม่กล้า 8 นาวาลย์ ปานากาเซ็ง. 2544. “คุณภาพการศึกษาของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้” วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์บัณฑิตสาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

ทั้งที่สถานศึกษาเหล่านี้เป็นความภาคภูมิใจของชาวมุสลิมและถือเป็นสถาบันอันทรงคุณค่า จึงทำ�ให้การพัฒนา คุณภาพการศึกษาในสถาบันการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสามจังหวัดภาคใต้นนั้ ไม่เป็นไปอย่างทีค่ วรจะเป็น กอปรกับเหตุการณ์ความไม่สงบทีเ่ กิดขึน้ อย่างต่อเนือ่ งทำ�ให้การเข้าถึงของรัฐต่อสถาบัน การศึกษาเหล่านี้น้อยลงโดยปริยาย ในขณะเดียวกันการเข้าถึงของสถาบันการศึกษาเหล่านี้ต่อหน่วยงานของรัฐก็มี ข้อจำ�กัดมากขึ้นจนบางครั้งทำ�ให้เกิดผลต่อความไว้วางใจกันต่อกัน


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

212

มาสอนตามปกติ โรงเรียนต้องปิดชัว่ คราวทุกครัง้ ทีม่ เี หตุการณ์ความรุนแรงในพืน้ ทีใ่ กล้เคียงเฉลีย่ 30-40 วัน หรือร้อย ละ 20 ของเวลาเรียนต่อปี ส่งผลต่อคุณภาพการเรียนการสอนให้ยิ่งตกตํ่าลง

4. แนวทางการจัดการศึกษาที่เหมาะสมในพื้นที่ พหุวัฒนธรรมในจังหวัดชายแดนใต้ การจัดการศึกษาทีเ่ หมาะสมในพืน้ ทีพ่ หุวฒ ั นธรรมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ควรเป็นไปตามข้อเสนอดังต่อไปนี้ 4.1 ส่งเสริม คงไว้ และยอมรับอัตลักษณ์และความหลากหลายของการจัดการศึกษาในพื้นที่ การเปลี่ยนแปลงใดๆ ที่จะให้มีกับสถาบันการศึกษาในพื้นที่แห่งนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถาบันการศึกษาของชุมชนมุสลิมให้อยู่ ภาคใต้ความสมัครใจของสถาบันนั้นๆ 4.2 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในท้องที่ โดยสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในท้อง ถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และชุมชนท้องถิ่นในการจัดการศึกษาของสถานศึกษาในท้องถิ่น ฯ ทั้งของรัฐและ เอกชนในพื้นที่ 4.3 ผลักดันสถาบันทางสังคมของชุมชน เช่น สถาบันครอบครัว สถาบันศาสนา สถาบันการศึกษา เป็นต้น ให้มีบทบาทในการจัดการศึกษาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 4.4 ปรับโครงสร้างการบริหารการศึกษาในพืน้ ที่ โดยให้มหี น่วยงานระดับอำ�เภอและระดับจังหวัดเพือ่ ทำ�หน้าที่ ดูแลและการจัดการศึกษาของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนา และให้บุคคลในพื้นที่ที่เข้าใจศาสนาอิสลามและมีความรู้ เกี่ยวกับการจัดการศึกษาในพื้นที่เป็นอย่างดีเป็นหัวหน้าหน่วยงาน 4.5 รัฐต้องพัฒนาและผลิตบุคลากรทางการศึกษาให้มีความเชี่ยวชาญและมีประสิทธิภาพ ที่เข้าใจวิถีชีวิต ของประชาชนในพื้นที่ เพื่อสร้างสัมพันธ์ที่ดีและความเข้าใจกันในระหว่างโรงเรียนและชุมชน เพื่อที่บุคลากรด้านการ ศึกษาจะไม่ทำ�การใดๆ อันขัดต่อความเชื่อทางศาสนา หรือขนบธรรมเนียม วัฒนธรรมประเพณีที่ดีงามของท้องถิ่น 4.6 การจัดตั้งองค์กรเฉพาะเพื่อการแก้ปัญหาความรุนแรงที่เกิดกับบุคลากรทางการศึกษาและการหยุดเรียน ของนักเรียน 4.7 เปิดโอกาสให้โรงเรียนในพื้นที่สามารถกำ�หนดวันศุกร์วันเสาร์เป็นวันหยุดเรียนของโรงเรียน ทั้งนี้เพื่อให้ สอดคล้องกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของท้องถิ่น และเป็นจุดเริ่มต้นของการยอมรับความหลากหลายของการจัดการ ด้านต่างๆ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 4.8 การจัดตั้งองค์กรเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่บูรณาการทุกมิติซึ่งรวมถึงมิติทางการศึกษา 4.9 ส่งเสริมให้พื้นที่แห่งนี้เป็นศูนย์กลางการศึกษาอิสลามระดับนานาชาติ 4.10 ส่งเสริมให้มจี ดั การศึกษาทีส่ อดคล้องกับวิถชี วี ติ วัฒนธรรมและความต้องการของท้องถิน่ ทัง้ ในสถาบัน การศึกษาของรัฐและเอกชน โดยเชื่อมโยงหลักการทางศาสนากับวิชาสามัญและวิชาชีพ และมีรูปแบบการบริหารที่ มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากพื้นที่อื่น9

9 เอกสารประกอบการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ข้อเสนอระเบียบวาระที่ 3.3 นโยบายแห่งชาติเพื่อการพัฒนาระบบ สุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรม ในการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 1 ณ ห้องประชุม ESCAPE อาคารสหประชาชาติ กรุงเทพฯ วันที่ 11-13 ธันวาคม 2551


213

การจัดการศึกษาในพื้นที่พหุวัฒนธรรมเป็นเรื่องที่ล่อแหลมและละเอียดอ่อนเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นแนวคิดใน การจัดการศึกษาในพื้นที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ อัตลักษณ์ทางศาสนา วัฒนธรรม และประเพณีควรคำ�นึง ไม่ใช่เฉพาะมิตทิ างการศึกษาเท่านัน้ หากยังต้องคำ�นึงถึงมิตทิ างสังคม การเมือง เศรษฐกิจ จิตวิทยาและศาสนาด้วย ความละเอียดอ่อนดังกล่าวสามารถที่จะส่งผลได้ทั้งทางบวกและทางลบ การจัดการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดน ภาคใต้นนั้ หากนำ�เอาสิง่ ทีก่ ล่าวข้างต้นมาพัฒนาเพือ่ เป็นจุดแข็งของพืน้ ทีโ่ ดยการจัดการทีด่ ี และสร้างการมีสว่ นร่วม ของประชาชนในพื้นที่ตั้งแต่การออกแบบการจัดการศึกษาตลอดจนการดูแลระบบการศึกษา และการประเมินผล ทางการศึกษา สิง่ ทีย่ ากลำ�บากมากสำ�หรับสังคมพหุวฒ ั นธรรมทีม่ วี ฒ ั นธรรมหลักและวัฒนธรรมรองค่อนข้างชัดเจน อย่างในกรณีของจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น คือ การสร้างความรู้สึกความเป็นเจ้าของทั้งกลุ่มที่เป็นประชาชนกลุ่ม ใหญ่และประชาชนกลุ่มต่างๆ ในพื้นที่ ทั้งนี้เพราะคำ�ตอบสุดท้ายสำ�หรับการจัดการศึกษาที่เหมาะสมสำ�หรับพื้นที่ นั้นควรเป็นเรื่องของท้องถิ่นที่จะต้องแสดงความประสงค์ โดยผ่านกระบวนการประชาธิปไตยที่เอื้อต่อการพัฒนา ประเทศอย่างยั่งยืน

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

5. บทส่งท้าย


ก้าวหน้าข้ามอคติทางชาติพันธุ์ในยุคโลกาภิวัตน์: สื่อ การแสดง และวรรณกรรม


215

สุภัตรา ภูมิประภาส2

“อคติชาติพันธ์ุ” เป็นวาทกรรมที่ถูกหยิบยกมาเป็นประเด็นถกเถียงอยู่เสมอในชุมชนวิชาการ ชุมชนชาติพันธุ์ ต่างๆ โดยเฉพาะแทบทุกครั้งที่ปรากฏอัตลักษณ์ที่ผิดเพี้ยนของกลุ่มชาติพันธุ์ในการนำ�เสนอของสื่อต่างๆ หลายครั้งที่นักมานุษยวิทยา ผู้ปฏิบัติงานในองค์กรพัฒนาเอกชนด้านชาติพันธุ์ และผู้นำ�กลุ่มชาติพันธุ์ออก มาเรียกร้องให้ผู้ทำ�งานในวิชาชีพสื่อสารมวลชนตระหนักและเคารพความแตกต่างทางวัฒนธรรม เช่น กรณีที่มูลนิธิ กระจกเงาและนักวิชาการด้านชาติพนั ธุเ์ รียกร้องให้มกี ารระงับโฆษณาหลายชิน้ เพราะมีการนำ�เสนอเนือ้ หาทีช่ นเผ่าพูด ภาษาไทยไม่ชัด โดยระบุว่าการนำ�เสนอดังกล่าวเป็นการดูถูกเหยียดหยามและสร้างความอับอายให้ชนเผ่า นักสิทธิมนุษยชน นักวิชาการด้านชาติพันธุ์มักจะวิพากษ์วิจารณ์สื่อมวลชนกระแสหลักในเรื่องการเลือกนำ� เสนอข่าวที่เกี่ยวข้องกับ “แรงงานข้ามชาติ” จากพม่า ลาว เขมร ว่าส่วนใหญ่เป็นการนำ�เสนอข่าวด้านลบที่มาจาก ทัศนคติด้านลบของสื่อไทยที่มีต่อชาติพันธุ์อื่นๆ นักประวัติศาสตร์ นักสันติวิธี นักสิทธิมนุษยชน และนักวิชาการจำ�นวนหนึ่งระบุว่ารัฐ สื่อ และคนในสังคม ไทยส่วนใหญ่ ดูถูก เหยียดหยาม และเลือกปฏิบัติต่อคนมุสลิมใน 3 จังหวัดภาคใต้ของประเทศไทย เพราะ “อคติ ทางชาติพันธุ์” ที่มีต่อ “ความเป็นอื่น” ที่มิใช่ “ไทย” นักวิชาการด้านชาติพนั ธุ์ นักประวัตศิ าสตร์ นักสิทธิมนุษยชน จำ�นวนมากยังได้อา้ งถึงข้อคับข้องใจของสมาชิก กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ต่อการถูกเรียกขานที่ถือว่าเป็นการดูถูก กดทับชาติพันธุ์ เช่น คำ�ว่า “ชนกลุ่มน้อย” .. “แม้ว” .. “ม้ง” .. “กะเหรี่ยง” .. “เจ๊ก” .. “เขมร” .. “แขก” .. “ลาว” .. “แรงงานต่างด้าว” .. ฯลฯ นอกจากนี้ หลายครัง้ ทีก่ ารสร้าง “ตัวตลก” ในสือ่ บันเทิงไทยกลายเป็นประเด็นถกเถียงและสร้างความขัดแย้ง ข้ามพรมแดนไปสู่ประเทศเพื่อนบ้าน เช่น กรณีที่รัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนลาวประท้วงภาพยนตร์เรื่อง “หมาก เตะ..โลกตะลึง” คำ�ว่า “อคติชาติพันธุ์” ที่ถูกผลิตซํ้าแล้วซํ้าอีกอยู่ในแวดวงวิชาการ และนักกิจกรรมด้านชาติพันธุ์นั้นได้สร้าง “ผู้ต้องหา” มากมายในแต่ละวัน รัฐ และคนทำ�สื่อ ต่างตกเป็นผู้ต้องหาอันดับต้นๆ ของวาทกรรมนี้ บทความนี้ ผู้เขียนขอนำ�เสนอมิติด้านอื่นๆ เพื่อชวนถกเถียงต่อความลักลั่นของการใช้วาทกรรมว่าด้วย “อคติ ชาติพันธุ์” ในสังคมไทย โดยเฉพาะในพื้นที่สื่อสารมวลชน ที่อคติชาติพันธุ์มิได้แยกอยู่อย่างโดดเดี่ยว แต่ได้ถูกผสม กลมกลืนไปกับอคติทางชนชั้น และถูกปล่อยให้ร่วมกันทำ�งานอย่างแข็งขัน โดยมี “อคติชาติพันธุ์” ถูกจัดวางไว้ให้ เป็นผู้รับหน้า เป็นจำ�เลยหลักอยู่เสมอ

1 การอ้างอิงบทความ ควรได้รับอนุญาตจากเจ้าของบทความ 2 นักเขียน/นักข่าว

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

“ตลก” ในสื่อบันเทิง “ผู้ร้าย” ในข่าวอคติของ(ชน)ชาติ.. (ชน)ชั้น และความลักลั่นของวาทกรรม1


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

216

การก้าวให้พ้น “อคติชาติพันธุ์” นั้น อาจต้องเริ่มต้นจากการปลดปล่อย “อคติ”ของผู้ใช้วาทกรรมเอง

ภาพลักษณ์ “ตลก” ในสื่อบันเทิง กับการมองต่างมุมของ “โจทก์” และ “จำ�เลย” ในวาทกรรมอคติชาติพันธุ์ ชาวเขาโวย 10 โฆษณาล้อเลียน หนังซาไก, “คลอเร็ต” “ติ๊ก” แสดง กลุ่มกระจกเงาเผย 10 ตัวอย่างโฆษณาล้อเลียนชนเผ่า หนังแผ่นเรื่อง “มิดะ” มีเนื้อหาเกี่ยวกับการขาย ประเวณีของชนเผ่า ส่งผลให้ภาพลักษณ์เสียหาย นอกจากนี้มีหนังเรื่อง “ซาไก ยูไนเต็ด” เน้นเรื่องความไม่รู้เท่าทัน คนในเมืองของเผ่าซาไก รวมทั้ง “แจ๋ว” ที่สื่อให้เห็นว่าชนเผ่าปกากะญอพูดไม่ชัด ทำ�ให้คนฟังตลก ขบขัน เช่นเดียว กับโฆษณา “คลอเร็ท” ที่มีติ๊ก เจษฎาภรณ์ ผลดี เป็นพรีเซ็นเตอร์ เนื้อหาเกี่ยวกับการพูดไม่ชัด ทำ�ให้ชนเผ่าคิดมาก กับโฆษณาชิ้นนี้ นักวิชาการด้านชาติพันธุ์ระบุเป็นการดูถูกเหยียดหยาม ลำ�เอียงชาติพันธุ์ จี้ระงับโฆษณาทั้งหมด ชี้ เป็นเรื่องละเอียดอ่อน... (จากหนังสือพิมพ์ข่าวสด 23 กันยายน 2548) ในสายตาของนักกิจกรรมและนักวิชาการด้านชาติพันธุ์ ภาพลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ที่ถูกสร้างและ นำ�เสนอในสื่อต่างๆ ของไทยมักจะถูกมองว่าเป็นภาพสะท้อน “อคติ” ของชาติพันธุ์ไทย หรือ “คนไทย” ที่มีต่อชาติ พันธุ์อื่นๆ และความเป็นอื่น เพราะล้วนแล้วแต่เป็นภาพลักษณ์ที่สร้างความอับอายให้กับกลุ่มชาติพันธุ์ที่ปรากฏใน สื่อนั้นๆ ภาพลักษณ์ที่มักถูกหยิบยกมาเป็นประเด็นอยู่เสมอ เช่น การนำ�เสนอภาพลักษณ์ที่ชนเผ่าพูดภาษาไทยไม่ ชัดเพื่อสร้างความรู้สึกตลกขบขันให้ผู้ชม หรือกรณีอื่นๆ ตามที่กลุ่มกระจกเงาระบุถึง ดังนี้ 1. เพลงมิดะ ซึง่ ขับร้องโดยจรัล มโนเพ็ชร มีเนือ้ หานำ�เสนอโดยไม่มคี วามชัดเจนในข้อมูล สือ่ ให้เห็นถึงเสรีภาพ ในการมีเพศสัมพันธ์ของชนเผ่าอาข่า มีผหู้ ญิงทำ�หน้าทีส่ อนการมีเพศสัมพันธ์ให้กบั ผูช้ ายในหมูบ่ า้ นบนลานสาวกอด ทั้งที่ความจริงไม่มีประเพณีดังกล่าว และลานสาวกอดยังถือเป็นลานวัฒนธรรมของชนเผ่าอาข่า 2. ภาพยนตร์เรื่องมิดะ 1 เป็นภาพยนตร์แผ่นวีซีดี มีเนื้อหาสื่อให้เห็นการขายประเวณีของสาวชนเผ่าว่า เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นในหมู่บ้าน ซึ่งความจริงไม่มีวิถีชีวิตแบบนั้น และยังมีบทบรรยายเป็นภาษาอังกฤษ สื่อให้ เห็นว่าสื่อดังกล่าวมีกลุ่มเป้าหมายเป็นชาวต่างชาติ นอกจากจะนำ�มาซึ่งภาพลักษณ์ไม่ดีของชนเผ่าแล้ว ยังรวมถึง ประเทศไทยด้วย 3. ภาพยนตร์เรื่องมิดะ ตำ�นานแห่งขุนเขา ซึ่งทำ�เป็นแผ่นวีซีดี บิดเบือนวัฒนธรรมอันถูกต้องของ 2 เผ่า คือ อาข่า และม้ง เนื่องจากในเรื่องมิดะแต่งกายผิดเผ่า แทนที่จะเป็นเผ่าอาข่าแต่กลับแต่งกายแบบม้ง และเนื้อหา ของเรือ่ งเป็นแนวอีโรติกและมีเนือ้ หาสือ่ ถึงพฤติกรรมทีไ่ ม่เหมาะสมในด้านเพศ ซึง่ คนชนเผ่าเกิดความรูส้ กึ ว่าเป็นการ ดูหมิ่นชนเผ่าอย่างรุนแรง 4. ภาพยนตร์เรื่องแจ๋ว ในเรื่องมีสาวใช้เป็นเผ่าปกากะญอ โดยบทมีลักษณะเจตนาสื่อให้ผู้ชมเห็นถึงความ รู้เท่าไม่ถึงการณ์ การด้อยความรู้ รวมทั้งคำ�พูดที่ไม่ชัดเจน เพื่อให้เกิดความตลก ขบขัน เหมือนเป็นตัวตลก 5. ภาพยนตร์เรื่องซาไก ยูไนเต็ด เสนอวิถีชีวิตของชนเผ่าซาไก เช่นความไม่รู้เรื่องต่างๆ เท่าคนเมือง การ ไม่รักษาความสะอาด ด้วยเจตนาทำ�ให้ขบขัน 6. ภาพยนตร์นานาช่า บทของเด็กน้อยชื่อ “เซียง” เด็กชนเผ่าที่เข้ามาเรียนในโรงเรียนนานาชาติที่มักถูก เพื่อนกลั่นแกล้งและล้อ 7. โฆษณา คลอเร็ท ชุด ติ๊ก-เจษฎาภรณ์ ล้อเลียนเรื่องการใช้ภาษาที่นักแสดงพูดไทยไม่ชัด ซึ่งคนชนเผ่า ส่วนใหญ่ค่อนข้างคิดมากกับเรื่องนี้เหมือนเป็นการถูกล้อ เยาะเย้ย


217

9. วงดนตรีโปงลางสะออน ที่แสดงคอนเสิร์ตเผยแพร่สู่โทรทัศน์ ในวงมีนักร้องหญิงคนหนึ่งแสดงออกทาง ภาษาด้วยการพูดไม่ชัด และการพูดสองแง่สองง่าม 10. ภาพยนตร์เรือ่ งเพลงรักลูกทุง่ ล้านนา ทีม่ บี ทล้อเลียนเด็กหญิงชนเผ่าทีพ่ ดู ไทยไม่ชดั และคำ�สองแง่สอง ง่ามเช่นกัน นายอาตี เชอหมื่อ ตัวแทนคนรุ่นใหม่ชนเผ่าอาข่าจากเชียงรายสะท้อนความรู้สึกในฐานะเป็นสมาชิกกลุ่ม “ชาติพันธุ์ที่ถูกกระทำ�” ว่าการล้อเลียนเรื่องภาษา แม้จะไม่รู้สึกรุนแรงเท่าเรื่องมิดะ แต่ไม่น่าจะนำ�มาเป็นเรื่องตลก ขบขัน เพราะก่อให้เกิดความอับอายแก่คนชนเผ่า บางคนอายจนไม่กล้าออกไปไหน “จริงๆ พวกเราอยากพูดให้ชัด เหมือนกับที่คนไทยพูดภาษาอังกฤษไม่ชัดเพราะเป็นภาษาที่ 2” แต่ในมุมมองของคนทำ�สื่อที่ตกเป็น “จำ�เลย”ของวาทกรรมอคติชาติพันธุ์นี้มีคำ�อธิบายที่แตกต่างไป เช่น นายสมพงษ์ คุนาประถม หัวหน้าวงดนตรีโปงลางสะออน บอกว่า “ผมมองว่าภาษาของพวกชาวเขาเป็น ภาษาทีน่ า่ รัก พอเราได้ฟงั และเห็นแล้วมีแต่รอยยิม้ อย่างสมัยก่อนทีค่ นอีสานทีม่ าทำ�งานในกรุงเทพฯ พูดภาษา อีสานกันบนรถเมล์ แล้วคนได้ยินก็หัวเราะ อย่างนี้ไม่ถือว่าเป็นการดูถูกหรือ ทางวงของเราแค่เอาวัฒนธรรมภาษา ของเขามาใส่ น่าจะคิดไปในทางบวกจะดีกว่า” ขณะที่ นายฤกษ์ชยั พวงเพชร ผูก้ ำ�กับภาพยนตร์เรือ่ งพยัคฆ์รา้ ยส่ายหน้า ชีแ้ จงว่า เขาทำ�หนังเรือ่ งนีข้ นึ้ มาเพือ่ ความบันเทิง และคิดว่าการพูดไม่ชัดไม่ใช่ปมด้อย “อยากให้กลับไปดูหนังเรื่องนี้จนจบเรื่อง แล้วจะรู้ว่าตัวละคร ชนกลุม่ น้อยในเรือ่ งจะทำ�ความดี ไม่ได้จงใจดูถกู ชาวเขาร้อยเปอร์เซ็นต์ ขอยืนยันว่าหนังสะอาดมาก ไม่ได้วา่ ใคร อยู่แล้ว และตัวละครในเรื่องต้องการเงินไปดูแลหมู่บ้าน พวกเขาต้องทำ�ความดี และในเรื่องไม่ได้ระบุว่าชนกลุ่ม น้อยกลุ่มนี้เป็นชาวเขากลุ่มไหน แต่เป็นกลุ่มชนที่สมมติขึ้นมา” แน่นอนว่าผู้ชมส่วนหนึ่งซึ่งเป็นส่วนใหญ่อาจรู้สึกขบขันเมื่อได้ยินได้ชมภาพลักษณ์ของชาติพันธุ์ที่ถูกนำ� เสนอผ่านสื่อบันเทิงเหล่านี้ โดยที่บางคนบอกว่าไม่ได้มีความรู้สึกถึงนัยยะของการดูถูก ดูแคลนใดในอาการขบขัน แต่หัวเราะเพราะรู้สึกว่า “ตลกดี” แต่ผู้ชมส่วนที่ไม่รู้สึกขบขันกับการนำ�เสนอพฤติกรรมพูดไม่ชัดของตัวละครที่เป็น ชาติพันธุ์อื่นๆ นั้น ชี้ว่าการหัวเราะคือการ “ดูถูก” ใครก็ตามที่เรารู้สึกว่าตํ่าต้อยกว่า เปิ่น เชย หรือศิวิไลซ์น้อยกว่า “subject ของการขบขันเกิดจากการที่เราเห็นเขาด้อยกว่า เราไม่เคยขันคนที่ดูดีกว่าเรา” ขณะที่ รศ.ชูพนิ จิ เกษมณี นักวิชาการด้านชาติพนั ธุเ์ ห็นว่าการสร้างเรือ่ ง “ตลก”ในสือ่ ด้วยการใช้กลุม่ ชาติพนั ธุ์ เป็น subject นั้นแม้ผู้สร้างและผู้ชมที่หัวเราะขบขันไม่มีเจตนาดูถูก หรือบางคนมองว่าไม่ใช่เรื่องร้ายแรงอะไร แต่ ความรูส้ กึ ขบขันพฤติกรรมการพูดไม่ชดั ของชนเผ่านัน้ สะท้อนความลำ�เอียงทางชาติพนั ธุท์ ฝี่ งั ลึกและกลมกลืนไปกับ ความรู้สึกด้านอื่นจนเจ้าตัวไม่รู้ “เรือ่ งภาษา แม้หลายคนอาจจะมองว่าไม่รา้ ยแรง แต่ตอ้ งถือว่ามีผลต่อความรูส้ กึ เหมือนเป็นการดูถกู ... ทำ�ไม เวลานางงามหรือคนที่เล่นบทพระเอกนางเอกในหนังหรือละครที่พูดไม่ชัด คนทั่วไปยังมองว่าน่ารัก แต่คนชนเผ่าพูด ไม่ชัดกลับมองเป็นเรื่องน่าขบขัน” 3 เมี่ยนเวย์ ชายหนุ่มเชื้อชาติพม่า สารภาพว่าเมื่อเขาออกมาจากประเทศพม่าเมื่อเกือบ 20 ปีที่แล้ว เขา และเพื่อนๆ ที่มาจากพม่าเคยรู้สึกขบขันเมื่อได้ยินภาษาที่คนมอญพูดกัน “พวกเราหัวเราะเพราะรู้สึกว่ามันแปลก 3 รศ.ชูพินิจ เกษมณี ผู้เชี่ยวชาญด้านชาติพันธุ์ จากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กล่าวในการเสวนา เรื่อง “เมื่อคนไทยชนเผ่า..ต้องถูกเล่าผ่านสื่อ” วันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2548

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

8. ภาพยนตร์เรื่องพยัคฆ์ร้ายส่ายหน้า มีตัวแสดงเป็นคนเผ่าปกากะญอพูดไทยไม่ชัด


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

218

[แตกต่างไปจากภาษาพม่า]” แต่เมื่อเข้ามาอยู่ในสังคมไทยและได้ดูหนัง ดูละครที่มีการนำ�เสนอภาพชาวพม่าพูด ภาษาไทยไม่ชัดให้เป็นเรื่องตลก เมี่ยนเวย์บอกว่าแม้จะพยายามเข้าใจว่าเป็นการสร้างความบันเทิง ไม่ได้เป็นการ ดูถูกเหมือนกับที่เขาและเพื่อนชาวพม่าเคยหัวเราะภาษามอญ แต่ตลกแบบนี้ก็ทำ�ให้เขารู้สึกอาย “ตลกอย่างอื่นมีเยอะแยะ ไม่อยากให้มี misunderstanding เราอยู่ใกล้ๆ กัน เอาวัฒนธรรมมาเล่นจะกลาย เป็นเรื่องใหญ่ระดับประเทศไป”

“หมากเตะ... โลกตะลึง” การปะทะกันของอคติชาติพันธุ์ ไทย-ลาว เรื่อง “ตลก” ในสื่อบันเทิงที่กลายเป็นประเด็นกระทบกระทั่งระดับประเทศอย่างที่เมี่ยนเวย์หวั่นเกรงเกิดขึ้น ในกรณีของภาพยนตร์เรื่อง “หมากเตะ... โลกตะลึง” เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2549 รัฐบาลสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ส่งหนังสือประท้วง มายังกระทรวงการต่างประเทศของไทย เพื่อขอให้ดำ�เนินมาตรการยุติการฉายและเผยแพร่ภาพยนตร์เรื่อง “หมาก เตะ โลกตะลึง” ซึ่งผลิตโดยบริษัทจีทีเอชของไทย เนื่องจากมีเนื้อหาดูหมิ่นประชาชนลาว นายยง จันทะรังสี โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กล่าวว่าผู้สร้าง ภาพยนตร์เรือ่ ง “หมากเตะ โลกตะลึง” จงใจเขียนเนือ้ หาของหนังให้ออกมาในทิศทางทีด่ หู มิน่ ประชาชนคนลาว และถ้า รัฐบาลไทยต้องการจะสานสัมพันธภาพอันดีของประเทศลาว ซึง่ เป็นชาติเพือ่ นบ้าน ก็ขอให้ด�ำ เนินมาตรการแทรกแซง ไม่ให้ภาพยนตร์เรื่องนี้เข้าฉายในโรงภาพยนตร์ของไทย และประเทศไทยควรหยุดล้อเลียนและดูหมิ่นศักดิ์ศรี ประเทศเพื่อนบ้านด้วย ทางการลาวระบุวา่ ภาพยนตร์ดงั กล่าว เป็นการล้อเลียนวงการฟุตบอลลาวทีต่ กตํา่ และต้องจ้างโค้ชไทยมาคุม ทีม อีกทั้งดาราที่แสดงเป็นนักฟุตบอลลาวหลายคน ได้ย้อมผมเหมือนนักฟุตบอลชื่อดังชาวตะวันตก และมีฉากที่ให้ นักฟุตบอลไปฝึกความอดทนกับสภาพอากาศหนาวในตู้คอนเทนเนอร์ปรับอากาศด้วย น่าสนใจว่าขณะที่รัฐบาลลาวแสดงความไม่พอใจอย่างยิ่งต่อภาพยนตร์เรื่องนี้ งานวิจัยของสุภลักษณ์ กาญจนขุนดี ในหัวข้อ “การปะทะของวัฒนธรรมทีใ่ กล้เคียง” (A clash of similar cultures) กล่าวถึงความรูส้ กึ ของ ชาวลาวคนหนึ่งในนครเวียงจันทน์ที่ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนไทยหลังจากที่ได้เห็นภาพยนตร์ตัวอย่างของ “หมาก เตะฯ” ว่าเขาไม่รู้สึกว่าการนำ�เอาทีมฟุตบอลชาติลาวมาทำ�เป็นเรื่องตลกจะเป็นเรื่องเสียหายแต่อย่างใด ความเห็นของคนลาวในงานของสุภลักษณ์ สอดคล้องกับคำ�อธิบายของนายอดิสรณ์ ตรีสิริเกษม ผู้กำ�กับ ภาพยนตร์เรื่องนี้ที่ได้อ้างว่าเขาได้ระมัดระวังอย่างยิ่งที่จะไม่ให้เกิดปัญหาในประเด็นต่างๆ ที่คนลาวไม่ชอบ โดยได้ ปรึกษากับคนลาวรวมทั้งนายสุกสาคร จูมมณีวงศ์ นักฟุตบอลทีมลาวที่เล่นภาพยนตร์เรื่องนี้ด้วย ฝ่ายตัวแทนของบริษทั ทีส่ ร้างภาพยนตร์เรือ่ งหมากเตะฯ  ยังได้ยนื ยันว่า เอกอัครรัฐทูตลาวประจำ�ประเทศไทย ได้ส่งตัวแทนมาดูภาพยนตร์เรื่องนี้แล้ว ซึ่งผู้แทนจากสถานทูตลาวฯไม่ได้มีการท้วงติงใดๆ ทั้งยังรู้สึกว่าหนังเรื่องนี้ เป็นหนังส่งเสริมความสัมพันธ์ไทย-ลาว ในส่วนของนักแสดงบทตลกของไทย น้อย โพธิ์งาม ที่ร่วมแสดงภาพยนตร์เรื่องนี้บอกว่าเธอไม่ได้รู้สึกว่ามี “อคติชาติพันธุ์” หรือการดูหมิ่นคนลาวในภาพยนตร์เรื่องนี้แต่อย่างใดจนเมื่อมีการประท้วงขึ้นมา ทั้งนี้น้อย โพธิ์งาม ยังมีความเห็นว่าภาพยนตร์เรื่องนี้น่าจะเป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์ของไทย-ลาว อีกด้วย


219

ความเห็นของชาวลาวทีน่ ครเวียงจันทน์กด็ ี ความเห็นของนักฟุตบอลลาวทีร่ ว่ มแสดงก็ดี ความเห็นของผูแ้ ทน จากสถานทูตลาวในไทยก็ดี และความเห็นของนักแสดงไทย ตลอดจนคำ�อธิบายของฝ่ายผู้สร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ สอดคล้องกับการวิเคราะห์ในงานวิจัยของสุภลักษณ์ที่ระบุว่าประเด็นของการดูหมิ่นคนลาว หรือ “อคติชาติพันธุ์” ที่ รัฐบาลลาวยกขึน้ มาเป็นในกรณีของภาพยนตร์เรือ่ งหมากเตะฯ นัน้ เป็นส่วนหนึง่ ของเกมการเมืองของลาวเองทีถ่ กู นำ� มาปลุกประเด็น “ชาตินยิ ม” เพือ่ ประโยชน์ทางการเมืองของรัฐบาล โดยอาจไม่เกีย่ วกับความรูส้ กึ ของประชาชนทัว่ ไป “กระทรวงต่างประเทศในเวียงจันทน์ไม่จำ�เป็นต้องไปสอบถามความรู้สึกของประชาชน” สุภลักษณ์วิเคราะห์ว่าปฏิกิริยาดังกล่าวของกระทรวงต่างประเทศลาวต่อเรื่องหมากเตะฯ นี้เป็นการสร้างผล งานของกระทรวงฯ ในช่วงที่จะมีการปรับคณะรัฐมนตรี อย่างไรก็ตาม สุภลักษณ์เห็นว่าการที่ผู้สร้างภาพยนตร์ไทยเลือกทีมฟุตบอลลาวเป็น “subject” เพื่อสร้าง อารมณ์ขันนั้น เป็นส่วนหนึ่งของอคติชาติพันธุ์ที่คนไทยมีต่อคนลาว “ทำ�ไมถึงต้องเป็นทีมชาติลาว ทำ�ไมไม่เป็นไทยหรือประเทศอื่น” คำ�อธิบายของ จิระ มะลิกุล ผู้อำ�นวยการสร้างภาพยนตร์ ต่อประเด็นนี้ คือ “จริงๆ แล้วไม่ได้คิดว่าจะเป็น ชาติอะไร รู้สึกว่าประเทศอะไรก็ได้ที่ลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ผ่านเนี่ยแหละสักประเทศหนึ่งได้ไปบอล โลกมันคงจะสนุกมาก เหมือนการ์ตูนของญี่ปุ่น เพราะไม่ว่าคนญี่ปุ่นอยากจะเห็นอะไรเขาจะเขียนลงไปในการ์ตูน ก่อน แล้ววันหนึ่งมันก็จะเป็นไปได้จริงๆ สมมุติว่าเราทำ�ภาพยนตร์แบบนี้ไว้แล้วเด็กรุ่นหลังๆ ได้มาเห็นภาพว่าเราได้ ไปจริงๆ ก็น่าจะเป็นกำ�ลังใจให้เขา พัฒนาตัวเองจนสามารถทำ�ให้เกิดขึ้นจริงได้ในที่สุด” ประเด็นที่อาจเรียกได้ว่าเป็นอคติชาติพันธุ์ต่อกรณีของหมากเตะฯ นั้น กลับสะท้อนผ่านความเห็นของผู้สื่อ ข่าวไทยและแฟนบอลชาวไทยบางส่วนตามที่ นายสุเมต สุวรรณพรหม โฆษกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ให้ สัมภาษณ์วา่ มีผสู้ อื่ ข่าวสายกีฬาและแฟนบอลจำ�นวนมาก โทรศัพท์เข้ามาแสดงความคิดเห็นกับสมาคมว่าหนังเรือ่ ง ดังกล่าวเป็นการดูถูกทีมชาติไทย เพราะการวางพล็อตเรื่องที่ระบุว่าหากทีมฟุตบอลทีมชาติลาวจะต้องเสมอ กับทีมชาติไทยถึงจะได้ไปบอลโลกนั้น มันเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ เพราะแม้ว่าขณะนี้เราจะยังไม่ได้ไปบอล โลก แต่วงการฟุตบอลของเราก็พัฒนามาโดยตลอด จนไม่ใช่ว่าจะไปเสมอกับลาวที่การพัฒนาทางฟุตบอล ยังน้อยกว่าเรามาก ในเรื่องของการมองเพื่อนบ้านว่าด้อยกว่า ตํ่ากว่า เจริญน้อยกว่า ด้อยพัฒนากว่าคนไทยเช่นนี้ ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ นักประวัตศิ าสตร์อธิบายว่า “เป็นเรือ่ งทีฝ่ งั ลึกมากเลยในคนไทย” และเป็นเรือ่ งทีเ่ กีย่ วพันกับความรูส้ กึ ในแง่ของปมเขื่อง “เราภูมิใจในความสำ�เร็จระดับหนึ่งของบ้านเมืองของเราในแง่ของความเจริญทางวัตถุ ถนนหนทาง รถยนต์ หรือเรื่องของเศรษฐกิจที่ก้าวหน้าไปกว่าลาว เขมร พม่า กลายไปเป็นปมเขื่อง แม้มีคนจำ�นวนหนึ่งพยายามอย่างยิ่ง ที่จะเข้าใจเพื่อนบ้าน แต่ว่าอีกจำ�นวนหนึ่งอาจจะไม่คิดอะไร มันก็กลายเป็นข่าวที่เราได้ยินกันเช่น นักท่องเที่ยวไทย ไปนครวัด ไปโปรยทานด้วยทอฟฟี่ อีกฝ่ายหนึ่งเขาตีความว่าเป็นการดูถูก มันเป็นเรื่องของชาตินิยม เขาไม่ได้มองว่า เป็นการทำ�บุญทำ�ทาน ปัญหานี้ต้องใช้คำ�ว่าละเอียดอ่อนซับซ้อน ถ้าไม่คิดอาจจะมองไม่เห็น”4 4 ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และทีป่ รึกษาโครงการเอเซียตะวันออกศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้สัมภาษณ์ในรายการ “เช้าทันโลก” ทางสถานีวิทยุ คลื่นเอฟเอ็ม 96.5 วันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2549

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

เธอถามว่าอยากทราบเหมื อ นกั นว่ า ส่ ว นไหนที่ เ ป็ นการหมิ่ น ในความรู้ สึ ก ของเธอตอนที่ แ สดง ภาพยนตร์เรื่องนี้ ไม่ได้รู้สึกว่ามีตรงไหนที่ไปล้อเลียนความเป็นลาว และคิดว่าดีเสียอีกกับหนังเรื่องนี้ที่น่าจะ ส่งเสริมให้ทั้ง 2 ประเทศรักกันมากยิ่งขึ้น


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

220

ขณะทีส่ ภุ ลักษณ์ กาญจนขุนดี วิเคราะห์และนำ�เสนอความเห็นไว้ในงานวิจยั หัวข้อ “การปะทะของวัฒนธรรม ที่ใกล้เคียง” ว่า ปัญหารากเหง้าคือทัศนคติของคนไทยต่อประเทศเพื่อนบ้านยังคงไม่เปลี่ยนแปลง คนไทยต้องยุติ การนำ�คนที่ตนเห็นว่าด้อยกว่ามาเป็นประเด็นในสร้างความสนุกสนาน ชาติพันธุ์อื่นๆ ควรต้องมีความภูมิใจ และ มั่นใจในวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ของตนเอง

หมากเตะ...โลกตะลึง “รัฐบาลลาว”ยันไม่ขำ� จี้ห้ามฉายหนังไทย”หมากเตะ” “รัฐบาลลาว” ยันไม่ขำ� จี้ห้ามฉายหนังไทย “หมากเตะ” ร่อนหนังสือถึงบัวแก้ววอนเลิกหมิ่นกันเสียที “เก้ง” จิระหอบฟิล์มบุกสถานทูตลาว-พิสูจน์ รัฐบาลลาวร่อนหนังสือถึงกระทรวงบัวแก้ว ประท้วงหนังไทย “หมากเตะ โลกตะลึง” จี้ห้ามฉาย-เผยแพร่ใน โรงเด็ดขาด โฆษกกระทรวงต่างประเทศลาวยันเนื้อหาเจตนาหมิ่นลาวชัด ฮึ่มถ้ารัฐบาลไทยยังคิดจะสานสัมพันธ์ อันดีต่อไป ต้องสั่งห้ามฉายใน 18 พ.ค.นี้ วอนคนไทยเลิกล้อเลียนหมิ่นศักดิ์ศรีประเทศเพื่อนบ้านเสียที “เก้ง” จิระ โปรดิวเซอร์ พร้อมผู้ก�ำ กับฯ หอบฟิล์มหนังบุกสถานทูตลาววันนี้พิสูจน์ความบริสุทธิ์ใจ ด้านโฆษกสมาคมฟุตบอล ไทย ชี้หนังไม่ได้หมิ่นคนลาว จริงๆ แล้วหมิ่นทีมบอลไทยชัดๆ จากกรณีทางการลาวประท้วงหนังไทย “หมากเตะ โลกตะลึง” ของบริษทั จีเอ็มเอ็ม ไทยหับ จำ�กัด หรือจีทเี อช เนือ่ งจากเข้าข่ายขัน้ ดูถกู และล้อเลียนทีมฟุตบอลชาติลาว โดยเชิญนายอุดมศักดิ์ ศรีธญ ั โกศ อัครราชทูตไทย ประจำ� กรุงเวียงจันทน์ เข้าหารือจี้ให้ถอดฉากไม่เหมาะสมออกไป ล่าสุด “เก้ง” จิระ มะลิกุล หนึ่งในโปรดิวเซอร์ยืนยันว่า ไม่มีเจตนาทำ�ให้กระทบความสัมพันธ์ไทย-ลาว และหนังตัดส่วนที่ละเอียดอ่อนออกหมดแล้ว ขณะที่ “ปิ๊ง” อดิสรณ์ ตรีสริ เิ กษม ผูก้ �ำ กับฯ ระบุหนังมุง่ สร้างแรงบันดาลใจในการไปบอลโลกมากกว่า และก่อนหน้านีก้ เ็ ชิญตัวแทนทูตลาว มาดูแล้ว ไม่เห็นมีปฏิกิริยาใด ตามข่าวที่เสนอไปแล้วนั้น เมื่อวันที่ 14 พ.ค. สำ�นักข่าวเอพีรายงานว่า นายยง จันทะรังสี โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ สาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว ให้สมั ภาษณ์ในกรุงเวียงจันทน์วา่ รัฐบาลลาวส่งหนังสือประท้วงมายังกระทรวงการต่าง ประเทศของไทย เพื่อขอให้ดำ�เนินมาตรการยุติการฉายและเผยแพร่ภาพยนตร์เรื่อง “หมากเตะ โลกตะลึง” ซึ่งผลิต โดยบริษัทจีทีเอชของไทย เนื่องจากมีเนื้อหาดูหมิ่นประชาชนลาว นายยง ระบุว่า ผู้สร้างภาพยนตร์เรื่อง “หมากเตะ โลกตะลึง” จงใจเขียนเนื้อหาของหนังให้ออกมาในทิศทาง ทีด่ หู มิน่ ประชาชนคนลาว และถ้ารัฐบาลไทยต้องการจะสานสัมพันธภาพอันดีของประเทศลาว ซึง่ เป็นชาติเพือ่ นบ้าน ก็ขอให้ด�ำ เนินมาตรการแทรกแซง ไม่ให้ภาพยนตร์เรือ่ งนีเ้ ข้าฉายในโรงภาพยนตร์ของไทยในวันพฤหัสบดีที่ 18 พ.ค.นี้ และประเทศไทยควรหยุดล้อเลียนและดูหมิ่นศักดิ์ศรีประเทศเพื่อนบ้านด้วย ด้านนายเกียรติคณ ุ ชาติประเสริฐ รองอธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศของประเทศไทย กล่าวว่า วันจันทร์ที่ 16 พ.ค.นี้ เชิญบริษัทผู้ผลิตภาพยนตร์ “หมากเตะ โลกตะลึง” มาหารือถึงประเด็นละเอียดอ่อนในหนังที่ อาจต้องปรับปรุงก่อนฉาย อย่างไรก็ตาม วันเดียวกันนีท้ างกระทรวงยังไม่ได้เชิญเจ้าหน้าทีฝ่ า่ ยลาวมาหารือแต่อย่างใด ผู้สื่อข่าวติดต่อเพื่อสัมภาษณ์ความคืบหน้าของกรณีประเทศลาวไม่พอใจหนังไทย “หมากเตะ โลกตะลึง” ไปยัง “เก้ง”จิระ มะลิกุล โปรดิวเซอร์หนังดังกล่าว แต่ได้รับการปฏิเสธ โดยแจ้งผ่านฝ่ายประชาสัมพันธ์ว่า ไม่อยาก ให้เรื่องนี้บานปลาย แต่ขอให้เป็นเรื่องในวันที่ 15 พ.ค. ทีเดียว เพราะในเวลา 10.00 น. บริษัทจีทีเอช นำ�โดย วิสูตร พูลวรลักษณ์, “เก้ง” จิระ, ชนนี สุนทรสารทูร 2 โปรดิวเซอร์ของหนัง และ “ปิ๊ง” อดิสรณ์ ผู้กำ�กับฯ จะเดินทางไปยัง สถานทูตลาวเพือ่ ส่งมอบฟิลม์ ของภาพยนตร์เรือ่ งดังกล่าวให้มกี ารตรวจสอบถึงความบริสทุ ธิใ์ จในการสร้างภาพยนตร์ “หมากเตะ โลกตะลึง” ว่าไม่ได้ตั้งใจหมิ่นประเทศลาวแต่อย่างใด


221

นายสุเมตกล่าวต่อว่า แต่สิ่งที่ตนไม่สบายใจจากภาพยนตร์เรื่องนี้ เนื่องจากมีผู้สื่อข่าวสายกีฬาและแฟน บอลจำ�นวนมาก โทรศัพท์เข้ามาแสดงความคิดเห็นกับสมาคมว่าหนังเรื่องดังกล่าวเป็นการดูถูกทีมชาติไทย เพราะ การวางพล็อตเรื่องที่ระบุว่าหากทีมฟุตบอลทีมชาติลาวจะต้องเสมอกับทีมชาติไทยถึงจะได้ไปบอลโลกนั้น มันเป็น เรื่องที่เป็นไปไม่ได้ เพราะแม้ว่าขณะนี้เราจะยังไม่ได้ไปบอลโลก แต่วงการฟุตบอลของเราก็พัฒนามาโดยตลอด จน ไม่ใช่ว่าจะไปเสมอกับลาวที่การพัฒนาทางฟุตบอลยังน้อยกว่าเรามาก นอกจากนี้ ปีนี้เป็นปีที่สมาคมฟุตบอลแห่ง ประเทศไทยมีอายุครบ 90 ปี โดยสมาคมได้รับการโปรดเกล้าฯจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเรา มีการจัดงานใหญ่โต มีการมอบรางวัลอัศวพาหุให้กับผู้ทำ�คุณงามความดีกับสมาคม ดังนั้น คิดว่าหนังควรจะออก มาในเชิงสร้างสรรค์มากกว่านี้ จากหนังสือพิมพ์ ข่าวสด วันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 ปีที่ 16 ฉบับที่ 5646 http://www.parliament.go.th/news/news_detail.php?prid=5594 ศิลามณี กับ “อคติชาติพันธุ์” ของผู้ชมชาวเหนือ ละครโทรทัศน์เรือ่ ง “ศิลามณี” กำ�หนดให้นางเอกคือเจ้าหญิงแสงฝาง (แสดงโดยสุวนันท์ คงยิง่ ) เป็นเจ้าหญิง ของเชียงรัฐ ซึ่งเป็นรัฐที่ผู้ประพันธ์สมมติขึ้นมาว่าอยู่ทางตอนเหนือของประเทศไทย ฉะนั้น นางเอกจึงถูกกำ�หนดให้ พูดภาษาถิ่นทางเหนือ เพื่อสร้างอรรถรสให้กับผู้ชม ปฏิกิริยาของผู้ชมชาวเหนือบางคนต่อการพูดภาษาเหนือของตัวแสดงในละครโทรทัศน์เรื่องศิลามณีสะท้อน อคติชาติพันธุ์ต่อ “ความเป็นอื่น” อีกรูปแบบหนึ่ง และเป็นอคติที่ไม่ได้ซ่อนเร้นหรือฝังลึกมากับเสียงหัวเราะ แต่เป็น ถ้อยคำ�วิจารณ์อย่างเปิดเผยและรุนแรง เช่น ความคิดเห็น ที่ 1645 หัวข้อ ข่าว ศิลามณี ละครมาแรง ดูแล้ว คิดอย่างไร กันบ้าง กบเหรอ ก็แสดงดี หน้าตาหน้าผมก็ดูดีไปซะหมด แต่มาเสียตรงที่กำ�อู้แบบเหนือๆ ฟังแล้วเครียดแทนคนเหนือ ภาษาเค้าไม่ใช่พูดแบบนี้นะตัวเอง ฟังแล้วทะๆ ถ้าเป็นคนเหนือจะฟังแล้วตลกมาก แต่ภาคอื่นดูก็คง ม่วนอ๊กม่วนใจ๋ ไปตามๆ กัน ว่าแต่ว่าเราก็ดูนะเนื้อหามันสนุกดี แต่ถ้าภาษาด้ายละก็โอเคเลย่ะ จากคุณ: -*- เช็ค IP - [ 25 พ.ย. 2551 21:54:48 ]

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

วันเดียวกัน นายสุเมต สุวรรณพรหม โฆษกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย กล่าวถึงกรณีเดียวกันว่า ส่วน ตัวและในนามของสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย คิดว่ากรณีดังกล่าวไม่ใช่การดูหมิ่นหรือเหยียดหยามอะไร เป็น เพียงอารมณ์ขันให้กำ�ลังใจเพื่อให้เกิดความฮึกเหิม เพราะอีก 2 ปีข้างหน้า ลาวจะเป็นเจ้าภาพกีฬาซีเกมส์ ซึ่งถือว่า เป็นกีฬาที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคนี้


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

222

http://hilight.kapook.com/view/30835/15 ---------------------คุณ: บาร์บี้ สถานะ: บุคคลทั่วไป ความคิดเห็นที่ 23 [อ้างอิง] โอ๊ยยย ใครว่า กบ พูด เหนือ ชัด บ้าบอ เพี้ยนซะไม่มีชิ้นดี พูดไม่ได้ จะกระแดะ พูดไม ผู้กำ�กับ ก็ ไม่ คิดเอาซะเลย ว่า มันจะเสื่อมแค่ไหน แถมกบก็แก่เกินจะมาแอ๊บแบ๊วเป็นเด็กมัธยม ไม่ดูหนังหน้า เหนื่อย [ วันจันทร์ ที่ 10 พฤศจิกายน 2551 เวลา 14:33 น. ] http://entertain.teenee.com/series/28051.html --------------------คุณ: ญ ชาวเหนือ สถานะ: บุคคลทั่วไป ความคิดเห็นที่ 26 [อ้างอิง] จะบ้าหรอ ชุดชาวเหนือจิงๆ ไม่ได้เป็นอย่างนี้นะ นี่มันเว่อไปและ ถึงแม้จะเป็นเจ้าหญิงก้อตาม กรุณาไปศึกษาดูก่อนเหอะ อีกอย่างพูดเหนือขอให้ชัดๆ ได้ไหม นี่พูดผิดตลอดเรื่องเลย ผู้จัดก้อเหมือนกัน อย่าเอาวัฒนธรรมการพูดของคนเหนือมาทำ�เล่นๆ ดิ คนเหนืออย่างเราๆ เห็นแล้วมันขัดหูขัดตา (ส้มตาบ่ะ) เฮ่อ


223

[ วันจันทร์ ที่ 10 พฤศจิกายน 2551 เวลา 14:46 น. ] http://entertain.teenee.com/series/28051.html -------------------คุณ: เด็กเหนือ สถานะ: บุคคลทั่วไป ความคิดเห็นที่ 29 [อ้างอิง] จริงด้วยเราชาวเหนือฟังแล้วกระดากหนูพูดไม่ได้ก็ไม่ต้องพูดคงไม่มีใครเขาว่าหรอกน่ะ [ วันจันทร์ ที่ 10 พฤศจิกายน 2551 เวลา 15:13 น. ] http://entertain.teenee.com/series/28051.html

แก้วกลางดง.. พูดไม่ชัด-สกปรก การสร้าง“โจทก์” และ “จำ�เลย” ของ “อคติชาติพันธุ์”.. แก้วกลางดงไม่เคารพผี ไม่เรียนรู้ต่างวัฒนธรรม ชาวอาข่าในจ.เชียงรายไม่พอใจละครแก้วกลางดง ไม่เคารพผีบรรพบุรษุ เผยเด็กไม่ยอมไปโรงเรียนเพราะอาย ชาวอาข่าสะท้อนคนในเมืองเรียนรู้แต่วัฒนธรรมตัวเอง สืบเนื่องจากละครแก้วกลางดง ซึ่งแพร่ภาพออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 3 ในช่วงเวลาหลังข่าว โดย สร้างตัวละครจากวิถีชีวิตของชาวอาข่า ก่อนการถ่ายทำ�ฝ่ายผลิตได้มีการลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลด้วย แต่ปรากฏว่า เมือ่ ละครแพร่ภาพออกอากาศ ชาวอาข่าทีอ่ ยูใ่ นพืน้ ทีเ่ กิดความรูส้ กึ ไม่พอใจอย่างมากเนือ่ งจากมีการนำ�เสนอวิถชี วี ติ ชาวอาข่าที่ผิดเพี้ยนจากความเป็นจริง และหลายตอนยังมีลักษณะดูถูกชาติพันธุ์อีกด้วย หมี่จู มอเลกู ชาวอาข่าซึ่งทำ�งานอยู่ในเมืองเชียงใหม่กล่าวว่าเธอได้ดูละครดังกล่าว พบว่าผู้จัดละครไม่ได้ ศึกษาวัฒนธรรมของชนเผ่าอย่างลึกซึ้งก่อนที่จะจัดทำ�เลย ทำ�ให้ภาพวิถีชีวิตของชาวอาข่าผิดเพี้ยนจนเด็กๆ ใน หมู่บ้านเธอหลายคนจนไม่กล้าไปโรงเรียน เพราะอาจารย์และเพื่อนๆ ล้อเลียน “เราเสียใจเหมือนกัน เรามาอยู่ในเมือง เราก็เรียนรู้วัฒนธรรมของคนในเมืองอันไหนที่เขาไม่ชอบ เราก็ไม่ทำ� แต่พอคนในเมืองมาศึกษาวิถีชีวิตเรา เขาไม่เข้าใจเราเลย เหมือนเราเรียนรู้สองวัฒนธรรม แต่คนในเมืองเขาเรียนรู้ แต่วัฒนธรรมของตนเอง” หมี่จูสะท้อนความรู้สึกที่มีต่อผู้จัดละครดังกล่าว ขณะที่ชาวอาข่าในจังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นผู้ให้ข้อมูลแก่คณะผู้จัดทำ�ละครกล่าวว่าผู้สร้างละครมาถามชาว บ้านว่าวัฒนธรรมแต่ละอย่างทำ�อะไรบ้างจริง แต่ผู้กำ�กับไม่ได้เอาข้อมูลที่ถามไปใช้เลย เขาเตรียมการเองทั้งหมด แล้วมาอ้างว่าได้คุยกับชาวบ้านแล้วไม่ถูกต้อง ฉากที่ทำ�ให้ชาวอาข่าไม่พอใจมากๆ คือฉากวิ่งเล่นในสุสาน ซึ่งชาว เขาทุกเผ่าถือว่าสุสานเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ อันควรเคารพ คนอาข่าถือว่าเป็นการล่วงละเมิดต่อผีบรรพบุรุษ เป็นการ ดูหมิ่นและไม่ให้เกียรติกันอย่างมาก นอกจากนี้ก็ยังมีฉากที่ไม่ตรงความเป็นจริงและผิดจารีตชาวอาข่าอีก เช่น การให้ผู้ชายแต่งกายชุดผู้หญิง และนางเอกของเรือ่ งซึง่ เป็นชาวอาข่าก็ยงั มีบททีม่ พี ฤติกรรมซึง่ หญิงอาข่าไม่ทำ� แล้วทำ�ให้ผหู้ ญิงอาข่าดูกา้ วร้าวมาก

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

สงสารคนดู


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

224

ปิยวรรณ แก้วศรี รายงาน สำ�นักข่าวประชาธรรม Prachadarma News Net 20-27 สิงหาคม 2543 หลายปีก่อนหน้านี้ มีละครโทรทัศน์เรื่อง “แก้วกลางดง” ที่กำ�หนดให้นางเอกของเรื่อง (รับบทโดยปิยธิดา วรมุสิก) พูดภาษาไทยไม่ชัดเพื่อสื่อสารว่าเธอเป็นชนเผ่า มิใช่ “ชาติพันธุ์ไทย” ละครเรื่องนี้ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากคน ทำ�งานด้านชาติพันธุ์ว่าเป็นการล้อเลียนที่สร้างความอับอายให้กลุ่มชาติพันธุ์อาข่า นอกจากถูกวิจารณ์เรื่องการ (แกล้ง) พูดไม่ชัดของนางเอกว่าเป็นการล้อเลียนกลุ่มชาติพันธุ์ด้วย “อคติ ชาติพันธุ์” แล้ว ละครเรื่องนี้ยังถูกวิจารณ์ว่าดูถูกชาวเขาว่าสกปรก ทั้งยังสร้างภาพลักษณ์ที่บิดเบือนเกี่ยวกับวิถีชีวิต ของกลุ่มชาติพันธุ์ เช่น พิธีกรรม และการแต่งกายที่ผิดเพี้ยนไป หมีจ่ ู มอแลกู่ นักกิจกรรมชาวอาข่าซึง่ ทำ�งานอยูใ่ นเมืองเชียงใหม่กล่าวถึงผลกระทบทีเ่ กิดขึน้ จากละครเรือ่ ง แก้วกลางดงว่า “..มีการล้อเลียนภาษาพูดไม่ชัดของตัวละครทั่วไปหมดเลย ทุกคนเข้าใจว่านี่คือภาษาชาวเขา ชาวเขาทุกคน พูดแบบนี้ ครูบางท่านก็เอาไปล้อเด็ก ชี้ให้เด็กในห้องเรียนรู้ว่า ที่พูดภาษาไม่ชัดคือเผ่านี้แหละ และที่สกปรกก็เผ่านี้ แหละ ทำ�ให้เด็กอับอายและรู้สึกว่าตัวเองด้อยกว่าคนอื่น..”5 หมีจ่ ู สะท้อนความไม่พอใจต่อละครเรื่องแก้วกลางดงว่าผู้จัดละครไม่ได้ศกึ ษาวัฒนธรรมของชนเผ่าอย่างลึก ซึ้งก่อนที่จะจัดทำ�เลย ทำ�ให้ภาพวิถีชีวิตของชาวอาข่าผิดเพี้ยนจนเด็ก ๆ “เราดูละครเรื่องนี้แล้ว มันไม่ใช่ชีวิตจริงของเรา มันไม่ใช่ชุดแต่งกายของเรา ที่สำ�คัญคือมันทำ�ผิดวัฒนธรรม อย่างร้ายแรง” เมือ่ มีการพบปะพูดคุยกันกันในประเด็นดังกล่าวระหว่างตัวแทนกลุม่ ชาติพนั ธุก์ บั บริษทั ผูผ้ ลิตละครนัน้ ทางผู้ จัดละครชี้แจงเพียงสั้นๆ ว่า “...ไม่ได้ตั้งใจดูหมิ่น เพียงแต่ต้องการให้ผู้ชมสนุกสนานเท่านั้น...” ต่อประเด็นนี้ บทความเรื่อง “ชนเผ่าอาข่า: ภาพลักษณ์ที่ถูกสร้างให้สกปรก ล้าหลัง แต่ดึงดูดใจ” ของ ปนัดดา บุณยสาระนัย ได้ให้ความเห็นต่อการสร้างภาพลักษณ์ของชาติพันธุ์ในสื่อไว้อย่างน่าสนใจว่า “เนื่องจากสื่อ โทรทัศน์เป็นสื่อที่มีอิทธิพลต่อผู้ชมค่อนข้างมาก แม้ว่าละครจะเป็นสื่อบันเทิงที่ไม่เน้นสาระก็ตามแต่ผู้เขียนมีความ เห็นว่าหากละครเรือ่ งใดให้ความใส่ใจต่อรายละเอียดและความถูกต้องทางวัฒนธรรมก็จะเป็นละครทีม่ คี ณ ุ ภาพ และ มีบทบาทเป็นสื่อผู้สร้างสรรค์ความเข้าใจอันดีให้เกิดขึ้นในสังคม..” สื่อ และนโยบายรัฐ “อคติชาติพันธุ์” ในการเมืองระหว่างประเทศ หลายครั้งที่ปรากฏว่าวาทกรรม “อคติชาติพันธุ์” ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างจำ�เลยเพื่อสนองเป้าหมาย บางอย่างของกลุ่มการเมือง และกลุ่มผลประโยชน์ เหตุการณ์เมื่อปี พ.ศ. 2545 ที่กลุ่มแม่หญิงลาวลุกขึ้นมาประท้วง นิโคล เทริโอ นักร้องหญิงชื่อดังของไทย เป็น หนึ่งในปรากฏการณ์ที่วาทกรรม “อคติชาติพันธุ์” สร้างจำ�เลยขึ้นมา สื่อลาวกล่าวหา นิโคล เทริโอ ว่าพูดดูถูกผู้หญิง

5

ปนัดดา บุณยสาระนัย อ้างถึงในบทความวิชาการ “ชนเผ่าอาข่า: ภาพลักษณ์ที่ถูกสร้างให้สกปรก ล้าหลัง” นำ�เสนอในการประชุมประจำ�ปีทาง มานุษยวิทยา ครั้งที่ 1 เรื่อง “คนมองคน: นานาชีวิตในกระแสการเปลี่ยนแปลง” พ.ศ. 2546


225

ดร.เขียน ธีรวิทย์ และทีมงานวิจัยได้ทำ�วิจัยในเรื่องดังกล่าว และสรุปว่านิโคลไม่ได้กล่าวคำ�ตามที่ถูกกล่าว หา แต่มีกลุ่มบุคคลบางกลุ่มสร้างเรื่องดังกล่าวขึ้นมาเพื่อสร้างความบาดหมางในความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์ไม่แจ้งชัด เหตุการณ์คล้ายๆ กันนี้เคยเกิดขึ้นในปี พ.ศ.2536 เมื่อนักร้องไทย อุเทน พรมมินทร์ ถูกกล่าวหาว่าพูดจา “ดู หมิ่นผู้หญิงลาว” จนทำ�ให้เกิดการโต้ตอบกันไปมาระหว่าง (ประชาชนของ) 2 ประเทศ แต่ไม่ว่าความจริงจะเป็นเช่น ไร งานวิจัยเรื่อง “ความสัมพันธ์ไทย-ลาว ในสายตาของคนลาว” ของดร.เขียน ธีรวิทย์ และทีมงานพบว่าชาวลาวมี แนวโน้มที่จะเชื่อว่าคนไทยชอบดูถูกคนลาว ซึ่งสอดคล้องกับข้อสรุปในวิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยแห่ง ซิดนีย์ เรื่อง “ทัศนคติและนโยบายของไทยต่อลาวตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518” ของนายเหียม พมมะจัน อดีตเอกอัคร รัฐทูตลาวที่มาประจำ�อยู่ที่ประเทศไทยเป็นเวลาแปดปี ท่านเหียม พมมะจัน สรุปว่าคนไทยชอบที่จะแสดงตน “เหนือกว่า”และดูถูกคนลาวที่มีอัตลักษณ์ทาง วัฒนธรรมเก่าแก่กว่าไทย น่าสนใจว่า อคติชาติพนั ธุท์ เี่ กิดจากฝ่ายลาวนัน้ ไม่ได้โต้ตอบกันอยูเ่ ฉพาะในสือ่ และโลกบันเทิง แต่น�ำ ไปสูก่ าร ออกนโยบายของรัฐเพื่อสกัดการผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรมบันเทิงของสองประเทศ เดือนพฤษภาคม พ.ศ.2547 กระทรวงข่าวสารและวัฒนธรรมของลาวสั่งห้ามมิให้มีการเปิดรายการต่างๆ ที่ ถ่ายทอดทางโทรทัศน์ไทยรวมทั้งวีดีโอของไทยในสถานที่สาธารณะต่างๆ เช่น สนามบิน โรงแรม สถานีรถขนส่ง ร้าน อาหาร และตลาด ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกันการครอบงำ�ทางวัฒนธรรมของไทย ทั้งนี้นายวันทอง พมจันเฮือง อธิบดีกรมสื่อมวลชนของกระทรวงฯ ได้ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวไทยว่าคำ�สั่ง ดังกล่าว “ไม่ใช่เป็นการต่อต้านไทย รายการต่างๆ ทางทีวีไทยและวีดีโอนั่นไม่ใช่เป็นสิ่งไม่ดี แต่เราไม่ต้องการเห็น รายการเหล่านี้มากเกินไป ก่อนหน้านี้ ตามที่สาธารณะต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งร้านอาหาร และโรงแรมต่างๆ นำ� เสนอรายการจากทีวีไทยราวกับว่าพวกเขาอยู่ในประเทศไทย ไม่ใช่ประเทศลาว” 6 แต่ข้อน่าสังเกตประการหนึ่งคือ ขณะที่รัฐบาลลาวเอาจริงเอาจังกับการลงโทษบรรดาเจ้าของร้านอาหาร เจ้าของโรงแรมที ่ (แอบ) ฝ่าฝืนคำ�สั่งแบนสื่อไทยนั้น แต่รายการทางทีวีต่างๆ ของสื่อตะวันตก เช่น บีบีซี ซีเอ็นเอ็น และ ทีวีช่อง 5 ของฝรั่งเศส ไม่ถูกสั่งห้ามฉายในที่สาธารณะแต่อย่างใด อีกตัวอย่างของอคติชาติพนั ธุท์ ถี่ กู นำ�มาใช้ในทางการเมืองระหว่างประเทศนัน้ ปรากฏชัดในการให้สมั ภาษณ์ ของนายกษิต ภิรมย์ อดีตเอกอัครราชทูตไทย ต่อกรณีพิพาทเรื่องการขึ้นทะเบียนประสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ในรายการ คม ชัด ลึก ตอนความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา ถ้อยคำ�จากปากนักการทูต ที่ออกอากาศทางเนชั่น แชลแนล เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ทัศนคติต่อการมองประเทศเพื่อนบ้านและผู้นำ�ของประเทศเพื่อนบ้านตํ่า ต้อยกว่านั้น สะท้อนผ่านบทสนทนาคำ�ถามและคำ�ตอบระหว่างสื่อไทยและนักการทูตไทย เช่น “ไอ้ฮุนเซนนี่ มันก็ไอ้กุ๊ยในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้” “...ในทางสากลประเทศไทยซึ่งมีประเพณีวัฒนธรรมทางด้านการทูตมาเป็นเวลาพันปี เป็นที่เลื่องลือ เราก็จะ ไปทำ�ตัวแบบกุ๊ยแบบฮุนเซ็นไม่ได้ เราก็ต้องทำ�ตัวเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ เป็นผู้ดีฮะ เราก็อยู่ในวิสัย เราก็ไม่ลงไปเล่นกีฬา นอกวัด เด็กวัดต่อยมวยกันแบบนั้น เราไม่เล่นนะฮะ...” 6

สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี อ้างในงานวิจัยเรื่อง “Laos: A reserve for Thai growth”

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

ลาวว่า “สกปรก” ในรายการโทรทัศน์รายการหนึ่ง แม้ว่านิโคลจะปฏิเสธว่าเธอไม่เคยกล่าวถ้อยคำ�ดังกล่าว แต่กลุ่ม แม่หญิงลาวก็ยังประท้วงอย่างรุนแรงว่านิโคลดูหมิ่นเหยียดหยามผู้หญิงลาว


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

226

“…ประเทศเล็กมันด่าประเทศใหญ่ได้ตลอดเวลา ไม่มีอะไร ถ่มนํ้าลายรดเราไปทุกวัน แต่ถ้าเราไปถ่มนํ้าลาย รดฮุนเซน อีกเรื่องหนึ่งแล้ว เขาจะบอกว่าประเทศใหญ่กว่านี่คุกคาม...” รายการ คม ชัด ลึก7 ตอนความสัมพันธ์ ไทย-กัมพูชา Nation Channel 14 ตุลาคม 2551 21.00-22.30 น. พิธีกร: ได้ยินผ่านสื่อต่างประเทศนี่นะคะว่าสมเด็จฮุนเซ็นขู่แล้วก็ขีดเส้นตายที่เที่ยงตรงวันนี้ กษิต: ก็ให้เขาขู่ไปเถอะฮะ พิธีกร: ท่านทูตตกใจไหมคะ กษิต: ไม่ตกใจฮะ คนบ้าขู่จะไปห่วงอะไรล่ะฮะ คนบ้าๆ บอๆ ขู่ แล้วเขาก็ขู่เรา เขาก็เล่นการเมืองของเขมรเองเหมือนกัน เพื่อจะเรียกไอ้คะแนนนิยมความรักชาติ เพราะว่าการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อไม่กี่อาทิตย์ที่ผ่านมา คะแนนก็ไม่ได้สูง ใช่ไหม เขาคิดจะปิดหนทางทางการ เมืองของฝ่ายค้าน คือ คุณสม รังสี ก็ไม่ใช่ เขาได้ตั้ง 20 กว่าที่นั่ง เขาก็ต้องมีอะไรที่จะทะเลาะกับไทยไปเรื่อยๆ เท่านั้นเอง เพื่อจะให้อำ�นาจภายใน เขาก็เล่นการเมืองภายใน อยู่ เป็นประเด็นที่สาม แต่ผมคิดว่าเขาอาจจะเล่นอะไรให้คุณทักษิณ เพื่อการเมืองภายในของไทย หรืออันที่สอง เขาต้องการจะทวงหนี้ อันที่สาม เขาอยากจะขึงขังขึ้นมา เพราะอยากเรียกคะแนนสนับสนุนภายในประเทศเขาก็ได้ พิธีกร: ถ้าขมวดทั้งหมดที่เป็นสาเหตุที่ท่านทูตวิเคราะห์ออกมาแล้ว ต้นทุนสูงไหมคะ ถ้าสมมติเกิดไม่เป็นไป ตามแผนสักอย่าง กษิต: มันไม่มีอะไรเสียหายนี่ฮะ ประเทศเล็กมันด่าประเทศใหญ่ได้ตลอดเวลา ไม่มีอะไร ถ่มนํ้าลายรดเราไปทุกวัน แต่ถ้าเราไปถ่มนํ้าลายรดฮุนเซน อีกเรื่องหนึ่งแล้ว เขาจะบอกว่าประเทศใหญ่กว่านี่คุกคาม พิธีกร: อ๋อ .....ในเวทีโลกเขามองแบบนี้หรือคะ กษิต: แน่นอนสิครับ อันนี้ พิธีกร: แม้ว่าเราค่อนข้างจะกระมิดกระเมี้ยนในการมีคำ�พูดผ่านสื่อออกไปในสากล กษิต: ถูกต้องครับ แล้วผมคิดว่าในทางสากลประเทศไทยซึง่ มีประเพณีวฒ ั นธรรมทางด้านการทูตมาเป็นเวลา พันปี เป็นที่เลื่องลือ เราก็จะไปทำ�ตัวแบบกุ๊ยแบบฮุนเซ็นไม่ได้ เราก็ต้องทำ�ตัวเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ เป็นผู้ดีฮะ เราก็อยู่ ในวิสัย เราก็ไม่ลงไปเล่นกีฬานอกวัด เด็กวัดต่อยมวยกันแบบนั้น เราไม่เล่นนะฮะ 7

สัมภาษณ์โดย จอมขวัญ หลาวเพ็ชร์

http://www.youtube.com/watch?v=gc7jGEKlGFY


227

กษิต: ไม่ใช่วิธีการทูต ก็เพราะว่ารัฐบาลไทยเนี่ย ซึ่งกระทรวงต่างประเทศเป็นส่วนหนึ่งของรัฐบาลไทยด้วย กำ�ลังเล่นปาหี่ให้คนดู โดยบอกว่าเฮ้ยฮุนเซ็นเอ็งด่าทอข้าหน่อยว่าประชิดชายแดน ข้าจะได้ใช้อันนี้เป็นข้ออ้าง เพื่อจะแก้ปัญหาที่ทำ�เนียบรัฐบาล แก้ปัญหาวันที่ 7 ตุลาคม หรือไม่ฮุนเซ็นบอกว่าไม่ได้คิดอย่างนี้เลย เอ้าก็สัญญากันไว้ตั้งแต่รัฐบาลสมัคร เอ็งยังไม่ได้ส่งมอบให้ข้าสักเรื่อง งั้นต้องขอทวงหนี้หน่อย ขอด่าหน่อย หรืออันที่สาม ก็ไม่ใช่ทั้งสองประเด็นนี่ แต่ว่าปัญหาการเมืองภายใน เพราะ popularity ความชื่นชมต่อตัวฮุน เซ็นมันลดลงทุกวัน เพราะประเด็นปัญหาคอรัปชัน่ มาก เพราะฉะนัน้ ทะเลาะกับประเทศไทยปับ๊ เนีย่ คนเขมรก็เข้ามา เฮโลกัน สนับสนุนเต็มที่ เรตติ้งคะแนนก็ขึ้นมาอีก คือทั้งสามประเด็นของผมนี่ ผมไม่ให้คะแนนที่ดีต่อฮุนเซ็นเลย ผมว่ามันเฮงซวยเท่านั้นเอง แล้วเราก็อย่าไปสะดุ้งสะเทือนกับไอ้เรื่องบ้าๆ บอๆ กษิต: ภาษาอังกฤษต้องบอกว่าไอ้สิ่งต่างๆ เหล่านี้ bullshit หาสาระไม่ได้ ชั่วร้าย

ฮุนเซนเอ็งบ้าๆ บอๆ เพราะเอ็งเนี่ยมีอะไรอื่นๆ ที่เอ็งไม่ต้องการให้มีความสัมพันธ์ที่ดี เพราะว่าจิตใจเอ็งมัน หรือว่าเอ็งนี่เป็นขี้ข้าของนายทักษิณ เอ็งก็มาเล่นปาหี่กับการเมืองไทย พิธีกร: คือท่านทูตไม่ได้ตั้งโจทก์เกี่ยวกับว่าปัจจัยในการเจรจาเลยว่าจะกี่ฝ่าย หรือ

กษิต: ไม่มีฮะ เพราะมันไม่มีอะไร ถ้ามันไม่มีประเด็นที่ผมสงสัยในพฤติกรรมต่างๆ เหล่านี้ ในฐานะที่เราเป็น ประเทศทีร่ กั กันมาก เป็นเพือ่ นบ้านกัน เรามีกรอบแล้ว เราก็บอกเอาให้เจ้าหน้าทีส่ องฝ่ายนีเ่ จรจากัน ในขณะเดียวกัน เราก็ลงเงินคนละครึ่ง แล้วก็จ้างคนเข้ามาถ่ายภาพทั้งหมดตลอดชายแดน เพราะมันมีเสาที่ปักมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 แล้ว มันก็ดำ�เนินการต่อไป แล้วช่วงสมัยชวนก็มาทำ�ต่อไปนิดหนึ่ง แต่ยังไม่เสร็จ ตอนนี้มันก็ค้างอยู่ตรงไหน หรือว่าที่เคยปักไปแล้ว แล้ว มันมีการเคลื่อนไหว เพราะมันต้องร้อยปีมาแล้ว เราก็มาปักกันใหม่ ถ้าเราจะไปเดินปักสมัยฝรั่งเศสกับไทยเมื่อร้อยกว่าปีไม่ได้ เดี๋ยวนี้เราก็ใช้เทคโนโลยี มันมีทางออกที่เราสามารถจะคิดแล้วมาทำ�กันในทางสร้างสรรค์ได้ ไม่ใช่มาถ่มนํ้าลายรดกันอยู่อย่านี้ แล้วก็ทำ�ท่าขึงขัง ไอ้ฮุนเซนนี่ มันก็ไอ้กุ๊ยในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ แล้วก็มีผู้นำ�ของเราไปเล่นปาหี่ด้วย มันก็แย่สิครับ มันก็กุ๊ยกับกุ๊ยมาคบกัน “ผู้ร้าย” และ “นางเอก” ในข่าว ภาวะอ่อนแรงของอคติชาติพันธุ์ กับ(ชน)ชั้นในสังคม

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

พิธีกร: ท่านทูตอยู่ในวงการการทูต การที่กระทรวงต่างประเทศ หรือว่ารัฐบาลไทยค่อนข้างจะเก็บงำ�คำ� พูดมากๆ จนบางทีคนไทยรู้สึกอึดอัด หรือทหารอาจรู้สึกอึดอัดว่าทำ�ไมเขาดีกับฝั่งโน้นมากกว่า อันนี้เป็นวิถีทางการ ทูตของไทยอยู่แล้วหรือคะ


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

228

เสียงวิพากษ์วจิ ารณ์ของนักวิชาการ และนักสิทธิมนุษยชนต่อการนำ�เสนอภาพด้านลบของชาติพนั ธุอ์ นื่ ในสือ่ ไทยนั้นเกิดขึ้นอยู่เนืองๆ ที่ถูกกล่าวถึงมากคือ การนำ�เสนอข่าวเกี่ยวกับกลุ่มแรงงานข้ามชาติจากพม่า ลาว กัมพูชา และข่าวเกี่ยวกับคนมุสลิมในสถานการณ์ความขัดแย้งใน 3 จังหวัดภาคใต้ งานวิจยั เรือ่ ง “การเสนอข่าวแรงงานข้ามชาติของสือ่ ในช่วง 3 ปีทผี่ า่ นมา และผลต่อการรับรูข้ องสังคม ไทย” โดย กุลชาดา ชัยพิพัฒน์ พบว่าการรายงานข่าวที่เกี่ยวข้องกับแรงงานข้ามชาติเป็นข่าวเชิงลบเกือบทั้งสิ้น โดย ภาพของแรงงานข้ามชาติที่ปรากฏในสื่อส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับการถูกจับกุมในข้อหาเข้าเมืองผิดกฎหมาย และ ข้อหาก่ออาชญากรรมต่างๆ ในจำ�นวนข่าว/ข้อเขียน/รายงานพิเศษทัง้ หมด 474 ชิน้ ในปี พ.ศ. 2549 กุลชาดาพบว่ามีเพียง 30 ชิน้ ทีเ่ ป็นการ นำ�เสนอข่าวที่ฝ่ายนายจ้าง (ไทย) ละเมิดสิทธิแรงงานข้ามชาติ ประเภทข่าว 1. ข่าวเกี่ยวกับการจับกุมแรงงานไม่จดทะเบียน 2. ข่าวเกี่ยวกับการจับกุมเครือข่ายค้ามนุษย์ 3. ข่าวเกี่ยวกับอาชญากรรมที่แรงงานต่างด้าวตกเป็นผู้ต้องหา 4. ข่าวเกี่ยวกับการนายจ้างละเมิดสิทธิแรงงานต่างด้าว 5. ข่าวเกี่ยวกับนโยบายรัฐต่อการแก้ระเบียบข้อบังคับแรงงานฯ 6. ข ่าวเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของนักสิทธิมนุษยชนและภาคธุรกิจ ในการแก้ปัญหาแรงงานฯ 7. ข่าวเกี่ยวกับปัจจัยด้านเศรษฐกิจของแรงงานข้ามชาติ 8. ข ่าวเกี่ยวกับปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพและการศึกษา ของแรงงานข้ามชาติ 9. ข่าวเกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ 10. ข ่าว/ บทความ/ ความเห็นและรายงานพิเศษเกี่ยวกับแรงงาน ข้ามชาติ รวม

พ.ศ.2547 55

พ.ศ.2548 70

พ.ศ.2549 128

27 11 11 135 5

54 16 9 116 23

59 11 30 171 8

13 19

40 15

24 15

4 29

22 41

9 19

309

406

474

หากพิจารณาจากปรากฏการณ์ในสื่อกระแสหลัก และหากเชื่อว่าสื่อกระแสหลักคือภาพสะท้อนของคนส่วน ใหญ่ในสังคมไทยแล้ว จะพบว่าเนือ้ หาและภาพลักษณ์เกีย่ วกับแรงงานจากประเทศเพือ่ นบ้านทีป่ รากฏในรายงานข่าว ของสือ่ ไทยนัน้ สะท้อนชัดถึงอคติทางชาติพนั ธุข์ องคนส่วนใหญ่ในสังคมทีม่ ตี อ่ เพือ่ นบ้านทีย่ ากจน ด้อยการศึกษา เช่น พวกแรงงานทีม่ าจากประเทศกัมพูชา พม่า และลาว อคติทางชาติพนั ธุน์ นั้ รุนแรงขึน้ เมือ่ ถูกผสานไปกับอคติ(ชน) ชั้น ดังจะเห็นได้จากผลสำ�รวจของเอแบคโพลล์ที่ระบุว่าร้อยละ 70 ของผู้ตอบแบบสอบถามจำ�นวน 4,148 คน เห็น ว่าแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านเหล่านี้ไม่ควรได้รับสิทธิเท่ากับแรงงานไทย นอกจากนีก้ ารใช้ภาษาของสือ่ ในการรายงานข่าวทีเ่ กีย่ วกับชาติพนั ธุอ์ นื่ ๆ ยังมิอาจก้าวข้ามพรมแดนของอคติ ทางชาติพันธุ์ไปได้ เห็นได้ชัดจากการพาดหัวข่าว เช่น “ลูกจ้างชาวพม่าเนรคุณ ฆ่าล้างครัว 3 ศพ นายจ้างร้านขายตุ๊กตาบ้านสิงห์” (ไทยรัฐ 3 มีนาคม 2547) “จับพม่านับหมื่นบุกโรงเรียนนายร้อยตำ�รวจสามพราน” (คม ชัด ลึก 28 สิงหาคม 2549) “เขมรเหิมป่วนบุกชายแดนไม่เลิก” (ผู้จัดการ 14 กันยายน 2551) “เขมรเหิมด่าไทยเป็นโจร” (โพสต์ทูเดย์ 18 กันยายน 2551)


229

“ข่าวสารเกี่ยวกับแรงงานชาวพม่ามีแต่ภาพความโหดร้าย น่ากลัว จะมีใครค้นหาต้นตอของเหตุ ใช่ว่าแก้ ต่างให้พ้นผิด แต่เหตุอันควรรับฟังมีว่า ...นายจ้างบางรายกดขี่ทำ�ร้าย เบี้ยวค่าแรง ลูกเรือตังเกบางลำ�ต้องทำ�งาน ทั้งวันไม่มีเวลาพัก ไม่ได้อาหารเพียงพอ ผิดใจก็ฆ่าโยนศพลงทะเล นายจ้างบางคนข่มขืนลูกจ้างสาวชาวพม่า และ เจ้าหน้าที่รัฐหลายคนรีดไถหากินกับแรงงานต่างด้าว…” 8 ข้อน่าสังเกตและชวนให้ถกเถียงคือ อคติชาติพันธุ์ที่ปรากฏในสื่อกระแสหลักนั้นมิได้เป็นอคติที่ต่อ เนื่อง แต่มีข้อยกเว้นให้กับบุคคลที่มีสถานะและบทบาทในสังคมไม่ว่าบุคคลนั้นจะเป็นชาติพันธุ์ใด เช่น “หมอแม็กไซไซ’ซินเธีย’: ‘ฟลอเรนซ์ ไนติงเกล’แห่งเอเชีย” (มติชน 31 กรกฎาคม 2545) “60 ปี “ออง ซาน ซูจี” นางฟ้าประชาธิปไตย” (คม ชัด ลึก 11 มิถุนายน 2548) “เสียงสตรีไทยใหญ่ ผ่าน”จ๋ามตอง”สู่โลก” (ข่าวสด 27 ตุลาคม 2549) แพทย์หญิงซินเธียเป็นชาวกะเหรี่ยง นางออง ซาน ซูจีเป็นชาวพม่า และนางจ๋ามตองเป็นชาวไทยใหญ่ แต่ ทั้งการพาดหัวข่าวและเนื้อหาข่าวที่เกี่ยวกับสตรีทั้ง 3 คนนี้เป็นการยกย่องเชิดชูบทบาทของสตรีทั้งสาม โดยมิได้ ปรากฏให้เห็นอคติชาติพันธุ์เลย อะไรทำ�ให้สื่อไทยก้าวข้ามอคติชาติพันธุ์เมื่อนำ�เสนอข่าวเกี่ยวกับสตรีชาวกะเหรี่ยง ชาวพม่า และชาวไทย ใหญ่ทั้งสามคนนี้ เหตุใดภาพลักษณ์ของพวกเธอที่สื่อนำ�เสนอจึงแตกต่างจากภาพลักษณ์ของชาติพันธุ์เดียวกันที่ เป็นชนชั้นแรงงานราวฟ้ากับดิน อคติชาติพันธุ์ที่ฝังรากลึกอยู่ในสังคมไทยและสะท้อนผ่านสื่อนั้นดูเหมือนจะอ่อนแรงลงเมื่อถูกซ้อนทับด้วย สถานะในสังคมของสมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์ที่ได้รับการยกระดับขึ้นมาในทางใดทางหนึ่ง เช่น ในกรณีของออง ซาน ซู จี หมอซินเธีย และจ๋ามตองต่างมีสถานะทางสังคมที่มีบทบาทนำ�ในกลุ่มและชุมชนของพวกเธอ และเป็นที่ยอมรับ ของประชาคมนานาชาติ โดยเฉพาะหมอซินเธีย ผู้ก่อตั้งคลีนิกแม่ตาว และจ๋ามตองนักกิจกรรมของเครือข่ายปฏิบัติ งานสตรีไทยใหญ่ (Shan Women’s Action Network- SWAN) นั้น ปรากฏภาพลักษณ์ในสื่อไทยในฐานะ “นางเอก” มิใช่ “ผูร้ า้ ย”เหมือนกับประชาชนส่วนใหญ่จากประเทศพม่าทีม่ าเป็นชนชัน้ แรงงานอยูใ่ นสังคมไทย สถานะทางสังคม คุ้มครองพวกเธอจากอคติชาติพันธุ์ของสังคมไทย ตัวอย่างอืน่ ๆ ของกลุม่ ชาติพนั ธุท์ ปี่ รากฏภาพลักษณ์ ด้านบวกในสือ่ เพราะมีสถานะอืน่ ซ้อนทับ “อคติชาติพนั ธุ”์ อยู่ เช่น ภาพลักษณ์ของพ่อหลวงจอนิ โอโดเชา ผูถ้ กู ยกย่องให้เป็น “ปราชญ์ปกาเกอญอ”, แม่หลวงนาแส ยะป๋า ผูน้ ำ� สตรีในชุมชนลาหู่ที่ปรากฏภาพลักษณ์ในสื่อในฐานะนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนของชนเผ่า ภาพลักษณ์ของนายแพทย์แวมะหะดี แวดาโอ๊ะ หรือ “หมอแว” เป็นอีกกรณีหนึ่งที่สะท้อนถึงภาวะอ่อนแรง ของ “อคติชาติพันธุ์” ในสื่อเมื่อมีปัจจัยทางชนชั้นเข้ามาซ้อนทับ “หมอแว”เป็นอดีตผู้ต้องหาที่เกี่ยวข้องกับการก่อ ความไม่สงบในภาคใต้ หรือทีม่ กั จะเรียนกันว่า “คดีเจไอ” หมอแวถูกจับพร้อมกับผูต้ อ้ งหาชาวมุสลิมคนอืน่ รวม 4 คน สือ่ ทุกสำ�นักเริม่ ให้ความสนใจรายงานข่าวและติดตามคดีนอี้ ย่างใกล้ชดิ ต่อเนือ่ งเมือ่ ทราบว่าผูต้ อ้ งหาคนหนึง่ เป็นนาย แพทย์ประจำ� รพ.นราธิวาสราชนครินทร์

8 http://www.thaipoet.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=538682481&Ntype=2

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

องค์ บรรจุน นักเขียนไทยเชื้อสายมอญเขียนสะท้อนความรู้สึกต่ออคติทางชาติพันธุ์ของคนไทยและสื่อไทยที่ มีต่อแรงงานจากประเทศพม่าไว้ว่า


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

230

สุภลักษณ์ กาญขนขุนดี ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ The Nation ยอมรับว่าในการเขียนรายงานข่าวคดีเจไอนั้น นอกจากหมอแวแล้ว เขาแทบจำ�ชื่อผู้ต้องหารายอื่นไม่ได้เลย และการที่หมอแวได้รับความสนใจจากสื่อนั้นเกิดจาก สัญชาตญาน (instinct) ของตัวเขาเองและในฐานะสื่อ “หมอแวเป็นคนทีไ่ ด้รบั การเคารพ มีการศึกษา รูจ้ กั พูดกับสือ่ จึงได้ความสนใจ (attention) จากเราโดยอัตโนมัติ อุชตาซคนอื่นที่ถูกจับพร้อมกัน ผมจำ�ชื่อไม่ได้ ต้องไปเปิดหาทุกครั้งที่จะเขียนข่าว” แม้วา่ การใช้วาทกรรม “อคติชาติพนั ธุ”์ จะมีการรวมคนมุสลิมใน 3 จังหวัดภาคใต้ไว้ใน “ฝ่ายโจทก์” โดยมีสอื่ รัฐ และสังคมไทยโดยรวมเป็น “ฝ่ายจำ�เลย” แต่น่าสนใจว่าข้อกล่าวหาเรื่อง “อคติชาติพันธุ์” จะถูกอธิบายอย่างไร ในกรณีของหมอแวทีเ่ ป็นคนมุสลิม และยังเคยตกเป็นผูต้ อ้ งหาในคดีทเี่ กีย่ วข้องกับการก่อความไม่สงบในภาคใต้ แต่ ปรากฏการณ์ต่อการนำ�เสนอภาพลักษณ์ของ “หมอแว” ในการรายงานข่าวของสื่อนั้นเป็นภาพลักษณ์ของ “คนดี” การยกย่องเชิดชูจนนำ�ไปสู่การชนะการเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาในที่สุด น่าสนใจว่าวาทกรรมว่าด้วย “อคติชาติพนั ธุ”์ มีความหมายอย่างไรต่อกรณีของนายแพทย์แวมะหะดี แวดาโอ๊ะ หากหมอแวเป็นคนมุสลิมที่มิได้มีสถานะเป็นนายแพทย์ เขาจะได้รับการปฏิบัติแตกต่างไปจากนี้หรือไม่?

บทส่งท้าย-ชวนเถียง การนำ�เสนอภาพลักษณ์ด้วยการพูดไม่ชัดของตัวละครที่มิใช่ชาติพันธุ์ไทยในสื่อบันเทิงไทย เช่นที่ปรากฏใน ละครโทรทัศน์เรื่อง แก้วกลางดง และเรื่องอื่นๆ เพื่อสร้างความตลกขบขันให้กับผู้ชม แต่สร้างความอับอายให้กับ ชาติพนั ธุท์ ถี่ กู นำ�เสนอนัน้ อาจเป็นอคติทที่ งั้ ผูส้ ร้าง ผูช้ มทีร่ สู้ กึ ตลกขบขันไปด้วยอาจไม่รตู้ วั เลย การวิจารณ์อย่างดูถกู ดูหมิ่นนักแสดงไทยที่ไม่สามารถพูดภาษาถิ่นทางเหนือได้ถูกต้อง เช่น ศิลามณี นั้นอาจเป็นอคติต่อ “ความเป็นอื่น” ของผู้วิจารณ์เช่นเดียวกัน การเลือกเอาความล้าหลังของทีมฟุตบอลลาวมาเป็นประเด็นสร้างความตลกขบขันในภาพยนตร์เรื่องหมาก เตะฯ เป็นอคติทมี่ องชาติพนั ธุล์ าวในลักษณะด้อยพัฒนากว่าชาติพนั ธุไ์ ทย และการทีร่ ฐั บาลลาวสัง่ ห้ามฉาย เผยแพร่ ภาพยนตร์ ละคร สือ่ ต่างๆ ของไทยตามสถานทีส่ าธารณะต่างๆ ในประเทศลาวนัน้ อาจเป็นปฏิกริ ยิ าทีส่ ะท้อนถึงอคติ ชาติพันธุ์ของรัฐบาลลาวที่ต่อต้าน “ความเป็นไทย” เช่นเดียวกัน อคติชาติพันธุ์ เป็นส่วนหนึ่งของอคติต่อ “ความเป็นอื่น” มิได้มีพลังหรือทำ�งานอย่างโดดๆ แต่การตีความ การให้ความหมายของผูใ้ ช้วาทกรรมว่าด้วยอคติชาติพนั ธุน์ นั้ ยังคงวนเวียนอยูก่ บั เรือ่ งเชือ้ ชาติ ความแตกต่างทางชาติพันธุ์ โดยแทบมิได้ให้ความหมายกับความแตกต่างอื่นๆ เช่น ชนชั้น ฐานะทางเศรษฐกิจ และ สถานะทางสังคมที่ล้วนเป็นปัจจัยสำ�คัญที่กำ�หนด “ความเป็นอื่น” อคติชาติพนั ธุม์ ไิ ด้ด�ำ รงอยูอ่ ย่างโดดเดีย่ วในสังคมไทยหรือสังคมใด แต่ได้หยัง่ รากฝังลึกอยูใ่ นทุกสังคม ในยาม ที่สังคมหรือชาติพันธุ์นั้นไร้อำ�นาจ อคติต่อ “ความเป็นอื่น”จะถูกกดไว้ไม่แสดงพลัง หากแต่เลือกวิธีที่จะตอบโต้ แข็ง ขืนด้วยการใช้วาทกรรมในฐานะ “ผูถ้ กู กระทำ�” และตัง้ ตนเป็น “ฝ่ายโจทก์” กล่าวหา “ผูก้ ระทำ�” ในทางกลับกัน ยาม ใดที่ชุมชน หรือชาติพันธุ์นั้นมีอำ�นาจในทางใดทางหนึ่ง อคติต่อ “ความเป็นอื่น”จะปรากฏตัวตนอย่างอหังการ เช่น กรณีของผู้ชมชาวเหนือที่แสดงอำ�นาจในการใช้ภาษาท้องถิ่นเหนือ ผ่านการวิพากษ์วิจารณ์ ประณามผู้แสดงละคร เรื่องศิลามณีที่ไม่สามารถพูดภาษาเหนือได้ชัดเจนเหมือนคนท้องถิ่น “อคติชาติพันธุ์”ปรากฏในสื่อและสังคมไทยส่วนหนึ่งอย่างโจ่งแจ้ง (โดยรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม) เช่น การพาดหัว ข่าว การรายงานข่าวเกีย่ วกับกลุม่ ชาติพนั ธุท์ ดี่ อ้ ยสถานะในสังคมไทย รวมไปถึงการสร้างภาพลักษณ์ทดี่ อ้ ยกว่า หรือ เป็นที่ตลกขบขันในสื่อบันเทิงต่างๆ


231

แต่หลายครั้งที่อคติชาติพันธุ์ที่สื่อกระตุ้นขึ้นมาถูกปล่อยให้ทำ�งานได้อย่างเสรี ไร้ข้อหาหรือเสียงท้วงติง โดยเฉพาะเมือ่ อคติชาติพนั ธุถ์ กู ใช้กบั “ความเป็นอืน่ ” ทีอ่ ยูน่ อกพรมแดนไทย เช่น การพาดหัวข่าว การรายงาน ข่าว (ส่วนใหญ่) ที่เกี่ยวกับข้อพิพาทไทย-กัมพูชากรณีขึ้นทะเบียนประสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ในสังคมไทย ในสือ่ ในชุมชนต่างๆ อคติตอ่ ความแตกต่างทางชาติพนั ธุน์ นั้ อาจอ่อนแรงหรือมิได้ทำ�งานเลยใน หลายครั้งที่มี “ความเป็นอื่น” ที่มีลักษณะ “ด้อยกว่า” หรือ “เหนือกว่า” เข้ามาปะทะสังสรรค์ อคติชาติพันธุ์นั้นมิได้ปฏิเสธ “คนอื่น” และ “ความเป็นอื่น”โดยสิ้นเชิง หลายครั้งที่อคติชาติพันธุ์สยบยอม ประนีประนอม และเลือกปฏิบตั กิ บั “ความเป็นอืน่ ” หรือ ปัจจัยด้านอืน่ ๆ เช่น ฐานะทางเศรษฐกิจ สถานะและบทบาท ทางสังคม เช่น ขณะที่มีเสียงทักท้วงถึงอคติชาติพันธุ์ที่สะท้อนอยู่ในสื่อบันเทิงผ่านการกำ�หนดให้ตัวละครพูดไม่ชัดใน ละคร และภาพยนตร์หลายเรื่อง แต่ภาพยนตร์เรื่อง “หนึ่งใจ...เดียวกัน” เข้าฉายและลาโรงไปโดยไม่มีเสียงวิจารณ์ท้วงติง ใดๆ แม้วา่ ภาพยนตร์เรือ่ งนีจ้ ะมีการนำ�เสนอภาพลักษณ์ของกลุม่ ชาติพนั ธุท์ ยี่ งั ด้อยพัฒนา ยากจนและต้องการความ ช่วยเหลือ รวมไปถึงภาพของเด็กๆ ชาวเขาที่พูดไม่ชัด ร้องเพลงชาติไทยด้วยสำ�เนียงแปลกแปร่ง “หนึ่งใจ.. เดียวกัน” เป็นภาพยนตร์ที่สร้างจากบทพระนิพนธ์เรื่อง “เรื่องสั้น..ที่ฉันคิด”ของทูลกระหม่อมหญิง อุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ทรงอำ�นวยการสร้างและร่วมแสดงด้วย ขณะที่อคติชาติพันธุ์สะท้อนชัดอยู่ในการสร้างภาพลักษณ์ ของแรงงาน “ต่างด้าว” ให้เป็น “ผู้ร้าย”ตามที่ ปรากฏในรายงานข่าวของสื่อไทยส่วนใหญ่ แต่ภาพลักษณ์ของแพทย์หญิงซินเธียที่เป็นผู้อพยพชาวกะเหรี่ยงอยู่ที่ ชายแดนไทย-พม่า และภาพของนางจ๋ามตอง นักกิจกรรมของเครือข่ายปฏิบัติงานสตรีไทยใหญ่ ที่ปรากฏในสื่อไทย แตกต่างไปจากผู้อพยพ หรือคน “ต่างด้าว” อื่นๆ โดยสิ้นเชิง พวกเธอปรากฏตัวตนในสื่อและในสังคมไทยในภาพ ลักษณ์ของ “นางเอก” สถานะและบทบาททางสังคมได้คุ้มครองพวกเธอไว้จาก “อคติชาติพันธุ์” เช่นเดียวกับภาพลักษณ์ของคนมุสลิมที่ปรากฏในข่าวล้วนแตกต่างกันไปตามสถานะทางเศรษฐกิจ อาชีพ และชั้นทางสังคม เช่น นายพลากร สุวรรณรัฐ ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา นายดำ�รง พุฒ ตาล ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ และอีกหลายคน คนมุสลิมเหล่านี้ไม่เคยปรากฏภาพลักษณ์ในสื่อในฐานะ “คนอื่น” พวก เขาล้วนแล้วแต่มีฐานะและสถานะที่ทรงเกียรติในสังคมไทย เป็นองคมนตรี เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ เป็น “คนไทย” ที่เป็น ตัวแทนประเทศไทยในเวทีต่างๆ ระหว่างประเทศ ในสื่อบันเทิง เราจะสังเกตได้ว่าการทำ�ให้กลุ่มคนจากภาคอีสานเป็น subject ของความตลก หรืออยู่ในฐานะ ตํ่าต้อยเช่นเป็น “ผู้รับใช้” ในละครต่างๆ ค่อยๆ ลดน้อยลงไป แทบจะไม่เห็นเลยในปัจจุบัน เพราะในกระแสความ เปลี่ยนแปลงที่คนจากภาคอีสานจำ�นวนมากได้ยกฐานะทางชนชั้นไปแล้วด้วยความสำ�เร็จทางการศึกษาและทาง เศรษฐกิจ subject ของความขบขันจึงเปลี่ยนไปอยู่ที่กลุ่มที่มีการศึกษาและสถานะทางเศรษฐกิจที่ด้อยกว่า การพูดไม่ชัดของคนไทยเชื้อสายจีนที่ถูกนำ�มาเป็นมุขตลกอยู่เสมอนั้นยังคงสร้างอารมณ์ขันให้กับผู้ชมบาง กลุ่มได้ ขณะที่การพูดไม่ชัดของคนไทยเชื้อสายจีนที่เป็นรัฐมนตรี หรือเจ้าสัวนั้นไม่เคยถูกทำ �ให้เป็น subject ของ การขบขันเลย

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

กลุ่มชาติพันธุ์ที่ถูกกล่าวถึงมิได้ยอมจำ�นน แต่เลือกโต้ตอบด้วยการสร้าง “ข้อหา” และสร้าง“จำ�เลย” ของ วาทกรรม โดยมีชมุ ชนวิชาการ นักกิจกรรมทางสังคม เป็นผูช้ ว่ ยและชีน้ ำ�ทิศทางการต่อสู้ เช่นกรณีของกลุม่ กระจกเงา ประท้วงฯ


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

232

ท่ามกลางบริบทของสังคมและปัจจัยต่างๆ  ที่ผันแปรเปลี่ยนแปลงไปในกระแสโลกาภิวัฒน์ วาทกรรม “อคติ ชาติพันธุ์” ยังคงถูกใช้อย่างลักลั่นอยู่เสมอ ถูกผลิตซํ้าแล้วซํ้าอีกอยู่ในแวดวงเดิมๆ  ด้วยข้อหาเดิมๆ  มีโจทก์และจำ� เลยหน้าเดิมๆ  และคำ�อธิบายแบบเดิมๆ  เป็นมายาคติที่หยุดนิ่ง มิได้เคลื่อนและตอบรับกับความผันแปรของปัจจัย อื่นๆ ที่มีส่วนร่วมกำ�หนด เพิ่มและลดทอนปรากฏการณ์และความรุนแรงของ “อคติ” ต่อความ “เป็นอื่น” ทั้งชนชาติ และ ชนชั้น

บทเก็บตก จากวาทกรรม “อคติชาติพันธุ์” Do & Don’t ว่าด้วย ม้ง-แม้ว, มุสลิม-แขก, เขมร-แขมร์, กะเหรี่ยง-ปกาเกอญอ ฯลฯ Don’t นักวิชาการ คนทำ�งานด้านชาติพันธุ์ และสิทธิมนุษยชนนั้นมักส่งเสียงเตือนให้สื่อและสังคมเพิ่มความอ่อน ไหวกับการเลือกใช้คำ�ที่อาจสร้างความบาดหมางทางความรู้สึกต่อกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ เช่น คนทำ�งานด้านชาติพันธุ์ทางเหนือพยายามบอกต่อให้สื่อและคนในสังคมใช้คำ�ว่า “ปกาเกอญอ” แทนคำ�ว่า “กะเหรี่ยง” ให้ใช้คำ�ว่า “ม้ง” แทนคำ�ว่า “แม้ว” นักประวัตศิ าสตร์รณรงค์ให้ใช้ค�ำ ว่า “แขมร์” แทนคำ�ว่า “เขมร” เมือ่ กล่าวถึงคนในประเทศกัมพูชา และให้ใช้ คำ�ว่า “มุสลิม” แทนคำ�ว่า “แขก” เมื่อกล่าวถึงชาวไทย-มุสลิมในสามจังหวัดภาคใต้ ฯลฯ Do วุฒิ บุญเลิศ: ประธานประชาคมสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี วุฒิ บุญเลิศ เป็นคนไทยเชือ้ สายกะเหรีย่ งเกิดทีส่ วนผึง้ เขาเลือกทีจ่ ะเรียกตัวเองว่า “กะเหรีย่ งสวนผึง้ ” ในการ ทำ�รายงานวิจัยเรื่อง “เมื่อกะเหรี่ยงสวนผึ้งลุกขึ้นพูด” นัสเซอร์ อาจวาริณ: ทนายความสิทธิมนุษยชน อธิบายคำ�ว่า “แขก” ในความรู้สึกของเขาว่า “สมัยก่อนตอนเด็กๆ คิดถึงแขกอินเดีย แขกโพกผ้า ถัดมา เมื่อ อ่านหนังสือ เจอคำ�ว่าแขกจาม พวกที่อพยพมาอยู่ประเทศไทย ต่อมาก็เป็นแขกขาว แขกอาหรับ” ปู่ของผมมาจากอินเดีย เป็นมุสลิมเชื้อสายปากีสถาน มาพร้อมกับนายเล็ก นายแดง นานา ย่าผมเป็นมุสลิม-มอญ ชื่อ อามีนะ อยู่พนัสนิคม ส่วนแม่ของผมเป็นคนจีน ยายเป็นคนจีน ชื่อนางเลี่ยน อยู่อำ�เภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา สำ�หรับผม มุสลิม ก็คือมุสลิม ผมอยู่กับเพื่อนผมที่เป็นคนจีน เขาเรียกผมว่า “เค็กเกี้ย” เป็นคำ�ที่คนจีนใช้เรียก “แขก” ผมไม่มีความรู้สึกอะไรถ้าเขาจะเรียกผมว่า “แขก”


233

“เขมรเป็นคำ�ที่คนไทยเรียก แขมร์เป็นคำ�ที่พวกชาวบ้านเขาใช้กัน สำ�หรับพวกเรา (นักวิชาการ) ใช้คำ�ว่าคน กัมพูเจีย”

บรรณานุกรม ปนัดดา บุณยสาระณัย. “ชนเผ่าอาข่า: ภาพลักษณ์ที่ถูกสร้างในสกปรก ล้าหลัง แต่ดึงดูดใจ” ใน อัตลักษณ์ ชาติพันธุ์ และความเป็นชายขอบ. ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), 2546 วุฒิ บุญเลิศ, เมื่อกะเหรี่ยงสวนผึ้งลุกขึ้นพูด. งานวิจัยที่ไม่ได้ตีพิมพ์ของสำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย Kulchada Chaipipat, Review of Thai media coverage on migrant and mobile population and training programme for HIV/AIDS, Bangkok Office of Canada South - East Asia Regional HIV/AIDS Programme, 2007. Supalak Ganjanakhundee, “Laos: A reserve for Thai growth” in Asian Review 2007, Vol.20, Institute of Asian Studies, Chulalongkorn University, 2007.

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

นักวิชาการกัมพูเจีย


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

234

อคติชาติพันธุ์ในภาพยนตร์ไทยหลังวิกฤต เศรษฐกิจ 25401 อาจารย์ ฐนธัช กองทอง2

บทนำ� ภาพยนตร์เป็นสื่อที่มีลักษณะเฉพาะที่ถูกกำ�หนดด้วยเวลา (Time) คือเวลาที่เสนอฉาย และถูกจำ�กัดด้วย สถานที่ (Space) คือโรงภาพยนตร์ ผู้ชมภาพยนตร์จึงถูกจำ�กัดทั้งด้านเวลาและสถานที่ เพื่อให้เพ่งความสนใจไปกับ ภาพเคลื่อนไหวในจอ แม้ภาพยนตร์จะเป็นเพียงภาพตัวแทนที่สื่อมวลชนได้เลือกสรรมาเสนอก็ตาม แต่ภาพตัวแทน นี้ก็เป็นเอกสารทางสังคมที่มีชีวิตชีวา ใกล้เคียงกับความเป็นจริงที่สุด สามารถเข้าถึงชนทุกกลุ่ม แม้ในกลุ่มชนที่อ่าน หนังสือไม่ออก รวมถึงชนต่างวัฒนธรรมก็ชมภาพบันทึกความจริงนี้ได้เข้าใจเช่นเดียวกัน (จำ�เริญลักษณ์ 2546:4-5) ภาพยนตร์จึงเป็น “ตัวบท” สำ�คัญที่จะใช้ศึกษาประเด็นต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม รวมถึงศึกษาทัศนคติของผู้ประกอบ สร้างภาพยนตร์ ซึ่งอยู่ภายใต้บริบททางสังคมในช่วงเวลาหนึ่งๆ ด้วย ผู้เขียนสนใจศึกษาการนำ�เสนอภาพตัวแทนของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในภาพยนตร์ไทยที่สร้างขึ้นในช่วงหลัง วิกฤตเศรษฐกิจ 2540 จนถึงปัจจุบนั (2551) เนือ่ งจากในช่วงหนึง่ ทศวรรษทีผ่ า่ นมามีการนำ�เสนอประเด็นชาติพนั ธุไ์ ว้ ในภาพยนตร์ไทยเป็นจำ�นวนมาก โดยมุง่ พิจารณาใน 3 ประเด็นด้วยกันคือ การสำ�รวจภาพตัวแทนของกลุม่ ชาติพนั ธุ์ ในภาพยนตร์ไทย ชาติพันธุ์กับการเมืองเรื่องรัฐชาติในภาพยนตร์ไทย ชาติพันธุ์กับ “ตัวตน” ที่ถูกสร้างในภาพยนตร์ ไทย และการพยายามก้าวข้ามอคติชาติพันธุ์ในภาพยนตร์ไทย

จุดเปลี่ยนของภาพยนตร์ไทยหลังวิกฤตเศรษฐกิจ 2540 ก่อนทศวรรษ 2540 ภาพยนตร์ไทยมีวิวัฒนาการที่น่าสนใจมาโดยตลอด มีการผลิตภาพยนตร์ไทยปีละ ประมาณ 100 เรื่อง แต่อย่างไรก็ตามเนื้อหาของภาพยนตร์ไทยก็วนเวียนอยู่เพียง 4 แนวเท่านั้นคือ ชีวิต ตลก บู๊ และ ผี ส่วนภาพยนตร์แนวสะท้อนสังคมนั้นมีไม่มาก (สุทธากร 2550 ; Patsorn 2004: 303) ทำ�ให้ภาพยนตร์ไทยไม่โดดเด่น ในเวทีโลกเท่าทีค่ วร อย่างไรก็ตามปริมาณการผลิตภาพยนตร์ไทยได้ลดน้อยลงอย่างน่าใจหายในปี พ.ศ. 2539 เหลือ เพียง 32 เรื่อง ปรากฏการณ์นี้เกิดจากปัจจัยสำ�คัญหลายประการด้วยกัน ได้แก่ การเติบโตของตลาดวีดีโอ ทำ�ให้ผู้ ชมเปลี่ยนมาเป็นเป็นการเช่าหรือซื้อวิดีโอไปดูที่บ้าน การพัฒนาของตลาดภาพยนตร์ฮอลลีวู้ดและฮ่องกง ซึ่งพัฒนา ไปสูร่ ะบบมัลติเพล็กซ์ ทำ�ให้ภาพยนตร์ทสี่ ร้างในระบบเก่าไม่มโี รงฉาย ประการสำ�คัญคือการทีร่ ฐั บาลไทยได้ลดภาษี นำ�เข้าภาพยนตร์จากสหรัฐอเมริกาตามข้อเรียกร้องของสมาคมส่งออกภาพยนตร์แห่งอเมริกา ทำ�ให้ผผู้ ลิตภาพยนตร์ หันมาซือ้ ภาพยนตร์จากต่างประเทศเข้ามาฉายแทนการผลิตขึน้ เอง (บุญรักษ์ 2542: 268) ด้วยปัจจัยเหล่านีเ้ องทำ�ให้ ผู้สร้างภาพยนตร์ก่อนทศวรรษ 2540 มุ่งผลิตภาพยนตร์ตอบสนองตลาดในประเทศเป็นหลัก แต่ภายหลังวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 ผู้สร้างภาพยนตร์ไทยหันมาให้ความสนใจตลาดภาพยนตร์ต่าง ประเทศมากขึน้ โลกยุคโลกาภิวตั น์ทมี่ าพร้อมกับระบบเสรีนยิ มซึง่ แพร่หลายไปทัว่ โลกทำ�ให้ภาพยนตร์ไทยเข้าสูว่ งจร 1 การอ้างอิงบทความ ควรได้รับอนุญาตจากเจ้าของบทความ 2 อาจารย์ประจำ�สาขาวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย


235

ระบอบเสรีนิยมที่ผลักดันให้เกิดการค้าเสรีและการเงินเสรีขึ้นในทุกภูมิภาคของโลก โดยการขับเคลื่อนของ สถาบันเศรษฐกิจและการเมืองระหว่างประเทศ เช่น ธนาคารโลก กองทุนการเงินระหว่างประเทศ ฯลฯ สถาบันเหล่า นี้ได้ผลักดันผ่าน “การพัฒนา” ซึ่งรัฐบาลของประเทศต่างๆ จำ�เป็นต้องร้องขอความช่วยเหลือให้เกิดการพัฒนาขึ้น ในประเทศของตน เกิดความยินยอมพร้อมใจของประเทศท้องถิ่นที่ยอมให้ทุนเสรีจากกลุ่มประเทศที่เจริญแล้ว เข้า มาขูดรีดหรือกอบโกยทรัพยากรไปจากประเทศของตน (เสน่ห์ 2544: 105-155) ปรากฏการณ์ดังกล่าวได้ทำ�ให้เกิด การเผชิญหน้าระหว่างโลกาภิวัตน์กับท้องถิ่นขึ้นในหลายภาคส่วน ภาพยนตร์ไทยที่สะท้อนปรากฏการณ์ดังกล่าว ไว้ ได้แก่ ภาพยนตร์เรื่อง “ตลก 69” ซึ่งเสนอภาพของชนชั้นกลางที่ได้รับผลประทบจากวิกฤตเศรษฐกิจ ต้องตกงาน อดอยาก ดิ้นรนหางานทำ� แต่แล้วเช้าวันหนึ่งตัวละครพบกล่อง “มาม่า” วางอยู่หน้าห้องพัก เมื่อเปิดดูก็พบธนบัตร จำ�นวนมหาศาลซุกซ่อนอยู่ แต่แล้วมีชายลึกลับสองคนเข้ามาในห้อง อ้างตัวว่าเป็นเจ้าของกล่องมาม่า เธอฆ่าชาย สองคนตายโดยไม่เจตนา ต้องหนีตายเพื่อเอาตัวรอด สะท้อนให้เห็นภาวะของชนชั้นกลางในเมืองที่ปรับตัวกับพิษ เศรษฐกิจไม่ได้ เมื่อเธอกลายเป็นฆาตกรโดยไม่ได้ตั้งใจจากการฆ่าชายลึกลับที่อ้างตัวว่าเป็นเจ้าของขุมทรัพย์ จึง มีนัยถึงชะตากรรมที่ตัวละครไม่ได้เลือกและสะท้อนถึงภาวะของคนที่ต้องเผชิญหน้ากับวิกฤตเศรษฐกิจที่มาพร้อม กับความทันสมัย และเธอก็เลือกที่จะตอบโต้กับวิกฤตดังกล่าว ภาพยนตร์อีกเรื่องหนึ่งที่สะท้อนประเด็นดังกล่าวไว้ คือเรื่อง “มือปืน/โลก/พระจันทร์” ผู้สร้างได้นำ�นักแสดงตลกมาเป็นตัวละครเอกของเรื่อง โดยแสดงเป็น “กลุ่มโจร” ที่มีปัญหากับ “ฝรั่ง” เนื่องจาก “ลูกสาว” ถูกฝรั่งจับไปขังไว้ที่เกาะแห่งหนึ่ง มีอาวุธทันสมัยร้ายแรง ลูกสาวสวดชิน บัญชรเพือ่ ปกป้องตนเอง ผูส้ ร้างเสนอให้เห็นถึงการตอบโต้และต่อรองกับวิกฤตดังกล่าวโดยกลับไปพึง่ พาอำ�นาจเหนือ ธรรมชาติได้อย่างน่าสนใจ ภาพยนตร์ทงั้ สองเรือ่ งจึงสะท้อนปัญหาการเผชิญหน้ากับโลกาภิวฒ ั น์ และความทันสมัย ที่เข้ามาพร้อมกับลัทธิบริโภคนิยมได้อย่างแยบยล ความทันสมัยที่มาพร้อมกับโลกาภิวัตน์ทำ�ให้คนไทยแสวงหาวิธีเผชิญหน้ากับความทันสมัยด้วยวิธีการต่างๆ วิธที คี่ นไทยนิยมคือ ประการแรก นิยมแสวงหาเงินนอกระบบเพือ่ นำ�เงินมาใช้จา่ ยและดำ�เนินชีวติ ตามวิถคี วามทันสมัย โดยไม่สนใจถึงความถูกผิดหรือความเรียบง่าย ทศวรรษ 2540 จึงเป็นทศวรรษที่เงินนอกระบบไหลเวียนในสังคมไทย มากทีส่ ดุ ซึง่ เกิดจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจทีผ่ ดิ กฎหมายในประเทศไทย อาทิ การค้าประเวณี การค้ายาเสพติด การ ค้านํ้ามันเถื่อน การพนันฟุตบอล หวยใต้ดิน ฯลฯ เงินนอกระบบเหล่านี้ก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ ขึ้นมากมายในสังคม ไทย ทั้งต่อการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม รวมถึงนโยบายของรัฐที่ปฏิบัติต่อประเทศเพื่อนบ้าน (ผาสุก พงษ์ไพจิตร, สังศิต พิริยะรังสรรค์ และนวลน้อย ตรีรัตน์ 2543) เงินนอกระบบที่คนไทยคุ้นเคยมาเป็นเวลาช้านาน คือ “หวยใต้ดิน” ซึ่งรัฐบาลของพันตำ�รวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร ได้ทำ�ให้เป็นสิ่งถูกกฎหมาย ซึ่งมีความสัมพันธ์อย่าง แนบแน่นกับระบบการเมือง นักการเมือง และระบบอุปถัมภ์ในสังคมไทย (ผาสุก พงษ์ไพจิตร, สังศิต พิริยะรังสรรค์ และนวลน้อย ตรีรัตน์ 2543) หวยบนดินยังทำ�ให้ลัทธิความเชื่อเรื่องเจ้าพ่อ เจ้าแม่ ธุรกิจคนทรงเจ้า พระให้หวย และ การขยายตัวของสื่อต่างๆ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการใบ้หวย ทำ�ให้พฤติกรรมการเล่นหวยเป็นส่วนหนึ่งของความศรัทธา ไปด้วย (สุวิดา ธรรมมณีวงศ์ 2547: 145 – 168) ประการที่สองคือ การยึด “อำ�นาจเหนือธรรมชาติ” เป็นที่ยึดเหนี่ยว

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

การค้าข้ามพรมแดนอย่างเต็มตัว มีการลงนามในสัญญาระหว่างบริษทั เมเจอร์ซนี เี พล็กซ์ ซึง่ ดำ�เนินธุรกิจโรงภาพยนตร์ ในประเทศไทยกับบริษัท Entertain Golden Village ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างฮ่องกงกับฮอลลีวู้ด โดยมีสัญญาต่อ กันว่าจะจัดหาภาพยนตร์มาฉายในประเทศไทย และจะจัดจำ�หน่ายภาพยนตร์ไทยในตลาดต่างประเทศด้วย (Lewis 2003: 70) นับเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำ�ให้ภาพยนตร์ไทยกลายเป็นสินค้าวัฒนธรรม มีเป้าหมายที่จะขายกับต่างประเทศ อย่างแท้จริง ดังจะเห็นว่าในปี พ.ศ. 2540 แม้จะมีการผลิตภาพยนตร์ไทยเพียง 18 เรื่อง แต่ก็มีภาพยนตร์ไทยที่ได้รับ การยอมรับในตลาดต่างประเทศถึง 3 เรื่อง คือ 2499 อันธพาลครองเมือง ฝันบ้าคาราโอเกะ และท้า...ฟ้าลิขิต เมื่อ พิจารณาเนือ้ หาของภาพยนตร์ทงั้ 3 เรือ่ งแล้วพบว่ามีลกั ษณะร่วมทีน่ า่ สนใจ และสอดคล้องกับกระแสสากลด้วย กล่าว คือภาพยนตร์ไทยทั้ง 3 เรื่อง เสนอให้เห็นกระแสการโหยหาอดีต (nostalgia) ซึ่งแพร่หลายไปทั่วโลก รวมถึงสะท้อน ความแปลกแยกในสังคมทันสมัยทีม่ นุษย์ตอ้ งเผชิญอยูใ่ นชีวติ ประจำ�วัน แต่ไม่สามารถแสวงหาคำ�ตอบได้อย่างชัดเจน


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

236

และเป็นทีพ่ งึ่ ทางใจว่าอำ�นาจเหนือธรรมชาติจะบันดาลให้ตนประสบความสำ�เร็จและหลุดพ้นจากความยากจนได้ ดัง จะเห็นว่าทศวรรษที่ผ่านมา มีปรากฏการณ์เกี่ยวกับความเชื่อในอำ�นาจเหนือธรรมชาติแพร่หลายเป็นอย่างมาก เช่น ลัทธิพิธีบูชาเสด็จพ่อ ร.5 พระสุพรรณกัลยา พระราหู และจตุคามรามเทพ รัฐบาลไทยยังได้ปรับตัวรับโลกาวิวตั น์และความทันสมัยด้วยการสร้างสำ�นึกชาตินยิ มให้เกิดขึน้ ในประเทศ นับ ตั้งแต่ก่อนการดำ�รงตำ�แหน่งนายกรัฐมนตรีของพันตำ�รวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร พรรคไทยรักไทยได้สร้างภาพยนตร์ โฆษณา “นายขนมต้ม” ทีต่ อ่ สูก้ บั พม่า และได้ประกาศนโยบายว่าจะขับไล่ทนุ ต่างชาติออกจากประเทศ รวมถึงจะใช้ หนี้กองทุนการเงินระหว่างประเทศให้หมดก่อนกำ�หนด (Glen Lewis 2003) ต่อมาทำ�ให้แนวคิดชาตินิยมแพร่หลาย ไปทั่วประเทศ หลังจากการเข้ารับตำ�แหน่งนายกรัฐมนตรีแล้ว พันตำ�รวจโท ดร. ทักษิณ ชินวัตร ก็ได้ดำ�เนินนโยบาย ประชานิยมเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และใช้ระบอบเศรษฐกิจแบบทักษิโณมิกส์ ก่อให้เกิดเงินทุนไหลเวียนอยู่ในท้องถิ่น ทำ�ให้ท้องถิ่นเกิดกระแสการบริโภค การใช้จ่าย และการลงทุนให้เกิดขึ้น ส่งผลให้เกิดนโยบายการแปลงวัฒนธรรม ให้เป็นทุนหรือทำ�ให้เกิดทุนทางวัฒนธรรม (Cultural Capital) ขึ้นในสังคมไทย (รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ 2546: 28-36) การแปลงวัฒนธรรมให้เป็นสินค้าเป็นปรากฏการณ์ที่แพร่หลายไปทั่วโลก แต่ละประเทศต่างก็คิดหาวิธี การนำ�วัฒนธรรมของตนให้เผยแพร่ในรูปแบบต่างๆ เพือ่ ให้“ลูกค้า”เกิดความต้องการอยากได้และตัดสินใจซือ้ สินค้า วัฒนธรรมของตน ตัวอย่างเช่น รัฐบาลส่งเสริมให้วฒ ั นธรรมไทยหลายอย่างกลายเป็นสินค้า เช่น การนวดแผนโบราณ อาหารไทย ผ้าไทย สินค้าโอท็อปจากจังหวัดต่างๆ รวมถึงการท่องเทีย่ วเชิงนิเวศและการท่องเทีย่ วเชิงวัฒนธรรม โดย นำ�วัฒนธรรมประเพณีของจังหวัดต่างๆ มา “ขาย” แก่ลกู ค้า เช่น การนำ�เสนอผ่านการแสดงแสงและเสียง รวมถึงการ ประดิษฐ์ประเพณีต่างๆ ขึ้นมา โดยรื้อฟื้นสิ่งที่เคยมีอยู่ในอดีตให้กลับมาอีกครั้งในรูปของการแสดงหรือนิทรรศการ เพื่อพัฒนาเป็น “สินค้าวัฒนธรรม”ต่อไป การรือ้ ฟืน้ ประเพณีและการประดิษฐ์ประเพณีเพือ่ ให้สนิ ค้าวัฒนธรรมทำ�หน้าทีส่ ะท้อนคุณค่าของท้องถิน่ และ กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ที่นอกเหนือจาก “ความเป็นไทย” ด้วย เช่น คนจีน มุสลิม ชาวเขา ชนกลุ่มน้อยต่างๆ กลุ่ม ชาติพนั ธุเ์ หล่านีไ้ ด้รอื้ ฟืน้ อดีตและความเป็นกลุม่ ชาติพนั ธุเ์ พือ่ นำ�มาสร้างผลประโยชน์ทางธุรกิจ เช่น การจัดธุรกิจทัวร์ ให้นกั ท่องเทีย่ วไปพักในหมูบ่ า้ นของกลุม่ ชาวเขาหกเผ่าชาวดอย การส่งเสริมการท่องเทีย่ วเชิงนิเวศในชุมชนของกลุม่ ชาติพันธุ์ต่างๆ การยกย่องภาษาถิ่น เรื่องเล่าท้องถิ่น วรรณคดีท้องถิ่น นอกจากนี้ศิลปวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ ต่างๆ ต่างก็ถูกรื้อฟื้นมาประยุกต์เข้ากับศิลปวัฒนธรรมในสังคมสมัยใหม่ เช่น หมอลำ�ซิ่ง ร็อคคงโคย ลูกทุ่งคำ�เมือง ฯลฯ อันแสดงให้เห็นถึงการบรรจบกันของโลกาวิวัฒน์และท้องถิ่นแพร่หลายไปทั่วประเทศ ภาพยนตร์ไทยในทศวรรษ 2540 ได้พฒ ั นาให้เป็นสินค้าทางวัฒนธรรมเพือ่ เสนอให้คนทัว่ โลกทราบถึง “ความ เป็นไทย” ในแง่มมุ ต่างๆ ภาพยนตร์ไทยในทศวรรษนี้ จึงมุง่ เสนอ เนือ้ หาทีแ่ สดง “ความเป็นไทย” ไว้ในภาพยนตร์ และ ยังเสนอให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมไทย เช่น ปัญหาด้านวิกฤตเศรษฐกิจ กระแสชาตินิยม วัฒนธรรมรูปแบบต่างๆ ทั้งของคนไทยและกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ตลอดจนปัญหาใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมและได้รับ การกล่าวขานถึงใน ช่วงทศวรรษนี้ เช่น การอพยพย้ายถิ่น ปัญหาคนพลัดถิ่น ปัญหาของชาติพันธุ์ชนกลุ่มน้อย และ วิกฤตความทันสมัยด้านต่างๆ ภาพยนตร์ทที่ ำ�ให้วงการภาพยนตร์ไทยถึงจุดเปลีย่ นสำ�คัญคือเรือ่ ง “นางนาก” (2542) ซึง่ ประสบความสำ�เร็จ ทั้งทางด้านรายได้และรางวัล ทำ�ให้ผู้สร้างภาพยนตร์ไทยมีความมั่นใจว่าภาพยนตร์ไทยจะเป็นสินค้าวัฒนธรรมที่ ก้าวไกลในตลาดโลกได้ นางนากใช้ความเป็นไทยมาเป็นจุดขายอย่างชัดเจน (มาลินี 2543: 242 – 243; นายเฉลิม ไทย 123 – 124) เสนอให้ผู้ชมชาวไทยรำ�ลึกถึงคุณค่าของความสุข สงบงามแต่อดีต ขณะเดียวกันก็สร้างความตื่นตา ตื่นใจให้เกิดขึ้นกับผู้ชมทั่วโลกด้วย ไม่ต่างจากการนำ�คุณค่าของ “ท้องถิ่น” ไปขายในตลาดโลกาวิวัฒน์ (Anchalee Chaiworaporn 2002 และ Rachel Harrison 2005) ขณะเดียวกันภาพยนตร์เรื่อง “สุริโยไท” (2544)ได้ปลุกกระแส ชาตินิยมให้ตระหนักถึงความเป็นปึกแผ่นของชาติ และชี้ให้เห็นถึงความสำ�คัญของวีรสตรีไทย ผู้สละพระชนม์ชีพ


237

หลังจาก พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา ภาพยนตร์ไทยประกอบสร้างขึน้ ภายใต้บริบทสังคมทีซ่ ับซ้อนกว่าในอดีตมาก ผู้สร้างภาพยนตร์จำ�เป็นอย่างยิ่งที่จะต้องแสวงหาเทคนิคการนำ�เสนอที่น่าสนใจและมีเนื้อหาแปลกใหม่ จุดเปลี่ยน ด้านเนื้อหาที่เด่นชัดที่สุดของภาพยนตร์ไทยก็คือ การเปลี่ยนแปลง “ขนบ” ของเรื่องเล่าไทย ภาพยนตร์ในฐานะที่ เป็น “เรือ่ งเล่า” ประเภทหนึง่ เคยอยูใ่ นขนบเดียวกับเรือ่ งเล่าอืน่ ๆ คือตัวละครจะแบ่งแยกออกอย่างชัดเจนตามความ สำ�คัญของบทบาท คือ “ตัวเอก” ซึ่งมักจะเป็นตัวพระ – ตัวนางกับ “ตัวกาก” ซึ่งได้แก่ตัวละครประกอบทั้งหลาย คำ� ว่า ตัวกากหรือหรือตัวประกอบ ชี้ให้เห็นว่าเป็นตัวละครที่ไม่มีความสลักสำ�คัญต่อเรื่องราวในเรื่องเท่าใดนัก มักจะ เป็นตัวตลก หรือตัวละครชาวบ้านทีม่ บี ทบาทช่วยแต่งแต้มสีสนั ให้เรือ่ งสนุกสนานตามทีผ่ สู้ ร้างต้องการเท่านัน้ แม้แต่ ในจิตรกรรมฝาผนัง ภาพของตัวเอกมักจะเป็นตัวละครในอุดมคติ เช่น พระพุทธเจ้า พระอัครสาวก พระมหากษัตริย์ หรือเทพเทวดาชั้นสูง ผิดกับตัวกากหรือตัวประกอบ ซึ่งมักจะจำ�ลองภาพชาวบ้าน ที่มีลักษณะตรงข้ามกับภาพตัว ละครอุดมคติอย่างสิ้นเชิง (เสมอชัย พูลสุวรรณ 2541: 105-124) สอดคล้องกับการศึกษาของปริตตา (2536) ที่พบ ว่า “ตัวกาก” ในจิตรกรรมฝาผนังมักเป็นตัวละครที่มีอิสระ แสดงภาพชีวิตของชาวบ้านตามที่เป็นจริง โดยไม่สนใจ ว่าจะถูกต้องตามประเพณีหรือไม่ และยังไม่มีกรอบของจารีตการวาดอีกด้วย สำ�หรับในภาพยนตร์แล้ว ตัวกากก็คือ “ตัวตลก” ที่มีบทบาทสร้างความขบขันแก่ผู้ชม นิธิ (2538) เสนอว่า “ตัวตลกเป็นพระเจ้าในหนังไทย” เพราะตัวตลก เป็นผู้แสดงที่เป็นศูนย์กลางของเรื่อง เป็นผู้ทำ�หน้าที่สนทนากับคนดูได้สะดวกที่สุด ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัวเหมือนตัว กากในจิตรกรรมฝาผนังนั่นเอง การเปลี่ยนบทบาทในภาพยนตร์ไทยช่วงทศวรรษ 2540 ให้ตัวเอกมีบทบาทเป็นเพียงตัวประกอบ และให้ ตัวประกอบหรือ “ตัวกาก” กลายเป็นตัวละครเอกในภาพยนตร์จำ�นวนมาก ทำ�ให้ตัวตลกหรือตัวกาก ซึ่งครั้งหนึ่ง เคยเป็นภาพแทนของชาวบ้าน คนชายขอบไร้ศักดิ์ศรีได้มีพื้นที่ในภาพยนตร์ไทยอย่างผ่าเผย ส่งผลให้ “ตัวเอก” ของ ภาพยนตร์ไทยไม่จ�ำ เป็นต้องเหมือนเก่าซึง่ มุง่ เสนอแต่ภาพของความเป็น “พระเอก” หรือ “นางเอก” เท่านัน้ แต่ได้เปิด พื้นที่ให้คนในทุกสาขาอาชีพ ทุกเพศ ทุกวัย และทุกกลุ่มชาติพันธุ์ ได้เป็น “ตัวเอก” ในเรื่อง ปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้ สะท้อนให้เห็นถึงบทบาทของ “ท้องถิ่น” ที่เข้ายึดครองพื้นที่สื่อได้อย่างไม่เคยเป็นมาก่อน และสามารถนำ�ความเป็น ท้องถิ่นประสานเข้ากับความทันสมัยและโลกาวิวัฒน์ได้อย่างน่าสนใจ จุดเปลี่ยนสำ�คัญนี้เองที่ทำ�ให้ภาพยนตร์ไทย เปิดพื้นที่ให้แก่เรื่องราว ปัญหาและวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ได้ปรากฏในภาพยนตร์ไทย

สำ�รวจภาพตัวแทนกลุ่มชาติพันธุ์ในภาพยนตร์ไทยหลังวิกฤตเศรษฐกิจ 2540 ก่อนทศวรรษ 2540 มีการเสนอภาพตัวแทนกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ไว้ในภาพยนตร์ไทยหลายเรื่อง ภาพตัวแทน ของกลุ่มชาติพันธุ์ที่พบมากที่สุดคือกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเขา โดยเริ่มต้นจากเรื่อง “ลานสาวกอด” (2515) เรื่องนี้ภาพ ลักษณ์ชาวเขาถูกเสนอผ่านลาน “แดข่อง” ซึ่งเป็นลานวัฒนธรรมที่ชาวเขาจะมาร้องรำ�ทำ�เพลงกันตามประเพณี โดยเสนอเนื้อหาว่าสาวชาวอาข่ามีเพศสัมพันธ์ได้อย่างเสรี ข้อมูลเกี่ยวกับชาวเขาที่มีอิทธิพลต่อการประกอบสร้าง เนื้อหาเกี่ยวกับวัฒนธรรมของชาวเขาในภาพยนตร์ไทยได้รับมาจากการศึกษาของบุญช่วย ศรีสวัสดิ์ (2551) ดังที่ ปรากฏในหนังสือเรื่อง “30 ชาติในเชียงราย” การเสนอเรื่องราวของชาวเขาในฐานะที่เป็น “ชนกลุ่มน้อย” ที่ล้าหลัง

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

เพื่อชาติ ภาพยนตร์เรื่องนี้ก่อให้เกิดกระแสภาพยนตร์และสื่อบันเทิงที่เสนอแนวคิดชาตินิยมตามมาอีกจำ�นวนมาก อย่างไรก็ตาม ด้วยความมุง่ หมายของผูส้ ร้างภาพยนตร์ทตี่ อ้ งการให้สรุ โิ ยไทเป็นภาพยนตร์แห่งชาติทไี่ ด้รบั การยอมรับ ในตลาดภาพยนตร์โลก ทำ�ให้ผสู้ ร้างได้แต่งเพลงเป็นภาษาอังกฤษ ใช้เพลงประกอบเป็นดนตรีและเพลงสากล ใช้ชา่ ง ภาพและช่างเทคนิคในกองถ่ายภาพยนตร์เป็นชาวต่างชาติด้วย ภาพยนตร์เรื่องนี้จึงเป็นความพยายามที่จะนำ�โลกา วิวฒ ั น์มาปกป้องความเป็นไทย (Thai – ness) กล่าวได้วา่ สุรโิ ยไทเป็นพืน้ ทีข่ องการบรรจบกันระหว่างโลกาวิวฒ ั น์กบั ท้องถิน่ นิยม และต้องการสร้างพืน้ ทีค่ วามเป็นไทยท่ามกลางความเป็นสากลไว้ดว้ ย โดยมิได้ปฏิเสธพืน้ ทีเ่ ชิงพาณิชย์ ในภาพยนตร์ไทย ดังจะเห็นว่าภาพยนตร์เรือ่ งนีเ้ ป็นจุดเริม่ ต้นของการขายของทีร่ ะลึกอย่างเป็นระบบ (Amporn 2003)


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

238

ป่าเถื่อน ไร้วัฒนธรรม หรือเป็นคนชายขอบที่มีความแตกต่างจากคนในเมืองถูกเสนอไว้ในภาพยนตร์ไทยตามมาอีก หลายเรื่อง ได้แก่ เรื่องใต้ฟ้าสีคราม (2521) เสนอถึงเรื่องราวของหนุ่มชาวเขาที่ได้รับทุนให้มาศึกษาต่อในเมืองใหญ่ แต่ไม่สามารถปรับตัวเข้ากับสังคมเมืองได้ เรื่องคนภูเขา (2522) เสนอให้เห็นภาพชีวิตของชาวเขา โดยเสนอให้เห็น อัตลักษณ์ของชาวเขาที่ว่า “นํ้าเป็นของปลา ฟ้าเป็นของนก ภูเขาเป็นของหมู่เฮา” เรื่องแก้วกลางดง (2528) เรื่องราว ของหญิงชายชาวเขาที่ได้เข้ามาอยู่ในบ้านผู้ดีเมืองกรุง ความแตกต่างทางวัฒนธรรมทำ�ให้เธอและเขาต้องเผชิญกับ คนกรุงที่ใจร้ายนานาชนิด เรื่องกะเหรี่ยงตกดอย (2530) เรื่องราวของชาวเขาที่เข้ามาเผชิญชีวิตในเมือง เรื่องหล่อน ชือ่ คำ�หล้า (2532) เรือ่ งราวของหญิงชาวเขาทีเ่ ข้ามาค้าประเวณีดว้ ยความจำ�ยอม เรือ่ งมูเซอดำ� เสนอให้เห็นภาพของ ชาวเขาที่ติดตรึงอยู่กับเรื่องยาเสพติดและขบวนการก่อการร้าย เรื่องวิถีคนกล้า (2534) เสนอให้เห็นภาพของกลุ่ม ชาติพันธุ์ชนกลุ่มน้อยกลุ่มหนึ่ง โดยเน้นในเรื่องของจารีตประเพณีและวิถีชีวิตความเป็นอยู่แบบดั้งเดิม ภาพตัวแทนของกลุม่ ชาติพนั ธุอ์ นื่ ๆ ทีอ่ ยูใ่ นภาพยนตร์ไทยยังปรากฏกลุม่ มุสลิม ในเรือ่ งผีเสือ้ และดอกไม้ (2528) เสนอให้เห็นภาพของเด็กยากจนชาวมุสลิมชายหญิงทีต่ อ้ งต่อสูก้ บั ความยากลำ�บากโดยการเป็นกองทัพมดขนสินค้า ข้ามแดน เรื่องมอแกน (2535) เสนอภาพวิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์มอแกน โดยผ่านเรื่องรัก ส่วนกลุ่มชาติพันธุ์ลาว และอีสาน ได้รับการนำ�เสนอไว้ในภาพยนตร์ไทยหลายเรื่อง ที่น่าสนใจได้แก่เรื่องลูกอีสาน (2525) เสนอภาพของชีวิต ทีป่ ะทะสังสรรค์กนั ระหว่างกลุม่ ชาติพนั ธุห์ ลายกลุม่ ในหมูบ่ า้ นอีสาน เช่น ญวน ลาว และไทย น่าสังเกตว่าภาพยนตร์ เกี่ยวกับคนอีสานก่อนทศวรรษ 2540 มักเสนอภาพลักษณ์ของคนอีสานว่าเป็นคนนักสู้เผชิญชีวิตและต่อสู้กับปัญหา ต่างๆ อีกทั้งยังเป็นคนรักศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่น โดยการแสดงออกถึงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของตนอยู่ตลอด เวลา แม้เมื่ออพยพสู่ดินแดนอื่น เช่นเรื่องเสียงแคนดอกคูณ (2536) เรื่องหมอลำ�พ่อลูกอ่อน (2537) เรื่องเพลงรักโขง ชี มูล (2537) เรื่องนักสู้เสียงอีสาน (2538) เรื่องหมอลำ�ปืนโหด (2538) เป็นต้น การเสนอปัญหาของกลุ่มชาติพันธุ์อันเนื่องมาจากแนวคิดเรื่องรัฐชาติถูกนำ�เสนอไว้อย่างน่าสนใจในเรื่อง มือปืน 2 สาละวิน (2536) ซึง่ เสนอถึงการต่อสูแ้ ละชะตากรรมของกลุม่ ชาติพนั ธุไ์ ร้สญ ั ชาติระหว่างชายแดนไทย - พม่า อันเป็นบริเวณรอยต่อเส้นเขตแดนของรัฐชาติ พวกเขาได้ถกู ผนวกรวมเข้ากับปัญหายาเสพติด และถูกสร้างมายาคติ ว่าเป็นพวกค้ายาเสพติดผิดกฎหมาย กล่าวได้ว่าภาพยนตร์ก่อนทศวรรษ 2540 ได้กล่าวถึงกลุ่มชาติพันธุ์ไว้อย่างน่าสนใจ โดยนำ�เสนอถึงกลุ่ม ชาติพันธุ์ชนกลุ่มน้อยทั้งที่อยู่ในภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคใต้ และกลุ่มชาติพันธุ์ระหว่างเส้นเขตแดนรัฐชาติ โดย นำ�เสนอในมุมมองของผู้สร้างภาพยนตร์ ซึ่งส่วนใหญ่ดำ�รงชีวิตอยู่ในกรุงเทพฯ ดังนั้นการนำ�เสนอเรื่องราวของกลุ่ม ชาติพันธุ์ จึงอาจจะมีอคติแบบเหมารวมอยู่ด้วย เช่น การผนวกรวมให้กลุ่มชาติพันธุ์เป็นพวกค้ายาเสพติด ด้อย วัฒนธรรม ยากจน เป็นผู้อพยพ ประเด็นที่น่าสนใจก็คือกลุ่มชาติพันธุ์ที่นำ�เสนอไว้ในภาพยนตร์ก่อนทศวรรษ 2540 มักจะเป็นผู้ดำ�รงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของกลุ่มชนไว้ ในทศวรรษ 2540 ความสนใจเสนอประเด็นเกีย่ วกับกลุม่ ชาติพนั ธุไ์ ว้ในภาพยนตร์ได้มมี ากขึน้ เป็นลำ�ดับ และมี ความหลากหลายมากขึ้น จากการสำ�รวจอย่างคร่าวๆ ของผู้เขียนพบว่าตั้งแต่ พ.ศ.2540 - 2551 มีภาพยนตร์ที่กล่าว ถึงกลุ่มชาติพันธุ์อยู่ราว 45 เรื่อง ปรากฏเนื้อหาหลากหลาย อาทิ ปัญหากลุ่มชาติพันธุ์ที่อยู่ระหว่างเส้นเขตแดนของ รัฐชาติ เช่น เรื่องพรางชมพู กะเทยประจัญบาน (2545) เรื่องโอเคเบตง (2546) ปัญหาการอพยพข้ามพรมแดนเพื่อ ความอยู่รอดของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ เช่น เรื่องคนจรหมอนหมิ่น (2542) เรื่องคน ผี ปิศาจ (2547) เรื่องเสือร้องไห้ (2548) เรื่องโกยเถอะเกย์ (2550) เรื่องกอด (2551) เรื่องอีติ๋มตายแน่ (2551) ปัญหาการประทับตราให้กลุ่มชาติพันธุ์ ให้เป็นผู้ล้าหลัง ไร้วัฒนธรรม เช่น เรื่อง บุปผาราตรี (2546) เรื่องแจ๋ว (2547) เรื่องซาไกยูไนเต็ด (2547) เรื่องตุ๊กแกผี (2547) เรื่องสุริยะฆาต (2547) เรื่องอุกกาบาต (2547) เรื่องเฉิ่ม (2548) เรื่องพยัคฆ์ร้ายส่ายหน้า (2548) เรื่องลองของ (2548) เรือ่ งรักจัง (2548) เรือ่ งหอแต๋วแตก (2550) เรือ่ งก่อนบ่ายคลายเครียดเดอะมูฟวี่ ตอนพ่อต๊ะติง๊ โหน่ง (2550) ฯลฯ


239

ชาติพันธุ์กับการเมืองเรื่องรัฐชาติในภาพยนตร์ไทย รัฐชาติที่มีพรมแดนติดต่อกันโดยมีแผนที่แสดงขอบเขตของรัฐอย่างชัดเจนก่อให้เกิดปัญหากับชนกลุ่มน้อยที่ อยูบ่ ริเวณพืน้ ทีพ่ รมแดนระหว่างรัฐ กลุม่ ชาติพนั ธุซ์ งึ่ เคยใช้ชวี ติ อยูใ่ นบริเวณนัน้ มาเป็นเวลานานกลายเป็นคนไร้รฐั ไร้ สัญชาติไปโดยปริยาย พวกเขาถูกกีดกันออกจากการเป็นพลเมืองของรัฐชาติทอี่ ยูข่ นาบกลุม่ ชนของตนอยู่ ก่อให้เกิด ปัญหาตามมามากมาย ปัญหาดังกล่าวได้รับการสะท้อนไว้ในภาพยนตร์ไทยหลายเรื่อง ในเรื่องสาปเสือที่ลำ�นํ้ากษัตริย์ แม้จะเป็นภาพยนตร์แนวสยองขวัญ เหตุการณ์ในเนื้อเรื่องเกิดขึ้นในช่วง สงครามคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 พ.ศ. 2310 ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนแนวคิดเรื่องรัฐชาติ ตัวละครเป็น หญิงสาวชาวมอญริมชายแดนไทยพม่า สามีของเธอถูกเกณฑ์มารบทีก่ รุงศรีอยุธยา ในขณะทีเ่ ธอกับสามีเพิง่ แต่งงาน กัน แต่เมื่อยกทัพมาถึงลำ�นํ้ากษัตริย์ก็เกิดปะทะกับกองทัพของกรุงศรีอยุธยาเสียก่อน สามีเธอเสียชีวิต เธอตัดสินใจ เดินข้ามพรมแดนเข้ามาในเขตสยามเพื่อติดตามหาสามี แต่ถูกกลุ่มทหารที่รักษาชายแดนอยู่ที่บริเวณลำ�นํ้ากษัตริย์ ข่มขืนจนเสียชีวิต ขณะที่จะเสียชีวิตนั้น วิญญาณของเธอได้เข้าไปสิงอยู่ในร่างของเสือที่กำ�ลังจะเสียชีวิตเช่นกัน เธอ จึงกลายเป็น “เสือสมิง” วิญญาณของเธอรอคอยพบสามีดว้ ยจิตใจแน่วแน่ ต่อมาสามีของเธอได้มาเกิดใหม่เป็นพราน และต่อมาได้บวชเป็นพระ โดยมีฉากหลังเป็นเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ที่แสดงให้เห็นว่า “ฝรั่ง” ได้เข้ามาเผยแผ่ ศาสนาคริสต์และสำ�รวจเส้นเขตแดนเพือ่ ทำ�แผนที่ พวกกะเหรีย่ งเข้ารีตนับถือศาสนาคริสต์กนั มาก แต่เมือ่ เธอได้พบ กับสามีในอดีตชาติแล้ว เขากลับหมางเมินและไม่ไยดีต่อเธอ ทั้งที่วิญญาณของเธอไม่ยอมไปผุดไปเกิด แต่รอคอย เขาให้กลับมารักกันเหมือนเดิม จะเห็นว่าเมื่อครั้งที่เธอยังมีชีวิตอยู่ เธอตกอยู่ในภาวะชายขอบ (marginality) ซึ่งอยู่ห่างไกลจากศูนย์กลาง ของอำ�นาจ (ทั้งจากพม่าและสยาม) เมื่อสามีไม่กลับมาหลังสงครามสงบ เธอจึงเป็นม่ายตั้งแต่ยังสาว เมื่อเธอกลาย เป็นเสือสมิงเธอก็ถูกทำ�ให้เป็นชายขอบอย่างแท้จริง (marginalization) กล่าวคือเธอถูกทำ�ให้เป็นสิ่งน่ากลัว ถูกสร้าง ภาพว่าดุรา้ ยป่าเถือ่ น น่ารังเกียจ (สุรชิ ยั 2550) แม้เมือ่ พบสามี ในขณะทีเ่ ธอกลายเป็นเสือสมิงแล้ว เธอจึงถูกมองจาก สามีว่าเป็น “คนอื่น” ซึ่งตํ่าต้อยด้อยค่า เป็นคนละกลุ่มละพวกกับสามีผู้เป็นมนุษย์ ซึ่งมีสถานะสูงกว่า กล่าวได้ว่าทั้ง ในฐานะมนุษย์และในฐานะเสือสมิง เธอถูกทำ�ให้ดอ้ ย เป็นชาติพนั ธุท์ อี่ ยูช่ ายขอบ เป็นผูห้ ญิงไร้คา่ เป็นเพียงวัตถุทาง เพศ และทีส่ ำ�คัญคือไม่เป็นมนุษย์ ภาพยนตร์เรือ่ งนีช้ ใี้ ห้เห็นว่าเส้นเขตแดนธรรมชาติ แม้ไม่เข้มแข็งเท่าพรมแดนของ รัฐชาติ แต่ก็ทำ�ให้หญิงสาวชาวมอญถูกทำ�ให้เป็นชายขอบ เพียงเพราะ “ข้ามพรมแดน” เข้ามาในดินแดนของคนที่ มีอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ต่างกัน เส้นเขตแดนของรัฐชาติซง่ึ ถูกรัฐประกอบสร้างให้มคี วามหมายชัดเจนและรุนแรงได้สง่ ผลต่อชีวติ ผูค้ นจำ�นวนมาก ทีอ่ ยูบ่ ริเวณพรมแดนของรัฐทัง้ สอง แนวคิดนีป้ รากฏอย่างชัดเจนในภาพยนตร์เรือ่ ง “พรางชมพู กะเทยประจัญบาน” เนื้อเรื่องกล่าวถึงเครื่องบินตกที่บริเวณชายแดนระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งระหว่างพรมแดนของทั้งสอง ประเทศเป็นถิน่ ทีอ่ ยูข่ องกลุม่ ไทใหญ่ ขณะทีไ่ ทยผลักดันกลุม่ ไทใหญ่ออกไปให้พน้ เขตแดน ประเทศเพือ่ นบ้านก็ท�ำ การ ปราบปรามกลุม่ ไทใหญ่อย่างจริงจัง ทหารไทยกลุม่ หนึง่ ได้รบั คำ�สัง่ ให้พาคนทีร่ อดชีวติ จากเครือ่ งบินตกครัง้ นีก้ ลับคืน สู่มาตุภูมิอย่างปลอดภัย แต่เมื่อทหารไทยได้พบกลุ่มผู้รอดชีวิตแล้ว จึงรู้ว่าพวกเขาเป็น “กะเทย” ซึ่งเป็นเพศที่สาม อยู่ระหว่างเพศปกติของความเป็นชายหญิง กะเทยซึ่งถูกกีดกันทั้งจากชายและจากหญิงจึงไม่ต่างจากกลุ่มไทใหญ่ ซึง่ เป็นชนกลุม่ น้อย ในสภาพคนไร้รฐั ซึง่ ถูกกีดกันจากประเทศทัง้ สองเช่นเดียวกัน ภาพยนตร์ชใี้ ห้เห็นชะตากรรมของ กลุม่ ไทใหญ่ทตี่ อ้ งอพยพย้ายถิน่ เพือ่ ความอยูร่ อดอยูต่ ลอดเวลา แม้ในตอนจบของเรือ่ งเมือ่ กลุม่ ทหารได้พา “กะเทย” ข้ามแม่นาํ้ ซึง่ เป็นพรมแดนธรรมชาติสดู่ นิ แดนไทย โดยมีกลุม่ ไทใหญ่หนีตายปะปนมาด้วย แต่เมือ่ ว่ายนํา้ มาเกือบถึง

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

ภาพยนตร์ในทศวรรษนี้ได้ประกอบสร้างให้ตัวแทนกลุ่มชาติพันธุ์มีลักษณะแตกต่างกันไป และสอดคล้องกับ ปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มชาติพันธุ์ในโลกของความเป็นจริงอย่างน่าสนใจอีกด้วย


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

240

ฝัง่ ไทยก็ถกู ทหารไทยทีร่ กั ษาเขตแดนอยูข่ บั ไล่กลุม่ ไทใหญ่ให้กลับสูพ่ นื้ ทีเ่ ดิมอีก ภายใต้ชะตากรรมอันน่าสงสารของ กลุม่ ชาติพนั ธุไ์ ทใหญ่ ซึง่ ไม่มที ไี่ ป ไม่มรี ฐั ชาติให้สงั กัดและไม่สามารถดำ�เนินชีวติ ได้อย่างสมศักดิศ์ รีนี้ ภาพยนตร์เสนอ ให้เห็นถึงการประกอบสร้างวาทกรรมของรัฐชาติผ่านสัญลักษณ์ต่างๆ เช่น ธงชาติ เพลงชาติ เครื่องแบบทหาร ฯลฯ ขณะที่กลุ่มไทใหญ่ก็เสนออัตลักษณ์ชาติพันธุ์ของตนผ่านเพลง การรำ�วง บ้านเรือน และชีวิตความเป็นอยู่ การเปรียบเทียบกลุ่มชาติพันธุ์กับกลุ่มกะเทย จึงชี้ให้เห็นชะตากรรมที่ไม่แตกต่างกันนัก กะเทยในเรื่องนี้ พยายามต่อสู้เพื่อทำ�ความเข้าใจกับกลุ่มทหาร (อันเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นชายอย่างเต็มเปี่ยม) ด้วยวิธีการ ต่างๆ เพือ่ ธำ�รงเพศของตนและยืนยันถึงสิทธิของความเป็นคนของพวกเธอ เช่นเดียวกับกลุ่มไทใหญ่ที่แม้จะอยูอ่ ย่าง สงบ ปกป้องตนเอง และพยายามธำ�รงรักษาอัตลักษณ์ของตนไว้ แต่ก็ไม่วายถูกละเมิดสิทธิของความเป็นคนเช่นกัน เรื่องโอเคเบตง เป็นภาพยนตร์เรื่องเดียวที่สะท้อนปัญหาสามจังหวัดชายแดนใต้ไว้อย่างระมัดระวังด้วยการ ไม่เอ่ยถึงกลุ่มบุคคลใดๆ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่จะตามมา อันเป็นการเสนอให้เห็นถึงความคลุมเครือของปัญหา ชายแดนใต้ที่เกิดขึ้น ภาพยนตร์เสนอให้เห็นว่าพื้นที่เบตงเป็นพื้นที่ชายแดน ที่เป็นแหล่งรวมของกลุ่มชาติพันธุ์หลาย กลุม่ ทัง้ ชาวจีน ชาวมาเลย์ ชาวไทย ซึง่ มีความแตกต่างกันทัง้ ทางศาสนา เชือ้ ชาติและวัฒนธรรม คนในพืน้ ทีช่ ายแดน ไทย – มาเลเซียข้ามแดนกันไปมา มีการผสมกลมกลืนกันทางวัฒนธรรมผ่านการแต่งงาน การนับถือศาสนา และ การท่องเที่ยว แสดงให้เห็นความเป็นเคลื่อนไหวของชีวิตและของพื้นที่ สภาพการณ์ดังกล่าวสวนทางกับนโยบาย ของรัฐชาติที่ต้องการให้มีหนึ่งรัฐ หนึ่งภาษา หนึ่งเชื้อชาติ อันเป็นภาพหยุดนิ่ง ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้เสนอภาพการ ข้ามพรมแดนของชีวิตอันหลากหลายและมีสีสันอย่างยิ่ง อีกทั้งยังสะท้อนให้เห็นถึงความรุนแรงที่คลุมเครืออันเนื่อง มาจากการเมืองเรื่องรัฐชาติด้วย แนวคิดเรื่องรัฐชาติทำ�ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงในเรื่องเขตแดนและการปกครอง พระราช อาณาจักรสยามซึ่งเป็นอำ�นาจราชสิทธิ์ของพระมหากษัตริย์ได้ถูกแปรเปลี่ยนเป็นรัฐประชาชาติที่มีเส้นเขตแดนเป็น เครื่องหมายสำ�คัญ ผู้คนในรัฐถูกกำ�หนดให้เป็นพลเมืองที่มีสัญชาติใดสัญชาติหนึ่งอย่างเด็ดขาด เมื่ออยู่ภายใต้ เขตแดนของรัฐชาติแล้วย่อมถูกกำ�หนดโดยปริยายว่าเป็นคนสัญชาตินนั้ การขยายเขตแดนรัฐชาติจงึ เน้นทีก่ ารขยาย พื้นที่ของอาณาเขต ต่างจากยุคสมัยอดีตที่การขยายดินแดนเป็นไปเพื่อการกวาดต้อนผู้คนให้มาช่วยกันสร้างบ้าน แปลงเมืองและเป็นกำ�ลังสำ�คัญในยามศึกสงคราม อย่างไรก็ตามการทีพ่ ลเมืองมีสงั กัดว่าเป็นคนสัญชาติอะไรนัน้ ได้ ถูกสร้างความหมายผ่านกระบวนการต่าง ๆ โดยรัฐได้ประดิษฐ์สร้างความหมายด้วยกลวิธีต่าง ๆ เช่น ธงชาติ เพลง ชาติ แบบเรียน เนือ้ หาตำ�นานและประวัตศิ าสตร์ เครือ่ งแต่งกาย มารยาท พิธกี รรม ศาสนาและประเพณี เป็นต้น (นิธิ 2538) การประดิษฐ์สร้างความหมายนี้ก่อให้เกิดสำ�นึก “ชาตินิยม” ตามมา สำ�นึกชาตินิยมจึงเป็นสำ�นึกที่ถูกสร้างขึ้นโดยกระบวนการของรัฐ ภาพยนตร์ไทยในช่วงหลังวิกฤตเศรษฐกิจ ที่เสนอเนื้อหาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์เพื่อให้เกิดสำ�นึกรักชาติ หวงแหนและเทิดทูนบรรพบุรุษในฐานะผู้สละชีวิตเพื่อ ปกป้องผืนแผ่นดินไทยไว้ให้แก่ลูกหลานมีจำ�นวนหลายเรื่อง เช่น บางระจัน (2543) สุริโยไท (2544) ขุนศึก (2546) นายขนมต้ม (2546) ก้านกล้วย (2549) ตำ�นานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (2550) เนือ้ หาของภาพยนตร์เหล่านีไ้ ด้ผลิต ซํ้าวาทกรรมเรื่องความรักชาติ โดยสร้างให้พม่าเป็นศัตรูถาวรในประวัติศาสตร์ชาติ เสนอให้เห็นถึงการเป็นอันธพาล ยกทัพมารังแกไทย แต่กรุงศรีอยุธยาก็ไม่สิ้นคนดี จึงมีวีรบุรุษ วีรสตรี ทั้งที่เป็นคนในชนชั้นสูง ชาวบ้าน ทหาร และ ช้าง ต่างก็เป็นตัวแทนของคนรักชาติทั้งสิ้น ภาพยนตร์เหล่านี้นอกจากจะทำ�ให้เกิดสำ�นึกชาตินิยมแก่ชนในชาติแล้ว ยังเป็นการสร้างสำ�นึกความเป็นไทยโดยยึดตนเองเป็นใหญ่เหนือกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ซึ่งในกรณีนี้ก็คือพม่านั่นเอง ทั้ง ที่ในความเป็นจริงแล้วเงื่อนไขของสงครามในยุคกรุงศรีอยุธยามีจุดมุ่งหมายเพื่อขยายพระราชอำ�นาจของพระมหากษัตริย์และการกวาดต้อนผู้คนไปเป็นเชลย (สุเนตร 2539) ซึ่งแตกต่างจากสงครามในปัจจุบันที่มุ่งขยายและครอบ ครองดินแดน ยุคกรุงศรีอยุธยาสำ�นึกความเป็นไทยแบบรัฐประชาชาติในปัจจุบันยังไม่เกิดขึ้นด้วยซํ้า อาณาจักรกรุง


241

ด้วยแนวคิดการยึดถือตัวเองเป็นศูนย์กลาง (Ego centric) นี่เองที่ทำ�ให้เกิดการผลิตภาพยนตร์ในลักษณะที่ มีเนื้อหาเกี่ยวกับชาติพันธุ์ของเพื่อนบ้านจนก่อให้เกิดปัญหาตามมา ดังกรณีรัฐบาลประเทศลาวประท้วงภาพยนตร์ เรื่องหมากเตะรีเทิร์นส์ (2549) ว่าเสนอเนื้อหาดูถูกชาวลาวที่เล่นฟุตบอลได้ด้อยกว่าไทย และโค้ชชาวไทยจะทำ�ให้ ทีมฟุตบอลลาวได้ไปแข่งขันฟุตบอลโลก สโลแกนของภาพยนตร์ที่ติดไว้ทั่วเมืองในช่วงโฆษณาภาพยนตร์เรื่องนี้ว่า “ลาวจะไปบอลโลก” เป็นการนำ� “ความด้อยกว่า” มาล้อเลียนในเชิงหมิ่นแคลน รวมถึงรายละเอียดของเนื้อหาอีก หลายประการที่ทำ�ให้ประเทศลาวไม่พอใจ จนกระทั่งผู้สร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ต้องแก้ไขเนื้อหาและเปลี่ยนชื่อจาก ประเทศลาวเป็นประเทศอาวี ซึ่งเป็นประเทศสมมติ สำ�นึกชาตินยิ มซึง่ ผูกติดกับเส้นเขตแดนและถูกประดิษฐ์สร้างความหมายจากรัฐผูเ้ ป็นเจ้าของประเทศได้ทำ�ให้ เกิดการแบ่งแยกความเป็น “รัฐไทย” และ “รัฐลาว” ขึ้น ทั้งที่ก่อนหน้านี้คนไทยกับคนลาวมีความใกล้ชิดกันมาก เดิน ทางข้ามแม่นาํ้ โขงไปมาหาสูก่ นั ตลอดเวลา ถือว่าเป็นพีน่ อ้ งสายเลือดเดียวกัน แต่เมือ่ รัฐชาติได้แยกคนสองพรมแดน ให้กลายเป็นคนละรัฐ คนละประเทศกันแล้ว ความรูส้ กึ ดังกล่าวก็เลือนหายไป ดังนัน้ ความเป็น “คนลาว” กับความเป็น “คนประเทศลาว” จึงมีความหมายไม่เท่ากัน ในเรื่อง บอดี้การ์ดหน้าเหลี่ยม 2  ตัวละครเอกของเรื่องเป็นคนลาวที่มี ครอบครัวอยูใ่ นประเทศลาว แต่ได้มาทำ�หน้าทีเ่ ป็นบอดีก้ าร์ดเพือ่ สืบหาความลับตามทีไ่ ด้รบั การว่าจ้างในประเทศไทย โดยผู้ว่าจ้างชาวไทย ภาพยนตร์เรื่องนี้ไม่มีการประท้วงตามมา เนื่องจากเนื้อหาแสดงภาพชีวิตของคนลาวมากกว่า การกระทบความรู้สึกร่วมของคนประเทศลาว

ชาติพันธุ์กับ “ตัวตน” ที่ถูกสร้างในภาพยนตร์ไทย ภาพตัวแทนของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในภาพยนตร์ล้วนถูกประกอบสร้างโดยผู้สร้างภาพยนตร์ ภาพตัวแทน เหล่านีไ้ ด้กลายเป็นการประทับตรา (Label) ให้กลุม่ ชาติพนั ธุม์ ี “ตัวตน” อย่างใดอย่างหนึง่ เกิดการสร้างความหมาย ให้ผู้ชมเข้าใจว่ากลุ่มชาติพันธุ์เหล่านั้นมีอัตลักษณ์เช่นที่ปรากฏในภาพยนตร์ การผลิตซํ้าตัวตนของกลุ่มชาติพันธุ์ไว้ ในภาพยนตร์ไทยหลัง พ.ศ. 2540 มีอยู่หลายกลุ่ม ได้แก่ ลาว เขมร จีน พม่า ซาไก และชาวเขา การนำ�เสนอกลุ่มชาติพันธุ์ลาวในอีสาน พบว่าชาวลาวได้ถูกทำ�ให้เป็นพลเมืองของรัฐไทยตั้งแต่สมัยรัชกาล ที่ 5 เป็นต้นมา โดยมีพัฒนาการในการจัดการปกครองมาเป็นลำ�ดับ ในที่สุดก็ได้มียกเลิกคำ�ว่า “ลาว” ใน พ.ศ.2442 ด้วยเหตุผลทางการเมืองทำ�ให้ผู้คนชาติพันธุ์ต่างๆ ในอีสานกลายเป็น “ไทย” หมด (สุจิตต์ 2549: 463) แต่อย่างไร ก็ตามการบูรณาการคนไทยกับคนลาวให้กลายเป็น “คนไทย” อย่างสนิทแนบแน่นนั้นก็ได้ใช้ระยะเวลายาวนาน ก่อ ให้เกิดปัญหาตามมามากมาย เช่น กรณีการเกิดขบถชาวนาในอีสานเป็นจำ�นวนมาก (ดูรายละเอียดใน วุฒิชัย มูล ศิลป์และธรรมนิตย์ วราภรณ์ 2525) ภาพยนตร์ที่เสนอเนื้อหาช่วงการเปลี่ยนผ่านจากความเป็นคนลาวมาเป็นคนไทย ภายใต้การปกครองของรัฐ ไทยคือเรือ่ งคนไฟบิน (2549) กล่าวถึงเหตุการณ์หลัง พ.ศ. 2398 สนธิสญ ั ญาบาวริง่ ทำ�ให้สยามต้องการส่งออกข้าวไป ขายต่างประเทศเป็นจำ�นวนมาก จึงเกิดอาชีพนายฮ้อยขึน้ มา นายฮ้อยจะต้อนควายจากอีสานมาขายให้แก่ชาวนาใน ภาคกลาง เพื่อผลิตข้าวได้มากขึ้น แต่พระยาแหว่งส่งคนมาฆ่าควายและนายฮ้อยตายหมดเพื่อตนจะได้ขายรถไถนา ที่นำ�เข้ามาจากตะวันตกให้แก่ชาวนาแทนการใช้ควาย แต่พระยาแหว่งทำ�การไม่สำ�เร็จเพราะมีโจรบั้งไฟมาคอยช่วย เหลือชาวบ้าน เนือ้ หาของภาพยนตร์เรือ่ งนีจ้ งึ เป็นการจำ�ลองเหตุการณ์กอ่ นทีจ่ ะมีการรวมคนลาวกับคนไทยเข้าด้วยกัน โดยใช้ความเชือ่ วัฒนธรรม ประวัตศิ าสตร์ของกลุม่ ชาติพนั ธุล์ าวในอีสานมาผูกร้อยกันเป็นเรือ่ งขึน้ มาได้อย่างน่าสนใจ

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

ศรีอยุธยาจึงถูกสร้างให้เป็นตัวแทนของความเป็นไทยและ “รัฐไทย” อยู่เสมอ โดยได้รับการผลิตซํ้าผ่านสื่อบันเทิง ประเภทต่างๆ มาโดยตลอด


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

242

การสร้างตัวตนลาวในภาพยนตร์จึงมักแสดงออกมาในลักษณะเป็นตัวตลก เปิ่น เชย น่าขบขัน ไม่ทันสมัย มี อาชีพตํา่ ต้อย หากมีอาชีพทีส่ งั คมยอมรับก็มกั จะมีพฤติกรรมชวนหัวมากกว่าน่าศรัทธา เช่น การเป็นคนรับใช้ในเรือ่ ง แจ๋ว (2547) เรื่องหนูหิ่นอินเตอร์ (2549) คนขับรถแท็กซี่ ในเรื่องเฉิ่ม (2548) ขับรถกระบะ นักร้อง นักแสดงตลก และ สตั๊นแมน ในเรื่องเสือร้องไห้ (2548) ชาวนาในเรื่องแหยม ยโสธร (2548) กะเทย ในเรื่อง คู่แรด (2550) ฯลฯ ชาวซาไก ถูกนำ�เสนอในภาพยนตร์เรื่องซาไกยูไนเต็ด (2547) เสนอภาพของกลุ่มชาติพันธุ์ล้าหลังที่ถูกนำ�มา อยูใ่ นพืน้ ทีข่ องความทันสมัยอย่างกรุงเทพฯ ด้วยการให้รวมเป็นทีมฟุตบอลแข่งขันชิงถ้วยพระราชทาน พวกเขากลาย เป็นตัวตลก แต่มีความสามารถผิดจากความคาดหวังของคนกรุงเทพฯ จนในที่สุดก็สามารถชนะเลิศได้ การเสนอ ภาพของชาวซาไกในภาพยนตร์เรื่องนี้จึงมีลักษณะของการล้อเลียนและแสดงออกถึงอารมณ์ของผู้ชมที่ได้หัวเราะ คนที่ตํ่าต้อยกว่า ส่วนการเสนอชาติพนั ธุช์ าวเขาในภาพยนตร์พบว่าส่วนใหญ่เสนอให้ชาวเขามีภาพลักษณ์เป็นตัวตลก สกปรก ตํ่าต้อย และล้าหลัง ดังปรากฏอยู่ในเรื่องนานาช่า (2548) เด็กชายชาวอาข่าต้องออกจากหมู่บ้านเพราะซุกซน สร้าง ความเสียหายให้เกิดขึ้นในชุมชนเสมอ บาทหลวงที่มาสอนศาสนาคริสต์จึงนำ�เด็กชายมาอยู่ในโรงเรียนนานาชาติ การเป็นเด็กชาวเขา ซึ่งมีความแตกต่างทางวัฒนธรรม และฐานะความเป็นอยู่ ทำ�ให้ถกู ดูแคลนและถูกกลั่นแกล้งอยู่ ตลอดเวลา ในทีส่ ดุ เด็กชายชาวเขาก็ได้พสิ จู น์วา่ ตนสามารถอยูร่ ว่ มกับคนในถิน่ อืน่ ซึง่ ถือตนว่ามีวฒ ั นธรรมสูงกว่าได้ เรือ่ งพยัคฆ์รา้ ยส่ายหน้า (2548) เสนอภาพของกลุม่ ชาวเขาทีข่ ายของทีร่ ะลึกให้นกั ท่องเทีย่ วได้นอ้ ยลง ทำ�ให้ขาดราย ได้ จึงรวมตัวกันมาปล้นเพื่อนำ�เงินกลับไปยังหมู่บ้าน พวกเขาซ่อนตัวอยู่ในโรงพยาบาลโรคจิต ซึ่งเป็นเป้าหมายการ ระเบิดก่อความวุ่นวายของกลุ่มผู้ก่อการร้าย พวกเขากลายเป็นวีรบุรุษจำ�เป็นช่วยกอบกู้ระเบิดครั้งนี้ด้วย เรื่องก่อน บ่ายเดอะมูฟวี่ ตอนรักนะพ่อต๊ะติ๊งโหน่ง (2550) เสนอให้เห็นภาพตรงข้ามกันระหว่างชาวเขา ผู้ตํ่าต้อยแต่ก็มีนํ้าใจ กับชาวกรุงเทพฯ ที่ถือตนว่ามีวัฒนธรรมสูงส่งแต่ใจคอโหดร้าย ชาวเขาพากันเข้ามาในกรุงเทพฯ เพื่อบอกแผนลับ เกี่ยวกับการปองร้ายหญิงสาวที่ตนแอบรักอยู่ ภาพยนตร์เสนอให้เห็นถึงความเปิ่นเชย ล้าหลังและสกปรกอยู่ตลอด ทั้งเรื่อง ส่วนเรื่องรักจัง (2549) ตัวละครที่มีอาชีพนักร้องดังต้องสูญเสียความทรงจำ�และไปใช้ชีวิตอยู่ในหมู่บ้านชาว เขา ภาพยนตร์เสนอภาพชาวเขาให้เป็น “ตัวตลก” สกปรก เปิ่นเชย ไร้มารยาท และยังเสนอให้ตัวละครหญิงชาวเขา มีภาพลักษณ์แบบ “บ้าผู้ชาย” การผลิตซํ้าภาพลักษณ์ชาวเขาว่ามีลักษณะตํ่าต้อย ไร้วัฒนธรรม ไร้การศึกษา และ สกปรกนี้ ทำ�ให้ชาวเขา ถูกลดทอนลงเป็นเพียง “ตัวตลก” สร้างความขบขันให้แก่ผู้ชมเท่านั้น การนำ�เสนอภาพกลุม่ ชาติพนั ธุเ์ ขมรและพม่าในภาพยนตร์ พบว่าส่วนใหญ่จะปรากฏอยูภ่ าพยนตร์สยองขวัญ ชาวเขมรมักถูกสร้างมายาคติให้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านไสยศาสตร์ เป็นหมอผีผู้ใช้มนต์ดำ�ทำ�ร้ายผู้อื่น ซึ่งเป็นภาพที่ถูก ผลิตซํ้าอยู่ในภาพยนตร์หลายเรื่อง เช่น เรื่องตำ�นานกระสือ (2545) เรื่องตุ๊กแกผี (2547) เรื่องสุริยะฆาต (2547) เรื่อง ลองของ (2548) ฯลฯ เช่นเดียวกับชาวพม่าที่ถูกสร้างให้เป็นหมอผี ที่มีภาพลักษณ์ตลก สนุกสนาน เป็นการนำ�กลุ่ม ชาติพันธุ์พม่ามาล้อเลียน ดังเช่น เรื่องบุปผาราตรี (2546) และเรื่องหอแต๋วแตก (2550) เป็นต้น การนำ�เสนอภาพของชาวจีนในภาพยนตร์หลังทศวรรษ 2540 มีความน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง คนจีนได้รับการ ประกอบสร้างให้เป็นกลุม่ ชาติพนั ธุท์ ธี่ �ำ รงรักษาอัตลักษณ์ของตนไว้อย่างเหนียวแน่น และนำ�อัตลักษณ์ไปใช้ประโยชน์ ให้เกิดแก่กลุ่มชาติพันธุ์อื่นด้วย ดังปรากฏในภาพยนตร์ไทยหลายเรื่อง อาทิ เรื่องฮวงจุ้ย ฟ้า ดิน คนมรณะ (2546) เรือ่ งคนเห็นผี (2545) เรือ่ งคนเห็นผี 2 (2547) เรือ่ งคนเห็นผี10 (2548) เรือ่ งเดอะปาร์ค สวนสนุกมรณะ (2546) ภาพยนตร์ เหล่านี้เสนอให้เห็นว่าคนจีนได้นำ�ศาสตร์ต่าง ๆ ของตน เช่น วิธีการปราบผี ฮวงจุ้ย โดยตัวละครชาวจีนจะเดินทาง มาจากประเทศจีนเพื่อดับทุกข์เข็ญต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในเรื่อง สะท้อนให้เห็นความเป็นจีนภิวัฒน์ที่แพร่หลายไปทั่วโลก


243

นอกจากการนำ�เสนอเรือ่ งราวของกลุม่ ชาติพนั ธุใ์ นประเด็นการเมืองเรือ่ งรัฐชาติและการผลิตซํา้ ตัวตนของกลุม่ ชาติพนั ธุต์ า่ งๆ ไว้ในภาพยนตร์แล้ว จากการศึกษายังพบว่ามีภาพยนตร์ไทยหลายเรือ่ งทีเ่ สนอภาพของกลุม่ ชาติพนั ธุ์ ในลักษณะต้องการก้าวข้ามอคติชาติพนั ธุไ์ ว้ในภาพยนตร์ โดยนำ�เสนอให้เห็นปัญหาต่างๆ ทีเ่ กิดขึน้ กับกลุม่ ชาติพนั ธุ์ ต่างๆ ทำ�ให้ภาพยนตร์เป็น “สื่อ” ที่ช่วยสร้างความเข้าใจปัญหาของกลุ่มชาติพันธุ์นั้นๆ การนำ�เสนอถึงกลุ่มชาติพันธุ์พม่า ซึ่งเป็นคนนอกประเทศในภาพยนตร์ไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา ได้ เสนอให้เห็นถึงแรงงานพม่าอพยพข้ามแดนมาทำ�งานในประเทศไทยและได้รับชะตากรรมที่น่าสงสาร ภาพยนตร์ สองเรื่องที่ให้ความสำ�คัญกับประเด็นนี้คือเรื่องคนจรหมอนหมิ่น (2542) เสนอให้เห็นถึงแรงงานชาวพม่าสองคนที่ หนีคดีฆ่าคนในครอบครัวนายจ้าง เรื่องเล่าผ่านคนบ้า แต่ไม่มีใครเชื่อ แรงงานพม่าทั้งสองคนต้องหนีเพื่อเอาตัวรอด และกลายเป็น “คนจรหมอนหมิ่น” ภาพยนตร์เรื่องนี้จัดได้ว่าเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกที่เสนอชะตากรรมของคนพลัด ถิ่น ใช้เทคนิคการถ่ายทำ�โดยการใช้มุมกล้องแบบแปลกๆ ตัดสลับไปมาจน “คนดูไม่รู้เรื่อง” แต่เทคนิคการถ่ายภาพ ก็สอดคล้องกับชะตากรรมของตัวละครที่ไม่มีทางออก และอธิบายให้คนอื่นเข้าใจได้ยาก (ธัญสก 2550) เรื่องคน ผี ปีศาจ (2547) เป็นเรื่องที่เสนอให้เห็นถึงชะตากรรมของคนรับใช้ชาวพม่าที่ตกเป็นเหยื่อฆาตกรรมและถูกซ่อนศพไว้ ในตู้เสื้อผ้าภายในบ้านของร่างทรงหญิงวัยกลางคน และเรื่องโกยเถอะเกย์ (2550) เรื่องราวของแรงงานหญิงชาว พม่าที่ถูกฆาตกรรมและนำ�มาซ่อนไว้ส้วมของปั๊มนํ้ามันแห่งหนึ่งในชนบท วิญญาณของเธอต้องการออกมาจากที่ ซ่อนและต้องการบอกให้คนรับรู้ถึงชะตากรรมอันเลวร้ายของเธอ จะเห็นว่าการเสนอภาพแรงงานพม่าในภาพยนตร์ ทั้งสามเรื่องมีเนื้อหาร่วมกันคือชะตากรรมของคนพลัดถิ่น ซึ่งมีสัญญะของการถูกปิดบังซ่อนเร้นความจริงเหล่านี้ไว้ ภาพของกลุม่ ชาติพนั ธุล์ าว แม้จะมีภาพยนตร์สว่ นหนึง่ ทีผ่ ลิตสร้างตัวตนให้ชาวลาวเป็นคนทีถ่ กู ล้อเลียน ตลก สนุกสนาน แต่กม็ ภี าพยนตร์หลายเรือ่ งทีเ่ สนอให้เห็นว่าชาวลาวเป็นกลุม่ ชาติพนั ธุท์ ปี่ กป้อง “ความเป็นไทย” ไว้ และ ทำ�ให้ “ความเป็นไทย” ปรากฏอยูใ่ นเวทีโลก ดังปรากฏอยูใ่ นเรือ่ งองค์บาก (2546) สะท้อนถึงการที่ “ฝรัง่ ” เข้ามาปล้น ความเป็นไทย โดยแสดงผ่าน ‘สัญญะ’ สำ�คัญคือถูกฝรั่งปล้น “เศียรพระพุทธรูปองค์บาก” ไป ตัวละครจึงออกตามหา เศียรพระพุทธรูป ผู้สร้างภาพยนตร์ได้ใช้บ้านหนองปลาดู่เป็นตัวแทนพื้นที่ของความเป็นไทย มีวิถีชีวิตเรียบง่ายต่าง จากความวุ่นวายที่ถนนข้าวสาร ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เป็นภาพตัวแทนของตะวันตกอย่างสิ้นเชิง (ศิโรตม์ 2550: 268-275) การต่อสูร้ ะหว่างไทยกับ “ฝรัง่ ” ในเรือ่ งนีแ้ สดงให้เห็นถึงแนวคิดชาตินยิ มทีป่ รากฏในภาพยนตร์ไทยอีกด้วย Leo Hunt (2005: 73) ได้วเิ คราะห์ไว้วา่ การขับไล่อทิ ธิพล “ฝรัง่ ” ในภาพยนตร์เรือ่ งนีเ้ ทียบได้กบั กองทัพยุคจารีตในประวัตศิ าสตร์ ที่ขับไล่กองทัพพม่า ซึ่งเป็นชาวต่างชาติให้ออกพ้นจากผืนแผ่นดินไทย และยังเทียบได้กับวีรกรรมอันกล้าหาญของ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชกับวีรกรรมของนายขนมต้มทีป่ กป้องความเป็นไทยให้พน้ จากการรุกรานของศัตรูอกี ด้วย เรื่องต้มยำ�กุ้ง เสนอเนื้อหาการตามหา “ความเป็นไทย” ในพื้นที่ต่างประเทศ เพื่อประกาศให้ชาวโลกเห็นถึง ความเป็นไทยผ่าน ‘สัญญะ’ สำ�คัญคืออาหารไทย มวยไทย และช้าง โดยเฉพาะการตั้งชื่อเรื่องว่าต้มยำ�กุ้ง ซึ่งเป็น อาหารไทยที่แพร่หลายไปทั่วโลก จึงสื่อให้เห็นถึงความเป็นไทยอย่างชัดเจน คนลาวในเรื่องเฉิ่ม (2548) แม้จะมีอาชีพขับแท็กซี่ แต่ภาพยนตร์ก็ประกอบสร้างให้เห็นว่าเขาตกเป็นเหยื่อ ของสังคมสมัยใหม่ ขณะที่ตัวละครมีชีวิตผูกพันกับความสงบสุขและวิถีชีวิตในอดีต เช่น การฟังเพลงเก่าการดำ�เนิน ชีวิตตามแบบเดิมๆ ที่สำ�คัญคือให้ความสำ�คัญกับความสัมพันธ์ทางจิตใจมากกว่าวัตถุ ความจริงใจและความใสซื่อ กลายเป็นปัจจัยให้เขาถูกเอาเปรียบอยู่ตลอดเวลา ภาพยนตร์เรื่องนี้จึงเสนอให้เห็นคนลาวที่ต้องเผชิญหน้ากับวิกฤต ความทันสมัยในเมืองรูปแบบต่าง ๆ ในภาพยนตร์เรื่องตะเคียน (2546) กลุ่มชาติพันธุ์ชาวเขาถูกกีดกันออกจากพื้นที่ วาทกรรมว่าด้วยการพัฒนา และด้อยพัฒนา ทำ�ให้เกิดกระแสการพัฒนาท้องถิน่ ไปสูค่ วามทันสมัย ภาพยนตร์เรือ่ งนีเ้ สนอว่าการสร้างเขือ่ น ทำ�ให้

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

การพยายามก้าวข้ามอคติชาติพันธุ์ในภาพยนตร์


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

244

เกิดความขัดแย้งระหว่างเมืองกับชนบท ป่าไม้ ที่ดิน และหมู่บ้านของกลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งฝังรกรากอยู่ที่บริเวณนั้นมา เป็นเวลานาน เกาะเกี่ยวคนในกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกันด้วยคติความเชื่อเรื่องผีบรรพบุรุษ ผีอารักษ์ผู้ปกป้องคุ้มครอง ชุมชน ตลอดจนผีนางไม้ผู้ปกป้องรักษาป่าไม้ แต่ความเชื่อเหล่านี้ขัดแย้งกับแนวคิดเรื่องการพัฒนา คนรุ่นใหม่ไม่ เชื่อในเรื่องเหล่านี้ ผีซึ่งถูกสร้างขึ้นเป็นตัวแทนของกลุ่มชาติพันธุ์จึงต้องต่อสู้ แต่ก็ต้องพ่ายแพ้อาวุธสมัยใหม่ของ คนเมือง อย่างไรก็ตามในที่สุดผีกลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งถูกแย่งชิงทรัพยากรก็สามารถต่อสู้จนชนะกลุ่มคนเมืองที่นำ�ความ วุ่นวายและความหายนะมาสู่ชุมชนได้สำ�เร็จ ผีตะเคียนในภาพยนตร์เรื่องนี้จึงเป็นตัวแทนของชาวบ้านที่ถูกบังคับให้ออกจากพื้นที่เดิมของตนเพื่อหลีก ทางให้แก่การพัฒนา พวกเขาคือผู้ที่ถูกแย่งชิงทรัพยากรของชุมชน ซึ่งนอกจากจะหมายถึงทรัพยากรที่เป็นวัตถุ อัน ได้แก่ป่าไม้ พืชไร่ ที่ดิน และชุมชนแล้ว ยังหมายถึงทรัพยากรในด้านวัฒนธรรมคือ ทรัพยากรในด้านความเชื่อ วิถี ชีวติ และคติชนด้านต่างๆ อีกด้วย ดังจะเห็นว่าเมือ่ ชาวบ้านถูกกีดกันออกจากพืน้ ทีด่ งั้ เดิมของตนแล้วต้องอพยพออก จากหมู่บ้านไปหาที่อยู่ใหม่ พวกเขาได้น�ำ เครื่องบูชาและวัตถุต่างๆ ที่แสดงถึงอัตลักษณ์ของกลุ่มชนนำ�หน้าขบวน ไป ภาพยนตร์เรื่องตะเคียนแสดงให้เห็นถึงการพยายามเข้าใจกลุ่มชาติพันธุ์ที่ถูกแย่งชิงทรัพยากร และต่อสู้ด้วย กระบวนการของความเชื่อและวัฒนธรรมที่ตนมีอยู่ อีกทั้งยังเสนอประเด็นให้เห็นถึงการปรากฏตัวของรัฐในท้องถิ่น อีกด้วย น่าสังเกตว่าภาพยนตร์เรือ่ งนีม้ คี วามสอดคล้องกับข้อมูลทีเ่ ป็นจริงในสังคมไทย ดังกรณีศกึ ษาประวัตศิ าสตร์ ท้องถิ่นที่จังหวัดน่าน ซึ่งเสนอให้เห็นถึงการถูกแย่งชิงทรัพยากรของท้องถิ่น (โปรดดูงานวิจัยของชูศักดิ์ วิทยาภัค, สำ�รวย ผัดผล และรณยุทธ ศรีน้อย 2546) การก้าวข้ามอคติชาติพันธุ์ชาวเขายังมีปรากฏในเรื่องอาข่าผู้น่ารัก (2551) ผู้สร้างภาพยนตร์ให้คนหนุ่มสาวก ลุม่ หนึง่ เข้ามาตัง้ สถานีโทรทัศน์ในหมูบ่ า้ นชาวเขา เพือ่ ผลิตรายการเกีย่ วกับชาวเขา และให้ชาวเขาดูกนั เอง กลุม่ หนุม่ สาวพบว่ารายการโทรทัศน์ทพี่ วกเขาพยายามสร้างสรรค์ให้แก่ชาวเขานัน้ มิได้รบั ความสนใจเท่าทีค่ วร จนกระทัง่ เด็ก หญิงชาวอาข่าผูห้ นึง่ ซึง่ ถูกเบียดขับออกจากชุมชนและได้เรียนรูช้ วี ติ อันเจ็บปวดของเพือ่ นพ้องชาวเขาซึง่ ใช้ชวี ติ เป็น คนขายของทีร่ ะลึกให้แก่นกั ท่องเทีย่ วในเมือง เด็กหญิงได้นำ�เรือ่ งราวความเจ็บปวดและความโหยหาชุมชน ตลอดจน ความต้องการกลับคืนสู่ชุมชนของตนมานำ�เสนอผ่านรายการโทรทัศน์ ภาพยนตร์เรื่องนี้สื่อนัยว่ารายการโทรทัศน์ที่ เหมาะสมกับชาวเขา ก็ต้องเป็นเรื่องราวของชาวเขา และผลิตโดยชาวเขาด้วยกันเอง ภาพของชาวเขาเผ่าอาข่าทีต่ อ้ งอพยพย้ายถิน่ มาเป็นคนขายของทีร่ ะลึกจนกระทัง่ ตัง้ เป็นชุมชนอยูใ่ นเมือง แม้ จะได้ปรับตัวให้เข้ากับอัตลักษณ์ใหม่ในเมือง (เช่น การแต่งกายเป็นคนเมือง และใช้ชวี ติ แบบคนเมือง) แต่เมือ่ ต้องออก ไปขายสินค้า พวกเขาก็ยังต้องดำ�รงอัตลักษณ์ของตนด้วยการแต่งตัวตามชนเผ่าของตนเพื่อให้ขายสินค้าได้ แนวคิด นี้ยังถูกนำ�เสนอไว้ในเรื่องอีติ๋มตายแน่ (2551) ซึ่งอพยพจากที่สูงไปยังประกอบอาชีพขายสินค้าวัฒนธรรมของตนที่ เมืองพัทยาและกรุงเทพฯ ชาวเขาบางคนก็ปรับตัวเข้ากับวิถีชีวิตสมัยใหม่ โดยละทิ้งการขายสินค้าแบบเดิมไปเป็น พนักงานขายในร้านฟาสต์ฟู้ดแมคโดนัลด์ การตั้งชุมชนใหม่นี้สะท้อนให้เห็นว่าอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ได้ไหลเลื่อนไปสู่ พื้นที่ใหม่ วัฒนธรรมถูกรื้อสร้าง เคลื่อนย้ายและแสดงในรูปของสินค้าและตัวตนในบริบทของเมือง ดังที่ยศ (2551: 9) ได้ตั้งข้อสังเกตว่าวัฒนธรรมถูกพรากจากรากเหง้าเดิมและพื้นที่เดิม แต่ไม่ได้หมายความว่าวัฒนธรรมเหล่านั้น จะเลื่อนไหลไปอย่างเลื่อนลอยไร้จุดหมาย ในทางตรงกันข้ามวัฒนธรรมที่ถูกขุดรากถอนโคนอาจหวนกลับมาสร้าง พื้นที่ใหม่และสร้างชุมชนใหม่ในเมืองได้ น่าสังเกตว่าในช่วงทศวรรษนี้ กระแสการล้อเลียนชาวเขาในสื่อบันเทิงต่างๆ ปรากฏอย่างมากมาย ทั้งใน รูปของภาพยนตร์ ละครโทรทัศน์ เพลง การแสดงตลก ฯลฯ โดยเฉพาะการล้อเลียนเรื่องอัตลักษณ์ทางภาษา และ วัฒนธรรมด้านต่างๆ ชาวเขากลายเป็นตัวละครทีม่ กั ปรากฏอยูใ่ นสือ่ บันเทิงหลายแขนง พวกเขาถูกช่วงชิงทรัพยากร ด้านวัฒนธรรมเพื่อนำ�ไปสร้างสีสันให้แก่สื่อบันเทิง รวมถึงถูกดึงเข้าสู่กระบวนการพัฒนาด้านต่างๆ โดยเฉพาะด้าน


245

กระแสการล้อเลียนชาวเขานี้ยังเกิดกับกลุ่มชาติพันธุ์ลาวด้วย การล้อเลียนว่าเป็น “ลาว” ซึ่งมีนัยในทางลบ นัน้ ถูกนำ�มาล้อเล่นในรายการตลกอยูอ่ ย่างต่อเนือ่ งตัง้ แต่กอ่ นวิกฤตเศรษฐกิจ 2540 (ธิตสิ รณ์ 2542) ดูเหมือนว่าการ ล้อเลียนนี้เป็นที่ถูกอกถูกใจของผู้ชมทั้งที่เป็นคนเชื้อสายลาวและคนไทย รวมถึงคนไทยเชื้อสายต่าง ๆ ด้วย แม้การ กล่าวล้อเลียนในเชิงดูถูกดูหมิ่นนี้จะทำ�ให้เกิดการสลายพรมแดนทางชาติพันธุ์ไป แต่ในขณะเดียวกันชาติพันธุ์ลาว ก็แสดงตัวตนโดยการสร้างความหมายผ่านวัฒนธรรมประเภทต่าง ๆ ของตน โดยการนำ�อัตลักษณ์ท้องถิ่นมาต่อสู้ และต่อรองในกระแสโลกาวิวัฒน์ได้อย่างน่าสนใจ เช่น อาหาร เพลง การแสดง ดนตรี วรรณกรรม ฯลฯ จนดูเหมือน ว่าชาติพันธุ์ลาวได้เลื่อนไหลจากท้องถิ่นดั้งเดิมของตนมาก่อรูปในพื้นที่ใหม่อย่างเข้มแข็ง ทั้งพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ใน เมืองใหญ่อย่างกรุงเทพฯ หรือพื้นที่ในจินตนากรรมร่วมกัน เช่นพื้นที่ในสื่อบันเทิง การพยายามฝ่าข้ามอคติชาติพันธุ์ในสื่อภาพยนตร์ยังมีปรากฏอีกหลายเรื่อง แต่ก็มีอยู่น้อยมากเมื่อเทียบกับ การประกอบสร้างให้กลุ่มชาติพันธุ์มีตัวตนบางอย่างซึ่งตายตัวและถูกผลิตซํ้าบ่อยๆ จนกลายเป็นการประทับตราให้ แก่กลุ่มชาติพันธุ์ จึงชวนให้คดิ ว่า...อีกนานสักเท่าใดทีอ่ ตุ สาหกรรมภาพยนตร์ไทยจะเปิดกว้างให้มกี ารสร้างภาพยนตร์ชาติพนั ธุ์ ที่นำ�เสนอเรื่องราวซึ่งเป็นจริง เสนอฉายในโรงภาพยนตร์บ้าง

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

การท่องเที่ยว ดังจะเห็นได้จากการนำ�วัฒนธรรมของชนเผ่าต่างๆ มาแสดงแสงและเสียงต้อนรับนักท่องเที่ยวที่ไป เยือนชุมชนของตน


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

246

บรรณานุกรม จำ�เริญลักษณ์ ธนะวังน้อย. (2546). สื่อกับมานุษยวิทยา. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การ มหาชน). ชูศกั ดิ์ วิทยาภัค, สำ�รวย ผัดผล และรณยุทธ ศรีนอ้ ย. (2546). โครงการวิจยั ประวัตศิ าสตร์การต่อสูเ้ พือ่ การเข้าถึง ทรัพยากรของคนเมืองน่าน: รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: สำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. ธัญสก พันสิทธิวรกุล.(2550) “หนังไทยนอกระบบกับความตื่นตัวของยุคสมัย”. [ออนไลน์] www.thaifilm.com/shortFilmDetail.asp?id=6 ธิติสรณ์ ศรีธาดา. (2542). “การใช้ภาษาในการแสดงตลก: การศึกษาเชิงวิเคราะห์”. ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตรมหา บัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร. นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2538). ชาติไทย เมืองไทย แบบเรียน และอนุสาวรีย์: ว่าด้วยวัฒนธรรม รัฐและรูปการ จิตสำ�นึก. กรุงเทพฯ: มติชน. นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2538). โขน คาราบาว นํ้าเน่าและหนังไทย: ว่าด้วยเพลง ภาษาและนานามหรสพ. กรุงเทพฯ: มติชน. บุญช่วย ศรีสวัสดิ์. (2551). 30 ชาติ ในเชียงราย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ศยาม. บุญรักษ์ บุญญะเขตมาลา. (2542). ศิลปะแขนงที่เจ็ด เพื่อวัฒนธรรมแห่งการวิจารณ์ภาพยนตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: อมรินทร์. ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล. (2536). ภาษาของจิตรกรรมไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ผาสุก พงษ์ไพจิตร, สังศิต พิริยะรังสรรค์ และนวลน้อย ตรีรัตน์. (2543). หวย ซ่อง บ่อน ยาบ้า  เศรษฐกิจนอกก ฎหมายกับนโยบายสาธารณะในประเทศไทย. บรรณาธิการโดย พิรุณ ฉัตรวณิชกุล.กรุงเทพมหานคร: สำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ศูนย์ศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มูลนิธิ เอเชีย, 2543. มาลินี แก้วเนตร. (2543). คมงามในหนามเตย เงา แสง ความคิด ชีวิต และวรรณกรรม. กรุงเทพมหานคร: มติชน. ยศ สันตสมบัติ. (2551) . “คำ�นำ�ของผู้เขียน” ใน อำ�นาจ พื้นที่ อัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์: การเมืองวัฒนธรรม ของรัฐชาติในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์. (2546).ทุนวัฒนธรรม เล่ม 1 วัฒนธรรมในระบบทุนนิยมโลก. กรุงเทพมหานคร: มติชน. วุฒิชัย มูลศิลป์ และธรรมนิตย์ วราภรณ์. บรรณาธิการ. (2525). กบฏชาวนา. กรุงเทพฯ: สมาคมสังคมศาสตร์แห่ง ประเทศไทย. ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์. (2550). ประชาธิปไตยไม่ใช่ของเรา. กรุงเทพฯ: โอเพ่นบุ๊คส์. สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2549). “พลังลาว” ชาวอีสาน มาจากไหน? กรุงเทพฯ: มติชน. สุทธากร สันติธวัช. (2547) .“หนังไทยในทศวรรษ 2530 – 2540”. [ออนไลน์]. http://www.thaifilm.com/article สุวิดา ธรรมมณีวงศ์. (2547). “หวยใต้ดิน – บนดิน: ปัญหาเชิงโครงสร้าง”. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร. ปีที่ 34 ฉบับที่ 2 ,145-168. สุรชิ ยั หวันแก้ว.(2550). คนชายขอบ จากความคิดสูค่ วามจริง. พิมพ์ครัง้ ที่ 2. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สุเนตร ชุตินทรานนท์. (2539). บุเรงนองกะยอดินนรธา: กษัตริย์พม่าในโลกทัศน์ไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำ�กัด. เสน่ห์ จามริก. (2544). “กระบวนการความเป็นท้องถิน่ ในยุคโลกาวิวตั น์”. บทสนทนามหาวิทยาลัยเทีย่ งคืน: วิกฤต โลก วิกฤตไทย อะไรคือทางรอด. บรรณาธิการโดย ชัชวาล บุญปันและสมเกียรติ ตัง้ นโม. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์, มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน.


247 22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

เสมอชัย พูลสุวรรณ. (2541). “เรือนร่างในจิตรกรรมไทยแบบประเพณี” ใน เผยร่าง – พรางกาย: ทดลองมอง ร่างกายในศาสนา ปรัชญาการเมือง ประวัติศาสตร์ ศิลปะและมานุษยวิทยา.บรรณาธิการโดย ปริต ตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล. กรุงเทพฯ: คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ โครงการจัดพิมพ์คบไฟ. Amporn Jirattikorn. (2003). “Suriyothai: hybridizing Thai national identity through film.” Inter-Asia Cultural Studies, Volume 4, Number 2. Anchalee Chaiworaporn. (2002). “Nostalgia in Post Crisis Thai Cinema.” Focus: Forum On Contemporary Art & Society, September 2002, Singapore. Hunt, Leon. (2005).“Ong-Bak: New Thai Cinema, Hong Kong and the Cult of the ‘Real’.” Journal of Contemporary Film. Vol. 3, No.2. Lewis, Glen. (2003).“The Thai Movie Revival and Thai National Identity.” Journal of Media & Cultural Studies. Vol.17, No.1. Patsorn Sungsri. (2004). “Thai Cinema as National Cinema: An Evolution History”. Thesis for the Degree of Doctor of Philosophy of Murdoch University. Harrison, Rachel.(2005). “Amazing Thai Film: The Rise and Rise of Contemporary Thai Cinema on the International Screen.” Asian Affairs, Vol.36, No 3.


ภูมิรัฐศาสตร์ และชาติพันธุ์ชายแดน


249

ดร. พิชญ์ พงษ์สวัสดิ2์

บทคัดย่อ: บทความต้องการชีใ้ ห้เห็นว่า ประเด็นชาติพนั ธุใ์ นสังคมไทยนัน้ มีความเกีย่ วพันอย่างลึกซึง้ กับการเปลีย่ นแปลง ในเชิงพื้นที่ โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ “ภาคเหนือ” ของไทย จากอดีตของการเป็นอาณาจักรล้านนา และต่อ มาเป็นมณฑลลาวเฉียงของรัฐสยาม ในสามมิติที่สำ�คัญ ประการแรก กระบวนการของการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ซึ่งหมายถึงการล่มสลายลงของอาณาจักรที่มีความเป็น มายาวนานในอดีตนั้นมิใช่เกิดขึ้นอย่างปัจจุบันทันทีเมื่อมีการสถาปนา “เส้นแดน” ในแผนที่ หรือการเปลี่ยนแปลง ในเชิงโครงสร้างทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมในระดับมหาภาคเท่านัน้ หากแต่กระบวนการดังกล่าวมีมติ ใิ นเรือ่ ง ของความเปลีย่ นแปลงเชิงกายภาพในพืน้ ทีท่ มี่ ลี กั ษณะผันแปรไปด้วยเหตุปจั จัยในระดับโครงสร้างหลายประการ ทัง้ ในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ชายแดนเก่าและกำ�เนิดของพื้นที่ชายแดนใหม่ (อาทิ กรณีความเปลี่ยนแปลงจาก พื้นที่ศูนย์กลางอนุภูมิภาคจากเชียงแสนสู่แม่สาย และการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ศูนย์กลางภูมิภาคจากระแหง/ตากสู่ แม่สอด รวมทั้งการเปลี่ยนจากล้านนามาเป็น ลาวเฉียง พายัพ (ตะวันตกเฉียงเหนือ) และ ภาคเหนือ ประการทีส่ อง ความเปลีย่ นแปลงในเชิงการสร้างกรอบคิดและปฏิบตั ใิ นเชิงชาติพนั ธุใ์ นพืน้ ทีท่ ปี่ จั จุบนั เป็นพืน้ ที่ ภาคเหนือเป็นเรือ่ งทีน่ า่ สนใจ โดยเฉพาะในระยะเปลีย่ นผ่านทีจ่ ากเดิมนัน้ มีทงั้ “ลาวเฉียง” และ “กลุม่ ชาติพนั ธุอ์ นื่ ” มาสู่ระบบพลเมืองใหม่ของรัฐสยามที่เปลี่ยนลาวเฉียงเป็นประชาชนสัญชาติไทย และกลุ่มชาติพันธุ์อื่นเป็น “ชนก ลุ่มน้อย” ของรัฐไทย ประการทีส่ าม บทความนีช้ ใี้ ห้เห็นว่าหากพิจารณามิตเิ รือ่ งของการเปลีย่ นแปลงเชิงพืน้ ทีท่ ชี่ ายแดนในปัจจุบนั โดยเฉพาะจากเมืองชายแดนที่ใหญ่ที่สุดสองเมืองในภาคเหนือ ได้แก่ แม่สายและแม่สอด จะพบว่ามิติเรื่องของ ชาติพันธุ์เชิงวัฒนธรรมนั้น ไม่สามารถแยกตัวเองออกมาจากเศรษฐศาสตร์การเมืองและภูมิรัฐศาสตร์ของพื้นที่ ซึ่ง มีพัฒนาการของตนเองที่ไม่ได้เข้ากันได้ดีกับวิธีคิดในเรื่องของรัฐสมัยใหม่ในแบบสากล กล่าวคือ แม้ว่ารัฐไทยจะ มีความพยายามในการควบคุมพื้นที่สมัยใหม่ แต่ประชากรที่ถูกสร้างให้เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ในระบบใหม่นั้นกลับมี บทบาทสำ�คัญในการต่อสู้และรองกับรัฐสมัยใหม่อย่างซับซ้อน โดยเฉพาะในมิติของเศรษฐกิจชายแดน และความ 1 การอ้างอิงบทความ ควรได้รับอนุญาตจากเจ้าของบทความ 2 อาจารย์ประจำ�ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ผู้ช่วยศาสตราจารย์อาคันตุกะ คณะ สถาปัตยกรรมศาสตร์และการวางแผนเมือง และศูนย์ศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มหาวิทยาลัยมิชิแกน - แอน อาร์เบอร์

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

พัฒนาการของการเกิด “พื้นที่ภาคเหนือและ พื้นที่ชายแดนในภาคเหนือ” ของรัฐไทยสมัยใหม่: มิติทางชาติพันธุ์บนเศรษฐศาสตร์การเมือง และ ภูมิรัฐศาสตร์ของรัฐอาณานิคมแห่งสยาม จากอดีตจนถึงปัจจุบัน1


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

250

ขัดแย้งในการสู้รบทางการทหาร นอกเหนือไปจากมิติทางวัฒนธรรม แม้ว่าความสัมพันธ์ดังกล่าวอาจจะไม่ได้มีอยู่ อย่างเท่าเทียมก็ตาม และอาจจะมีผลสะท้อนกลับไปสู่กลุ่มชาติพันธุ์บางกลุ่มอีกด้วย

เนื้อความ: เกริ่นนำ� - ที่มา บทความชิ้นนี้ต้องการตั้งข้อสังเกตในเรื่องของการศึกษาชาติพันธุ์ โดยพยายามมองประเด็นของชาติพันธุ์ว่า มีความเกี่ยวข้องกับมิติทางด้านเศรษฐศาสตร์การเมือง ประวัติศาสตร์ และภูมิรัฐศาสตร์ของประเทศไทย โดยเลือก กรณีศึกษาที่เกี่ยวพันกับพัฒนาการของอาณาจักรล้านนา มาจนถึงการเกิดภาคเหนือของประเทศไทย เหตุผลสำ�คัญของการเลือกประเด็นดังกล่าวอยู่ที่ว่า เมื่อพูดถึงประเด็นทางชาติพันธุ์ นักวิชาการไทยมักจะ พิจารณาเรือ่ งดังกล่าวในลักษณะทีแ่ ยกเรือ่ งของชาติพนั ธุอ์ อกจากการพิจารณาเรือ่ งของเศรษฐศาสตร์การเมือง และ บริบททางประวัติศาสตร์ที่กว้างไปกว่าพัฒนาการของชาติพันธุ์ใดชาติพันธุ์หนึ่ง กล่าวคือ ในอดีตมาจนถึงปัจจุบัน เรื่องชาติพันธุ์มีแนวโน้มที่จะได้รับการพิจารณาในรูปลักษณะดังต่อไปนี้ 1. ในลักษณะของปัญหาและการแก้ปญ ั หาด้วยตัวแบบการจัดการปัญหาชาติพนั ธุใ์ นมุมมองของรัฐ อาทิ การ ใช้ตัวแบบหนึ่งในกรณีชาวจีน อีกตัวแบบในกรณีชาวมุสลิม และในกรณีชาวเขา 2. ในลักษณะของการส่งเสริมความหลากหลายของชาติพันธุ์ ซึ่งสิ่งดังกล่าวนี้ต้องระมัดระวังว่า การส่งเสริม ความหลากหลายนัน้ จะมีลกั ษณะของการส่งเสริมความหลากหลายบนความเข้าใจแก่นแกนของปมปัญหาและเข้าใจ มิตทิ างประวัตศิ าสตร์ หรือเป็นการส่งเสริมความหลากหลายในลักษณะของเจ้าอาณานิคมผูเ้ ปีย่ มไปด้วยเมตตา (benign colonialist) อาทิ การส่งเสริมเรื่องความหลายของชาติพันธุ์ในสังคมไทย และ/หรือสังคมสยามในเชิงวัฒนธรรม โดยไม่ได้พิจารณาว่าสยามหรือไทยนั้นไม่ได้เป็นอาณาจักรที่กินพื้นที่กว้างเหมือนในปัจจุบัน ดังนัน้ ความหลากหลายของชาติพนั ธุท์ ไี่ ม่ได้พจิ ารณาผ่านบริบททางประวัตศิ าสตร์ของอาณาจักร อาทิ การเกิด และล่มสลายลงของล้านนา (และปัตตานี) จึงไม่ได้ทำ�ให้เราเห็นภาพพัฒนาการของความหลากหลายและปมปัญหา ในเรื่องของความหลากหลายว่า แต่ละกลุ่มนั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างไรท่ามกลางความหลากหลายในสายตาของ ผู้ที่เหนือกว่าจากภายนอก (เช่นชาติพันธุ์ในสังคม “ไทย” หรือในสังคม “สยาม”) และไม่ได้พิจารณาว่าวัฒนธรรม นั้นมิได้มีความหมายเพียงแค่เรื่องของการแสดงออกของกลุ่มชน แต่หมายถึงพื้นที่ของการต่อสู้ในการกำ�หนดนิยาม ให้กับผู้อื่นและให้กับตัวเองผ่านสิ่งที่เรียกว่าวัฒนธรรมด้วย และที่สำ�คัญ ในอดีตนั้นคำ�ว่าวัฒนธรรมก็แยกไม่ออก จากเรื่องของการต่อสู้ทางการทหารและเศรษฐกิจด้วย เพราะกลุ่มชาติพันธุ์จำ�นวนไม่น้อยมีความแข็งแกร่งทางการ ทหารและเป็นอิสระจากรัฐ ทั้งทางเศรษฐกิจและทางการเมือง โดยไม่ใช่เรื่องว่ารัฐนั้น “อนุญาต” ให้เกิดสิ่งนี้ได้หรือ ไม่ แต่เป็นเรื่องที่รัฐไม่มีความสามารถเพียงพอในการจัดการความแข็งแกร่งของกลุ่มชาติพันธุ์เหล่านั้นได้ต่างหาก 3. ในลักษณะของการพูดถึงชาติพนั ธุใ์ ดชาติพนั ธุห์ นึง่ เป็นการเฉพาะ และให้ความสำ�คัญกับอธิบายว่าชาติพนั ธุ์ เหล่านัน้ ถูกสร้างและตกเป็นเหยือ่ อย่างไร ทัง้ ทีส่ งิ่ ทีเ่ กิดขึน้ ในความเป็นจริงนัน้ จะพบว่า แต่ละชาติพนั ธุน์ นั้ มีมติ ขิ องที่ ไม่ใช่เรื่องที่จะอธิบายในแง่ของความดี/ชั่ว หรือการตกเป็นเหยื่อเสมอไป รวมไปถึงเรื่องของวัฒนธรรม โดยเอาเรื่อง ของชาติพันธุ์ไปผูกกับวัฒนธรรมที่แยกขาดจากประเด็นทางเศรษฐกิจ การเมืองและการทหาร อาทิ เรามักพิจารณา ประเด็นเรื่องของชาติพันธุ์แยกออกจากการค้าและกองทัพของชาติพันธุ์ หรือเราอาจจะเชื่อว่าชาติพันธุ์นั้นมีกองทัพ ไว้กู้ชาติ (คือเป็นผลมาจากการถูกรุกราน ทั้งที่แนวคิดเรื่องของการแบ่งแยกวัฒนธรรม การค้า และการสงครามออก จากกันนั้นเป็นวิธีคิดสมัยใหม่)


251

เนื้อความ ภาคที่หนึ่ง ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ เศรษฐศาสตร์การเมือง และภูมิรัฐศาสตร์ของชาติพันธุ์ เส้นแดน และ ชายแดนในภาคเหนือ: มิติในเชิงกายภาพ เมื่อ “เส้นแดน” และ “เรือนร่างของชาติ” ไม่ใช่ทุกเรื่องที่ ชายแดน” จะขอเน้นยํา้ ว่า เมือ่ เราพิจารณาเรือ่ งชาติพนั ธุน์ นั้ เราไม่ควรละเลยทีจ่ ะพิจารณา “พืน้ ที”่ (ใครๆ ก็รวู้ า่ เรียกว่า space แต่จะขอยํ้าเอาไว้โดยจริตทางวิชาการ และเพื่อความเข้าใจตรงกัน) ที่บรรจุไว้ซึ่งกลุ่มชาติพันธุ์ (และแน่นอน เราย่อมไม่สามารถละเลยว่ากลุ่มชาติพันธุ์นั้นย่อมมีส่วนในการสร้าง(สรรค์)พื้นที่เหล่านั้นด้วย) ในการพิจารณาเรือ่ งพืน้ ทีน่ ี้ ประเด็นทีส่ ำ�คัญทีค่ วรจะต้องพิจารณาก็คอื เรือ่ งของ “เส้นแดน” “(พืน้ ที)่ ชายแดน” และ “ภาคเหนือ” ทั้งนี้เพราะ คำ�/แนวคิด/ปรากฏการณ์/ปฏิบัติการของคำ�สามคำ�นี้มีความเกี่ยวโยงกับมิติในเชิง ชาติพันธุ์ทั้งสิ้น หรือถ้าจะกล่าวอย่างง่ายๆ ก็คือ ปรากฏการณ์ที่ผิวหน้า หรือที่เรามักจะเห็นก็คือ เมื่อพูดถึงกลุ่ม ชาติพันธุ์ เราย่อมคิดว่ามีจำ�นวนมากอยู่ในภาคเหนือของประเทศไทย มักจะอยู่ตามแนวตะเข็บชายแดน และเพราะ การมีเส้นพรมแดนนี่เองที่สร้างปัญหาให้กับคนกลุ่มเหล่านี้ซึ่งเป็นคนข้ามแดน กล่าวโดยสรุป ทัง้ สามมิตนิ นั้ เป็นมิตใิ นเชิงกายภาพทัง้ สิน้ และหากเราสนใจอยากจะศึกษาเรือ่ งนีอ้ ย่างจริงจัง เราควรพิจารณามิติประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวพันกับเรื่องเหล่านี้ ซึ่งผู้เขียนขอเสนอว่า เส้นแดน ชายแดน ชาติพันธุ์ และ ภาคเหนือนั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างสลับซับซ้อน เพราะเส้นแดนนั้นไม่ได้มีความสัมพันธ์กับชายแดนอย่างตรงไป ตรงมา (คือเส้นแดนไม่ได้ให้กำ�เนิดชายแดนอย่างฉับพลันทันที) และชายแดนนั้นมีการเปลี่ยนแปลงจุดพิกัดอันเนื่อง มาจากพัฒนาการของพื้นที่ (อาทิ ดินแดนที่เป็นชายแดน/พรมแดนของไทย/สยามนั้นเดิมไม่ได้อยู่ที่แม่สาย แต่อยู่ที่ ระแหง (ตาก) และชายแดน/พรมแดนของล้านนานั้นอยู่ในบริเวณเชียงแสน) และเมื่อเราเห็นความสลับซับซ้อนในแง่ นี้เราคงจะต้องพิจารณาถึงพลวัตรของพื้นที่ในรายละเอียด การศึกษาที่ว่าด้วยเรื่องของการกำ�เนิดเส้นแดนนั้น เชื่อว่าเส้นแดนนั้นเป็นเรื่องใหม่ อย่างไรก็ดีในบทความนี้ ไม่ได้ต้องการโต้เถียงว่าก่อนหน้าที่จะมีเส้นแดนนั้น คนในพื้นที่และนอกพื้นที่มีความเข้าใจในเรื่องพื้นที่มากน้อยแค่ ไหน หากแต่ประเด็นที่บทความนี้ต้องการนำ�เสนอก็คือ การศึกษากำ�เนิดและพัฒนาการของเส้นแดนนั้นไม่ใช่ทุกสิ่ง ทุกอย่างของการพิจารณาพื้นที่ชายแดน และคำ�ถามที่บทความนี้สนใจนั้นอยู่ที่ว่า พื้นที่ชายแดนนั้นมีพัฒนาการขึ้น มาได้อย่างไร เพราะว่าเส้นแดนนัน้ มีความยาวหลายพันกิโล (ในกรณีของไทยกับพม่า) แต่ไม่ใช่ทกุ พืน้ ทีท่ อี่ ยูต่ ามแนว เส้นแดนนั้นจะพัฒนาขึ้นมาเป็นชุมชนชายแดน ซึ่งมักจะเป็นพื้นที่ของกลุ่มชาติพันธุ์ ในแง่นี้ การศึกษาเรื่องเส้นแดนและเรือนร่างของรัฐและชาติ(รัฐชาติ)ในสมัยใหม่ จึงไม่ได้อธิบายพัฒนาการ ของพืน้ ทีช่ ายแดนและผูค้ นทีช่ ายแดน หากแต่เป็นเรือ่ งของความสนใจในตัวพืน้ ทีจ่ ากมุมมองของผูม้ อี ำ�นาจทีอ่ ยูต่ รง ศูนย์กลางอาณาจักรเสียมากกว่า ในขณะทีก่ ารศึกษาพืน้ ทีช่ ายแดนในมุมมองของพืน้ ทีช่ ายแดนเองนัน้ ทำ�ให้เราต้อง เข้าใจประวัติศาสตร์ของพัฒนาการของพื้นที่ ทั้งจากในมุมมองของเศรษฐศาสตร์การเมือง (ความสัมพันธ์ระหว่าง การเมืองและเศรษฐกิจ) และภูมิรัฐศาสตร์ (ความสัมพันธ์ของตัวแสดงทางการเมืองในการจัดสรรพื้นที่โดยอำ �นาจ นอกพื้นที่ อาทิ การสงคราม) ในหลายระดับ

3 Pitch Pongsawat, “Border Partial Citizenship, Border Towns, and Thai-Myanmar Cross-Border Development: Case Studies at the Thai Border Towns” (University of California at Berkeley, 2007).

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

บทความขนาดสั้นชิ้นนี้เป็นข้อสังเกตสามประการที่มีต่อประเด็นในการศึกษาเรื่องชาติพันธุ์ โดยเน้นไปที่ พัฒนาการของภาคเหนือของประเทศไทย ข้อมูลที่ใช้พิจารณานั้นมาจากวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกของผู้เขียน3


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

252

พัฒนาการของพื้นที่ชายแดน: เมื่อชายแดนกลายเป็นศูนย์กลางของการศึกษาพื้นที่ ตัวอย่างที่สำ�คัญที่ต้องเน้นยํ้าในส่วนนี้ก็คือ เมื่อเราศึกษาพัฒนาการของแม่สายและแม่สอดในฐานะพื้นที่ ชายแดนของประเทศไทยในปัจจุบันนั้น จำ�ต้องพิจารณาเชื่อมโยงกับการล่มสลายลงของพื้นที่ชายแดนเก่าที่เป็น พื้นที่สำ�คัญในยุคก่อนสมัยใหม่ หรือหมายถึงก่อนที่จะมีเส้นแดนสมัยใหม่ ซึ่งหมายถึงทั้งเชียงแสนและระแหง (ตาก) ศูนย์กลางของอาณาจักร คำ�ตอบก็คือ อาณาจักรโบราณ โดยเฉพาะล้านนาและสยามนั้นพึ่งพาการเคลื่อนไหวของ กลุม่ ชาติพนั ธุจ์ ำ�นวนมาก เพือ่ สร้างความมัง่ คัง่ ของอาณาจักร ดังจะเห็นจากโครงสร้างของระบบศักดินาของล้านนา ในอดีตที่เอื้อให้เกิดเศรษฐกิจการหาของป่าและการค้าขายแลกเปลี่ยนโดยความชำ�นาญของกลุ่มชาติพันธุ์ กล่าวอีกนัยหนึง่ บทความนีก้ ำ�ลังเสนอว่า การศึกษาพัฒนาการของพืน้ ทีช่ ายแดน อาจไม่จำ�เป็นจะต้องศึกษา เฉพาะเรื่องของเส้นแดนและวาทกรรม ซึ่งเป็นมิติของการเมืองเชิงวัฒนธรรม (Cultural politics) หากแต่อาจใช้เครื่อง มือทางการศึกษาพัฒนาการภูมิภาค ในการพิจารณาแกนกลางของพื้นที่ภูมิภาค (regional core) โดยพิจารณาว่า พัฒนาการของภูมภิ าคในยุคสมัยหนึง่ ๆ นัน้ มีความเปลีย่ นแปลงอย่างไร และมองพืน้ ทีเ่ มืองทีช่ ายแดนเป็นศูนย์กลาง หนึ่งของภูมิภาค การศึกษากรณีเชียงแสน ทำ�ให้เราเห็นว่าการล่มสลายลงของเชียงแสนซึ่งเป็นจุดสำ�คัญของพื้นที่ชายแดน เดิมนั้นมีความสำ�คัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการพูดถึงการลากเส้นแดนและการสร้างเรือนร่างของชาติใหม่ และหากเรา เพ่งพิจารณาให้ดี เราอาจพบว่าการศึกษาความรุ่งเรืองและการล่มสลายของพื้นที่เชียงแสน และการเติบโตของพื้นที่ แม่สาย อาจทำ�ให้เราเข้าใจพัฒนาการของความรุ่งเรืองและล่มสลายของล้านนาได้ในอีกมิติหนึ่ง ในกรณีของเชียงแสนนั้น เดิมเป็นพื้นที่โบราณ ที่เป็นรากฐานที่สำ�คัญของการกำ�เนิดของอาณาจักรล้านนา เรามักจะมองเห็นภาพแค่ในตอนต้นว่า เชียงแสนนัน้ เป็นพืน้ ทีเ่ ก่าก่อนทีพ่ ระเจ้ามังรายจะย้ายมาที/่ สถาปนาเชียงราย และเชียงใหม่ แต่ในรายละเอียดแล้วเราจะพบว่า เชียงใหม่ในฐานะศูนย์กลางของอาณาจักรล้านนานั้น มีความ สัมพันธ์กบั เชียงแสนในฐานะพืน้ ทีช่ ายแดน ทีบ่ างครัง้ เป็นพืน้ ทีร่ กร้าง บางครัง้ เป็นศูนย์กลางอำ�นาจในระดับภูมภิ าค ดังนั้นศูนย์กลางกับชายแดนจึงมีทั้งแรงดึงดูด แรงส่งเสริม และแรงกดดันที่จะทำ�ลายล้างกัน ขึ้นกับเหตุปัจจัยหลาย ประการ และด้วยมุมมองเช่นนี้จะเห็นว่า เราสามารถมองเห็นทั้งพัฒนาการและพลวัตของพื้นที่ศูนย์กลางและพื้นที่ ชายแดนได้ และไม่เห็นว่าพื้นที่ชายแดนนั้นถูกกำ�หนดจากส่วนกลางเท่านั้น หากแต่พื้นที่ทั้งสองส่วนต่างกำ�หนดซึ่ง กันและกัน เพราะพื้นที่ชายแดนนั้นก็มีศูนย์กลาง เพราะเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคในลักษณะหนึ่งเช่นกัน มากกว่า ที่จะเป็นพื้นที่รกร้างว่างเปล่า หรือพื้นที่รอยต่อในลักษณะที่ไม่มีความสลักสำ�คัญตามที่เราเชื่อกัน ทั้งที่บ่อยครั้งการ อ้างถึงความจงใจของอาณาจักรใหญ่ทจี่ ะปล่อยให้รกร้างนัน้ อาจไม่เป็นจริง หรือการทำ�ให้รกร้างนัน้ เป็นกระบวนการ ทำ�อย่างจงใจ หรืออาจเกิดจากผู้คนในพื้นที่ที่ใช้พื้นที่ในลักษณะของการรกร้างอย่างจงใจเพื่อรักษาไว้ซึ่งอำ�นาจบาง ประการ ซึ่งย่อมหมายความว่า อาณาจักรใหญ่นั้นอาจจะไม่สามารถควบคุมพื้นที่ได้อย่างจริงจัง พื้นที่ของเชียงแสนนั้นมักถูกทำ�ให้รกร้างด้วยเหตุผลทางยุทธศาสตร์การรบ มากกว่ารกร้างโดยธรรมชาติใน เชิงวิวัฒนาการ โดยเฉพาะ หรืออาจกล่าวได้ว่า ในยุคพม่าเข้ามายึดครองเชียงใหม่นั้น เมืองเชียงแสนนั้นกลายเป็น เมืองหลักที่มีความสำ�คัญทางการทหาร (นอกเหนือไปจากการเป็นหนึ่งในศูนย์กลางการค้าในภูมิภาคนั้นตามเครือ ข่ายการค้าที่ดำ�เนินไปโดยกลุ่มชาติพันธุ์) ที่พม่าใช้ในการควบคุมเชียงใหม่ซึ่งเป็นศูนย์กลางของล้านนา ดังนั้น การ รื้อฟื้นอำ�นาจของเชียงใหม่นั้นจึงขึ้นอยู่กับการทำ�ให้เชียงแสนหมดความสำ�คัญลง การพิจารณาคำ�อธิบายถึงความรกร้างของเชียงแสนในฐานเขตแดนสำ�คัญของล้านนา นั้นเป็นการพิจารณา จากศูนย์กลางอาณาจักร โดยก่อนปี 1878 ทั้งล้านนาและสยามเลือกที่จำ�ใช้ยุทธศาสตร์ทำ�ให้เชียงแสนเป็นเมืองร้าง (depopulation - ในบางครั้งหมายถึงการเข่นฆ่าผู้คนและเคลื่อนย้ายประชากร) เพื่อให้เกิดเขตแดน (frontier) ระหว่าง ล้านนากับเชียงตุง ขณะที่เมื่อพิจารณาจากบันทึกของชาวต่างชาติ อาทิ Bock (1884) ซึ่งเดินทางมาจากสยาม และ


253

การตีความหลักฐานของพลวัตในพืน้ ที่ทำ�ให้เราเห็นว่า เชียงแสนนัน้ มีความสำ�คัญในฐานะทีเ่ ป็นเส้นทางการ ค้า ไม่ว่าจะรกร้างหรือไม่รกร้างในเชิงกายภาพ เห็นได้จากการเป็นเส้นทางที่คนต้องผ่าน ไปยังเชียงตุงและยูนนาน (ขณะทีใ่ นยุคหลังนัน้ การเดินทางสูเ่ ชียงตุงทำ�โดยเส้นทางแม่สาย - ท่าขีเ้ หล็ก - เชียงตุง) และก็เป็นเส้นทางทีอ่ นั ตราย และถูกปล้น หลักฐานที่สำ�คัญอีกชิ้นหนึ่งก็คือ พระราชหัตถเลขาของรัชกาลที่ห้าของสยามในปี 1886 ที่มีต่อข้าหลวงของ สยามคนแรกที่ไปประจำ�ที่ล้านนา ที่ให้ความเห็นว่าเชียงแสนนั้นเป็นเมืองร้าง แม้ว่าจะเป็นพื้นที่ในเขตของสยามมา ตัง้ แต่สมัยพระเจ้าตากสิน และการเป็นเมืองร้างก็ดว้ ยเหตุผลในทางยุทธศาสตร์เพราะใกล้กบั พม่าเกินไป และทัง้ ล้าน นาและเชียงตุงก็ตกลงว่าจะทำ�ให้เป็นเมืองร้าง เพือ่ รักษาดุลยภาพทางอำ�นาจของพืน้ ที่ นอกจากนีร้ ชั กาลทีห่ า้ ยังระบุ ต่อว่าพื้นที่เชียงแสนนั้นไม่ได้เป็นที่น่าสนใจของอังกฤษในแง่ทางเศรษฐกิจ เมื่อเทียบกับพื้นที่บริเวณพวกกระเหรี่ยง แดงและสาละวิน (ซึ่งเป็นพื้นที่ป่าไม้ - พิชญ์ - และจะเห็นได้ว่าพื้นที่เชียงแสน และแม่สายนั้นไม่ได้เกิดการทะเลาะ กันเรื่องการปักปันเขตแดนเท่ากับพื้นที่แถวที่มีป่าไม้ในฝั่งขวาของสาละวิน) แนวคิดในเรือ่ งของพืน้ ทีช่ ายแดนทีม่ กี ารแบ่งอำ�นาจกัน (shared-border) หากพิจารณาจากหลักฐานของมุมมอง จากอาณาจักรนัน้ เข้ากันไม่คอ่ ยได้กบั พลวัตในพืน้ ทีจ่ ริงตามหลักฐานทีไ่ ด้เสนอมาแล้วทีช่ าติพนั ธุต์ า่ งๆ นัน้ เข้ามายึด ครองพืน้ ทีแ่ ละหาประโยชน์จากพืน้ ที่ โดยทีอ่ ำ�นาจรัฐในระดับอาณาจักรนัน้ ไม่สามารถจัดการได้ และการพยายามที่ จะเข้ายึดครองพืน้ ทีก่ ลับคืนนัน้ กระทำ�โดยการอพยพผูค้ นกลับไปในพืน้ ทีผ่ า่ นการปราบปราบโจรซึง่ ยึดพืน้ ทีเ่ หล่านัน้ อยู่ (ซึง่ เราอาจพิจารณาว่าเป็นหนึง่ ในวิธกี ารบริหารจัดการผูค้ นในอดีตจนถึงปัจจุบนั นอกเหนือไปจากวิธกี ารลงทะเบียน ผูค้ นตามชาติพนั ธุ)์ และใช้เวลายาวนานกว่าห้าสิบปีกว่าทีเ่ ชียงแสนจะได้รบั สถานะอำ�เภอ ภายหลังจากการโยกย้าย มาพัฒนาพื้นที่แม่จัน (1899 เรียกว่าเชียงแสนใหม่ ซึ่งกลายเป็นจุดตรวจคนและสินค้า (checkpoint) ก่อนจะถึงด่าน ท่าขี้เหล็ก นับตั้งแต่ประมาณ 1884 โดยพระราชดำ�ริของรัชกาลที่ 5 เพื่อแก้ปัญหาการเข้ามาของฉานในพื้นที่) และ แม่สาย (1950) ก่อนที่จะกลับไปที่เชียงแสน (1957 ก่อนหน้านั้นเรียกว่าเชียงแสนหลวง) ในปัจจุบัน พัฒนาการในพืน้ ทีข่ องเชียงแสนและแม่สายเองนัน้ เมือ่ เข้าสูย่ คุ หลังอาณานิคม ก็มไิ ด้มลี กั ษณะทีเ่ ป็นชายแดน ที่มีลักษณะสงบสุขอย่างใด อันเนื่องมาจากผลของการเปลี่ยนแปลงในระดับภูมิภาคและระดับโลกของสงครามเย็น ที่ทำ�ให้เกิดความขัดแย้งในประเทศพม่า และความขัดแย้งภายในประเทศจีน ซึ่งทำ�ให้พื้นที่ในบริเวณชายแดนนั้น เกี่ยวข้องกับประเด็นในเรื่องของการค้าและผลิตยาเสพติดในบริเวณสามเหลี่ยมทองคำ� ที่มีลักษณะพื้นที่ที่มีความ เป็นอิสระในระดับหนึ่งจากรัฐชาติของไทย พม่าและจีน โดยเฉพาะกลุ่มจีนฮ่อที่เกี่ยวพันกับจีนคณะชาติ และกลุ่ม ฉาน (ไทยใหญ่) บางส่วนที่เกี่ยวข้องกับการค้ายาเสพติดและมีกองทัพชาติพันธุ์คุ้มกัน รวมทั้งได้รับการสนับสนุน อาวุธจากสหรัฐอเมริกา

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

McCarthy (1900) ซึ่งทำ�การสำ�รวจเขตแดนของสยามในช่วงรอยต่อของการเปลี่ยนอำ�นาจจากล้านนาสู่สยามนั้น จะ พบถึงความน่าสะพรึงกลัวของพื้นที่รกร้างอันนั้น เพราะพื้นที่รกร้างของเชียงแสนในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ต่อต้น ศตวรรษที่ 20 นั้น ถูกบันทึกโดยนักเดินทางว่าเป็นชุมชนของบรรดาโจร และชาติพันธุ์มเู ซอ และพวกจีนฉาน หมู่บ้าน ร้าง ชุมชนของผู้ที่ไม่เสียภาษี และสถานีเล็กๆ ของอาณาจักล้านนาที่ไม่ค่อยจะมีเจ้าหน้าที่มาประจำ� ในกรณีของ Bock เขาบันทึกว่า เจ้าเมืองเชียงราย ซึ่งเปรียบเสมือนเจ้าเมืองด่านเมืองสุดท้ายของล้านนาก่อนจะเข้าเขตฉาน ไม่ อนุญาตให้ Bock ยืมช้างเพื่อใช้เดินทางไปยังเชียงตุงและยูนนาน รวมทั้งไม่สนับสนุนให้เดินทางไปยังพื้นที่ชายแดน (frontier) เนื่องจากจะต้องระวังพวกเงี้ยวที่พยายามจะมายึดเชียงแสนกลับไป นอกจากนี้ เจ้าเมืองเชียงแสนนั้นก็ ยังหวาดกลัวทั้งพวกเงี้ยวที่จะมาเอาเมืองคืน และพวกผีข่า โดยไม่ให้คนของเขาข้ามพื้นที่ชายแดนไป และสำ�หรับ McCarthy ซึ่งทำ�การสำ�รวจแผนที่นั้นได้บันทึกไว้ว่า เต็นท์ของตนถูกเผาขณะที่เขาออกไปทำ�การสำ�รวจพื้นที่บริเวณ เชียงแสน อย่างไรก็ตาม ความพยายามในการนำ�เอาคนจากลำ�พูนเข้ามาตั้งรกร้างในพื้นที่เพื่อรื้อฟื้นเมืองก็ใช้เวลา ถึงยี่สิบกว่าปี โดยพระราชดำ�ริของกษัตริย์สยาม (รัชกาลที่5) จนกระทั่งโจรทางฝั่งฉานนั้นถูกปราบจนหมดไป


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

254

เมื่อกล่าวถึงชายแดนที่เหนือสุดคือการเคลื่อนตัวจากเชียงแสนสู่แม่สายแล้ว ก็ขอกล่าวถึงการเคลื่อนตัวของ ชายแดนทางฝั่งตะวันตก ซึ่งหมายถึงการเคลื่อนตัวของระแหงสู่แม่สอด ซึ่งมีความหมายสำ�คัญในแง่ของการผนวก เอาดินแดนรอยต่อของอาณาจักรสยามกับล้านนา ซึ่งเดิมอยู่ที่ระแหงมาสู่การเกิดแม่สอดซึ่งเป็นชายแดนสยาม(และ ประเทศไทย) ภายหลังจากที่สยามสามารถผนวกดินแดนล้านนาเอาไว้ได้ ในกรณีของระแหงนั้น การล่มสลายลงของระแหงจากเมืองชายแดนของสยามต่อกับล้านนามีความสลับซับ ซ้อนทีแ่ ตกต่างไปจากกรณีของเชียงแสน เพราะระแหงหรือตากนัน้ เป็นพืน้ ทีช่ ายแดนทีผ่ กู กับเส้นทางเดินทัพและเส้น ทางการค้าระหว่างสยาม พม่า และล้านนา (และถ้าย้อนไปในอดีตกว่านัน้ ตากก็เป็นพืน้ ทีห่ น้าด่านทางตะวันตกของ อาณาสุโขทัยตามที่กล่าวอ้าง)และต่อมาก็ผูกเข้ากับเส้นทางการค้าของอังกฤษเมื่อปกครองพม่า ตาก นั้นเป็นแกน กลางของภูมภิ าคทีอ่ งิ กับเมืองทีใ่ หญ่กว่าคือกำ�แพงเพชร และเป็นเสมือนพืน้ ทีห่ น้าด่านเมือ่ ทัพพม่าตีเข้าอยุธยาผ่าน ด่านแม่ละเมา ซึ่งอยู่ใกล้กับพื้นที่แม่สอดในปัจจุบัน สิ่งที่จะขอเน้นยํ้าก็คือ ประวัติศาสตร์ไทยสมัยใหม่มักสนใจพื้นที่ต่างๆ ในเชิงสงครามอาณาจักร และทำ�ให้ การเมืองเป็นตัวกำ�หนดเนื้อหาทางประวัติศาสตร์ แต่ไม่ได้สนใจการค้าที่สวมทับในพื้นที่ทางการทหารเช่นกัน และ ไม่ได้อธิบายว่าการค้าในอดีตนั้นไม่ได้เรียกร้องให้เกิดการคุ้มครองโดยรัฐ แต่พ่อค้าต้องคุ้มครองตัวเอง และพ่อค้า เหล่านั้นก็มีลักษณะทางชาติพันธุ์ที่ไม่ได้อยู่ในลักษณะของการด้อยกว่าคนไทย หรือมิใช่เรื่องทางวัฒนธรรมที่แยก จากอำ�นาจการค้าและการเมืองการสงคราม ดังกรณีคลาสสิคคือ สถานะของพระเจ้าตากเองก่อนที่จะครองเมือง ตากนั้นก็เป็นชาวจีนที่ค้าวัวต่าง การเติบโตและการล่มสลายของระแหงนัน้ ผูกพันเข้ากับการมีอทิ ธิพลของอังกฤษในภูมภิ าค และการขยายตัว ของสยามไปผนวกเข้ากับล้านนา ภาพลักษณ์ของการเป็นเมืองชายแดนที่โดดเด่นในเรื่องการเป็นศูนย์กลางทางการ ค้าของระแหงนั้น เกี่ยวพันอย่างชัดเจนกับการแพร่ขยายอิทธิพลของอังกฤษเข้ามาในภูมิภาคผ่านทางพม่าตอนใต้ เนื่องจากอังกฤษต้องการค้นหาเส้นทางการค้าต่อเข้าไปจากพม่าทางเมาะละแหม่งเข้า สยาม ล้านนา และจีนผ่าน ทางยูนนาน โดยไม่ต้องการอ้อมลงไปที่มลายูและย้อนขึ้นมาที่กรุงเทพฯ และชี้ให้เห็นว่าอังกฤษนั้นสนใจล้านนาและ เชียงใหม่มากกว่าตัวกรุงเทพฯ เอง ในแง่ของผลประโยชน์ในทางการค้าและการเชื่อมต่อกับจีน กรณีของตากซึ่งเป็นพื้นที่ของรอยต่อของสามอาณาจักร (ล้านนา พม่า และ สยาม) นั้นแม้ว่าจะมีการอ้าง ถึงการมีอำ�นาจเหนือพื้นที่ของล้านนาและสยาม แต่หลักฐานในช่วงที่อังกฤษเข้าสู่พม่าแล้วพบว่า เงินตราที่ใช้ที่ ตากนั้นเป็นเงินรูปี (หมายถึงเงินตราของอังกฤษอันเนื่องมาจากพม่านั้นเป็นส่วนขยายของอินเดียซึ่งเป็นอาณานิคม ของอังกฤษ) ซึ่งนิยมใช้ในพม่าในล้านนา และกิจกรรมหลักในพื้นที่นั้นผูกโยงนอกเหนือจากเรื่องการค้าสู่เรื่องของ อุตสาหกรรมป่าไม้ในพื้นที่ที่ล้านนาให้สิทธิแก่บริษัทอังกฤษ และเป็นจุดเชื่อมต่อที่จะขึ้นสู่ล้านนาผ่านทางแม่นํ้าปิง เข้าสู่เชียงใหม่ อนึ่ง ก่อนหน้าที่จะมีรถไฟขึ้นสู่ “ภาคเหนือ” นั้น มีเส้นทางจากตากเข้าสู่เชียงใหม่ได้หลายทาง ไม่ ว่าจะผ่านทางระแหงขึ้นทางแม่นํ้าปิง หรือการเข้าทางแม่สะเรียงอิงกับแม่นํ้าสาละวิน โดยที่เมียวดี (เมืองตรงข้าม แม่สอด) นั้นเป็นด่านสุดท้ายของอังกฤษ (แม่สอดยกระดับเป็นอำ�เภอในปี 1898) พื้นที่ป่าไม้สักในพื้นที่ฝั่งตะวันตกเป็นฐานทางเศรษฐกิจที่สำ�คัญที่นำ�ไปสู่การเจรจาตกลงเรื่องเส้นแดนของ สยามกับอังกฤษในพื้นที่แม่สอดมีความชัดเจน นับตั้งแต่ 1868 ขณะที่เส้นแดนมีความสมบูรณ์ในปี 1892 และทำ�ให้ มีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของจัดตั้งชุมชนชายแดนจากระแหงมาสู่พื้นที่แม่ละเมาและแม่สอด ซึ่งเป็นพื้นที่จุดเชื่อม ต่อของอาณานิคมอังกฤษกับสยาม และเป็นจุดเชื่อมต่อของโทรเลขของสองอาณาจักร สิ่งที่อยากจะขอเน้นยํ้าก็คือ พืน้ ทีป่ า่ ไม้นนั้ เป็นสิง่ ทีเ่ กิดใหม่จากการแปลงพืน้ ทีท่ างกายภาพทีม่ ตี น้ ไม้ขนึ้ อยูแ่ ละยากต่อการควบคุม (jungle) กลาย มาเป็นพื้นที่ในการแสวงหาความมั่งคั่งในการแปลงธรรมชาติให้เป็นทรัพยากร (forest) และมีการนำ�มาใช้อย่างเป็น ระบบที่เกินไปกว่าการบริโภคประจำ�วัน


255

โปรดสังเกตว่า เดิมนั้นล้านนาไม่ใช่หัวเมืองเหนือ และไม่ใช่ทิศเหนือของสยาม เพราะทิศเหนือของสยามนั้น คือสุโขทัยและพิษณุโลก (และถ้าจะพิจารณาจากการใช้คำ�ในช่วงมณฑลเทศาภิบาล จะพบว่ามณฑลอุดรนั้นไม่ได้ อยู่ในภาคเหนือตามความเข้าใจในปัจจุบัน) กระบวนการกลายตัวของการกลายเป็นภาคเหนือในเชิงของการปรับ เปลี่ยนจินตนาการทางภูมิศาสตร์ โดยเฉพาะเรื่องของทิศจึงเป็นเรื่องสำ�คัญ และบทบาทของการเปลี่ยนแปลงเส้น ทางคมนาคมจากการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของรัฐสยามนั้นมีส่วนสำ�คัญทั้งในเรื่องของการเข้าถึงพื้นที่ และ การแปรสภาพพืน้ ทีโ่ ดยการทำ�ให้พนื้ ทีเ่ ดิมเข้าถึงได้ยากขึน้ และทำ�ให้เกิดการเปลีย่ นแปลงในการรับรูใ้ นเรือ่ งทิศด้วย ในกรณีของแม่สายนั้น แม่สายมีความสำ�คัญในการเป็นพื้นที่ชายแดนเหนือสุดของประเทศผ่านการตัดถนน สำ�หรับรถยนต์ทเี่ ชือ่ มไปเชียงตุงผ่านทางท่าขีเ้ หล็กของฉาน แทนทีจ่ ะอิงเส้นทางนํา้ เดิมทีเ่ ชียงแสน ในกรณีของแม่สอด นัน้ การเติบโตของแม่สอดในฐานเมืองชายแดนทีม่ อี ทิ ธิพลมากกว่าตาก (มาจนถึงปัจจุบนั แม่สอดก็มคี วามมัง่ คัง่ และ มีศนู ย์ราชการจำ�นวนไม่นอ้ ยทีแ่ ยกออกไปจากตาก และการพยายามจัดตัง้ จังหวัดของแม่สอดนัน้ จะส่งผลต่อการสูญ เสียความมั่งคั่งจำ�นวนมากของจังหวัดตาก) อันเนื่องมาจากความเปลี่ยนแปลงของการเชื่อมต่อกับล้านนาซึ่งกลาย สภาพเป็นมณฑลลาวเฉียงและมณฑลพายัพตามลำ�ดับ ผ่านเส้นทางรถไฟสายเหนือที่ตัดขึ้นพิษณุโลก และเข้าทาง ลำ�ปาง (ไม่นบั ถึงการมีเขือ่ นภูมพิ ลทีข่ วางเส้นทางการล่องแม่ปงิ ในช่วงเวลาถัดมา) แทนทีจ่ ะต้องเดินทางเลียบแม่นาํ้ ซึง่ ปรากฏการณ์ดงั กล่าวนัน้ มีความสำ�คัญเนือ่ งจากเทคโนโลยีสมัยใหม่ท�ำ ให้รถไฟนัน้ สามารถตัดลำ�นํา้ น่าน และยม (พิษณุโลก) เข้าผ่านวัง (ลำ�ปาง) และเข้าสู่ปิง (เชียงใหม่) โดยไม่ต้องผ่านตาก รวมทั้งบทบาทของทางหลวงใหม่ซึ่งใน อดีตนัน้ ไม่ได้สะดวกนัก สิง่ เหล่านีจ้ งึ ทำ�ให้ตากหมดความสำ�คัญลงในแง่ของเมืองชายแดนทีเ่ ป็นรอยต่อกับล้านนาที่ นักเดินทางจะต้องหยุดพักก่อนขึ้นไปล้านนา เหตุผลประการสำ�คัญอีกประการหนึง่ ทีท่ �ำ ให้ตากลดบทบาทลงในฐานะศูนย์กลางของภูมภิ าคชายแดนนอกเหนือ จากการที่แม่สอดถูกพัฒนาเป็นพื้นที่ชายแดนแทน (ผ่านการตัดถนนเข้าแม่สอดซึ่งกินเวลายาวนานมาก) เนื่องจาก เป็นเขตต่อพรมแดนสมัยใหม่กับพม่าภายใต้การเป็นอาณานิคมของอังกฤษที่เมืองเมียวดี ก็คือ ความเปลี่ยนแปลง ในอุตสาหกรรมป่าไม้เมื่อล้านนากลายเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรสยาม และมีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของ การใช้พื้นที่ป่าจากเดิมที่เป็นสัมปทานของอังกฤษมาสู่การควบคุมโดยกรมป่าไม้ของราชอาณาจักรสยาม/ไทย และ มีการประกาศเขตอุทยานแห่งชาติต่างๆ ที่ทำ�ให้การใช้พื้นที่ป่าไม้ในเชิงพานิชย์ลดลง และทำ�ให้เมืองต่างๆ ใน บริเวณชายแดนกลายเป็นเมืองที่หายไปจากเส้นทางการคมนาคมหลักของการติดต่อกับเชียงใหม่และของเศรษฐกิจ ในระดับเครือข่ายภูมิภาค อาทิ ฮอด ฝาง แม่สะเรียง ขุนยวม และปาย อีกประเด็นทีส่ �ำ คัญก็คอื เมือ่ เราพิจารณาถึงบทบาทของการเป็นป่าในเชิงพานิชย์ (forest) ทีร่ ฐั ต้องการให้เป็น กับป่าในเชิงพืน้ ทีท่ รี่ ฐั ไม่สามารถควบคุมได้ (jungle) เราจะพบว่าแม้วา่ ฉากหน้าของพืน้ ทีท่ างฝัง่ ตะวันตกของประเทศ นั้นจะถูกประกาศให้เป็นป่าเชิงพานิชย์ แต่ในความเป็นจริงนั้นรัฐไม่สามารถควบคุมพื้นที่ได้จริง และพื้นที่ป่าดัง กล่าวนัน้ ก็เป็นพืน้ ทีข่ องกลุม่ ชาติพนั ธุท์ มี่ คี วามเป็นอิสระกับรัฐไทยในระดับหนึง่ โดยเฉพาะกระเหรีย่ ง ซึง่ ในหลักฐาน ปรากฏว่าเป็นผู้ที่ดูแลพื้นที่เลยจากตากเข้าไปในแม่สอดมาตั้งแต่อดีต รวมทั้งชื่อพื้นที่-สถานที่ (name place) ต่างๆ ก็ เป็นภาษากระเหรีย่ ง และในยุคทีพ่ ม่ามีความเปลีย่ นแปลงสูย่ คุ หลังอาณานิคมและเกิดสงครามชาติพนั ธุ์ (รวมทัง้ ปิด ประเทศ) เราจะพบว่ากระเหรี่ยงนั้นครอบครองพื้นที่ในบริเวณแม่สอด และมีบทบาทต่อการเกิดตลาดมืดขายสินค้า

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

กระบวนการเกิดแม่สายและแม่สอดในฐานะเมืองชายแดนและศูนย์กลางของภูมภิ าคนัน้ เกีย่ วเนือ่ งกับการเกิด ภาคเหนือโดยตรง สิง่ ทีเ่ ราจะพบก็คอื ภาคเหนือนัน้ เป็นองคาพยพทางภูมศิ าสตร์ใหม่ อันเป็นผลจากการเปลีย่ นแปลง พืน้ ทีใ่ นเชิงกายภาพทีเ่ กีย่ วเนือ่ งกับการล่มสลายของอาณาจักรล้านนา ทัง้ นีเ้ รือ่ งการเปลีย่ นแปลงจากล้านนาเป็นภาค เหนือนัน้ ไม่ใช่เรือ่ งใหม่ แต่เป็นเรือ่ งทีม่ กั จะถูกลืม โดยเฉพาะพัฒนาการของการล่มสลายของอาณาจักรล้านนาทีเ่ ป็น อาณาจักรอิสระ สูก่ ารเป็นหัวเมืองประเทศราชของสยาม ผ่านการเปลีย่ นแปลงในเชิงการรับรูใ้ นเรือ่ งทิศและพืน้ ทีจ่ าก ล้านนาเป็นลาวเฉียง และพายัพ ก่อนจะมาเป็นภาคเหนือ


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

256

เข้าพม่า รวมทั้งการเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจในพื้นที่ผ่านเศรษฐกิจสงคราม จากการมีฐานทัพที่มานอปลอร์ใกล้ กับแม่สอด ก่อนทีจ่ ะแตกไปเมือ่ 1995 ทัง้ นีไ้ ม่นบั กรณีทกี่ องทัพกระเหรีย่ งเข้ามายึดและเผาสถานทีร่ าชการในอำ �เภอ แม่สอดในช่วง 1960 ซึ่งยังถูกกล่าวถึงอยู่ในบันทึกความทรงจำ�ของ “ชาวแม่สอด” ลักษณะของพื้นที่ป่าที่รัฐไม่สามารถควบคุมได้ (jungle) นั้น ยังมีความเกี่ยวพันกับการเป็นพื้นที่สีแดงของ แม่สอดในยุคสงครามปลดแอกของพรรคคอมมิวนิสต์ ซึ่งในยุคนั้นแม่สอดกินอาณาบริเวณห้าอำ �เภอชายแดนใน ปัจจุบัน คือ ท่าสองยาง แม่ระมาด แม่สอด พบพระ และอุ้มผาง ดังนั้นพื้นที่แม่สอดจึงมีลักษณะพิเศษของการเป็น ศูนย์กลางของชายแดนและเป็นพื้นที่ที่ติดพรมแดนเองด้วย กล่าวโดยสรุปในส่วนนี้ จะพบว่าแม้เราจะพิจารณาภาพรวมว่าพม่านัน้ ยังใช้วธิ ใี นการสร้างชายแดน (frontier) ทีแ่ บ่งสรรอำ�นาจให้กบั กลุม่ ชาติพนั ธุท์ อ้ งถิน่ (ทัง้ ในแง่ทไี่ ม่สามารถจัดการได้ หรือในแง่ของการแบ่งแยกแล้วปกครอง โดยใช้กลุ่มหนึ่งนั้นจัดการกับอีกกลุ่มหนึ่ง) ขณะที่ไทยนั้นใช้วิธีในการสร้างเขตแดนแบบปิด (border) ที่รัฐส่วนกลางมี อำ�นาจสูงสุด เด็ดขาด ถาวร และรวมศูนย์อ�ำ นาจ แต่ในรายละเอียดแล้ว พืน้ ที่ “ป่า” ของไทยนัน้ ยังมีลกั ษณะของแรง ดึงกันสองทาง (แรงตึงเครียด - tension) ระหว่างป่าที่รัฐควบคุมไม่ได้ (jungle) และป่าที่รัฐนำ�มาจัดทำ�เป็นทรัพยากร เพื่อการอุตสาหกรรม (forest) หรือป่าสำ�หรับการป่าไม้ โดยมีผู้คนในพื้นที่พยายามที่จะแสวงหาประโยชน์จากการ จัดการพื้นที่ในแบบการปิดเขตแดน (territorialization) ที่ไม่เคยเป็นกระบวนการที่สมบูรณ์ อาทิ การประกาศเขตป่า การพยายามปราบปรามผูก้ อ่ การร้ายคอมมิวนิสต์ หรือ การผลักดันกลุม่ ชาติพนั ธุต์ ดิ อาวุธให้ถอยออกไปจากพรมแดน ประเด็นที่ต้องการจะชี้ให้เห็นก็คือ เมื่อเราพูดถึงภูมิศาสตร์ของพื้นที่ชายแดนนั้น เราควรลองพิจารณาเอา ชายแดนเป็นศูนย์กลางในการศึกษาผ่านการทำ�ความเข้าใจความสัมพันธ์ของการเมืองกับเศรษฐกิจ และความสัมพันธ์ ของตัวแสดงทางการเมืองต่างๆ ทั้งในและนอกพื้นที่ที่มีส่วนในการสร้างแรงกดดันทางการเมือง เศรษฐกิจ และการ ทหาร (ภูมริ ฐั ศาสตร์) ดังทีเ่ ราเห็นว่าในพืน้ ทีช่ ายแดนซึง่ พัฒนาจากเก่าสูใ่ หม่ (เชียงแสน กับ ระแหง/ตาก มาสูแ่ ม่สาย กับแม่สอด) นัน้ เกีย่ วพันกับความเปลีย่ นแปลง (และการล่มสลาย) ของอาณาจักรโบราณในพืน้ ที่ อาณานิคม สงคราม เย็น และความขัดแย้งในภูมภิ าคทัง้ ภายในและภายนอกประเทศเอง และเราจะเห็นว่าเมือ่ เราพิจารณาในรายละเอียด ถึงกลุ่มชาติพันธุ์ขนาดใหญ่ในสังคมไทย อาทิ ไทยใหญ่ กระเหรี่ยง และจีนฮ่อ เราไม่สามารถแยกขาดเรื่องอคติเชิง วัฒนธรรมและความไม่ไว้วางใจคนเหล่านีอ้ อกจากอำ�นาจทางการค้าและการทหารในพืน้ ทีก่ อ่ นเกิดรัฐสมัยใหม่ และ แม้กระทั่งเมื่อเกิดรัฐสมัยใหม่ในช่วงสงครามเย็นได้

เนื้อความ ภาคที่สอง: ความเกี่ยวพันเป็นเนื้อเดียวกันของชาติพันธุ์กับชายแดน เมื่อ ชายแดนเป็นเรื่องของการควบคุมตัวคน ผ่านการสร้างชาติพันธุ์ และการกำ�กับเรือน ร่างของที่มิใช่แค่เพียงการสร้างจินตนาการของเรือนร่างของชาติ ในส่วนทีแ่ ล้วได้อธิบายให้เห็นว่าพืน้ ทีใ่ นเชิงกายภาพนัน้ มีสว่ นสำ�คัญในการส่งเสริมพัฒนาการของอาณาจักร และเกีย่ วพันกับเรือ่ งของกลุม่ ชาติพนั ธุ์ เพือ่ ชีใ้ ห้เห็นว่ากระบวนการลากเส้นแดนสมัยใหม่นนั้ มิใช่กระบวนการทีก่ ระทำ� สำ�เร็จลงแล้ว และกลุ่มชาติพันธุ์ที่อยู่ในพื้นที่เหล่านั้นก็มีความเข้มแข็งอยู่ในทางการทหารและเศรษฐกิจอยู่มิใช่น้อย หรือในกรณีบางส่วนในกลุ่มนั้นอาจจะไม่ได้ติดอาวุธ แต่พวกเขาก็ล้วนได้รับผลกระทบจากความเข้มแข็งของกลุ่ม ชาติพันธุ์ของตน (ซึ่งอาจทำ�ให้ตนได้หรือเสียประโยชน์จากกรณีดังกล่าว อาทิ อาจได้ประโยชน์ หรือถูกขูดรีด ข่มขืน โดยทหารได้) โดยเฉพาะสามกลุ่มหลัก คือ จีนฮ่อ ฉาน และกระเหรี่ยง ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ใหญ่ (ขณะที่หากเรา พิจารณาดูอีกที เราจะพบว่า จีน และมุสลิม ก็มีประเด็นเรื่องของอิสระทางการทหาร (ติดอาวุธ) และประเด็นทาง เศรษฐกิจเช่นกัน)


257

ประเด็นเรื่องคนในสังกัดหรือ subject นั้นเป็นเรื่องใหญ่ในสังคมสยาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังการเสีย สิทธิสภาพนอกอาณาเขตจากสนธิสัญญาบาวริ่ง และในระยะเปลี่ยนผ่านของล้านนามาสู่การเป็นส่วนหนึ่งของ อาณาจักรสยาม ในอดีตเรามักพิจารณาเรื่องดังกล่าวเฉพาะในเรื่องของการมีคดีความขึ้นสู่ศาล (ที่คนที่ไม่ได้อยู่ใน บังคับสยามไม่ต้องขึ้นศาลสยาม) แต่เราไม่ได้สนใจกระบวนการลงทะเบียนคนในบังคับ และจำ�นวนคนในบังคับ โดยเฉพาะในกรณีของล้านนานัน้ สถานกงสุลอังกฤษมีบทบาทในเชิงรุกในการออกไปลงทะเบียนประชากรตามเมือง ต่างๆ รวมกระทั่งที่ชายแดน ซึ่งจากบันทึกของอังกฤษเองนั้น การออกไปลงทะเบียนคนในสังกัดนั้นส่วนมากเป็นคน ที่ไม่ใช่คนเมือง แต่เป็นจีนและคนฉานเสียมากกว่า และโดยภาพรวมแล้ว คนในบังคับของอังกฤษและชาติอื่นๆ นั้น คนในท้องถิ่นมากกว่าคนยุโรปเอง ซึ่งแรงขับเคลื่อนสำ�คัญประการหนึ่งก็คือการหลบเลี่ยงการจ่ายภาษีให้รัฐสยาม ในอีกด้านหนึ่ง เราจะเห็นว่าอาณานิคมสยามก็ลงทะเบียนคนล้านนาหรือลาวเฉียงในสังกัดของตนเช่นกัน ซึ่งกระบวนการดังกล่าวคือกระบวนการที่รัฐสยามเองก็ริเริ่มให้มีการสำ�รวจและลงทะเบียนราษฎรของตนตามบ้าน แทนที่จะสังกัดมูลนายเหมือนเดิม โดยกระบวนการของกระทรวงมหาดไทยผ่านกลไกการบริหารราชการส่วนท้อง ที่ (กำ�นัน-ผู้ใหญ่บ้าน) และส่วนภูมิภาค (อำ�เภอและจังหวัด) ซึ่งหากลองคาดคะเนดูอาจจะพบว่า แรงจูงใจของการ เป็นคนในสังกัดสยามนั้นก็คือการได้รับสวัสดิการผ่านการปฏิรูปประเทศด้วยโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งผู้ที่ได้รับการลง ทะเบียนย่อมจะได้รับสิทธิเหล่านั้น และต่อมากระบวนการลงทะเบียนนำ�ไปสู่การมีบัตรประชาชน และการมีบัตร ต่างด้าว (ความจริงบัตรต่างด้าวเริ่มใช้กับแรงงานจีนในเมืองก่อน) เมื่อพิจารณากระบวนการลงทะเบียนประชากร เราจะเริ่มเห็นว่ากระบวนการลงทะเบียนประชากรนั้นเกี่ยว พันกับพืน้ ทีช่ ายแดนมากขึน้ นอกเหนือไปจากในยุคแรกทีเ่ ป็นเรือ่ งทีเ่ กีย่ วพันกับกรณีของคนในบังคับของอาณานิคม อื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคสงครามเย็นและความขัดแย้งทางการเมืองของประเทศในภูมิภาคนี้ (พม่า และจีน) ที่ ทำ�ให้เกิดการทะลักเข้ามาของคนทีไ่ ม่ได้ลงทะเบียนมาก่อน โดยในทศวรรษที่ 70 (พ.ศ. 2510 - 2519) ได้มกี ารกำ�หนด ระบอบชนกลุม่ น้อยในสังคมไทยทีม่ ี 16 กลุม่ ซึง่ จะต้องลงทะเบียนและถูกควบคุมไม่ให้เคลือ่ นย้ายออกจากพืน้ ทีโ่ ดย กระทรวงมหาดไทยและสภาความมั่นคง โดยที่ระบอบดังกล่าวนั้นแตกต่างจากระบอบคนต่างด้าวเดิมที่ไม่ได้เกี่ยว พันกับชายแดน (อาทิ คนจีนโพ้นทะเล หรือชาวยุโรป) ดังนั้นระบอบชนกลุ่มน้อยจึงมีนัยยะของการพูดถึงและพัฒนา category ของผูค้ นทีช่ ายแดนมาตัง้ แต่แรก แต่อย่างไรก็ตาม ระบอบชนกลุม่ น้อยและคนต่างด้าวนัน้ ไม่ได้เป็นเนือ้ เดียว กับประเด็นเรื่องการอนุญาตให้ทำ�งานในประเทศ ซึ่งจะต้องยื่นขออนุมัติ work permit แยกออกไป ระบอบชนกลุม่ น้อยทำ�ให้รฐั ไทย4มีความยืดหยุน่ สูงในการจัดการกับประชากรทีเ่ คลือ่ นทีไ่ ปมาทีช่ ายแดน ซึง่ มี ลักษณะทีซ่ บั ซ้อนกว่าโครงสร้างการจัดประเภทเดิมทีม่ แี ต่คนต่างด้าวทีเ่ ป็น นักท่องเทีย่ ว คนต่างด้าวทีพ่ กั อาศัย และ 4 1. เวียดนามอพยพ บัตรประจำ�ตัวสีขาวขอบนํ้าเงิน, 2. อดีตทหารจีนคณะชาติและจีนฮ่ออพยพพลเรือน อดีตทหารจีน คณะชาติ บัตรประจำ�ตัวสีขาว จีนฮ่ออพยพพลเรือน บัตรประจำ�ตัวสีเหลือง, 3. อดีตโจรจีนคอมมิวนิสต์มลายา บัตร ประจำ�ตัวสีเขียว, 4. ไทยลื้อ บัตรประจำ�ตัวสีส้ม, 5. ผู้อพยพเชื้อสายไทย จากจังหวัด เกาะกง กัมพูชา บัตรประจำ�ตัวสี เขียว 6. ผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่าเชื้อสายไทย บัตรประจำ�ตัว สีเหลือง, 7. จีนฮ่ออิสระ บัตรประจำ�ตัวสีส้ม, 8. เนปาลอพยพ บัตรประจำ�ตัวสีเขียว, 9. ผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่า บัตรประจำ�ตัวสีชมพู, 10. บุคคลบนพื้นที่สูงและชุมชนบนพื้นที่สูง และ 11. ชาวเขาที่อพยพเข้ามาก่อนวันที่ 3 ตุลาคม 2528 บัตรประจำ�ตัวสีฟ้า (บัตรบุคคลบนพื้นที่สูงสำ�รวจ ปี 33-34) บัตรประจำ�ตัว สีเขียวขอบแดง (บัตรสำ�รวจชุมชนบนพื้นที่สูงสำ�รวจปี 42 ) เลขกลุ่ม 71 (ชาวเขา) และ 72 (มิใช่ชาวเขา), 12. ผู้หลบหนีเข้า เมืองชาวลาวภูเขาอพยพที่เคยอาศัยอยู่ในประเทศไทย ได้ใบสำ�คัญประจำ�ตัวคนต่างด้าว ไม่มีบัตรสี, 13. ม้งในที่พักสงฆ์ถํ้า กระบอก จัดทำ�ทะเบียนประวัตแิ ล้ว แต่ยงั ไม่ได้จดั ทำ�บัตรสี, 14. ผูห้ ลบหนีเข้าเมืองจากพม่าอพยพเข้ามาหลัง 9 มีนาคม 2519 บัตรประจำ�ตัวสีส้มและสีม่วง, 15. ชาวลาวอพยพ บัตรประจำ�ตัวสีฟ้า, 16. ผู้หลบหนีเข้าเมืองจากกัมพูชา บัตรประจำ�ตัวสี ขาวขอบแดง

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

ประเด็นเรื่องของชาติพันธุ์นั้นไม่ใช่เรื่องทางวัฒนธรรมแต่เพียงอย่างเดียว แต่เป็นเรื่องของกระบวนการทาง อำ�นาจที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจการเมือง และภูมิรัฐศาสตร์เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเกี่ยวพันระหว่าง เรื่องของ “คนในสังกัด” กับประเด็นชาติพันธุ์ที่พัฒนาต่อมา


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

258

คนอพยพ ระบอบชนกลุ่มน้อยในฐานะที่เป็นโครงสร้างการจัดประเภทที่เป็นทางการทำ�ให้เกิดลักษณะความยืดหยุ่น ในการจัดการกับการเลื่อนไหลของผู้คนโดยการให้สถานะชั่วคราวเพื่อรอการส่งกลับ และในการกักขังพวกเขาไว้ใน พื้นที่ชายแดน เนื่องจากชนกลุ่มน้อยเหล่านี้เมื่อถูกลงทะเบียนจะไม่สามารถเคลื่อนย้ายออกจากพื้นที่ (ชายแดน) ได้ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากนายอำ�เภอและผู้ว่าราชการจังหวัด และที่ส�ำ คัญการลงทะเบียนนั้นไม่ได้เป็นหลักประกัน และพันธะสัญญาว่ารัฐไทยจะต้องยอมรับคนเหล่านี้เข้าเป็นพลเมืองและได้รับสวัสดิการเต็มที่เท่ากับพลเมืองไทย นัยยะสำ�คัญของเรือ่ งระบอบชนกลุม่ น้อยก็คอื ชนกลุม่ น้อยนัน้ ไม่ใช่เรือ่ งทางวัฒนธรรม เพราะมีตงั้ แต่เรือ่ งทาง วัฒนธรรม (ไทยลื้อ) การเมือง (จีนฮ่อ โจรคอมมิวนิสต์ลายา) และเงื่อนเวลาของการเข้าเมืองที่ผกู โยงกับสถานการณ์ ภายนอก (อาทิ คนพลัดถิ่นสัญชาติพม่าที่เข้ามาในปีก่อนที่พม่าจะปิดประเทศ) และอาจจะตกสำ�รวจในครั้งก่อน (บุคคลบนพื้นที่สูง) ซึ่งนอกเหนือจากที่พวกเขาไม่สามารถออกนอกพื้นที่ได้ การได้รับสัญชาติจะขึ้นกับดุลยพินิจของ คณะรัฐมนตรี ภายใต้ข้อเสนอของกระทรวงมหาดไทยและสภาความมั่นคง) ในทศวรรษที่ 1990 มีระบอบใหม่ที่อิงจากระบอบชนกลุ่มน้อย นั่นคือ ระบอบแรงงานต่างด้าวที่หลบหนีเข้า เมืองจากพม่า ลาว และกัมพูชา ซึ่งแรงงานหลบหนีจากพม่านั้นมีจำ�นวนมากที่สุด กล่าวโดยรวม ลักษณะทางชาติพันธุ์ในสังคมไทยในสายตาของรัฐไม่เคยเกี่ยวข้องกับเรื่องทางวัฒนธรรม ชนกลุ่มน้อยเกี่ยวข้องกับภัยทางการทหารและการเมือง และเกี่ยวพันกับสิทธิทางเศรษฐกิจ เนื่องจากคนเหล่านี้ไม่ สามารถเคลื่อนย้ายตัวเองได้ตามใจปรารถนา และไม่สามารถประกอบอาชีพทางเศรษฐกิจได้ โดยไม่มีใบอนุญาต ทำ�งาน ในกรณีของชนกลุ่มน้อยในอดีต เราจะพบว่าผลทางเศรษฐกิจที่ตามมานั้นมีด้วยกันสองประการ ประการ แรกคือเกิดการหลบหนีเข้าเมือง ประการที่สองคือ การยอมถูกจำ�กัดพื้นที่ให้อยู่ในเขตที่ทางการจัดให้ซึ่งคือพื้นที่ เกษตรกรรม ดังนัน้ คนเหล่านัน้ จึงกลายเป็นแรงงานเกษตรราคาถูกทีท่ ำ�ได้แค่ยงั ชีพหรือขายให้พอ่ ค้าคนกลางทีไ่ ปรับ ซื้อในราคาถูก คนเหล่านี้ไม่สามารถมาเป็นกรรมกรในเมืองได้ เพราะเคลื่อนย้ายไม่ได้ เขาจะอยู่ได้แต่ในภาคเกษตร (ซึง่ มีลกั ษณะยืดหยุน่ ระหว่างการยังชีพและการค้าขนาดย่อม และทำ�ให้ราคาสินค้าเกษตรราคาไม่แพง) และในกรณี ของแรงงานต่างด้าวจากพม่านั้นก็กลายเป็นแรงงานกึ่งทางเพราะพวกเขาต้องลงทะเบียนกับนายจ้างและห้ามออก นอกพื้นที่ รวมทั้งต้องรอต่อทะเบียนผ่อนผันรายปี (ตามตรรกะก็คือ เขาได้รับการผ่อนผันให้ทำ�งานเพื่อรอส่งกลับ) ปรากฏการณ์ดงั กล่าวของการมีชนกลุม่ น้อยและแรงงานต่างด้าวทีห่ ลบหนีเข้าเมืองแต่มาจดทะเบียนนี้ ทำ�ให้ เกิดลักษณะของกรรมาชีพลักษณะพิเศษ นั่นคือเขาไม่ได้รับสิทธิทางเศรษฐกิจและสวัสดิการเท่าพลเมืองในประเทศ และอยู่ในสภาพที่เปราะบางต่อการถูกกดขี่ขูดรีดอย่างเกินมาตรฐานปรกติ คนเหล่านี้ทำ�หน้าที่ส่งเสริมให้เกิดความ เติบโตทางเศรษฐกิจทีช่ ายแดน แต่ทว่าพวกเขาไม่สามารถจะเคลือ่ นทีไ่ ด้ แตกต่างกับกรณีของทุนทีเ่ คลือ่ นทีไ่ ด้ ซึง่ ใน กรอบคิดของมาร์กจะเรียกว่า การสะสมทุนแบบบุพกาล (primitive accumulation) ในความหมายที่ว่าระบอบทุนนิยม นั้นถูกสนับสนุนโดยปัจจัยการผลิตนอกระบอบทุนนิยม (แรงงานที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ไปเลือกที่จะถูกขูดรีดได้) และ ในรายละเอียดก็คือ รัฐและระบอบทุนนั้นสร้างปัจจัยการผลิตในลักษณะพิเศษคือแรงงานที่ติดชายแดนเอาไว้ แรงงานติดชายแดนนี้เองที่เป็นหัวใจสำ�คัญต่อการเติบโตของเศรษฐกิจชายแดน ทั้งกรณีการเกษตรและ อุตสาหกรรม และเมือ่ พิจารณาในรายละเอียดจะพบว่า ชายแดนนัน้ นอกเหนือจากเรือ่ งเส้น และชุมชนกายภาพทีเ่ รา อธิบายไปแล้ว เราจะพบว่าชายแดนนัน้ ถูกสร้างเอาไว้ในตัวคน คือเส้นแดนนัน้ ถูก “สัก” ลงไปในตัวคนผ่านระบบการ ออกบัตร และผ่านการมีดา่ นตรวจ(บัตร) ทีข่ อบของเมืองชายแดนตรงทางคมนาคมเข้าเมืองหลวง มากกว่าทีเ่ ส้นแดน จริง ซึ่งหมายความว่าในพื้นที่ชายแดนที่เป็นศูนย์กลางของภูมิภาคเองนั้นกลายเป็นพื้นที่แห่งข้อยกเว้นที่สามารถจะ ปล่อยให้มีการผ่านแดนที่เลื่อนไหลรายวันได้ แต่จะไม่สามารถออกไปจากพื้นที่ตรงนั้นได้ และทำ�ให้เห็นว่าเส้นแดน ชายแดน และพรมแดนนัน้ อยูใ่ นตัวคนตราบทีเ่ ขาไม่ได้รบั สถานะพลเมือง พวกเขาย่อมเปราะบางต่อการมีชวี ติ ทีม่ นั่ คง


259 22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

และทำ�ให้เห็นว่าเรื่องชายแดนนั้นไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรือนร่างของชาติ (geo-body of the nation) เท่านั้น แต่ยัง หมายถึงกระบวนการทางอำ�นาจทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจที่กระทำ�ต่อเรือนร่างของผู้คนด้วย ตราบใดที่เขาไม่มี สิทธิที่ได้รับการปกป้องอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเท่าหรือไม่เท่ากับคนในประเทศ แต่อย่างน้อยต้องได้ตามมาตรฐานของ แรงงานในระบอบทุนนิยม


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

260

“กฎหมายมีไว้เลี่ยงหรือไม่ก็ใช้ประโยชน์”: ด่านพรมแดนของรัฐ กับการปรับตัว และต่อรองของคนชายแดน กรณีศึกษาด่านพรมแดนช่องเม็ก จ. อุบลราชธานี1 อาจารย์พฤกษ์ เถาถวิล2

การเข้าใจเรื่องพรมแดนที่ผ่านมามักเป็นไปตามแนวทางการศึกษา ที่ยึดถือรัฐเป็นที่ตั้งในการประเมินความ เป็นไป (state-oriented approach) ซึ่งแนวทางการศึกษานี้นับเป็นการสืบทอดความคิดของนักวิชาการคนสำ�คัญแห่ง ศตวรรษที่ 19 คือ แม็ก เวเบอร์ (Max Weber) สำ�หรับเวเบอร์ รัฐ (ซึ่งในที่นี้คือรัฐสมัยใหม่ – modern state) คือสถาบัน หลักทางการปกครอง มีฐานะเป็นผู้สร้างและผดุงความศิวิไลซ์ของสังคมสมัยใหม่ (modern society) โดยที่ เวเบอร์ได้ อ้างอิงแนวคิดนี้จากนักปรัชญาคนสำ�คัญคือ คานท์ (Kant) และเฮเกล (Hegel) ที่เสนอว่าเส้นแบ่งของรัฐสมัยใหม่กับ รัฐก่อนสมัยใหม่ ก็คือการมีหลักกฎหมายที่มั่นคงในการปกครอง พร้อมกับการยึดประโยชน์ส่วนร่วมเป็นที่ตั้ง ดังนั้น เพื่อบรรลุเป้าหมายอันสูงส่ง รัฐจึงมีอำ�นาจอย่างชอบธรรมในการกำ�กับควบคุมสังคม นอกจากนั้น เวเบอร์ยังเสนอ อีกว่า เพื่อปกป้องการปกครองตามหลักกฎหมาย อำ�นาจรัฐต้องเป็นหนึ่งเดียว ไม่อาจมีอ�ำ นาจอื่นมาทับซ้อนท้าทาย (monopoly) อำ�นาจรัฐ ยังต้องมีอยู่เหนือเขตแดนที่มีมาแต่ดั้งเดิม (given territorial) อย่างเบ็ดเสร็จสมํ่าเสมอเหนือทุก ตารางเมตรอีกด้วย อาจกล่าวได้อีกว่า รัฐคือ “โครงการที่ยังไม่จบ” (incomplete project) ในการสร้างและรักษานิติ รัฐ ซึ่งจะต้องเดินหน้าปรับเปลี่ยนความอนารยะ ไม่มีขื่อมีแป และโหดเหี้ยม เหนือทุกพื้นที่ที่ยังมีอยู่ให้เป็นไปในทาง ที่ดีขึ้น (Das and Poole 2004: 7) แนวทางการศึกษาดังกล่าว เมือ่ ใช้ในการศึกษาพืน้ ทีพ่ รมแดน (หรือท้องถิน่ ห่างไกลจากศูนย์กลางการปกครอง ของรัฐ) ก็มกั จะสนใจว่าอำ�นาจรัฐได้เข้าไปเปลีย่ นแปลงพืน้ ทีพ่ รมแดนอย่างไร ในขณะทีม่ องเห็นพืน้ ทีพ่ รมแดนเสมือน พืน้ ทีว่ า่ งเปล่าคอยรับการครอบงำ�อย่างว่าง่าย ไร้สงั คมวัฒนธรรม ความรูส้ กึ นึกคิด หรือผลประโยชน์ของตนเอง การ มองยังมักใช้มาตรฐานของศูนย์กลางเป็นเกณฑ์ตดั สิน ว่าคนในพืน้ ทีพ่ รมแดนเป็นไปตามกฎเกณฑ์ของรัฐหรือไม่ ดัง นั้นบ่อยครั้ง ในสายตาของรัฐและสาธารณะชน ครั้นมองเห็นตัวตนของคนในพื้นที่พรมแดน ก็มักเห็นเป็นพวกที่มี อะไรแปลกๆ บางกรณีเป็นผู้คนในดินแดนเถื่อน ปราศจากกฎเกณฑ์ที่อารยะ บางโอกาสเป็นกบฏ พวกผิดกฎหมาย นอกรีต นอกรอย นอกจากนั้น การมองแบบนี้ ที่ยึดมั่นกับเขตแดนที่ตายตัว อำ�นาจอธิปไตยเหนือดินแดนที่เบ็ดเสร็จ สมบูรณ์ ยังสอดคล้องไปกันได้ดกี บั ลัทธิชาตินยิ มไทยทีล่ า้ หลังคับแคบ ซึง่ มักเป็นเหตุของความขัดแย้งและการพิพาท ดังกรณีจังหวัดชายแดนใต้ และความบาดหมางเรื่องพรมแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน ผู้เขียนคิดว่า การมองเช่นนี้เป็นปัญหา คือมันมีลักษณะตายตัว แข็งทื่อ มองไปในทิศทางเดียว เต็มไปด้วย อคติ และแฝงด้วยทัศนะที่รุนแรง ที่สำ�คัญคือปิดโอกาสที่จะเข้าใจพลวัตและความซับซ้อนของสังคมวัฒนธรรมใน พื้นที่พรมแดนอย่างที่มันควรจะได้รับความเข้าใจ บทความนี้จึงต้องการโต้แย้งกับวิธีมองแบบยึดถือรัฐเป็นที่ตั้ง โดย 1 การอ้างอิงบทความ ควรได้รับอนุญาตจากเจ้าของบทความ 2 อาจารย์ประจำ�คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี


261

บทความนีป้ รับปรุงจากผลการวิจยั ของผูเ้ ขียน (พฤกษ์ 2550ก) ซึง่ เก็บข้อมูลในพืน้ ทีพ่ รมแดนช่องเม็ก อ. สิรนิ ธร จ.อุบลราชธานี ซึ่งเชื่อมต่อกับพรมแดนวังเต่า เมืองโพนทอง แขวงจำ�ปาสัก สปป.ลาว การเก็บข้อมูลกระทำ�เป็น ช่วงๆ ระหว่างปลายปี 2547 ถึงต้นปี 2550 การนำ�เสนอบทความจะเริ่มจากการวิเคราะห์การกำ�กับควบคุมของด่าน พรมแดนสากลที่กำ�ลังอยู่ในกระบวนการจัดตั้ง จากนั้นจะนำ�เสนอชีวิตของผู้คนที่พรมแดนที่เป็นตัวแทนของอาชีพ ต่างๆ เพื่อนำ�ไปสู่การอภิปรายและสรุปในตอนท้าย ดังต่อไปนี้

ด่านพรมแดนสากล: การปรับระบบการกำ�กับควบคุม (regulation adjustment) ภายใต้แนวคิดเรื่องอำ�นาจอธิปไตยเหนือเขตแดนพรมแดนได้กลายเป็นสิ่งคํ้าประกันความมั่นคงของรัฐ ใน ทางทฤษฎี รัฐมุ่งจะควบคุมพรมแดนให้ได้ทั้งหมด แต่ในทางปฏิบัติด้วยข้อจำ�กัดหลายประการ รัฐสามารถควบคุม พรมแดนได้เฉพาะบางจุด และก็มักจะเลือกเข้าไปควบคุมพื้นที่ที่มีการติดต่อสัมพันธ์ระหว่างดินแดนมากเป็นพิเศษ หรือมีความอ่อนไหวต่อความมัน่ คงสูง วิธกี ารในการควบคุมมีหลายวิธี วิธหี นึง่ คือการเข้าไปจัดตัง้ ให้เป็นด่านพรมแดน ประเภทต่างๆ ดังกรณีพรมแดนช่องเม็ก ซึง่ ภูมศิ าสตร์ทเี่ อือ้ อำ�นวยให้เป็นเส้นทางไปมาหาสูแ่ ละค้าขายมาแต่โบราณ ก่อนปี พ.ศ. 2518 พรมแดนช่องเม็กได้ถูกจัดตั้งให้เป็นจุดผ่อนปรน หลังจากลาวเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ ระบอบสังคมนิยม จุดผ่อนปรนได้ปิดลงชั่วคราว จนกระทั่งความไว้วางใจกันได้กลับคืนมา พรมแดนช่องเม็กได้รับ การประกาศให้เป็นจุดผ่อนปรนอีกครั้งในปี พ.ศ. 2530 ถัดจากนั้นอีกสองปีภายใต้การค้าขายที่คึกคัก ก็ได้ยกระดับ เป็น จุดผ่านแดนถาวร3 หรือ ด่านพรมแดนถาวร และเมื่อล่วงเข้าสู่โลกาภิวัตน์ทางการค้า ทางราชการมีโครงการยก ระดับเป็น ด่านพรมแดนสากล โครงการนี้ริเริ่มมาตั้งแต่ปี 2547 และได้ดำ�เนินการสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน มีการ ปรับปรุงพื้นที่ทางกายภาพ และระบบการบริหารจัดการการผ่านแดนแบบใหม่เป็นลำ�ดับ ด่านพรมแดน (ไม่ว่าประเภทใด) ในแง่หนึ่งเป็นการจำ�ลองอุดมคติของรัฐชาติที่มีแนวคิดสำ�คัญคือการมี อำ�นาจอธิปไตยเหนือดินแดนอย่างเด่นชัด คือมันเป็นหน่วยงานราชการที่ถูกสร้างขึ้นที่เส้นสมมุติบางๆที่เรียกว่า พรมแดน ด่านพรมแดนจึงช่วยขับเน้นให้เห็นความมีอยู่ของเส้นพรมแดน ขณะเดียวกันรูปธรรมของด่านพรมแดนก็ คือนายปราการ ที่คอยประกาศตนว่าเป็นเจ้าของดินแดน เพื่อทำ�หน้าที่ควบคุมกิจกรรมทั้งมวลที่จะมีผลกระทบต่อ องคาพยพของรัฐ ที่พรมแดนเรายังจะพบสิ่งต่างๆที่เป็นสื่อสัญลักษณ์ของอำ�นาจรัฐ เช่น แนวรั้วลวดหนาม ป้าย ประกาศกฎระเบียบ หอคอยรักษาการ เจ้าหน้าที่ในเครื่องแบบพร้อมอาวุธสงคราม สุนัขตำ�รวจ ฯลฯ ซึ่งช่วยตอกยํ้า ความศักดิ์สิทธิ์ของอำ�นาจเหนือดินแดนมากขึ้นอีก ในแง่นี้จึงอาจกล่าวได้ว่าด่านพรมแดนโดยตัวมันเองก็คืออำ�นาจ เชิงสัญลักษณ์ของรัฐชาติ 3 จุดผ่อนปรน ตามนิยามของทางราชการหมายถึง พื้นที่ที่อนุญาตให้ประชาชนทั้งสองประเทศที่อยู่อาศัยบริเวณชายแดน สามารถแลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้าเล็กๆน้อยๆ ที่จ�ำ เป็นต่อชีวิตประจำ�วัน โดยจะมีข้อระบุว่าอนุญาตให้ซื้อขายแลกเปลี่ยน สินค้าประเภทใดบ้าง และจะมีการกำ�หนดพื้นที่และระยะเวลาที่แน่นอน ส่วนจุดผ่านแดนถาวร หมายถึง การเปิดให้เป็น พื้นที่ที่ประชาชนทั้งสองประเทศสามารถติดต่อค้าขายและส่งผ่านสินค้ากันได้อย่างถาวร

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

เฉพาะผลสืบเนื่องที่เป็นการใช้ไม้บรรทัดของศูนย์กลางไปตัดสินชีวิตคนชายแดน แต่ต้องการเปิดพื้นที่ความเข้าใจ ผู้คนในพื้นที่พรมแดนให้มากขึ้น โดยใช้กรอบคิดในการมองพรมแดน เป็น “พื้นที่พรมแดน” (borderland) ซึ่งหมาย ถึงการเป็นพื้นที่พบกันของอำ�นาจจากหลากหลายแหล่ง ทั้งรัฐ ทุน ท้องถิ่น ส่วนผู้มีบทบาท (actors) ก็หลากหลาย ในแต่ละกลุ่มก็หาได้มีเอกภาพ คือรัฐเองก็หลากหลาย ทุนและท้องถิ่นเองก็หลากหลาย ความสัมพันธ์มีทั้งปะทะขัด แย้งหรือสอดประสานร่วมมือกันเป็นเรื่องๆไป รวมทั้งการเข้าใจสังคมวัฒนธรรม ก็ต้องมองแบบมีประวัติศาสตร์ บน พื้นฐานคุณค่าของท้องถิ่นเป็นสำ�คัญ ดังข้อเสนอของ Gupta and Ferguson (1999:48 ) รวมทั้งผลงานกรณีศึกษาที่ น่าสนใจในพื้นที่เชื่อมต่อกับพรมแดนภาคเหนือของไทยเมื่อไม่นานมานี้ของ Walker (1999)


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

262

ในอีกแง่หนึ่ง เมื่อพิจารณาด่านพรมแดนในเชิงปฏิบัติการ โดยเฉพาะด่านพรมแดนสากล ก็จะเห็นว่าเป็น “ยุทธศาสตร์การกำ�กับควบคุมเชิงพืน้ ที”่ กล่าวคือเป็นกระบวนการควบคุม/จัดระเบียบ/ให้ความหมายแก่พนื้ ทีเ่ พือ่ วาง กฎเกณฑ์ในการใช้หรือสัมพันธ์กบั พืน้ ทีน่ นั้ (Pile 1997: 3) กรณีดา่ นพรมแดนสากลช่องเม็ก การจัดระเบียบพืน้ ทีท่ าง กายภาพ ได้เข้าแทนที่ชุมชนการค้าที่อยู่หน้าด่านพรมแดน จากย่านชุมชนการค้าประชิดติดรั้วพรมแดน และหาบเร่ แผงลอยตามแนวถนนหลวง ซึ่งในสายตาของรัฐ ทั้งเกะกะไร้ระเบียบ ไม่เจริญหูเจริญตา อีกทั้งเอื้ออำ�นวยต่อการ เข้าออกของผู้คนและสิ่งของอย่างผิดกฎหมาย ได้ถูกผลักดันออกไป แล้วแทนที่ด้วยการวางแผนผังการใช้พื้นที่ตาม มาตรฐานของด่านพรมแดนสากล คือการกำ�หนดให้พื้นที่ 200 เมตร จากริมรั้วพรมแดนออกมา อยู่ในการควบคุม ของรัฐอย่างเด็ดขาด ห้ามมีการอยูอ่ าศัยหรือกิจกรรมของบุคคลใดๆทีไ่ ม่ได้รบั อนุญาต พืน้ ทีท่ ชี่ าวพรมแดนเคยเข้ามา อาศัยทำ�มาหากิน ได้ถูกแทนที่ด้วยอาคารหน่วยราชการ ที่พักข้าราชการ สวนหย่อม โกดังสินค้า ลานขนส่งสินค้า ระบบการจราจรแบบใหม่ ฯลฯ (โปรดดูแผนภาพที่ 1 และ 2 เปรียบเทียบกัน) เมื่อการใช้พื้นที่เปลี่ยนไป ความหมาย ของพื้นที่ก็เปลี่ยนไป กฎกติกาในการสัมพันธ์กับพื้นที่ก็เปลี่ยนไป ด่านพรมแดนสากลจึงเป็นเครื่องมือกีดกันการเข้า ถึงพื้นที่ของชาวบ้าน และเพิ่มอำ�นาจของรัฐในควบคุมพื้นที่อย่างเข้มงวดมากขึ้น การปรับเปลี่ยนพื้นที่กายภาพหน้าด่านพรมแดน ยังเกิดขึ้นพร้อมกับการปรับระบบการบริการผ่านแดน ซึ่ง ทางราชการเรียกว่า ระบบการบริการในจุดเดียว (one stop service) ที่จะเป็นการอำ�นวยความสะดวกรวดเร็วใน การบริหารการผ่านแดน โดยให้หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับการผ่านแดนของผู้คน สินค้า เงินตรา และข่าวสาร ทั้งหมดมาอยู่ในที่เดียวกัน การเดินเรื่องเอกสารจะใช้ระบบคอมพิวเตอร์เครือข่าย ที่เชื่อมต่อถึงกันหมดอย่างรวดเร็ว และสามารถบันทึกและสืบค้นข้อมูลได้อย่างเป็นระบบรวดเร็ว โดยการบริหารแบบใหม่นี้จะช่วยสนับสนุนการท่อง เที่ยว และระบบการค้าเสรีที่กำ�ลังขยายตัวอย่างคึกคักในยุคโลกไร้พรมแดน โดยเฉพาะการดำ�เนินตามข้อตกลงเขต การค้าเสรีอาเซียน รวมทั้งเขตการค้าเสรีระหว่างชาติ (FTA) จึงกล่าวได้ว่า การปรับระบบการบริหาร ก็คือการปรับ ในเชิงเนื้อหาของกฎระเบียบในการผ่านแดน ที่จะทำ�งานโดยสอดประสานกับพื้นที่ทางกายภาพข้างต้น นอกจากนั้น ควรกล่าวด้วยว่า การปรับระบบของด่านพรมแดนสากลนี้ ทำ�งานบนหลักการพื้นฐานประการ หนึ่งของรัฐชาติ คือ หลักความเป็นพลเมือง (citizenship) นั่นคือ การติดต่อกับหน่วยราชการต้องกระทำ�บนพื้นฐาน การเป็นบุคคลตามกฎหมายของรัฐ กล่าวคือต้องใช้บัตรประชาชน หรือเอกสารที่บ่งบอกสถานะบุคคล เช่นไม่ว่าจะ เดินทางเข้าออก ก็จะต้องทำ�เอกสารการผ่านแดน หรือการนำ�เข้าส่งออกสินค้าก็จะต้องดำ�เนินการทางภาษีและการ ผ่านแดนของสินค้า โดยมีบัตรประชาชน หรือหลักฐานทะเบียนการค้าของธุรกิจ เป็นเอกสารสำ�คัญ การดำ�เนินการ ทางเอกสารนี้ไม่เพียงมีผลในทางกำ�กับควบคุมกิจกรรมที่พรมแดนเท่านั้น ในขณะเดียวกัน ยังมีผลสะท้อนกลับไป ตอกยํ้าความมีอยู่ของรัฐและอำ�นาจรัฐในอีกทางหนึ่งด้วย

ภาพที่1 ที่ตั้งร้านค้าหน้าด่านพรมแดนช่องเม็ก-วังเต่า ก่อนการจัดระเบียบพื้นที่ตาม โครงการ “ด่านพรมแดนสากล” (ที่มา: การสำ�รวจภาคสนามปลายปี 2547)


263

กล่าวโดยสรุปเราอาจแสดงแผนภาพโครงสร้างของยุทธศาสตร์การควบคุมเชิงพื้นที่ของด่านพรมแดนสากล ได้ดังภาพประกอบที่ 3 จำ�ลองอุดมคติ อธิปไตยเหนือ ดินแดน

ด่าน พรมแดน สากล (ยุทธศาสตร์ การควบคุม เชิงพื้นที่)

อำ�นาจรัฐเชิงสัญลักษณ์ อำ�นาจรัฐเชิงปฏิบัติ การจัดการพื้นที่เชิง กายภาพ+การปรับระบบ การบริการผ่านแดน หลักความเป็นพลเมือง

ภาพที่ 3 โครงสร้างของยุทธศาสตร์การควบคุมเชิงพื้นที่ของด่านพรมแดนสากล ที่กล่าวมานี้ แสดงให้เห็นการกำ�กับควบคุมของรัฐซึ่งดูเข็มแข็งเด็ดขาด เหมือนไม่มีที่ว่างให้กับอำ�นาจอื่น ใด หรือแบบแผนชีวิตแบบอื่นๆ ที่เบี่ยงเบนไปจากกรอบที่ตีไว้ ดูเป็นสถานที่ที่อยู่ยากโดยเฉพาะสำ�หรับชาวบ้านผู้มี ทุนน้อยด้อยอำ�นาจ แต่หากเราได้รู้จักพื้นที่พรมแดนมากขึ้น ก็จะเห็นว่ายังมีชาวบ้านจำ�นวนมากสมัครใจมาอยู่ที่นี้ และสามารถทำ�มาหากินได้ดีไม่น้อยกว่าที่อื่นๆ หรืออาจจะดีกว่า ที่สำ�คัญก็คือ ภายใต้กฎระเบียบอันเคร่งครัด เรา

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

แผนภาพที่ 2 พิมพ์เขียวด่านพรมแดนสากลช่องเม็ก พื้นที่บริเวณ 200 เมตรนับจากแนวรั้วพรมแดน จะเป็นที่ตั้งสถานที่ราชการ และพื้นที่กิจกรรมในการควบคุมของราชการ (ที่มา: เอกสารสำ�นักงานจังหวัด อุบลราชธานี 2547)


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

264

กลับพบว่าคนเหล่านี้มีชีวิตอยู่โดยไม่ยี่หระกับกฎเกณฑ์เหล่านั้นซักเท่าไร พวกเขาส่วนใหญ่ต่างใช้ทุกโอกาสให้เป็น ประโยชน์ รวมทั้งกฎหมายก็คือโอกาสหนึ่ง ในทำ�นองที่ว่า “อะไรไม่เป็นประโยชน์ก็เลี่ยงมันซะ อะไรที่ให้ประโยชน์ ก็ใช้มัน” และที่น่าสนใจก็คือ บรรดาขบวนการเลี่ยงกฎหมายยังมีเจ้าหน้าที่ราชการ (ส่วนหนึ่ง) มีส่วนร่วมด้วยอย่าง แข็งขัน ดังนั้นในช่วงต่อไปนี้ ผู้เขียนจะนำ�เสนอการปรับตัวและการต่อรองของคนชายแดนภายใต้การกำ�กับควบคุม ของด่านพรมแดน โดยกล่าวถึงการทำ�มาหากินของ 4 ชีวิต ที่อาจถือว่าเป็นตัวแทนของผู้คนในดินแดนแห่งนี้

“แม่ทองดี” ผู้นำ�เข้ากะหลํ่าปลี ขอเริ่มต้นที่แม่ทองดี แม่ค้า “ขาใหญ่” ตามสำ�นวนของคนในท้องถิ่น เธอเป็นผู้ผูกขาดการนำ�เข้ากะหลํ่าปลี รายใหญ่หนึ่งในไม่กี่รายของที่นี่ เริ่มต้นจากแม่ค้ารายเล็กๆ เมื่อช่องเม็กเริ่มเปิดจุดผ่อนปรน เธอเป็นแม่ค้าคนกลาง ที่ไปรวบรวมซื้อสินค้าพืชผักหรืออาหารพื้นบ้านจากฝั่งลาว เพื่อนำ�ข้ามฝั่งมาขายส่งต่อในไทย เมื่อฐานะมั่นคงขึ้น พร้อมกับเครือข่ายการค้าข้ามพรมแดน เธอกลายเป็นผู้ริเริ่มบุกเบิกการนำ�เข้ากะหลํ่าปลี ด้วยการข้ามไปส่งเสริม ชาวลาวให้หันมาปลูกกะหลํ่าปลี ภายใต้เครือข่ายที่อยู่ลึกเข้าไปในดินแดนลาวนับร้อยกิโลเมตร เธอสนับสนุนเมล็ด พันธุ์ เคมีภัณฑ์ และความรู้ จนเกิดการขยายตัวของการผลิตกะหลํ่าปลีอย่างเป็นลำ�เป็นสัน ปฏิบัติการนี้อาจเรียก ว่าเป็นการเกษตรแบบพันธะสัญญา (contract farming) รูปแบบหนึ่ง ทุกๆ เช้ากะหลํ่าปลีนับสิบๆ หรือนับร้อยตันจาก ตอนในของลาวจะถูกลำ�เลียงมาทีพ่ รมแดน ข้ามมาตีตลาดแข่งกับกับกะหลํา่ ปลีจากแหล่งผลิตต่างๆ ในประเทศไทย แม่ทองดีจะมาที่พรมแดนตอนใกล้รุ่งของทุกๆ เช้าที่ลานขนถ่ายสินค้าทางฝั่งลาว ภายใต้หมวกปีกกว้าง แต่ง หน้าเข้ม ไม่ขาดทองหยองประดับกาย เธอจะมาถึงพร้อมกับบุคลิกมากมั่น เสียงดังฟังชัด พูดติดตลก (ควรกล่าว ด้วยว่า ผู้ค้าขายที่พรมแดนจำ�นวนมากเป็นผู้หญิง และมีสัดส่วนเป็นผู้หญิงมากกว่าผู้ชายอย่างเห็นได้ชัด) เธอจะ ต้องจัดการธุรกิจอันละเอียดมากขัน้ ตอนโดยแข่งกับเวลา นับจากการตรวจรับสินค้าให้ถกู ต้องทัง้ จำ�นวนและคุณภาพ สินค้าจะทยอยลงจากรถบรรทุก คัดเกรด ลอกเปลือก บรรจุถุง ชั่งนํ้าหนัก ถูกนำ�ขึ้นรถเข็น ขนถ่ายมาฝั่งประเทศไทย เพือ่ ขึน้ รถบรรทุก เธอจะต้องบัญชาการการทำ�งานและดูแลสารทุกข์สกุ ดิบของลูกทีม ทีป่ ระกอบด้วยคนขับรถบรรทุก เกษตรกรผู้ปลูกกะหลํ่าปลี (ลูกสวน) คนงานลอกเปลือกกะหลํ่าปลี คนเข็นรถ ไปจนถึงคนขับรถบรรทุกในฝั่งไทย ตะกร้าพลาสติกคู่กายจะถูกเปิดออก ในนั้นมีสมุดบัญชีจดชื่อลูกทีม บันทึกรายการรับจ่ายเงิน เมื่อหักลบกลบหนี้ก็ จะจ่ายเงินให้แก่ทุกคน พร้อมๆ กับโทรศัพท์ไปด้วยอย่างออกรส ด้วยโทรศัพท์มือถือไม่ตํ่ากว่า 2 เครื่อง เพื่อประสาน งานลูกค้าหรือผู้เกี่ยวข้อง จากนั้นก็เข้าสู่อีกขั้นตอนสำ�คัญ คือเจรจากับเจ้าหน้าที่เพื่อนำ�สินค้าผ่านด่านพรมแดน กะหลํ่าปลีเป็นสินค้านำ�เข้าที่สำ�คัญของด่านพรมแดนช่องเม็ก ดังเช่นในปี 2547 เป็นสินค้านำ�เข้าอันดับสาม มีมลู ค่าการนำ�เข้ากว่า 40.871 ล้านบาท ก่อนจะมีการนำ�ระบบการลดหย่อนภาษีอาเซียนมาปฏิบตั ิ กะหลํา่ ปีเสียภาษี นำ�เข้าสูงมาก (เช่นก่อนปี 2547 อัตราภาษีร้อยละ 30 ของมูลค่าสินค้า) เพื่อปกป้องผู้ผลิตในประเทศ แต่ดูเหมือนว่า กำ�แพงภาษี จะทำ�ให้เกิดผลทางปฏิบัติอย่างเดียวคือการแหกกฎ นั่นก็คือได้เกิดขบวนการเลี่ยงภาษีกะหลํ่าปลีอย่าง เป็นการเป็นงานมาเนิ่นนาน ขบวนการเลี่ยงภาษี มีผู้นำ�เข้าเป็นตัวการสำ�คัญ แต่ขบวนการนี้ดำ�เนินไปไม่ได้หากไม่ ได้รับการร่วมมือจากเจ้าหน้าที่รัฐหน่วยต่างๆ หัวใจสำ�คัญของการนำ�สินค้าเลี่ยงภาษีก็คือ การติดสินบนเจ้าหน้าที่ แต่การให้สินบนนี้ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างไร้แบบแผน ตรงกันข้ามมันมีระเบียบแบบแผน จนมีสถานะเป็นระเบียบที่ไม่ เป็นทางการอีกชุดหนึ่งที่คู่ขนานกับระเบียบของทางการ เพียงแต่มันดำ�เนินไปอย่างลับๆ และถูกเลือกเป็นแนวทาง ปฏิบัติมากกว่า การให้สินบนนี้ยังมีลักษณะของกระบวนการต่อรองที่ไม่หยุดนิ่ง มีรายละเอียดของรูปแบบ ขั้นตอน และเทคนิค กล่าวอีกนัยหนึ่ง เป็นศิลปะที่ทำ�ให้ทุกอย่างราบรื่นทุกฝ่ายปลอดภัยแถมต้นทุนตํ่าแต่ได้ประโยชน์สูงสุด และต้องแจกจ่ายให้แก่เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างทั่วถึงและพอใจ หลังจากปี 2547 จนถึงปัจจุบัน กะหลํ่าปลีเริ่มได้การลดหย่อนภาษีตามข้อตกลงอาเซียน แต่ต้องแลกกับการ เข้าระบบอย่างเป็นทางการ แรกๆ ผู้นำ�เข้าไม่พอใจ เพราะการทำ�ธุรกิจของพวกเธอจะเป็นไปตามประเพณี คือไม่มี


265

“โทนี่” โมบายชิปปิ้ง โทนี่ ลูกอีสานแท้แต่เปลีย่ นชือ่ ให้เข้ากับอาชีพ เขามาพร้อมอาชีพใหม่ ภายใต้การจัดระบบการผ่านแดนสากล ที่เน้นการเปิดเสรีทางการค้าแต่ก็สร้างเงื่อนไขให้การดำ�เนินการขออนุญาตต้องเข้าระบบอย่างถูกต้อง อาชีพของ โทนี่ ก็คือ เข้าไปรับอาสาผู้นำ�เข้าส่งออก ในการทำ�เอกสารการเสียภาษีและการผ่านแดนของสินค้า ซึ่งเป็นปัญหาที่ ผู้นำ�เข้าส่งออกที่พรมแดนเห็นว่าเป็นเรื่องจุกจิกเสียเวลา อาชีพของโทนี่ก็คือ ชิปปิ้ง (shipping) หรือตัวแทนออกผ่าน ระบบศุลกากรที่ทำ�กันทั่วไป แต่สำ�หรับโทนี่การทำ�งานในเชิงรุกเข้าหาลูกค้า คงต้องเรียกเขาว่า “ชิปปิ้งเคลื่อนที่” หรือ “โมบายชิปปิ้ง” (mobile shipping) โทนี่ ชายวัยกลางคนท่าทางคล่องแคล่ว เคยเป็นพนักงานบริษัทชิปปิ้งที่ท่าอากาศยานดอนเมือง เมื่อกลับ มาบ้านเกิด คนรู้จักที่ด่านศุลกากรพิบูลมังสาหารได้แนะนำ�ให้ใช้ประสบการณ์มารับงานชิปปิ้งเอง โทนี่จึงไปฝึก อบรมตัวแทนออกของกับสมาคมชิปปิ้งแห่งประเทศไทย จนได้ใบรับรองการประกอบอาชีพชิปปิ้งจากสมาคมฯ เริ่ม แรกเขารับงานชิปปิ้งให้แก่ผู้นำ�เข้ากะหลํ่าปลีรายหนึ่ง โดยอาศัยการรู้จักกันมาก่อน การทำ�งานในปีแรกผ่านไปด้วย ดี โทนี่จึงเริ่มเป็นที่รู้จักและไว้วางใจของบรรดาผู้น�ำ เข้าส่งออก ในช่วงเริ่มต้น โทนี่ไม่เพียงทำ�งานตามหน้าที่ชิปปิ้ง อย่างเดียว แต่เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีเขายังอาสาทำ�งานอื่นให้แก่กลุ่มลูกค้าที่รู้จัก เช่น ช่วยขับรถขนส่งสินค้า ให้แก่ผู้นำ�เข้าสินค้าบางราย เมื่อผ่านไป 2-3 ปี การธุรกิจของโทนี่รุ่งเรืองขึ้น ขยายไปสู่การนำ�เข้า-ส่งออกสินค้าหลากหลายชนิด เขากลาย เป็นคนคุ้นเคยที่เข้าออกบ้านหรือร้านค้าผู้ค้าขายที่ช่องเม็ก กลายเป็นคนที่ให้ข่าวสารเรื่องการค้าชายแดน ลู่ทางการ ค้า นโยบายและแนวปฏิบตั ขิ องทางราชการ ไม่เว้นแม้แต่เรือ่ งการบ้านการเมือง เมือ่ การรับงานทีพ่ รมแดนมัน่ คง เขา ก็เริ่มรับงานจากผู้นำ�เข้าส่งออกทั้งรายเล็กรายใหญ่ที่ไม่ได้อยู่ที่ช่องเม็ก ในช่วงนี้สายสัมพันธ์เก่าจากที่เคยทำ�งานที่ บริษัทชิปปิ้งที่ดอนเมืองกลายเป็นช่องทางหาลูกค้า และเพื่อผูกใจลูกค้า โทนี่ก็ใช้ความสัมพันธ์นอกเหนือจากหน้าที่ ชิปปิ้ง ด้วยการช่วยเหลือทางธุรกิจแก่ลูกค้าของเขาในด้านต่างๆ เช่น การช่วยหาสินค้าในลาว หรือการพาไปดูแหล่ง ผลิตสินค้า การติดต่อคนจัดหาแรงงานในพื้นที่พรมแดน ฯลฯ ในปัจจุบนั โทนีม่ ที มี งานกว่า 10 คน ทีมหนึง่ ประจำ�อยูท่ ดี่ า่ นศุลกากรพิบลู มังสาหาร เพือ่ คอยรับข้อมูลสินค้า ทีจ่ ะส่งมาจากผูจ้ า้ งเพือ่ การจัดทำ�เอกสาร ส่วนอีกทีมหนึง่ ประจำ�ทีด่ า่ นพรมแดนช่องเม็ก เพือ่ ทำ�หน้าทีต่ ดิ ตามอำ�นวย ความสะดวกการตรวจปล่อยสินค้าเข้าออกของด่านพรมแดน ทีมงานทั้งสองได้อาศัยสำ�นักงานด่านพรมแดน/ด่าน ศุลกากรเป็นทีป่ ระสานงาน ในลักษณะทีไ่ ม่เป็นทางการ คือเป็นทีร่ บั ส่งเอกสาร (ทางแฟ็กซ์หรือคอมพิวเตอร์ออนไลน์) โดยอาศัยความสัมพันธ์อันดีกับเจ้าหน้าที่ ด้วยค่านํ้าร้อนนํ้าชาจำ�นวนหนึ่ง ปัจจุบันโทนี่เป็นหัวหน้าทีม เป็นผู้เจรจา รับงานกับลูกค้า หรือคอยแก้ไขกรณีมีปัญหา โดยปกติเขาจะง่วนกับภารกิจทั้งวันดังนักธุรกิจคนสำ�คัญคนหนึ่ง

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

เอกสาร หลักฐาน ไม่มีการจดทะเบียน อาศัยความสัมพันธ์ส่วนตัว เมื่อเข้าระบบ ต้องทำ�ทุกอย่างให้มีหลักฐาน ทำ� เอกสารขออนุญาต จดทะเบียนผู้ประกอบการ แต่ไม่นานทุกอย่างก็เข้าที่เข้าทาง (โดยมี “ตัวช่วย” ซึ่งจะกล่าวถึงข้าง หน้า) เมื่อไม่ต้องเสียภาษี ขบวนการเลี่ยงภาษีกะหลํ่าปลีมีอันฝ่อไป เหลือเพียงการให้ค่านํ้าร้อนนํ้าชาแก่เจ้าหน้าที่ ในขั้นตอนเล็กๆ น้อยๆ ส่วนผู้ที่เสียผลประโยชน์เห็นจะเป็นเจ้าหน้าที่ซึ่งขาดรายได้ที่เคยรับเต็มไม้เต็มมือ


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

266

อยากได้อะไรให้บอก “ส้ม” ผูเ้ ขียนใคร่จะกล่าวถึงผูห้ ญิงอีกคนหนึง่ คือ “ส้ม” เจ้าของสโลแกน “อยากได้อะไรบอกส้ม” ส้มมีอาชีพเป็นนาย หน้าหรือเอเย่นต์จัดหาสินค้า อาชีพนี้เป็นอาชีพดั้งเดิมของคนที่พรมแดน เนื่องจากในอดีตอุปสรรคของการเชื่อมต่อ ระหว่างดินแดนมีสงู ไม่ว่าในความแตกต่างของระบอบการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ภาษา ตลอดจนความยากลำ�บาก ในการผ่านแดน เมื่อมีคนต้องการสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ก็จะมีคนที่มีความสามารถพิเศษที่จะแก้ไขปัญหาเรื่องการติดต่อ ระหว่างแดนเข้ามาเป็นตัวกลางให้ ผู้คนที่พรมแดนที่มีความสามารถเป็นตัวกลางเชื่อมต่อได้ก็จะเข้ามาทำ�หน้าที่นี้ บางคนช่วยเหลือกันแบบให้เปล่า บางคนขอมีสินนํ้าใจเล็กๆ น้อย หรือบางคนอาจการทำ�เป็นอาชีพ ส้ม เป็นหญิงลาว บ้านเดิมอยูเ่ วียงจันทน์ แต่มาทำ�มาหากินทีป่ ากเซ ต่อมาจึงขยับขยายมาทีพ่ รมแดนช่องเม็ก ส้มแต่งงานกับชายไทย คนในหมูบ่ า้ นแห่งหนึง่ ใกล้ๆ ด่านพรมแดนช่องเม็ก และปักหลักตัง้ ครอบครัวอยูท่ หี่ มูบ่ า้ นแห่ง นี้ เธออยู่ในประเทศไทยในฐานะคนต่างด้าว (ขึ้นทะเบียนคนต่างด้าว) เมื่อเอ่ยชื่อส้ม คนช่องเม็ก-วังเต่าส่วนใหญ่จะ รู้จัก ไม่เว้นแม้แต่บรรดาข้าราชการตำ�รวจ ทหาร เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง และศุลกากร ประมาณปี 2535 ส้มมาที่พรมแดน เริ่มหารายได้จากการเป็นคนกลางซื้อขายสินค้า ทั้งการหาสินค้าลาวให้ผู้ ค้านำ�เข้าไทย หรือหาสินค้าไทยให้ผู้ค้านำ�เข้าลาว แต่ส่วนมากจะเป็นสินค้าจากลาวให้ผู้น�ำ เข้าไทย สินค้าจากลาวที่ หาให้ผู้ค้าไทยในช่วงแรกๆ ได้แก่ สินค้าเกษตรกร อาหารพื้นบ้าน ของป่า รวมทั้งเศษเหล็กและของเก่า ส้มแตกต่าง จากนายหน้าคนอื่นตรงที่เธอไม่จำ�กัดตัวเองอยู่ที่การเป็นนายหน้าหาสินค้าประเภทเดียว แต่จะจัดหาสินค้าหลายๆ อย่างในเวลาเดียวกัน และด้วยเหตุที่เธอเป็นคนลาว ที่เคยอยู่ปากเซ ซึ่งเป็นเมืองศูนย์กลางการค้าของลาวมาก่อน ก็ยิ่งเป็นประโยชน์ต่ออาชีพของเธอ เมื่อค้าขายกับคนไทยมากขึ้น ก็เป็นช่องทางให้เธอสามารถจัดหาสินค้าจากฝั่ง ไทยให้กับผู้นำ�เข้าลาวได้อีกทางหนึ่ง หลังจากเริ่มต้นอยู่ 3-4 ปี อาชีพนายหน้าของส้มก็รุ่งเรืองขึ้น สินค้าสำ�คัญที่ทำ�รายได้ดีก็คือ การค้าเศษเหล็ก และของเก่าทีน่ �ำ มาจากเวียดนามหรือตอนกลางของลาว ซึง่ เป็นสินค้านำ�เข้าผ่านพรมแดนช่องเม็กทีส่ �ำ คัญชนิดหนึง่ การเคยอยู่ปากเซเป็นต้นทุนสำ�คัญของอาชีพนี้ เนื่องจากเศษเหล็กเป็นสินค้าที่ถูกรวบรวมมาจากพื้นที่ไกลออกไป จากพรมแดนช่องเม็ก-วังเต่ามาก ต้องอาศัยเครือข่ายการค้าที่กว้างขวาง เมื่อแต่งงานประมาณปี 2538 การงานของ ส้มยิ่งเฟื่องฟูขึ้นอีก ด้านหนึ่งเกิดจากการแต่งงานกับคนไทย ในสายตาของคนลาวทำ�ให้เธอมีสถานภาพสูงขึ้นอีก อีกประการหนึ่งการมีบ้านอยู่ที่หมู่บ้านริมพรมแดน ก็เป็นที่ตั้งที่หนุนส่งต่อการงานอาชีพของเธอ คนจำ�นวนมากใน หมู่บ้านนี้เป็นคนลาวที่เข้ามาอาศัยอยู่ ทั้งที่มีบัตรประชาชนแล้ว ขึ้นทะเบียนต่างด้าว หรือไม่มีเอกสารใดๆ หมู่บ้าน นี้ยังเป็นจุดลักลอบนำ�เข้าส่งออกสินค้าที่สำ�คัญจุดหนึ่ง มีทางเดินป่าที่เชื่อมต่อกับพื้นที่พรมแดนวังเต่าของลาว เมื่อปักหลักที่หมู่บ้านนี้ เธอเริ่มขยับขยายไปสู่การเป็นนายหน้าจัดหาแรงงานลาว เพื่อลักลอบเข้าเมืองมา ทำ�งานในประเทศไทย โดยอาศัยเครือข่ายคนรู้จักทั้งที่อยู่ในเมืองลาว และที่หมู่บ้านของเธอ ในขณะที่สามีซึ่งเป็น คนไทยก็ช่วยติดต่อกับผู้จัดส่งแรงงานในประเทศไทย การจัดหาแรงงานลาวของส้ม เริ่มจากเล็กๆ ไปสู่การทำ�อย่าง เป็นการเป็นงาน ในระหว่างนี้ เมื่อมีฐานะมั่นคงขึ้นเธอก็เริ่มอาชีพใหม่พร้อมๆ กันไป คือ เป็นผู้ปล่อยเงินกู้ และขาย หวยใต้ดิน โดยลูกค้าของเธอก็คือบรรดาคนไทย-ลาวในพื้นที่พรมแดน ธุรกิจนี้ยิ่งหนุนส่งให้เธอมีฐานะมั่นคงขึ้น และ เป็นผู้กว้างขวางมากขึ้นอีก ในการประกอบอาชีพผิดกฎหมายทีก่ ล่าวมา ซึง่ คนทัว่ ไปไม่อาจทำ�ได้ แต่สม้ สามารถทำ�ได้ ด้วยการติดสินบน เจ้าหน้าที่ทั้งฝั่งไทยและฝั่งลาว เพื่อให้เปิดทาง อำ�นวยความสะดวก หรือคุ้มครอง ผู้อยู่ในวงการเดียวกันกล่าวว่า ส้มคงสามารถจ่ายสินบนในอัตราที่น่าพอใจสำ�หรับเจ้าหน้าที่ การทำ�งานของเธอจึงค่อนข้างราบรื่น ความสามารถ นี้ทำ�ให้เธอเป็นที่รู้จักโดยทั่วไปของเจ้าหน้าที่ เงื่อนไขของความสำ�เร็จในข้อนี้อาจจะมาจากบุคลิกภาพ ส้มเป็นสาว สวยอายุสามสิบต้นๆ พูดจาฉะฉาน เพื่อนแม่ค้าด้วยกันบอกว่า “มันใจถึง กล้าได้กล้าเสีย มีลูกล่อลูกชน เข้าเจ้า


267

“หมอก” แรงงานชาวลาว ที่พรมแดนช่องเม็ก-วังเต่า คนลาวมาประกอบอาชีพหลากหลาย พื้นที่นี้กลายเป็นแหล่งหางานที่สำ�คัญเมื่อ เปรียบเทียบกับในดินแดนลาวที่หางานได้ยากลำ�บาก อาชีพในฝันของชาวลาวยากจนอย่างหนึ่งที่พรมแดนคือ การ “เข็นรถ” หรือภาษาลาวเรียก “ซุกรถ” คือทำ�หน้าทีเ่ ข็นรถบรรทุก 2 ล้อ รับส่งสินค้าในบริเวณพรมแดน การเข็นรถอาจ ดูเป็นเรื่องง่าย แต่การมีโอกาสได้ทำ�งานนี้ก็ไม่ง่ายนัก เงื่อนไขประการแรกคือต้องขึ้นทะเบียนผู้เข็นรถ ซึ่งเป็นไปภาย ใต้นโยบายจัดระเบียบรถเข็นของทางราชการลาว โดยจะต้องขึ้นทะเบียน ต่อทะเบียน และเสียค่าธรรมเนียมจำ�นวน หนึง่ ทุกปี แต่ทสี่ �ำ คัญทีส่ ดุ ไม่ได้อยูท่ เี่ รือ่ งเงิน หากคือเอกสารทีต่ อ้ งใช้คอื ทะเบียนบ้านและบัตรประจำ�ตัวประชาชน ซึง่ คนลาวจำ�นวนมากไม่มีเอกสารดังกล่าว เงื่อนไขประการต่อมา คือ การเข็นรถแบบรับจ้างทั่วไปนั้น เป็นการรับจ้างที่ รายได้ไม่แน่นอน และก็มีคู่แข่งในอาชีพเดียวกันจำ�นวนมาก หากจะมีรายได้ดีและมั่นคง ก็ต้องพยามเข้าเป็นลูกจ้าง ประจำ�ให้แก่ผนู้ �ำ เข้าส่งออกรายใดรายหนึง่ ซึง่ การเข้าเป็นลูกน้องนีก้ ต็ อ้ งมีเส้นสาย และต้องได้รบั ความไว้วางใจจาก นายจ้างเป็นสำ�คัญ หมอก ชายหัวหน้าครอบครัววัย 20 ปลายๆ จากหมู่บ้านที่ห่างพรมแดนออกไปประมาณ 30 กิโลเมตร มา ทำ�งานเข็นรถที่ช่องเม็กหลายปีมาแล้ว หมอกโชคดีที่มีบัตรประชาชนและทะเบียนบ้าน ทำ�ให้สามารถจดทะเบียน ทำ�งานเข็นรถทีพ่ รมแดนได้ เขายังโชคดีทมี่ ญ ี าติท�ำ งานเข็นรถประจำ�ให้แก่ผนู้ �ำ เข้ากะหลํา่ ปลีรายใหญ่รายหนึง่ จึงได้ ชวนให้เข้าร่วมทีมงานรับจ้าง ทุกวันหมอกจะตืน่ ตีสี่ ขึน้ รถโดยสารจากบ้านมาทีพ่ รมแดน และไปเช่ารถเข็นกับเถ้าแก่ เจ้าประจำ� หน้าที่ของเขาก็คือขนกะหลํ่าปลีลงจากรถบรรทุก เพื่อให้ทีมงานอีกชุดหนึ่งซึ่งเป็นผู้หญิง ลอกเปลือกกะ หลํ่าปลีและนำ�บรรจุถุง จากนั้นหมอกก็จะนำ�ขึ้นรถเข็นข้ามจากฝั่งลาวมาฝั่งไทยเพื่อขึ้นรถบรรทุก แม้ว่าในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมาค่าแรงจะไม่ขึ้นเลย แต่เขากล่าวว่าก็ยังพอใจและในช่วงที่รายได้ดีอาจได้ถึงวันละ 400-500 บาท แต่ในระหว่างนั้นก็มีความเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายที่เขาไม่อาจตามทัน ในปี 2549 ภายใต้นโยบายรักษา ภาพพจน์ความเป็นด่านพรมแดนสากลของทางการลาว มีโครงการการรักษาสภาพแวดล้อม จึงกำ�หนดให้การลอก เปลือกกะหลํา่ ปลี ทีเ่ คยทำ�ทีพ่ รมแดน ต้องไปทำ�ทีเ่ มืองต้นทางทีเ่ ป็นตลาดกลางซือ้ ขายกะหลํา่ ปลี (ห่างจากพรมแดน ไปประมาณ 100 ก.ม.) ผูน้ �ำ เข้ากะหลํา่ ปลีตอบสนองต่อปัญหาด้วยการนำ�คนงานจากพรมแดนไปทำ�งานลอกเปลือก บรรจุถุงที่เมืองดังกล่าว แต่เนื่องจากการไปทำ�งานไกล ต้องไปค้างแรม ต้นทุนสูง จัดการยาก ผู้นำ�เข้าฯ จึงเลิกจ้าง คนงานไปส่วนหนึ่ง หมอกเป็นคนงานส่วนที่ถูกเลิกจ้าง ในที่สุดหมอกก็ต้องมารับจ้างเข็นรถแบบอิสระ ซึ่งต้องแย่งลูกค้ากับเพื่อนร่วมอาชีพอีกจำ�นวนมากที่อยู่ใน สถานการณ์เดียวกัน เขาคิดจะนำ�มอเตอร์ไซค์ที่ลงทุนซื้อมาก่อนหน้าไม่นานไปเข้าวินเพื่อเป็นรถรับจ้าง แต่ประเมิน สถานการณ์แล้วน่าจะไม่รุ่ง จึงยืนหยัดเข็นรถต่อไป ในระหว่างนี้จึงตัดสินใจซื้อโทรศัพท์มือถือเพื่อเป็นเครื่องมือ สื่อสารในเครือข่ายคนเข็นรถ ยามที่มีงานเข้ามา หรือยามที่มีงานว่าจ้างแบบอื่นๆ ซึ่งจะทำ�ให้ได้เปรียบคนอื่น แต่ ความกดดันเชิงนโยบายก็ยังตามมาอีก เมื่อทางการไทยและลาวได้ตกลงกันว่าจะเคร่งครัดต่อระเบียบการผ่านแดน

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

เข้านายเป็น” ความสามารถนี้อาจเป็นคุณสมบัติพิเศษที่ทำ�ให้เธอสามารถเข้าถึงและเสนอสินบนแก่เจ้าหน้าที่ได้ อย่างกว้างขวาง เธอจึงเป็นหนึ่งในจำ�นวนไม่กี่คนในพื้นที่พรมแดน ที่สามารถประกอบอาชีพท้าทายกฎหมายได้ ประสบความสำ�เร็จจนเป็นผู้มีฐานะมีหน้ามีตา ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา เมื่อการนำ�เข้าเหล็กตกตํ่าลง นอกจากขาย หวย และปล่อยเงินกู้ เธอก็หันมาหารายได้จากการจัดหาแรงงานลาวเป็นหลัก กลายเป็นเอเย่นต์จัดหาแรงงานลาว รายใหญ่ สามีเธอมีรถตู้ที่พร้อมจะนำ�แรงงานเข้ากรุงเทพฯได้อย่างสะดวกรวดเร็ว


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

268

ตามมาตรฐานสากล4 นับจากเดือนมีนาคม 2550 จึงกำ�หนดให้การผ่านแดนระหว่างกันต้องทำ�ใบอนุญาตผ่านแดน อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ชาวบ้านที่พรมแดนเคยไปมาหาสู่กันได้ในระยะ 200 เมตร จากหน้าด่านพรมแดนโดย อนุโลม ก็มีอันยกเลิก และจะต้องทำ�หนังสือผ่านแดนอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ในขณะที่นักท่องเที่ยวจากไทยจะ ไปพรมแดนฝั่งลาว ก็จะต้องเข้าสู่การทำ�เอกสารอย่างเคร่งครัด เมื่อการผ่านแดนลำ�บากขึ้นและมีค่าธรรมเนียมจะ ต้องจ่าย พรมแดนช่องเม็กจึงเงียบเหงาลงถนัดใจ ซึ่งก็เท่ากับปิดประตูการทำ�มาหากินของคนเข็นรถ ในสถานการณ์นี้ หมอกมีทางเลือกไม่มากนัก คือ กลับบ้านไปหาอยูห่ ากิน หรือยังทำ�กินทีพ่ รมแดนด้วยอาชีพ ผิดกฎหมาย อาชีพหนึง่ คือเข้าเป็นแรงงานขนของหนีภาษี ซึง่ เรียกกันว่า “พวกกองทัพมด” ทำ�หน้าทีล่ ำ�เลียงสินค้าหนี ภาษีลดั เลาะป่าเขาจากพรมแดนเข้าไปในดินแดนลาว การค้าเลีย่ งภาษีนที้ ำ�กันอย่างเป็นขบวนการ โดยมีผคู้ า้ ขายร่วม มือกับเจ้าหน้าที่บางส่วน และมีคนลาวจำ�นวนไม่น้อยเข้าเป็นแรงงานในขบวนการนี้ นอกจากนี้ยังอาจเข้าเป็นส่วน หนึ่งของขบวนการจัดหาแรงงานเถื่อน และอาชีพใหม่ที่เกิดขึ้นภายหลักการเคร่งครัดเรื่องการผ่านแดน ก็คือลักลอบ นำ�คนผ่านแดน โดยทีค่ นเหล่านีอ้ าจไม่มเี อกสารทีจ่ ะขอใบอนุญาตผ่านแดน หรือไม่ตอ้ งการเสียเวลาทำ�เอกสาร หรือ เสียเงิน อาชีพนี้เริ่มมีคนหันมาทำ�กันมากขึ้นๆ. อภิปรายและสรุป บทความได้กล่าวถึง โครงการจัดตัง้ ด่านพรมแดนสากล ซึง่ เป็นการปรับระบบการกำ�กับควบคุมของรัฐ และได้ วิเคราะห์ให้เห็นว่า โครงการนีค้ อื ยุทธศาสตร์การกำ�กับการควบคุมเชิงพืน้ ที่ การจัดตัง้ ด่านพรมแดนสากล เป็นกระแสที่ เกิดขึ้นในยุคโลกาภิวัตน์ ซึ่งมีการค้าเสรีเป็นหัวใจสำ�คัญ ด่านพรมแดนสากล นัยหนึ่งก็คือการปรับระบบบริการการ ผ่านแดน ให้มีความสะดวกรวดเร็วมากขึ้น และที่สำ�คัญคือการทำ�ให้ด่านพรมแดนทั่วโลก อยู่ในระบบมาตรฐาน สากลเพื่อความสะดวกในการเชื่อมต่อกัน แต่ก็เป็นไปดังที่ Walker (1999: 14-15 , 186-189) ได้เตือนไว้อย่างน่ารับ ฟังว่า อย่าเพิ่งด่วนสรุปว่าการเปิดเสรีทางการค้าจะเท่ากับการลดบทบาทของรัฐในการควบคุม/แทรกแซงทางการ ค้า เพราะเรากลับพบว่าการเปิดเสรียงิ่ เพิม่ โอกาสในการกำ�กับควบคุมอย่างลึกซึง่ มากขึน้ อีก เพียงแต่เปลีย่ นจากการ ควบคุมโดยตรงด้วยกฎหมาย (control) ไปสูก่ ารกำ�กับควบคุมภายใต้ระเบียบปฏิบตั ติ า่ งๆ (regulation) ดังกรณีของแม่ ทองดี ผู้นำ�เข้ากะหลํ่าปลี ที่เคยอยู่นอกระบบด้วยการนำ�เข้าแบบเลี่ยงภาษี เมื่อมีการลดหย่อนภาษีๆ ภายใต้ด่าน พรมแดนสากล เธอก็เลือกที่จะเข้าสู่ระบบการลดหย่อนภาษี ซึ่งก็จะต้องแลกกับการขออนุญาตภายใต้ระเบียบกฎ เกณฑ์ที่ละเอียดหลายขั้นตอน ซึ่งก็เท่ากับตกอยู่ภายใต้การกำ�กับควบคุมของรัฐนั่นเอง การปรับระบบใหม่ของการกำ�กับควบคุม ในนามด่านพรมแดนสากล ยังมีความหมายสำ�หรับชาวบ้านใน พื้นที่พรมแดนมากไปกว่านั้นอีก คือมันเป็นทั้งวิกฤตและโอกาส ในด้านวิกฤต การไหลบ่าของการค้าเสรี ที่ทำ�ให้การ เชื่อมต่อระหว่างดินแดนสะดวกขึ้น เอื้ออำ�นวยให้กลุ่มทุนใหญ่จากศูนย์กลางเข้ามาทำ�ธุรกิจเองในพื้นที่พรมแดนได้ มากขึ้น ในขณะที่ผู้ค้ารายย่อยที่พรมแดนที่ท�ำ หน้าที่เป็นตัวกลางในภาวะที่การติดต่อระหว่างดินแดนไม่สะดวก ก็ ค่อยๆ หมดบทบาทไป ดังพบว่าผู้ค้าขายรายย่อยที่พรมแดนจำ�นวนมากต้องล้มหายไปจากอาชีพเดิม หลีกทางให้ กับกลุ่มทุนใหญ่เข้ามาแทนที่ แต่ในขณะเดียวกันโอกาสใหม่ๆ ก็มีมาด้วย ดังกรณีของผู้น�ำ เข้ากะหลํ่าปลี รวมทั้ง ผู้นำ�เข้าสินค้าแทบทุกชนิด ที่ได้ประโยชน์จากการลดหย่อนภาษีนำ�เข้า รวมทั้งการเกิดอาชีพใหม่ๆ อย่าง “โมบาย ชิปปิ้ง” โดยสืบเนื่องกันนี้ จากกรณีของชาวพรมแดนทั้ง 4 ชีวิต เราก็พบว่า การเปลี่ยนแปลงทางภววิสัยนั้นก็เรื่อง หนึ่ง แต่ใครจะปรับตัวได้มากได้น้อยก็ยังขึ้นกับอัตวิสัยของแต่ละคนด้วย โดยที่ชาวพรมแดนก็มีมากกลุ่ม มากอาชีพ แต่ละคนมี “ทุน” (capital) ทางอาชีพที่ต่างกัน เช่น ฐานะ เพศ วัย ความรู้ เครือข่ายความสัมพันธ์ ฯลฯ ต่างใช้ทุน 4 ก่อนหน้านี้ มีข้อตกลงเรื่องการผ่านแดนระหว่างไทยกับลาว ประกาศใช้เมื่อ 20 มิถุนายน 2540 ที่อนุโลมให้ประชาชนข้าม ไปยังอีกประเทศหนึ่ง ในจังหวัดหรือแขวงที่อยู่ติดพรมแดน และอยู่ได้ในเวลา 3 วัน 2 คืน โดยให้มีการทำ�บัตรอนุญาตผ่าน แดน (ไม่ตอ้ งทำ�พาสพอร์ท หรือวีซา) ส่วนทีพ่ รมแดช่องเม็ก ก็อนุโลมให้คนไทย-ลาว ข้ามฝัง่ ไปมาหากันในอาณาบริเวณ 200 เมตรจากพรมแดน โดยไม่ต้องทำ�เอกสารใดๆ เพื่อความสะดวกในค้าขาย ท่องเที่ยว และดำ�เนินชีวิต


269

ผูเ้ ขียนขอกลับไปทีข่ อ้ ถกเถียงตอนต้นของบทความ ซึง่ ต้องการโต้แย้งกับแนวทางในการศึกษาพรมแดนทีย่ ดึ ถือ รัฐเป็นที่ตั้ง (state-oriented approach) หากเราใช้แนวทางนี้ในการเข้าใจเรือ่ งราวที่พรมแดนเราก็คงจะเห็นชีวิตผูค้ นดัง ทีก่ ล่าวมาเป็นพวกนอกรีตนอกรอย และคิดว่าทำ�อย่างไรจะเปลีย่ นความคิดและพฤติกรรมคนเหล่านี้ หรือทำ�อย่างไร จะวางระบบกำ�กับควบคุมของรัฐให้เข้มงวดมากขึ้น แต่จากการวิเคราะห์ในบทความนี้ ก็จะเห็นว่า แม้ว่าการกำ�กับ ควบคุมที่เข้มงวดทันสมัยกลับแทบจะเปล่าประโยชน์ ดังนั้นถ้าใช้แนวทางการศึกษาที่ไม่ยึดรัฐเป็นที่ตั้งเสียตั้งแต่ต้น แต่มองเห็นความสำ�คัญในตัวเองของพื้นที่พรมแดน โดยมีแนวคิดในการมองพื้นที่พรมแดน ที่เป็นการปะทะขัดแย้ง/ ร่วมมือของอำ�นาจหลากหลายฝักฝ่าย ก็จะนำ�ไปสูก่ ารเข้าใจสังคมวัฒนธรรมพรมแดนแบบใหม่ๆ ซึง่ เป็นข้อเสนอของ บทความนี้ อย่างน้อย 2 ประการดังนี้ ประการแรก การเข้าใจวิถกี ารดำ�รงชีวติ ของคนชายแดน บทความได้แสดงให้เห็นว่า ผูค้ นทีพ่ รมแดน กระทำ�ใน สิง่ ทีพ่ วกเขาคิดว่าคือการดำ�รงชีวติ การทำ�เพือ่ ปากท้อง สร้างสมฐานะครอบครัว จึงกล่าวได้วา่ มิตทิ างเศรษฐกิจส่วน ตัว สำ�คัญกว่ามิตทิ างการเมืองการปกครอง ภายใต้อดุ มการณ์ทพี่ รํา่ บอกว่าต้องเคารพกฎหมาย เคารพผลประโยชน์ ของชาติ ตามนิยามที่ถูกผูกขาดอย่างตายตัวของรัฐ อย่างไรก็ตาม หาใช่ว่าพวกเขาไม่มีความผูกพันกับความเป็น ชาติหรือส่วนรวม เพียงแต่เขามีการตีความกฎหมายและตีความชาติในอีกแบบหนึ่ง บนฐานของสังคมวัฒนธรรม และผลประโยชน์ของพวกเขา ซึ่งอาจกล่าวได้อีกนัยหนึ่งว่า สิ่งนี้คือรัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรมของพวกเขา และเข้า ก็ตั้งตัวเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเสียเอง ประเด็นที่น่าคิดก็คือ ถ้าเรายอมรับหรือยอมเข้าใจ การตีความกฎหมาย ของสถาบันของรัฐ ของคนชั้นสูง หรือคนกลุ่มอื่นๆ ในสังคมได้ ทำ�ไมเราจะเปิดวิธีคิดใหม่ๆ ที่จะเข้าใจการตีความ กฎหมายของคนชายขอบบ้างไม่ได้ ประการที่สอง การวิเคราะห์ของบทความนำ�ไปสู่ความเข้าใจสถานภาพอำ�นาจรัฐอย่างใหม่ ดังได้กล่าวมา แล้วว่า ด่านพรมแดนสากลคือ สัญลักษณ์และกลไกอำ�นาจของรัฐที่ทรงพลานุภาพ แต่ในความเป็นจริงมันกลับ ถูกท้าทายอย่างไม่ใยดี โดยฝายหนึ่งก็คือชาวบ้าน อีกฝ่ายหนึ่งก็คือเจ้าหน้าที่รัฐในท้องถิ่นเอง มันยํ้าให้เราเห็นว่า อำ�นาจอธิปไตยเหนือเขตแดนที่ชัดเจน เป็นอุดมคติที่เลื่อนลอย คือมันเป็นความคิดที่ไม่อาจเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ อธิปไตยนั้นถูกท้าทาย ด้วยอำ�นาจหลากหลายแหล่ง พรมแดนที่บรรจงสร้างและรักษาก็ถูกเล็ดลอดจนกลายเป็นรู พรุน ดังนัน้ ในยุคโลกาภิวตั น์ทเี่ ราไม่อาจฉุดรัง้ ความเปลีย่ นแปลง ควรหรือไม่ทเี่ ราจะมาจินตนาการตัวตนของรัฐชาติ แบบใหม่ๆให้สอดคล้องกับความเป็นจริง เพื่อเปิดพื้นที่ของการคิด ที่จะอนุญาตให้เราสร้างสรรค์หรือแก้ไขปัญหา ต่างๆ เช่น การปกครองท้องถิ่นในแบบใหม่ๆ (อาทิ พื้นที่ปกครองพิเศษ) เพื่อช่วยลดความขัดแย้ง หรือเพื่ออำ�นวย ประโยชน์กับคนจนในท้องถิ่นมากขึ้น

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

ของตน ในการดิ้นรนและสร้างสมฐานะในโจทย์ชีวิตของตน อาจสำ�เร็จ ล้มเหลว หรือต้องเดินบนหนทางนอกระบบ ที่สุ่มเสี่ยงเขาไปอีก เช่นกรณีของส้ม หรือหมอก และประเด็นที่สำ�คัญที่สุดซึ่งเป็นหัวใจของบทความนี้ก็คือ พวกเขา ต่างแสดงให้เห็นว่า การประกอบอาชีพของพวกเขา ไม่จำ�เป็นต้องเดินไปตามกรอบกฎหมายที่รัฐขีดไว้ แต่ทุกอย่าง ก็คือสิ่งที่มีไว้ใช้ประโยชน์ กฎเกณฑ์อะไรที่ไม่มีประโยชน์ก็เลี่ยงซะ แต่อะไรที่ใช้ประโยชน์ได้ก็อย่ารีรอ


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

270

บรรณานุกรม พฤกษ์ เถาถวิล 2550ก, รายงานการวิจยั “วิถกี ารค้าชายแดน: โลกาภิวตั น์ การควบคุม การต่อรอง กรณีศกึ ษา การค้าของผู้ค้าขายในพื้นที่พรมแดนไทย-ลาว จังหวัดอุบลราชธานี” อุบลราชธานี: คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. (เอกสารอัดสำ�เนา). พฤกษ์ เถาถวิล 2550ข, “การค้าข้ามพรมแดนในฐานะปฏิบัติการเชื่อมต่อโลกกับท้องถิ่น: ผู้นำ�เข้ากะหลํ่าปลี ด่าน พรมแดนช่องเม็ก” ใน สังคมศาสตร์ (ม.ช.) ปีที่ 19 ฉบับที่ 2 . พฤกษ์ เถาถวิล 2551, “พื้นที่ของการดำ�รงชีวิตในการค้าชายแดน: เขตแดนรัฐ พื้นที่ในระหว่าง และภูมิศาสตร์แห่ง การครอบงำ�/ต่อต้าน” ใน วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. Das, Veena and Deborah Poole. 2004. “State and It Margins: Comparative Ethnographies” in Veena Das and Deborah Poole (eds.) , Anthropology in the Margins of the State. New Mexico: School of American Research Press. Gupta, Akhil and James Ferguson. 1999. “Beyond Culture: Space, Identity and the Politic of Difference” in Akhil Gupta and James Ferguson (eds.). Culture Power Place: Exploration in Critical Anthropology. Durham and London: Duke University Press. Pile, Steve, 1997, “Introduction: opposition, political identity and spaces of resistance”, in Steve Pile and Michael Keith. Geography of Resistance. New York: Routledge Walker, Andrew. 1999. The Legend of the Golden Boat. Honolulu: University of Hawaii Press.



ความยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อม?


273

ศุภวรรณ ชนะสงคราม**

ความเป็นมาของโครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติ และโรงแยกก๊าซธรรมชาติ ไทย-มาเลเซีย โครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติและโรงแยกก๊าซธรรมชาติ ไทย-มาเลเซีย เป็นโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ของ ภาครัฐ โดยเป็นโครงการร่วมทุนระหว่างประเทศไทยและประเทศมาเลเซีย เพื่อพัฒนาทรัพยากรปิโตรเลียมในพื้นที่ พัฒนาร่วมไทยมาเลเซีย ซึง่ เป็นอีกหนึง่ โครงการที่ตลอดระยะเวลาการก่อเกิดโครงการจนกระทั่งการดำ�เนินโครงการ ในปัจจุบัน ได้ปรากฏให้เห็นถึงความขัดแย้งระหว่างประชาชนกับภาครัฐ และกลุ่มทุนที่เกี่ยวข้องกับโครงการมาโดย ตลอด ซึ่งสามารถสรุปความเป็นมาของโครงการฯได้ดังนี้ เมื่อปี 2522 นายกรัฐมนตรีไทย พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ และนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ดาโต๊ะ ฮุสเซน ออนน์ ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจร่วมพัฒนาพื้นที่ชายแดน ที่มีความเหลื่อมลํ้ากันหรือที่เรียกกันต่อมาว่า JDA (Joint Development Area) (บริษัททรานส์ ไทย - มาเลเซีย (ประเทศไทย) จำ�กัด (1), ม.ป.ป.) ต่อมาในปี 2539 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย2 ลงนามในบันทึกแสดง เจตจำ�นง (MOI: Memorandum of Intent) กับบริษัทเปโตรนาสซึ่งเป็นบริษัทนํ้ามันแห่งชาติของมาเลเซีย ในการร่วม ซื้อก๊าซธรรมชาติจากพื้นที่ดังกล่าว (บริษัททรานส์ ไทย - มาเลเซีย (ประเทศไทย) จำ�กัด (2), 2544) หลังจากนั้นในปี 2541 ได้มีการกำ�หนดว่าพื้นที่วางท่อส่งก๊าซธรรมชาติที่เหมาะสมที่สุดคือ อำ�เภอจะนะ จังหวัดสงขลา ซึ่งจะต้องวางท่อในทะเล และก่อสร้างโรงแยกก๊าซธรรมชาติ นอกจากนี้จะมีการวางท่อส่งก๊าซหุงต้ม 1 เป็นบทความที่เรียบเรียงและเพิ่มเติมจากวิทยานิพนธ์ การมีส่วนร่วมของประชาชนในโครงการพัฒนาของรัฐ: กรณีศึกษา โครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติและโรงแยกก๊าซธรรมชาติ ไทย-มาเลเซีย 2549 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดย ศุภวรรณ ชนะสงคราม * การอ้างอิงบทความนี้ ควรได้รับอนุญาตจากเจ้าของบทความ ** มหาวิทยาลัยชาวบ้านลานหอยเสียบ อ.จะนะ จ.สงขลา 2 การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) ได้รับการจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2521 ตามพระราชบัญญัติการปิโตรเลียม แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2521 เป็นรัฐวิสาหกิจ ในสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม มีคณะกรรมการการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ทำ�หน้าที่กำ�หนดนโยบายและควบคุมดูแลโดยทั่วไปและมีผู้ว่าการเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหาร ต่อมาแปลงสภาพ ตามพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 เป็น บริษัท ปตท. จำ�กัด (มหาชน) หรือ บมจ.ปตท. จดทะเบียนจัดตั้งขึ้น เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2544 โดยรับโอนกิจการ สิทธิ หนี้ ความรับผิด สินทรัพย์ และพนักงานทั้งหมดจากการปิโตรเลียมแห่ง ประเทศไทย (ปตท.)

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

“เมื่อโครงการพัฒนาของรัฐ ละเมิดหลักศรัทธาของชุมชน: กรณีศึกษาโครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติ และโรงแยกก๊าซธรรมชาติ ไทย-มาเลเซีย”1*


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

274

โดยเริ่มจากโรงแยกก๊าซธรรมชาติวางใต้ดินขนานคู่ไปกับท่อส่งก๊าซธรรมชาติจนถึงชายแดนไทย-มาเลเซีย (บริษัท ทรานส์ ไทย – มาเลเซีย (ประเทศไทย) จำ�กัด (1), ม.ป.ป.) ในปีเดียวกันนี้ โครงการดังกล่าวเริ่มเป็นที่รับรู้ของประชาชนในสังคมวงกว้าง เมื่อมีการลงนามในข้อตกลง Head of Agreement หลักการซื้อขายก๊าซธรรมชาติของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยและบริษัทเปโตรนาส โดยมี นายกรัฐมนตรีของทั้ง 2 ประเทศมาเป็นสักขีพยาน ปัญหาจึงเริ่มก่อตัวขึ้น เนื่องจากมีคำ�ถามเกิดขึ้นมากมาย เช่น “ทำ�ประชาพิจารณ์หรือยัง” และ “ศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรือยัง” เป็นต้น หลังจากนั้นจึงเริ่มมีกลุ่มประชาชน ในพื้นที่โครงการดังกล่าวกลุ่มนักวิชาการ กลุ่มนักพัฒนาเอกชนและผู้สนใจเกิดขึ้น เพื่อศึกษาว่ารายละเอียดของ โครงการนี้มีข้อเท็จจริงเป็นเช่นไร ในขณะที่ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เป้าหมายของโครงการนี้เต็มไปด้วยคำ�ถามและความสับสน อยู่ใน ระหว่างการแสวงหาคำ�ตอบด้วยการจัดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในพื้นที่ ภาครัฐเองก็มีการดำ�เนินการรุดหน้าต่อ ไป พร้อมๆ กับทีบ่ ริษทั ผูร้ บั ผิดชอบโครงการฯ ก็พยายามดำ�เนินการชีแ้ จงและประชาสัมพันธ์โครงการฯ ให้ประชาชน ได้รับทราบ ในปี 2543 รัฐบาลเองก็พยายามแก้ปัญหาโดยการตอบสนองคำ�เรียกร้องเมื่อครั้งแรกเริ่มของประชาชน ด้วย การแต่งตัง้ คณะกรรมการจัดทำ�ประชาพิจารณ์ขนึ้ และทางบริษทั ทรานส์ ไทย-มาเลเซีย เองก็ได้มอบหมายให้คณะการ จัดการสิง่ แวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ จัดทำ�รายงานการศึกษาผลกระทบสิง่ แวดล้อม ของโครงการฯ ตัง้ แต่ปี 2541 แต่กระบวนการจัดทำ�ประชาพิจารณ์ดงั กล่าว กลับเกิดเหตุการณ์ทที่ �ำ ให้ประชาชนฝ่ายผู้ คัดค้านและสนับสนุนโครงการฯ รวมไปถึงเจ้าหน้าทีต่ �ำ รวจได้รบั บาดเจ็บจากการปะทะกัน ส่งผลให้เกิดความขัดแย้ง ระหว่างกลุ่มประชาชนผู้คัดค้านโครงการดังกล่าวกับเจ้าหน้าที่ตำ�รวจขึ้น และต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ต่อมาเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2545 เหตุการณ์ความรุนแรงได้เกิดขึ้นอีกครั้ง โดยกลุ่มผู้คัดค้านโครงการท่อส่ง ก๊าซธรรมชาติ และโรงแยกก๊าซธรรมชาติ ไทย-มาเลเซีย จำ�นวนประมาณ 1,500 คน เดินทางมายังอำ�เภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยื่นหนังสือขอให้คณะรัฐมนตรีมีมติทบทวนโครงการฯ แต่กลับถูกเจ้าหน้าที่ ตำ�รวจสลายการชุมนุม ทำ�ให้มผี ไู้ ด้รบั บาดเจ็บเป็นจำ�นวนมาก รวมไปถึงมีการจับกุมคุมขังประชาชนผูค้ ดั ค้านโครงการ จากเหตุการณ์ดังกล่าว (คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, 2546) จนกระทัง่ วันที่ 25 เมษายน 2547 เริม่ มีการวางท่อก๊าซขนานไปตามถนนสายเอเชียเส้นทาง จะนะ -หาดใหญ่ (คมชัดลึก, 2547) ก่อสร้าง และดำ�เนินโครงการไปแล้วในปัจจุบัน โดยคนทั่วไปจะรับรู้เพียงว่าเป็นการดำ�เนินโครงการที่มีความขัดแย้งและเกิดความรุนแรงเป็นระยะๆ ไม่ ต่างจากโครงการขนาดใหญ่อื่นๆ ที่ภาคประชาชนมีความเห็นแตกต่างกับภาครัฐ น้อยคนนักที่จะรับรู้ว่าประชาชน ในพื้นที่เป้าหมายโครงการฯ ซึ่งส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามและมีวิถีการดำ�เนินชีวิตที่ถูกต้องตามหลักการทาง ศาสนา กำ�ลังเผชิญกับผลกระทบในเชิงสังคมที่ลึกซึ้ง หลักศรัทธาของพวกเขากำ�ลังถูกละเมิด เพราะในอดีตที่ผ่าน มาพวกเขามีวิถีชีวิตอยู่ภายใต้หลักศาสนาที่ยังคงความศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งทำ�หน้าที่เป็นกฎเกณฑ์ทางสังคม แต่เมื่อมีโครง การฯ เกิดขึ้น วิถีชีวิตของพวกเขาก็เริ่มถูกแทรกแซงจากปัจจัยภายนอกที่เข้ามาพร้อมกับโครงการฯ หลายเหตุการณ์ มีส่วนกระทบต่อความรู้สึกของชาวมุสลิมที่นี่อย่างรุนแรง เช่น การใช้กำ�ลังตำ�รวจเข้าสลายการชุมนุมขณะที่ผู้ชุมนุม กำ�ลังทำ�พิธีละหมาดเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2545 หรือการที่เจ้าหน้าที่ตำ�รวจทุบตีเยาวชนลานหอยเสียบจนบาดเจ็บ สาหัสที่หน้ามัสยิดในช่วงเดือนรอมฎอนเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2546 และการที่ภาครัฐสนับสนุนให้บริษทั บุกรุก และเปลีย่ นแปลงสภาพทางวะกัฟซึง่ เป็นทางสาธารณประโยชน์ตามหลักการศาสนาอิสลาม เป็นต้น หลักการทาง ศาสนาที่ถูกละเมิดโดยรัฐ ซึ่งในบางกรณี ผู้ที่ถืออำ�นาจรัฐก็เป็นมุสลิมเช่นเดียวกับเขา (เช่น ในกรณีเหตุการณ์ วันที่


275

สถานการณ์ที่เกิดขึ้นแก่ชุมชนชาวมุสลิมในครั้งนี้ ถือได้ว่าเป็นต้นตอของการก่อเกิดปัญหาที่นับวันจะส่ง ผลกระทบที่มีความซับซ้อนและมีระดับความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ซึ่งดูเหมือนว่าจะไม่ใช่เรื่องง่ายอีกต่อไปในการยุติ ปัญหา หากหวังพึง่ เพียงแนวทางการแก้ปญ ั หาของภาครัฐเพียงฝ่ายเดียวเป็นสำ�คัญ แต่หากประชาชนส่วนใหญ่ไม่วา่ จะนับถือศาสนาใด ทัง้ คนในพืน้ ทีเ่ องทีย่ งั ขาดความรู้ ความเข้าใจ หรือสังคมภายนอก ได้มโี อกาสรับรูถ้ งึ ผลกระทบที่ ชุมชนชาวมุสลิมในพื้นที่โครงการฯ กำ�ลังเผชิญ และกำ�ลังส่อเค้าในการก่อตัวของปัญหาในอนาคตซึ่งอาจจะส่งผล เป็นลูกโซ่ขยายตัวออกไปในภาพกว้าง ก็อาจจะเป็นผลดีที่จะนำ�ไปสู่การคลี่คลายหาทางออกของปัญหาได้มากกว่า ที่เป็นอยู่ ดังจะกล่าวถึงรายละเอียดของประเด็นปัญหาต่างๆ ในหัวข้อถัดไป

2. ผลกระทบต่อชุมชนมุสลิม การดำ�เนินโครงการฯ ได้นำ�ไปสู่ผลกระทบในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสังคม ฯลฯ ซึ่ง ผลกระทบดังกล่าวได้เกิดขึ้นนับตั้งแต่ยังไม่เริ่มก่อสร้างโครงการฯ จนถึงปัจจุบัน โดยในที่นี้จะขอกล่าวเฉพาะถึง ผลกระทบต่อชุมชนชาวมุสลิมเป็นสำ�คัญ

2.1 ผลกระทบต่อวิถีชีวิตของชุมชนมุสลิม ความยึดมั่นอย่างเคร่งครัดในหลักการทางศาสนาของชาวมุสลิม อาจถูกมองจากสายตาภายนอกว่า เป็น ลักษณะอนุรักษ์นิยมที่แข็งตัวและล้าหลัง แต่ในความคิดของชาวมุสลิมเองแล้ว พวกเขาเห็นว่า บทบัญญัติใน อัลกุรอานอันนำ�มาสู่ระเบียบแบบแผนที่สืบทอดกันมายาวนานของชาวมุสลิมนั้น เป็นสิ่งที่จรรโลงสังคมมุสลิมให้อยู่ ด้วยกันอย่างสงบสุข หลักการทางศีลธรรมที่เคร่งครัดของมุสลิมถือเป็นเครื่องมือที่ส�ำ คัญในการป้องกันปัญหาสังคม ที่เกิดจากกิเลสตัณหาของมนุษย์ วิถีแห่งอิสลามนี้ดำ�รงอยู่ในทุกช่วงวัยของชีวิตตั้งแต่เกิดจนตาย โดยเด็กเล็กๆ อายุเพียง 4-5 ขวบ พ่อและ แม่ก็จะชวนไปละหมาดที่มัสยิด โดยเด็กผู้หญิงจะสวมชุด “ตะลุกง”3 และ “คลุมฮิญาบ”ƒ4 ส่วนเด็กผู้ชายจะสวม “ชุดกุหรง”5 และสวม “หมวกกะปิเย๊าะ”6 ทั้งที่เด็กบางคนยังไม่สามารถกล่าวคำ�ละหมาดตามหลักการศาสนาได้ ด้วยซํ้า เด็กๆ บางหมู่บ้านจะเรียนศาสนาตั้งแต่ที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยมีเยาวชนในหมู่บ้านเดียวกันที่เคร่งครัด ศาสนาคอยดูแลสั่งสอน ทำ�ให้สามารถกล่าวคำ� “ดุอา” ขอพรจากอัลลอฮฺ ได้ตั้งแต่อายุไม่กี่ขวบ ไม่ว่าจะเป็น ดุอา ก่อนกินข้าว ดุอาก่อนออกเดินทาง เป็นต้น นอกจากนั้นเมื่อมีคนเจ็บหนักใกล้จะหมดลมหายใจ แทนที่ญาติพี่น้อง จะเอาแต่โศกเศร้า ร้องไห้เสียใจ กลับมีสติร่วมกันอ่านยาซีน7 เพื่อขอพรจากพระเจ้าว่า “หากอัลลอฮฺ ไม่ต้องการ เอาชีวติ ก็ขอให้คนเจ็บหายจากโรคภัยในเร็ววัน แต่หากอัลลอฮฺตอ้ งการเอาชีวติ ก็ขอให้รบี รับเอาไปอย่าให้ตอ้ งทรมาน กว่านี้อีกเลย และขอให้ตายขณะอยู่ในแนวทางขององค์อัลลอฮฺ ตายขณะที่จิตใจแน่วแน่ระลึกถึงองค์อัลลอฮฺ ไม่ไขว้ เขวไปกับสิ่งชั่วร้ายใดๆ”

3 4 5 6 7

ชุดตะลุกง หมายถึง ชุดสำ�หรับละหมาดของผู้หญิงตามหลักศาสนาอิสลาม คลุมฮิญาบ หมายถึง การคลุมศีรษะด้วยผ้าตามหลักศาสนาอิสลาม อันเป็นสัญลักษณ์ของหญิงมุสลิม ชุดกุหรง หมายถึง ชุดสำ�หรับละหมาดของผู้ชายตามหลักศาสนาอิสลาม หมวกกะปิเย๊าะ หมายถึง หมวกตามหลักศาสนาอิสลาม อันเป็นสัญลักษณ์ของชายมุสลิม อ่านยาซีน หมาย ถึง การอ่านบทบัญญัติในอัลกุรอาน ในที่นี้หมายถึงการขอพรให้กับผู้ที่กำ�ลังเจ็บป่วย

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

20 ธันวาคม 2545 นายวันมูหัมหมัดนอร์ มะทา ซึ่งดำ�รงตำ�แหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ออกมาให้ สัมภาษณ์ปกป้องฝ่ายเจ้าหน้าที่ตำ�รวจ)


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

276

ความเคร่งครัดนี้ยังแสดงออกแม้ในขณะทำ�งานหรือรวมกลุ่มกิจกรรมอื่นๆ ในชุมชน “ขณะมีเสียงอาซานดัง มาจากมัสยิด ไม่วา่ ทำ�กิจกรรมใดอยูก่ จ็ ะหยุดสงบนิง่ เพือ่ กล่าวรับคำ�อาซาน และเมือ่ ถึงเวลาละหมาดผูท้ ไี่ ม่สามารถ ไปละหมาดได้ก็จะงดเว้นกิจกรรมที่จะส่งเสียงดังรบกวนการทำ�ละหมาดที่มัสยิด ภายหลังการละหมาด เสร็จสิ้นลง แล้ว กิจกรรมในหมู่บ้านจึงจะดำ�เนินต่อไป” ความเป็นวิถีชีวิตแบบชุมชนมุสลิมนั้น ดำ�รงอยู่ด้วยการที่แต่ละคนในชุมชนเข้มงวดต่อการปฏิบัติของตนเอง และเคร่งครัดต่อการปฏิบัติตามหลักการศาสนาในการอยู่ร่วมกันเป็นชุมชน โดยมีศรัทธาต่อบทบัญญัติของอัลลอฮฺ เป็นเครื่องชี้นำ�ศรัทธาต่อศาสนา ทำ�ให้ชาวมุสลิมเข้มงวดต่อวิถีปฏิบัติของตนเองด้วยความเต็มใจและอุทิศตัว ไม่ ยอมละเมิดหลักการแม้เพียงเพื่อความสบายเล็กๆ น้อยๆ ส่วนตัว ยกตัวอย่างเช่นเรื่องการละหมาด แม้แต่คนเจ็บ ไข้ไม่สบายทีไ่ ม่สามารถลุกขึน้ ได้กย็ งั พยายามทีจ่ ะละหมาด โดยสามารถละหมาดได้แม้เพียงท่านัง่ หรือเพียงท่านอน หรือที่เรียกกันว่าใช้วิธี “มะหยังพลางนั่ง”8 หรือ “มะหยังพลางนอน”9 หรือหากอยู่ในเรือ ขณะออกทำ�การประมง ไม่ สามารถกลับเข้าฝั่งได้ทันเวลาละหมาด ก็ใช้วิธีละหมาดในเรือท้ายตัด ซึ่งมีพื้นที่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น นอกจากนั้น ในวันศุกร์ คนชรา หรือคนหนุ่มสาวที่เคร่งศาสนาจะไม่ออกไปทำ�การประมงหรือไปธุระนอกหมู่บ้าน เพราะเกรงว่า จะกลับมา“ละหมาดวันศุกร์” ที่มัสยิดในหมู่บ้านของตนไม่ทัน เนื่องจากตามหลักการศาสนานั้นการละหมาดรวม กลุ่มกันในหมู่บ้านเป็นสิ่งดี และโดยเฉพาะการละหมาดยุมอัต110 ถือเป็นการละหมาดที่สำ�คัญและได้บุญมากตาม คำ�สอนของศาสนา จากวิถีการดำ�เนินชีวิตที่เคร่งครัดต่อหลักการทางศาสนาของชาวมุสลิมที่ดีนั้นได้ทำ�ให้ ชาวมุสลิมในพื้นที่ เริ่มมีความห่วงใยต่อวิถีชีวิตแบบชุมชนมุสลิม ที่อาจจะได้รับผลกระทบจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปดังจะ เห็นได้จากการที่ชุมชนชาวมุสลิมในพื้นที่โครงการฯ มีโอกาสได้เดินทางไปพบเห็นสิ่งที่เกิดขึ้น ณ นิคมอุตสาหกรรม มาบตาพุด จังหวัดระยอง และได้พบว่าชุมชนมุสลิมทีม่ าบตาพุดเกิดการเปลีย่ นแปลง มีการเปิดร้านเหล้าติดกับมัสยิด โดยตั้งชื่อร้านเป็นภาษาอิสลาม จึงเกิดความวิตกกังวลไปทั่วทั้งชุมชน เป็นเหตุผลสำ�คัญอีกประการหนึ่งอันนำ�ไปสู่ การคัดค้านโครงการฯ ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา สิ่งที่เป็นความวิตกกังวลของชาวมุสลิมที่นี่ เริ่มปรากฏให้ เห็นจริงนับตั้งแต่เริ่มมีการก่อสร้างโรงแยกก๊าซธรรมชาติในเดือนมิถุนายน 2546  ทั้งนี้ ในเมื่อในระดับนโยบายนั้น โค รงการฯ เกิดขึ้นมาในชุมชนแห่งนี้ โดยที่ไม่ให้ความสำ�คัญต่อการมีส่วนร่วมของประชาชน เมื่อถึงขั้นของการปฏิบัติ งาน บุคลากรของบริษัทที่เข้ามาในพื้นที่ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนต่างศาสนา เช่น คนงานก่อสร้าง วิศวกร ฯลฯ ซึ่งมีเป็น จำ�นวนมาก ย่อมไม่มคี วามตระหนักถึงการเคารพวิถขี องชุมชน และแทบจะเป็นไปไม่ได้ทจี่ ะดำ�เนินโครงการฯ โดยไม่ ก่อผลกระทบทางสังคมเพิ่มขึ้นไปอีก และทำ�ให้วิถีชีวิตที่เคยเป็นมาของชุมชนมุสลิมเริ่มเผชิญกับสิ่งใหม่ๆ ที่แปลก แยก จันทิมา ชัยบุตรดี (อ้างโดยสถาบันไทยคดีศึกษา, 2548) กล่าวถึงสภาพดังกล่าวว่า “เสียงอาซาน11จากมัสยิด ซึง่ เป็นเสียงเชิญชวนให้มสุ ลิมละหมาดกราบไหว้พระเจ้า ถูกรบกวนด้วยเสียงเพลง คาราโอเกะจากร้านอาหารในโรงแยกก๊าซ ทำ�ให้หัวใจมนุษย์ฝักใฝ่กับเสียงเพลงเหล่านั้นอาจทำ�ให้ลืมการละหมาด ลืมการชักชวนสู่อัลลอฮฺ” สิ่งที่ชุมชนมุสลิมที่นี่ไม่ต้องการเช่นนี้ นับวันจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งหลักการทาง ศาสนาในชุมชนถูกสัน่ คลอนโดยชาวมุสลิมเองบางคน เช่น มีการนำ� “เลือดวัว” เข้ามาขายในหมูบ่ า้ น เพือ่ ตอบสนอง 8 มะหยังพลางนั่ง เป็นภาษาถิ่นใต้ หมายถึง นั่งละหมาด เป็นวิธีที่ใช้สำ�หรับผู้ป่วย บาดเจ็บ ไม่สามารถลุกขึ้นยืนได้ แต่ยัง สามารถนั่งได้ 9 มะหยังพลางนอน เป็นภาษาถิ่นใต้ หมายถึง นอนละหมาด เป็นวิธีที่ใช้สำ�หรับผู้ป่วย บาดเจ็บ ที่ไม่สามารถยืนหรือนั่งได้ ก็ ใช้วิธีนอนแล้วตั้งใจระลึกถึงการละหมาดในท่าต่างๆ ของตนพร้อมๆ กับทำ�การละหมาดในขณะที่นอนอยู่ 10 ละหมาดยุมอัต คือ การละหมาดร่วมกันในช่วงเวลาประมาณ 12:30-13:00 น. ที่มัสยิดในวันศุกร์ 11 อาซาน เป็นภาษาอาหรับหมายถึง การเรียกร้อง การเชิญชวนสู่การละหมาด เมื่อเสียงอาซานดังมาจากมัสยิด ชาวมุสลิม ส่วนใหญ่จะหยุดกิจกรรมอื่นๆ เพื่อเตรียมตัวให้พร้อมที่จะไปละหมาด


277

นอกจากนั้นปัญหาเรื่องการดื่มเหล้าของคนในชุมชนก็ลุกลามบานปลายมากขึ้น จากเดิมที่งดเว้นกันอย่าง เคร่งครัด หรือหากผู้ที่ไม่อยู่ในลู่ทางของศาสนาจะละเมิดก็ต้องใช้วิธีหลบซ่อน แอบดื่ม ด้วยความละอาย แต่ขณะนี้ กลับกลายเป็นสิ่งเปิดเผยมากขึ้น มีการเปิดร้านขายเหล้ากันอย่างโจ่งแจ้งข้างโรงแยกก๊าซธรรมชาติ เป็นพฤติกรรม ที่สร้างความสับสนให้กับเด็กมุสลิมรุ่นใหม่ที่กำ�ลังจะเติบโตขึ้นมา “อะไรจะเกิดขึ้นหากมีแต่ตัวอย่างเลวร้ายให้เด็กๆ เห็น” นี่เป็นความกังวลของครูสอนศาสนาอย่างสุไลมาน หมัดยุโส๊ะ สำ�หรับสุไลมาน หมัดยุโส๊ะ (สัมภาษณ์, 8 มิถนุ ายน 2548) ซึง่ เป็นครูสอนศาสนาคนหนึง่ มองความเปลีย่ นแปลง ที่คืบคลานเข้ามาพร้อมกับท่อก๊าซและโรงแยกก๊าซอย่างไม่สบายใจ เขากล่าวว่า “เมื่อเสียงอาซานที่ดังกังวาน กลับ มีเสียงเพลงดังแทรกอย่างไร้ความเคารพยำ�เกรง เมื่อเสียงเพลงจากคาราโอเกะมาหันเหความสนใจของเด็กรุ่นใหม่ แทนที่ได้ยินเสียงอาซานแล้วเดินตรงไปมัสยิด แต่กลับกลายเป็นได้ยินเสียงเพลงแล้วเลี้ยวเข้าคาราโอเกะ อะไรจะ เกิดขึ้นกับวิถีที่เคารพและดำ�เนินตามบทบัญญัติขององค์อัลลอฮฺ ความเปลี่ยนแปลงอันใหญ่หลวงจะตามมา เมื่อ บาปบุญคุณโทษทีเ่ คยสัง่ สอนกันมา ไม่มใี ครปฏิบตั เิ ป็นเยีย่ งอย่างอีกต่อไป สิง่ ทีเ่ คยเรียนรู้ สัง่ สอนกันมาว่าเป็นบาป เป็นสิ่งน่ารังเกียจ กลับถูกท้าทาย” รอหีม สะอุ (สัมภาษณ์, 17 กรกฎาคม 2548) ยังยกตัวอย่างเพิ่มเติมว่า “พวกเราต้องทนฟังเสียงชายต่าง ศาสนาที่เข้ามาทำ�งานในโครงการฯ พูดกันอย่างหยาบคายว่า สบายจริงๆ! ทำ�งานอยู่ที่นี่ก็มีเมียใหม่คอยปรนนิบัติ พัดวี พอหมดงานที่นี่ก็ค่อยกลับไปหาเมียคนเดิมที่บ้านอีก ….อย่าว่าแต่เขาจะเปลี่ยนมา เข้าอิสลาม เข้ามาปฏิบัติ ตามหลักศาสนาอิสลามหลังจากอยู่กินกันกับหญิงมุสลิมเลย แม้แต่ศาสนาเดิมของเขาเองเขายังไม่ไยดี ไม่มีความ เคารพแม้แต่นอ้ ย…. แล้วอะไรจะเกิดขึน้ กับลูกหลานของเราต่อไป จะสัง่ สอนและสืบทอดกันต่อไปอย่างไร นีค่ อื ความ เจ็บปวดของพวกเรา” กล่าวโดยสรุปแล้ว หลักศาสนาและระเบียบแบบแผนทางสังคมของชาวมุสลิมเป็นสิ่งที่ผสานกันจนแยกไม่ ออก ซึ่งหากหลักศาสนาถูกสั่นคลอน ระเบียบแบบแผนที่เป็นเครื่องจรรโลงสังคมให้สงบสุขก็จะสั่นคลอนไปด้วย

2.2 ความแตกแยกของชุมชน กระบวนการสร้างความยอมรับในตัวโครงการของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) และบริษัท ทรานส์ ไทย-มาเลเซีย (ประเทศไทย) จำ�กัด ถือได้ว่ามีวิธีการที่ไม่เหมาะสม ซึ่งนอกจากขัดต่อหลักการที่ถูกต้อง ของกระบวนการโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ของภาครัฐที่ควรจักต้องดำ�เนินการแล้ว ยังขาดความเข้าใจในบริบทเชิง พืน้ ที่ ขาดองค์ความรูใ้ นการเข้าถึงชุมชนชาวมุสลิมในท้องถิน่ ซึง่ เป็นชุมชนมุสลิมทีย่ งั ยึดมัน่ ในหลักการศาสนาอย่าง เคร่งครัด ดังจะเห็นได้จากมีการนำ�สิ่งของเครื่องใช้ไปแจก และการให้ข้อมูลด้านเดียว โดยวิธีการดังกล่าวนอกจาก จะไม่ได้รบั การยอมรับจากประชาชนในพืน้ ทีเ่ ป้าหมายโครงการฯ แล้ว ยังเพิม่ ระดับความไม่ไว้วางใจในตัวโครงการฯ มากขึน้ ไปอีก และยังส่งผลให้เกิดการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายระหว่างผูค้ ดั ค้านและผูท้ สี่ นับสนุนโครงการฯ ซึง่ เป็นกลุม่ คนทีไ่ ด้ รับผลประโยชน์จากบริษัทผู้รับผิดชอบโครงการฯ จนนำ�ไปสู่การขยายความขัดแย้งที่รุนแรงตามมา เช่น การที่บริษัท ทรานส์ ไทย-มาเลเซีย (ประเทศไทย) จำ�กัด นำ�นาฬิกาไปมอบให้มัสยิด บริจาคเงินให้มัสยิดนำ�นํ้าตาลทราย ข้าวสาร จำ�นวนมากไปบริจาคให้มัสยิดในเดือนรอมฎอน เป็นต้น ทำ�ให้เกิดการโต้เถียงกันของคนในชุมชน สิ่งของหรือเงินที่ เข้าไปอยู่ในมัสยิดกลายเป็นสัญลักษณ์ของความขัดแย้งในชุมชนที่ส่งผลกระทบได้อย่างลึกซึ้ง

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

ความต้องการของคนงานจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งเข้ามาอยู่ในหมู่บ้านเป็นจำ�นวนมาก การกระทำ�ดังกล่าว ก่อให้เกิดความไม่พอใจไปทั่วชุมชน เนื่องจากเป็นการกระทำ�ที่ผิดหลักคำ�สอนของศาสนาอิสลาม ซึ่งนอกจากห้าม กินแล้วยังห้ามขายอีกด้วย เพราะ “เลือดวัว” หรือว่า “นายีด” ถือเป็นสิ่งสกปรกตามหลักการศาสนา


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

278

สุไลมาน หมัดยุโส๊ะ (สัมภาษณ์, 8 มิถุนายน 2548) ได้อธิบายถึงผลกระทบดังกล่าวว่า “การเอาของไม่ควร ไม่เหมาะสมมาเข้ามัสยิด เช่น นาฬิกาที่มีสัญลักษณ์ของทีทีเอ็ม เอาเงินเข้ามัสยิด ทำ�ให้ผู้ที่เข้าไปทำ�พิธีละหมาด ในมัสยิดเกิดความขัดแย้งในจิตใจ ใจไม่สงบ คิดถึงแต่เรื่องนี้ทำ�ให้ไม่สบายใจ รบกวนการนึกถึงพระเจ้า ส่งผลให้ ละหมาดไม่ถึงพระเจ้า ตอนนี้บางคนถึงขั้นไม่ละหมาดที่มัสยิดในหมู่บ้านของตนแล้ว ต้องไปละหมาดที่มัสยิดใน หมู่บ้านอื่น ทั้งที่ตามหลักการศาสนาแล้วการละหมาดร่วมกันที่มัสยิดในหมู่บ้านของตนเป็นสิ่งที่ดีได้บุญสูงแต่ก็ จำ�เป็นต้องไปละหมาดที่หมู่บ้านอื่น” สอดคล้องกับนายสาลี มะประสิทธิ์ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 6 ตำ�บลสะกอม (สัมภาษณ์, 10 เมษายน 2548) ซึ่ง กล่าวว่า “มัสยิดเป็นสถานที่ประกอบพิธีทางศาสนา ไม่ควรให้เรื่องทางโลกเข้ามายุ่งเกี่ยว โครงการฯ จะถูกต้องหรือ ไม่เป็นเรือ่ งหนึง่ แต่เมือ่ มีสงิ่ ของทีม่ สี ญ ั ลักษณ์ของทีทเี อ็มมาติดไว้ คนทัง้ 2 ฝ่ายทีม่ องเห็นข้าวของดังกล่าว ก็จะไม่มี สมาธิ ไม่สามารถทำ�ละหมาดที่สมบูรณ์ได้” เนื่องจากชุมชนในพื้นที่ดำ�เนินโครงการฯ เป็นชุมชนมุสลิม ซึ่งมีวิถีชีวิต ความเชื่อ และกฎระเบียบของชุมชน ที่ผูกพันอยู่กับหลักการศาสนาอิสลามอย่างลึกซึ้ง การที่คนในชุมชนจะสนับสนุนหรือคัดค้านโครงการฯ จึงเกี่ยวพัน ไปถึงหลักการทางศาสนาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังที่รอหีม สะอุ อดีตโต๊ะอิหม่ามบ้านตลิ่งชัน (อ้างโดย สถาบันไทย คดีศึกษา, 2548) กล่าวว่า “เมื่อเราเชื่อมั่นว่าการคัดค้านโครงการฯ เป็นการทำ�เพื่อประเทศชาติ ทำ�ให้ลูกหลานอยู่ กับทะเลที่มีปลา อยู่กับผืนดินที่สมบูรณ์ ได้ดำ�เนินชีวิตตามหลักศาสนา ได้กราบไหว้พระเจ้า เมื่อเรามั่นใจว่า การ คัดค้านโครงการฯ เป็นสิ่งถูกต้อง เรายิ่งต้องพยายามให้มาก เพื่อให้การคัดค้านของเราเป็นจริงขึ้นมา เราต้อง ซอ บา12 ผู้ที่พยายามมาก ลำ�บากมาก และอดทนต่อการถูกกระทำ�ข่มเหง อัลลอฮฺก็จะรับดุอา13ของเขาเหล่านั้น เป้า หมายที่ยิ่งใหญ่ในการคัดค้านโครงการฯ ของเราก็คือ เรากำ�ลังดำ�เนินชีวิตตามหลักศาสนานั่นเอง” อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เกิดขึ้นจากความพยายามของผู้ดำ�เนินโครงการฯ ที่จะทำ�ให้ชุมชนยอมรับก็คือ ดังที่ สุไลมาน หมัดยุโส๊ะสรุปว่า “คนลืมพระเจ้าก่อน หลังจากนั้นก็ลืมพี่ ลืมน้อง หันมารบ14กันเอง” (อ้างโดยสถาบัน ไทยคดีศึกษา, 2548) ความแตกแยกจึงเกิดขึน้ ตัง้ แต่ระดับครอบครัวไปจนถึงระดับชุมชน คนในครอบครัวเดียวกันไม่พดู คุยกัน ไม่ ซื้อไม่ขายสินค้ากันระหว่างผู้ที่มีความเห็นแตกต่าง บางชุมชนไม่ไปร่วมงานบุญตามหลักการศาสนา ดังที่นายสาลี มะประสิทธิ์ (สัมภาษณ์, 10 เมษายน 2548) กล่าวว่า “ความขัดแย้งลุกลามถึงขนาดที่พี่กับน้องตายก็ไม่มาฝังกัน ซึ่งผิดหลักศาสนาอิสลาม ตอนนี้ก็เป็นสภาพตัวใครตัวมัน ต่างคนต่างอยู่ แลหน้าไม่ตรงกัน15 แบ่งเป็นคนละกลุ่ม” ตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดถึงความแตกแยกในระดับครอบครัวก็คือ การขายที่ดินให้กับบริษัท ทรานส์ ไทยมาเลเซีย (ประเทศไทย) จำ�กัด เพื่อก่อสร้างโครงการฯ ทำ�ให้เกิดความขัดแย้งในครอบครัวขึ้น ดังเช่นบางครอบครัว ในหมูท่ ี่ 7 ตำ�บลตลิง่ ชัน อำ�เภอจะนะ เนือ่ งจากพีช่ ายซึง่ มีชอื่ เป็นเจ้าของครอบครองทีด่ นิ ตามกฎหมาย ตัดสินใจขาย ทีด่ นิ ให้กบั บริษทั ผูร้ บั ผิดชอบดำ�เนินโครงการฯ แต่นอ้ งสาวซึง่ มีสว่ นเป็นเจ้าของทีด่ นิ ร่วมกันจากการรับมรดกกลับไม่ ต้องการขาย เพราะไม่ต้องการให้โครงการฯ ดำ�เนินต่อไปได้ แม้ที่ดินผืนดังกล่าวจะถูกขายไปนานแล้ว แต่ความขัด แย้งดังกล่าวยังดำ�รงอยู่จนถึงปัจจุบัน

12 13 14 15

ซอบา เป็นภาษาอาหรับ หมายถึง อดทน ดุอา เป็นภาษาอาหรับ หมายถึง พรจากพระเจ้า รบ เป็นภาษาถิ่นใต้ หมายถึง ทะเลาะ แลหน้าไม่ตรงกัน เป็นภาษาถิ่นใต้ หมายถึง โกรธกัน หรือมองหน้ากันไม่ติด


279

ในเหตุการณ์ครั้งนี้ ผู้ที่ไปรับเงินชดเชยจากบริษัทดังกล่าว บางส่วนเป็นผู้ที่ไม่อยู่ในเงื่อนไขว่าเป็นผู้ได้รับ ผลกระทบโครงการฯ อย่างแท้จริง บางส่วนเป็นชาวประมงที่มีจุดยืนคัดค้านโครงการฯ มาก่อน และบางส่วน เป็นชาวประมงที่มีจุดยืนสนับสนุนโครงการฯ ในขณะที่อีกส่วนหนึ่งยืนยันไม่ยอมรับเงินดังกล่าว โดยมีเหตุผลว่า “เราตกลงกันว่าจะไม่รับเงินชดเชยดังกล่าว เพราะไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาที่ถูกต้อง วิธีนี้ไม่สามารถชดเชยผลกระทบที่ เกิดขึน้ จากโครงการฯ ได้จริง โดยเฉพาะอย่างยิง่ ผลกระทบทีจ่ ะเกิดขึน้ ในระยะยาว หากยินยอมรับเงินก็เปรียบเหมือน เรายอมรับโครงการฯ และที่สำ�คัญเงินของ ปตท.เราถือว่าเป็นเงินสกปรก เพราะเป็นเงินที่ได้มาจากการเบียดเบียน ผู้อื่น ทำ�ให้ผู้อื่นเดือดร้อน ในทางหลักศาสนา ถือว่าการรับเงินสกปรกเป็นบาป ผู้ที่ไปรับเงินชดเชยจึงถือว่าเป็นผู้ ที่ทำ�ผิดข้อตกลงของกลุ่ม นอกจากนี้ กลุ่มคัดค้านโครงการฯ ยังเคยตกลงร่วมกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่พระเจ้ารับรู้ว่าจะไม่ ยอมรับสิ่งของเงินทองจากบริษัท ทรานส์ ไทย-มาเลเซีย (ประเทศไทย) จำ�กัด และมองว่าการจ่ายเงินชดเชยครั้งนี้ เป็นการวางแผนของบริษัทดังกล่าว” (สุไลมาน หมัดยุโส๊ะ (สัมภาษณ์), 8 มิถุนายน 2548) ดังรายละเอียดในแถลงการณ์ของกลุ่มผู้คัดค้านโครงการฯ ที่ว่า “….มีการปล่อยข่าวในหมู่บ้านต่างๆ ว่า ให้ผู้ คัดค้านโครงการฯ ไปรับเงินเสีย เพราะแกนนำ�คัดค้านฯ ต่างรับเงินไปหมดแล้ว และยังมีการซือ้ ตัวแกนนำ�กลุม่ คัดค้าน ท่อก๊าซฯ โดยคิดว่าเมื่อแกนนำ�เปลี่ยนจุดยืนไปรับเงินจากโครงการ กลุ่มผู้คัดค้านฯ จะล่มสลายไปเอง...” (เครือข่าย คัดค้านโครงการท่อส่งก๊าซ โรงแยกก๊าซธรรมชาติไทย-มาเลเซีย และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง, 2547) ผลจากเหตุการณ์ครั้งนี้ก็คือ บางส่วนของชาวประมงฝ่ายที่รับเงินกับฝ่ายที่ไม่รับเงินเกิดความบาดหมางและ ไม่ยอมร่วมมือหรือช่วยเหลือเกื้อกูลกันในเรื่องใดๆ อีกเลย ซึ่งอาจเป็นจุดกำ�เนิดที่ก่อให้เกิดการล่มสลายของสังคมที่ ดีงามได้ในที่สุด

2.3 การยึดครองที่ดินวะกัฟ16 ของโครงการฯ ที่ละเมิดหลักการศาสนา การดำ�เนินการทีถ่ อื ว่าไม่เคารพหลักการศาสนา ละเมิดหลักศรัทธาของชุมชนครัง้ สำ�คัญก็คอื กรณีการขอแลก เปลีย่ นทีด่ นิ สาธารณะในพืน้ ทีก่ อ่ สร้างโรงแยกก๊าซ ซึง่ ทีด่ นิ ดังกล่าวมีสถานะทางกฎหมายเป็นทางสาธารณประโยชน์ และในทางศาสนายังมีสถานะเป็นที่ดิน “วะกัฟ” ที่ไม่สามารถจำ�หน่ายจ่ายโอนหรือแลกเปลี่ยนได้ สิง่ ทีเ่ กิดขึน้ ก็คอื เริม่ จากบริษทั ทรานส์ ไทย-มาเลเซีย (ประเทศไทย) จำ�กัด ได้ถอื โอกาสเข้าล้อมรัว้ พืน้ ทีก่ อ่ สร้าง โรงแยกก๊าซ ในช่วงที่มีการส่งกำ�ลังเจ้าหน้าที่ตำ�รวจเข้าไปตั้งฐานปฏิบัติการในพื้นที่ก่อสร้างในเดือนมิถุนายน 2546 หลังจากนัน้ ก็ได้บกุ รุกยึดครองปรับถมทางสาธารณประโยชน์ดงั กล่าว ซึง่ ตามกฎหมายถือว่าเป็นความผิดอาญาอย่าง ชัดเจน ดังที่สุไลมาน หมัดยุโส๊ะ (สัมภาษณ์, 8 มิถุนายน 2548) กล่าวว่า “น่าแปลกที่การกระทำ�ดังกล่าวเกิดขึ้นใน ยุคสมัยที่มีรัฐธรรมนูญ 2540 แล้วโดยที่ประชาชนเป็นฝ่ายพยายามปกป้องสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ในขณะที่เจ้า หน้าที่ตำ�รวจซึ่งเป็นผู้รักษากฎหมายกลับเป็นฝ่ายใช้กองกำ�ลังติดอาวุธเข้าคุ้มครองผู้บุกรุกที่ดินสาธารณประโยชน์” 16 “ทางวะกัฟ” ในทีน่ หี้ มายถึง“วะกัฟยารียะ๊ ”(ไม่มกี ารตะเละ) เป็นการอุทศิ เพือ่ พระผูเ้ ป็นเจ้าให้ประชาชนทัว่ ไปได้ใช้ประโยชน์ ร่วมกัน โดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ ทั้งสิ้น เจ้าของเดิมหรือผู้หนึ่งผู้ใดก็ไม่มีสิทธิ์ครอบครองอีกต่อไป อีกทั้งไม่สามารถซื้อขาย แลก เปลี่ยน โอน หรือเปลี่ยนแปลงใด ๆ ได้ จนกว่าจะถึงวันสิ้นโลก ด้วยมติทั้ง 4 มาซาฮับ โดยองค์ประกอบของการวะกัฟ คือ ผู้วะกัฟ สิ่งที่ถูกวะกัฟ ถ้อยคำ�ที่ใช้ในการวะกัฟ ซึ่งเป็นขณะที่ผู้กล่าวมีสติสัมปชัญญะครบถ้วน และผู้รับสิ่งวะกัฟ

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

กรณีตัวอย่างที่สำ�คัญเกี่ยวกับความแตกแยกในระดับหมู่บ้านก็คือ การรับเงินชดเชยจากการประกอบอาชีพ ประมง โดยในช่วงเดือนกรกฎาคม - สิงหาคม 2547 เป็นช่วงหลังจากที่มีการวางท่อส่งก๊าซจากทะเลมาขึ้นฝั่ง ซึ่ง วิธีการวางท่อส่งก๊าซในทะเลทำ�ให้เกิดผลกระทบต่อการจับสัตว์นํ้าของชาวประมงในพื้นที่ต�ำ บลตลิ่งชันและ ตำ�บล สะกอม อำ�เภอจะนะ เป็นอย่างมาก ทางบริษัท ทรานส์ ไทย-มาเลเซีย (ประเทศไทย) จำ�กัด จึงพยายามแก้ปัญหา ด้วยการจ่ายเงินชดเชยให้แก่เจ้าของเรือประมงในพืน้ ที่ ปรากฏว่าเหตุการณ์ดงั กล่าวได้กอ่ ให้เกิดความแตกแยกอย่าง กว้างขวางในชุมชนพื้นที่ตำ�บลสะกอม และ ตำ�บลตลิ่งชัน อำ�เภอจะนะ


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

280

ต่อมา ทางบริษัทได้เสนอเรื่องต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขอแลกเปลี่ยนที่ดินสาธารณะประโยชน์ตาม ประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งตามกฎหมายมีการกำ�หนดขั้นตอนวิธีการไว้อย่างชัดเจนเกี่ยวกับกระบวนการสอบถาม ความเห็นของชุมชน รวมทั้งกฎหมายได้ให้สิทธิแก่ชุมชนในการตัดสินใจที่จะแลกเปลี่ยนหรือไม่ด้วย 17ซึ่งประชาชน ในพื้นที่ก็ได้พยายามเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดกระบวนการตามที่กฎหมายกำ�หนดไว้ แต่สิ่งที่พวกเขาพบ ก็คือ นายอำ�เภอจะนะ ได้แสดงความเห็นแทนชุมชนไปแล้วที่จะยินยอมให้มีการแลกเปลี่ยนที่ดิน โดยที่ประชาชน ไม่มีส่วนรับรู้เลย ในมิติทางศาสนาหรือในแง่ของ “ที่ดินวะกัฟ” ซึ่งประชาชนได้ร้องเรียนไปยังคณะกรรรมการกลางอิสลาม จังหวัดสงขลา และสำ�นักจุฬาราชมนตรี ประชาชนก็พบในภายหลังว่า ฝ่ายบริษทั ทรานส์ ไทย-มาเลเซีย (ประเทศไทย) จำ�กัด มีโอกาสเข้าชี้แจง ให้ข้อมูลต่อสำ�นักจุฬาราชมนตรี ส่งผลให้สำ�นักจุฬาราชมนตรีมีคำ�วินิจฉัยออกมาว่า “...ทางคณะผู้ทรงคุณวุฒิ มีความเห็นว่า ไม่มีหลักฐานชัดเจนที่แสดงว่า ทางสาธารณะดังกล่าวได้มาโดยการวะกัฟ ของชาวมุสลิม ...และหากการแลกเปลี่ยนไม่ทำ�ให้เกิดความเดือดร้อนแก่ชุมชนที่ใช้สัญจร และทำ�ให้เกิดประโยชน์เพิ่มขึ้น แก่ชุมชนที่ใช้สัญจร อีกทั้งยังเกิดประโยชน์แก่สาธารณะก็สามารถแลกเปลี่ยนได้..” (สำ�นักจุฬาราชมนตรี, 2547) โดยที่ทางสำ�นักจุฬาราชมนตรีพิจารณาเรื่องดังกล่าวด้วยการรับฟังความ ข้อมูลข้อคิดเห็นจากตัวแทนบริษัท ทรานส์ ไทย-มาเลเซีย แต่ไม่เปิดโอกาสให้วะเระหรือทายาทของผูท้ อี่ ทุ ศิ ทีด่ นิ ได้แสดงตัวเพือ่ ยืนยันว่าทีด่ นิ ดังกล่าวเป็น ทีด่ นิ วะกัฟตามหลักการศาสนาอิสลามจริง แม้ตวั แทนจากทางจะนะยืน่ หนังสือร้องเรียน หรือเดินทางไปเพือ่ ขอชีแ้ จง ถึงสำ�นักจุฬาราชมนตรีหลายครั้งแล้วก็ตาม จึงทำ�ให้กระบวนการตรวจสอบกรณีปัญหาดังกล่าว ก่อนการวินิจฉัยไม่ สามารถดำ�เนินไปได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ตามหลักศาสนาอิสลาม ที่สำ�คัญความเห็นนี้ส่งผลให้รัฐบาลสมัย นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร “ประกาศพระราชกฤษฎีกาถอน สภาพที่ดินสาธารณะ” ในปี 2549 อันเป็นการออกกฎหมาย ย้อนหลังเพื่อลบล้างความผิดให้กับบริษัท ทรานส์ ไทยมาเลเซีย ซึ่งเข้าไปบุกรุกเปลี่ยนแปลงสภาพที่ดินดังกล่าว ตั้งแต่ปี 2546 เป็นต้นมา ส่งผลให้พี่น้องมุสลิมที่นี่ยังคง เรียกร้องเพื่อนำ�ไปสู่การแก้ไขจนถึงทุกวันนี้

3.สรุป จะเห็นว่า ผลกระทบทางสังคมที่มีต่อวิถีชีวิตของชุมชนมุสลิมนั้น เป็นเรื่องที่มีความละเอียดอ่อนอย่างยิ่ง เนือ่ งจากสำ�หรับชุมชนลักษณะนี้ ศาสนามิใช่เป็นเพียงคำ�สอน หรือพิธกี รรม แต่คอื วิถี คือความหมายทัง้ หมดของการ ดำ�รงชีวิตของคนในชุมชน การยอมรับหลักเกณฑ์ต่างๆ ที่บอกว่าสิ่งใดคือบาปคือบุญนั้น เป็นเสมือนความตกลงใจ ของพวกเขาที่เลือกแล้วว่าจะดำ�เนินชีวิตในฐานะมนุษย์คนหนึ่งอย่างไร การปฏิบัติตามหลักการในระดับชุมชนอย่าง เคร่งครัด ก็คือข้อตกลงใจร่วมกันว่าทุกชีวิตในชุมชนนั้นจะอยู่ร่วมกันอย่างสงบสันติอย่างไร และความตกลงใจนั้นก็ แน่วแน่จนสามารถมากำ�กับสำ�นึกและความรูต้ วั ของพวกเขาในทุกขณะของการดำ�เนินชีวติ ทัง้ นีก้ เ็ นือ่ งจากเป็นความ ตกลงใจด้วยศรัทธาต่ออัลลอฮฺเป็นที่ตั้ง ซึ่งมีพลังที่บริสุทธิ์และมีความศักดิ์สิทธิ์เสียยิ่งกว่ากฎหมายในทางโลก ซึ่ง ปัญหาผลกระทบทีล่ ะเอียดอ่อนในระดับนี้ อาจไม่สามารถป้องกันและแก้ไขได้ หากกระบวนการต่างๆ ดำ�เนินไปโดย ผูค้ นทีไ่ ม่ตระหนักถึงศรัทธาในลักษณะเดียวกันต่อศาสนา ไม่วา่ ศาสนาใด หรือต่อจารีตของชุมชน ไม่วา่ จะทีใ่ ด และ ไม่เห็นความสำ�คัญของการกำ�กับตัวเอง และขัดเกลาตัวเอง ด้วยความตกลงใจอันเกิดจากศรัทธานั้น

17 ประมวลกฎหมายที่ดิน และระเบียบอื่นๆ


281

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ. 2546. ผลการตรวจสอบการละเมิดสิทธิเครือข่ายคัดค้านโครงการท่อ ส่งก๊าซ โรงแยกก๊าซธรรมชาติ ไทย-มาเลเซีย และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง. 2547. แถลงการณ์. 20 สิงหาคม 2547. บริษัท ทรานส์ ไทย-มาเลเซีย (ประเทศไทย) จำ�กัด (1). มปป. โครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติและโรงแยกก๊าซ ธรรมชาติ ไทย-มาเลเซีย. กรุงเทพฯ: บริษัท ทรานส์ ไทย-มาเลเซีย (ประเทศไทย) จำ�กัด. บริษัท ทรานส์ ไทย-มาเลเซีย (ประเทศไทย) จำ �กัด (2). 2544. “กฎหมายน่ารู้”, ทีทีเอ็มวารสารเพื่อการ ประชาสัมพันธ์โครงการท่อส่งก๊าซและโรงแยกก๊าซไทย-มาเลเซีย. 23 (กรกฎาคม 2544). มนุษยชน: กรณีความรุนแรงอันเนื่องมาจากโครงการท่อก๊าซไทย-มาเลเซีย. กรุงเทพฯ: สำ�นักงานคณะ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ. สถาบันไทยคดีศกึ ษา. 2548. โครงการแนวทางการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมทีด่ ดี า้ นสิง่ แวดล้อมและ การมีส่วนร่วมของประชาชน กรณีโครงการพัฒนาขนาดใหญ่. สำ�นักจุฬาราชมนตรี. 2547. สฬ. 0103.03.ศ/2547. คำ�วินิจฉัยกรณีการร้องเรียนเรื่องการแลกเปลี่ยนทาง สาธารณะ ตำ�บลตลิ่งชัน อำ�เภอจะนะ จังหวัดสงขลา. 22 มีนาคม 2547. หนังสือพิมพ์ คมชัดลึก. 2547. 27 เมษายน 2547. การสัมภาษณ์ รอหีม สะอุ. 2548. อดีตโต๊ะอิหม่ามมัสยิดบ้านตลิง่ ชัน ตำ�บลตลิง่ ชัน อำ�เภอจะนะ. ผูใ้ ห้สมั ภาษณ์, 17 กรกฎาคม 2548. สาลี มะประสิทธิ์. 2548. ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 6 ตำ�บลสะกอม อำ�เภอจะนะ. ผู้ให้สัมภาษณ์, 10 เมษายน 2548. สุไลมาน หมัดยุโส๊ะ. 2548. ครูสอนศาสนาอิสลาม. ผู้ให้สัมภาษณ์, 8 มิถุนายน 2548.

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

บรรณานุกรม


สัญชาติและสิทธิความเป็นพลเมือง


283

นที ธีระโรจนพงษ์2

การปรากฏตัวของบุคคลผู้มีอัตลักษณ์ทางเพศอื่นที่ถูกเรียกว่าไม่ใช่ชายจริงหรือหญิงแท้ในสังคมไทยนั้น ไม่ ได้จำ�กัดอยู่เพียงแวดวงของความสวยความงาม ความบันเทิง หรือวงการแสดงแบบเท่านั้น แต่ยังมีหลายเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นแล้วกระทบต่อสังคมในวงกว้างอย่างมากมายทั้งในอดีตและปัจจุบัน อาทิเช่น ในปี พ.ศ. 2540 สถาบันราชภัฎ ซึ่งเป็นสถาบันที่เป็นต้นแบบในการผลิตบุคลากรอาชีพครูของประเทศไทย ที่ มีวิทยาเขตอยู่ทั่วภูมิภาคของประเทศ ได้ประกาศนโยบายที่จะไม่ให้ผู้มีพฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศหรือกลุ่มรักร่วม เพศเข้าศึกษาในสถาบัน เพราะขัดต่อจรรยาบรรณความเป็นครูไทยและป้องกันการเลียนแบบพฤติกรรมของเกย์ใน สถาบัน (มติชน, 2540 หน้า 2) ปี พ.ศ. 2542 มีการห้ามเกย์หรือกะเทยปรากฏในสื่อโทรทัศน์ ด้วยเหตุผลคล้ายกับสถาบันราชภัฎ ว่ากะเทย มีพฤติกรรมที่ก้าวร้าวรุนแรง หยาบคาย ปากร้าย จะเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีกับเยาวชนไทย (มติชน, 2542 หน้า 6) ปรากฏการณ์ต่อมาที่เกย์หรือกะเทยได้รับกระแสการต่อต้านและรังเกียจจากสังคม คือการแพร่ระบาดของ โรคเอดส์ ทีร่ ะบุวา่ เกย์มพี ฤติกรรมทีไ่ ม่ดแี ละมีการติดต่อของโรคเอดส์ ทัง้ ยังมีพฤติกรรมสำ�ส่อนทางเพศ ชอบเปลีย่ น คู่ ซึ่งมีผลให้บริษัทประกันชีวิตแห่งหนึ่งไม่รับประกันชีวิตให้กับบุคคลที่มีพฤติกรรมเป็นเกย์ (มติชน, 2544 หน้า 12) ในรอบหลายปีทผี่ า่ นมา การเดินทางไปต่างประเทศของเกย์หรือกะเทยทัง้ หลายทีแ่ ต่งกายเป็นหญิงต้องประสบ กับความยุง่ ยากมาก เพราะภาพลักษณ์ทปี่ รากฏกับรูปภาพในหนังสือเดินทางไม่เหมือนกัน ทำ�ให้เป็นปัญหาทีต่ อ้ งมี การจัดตั้งคณะกรรมการดูแลเรื่องเพศเพื่อแก้ไขปัญหานี้ในระยะยาว (กรุงเทพธุรกิจ, 2544 หน้า 1-2) นอกจากนี้ ในทุกๆ ปีที่คล้ายกับจะเป็นประเพณีที่ปรากฏในหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์ทุกฉบับ คือเรื่องราว ของการเกณฑ์ทหารของเกย์หรือกะเทย ซึ่งชายไทยตามทะเบียนราษฎร์ที่มีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ ต้องเข้ารับการเกณฑ์ ทหาร ถ้าในท้องที่ใดปีนั้นๆ มีกะเทยหรือเกย์รวมอยู่ในกลุ่มชายไทยที่ได้หมายเกณฑ์แล้ว จะมีข่าวในวันรุ่งขึ้นว่า กะเทยได้รับการปฏิบัติแบบที่ต้องเป็นข่าว เช่น ถูกตัดสินว่าเป็นบุคคลที่มีความผิดปกติทางจิตและถูกให้ถอดเสื้อ ออกแม้ว่าจะผ่านการทำ�ศัลยกรรมเสริมทรวงอกที่เหมือนเพศหญิงมาแล้วก็ตาม กะเทยหรือเกย์จึงเป็นจุดสนใจเมื่อ ต้องเปลือยท่อนบนไปนั่งรวมกลุ่มอยู่กับผู้ชายทั้งหมด (ผู้จัดการรายวัน, 2544 หน้า 8) ปี พ.ศ. 2550 ร่างรัฐธรรมนูญมาตรา 30 ได้ประกาศให้ “ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน การเลือกปฏิบัติ โดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องเพศจะกระทำ�มิได้” เหตุนี้จึงเกย์หรือกะเทยรวมตัวกัน เรียกร้องอย่างเป็นรูปธรรม ให้บรรจุคำ�ว่า “บุคคลหลากหลายทางเพศ” เข้าไปในวรรค 2 ว่า “ชายหญิงและบุคคลที่ มีความหลากหลายทางเพศมีสิทธิเท่าเทียมกัน” ซึ่งท้ายที่สุดก็ได้รับการยอมรับจากสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ 100 คน ให้มีการบันทึกเจตนารมณ์ไว้ในวรรค 3 ของมาตรา 30 ว่า “การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุ แห่งความแตกต่างในเรื่องเพศจะกระทำ�ไม่ได้” โดยกำ�หนดให้ค�ำ ว่า “เพศ” ในที่นี้หมายความถึงผู้ทีมีเอกลักษณ์ทาง เพศอื่นๆ ที่ไม่ใช่ชายและหญิงเข้าไปด้วย 1 การอ้างอิงบทความ ควรได้รับอนุญาตจากเจ้าของบทความ 2 ประธานกลุ่มเกย์การเมือง

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

เกย์: อัตลักษณ์ทางเพศที่ต้องการพื้นที1่


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

284

จากปรากฏการณ์ดงั ทีก่ ล่าวแล้วข้างต้น จะเห็นว่าเกย์หรือกะเทยถูกจำ�กัดสิทธิและได้รบั การปฏิบตั จิ ากสังคม ในหลายรูปแบบที่เป็นการลดทอนศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ทั้งการสร้างคำ�นิยามและกำ�หนดภาพลักษณ์ตายตัว (Stereotype) ให้กบั เกย์หรือกะเทย ล้วนเป็นการเบียดขับให้กลุม่ คนทีม่ อี ตั ลักษณ์ทางเพศแบบนีม้ พี นื้ ทีท่ างสังคมน้อย และอยู่ชายขอบ ส่งผลให้ขาดโอกาสในการสร้างบทบาททางสังคมของตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทบาททางการ เมืองซึ่งผลกระทบที่มีต่อเกย์หรือกะเทย ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาล้วนเป็นประเด็นที่สำ�คัญทั้งด้านกฎหมาย การ ปกครอง และการเคลื่อนไหวทางสังคม แต่บุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ เกย์และกะเทยไม่ได้แสดงบทบาท ทางการเมืองหรือมีการรวมตัวกันในทางการเมืองที่ชัดเจนในสังคมเลย ดังนั้น จึงมีข้อคำ�ถามว่าภาพของกะเทยหรือเกย์มีความเป็นสีสันให้กับสังคมเท่านั้นหรือ? ความเป็นแก่นสาร ทางการเมือง การต่อสูเ้ คลือ่ นไหวตอบโต้เพือ่ ต่อรองหรือเรียกร้องสิทธิของตนเองในฐานะสมาชิกของสังคมในกลุม่ เกย์ หรือกะเทยไม่อาจทำ�ได้ หรือไม่มโี อกาส? ซึง่ ข้อคำ�ถามเหล่านีค้ วรมีค�ำ ตอบให้กบั สังคม เพราะปรากฏการณ์ทเี่ กิดขึน้ กับเกย์และกะเทยในสังคมแต่ละครัง้ นัน้ มีผลกระทบรุนแรง และมีทไี่ ปทีจ่ ะทำ�ให้เข้าใจสถานการณ์และสถานภาพของ เกย์หรือกะเทยทีด่ �ำ รงอยูใ่ นสังคมเกย์หรือกะเทยทีม่ อี ตั ลักษณ์ แม้จะเป็นเพียงเฉพาะกลุม่ หากมีคณ ุ ค่า มีความรูค้ วาม สามารถและความชัดเจนในการแสดงออกของอัตลักษณ์ของกลุม่ ตนนัน้ แท้ทจี่ ริงพวกเขามีความสนใจทางการเมือง หรือไม่? และพวกเขาสมควรได้รบั การดูแลจากสังคมเฉกเช่นเดียวกันกับผูช้ ายและผูห้ ญิงในสังคมไทยได้แล้วหรือยัง? อัตลักษณ์หรือความเป็นตัวตนเป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้น และมักจะก่อรูปขึ้นเมื่อเผชิญหน้ากับคนอื่นที่มีความ แตกต่างออกไป ความเป็นตัวตนอาจถูกสร้างขึ้นเพื่อให้เกิดความช่วยเหลือกัน เพื่อให้เกิดความรู้สึกผูกพัน Hall (1996) มองอัตลักษณ์อยู่บนรากฐานของการต่อต้านแก่นแกนในการวิพากษ์วิจารณ์เชิงจริยธรรม แต่กลับสนใจในแง่ ที่อัตลักษณ์ถูกเบียดขับ มองเรื่องการเมืองที่กีดกัน มองความสัมพันธ์ของบุคคลกับปฏิบัติการในการกีดกัน สำ�หรับ Hall อัตลักษณ์ คือสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นภายในวาทกรรมนั่นเอง สร้างขึ้นภายในประวัติศาสตร์และสถาบันที่จำ�เพาะภาย ใต้ยทุ ธศาสตร์แห่งการกีดกันทีเ่ จาะจง ดังนัน้ การสร้างอัตลักษณ์ทางสังคม คือการกระทำ�ของอำ�นาจปฏิบตั กิ ารของ การกีดกัน ได้ปรับเปลีย่ นให้บคุ คลไหลลืน่ ไปตามวาทกรรม และยิง่ ไปกว่านัน้ ประเด็นการเมืองยังก้าวหน้าต่อไป เพือ่ สร้างโอกาสการกีดกันแบบใหม่ที่ปิดกั้นและกดทับคุณค่าความเป็นมนุษย์ Hall ได้นำ�เสนอแนวคิดเรื่องอัตลักษณ์และความแตกต่างว่า การที่จะสืบหาการเมืองเรื่องอัตลักษณ์ต้องมอง ไปที่สองรูปแบบแห่งการผลิตอัตลักษณ์นั้นๆ ซึ่งแบ่งเป็นสายของแก่นสารนิยมและสายต่อต้านแก่นสารนิยม ดังนี้ ตัวแบบแรก มองไปในแง่ของสัญชาตญาณอันเป็นแก่นแท้ อัตลักษณ์เป็นเรื่องของจุดกำ�เนิดพื้นฐาน หรือ โครงสร้างพื้นฐานของประสบการณ์ อัตลักษณ์ใช้ภาพเชิงบวกต่อต้านกับภาพเชิงลบ และพยายามแสวงหาความ เป็นจริงแท้ ความเป็นดั้งเดิมผนวกรวมกันเข้าเป็นอัตลักษณ์ ตัวแบบที่สองนั้นเป็นการโต้แย้งของความพยายามในการหาแก่นแท้ ความเป็นจริงแท้ประสบการณ์ร่วม หรืออัตลักษณ์แบบพื้นฐานดั้งเดิมที่อยู่บนความเป็นสากล แต่ควรมองอัตลักษณ์แง่ของความสัมพันธ์อันไร้ซึ่งความ สมบูรณ์แบบ ซึ่งอยู่บนฐานของความแตกต่าง เป็นโครงสร้างของการเสนอภาพแทนความจริงที่ถูกนิยามจากการ สร้างขั้วความต่าง อัตลักษณ์ควรถูกมองในแง่ที่เป็นพหูพจน์เป็นเสี่ยงๆ เป็นชิ้นๆ และในบางครั้งอาจขัดแย้งกันใน ตัวเองขึ้นอยู่กับสถานการณ์ (Hall อ้างใน Hall & Du Gay (eds.), 1996) Week (1987) มองอัตลักษณ์เฉพาะเจาะจงลงไปที่อัตลักษณ์ทางเพศ ซึ่งเห็นพ้องต้องกับ Hall ในแง่ที่ว่าอัต ลักษณ์เป็นเรื่องของความจำ�เพาะเจาะจงด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่ต้องขึ้นอยู่กับแรงขับ ทางเพศหรือความปรารถนา สำ�หรับ Weeks คำ�ว่าเพศ เป็นผลผลิตของภาษาและวัฒนธรรม เช่นเดียวกับคำ�ว่า ธรรมชาติ และอัตลักษณ์ทางเพศเป็นเรื่องส่วนตัว ขึ้นอยู่กับบุคคลแต่ละคน หากยังมองปรากฏการณ์ภายใต้โครง ครอบของชีววิทยาและจิตวิทยาเรือ่ งทางเพศ หรือความเป็นเพศ ก็มติ า่ งอะไรกับเรือ่ งราวทีถ่ กู กำ�หนดโดยชะตากรรม


285

ในประเด็นเกี่ยวกับชายรักเพศเดียวกันหรือเกย์ กะเทยก็เช่นกัน เป็นชนกลุ่มน้อยที่ถูกทำ�ให้เป็นชายขอบ แม้ จะเป็นกลุ่มชนที่อยู่ในรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมักมีการรวมกลุ่มในสังคมเมืองด้วยซํ้า แต่ภาพลักษณ์ที่เลวร้ายตํ่าต้อย ความเป็นกลุ่มที่ไม่คุ้นชิน ประหนึ่งว่าไร้อารยธรรม ก็มักถูกยัดเยียดให้ตลอดเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากสื่อผ่านชุด คำ�ที่เสนอภาพแทนตัวตนไปในทางลบ ผลที่ตามมาจากการสร้างคำ�นิยามภาพลักษณ์ตายตัวให้กับกลุ่มเกย์ กะเทย คือ การกีดกันและจำ�กัดสิทธิในรูปแบบต่างๆ ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ทั้งเปิดเผยและซ่อนไว้เป็นเงื่อนงำ� ในปี 1968 เกิดเหตุการณ์ทตี่ �ำ รวจบุกบาร์เกย์ชอื่ Stone Wall ในหมูบ่ า้ นกรีนนิช นิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา ผลักดันให้เกิดขบวนการปลดปล่อยสิทธิสภาพชาวเกย์ทวั่ ทวีปอเมริกาในยุค 60 เกย์ได้เริม่ เรียกร้องสิทธิของตัวเอง ซํา้ เป็นช่วงเดียวกับทีเ่ กิดการเรียกร้องสิทธิสตรีและสิทธิของคนผิวสี สังคมเกย์จงึ เกิดขึน้ พร้อมๆ กับการบริโภคนิยม เมือ่ เข้าสูท่ ศวรรษที่ 80 ทีม่ กี ารแพร่ระบาดของยาเสพติดและโรคเอดส์ ส่งผลให้พฤติกรรมเกย์เปลีย่ นจากทีส่ นุกสนานหัน มาดูแลสุขภาพของตนเอง ในปี 2527 มีข่าวว่าคนไทยคนแรกที่เป็นเอดส์ถูกระบุว่าเป็นเกย์ ทำ�ให้ภาพของเกย์ต้อง เผชิญกับกระแสต่อต้านอย่างหนักกับการถูกกล่าวหาว่าสำ�ส่อนทางเพศ เป็นต้นเหตุของโรคเอดส์ ส่งผลต่อการไม่ รับประกันชีวิตให้กับเกย์ของบริษัทแห่งหนึ่ง (หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ 31 มีนาคม 2534 และหนังสือพิมพ์มติชน 21 มีนาคม 2544, หน้า 12) ในปีการศึกษา 2540 สถาบันราชภัฎมีนโยบายในการกีดกันผู้ที่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศ หรือกลุ่มรัก ร่วมเพศไม่ให้เข้าศึกษาในสถาบันเพราะขัดต่อจรรยาบรรณความเป็นครูและป้องกันการลอกเลียนแบบของเยาวชน เกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว นพ. ม.ล. สมชาย จักรพันธุ์ ผู้อำ�นวยการโรงพยาบาลศรีธัญญา และดำ�รงตำ�แหน่งนายก สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทยได้เผยทัศนะว่า ปัจจุบนั ไม่ควรมองว่ารักร่วมเพศเป็นโรคหรือผิดปกติ กรณีนโยบาย ของสถาบันราชภัฎเป็นเรื่องของระบบสถาบัน และการมองว่าบุคคลรักร่วมเพศเป็นครูแล้วเด็กจะเลียนแบบเป็นการ มองด้วยความลำ�เอียง ไม่ใส่ใจต่อข้อมูลทีถ่ กู ต้อง ในความเป็นจริงควรมองทีส่ ว่ นบุคคลมากกว่าสิทธิของสถาบัน การ คัดค้านคนทีเ่ บีย่ งเบนทางเพศในการสมัครเรียนครู เป็นการจำ�กัดสิทธิคนจำ�พวกหนึง่ ลบล้างภาพทีค่ นไทยมีลกั ษณะ อะลุ่มอะหล่วย (หนังสือพิมพ์มติชน 30 มกราคม 2540, หน้า 9) วันที่ 6 พฤษภาคม 2542 ได้มีการเรียกร้องผ่านทางโฮมเพจถึง นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี เกี่ยวกับ ร้องเรียนให้สถานีโทรทัศน์กลัน่ กรองความเสนอภาพผูท้ มี่ คี วามผิดปกติทางเพศ กล่าวอีกนัยหนึง่ คือ ห้ามเกย์ออกทีวี เพราะหวัน่ วิตกถึงผลกระทบจากการลอกเลียนแบบของเยาวชน เกรงเด็กไทยจะเป็นเกย์มากขึน้ ลงนามโดย นายวิจติ ร วุฒิอำ�พล อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ (หนังสือพิมพ์มติชน 15 มิถุนายน 2542) หลายคนออกมาวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็น นโยบายทีเ่ ลือกปฏิบตั หิ รือหมกสิง่ ต่างๆ ไว้ใต้พรม โดยปกติภาพลักษณ์ของเกย์ กะเทย ในสือ่ ทีวมี กั ปรากฏในรูปแบบ ของความฮา ขำ�กลิ้ง หรือร้ายสุดฤทธิ์ ในแง่ที่ว่ายิ่งแปลกยิ่งขายได้ เรื่องเกย์ในทีวีกับมาตรา 30 ของรัฐธรรมนูญใน แง่ของความเท่าเทียมกันหรือสิทธิมนุษย์ จึงกลายมาเป็นเรื่องที่ควรถูกกล่าวถึงให้เชื่อมโยงกัน

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

ควรเน้นมองในแง่ที่ให้ความสำ�คัญกับบุคคลแต่ละคนในสภาวะจำ�เพาะ แล้วเปิดมุมมองด้านความหลากหลาย และ ประสบการณ์ชวี ติ ของบุคคลแต่ละคนทีไ่ ด้มาจากผลกระทบของสังคม การค้นหาอัตลักษณ์ทแี่ ท้จริงก็เหมือนย้อนกลับ ไปหาว่าเราเป็นอะไรกันแน่ ซึ่งในความเป็นจริง อัตลักษณ์ไม่มีตำ�แหน่งที่แน่นอน การค้นหาอัตลักษณ์ก็เหมือนการ สำ�รวจแผนที่เพื่อหาประเทศใหม่ Weeks มองว่าสังคมสมัยใหม่เป็นสังคมที่ตัดสินกันจากกรอบของเชื้อชาติ ชนชั้น อุดมการณ์ สถานภาพ อายุ ดังนั้น เรื่องทางเพศ ความเป็นเพศจึงเป็นประเด็นการต่อสู้กันทางการเมือง ต่อต้านกับ หลักการจัดระเบียบสังคมโดยอิงกับประเพณี เป็นการสนับสนุนให้เห็นว่าเรื่องทางเพศไม่ใช่เรื่องของโชคชะตา แต่ เป็นเรื่องของการหยิบเลือกตัวเลือกทางการเมือง คนเราใช้ศักยภาพในการสร้างสรรค์ความเป็นตัวตนของเราเอง แต่ สร้างสรรค์อยู่บนรากฐาน บนกรอบ ไม่ใช่อิสระไปเสียทั้งหมด เราหยิบเลือกมาจากประวัติศาสตร์ และในอีกแง่หนึ่ง ทำ�ให้เราเห็นว่าอัตลักษณ์เป็นสิ่งที่ได้มาจากความสัมพันธ์ทางสังคมด้วย เพราะมันคือสิ่งที่ถูกใส่รหัสโดยกฎหมาย การแพทย์ กฎ ศีลธรรม และตัวของบุคคล ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ (Weeks อ้างใน Caplon (ed.), 1987)


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

286

ต่อมา นายปกรณ์ พิมพ์ทนต์ ตัวแทนกลุ่มเกย์ต้านภัยเอดส์ ยื่นเรื่องจดทะเบียนสมาคมเกย์ประเทศไทย แต่ เจ้าหน้าที่คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติคัดค้านว่า คำ�ว่าเกย์ใช้ไม่ได้ เกย์เป็นคนที่ไม่ดีและเกรงการลอกเลียน แบบพฤติกรรม (หนังสือพิมพ์มติชน 15 และ 23 มิถุนายน 2542) นอกจากนี้ ประเด็นที่สำ�คัญอันควรตีแผ่ คือการ เดินทางไปต่างประเทศแต่ละครั้งของกะเทยทั้งหลายประสบความยุ่งยากอย่างมาก เพราะต้องพบกับการตรวจสอบ อย่างละเอียด เนื่องด้วยเธอเหล่านั้นมีหน้าตาและสถานะไม่ตรงกับพาสปอร์ตที่ถือติดตัวไป ประกอบกับกฎหมายที่ เกีย่ วข้องว่าด้วยพระราชบัญญัตชิ อื่ บุคคลปี พ.ศ. 2505 ไม่อนุญาตให้เปลีย่ นชือ่ นำ�หน้าทีร่ ะบุเพศ ได้แก่ นาย นางสาว ผิดจากเพศเมื่อแรกเกิด นายสุรศักดิ์ เจือสุคนธ์ทิพย์ ผู้อำ�นวยการกองหนังสือเดินทาง กรมการกงสุล กระทรวงการ ต่างประเทศ จึงดำ�เนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยการปรับพาสปอร์ต ให้มีรูปถ่ายที่ใกล้เคียงกับตัวจริงปัจจุบันให้ มากที่สุด พร้อมกับลงลายเซ็นกำ�กับของเจ้าหน้าที่ ซึ่งอาจเป็นเจ้าหน้าที่ในประเทศไทยหรือเจ้าหน้าที่สถานเอกอัคร ราชฑูตไทยในประเทศที่พำ�นักอยู่เพื่อยืนยันว่าเป็นหนังสือเดินทางของจริงและเป็นผู้ถือพาสปอร์ตจริง ในปัจจุบัน กำ�ลังแก้ไขปัญหาระยะยาวด้วยการจัดตัง้ คณะกรรมการดูแลเรือ่ งเพศ (หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ 28 มิถนุ ายน 2544) ในประเทศอังกฤษ ก่อนที่ประกาศยกเลิกการห้ามไม่ให้เกย์ประจำ�การในกองทัพ มีผู้ที่ต้องถูกปลดประจำ� การไปเพราะเป็นเกย์และเลสเบี้ยน ซึ่งทางองค์กรที่รณรงค์เพื่อสิทธิของกลุ่มผู้รักเพศเดียวกัน ประเมินว่ามีมากกว่า 4,000 คน ในรอบหลายปีที่ผ่านมา ในปี 2541 เกย์ 4 คน ชนะคดีในการฟ้องร้องรัฐบาลหลังจากถูกปลดประจำ�การ ขณะที่ European Court of Human Rights ที่ว่านโยบายการต่อต้านกลุ่มรักเพศเดียวกันเป็นการละเมิดสิทธิขั้นพื้น ฐาน (หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน 12 กุมภาพันธ์ 2544, หน้า 8) ในทำ�นองเดียวกัน ประเพณีการคัดเลือกชายไทย เข้าประจำ�การเป็นทหารกองเกินในกองทัพ ก็เป็นพิธีกรรมของการลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ โดยมีกะเทยตก เป็นเครื่องเล่นที่สนุกสนานของเจ้าหน้าที่ในเครื่องแบบ ทันทีที่กะเทยปรากฏตัวในสถานที่ตรวจเลือกทหารกองเกิน เธอจะตกเป็นวัตถุมีชีวิตที่ถูกจับจ้อง เย้ยหยัน ถากถาง และหัวเราะเยาะด้วยความสนานสนั่น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังจากการตรวจสอบเอกสาร และประทับตราด้วยการเขียนเลขที่ด้วยปากกาเคมีที่ข้อมือเรียบร้อยแล้ว ผู้เข้าตรวจ เลือกทุกคนต้องถอดเสือ้ เพือ่ นัง่ รวมกลุม่ รอการจัดประเภทและวินจิ ฉัยโดยแพทย์ทหาร ไม่เว้นแม้แต่กะเทยทีผ่ า่ นการ ทำ�ศัลยกรรมเสริมทรวงอก และนี้เองคือช่วงเวลาที่ชาวบ้านละแวกใกล้เคียงรอคอย รวมไปถึงช่างภาพสื่อมวลชนที่ เฝ้ารอเก็บภาพเด็ด เพื่อนำ�ไปเป็นจุดขายในหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์ในวันรุ่งขึ้น หรือนำ�ไปทำ�เป็นสกู๊ปพิเศษหลัง ข่าวภาคคํ่าทางโทรทัศน์ ท้ายสุดกะเทยมักไม่ได้รับการพิจารณาให้เข้ารับราชการทหารแต่อย่างใด ด้วยเหตุผลที่ ว่าป้องกันความปั่นป่วนวุ่นวายในกองทัพ เธอเหล่านี้จะกลับบ้านพร้อมกับเอกสารที่ราชการระบุว่า เธอคือบุคคล ประเภทเดียวกับผูพ้ กิ ารทางสมองและสติปญ ั ญา และแม้เธอจะรับการศึกษาสูงเพียงใด เธอก็ไม่อาจสมัครทำ �งานได้ ในปัจจุบนั แม้จะมีปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน แต่ไม่ได้กล่าวถึงสิทธิในเรือ่ งเพศและการเลือกคูค่ รอง ไว้โดยตรง อีกทัง้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ยืนยันความเท่าเทียมกันของชายและหญิงและคุม้ ครองให้มกี าร เลือกปฏิบตั เิ พราะเพศ เชือ้ ชาติ ศาสนา แต่ไม่ได้ชวี้ ดั ไปถึงความโน้มเอียงทางเพศ ชีใ้ ห้เห็นว่ากฎหมายยังถูกครอบงำ � ด้วยวาทกรรมต่างเพศ ซึ่งระบบกฎหมายแห่งสมัยของประเทศต่างๆ ทั่วโลก ได้รับอิทธิพลจากยุโรปที่ระบบคุณค่า ทางศีลธรรมมีรากเหง้ามาจากศาสนา ในตระกูลยูเดโอคริสเตียนที่ไม่ยอมรับผัวสองคนที่ปราศจากเมียหรือเมียสอง คนที่ปราศจากผัว แต่การเลือกคู่ครองเป็นประเด็นที่เกี่ยวกับสิทธิ ดังนั้นจึงแยกรูปแบบของอวัยวะเพศกับความรับ ความต้องการเป็นคนละประเด็น (หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ 31 มีนาคม 2543, หน้า 6) กฎหมายทีอ่ อกมารับรองสิทธิแก่ประชาชนของสังคม แสดงให้เห็นเจตนารมณ์ในการเคารพสิทธิของประชาชน ในรัฐ ในทางตรงกันข้าม หากกฎหมายจำ�กัดสิทธิของบุคคลคงจะเป็นไปเพื่อประโยชน์ของรัฐเท่านั้น ในแง่ของ กฎหมายครอบครัวการรับรองสถานภาพของสิทธิตามกฎหมายนั่น หมายถึงว่าต้องเริ่มจากความรักก่อน ดังนั้น ควร คุ้มครองคนทุกวัยหรือแม้กระทั่งเพศเดียวกัน เพราะทุกชีวิตต้องการหลักประกันสำ�หรับการดำ�เนินชีวิต กฎหมายคือ


287

จะเห็นได้ว่า วาทกรรมที่ถูกสร้างขึ้นในรัฐไทยสมัยใหม่เป็นวาทกรรมที่เปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์ของชนกลุ่ม น้อย หรือกลุ่มวัฒนธรรมย่อยให้เป็นชายขอบ โดยรัฐเองก็เคยมีอำ�นาจที่เบ็ดเสร็จในการควบคุมการใช้วาทกรรม จึง เกิดการท้ายทายและใช้วาทกรรมดังกล่าวโดยชนกลุ่มน้อย เพื่อที่จะนิยามตำ�แหน่งแห่งที่ใหม่ของตนเอง และในบาง สถานการณ์ ภาพลักษณ์กลายเป็นประเด็นสำ�คัญทางการเมืองที่นำ�มาซึ่งความขัดแย้งที่น่าขัน บุรนิ ทร์ นาคสิงห์ ได้ศกึ ษาเรือ่ งเกย์: กระบวนการพัฒนาเอกลักษณ์และวีถชี วี ติ ทางเพศเพือ่ ทำ�ความเข้าใจการ พัฒนาเอกลักษณ์ของกลุม่ วัยรุน่ ว่ามีการเปลีย่ นแปลงจากบุคคลผูม้ เี อกลักษณ์รกั ต่างเพศ โดยภาพประทับแบบตายตัว (Stereotype) ทีส่ งั คมกำ�หนดไปสูก่ ารเป็นผูม้ เี อกลักษณ์รกั ร่วมเพศทีเ่ ขาให้ค�ำ นิยามแก่ตนเองว่าเขาคือ “กะเทย” โดย ลำ�ดับอย่างต่อเนือ่ งเป็นกระบวนการจากจุดยืนของพวกเขาเองภายใต้กรอบทฤษฎีปฏิสงั สรรค์สญ ั ลักษณ์นยิ ม พบว่า พวกเขาเหล่านั้นมีพัฒนาการทางเอกลักษณ์อยู่ 3 ขั้นตอนคือ ขัน้ ที่ 1 เป็นจุดเริม่ ต้นของกระบวนการพัฒนาเอกลักษณ์กะเทย โดยเริม่ จากบุคคลเพศชายเหล่านัน้ มีความชอบ ในบทบาทของเพศหญิง มีพฤติกรรมแบบเพศหญิง และความพึงพอใจต่อบุคคลเพศเดียวกันกับตน ซึ่งไม่สอดคล้อง กับเอกลักษณ์ทางเพศที่เขามีอยู่ตามกรอบของวัฒนธรรมที่กำ�หนดความชอบในบทบาท พฤติกรรมและความพึง พอใจทางเพศ อันเป็นบรรทัดฐานสำ�หรับบุคคลผู้เป็นสมาชิกของสังคมแต่ละเพศ โดยผ่านกระบวนการขัดเกลาทาง สังคม ซึ่งการมีความชอบในบทบาทของเพศหญิง มีพฤติกรรมแบบเพศหญิง และมีความพึงพอใจเพศชายด้วยกัน ในบุคคลทีม่ เี อกลักษณ์ทางเพศเป็นชาย ทำ�ให้พวกเขามีความแตกต่างจากเพศเดียวกัน ภายใต้การขัดเกลาทางสังคม ของบรรทัดฐานเดียวกันอันเป็นมาตรฐานกลาง นำ�ไปสู่การประทับตราทางสังคมที่มีต่อเขา ขัน้ ที่ 2 บุคคลเพศชายทีม่ คี วามชอบในบทบาทข้ามเพศ จะนำ�ไปสูก่ ารแสดงพฤติกรรมบทบาทข้ามเพศ และมี ความพึงพอใจในเพศเดียวกันโดยทีเ่ ขาจะได้รบั การประทับตราทางสังคมว่าเป็นผูเ้ บีย่ งเบนทางเพศ หรือโดยการเรียน รู้ทางสังคมจากวัฒนธรรมย่อยเดียวกัน ทำ�ให้เขารู้สึกว่าเอกลักษณ์ของเขามีความแตกต่างจากคนทั่วไป เขาจะเริ่ม รู้สึกว่าเขาเป็นผู้เบี่ยงเบนทางเพศที่มีเอกลักษณ์กะเทย แต่จากการเรียนรู้จากสังคมรอบตัวทำ�ให้เขารู้ว่าเอกลักษณ์ ใหม่นี้ไม่ได้รับการยอมรับ เขาจึงต้องเก็บความรู้สึกเกี่ยวกับเอกลักษณ์ใหม่นี้ไว้ ทำ�ให้เขาเป็นผู้ที่ขาดความมั่นใจใน ตนเองในสถานการณ์ทเี่ ป็นปัญหาว่าเอกลักษณ์ใหม่ของเขาจะไม่ได้รบั การยอมรับและทำ�ให้ขาดความมัน่ ใจในตนเอง นี้ เขาได้พยายามหาคำ�อธิบายที่เหมาะสมเกี่ยวกับเอกลักษณ์กะเทยนี้ เพื่อให้เป็นที่ยอมรับของสังคม ขณะเดียวกัน ก็ปฏิเสธว่าการมีเอกลักษณ์ดังกล่าวไม่ใช่ความเบี่ยงเบนทางเพศที่เกิดมาจากตนเอง แต่เป็นผลมาจากสิ่งแวดล้อม ทางสังคมและการเลี้ยงดู หรือเนื่องจากอิทธิพลของฮอร์โมนหรือกรรมพันธุ์ ซึ่งคำ�อธิบายด้วยสาเหตุต่างๆ เหล่านี้มี ให้เห็นอยู่ทั่วไป และผู้คนในสังคมเองก็ได้รับรู้มาแล้ว จึงยอมรับการผู้มีเอกลักษณ์รักร่วมเพศของเขา ทำ�ให้เข้าใจ เขาจึงเกิดความมั่นใจในตนเองขึ้นมา นำ�ไปสู่การยอมรับในเอกลักษณ์ใหม่ของผู้รักร่วมเพศต่อไป ขั้นที่ 3 ผู้ที่รู้สึกว่าตนเองเป็นผู้รักร่วมเพศและได้ทำ�การเก็บไว้จะเริ่มยอมรับกับตนเองเกี่ยวกับเอกลักษณ์ของ ตนเองนี้ เป็นการให้นยิ ามตนเองว่าเขาคือกะเทย และโดยการเรียนรูจ้ ากวัฒนธรรมย่อย เขาจะเริม่ ความสัมพันธ์ทาง เพศกับบุคคลเพศเดียวกัน และยอมรับว่าแบบแผนความสัมพันธ์เช่นนี้เป็นสิ่งที่เขาปรารถนา ทำ�ให้เอกลักษณ์ของผู้ รักร่วมเพศมีความมั่นคงมากขึ้น เนื่องมาจากความพึงพอใจทางเพศที่ได้รับจากบุคคลเพศเดียวกันในความสัมพันธ์ ทางเพศ และดำ�เนินความสัมพันธ์เช่นนีต้ อ่ ไป โดยผูร้ กั ร่วมเพศได้ตดั สินใจสำ�หรับทางเลือกในอนาคตไว้สองลักษณะ คือยังคงเป็นผู้รักร่วมเพศโดยเปิดเผยให้คนทั่วไปได้รู้ หรือเป็นผู้รักร่วมเพศโดยแอบแฝง สำ�หรับการศึกษาของ บงกชมาศ เอกเอี่ยม (2532) เรื่อง “เกย์: กระบวนการพัฒนาและธำ�รงเอกลักษณ์รัก ร่วมเพศ” นัน้ เป็นการศึกษาเพือ่ ทำ�ความเข้าใจถึงแบบแผนทีบ่ คุ คลดำ�เนินไปสูก่ ารยอมรับเอาความหมายของความ

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

หลักประกันที่ดีแง่หนึ่งในการรับรองสิทธิของบุคคล การเริ่มต้นคิดถึงกฎหมายครอบครัวแก่ผู้รักเพศเดียวกัน อาจจะ สะท้อนเจตจำ�นงที่ดีของประชาสังคม (หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ 14 กุมภาพันธ์ 2544)


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

288

เป็นรักร่วมเพศให้กับเอกลักษณ์ของตน ตลอดจนการรักษาเอกลักษณ์ไว้ให้มีความคงทน ซึ่งเป็นกระบวนการที่มี การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกประกอบการสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่างที่ ยอมรับว่าตัวเองคือเกย์จ�ำ นวน 10 คน ภายใต้กรอบทฤษฎีปฏิสังสรรค์สัญลักษณ์นิยม พบว่าผู้รักร่วมเพศจะต้อง ผ่านขั้นตอนที่สำ�คัญ 4 ขั้นตอนคือ ขั้นที่ 1 การเกิดความรู้สึกว่าตนเองแตกต่างจากผู้อื่น ซึ่งพบว่าผู้รักร่วมเพศส่วนใหญ่จะมีจุดเริ่มของการ พัฒนาเอกลักษณ์รักร่วมเพศจากการสังเกตว่าตนเองมีลักษณะบางประการที่แตกต่างจากเพื่อนชายในวัยเดียวกัน ในแง่ของพฤติกรรมการแสดงออกและลักษณะปรากฏทางกาย จากลักษณะดังกล่าวทำ�ให้ผู้รักร่วมเพศถูกล้อเลียน มาตั้งแต่วัยเด็กว่าเป็นกะเทย ซึ่งเป็นคำ�นิยมเกี่ยวกับความเป็นรักร่วมเพศในเบื้องแรกที่เขาได้เรียนรู้จากสังคม โดย เป็นคำ�นิยามกะเทยจะถูกกำ�หนดให้กับชายที่แสดงพฤติกรรมเลียนแบบเพศหญิงมากกว่าที่จะคิดเลยไปถึงเรื่องของ ความสัมพันธ์ทางเพศ อย่างไรก็ตามเมือ่ ผูร้ กั ร่วมเพศเข้าสูว่ ยั รุน่ แนวโน้มนำ�ทางเพศต่อเพศเดียวกันของเขาได้พฒ ั นาขึน้ พร้อมๆ กับ การเข้าสู่ระบบของการศึกษาที่สูงขึ้น ทำ�ให้เกิดความเข้าใจถึงคำ�นิยามรักร่วมเพศอื่นๆ เช่น เกย์ โฮโมเซ็กซ์ชวล และ รักร่วมเพศ และเมื่อเขาหันกลับมามองตนเองโดยเชื่อมโยงพฤติกรรมของเขากับคำ�นิยามดังกล่าว คำ�ถามที่เกิดขึ้น กับตัวเขาก็คือ “ฉันเป็นรักร่วมเพศหรือไม่” ขัน้ ที่ 2 การแยกความรูส้ กึ และการกระทำ�ออกจากเอกลักษณ์ ความสงสัยว่าตนเอง “อาจจะ” เป็นรักร่วมเพศได้ เกิดขึน้ ในขัน้ ตอนนี้ ด้วยเหตุผลทีว่ า่ ความรูส้ กึ พฤติกรรมของเขาก้าวไปไกลกว่าเป็นเพียงแต่ผชู้ ายทีแ่ สดงบทบาทเพศ หญิง สถานการณ์กลับกลายเป็นว่าพวกเขาเกิดความพึงพอใจและความปรารถนาทางเพศต่อเพศเดียวกัน ซึง่ เบีย่ งเบน ไปจากบทบาทที่สังคมคาดหวัง ว่าความสัมพันธ์ทางเพศในรูปแบบปกติจะต้องเกิดขึ้นระหว่างเพศหญิงกับเพศชาย เท่านัน้ เมือ่ เป็นเช่นนี้ ความสัมพันธ์ทางเพศทีผ่ ดิ ไปจากสิง่ ทีส่ งั คมยึดถือจึงถูกประณาม และถูกตำ�หนิตเิ ตียนหรือเป็น ที่รังเกียจโดยทั่วไป โดยผู้ที่รักร่วมเพศเองก็ทราบถึงความเป็นจริงในข้อนี้ ดังนั้นเขาจึงพยายามหลีกเลี่ยงเอกลักษณ์ รักร่วมเพศที่มีรอยมลทิน อันจะก่อให้เกิดความขัดแย้งและความคับข้องใด โดยพยายามหาเหตุผลมาอ้างกับตนเอง การศึกษาของบงกชมาศ พบว่าลักษณะของการอ้างเหตุผลที่ผู้รักร่วมเพศนำ�มาใช้อธิบายตนเองมีอยู่ 3 แนวทางคือ 1) พฤติกรรมรักร่วมเพศจะสามารถเปลี่ยนแปลงได้ในอนาคต 2) พฤติกรรมของพวกเขาสอดคล้องกับความคาดหวังของสังคมอยู่แล้ว เนื่องจากเขาคิดว่าตนเองเป็นผู้หญิง 3) อธิบายถึงสาเหตุของการเป็นเกย์ว่าเป็นสิ่งที่ไม่สามารถยับยั้งได้ อย่างไรก็ตาม การอ้างเหตุผลหรือการหาคำ�อธิบายมาให้กับตนเองเพื่อป้องกันตนจากเอกลักษณ์รักร่วมเพศ ในลักษณะต่างๆ เหล่านี้ เป็นเครื่องแสดงว่าผู้รักร่วมเพศได้ตระหนักถึงรอยมลทินของเอกลักษณ์ทางสังคมแบบรัก ร่วมเพศได้ดี การแสวงหาเหตุผลต่างๆ ก็คือ ข้อมูลที่ช่วยให้การมองตนเองในฐานะของผู้รักร่วมเพศในลักษณะเชิง บวกมากขึ้น ขั้นที่ 3 การเปิดเผยตัว เป็นขั้นตอนของการยอมรับว่าตนเองเป็นรักร่วมเพศ หรือเป็นการยอมรับคำ�นิยามรัก ร่วมเพศให้แก่เอกลักษณ์นนั่ เอง ซึง่ การเปิดเผยตัวของผูร้ กั ร่วมเพศมักจะเกิดขึน้ ในบริบททางสังคมเกย์ หรือในโลกของ เกย์ ทัง้ นีเ้ พราะการติดต่อสัมพันธ์กบั ชาวเกย์และการเข้าสูโ่ ลกของเกย์จะทำ�ให้ผรู้ กั ร่วมเพศได้รบั ทราบข้อมูลข่าวสาร เกี่ยวข้องกับความเป็นรักร่วมเพศ ซึ่งแตกต่างไปจากภาพพจน์ของเกย์ในทางลบที่เขาเคยได้รับรู้ถึงการประณาม พฤติกรรมแบบรักร่วมเพศภายในโลกทางสังคมแบบรักต่างเพศโดยสิ้นเชิง ทั้งนี้เพราะโลกของเกย์นั้น พฤติกรรม ทางเพศต่อเพศเดียวกันเป็นเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นได้ เนื่องจากถือว่าเป็นทางเลือกหรือความชอบส่วนบุคคลที่เขา มีสิทธิเสรีภาพที่จะกระทำ� มากไปกว่านั้น โลกของเกย์ยังมีวัฒนธรรมย่อยเป็นของตนเอง ซึ่งช่วยแนะแนวทางใน การดำ�เนินชีวิตให้กับผู้รักร่วมเพศ ซึ่งจะทำ�ให้ผู้รักร่วมเพศหน้าใหม่ได้รับการอธิบายเพื่อให้คลายความสงสัย ความ ละอายใจ และความสับสนในเอกลักษณ์ อีกทั้งยังช่วยให้ความรู้สึกโดดเดี่ยวที่เขาได้รับจากสังคมรักต่างเพศลดลง


289

ขั้นที่ 4 ความยึดมั่นผูกพันต่อเอกลักษณ์ เป็นขั้นตอนที่ผู้รักร่วมเพศได้เลือกเอาวีถีชีวิตแบบเกย์มาเป็นส่วน หนึง่ ของแบบแผนในการดำ�เนินชีวติ โดยไม่อาจจะละทิง้ ความรักและความผูกพันต่อความสัมพันธ์และเอกลักษณ์รกั ร่วมเพศได้ เนือ่ งจากผูร้ กั ร่วมเพศได้เข้าร่วมในแบบแผนพฤติกรรมทางเพศต่อเพศเดียวกันอย่างลึกซึง้ มาอย่างต่อเนือ่ ง เป็นเวลานาน โดยที่ส่วนใหญ่แล้วไม่เคยมีความสัมพันธ์ทางเพศกับเพศตรงข้ามเลย เมื่อเป็นเช่นนี้การเปลี่ยนแปลง เอกลักษณ์จากรักร่วมเพศไปสู่รักต่างเพศหรือรักสองเพศ จึงไม่สามารถเกิดขึ้นได้ มากไปกว่านัน้ การปรับประสานพฤติกรรมของผูร้ กั ร่วมเพศในโลกของรักต่างเพศโดยการลดลักษณะของความ เป็นหญิงลง และการเสนอตนเป็นผู้รักต่างเพศ จะช่วยป้องกันไม่ให้ผู้รักร่วมเพศได้รับผลกระทบหรือการประณาม จากสังคมมากนัก ความรู้สึกต่อเอกลักษณ์ของเขาจึงดีขึ้นเป็นลำ�ดับ ประกอบกับการเข้าสู่โลกของเกย์ที่ช่วยทำ�ให้ เขามองเห็นคุณค่าของการเป็นผู้รักร่วมเพศที่สามารถแสวงหาความสุขความพอใจได้จากวัฒนธรรมย่อยของพวก เขาเอง เงื่อนไขต่างๆ เหล่านี้จะช่วยให้เกิดการยึดมั่นผูกพันต่อเอกลักษณ์รักร่วมเพศ ซึ่งถือได้ว่าผู้รักร่วมเพศได้ธำ�รง เอกลักษณ์ของเขาเอาไว้ นอกจากนี้ ยังมีตวั แบบทีส่ �ำ คัญในการศึกษาถึงกระบวนการพัฒนาเอกลักษณ์รกั ร่วมเพศอย่างการศึกษาของ Eli Coleman (1982: 469-482) ได้เสนอกรอบการวิเคราะห์และพัฒนาการ 5 ขั้นตอน ของบุคคลผู้ชอบเพศเดียวกัน เพื่อแสดงให้เห็นถึงการปรับเปลี่ยนและการเปลี่ยนแปลงมโนทัศน์แห่งตนที่เกิดขึ้นในช่วงวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ รวมถึง กระบวนการเปิดเผยตนเอง ขั้นตอนดังกล่าวประกอบด้วย ขัน้ ที่ 1 ขัน้ ก่อนเปิดเผยตัว (Pre-coming out) หมายถึง กระบวนการก่อนทีจ่ ะเกิดความสำ�นึกในการตระหนักถึง เอกลักษณ์ของผูท้ ชี่ อบเพศเดียวกัน บุคคลผูช้ อบเพศเดียวกันนีจ้ ะมีความรูส้ กึ บางประการเกีย่ วกับเอกลักษณ์ประจำ� เพศของเขา แต่ได้ขบั ไล่ไม่ให้ความรูส้ กึ เช่นนีเ้ กิดขึน้ บ่อยๆ เขายังคงมียอมรับกับตนเองว่าเป็นเกย์อย่างแน่นอน ทำ�ให้ เขามีความรูส้ กึ ห่อเหีย่ ว มีมโนทัศน์แห่งตนในด้านลบ มองตนเองเช่นเดียวกับสังคมให้ภาพผูร้ กั ร่วมเพศไว้ คือเป็นคน ประหลาด เป็นคนเจ็บป่วย เป็นพวกไร้ศีลธรรม และเก็บกด มีความรู้สึกว่าตนเองถูกปฏิเสธจากสังคม เพราะได้ยิน ได้ฟงั เพือ่ นหรือคนในครอบครัวพูดถึงการเป็นผูร้ บั เพศเดียวกันในทางลบ กลายเป็นความรูส้ กึ ทีเ่ ก็บอยูล่ กึ ๆ ในตัวเขา และเพือ่ ป้องกันการถูกปฏิเสธจากสังคม เขาจะพยายามปกปิดความรูส้ กึ เกีย่ วกับการชอบบุคคลเพศเดียวกันนีไ้ ม่ให้ คนอื่นรู้ โดยการอำ�พรางหรือสะกดกลั้นความรู้สึกนี้ไว้ ขั้นที่ 2 ขั้นเปิดเผยตัวเอง (Coming out) ในขั้นนี้บุคคลจะหยุดการต่อสู้กับตนเองแล้วเริ่มสร้างการยอมรับกับ ตนเองซึง่ เป็นการพัฒนาการแรกเริม่ ของขัน้ เปิดเผยตัว เมือ่ ความรูส้ กึ เกีย่ วกับเอกลักษณ์ของบุคคลผูช้ อบเพศเดียวกัน ได้ถูกบ่งบอกและรับรู้โดยตัวของเขาเองแล้ว เขาจะบอกให้คนอื่นๆ เช่น เพื่อได้รู้ต่อไป กระบวนการนี้ไม่ได้หมายถึง การเปิดเผยให้คนทัว่ ไปได้รวู้ า่ ตนเองเป็นผูร้ กั ร่วมเพศ แต่ทสี่ ำ�คัญก็คอื การตระหนักโดยตนเองและสามารถบอกความ จริงนีก้ บั คนบางคนได้ และโดยทัว่ ไปแล้วพ่อแม่ สมาชิกในครอบครัว เพือ่ นสนิท เป็นบุคคลผูท้ มี่ คี วามสำ�คัญต่อการมี ความนึกคิดเกีย่ วกับตนเองในด้านดีหรือไม่ดี ชาวเกย์จงึ ต้องคิดอย่างหนักกับการทีจ่ ะเปิดเผยความจริงของเอกลักษณ์ ให้ใครบางคนได้รู้ การได้รับการตอบสนองในทางที่ดีจากเพื่อนสนิทจะมีความหมายยิ่งกว่าปฏิกิริยาของคนแปลก หน้าอื่นๆ แต่ชาวเกย์บางคนอาจหลีกเลี่ยงที่จะบอกเพื่อนสนิทของเขาแล้วเสาะหาการยอมรับจากชาวเกย์ด้วยกัน ขั้นที่ 3 ขั้นค้นคว้า (Exploration) หมายถึง การค้นคว้าและทดสอบเอกลักษณ์ทางเพศที่ได้มาใหม่ ในขั้น นี้เกย์ชายจะติดต่อเกี่ยวข้องกับชุมชนชาวเกย์ รวมทั้งการค้นคว้าเกี่ยวกับวิถีทางในการที่จะพบปะกับผู้อื่น เขาจะ เรียนรู้ทักษะใหม่ๆ ในการติดต่อสัมพันธ์ระหว่างบุคคล มีความสนใจและมีเพศสัมพันธ์กับคนเพศเดียวกัน และจะ พัฒนาความดึงดูดใจต่อบุคคลเพศเดียวกันควบคู่ไปกับการพัฒนาทักษะทางเพศและทางสังคมอันเป็นที่ต้องการ

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

ไปด้วย เพราะการพบปะเพื่อนเกย์จำ�นวนมากในโลกของเกย์ย่อมให้เขาเกิดความเข้าใจว่าอย่างน้อยก็ยังมีคนที่มี ลักษณะเดียวกับเขาอีกมาก


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

290

เพื่อให้แบบแผนชีวติ เช่นนีใ้ นวัยผูใ้ หญ่ของเขามีความมัน่ คงมากขึน้ เมือ่ เกย์ชายพัฒนาเอกลักษณ์จนถึงขัน้ ทีเ่ ขามอง ตนเองว่าเหมาะสมที่จะรักและได้รับความรักในลักษณะเช่นนี้แล้ว เขาก็พร้อมที่จะเข้าสู่การมีความสัมพันธ์ฉันคนรัก เป็นครั้งแรกต่อไป ขั้นที่ 4 ขั้นมีสัมพันธ์ฉันคนรักครั้งแรก (First-relationship) ในขั้นนี้เกย์ผู้มีความปรารถนาในความสัมพันธ์ที่ ยึดมั่นผูกพันต่อกันและความมั่นคงในความสัมพันธ์มากขึ้น จะรู้สึกได้ถึงความดึงดูดทางเพศและความสามารถของ ตนเอง มองตนเองว่าเป็นทีพ่ งึ ประสงค์ในความสัมพันธ์แบบนี้ การได้ใกล้ชดิ สนิทสนมกับชายคนรักเป็นความต้องการ เบื้องต้นที่ทำ�ให้บรรลุถึงความประสงค์ในขั้นนี้ ขั้นที่ 5 ขั้นบูรณาการ (Integration) เกย์มักจะประสบความสำ�เร็จในขั้นตอนนี้เพราะเขามีความเชื่อมั่นว่าเขา เป็นผู้มีความเหมาะสมที่จะธำ�รงความยึดมั่นผูกพันแห่งความสัมพันธ์อันยาวนานนี้ไว้ ทำ�ให้ความรู้สึกเป็นเจ้าของ และความอิจฉาริษยาน้อยลง มีการเตรียมพร้อมทางด้านจิตใจสำ�หรับการถูกปฏิเสธจากสมาชิกเพศเดียวกันว่าเป็น ธรรมชาติที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ความเสียใจจากการถูกปฏิเสธจะไปในลักษณะที่ปกติ ไม่มีความยุ่งยากลำ�บาก ดังเช่นการจบลงของความสัมพันธ์ฉันคนรักในครั้งแรกจะไม่มีความทรุดโทรมทางจิตใจ เนื่องจากเขามีเอกลักษณ์ที่ มีบูรณาการแล้ว อย่างไรก็ตาม จากแบบจำ�ลองกระบวนการพัฒนาเอกลักษณ์ของบุคคลผู้ผู้ชอบเพศเดียวกันของ Coleman สามารถแสดงให้เห็นถึงขั้นตอนสำ�คัญของกระบวนการที่บุคคลผู้เป็นรักร่วมเพศจะต้องผ่าน 3 ขั้น ตอนด้วยกันคือ ขั้นตอนก่อนการเปิดเผยตนเอง ขั้นตอนที่บุคคลเปิดเผยตนเอง และขั้นตอนในการธำ�รงเอกลักษณ์รักร่วมเพศภาย หลังจากเปิดเผยตัวเองแล้ว ขณะที่ Troiden (1972: 362-373) ได้สร้างแบบจำ�ลองการพัฒนาเอกลักษณ์ผรู้ กั ร่วมเพศเพือ่ อธิบายและทำ�ความ เข้าใจผู้ชายที่ยอมรับการเป็นรักร่วมเพศเป็นวิถีทางแห่งชีวิต การนิยามตนเองว่ามีเอกลักษณ์รักร่วมเพศ การเริ่มต้น ติดต่อสมาคมกับผู้รักร่วมเพศ และเข้าสู่ความสัมพันธ์ในแบบรักร่วมเพศได้อย่างไร โดยสามารถแบ่งออกเป็น 4 ขั้น ตอน ดังนี้ ขัน้ ที่ 1 ขัน้ ตอนการเกิดความรูส้ กึ ว่าตนเองต่างจากผูอ้ นื่ (Sensitization) สิง่ ทีเ่ กิดขึน้ ในขัน้ นีก้ ค็ อื เกิดความรูส้ กึ ทีแ่ ตกต่างจากเพือ่ นหรือคนปกติทวั่ ไป ในขัน้ นีผ้ ชู้ ายจะได้รบั ประสบการณ์ซงึ่ กลายเป็นสิง่ ทีใ่ ช้สนับสนุนการให้ความ หมายต่อความรู้สึกของตนเองว่าเป็นผู้รักร่วมเพศในระยะต่อมา ในช่วงต้นของขั้นนี้ เขาเพียงตระหนักถึงธรรมชาติ ของความโน้มเอียงทางเพศของตนเพียงเล็กน้อยเท่านั้น การบรรลุจุดสุดยอดเป็นครั้งแรกจากการมีความสัมพันธ์ แบบรักร่วมเพศก็จะเกิดขึ้นในช่วงนี้ด้วย ขั้นที่ 2 ขั้นตอนการแยกความรู้สึกและการกระทำ�ออกจากเอกลักษณ์ (Dissociation) ในขั้นนี้ผู้ชายจะสามารถ แบ่งแยกความสำ�นึกเกีย่ วกับความรูส้ กึ ทางเพศและ/หรือกิจกรรมทางเพศออกจากเอกลักษณ์ทางเพศของเขาได้ การ แบ่งแยกแสดงให้เห็นถึงการให้ความสำ�คัญต่อความรูส้ กึ ของเขา ต่อสิง่ ทีเ่ ขาพยายามแบ่งแยกจากกันนี้ กล่าวคือ จะ แสดงให้เห็นว่าความสนใจที่มีต่อเพศเดียวกันหรือการมีกิจกรรมทางเพศกับเพศเดียวกันของเขานี้เป็นสิ่งที่ยืนยันให้ เห็นถึงบุคลิกขั้นพื้นฐานว่ามีแนวโน้มเอียงทางเพศไปในทางรักร่วมเพศ เขาจะเริ่มสงสัยตนเองและเริ่มมีความรู้สึก ว่าเขาอาจจะเป็นเกย์ แต่จะปฏิเสธที่จะนิยามตนเองว่าเป็นผู้รักร่วมเพศ การเริ่มมีกิจกรรมรักร่วมเพศที่เป็นปกติ สมํ่าเสมอ และการติดต่อสัมพันธ์ในทางรักร่วมเพศจนถึงจุดสุดยอดหนึ่งหรือสองครั้ง เป็นสิ่งที่จะเชื่อมโยงบุคคลเข้า สู่การประทับตราตนเองในขั้นต่อไป ขั้นที่ 3 ขั้นตอนของการเปิดตัว (Coming out) เป็นการตัดสินใจประทับตราความรู้สึกทางเพศแก่คนๆ หนึ่ง ว่า เป็นผู้รักร่วมเพศอย่างแน่นอน เป็นเครื่องหมายแรกเริ่มของขั้นนี้ การให้นิยามตนเองว่าเป็นผู้รักร่วมเพศ การเริ่มเข้า ร่วมในวัฒนธรรมย่อยของผู้รักร่วมเพศ และการให้นิยามใหม่เกี่ยวกับการเป็นรักร่วมเพศว่าเป็นสิ่งที่ดีและเป็นทาง


291

ขั้นที่ 4 ขั้นตอนของความยึดมั่นผูกพัน (Commitment) สิ่งที่แสดงให้เห็นก็คือการมีคู่รักซึ่งเป็นการหลอมรวม เอาเรือ่ งเพศและอารมณ์ของผู้รกั ร่วมเพศเข้าด้วยกัน การมีความยึดมัน่ ผูกพันจะถูกชีช้ ดั เมื่อบุคคลรักเอาการเป็นรัก ร่วมเพศเป็นวิถแี ห่งตน กล่าวคือ เกย์จะแสดงความพอใจต่อสถานการณ์ในชีวติ ของเขา มองไม่เห็นเหตุผลอันใดทีจ่ ะ เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตแบบนี้ และเชื่อว่าการเป็นบุคคลรักสองเพศหรือรักต่างเพศก็ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อันใด ซึ่งการ มีครู่ กั จะทำ�ให้เอกลักษณ์เกย์มคี วามแน่นอนขึน้ บุคคลซึง่ แม้จะมีความกระตือรือร้นทางเพศกับชายอืน่ เป็นเวลานาน เพียงใดก็ตาม แต่ไม่เคยมีความสัมพันธ์ฉันคนรักกับชายอื่น หรือปฏิสังสรรค์กับเกย์คนอื่น ในทางสังคม ควรถูกมอง ว่าเป็นเจ้าของพฤติกรรมแบบรักร่วมเพศมากกว่าการมีเอกลักษณ์แบบรักร่วมเพศ ในทัศนะของ Troiden ในเรื่องของมโนทัศน์เอกลักษณ์เกย์นั้น เขามองว่าจะต้องประกอบด้วยกิจกรรม ทาง เพศกับเพศเดียวกัน ความดึงดูดใจทางเพศต่อเพศเดียวกัน การบ่งชี้กับตนเองว่าเป็นผู้รักร่วมเพศ การเข้าร่วมใน วัฒนธรรมย่อยและมีความผูกพันรักใคร่กับเพศเดียวกัน Yos (2002) พูดถึงความเป็นเพศในสังคมไทยว่า มีปัจจัยที่มากำ�หนดมากมาย โดยเฉพาะระบบความเชื่อตาม วัฒนธรรมประเพณี แต่เมื่อภาวะทางสังคมและเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงไปประกอบกับการรับเอาอุดมการณ์ทุนนิยม เข้ามา ทุกสิ่งทุกอย่างในสังคมทุนนิยมถูกทำ�ให้เป็นสินค้าไม่เว้นแม้แต่เรื่องทางเพศ โดยมีกระบวนการสองขั้นตอน ดังนี้ คือ มีการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างสังคมทุนนิยม และส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในชีวิตทางสังคม เรา ควรทำ�ความเข้าใจความเป็นเพศในสังคมไทยบนฐานของการเปลี่ยนผ่านอย่างรวดเร็วของกระแสโลกาภิวัตน์ (Yos, ยังไม่ถูกตีพิมพ์) จากตัวอย่างข้างต้นทั้งหมด ทำ�ให้เห็นความพยายามในการจัดจำ�แนกเพศสภาพและความพยายามในการ นิยมอัตลักษณ์รักร่วมเพศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่ชายรักชาย แต่ในหลายบทความก็ยังไม่สามารถให้ภาพกระจ่าง ชัด และไม่บ่งบอกถึงอัตลักษณ์ที่แสดงชัดเจนของแต่ละเพศสภาพ ซึ่งในความเป็นจริงของสังคมไทย ความเป็นเพศ ลีลาชีวิตเรื่องเพศ ความเป็นตัวตน หรืออัตลักษณ์ทางเพศ ควรถูกมองในฐานะที่เป็นตัวเลือก หาตัวแบบที่แน่นอน ให้ไม่ได้ ทุกความเป็นเพศขึ้นอยู่กับบุคคลจะปรับแต่ง ไม่สามารถนิยามหรือจัดแบ่งประเภทที่ชัดเจนได้ตายตัว ใน แต่ละความเป็นตัวตนมีความคาบเกี่ยวกับอยู่ แม้แต่คำ�ว่ามีเส้นแบ่งบางๆ ก็ใช้อธิบายความเป็นเพศมิได้ ดังนั้นควร มองโดยเปรียบเทียบกับสีรุ้ง ที่ซ้อนทับเรียงร้อยกันไปจนไม่สามารถแยกออกจากกันได้ ไม่สามารถหาเส้นแบ่งพบ แต่สามารถมองอย่างพินิจได้มีสีอะไรบ้าง สีใดอยู่ใกล้กับสีใด แต่ละสีเรียงซ้อนสลับกันไปตามความเข้มข้นชัดเจน ของเนื้อสี ในแง่ของอัตลักษณ์ก็เช่นกัน ควรถูกมองในแง่ของความสัมพันธ์ ทั้งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับบุคคล และความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับสถานการณ์ ณ พื้นที่นั้นๆ กล่าวคือ อัตลักษณ์นั้นปรับเปลี่ยนไปขึ้นอยู่กับว่า เราสัมพันธ์กับใครในสถานการณ์ใดและที่ไหน แต่ในที่นี้ทำ�การนิยมและจัดแบ่งประเภทคร่าวๆ เพื่อให้เห็นภาพของ บุคคลหลากหลายทางเพศในปัจจุบัน ภาพของเกย์ถูกมองว่าเป็นกลุ่มคนที่สนใจในเรื่องราวของสีสันบันเทิงเท่านั้น อีกทั้งมีชีวิตที่เอาแต่สนุกสนาน อยูไ่ ปวันๆ แบบไม่มแี ก่นสาร บ้างก็มองว่าคนกลุม่ นีเ้ ป็นส่วนเกินของสังคมไทย หรือมีสว่ นร่วมของคนกลุม่ นีน้ อ้ ยมาก จึงนำ�มาซึ่งปัญหาของการเรียนรู้ถึงปัญหาของคนกลุ่มนั้นจนสังคมแทบจะไม่มีข้อมูลของคนเหล่านี้ เลยคล้ายกับ พวกเขาถูกทอดทิ้งจากสังคมไทยและกลายเป็นส่วนเกินของสังคมจริงๆ ส่งผลทำ�ให้พวกเขาขาดโอกาสในการสร้าง บทบาทของตนเอง และท้ายที่สุดก็อาจกลายเป็นผู้ไม่มีประโยชน์ต่อสังคมหรืออาจจะเป็นกระบวนทรรศน์ทางความ คิดของคนกลุ่มนี้ เพื่อที่จะได้สามารถนำ�มาปรับแต่งสภาพของสังคมไทยให้สามารถที่จะทำ�ให้คนกลุ่มนี้อยู่ร่วมกัน กับสังคมได้อย่างมีบทบาทเฉกเช่นคนทั่วๆ ไปในสังคมไทย

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

เลือกของแบบแผนการดำ�เนินชีวิตที่สามารถจะดำ�เนินต่อไปได้เป็นสิ่งที่อธิบายการเปิดเผยตัวด้วยเช่นกัน ดังนั้นการ เปลี่ยนแปลงมโนทัศน์เกี่ยวกับเอกลักษณ์และทัศนะที่มีต่อรักร่วมเพศของคนคนหนึ่งจึงเป็นสิ่งที่สำ�คัญมากของขั้นนี้


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

292

นอกจากนั้น การทำ�ความเข้าใจถึงประเด็นของเหตุที่ทำ�ให้กลุ่มเกย์เปิดเผย ไม่มีตัวตนในการเสนอตัวเป็นผู้ แทนในทางการเมือง นับเป็นเรื่องที่ควรทำ�ความเข้าใจเป็นอย่างยิ่ง พวกเขาสนใจเรื่องอะไร อะไรคือสาเหตุที่ทำ�ให้ ชายรักชายขาดบทบาทในทางการเมือง หรือคนกลุ่มนี้มีความสนใจทางการเมืองอยู่ แต่แฝงตัวอยู่ท่ามกลางสังคม ทั่วไป หากแต่ไม่ได้แสดงความชัดเจนของตัวตน เพราะเนื่องจากเหตุผลประการใด เหล่านี้ล้วนเป็นเรื่องที่ควรศึกษา หาคำ�ตอบทั้งสิ้น ประเทศไทยมีการปกครองแบบประชาธิปไตยทีเ่ น้นให้พลเมืองมีสว่ นร่วมในทุกระดับ บุคคลในสังคมจึงมีความ เกี่ยวข้องกับทั้งองค์กรและสถาบันต่างๆ ที่อยู่รอบตัวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งยังเป็นการยืนยันในสิทธิและความรับ ผิดชอบที่มีต่อสังคมด้วย การมีสว่ นร่วมของบุคลในสังคมจะขึน้ อยูก่ บั ลักษณะของกิจกรรมทางการเมืองทีจ่ ะเป็นกระบวนการและวิธกี าร ทีจ่ ะได้มาและสนับสนุนกิจกรรมสาธารณะหรือกิจกรรมทีม่ ผี ลกระทบต่อส่วนรวมทีป่ ฏิสมั พันธ์กนั ในสังคมทุกแวดวง ดังปรากฏการณ์ที่เกย์ได้รับการเบียดขับจากสังคมในรูปแบบต่างๆ ดังข้างต้น เกย์ถูกห้ามให้ปรากฏทางสื่อโทรทัศน์ หรือห้ามเข้าศึกษาในสถาบันต้นแบบในการผลิตครู ทำ�ให้ตอ้ งการแสดงออกของเกย์ในลักษณะของกิจกรรมทางการ เมืองเพื่อปกป้องสิทธิประโยชน์ที่ควรได้รับและการรับรองจากรัฐบาลที่ถกู ต้อง ภายใต้ปรัชญาการเมืองที่มีวิถีทางจะ นำ�ไปสู่ความยุติธรรมในสังคม ในช่วงปีปลาย 2543 ได้มีการจัดขบวนพาเหรดเกย์เป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่ถนนสีลม โดยกลุ่มเกย์ชื่อ “Bangkok Gay Festival” นับเป็นการรวมกลุ่มของเกย์ที่เป็นเจ้าของกิจการที่เกี่ยวกับเกย์ และชาวเกย์ที่สนใจใน กิจกรรมที่แสดงออกถึงตัวตนและความภาคภูมิใจในอัตลักษณ์ทางเพศดังกล่าวของตน นับเป็นการรวมตัวของเกย์ ไทยที่ปรากฏสู่สายตาของสังคมอย่างชัดเจนเป็นครั้งแรก ซึ่งมีทั้งภาพของตัวตนความเป็นคนรักแนวคิดที่สนใจเรื่อง ราวของบ้านเมือง เช่น การรณรงค์ต่อต้านโรคเอดส์ หรือการสนับสนุนให้เกย์ภูมิใจที่เกิดมาเป็นเกย์และควรจะต้อง มีบทบาทในสังคมไทย ในช่วงปี 2548 ภายหลังจากทีม่ กี ารก่อตัง้ องค์กรชายรักชายและหญิงรักหญิงมาหลายปี ก็ปรากฏว่ากรณีการ ประกาศตัวของ นายนที ธีระโรจนพงษ์ เกย์นักกิจกรรมสังคมเพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ในต้น ปี 2549 เขตกรุงเทพมหานคร กลายเป็นปรากฏการณ์แรกที่เกย์ไทยเริ่มก้าวเข้าสู่มุมของการเมืองอย่างเป็นทางการ และถึงแม้ว่าจะไม่ได้รับการเลือกตั้งให้เป็น ส.ว. กรุงเทพมหานคร แต่ได้รับเสียงตอบรับจากสื่อมวลชนในประเทศ เป็นอย่างดี ปี 2549 ดูจะเป็นปีที่สื่อมวลชนให้ความสำ�คัญกับการเคลื่อนไหวต่างๆ ของบุคคลที่เริ่มรวมตัวกันเป็นกลุ่ม เป็นก้อนแล้วเรียกตัวเองว่า กลุ่ม “บุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ” ซึ่งประเด็นที่ได้รับความในใจมากที่สุด ประเด็นหนึ่ง นั่นคือ การต่อสู้ของกลุ่มเครือข่ายคนรักเพศเดียวกัน นำ�ทีมโดย นายนที ธีระโรจนพงษ์ ประธานกลุ่ม เกย์การเมืองไทย นายนิกร อาทิตย์ ประธานกลุ่มบางกอกเรนโบว์ นายปกรณ์ พิมพ์ธน ประธานกลุ่มบางกอกเกย์ เฟสติวัล และสมาชิกกลุ่มฟ้าสีรุ้ง สามารถที่จะทำ�ให้กระทรวงกลาโหมยอมยกเลิกการเขียนในใบ สด.43 จากโรคจิต ถาวรหรือจิตวิปริต มาเป็นหน้าอกผิดส่วน ให้กับบรรดากะเทยที่มาเกณฑ์ทหารและรับรองการเคารพสิทธิของกะเทย เหล่านี้ โดยจะไม่มกี ารให้ถอดเสือ้ กลางทีส่ าธารณะดังเช่นทีเ่ คยปฏิบตั มิ าในสมัยก่อน ถือเป็นการปิดฉากการลิดรอน สิทธิที่เริ่มมาตั้งแต่ปี 2497 และมาออกกฎมายคุ้มครองดังกล่าวเมื่อปี 2549 ปี 2550 ในช่วงของการร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 ได้เกิดการรวมตัวของเครือข่ายองค์กรชายรักชายและกลุ่ม หญิงรักหญิงขึ้น เพิ่มจำ�นวนเกิน 10 องค์กร โดยใช้ชื่อร่วมกันว่า “กลุ่มเครือข่ายความหลายหลายทางเพศ ได้ทำ�การ เคลือ่ นไหวโดยการให้ขอ้ มูลเสนอข้อเท็จจริงเสนอแนะแนวคิดให้กบั สมาชิกสภาพร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.2550) ซึง่ ภาย หลังจากการรณรงค์เป็นระยะเวลาหลายเดือนจึงได้รฐั ธรรมนูญฉบับแรกของไทยทีไ่ ด้กล่าวถึง บุคคลหลากหลายทาง


293

และช่วงปลายปี 2550 นายนที ธีระโรจนพงษ์ ได้ทำ�การเรียกร้องต่อสำ�นักงานคณะกรรมการกำ�กับและส่ง เสริมการประกอบธุรกิจด้านการประกันภัย (คปภ.) ให้ออกมารับรองสิทธิการทำ�ประกันของบุคคลหลากหลายทาง เพศ ซึ่งภายหลังการต่อสู้ คปภ. ร่วมกับสมาคมประกันชีวิตไทยและสมาคมประกันวินาศภัย ได้ออกหนังสือรับรอง สิทธิการทำ�ประกันชีวิตและประกันภัยของบุคคลหลากหลายทางเพศเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2550 เหตุการณ์ทไี่ ด้เกิดขึน้ ในสังคมไทยดังทีไ่ ด้กล่าวมาแล้วข้างต้น ทำ�ให้เกิดคำ�ถามว่าเกย์ไทยมีความพร้อมในการ ทีจ่ ะดำ�เนินชีวติ ทีเ่ กีย่ วพันกับการเมืองแล้วหรือไม่ และภาพทีย่ งั คงติดตาผูค้ นในสังคมไทยว่า เกย์คอื ผูท้ เี่ อาดีแต่สสี นั บันเทิงนัน้ อาจจะไม่ใช่ภาพแห่งความเป็นจริงอีกแล้ว กระนัน้ หรือ แนวคิดทีเ่ กย์ไทยมีความสนใจทางการเมืองจึงเป็น เรือ่ งทีน่ า่ ติดตามและค้นหาคำ�ตอบให้ปรากฏต่อสายตาของสังคมไทย เพือ่ ก่อให้เกิดประโยชน์ในการดำ�เนินการอันที่ เกี่ยวข้องกับบุคคลกลุ่มนี้ต่อไปในวันข้างหน้า จนถึงขั้นสังคมเปิดพื้นที่ให้ด้วยความเต็มใจในที่สุด

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

เพศในมาตรา 30 วรรค 3 มีข้อความบางตอนว่า “การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมเนื่องด้วยเหตุแห่งความแตกต่าง ด้านถิน่ กำ�เนิด เชือ้ ชาติ ภาษี เพศ จะกระทำ�มิได้” โดยทีค่ �ำ ว่า “เพศ” ในทีน่ มี้ ไิ ด้หมายถึงเพศชายและเพศหญิงเท่านัน้ แต่ยังหมายรวมถึง บุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศและผู้ที่มีอัตลักษณ์ทางเพศอื่นๆ รวมอยู่ด้วย เป็นต้น ซึ่งถือ เป็นก้าวใหม่ในวงการกฎหมายทีย่ อมรับเอาผูท้ มี่ คี วามหลากหลายทางเพศเข้าไว้ในกระบวนการอันเป็นสาระของบ้าน เมืองของเราอย่างเป็นทางการ มิใช่มองภาพของกลุ่มคนรักเพศเดียวกันเป็นเพียงเรื่องสีสันบันเทิงของสังคมเท่านั้น


ประวัติศาสตร์ และความหลากหลายทางวัฒนธรรม


295

อาจารย์แพร ศิริศักดิ์ดำ�เกิง2

สังคมไทยมีความหลากหลายทางศาสนาและวัฒนธรรมเป็นดังขุมทรัพย์อันมีค่า ปัญหาอยู่ที่ว่าสังคมไทยดู จะติดกับประวัติศาสตร์บางช่วงบางตอนที่เคยถูกระบบเผด็จการอำ�นาจกำ�หนดว่า “เอกลักษณ์” ความเป็นไทยอยู่ ที่ความเหมือนกันเป็นหนึ่งเดียว และพยายามลดทอนความหลากหลายให้เสื่อมหายไป.... ดังนั้นจึงจำ�เป็นต้องสร้าง ความเข้าใจร่วมกันของคนทั้งชาติว่าความหลากหลายทางวัฒนธรรมเป็นทั้งมรดกทรงคุณค่าจากประวัติศาสตร์ไทย และเป็นความจริงทางสังคม (รายงานคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์, 2549: 89) คนทัว่ ไปเข้าใจกันว่าประวัตศิ าสตร์เป็นเรือ่ งราวทีเ่ กิดขึน้ ในอดีต แต่อกี แง่มมุ หนึง่ ประวัตศิ าสตร์เป็นงานเขียน ที่คนในปัจจุบันเขียนเรื่องราวในอดีต เพื่อให้อดีตมารับใช้ปัจจุบัน หรือสร้างความชอบธรรมบางอย่างให้กับเจ้าของ ประวัติศาสตร์นั้น ประวัติศาสตร์ในมุมนี้จึงเป็นสิ่งที่ผู้มีอำ�นาจเลือกให้จำ�บางอย่างและเลือกให้ลืมบางสิ่ง ด้วยการ บรรจุสิ่งที่เลือกจำ�ไว้ในบทเรียนบ้าง เผยแพร่ทางสื่อต่างๆ บ้าง ส่วนสิ่งที่เลือกให้ลืม ก็จะบดบังไปไม่กล่าวถึง ไม่ให้ นำ�เสนอ เพราะสิ่งนั้นอาจเป็นปัญหาต่ออำ�นาจและความมั่นคงก็เป็นได้ คณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์ (กอส.) และนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านภาคใต้หลายท่านเสนอว่า สถานการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ส่วนหนึ่งเป็นเหตุและเป็นผลด้านประวัติศาสตร์ คือ 1) ผู้ก่อความไม่สงบได้ใช้แรงจูงใจทางประวัติศาสตร์สร้างแนวร่วมจากประชาชนในพื้นที่ (สำ�นักงานพัฒนา นโยบายสาธารณะ, อ้างแล้ว: 30) 2) การเรียนประวัติศาสตร์ของไทย เป็นเรื่องราวที่บอกว่าคนอื่นเลวอย่างไร และเราดีอย่างไร “เป็นการเพาะ เมล็ดพันธุ์แห่งความเกลียดชัง” (ประเวศ,อ้างแล้ว: 28) 3) ประวัติศาสตร์ไม่มีความชัดเจน เป็นประวัติศาสตร์ด้านเดียว จึงทำ�ให้ภาคใต้มีทุนทางสังคมและ ภูมิปัญญาด้านประวัติศาสตร์น้อย (อดินันท์ ปากบารา ในความรู้และความไม่รู้ 3 จังหวัดชายแดนภาค ใต้, 2549: 65) 4) ความทรงจำ�และสำ�นึกประวัติศาสตร์ของผู้คนในปัตตานียังทรงพลังจนถึงปัจจุบัน “ประวัติศาสตร์ของ เขาจึง “ขัดฝืน” เข้ากันไม่ได้กับประวัติศาสตร์มาตรฐานที่กำ�หนดขึ้นโดยอำ�นาจรัฐ… พลังอำ�นาจของ ประวัติศาสตร์ขึ้นอยู่กับความหมายที่ผู้คนให้กับเรื่องราวในอดีต ในเวลาที่พวกเขาดิ้นรนต่อสู้เพื่อพิทักษ์ สัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมซึ่งเป็นเครื่องนิยามวิถีชีวิตและอัตลักษณ์ของเขา” (รายงานกอส., 2549: 33) 5) สังคมไทยขาดความรู้เรื่องประวัติศาสตร์ท้องถิ่นหรือประวัติศาสตร์สังคม ทำ�ให้ไม่เข้าใจคนในท้องถิ่น ถึงแม้จะมีการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น มักเป็นประวัติศาสตร์ของชนชั้นนำ� มากกว่าเป็นเรื่องราวตั้ง 1 บทความเรื่องนี้ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ในการชำ�ระประวัติศาสตร์ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ หากเพียงต้องการนำ�เสนอความ หลากหลายของประวัติศาสตร์ที่สะท้อนภาพความหลากหลายของสังคมวัฒนธรรมใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เรื่องเล่า บางเรื่อง ตำ�นานบางตำ�นานอาจไม่เป็นไปตามหลักวิชาการทั้งทางด้านประวัติศาสตร์และภาษาศาสตร์ แต่ความทรงจำ� เหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งที่สะท้อนให้ความเป็นมา โลกทัศน์ ค่านิยม ของสังคมที่ดำ�รงอยู่บนความหลากหลายทางวัฒนธรรมมา เป็นเวลายาวนาน 2 อาจารย์ประจำ�ภาควิชามานุษยวิทยา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

อดีต-ปัจจุบันและความหลากหลายทางวัฒนธรรมใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้1


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

296

ถิ่นฐานของคน มองไม่เห็นประชาชนโดยทั่วไป (นิธิ เอียวศรีวงศ์, ศรีศักร วัลลิโภดม ในความรู้และความไม่รู้ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้, 2549: 2, 24) จากความคิดเห็นในเรื่องประวัติศาสตร์ดังกล่าวข้างต้น สะท้อนให้เห็นว่าประวัติศาสตร์ 3 จังหวัดชายแดน ภาคใต้มีมากกว่า 1 รูปแบบ แต่ที่ใช้กันอย่างเป็นทางการดูเหมือนจะเป็นแบบเดียว คือ ประวัติศาสตร์ปัตตานีที่มี ศูนย์กลางอยู่ที่สุโขทัย อยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์ อาจเรียกประวัติศาสตร์แบบนี้ว่าประวัติศาสตร์ชาตินิยมไทย แบบที่สองเป็นประวัติศาสตร์สำ�นวนรัฐปัตตานีเป็นศูนย์กลาง และอาจเรียกได้ว่าประวัติศาสตร์ชาตินิยมปัตตานี ประวัติศาสตร์ 2 แบบแรกนี้ดูเหมือนจะขัดแย้งต่อสู้กันอยู่ในที แบบที่สามเป็นประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่ไม่ได้ถูกบันทึก และเผยแพร่อย่างเป็นทางการ ทั้งที่เป็นเรื่องราวที่คนส่วนใหญ่ควรจะได้เรียนรู้ อย่างไรก็ตาม เมื่อย้อนกลับไปพิจารณาความทรงจำ�เกี่ยวกับอดีตของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้จะพบว่ามี ประวัติศาสตร์ ตำ�นาน และความทรงจำ� 5 แบบใหญ่ๆ ด้วยกัน ซึ่งจะขอกล่าวถึงแต่ละแบบโดยสังเขปในที่นี้ ประวัติศาสตร์แบบแรก เป็นประวัติศาสตร์ปัตตานีภายใต้อ�ำ นาจของรัฐสยาม - ไทย หลักฐานทาง ประวัติศาสตร์ที่ใช้จะพบว่าส่วนใหญ่เป็นพงศาวดารและจดหมายเหตุ พงศาวดารที่ถูกนำ�มาอ้างอิงบ่อยที่สุดน่าจะ เป็นพงศาวดารปัตตานี ไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู จดหมายเหตุเสด็จประพาสหัวเมืองมลายู เนื้อหาส่วนใหญ่มัก ยืนยันการมีอำ�นาจของสุโขทัยต่อเมืองปัตตานี โดยมีนครศรีธรรมราชคอยควบคุมดูแลอยู่ แม้ว่ารัฐสยามจะเปลี่ยน ศูนย์กลางการปกครองมาอยู่ที่อยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์ ปัตตานีก็ยังคงดำ�รงอยู่ภายใต้อำ�นาจสยามอย่างต่อ เนื่อง รวมทั้งยังยืนยันอำ�นาจนั้นโดยการกล่าวถึงบทบาทของกษัตริย์สยามต่อปัตตานี บทนำ�ของพงศาวดารเรื่องเมืองปัตตานี ซึ่งเขียนโดยสมเด็จกรมพระยาดำ �รงราชานุภาพอธิบายถึงเรื่อง พงศาวดารเมืองปัตตานี สำ�นวนที่พระยาวิเชียรคิรีเรียบเรียงขึ้นต้นว่า “ที่จริงเมืองปัตตานีเป็นเมืองขึ้นของสยาม ประเทศมาตั้งแต่ครั้งสมเด็จพระร่วงทรงครองนครเมืองสุโขทัยเป็นราชธานี ชาวเมืองปัตตานีเดิมถือพระพุทธศาสนา ภายหลังเข้ารีตถือศาสนาอิสลาม” (พระยาวิเชียรคิรี, 2471: ข) ในขณะที่ประวัติศาสตร์ 4 จังหวัดภาคใต้ ซึ่งเขียน โดยกองวรรณคดีและประวัติศาสตร์กรมศิลปากร เริ่มเรื่องราวประวัติศาสตร์ของของจังหวัดชายแดนภาคใต้ไว้ว่า ดินแดนของ 4 จังหวัดภาคใต้ (ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสตูล) เป็นของประเทศไทยมาตั้งแต่ ครั้งสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี มีปรากฏข้อความอยู่ในหลักศิลาจารึกพ่อขุนรามคำ�แหง ว่ามีอาณาเขต ลงไปทางทิศใต้ถึงเมืองนครศรีธรรมราชและใต้ลงไปจดฝั่งมหาสมุทรตอนใต้สุดด้วย กล่าวกันว่าได้มีคน ไทยอพยพลงมาอาศัยอยู่ในดินแดนนี้และบริเวณใกล้เคียงเมื่อราว 1,000 ปีมาแล้ว...(ประวัติศาสตร์ 4 จังหวัดภาคใต้ และคติธรรม, 2544: 68) จากประวัติศาสตร์เช่นนี้ เมื่อปัตตานีเคลื่อนไหว รัฐสยามจึงมองว่าปัตตานีก่อ “กบฏ” ต่อการปกครองตลอด มา ประวัติศาสตร์เช่นนี้ถกู นำ�เสนอครั้งแล้วครั้งเล่าในวรรณกรรมประเภทต่างๆ แม้กระทั่งตลอดเวลาเกือบ 5 ปีที่เกิด เหตุการณ์ความไม่สงบยังคงมีวรรณกรรมที่เสนอประวัติศาสตร์แนวนี้อยู่ แต่ไม่ได้เป็นประวัติศาสตร์สุดโต่งเลือกข้าง ใดข้างหนึ่งอย่างชัดเจนดังเช่นงานหลายเล่มในอดีต เช่น หนังสือเรื่องย้อนรอยปมประวัติศาสตร์รัฐปัตตานีไฟใต้ที่ ยังไม่ดับ (2547) ของแสงเพชร (นามปากกา) ซึ่งเริ่มต้นย้อนรอยประวัติศาสตร์ปัตตานีไปในยุคอาณาจักรศรีวิชัย มา จนถึงกรณีของฮัจญีสุหลง กบฏดุซงญอ การประท้วงใหญ่ที่ปัตตานี 2519 จนถึงขบวนการแบ่งแยกดินแดน และ ประวัติศาสตร์สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่องพระมหากษัตริย์ไทยกับปัตตานี กลันตัน ไทรบุรี และตรังกานูในสยามประเทศ ของทัศนา ทัศนมิตร (2549) ในส่วนของพงศาวดารต่างๆ ที่กล่าวถึงนั้นถูกนำ�มาตี พิมพ์ใหม่ในหนังสือเรือ่ งสยาม-ปัตตานี ตำ�นานการต่อสูม้ ลายูมสุ ลิม ของสำ�นักพิมพ์มติชน (2548) ทีต่ อ้ งการนำ�เสนอ “เอกสารฝ่ายสยาม” เพือ่ ให้เห็นภาพราชอาณาจักรปัตตานีจากมุมมองของฝ่ายสยามด้วย เพราะก่อนหน้านีม้ ติชนได้


297

ประวัติศาสตร์แบบที่ 2 ประวัติศาสตร์ปัตตานี1ในมุมมองของผู้ปกครอง หรือชนชั้นนำ� หรือ นักประวัติศาสตร์ของปัตตานี ที่มีหลักฐานสำ�คัญเป็นหนังสือที่เรียกว่า Hikayat Patani ซึ่งผศ. ดร. ชุลีพร วิรุณหะ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้กล่าวถึงฮิกายัตว่าเป็น “งานเขียนประเภทตำ�นาน เรื่องเล่า มีทั้งเรื่องราวที่ดัดแปลงจากวรรณกรรมของแหล่งอารยธรรมภายนอก และบันทึกตำ�นานท้องถิ่นหรืองานเขียนของ ราชสำ�นัก” ฮิกายัตปาตานีจึงเป็นตำ�นานที่เขียนถึงราชวงศ์ผู้ปกครองเมืองโกตามาฮ์ลิกัยได้ย้ายเมืองมาตั้งที่ชายฝั่ง และตั้งชื่อว่าปัตตานี นอกจากหลักฐานแบบฮิกายัตแล้ว ยังมีขนบการบันทึกประวัติศาสตร์ของชาวมลายูที่เรียกว่า ซจาเราะห์ มลายู (Sejarah Melayu) ซึ่งนับเป็นพงศาวดารของรัฐหรือราชวงศ์มลายู (2551, 2 - 3) นอกจากนี้ยัง มีหลักฐานประวัติศาสตร์ในภาษามาเลย์ ซึ่งนักประวัติศาสตร์กลุ่มแรกไม่ได้ใช้ ด้วยหลักฐานดังกล่าว ทำ�ให้หน้าประวัตศิ าสตร์ของปัตตานีแบบนีแ้ ตกต่างจากประวัตศิ าสตร์ปตั ตานีขา้ งต้น เนือ้ หา ของประวัตศิ าสตร์เป็นการบันทึกถึงเรือ่ งความสัมพันธ์ทางอำ�นาจระหว่างรัฐน้อยใหญ่ในแหลมมลายู ประวัตศิ าสตร์ ของราชวงศ์ต่างๆ ที่ปกครองปัตตานี ประวัติศาสตร์แบบนี้บอกเล่าถึงความเจริญรุ่งเรืองและเสื่อมลงของปัตตานี ในยุคสมัยของราชาและรายาแต่ละพระองค์ เช่นงานของอิบรอฮีม ชุกรี ชื่อว่าประวัติศาสตร์ราชอาณาจักรมลายู ปาตานี มีชื่อในภาษามลายูว่าสยาเราะห์ กรือยาอันมลายูปะตานี แปลโดย ดร. หะสัน หมัดหมาน ซึ่งเคยตีพิมพ์ ครั้งแรกเมื่อพ.ศ. 2527 ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2541 และครั้งล่าสุดคือ 2549 ซึ่งมีการแปลบทสุดท้ายโดยมหามะชากี เจ๊ะหะ และ ผศ. ดลมนรรจน์ บากา เรียบเรียง หนังสือเล่มนี้เริ่มเรื่องราวประวัติศาสตร์ปัตตานีตั้งแต่อาณาจักรศรีวิชัย จน กระทั่งมาถึงกรณีของหะยีสุหลง สิ้นสุดลงที่เหตุการณ์ดุซงญอ เนือ้ หาของประวัตศิ าสตร์แบบนีม้ กั เริม่ ต้นด้วยเรือ่ งราวของปัตตานีทเี่ คยรุง่ เรืองอย่างมากในอดีต นักโบราณคดี บางคนเชื่อว่าพื้นที่ปัตตานีในช่วงพุทธศตวรรษที่ 7 - 21 เป็นที่รู้จักกันในชื่อลังกาสุกะซึ่งเป็นเมืองท่าสำ�คัญเมืองหนึ่ง ในอดีตกาล เมื่อชื่อลังกาสุกะหายไป และรัฐปัตตานีได้เข้ามาแทนที่ทั้งสืบทอดบทบาทการเป็นเมืองท่าค้าขายทาง ทะเลในพุทธศตวรรษที่ 21 - 23 ปัตตานีนับได้ว่าเคยเป็นเมืองท่าที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในยุคการคมนาคมการค้าทางทะเลใน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 21 พ่อค้าชาวต่างชาติ ทั้งจีน ญี่ปุ่น อินเดีย และโปรตุเกส ตาม มาด้วยชาวยุโรปชาติอื่นๆ ได้เข้ามาค้าขายที่ปัตตานี ชาวต่างชาติเหล่านี้บางคนเพียงเข้ามาค้าขายแล้วกลับออกไป แต่บางคนเข้ามาตั้งรกรากอยู่ในปัตตานีเป็นการถาวร ปัตตานีมีกษัตริย์ปกครองสืบเนื่องหลายราชวงศ์ กษัตริย์แต่ละพระองค์ล้วนมีบทบาทในการสร้างบ้านเมือง ให้เจริญรุ่งเรือง ปัตตานีมีการขยายตัวทางด้านการเมือง วัฒนธรรม เศรษฐกิจได้นานนับ 2 ศตวรรษ จึงป็นบ้านเมืองที่ มีความสำ�คัญต่อประวัตศิ าสตร์ของโลกมาเลย์เป็นอย่างมาก แม้ว่าประวัติศาสตร์ทั้ง 2 แบบมีเรื่องราวเกี่ยวกับการเมืองการปกครองของปัตตานีไม่ต่างกัน แต่ในขณะ ที่ประวัติศาสตร์แบบแรกบอกว่าปัตตานีเป็นเมืองขึ้นของสยาม ประวัติศาสตร์แบบที่ 2 บอกว่าปัตตานีเป็นรัฐหรือ อาณาจักรที่มีความเจริญรุ่งเรืองที่เป็นเอกราช มีเครือข่ายความสัมพันธ์กับบ้านเมือง รัฐในคาบสมุทรมลายู มีการ ปกครองโดยกษัตริย์ของตัวเอง หาได้ขึ้นกับกษัตริย์เมืองใด จึงดูเหมือนเป็นเรื่องราวที่ “ขัดฝืน” กันอยู่ในที เป็นเช่น นี้จนถึงประวัติศาสตร์ร่วมสมัยในปัจจุบัน ดังตัวอย่างการต่อสู้ทางประวัติศาสตร์ 2 แบบข้างต้นจากข้อเรียกร้อง 7 ข้อของหะยีสุหลง อับดุลกาเดร์ คือ 1 ประวัติศาสตร์ปัตตานีในที่นี้ หมายถึง อาณาบริเวณพื้นที่ปัตตานี ยะลา และนราธิวาสในปัจจุบัน

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

ตีพิมพ์ประวัติศาสตร์ปัตตานีในมุมมองอื่นๆ แล้ว 2 เล่มคือ หะยีสุหลง อับดุลกาเดร์ กบฏ...หรือวีรบุรุษแห่งสี่จังหวัด ภาคใต้ (2547) และ รัฐปัตตานีในศรีวิชัย (2547) (ปรามินทร์ เครือทอง, 2548: 9)


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

298

หนังสือย้อนรอยปมประวัติศาสตร์ปัตตานีฯ ได้อธิบายกรณีข้อเรียกร้อง 7 ข้อของหะยีสุหลงว่า ข้อเรียกร้องของเขาไม่ได้รับการตอบสนองจากรัฐบาลเท่าที่ควร โดยเฉพาะข้อสุดท้ายของการเรียก ร้องแยกระบบศาล รัฐบาลไม่เห็นด้วย ฮัจญีสุหลงเริ่มจัดตั้งขบวนการเคลื่อนไหวกดดันรัฐบาลให้พิจารณา ข้อเรียกร้องให้เร็วขึ้น โดยวางเป้าหมาย 2 ประการ คือปกป้องวัฒนธรรมกลุ่มชนเชื้อสายมลายู กับสร้าง หน่วยปกครองตนเองของจังหวัดมุสลิมที่จะอยู่ภายใต้การปกครองของไทยขึ้นมา ขณะเดียวกันเขายัง ได้ประกาศจะเชิญตวนกูมามุด มะไฮยิดดิน ลูกชายพระยาวิชิตภักดี อดีตเจ้าเมืองปัตตานี ซึ่งเป็นผู้นำ� ขบวนการแบ่งแยกดินแดนให้กลับมาและปกครองสี่จังหวัดภาคใต้ต่อไป (แสงเพชร, 2550: 84) ในขณะที่หนังสือประวัติศาสตร์ราชอาณาจักรมลายูปะตานี และเรื่องปาตานีประวัติศาสตร์และการเมืองใน โลกมลายู เขียนถึงกรณีเดียวกันนี้ว่า หนังสือเรียกร้องฉบับนี้ยังได้อ้างถึงพฤติกรรมของข้าราชการสยามที่รังแกชาวมลายู นอกจากนี้แล้ว ประชาชนยังขอความเห็นใจจากรัฐบาลว่า การเรียกร้องในครั้งนี้ไม่ได้มีจุดประสงค์ที่จะขัดกับรัฐธรรมนูญ แต่เพื่อที่จะเรียกร้องสิทธิ์อันพึงมีและเพื่อป้องกันดินแดนของพวกเขาในยุคที่โลกกำ�ลังให้ความสำ�คัญกับ สิทธิ์และเอกราชของเชื้อชาติที่จะเป็นเมืองขึ้นของประเทศอื่น (อิบรอฮีม ชุกรี, 2549: 87) ข้อเรียกร้องดังกล่าวของท่านหะยีสุหลงไม่มีเจตนาที่จะฝ่าฝืนต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญของรัฐบาล ไทยหรือเจตนาจะแบ่งแยกการปกครองสี่จังหวัดออกไป แต่เป็นการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของ ประชาชนทางด้านเศรษฐกิจหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และการปฏิบัติโดยมิชอบจากเจ้าหน้าที่ของรัฐใน ขณะนั้น (อารีฟิน บินจิ,2550: 261) ส่วนรัตติยา สาและ ได้เขียนอธิบายเหตุการณ์นี้ไว้ในบทความ ปตานี ดารุสสะลาม สู่ความเป็น “จังหวัด ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส” ซึ่งถูกรวบรวมไว้ในหนังสือรัฐปัตตานีในศรีวิชัย ว่า เฉพาะเรื่องคำ�ขอ 7 ข้อของกลุ่มนายหะยีสุหลงนั้น ก็มีการติดตามเรื่องหลังจากนั้นอีก 4 เดือนถัด มา โดยการที่ขุนเจริญวรเวชช์ ได้ตั้งกระทู้ถามรัฐบาลในวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2490 ซึ่งก็ได้รับคำ�ตอบให้ ทราบว่ากำ�ลังพิจารณาอยู่ สุดท้ายก็ไม่ได้เป็นไปตามที่ขอ แต่กลับกลายเป็นจุดเริ่มต้นของการต่อสู้ของ นายหะยีสุหลงหลายๆ ระลอกต่อมา จนท่านต้องจบชีวิตลงแบบไม่มีสุสานพร้อมด้วยลูกชายคนโตและ เพื่อนอีก 2 คนในปี พ.ศ. 2497 (สุจิตต์ วงษ์เทศ, 2547: 274) ข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่า เพียงกรณีเดียวหรือเหตุการณ์เดียวในประวัติศาสตร์ยังคงมี คนเขียนถึงได้อย่างหลากด้านหลายมุม ขึ้นอยู่กับผู้เขียนจะใช้กรอบแว่นแบบใดในการมอง ยังมีอีกหลายเหตุการณ์ ในประวัตศิ าสตร์ทถี่ กู หยิบยกขึน้ มาเขียนถึงในหลายวาระ ไม่วา่ จะเป็นเรือ่ งราวของหะยีสหุ ลง อับดุลกาเดร์ ผูเ้ ป็นทัง้ วีรบุรุษและกบฏในเวลาเดียวกัน เหตุการณ์ดุซงญอ พ.ศ. 2491 การประท้วงใหญ่ที่ปัตตานี พ.ศ. 2519 ล้วนแต่ถูก อธิบายในมุมมองที่แตกต่างกัน ด้วยหลักฐานที่แตกต่างกัน ประวัติศาสตร์แบบที่ 3 คือประวัติศาสตร์บาดแผล ความทรงจำ�ที่ไม่อาจลืม ความทรงจำ�ของทั้งกลุ่ม มลายู ไทยพุทธ และจีนในพืน้ ทีท่ มี่ คี วามทรงจำ�อันเจ็บปวดตัง้ แต่อดีตถึงปัจจุบนั ทีแ่ ตกต่างกัน เช่น มลายูอาจจำ�เรือ่ ง ราวที่ผู้ปกครองของรัฐกระทำ�หรือเลือกปฏิบัติต่อชาวมลายู รวมถึงนโยบายต่างๆ ของรัฐที่ทำ�ให้ชาวบ้านเดือดร้อน ทั้งโดยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม ส่วนไทยพุทธหรืออีกนัยหนึ่งคนของรัฐเช่นครู อาจจดจำ�เรื่องราวการทำ�ร้ายหรือจับครูใน พืน้ ที่ ส่วนคนจีนอาจจำ�เรือ่ งการเรียกค่าคุม้ ครองเป็นต้น คนแต่ละกลุม่ ชาติพนั ธุม์ ปี ระวัตศิ าสตร์บาดแผลคนละแบบ ปัจจุบันบาดแผลที่ถูกพูดถึงส่วนมากเป็นเรื่องคนมลายู และถูกมองว่าประวัติศาสตร์แบบนี้เป็นอันที่มีปัญหา กลุ่มผู้


299

รัฐนิยม: รอยแผลแห่งวัฒนธรรม สมัยของจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรีได้นำ�นโยบายรัฐนิยมมาใช้ โดยเข้าไปจัดการกับการ แต่งกาย การพูดจา การบริโภค การดำ�เนินชีวติ ทีส่ ง่ ผลกระทบต่อชาวมุสลิมและชาวจีนเป็นอันมาก สำ�หรับชาวมลายู มุสลิมความรู้สึก “แปลกแยก” และความผิดหวังต่อระบบการปกครองได้เกิดขึ้นทันที การแต่งกายตามนโยบายรัฐนิยม ห้ามชายมลายูนุ่งโสร่ง สวมกะปิเยาะห์ ห้ามผู้หญิงคลุมฮิญาป และให้ มุสลิมแต่งกายแบบตะวันตก เล่ากันว่าในสมัยนี้คนมลายูจะนุ่งโสร่งขึ้นอำ�เภอติดต่อราชการไม่ได้ หน้าอำ�เภอจะมี ร้านให้เช่ากางเกง บางที่มีเรื่องเล่าว่ามีการบังคับให้คนมลายูกราบไหว้พระพุทธรูป (ปิยะ กิจถาวร,2550: 127) บ้าง ก็เล่าว่าเจ้าหน้าทีเ่ ตะถีบประชาชนทีน่ งุ่ โสร่งกลางถนน กระชากฮิญาปของหญิงสาว หรือนำ�หมวกกะปิเยาะห์มาเป็น ตะกร้อเตะเล่น แม่ค้าในตลาดถูกตำ�รวจตีด้วยพานท้ายปืนเพราะสวมเสื้อกะบายา และผ้าคลุมศีรษะ (สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี และดอน ปาทาน, 2547: 137) นอกจากนั้นยังไม่ให้สอนภาษามลายูหรือภาษาอาหรับ เหมือนกับที่ไม่ให้สอนภาษาจีนจนกระทั่งโรงเรียนจีน ได้ปดิ ไป ให้ใช้ภาษาไทยในการติดต่อราชการ ให้เปลีย่ นชือ่ เป็นภาษาไทย นโยบายนีช้ ว่ งแรกเป็นนโยบายทีอ่ อกแบบ มาคล้ายๆ กับให้คำ�แนะนำ� ต่อมาเมื่อไม่ได้รับความร่วมมือจากชาวมุสลิม กระทรวงมหาดไทยได้ใช้วิธีบังคับซึ่งก่อ ให้เกิดความบาดหมางต่อชาวมุสลิมอย่างมาก พ.ศ. 2484 รัฐบาลได้ห้ามชาวมุสลิมเรียนคัมภีร์อัลกุรอาน ความตึงเครียดได้เพิ่มมากขึ้นอีกในปี 2486 เมื่อ รัฐบาลจอมพลป.ได้ประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 และ 6 ว่าด้วยเรือ่ งครอบครัวและมรดกแทน กฎหมายอิสลามที่เคยใช้กันมาในศาลของ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ยิ่งไปกว่านั้นรัฐบาลยังยกเลิกตำ�แหน่งดาโต๊ะ ยุตธิ รรมทีต่ ดั สินคดีครอบครัวและมรดกตามกฎหมายอิสลามด้วย เพือ่ แก้ปญ ั หาดังกล่าวชาวมุสลิมจึงหลีกเลีย่ งการขึน้ ศาลไทย อาศัยการตัดสินของโต๊ะอิหม่ามแทน ทำ�ให้ชาวมุสลิมยิง่ ถอยห่างไกลจากรัฐบาลไทยมากขึน้ (เพิง่ อ้าง: 137) เหตุการณ์ข้างต้นเป็นเรื่องที่มีความสลับซับซ้อนเนื่องจากความผันผวนทั้งจากการเมืองภายในและภายนอก ประเทศ ชาวมุสลิมนั้นไม่พอใจต่อนโยบายชาตินิยมของรัฐบาลจอมพล ป. อย่างยิ่ง ทำ�ให้ผู้นำ�ทางศาสนาอิสลาม ใน 3 จังหวัดภาคใต้เริ่มมีใจออกห่างจากรัฐบาลไทย

เหตุการณ์ร่วมสมัย: แผลลึกยากลืมเลือน เหตุเกิดที่สะพานกอตอ เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2518 สือแมออกจากหมู่บ้านพร้อมกับพี่ชาย และเพื่อน บ้านอีก 4 คน เพราะพี่ชายรับจ้างขับรถไปส่งชาวไทยพุทธคนหนึ่งที่จังหวัดนราธิวาส ขากลับเมื่อรถกำ�ลังผ่านที่ตั้ง กองทหารนาวิกโยธิน รถยนต์ของพี่ชายสือแมถูกเรียกให้หยุดโดยบุคคลแต่งชุดเขียว 3 คน จากนั้นสือแมและคนอื่น ทั้ง 5 ถูกนำ�ขึ้นรถสิบล้อจีเอ็มซี 2 คัน คันละ 3 คน (อารง สุทธาศาสน์, 2519: 55 – 59) สือแมนั่งรถโดยมีคนควบคุมอยู่ด้านหลังประมาณ 10 คนไปได้สักพักจึงถูกแทงด้วยมีดจากด้านหลัง และถูก ตีที่ศรีษะอีก 2-3 ที สือแมล้มลงและแกล้งทำ�เป็นตาย สือแม พี่ชายและเพื่อนถูกจับโยนจากสะพานกอตอลงมาใน คลอง (เพิ่งอ้าง) หลังจากสือแมขึ้นจากนํ้าแล้วไปขอหลบอยู่ที่บ้านชาวบ้านหลังหนึ่งจนถึงเช้า ชาวบ้านจึงได้ไปช่วยตามพ่อ แม่ของสือแมพร้อมเพื่อนบ้าน แล้วพาสือแมกลับมาที่สะพานกอตอเพื่อหาศพคนอื่นๆ ที่ถูกนำ �มาทิ้งพร้อมกัน

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

ก่อความไม่สงบใช้ประวัติศาสตร์แบบนี้มาสร้างความชอบธรรมกับการกระทำ�ของตนเอง ในที่นี้เพียงสรุป บาดแผลบางเรื่องของชาวมลายูมาโดยสังเขป เฉพาะที่มีบันทึกอยู่ในเอกสารต่างๆ ดังนี้


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

300

หลังจากนัน้ สือแมไปรักษาตัวทีโ่ รงพยาบาลคริสเตียนในอำ�เภอสายบุรี แล้วจึงไปแจ้งความทีส่ ถานีตำ�รวจภูธรสายบุรี (เพิ่งอ้าง) จากเหตุการณ์ทเ่ี กิดขึน้ กับสือแมไม่ท�ำ ให้ความรูส้ กึ ของชาวบ้านทีม่ ตี อ่ เจ้าหน้าทีเ่ ปลีย่ นแปลงไปเลย ชาวบ้าน รู้สึกไม่ดีต่อ “เจ้าหน้าที่” ตลอดมา เมื่อเกิดเรื่องของสือแมชาวบ้านยิ่งเพิ่มความรู้สึกไม่ดีต่อเจ้าหน้าที่มากขึ้น จน กระทั่งสถานการณ์ปัจจุบันปี 2547 ชาวบ้านกอตอคนหนึ่งเล่า “ไม่รู้สึกกลัวแล้ว เพราะกลัวจนหมดกลัวแล้ว” (แพร ศิริศักดิ์ดำ�เกิง, 2547) เรื่องราวของสือแมนำ�ไปสู่การประท้วงใหญ่ที่ปัตตานีในเดือนธันวาคม 2518 การประท้วงเริ่มตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม และในวันที่ 13 ธันวาคม ผู้คนมารวมกันที่หน้าศาลากลางปัตตานีจำ�นวนมาก วันนั้นมีคนร้ายขว้างระเบิด ไปยังกลุ่มผู้ชุมนุมประท้วง มีผู้บาดเจ็บ 40 คน เสียชีวิต 13 คน วันรุ่งขึ้นผู้นำ�ทางศาสนาประกาศรับรองว่าผู้ตายทุก คนเป็น ซาฮีด (ตายเพื่อปกป้องศาสนา) (อารีฟิน บินจิ และคณะ, 2550: 383 – 387) การชุมนุมได้ย้ายจากศาลากลางมาที่หน้ามัสยิดกลาง มีผู้มาชุมนุมนับแสนคน จนกระทั่งวันที่ 24 มกราคม 2519 ตัวแทนของรัฐบาลเจรจากับผูช้ มุ นุมเป็นผลสำ�เร็จ การชุมนุมสลายตัวไป แต่ยงั คงส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่าง คนมลายูมุสลิมกับไทยพุทธอย่างยาวนาน คนมลายูได้พบกับประสบการณ์ที่ไม่ประทับใจจากเจ้าหน้าที่รัฐ เรื่อง เล่าแรกคือญาติผู้บาดเจ็บจากระเบิดได้นำ�คนเจ็บส่งโรงพยาบาลปัตตานี แพทย์และพยาบาลบางคนได้แสดงความ รังเกียจ พูดจาเกรี้ยวกราด เพราะว่าคนเหล่านี้ไม่พอใจการประท้วง เรื่องเล่าต่อมาคือครูใหญ่ของโรงเรียนหนึ่งดุว่า นักเรียนที่ไปร่วมชุมนุมประท้วง ส่วนข้าราชการไทยพุทธกับมุสลิมต่างไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน บางคนบอกว่าตอน ที่มีการประท้วงการจับครูพุทธไปเรียกค่าไถ่ ครูมุสลิมยังไปร่วม แต่ตอนประท้วงหน้ามัสยิดกลางปัตตานีคนพุทธไม่ เห็นมาร่วมด้วย (เพิ่งอ้าง)

กรือเซะ กรือเซะมัสยิดเก่าแก่ที่ดำ�รงผ่านกาลเวลามาเนิ่นนาน แม้ว่าในวันนี้กรือเซะยังคงมีปัญหาทางประวัติศาสตร์ ที่ถกเถียงกันอย่างไม่รู้จบถึงปีที่สร้างและคนที่สร้าง แต่ส�ำ หรับคนมลายูมุสลิมทั่วไปแล้วไม่ว่ากรือเซะจะสร้างสมัย ใด โดยใคร ไม่ใช่สิ่งสำ�คัญเลย สำ�หรับคนมลายูกรือเซะเป็นหลักฐานการเข้ามาของอิสลามในดินแดนปาตานี และ เป็นมัสยิดโบราณที่คนมลายูภาคภูมิใจ มัสยิดกรือเซะไม่ได้เป็นเพียงศาสนสถานของคนมุสลิม แต่กลายเป็นเวทีของความขัดแย้งระหว่างคนมลายู กับรัฐไทยอย่างน้อย 2 เหตุการณ์ใหญ่ คือ การประท้วงที่กรือเซะ 2530 – 2533 และเหตุการณ์ 28 เมษายน 2547 (ชัยวัฒน์ สถาอานันท์, 2537: 94 – 108) ย้อนกลับไปเมือ่ พ.ศ. 2530 – 2533 รัฐบาลได้บนั ทึกถึงเหตุการณ์กรือเซะว่ากลุม่ มุสลิมจากจังหวัดยะลาได้เชิญ ชวนให้ชาวมุสลิมทำ�พิธีละหมาดในมัสยิดระหว่างวันสำ�คัญทางศาสนาอิสลาม และห้ามคนที่ไม่ใช่มุสลิมเข้าไปใน มัสยิด วันที่ 13 ตุลาคม ปีเดียวกันเป็นวันเมาะโล๊ะหรือเมาลิด มีคนมุสลิมมาร่วมพิธีที่กรือเซะประมาณ 300 คน และ เพิม่ จำ�นวนมากขึน้ เรือ่ ยๆ ในวันสำ�คัญต่อมา จนครัง้ สุดท้ายในวันที่ 2 – 3 มิถนุ ายน 2533 วันรำ�ลึกถึงอูลามะห์มผี เู้ ข้า ร่วม 3,000 คน เล่ากันว่าในการชุมนุมครัง้ นี้ ผูน้ �ำ บางคนได้กล่าวโจมตีสถาบันพระมหากษัตริย์ เจ้าหน้าทีต่ �ำ รวจจึงบุก เข้ามัสยิดและจับกุมผู้นำ�การชุมนุมจำ�นวนหนึ่ง มีรายงานของทางรัฐบาลว่าผู้นำ�การชุมนุมเป็นกลุ่มชีอะห์ (เพิ่งอ้าง) สำ�หรับชาวมลายูมุสลิมแล้ว ก่อนหน้านี้ไม่ได้ใช้มัสยิดกรือเซะเป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจแต่อย่างใด ทั้งนี้ เนื่องมาจากตำ�นานอันโด่งดังของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทำ�ให้คนมลายูไม่แน่ใจว่าควรที่จะเข้าไปละหมาดใน มัสยิดที่ต้องคำ�สาปที่มีนายช่างชาวจีนเป็นคนสร้างหรือไม่ อีกทั้งเมื่อกรมศิลปากรประกาศไม่ให้ชาวมุสลิมเข้าไป ประกอบศาสนกิจใดๆ ในมัสยิดที่ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติแล้ว มัสยิดกรือเซะจึงถูกทิ้งร้างจนกระทั่ง


301

กรือเซะเป็นเวทีแห่งความขัดแย้งอีกครัง้ เมือ่ วันที่ 28 เมษายน 2547 ผูค้ นนับร้อยถือ “อาวุธ” มีดพร้าเข้าโจมตี ที่ทำ�การรัฐพร้อมกันใน 3 จังหวัดภาคใต้ เจ้าหน้าที่ตอบโต้ด้วยอาวุธปืน พื้นที่แห่งหนึ่งที่มีการต่อสู้ระหว่างเจ้าหน้าที่ กับมลายูมุสลิมที่ถืออาวุธมีด คือ กรือเซะ เหตุการณ์ครั้งนี้ทำ�ให้เจ้าหน้าที่ตำ�รวจและทหารเสียชีวิต 5 นาย ส่วนผู้ก่อ ความไม่สงบเสียชีวิตถึง 106 คน ในส่วนของมัสยิดกรือเซะมีผู้เสียชีวิตในมัสยิดทั้งหมด 32 คน

นโยบายพัฒนา: รอยแผลแห่งการแย่งชิงทรัพยากร สมัยของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้มนี โยบายจัดตัง้ นิคมสร้างตนเองพัฒนาภาคใต้ โดยโยกย้ายประชากรชาว ไทยพุทธ 15,000 คน จากภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกของประเทศ ทีส่ ว่ นใหญ่เป็นทหารผ่านศึกย้าย ไปอยู่ในนิคมต่างๆ ใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ ที่ อ. เทพา จ. สงขลา, อ. โคกโพธิ์ จ. ปัตตานี, อ. บันนังสตา จ.  ยะลา, อ. แว้ง และ อ. สุคิริน จ. นราธิวาส, อ. ควนกาหลง จ. สตูล ชาวมลายูมุสลิมรู้สึกว่ากำ�ลังถูกเบียดเบียนพื้นที่ ทำ�กิน ในขณะที่รัฐบาลสร้างนิคมสร้างตนเองเพื่อให้คนจากพื้นที่อื่นมีงานทำ� แต่คนมลายูมุสลิมในพื้นที่ยังตกงาน ยากจน และไร้การศึกษา นโยบายพัฒนาหลากหลายรูปแบบที่คิดมาจากรัฐบาลโดยไม่ได้ศึกษาหาความรู้จากคนในพื้นที่และไม่ได้ฟัง ความต้องการของชาวบ้านเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่น โครงการส่งนํ้าและบำ�รุงรักษาเขื่อนปัตตานี ตามแผนพัฒนา ลุ่มนํ้าปัตตานี ตั้งแต่พ.ศ. 2511 โดยมีวัตถุประสงค์ส่งนํ้าให้พื้นที่เพาะปลูกทั้งในปัตตานีและยะลาจำ�นวน 3 แสนไร่ เพือ่ บรรเทาอุกทกภัยและผลิตกระแสไฟฟ้า โครงการนีน้ �ำ ไปสูก่ ารสร้างเขือ่ นบางลาง จ.ยะลา ทัง้ หมดใช้เวลาก่อสร้าง กว่า 30 ปี โดยไม่มีการศึกษาผลกระทบทุกด้าน ประชาชนจำ�นวนมากสูญเสียที่อยู่และที่ดินเป็นจำ�นวนมาก ไม่มี แผนจัดส่งนํ้าให้เหมาะสมกับประเภทของพืชและการใช้นํ้าของประชาชน ประชาชนไม่มีส่วนร่วมในการทำ�โครงการ (ปิยะ กิจถาวร, อ้างแล้ว: 137) ความเป็นจริงไม่ใช่เพียงแค่จงั หวัดชายแดนภาคใต้เท่านัน้ ทีป่ ระชาชนถูกกระทำ�จากนโยบายทีม่ คี �ำ โฆษณา ชวนเชือ่ ว่า “การพัฒนา” ของรัฐบาล ชาวบ้านในภูมภิ าคต่างๆ ของประเทศไทยล้วนประสบปัญหาเดียวกัน คงไม่อาจปฏิเสธ ได้วา่ หลายโครงการของรัฐบาลคิดขึน้ ด้วยความตัง้ ใจอันดีตอ่ ประชาชน แต่หลายครัง้ รัฐบาลยังคงขาดความเข้าใจใน ความต้องการและวิถีชีวิตของประชาชน จนนำ�ไปสู่ความไม่เข้าใจและขัดแย้งระหว่างรัฐกับประชาชนในเวลาต่อมา นอกจากเรือ่ งราวข้างต้นทีม่ กี ารบันทึกถึงว่าเป็นความเจ็บชํา้ นํา้ ใจของผูค้ นใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ซาํ้ แล้ว ซํ้าเล่า เช่น เรื่องของหะยีสุหลง อับดุลกาเดร์ เรื่องราวในสมัยของจอมพลป. พิบูลสงคราม และเรื่องราวที่เกิดขึ้นที่ ดุซงญอ จนกระทั่ง 5 ปีที่ผ่านมา จากการสำ�รวจวรรณกรรมพบว่ามีเหตุการณ์ประมาณ 6 เหตุการณ์ที่ถูกบันทึก เขียนถึงในรายงาน งานวิจัยและหนังสือหลายเล่ม เริ่มตั้งแต่เหตุการณ์ปล้นปืน 4 มกราคม 2547 การหายตัวของ ทนายสมชาย นีละไพจิตร 12 มีนาคม 2547 เหตุการณ์กรือเซะ 28 เมษายน 2547 เหตุการณ์ตากใบ 25 ตุลาคม 2547 เหตุการณ์ที่บ้านตันหยงลิมอ 20 -21 กันยายน 2548 เหตุการณ์ทำ�ร้ายครูจูหลิง ปงกันมูล ที่บ้านกูจิงลือปะ 19 พฤษภาคม 2549 ในอนาคต เหตุการณ์เหล่านี้จะกลายเป็นประวัติศาสตร์หน้าหนึ่งของปัตตานี ที่มีหลักฐานทาง ประวัติศาสตร์มากมาย ด้วยมุมมองที่แตกต่างของผู้คนร่วมสมัย

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

คนมุสลิมกลุ่มหนึ่งได้เข้าไปทำ�ความสะอาดและใช้มัสยิดกรือเซะทำ�ละหมาดวันศุกร์ ชาวมุสลิมเริ่มเข้ามา ใช้มัสยิดประกอบพิธีทางศาสนามากขึ้นจนมีการทำ�เรื่องขอให้กรมศิลปากรยกเลิกการขึ้นทะเบียนมัสยิดกรือเซะ เป็นโบราณสถาน แต่ไม่มีการตอบรับใดๆ จากทางราชการ ชาวมลายูมุสลิมจึงได้รวมตัวกันประท้วงในปี 2530 การ ประท้วงดำ�เนินต่อมาอีกเป็นเวลา 3 ปี (เพิง่ อ้าง)


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

302

อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมาบาดแผลไม่ได้เกิดขึ้นกับคนมลายูมุสลิมเพียงกลุ่มเดียว แต่คนไทย พุทธและคนจีนล้วนมีความทรงจำ�แห่งบาดแผลกันถ้วนหน้า และมากขึน้ เรือ่ ยๆ ความทรงจำ�เหล่านีก้ ำ�ลังทำ�ให้ความ เป็นมิตรที่เคยมีมาแตกร้าว ประวัติศาสตร์แบบที่ 4 ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ยะลา ปัตตานี นราธิวาส เป็นเรื่องความเป็นมาของชื่อเมือง ตำ�นานต่างๆ ที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นมาของผู้คนที่เข้ามา ตั้งรกรากในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เช่น ตำ�นานเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว ประวัติศาสตร์เมืองยะลาที่แสดงให้ เห็นถึงการอพยพโยกย้ายของผู้คนไปมาระหว่างยะลาปัตตานี ประวัติศาสตร์ตำ�นานแบบนี้เป็นการบันทึกของคนใน ที่นอกจากจะเป็นเรื่องใกล้ตัว แสดงให้เห็นถึงการสร้างบ้านแปงเมืองต่างๆ แล้ว ยังแสดงให้เห็นถึงความเป็นมาของ ผู้คน ความสัมพันธ์ของผู้คนกลุ่มต่างๆ ที่ช่วยกันสร้างบ้านตั้งเมืองมาด้วยกัน ความเป็นมาของชื่อเมืองปัตตานีหรือปาตานีนั้นว่ากันว่า พญาอินทิรากษัตริย์องค์หนึ่งของปาตานีและ เป็นกษัตริย์องค์แรกที่รับนับถืออิสลาม ชอบออกไปล่าสัตว์แถวหมู่บ้านริมทะเล วันหนึ่งพญาอินทิราได้ไปล่าสัตว์พบ กระจงขาวตัวใหญ่เท่ากับแพะ จึงติดตามเพือ่ จับตัว แต่กระจงหายไปทีห่ าดทรายอย่างน่าอัศจรรย์ พญาอินทิราจึงให้ คนสร้างเมืองตรงชายหาดที่กระจงหายไป แล้วเรียกเมืองนี้ว่า ปาตานี ซึ่งเป็นภาษามลายูถิ่นที่น่าจะเพี้ยนมาจากคำ� ว่า ปันตัย (ชายหาด) อีนี (นี้) ที่แปลว่าชายหาดนี้ (ศรีศักร วัลลิโภดม และคณะ, 2551: 46) อีกตำ�นานหนึ่งที่เล่าถึงความเป็นมาของชื่อปัตตานี ว่ากันว่าพญาอินทิราได้เสด็จไปตรวจดูภูมิประเทศที่ ชายทะเล พบผู้เฒ่าคนหนึ่งประกอบอาชีพประมง พญาอินทิราจึงได้ตรัสถามชาวประมงว่าเป็นใคร ชื่ออะไร ชาว ประมงบอกว่าชาวบ้านเรียกเขาว่า “เจ๊ะตานี” พญาอินทิราจึงให้คนไปสร้างเมืองใหม่ที่ชายหาดที่เจ๊ะตานีอยู่ (วัน มะโรหบุตร, อ้างแล้ว: 35) นอกจากนีย้ งั มีต�ำ นานของเมืองไทรบุรที ชี่ อื่ ฮิกายัตมรงมหาวังสา และตำ�นานฮิกายัตปาตานีเล่าถึงทีม่ าของชือ่ ปาตานี ว่าพระธิดาของกษัตริย์มะโรงมหาโพธิสัตว์ทรงช้างชื่อกมลาโยธารี โดยมีบรรดามนตรีนักรบ ข้าราชบริพาร มาทางทิศตะวันออกเป็นเวลาหลายวัน ท้าวกมลาโยธารีจึงหยุดเดิน ณ ที่ราบใกล้ทะเลและใกล้แม่นํ้าสายหนึ่งซึ่ง ไหลลงสู่ทะเล พระธิดาจึงให้มนตรีกลับไปทูลพระบิดาทรงทราบว่าเมืองนี้ชื่อปัตตานีหรือปาตานี (ศรีศักร และคณะ, อ้างแล้ว: 48) อย่างไรก็ตาม ทำ�เลเมืองใหม่แห่งนี้เหมาะกับการทำ�การค้าขายกับพ่อค้าต่างชาติมาก ปาตานีขณะนั้นจึงมี ความ เจริญรุง่ เรือง ผูค้ นหลายเชือ้ ชาติหลายเผ่าพันธุเ์ ดินทางเข้ามาทีแ่ ห่งนี้ เป็นทีม่ าของการรับนับถือศาสนาอิสลาม และที่มาของตำ�นานการเข้ามาของคนจีนในปัตตานี ตำ�นานเจ้าแม่ลม้ิ กอเหนีย่ ว มีความสำ�คัญในการทีจ่ ะอธิบายถึงความสัมพันธ์ของคนจีนกับคนมลายูมสุ ลิม ทั้งโดยการอุปถัมภ์คํ้าจุนซึ่งกันและกัน การช่วยเหลือกันในยามศึกสงคราม และการแต่งงานระหว่างคนมลายูและ คนจีนในท้องถิ่น ความเป็นมาของกลุม่ คนมลายูเชือ้ สายจีนทีน่ บั ถือศาสนาอิสลาม ตลอดจนสถานทีส่ �ำ คัญหลายแห่ง และโบราณวัตถุในปัตตานี ด้วยตำ�นานเรือ่ งนีเ้ ล่าต่อกันมาเป็นเวลานานจนกระทัง่ ทำ�ให้ต�ำ นานดังกล่าวมีหลายสำ�นวน ดังเช่น ตำ�นานนามเมืองปัตตานี เล่ากันมาว่า ลิ้มกอเหนี่ยว หญิงสาวชาวจีนฮกเกี้ยน ออกเดินทางจากหมู่บ้านของตนที่เมืองจีนด้วยเพราะ รับปากกับมารดาว่าจะมาตามหาพี่ชายที่ชื่อ ลิ้มโต๊ะเคี่ยม กลับไปหามารดาให้จนได้ หากไม่สามารถตามพี่ชายกลับ มาจะไม่ขอกลับไปเจอมารดาอีกเลย ลิ้มกอเหนี่ยวเดินทางมาด้วยเรือสำ�เภา 9 ลำ� มาจอดเทียบท่าอยู่ที่ชายทะเลในอ่าวปัตตานี แล้วขึ้นมาพบว่า ลิ้มโต๊ะเคี่ยมได้แต่งงานกับลูกสาวของเจ้าเมือง บางสำ�นวนก็ว่าแต่งงานกับหญิงสาวชาวปัตตานี และเข้ารับอิสลาม ทำ�งานในหน้าที่สำ�คัญคือรับเป็นนายช่างสร้างมัสยิดกรือเซะ และหล่อปืนใหญ่


303

ลิม้ โต๊ะเคีย่ มจึงได้จดั การฝังศพของลิม้ กอเหนีย่ วตามประเพณีจนี ทีห่ มูบ่ า้ นกรือเซะ ตำ�บลตันหยงลูโละ อำ�เภอ เมือง ปัตตานีในปัจจุบัน คนจี น ในปั ต ตานี เ ห็ น ถึ ง ความกตั ญ ญู ความกล้ า หาญ ความซื่ อ สั ต ย์ ข องลิ้ ม กอเหนี่ ย วจึ ง ได้ นำ � ต้ น มะม่วงหิมพานต์มาแกะเป็นรูปเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวและอัญเชิญรูปเคารพเจ้าแม่มาประดิษฐานไว้ที่ศาลเจ้าซูก๋งซึ่งมี พระหมอประดิษฐานอยู่ก่อนแล้ว และให้ชื่อศาลเจ้าใหม่เป็นศาลเจ้าเล่งจูเกียงสืบมาถึงปัจจุบัน ส่วนเรือสำ�เภา 9 ลำ�ทีเ่ จ้าแม่โดยสารมาจากเมืองจีน เมือ่ ไม่มผี เู้ ดินทางกลับก็ได้ลม่ ลงทีใ่ นอ่าวปัตตานีคงเหลือ ร่องรอยเพียงเสากระโดงเรือที่ทำ�จากต้นสน ชาวบ้านจึงเรียกที่บริเวณนั้นว่า “รูสะมิแล” แปลว่าสนเก้าต้น ซึ่งเป็นที่ ตั้งของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีในปัจจุบัน ส่วนลิ้มโต๊ะเคี่ยมนั้น เมื่อผ่านพ้นเรื่องราวต่างๆ ไปแล้ว ได้รับมอบหมายจากเจ้าเมืองให้หล่อปืนใหญ่เพื่อใช้ ในการศึกสงคราม เมือ่ หล่อปืนใหญ่เรียบร้อยแล้วทดลองยิงปรากฏว่าปืนกระบอกหนึง่ ไม่สามารถยิงได้ ลิม้ โต๊ะเคีย่ ม จึงไปทดลองยิงด้วยตนเองปืนเกิดระเบิดทำ�ให้ลิ้มโต๊ะเคี่ยมเสียชีวิต บางสำ�นวนก็ว่าลิ้มโต๊ะเคี่ยมอธิษฐานว่าขอให้ ปืนใช้การได้จะเอาชีวิตสังเวย เมื่อหล่อปืนกระบอกนี้เสร็จพร้อมยิง ลิ้มโต๊ะเคี่ยมไปยืนหน้าปืนแล้วสั่งให้คนยิง แรง กระสุนหอบร่างลิ้มโต๊ะเคี่ยมหายไป เรื่องเล่าเกี่ยวกับลิ้มกอเหนี่ยวและลิ้มโต๊ะเคี่ยมยังเป็นคำ�อธิบายถึงที่มาของคนมลายูที่มีรูปร่างหน้าตาคล้าย คนจีนนับถือศาสนาอิสลามในหมู่บ้านกรือเซะว่าเป็นเชื้อสายของลิ้มโต๊ะเคี่ยมกับหญิงสาวชาวเมืองปัตตานีนั่นเอง คนมลายูจีนมุสลิมบางคนในกรือเซะจะบอกว่าตนเองมีเชื้อจีนและมีแซ่ดั้งเดิม คือ แซ่ลิ้ม อย่างไรก็ตาม ตำ�นานหรือบันทึกประวัติศาสตร์ของชาวมลายูมีคำ�อธิบายถึงสถานที่ในตำ�นานเจ้าแม่ลิ้ม กอเหนี่ยวแตกต่างไป ดังเช่นหนังสือสยาเราะห์ปัตตานีบอกว่าสุลต่านลองยูนุสเป็นผู้สร้างมัสยิดกรือเซะ เมื่อ ประมาณพ.ศ. 2265 เหตุที่ก่อสร้างไม่เสร็จเพราะเกิดสงครามแย่งชิงราชสมบัติระหว่างสุลต่านลองยูนุสกับระตูปะกา ลัน ในฮิกายัตปาตานีเล่าว่าสุลต่านมูศอ็ ฟฟัรเป็นผูส้ ง่ั ให้สร้างมัสยิดกรือเซะตามคำ�แนะนำ�ของชีค ซาฟี ยูดดีน มัสยิด แห่งนีถ้ กู เผาทำ�ลายเมือ่ กองทัพสยามมาทำ�สงครามกับปาตานี กรณีของการหล่อปืนใหญ่ฮิกายัตปาตานีได้บันทึกไว้ว่าช่างที่หล่อปืนใหญ่เป็นชาว “รุม” บางคนตีความว่า ชาวรุมคือชาวโรมัน ที่ชื่ออับดุลซาหมัด (วัน มะโรหบุตร, 2528: 34) ในขณะที่ตำ�นานบางสำ�นวนเล่าเรื่องราวของการ สร้างปืนใหญ่เชื่อมต่อกับตำ�นานของดาโต๊ะปาแย จากบันทึกทางประวัตศิ าสตร์ทแ่ี ตกต่างนีท้ �ำ ให้นกั วิชาการบางคนคิดว่าตำ�นานเจ้าแม่ลม้ิ กอเหนีย่ วสำ�นวนคำ�สาป มัสยิดกรือเซะนัน้ ถูกแต่งแต้มให้มสี สี นั น่าสนใจเพือ่ ทีจ่ ะประชาสัมพันธ์การท่องเทีย่ วให้แก่จงั หวัดปัตตานี ด้วยเพราะ ตำ�นานเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวที่บันทึกในพงศาวดารเมืองปัตตานีของพระยาวิเชียรคีรีกับตำ�นานเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวใน หนังสือระลึกงานสมโภชเจ้าแม่ลมิ้ กอเหนีย่ วปี 2544 ไม่ได้มบี นั ทึกถึงเรือ่ งคำ�สาปแช่งของเจ้าแม่ลมิ้ กอเหนีย่ วแต่อย่าง ใด ความสัมพันธ์ระหว่างตำ�นานเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว 2 สำ�นวนข้างต้นกับมัสยิดกรือเซะมีเพียงลิ้มโต๊ะเคี่ยมเป็นช่าง ผู้สร้างมัสยิดกรือเซะเท่านั้น

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

ลิม้ กอเหนีย่ วได้พยายามขอให้พชี่ ายกลับไปหามารดาทีเ่ มืองจีน แต่พชี่ ายปฏิเสธว่าจำ�เป็นจะต้องสร้างมัสยิด ให้เสร็จ ลิ้มกอเหนี่ยวเสียใจมากจึงไปผูกคอตายใต้ต้นมะม่วงหิมพานต์และสาปแช่งให้พี่ชายไม่สามารถสร้างมัสยิด ได้ส�ำ เร็จ บางสำ�นวนเล่าว่า ลิม้ กอเหนีย่ วนัน้ ไม่ได้ตายเพราะผูกคอตาย แต่เพราะช่วยพีช่ ายสูร้ บในการแย่งชิงอำ�นาจ ภายในราชวงศ์ของเจ้าเมืองปัตตานี เมื่อจวนจะพ่ายแพ้แก่ศัตรูลิ้มกอเหนี่ยวจึงได้ฆ่าตัวตายเสียก่อน บ้างก็ว่าลิ้มกอ เหนี่ยวฆ่าตัวตายด้วยการผูกคอใต้ต้นมะม่วงหิมพานต์เช่นตำ�นานสำ�นวนแรก


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

304

สำ�หรับเมืองยะลา เล่ากันว่า ชือ่ ยะลามาจากชือ่ ทีต่ งั้ เมืองเดิมตัง้ อยูท่ ี่ บ้านยะลา (ต.ยะลา อ.ยะหา ในปัจจุบนั ) หลักฐานสำ�คัญทีย่ นื ยันว่าทีแ่ ห่งนีเ้ ป็นทีต่ ง้ั เมืองเดิม คือ บ้านของเจ้าเมือง คำ�ว่ายะลามาจากภาษาท้องถิ่นว่า ยาลอ แปลว่า แห ด้วยบริเวณบ้านยะลามี ภูเขาลูกหนึ่งที่มีรูปร่างคล้าย แห บางคนก็เล่าว่าบริเวณที่ตั้งเมืองยะลาเก่าเป็นพื้นที่ลุ่มที่ชาวบ้านมีอาชีพจับปลาและแหก็เป็นเครื่องมือในการ ประกอบอาชีพ จึงเรียกชุมชนแห่งแรกของยะลาว่ายาลอ (ศรีศักรและคณะ, อ้างแล้ว: 79) อีกตำ�นานที่เล่าว่ามีผู้ชายคนหนึ่งที่มีมือลายเหมือนลายเสือพาพรรคพวกมาสร้างเมืองยาลอ เพราะเห็นว่าที่ แถบนีม้ นี า้ํ อุดมสมบูรณ์ หน้านํา้ นํา้ ไม่ทว่ ม หน้าแล้งนํา้ ไม่ขาด ชาวบ้านจึงเรียกเมืองนีว้ า่ เมืองของเจ้าลายหรือเมืองยาลอ เมืองของเจ้าลายนีม้ กี �ำ แพงดินป้องกันสัตว์รา้ ย ทิศตะวันตกเป็นบ้านเจ้าเมืองเรียกว่าลูวากอตอ มีการขุดคลองชลประทาน เรียกว่าคลองยาลอ มีการสร้างอ่างเก็บนํา้ เพือ่ การเกษตร ปัจจุบนั คงเหลือร่องรอยอยูห่ ลังสถานีอนามัยตำ�บลยะลา (เพิง่ อ้าง) ในความเป็นจริง ผูค้ นทีอ่ าศัยอยูใ่ นยะลาไม่ได้ตงั้ บ้านเรือนอยูท่ บี่ า้ นยะลาเพียงแห่งเดียว แต่มกี ารตัง้ บ้านเรือน และชุมชนกระจัดกระจายอยู่ตามพื้นที่ต่างๆ ทั่วไป คนดั้งเดิมยะลาส่วนใหญ่คิดว่าชุมชนที่น่าจะเป็นต้นกำ�เนิดของ เทศบาลเมืองยะลาคือ บ้านท่าสาป และหน้าถํ้าซึ่งตั้งอยู่บริเวณฝั่งด้านเหนือของแม่นํ้าปัตตานี ท่าสาปเป็นพื้นที่ที่ อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูกทัง้ ยังเป็นศูนย์กลางการแลกเปลีย่ นค้าขายขนาดย่อมระหว่างปัตตานีและดินแดน ทีอ่ ยูล่ กึ เข้าไปในหุบเขา ด้วยทำ�เลเช่นนี้ ท่าสาปจึงมีผู้คนต่างศาสนาอาศัยอยู่ร่วมกันมายาวนาน ทั้งชาวมลายูมุสลิม ชาวไทยพุทธที่เป็นคนในท้องถิ่น และชาวจีนที่จากปัตตานี ความเป็นมาของชือ่ ท่าสาปทีเ่ ป็นชือ่ เรียกแม่นา้ํ ปัตตานีบริเวณบ้านท่าสาป เล่ากันว่า ต้นแม่นา้ํ มีหนิ ขนาดใหญ่รปู ร่างคล้ายผูห้ ญิง นํา้ ไหลออกจากซอกหินทีม่ ลี กั ษณะคล้ายอวัยวะเพศหญิง จึงถือว่าเป็นแม่นา้ํ ทีถ่ กู สาป เชือ่ กันว่าคนทีม่ ี คาถาอาคมจะไม่กล้าข้ามแม่นา้ํ ท่าสาปเพราะกลัวอาคมเสื่อม ส่วนเด็กๆ ที่เล่นนํ้าหากเอานํ้าลูบหัวจะทำ�ให้ไม่สบาย บ้างก็เล่าว่าบริเวณนี้เคยชื่อว่าบ้านท่าม่วง ต่อมาได้เกิดเหตุอาเพศ แม่นํ้าไหลเชี่ยว ภูติผีอาละวาด คนในหมู่บ้าน จมนํา้ ตายบ่อยๆ ชาวบ้านจึงไปเล่าเรือ่ งให้ชปี ะขาวทีป่ กั กลดใต้ตน้ มะม่วงฟัง ชีปะขาวให้ชาวบ้านนำ�ข้าวสารและดิน ทรายจากท้ายคลองมาทำ�พิธีเสกแล้วสร้างศาลเพียงตา ชาวบ้านนำ�ของที่เสกไปโปรยลงแม่นํ้า แล้วเปลี่ยนชื่อบ้าน จากบ้านท่าม่วงเป็นบ้านท่าสาปเพื่อสาปสิ่งชั่วร้ายให้หมดไป (เพิ่งอ้าง: 88) ในอดีต ชาวพุทธจากท่าสาปและหมู่บ้านใกล้เคียงมักเดินทางไปทำ�บุญที่ “วัดถํ้า” คนที่มีฐานะจะขี่ช้างไป ส่วนคนทีไ่ ม่มพี าหนะช่วยทุน่ แรงก็จะเดินไป เชือ่ กันว่าการได้ปนี เขาไปนมัสการ “พ่อท่านบรรทม” ในถํา้ จะได้บญ ุ มาก ต่อมาในช่วงทศวรรษที่ 2460 ผูค้ นเริม่ เคลือ่ นย้ายไปตัง้ บ้านเรือนอยูท่ ่ี “นิบง” ซึง่ เป็นพืน้ ทีฝ่ ง่ั ด้านใต้ของแม่นา้ํ ปัตตานีหา่ งจากแม่นา้ํ ประมาณ 2–3 กิโลเมตร นิบงเป็นคำ�ภาษามลายูแปลว่า ต้นหลาวชะโอน นิบงเริ่มก่อร่างสร้าง ตัวเป็นเมืองจากการอพยพโยกย้ายของคนจากหมู่บ้าน อำ�เภอ และจังหวัดใกล้เคียงด้วยสาเหตุหลักคือความซบเซา ของปัตตานี คนจีนทั้งที่เคยอยู่ในปัตตานีและที่เดินทางมาจากเมืองจีนรุ่นหลังไม่ได้แวะตั้งรกรากอยู่ที่ปัตตานีอีกต่อ ไป ซึ่งมีส่วนทำ�ให้ยะลากลายเป็นจังหวัดที่มีประชากรชาวจีนอยู่มากที่สุดใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (แพร ศิริ ศักดิด์ �ำ เกิง, 2546: 82-90) ชุมชนแห่งแรกของนิบง คือชุมชนชาวมลายูมุสลิมขนาดเล็กตั้งอยู่ฝั่งทางเหนือของสถานีรถไฟในปัจจุบันหรือ ย่านตลาดเก่า ด้วยพื้นที่ตลาดเก่าเป็นพื้นที่ที่ติดกับอำ�เภอยะรัง ของจังหวัดปัตตานี ผู้คนฝั่งตลาดเก่าส่วนมากที่มา ตั้งบ้านเรือนเป็นชาวมลายูมุสลิมที่อพยพ โยกย้ายมาจากอำ�เภอมายอ อำ�เภอยะรัง และอำ�เภอต่างๆ ของจังหวัด ปัตตานี มัสยิดแห่งแรกในเขตเทศบาลนครยะลาก็สร้างขึ้นในพื้นที่ตลาดเก่าแห่งนี้ (เพิ่งอ้าง)


305

คนจีนจากท่าสาป จากเหมืองต่างๆ ในหุบเขาค่อยๆ เคลื่อนย้ายเข้ามาอยู่ที่นิบงมากขึ้น และแม้กระทั่งคน จีนจากปัตตานี และนราธิวาสบางส่วนได้ย้ายเข้ามาตั้งรกรากและทำ�การค้าที่ยะลาด้วย คนไทยที่เข้ามากลุ่มแรกๆ เป็นครอบครัวและเครือญาติของพระรัฐกิจวิจารณ์ซึ่งอพยพจากอำ�เภอนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานีในปี 2469 พระรัฐกิจวิจารณ์ผนู้ มี้ สี ว่ นทำ�ให้นบิ งกลายเป็นเมืองศูนย์กลางการค้าขนาดเล็กต่อมา (เพิ่งอ้าง) ส่วนคนไทยพุทธทีอ่ ยูด่ งั้ เดิมในพืน้ ทีส่ ะเตงไม่นยิ มจะย้ายเข้ามาตัง้ บ้านเรือนทีน่ บิ ง เพราะอาชีพเกษตรเหมาะ ทีจ่ ะอยูน่ อกเมืองมากกว่า นิบงจึงเป็นทีร่ วมของผูท้ ตี่ อ้ งการเข้ามาประกอบอาชีพค้าขาย และเริม่ กลายเป็นศูนย์กลาง การค้าและขยายตัวออกไปเรื่อยๆ ชาวซิกข์จากอินเดียเป็นอีกกลุ่มชนหนึ่งที่อพยพเข้ามาอยู่ในยะลา คนอินเดียกลุ่มแรกเดินทางมาทางเรือจาก ประเทศอินเดียแวะพักที่เกาะปีนัง ประเทศมาเลเซีย แล้วจึงเดินทางต่อมายังดินแดนแหลมมลายูของประเทศไทย (เพิ่งอ้าง) คนที่เข้ามาอาศัยตั้งรกรากอยู่ที่นิบงจะเรียกกันในภาษามลายูว่า ออแฆนิบง แปลว่าคนนิบง ไม่ได้เรียกว่า ออแฆยะลาหรือคนยะลา แม้ในปัจจุบันเมื่อมีการทักทายและไถ่ถามกันว่าเป็นคนที่ไหนด้วยภาษามลายู คนในเขต เทศบาลนครยะลาทั้งคนมลายูและคนจีนจะตอบว่า “ออแฆนิบง” ตำ�นานหรือเรือ่ งเล่าในอดีตของคนในท้องถิน่ มีความสำ�คัญทีจ่ ะทำ�ให้เห็นทีไ่ ปทีม่ าของบรรพบุรษุ ของคนกลุม่ ต่างๆ ว่าเข้ามาตั้งรกรากอยู่ที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เมื่อไร อย่างไร และมีความสัมพันธ์กับคนที่มาอยู่ร่วมกัน อย่างไร ยังสะท้อนให้เห็นถึงพลวัตทางสังคมและวัฒนธรรมที่ปรับเปลี่ยนจากอดีตจนเป็นสังคมในปัจจุบัน ประวัติศาสตร์แบบที่ 5 ตำ�นานของกำ�ปง1 ประวัติศาสตร์ของชุมชน เป็นเรื่องเล่าที่เกี่ยวกับที่มาของ แต่ละหมู่บ้าน ใครที่มาตั้งรกรากเป็นกลุ่มแรกๆ มีคนกี่กลุ่มชาติพันธุ์อยู่ในพื้นที่แห่งนี้ ยกตัวอย่างเช่น หมู่บ้านฮูมอ ลานัส2 ตั้งอยู่ที่ ต.เจ๊ะเห อ.ตากใบ เป็นหมู่บ้านที่ใกล้ชายแดนมาเลเซีย เล่ากันว่า ในอดีตหมู่บ้านมีสภาพพื้นที่เป็น ป่า ต่อมามีชาวมาเลเซียคนหนึ่งแต่งงานกับคนไทยชาวเกาะสะท้อนแล้วนั่งเรือข้ามฝั่งมายังชุมชนฮูมอลานัส ตั้ง บ้านเรือนและสร้างปอเนาะเพื่อสอนศาสนา หลังจากนั้นชาวบ้านเริ่มมาปลูกบ้านใกล้ๆ ปอเนาะมากขึ้น จนขยาย ใหญ่ออกไปเรื่อยๆ คนกลุ่มแรกๆ ที่มาอาศัยในชุมชนฮูมอลานัส คือคนจากดาระดือมิและกำ�ปงบาโง โกตาบารู รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย เนื่องจากในหมู่บ้านเดิมในกลันตันมีคนอาศัยอยู่มาก ที่ท�ำ กินมีน้อยคนกลุ่มนี้จึงได้อพยพมาอยู่ ที่หมู่บ้านแห่งนี้ นอกจากคนฮูมอลานัสจะอพยพมาจากกลันตันแล้ว คนที่นี่หลายคนได้แต่งงานกับคนมาเลเซีย ก่อเกิดความ สัมพันธ์แบบเครือญาติข้ามพรมแดน แต่ด้วยเพราะสถานการณ์ความไม่สงบทำ�ให้เครือญาติไม่ค่อยได้ไปมาหาสู่กัน นอกจากเวลาที่มีพิธีกรรมสำ�คัญหรือมีคนเจ็บไข้ได้ป่วย เช่น งานแต่งงาน ญาติผู้ใหญ่เสียหรือป่วย 1 กำ�ปง เป็นภาษามลายู แปลว่าหมู่บ้าน 2 ข้อมูลจากบัณฑิตอาสา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในโครงการจัดทำ�หนังสือทักษะวัฒนธรรม ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (2548)

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

การเปลี่ยนเส้นทางคมนาคมน่าจะเป็นอีกสาเหตุที่ผู้คนอพยพกันเข้ามาอยู่ที่นิบง ในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้มีการ สร้างทางรถไฟขึ้นทั่วทุกภาคในประเทศไทย ทางรถไฟสายใต้ก่อสร้างไปถึงอำ�เภอสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาส และ ได้เปิดให้บริการรับส่ง ผู้โดยสารและบรรทุกสินค้าตั้งแต่วันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2464 นิบงกลายเป็นพื้นที่หนึ่งที่ทาง รถไฟได้ตัดผ่านและเป็นที่ตั้งของสถานีรถไฟของจังหวัดยะลา (เพิ่งอ้าง)


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

306

เมื่อบาบอเจ้าของปอเนาะเสียชีวิตไม่มีลูกหลานของบาบอสืบทอดปอเนาะต่อมา แต่คนในหมู่บ้านตาบาได้ สืบทอดปอเนาะนี้แทน ปัจจุบันปอเนาะที่สืบทอดจากหมู่บ้านฮูมอลานัสได้เปลี่ยนเป็นโรงเรียนเอกชนสอนศาสนา อิสลามชื่อนูรุดดิน เดิมทีคนในหมูบ่ า้ นประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำ�ไร่สปั ปะรดบ้าง ทำ�ยาเส้นบ้าง ส่งขายทีม่ าเลเซีย แต่ปจั จุบนั คนที่นี่เปลี่ยนไปประกอบอาชีพอื่นกันหมดแล้ว ผู้ชายส่วนใหญ่มักไปทำ�งานรับจ้างทั่วไปในตลาดนัดตาบา แบกของ ข้ามฝั่งมาเลเซีย-ไทย ส่วนอาชีพที่ผู้หญิงนิยมทำ�คือการปักผ้าคลุมผม บ้านเชิงเขา ตั้งอยู่ที่ ต. ปะลุกาสาเมาะ อ. บาเจาะ จ. นราธิวาส เป็นหมู่บ้านที่คนมลายูมุสลิมอาศัยอยู่ร่วม กับชาวไทยพุทธมานานนับ 200 ปี เล่ากันว่าคนมลายูที่มาอยู่ที่นี่เป็นคนแรกๆ คือต่วนจำ�ปากอ (โต๊ะกูกอ) และนาง ต่วนเยาะ (กูเยาะ) เป็นผู้สืบเชื้อสายมาจากเจ้าเมืองยะหริ่ง ส่วนคนไทยพุทธเมื่อแรกเข้ามาตั้งบ้านเรือนที่หมู่บ้าน แห่งนี้ว่ากันว่ามีเพียง 5-6 ขนำ�เท่านั้น นับจำ�นวนคนแล้วไม่น่าจะเกิน 20 คน ต่อ มาจึงเริ่มชักชวนญาติมิตรทยอย อพยพเข้ามาทั้งที่มาจากชุมชนใกล้เคียง ใน อ. สายบุรี และที่มาจากพื้นที่ห่างไกล เช่น บ้านสะพานไม้แก่น อ. จะนะ จ. สงขลา บางคนเป็นทายาท “จอมเมือง” ข้าราชสำ�นักในวังเจ้าเมืองยะหริ่ง หรือ ยามู โดยมาปักหลักที่บ้านป่าศรี ก่อน แล้วย้ายมาอยู่บ้านแป้น เขตอำ�เภอสายบุรี แล้วถึงชั้นลูกหลานจึงมาอยู่บ้านเชิงเขาในภายหลัง (ประวัติบ้าน เชิงเขา ตำ�บลปะลุกาสาเมาะ อำ�เภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส (http://www.geocities.com/banchengkao/03.html) ทัง้ ชาวมลายูและชาวไทยพุทธทีอ่ พยพมายังบ้านเชิงเขามีสภาพความยากจนไม่ตา่ งกัน ทำ�ให้อยูร่ ว่ มกันฉันท์ มิตรเสมือนเครือญาติที่ต้องเอื้อเฟื้อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะการให้ความช่วยเหลือในยามเจ็บป่วยและภัย พิบัติอื่นๆ (เพิ่งอ้าง) ปัจจุบันชาวไทยพุทธและมลายูมุสลิมยังคงความสัมพันธ์ฉันท์เครือญาติ เพื่อนบ้าน เพื่อนร่วมงาน เพื่อน ร่วมเรียน หมูบ่ า้ นเชิงเขามีประเพณีบญ ุ ข้าวใหม่ทแี่ สดงถึงความเป็นเครือญาติระหว่างไทยพุทธและมลายูมหี ลักการ ปากะที่หมายถึงการร่วมมือร่วมใจกันทำ�สิ่งใดสิ่งหนึ่ง ที่มุ่งให้เกิดความสามัคคีปรองดองกันอย่างเป็นรูปธรรม เช่น การช่วยเหลือกันด้านแรงงาน ด้านเงินทอง การขอความเห็นใจเมื่อมีความขัดแย้งกัน การปากะใช้ได้กับทั้งคนต่าง ศาสนาและคนศาสนาเดียวกัน (เพิ่งอ้าง) บ้ า นพิ เ ทน ความเป็ น มาของชื่ อ พิ เ ทนเล่ า กั น ว่ า มี ค วาญช้ า ง 7 คน เป็ น ชาวจามจากบ้ า นหลุ ม พลี พระนครศรีอยุธยา ซึง่ ร่วมเป็นทหารกรมอาสาจามในกองทัพสยามมาตีปาตานี เมือ่ มาถึงนครศรีธรรมราชช้างสำ�คัญ ของกองทัพหลุดหายไปในป่า 7 พีน่ อ้ งชาวจามซึง่ มีพเี่ ณรเป็นพีค่ นโต ได้ออกติดตามมาจนถึงเชิงเขาโต๊ะชุดยังหาช้าง ไม่เจอ และพบว่าที่แห่งนี้มีความอุดมสมบูรณ์จึงตัดสินใจตั้งหลักปักฐานอยู่ที่นี่ จึงเรียกหมู่บ้านแห่งนี้ตามชื่อของพี่ คนโตคือพี่เณร ต่อมาเพี้ยนเป็นพิเทน (ศรีศักรและคณะ, อ้างแล้ว: 128 -129) ส่วนพีน่ อ้ งคนอืน่ ได้แยกย้ายไปตัง้ หมูบ่ า้ นอืน่ ๆ มีลกู หลานสืบทอดหลายชัว่ อายุคน ลูกหลานในพืน้ ทีต่ า่ งๆ ได้ สืบทอดภาษาพิเทน หลักฐานสำ�คัญที่ยืนยันการมาของ 7 พี่น้องคือหลุมศพของพี่เณรตั้งอยู่ที่บ้านเขาน้อย ต. พิเทน ส่วนน้องชายที่ชื่อนายเภาฝังอยู่ที่บ้านกะลุบี ต.กะลาพอ อ.กะพ้อ นายอ่อนนายแก้วฝังที่บ้านบือจะ ต. พิเทน นาย มอนฝังที่บ้านโต๊ะมอน ต.นํ้าดำ� อ.ทุ่งยางแดง นอกจากนี้ยังมีเครื่องมือเครื่องใช้ในการทำ�พิธีกรรมในอดีต เช่น กลองกือด๊อมบ๊อกที่พี่เณรใช้ตีในวันเทศกาลสำ�คัญ หรือรักษาผู้ป่วย เครื่องสวมหัวมโนราห์ กระดิ่งผูกคอช้างและ หอกที่ตกทอดมาถึงลูกหลานในปัจจุบัน (เพิ่งอ้าง) อดีตกำ�นัน ต. พิเทน เล่าว่าภาษาพิเทนโบราณกำ�ลังจะสูญหายไป เพราะลูกหลานใช้ภาษามลายูหรือภาษา ไทยมากกว่า หากพูดภาษาพิเทนจะถูกล้อเลียนได้


307

เล่ากันว่า “เส้ง” หรือ “ไอ้เส้ง” เป็นชื่อของลูกชายคนโตของครอบครัวจีนครอบครัวแรกที่มาอาศัยอยู่ ณ ที่ แห่งนี้ ชาวจีนครอบครัวนี้มีอัธยาศัยดี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ชาวบ้านที่เดินทางผ่านไปมามักแวะพักเหนื่อยที่บ้านของเส้ง เจ้าของบ้านจะต้อนรับคนทีม่ าแวะพักด้วยนํา้ อาหาร ผลไม้ ทำ�ให้ชาวบ้านประทับใจและชอบมาเล่นกับเส้ง คนทีผ่ า่ น ไปมาจึงมักเรียกบริเวณบ้านนี้ว่า บ้านเปาะไอ้เส้ง หรือพ่อของไอ้เส้ง ต่อมาจึงเรียกสั้นๆ ว่า เปาะเส้ง (เพิ่งอ้าง: 81) ครอบครัวของเส้งมีความศรัทธาต่อพุทธศาสนาอย่างมากจนยกที่ดินของตนเองสำ�หรับสร้างวัด คนพุทธจาก พื้นที่ใกล้เคียงจึงอพยพโยกย้ายเข้ามาอยู่ใกล้วัดที่บ้านเปาะเส้งมากขึ้น จนกระทั่งคนมลายูมุสลิมที่อาศัยอยู่หน้าถํ้า ได้ค้นพบพระพุทธรูปจำ�นวนมากในถํ้าคูหาภิมุข ชาวไทยพุทธที่บ้านเปาะเส้งจึงขอแลกที่อยู่กับคนมุสลิมที่บ้านหน้า ถํ้า นับแต่นั้นมาชาวมลายูมุสลิมจากบ้านหน้าถํ้าได้ย้ายไปอยู่ที่บ้านเปาะเส้ง ส่วนชาวไทยพุทธได้ย้ายมาอยู่บ้าน หน้าถํ้าที่มีชื่อเดิมว่า “บาโย” หมายถึงต้นไม้ชนิดหนึ่งที่ขึ้นอยู่บนภูเขาหน้าถํ้า (เพิ่งอ้าง) ประวัตศิ าสตร์แบบนีท้ ำ�ให้เห็นว่าสังคมจังหวัดชายแดนภาคใต้มคี วามหลากหลายของกลุม่ ชาติพนั ธุ์ ทีไ่ ม่ใช่มี เพียงคนมลายู คนไทย หรือคนจีนเท่านั้น แต่ยังมีคนเชื้อสายจาม คนอินเดียที่นับถือซิกข์ และคนกลุ่มอื่นๆ อีกด้วย ผูค้ นหลากหลายเหล่านีม้ ตี �ำ นานการตัง้ บ้านเรือนอยูร่ ว่ มกัน มีประเพณีตา่ งๆ ทีเ่ คยทำ�ร่วมกันมา มีความสัมพันธ์ทาง สายเลือดด้วยการแต่งงานข้ามศาสนา มีความเป็นเพือ่ นบ้านทีช่ ว่ ยเหลือเกือ้ กูลกันมา นอกจากนี้ ยังเห็นความสัมพันธ์ ของคนมลายูมสุ ลิมในเขตแดนประเทศไทย และคนมาเลย์เขตแดนประเทศมาเลเซียว่าเขาเป็นเครือญาติกนั ได้อย่างไร

ประวัติศาสตร์ทั้ง 5 แบบสะท้อนภาพความสัมพันธ์ที่หลากหลายอย่างไร เมือ่ พิจารณาประวัตศิ าสตร์ทงั้ 5 แบบจะเห็นความสัมพันธ์ระหว่างกลุม่ ชาติพนั ธุใ์ น 2 ระดับด้วยกัน ระดับแรก คือความสัมพันธ์แนวตั้ง คือความสัมพันธ์ระหว่างรัฐสยาม/ไทยกับชาวมลายูมุสลิม ระดับที่สองคือความสัมพันธ์ใน แนวระนาบระหว่างรัฐสยาม/ไทยกับรัฐปาตานี ดารุสลาม/รัฐปัตตานี และความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ความสัมพันธ์ระดับแรกเห็นได้จากประวัติศาสตร์บาดแผลของผู้คนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ อันเป็นเรื่อง ราวที่สะท้อนถึงพัฒนาการความสัมพันธ์ระหว่างรัฐสยาม/ไทย กับประชาชนใน 3 จังหวัด ที่ล้วนเป็นความทรงจำ� ของรอยแผลจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ส่วนใหญ่แล้วผู้กระทำ�ความรุนแรงในประวัติศาสตร์บาดแผลคือฝ่ายรัฐ และผู้ที่ ถูกกระทำ�คือฝ่ายประชาชนมลายู กลุ่มผู้ปกครองชาวไทยจึงเข้าใจว่าประวัติศาสตร์แบบนี้เป็นประวัติศาสตร์ที่ผู้ก่อ ความไม่สงบนำ�มาใช้หรืออาจบิดเบือนเพื่อสร้างแนวร่วมก่อความไม่สงบในพื้นที่ภาคใต้ ประวัติศาสตร์ที่แสดงถึงความสัมพันธ์แนวระนาบอาจพิจารณาเริ่มจากประวัติศาสตร์ 2 แบบแรกที่เป็น ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการเมืองการปกครอง นอกจากเรื่องราวที่เขียนถึงจะบอกเล่าความสัมพันธ์ระหว่างสยามกับ ปัตตานี และความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำ�ทางการเมืองของทั้ง 2 เมือง ที่ในบางเวลาก็มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน บาง เวลาเป็นเรื่องราวของความขัดแย้ง หากมองประวัติศาสตร์ทั้ง 2 แบบในฐานะประวัติศาสตร์นิพนธ์จะเห็นถึงการทีผ่ ู้ ปกครองนำ�งานเขียนประวัตศิ าสตร์มาต่อรองทางอำ�นาจซึง่ กันและกัน รวมทัง้ สร้างความชอบธรรม ดังทีช่ ลุ พี ร วิรณ ุ หะ เขียนถึงงานเขียนประวัตศิ าสตร์ปตั ตานีไว้วา่ เมื่อใดก็ตามที่ประเทศมีความขัดแย้งกัน หรือเมื่อรัฐบาลกับชุมชนในท้องถิ่นมีความเห็นไม่ลงรอย กันเกี่ยวกับสิทธิและอำ�นาจในการตัดสินในเรื่องใดๆ ก็ตาม การนำ�ประวัติศาสตร์มาใช้เพื่ออ้างอิงสิทธิ อำ�นาจที่มีมาในอดีตมักจะเกิดขึ้นเสมอ แต่ไม่มีเหตุการณ์ใดที่ทำ�ให้เกิดการแย่งชิง “พื้นที่ทาง

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

บ้านเปาะเส้ง มีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสลับเนินเขา ในอดีตเป็นป่าทึบมีสัตว์ป่าและต้นไม้ใหญ่ เป็นพื้นที่ เลี้ยงช้างและม้าของเจ้าเมืองยาลอ เขตที่ราบเป็นพื้นที่ทำ�นาเจ้าเมืองเก่าจึงได้สร้างทำ�นบกูแบคือรังและทำ�นบบรา ยอไว้กั้นนํ้าเพื่อทำ�นา


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

308

ป ระวัติศาสตร์” ได้มากเท่ากับความขัดแย้งในบริเวณ 3 จังหวัดภาคใต้ครั้งนี้ 2548: ปกหลัง)

(ชุลีพร วิรุณหะ,

หากลองพิ จ ารณาประวั ติ ศ าสตร์ บ าดแผล ประวั ติ ศ าสตร์ ปั ต ตานี ใ นมุ ม มองของรั ฐ สยาม/ไทย และ ประวัติศาสตร์ปัตตานีที่ผู้นำ�ปัตตานีเขียนขึ้นในฐานะประวัติศาสตร์นิพนธ์ จะเห็นได้ว่าอดีตที่ถูกเขียนขึ้นนั้นถูกนำ� มาใช้อ้างความชอบธรรมในการกระทำ�ความรุนแรงของทั้ง 2 ฝ่าย อย่างต่อเนื่อง เมื่อประวัติศาสตร์เหล่านี้เป็นปัญหา คณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์และนักวิชาการ เช่น นิธิ เอียวศรีวงศ์ ศรีศักร วัลลิโภดม ประเวศ วะสี และอีกหลายท่านได้เสนอทางออกของปัญหาทางประวัติศาสตร์ไว้ว่า กระทรวงศึกษาควรปฏิรปู การเรียนการสอนประวัตศิ าสตร์และวัฒนธรรม (รายงานกอส. อ้างแล้ว: 89) ควรมีการชำ�ระ ประวัตศิ าสตร์ใหม่ เปิดพืน้ ทีใ่ ห้กบั ประวัตศิ าสตร์ทอ้ งถิน่ ส่งเสริมการเขียนตำ�ราประวัตศิ าสตร์ทอ้ งถิน่ อันหลากหลาย (เพิ่งอ้าง, สำ�นักงานพัฒนานโยบายสาธารณะ, อ้างแล้ว: 31) เพราะประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจะทำ�ให้เข้าใจสังคมและ วัฒนธรรมในเชิงลึก สะท้อนภาพโครงสร้างความสัมพันธ์ของผู้คน (ศรีศักร วัลลิโภดม, 2549: 27, 52) นอกจากนี้ควร ที่จะปรับเปลี่ยนโจทย์ในการเรียนประวัติศาสตร์ใหม่ โดยตั้งโจทย์ว่า “สงครามไม่ควรเกิด แต่ทำ�ไมจึงเกิด ทำ�ไมจะ ไม่เกิด ทำ�อย่างไรจะมีสันติภาพ” (ประเวศ วะสี, อ้างแล้ว: 29) จากข้อเสนอการแก้ปัญหาทางประวัติศาสตร์ข้างต้น จะเห็นได้ว่าตำ�นานของท้องถิ่นและความทรงจำ�ของกำ� ปงน่าจะเป็นหนทางในการทำ�ความเข้าใจสังคมและวัฒนธรรมของจังหวัดชายแดนภาคใต้มากที่สุด เพราะเรื่องเล่า แบบนีท้ �ำ ให้เห็นภาพพลวัตความหลากหลายของกลุม่ ชาติพนั ธุ์ ภาพความสัมพันธ์ในแนวนอนระหว่างกลุม่ ชาติพนั ธุ์ กลไกการปรับตัวในการอยู่ร่วมกัน อีกทั้งยังอธิบายความสัมพันธ์ฉันท์เครือญาติระหว่างคนมลายูในอาณาบริเวณ ประเทศไทยกับคนมาเลเซียในประเทศมาเลเซีย เรื่องราวความทรงจำ�เหล่านี้ล้วนเป็นทุนทางสังคมและวัฒนธรรมที่ จะช่วยเสริมสร้างโครงสร้างความสัมพันธ์ในแนวนอนนี้ให้คงอยู่อย่างเข้มแข็งท่ามกลางความขัดแย้งที่เกิดขึ้นอย่าง ต่อเนื่องในปัจจุบัน นอกจากนี้ ผู้คนมักมองว่าประวัติศาสตร์ต้องมีแบบเดียวที่ถูกต้องที่สุด และควรค่าแก่การบันทึก ทำ�ให้เป็น ทางการ บรรจุเป็นหลักสูตรให้เรียนในโรงเรียนเพือ่ ฝังเป็นความทรงจำ�ให้เด็กรุน่ แล้วรุน่ เล่า ซึง่ ไม่มคี วามจำ�เป็นเช่นนัน้ เลย ประวัติศาสตร์น่าจะมีได้หลายแบบ จากหลายมุม ถ้าหากรับรู้ได้หลายแบบและเข้าใจพลังอำ�นาจของงานเขียน ทางประวัติศาสตร์หรือประวัติศาสตร์นิพนธ์ จะทำ�ให้เข้าใจกลไกทางอำ�นาจของผู้ปกครอง และการใช้ประวัติศาสตร์ เป็นเครื่องมือในการอ้างความชอบธรรม รวมถึงเข้าใจสถานการณ์ปัจจุบันได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม การทบทวนประวัติศาสตร์และความทรงจำ�ของผู้คนจะไม่เกิดผลอันใดเลยหากคนในปัจจุบัน จะไม่ยอมรับว่าประวัติศาสตร์บางช่วงบางตอนที่นำ�มาอ้างความชอบธรรม หรือที่เป็นรอยแผลคือความผิดพลาดที่ เกิดขึ้นในอดีตของทุกฝ่าย และพร้อมที่จะช่วยกันไม่ให้เกิดประวัติศาสตร์ซํ้ารอยขึ้นอีกในอนาคต


309

กระทรวงศึกษาธิการ. “ประวัติศาสตร์สี่จังหวัดภาคใต้ นราธิวาส ปัตตานี ยะลา สตูล” ครองชัย หัตถา. ปัตตานี การค้าและการเมืองการปกครองในอดีต. ปัตตานี: โรงพิมพ์มิตรภาพ, 2541. เคี่ยม สังสิทธิเสถียร และดวง ทองอ่อน. เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวปัตตานี. ยะลา: ยะลาการพิมพ์, 2544. นิธิ เอียวศรีวงศ์ และคณะ. ความรู้และความไม่รู้ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้. แผนงานร่วมศึกษา เสริมสร้างสุข ภาวะกรณี 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คณะทำ�งานวาระทางสังคม สถาบันวิจัยสังคม, 2549. นิธิ เอียวศรีวงศ์ (บรรณาธิการ). มลายูศึกษา. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับประชาชนมลายูในภาคใต้. กรุงเทพฯ: อมรินทร์, 2550. ชัยวัฒน์ สถาอานันท์. “กรือเซะเวทีแห่งการปะทะต่อรองทางเอกลักษณ์ครัง้ ใหม่ของชาวมุสลิม”. ใน ศิลปวัฒนธรรม, 1,12, 2537, น.94-108. ชุลีพร วิรุณหะ. ประวัติศาสตร์ปัตตานี ยะลา นราธิวาส. http://www.midnightuniv.org/midnight2545/document95168.html ชุลีพร วิรุณหะ. ความรู้ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ผ่านมุมมองประวัติศาสตร์. แผนงานร่วมศึกษา เสริมสร้างสุข ภาวะกรณี 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คณะทำ�งานวาระทางสังคม สถาบันวิจัยสังคม, 2549. ชุลีพร วิรุณหะ. บุหงารายา ประวัติศาสตร์จากคำ�บอกเล่าของชาวมลายู. กรุงเทพฯ: ศักดิโสภาการพิมพ์, 2551. ทวีศกั ดิ์ เผือกสม. “Ú อยุธยาในเงือ้ มมือของปัตตานี:ประวัตศิ าสตร์นพิ นธ์ของปัตตานี และบทสนทนาระหว่างศูนย์กลาง กับท้องถิ่นในการเขียนประวัติศาสตร์”. ในงานสัมมนา The First Inter-Dialogue Conference on Southern Thailand, โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 13-15 มิถุนายน 2545. โบราณสถาน โบราณวัตถุวัดคูหาภิมุข. พิมพ์ครั้งที่ 2 จัดพิมพ์โดย วัดคูหาภิมุข (วัดถํ้า) จังหวัดยะลา หน่วย อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรมท้องถิ่น จังหวัดยะลา และสถาบันราชภัฏยะลา, 2539. ปิยะ กิจถาวร. “ชาวมลายูภายใต้นโยบายพัฒนา”. ใน มลายูศึกษา ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับประชาชนมลายู มุสลิมในภาคใต้, กรุงเทพฯ: อมรินทร์, 2550. ปรีดี พนมยงค์. “ข้อสังเกตเกีย่ วกับเอกภาพของชาติกบั ประชาธิปไตย.” ใน ความเป็นเอกภาพของชาติกบั ปัญหา สามจังหวัดภาคใต้, 1-16. สหพันธ์นสิ ติ นักศึกษาชาวปักษ์ใต้แห่งประเทศไทย, รวบรวม. กรุงเทพฯ: ประจักษ์ การพิมพ์, 2517. ประวัติบ้านเชิงเขา ตำ�บลปะลุกาสาเมาะ อำ�เภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส http://www.geocities.com/ banchengkao/03.html ประวัติศาสตร์ 4 จังหวัดภาคใต้และคติธรรม. ที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพพระเทพเมธี (เลี่ยน ปญฺญาวุโธ, 23 – 25 สิงหาคม 2544. ประเวศ วะสี. ดับไฟใต้ด้วยจิตวิวัฒน์และพลังแห่งทางสายกลาง. กรุงเทพฯ: กรีนปัญญาญาณ, 2550. ปรามินทร์ เครือทอง. สยาม - ปัตตานี ในตำ�นานการต่อสู้มลายูมุสลิม. กรุงเทพฯ:สำ�นักพิมพ์มติชน, 2548. แพร ศิริศักดิ์ดำ�เกิง. ปฏิสัมพันธ์ระหว่างมลายูมุสลิมกับชาวจีนในย่านสายกลาง จังหวัดยะลา. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2546. _______________. “กอตอ” สะพานแห่งความทรงจำ�ที่ไม่อาจลืม.” ใน ศิลปวัฒนธรรม, 25(9), 2547. _______________. โครงการทบทวนองค์ความรู้เกี่ยวกับจังหวัดชายแดนภาคใต้ท่ามกลางสถานการณ์ความ รุนแรง (พ.ศ. 2547 – 2550). รายงานวิจัยในโครงการการพัฒนาชุมชนโดยชุมชนในสถานการณ์ความขัด แย้งในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้, 2551. วัน มะโรหบุตร. “เล่าเรื่องเมืองปัตตานีภาคที่ 1.” ใน วารสารรูสมิแล, 8, 2 มกราคม - เมษายน, 2528.

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

บรรณานุกรม


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

310

วิเชียรคิรี, พระยา. ประชุมพงศาวดารภาคที่ 3. พิมพ์ครั้งที่ 2 พระนคร:หอสมุดวชิรญาณ, 2471 (พิมพ์ในงานศพ หลวงชนาธิกรณ์อนุมัติ (สิงโต ลิมปพันธุ์) 2471. ศรีศักร วัลลิโภดม. “ชุมชนโบราณในสี่จังหวัดภาคใต้.” ใน ค้นหาอดีตของเมืองโบราณ, กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ. 2538. ศรีศักร วัลลิโภดม และคณะ. เล่าขานตำ�นานใต้. จัดพิมพ์โดยศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล. 2550. สุจิตต์ วงษ์เทศ (บรรณาธิการ). รัฐปัตตานีในศรีวิชัย. กรุงเทพฯ: สำ�นักพิมพ์มติชน, 2550. สุรนิ ทร์ พิศสุวรรณ. “นโยบายประสมประสานชาวมาเลย์มสุ ลิมในประเทศไทยสมัยรัตนโกสินทร์.” ในการสัมมนาสอง ศตวรรษรัตนโกสินทร์: ความเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2525. สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี และคณะ. สันติภาพในเปลวเพลิง. กรุงเทพฯ: เนชั่นบุ๊คส์, 2547. แสงเพชร. ปมประวัติ “รัฐปัตตานี” ไฟใต้ไม่เคยดับ. กรุงเทพฯ: สำ�นักพิมพ์วันชนะ, 2547. สำ�นักงานพัฒนานโยบายสาธารณะ. แนวทางด้านนโยบายในการแก้ไขปัญหาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้. เอกสารถ่ายสำ�เนา, 2549. อนันต์ วัฒนานิกร. แลหลังเมืองตานี. ศูนย์ศึกษาเกี่ยวกับภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 2528. อารง สุทธาศาสน์. ปัญหาความขัดแย้งในสี่จังหวัดภาคใต้. กรุงเทพฯ: พิทักษ์ประชา, 2519. อารีฟีน บินจิ, อ.ลออแมน และอัฮหมัด สมบูรณ์ บัวหลวง. ปาตานี ดารุสสลาม. ยะลา: มุสลิมนิวส์, 2543. อารีฟีน บินจิ, อ.ลออแมน และซูฮัยมีย์ อิสมาแอล. ปาตานี..ประวัติศาสตร์และการเมืองในโลกมลายู. สงขลา: มูลนิธิวัฒนธรรมอิสลามภาคใต้, 2550.


311

มะรอนิง สาและ 2

คงเป็นไปไม่ได้ทเี่ ราจะอยูใ่ นโลกนีอ้ ย่างโดดเดีย่ ว เพราะเราต้องอาศัยความช่วยเหลือจากเพือ่ นมนุษย์ดว้ ยกัน และอาศัยธรรมชาติ ภูเขา แม่นํ้า ทะเล ซึ่งเป็นเหตุผลที่มนุษย์ต้องจับกลุ่มและกำ�หนดประเพณี วัฒนธรรมร่วมกัน เพื่อแสดงว่าในท้องถิ่นนี้เป็นเขตที่คนกลุ่มนั้นๆ เป็นผู้ดูแลรักษา และไม่ได้หมายความว่าคนต่างถิ่นมาใช้ประโยชน์ ไม่ได้ เพียงแต่ต้องเคารพกฎกติกาของคนในท้องถิ่นและเคารพธรรมชาติในพื้นที่นั้นๆ ซึ่งนับเป็นวิถีปฏิบัติของผู้คน สืบต่อกันมา ในความเป็นจริง กลุ่มคนที่กำ�หนดวัฒนธรรมร่วมกันนั้นไม่ใช่มาจากชาติพันธุ์เดียวกัน หากแต่มีการผสม ผสานจนเป็นคน จาม มาลายู ไทย(พุทธ) ปากีสถาน จีน ชาวบ้านเองบางคนไม่รู้ด้วยซํ้าว่าต้นตระกูลชาติพันธุ์ ของพวกเขานั้นมาจากชาติพันธุ์ไหนบ้าง มีเพียงบางคนเท่านั้นที่สนใจศึกษาในเรื่องเล่าบอกต่อกันมาถึงความเป็น มาของตัวเอง ในขณะที่บางคนไม่ได้สนใจเลย คนในสามจังหวัดภาคใต้ตา่ งคุน้ เคยอยูก่ บั วิถชี วี ติ ในสังคมหลากหลายกลุม่ คนและใช้ชวี ติ อยูก่ บั ธรรมชาติอย่าง ทะนุถนอมเพราะมีความอุดมสมบูรณ์มากมาย แบ่งกันกิน แบ่งกันใช้มาอย่างยาวนาน เป็นการรักษาสมดุลระหว่าง คนด้วยกันและคนกับธรรมชาติโดยมีศาสนาและความเชื่อของคนกลุ่มต่างๆ เป็นตัวกำ�กับ

ประสบการณ์จากตากใบ ความงามของความหลากหลายทางชาติพันธุ์ เมื่อผู้เขียนเข้าไปศึกษาในพื้นที่เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ตั้งแต่อำ�เภอตากใบ อำ�เภอแว้ง อำ�เภอสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาส ไปจนถึงด่านที่เพิ่งเปิดใหม่ คือ ด่านเทศบาลตำ�บลบูเกะตา อำ�เภออำ�เภอแว้ง (มีประวัติการบอก เล่าว่า คนที่มาบุกเบิกหมู่บ้านแว้งนั้นมาจากหมู่บ้านระแว้ง อำ�เภอยะรัง จังหวัดปัตตานี ชื่อโต๊ะแว้ง มาปลูกบ้านตั้ง ถิ่นฐานเริ่มแรก ต่อมาเพี้ยนจึงเรียกว่าแว้ง) ทำ�ให้ผู้เขียนได้ทราบถึงความเป็นมาของคนในพื้นที่จนเข้าใจว่ามีการ ผสมปนเปของคนต่างกลุ่มต่างชาติพันธุ์ที่มาอยู่ร่วมกัน และได้สืบทราบว่ากลุ่มคนที่มาสร้างที่อยู่อาศัยตามโต๊ะแว้ง นั้นมีเรื่องน่าสนใจดังต่อไปนี้ เล่ากันว่า มีชาวจามหนีสงครามจากบ้านเมืองจากกำ�ปงจาม มาทางเรือแล้วขึ้นที่คลองตากใบ ได้เอาผ้าคลุม ผมขายให้กับคนในพื้นที่และทำ�ธุรกิจผ้าคลุมผมกับคนในมาเลเซีย ในเวลาต่อมา ชาวบ้านที่ตากใบเริ่มทำ�ธุรกิจผ้า คลุมผมกับคนในมาเลเซียด้วย ปัจจุบันธุรกิจผ้าคลุมผมเป็นการสร้างรายได้ดีถ้าเปรียบเทียบกับอาชีพอื่นๆ การทำ� ผ้าคลุมผมนั้นได้พัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆ มีการประดับเพชรซึ่งเป็นแฟชั่นที่คนไทยเราออกแบบเอง มีการตั้งชื่อผ้าคลุม ผมตามคนดังของมาเลเซีย เช่น โต๊ะมีซา (โต๊ะหนวด) เป็นต้น แม่ค้าขายผ้าคลุมผมบอกว่าเมื่อประมาณ 15 ปีก่อน ผู้หญิงจะคลุมผมธรรมดาๆ กล่าวคือปกปิดศีรษะโดย ไม่มีแฟชั่นเหมือนสมัยนี้ แต่ปัจจุบัน การคลุมผมกลายเป็นแฟชั่นที่นิยมกันมาก เช่น สำ�หรับคนชายแดนมาเลเซีย 1 การอ้างอิงบทความ ควรได้รับอนุญาตจากเจ้าของบทความ 2 บ้านดาโต๊ะ ปัตตานี

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

ชีวิตในสังคมหลากชาติพันธุ์ของคนชายแดนใต้1


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

312

จะใช้ผ้าคลุมผมที่เน้นสีเหมือนกับเสื้อผ้า แตกต่างกับคนไทยมลายูที่ใช้ผ้าคลุมผมสีอะไรก็ได้แล้วแต่ความต้องการ ของตัวเอง แม่ค้าขายผ้าคลุมผมบอกว่า เวลาแบบผ้าคลุมผมที่จ้างให้คนในพื้นที่ทำ�รุ่นใหม่แบบใหม่ๆ แม่ค้าต้องใส่ เองเพื่อดึงดูดความสนใจจากลูกค้า ปัจจุบันผ้าคลุมผมแบบที่มีเพชรปักที่ขอบผ้าและปักดอกไม้ต่างๆ คนซื้อบอกว่า เหมือนมโนราห์เป็นที่นิยมมาก คนทีอ่ ยูช่ ายแดนจากตากใบจนถึง ด่านบูเกะตา 70 เปอร์เซ็นต์ ข้ามไปมาเลเซียเพือ่ รับจ้างทำ�นา อีกส่วนหนึง่ มี อาชีพค้าขายติดชายแดน และบางส่วนทำ�อาชีพประมงพืน้ บ้านและรับจ้างทำ�ประมงพาณิชย์ของนายทุนชาวมาเลเซีย กรณีของชาวบ้านเกาะยาว (ปูลาปาแย) วิถีชีวิตของคนแก่มักทำ�ประมงในคลองตากใบ ส่วนคนหนุ่มสาวก็ไป ทำ�งานเป็นลูกจ้างร้านต้มยำ�กุ้งที่มาเลเซีย หมู่บ้านแห่งนี้มีประวัติบอกเล่ากันว่าเป็นที่ซึ่ง รายา (สุลต่านรัฐกลันตัน) มาถวายต้นไม้เงินต้นไม้ทองให้กับรัฐสยามและปัจจุบันยังมีเสาธงที่ทำ�จากไม้ทำ�เสาเป็นหลักฐาน เรือของชาวบ้านในละแวกบ้านนี้ ส่วนใหญ่จะจดทะเบียนมาเลเซีย เนื่องมาจากการจับสัตว์นํ้าทางมาเลเซีย นั้นดีกว่าทางไทย และสามารถใช้นํ้ามันที่ราคาถูกกว่า ชาวบ้านบอกว่าในอดีตมีประเพณีแจกปลา เมื่อเวลาจับปลา ได้จำ�นวนมากๆ เจ้าของเรือจะปักธงที่หัวเรือ และเป่า ตูแว (ทำ�จากเขาควาย) เพื่อให้คนที่อยู่ในหมู่บ้านทราบว่า มีเรือจับปลาได้มาก ชาวบ้านไม่ว่าจะเป็นคนจีน พุทธ มลายูจะออกไปรอที่ท่าเรือ เมื่อเรือถึงที่ท่า ลูกเรือจะโยนปลา ให้กับชาวบ้านเป็นการแสดงความขอบคุณพระเจ้าที่ประทานปลาให้กับพวกเขา ชาวมลายูที่อยู่ตามแม่นํ้าสุไหงโกลกติดชายแดนมาเลเซียมีอาชีพการเกษตรและค้าขายกับคนในมาเลเซีย สินค้าที่นำ�ไปขายก็เช่น เอาวัวจากอีสาน กล้วยไม้ ไม้ประดับและอื่นๆ บริเวณชายแดนไทย - มาเลเซียกั้นด้วยคลอง โกลก กว้างประมาณ 30 เมตร เป็นเขตแดน แต่ชาวบ้านก็จูงวัวข้ามคลองไปเลี้ยงทางฝั่งมาเลเซียกันเป็นปกติ และ บอกว่าไม่รู้สึกว่าเป็นเขตพรมแดนระหว่างประเทศแต่อย่างใด ชาวบ้านนิยมส่งลูกไปเรียนทีม่ าเลเซีย จบแล้วได้งานดีกว่าไทย และยังสะท้อนความรูส้ กึ ว่าคนระดับรากหญ้า ต้องพึ่งมาเลเซีย จึงไม่แปลกว่าทำ�ไมคนมลายูที่ชายแดนเวลาซื้อของในหมู่บ้านจะใช้เงินสกุลมาเลเซียมากกว่าเงิน ไทย และถ้าประเทศมาเลเซียไม่เปิดโอกาสให้ไปทำ�งานพวกเขาก็ไม่รู้จะหางานที่ไหนในเมืองไทยทำ� สิ่งนี้ทำ�ให้ผู้เขียนต้องกลับไปคิดและตั้งคำ�ถามว่า ถ้าคนในสามจังหวัดชายแดนใต้มีความคิดแบบนี้ พื้นที่ สามจังหวัดคงไม่เจริญหรือว่ารัฐไทยไม่จริงใจแก้ปัญหาความยากจน หรือว่าไม่มีความยุติธรรมสำ�หรับคนระดับราก หญ้าที่จะเข้าถึงแหล่งทุน แหล่งทรัพยากรธรรมชาติ หรือว่ารัฐไทยฟังการรายงานจากข้าราชการในท้องถิ่นที่รายงาน สถานการณ์ความเป็นอยูข่ องชาวบ้านไม่ตรงกับความเป็นจริง รัฐไทยจึงไม่ยอมแก้ปญ ั หาเรือ่ งการหลัง่ ไหลไปทำ�งาน ในประเทศมาเลเซีย โดยเอาหูไปนาเอาตาไปไร่เสีย ชาวไทยพุทธส่วนใหญ่รับราชการและบางส่วนค้าขายที่ชายแดน ซึ่งมีวัดชลธาราสิงเห ตำ�บลเจ๊ะเห อำ�เภอ ตากใบ จังหวัดนราธิวาส เป็นที่พึ่งทางใจ เป็นวัดที่อยู่ในท่ามกลางหมู่บ้านคนมลายู ชาวบ้านบอกว่าไม่เคยมีปัญหา ในเรื่องศาสนาระหว่างไทยพุทธกับมลายู บริเวณวัดแห่งนี้มีโรงเรียนระดับประถมศึกษา คือ โรงเรียนวัดชลธาราสิงเห ที่มีเด็กมลายูร้อยละ 80 ของนักเรียนทั้งหมด กำ�ลังจะสร้างสุเหร่าละหมาดเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวและรองรับ เด็กนักเรียนมุสลิมที่มาเรียน เช่นเด็กจากหมู่บ้านเกาะยาว เป็นต้น วัดแห่งนี้อยู่ติดกับคลองตากใบมีเขตอภัยทาน หน้าวัด ซึ่งในคลองตากใบนั้นมีคนมุสลิมทำ�การประมงมากแต่ก็ไม่เคยล่วงลํ้าเข้าไปทำ�ประมงในเขตอภัยทาน ทั้งที่ พระเพียงมีการบอกกล่าวด้วยวาจาเท่านั้น ผู้เขียนคิดว่าเป็นตัวอย่างที่ดีที่คนที่นี่เคารพกฎกติกาการอยู่ร่วมกัน แม้จะต่างศาสนาต่างชาติพันธุ์ก็ตาม เพราะในความเป็นจริง สังคมของคนตากใบไม่ได้เลวร้ายเหมือนภาพที่ปรากฏออกไปจากเหตุการณ์ความรุนแรงที่ ตากใบ ซึ่งคนตากใบกล่าวว่าผู้ที่เข้ามาชุมนุมนั้น ส่วนใหญ่ไม่ใช่คนในท้องถิ่นตากใบ และสะท้อนความรู้สึกว่าหลัง จากเกิดเหตุการณ์ใหม่ๆ คนตากใบเหมือนตกเป็นจำ�เลยของสังคมโดยไม่รู้ตัว เมื่อคนต่างถิ่นไม่ย่อมพูดด้วย พ่อค้า


313

สำ�หรับคนที่เป็นพ่อค้าในตากใบ มีคนปากีสถานหรือคนปาทานที่ได้ชื่อว่าค้าขายผ้าเก่ง พ่อค้าขายเสื้อผ้า รายใหญ่ในตลาดตากใบเล่าว่า ป้าของเขาเป็นคนปาทานล่องเรือมาตามคลองตากใบเอาผ้าโสร่งเดินเท้ามาขาย ตามหมู่บ้านในละแวกนี้และได้แต่งงานกับคนตากใบ พ่อค้าคนนี้เล่าต่อไปว่า สมัยเด็กเขาไม่นึกว่าจะเป็นพ่อค้ารับ ส่งเสื้อผ้าไปมาเลเซีย คิดว่าอาจเป็นไปได้ที่เขามีเชื้อสายปากีสถานที่คนในพื้นที่รู้จักดีในความชำ�นาญเรื่องการขาย เสื้อผ้า ในที่สุดจึงต้องมาทำ�อาชีพค้าขาย ปัจจุบันพ่อค้ารายนี้เป็นตัวแทนเสื้อกีฬายี่ห้ออีโก้ จากกรุงเทพฯ ส่งไป มาเลเซีย คนปาทานคนหนึง่ เล่าว่า คนทีม่ าบุกเบิกสร้างบ้านทีต่ ากใบนัน้ หนีสงครามจากประเทศของเขา และยังบอก อีกว่าประมาณปี พ.ศ. 2488 พ่อค้าที่ตากใบนั้นเป็นคนปาทานเกือบจะทั้งหมด ต่อมาเมื่อถนนและรถไฟตัดเข้าไปถึง สุไหงโกลก คนปาทานก็ย้ายไปอยู่ที่สุไหงโกลก ปัจจุบันมีคนเชื้อสายปาทานยังอยู่ที่ตากใบเพียงสองตระกูลเท่านั้น ส่วนคนจีนนั้นมีอาชีพเปิดร้านขายข้าวสารที่รับมาจากกรุงเทพฯ และกระจายให้กับคนมลายูน�ำ ไปขายต่อ ที่มาเลเซีย บางคนเปิดกิจการทำ�โรงแรม ซึ่งผู้เขียนตั้งข้อสังเกตว่า คนจีนนั้นมีมูลนิธิเพื่อช่วยเหลือเด็กๆ ผู้ยากไร้ บริจาคที่ดินเพื่อสร้างโรงพยาบาลในพื้นที่และช่วยเหลือทุนการศึกษา เป็นการกระทำ �ที่ไม่เลือกปฏิบัติว่าต้องช่วย เหลือเฉพาะคนไทยพุทธหรือคนจีนเท่านั้น ชาวบ้านตากใบดั้งเดิมบอกว่า คนที่มาทำ�ธุรกิจที่นี่ส่วนใหญ่ไม่ใช่คนในพื้นที่ แต่มาจากต่างถิ่น เช่น จาก นครศรีธรรมราช ยะลา ปัตตานี เป็นต้น พ่อค้าขายผลไม้ที่ตลาดตาบาเป็นคนปัตตานีบอกว่า ก่อนเกิดเหตุการณ์ ขายดีมาก ผลไม้หนึ่งคันรถใช้เวลาขายเพียงวันเดียวก็หมด ผลไม้ก็รับซื้อในท้องถิ่นสามจังหวัดชายแดนใต้ เช่น ซื้อ กล้วยจากอำ�เภอบันนังสะตา จังหวัดยะลาเป็นต้น แต่ปัจจุบันไม่กล้าไปซื้ออีกแล้วเพราะกลัวสถานการณ์รุนแรงจึง ต้องไปซื้อถึงที่นครศรีธรรมราช คนในพื้นที่เองทำ�อาชีพประมง รับจ้างขนของ อาชีพรับจ้างเรือข้ามฟาก และเปิดร้านต้มยำ�กุ้งที่มาเลเซีย ผู้ เขียนเห็นว่าการเข้ามาของกลุม่ คนทีน่ ท่ี ไ่ี ม่ใช่มาจากทีเ่ ดียวกันจึงก่อให้เกิดวัฒนธรรมและกติกาทีท่ ำ�ให้คนต่างชาติพนั ธุ์ ยอมรับร่วมกัน ไม่มคี วามขัดแย้งในเรือ่ งศาสนาดังทีค่ นส่วนหนึง่ พยายามยกประเด็นมาแสดงว่าเป็นปัญหาใหญ่ของ พื้นที่สามจังหวัด ครูคนหนึ่งสอนที่โรงเรียนวัดชลธารสิงเหบอกว่า ในโรงเรียนที่สอนนั้นมีทั้งมลายูและไทยพุทธ เวลา ไทยพุทธมีงานประเพณีคนมลายูมาร่วมงานด้วยในฐานะเพื่อนบ้านที่เป็นมนุษย์ด้วยกัน และไม่ได้มาแสดงความ เคารพบูชาแต่อย่างใด ในขณะเดียวกันเมื่อทางโรงเรียนจัดงานเมาลิด งานกวนขนมอาซูรอ เด็กและพ่อแม่ที่เป็นไทย พุทธก็มาร่วมงานด้วยเช่นกัน ผู้เขียนเห็นว่าสิ่งเหล่านี้คือสังคมในท้องถิ่นสามจังหวัดชายแดนภาคใต้มาแต่เดิม และเป็นความงามของ พหุ วัฒนธรรม ที่เด่นชัด แต่ค่อยๆ เลือนหายไปพร้อมๆ กับความรุนแรงทีเกิดขึ้นทุกเมื่อเชื่อวันในสังคมของพวกเรา

ชีวิตไม่มั่นคงในสภาพแวดล้อมที่ถูกทำ�ลาย มนุษย์เมื่อถูกกดดัน โดยเฉพาะเรื่องปากท้องที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของชีวิต จึงจำ�ต้องหาทางออก ที่ดีกว่า แม้ว่าจะถูกมองในแง่ลบก็ตาม เช่น พ่อแม่ไปทำ�งานต่างถิ่นทิ้งลูกไว้กับยายแก่ๆ ที่บ้านหรือเอาลูกไปด้วย โดยไม่คำ�นึงถึงการเรียน ทั้งๆ ที่ทราบว่าเป็นการตัดอนาคตของลูกตัวเอง การออกไปหางานทำ�นอกชุมชนเป็นความ เคลือ่ นไหวทีม่ สี าเหตุมาจากการทำ�มาหากินฝืดเคือง เนือ่ งจากสภาพแวดล้อมถูกทำ�ลาย ทรัพยากรธรรมชาติลดน้อย ลง และความต้องการเงินทองเพื่อการดำ�รงชีวิตที่เพิ่มขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

คนหนึ่งมีอาชีพไปรับซื้อม้าที่ภาคอีสานไปขายที่ประเทศมาเลเซียเล่าว่า คนอีสานไม่ต้องการพูดหรือทำ�การ ค้ากับเขาจนทำ�ให้ต้องเลิกอาชีพนี้ไปเลยทีเดียว


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

314

แต่ทงั้ นี้ นโยบายของรัฐก็มสี ว่ นทำ�ให้เกิดการเปลีย่ นแปลงดังกล่าว เช่น การถมทะเลเป็นเขตอุตสาหกรรมของ จังหวัดปัตตานี การส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์นํ้าในอ่าวปัตตานี ส่งผลให้มีการจับจองพื้นที่ในอ่าวกันมากขึ้นทั้งๆ ที่เคย เป็นพื้นที่สาธารณะ บางโครงการมีจุดประสงค์เพื่อช่วยคนจนแต่เมื่อปฏิบัติจริงคนจนก็ไม่ได้รับประโยชน์อย่างทั่วถึง ผูเ้ ขียนอยากพูดถึงในภาพรวมกรณีสามจังหวัดภาคใต้ทปี่ จั จุบนั ทรัพยากรธรรมชาติถกู ทำ�ลายจนหมดสิน้ ไม่ ว่าบนภูเขา แม่นํ้า จนถึงทะเล จากนายทุนต่างพื้นที่ เช่น แม่นํ้าปัตตานีจะเห็นว่ามีการดูดทรายเป็นจุดๆ ของนายทุน ที่อาศัยบารมีของคนในพื้นที่ซึ่งมีตำ�แหน่งเป็นผู้นำ� นายทุนกอบโกยทรัพยากรจนหมดสิ้นทิ้งร่องรอยให้คนในพื้นที่ได้ รับผลกระทบ ญาติของผู้เขียนที่อยู่ในจังหวัดยะลาต้องสูญเสียที่ดินส่วนทุเรียนประมาณ 5 ไร่ เพราะตลิ่งพังจากการ ดูดทราย ชาวบ้านหลายคนได้รับผลกระทบจากการกระทำ�ดังกล่าว ในทะเล โดยเฉพาะในอ่าวปัตตานีที่เป็นแหล่งอาหารของคนรอบอ่าวเป็นหมื่นๆ คน ต้องประสบกับปัญหา ทรัพยากรลดลงอย่างรวดเร็ว ชาวบ้านบอกว่าประมาณ 50 ปีที่แล้ว มีฝรั่งคนหนึ่งมาที่หมู่บ้านดาโต๊ะ เขาตั้งข้อ สังเกตว่าคนมลายูรอบอ่าวเป็นคนขี้เกียจ ออกทะเล 3-5 ชั่วโมงก็กลับมานั่งดื่มกาแฟที่ร้าน ทั้งๆ มีเวลาในการจับ ปลาอีกหลายชั่วโมง เป็นคำ�ถามที่ฝรั่งไม่เข้าใจวิถีชีวิตของคนในพื้นที่ซึ่งใช้ทรัพยากรสัตว์นํ้าแบบพอเพียงและชาญ ฉลาดเพื่อให้ได้ใช้ประโยชน์ในวันต่อๆ ไป ซึ่งแตกต่างกับความคิดระบบทุนนิยมที่ท�ำ ได้ทุกอย่างเพื่อประโยชน์ส่วน ตนให้มากที่สุดเท่าที่จะทำ�ได้ แต่ต่อมา นโยบายของรัฐเข้ามาบุกเบิกก่อนตามด้วยนายทุนพาณิชย์ ทางจังหวัดปัตตานีถมทะเลเพื่อเปิด โรงงานอุตสาหกรรมและสร้างท่าเทียบเรือ การเปิดโอกาสให้คนต่างถิ่นจับจองพื้นที่เพื่อเลี้ยงหอยแครงเชิงพาณิชย์ เปิดโอกาสให้คนต่างถิน่ เปิดโรงงานปลาหมึกขนาดย่อยตามชายฝัง่ โดยปล่อยนํา้ เสียลงอ่าว ทุกโครงการเป็นการขยาย พื้นที่บนความบอบชํ้าของคนรอบอ่าว เป็นการเจตนาทำ�ลายพื้นที่สาธารณะที่ใช้ทรัพยากรร่วมกันมาเป็นร้อยๆ ปี ชาวบ้านรอบอ่าวปัตตานีใช้วิถีชีวิตในการจับปลาอาศัยแรงคนเป็นหลัก เช่น งมหอยแครงด้วยมือ หาหอย ขาวด้วยตีน เป็นต้น แต่เมื่อราวประมาณ 25 ปีมาแล้ว คนต่างถิ่นย้ายเข้ามาอยู่ที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งได้นำ�วิถีชีวิตแบบ ทุนนิยมทำ�ลายล้างจากบ้านเขาเข้ามาสู่อ่าวปัตตานี เช่น การจับจองพื้นที่เลี้ยงหอยแครง การใช้เครื่องยนต์ลากหอย เมื่อถึงถึงช่วงเก็บหอย ทำ�ให้พื้นดินใต้ทะเลที่เป็นโพรง และสัตว์หน้าดินที่เป็นอาหารของสัตว์นํ้าถูกทำ�ลาย และทำ� ประมงอวนลากข้างแต่ไปลากชายฝั่งหน้า ม.อ ปัตตานี เพราะในอ่าวปัตตานีชาวบ้านไม่ยอมให้ลาก ผู้เขียนมีความเห็นว่า การที่คนต่างถิ่นนำ�เอาวิถีชีวิตที่แตกต่างไปจากคนในพื้นที่มาทำ�มาหากินนั้น เป็นการ ละเมิดกฎเกณฑ์ทางสังคมและศีลธรรมของคนในอ่าวปัตตานีที่อยู่กันมาดั้งเดิม และเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำ �ให้ ทรัพยากรในอ่าวปัตตานีลดลง ถ้ามองแบบผิวเผินแล้วคนกลุ่มนี้คือตัวปัญหาสู่คนรอบอ่าว แต่ในขณะเดียวกัน ถ้า เรามองอีกด้านหนึง่ สาเหตุทต่ี อ้ งมาสร้างปัญหาให้กบั ชาวประมงรอบอ่าวปัตตานีนน้ั เพราะทีบ่ า้ นเขาไม่มสี ตั ว์นา้ํ เพียง พอในการดำ�รงชีพแล้ว ทั้งตัวเขาเองเขาคิดว่าไม่ใช่ปัญหา รัฐไทยต่างหากที่ปล่อยให้พวกเขามีปัญหา เพราะที่บ้าน พวกเขาถูกนายทุนทำ�ลายทรัพยากรสัตว์นํ้าจนหมดสิ้น เขาจึงจำ�เป็นต้องมาทำ�ประมงในอ่าวปัตตานีที่อุดมสมบูรณ์ กว่าแทนเพื่อเลี้ยงชีพ ผูเ้ ขียนคิดว่าในกรณีแบบนีค้ งเกิดขึน้ ทุกทีใ่ นประเทศไทย เมือ่ ชาวบ้านทีห่ นึง่ ถูกทำ�ลายฐานทรัพยากรธรรมชาติ โดยการอุดหนุนของรัฐและเปิดโอกาสให้นายทุนครอบครองแล้ว คนในพื้นที่ในท้องถิ่นนั้นๆ ไม่สามารถดำ�รงชีวิตอยู่ ได้ ก็เหมือนถูกขับไล่ให้ออกไปหาที่อยู่ใหม่ซึ่งอุดมสมบูรณ์กว่า แล้วโครงการของรัฐหรือนายทุนก็จะตามเข้ามาใหม่ อีก เป็นวัฎจักรไม่มีที่สิ้นสุดและทำ�ลายชีวิตผู้คน ทำ�ลายวัฒนธรรมและการดำ�รงชีวิตแบบดั้งเดิมแบบเพียงพอให้ กลายเป็นสนามรบของชาวบ้านและนายทุนที่มีรัฐเกื้อหนุนอย่างไม่มีที่สิ้นสุดเช่นกัน


315

ผู้เขียนคิดว่าเราอยู่ในโลกแห่งการสมมติ และบางครั้งการสมมติโดยไม่คำ�นึงถึงข้อเท็จจริงทำ�ให้เกิดการหลง ผิดและเข้าใจผิด ในพื้นที่หนึ่งๆ มีความซับซ้อนหลากหลายของวัฒนธรรมของชาติพันธุ์และวิถีชีวิตที่แยกย่อยมีราย ละเอียดมากมาย กรณีความไม่เข้าใจในสังคมของพื้นที่ต่างๆ ทั่วภูมิภาคในประเทศไทยทำ�ให้เห็นว่า ไม่แต่เฉพาะ สามจังหวัดชายแดนภาคใต้เท่านั้นที่มีปัญหาความเข้าใจที่ผิดพลาด แต่กลายเป็นว่าทั้งประเทศไทยในทุกวันนี้ก็น่า จะมีปัญหาไม่ต่างกันนัก เนื่องจาก 3 จังหวัดชายแดนใต้ มีไทย (ที่จริงคือชาติพันธุ์มลายู) มุสลิมมากกว่าไทยพุทธ เป็นเหตุผลที่ใคร ไม่รู้พยายามเอาประเด็นเรื่องชาติพันธุ์และศาสนามาเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในภาคใต้ ทำ�ให้ คนที่ไม่รู้ความจริงพลอยเชื่อไปด้วยว่าปัญหาที่เกิดนั้น มาจากเรื่องความแตกต่างทางศาสนา ที่จะนำ�ไปสู่ความขัด แย้งระหว่างไทยพุทธกับไทยมุสลิมแต่ผู้เขียนมีความเชื่อว่า เพราะความไม่รู้จักพื้นที่ของรัฐไทยที่มีความหลากหลาย ของวัฒนธรรมและชาติพันธุ์หรือที่นักวิชาการเรียกว่า ความเป็นพหุลักษณ์ เป็นเหตุให้เกิดความไม่เข้าใจ ส่งผลให้ เกิดความรุนแรงดังที่เห็นในปัจจุบัน สถานการณ์ในภาคใต้มคี วามรุนแรงเกิดขึน้ อย่างต่อเนือ่ ง ทำ�ให้คนต่างกลุม่ ต่างชาติพนั ธุท์ เี่ คยอยูร่ ว่ มกันได้ไม่ มั่นใจในชีวิตตัวเอง เกิดความหวาดระแวงต่อกันทั้งที่ในอดีตนั้น ชาวบ้านอยู่ในสังคมที่ต่างศาสนาด้วยความสามัคคี และเอื้ออาทร สมัยผู้เขียนอายุประมาณ 10 ขวบ เวลาพ่อแม่จะออกจากบ้าน ได้สั่งว่าเวลามีแขกมาที่บ้านไม่ว่า ศาสนาใด เราในฐานะเจ้าของบ้านต้องรับแขกด้วยการยกนํา้ เปล่าหรือผลไม้ เป็นวิธปี ฏิบตั ริ บั แขกในสมัยนัน้ ปัจจุบนั สิ่งเหล่านี้ยังมีให้เห็นบางพื้นที่ เช่น ที่บ้านตะโนด อำ�เภอรือเสาะ มีพ่อค้าจากอีสานมาแลกของเก่าเช่นกะลามังแลก กับจาน พ่อค้าบอกว่าคนมลายูที่นั้นใจดี เวลาพบกันมักยกผลไม้ให้กินเป็นการรับแขกก่อน ผู้เขียนได้พดู คุยกับนายทหารคนหนึ่งที่จังหวัดยะลาเล่าว่า ฤดูผลไม้ชาวบ้านให้ลกู ลองกอง ทุเรียนจนแบกไม่ ไหว และทีจ่ งั หวัดปัตตานี ชาวบ้านให้ปลาให้กงุ้ จนกินไม่หมด ทหารคนนัน้ ยังบอกอีกว่า ชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นคนรัก สงบ ไม่อยากให้เกิดปัญหาความรุนแรงในหมู่บ้าน ชาวบ้านเข้าใจเจ้าหน้าที่มากขึ้น ชาวบ้านบอกว่าอยากให้ทหาร ที่มาประจำ�การในพื้นที่อยู่นานๆ ไม่อยากให้เปลี่ยน เพราะทหารที่มาใหม่ๆ ต้องเรียนรู้วิถีชีวิตชาวบ้านใหม่ กว่าจะ รู้เรื่องต้องใช้เวลาบางครั้งก็น่าเบื่อหน่ายกับคำ�ถามเดิมๆ เช่น โต๊ะอีหม่ามชื่ออะไร จบการศึกษาที่ไหน เป็นต้น อันที่ จริงเจ้าหน้าที่ทหารที่ไปพูดคุยกับชาวบ้านเพื่อสร้างความคุ้นเคย แต่ชาวบ้านไม่อยากพูดคุยกับทหารอย่างออกหน้า ออกตา เพราะไม่รู้ว่าอาจจะมีใครเป็นมือที่สามที่มองอยู่ ธรรมชาติของการเข้าหาชาวบ้านเพื่อทำ�ความเข้าใจและไว้ วางใจแบบนี้ ฝ่ายรัฐมักทำ�ไม่ได้หรืออาจจะเพราะไม่เข้าใจว่าควรทำ�อะไร จนกลายเป็นความขัดแย้งในกลุม่ คนทีเ่ ห็น ปัญหาแต่ไม่เข้าใจปัญหาและแก้ไขไปแบบไม่เข้าใจอย่างนั้น การอยูร่ ว่ มกันอย่างเข้าใจในความหลากหลายทางวัฒนธรรมนัน้ มีให้เห็นทุกพืน้ ที่ แต่ไม่รใู้ ครพยายามจะแบ่ง แยกจนเกิดความวาดระแวงระหว่างชาติพนั ธุ์ ผูเ้ ขียนคิดว่าคนดีทอี่ ยากเห็นความสงบในสามจังหวัดชายแดนใต้ยอ่ ม มีมากกว่าคนเลวที่อยากทำ�ลาย ฉะนั้น พระเจ้าจึงสร้างสวรรค์และนรกเพื่อรองรับคนเหล่านี้ ผู้เขียนคิดว่าถ้าปล่อย ให้สถานการณ์ยังเกิดขึ้นเรื่อยๆ สักวันหนึ่ง คนตายที่ชายแดนใต้ ตายเหมือนแมวเหมือนควาย ไม่มีใครอยาก ช่วยส่งโรงพยาบาล นอกเสียจากที่เป็นญาติจริงๆ เพราะไม่อยากเอาชีวิตมาเสี่ยงกับความวาดระแวงของสังคมที่เริ่ม ระบาดไปทั่วทุกที่ในพื้นที่สามจังหวัดแล้ว ความแตกต่างในเรื่องความเชื่อที่ผู้เขียนสังเกตเห็นว่าเปลี่ยนไป เช่น พิธีกรรมการบูชาชายหาดที่หมู่บ้านดา โต๊ะ มี ชาวบ้านตาแกะ (ไทยพุทธ) มาร่วมกันจัดงานตามประเพณีทกุ ๆ ปี กับคนมลายูเพราะอยูใ่ นสภาพแวดล้อม เดียวกัน แต่ปัจจุบันกระแสความหวาดระแวงระหว่างศาสนาจากสื่อต่างๆ และใบปลิวทำ�ให้ต่างคนต่างทำ� และส่วน หนึง่ เกิดจากแนวคิดเรือ่ งการปฏิรปู ศาสนาอิสลามในสามจังหวัดภาคใต้ทตี่ อ้ งการให้คนทีน่ บั ถือศาสนาอิสลามปฏิบตั ิ

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

แบ่งแยกจนแตกต่าง


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

316

ตนตามแบบอย่างท่านศาสดามูฮมั หมัด เรือ่ งพิธกี รรมแบบเดิมก็อาจจะถูกละเว้นมากขึน้ แต่ไม่ได้หมายความ ว่าพุทธกับมลายูจะอยู่ร่วมกันไม่ได้ ด้วยเหตุผลที่กล่าวมานั้น ชาวพุทธที่บ้านตาแกะบอกว่า หมู่บ้านของพวกเขานั้น อยู่ร่วมกับมลายูไม่เคยมีปัญหาเรื่องศาสนา มีอะไรแบ่งกันกิน ช่วยเหลือซึ่งกันและกันมาตลอด ที่อ่าวปัตตานีก็เช่นกัน คนที่มาประกอบอาชีพประมงนั้นมีทั้งพุทธและมลายูปะปนกัน ในอดีตคนจีนเป็น เถ้าแก่รับซื้อปลา ซื้อเรือให้ชาวบ้าน และให้ชาวบ้านปลูกบ้านในที่ดินของเขาเป็นการอุปถัมภ์และแสดงความเอื้อ อาทรแก่คนมลายูที่ยากไร้เพราะเถ้าแก่ชาวจีนก็ต้องพึ่งพาชาวประมงเหล่านี้เช่นเดียวกัน ในสมัยนั้น มีการกำ�หนดประเพณีว่าทุกๆ วันศุกร์ห้ามชาวบ้านออกไปหาปลาในทะเล ผู้เขียนคิดว่าเป็น ภูมิปัญญาชาวบ้านที่พยายามจะอนุรักษ์ทรัพยากรให้ชาวบ้านจับปลาได้ในระยะยาว และอย่างน้อยทะเลจะได้พัก ผ่อนด้วย การกำ�หนดประเพณีแบบนี้ ไม่ใช่เฉเพาะให้คนมลายูเท่านั้นที่ต้องปฏิบัติแม้กระทั่งไทยพุทธก็ปฏิบัติด้วย เช่น ชุมชนไทยพุทธบ้านกะดี อำ�เภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี เป็นต้น เป็นการเคารพกฎกติกาที่ชาวบ้านส่วนใหญ่ เห็นด้วย ต่างกับปัจจุบันมีผู้ก่อการประสงค์ร้ายกำ�หนดแกมบังคับไม่ให้ทำ�งานในวันศุกร์ที่ต่างเหตุผลและเป้าหมาย กับคนสมัยในอดีต ซึ่งเป็นเหตุผลที่ชาวบ้านส่วนใหญ่ยอมรับไม่ได้ ผู้เขียนมีโอกาสได้พูดคุยกับคนมลายูที่สิงค์โปร์และได้พูดกับประธานประเพณีวัฒนธรรมมลายูสิงคโปร์ พวก เขาบอกว่าประเพณีชาวประมงของมลายูที่สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไม่แตกต่างมากนักกับชาวมลายูในสาม จังหวัดชายแดนใต้ เพียงอาจเรียกชื่อไม่เหมือนกับคนรอบอ่าวปัตตานี ที่เรียกว่า ประเพณีตอเลาะบาลอ ส่วนสิงค์ โปร์จะเรียกว่า ประเพณีเรือยง (budaya prahu jung) ปัจจุบนั ประเพณีนหี้ ายไปจากคนมลายูแถบชายฝัง่ ไปแล้ว ที่ยังเหลืออยู่คือ ประเพณีบายศรีสู่ขวัญเรือ (baket semangat perahu) ที่ไม่เกี่ยวกับความเชื่อทางไสยศาสตร์ และเรื่องผีโดยตรง แต่จะผสมผสานกับศาสนารูปแบบพิธีกรรมเหล่านี้จะไม่เหมือนในอดีต ปัจจุบัน บางพื้นที่คงมี แต่ก็เกี่ยวข้องกับเรื่องศาสนาอย่างเดียว อันที่จริงการอยู่รวมกันอย่างไม่มีปัญหานั้น มีมาตั้งแต่อดีต และปัจจุบันก็ยังมีอยู่ เช่นคนที่อยู่รอบๆ อ่าว ปัตตานี มีทั้งจีน ไทยพุทธ ถึงแม้ว่าต่างวัฒนธรรม เวลามีกิจกรรมทำ�ความสะอาดถนนในหมู่บ้านชาวบ้านทั้งสอง จะออกมาทำ�รวมกัน เวลามีกิจกรรมทางศาสนา เช่น งานทำ�บุญมัสยิด ไทยพุทธมาร่วมงานบริจาคเงินสร้างมัสยิด เช่นที่ บ้านท่าด่าน จังหวัดปัตตานี ในขณะเดียวกัน เมื่อทางวัดมีกิจกรรมทำ�ความสะอาดบริเวณวัด คนมลายูไป ทำ�ความสะอาดด้วย เช่นที่บ้านปียา อำ�เภอยะหริ่ง เมื่อมีกิจกรรมทำ�ความสะอาดที่เกี่ยวกับศาสนา เช่นทำ�ความ สะอาดกูโบร์ คนไทยพุทธจะออกมากกว่าไทยมุสลิมที่ออกไปทำ�ความสะอาดวัดเพราะวาดระแวงกับการที่ถูกมอง ว่าเป็นมุสลิมทรยศ

สุดทางของปัญหา: ต้องจำ�ยอมกับความรุนแรงหรือ? ผู้เขียนพยายามบอกเล่าเรื่องราวที่พบเห็นและสังเกตมาจากประสบการณ์ในการใช้ชีวิตอยู่ในสามจังหวัด ภาคใต้ เพื่อเป็นแนวทางในการมองเห็นความหลากหลายของชาติพันธุ์และวัฒนธรรม เพื่อนำ�ไปสู่การแก้ปัญหาให้ สงบโดยเร็ว แต่ในขณะนี้ยังมีหมู่บ้านที่มีเหตุการณ์บ่อยครั้ง จนชาวบ้านในพื้นที่ไม่สามารถแยกแยะได้ว่าเป็นการ กระทำ�ของใคร ต่างคนต่างกลุ่มพยายามใส่ร้ายฝ่ายตรงข้าม ผลสุดท้ายคนที่บริสุทธิ์ไม่รู้เรื่องอะไรก็ต้องตายไปด้วย เหตุอันไม่สมควร ผู้เขียนเชื่อว่าการทำ�ลายสภาพแวดล้อมและที่ทำ�กินในพื้นที่สามจังหวัดนั้น ไม่ได้ส่งผลโดยตรงให้เกิดการอยู่ ร่วมกันระหว่างคนต่างศาสนาที่นำ�ไปสู่ความรุนแรงในปัจจุบันเท่านั้น แต่มีสาเหตุซับซ้อนอีกมากมาย ก่อนเกิดเหตุการณ์ปี พ.ศ.2547 สามจังหวัดชายแดนใต้ถกู ละเลยจากรัฐ ไม่วา่ ด้านการศึกษา ด้านอาชีพ และ ศาสนา อย่างเช่น ปอเนาะดัง้ เดิม โรงเรียนตาดีกา (ศูนย์จริยธรรมประจำ�มัสยิด) ทีส่ อนฟัรดูอนี ให้กบั เด็กๆ ในหมูบ่ า้ น


317

หลั ง จากที่ ค วามรุ น แรงที่ มี อ ย่ า งต่ อ เนื่ อ ง หน่ ว ยงานของภาครั ฐ พยายามเข้ า ใจตาดี ก ามากขึ้ น ว่ า เป็ น จุดศูนย์กลางในการแก้ปญ ั หาให้กบั บ้านเมืองได้ ส่งเสริม งบประมาณค่าตอบแทนครูตาดีกา สร้างความเข้าใจระหว่าง ตาดีกากับภาครัฐ มีสว่ นร่วมในกิจกรรมของตาดีกา เป็นแนวทางทีด่ ี ทีผ่ เู้ ขียนคิดว่าถ้าทุกฝ่ายมีความเข้าใจ และเคารพ ความคิดของกันและกันโดยไม่เอาความคิดของตัวเองเป็นที่ตั้ง คงไม่นานสามจังหวัดชายแดนใต้จะกลับมาเป็นปกติ คนสมัยก่อนถึงแม้ว่าไม่ได้เรียนหนังสือสูงๆ เหมือนคนสมัยนี้ แต่มีความจริงใจในการดูแลสิ่งแวดล้อมให้ลูก หลานได้ใช้ประโยชน์ในวันข้างหน้า พยายามให้ลูกหลานเรียนรู้การใช้ประโยชน์จากธรรมชาติอย่างชาญฉลาด แต่ ในปัจจุบันคนมีความรู้มากขึ้นแต่ก็มีคนเห็นแก่ตัวมากตามมา การเข้าครอบครองพื้นที่สาธารณะให้กลายเป็นสมบัติ ส่วนตัว เช่น กรณีในอ่าวปัตตานีซึ่งมีพื้นที่ ประมาณ 75 ตารางกิโลเมตร กลายเป็นพื้นที่เลี้ยงหอยแครงเอกชนไป แล้วประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ นายทุนที่มาจับจองเลี้ยงหอยแครงส่วนใหญ่มาจากต่างถิ่นที่ไม่เคารพกฎกติกาของ ท้องถิ่น สร้างปัญหาให้กับคนท้องถิ่นต้องดิ้นรนไปหางานที่ประเทศมาเลเซีย แล้วถูกมองว่าเป็นคนสองสัญชาตินำ� ความเดือดร้อนมาสูป่ ระเทศไทย ทางทีด่ ี รัฐไทยควรมีนโยบายเร่งด่วนในการส่งเสริมให้คนสามจังหวัดชายแดนใต้ไป ทำ�งานทีม่ าเลเซียอย่างถูกต้องเป็นกรณีพเิ ศษ เพราะถึงอย่างไรคนสามจังหวัดชายแดนใต้กต็ อ้ งไปทำ�งานทีม่ าเลเซีย อยู่ดี เพราะรายได้ดีกว่า โดยเฉพาะเด็กวัยรุ่นที่จบ ป. 6 แล้วจะไม่เรียนต่อแต่ไปทำ�งานทันที เมื่อเกิดปัญหาในหมู่บ้าน ในอดีตนั้นจะใช้วิธีแก้ปัญหาด้วยบารมีของชาวบ้านบางคนซึ่งเป็นที่นับถือของ ชุมชน เช่น ใช้เครือญาติโดยผู้อาวุโสของตระกูลที่ตั้งตนอยู่บนความดีงาม ผู้คนนับหน้าถือตาช่วยตักเตือน หรือมี ผู้นำ�ศาสนาให้คำ�แนะนำ�ความคิดเห็น แต่หลังจากโครงสร้างสังคมถูกทำ�ลายด้วยโครงสร้างสมัยใหม่ที่มีเงินเดือน ผู้ อาวุโสหรือผู้นำ�ก็ลดบทบาทด้วยเหตุผลที่ว่า เมื่อเขามีเงินเดือนแล้วเขาก็ต้องรับผิดชอบในแก้ปัญหาของชาวบ้าน ผู้ เขียนคิดว่าองค์กรท้องถิ่นเป็นตัวแปรสำ�คัญที่ทำ�ให้เกิดปัญหามากขึ้นถ้าองค์กรนั้นๆ ไม่ทำ�งานและไม่รับผิดชอบใน การยกระดับให้ประชาชนมีอาชีพที่ยั่งยืนและดูแลทรัพยากรให้กลับฟื้นขึ้นมาบ้าง เราก็คงต้องออกไปหางานทำ�นอก พื้นที่เหมือนๆ กับคนในถิ่นอื่นๆ ที่ย้ายเข้ามาหากินในอ่าวปัตตานีเช่นเดียวกัน ทั้งรัฐทั้งคนในสังคมประเทศไทย รวมถึงคนในพื้นที่เหตุการณ์ความรุนแรงในสามจังหวัดภาคใต้เองจะตอบ คำ�ถามเหล่านี้อย่างไร จะจริงใจในความพยามทำ�ความเข้าใจปัญหาของคนในสังคมที่มีความหลากหลายทาง วัฒนธรรมและวิถีชีวิต พยายามเข้าถึงปัญหาและแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมจริงๆ ได้มากน้อยเท่าไหร่

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

เป็นวิถีมุสลิมที่สอนด้านศีลธรรม จริยธรรมที่ช่วยตัวเองมาโดยตลอด (บางคนเรียกกันว่า “ตาดีกาเจ็ดบาท”) ซึ่งรัฐดูแลไม่ทั่วถึงในการสนับสนุนงบประมาณอย่างเป็นรูปธรรม หลังจากมีเหตุการณ์ความไม่สงบในสามจังหวัด ชายแดนใต้ ตาดีกาเป็นจุดสนใจของภาครัฐ แต่บางคนมองว่าตาดีกาเป็นจุดศูนย์กลางการก่อความไม่สงบ เป็นการ มองตาดีกาแบบเอาความคิดของตัวเองแล้วมาตีความ


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

318

การวิเคราะห์ภาพรวม โครงการวิจัยการพัฒนาชุมชน โดยชุมชนในสถานการณ์ความขัดแย้งในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้1 อาจารย์อลิสา หะสาเมาะ2

1. กรอบการทำ�งาน เน้นเฉพาะข้อ 3, 4 และ 5 3. การทบทวนบทเรียนความสำ�เร็จและความล้มเหลวจากโครงการพัฒนาต่างๆ ในพื้นที่ศึกษา 4. การเก็บรวมรวมข้อมูลเกี่ยวกับกลุ่มบุคคลและองค์กรที่ทำ�งานหรือสนับสนุนงานด้านการพัฒนาในพื้นที่ สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ 5. ศึกษาเกี่ยวกับบริบททางสังคมในแง่มุมต่างๆ จากพื้นที่ศึกษา 9 พื้นที่

2. วัตถุประสงค์ของงานวิจัย เน้นเฉพาะข้อ 7 และ 8 7. เพื่อศึกษาโครงสร้างทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ศาสนาและวัฒนธรรม ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดน ภาคใต้ โดยเน้นที่ความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนและการพัฒนา 8. เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลในพื้นที่ศึกษาสำ�หรับการวิเคราะห์โครงสร้างทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง ศาสนา และวัฒนธรรม ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และใช้ข้อมูลจากพื้นที่ศึกษาเก้าพื้นที่ เป็นกรอบในการเสนอแนะการพัฒนาชุมชน โดยเน้นที่การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนา และการมีส่วนร่วม ในการปกครองและการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง โดยใช้กระบวนการแก้ไขปัญหาของชุมชน

3. สมมติฐาน 3.1) นโยบายการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งโดยการปราบปรามและใช้ความรุนแรงในการปฏิบตั กิ ารทางทหาร นั้นก่อให้เกิดปัญหาตามมาในวงกว้าง และการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งโดยสันติวิธีและประชาชนมีส่วนร่วมในการ แก้ไขปัญหานั้นอาจจะเป็นทางออกที่ดีในการลดความขัดแย้งและความรุนแรง

1 ปรับปรุงจากการนำ�เสนอครัง้ แรก เมือ่ วันพุธที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 เวลา 8.30 น.-16.30 น. ณ ห้องกิง่ เพชร โรงแรมเอเชีย ถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร ภายใต้โครงการศึกษาการพัฒนาชุมชนโดยชุมชน (Piloting Community Approaches in Conflict Situation in Three Southernmost Provinces in Thailand) โดย ศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศูนย์ข่าวสารสันติภาพ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สนับสนุนโดยธนาคารโลก โดย อาจารย์อลิสา หะสาเมาะ หัวหน้าแผนกวิชาพัฒนาสังคม ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี เสนอรายงานการวิจัย “การพัฒนาชุมชนโดยชุมชนในสถานการณ์ความขัด แย้งในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้” 2 อาจารย์ประจำ�สาขาวิชาพัฒนาสังคม ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี


319

4. เกณฑ์การคัดเลือกพื้นที่ศึกษา เนื่องจากสถานการณ์ความไม่สงบ จึงยากที่จะเลือกพื้นที่ศึกษาและวิจัยที่ไม่สามารถเข้าถึงพื้นที่ได้ ดังนั้น การคัดเลือกพื้นที่ในการศึกษาจึงเลือกจากฐานของพื้นที่ที่สามารถศึกษาวิจัยได้เป็นหลัก

5. แนวคิดในการศึกษา 5.1 แนวคิดหลักในการวิเคราะห์มาจากรายงานคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ (กอส.) ที่ได้วินิจฉัยความขัดแย้งในภาคใต้ว่า “แม้ว่าความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จะมีปมเหตุคล้ายใน ระดับโครงสร้างคล้ายปัญหาชนบทไทยในที่อื่นๆ คือ ประสบปัญหาความยากจน ความโหดร้ายในการต่อสู้แย่งชิง ทรัพยากรธรรมชาติ จากอำ�นาจเศรษฐกิจภายนอก ความอ่อนด้อยของคุณภาพการศึกษา ความไม่เป็นธรรมของเจ้า หน้าที่รัฐ ความบกพร่องของกระบวนการยุติธรรม แต่ความขัดแย้งนี้ถูกทำ�ให้เข้มข้นอันตรายขึ้น เพราะความ แตกต่างทางศาสนา ชาติพันธุ์ ภาษา และความเข้าใจทางประวัติศาสตร์ อันถูกใช้มาตรการทางการเมืองเป็นหลัก โดยมุ่งจัดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน คนส่วนใหญ่และคนส่วนน้อยทั้งในพื้นที่และในประเทศ” และกอส. ได้วิเคราะห์ความรุนแรงในภาคใต้ว่าเกิดจากเงื่อนไข 3 ประการ 1) เงื่อนไขเชิงบุคคล ได้แก่ การใช้อำ�นาจทางการปกครองในทางที่ผิดเหมือนไม่มีขอบเขต การใช้ความ รุนแรงโดยฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบ และการตอบโต้ของฝ่ายรัฐด้วยความรุนแรง 2) เงือ่ นไขเชิงโครงสร้าง ได้แก่ ความไม่เป็นธรรมอันเกิดจากกระบวนการยุตธิ รรมและลักษณะการปกครอง ทีเ่ ป็นอยู่ เศรษฐกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ไม่เข้มแข็ง มีคนจนจำ�นวนมากขณะทีป่ ญ ั หาทรัพยากรธรรมชาติก�ำ ลังผลัก ชาวบ้านเข้าสูค่ วามยากจนและไม่มที างเลือก การศึกษาทีไ่ ม่สามารถเอือ้ อำ�นวยให้ประชาชนส่วนใหญ่มพี ลังเอาชนะ การท้าทายทางสังคมในรูปแบบต่างๆ ทั้งทางโลกและทางธรรม ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวไทยเชื้อสายมลายู ขณะ ที่ประชากรส่วนน้อยที่เป็นชาวไทยพุทธลดลงอย่างต่อเนื่อง ปัญหาเกิดขึ้นในบริบทภูมิรัฐศาสตร์ชายแดนใต้ของไทย และมาเลเซีย ทำ�ให้เกิดการเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของผู้คนระหว่างสองประเทศอย่างแจ่มชัด 3) เงือ่ นไขทางวัฒนธรรม ได้แก่ ลักษณะเฉพาะทางศาสนา และชาติพนั ธุใ์ นพืน้ ทีค่ อื ศาสนาอิสลาม ภาษา มลายู และประวัตศิ าสตร์ปตั ตานี สิง่ เหล่านีเ้ ป็นเงือ่ นไขในสังคมซึง่ ทำ�หน้าทีใ่ ห้ความชอบธรรมกับการใช้ความรุนแรง หรือทำ�ให้ผู้คนไม่น้อยยอมรับหรือเห็นด้วยกับฝ่ายที่ใช้ความรุนแรง ทำ�ให้ผู้ก่อความไม่สงบใช้เป็นเงื่อนไขในการใช้ ความรุนแรงต่อสู้เพื่อเป้าหมายในนามของอัตลักษณ์มลายูมุสลิม ดังนั้น การวิเคราะห์ภาพรวมจึงจะมาจากแนวคิดของกอส. เป็นหลักรวมทั้งพยายามตอบกรอบการทำ�งาน วัตถุประสงค์ของการวิจัย และสมมติฐานของโครงการวิจัยในครั้งนี้

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

3.2) โครงสร้างของสังคมในชุมชนต่างๆ ของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีศักยภาพในการแก้ไขปัญหาความ ขัดแย้งโดยตัวเองอยู่แล้ว เพราะฉะนั้น ถ้ารัฐเปิดโอกาสให้ชุมชนท้องถิ่นสามารถมีส่วนร่วมในการสร้างและพัฒนา เครื่องมือในการแก้ปัญหาความขัดแย้งในสังคมของพวกเขาเอง อาจจะก่อให้เกิดการสร้างสังคมที่สันติสุขและยั่งยืน ต่อไป


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

320

ปรากฏการณ์

ความรุนแรงและมีผู้เสียชีวิต

1

แบบแผน (เหตุร่วม)

2

ความยากจน การแย่งชิงทรัพยากร ความอ่อนด้อยของคุณภาพการศึกษา ฯลฯ โครงสร้าง

3

ความไม่เป็นธรรมอันเกิดจากกระบวนการยุติธรรมและ ลักษณะการปกครองที่เป็นอยู่ ฯลฯ วัฒนธรรม

4

ความแตกต่างทางศาสนาและชาติพันธุ์ ภาษาและประวัติศาสตร์

ชาติพันธุ์ ศาสนา วัฒนธรรม ภาษา ประวัติศาสตร์

5.2 แนวความคิดเกี่ยวกับการพัฒนาบนพื้นที่ความขัดแย้ง ความขัดแย้งร่วมมือ

ทุน ภาคประชาสังคม

รัฐ

ปัจจัยภายนอก ความขัดแย้งร่วมมือ

ปัจจัยภายใน

ความขัดแย้งร่วมมือ

ที่มา: โคทม อารียา, 2551


321

พื้นที่ 9 พื้นที่ ยะลา (3) 1) บ้านตรือปา ต.ห้วยกระทิง อ.กรงปินัง

2) บ้านกุนุงจนอง ต.เบตง อ.เบตง

3) ม.1 บ้านกือเม็ง ต.อาซ่อง อ.รามัน

ปัตตานี (3) 4) ม. 3 ต.พ่อมิ่ง อ.ปานาเระ

5) ม. 3 บ้านส้ม ต.ควนโนรี อ.โคกโพธิ์

6) บ้านปาตาบาระ ม. 1 ต.ปะเสยะวอ อ.สายบุรี นราธิวาส (3) 7) ชุมชนกาแลตาแป ต.บางนาค อ.เมือง

8) ม. 1 บ้านเกาะสะท้อน และม. 2 บ้านปูยู ต.เกาะ สะท้อน อ.ตากใบ

9) ม. 1 ต.โคกเคียน อ.เมือง

นักวิจัย/ผู้ช่วยวิจัย 1) นายมะเสาวดี ไสสากา (นักวิจัย) 2) นายยูซุฟ ดอเลาะ (ผู้ช่วยวิจัย) 3) นายมาหะมะรอซีดี อุซะมิ (ผู้ช่วยวิจัย) 1) นางสาวงามศุกร์ รัตนเสถียร (นักวิจัย) 2) นางสาวฟารินดา บินศุภอรรถ (ผู้ช่วยนักวิจัย) 3) นายธนิน แซ่ลก (ผู้ช่วยนักวิจัย) 4) นางสาวมัทนี จือนารา (ผู้ช่วยนักวิจัย) 1) ผศ. นุกูล รัตนดากุล (นักวิจัย) 2) นายสมศักดิ์ บัวทิพย์ (ผู้ช่วยวิจัย) 3) นายสมาน โดซอมิ (ผู้ช่วยวิจัย) 4) นายสุดิง โดซอมิ (ผู้ช่วยวิจัย) 5) นายอิสมาอีล เบญจสมิทธิ์ (ผู้ช่วยวิจัย) นักวิจัย/ผู้ช่วยวิจัย 1) นางโซรยา จามจุรี (นักวิจัย) 2) นางสาวนิฮัสน๊ะ กูโน (ผู้ช่วยวิจัย) 3) นางสาวคูไซมะห์ มะซา (ผู้ช่วยวิจัย) 4) นายพิศิษฐ์ วิริยสกุล (ผู้ช่วยวิจัย) 5) นางมัณฑนา แท่นบำ�รุง (ผู้ช่วยวิจัย) 1) นางสาวลม้าย มานะการ (นักวิจัย) 2) นางสาวโรสนานี หะยีสะแม (ผู้ช่วยนักวิจัย) 3) นางสาวสีตีฮาจารย์ ยาแม (ผู้ช่วยนักวิจัย) 4) นางสาวรอฮานี มะแซ (ผู้ช่วยนักวิจัย) 1) ผศ. ซุกรี หะยีสาแม (นักวิจัย) 2) นายไอดี กาเลง (ผู้ช่วยนักวิจัย) 3) นางสาวนูรีมัน มามะ (ผู้ช่วยนักวิจัย) นักวิจัย/ผู้ช่วยวิจัย 1) นายแวรอมลี แวบูละ (นักวิจัย) 2) นายมูฮัมมัดดือราฟี สะมะแด (ผู้ช่วยนักวิจัย) 3) นางสาวอัยซะห์ อามะ (ผู้ช่วยนักวิจัย) 4) นายมาหะมะ โตะเย็ง (ผู้ช่วยนักวิจัย) 5) นางสาวคนึงนิจ มากชูจิต (ผู้ช่วยนักวิจัย) 1) นายเอกพันธ์ ปิณฑวนิช (นักวิจัย) 2) นายสันติ นิลแดง (ผู้ช่วยนักวิจัย) 3) นายอำ�ซือมัน นิกาเร็ง (ผู้ช่วยนักวิจัย) 4) นางสาวเพ็ญพร ทองนพคุณ (ผู้ช่วยนักวิจัย) 5) นายฟัครูซอซี เล็งฮะ (ผู้ช่วยนักวิจัย) 1) นายดลยา สะแลแม (นักวิจัย) 2) นายซูกีพลี บินเจะนิ (ผู้ช่วยนักวิจัย) 3) นางสาวนูไอมา หะแว (ผู้ช่วยนักวิจัย)

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

6. ตารางที่ 1 การศึกษา 9 พื้นที่


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

322

7. ภาพรวมสถานการณ์ความไม่สงบ ข้อมูลมี 2 ชุด 1) จากข้อมูลของศูนย์ประสานงานวิชาการให้ความช่วยเหลือผูท้ ไี่ ด้รบั ผลกระทบจากเหตุการณ์ ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศวชต.) ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2547 รวบรวมจนถึงวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2551 และ 2) ข้อมูลในพื้นที่ ข้อมูลจากศวชต. พบว่า ในพื้นที่วิจัยมีสถานการณ์ความไม่สงบปรากฏอยู่ดังนี้คือ ตารางที่ 2 แสดงภาพรวมสถานการณ์ความไม่สงบ 9

จังหวัด

อำ�เภอ

ปัตตานี สายบุรี

ตำ�บล

ปะเสยะวอ

รวม

28

12

6

6

-

1

13

ปะนะเระ พ่อมิ่ง

15

13

8

8

-

1

17

โคกโพธิ์

14

10

3

6

-

2

11

14

11

39

1

-

45

25

19

12

-

4

35

รามัน

เกาะ สะท้อน อาซ่อง

30

16

9

13

-

3

25

กรงปินัง

ห้วยกระทิง

14

11

2

9

-

1

12

เบตง

กุรุงจนอง

-

-

-

-

-

-

-

ควนโนรี

นราธิวาส เมือง โคกเคียน นราธิวาส ตากใบ ยะลา

จำ�นวนผู้ประสบเหตุ จำ�นวน จำ�นวน เหตุการณ์ ความ เหตุการณ์ ผู้ประสบ บาดเจ็บ เสียชีวิต พิการ ปลอดภัย/ เหตุ ทรัพย์สิน

46

หมายเหตุ

ในพื้นที่งาน วิจัยไม่มีผู้ เสียชีวิต

ในพื้นที่งาน วิจัยไม่มีผู้ เสียชีวิต

ในพื้นที่งาน วิจัยไม่มีผู้ เสียชีวิต


323

เหตุร่วม (ทั่วประเทศ) ความยากจน การแย่งชิง ทรัพยากรฯ คุณภาพการศึกษา ความไม่เป็นธรรม ของเจ้าหน้าที่รัฐ ความบกพร่อง ของกระบวนการ ยุติธรรม เงื่อไขเชิงโครงสร้าง การบังคับใช้ กฎหมาย เศรษฐกิจท้องถิ่น การศึกษา ทรัพยากร ประชากร ภูมิรัฐศาสตร์ ชายแดน เงื่อนไขเชิงบุคคล การใช้ความรุนแรง โดยฝ่ายผู้ก่อความ ไม่สงบและการ ตอบโต้ของฝ่ายรัฐ ด้วยความรุนแรง

  

ม.1 ต.โคกเคียน อ.เมือง

ม. 1 บ้านเกาะสะท้อน และ ม. 2 บ้านปูยู ต.เกาะสะท้อน อ.ตากใบ

ชุมชนกาแลตาแป ต.บางนาค อ.เมือง

นราธิวาส บ้านปาตาบาระ ม. 1 ต.ปะเสยะวอ อ.สายบุรี

ม. 3 บ้านส้ม ต.ควนโนรี อ.โคกโพธิ์

ม. 3 ต.พ่อมิ่ง อ.ปานาเระ

ปัตตานี ม.1บ้านกือเม็ง ต.อาซ่อง อ.รามัน

พื้นที่

กุนุงจนองต.เบตง อ.เบตง

ประเด็น

ม.2 บ้านตรือปา ต.ห้วยกระทิง อ.กรงปินัง

ยะลา

 

 

 

 

 

 

    

    

 

    

 

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

8. จำ�แนกประเด็นที่พบในพื้นที่ศึกษาตามกรอบแนวคิดของกอส.


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

ประเด็น พื้นที่

ประวัติศาสตร์

อื่นๆ ความขัดแย้งภายใน ท้องถิ่น โครงการพัฒนา การเยียวยาผู้ที่ได้รับ ผลกระทบ ยาเสพติด สาธารณสุข กระแสโลกาภิวัตน์

 

     

 

   

  

 

 

พุทธ 70% อิสลาม 30%

ม.1 ต.โคกเคียน อ.เมือง

ปัตตานี ม. 1 บ้านเกาะสะท้อน และ ม. 2 บ้านปูยู ต.เกาะสะท้อน อ.ตากใบ

ชุมชนกาแลตาแป ต.บางนาค อ.เมือง

บ้านปาตาบาระ ม. 1 ต.ปะเสยะวอ อ.สายบุรี

ม. 3 บ้านส้ม ต.ควนโนรี อ.โคกโพธิ์

ยะลา

ม.1 อิสลาม 90% พุทธ 10% มากกว่า ม.2 อิสลาม 100%

อิสลาม100%

 พุทธ 3 ครอบครัว

  พุทธ 20% อิสลาม 80%

อิสลาม 100%

 

ม. 3 ต.พ่อมิ่ง อ.ปานาเระ

ม.1บ้านกือเม็ง ต.อาซ่อง อ.รามัน

อดีต จคม. อิสลาม 100%

 กุนุงจนองต.เบตง อ.เบตง

เงื่อนไขทางวัฒนธรรม ภาษา-ศาสนา ไทย จีน มลายู พุทธ 47% อิสลาม 51% คริสตร์และฮินดู 2%

ม.2 บ้านตรือปา ต.ห้วยกระทิง อ.กรงปินัง

324

นราธิวาส

 

= มีประเด็นนี้ในชุมชน  = ไม่มีประเด็นนี้ในชุมชน * = ข้อมูลไม่เพียงพอ

9. สรุปผลการศึกษาภาพรวมทั้ง 9 พื้นที่ศึกษา

9.1 เหตุการณ์ความรุนแรงในพื้นที่ศึกษา

ผลการศึกษาจาก 9 พื้นที่ ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ สามารถจำ�แนกประเภทของพื้นที่ศึกษาตาม สถานการณ์ได้ 4 ประเภทดังนี้


325

9.1.2 พืน้ ทีท่ มี่ เี หตุการณ์ความไม่สงบจนถึงขัน้ มีผเู้ สียชีวติ แต่ผเู้ สียชีวติ ไม่ได้เป็นคนในชุมชน พบว่ามี 2 พืน้ ที่ ศึกษาวิจัย ที่ปรากฏสถานการณ์ความไม่สงบจากวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2547 ในพื้นที่ศึกษา คือ 1) พื้นที่ตำ�บล ห้วยกระทิง อำ�เภอกรงปินัง จังหวัดยะลา จำ�นวน 10 ราย 2) ม.1 บ้านกือเม็ง ต.อาซ่อง อ.รามัน จ.ยะลา ซึ่งมีผู้เสีย ชีวิต 2 ราย 9.1.3 พื้นที่ที่ได้รับผลจากเหตุการณ์ความไม่สงบทางอ้อม มี 3 พื้นที่ใน 9 พื้นที่ศึกษาวิจัยที่พบว่า บริเวณรอบ นอกของพื้นที่ศึกษา ปรากฏสถานการณ์ความไม่สงบจนถึงขั้นมีผู้เสียชีวิต มีผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ และได้รับผลกระทบ ในเรื่องความปลอดภัยและทรัพย์สิน ได้แก่ 1) บ้านปาตาบาระ ม. 1 ตำ�บลปะเสยะวอ อำ�เภอสายบุรี 2) ตำ�บลโคก เคียน อำ�เภอเมือง จังหวัดนราธิวาส 3) ตำ�บลกุนุงจนอง อำ�เภอเบตง จังหวัดยะลา 9.1.4 พื้นที่ที่ไม่ปรากฏสถานการณ์ความไม่สงบ มี 2 พื้นที่ คือ 1) ตำ�บลกุนุงจนอง อำ�เภอเบตง จังหวัดยะลา และ 2) ชุมชนกาแลตาแป ต.บางนาค อำ�เภอเมือง จังหวัดนราธิวาส 9.2 ผลของเหตุการณ์ความรุนแรง นอกจากสถานการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นจะทำ�ให้มีผู้เสียชีวิตแล้ว ยังมีผลกระทบในเชิงลบต่อชุมชนซึ่ง สามารถจำ�แนกได้เป็น 3 ประเด็น ดังนี้ 1) งบประมาณโครงการพัฒนา “พนม” และ “โครงการหมู่บ้านสันติสุข” ไม่เข้าในชุมชน ในพื้นที่ได้รับ ผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบโดยทางตรงและทางอ้อมจนถึงขัน้ มีผเู้ สียชีวติ โดยพืน้ ทีด่ งั กล่าวจะถูกกำ�หนด จากทางหน่วยงานทหารเพือ่ ใช้เป็นการปฏิบตั กิ ารทางยุทธวิธี ดังนัน้ จึงกำ�หนดสีแดงให้กบั พืน้ ทีต่ า่ งๆ แต่การกำ�หนด พืน้ ทีส่ แี ดงและสีเหลือง กลับส่งผลกระทบทำ�ให้หน่วยงานทางราชการทีเ่ กีย่ วข้องกับการพัฒนา ไม่สามารถส่งบุคลากร ลงไปปฏิบตั งิ านได้ ด้วยเหตุผลว่า ไม่สามารถรับรองความปลอดภัยให้กบั บุคลากรในการปฏิบตั หิ น้าทีใ่ นพืน้ ที่ ซึง่ พบ ใน 3 พื้นที่ คือ 1) ม. 3 ต.พ่อมิ่ง อ.ปานาเระ จ.ปัตตานี 2) ม.3 บ้านส้ม ต.ควนโนรี อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี 3) ม. 1 บ้านเกาะสะท้อนและม. 2 บ้านปูยู ต.เกาะสะท้อน อ.ตากใบ 2) เกิดความหวาดระแวงในชุมชน ทัง้ ในพืน้ ทีท่ ไี่ ด้รบั ผลกระทบทางตรงและผลกระทบในทางอ้อม ผลกระทบใน ทางตรงพบใน 2 พื้นที่ คือ 1) ม. 3 ต. พ่อมิ่ง อ.ปานาเระ จ.ปัตตานี พื้นที่การปฏิสัมพันธ์เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที บริเวณตลาดนัดรอบหมู่บ้านที่เคยมีพ่อค้าแม่ค้าไทยพุทธ แต่หลังจากมีสถานการณ์ความไม่สงบ พ่อค้าแม่ค้าเหล่า นั้นก็ไม่มาขายสินค้าอีกต่อไป รวมทั้งพฤติกรรมของคนในชุมชนเปลี่ยน เช่น การเข้านอนและดับไฟเร็วขึ้น เดิมที อาจจะเข้านอนในเวลาเที่ยงคืน แต่เมื่อมีสถานการณ์ก็เปลี่ยนเวลานอนมาเป็น 1 ทุ่ม 2) ม. 3 บ้านส้ม ต.ควนโนรี อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี ถูกมองจากสังคมและชุมชนว่าเป็นหมู่บ้านของคนไม่ดี ผลกระทบในทางอ้อม พบใน 1) ม. 1 บ้านเกาะสะท้อน และ ม. 2 บ้านปูยู ต.เกาะสะท้อน อ.ตากใบ ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในพื้นที่อื่นๆ ในจังหวัดชายแดน ภาคใต้ ส่งผลให้ชุมชนมีความหวาดระแวงกัน นอกจากนี้ การที่พื้นที่ถูกกำ�หนดเป็นพื้นที่ที่ใช้กฎหมายพิเศษนำ�ไป สู่การปฏิบัติโดยใช้กำ�ลังทหารเข้าจับกุมชาวบ้านจนเกือบทำ�ให้พื้นที่กลายเป็นสีแดง พบใน 2) ม. 1 บ้านปาตาบา ระ ต.ปะเสยะวอ อ.สายบุรี จ.ปัตตานี และชาวบ้านอยู่ในความหวาดกลัวและกังวลในเรื่องความปลอดภัย 3) ม. 1 ต.โคกเคียน อ.เมือง จ.นราธิวาส ถึงแม้ในชุมชนจะไม่มีสถานการณ์ความไม่สงบ แต่พบว่าสถานการณ์กลับส่ง

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

9.1.1 พื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ความไม่สงบโดยตรง พบว่ามีในพื้นที่ศึกษา 2 พื้นที่ใน 9 พื้นที่วิจัย มีผู้ที่ ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบจนถึงขั้นมีผู้เสียชีวิตโดยตรง คือ 1) ม.3 ตำ�บลพ่อมิ่ง อำ�เภอปะนะเระ จังหวัดปัตตานี จำ�นวน 8 ราย และบาดเจ็บ 4 ราย เป็นประเภทเป็นเหตุการณ์รายวัน และ 2) ม. 3 บ้านส้ม ต.ควน โนรี อำ�เภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี คนในหมู่บ้านเสียชีวิตในเหตุการณ์ 28 เมษายน พ.ศ. 2547 จำ�นวน 10 ราย 3) ม.1และม. 2 ตำ�บลเกาะสะท้อน อ.ตากใบ จังหวัดนราธิวาส พบว่ามีผู้เสียชีวิตประมาณ 1-2 ราย จากเหตุการณ์ ความไม่สงบรายวัน


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

326

ผลกระทบต่อคนในชุมชน ทำ�ให้เกิดความหวาดระแวงระหว่างพุทธและมุสลิมในพื้นที่ ไม่เดินทางไปมาหาสู่กันและ ทำ�กิจกรรมดังเช่นในอดีต เช่น กิจกรรมด้านกีฬา เดิมทีวัยรุ่นทั้งศาสนาพุทธและอิสลามเคยรวมกลุ่มกันเล่นกีฬา แต่ ถูกห้ามปรามจากผูป้ กครองไม่ให้ไปมาหาสูก่ นั เพราะมีความหวาดระแวงซึง่ กันและกันมากขึน้ รวมทัง้ รูส้ กึ ถึงความไม่ ปลอดภัย นอกจากนีย้ งั ทำ�ลายพืน้ ทีป่ ฏิสมั พันธ์อนื่ ๆ ได้แก่ การค้าขาย และดืม่ นํา้ ชา ซึง่ กิจกรรมดังกล่าวเคยเป็นพืน้ ที่ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างต่างศาสนิกกัน 4) ม.1 บ้านกือเม็ง ต.อาซ่อง อ.รามัน จ.ยะลา มีเหตุการณ์ความไม่สงบและมี ผู้เสียชีวิตเกิดขึ้นรอบๆ ชุมชน และมีเหตุการณ์ปล้นปืนในมัสยิด 1 ครั้ง ซึ่งชาวบ้านเชื่อว่าเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ ทำ�ให้การร่วมมือระหว่างชุมชนกับเจ้าหน้าทีข่ องรัฐเป็นไปด้วยความไม่เต็มใจ เช่น ชาวบ้านอาจจะต้องเข้าร่วมประชุม กับเจ้าหน้าที่ทหารหรือตำ�รวจ แต่ก็ไปด้วยความไม่เต็มใจและไม่แสดงความคิดเห็นมากนัก รวมทั้งเหตุการณ์ความ ไม่สงบยังก่อให้เกิดความหวาดระแวงขึน้ ภายในชุมชน ซึง่ ปรากฏในบทสนทนาระหว่างเพือ่ นบ้านทีจ่ ะเน้นบนสนทนา ที่แสดงถึงความเป็นกลางและไม่เข้าข้างฝ่ายใด 3) บทบาทของผู้หญิงเปลี่ยนไปจากการสูญเสียผู้ชายในครอบครัว พบใน 2 พื้นที่ศึกษาคือ 1) ม.3 ต.พ่อมิ่ง อ.ปานาเระ จังหวัดปัตตานี เมื่อเสียสามีแล้วต้องทำ�งานในสิ่งที่ไม่เคยทำ� เช่น เลี้ยงวัว และกรีดยาง รวมทั้งบทบาท ของการเป็นแม่ที่ทำ�ให้เลี้ยงลูกยากขึ้น เพราะลูกมักจะดื้อและไม่เชื่อฟังแม่มากขึ้น และ2) ม.3 บ้านส้ม ต.ควนโนรี อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี ส่วนใหญ่สูญเสียบุคคลที่เป็นกำ�ลังหลักในการหารายได้เข้าครอบครัว ประกอบกับแต่ละ ครอบครัวมีลูกมาก หรือลูกอ่อน ทำ�ให้ผู้หญิงจะต้องเปลี่ยนบทบาทมาเป็นผู้หารายได้เข้าครอบครัว บางรายไม่เคย ทำ�งาน ก็ต้องออกมารับจ้าง ประกอบกับบางรายมีปัญหาเรื่องหนี้สิน และไม่มีทุนการศึกษาให้บุตร อย่างไรก็ดี ผลกระทบจากสถานการณ์ในเชิงบวก สำ�หรับความเห็นจากนักวิจัยในพื้นที่กือเม็ง คือ พบว่าชาว บ้านทั้งพุทธและอิสลาม ต่างพยายามหันหน้าเข้าหาศาสนามากขึ้น หากเป็นพุทธก็จะเข้าวัดมากขึ้น หากเป็นมุสลิม ก็จะเข้ามัสยิดกันมากขึ้น ประกอบกับการที่ถนนหลายสายต้องเงียบลง เพราะกิจกรรมยามคํ่าคืนเป็นสิ่งที่ล่อแหลม และเสี่ยงอันตราย ทำ�ให้ครอบครัวมีเวลาอยู่ด้วยกันมากขึ้น ในการพูดคุยและเกิดความอบอุ่นมากยิ่งขึ้น 9.3 ผลการวิเคราะห์ชุมชนตามกรอบของกอส. 1. ปัจจัยชั้นบุคคล จากผลการศึกษาทั้ง 9 พื้นที่ พบว่า นักวิจัยไม่สามารถเข้าถึงตัวบุคคลที่เป็นผู้ที่เลือกใช้ความรุนแรงเพื่อต่อสู้ โดยเฉพาะเพื่อแบ่งแยกดินแดน ถึงแม้จะมีระบุอยู่บ้างว่าในพื้นที่ของตนมีเหตุการณ์ความรุนแรง แต่ก็ไม่สามารถ เข้าถึงข้อมูลแบบเจาะลึกได้ ด้วยสาเหตุ 4 ประการ คือ 1) ตัวบุคคลดังกล่าว เสียชีวิตในที่เกิดเหตุทันทีจากการถูก วิสามัญฆาตกรรม 2) การนิยาม “ผู้ก่อความไม่สงบ” ของรัฐและของประชาชนในพื้นที่ต่างกันโดยรัฐมองว่าเป็นผู้ แบ่งแยกดินแดน ในขณะที่คนใกล้ชิดมองว่าเป็นคนดี และเป็นตัวอย่างของนักพัฒนาที่ดี 3) ตัวบุคคลดังกล่าวถูก จับกุมและยากที่จะเข้าถึงเพื่อสอบถามข้อมูลและสัมภาษณ์ 4) สมาชิกในครอบครัวไม่ทราบสาเหตุการตายของผู้ที่ ตายในสถานการณ์ความไม่สงบในฐานะผู้ก่อความไม่สงบ 5) กระบวนการแก้ปัญหาของรัฐด้านหนึ่งช่วยขยายแนว ร่วมให้ขยายออกไปมากขึ้น ประการแรก ผู้ที่ก่อเหตุเสียชีวิตทันทีในที่เกิดเหตุ ได้แก่ 1) บ้านตรือปา หมู่ที่ 2 ตำ�บลห้วยกระทิง อำ�เภอกรง ปินงั จังหวัดยะลา เหตุเกิดเมือ่ วันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2547 มีผเู้ สียชีวติ ในพืน้ ทีจ่ ำ�นวน 10 คน ชาวบ้านมีความเห็นว่า เหตุการณ์ทเี่ กิดขึน้ เพราะกลุม่ ดังกล่าวได้รบั อิทธิพลจากภายนอกชุมชนและจบสิน้ ไปพร้อมกับผูท้ เี่ สียชีวติ 2) บ้านกือ เม็ง ต.อาซ่อง อ.รามัน ที่ปรากฏว่ามีสถานการณ์ความไม่สงบเกิดตั้งแต่วันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 – 21 มีนาคม พ.ศ. 2551 มีผู้เสียชีวิตจากสถานการณ์ความไม่สงบจำ�นวนทั้งหมด 7 ราย มี 1 รายเสียชีวิตนอกพื้นที่เป็นผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 2 อีก 5 รายเสียชีวิตจากการถูกประกบยิง และมี 1 ราย ถูกระบุว่าเป็นผู้ก่อการร้ายและถูกวิสามัญฆาตกรรม 3) ม. 3 ต.พ่อมิ่ง อ.ปานาเระ จ.ปัตตานี จากในพื้นที่พบว่า มีเหตุการณ์ความรุนแรงตั้งแต่เดือน กุมภาพันธ์ 2548 -


327

ประการที่สอง การนิยาม “ผู้ก่อความไม่สงบ” ของรัฐและของประชาชนในพื้นที่ต่างกัน ได้แก่ 1) บ้านกือ เม็ง ต.อาซ่อง อ.รามัน ซึ่งมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับประวัติการต่อสู้ของครูเปาะสู มาแวดิสา ซึ่งตัวครูเปาะสูถูกมองจากรัฐ ว่าคือ “กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ” ในขณะที่มุมมองของชาวบ้านในท้องถิ่นเห็นว่าครูเปาะสู คือ ตัวอย่างของนักพัฒนา ที่ดีและเป็นนักต่อสู้ของชุมชน 2) ม. 3 บ้านส้ม ต.ควนโนรี อ.โคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี มีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ 28 เมษายน พ.ศ. 2547 จำ�นวน 10 ราย ในมุมมองของครอบครัวต่างยืนยันว่า ผู้ตายมีพฤติกรรมเป็นคนดี มีความรับ ผิดชอบ และเป็นผู้หารายได้หลักเพื่อดูแลครอบครัว ประการที่สาม ตัวบุคคลดังกล่าวถูกจับกุมและยากที่จะเข้าถึงเพื่อสอบถามข้อมูลและสัมภาษณ์ ประการที่สี่ สมาชิกในครอบครัวไม่ทราบสาเหตุการตายของผู้ที่ตายในสถานการณ์ความไม่สงบในฐานะผู้ ก่อการ ม. 3 บ้านส้ม ต.ควนโนรี อ.โคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี สมาชิกในครอบครัว ได้แก่ ภรรยา และลูกๆ ระบุว่า ทุก คนที่เสียชีวิตเป็นคนดี และในวันเกิดเหตุก็ไม่ทราบจริงๆ ว่าจะไปเสียชีวิตในฐานะผู้ก่อการ ประการที่ห้า กระบวนการแก้ปัญหาของรัฐด้านหนึ่งช่วยขยายแนวร่วมให้มากขึ้น โดยเฉพาะกระบวนการ ยุติธรรมที่มักจะใช้วิธีเชิญชาวบ้านในชุมชนที่ต้องสงสัยไปพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ ณ สถานีตำ�รวจ ก่อนการออกหมาย เรียก หรือมีการกักขังก่อนการสืบสวนและตั้งข้อกล่าวหาว่าชาวบ้านที่ถูกเชิญมากระทำ�ความผิดด้วยสาเหตุอะไร และกฎหมายข้อไหน ในมุมของชาวบ้าน การกระทำ�เช่นนี้ เหมือนถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้กระทำ�ความผิดโดยมิได้ผ่าน กระบวนการยุติธรรม และก่อให้เกิดความหวาดระแวงสงสัยกับคนในชุมชนด้วยกัน นอกจากนี้ ญาติพี่น้องของชาว บ้านที่ถูกจับกุมยังต้องประสบกับความยากลำ�บากในการหาเงินมาประกันตัวอีกด้วย ทั้งนี้กฎหมายเองก็จะต้องมี การปรับปรุงแก้ไข เนื่องจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในลักษณะดังกล่าวสร้างความรู้สึกในด้านลบต่อภาครัฐเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้ หากเจ้าหน้าที่ไม่พบว่าผู้ต้องหามีการกระทำ�ความผิดจริง เมื่อเสร็จสิ้นคดีแล้วควรจะต้องมีการติดตาม และเยียวยาอย่างต่อเนื่องเพื่อลดความรู้สึกไม่สบายใจและความหวาดระแวงในชุมชนต่อไป ผลการศึกษาดังกล่าว สอดคล้องกับที่ กอส.(น.15-16)ได้วิเคราะห์ว่า ...แกนนำ�และสมาชิกของขบวนการแบ่ง แยกดินแดนมีจำ�นวนน้อยมากเมือ่ เทียบกับสัดส่วนกับประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้...(แต่)ปัจจัยชีข้ าดชัยชนะ หรือความพ่ายแพ้ของกลุ่มผู้ก่อการ คือ ความไม่เป็นธรรมและการสนับสนุนของประชาชน ดังนั้น การวิเคราะห์ขั้น ต่อไปในชั้นเงื่อนไขเชิงโครงสร้างและชั้นทางวัฒนธรรม จึงมีความสำ�คัญโดยเฉพาะในบางพื้นที่มีเหตุการณ์ของการ ละเมิดสิทธิในรูปแบบต่างๆ ของเจ้าหน้าที่รัฐ รวมไปถึงความรู้สึกเชื่อมั่น ความไว้วางใจรัฐ และการให้ความร่วมมือ กับเจ้าหน้าทีร่ ฐั ...เหตุปจั จัยชัน้ โครงสร้าง เช่น การบังคับใช้กฎหมาย ความอ่อนแอของกระบวนการยุตธิ รรม เศรษฐกิจ ท้องถิ่น ปัญหาทรัพยากรในพื้นที่ การศึกษา ประชากร และเงื่อนไขทางวัฒนธรรมทั้งในและนอกพื้นที่ซึ่งทำ�หน้าที่ให้ ความชอบธรรมกับการใช้ความรุนแรง 2. ปัจจัยชัน้ โครงสร้าง: การบังคับใช้กฎหมาย เศรษฐกิจท้องถิน่ การศึกษา ประชากร และภูมศิ าสตร์ชายแดน 2.1 การบังคับใช้กฎหมาย ในพื้นที่วิจัย 3 แห่ง คือ 1) บ้านตรือปา หมู่ที่ 2 ตำ�บลห้วยกระทิง อำ�เภอกรงปินัง จังหวัดยะลา 2) บ้านกือ เม็ง ต.อาซ่อง อ.รามัน จังหวัดยะลา 3) ม. 3 บ้านส้ม ต.ควนโนรี อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี มีผู้เสียชีวิตจากสถานการณ์

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

กุมภาพันธ์ 2551 มีผู้เสียชีวิต 9 ราย และบาดเจ็บ 6 ราย เหตุเกิดในหมู่ที่ 3 มีผู้ เสียชีวิต 8 รายและบาดเจ็บ 4 ราย (คนนอกหมู่บ้าน ม.2 ต.แป้น ได้รับบาดเจ็บถูกกราดยิงในหมู่ 3 บ้านพ่อมิ่ง) 4) ม. 3 บ้านส้ม ต.ควนโนรี อ.โคกโพธิ์ มีผู้เสียชีวิตจาก ต.ควนโนรี อ.โคกโพธิ์ จังหวัดปัตานี มีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ 28 เมษายน พ.ศ. 2547 จำ�นวน ถึง 10 รายที่เป็นชาวบ้านจาก ม. 3 บ้านส้ม (5 ใน 10 รายเสียชีวิตที่กรือแซะ 2 ใน 10 รายเสียชีวิตที่แม่ลาน 1 ใน 10 รายเสียชีวิตที่สะบ้าย้อย ส่วนอีก 1 รายกำ�ลังอยู่ในระหว่างรอข้อมูล) และมีผู้สูญเสียจากเหตุการณ์รายวัน 1 ราย บาดเจ็บสาหัส 2 ราย (1 ราย พิการตาบอด อีก 1 รายพิการ) ซึ่งมาจากม. 3 บ้านส้ม


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

328

ความไม่สงบโดยถูกวิสามัญฆาตกรรมของเจ้าหน้าที่รัฐโดยไม่ได้ผ่านกระบวนการยุติธรรม โดยเฉพาะ ม. 3 บ้าน ส้ม ต.ควนโนรี อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี เนื่องจากผู้เสียชีวิตเกิดจากการกระทำ�ของเจ้าหน้าที่รัฐ ครอบครัวจึงไม่อยู่ใน เกณฑ์การให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบ ดังนั้น เมื่อไม่ใช่เหยื่อจากสถานการณ์ความไม่สงบ ความช่วยเหลือ จึงได้เพียงบางส่วนจากเจ้าหน้าที่รัฐและเอกชน รวมทั้งเงินบริจาคส่วนตัวจากบุคคลที่ทราบข่าว แต่ทั้งนี้ครอบครัว ผู้สูญเสีย ก็ไม่ได้เรียกร้องการชดเชยตามหลักเกณฑ์ของทางราชการ แต่เหตุการณ์ดังกล่าว ส่งผลกระทบต่อความ รู้สึกของครอบครัวผู้สูญเสียที่คิดว่าเจ้าหน้าที่รัฐที่กระทำ�เกินกว่าเหตุ เช่น หญิงหม้ายคนหนึ่งบอกว่า “มีตั้งหลาย วิธีที่จะเลือกใช้ (ควบคุมและปราบปราม) แต่กลับไปใช้ความรุนแรง แทนที่จะเป็นวิธีการแบบสันติวิธี เหตุการณ์ นี้ไม่น่าจะเกิดขึ้นในประเทศไทย และเกิดกับคนมุสลิมที่ไม่มีทางสู้” ซึ่งสอดคล้องกับการวิเคราะห์ของกอส.(น.17) ในประเด็นที่ว่า “ปัญหาที่เกิดขึ้นในจังหวัดชายแดนภาคใต้จะแตกต่างจากพื้นที่อื่นของประเทศและจะมีผลกระทบ รุนแรงเป็นพิเศษ เนือ่ งจากชาวไทยมุสลิมเชือ้ สายมลายูในพืน้ ทีม่ คี วามผูกพันยึดโยงกันด้วยข้อผูกมัดทางศาสนาและ วิถีวัฒนธรรมมาหลายชั่วอายุคน มีลักษณะการรวมตัวเป็นเครือข่าย ชุมชนมีอารมณ์ความรู้สึกร่วมกัน และพร้อมที่ จะแสดงพฤติกรรมในลักษณะรวมหมู่ตอบโต้” นักวิจัยสังเกตว่า ผู้เล่าเลือกใช้คำ� “คนมุสลิมที่ไม่มีทางสู้” แทนที่จะ เป็นผู้เสียชีวิต เช่น “นาย ก ที่ไม่มีทางสู้” ส่วนอีก 1 แห่ง คือ ม. 1 บ้านปาตาบาระ ต.ปะเสยะวอ อ.สายบุรี จ.ปัตตานี พบว่าชุมชนได้รับผลกระทบ จากการนำ�พระราชกำ�หนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 มาใช้อย่างไม่เป็นธรรม โดยเฉพาะ การให้อำ�นาจเจ้าหน้าที่สามารถนำ�ตัวผู้ต้องสงสัยมาควบคุมและสอบถามข้อมูล นั่นคือ กรณีทหารและตำ�รวจสนธิ กำ�ลังกันล้อมจับนายมะนูเซ็ง เมื่อปีพ.ศ. 2549 ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวทำ�ให้ชาวบ้านไม่พอใจ เกิดสภาวะความหวาด กลัว และหวาดระแวงต่อเจ้าหน้าที่รัฐ จนเกือบทำ�ให้พื้นที่แห่งนี้กลายเป็นสีแดงเพราะชาวบ้านกำ�ลังจะกดดันให้มี การปล่อยตัวแต่เหตุการณ์คลี่คลาย เมื่อเจ้าหน้าที่มีการประชุมชาวบ้านเพื่อขอโทษ ดังนั้นถึงแม้ว่าในพื้นที่ไม่เคย มีสถานการณ์ความไม่สงบ แต่การที่มีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากหมู่บ้าน และในบริเวณพื้นที่อื่นๆ ทำ�ให้ชาวบ้านยังต้อง ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตการดำ�รงอยู่ เช่น หยุดเดินทางไปเรียนศาสนาที่ยะรัง มีการตั้งชุดหมู่บ้านรักษาความปลอดภัย รอบๆ บริเวณหมู่บ้าน และวิถีชีวิตวัยรุ่นเปลี่ยนแปลงไป นอกจากนี้ ยังพบว่ากลไกทางกฎหมายของรัฐ ในบางพืน้ ทีย่ งั ถูกใช้เป็นเครือ่ งมือของการใช้อ�ำ นาจและอิทธิพล เถื่อนในท้องถิ่นอีกด้วย 2.2 เศรษฐกิจท้องถิ่น จากพื้นที่ศึกษา 9 พื้นที่ พบว่า ถึงแม้ในพื้นที่ที่มีเศรษฐกิจไม่ดี แต่ถ้ามีทรัพยากรที่สมบูรณ์และมีวิถีชีวิตที่ มัน่ คง และไม่ถกู คุกคามจากนโยบายการพัฒนาจากภาครัฐ ชุมชนก็สามารถทีจ่ ะดำ�เนินกลไกของชุมชนได้ และหาก เมือ่ ภาครัฐพบว่าชาวบ้านมีแนวทางการดำ�เนินงานทีเ่ กิดขึน้ จากความคิดสร้างสรรค์ของชุมชน และเข้าใจเป็นอย่างดี ว่าชุมชนมีความรูแ้ ละความต้องการด้านใด รัฐเองก็สามารถเข้ามาสนับสนุนการดำ�เนินกิจกรรมของชุมชนได้ อย่างไร ก็ดี พบว่ามี 5 พื้นที่มีประเด็นเศรษฐกิจที่ไม่เข้มแข็ง คือ 1) ม.1 บ้านกือเม็ง ต.อาซ่อง อ.รามัน จ.ยะลา พบว่าในอดีตชาวบ้านทั้งพุทธและมุสลิม อยู่กันอย่างยาก ลำ�บาก ในมิติชีวิตความเป็นอยู่ที่ต้องต่อสู้กับภัยธรรมชาติแต่คนในชุมชนก็มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ส่วนใหญ่จะมี อาชีพกรีดยาง ได้เงินวันละ 150 - 300 บาทต่อวัน แต่ก็ไม่ได้ทุกวันเพราะถ้าวันไหนฝนตกก็ไม่สามารถกรีดยางได้ ดัง นั้นรายได้ต่อเดือนจึงอยู่ที่ประมาณ 3,000 บาทต่อเดือน 2) ม. 3 ต.พ่อมิ่ง อ.ปานาเระ จ.ปัตตานี พบว่า มีกลุ่มคนยากจนมีรายได้เฉลี่ยตํ่ากว่า 23,000 /คน/ปี จำ�นวน 10 คน และมีการว่างงาน


329

4) ม. 1 บ้านปาตาบาระ ต.ปะเสยะวอ อ.สายบุรี จ.ปัตตานี ประชากรส่วนใหญ่มฐี านะยากจน ประกอบอาชีพ ประมงเป็นหลัก ประสบปัญหาการว่างงาน มีการเดินทางไปประกอบอาชีพที่มาเลเซีย มีปัญหายาเสพติด ปัญหา ภูมทิ ศั น์ชมุ ชนอยูก่ นั อย่างแออัดหนาแน่น ไม่มกี ารจัดการด้านสาธารณูปโภคทีด่ ี ซึง่ ต่อมาได้มกี ารพัฒนาขึน้ โดยการ เริ่มต้นจากโครงการหมู่บ้านประมงรักษ์สุขภาพ ที่สนับสนุนโดยแผนงานสร้างเสริมสุขภาวะมุสลิมไทย (สสม) จนนำ� ไปสู่การพัฒนาด้านอาชีพ ระบบสวัสดิการชุมชน กลายเป็นหมู่บ้านที่สามารถเป็นต้นแบบของชุมชนอื่นได้ 5) ชุมชนกาแลตาแป ต.บางนาค อ.เมือง จ.นราธิวาส เป็นชุมชนทีม่ ปี ระเด็นเรือ่ งความยากจน มีผทู้ ไี่ ม่มรี ายได้ คิดเป็นร้อยละ 42.67 ส่วนมีผู้ที่มีรายได้มากกว่า 10,000 บาทต่อเดือนมีจำ�นวน 100 คน คิดเป็นร้อยละ 9.27 อาชีพ ของคนในชุมชนมี ประมง รับจ้าง แม่บ้าน ค้าขาย ธุรกิจส่วนตัว และว่างงานจำ�นวน 176 คน คิดเป็นร้อยละ 16.32 ในพื้นที่ 2 พื้นที่ พบว่า มีความสัมพันธ์กันระหว่างประเด็นความยากจนและเป็นพื้นที่ที่มีผู้เสียชีวิตจาก สถานการณ์ คือ 1) ม. 3 ต. พ่อมิ่ง อำ�เภอปะนาเระ จ. ปัตตานี 2) ม. 3 บ้านส้ม ต. ควนโนรี อ. โคกโพธิ์ จ. ปัตตานี แต่ในขณะที่ 2 พื้นที่ มีประเด็นความยากจนเช่นเดียวกันแต่ไม่สัมพันธ์กับสถานการณ์ความไม่สงบ คือ 1) ม. 1 บ้าน ปาตาบาระ ต.ปะเสยะวอ อ.สายบุรี จ.ปัตตานี และ2) ชุมชนกาแลตาแป ต.บางนาค อ.เมือง จ.นราธิวาส 2.3 การศึกษา พบว่า ในพื้นที่ที่มีทรัพยากรธรรมชาติอยู่ในเกณฑ์ดี จะนำ�มาสู่การมีรายได้ที่ดี และประชากรในพื้นที่จะให้ ความสำ�คัญต่อการศึกษาทัง้ สายสามัญและศาสนา จึงน่าจะเป็นปัจจัยหนึง่ ทีท่ �ำ ให้ในชุมชนไม่มเี หตุการณ์ทเี่ กีย่ วข้อง โดยตรงกับสถานการณ์ความไม่สงบ คือ

1) บ้านตรือปา หมู่ที่ 2 ตำ�บลห้วยกระทิง อำ�เภอกรงปินัง จังหวัดยะลา ชุมชนแห่งนี้ให้ความสำ�คัญกับการ

ศึกษาทีส่ งู กว่าภาคบังคับและระดับอุดมศึกษา ทัง้ 2 ระบบ คือ ศาสนาและสามัญ และหลังจากจบการศึกษาแล้วทุก คนจะกลับมาใช้ชวี ติ ในชุมชน เป็นไปได้วา่ การทีม่ ที รัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อมทีม่ คี วามอุดมสมบูรณ์เนือ่ งจาก ส่วนใหญ่เป็นป่าและลุ่มนํ้า และชุมชนตั้งอยู่ท่ามกลางหุบเขา ถึงแม้ว่าภายหลังพื้นที่ทั้งหมดถูกแปรสภาพเป็นสวน ยางและมีรายได้หลักจากการประกอบอาชีพสวนยาง และไม่พบว่ามีการประกอบอาชีพเสริมอื่นๆ ซึ่งชาวบ้านนิยม ขายขี้ยางดิบมากกว่ายางแผ่นเพราะประหยัดเวลาและแรงงาน ซึ่งควรเป็นคำ�ถามให้กับนักพัฒนาได้คิดต่อว่า เวลา ของชาวบ้านและเยาวชนที่เหลือนำ�ไปใช้ประโยชน์ในด้านใดบ้าง นอกจากนี้ยังพบว่าในพื้นที่มีสวนผลไม้ และไม่มี พื้นที่นา แต่ยังมีฐานะทางเศรษฐกิจอยู่ในระดับปานกลางมีรายได้เฉลี่ย 80,000-150,000 บาทต่อครัวเรือน 2) บ้านกุนุงจนอง ต.เบตง อ.เบตง จ.ยะลา เทศบาลสนับสนุนโรงเรียนทุกประเภท ทั้งของมุสลิม จีน และ ด้านวิชาชีพ ถึงแม้ว่าพื้นที่อำ�เภอเบตงในอดีตเคยเป็นฐานปฏิบัติการของโจรจีนคอมมิวนิสต์มลายา (จคม.) เมื่อครั้ง ที่สหพันธรัฐมลายูยังอยู่ภายใต้อาณานิคมของสหราชอาณาจักร แต่หลังจาก จคม.ก็ได้เข้ามอบตัวเป็นผู้ร่วมพัฒนา ชาติไทยเมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2530 จนเกิดเป็นหมู่บ้านชาวจีนบ้านปิยะมิตร ในเขตตำ�บลตาเนาะแมเราะ ที่อยู่ รอบเมืองเบตง และประมาณปี 2548 ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 1 จากการประกวดชุมชนในเขตเทศบาลเมืองเบตง มีจุดเด่นเรื่อง ความสามัคคี ความร่วมมือ และการจัดตั้งกลุ่มในชุมชนต่างๆ รวมถึงการที่เทศบาลให้การสนับสนุน ด้านศาสนาทุกศาสนา เช่น การสนับสนุนและฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมของ ไทย จีนและมลายู

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

3) ม. 3 บ้านส้ม ต.ควนโนรี อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี พบว่ารายได้ไม่เพียงพอต่อการดำ�เนินชีวิต มีรายได้เฉลี่ย ต่อหัว 30,000 – 100,000 บาท หรือเดือนละไม่เกิน 3,000 บาท หรือวันละไม่เกิน 30 บาท และบางครอบครัวมีผู้ หารายได้หลักเข้าบ้านเพียงคนเดียว มีเยาวชนว่างงานและติดยาเสพติด ส่วนใหญ่เป็นใบกระท่อม แต่ก็มีการแก้ไข โดยการส่งเสริมอาชีพ เช่น การเลี้ยงเป็ด ไก่ ปลาในบ่อดิน โครงการเลี้ยงแพะเลี้ยงแกะ ทั้งนี้ ประเด็นความยากจน และขาดการสนับสนุนในการประกอบอาชีพ มีการแก้ไขโดยให้งบประมาณเพื่อเปิดร้านตัดผมภายในหมู่บ้าน งบ ประมาณในหมวดเยียวยาที่มาจากของภารรัฐและเอกชน


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

330

สำ�หรับพืน้ ทีท่ มี่ ปี ระเด็นปัญหาเรือ่ งการศึกษาทีไ่ ม่เข้มแข็ง อาจจะเกีย่ วข้องกับแรงกดดันต่อทรัพยากรธรรมชาติ แต่ก็ไม่ได้เป็นเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ พบว่ามี 2 หมู่บ้าน คือ 1) ม. 1 บ้านปาตาบาระ ต.ปะเสยะวอ อ.สายบุรี จ.ปัตตานี ทีถ่ งึ แม้วา่ คนในชุมชนจะมีการศึกษาน้อย และราย ได้ตํ่า แต่ประชาคมมีความตื่นตัวทางด้านการศึกษาสูง พยายามส่งบุตรหลานให้เรียนในระดับอุดมศึกษาในสถาบัน ต่างๆ ทั่วประเทศ และถึงแม้ว่าบ้านปาตาบาระจะมีเหตุร่วมคล้ายกับภาคอื่นๆ ทั่วประเทศ นั่นคือ ประชากรส่วน ใหญ่มีฐานะยากจน ประกอบอาชีพประมงเป็นหลัก และประสบปัญหาการว่างงาน มีการเดินทางไปประกอบอาชีพ ที่มาเลเซีย มีปัญหายาเสพติด ปัญหาภูมิทัศน์ชุมชนอยู่กันอย่างแออัดหนาแน่น ไม่มีการจัดการด้านสาธารณูปโภค ที่ดี แต่ก็ไม่ได้เป็นเงื่อนไขนำ�ไปสู่ความรุนแรงที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ความไม่สงบ ด้วยปัจจัยหลายประการที่เป็น ประสบการณ์ในอดีต ได้แก่ การมีประสบการณ์ต่อสู้กับโจรเรียกค่าคุ้มครองในราวปี พ.ศ. 2515-2520 การมีสภาพ ทางภูมิศาสตร์ของหมู่บ้านที่เสมือนเกาะที่เกิดจากดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่นํ้าและมีเส้นทางเข้าออกทางเดียว มี การตั้งบ้านเรือนอยู่อย่างหนาแน่นซึ่งนิยมการถกเถียง อภิปรายแลกเปลี่ยนในร้านนํ้าชาอย่างเปิดเผยซึ่งมีอยู่ 4 แห่ง ในชุมชน และไม่มีประวัติการเป็นหมู่บ้านนักเลง ไม่เคยมีประวัติการใช้ความรุนแรงแม้แต่การยกพวกรุมชกต่อยและ ทำ�ร้ายกันจนบาดเจ็บสาหัส การมีความคุ้นเคยกับผู้นับถือศาสนาพุทธและชุมชนพุทธมานับตั้งแต่การก่อตั้งชุมชน นอกจากนั้น การที่ประชาชนให้ความสนใจในการเรื่องปากท้อง และการปฏิบัติศาสนกิจมากกว่าเรื่องอื่นๆ จึงเป็น ไปได้ว่าการแทรกซึมทางความคิดที่แตกต่างจากแนวทางการปฏิบัติของประชาชนทั่วไปจึงเป็นไปได้ยาก 2) ม. 1 ต.โคกเคียน อ.เมือง จ.ปัตตานี ถึงแม้วา่ จะพบว่ามีประเด็นเรือ่ งคุณภาพด้านการศึกษา และระบบการ ศึกษาทีเ่ ริม่ แยกศาสนิกออกจากกัน มุสลิมนิยมส่งบุตรหลานเรียนโรงเรียนศาสนาเพียงด้านเดียวเนือ่ งจากภาวะความ ยากจนไม่มีทุนการศึกษา และมีจำ�นวนน้อยที่ศึกษาด้านศาสนาและสามัญควบคู่กัน และเป็นเงื่อนไขสำ�คัญที่ทำ�ให้ ปฏิสมั พันธ์ระหว่างต่างศาสนิกเริม่ ห่างกันออกไป คือ เยาวชนต่างศาสนิกไม่มโี อกาสเรียนด้วยกัน เพราะเยาวชนไทย มุสลิมเน้นโรงเรียนปอเนาะรวมทั้งมีโอกาสทางการศึกษาน้อยเพราะยากจน ส่วนเยาวชนไทยพุทธเน้นเรียนโรงเรียน สามัญ แต่กม็ รี ะบบเศรษฐกิจทีเ่ รียบง่ายและพึง่ พาธรรมชาติ เช่น การทำ�ประมงชายฝัง่ การเลีย้ งปลาในกระชัง การ ทำ�สวนผลไม้ เลี้ยงสัตว์ มีความสามารถในงานหัตถกรรม และการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากทะเล แต่ก็พบว่าทรัพยากร ในธรรมชาติเริ่มลดน้อยลงและมีรายได้ลดลง 2.4 ประชากร ผลการศึกษาจาก 9 พื้นที่ศึกษา พบว่าประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามและมีถึง 4 พื้นที่ที่ประชากร นับถือศาสนาอิสลาม 100% ได้แก่ 1) ม. 1 บ้านกือเม็ง ต.อาซ่อง อ.รามัน มีประชากรนับถือศาสนาอิสลาม 100% 2) จังหวัดปัตตานี ได้แก่ ม. 3 ต.พ่อมิ่ง อ. ปานาเระ มีประชากรนับถือศาสนาอิสลาม 100% 3) จังหวัดนราธิวาส ได้แก่ ชุมชนกาแลตาแป ต. บางนาค อ. เมือง มีประชากรที่นับถือศาสนาอิสลาม 100% 4) จังหวัดนราธิวาส ม. 2 บ้านปูยู ต. เกาะสะท้อน อ. ตากใบ มีประชากรนับถือศาสนาอิสลาม 100% อีก 3 พื้นที่ มีทั้งพุทธและอิสลามในสัดส่วนที่อิสลามมากกว่า ได้แก่ 1) ม. 3 บ้านส้ม ต. ควนโนรี อ. โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี มีประชากรนับถือศาสนาอิสลาม 80% และพุทธ 20% 2) บ้านปาตาบาระ ม. 1 ต. ปะเสยะวอ อ. สายบุรี มีประชากรพุทธเพียง 3 ครอบครัว 3) ม.1 บ้านเกาะสะท้อนมีประชากรนับถือศาสนาพุทธ 10% และนับถือศาสนา อิสลาม 90% พื้นที่ที่มีผู้นับถือศาสนาพุทธมากกว่าอิสลาม ได้แก่ ม.1 ต.โคกเคียน อ.เมือง จ.นราธิวาส มีประชากรนับถือ ศาสนาพุทธ 70% และอิสลาม 30% ส่วนอีก 1 พื้นที่ มีความผสมผสานหลายชาติพันธุ์และศาสนา ได้แก่ บ้านกุนุงจนอง ต.เบตง อ.เบตง จ.ยะลา มีประชากรนับถือศาสนาพุทธ 47% อิสลาม 51% และยังเป็นพื้นที่ของหลายชาติพันธุ์ ได้แก่ จีน มลายู และไทย


331

2.5 ภูมิศาสตร์ชายแดนใต้ เนือ่ งจากพืน้ ทีจ่ งั หวัดชายแดนภาคใต้มอี าณาเขตติดต่อกับตอนเหนือของประเทศมาเลเซียเป็นระยะทางยาว ถึง 573 กิโลเมตร ทำ�ให้ประชากรทั้ง 2 ประเทศในเขตนี้ใกล้ชิดกันมาก (รายงานกอส. น.27) จากการศึกษา 9 พื้นที่ พบว่ามี 4 พื้นที่ ที่ประชากรมีความสัมพันธ์กันในทางเศรษฐกิจ ได้แก่ 1) ม. 3 ต.พ่อมิ่ง อ.ปานาเระ จังหวัดปัตตานี ทีม่ กั จะเดินทางไปรับจ้างปลูกข้าวดำ�นาในประเทศมาเลเซียทุกปีเพือ่ หารายได้พเิ ศษมาจุนเจือครอบครัว 2) ม.1 บ้าน ปาตาบาระ ต.ปะเสยะวอ อ.สายบุรี จ.ปัตตานี ซึ่งสามารถสืบค้นประวัติศาสตร์ความเป็นมาของหมู่บ้านว่าตั้งแต่ ก่อน พ.ศ. 2342 มีพ่อค้านักเดินทางและการอพยพผู้คนมาจากประเทศมาเลเซียและมาตั้งรกรากที่บ้านปาตาบาระ คือ รัฐกลันตัน และรัฐตรังกานู และเนื่องจากชุมชนบ้านปาตาบาระประกอบอาชีพประมงตั้งแต่ดั้งเดิมถึง 80% จึง มีการเดินทางไปประกอบอาชีพในประเทศมาเลเซีย โดยไปเป็นลูกเรือประมงและลูกจ้างร้านอาหารเป็นหลัก 3) บ้าน กุนุงจนอง ต.เบตง อ.เบตง จ.ยะลา ซึ่งตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองเบตงซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศมาเลเซียทาง ด้านรัฐเปรัค และรัฐเคดาห์ ต่อถึงรัฐปีนัง 4) ม.1 บ้านกือเม็ง ต.อาซ่อง อ.รามัน จ.ยะลา จะมีชาวบ้านจำ�นวนหนึ่ง รับจ้างกรีดยางและขายข้าวในประเทศมาเลเซีย 3. ปัจจัยชั้นวัฒนธรรม: ภาษา-ศาสนา และประวัติศาสตร์ 3.1 ภาษา-ศาสนา ภาษาเป็นอัตลักษณ์ทสี่ �ำ คัญโดยเฉพาะอย่างยิง่ ต่อชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึง่ เป็นวัฒนธรรม ทีใ่ ช้ก�ำ หนดเขตแดน และมีความหมายทีล่ กึ ซึง้ ทีเ่ ชือ่ มโยงถึงประวัตศิ าสตร์ความเป็นมากับอดีตและปรากฏความเป็น ตัวตนของหมู่บ้านได้อย่างน่าสนใจ แต่พบว่ามี 1 พื้นที่ การตั้งชื่อหมู่บ้านเป็นภาษาไทยของฝ่ายปกครองไม่ได้ตั้งชื่อ ตรงกับชื่อที่แท้จริงของหมู่บ้าน คือ ม.1 บ้านกาเม็ง ต.อาซ่อง อ.รามัน จ.ยะลา พบว่า เดิมทีหมู่บ้านไม่ได้ชื่อ “กา เม็ง” ซึง่ หมายถึง หมูบ่ า้ นทีม่ แี พะมาก มาตัง้ แต่ตน้ แต่ในความเป็นจริงของชาวบ้านชือ่ หมูบ่ า้ นทีถ่ กู ต้องคือ “กือเม็ง” ซึ่งมาจากชื่อ “โต๊ะกือเม็ง” หมายถึง ผู้หญิงที่มีบารมี มีสติปัญญาเฉียบแหลม สวย ผมยาวหยักศก พูดจาอ่อนโยน มีความรู้เชี่ยวชาญด้านศาตราวุธและไสยศาสตร์ทุกแขนง และเป็นที่เคารพนับถือของชุมชนสมัยก่อน การเปลี่ยน ชื่อหมู่บ้านดังกล่าวส่งผลกระทบในทางลบอย่างมากต่อความรู้สึกชาวบ้าน เพราะในความหมายของชาวบ้าน “กือ เม็ง” มีความหมายที่ลึกซึ้ง ละเอียดอ่อน และเชื่อมโยงถึงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของชุมชนมาตั้งแต่ในอดีต อย่างไรก็ดี ภาษายังเป็นสื่อเชื่อมโยงทางวัฒนธรรมที่คนรุ่นเก่า สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างการ ปฏิสัมพันธ์กันระหว่างต่างศาสนิกอีกด้วย เพราะพบว่ามี 1 พื้นที่ คือ ม.1 ต.โคกเคียน อ.เมือง จ. นราธิวาส ที่มีชาว ไทยพุทธสามารถฟังและพูดภาษามลายูได้เป็นอย่างดี เนือ่ งจากในวัยเด็กได้รบั การอุปการะจากครอบครัวทีเ่ ป็นมุสลิม นอกจากนี้ ในพื้นที่ซึ่งประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม วิถีชีวิต ประเพณีและวัฒนธรรมจึงเชื่อมโยง กับศาสนาและวัฒนธรรมของท้องถิ่น อย่างไรก็ดี มีข้อสังเกตว่าในพื้นที่ ม. 3 บ้านส้ม ต. ควนโนรี อ. โคกโพธิ์ จังหวัด ปัตตานี เป็นพื้นที่ที่มีประชากรทั้งพุทธและมุสลิมอยู่ร่วมกัน มีประเพณีที่ปรากฏซึ่งแตกต่างกันเป็นการสะท้อน อัตลักษณ์วัฒนธรรมของแต่ละศาสนา แต่ประเพณีดังกล่าวไม่ได้เปิดโอกาสให้มีการเรียนรู้ปฏิสัมพันธ์ระหว่างคน ต่างศาสนา ดังนั้น วัฒนธรรมและประเพณีที่มีรากมาจากศาสนาจึงมีกลไกในการแบ่งคนออกอย่างชัดเจน ผู้วิจัยจึง เสนอว่าควรทีจ่ ะได้มกี ารเปิดพืน้ ทีร่ ว่ มกัน เพือ่ ให้เกิดการเรียนรูค้ วามแตกต่างในวิถปี ฏิบตั ิ ทัง้ นี้ รายงานของกอส. เอง ก็ได้ระบุเงือ่ นไขสำ�คัญทางวัฒนธรรมอาจจะนำ�มาสูค่ วามรุนแรงหรือทำ�ให้ผคู้ นไม่นอ้ ยยอมรับหรือเห็นด้วยกับฝ่ายที่

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

ซึ่งสอดคล้องกับรายงานของกอส. (น.16) ด้านประชากรที่พบว่า “ลักษณะพิเศษของ 3 จังหวัดชายแดนภาค ใต้คอื วัฒนธรรมของประชากรในพืน้ ทีท่ แี่ ตกต่างไปจากส่วนอืน่ ของประเทศไทย ประชากรส่วนใหญ่ คือ ร้อยละ 79.3 หรือ 1.4 ล้านคน นับถือศาสนาอิสลามและนิยมพูดภาษามลายู โดยมีประชากรชาวไทยพุทธอยู่เพียงร้อยละ 20.1 กระจายอยู่ทั่วไปทั้งในเขตเมืองและชนบท”


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

332

ใช้ความรุนแรงเพื่อใช้ในการต่อสู้ในนามของอัตลักษณ์มลายูมุสลิม ได้แก่ ลักษณะเฉพาะทางศาสนาและชาติพันธุ์ นั่นคือ ศาสนาอิสลาม และภาษามลายู 3.2 ประวัติศาสตร์ ผลจากการศึกษาใน 9 พื้นที่ พบว่าประวัติศาสตร์การเริ่มตั้งถิ่นฐานของชุมชนมีความแตกต่างกัน สามารถ จำ�แนกได้เป็น 3 ประเภทดังนี้ 1. ชุมชนที่เกิดขึ้นใหม่และยังไม่มีประวัติศาสตร์เชื่อมโยงกับรัฐไทย มี 1 พื้นที่ได้แก่ บ้านตรือปา หมู่ที่ 2 ตำ�บลห้วยกระทิง อำ�เภอกรงปินัง จังหวัดยะลา สามารถสืบค้นประวัติศาสตร์การตั้ง รกรากของชุมชนไปได้ 70 ปี เนื่องจากเป็นชุมชนพึ่งเกิดขึ้นใหม่และมีการบุกเบิกที่ทำ�กินเนื่องจากเห็นว่าบริเวณดัง กล่าวมีความอุดมสมบูรณ์ 2. ชุมชนที่เกิดขึ้นนานแล้วและไม่มีประวัติศาสตร์เชื่อมโยงกับรัฐไทยแต่มีประวัติศาสตร์เชื่อมโยงกับรัฐข้าง เคียง มี 1 พื้นที่ ได้แก่ บ้านปาตาบาระ หมู่ 1 ต. ปะเสยะวอ อ. สายบุรี จ. ปัตตานี สามารถสืบค้นประวัติความเป็นมาได้จากการ ประเมินเทียบเคียงกับการเกิดของ “วัดบางตะโละ” หรือ “วัดถัมภาวาส” พบว่าเป็นหมูบ่ า้ นทีเ่ ริม่ ก่อตัง้ เมือ่ ประมาณ ปี พ.ศ. 2342 หรือ 200 กว่าปีที่ผ่านมา แต่อย่างไรก็ตาม การตั้งถิ่นฐานในช่วงแรกอาจไม่ถาวรเนื่องจากมีการอพยพ โยกย้ายอยูต่ ลอดเวลา รวมทัง้ เมืองสายบุรใี นอดีตเป็นท่าเรือสำ�คัญของภูมภิ าคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีการติดต่อ ค้าขายด้วยเรือสำ�เภา มีการค้นทีม่ าของบุคคลทีม่ าตัง้ หมูบ่ า้ นในยุคแรกได้วา่ เป็นพ่อค้าและนักเดินทางจากประเทศ มาเลเซีย ตำ�บลกาแลรู อ.ตุมปัต รัฐกลันตัน และราวปีพ.ศ. 2420 มีคนชื่อ “โต๊ะแบแคง” ซึ่งแปลว่า “คนดุ” มา จากรัฐกลันตันเช่นเดียวกัน และนอกจากนี้ยังมีพี่น้องจำ�นวน 3 คนจากรัฐตรังกานู มาแต่งงานกับชาวบ้านบริเวณนี้ ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าในหมู่บ้านแห่งนี้มีความสัมพันธ์ทางเครือญาติกับประชาชนในประเทศมาเลเซียโดยเฉพาะ ในรัฐกลันตันและตรังกานู โดยเฉพาะในด้านการทำ�ประมง 3. ชุมชนที่มีประวัติศาสตร์ท้องถิ่นและเชื่อมโยงกับรัฐเพื่อนบ้านและรัฐไทยมี 2 พื้นที่ ได้แก่ บ้านกุนุงจนอง ต. เบตง อ. เบตง จ. ยะลา พบว่า ก่อนปี พ.ศ. 23343 ในยุคเริ่มแรกมีเพียงกลุ่มที่พูดภาษา มลายู และมีความสัมพันธ์กบั ชาวมาเลเซีย จนกระทัง่ ราวปี พ.ศ. 2343 มีหนุม่ สาวจากประเทศจีนเดินทางขึน้ เรือข้าม ฝากมาประเทศมาเลเซียและเดินเท้าหรือนั่งเกวียนมายังเบตง ซึ่งขณะนั้นเป็นเพียงป่าทึบที่เต็มไปด้วยสัตว์ป่านานา ชนิด เพื่อเข้ามาตั้งรกรากและทำ�การค้า หลังจากนั้นกิจการได้ก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ พร้อมกับจำ�นวนชาวจีนที่เดินทาง เข้ามาอย่างรวดเร็ว เพียงไม่กี่ปีผืนป่าอันกว้างใหญ่ได้รับการแปรสภาพเป็นสวนยางพารา และกลายเป็นเมืองที่มี ความเจริญกลางหุบเขาน้อยใหญ่ในที่สุด นอกจากนี้พื้นที่อำ�เภอเบตงยังเคยเป็นฐานปฏิบัติของโจรจีนคอมมิวนิสต์ มลายา (จคม.) เมือ่ ครัง้ สหพันธรัฐมลายูยงั อยูภ่ ายใต้อาณานิคมของสหราชอาณาจักรและหลังจาก จคม. ได้มอบตัว เพื่อเข้าเป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2530 จึงเกิดหมู่บ้านชาวจีนชื่อว่าบ้านปิยะมิตรในเขตตำ�บล ตาเนาะแมเราะ ซึ่งอยู่รอบนอกเมืองเบตงเพิ่มขึ้นมา 2. บ้านกือเม็ง ต.อาซ่อง อ.รามัน จ.ยะลา มีประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเชื่อมโยงสมัยยุคการค้าในอดีตและมีการ ค้นพบหลักฐานเป็นขวดเหล้าจากอัมสเตอร์ดัมที่งมได้จากแม่นํ้าสายบุรี รวมทั้งวัตถุโบราณอื่นๆ นอกจากนี้ยังมีเรื่อง เล่าเกี่ยวกับประวัติศาสตร์การต่อสู้ของวีรบุรุษในชุมชนกับรัฐไทย คือ ครูเปาะสู มาแวดิสา และประวัติความร่วม มือและการพัฒนาท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วมกับรัฐอีกด้วย


333

ในช่วงของการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1 และการพัฒนาในสังคมไทยมีทิศทาง การพัฒนาแบบรวมศูนย์อำ�นาจเข้าสู่ส่วนกลาง ผลของการพัฒนาดังกล่าวก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างลุ่มลึก ของชุมชนในพื้นที่ในด้านต่างๆ จากผลการศึกษาทั้ง 9 พื้นที่ พบรูปแบบการพัฒนาที่มีทั้งปัจจัยเอื้อหนุนชุมชนและ อุปสรรคสำ�คัญหลายประการ ทั้งนี้ การพิจารณาประเด็นดังกล่าวจะควบคู่ไปกับการวิเคราะห์และทำ �ความเข้าใจ ระบบสังคมและวัฒนธรรมของชุมชน และทุนทางสังคมที่ชุมชนมีอยู่ 10.1 ปัจจัยที่ทำ�ให้การพัฒนาประสบความสำ�เร็จ ได้แก่ 1) การพัฒนาที่มีกระบวนการให้ชุมชนเล็งเห็นถึงศักยภาพของชุมชนในการพัฒนาตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นของการ ปฏิบตั กิ าร โดยเฉพาะการมีสว่ นร่วมจากแกนนำ� และการสนับสนุนจากองค์กรภายนอกชุมชนอย่างเป็นกระบวนการ เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับภายในชุมชนในด้านต่างๆ เช่น ด้านการบริหารการจัดการ การมีส่วนร่วมอย่างจริงจัง และแท้จริง 2) บทบาทขององค์กรที่ให้การพัฒนาเน้นให้ความสำ�คัญกับทุกวัฒนธรรม ประเพณี และศาสนา อย่างเสมอ ภาคกัน ไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรมของไทย จีน และมลายู ในด้านต่างๆ เช่น การสนับสนุนทางด้านการศึกษาและการ ประกอบอาชีพ 3) การสร้างโครงสร้างพืน้ ฐานของรัฐ (สำ�เร็จในบางพืน้ ทีแ่ ละไม่สำ�เร็จในบางพืน้ ทีแ่ ละสำ�เร็จเฉพาะบางอย่าง) เช่น บ้านปาตาบาระ ม. 1 ต.ปะเสยะวอ อ.สายบุรี จ.ปัตตานี ระบุว่า ด้านโครงสร้างพื้นฐานที่ประสบความสำ�เร็จ คือ ถนน ไฟฟ้า ประปา ระบบจัดการขยะ สนามกีฬาฟุตบอล เขื่อนกั้นตลิ่งพัง และอาคารอเนกประสงค์ 10.2 อุปสรรคสำ�คัญที่ทำ�ให้การพัฒนาล้มเหลว ได้แก่ 1) การรวมศูนย์การพัฒนาเข้าสูส่ ว่ นกลาง ทำ�ให้ชมุ ชนต้องเผชิญกับปัญหาของการไม่สามารถคิดและพัฒนา ศักยภาพของตนเองได้ และกลายเป็นปัญหาทางการเมืองในระดับชาติ ก่อให้เกิดความขัดแย้งในทางอุดมการณ์ที่ เกีย่ วกับนโยบายการพัฒนาของชาติและการพัฒนาของท้องถิน่ อย่างเรือ่ งปัญหา “การแบ่งแยกดินแดน” หรือถูกกล่าว หาว่าเป็นผูแ้ บ่งแยกดินแดน แต่ในขณะเดียวกันรัฐเองก็ไม่มคี วามสามารถเพียงพอทีจ่ ะเข้าถึงการพัฒนาในชุมชนท้อง ถิ่นซึ่งมีลักษณะเฉพาะทางสังคม วัฒนธรรม และศาสนาที่แตกต่างกันได้ โดยเฉพาะทางด้านภาษาและวัฒนธรรม ทำ�ให้นักพัฒนาที่มาจากภาครัฐในยุคของการพัฒนาช่วงแรกซึ่งเป็นบุคคลที่ถูกส่งมาจากส่วนกลาง เมื่อต้องเผชิญ กับสิ่งที่แตกต่างเช่นนี้ จึงเลือกที่จะพัฒนาในพื้นที่ที่มีภาษาและวัฒนธรรมใกล้เคียงกับตน พบใน ม.1 บ้านกือเม็ง ต. อาซ่อง อ. รามัน จ. ยะลา กรณี “ครูเปาะสู มาแวดิสา” ที่ริเริ่มการพัฒนาชุมชนจากรากฐานของชุมชนแต่ในท้าย ที่สุดถูกมองว่าเป็นกลุ่มแบ่งแยกดินแดน 2) การเข้ามาของรูปแบบการเมืองการปกครองแบบรัฐสมัยใหม่ มีอิทธิพลอย่างสำ �คัญต่อลักษณะการ เปลี่ยนแปลงการจัดระเบียบสังคมของท้องถิ่น ซึ่งเคยถูกใช้เป็นหลักการในชีวิตประจำ�วัน ในการใช้แก้ปัญหาความ ขัดแย้งในชุมชน ได้แก่ 2.1 การจัดตัง้ สภาคณะกรรมการชุมชนและออกกฎระเบียบชุมชนทีส่ อดคล้องกับท้องถิน่ (Hukum Pakat) และ ผ่านกระบวนการประชุมหารือ (Meshurat) 2.2 ระบบเครือญาติ การนับถือญาติผู้ใหญ่หรือผู้อาวุโสทางสายเลือดเป็นคนกลางในการเจรจาไกล่เกลี่ยข้อ พิพาทหรือความขัดแย้ง 2.3 ระบบนับถือผู้อาวุโส (ออแกตูวอ)

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

10. ผลการวิเคราะห์ตามแนวความคิดเกี่ยวกับการพัฒนาบนพื้นที่ความขัดแย้ง


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

334

ทั้งนี้ ความสัมพันธ์ของรัฐที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงการจัดระเบียบสังคมในท้องถิ่นทำ�ให้ปัจจุบันกระบวนการจัด ระเบียบสังคมไทยด้านการเมืองการปกครองแบบร่วมสมัยจึงมีความแตกต่างจากในอดีต จากกระบวนการประชุม หารือของชาวบ้านทั้งชุมชนถูกเปลี่ยนเป็นการประชุมหารือของตัวแทน หรือกลุ่มตัวแทนของชุมชน กับตัวแทนของ หน่วยงานรัฐ วิธีการเช่นนี้ส่งผลให้ชาวบ้านที่ไม่ใช่ตัวแทนขาดความเข้าใจแนวคิดของโครงการ และเมื่อมีโครงการ พัฒนาเข้ามาในชุมชน ชาวบ้านเองก็ขาดทักษะด้านกระบวนการ การบริหารจัดการ และการปฏิบัติการ อีกทั้งตัว โครงการยังขาดความต่อเนื่อง การติดตามและการประเมินผล ประกอบรัฐสมัยใหม่ยังเอื้อให้อ�ำ นาจกับการเกิด กลุ่มอำ�นาจและการก่อตัวของชนชั้นในท้องถิ่นที่ใช้กลไกทางการเมืองสมัยใหม่ของรัฐเป็นเครื่องมือในการแสวงหา ผลประโยชน์เข้ากลุ่มและพวกพ้องของตน 3) โครงการการพัฒนาของรัฐที่เน้นการพัฒนาแบบบนลงล่าง ได้แก่ การเน้นการตัดสินใจโดยคนเดียว หรือ กลุ่มคนเพียงจำ�นวนหนึ่ง มักจะขาดกระบวนการและการให้ความรู้ต่อชุมชน ในด้านต่างๆ เช่น กระบวนการบริหาร จัดการโครงการ ทักษะในการปฏิบัติการด้านการเงิน ขาดความต่อเนื่อง และขาดการติดตามประเมินผล หรือการ ประเมินก็มีตัวชี้วัดความสำ�เร็จของรัฐที่แตกต่างจากชุมชน ทำ�ให้โครงการพัฒนาหลายโครงการสร้างแล้วไม่เป็น ประโยชน์ต่อชุมชน ผลดังกล่าวส่วนใหญ่เกิดจากการขาดการปรึกษาหารือและกระบวนการมีส่วนร่วมจากชุมชน แต่อย่างไรก็ตามชาวบ้านก็ไม่ได้ปฏิเสธโครงการพัฒนา แต่ขอให้เน้นกระบวนการดำ�เนินการอย่างครอบคลุมและ บูรณาการ รวมทั้งให้ความรู้ด้านทักษะการปฏิบัติและการบริหารการจัดการกับชุมชน 4) กระบวนการกลายเป็นทันสมัยของประเทศและกระแสโลกาภิวัฒน์ นอกจากจะทำ�ให้เกิดปัญหาทางสังคม ตามมา เช่น ยาเสพติด แรงงานอพยพย้ายถิ่นแล้ว ยังมีความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจท้องถิ่นกับรัฐไทย โดยเฉพาะ หมูบ่ า้ นซึง่ มีการเปลีย่ นแปลง คือ การทีร่ ฐั ผนวกเอาเขตชนบทเข้าสูร่ ะบบกรรมสิทธิ์ โดยเฉพาะการถูกจัดให้อยูใ่ นเขต ปฏิรปู ของสปก.ตามประกาศทีอ่ อก ณ วันที่ 24 กันยายน 2535 โดยครอบคลุมพืน้ ทีว่ า่ งหลายพืน้ ทีใ่ นประเทศ สำ�หรับ ภาคใต้ พบในบ้านปาตาบาระ หมู่ 1 ต.ปะเสยะวอ อ.สายบุรี จ.ปัตตานี ที่ประชาชนทั้งหมด ยกเว้นเพียงครอบครัว เดียวเท่านัน้ ทีม่ เี อกสารสิทธิ์ และกระบวนการเพือ่ ให้ได้มาซึง่ กรรมสิทธิจ์ ะมีความพยายามดำ�เนินการโดยผูท้ สี่ ามารถ ประสานงานกับหน่วยงานของรัฐเท่านั้น ทำ�ให้ประชาชนที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ หรือผู้ที่เคยมีเอกสารสิทธิ์ครอบครองแต่ ไม่ได้เก็บรักษาหลักฐานเพือ่ แสดงให้แก่เจ้าพนักงาน ในท้ายทีส่ ดุ ทำ�ให้ไม่สามารถดำ�เนินการเพือ่ ยืน่ ขอเอกสารสิทธิไ์ ด้ เพราะเดิมทีวัฒนธรรมการถือครองที่ดินจะถูกจับจองโดยตระกูลใหญ่ๆ ในชุมชนเมื่อร้อยกว่าปี และอีกส่วนหนึ่งคือ การซือ้ ขายจากผูท้ ซี่ อื้ สิทธิม์ าจากเจ้าของทีด่ นิ ก่อนหน้านัน้ และการซือ้ ขายสิทธิใ์ นทีด่ นิ เกือบทัง้ หมดจะซือ้ เฉพาะทีด่ นิ ทีม่ บี า้ นเรือนของตนเองตัง้ อยูเ่ ท่านัน้ โดยเฉพาะการเอากรรมสิทธิก์ ารถือครองทีด่ นิ จากการได้รบั มรดกตกทอดทีเ่ ป็น ที่รับรู้กันในชุมชน ซึ่งจะพบปัญหาเช่นเดียวกันนี้คล้ายคลึงกับหลายภาคของไทย คือ ประชาชนยังไม่มีเอกสารสิทธิ์ เงื่อนไขของสถานการณ์ความไม่สงบกับความขัดแย้งและความล้มเหลวของการพัฒนา 1. โดยสรุป อุปสรรคของการพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ อาจ กล่าวได้วา่ มีการพัฒนาทีไ่ ม่เป็นประโยชน์ตอ่ ชุมชนหลายโครงการ โดยเฉพาะการพัฒนาของรัฐทีข่ าดการปรึกษาหารือ และกระบวนการมีสว่ นร่วมจากชุมชน และไม่ได้มกี ารติดตามประเมินผลจะถูกนำ�ไปใช้เป็นเงือ่ นไขทางวัฒนธรรม ของผู้ก่อเหตุ เป็นเครื่องมือในการปลุกระดมขยายแนวร่วมและสร้างความชิงชังต่อรัฐ 2. กลไกทางสังคมดั้งเดิมของชุมชน เช่น ระบบอาวุโส ซึ่งมักจะเป็นผู้ไกล่เกลี่ยหรือตัดสินข้อพิพาทหรือความ ขัดแย้งในชุมชน แต่สถานการณ์ความไม่สงบก็กลายเป็นเงื่อนไขหนึ่งที่ท�ำ ให้ผู้นำ�ทางธรรมชาติต้องลดบทบาทลง เพราะเกรงเป็นที่ถูกเพ็งเล็งและกลไกของรัฐไม่สามารถที่จะดูแลได้อย่างทั่วถึง


335

1. จังหวัดยะลา 1) บ้านตรือปา หมู่ที่ 2 ตำ�บลห้วยกระทิง อำ�เภอกรงปินัง จังหวัดยะลา: เหตุร่วม (ทั่วประเทศ) และเงื่อนไขเชิงโครงสร้าง ไม่เป็นเงื่อนไขที่นำ�ไปสู่ความขัดแย้งจากงานวิจัยพบ ว่า ด้านการศึกษา ชุมชนแห่งนี้ให้ความสำ�คัญกับการศึกษาที่สูงกว่าภาคบังคับและระดับอุดมศึกษา ทั้ง 2 ระบบ คือ ศาสนาและสามัญ และหลังจากจบการศึกษาแล้วทุกคนจะกลับมาใช้ชีวิตในชุมชน ผู้นำ�มีศักยภาพและเป็น คนในท้องถิน่ มีระบบเครือญาติทเี่ ข้มแข็ง มีกลไกในการแก้ไขความขัดแย้งของชุมชน เมือ่ มีความขัดแย้งทีเ่ กิดจาก การเมืองภายในท้องถิ่นสามารถใช้กลไกทางวัฒนธรรมของชุมชนโดยการจัดตั้งสภาคณะกรรมการชุมชนและออก กฎระเบียบชุมชนที่สอดคล้องกับท้องถิ่น (Hukum Pakat) และผ่านกระบวนการประชุมหารือ (Meshurat) มีทุนทาง สังคม ประชาชนส่วนใหญ่มีถนิ่ ฐานเดิมอยูใ่ นจังหวัดปัตตานีและนับถือศาสนาอิสลาม มีระบบเครือญาติ การนับถือ ญาติผู้ใหญ่หรือผู้อาวุโสทางสายเลือด ส่วนทางด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความอุดมสมบูรณ์ ส่วนใหญ่เป็นป่าและลุม่ นํา้ และชุมชนตัง้ อยูท่ า่ มกลางหุบเขา แต่ภายหลังพืน้ ทีท่ งั้ หมดถูกแปรสภาพเป็นสวนยางและ มีรายได้หลักจากการประกอบอาชีพจากสวนยาง และไม่พบว่ามีการประกอบอาชีพเสริมอื่นๆ ซึ่งชาวบ้านนิยมขาย ขี้ยางดิบมากกว่ายางแผ่นเพราะประหยัดเวลาและแรงงาน มีสวนผลไม้ และไม่มีพื้นที่นา ฐานะทางเศรษฐกิจอยู่ใน ระดับปานกลางมีรายได้เฉลี่ย 80,000-150,000 บาทต่อครัวเรือน ศาสนาและวัฒนธรรมผูกพันกับระบบปอเนาะ มีงานประเพณีและวัฒนธรรมของชุมชนอย่างต่อเนื่อง ด้านสาธารณสุข ในอดีตสันนิษฐานว่ามีโรคมาลาเรียและ ปัจจุบันมีการขับเคลื่อนเรื่องโรคเอดส์โดยสมาคมยุวมุสลิมแห่งประเทศไทยและกองทุนโลก สภาพความขัดแย้งในพืน้ ที่ ทีเ่ กีย่ วข้องกับสถานการณ์ความไม่สงบ เมือ่ วันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2547 มี ผู้เสียชีวิตในพื้นที่จำ�นวน 10 คน ชาวบ้านมีความเห็นว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกลุ่มดังกล่าวได้รับอิทธิพลจากภายนอก ชุมชนและจบสิ้นไปพร้อมกับผู้ที่เสียชีวิต ที่ไม่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ คือ การเมืองระดับท้องถิ่นที่เชื่อมโยงกับ การเมืองในระดับชาติ การพัฒนา ปัจจุบันกระบวนการพัฒนาแตกต่างจากในอดีต จากกระบวนการประชุมหารือของชาวบ้านทั้ง ชุมชนถูกเปลี่ยนเป็นการประชุมหารือของตัวแทน หรือกลุ่มตัวแทนของชุมชน กับตัวแทนของหน่วยงานรัฐ ปรากฏ ว่าชาวบ้านขาดความเข้าใจแนวคิดของโครงการ ขาดทักษะด้านกระบวนการ การบริหารจัดการ และการปฏิบัติการ ขาดความต่อเนือ่ ง การติดตามและการประเมินผล มีโครงการพัฒนา 3 โครงการทีแ่ สดงให้เห็นถึงความล้มเหลวของ การพัฒนา มี 5 โครงการที่รอการต่อยอด เช่น การส่งเสริมการตลาด การสร้างทักษะด้านการบริหาร ชุมชนสะท้อนว่าการทำ�งานของรัฐ ไม่เข้าใจเข้าถึงชุมชนอย่างแท้จริง ที่สำ�คัญไม่มีการติดตามประเมินผล และขาดความต่อเนื่องในการปฏิบัติงาน และมีตัวชี้วัดความสำ�เร็จของรัฐที่แตกต่างจากชุมชน แต่อย่างไรก็ตาม ชาวบ้านไม่ได้ปฏิเสธโครงการพัฒนาแต่เน้นให้ด�ำ เนินการอย่างครอบคลุมและบูรณาการ รวมทัง้ ให้ความรูด้ า้ นทักษะ การปฏิบัติและการบริหารการจัดการกับชุมชน 2) บ้านกุนุงจนอง ต. เบตง อ. เบตง เหตุรว่ ม (ทัว่ ประเทศ)และเงือ่ นไขเชิงโครงสร้าง ผลงานวิจยั ไม่พบว่ามีเหตุและเงือ่ นไขทางสังคมทีจ่ ะนำ� ไปสู่เหตุการณ์รุนแรงใน ต.เบตง ถึงแม้เป็นพื้นที่ที่มีความแตกต่างทางสังคมและวัฒนธรรม เชื้อชาติ ภาษา ศาสนา และขนบธรรมเนียมประเพณี แต่ความแตกต่างเหล่านี้ไม่ได้เป็นเหตุนำ�ไปสู่ความรุนแรง ความหลากหลายของ ประชากรประกอบด้วยผูท้ นี่ บั ถือศาสนาพุทธร้อยละ 47 และผูท้ นี่ บั ถือศาสนาอิสลามร้อยละ 51 ร้อยละ 2 คือ ศาสนา คริสตร์และฮินดู มีชาวทั้งไทยเชื้อสายจีน และภาคใต้ตอนบน เช่น สงขลา ตรัง พัทลุง นครศรีธรรมราช และสุราษฎร์

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

11. ประเด็นสำ�คัญของพื้นที่ศึกษา 9 พื้นที่


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

336

สภาพความขัดแย้งในพื้นที่ พื้นที่อำ�เภอเบตงในอดีตเคยเป็นฐานปฏิบัติการของโจรจีนคอมมิวนิสต์มลายู (จคม.) เมื่อครั้งที่สหพันธรัฐมลายูยังอยู่ภายใต้อาณานิคมของสหราชอาณาจักร หลังจากนั้นได้มอบตัวเข้าเป็นผู้ ร่วมพัฒนาชาติไทยเมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2530 เกิดเป็นหมู่บ้านชาวจีนบ้านปิยะมิตร ในเขตตำ�บลตาเนาะแม เราะ ที่อยู่รอบเมืองเบตง แต่อย่างไรก็ตามประมาณปี 2548 ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 1 จากการประกวดชุมชน ในเขตเทศบาลเมืองเบตง มีจุดเด่นเรื่อง ความสามัคคี ความร่วมมือ และการจัดตั้งกลุ่มในชุมชนต่างๆ สภาพการพัฒนา ด้านศาสนา เทศบาลให้การสนับสนุนด้านศาสนาทุกศาสนา ด้านวัฒนธรรม มีการ สนับสนุนและฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมของ ไทย จีนและมลายู การศึกษา สนับสนุนโรงเรียนทุกประเภท ทั้งของมุสลิม จีน และด้านวิชาชีพ พืน้ ทีก่ ารปฏิสมั พันธ์ของคนต่างวัฒนธรรม เช่น โรงเรียน ตลาด ร้านอาหาร ร้านขายของชำ� ศาลาประชาคม พื้นที่ปฏิสัมพันธ์ภายในชุมชน ในชุมชนมีการกินเลี้ยงและการทำ�บุญบ่อย โดยเฉพาะในช่วงงาน เมาลิดที่แต่ละบ้านแทบไม่ต้องหุงข้าว รวมทั้งงานประเพณีประจำ�ปี และมัสยิดที่เป็นศูนย์รวมของชุมชน ชุมชนสะท้อนว่า การเปลีย่ นแปลงสำ�คัญคือผลจากการพัฒนาสาธารณูปโภคขัน้ พืน้ ฐาน เช่น ถนน ไฟฟ้า นํ้าประปา ประชากรที่เพิ่มจำ�นวนมากขึ้นจนมีปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัยและที่ดินค่อนข้างจำ�กัด กระแสโลกาภิวัตน์ ที่วัฒนธรรมภายนอกหลั่งไหลมามาพร้อมกับสื่อต่างๆ เช่น โทรทัศน์ มีปัญหาสังคม เช่น ยาเสพติด แรงงานอพยพ ย้ายถิน่ ทีจ่ ากทีอ่ นื่ ๆ เข้ามาในชุมชน ผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ทำ�ให้ปฏิสมั พันธ์ระหว่างพุทธ มุสลิมเริ่มมีความหวาดระแวงต่อกัน ความมั่นคงของชุมชน มี “โครงการตาสัปปะรด” เป็นความมั่นคงปลอดภัย ความมั่นคงด้านอาหาร มีความสมบูรณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและเศรษฐกิจค่อนข้างดี มีเสรีภาพทางศาสนา ภาษา ประเพณี และ วัฒนธรรม 3) บ้านกือเม็ง ต.อาซ่อง อ.รามัน; จากฐานข้อมูลข่าวจังหวัดชายแดนใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี http://wbns.oas.psu.ac.th/newsgroup.h (1 มกราคม 2548 – 30 พฤษภาคม 2551) พบว่า ใน ตำ�บลอาซ่อง มีเหตุการณ์เกิดขึ้นจำ�นวน 19 ครั้ง มีผู้บาดเจ็บ 10 คน มีผู้เสียชีวิต 15 ราย โดยทั้งหมดเป็นเพศชาย เหตุร่วม (ทั่วประเทศ) ในอดีต ชาวบ้านทั้งพุทธและมุสลิมอยู่กันอย่างยากลำ�บาก ในมิติชีวิตความเป็นอยู่ ทีต่ ้องต่อสู้กบั ภัยธรรมชาติแต่กม็ ีความสัมพันธ์ที่ดตี ่อกัน กระแสโลกาภิวตั น์ท�ำ ให้วัฒนธรรมของคนรุน่ เก่าและคนรุ่น ใหม่ต่างกัน ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม การลดลงของทรัพยากรสัตว์นํ้าในพรุและแม่นํ้าสายบุรี เงื่อนไขเชิงโครงสร้าง การบังคับใช้กฎหมายสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เช่น ทำ�ถนน ห้ามปลูกหมาก พลู วาทกรรมการตั้งชื่อหมู่บ้านโดยฝ่ายปกครองเป็น “กาเม็ง” หมายถึงหมู่บ้านที่มีแพะมาก และชาวบ้านไม่ชอบ ในขณะที่วาทกรรมของชาวบ้าน “กือเม็ง” มาจากชื่อโต๊ะกือเม็ง หมายถึง ผู้หญิงที่มีบารมี มีสติปัญญาเฉียบแหลม สวย ผมยาวหยักศก พูดจาอ่อนโยน มีความรู้เชี่ยวชาญด้านศาตราวุธและไสยศาสตร์ทุกแขนง และเป็นที่เคารพ นับถือของชุมชนสมัยก่อน สภาพความขัดแย้งในพื้นที่ อดีต มีประวัติการต่อสู้ของครูเปาะสู มาแวดิสา ในมุมมองของรัฐมองว่า เป็นกลุ่มแบ่งแยกดินแดน ในขณะที่มุมมองของชาวบ้านในท้องถิ่นมองว่าเป็นนักพัฒนาและนักต่อสู้ของชุมชน ปัจจุบันมีเหตุการณ์เกิดตั้งแต่วันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 – 21 มีนาคม พ.ศ. 2551 มีผู้เสียชีวิตจากสถานการณ์ ความไม่สงบจำ�นวนทั้งหมด 7 ราย มี 1 รายเสียชีวิตนอกพื้นที่เป็นผู้ใหญ่บ้านหมู่ 2 อีก 5 รายเสียชีวิตจากการถูก ประกบยิง และมี 1 ราย ถูกระบุว่าเป็นผู้ก่อการร้ายและถูกวิสามัญฆาตกรรม นอกจากนี้ ยังมีเหตุการณ์ต่างๆ ที่ถูก บันทึกไว้เกิดขึ้นตั้งแต่ระหว่างปีพ.ศ. 2548-2551 ทั้งสิ้น 29 เหตุการณ์ การพัฒนา มีโครงการพัฒนาที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนหลายโครงการ ซึ่งเป็นโครงการของรัฐที่ขาดการ ปรึกษาหารือและกระบวนการมีส่วนร่วมจากชุมชน และไม่ได้มีการติดตามประเมินผล ถูกนำ�ไปใช้เป็นเงื่อนไข


337

ทุ น ทางสั ง คม มี ป ระวั ติ ศ าสตร์ ท้ อ งถิ่ น และพิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ ห มู่ บ้ า น เก็ บ รั ก ษาวั ต ถุ โ บราณตั้ ง แต่ ส มั ย ประวัตศิ าสตร์ เช่น ขวดเหล้าจากอัมสเตอร์ดมั งมได้จากแม่นาํ้ สายบุรี ในพืน้ ที่มคี วามหลากหลายทางชีวภาพ เช่น สวนดุซง พื้นที่เลี้ยงสัตว์ และพื้นที่วังปลา ชุมชนในอดีตมีความสัมพันธ์ที่ดีกับเจ้าเมืองโกตาบารูและยังสามารถ หาผูส้ บื เชือ้ สายของเจ้าเมืองและร่องรอยทางประวัตศิ าสตร์กายภาพได้หลายจุด สามารถสืบค้นบุคคลสำ�คัญทีเ่ ป็น ภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนอย่างน้อย 9 ท่าน เช่น ทำ�ว่าว กรงนกคุ่ม หัวกริช จักสาน กรงนกกรงหัวจุก และงาน แกะสลักไม้ และมีกลุ่มอย่างไม่เป็นธรรมชาติสำ�รวจพบอย่างน้อย 19 กลุ่ม เช่น กลุ่มอนุรักษ์วังปลา กลุ่มอนุรักษ์พรุ ลานควาย กลุ่มเฝ้าสุสาน กลุ่มทำ�ดอกไม้ และกลุ่มเย็บผ้า เป็นต้น อาชีพหลัก คือเกษตรกรรม 2. จังหวัดปัตตานี 1) ม. 3 ต.พ่อมิ่ง อ.ปานาเระ: ตำ�บลพ่อมิ่งพุทธ 180 คน คิดเป็นร้อยละ 6.60 และอิสลาม 2,546 คน คิดเป็น ร้อยละ 93.40 เฉพาะ ม.3 อิสลาม 100% มีประชากรทั้งหมด 1,680 คน ชาย 810 คน หญิง 869 คน อาชีพทำ�นา รับจ้าง ทำ�สวน ค้าขาย และรับราชการ เหตุร่วม (ทั่วประเทศ) และเงื่อนไขเชิงโครงสร้าง พบว่ามีกลุ่มคนยากจนมีรายได้เฉลี่ยตํ่ากว่า 23,000 / คน/ปี จำ�นวน 10 คน มีคนพิการ 18 คน และทุพพลภาพ 5 คน ปัญหายาเสพติด ปัญหาการศึกษา การว่างงาน สภาพความขัดแย้งในพืน้ ที่ ทีเ่ กีย่ วข้องกับสถานการณ์ ข้อมูลจากในพืน้ ที่ พบว่ามีเหตุการณ์ความรุนแรง ตั้งแต่เดือน กุมภาพันธ์ 2548 - กุมภาพันธ์ 2551 มีผู้เสียชีวิต 9 ราย และบาดเจ็บ 6 ราย เหตุเกิดในหมู่ที่ 3 มีผู้เสีย ชีวิต 8 รายและบาดเจ็บ 4 ราย (คนนอกหมู่บ้าน ม.2 ต.แป้น ได้รับบาดเจ็บถูกกราดยิงในหมู่ 3 บ้านพ่อมิ่ง) และ คาดว่าจะมีบุตรกำ�พร้า 16 คน และมีผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงไม่น้อยกว่า 50 ราย มีเหตุเกิดในหมู่ที่ 4 เสียชีวิต 1 ราย และเหตุเกิดในหมู่ที่ 2 บาดเจ็บ 2 ราย เนื่องจากส่วนใหญ่ผู้เสียชีวิตเป็นผู้ชาย ทำ�ให้ผู้หญิงต้องเปลี่ยนบทบาท ของตัวเอง ต้องทำ�งานในสิง่ ทีไ่ ม่เคยทำ� เช่น เลีย้ งวัว และกรีดยาง รวมทัง้ บทบาทของการเป็นแม่ทที่ �ำ ให้เลีย้ งลูกยาก ขึน้ เพราะลูกมักจะดือ้ และไม่เชือ่ ฟังแม่มากขึน้ คนในชุมชนเกิดความหวาดกลัวและในขณะเดียวกันก็อยากเห็นคนใน ชุมชนมีความสงบสุข มีงานทำ� และมีความสัมพันธ์ทดี่ รี ะหว่างต่างศาสนิก ทีไ่ ม่เกีย่ วข้องกับสถานการณ์ โครงการ พัฒนาที่ขาดกระบวนการมีส่วนร่วม ขาดทักษะบริหารการจัดการให้กับชุมชน การนำ�โครงการไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ การพัฒนา การศึกษา มีการศึกษาทีด่ ขี นึ้ ตัง้ แต่ระดับศูนย์พฒ ั นาเด็กเล็ก โรงเรียนตาดีกา โรงเรียนบ้านพ่อมิง่ โรงเรียนวัฒนธรรมอิสลาม ปวช. ปวส. จนถึงระดับปริญญาตรี ด้านอาชีพ โครงการพัฒนาศักยภาพของชุมชน SML ทำ�โรงสีข้าว โครงการจักสาน ขนมพื้นบ้าน เลี้ยงปลาดุก ปักผ้าคลุมผม เนื่องจากพื้นที่ถูกระบุว่าเป็นพื้นที่สีแดงจึงถูก ตัดโครงการพัฒนา ความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีของชุมชนคือ มีมูลนิธิฮิลาลฯ โรงสีข้าว เป็นต้น ทุนทางสังคม ผู้หญิงในหมู่บ้านทำ�นาเก่งปลูกข้าวได้แถวตรงเป็นที่เลื่องลือ ในแต่ละปีจะเดินทางไปรับจ้าง ทำ�นาในประเทศมาเลเซีย มีศักยภาพในการพัฒนาโครงการ และมีศักยภาพในการพัฒนาด้านอาชีพต่างๆ ซึ่งเป็น ความต้องการของชุมชน และโรงเรียนวัฒนธรรมอิสลามพ่อมิง่ ซึง่ ได้มบี ทบาทพิเศษในโครงการด้านเยียวยาและคาด ว่าน่าจะขยายผลไปสูช่ มุ ชนอืน่ ๆ โดยเฉพาะชุมชนทีต่ า่ งศาสนิก ทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อมอุดมสมบูรณ์ 2) ม. 3 บ้านส้ม ต.ควนโนรี อ.โคกโพธิ์: มีประชากร 210 หลังคาเรือน มีบ้านเลขที่ 190 หลังคาเรือนและไม่มี บ้านเลขที่ 20 หลังคาเรือน อาชีพเกษตรกรรม ทำ�นา สวนยางพารา สวนผลไม้ ปศุสัตว์ เหตุรว่ ม (ทัว่ ประเทศ) ชาวบ้านได้สะท้อนปัญหาจากเวทีรบั ฟังความคิดเห็น พบว่ามีหลายประเด็นและบาง ประเด็นก็ได้รบั การแก้ไขหรือสำ�รวจเพิม่ เติม ด้านทรัพยากรและสิง่ แวดล้อม มีประเด็นนาข้าวแล้ง ในบางช่วงก็ได้รบั

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

ทางวัฒนธรรมของผู้ก่อเหตุเป็นเครื่องมือในการปลุกระดมขยายแนวร่วมและสร้างความชิงชังต่อรัฐ ประกอบกับ ชุมชนต้องต่อสู้กับสภาวะอิทธิพลในท้องถิ่น ทำ�ให้ชาวบ้านไม่กล้าขัดแย้งต่อฝ่ายรัฐ


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

338

การสนับสนุนในการแก้ไขโดยกองทุนแคนนาดาและศูนย์ประสานงานอาสาสมัครภาคประชาชนเพือ่ จังหวัดชายแดน ภาคใต้ ประเด็นการอยู่ใกล้แหล่งทิ้งขยะของเทศบาลนาประดู่ ด้านคุณภาพชีวิตและสวัสดิการสังคม ประเด็น การขาดสารอาหารของเด็กขาดในชุมชน และให้มีการสำ�รวจชาวบ้านที่เจ็บป่วยและแจ้งหน่วยงานสาธารณสุขใน พื้นที่ ประเด็นขาดสวัสดิการให้แก่ผู้สูงอายุ และให้มีการสำ�รวจจำ�นวนผู้สูงอายุ และแจ้งกับสมาชิก อบต.รับทราบ ประเด็นการขาดศูนย์ดูแลเด็กเล็กก่อนวัยเรียนและผู้ดูแลเด็ก ด้านโครงสร้างพื้นฐาน และระบบสาธารณูปโภคที่ ยังไม่ทั่วถึง เช่น นํ้าประปาและไฟฟ้าที่ไม่ทั่วถึง ด้านเศรษฐกิจ พบว่ารายได้ไม่เพียงพอต่อการดำ�เนินชีวิต มีรายได้ เฉลี่ยต่อหัว 30,000 – 100,000 บาท หรือเดือนละไม่เกิน 3,000 บาท หรือวันละไม่เกิน 30 บาท และบางครอบครัว มีผู้หารายได้หลักเข้าบ้านเพียงคนเดียว มีเยาวชนว่างงานและติดยาเสพติด ส่วนใหญ่เป็นใบกระท่อม มีการแก้ไข โดยการส่งเสริมอาชีพ เช่น การเลี้ยงเป็ด ไก่ ปลาในบ่อดิน ส่วนประเด็นความยากจนและขาดการสนับสนุนในการ ประกอบอาชีพ มีการแก้ไขโดยให้งบประมาณเพื่อเปิดร้านตัดผมภายในหมู่บ้าน ด้านวัฒนธรรม มีประเด็นการ ขาดการรวมกลุ่มจัดกิจกรรมภายในชุมชน เสนอให้มีการแก้ไขโดยจัดกิจกรรมที่สามารถทำ�ร่วมกันได้ เช่น จัดกีฬา เยาวชน กีฬาสัมพันธ์ สร้างศาลาอเนกประสงค์ของชุมชน และสร้างสนามกีฬาในร่มและอาคารอเนกประสงค์ ขาด การดูแลสถานที่สำ�คัญทางศาสนา มีการแก้ไขโดยการเพิ่มพัดลม เงื่อนไขเชิงโครงสร้าง ที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ พบว่าการที่พื้นที่ถูกระบุว่าเป็นสีแดงทำ�ให้ชาวบ้านไม่ สบายใจ ส่วนเงื่อนไขเชิงโครงสร้างด้านการพัฒนา ได้แก่ การไม่ได้รับจัดสรรงบประมาณอย่างเพียงพอ การพัฒนา ที่ไม่ทั่วถึง และภาวะยากจน สภาพความขัดแย้งในพื้นที่ ที่มาจากสถานการณ์ความไม่สงบ มีผู้เสียชีวิตจาก ต. ควนโนรี อ. โคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี เสียชีวิตจากเหตุการณ์ 28 เมษายน พ.ศ. 2547 จำ�นวน 10 ราย มี 9 รายเป็นชาวบ้านจาก ม. 3 บ้านส้ม (5 ใน 9 รายเสียชีวิตที่กรือแซะ 2 ใน 9 รายเสียชีวิตที่แม่ลาน 1 ใน 9 รายเสียชีวิตที่สะบ้าย้อย ส่วนอีก 1 รายกำ�ลังอยู่ในระหว่างรอข้อมูล) และอีก 1 รายเป็นชาวบ้านจากหมู่ 2 ต.บ่อทอง เสียชีวิตที่แม่ลาน และมีผู้สูญเสีย จากเหตุการณ์รายวัน 3 ราย ซึ่งมาจากหมู่ 3 บ้านส้ม และทำ�ให้มีเด็กกำ�พร้าทั้งสิ้น 20 คน และส่วนใหญ่ผู้ที่เสียชีวิต เป็นผู้ที่นำ�รายได้หลักมาจุนเจือครอบครัว การพัฒนา มีโครงการพัฒนาอย่างน้อย 6 โครงการที่เคยทำ�ในพื้นที่แต่ไม่ประสบความสำ�เร็จ สาเหตุ เพราะโครงการพัฒนาขาดการส่งเสริมให้ชาวบ้านมีทักษะและประสบการณ์ในการจัดการโครงการ การวางแผน และติดตามประเมินผลอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น โครงการเลี้ยงแพะฮาลาล โครงการตัดเย็บเสื้อผ้า โครงการเลี้ยง เป็ดเทศ เป็นต้น โดยเฉพาะขาดการพัฒนาด้านสาธารณูปโภคขั้นพื้นที่ และการส่งเสริมการทำ�นาในช่วงแห้งแล้ง มี โครงการเยียวยา จากกลุ่ม 28 เมษา เป็นเงินช่วยเหลือจากที่ต่างๆ เช่น นายอำ�เภอ รัฐบาล แม่ทัพภาค 4 และ มูลนิธิคุณโสภณ สุภาพงศ์ ส่วนกลุ่มรายวันได้รับเงินช่วยเหลือจาก กยต. กระทรวงพัฒนาสังคม ให้ทุนการส่งเสริม การมีส่วนร่วมของชุมชนพหุศาสนิก กลุ่มผู้ที่ได้รับผลกระทบ อยากอยู่อย่างสงบ ให้คนในสังคมยอมรับอยู่กับเพื่อนบ้านอย่างมีความสุข มีเงิน พอใช้ ส่งลูกเรียนหนังสือ ทุนทางสังคม งานวิจัยพบว่า ชาวบ้านยังต้องการให้ความสัมพันธ์ที่ดีในอดีตดีดั่งเดิม และต้องการให้มี สิ่งดีๆ เกิดขึ้นในชุมชน และพยายามสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการวางแผนการพัฒนา ด้านต่างๆ เช่น สิ่ง แวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ เช่น แหล่งนํ้าและแหล่งแร่ ทรัพยากรเกษตรและสัตว์นํ้า ทรัพยากรบุคคล ในด้าน สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ด้านอาชีพ ด้านกีฬา ด้านสุขภาพและสวัสดิการ ด้านเยาวชน มีวัฒนธรรมประเพณีท้อง ถิ่นที่มีความหลากหลาย


339

เหตุร่วม (ทั่วประเทศ) และเงื่อนไขเชิงโครงสร้าง คือ บ้านปาตาบาระมีเหตุร่วมคล้ายกับภาคอื่นๆ ทั่ว ประเทศ นั้นคือ ประชากรส่วนใหญ่มีฐานะยากจน ประกอบอาชีพประมงเป็นหลัก และประสบปัญหาการว่างงาน มีการเดินทางไปประกอบอาชีพที่มาเลเซีย มีปัญหายาเสพติด ปัญหาภูมิทัศน์ชุมชนอยู่กันอย่างแออัดหนาแน่นไม่มี การจัดการด้านสาธารณูปโภคโภคที่ดีพอ การศึกษาน้อยแต่ประชาคมมีความตื่นตัวทางด้านการศึกษาสูงพยายาม ส่งบุตรหลานให้เรียนในระดับอุดมศึกษา พบว่ามีปัญหาด้านเอกสารสิทธิ์ในที่ดิน และพบว่าเคยมีความบกพร่อง ของกระบวนการยุติธรรม กรณีทหารและตำ�รวจสนธิกำ�ลังกันล้อมจับนายมะนูเซ็ง เมื่อปีพ.ศ. 2549 ซึ่งเหตุการณ์ ดังกล่าวทำ�ให้ชาวบ้านไม่พอใจ เกิดสภาวะหวาดกลัว หวาดระแวงต่อเจ้าหน้าที่รัฐ จนเกือบทำ�ให้พื้นที่แห่งนี้กลาย เป็นสีแดงเพราะชาวบ้านกำ�ลังจะกดดันให้มีการปล่อยตัว เหตุการณ์คลี่คลาย เมื่อเจ้าหน้าที่มีการประชุมชาวบ้าน เพื่อขอโทษ ความสัมพันธ์ระหว่างพุทธ-มุสลิม แม้มีพุทธอยู่เพียง 3 ครอบครัว แต่ก็อยู่ร่วมกันดี สภาพความขัดแย้งในพื้นที่ ชั้นเงื่อนไขเชิงบุคคล ถึงแม้ว่าในพื้นที่ไม่เคยมีสถานการณ์ความไม่สงบ แต่ ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากหมู่บ้านรายล้อม โดยเฉพาะการจับกุมผิดตัว จนทำ�ให้ชาวบ้านต้องปรับ เปลี่ยนวิถีชีวิตการดำ�รงอยู่ เช่น หยุดเดินทางไปเรียนศาสนาที่ยะรัง มีการตั้งชุดหมู่บ้านรักษาความปลอดภัย และ วิถชี วี ติ วัยรุน่ เปลีย่ นแปลงไป พบว่ามีความขัดแย้งภายในชุมชน ทีม่ าจากโครงสร้างการเมืองการปกครองส่วนท้อง ถิ่น เช่น การเลือกตั้งท้องถิ่น กระบวนการการพัฒนา และวิธีคิดทางศาสนาอิสลามที่แตกต่างกัน แต่ก็พบว่า ชุมชน มีกลไกในการจัดการความขัดแย้งโดยใช้ระบบผู้อาวุโสเข้าไกล่เกลี่ย การย้ายออกจากชุมชนทั้งครอบครัวเมื่อมี ความขัดแย้งด้านแนวคิดทางศาสนา ประกอบกับกลไกเดิมทีม่ อี ำ�นาจในชุมชนเริม่ อ่อนพลังลง ในขณะเดียวกันกลไก การพัฒนาทางสังคมใหม่ๆ เข้ามาแทน ทุนทางสังคม มีความสัมพันธ์ทางเครือญาติมีการแต่งงานเป็นเครือข่ายระหว่างกัน มีโครงการพัฒนาที่ สามารถเป็นต้นแบบให้ชุมชนอื่นๆ ชุมชนมีความภูมิใจในระดับชุมชนสูง เช่น การเป็นหมู่บ้านที่เคยได้รับรางวัลถ้วย พระราชทานจากการแข่งขันเรือพายหน้าพระที่นั่ง การมีกลุ่มผู้นำ�ชุมชนและผู้อาวุโสประจำ�ชุมชน ที่มีความตั้งใจจะ พัฒนาชุมชน การรวมกลุ่มของผู้ที่มีการศึกษาภายในชุมชน การมีทัศนคติต่อการศึกษา มีการสร้างอาชีพใหม่ใน ชุมชน ประชาคมสามารถดำ�เนินกิจกรรมได้ดว้ ยตัวเอง และได้รบั การสนับสนุนจากหน่วยงานอืน่ ๆ ภายนอกประกอบ สภาพการพัฒนา หลังสถานการณ์ความไม่สงบ พืน้ ทีถ่ กู เลือกให้เป็นชุมชนต้นแบบของแผนงานสร้างเสริมสุข ภาวะมุสลิมไทย สำ�นักกองทุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และเกิดคนรุน่ ใหม่ทสี่ นใจจะแก้ไขปัญหาชุมชน โครงการ พัฒนาส่วนใหญ่ที่ประสบความสำ�เร็จคือ โครงสร้างขั้นพื้นฐาน โครงการทางด้านศาสนา และโครงการที่ชาวบ้านมี ส่วนร่วมและลงทุน 3. นราธิวาส 1) ชุมชนกาแลตาแป ต.บางนาค อ.เมือง: มีประชากรทั้งหมด 1,078 คน ชาย 442 คน หญิง 655 คน เป็นพื้นที่ ที่มี “โครงการบ้านมั่นคง” ของ พอช. เข้าไปสนับสนุนกิจกรรมการพัฒนา จำ�นวน 7,600,000 บาท เหตุร่วม (ทั่วประเทศ) และเงื่อนไขเชิงโครงสร้าง เป็นชุมชนที่มีประเด็นเรื่องความยากจน มีผู้ที่ไม่มี รายได้คิดเป็นร้อยละ 42.67 ส่วนมีผู้ที่มีรายได้มากกว่า 10,000 บาทต่อเดือนมีจำ�นวน 100 คน คิดเป็นร้อยละ 9.27 อาชีพของคนในชุมชนมี ประมง รับจ้าง แม่บ้าน ค้าขาย ธุรกิจส่วนตัว และว่างงานจำ�นวน 176 คน คิดเป็นร้อยละ 16.32 มีปญ ั หาเรือ่ งการทีอ่ ยูอ่ าศัย เช่น อยูใ่ นทีข่ องกรมเจ้าท่าจำ�นวน 145 หลังคาเรือน อยูบ่ า้ นเช่า และมีบา้ นเลข ที่ชั่วคราว มีประเด็นการบุกรุกที่ทำ�กินและชุมชนแออัด สิ่งแวดล้อมทรุดโทรม และปัญหายาเสพติด และความ ด้อยคุณภาพของการศึกษา คือ มีผู้ที่ไม่ได้รับการศึกษาจำ�นวน 100 คน คิดเป็นร้อยละ 9.27 มีผู้มีการศึกษาจนถึง ระดับ ปวช. คิดเป็นร้อยละ 57.2 สูงสุดคือกำ�ลังศึกษาระดับปริญญาตรีเพียง 10 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.92

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

3) ม. 1 บ้านปาตาบาระ ต.ปะเสยะวอ อ.สายบุรี:


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

340

ทุนทางสังคม เป็นชุมชนเก่าแก่กว่า 100 ปี ตั้งแต่ก่อนสงครามญี่ปุ่น สภาพความขัดแย้งในพื้นที่ เป็นผลมาจากโครงการพัฒนาที่ไม่ได้ให้ทักษะการบริหารจัดการเงินอย่างเป็น ระบบ เมื่อปี พ.ศ. 2535 มีการตั้งชุมชนกาแลตาแปอย่างเป็นทางการ โดยการจัดตั้งของเทศบาลเมืองนราธิวาสให้ งบอุดหนุน ทำ�กิจกรรมการพัฒนา แต่ผลการพัฒนาไม่เป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน ขาดการบริหารจัดการเงินอย่าง เป็นระบบ เงินหายตลอดเวลา และในปี พ.ศ. 2545 มีโครงการกองทุนหมู่บ้าน/ชุมชนเงินล้าน แต่ก็ขาดการบริหาร จัดการเงินทุนทีด่ ีอกี เช่นกัน มีการตัง้ คณะกรรมการบริหารแต่ปรากฏว่า “เงินโครงการหาย” ประมาณปลายปี พ.ศ. 2547 โครงการบ้านมั่นคงเข้าไปอย่างยากลำ�บาก เพราะชาวบ้านมีบทเรียนจากของเดิมและไม่เชื่อมั่นในระบบคณะ กรรมการบริหาร ต้องสร้างความไว้วางใจใหม่โดยเปิดเวทีชี้แจงการพัฒนาทั้งชุมชน และสร้างระบบตรวจสอบให้ สามารถตรวจสอบได้ง่ายทุกเวลา สภาพการพัฒนา มีการนำ�วิธีการสำ�รวจข้อมูล การทำ�แผนที่ชุมชน กระบวนการวางแผนการทำ�งานร่วมกัน ทัง้ ระบบชุมชนและระบบการเงิน สรุปบทเรียนกระบวนการดำ�เนินงาน เตรียมความพร้อมของชุมชนก่อนการทำ�แผน/ โครงการพัฒนา เปิดพื้นที่ช่วยกันนำ�เสนอปัญหาและความต้องการให้กับหน่วยงานราชการและองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นให้มีส่วนร่วม ใช้ชุมชนเป็นศูนย์กลาง มีตัวแทนจากทุกซอยมาร่วมกันทำ�งาน ทำ�ให้เกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของ ชุมชน เน้น 4 ประเด็นหลัก กระบวนการแก้ปัญหา ปัญหายาเสพติด แก้โดยการปรับภูมิทัศน์ ปัญหาการบุกรุกที่ดิน แก้ไขโดยการ พิสูจน์สิทธิการครอบครองที่ดิน โดยใช้ระยะเวลา 2 ปี สุดท้ายกรมเจ้าท่าอนุมัติ ปัญหาไม่มีพื้นที่ส่วนกลางทำ� กิจกรรมชุมชน แก้ไขโดยการพัฒนาพื้นที่บนเกาะ โดยการสร้างสะพานเชื่อมระหว่างบ้านเรือนกับพื้นที่เกาะ โดย การอนุญาตของกรมเจ้าท่า ปัญหาด้านการศึกษา แก้ไขโดยการสร้างศูนย์เด็กเล็ก ที่เรียนตาดีกา เปิดเรียนภาษา อังกฤษวันละ 1 ชั่วโมง เพื่อป้องกันเยาวชนมีเวลาว่างมากเกินไป และเปิดการเรียนการสอนระบบทางไกล ปัญหา การว่างงานและเศรษฐกิจชุมชน เช่น ตั้งศูนย์อาชีพ สหกรณ์ กลุ่มแม่บ้าน ปัญหาระบบสาธารณูปโภค เช่น ระบบไฟฟ้า ระบบประปา ถนนทางสัญจร ท่อระบายนํ้า ปัญหาสังคม วัฒนธรรม สุขภาพและจิตวิญญาณ เช่น การสร้างศาลาอเนกประสงค์ ลานกีฬา มัสยิด สร้างบาลาเซาะเป็นศูนย์รวมของชุมชน และ ปัญหาธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม เช่น ปรับปรุงระบบบำ�บัดนํ้าเสีย ธนาคารขยะ พื้นที่ป่าอนุรักษ์ ปัญหาที่อยู่อาศัย เช่น การได้เลขที่ บ้านถาวร การมีพื้นที่ส่วนกลางของชุมชนที่ส่งเสริมให้เกิดอาชีพและรายได้ 2) ต.เกาะสะท้อน อ.ตากใบ: พื้นที่ศึกษาเป็น 2 หมู่บ้าน คือ หมู่ 1 บ้านเกาะสะท้อนประชากรมีพุทธร้อยละ สิบและมีมุสลิมมากกว่า และหมู่ 2 บ้านปูยู เป็นหมู่บ้านที่มีประชากรนับถือศาสนาอิสลามทั้งหมด เหตุร่วม (ทั่วประเทศ) ไม่พบมีความขัดแย้งระหว่างกลุ่มคน มีความไม่เข้าใจอยู่บ้างแต่ไม่ได้แสดงออก อย่างเปิดเผย ลักษณะเด่นของพื้นที่ คือเป็นเมืองที่มีอาณาเขตติดกับประเทศมาเลเซีย ดังนั้น องค์ประกอบทาง เศรษฐกิจอาจจะมีความแตกต่างจากพื้นที่ชนบทอื่นๆ ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ กิจกรรมทางสังคมดำ�เนินไปได้ ด้วยดี มีเงื่อนไขหลายประการ คือ มีพื้นที่สื่อสารทางสังคมมากพอ เช่น ตลาด โรงเรียน ร้านนํ้าชา ความสัมพันธ์ เป็นระบบเครือญาติเกี่ยวดองกันทั้งในชาติพันธุ์และศาสนาเดียวกัน รวมทั้งต่างชาติพันธุ์และศาสนา ลักษณะอาชีพ การเกษตรมีการช่วยเหลือกัน ในสถานการณ์ไม่มคี วามรุนแรงมีความยืดหยุน่ และความอดทนอดกลัน้ ในระดับสูง พบ ว่ามีเงื่อนไขเชิงโครงสร้าง คือ การถูกกำ�หนดให้เป็นพื้นที่สีแดง ทำ�ให้ไม่มีโครงการพัฒนาเข้ามาในชุมชน กระทบ ต่อการใช้ชีวิตประจำ�วันของชุมชน และทำ�ให้ชาวบ้านมีทัศนคติในแง่ลบต่อภาครัฐ นำ�ไปสู่การให้ความร่วมมือกับ เจ้าหน้าที่รัฐอยู่ในเกณฑ์ระดับตํ่า มีบางครอบครัวอพยพออกจากชุมชน ทุนทางสังคม เดิมมีระบบกลไกผู้อาวุโสและตัวบุคคลเป็นผู้ไกล่เกลี่ยหรือตัดสิน แต่สถานการณ์เป็นเงื่อนไข หนึง่ ทำ�ให้ผนู้ �ำ ทางธรรมชาติลดบทบาทเพราะเกรงเป็นทีถ่ กู เพ็งเล็งและกลไกของรัฐไม่สามารถทีจ่ ะดูแลได้อย่างทัว่ ถึง


341

สภาพการพัฒนา ภาครัฐมีบทบาทหลักเป็นผู้วางแผนและดำ�เนินการ และการถูกกำ�หนดให้เป็นพื้นที่พิเศษ ทำ�ให้โครงการพัฒนาไม่เข้ามาดำ�เนินการในพืน้ ที่ ในขณะทีช่ มุ ชนมองว่าโครงการพัฒนาจะช่วยเปิดพืน้ ทีก่ ารสือ่ สาร ให้กบั ชุมชน และสามารถลดทอนความขัดแย้งได้ในระดับหนึง่ โครงการพัฒนาทีป่ ระสบความสำ�เร็จ ส่วนใหญ่เกิด ขึน้ จากความต้องการและความศรัทธาของคนในชุมชน และลักษณะของทุนทีไ่ ม่ขดั ต่อหลักการทางด้านศาสนา และ ถาวรวัตถุ ส่วนโครงการพัฒนาทีไ่ ม่ประสบความสำ�เร็จเกิดจากลักษณะของทุนขัดต่อหลักการทางด้านศาสนา เป็น โครงการที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ถูกจัดทำ�ระยะเวลาสั้น ชุมชนขาดทักษะเชิงเทคนิคบางประการในการบริหารโครงการ เช่น การทำ�บัญชี และเป็นโครงการที่ส่งเสริมอาชีพที่คนในชุมชนไม่ถนัด เช่น งานหัตถกรรม อื่นๆ พบว่า ลักษณะโครงสร้างทางการเมืองและการปกครองส่วนท้องถิ่นและการเลือกตั้งอยู่ภายใต้ระบบ อุปถัมภ์และเป็นเงื่อนไขหนึ่งที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งภายในชุมชน ในพื้นที่เสนอว่า โครงการพัฒนาต้องพยายาม รักษาสถานภาพไม่เปลี่ยนไปเป็นผู้อุปถัมภ์ของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง นอกจากพื้นที่มีความขัดแย้งภายในแล้วใน สถานการณ์ความไม่สงบในปัจจุบัน ฝ่ายความมั่นคงและฝ่ายปกครองอาจเป็นผู้ก่อให้เกิดความบาดหมางในชุมชน โดยไม่เจตนา เนื่องจากการใกล้ชิดและการปฏิสัมพันธ์กับคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งและนำ�ไปสู่การถูกใช้เป็นเครื่องมือ ทางการเมืองของฝ่ายตรงข้าม 3) ม. 1 ต.โคกเคียน อ.เมือง: เป็นพื้นที่ที่ไม่มีเหตุการณ์เกิดขึ้นในพื้นที่ แต่พบว่ามีเหตุการณ์ความไม่สงบเกิดขึ้นรายล้อมชุมชน นำ�ไปสู่ การปรับตัวโดยการสร้างชุดรักษาความปลอดภัยของหมู่บ้านขึ้น มีประชากรนับถือศาสนาพุทธ 70% และมุสลิม 30% ประชากร 1,245 คน 295 ครัวเรือน และมีความสัมพันธ์ระหว่างกันอยู่ในเกณฑ์ดี มีการพึ่งพาและการยอมรับ ซึ่งกันและกัน เหตุรว่ ม (ทัว่ ประเทศ) ในประเด็นด้านการศึกษา พบว่ามีประเด็นเรือ่ งคุณภาพด้านการศึกษา และระบบ การศึกษาที่เริ่มแยกศาสนิกออกจากกัน มุสลิมนิยมส่งบุตรหลานเรียนโรงเรียนศาสนาเพียงด้านเดียวบ้างและมีการ ศึกษาด้านศาสนาและสามัญควบคู่กัน มีระบบเศรษฐกิจที่เรียบง่ายและพึ่งพาธรรมชาติ เช่น การทำ�ประมงชายฝั่ง การเลี้ยงปลาในกระชัง การทำ�สวนผลไม้ เลี้ยงสัตว์ มีความสามารถในงานหัตถกรรม และการแปรรูปผลิตภัณฑ์จาก ทะเล ทุนทางสังคม ในอดีตทั้งพุทธและมุสลิมมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน นับถือกันเป็นเครือญาติ มีพื้นที่ทางสังคม ร่วมกันเช่น การรักษาด้วยหมอพื้นบ้าน และกิจกรรมทางสังคมต่างๆ เช่น งานแต่งงาน การกินนํ้าชา การแลกเปลี่ยน สิ่งของโดยคนพุทธนำ�ข้าวสาร ผัก ผลไม้ แลกเปลี่ยนกับปลาของคนมุสลิม และคนมุสลิมไปทำ�นาในที่คนพุทธ และ นำ�ผลผลิตที่ได้มาแบ่งปันกัน สภาพความขัดแย้งในพื้นที่ ถึงแม้ในชุมชนจะไม่มีสถานการณ์ความไม่สงบ แต่พบว่าสถานการณ์กลับส่ง ผลกระทบต่อคนในชุมชน ทำ�ให้เกิดความหวาดระแวงระหว่างพุทธและมุสลิมในพื้นที่ ไม่เดินทางไปมาหาสู่กันและ ทำ�กิจกรรมดังเช่นในอดีต เช่น การค้าขาย กิจกรรมด้านกีฬา และร้านนํ้าชา ที่เคยเป็นพื้นที่ปฏิสัมพันธ์ระหว่างต่าง ศาสนิกกัน ปัจจัยเชิงโครงสร้าง ที่เป็นเงื่อนไขให้ปฏิสัมพันธ์ระหว่างต่างศาสนิกเริ่มห่างกันออกไป คือ เยาวชน ต่างศาสนิกไม่มีโอกาสเรียนด้วยกัน เพราะเยาวชนมุสลิมเน้นโรงเรียนปอเนาะ รวมทั้งมีโอกาสทางการศึกษาน้อย

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

สภาพความขัดแย้งในพืน้ ที่ มีเหตุการณ์เกิดขึน้ ทัง้ ในและรอบชุมชน และมีเงือ่ นไขเชิงบุคคล จากเหตุการณ์ ตากใบเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2547 ผลคือความสัมพันธ์ทางสังคมเริ่มลดลง เริ่มปรากฏมีความไม่ไว้วางใจและ ความอดทนน้อยลง ประกอบกับสภาพโครงสร้างทางสังคมเริม่ เปลีย่ นการพัฒนาทางเทคโนโลยีการเกษตรทำ�ให้การ พึ่งพาลดลง


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

342

เพราะยากจน และเยาวชนพุทธเน้นเรียนโรงเรียนสามัญ แต่ก็พยายามสร้างพื้นที่ปฏิสัมพันธ์ด้านอื่น เช่น การแข่ง กีฬา การแข่งเรือ สภาพการพัฒนา มีทั้งที่ประสบความสำ�เร็จและส่วนที่ส่งผลกระทบต่อชุมชน โครงการที่ไม่ประสบความ สำ�เร็จส่วนใหญ่ขาดกระบวนการมีส่วนร่วมจากชุมชน และไม่ได้สร้างให้ชุมชนเกิดการเรียนรู้และการปฏิบัติ ไม่เกิด ความรู้สึกเป็นเจ้าของร่วม รวมทั้งวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นกับชุมชน

ข้อเสนอแนะสำ�หรับโครงการพัฒนาในสถานการณ์ความขัดแย้ง ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ 1. ก่อนมีโครงการพัฒนา ก่อนจะดำ�เนินโครงการพัฒนา ควรทำ�การศึกษาและควรวิเคราะห์ทำ�ความเข้าใจชุมชนให้ลึกซึ้งเสียก่อน โดยเฉพาะสภาพทางสังคมและวัฒนธรรมของชุมชน อันจะนำ�ไปสู่การดำ�เนินโครงการที่สอดคล้องและเหมาะสม กับความต้องการและความจำ�เป็นของแต่ละพื้นที่ หากโครงการพัฒนาจะดำ�เนินการในพื้นที่ที่มีความขัดแย้งและมี ความหวาดระแวงสูง ทั้งที่เป็นความขัดแย้งภายในชุมชนเองและความขัดแย้งกับภายนอกชุมชน สิ่งที่ควรพึงระวัง คือ โครงการพัฒนาไม่ควรเข้าไปสร้างเงื่อนไขความขัดแย้งใหม่ให้กับชุมชน ทั้งนี้ หากเป็นโครงการพัฒนาที่ไม่ได้ อยู่ในแผนของชุมชน จะต้องชี้แจงและทำ�ความเข้าใจต่อชุมชน โดยเฉพาะกลุ่มที่มีส่วนได้ส่วนเสียต่อโครงการก่อน การดำ�เนินการ ถ้าหากชุมชนมีโครงการพัฒนาทีส่ ามารถดำ�เนินการได้ดอี ยูแ่ ล้วในชุมชน โครงการพัฒนานัน้ ควรเป็น โครงการที่สามารถต่อยอดจากโครงการเดิม

2. คุณลักษณะของโครงการพัฒนา ชนิดหรือประเภทของโครงการ เช่น การสร้างโครงสร้างพืน้ ฐาน ได้แก่ การทำ�ถนน ไฟฟ้า ประปา หรือ โครงการ เพือ่ พัฒนาคุณภาพชีวติ ได้แก่ การส่งเสริมอาชีพ นัน้ ไม่ส�ำ คัญเท่ากับการทีป่ ระชาชนได้มสี ว่ นร่วมอย่างแท้จริงตัง้ แต่ การคิดโครงการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา จากการวิจัย พบว่าโครงการพัฒนาควรมีคุณลักษณะสำ�คัญ 11 ประเด็น คือ 1) เศรษฐกิจ 2) การศึกษา 3) ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 4) การสื่อสารบนพื้นที่สาธารณะ 5) การมี ส่วนร่วมและธรรมาภิบาล 6) การเยียวยา 7) เยาวชน 8) การติดตามประเมินผล 9) ผลของโครงการ 10) การเรียน รู้ 11) การบริหารการจัดการ 2.1 เศรษฐกิจ 1) โครงการพัฒนาควรเป็นโครงการที่เน้นทางด้านเศรษฐกิจ เพื่อก่อให้เกิดรายได้และการออม สามารถสร้าง ให้ชุมชนมีความมั่นคงในอาชีพ ซึ่งจะนำ�ไปสู่ความมั่นคงในชีวิตได้อย่างแท้จริง หากโครงการใดประสบความสำ�เร็จ และเป็นตัวอย่างที่ดีควรมีการขยายต่อให้ครอบคลุมทุกหมู่บ้าน 2) โครงการพัฒนาควรให้ทุกภาคส่วนโดยเฉพาะเน้นคนในชุมชน สามารถรับรู้ถึงผลประโยชน์ร่วมกันได้ และ สามารถอธิบายให้ชุมชนเข้าใจเป้าหมาย วัตถุประสงค์ของโครงการอย่างชัดเจนและทั่วถึง 3) โครงการพัฒนาควรเป็นโครงการที่ให้ชาวบ้านสามารถดำ�เนินการได้ด้วยตนเองต่อไปในอนาคต หรือ ส่ง เสริมความยั่งยืนของทุนและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์มากกว่าการสงเคราะห์ ซึ่งการจะทำ�ให้เกิดความยั่งยืนได้ นั้น ชุมชนควรมีส่วนร่วมในการดำ�เนินการ การลงทุนร่วม หรือสามารถปฏิบัติงานร่วมได้ ในขณะเดียวกันโครงการ พัฒนาทางด้านเศรษฐกิจดังกล่าวอาจจะนำ�ไปสู่การสร้างอาชีพใหม่เพื่อเป็นทางเลือกหรือทดแทนอาชีพเดิม


343

2.2 การศึกษา 1) เน้นโครงการพัฒนาด้านการศึกษา โดยเฉพาะขั้นก่อนปฐมวัยและการศึกษาด้านสามัญเพื่อเป็นแนวทาง ในการประกอบอาชีพ 2) โครงการพัฒนาควรเชื่อมโยงกับสถาบันการศึกษาทั้งในและนอกระบบ ให้มีความใส่ใจในการพัฒนา หลักสูตรเชื่อมโยงกับท้องถิ่นให้มีความสอดคล้องกับความต้องการของชุมชน 2.3 ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โครงการพัฒนาควรคำ�นึงถึงความมั่นคงของฐานทรัพยากรของชุมชนซึ่งเป็นที่มาของปัจจัย 4 2.4 การสื่อสารบนพื้นที่สาธารณะ 1) โครงการพัฒนาทีร่ อื้ ฟืน้ พืน้ ทีส่ อื่ สารทางสังคมทีเ่ สือ่ มสภาพหรือสูญหายไปแล้วขึน้ มาใหม่ เช่น การสนับสนุน ให้บตุ รหลานได้เข้าเรียนในโรงเรียนในพืน้ ที่ เพือ่ คนรุน่ ใหม่จะได้มกี ารปฏิสมั พันธ์อย่างเป็นธรรมชาติ และสร้างความ สัมพันธ์ทั้งในแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการขึ้นมาใหม่ ชุมชน

2) โครงการพัฒนาควรมุง่ เน้นเสริมสร้างศักยภาพในการเปิดพืน้ ทีก่ ารสือ่ สารทางสังคมและบริหารจัดการโดย 2.5 การมีส่วนร่วมและธรรมาภิบาล

1) โครงการพัฒนาต้องให้ชาวบ้านรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของ ใส่ใจในรายละเอียดของชุมชน มีความโปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ ทั้งนี้ โดยการใช้หลักการประสานความร่วมมือโดยยึดชุมชนเป็นศูนย์กลางและสอดคล้อง กับความต้องการกับชุมชนท้องถิ่นที่แท้จริง เช่น การร่วมลงทุนโรงงานข้าวเกรียบ บ้านปาตาบาระ ม.1 ต. ปะเสยะวอ อ. สายบุรี จ. ปัตตานี และการร่วมลงทุนโรงสีข้าวที่ชาวบ้านสมทบใน ม. 3 ต.พ่อมิ่ง อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี 2) โครงการพัฒนาจะต้องมีกลไกของชุมชนท้องถิ่นให้สามารถบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม คือ ร่วมคิด ร่วม ทำ� และร่วมรับผลประโยชน์ จากผู้นำ�และสมาชิกในชุมชนให้ทั่วถึงและมากที่สุด 3) โครงการพัฒนาควรเป็นโครงการที่ก่อให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ สร้างความเข้าใจ ลดความหวาดระแวงระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับบุคลากรในปอเนาะ 2.6 การเยียวยา โครงการพัฒนาควรมีโครงการเยียวยาฟื้นฟูจิตใจ ที่มีองค์ประกอบของจากชุมชนและสังคม มีการช่วยเหลือ รวดเร็ว เป็นธรรมอย่างเป็นระบบ รวมทั้งมีโครงการพิเศษเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ไม่อยู่ตกเกณฑ์ เช่น โครงการช่วยเหลือ บุตรที่ได้รับผลกระทบ โครงการเยียวยาที่เข้าถึงครอบครัว โครงการจัดตั้งกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบและเชื่อมกับกลุ่ม เครือข่ายภายนอก 2.7 เยาวชน ชาวบ้านต้องการโครงการที่ให้ความสำ�คัญกับมิติเยาวชน เยาวชนคนรุ่นใหม่ หัวใจโบราณ เข้าใจท้องถิ่น มี จิตสำ�นึกท้องถิ่น เคารพและเข้าใจคนอื่น

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

4) โครงการพัฒนาด้านเศรษฐกิจควรดำ�เนินการจนสามารถเป็นต้นแบบสำ�หรับการแก้ไขปัญหาได้อย่าง แท้จริง เพื่อให้หน่วยงานของรัฐหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องสามารถนำ�ไปใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมการทำ�งานในพื้น ที่อื่นๆต่อไป


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

344

2.8 การติดตามประเมินผล โครงการจะต้องมีการติดตามประเมินผลอย่างเคร่งครัดถึงผลความสำ�เร็จและความล้มเหลวของโครงการเพือ่ ก่อให้เกิดความรับผิดชอบต่อผลที่จะตามมาร่วมกัน รวมทั้งมีการถอดบทเรียนกลับคืนสู่ชุมชน และมีการสื่อสารกับ ชุมชนภายนอก 2.9 ผลของโครงการ ผลของโครงการควรก่อให้เกิดการสร้างกระบวนการเรียนรู้ เกิดสติปัญญาและส่งเสริมการพึ่งพาตนเอง เกิด ความรู้สึกเป็นเจ้าของ ทำ�ให้ความสัมพันธ์ของชุมชนแน่นเฟ้น เป็นโครงการบูรณาการเชื่อมโยงทรัพยากร องค์ความ รู้ ภูมิปัญญา ระบบความเชื่อ และเครือข่ายทางสังคมเข้าด้วยกัน 2.10 การเรียนรู้ โครงการพัฒนาควรมีกระบวนการในการเสริมสร้างความรู้ การแลกเปลีย่ นเรียนรู้ และก่อให้เกิดการเกือ้ กูลซึง่ กันและกัน เพื่อให้สามารถสร้างภูมิคุ้มกันให้ตนเองและชุมชน โดยการรู้จักตนเอง ชุมชน และโลกภายนอก 2.11 การบริหารการจัดการ 1) โครงการพัฒนาด้านสาธารณูปโภคขัน้ พืน้ ฐานควรจ้างงานโดยให้คนในชุมชนเป็นผูบ้ ริหารจัดการ โดยผ่าน คณะกรรมการชุมชน เช่น โครงการจัดทำ�ปะการังเทียม ควรฝึกหัดสมาชิกในชุมชนให้สามารถทำ�ปะการังเทียมได้เอง แทนที่การจัดซื้อจัดจ้างจากภายนอก 2) ควรฝึกทักษะการบริหารการจัดการ โดยเฉพาะทางด้านการเงินให้กับผู้เข้าร่วมโครงการอย่างเป็นรูปธรรม และไม่ซับซ้อน และไม่ผูกติดกับระเบียบงบประมาณแผ่นดิน 3) โครงการพัฒนาควรบูรณาการด้านต่างๆ เข้าด้วยกัน เช่น ด้านสังคม ด้านอาชีพ ด้านการศึกษา และกีฬา ถึงแม้ว่าจะมุ่งพิเศษบางด้านก็ตาม 4) ชุมชนบ้านกือเม็งและบ้านตรือปา เสนอให้มีการบริหารจัดการโดยมีโครงสร้างแบบสภาชูรอ (shura) โดย เฉพาะบ้านตรือปาเสนอเพิ่มให้โครงการพัฒนาควรผ่านกระบวนการปรึกษาหารือในชุมชน (Meshuarat) 3. คณะทำ�งาน 3.1 การจัดตั้งคณะทำ�งานหรือคณะกรรมการซึ่งจะเป็นโครงสร้างสำ�คัญในการบริหารโครงการพัฒนาที่จะ เข้าไปสู่ชุมชนนั้น ควรมีลักษณะเป็นรูปแบบคณะกรรมการขนาดเล็กๆ ขึ้น โดยมีตัวแทนจากทุกภาคส่วนในท้องถิ่น และมีเจ้าหน้าที่รัฐด้านงานพัฒนา ภาคประชาสังคม เป็นที่ปรึกษา 3.2 คุณสมบัตขิ องผูท้ เี่ ป็นคณะกรรมการ จะต้องเป็นผูท้ มี่ คี วามรับผิดชอบ มีความซือ่ สัตย์สจุ ริต เป็นทีย่ อมรับ ในชุมชน และชุมชนให้ความเชื่อถือศรัทธา ควรให้ผู้ที่มีทักษะในการบริหารจัดการโครงการ และมีคุณลักษณะของ นักเชื่อมประสานดำ�เนินโครงการ และให้หน่วยงานและบุคลากรที่มีลักษณะของนักปกครองอยู่ในฐานะที่ปรึกษา มากกว่าเป็นผู้ดำ�เนินโครงการ 4. ความต่อเนื่องของโครงการ โครงการควรมีความต่อเนื่องและสมํ่าเสมออย่างน้อย 3-5 ปี เพื่อก่อให้เกิดการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน


345

1) ควรสนับสนุนการให้ทุนผ่านคณะทำ�งานของชุมชนที่ประกอบไปด้วยคณะกรรมการจากฝ่ายต่างๆ ที่ ประกอบไปด้วยตัวแทนระดับภูมิภาคและท้องถิ่น ทั้งนี้ หากเป็นโครงการที่เข้าไปในพื้นที่ใหม่ควรเป็นไปในลักษณะ โครงการขนาดย่อยเพื่อเรียนรู้ถึงความสลับซับซ้อนของชุมชน โดยพิจารณาโครงการพัฒนาที่อยู่ในระยะเร่งด่วนขึ้น มาก่อน 2) ควรสนับสนุนงบประมาณที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชุมชนท้องถิ่น 6. ผู้ประสานงานชุมชนและภาคประชาสังคม 1) ผู้ประสานงานในชุมชนต้องมีความสามารถในการประสานประโยชน์และมีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่ จะเห็นชุมชนของตนมีส่วนร่วมมือกันพัฒนามากกว่าการอิงอยู่กับผลประโยชน์เฉพาะหน้า 2) นักพัฒนาและผู้ประสานงานควรเป็นผู้ที่ชาวบ้านนับถือและศรัทธา และมีความเป็นกลาง 7. หน่วยงานรัฐ 1) รัฐควรสนับสนุนในฐานะเป็นทีป่ รึกษา มากกว่าเป็นผูด้ �ำ เนินโครงการด้วยตนเอง ผ่านคณะกรรมการชุมชน และควรรักษาความสัมพันธ์ให้มีระยะห่างจากชุมชน 2) กรณีมีความจำ�เป็นที่อาจจะต้องทำ�งานร่วมกับทหารหรือตำ�รวจ ควรเน้นด้านสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน และโครงการด้านการกีฬาเป็นหลัก ซึ่งสำ�หรับในบางพื้นที่ เสนอว่าควรหลีกเลี่ยงการทำ�งานร่วมกับทหารหรือตำ�รวจ เนื่องจากอาจทำ�ให้กลุ่มแกนนำ�ในชุมชนเกิดความไม่สบายใจขึ้นมา 3) รัฐไม่ควรสร้างงานพัฒนาที่เป็นเงื่อนไขใหม่เข้าไปในชุมชน ซึ่งจะนำ�ไปสู่ความขัดแย้งแตกแยกที่ซับซ้อน มากยิง่ ขึน้ ซึง่ เท่ากับเป็นการเติมเชือ้ ของความเกลียดชังเข้าไปในความรูส้ กึ ของชาวบ้านจนยากเกินกว่าแก้ไข ซึง่ ชาว บ้านมีความเห็นว่า โครงการที่เป็นปัญหาและยังไม่ได้ผ่านการตรวจสอบอย่างมีส่วนร่วมจากท้องถิ่น ควรยกเลิกหรือ ชะลอโครงการไว้ก่อน เช่น เจ้าหน้าที่ของรัฐสามารถเข้าถึงชุมชนพุทธได้มากกว่า เพราะไม่มีอุปสรรคทางวัฒนธรรม และภาษา 4) หน่วยงานรัฐทีจ่ ะดำ�เนินโครงการพัฒนาควรยึดแผนแม่บทของชุมชน และเปิดพืน้ ทีใ่ ห้ชมุ ชนได้เสนอแนวคิด ในการจัดการ ปรับปรุงชุมชนต่อหน่วยงานราชการ หน่วยงานท้องถิ่น ได้เข้ามาร่วมสนับสนุน ตามความต้องการ ของชุมชน 5) หน่วยงานของรัฐ ควรทำ�งานสนับสนุนชุมชนด้วยความจริงใจ และเข้าพื้นที่เพื่อติดตามและประเมินผล อย่างต่อเนื่อง 6) ให้รัฐจัดการอย่างเด็ดขาดกับกลุ่มผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่น การฉ้อราษฎร์บังหลวงที่เกิดขึ้นในชุมชนจากเจ้า หน้าที่ของรัฐอย่างเปิดเผยและเป็นที่รับรู้ต่อสาธารณะ 8. ชาวบ้าน ควรเข้าใจนักพัฒนาที่ต้องทำ�งานร่วมกับรัฐเพื่อดึงทรัพยากรเข้ามาในชุมชน 9. ทุกภาคส่วน 1) ยึดชุมชนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา 2) ผู้ทำ�โครงการทุกภาคส่วนควรมีความตั้งใจและมุ่งมั่นในหน้าที่ของตนเอง

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

5. ข้อเสนอแนะสำ�หรับแหล่งทุน


3) ผู้บริหารโครงการจะต้องเป็นผู้ที่มีความซื่อสัตย์ ไม่เลือกปฏิบัติ เคารพในศักดิ์ศรีของผู้อื่นเท่ากับศักดิ์ศรี ของตนเอง 4) ส่งเสริมให้กลุม่ ทีม่ คี วามต่างกันในทางวัฒนธรรม ชาติพนั ธุ์ ศาสนา สามารถทำ�งานสาธารณประโยชน์รว่ ม กัน ตามความจำ�เป็นและความต้องการของประชาชน เพราะการให้ประชาชนช่วยเหลือตนเอง และช่วยเหลือซึ่งกัน และกันจะเป็นปัจจัยนำ�ไปสู่การผสมผสานกันทางสังคม 5) สร้างโครงการพัฒนาที่สอดรับกับสภาพของชุมชนและการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะในพื้นที่ความขัดแย้ง อย่างรุนแรงจนถึงขั้นมีผู้เสียชีวิตและปัญหายาเสพติด 6) สร้างโครงการที่สอดคล้องกับการจัดตั้งสภาองค์กรส่วนท้องถิ่น 7) โครงการพัฒนาควรสนับสนุนและส่งเสริมการสร้างศักยภาพของผู้นำ�ชุมชน เยาวชน และสตรี 10. ข้อเสนอต่อโครงการพัฒนาสำ�หรับพื้นที่ที่มีความรุนแรง 1) ระมัดระวังการเชือ่ มประสานกับแกนนำ�ชาวบ้านในพืน้ ทีท่ มี่ กี ารก่อเหตุสงู ซึง่ ควรมีระยะห่างพอสมควร เพือ่ มิให้แกนนำ�ชาวบ้านเสียสถานภาพและการยอมรับจากคนในพื้นที่ 2) รัฐควรมีการทบทวนการตัดการสนับสนุนโครงการในพื้นที่สีแดง* ซึ่งพบว่า ม. 3 บ้านส้ม ต. ควนโนรี อ.  โคกโพธิ์ จ. ปัตตานี ม. 3 ต. พ่อมิ่ง อ. ปานาเระ จ. ปัตตานี และต. เกาะสะท้อน (ทั้งตำ�บล) ไม่ได้รับการสนับสนุน โครงการพัฒนา คือ โครงการพนม ทั้งนี้ ไม่ควรใช้เกณฑ์กรอบความมั่นคงมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาประกอบ กับโครงการพัฒนา

อคติทางชาติพันธุ์ และชาติพันธุ์ในพื้นที่สื่อ

3) เสนอควรออกแบบให้มโี ครงการพัฒนาพิเศษทีส่ อดคล้องกับพืน้ ทีแ่ ละเท่าทันปัญหาการเปลีย่ นแปลงสำ�หรับ กลุ่มที่ไร้ความมั่นคงในชีวิต เช่น กลุ่มหญิงหม้ายและครอบครัวที่สญ ู เสียสามีหรือสมาชิกจากเหตุรุนแรง กลุ่มผู้หญิง และเด็กจากครอบครัวที่ต้องสงสัยว่าหัวหน้าครอบครัวเป็นผู้ก่อเหตุร้ายหรือถูกจับกุมดำ�เนินคดี, กลุ่มเยาวชนชาย มุสลิมที่เจ้าหน้าที่เพ่งเล็งว่าจะเป็นกลุ่มเสี่ยงในการก่อเหตุร้าย, กลุ่มผู้นำ�ศาสนา ครูสอนศาสนา (อุสตาซ) โดยใช้ หลักการสิทธิมนุษยชน 4) ควรพิจารณาให้โครงการพัฒนาโดยเฉพาะกลุม่ ผูห้ ญิงทีไ่ ด้รบั ผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบ เพือ่ ให้เกิดการช่วยเหลือเยียวยาและการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน 5) โครงการพัฒนาควรสามารถสร้างเครือข่ายในระดับต่างๆ ทั้งในระดับผู้นำ�ชุมชน เยาวชน และชาวบ้าน ทั้งในและนอกตำ�บล *พื้นที่สีแดง: เป็นนิยามความรุนแรงจากรัฐ ซึ่งหลายพื้นที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง


347

วันดี สันติวุฒิเมธี2

บทนำ� หากเอ่ยถึง “ชาวพม่า” และ “ชนกลุ่มน้อย” ภาพที่ปรากฏในสื่อของไทยส่วนใหญ่ไม่ต่างอะไรกับนักแสดง ที่ได้รับบท “ดาวร้าย” ในละครทีวี พอเห็นหน้าก็เดาได้เลยว่าต้องเล่นเป็นผู้ร้ายหรือตัวอิจฉา หากละครเรื่องไหน ให้รับบทพระเอกหรือนางเอก คนดูก็จะมักรับไม่ได้เพราะเคยชินกับภาพลักษณ์เดิมๆ เหมือนกับที่เราไม่ค่อยได้เห็น นักแสดงที่เคยเล่นเป็นนางร้ายรับบทนางเอก ทว่า สำ�หรับชาวพม่าและชนกลุ่มน้อย ตัวตนของพวกเขาไม่ได้โลด แล่นอยู่ในโลกของละครที่เต็มใจรับบทดาวร้ายจนโด่งดัง หากพวกเขาเป็นเพียง “ปุถุชน” ที่มีดีชั่วปะปนกัน แต่ ข่าวที่ปรากฏออกมาบนสื่อของไทยส่วนใหญ่กลับนำ�เสนอแต่แง่มุมที่เป็นลบ ซึ่งนำ�ไปสู่การตอกยํ้าอคติที่มีต่อชาว พม่าและชนกลุ่มน้อยเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการตอกยํ้าอคติได้น�ำ ไปสู่ความเกลียดชัง การ ปฏิบัติต่อกันอย่างไม่เป็นธรรม รวมทั้งความสูญเสียเลือดเนื้อ ชีวิต และทรัพย์สิน ดังที่เคยปรากฏเป็นข่าวในสังคม ไทยตลอดช่วงสิบปีที่ผ่านมา บทความชิ้นนี้ได้ทำ�การวิเคราะห์ภาพลักษณ์ของชาวพม่าและชนกลุ่มน้อยจากสื่อหนังสือพิมพ์ โดยใช้ระบบ การสืบค้นจากศูนย์ข้อมูลมติชน ซึ่งรวบรวมข่าวจากหนังสือพิมพ์ภาษาไทยทั้ง หมด 24 ฉบับ3 ตั้งแต่ปี 2539 จนถึง ปัจจุบัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำ�ความเข้าใจถึงปัจจัยที่ก่อให้เกิดอคติต่อชาวพม่าและชนกลุ่มน้อย รวมทั้งเสนอ ทางออกในการก้าวข้ามอคติชาติพันธุ์บนสื่อของไทยในอนาคต

“พม่า” ความหมายที่มองเห็นบนสื่อไทย อาจกล่าวได้วา่ คำ�ว่า “พม่า” ทีถ่ กู ใช้พาดหัวข่าวบนหน้าหนังสือพิมพ์ภาษาไทยส่วนใหญ่ถกู นำ�มาใช้กล่าวถึง บุคคลทีต่ กเป็นข่าวหลายกลุม่ ด้วยกัน โดยในบางครัง้ หมายถึงกลุม่ คนทีเ่ ป็นผูก้ ระทำ�ผิดและบางครัง้ หมายถึงบุคคลซึง่ เป็นผู้ถกู กระทำ� ดังนัน้ เมื่อความหมายอันหลากหลายถูกนำ�มาใช้รวมในคำ�เดียวกัน โอกาสทีผ่ ู้อา่ นเกิดความสับสน และความรู้สึกอคติต่อชาวพม่าและชนกลุ่มน้อยจึงเกิดขึ้นง่าย หากข่าวส่วนใหญ่เป็นข่าวเชิงลบ จากการสำ�รวจพาดหัวข่าวที่ใช้คำ�ว่า “พม่า” บนสื่อสิ่งพิมพ์ของไทยจะพบว่าหมายถึงกลุ่มบุคคลดังต่อไปนี้

1 การอ้างอิงบทความ ควรได้รับอนุญาตจากเจ้าของบทความ 2 บรรณาธิการสาละวินโพสต์ 3 ประกอบด้วย 1.ไทยรัฐ 2.เดลินิวส์ 3. ข่าวสด 4. คมชัดลึก 5.มติชน 6.แนวหน้า 7. สยามรัฐ 8.ไทยโพสต์ 9.กรุงเทพธุรกิจ 10.โพสต์ทูเดย์ 11. ผู้จัดการรายวัน 12. ฐานเศรษฐกิจ 14. ข่าวหุ้น 15. ดอกเบี้ยธุรกิจ 16. สยามกีฬา 17. สยามธุรกิจ 18. วัฏจักร 19. โลกวันนี้ 20. ผู้จัดการรายสัปดาห์ 21. มติชนสุดสัปดาห์ 22. เนชั่นสุดสัปดาห์ 23. เทลคอมเจอร์นัล 24. บ้านเมือง

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

“พม่าและชนกลุ่มน้อย: ดาวร้ายที่ไม่เคยเปลี่ยน บนสื่อไทย”1


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

348

1. รัฐบาลทหาร ประเทศพม่าถูกปกครองด้วยทหารมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1988 จนถึงปัจจุบัน แม้ว่าในปี ค.ศ. 1990 รัฐบาลทหาร จะเปิดโอกาสให้มีการเลือกตั้งทั่วไป จนพรรคเอ็นแอลดีของนางอองซานซูจีได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้น มีสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎร หรือ ส.ส. ที่ได้รับการเลือกตั้งมากที่สุดในสภา แต่ก็ยังไม่มีโอกาสบริหารประเทศแต่อย่างใด คำ�ว่า “รัฐบาลพม่า” ที่ปรากฏในข่าวจึงหมายถึงรัฐบาลทหารพม่า ประเด็นข่าวเกี่ยวกับรัฐบาลพม่าที่ถูกนำ�เสนอผ่านสื่อของไทยแบ่งออกได้ดังนี้ จากการสำ�รวจประเด็นข่าวในช่วงสิบปีที่ผ่านมา พบว่าประเด็นข่าวเกี่ยวกับรัฐบาลพม่าที่นำ�เสนอบนหน้า หนังสือพิมพ์ไทยส่วนใหญ่ประกอบด้วยเนื้อหาดังต่อไปนี้ ความหมายที่มองเห็น ตัวอย่างพาดหัวข่าวการเมือง การเมือง กักขังนางซูจีและนักโทษ การเมือง ถูกประชาคมโลกกดดันให้เป็น ปชต. เศรษฐกิจ ต้องการร่วมมือทางเศรษฐกิจ กับประเทศเพื่อนบ้าน ถูกควํ่าบาตรทางเศรษฐกิจจาก กลุ่มประเทศตะวันตก สังคม ไม่ใส่ใจคุณภาพชีวิตประชาชน คอร์รัปชั่น

ตัวอย่างพาดหัวข่าวการเมือง - ทหารพม่าฝ่ากฎ-ขังซูจีต่อ (ข่าวสด 12/08/2551 น.7) - พม่าสัญญาได้รัฐบาลพลเรือนคืนอำ�นาจปชช-เลือกตั้งปี 53 (โพสต์ทูเดย์ 28/03/2551 น. A12) - ยูเอ็นจวกพม่าแผนปฏิรูปไม่คืบ (มติชน 19/05/2551 น. 32)


349

- แห่ประมูลอัญมณีพม่าเมินเสียงควํ่าบาตร (เดลินิวส์ 21/01/2551 น. 13) - เจอแก๊สหลุมใหม่ในประเทศพม่า (บ้านเมือง 11/01/2548) น.15 ตัวอย่างพาดหัวข่าวสังคม - พม่าบังคับเหยื่อพายุไปสร้างบ้านใหม่ (คม ชัด ลึก 30/05/2551 น.13) - พม่าลั่นไม่ง้อต่างชาติขี้งกให้เงินไม่ถึงเป้า (โพสต์ทูเดย์ 30/05/2551 น.A12) - แฉพม่าไม่เลิกทารุณชนกลุ่มน้อย (คม ชัด ลึก 05/01/2251 น. 13)

2. แรงงานพม่า ประเทศไทยเริ่มมีนโยบายเปิดรับแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านมาตั้งแต่ปี 2535 และเริ่มขึ้นทะเบียนอย่าง เป็นระบบปี 2547 โดยแรงงานต่างด้าวส่วนใหญ่จะเป็นชาวพม่า ซึ่งมีเพิ่มจำ�นวนมากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากปัจจัยผลัก ดันจากประเทศต้นทางและปัจจัยดึงดูดความต้องการแรงงานจากประเทศไทย จนถึงปี 2551 มีแรงงานต่างด้าวขึ้น ทะเบียนจำ�นวน 621,437 คน และที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนอีกกว่า 700,000 คน (เดลินิวส์ 8/07/2551) จากการสำ�รวจประเด็นข่าวในช่วงสิบปีที่ผ่านมา พบว่าประเด็นข่าวเกี่ยวกับแรงงานพม่าที่นำ�เสนอบนหน้า หนังสือพิมพ์ไทยส่วนใหญ่ประกอบด้วยเนื้อหาดังต่อไปนี้ ความหมายที่มองเห็น ทำ�ร้ายนายจ้าง พาหะนำ�โรค แย่งงานคนไทย ลักขโมยค้ายาบ้า หลบหนีเข้าเมือง เด็กไร้รัฐไร้สัญชาติ ถูกนายจ้างกดขี่

ตัวอย่างพาดหัวข่าวเกี่ยวกับแรงงานพม่า - แรงงานพม่าแห่เข้าสู่กรุง (ข่าวสด 16/07/2547) น.35 - จับลำ�เลียงต่างด้าวทางบก-นํ้า 45 คน (มติชน 12/07/2547) น.13 - เมียน.อ.เผานั่งนางสาวใช้ (คม ชัด ลึก 08/07/2547) น.3 - ระนองเมืองทองพม่าเถื่อน (ฐานเศรษฐกิจ 30/09/2550) น.26

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

ตัวอย่างพาดหัวข่าวเศรษฐกิจ


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

350

- พม่าตาย 54 ศพวุ่นแย่งสอบผู้ต้องขัง (เดลินิวส์ 20/04/2551) น.10 - เด็กไร้สัญชาติวัยเรียนหมื่น จบวิศวะเป็นได้แค่กรรมกร (คมชัดลึก 9/10/2550) - เอ็นจีโอค้าน “สนธิ” ส่งกลับแรงงานพม่าท้องแก่ (ผู้จัดการรายวัน 19/11/ 2550) - เตือน 30 จังหวัด อหิวาต์ระบาด! ต้นตอ-คนพม่า (ไทยรัฐ 26/10/2550) - สถานการณ์ชายแดนตึงเครียด พม่าเสริมกำ�ลังเปิดศึกไทใหญ่ (ไทยรัฐ 1/04/2550)

3. ประชาชนพม่าและกลุ่มชาติพันธุ์ ประเทศพม่าประกอบด้วยประชากรหลากหลายกลุ่มชาติพันธุ์ โดยมีประชาชนพม่าเป็นกลุ่มชาติพันธุ์หลัก อาศัยอยู่ในเขตภาคกลาง ส่วนกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ ในเขตชายแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้าน ประกอบด้วยรัฐฉาน รัฐกะยา รัฐกะเหรี่ยง และรัฐมอญ ติดกับชายแดนประเทศไทย รัฐอาระกันและรัฐชินติดกับชายแดนประเทศบังคลา เทศ รัฐคะฉิ่นติดกับประเทศอินเดียและจีน หลังจากอังกฤษมอบเอกราชให้ประเทศพม่าเมื่อปี ค.ศ. 1947 ประชาชนกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ที่มิพม่า (non - Burman) ได้ลุกขึ้นมาเรียกร้องเอกราชของตนเอง แต่รัฐบาลกลางพม่าไม่ได้ยินยอม จึงเป็นเหตุให้เกิด สงครามกลางเมืองนำ�ไปสู่การอพยพของผู้ลี้ภัยสู่ประเทศเพื่อนบ้าน และปัญหาสังคมอื่นๆ ตามมา ส่วนประชาชน เชื้อสายพม่าแท้ (Burman) ก็ลุกขึ้นมาเดินขบวนเรียกร้องประชาธิปไตยจากรัฐบาลกลางซึ่งเป็นรัฐบาลทหารมาจนถึง ปัจจุบัน โดยหลังจากการปราบปรามประชาชนเมื่อปี ค.ศ. 1988 ทำ�ให้นักเคลื่อนไหวการเมืองชาวพม่าและกลุ่ม ชาติพันธุ์หนีมาอยู่ประเทศไทยและประเทศที่สามอย่างต่อเนื่อง จากการสำ�รวจประเด็นข่าวเกีย่ วกับประชาชนพม่าและกลุม่ ชาติพนั ธุท์ ไี่ ด้รบั การนำ�เสนอผ่านสือ่ ของไทย พบว่า ความหมายที่มองเห็น การเมือง ขาดสิทธิเสรีภาพในการแสดงความเห็น เรียกร้องประชาธิปไตย กองกำ�ลังชนกลุ่มน้อยเรียกร้องเอกราช กลุ่มเคลื่อนไหวการเมืองสร้างปัญหาให้ไทย เศรษฐกิจ รายได้น้อย ไม่ค่อยมีงานทำ�ในพม่า ถูกขูดรีดจากรัฐบาล กองกำ�ลังชนกลุ่มน้อยสร้างปัญหาชายแดน สังคม ความหมายที่มองเห็น ผู้ลี้ภัยทะลักเข้า ชายแดนไทย กลุ่มชาติพันธุ์ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน


351

ประเทศพม่าประกอบไปด้วยแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่ส�ำ คัญของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และตั้ง อยู่ระหว่างมหาอำ�นาจในภูมิภาคนี้ คือ จีนและอินเดีย ซึ่งต่างต้องการแย่งชิงฐานทรัพยากรในพม่า รวมทั้งประเทศ เพื่อนบ้านอย่างไทยด้วยเช่นกัน ข่าวที่กล่าวถึงประเทศพม่าส่วนใหญ่จึงเป็นข่าวเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุน - ตัวอย่างพาดหัวข่าวที่หมายถึงประเทศพม่า - ค้าชายแดนแม่สอดรับข่าวดีปีหนู (ฐานเศรษฐกิจ 24/01/2551 น.53) - ระดมสมองจัดการทรัพยากรนํ้าระหว่างไทย-พม่า (บ้านเมือง 18/01/2551 น. 14) - 2 เขื่อนใหญ่ไทย-พม่าชะงักหม่องรอดูท่าที ครม.หมัก (ผู้จัดการรายวัน 14/02/2551 น.8) - เค้กก่อสร้างหม่องหมื่นล้าน (ฐานเศรษฐกิจ 31/01/2551 น. 35) จากการจำ�แนกความหมายของคำ�ว่า “พม่า” บนสื่อของไทยทั้ง 4 หัวข้อข้างต้นจะเห็นได้ว่า ข่าวที่เสนอเกี่ยว กับ “พม่า” ส่วนใหญ่เป็นข่าวเชิงลบ ซึ่งช่วยตอกยํ้าอคติที่มีต่อประชาชนพม่าและกลุ่มชาติพันธุ์แบบเหมารวม โดย ไม่ได้ชี้ให้เห็นถึงใครเป็น “ผู้กระทำ�” และ “ผู้ถูกกระทำ�” ส่งผลให้ผู้ถูกกระทำ�ตกเป็นเหยื่อของความเกลียดชังและ นำ�สู่การละเมิดสิทธิมนุษยชนรูปแบบต่างๆ ดังเช่นกรณีศึกษาที่จะกล่าวถึงในลำ�ดับต่อไป

ความไม่เป็นธรรมของสื่อไทย กรณีแรงงานพม่ากับสึนามิ เหตุการณ์สึนามิเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 เป็นเหตุการณ์ที่นำ�ความสูญเสียครั้งใหญ่มาให้กับชาวไทยและ อีกหลายประเทศในภูมภิ าคนี้ จากการสืบค้นข่าวจากหนังสือพิมพ์ระหว่างวันที่ 26 ธันวาคม จนถึง 31 ธันวาคม 2547 หรือหลังจากเกิดเหตุการณ์สึนามิหนึ่งสัปดาห์ พบว่ามีข่าวความสูญเสียจากเหตุการณ์สึนามิบนหน้าหนังสือพิมพ์ ไทยมากกว่า 400 ข่าว แต่ข่าวเกี่ยวกับยอดผู้เสียชีวิตและทรัพย์สินของแรงงานพม่า กลับไม่มีปรากฏบนสื่อของไทย สักฉบับเดียว ในทางกลับกัน การนำ�เสนอข่าวหลังจากวันที่ 1 จนถึง 15 มกราคม 2551 หรืออีกสองสัปดาห์ต่อมา กลับ เป็นข่าวเชิงลบจนทำ�ให้อคติความเกลียดชังต่อแรงงานพม่าเพิ่มสูงขึ้นและทำ�ให้ผู้ประสบภัยชาวพม่าไม่ได้รับความ ช่วยเหลือจากสังคมไทยอย่างเป็นธรรม เฉกเช่นผู้ประสบภัยชาวไทยและชาวต่างชาติ ตัวอย่างพาดหัวข่าวทีต่ อกยํา้ อคติอย่างรุนแรง คือ พาดหัวข่าวขนาดใหญ่บนหน้าหนึง่ ของหนังสือพิมพ์ขา่ วสด ฉบับวันที่ 7 มกราคม 2548 มีข้อความว่า

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

4. ประเทศพม่า


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

352

จากการพิจารณารูปแบบและเนื้อหาของการนำ�เสนอข่าวชิ้นนี้ พบว่ารายละเอียดของข่าวทั้งหมดมีพื้นที่รวม กันประมาณ 1 หน้าหนังสือพิมพ์ ประกอบด้วยพาดหัวข่าวย่อยทั้งหมด 20 ประเด็น และประเด็นเกี่ยวกับความผิด ของแรงงานพม่ามีเพียง 2 ประเด็น โดยในเนื้อหาข่าวระบุถึงจำ�นวนผู้กระทำ�ผิดที่ถูกจับกุมว่า “…ทั้งนี้ยอดจับกุมชาวพม่าที่ตั้งแก๊งลักทรัพย์ตั้งแต่วันที่ 26 ธ.ค. 51 ที่ผ่านมาถึง 5 ม.ค. 48 สามารถจับได้ จำ�นวน 31 คน” ส่วนเนื้อหาข่าวที่หมายถึง “โจรพม่ายกทัพ” ในเนื้อหาระบุว่า “ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตลอดเส้นทางเขาหลักถึงตะกั่วป่าได้พบเห็นรถกระบะของชาวต่างด้าวมาขับตระเวน เก็บเศษเหล็กกว่า 20 คันเพื่อนำ�ไปจำ�หน่าย โดยออกคุ้ยเขี่ยหาเศษเหล็กและทรัพย์สินต่าง ๆ ทั้งที่เจ้าหน้าที่ตำ�รวจ ได้ทำ�การสกัดกัน้ แต่ไม่เป็นผลเท่าทีค่ วร เนือ่ งจากกลุม่ ชาวพม่ามีประมาณนับพันคน ส่วนใหญ่จะลักลอบเข้ามาทาง รถยนต์และเรือ นอกจากนี้ กลุ่มชาวพม่าจะมีการฝึกพูดภาษาไทยทำ�ให้ดูแล้วกลมกลืนกับคนในพื้นที่จนคนทั่วไป หลงเชื่อ เมื่อกระทำ�ความผิดก็ไม่สามารถจับกุมได้ เนื่องจากไม่มีบัตรประชาชนและการขึ้นทะเบียนคนต่างด้าว” จากเนื้อหาข่าวข้างต้นจะพบว่า หลักฐานที่ระบุแน่ชัดว่าแรงงานพม่านับพันเป็นผู้กระทำ�ผิดยังขาดความ น่าเชื่อถือ เพราะเจ้าหน้าที่ยังไม่สามารถจับกุมผู้กระทำ�ผิด “จำ�นวนนับพันคน” มาสืบสวนหาข้อเท็จจริงได้ ซึ่งใน จำ�นวนนีอ้ าจไม่ใช่ชาวพม่าทัง้ หมด การกล่าวหาผูก้ ระทำ�ผิดทัง้ หมดว่าเป็นชาวพม่าจึงขาดความเป็นธรรมต่อแรงงาน ชาวพม่าหลายหมื่นคนที่ประภัยสึนามิ ผลจากการนำ�เสนอข่าวดังกล่าวทำ�ให้แรงงานพม่าถูกตัดขาดความช่วยเหลือ จากภาครัฐและภาคประชาชน ถูกรังเกียจจากชุมชนไทย รวมทั้งถูกผลักดันส่งกลับไปยังประเทศพม่า โดยไม่สนใจ ถึงความสูญเสียที่เกิดขึ้น ข่าวทีน่ �ำ เสนอถึงความสูญเสียทีเ่ กิดขึน้ กับแรงงานพม่าเพิง่ เริม่ ปรากฏครัง้ แรกในหนังสือพิมพ์ผจู้ ดั การรายวัน ฉบับวันที่ 19 ม.ค. 2548 หน้า 13 เนื้อหาของข่าวส่วนหนึ่งระบุว่า “....รายงานของจัดหางานจังหวัดระนอง ระบุวา่ มีแรงงานพม่าเสียชีวติ จากธรณีพบิ ตั คิ ลืน่ ยักษ์สนึ ามิ แค่ 2-3 คน และบาดเจ็บอีก 4-5 คนเท่านั้น ทั้งที่รายงานของสุวัจน์ ลิปตพัลลภ รองนายกรัฐมนตรี นำ�เสนอให้คณะรัฐมนตรี อนุมัติงบช่วยเหลือผู้ประสบภัยฯ เมื่อวันอังคารที่ 11 ม.ค.ที่ผ่านมา ระบุว่า มีเรือประมงขนาดใหญ่กว่าสิบเมตรเสีย หายจำ�นวน 1,222 ลำ� เรือประมงใหญ่เหล่านี้ ในทางความเป็นจริงแล้วได้อาศัยแรงงานพม่าเป็นลูกเรือในแต่ละลำ� ประมาณ 10-30 คน โดยเรือบางส่วนจมหาย บางส่วนเสียหาย ไม่นับแรงงานพม่าตามโรงแรม รีสอร์ต ที่ทำ�งาน เป็นคนสวน แม่บ้าน ฯลฯ อีกไม่น้อย” นอกจากนี้ มีบทความอีกสองชิ้นที่เขียนถึงชะตากรรมของแรงงานพม่าที่ประสบภัยสึนามิ คือ บทความเรื่อง “เสียงเพรียกที่ไม่ได้ยิน” ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 31 ม.ค. 48 หน้า 9 และบทความเรื่อง “ชีวิต เสมือนไร้ตัวตน ฝันร้ายแรงงานพม่าหลังคลื่นยักษ์” ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์มติชนฉบับวันที่ 23 ม.ค. 2548 หน้า 8 เนื้อหาของบทความส่วนหนึ่งกล่าวถึงความไม่เป็นธรรมจากสื่อไทยว่า “...ไม่มใี ครกล่าวถึงพวกเขาทางทีวี ทางหน้าหนังสือพิมพ์ ไม่มกี ารสำ�รวจการบันทึกความเดือดร้อนทีพ่ วกเขา ได้รบั ไม่มหี น่วยงานใดออกมาประกาศให้ความช่วยเหลือพวกเขาอย่างจริงจัง เหมือนพวกเขาไม่มตี วั ตน ไม่เกีย่ วข้อง ในเหตุการณ์ ทั้งที่พวกเขามีเป็นจำ�นวนมาก และกำ�ลังทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัสจากความตาย การพลัดพราก และความไร้หวังในอนาคต” กล่าวโดยสรุปจะเห็นได้วา่ การนำ�เสนอของสือ่ ไทยต่อกรณีแรงงานพม่าทีป่ ระสบภัยสึนามิมคี วามไม่เป็นธรรม เนือ่ งจากสือ่ เลือกนำ�เสนอเฉพาะประเด็นเชิงลบของแรงงานพม่าทีก่ ระทำ�ผิดกฎหมาย ซึง่ มีสดั ส่วนทีน่ อ้ ยกว่าแรงงาน


353

พื้นที่สื่อกับการสร้างอคติ อาจกล่าวได้ว่า พื้นที่ของสื่อมีความสัมพันธ์กับการสร้างอคติที่เกิดขึ้นต่อชาวพม่าและชนกลุ่มน้อย โดยหาก พิจารณาประเภทของหนังสือพิมพ์ภาษาไทยที่วางขายทั่วไป จะพบว่าประเภทของหนังสือพิมพ์ที่นำ�เสนอข่าวพม่า และชนกลุ่มน้อยแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ 1. หนังสือพิมพ์ที่เน้นนำ�เสนอข่าวชาวบ้าน อาทิ ไทยรัฐ, เดลินิวส์, ข่าวสด, คมชัดลึก เป็นต้น ประเด็นข่าว พม่าที่นำ�เสนอผ่านสื่อประเภทนี้ ประกอบด้วยข่าวอาชญากรรมและข่าวสถานการณ์การเมืองในพม่า โดยส่วนใหญ่ ข่าวที่ขึ้นหน้าหนึ่งหนังสือพิมพ์มักเป็นข่าวอาชญากรรมซึ่งกระทำ�โดยแรงงานพม่า ตัวอย่างพาดหัวข่าวบนหน้าหนึ่งหนังสือพิมพ์ข่าวชาวบ้าน - 2 ลูกจ้างพม่าฆ่านายจ้างปาดคอเหวอะ (ไทยรัฐ 24/08/2545) น.1,19 - พม่าแค้นฆ่าหม่องแย่งเมีย ไทยรัฐ (14/04/2545) น.1,15 นอกจากพืน้ ทีข่ า่ ว ยังมีพนื้ ทีด่ า้ นในของคอลัมน์นสิ ต์ตา่ งๆ ซึง่ มีสว่ นนำ�เสนอแง่มมุ ต่อชาวพม่า ทัง้ ในเชิงบวก และเชิงลบ อาทิเช่น คอลัมน์เลขที่ 1 วิภาวดีฯ ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ มักนำ�เสนอทัศนคติเชิงลบต่อแรงงานพม่าใน บทความเรื่อง “พม่าเยอะ” (18 ส.ค. 50 น. 15) และ “พม่ายึดเมือง” (14 ม.ค. 50 น. 15)

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

พม่าที่ไม่ได้กระทำ�ผิด และต้องการความช่วยเหลือจากภายนอก การนำ�เสนอข่าวในประเด็นดังกล่าว ได้นำ�ไปสู่การ ตอกยํ้าอคติต่อชาวพม่าในสังคมไทยที่รุนแรงมากขึ้น


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

354

ตัวอย่างคอลัมน์นิสต์ที่นำ�เสนอแง่มุมเชิงบวก เช่น คอลัมน์เกียรติชัย พงษ์พาณิชย์ ในหนังสือพิมพ์ข่าวสด หน้า 6 ตัวอย่างเช่นบทความเรื่อง “พม่า-สึนามิ-สิทธิมนุษยชน” ซึ่งนำ�เสนอถึงปัญหาการปกปิดข้อมูลข่าวสารของ รัฐบาลพม่าเกี่ยวกับยอดผู้เสียชีวิต ทำ�ให้ทั่วโลกไม่ทราบถึงความสูญเสียที่เกิดขึ้นขึ้นจริง เป็นต้น แต่เนือ่ งจากพืน้ ทีท่ แี่ สดงความเห็นเชิงบวกมีนอ้ ยกว่าเชิงลบ โดยพืน้ ทีข่ า่ วเชิงลบมักได้ขนึ้ หน้าหนึง่ หนังสือพิมพ์ ขณะที่ทัศนคติเชิงบวกมักสอดแทรกอยู่ในหนังสือพิมพ์แบบนานๆ ครั้ง โอกาสที่จะเกิดอคติเชิงลบจึงมีมากกว่า 2.หนังสือพิมพ์ที่เน้นนำ�เสนอข่าวการเมือง อาทิ มติชน, แนวหน้า, สยามรัฐ, ไทยโพสต์ เป็นต้น ประเด็น ข่าวพม่าทีน่ ำ�เสนอผ่านสือ่ ประเภทนี้ ประกอบด้วย ข่าวความเคลือ่ นไหวทางการเมือง ข่าวการสูร้ บระหว่างกองกำ�ลัง กลุ่มต่าง ๆ ข่าวปัญหาชายแดน ข่าวปัญหาแรงงานต่างด้าวและผู้ลี้ภัย ตัวอย่างพาดหัวข่าว - ไอแอลโอดันปัญหาพม่าต่อศาลโลก (มติชน 18/11/2549) น.32 - แฉนายหน้าหักหัวคิวแรงงานต่างด้าว (มติชน 31/01/2551) น.5 - รัฐบาลพม่าไฟเขียวซูจีพบแกนนำ�พรรค (ไทยโพสต์ 31/01/2551 น. 9) 3. หนังสือพิมพ์ที่เน้นนำ�เสนอข่าวเศรษฐกิจ ประกอบด้วย กรุงเทพธุรกิจ, โพสต์ทูเดย์, ผู้จัดการ-รายวัน, ฐานเศรษฐกิจ ฯลฯ ตัวอย่างพาดหัวข่าว - ค้าชายแดน 9 เดือนผ่าน 3 ด่านเชียงรายไทยเกินดุล 5 พันล. กรุงเทพธุรกิจ (13/11/2549) น.12


355

หนังสือพิมพ์ทั้งสามประเภทมีรูปแบบในการนำ�เสนอข่าวพม่าแตกต่างกัน คือ หนังสือพิมพ์ประเภทข่าว ชาวบ้านจะเน้นข่าวเชิงลบ โดยใช้คำ�หวือหวา เช่น พม่าแสบรับซื้อของโจร (ข่าวสด 31/01/2551) หรือ มักใช้คำ�ว่า “หม่อง” เพื่อหมายถึงคนพม่าในเชิงดูถูก เช่น 2 หม่องโหดทุบกะโหลกเจ้าของบ่อกุ้ง (ไทยรัฐ (16/11/2549) น.1, 19 ขณะที่หนังสือพิมพ์ประเภทข่าวการเมืองและเศรษฐกิจจะใช้ค�ำ ในการเสนอข่าวแบบกลางๆ ไม่หวือหวาเพื่อบอกเล่า เหตุการณ์แบบตรงไปตรงมา เนื่องจากจำ�นวนยอดพิมพ์และกลุ่มผู้อ่านของหนังสือพิมพ์ทั้งสามประเภทแตกต่างกัน โดยกลุ่มผู้อ่าน หนังสือพิมพ์ชาวบ้านจะมีจำ�นวนมากที่สุด รองลงมาคือหนังสือพิมพ์การเมือง และหนังสือพิมพ์เศรษฐกิจ ดังนั้น หากสารทีส่ ง่ ผ่านทางหนังสือพิมพ์ชาวบ้านซึง่ มีผอู้ า่ นจำ�นวนมากกว่าล้านฉบับต่อวันเป็นเชิงลบ ทัศนคติของคนไทย ต่อชาวพม่าและชนกลุม่ น้อยจึงย่อมเป็นไปในเชิงลบมากกว่าเชิงบวก แม้วา่ หนังสือพิมพ์บางฉบับจะมีคอลัมน์นสิ ต์ที่ มีความคิดเห็นเชิงบวกต่อชาวพม่า แต่พนื้ ทีข่ องการนำ�เสนอมักไม่คอ่ ยมีอทิ ธิพลกับกลุม่ เมือ่ อ่าน เพราะคอลัมน์เหล่า นี้มักอยู่ด้านในและนำ�เสนอไม่ต่อเนื่องกัน ขณะที่ เมื่อเทียบกับการนำ�เสนอข่าวเชิงลบ ซึ่งมักปรากฏอยู่บนหน้าหนึ่ง หนังสือพิมพ์และนำ�เสนอติดต่อกันเป็นเวลาหลายวันจนกว่าประเด็นข่าวจะลดกระแสความน่าสนใจ ด้วยเหตุนี้ ความ รู้สึกของคนไทยส่วนใหญ่ต่อชาวพม่าและชนกลุ่มน้อยจึงอยู่ในเชิงลบมากกว่าเชิงบวก

แผนภูมิแสดงประเภทหนังสือพิมพ์ที่มีอิทธิพลต่อกลุ่มผู้อ่าน ประเภทหนังสือพิมพ์

ข่าวชาวบ้านและข่าวทั่วไป

ข่าวการเมือง

ข่าวเศรษฐกิจ

ยอดพิมพ์ 500,000 – 1,000,000 ฉบับ

ยอดพิมพ์ ตํ่ากว่า 500,000 ฉบับ

ยอดพิมพ์ ตํ่ากว่า 300,000 ฉบับ

กลุ่มผู้อ่าน ประชาชนทุกระดับ

กลุ่มผู้อ่าน ชนชั้นกลาง

กลุ่มผู้อ่าน นักธุรกิจ

ปัจจัยผลักดันของการผลิตข่าวเชิงลบเกี่ยวกับพม่า 1. ธรรมชาติของสื่อ เนือ่ งจากธรรมชาติของการนำ�เสนอข่าวโดยเฉพาะข่าวหน้าหนึง่ บนหนังสือพิมพ์มกั เป็นข่าวร้ายมากกว่าข่าวดี บุคคลที่ตกเป็นข่าวหน้าหนึ่งไม่ว่าจะเป็นคนพม่าหรือชนชาติไหนมักเป็นข่าวเชิงลบ ดังนั้น เราจึงพบว่า ข่าวแรงงาน พม่าฆ่าโหดนายจ้างมักปรากฏอยู่บนหน้าหนึ่งหนังสือพิมพ์ ขณะที่ข่าวแรงงานพม่าสร้างผลกำ�ไรจำ�นวนหลายพัน ล้านต่อปีให้กับบริษัทของไทยกลับไม่เคยถูกนำ�เสนอบนหน้าหนังสือพิมพ์แต่อย่างใด ความรับรู้ของคนไทยเกี่ยวกับ ประชาชนพม่าจึงเป็นการรับรู้แต่ข้อมูลข่าวสารเชิงลบมากกว่าเชิงบวก 2. แหล่งข่าวไม่สมดุล แหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องกับประเด็นประเทศพม่าส่วนหนึ่งไม่กล้าให้ข้อมูลนักข่าว อาทิ แรงงานพม่าที่ไม่ได้ขึ้น ทะเบียนมักอยู่อย่างหลบ ๆ ซ่อน ๆ หรือ ผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิง เมื่อเกิดเหตุถูกกระทำ�หรือถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

- หอการค้าตากจี้รัฐออกวีซ่าให้แรงงานชาวพม่า โพสต์ทูเดย์ (11/11/2549) น.B5


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

356

มักไม่กล้าออกมาให้ขา่ วเพราะกังวลเรือ่ งความปลอดภัย ทำ�ให้แหล่งข่าวทีน่ �ำ เสนอส่วนใหญ่เป็นแหล่งข่าวด้านเดียว ขาดมุมมองที่หลากหลาย ส่วนแหล่งข่าวที่กล้าเปิดเผยข้อมูลมักเป็นแหล่งข่าวที่มีอำ�นาจในสังคม เช่น รัฐบาลทหาร เจ้าหน้าที่รัฐไทย เจ้าของโรงงานหรือ นายจ้าง เป็นต้น 3. ข้อจำ�กัดของผู้สื่อข่าว เนื่องจากปัญหาในพม่าซึ่งเกี่ยวข้องกับสถานการณ์การเมืองตั้งแต่ระดับท้องถิ่นถึงระดับโลก ปัญหาหลาย อย่างส่งผลกระทบข้ามชายแดนมายังประเทศไทย หากนักข่าวไม่ได้ติดตามปัญหาแบบเชื่อมโยง การนำ�เสนอข่าว อาจตอกยํ้าอคติหรือสร้างความไม่เป็นธรรมให้กับแหล่งข่าวที่ตกเป็นเหยื่อได้ง่าย นอกจากนี้ ยังมีปัญหาเรื่องภาษาที่ใช้ในการสื่อสารและการเข้าถึงพื้นที่เกิดเหตุ โดยเฉพาะการเดินทางไปยัง ชายแดนไทย - พม่า หรือในประเทศพม่า เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวไม่ต้อนรับนักข่าว หรือ ชุมชนแรงงานพม่าไม่เปิดรับ คนภายนอก ข้อจำ�กัดเหล่านีท้ ำ�ให้การนำ�เสนอข่าวเกีย่ วกับพม่าบนสือ่ ของไทยทำ�ได้ยาก และข่าวทีน่ ำ�เสนอจึงไม่ตอ่ เนื่องหรือมีปริมาณน้อย 4. ทัศนคติโดยรวมของสังคม อาจกล่าวได้ว่า ปัจจุบันภาพสงครามเสียกรุงเมื่อสองร้อยกว่าปีก่อน ยังคงเป็นภาพความทรงจำ�ทาง ประวัติศาสตร์ที่ฝังอยู่ในใจคนไทยส่วนใหญ่และนำ�มาซึ่งความรู้สึกเกลียดชังประชาชนจากประเทศพม่า เมื่อผนวก รวมกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นปัจจุบันในพม่าดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้น ทำ�ให้ภาพเชิงลบของประชาชนจากพม่าที่ ปรากฏในสื่อต่าง ๆ ได้รับการตอกยํ้าลงบนอคติเดิม การนำ�เสนอข่าวเชิงลบจึงตอบสนองความรู้สึกเกลียดชังชาว พม่าในใจของคนไทย ทำ�ให้ขา่ วดังกล่าวได้รบั ความสนใจจากผูอ้ า่ นมากกว่าข่าวเชิงบวก ดังเช่น เหตุผลทีน่ กั ข่าวจาก หนังสือพิมพ์หัวสีฉบับหนึ่งเคยบอกไว้ถึงการนำ�เสนอข่าวร้ายของคนพม่าว่า “เป็นข่าวที่ขายได้” ส่วนข่าวดีของคน พม่า นอกจากขายไม่ได้แล้ว ยังทำ�ให้หนังสือพิมพ์ฉบับนั้นมีผู้อ่านลดลง เนื่องจากนำ�เสนอในสิ่งที่ขัดแย้งต่อความ เชื่อหรือความรู้สึกของคนอ่าน

“พม่า” ความหมายที่ถูกมองข้าม จากการพิจารณาข่าวที่นำ�เสนอเกี่ยวกับประเด็นพม่าและชนกลุ่มน้อยในรอบสิบปีที่ผ่านมา จะพบว่าการ นำ�เสนอข่าวของสือ่ ส่วนใหญ่มกั เลือกนำ�เสนอในประเด็นเดียวกันตามสถานการณ์ทเี่ กิดขึน้ ในขณะนัน้ แต่ยงั ขาดการ เชือ่ มโยงถึงรากเหง้าของปัญหาทีจ่ ะช่วยทำ�ให้คนไทยเข้าใจถึงต้นสายปลายเหตุซง่ึ จะช่วยลดอคติทเ่ี กิดขึน้ ได้ นอกจาก นี้ สื่อส่วนใหญ่ยังมองข้ามในความหมายอื่นๆ ที่จะช่วยสร้างสมดุลของข่าวไม่ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้งหมด ส่งผลทำ�ให้ประเด็นการนำ�เสนอข่าวพม่าและชนกลุม่ น้อยขาดความหลากหลาย และกลับกลายเป็นการตอกยํา้ เรือ่ ง เดียวกัน ซึ่งเป็นการเพิ่ม “อคติ” ให้เพิ่มมากขึ้น


357

รัฐบาลทหารพม่า

ทุ่มงบประมาณกว่า ร้อยละ 50 พัฒนากองทัพ

งบประมาณ สาธารณสุขและการศึกษาไม่เกิน ร้อยละ 3

กดขี่ชนกลุ่มน้อย

ประชาชนขาดความรู้และเป็น พาหะนำ�โรค

กองกำ�ลังชนกลุ่มน้อย สู้รบกับรัฐบาลกลาง

แรงงานพม่าในไทย

อองซานซูจีถูกกักบริเวณจับกุม นักโทษการเมือง

ผู้ลี้ภัย

ปัญหาสังคมต่าง ๆ ในสังคมไทย

นักเคลื่อนไหวการเมืองหนีมา ประเทศไทย

ไม่เป็นประชาธิปไตย

ถูกควํ่าบาตรจากนานาประเทศ จนเศรษฐกิจตกตํ่า

ประชาชนพม่าเรียกร้อง ประชาธิปไตย

จากแผนภูมิข้างต้นจะเห็นได้ว่า แรงงานพม่า ผู้ลี้ภัย และนักเคลื่อนไหวการเมืองที่หนีมายังประเทศไทยเป็น เพียงปลายทางของปัญหาที่โยงใยซับซ้อนในประเทศพม่าเท่านั้น แต่ข่าวที่เผยแพร่ทางสื่อของไทยส่วนใหญ่จะเน้น ไปที่การสร้างปัญหาของคนกลุ่มนี้โดยไม่ได้สร้างความเข้าใจถึงรากเหง้าของปัญหา และท้ายที่สุดแล้ว คนกลุ่มนี้ก็ ตกเป็นเหยื่อของการปัญหาการเมืองในพม่าและปัญหาอคติของสังคมไทย ทั้งที่ตามหลักมนุษยธรรมแล้ว คนกลุ่ม นี้ควรได้รับการช่วยเหลือมากกว่าถูกเกลียดชังจากสังคมไทย

การก้าวข้ามอคติทางชาติพันธุ์บนพื้นที่สื่อ นับตั้งแต่สงครามเสียกรุงเมื่อสองร้อยกว่าปีก่อนเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ภาพลักษณ์ของ “ชาวพม่า” ใน สายตาของคนไทยเป็นภาพเชิงลบหรือเต็มไปด้วยอคติมาโดยตลอด ผลพวงจากอคติได้นำ�ไปสู่ความเกลียดชังและ มองไม่เห็น “ตัวตน” ของความเป็นมนุษย์ปุถุชนที่มีทั้งความดีความชั่วปะปนกัน บนพื้นที่ของสื่อไทยส่วนใหญ่มัก “เลือก” หยิบแง่มุมของความชั่วร้ายมานำ�เสนอมากกว่าหยิบแง่มุมของความดีซึ่งเกิดขึ้นจริง แต่ถูกมองข้ามไป ตัวอย่างของแง่มุมเชิงบวกที่เกิดขึ้นแต่ไม่ได้ถูกนำ�เสนอเป็นข่าวบนสื่อไทย - แรงงานพม่ากระทำ�ความดีต่อสังคมไทย เช่น ร่วมบริจาคโลหิตวันแม่ เป็นต้น - นายจ้างปฏิบัติต่อแรงงานพม่าอย่างมีมนุษยธรรม เห็นอกเห็นใจแรงงานพม่า - แรงงานพม่ามีความซื่อสัตย์ ขยัน และมีนํ้าใจ - มิตรภาพระหว่างเด็กไทยและลูกแรงงานพม่า - ความพยายามรักษาวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ - ผู้ลี้ภัยช่วยปลูกป่าในค่ายผู้ลี้ภัยหลายแห่ง เช่น ค่ายผู้ลี้ภัยแม่หละ เป็นต้น จากตัวอย่างข้างต้นจะเห็นได้วา่ ชาวพม่าและชนกลุม่ น้อยมีแง่มมุ ทีเ่ ป็นบวกมากมายแต่ไม่ได้รบั การเผยแพร่ ทางสือ่ ของไทย หากสือ่ ของไทยเริม่ มองเห็นถึงความสำ�คัญของการลดอคติทางชาติพนั ธุบ์ นสือ่ ไม่วา่ จะเป็นชาวพม่า

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

แผนภูมิแสดงห่วงโซ่ของปัญหาในพม่าที่เชื่อมโยงถึงประเทศไทย


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

358

ชนกลุ่มน้อย หรือคนชายขอบกลุ่มใดก็ตาม สังคมไทยก็เต็มไปด้วยความสงบสุขเพราะการเคารพศักดิ์ศรีของความ เป็นมนุษย์จะเป็นปัจจัยสำ�คัญที่ลดความขัดแย้งและความรุนแรงในสังคม

ข้อเสนอแนะเพื่อลดอคติบนพื้นที่สื่อ 1) หลีกเลี่ยงการตอกยํ้าอคติด้วยการใช้คำ�หวือหวาในกรณีที่เป็นข่าวเชิงลบ เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้อ่านเกิด ความเกลียดชังบุคคลทีต่ กเป็นข่าวและเหมารวมไปถึงกลุม่ คนในชาติพนั ธุเ์ ดียวกันทีไ่ ม่ได้กระทำ�ความผิด ยก ตัวอย่าง กรณีแรงงานพม่าทีป่ ระสบภัยสึนามิ การใช้คำ�ว่า “โจรพม่ายกทัพ” ทำ�ให้เกิดความรูส้ กึ เหมารวมต่อ แรงงานพม่าทุกคนที่อยู่ในพื้นที่ประสบภัย หรือหากผู้กระทำ�ผิดมีหลายเชื้อชาติ ซึ่งรวมทั้งคนไทยอยู่ด้วย สื่อ ไม่ควรจะเน้นชาติพันธุ์ของผู้กระทำ�ผิดบางกลุ่ม แต่ควรนำ�เสนอแบบกลางๆ ไม่ระบุชาติพันธุ์ 2) การทำ�ข่าวเชิงสืบสวนสอบสวน การทำ�ข่าวเชิงสืบสวนสอบสวนมีความจำ�เป็นเพื่อสร้างความเป็นธรรม ให้กับผู้ตกเป็นข่าว เช่น กรณีแรงงานพม่าฆ่านายจ้าง สื่อไม่ควรนำ�เสนอเฉพาะปลายเหตุว่า แรงงานพม่า ฆ่านายจ้างโหดร้ายอย่างไร แต่ควรสืบค้นข้อมูลย้อนกลับไปถึงเหตุการณ์ก่อนหน้าซึ่งเป็นแรงจูงใจให้ก่อ อาชญากรรมดังกล่าว เนื่องจากในหลายกรณีพบว่า มูลเหตุจูงใจเกิดจากนายจ้างกดขี่แรงงานอย่างรุนแรง บางรายทำ�ร้ายร่างกาย ไม่จ่ายเงินเดือน และทรมานในหลายรูปแบบจนแรงงานเกิดความโกรธแค้นทำ�ร้าย นายจ้างกลับจนรุนแรงถึงขึ้นเสียชีวิต เป็นต้น นอกจากนี้ การเปิดพื้นที่ข่าวก็มีความสำ�คัญ ในกรณีที่ค้นหาสาเหตุของอาชญากรรมได้แล้ว สื่อต้องให้ความ สำ�คัญโดยให้พนื้ ทีก่ ารนำ�เสนอทีค่ นอ่านจะได้รบั รูข้ อ้ มูลในวงกว้าง เพราะในหลายกรณี เหตุการณ์แรงงานพม่าทำ�ร้าย นายจ้างมักตกเป็นข่าวหน้าหนึง่ แต่หลังจากสืบสวนพบว่า นายจ้างทำ�ร้ายแรงงานกลับไม่ได้ขนึ้ เป็นข่าวหน้าหนึง่ ซึง่ คนอ่านได้เกิดอคติกับแรงงานพม่าโดยไม่ได้ทำ�ความเข้าใจถึงสาเหตุที่แท้จริง เป็นต้น 3) การเชื่อมโยงถึงรากเง้าของปัญหา เนื่องจากปัญหาในพม่าค่อนข้างมีความซับซ้อนดังได้กล่าวไปแล้ว การนำ�เสนอข่าวต่างๆ จึงจำ�เป็นต้องชี้ให้เห็นรากเหง้าของปัญหา เช่น การไหลทะลักของผู้ลี้ภัยมายังฝั่งไทย ควรนำ�เสนอถึงต้นตอของปัญหาทีผ่ ลักดันให้ผลู้ ภี้ ยั ว่ามาจากอะไร โดยต้องเชือ่ มโยงให้เห็นถึงปัญหาทีซ่ อ้ นทับ กันอยู่ เช่น กรณีผลู้ ภี้ ยั ทีไ่ หลทะลักเข้ามา สาเหตุเบือ้ งต้นอาจมาจากการสูร้ บระหว่างกองทัพพม่าและกองทัพ ชนกลุ่มน้อย แต่ถ้าสืบค้นต่อไป อาจพบว่าต้นเหตุของการสู้รบว่ามาจากความขัดแย้งเรื่องพื้นที่สร้างเขื่อน สาละวิน ซึ่งประเทศไทยเข้าร่วมลงทุน และผู้ได้ประโยชน์คือรัฐบาลพม่า กลุ่มทุนจากไทย รวมทั้งคนไทยที่ ได้ใช้ไฟฟ้าจากพม่า ส่วนผูไ้ ด้รบั ผลกระทบ คือประชาชนในพืน้ ทีซ่ งึ่ ต้องกลายมาเป็นผูล้ ภี้ ยั ฝัง่ ไทย ด้วยเหตุนี้ การไหลทะลักของผูล้ ภี้ ยั ก็มาจากประเทศไทยเป็นต้นตอของปัญหา ไม่ใช่ผลู้ ภี้ ยั เป็นผูส้ ร้างปัญหา หากการนำ� เสนอสามารถเชื่อมโยงกันได้ดังที่กล่าวมา คนไทยก็จะลดอคติที่มีต่อผู้ลี้ภัย รวมทั้งทำ�ให้คนไทยต้องมีสำ�นึก รับผิดชอบถึงผลกระทบอันเกิดจากความต้องการพลังงานและทรัพยากรของประเทศเพื่อนบ้านด้วยเช่นกัน


359

ประเทศไทยร่วมลงทุน โครงการเขื่อนสาละวิน ผลกระทบ

ผลกระโยชน์

การกวาดล้างกลุ่มชาติพันธ์ เพื่อเคลียร์พื้นที่สร้างเขื่อน

รัฐบาลพม่าขายไม้ในพื้นที่ อ่างเก็บนํ้า

การสู้รบระหว่างกองกำ�ลัง ชนกลุ่มน้อยกับกองทัพพม่า

มูลค่าการก่อสร้าง หลายพันล้าน

การไหลทะลักของผู้ลี้ภัย

คนไทยได้ใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น

ผลกระทบด้านสุขภาพ

4. เป็นผู้กำ�หนดทิศทางข่าว ไม่ใช่ผู้ตามกระแสข่าว การนำ�เสนอข่าวเกี่ยวกับพม่าที่ผ่านมามักเป็นไปตาม กระแส หรือตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วง การเปิดประเด็นใหม่ ๆ จากการสืบค้นข้อมูลโดยผู้สื่อข่าวยังมี อยู่น้อย ทำ�ให้ข่าวพม่าบนสื่อไทยเป็นไปแบบวูบ ๆ วาบ ๆ คือ เวลามีเหตุการณ์ร้อนก็จะนำ�เสนอพร้อมกันทุกสื่อ แต่หลังจากนั้นก็เงียบหายไป แล้วก็นำ�เสนอใหม่ถ้ามีเหตุการณ์ร้อนอีก ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นเหตุการณ์ไม่ดี ทำ�ให้ทุก ครั้งที่สื่อนำ�เสนอข่าวเกี่ยวกับพม่า อคติที่มีต่อคนพม่าและชนกลุ่มน้อยก็จะถูกตอกยํ้า และเพิ่มดีกรีความเกลียดชัง ต่อคนพม่าทุกคนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยมากขึ้นเรื่อยๆ หากนักข่าวเป็นผู้เปิดประเด็นใหม่โดยค้นหาประเด็นข่าว เชิงสร้างสรรค์ดังได้กล่าวไปในข้อ 1 เมื่อเกิดเหตุการณ์ร้อนเชิงลบ ดีกรีของความเกลียดชังก็จะชะลอตัวลงเพราะมี ข่าวที่สร้างความรู้สึกเชิงบวกเข้ามาช่วยสร้างสมดุลอยู่ก่อนแล้ว 5. เปิดพื้นที่ให้กับเสียงที่ไม่เคยได้ยิน สื่อของไทยควรเปิดพื้นที่ให้กับแหล่งข่าวที่ไม่มีสิทธิ์มีเสียงหรือมีโอกาส ในการเข้าถึงแหล่งง่ายได้งา่ ย เช่น เสียงของแรงงานพม่าและผูล้ ภี้ ยั แทบไม่เคยได้ปรากฏอยูใ่ นข่าวเมือ่ เกิดเหตุการณ์ เชิงลบเลย หรือหากพวกเขากระทำ�คุณความดี พื้นที่ข่าวก็มักไม่ต้อนรับเรื่องราวเหล่านี้  หากผู้บริหารของสื่อไทย ทุกสื่อเห็นร่วมกันว่า การลดอคติตอ่ ชาวพม่าและชนกลุม่ น้อยเป็นสิ่งทีม่ คี วามจำ�เป็นต่อการสร้างความสงบสุขให้กบั สังคมไทย รวมทัง้ เป็นสิง่ ทีพ่ งึ ปฏิบตั ติ อ่ เพือ่ นมนุษย์ การเปิดพืน้ ทีส่ อื่ ต่อเรือ่ งราวเชิงบวกหรือให้เสียงของคนเหล่านีไ้ ด้ ชี้แจงเมื่อเกิดเรื่องราวเชิงลบ อคติที่มีอยู่ก็จะค่อยๆ จางลงและแปรเปลี่ยนเป็นความเข้าใจต่อกัน กล่าวโดยสรุปแล้ว การลดอคติต่อชาวพม่าและชนกลุ่มน้อยเป็นสิ่งจำ�เป็นและเป็นไปได้ หาก สื่อมวลชนของไทยทุกสื่อร่วมมือกัน ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นคือ ความเข้าใจ เห็นอกเห็นใจ และนำ�ไปสู่การ ปฏิบัติต่อกันอย่างเสมอภาคเท่าเทียม ซึ่งจะช่วยลดความขัดแย้งและความรุนแรงระหว่างประชาชนทุก กลุ่มชาติพันธุ์ต่อไป

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

แผนภูมิตัวอย่างของการเชื่อมโยงรากเหง้าปัญหา กรณีเขื่อนสาละวิน


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

360

อคติทางชาติพันธุ์ และชาติพันธุ์ในพื้นที่เล็กๆ ของสื่อ1 ภาพันธ์ รักษ์ศรีทอง2

กรอบนำ�เสนอ 1) รัฐไทยถูกประกอบสร้างบนเงื่อนปมแห่ง ‘ความกลัว’ ซึ่งเป็นสาเหตุสำ�คัญประการหนึ่งที่นำ�ไปสู่การแบ่ง แยก เป็นอคติทางชาติพันธุ์ องค์ความรู้ถูกจัดการ ชี้นำ� และจองจำ�จากรัฐส่วนกลาง ในแง่มุมของสื่อเอง ก็ถือว่าเป็น ‘ฐานคติ’ สำ�คัญในการกำ�หนดเนื้อหากระแสหลัก 2) พื้นที่สื่อกับชาติพันธุ์ต่างๆ จากกรณี 3 จังหวัดชายแดนใต้ กรณีชาติพันธุ์มอญ - พม่า และกรณีพิพาท ปราสาทพระวิหาร 3) การช่วงชิงพื้นที่สื่อของชาติพันธุ์ สื่อทางเลือก สื่อพลเมือง ในโลกเสมือน ผ่านการถอดบทเรียน ‘ประชา ไท’ มุมมองในฐานะคนทำ�งาน มีคำ�กล่าวที่น่าสนใจประโยคหนึ่งว่า “สื่อเป็นอย่างไรก็สะท้อนสังคมที่เป็นแบบนั้น” ซึ่งอาจต้องยอมรับความ จริงต่อคำ�กล่าวนีส้ ว่ นหนึง่ โดยเฉพาะประเด็นอคติทางชาติพนั ธุค์ งไม่สามารถพูดได้วา่ เป็นอคติทสี่ อื่ สร้างขึน้ เองเท่านัน้ แต่คงต้องหมายรวมถึงอคติที่มีอยู่ร่วมกันในสังคมไทยด้วย ดังนั้น หากต้องการมองไปในการนำ�เสนอเนื้อหาของสื่อมวลชนในปัจจุบัน จึงอาจต้องย้อนไปมองถึง ‘ฐาน คติ’ อันเป็นที่มาของ ‘อคติ’ ด้วย ทั้งนี้ ทิศทางการนำ�เสนอเนื้อหาในสื่อโดยเฉพาะปัจจุบัน ปฏิเสธได้ยากว่ามีปัจจัย ผูกโยงกับเงื่อนไขทางธุรกิจที่ทำ�ให้ไม่สามารถมีอิสระจริงตามอุดมคติที่เคยถูกสร้างขึ้น จนสังคมเข้าใจว่าสื่อมีเสรีแท้ แต่การซื้อโฆษณาในพื้นที่สื่อก็ขึ้นอยู่กับผู้บริโภค ความยอกย้อนที่กลายเป็นความจริงแท้แน่นอนก็คือ ปัจจัยสำ�คัญ ในการกำ�หนดทิศทางของสื่อมวลชนกลับเป็นผู้บริโภค สื่อที่ผลิตเนื้อหาออกมาไม่ถูกรสย่อมถูกคายทิ้งเพราะระคาย ปากและจะล้มหายตายจากไป  อย่างไรก็ตาม ในเจตนารมณ์แห่งเสรีภาพ สื่อยังเหลืออำ�นาจในการกำ�หนดทิศทาง อยู่บ้างอย่างอำ�นาจในการตัดสินใจของกองบรรณาธิการเองที่เลือกว่าจะปฏิเสธการตลาดหรืออำ�นาจอิทธิพลอื่น มากน้อยเพียงใด

มอง ‘สื่อรุ่นก่อน’ ผ่านหนังสือรุ่นเก๋า ‘ฐานคติ’ ของสื่อหรือของสังคมไทยมีลักษณะที่สำ�คัญประการหนึ่ง คือ ‘ความเป็นไทย’ ที่ถูกประกอบสร้าง มาภายใต้บรรยากาศแห่งความกลัว เป็นสิ่งสำ�คัญในการสร้างอคติในพื้นที่สื่อ เพราะแม้ส่วนหนึ่งสื่อจะมีเจตจำ�นง แห่งเสรีภาพในการตัดสินใจก็ตามแต่เมื่อ ‘ฐานคติ’ เป็นสิ่งที่หล่อหลอมตัวตนของสื่อ เนื้อหาที่นำ�เสนอก็เหมือนถูก กำ�หนดโดยปากกาที่มองไม่เห็นไปเสียแล้ว หนังสือ ‘เมดอิน USA’ และ ‘โง่เง่าเต่าตุ่น’ ของ ‘สุจิตต์ วงษ์เทศ’ ในปี พ.ศ. 2514 เป็นหนังสือเก่าเล่มหนึ่ง ที่เนื้อหาบางตอนสะท้อนบรรยากาศรอบๆ ตัวตนของสื่อมวลชนในอดีตซึ่งสามารถฉายภาพที่เชื่อมโยงมาสู่ปัจจุบัน ได้ดี เหตุที่เลือกหนังสือเล่มนี้มาเป็นเสมือนกระจกส่องสื่อมวลชนในอดีตเพราะหนังสือเล่มดังกล่าวเขียนขึ้น ในแง่ที่ สุจิตต์ วงษ์เทศเองก็คล้ายยอมรับว่าเป็นหนึ่งในสื่อมวลชนที่โดนครอบงำ�ด้วย ‘ความเป็นไทย’ อย่างโง่เง่า บรรยาย 1 การอ้างอิงบทความนี้ควรได้รับอนุญาตจากเจ้าของบทความ 2 ผู้สื่อข่าวประชาไท


361

นอกจากนี้ ‘สุจิตต์ วงษ์เทศ’ ยังเป็น ‘นักชาตินิยม’ ตัวยงที่สะท้อนตัวตนผ่านงานเขียนก่อนหน้านี้มาอย่าง ‘ขุนเดช’ ที่ดุดันกับคนทำ�ลายกับซากสุโขทัยราวกับว่าศิลาแลงและลายสือไทและความรักพ่อขุนมันวิ่งพล่านอยู่ใน กระแสโลหิตของเขา แต่ ‘สุจิตต์ วงษ์เทศ’ ใน ‘เมดอิน USA’ กลับมองโลกที่ต่าง กว้างและขยายออกไปอย่างสิ้นเชิง ประเด็นสำ�คัญของหนังสือเล่มนี้ยังอยู่ที่โอกาสการมองเห็นประเทศไทยในมุมมองจากโลกภายนอก ซึ่งก็เป็น ไปตามชื่อหนังสือ ‘สุจิตต์ วงษ์เทศ’ เขียนหนังสือเล่มนี้ในโอกาสได้เดินทางไปอเมริกา สิ่งที่น่าสนใจ คือ หนังสือ ‘เมดอิน USA’ ได้กลับมาเป็นกระจกที่สะท้อนบางด้านของสังคมไทยอย่างมีเหลี่ยมมุมคมคาย แต่ก็ชัดเจนว่ามีอะไร บ้างอยู่ในหัวคนไทย สื่อมวลชนไทย และเมื่อสื่อมวลชนไทยยุคเก่าออกไปสัมผัสโลกข้างนอกแล้วเหลียวกลับมา มองประเทศไทย เขาสงสัยอะไรจาก ‘ข้างใน’...เหล่านี้เปิดเผยบรรยากาศแห่งความกลัวและการครอบงำ�เพื่อสร้าง ‘ฐานคติ’ ให้สังคมไทยทั้งสิ้น เนื้อที่ยกมานี้ตรงกับวันที่ 14 กรกฎาคม 2514 ประธานาธิบดี ริชาร์ด นิกสัน ออกแถลงการณ์ผ่านสถานี วิทยุทั่วประเทศว่าจะเดินทางไปเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีน สิ่งที่ต้องทำ�ความเข้าใจภาพรวมของสังคมโลกช่วงนี้ คือ อเมริกาเป็นหัวขบวนใหญ่ของการต่อต้านคอมมิวนิสต์ ซึ่งหมายความว่าจีนในขณะนั้นคือคู่ขัดแย้งสำ�คัญที่อาจ เปรียบเทียบได้กับโลกอาหรับหรือกลุ่มอัลกออิดะห์ในยุคปัจจุบัน ในขณะที่ไทยประเทศไทยก็สมาทานแนวทางของ อเมริกาเข้าไปอย่างเต็มตัว “สำ�หรับของกูนั้นงงงวยยิ่งขึ้น อะไรคือความเปลี่ยนแปลง อะไรคือความคล่องตัว อะไรกันคือประเทศ มหาอำ�นาจ ชีวติ หนึง่ ทีเ่ กิดมานัน้ พอลืมตาอ้าปากก็พบแต่ค�ำ ว่า ‘คอมมิวนิสต์’ คิดร้ายหมายทำ�ลายประเทศ คอมมิวนิสต์คือปีศาจ กูเข้าใจดีและรู้เรื่องดีว่าเราจะต้องสู้ ต่อสู้เพื่อไม่ให้คอมมิวนิสต์เข้าเมืองเราได้ เมา เซตุงตัวอ้วนๆ ขาวๆ และจูเอนไหลตัวผอมๆ เสี้ยวๆ สองคนนี้แหล่ะคือตัวการสำ�คัญที่จะต้องเพ่งมองและหาทาง กำ�จัดเสียออกจากโลก ตัง้ แต่เกิดมาจนบัดนี้ กูได้แต่ตงั้ ปัญหาว่าทำ�ไมคอมมิวนิสต์มนั จึงไม่ตายไปเสียทีเพราะได้ยนิ ชือ่ เสียงเรียงนาม ของมันตลอดเวลา ดูเหมือนว่าสายตาของมันจ้องมองมาที่เมืองไทยทุกระยะ ปากของมันแสยะแยกเขี้ยว ยิงฟันอย่างมังกรตัวมหึมา ที่จะกลืนแผ่นดินไทยรูปขวานทองด้ามใหม่เอี่ยมนี้เสียให้หมด...” คำ�ว่า ‘คอมมิวนิสต์’ อาจดูไม่ค่อยมีผลกระทบอะไรมากนักสำ�หรับยุคปัจจุบัน ไม่ใช่เรื่องแปลกที่วัยรุ่นจะ สวมหมวกเขียวดาวแดงอันเป็นสัญลักษณ์แทนคอมมิวนิสต์ ขณะเดียวกันก็ดูจะกลายเป็นเพียงแฟชั่นแบบหนึ่ง แต่ ในอดีตคำ�นี้ดูจะมีอิทธิพลทางความรู้สึกและความคิดไม่น้อย ซึ่งสุจิตต์คงไม่ใช่สื่อมวลชนเพียงคนเดียวที่วางตัวเป็น ฝั่งตรงข้าม หรือก่อนหน้านี้ในหนังสืออ่านสนุกอย่าง ‘พล นิกร กิมหงวน’ ของ ป. อินทรปาลิต ที่มีอิทธิพลไม่น้อย ต่อนักอ่านและมีแฟนอ่านมาจนถึงปัจจุบันก็มี หลายครั้งที่เอ่ยถึงนโยบายนิยมไทยของหลวงวิจิตรวาทการฯ และชู อุดมการณ์ต่อต้านคอมมิวนิสต์ แต่ขณะเดียวกันตัวละครเชยๆ อย่าง ‘คุณหญิงวาด’ ก็อาจเป็นภาพตัวแทนของคน ทั่วไปในเวลานั้นที่แม้จะดูแข็งขันอย่างมากกับการต่อต้านและมักชวนลูกหลานให้ออกมาแสดงออกแต่เมื่อถามว่า ‘คอมมิวนิสต์’ คืออะไร ก็ไม่สามารถอธิบายได้ มีเพียงคำ�อธิบายที่รับรู้จากรัฐบาลเท่านั้นที่บอกว่ามันคือสิ่งเลวร้าย คือภัยคุกคามอันหน้ากลัวทีต่ อ้ งต่อต้านอย่างไม่ตอ้ งมีเหตุผลประกอบเท่านัน้ เอง เช่นเดียวกับความรูส้ กึ ของสือ่ มวลชน ในยุคหลังอย่าง สุจิตต์ วงษ์เทศ เมื่อเขาบรรยายเพิ่มเติมในหนังสือของเขาว่า “...กูเกลียดนักการเมืองฝ่ายซ้ายเพราะใครต่อใครพูดกันว่าฝ่ายซ้ายคือคอมมิวนิสต์......สงคราม เวียดนามระบาดออกเป็นวงกว้าง ผู้คนล้มหายตายกว่าเป็นเบือ กูด่าทอคอมมิวนิสต์อยู่ในใจด้วยความเคียดแค้น ที่ทำ�ให้ผู้คนล้มตายถึงขนาดนั้น ทำ�ไมคอมมิวนิสต์ถึงกระหายเลือดปานนั้นหนอ หัวใจของคอมมิวนิสต์สร้างด้วย

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

อารมณ์ความรูส้ กึ ทีก่ ะเทาะเปลือกและมีอารมณ์ของความขัดแย้ง ตะเกียกตะกายออกจากด่านมายาคติบางประการ รวมไปถึงการตั้งคำ�ถามกับสิ่งที่เห็นและเป็นไปรอบตัว


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

362

อะไร มันไม่มีเลือดเนื้อ มันไม่มีหัวใจกระนั้นหรอ มนุษยชาติจะสงบสุขถ้าหากคอมมิวนิสต์ไม่มีในโลก ผู้คนจะอยู่ อย่างสันติ ถ้าหากนายเมาเซตุง นายจูเอนไหล นายครุสเซฟตายไปเสียได้ ทำ�ไมคนส่วนหนึ่งของโลกจึงหลงไหลอยู่ กับปีศาจคอมมิวนิสต์เหล่านีไ้ ด้ ผูค้ นเหล่านีโ้ ฉดชัว่ ช้าหินชาติหรือกระไร ทำ�ไมมนุษย์เราจึงจะต้องไปเป็นคอมมิวนิสต์ ทำ�ไมนายปรีดี พนมยงค์ จึงจะต้องเป็นคอมมิวนิสต์ ทำ�ไม ทำ�ไม และทำ�ไมกันโว้ย – ทำ�ไมกันโว้ย ทำ�ไมไม่มี ใครตอบกูบ้าง ” หรืออีกตอนหนึ่งที่เขาคิด....“รู้สึกหนาวๆ ร้อนๆ เหมือนจะจับไข้เข้ามาครอบครองหัวใจกู นี่กูไม่รู้เรื่องอะไร เลยหรือนี่ อเมริกาเป็นไปถึงขนาดนี้หรือนี่ คิดถึงบ้านเหลือเกิน ป่านฉะนี้เราจะเป็นอย่างไร ภัยจากคอมมิวนิสต์จะ คืบคลานมาถึงขนาดไหน ถ้าหากอเมริกาคืนดีกับจีนแดงได้อย่างนี้แล้ว บ้านเราจะทำ�อะไรต่อไป ชีวิตไพร่ ฟ้าประชาชนพลเมืองจะทำ�อย่างไร ความรู้สึกที่เคยเกลียดเคยกลัวคอมมิวนิสต์จะเปลี่ยนไปเป็นอย่างไร ข้อสำ�คัญคือตัวกูจะเชื่อใครดี ” แต่สิ่งหนึ่งที่ ‘Made in USA’ และ ‘โง่เง่าเต่าตุ่น’ ได้ทะลวงม่านมายาของอคติออกมาบ้าง ก็คือการเปิดพื้นที่ ให้กับเสียงของ ‘ถั่น’ ผู้หญิงชาวเวียดนามใต้ที่มาเรียนรัฐศาสตร์ปริญญาเอกในอเมริกา ‘คอมมิวนิสต์’ ที่เคยน่า เกลียดน่ากลัวกลับมีภาพที่สวนกับสิ่งที่สุจิตต์หรือสังคมไทยคิด ในขณะเดียวกันสำ�หรับอเมริกาที่เคยมีภาพลักษณ์ เสมือนมิตรกลับถูกมองอย่างแตกต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง “เราไม่รจู้ กั คอมมิวนิสต์ เราไม่มคี วามรูส้ กึ ชิงชังหรือรักชอบประชาธิปไตย แต่ชาติตะวันตกและมหาอำ�นาจไม่ เคยให้เราจัดการเรือ่ งราวภายในประเทศของเราเองเลย ทำ�ไมเขาต้องคอยบงการให้เราเป็นอย่างนัน้ ให้เราเป็นอย่าง นี้ โฮจิมินห์เดินทางมาขอความเห็นใจจากชาติตะวันตก ในสมัยหลังสงครามโลก แต่ชาติตะวันตกเหล่านั้นไม่ยอมที่ จะเข้าใจและเห็นใจในเสรีภาพของเวียดนาม ชาติตะวันตกรับรองเสรีภาพของประเทศเล็กๆ ทางตะวันตก ซึ่งเป็นคน ผิวขาวได้ แต่ประเทศเล็กๆ อย่างเวียดนามซึ่งเป็นคนผิวเหลืองไม่มีใครสนใจ และโฮจิมินห์ผิดหวังจากการพยายาม จะเจรจา ไม่มีทางเลือกโฮจิมินห์จำ�เป็นต้องเข้าปรึกษาทางฝ่ายเมาเซตุงซึ่งพอจะพูดจากันได้ ..คอมมิวนิสต์หรือไม่เป็นคอมมิวนิสต์ ไม่ได้เป็นปัญหาสำ�คัญสำ�หรับเรา ปัญหาอยู่ตรงที่ว่าเรา จะทำ�อย่างไรให้ประชาชนอยู่ดีกินดี มีเสรีภาพที่จะแก้ปัญหาภายในชาติของเราเอง การลงนามในสนธิ สัญญาเจนีวาเพือ่ ให้จดั การเลือกตัง้ ทัว่ ประเทศนัน้ พอจะมีแสงสว่างทีช่ าติเราจะทำ�อะไรด้วยตัวเองบ้าง แต่ มหาอำ�นาจอเมริกาก็พยายามหลีกเลี่ยงและบิดเบือนข้อเท็จจริงในที่สุด อเมริกาคํ้าประกันรัฐบาลของ โงดินเงียมห์ พยายามทุกวิถีทางไม่ให้มีการเลือกตั้งทั่วเพราะความจริงประจักษ์ออกมาว่าคนเวียดนาม ส่วนมากเลื่อมใสโฮจิมินห์” “..สงครามก็ ข ยายตั ว มากขึ้ น อเมริ ก าบอมบ์ เ วี ย ดนามเหนื อ ด้ ว ยอารมณ์ อั น ป่ า เถื่ อ นและใช้ เล่ห์เหลี่ยมหลอกลวงโลกในสมัยหลัง ถ้าหากเป็นประเทศไทยคุณจะคิดอย่างไร คุณจะทนอยู่ได้อย่างไร คุณไม่สามารถเลือกทางของคุณได้เลย ทุกฝีก้าวของคุณจะมีคนคอยบงการอยู่เบื้องหลัง และในที่สุดคน ที่บงการคุณอยู่นั้นก็บงการคุณต่อไปให้คุณฆ่ากันเอง...ฉันได้ยินแต่เสียงปืน ระเบิด เครื่องบิน และเสียงครวญ ครางของผู้คน เสียงขอความช่วยเหลือของชาวนา เสียงระงมของเด็กเล็กๆ ที่ถูกสะเก็ดระเบิด บางครั้งฉันอยากจะ บ้า แต่ฉนั พยายามระงับไว้วา่ จะบ้าไม่ได้ คนเวียดนามทุกคนจะบ้าไม่ได้” ถัน่ กล่าว พร้อมนํา้ ตาทีไ่ หลมาเป็นทางยาว สงครามในเวียดนามจบไปหลายปีแล้ว...แต่ความกลัวภัยคอมมิวนิสต์ ครั้งหนึ่งได้ก่อให้เกิดกระแสเกลียดชัง ‘คนญวน’ ในเวลานั้นเสียงของคนอย่าง ‘ถั่น’ คงไม่สามารถเข้าไปทำ�ความเข้าใจกับคนไทยได้เท่าไรนัก


363

หากลองมองภาพรวมของอคติสังคมไทยในมิติทั้งปัจจัยผู้บริโภคสื่อ (ข่าว) และผู้ผลิตในปัจจุบันแล้ว เมื่อ มองจากประสบการณ์ของผู้เขียนและคนในรุ่นราวคราวเดียวกันซึ่งอยู่ในช่วงอายุราว 25 ปีขึ้นไป และปัจจัยในส่วน บรรณาธิการทีม่ อี ำ�นาจในการตัดสินใจในทิศทางข่าวซึง่ น่าจะอยูใ่ นช่วงอายุราว 40 ปีขนึ้ ไป จะพบว่าคนในทัง้ สองยุค สมัยมีประสบการณ์รว่ มบางประการทีส่ ำ�คัญ นัน่ ก็คอื การตกค้างทางความคิดจากยุคสงครามเย็นทีเ่ น้นเชิดชู ‘(เชือ้ ) ชาติ (ไทย) ศาสนา (พุทธ) และพระมหากษัตริย์’ เพื่อต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ ภายใต้ความกลัว การสร้างประกอบอุดมการณ์ความเป็นไทยที่มุ่งเน้นไปที่เชื้อชาติ ศาสนาประจำ�ชาติ และ พระมหากษัตริย์ จึงมุง่ ไปทีก่ ารสร้างจินตนาการผ่านความรูซ้ งึ่ กำ�หนดทิศทางมาจากรัฐอย่างมีแบบแผน คนรุน่ ผูเ้ ขียน กับคนรุ่น ‘สุจิตต์ วงษ์เทศ’ หรือก่อนหน้านั้นที่มีอายุห่างกันนับสิบปียังคงเรียนประวัติศาสตร์ที่เหมือนไม่มีข้อค้นพบ ใหม่ คนไทยยังคงมาจากเขาอัลไต เป็นเจ้าของน่านเจ้า โดนจีนไล่มาตั้งสุโขทัย อยุธยา มาจนรัตนโกสินทร์ ไทยไม่ เคยเป็นเมืองขึ้นเพราะเป็นชาตินักรบ (แต่เสียกรุงฯ 2 ครั้ง) หรือใช้แบบเรียน ‘แผนที่’ ที่ต้องปวดร้าวกับดินแดนอัน มหาศาลทีโ่ ดนเฉือนไปเรือ่ ยๆ จนเหลือขวานทองเล่มนิดเดียว แต่ไม่เคยเรียนรูแ้ ผนทีท่ างวัฒนธรรมทีอ่ ย่างน้อยแต่ละ ลุ่มนํ้าต่างๆ ก็มีขนบธรรมเนียม วัฒนธรรมหรือภาษาแตกต่างกันไป

ถอดราก.. ‘ความเป็นไทย’ สังคมไทยยังคงมีลกั ษณะเฉพาะอยูเ่ สมอ บางทีการสร้างบรรยากาศของความกลัวอาจทำ�ให้สถานการณ์ตา่ ง กรรมต่างวาระมีจุดลงเอยคล้ายๆ กัน สุจิตต์ วงษ์เทศ เหมือนจะตั้งข้อสังเกตในหนังสือของเขาว่าการเปลี่ยนแปลง ท่าทีของสหรัฐที่มีต่อจีนมีผลต่อชนชั้นนำ�ไทย สิ่งที่ตามมาหลังจากกระแสการเปลี่ยนท่าทีของนิกสันก็คือการปฏิวัติ รัฐประหารอีกครั้งหนึ่งในประเทศไทย ทำ�ไมสังคมไทยจึงได้ตกอยู่ภายใต้ความกลัวและ ‘ความเป็นไทย’ สร้างขึ้น มาได้อย่างไร สังคมไทยและสังคมสือ่ ช่วงเวลาหนึง่ อาจพูดได้วา่ เป็นยุคของเผด็จการทหารทีส่ บื เนือ่ งกันมาจากสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม,จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัตน์, และจอมพลถนอม กิตติขจร ดังนั้น หากจะถอดรากของผู้คนและ ‘ความ เป็นไทย’ คงต้องมองย้อนไปถึงแนวทางของกลุ่มทหารตั้งแต่หลังการอภิวัฒน์ พ.ศ. 2475 สิ่งที่กำ�หนด ‘ฐานคติ’ ของ สังคมไทยหลัง พ.ศ. 2475 ที่สำ�คัญอาจเป็นผลมาจาก ‘การปฏิวัติทางวัฒนธรรม’ เพื่อนำ�ไปสู่ ‘ชาตินิยมไทย’ หรือที่ หลวงวิจิตรวาทการฯ ปัญญาชนคนสำ�คัญยุคคณะราษฎร์เรียกว่า ‘มนุสสปฏิวัติ’ ซึ่งเป็นอุดมการณ์ที่ถูกนำ�มาใช้ใน การสร้างฐานอำ�นาจให้แก่กลุ่มผู้ปกครองใหม่หลังการยึดอำ�นาจจากฝ่ายสมบูรณาญาสิทธิราชย์ได้สำ�เร็จ ซึ่งได้นำ� กุศโลบาย ‘ราชาชาตินยิ ม’ ในสมัยรัชกาลที่ 5-6 ทีเ่ คยใช้อย่างได้ผลเมือ่ ต้องการรวมอำ�นาจมาไว้ทศี่ นู ย์กลางมาต่อยอด และเครือ่ งมือสำ�คัญในการสร้างความรูส้ กึ รวมศูนย์กค็ อื การสร้าง ‘คนอืน่ ’ ขึน้ มาให้ได้เกลียดร่วมกัน อย่างไรก็ตาม ผู้ ปกครองสายคณะราษฎร์ได้ตัด ‘ราชา’ ออกจาก ‘ชาตินิยมไทย’ และนำ� ‘รัฐธรรมนูญ’ มาแทนที่ในการจัดวางระบบ ระเบียบของสังคม และหลวงวิจิตรวาทการมีบทบาทอย่างยิ่งในกระบวนการดังกล่าวโดยเฉพาะหลังทศวรรษที่ 2480 มีการนิยามความหมายของ ‘ความเป็นไทย’ โดยการเน้นไปที่ ‘จิตใจ’ ที่รักความก้าวหน้า มีความมุ่งมั่นที่จะ ต่อสู้ มีความอุตสาหะ ขยันหมัน่ เพียรในการทำ�งาน และนิยมการค้าขาย และบอกว่าอุปนิสยั เหล่านีจ้ ะทำ�ให้ ‘คนไทย’ ทัง้ ปวงร่วมกันสร้าง ‘ชาติไทย’ ให้เจริญรุง่ เรืองและกลายเป็น ‘มหาอำ�นาจ’ ได้ในทีส่ ดุ ‘ความเป็นไทย’ ในความหมาย ใหม่เช่นนี้ รวมทั้งนโยบายรัฐนิยมที่กำ�หนดบทบาทหน้าที่พลเมืองเป็นกระแสที่สร้างความเปลี่ยนแปลงในสังคมไทย ได้พอสมควร หากเคยดูภาพยนตร์เรื่อง ‘โหมโรง’ อาจจะพอนึกบรรยากาศ ‘ความเป็นไทย’ ในแบบยุคจอมพล ป. พิบลู สงครามออก แม้แต่การกินหมากหรือการเล่นดนตรีไทยทีต่ อ้ งนัง่ เล่นกับพืน้ ก็ยงั กลายเป็นสิง่ ต้องห้ามเลยทีเดียว

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

ความต่อเนื่องของความกลัว


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

364

แม้ว่าภายหลังจาก พ.ศ. 2490 ที่จอมพล ป. พิบูลย์สงคราม เสื่อมอำ �นาจลงพร้อมๆ กับการพ่ายแพ้ สงครามโลกของญี่ปุ่นและการเป็นพันธมิตรของไทย แต่ไทยก็ต้องเผชิญหน้ากับสงครามเย็น บรรดาชนชั้นนำ�ไทย กลัวภัยคอมมิวนิสต์กันอย่างจริงจัง ‘ความเป็นไทย’ ยังคงถูกนำ�มาใช้สืบเนื่องต่อมาแต่เพิ่มการกลับไปผูกโยงกับ ‘ราชา’ (อีกครั้ง) หลังจากหมดบทบาทไปมากหลัง พ.ศ. 2475 รวมไปถึงได้ผูกโยงไปกับ ‘พุทธศาสนา’ ที่แน่นแฟ้น ขึ้นในกระบวนการต่อต้านคอมมิวนิสต์ ช่วงเวลาเหล่านี้จึงเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำ�คัญของอุดมการณ์ (เชื้อ)ชาติ(ไทย) ศาสนา(พุทธ) และพระมหากษัตริย์ที่เติบโตขึ้นเป็นหน่อเนื้อเดียวกัน แต่ขณะเดียวกัน ‘ความเป็นคนอื่น’ ก็ได้เกิด ขึ้นอย่างมโหฬารและขยายวงกว้างไปหลายพื้นที่ ‘อคติ’ ถูกผลิตซํ้าและชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ ถ่ายทอดส่งต่อกันมาจนถึง ปัจจุบันและกลายเป็นปัญหาสำ�คัญที่ต้องมาพูดกันอยู่นี้เอง การผลิตซํ้า ‘ความเป็นไทย’ นอกจากเกิดในสื่อที่อาจทำ�ไปโดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวแล้ว ผู้มีบทบาทสำ�คัญก็คือ เหล่าปัญญาชนสาธารณะหลายคน ตำ�ราเรียน หรือแม้แต่นิทานสำ�หรับเด็ก ส่วนสังคมดั้งเดิมหรือ ‘สังคมสยาม’ ที่ ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์อุษาคเนย์พยายามรณรงค์ว่า “ประเทศของเรารวมเลือด เนื้อชาติเชื้อไทย/ไท ลาว คนเมือง คนอีสาน คนมอญ เขมร กูย แต้จิ๋ว แคะ กวางตุ้ง ฮกเกี้ยน ไหหลำ� จาม ชวา มลายู ซาไก มอแกน ทมิฬ ปาทาน ซิกข์ เปอร์เซีย อาหรับ ฮ่อ พวน ไทดำ� ผู้ไท ขึน ยอง เวียด ลัวะ ม้ง เย้า กะเหรี่ยง ปะหล่อง มูเซอ อะข่า กำ�มุ มลาบลี ชอง ญัฮกุร ฝรั่ง (ชาติต่างๆ ) แขก (ชาติต่างๆ ) ลูกผสม ลูกครึ่งต่างๆ อีกมากมายกว่า 50 ชาติพันธุ์ ฯลฯ ” ก็ถูกกันออกไปโดยอัตโนมัติ เมื่อธรรมชาติของสังคมถูกหล่อหลอมไปด้วย ‘ความเป็นไทย’ ลักษณะนี้มานาน รสนิยม การให้คุณค่าต่อทั้ง การสื่อและการเสพจึงไปในทิศทางทางเดียวกัน หรือ DEMAND กับ SUPPLY มาทางเดียวกัน ‘ความเป็นอื่น’ ถูกลด คุณค่าและ ‘ขายยาก’ เหมือนกับแคมเปญข้างต้นของ ดร.ชาญวิทย์ ที่ไม่ค่อยจะมีใครซื้อนัก อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลาสั้นๆ ของประวัติศาสตร์ สังคมไม่ได้ถูกครอบงำ�ด้วยวิธีคิดแบบเดียวกันหมดไป เสียทีเดียว แต่มีช่วงเวลาของการโต้แย้งสวนกระแสออกมาอยู่ในที โดยเฉพาะปัจจัยแนวคิดแบบสังคมนิยมหรือ ‘คอมมิวนิสต์’ ที่เกรงกลัวกันมากมายนั่นเองที่ทำ�ให้ความรู้ในสังคมไทยได้มีโอกาสได้แตกยอดหรือเคลื่อนตัวจาก ความหยุดนิ่ง อย่างหนังสือหลายเล่มของ ‘จิตร ภูมิศักดิ์’ ที่ได้ท้าทายการบอกเล่าประวัติศาสตร์แบบชนชั้นหรือแบบ ศูนย์กลางประวัติศาสตร์อยู่ที่รัฐ และเป็นที่ยอมรับอย่างโดดเด่นหลังปรากฏตัวออกมาระยะหนึ่ง เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 เองก็เป็นตัวแปรสำ�คัญที่ทำ�ให้สังคมไทยเปิดตัวและค่อนข้างมีเสรีภาพมากขึ้น ในหลายๆ ด้าน ‘ความเป็นไทย’ ถูกตั้งคำ�ถาม มีการยกหลักฐานและตีความประวัติศาสตร์ใหม่ อุดมการณ์แบบ สังคมนิยมกระจายตัวจนสามารถมีพรรคการเมืองได้ ทว่าเวลาแบบนั้นมีในสังคมไทยได้ไม่นานนัก พลังฝ่ายอนุรักษ์ นิยมพยายามช่วงชิงชัยชนะกลับคืนไปทุกวิถที าง แม้ตอ้ งใช้ความป่าเถือ่ นอย่างไร้อารยะก็ตาม แท่นพิมพ์แห่งเสรีภาพ หลายแห่งถูกปิด หนังสือหลายเล่มกลายเป็นหนังสือต้องห้าม ความรู้ก็ถูกจองจำ� ‘ความเป็นไทย’ กระแสหลักถูก นำ�มาใช้อย่างแข็งขันอย่างที่สุดและเป็นไปในลักษณะของการปราบปราม จนกระทั่งเกิดกรณี 6 ตุลาคม 2519 ขึ้น ความอึมครึมจึงเหมือนสถาปนาตัวอย่างถาวรในสังคมไทยตลอดมา อุดมการณ์(เชื้อ)ชาติ(ไทย) ศาสนา(พุทธ) และ พระมหากษัตริย์ ก็กลายเป็นคำ�ตอบสำ�เร็จของทุกอย่างในสังคมไทยและสังคมสื่อมวลชน

‘ความเป็นไทย’ กับที่ทาง ‘ชาติพันธุ์’ ในพื้นที่สื่อ อย่างไรก็ตาม คงต้องแก้ต่างแทนสื่อมวลชนเหมือนกันว่า การที่เรื่องราวของกลุ่มชาติพันธุ์ไม่ค่อยได้ปรากฏ ในพื้นที่สื่ออาจไม่ใช่เรื่องของ ‘ความเป็นไทย’ เสมอไป สื่อเองอาจจะไม่ได้มีเจตนาไม่เสนอเพียงเพราะมองว่าเป็น เรือ่ งชายขอบทีถ่ กู วางคุณค่าให้นอ้ ย แต่สอื่ เองก็มบี ริบทในการนำ�เสนอเนือ้ หาอยูด่ ว้ ย ไม่วา่ จะเป็นประเด็นในกระแส หรือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นวันต่อวัน ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาการเมือง ปัญหาระหว่างประเทศ เพียงเท่านี้เรื่องราว ของกลุ่มชาติพันธุ์ก็ยากจะปรากฏตัวบนพื้นที่สื่อแล้ว เช่นก่อนหน้านี้ในขณะที่สังคมกำ�ลังตึงเครียดเรื่องเหลืองแดง


365

ในแง่การส่งผ่าน ‘ฐานคติ’ หรือผลิตซํ้า ‘ความเป็นไทย’ ที่เหมือนไม่มีอะไรแต่กลับทรงพลังและซึมลึกกว่า หนังสือหรือเพลงปลุกใจอาจเป็นสื่อแบบบันเทิงก็ได้ เพราะหลังชมหนังเรื่องบางระจันจบหลายคนคงยากปฏิเสธว่า อยากลุกออกไปหาควายขีร่ บพม่า แต่สงิ่ ทีซ่ อ่ นอยูก่ ค็ อื การสือ่ ความหมายว่า ผูค้ นในรัฐทางตะวันตกของไทยไม่วา่ รัฐ ใดก็ถูกมองเป็นศัตรูไปหมด ซึ่งมันควรเป็นเพียงอารมณ์หลังดูหนังละครเท่านั้นหรือไม่ เพราะมันคงเป็นเรื่องน่าเศร้า ทีเ่ ราเกลียดพม่าจากประวัตศิ าสตร์ทสี่ ร้างขึน้ มากกว่าการรังเกียจสิง่ ทีร่ ฐั บาลของนายพลตาน ฉ่วย ในปัจจุบนั กระทำ� กับคนพม่าและชาติพนั ธุใ์ นพม่า มันจะน่าเศร้าสักเพียงใดยิง่ เมือ่ รับรูเ้ รือ่ งราวการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนมากมายของ คนในฝัง่ เพือ่ นบ้านแล้วกลับยิง่ รูส้ กึ สาสมใจเพียงเพราะวาทกรรม ‘ศัตรู’ ทีถ่ กู หล่อหลอมขึน้ โดยไม่ท�ำ ความเข้าใจมิติ และบริบททีแ่ ตกต่างกันระหว่างสังคมปัจจุบนั กับอดีต ความเกลียดแบบเดียวกันนีค้ งเหมือนกับทีเ่ คยถูกทำ�ให้เกลียด ‘ญวน’ ด้วยการตราประทับคำ�ว่า ‘คอมมิวนิสต์’ ให้ แต่อย่าลืมว่าหากเราเงีย่ หูฟงั เสียงอืน่ หรือเปิดโอกาสให้เสียงจาก คนเล็กๆ อย่าง ‘ถัน่ ’ ได้พดู ให้มากขึน้ บางทีเราอาจจะรู้ เห็นหรือรูส้ กึ อะไรต่อสิง่ ทีป่ กปิดไว้เบือ้ งหลังมากกว่านีก้ เ็ ป็นได้ กรณีพม่ากับไทย เมื่อต้นปี 2551 มีประเด็นแรงงานข้ามชาติที่จังหวัดสมุทรสาครเป็นประเด็นร้อนขึ้นมาจาก การนำ�เสนอข่าวโดยหนังสือพิมพ์ฉบับหนึง่ ทีร่ ะบุวา่ ‘แรงงานพม่ายึดมหาชัย’ ประเด็นก็คอื เพียงเพราะมีคำ�ว่า ‘พม่า’ พ่วงท้ายเท่านั้น มันก็สร้างอารมณ์ของการเสียดินแดนไปแล้ว แต่ในข่าวๆ เดียวกันนี้ยังมีมิติอื่นๆ ที่ต้องทำ�ความ เข้าใจอีก ส่วนหนึ่งคือปัจจัยภายในของประเทศไทยเองที่กำ�ลังเติบโตทางเศรษฐกิจและต้องการแรงงานราคาถูกมา ขับเคลื่อนโดยเฉพาะในภาคประมง ขณะที่คนไทยหรือแรงงานไทยไม่อยากทำ�งานราคาถูกแบบนี้แล้ว นอกจากนี้ ยังมีมติ ทิ างชาติพนั ธุท์ ตี่ คี วามโดยไม่ได้แยก ‘ความเป็นมอญ’ ออกจาก ‘ความเป็นพม่า’ ซึง่ มหาชัย หรือสมุทรสาครเป็น ‘ชุมชนมอญ’ ที่อยู่อาศัยกันมานานไม่ตํ่ากว่าร้อยปี ปัจจุบันแม้คนมอญจะไม่มีประเทศเป็นของ ตัวเอง แต่ความเป็นมอญก็ยังคงอยู่และแสดงออกผ่านงานรำ�ลึกถึงบรรพบุรุษที่มีทุกปี แต่น่าขันเป็นอย่างยิ่งเมื่อมี ข่าวว่าแรงงานพม่ายึดมหาชัย งานรำ�ลึกบรรพบุรุษที่เป็นงานวัฒนธรรมก็กลายเป็นประเด็นความมั่นคงขึ้นมาทันที “วันชาติมอญไม่ใช่การเรียกร้องทางการเมือง การทหาร หรือการจับอาวุธ แต่สิ่งที่แสดงออกคือชาติกำ�เนิด ที่ต้องรักษา นั่นคือ ภาษา วัฒนธรรมและประเพณี การเป็นแรงงานข้ามชาติและจัดงานแบบนี้ขึ้นก็เพื่อยํ้าเตือน ว่า เขาคือมอญ แต่การจะเกิดงานวันชาติมอญขึ้นได้นั้นต้องสัมพันธ์กับพื้นที่ด้วย ซึ่งคนในพื้นที่มหาชัยคือคนไทย เชื้อสายมอญมาช่วยให้เกิดวันชาติเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้บรรพบุรุษ” สุกัญญา เบาเนิด นักวิจัยเรื่องแรงงานข้ามชาติ จ.สมุทรสาคร ได้อธิบายให้เห็นภาพทางวัฒนธรรมในพื้นที่ได้ชัดเจนขึ้น เธอยังกล่าวถึงอคติทซี่ อ่ นอยูใ่ นสังคมไทยอีกว่า ‘กลุม่ ชาติพนั ธุม์ อญ’ ทีม่ าจากประเทศพม่าจะถูกบอกว่าเป็น คนพม่าทั้งหมด แต่แท้จริงแล้วในมหาชัยมีคนมอญมากถึง 70% โดยยังมีสิ่งที่แสดงออกถึงความเป็นมอญที่ปรากฏ ได้แก่ การใช้ภาษามอญในการสื่อสาร ประเพณีและการจัดวันชาติมอญ และจะใช้คำ�ว่า ‘วันรำ�ลึกบรรพบุรุษมอญ’ ในการจัดงานทางวัฒนธรรมเพื่อรำ�ลึกถึงวันตั้งกรุงหงสาวดี นอกจากนี้ เมื่อได้สัมภาษณ์พระครูปลัดโนราอภิวโร เจ้าอาวาสวัดศิริมงคล ตำ�บลบ้านเกาะ อำ�เภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งเป็นวัดที่ปรากฏเป็นข่าวในหนังสือพิมพ์ต่อเนื่องจากข่าวแรงงานพม่ายึดมหาชัยในทำ�นองว่า แย่งคนไทยทำ�บุญนัน้ ท่านกล่าวถึงผลกระทบของการเสนอข่าวว่า ทำ�ให้ทางวัดต้องพิจารณาให้หยุดการจัดงานรำ�ลึก บรรพบุรุษปี 2551 เพราะหวั่นเกรงผลกระทบที่อาจเกิดกับทางวัด อย่างไรก็ตาม พระครูยอมรับว่าผู้มาร่วมงานส่วน หนึ่งเป็นแรงงานต่างด้าวที่เข้าเมืองมาอยู่ในประเทศไทยโดยไม่ถูกกฎหมาย และเมื่อมีงานประเพณีจะทำ�ให้ถูกเจ้า หน้าที่ตรวจจับอย่างเข้มงวดมากขึ้น ทั้งที่ในความเป็นจริง นอกจากวันรำ�ลึกบรรพบุรุษมอญแล้ว กลุ่มแรงงานข้าม

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

แต่เรื่องที่แหลมออกมาและชาวบ้านเลือกนำ�ไปถกวิจารณ์กันมากกลับเป็นข่าวพริตตี้ถูกสาดนํ้ากรด เป็นต้น แต่ข้อ สังเกตที่อยากตั้งคำ�ถามและเสนอกรณีตัวอย่างคือ หลังกระบวนการสร้าง ‘ความเป็นไทย’ ดำ�เนินมาถึงปัจจุบันแล้ว เมื่อสื่อมีพื้นที่ให้พูดเรื่องชาติพันธุ์ สื่อพูดอย่างไร..?


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

366

ชาติจะเข้ามาทำ�บุญเป็นประจำ�ทุกวันเสาร์อาทิตย์หรือวันหยุดของโรงงานรวมทั้งวันสำ�คัญทางศาสนา อยู่แล้ว “พูด ง่ายๆ คือคนมอญนิยมทำ�บุญกันมากกว่าคนไทยเสียอีก” พระครูกล่าว สำ�หรับคนมอญพลัดถิน่ แล้ว แม้กฎหมายจะปิดกัน้ แต่ดว้ ยความเชือ่ ความศรัทธา พวกเขายังคงเลือกไปทีว่ ดั ...คำ�ถามคือ หากมองในฐานะชาวพุทธ เราจะจำ�กัดศาสนาไว้ให้คนไทยสักการะเท่านั้นหรือ.. ? นอกจาก นี้ ประเด็นแรงงานข้ามชาติมีอะไรที่รัฐไทยควรจะต้องจัดการมากกว่ามากระวนกระวายอยู่กับประเด็นชาตินิยม ไม่ ว่าจะเป็นปัญหาการกดขี่แรงงานทั้งที่ค่าแรงราคาแสนถูกอยู่แล้ว การก่อตัวขึ้นของกลุ่มมาเฟียในกลุ่มชาติพันธุ์เอง และมาเฟียในเครื่องแบบ ปัญหาคุณภาพชีวิต การพัฒนาทางเลือกที่อาจสามารถจัดการให้เป็นพื้นที่ทางวัฒนธรรม ที่ชวนท่องเที่ยวได้ เพราะมหาชัยเองมีบรรยากาศที่มีลักษณะผสมผสานแบบชายแดน และการค้าชายแดนมักมี เสน่ห์ที่น่าสนใจเสมอ หากมองข้ามอคติทางชาติพันธุ์ไปในอนาคต อาจมีแหล่งการค้าและการท่องเที่ยวที่ทำ�รายได้ เหมือนไชน่าทาวน์หรือเยาวราชที่สามารถสร้างพลังทางเศรษฐกิจได้จนสามารถต่อรองและกลมกลืนกับความเป็น ไทยได้อย่างไม่ขัดเขินก็ได้ ปลายปี 2551 ความชิงชังคนพม่าคล้ายลางเลือนไป แต่ความชิงชังนั้นดูเหมือนจะไปเพิ่มให้ประเทศกัมพูชา แทนเมื่อกรณีปราสาทพระวิหารถูกปลุกขึ้นมาอีกครั้งท่ามกลางกระแสการเมืองอันร้อนระอุ คนกัมพูชาถูกทำ�ให้ กลายเป็นศัตรูของชาติคล้ายมีเป้าหมายและกลายเป็นอารมณ์ทปี่ รากฏในหน้าสือ่ อย่างเห็นได้ชดั ในขณะทีเ่ รือ่ งของ ‘คน’ ตามชายขอบของทั้งสองประเทศซึ่งเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงกลับถูกลดทอนความสำ�คัญที่จะพูดถึงจาก คนในส่วนกลาง ความสัมพันธ์ไม่ว่าจะในมิติเครือญาติทางมานุษยวิทยา ทางความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หรือ ทางประวัติศาสตร์ ถูกปิดไว้ภายใต้ร่ม ‘ธงชาติไทย’ และความขัดแย้ง พื้นที่การค้าถูกแปรสภาพให้กลายเป็นพื้นที่ สงครามระหว่างประเทศ ข่าวแบบสงครามทำ�ให้หนังสือพิมพ์ขายดีขึ้น ในขณะที่ผู้บริโภคก็ตื่นกระหายเพราะไม่ได้ เป็นคนเสี่ยงไปรบในสมรภูมิเอง ครั้งหนึ่งเคยได้พูดคุยกับ นายอุบลเดช พานพบ คนบ้านภูมิซรอล อำ�เภอกันทรลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษ เขา บอกว่า “..เขา (พันธมิตรฯ) ทำ�ตรงนัน้ แล้วกลับกรุงเทพ แต่พวกผมต้องอยูห่ ลบลูกปืน ถ้าเขายิงมาพวกผมก็รบั เต็มๆ ” นี่เป็นความรู้สึกของคนในพื้นที่ขัดแย้งคนหนึ่งที่มีต่อการที่กลุ่มพันธมิตรฯ ยกขบวนไปที่ปราสาทพระวิหาร เพื่อคัดค้านการเป็นมรดกโลกของตัวปราสาทจนเกิดการปะทะกันกับคนในพื้นที่ที่ไม่เห็นด้วย “พวกผมมีประสบการณ์หลบลูกปืนมาแล้วตัง้ แต่สมัยเขมรแดง แต่เด็กรุน่ หลังๆ ไม่ชนิ ผมไม่กลัว แต่ไม่อยาก ให้เกิดขึ้นอีก” อุบลเดชบอกด้วยว่า “อยากให้ปราสาทพระวิหารขึน้ ทะเบียนมรดกโลกเพราะจะได้คา้ ขาย แต่เมือ่ แบ่ง เขตกันไม่ได้และไม่มใี ครอยากเสียดินแดน จึงอยากให้พฒ ั นาร่วมกัน อยากให้ทกุ อย่างกลับมาเหมือนเดิม ตัวปราสาทเรายอมรับว่าเป็นของเขา แต่พนื้ ทีร่ อบปราสาทถ้าตกลงกันไม่ได้อยากให้พฒ ั นาร่วมกัน ทหาร จะได้ถอนกำ�ลัง ถ้าร่วมกันพัฒนาไม่ได้ คุยอย่างไรก็ไม่จบ” เสียงของอุบลเดชถึงตอนนีก้ อ็ าจยังไม่คอ่ ยมีใครใส่ใจนัก เขาบอกว่ามีญาติพนี่ อ้ งเป็นคนกัมพูชาด้วย คนแถวๆ นั้นหากไม่มีเรื่องเส้นพรมแดนก็เป็นเครือญาติที่ข้ามฝั่งกันไปมา แต่ความรู้สึกชาตินิยมก็มีเหมือนคนอื่นๆ “พระวิหารในความรู้สึกผม ตรงเป้ยตาดีเองก็ไม่น่าเป็นของเขมร ทางฝรั่งเศสมันขี้เกียจขีดแผนที่ นอนเขียน ที่โรงแรมแล้วขีดไป แต่เรายอมรับว่าศาลตัดสินมา คือถ้าตัดสินกันเองเราก็ลุกฮือได้ แต่นี่เป็นศาลโลก เขาให้ยกมือ เราแพ้เขา 9 ต่อ 3 ปัญหาคือคนที่กรุงเทพฯ ไม่รู้ว่าชาวบ้านในจุดนั้นเดือดร้อนอย่างไร” การท่องเที่ยวที่เขาพระวิหารสามารถสร้างรายได้ให้กับคนในพืน้ ที่ โดยเฉพาะฤดูกาลท่องเที่ยวจะมีคนเข้ามา มากถึงวันละ 2,000 – 3,000 คน คนไทยค่อนข้างได้เปรียบทางการค้าชายแดนมากกว่ากัมพูชา หากนับเป็นรายได้


367

อีกกรณีตวั อย่างหนึง่ ปัจจุบนั อาจเรียกได้วา่ เป็นพืน้ ทีส่ งครามก็ได้ คือ กรณีความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดน ใต้ เป็นเรื่องน่าสนใจเพราะที่ผ่านมาสามารถยึดพื้นที่หน้าสื่อได้นานพอสมควรและคงเป็นไปแบบนั้นหากเหตุการณ์ การเมืองในกรุงเทพฯ ไม่ปะทุขึ้นและยืดเยื้อมา 2 ปีแล้ว สิ่งที่ทำ�ให้ประเด็นชาติพันธุ์สามารถยึดพื้นที่หน้าหนึ่งของ สื่อสิ่งพิมพ์ได้ทุกฉบับ ด้านหนึ่งอาจเป็นเพราะมิติของการเป็นปรากฏการณ์ความรุนแรงทำ�ให้คนในพื้นที่ส่วนกลาง ‘ช็อค’ และ ‘ท้าทาย’ อำ�นาจรัฐอย่างร้อนแรงเมื่อมีเหตุการณ์การปล้นปืนจากค่ายทหารในวันที่ 4 มกราคม 2547 แต่ก็ตามมาด้วยเหตุการณ์กรือเซะในวันที่ 28 เมษายน 2547 และเหตุการณ์ตากใบ วันที่ 25 ตุลาคม 2547 หากสังเกตการพาดหัวข่าวในช่วงแรกของเหตุการณ์ คำ�ว่า ‘โจร’ ถูกนำ�มาใช้นำ�หน้ากลุ่มก่อการด้วยนํ้าเสียง ชิงชังโกรธเกรีย้ ว รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ดูจะเสียหน้ามากเพราะก่อนหน้านัน้ เคยปรามาสกลุม่ ก่อการในภาคใต้ ไว้วา่ เป็นเพียง ‘โจรกระจอก’ ความร้อนรนในขณะทีข่ าดความเข้าใจมิตอิ นั ซับซ้อนของสถานการณ์ทำ�ให้เชือ่ อย่างง่ายๆ ว่าเป็นการกระทำ�ของกลุ่มก่อกวนรัฐไทยเหมือนที่เคยเป็นมาก่อนหน้านั้น จึงสั่งจัดการแบบเบ็ดเสร็จด้วยการขีดเส้น ตาย การปฏิบตั กิ ารจึงมีความเด็ดขาด และมีรายงานการละเมิดสิทธิมนุษยชนสูงมากในช่วงนัน้ รวมไปถึงการอุม้ หาย ความร้อนรนยังคงดำ�เนินต่อไปท่ามกลางการปฏิบัติจนเกิดกรณีกรือเซะและตากใบแล้วนั่นเอง รัฐบาลจึง เหมือนจะเริ่มทบทวนทางยุทธวิธี มีการตั้งคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ มีสัญญาณที่เปลี่ยน ไปของการปฏิบัติที่เห็นได้ชัดขึ้นในกรณีตันหยงลิมอที่ไม่ใช้มาตรการขั้นเด็ดขาดในการช่วงชิงตัวประกันนาวิกโยธิน อันเปรียบเสมือนตัวแทนฝ่ายรัฐไทย ผลคือตัวประกันเสียชีวิต แต่เป็นไปได้ว่าหากรัฐใช้วิธีที่รุนแรงกว่านี้ อาจเกิด การซํ้ารอยของเหตุการณ์ตากใบขึ้นก็ได้ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สังคมไทยยังไม่ยอมรับหรือไม่ยอมรับรู้ร่วมกันนักคือ การไม่เชื่อว่ามี ‘ชาติพันธุ์มลายู มุสลิม’ อยู่ที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ หรือถึงเชื่อว่ามีก็นึกไม่ออกว่าแตกต่างจากคนในพื้นที่อื่นตรงไหน สิ่งที่นึกออก อาจเป็นเพียงการคลุมผ้า มีเมียได้ 4 คน และไม่กินหมูเท่านั้น หลายคนคงยิ่งอยากตั้งคำ�ถามว่าทำ�ไมกลุ่มคนเหล่า นี้จึงไม่รักแผ่นดิน ‘ไทย’ เหมือนที่เขารัก สื่อเองในช่วงแรกอาจไม่ได้ทำ�หน้าที่อธิบายปรากฏการณ์มากไปกว่าเป็นการกระทำ�ของกลุ่มโจรแบ่งแยกดิน แดนและนำ�เสนอเฉพาะปรากฏการณ์การสูญเสียรายวันที่เกิดขึ้นเหมือนข่าวอาชญากรรมธรรมดา ไม่มีการอธิบาย มากนักเรื่อง ‘ความเป็นมลายู’ ราวกับสื่อเองก็ไม่ยอมรับให้มีการมีตัวตนอยู่ของ ‘ชาติพันธุ์มลายู’ หากไม่ยอมกลืน กลายมาเป็น ‘ไทย’ ในเส้นด้ามขวาน แต่สำ�หรับ 3 จังหวัดชายแดนใต้ ประเด็นสำ�คัญทีส่ งั คมไทยต้องทำ�ความเข้าใจ ก่อนเป็นอันดับแรกๆ ก็คือ‘ชาติพันธุ์มลายู’ เป็นคนในพื้นที่กลุ่มใหญ่ที่สุด มีความแตกต่างจากคนไทหรือไทยทั้งทาง ศาสนาและมีประวัติศาสตร์ของพื้นที่เอง ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นความแตกต่างอย่างยิ่งจากพื้นที่อื่นๆ ประเด็นต่อมา พื้นที่ 3 จังหวัดเป็นพื้นที่ทับซ้อนระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ แม้ว่ามลายูท้องถิ่นจะมีมากที่สุด แต่ ก็มีกลุ่มชาติพันธุ์จีนและไทยที่อาศัยในพื้นที่มานานเช่นกัน ที่ผ่านมามีความสัมพันธ์ในระดับแนวราบสอดคล้องกัน หมายความว่าอยู่รวมกันได้ เพราะมีวิถีชีวิตที่ไปด้วยกันได้ ประเด็นที่เป็นปัญหาคือ ความสัมพันธ์ในแนวดิ่งที่มีรัฐ ประวัติศาสตร์ และความเชื่อเข้ามาเกี่ยวข้อง เป็น ปัญหาที่พูดกันไม่จบและกำ�ลังทำ�ลายความสัมพันธ์ในระดับราบไปด้วยความหวาดระแวงกันและกัน ส่วนการนำ� เสนอข่าวที่ผ่านมาส่วนมากยังคงสอดคล้องกับฐานคติที่เรียกร้อง ‘ความเป็นไทย’ จากคนในพื้นที่อยู่เสมอ ไม่ค่อย ปรากฏความพยายามยอมรับตัวตนของมุสลิมมลายู แม้เพียงในประเด็นของผู้สูญเสีย ผู้ที่ต้องควรเยียวยา เรื่องของ ความยุติธรรม ซึ่งเป็นคำ�ถามสำ�คัญต่อรัฐจากคนในพื้นที่เสมอมา

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

เฉลี่ยถึงวันละ 7,000 – 10,000 บาท ส่วนช่วงเทศกาลบางคนเคยได้ถึงวันละ 20,000 บาท แต่หลังปิดชายแดนราย ได้ลดลงถึง 90 % หรือไม่มีรายได้จนต้องกลายเป็นทำ�งานรับจ้าง ติดหนี้สิน หรือแม้แต่ไม่มีเงินให้ลูกไปโรงเรียน นี่ คือสิ่งที่สูญเสียไปแล้วเพราะความขัดแย้งที่เกิดขึ้น


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

368

สื่อก็ยังคงนำ�เสนอปรากฏการณ์แบบอาชญากรรมและมุมที่ไปด้วยกันได้กับรัฐไทย ความรุนแรงจากรัฐไม่ว่า จะเป็นการปราบปรามในมัสยิดกรือเซะ หรือเหตุการณ์ตากใบทีจ่ ะพูดกันทุกปีจนเป็นแผ่นเสียงตกร่องกลับเป็นเรือ่ งที่ ยอมรับได้ในสังคมไทย ในขณะทีก่ ารเสียชีวติ ของครูจหู ลิงหรือหมวดตีจ้ ะได้รบั การดูแลทีแ่ ตกต่างออกไป ผูต้ ายทีเ่ ป็น คนในสามจังหวัดถูกมองเป็นคนอื่นที่มากกว่าการเป็นคนสวมหมวกกะปิเยาะหรือคลุมฮิญาบ ความตายที่ตากใบจึง เป็นเรื่องที่สังคมไทยจดจำ�ได้น้อย ได้รับการดูแลจากสังคมไทยน้อย การให้ความสำ�คัญของสื่อ (อาจรวมถึงประชา ไทด้วย) ก็น้อย ภายใต้เงื่อนปมเหล่านี้ คำ�ถามสำ�คัญคือจะเรียกร้องความรู้สึก ‘เป็นไทย’ ในด้ามขวานเดียวกันจาก คนในพื้นที่ได้อย่างไร..? อย่างไรก็ตาม แม้ว่าแรงหนุนของ ‘ความเป็นไทย’ จะทำ�ให้เกิดการละเลยการละเมิดสิทธิมนุษยชนในภาค ใต้ ละเลยกระบวนการยุติธรรมขั้นพื้นฐานที่พึงมีต่อความเป็นมนุษย์ด้วยกัน แต่ข้อกังขาเหล่านี้จะต้องย้อนกลับไป หา ‘(เชื้อ)ชาติ(มลายู)’ และ ‘ศาสนา (อิสลาม)’ เช่นกัน เพราะภายใต้ความวุ่นวายก็มีการสร้างและใช้ประวัติศาสตร์ บาดแผล ศาสนามาสร้างความเป็นอื่นขึ้นมาเพื่อความชอบธรรมในการเคลื่อนไหว หรือสร้าง ‘ฐานคติ’ ในพื้นที่แบบ เดียวกับทีร่ ฐั ไทยเคยทำ�เพือ่ เบียดขับกลุม่ ชาติพนั ธุอ์ นื่ และใช้ละเมิดมนุษยธรรมต่อผูอ้ นื่ กลุม่ ขบวนการเหล่านีจ้ ะต้อง ถูกประณามเช่นกัน กรณีตัวอย่างความอ่อนไหวทางวัฒนธรรมเหล่านี้อาจเป็นเรื่องเก่า แต่สำ�คัญที่ต้องตระหนักไว้ เสมอว่ามันยังมีอยู่จริง และพร้อมจะบ่มสร้างเพื่อย้อนกลับมาสร้างบาดแผลใหม่ๆ ให้กับเราทุกคนได้ไม่รู้จบ

ชาติพันธุ์กับสื่อในเส้นทาง ‘พื้นที่ทางเลือก’ ในส่วนนีอ้ าจเป็นข้อเสนอทางออกจากการถอดบทเรียนสือ่ ทางเลือก ‘ประชาไท’ ในฐานะคนทำ�งาน ซึง่ ใช้พนื้ ที่ ในโลกอินเตอร์เน็ทในการสือ่ สารและได้รบั การตอบรับในระดับหนึง่ แม้วา่ ระยะหลังจะมีกฎหมายคอมพิวเตอร์ออกมา จำ�กัดทำ�ลายความสร้างสรรค์ทางองค์ความรูไ้ ปมากมาย กระนัน้ โลกอินเตอร์เน็ทก็ยงั มีเสรีภาพทีก่ ว้างขวางพอต่อการ ข้ามพรมแดนชาติพนั ธุ์ ซึง่ โลกอินเตอร์เน็ทมีขอ้ เด่นทีน่ า่ สนใจคือความสามารถในการสือ่ สารสองทาง สร้างปฏิสมั พันธ์ กับผู้รับสื่อได้ ในกรณีของ ‘ประชาไท’ คือมีพื้นที่เว็บบอร์ดและมีพื้นที่แสดงความเห็นท้ายข่าว ทุนในการสร้างพื้นที่ ในโลกอินเตอร์เน็ทอาจกล่าวได้ว่าไม่สงู นัก บางกรณีอาจมีเพียงเครื่องมือที่สามารถเชื่อมต่อเครือข่ายอินเตอร์เน็ทได้ ก็เพียงพอทำ�ให้การนำ�เสนอประเด็นชาติพันธุ์และข่าวของคนตัวเล็กตัวน้อย หรือข่าวที่ไม่เป็นข่าวในพื้นที่สื่อกระแส หลักสามารถทำ�ได้ในพื้นที่สื่อทางเลือก และสามารถให้ความสำ�คัญเฉพาะได้โดยไม่ต้องง้อบริบททางธุรกิจมากนัก หากทบทวนประสบการณ์ ‘ประชาไท’ ในช่วง 2 ปีแรก แนวทางการนำ�เสนอเนื้อหาดูจะเน้นไปที่ข่าวนอก กระแสทีส่ ามารถบอกได้วา่ นอกกระแสจริงๆ นอกกระแสจนหลายข่าวมีคนอ่านเพียง 2 คน นัน่ ก็คอื บรรณาธิการและ ผู้เขียนซึ่งมาเช็คข่าวตัวเอง เว้นแต่ช่วงที่กระแสช่วยผลักดันเท่านั้น เช่น ข่าวอย่าง 3 จังหวัดชายแดนใต้โดยเฉพาะ กรณีตากใบที่สังคมมีความตื่นตัวสูงและต้องการเหตุผลว่าคนเกือบร้อยคนเสียชีวิตได้อย่างไรในคืนเดียว กรณีดัง กล่าวทำ�ให้ ‘ประชาไท’ เป็นที่รู้จักมากขึ้น เพราะได้ตั้งคำ�ถามตรงๆ ไปที่รัฐว่ามีการใช้ถุงดำ�คลุมหน้าดังที่คนในพื้นที่ สงสัยหรือไม่ รวมไปถึงการตัดสินใจนำ�ซีดีที่รัฐห้ามเผยแพร่มาลงในเว็บไซต์ เป็นต้น แม้ว่าจะสร้างกระแสไม่ได้มาก แต่กรณีดังกล่าวทำ�ให้รู้ว่าความจริงแล้วผู้บริโภคยังคงกระหายข้อมูลในหลายๆ ด้าน และการปกปิดก็ไม่ใช่คำ�ตอบ และความอยากรู้ไม่ได้แสดงออกมาเฉพาะที่เว็บไซต์อย่างจำ�กัด แต่กลับสะท้อนผ่านไปยังสื่อกระแสหลักต่างๆ เช่น กัน แรงกดดันจากสังคมทำ�ให้รัฐบาลต้องตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบข้อเท็จจริงในการตายที่เกิดขึ้น หลังกระแส ‘ประชาไท’ ประสบความซบเซาเหมือนเดิม สิ่งที่เรียนรู้อีกอย่างหนึ่งคือบางครั้งการนำ�เสนอข่าว ที่เฉพาะเจาะจงและนอกเหนือจากความสนใจอาจจะไม่ใช่คำ�ตอบของทางเลือกเสมอไป เพราะเมื่อไม่มีคนสนใจก็ หมายถึงการไม่บรรลุผลของการสื่อสาร จึงนำ�มาสู่การปรับตัวไปในทิศทางที่มีการให้พื้นที่ข่าวกระแสหลักมากขึ้น จำ�นวนผู้อ่านจึงมากขึ้นตามไปด้วย สิ่งที่ต้องจัดการคือ ‘การเมืองเรื่องพื้นที่’ เพราะในหน้าสื่อทั่วไป ข่าวเด่นดังจะ ถูกวางไว้ให้เด่น การจัดการหน้าข่าวบนเว็บไซต์ ‘ประชาไท’ จึงจงใจจัดวางข่าวของคนเล็กๆ ไว้ใกล้ๆ ข่าวเด่นเพื่อ


369

จุดหักเหที่บอกได้ว่า ‘ประชาไท’ มีคนเข้ามาอ่านมากขึ้นอย่างชัดเจน คือ หลังการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ด้วยการประกาศตัวตนอย่างชัดเจนว่าต่อต้านการรัฐประหารในครั้งนี้ และมีท่าทีที่เลือกข้างไปในทางตรงข้าม กับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยซึ่งไม่ขอตอบอีกเช่นกันว่าผิดหรือถูก แต่ในแง่ส่วนตัวของผู้เขียน หาก มองในมิติเชิงชาติพันธุ์หรือพื้นที่ของคนตัวเล็กตัวน้อย ในกรณีของคนอีสานกับคนภาคเหนือ แม้ว่าจะเป็นคนส่วน มากที่ใช้สิทธิเลือกตั้งไปแล้ว แต่พลังในการต่อรองกลับน้อยและถูกมองอย่างมีอคติ ว่า “โง่ จน ซื้อได้” ดังนั้นจะเป็น อย่างไรไป หากประชาไทเลือกจะเปิดพื้นที่ให้กับคนกลุ่มนี้เหมือนกับที่เปิดพื้นที่เรื่องมลายู เรื่องมอญ และเรื่องอื่นๆ ในลักษณะเดียวกัน แต่สิ่งที่น่าขันเรื่องหนึ่งคือ ในอดีตเมื่อ ‘ประชาไท’ พูดเรื่องมลายู สิ่งที่สะท้อนออกมาจากความเห็นท้ายข่าว มักจะออกในเชิงว่าขายชาติบ้าง กบฎบ้าง เว็บโจรใต้บ้าง แต่ไม่ค่อยมีการพูดเรื่องสิทธิมนุษยชนมากนัก ตอนนั้น พ.ต.ท.ทักษิณ ยังเป็นนายกรัฐมนตรี แต่ในปัจจุบันเมื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ กลายเป็นศัตรูทางการเมืองของกลุ่มใดกลุ่ม หนึ่งแล้ว เหตุผลหนึ่งที่สำ�คัญในการระบุความผิดก็คือการละเมิดสิทธิมนุษยชนใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ และปรากฏ เป็นความเห็นในเว็บไซต์ที่มากขึ้น น่าสนใจว่าคนมลายูมุสลิมในพื้นที่ 3 จังหวัดถูกมองเป็นคนไทยขึ้นมาทันทีหากมี การเอ่ยถึงทักษิณ ชินวัตร นัยยะนี้อาจมองได้ว่า ‘ความเป็นไทย’ หรือ ‘ชาตินิยม’ สามารถแปรผันตามกระแสความ เกลียดชังที่ถูกปลุกขึ้นมาในสังคมไทยได้ด้วย อย่างไรก็ตาม ‘ประชาไท’ คงไม่สามารถเป็นคำ�ตอบของพืน้ ทีส่ อื่ ทางเลือกบนโลกอินเตอร์เน็ตได้ทงั้ หมด และ คงบอกได้ว่าเป็นเพียงกรณีหนึ่งเท่านั้น ที่ผ่านมาในกรณี 3 จังหวัดภาคใต้เอง ความพยายามในการช่วงชิงพื้นที่ ในการนำ�เสนอข่าวที่แตกต่างออกไปจากข่าวกระแสหลักมีให้เห็นหลายครั้ง เช่น การเกิดศูนย์ข่าวอิสราขึ้นบนโลก อินเตอร์เน็ต ยุคแรกของการก่อตั้งศูนย์ข่าวอิสราเป็นที่ยอมรับอย่างมากในการทำ�หน้าที่ทั้งในพื้นที่และในสังคมวง กว้าง เพราะนอกจากเนือ้ หาทีม่ คี วามแตกต่างแล้ว ยังมีมติ ขิ องพืน้ ทีน่ ำ�เสนอออกมาด้วยทัง้ วิถศี าสนาและวัฒนธรรม พื้นที่กลมกลืนผสมผสาน การเกาะติดสถานการณ์ที่ฉับไวและแหล่งข่าวเชื่อถือได้ว่าไม่เอนเอียงไปทางรัฐ ในขณะ เดียวกันก็พยายามหาเหตุผลของสถานการณ์อยู่เสมอ นอกจากศูนย์ข่าวอิสราแล้ว ปัจจุบันยังมีเว็บไซต์ดีพเซาธ์ วอทช์ ซึ่งทีมข่าวอิสราชุดแรกๆ ที่ลงพื้นที่หันมาทำ�งานข่าวและข้อมูลใน 3 จังหวัดชายแดนใต้อย่างต่อเนื่อง หรือ ล่าสุดก็มีเว็บไซต์บุหงารายาซึ่งเป็นการรวมตัวกันของกลุ่มนักศึกษาในพื้นที่ที่อยากจะสื่อสารสิ่งที่เกิดขึ้นในพื้นที่ให้ คนส่วนกลางได้รับรู้ ในโลกอินเตอร์เน็ต ยังมีพื้นที่อย่างเว็บบล็อกที่ใครก็สามารถสื่อเรื่องราว จัดสรรและจัดการพื้นที่ของตัวเอง ได้ ซึ่งก็อาจเป็นอีกคำ�ตอบหนึ่งในการนำ�เสนอเรื่องราวของกลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งในประเทศไทยมีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตเกือบ ล้านคนและมีแนวโน้มที่สูงขึ้น อย่างไรก็ตาม อินเตอร์เน็ทมีข้อจำ�กัดคือการเข้าถึง 40 เปอร์เซ็นยังกระจุกตัวอยู่ใน กรุงเทพฯ และพื้นที่รายรอบ ส่วนตามท้องถิ่นแม้ว่าแทบทุกหน่วยตำ�บลจะมีคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตก็ตาม แต่ การใช้งานได้จริงต้องยอมรับว่ามีขอ้ จำ�กัดมาก ยังไม่นบั รวมไปถึงชาติพนั ธุท์ เี่ ป็นชายขอบมากๆ อย่างในพืน้ ทีป่ า่ รอบ สาละวิน หรือคนในตำ�บลลึกๆ ชายแดนใต้ ชาวบ้านที่อยู่ลึกเข้าไปคงไม่มีเวลามานั่งหัดหรือสื่อสารทางอินเตอร์เน็ต หรือกลุม่ แรงงานข้ามชาติไม่วา่ จะเป็นมอญ พม่า เขมร ฯลฯ ก็คงไม่สามารถใช้อนิ เตอร์เน็ตบอกเรือ่ งราวของตนเองได้ ในข้อจำ�กัดเหล่านัน้ คงต้องฝากไปยังองค์กรพัฒนาเอกชนต่างๆ ทีท่ �ำ งานด้านนีใ้ นการสร้างพืน้ ทีข่ นึ้ มาสือ่ สาร แทน ไม่ว่าจะเป็นการสร้างเว็บไซต์ บล็อก หรือการส่งเรื่องราวไปยังสื่อต่างๆ ทางอีเมล์ การได้ลงในสื่อสักเรื่องอย่าง น้อยคงเป็นการเริ่มต้นที่ดีในการสื่อสารเรื่องราวของกลุ่มชาติพันธุ์ ทั้งนี้ เรื่องชาติพันธุ์อาจถูกละเลยมานานจนไม่น่า สนใจ การนำ�เสนอเนื้อหาโดยตรงอาจมีผลแบบเดียวกับบทเรียนในอดีตของ ‘ประชาไท’ ที่มีคนอ่าน 2 คน ซึ่งน่า

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

ให้ผ่านตา แม้ว่าจะไม่ส่งผลมากนัก แต่อย่างน้อยพบว่ามีการคลิกอ่านข่าวนอกกระแสมากขึ้น ซึ่งในกรณีแบบนี้จะ ถือเป็นความสำ�เร็จในการช่วงชิงพื้นที่ได้หรือไม่...ไม่ทราบ


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

370

ท้อแท้ใจอย่างยิ่ง บางทีองค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำ�สื่ออาจต้องมองในลักษณะการตลาดบ้างเพื่อให้เรื่องราวได้ออกสู่ สาธารณะอย่างแท้จริง อย่างน้อยการได้รับรู้เรื่องราวในมุมมองอื่นๆ จะได้ทำ�ให้ ‘อคติ’ ที่มาจาก ‘ความเป็นไทย’ ลดลงได้บ้าง แม้วันละนิดวันละน้อยก็ยังดี...


371

ใครว่า พม่ายึดมหาชัย ? ‘คนมอญ’ อยู่มากว่า 200 ปีแล้ว. http://www.prachatai.com/05web/th/home/page2. php?mod=mod_ptcms&ID=9858&Key=HilightNews รายงาน: พิพาทเขาพระวิหาร เขาทำ�ตรงนัน้ แล้วกลับกรุงเทพฯ แต่พวกผมต้องอยูห่ ลบลูกปืน. http://www. prachatai.com/05web/th/home/page2.php?mod=mod_ptcms&ID=14086&Key=HilightNews สายชล สัตยานุรกั ษ์ . “ประวัตศิ าสตร์การสร้าง ‘ความเป็นไทย’ กระแสหลัก” . จินตนาการความเป็นไทย. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม ศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล, 2551. สุจิตต์ วงษ์เทศ. เมด อิน U.S.A. และ โง่เง่าเต่าตุ่น.กรุงเทพฯ: Open Book, 2547. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. หลังเสื้อรณรงค์ Siam not Thailand

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

อ้างอิง


สรุปสาระสำ�คัญของการประชุมและข้อสังเกต “ชาติพันธุ์ พหุวัฒนธรรม ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่นํ้าโขง”


373

อาจารย์ ดร. ชยันต์ วรรธนะภูต2ิ

สวัสดีครับท่านผู้เข้าร่วมประชุม ท่านผู้มีเกียรติทุกท่าน เป็นธรรมดาของรายการสุดท้าย ซึ่งมักพบว่าผู้ เข้าร่วมประชุมหลายท่านไม่สามารถอยู่ร่วมด้วยเนื่องจากต้องรีบขึ้นรถไฟหรือรีบไปสนามบิน ห้องประชุมก็เลย ดูโหลงเหลงไปหน่อย ผมคิดว่าสาระที่ได้รับจากการประชุมในช่วงสองวันมานี้ ผมมองว่าเป็นความหลากหลาย ของวาทกรรมเกี่ยวกับชาตินิยมและชาติพันธุ์ของประเทศไทย ดังนั้นหากมีความพยายามที่จะรวบรวมให้เป็น ความคิดเพียงหนึ่งเดียวก็อาจจะเป็นการลดทอนความหลากหลายดังกล่าวนี้ไป ผมมีประเด็นเกี่ยวกับประเทศใน อนุภูมิภาคลุ่มนํ้าโขง ที่เรารู้จักกันดี คือ จีน ลาว เวียดนาม เขมร ซึ่งมีกลุ่มชาติพันธุ์คล้ายๆ กันกับของเรา ซึ่งเป็น บทเรียนทีเ่ ราอาจจะเรียนรูห้ รือควรจะร่วมพิจารณาไปพร้อมๆ กับของเราว่าทำ�ไมจึงมีความแตกต่างกัน มีปญ ั หาร่วม กันอย่างไร หรือว่าเราจะหาทางออก ด้วยการย้อนกลับมาพิจารณาตนเอง และคนอื่นด้วยว่าเป็นอย่างไร ภายใต้ เวลาที่จำ�กัด ผมจะหยิบยกประเด็นที่สำ�คัญบางประเด็นดังนี้คือ ประเด็นเกีย่ วกับหัวข้อหรือแนวคิดเรือ่ งของชาตินยิ มและพหุวฒ ั นธรรมทีเ่ ราได้อภิปรายกันมาในสองวันนี้ ผม คิดว่ามาจากแนวคิดในเรื่องชาตินิยมของสังคมไทย ที่เดิมเราให้ความสำ �คัญกับสิ่งที่เป็นอุดมการณ์ที่ร้อยรัดผู้คน หรือกลุ่มชาติพันธุ์ในอาณาจักรหรืออาณาเขตที่เรียกว่า สยาม หรือไทย แต่ฐานคิดเรื่องชาตินิยมในสังคมไทยนั้น ดังที่อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ กล่าวไว้คือ ตั้งอยู่บนฐานความจงรักภักดีที่มีต่อผู้ปกครองหรือมีต่อรัฐในอดีต ความ จงรักภักดีนี้ย่อมไม่เพียงนำ�ไปสู่ซึ่งเกียรติยศ เกียรติศักดิ์ของผู้ปกครอง แต่ยังทำ�ให้เกิดความเป็นปึกแผ่นที่จะเผชิญ กับศัตรูภายนอกได้ ดังที่เห็นได้จากการทำ�สงครามนั้นไม่ใช่การทำ�สงครามเพื่อแย่งดินแดนเท่านั้น แต่ว่าเป็นการ ทำ�สงครามเพื่อให้ได้มาซึ่งกำ�ลังพล แนวคิดเรื่องชาตินิยมได้เปลี่ยนแปลงไปหลังปี พ.ศ. 2475 เมื่อแนวคิดนี้ถูกนำ� มาเป็นเครื่องมือในการรับใช้รัฐชาติ ดังนั้นการเน้นเรื่องความจงรักภักดี จึงเปลี่ยนไปเป็นเรื่องของความเป็นปึกแผ่น เอกภาพและความเหมือนกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเป็นหนึ่งเดียวที่กำ�หนดโดยกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มใหญ่ คือกลุ่ม ที่เป็นคนไทยซึ่งเป็นผู้มีอำ�นาจในสังคมไทย  ในช่วงนี้เองแนวคิดเรื่องชาตินิยมจึงมีมิติของเชื้อชาติและอัตลักษณ์ ทางวัฒนธรรมซึ่งถูกกำ�หนดโดยรัฐเข้ามาด้วย ถ้าเราพิจารณาอย่างนี้เราจะเห็นว่า ชาตินิยมเป็นเครื่องมือหนึ่งของ รัฐหรือชนชั้นปกครองที่จะควบคุม จำ�แนกผู้คน และกำ�หนดว่า ใครที่ไม่มีวัฒนธรรมไทยก็จะเป็นคนอื่น เป็นคนชั้น สอง หรือเป็นคนที่ไม่ได้รับสัญชาติหรือไม่มีโอกาสได้รับสิทธิอันพึงได้ในสังคมไทย ผมคิดว่าลักษณะชาตินิยมไทยที่ผ่านมา มีลักษณะที่เรียกว่า ชาตินิยมภายใน (Internal colonialism) คือวิธี การที่ใช้ธำ�รงรักษาความแตกต่างทางลำ�ดับชนชั้นทางสังคม จำ�แนกว่าใครควรจะได้ประโยชน์ ใครควรจะเข้าถึง ทรัพยากรหรือสิทธิตา่ งๆ และลักษณะของความเป็นชาตินยิ มดังกล่าวก็ยงั คงดำ�รงอยูท่ งั้ ในระดับโครงสร้างและระดับ ปฏิบัติการของคนในสังคมด้วย เมื่อพิจารณาจากกรณีของประเทศเพื่อนบ้าน ประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มนํ้าโขงจะ 1 ถอดความจากการนำ�เสนอบทความแนวคิด สรุปสาระสำ�คัญของการประชุมและข้อสังเกต “ชาติพันธุ์ พหุวัฒนธรรมใน อนุภูมิภาคลุ่มแม่นํ้าโขง” ในการประชุมวิชาการชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม 2 หัวหน้าศูนย์ภูมิภาคด้านสังคมศาสตร์และการพัฒนาอย่างยั่งยืน คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

สรุปสาระสำ�คัญของการประชุมและข้อสังเกต “ชาติพันธุ์ พหุวัฒนธรรม ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่นำ� โขง”1


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

374

เห็นว่าพัฒนาการของปรากฏการณ์ที่เรียกว่าชาตินิยมมีความแตกต่างกันที่น่าสนใจ  แต่ว่าท้ายสุดผมจะพูดต่อว่า เหมือนกันอย่างไร แต่เดิมจีน เวียดนาม ลาว และเขมรก็ผ่านการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองด้วยการทำ�สงครามปฏิวัติล้มระบบ ศักดินา ระบบอาณานิคมและทำ�สงครามต่อสู้ กรณีของจีน เวียดนาม ลาว เขมร ทำ�สงครามต่อสู้กับจักรวรรดินิยม อเมริกา ดังนั้นแนวคิดชาตินิยมจึงมีลักษณะที่แตกต่างกันเพราะว่าแนวคิดเรื่องนี้นอกจากจะเป็นไปเพื่อการต่อต้าน ศัตรูทมี่ าจากภายนอกแล้วยังมีทมี่ าทีไ่ ปแตกต่างกันคือ พัฒนาจากแนวคิดของโซเวียต มาจากมาร์กซิสม์ เลนินซิสม์ นักคิดในสายนี้มองว่าชาตินิยมเป็นอุปสรรคของการปฏิวัติทางชนชั้น เพราะชาตินิยมให้ความสำ�คัญกับการจำ�แนก คน  กลุม่ คนออกตามแนวดิง่ ในขณะทีท่ ฤษฏีมาร์กซิสม์จำ�แนกคนตามแนวนอน เพราะฉะนัน้ การปล่อยให้เกิดสำ�นึก ทางชนชั้น คือ ให้ความสำ�คัญกับสำ�นึกทางชนชั้นทั้งภายในชาติหรือชนชั้นกรรมาชีพสากล สิ่งเหล่านี้เป็นพลังที่ ทำ�ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์ แต่หากปล่อยให้สำ�นึกทางชาติพันธุ์หรือสำ�นึกของชนชาติเติบโตขึ้นมา อันนี้จะไปบดบังเป็นอุปสรรคต่อการเปลี่ยนแปลง ทฤษฏีเหล่านี้เมื่อถูกนำ�มาใช้จริงๆ  ก็ปรากฏว่าใช้ไม่ได้ทีเดียว ประสบการณ์ที่เกิดขั้นในจีนก็ดี  เวียดนามก็ดี ลาวก็ดี ผู้นำ�หรือนักปฏิวัติเหล่านี้ต้องอาศัยความร่วมมือจากกลุ่ม ชาติพนั ธุห์ รือกลุม่ ต่างๆ  คือต้องระดมความร่วมมือ ตัวอย่างเช่น ในช่วงทีม่ กี ารเดินทางไกลหมืน่ ลี้ พรรคคอมมิวนิสต์ จีนเผชิญกับปัญหาว่าจะทำ�อย่างไรให้กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆเข้ามาร่วม หรือไม่ต่อต้านไม่ทำ�สงครามกับกองทัพปฏิวัติ ทำ�อย่างไรถึงจะให้คนเหล่านี้มีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์ ดังนั้นสิ่งที่เขาต้องทำ�คือ การเปลี่ยน ยุทธวิธี หรือเปลี่ยนนิยามเปลี่ยนวิธีการต่อการคิดเรื่องนี้ จากเรื่องการให้ความสำ�คัญต่อสำ�นึกทางชนชั้นมาสู่การให้ ความสำ�คัญต่อสำ�นึกของชนชาติและสำ�นึกทางชาติพันธุ์มากขึ้น หรือพูดง่ายๆ ว่า เปิดโอกาสให้คนเหล่านี้มีความ เสมอภาค มีโอกาสทีจ่ ะมีสว่ นร่วมในการเปลีย่ นแปลงทางการเมือง และดำ�รงอยูใ่ นสถานะทีเ่ รียกว่า มีเอกภาพและ ความเสมอภาคพร้อมๆ  กัน  อันนีเ้ ป็นประเด็นซึง่ ผมคิดว่าเป็นเรือ่ งทีส่ ำ�คัญมากคือ ทำ�ให้เกิดการยอมรับเงือ่ นไขทีว่ า่ ชนชาติหรือกลุ่มชาติพันธุ์เหล่านี้ สามารถที่จะมีสิทธิในการกำ�หนดอนาคตของตนเอง รวมทั้งมีข้อตกลงว่า หากเมื่อ ปฏิวัติสำ�เร็จและได้อำ�นาจรัฐแล้ว รัฐบางรัฐหรือกลุ่มชาติพันธุ์บางกลุ่มอาจจะแยกตัวเป็นอิสระได้จากการปกครอง ของรัฐใหญ่ ผมคิดว่าเป็นเรื่องที่มีความละเอียดอ่อน หรือสลับซับซ้อนมากในตอนนี้ อย่างไรก็ดี ประสบการณ์ที่เกิด ขึ้นในรัสเซียที่เกิดกระบวนการ self determination และเกิดสิ่งที่เรียกว่า autonomous region หรือเขตปกครองอิสระ ซึ่งในจีนก็เกิดขึ้นในทำ�นองเดียวกัน แต่ในรัฐธรรมนูญของจีน ระบุว่าสิทธิที่จะแยกตนเองเป็นอิสระทำ�ไม่ได้ เพราะ ประเทศจีนไม่สามารถจะแบ่งออกไปได้ ทำ�นองเดียวกับเวียดนามซึ่งก็ไม่ยอมให้เกิดเขตปกครองอิสระ หรือชนกลุ่ม น้อยก็ไม่สามารถจะแบ่งหรือแยกออกไปจัดการปกครองตนเอง ประการที่สอง คือความพยายามสร้างความเป็นเอกภาพทางชาติพันธุ์ของรัฐสังคมนิยมเหล่านี้ ด้วยนโยบาย การผสมกลมกลืนทางชาติพนั ธุ์ คำ�ถามคือว่าจะทำ�อย่างไร ในด้านหนึง่ ต้องการการมีสว่ นร่วมของกลุม่ ชาติพนั ธุ์ แต่ ถ้าหากปล่อยให้เกิดสำ�นึกทางชาติพนั ธุม์ ากขึน้ หรือชาตินยิ มมากขึน้ ก็จะทำ�ให้เกิดการรวมตัวได้งา่ ยขึน้ จึงต้องดำ�เนิน นโยบายการผสมกลมกลืนทางชาติพันธุ์ และทำ�ให้คนเหล่านี้เป็น Socialist man และ Socialist woman สิ่งที่น่าสนใจ คือ กระบวนการจำ�แนกและจัดวางคนเหล่านี้เพื่อเดินทางไปสู่อุดมคติของการเป็นสมาชิกที่มีความเป็นสังคมนิยม กรณีเวียดนาม ใช้ทฤษฎีการจำ�แนก จัดวางผู้คนโดยแบ่งออกตามลำ�ดับการพัฒนาของวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธ์ ต่างๆ โดยกำ�หนดหรือจัดวางให้คนจีนก็ดี ฮั่น คนเวียดนาม อยู่ขั้นของการพัฒนาระดับสูงสุดและมีภาระที่ต้องช่วย พัฒนาช่วยเหลือชนกลุ่มน้อยอื่นๆ อย่างไรก็ตาม พบว่านโยบายการผสมกลมกลืนทั้งจีน และเวียดนามไม่ได้เป็นไป อย่างอิสระ มีค�ำ พูดกล่าวไว้วา่ นโยบายของโฮจิมนิ ห์ตอ้ งการเห็นสวนดอกไม้ทางชาติพนั ธุ์ ให้กลุม่ ชาติพนั ธุส์ ามารถ ที่จะปฏิบัติทางศาสนาและวัฒนธรรมได้เต็มที่ แต่ว่าคำ�ว่า สวนดอกไม้ทางชาติพันธุ์ ในกรณีของเวียดนาม มีผู้ตั้ง ข้อสังเกตว่า มีการจัดสวนเหมือนของอังกฤษ คือ ดอกไม้ไม่ได้เติบโต แต่เป็นดอกไม้ที่ถูกการจัดวาง ถูกดัดแปลง ถูกตัดแต่ง มีการตีกรอบทางวัฒนธรรมเพื่อที่จะจำ�แนกว่าอะไรไม่ดีอะไรดี กรณีจีนก็เช่นเดียวกัน มีการกำ�หนดว่า ความเป็นจีนคืออะไร หรือความงามของกลุ่มชาติพันธุ์บางกลุ่มควรจะมีลักษณะอย่างไร มีตัวอย่างว่า เมื่อรัฐบาล


375

เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกัน ประเทศเหล่านี้อาจจะมีประสบการณ์ที่แตกต่างกันกับกรณีประเทศไทย แต่ ผลลัพธ์ ในตอนนี้ก็อาจจะไม่ได้แตกต่างกับกรณีของประเทศไทย เราได้ยินกรณีความขัดแย้งทางชาติพันธุ์ทั้งในจีน ไม่ว่ากลุ่มที่เป็นมุสลิม กลุ่มทิเบต กรณีของเวียดนามก็มีปัญหาเรื่องความความขัดแย้งในกลุ่มชาติพันธุ์ที่เวียดนาม ตอนกลางรวมทัง้ ในลาวก็เช่นเดียวกัน แต่วา่ ประเด็นหนึง่ ทีต่ า่ งไปก็คอื ประเทศเหล่านีย้ อมรับคนทีเ่ ข้ามาในประเทศ ของเขาให้เป็นพลเมืองทัง้ หมด แต่กรณีประเทศไทย ก็มขี อ้ ยกเว้น กฎหมายไทยยังไม่ยอมให้คนทีเ่ กิดในประเทศไทย มีสิทธิความเป็นพลเมืองเท่าเทียมกัน ต้องมีกระบวนการต่างๆซึ่งผมคิดว่าพวกเราก็คงได้ยิน ได้ฟังจากการอภิปราย ในสองวันมานี้ หลังจากการประชุมสองวันนี้เสร็จสิ้นไปแล้ว ผมก็เป็นห่วงเหมือนกันว่ามันจะจบเหมือนกับงานประชุมอื่นๆ ที่ประชุมเสร็จแล้วทำ�สรุปการประชุมออกมา พิมพ์หนังสือเป็นเล่มออกมาแล้วหายไปหรือจะมีอะไรที่เราควรจะทำ� ต่อ ผมคิดว่าปัญหาเรื่องชาตินิยม พหุวัฒนธรรมที่เราได้พิจารณากันมาทั้งหมดในสองวันนี้คงยังไม่เพียงพอที่เรา จะทำ�ความเข้าใจในความสลับซับซ้อน หรือถึงแม้ว่าบางท่านอาจจะเข้าใจ แต่เราก็ยังต้องอาศัยการถกเถียง การ แลกเปลีย่ นกันอย่างต่อเนือ่ ง ผมคิดว่าภาระสำ�คัญ ของพวกเราซึง่ เป็นนักปฏิบตั ิ  เป็นสมาชิกของสังคมไทย และเป็น นักวิชาการหรือเป็นผู้ที่ทำ�งานในหน่วยราชการ ในประการแรก คงจะต้องกลับมาพิจารณาเพื่อที่จะขบคิดปัญหาใน เรื่องนี้ หรือเรียกว่า ถอดรหัสให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น ทำ�อย่างไรเราจะเชิดชูวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ แต่ว่า ไม่ไปลุ่มหลงหรือนำ�ไปสู่ลักษณะทางชาตินิยม หรือว่า ทำ�อย่างไรให้ชาตินิยมไม่ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างอคติ หรือความหลงใหลในชาติของตนจนทำ�ให้เกิดการกีดกันคนอื่น ประการที่สอง ภาระสำ�คัญอีกประการหนึ่งของหลายท่านที่นั่งอยู่ที่นี้รวมทั้งอาจารย์สุริชัย หวันแก้วกล่าว คือพวกเราในฐานะที่เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย มีความจำ�เป็นที่จะต้องสนับสนุนให้นักศึกษาที่เรามีส่วนสอนและ เป็นที่ปรึกษาให้สนใจมาทำ�งานวิจัยทางนี้มากขึ้น ทั้งในกรณีกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย เพื่อให้เข้าใจปัญหา ต่างๆ หรือว่าแม้กระทั่งสิ่งที่ผมได้รับเล่าให้ฟังกรณีของ ประเทศเพื่อนบ้านหรือประเทศอื่นอีกซึ่งไม่ได้พูดถึง  เช่น พม่า  อินโดนีเซีย มาเลเซีย  และสิงคโปร์ว่ามีประสบการณ์อย่างไร อาจจะต้องเรียนรู้และนำ�มาเปรียบเทียบ สิ่งที่ ผมคิดว่าเรายังขาดความรูท้ างด้านนีอ้ กี มากคือ การทำ�ความเข้าใจและเชือ่ มโยงความรูด้ า้ นสิทธิและกลไกของคณะ กรรมการสิทธิมนุษยชน กลไกขององค์กรระหว่างประเทศ หรือกลไกของหน่วยงานราชการ ที่เราจะต้องนำ�มาชี้แจง อธิบาย ให้ชาวบ้านพี่น้องชนเผ่าหรือกลุ่มคนที่มีลักษณะทางชาติพันธุ์ที่แตกต่างกัน ให้เข้าใจถึงสิทธิที่เขาพึงได้รับ และปกป้องคุ้มครองสิทธิของเขา ผมหวังว่าอนาคต เราจะมีเครือข่าย มีการทำ�งาน มีการประชุม มีการติดต่อกัน เพื่อนำ�เอาประเด็นที่เราพูด คุยกันมาในสองวันนีม้ าพูดคุยต่อ โดยเราอาจจะนำ�เอาประเด็นจากการประชุมห้องย่อยมาพิจารณาในระดับย่อย และ ทีผ่ มได้ยนิ จากอาจารย์สรุ ชิ ยั คือการทำ�ให้เกิดเครือข่ายทีเ่ ชือ่ มโยงซึง่ กันและกัน   และกับสือ่ ซึง่ ผมคิดว่ามีความสำ�คัญ

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

จีนต้องการประกาศรับคนงานเข้ามาทำ�งานในการก่อสร้างสวนสาธารณะ สวนชาติพันธุ์ก็จะมีการคัดเลือกคนแต่ละ กลุ่มที่เข้ามาทำ�งาน คนเหล่านี้ต้องมี รูปร่างหน้าตา ตามที่รัฐบาลกำ�หนดไว้เช่น ผู้หญิงกลุ่มชาติพันธุ์ไต ต้องสูงหรือ ขาว ก็แสดงให้เห็นว่า เป็นนโยบายที่เรียกว่า เป็น selective inclusive คือนโยบายรวมพวก แต่ว่ายังมีการเลือกสรร และมีการกำ�หนดวัฒนธรรม ความจริงแล้ว ลักษณะทีเ่ กิดขึน้ ในปัจจุบนั ก็จะเห็นว่าความเป็นชาตินยิ ม และความเป็น ชาติพันธุ์ก็ถูกนำ�มารับใช้เพื่อผลประโยชน์ของการผลิตหรือผลประโยชน์ของการบริโภคทางวัฒนธรรม คือพูดง่ายๆ ว่าในกรณีของประเทศที่เราคิดว่าน่าสนใจ มีประสบการณ์ที่ดี ในปัจจุบันก็มีลักษณะของการนำ�เอาวัฒนธรรมของ กลุ่มชาติพันธุ์เหล่านี้มาทำ�ให้เป็นรูปธรรม เลือกสรรและทำ�ให้เป็นสินค้า วัฒนธรรมกลายเป็นสินค้าสำ�หรับส่งเสริม การท่องเทีย่ ว แล้วก็ในทำ�นองเดียวกันก็ตอกยํา้ ความไม่เสมอภาคของชนชัน้ ในสังคม หรือจะกล่าวอีกอย่างหนึง่ คือ สิ่งที่เราเห็นในปัจจุบันหลังจากประเทศเหล่านี้ก้าวเข้าสู่ทนุ นิยม มาเป็นระบบตลาดเสรี เราจะเห็นชาตินิยมที่เกิดขึ้น เป็นชาตินยิ มทางวัฒนธรรม โดยตัวชาตินยิ มกลับกลายเป็นอุดมการณ์ทรี่ องรับการดำ�รงอยูข่ องโครงสร้างเดิมทีม่ อี ยู่


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

376

มากในการทำ�ความเข้าใจกับสังคม ในเรือ่ งของการทำ�ให้ประเด็นนีถ้ กู วิเคราะห์ขบคิดและนำ�มาพิจารณาหาทางออก ที่ดี ส่วนสุดท้ายมีหลายคนมาปรารภกับผมว่า อยากจะให้มีการประชุมแบบนี้อีก ผมก็ยินดีและผมก็เรียนให้ผู้ อำ�นวยการสำ�นักกิจการชาติพนั ธุว์ า่ หากว่าจะจัดการประชุมแบบนีก้ ย็ นิ ดีจะทำ� แต่กค็ งไม่จ�ำ เป็นต้องให้มหาวิทยาลัย เชียงใหม่เป็นผู้จัดฝ่ายเดียว ควรจะมีหลายหน่วยงานที่เข้ามาร่วมกัน ผมมีประเด็นที่จะเรียนทุกท่านเท่านี้ และผม อยากจะถือโอกาสนีร้ บั ฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะทีเ่ ป็นรูปธรรมเพือ่ ทำ�งานร่วมกัน ผมคิดว่าปัญหาทีเ่ ราเผชิญ อยูม่ มี ากกว่าทีเ่ ราได้ยนิ ได้ฟงั จากการประชุมทีผ่ า่ นมาสองวันและไม่ใช่เป็นเรือ่ งเล่าของคนทีเ่ ผชิญกับความทุกข์ทาง สังคมอย่างเดียวแต่เป็นความเป็นจริงที่ดำ�รงอยู่ ซึ่งไม่ว่าจะประชุมกี่วันก็ยังไม่สามารถจะนำ�เรื่องเล่าทั้งหมดมาเล่า ให้พวกเราฟังได้ อยากขอเชิญชวนท่านให้ความคิดเห็นและเสนอแนะต่อการทำ�งานร่วมกันต่อไป ขอบคุณมากครับ

อภิปรายและข้อสังเกตุ รองศาสตราจารย์ สุริชัย หวันแก้ว ขอบคุณครับอาจารย์ชยันต์ วรรธนะภูติ ที่ได้ให้ข้อสรุปที่ชี้ชวนให้เห็นประเด็นที่กว้างไกลออกไป บริบทที่ อาจารย์โยงมาก็คือ บริบทลุ่มนํ้าโขงซึ่งมองให้เห็นถึงประเด็นโลกของความสัมพันธ์อาจจะเกี่ยวข้องไปเยอะ แต่โลก ของความรู้ความเข้าใจเรายังเชื่อมโยงอันนี้เข้ามายังไม่ดีพอ ที่นี่อาจารย์ได้ชวนให้ที่ประชุมแสดงความคิดเห็น ผม อยากถามว่ามีใครอยากจะร่วมให้ข้อคิด ข้อสังเกตในการพูดไปข้างหน้านะครับ ผมทราบมาว่า ผู้เข้าร่วมประชุม หลายท่านมาจากสงขลา มาจากทางอีสาน มาจากหลายทิศหลายทาง มีอะไรจะเสริมกันไหมครับ โดยเฉพาะกับ ประเด็นที่อาจารย์ ชยันต์ ได้ปรารภไป ถ้ามีข้อคิดข้อเสนอแนะที่ช่วยให้เราขับเคลื่อนต่อไปได้ก็ขอเชิญครับ ท่านผู้ อำ�นวยการสำ�นักกิจการชาติพันธุ์ ครับ ขอเรียนเชิญเลยครับ

คุณศตวรรษ สถิตย์เพียรศิริ ผู้อำ�นวยการสำ�นักกิจการชาติพันธุ์ ขอบคุณครับ  มีปัญหาค้างใจอยู่เรื่องหนึ่งคืออย่างที่อาจารย์ชยันต์กล่าวถึงเกี่ยวกับประเทศเพื่อนบ้านที่มี แนวคิดมาร์กซิสม์ว่ามีการแยกแยะกลุ่มชาติพันธุ์อย่างเด่นชัด  ส่วนทางมาเลเซีย พูดถึงกลุ่มชาติพันธุ์ว่าเป็นชน กลุ่มน้อยอยู่ พม่าค่อนข้างชัดเจนว่า เอาความเป็นชาติพันธุ์มาแยกกลุ่มชน เท่าที่ทราบมาไม่ทราบว่าจริงหรือเท็จ เขากำ�หนดความเป็นชาติพันธุ์ในบัตรประจำ�ตัวประชาชนว่าเป็นชาติพันธุ์อะไร เป็นกะเหรี่ยง เป็นมอญอะไรก็ว่า ไป สำ�หรับประเทศไทย ในสมัยท่านขจัดภัย บุรุษพัฒน์ เป็นรองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ท่านได้เขียน หนังสือไว้หลายเล่ม และได้ระบุว่าประเทศไทยมีชนกลุ่มน้อยและถือว่าคนมุสลิมภาคใต้เป็นชนกลุ่มน้อย ชาวเขาก็ เป็นชนกลุ่มน้อย ชาวเวียดนามที่อยู่ทางภาคอีสานก็เป็นชนกลุ่มน้อย และก็อีกหลายๆ กลุ่มซึ่งก็ใช้มาในช่วงระยะ เวลาหนึ่ง ถามว่ารัฐบาลไทยมีแนวคิดอย่างไรเกี่ยวกับความเป็นชาติพันธุ์ เราจะหยิบยกขึ้นมาให้ชัดเจนแบ่งกลุ่ม คนออกเป็นกลุ่มๆ หรือไม่ หรือว่าปล่อยไว้อย่างนี้ไม่ต้องหยิบยกขึ้นมา ตามความเข้าใจของผม ผมคิดว่ามีทั้งข้อดี ข้อเสียทั้งสองด้าน ผมได้ฟังอาจารย์อานันท์ บรรยายเรื่องวัฒนธรรมลูกผสม วัฒนธรรมพันธุ์ทาง และวัฒนธรรม ตายตัว และอาจารย์ยังกล่าวถึงการสร้างอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มเพื่อใช้ในการต่อรอง เพื่อหาพื้นที่ เกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสิทธิ เรื่องสวัสดิการอะไรก็แล้วแต่ ก็ทำ�ให้ผมเข้าใจมากขึ้น เพราะฉะนั้นผม คิดว่า ขณะนีส้ ภาความมัน่ คงแห่งชาติได้ใช้ยทุ ธศาสตร์โดยเน้นไปทีส่ ถานะของบุคคลไม่ได้เน้นว่าเขาเป็นใครแต่เน้นที่ สถานะ ผมคิดว่าก็นา่ จะใช้ได้ บางครัง้ เราอาจจะต้องกลับมาทบทวนว่าปัญหาทีเ่ กิดขึน้ ข้อเรียกร้องต่างๆ เป็นปัญหา เฉพาะของคนกลุ่มเขาหรือไม่ หรือเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นทั่วๆ ไป ต้องคิดถึงตรงนี้ตลอด อย่างเช่นการถูกเจ้าหน้าที่ ป่าไม้จับกลุ่มในพื้นที่ป่าสงวน ถามว่า เฉพาะกลุ่มชาวเขาหรือไม่ที่ถูกจับกุม ผมคิดว่าไม่ใช่คนไทยทั่วๆ ไปก็โดนจับ ในข้อหาบุกรุกป่าสงวนเช่นเดียวกัน  เพราะฉะนั้นในประเด็นคำ�ถาม ที่ว่าการไม่มีบัตรประชาชน เป็นปัญหาเฉพาะ


377

ภารกิจของสำ�นักกิจการชาติพนั ธุ์ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมัน่ คงของมนุษย์  มีสองเรือ่ งคือ  เรือ่ งทีห่ นึง่ เป็นเรือ่ งของการจัดการความรู้  เช่นการสนับสนุนการจัดประชุมครัง้ นี้ เพือ่ เป็นการกระจายความรูซ้ งึ่ จะทำ�ให้เกิดสังคม ที่ดีกว่า อีกเรื่องหนึ่ง เป็นการเสริมสร้างสมรรถนะขององค์กรก็คือ องค์กรทางสังคมซึ่งเป็นองค์กรธรรมชาติ ทั้งสอง ด้านนี้เพื่อให้เกิดจากความรู้สึกว่าเป็นท้องถิ่นเดียวกัน คนบ้านเดียวกัน ก็จะเกิดขึ้นมาจากลักษณะของความเป็น กลุ่มชาติพันธุ์เดียวกัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไปเสริมในเรื่องของประชาธิปไตย  เราจะเรียกว่า เป็นการเมืองใหม่ก็ได้ ซึ่งค่อน ข้างจะบริสุทธิ์ ไม่มีคนอื่นเข้าไปก้าวก่าย ไม่มีรัฐเข้าไปชักจูง เกิดจากจารีตประเพณีเกิดจากวัฒนธรรมของตนเอง รวมกันเป็นองค์กร ซึ่งถ้าองค์กรของกลุ่มชาติพันธุ์เหล่านี้เข้มแข็ง เขาก็ดูแลตัวเองได้ จัดสวัสดิการให้ตนเองได้ ก็ถือเป็นความสำ�เร็จของกระทรวงฯ เพราะกระทรวงฯไม่ได้ทำ�หน้าที่ด้วยตัวของตัวเอง แต่เป็นเรื่องว่าจะทำ�อย่างไร ให้สังคมทั้งหมดเข้มแข็งขึ้นมาด้วยตัวเอง เพราะฉะนั้นในเชิงนโยบายด้านชาติพันธุ์ ผมได้ให้ความกระจ่างพอ สมควรในที่ประชุมคราวนี้ว่า เราไม่ควรจะไปทำ�ให้กลุ่มชาติพันธุ์ตายตัวเหมือนอย่างที่อาจารย์อานันท์ได้บรรยาย ไปแล้ว  คือไปกำ�หนดความเป็นชาติพันธุ์ให้ตายตัว  เช่นเดียวกับอาจารย์ฉวีวรรณ  ประจวบเหมาะ ซึ่งท่านได้ศึกษา เรือ่ งการจำ�แนกกลุม่ ชาติพนั ธุแ์ ละท่านก็พบปัญหาเช่นเดียวกันว่าในบางประเทศไปกำ�หนดความเป็นชาติพนั ธุต์ ายตัว และความเป็นชาติพันธุ์นี้ไปโยงกับเรื่องสิทธิของบุคคลซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบทั้งแง่บวกแง่ลบ การกำ �หนดตายตัว เช่นนั้นเป็นเรื่องที่ค่อนข้างละเอียดอ่อน ถ้าไม่แน่ใจไม่ควรทำ�  เวลาผมเจอคำ�ถามว่าในประเทศไทยมีกี่ชาติพันธุ์ ผม ก็บอกว่า มีประมาณ 70 ภาษาที่ใช้กันอยู่ ผมไม่ค่อยให้ความสำ�คัญมากนักกับจำ�นวนกลุ่มชาติพันธุ์ ขอบคุณครับ

รองศาสตราจารย์ สุริชัย หวันแก้ว ขอบคุณนะครับคุณศตวรรษ ไม่ทราบว่าจะมีใครมีประเด็นอะไรจะเสริมต่อไหมครับ ก่อนที่เราจะไปสู่ตอน สุดท้าย ที่เป็นการกล่าวปิดนะครับ

ดร. นงเยาว์ เนาวรัตน์ ขอบคุณมากคะ ดิฉนั มีขอ้ เสนอในเชิงรูปธรรมสามประเด็นด้วยกันคะ ประเด็นแรก คือจากการเรียนรูม้ าสองวัน  รูส้ กึ ว่าปัญหาเรือ่ งสถานะบุคคลเป็นเรือ่ งทีจ่ ะต้องได้รบั การผลักดันให้รวดเร็วขึน้  จึงอยากจะชักชวนว่าจะทำ�อย่างไร ที่เสนอเช่นนี้เพราะว่าสถานะบุคคลจะนำ�ไปสู่โอกาสต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องของการเข้าถึงทรัพยากร เรื่องที่ดิน เรื่อง การจ้างงานและเรื่องของการศึกษา และจะต่อเนื่องไปถึงรุ่นใหม่ด้วย คือว่าหากพ่อแม่ ไม่ได้รับสิทธิหรือไม่ได้เป็น พลเมืองไทยแล้วลูกก็จะเข้าถึงโอกาสทางการศึกษาน้อยมาก ฉะนั้นเวทีนี้จะทำ�อย่างไรให้นโยบายที่มีอยู่แล้วขณะ นี้มีความเป็นจริงมากขึ้นและก็ไปช่วยพี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์ได้จริงจัง ประการที่สอง  คือประเด็นเรื่องภาษา  ถ้าจะสอนแบบทวิภาษา หรือเป็นพหุภาษา  เพื่อที่จะให้เกิดสังคม พหุลักษณ์หรือพหุสังคม อาจจะยังตกลงไม่ได้ว่าจะเป็นภาษาอะไร แต่ดิฉันคิดว่ามันน่าจะขยับได้ว่าจะคุยเรื่องนี้ได้ จริงจังอย่างไร และชุมชนอาจจะมีส่วนร่วมว่า ภาษาอะไรที่เขาอยากให้ลูกหลานเขาเรียนมากกว่าภาษาไทยกลาง หรือภาษาอังกฤษที่ทางโรงเรียนจัดเตรียมเอาไว้ ดิฉันคิดว่าถ้าภาษาเป็นเครื่องมือของการสร้างอัตลักษณ์ สร้าง ประสบการณ์ร่วมของประวัติศาสตร์ชุมชนและก็สร้างภูมิปัญญาให้กับสังคมเรา ดิฉันคิดว่าเรื่องนี้ต้องคิดว่าน่าจะ

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

กลุ่มชาติพันธุ์หรือไม่ ผมคิดว่า ก็ไม่ใช่ น่าจะขึ้นอยู่กับเงื่อนไขและบริบท เพราะฉะนั้น หากพิจารณาเช่นนี้แล้ว  บาง เรือ่ งก็เกีย่ วข้องกับความเป็นชาติพนั ธุ์  เช่น  คนทีไ่ ม่ได้ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาแม่มาตัง้ แต่กำ�เนิด เขาจะมีขอ้ ด้อยตรง ทีว่ า่ เวลาเข้าเรียนหนังสือก็จะลำ�บากหน่อย  กรณีนี้ รัฐน่าจะต้องมีนโยบายดูแลเขาใช่ไหม  เพราะฉะนัน้ นโยบายของ รัฐเกี่ยวกับเรื่องความเป็นชาติพนั ธุจ์ ะต้องแยกแยะ ว่าเป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความเป็นชาติพันธุห์ รือไม่  หรือไม่ใช่ ถ้าไม่ใช่ก็ไม่ต้องหยิบยกขึ้นมา


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

378

ทำ�อย่างไร  ขณะที่นโยบายที่ฟังจากอาจารย์สุวิไลเมื่อวานนี้ดูเหมือนว่าเรายังไม่มีนโยบายพหุภาษาเลย  ถ้าอย่าง นั้นจะผลักดันให้เกิดนโยบายส่วนนี้มาได้อย่างไร ประการทีส่ าม คือเรือ่ งการศึกษา มีการกล่าวถึงกันมากว่าจะต้องสอนนักศึกษา นักเรียนให้เข้าใจประวัตศิ าสตร์ ท้องถิน่ ถ้าประวัตศิ าสตร์ทอ้ งถิน่ เป็นความทรงจำ�ร่วม เป็นความรูส้ กึ ร่วม ความเข้าใจร่วมของเขา แต่ขณะนีเ้ ราเรียน รูอ้ ยูว่ า่ เราสอนประวัตศิ าสตร์ไทยเป็นประวัตศิ าสตร์เชิงเดีย่ ว เพราะฉะนัน้ ดิฉนั คิดว่าการ มีนโยบายอย่างไรทีจ่ ะสร้าง หลักสูตรใหม่ตั้งแต่ระดับต้นๆ มาถึงระดับมหาวิทยาลัยให้นักศึกษาเข้าใจประวัติศาสตร์ที่หลากหลายมากขึ้น ดิฉัน ว่าเป็นเรื่องจำ�เป็น เมื่อวานดิฉันนั่งฟังอาจารย์ชาญวิทย์ เกษตรศิริ กล่าวถึงสยามประเทศ แต่ก่อนดิฉันเองก็ไม่เคย รู้ว่า คำ�ว่าสยาม มีความหมายอย่างไร และเมื่อเปลี่ยนมาเป็นประเทศไทยแล้วมีความหมายอย่างไรกับคนจำ�นวน มาก เพราะฉะนั้นดิฉันคิดว่าการศึกษาที่จะนำ�ไปสู่ความเป็นสังคมพหุลักษณ์ หรือทำ�ให้เกิดความหลากหลายทาง วัฒนธรรมในสังคมไทย ก็น่าจะเป็นประเด็นทั้งในเชิงการเคลื่อนไหว และประเด็นทางวิชาการ และอยากให้เป็น ประเด็นทางการศึกษาได้เริ่มตั้งแต่ต้นๆ จนถึงระดับมหาวิทยาลัย สุดท้ายนะคะ เราจะสร้างปัญญาชนกลุ่มชาติพันธุ์ได้อย่างไร ดิฉันคิดว่าไม่ว่าจะเป็นปัญญาชนผ่าน กระบวนการทางการศึกษาอย่างเป็นทางการหรือปัญญาชนที่มาจากชุมชนของเขา ดิฉันคิดว่าน่าจะเป็นเรื่องที่เรา ผลักดันได้ทั้งระดับนโยบายทางวิชาการ แนวคิด และในส่วนของการทำ�กิจกรรมร่วมมือกัน ขอบคุณมากคะ

อาจารย์ ดร.สุริชัย หวันแก้ว ขอบคุณนะครับผมคิดว่าที่อาจารย์นงเยาว์ ซึ่งมาจากคณะศึกษาศาสตร์ช่วยเสริมนะครับเป็นประเด็นที่น่า สนใจ ผมมีความเห็นเพิ่มเติมเล็กน้อยเกี่ยวกับนโยบายภาษา ซึ่งเป็นพหุภาษาก็มีอยู่ เช่นการส่งเสริมให้เรียนภาษา อังกฤษ ภาษาจีนอะไรอย่างนี้ เมื่อเรากล่าวถึงโรงเรียนนานาชาติแปลว่าต้องมีภาษาอังกฤษ กับภาษาอื่นๆ ภาษา จีน อันนี้ผมคิดว่ามีความลั่กลันในความคิดเรื่องพหุวัฒนธรรมมาก อีกประเด็นหนึง่ คือการสร้างปัญญาชนกลุม่ ชาติพนั ธุ์ ซึง่ ผมเห็นด้วยนะ ผมคิดว่าประเด็นของอาจารย์นงเยาว์ คงจะไม่ได้หมายถึงเพียงบทบาทหน้าทีค่ วามรับผิดชอบของคณะศึกษาศาสตร์หรือครุศาสตร์แต่เป็นเรือ่ งของการเรียน รู้ที่ยิ่งใหญ่กว่าศึกษาศาสตร์  อันนี้ก็ต้องเชื่อมไปถึงเรื่องที่อาจารย์ชยันต์ กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ว่าเราจะมีจัดประชุมใน รายละเอียดอย่างไรดี และต้องโยงไปถึงบทบาทของมหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง แต่ว่าเรื่องที่เราพูดกันรู้สึกว่าจะเล็กเกิน ไปสำ�หรับมหาวิทยาลัยทั้งมหาวิทยาลัย  แต่ก็ใหญ่มากเกินกว่าที่มหาวิทยาลัยแต่ละแห่งจะทำ�ได้  ผมสงสัยว่า  เรา อาจจะต้องหาวิธีการทำ�ให้เรื่องคล้ายๆ  กับเล็กแต่ใหญ่มาก แทรกไปอยู่ทุกส่วนของการคิด  การปฏิบัติ  เพื่อเป็น เงือ่ นไขของการสร้างวุฒภิ าวะให้แก่สงั คมเราเองไว้รบั มือกับการมองโจทย์ตา่ งๆ ซึง่ เป็นโจทย์ทคี่ วรจะสร้างสมรรถนะ ร่วมกันทางสังคม  เพื่อที่จะรับโจทย์ทางเศรษฐกิจ  โจทย์ทางการเมือง  โจทย์ด้านความขัดแย้ง  โจทย์ของความอคติ ซึ่งผมคิดว่า เราคงต้องใช้สติกันมากขึ้น และสติก็ไม่ได้มาจากที่ไหนนอกจากสังคมที่เราอยู่ด้วยกัน การแลกเปลี่ยน เรียนรู้จึงเป็นเงื่อนไขสำ�คัญนะครับ ผมก็จบส่วนนี้ไว้แค่นี้ และคงต้องขออนุญาตเรียนเชิญคุณสุนี ไชยรส กล่าว ปัจฉิมกถา

ปัจฉิมกถา คุณสุนี ไชยรส ขอขอบคุณทุกท่านที่มาร่วมประชุมในสองวันนี้นะคะ ดิฉันคิดว่าเป็นการประชุมที่น่าสนใจมากเนื่องจากมี กำ�หนดการทีแ่ น่น และยาว และยังมีหวั ข้อทัง้ ทีเ่ ป็นวิชาการและรูปธรรมในกลุม่ ย่อย ดิฉนั สังเกตว่ามีผเู้ ข้าร่วมประชุม ทุกหัวข้อ  และก็ยังช่วยกันออกความเห็น  เหล่านี้เป็นปรากฏการณ์ที่น่าสนใจ  ดิฉันได้สังเกตการณ์ประชุมตลอด


379

ส่วนทีส่ อง ดิฉนั อยากแลกเปลีย่ นกับท่านผูอ้ ำ�นวยการสำ�นักกิจการชาติพนั ธุ์ คำ�ถามทีท่ า่ นได้ตงั้ ไว้เมือ่ สักครูน่ ี้ เกี่ยวกับกลุม่ ชาติพนั ธุ์วา่ ตกลงคือใครกันแน่ คำ�ตอบของโจทย์หัวข้อนีช้ ดั เจนมากในการบรรยายของอาจารย์ ชยันต์ ซึ่งได้กล่าวถึง  พหุวัฒนธรรมคือความหลากหลาย เพราะฉะนั้นเรามีข้อสรุปตรงกันเลยว่า แทบจะไม่มีหรือว่าไม่มี ใครสามารถระบุได้ว่า ใครคือคนไทยบริสุทธิ์ ไม่มีสายเลือดชาติพันธุ์อื่นผสมอยู่เพราะฉะนั้น วันนี้จึงมีความแตกต่าง หลากหลายทั้งในเชิงวิถีชีวิต ภาษา ประเพณี วัฒนธรรมของผู้คนในสังคมไทย และเราน่าจะถือว่าอันนี้คือมิติของคำ� ว่าพหุวัฒนธรรมที่เราถกเถียงกัน แบบที่ท่านผู้อำ�นวยการฯ ได้ตั้งข้อสังเกตว่า ไม่ต้องนิยามว่าใครคือใคร เพราะว่า มีความผสมปนเปบ้าง มีความเฉพาะส่วนของกลุ่มที่ยังเหนียวแน่นบ้าง แต่ว่าความเคารพในคุณค่าของความต่าง นั่นเป็นประเด็นที่สำ�คัญ ส่วนทีส่ าม  ดิฉนั คิดว่าเป็นอุดมการณ์และความใฝ่ฝนั ทีส่ งู มาก เพราะการทีจ่ ะบอกว่าเราเคารพความต่างและ พร้อมที่จะพิทักษ์กลุ่มคนที่อ่อนแอกว่านั้น และเคารพคุณค่าความเป็นคนของทุกคน ดิฉันคิดว่าไม่ใช่เรื่องง่าย เป็น สิง่ ทีท่ า้ ทายทุกคนอย่างมาก ดิฉนั ขออนุญาตตัง้ ข้อสังเกตร่วมสำ�หรับสังคมไทยว่าสังคมไทยได้ใช้กลุม่ ชาติพนั ธุไ์ ม่วา่ จะเป็นกลุ่มพี่น้องม้ง หรือกลุ่มอื่นๆ ที่ได้เข้าร่วมการต่อสู้ในทางการเมืองของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ใน ขณะเดียวกันฝ่ายรัฐบาลได้ใช้ประโยชน์หรือสร้างสถานการณ์ หรือความเชื่อ หรือกระบวนการหลายอย่างที่ทำ�ให้ กลุม่ ชาติพนั ธุไ์ ด้เข้ามารับใช้ในกระบวนการของอำ�นาจรัฐฝัง่ นีแ้ ละก็เกิดการสูญเสียต่อพีน่ อ้ งต่างๆ จำ�นวนไม่นอ้ ยเช่น กัน เพราะฉะนั้นสรุปแล้ว ดิฉันคิดว่าสิ่งที่เราอยากจะเห็น คือว่าความต่างในวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของทุกคนซึ่งเรา พูดกันในสองวันนี้ทั้งหมด เป็นเรื่องที่ถ้าจะวิเคราะห์ถึงที่สุด เป็นผลมาจากการที่ฐานรากทางเศรษฐกิจซึ่งกลุ่มต่างๆ ไม่สามารถทีจ่ ะอยูใ่ นวิถที ตี่ อ่ รองหรือว่ามีการเข้าถึงฐานทรัพยากรทางเศรษฐกิจทีช่ ดั เจน เพราะฉะนัน้ ฐานทรัพยากร ทางเศรษฐกิจทีไ่ ม่ได้รบั การเข้าถึงอย่างเต็มทีด่ ว้ ยอำ�นาจการตัดสินใจของพวกเขาเอง จึงนำ�มาซึง่ การไม่สามารถมีสว่ น ร่วมในอำ�นาจทางการเมืองและก็นำ�ไปสู่การกีดกันทางด้านวัฒนธรรมและก็สร้างวาทกรรมอะไรต่างๆ ที่นักวิชาการ หรือผูอ้ ภิปรายได้พดู กันมาตลอด ดิฉนั คิดว่าฐานรากตรงนีย้ งั คงดำ�รงอยู่ ก็จะโยงมาสูค่ ำ�ถามทีห่ ลายท่านเคยพูดกัน ว่า กลุ่มชาติพันธุ์นั้นไม่ใช่คนที่โดนกดขี่ ถูกเอารัดเอาเปรียบฝ่ายเดียวไม่ได้ถูกดูถูกเหยียดหยามหรือสร้างวาทกรรม อะไรอย่างใดอย่างหนึง่ แม้แต่อย่างเดียวตามทีเ่ ราตีโจทย์ของกลุม่ ทางชาติพนั ธุน์ กี้ ว้างมาก เพราะฉะนัน้ ถ้าเราเปรียบ กลับมา ดิฉันได้ตั้งข้อสังเกตในช่วงท้ายว่าแท้ที่จริงสังคมไทยโดยรวม  เนื่องจากโครงสร้างทางเศรษฐกิจของเรานั้น ได้ถกู ผูกขาดโดยอำ�นาจทางเศรษฐกิจทีอ่ ยูใ่ นมือของกลุม่ ทุนและร่วมมือกับอำ�นาจรัฐและโยงไปสูช่ ดุ ของทุนข้ามชาติ และโลกาภิวัตน์ ก็ได้มีผลทำ�ให้สังคมไทยโดยรวมก็เกิดปัญหาทางโครงสร้างทางเศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรมเช่น เดียวกันกับกลุ่มชาติพันธุ์ที่โดนเอารัดเอาเปรียบมากยิ่งขึ้นไปอีกสำ�หรับบางกลุ่มเป็นพิเศษ แต่วา่ ถึงทีส่ ดุ ก็คอื ว่า เราจำ�เป็นอย่างยิง่ ทีจ่ ะต้องพูดกันว่า ชาตินยิ มคับแคบได้กอ่ ผลเสียหายทัง้ ต่อเราและต่อ ผู้คนมากมายในประวัติศาสตร์ของไทย เพราะฉะนั้นในเมื่อเราเริ่มต้นอย่างนี้ ดิฉันคิดว่าโจทย์ของอาจารย์นงเยาว์ มีคำ�ตอบเล็กๆ  อยู่ที่จะบอกว่าอย่างน้อยที่สุดจะเป็นไปได้หรือไม่ว่าการเคลื่อนไหวครั้งใหญ่จากพี่น้องทั่วประเทศ รวมทั้งจากพี่น้องภาคราชการ ปัญหาใหญ่ที่สุดที่เราจะต้องแก้ให้ได้ก็คือว่ากลุ่มคนที่ไร้สัญชาติจำ�เป็นอย่างยิ่งที่จะ ได้รับการพูดถึงและกระตุ้นครั้งใหญ่ ดิฉันคิดว่าคำ�ตอบแรกก็คือว่า พวกเขาต้องได้รับสิทธิของการมีสัญชาติให้ได้

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

สองวันนี้  พบว่า  ส่วนหนึ่งเป็นกลุ่มที่ได้มีจิตใจ หรือมีวิธีการหรือมีกระบวนการที่ได้ทำ�งานกับกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ เกือบทั้งนั้น แม้แต่คุณครูบางท่าน อาจารย์บางท่านหรือมาจากกลุ่มที่ต่อสู้เฉพาะเรื่องของตนเอง เพราะฉะนั้นพวก เราที่มาร่วมอยู่  ณ  ที่นี่ค่อนข้างเห็นได้ชัดว่าเป็นคนที่ได้ผ่านประสบการณ์และได้เห็นปัญหามา  และมีความตั้งอก ตั้งใจอยากจะมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้และร่วมกันหาทางออก ดิฉันพบคำ�ถามเล็กๆ  ในกลุ่มย่อย ที่อยากจะถาม ว่า วันนี้ฟังตรงนี้ แลกเปลี่ยนตรงนี้แล้วอยากจะกลับไปทำ�อะไรในส่วนของตัวเอง ซึ่งไม่ได้หมายถึงว่าต้องเป็นการ เคลื่อนไหว ปรับเปลี่ยนที่ใหญ่โต แต่หมายถึงจากมุมเล็กๆ ที่ตัวเองดำ�รงอยู่หรือ ที่ดำ�เนินงานอยู่ ดิฉันคิดว่านั่นเป็น คำ�ตอบเล็กๆ ที่จะบอกว่าหลังจากการประชุมนี้ คงจะไม่ได้สูญเปล่าทีเดียว


บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

380

เพราะว่า โจทย์ตัวนี้ยืดเยื้อในสังคมไทยมายาวนานมาก โจทย์ที่สองก็คือว่า เราจะต้องเกื้อหนุนให้ทุกกลุ่มเข้าไปมี ส่วนร่วมในการจัดการสังคม ชุมชนของเขา หรือฐานทรัพยากรของพวกเขา เพราะว่าวันนี้ปัญหาที่ดินทำ�กิน ปัญหา อื่นๆ ที่รุมกระหนํ่ากลุ่มชาติพันธุ์จำ�นวนไม่น้อยที่มีลักษณะเด่นชัดไม่ว่าเหนือ ใต้ ตะวันออก ตะวันตกก็คือ ปัญหา เรื่องการไม่สามารถที่จะมีที่ดินที่มั่นคงและไม่สามารถจัดการฐานทรัพยากรของพวกเขาได้ นั่นก็เป็นปัญหาที่รุนแรง ในขณะที่เราก็จะต้องทำ�งานควบคู่กันในการรณรงค์เรื่องการศึกษา เรื่องภาษาหรือว่าเรื่องอื่นๆ เพื่อให้พวกเขามีที่ ยืน ตัวตนของพวกเขา และคำ�ตอบสุดท้ายทีน่ า่ จะเป็นทีอ่ าจารย์นงเยาว์ตงั้ โจทย์ไว้เหมือนกัน เขาบอกว่าไม่วา่ เราคิด จะทำ�อะไรก็ตาม เราต้องการอย่างเดียวเท่านั้นสำ�หรับคำ�ว่า พหุวัฒนธรรม ตรงนี้นะคะก็คือต้องให้พวกเขามีสิทธิที่ จะกำ�หนดเจตน์จำ�นงของตนเอง ต้องการให้พวกเขามีสิทธิตัดสินใจของตนเอง เพราะฉะนั้น ไม่ว่าดิฉันเอง ท่านเอง หรือใครก็ตาม หน้าทีข่ องพวกเราก็คอื ช่วยเปิดเวที ช่วยทำ�ให้พวกเขาได้มที ยี่ นื ในสังคม ต่อสูก้ บั ปัญหาไม่วา่ เศรษฐกิจ การเมือง สังคม และให้โอกาสพวกเขาในเลือกกำ�หนดตนเอง ไม่ว่าพวกเขาจะต้องการหลักสูตรแบบไหน ภาษา อย่างไรหรือต้องการจะดำ�เนินชีวติ อย่างไร นัน้ คือสิง่ ทีพ่ วกเขาต้องตัดสินใจเอง สำ�หรับกลุม่ ชนโดยเฉพาะของเขานะคะ ดิฉันขออนุญาตรบกวนเวลาต่อที่ประชุมซึ่งก็ได้ใช้เวลามาทั้งสองวัน และก็คิดว่าในส่วนคณะกรรมการ สิทธิมนุษยชนแห่งชาติเองถ้ามีโอกาสทีจ่ ะได้ทำ�งานร่วมกับทุกท่านนะคะ ก็คดิ ว่าเต็มใจเสมอ และก็ขอแจ้งข่าวเล็กๆ คะ ตอนนีเ้ ราย้ายทีอ่ ยูแ่ ล้วนะคะไปอยูท่ ศี่ นู ย์แจ้งวัฒนะ ซึง่ ย้ายวันนีเ้ อง เผือ่ ว่าถ้าท่านจะติดต่อไปอย่างไรก็ตรวจสอบ สักนิดหนึง่  ก็ขออนุญาตขอบคุณแทนผูจ้ ดั ก็แล้วกันนะคะ  ต่อกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมัน่ คงของมนุษย์ซงึ่ ได้สนับสนุนงานดีๆ  ในครั้งนี้ ขอบคุณทุกท่านที่มาร่วมงานและอยู่กับพวกเราจนถึงเวลาสุดท้ายตรงนี้นะคะ ก็หวัง ว่าพวกเราจะกลับบ้านกันอย่างมีความรู้สึกมุ่งมั่นและก็มีกำ�ลังใจมากขึ้นกว่าเดิมคะ ขอบคุณคะ



ลงทะเบียน

พิธีกรประจำ�วัน ดร.ประสิทธิ์ ลีปรีชา กล่าวรายงานการประชุม โดย คุณศตวรรษ สถิตย์เพียรศิริ หัวหน้าสำ�นักกิจการชาติพันธุ์ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วม ศาสตราจารย์ ดร.พงษ์ศักดิ์ อังกสิทธิ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวเปิดการประชุม โดย คุณขวัญเมือง บวรอัศวกุล ผู้ตรวจราชการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ชี้แจงเป้าหมายของการประชุม โดย ดร .ชยันต์ วรรธนะภูติ

ปาฐกถานำ� โดย ศาสตราจารย์ ดร. นิธิ เอียวศรีวงศ์

นำ�เสนอบทความแนวคิด “รัฐชาติ ชาติพันธุ์ และความทันสมัย” ดร. เสกสรรค์ ประเสริฐกุล คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

พักรับประทานอาหารว่าง /การแสดงชนเผ่า

นโยบายของรัฐและความหลากหลายทางชาติพันธุ์  รัฐกับความหลากหลายทางชาติพันธุ์ รองศาสตราจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์  ความหลากหลายทางชาติพันธุ์ และความมั่นคงของชาติ คุณพิชัย รัตนพล อดีตรองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ  นโยบายด้านภาษาสำ�หรับกลุ่มชาติพันธุ์ในสังคมไทย ศาสตราจารย์ ดร.สุวิไล เปรมศรีรัตน์ สถาบันวิจัยภาษาเพื่อการพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ดำ�เนินรายการ ศาสตราจารย์ ดร. ยศ สันตสมบัติ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

พักรับประทานอาหารกลางวัน

นำ�เสนอบทความแนวคิด “ชาตินิยม วัฒนธรรม และความขัดแย้ง” รองศาสตราจารย์สายชล สัตยานุรักษ์ คณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ปาฐกถาพิเศษ ชาติ-รัฐ-ชื่อ-ชาติพันธุ์: เอกลักษณ์หรือพหุลักษณ์? ดร. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ โครงการตำ�ราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ผู้ดำ�เนินรายการ: อาจารย์เอกกมล สายจันทร์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

พักรับประทานอาหารว่าง/ การแสดงชนเผ่า

8.00 - 8.40

8.40 - 9.00

9.00 - 9.30

9.30 - 10.15

10.15 - 10.30

10.30 - 12.00

12.00 - 13.00

13.00 - 13.45

13.45 - 14.30

14.30 - 14.45

22 ธันวาคม 2551

ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติ โรงแรมดิเอ็มเพรส จังหวัดเชียงใหม่

กำ�หนดการประชุมวิชาการ “ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม” วันที่ 22-23 ธันวาคม 2551

ภาคผนวก 1

บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

382


17.15 - 18.45

ผู้ดำ�เนินรายการ ดร.สมพันธ์ เตชะอธิก คณะมนุษย์ ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ชาตินิยม ชาติพันธุ์กับสุขภาพและการศึกษา  รัฐกับการจัดการสุขภาพประชาชนบนความหลาก หลายของกลุ่มชาติพันธุ์ คุณสุรีรัตน์ ตรีมรรคา คณะกรรมการหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติ  แนวคิดชาตินิยมในระบบการแพทย์และสาธารณสุข นพ. ดร. โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ สำ�นักวิจัยสังคม และ สุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข  การศึกษาในภาษาดั้งเดิมในมุมมองของประเด็น สิทธิมนุษยชน: กรณีศึกษาภาษาเขมรของชนชาติ ดั้งเดิมเขมรในจังหวัดสุรินทร์ คุณชัยมงคล เฉลิมสุขจิตศรี สมาคมภาษาและ วัฒนธรรม จังหวัดสุรินทร์

17.15 - 18.00 ภาพยนตร์สั้น กระเป๋านักเรียนของหงสา ได้รับรางวัลชนะเลิศ ภาพยนตร์ สั้น 6th World Film Festival of Bangkok 2008 โดยเพื่อนไร้พรมแดน

ผู้ดำ�เนินรายการ: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิติ ภวัครพันธุ์ คณะ รัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์  การจำ�แนกกลุ่มชาติพันธุ์: ปัญหาและข้อเสนอแนะ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ฉวีวรรณ ประจวบเหมาะ ศูนย์ มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)  รัฐและประวัติศาสตร์ท้องถิ่น รองศาสตราจารย์ ดร. อรรถจักร สัตยานุรักษ์ คณะ มนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  ประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์มอญนอกแบบเรียนประวัติศาสตร์ รัฐชาติ คุณองค์ บรรจุน: นักวิชาการอิสระและประธานชมรม เยาวชนมอญ กรุงเทพฯ

สัมมนาเชิงปฏิบัติการ “จากต้นฉบับงานวิจัยสู่งานหนังสือเพื่อการพิมพ์เผยแพร่” Getting Published in the English World  Reviewing Manuscripts: Developing Potentials, Spotting Problems – Dr. Chris Baker  Imagining a Book: A Publisher's Perspective - Trasvin Jittidecharak (ร่วมกับ Mekong Press - เฉพาะผู้ลงทะเบียนสำ�หรับสัมมนาเชิงปฏิบัติการนี้เท่านั้น)

ผู้ดำ�เนินรายการ: ดร. ศรีประภา เพชรมีศรี ผู้อำ�นวยการ สำ�นักงานสิทธิ มนุษยชนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล

ชาติพันธุ์กับสิทธิมนุษยชน  สิทธิมนุษยชนกับชาติพันธุ์ในสังคมไทย คุณสุนี ไชยรส คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  ปัญหาและอุปสรรคการได้มาซึ่งสัญชาติของคนไร้รัฐ คุณสุรพงษ์ กองจันทึก รองประธาน คณะอนุกรรมการ สิทธิมนุษยชนด้านชน ชาติ ผู้ไร้สัญชาติ แรงงานข้าม ชาติ และ ผู้พลัดถิ่น  เขตแดน ผู้คนและสัญชาติ จากมุมมองสิทธิมนุษยชน ดร. ศรีประภา เพชรมีศรี ผู้อำ�นวยการสำ�นักงานสิทธิ มนุษยชนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

14.45 - 16.15

383


10.45-11.00

9.15-10.45

8.10-8.45 8.45-9.15

พักรับประทานอาหารว่าง/ การแสดงชนเผ่า (บริเวณหน้าห้องประชุม ชั้น 2)

ผู้ดำ�เนินรายการ: ดร. อัมพร จิรัฐติกร

ลงทะเบียน พิธีกรประจำ�วัน คุณปนัดดา บุณยสาระนัย ปาฐกถาพิเศษ นโยบายสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและชนกลุ่มน้อย ศาสตราจารย์ วิฑิต มันตาภรณ์ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภูมิรัฐศาสตร์ และชาติพันธุ์ชายแดน ก้าวข้ามอคติทางชาติพันธุ์ในยุค การจัดการศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ในบริบท สิทธิในทรัพยากรในมิติชาติพันธุ์ พัฒนาการของการเกิด “พื้นที่ภาคเหนือ โลกาภิวัตน์: สื่อ การแสดง และ ของพหุวัฒนธรรม สัมพันธ์ และพื้นที่ชายแดนในภาคเหนือ” ของ วรรณกรรม  สังคมพหุภาษากับการศึกษาในยุค  อำ�นาจนิยม ประเพณีนิยม และ รัฐไทยสมัยใหม่: มิติทางชาติพันธุ์บน  “ตลก” ในสื่อบันเทิง “ผู้ร้าย” ใน ไร้ถิ่นฐาน: นโยบายและปฏิบัติการ เสรีนิยมใหม่กับบทพรรณนาว่าด้วย เศรษฐศาสตร์การเมือง และ ภูมิรัฐศาสตร์ ข่าว: อคติของ (ชน) ชาติ ... (ชน) จากมุมมองข้ามวัฒนธรรม ดร. ยุ สิทธิชุมชน ชั้น และความลักลั่นของวาทกรรม ของรัฐอาณานิคมแห่งสยาม จากอดีตจนถึง กติ มุกดาวิจิตร คณะสังคมวิทยา ดร. ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี คณะ ปัจจุบัน คุณสุภัตรา ภูมิประภาส นักข่าว/ และมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัย สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดร. พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ คณะรัฐศาสตร์ นักเขียน ธรรมศาสตร์  พะติจอนิ โอโดเชา ปราชญ์ชาวบ้าน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  คุณปรียานุช ปานประดับ นัก  การศึกษากับคนชายขอบ: กรณีศึกษา  ชาวประมงพื้นบ้านจังหวัดชายแดน  กฎหมายมีไว้เลี่ยง หรือไม่ก็ใช้ประโยชน์: แสดงและผู้เขียนบทภาพยนตร์ ของกลุ่มชนเผ่าพื้นเมือง ภาคใต้ในสถานการณ์ความรุนแรง : ด่านพรมแดนของรัฐกับการต่อรองของ  อคติชาติพันธุ์ในภาพยนตร์ไทยหลัง อาจารย์ชูพินิจ เกษมณี มหาวิทยาลัย มุมมองในมิติชาติพันธุ์สัมพันธ์ คนชายแดน วิกฤติเศรษฐกิจ พ.ศ. 2540 อาจาร ศรีนครินทรวิโรฒ ดร. เลิศชาย ศิริชัย สำ�นักวิชา อาจารย์พฤกษ์ เถาถวิล มหาวิทยาลัย ย์ฐนทัช กองทอง มหาวิทยาลัย  การจัดการศึกษาในพื้นที่พหุวัฒนธรรม: ศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ อุบลราชธานี หอการค้าไทย กรณีศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ผู้ดำ�เนินรายการ: ผศ.ดร.ชูศักดิ์ วิทยาภัค  กรณีศึกษาชุมชนมอแกนในอุทยานแห่ง ดร. สุกรี หลังปูเต๊ะ คณะศิลปศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ชาติหมู่เกาะสุรินทร์ และสังคมศาสต ร์มหาวิทยาลัยอิสลาม ผู้ดำ�เนินรายการ: รศ. ดร. อุบลรัตน์ ศิริยุว คุณจีรวรรณ บรรเทาทุกข์ สถาบันวิจัย ศักดิ์ ยะลา สังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ดำ�เนินรายการ: ผศ. ดร.นงเยาว์ เนาวรัตน์  กรณีศึกษาชุมชนอุรักลาโว้ยบนเกาะอา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดังราวี อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา อาจารย์สร้อยมาศ รุ่งมณี คณะ สังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์

วันที่ 23 ธันวาคม 2551

บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

384


ความยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อม?

ผู้ดำ�เนินรายการ: รศ. ดร. เริงชัย ตันสกุล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

o คุณสมพงษ์ สระแก้ว เครือข่าย o กรณีแก่งเสือเต้น คุณประสิทธิ พร กาฬอ่อนศรี ส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน o กรณีโรงแต่งแร่คลิตี้ คุณกำ�ธร (Labor Rights Promotion สุวรรณมาลา ผู้แทนชาวบ้าน Network) คลิตี้ o นพ.ศักดา เมืองคำ� เรือพระร่วง o เมื่อโครงการพัฒนาของรัฐ คลินิก เวชกรรม ละเมิดหลักศรัทธาของชุมชน : o คุณพรศักดิ์ หมื่นตา โครงการ กรณี ท่อก๊าซ ไทย-มาเลย์ สื่อสารสุขภาพแรงงานไทยใหญ่ คุณสุไรด๊ะห์ โต๊ะหลี และคุณ ผู้ดำ�เนินรายการ: รศ. ดร. วรวิทย์ ศุภวรรณ ชนะสงคราม เจริญเลิศ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยชาวบ้านลาน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หอยเสียบ อ.จะนะ จ. สงขลา

แรงงานข้ามชาติ: ความเสมอภาค และการเข้าถึงบริการสุขภาพ?

ผู้ดำ�เนินรายการ: อาจารย์อลิสา หะสะเมาะ

ผู้ดำ�เนินรายการ: อาจารย์ ดร. วสันต์ ปัญญาแก้ว คณะ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่

o คุณไกรสิทธิ์ สิทธิโชดก สมาคมอาข่า o พม่าและชนกลุ่มน้อย: ดาวร้ายที่ไม่เคยเปลี่ยน บนสื่อไทย คุณวันดี สันติวุฒิเมธี สาละวินโพสต์ o คุณภาพันธ์ รักษ์ศรีทอง สำ�นักข่าวประชาไทย o สถานการณ์การปรากฏ ตัวของกลุ่มชาติพันธุ์ใน สื่อกระแสหลักและสื่อ ทางเลือกในปัจจุบัน คุณสมบัติ บุญงามอนงค์ มูลนิธิกระจกเงา o อดีต-ปัจจุบัน และความ หลากหลายทางวัฒนธรรม ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ อาจารย์แพร ศิริศักดิ์ดำ�เกิง มหาวิทยาลัยศิลปากร o ชีวิตในสังคมหลากชาติพันธุ์ของ คนชายแดนใต้ คุณมะรอนิง สาและ บ้านโต๊ะ ปัตตานี o คุณลม้าย มานะการ ผู้แทนภาค ประชาสังคม 3 จังหวัดชายแดน ภาคใต้ o การวิเคราะห์ภาพรวมและข้อ เสนอแนะโครงการวิจัยการ พัฒนาชุมชนในสถานการณ์ ความขัดแย้งในพื้นที่ 3 จังหวัด ชายแดนภาคใต้ อาจารย์อลิสา หะสะเมาะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

o คุณวิวัฒน์ ตามี ศูนย์ปฏิบัติการ ร่วมเพื่อแก้ไขปัญหาประชาชน บนพื้นที่สูง o เกย์: อัตลักษณ์ทางเพศที่ ต้องการพื้นที่ คุณนที ธีระโรจนพงษ์ กลุ่มเกย์ การเมืองไทย o การสำ�รวจสัญชาติและการ ศึกษาของบุคคลในพื้นที่สูง คุณโชติกา เครือมณี UNESCO ผู้ดำ�เนินรายการ: อ. ดร. ขวัญชีวัน บัวแดง คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่

อคติทางชาติพันธุ์ และ ชาติพันธุ์ในพื้นที่สื่อ

ประวัติศาสตร์ และความหลาก หลายทางวัฒนธรรม

สัญชาติและสิทธิความเป็น พลเมือง

อภิปรายกลุ่มย่อย กรณีศึกษาจากพื้นที่

22-23 ธั น วาคม 2551 ณ ศู น ย์ ป ระชุ ม นานาชาติ โรงแรม ดิ เ อ็ ม เพรส จ.เชี ย งใหม่

11.00 - 12.30

385


พักรับประทานอาหารกลางวัน

นำ�เสนอบทความแนวคิด “พหุวัฒนธรรมในบริบทของการเปลี่ยนผ่านทางสังคมและวัฒนธรรม” ศาสตราจารย์ ดร.อานันท์ กาญจนพันธุ์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ชาติ ชาติพันธุ์ และพหุวัฒนธรรมในสังคมไทย ดร. โคทม อารียา ประธานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ คุณอนุสิษฐ คุณากร ที่ปรึกษาด้านการประสานงานความมั่นคง สภาความมั่นคงแห่งชาติ ผู้ดำ�เนินการอภิปราย รองศาสตราจารย์สุริชัย หวันแก้ว สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พักรับประทานอาหารว่าง/ การแสดงชนเผ่า

สรุปสาระสำ�คัญของการประชุมและข้อสังเกต “ชาติพันธุ์ พหุวัฒนธรรมในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำ�โขง” โดย ดร. ชยันต์ วรรธนะภูติ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ปัจฉิมกถา โดย คุณสุนี ไชยรส คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

12.30 - 13.30

13.30 - 14.00

14.00 - 15.15

15.15 - 15.30

15.30 - 16.00

16.00 - 16.20

บทความวิชาการ เสนอในการประชุมวิชาการ ‘ชาตินิยมกับพหุวัฒนธรรม’

386



สนับสนุนโดย

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์

องค์กรร่วม

ศูนย์ภูมิภาคด้านสังคมศาสตร์ และการพัฒนาอย่างยั่งยืน คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ติดต่อ ศูนย์ภูมิภาคด้านสังคมศาสตร์และการพัฒนาอย่างยั่งยืน คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โทรศัพท์ 053-943595-6 โทรสาร 053-893-279 E-mail: rcsd@chiangmai.ac.th http://rcsd.soc.cmu.ac.th

สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.