BUDDHAPADIPA MAGAZINE

Page 1

ฉบับที่ ๖๓ ปีที่ ๑๙ เมษายน-มิถุนายน ๕๔

1


2

วารสาร “พุทธปทีป”

ปกหน้า (ใน)


ฉบับที่ ๖๓ ปีที่ ๑๙ เมษายน-มิถุนายน ๕๔

3

กองบรรณาธิการ Editor Team

คณะที่ปรึกษา พระราชภาวนาวิมล พระครูประภัศร์ธรรมวิเทศ นายวันชัย ภู่นุ่ม นางธัญญรัตน์ ศานติชาติศักดิ์ นางปริศนา พอนด์ คณะผู้จัดทำ

คณะพระธรรมทูต วัดพุทธปทีป กรุงลอนดอน 14 Calonne Rd Wimbledon London SW19 5HJ T.020 8946 1357 www.buddhapadipa.org (EN) www.padipa.org (TH) bpp@padipa.org คอมพิวเตอรกราฟฟค (Designed Team)

พระครูปลัดสุทัศน อมรสุทฺธิ นายพัชรพล พงษวิจิตร น้องหยก แผนกสนับสนุนช่วยเหลือ

ดาวรุง ทรัส | พิชณัฐ พลายสุวรรณ ทิพวรรณ สมิธ | วรพจน ศรีนา จำนวนพิมพ 2,000 เล่ม

กำหนดออก 5 ฉบับ/ป

(ม.ค./เม.ย./ก.ค./ต.ค./ธ.ค.)

การสนับสนุน/สมัครสมาชิก คาพิมพ/สแตมป/ซองบรรจุ 20 ปอนด สมัครสมาชิก 5 เลม/ป 30 ปอนด คาสนับสนุนทั่วไป 10 ปอนด

สารบัญ

CONTENTS

วิสาสะกับทานผู้อาน จะเครียดดีไหมถ้าความซวยมาเยือน มากกวาธรรมดา หลวงปูต้มหิมะ สองสุขภาพ ตอน แผลในกระเพาะ รู้เหตุ รู้คน หลักกรรมที่ควรเข้าใจให้ถูกต้อง ภาพกิจกรรมภายในวัด ไมเกรน (Migrain) Aging and Dying Goodness and Evil รร.พอ.วัดพุทธปทีปพลิกการเรียรู้ภาษา รายนามผู้บริจาคสนับสนุนวารสาร ข้อมูลสำคัญที่ทุกทานควรทราบ สรุปขาวชาวพุทธปทีป เสียงจากวัดสังฆปทีป เวลส

4 6 15 20 25 31 36 40 42 46 58 62 70 72 73 77


4

วารสาร “พุทธปทีป”

วิสาสะ กับท่านผู้

อ่าน

ขอความสุขสวัสดีจงมีแด่พี่น้องชาวไทยทุกท่าน วารสารพุทธปทีปกลับมาพบกับท่านอีกฉบับ เพื่อเติมเต็มความรู้ และ เป็นกำลังใจในการดำเนินชีวิต ที่แต่ละท่านต่างขับเคลื่อนไปข้างหน้าอย่าง มิหวั่น แม้เส้นทางจะมากไปด้วยอุปสรรค แต่ทว่าท้ายที่สุดอุปสรรคเหล่านั้น จักกลายเป็น “อุปกรณ์” สอนให้รู้จักการเริ่มต้นอย่างมีหลักและมีเป้าหมาย ชัดเจนมากขึ้น บัณฑิตท่านหนึ่งกล่าวไว้อย่างน่าฟังว่า อาวุธของนายพราน คือ “การ รอ” ฟังครั้งแรกก็นึกสงสัยว่า เพราะอะไร จึงเป็น “การรอ” ไม่ใช่เครื่องมือใน การไล่ล่าหรอกหรือ? ครั้นพินิจทบทวนด้วยเหตุและผล ทำให้เรียนรู้ว่า การ ครองตำแหน่งนายพรานผู้ชำนาญได้นั้น จะอาศัยเฉพาะอาวุธนั้นหาเพียงพอไม่ ทว่ายังต้องอาศัยการรอคอย เพื่อให้โอกาส “เหยื่อ” มาปรากฏเฉพาะต่อหน้า แล้วต่อยอดด้วยการส่งศรอันคม พุ่งทะยานจากคันธนูสู่เป้านั้นอย่างแม่นยำ การยกเอา “วิธีการของพรานผู้ชำนาญ” มากล่าว ก็เพื่อสะท้อนแนวคิด และวิธีการ ให้สามารถมีชัยในชีวิต และถือเป็นคติวิธี เพราะการใช้เวลาแต่ละ วันที่เรามีเท่ากัน ก็เหมือนกับศรที่ถูกยิงออกไป หากศรไม่ตรงกับเหยื่อที่ปรากฏ


พระครูปลัดสุทัศน์ อมรสุทฺธิ

โอกาสครั้งที่สองคงต้องรอไปหลายอึดใจ เช่นเดียวกับ “เป้าหมาย” สำคัญใน ชีวิต เมื่อหลุดลอยไปแล้ว การรอคอยย่อมจำเป็นต้องเข้ามาทำหน้าที่เยียวยา และฟ้องท่าทีว่า “ต้องเริ่มใหม่” และอาจจะต้องทำอีกบ่อยครั้ง ฉะนั้น วันเวลาและอายุของชีวิตที่เหลืออยู่ ควรใช้สอยอย่างตระหนักใน คุณค่า และให้เวลาแก่ใจเก็บเกี่ยวสิ่งดีงาม ด้วยการบ่มเพาะใจของตน ใน กรอบของการเสี ย สละแบ่ ง ปั น ปฏิ บั ติ ต นให้ มี ศี ล ธรรม และหมั่ น เจริ ญ สติ กรอบทั้งสามนี่แหละ จักป้องกันจิตจากการถูกครอบงำ เพราะอำนาจความ อิจฉาบ้าง ความริษยาบ้าง การกลั่นแกล้งและการปองร้ายบ้าง เมื่อเงื่อนไข ของใจไม่ได้รับการเติมเต็มอย่างผิดพลาด ความคิดและพฤติกรรมก็ย่อมไม่เอน เอียงจนไร้หลัก ตรงกันข้าม “ใจ” นั่นแหละจักปลุกความเชื่อมั่นให้ตื่นขึ้นมาทำ หน้าที่ได้อย่างเหมาะสม การกลับมาเยือนทุกท่านในครั้งนี้ คงไม่ใช่เป็นครั้งสุดท้าย ทว่าฉบับนี้มี เนื้อหาและเรื่องราวให้ชวนอ่าน เช่น มากกว่าธรรมดา ของท่าน “ชุติปัญโญ” รู้เหตุ รู้คน ของ “อ้อม ประนอม” และอีกหลายเนื้อหา ซึ่งเชื่อว่า สายตาที่ลาก ผ่านแต่ละบรรทัด จักได้รับการเติมแต้มต่อให้กับความคิด สะกิดต่อมอยาก ติดตามให้ชุ่มชื่น ราวยอดหญ้าเริงร่าการพัดพาของสายลม ในนามคณะผู้จัดทำขอขอบคุณทุกท่านที่ได้ “บริจาคเงิน” สนับสนุนค่า จัดพิมพ์ ค่าส่ง และค่าดำเนินการ ให้วารสาร “พุทธปทีป” ได้รับโอกาสกลับมา ทำหน้าที่ “สื่อสาระและมอบธรรมะ” เป็นบรรณาการ หากพบข้อผิดพลาดที่ อยากเลี่ยงแต่หลบยากมีอยู่บ้าง ก็ขออภัยต่อท่านผู้อ่าน และขอน้อมรับคำติชม ด้วยใจคารวะ สิทธิลาโภ ชะโย นิจจังฯ ขอให้มีชัยในชีวิตโดยทั่วกันฯ.


6ขอบคุวารสาร “พุทธปทีป” ณเจ้าของบทความ ศักดินันท์ โพธิราช

จะเครียดดีไหม

ถ้าความซวยมาเยือน

เมื่อเทพแห่งโชคลาภจากไป ไม่วายที่เหล่าเทพ แห่งความโชคร้ายจะถาโถมเข้ามาขอเป็นเพื่อน สักพัก เมื่ อ เรารู้ สึ ก ว่ า โชคร้ า ย ทำอะไรก็ ไ ม่ ไ ด้ อ ย่ า งที่ คิ ด อะไรก็ยุ่งยากลำบากกว่าที่เคยเป็นหลายสิบเท่า งานก็ เริ่มร่อแร่ เพื่อนก็ห่างเหิน ชีวิตรักอยู่ในเขาวงกต


ฉบับที่ ๖๓ ปีที่ ๑๙ เมษายน-มิถุนายน ๕๔

7

พอทุกเรื่องที่ไม่เป็นไปอย่างที่เจ้าตัวคิด มักจะกลายเป็นเรื่องของเทพ องค์นี้ไปซะหมดคือ “ความซวย” หลายคนที่เมื่อเจอเรื่องซวยๆแล้ว ต้องอยู่กับวังวนแบบนั้นไปอีกพักใหญ่ ถ้าจะอธิบายให้ชัด มันก็น่าจะเป็นแบบว่าซวยครั้งเดียว แต่มันส่งผลเป็นเวลา นานก็เท่านั้นเองไม่ได้ซวยบ่อยๆ ติดต่อกันหรือซวยซ้ำซวยซ้อนอย่างที่เข้าใจ หรอก แต่ก็มีหลายคนเหมือนกันที่เรื่องราว เลวร้ายจบลงได้ด้วยดี ในเวลาอันรวดเร็ว แต่ จ ะเป็ นอย่ างไหน คุ ณก็ เ รี ยกว่ าความ ซวยทั้งนั้น จริงไหมล่ะ? ถ้าพูดถึงเรื่องนี้ก็ต้องพูดควบคู่กับเรื่อง ดวง นั้นแหละ เพราะคนเรามัก คิดว่า คนดวงไม่ดีมักจะซวยอยู่เสมอ ส่วนคนดวงดี ก็นานๆ ครั้งจะเจอเรื่อง ร้ายๆ บ้าง แต่ก็ไม่ค่อยนับกันหรอก เพราะนานๆ เทพแห่งโชคร้ายจะไปเยือน สักที ผลที่ตามมามันคงไม่ทำให้เครียดได้มากเท่าพวกที่เรียกตัวเองว่า “ดวง ซวย” ได้หรอก ก็ทำไงได้ล่ะ เกิดมาซวยมันก็ช่วยไม่ได้ จะเครียดก็ต้องเครียด คงได้แต่ก้มหน้ารับกรรมเก่ามั้ง แต่มันก็ไม่แน่เสมอไปหรอกนะ เพราะความซวยที่เกิดกับเราๆ นั้น มันไม่ ได้มาจากดวงอย่างเดียวหรอก ถ้าเราลองหาสาเหตุที่แท้จริง มันก็อาจจะเจอ ต้นตอของความซวยได้เหมือนกัน ไม่แน่นะ ทางออกอาจจะอยู่แค่ปลายผมปิด อยู่ก็ได้ จะว่ายังงี้ยังงั้นก็คงไม่เห็นภาพ ไปเข้าเรื่องความซวยของเรากันเลยดี กว่า จะได้รู้กันซะทีว่าถ้าซวยแบบนี้จะแก้แบบไหน น่าจะดีกว่า


8

วารสาร “พุทธปทีป”

ความซวย ในโลกนี้มีสองแบบด้วยกันคือ ๑. ความซวยที่เราทำให้มันเกิดเอง มั น ก็ เ กิ ด จากการตั ด สิ น ใจที่ ผิ ด พลาดนั่ น แหละ จะว่ า ผิ ด แต่ ต้ น ก็ ไ ม่ ใ ช่ เพราะก่อนทำก็คิดดีแล้ว แต่เมื่อทำๆ ไปแล้วก็อาจผิดพลาดขึ้นมาได้ ดังนั้นผล ที่ตามมาแบบไม่ได้ตั้งใจและไม่เป็นที่ต้องการ ก็เลยกลายเป็นความซวยของคน นั้นไปโดยปริยาย ตัวอย่างก็มีให้เห็นบ่อยๆ อย่างโดนล้วงกระเป๋า ลืมกระเป๋า สตางค์ไว้ในรถ ลืมทำธุระสำคัญๆ จนต้องเสียงาน ซึ่งพวกนี้ถือว่าเกิดขึ้นเพราะ ความประมาทเลินเล่อของตัวคุณเอง จึงทำให้ความซวยมาเยือนแบบกึ่งตั้งใจ ถ้ามองในมุมกลับกัน การที่ความซวยเหล่านี้มาเยือนคุณแบบถึงเนื้อถึง ตัวก็มีข้อดีเหมือนกันนะ ใครบ้างที่เคยโดนล้วงกระเป๋าแล้วจะไม่ระมัดระวังตัว มากขึ้น ใครบ้างที่ลืมของไว้บนรถแท๊กซี่และจะไม่ตรวจของทุกครั้งที่ต้องลง จากรถ แล้วใครบ้างที่ไม่จดตารางงานหลังจากการทำงานของบริษัทสูญหลาย แสนบาท ความโชคร้ายต่างๆ ถือได้ว่าเป็นบทเรียนชั้นดี ทำให้มีความรอบคอบ มากขึ้น คิดไตร่ตรองในสิ่งต่างๆ มากขึ้น ยอมรับสิ่งต่างๆ ได้มากขึ้น เสมือน เป็นครูชั้นเยี่ยมเลยล่ะ เพราะหากจะให้ใครมาคอยพร่ำบอกหรือเข้าฝันบอก คุณทุกวี่ทุกวัน คุณก็ไม่เชื่อหรอกนอกจากจะได้เจอกับตัวเอง ไม่มีอะไรดีเกิน กว่าประสบการณ์ตรงอีกแล้ว การเรียนรู้กับสิ่งที่ผิดพลาดที่คุณเรียกมันว่า ความซวย มันอาจจจะเป็นแค่ ความผิดพลาด ก็ได้นะ ความผิดพลาดแบบนี้ก็เป็นเสมือนเครื่องมือที่คอยขัดเกลาให้เรากลาย


ฉบับที่ ๖๓ ปีที่ ๑๙ เมษายน-มิถุนายน ๕๔

9

เป็นหินที่กลมมน สามารถกลิ้งผ่านถนนที่ขรุขระหรือร่องรอยต่างๆ ได้ บางครั้ง เราอาจจะเคยเป็นหินที่มีเหลี่ยมมีมุมมากเกินไปก็ได้ แต่อย่างไรความผิดพลาด ที่เกิดจากตัวเองนั้น ก็อย่าให้มันเกิดบ่อยนักจะดีกว่า เพราะมันจะแสดงให้เห็น ว่า คุณเป็นคนที่ไม่ค่อยใส่ใจกับสิ่งรอบๆ ตัว ประมาทเลินเล่ออยู่เสมอ แม้เคย ผ่านเหตุการณ์นี้มาแล้วก็ตาม แม้คุณจะโชคดีกว่าอีกหลายคน แต่ถ้าเจอบ่อยๆ เข้า ก็อาจจะทำให้เสียกำลังใจและความเชื่อมั่นได้เหมือนกัน ๒. ความซวยที่อยู่ดีๆ ก็ซวย อันนี้มากับดวงแบบเต็มเม็ดเต็มหน่วย ใครพกดวงมาจากบ้านก็ดีไป ใคร ขี้เหนียวพกมาน้อย ก็คงต้องกล้ำกลืนฝืนทนกันหน่อย ไม่ต้องเป็นคนดี ไม่ต้อง เป็นคนเลว ไม่ต้องทำผิดก็โดนได้ ถ้าใครโดนแล้ว ก็คงไม่วายต้องโทษโชคชะตา หรือเวรกรรม เพราะมันช่วยให้รู้สึกดีขึ้นได้มากที่มีที่พึ่งและสามารถโยนความ ผิดออกจากตัวได้ อย่างเงินหายเราก็โทษเวรกรรมว่าเรามีกรรม ถือว่าสะเดาะ เคราะห์ไปละกัน เท่านี้ก็ทำให้คุณสบายใจได้มากโขแล้ว


10

วารสาร “พุทธปทีป”

ก็อย่างที่บอกว่าเรื่องแบบนี้มันมากับดวงห้อยท้ายมาด้วยเวรด้วยกรรมที่ ต้องชดใช้หรือต้องได้รับกลับคืน ถ้าเราคิดว่าเป็นเรื่องของเวรกรรมได้ก็ดี มันจะ ทำให้เราไม่ยึดติดกับสิ่งที่เสียไปและสิ่งที่ต้องรับมา การทำบุญหรือชดใช้กรรม รู ป แบบนี้ เ ป็ น แบบกึ่ ง บั ง คั บ อาจเพราะให้ เ วลากั บ เรามานานแล้ ว แต่ เ ราก็ เฉยเมยไม่ยอมจะทำอะไรสักที ในที่สุดเวรกรรมก็เป็นคนจัดการเรื่องนี้เอง นั่น ก็เพื่อตัวเรา ขอให้ทุกคนเข้าใจ อย่าไปคิดว่าคนเองโชคร้าย ดวงซวย ให้คิดว่าดีแล้วที่ได้ทำบุญชดใช้เวร กรรมซะบ้าง อย่างน้อยบาปมันจะลดๆ ลง เราเองก็ไม่ได้เห็นมาตรวัดของผล กรรมอยู่ตลอดเวลา พอที่จะได้รู้ว่าต้องทำบุญตอนไหน บาปจะได้ไม่อยู่สูงกว่า บุญ บางครั้งเราก็ไม่รู้ตัวหรอกนะว่า ได้ทำกรรมอะไรไว้ เหยียบมดแบบไม่ตั้งใจ ก็บาปนะ จะอ้างว่าไม่ตั้งใจก็ไม่ได้ เมื่อคุณมีสิทธิ์ที่จะดูให้ดีก่อนในทางที่คุณจะ ต้องเดินไป แต่คุณเลือกที่จะไม่มอง ถ้าเรายังทำร้ายสัตว์ได้โดยไม่ตั้งใจ เราก็ สามารถถูกทำร้ายโดยไม่เจตนาได้เหมือนกัน


ฉบับที่ ๖๓ ปีที่ ๑๙ เมษายน-มิถุนายน ๕๔

11

ลองคิดกันแบบนี้ดูไหมว่า ความโชคร้ายที่เราได้รับนั้นมันส่งผลแค่ ไหนกับเรา ทำให้เราต้องเครียดต้องเป็นทุกข์กับมันแค่ไหน แล้วถ้ามันตกไป อยู่ที่คนอื่นล่ะ ถ้าคนในครอบครัวเราต้องเป็นคนเจอกับเรื่องแบบนี้หรือเพื่อนๆ ของเราต้องเป็นคนๆ นั้น เราก็จะดีใจและยินดีกว่าไหม ที่ต้องเผชิญกับปัญหา และแก้ไขมันเอง เพราะการที่เราได้เป็นคนได้รับเรื่องโชคร้ายพวกนี้ก็คงต้องมีเหตุผลอยู่ พอสมควร อย่างน้อยในกลุ่มคนที่เรารักคงถูกคัดสรรแล้วว่า เรานั้นเองที่พร้อม และสามารถทนรับกับเรื่องแบบนี้ได้ เราสามารถหาทางออกที่ดีให้เราและทุก คนได้ หากใช้ใจที่เอื้อเฟื้อต่อบุคคลอื่นเป็นมุมมอง ไม่คิดถึงแต่ตัวเองจนมาก เกินไป เราคงบอกกับตัวเองได้เสมอว่า “ เจอกับเราก็ยังดีกว่าต้องไปเจอกับคนที่ทนรับไม่ไหว ” แค่คุณไม่คิดว่า ทำไมต้องเจอ ทำไมต้องเป็นเรา คุณสามารถทำใจให้ สบาย และพร้อมที่จะรับมือกับปัญหาทุกอย่างที่ต้องเผชิญได้ มันจะกลายเป็น บทเรียนที่มีค่า มันจะทำให้เราไม่ย่อท้อต่อโชคชะตา ไม่ยอมแพ้ต่อชีวิต ไม่ ปล่อยให้เราถูกสิ่งที่มองไม่เห็นคอยควบคุม และเราจะไม่รู้จักคำว่า คนขี้แพ้ ไปตลอดชีวิต มีคนเคยพูดไว้ว่า “...ความคิดและคำพูด คือสิ่งที่คอย ผูกมัดเรา เป็นสิ่งที่มีอนุภาพมากที่สุด เพียงแต่ เรามองไม่เห็นหรือจับต้องไม่ได้เท่านั้น...” เมื่อใดที่เราคิดว่าไม่สามารถทำได้ ทำออกมาก็ไม่ได้ดีไปกว่านี้ สิ่งที่ทำ


12

วารสาร “พุทธปทีป”

ออกมามันก็จะเป็นเช่นนั้น หรือเมื่อใดที่เราบอกคนอื่นว่าคงทำไม่ได้หรอก หรือ บอกตัวเองอยู่อย่างนั้นเสมอ โอกาสที่จะทำไม่ได้ก็จะมีมากกว่าความพยายามที่ จะลงมือทำ สิ่งที่ผูกมัดคุณอยู่ไม่ได้มีผลเพียงแค่กับตัวคุณเท่านั้น แต่ยังส่งผลไป ถึงบุคคลรอบข้างของคุณด้วย จงเลิกคิดน้อยเนื้อต่ำใจ กับโชคชะตาของตนเอง รักตัวเองให้มากขึ้น เรียนรู้กับชีวิตให้มากเท่าที่จะมากได้ เพราะเมื่ อ ใดที่ คุ ณ ไม่ รั ก ตั ว เอง ตั ว ของคุ ณ ก็ จ ะทอดทิ้ ง คุ ณ ด้ ว ยเช่ น เดียวกัน ทุกสิ่งที่คุณทำ ทุกความดีที่คุณสัมผัส มักจะมีคนมองเห็นเสมอ ต่อให้ มีเรื่องที่ย่ำแย่แค่ไหน ต้องเจอกับภาวะกดดันเพียงใด คุณมั่นใจได้ว่าคุณไม่ได้ อยู่คนเดียว ยังมีคนรอบข้าง ที่จะคอยประคับประคองคุณในยามที่ล้มที่ก้าว พลาด พาคุณกลับมาสู่เส้นทางที่ถูกต้อง แล้วเรื่องร้ายๆ ต่างๆ ก็จะกลายเป็น เพียงฝุ่นผงที่พัดผ่านไป จะไม่ว่าด้วยเหตุผลใด ความซวย มักไม่ชอบเข้าใกล้คนที่รักตัวเองเป็น และเลื อ กที ่ จ ะรั ก คนอื ่ น ให้ เ ป็ น เช่ น เดียวกัน


ฉบับที่ ๖๓ ปีที่ ๑๙ เมษายน-มิถุนายน ๕๔

13


14

วารสาร “พุทธปทีป”

ADS PAGE TAMNAGTHAI RESTUARANT


ขอบคุณเจ้าของบทความ ฉบับที่ ๖๓ ปีที่ ๑๙ เมษายน-มิถุนายน ๕๔ พระมหาวีระพันธ์ ชุติปญฺโญ

15

ธรรมดา ภาพสะท้อนของตัวเรา ภาพสะท้อนชีวิตที่ผ่านจากคนที่เรารัก เป็นเหมือนสิ่งที่เข้ามาช่วยสะท้อนตัวตน ที่แอบซ่อนอยู่ให้ได้เผยโฉมออกมา ไม่ว่าจะเป็นมุมของความดี หรือมุมที่เปื้อนคราบน้ำตา สิ่งเหล่านี้ทำให้รู้ว่า สิ่งที่มีอยู่ในชีวิตของเรานั้น มีการเดินทางในรูปแบบใด


16

วารสาร “พุทธปทีป”

หลายครั้งที่เรารู้สึกว่าสับสนกับ การใช้ ชี วิ ต ตลอดถึ ง เป้ า หมายที่ ต้องการ จึงเป็นเหตุให้ต้องแสวงหาสิ่ง ต่างๆ มาตอบสนองความอยากนั้นให้ หยุดทำงาน เพราะเราคิดว่าหากมีสิ่ง ที่ใจเรียกร้องครบถ้วนแล้ว ความรู้สึก ที่ ถู ก กระตุ้ น ให้ เ ราต้ อ งทำตามมั น ก็ คงจะหยุดทำงานได้ เพราะเราคิ ด ว่ า ขอเพี ย งแค่ ทำใจที่กระวนกระวายให้หยุดดิ้นตาม ความรู้ สึ ก ที่ เ กิ ด ขึ้ น ได้ ไม่ ว่ า จะ เป็นการตอบปัญหาด้วยวิธีการเช่นใด เราก็ยินดีที่จะทำตามคำสั่งของความ รู้สึกของตัวเอง แต่ผู้อ่านเคยสังเกตไหมว่า สิ่ง ที่ ม าจากการเรี ย กร้ อ งของใจที่ ไ ม่ มี

กติกา มักซ่อนเงื่อนงำของปัญหาใหม่ ให้เราต้องแก้ไขเพิ่มขึ้นอยู่เสมอ บาง ครั้ ง ถึ ง กั บ เป็ น เงื่ อ นที่ ผู ก เป็ น ปมจน แน่น โดยที่ เราเองก็ไม่รู้ ว่าจะแก้ปม นั้นให้หลุดออกได้อย่างไร แทนที่จะ เป็นการแก้ไขให้ดีขึ้น ก็กลับกลายเป็น ความเลวร้ายที่เริ่มก่อตัวขึ้นจากสิ่งที่ เคยรู้สึกว่ามันดี เมื่อความรู้สึกกระตุ้นให้เราทำ ตาม เพื่อตามหาบางอย่างมาเติมใจให้ เต็ม การแสวงหาในรูปแบบต่างๆ จึง เกิ ด ขึ้ น แก่ เ รา ไม่ ว่ า จะเป็ น การไขว่ คว้าวัตถุเงินทอง เกียรติยศที่ทำให้เรา รู้ สึ ก ดี ตลอดถึ ง สิ่ ง ที่ ถู ก มองว่ า เป็ น ความรัก โดยผ่านใครบางคนที่เราพึง พอใจ เพราะเราคิดว่าสิ่งเหล่านี้น่าจะ


ฉบับที่ ๖๓ ปีที่ ๑๙ เมษายน-มิถุนายน ๕๔

ช่วยแก้ ไขปมในใจให้หลุดออกไปได้ เราจึ ง มั ก หลุ ด เข้ า ไปอยู่ ใ น กรอบของบางสิ่ ง ที่ คิ ด ว่ า เป็ น ความ ต้องการที่แท้จริง โดยเฉพาะคำตอบที่ ได้ ม าจากคนที่ เ รารู้ สึ ก รั ก นั้ น ชื่ อ ว่ า เป็นเหมือนกระจกเงาบานใหญ่ ที่ตัว เราเป็ น ผู้ ส ร้ า งมั น ขึ้ น มา เพื่ อ ส่ อ งให้ เห็นธาตุแท้ของเราเอง เป็นสิ่งที่เราสร้างให้เกิดขึ้น บน รากฐานของความรู้สึกที่ใจกระตุ้นให้ เราต้องออกตามหามัน เพื่อให้สิ่งที่เรา รักนั้นได้เข้ามาช่วยทำให้ความสงสัย ในใจน้อยลง เราจึงต้องสร้างกระจกเงาแห่ง ชี วิ ต ให้ กั บ ตั ว เองอยู่ เ นื่ อ งๆ แม้ บ าง ครั้ ง กระจกบานนั้ น อาจสะท้ อ นให้ เห็นถึงความบูดเบี้ยวของชีวิตของเรา เองก็ตาม เพลโต นักปรัชญากรีกโบราณ กล่าวไว้ว่า “คนที่เรารักจะเป็นเหมือน ดั่งกระจกเงา เมื่อจ้องเข้าไปจะ เห็นภาพสะท้อนของตัวเรา” ผู้อ่านเคยสังเกตไหมว่า เมื่อเรา

17

ได้รักใครหรือรักสิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้ว มี ความฝังใจที่จะอยู่กับสิ่งนั้นด้วยความ รู้สึกว่า มันคือความผูกพันที่ทำให้เรา รู้สึกดี จากจิ ต ใจที่ เ คยอยู่ อ ย่ า งโปร่ ง เบาสบาย ก็เริ่มจะเปลี่ยนเป็นความ รู้สึกใหม่ ที่ทำให้เราเป็นกังวลต่อสิ่งที่ เราเอาใจเข้าไปเกี่ยวข้องแล้วเราก็จะ เริ่มมีปัญหากับใจตัวเอง เมื่อสิ่งที่รู้สึก รักกันนั้นมีอันเป็นไป ค ว า ม ห ม า ย ที่ ซ่ อ น อ ยู่ ใ น กระจกเงาแห่ ง ชี วิ ต ที่ ส ะท้ อ นตั ว เรา ผ่ า นคนที่ รั ก จึ ง ชื่ อ ว่ า เป็ น ภาพของ ความจริงที่ควรเรียนรู้ที่จะมองให้เห็น ในรายละเอี ย ดที่ ลึ ก ลงไป เพื่ อ กระจกเงาที่มีอยู่ภายนอกที่ตาแลเห็น ได้เข้ามาช่วยค้นหาสิ่งที่อยู่ในใจของ เราให้เจอ เพราะเมื่ อ รู้ สึ ก รั ก ใครสั ก คน อาจจะเป็ น คนที่ เ รารั ก เขาหรื อ สิ่ ง ที่ รู้สึกดี ความรู้สึกบางอย่างที่แอบซ่อน อยู่ลึกๆ ข้างใน ก็มักจะเผยตัวออกมา เพื่อบอกให้เรารู้ว่า แท้จริงแล้วตัวตน ของเรานั้นเป็นฉันใดเช่นกัน


18

วารสาร “พุทธปทีป”

จนบางครั้งสิ่งที่เรารักนั่นแหละ กลับกลายเป็นดาบสองคมที่ด้านหนึ่ง ช่ ว ยให้ เ รามี ท างออกจากพงหนาม ของความสงสั ย ทำให้ ก ล้ า ที่ จ ะเปิ ด เผยตัวตนอย่างไม่เคยคิดว่า มันโผล่ หน้าออกมาให้เห็น แต่อีกด้านหนึ่ง สิ่งที่เรารักก็มัก ซ่อนความอ่อนแอที่ฝังอยู่ลึกๆข้างใน ให้ปรากฏ จนทำให้ธาตุแท้ของความ อดทนที่ จ ะฝื น ในการก้ า วข้ า มความ รู้สึกบางอย่างของเราหดหายไป เพราะโดยธรรมชาติของจิตใจ นั้ น เมื่ อ ใดที่ มี สิ่ ง เข้ า มากระทบแล้ ว ทำให้ เ รารู้ สึ ก คล้ อ ยตาม นั่ น คื อ เครื่องหมายบางอย่างที่ทำให้เรารู้ว่า

ตัวตนของเรานั้นเป็นเช่นใดอยู่ในตัว เอง ยิ่ ง เป็ น เรื่ อ งของความรั ก ด้ ว ย แล้ว ชื่อว่าเป็นกระจกเงาบานใหญ่ที่ ช่ ว ยส่ อ งสะท้ อ นกลั บ มาที่ จิ ต ใจของ เราได้ชัดเจน ทำให้เรามีโอกาสสำรวจ ความรู้สึกที่มีอยู่ในใจ โดยมีสิ่งที่เรา รั ก นั้ น เป็ น วั ต ถุ ส ะท้ อ นกลั บ มาให้ ไ ด้ พิจารณา ภาพสะท้ อ นชี วิ ต ผ่ า นคนที่ เ รา รั ก จึ ง เป็ น เหมื อ นสิ่ ง ที่ เ ข้ า มาช่ ว ย สะท้อนตัวตนที่แอบซ่อนอยู่ให้ได้เผย โฉมออกมา ไม่ว่าจะเป็นมุมของความ ดีหรือมุมที่เปื้อนคราบน้ำตา สิ่งเหล่า นี้ทำให้รู้ว่าสิ่งที่มีอยู่ในชีวิตของเรานั้น


ฉบับที่ ๖๓ ปีที่ ๑๙ เมษายน-มิถุนายน ๕๔

มีการเดินทางในรูปแบบใด ด้ ว ยเหตุ นี้ เมื่ อ ได้ ก ระจกเงา แห่งชีวิตมาครอบครองแล้ว เราก็ไม่ ควรให้ ก ระจกบานนั้ น ส่ อ งให้ เ ห็ น เฉพาะด้านเศร้าที่ทำให้เราต้องจมอยู่ กับมันเท่านั้น แต่เราควรรู้จักมองให้ ลึกเข้าไปในรายละเอียดที่มีอยู่ในชีวิต เพื่อค้นหาความเข้าใจให้มาเป็นเพื่อน ที่เราควรผูกมิตรด้วย เราควรรู้ จั ก กระจกเงาแห่ ง ความรัก ทั้งผ่านคนที่เรารักหรือคนที่ เข้ามาช่วยกระตุ้นใจ ให้มีความรู้สึกที่ จะค้นหาสิ่งดีๆ บางอย่างที่เราทำหาย

19

ไ ป ใ ห้ ก ลั บ ม า เ ป็ น ก า ร ห มั่ น เ ช็ ค กระจกเงาบานนั้น เพื่อรักษาภาพที่ จะมาสะท้อนตัวตนของเรา ให้มีความ คมชัดและงดงามแทน แล้ ว เราจะรู้ สึ ก ขอบคุ ณ กระจกเงาแห่งชีวิต ที่ทำให้เราได้ ฉุ ก คิ ด ที่ จ ะมองมาที่ ตั ว เองและ ทำให้มันดีขึ้นกว่าเดิม พร้อมกับ ทำให้เรารู้จักที่จะรักษาสิ่งที่ชื่อ ว่าเป็นกระจกเงาแห่งชีวิต ให้อยู่ กับเรานานๆ ก่อนที่กาลเวลาจะ ทำให้มันมัวหมองและแตกสลาย ไป


20

วารสาร “พุทธปทีป”

ขอบคุณเจ้าของบทความ ญาณธโร ภิกขุ (เวลส์)

ต้มหิมะ ช่วงต้นปีนี้ นับว่าเป็นปีที่หนาวมากๆ หิมะตกหนักและหนา มากกว่ า ปี ก่ อ น วั ด ที่ ห ลวงปู่ จ ำพรรษาอยู่ บ นเขาเจอ ปั ญ หาอย่ า งหนั ก และเป็ น ช่ ว งที่ ห ลวงปู่ ไ ม่ ส บายด้ ว ย เช่นกัน ญาติโยมก็ไม่สามารถเดินทางมาวัด เพราะถนน ปิด แม่บ้านไม่กล้าขับรถหรือไม่ก็พ่อบ้านไม่อนุญาตให้ขับ รถ ประมาณว่า ถ้าเธอไป “เราขาดกัน”


ฉบับที่ ๖๓ ปีที่ ๑๙ เมษายน-มิถุนายน ๕๔

21

หลวงปู่ต้องทนหนาวอยู่หลายอาทิตย์ ออกไปไหนไม่ได้ อาหารมีไม่พอ จำเป็นต้องอาศัยมาม่าไปพราง ยังดีที่มีฟืนพอได้ก่อไฟบรรเทาความหนาวได้ บ้าง แต่กระนั้นก็ยังมีปัญหาใหญ่ที่ทำให้หลวงปู่หนักใจมาก คือ ห้องน้ำไม่มี น้ำล้าง หลังจากครุ่นคิดอยู่นาน ได้มีผู้หวังดีแนะนำผ่านเสียงตามสายเข้ามา เลย ชวนหลวงตาอีกปรูปช่วยกัน ต้มหิมะ ปฏิบัติการเป็นไปได้ด้วยดี แต่ด้วยประสบ การณ์ มี น้ อ ย หลวงปู่ ต้ ม หิ ม ะเต็ ม หม้ อ รอเท่ า ไหร่ ก็ ไ ม่ ล ะลาย หลวงตาผู้ มี ประสบการณ์มากกว่า แนะนำให้ต้มทีละน้อยๆ ให้เดือดก่อน แล้วค่อยเติมหิมะลงไป เรื่อยๆ ปรากฏว่าได้ผล แต่กว่าจะได้น้ำใช้สอยในห้องสุขา ก็ต้องใช้เวลานานโข พอควร หลวงตาทนไม่ไหวเลยบ่นอุบว่า ทุกข์ใดไหนจะเท่าเราเข้าส้วม แล้ว

ไม่มีน้ำจะล้าง นี่แหละชีวิต บางครั้งก็ต้องเจอกับสิ่งที่ไม่คาดคิด เรื่องเล็กๆ น้อยๆ บางครั้ ง ก็ น ำมาสู่ ปั ญ หาใหญ่ การมี บ้ า นเรามั ก จะมองความสะดวก ความ สวยงามของบ้านภายนอก แต่เรากลับมองข้ามเรื่อง “ห้องน้ำ” ซึ่งเป็นหัวใจ ของบ้ า น ผู้ อ าศั ย อยู่ ใ นบ้ า น และผู้ ม าเยื อ นบ้ า น หลวงปู่ กั บ หลวงตาจึ ง ได้ ประสบการณ์ที่ดีจากเรื่องนี้ การต้มหิมะดูจะเป็นเรื่องตลกและสังเวชใจ แต่​่ก็ต้องเรียนรู้ และดูให้ เห็นธรรมะจากเหตุการณ์ตามประสาคนแก่ ประสบการณ์คราวนี้ ทำให้หลวงปู่ รู้จักคำว่า ความอดทนและกัลยาณมิตร ฝูงนกที่หิวโหยเป็นกัลยาณมิตรที่ ดีของหลวงตาอีกรูป เป็นคราวที่หลวงตาได้ให้ทานอาหารแก่พวกเขา ส่วน หลวงปู่เป็นผู้ที่เฝ้ามองใตร่ตรองถึงธรรมะ ความงดงามของหิมะ เป็นสิ่งที่ตรึงตาของผู้ไม่เคยสัมผัส อยากแตะต้อง และชื่นชม แต่หารู้ไม่ว่าในความงามนั้น กลับซ่อนพิษสงเอาไว้ภายใน ข้างนอก อาจมองดูขาวสะอาด แต่หลังจากหลวงปู่ต้มจนกลายเป็นน้ำแล้ว เต็มไปด้วย


22

วารสาร “พุทธปทีป”

หยากเยื่อและฝุ่นตะกอนเป็นน้ำที่ไม่สะอาด ความงามจึ ง ไม่ ใ ช่ สิ่ ง ที่ ห ลวงปู่ ม องเห็ น แต่ เ ป็ น แค่ ภ าพลวงตาให้ หลงใหล นี้ ฉั น ใด อุ ป มั ย เช่ น กั บ มนุ ษ ย์ เ รา ที่ ส่ ว นมากก็ ม องกั น แค่ ภ ายนอก หน้าตา การแต่งกาย (Look and Dressing) แต่ภายในอาจเป็นเช่นหิมะที่ต้ม แล้ว ความงามภายในใครเล่าจะแลเห็น อันนี้เราต้องดูกันนานๆ เราต้องแยกให้ ออกระหว่างความสวยกับความงามโบราณกล่าวเอาไว้ว่า คนจะงาม งามน้ำใจใช่ใบหน้า ความงามนั้นควรออกมาจากใจงาม ความมีน้ำใจงาม ความอ่อนน้อม ความรู้ผิดถูก เป็นความงามภายใน เป็นความงามที่น่าชม คนจะสวย สวยจรรยาใช่ตาหวาน กิริยามรรยาทบ่งบอกถึงความสวยของมนุษย์ คนสวยไม่จำเป็นต้องเกิด ในตระกูลสูง แต่มีมรรยาทสูง คือ การวางตัวให้เหมาะสมกับสถานะของตนเอง และการแสดงออก คนจะแก่ แก่ความรู้ ใช่อยู่นาน (เช่นหลวงปู่เป็นผู้แก่กาลนานเพราะเดือนปี) คนแก่ต้องมีประสบการณ์ (เช่นการต้มหิมะ) มีความรู้แนะนำลูกหลานได้ หน้านอกบอกความใน หน้าใจบอกความดีมีศีลธรรม หลวงปู่ได้น้ำจาก การต้มหิมะพอควร คงจะบรรเทาความทุกข์ได้ไปอีกวัน หวังว่าญาติโยมคงเดิน ทางมาช่วยหลวงปู่กับหลวงตาในเร็ววัน ภัยธรรมชาติย่อมเกิดขึ้นได้เสมอ การเตรียมพร้อมเป็นสิ่งสำคัญ เช่น เดี ย วกั บ ภั ย คื อ ความตาย ย่ อ มเกิ ด ขึ้ น ได้ เ สมอ ความไม่ ป ระมาทจะช่ ว ย ต้านทานให้มนุษย์ตั้งอยู่ในความดีและเตรียมพร้อมเสมอ


ฉบับที่ ๖๓ ปีที่ ๑๙ เมษายน-มิถุนายน ๕๔

23


24

วารสาร “พุทธปทีป”


ฉบับที่ ๖๓ ปีที่ ๑๙ เมษายน-มิถุนายน ๕๔

ขอบคุณเจ้าของบทความ เวบไซต์ รพ.เวชธานี (VEJTHANI.COM)

โรคแผลในกระเพาะอาหาร หรื อ ที่ คนทั่ ว ไปจะเรี ย กกั น ติ ด ปากว่ า โรค กระเพาะอาหาร เกิดจากสาเหตุหลาย ประการ และมี ก ลไกการเกิ ด โรคที่ ซั บ ซ้อนมาก สาเหตุมาจากกรดและน้ำย่อย ที่หลั่งออกมาในกระเพาะอาหาร ไม่ว่า กรดนั้ น จะมี ป ริ ม าณมากหรื อ น้ อ ย จะ เป็ น ตั ว ทำลายเยื่ อ บุ ก ระเพาะอาหาร ร่ ว มกั บ มี ค วามบกพร่ อ งของเยื่ อ บุ กระเพาะอาหารที่ ส ร้ า งแนวต้ า นทาน กรดไม่ดี นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นที่ส่งเสริมให้ เกิ ด แผลในกระเพาะอาหารได้ แ ก่ ยา แอสไพริน ยารักษาโรคกระดูกและข้อ อั ก เสบ การสู บ บุ ห รี่ ความเครี ย ด อาหารเผ็ด สุรา ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ทำให้ เกิ ด การระคายเคื อ งต่ อ เยื่ อ บุ ก ระเพาะ

25

อาหาร เกิดการอักเสบเรื้อรัง แล้วนำไป สู่ ก ารเกิ ด แผลในกระเพาะอาหารและ ลำไส้เล็กส่วนต้นได้

‘เฮลิ โ คแบคเตอร์ ไพโลไร’ อี ก หนึ่ ง สาเหตุ ส ำคั ญ ของโรคแผลใน กระเพาะอาหาร ปัจจุบันพบว่าเชื้อ เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร (Helicobacter pylori) เป็น เชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง ที่อยู่ในกระเพาะ อาหาร มีรูปร่างเป็นเกลียวและมีหาง มี ความทนกรดสูงเนื่องจากสามารถสร้าง สารที่ เ ป็ น ด่ า งออกมาเจื อ จางกรดที่ อ ยู่ รอบๆ ตัวมัน ทำให้สามารถอาศัยอยู่ใน ชั้นผิวเคลือบภายในกระเพาะอาหารได้ และยังสร้างสารพิษทำลายเซลล์เยื่อบุผิว


ของกระเพาะอาหาร ส่งผลให้เกิดการ อักเสบและ เกิดการเปลี่ยนแปลงของ เซลล์เยื่อบุกระเพาะอาหาร จึงนับเป็น สาเหตุสำคัญอันดับหนึ่งที่ทำให้เกิดแผล ในกระเพาะอาหาร นอกจากนี้ขณะที่ทำการรักษาแผลใน กระเพาะอาหารอยู่ เชื้อนี้จะเป็นต้นเหตุ ทำให้แผลหายช้า และทำให้แผลที่หาย แล้ ว กลั บ เป็ น ซ้ ำ ได้ อี ก รวมถึ ง ยั ง เป็ น ปั จ จั ย เ สี่ ย ง ใ น ก า ร เ กิ ด โ ร ค ม ะ เ ร็ ง กระเพาะอาหารอีกด้วย

อาการสำคั ญ ของโรคแผลใน กระเพาะอาหาร ปวดหรื อ จุ ก แน่ น บริ เ วณลิ้ น ปี่ ห รื อ ช่องท้องช่วงบน ซึ่งเป็นอาการที่พบได้ บ่อยที่สุด มักเป็นในช่วงท้องว่างหรือหิว

โดยอาการดั ง กล่ า วมั ก ไม่ เ ป็ น ตลอดทั้ ง วัน อาการปวดแน่นท้องอาจจะบรรเทา ลงได้ด้วยอาหารหรือยาลดกรด ในผู้ ป่ ว ยบางรายอาจมี อ าการปวด มากขึ้ น หลั ง รั บ ประทานอาหาร โดย เฉพาะหลั ง รั บ ประทานอาหารรสเผ็ ด หรือเปรี้ยวจัด เป็นต้น อาการปวด มัก เป็นๆ หายๆ นานเป็นปี โดยมีช่วงเว้นที่ ปลอดอาการค่อนข้างนาน เช่น ปวดอยู่ ๑-๒ สัปดาห์และหายไป หลายๆ เดือน จึ ง กลั บ มาปวดอี ก ครั้ ง ปวดแน่ น ท้ อ ง กลางดึกหลังจากหลับไปแล้วจนต้องตื่น ขึ้นมา ในผู้ป่วยบางรายนั้นอาจไม่มีอาการ ปวดท้ อ งแต่ จ ะมี อ าการแน่ น ท้ อ งหรื อ รู้สึกไม่สบายในท้อง มักจะเป็นบริเวณใต้ ลิ้นปี่หรือกลางท้อง รอบสะดือ ในผู้ป่วย


ฉบับที่ ๖๓ ปีที่ ๑๙ เมษายน-มิถุนายน ๕๔

กลุ่มนี้มักมีท้องอืดร่วมด้วย โดยเฉพาะ หลังกินอาหารจะมีท้องอืดขึ้นชัดเจน มี ลมมากในท้อง ท้องร้องโกรกกราก ต้อง เรอหรื อ ผายลมจะดี ขึ้ น อาจมี ค ลื่ น ไส้ อาเจียนร่วมด้วย โดยเฉพาะหลังอาหาร แต่ ล ะมื้ อ หรื อ ช่ ว งเช้ า มื ด ผู้ ป่ ว ยอาจมี อาการอิ่มง่ายกว่าปกติ ทำให้กินได้น้อย และน้ำหนักลดลงได้บ้าง อย่างไรก็ตาม แม้จะมี อ าการเรื้ อ รั งเป็นปี แต่สุขภาพ ทั่วไปมักไม่ทรุดโทรม น้ำหนักไม่ลด รวม ถึงไม่มีภาวะซีดร่วมด้วย ภาวะแทรกซ้ อ นของโรคแผลใน กระเพาะอาหาร พบได้ประมาณร้อยละ ๒๕-๓๐ อาทิ ภาวะเลือดออกในกระเพาะอาหาร พบได้บ่อยที่สุด ผู้ป่วยจะมี อาการอาเจียนเป็นเลือด ถ่ายเหลวสีดำ เหนีย ว คล้ า ยน้ ำ มั นดิน หรือมีหน้ามืด วิงเวียนศีรษะ เป็นลม กระเพาะอาหารทะลุ ผู้ป่วยมีอาการ ปวดท้องช่วงบนเฉียบพลัน รุนแรง หน้า ท้ อ งแข็ ง ตึ ง กดเจ็ บ มาก กระเพาะ อาหารอุ ด ตั น ผู้ ป่ ว ยจะรั บ ประทานได้ น้อย อิ่มเร็ว อาเจียนหลังอาหารเกือบ ทุกมื้อ เบื่ออาหาร น้ำหนักลดลง การวิ นิ จ ฉั ย โรคแผลในกระเพาะ

27

อาหาร ในปัจจุบันถือว่าการตรวจส่องกล้อง ทางเดิ น อาหารส่ ว นบน เป็ น วิ ธี ที่ เ ป็ น มาตรฐานและดีที่สุดในทางการแพทย์ ผู้ ป่วยที่มีอาการของโรคกระเพาะอาหาร และได้รับการรักษาด้วยยาลดกรดแล้ว อย่างน้อย ๑ เดือนแล้วอาการไม่ทุเลา ควรได้ รั บ การตรวจส่ อ งกล้ อ งทางเดิ น อาหารส่วนบน เนื่องจากแพทย์สามารถ ให้การวินิจฉัยได้ทันที

การรั ก ษาในปั จ จุ บั น แบ่ ง เป็ น ๒ ส่วน คือ ๑. การรักษาสาเหตุ ในกรณี ต รวจพบเชื้ อ แบคที เ รี ย แพทย์จะให้การรักษาโดยมีสูตรยา ๓-๔ ชนิ ด ร่ ว มกั น รั บ ประทานนาน ๑-๒ สั ป ดาห์ สู ต รยาส่ ว นใหญ่ เ ป็ น ยาปฏิ ชีวนะร่วมกับยาลดกรด เพื่อรักษาแผล และช่ ว ยเพิ่ ม ประสิ ท ธิ ภ าพของยา ปฏิชีวนะ ผู้ป่วยควรได้รับการตรวจหา เชื้ อ ซ้ ำ ภายหลั ง จากได้ รั บ ประทานยา ปฏิ ชี ว นะครบแล้ ว โดยอาจเป็ น การ ตรวจโดยการส่องกล้องกระเพาะอาหาร อีกครั้งเพื่อทำการพิสูจน์ ชิ้นเนื้อซ้ำ หรือ


28

วารสาร “พุทธปทีป”

ทดสอบโดยการรั บ ประทานยาสำหรั บ ทดสอบเชื้อแบคทีเรียโดยตรง และตรวจ วัดสารที่ถูกปล่อยออกมาทางลมหายใจ ทั้ ง ๒ วิ ธี ถื อ เป็ น วิ ธี ที่ เ ป็ น ที่ นิ ย มใน ปัจจุบัน หลังตรวจพิสูจน์แล้วว่าไม่พบ เชื้ อ แบคที เ รี ย โอกาสการเกิ ด แผลใน กระเพาะอาหารหรื อ ลำไส้ เ ล็ ก ซ้ ำ จะมี น้อยกว่า ๑๐% ภายใน ๑ ปีหลังได้รับ การรักษา ส่วนการรักษาโดยยาลดกรด PPI เพียงอย่างเดียวอาจทำให้แผลหาย ได้ เ ช่ น กั น แต่ มี ผ ลเสี ย คื อ มี โ อกาสเกิ ด แผลซ้ ำ ได้ สู ง และทำให้ มี โ อกาสที่ เ ชื้ อ แบคที เ รี ย จะทำลายเยื่ อ บุ ผิ ว กระเพาะ อาหารลุกลามมากขึ้นได้ จึงน่าเป็นห่วง สำหรับผู้ป่วยที่มักจะรับประทานยาลด กรดเอง แล้วมีอาการเป็นๆหายๆโดยไม่ เคยได้รับการตรวจหาเชื้อแบคทีเรียซึ่ง อาจเป็นสาเหตุของโรคที่ไม่หายขาดและ ส่งผลเสียต่อไปในอนาคตได้ ในกลุ่มผู้ป่วยที่รับประทานยาที่มีผล ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร ควร จะหยุ ด ยาและหลี ก เลี่ ย งการรั บ ยาใน กลุ่ ม นี้ ซ้ ำ อี ก ยกเว้ น ในกรณี ที่ ย านั้ น จำเป็นต่อการรักษาโรค ผู้ป่วยควรได้รับ ยาลดกรดควบคู่ไปกับยาที่รับประทาน

อยู่เพื่อรักษาแผล ลดโอกาสการเกิดแผล ขึ้ น ใหม่ และลดโอกาสการเกิ ด ภาวะ แทรกซ้อนจากแผล ส่วนในกรณีผู้ป่วยที่ ตรวจพบภาวะกรดเกินจากเนื้องอกควร ได้รับการผ่าตัด

๒. การรักษาแผล ผู้ ป่ ว ยจะได้ รั บ ยาลดกรดเพื่ อ ยั บ ยั้ ง การหลั่งกรดและส่งเสริมการสมานแผล โดยเฉลี่ยเป็นเวลานาน ๖ -๘ สัปดาห์ รวมทั้งผู้ป่วยควรจะงดการสูบบุหรี่ ดื่ม สุรา ควบคุมอาหารที่เพิ่มการหลั่งกรด ดังกล่าว รวมทั้งลดความเครียด พักผ่อน ให้ เ พี ย งพอ ซึ่ ง การดู แ ลตั ว เองดั ง นี้ จ ะ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการที่ดีขึ้นได้โดยเร็ว ผู้ ที่ เ ป็ น โรคแผลในกระเพาะ อาหาร ควรปรั บ พฤติ ก รรมการรั บ ประทานอาหารอย่างไรบ้าง? อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงคือ ชา กาแฟ เครื่ อ งดื่ ม ที่ มี แ อลกอฮอลล์ อาหารรส เผ็ดจัด เปรี้ยวจัด ของหมักดอง อาหาร แข็งย่อยยาก อาหารประเภททอด หรือ มีไขมันมาก เพราะไขมันเป็นสารที่ย่อย ยากกว่ า สารอาหารชนิ ด อื่ น รวมถึ ง


ฉบับที่ ๖๓ ปีที่ ๑๙ เมษายน-มิถุนายน ๕๔

สั ง เกตอาหารหรื อ ผลไม้ ที่ รั บ ประทาน แล้วทำให้มีอาการมากขึ้น เช่น บางคน รั บ ประทานฝรั่ ง หรื อ สั บ ปะรดจะปวด ท้ อ งมากขึ้ น เป็ น ต้ น ควรรั บ ประทาน อาหารอ่อน อาหารที่ย่อยง่าย เมื่อผู้ป่วย มี อ าการดี ขึ้ น แล้ ว จึ ง ค่ อ ยกลั บ มารั บ ประทานอาหารที่ใกล้เคียงปกติ ได้ การบริโภคอาหารที่ไม่ถูกต้อง มีผล ต่ อ การเพิ่ ม ความรุ น แรงของโรคกระเพาะอาหาร กล่ า วคื อ ถ้ า รั บ ประทาน อาหารรสจั ด จะทำให้ เ กิ ด การระคาย เคืองต่อแผลมากขึ้น มีอาการปวดมาก ขึ้น นอกจากนี้ถ้ารับประทานอาหารที่ ย่ อ ยยากหรื อ รั บ ประทานในปริ ม าณที่ มากเกิ น ไป จะยิ่ ง กระตุ้ น ให้ ก ระเพาะ อาหารขยายตั ว มากขึ้ น ซึ่ ง จะทำให้ มี การปวดมากขึ้นเช่นกัน

29

โรคแผลในกระเพาะอาหารจะ หายขาดได้หรือไม่ ? โรคแผลในกระเพาะอาหารหายได้ แต่ มี โ อกาสกลั บ เป็ น ใหม่ ไ ด้ อี ก ร้ อ ยละ ๗๐-๘๐ ในระยะเวลา ๑ ปีหลังให้การ รั ก ษา ซึ่ ง ลั ก ษณะเช่ น นี้ เ ป็ น ธรรมชาติ ของโรค คือจะมีลักษณะเรื้อรังและกลับ เป็นซ้ำได้ หลังได้รับยาอาการปวดมักจะ ทุเลาลงในระยะ ๗ วันแต่แผลจะยังไม่ หาย ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับยา รั ก ษาติ ด ต่ อ กั น เป็ น เวลานาน ๘-๑๒ สัปดาห์ แผลจึงจะหาย เมื่อหายแล้วก็มี โอกาสกลับมาเป็นใหม่ได้อีกถ้าไม่ระวัง เรื่องการปฏิบัติตัวให้ถูกต้อง หรือถ้ายัง ไม่ ส ามารถกำจั ด เชื้ อ เฮลิ โ คแบคเตอร์ ไพโลไรให้หมดไปได้



ขอบคุณเจ้าของบทความ โดย อ้อม ประนอม

ฉบับที่ ๖๓ ปีที่ ๑๙ เมษายน-มิถุนายน ๕๔

31

ตัวรู้ นั้นสำคัญในชีวิต โดยเฉพาะการรู้ที่จะเป็นคนดี คือรู้ดีรู้ชั่ว รู้ตัวรู้ตน

รู้คนรอบข้าง เพื่อสร้างมิตรและพิชิตงาน คนดีจะเป็นคนรู้ทั่ว รู้รอบและรู้ลึก ตามหลักปฏิบัติตนของคนดีที่แนะให้ ศึกษาเรียนรู้ให้เป็นคน รู้เหตุ รู้ผล รู้จักตน รู้จักประมาณ รู้จักกาลเวลา รู้จัก ชุมชน รู้จักคน การรู้เหตุ รู้ผลนั้น รู้ว่าทำกรรมใด สิ่งใดลงไปแล้ว ย่อมได้รับผลเช่นนั้น ดั่งคำสอนว่า หว่านพืชชนิดใดลงไว้ ย่อมได้ผลเช่นนั้น เราหว่านมิตรไมตรีลงในจิตใจคน เราย่อมได้รับความรักความเมตตา ตอบแทน เป็นต้น ในการอยู่ด้วยกันก็ใช้เหตุผล ความมีเหตุผล หมายความว่า ต้องรับใน เหตุและผล บางอย่างเราไม่เห็นด้วย แต่สิ่งที่คนอื่นเสนอเป็นสิ่งดีมีเหตุมีผล ก็ ยอมรับได้ เพราะเป็นความถูกต้องยิ่งกว่าความถูกใจ คนที่เราเคารพแนะนำ พร่ ำ สอนด้ ว ยความหวั ง ดี บางครั้ ง อาจจะหนั ก ไปบ้ า ง ขมกว่ า หวาน แต่ ถ้ า เป็นการติเพื่อก่อ เราฝึกใจให้ยอมรับปฏิบัติได้ ถ้าจะอยู่ให้เป็นสุข เราควรหัด มองคนอื่นให้เป็น ยอมรับให้เป็นใจเย็นให้ได้


32

วารสาร “พุทธปทีป”

โปรดคิดไว้ว่า คนเรานั้นเกิดมาจะอยู่คนเดียวไม่ได้ ต้องเกี่ยวสัมพันธ์กับ บุคคลรอบข้างและสิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา จึงต้องศึกษาคนให้รู้ใจกัน “เรารู้ใจ เขา เขารู้ใจเรา” เพื่อจะได้อยู่กันอย่างเข้าใจ และเป็นมิตรกัน ก่อนอื่นใดเราต้องเข้าใจธรรมชาติของคนโดยทั่วไปว่า คนต้องการให้คน อื่นเข้าใจตน มองตนเป็นคนมีค่า มีความหมาย และมีความสำคัญ อยากให้คน อื่นเห็นความดี ยกย่องความดีของตนชื่นชมและชื่นชอบ เมื่อเรารู้ว่าคนต้องการสิ่งใด ถ้าเราให้สิ่งที่เขาต้องการหรือสิ่งที่เขาชอบ เขาจะชอบเรา ช่วยเหลือเรา เขาชอบเรา เขาจึงช่วยเรา เราดีด้วยเขาจึงดีตอบ เป็นกฏแห่งความดีดึงความดีนี่เอง อีกอย่างหนึ่ง คนไม่ชอบให้ใครเด่นเกินหน้า ทำตนเหนือกว่าคนอื่นแต่ ปรารถนาให้คนนั้นอ่อนน้อม ถ่อมตน รู้สัมมาคารวะ โดยผู้ใหญ่อยากให้คนเข้า ใกล้อย่างอ่อนน้อม ถ่อมใจ และถ่อมตน คนเราถ้าจิตใจถ่อม การปฏิบิตก็ถ่อม ตัว ความเข้าใจ เป็นความรู้สึกเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ไม่สร้างความขมขื่นทาง จิตใจให้คนนั้นรู้สึกมีปมด้อย ด้อยค่า จะพูดจะจากันก็รู้จักพูด ผมดื่มน้ำชาร่วมกับเพื่อนฝูง มีผู้บริหารทานหนึ่งให้ข้อคิดว่า การบริหาร ที่จะได้ใจคน ผู้บริหารควรอยู่อย่างเข้าใจกัน รู้จักคน รู้ใจคน และเข้าถึงใจคน โดยยกคำอธิบายของคำว่า Understand ที่แปลว่า เข้าใจ ให้ยอมอยู่ใต้คนอื่น ยกย่องให้เกียรติเขา ให้โอกาสคนอื่นได้แสดงออก ตัวเรายอมอยู่เบื้องหลัง ความคิดนี้ตรงกับวิถีชีวิตเต๋าที่ว่า ...ผู้ ที ่ แ สดงตั ว ให้ ป รากฏจะไม่ เ ป็ น ที ่ รู้ จั ก ผู้ ที ่ ย กย่ อ ง ตนเองจะไม่มีใครเชื่อถือ ผู้ที่ลำพองจะไม่ได้เป็นหัวหน้าคน... ม.จ.อากาศดำเกิง รพีพัฒน์ เขียนไว้หนังสือ ผิวเหลือง ผิวขาว ว่า “แม้


ฉบับที่ ๖๓ ปีที่ ๑๙ เมษายน-มิถุนายน ๕๔

33

เราจะเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดเป็นเจ้าโลก ก็ไม่มีวันที่เราจะเป็นเจ้าหัวใจใครได้” การจะเป็นเจ้าในดวงใจใคร เราต้องเข้าใจ ไว้ใจ และให้เกียรติเขา เราจึงจะนั่ง ในใจเขาได้ ที่ใดอยู่กันอย่างเข้าใจกัน ที่นั่นย่อมมีความสงบร่มเย็น ครอบครัวใดอยู่ กันอย่างเข้าใจ อยู่กันอย่างมีรอยยิ้มที่ใช้ใจยิ้มแล้ว ครอบครัวนั้นจะมีความ อบอุ่ น หน่ ว ยงาน องค์ ก รใดที่ อ ยู่ กั น อย่ า งเข้ า ใจ หน่ ว ยงานนั้ น จะมี ค วาม สมานฉันท์ มีไมตรีต่อกัน ทุกคนคิดว่า ปลูกไมตรีดีกว่าพาล บรรยากาศแห่งความเข้าใจกันจะสะท้อนให้เห็นสิ่งต่อไปนี้ ยิ้มแย้มแจ่มใส มอบดอกไม้แห่งมิตรภาพที่หอมหวนให้กัน ยกย่อง ชื่นชมกัน จะมีการนินทากันน้อยมาก พูดกันรู้เรื่องมีเอกภาพทางความคิดเห็นในแนวเดียวกัน ไม่มีการเมืองใน หน่วยงานนั้น คนจะช่วยเหลือกันเวลาเกิดความบกพร่องผิดพลาด ร่วมรับผิดชอบ ไม่เกี่ยงกัน ตามอุดมคติลูกเสือ ทุกอย่างจะต้องช่วยกัน มองเห็นความดีของกันและกัน หน่วยงานจะก้าวไปอย่างมั่นคง ได้ผลงานดี คนมีความสุขใจ เพราะ อิทธิพลของความเข้าใจกัน ผมมีข้อคิดของฝากถึงคุณผู้อ่านเล็กน้อยในการอยู่กับคนอย่างเข้าใจ

๑. ยินดีที่รู้จัก ยินดีครับที่คุณสมศักดิ์ได้เลื่อนตำแหน่ง คุณ มาลี ค รั บ ผมดี ใ จด้ ว ยที่ ลู ก คุ ณ มาลี ไ ด้ รั บ ปริ ญ ญาบั ต รแล้ ว เป็ น เกียรติครับที่ผมมีโอกาสได้รู้จักกับท่านที่ผมชื่นชมมานานแล้ว ได้ พบวันนี้ดีใจจริง เป็นต้น สำคัญเวลาพูดกับสีหน้าให้ไปด้วยกันนะ ครับ ๒. อยู่ด้วยรักและศรัทธา เชื่อว่าคนนั้นเป็นคนดี หลีกที่จะ


34

วารสาร “พุทธปทีป”

วิจารณ์ ๓. พึ่งพาอาศัยกัน ช่วยเหลือทุกครั้งที่มีโอกาสช่วยได้ ๔. มีงานสังสรรค์ไม่หนีหาย ร่วมกิจกรรมของสังคม หน่วย งานเป็นปกติ ๕. มุ่งหมายเป็นมิตร วางตนเป็นกันเอง คบง่ายและคบได้ ๖. คิดถึงความเหมาะสม รู้จักกาลเทศะในการอยู่ร่วมกัน ๗. ไม่ทับถมและนินทา อยู่อย่างเสมอกันไม่หน้าไหว้หลัง หลอก ทั้ง 7 ข้อ ควรคิดเพื่อสร้างมิตรและอยู่กับคนอย่างเข้าใจคน เขาจะรัก เรา เพราะเขานับถือว่า เราดีทั้งภายนอกและภายใน แต่งกายดี วจี ไพเราะ วางตนเหมาะสมฐานะในทุกสถาน


ฉบับที่ ๖๓ ปีที่ ๑๙ เมษายน-มิถุนายน ๕๔

35


36 วารสาร “พุทธปทีป” ขอบคุณเจ้าของบทความ โดย อาจารย์เสฐียรพงษ์ วรรณปก ราชบัฒฑิต

หลักกรรมเป็นหลักคำสอนสำคัญของพระพุทธศาสนา แต่น่าประหลาด ชาวพุทธไทยเข้าใจไม่ตรงกับที่ทรงสั่งสอน จะว่าผิดโดยสิ้นเชิงก็ไม่ใช่ แต่ไม่ถูก ต้องสมบูรณ์ ความเข้าใจไม่ค่อยถูกต้องเกี่ยวกับเรื่องนี้ ผมว่ามีอิทธิพลมาจาก วรรณคดีไทยส่วนหนึ่ง มาจากการสอนของผู้รู้ (ที่ไม่รู้จริง) อีกส่วนหนึ่ง เข้าใจผิดกันอย่างไรหรือครับ ผมขอว่าเป็นข้อๆ ดังนี้ ๑. คนไทยส่ ว นมากเข้ า ใจว่ า กรรม คื อ ผลของความชั่ ว ร้ า ยที่ เ ราได้ กระทำไว้แต่ชาติปางก่อน ๒. เชื่อกันว่า กรรมเป็นกฎสำเร็จรูป ตายตัว ที่เราไม่มีโอกาสแก้ไข หรือ ทำอะไรไม่ได้ มีทางเดียวคือจำต้องยอมรับ ๓. เชื่อว่าทำอย่างใด ต้องได้อย่างนั้น ร้อยเปอร์เซ็นต์ ไม่มีเปลี่ยนแปลง ยกมาแค่ ๓ ข้อก็พอ ขอแถลงเป็นข้อๆ ดังต่อไปนี้

๑. เรามักเข้าใจผิดว่า “กรรม” คือผลของความชั่วร้ายที่ทำไว้แต่ชาติ

ก่อน บันดาลให้เราได้มาเกิดมาเป็นอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เรื่องร้ายๆ และ เรื่องใหญ่ๆ เท่านั้น (เช่นถูกถอดออกจากตำแหน่ง โดนฟ้องร้องติดคุก ไฟไหม้ บ้าน) จึงเรียกว่า กรรม เรื่องเล็กน้อย (เช่นเดินพลาดตกท่อเทศบาลขาแพลง) ไม่เรียกว่ากรรม กลับเรียก “บุญ” จึงมักมีคำพูดว่า “บุญทำ กรรมแต่ง” หรือ “แล้วแต่บุญแต่กรรม” นี่คือความเข้าใจผิดของคนไทยส่วนใหญ่


ฉบับที่ ๖๓ ปีที่ ๑๙ เมษายน-มิถุนายน ๕๔

37

ผิดอย่างไร?

ผิดตรงที่คำว่า “กรรม” มิใช่ผล แต่เป็นเหตุ มิใช่เรื่องที่ล่วงไปแล้ว แต่ เป็นเรื่องปัจจุบัน มิใช่เรื่องเลวร้ายอย่างเดียว เรื่องดีๆ ก็เป็น “กรรม” ด้วย และมิใช่เฉพาะเรื่องใหญ่ๆ อย่างเดียวเรื่องเล็กๆ ก็เป็น “กรรม” ด้วย กรรม คือ การกระทำทางกาย วาจา และใจ ที่มีเจตนาเป็นตัวนำ เรา ตั้งใจทำ พูด คิดเรื่องใด สิ่งใด ทั้งในแง่ดีและไม่ดีเรียกว่า “กรรม” เช่น - ผมกำลังพิมพ์ต้นฉบับอยู่ ยุงตัวหนึ่งมากัดผม ผมรำคาญจึงตบให้ มันตาย เรี ย กว่ า ผมทำกรรมทางกาย เป็นกรรมที่ไม่ดีเรียกว่า “อกุศล กรรม” หรือ “บาป” - กำลังทำงานง่วนอยู่ ก็มีคนมากดกริ่งอ้างว่ามาจากมูลนิธิการกุศล แห่งหนึ่ง มาขอบริจาค ผมโมโหด่าไปเจ็บๆ แสบๆ ไม่ให้แม้แต่บาทเดียว เพราะคนคนนี้ เ คยมาขอแล้ ว ขออี ก เคยสื บ ได้ ว่ า ไม่ มี มู ล นิ ธิ ดั ง กล่ า วจริ ง เรียกว่าผมได้ทำกรรมทางวาจา เป็นกรรมไม่ดีเรียก “อกุศลกรรม” หรือ “บาป” - อ่านข่าวพบคนที่เป็นศัตรูได้รับตำแหน่งใหญ่โต ผมทนไม่ได้ คิด สาปแช่งให้มันพินาศฉิบหายในเร็ววัน อย่างนี้ผมกำลังทำกรรมทางใจ เป็น กรรมไม่ดีเรียก “อกุศลกรรม” หรือ “บาป” ตกลงวันๆ ผมอาจทำกรรมไม่ดีหลายอย่าง หรืออาจทำกรรมดีอีกหลาย อย่างก็ได้ ถ้าเป็นกรรมดี ก็เรียกว่า “กุศลกรรม” หรือ “บุญ” กรรมไม่ดีก็ เรียก “อกุศลกรรม” หรือ “บาป” เพราะฉะนั้น “บุญ” ก็คือกรรมชนิดหนึ่ง “บาป” ก็คือกรรมชนิดหนึ่ง ครอบคลุ ม ตั้ ง แต่ เ รื่ อ งเล็ ก ๆ ไปจนถึ ง เรื่ อ งใหญ่ ๆ เป็ น เหตุ มิ ใ ช่ ผ ล เป็ น เรื่ อ ง ปัจจุบัน มิใช่เรื่องที่ล่วงแล้ว


38

วารสาร “พุทธปทีป”

๒. ความเข้าใจผิดอีกอย่างหนึ่งก็คือ มักจะเข้าใจว่า กรรมเป็นกฏ

ตายตัวที่เราแก้ไขไม่ได้ ทางเดียวที่ทำได้คือให้ยอมรับสภาพ “ปลงเสียเถอะ” หรือ “เป็นกรรมของสัตว์” เช่น เกิดมายากจนก็ยอมรับสภาพว่า เราทำกรรม ไม่ดีไว้ มาชาตินี้จึงจน แล้วก็ยอมรับสภาพอยู่อย่างนั้น ไม่คิดแก้ไขพัฒนาให้ มันดีขึ้น มีแต่ทอดอาลัยหรืองอมืองอเท้า ความเชื่ออย่างนี้ยังไม่ถูกต้อง พุทธศาสนาสอนว่ากรรมเก่ามีจริง จริง อยู่เราเกิดมาจน อาจเป็นเพราะผลของกรรมเก่าที่เราทำไว้ ทำให้มีผลเกิดมา ยากจน แต่มิได้หมายความว่า กรรมจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขไม่ได้ เราเกิดมาจน เพราะกรรมเก่าส่งผล แต่เราก็สามารถสร้างกรรมใหม่ นั่นคือ พยายามขยัน หมั่นเพียรทำงานสร้างเนื้อสร้างตัวอย่างสุดกำลังสามารถ ในที่สุดเราก็อาจ เปลี่ยนฐานะจากคนยากจน กลายเป็นผู้มีอันจะกิน หรือร่ำรวยได้ พระพุทธเจ้าสอนให้ยอมรับความจริง แต่ไม่ให้ยอมรับสภาพ ผู้ที่เข้าใจ หลักกรรมถูกต้อง เมื่อรู้ว่าความจริงเป็นเช่นนี้ย่อมจะไม่ยอมรับสภาพ หรือ “ชะงักงัน” อยู่กับที่ หากแต่พยายามแก้ไขปรับปรุง หรือพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น กว่าเดิม เช่นเกิดมาจน ก็รู้ว่าตนเกิดมาจน อาจเพราะทำกรรมบางอย่างมา ทำให้ เ ราเกิ ด มาจน แต่ ไ ม่ ง อมื อ งอเท้ า หรื อ จำยอมต่ อ สภาพนั้ น พยายาม ขวนขวายทำมาหาเลี้ยงชีพด้วยความวิริยะ อุตสาหะ ในที่สุดก็อาจตั้งเนื้อตั้งตัว ได้ อย่างนี้จึงจะเป็นความเชื่อเรื่องกรรมที่ถูกต้อง ๓. ประการสุดท้าย คนมักเข้าใจว่า ทำกรรมอย่างใด ย่อมต้องได้รับผล เช่นนั้น ทำกรรมดีต้องได้รับผลดีร้อยเปอร์เซ็นต์ ทำกรรมชั่วต้องได้รับผลชั่ว ร้อยเปอร์เซ็นต์ ไม่มีเปลี่ยนแปลง นี่ก็เข้าใจไม่ถูกต้องเช่นกัน ไม่ถูกต้องอย่างไรค่อยเทศน์ เอ๊ยมาอธิบายต่อก็แล้วกัน อ่านมาถึงตรงนี้ แล้ว ง่วงนอนไหมละเอ่ย กรุณาติดตามฉบับหน้า


ฉบับที่ ๖๓ ปีที่ ๑๙ เมษายน-มิถุนายน ๕๔

39

วั น เกิ ด ให้ “พรพรรณ ศานติ ช าติ ศั ก ดิ์ ” ร้านไทโถ วิมเบิลดันวิลเลจ ๑๓ มิ.ย. ๕๔ พนักงานและเพื่อน ๆ ร วมอวยพรวันเกิด คุณแม มอบของขวัญใหญ ให้ด้วย...ลูกสาว สุดปลื้ม...


40

วารสาร “พุทธปทีป”


ฉบับที่ ๖๓ ปีที่ ๑๙ เมษายน-มิถุนายน ๕๔

41


42 วารสาร “พุทธปทีป” ขอบคุณเจ้าของบทความ นก (นิกกี้)

ไมเกรนคืออะไร ? ไมเกรน เป็นอาการปวดที่สร้างความรำคาญและทรมานให้กับผู้ป่วย ตั้ง แต่ระดับปานกลางไปจนถึงมากมีผลกระทบการดำรงชีวิตประจำวัน อาการ ปวดตุ๊บๆ แถวขมับ หรืออาจจะปวดไปถึงบริเวณเบ้าตา อาการปวดไมเกรน อาจจะปวดได้นาน ๒-๓ วันและอาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียร เวลาหายปวดจะ หายสนิท ก่อนที่จะเกิดอาการปวดอาจจะเห็นแสงแว๊บๆ ตาพล่ามัวเรียกว่า AURA บางครั้ ง การปวดหั ว ข้ า งเดี ย วอาจจะเกิ ด จากสาเหตุ อื่ น เช่ น คอตก หมอน เนื้องอก เป็นต้น ไมเกรนมักจะพบในช่วงวัยรุ่นอายุ ๑๐-๒๕ ปี แต่ก็พบในเด็ก ๗-๘ ขวบ ได้ พออายุมากขึ้นอาการจะลดน้อยลง คนสูงอายุจึงมักไม่มีปัญหาเกี่ยวกับ ไมเกรน หากคนสูงอายุมีอาการปวดหัวรุนแรงมักจะมีสาเหตุมาจากอย่างอื่น มากกว่าเช่น ความดันสูง ความเครียด เป็นต้น แต่ก็เป็นไปได้ที่จะพบในผู้สูง อายุ ๕๐ ปี และจากการวิจัยพบว่า ไมเกรนมักจะเป็นโรคทางพันธุกรรมและ ส่วนใหญ่ ไมเกรนจะพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ผู้หญิง ๑ ใน ๑๐ คน มักจะมี ปัญหาเกี่ยวกับไมเกรน อันเนื่องมาจากการขึ้นลงของระดับฮอร์โมนในร่างกาย


ฉบับที่ ๖๓ ปีที่ ๑๙ เมษายน-มิถุนายน ๕๔

43

อาการ ๑. ปวดศรี ษ ะตุ๊ บ ๆ แถวขมั บ หรื อ อาจจะปวดบริ เ วณเบ้ า ตา เหมื อ น หัวใจเต้นตุ๊บๆ และอาจจะเป็นข้างเดียวหรือสอง ข้างก็ได้ อาจปวด นาน ๔-๗๒ ชั่วโมง ๒. คลื่นไส้อาเจียร ๓. เบื่ออาหาร ๔. จะปวดมากขึ้นเมื่อพบสิ่งกระตุ้น เช่น แสงจ้า อากาศเย็นหรือร้อนจัด เสียงดัง ๕. อาจมีอาการนำ AURA (ออร่า) คือ จะเห็นแสงแว๊บๆ ตาพล่ามัว ถ้าอาการปวดศรีษะเกิดกับผู้สูงอายุมากกว่า ๕๐ ปี อาจเกิดจากสาเหตุ - ถ้าปวดทันทีทันใด อาจเกิดจากหลอดเลือดในสมองแตก - อาการปวดศรีษะเป็นบ่อยขึ้น รุนแรงขึ้น นานชึ้น - อาการปวดศรีษะที่พบร่วมกับ ไข้ คอแข็ง ผื่น - มีอาการทางระบบประสาทอื่น เช่น ชัก อ่อนแรง ตามแขนขาข้างใด ข้างหนึ่ง


44

วารสาร “พุทธปทีป”

ในปัจจุบันก็ยังไม่มีใครทราบสาเหตุที่แท้จริงของไมเกรน แต่เชื่อว่ามีสาร บางอย่างจากเส้นประสาทในสมองไปทำให้เส้นเลือดแดงในสมองเกิดการขยาย ตัวอย่างรวดเร็วจึงทำให้เกิดอาการปวดศรีษะ การปล่อยสารบางอย่างจากเส้น ประสาทในสมองออกมาเป็นเหตุให้เกิดอาการปวดซึ่งน่าจะมีเหตุมาจาก ๑. อาการเครียด ๒. อดนอน หรือนอนมากเกินไป ๓. การเปลี่ยนแปลงทางสภาวะอากาศ ๔. เจอกับแสงจ้า ๕. ระดับน้ำตาลในเลือดไม่คงที่ ๖. สูบบุหรี่หรือดื่มเหล้า ๗. อาการขาดคาเฟอีน (พบในชากาแฟ) ๘. กลิ่นเหม็น ๙. ช่วงมีประจำเดือน ๑๐. รับประทานยาขยายหลอดเลือด ๑๑. รับประทานอาหารที่ส่วนผสมของสาร เอมีน ไนไตร และไทรามีน ซึ่งเอมีนพบในอาหารจำพวก เบคอน ฮ๊อทดอก ส่วนไทรา มีนจะพบในไวน์แดง เปปเปอโรนี่ ชีส เนย พิซซ่า ช๊อคโกแลต กล้วยหอม และ ผงชูรส

การรักษาและป้องกัน

ถ้ า หากเป็ น ไม่ ม ากและนานๆเป็ น ที ก็ ซื้ อ ยาแก้ ป วดพวกแอสไพริ น พาราเซตตามอล นูโรเฟน อาการจะบรรเทาได้ 30 - 60 นาที แต่ถ้าอาการ รุนแรง อาจจะต้องใช้แอสไพรินร่วมกับพาราเซตตามอล ในบางรายคนที่เป็น บ่อยมากกว่า 2 ครั้งต่อเดือนยาส่วนใหญ่จะเป็นยาที่ใช้เพื่อลดการเกิดและ บรรเทาอาการไมเกรนเช่ น ยากลุ่ ม beta-blockers ยากลุ่ ม antidepressants ยากลุ่ม Calcium Channel blockers และยาสำหรับอาการ


ฉบับที่ ๖๓ ปีที่ ๑๙ เมษายน-มิถุนายน ๕๔

45

ไมเกรนโดยเฉพาะเช่น Sumatriptan ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการข้างเคียง คืออาการคลื่นไส้อาเจียรและอาการ ปวดศรีษะพร้อมกัน สถานพยาบาลบางแห่งเลือกที่จะรักษาด้วย การฝังเข็ม aromatherapy อาหารเสริม ช่วยบำรุงเส้นเลือดให้แข็งแรงจึงควรรับประทานสม่ำเสมอ จะช่วยลดความรุ่นแรงและความถี่ของการเกิดอาการปวดจากไมเกรน

การรักษาและบรรเทาอาการไมเกรนด้วยตนเอง

๑. ใช้ก่อนน้ำแข็งหรือกระเป๋าน้ำแข็งประคบที่ศรีษะเพื่อช่วยให้เส้นเลือด หดตัวลงและบรรเทาอาการปวด ๒. ใช้ที่ปิดตาแต่นอนพักในห้องที่เงียบและมืดสนิท และควรนอนหงาย หน้าขึ้นเพดาน ๓. การนวดด้วยน้ำมันกลิ่นหอมเช่น ลาเวนเดอร์ จัสมิน ก็จะช่วยผ่อน คลายได้ ๔. จดอาการที่เกิดขึ้นเช่น วันเวลา ระยะเวลาที่ปวด อาการอื่นที่เกิดร่วม ด้วย ปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิด เพื่อหาทางหลีกเลี่ยงสาเหตุ นั้นๆ เช่น แสง เสียง ที่รบกวน อาหารที่รับประทาน และอื่นๆ ๕. คอยสั ง เกตุ อ าการก่ อ นเริ่ ม มี อ าการปวดเช่ น อาการหิ ว ง่ ว งนอน อ่อนเพลีย แสง เสียงที่รบกวน ๖. งดอาหารที่อาจจะเป็นสาเหตุให้เกิดอาการ เช่น ผงชูรส พิซซ่า ชีส เหล้า กาแฟ เนย ช๊อคโกแลต เป็นต้น ๗. พยายามพักผ่อนให้พอเพียง หลีกเลี่ยงการอดนอน ๘. พยายามรับประทานอาหารที่มีสารโอเมก้า ๓ (Omega 3) ซึ่งพบใน อาหารจำพวกปลาทู แซลมอล แมคคาเรล ๙. การออกกำลังกายสม่ำเสมอ ก็จะช่วยลดอาการไมเกรนได้เช่นกัน


46

วารสาร “พุทธปทีป”

DISTINGUISHED PARTICIPANTS: Today I have been expected to speak on death and dying, but I would like instead to speak on aging and dying rather than on death and dying. Old age and death are natural phenomena. In accordance with the law of nature all conditioned things are impermanent and liable to change, being subject to causes and conditions. Everything that has a beginning must at last come to an end. The lives of all beings, after being born, must decay and die. Aging is just the decline of life and the decay of the faculties; and death is the passing-away, the termination of the time of life, the breakup of the aggregates and the casting off of the body. Although, by nature, aging and death are merely facts of life, psychologically they often mean to the worldlings a loss of hope, the frustration of all aspirations, a leap into a great darkness, and thus the feelings of fear and anguish.


ฉบับที่ ๖๓ ปีที่ ๑๙ เมษายน-มิถุนายน ๕๔

47

In spite of degeneration and loss inherent in aging and dying, old age can be turned into an opportunity for development, and death into that for a sublime attainment. At the least, one should live the good and worthwhile life of the old, and can then die unconfused or even die an enlightened death. A human’s life span is traditionally divided into three stages, the first, the middle and the last stage. Of course, with attention to what is good and right, one should live a good life through all the three stages of life. However if, through negligence, one fails to fulfill the good life in the first and middle stages of life, there is still room left for one to fulfill it in the last one, that is, in one’s old age. Not only when still a young black-haired man in the prime of youth, but also when he became old, the Buddha was still perfect in his lucid wisdom. This means a happy and fruitful life in old age is a possibility. Moreover, as mentioned earlier, one can even make progress in the good life and attain to perfection in this last stage of life. So many people spend the whole time of their early and middle years in search of fame and fortune, in seeking after wealth and power, and in pursuit of material pleasures. They might say that their lives have been worthwhile. Really, they are not. It is not enough. They have not got the best of their lives. They have not realized the full potential of being human. To live


48

วารสาร “พุทธปทีป”

longer into old age gives them an advantage over other people as they are in a position to make advances towards fulfilling these potentials. What are these potentials? There are a lot of them. Examples are the various kinds of inner and independent happiness through inner development. In short, there are a lot of the good that people in search of wealth, power and pleasures will never experience and enjoy except that they survive to develop them in their old age. As long life up to an old age is an advantage if one learns how to utilize it, we should look after ourselves well so that we will have long lives. Of course, good care of life is needed. We should look after ourselves well, physically and behaviorally, emotionally and volitionally, and intellectually and intuitionally. The interdependence and interrelationship among these aspects of life should be rightly steered so that they become intercontributary. First, physical care should not be separated from behavioral development in relationship with the social and natural environment. In addition to sufficient nutritious food and physical exercise, right attitudes and behavior such as


ฉบับที่ ๖๓ ปีที่ ๑๙ เมษายน-มิถุนายน ๕๔

49

beneficial habits should be developed in connection with eating, general material consumption and recreations. As all know well, the present-day society functions as a system of competition and consumption where people fall into the state of time-scarcity because of competitive individualism and personal pursuit of material pleasures. In the context of such a society, people find it difficult to take care of other people and, therefore, people in old age should be more selfreliant. In these situations, they should devote themselves more to an intimate relationship with the natural environment. They should enjoy physical movements and activities amidst nature. As far as personal relationships are concerned, love of sons and daughters leads to concerns about their weal and woe which are satisfied by parental care. However, when children have grown up and can take care of themselves, they take responsibility for themselves. At this point, the concerns of the old parents over their grown-up sons and daughters, or of the grandparents over their grand-children, often lead to vexation on the part of the latter and an upset on the part of the former. It is not good to the mental health of both sides.


50

วารสาร “พุทธปทีป” There is a principle in the Buddha’s teaching that when

children grow up and are able to take responsibility for their own lives, parents are expected to develop equanimity. This means love must be balanced by equanimity. In other words, love that grows into attachment, whether to persons or things, must be replaced by equanimity. Love must be maintained at the level of loving-kindness or friendly love. In Thailand, aged people find the balance of loving-kindness with equanimity in joining their peers in the Buddhist observances at a village monastery and even stay there overnight every seven or eight days. To go further in emotional care and volitional encouragement, the elderly should develop in themselves the will to do something. This means that one should have something in mind that one values highly and has a loving interest in, which one wants very strongly to do, for example, the writing of some book on one’s cherished experiences, the carrying out of a gardening program, or the search for knowledge of a spiritual matter. Let one’s will to action be so strong as to make one say to oneself: “I cannot die if I have not completed this task.” Many of us can think of elderly people, especially those after retirement, who, not long after retiring from work, became subject to loneliness, dejected, down-hearted and gloomy. They quickly withered away and died. Some suffer from depression and even commit suicide. But the elderly who develop the will to


ฉบับที่ ๖๓ ปีที่ ๑๙ เมษายน-มิถุนายน ๕๔

51

action will not be so. Their willpower and strong spirit will only develop. They have something to commit themselves to and there, also, they will apply reasoning and intellectual investigation. They will become strong and healthy, both in mind and in body. The Buddha says that one who has the four qualities of the desire to act, strong willpower, the sense of commitment, and the spirit of investigation or experimentation, can live long throughout the whole life span. Now we come to the boundary between the heart and the head, where the emotion will be refined, made wholesome and strengthened by the intellectual faculty. However, in passing, I would like to mention another two points. Elderly people usually have bodies that are frail and easily afflicted with diseases. This tends to make them worried and dejected. Here they are encouraged by the Buddha to train themselves: “Although my body is ill, my mind shall not be ill,” or “Even though my body becomes frail, my mind shall not be weakened.” Another point is concerned with happiness. Many or most people think of happiness in terms of sensual or material pleasures. If happiness consists in satisfying the senses, life in old age will be a great torment, forever deprived of happiness, because aging means, among other things, the degeneration and decay of the sense-faculties.


52

วารสาร “พุทธปทีป” In reality, there are roughly two kinds of happiness. One is

sensual happiness, dependent on external material pleasures. As this kind of happiness is dependent on material objects outside ourselves, those who are devoted to its enjoyment become pleasure-seekers or the seekers after happiness. In the pursuit of this kind of happiness, the pleasure-seekers learn and spend a lot of energy to develop the ability to look for and recognize the goods to gratify their senses. This has even been unconsciously taken by these people to be the meaning of education. But it is the gift of human beings that they are possessed of the potential for creativity. Through this potential, they have created, using their creative thinking and constructive ideas, the human world of inventions and technologies. Directed inside, this potential can be developed for the creation of inner happiness and the various kinds of skillful mental qualities. Unfortunately, the pleasure-seekers or happiness-pursuers, being engrossed in the search for external objects to gratify their senses, fail to develop this potential for the inner creativity. This creative or formative potential left undeveloped then works out for their inner lack of happiness and for various negative mental states. Thus in this way the pleasure-seekers, while seeking external happiness through the gratification of the senses with material objects, create or form inside themselves stress, anxiety, worry, depression, fear, insomnia and all kinds of negative


ฉบับที่ ๖๓ ปีที่ ๑๙ เมษายน-มิถุนายน ๕๔

53

mental states, and even clinical mental disorders. To be sure, these pleasure-seekers in their old age will suffer double anguish. Externally, because of the degeneration of their sense-faculties, they experience the frustration of the sensual happiness. Internally, they are subject to the formation and arising of unskillful feelings such as fear, anxiety, stress, and depression, and the frustration of the external happiness intensifies these negative emotions even more. This seems to be a very unhappy life in old age. Wise people not only develop the ability to seek for external objects to satisfy sensual desires, they develop the potential for creativity to create in themselves various positive mental qualities and inner happiness. We are usually advised by the Buddha to develop five skillful qualities as the constant factors of the mind, namely joy, delight, relaxing calm, happiness and concentration. These five qualities will keep away all negative emotions and unhappiness. It is the development of the ability to create happiness or to be happy. As this second kind of happiness is an internal mental quality independent of material objects outside, the person who has developed it becomes, in contrast to the pleasure-seeker, the possessor of happiness. In their old age, the elderly should learn to develop more and more inner happiness so that they will enjoy lives of peace, freedom and happiness.


54

วารสาร “พุทธปทีป” There is still a higher level of happiness. It is happiness

beyond all formations. This is the highest kind of happiness, to be realized through the liberating wisdom or insight into the true nature of things. In the way of liberating the mind through wisdom and insight, we are advised by the Buddha to free and learn the truth of things at every step. Aging and death are among the facts of life that should be constantly reviewed. In the words of the Buddha: “These five facts of life should be again and again contemplated by everyone, whether female or male, whether layperson or monk:

“I am subject to old age: I am not freed from it. “I am subject to disease: I am not freed from it. “I am subject to death: I am not freed from it. “There will be division and separation from all that is dear to me. “I am the owner of my actions: whatever I do, whether good or bad, I become heir to it.” Death, in particular, which is the central point or culmination of these facts, is a special focus of contemplation. Buddhists are advised to practice mindfulness or contemplation of death (maranasati). This mindfulness or contemplation is far different from imagination or fanciful thinking, which often


ฉบับที่ ๖๓ ปีที่ ๑๙ เมษายน-มิถุนายน ๕๔

55

leads to fear, sorrow and downheartedness. That is called unwise attention. The right and wise contemplation of death leads to the acceptance of the fact of the impermanence of life, and further to leading a life of diligence or earnestness to get the best of life before it comes to an end. Furthermore, it leads to the realization of the truth of the impermanence of all things. The insight into the true nature of all things will bring about wisdom that liberates the mind. The mind of the wise who realize the truth, being freed, is set to equilibrium and stands in equanimity. The person who is in this state of being is in the position to enjoy the highest happiness. Some of the disciples of the Buddha attained to enlightenment and final freedom even at the moment of death. For those who have not realized the final goal of perfect freedom, at the moment of death they are advised to die with a clear and peaceful mind, unconfused. In short, three points should be observed concerning aging and death. First, aging and death are plain facts of life, the contemplation of which may lead to insight into the truth of all things. Second, aging and death can be an opportunity for the development of a good life, we should make the best out of them. Third, relying on aging and death, even the ageless and the deathless can be attained to. With these remarks, I bring my talk to a close. Thank you.


56

วารสาร “พุทธปทีป”


ฉบับที่ ๖๓ ปีที่ ๑๙ เมษายน-มิถุนายน ๕๔

57


58 วารสาร “พุทธปทีป” ขอบคุณเจ้าของบทความ VEN. SANGTHONG DHAMMACARO

“Can you describe Goodness and Evil from a Buddhist point of view?” is a question put to me when I talk to people. My answer is that goodness and evil are in the human mind, and are things which grows inside us. Goodness produces good actions and consequences, but evil produces bad actions and consesquences. They are both rooted in the minds of all human beings and are not specific to certain individuals. There is a Zen story, which explains this well. Here is the story:- There was once an artist who wanted to draw a picture of a good object, or of someone good. He had no idea of how to draw the picture and tried to find a model to use, but he could not find one. One day he went to the temple and happened to see a Buddhist monk, whose appearance was very pleasing. So he offered to pay the monk a very good price to be his model. The


ฉบับที่ ๖๓ ปีที่ ๑๙ เมษายน-มิถุนายน ๕๔

59

monk accepted and the artist started drawing this model-monk who personified goodness. Everything was fine; the drawing turned out very well. People liked his drawing and he became well-known. Because of that drawing, people called him a great artist. Later on, he thought of drawing something evil and tried to find another model. It wasn’t that easy to find someone, who looked evil, so he searched everywhere, even in the prisons. Finally, he found a prisoner in one prison, whose looks were very much like an evil devil. He asked him to be his model. That prisoner cried out loudly, “Why it is me, again! Do you not remember me? I was a monk, who became your model a month ago. Now you ask me to be your evil model!” The artist looked, stunned, at the man, he could not remember him. He said to himself, “This is impossible! That monk looked very calm, peaceful and wise. But this man looks horrible. He looks like a real evil devil”. He asked the prisoner, “Are you really the monk who was my monk model a month ago?” He said, “Yes, I was a monk. Do you know what happened to me? Because of you, from being a monk, I turned into Mara.” The artist asked him with suprise, “How come I did that to you? Your appearance was very calm, peaceful and wise.” He replied, “When I was your model, you gave me a good price. I spent that money in the wrong way. I


60

วารสาร “พุทธปทีป”

became addicted to drugs and lots of bad things. I could not stop myself. When there was no money left, I robbed and killed people. Now I end up here, as you find me.” The artist listened to the man’s life with sadness and said to himself, “Goodness and evil are just in all human minds, without exception. The growth of each of these qualities depends on what it is fed”. It is true that goodness and evil are both present in all human minds. There is no exception. They grow within us. If we support goodness, it will grow with us and give us calm, peace, happiness and wisdom. But if we support evil, it will grow and destroy our life. Which side of your mind do you support now? Beware that you don’t feed the evil in your mind, because it will turn to harm you. Just feed the goodness in your mind, then your life will not be destroyed. The good mind can produce good actions and good actions produce good consequences.


ฉบับที่ ๖๓ ปีที่ ๑๙ เมษายน-มิถุนายน ๕๔

61


62

วารสาร “พุทธปทีป”

สองมื อ น้ อ ยตั้ ง ตรงประนมก้ ม กราบต่อหน้าพระพุทธปฎิมาในห้องสวด มนต์ของเยาวชนลูกหลาน ช่างเป็นภาพ ที่สะท้อนให้หวนรำลึกอดีตเมื่อหลายสิบ ปี ที่เด็กคนหนึ่งต้องตื่นแต่เช้า เก็บสมุด ปากกา และดินสอ ใส่กระเป๋า สองมือ ปั้นข้าวเหนียวจิ่มแจ่วปลาร้า เสมือนเป็น พิซซ่าบ้านนาตามประสาที่พอจะหาได้ ให้ ส ามารถประคองลมหายใจและมี เรี่ยวแรง พอที่จะสาวเท้าก้าวออกจาก ชายคาบ้าน มุ่งหน้าสู่โรงบ่มเพาะความรู้ โดยมี ค ำเรี ย กสั้ น ๆ ว่ า “โรงเรี ย น” ภาพการลุยโคลนปนน้ำขังตามท้องถนน ที่ ส องเท้ า ของเด็ ก หลายร้ อ ยชี วิ ต ต้ อ ง เหยียบย่ำปนความกล้ำกลืนในโชคชะตา

กลายเป็นเพียงเรื่องเก่าในอดีต ที่ไม่อาจ ได้พบเห็นอีกต่อไป หรืออาจจะมีในบาง แห่ง แต่ทว่าในภูมิลำเนาของผู้เขียนนั้น ไม่ปรากฏสิ่งนี้อีกต่อไปแล้ว กาลเวลาที่ ล่ ว งเลยแต่ ไ ม่ เ คยลบ ภาพห้องเรียนสี่เหลี่ยมที่บรรจุนักเรียน ได้ราว ๔๐ ชีวิตต่อห้อง มีกระดานสีดำ ยึ ด กั บ ผนั ง ห้ อ งด้ า นหน้ า เศษผ้ า ขาด เล็กๆ ผืนหนึ่ง ซึ่งมีสภาพการตรากตรำ กรำศึกมาหลายรุ่น กล่องสี่เหลี่ยมบรรจุ แท่ ง สี ข าว ซึ่ ง เพื่ อ นบางคนหยิ บ ไปขี ด เขียนเล่นตามผนังห้องเรียน ราวกับว่า ตนเป็นนักศิลปะ จนสามารถคว้ารางวัล รอยไม้เรียวยอดเยี่ยมจากครูประจำชั้น สร้างความคุ้นเคยให้เห็นจนชินตา แม้ว่า


ฉบับที่ ๖๓ ปีที่ ๑๙ เมษายน-มิถุนายน ๕๔

การเรียนจะทำได้ไม่เต็มที่เหมือนในตัว เมือง แต่พวกเราก็ไม่เคย “เต็มทีที่จะ เรียนรู้” อาทิเช่น ภาษาไทย มารยาท ไทย และหน้าที่พลเมือง หนังสือเพียงไม่ กี่เล่ม ถูกใช้อย่างมีคุณค่าและสามารถ ผ่านต่อไปยังรุ่นน้องได้อีก แม้จะมีการ ฉีกขาดไปบ้างแต่นั่นเป็นการย้ำเตือนว่า ต้องถนอมรักษาให้ดี เพราะยังมีรุ่นน้องๆ คอยอยู่ใช้งานอยู่ สรรพสิ่งใช่ว่าจะรักษาสภาพเดิม ได้อย่างคงมั่น เมื่อการศึกษาได้รับการ พัฒนาให้ก้าวทันต่อกระแสโลกาภิวัตน์ และยกระดั บ สู่ แ นวความคิ ด “ยก

63

หลักสูตรการศึกษาของชาติได้คลอดตัว ตนออกมาสู่ตลาดการเรียนรู้ กลับไม่พบ คำว่า “หน้าที่พลเมือง” ในหลักสูตร ใหม่ ทว่าเป็นระบบบูรณาการการเรียนรู้ ภายใต้ชื่อใหม่ว่า “สร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต” และอะไรอีกมากมาย จนไม่ แน่ใจว่าเป็นการ “ยกระดับ” เพียงเพื่อ ต้องการตามเขาให้ทันหรือเป็นเพียงการ “ไล่ ล่ า ” จนละเลยสาระสำคั ญ เชิ ง ศี ล ธรรมและจริยธรรม อันเป็นรากฐานที่ สำคัญของสังคมไป อนาคตการศึ ก ษาไทยจะมุ่ ง สู่ ทิศทางใด จึงจะเหมาะสมกับข้อเท็จจริง เครื่อ งการศึ ก ษาไทยให้ก้าวทัน ทางสังคมและวิธีคิดของคนไทยนั้น ยัง โลก” ฟังดูเป็นปรัชญาที่น่าติดตาม ครั้น เป็นเครื่องหมายคำถามใหญ่ ให้นักการ


64

วารสาร “พุทธปทีป”

ติดตัวมาด้วยแล้ว ยังมี “ภาษา” และ “วัฒนธรรม” ของชาตินั้นๆ พ่วงมา ด้วย และเป็นการนำเข้ามาโดยที่กฎใดๆ ก็มิอาจห้ามปรามได้ นี่เองเป็นจุดเริ่มต้นให้ภาษาและ วัฒนธรรมของชนชาติไทย ถูกนำเสนอ ต่อชุมชนของตนเองอย่างต่อเนื่อง โดย เริ่ ม จากครั ว เรื อ นสู่ เ พื่ อ นร่ ว มงานและ ทิศทางและแนวโน้มการส่ง ขยายไปสู่วงกว้าง จึงไม่แปลกเลยที่ชาว เสริมการเรียนรู้ภาษาไทย และ อังกฤษบางคนจะพูดถ้อยคำภาษาไทย วัฒนธรรมไทยของเยาวชนไทย บางคำได้อย่างถูกต้องตรงตามความมุ่ง ในอังกฤษ หมาย การโยกย้ า ยถิ่ น ฐานเพื่ อ การยก วัดไทยและชุมชนชาวไทย ระดับคุณภาพชีวิตนั้น ดูเหมือนจะเป็น กลไกในการยกระดับการเรียนรู้ เงื่ อ นไข ผลั ก ดั น ให้ ผู้ ค นมุ่ ง หน้ า สู่ เ กาะ ภาษาและวั ฒ นธรรมไทยใน อังกฤษ ภายใต้เงื่อนไขดังกล่าว ชนชาติ อังกฤษ ไทยก็รวมอยู่ด้วย และยังมีชนชาติอื่นๆ อีกมากมาย ล้วนแต่มีเป้าประสงค์เพื่อ หากนึ ก ทบทวนย้ อ นกลั บ ไปใน “ต่ อ แต้ ม ดี ” ให้ กั บ ชี วิ ต เช่ น การ อดี ต จะพบว่ า การศึ ก ษานั้ น เริ่ ม ต้ น ที่ ประกอบอาชี พ ที่ ไ ด้ รั บ ค่ า ตอบแทนสู ง “วัด” โดยมีพระสงฆ์ผู้ทรงภูมิรู้ในเรื่อง การศึ ก ษาวิ ช าการชั้ น สู ง การหนี ภั ย อักขรวิธีที่จารึกบนใบลาน ทำหน้าที่ครู คุ ก คามทางสงครามหรื อ แม้ แ ต่ ก ารทำ สอนภาษาให้เยาวชนในระแวกใกล้เคียง หน้าที่ด้านการกุศล เป็นต้น เรียนรู้การอ่าน การเขียน และยิ่งไปกว่า นอกจากกระเป๋าเพียงไม่กี่ใบที่นำ นั้น คนไทยล้ ว นแต่ ภ าคภู มิ ใ จว่ า เรามี ศึ ก ษาของชาติ ต้ อ งลั บ คมสมองเป็ น ศตวรรษ แค่ระบบการสอบคัดเลือกเข้า เรียนต่อในระดับอุดมศึกษา ยังปรากฏว่า ไม่เหมาะสมและมีท่าทีว่าจะเปลี่ยนกลับ สู่ระบบการสอบเอ็นทรานซ์เช่นเคย อัน นี้ต้องคอยดูกันต่อไปว่า ทางออกนั้นคือ อะไรกัน


ฉบับที่ ๖๓ ปีที่ ๑๙ เมษายน-มิถุนายน ๕๔

ภาษาประจำชาติเป็นของตนเอง นั่นคือ “ภาษาไทย” จนกลายเป็นมรดกอัน ล้ำค่ายิ่งนัก เพื่อมิให้มรดกอันทรงคุณค่าชิ้นนี้ ถู ก ลื ม และสามารถผ่ า นต่ อ ให้ อ นุ ช นได้ เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และไม่เฉพาะแต่ใน ประเทศไทยเท่านั้น เยาวชนไทยในต่าง แดนก็ควรได้รับโอกาสเช่นเดียวกัน แล้วใครจะรับภาระอันใหญ่หลวง นี้ได้ละ? เพื่อให้โจทย์ใหญ่นี้ ปูทางไปสู่ คำตอบให้มากที่สุด คณะพระธรรมทูต วัดพุทธปทีป วิมเบิลดัน กรุงลอนดอน จึงรับภาระหน้าที่จัดการเรียนภาษาไทย และวั ฒ นธรรมไทยขึ้ น ภายใต้ ชื่ อ ว่ า

“โรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ วั ด พุ ท ธปที ป กรุ ง ลอนดอน” มี

พั น ธกิ จ หลั ก คื อ ส่ ง เสริ ม การเรี ย นการ สอนภาษาไทยและวั ฒ นธรรมไทยแก่ เยาวชนไทย โดยที่ดำเนินงานมาแล้วกว่า ๓๐ ปี การสงเคราะห์ด้านการศึกษาแก่ กุลบุตรกุลธิดา โดยแท้จริงแล้ว ควรเป็น หน้ า ที่ ข องทุ ก ฝ่ า ย สนั บ สนุ น ส่ ง เสริ ม และเสียสละ อาศัยลำเพียงพระสงฆ์ฝ่าย เดียวก็คงจะเกิดเป็นมรรคเป็นผลได้ยาก

65

ฉะนั้น ชุมชนชาวไทยจึงเป็นแรงผลักที่ สำคั ญ ยิ่ ง ที่ จ ะทำให้ “มรดกไทย” ก้าวหน้า ก้าวไกลและยั่งยืนตลอดไป

เสียงสะท้อนบางส่วนจาก ผู้ ป กครองนั ก เรี ย นต่ อ โรงเรี ย น พุ ท ธศาสนาวั น อาทิ ต ย์ วั ด พุ ท ธ ปทีป กรุงลอนดอน

“ดิฉันดีใจมากที่ได้พาลูกมาเรียน ภาษาไทยที่วัดพุทธปทีป นอกจากทำให้ อ่าน เขียน ได้แล้ว ยังได้รู้จักประเพณี และวัฒนธรรมไทย อาทิเช่น การรดน้ำ ดำหั ว ผู้ ใ หญ่ การไหว้ ค รู เทศกาลวั น สงกรานต์และบางครั้งครูยังแนะนำการ


66

วารสาร “พุทธปทีป”

ละเล่นของไทย เช่น งูกินหาง มอญซ่อน ผ้า ดิฉันบอกลูกเสมอ ถ้าเราสามารถ พูดหรืออ่านได้สองภาษา มันจะเป็นกำไร ชีวิตของเรา ดีกว่าคนที่รู้ภาษาเดียว เรา สามารถไปเที่ยวหรือทำงานในประเทศที่ เราเข้าใจภาษาได้อย่างสะดวก ขอบพระคุณคณะครูและอาจารย์ ที่สละกำลังและเวลาส่วนตัวสั่งสอนลูก หลานของเราให้ ไ ด้ สื บ ทอดวั ฒ นธรรม ไทยต่อไป และเพื่ออนาคตอันสดใสของ ลูกหลานในอนาคต”

ปิยวดี กนกวิลาศภรณ์ แม่น้องรัชพล ห้อง 2

มาเรียนวัดไทยได้อะไร? “เป็นคำถามที่มีคำตอบมากมาย จากประสบการณ์ที่ได้กับตัวฉันและลูก คิมเบอรี่ ที่กำลังเรียนอยู่ห้อง ๔ ลูกชาย เจมมี่ เรี ย นอยู่ ห้ อ ง ๒ ดิ ฉั น เห็ น ว่ า “ภาษาแม่” เป็นภาษาที่สำคัญสำหรับ ทุกชาติทุกภาษา ดิ ฉั น คิ ด ว่ า เราโชคดี ม ากที่ มี วัดพุทธปทีป และให้โอกาสสำหรับเด็ก ไทยที่เติบโตในประเทศอังกฤษได้เรียน ภาษาไทย ซึ่ ง ช่ ว ยให้ ส ามารถอ่ า นได้ เขียนได้ เมื่อกลับไปเที่ยวเมืองไทย เด็ก สามารถพูดสื่อสารกับ คุณปู่ คุณย่า และ ญาติพี่น้องที่ไม่รู้ภาษาอังกฤษ และโดย ส่วนตัวก็ได้มารู้จักเพื่อนคนไทยเพิ่มขึ้น ได้ใช้ภาษาของเรา อีกอย่างที่ซาบซึ้งมาก


ฉบับที่ ๖๓ ปีที่ ๑๙ เมษายน-มิถุนายน ๕๔

กับคุณครูอาสาและเจ้าหน้าที่ทุกฝ่าย ที่ สละเวลาส่วนตัวมาช่วยและให้ความรู้แก่ ลูก ๆ ของพวกเราค่ะ ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ค่ะ” รุ้งตะวัน เบรดี้ “การที่ พ าลู ก มาเรี ย นหนั ง สื อ ที่ วัดพุทธปทีป ดิฉันได้เห็นพัฒนาการ และ ประโยชน์ที่ดีหลาย ๆ อย่าง นอกจากลูก จะได้เรียนภาษาไทยแล้ว ลูกยังได้เข้าใจ ถึงขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมไทย จาก กิจกรรมที่ทางวัดและโรงเรียนจัดอย่าง ต่อเนื่อง ได้เปิดโลกทัศน์ของลูกให้กว้าง ขึ้น ลูกไม่ได้มีแค่สังคมและเพื่อนจาก แถวบ้านหรือโรงเรียนที่ลูกไปเรียนทุกวัน แต่ลูกมีโอกาสได้มีสังคมใหม่ และเพื่อน ใหม่ที่แตกต่างไปจากสังคมทุกวัน ไม่ใช่ เด็กทุกคนจะมีโอกาสแบบนี้ เราพยายาม ย้ำกับลูกเสมอว่ามันเป็นสิ่งที่พิเศษ ครอบครั ว เรากลั บ ไปเยี่ ย มเมื อ ง ไทยช่วงสงกรานต์ที่ผ่านมา ปลื้มใจมากที่ ครอบครัวที่นั่นตื่นเต้นและดีใจที่ลูกเขียน ชื่อและนามสกุลได้คล่องแคล่ว เขียน กอ ไก่ ถึง ฮอ นกฮูก ได้อย่างบรรจงสวยงาม ลูกสวดมนต์ได้เอง สวดนะโมสามจบได้

67

ลูกเข้าวัดแล้วนั่งเรียบร้อย และที่สำคัญ คือ ลูกไม่เป็นโรค “กลัวพระ” อย่างที่ เด็กหลาย ๆ คนที่เกิดและโตต่างประเทศ เป็นกัน” จาก ขวัญจิต แอทวูด (จิ๋ว)

“เรารู้ สึ ก ชื่ น ใจ ที่ ไ ด้ เ ห็ น วั ด เป็ น ศูนย์กลางของวัฒนธรรม เป็นที่รวมตัว กั น ของเด็ ก ๆ ซึ่ ง การเรี ย นรู้ ผ่ า นวั ฒ นธรรม เป็นการสอนที่ฉลาด เป็นอุบายวิธี ที่ดี เพราะเราทั้งคู่ได้เติบโตมาจากสังคม ต่างจังหวัด วัดและโรงเรียนใกล้ชิดกัน มาก มีการสวดมนต์ฟังธรรมในโรงเรียน เป็นปกติ และคิดว่าเป็นพื้นฐานการปลูก


68

วารสาร “พุทธปทีป”

ฝังที่ดีที่เริ่มหายไปจากสังคมเมืองมากขึ้น โดยเฉพาะในต่างประเทศ ดีใจที่ได้เห็น จริ ย าของเด็ ก มี ค วามอ่ อ นน้ อ มในการ ปฏิ บั ติ ต นต่ อ ผู้ ที่ อ าวุ โ สกว่ า ได้ อ ย่ า ง เหมาะสม รู้ข้อปฏิบัติพื้นฐานของการ เป็นชาวพุทธ มีความภูมิใจ และความ สามารถในการฟัง พูด และเขียนภาษา ไทย ได้เห็นความสำคัญของการเป็นผู้มี ศีลมีธรรม ที่ได้ถูกปลูกฝังมาตั้งแต่เด็ก ทั้ ง ยั ง สอนให้ เ ด็ ก รู้ จั ก การสวดมนต์ ภาวนา และการปฏิ บั ติ ส มาธิ ล้ ว นมี ประโยชน์สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตจริง และช่วยพัฒนาทักษะในการเรียนรู้อื่นๆ ด้วย ทุกวันนี้ลูกมีความสุขที่ได้มาเรียน ที่ วั ด ต้ อ งขอบคุ ณ คุ ณ ครู ทุ ก ท่ า นที่ เ สี ย สละ และขอบคุณทุกๆ ความปรารถนาดี ของผู้ปกครองทุกท่านและพระทุกรูปที่ ทำให้มีโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ วัดพุทธปทีปในวันนี้”

วุฒิชัย+ขวัญ ผู้ปกครองน้องแพร ห้อง ๓


ฉบับที่ ๖๓ ปีที่ ๑๙ เมษายน-มิถุนายน ๕๔

69

ผักสดหมดปัญหาการนำเข้าอังกฤษ เจ้าของ ธุรกิจร้านอาหารไม่ต้องกังวลอีกต่อไป โดย บริษัท ผักไทย จำกัด โดยคนไทยเพื่อคนไทย Our products will be free of chemicals and pesticides as we grow them as biological control. (ชีวภาพ) Our product is grown by Thai’s and for the Thai community. ผักไทยปลอดสารพิษ ปลูก โดยคนไทยเพื่อคนไทยราคาประหยัดสำหรับคนไทย พบการเปิดตัวอย่าง เป็นทางการ 12 กรกฎาคม 2554 นี้ ทุกซูปเปอร์มาร์เกตไทย และบริษัท ผู้นำเข้าอาหารชั้นนำ


70

วารสาร “พุทธปทีป”

คุณวันชัย-คุณลำใย ภู่นุ่ม ร้านอาหารรำวง Guildford พระมหาสวัสดิ์ ญาณธโรและพุทธศาสนิกชนในเขตเวลส์ พระครูปลัดสุทัศน์ อมรสุทฺธิ (อุทิศเป็นอาจริยบูชา) พระครูสุตพุทธิวิเทศ (สมชาย จิตฺตคุตฺโต) วัดพุทธาราม ร้านอาหารพัชรีไทย (Patcharee Thai Kingston) ร้านอาหารไทยไรท์ (Thai Rice Fullham) ร้านอาหารไทยแลนด์ (Thailand Epsom) ร้านอาหารตำหนักไทย (Tamnag Thai) ร้านอาหารอีสานเขียว (Esarnkheaw Restaurant) ร้านอาหารแมงโกสตีล (Mangosteen Restaurant) ร้านอาหารสาวสยาม (Sao Siam) ร้านอาหารโสภิตา (Sophita Thai Restaurant) คุณอัญชนา ชลานุศักดิ์ (สมาชิก) Mrs Laong Holtom (สมาชิก) คุณมานะ แก่นทอง Mrs Usanee - Mr Stephen Woodcock คุณวันดี รุ่งจำรูญ (สมาชิก) คุณจันทร์จีรา จันทิมา MS Patcharee Donkhot (สมาชิก) Mrs Tuanjai Stevenson (สมาชิก) Mr Alan-Mrs Santana Nelis-Higgs รับจากตู้บริจาคภายในวัดพุทธปทีป ครั้งที่ ๑ คุณยิ่งวรรณ เศรษฐพินิจ คุณศิรินุช แซทฟิว (ตันวานิชกุล) คุณธนโชติ ทรัพย์เรืองนามและครอบครัวตรีรัตนกุลชัย

๓๐๐ ๒๐๐ ๑๐๐ ๓๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๕๐ ๕๐ ๓๐ ๒๐ ๑๐๐ ๑๐ ๕๐ ๕๐ ๑๕ ๕๓๑ ๑๐ ๑๐ ๑๐

ปอนด์ ปอนด์ ปอนด์ ปอนด์ ปอนด์ ปอนด์ ปอนด์ ปอนด์ ปอนด์ ปอนด์ ปอนด์ ปอนด์ ปอนด์ ปอนด์ ปอนด์ ปอนด์ ปอนด์ ปอนด์ ปอนด์ ปอนด์ ปอนด์ ปอนด์ ปอนด์ ปอนด์ ปอนด์


ฉบับที่ ๖๓ ปีที่ ๑๙ เมษายน-มิถุนายน ๕๔

71


72

วารสาร “พุทธปทีป”

1.วัดพุทธปทีป กรุงลอนดอน โทร. 0208 946 1357 www.padipa.org 2.วัดธรรมปทีป สก๊อตแลนด์ โทร. 0131 443 1010 www.dpadipa.org 3.วัดสังฆปทีป เวลส์ โทร. 01685 84 3986 www.spadipa.org 4.วัดพุทธาราม กรุงลอนดอน โทร. 0208 530 2111 www.watbuddharam.org.uk 5.วัดพุทธวิหาร คิงส์บอร์มลี่ย์ โทร. 01543 472 315 www.watthaiuk.co.uk 6.วัดสันติวงศาราม เบอร์มิ่งแฮม โทร. 0121 551 5729 www.watsantiwong.com 7.วัดศรีรัตนาราม แมนเชสเตอร์ โทร. 0161 998 4550 watsriuk@hotmail.com สถานทูตไทย กรุงลอนดอน โทร. 0207 589 2944 www.thaiembassyuk.org.uk

8.วัดอมราวดี 0144 284 3239 www.amaravati.org 9.วัดป่าจิตตวิเวก โทร.01730 814 986 www.cittavivek.org 10.วัดอรุณรัตนคีรี โทร. 01661 881612 www.ratanagiri.org.uk 11.วัดป่าสันติธรรม โทร. 092 662 4385 www.foresthermitage.org.uk 12.วัดพุทธวิหาร อ๊อกฟอร์ด โทร. 01865 791 591 www.oxfordbuddhavihara.org.uk 13.วัดธรรมกายลอนดอน โทร. 01483 475 757 www.watlondon.org 14.วัดธรรมกาย แมนเชสเตอร์ โทร. 0161 736 1633 www.kalayanamitra.org สนง.ผู้ดูแลนักเรียน (ก.พ.) ลอนดอน โทร. 0207 283 9896 www.oeauk.net


ฉบับที่ ๖๓ ปีที่ ๑๙ เมษายน-มิถุนายน ๕๔ ข่าวโดย : บ่าวไทย ภาพโดย : ไอคอนมั้งค์

73

ข่าวในรอบเดือน เมษายน-มิถุนายน ๒๕๕๔ ก่อนอื่นเลยต้องขอทักทายท่านผู้อ่านคอลัมน์นี้ ด้ ว ยคำว่ า “สุ ข สวั ส ดี จ งมี ใ นชี วิ ต ท่ า นโดยถ้ ว น หน้า” พธส (พุทธปทีปสาร) ทิ้งช่วงไปพักหนึ่ง ซึ่ง ก็คือ การเตรียมจัดทำต้นฉบับ จัดหน้าวารสารให้ สามารถเสร็ จ ทั น ตามกำหนด และเชื่ อ ว่ า ท่ า นผู้ อ่านคงไม่รู้สึกว่า “นานเกินจะรอ” ถ้าใช่ก็ต้อง ขออภัยทุกท่านในความล่าช้า

• ขออนุโมทนาในธารแห่งศรัทธา สรุ ป ข่ า ว พธส ฉบั บ นี้ ขอเริ่ ม ต้ น ด้ ว ยการ อนุโมทนาในกุศลศรัทธาของ คุณธัญรัตน์ ศานติชาติศักดิ์ (คุณนก) บริจาคเงินสมทบการทำลูกกรง กั น ขโมยติ ด ตั้ ง ตามหน้ า ต่ า ง จำนวน ๒,๕๐๐ ปอนด์ และในวั น จั น ทร์ ที่ ๑๓ มิ.ย.ที่ผ่านมาได้ ทำบุญวันเกิดให้กับธิดาคนเก่ง “น้องกิฟท์” นิมนต์ พระเจริ ญ ชั ย มงคลเป็ น ขวั ญ กำลั ง ใจให้ มี ค วาม เจริญก้าวหน้า

• ควันหลงวันสงกรานต์ ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ ๑๐ เม.ย. ที่ผ่านมา การ จัดงานบุญประเพณีสงกรานต์ ณ วัดพุทธปทีป มีพี่ น้องชาวไทยและชาวต่างชาติเดินทางไปร่วมงาน อย่างล้นหลาม อากาศดี อาหารร้อน ผสมฟ้อนรำ ขับขาน เพื่อสืบสานและอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยใน

ต่างแดน อีกทั้งเป็นการชูเกียรติคุณประเทศไทย ในสายตาชาวต่างให้ประจักษ์ในเอกลักษณ์ไทยได้ อย่างงดงาม

• การจัดปฏิบัติธรรมประจำเดือน ระหว่างวันที่ ๑๖-๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๔ ที่ ผ่ า นมา ทางวั ด พุ ท ธปที ป จั ด การปฏิ บั ติ ธ รรม ประจำเดื อ น เพื่ อ เปิ ด โอกาสให้ ท่ า นสุ ภ าพสตรี หลบหลี ก ปลี ก วิ เ วกเสกตนตามเส้ น ทางแห่ ง พระพุ ท ธองค์ มี ผู้ ส นใจ ๑๑ ท่ า น ปฏิ บั ติ ธ รรม ชำระจิตให้ผ่องใส ได้สติมากขึ้น ซึ่งมีความสำคัญ และจำเป็นในการครองตนบนเส้นทางที่กำลังไต่ ฝัน ขอโมทนากับทุกท่านที่ให้โอกาสตนย่างกราย ผ่านทางสายนี้ แม้จะมีเวลาเพียง ๕ วัน ทว่าก็เป็น เวลาที่เติมเต็มคุณค่าอย่างมากต่อชีวิต

• ร้าน @Thai ทำบุญร้านครบ ๕ ปี ร้านอาหาร @Thai ย่ า นแฮมเมอร์ ส มิ ธ ทำ บุญครบรอบ ๕ ปี ได้อาราธนาพระสงฆ์จาก วัด พุทธปทีป เจริญชัยมงคลและบรรยายธรรมะ เพื่อ เสริมสร้างกำลังใจแก่ผู้บริหารและพนักงาน โดย เน้ น การ “ประสานงาน ประสานใจ” ให้ ง าน ก้าวหน้า ลูกค้าประทับใจ


74

วารสาร “พุทธปทีป”

• Thai Square เซ้าท์เคนท์ทำบุญร้าน ผู้บริหารและพนักงานร้าน Thai Square ย่าน South Kensington ทำบุญร้านประจำปี นิมนต์ พระสงฆ์ ๓ รูป เจริญพระพุทธมนต์ และฟังธรรมะ จากพระครูปลัดสุทัศน์ วัดพุทธปทีป เน้น “การทำ ทีมงานให้เวิร์ก” โดยยึดหลักที่ว่า “เชื่อมั่น ไว้ใจ และให้ เ กี ย รติ ” ให้ พ นั ก งานได้ น ำติ ด ตั ว เป็ น คติ พัฒนาการทำงานให้ก้าวหน้า และลูกค้าพึงพอใจ ทั้งในรสอาหารและการบริการ แบบสยามประเทศ คือ “ยิ้มนำหน้า เจรจาไพเราะ”

• ร้านอาหารรำวงไทยทำบุญร้าน หากใครก็ตามผ่านไปทางเมือง Guildford คง ได้พบเห็นร้านอาหารไทยชื่อ “รำวง” ซึ่งดำเนิน กิจการมาหลายสิบปี ร้านได้รับการปรับปรุงใหม่ ใหญ่กว่าเดิม ผู้บริหารหลัก คุณวันชัย-คุณลำไย ภู่ นุ่ม ทำบุญประจำปี นิมนต์พระครูประภัศร์ธรรม วิเทศและพระอนุจรอีก ๒ รูป เจริญพระพุทธมนต์ และให้ธรรมะเป็นคติข้อคิด ในการอยู่ร่วมกัน การ ทำหน้าที่ ตลอดทั้งการดูแลลูกค้า โดยถือหลักว่า “อาหารดี บริการเยี่ยม เปี่ยมรอยยิ้ม”

• พุทธศาสนิกชนทำบุญวันวิสาขบูชา เมื่อวันที่ ๑๕ พ.ค.ที่ผ่านมา ฯพณฯ นายกิตติ วะสีนนท์ เอกอัครราชทูต และภริยา พร้อมด้วย อุบาสกอุบาสิกา ร่วมทำบุญถวายเป็นพุทธบูชา น้ อ มรำลึ ก พระคุ ณ อั น ยิ่ ง ใหญ่ คื อ “พระมหากรุณาธิคุณ พระปัญญาคุณและพระบริสุทธิคุณ” ที่ พ ระพุ ท ธองค์ ท รงมี ต่ อ มวลมหาชน ในครั้ ง นี้มี

พุ ท ธศาสนิ ก ชนชาวไทยและต่ า งชาติ ร่ ว มพิ ธี จำนวนมาก และในภาคบ่าย พระครูปลัดสุทัศน์ นำนักเรียน คณะครู และผู้ปกครอง รร.พอ. เดิน ประทักษิณเวียนเทียน สวดมนต์ เห็นแล้วต้องบอก ว่า“สาธุ”ดัง ๆ ที่ลูกหลานได้ปฏิบัติตนเป็นศาสน ทายาทสืบพระศาสนาต่อยอดให้ทอดยาวอีกต่อไป

• การปฏิบัติธรรมประจำปี เวลา ๙ วัน วัดพุทธปทีป กรุงลอนดอน จัดให้มีการปฏิบัติ ธรรมประจำปี เป็นเวลา ๙ วัน ระหว่าง ๙-๑๗ ก.ค. นี้ ผู้สนใจสามารถแจ้งความจำนงที่ พระมหา ประเสริฐ ฐิตคุโณ โทร. ๐๒๐ ๘ ๙๔๖ ๑๓๕๗ รับ จำนวน ๘๕ คน รายละเอียดเพิ่มเติมสืบค้นได้ที่ www.padipa.org

• ทำบุญอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา วันอาทิตย์ที่ ๑๐ ก.ค. ๕๔ กลุ่มยุวพุทธิกะฯ จั ด พิ ธี เ นื่ อ งในวั น อาสาฬหบู ช า หรื อ ที่ เ รี ย กว่ า “วันพระธรรมและวันพระสงฆ์” เพราะเป็นวันที่ พระพุทธเจ้าแสดงปฐมเทศนาแก่ปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน และทรงเสนอวิธี ๘ ข้อ สำหรับเป็นมรรควิธีทำที่สุดแห่งทุกข์ทั้งมวล พิธีการเริ่มเวลา ๐๙.๓๐ น. เดินเวียน ฟังธรรม ถวายเทียนพรรษาและถวายผ้าจำนำพรรษาแก่ พระภิกษุสงฆ์ ตักบาตรข้าวสารอาหารแห้ง ถวาย ภัตตาหารเพล ภาคบ่าย สวดธรรมจักร ปฏิบัติ ธรรม นั่งสมาธิ ส่วนพิธีอธิษพรรษาของพระภิกษุสงฆ์ มีขึ้นใน วันที่ ๑๖ กรกฎาคม เวลา ๑๖.๐๐ น. เป็นพิธีการ


ฉบับที่ ๖๓ ปีที่ ๑๙ เมษายน-มิถุนายน ๕๔ สำหรั บ พระภิ ก ษุ ส งฆ์ เ ท่ า นั้ น เวลา ๑ พรรษา หมายถึงเวลา ๓ เดือน ที่พระคุณเจ้าจะต้องไม่ไป ค้างแรมนอกวัด เว้นแต่มีเหตุจำเป็นและไม่ขัดต่อ วินัยบัญญัติ จึงสามารถทำได้ แต่ต้องไม่เกิน ๗ วัน

• โครงการสอนภาษาไทยภาคฤดูร้อน โรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ วัดพุทธปทีป จั ด โครงการสอนภาษาไทยและวั ฒ นธรรมไทย ภาคฤดูร้อนประจำปี ๕๔ ขึ้นระหว่าง ๑-๓๑ ส.ค. นี้ ผู้ที่สนใจจะนำบุตรหลาน อายุตั้งแต่ ๕ ปีขึ้นไป เข้าร่วมในโครงการ ติดต่อสอบถามได้ที่ พระมหา ประเสริฐ ฐิตคุโณ พระอาจารย์ใหญ่ รร.พอ.

• บรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน คณะสงฆ์วัดพุทธปทีป จัดบวชสามเณรภาค ฤดูร้อนประจำปี วันที่ ๗ ส.ค. นี้ ผู้ที่ประสงค์จะนำ กุลบุตรอายุตั้ง ๑๒ ปีขึ้นไปเข้าบวช ติดต่อได้ที่ วัดพุทธปทีป กรุงลอนดอน หรือดูรายละเอียดเพิ่ม เติมที่ www.padipa.org รับจำนวน ๑๐ คน บวช ๑๕ วัน หลักสูตรอบรมประจำวัน วิชาพุทธประวัติ วิชาธรรมพื้นฐาน และการปฏิบัติสมาธิเบื้องต้น

• ขอเชิญร่วมทำบุญฟังเทศน์มหาชาติ วั ด พุ ท ธปที ป จะจั ด ให้ มี ก ารทำบุ ญ ฟั ง เทศน์ มหาชาติ ในวันอาทิตย์ที่ ๑๑ ก.ย. ๒๕๕๔ เพื่อ ธำรงค์ประเพณีการฟังธรรม ซึ่งส่วนมากจะรู้จักกัน ในชื่ อ “เทศน์ พ ระเวสสั น ดรชาดก” เนื้ อ หาใน เทศนานิพนธ์ ประสงค์ให้ผู้ฟังศึกษา “ความอดทน ความมุ่งมั่น” ในอุดมคติของพระเวสสันดร ที่ต้อง

75

แรมร้างจากพระนครสู่ดงดอนป่าเขา ความลำบาก ที่ได้รับไม่สามารถลดความความแข็งใจต่อความดี อันสูงสุดได้เลย ฉะนั้น จึงขอเชิญชวนทุกท่านไป ร่วมทำบุญฟังเทศน์มหาชาติ หากจะร่วมทำบุญรับ เป็นเจ้าภาพกั ณ ฑ์ เ ทศน์ ติ ด ต่ อ ได้ ที่ พ ระครู ป ลั ด สุทัศน์ หรือ พระมหาประเสริฐ เริ่มเทศน์ตั้งแต่ เวลา ๙ โมงเช้าถึง ๕ โมงเย็น

• เปิดรับสมัครนักเรียนธรรมศึกษาปี ๒๕๕๔ ข่ า วดี ส ำหรั บ อุ บ าสกอุ บ าสิ ก า ผู้ ส นใจอยาก ศึกษาธรรมตามหลักสูตรของคณะสงฆ์ไทย โดย มีชื่อเรียกว่า “ธรรมศึกษา” ทางวัดเปิดรับสมัคร เรียนตั้งแต่วันที่ ๑ ก.ค. - ๓๑ ส.ค. ๕๔ และเปิด เรียนวันอาทิตย์ที่ ๔ ก.ย. ๕๔ เป็นต้นไป และ กำหนดสอบใหญ่ วันอาทิตย์ที่ ๑๐ มิ.ย. ๒๕๕๕ (ปีหน้า) หลักสูตรประกอบด้วยวิชาแกน ๔ วิชา คือ พุทธประวัติ วินัย ธรรมะ และเรียงความแก้กระทู้ ธรรม แบ่งเป็น ๓ ระดับคือ ธรรมศึกษาชั้นตรี ชั้น โท และชั้นเอก สอบผ่านได้รับประกาศนียบัตร รับรองความรู้ เชิดชูเกียรติคุณในแต่ละชั้น ทางวัดมีหนังสือเรียนฟรี ๑ ชุด และจะทำการ ทดสอบเป็นระยะ สามารถรับคำถามและส่งคำ ตอบผ่านทางอีเมลได้ รายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถาม ได้ที่ พระครูปลัดสุทัศน์ อมรสุทฺธิ โทร. ๐๒๐๘ ๙๔๖ ๑๓๕๗ หรือที่ ๐๗๙๖๑ ๕๗๐๔๐๐ อีเมล bpp@padipa.org (www.padipa.org) พบกันใหม่ฉบับหน้า กันยายนนี้ (อมิตตาพุธ)


76

วารสาร “พุทธปทีป”


ฉบับที่ ๖๓ ปีที่ ๑๙ เมษายน-มิถุนายน ๕๔

77

• ทำบุญวันวิสาขบูชา (Visakha Puja Day) วัดสังฆปทีป เวลส์ จัดพิธีทำบุญเนื่องในวันวิสาขบูชา ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา มีพุทธศาสนิกชน ชาวไทยในระแวกใกล้เคียง เดินทางไปบำเพ็ญกุศล อาจารย์พระมหาสวัสดิ์ และพระมหาชัย นำพา ประกอบพิธีทางศาสนา สวดมนต์ เดินเวียนเทียน ท่ามกลางอากาศที่หนาวเย็น แต่ทุกคนก็หาได้หวั่นไหว แต่ประการใดไม่ ยังมั่นคงทำหน้าที่ศาสนกุลบุตรและศาสนกุลธิดาอย่างน่าอนุโมทนา กุศลผลบุญครั้งนี้ คงอำนวยให้ทุกคนมีแต่สิ่งดีงามเข้ามาในชีวิต สมดังที่พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า “การสั่งสมบุญ นำความ สุขมาให้”

• ขอโมทนาสาธุกับ Mr Andrew Blot

นับว่าเป็นความปลื้มปีติยิ่ง ที่วัดสังฆปทีป มีชาวเวลส์พันธุ์แท้ เข้าบวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธ ศาสนา และเป็นพระภิกษุรูปแรก นับแต่มีวัดไทยขึ้นที่เวลส์นี้ พระภิกษุ Andrew ฐิตปุญโญ ได้พักอาศัย ปฏิบัติกิจวัตรตามรอยแห่งองค์พุทธะเป็นเวลา ๑๕ วัน ศึกษาข้อธรรมะและปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ตลอดระยะเวลาที่ครองเพศบรรพชิต ในนามพุทธศาสนิกชนชาวไทยในเวลส์ ขออนุโมทนาต่อ Mr Andrew Bolt และคณะอุบาสกอุบาสิกาที่ให้ความอุปถัมภ์ในครั้งนี้

• กฐินแรกที่วัดสังฆปทีป

ขอเชิญชวนพุทธศาสนิกชนชาวไทย ร่วมทำบุญทอดผ้ากฐิน ณ วัดสังฆปทีป วันอาทิตย์ที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๔ เวลา ๑๐.๐๐ น. การทำบุญทอดผ้ากฐินครั้งนี้เป็นครั้งแรก ซึ่งวัดได้กำหนดให้มี โดยความดำริ ของ หลวงพ่อพระราชภาวนาวิมล จอ.วัดพุทธปทีป กรุงลอนดอน จึงขอเชิญชวนท่านไปร่วมทำบุญครั้งนี้ โดยทั่วกัน รายละเอียดเพิ่มเติมสอบถามได้ที่ พระมหาสวัสดิ์ ญาณธโร จอ.วัดสังฆปทีป โทร. 01685 845 986 EM: spp@padipa.org


78

วารสาร “พุทธปทีป”

วารสารธรรมะที่ พ กพาสาระมากมาย เพื่ อ ยกเครื่ อ งการเรี ย นรู้ และลั บ คม ความคิด ขับเคลื่อนแต้มต่อให้ชีวิต ๑ ปี มี ๕ ฉบั บ (ม.ค.-มี . ค./เม.ย.มิ.ย/ก.ค.-ก.ย./ต.ค.-ธ.ค/ฉบับพิเศษ) ก. สมัครสมาชิก ๕ ฉบับ ๓๐ ปอนด์ ข. ค่าสแตมป์-ซอง ๒๐ ปอนด์ ค. บริจาคสนับสนุนทั่วไป ๑๐ ปอนด์ ง. บริจาคที่ตู้บริจาคตามศรัทธา ติดต่อสอบถามและบริจาคที่ พระครูปลัดสุทัศน์ อมรสุทฺธิ โทร. 020 8946 1357 THE BUDDHAPADIPA TEMPLE 14 Calonne Road Wimbledon London SW19 5HJ

ส่งตรงถึงประตูบ้าน อ่านก่อนใครอื่น และรับสิทธิ์พิเศษในอนาคต ชื่อ นามสกุล อายุ ที่อยู่ ไปรษณีย์ โทรศัพท์ อีเมล ส่งด่วน ธรรมดา

โหลดใบสมั ค รได้ ที่ www.padipa.org/ bppmag


ฉบับที่ ๖๓ ปีที่ ๑๙ เมษายน-มิถุนายน ๕๔

r u m W O N G

79


80

วารสาร “พุทธปทีป”


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.