BUDDHAPADIPA MAGAZINE

Page 1

ณ วัดพุทธปทีป กรุงลอนดอน 2012

หนังสืออนุสรณ์ โครงการ ๒๕๕๕

1



ณ วัดพุทธปทีป กรุงลอนดอน 2012

3


จัดทำโดย

คณะครูอาสา ประจำปี ๒๕๕๕ (2012) โครงการสอนภาษาไทยและวัฒนธรรมไทย ภาคฤดูร้อน รูปเล่ม/ศิลปกรรม พระอาจารย์สุทัศน์ อมรสุทฺธิ For Free Distribution สำนักงาน THE BUDDHAPADIPA TEMPLE 14 Calonne Road Wimbledon London SW19 5HJ | T. 020 8 946 1357


ณ วัดพุทธปทีป กรุงลอนดอน 2012

สารบัญ Contents สัมโมทนียกถา ด้วยความรักในความเป็นไทย บทบาทของวัดและพระสงฆ์ในสังคมไทย อิทธิพลทางวัฒนธรรมและค่านิยมตะวันตก นิราศครูไทยในวัดพุทธปทีป วิมเบิลดัน จากใจครูอาสา ความอบอุ่นของครูไทยในลอนดอน จับปูใส่กระด้ง จากครูภาษาอังกฤษสู่ครูภาษาไทย ประเมินผลนักเรียนแต่ละกลุ่ม เสียงกระซิบจากผู้ปกครองนักเรียน คณะครูอาสาประจำปี ๒๕๕๕

6 9 11 14 24 30 33 36 41 48 64 73

5


สัมโมทนียกถา

ปีการศึกษา ๒๕๕๕ ของพระราชภาวนาวิมล หัวหน้าคณะพระธรรมทูตและเจ้าอาวาส วัดพุทธปทีป กรุงลอนดอน

เจริญพร ฯพณฯ เอกอัครราชทูต คณาจารย์ และผู้ปกครองนักเรียนทั้งหลาย วันนี้เป็นวันสำคัญอีกวันหนึ่งของวัดพุทธปทีป เพราะเป็นวันปิด โครงการสอนภาษาไทยและวัฒนธรรมไทยภาคฤดูร้อนประจำปีการ ศึกษา ๒๕๕๕ การสอนภาษาไทยและวัฒนธรรมไทยนั้น ได้ดำเนิน การสอนมาเป็นปีที่ ๑๘ โครงการนี้จัดขึ้นเพื่อเด็กและเยาวชนไทยที่ เกิ ด ในประเทศอั ง กฤษหรื อ เกิ ด ในประไทยแต่ ม าเจริ ญ เติ บ โตใน ประเทศนี้ อาตมาภาพในนามคณะสงฆ์วัดพุทธปทีป และคณะพระธรรม ทูตสายประเทศอังกฤษ ขอแสดงความชื่นชมยินดีที่เห็นทุกฝ่ายได้ร่วม


ณ วัดพุทธปทีป กรุงลอนดอน 2012

7

แรงร่วมใจกัน ดำเนินการสอนภาษาไทยและวัฒนธรรมไทยมาโดย ตลอด โครงการสอนภาษาไทยและวั ฒ นธรรมไทยนั้ น เป็ น งาน โครงการงานสงเคราะห์คนไทยทางศาสนกิจของคณะพระธรรมทูต เพราะได้ พิ จ ารณาเห็ นว่ า เด็ ก และเยาวชนไทยที่ เ จริ ญ เติ บ โตขึ้ น ใน ท่ า มกลางวั ฒนธรรมและสิ่ ง แวดล้ อ มต่ า งประเทศ ถ้ า ไม่ ไ ด้ รั บ การ ศึกษาอบรมให้รู้และเข้าใจในศาสนาและวัฒนธรรมของตน เด็กและ เยาวชนเหล่านั้นจะหันหลังให้ศาสนาและวัฒนธรรมของตนเอง ด้วย เหตุดังกล่าววัดพุทธปทีป จึงได้จัดให้มีการเรียนการสอนภาษาไทย และวั ฒ นธรรมไทยประจำวั น อาทิ ต ย์ (โรงเรี ย นพุ ท ธศาสนาวั น อาทิตย์) ครั้นต่อมาได้จัดให้มีโครงการสอนภาษาไทยและวัฒนธรรมไทย ภาคฤดูร้อน เพื่อให้เด็กและเยาวชนไทยได้ศึกษาอย่างต่อเนื่อง เด็ก และเยาวชนไทยเหล่านั้นจะได้เกิดความสำนึกในความเป็นไทยและมี จิตใจผูกพันกับคนไทยและประเทศไทย โครงการสอนภาษาไทยและ วั ฒนธรรมไทยได้ รั บ ความอนุ เ คราะห์ แ ละความร่ ว มมื อ ร่ ว มใจจาก คณะศึ ก ษาศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย ขอนแก่ น และความอุ ป ถั ม ภ์ ข อง สถานเอกอัครราชทูตไทยด้วยดีตลอดมา ขอขอบคุ ณ สถานเอกอั ค รราชทู ต ไทย ที่ ใ ห้ ค วามอุ ป ถั ม ภ์ สนับสนุนส่งเสริม ขอขอบคุณคณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย ขอนแก่นที่ได้จัดส่งคณาจารย์มาปฏิบัติราชการทำการสอนภาษาไทย และวัฒนธรรมไทยภาคฤดูร้อน ขอขอบคุณคณะอาจารย์ที่ได้เสียสละ


8

อนุสรณ์โครงการสอนภาษาและวัฒนธรรมไทย ปี พ.ศ. ๒๕๕๕

เวลาอาสาสมัครมาสอนภาษาไทยและวัฒธรรมไทย และขอขอบใจผู้ ปกครองตลอดถึงผู้เกี่ยวข้องที่ได้นำบุตรหลานมารับการศึกษาภาษา ไทยและวัฒนธรรมไทยภาคฤดูร้อนไว้ ณ ที่นี้ด้วย ขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัย และพระบารมีของสมเด็จพระ สั ม มาสั ม พุ ท ธเจ้ า ขอจงเป็ น พลวปัจ จั ยอำนวยผลให้ ท่ านทั้ ง หลาย ประสบแต่ ค วามสุ ข สวั ส ดี แ ละเจริ ญ ด้ ว ยอายุ วรรณะ สุ ข ะ พละ ปฏิภาณ ธนสารสมบัติ ประการสุดท้ายขอให้โครงการฯ จงดำเนินไป ด้ว ยความสะดวกและสัมฤทธิผลตามความประสงค์จงทุก ประการ เทอญ.


ด้วยความรัก ในความเป็นไทย รักชาติไทย คือ รักแผ่นดินไทย รักประชาชนคนไทย

ด้วยความศรัทธาในศาสนา ด้วยความรักในชาติ ภาษา และ ด้วยความยึดมั่นในวัฒนธรรม แม้ว่าคนไทยจะอยู่ในถิ่นฐานใด คน ไทยก็ ไ ม่ เ คยนิ่ ง เฉย ที่ จ ะหาเวลาและสถานที่ แ สดงออก ในการ สืบทอดวัฒนธรรมของตนให้ลูกหลานที่เติบใหญ่ในแผ่นดินที่ไม่ใช่แผ่น ดินไทยได้อย่างลงตัว วิถีชีวิตที่อยู่ในต่างแดน ซึ่งแตกต่างจากประเทศ ไทยและสังคมไทย คนไทยไม่ได้อยู่อาศัยกันเป็นหมู่บ้านคนไทย ต่าง คนต่ า งอยู่ ต่ า งเมื อ ง เวลาจะพบปะคนไทยด้ ว ยกั น นั้ น ย่ อ มมี น้ อ ย หรือ แทบจะไม่มี ดังนั้น การที่ผู้ปกครองคนไทยได้นำลูกหลานมาเรียนภาษาไทย


10 อนุสรณ์โครงการสอนภาษาและวัฒนธรรมไทย ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ในภาคปกติก็ดี ในภาคฤดูร้อนก็ดี ที่วัดพุทธปทีป ถือเป็นการเข้ามาสู่ ความเป็นไทย แสดงความเป็นไทยปลูกฝังให้ลูกหลานได้รับประทับ ความเป็นไทยไว้ตั้งแต่ยังเยาว์ เป็นการสืบทอดวัฒนธรรมไทยโดยตรง แก่ลูกหลานที่เกิดและเติบใหญ่ในต่างแดนต่างวัฒนธรรม โครงการสอนภาษาไทยและวั ฒ ธรรมไทยภาคฤดู ร้ อ น ในปี 2555 วัดพุทธปทีป กรุงลอนดอน เริ่มขึ้นด้วยความลงตัวช้าๆ ตามที่ เคยเป็นมา หลังจากสถานการณ์ กฎ กติกา ของบ้านเมืองประเทศใน ภาคพื้นยุโรปเปลี่ยนแปลงไป แต่อย่างไรก็ตาม เพื่อความหวังของผู้ ปกครอง และเพื่อลูกหลานคนไทยของเราที่เติบใหญ่ในต่างแดน จะ ได้เรียนรู้และเข้าถึงวัฒนธรรมของตนเอง ขอขอบคุณสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงลอนดอน มหาวิทยาลัยขอนแก่น และทุกท่านที่มีส่วน สนับสนุนให้เกิดโครงการสอนภาษาไทยและวัฒนธรรมไทยในครั้งนี้

พระมหาประเสริฐ ฐิตคุโณ


บทบาทของวัด และ พระสงฆ์ ในสังคมไทย พระครูปลัดเด่นชัย อภิชโย

ในสังคมไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนี้ หมู่บ้านแต่ละหมู่บ้าน ต่าง มี วัดประจำ หมู่บ้านของตนเป็นศูนย์กลาง ซึ่งถือว่าเป็นสมบัติรวมของคนทั้ง หมู่บ้าน วัดจึงเป็นศูนย์รวมประชาชนและมีบทบาทดังต่อไปนี้

1) เป็นสถานศึกษา สำหรับชาวบ้านจะส่งบุตรมารับการ ฝึกอบรมทางศีลธรรมและเล่าเรียนวิชาการต่าง ๆ

2) เป็นสถานสงเคราะห์ บุตรหลานของชาวบ้านที่ยากจน ได้มา อยู่ อาศัยเลี้ยงชีวิตและศึกษาเล่าเรียน ตลอดจน ผู้ใหญ่ที่ยากจนมาอาศัยเลี้ยงชีพ


12 อนุสรณ์โครงการสอนภาษาและวัฒนธรรมไทย ปี พ.ศ. ๒๕๕๕

3) เป็นสถานพยาบาล รักษาคนเจ็บป่วยตามแผนโบราณ

4) เป็นที่พักคนเดินทาง

5) เป็นสโมสรที่ชาวบ้านพบปะสังสรรค์ และพักผ่อนหย่อน ใจ

6) เป็นสถานที่บันเทิง ที่จัดงานเทศกาลและมหรสพต่าง ๆ สำหรับ ชาวบ้าน

7) เป็นที่ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท คือ พระสงฆ์เป็นที่ปรึกษา แก้ ปัญหา ชีวิตครอบครัวและความทุกข์ต่าง ๆ

8) เป็ น ศู น ย์ ก ลางศิ ล ปะและวั ฒ นธรรม วั ด เป็ น ที่ ร วม ศิลปกรรมต่าง ๆ ของชาติ ซึ่งเป็นเสมือนพิพิธภัณฑ์

9) เป็นคลังพัสดุ สำหรับเก็บของใช้ต่าง ๆ ที่ชาวบ้านได้ใช้ ร่วมกัน เมื่อมีงานวัดหรือยืมไปใช้เมื่อตนมีงานบ้าน

10) เป็นศูนย์กลางการบริหารหรือการปกครอง ที่กำนันหรือ ผู้ ใ หญ่ บ้ า น จะเรี ย กลู ก บ้ า นมาประชุ ม เพื่ อ บอกแจ้ ง กิจกรรมต่าง ๆ

11) เป็นที่ประกอบพิธีกรรมหรือให้บริการด้านพิธีกรรม อัน เป็นเรื่อง ผูกพันกับชีวิตของทุกคนในระยะต่าง ๆ ของ ชีวิต


ณ วัดพุทธปทีป กรุงลอนดอน 2012

13

วัดเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชน ส่วนพระสงฆ์เป็นตัวแทน ของวัด ในการแสดงบทบาทต่าง ๆ เป็น ผู้นำทางจิตใจของประชาชน เป็นศูนย์รวมแห่งความเคารพ เชื่อถือ และการร่วมมือกันให้เกิดความ สามัคคีความเป็นระเบียบเรียบร้อย นอกจากนี้พระสงฆ์ยังมีบทบาท สำคัญในการควบคุมทางสังคมในระดับประเทศ ด้วยเพราะ พระสงฆ์ เป็นที่เคารพนับถือ ของบุคคล ทุกชั้นในสังคมตั้งแต่พระมหากษัตริย์ ลงมาจนถึงประชาชนทั่วไป ปัจจัยที่เชิดชูฐานะ ของ พระสงฆ์ ใน สังคมคือ

1) ความบริสุทธิ์

2) ความเสียสละบำเพ็ญประโยชน์

3) ความเป็นผู้นำทางสติปัญญา

วัดพุทธปทีปนั้นถือว่าเป็นวัดสำคัญที่สุดในอังกฤษ เพราะเป็น วัดที่รัฐบาลไทยได้สร้างไว้ และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรง พระราชทานชื่อวัดว่า “วัดพุทธปทีป” เสด็จไปทรงเปิดวัด และทรงมี พระมหากรุณาธิคุณโปรดฯพระราชทานความอุปถัมภ์ทุกอย่าง จน เป็นรูปเป็นร่างดังปัจจุบัน และได้ทำหน้าบทบาทดังที่ได้กล่าวไว้ นับ ได้ว่าเป็นที่น่าภาคภูมิใจของคนไทยในต่างแดน


อิทธิพลทาง วัฒนธรรมและค่า นิยมตะวันตก

ที่ส่งผลต่ออัตลักษณ์ความ เป็นไทย โดย .. ท่าน ว. มะคะที

กิ จ กรรมการพั ฒ นาประเทศทางตะวั น ตกจากอดี ต กระทั่ ง ปัจจุบัน ปรากฏให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ว่า ส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นพัฒนา เศรษฐกิจ เช่น การสร้างยานอาวกาศ ดาวเทียมและอาวุธสงคราม เป็นต้น เพียงต้องการสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและเพื่อยก ระดั บ ความเป็ น มหาอำนาจของประเทศ ซึ่ ง เป็ น การพั ฒนาที่ ข าด ความสมดุล ที่ละเลยการพัฒนาด้านจิตใจ อันเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องมี ควบคู่ กั น ไป ผลของการพั ฒนาได้ เ ปลี่ ย นแปลงวิ ถี ชี วิ ต ของคนและ สังคมที่เคยเป็นสังคมค่านิยมคุณธรรมและจริยธรรม กลายเป็นสังคม ที่หลงใหลในวัตถุนิยมและบริโภคนิยมที่ขาดระเบียบวินัย มีการแก่ง แย่ ง ชิ ง ดี ชิ ง เด่ น แตกแยก ขาดความสามั ค คี แ ละห่ า งไกลศี ล ธรรม


ณ วัดพุทธปทีป กรุงลอนดอน 2012

15

เป็นเหตุให้สถาบันครอบครัวและสังคมล่มสลาย เด็กและเยาวชนขาด ภูมิคุ้มกันทางจิตใจ สิ่งเหล่านี้เป็นบริบททางสังคมที่ได้มาจากการ พัฒนาทางวัตถุ ที่ต้องแลกกับการสูญเสียวัฒนธรรมและค่านิยมอันดี งามพร้ อ มทั้ ง อั ต ลั ก ษณ์ ข องสั ง คมมนุ ษ ยชาติ ไ ปอย่ า งไม่ มี ท างหวน กลั บ คื น ทั้ ง ที่ ทิ ศ ทางการพั ฒนาทางวั ต ถุ ก็ มิ ไ ด้ เ ป็ น ไปอย่ า งยั่ ง ยื น และไม่สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนในทุกๆด้านได้ จากสภาพปัญหาดังกล่าว ได้ส่งผลต่อวิถีทางการดำเนินชีวิต วั ฒ นธรรมและค่ า นิ ย มของคนตะวั น ตกหรื อ ยุ โ รป และได้ ข ยาย อิทธิพลไปสู่ประเทศต่างๆทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยด้วย ในหลายรูป แบบด้วยกัน เช่น ธุรกิจการค้า ภาพยนตร์ แฟชั่นเสื้อผ้า การท่อง เที่ยว อาหารและเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นต้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ จะต้องพิจารณาดำเนินการแก้ไขและเยียวยาอย่างเร่งด่วนในการปรับ เปลี่ยนบริบทการพัฒนาประเทศจากการมุ่งเน้นแข่งขันด้านเศรษฐกิจ เพียงอย่างเดียว ให้มีการพัฒนาที่มุ่งเน้นการพัฒนาจิตใจควบคู่กันไป อย่างต่อเนื่อง โดยอาศัยมิติทางศาสนานำศีลธรรมกลับคืนสู่สังคม เพื่อปรับเปลี่ยนและสร้างค่านิยมคุณธรรมและจริยธรรม อันเป็นค่า นิ ย มที่ ดี ง ามของสั ง คมไทยในอดี ต ที่ เ กื้ อ กู ล กั น ระหว่ า ง บ้ า น วั ด โรงเรียน สร้างปฏิสัมพันธ์นำหลักธรรมและวิธีปฏิบัติทางศาสนาออก เผยแพร่สู่ประชาชน เพื่อให้เยาวชนไทยได้มีโอกาสเรียนรู้หลักธรรม คำสอนทางศาสนาและวิธีปฏิบัติตนที่ถูกต้อง เช่น การบริจาคทาน การฟังธรรมและการนั่งสมาธิเจริญภาวนาเป็นต้น เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน ที่ ดี แ ก่ เ ยาวชน ทำให้ เ ยาวชนและคนในสั ง คมยึ ด มั่ น ในคุ ณ ธรรม


16 อนุสรณ์โครงการสอนภาษาและวัฒนธรรมไทย ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ จริยธรรม และควรยึดถือเป็นเป้าหมายหลักในการพัฒนาด้านจิตใจ ควบคู่ กั บ การพั ฒนาการเรี ย นรู้ เ พื่ อ สร้ า งปั ญ ญาให้ แ ก่ เ ยาวชนและ สังคมไทย วัฒนธรรม ค่านิยมและอัตลักษณ์ของไทย ที่ได้รับผลกระทบ จากการขยายอิทธิพลทางวัฒนธรรมและค่านิยมตะวันตก มีทั้งส่วนที่ ช่วยส่งเสริมในการพัฒนาประเทศสู่ความเจริญรุ่งเรืองและส่วนที่ต้อง ใช้วิจารญาณในการเลือกที่จะรับหรือปฏิเสธ เราต้องใช้สติปัญญา รู้ จั ก นำมาประยุ กต์ ใ ช้ ใ นชี วิ ต ประจำวั น ภายใต้ บ ริ บ ทของสั ง คมไทย สาระสำคัญส่วนที่เป็น ผลกระทบต่อวัฒนธรรมและค่านิยมและส่วนที่ เป็น ผลดีต่อการพัฒนาประเทศ มีดังต่อไปนี้ ประการแรก ด้านภาษา : ประเทศไทยมีภาษาเป็นของตนเอง มาตั้งแต่อดีตกาลและ บรรพบุรุษได้สืบทอดมาสู่ลูกหลานเป็นเวลาช้า นาน จึงเป็นสิ่งที่น่าภาคภูมิใจอย่างยิ่ง ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีอัต ลั ก ษณ์ เ ป็ น ของตนเอง ทั้ ง ภาษาที่ ใ ช้ ใ นทางราชการหรื อ ภาษาใน วรรณกรรม เช่น มีเสียงสระ พยัญชนะและเสียงวรรณยุกต์ ทำให้คำ มี เ สี ย งสู ง -ต่ ำ และทำนองที่ น่ า ฟั ง น่ า อ่ า น มี ก ารผสมคำสั ม ผั ส คล้องจองกัน มีคำอุปมา อุปไมยและคำเปรียบเทียบ เป็นต้น จน ทำให้ เ กิ ด สำนวนโวหารหรื อ อารมขั น ในรู ป แบบต่ า งๆ นอกจากนี้ เรายังมีภาษาถิ่นของภาคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภาคเหนือ ภาคใต้ ภาค อีสาน หรือภาคกลาง ที่สามารถสื่อสารกันให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ในวัฒนธรรมประเพณีและภาษาถิ่นของแต่ละภูมิภาคได้เป็นอย่างดี


ณ วัดพุทธปทีป กรุงลอนดอน 2012

17

เช่น มะพร้าว ภาษาอีสานเรียก บักพ้าว, น้อยหน่า บักเขียบ หรือ พุทราเรียกว่า บักทัน เป็นต้น และยังทำให้เราเข้าใจความหมายของ กวีนิพนธ์ คำสอน คำศัพท์โบราณ เรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นในอดีต ซึ่งมีผลต่อการศึกษาด้านจริยธรรม วรรณศิลป์และคติชนวิทยาอีก ด้วย เช่น สุภาษิต นิทานชาดก หรือวรรณกรรมที่มีการสอดแทรก หลักธรรมไว้สำหรับสอนเยาวชน เป็นต้น ในปั จ จุ บั น รั ฐ บาลไทยได้ พั ฒ นาประเทศทั้ ง ทางเศรษฐกิ จ สังคม การเมือง การศึกษาและเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้วิถีชีวิต ของประชาชนคนไทยเปลี่ยนแปลงไปตามบริบทของการพัฒนาทาง วัตถุ ประกอบกับอิทธิพลทางวัฒนธรรมและค่านิยมทางภาษาของ ยุโรปหรือตะวันตกได้ขยายเข้าสู่สังคมไทยอย่างรวดเร็ว เช่น การเปิด อบรมและสอนภาษา จัดตั้งโรงเรียนนานาชาติ การแปลผลงานของ ตนเป็นภาษาไทยออกเผยแพร่ การให้ทุนการศึกษา เป็นต้น จึงมีส่วน ทำให้ ภ าษาไทยอยู่ ใ นสภาวะเสื่ อ มโทรมลงอย่ า งน่ า เป็ น ห่ ว ง เนื่องจากเยาวชนและสังคมไทย ได้ละเลยต่อความสำคัญในการใช้ ภาษาไทยหรือมีการใช้ภาษาที่ผิดเพี้ยนมากขึ้นทุกที เช่น มักจะพูด ภาษาไทยคำอังกฤษคำหรือพูดภาษาไทยปะปนกับภาษาต่างประเทศ หรื อ เป็ น เยาวชนไทยแต่ พู ด ภาษาไทยไม่ ชั ด ใช้ ภ าษาไทยไม่ ถู ก เป็นต้น จึงเป็นเรื่องที่น่าวิตกว่า หากไม่รีบช่วยกันแก้ไข อาจจะทำให้ เอกลักษณ์และคุณค่าของภาษาไทยถูกกลืนหรือสูญหายไปก็เป็นได้ ในเรื่องนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงแสดงความสนพระราช หฤทัยห่วงใยในภาษาไทย จึงมีพระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทาน


18 อนุสรณ์โครงการสอนภาษาและวัฒนธรรมไทย ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ปริญญาบัตรแก่นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕๑๒ ความตอนหนึ่งว่า... “ในปัจจุบันนี้ปรากฏว่า ได้มีการใช้คำออก จะฟุ่มเฟือย และไม่ตรงกับความหมายอันแท้จริงอยู่เนืองๆ ทั้งออก เสียงก็ไม่ถูกต้องตามอักขรวิธี ถ้าปล่อยให้เป็นไปดังนี้ ภาษาของเรา ก็ มี แ ต่ จ ะทรุ ด โทรม ชาติ ไ ทยเรามี ภ าษาของเราใช้ เ องเป็ น สิ่ ง อั น ประเสริฐอยู่แล้ว เป็นมรดกอันมีค่าตกทอดมาถึงเราทุกคน จึงมีหน้า ที่จะตัองรักษาไว้ ...” ประการที่ ส อง การแต่ ง กาย : ค่ า นิ ย มการแต่ ง กายของ เยาวชนไทยหรื อ คนไทยในอดี ต ยึ ด หลั ก การอยู่ ส ามประการคื อ ประการแรก การแต่งกายสะอาด ประการที่สอง แต่งกายสุภาพ และ ประการที่ ส าม การแต่ ง กายถู ก กาลเทศะ การแต่ ง กายสะอาดไม่ จำเป็ น ต้ อ งใส่ เ สื้ อ ผ้ า ราคาแพง เสื้ อ ผ้ า ราคาถู ก ก็ ท ำให้ ส ะอาดได้ และเมื่ อ สวมใส่ ก็ เ ป็ น ที่ เ จริ ญ ตาเจริ ญ ใจแก่ ผู้ พ บเห็ น การแต่ ง กาย สุภ าพและถู ก กาลเทศะ เช่น เมื่อไปวัดหรือศาสนสถานก็สวมใส่ เสื้อผ้าสุภาพเรียบร้อย ไม่ใส่กระโปรงหรือกางเกงที่สั้นมากเกินไป หรือเมื่อแต่งกายด้วยชุดกีฬา ก็ควรไปเล่นกีฬา ไม่ใช่ใส่ชุดกีฬาแล้วไป งานเลี้ยงตามโรงแรมหรูหรา หรือไม่ใส่ชุดสากลหรือชุดพระราชทาน ไปเล่นกีฬา เป็นต้น ในปัจจุบันมีเยาวชนหรือคนไทยเป็นจำนวนมากพอสมควรที่ แต่งกายไม่สุภาพและไม่ถูกกาลเทศะ เช่น เยาวชนใส่กางเกงยีนส์และ เสื้อยืดเอวลอยไปเรียนหนังสือในสถาบันอุดมศึกษาหรือแต่งกายโดย


ณ วัดพุทธปทีป กรุงลอนดอน 2012

19

เปิดเผยให้เห็นสัดส่วนของร่างกายที่ควรสงวน หรือใส่เสื้อผ้าที่รัดรูป โชว์สัดส่วนมากเกินไปจนดูน่าเกลียด เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่ได้รับ อิทธิพลทางวัฒนธรรมและค่านิยมจากต่างชาติ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี สหรัฐอเมริกา หรือยุโรป เป็นต้น ประการที่สาม การดำเนินชีวิต : ค่านิยมดั้งเดิมของคนไทยนั้น ใช้ชีวิตแบบพอเพียง รู้จักประหยัดและอดออม ไม่ว่าจะเป็นการใช้ ทรัพย์สินเงินทองส่วนตนหรือการใช้ทรัพย์สินส่วนรวม มีความภาค ภูมิใจในความเป็นไทย ภูมิปัญญาไทยและนิยมใช้สินค้าไทย ดังคำ กล่าวที่ว่า “ไทยทำ ไทยใช้ ไทยเจริญ” มีความเอื้อเฟื้อต่อกัน เช่น ฤดูเก็บเกี่ยวข้าว ถ้าครอบครัวใดเก็บเกี่ยวข้าวไม่ทัน ถ้าปล่อยไว้นาน ข้าวจะแห้งกรอบ ชาวนาก็จะรวมตัวกันเพื่อช่วยเก็บเกี่ยวข้าวในนานั้น ซึ่งเรียกว่า “ลงแขก” การลงแขก หมายถึง ชาวบ้านร่วมแรงช่วยกัน ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อเกื้อกูลซึ่งกันและกันภายในชุมชน (มิได้ หมายถึ ง การรุ ม โทรมหญิ ง ) เป็ น กิ จ กรรมที่ ส นุ ก สนาน ไม่ มี ค่ า ตอบแทนหรือค่าจ้าง และไม่มีอบายมุขมีแต่สบายสุขภาพ เพราะน้ำ ที่เอามาเลี้ยงแขกก็เป็นน้ำเปล่าๆ แม้แต่น้ำสีก็เช่นกัน จะมีน้ำเขียว น้ำแดง ก็ใช้พืชสมุนไพรที่มีอยู่มาทำเลี้ยงกัน เช่น น้ำเขียวใบย่านาง น้ำเขียวใบบัวบก น้ำแดงกระเจี๊ยบ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังชอบทำบุญ รักษาศีลและร่วมพิธีกรรมทางศาสนา เป็น ผู้ประกอบด้วยคุณธรรม จริยธรรม มีหิริ คือ ความละอายใจต่อบาป มีความเชื่อและเข้าใจใน เรื่องกฎแห่งกรรม โดยมีความเชื่อว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว มีการ ประพฤติดีทางกายซึ่งเรียกว่า กายสุจริต ทางวาจาเรียกว่า วจีสุจริต


20 อนุสรณ์โครงการสอนภาษาและวัฒนธรรมไทย ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ และประพฤติดีทางใจเรียกว่า มโนสุจริต เว้นจากการประพฤติชั่วทาง กาย ทางวาจา และทางใจซึ่งเรียกว่า กายทุจริต วจีทุจริต และมโน ทุจริต ตามลำดับ และมีโอตตัปปะ ความเกรงกลัวต่อบาป กล่าวคือ มีความเกรงกลัวต่อโทษที่จะเกิดขึ้นจากการทำชั่ว ทั้งทางกาย วาจา และทางใจ สิ่งเหล่านี้เป็นคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมอันดีงามของ เยาวชนและสังคมไทย ที่มีการปฏิบัติสืบทอดกันมาเป็นเวลาช้านาน อย่ า งไรก็ ต าม คุ ณ ธรรมจริ ย ธรรมและค่ า นิ ย มดั ง กล่ า วได้ เปลี่ยนแปลงไป กล่าวคือ เยาวชนและคนในสังคมไทยแทบจะทาน อาหารไทยประเภทน้ ำ พริ ก ปลาทู แ ละผั ก ลวกไม่ เ ป็ น นิ ย มทาน อาหารฟาสฟู้ดราคาแพง ตามร้านอาหารหรูหราในโรงแรมหรือห้าง สรรพสิ น ค้ า ชอบใช้ สิ น ค้ า ฟุ่ ม เฟื อ ย ถ้ า เป็ น สิ น ค้ า ยี่ ห้ อดั ง จากต่ า ง ประเทศถึงจะราคาแพงก็ซื้อ แล้วเอามาอวดกันเพราะไม่ชอบเห็นใคร เหนือกว่า ไม่นิยมใช้สินค้าไทย ยกตัวอย่าง เช่น การซื้อโทรศัพท์ เคลื่อนที่(มือถือ) ก็มักจะแย่งกันซื้อเครื่องที่มีราคาแพงและนำเข้า จากต่างประเทศ เป็นต้น เป็นการใช้จ่ายเงินเกินวัยและเกินความ จำเป็น จนทำให้มีหนี้สินเกิดขึ้นมากมาย เมื่อเงินไม่พอใช้จ่ายก็จะ แสวงหาเงินด้วยวิธีที่ผิดกฎหมาย เช่น ค้ายาเสพติด ขายบริการทาง เพศ เล่นการพนันหรือตั้งกลุ่มเป็นหัวขโมย เป็นต้น ไม่มีความละอาย ใจต่ อ บาปและไม่ เ กรงกลั ว ต่ อ บาป ทำความชั่ ว ได้ โ ดยง่ า ย แต่ ทำความดีได้ยาก เพราะตกเป็นทาสของวัตถุนิยมและบริโภคนิยม กลายเป็นปัญหาอาชญากรรมทางสังคมและบั่นทอนความเจริญของ ประเทศชาติ นอกจากนี้ ยั ง นิ ย มยกย่ อ งผู้ มี อ ำนาจหรื อ เศรษฐี


ณ วัดพุทธปทีป กรุงลอนดอน 2012

21

เพราะเห็นว่าเขามีทรัพย์สินมาก โดยไม่ได้ยกย่องเพราะเห็นว่าเขามี คุณงามความดี จึงเป็นการยกย่องหรือศรัทธาที่ปราศจากปัญญา เพราะถูกอวิชชาครอบงำ ถูกความโลภครอบงำเพราะในใจมีแต่ความ ทะยานอยาก เช่น อยากมี อยากเป็น ชอบหรือพอใจในสิ่งที่ตนยัง ไม่มี จึงต้องดิ้นรนแสวงหาสิ่งที่ตนยังไม่มีนั้น ด้วยความยากลำบาก ซึ่ ง มี แ ต่ ค วามทุ ก ข์ แต่ ก็ ยั ง ไม่ ห ยุ ด แสวงหา นี่ คื อ ค่ า นิ ย มของคนใน สังคมไทยที่เปลี่ยนแปลงไปจากวิถีชีวิตแบบพอเพียง เป็นวิถีชีวิต บริโภคนิยมและวัตถุนิยม ประการสุดท้าย อิทธิพลทางวัฒนธรรมและค่านิยมตะวันตก ในส่ ว นที่ ดี แ ละเป็ น ประโยชน์ ก ล่ า วคื อ ช่ ว ยสร้ า งเสริ ม การพั ฒ นา ปัญญาและส่งเสริมการพัฒนาประเทศ ในปัจจุบันค่านิยมสังคมไทย ได้ เ ปลี่ ย นแปลงไปตามสภาพแวดล้ อ มของกระแสโลกาภิ วั ฒ น์ รัฐบาลไทยมีความสัมพันธ์ไมตรีกับประเทศสหรัฐอเมริกา ทั้งด้าน เศรษฐกิ จ สั ง คม การเมื อ ง การศึ ก ษา ตลอดจนวั ฒ นธรรมและ เทคโนโลยี มีการให้ทุนแก่เยาวชนไปศึกษาต่อในต่างประเทศหรือให้ ทุ น แก่ ข้ า ราชการเพื่ อ ไปศึ ก ษาต่ อ หรื อ ศึ ก ษาดู ง านในสหรั ฐ อเมริ ก า อย่างต่อเนื่องกันมาเป็นเวลาหลายปี ทำให้บุคคลกรเหล่านี้มีความรู้ ความสามารถ มี เ หตุ ผ ลมากขึ้ น กล้ า คิ ด กล้ า ตั ด สิ น ใจและกล้ า แสดงออก เป็น ผู้ตรงต่อเวลาและสามารถนำความรู้มาพัฒนาประเทศ ชาติให้มีความเจริญรุ่งเรืองมากขึ้น ความเสมอภาคระหว่างหญิงกับ ชายเริ่มเท่าเทียมกันมากขึ้น ดังจะเห็นได้จากทั้งในอดีตและปัจจุบัน มีหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจหรือองค์กรอิสระสำคัญๆ หลายแห่งที่


22 อนุสรณ์โครงการสอนภาษาและวัฒนธรรมไทย ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ มี สุ ภ าพสตรี เ ป็ น หั ว หน้ า องค์ ก ร เช่ น ธนาคารแห่ ง ประเทศไทย สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา หรือ สำนักงบประมาณ เป็นต้น ศักยภาพดังกล่าวนี้ เป็นอานิสงส์จากการ รับเอาส่วนที่ดีของวัฒนธรรมและค่านิยมจากชาติตะวันตกโดยเฉพาะ สหรัฐอเมริกา อิทธิพลทางวัฒนธรรมและค่านิยมตะวันตกหรือยุโรป ดังที่ได้ กล่าวทั้งหมดในข้างต้น มีทั้งด้านดีกล่าวคือช่วยส่งเสริมความเจริญ รุ่งทั้งทางสังคมและประเทศชาติ และด้านที่ไม่เหมาะสมที่จะนำมาใช้ กับบริบทของสังคมไทย ฉะนั้น เยาวชนและคนไทยจึงควรพิจารณา แยกแยะดูว่าสิ่งใดควรทำตามแบบคนตะวันตกหรือยุโรปและสิ่งใด ควรเว้ น เพราะว่ า ในความเป็ น จริ ง ที่ ห ลายคนบอกว่ า ความเป็ น อัตลักษณ์ของไทยนั้น บางอย่างก็ยังมีการปรุงแต่งมาจากวัฒนธรรม หรือค่านิยมของต่างชาติ เช่น ขนมหวานไทย ทองหยิบ ฝอยทอง เป็นต้น วัฒนธรรมและค่านิยมดังกล่าวนี้ บรรพบุรุษของเราท่านได้ คัดสรร ดัดแปลงแก้ไขให้มีความเหมาะสมกับบริบทของสังคมไทย แล้ ว ก่ อ นจะนำมาใช้ ซึ่ ง สะท้ อ นให้ เ ห็ น ความเชื่ อ มั่ น ในอั ต ลั ก ษณ์ ความเป็นไทย และความเข้มแข็งของสังคมไทยที่มีวัฒนธรรมและค่า นิยมอันดีงามมาเป็นเวลาช้านาน มีผู้นำที่เข้มแข็งและรู้จักใช้วิจารณ ญาณอย่างชาญฉลาด ในการที่จะเลือกรับหรือปฏิเสธวัฒนธรรมและ ค่านิยมของตะวัน และเมื่อถึงเวลาที่จะนำเสนออัตลักษณ์ความเป็น ไทย ก็ ส ามารถนำเสนอเอกภาพแห่ ง ความเป็ น ชาติ ไ ทยในเวที ประชาคมโลกได้อย่างน่าภาคภูมิใจ


ณ วัดพุทธปทีป กรุงลอนดอน 2012

23

ดังนั้น หากหน่วยงานภาครัฐ สถาบันการศึกษา สถาบันทาง ศาสนาและสื่อมวลชนให้ความร่วมมือกันจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการลด ละ เลิ กอบายมุ ข ทุ ก ประเภทอย่ า งจริ ง จั ง เพื่ อ ให้ เ ยาวชนไทยได้ มี โอกาสเรียนรู้หลักธรรมคำสอนทางศาสนาและวิธีปฏิบัติตนที่ถูกต้อง เช่น การบริจาคทาน การรักษาศีล การฟังธรรมและการนั่งสมาธิ เจริ ญ ภาวนา เป็ น ต้ น เพื่ อ สร้ า งภู มิ คุ้ ม กั น ที่ ดี ค วบคู่ ไ ปกั บ การ พัฒนาการเรียนรู้เพื่อสร้างปัญญาแก่เยาวชนและสังคมไทย และปลูก ฝังจิตสำนึกในวัฒนธรรมและค่านิยมอันดีงาม ก็จะช่วยส่งเสริมให้ เยาวชนและคนไทยมีความรู้คู่คุณธรรม ประพฤติตนตามวัฒนธรรม และค่านิยมอันดีงามของสังคมไทย มีความกตัญญูกตเวที รู้จักใช้ ชี วิ ต แบบพอเพี ย ง ประหยั ด และอดออม มี ค วามละอายใจต่ อ การ ทำความชั่วเกรงกลัวต่อบาป มีความรู้ความเข้าใจและสามารถใช้สติ ปัญญา ในการที่จะรับหรือปฏิเสธวัฒนธรรมและค่านิยมตะวันตกหรือ ยุโรปได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม อย่างเช่นที่บรรพบุรุษของเราได้ ปฏิบัติมา พร้อมทั้งสามารถนำวัฒนธรรมและค่านิยมดังกล่าวมา ประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดีและอยู่ร่วมกัน ในสังคมไทยได้อย่างสันติสุข


นิราศครูไทย ในวัดพุทธปทีป วิมเบอร์ดัน

ลาคณะ ศึกษาศาสตร์ เมืองหมอแคน จากขอนแก่น สู่แดนดิน อันกว้างใหญ่ กรุงลอนดอน แห่งอังกฤษ เมืองศิวิไลซ์ หวังจะใช้ ประสบการณ์สอน ที่เรียนมา ถึงอังกฤษ ฮีธโทร์ โก้เหลือแสน สมเป็นแดน ศิวิไลซ์ ที่ใฝ่หา พระอาจารย์ใหญ่ มารับ ไม่รู้หน้าตา สังเกตผ้าสีเหลืองเหลือง คงใช่หนา


ณ วัดพุทธปทีป กรุงลอนดอน 2012

25

ทั้งป้าแมว ลุงมงคล ก็มารับ พี่เท่งขับ รถตู้ดู หรูหรา ถึงวันแรก แปลกไปนิด ผิดเวลา บินลัดฟ้า มามากกว่า สิบชั่วโมง แล้วเข้ากราบ หลวงพ่อขอ ฝากฝัง หลวงพ่อนั่ง เมตตาถาม ในห้องโถง กุฏิงาม โบสถ์สวยหรู ดูเชื่อมโยง ทั้งมีโรง เรียนดี ศักดิ์ศรีไทย หลังจากนั้น เตรียมงาน ตามหน้าที่ คนช่วยชี้ นั้นก็คือ พระอาจารย์ใหญ่ นามพระมหาประเสริฐ วิสัยทัศน์ ช่างก้าวไกล ตัวแทนไทย ตัวแทนชาติ ปราชญ์วิชา พิธีเปิดทั้งตื่นเต้นและยินดี เห็นน้องพี่ชาวไทยหลายสาขา ต่างมุ่งหวัง ให้ลูกเพียร เรียนวิชา


26 อนุสรณ์โครงการสอนภาษาและวัฒนธรรมไทย ปี พ.ศ. ๒๕๕๕

สืบสานค่า ทั้งภาษา วัฒนธรรม ครูนั่นเกร็ง เด็กนั่นกล้า ท้าพิสูจน์ แพ้กราวรูด หรือชนะ ดูน่าขำ ทั้งครูนิด ครูรุ้ง มีฟ้อนรำ ซาบซึ้งล้ำ สัญญาณส่ง ดำรงไทย เริ่มการเรียน ลูกเรียนรู้ แม่ส่ง-รับ รู้คำนับ รู้นอบน้อม เริ่มสวยใส เริ่มพูดคำ เริ่มออกเสียง สำเนียงไทย เริ่มเขียนได้ เริ่มรับรู้ สู่สังคม ถึงวันแม่ น้ำท่วมโบสถ์ น้ำตาแม่ ใช่อ่อนแอ หากอบอุ่น บุญสุขสม มอบมะลิและการ์ด กราบด้วยใจ ให้ชื่นชม แทนค่าน้ำนม อิ่มอุ่นใจ ให้แม่คืน ออกกำลังกาย ก่อนเข้าเรียน ทุกเช้านั้น เกมสารพัน สนุกได้ ไม่ขัดขืน


ณ วัดพุทธปทีป กรุงลอนดอน 2012

พักกลางวัน ข้าวอร่อย ล้อมวงยืน ต่างชื่นมื่น ทั้งแม่ ลูกนะพวกเรา แม่กับยาย ของน้องบัว ช่างน่ารัก แหม่ม สายรุ้ง เห็นประจักษ์ ว่าคลายเหงา ทั้งแมว และน้อง มีดาว ตามเป็นเงา ส่วนใหญ่เล่า คนสวย ช่วยงานดี แม่จัสมิน พ่อต้น ตั้ม เอาใจใส่ มีน้ำใจ ครูกุ้งช่วย ไม่ห่างหนี ทั้ง วา วัน เอ ณัฐ ช่วยคลุกคลี งานคราวนี้ มีแต่รัก และเกื้อกูล ทั้งป้าสุ แล มอลคั่ม ผู้ใหญ่ยิ่ง ใจดีจริง ปรุงอาหาร มิให้สูญ ทั้งป้ากอบ ป้าดอกไม้ พี่จิต พี่นง ช่วยเพิ่มพูน ทวีคูณ ลุงบุญส่ง อีก ไพศาล และหนุ่มมีน้ำใจ พระอาจารย์ประเสริฐ นั้นเล่าหนา

27


28 อนุสรณ์โครงการสอนภาษาและวัฒนธรรมไทย ปี พ.ศ. ๒๕๕๕

เช้าเย็นมา คอยดูแล ช่วยแก้ไข มีคุณูปการ ทุกอย่างไป ปัญหาใด ก็ผ่านพ้น ด้วยผลงาน ท่านพระครูสุทัศน์ ที่ปรึกษา งานมากล้น ท่านช่วยจน เราเกรงใจ ในตัวท่าน ผู้ปกครอง อีกมากมาย มาช่วยงาน ขออภัย ที่เอ่ยขาน ไม่ครบคน อยู่ที่นี่ เหมือนกับเรา อยู่เมืองไทย มีน้ำใจ มีข้าวเหนียว มีแดดฝน มีบัวลอย มียิ้มแย้ม เหงาระคน มีเสียงบ่น มีเสียงยอ พอพอกัน ฉากสุดท้าย บรรลุแล้ว ความตั้งใจ ให้ลูกไทย หลานไทย ได้สุขสันต์ ได้เรียนรู้ สืบสานไทย ไปชั่วกัลป์ สมกับฝัน มุ่งมั่นหมาย ที่ได้มา


ณ วัดพุทธปทีป กรุงลอนดอน 2012

ครูกลมเกลียว ไม่ปีนเกลียว กับใครเขา ครูนิดเล่า มิใช่นิด ดัง่ชื่อหนา ครูรุ้งนั้น คนขยัน ไม่เฉื่อยชา สามดารา มาแสดง แข่งกับงาน กราบอำลาพระอาจารย์พุทธปทีป ขอมอบกลีบ ดอกรัก ฝากทุกท่าน สวัสดี ทั้งแม่-ลูก ผูกใจนาน ลาแม่ครัวและอาหาร เจือจานดี มีวันใหม่ เดือนใหม่ หรือปีใหม่ สักวันใด คงได้พบ ประสบศรี อย่าลืมกัน พี่น้องไทย สามัคคี จงโชคดี มีสุขศานติ์ สราญเทอญ ด้วยรักจากใจ...... ครูเกลียว ครูนิด ครูรุ้ง

29


จากใจครูอาสา ขอกล่าวถึงคุณแม่ของลูกๆ ที่เป็นผู้ปกครองทั้งหลาย คือ 1.ท่านเป็น ผู้โชคดีที่ได้รับใช้ชาติในฐานะผู้สืบสานความเป็นไทย และเผยแพร่มายังต่างประเทศ ท่านเป็น ผู้เสียสละความรักความ คิดถึงบ้านเกิดเมืองนอน อีกทั้งยังมีความพยายามทำให้คนใกล้ชิดได้ เข้าใจและรู้สึกยอมรับในคุณค่าของความเป็นไทย ไม่ว่าท่านจะจบ เพียงแค่ ป.4 จากเมืองไทย หรือจบการศึกษาระดับไหนๆก็ไม่สำคัญ บัดนี้ท่านทั้งหลายได้กระทำจนสำเร็จแล้ว เป็นความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ที่ แม้ แ ต่ นั กวิ ช าการ นั ก การเมื อ งผู้ กว้ า งขวางทั้ ง หลายในเมื อ งไทยก็ ทำได้ไม่เท่าท่าน เพราะนอกจากท่านจะนำความรู้ความสามารถของ ความเป็ น คนไทยมาอวดความดี ง ามต่ อ ชาวโลกในด้ า นอาชี พ ของ แต่ ล ะท่ า นแล้ ว ท่ า นยั ง เผื่ อ แผ่ อ อกไปด้ ว ยความจริ ง ใจและความ เมตตา ผู้ใกล้ชิดจึงรู้สึกได้ แม้ว่าท่านจะเป็นเพียงน้ำผึ้งหยดเล็กๆ ใน ต่างแดน แต่ ค วามหวานและคุณ ค่าของน้ำผึ้งนั้นยังมั่นคงอยู่เสมอ ตอนนี้ผมขอยกย่องท่านทั้งหลายเหมือนวีรสตรีที่ทุ่มเทแรงกายแรงใจ ทั้งชีวิต เพื่อลูกและเพื่อชาติถิ่นกำเนิดของตนเองให้คงอยู่และได้แสดง ให้คนทั่วโลกได้เห็นว่า เมืองไทยมีดี คนไทยมีดี 2. ท่านเป็น ผู้มีบุญ เพราะท่านได้ทำงานในวัด ช่วยเหลือวัด พา


ณ วัดพุทธปทีป กรุงลอนดอน 2012

31

ลูกเข้าวัด ตนเองได้แสดงคารวะต่อพระรัตนตรัย ท่านเชื่อหรือไม่ว่า คนไทยในเมืองไทยมีเป็นแสนเป็นล้านที่บ้านอยู่ใกล้วัด แต่เดือนละ ครั้งจะเดินเข้าไปเหยียบในวัดก็ยังยาก แต่ท่านกลับได้มาพักมาผ่อน มาทำงานในร่มเงาของพุทธาวาสนับเป็นบุญกุศลและชะตาชีวิตนำพา ให้ท่านได้เข้ามา เป็นบุญเก่าที่นำพาให้ได้สั่งสมบุญใหม่เจริญก้าวหน้า ต่อไป 3. ท่านเป็น ผู้มีจิตใจดีงาม เป็นนักเสียสละ สิ่งที่ท่านทำ ไม่ได้ เกิดจากการถูกใครบังคับ ท่านเต็มใจ พร้อมที่จะทำ มีความสุขและ อิ่มใจที่ได้ทำ 4. ท่านเป็น ผู้มีความรักความสามัคคี ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน พวกเรารับรู้ได้ รู้สึก และคิด ได้ยิน ได้ฟัง ไตร่ตรอง และพิจารณา ยิ่ง อยู่นานวันเข้ายิ่งชื่นใจในความสามัคคีของผู้ปกครองทั้งหลาย เห็น อาการหัวร่อต่อกระซิก เห็นการผ่อนหนักผ่อนเบาในความผิดพลาด บกพร่องของเพื่อน เห็นการพูดคุยอย่างเป็นกันเอง เห็นการแบ่งปัน เห็นการที่ไม่นิ่งดูดาย หยิบจับอะไรช่วยเหลือกัน เห็นสายตาที่มองดู กันแบบจริงใจแฝงไปกับแววตาของความผ่อนคลายสบายใจ ทำให้ พวกเรามีความรู้สึกดีมากๆเลย บางครั้งแอบยืนมองสังเกตดูถึงกับ น้ำตาคลอ เพราะเป็นบรรยากาศแห่งความเป็นพี่น้องเหมือนคนไทย ที่ อ ยู่ ห มู่ บ้ า นเดี ย วกั น เป็ น ป้ า เป็ น ลุ ง เป็ น น้ า เป็ น อา โคตรเหง้ า เดียวกัน ช่างเป็นภาพที่น่าภาคภูมิใจจริงๆ 5. ท่านคือตัวแทนผู้แสดงความรักของแม่แบบไทยๆ ที่อาทร


32 อนุสรณ์โครงการสอนภาษาและวัฒนธรรมไทย ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ลูกๆด้วยความรักและเมตตา แม่ไม่เคยเกี่ยงงอนที่จะแสดงความรัก และความปรารถนาดีต่อลูกไม่ว่าเวลาใด ขอบกราบขอบพระคุณในความเมตตาของหลวงพ่อ หลวงตา และพระอาจารย์ทุกรูป ที่มองเราทั้ง 3 คนอย่างเป็นมิตร ให้ความ ช่วยเหลืออย่างดียิ่ง พระอาจารย์ใหญ่ก็ยิ่งใหญ่สมชื่อ วิสัยทัศน์กว้าง ไกลสมชื่อ พระมหาประเสริฐ และที่ปรึกษาพระอาจารย์ใหญ่ พระครู สุทัศน์ จิตใจก็เมตตากว้างไกลสมกับชื่อไม่น้อยไปกว่ากัน อยู่ที่เมือง ไทยผมก็ ป ฏิ บั ติ ธ รรมอยู่ เ สมอ การเดิ น ทางมาครั้ ง นี้ จึ ง ถื อ ว่ า เป็ น ธรรมจัดสรร คือ ธรรมบันดาลให้มาได้พบกับสหธรรมิก และหวังว่า โลกคงกลมได้วนเวียนกลับไปพบกันอีกเป็นครั้งที่ 2 ครั้งที่ 3 จะได้ รับใช้ท่านอีกบ้าง ขอขอบพระคุณคณะแม่ครัวอยู่ที่กุฏิทุกท่าน เลี้ยงดู พวกเราไม่ มี ข าดตกบกพร่ อ งจนเราเกรงใจ ความดี ง ามเหล่ า นี้ ไ ด้ ประทับอยู่ในความทรงจำของพวกเราแล้ว มี ค ำของนั ก ปราชญ์ ที่ น่าสนใจท่านหนึ่งกล่าวไว้ขอนำมาพูดในที่นี้ว่า “คนเรานั้น สิ่งหนึ่งที่ ถือว่าเป็นโชคดีคือ การที่ได้รู้จักกันและจะโชคดีที่สุด ถ้าคนที่รู้จักกัน นั้นเข้าใจกัน” การเดินทางของเสี้ยวหนึ่งของชีวิตของคณะครูอาสาครั้งนี้จึงคิด ว่าโชคดีที่สุด เพราะเราได้ญาติ ได้มิตร ได้ลูกศิษย์ ได้พระอาจารย์ ส่วนแม่ตาหวาน พ่อบ้านแลคนรัก อยู่ที่บ้านขอนแก่นคงเฝ้ารอ

ด้วยรักและจริงใจ ครูไทยตัวน้อยๆทั้ง 3 คน


ความอบอุ่นใจของ ครูไทย ในลอนดอน

ครูเกลียว (ผศ.กลมเกลียว มาเวียง) เป็นคำรบที่ 2 ที่กระผมกระทาชายนายกลมเกลียวคนนี้ได้มา ทำงานเพื่อชาติไทยในต่างแดนในการอาสาเพื่อนสอนภาษาไทยและ วั ฒนธรรมไทย ที่ วั ด พุ ท ธปที ป วิ ม เบิ ล ดั น กรุ ง ลอนดอน ต้ อ งขอ ขอบพระคุณคณะกรรมการคัดเลือกตัวแทนครูจากคณะศึกษาศาสตร์ และคณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นที่ให้โอกาสครู เกลียวมาเก็บเกี่ยวประสบการณ์การสอนอีกครั้งหนึ่งครับ แต่กว่าจะ ได้มาพวกเราที่เป็นตัวแทนทั้ง 3 คนต้องยื่นขอวีซ่าถึง 2 ครั้งถึงได้มา ที่วัดพุทธปทีปเพราะครั้งแรกขอไม่ผ่าน ผมจึงบอกเพื่อนๆว่าเราคง ต้ อ งขอจากหลวงพ่ อดำ พระศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ คู่ วั ด พุ ท ธปที ป พอพวกเรา ระลึกถึงท่านยื่นขอวีซ่าครั้งที่ 2 ก็ผ่านดังปรารถนานับเป็นบุญวาสนา ของพวกเราทั้ง 3 คนจริงๆครับ พอบินจากเมืองไทยมาถึงฮีธโทร์ไม่รู้จักใครเลยมีเพียงได้รับแจ้ง


34 อนุสรณ์โครงการสอนภาษาและวัฒนธรรมไทย ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ว่าพระอาจารย์ใหญ่จะมารับรู้ว่านามท่านคือพระมหาประเสริฐ แต่ก็ ไม่ รู้ ห น้ า ตาได้ แ ต่ สั ง เกตผ้ า จี ว รสี เ หลื อ งอย่ า งเดี ยว พอเห็ น ก็ รี บ ปรี่ เข้าไปกราบนมัสการ แล้วแนะนำตัวเราทั้ง 3 คน แต่ที่ดีใจก็คือมี ประธานชมรมผู้ปกครองของโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ไปรับ ด้วยนั้นคือป้าแมวแห่งร้านอีสานเขียวที่เราคุ้นเคยแถมด้วยคู่ชีวิตที่ป้า แมวบอกเราว่าพนักงานขับรถพามาคือลุงมงคลนั้นแหละ พอมาถึงที่วัดพุทธปทีปใจหายเพราะมีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้าง เช่นกิ่งไม้ที่เคยทอดยาวให้เด็กๆได้ปีนป่ายเล่นช่วงพักกลางวันไม่มีอีก แล้ว ในการพักรับประทานอาหารกลางวันก็ต้องเดินไปรวมกันทานที่ หลังกุฏิพร้อมกับญาติโยมที่มาทำบุญ ซึ่งแต่ก่อนเมื่อ 6 ปีที่แล้วนั้น แม่ๆลูกๆพร้อมทั้งครูอาสาเรานั่งทานอาหารร่วมกันที่หน้าโรงเรียน เดี๋ยวนี้เปลี่ยนไปแต่ก็ดีครับหน้าโรงเรียนสะอาดดีและพวกก็ได้รู้จักกับ ญาติโยมที่มาทำบุญด้วยครับ แต่ สิ่ ง ที่ ไ ม่เปลี่ยนแปลงไปเลยก็คือความเมตตาของหลวงพ่อ หลวงตาและพระอาจารย์ทุกรูปที่ให้ความเป็นมิตรกับครูอาสาตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรดาท่านผู้มีประสบการณ์สูง ลุงๆป้าๆพี่ๆและ แม่ๆของลูกๆทุกท่านให้ความอบอุ่น เป็นมิตร เอื้อเฟื้อ เกื้อหนุนต่อ ครูอาสามากเหลือเกิน น้ำหนักทุกคนไม่มีลดมีแต่เพิ่ม ขึ้นเครื่องกลับ เมืองไทยต้องขอน้ำหนักเพิ่มอีกครับ แล้วท่านคุณแม่ทั้งหลายท่านก็ จัดโปรแกรมให้คุณครูได้ไปศึกษานอกสถานที่ตลอดเกือบทุกวันหลัง เลิกเรียนและยังเสาร์ อาทิตย์อีกด้วยครูไม่มีเวลาพักเลย อย่างนี้ต้อง


ณ วัดพุทธปทีป กรุงลอนดอน 2012

35

ขอมาราชการ อาสามาสอนสัก 2 เดือนคงจะดีนะครับ นี่แหละครับ ความอบอุ่นที่ครูไทยในต่างแดนได้รับ ส่วนเรื่องการสอนการเรียน นักเรียนก็น่ารักทุกคนซึ่งช่วงแรกครูก็เกร็งแต่ตอนหลังสนุกดีครับเป็น บรรยากาศที่เป็นกันเองไม่ได้แบ่งแยกเด็กเล็ก เด็กกลาง เด็กโตมาก นักเพราะสัปดาห์สุดท้ายเราได้จัดกิจกรรมรวมกันเป็นส่วนใหญ่ โครงการสอนภาษาไทยและวัฒนธรรมไทย ภาคฤดูร้อนประจำ ปี 2555จะสำเร็จลงไม่ได้เลย หากขาดความเมตตาจากหลวงพ่อ หลวงตา พระอาจารย์สุทัศน์ พระอาจารย์ประเสริฐ พระอาจารย์ทุก ท่าน ขอขอบพระคุณท่านเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงลอนดอน และภรรยา ท่านอุปทูต คุณพี่กุ้ง คุณพี่สุ คุณมอลคั่ม คุณลุงบุญส่ง คุณป้าจิต คุณป้าดอกไม้ คุณป้ากอบ คุณป้านง คุณหนุ่ม คุณน้องมน แม่กั้ง คุณป้าแมวและคุณลุงมงคลแห่งอีสานเขียว และญาติธรรมทุก ท่าน ที่ไม่สามารถเอ่ยชื่อได้หมดสิ้น ขอขอบคุณสำหรับมิตรไมตรีจาก ผู้ปกครองทุกท่าน และขอยกหัวแม่โป้งและรอยยิ้มกว้างๆให้คุณแม่ ทุกท่านพร้อมทั้งอยากบอกนักเรียนของครูทุกคนขอให้เป็นเด็กดีและ ตั้งใจเรียน ตลอดเวลา 1 เดือนที่มาลอนดอนเป็นครั้งที่ 2 นี้มีความ อบอุ่นเหลือหลาย จะรำลึกถึงความเมตตา กลมเกลียว สามัคคี และ ความอบอุ่น ของท่านตลอดไป


“จับปูใส่กระด้ง”

ประสบการณ์อันล้ำค่า ที ่ ไ ด้ ม าจากปู ต ั ว น้ อ ย ๆ ครูนิด (ผศ.ทับทิม สุริยสุภาพงศ์) กราบนมัสการพระราชภาวนาวิมล หัวหน้าพระธรรมทูตและ เจ้าอาวาสวัดพุทธปทีป พระมหาประเสริฐ ฐิตคุโณ พระอาจารย์ใหญ่ โรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ พระครูภาวนาวิธาน (สุทัศน์ อมร สุทฺธิ) ที่ปรึกษาโรงเรียน พระครูประภัศร์ธรรมวิเทศ (หลวงตาล้อม) เลขานุการคณะพระธรรมทูต และพระภิกษุสงฆ์ทุกรูป “ดีใจ ตื่นเต้น ตกใจ วิตก” ดีใจ เพราะจะได้มาสอนนักเรียนใน ต่างแดน เนื่องจากมีความตั้งใจมานานแล้ว แต่ไม่ได้จังหวะ จากคำ พูดที่ว่า “ลูกยังไม่โต” แต่ปีนี้คำพูดได้เปลี่ยนไปว่า “ไปเถอะลูกโต แล้ว” นั่นคือคำประกาศิตจากพ่อบ้าน ตื่นเต้น เพราะยังไม่เคยสอน นักเรียนในต่างแดน ซึ่งก็ไม่ทราบว่าเด็กๆ ที่จะสอนนั้น สามารถพูด ภาษาไทย หรือฟังภาษาไทยได้มากน้อยเพียงใด เพราะครูเองภาษา


ณ วัดพุทธปทีป กรุงลอนดอน 2012

37

อังกฤษก็ไม่ค่อยแข็งแรง เนื่องจากที่ประเทศไทยครูสอนภาษาไทย เป็นหลัก แม้ว่าคุณครูจะเคยไปอบรม และดูงานที่ประเทศญี่ปุ่น เป็น เวลา 1 ปี กับ 6 เดือน ก็ยังไม่ตื่นเต้นมากเท่ากับจะมาสอนนักเรียน ที่ประเทศอังกฤษ 1 เดือน ตกใจ เพราะวีซ่าที่ขอครั้งแรกไม่ผ่าน ยอมรับว่าทั้งตกใจ ทั้งเครียด ต้องดำเนินการขอใหม่เป็นครั้งที่สอง ตามแผนเดิมต้องเดินทางมาอังกฤษวันที่ 25 กรกฎาคม แต่ใกล้วันที่ 25 แล้ววีซ่าที่ขอใหม่ ก็ยังไม่ออกเลย เพื่อนฝูงทั้งโรงเรียนก็เฝ้าแต่ ถามทุกครั้งที่เจอหน้าว่า เมื่อไหร่จะเดินทาง จึงเพิ่มความเครียดมาก ขึ้น จะเตรียมตัวจัดเสื้อผ้า หรือซื้อสิ่งของเตรียมไว้ก็ไม่ทราบว่าวีซ่าจะ ผ่ านหรื อ เปล่ า แต่ก ารดำเนิน การต่ างๆ เช่ น การประชุ มจั ด เตรี ย ม ความพร้อมด้านหลักสูตรการสอน หรือกิจกรรมต่างๆ ก็ได้มีการพูด คุยกันมาตลอด รวมทั้งการซ้อมรำ ซึ่งก็ได้สวดมนต์ขอพรจากหลวง พ่อดำให้ท่านดลบันดาลให้วีซ่าผ่าน และในบ่ายวันที่ 25 กรกฎาคม ก็ได้รับข่าวดี วันที่ 26 จึงตระเวณซื้อวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ คืนวันที่ 26 กรกฎาคม จัดเตรียมสิ่งของถึงตีสี่แล้ววันที่ 27 กรกฎาคม ก็ออกเดิน ทางมาอังกฤษ วิตก เพราะได้รับข้อมูลจากอาจารย์รุ่นก่อนๆว่า “พี่ เอ๋ยสอนเด็กที่บ้านเรา 50 คน ยังไม่เหนื่อยเท่ากับสอนเด็ก 6-7 คน ที่นี่เลย” โอ้ย! เราจะทำอย่างไรดี เริ่มเครียดอีกแล้วสิ ยิ่งได้รับมอบ หมายให้สอนเด็กกลุ่มเด็กเล็กด้วยแล้ว ยิ่งกังวลใหญ่เลยว่าจะสอน อย่างไร สื่อสารอย่างไรให้เด็กเข้าใจ และได้ประโยชน์สูงสุดในเวลา 1 เดือน แต่เมื่อได้ตัดสินใจแล้ว ก็ต้องเดินหน้าลุยอย่างเดียว ช่วงแรกของการสอนกลุ่มเด็กเล็กและเด็กกลางจะสอนรวมใน


38 อนุสรณ์โครงการสอนภาษาและวัฒนธรรมไทย ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ห้องเดียวกัน เนื่องจากข้อจำกัดเรื่องที่มีสามเณรภาคฤดูร้อนมาพักอยู่ ที่โรงเรียนด้วย คุณครูนิดและคุณครูรุ้ง จึงได้ช่วยกัน และช่วงเวลานี้ ก็ ไ ด้ ป ระเมิ น ความสามารถของเด็ ก ไปด้ ว ย เพื่ อ ใช้ ใ นการแบ่ ง กลุ่ ม ต้องยอมรับว่า ความแตกต่างระหว่างเด็กที่นี่เยอะมาก รวมทั้งความ เป็นตัวของตัวเอง อีกทั้งยังมีเด็กที่มีอายุน้อย ตั้งแต่สี่ขวบขึ้นไป มา ร่วมเรียนด้วย มีทั้งพูดไทยได้ ฟังรู้เรื่อง และฟังได้เข้าใจ แต่ไม่ยอม พูด และทั้งที่ยังฟังไม่เข้าใจและพูดไม่ได้ ทำเอาคุณครูมึนเหมือนกัน นะคะ พอหลังจากจัดงานวันแม่เสร็จ และสามเณรลาสิกขาแล้ว ก็มี การจัดกลุ่มเด็กเล็ก เด็กกลาง และเด็กโต ครูนิดสอนเด็กเล็กซึ่งมี จำนวนนักเรียน11 คน ซึ่งนับว่าเยอะพอสมควร อายุก็มีตั้งแต่ 4 ขวบกว่าขึ้นไป เอาล่ะสิทีนี้จะทำอย่างไร ช่วงแรกๆ เด็กๆ ก็ยังค่อน ข้างเรียบร้อย เพราะยังไม่คุ้นกับคุณครูเท่าที่ควร แต่การสอนนั้นจะ สอนเป็นเรื่องเป็นราวหรือที่เรียกว่า ตั้งหน้าตั้งตาสอนเฉพาะภาษา ไทยนั้นไม่ได้เลย เนื่องจากว่าความสนใจของเด็กเล็กจะสั้นมาก ไม่ เกิน 10-15 นาที ในแต่ละกิจกรรมมีทั้งร้องรำ ทำเพลง วาดภาพ ระบายสี เขียนพยัญชนะบ้าง เล่นเกมบ้างเกมต่างๆ เล่นเกิน 2 ครั้ง เด็กๆ ก็เบื่อแล้วต้องคิดใหม่ สังเกตดูเด็กเล็กจะไม่ค่อยชอบวาดภาพ แต่ชอบระบายสีมากกว่า รวมทั้งชอบร้องเพลงที่มีท่าทางประกอบ และมีจังหวะที่น่าสนใจคุณครูต้องพาร้อง พาเต้น ทั้งๆ ที่ไม่เคยทำมา ก่อน ดีค่ะได้แสดงบทบาทสมมติไปเรื่อยๆ ในแต่ละวันอะไรที่ไม่เคย ทำก็มาทำที่นี่แหละ พอเด็กๆ กลับบ้านกันหมดแล้วถึงรู้ว่าหมดแรง(หรือว่าแก่ก็ไม่


ณ วัดพุทธปทีป กรุงลอนดอน 2012

39

ทราบ แต่สาวๆ เช่นคุณครูรุ้งก็หมดแรงเหมือนกันนะ) เอาตัวรอดไป ได้อีกหนึ่งวัน สิ่งที่ประทับใจทำให้คุณครูหายเหนื่อยก็คือสอนไปสอน มาเด็กๆ เช่นหนูบัว หนูมะลิ(2) หนูแจสมินมาขอแจมเป็นคุณครูด้วย บอกว่าห้องนี้มีคุณครูสี่คนรวมคุณครูนิดด้วยแล้วก็เลียนแบบท่าทาง ของคุณครู สิ่ ง ที่ ท ำให้ คุ ณ ครู ดี ใ จ ประทั บ ใจมากอี ก อย่ า งหนึ่ ง ก็ คื อ ช่ ว ง ท้ายๆ สัปดาห์ที่ 3 เวลาที่ให้เด็กๆทำงานเขาจะพากันทำงานไปด้วย และร้ อ งเพลงไปด้ ว ยโดยเฉพาะเพลง “ระบำชาวเกาะและเพลง ใครหนอ” ไม่ เ ว้ น แม้ ก ระทั่ ง เพลงที่ ใ ห้ ร้ อ งเกี่ ยวกั บ อวั ยวะต่ า งๆใน ร่างกาย เด็ก ๆ ชอบมาก และสามารถจดจำได้ดีกว่าที่ครูมานั่งสอน ว่านี่คือตา นี่คือผม ฯลฯ พอคุณครูสังเกตว่าเด็กๆ อารมณ์ดีก็จะสอน เพิ่มพยัญชนะไปวันละตัวสองตัวโดยการทบทวนพยัญชนะตัวเดิมไป ด้วย ก็รู้สึกว่าเด็กจำได้ค่อนข้างดี สิ่งที่ทำให้คุณครูเหนื่อยมากๆ ก็คือการจับปูใส่กระด้งนั่นเอง เพราะพอจับปูตัวที่ไต่ออกนอกกระด้งใส่ในกระด้งอีกตัวก็ไต่ออกไป แล้วต้องไล่จับกันตลอดเวลา โดยเฉพาะปูน้อยจิมมี่ อาร่อน ชานน่า มะลิ ( 1) ปู ทิ ม มี่ อ ยู่ ไ ปอยู่ ม ามี ปู เ พิ่ ม ขึ้ น มาอี ก 1 ตั ว คื อ ปู น้ อ ยบั ว นั่นเอง วิ่งไล่จับกัน บางวันแทบไม่เป็นอันสอน ปูบางตัวก็แผลงฤทธิ์ ใช้ก้ามหนีบเพื่อนบ้าง ครูบ้าง แล้วแต่สถานการณ์ สำนวนจับปูใส่ กระด้งนี้ครูนิดเพิ่งมาประจักษ์เข้าใจแจ่มแจ้งที่วัดพุทธปทีปนี่เอง ปูที่ นี่ วิ่ ง เร็ ว และแข็ ง แรงอี ก ต่ า งหาก แต่ ก็ เ ป็ น ปู ที่ มี ค วามน่ า รั ก สดใส จริงใจคิดอย่างไรก็แสดงออกอย่างนั้น จนคุณครูนิดปรับตัวแทบไม่ทัน


40 อนุสรณ์โครงการสอนภาษาและวัฒนธรรมไทย ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ กลับไปนี้คงมีเรื่องราวเล่าขานให้ลูกศิษย์ที่เมืองไทยฟังมากมายหลาย เรื่องเลยทีเดียว ท้ายที่สุดนี้ขอกราบนมัสการพระราชภาวนาวิมล หัวหน้าพระ ธรรมฑู ต และเจ้ า อาวาสวั ด พุ ท ธปที ป พระมหาประเสริ ฐ ฐิ ต คุ โ ณ พระอาจารย์ใหญ่ โรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ พระครูปลัดสุทัศน์ อมรสุทฺธิ หลวงตาล้อม พระอาจารย์สวัสดิ์ พระอาจารย์วัฒนาที่ท่าน ได้ให้ความเมตตาต่อคณะครูอาสาทั้งสามคนตลอดระยะเวลาที่พวก เรามาอาศั ย ใบบุ ญของท่ า นในการหาประสบการณ์ ที่ ดี ๆ และขอ ขอบพระคุณพี่กุ้ง พี่สุ คุณมอลคั่ม ป้ากอบ ป้าจิตร ป้าดอกไม้ คุณ ใหญ่ คุณแหม่ม คุณน้อง คุณแมว คุณดาว คุณวา คุณจุ๋ม คุณมล คุณ สายรุ้ง คุณหนุ่ม คุณไพศาลและคุณแม่ ๆ ของเด็ก ๆ ทุก ๆ คนทั้งที่ ไม่ได้เอ่ยนามมา ณ ที่นี้รวมทั้งคุณยายของหนูมะลิทั้งสองท่าน ใน ความอนุเคราะห์และมีไมตรีจิตที่ดีต่อคณะครูอาสาที่จากบ้านมาไกล ทำให้เราอบอุ่น มีความสุข เหมือนอยู่บ้านของเราเอง ถ้ามีโอกาสเรา ก็อยากจะต้อนรับท่านที่ขอนแก่นบ้างและหวังทุกท่านคงจะยังไม่ลืม พวกเรานะคะ ขอบพระคุณมากค่ะ


จากครูภาษาอังกฤษ

สู่ครูภาษาไทย

ครูรุ้ง (อาจารย์พัชรา พันธรักษ์พงษ์) ฟั ง ดู ค ล้ า ยกั บจะเป็ น ไปไม่ ไ ด้ แต่ ก็ ไ ด้ เ กิ ด ขึ้ น แล้ ว ในโครงการ สอนภาษาไทยและวัฒนธรรมไทย ภาคฤดูร้อน ปี 2555 วัดพุทธ ปทีป ณ กรุงลอนดอน ใครอาจสงสัยว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร ก็คงต้อง ย้ อ นกลั บ ไปเมื่ อ 1ปี ที่ แ ล้ ว จากคำบอกเล่ า ถึ ง ประสบการณ์ ที่ น่ า ประทับใจของพี่ๆที่เคยเข้าร่วมโครงการ ทำให้รู้สึกอยากจะได้ประสบ บ้าง จึงเริ่มที่จะศึกษาหาข้อมูลของโครงการ และสุดท้ายก็ได้เป็นหนึ่ง ในคณะครูอาสาปี 2555 แต่จากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย ขอนแก่ น ถึ ง วั ด พุ ท ธปที ป กรุ ง ลอนดอน มี เ หตุ ก ารณ์ ต่ า งๆเกิ ด ขึ้ น มากมาย สร้างประสบการณ์ให้กับครูภาษาอังกฤษคนนี้เป็นอย่างมาก หลังจากที่ทราบผลว่าได้เป็นหนึ่งในคณะครูอาสา ความวิตกกังวล ก็ได้พรั่งพรูเข้ามา โดยเฉพาะการสอนภาษาไทย เพราะเรียนสาขา ภาษาอังกฤษ เป็นครูภาษาอังกฤษ แต่ต้องไปสอนภาษาไทย ใครจะ เชื่อ กังวลมากว่าจะสอนไม่ได้ กลัวนักเรียนไม่เข้าใจ นอกจากนี้ยัง เป็นเรื่องการเตรียมงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการสอนที่คณะ การ


42 อนุสรณ์โครงการสอนภาษาและวัฒนธรรมไทย ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ วางแผนงานต่างๆที่จะเกิดขึ้นที่วัดพุทธปทีป การดำเนินการเรื่องวีซ่า ซึ่งได้รับการขนานนามว่า “มหาโหด” ทางคณะศึกษาศาสตร์และคณะ ครูพยายามดำเนินการตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อที่จะได้มีเวลาเตรียมความ พร้อมในเรื่องอื่นๆ แต่ผลที่ออกมาก็ทำให้ท้อไม่ใช่น้อย เนื่องจากผล วีซ่าออกมา “ไม่ผ่าน” แต่เราก็ไม่ถอย ทางพี่ๆก็บอกให้อธิษฐานถึง “หลวงพ่อดำ” ให้ท่านช่วย เราก็ทำตามคำแนะนำนั้นทันที เรากลับมา ตั้งหลักกันใหม่ ลองกันอีกสักตั้ง และสุดท้ายก็เป็นผล ผลวีซ่าออกมา ว่า “ผ่าน” คำคำเดียวที่ทำให้ชีวิตครูภาษาอังกฤษเปลี่ยนไปทันที หลัง จากรู้ผลวีซ่า การวางแผนงานก็ง่ายขึ้น เป็นรูปธรรมมากขึ้น ทุกอย่าง ผ่านไปด้วยความราบรื่นคงเป็นเพราะความศักดิ์สิทธิ์ขององค์หลวง พ่อดำที่พี่ๆได้กล่าวถึงอย่างแน่นอน ก้ า วแรกที่ เ หยี ย บลงบนพื้ น สนามบิ น ฮี ธ โทร์ เ หนื อ คำบรรยาย จริงๆ เหมือนฝันไป เรามาถึงแล้วจริงๆเหรอ พอออกมาข้างนอกก็ได้ รับการต้อนรับเป็นอย่างดีจากพระอาจารย์ประเสริฐ ป้าแมว ลุงมงคล เรานั่งรถไปถึงวัด ระหว่างทางรู้สึกตื่นตาตื่นใจกับบ้านเมืองที่อังกฤษ มาก บอกได้ ค ำเดี ย วว่ า สวยจริ ง ๆ เป็ น ความลงตั ว ของอดี ต และ ปัจจุบัน พอถึงวัดลงจากรถใครจะเชื่อว่ามันคือฤดูร้อน มันฤดูหนาว ชัดๆ เมืองไทยยังไม่หนาวเท่านี้เลย หลังจากเดินสำรวจบริเวณที่พัก ก็ถึงเวลาไปกราบนมัสการพระราชภาวนาวิมล เจ้าอาวาสวัดพุทธ ปทีป หลวงพ่อใจดีมาก ทำให้รู้สึกไม่เกร็ง ขอยอมรับว่าไม่ค่อยได้เข้า วัดเข้าวา เรื่องคุยกับพระสงฆ์ ไม่ต้องพูดถึง ศัพท์อะไรต่างๆใช่มั่วไป หมด หลังจากกราบหลวงพ่อเสร็จเราก็กลับมาพักผ่อน รุ่นนี่โชคดี


ณ วัดพุทธปทีป กรุงลอนดอน 2012

43

มากเพราะเราได้พี่กุ้งมาอยู่ช่วยเหลือ แนะนำ ให้ข้อมูลต่างๆตลอด มาถึงก็วันที่ 28 กรกฎาคมแล้ว อีกไม่กี่วันก็จะเป็นพิธีเปิด เราต้อง เตรียมงานกันอย่างหนัก เช้าวันเปิดงาน วันที่ 1 สิงหาคม ทั้งรู้สึกตื่นเต้นและกังวลอย่าง บอกไม่ถูก งานจะออกมาในรูปแบบไหน จะผ่านไปได้ด้วยดีหรือไม่ เด็กๆจะมาเยอะไหม ได้แต่ลุ้นอยู่ในใจ ซึ่งงานในวันนี้มี มรว.อดิศร เดช สุขสวัสดิ์ อุปทูต ให้เกียรติเป็นประธานเปิด รวมถึง พระราช ภาวนาวิมล เจ้าอาวาสวัดพุทธปทีป พระอาจารย์สุทัศน์ ผู้ดำรง ตำแหน่งที่ปรึกษา พระอาจารย์ประเสริฐ ผู้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ ใหญ่ พระอาจารย์ และสามเณร ภาคฤดูร้อน ได้ให้เกียรติเข้าร่วมใน พิ ธี เ ปิ ด โครงการด้ ว ย ช่ ว งที่ รู้ สึ กตื่ น เต้ น ที่ สุ ด ก็ ค งหนี ไ ม่ พ้ น ช่ ว งการ แสดงจากคณะครูอาสา อ.ทับทิมและตัวเองเป็นตัวแทนแสดงในชุด เซิ้ ง โปงลาง เราได้ รั บ เสี ย งตอบรั บ ที่ ดี ม าก ทั้ ง ผู้ ป กครอง เด็ ก ๆ นักเรียนต่างพากันชื่นชม รู้สึกเป็นปลื้มอย่างบอกไม่ถูก ความดีความ ชอบนี้ต้องยกผลประโยชน์ให้กับครูนิ่ม รุ่นพี่ที่เคยเป็นคณะครูอาสา เมื่อปี2552 งานในวันพิธีเปิดก็ผ่านไปได้ด้วยดี ยกภูเขาออกจากอก ไปหนึ่งลูกแต่ยังเหลืออีกเป็นสิบ ลูกที่สองกำลังจะมาคือวันแรกของ การเรียนในโครงการสอนภาษาไทยและวัฒนธรรมไทย ภาคฤดูร้อน วันแรกของการสอน ตื่นเต้นมาก ตื่นตั้งแต่เช้ามาเตรียมความ พร้อม เนื่องจากเป็นช่วงฤดูร้อนจึงมีนักเรียนมากันไม่มากนัก ทาง คณะครูอาสาจึงได้แบ่งนักเรียนออกเป็น2กลุ่มคือกลุ่มเด็กเล็กและ


44 อนุสรณ์โครงการสอนภาษาและวัฒนธรรมไทย ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ เด็กโต โดยเด็กเล็กจะมีครูนิดและครูรุ้งช่วยกันสอน และเด็กโตครู เกลียวเป็น ผู้รับผิดชอบ ช่วงสัปดาห์แรกนักเรียนดูเงียบๆ อาจเป็น เพราะยังไม่สนิทกันสักเท่าไหร่ คณะครูอาสาพยายามหากิจกรรมให้ นักเรียนได้รู้จักกันมากขึ้น โดยเฉพาะช่วงบ่าย ส่วนใหญ่จะเป็นการ รวมนักเรียนทุกห้องมากิจกรรมร่วมกัน เพื่อให้นักเรียนทุกคนได้รู้จัก กันพร้อมกับเรียนรู้เรื่องวัฒนธรรมไทยไปพร้อมๆกัน ไม่ว่าจะเป็นการ ละเล่นไทย กีฬาไทย ซึ่งก็ได้ผลเป็นอย่างดี ครูเห็นนักเรียนสนุกสนาน กับกิจกรรมต่างๆก็รู้สึกโล่งใจไปเปราะหนึ่ง สัปดาห์ที่สองเป็นช่วงเตรียมงานวันแม่ ซึ่งจะเกิดขึ้นในวันศุกร์ที่ 10 สิงหาคม ดังนั้นกิจกรรมส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับแม่ ไม่ว่าจะเป็น ความสำคัญของวันแม่ การทำบัตรอวยพรวันแม่ นอกจากนี้ในวันงาน จะมีการแสดงของนักเรียน 2 ชุดการแสดง คือ จินตลีลาประกอบ เพลงอิ่มอุ่น และเพลงใครหนอ ซึ่งเป็นงานใหญ่ของคณะครูอาสาเลย ทีเดียว เพราะต้องสอนนักเรียนร้องเพลงและแสดงท่าทางประกอบ เพลง โดยทางคณะครูได้แปลงเนื้อร้องให้เป็นภาษาคาราโอเกะเพื่อ ง่ายต่อการออกเสียงของนักเรียนโดยที่ไม่ลืมแปลความหมายของเนื้อ เพลงให้ นั ก เรี ย นได้ เ ข้ า ใจด้ ว ย นั ก เรี ย นทุ ก คนให้ ค วามร่ ว มมื อ เป็ น อย่างดี ขยันซักซ้อมทุกบ่ายผลัดเปลี่ยนกับการทำกิจกรรมวัฒนธรรม ไทย จนถึงวันงานคณะครูอาสา นักเรียน และผู้ปกครองร่วมกันถวาย ภั ต ตาหารเพลแด่ พ ระสงฆ์ ในช่ ว งบ่ า ยเป็ น ช่ ว งกิ จ กรรมวั น แม่ นักเรียนแต่งตัวสวยงามพร้อมที่จะทำการแสดงทีได้ตระเตรียมมา เรา ได้รับเกียรติจาก คุณนุชนารถ วะสีนนท์ ภริยาเอกอัครราชทูต กรุง


ณ วัดพุทธปทีป กรุงลอนดอน 2012

45

ลอนดอนเป็นประธานในพิธี กิจกรรมดำเนินไปอย่างเรียบร้อย อาจ จะมีติดขัดบ้างแต่ก็ผ่านไปได้ด้วยดี เห็นบรรยากาศแล้วก็อดคิดถึงคุณ แม่ที่เมืองไทยไม่ได้ สัปดาห์ที่สามมาเยือน นักเรียนมาเรียนเพิ่มมากขึ้น ถึงเวลาที่ จะต้องแบ่งกลุ่มนักเรียนใหม่ โดยมีครูนิดดูแลเด็กเล็ก ครูรุ้งเด็กกลาง และครู เ กลี ย วเด็ ก โต ทุ ก คนต่ า งเริ่ ม ปรั บ ตั ว ได้ ม ากขึ้ น โดยเฉพาะ นักเรียนเริ่มสนิทกันมากขึ้น หรืออาจจะเรียกได้ว่า “เริ่มออกลาย” สนิทกันมากขึ้นก็คุยกันมากขึ้น ซนขึ้น บางทีก็คุมชั้นเรียนแทบไม่ไหว เหมือนกัน แต่พอจับทางนักเรียนแต่ละคนได้การจัดกิจกรรมก็เริ่มง่าย ขึ้น สัปดาห์ที่สี่มาเร็วเกินคาด ในขณะที่พัฒนาการของนักเรียนก็ดี ขึ้นตามลำดับเช่นกัน พอมองย้อนกลับไปถึงวันก่อนเดินทาง วันที่มา ถึงประเทศอังกฤษ วันแรกที่สอน เราเองก็มีพัฒนาการด้านการสอน ภาษาไทยเหมือนกัน บางทีก็ไม่เชื่อตัวเองเหมือนกันว่าจะมาถึงจุดจุด นี้ได้ นึกว่าจะต้องร้องไห้กลับบ้านแล้วเสียอีก ในสัปดาห์นี้นักเรียน เรียนเรื่องรำไทย นักเรียนชอบรำไทยกันมากไม่ว่าจะเป็นเด็กผู้หญิง หรือชาย ครูสอนให้นักเรียนร้องเพลง “งามแสงเดือน” โดยใช้ภาษา คาราโอเกะเช่นเดิมประกอบกับการเปิดเพลงคลอไปด้วย ก็ร้องตาม กันได้จนคล่อง ช่วงที่ให้ทำแบบฝึกทางภาษาก็ร้องไปด้วยทำไปด้วย รู้สึกปลื้มใจอย่างบอกไม่ถูก นอกจากนี้ยังเรียนเรื่องขนมไทยและได้ ลงมือทำลูกชุบด้วยตัวเองโดยมีคณะครูอาสาและผู้ปกครองคอยช่วย


46 อนุสรณ์โครงการสอนภาษาและวัฒนธรรมไทย ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ เหลืออยู่ห่างๆอย่างห่วงๆ นักเรียนมีความกระตือรือร้นและสนุกกับ การทำขนมลูกชุบเป็นอย่างมาก ปั้นแล้วก็กิน กินแล้วก็ปั้น อิ่มกัน ถ้วนหน้า สัปดาห์สุดท้ายของการสอนไวเหมือนโกหก เหมือนงานพิธีเปิด โครงการเพิ่งผ่านไป งานพิธีปิดก็มาแล้วซึ่งจะจัดขึ้นในวันศุกร์ที่ 31 สิ ง หาคม สั ป ดาห์ นี้ เ พื่ อ ให้ ก ารเรี ย นการสอนของเราปิ ด ฉากอย่ า ง สวยงาม คณะครูอาสาต้องขยันมากขึ้นเท่าตัวเพราะต้องเตรียมสอน และเตรียมงานวันปิดโครงการไปพร้อมๆกัน ที่ยากที่สุดก็คงหนีไม่พ้น การแสดงของนักเรียนในพิธีปิดคิดแล้วก็ใจหาย คงคิดถึงนักเรียนแสน ซนของครูมากแน่ๆเลย ผ่านไปแค่เพียงเดือนเดียว ความผูกพันมันก็ เริ่มก่อตัวขึ้นอย่างช้าๆและมากขึ้นโดยไม่รู้ตัว ต้องได้ประสบเองจึงจะ รู้และเข้าใจ หลังจากพิธีปิดผ่านไป คณะครูอาสาคงต้องขะมักเขม้นทำงาน ในการเขี ย นสรุ ป พฤติ ก รรมผู้ เ รี ย น การเขี ย นบทความเกี่ ย วกั บ โครงการ การสรุปรูปเล่มรายงานและอนุสรณ์โครงการ เหล่านี้ล้วน ต้องแข่งขันกับเวลาที่มีอยู่อย่างจำกัดก่อนการเดินทางกลับ แต่ก็ได้รับ ความเมตตาจากพระอาจารย์ที่คอยช่วยเหลือและให้คำแนะนำตลอด การทำงาน โครงการสอนภาษาไทยและวัฒนธรรมไทย ภาคฤดูร้อนประจำ ปี 2555จะสำเร็จลงไม่ได้เลย หากขาดความเมตตาจากหลวงพ่อ หลวงตา พระอาจารย์สุทัศน์ พระอาจารย์ประเสริฐ พระอาจารย์


ณ วัดพุทธปทีป กรุงลอนดอน 2012

47

ทุกรูป ขอขอบพระคุณท่านเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงลอนดอน และภริยา ท่านอุปทูต พี่กุ้ง พี่สุ มอลคั่ม ลุงบุญส่ง พี่หนุ่ม พี่ไพศาล ป้าจิต ป้าดอกไม้ ป้ากอบ แห่งวัดพุทธปทีป ป้าแมวและลุงมงคลจาก ร้านอิสานเขียว และญาติธรรมทุกท่าน ขอบคุณสำหรับมิตรไมตรีจาก ผู้ปกครองทุกท่าน และ ขอชูสองนิ้วพร้อมกับยิ้มกว้างๆให้นักเรียนของครูทุกคนที่เป็น เด็ ก ดี แ ละตั้ ง ใจเรี ย นตลอด 1 เดื อ น และยั ง มอบบทเรี ย นล้ ำ ค่ า ที่ สำคัญอีกบทหนึ่งให้ชีวิตของครูภาษาอังกฤษคนนี้ รักนักเรียนทุกคน


48 อนุสรณ์โครงการสอนภาษาและวัฒนธรรมไทย ปี พ.ศ. ๒๕๕๕

ประเมินผลนักเรียน แต่ละกลุ่ม พฤติกรรมกลุ่มเด็กเล็ก


ณ วัดพุทธปทีป กรุงลอนดอน 2012

49

เด็กหญิงแจสมิน มายเยอส์ (น้องแจสมิน) สาวน้ อ ยหน้ า หวาน ร่ า เริ ง แจ่ ม ใสตลอดเวลา มี มนุษยสัมพันธ์เป็นเลิศ แถมใจเต็มร้อยไม่ว่าจะให้ ทำกิจกรรมใดๆ ก็ไม่หวั่นทั้งเขียน ระบายสี ร้อง เพลง ฟ้อนรำ กิจกรรมออกกำลังกาย แม้เวลาออก เล่นภาคสนาม สาวน้อยคนนี้สามารถทำได้ทั้งนั้น ไม่ทราบว่าเอาเรี่ยวแรงมาจากไหนทั้งๆ ที่เป็นเด็ก อายุแค่ 4 ขวบ 3 เดือน เท่านั้น วันแรกที่เจอกันครู นิดค่อนข้างหนักใจเพราะน้องเล่นนั่งกอดคอคุณแม่แถมร้องไห้อีกต่างห่าง แต่ มหัศจรรย์มากเพียงครึ่งวันสาวน้อยคนนี้ก็ไม่ถามหาคุณแม่อีกเลย ช่วงแรกน้อง แจสมินยังฟังภาษาไทยไม่ค่อยเข้าใจ และพูดไม่ได้ ยังไม่รู้จักตัวพยัญชนะ กล้ามเนื้อมือยังไม่แข็งแรง เขียนตามก็ไม่ค่อยได้ แต่เนื่องจากทางบ้านช่วยฝึก และน้องก็ใจสู้ด้วยทำให้การฟัง การเขียน การระบายสี การร้องเพลงไทยมี พัฒนาการดีขึ้นเรื่อยๆ และถ้าไม่จำเป็นจริงๆ น้องไม่เคยขาดเรียนเลย แม้จะ ไปพบแพทย์พอเสร็จธุระแล้วก็รีบมาโรงเรียนเลยเจ๋งจริงๆ คุณครูขอยกนิ้วให้ ค่ะ

เด็กหญิงชนชนก เจสซี่ จีรากาญจนกุล (น้องเจสซี่) เจสซี่เป็นเด็กน่ารักเหมือนตุ๊กตาญี่ปุ่น (หรือเกาหลีก็ ไม่ทราบ) เพราะมีแขกที่มาทำบุญที่วัดถามคุณครูไม่ ต่ำกว่า 2 คนว่าเด็กคนนี้เป็นลูกคนเกาหลีหรือญี่ปุ่น เหรอ แถมพูดจาได้ไพเราะเพราะพริ้งมีคำลงท้ายทุก คำพูด ปกติเป็นเด็กอารมณ์ดี ยิ้มง่าย ขี้อ้อนมาก ชอบกระเซ้าเย้าแหย่คุณครูด้วยการจั๊กจี้ให้หัวเราะ


50 อนุสรณ์โครงการสอนภาษาและวัฒนธรรมไทย ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ทานข้าวเองไม่ต้องป้อน แรกๆเวลาพักจะไม่ชอบเล่นกับเพื่อนจะอยู่กับคุณครู และช่วงหลังจะวิ่งเล่นกับเพื่อนๆ เจสซี่สามารถฟังและพูดภาษาไทยได้ดีมาก สื่อสารได้ดี เขียนชื่อได้เอง กล้ามเนื้อมือดี ทำงานมีระเบียบ ชอบร้องเพลงและ ฟ้อนรำ ทำท่าทางประกอบเพลงได้น่ารักมาก แต่เวลางอแงคิดถึงคุณแม่ก็เอา เรื่องเหมือนกันนะคะ

เด็กหญิงชานา ธมลวรรณ แนน (น้องชานน่า) เด็ ก หญิ ง ตั ว เล็ ก แต่ เ สี ย งดั ง ถึ ง ดั ง มาก เป็ น เด็ ก ฉลาดเรียนรู้ได้เร็ว แต่สมาธิในการเรียนยังน้อย กล้าแสดงออกช่วงแรกยังควบคุมอารมณ์ของตัว เองไม่ค่อยได้ แต่พออยู่ไปนานๆ เริ่มเรียนรู้กติกา การอยู่ร่วมกันในสังคมก็เริ่มปรับตัวเข้ากับเพื่อน ฝูงได้ ชอบเล่นแบบเด็กผู้ชาย ฟังภาษาไทยได้ บ้างแต่ยังไม่ยอมพูด เขียนชื่อตัวเอง และเขียน ตามแบบได้ ทำงานเร็ว ถ้าได้รับการส่งเสริมด้าน ภาษาไทยและวัฒนธรรมไทยอย่างต่อเนื่องจะสามารถพัฒนาด้านอารมณ์และ สังคมได้มากยิ่งขึ้นค่ะ

เด็กหญิงจารุณี กรินแฮม(น้องบัว) น้องบัวเป็นเด็กอารมณ์ดี คุยเก่ง มีน้ำใจชอบช่วย เหลือผู้อื่นเช่นเวลาเห็นเพื่อนไม่สบายใจ หรือทำงาน ไม่ได้ก็จะเข้าไปช่วยเหลือหรือเป็นกำลังใจให้ ชอบ ร้องเพลง ฟ้อนรำ และก็รำได้สวยด้วยสิคะ ด้าน ภาษาไทยน้องบัวยังพูดไทยไม่ได้ ฟังไม่ค่อยเข้าใจ แต่ ปั จ จุ บั น มี พั ฒ นาการดี ขึ้ น คื อ พอฟั ง ภาษาไทย


ณ วัดพุทธปทีป กรุงลอนดอน 2012

51

เข้าใจ แต่ไม่ยอมพูดแต่ถ้าให้พูดตามก็ทำได้ กล้ามเนื้อมือค่อนข้างดีระบายสีได้ สวยงาม เขียนหนังสือตามได้ดีมากและเป็นเด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์ดีมาก ชอบทำงานด้วยตนเอง ตั้งใจทำงานดีทุกชิ้นงานค่ะ

เด็กหญิงศิริยา กรินแฮม-น้องมะลิ (2) น้องมะลิพี่สาวน้องบัว เป็นเด็กที่น่ารักมากอีกคน หนึ่งที่ทำให้คุณครูยิ้มได้ ด้วยบุคลิกที่เยือกเย็น ยิ้ม น้อยๆพลอยทำให้สง่างาม ตามด้วยผลงานที่ตั้งใจ ทำอย่ า งดี เ ยี่ ย มทุ ก ชิ้ น ชอบร้ อ งเพลง ฟ้ อ นรำ สามารถเรียนรู้ได้เร็วเพราะมีสมาธิในการเรียนที่ดี เริ่มเรียนก็มีลักษณะคล้ายน้องบัว คือ ฟังและพูด ภาษาไทยไม่ค่อยได้ แต่ปัจจุบันสามารถฟังภาษา ไทยได้มาก เข้าใจในสิ่งที่คุณครูพูดเรียกว่ามีพัฒนาการดีขึ้นมาก ตั้งใจทำงาน ทุกชิ้นไม่ว่าระบายสี เขียนอักษร การทำงานมีระเบียบเรียบร้อย แต่พอเรียนไป เรียนมาอยากจะทำหน้าที่เป็นคุณครูซะเอง ชอบออกไปพูดเลียนแบบคุณครู หน้าชั้นเรียน แล้วให้เพื่อนๆ เป็นนักเรียน น่ารักซะไม่มี

เด็กหญิงโลวันนา ออสบอร์น -น้องมะลิ (1) น้ อ งมะลิ ที่ พ วกเราเรี ย กเธอว่ า มะลิ ห มายเลข 1 เพราะพี่สาวน้องบัวเป็นมะลิหมายเลข 2 ซึ่งเธอเอง ก็ชื่นชอบ เมื่อไหร่ที่คุณครูสับสนเรียกเธอว่ามะลิ หมายเลข 2 เธอจะต้องร้องคัดค้านด้วยเสียงอันดัง ทั น ที เธอเป็ น เด็ ก ผู้ ห ญิ ง ที่ น่ า สนใจ น่ า ทึ่ ง มาก เพราะเธอเป็นเด็กฉลาดเรียนรู้ได้เร็ว แม้ว่ากิจกรรม ต่ า งๆ เธอจะไม่ ค่ อ ยเข้ า ร่ ว มแต่ ก็ จ ะแอบมองอยู่


52 อนุสรณ์โครงการสอนภาษาและวัฒนธรรมไทย ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ห่างๆ แล้วก็จะสามารถทำตามได้อย่างดีเยี่ยม ไม่ว่าจะเป็นการเขียน การจำ พยัญชนะไทย การร้องเพลง ฟ้อนรำ แล้วยังมีทักษะทางด้านกีฬาที่ดี รวมทั้ง ท่าบัลเล่ที่เธอแสดงให้เพื่อนๆ ชมอีกต่างหาก ต้องขอชื่นชมคุณยายที่พยายาม ส่งเสริมน้องมะลิในด้านต่างๆได้อย่างดีเยี่ยม คุณครูนิดขอเป็นกำลังใจให้คุณ ยายและน้องมะลิหมายเลขหนึ่งนะคะ สู้ สู้ ค่ะ

เด็กหญิงมอลลี่ สวานน์(น้องมอลลี่) น้องมอลลี่เป็นเด็กผู้หญิงที่สงบเสงี่ยม เรียบร้อย มากเวลาอยู่ในชั้นเรียน บางครั้งจะง่วงนอนเพราะ นอนดึก น้องมอลลี่ ยังฟังพูดภาษาไทยไม่ค่อยเข้า ใจ ส่วนการพูดน้องจะไม่พูดภาษาไทยเลย เขียนชื่อ ตัวเองได้แต่ไม่ทราบว่าลืมหรือยังนะคะ เพราะน้อง มอลลี่ไปholidayหลายวันเหมือนกัน กล้ามเนื้อมือ ยั ง ต้ อ งพั ฒ นาสั ง เกตจากเวลาที่ น้ อ งเขี ย นตั ว พยั​ัญชนะที่ซับซ้อน (มีหลายโค้ง หลายหยัก) จะนั่งนิ่ง ไม่ทำ คุณครูต้องเข้าไป ดูแลและให้กำลังใจจึงจะดำเนินการเขียนต่อได้ แต่น้องก็เป็นเด็กที่เรียนรู้ได้เร็ว เวลาอยู่กับเพื่อน ๆ จะร่าเริงมากค่ะ

เด็กหญิงอริชา ฮ๊อกวูด(น้องเจลลี่) น้องเจลลี่เป็นเด็กน่ารัก เรียบร้อย ไม่ค่อยพูด แต่พูด เพราะ ค่อนข้างจะติดคุณแม่ ถ้าไม่สนิทจะไม่ค่อย คุยด้วย ชอบรำ สามารถฟังและพูดภาษาไทยได้ ค่อนข้างดี เรียนรู้ได้เร็ว เขียนชื่อได้เอง ตั้งใจเรียน ทำงานทุกชิ้นงานอย่างตั้งใจดีมาก ไม่งอแง มีความ พร้อมที่จะรับรู้สิ่งต่างๆ อยู่เสมอ เสียดายที่น้องไป


ณ วัดพุทธปทีป กรุงลอนดอน 2012

53

holidayหลายวันเหมือนกัน หวังว่าน้องเจลลี่จะไม่ลืมภาษาไทยนะคะ

เด็กชายศรัณภัทรย์ โจนส์(น้องจิมมี่) น้องจิมมี่เป็นเด็กผู้ชายตัวเล็กๆ แต่เล็กพริกขี้หนู ไม่ทราบว่าไปได้พลังงานมาจากที่ไหนบ้าง เพราะ วันๆ เธอไม่เคยอยู่นิ่งเลย ในชั้นเรียนก็ต้องวิ่งและ เล่นตลอด ยิ่งได้คู่หูอย่างน้องอาร่อนด้วยแล้วหาย ห่วง หาเวลานั่งลงบนพื้นยากมาก น้องจิมมี่พอฟัง ภาษาไทยเข้าใจ แต่ไม่ยอมพูดภาษาไทย ส่วนคำพื้น ฐานเช่น สวัสดีครับ ขอโทษครับพูดได้ ถ้าทางบ้าน พยายามพูดภาษาไทยกับน้องบ่อยๆ เชื่อว่าภาษาไทยของน้องจิมมี่ต้องพัฒนา ไปได้ดีแน่ๆ การเขียนช่วงแรกจะยังเขียนชื่อตัวเองไม่ได้ต้องดูตาม แต่พอ สัปดาห์ที่สามสามารถเขียนได้เองโดยไม่ต้องดูแล้วเก่งมากค่ะ สิ่งหนึ่งน้องจิมมี่ ไม่ยอมทำคือการเขียนต้องหลอกล่อต่างๆนานา หรือมีข้อแม้ว่าขอเขียน 2-3 แถว พอคุณครูตกลงก็ยอมเขียน ส่วนการระบายสีช่วงแรกชอบสีดำเท่านั้น ต่อมาก็มีพัฒนาการดีขึ้นเรื่อยๆ ค่ะ

เด็กชายรณฤธิ์ เรืองสว่าง(น้องอาร่อน) น้ อ งอาร่ อ นก็ เ ป็ น เด็ ก ชายตั ว เล็ ก อี ก เช่ น กั น ที่ มี พลังงานเหลือเฟือ เข้ากันได้เป็นปี่เป็นขลุ่ยกับเด็ก ชายจิ ม มี่ แ ต่ ส มาธิ ใ นการทำงานจะมากกว่ า จิ ม มี่ น้องอาร่อนเป็นเด็กอารมณ์ดี รู้กติกาของสังคมเมื่อ นำสิ่งของมาเล่นในชั้นเรียนพอคุณครูบอกให้ฝาก คุณครูไว้ก่อนเรียนเสร็จค่อยมาเอาก็ตกลงตามนั้น ไม่มีปัญหา กล้ามเนื้อมือดีสามารถเขียนตามได้ดี


54 อนุสรณ์โครงการสอนภาษาและวัฒนธรรมไทย ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ตั้งใจทำงานแต่เมื่อเพื่อน(จิมมี่)ชวนเล่นก็จะเขวไปบ้าง คุณครูต้องคอยกำชับให้ งานเสร็จแล้วค่อยเล่น เขียนชื่อเองยังไม่ได้ ยังต้องเขียนตามคุณครู อาร่อนชอบ งานพับกระดาษมากแถมอยากจะได้ไปฝากน้องอีก (แหม...ใจคอโอบอ้อมอารี ซะด้วย น่ารักมาก) เสียดายที่อาร่อนมาเริ่มเรียนหลังจากที่เพื่อนๆเรียนไปแล้ว 2 สัปดาห์ แต่อย่างไรก็ตาม สู้ สู้ นะครับอาร่อน

เด็กชายชนกันต์ ทิมโมที่ แบล๊ช(น้องทิมมี่) ทิ ม มี่ เ ป็ น เด็ ก ผู้ ช ายน่ า รั ก ยิ้ ม แย้ ม แจ่ ม ใส ชอบ ทั ก ทายผู้ ค นทั่ ว ไปด้ ว ยการพุ่ ง เข้ า หาแบบรั ก มาก ทำให้ผู้ที่ถูกทักทาย หงายเก๋งไปตามๆกัน ไม่เว้น แม้แต่ครูนิด พลังเยอะจริงๆ ความน่ารักของน้อง ทิมมี่ก็คือเมื่อเธอทำผิดก็จะยกมือไหว้ และกล่าว คำขอโทษทุกครั้ง แม้ว่าน้องจิมมี่จะกล่าวคำขอโทษ บ่อย แต่ครูนิดกลับมองมุมกลับว่าดีแล้วที่เขารู้จัก มารยาท ทำผิดแล้วยังรู้จักขอโทษตามมารยาทไทย เพราะผู้ใหญ่บางคนทำผิด แล้วยังไม่ขอโทษเลย น้องทิมมี่จะฟังภาษาไทยเข้าใจดีเพราะคุณแม่พูดไทยด้วย ตลอด แต่พูดได้บ้างเป็นบางคำต้องให้น้องพูดตามทีละคำ จะออกเสียงได้ชัด ทำงานเร็วช่วงหลังสมาธิในการทำงานนานขึ้นกว่าช่วงแรก การระบายสีภาพมี พัฒนาการดีขึ้นค่ะ


ณ วัดพุทธปทีป กรุงลอนดอน 2012

55

พฤติกรรมกลุ่มเด็กกลาง

เด็กชายพีท นนที แม็ค สีหราช (น้องแม็ค)

น้องแม็คเป็นเด็กที่สุภาพและเรียบร้อยมาก พูดน้อย แต่ถ้าได้เข้ากลุ่มกับเพื่อนๆรุ่นเดียวกัน ก็จะวิ่งสนุก ไปกับเพื่อนๆ น้องแม็คพูด ฟังและอ่านภาษาไทยได้ ดี สามารถจำคำศัพท์หรือประโยคได้อย่างรวดเร็ว มี พัฒนาการในการเขียนที่ดีขึ้น สามารถสื่อสารกับครู ได้ดี

เด็กชายพีระพงษ์ ภูแก้วนอก (น้องแม็ค) น้องแม็คเป็นเด็กที่ร่าเริง อารมณ์ดี ช่างเล่นจนถึง ขั้นซน สมาธิน้องแม็คค่อนข้างสั้น ห่วงเล่น บางครั้ง ก็ต้องมีเรียกชื่อจริงกันบ้าง โดยที่น้องแม็คจะรู้ทันที ว่าคุณครูดุแล้ว แต่บางครั้งดูเขินอายและช่างใจน้อย สามารถใช้ภาษาไทยในการสื่อสารได้ดีแต่ชอบที่จะ ใช้ภาษาอังกฤษกับเพื่อนๆมากกว่า

เด็กหญิงถลัชนันท์ สเตฟานี่ ร๊อคโคล (น้องมีมี่) น้องมีมี่ร่าเริง แจ่มใส มีความกระตือรือร้นในการเรียนมาก ก่อนเลิกเรียนมักจะ ได้ยินคำถามจากน้องมีมี่เสมอว่า “พรุ่งนี้เราจะเรียนอะไรคะ” โดยเฉพาะถ้าวัน


56 อนุสรณ์โครงการสอนภาษาและวัฒนธรรมไทย ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ไหนมีกิจกรรมเกี่ยวกับงานฝีมือ น้องมีมี่จะรู้สึกตื่น เต้นเสมอ น้องมีมี่สามารถใช้ภาษาไทยได้ดีมากทั้ง การพูด ฟัง อ่าน เขียน รวมถึงเข้าใจวัฒนธรรมไทย เป็นอย่างดี

เด็กหญิงอลิเซีย ณฟ้ารุ่ง วอร์ด (น้องอลิเซีย) น้องอลิเซียนิสัยร่าเริงแจ่มใส สามารถสื่อสารภาษา ไทยได้ ดี ทั้ ง การพู ด ฟั ง อ่ า นและเขี ย น เข้ า ใจ ขนบธรรมเนียมประเพณีไทยพื้นฐานได้ดี น้องอลิ เซียมีความสามารถทางด้านศิลปะ ชอบวาดภาพ ทำงานฝีมือ มีความเรียบร้อย สุภาพ

เด็กหญิงโจเซฟีนส์ เลอ กีแนร์ (น้องโจ) น้องโจร่าเริง แจ่มใส มีน้ำใจ มีทักษะทางภาษาไทยค่อนข้างน้อย แต่มีความ พยายามและกระตื อ รื อ ร้ น ที่ จ ะทำความเข้ า ใจใน ภาษาที่ครูสื่อสาร น้องโจสามารถเรียนรู้ได้เร็วและมี ความตั้งใจในการเรียนมาก หากได้ฝึกฝนทักษะทาง ด้านภาษาไทยมากกว่านี้จะดีมาก ก่อนกลับบ้าน น้องโจมักตามหาคุณครูทุกคนเพื่อลากลับบ้าน มี ความเข้าใจวัฒนธรรมไทยเป็นอย่างดี


ณ วัดพุทธปทีป กรุงลอนดอน 2012

57

เด็กหญิงปิยะธิดา จัสมิน มอร์ (น้องจัสมิน) น้องจัสมินเป็นเด็กที่มีทัศนคติที่ดี มีความตั้งใจใน การเรียนมาก ในการทำกิจกรรมต่างๆ น้องจัสมิน จะตั้งใจทำเกินร้อยโดยเฉพาะเรื่องศิลปวัฒนธรรม ไทย มักจะถามคุณครูเสมอว่า “น้องทำแบบนี้ถูก ไหมคะ” หรือ “คุณครูช่วยเปิดห้องเรียนให้น้องได้ ไหมคะ น้ อ งอยากซ้ อ มรำ” น้ อ งจั ส มิ น สามารถ สื่อสารภาษาไทยได้ดีมาก

เด็กหญิงฮอลลี่แอน วูด (น้องไม้) น้องไม้มีนิสัยร่าเริงแจ่มใส หัวเราะได้ตลอดเวลาที่ อยู่ในห้องเรียน สามารถสื่อสารภาษาไทยได้ดีทั้ง การพูด ฟัง อ่านและเขียน จะห่วงเล่น โดยจะรีบ ทำงานให้เสร็จเพื่อจะได้เล่น เป็นเด็กฉลาดแต่บาง ครั้งงอแงและดื้อ โดยเฉพาะในวันที่กลุ่มเพื่อนยังไม่ มา น้ อ งไม้ จ ะให้ ค วามร่ ว มมื อ ในการทำกิ จ กรรม ค่อนข้างน้อย

เด็กหญิงเอมี่ ศิริทอง (น้องเอมี่) น้องเอมี่เป็นคนช่างเล่นช่างพูด สมาธิในการทำงาน ดี ทำงานสำเร็ จ ทุ ก ครั้ ง และผลงานจะมี ค วาม ประณีต สะอาด เรียบร้อย น้องเอมี่มีความสามารถ ด้านการรำไทยได้ดีมาก สามารถรำไทยได้สวยงาม อ่อนช้อย เรียนรู้ได้เร็ว สามารถสื่อสารภาษาไทยได้ ดี


58 อนุสรณ์โครงการสอนภาษาและวัฒนธรรมไทย ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ เด็กหญิงเคียร่า สมิธ (น้องเคียร่า) น้องเคียร่า น้องเล็กสุดของกลุ่มเด็กกลางแต่มีความ เป็นตัวของตัวเองสูงที่สุดในกลุ่ม ร่าเริง แจ่มใส ยิ้ม ง่ายแต่บางครั้งก็มีแอบน้อยใจบ่อยๆในช่วงทำแบบ ฝึ ก ทางภาษาเพราะจะตามพี่ ๆ ไม่ ค่ อ ยทั น น้ อ ง เคียร่ามีทักษะการฟังภาษาไทยดีกว่าทักษะการพูด อ่านและเขียน ชอบวาดภาพระบายสี ทำงานศิลปะ สมาธิในการทำงานค่อนข้างน้อย

พฤติกรรมกลุ่มเด็กโต

เด็กชายเพไนย ปันดิสอน (อาร์ม)

เป็นเด็กที่มีความรับผิดชอบสูง เป็นตัวอย่างแก่ เพื่อนๆได้ ถึงแม้ว่า จะมาเรี ย นที ห ลั ง เพื่ อ นๆ 1 สัปดาห์เพราะบวชเณร ภาคฤดูร้อนก่อน และช่วง ที่มาเรียนได้มาพักกับครูเกลียวที่วัดด้วยเนื่องจาก บ้านไกล จึงต้องช่วยงานวัดเยอะมากๆ การเรียน ภาษาไทย ฟัง พูด อ่าน เขียนได้ดีมากและเป็น ตัวแทนนักเรียนอ่านกลอนสดุดีพระคุณแม่ในวัน แม่ด้วยและก็ทำได้ดี แม่ๆทุกคนให้ความชื่นชม


ณ วัดพุทธปทีป กรุงลอนดอน 2012

59

เด็กชายธนพล คำแสนพัน (โอม) ฟัง พูด อ่าน ภาษาไทยได้ดี ส่วนการเขียนบางครั้ง ยังเขียนผิดอยู่บ้างเป็นบางโอกาสและมาเรียนที หลังเพื่อนๆ 1 สัปดาห์เพราะบวชเณร ภาคฤดูร้อน ก่อนเหมือนพี่อาร์มและช่วงที่มาเรียนได้มาพักกับ ครูเกลียวที่วัดด้วยเนื่องจากบ้านไกล จึงต้องช่วย งานวัดเยอะมากๆ

เด็กชายศักรินทร์ พรมหมื่น (ต้น) มาเรียนช้ากว่าเพื่อน 2 สัปดาห์เพราะบวชเณร ภาคฤดูร้อนก่อน 1 สัปดาห์และขออนุญาตไปฮอลิ เดย์ต่ออีก 1 สัปดาห์ แต่ก็เรียนทันเพื่อนๆ การ เรียนภาษาไทย ทำได้ดี ทั้งการฟัง พูด อ่าน เขียน ครูเกลียวมักจะให้เป็นผู้นำในห้องเรียนและในกลุ่ม ที่ เรี ย นทั้ ง หมด นอกจากนี้ ยั ง เป็ น ผู้ น ำในการรำ กระบี่กระบองและมวยไทยด้วย

เด็กชายศักดิ์ชัย พรมหมื่น (ตั้ม) มาเรียนช้ากว่าเพื่อน 2 สัปดาห์เพราะบวชเณร ภาคฤดูร้อนก่อน 1 สัปดาห์และขออนุญาตไป ฮอลิเดย์ต่ออีก 1 สัปดาห์ ฟัง พูด อ่าน เขียนได้ ดีพอสมควร เป็นคนขี้เล่นต้องกำชับอยู่บ่อยถึง จะทำงานที่มอบหมายให้เสร็จทันตามกำหนด เวลา


60 อนุสรณ์โครงการสอนภาษาและวัฒนธรรมไทย ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ เด็กหญิงมนสิชา ฮิกกินสัน (มิม) เป็ น นั ก เรี ย นเก่ า ที่ ค รู เ กลี ย วเคยสอนมาเมื่ อ ปี 2549 มิมเป็นเด็กที่เรียนเก่งอยู่แล้วครูเกลียวให้ เป็นผู้ช่วยครูคอยสอนเพื่อนๆในห้องแล้วแต่ครูจะ มอบหมาย ชอบทุกอย่างทั้งภาษาไทย ฟ้อนรำ การแสดงกระบี่กระบอง มวยไทย มิมทำได้ทุก อย่างและรู้ขนบธรรมเนียนประเพณี วัฒนธรรม ไทยเป็นอย่างดีเยี่ยมเลยทีเดียว

เด็กชายมนัสวี ฮิกกินสัน (สอง) เป็ น นั ก เรี ย นเก่ า ที่ ค รู เ กลี ย วเคยสอนมาเมื่ อ ปี 2549 สองเป็นน้องของมิมและตัวหนังสือที่สอง เขียนไม่เปลี่ยนแปลงเลยตัวใหญ่ๆเขียนเพียง 9 ตัว 10 ตัวก็เต็มหน้ากระดาษแล้ว เรื่องการอ่าน การพูด สองทำได้ดีขึ้น รับผิดชอบกับงานที่ครู มอบหมายให้ ท ำ จริ ง จั ง กั บ งานยิ่ ง การแสดง กระบี่กระบอง สองชอบมากตั้งแต่ปี 2549 แล้ว ปีนี้ตั้งใจทำจริงๆ

เด็กหญิงอริสสา ณัทลี ร๊อคโคล (มด) เป็ น นั ก เรี ย นเก่ า ที่ ค รู เ กลี ย วเคยสอนมาเมื่ อ ปี 2549 มด ฟัง พูด อ่าน เขียน ได้ดี แต่บางครั้งขี้ เกียจทำงาน ยิ่งได้เข้ากลุ่มเพื่อนที่ชอบคุย แม่คุณ เอ๋ ย มดยิ่ ง ไม่ ช อบทำงานที่ ม อบหมายเลยขอ คุยไว้ก่อน พอให้ทำงานคอยกอปปี้คนอื่นอย่าง


ณ วัดพุทธปทีป กรุงลอนดอน 2012

61

เดียว แต่ถ้าให้ทำงานคนเดียวทำได้ใช้เวลานิดเดียวก็เสร็จ อย่างให้เป็นพิธีกร ดำเนินรายการในวันแม่แห่งชาติทำได้ดีมากๆ คุณแม่หลายๆท่านชื่นชมใน ความสามารถในการเป็นพิธีกรในวันนั้น

เด็กหญิงภัณฑิรา คล๊าร์ค (พีส) เป็นเพื่อนซี้ของมด ถ้าได้เข้ากลุ่มเดียวกันละก็ คุย ไม่หยุดเลยละ และพีทไม่ค่อยได้มาเรียนแต่ก็ฟัง พูด อ่าน เขียน ภาษาไทยได้ดี ให้เขียนเรื่องราว จากภาพทำได้ดีมีจินตนาการที่ดี

เด็กชายอริญชย์ เจมส์ วอร์ด (เอเจ) เป็นเด็กที่กล้าแสดงออก ฟัง พูด อ่าน เขียน ภาษา ไทยได้ดีเยี่ยมมากๆ เป็นผู้ช่วยครูในห้องเสมอ มี นิสัยเรียบร้อย รู้จักสัมมาคารวะ อ่อนน้อมถ่อมตน ประหยั ด มี ค วามประพฤติ ดี ยั ง เป็ น ผู้ แ ทนของ นักเรียนกล่าวคำสดุดีพระคุณแม่ ในวันแม่แห่งชาติ ด้วย กล่าวได้ดีมากๆ

ดญ.อเล็กซานดรา ศุภเสียง กรีฟ (เล็ก) เป็นเด็กเงียบขรึม ขี้อาย ไม่ค่อยพูด ฟังภาษา ไทยรู้เรื่อง แต่ยังพูด อ่าน เขียน ไม่ค่อยได้เท่าไร นัก ในห้องครูมักให้มิมเป็นคนคอยดูแล แนะนำ ให้เล็ก มักจะมาขอการบ้านครูเกลียวกลับไปทำ


62 อนุสรณ์โครงการสอนภาษาและวัฒนธรรมไทย ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ที่บ้านในวันเสาร์-อาทิตย์ และให้คุณแม่ช่วยสอนเพิ่มเติมให้ เป็นเด็กสุภาพ เรียบร้อย ขยันดี

เด็กหญิงเครสซีด้า โลลี่ต้า สมิธ (โลลี่) มาเรียนช้ากว่าเพื่อนๆประมาณ 15 วันเพราะไป บวชชีจึงเรียนไปได้ช้ากว่าเพื่อนๆ ตอนแรกๆมาไม่ อยากเรียน แต่พอหลังๆครูเกลียวเข้าไปพูดคุยด้วย อธิบายให้ฟังว่าจะได้ประโยชน์อะไรก็ยอมเรียนและ ให้แสดงอะไรก็ทำได้ ฟ้อนรำ กระบี่กระบอง ก็ทำได้ ชอบอยู่คนเดียวและใช้โทรศัพท์ประจำ

เด็กหญิงจณิสตา ทรัส (เจนี่)

เพื่อนชอบมากๆ

แรกๆ มาเรียนบ้างไม่มาบ้าง เป็นคนเงียบๆ แต่ถ้า ได้ เข้ า กลุ่ ม เพื่ อ นๆก็ ท ำงานได้ ดี ชอบศิ ล ปะ วาดๆเขียนๆ ฟัง พูด อ่าน เขียน ภาษาไทยได้บ้าง แต่ยังไม่ค่อยดีนัก ชอบการแสดงทั้งฟ้อนรำ กระบี่ กระบอง มวยไทย คุณแม่บอกว่าต้อง มาเรียนให้ ทันตอนเช้าเพราะอยากมาเต้ น ออกกำลั ง กายกั บ

เด็กชายดีลัน เคอร์เรน (ดีลัน) เป็นนักเรียนเก่าที่ครูเกลียวเคยสอนมาเมื่อปี 2549 ดีลันเป็นลูกศิษย์ที่ดื้อมากๆ แต่ก็กลัวครูเกลียว ชอบขอแม่มาพักกับครูที่วัดเพราะได้มาออกกำลังกายตอน เย็นและยังได้ชกมวยไทยกับครูด้วย ฟังภาษาไทยรู้เรื่องดี แต่ไม่ชอบพูด อ่านได้ เป็นคำๆ ให้เขียนภาษาไทยไม่ชอบแต่ถ้าอนุญาตให้เขียนเป็นภาษาอังกฤษก็


ณ วัดพุทธปทีป กรุงลอนดอน 2012

63

เขียนเป็นภาษาคาราโอเกะได้ ชอบขี้เล่น ชอบออก กำลังกาย สมาธิในการเรี ย นสั้ น มากชอบไปอยู่ กั บ น้องเด็กเล็ก แต่ให้เป็นผู้นำในการแข่งขันต่างๆ ชอบ ในเรื่องการแสดงกระบี่กระบองและมวยไทยเป็นผู้นำ ได้ คิดท่าแปลกๆมาใช้เสมอ โอเคเลยเรื่องการ แสดงและการออกกำลังกาย

เด็กชายอเล็กซานเดอร์ ชาร์ล ทิว เบค (ทิว) เป็นนักเรียนเก่าที่ครูเกลียวเคยสอนมาเมื่อปี 2549 ปีนี้มาเรียนได้เป็นบางวัน บางเวลา เพราะต้องเตรียมตัวเข้าเรียนในระดับที่สูงขึ้นอีกของอังกฤษ แต่ก็พูด ภาษาไทยได้บ้าง รู้เรื่องเวลาครูเกลียวคุยเป็นภาษาไทย การเขียนเขียนได้เป็น บางคำ ส่วนใหญ่จะกอปปี้ และอีกอย่างที่ทิวเปลี่ยนไปเห็นได้ชัดก็คือนิสัย ปีนี้ นิสัยเป็นผู้ใหญ่มีความคิ ด ความอ่ า นดี มี ค วามรั บ ผิ ด ชอบสูงในหน้าที่ของตนเอง มีเวลาซ้อมกระบี่กระบอง น้ อ ยแต่ ก็ ท ำได้ ดี ต่ อ สู้ กั บ ดี ลั น สนุ ก ดี น ะทิ ว นะ ทั้ ง มวยไทยทั้งกระบี่กระบอง เลยละ

เด็กชายเคียเร้น วูด (เคียเร้น) มาเรียนได้แค่ 5 วันสุดท้าย ก็ปิดโครงการเพราะไปฮอลิ เดย์กลับมาช้า ฟังภาษาไทยพอได้ แต่ไม่ชอบ พู ด เป็นคนเงียบๆเฉยๆ แต่ถ้าได้เข้าคู่ดีลันเมื่อไร ค รู เกลี ย วเตรี ย มตั ว ไล่ จั บ ได้ เ ลย ไม่ ค่ อ ยชอบ แส ดงแต่ก็ทำตามเพื่อนๆไปได้ กระบี่กระบอง แล ะมวยไทยก็พอทำได้


เสียงกระซิบ จากผู้ปกครอง กลุ่มเด็กเล็ก

เคยหวังอยากให้ลูกพูดภาษาไทยได้ แต่ทำอย่างไรแจสมินก็ไม่ ยอมพู ด ด้ ว ย จนกระทั้ ง วั น หนึ่ ง ได้ ท ราบข่ า วโครงการจากดาริ น จึ ง ตัดสินใจพาแจสมินมาร่วมโครงการ ในงานวันพิธีเปิดก็ยังไม่รู้จะเป็น อย่างไรแต่รู้สึกประทับใจบรรยากาศในงานที่ทางวัดและทางสถานทูต ร่ ว มกั น จั ด และการแสดงของคุ ณ ครู ใ นวั น นั้ น และที่ ส ำคั ญ ได้ เ ห็ น กิริยามารยาทของเด็กเด็กที่เคยเข้าโครงการปีก่อนก่อนช่างน่ารักและ พูดจาไพเราะมาก แต่ก็หนักใจว่าแจสมินจะสามารถเรียนเต็มวัน ทุก วัน ตลอดเวลาหนึ่งเดือน ได้อย่างไร และในส่วนของตัวเองก็ต้องหยุด กิจกรรมทุกอย่างเพื่อมาอยู่เฝ้าลูกที่วัด ทั้งระยะทางในการเดินทางมา เรียนที่วัดด้วย ในใจคิดว่าคงอาจจะมาเรียนไม่ค่อยได้เต็มที ในวันแรกของการเปิดเรียน แจสมินร้องไห้ตอนเข้าแถวเคารพ ธงชาติและไม่ยอมเข้าไปในห้องเรียน ทำให้ต้องไปนั่งเรียนในห้องด้วย ทั้งภาคเช้า ตอนนั้นคิดว่าลูกไม่ยอมเรียนแน่ แต่หลังจากพักกลางวัน แจสมิ น ได้ วิ่ ง เล่ น ทำความคุ้ น เคยกั บ เพื่ อ นใหม่ แจสมิ น ยอมตาม คุณครูและเพื่อนเพื่อนเข้าห้องเรียน และออกมาเล่าว่าทำกิจกรรม อะไรบ้ า งในตอนบ่ า ยของวั น นั้ น และในวั น ต่ อ ต่ อ มา แจสมิ น ก็ ไ ม่


ณ วัดพุทธปทีป กรุงลอนดอน 2012

65

ร้องไห้อีกเลย และยังสนุกทุกครั้งที่มาเรียนและร่วมทำกิจกรรมต่าง ต่างกับคุณครูและเพื่อนเพื่อน จากการมาเรียนแจสมินมีพัฒนาการ เรื่องการใช้ ภ าษาและซึมซาบวัฒนธรรมไทยดีขึ้นเรื่อยเรื่อย ทุกวัน ตอนเย็นแจสมินจะเล่าให้คุณพ่อฟังว่าทำอะไรบ้างและสอนคุณพ่อ รวมทั้งเพื่อนเพื่อนให้ไหว้ พูดคำไทย และแสดงการรำ ตอนอาบน้ำก็ จะร้องเพลงที่คุณครูสอน เช่น เพลงใครหนอ หรือเพลงชาติไทย บท สวดมนต์ หรือ การกราบพระ ช่วงอาทิตย์แรกแรกอาจจะไม่เป็นคำ แต่อาทิตย์หลังหลังสามารถพูดได้ชัดเจนขึ้น และที่สำคัญการไหว้ และถ้ า ถามคำถามภาษาไทยแจสมิ น จะตอบเป็ น ภาษาไทย และ สามารถท่อง ก-ฮ และนับเลข1-20 ได้ และนำการละเล่นหรือเพลง เด็กเด็กของไทยมาร้องให้คุณแม่-ฟังตลอด ซึ่งบางเพลงเราก็ลืมไป แล้ว นอกจากนี้แจสมินยังได้มีโอกาศรู้จักพี่พี่เพื่อนเพื่อนเด็กไทยที่ ร่วมโครงการ ในระหว่างที่เรียนได้มีโอกาศเห็นเด็กโตคอยดูแลน้อง น้อง เสียสละที่นั่งให้ ซึ่งน่าประทับใจมาก และส่วนคุณแม่ก็ได้เพื่อน ใหม่เป็นกลุ่มคุณแม่หรือคุณยาย ที่ผลัดกันดูแลลูกลูก มีอะไรก็แบ่ง ปันข้าวของกัน ชวนกันช่วยงานวัดและเตรียมของว่างให้เด็กเด็ก สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้ต้องขอขอบพระคุณคุณครูเกลียว คุณครูนิด และคุณครูรุ้ง ที่ทุ่มเทให้กับการเรียนการสอน และดูแลเอาใจใส่เด็ก เด็กเป็นอย่างดี พร้อมทั้งจัดเตรียมกิจกรรมต่างต่างมาให้เด็กเด็กได้ สนุก และขอขอบพระคุณสถานทูตไทยและวัดพุทธประทีป (ท่าน เจ้า


66 อนุสรณ์โครงการสอนภาษาและวัฒนธรรมไทย ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ อาวาส ท่านพระอาจาร์ยหลายหลายรูปที่มาดูแล พี่กุ้ง และพี่สุ) ที่ สนับสนุนโครงการนี้ มา ณ โอกาศนี้ด้วย โดยส่วนตัวแล้วคิดว่า โครงการนี้มีประโยขน์อย่างยิ่งและอยากให้มีต่อต่อไปเพื่อจะได้มีโอ กาศเข้าร่วมโครงการอีกคะ

สุกัญญา มายเยอส์ (แม่ของน้องแจสมิน)

เสียงกระซิบ จากผู้ปกครอง กลุ่มเด็กกลาง

ความคิดเห็นของผู้ปกครองระดับกลางต่อคุณครูและลูกๆ ทุก คนในการเรียนภาคฤดูร้อน วัดพุทธปทีปกรุงลอนดอน กราบสวัสดี ทุกๆ ท่านด้วยความปลาบปลื้มยินดีที่ได้มีโอกาสมาใช้เวลาเป็นระยะ หนึ่งเดือนเต็มอยู่กับลูกๆ หลานๆ ไทยทุกคนในภาคฤดูร้อนนี้ และ ได้ยินจากลูกอายุ ๙ ปี และ ๑๔ ปี เป็นประจำทุกเช้าว่า คุณแม่คะถึง เวลาไปโรงเรี ย นรึ ยั ง คะ ลู ก ไม่ อ ยากไปสายเพราะที่ วั ด คุ ณ ครู มี กิจกรรมให้เราทำสนุกทุกวันเลยคะ หนูตื่นเต้นทุกเย็นเลยเพราะรอว่า เมื่อไหร่จะถึงพรุ่งนี้เช้าเพราะที่วัด มีคุณครูทุกท่าน คุณแม่ๆ คุณยาย


ณ วัดพุทธปทีป กรุงลอนดอน 2012

67

ทั้งหลาย พี่ๆ และน้องๆ ทุกคนอยู่ร่วมกันได้ทำกิจกรรมมากมาย ร่วมกันอย่างสนุกสนาน โอบอ้อมอารี ซึ่งกันและกันอย่างเป็นหนึ่ง เดียว เป็นแรงดึงดูดให้เด็กๆ หลายๆ คน คิดถึงแต่โรงเรียนวัดไทย สนใจและเห็นความสำคัญที่จะ เรียน พูด อ่าน เขียน ภาษาไทย และ เข้าถึงวัฒนธรรมไทย มากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่แตกต่างจากการเป็นอยู่ที่ เขาได้ รั บ ในประเทศอั ง กฤษ หากไม่ มี โ รงเรี ย นภาคฤดู ร้ อ นแล้ ว ลู ก หลานของเราคงไม่มีโอกาสได้รับการเรียนรู้และอบรมวัฒนธรรมไทย อันล้ำค่า และได้ใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้องเช่นที่ปรากฎ ให้เด็กๆ ได้ รับทราบและได้ปฎิบัติตาม การเรียนการสอนของคุณครูทั้งสามท่าน ในครั้งนี้ จึงส่งผลให้เด็กๆ ได้เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับด้านวัฒนธรรม ไทย เพลงไทย การเคารพธงชาติ รำไทย กระบี่กระบอง ระบำชาว เกาะ งานประดิษฐ์ ทำขนมไทยและอื่นๆอีกมากมายรวมไปถึงการละ เล่นต่างๆ เช่น รีรีข้าวสาร มอญซ่อนผ้า เล่นเกมส์ต่างๆ ร่วมกันเป็น หมู่คณะ และที่ขาดไม่ได้คือการออกกำลังกายรับแสงตะวันในทุกเช้า ก่อนเข้าเรียนซึ่งเป็นที่โปรดปรานสนุกสนานของเด็กๆ และผู้ปกครอง เป็นอย่างมาก ดิฉันคิดว่าลูกๆ ได้รับผลการเรียนการสอนจากคุณครูทั้งสาม ท่านโดยไม่รู้ตัวจากสื่อการเรียนโดยผ่านการเรียนการสอนที่คุณครูได้ จั ด เตรี ย มมา การสลั บ นั ก เรี ย นทำกิ จ กรรมร่ ว มกั น ใต้ โ บสถ์ ทำให้ เด็กๆ ในทุกๆ กลุ่มได้มีการมารวมกัน ทำให้ลูกๆ ทุกคนให้ความ สนใจในความแตกต่างของแต่ละกลุ่ม สุดท้ายลูกๆ ทั้งหลายได้เรียนรู้ กิจกรรมเฉพาะของแต่ละกลุ่ม และมีส่วนร่วมในกิจกรรมอื่นๆ ของ


68 อนุสรณ์โครงการสอนภาษาและวัฒนธรรมไทย ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ทุกระดับ โดยไม่ขึ้นอยู่กับอายุ ก็ได้ทวีคูณความรู้ความสามารถที่รำ และ ทำกิจกรรมทุกอย่าง และกล้าแสดงออกได้ทุกกิจกรรมที่คุณครู ตั้งเป้าหมายไว้อย่างมีประสิทธิภาพ อาทิเช่น กิจกรรมวันแม่ ที่ต้องใช้ เวลาฝึกซ้อม และความพยายามทั้งคุณครูและนักเรียนซึ่งก็สอนให้ ลูกๆ ได้ตะหนักถึงพระคุณแม่ได้เป็นอย่างดี ดิฉันขอเป็นกำลังใจให้กับคุณครูเกลียว คุณครูนิด และคุณครูรุ้ง ที่มีความมุ่งมั่นทำงานหนัก และมีความอดทนอย่างยิ่งกับลูกหลาน ชาวไทยในอังกฤษ คุณครูทุกๆ ท่านได้เสียสละเวลาและต้องห่างไกล ครอบครัวของท่านที่เมืองไทย มาอบรมบุตรหลานของเราให้มีความ เป็นไทยที่พวกเราทุกคนภาคภูมิใจตลอดมา ท้ายนี้ ดิฉันขอกราบขอบพระคุณผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกๆ ท่านที่ มีส่วนร่วมให้โครงการการเรียนการสอนภาษาไทยและวัฒนธรรมไทย ในภาคฤดูร้อน ณ วัดพุทธปทีป ดำเนินการไปได้ด้วยดีและหวังเป็น อย่างยิ่งว่า โครงการนี้จะดำเนินการต่อเนื่องและมีการพัฒนายิ่งๆ ขึ้น ไป เพื่ อ เยาวชนไทยในต่ า งแดนจะได้ ด ำรงและสื บ ทอดภาษาไทย วัฒนธรรมไทย และความเป็นไทย

จากนงคราญ (น้อง) วอร์ด


เสียงกระซิบ

จากผู้ปกครองกลุ่มเด็กโต เด็กๆที่เติบโตมาจากเมืองไทยที่มีอายุระหว่าง 1-6ปี ที่มาอยู่ กับครอบครัวที่ประเทศอังกฤษ น้อยคนนักที่จะได้เรียนอนุบาล ถึง เรียนมาก็อาจจะลืมภาษาไทยหมดเพราะเด็กยังไม่รู้หนังสือมากเท่าที่ ควร เด็กจะพูดภาษาไทยกับครอบครัวที่บ้านเท่านั้น สำหรับเด็กที่มีอายุระหว่าง 7-15 ปี เติบโตมาจากประเทศไทย และติดตามคุณพ่อ คุณแม่มาอยู่ที่ประเทศอังกฤษ พอจะมีความรู้ ภาษาไทยอยู่บ้าง ซึ่งบางคนสามารถพูด ฟัง อ่าน และเขียนได้อย่าง คล่องแคล่ว แต่ก็โดยส่วนมากผู้ปกครองต้องการให้ลูกๆสามารถพูด ภาษาอังกฤษได้คล่องและถูกต้อง ภาษาไทยก็อาจจะลืมไปบ้างเพราะ ไม่ ไ ด้ น ำหนั ง สื อ ภาษาไทยมาอ่ า น จึ ง ได้ อ่ า นเฉพาะภาษาอั ง กฤษ เท่านั้น สุดท้ายก็ลืมเท่านั้นเอง ส่วนครอบครัวที่เป็นคนไทยทั้งหมด จะเน้นให้อ่านและพูดไทยภายในครอบครัว เพราะเด็กในวัยดังกล่าว สามารถรับได้หลายภาษา หรือแม้แต่เพลงชาติไทย ถ้าไม่มีการร้องก็ ไม่มีใครร้องได้ถูกต้อง โครงการสอนภาษาไทยและวัฒนธรรมไทย ภาคฤดูร้อน ที่วัด พุทธปทีป เป็นโครงการที่ดีโครงการหนึ่งสำหรับเด็กไทยที่อยู่ต่างแดน


70 อนุสรณ์โครงการสอนภาษาและวัฒนธรรมไทย ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ซึ่งคุณพ่อ คุณแม่เห็นความสำคัญของภาษาไทย อยากให้ลูกได้เรียน ภาษาไทยและวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีของไทย จึงได้นำ ลูกๆมาศึกษาเล่าเรียนกับโครงการด้วยความสมัครใจของลูกๆเช่นกัน เด็ ก ส่ ว นมากที่ อ ยู่ ที่ ป ระเทศอั ง กฤษไม่ ค่ อ ยรู้ จั กวั ฒนธรรมของไทย ทางวัดได้ตระหนักถึงจุดนี้จึงได้จัดตั้งโครงการขึ้นมาและได้ติดต่อกับ ทางมหาวิทยาลัยขอนแก่น ทางมหาวิทยาลัยได้ให้ความอนุเคราะห์ จัดคณะครูอาสาที่มีความสามารถมาสอนภาษาไทยที่วัด เด็กๆที่เข้า ร่วมโครงการได้มาเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ซึ่งบางคนไม่เคยรู้เลย พอได้มา สัมผัสแล้วเกิดความรัก อยากเรียนรู้ อยากมาเรียนทุกวัน ไม่อยากให้ มีวันหยุดกันเลย ถึงแม้ว่าจะเป็นระยะเวลาที่สั้นแต่ก็มากด้วยคุณค่า ทั้งสิ้น สำหรับเด็กๆแม้ว่าจะอยู่แห่งหนใดก็ตาม การเรียนภาษาไทย ไม่มีคำว่าสายเกินไป แต่ถ้าไม่มีครูอาจารย์มาอบรมและสอนภาษา ไทยแก่เด็กๆแล้ว เด็กๆจะไม่มีวันรู้เลยว่านี่คือภาษาไทยของเรา ท้ายสุดนี้ต้องขอขอบพระคุณทางมหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะ ศึกษาศาสตร์ โดยเฉพาะผู้ช่วยศาสตราจารย์กลมเกลียว มาวียง ผู้ ช่วยศาสตราจารย์ทับทิม สุริยสุภาพงศ์ และ อาจารย์พัชรา พันธรักษ์ พงษ์ ขอคุ ณ พระศรี รั ตนตรั ย และสิ่ ง ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ จงคุ้ ม ครองอาจารย์ ทั้ง3ท่านให้ปลอดภัยจากโรคภัยทั้งปวง และคิดสิ่งใดขอให้สมความ ปรารถนาทุกประการเทอญ

ด้วยรักและความเคารพอย่างสูง ศักดา พรมหมื่น (พ่อของน้องต้นและน้องตั้ม)


ณ วัดพุทธปทีป กรุงลอนดอน 2012

71


72 อนุสรณ์โครงการสอนภาษาและวัฒนธรรมไทย ปี พ.ศ. ๒๕๕๕


ณ วัดพุทธปทีป กรุงลอนดอน 2012

73

ผศ. กลมเกลียว มาเวียง MR KLOMKLIEW MARWIANG

การศึกษา

ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพลศึกษา (Physical Education)

สถานที่ทำงาน

โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ศึกษาศาสตร์)ระดับมัธยม

ประสบการณ์

สอนวิชาสุขศึกษา (Health Education) สอนวิชาพลศึกษา (Physical Education) สอนนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ สาขา พลศึกษา วิชาการสอนกิจกรรมเข้า จังหวะ (Teaching and Skill Rhythmic) เชี่ยวชาญด้านผู้นำกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ ผู้ฝึกสอนกีฬากอล์ฟ (Coaching of Golf) อุปนายกสมาคมกีฬาจังหวัดขอนแก่น ผู้ตัดสินกีฬากอล์ฟ สมาคมกอล์ฟแห่งประเทศไทย ประสบการณ์การสอนในโครงการ การสอนภาษาไทยและวัฒนธรรมไทยสำหรับ เด็กไทยในวัดพุทธปทีป กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ประจำปีการศึกษา 2549


74 อนุสรณ์โครงการสอนภาษาและวัฒนธรรมไทย ปี พ.ศ. ๒๕๕๕

ผศ.ทับทิม สุริยสุภาพงศ์ MRS THABTHIM SURIYASUPAPONG

การศึกษา

ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการประถมศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น

สถานที่ทำงาน

โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น (มอดินแดง) มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ประสบการณ์

ระดับประถมศึกษา โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มอดินแดง) สอนสาระการเรียนรู้ภาษาไทย หัวหน้ากลุ่มวิชาเสริม อ่าน คิด เขียนวิเคราะห์ หัวหน้ากลุ่มกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ ระดับบัณฑิตศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น รายวิชาบุคลิกภาพและการสื่อสารสำหรับครู รายวิชาประสบการณ์วิชาชีพครู 1

ด้านอื่น

ได้รับทุนจากรัฐบาลญี่ปุ่นไปศึกษาดูงานด้านคณิตศาสตร์ที่ญี่ปุ่น ศึกษาดูงานที่ประเทศจีน มาเลเซีย สิงคโปร์ ออสเตรเลีย เวียดนาม นักกีฬาทีมชาติฮอคกี้ 2 สมัย


ณ วัดพุทธปทีป กรุงลอนดอน 2012

75

อาจารย์พัชรา พันธรักษ์พงษ์ MISS PHATCHARA PHANTHARAKPHONG

การศึกษา

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาภาษาอังกฤษเพื่ออาชีพ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สถานที่ทำงาน

สาขาการสอนภาษาอังกฤษฯ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ประสบการณ์

ระดับบัณฑิตศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น รายวิชา Introduction to Academic Reading and Writing I and II รายวิชา Academic Reading and Writing Task I and II รายวิชา English for Teaching Profession รายวิชาประสบการณ์วิชาชีพครู 1 รายวิชาปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา 1และ2

ด้านอื่นๆ

เข้า ร่ ว มโครงการเพิ่มพูนประสบการณ์ของบุคลากรด้านการเรียนการสอนใน มหาวิทยาลัยต่างประเทศ ณ ประเทศนิวซีแลนด์ NZQA Certificate (TESOL Course)


76 อนุสรณ์โครงการสอนภาษาและวัฒนธรรมไทย ปี พ.ศ. ๒๕๕๕


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.