BUDDHAPADIPA MAGAZINE

Page 1

ฉบับที่ ๖๒ ปีที่ ๑๙ มกราคม-นีนาคม ๕๔

1

ฉบับที่ ๖๒ ปีที่ ๑๙ มกราคม-นีนาคม ๕๔

1


2

วารสารพุทธปทีป

2

วารสารพุทธปทีป


ฉบับที่ ๖๒ ปีที่ ๑๙ มกราคม-นีนาคม ๕๔

3

ปีที่ 19 ฉบับที่ 62 (ม.ค.-มี.ค. 54) VOL. 19 ISSUE 62 (JAN-MAR 2011)

CONTENTS วิสาสะกับท่านผู้อ่าน 3 ทุกข์ที่สุดจะหลุดได้อย่างไร 6 สมาธิบำ�บัดเครียด 12 แรงดลใจให้ชีวิต 20 อย่ามองข้ามสิ่งเล็กน้อย 23 ผู้รอคอยการกลับมา 26 เรื่องของยางลบ 34 สูตรปรุงชีวิต 38

สูงวัยหัวใจเป็นสุข ธรรมะกับความรัก The Eye of Wisdom วัดไทยในสหราชอาณาจักร เสียงจากวัดสังฆปทีป เวลส์ ปฏิทินปฏิบัติศาสนกิจ รายนามผู้อุปถัมภ์ค่าพิมพ์ สรุปข่าวชาวพุทธปทีป

คณะผู้จัดทำ� คณะพระธรรมทูต วัดพุทธปทีป กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร

46 50 63 66 68 69 72 74

14 Calonne Road, Wimbledon London SW19 5HJ TEL. 020 8946 1357 www.buddhapadipa.org (en) www.padipa.org (th) |bppthai@hotmail.com คอมพิวเตอร์กราฟิค:​ พระครูปลัดสุทัศน์ อมรสุทฺธิ / นายพัชรพล พงษ์วิจิตร ฉบับทีม่ ๖๒ ปีที่ ๑๙เล่มกราคม-นี นาคม ๕๔ 3 จำ�นวนพิ พ์ 2,000 ม


4

วารสารพุทธปทีป

วิสาสะ

กับ ท่านผู้อ่าน

สวัสดีพี่น้องช�วไทยทุกท่�น พุทธปทีปส�รถูกปลุกให้ตื่นอีกครั้ง โดยก่อน หน้�นั้นเหมือนคนล้มปวยและต้องพักดูอ�ก�รไข้ร�ว 3 ปีกว่� เพื่อฟูมฟักรักษ� ตัวให้มีกำ�ลัง และซุ่มซ้อมพร้อมที่ก้�วสู่เส้นท�งส�ย “ธรรมะ” อีกครั้ง ช่วงที่ เก็บตัวหลบมุม ได้ติดต�มสื่อธรรมะจ�กหล�ยวัด เช่น “เพื่อนธรรม” จ�กวัด พุทธวิห�ร คิงส์บรอมลี่ย์ “ธรรมะสวางใจ” จ�กวัดสันติวงศ�ร�ม ซึ่งส่งตรง ถึงสม�ชิก แต่ละเล่มล้วนคัดส�ระ ข้อคิด คติธรรม มอบเป็นธรรมบรรณ�ก�ร อย่�งต่อเนื่อง ใคร่ขอแสดงคว�มชื่นชมด้วยใจและอนุโมทน�อย่�งยิ่ง ชีวิตอยู่ในต่�งแดน ทุกคนต้องพร้อมเสมอ เพื่อรับมือกับก�รเปลี่ยนแปลง ที่เกิดขึ้น อ�ก�ศที่เคยอบอุ่นกล�ยเป็นคว�มเยือกเย็นและมืดสลัว ต้นไม้ที่ให้ ใบเขียวขจีก็ต้องเปลี่ยนสีและทิ้งใบปกคลุมพื้นดินในที่สุด ไม้ดอกหล�ยชนิดก็ อดที่จะออกดอกอวดสีสวยของตนให้ผู้คนได้เชยชม สภ�พดินฟ�อ�ก�ศที่ไม่เอื้ออำ�นวยเช่นนี้ บรรด�แมกไม้ต่�งยอมรับและ รอคอยอย่�งจำ�นน เร�ท่�นทั้งหล�ยก็คงไม่ต่�งอะไรจ�กหมู่ไม้ คว�มปร�รถน� อันใดยังไม่สมปร�รถน� ก็ควรบอกใจให้ “รอ” อย่�งมีสติ สิ่งที่ยังไม่ได้รับดั่ง ใจนึก ถ้�ไม่ล้มเลิกคว�มตั้งใจ คว�มสมปร�รถน�ก็คงไม่ไกลเกินแน่นอน พระพุทธเจ้�ผู้เป็นบรมครูของพวกเร�นั้น พระองค์ทรงสั่งสอนธรรมะ เพื่อ ให้เร�เข้�ถึงสัจจะของชีวิต เช่น ข้อธรรมะที่มักได้ยินจนคุ้นหู คือ “อนิจจา” คว�มไม่เที่ยงในทุกสรรพสิ่ง สิ่งใดเกิดด้วยเหตุอันใด เมื่อเหตุนั้นไม่สนับสนุน ต่อหรือเปลี่ยนสภ�พไป ผลที่เคยได้และเคยปร�กฎ ย่อมต่�งจ�กเดิม เหมือน ต้นไม้ที่มีใบเขียวขจี เพร�ะแสงแดดและอุณหภูมิที่พอเหม�ะ ย่อมเปลี่ยนสภ�พ ไป เพร�ะแสงที่น้อยบวกกับอุณหภูมิที่ตำ่�ลง คว�มเย็นมีระดับสูงขึ้น จึงนำ�ไปสู่


ฉบับที่ ๖๒ ปที่ ๑๙ มกราคม-นีนาคม ๕๔

5

พระครูปลัดสุทัศน อมรสุทฺธิ บรรณาธิการ

ทิศท�งก�ร “ปรับตัว” ให้เท่�ทันสภ�พที่เปลี่ยนแปลง จะช้�หรือเร็วไม่ใช่ประเด็น ทว่�ก�รหมั่นระลึกรู้และทำ�บวกกับคว�มเข้�ใจผลของสิ่งนั้นต่�งห�ก คือ หน้�ที่ ของท่�นพุทธศ�สนิกชนควรยำ้�ทำ�อย่�งสมำ่�เสมอ ฉบับนี้ได้นำ�เสนอบทคว�มธรรมะของครูบ�อ�จ�รย์หล�ยท่�น ทั้งนี้เพื่อ ก�รสัมผัสธรรมะที่กว้�งขว�ง ทว่�มีรสเดียว คือ “ความอิ่มใจ” ห�กใจได้รับ ก�รบ่มเพ�ะด้วยใยแห่งธรรมะบ่อยครั้ง ใจนั่นแหละจะอุดมด้วยคว�มปีติยินดี และเป็นใจที่ส�ม�รถน้อมนำ�ไปสู่ก�รฝกให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อสลัดมลทิน และสลัดตนเองออกจ�กบ่วงบ�ทแห่งทุกข์และโทมนัส และสุดท้�ยคว�มเบ� สบ�ยแห่งใจ จักนำ�พ�ชีวิตไปสู่วิถีที่เรียบง่�ย พอใจเท่�ที่มีและให้เท่�ที่ส�ม�รถ กระทำ�ได้ ในน�มคณะผู้จัดทำ�เชื่อว่� “พุทธปทีปสาร” จะยังได้รับก�รต้อนรับสู่บ้�น เหมือนญ�ติธรรมที่คุ้นเคย และแน่นอนที่สุด สื่อน้อยเล่มนี้จะห�โอก�สแวะเวียน ม�ถ�มไถ่ให้บ่อยขึ้น อีกทั้งจะยังคอยเป็นกำ�ลังใจให้ทุกท่�น ไล่รุกบุกเดินหน้� พ�ยน�ว�ชีวิตให้ถึงฝังฝันจนถึงที่สุด ท่�นผู้อ่�นพบข้อบกพร่องหรือมีคำ�แนะนำ�ประก�รใด คณะผู้จัดทำ�ขอ น้อมรับคำ�ติชมนั้นด้วยคว�มยินดียิ่ง ขออย่�ได้เกรงใจจงบอกกล่�ว คว�มคิด และคำ�แนะนำ�ที่ได้รับ จักได้รับก�รต่อยอดเป็นพัฒน�ก�ร “ธรรมจัดสรร” ต่อ ไปภ�ยหน้� ขอให้ธรรมะขององค์พระสัมม�จงนำ�พ�ทุกชีวิตให้เกิดปัญญ�ส�ม�รถ ครองตนด้วยดีตลอดไปด้วยเทอญฯ


6

วารสารพุทธปทีป ขอขอบคุณเจ้าของบทความจาก www.rimnam.com

ทุกข์ที่สุด

จะหลุดได้อย่างไร

อย่ากลัวว่าความทุกข์นัน ้ จะมีตลอดไป... อย่าคิดว่าไม่มีทางแก้ไข... หนทางที่เร็วที่สุด คือ เปลี่ยนอารมณ์... ท่านใดมีทุกข์ ขอให้มัน ผ่านไปโดยไว..

6

วารสารพุทธปทีป


ฉบับที่ ๖๒ ปีที่ ๑๙ มกราคม-นีนาคม ๕๔

7

เมื่อเราเกิดมาย่อมได้รับ ทั้งสุขและทุกข์ ปะปนกันไปอยู่แล้ว แต่ เมื่อทุกข์ที่สุดเราควรจะทำ�อย่างไร ปัจจุบันเราได้ยินข่าวเรื่อง การฆ่าตัว ตายบ่อยมาก ในชีวิตของความเป็นหมอ ก็เจอคนที่ฆ่าตัวตายบ่อยมาก ทั้งที่สำ�เร็จและไม่สำ�เร็จ หมอได้พูดได้คุยกับคนเหล่านี้มากมาย คำ�ถาม ที่น่ารู้ก็คือ... การฆ่าตัวตายเป็นสิ่งที่ถูกต้อง ควรกระทำ� หรือไม่ และเราควรจะทำ�อย่างไรดี บทความนี้ จ ะไม่ ส นใจว่ า การกระทำ �อย่ า งนั้ น จะมี ผ ลในอนาคต อย่างไร ทำ�ลายตนเองจะบาปมากแค่ไหน ต้องเกิดมาฆ่าตัวตายใช้กรรม อีก 500 ชาติจริงหรือ เพราะถ้าบอกไป ต้องใช้ความเชื่อและศรัทธาใน ตัวศาสนามาพูดคุยกัน แต่ต้องการจะบอกว่า การทำ�ลายตนเอง เป็นสิ่ง ที่น่าเสียดายนัก เสียดายโอกาสที่จะได้รับสิ่งที่ดีอีกมากที่จะตามมา และ เสียดายแทนญาติมิตรที่เกี่ยวข้องที่จะต้องได้รับผลกระทบกายและใจ ตลอดไป ฉบับที่ ๖๒ ปีที่ ๑๙ มกราคม-นีนาคม ๕๔

7


8

วารสารพุทธปทีป

ในเรื่องความทุกข์ที่สุดนี้ ธรรมะในพระพุทธศาสนาสอนให้เราแก้ เรื่องนี้ได้ทันที ด้วยความเข้าใจ ด้วยความรู้ที่เราไตร่ตรองเองได้ และด้วย ประสบการณ์ในอดีตของเราทุกคน ในกาลามสูตรพระพุทธเจ้าทรงสอน ไม่ให้เชื่อด้วยเหตุ 10 อย่าง เช่นด้วยเหตุผลว่าผู้สอนเป็นครูของเรา และ อื่นๆ รวมสิบประการ แต่จะให้เชื่อก็ต่อเมื่อไตร่ตรองรู้ได้ด้วยตนเองจึงเชื่อ การจะไตร่ตรองให้รู้ได้ด้วยตนเอง จะมีได้ก็ต่อเมื่อเรามีประสบการณ์ใน เรื่องนั้นมาแล้ว ดังนั้นประสบการณ์ในอดีตจึงเป็นธรรมะที่เราตรึกตรอง ได้เช่นกัน เมื่อความทุกข์ที่สุดมาถึง สิ่งที่ควรระลึกถึงมีสอง สามอย่าง คือ หนึ่ง อย่ากลัวว่าความทุกข์นั้นจะมีตลอดไป เพราะมันจะไม่คงอยู่ ตลอดไป เดี๋ยวมันก็จางไป สอง อย่าคิดว่าไม่มีทางแก้ไขให้ดีขึ้นได้ เพราะจะมีทางแก้ไขเสมอ เพียงแต่ตอนนี้ยังนึกไม่ออกเท่านั้น สาม อย่านึกว่าต่อไปนี้เราจะไม่ได้รับสิ่งดีๆ อีก เพราะเมื่อทุกข์ผ่าน ไป เราจะยังมีความสุข สนุกสนาน ได้อย่างเดิมแน่นอน และสุดท้ายคือ ให้นึกถึงคนข้างหลัง ที่เขาจะต้องเศร้า ได้รับการกระทบกระเทือน จาก การกระทำ�ด้วยอารมณ์ของเรา เมื่อทุกข์ที่สุดมาถึงสิ่งที่เราต้องทำ�ทันที ในขณะที่ยังตั้งตัวปรับใจไม่ทันก็คือ รีบหาทางเปลี่ยนอารมณ์ เมื่อเราไป เจอคนอื่นทุกข์สิ่งที่ต้องทำ�อันดับแรก คือ ช่วยเปลี่ยนอารมณ์เขาก่อน จากนั้น “สติ” จึงจะตามมา ความทุ ก ข์ ที่ ม ากสุ ด จะแก้ ไ ด้ เร็ ว และง่ า ยที่ สุ ด ด้ ว ยการเปลี่ ย น อารมณ์ ดึงอารมณ์ออกจากสถานการณ์นั้นก่อน อาจง่ายๆ เพียงแค่ทำ� อะไรที่ชอบ ฟังเพลง ดูหนัง หาของอร่อยกิน ชวนเพื่อนไปเที่ยว ชวนคุย 8

วารสารพุทธปทีป


ฉบับที่ ๖๒ ปีที่ ๑๙ มกราคม-นีนาคม ๕๔

9

เรื่องอื่น ลืมเรื่องทุกข์ไปชั่วคราวก่อน บางทีก็เบาบางได้เอง ที่สำ�คัญถ้ามี เพื่อนดี จะเบาบางไปได้มากที่สุด ที่ไม่ควรทำ�คือดื่มสุรา หรือพูดง่ายๆ ก็ คือ ไม่ควรหันไปดื่มเหล้าเบียร์ เพราะการกินเหล้าก็ดับทุกข์ได้ระดับหนึ่ง เท่านั้น แต่จะมีข้อเสียกว่าคือ จะยิ่งโกรธง่าย น้อยใจง่ายและโมโหง่าย กว่าเดิม และไม่มีสติยับยั้งความโกรธ หรืออารมณ์ที่รุนแรงเหล่านั้น เมื่อ เปลี่ยนอารมณ์ได้ ใจจะเข้มแข็งมากพอที่จะแก้ในขั้นต่อไป ขั้นต่อไป คือ พยายามตั้งใจใช้สติคิดว่าจะแก้ได้อย่างไร อะไรเป็น เหตุ อะไรเป็นผล สายไปแค่ไหนแล้วและแก้ได้หรือไม่ ทำ�ให้ดีขึ้นได้หรือ ไม่ ถ้าแก้ไม่ได้ ขั้นสุดท้าย คือ ทำ�ให้ใจของเรายอมรับสิ่งนั้นให้ได้ ใจของ เราจะยอมรับได้ คิดได้ ปลงตกได้ ต้องมีสิ่งที่เรียกว่า ธรรมะ ท่านพุทธทาสภิกขุ สอนว่า โดยสรุปรวมในธรรมะของพระพุทธเจ้า อาจสรุปเป็นแบบหนึ่งได้ว่า สิ่งทั้งหลายทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น นั่น เป็นเพราะในความเป็นจริง สิ่งทั้งหลายย่อมไม่ได้ดั่งใจเรา มีความไม่เที่ยง แปรเปลีย่ นไปได้ตลอดเวลาด้วยเหตุและปัจจัย จึงไม่สมควรทีจ่ ะไปหลงยึด มั่นหมายว่าเป็นเรา เป็นตัวเรา หรือเป็นของของเรา สิ่งทั้งหลายไม่ได้ดั่ง ใจทั้งนั้น ไม่ว่าเราจะเป็นใคร รวยเพียงใด อำ�นาจล้นฟ้าขนาดไหน ต่างก็ มีความทุกข์ประจำ�ตัวประจำ�อยู่ทุกคนทั้งสิ้น เมื่อคนคนหนึ่งประสบอุบัติเหตุขาขาดสองข้าง เขาจะรู้สึกอยาก ตายไม่อยากอยู่ จะรู้สึกว่าชีวิตนี้ไม่มีอะไรเหลืออีกแล้ว แต่ผ่านไปสักสอง ปี ไปดูอีกทีกำ�ลังหัวเราะอยู่เพราะดูละคร ส่วนเรื่องขาขาดก็นั่งรถเข็นเอา และก็ชินเสียแล้ว ไม่เสียใจมากเหมือนตอนขาขาดใหม่ๆ บางคนแฟนตาย ไปเสียใจแทบตายตาม ผ่านไป 3 ปี มีแฟนใหม่แล้ว มีความสุขดีมากเลย ความทุกข์จึงเป็นของไม่เที่ยงเสมอ เช่นเดียวกับความสุข เพียงแต่ว่าตอน ทุกข์ ให้ผ่านวันเวลาไปได้ ไม่ด่วนตายไปเสียก่อน เมื่อทุกข์ผ่านไป จะมี สิ่งดีๆ ตามมาได้แน่นอน ฉบับที่ ๖๒ ปีที่ ๑๙ มกราคม-นีนาคม ๕๔

9


10

วารสารพุทธปทีป

และเมื่อมองย้อนไป ความทุกข์เหล่านั้นมันก็เท่านั้นเอง เมื่อเรา อ่านมาถึงตอนนี้ ก็ขอให้ลองใช้เวลานี้ นึกถึงอดีตที่มีทั้งทุกข์และสุขของ เราดู อดีตนั่นแหละที่จะสอนตัวเราในความจริงแห่งธรรมะ ในกาลาม สูตรพระพุทธเจ้าทรงสอนไม่ให้เชื่ออะไรง่ายๆ แต่สอนว่าเมื่อเราพิจารณา ได้ เ อง ว่ า นี่ เ ป็ น สิ่ ง ดี ห รื อ ไม่ ดี แ ก่ จิ ต ใจจึ ง ค่ อ ยเชื่ อ การจะพิ จ ารณาได้ อย่างนั้น จะต้องมีประสบการณ์ในความรู้สึก แบบนั้นในอดีตมาก่อน อดีต จึงเป็นธรรมะที่สอนใจได้เป็นอย่างดี ทุกข์ที่สุดจะเกิดจาก ความยึดมั่นถือมั่นที่สุด สิ่งใดที่เรารักมาก ยึดมากว่าเป็นตัวเราหรือของเรา สิ่งนั้นถ้าขาดหายไปจะทำ�ให้ทุกข์ถึงที่ สุด ถ้าเรารักความสวยงาม เมื่อเสียโฉมจะทุกข์ที่สุด ถ้าเรารักสามีหรือ ภรรยา เมื่อเขานอกใจ หรือเสียเขาไปจะทุกข์ที่สุด ถ้ารักลูก ลูกหายหรือ พิการหรือตายจะทุกข์ที่สุด ถ้ารักยศถาบรรดาศักดิ์เมื่อสูญเสียจะทุกข์ ที่สุด ถ้ารักตนเอง เมื่อทราบว่าตนป่วยเป็นมะเร็ง เป็นเอดส์ หรือโรคที่ รักษาไม่หายก็จะทุกข์ที่สุด แต่ถ้าเราไม่มีสิ่งนั้นเลย ก็ไม่มีอะไรจะทุกข์กับสิ่งนั้น ไม่มีลูกก็ไม่ ทุกข์กับลูก ไม่มีแฟนก็ไม่มีทุกข์จากแฟน ไม่มีทรัพย์สิน ก็ไม่ทุกข์กับ ทรัพย์สิน หรือถ้าเรามีแต่ทำ�ใจไว้เสมือนไม่มี หรือทำ�ใจไว้ว่าของที่มีมัน ไม่เที่ยงย่อมแปรปรวนไป ก็จะทุกข์น้อยลง ยิ่งยึดมั่นได้น้อยลงเท่าไรก็ ทุกข์น้อยลงเท่านั้นเป็นสัดส่วนไป เมื่อไม่ยึดมั่นก็ไม่ทุกข์เลย หมายความ ว่าไม่มีอะไรทำ�ให้ทุกข์ใจได้อีกเลย แต่ความเจ็บปวดยังมีตราบเท่าที่มี สังขารร่างกายอยู่ เพียงแต่ความทุกข์กายอันนั้น จะไม่สามารถมากินใจ ให้ทุกข์ใจได้เลย ความทุกข์ที่เกิดขึ้น มักเป็นสิ่งสำ�คัญที่ทำ�ให้คนคิดจะทำ�ความดี 10

วารสารพุทธปทีป


ฉบับที่ ๖๒ ปีที่ ๑๙ มกราคม-นีนาคม ๕๔

11

เพราะธรรมชาติของเราจะหลงลืมและเพลินในสุข ซึ่งความสุขส่วนมากที่ เราชอบ มักจะตั้งอยู่บนความไม่เที่ยงทั้งสิ้น พระพุทธองค์เห็นข้อนี้จึงสละ ทุกสิ่งออกบวชแสวงหาธรรมะ แต่อย่างเราๆ มักจะไม่คิดเรื่องนี้จนกว่าจะ ทุกข์เสียก่อน เราจึงพบว่าคนจำ�นวนมาก ได้ประพฤติธรรมะ ได้ทำ�สิ่งดีๆ แก่ตนและผู้อื่นเพราะประสพกับความทุกข์มาแล้ว ดังนั้นเมื่อมีทุกข์นั่น คือเราได้อยู่ใกล้ธรรมะแล้ว ถ้าผ่านช่วงนี้ไป ได้ก็มักจะมีสิ่งดีโอกาสดี และเราเองก็จะดำ�รงอยู่ในความดีมากขึ้น ความ ทุกข์และความสุขเป็นของคู่โลกเช่นนี้มาตลอด เมื่อเราทุกข์หรือพบคนที่ทุกข์ อย่าลืมเปลี่ยนอารมณ์ ตั้งสติหาทาง แก้ไข ใช้ความดีเอาชนะสิ่งไม่ดี ทุกข์ย่อมไม่เที่ยง ย่อมผ่านไป เป็นธรรมดา และเราก็มีโอกาสที่จะได้รับสิ่งที่ดี ได้ปรับปรุงตนเป็นคนดีเสมอ หวังว่า บทความนี้จะเป็นประโยชน์กับทุกท่าน.

ขอเชิญผู้สนใจปฏิบัติธรรมประจำ�เดือน ครั้งละ 5 วัน ตลอดปี 2554 ผู้ที่สนใจสามารถสอบรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ พระมหาประเสริฐ ฐิตคุโณ วัดพุทธปทีป กรุงลอนดอน โทร. 020 8946 1357 | bppthai@hotmail.com ฉบับที่ ๖๒ ปีที่ ๑๙ มกราคม-นีนาคม ๕๔

11


12

วารสารพุทธปทีป ขอขอบคุณเจ้าของบทความจาก www.kulasatree.com

สมาธิ

บำ�บัด

“เครียด” เครียด เครียด เครียด ชีวิตประจำ� วันของคนทำ�งานทำ�ให้ดัชนีความเครียด ของคนไทยพุง่ สูงปรีด ๊ ความเครียดทำ�ให้ สุขภาพเราแย่ลง ทำ�ให้เราป่วยง่ายขึ้น ที่ สำ�คัญสำ�หรับสาวๆ เครียดมากๆทำ�ให้ หน้าแก่ก่อนวัยได้นะ เมื่อเรารู้สึกเครียด ร่างกายเราจะหลั่งฮอร์โมน Adrenaline จากต่อมหมวกไต

12

วารสารพุทธปทีป


ฉบับที่ ๖๒ ปีที่ ๑๙ มกราคม-นีนาคม ๕๔

13

ถ้าเครียดมากก็หลั่ง Adrenaline มากขึ้นฮอร์โมนความเครียดก็ จะไปยับยั้งการทำ�งานของอวัยวะสำ�คัญทั้งหมด เช่นหัวใจ ไต ตับ ปอด ทำ�ให้อวัยวะสำ�คัญของเราเสื่อมลงอย่างรวดเร็ว สุดท้ายก็พร้อมใจกัน หยุดทำ�งาน เพราะฮอร์โมนความเครียดไปทำ�ให้ภูมิต้านของร่างกายเรา ลดลง เรียกว่าโรคเครียด นอกจากทำ�แก่ง่ายแล้วยังทำ�ให้ถึงตายได้นะเนี่ย ผ่อนคลายความเครียดด้วยการทำ�สมาธิ การทำ�สมาธิถือได้ว่าเป็นการผ่อนคลายความเครียดที่ลึกซึ้งที่สุด สมาธิทำ�ให้จิตใจสงบนิ่ง แต่มีสติ หยุดความคิดที่ฟุ้งซ่าน วิตกกังวล หรือ อารมณ์ด้านลบทั้ งหลาย เมื่อเราทำ�สมาธิจะรู้สึกสบายขึ้นเพราะจะมี Hormoneชื่อ Endorphins หลั่งออกมาในขณะที่จิตใจสงบนิ่ง ฮอร์โมน Adrenaline จากต่อมหมวกไต ก็จะหยุดหลั่ง และในขณะนั้นเองเมื่อ จิตสงบสมองส่วน Hypothalamus จะสั่งให้เม็ดเลือดขาวแข็งแรงขึ้น ภู มิ ต้ า นทานของเราก็ จ ะสร้ า งเพิ่ ม ขึ้ น หลั ง จากถู ก ยั บ ยั้ ง ด้ ว ยฮอร์ โ มน ความเครียด การทำ�สมาธินี้ดีมากๆ สำ�หรับคนที่กำ�ลังบำ�บัดมะเร็งเพราะ ฉบับที่ ๖๒ ปีที่ ๑๙ มกราคม-นีนาคม ๕๔

13


14

วารสารพุทธปทีป

เมื่อภูมิต้านทานกระเตื้องขึ้นการกำ�จัด cell มะเร็งก็จะเป็นไปตามที่ ต้องการ ทำ�สมาธิแบบไหนดี? การทำ�สมาธิที่สามารถบำ�บัดโรคที่เกิดจากความเครียด ความกังวล ไม่ใช่โรคที่เกิดจากเชื้อโรคโดยตรง แต่สามารถรักษาใจที่เป็นทุกข์อันเกิด จากโรคได้ วิธีฝึกสมาธิบำ�บัดมีหลายวิธี ได้แก่ การนั่งภาวนา เดินจงกรม การแผ่เมตตา การอธิษฐานจิต การฝึกใช้พลังภายในร่างกาย การใช้พลัง ภายนอก การฝึกเพ่งลูกแก้ว และอย่างน้อยควรทำ�วันละ ๒ ครั้ง ถ้าทำ�ได้ ท่าที่สบายที่สุด จะนั่งขัดสมาธิหรือจะนอนหงายวางแขนไว้ข้างตัวก็ได้ ให้เป็นท่าที่ เรารู้สึกสบายตัวที่สุด แล้วก็เลือกสถานที่ที่เรารู้สึกผ่อนคลาย สบายๆไม่ ร้อนไม่หนาวเกินไป อุณหภูมิในห้องสบาย ๆ หลับตาลงจะได้ตัดตัวเองออกจากโลกภายนอก จิตจะได้สงบง่าย ขึ้น แล้วเริ่มด้วยการกำ�หนดลมหายใจโดยสูดหายใจเข้าช้า ๆ ให้ท้องพอง หายใจออกช้า ๆให้ท้องแฟบ สัก ๓ ครั้ง ให้สังเกตลมที่ผ่านเข้าออกทาง จมูกว่ากระทบถูกอะไรบ้าง จากนั้นให้หายใจให้สบาย กำ�หนดจิตของตนไปรับรู้ลมหายใจเข้า ออก โดยไม่ต้องสนใจเสียงรอบข้าง ให้รับรู้เฉย ๆ ถ้าจิตมันจะวอกแวกนึก นั่นนึกนี่ แว่บไปหาเพื่อนคนโน้นคนนี้ นึกห่วงงานที่นั่นที่นี่บ้างก็ดึงสมาธิ กลับมาอยู่กับลมหายใจ แรก ๆ อาจทำ�ยากมาก เหมือนเราหัดเดินตั้งไข่ ครั้งแรก ล้มบ้าง ลุกบ้างแต่ถ้าพยายามเข้าในที่สุดเราก็จะเดินได้การทำ� สมาธิก็เช่นกัน ถ้าเราพยายามขยันดึงจิตกลับมาอยู่กับลมหายใจ ทำ�ซ้ำ� ๆ สม่ำ�เสมอ ในที่สุดจิตก็จะเชื่อง และเริ่มนิ่ง เมื่อเข้าถึงสมาธิก็จะได้ความ รู้สึกปีติรู้สึกสบายอย่างที่ไม่เคยรู้สึกมาก่อน เพราะ ฮอร์โมน Endorphins หลั่งออกมา และ ฮอร์โมนความเครียด Adrenaline ที่ต่อมหมวกไตก็จะ 14

วารสารพุทธปทีป


ฉบับที่ ๖๒ ปีที่ ๑๙ มกราคม-นีนาคม ๕๔

15

อร่บทีอ่ ๖๒ ยทุปีกทมืี่ ๑๙้อ มกราคม-นี ที่ Thaiนาคม Rice๕๔ ฉบั

15


16

วารสารพุทธปทีป

หยุดหลั่งออกมา และเมื่อเข้าสมาธิได้แล้วก็ควรทำ�เป็นประจำ�อย่างน้อย วันละ ๒ ครั้งๆ ละไม่ต่ำ�กว่า ๑๕ นาที เทคนิคการฝึกหายใจ โดยปกติแล้วการหายใจด้วยอก ชีพจรจะเต้นเร็ว เหนื่อยง่าย ต้อง หายใจถี่ๆแต่ถ้าหายใจด้วยท้องชีพจรจะเต้นช้า ในทางวิทยาศาสตร์เรา อธิบายได้ว่าเป็นการกระตุ้นกะบังลม ที่กะบังลมจะมีเส้นประสาทวากัส (Vagus) ซึ่งเส้นประสาทตัวนี้เป็นพาราซิมพาเทติก เป็นเส้นประสาทมีผล ต่อการผ่อนคลายของกล้ามเนื้อ เพิ่มการทำ�งานของลำ�ไส้ เส้นประสาทวา กัส (Vagus) จะส่งคลื่นไปที่สมอง ทำ�ให้หลอดเลือดขยาย ความดันเลือด ลดลง ชีพจรเต้นช้า หายใจช้า ดังนั้นเราจึงต้องฝึกหายใจลงไปที่ท้องแทน เทคนิคการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ความเครียดทำ�ให้กล้ามเนื้อทุกระบบในร่างกายหดตัว เวลาเครียด เรามักจะทำ�หน้านิ่วคิ้วขมวด กำ�หมัด กัดฟัน ทุกครั้งที่รู้สึกเครียด ทำ�ให้ กล้ามเนื้อเกร็งตัวเกิดอาการเจ็บปวด เช่น ปวดต้นคอ ปวดหลัง ปวดไหล่ การฝึกคลายกล้ามเนื้อ จะช่วยลดอาการหดเกร็งของกล้ามเนื้อลง เพราะในขณะที่ฝึก จิตใจ ของเราจะจดจ่ออยู่กับการคลายกล้ามเนื้อ ความคิดฟุ้งซ่าน และความวิตก กังวลก็ลดลง ช่วยให้จิตใจจะมีสมาธิมากขึ้น วิธีการฝึก เลือกนั่งในท่าที่สบาย เลือกเสื้อผ้าที่สวมใส่สบาย ถอด รองเท้า หลับตา ทำ�ใจให้ว่าง ตั้งใจจดจ่ออยู่ที่กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ๑๐ กลุ่ม โดยการปฏิบัติดังนี้คือ ๑. มือและแขนขวา โดยกำ�มือ เกร็งแขน แล้วคลาย ๒. มือและแขนซ้าย ทำ�เช่นเดียวกัน ๓. หน้าผาก เลิกคิ้วสูงแล้วคลาย ขมวดคิ้วแล้วคลาย 16

วารสารพุทธปทีป


ฉบับที่ ๖๒ ปีที่ ๑๙ มกราคม-นีนาคม ๕๔

17

๔. ตา แก้ม จมูก ให้หลับตาแน่น ย่นจมูก แล้วคลาย ๕. ขากรรไกร ลิ้น ริมฝีปาก โดยกัดฟัน ใช้ลิ้นดันเพดานปากแล้ว คลาย เม้มปากแน่นแล้วคลาย ๖. คอ โดยก้มหน้าให้คางจรดคอแล้วคลาย เงยหน้าจนสุดแล้ว คลาย ๗. อก ไหล่ และหลัง โดยหายใจเข้าลึกๆกลั้นไว้ แล้วคลาย ยกไหล่ สูงแล้วคลาย ๘. หน้าท้องและก้น โดยการแขม่วท้อง แล้วคลาย ขมิบก้นแล้ว คลาย ๙. เท้าและขาขวา โดยเหยียดขา งอนิ้ว แล้วคลาย เหยียดขา กระดกปลายเท้าแล้วคลาย ๑๐. เท้าและขาซ้าย ทำ�เช่นเดียวกัน ข้อแนะนำ� ระยะเวลาที่เกร็งกล้ามเนื้อ ให้น้อยกว่าระยะเวลาที่ผ่อนคลาย เช่น เกร็ง ๓-๕ วินาที ผ่อนคลาย ๑๐-๑๕ วินาที ควรฝึกประมาณ ๘-๑๒ ครั้ง เพื่อให้เกิดความชำ�นาญ เมื่อคุ้นเคยกับการผ่อนคลายแล้ว ให้ฝึกคลายกล้ามเนื้อได้เลยโดย ไม่ต้องเกร็งก่อนหรืออาจเลือกคลายกล้ามเนื้อเฉพาะส่วนที่มีปัญหาก็ได้ เช่น บริเวณใบหน้า คอ หลัง ไหล่ เป็นต้น ไม่จำ�เป็นต้องคลายกล้ามเนื้อ ทั้งตัวแต่ถ้ามีเวลาทำ�ได้ทั้งหมดก็จะดีมากมากสำ�หรับตัวคุณเอง ฝึกสมาธิประจำ� แก้ได้หลายโรค หากฝึกสมาธิเป็นประจำ� จิตใจก็เบิกบาน สมองแจ่มใส จิตใจเข้มแข็ง อารมณ์เย็น พร้อมตลอดเวลาไม่ว่าจะมีปัญหาอะไรมากระทบ สามารถแก้ ปัญหาต่างๆ ด้วยความมั่นใจในตัวเอง เมื่อมีสมาธิที่เข้มแข็ง ปัจจุบันมีการ วิจัยและค้นพบข้อดีของการทำ�สมาธิเช่น ฉบับที่ ๖๒ ปีที่ ๑๙ มกราคม-นีนาคม ๕๔

17


18

วารสารพุทธปทีป

ช่วยปรับสภาวะสมดุลของร่างกายให้เป็นปกติ ทำ�ให้อัตราการ หายใจและชีพจรช้าลง ทำ � ให้ ค ลื่ น สมองสงบ กล้ า มเนื้ อ ผ่ อ นคลายตั้ ง แต่ ศี ร ษะจรดเท้ า ระดับฮอร์โมนที่ถูกระตุ้นจากความเครียดลดลง แก้ปัญหานอนไม่หลับได้ถึงร้อยละ ๗๕ และ ช่วยให้ผู้ที่ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ ใช้ยาแก้ปวดลดลงจาก เดิมร้อย ละ ๓๔ ช่วยให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งและโรคเอดส์ มีอาการทุกข์ทรมานลดน้อย ลงกว่าการรักษาเฉพาะทางทางยา ช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะไมเกรน ความถี่หรือความรุนแรงของ อาการจะลดลงร้อยละ ๓๒ และยังพบอีกว่าในการรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน ผู้ที่มี ความเชือ่ มัน่ ในศาสนาจะหายเร็ว กว่า ตรงกันข้ามกับคนทีไ่ ม่นบั ถือศาสนา อะไรเลย จะมีอัตราการตายมากกว่าผู้นับถือศาสนาถึง ๓ เท่า ในสหรั ฐ อเมริ ก า มี ง านวิ จั ย ของมหาวิ ท ยาลั ย วิ ส คอนซิ ล และ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย พบผลตรงกันว่า ชาวพุทธทีน่ ัง่ สมาธิเป็นประจำ� สมองในส่วนที่ทำ�งานเกี่ยวข้องกับอารมณ์ที่ดี และ ความคิดด้านบวกจะ ทำ�งานกระฉับกระเฉงกว่า ช่วยผ่อนคลายความเครียด และทำ�ให้สมอง ส่วนที่เป็นศูนย์กลางความทรงจำ�ด้านร้ายสงบลง และการนั่งสมาธิอย่าง สม่ำ�เสมอ จะช่วยให้อารมณ์แปรปรวน ตกใจ เกรี้ยวกราด หรือหวาด กลัวลดลงด้วย แพทย์โรคหัวใจจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้ให้คนไข้โรคหัวใจฝึก สมาธิระหว่างบำ�บัดด้วยยาไปด้วยและได้ผลเป็นที่น่าพอใจ เพราะทำ�ให้ ความดันโลหิตและความเครียดลดลงอย่างมาก ฉะนั้นถ้าอยากมีสุขภาพดี ไม่แก่ง่าย ตายเร็ว ก็ต้องเริ่มการฝึกทำ� สมาธิและต้องเริ่มทำ�ตั้งแต่เดี๋ยวนี้เลย อย่าได้ผัดผ่อนเด็ดขาด 18

วารสารพุทธปทีป


ฉบับที่ ๖๒ ปีที่ ๑๙ มกราคม-นีนาคม ๕๔

19

ฉบับที่ ๖๒ ปีที่ ๑๙ มกราคม-นีนาคม ๕๔

19


20

วารสารพุทธปทีป ขอขอบคุณเจ้าของบทความจาก​ ผลงานเขียนของ “ชุติปัญโญ”

แรงดล

ใจให้

“ชีวิต”

เพี ย งอาศั ย ความคิ ด ที่ ช่ ว ยให้ ก้ า วไปข้ า งหน้ า อย่างอาจหาญแต่เพียงอย่างเดียว ย่อมไม่เพียง พอที่จะทำ�ให้คนเรารู้สึกมั่นใจในการแสวงหาได้ บางครั้งต้องอาศัยเหตุการณ์และสิ่งแวดล้อม อย่างอื่นมาเป็นแรงดลใจอีกชั้นหนึ่งด้วย การ แสวงหาจึงชัดเจนและประสบความสำ�เร็จได้

20

วารสารพุทธปทีป


ฉบับที่ ๖๒ ปีที่ ๑๙ มกราคม-นีนาคม ๕๔

21

คนเราเกิดมาเพื่อเรียนรู้ที่จะด�ำรงอยู่ในโลกด้วยความหวังว่า อยาก มีความสุขด้วยกันทุกคน เพียงแต่วิธีการแสวงหาอาจจะแตกต่างกันออกไป ทว่าศูนย์รวมของค�ำตอบก็ไปอยู่ที่ความรู้สึกเดียวกัน คือ ต้องการสัมผัส กับความรู้สึกที่น�ำมาซึ่งความพอใจให้กับตัวเองเป็นส�ำคัญเมื่อการค้นหา ความสุขเป็นสิ่งที่แต่ละคนต้องสร้างให้มีส�ำหรับตัวเอง สิ่งที่ตามมาก็คือ “แรงดลใจให้ชีวิต” เพราะเพียงอาศัยความคิดที่ช่วยให้ก้าวไปข้างหน้าอย่างอาจหาญ แต่เพียงอย่างเดียว ย่อมไม่เพียงพอที่จะท�ำให้คนเรารู้สึกมั่นใจในการ แสวงหาได้ บางครั้งต้องอาศัยเหตุการณ์และสิ่งแวดล้อมอย่างอื่นมาเป็น แรงดลใจอีกชั้นหนึ่งด้วย การแสวงหาจึงชัดเจนและประสบความส�ำเร็จได้ เช่ น ดั่ ง พระพุ ท ธเจ้ า มี แรงดลใจที่ จ ะออกแสวงหาความหลุ ด พ้ น จากวัฏสงสาร เพราะเห็นคนแก่ คนเจ็บ คนตาย และสมณะผู้สงบ จึง ตัดสินพระทัยปลีกตัวออกจากพระราชวัง เพื่อค้นหาค�ำตอบชีวิตให้กับตัว เอง นักวิทยาศาสตร์นามว่า นิวตัน ค้นพบแรงโน้มถ่วงของโลก เพราะได้ รับแรงดลใจจากการหล่นของลูกแอปเปิ้ล พี่น้องตระกูลไรท์สามารถสร้าง เครื่องบินได้ เพราะมีแรงดลใจจากการเห็นนกบินอยู่ ณ ฟากฟ้าเบื้องบน ฉบับที่ ๖๒ ปีที่ ๑๙ มกราคม-นีนาคม ๕๔

21


22

วารสารพุทธปทีป

แรงดลใจให้ ชี วิ ต จึ ง เป็ น นิ ย ามของการแสวงหาค�ำตอบให้ กั บ ตั ว เองได้อีกแนวทางหนึ่ง โดยเฉพาะการค้นหาตัวเองตามแนวค�ำสอนทาง พระพุทธศาสนา ยิ่งจะพบความซับซ้อนที่มีอยู่ในตัวเองนั้นว่า เป็นสิ่ง มหัศจรรย์อย่างยิ่ง และต้องอาศัยสิ่งที่มาเป็นแรงดลใจเพิ่มมากขึ้นเช่น เดียวกัน ความปรารถนาที่ต้องการจึงจะสัมฤทธิ์ผล เพราะเมื่อเราได้เรียนรู้ค�ำสอนของพระพุทธองค์อย่างถูกต้องแล้ว สิ่งหนึ่งที่ประจักษ์รู้ได้ก็คือค�ำสอนของพระพุทธองค์นั้น เป็นภาวะสากลที่ ทุกคนสามารถเรียนรู้และสัมผัสสุขอันเกิดขึ้นภายในใจได้ ไม่ว่าบุคคลนั้น จะเป็นคนเชื้อชาติ ศาสนา และภาษาใด ล้วนมีภาวะแห่งความเป็น ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยกันทุกคน เหลือเพียงแต่การค้นหาเท่านั้นเอง ในจ�ำนวนผู้ต้องการแสวงหาค�ำตอบให้กับชีวิต หนึ่งในนั้นก็นับภิกษุ ผู้มีนามว่า “มิตซูโอะ คเวสโก” รวมอยู่ด้วย ถึงแม้ท่านจะเป็นคนต่างชาติ จากญี่ปุ่น แต่ภาวะความต้องการที่จะแสวงหาความสุขที่แท้จริงเต็มเปี่ยม เพราะในอดีตก่อนที่จะมาบวชในพระพุทธศาสนา ท่านเคยเป็นนักแสวงหา อิสระโดยการไปอยู่ประเทศเนปาลกับเพื่อนนักปีนเขามาก่อน ต่อมาจึงได้เดินทางไปที่ประเทศอินเดีย และเริ่มฝึกสมาธิกับโยคี หลังจากนั้นจึงได้รับรู้ว่า ประเทศไทยคือแหล่งศึกษาเรื่องการค้นหาชีวิตที่ ยิ่งใหญ่ จึงตัดสินใจเดินทางมาเพื่อพิสูจน์ค�ำกล่าวนั้น คือการมาพึ่งใบบุญ ด้วยการบวชในพระพุทธศาสนากับหลวงพ่อชา พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก มีนามเดิมว่า “มิตซูโอะ ซิบายชิ” ซึ่งเป็นชื่อที่เรียกยาก ต่อมาหลวงพ่อชาจึงเรียกเพื่อให้จำ�ง่ายเชิงเอ็นดูว่า “สี่บาทห้าสิบ” ท่านพระอาจารย์มิตซูโอะได้เล่าไว้ว่า หลวงพ่อชาคือแรง ดลใจแห่งชีวิตที่ทำ�ให้ท่านได้ค้นพบตัวเอง เปรียบประดุจว่า ได้เกิดใหม่ และพบสิ่งที่ประเสริฐสำ�หรับตัวท่านเอง ท่านได้กล่าวถึงความรู้สึกเมื่อครั้งมาบวชใหม่ ๆ แล้วได้ฟังธรรมจาก หลวงพ่อชา เป็นใจความสั้น ๆ ที่บาดลึกเข้าไปถึงก้นบึ้งของจิตใจ ทำ�ให้ เห็นสาระสำ�คัญของชีวิตว่า ควรดำ�เนินไปในทิศทางใด จึงจะคุ้มค่ากับการ 22

วารสารพุทธปทีป


ฉบับที่ ๖๒ ปีที่ ๑๙ มกราคม-นีนาคม ๕๔

23

เกิดมาเป็นมนุษย์ในภพนี้ ท่านยังจำ�พระธรรมเทศนาของหลวงพ่อชา อัน เป็นแรงดลใจให้ท่านได้เรียนรู้ชีวิตให้เกิดความดีงามในครั้งนั้นได้ดี โดย หลวงพ่อชาสอนท่านว่า “คนเรามันโง่หลาย เที่ยวตามเงาของตัว เองเสียเป็นส่วนมาก ถ้าหากว่าเรารู้จักตามหา จิตใจของเราเหมือนกับตามหาแนว (สิ่ง) อื่น ๆ ป่านนี้เราก็ไปไกลแล้ว คนเรานี่หลงทาง จิตใจ โหดร้ายก็ไม่รู้สึกตัว จิตใจเดือดร้อนเป็นทุกข์ก็ ไม่รู้จัก มันมัวแต่เสริมต่อเอาของไม่ดีใส่ตัวเรา อยู่เรื่อย ๆ” ชีวิตของคนเราก็เช่นกัน เมื่อต้องการค้นหาตัวเองให้เจอสัจธรรมอัน แฝงอยู่ในชีวิต ควรมีแรงดลใจจากตัวเองเป็นแรงขับภายใน และแรงดลใจ คือกัลยาณมิตรสนับสนุนด้วย เพื่อเป็นเครื่องกระตุ้นให้มีการแสวงหาคำ� ตอบของชีวิตให้กับตัวเอง เพราะเมื่อไตร่ตรองด้วยใจที่เป็นกลางแล้ว ชีวิต ของเราที่กำ�ลังดำ�เนินไปอยู่นี้ ไม่มีเวลามากพอที่จะใช้ชีวิตอย่างอ้อยอิ่ง ต่อสรรพสิ่งที่เกิดขึ้น เพราะการดำ�รงอยู่ของสังขารนั้น เมื่อวัดบนความไม่เที่ยงของกาล เวลา ช่างเป็นเวลาที่น้อยนิดเสียกระไรดี จึงต้องแสวงหาคำ�ตอบด้วยตัว เองให้แจ่มแจ้ง ก่อนสนธยาแห่งชีวิตจะผ่านมาพรากสิ่งต่าง ๆ ให้จากไป การแสวงหาแรงดลใจเพื่อค้นหาคำ�ตอบที่ซ่อนเร้นอยู่ภายในชีวิต จึง เป็นความงดงามที่คนเราควรมี เพื่อเป็นเครื่องการันตีให้ชีวิตนี้มีคำ�ตอบ และเป็นที่พักพิงแห่งสุขเมื่อวันหนึ่งต้องอยู่ลำ�พังผู้เดียว

ฉบับที่ ๖๒ ปีที่ ๑๙ มกราคม-นีนาคม ๕๔

23


24

วารสารพุทธปทีป ขอขอบคุณเจ้าของบทความจาก​ ผลงานเขียนของ “พระมหาสวัสดิ์ ญาณธโร”

อย่ามองข้าม

สิ่งเล็กน้อย ที่ วั ด แห่ ง หนึ่ ง หลวงตาแก่ รู ป หนึ่ ง อยู ่ จ�ำพรรษาในวั ด แห่ ง นี้ วันหนึ่งหลังจากท�ำกิจวัตรไหว้พระ สวดมนต์เจริญภาวนาตามประสา พระหลวงตาแล้ว ก็มีอุบาสิกาที่มา อาศัยปฏิบัติธรรมอยู่ที่วัด รายงาน ว่า ชักโครกกดน�้ำไม่ลง จึงท�ำความ กังวลใจแก่หลวงตาว่า หากชักโครก ไม่ท�ำงาน ต้องเดือดร้อนกันทั้งวัด แน่ เพราะทั้งวัดมีห้องน�้ำห้องเดียว เสียด้วย หลวงตาจึงปลดจีวรสวม บทนายช่างจ�ำเป็นเข้าไปตรวจสอบ ดูว่าเกิดขึ้นจากสาเหตุใด ได้ ค วามว่ า สายลวดที่ เ ป็ น ตัวดึงที่เปิดปิดที่ชักโครกเกิดขาดไป เออมิน่าละ หลวงตาอุทาน เส้นลวด ที่แข็งแกร่งมั่นคงก็ยังขาดได้เพราะ 24

วารสารพุทธปทีป

น�้ำกัดกร่อนจนเป็นสนิม นับประสา อะไรกับสังขารร่างกายเรา มันช่าง ไม่เที่ยงจริงๆ หลวงตาอุทานต่อ หลวงตาได้ จั ด การหาลวด ใหม่ ม าใส่ แ ทนที่ เ ดิ ม พร้ อ มกั บ บ่ น พึมพ�ำไปด้วยว่า “นี่ ! ถ้ า ใครมาปลดทุ ก ข์ แล้วชักโครกใช้การไม่ได้ คงต้อง เดือดกันทั้งวัดแน่ๆ เส้นลวดเล็กๆ เส้นนี้ชั่งมีความหมายจริงๆ” ในชี วิ ต ประจ�ำวั น ของเราก็ อาจเป็นเช่นเรื่องของหลวงตารูปนี้ อยู่ไม่น้อย ส่วนมากเรามักจะมอง เรื่องใหญ่ๆ โดยลืมเรื่องเล็กๆ น้อยๆ โดยคิดว่าไม่ส�ำคัญ แต่สิ่งเล็กน้อยนี้ แหละอาจน�ำมาซึ่งความแตกแยก ในครอบครัว บ้านเมือง ก็เป็นได้


ฉบับที่ ๖๒ ปีที่ ๑๙ มกราคม-นีนาคม ๕๔

หากมองในเรื่ อ งบุ ญ บาปยิ่ ง ไม่ควรมองข้าม ในฝ่ายที่เป็นบุญ ก็ อ ย่ า ดู ถู ก ว่ า บุ ญ แค่ ก ารให้ ท าน รักษาศีล เจริญภาวนาเพียงเล็กน้อย ในแต่ ล ะวั น จะไม่ มี ผ ล การสั่ ง สม บุ ญ เปรี ย บเหมื อ นโยนเมล็ ด ถั่ ว งา ลงในเหวลึก แรกๆ เราอาจมองไม่ เห็นและไร้ความหวังที่จะเห็น แต่ ถ้าขยันโยนลงบ่อยๆ นานเข้าก็จะ มองเห็นและเต็มได้วันหนึ่ง หากเป็นฝ่ายบาปอกุศลก็ไม่ ควรอย่ า งยิ่ ง ที่ จ ะดู ถู ก บาปอกุ ศ ล เพี ย งเล็ ก น้ อ ยที่ ก ระท�ำ กิ เ ลสมั น หัวเราะเยาะเราอย่างกึกก้องที่เรา มองไม่เห็นมัน และหลงไปกระท�ำ มันเข้า ฉะนั้ น จึ ง ไม่ ค วรดู ถู ก โดย เผลอตั วหลอกตั วเองว่า “เออวะ แค่นิดหน่อยเอง คงไม่เป็นไรหรอก ยมบาลคงมองไม่เห็นหรอก” ระวัง การแก้ตัวแค่นิดหน่อยนี้จะน�ำมาซึ่ง

25

ความทุกข์ในเบื้องหน้า พระพุทธ องค์ เ ตื อ นภิ ก ษุ ใ ห้ ร ะวั ง ความผิ ด เพี ย งเล็ ก น้ อ ยแม้ เ พราะเหตุ แ ห่ ง ชีวิตเลยทีเดียว คือเอาชีวิตเป็นเดิม พันเลยว่า ขึ้นชื่อว่าบาปแม้ชีวิตจะ ดับลงตรงนั้นก็อย่าท�ำมันเลยดีกว่า ในสายใยชี วิ ต ประจ�ำวั น ความสั ม พั น ธ์ เ ล็ ก น้ อ ยก็ อ ย่ า มอง ว่าไม่มีค่า ความห่วงใยถามถึงสุข ทุกข์กันเป็นสิ่งที่ไม่น่าเกียจคร้านที่ จะเอ่ยถาม คุณอาจไม่ต้องการค�ำ ตอบ แต่รู้เถอะว่าคนที่ถูกถามดีใจ แค่ไหนที่ยังมีคนห่วงใย ถึงไม่โทรก็ ส่งข้อความหากันบ้างก็ยังดี หลวงตายิ้มแฉ่งดีใจที่ได้เป็น สายลวดปลดทุกข์ใจให้กับญาติโยม ยิ่งกว่านั้นยังได้พบเกร็ดธรรมจาก ลวดเส้ น เล็ ก ๆ นั้ น ด้ ว ย อย่ า งนี้ ต้องถวายกาแฟร้อนๆ สักถ้วยเป็น รางวั ล แก่ ห ลวงตาคงดี ไ ม่ น ้ อ ย... อมิตตาพุธ.

ฉบับที่ ๖๒ ปีที่ ๑๙ มกราคม-นีนาคม ๕๔

25


26

วารสารพุทธปทีป ขอขอบคุณเจ้าของบทความจาก​ ผลงานเขียนของ “พ.รัตนลักข์ เปรียญ ๙”

ผู้รอคอย

การ

“กลับมา” การรอคอย คือ ความทรมานใจอย่างหนึ่ง ผู้ที่เฝ้ารอสิ่งหนึ่งสิ่ง ใด หรือเฝ้ารอเรื่องหนึ่งเรื่องใดอยู่ด้วยความหวัง จิตใจย่อมจะเกิดความ กระวนกระวายหาความสงบไม่ได้ มันเกิดความกระสับกระส่ายคิดโน่น คิดนี่ไปเรื่อย คนเราทุกคนต่างก็มีความหวัง เมื่อมีความหวังก็ต้องเฝ้ารอความ หวังอันนั้น แต่จะสมหวังหรือไม่นั้น เป็นอีกเรื่องหนึ่ง เพราะความสมหวัง กับความผิดหวัง เป็นเรื่องคู่กันกับคนเรามาทุกยุคทุกสมัย ชีวิตอยู่ด้วยความหวัง เป็นปรัชญาชีวิตที่ใครก็ไม่รู้ตั้งขึ้นมา ซึ่งมันจะ ผิดหรือไม่ผิดก็ตามเถอะ แต่ในสังคมปัจจุบัน “ความผิดหวัง” เป็นปัญหา อันยิ่งใหญ่ของชีวิตสามัญชน เมื่อความผิดหวังมาเยือน ความเสียใจก็เข้า ครอบง�ำจิตใจ ท�ำให้เกิดความหดหู่ ว้าวุ่นใจ ท้อแท้ บางคนก็เหมือนกับ ซากศพเดินได้ ไม่มีชีวิตชีวา บางคนก็กินไม่ได้ นอนไม่หลับ เบื่อชีวิต เบื่อ โลก ไม่อยากเห็นหน้าใคร ๆ ไม่อยากรับรู้อะไรต่าง ๆ นี่ คือ อานุภาพ ของความผิดหวัง แล้วรู้หรือไม่ว่า ความผิดหวังมาจากไหน ? 26

วารสารพุทธปทีป


ฉบับที่ ๖๒ ปีที่ ๑๙ มกราคม-นีนาคม ๕๔

27

ความจริงแล้ว ความผิดหวังมันก็มาจากความหวังนั่นเอง คือ เมื่อมี ความหวัง มันจึงมีความผิดหวัง ถ้าไม่มีความหวัง มันก็จะไม่มีความผิดหวัง ความหวังเป็นสิ่งที่เราทุกคนปรารถนาที่จะได้มาประดับชีวิต ส่วนความ ผิดหวังความไม่สมหวัง เป็นสิ่งที่เราทุกคนเกลียด ไม่ปรารถนาจะให้เข้า มาในชีวิต การที่เราตั้งความฝันในเรื่องใดเรื่องหนึ่งนั้น ไม่ใช่เรื่องเสียหาย แต่อย่างใด ถ้าความหวังความฝันนั้นเป็นไปในทางที่ถูกที่ควร ไม่เป็นไป ในทางเบียดเบียนผู้อื่น แต่ว่าความหวังกับความผิดหวังนั้นเป็นของคู่กัน เพราะว่า “ความ สมหวังอยู่ที่ไหน ความผิดหวังก็อยู่ที่นั่น” ความหวังที่ท�ำให้คนผิดหวังนั้น มี ๓ อย่างคือ ๑. หวังในสิ่งที่เป็นไปได้ยาก คือ หวังในสิ่งที่มันยาก ไม่อาจจะ ส�ำเร็จได้โดยง่าย บางทีชาตินี้ทั้งชาติอาจจะไม่สมหวังเลยก็ได้ ในข้อนี้มี ความหวังอยู่ ๓ ระดับคือ ก. หวังยากที่สุด คือ หวังในตัวคน เป็นความหวังที่ยากที่สุด เพราะ การที่จะหวังให้ใครคนใดคนหนึ่ง เป็นอย่างที่เราคิด เป็นอย่างที่เราต้องการ เช่น หวังจะให้เขารักเราเหมือนที่เรารักเขา หวังจะให้เขาช่วยเมื่อตัวเอง เดือดร้อน หวังจะให้เขาได้ดิบได้ดี เป็นต้น เป็นเรื่องที่ยากที่สุด เพราะ คนเราต่างจิต ต่างใจ ต่างความคิด ในข้อนี้ควรตั้งความหวังไว้สัก ๒๕ เปอร์เซนต์ หวังยากมาก คือ หวังในสิ่งของและโชคลาภ เป็นความหวังที่ส�ำเร็จ ได้ยาก เช่น หวังว่าข้าวในนาจะงาม หรือหวังว่าจะถูกลอตเตอรี่รางวัลที่ หนึ่ง เป็นต้น ความหวังเช่นนี้ เราเป็นผู้ก�ำหนดมันขึ้นมาเอง สิ่งต่าง ๆ เหล่า นั้นไม่ได้รู้เรื่องอะไรกับเราเลย บางคนก็ไปขูดต้นไม้ขอเลขขอหวย เมื่อซื้อ ไม่ถูกก็พาลหาเรื่องต้นไม้ว่า ไม่ศักดิ์สิทธิ์ ให้หวยไม่แม่น ความหวังในข้อ นี้ควรตั้งไว้สัก ๕๐ เปอร์เซนต์ หวังยาก คือ หวังในเหตุการณ์ ได้แก่ ความหวังในสิ่งที่สามารถคาด ฉบับที่ ๖๒ ปีที่ ๑๙ มกราคม-นีนาคม ๕๔

27


28

วารสารพุทธปทีป

การณ์ได้ เช่น หวังว่าฝนจะตก หวังว่าจะได้เลื่อนขึ้นเงินเดือน หวังว่าจะไม่ หนาวไม่ร้อน เป็นต้น สิ่งเหล่านี้สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ แต่ก็ไม่ควร หวังเต็มร้อย เหมือนอย่างเราหวังว่า จะค้าขายได้ก�ำไร แต่เกิดวิกฤตการณ์ ขึ้น เศรษฐกิจไม่ดี ค้าขายฝืดเคือง ซึ่งยังเอาแน่นอนไม่ได้ ในข้อนี้ควรจะ ตั้งความหวังไว้สัก ๗๕ เปอร์เซนต์ ๒. หวังเกินเหตุ คือ ความโลภอยากจะได้อยากจะเป็นจนเกินเหตุ เช่น หวังอยากจะเป็นนายกรัฐมนตรี หวังอยากเป็นเศรษฐี หวังอยากเป็น เป็นคนมีอ�ำนาจเหนือคนอื่น ๆ หวังอยากให้คนทั่วบ้านทั่วเมืองนับหน้า ถือตา เป็นต้น ความหวังเหล่านี้ เรียกว่า “หวังเกินเหตุ” คนที่หวังเช่นนี้ ยากนักที่จะสมหวัง อันความหวัง ความฝันนั้น เป็นเรื่องที่ง่ายนิดเดียว เพียงเรานั่ง นึก นั่งจินตนาการ หรือนั่งวาดฝันเอาเท่านั้น เปรียบง่ายๆ เช่น เราเดินเข้าไป ในร้านอาหารแห่งหนึ่งแล้วสั่ง “ต้มย�ำ” ด้วยหวังว่าเพียงเดี๋ยวเดียวก็จะได้ กินต้มย�ำรสเด็ด แต่ความเป็นจริงมันไม่ได้ง่ายอย่างที่เราคิด เพราะกว่าจะ เสร็จเรียบร้อย พ่อครัวต้องหัวซ้ายหันขวา เดินไปเดินมา หยิบโน่นหยิบนี้ คนที่ตั้งความหวังเอาไว้สูง ๆ หากไม่สมหวังจะเสียใจมากขนาดไหน ทุกคน ก็รู้ แต่คนเราก็ยังชอบที่จะตั้งความหวังไว้ คนเราส่วนมากแล้วชอบท�ำตัว เป็นร้านแผงลอยตั้งราคาเผื่อต่อ คือ ตั้งความหวังไว้สูง แต่เอาเข้าจริงๆ ได้มาเพียงนิดเดียว การตั้งความหวังในบางอย่างที่คนอื่นเขาไม่มีให้ เรา ก็ควรเผื่อใจเอาไว้บ้าง เพราะบางครั้งบางทีเขาอาจไม่มีให้เราจริง ๆ ก็ได้ ๓.หวังไกล คือ การวาดหวังไว้ไกลเกินไป ซึ่งกว่าจะสมหวังก็แทบ แย่ เป็นลักษณะของการ “หวังน�้ำบ่อหน้า” ซึ่งยังไม่รู้ว่าข้างหน้าจะมีบ่อ และมีน�้ำให้หรือไม่ เช่น ความหวังว่าจะสุขสบายเมื่อแก่เฒ่า ความหวังว่า จะได้ไปสวรรค์ เมื่อตายไปแล้ว ความหวังว่าจะท�ำบุญเมื่อถูกลอตเตอรี่ รางวัลที่หนึ่ง เป็นต้น ซึ่งความหวังเหล่านี้เป็นความหวังที่ไกลเกิน คน 28

วารสารพุทธปทีป


ฉบับที่ ๖๒ ปีที่ ๑๙ มกราคม-นีนาคม ๕๔

29

ที่วาดหวังจะต้องทุกข์ ๒ ต่อ คือ ต้องทุกข์เพราะรอนาน และต้องทุกข์ เพราะคิดว่า “ความหวังจะเป็นจริงหรือไม่” การหวังไกลเกินไปก็ต้องรอ นาน บางทีก็ชวดไปเลย ถ้ารู้จักระมัดระวัง ไม่ลุ่มหลงมัวเมาไม่หลงรอคอยความหวังจนเกิน ไป ความผิดหวังก็จะลดน้อยลง ถึงจะผิดหวังบ้างก็ไม่หนักหนาสาหัส ใน ที่นี้จะยกเราเรื่อง “ผู้รอคอยการกลับมา” มาให้อ่านเพื่อเป็นข้อคิด ซึ่ง เรื่องมีอยู่ว่า ... ณ เมืองแแห่งหนึ่ง มีเจ้าสุนัขตัวน้อยตัวหนึ่ง ก�ำลังเดินโซเซอย่างไร้ จุดหมาย เพราะมันไม่รู้ว่ามันจะไปไหน ต่อมามีนักธุรกิจใหญ่คนหนึ่ง เดิน ทางกลับจากการติดต่อค้าขาย เห็นลูกสุนัขตัวนั้นก�ำลังเดินหิวโซอย่างไร้ จุดหมาย ก็เกิดความรู้สึกว่าสงสารอย่างจับใจ “เอ... เจ้าตูบน้อยตัวนี้ ใครนะช่างใจร้ายเอามาปล่อยทิ้งได้ ดูสิน่า สงสารออก” เมื่อคิดเช่นนี้แล้ว นักธุรกิจใหญ่ผู้ใจเมตตา ก็เดินเข้าไปหาเจ้าสุนัข ตัวน้อยแล้วเอามือลูบหัวมัน เจ้าสุนัขตัวน้อยก็กระดิกหางร้องอย่างดีใจ พ่อค้าจึงอุ้มมันขึ้นแล้วเดินทางกลับบ้าน ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เขาก็เลี้ยงดูให้ความรักมันอย่างดีอย่างยิ่ง เจ้า สุนัขตัวน้อยก็รักเจ้านายผู้ใจเมตตาอย่างยิ่ง ชอบมาคลุกคลีอยู่เสมอๆ เวลา เจ้านายไปไหนมันก็มักจะตามไปด้วย ทุกๆ วัน นักธุรกิจคนนี้จะต้องเดินทางโดยรถไฟ เพื่อไปท�ำงาน ติดต่อค้าขายยังเมืองอื่น และเจ้าตูบสุนัขผู้ซื่อสัตย์ก็จะตามมาส่งที่สถานี รถไฟทุกวัน “เจ้าตูบกลับบ้านนะ” เจ้านายกล่าวกับเจ้าตูบก่อนขึ้นรถไฟไป หลังจากที่เจ้านายขึ้นรถไป แล้ว มันก็จะวิ่งกลับบ้าน และพอได้เวลาที่เจ้านายจะกลับมา มันก็ไปรอรับ ที่สถานีรถไฟ พอเห็นเจ้านายลงจากรถไฟ มันก็ว่ิงเข้าไปหาอย่างดีใจ แล้ว ฉบับที่ ๖๒ ปีที่ ๑๙ มกราคม-นีนาคม ๕๔

29


30

วารสารพุทธปทีป

ก็รับเอากระเป๋าจากเจ้านาย แล้วคาบเดินตามเจ้านายกลับบ้าน คนที่เห็น ภาพแล้วก็รู้สึกชื่นชมในความฉลาดและแสนรู้ของเจ้าตูบ วันแล้ววันเล่า จากวันเป็นเดือน จากเดือนเป็นปีและหลายปี เจ้าตูบ ยังคงวิ่งไปรับไปส่งเจ้านายของมันอยู่ทุกวันอย่างไม่รู้จักเบื่อ อยู่มาวันหนึ่ง ในเวลาเช้าเจ้าตูบก็ไปส่งเจ้านายที่สถานีรถไฟเหมือน เช่นทุกวัน “เจ้าตูบรีบกลับบ้านนะ” เจ้านายลูบหัวเจ้าตูบพลางสั่งก่อนจะก้าวขึ้นรถไฟไป หลังจากที่รถไฟวิ่งออกจากสถานีไป เจ้าตูบก็วิ่งกลับบ้าน พอถึงตอน เย็น เจ้าตูบก็มารอรับเจ้านายที่สถานีรถไฟเหมือนเดิม แต่วันนี้ไม่เหมือนทุกวันที่ผ่านมา รถไฟขบวนที่เจ้านายเคยโดยสาร มาวิ่งออกจากสถานีไปแล้ว แต่เจ้าตูบก็ยังไม่เห็นเจ้านาย มันจึงเดินหาจน ทั่วสถานีรถไฟ แต่ก็ไม่พบ มันไม่ยอมย่อท้อ ยังคงเฝ้ารอเจ้านายต่อไป “หรือว่า เจ้านายจะมาขบวนต่อไป” เจ้าตูบคิดในใจตามประสา ของสุนัข แม้รถไฟขบวนที่สองจะเข้ามาเทียบสถานีรับส่งผู้โดยสารแล้วเคลื่อน จากไป แต่เจ้าตูบก็ยังไม่เห็นเจ้านายของมันอยู่ดี มันจึงเดินตามหาเจ้านาย จนทั่วสถานี “เอ... หรือว่าเจ้านายเราจะกลับบ้านไปแล้ว” เจ้าตูบคิดสงสัยแล้ว ก็รีบวิ่งกลับไปดูที่บ้าน แต่ก็ต้องผิดหวัง เพราะไม่พบเจ้านาย เลยวิ่งกลับ มาที่สถานีรถไฟอีกครั้ง แล้วนอนรอเจ้านายที่สถานีจนถึงรุ่งเช้า แต่ก็ยัง ไม่พบเจ้านายอยู่ดี สาเหตุที่เจ้านายของเจ้าตูบไม่ได้กลับบ้าน เพราะในวันนั้นหลังจาก ท�ำธุรกิจเสร็จแล้ว ก�ำลังจะเดินทางกลับบ้าน บังเอิญประสบอุบัติเหตุจนถึง แก่ความตาย จึงไม่ได้เดินทางกลับบ้านอีกเลย ฝ่ายเจ้าตูบก็ยังคงเฝ้ารอการกลับมาของเจ้านายอยู่ที่สถานีรถไฟ นั่นเอง รถไฟขบวนใดเข้ามาจอดที่สถานี เจ้าตูบก็จะเดินส�ำรวจตรวจหา 30

วารสารพุทธปทีป


ฉบับที่ ๖๒ ปีที่ ๑๙ มกราคม-นีนาคม ๕๔

31

เจ้านายของมัน แต่มันก็ยังไม่พบ เจ้าตูบวิ่งไปวิ่งมาระหว่างบ้านกับสถานี ทุกวัน ด้วยหวังว่าจะได้พบเจ้านาย จากวันเป็นสัปดาห์และเป็นเดือน ในที่สุดเจ้าตูบก็ยึดสถานีรถไฟ เป็น “ดินแดนแห่งการรอคอยการกลับมา” ไม่ยอมกลับบ้านอีกเลย ผู้คน ที่เดินผ่านมาผ่านไป ต่างก็พากันสงสารเจ้าตูบ และก็พลอยชื่นชมความ กตัญญู ความจงรักภักดีของมัน จึงหยิบยื่นอาหารให้ได้กินอย่างอิ่มหน�ำ และนายสถานีรักและสงสาร จึงได้จัดที่ให้เจ้าตูบได้อยู่ท่ีสถานีรถไฟแห่ง นั้น และเจ้าตูบก็รอคอยการกลับมาของเจ้านายตัวเองที่สถานีรถไฟแห่ง นั้นจนสิ้นอายุของมัน นี่คือ “ความหวัง” ของสุนัขตัวหนึ่ง ที่รอคอยการกลับมาของเจ้า นาย ด้วยความกตัญญูรู้คุณ แม้จะไม่เห็นเจ้านายกลับมา แต่ก็ยังไม่ละทิ้ง ความหวัง เพราะมันมีความกตัญญูอย่างแรงกล้า ซึ่งผิดกับคนเราในยุคสมัย นี้เหลือเกิน ขนาดพ่อแม่ที่อุตส่าห์เลี้ยงมาจนโต ส่งเสียให้เรียนจนจบ มัน ก็ยังลืมบุญคุณได้ลงคอ บางคนก็ร้ายไปกว่านั้น พ่อแม่ยังไม่ตายเลย มันก็ จัดการเผาผลาญจนไม่เหลืออะไร ทั้งชื่อเสียงวงศ์ตระกูล ทั้งคุณความดีที่ สร้างสมไว้ ทั้งทรัพย์สินเงินทางที่หามาได้ด้วยความยากล�ำบาก บางคนก็ หนักเข้าไปอีก ใช้พ่อแม่เหมือนคนใช้ อะไรนิดๆ หน่อยๆ ก็ท�ำเองไม่เป็น ท�ำเองไม่ได้ “แม่เอาน�้ำมาให้หนูสักแก้วสิ... แม่รีดเสื้อผ้าให้หนูหน่อย รีด ดีๆ นะราคาแพงอยู่” อย่างนี้เป็นต้น ลูกคนไหนที่รู้ว่าตนเองเป็นอย่างนี้ หรือก�ำลังจะเป็นอย่างนี้ ก็รีบๆ เลิกซะ เพราะมันเป็นการสร้างบาปกรรม ให้ตัวเองอย่างมหันต์ เลิกเสียวันนี้ ก่อนจะไม่มีโอกาสได้เลิก

ความหวังอยากได้ อยากมี อยากเป็น ที่ประกอบด้วยกิเลสตัณหา ท�ำให้คนเป็นทุกข์ ส่วนความหวังที่ประกอบด้วยสติ ปัญญา ท�ำให้คนมี แรงในการต่อสู้ แต่อย่างไรก็ตาม การจะรอคอยความหวัง นั่งฝัน นอนฝัน แล้วไม่ ฉบับที่ ๖๒ ปีที่ ๑๙ มกราคม-นีนาคม ๕๔

31


32

วารสารพุทธปทีป

ท�ำอะไรเลย ความหวังที่วาดไว้ก็ไม่อาจจะส�ำเร็จได้ ถ้าหากอยากประสบ ความสมหวัง ต้องลงมือท�ำตั้งแต่บัดนี้ ก่อนที่โอกาสดี ๆ จะผ่านเลยไป ลงมือสร้าง ลงมือท�ำอย่างเต็มที่ เพื่อรอคอยโชควาสนามีค่ากว่าการ นั่งฝัน นอนฝันรอโชควาสนา เพราะไม่มีเทพเจ้าองค์ใด มาดลโชควาสนา ให้เรา นอกจากตัวเราเอง แล้ววันนี้เรายังนั่งรอ นอนรอ โชควาสนาอยู่หรือไม่ ?

32

วารสารพุทธปทีป


ฉบับที่ ๖๒ ปีที่ ๑๙ มกราคม-นีนาคม ๕๔

33

ฉบับที่ ๖๒ ปีที่ ๑๙ มกราคม-นีนาคม ๕๔

33


34

วารสารพุทธปทีป ขอขอบคุณเจ้าของบทความ บทความโดย “พระครูปลัดสุทัศน์ อมรสุทฺธิ”

เรื่องของ

ยาง

“ลบ”

กระเป๋าที่นักเรียนสะพายติดตัวไปเรียนภาษาและวัฒนธรรมไทย วันอาทิตย์ที่วัดพุทธปทีป ไม่เคยว่างเว้นจาก สมุด ไม้บรรทัด ยางลบ และ หนังสือเรียน บางคนพกขนมติดกระเป๋าไปด้วย เพื่อช่วยบรรเทาความหิว ในยามที่ท้องน้อยๆ เรียกร้อง การก้มหน้าบรรจงคัดลายมือของเด็กๆ เห็นแล้วรู้สึกอิ่มใจจนต้อง แอบอมยิ้มอย่างบอกไม่ถูก สองมือเล็กๆ ได้พยายามลากเส้นตามตัว พยัญชนะไทยที่เป็นตัวลายจุด เพื่อการฝึกซ้อมมือ ก่อนจะมีการเขียนจริง ในหน้าสมุดที่มีแต่บรรทัดเปล่า จากการสังเกตและติดตามการเรียนการสอนของพวกเขา ท�ำให้ รู้สึกว่าการเขียนพยัญชนะไทยนั้น ไม่ง่ายเอาเสียเลย พยัญชนะอังกฤษ นั้นไม่มีการขอดหัวเหมือนภาษาไทย กว่าจะได้แต่ละตัวต้องใช้เวลาบวก กับความตั้งใจจริง พยัญชนะไทยจึงจะปรากฎรูปร่างบนสมุดของพวกเขา นักเรียนบางคนก็เขียนผิดต้องลบใหม่ ร่องรอยบนหน้ากระดาษบ่งชี้การ ลบความผิดพลาดขั้นเทพเลยทีเดียว สายตาที่จ้องมองไปยังมือของลูกหลาน ที่อุตส่าห์ตั้งใจมาเรียน ภาษาไทยที่วัดวันอาทิตย์ ท�ำให้นึกถึงภาพสมัยเป็นเด็ก อยู่ต่างจังหวัด 34

วารสารพุทธปทีป


ฉบับที่ ๖๒ ปีที่ ๑๙ มกราคม-นีนาคม ๕๔

35

หรือจะเรียกให้ไพเราะขึ้นหน่อยก็คือ “เด็กชนบท” นั่นเอง ชีวิตเด็กชนบทกับการเรียนหนังสือในครั้งนั้น เมื่อเทียบกับทุกวันนี้ แตกต่างกันมาก วิวัฒนาการด้านการศึกษาเจริญก้าวหน้าขึ้นเยอะ ผู้เขียน ยังจ�ำได้ขึ้นใจ ขณะเรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ กระดานชนวนถูกใช้ แทนกระดาษ ดินสอที่ใช้ คือ ดินสอหิน ยางลบคือเศษผ้าซุบน�้ำหมาดๆ ถูเบาๆ เมื่อเกิดความผิดพลาด หรือเมื่อมีการเปลี่ยนวิชาเรียน เศษผ้า ที่ถูกใช้เหมือนยางลบอย่างทุกวันนี้ ได้หมดหน้าที่ลง เมื่อมีแท่งคล้าย พลาสติกสี่เหลี่ยม เข้ามาสู่โรงเรียน อีกทั้งกระทรวงศึกษาธิการ ยังได้น�ำ ดินสอที่ปลายอีกด้าน พ่วงเอาเจ้ายางลบติดมาด้วย กระดานชนวนและ ดินสอหิน เลยหมดหน้าที่ลงอย่างฉับพลัน ครั้นได้มารับผิดชอบงานการศึกษา การเรียนการสอนภาษาไทยให้ กับเด็กๆ ที่วัดพุทธปทีป ตั้งแต่ย่างกรายสู่เกาะแห่งนี้ ช่วยให้ได้รับการ เติมเต็มประสบการณ์มากมาย โดยเฉพาะ“ความรักในภาษาไทยและ วัฒนธรรมไทย” ที่บรรดาผู้ปกครองนักเรียนคงมีความคิดนี้คล้ายคลึงกัน เยาวชนลูกหลานจ�ำนวนร้อยกว่าชีวิตในแต่ละอาทิตย์ พากันเดิน ฉบับที่ ๖๒ ปีที่ ๑๙ มกราคม-นีนาคม ๕๔

35


36

วารสารพุทธปทีป

ทางมุ่งสู่วัดพุทธปทีป จนรู้ว่ารถเมล์โดยสารที่วิ่งผ่านทางเส้นนี้มีเพียง สายเดียว คือ หมายเลข 93 นักเรียนบางคนพลาดโอกาสสัมผัสที่นั่ง รถเมล์คันดังกล่าว ด้วยการนั่งรถของครอบครัวที่สะดวกแต่น่าเสียดาย เพราะรถเมล์หมายเลข 93 นี้มีคนไทยน้อยคนนักที่จะไม่รู้จัก ทั้งที่อยู่ อังกฤษและที่กลับเมืองไทยแล้ว กระดาษแผ่นบางๆ หนึ่งใบกับตัวหนังสือที่บ่งบอกว่านั่นคือ “การ คัดลายมือ” ของนักเรียนตัวน้อยๆ ถูกลากตามเส้นบรรทัดขึ้นลง จนกลาย เป็นตัวอักษรขนาดมหึมา ถ้าเป็นไข่ไก่ ต้มใบเดียวก็อิ่มได้ทั้งครอบครัว ประมาณนั้น ที่ส�ำคัญแถมร่องรอยการ “ลบ” ค�ำผิดติดมาด้วย เด็กเขียนอะไรผิด แล้วลบก็คือจบ หรือบางทีลืมแล้วก็แล้วไป ทว่า ผู้ใหญ่สิ ถึงจะไม่ได้เขียนอะไรด้วยมือ แต่กลับบันทึกสารพัดเรื่องราวต่างๆ ด้วยใจ พยายามจะท�ำให้มันลบเลือนไปเท่าใด ก็รังแต่จะเพิ่มความยุ่งยาก ในหัวสมองมากขึ้น • ผู้ที่เคยผิดหวังกับความรัก ก็มักจะถูกอดีตที่เคยฝากร่องรอย น�้ำตาและความชอกช�้ำ มายั่วใจให้เกิดความฉุนเฉียว • ผู้ที่เคยล้มเหลวในธุรกิจการงาน ก็มักวิตกว่าความผิดพลาด ดังกล่าวจะหวนมาย�้ำรอย จนท้อแท้สิ้นหวัง หมดแรงจูงใจที่ จะลุกขึ้นมาสู้ใหม่ • ผู้ที่เคยมีเพื่อนรัก แต่กลับถูกให้ร้ายหักหลัง ก็มักจะครุ่นคิดถึง การแก้แค้นหรือเอาคืนอย่างสาสม • ผู้วิตกกังวลจากโรคภัยไข้เจ็บ ที่คอยบั่นทอนสุขภาพ ก็มักจะคิด ว่าตัวเองหมดหนทางและเสียโอกาสส�ำคัญในชีวิต นี้เป็นเพียงตัวอย่างบางส่วนที่ยกมาเป็นกระทู้ เพื่อหาตัวแก้ไขให้ ได้ค�ำตอบว่า ควรจะใช้ “ยางลบ” ยี่ห้อไหนดี จึงจะมีคุณสมบัติลบขยะ ที่ขังอยู่ในใจของเราได้ แน่นอนละว่า มันคงถูก “ลบ” ไม่ง่ายเหมือน 36

วารสารพุทธปทีป


ฉบับที่ ๖๒ ปีที่ ๑๙ มกราคม-นีนาคม ๕๔

37

เส้นดินสอที่ถูกลากจนกลายเป็นตัวหนังสือ ยางลบที่พอจะน�ำมาใช้ “ลบ ขยะ” ที่ตกค้างในจิตใจได้ดี เห็นจะมีก็แต่ยี่ห้อ “ธรรมะ” เท่านั้นกระมัง • ความผิดหวัง ความชิงชัง โกรธฉุนเฉียว ควรลบด้วย “การให้ อภัยและการเจริญเมตตาจิต” • ความล้มเหลว ความย่อท้อ ควรลบด้วย “ความเชื่อมั่นและ การตั้งสติ” • ความทรยศ การหักหลัง ควรลบด้วย “ความจริงใจและความ ซื่อสัตย์” • ความวิตกกังวลใจจากสารพัดปัญหา ควรลบด้วย “การยอมรับ และการปล่อยวาง” ยางลบคือ​ “ธรรมะ” คงเสาะหาไม่ได้ตามท้องตลาด แต่ทว่าทุก ท่านสามารถหา ด้วยการฝึกตนตามครรลองแห่งศีลธรรม ด�ำรงตนและ ด�ำเนินชีวิยโดยไม่เผลอสติ พิจารณาสิ่งต่างๆ อย่างรอบคอบ บางเรื่อง เป็นที่ชอบใจ แต่ขัดกับหลักจริยธรรมก็พึงงดเว้น บางสิ่งบางอย่างถูกกับ จริตของเรา แต่ขัดกับจริตของคนหมู่มาก ก็พึงระมัดระวัง แม้จะพูดแล้ว ถูกใจใครบางคน แต่ขัดกับความนิยมของคนครอบครัว ก็ไม่ควรพูดเช่น นั้นอีก เพราะจะเป็นภัยไปสู่ความร้าวฉานในครัวเรือน เมื่อเจ้านายต�ำหนิ บ้าง ก็ไม่ควรเอาแต่ครุ่นคิดว่า “ตนท�ำผิด” แต่ควรคิดทบทวนและอย่า ท�ำให้ซ�้ำรอยเดิม เพราะจะกลายเป็น “ความผิดพลาด” จนหาทางแก้ไข ได้ยาก หรือถึงขั้นแก้ไขอะไรไม่ได้เลย เมื่อถึงขั้น นั้นแล้ว ยางลบคือ “ธรรมะ” ของพระพุทธองค์ก็คงไม่ อาจจะท�ำหน้าที่ “ลบ” สิ่งเลวร้ายออกไปจากจิตใจได้ ฉะนั้น พึงระวังไว้ จะดีกว่า ต้องมาคอยระแวงอย่างไม่รู้จบสิ้น.

ฉบับที่ ๖๒ ปีที่ ๑๙ มกราคม-นีนาคม ๕๔

37


38

วารสารพุทธปทีป ขอขอบคุณเจ้าของบทความจาก​ หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ

สูตร

ปรุง

“ชีวิต” แม้ ใ ครๆ จะบอก ว่ า ชี วิ ต ไม่ มี สู ต รส� ำ เร็ จ แต่ เ ขาคนนี้ บอกว่ า “เราท� ำ ชี วิ ต ให้ ไ ด้ ดี และมีสุขได้” พร้อมทั้งบอกถึง สูตรส�ำเร็จของชีวิต แม้กระทั่ง การเลือกคู่ การเลือกลูก เรา ก็ ก� ำ หนดสเปคได้ แ ต่ ไ ม่ ใ ช่ สเปค ทางโลกแบบเก่ งและดี ต้องมีปัญญาและเข้ าใจสัจจะ ของชีวิต ถ้ า คนที่ เข้ า ใจชี วิ ต แม้ จ ะเจอ อุปสรรคมากมายเพียงใด ก็สามารถ ยิ้มรับและหาทางออกให้ตัวเองได้ แต่จะมีสักกี่คนที่ท�ำได้เช่นนั้น บางคนพู ด คุ ย ธรรมะได้ ง ดงาม 38

วารสารพุทธปทีป

แต่ไม่ได้น�ำมาปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหา ในชี วิ ต ประจ�ำวั น บางคนฉลาด เข้าใจเรื่องทางโลก และรู้สึกว่า การ เอารัดเอาเปรียบเพื่อนมนุษย์เป็น เรื่ อ งปกติ ใ นสั ง คม บางคนเข้ า วั ด เข้าวา พูดคุยธรรมะประหนึ่งเข้าใจ ชีวิต แต่หาเป็นเช่นนั้นไม่ อาจเป็นได้ว่า มนุษย์มองออก ไปนอกตัว จึงมองไม่เห็นบางอย่าง ในตัวเอง ลองมารู ้ จั ก กั บ ดอกเตอร์ ท าง วิ ท ยาศาสตร์ ค นหนึ่ ง ดร.สนอง วรอุ ไ ร แม้ จ ะร�่ ำ เรี ย นทางด้ า น วิ ท ยาศาสตร์ จบปริ ญ ญาเอก สาขาไวรัสวิทยา จากมหาวิทยาลัย ลอนดอน แต่ในที่สุดก็หันมาศึกษา


ฉบับที่ ๖๒ ปีที่ ๑๙ มกราคม-นีนาคม ๕๔

ธรรมะอย่างจริงจัง และพบว่าจิต ของเรามี ศั ก ยภาพมากกว่ า ที่ คิ ด สามารถพั ฒ นาได้ อ ย่ า งไม่ มี ที่ สิ้ น สุด เพียงแต่เราไม่รู้จักการพัฒนาจิต เขาย้อนความว่า ตอนเรียนอยู่ที่ อังกฤษ ต้องเรียนหนักมาก แต่พอ ฝึ ก จิ ต ก็ ส ่ ง ผลให้ ส ามารถจดจ�ำสิ่ ง ต่างๆ ได้เร็วขึ้น และเข้าใจบทเรียน ได้ง่ายขึ้น เมื่ อ สามสิ บ ปี ที่ แ ล้ ว เขาได้ อุ ป สมบท และมี โ อกาสฝึ ก วิ ป ั ส สนา กรรมฐานกับ พระเทพสิทธิมุนี (โชดก ป.ธ.9) ที่วัดมหาธาตุยุวราช รังสฤษฎิ์ เป็นเวลา 30 วัน ซึ่งเป็น ช่วงเวลาที่เขารู้สึกมีคุณค่าที่สุดใน ชีวิต ท�ำให้ชีวิตพบจุดเปลี่ยน

39

หลังจากนั้น ดร.สนองเข้าเป็น อาจารย์สอนหนังสือที่มหาวิทยาลัย เชียงใหม่ จนเกษียณอายุราชการ และหั น มาเป็ น ครู บ าอาจารย์ ท าง ธรรม เดินสายบรรยายธรรมตาม ที่ต่างๆ ด้วยความเมตตาประกอบ กับความเข้าใจชีวิตและธรรมะอย่าง ลึกซึ้ง สิ่งที่เขาบรรยายจึงมีคุณค่า สามารถจุ ด ประกายความคิ ด ให้ หลายๆ คนน�ำมาใช้ในชีวิต จนลู ก ศิ ษ ย์ ร วมกลุ ่ ม กั น ตั้ ง เป็ น ชมรมกัลยาณธรรม ช่วยเผยแพร่ ผลงานของเขาออกมาเป็นหนังสือ หลายเล่มด้วยกัน อาทิ ทางสายเอก (เล่ ม นี้ แ ปลเป็ น ภาษาอั ง กฤษเพื่ อ ให้ ช าวต่ า งชาติ ไ ด้ มี โ อกาสศึ ก ษา

ฉบับที่ ๖๒ ปีที่ ๑๙ มกราคม-นีนาคม ๕๔

39


40

วารสารพุทธปทีป

ประสบการณ์ ก ารปฏิ บั ติ ธ รรม) การใช้ ชี วิ ต ที่ คุ ้ ม ค่ า อั ญ มณี ข อง ชีวิต ฯลฯ ล่าสุดทางส�ำนักพิมพ์อมรินทร์ ได้เปิดตัวหนังสือ ท�ำชีวิตให้ได้ ดีและมีสุข ของดร.สนอง ซึ่งไม่ น่ า เชื่ อ ว่ า จะมี ค นฟั ง เกื อ บเต็ ม หอ ประชุมเล็กธรรมศาสตร์

ไม่เกิด อย่างคนขี้หนาวต้องดื่มน�้ำ เยอะๆ ในทางวิทยาศาสตร์น�้ำคือ ตัวเก็บความร้อน ดร.สนองย้ อ นความถึ ง สมั ย เรียนลอนดอนว่า เคยป่วยไม่สบาย เพราะท�ำงานหนัก ตอนนั้นเป็นไข้ หวัดใหญ่และอาจตายได้ ก็พยายาม ขอนั ด แพทย์ เพราะอยู ่ ที่ นั่ น ไม่ สามารถซื้ อ ยารั บ ประทานเองได้ 1. ถ้าท�ำร่างกายให้แข็งแรง เรา ต้องมีใบสั่งแพทย์ แต่วันนั้นแพทย์ ต้องรักษาใจให้ได้ จริงๆ แล้วความ ไม่มีคิวให้ เราก็ต้องรอวันรุ่งขึ้น รู้เหล่านี้มีมานานแล้ว ถ้ามีสุขภาพ จิตดี กายก็จะดีไปด้วย ดร.สนอง “วั น นั้ น ผมจึ ง รั ก ษาตั ว เองไป เริ่มเล่าให้ญาติโยมและผู้สนใจฟัง ก่ อ น ไปนอนแช่ น�้ ำ อุ ่ น ปรากฏ จากตัวอย่างของเขาเองปัจจุบันอายุ ว่าอาการป่วยหาย ไปหาหมอใน 68 ปี ยังแข็งแรงและดูอ่อนกว่าวัย วันรุ่งขึ้น ไม่มีไข้เลย คนโบราณ เพราะหมั่นฝึกดูใจตัวเองตลอดเวลา พู ด ถึ ง ธาตุ ทั้ ง สี่ ไ ว้ คื อ ดิ น น�้ ำ ลม เขาเล่ า ว่ า ในยุ ค ที่ บุ ก เบิ ก มหา- ไฟ ถ้ า ร่ า งกายมี ส มดุ ล ก็ จ ะแข็ ง วิทยาลัยเชียงใหม่ ต้องท�ำงานหนัก แรง แต่ถ้าเมื่อใดธาตุไหนหย่อน จนเป็นโรคกระเพาะ หลังจากฝึกจิต ก็มีปัญหา อย่างการกินอาหารไม่ ที่วัดมหาธาตุ ก็ค้นพบว่า โรคพวกนี้ สะอาด ก็ต้องกินน�้ำเข้าไปเยอะๆ มาจากความเครียด หลังจากเรียนรู้ เราต้องรู้จักร่างกายตัวเอง” เรื่องการฝึกจิตสมาธิผ่านมา 30 ปี ไม่เคยป่วยเป็นโรคอะไรเลย เขายกตัวอย่าง และเล่าถึงสมัย เขาได้เขียนไว้ในหนังสือว่า ถ้า หนุ่มๆ ว่า เคยรับประทานไข่วันละ เราสามารถรักษาสมดุลของธาตุทั้ง ฟอง จนมีปัญหาต้องไปพบแพทย์ สี่ในร่างกายได้ โรคภัยไข้เจ็บก็จะ ปัจจุบันหันมากินไข่ได้อีก ทั้งๆ ที่ 40

วารสารพุทธปทีป


ฉบับที่ ๖๒ ปีที่ ๑๙ มกราคม-นีนาคม ๕๔

ตอนนี้อายุ 68 ปี เพราะเราหมั่น สังเกตตัวเอง ถ้ามึนศีรษะเมื่อไหร่ ก็จะหยุดทันที เพราะร่างกายเตือน เราล่วงหน้า “ผมมีเพื่อนคนหนึ่งรับประทาน ไข่ วั น ละ 10 ฟอง แต่ เจอกั น วั น สุดท้ายที่งานศพ อย่างเวลาผมกิน ไข่ ถ้ามีอาการมึนศีรษะเมื่อไหร่ก็ หยุด อีกอย่างถ้ารู้ว่าไขมันในเลือด สูง ก็อาจจะดื่มน�้ำดอกค�ำฝอย บอ ระเพ็ ด เติ ม น�้ ำ ร้ อ นแล้ ว ดื่ ม เพื่ อ ให้ร่างกายสมดุล ก่อนอื่นต้องตั้ง โปรแกรมจิตไว้ว่า ไม่เจ็บไข้ได้ป่วย ไม่ ป วดศี ร ษะ แต่ ผ มคิ ด ว่ า อายุ เท่ า ไหร่ ไ ม่ ส�ำคั ญ ขอให้ อ ยู ่ เ พื่ อ ท�ำ ประโยชน์ให้สังคม” เขาย�้ำอีกว่า แม้กระทั่งการตาย ก็ มี สั ญ ญาณเตื อ น อยู ่ ที่ ว ่ า ใครจะ ระลึกได้ทัน

2. นอกจากหลั ก การดู แ ลตั ว

เองง่ายๆ คือ การฟังเสียงร่างกาย หมั่นสังเกตตัวเองแล้ว เราก็ต้องมี สติและเข้าใจหลักการของธาตุทั้งสี่ และตั้งโปรแกรมจิตว่า จะไม่เจ็บไข้ ได้ป่วยก็ย่อมท�ำได้ แม้หลายคนจะค้านอยู่ในใจว่า

41

สามารถท�ำได้ จ ริ ง หรื อ ดร.สนอง บอกว่า ต้องรู้จักคิดในแง่บวก ค�ำ ว่า ไม่มี ไม่ได้ ไม่เกิด อย่าได้มา เกิดกับเขาเลย และเรื่องน่าคิดอีกอย่าง ก็คือ คน ที่มีธรรมะในใจจะท�ำงานด้วยตัวเอง อย่างมีความสุข ไม่ชี้นิ้วให้คนอื่นท�ำ แทน การท�ำงานด้วยตัวเองก็เพื่อ ให้ร่างกายได้ออกก�ำลังกาย คนที่ มีธรรมะจะไม่เกี่ยงงาน จะท�ำงาน ด้วยใจอย่างมีความสุข อย่างน้อยๆ ต้ อ งหั ด เดิ น ออกก�ำลั ง กายวั น ละ สามสิบนาที อย่าอยู่เฉยๆ

“ถ้าจิตไม่นงิ่ คลืน่ สมองจะ เปลี่ยน” ดร.สนอง ย�้ำและยกตัวอย่างตัว เขาเอง หลังจากศึกษาธรรมะแล้ว มี ค วามจ�ำดี ก ว่ า ตอนหนุ ่ ม ๆ และ เวลาบรรยายธรรม เขาจะไม่อ่าน ต�ำรับต�ำรามากมาย แต่จะท�ำใจให้ สงบนิ่ ง เพื่ อ ดึ ง ศั ก ยภาพในตั ว เอง มาใช้ ไม่ว่าจะข้อมูลที่สะสมในชีวิต หรือความเข้าใจชีวิต เพราะความ เป็นจริงแล้ว จิตของเราสั่งสมข้อมูล แต่ละภพแต่ละชาติไว้ เพียงแต่เรา

ฉบับที่ ๖๒ ปีที่ ๑๙ มกราคม-นีนาคม ๕๔

41


42

วารสารพุทธปทีป

จะระลึกได้หรือไม่ ปัจจุบันคนเราใช้ศักยภาพของ พลังจิตเพียงแค่ 7% ด้วยเหตุผลนี้ เอง คนที่ฝึกสติอย่างเชี่ยวชาญก็จะ ใช้ประโยชน์ท�ำงานได้เต็มที่ แต่เมื่อ ใดจิตว้าวุ่น ปัญญาก็จะไม่เกิด

บางคนศรัทธามาก แต่ปัญญาไม่ เกิด ผมว่าสติต้องพัฒนา”

นอกจากนี้การฝึกสมาธิง่ายๆ ยัง มีอีก มากมาย แม้แ ต่การฟัง เพลง คลาสสิ ก ก็ ส ามารถสร้ า งสมาธิ ไ ด้ ขอให้มีสติก�ำหนดรู้เท่าทันอิริยาบท ปัจจุบัน การร้องเพลงในโบสถ์ก็เป็น อีกวิถีหนึ่งของการเข้าสู่ความสงบ ทิ เ บตก็ มี ด นตรี ป ระกอบพิ ธี หรื อ ดนตรีอินเดีย (พูดถึงดนตรี ก็เลย ร้องเพลงให้ฟัง) การสวดมนต์ ก็ เ ป็ น การเข้ า สมาธิ อ ย่ า งหนึ่ ง ถ้าเรามีใจจดจ่อ ไม่ได้เอากิเลสเข้าไปปรุงแต่งก็จะ ได้สมาธิ

หันมาพูดเรื่องการก�ำหนดสเปค ให้ชีวิต ดูท่าจะสนุกกว่า เขาบอก ว่า การเลือกคู่มีสองแบบคือ คู่สร้าง คู่สมและคู่เวรคู่กรรม อย่างคู่สร้าง คู่สมคือ คู่ที่เคยผูกพันกันท�ำกุศล กรรมร่วมกันมานาน และได้มาเกิด ในสถานภาพใกล้ เ คี ย งกั น ส่ ว นคู ่ เวรคู่กรรมคือ คู่ที่เคยเป็นศัตรูหรือ อาฆาตจองเวรกั น มาในชาติ ก ่ อ น แล้วมาเกิดเป็นคู่กัน

3. การเข้าถึงศักยภาพของตัว

เราเอง อาจเป็นเรื่องยากในความ รู ้ สึ ก บางคน แต่ ส�ำหรั บ ดร.สนอง แล้วดูเหมือนไม่ใช่เรื่องยาก เขาย�้ำ “ผมเคยบอกเพื่ อ นว่ า ถ้ า มี ว่า ถ้ากายแข็งแรงต้องเคลื่อนไหว ปัญหา ขอให้ลองอยู่น่ิงๆ สักพัก ตลอด แต่จิตต้องสงบนิ่ง ยิ่งคนเรา ขี้เกียจมากเท่าไหร่ ก็จะมีพลังน้อย ปัญญาก็จะเกิด”

แล้วเราจะเลือกคูแ่ บบไหน ดีล่ะ ?

เขาบอกว่า เป็นเรื่องต้องพิถีพิถัน “ปกติ ผ มจะบอกคนอื่ น ๆ ว่ า ไม่ต่างจากเวลาเราซื้อของ ก็ต้อง อย่าเชื่อผม ให้ดูตามเหตุผล อย่าง ก�ำหนด สเปค แต่ถ้าคุณวางสเปค 42

วารสารพุทธปทีป


ฉบับที่ ๖๒ ปีที่ ๑๙ มกราคม-นีนาคม ๕๔

ไว้ ว ่ า ต้ อ งไอคิ ว สู ง (ความฉลาด ทางปัญญาความคิดที่เกิดจากการ คิดมากฟังมาก) อีคิวสูง(ความฉลาด ทางอารมณ์) และเอสคิว (ความเป็น มนุษย์สมบูรณ์ ไม่ตกเป็นทาสของ สรรพสิ่ง) ถ้าคุณก�ำหนดสเปคว่า ต้องดีทั้ง สามอย่าง ดร.สนองว่า ชาตินี้คุณไม่ ได้แต่งงาน ถ้าเป็นเช่นนั้น เราต้อง ปรับตัวก่อน ท�ำจิตท�ำใจให้มีศีลมี ธรรม ถ้าจะเลือกคนมาเป็นคู่ ไม่ จ�ำเป็นต้องไอคิวสูงก็ได้ ขอให้เป็น คนดีคือ มีอีคิวสูง ก่อนอื่นต้องรู้จักพัฒนาจิตใจตัว เอง คือ ส่องกระจกดูใจ เพราะทุก วั น นี้ เราออกจากบ้ า น เราจะดู ว ่ า

43

แต่งตัวเหมาะสมไหม แล้วเราเคย ดูใจของตัวเองไหม “บางคนปฏิ บั ติ ธ รรมมานาน แต่ ธ รรมะไม่ ไ ด้ เ ข้ า ไปอยู ่ ใ นใจ ก่อนอื่น ต้องดูที่ใจ แล้วแก้ที่ตัว เองก่ อ น คนอื่ น เป็ น ครู ข องเรา อย่ า งชาวตะวั น ตกเวลาสอนให้ คนดูต้นไม้ สัตว์หรือธรณีวิทยา ก็จะศึกษาข้างนอก ไม่ได้ศึกษา ด้านใน” เมื่อพูดถึงชีวิตด้านใน มีคนถาม ถึงเรื่องการสวดมนต์ที่ไม่รู้ค�ำแปล จะมี ป ระโยชน์ อ ย่ า งไร ดร.สนอง บอกว่ า คนจ�ำนวนมากสวดมนต์

ฉบับที่ ๖๒ ปีที่ ๑๙ มกราคม-นีนาคม ๕๔

43


44

วารสารพุทธปทีป

เพื่อให้จบเร็วๆ นั่นก็ได้สมาธิ แต่ เพื่อให้เกิดปัญญาขจัดกิเลส และ ไม่มาก แต่ควรสวดด้วยใจ ถ้าให้ดีก็ ช่วยเหลือคนอื่นได้ ควรรู้ความหมาย บางบทก็จะได้แผ่ แม้ จ ะเป็ น ฆราวาสก็ ส ามารถ เมตตาให้สรรพสัตว์ไปด้วย บรรลุธรรมได้เช่นกัน เมื่อก่อนเขา เองก็ไม่เชื่อ จนเข้าถึงอภิญาณ และ “ความเมตตาถ้าเราส่งคลื่นจิต หากบวชเป็นพระสงฆ์ คงพูดเรื่อง ออกไปตรงกัน เขาก็รับรู้ได้ มันอยู่ พวกนี้ไม่ได้ ที่คลื่นส่งของเราด้วย” นี่เป็นบางส่วนที่ดร.สนองเล่าให้ ถามว่า ระหว่างการให้ทาน ฟังวันนั้น เขาพยายามเน้นย�้ำเรื่อง ถื อ ศี ล และปฏิ บั ติ ส มาธิ การฝึกสติอย่างเข้าใจ ถ้ามีศรัทธา ภาวนา อันไหนจะได้บญ ุ กุศล ก็ต้องมีปัญญาด้วย อย่างน้อยๆ ก็ มากที่สุด ? ต้องหัดเจริญสติไปเรื่อยๆ อย่าหวัง ว่าจะได้ญาณหรือเห็นนิมิต ดร.สนองได้ให้ค�ำตอบว่า การ ภาวนาเพื่ อ พั ฒ นาจิ ต น่ า จะเป็ น ลองหั น มาพั ฒ นาจิ ต เพื่ อ จะได้ แนวทางเพื่ อ ให้ ม นุ ษ ย์ ไ ปสู ่ จุ ด มุ ่ ง ไม่เป็นทาสของกิเลส ตัณหา และ หมายคือ ปัญญา เพราะถ้าเข้าสมาธิ รู้จักก�ำหนดชีวิตตัวเองอย่างคนที่ เพื่อขจัดอารมณ์ปรุงแต่งได้ ย่อม มีปัญญา นั่นก็จะเป็นจิ๊กซอว์ช่วย เป็นเรื่องดี และสมาธิไม่จ�ำเป็นต้อง เหลือคนอื่นต่อไป นั่ ง อย่ า งเดี ย ว ท�ำได้ ทุ ก อิ ริ ย าบท

44

ad

วารสารพุทธปทีป


ฉบับที่ ๖๒ ปีที่ ๑๙ มกราคม-นีนาคม ๕๔

45

คำ�ครู เกร็ดธรรม

แท้จริง ความนึกคิดไม่ใช่ทุกข์ แต่การไปยึดความนึกคิด มาเป็นของตน จึงเป็นทุกข์ หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี

ฉบับที่ ๖๒ ปีที่ ๑๙ มกราคม-นีนาคม ๕๔

45


46

วารสารพุทธปทีป ขอขอบคุณเจ้าของบทความจาก​ ผลงานเขียนของ อาจารย์อ้อม ประนอม

สูงวัย

หัวใจ

“เป็นสุข” การเกิดมาเป็นคนนั้นถือว่า ท�ำอย่างไรจึงจะมีชีวิตอยู่อย่างมี โชคดี ยิ่ ง ได้ ส ร้ า งชี วิ ต ให้ ดี มี ค่า น่าเคารพ น่ารัก และเป็นที่พึ่ง ความก้าวหน้าด้วยแล้ว ย่อมมี พิงของคนรอบข้างได้ ขอฝากข้อคิด ก�ำไรในชีวิต บรรพชนเป็นผู้ให้ ไว้พิจารณาดังนี้ ชีวติ เลือดเนือ้ และร่างกายเรา ส่วนความดีนั้น เราต้องสร้าง <<แก่ แ ล้ ว ...จงหลี ก การ ด้วยตนเอง ก้าวร้าว การสอนตนเองนั้ น เป็ น สิ่ ง ยาก ยิ่ง โดยเฉพาะวัยสูงอายุ มักจะคิด ว่าตนเองรู้ดี ผ่านชีวิตมานานท�ำให้ มีมานะและถือทิฎฐิ ใครจะบอกสิ่ง ใดย่อมยาก หากปรารถนาจะพัฒนา ตนเอง ควรยึ ด หลั ก การพิ จ ารณา ตนเอง เตือนตนเอง และลงมือท�ำ ด้วยตนเองในสิ่งที่ดี 46

วารสารพุทธปทีป

ความอ่อนน้อมถ่อมตนจะท�ำให้ เป็นคนน่ารัก น่าเคารพ เมื่อจะพูด จงพูดแต่สิ่งดี มีก�ำไร คือช่วยสมาน ไมตรี แ ละเมตตา จะดี ยิ่ ง กว่ า ก่ อ ความทุกข์ความเดือดร้อนให้คนฟัง มีค�ำกล่าวว่า เป็นผู้น้อยให้อ่อนน้อม เป็นผู้หญิงมีเสน่ห์ที่อ่อนหวาน เป็น ผู้ใหญ่นั้นน่าเข้าใกล้ เพราะมีความ


ฉบับที่ ๖๒ ปีที่ ๑๙ มกราคม-นีนาคม ๕๔

47

อ่อนโยน ยิ่งอยู่ใกล้ผู้ใหญ่ ยิ่งมีความ ความเป็นผู้ใ หญ่อยู่ที่ความอดทน อบอุ่น มีค�ำคอยหนุนใจ และมีอารมณ์เยือกเย็น สอนให้คน อื่นรู้ อยู่ให้คนอื่นเห็น เย็นให้ได้ คน <<แก่แล้ว... จงหลีกการข่มขู่ อยากเข้าใกล้เพราะสุขใจ อย่ า ท�ำตนเหนื อ คนอื่ น อย่ า น�ำประสบการณ์ ม าอ้ า งเพื่ อ สร้ า ง <<แก่ แ ล้ ว ...จงลดความ ความเขื่อง การสงบและประหยัด หงุดหงิดและคิดเรื่องเงิน ค�ำพูด พูดในสิ่งที่ควรพูด พูดดี พอ ความหงุดหงิดเกิดจากความไม่ เหมาะกับบุคคลและเวลา ควรจะ พอใจตนเองหรือคนอื่น ชอบมอง สอนและให้ค�ำปรึกษาในสิ่งที่คนอื่น สิ่งที่คนอื่นท�ำว่าไม่ดี บกพร่อง ควร ปรารถนาให้สอนหรือปรึกษา ตรวจสอบด้วยความหวังดี การมอง คนอื่ น ในทางเสี ย หรื อ เพ่ ง โทษจะ <<แก่ แ ล้ ว ... จงควบคุ ม ท�ำให้เราโกรธง่าย จู้จี้ขี้บ่น ยิ่งบน อารมณ์ให้ได้ คนยิ่งเบื่อ ยามใดที่มีอารมณ์ฉุนเฉียว หยุด เงิ น ทองมี ไ ว้ เ พื่ อ ใช้ ใ ห้ เ ป็ น ได้ ด ้ ว ยการมี ส ติ รู ้ อ ารมณ์ ข องตน ประโยชน์ แ ก่ ต น บริ ห ารการเงิ น ฉบับที่ ๖๒ ปีที่ ๑๙ มกราคม-นีนาคม ๕๔

47


48

วารสารพุทธปทีป

อย่างพอดีจะก่อสุข มีพอเหลือแบ่ง ความคิดมุ่งให้คนที่ช่วยเหลือเป็น ให้ ลู ก หลาน รี บ ด�ำเนิ น การตาม คนดี หากท�ำเต็มที่แล้วยังดีไม่ได้ ถือ ความเหมาะสม เป็นกรรม หรือวิสัยของคนคนนั้น จงใช้อุเบกขาอย่างมีปัญญา มิ <<แก่แล้ว... ทำ�จิตให้แจ่มใส ฉะนั้น จะทุกข์ไปเสียทุกเรื่อง จิตใจ และอภัยเป็น หดหู่ อายุยาวกลับสั้น ความทุกข์ ความแก่ ข องคนนั้ น อยู ่ ที่ จิ ต ใจ เรื่ อ งคนอื่ น มากั ด กิ น จิ ต ใจ จงใช้ และความคิดว่า ตนเองแก่แล้วยิ่ง อุเบกขาให้ถูกที่ ยินดีหรือมุทิตาให้ ท�ำให้รู้สึกว่าแก่กว่าปกติ ยิ่งร่างกาย ถูกทาง แก่หง่อมอีก จะดูแก่กว่าอายุเสียอีก ผู้ใหญ่ คือ บุคคลที่มีคุณค่าใน ความเป็นผู้ใหญ่มักจะดูที่จิตใจ สายตาผู้อื่น เมื่อประพฤติตนสมวัย ว่า เป็นคนใจดี มีเมตตา เป็นคน และพัฒนาจิตใจให้งดงาม ทุกยาม ใจเย็น อดทน หนักแน่น ถ้าอายุ ที่ก้าวย่างจะเป็นบุคคลที่สร้างสังคม สูงแต่จิตใจยังไม่สูงพอ ความเป็น ด้วยบรรยากาศที่มีสายใยความรัก ผู้ใหญ่ก็ลดน้อยลง นอกจากนั้น คน และความเมตตา. ที่เป็นผู้ใหญ่จะรู้จักให้อภัย ไม่ถือ โกรธ ไม่เพ่งโทษคนอื่น ให้อภัยได้ ...มีดไม่ลับ ก็ไร้คม จิตใจย่อมเป็สุข สมองไม่อบรมก็ไร้ปัญญา... <<แก่ แ ล้ ว .. รู้ จั ก วางเฉย อย่างถูกต้อง ความมี เ มตตาอย่ า งใช้ ป ั ญ ญา ช่วยเหลืออย่างเต็มที่แก่ลูกหลาน และคนข้างเคียง ตามก�ำลังทรัพย์

48

วารสารพุทธปทีป

...ความร้อนพิสูจน์ทองนาก ความทุกข์ยากพิสูจน์ใจคน โลกใบนี้ซ่อนความล้มเหลว ไว้บนความส�ำเร็จเสมอ...


ฉบับที่ ๖๒ ปีที่ ๑๙ มกราคม-นีนาคม ๕๔

49

พอใจให้สุข

แม้มิได้เป็นดอกกุหลาบหอม ก็จงยอมเป็นเพียงลดาขาว แม้มิได้เป็นจันทร์อันสกาว จงเป็นดาวดวงแจ่มแอร่มตา แม้มิได้เป็นหงส์ทนงศักดิ์ ก็จงรักเป็นโนรีที่หรรษา แม้มิได้เป็นน�้ำแม่คงคา ก็จงเป็นธาราใสที่ไหลเย็น แม้มิได้มหาหิมาลัย จงพอใจจอมปลวกที่แลเห็น แม้มิได้เป็นวันพระจันทร์เพ็ญ ก็จงเป็นวันแรมอันแจ่มจาง แม้มิได้เป็นต้นสนระหง จงเป็นพงอ้อสะบัดไม่ขัดขวาง แม้มิได้นุชสุดสะอางค์ จงเป็นนางที่มิใช่ไร้ความดี อันจะเป็นอะไรนั้นไม่แปลก ย่อมผิดแผกดีงามตามวิถี ประกอบกิจบ�ำเพ็ญให้เด่นดี สมกับที่ตนเป็นเช่นนั้นเทอญฯ ฐะปะนีย์ นาครทรรพ

ฉบับที่ ๖๒ ปีที่ ๑๙ มกราคม-นีนาคม ๕๔

49


ขอขอบคุณเจ้าของบทความจาก​ ผลงานเขียนของ พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต)

ธรรมะ กับความรัก ความงดงามของพระพุทธศาสนา อยู่ตรงที่มีความ หลากหลายของธรรม เหมื อ นกั บ สวนไม้ ด อก นานาพรรณ มีดอกไม้หลากสีสันให้คนเลือกเก็บได้ ตามต้องการ ธรรมมีจ�ำนวนมากมายหลายประเภท พร้อมทีจ่ ะให้แต่ละคนเลือกน�ำไปปฏิบตั ไิ ด้ตามความ ต้องการ ใครอยากไปนิพพานก็มโี ลกุตรธรรมส�ำหรับ คนที่ต้องการพ้นโลก ส่วนใครที่อยากประสบความ ส�ำเร็จในโลกนี้ ก็มีโลกิยธรรมให้น�ำไปปฏิบัติ เพื่อ ชีวิตที่ดีกว่าในปัจจุบัน ส�ำหรับสามีภรรยาที่ต้องการ ความส�ำเร็จในชีวิต การแต่งงานก็มีธรรมส�ำหรับคน ครองเรือนให้เลือกปฏิบัติ


“และ

“การแต่งงาน”

เป้าหมายแห่งการแต่งงาน อยู่ที่การสร้างครอบครัวที่มีแต่ความ รักใคร่กลมเกลียว โดยไม่มกี ารหย่าร้าง สามีภรรยาจะบรรลุถงึ เป้าหมาย ดังกล่าวได้ก็ต่อเมื่อมีการปฏิบัติธรรมร่วมกัน การปฏิบัติธรรมจะช่วย ให้ชีวิตคู่เข้มแข็งมั่นคงพอที่จะฝ่ามรสุมต่างๆไปได้ ดังนั้น คู่สามีภรรยา ที่ต้องการมีชีวิตการแต่งงานที่ยั่งยืนตลอดไปต้องร่วมกันปฏิบัติธรรม ค�ำว่า ธรรม ในที่นี้หมายถึงคุณธรรมและจริยธรรม คุณธรรม ได้แก่ คุณสมบัติที่ดีภายในจิตใจ เช่น ความรัก ความ สงสาร ซึ่งช่วยให้คนเราท�ำหน้าที่ของสามีภรรยาได้โดยไม่ต้องฝืนใจ จริยธรรม ได้แก่ หลักแห่งความประพฤติที่ดีงามที่จะต้องปฏิบัติ เพื่อประโยชน์สุขของตนเอง ครอบครัว และสังคม จริยธรรมเป็นข้อ ปฏิบัติซึ่งก�ำหนดไว้โดยศาสนา วัฒนธรรม ประเพณีและกฎหมายว่า อะไรเป็นหน้าที่ที่สามีภรรยาจะต้องท�ำเพื่อความผาสุกแห่งครอบครัว จริยธรรมเป็นเรื่องการควบคุมพฤติกรรมที่แสดงออกทางกาย


52

วารสารพุทธปทีป

และทางวาจา ซึ่งคนอื่นสามารถรับรู้และประเมินได้ว่าเรามีจริยธรรม มากน้อยเพียงใด เช่น การที่สามีภรรยาต้องให้เกียรติกันและกันเป็น จริยธรรมอย่างหนึ่ง คนทั่วไปสามารถมองเห็นได้ว่าสามีภรรยาคู่นี้ให้ เกียรติกันและกันหรือไม่ ตรงกันข้ามกับคุณธรรมซึ่งเป็นเรื่องภายใน จิตใจ ซึง่ ยากทีค่ นทัว่ ไปจะตรวจสอบได้วา่ มีมากน้อยเพียงใด เช่น ความ รักเป็นคุณธรรมอย่างหนึง่ คนอืน่ ไม่สามารถจะมองเห็นความรักภายใน จิตใจของเราว่ามีมากน้อยเพียงใด เท่าทีค่ นทัว่ ไปจะท�ำได้กค็ อื คาดคะเน จากพฤติกรรมภายนอกของเราว่าเรามีความรักในใจมากน้อยแค่ไหน คุณธรรมเป็นรากฐานของจริยธรรม เมื่อสามีมีคุณธรรมคือความ รักภรรยาอยูใ่ นหัวใจ เขาก็จะปฏิบตั หิ น้าทีข่ องสามีตอ่ ภรรยาโดยไม่ตอ้ ง ฝืนใจ ความรักท�ำให้สามียอมเสียสละความสุขส่วนตัวเพือ่ ครอบครัวของ เขา ดังนั้น ความรักจึงเป็นรากฐานส�ำคัญของชีวิตการแต่งงาน คู่สามี ภรรยาที่แต่งงานกันด้วยความรักจะสามารถปรับตัวเข้าหากันได้ดีกว่า คู่ที่แต่งงานกันโดยไม่มีความรัก เพราะความรักจะท�ำให้คู่รักยอมลงให้ กันและทนกันได้ ค�ำว่า ความรัก ในพระพุทธศาสนามี ๒ ประเภท ดังนี้ ๑. เปมะ ได้แก่ ความรักใคร่หรือความรักแบบโรแมนติกซึ่งเกิด จากสาเหตุ ๒ ประการ คือ (๑) บุพสันนิวาส หญิงชายเคยอยูร่ ว่ มกันมาแต่ชาติปางก่อน เมื่อเกิดใหม่มาพบกันในชาตินี้จึงเป็นเนื้อคู่กันและรักกัน (๒) การดูแลช่วยเหลือเกื้อกูลกันในชาติปัจจุบัน ก็เป็นอีก สาเหตุหนึง่ ของความรัก แม้หญิงชายจะไม่เคยอยูร่ ว่ มกันมาแต่ชาติปาง ก่อน ทัง้ คูก่ ร็ กั กันได้เพราะความมีนำ�้ ใจของอีกฝ่ายหนึง่ ทีค่ อยช่วยเหลือ


ฉบับที่ ๖๒ ปีที่ ๑๙ มกราคม-นีนาคม ๕๔

53

เกื้อกูลกัน ๒. เมตตา ได้แก่ ความปรารถนาดีหรือความหวังดีที่จะให้คนอื่น มีความสุข ซึ่งเกิดจากการมองเห็นความดีงามหรือความน่ารักของคน อืน่ แล้วเกิดความประทับใจจนถึงกับคิดส่งเสริมให้เขามีความดีงามหรือ ความน่ารักยิ่งๆ ขึ้นไป << ชีวิตการแต่งงานจะยั่งยืนนาน ถ้ามีความรักทั้ง สองอย่างคือ มีทัง้ ความรักแบบโรแมนติกและความรักแบบ เมตตาเป็นพื้นฐาน ความรักแบบโรแมนติกสร้างความสุข ความเพลินใจเมื่ออยู่ใกล้คนรัก แต่ไฟแห่งความรักใคร่มัก โชติช่วงอยู่ได้ไม่นาน ความเคยชินเพราะอยู่ด้วยกันมา นาน มักทำ�ให้ความรักใคร่จืดจางไปได้ ด้วยเหตุนี้ เรา จึงต้องมีความรักแบบเมตตาตามประกบความรักใคร่ เพื่อ ให้ความรักยั่งยืนยาวนาน

ความรักแบบโรแมนติกถูกความน่ารักน่าปรารถนาของคู่ครอง เป็นเครือ่ งกระตุน้ ให้เกิดอารมณ์รกั ความรักใคร่นมี้ ธี รรมชาติไม่แน่นอน เวลาใดคนรักท�ำตัวมีเสน่ห์น่ารัก เวลานั้นอารมณ์รักใคร่ก็จะเบ่งบาน มีพลัง เวลาใดคนรักเอาแต่ใจท�ำตัวไม่น่ารัก เวลานั้นความรักใคร่ก็จะ อับเฉาร่วงโรย ความรักใคร่แบบโรแมนติกจึงมีสภาวะขึ้นลงตามปัจจัย เงื่อนไขภายนอกอันได้แก่กิริยาอาการของคนรักเป็นส�ำคัญ ครั้งหนึ่ง พระเจ้าปเสนทิโกศล ก�ำลังส�ำราญพระราชหฤทัยอยู่ กับพระมเหเสีชื่อว่า พระนางมัลลิกาเทวี พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัส


54

วารสารพุทธปทีป

ถามพระมเหสีว่า “เธอรักใครมากที่สุด” การที่พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสถามอย่างนี้แสดงว่าทรงอยู่ใน อารมณ์โรแมนติก และหวังว่าจะได้รับค�ำตอบแบบโรแมนติก แต่ พระนางมัลลิกาเทวีกลับทูลตอบว่า “หม่อมฉันรักตัวเองมากที่สุด” พระเจ้าปเสนทิโกศลถึงกับหมดอารณ์โรแมนติก ทรงน�ำเรือ่ งนีไ้ ป เล่าถวายพระพุทธเจ้าและตรัสถามว่า ท�ำไมพระมเหสีจงึ กล่าวอย่างนัน้ พระพุทธเจ้าทรงตอบว่า เพราะพระนางมัลลิกาเทวีเป็นคนตรง จึงกล้า พูดความจริงทีว่ า่ คนทุกคนรักตัวเองมากทีส่ ดุ พระพุทธเจ้าได้เคยตรัสไว้ ในที่อื่นว่า นัตถิ อัตตะสะมัง เปมัง ไม่มีรักใดไหนเล่าจะเท่ารักตนเอง ความรักใคร่แบบโรแมนติก เกิดโดยสิง่ เร้าภายนอกจากคนรักเป็น ส�ำคัญ จึงมีสภาวะไม่คงที่ถาวร สามีภรรยาที่ประสงค์จะท�ำให้ความรัก ใคร่เข้มแข็งมั่นคงต้องผสมความรักแบบโรแมนติก ด้วยความรักแบบ เมตตา ความรักแบบโรแมนติก เปรียบเหมือนรถยนต์ทอี่ าศัยคนอืน่ คอย เติมเชือ้ เพลิงให้อยูเ่ สมอ จึงจะแล่นไปได้ แต่ความรักแบบเมตตา เปรียบ เหมือนรถยนต์ที่เจ้าของผลิตเชื้อเพลิงได้เองอย่างไม่มีขีดจ�ำกัด จึงแล่น ไปได้ตลอดเวลา ทัง้ นีเ้ พราะความรักแบบเมตตา เป็นสิง่ ทีใ่ จเราสร้างขึน้ มาเอง ด้วยการฝึกมองให้เห็นความดีงามของคนอืน่ คนเราจะมีเมตตา ในใจได้ ต้องฝึกมองโลกในแง่ดี ถ้าสามีภรรยาสามารถฝึกใจให้มองแต่ แง่ดีของคู่ครอง ต่างฝ่ายต่างจะรักกันและกันได้ตลอดเวลา แม้แต่ใน ยามที่อยู่ด้วยกันมานาน จนข้อบกพร่องของอีกฝ่ายหนึ่งเริ่มปรากฏ ออกมา สามีภรรยาต้องสามารถท�ำใจให้มองข้ามข้อบกพร่องเหล่านั้น และเพ่งความสนใจไปอยู่ที่ความดีงามของคู่ครอง ดังค�ำประพันธ์ที่ว่า


ฉบับที่ ๖๒ ปีที่ ๑๙ มกราคม-นีนาคม ๕๔

55

THAILAND RESTAURANT 207 Kingston Road, Ewell, Epsom Surrey KT19 0AB

Tel. 020 8393 1234

ฉบับที่ ๖๒www.thailand-restaurant.co.uk ปีที่ ๑๙ มกราคม-นีนาคม ๕๔ 55


56

วารสารพุทธปทีป

มองโลกแง่ดีมีผล เห็นคนอื่นดีมีค่า ปลุกใจให้เกิดศรัทธา ตั้งหน้าท�ำดีมีคุณ

การฝีกใจให้มองแต่แง่ดีอย่างนี้เรียกว่า การแผ่เมตตา ใจของคน แผ่เมตตาจะเต็มไปด้วยความรักแบบไม่มีเงื่อนไข เช่นเดียวกับความรัก ของแม่ที่มีต่อลูกน้อยคนเดียว นั่นคือ แม่พร้อมที่จะรักลูกน้อยของตน โดยมองข้ามความบกพร่องของลูกได้ ฉันใด คนแผ่เมตตาก็สามารถที่ จะรักและให้อภัยคนอื่นได้ ฉันนั้น สามีภรรยาต้องฝึกแผ่เมตตาให้กันและกัน ความรักแบบเมตตา ไม่ได้เกิดจากการกระตุ้นของคู่ครอง แต่เกิดจากการที่แต่ละฝ่าย เป็นผู้ ก�ำหนดความสนใจให้พงุ่ เป้าไปทีค่ วามดีงาม หรือความน่ารักของอีกฝ่าย หนึง่ ความรักแบบเมตตาจึงด�ำเนินไปอย่างไม่รจู้ บ เรียกว่า อัปปมัญญา คือ ไม่มีขีดจ�ำกัด ตราบใดที่สามีภรรยายังนึกถึงความดีงามของอีกฝ่าย หนึ่ง ตราบนั้นความรักแบบเมตตาก็ยังคงอยู่ตลอดไป ความรักแบบโรแมนติกมีวันจืดจางไป เมื่อความสวยงามร่วงโรย ไปตามกาลเวลา แต่ความรักแบบเมตตายังคงที่คงทน เพราะไม่ได้ ใส่ใจความสวยงามภายนอกที่ร่างกายแต่เพียงอย่างเดียว หากแต่ยัง เพ่งความสนใจไปทีค่ วามดีงามภายในจิตใจอีกด้วย นัน่ คือความรักแบบ เมตตา ใส่ใจคนรักในฐานะที่เขาเป็นมนุษย์และเป็นเพื่อนชีวิตของเรา ในการแต่งงานตามประเพณีไทยต้องมีพธิ หี ลัง่ น�ำ้ สังข์ ซึง่ เป็นการ สอนธรรมให้คู่บ่าวสาวมีความรักความเมตตาต่อกันและอยู่ครองคู่กัน โดยไม่แตกแยกเหมือนกับสายน�้ำสังข์ที่หลั่งรดมือนั้น คนโบราณได้ว่า


ฉบับที่ ๖๒ ปีที่ ๑๙ มกราคม-นีนาคม ๕๔

57

คาถาหลั่งน�้ำสังข์ให้พรคู่ บ่าวสาวว่า “อิทัง อุทะกัง วิยะ สะมัคคา อภินนา โหถะ ขอเธอทั้งสองจงปรองดองไม่แตกแยกกันเหมือนน�้ำนี้ เถิด” ดังค�ำประพันธ์ที่ว่า ขอเธอทั้งสอง อยู่ครองสมาน ดุจดังสายธาร สะอาดสดใส สายน�้ำมิแยก แตกกันฉันใด ขอสองดวงใจ ดุจสายธารเทอญ อย่างไรก็ตาม ความรักแบบเมตตาเป็นเพียงคุณธรรมหนึ่งในสี่ ข้อที่เป็นพื้นฐานส�ำคัญของชีวิตการแต่งงาน คุณธรรมทั้งสี่ข้อรวมเรียก ว่า พรหมวิหารธรรม แปลว่า ธรรมเครื่องอยู่ของพรหมคือผู้ประเสริฐ ซึ่งประกอบด้วยเมตตา (ความรัก) กรุณา (ความสงสาร) มุทิตา (ความ พลอยยินดี) และอุเบกขา (ความวางเฉย) ค�ำว่า พรหมวิหารธรรม ที่แปลว่า ธรรมเครื่องอยู่ของพรหมนี้ ชวนให้นึกถึงภาพของพระพรหม ๔ หน้า พระพรหมใช้หน้าแต่ละหน้า ไว้ดูแต่ละทิศทาง ฉันใด สามีภรรยาก็ใช้พรหมวิหารธรรมแต่ละข้อ เพ่งพินิจลักษณะแต่ละด้านของคู่ครอง ฉันนั้น คุณธรรมทั้งสี่ข้อ มีหลักปฏิบัติเหมือนกันตรงที่ว่า ตัวเราเองเป็น ผู้สร้างคุณธรรมเหล่านั้นให้เกิดขึ้นในใจ ด้วยการก�ำหนดทิศทางแห่ง ความสนใจ ให้เพ่งพินิจไปยังลักษณะแต่ละด้านของคนอื่น ซึ่งจะช่วย ให้เกิดความรัก ความสงสาร ความพลอยยินดีและความวางเฉยขึ้นใน ใจของเรา เช่น เมื่อเราเพ่งความสนใจไปที่ความดีงามของคนอื่น เราจะ


58

วารสารพุทธปทีป

มีความรักแบบเมตตาต่อเขา แต่เมื่อเราเพ่งความสนใจไปที่ความทุกข์ ระทมของเขา เราจะรู้สึกสงสาร คือ มีความกรุณาต่อเขา พรหมวิหารธรรมข้อที่ ๒ คือ กรุณา หมายถึง ความสงสารหวั่น ใจปรารถนาจะช่วยให้คนอื่นพ้นทุกข์ เมื่อคู่ครองของเราประสบความ ทุกข์ทรมานจากความเจ็บป่วย ในขณะนั้น เราหยุดเพ่งพินิจความดี งามของเขาเป็นการชั่วคราว แต่หันไปให้ความสนใจต่อความเจ็บป่วย ของเขาเพื่อดูแลกันในยามเจ็บไข้ คู่ครองต้องไม่ทอดทิ้งกันในยามจน และยามเจ็บ ที่ส�ำคัญก็คือคู่ครองต้องยืนหยัดเคียงข้าง ช่วยประคับ ประคองให้อีกฝ่ายหนึ่งผ่านพ้นปัญหาและอุปสรรคไปได้ ดังค�ำกล่าว ที่ว่า “มีทุกข์ร่วมทุกข์ มีสุขร่วมเสพ” มีทุกข์ร่วมทุกข์ด้วยกรุณา มีสุข ร่วมเสพด้วยเมตตา พรหมวิหารธรรมข้อที่ ๓ คือ มุทติ า หมายถึง ความพลอยยินดี เมือ่ คนอืน่ ได้ดมี สี ขุ เวลาทีค่ คู่ รองของเราประสบความส�ำเร็จในชีวติ เราต้อง แสดงความยินดีอย่างจริงใจด้วยมุทิตา คู่สามีภรรยาจะไม่อิจฉาริษยา กันเอง เพราะมองเห็นความส�ำเร็จของอีกฝ่ายหนึ่งเป็นความส�ำเร็จ ของส่วนรวมคือครอบครัว ต่างฝ่ายต่างเป็นก�ำลังใจให้กันและกันเดิน หน้าไปสู่ความส�ำเร็จจนสามารถพูดได้เต็มปากว่าเบื้องหลังความส�ำเร็จ ทุกครั้งต้องมีเขาคนนั้นเป็นก�ำลังใจให้เสมอ พรหมวิหารธรรมข้อที่ ๔ คือ อุเบกขา หมายถึง มีใจเป็นกลาง วางเฉยต่อสภาวะอันไม่น่าพอใจของคนอื่น เมื่อสามีภรรยามาจากภูมิ หลังแตกต่างกัน ทั้งด้านการศึกษา สังคมและวัฒนธรรม ทั้งสองฝ่าย ต้องยอมรับความแตกต่างนั้นด้วยอุเบกขา คือ ยอมปล่อยให้อีกฝ่าย หนึ่ง มีความเป็นตัวของตัวเองบ้าง โดยไม่มีการก้าวก่ายแทรกแซงจน


ฉบับที่ ๖๒ ปีที่ ๑๙ มกราคม-นีนาคม ๕๔

59

เกินไป การฝึกมองข้ามข้อบกพร่องของกันและกันก็เป็นอุเบกขาอย่าง หนึ่งซึ่งช่วยให้ทนอยู่ด้วยกันได้ ดังที่พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาส ภิกขุ) ประพันธ์ไว้ว่า เขามีส่วน เลวบ้าง ช่างหัวเขา จงเลือกเอา ส่วนที่ดี เขามีอยู่ เป็นประโยชน์ ต่อโลกบ้าง ยังน่าดู ส่วนที่ชั่ว อย่าไปรู้ ของเขาเลย นอกจากนี้ เรื่องญาติสนิทมิตรสหายของแต่ละฝ่าย อาจเป็น ชนวนให้ปวดหัวได้ ถ้าไม่รจู้ กั วางใจเป็นอุเบกขา ด้วยการปรับตัวท�ำใจ ให้ยอมรับซึ่งกันและกัน แม้ใจจะไม่ชอบ แต่ก็ไม่ถึงกับต้องชังกัน แม้จะ มีความแตกต่าง แต่ก็ไม่ถึงกับต้องแตกแยก นั่นคืออุเบกขาที่ท�ำให้สามี ภรรยาทนกันได้ โดยไม่ต้องหย่าร้างเพราะเกิดอาการที่เหลือจะทน พรหมวิหารธรรมทั้ง ๔ ข้อนี้เป็นคุณธรรมพื้นฐานภายในจิตใจที่ จะท�ำให้คู่บ่าวสาว สามารถปฏิบัติหน้าที่ของสามีภรรยา โดยไม่ต้อง ฝืนใจ หน้าที่จัดเป็นจริยธรรม เพราะเป็นเรื่องที่ต้องประพฤติปฏิบัติ พระพุทธเจ้าทรงแสดงหน้าที่ของสามีภรรยาไว้ในสิงคาลกสูตร ดังนี้ สามีต้องปฏิบัติบ�ำรุงภรรยา ดังนี้ ๑) ยกย่องให้เกียรติในฐานะภรรยา ๒) ไม่ดูหมิ่น ๓) ไม่นอกใจ ๔) มอบความเป็นใหญ่ในงานบ้าน ๕) ให้เครื่องประดับเป็นของขวัญตามโอกาสอันควร


60

วารสารพุทธปทีป

ภรรยาต้องปฏิบัติบ�ำรุงสามี ดังนี้ ๑) จัดการงานบ้านให้เรียบร้อย ๒) สงเคราะห์ญาติมิตรทั้งสองฝ่ายด้วยดี ๓) ไม่นอกใจ ๔) รักษาทรัพย์สมบัติที่หามาได้ ๕) ขยันไม่เกียจคร้านในงานทั้งปวง เมื่อว่าตามแนวสิงคาลกสูตรนี้ พิธีแต่งงานของชาวพุทธควร ก�ำหนดให้คู่บ่าวสาวกล่าวค�ำปฏิญาณตน ต่อหน้าพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ว่าจะปฏิบัติหน้าที่ตามแนวสิงคาลก สูตรโดย ฝ่ายเจ้าบ่าว เริ่มก่อนว่า “ข้าพเจ้าขอกล่าวค�ำปฏิญาณต่อหน้าพระรัตนตรัย ว่า ข้าพเจ้าจะรักและซื่อสัตย์ต่อภรรยาของข้าพเจ้าตลอด ชีวิต จะยกย่องให้เกียรติ ไม่ดูหมิ่น ไม่นอกใจ มอบความ เป็นใหญ่ในงานบ้าน และให้เครื่องประดับเป็นของขวัญ ตามโอกาสอันควร” ฝ่ายเจ้าสาว กล่าวว่า “ข้าพเจ้าขอกล่าวค�ำปฏิญาณต่อหน้าพระรัตนตรัย ว่า ข้าพเจ้าจะรักและซื่อสัตย์ต่อสามีของข้าพเจ้าตลอด ชีวิต จะจัดการงานบ้านให้เรียบร้อย สงเคราะห์ญาติมิตร ทั้งสองฝ่ายด้วยดี ไม่นอกใจ รักษาทรัพย์สมบัติที่หามาได้ และขยันไม่เกียจคร้านในงานทั้งปวง”


ฉบับที่ ๖๒ ปีที่ ๑๙ มกราคม-นีนาคม ๕๔

61

ค�ำปฏิ ญ าณของคู ่ บ ่ า วสาวนี้ ควรถื อ เป็ น หั ว ใจส�ำคั ญ ของพิ ธี แต่งงานแบบพุทธ จริยธรรมของสามีภรรยาในสิงคาลกสูตรนี้ เน้นการแบ่งหน้าที่ ของแต่ละฝ่ายเป็นส�ำคัญ นั่นคือ สามีเป็นฝ่ายท�ำงานหารายได้เข้าบ้าน ในขณะที่ภรรยาเป็นใหญ่ในงานบ้าน แต่สามีภรรยาในยุคปัจจุบันอาจ ช่วยสนับสนุนบทบาทของกันและกันก็ได้ เช่น ภรรยาออกไปท�ำงานหา รายได้นอกบ้าน สามีช่วยภรรยาท�ำงานบ้าน แต่ไม่ว่าใครจะท�ำบทบาท ใด สิ่งส�ำคัญที่ต้องใส่ใจ ก็คือต้องมีเวลาให้ความรักและความอบอุ่น แก่สามีภรรยาและบุตรธิดา ความรักและความอบอุน่ เป็นสิง่ ส�ำคัญทีส่ ดุ ส�ำหรับสมาชิกภายในครอบครัว บางทีความส�ำเร็จและความรุ่งเรือง ในหน้าที่การงานนอกบ้าน ก็ไม่สามารถจะแทนที่ความรักและความ อบอุ่นภายในบ้าน ดังเรื่องต่อไปนี้ เย็นวันหนึ่ง ขณะที่อากาศหนาวจัด แม่คนหนึ่งก�ำลัง เตรียมอาหารมื้อเย็นอยู่ภายในบ้าน มองออกไปนอกบ้าน ก็เห็นชายชรา ๓ คน นั่งผจญความหนาวอยู่ใต้สะพานลอย หน้าบ้าน แม่จึงบอกลูกชายให้ไปเชิญชายชราทั้งสามคน เข้ามาทานซุปร้อนๆ ภายในบ้าน ลูกชายหายไปพักหนึ่งแล้วกลับมารายงานว่า “คุณ ลุงทัง้ สามคน ไม่เคยรับเชิญเข้าบ้านพร้อมกัน พวกเขาบอก ว่า คุณแม่เลือกเชิญได้เพียงคนเดียว ไม่ทราบว่าจะให้เชิญ คนไหน” แม่สั่งให้ลูกชายไปถามชื่อของคุณลุงทั้งสามก่อน


62

วารสารพุทธปทีป

เพื่อประกอบการตัดสินใจ ลูกชายวิ่งไปถามชื่อแล้วกลับมารายงานว่า คนแรก ชื่อ นายรัก คนที่สองชื่อ นายส�ำเร็จ คนที่สามชื่อ นาย รุ่งโรจน์ แม่สั่งลูกให้ไปเชิญนายรักเข้าบ้าน ลูกชายหายไปพักหนึ่งแล้วกลับมาพร้อมชายชราทั้ง สามคน แม่อดถามด้วยความสงสัยไม่ได้วา่ “ตอนแรกลุงบอก ว่าจะรับเชิญเข้าบ้านได้เพียงคนเดียว ท�ำไมตอนนี้จึงมา พร้อมกันทั้งสามคน” ชายชราตอบว่า “นั่นขึ้นอยู่กับว่าท่านเชิญใครเข้า บ้าน ถ้าท่านเชิญนายส�ำเร็จหรือนายรุ่งโรจน์ ท่านจะได้ เพียงคนเดียว แต่ถ้าท่านเชิญนายรักเข้าบ้าน นายส�ำเร็จ และนายรุ่งโรจน์จะตามเข้าบ้านมาด้วย” ความรักสามัคคีมอี ยูใ่ นทีใ่ ด ทีน่ นั่ ก็จะประสบความ ส�ำเร็จและความรุ่งโรจน์ แต่ที่ใดเน้นแต่ความส�ำเร็จหรือ ความรุ่งโรจน์ ก็ไม่แน่ว่าที่นั่นจะมีความรัก ความรักเป็นพื้นฐานของชีวิตครอบครัว เมื่อมี ความรักอยู่ภายในบ้าน ความส�ำเร็จและความเจริญ รุ่งเรืองก็จะตามเข้าบ้านมาเองโดยไม่ชักช้า ทีใ่ ดมีรกั ทีน่ นั่ มีความส�ำเร็จและความเจริญรุง่ เรือง


ฉบับที่ ๖๒ ปีที่ ๑๙ มกราคม-นีนาคม ๕๔

63

ขอขอบคุณเจ้าของบทความจาก​ BY DHAMMACARO BHIKKHU

the eye of

“wisdom”

H

uman beings have two eyes and two kinds of eye. One kind sees Dhamma and is called the Eye of Wisdom. The other kind sees just material things and is called the Worldly Eye. It is said, that the Dhamma Eye or Eye of Wisdom sees the inner spiritual world and the other Worldly Eye sees the external material world. Both kinds of vision must be wise, or they will be blocked from seeing reality and will be distracted by greed, hatred and ignorance. How can vision be wise? This is a key question which we

human beings should frequently ask ourselves, for only then will we be prompted to seek an answer. Both the inner spiritual world and external material worlds are equally important, therefore neither of them should be ignored. Both must be treated equally. There is a Zen story which explains this well. Here is the story:

T

here was once a new monk, who was new to Buddhist study and meditation. One day after a class, he approached a senior monk

ฉบับที่ ๖๒ ปีที่ ๑๙ มกราคม-นีนาคม ๕๔

63


64

วารสารพุทธปทีป

and asked him, “Brother! A Boddhisattava has a thousand eyes, how many eyes are true?” The senior monk replied, “Only one is true.” The new student doubted this and persisted by asking a further question, “Why is only one eye true, brother?” The answer he received was this: “The one true eye is the wisdom that is within each person. Let us consider the actions of a blind man and how he reaches out for this and that without seeing. In the morning, when your alarm clock rings, you switch it off without opening your eyes. Which eye are you and the blind man using?” The new monk answered without hesitation, “Yes, that must be the Eye of Wisdom, brother. I understand now that the Eye of Wisdom is the only one with true vision and this sees all that is about us in the here and now.”

T

his story teaches us that we need to wise up both kinds of vision, so our path in life becomes clear. If we are wise, we can see beyond material things. What we then see can be called the truth. The world is in a muddle now because people don’t use their Eye of Wisdom to view things. People are distracted and deluded by greed, hatred and ignorance. These desires mix them up, or bring them down. People become distressed, depressed, anxious and suffer. These things can be called the darkness of life. Only wisdom will lead the world out of the darkness. Why, then, do people not use it?

W

isdom is the only one brilliant light that can illuminate the whole world.


ฉบับที่ ๖๒ ปีที่ ๑๙ มกราคม-นีนาคม ๕๔

65

ฉบับที่ ๖๒ ปีที่ ๑๙ มกราคม-นีนาคม ๕๔

65


66

วารสารพุทธปทีป

รายชื่อวัดและส�ำนักสงฆ์ไทย ในสหราชอาณาจักรและไอร์แลนด์เหนือ วัดพุทธปทีป กรุงลอนดอน

THE BUDDHAPADIPA TEMPLE 14 Calonne Rd, Wimbledon London SW19 5HJ Tel: 020 8 946 1357 Fax. 020 8 944 5788 www.buddhapadipa.org www.watthai.org.uk (Thai) bppthai@hotmail.com วัดธรรมปทีป สก๊อตแลนด์

วัดพุทธาราม กรุงลอนดอน

WAT BUDDHARAM 77 Blake Hall Road.: Wanstead London E11 3QX. Tel: 0208 530 2111 Moblie: 0790 880 9255 www.watbuddharam.org.uk watbuddharam@yahoo.co.uk วัดพุทธวิหาร คิงส์บอร์มลี่ย์

THE DHAMMAPADIPA TEMPLE 199 Slateford Road, Edinburgh, Scotland, EH14 1LA, Tel: 0131 443 1010 www.dpadipa.org dmailbox@dpadipa.org

THE BUDDHAVIHARA TEMPLE Eastfield House Alrewas Road, Kings Bromley Burton Upon Trent Staffordshire, DE13 7HR Tel: 01543 472 315 www.watthaiuk.co.uk

วัดสังฆปทีป เทดริกา เวลส์

วัดสันติวงศาราม เบอร์มิ่งแฮม

THE SANGHAPADIPA TEMPLE 1 Susannah Cottage Rhymney Tredegar Wales NP22 5QN Tel:01685 84 3986 pmsawat09@hotmail.co.uk

WAT SANTIWONGSARAM 107 Handsworth Wood Rd, Handsworth Wood, Birmingham B20 2PH Tel. (0121) 551 5729 www.watsantiwong.com


ฉบับที่ ๖๒ ปีที่ ๑๙ มกราคม-นีนาคม ๕๔

วัดศรีรัตนาราม แมนเชสเตอร์

67

วัดป่าสันติธรรม

WAT SRI RATANARAM 18 Paulden Avenue Baguley, Manchester M23 1PD Tel :0161 998 4550

WAT FOREST HERMITAGE Lower Fulbrook Warwickshire, CV35 8AS Tel. (092) 662-4385 www.foresthermitage.org.uk

วัดอมราวดี

วัดพุทธวิหาร อ๊อกซ์ฟอร์ด

Amaravati Buddhist Monastery St. Margarets Lane Great Gaddesden Hemel Hempstead Hertfordshire HP1 3BZ www.amaravati.org

THE OXFORD BUDDHA VIHARA 356-358 Abingdon Road Oxford, OX1 4TQ, Tel: 01865 791 591 www.oxfordbuddhavihara.org.uk oxford_buddhavihara@yahoo.co.uk

วัดป่าจิตตวิเวก

วัดเจริญภาวนา

Chithurst Buddhist Monastery Petersfidld, Hampshire GU31 5EU Tel. 01730 814 986 Fax. 01730 817 334 www.cittaviveka.org

WAT CHARERNBHAVANA 306 Norbury Avenue, London SW16 3RL U.K. Tel. 020 8764 8265

วัดอรุณรัตนคีรี

วัดเจริญภาวนา แมนเชสเตอร์

Aruna Ratanagiri Buddhist Monastery 2 Harnham Hall Cottages, Harnham, Belsay, Northumberland NE20 OHF, www.ratanagiri.org.uk

WAT CHAROENBHAVANA Garden House Cheltenham Street Salford, Manchester M6 6WY Tel: +44 (0161) 736 1633 Fax: +44 (0161) 736 5747


68

วารสารพุทธปทีป

วัดสังฆปทีป ได้อยู่กับญาติโยม ชาวไทยในแค้ ว นเวลส์ ไ ด้ ปี เ ศษ แล้ว ตลอดหนึ่งปีที่ผ่านมาทาง วั ด ได้ เ ป็ น ที่ ยึ ด เหนี่ ย วจิ ต ใจของ ญาติโยมให้มัน่ คงในบุญมาตลอด ญาติโยมได้มีโอกาสได้ทำ�บุญได้ บ่อยขึ้น ญาติโยมทั้งจากลอนดอน และที่ เมืองเวลส์ก็ได้ให้การดูแลวัด พระ สงฆ์ เป็นอย่างดี ทางวัดก็ได้นำ� ญาติโยมทำ�บุญทั้งภายในวัดและ ต่างวัด และบางครั้งก็ได้ไปตาม สถานที่ต่างๆ เพื่ออำ�นวยความ สดวกให้แก่ญาติโยม ผู้ที่สนใจในการปฏิบัติธรรม นั่ง สมาธิเจริญภาวนา ก็มาที่วัดเป็น

ครั้ ง คราวตามความสดวกของ ญาติโยม วัดอาจจะอยู่ห่างไกล เดิ น ทางไปลำ � บาก แต่ ไ ด้ เ ห็ น น้ำ�ใจของญาติโยมที่ไม่ได้ทอดทิ้ง ไหว้ พ ระสวดมนต์ เจริ ญ ภาวนา ทุ ก ครั้ ง ก็ ไ ด้ แ ผ่ กุ ศ ลให้ ญ าติ โ ยม ทุกคนมีความสุข และพยายาม ให้ ค วามสดวกแก่ ญ าติ โ ยมที่ ม า ทำ�บุญเท่าที่จำ�ทำ�ได้ เช่น ทำ�ห้อง ปฏิบัติธรรม ทางเดินเท้า ห้องน้ำ� เพิ่มเติม ขออนุ โ มทนาแก่ ญ าติ โ ยมทุ ก ท่าน ขอให้ท่านพึงเป็นผู้มีปัญญา สมบู ร ณ์ มี ค วามสุ ข สมบู ร ณ์ มี สุ ข ภาพสมบู ร ณ์ บริ บู ร ณ์ ด้ ว ย บารมีธรรมทุกท่าน

สถานที่ตั้งและรายละเอียดการติดต่อ วัดสังฆปทีป เวลส์ คาร์ดีฟ The Sanghapadipa Temple

Rhymney, Tredegar, South Wales NP22 5QJ tel. [+44] 01685 843 986 | em: spp@padipa.org 68

วารสารพุทธปทีป


ฉบับที่ ๖๒ ปีที่ ๑๙ มกราคม-นีนาคม ๕๔

ปฎิทินปฏิบัติศาสนกิจ คณะพระธรรมทูต วัดพุทธปทีป กรุงลอนดอน

ศาสนกิจ/กิจกรรม

วัน

69

วันที่-เดือน-ปี

๑. วันทำ�บุญขึ้นปีใหม่ วันเสาร์ที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๔ ๒. วันเด็กแห่งชาติ วันอาทิตย์ที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๕๔ ๓. วันมาฆบูชา วันอาทิตย์ที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ๔. วันสงกรานต์ วันอาทิตย์ที่ ๑๑ เมษายน ๒๕๕๔ ๕. วันวิสาขบูชา วันอาทิตย์ที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๔ ๖. วันอดีตเจ้าอาวาส วันอาทิตย์ที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๔ ๗. วันบวชศีลจาริณี วันเสาร์ที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ๘. วันอาสาฬหบูชา วันอาทิตย์ที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ๙. วันเข้าพรรษา วันเสาร์ที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ๑๐. วันเปิดโครงการภาคฤดูร้อน วันจันทร์ที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๔ ๑๑. วันบรรพชาสามเณร วันเสาร์ที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๕๔ ๑๒. วันเทศน์มหาชาติ วันอาทิตย์ที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๕๔ ๑๓. วันออกพรรษา วันพุธที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๔ ๑๔. วันตักบาตรเทโวโรหณะ วันอาทิตย์ที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๔ ๑๕. วันทอดกฐิน-ลอยกระทง วันอาทิตย์ที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ ๑๖. วันสวดมนต์ส่งท้ายปี วันเสาร์ที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๔ ๑๗. วันทำ�บุญตักบาตรขึ้นปีใหม่ วันอาทิตย์ที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๕ ฉบับที่ ๖๒ ปีที่ ๑๙ มกราคม-นีนาคม ๕๔

69


70

วารสารพุทธปทีป

ศาสนกิจประจ�ำสัปดาห์ ประจ�ำปี พุทธศักราช 2554 (2011)

วัน

เวลา - ศาสนกิจ/กิจกรรม

วันอังคาร

19.00 - 21.00 น. ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานสำ�หรับผู้เริ่มต้นและผู้มาประจำ�

วันพฤหัสบดี

19.00 - 21.00 น. ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานสำ�หรับผู้เริ่มต้นและผู้มาประจำ�

วันเสาร์

14.00 - 15.00 น. สอนพระอภิธรรม Abhidhamma Study) 16.00 - 18.00 น. ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานสำ�หรับผู้เริ่มต้นและผู้มาประจำ�

วันอาทิตย์

13.00 - 14.00 น. บรรยายธรรมภาคภาษาอังกฤษ สวดมนต์และปฏิบัติสมาธิ 13.00 -16.00 น. สอนนักเรียนโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ 14.00 - 16.00 น. ทำ�วัตร/ปฏิบัติสมาธิและบรรยายธรรมภาคภาษาไทย 16.00 - 18.00 น. ปฏิบัตวิปัสสนากรรมฐานสำ�หรับผู้เริ่มต้นและผู้มาประจำ�

ขอเชิญผู้สนใจปฏิบัติธรรมตลอดวัน ทุกวันเสาร์ต้นเดือน

วันเสาร์แรกของทุกเดือน ทางวัดพุทธปทีป จัดให้มีการปฏิบัติวิปัสสนา กรรมฐานตลอดวัน เวลา 09.00 น. -17.00 น.


ฉบับที่ ๖๒ ปีที่ ๑๙ มกราคม-นีนาคม ๕๔

71

ตารางปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ประจ�ำเดือน พ.ศ. ๒๕๕๔ วัดพุทธปทีป กรุงลอนดอน

ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ พระมหาประเสริฐ ฐิตคุโณ

มกราคม 3 - 8 พฤษภาคม 16 - 21 กันยายน 5 - 10

กุมภาพันธ์ 7 - 12 มิถุนายน 13 -18 ตุลาคม 3 - 8

โทร. 020 8946 1357 หรือ โหลดใบสมัครทางเวบไซต์ ตารางปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ประจำ�ฤดู (BY SEASON)

ฤดูกาล ฤดูใบไม้ผลิ (SPRING) ฤดูร้อน (SUMMER) ฤดูหนาว (WINTER)

มีนาคม 14 -19 กรกฎาคม 9 - 17 พฤศจิกายน 14 -19

วัน 9 - 14 19 - 24 27 - 31

เดือน พฤษภาคม กันยายน ธันวาคม

เมษายน 18 - 23 สิงหาคม งด ธันวาคม 19 - 24

ปี 2554 2554 2554

รับสมัครครั้งละ 15 ท่านเท่านั้น (ปฏิบัติงดพูดตลอดช่วง) กิจกรรมพิเศษ ประจำ�ปี พุทธศักราช 2554

กิจกรรม วัน เดือน ปี วันทำ�ความสะอาดวัด อาทิตย์ที่ 12 สิงหาคม 2554 วันสัมนา (LBA) เสาร์ท่ ี 1 ตุลาคม 2554 ฉบับที่ ๖๒ ปีที่ ๑๙ มกราคม-นีนาคม ๕๔

71


72

วารสารพุทธปทีป

รายชื่อเจ้าภาพอุปภัมถ์การจัดท�ำวารสาร “พุทธปทีปสาร” ฉบับที่ ๖๒ ปีพุทธศักราช ๒๕๕๔ 1. พระครูปลัดสุทัศน์ อมรสุทฺธิ 2. ร้านอาหาร Mangosteen Earl’s Court 3. นายสุทธิชัย ศรีอุประ และครอบครัว ร้าน 101 3. น.ส.พีรดา ลิ้มตระกูลและครอบครัว 4. คุณภัณฑิลา เกษรักษ์และครอบครัว 5. คุณรัชนี Donkhot (คุณแดง) 6. คุณน�้ำค้าง ชาร์ปและครอบครัว 7. คุณศิริยาพร พันธา (ท�ำบุญวันเกิด) 8. คุณบุญศรี แซ่หลี 9. เพื่อนๆ อุทิศส่วนกุศลให้แก่ คุณฐิติมัย นันทขว้าง 10. คุณสุธัญญา พวงพั่ว 11. คุณปรนิมมิ์ คันธรส, คุณมนัสวิน ปราณี 12. น.ส.จิราภรณ์ ศิริรัตนฤกษ์ 13. น.ส.รัตนาภรณ์ แต้เจริญ 14. คุณสนิท ศรีนวล 15. คุณอนัญญา - Mr. John แฮทฟิลด์ 16. น.ส.อริศรา ยืนยาว (ท�ำบุญคล้ายวันเกิด) 17. คุณสุพรรณี อลันและครอบครัว 18. นายภักดี ธุระกิจเสรี, นายจักรพงษ์ เสถียรปายะนันท์ 19. คุณศรีสุดา แทนค�้ำ 20. คุณอังคณา บัตเตอร์เบริด 21. นางสุชาวดี หงษ์ทอง 22. ร้านอาหารไทยแลนด์ (Thai Land Restaurant) 72

วารสารพุทธปทีป

£150.00 £100.00 £ 20.00 £ 10.00 £ 10.00 £ 10.00 £ 10.00 £ 10.00 £ 20.00 £ 10.00 £ 10.00 £ 10.00 £ 5.00 £ 5.00 £ 5.00 £ 10.00 £ 20.00 £ 10.00 £ 10.00 £ 10.00 £ 10.00 £ 5.00 £ 100.00


ฉบับที่ ๖๒ ปีที่ ๑๙ มกราคม-นีนาคม ๕๔

73

23. คณะร้านอาหารงาน Thai Festival Chiswick Park 2010 £ 200.00 24. ร้านอาหารพัชรีไทย คิงส์ตัน (Patcharee Thai Kingston) £ 100.00 25. ร้านอาหารไทยคอร์เนอร์ (Thai Corner East Dulwich) £ 100.00 26. ร้านอาหารสาวสยาม (SOA SIAM Restaurant) £ 100.00 27. ร้านอาหารอีสานเขียว (Esarn Kheaw Restaurant) £ 100.00 28. ร้านอาหารโสภิตา (SOPHITA RESTAURANT) £ 100.00 29. ร้านอาหารไทยคอททิจ (Thai Cottage Restaurant) £ 100.00 30. ร้านอาหารไทยไรท์ (Thai Rice Restaurant) £ 100.00 31. คุณอังคณา ซัตเตอร์เวิร์ด £ 10.00 32. ผู้ไม่ประสงค์ออกนาม £ 10.00

รวมทั้งสิ้น (หนึ่งพันสี่ร้อยเจ็ดสิบปอนด์ถ้วน)

£1,470.00

การสนับสนุนหรืออุปถัมภ์การจัดท�ำ “พุทธปทีปสาร” สามารถท�ำได้ดังนี้ ๑. สมาชิกบำ�รุงตลอดปี ๕ เล่ม ๓๐ ปอนด์ (ส่งให้ถึงบ้าน) ๒. บำ�รุงตลอดปี ๕ เล่ม ๒๐ ปอนด์ (รับเองที่วัด) ๓. บำ�รุงค่าแสตมป์/ซองบรรจุ ๑๐ ปอนด์ (ต่อปี) ๔. ประชาสัมพันธ์เต็มหน้า ๔ สี ๑๕๐ ปอนด์ (ต่อครั้ง) ๕. ประชาสัมพันธ์ครึ่งหน้า ๔ สี ๑๐๐ ปอนด์ (ต่อครั้ง) ท่านที่ประสงค์จะบริจาคสนับสนุนครั้งนี้ ติดต่อได้ที่ พระครูปลัดสุทัศน์ อมรสุทฺธิ โทร. 020 8946 1357 อีเมล bppthai@hotmail.com | บริจาค เป็นเช็ค กรุณาสั่งจ่ายในนาม (The Buddhapadipa Temple) | เตรียม พบกับฉบับออนไลน์โดยระบบ ePUB ผ่านหน้าเวบไซต์ padipa.org ฉบับที่ ๖๒ ปีที่ ๑๙ มกราคม-นีนาคม ๕๔

73


74

วารสารพุทธปทีป

หลวงตามหาบัวละสังขาร รวมสิริอายุได้ 98 ปี นับเป็นข่าวเศร้าส�ำหรับ พี่น้องชาวพุทธทั่วไป ที่ ได้ ท ราบว่ า “หลวงตา มหาบั ว ” วั ด ป่ า บ้ า น ตาด จ.อุ ด รธานี ได้ ล ะ สั ง ขารตอนเช้ า มื ด ของ วันที่ 30 มกราคม 2554 รวมสิ ริ อ ายุ ไ ด้ 98 ปี หลวงตามหาบั ว เดิ ม เป็ น ชาวมหาสารคาม แต่ ค รอบครั ว ได้ ย ้ า ยไป ประกอบอาชีพที่จังหวัด อุ ด รธานี ท่ า นบรรพชา และอุปสมบทเพื่อศึกษา พระธรรมวินัย เน้นด้าน ก า รปฏิ บั ติ พ ระ ก ร ร ม ฐานตามแนวของหลวง

ปู่มั่น มีลูกศิษย์มากมาย หลวงตามหาบัวเป็นผู้น�ำ ทอดผ้ า ป่ า ทองค�ำช่ ว ย ชาติ รวมทั้ ง สิ้ น จ�ำนวน 967 แท่งหรือ 12,079.8 กิโลกรัม นับเป็นความยิ่ง ใหญ่ที่พระสงฆ์ได้แสดง ความห่วงใยต่อประเทศ ชาติอันหาได้ยาก

หมดจดและงดงาม การ บ�ำเพ็ ญ กุ ศ ลสวดพระ อภิ ธ รรมศพ จั ด ขึ้ น ที่ วั ด ป่ า บ้ า นตาด เพื่ อ ให้ ศิษยานุศษิ ย์ได้เดินทางไป บ�ำเพ็ญกุศลอย่างทั่วถึง ส่วนพิธพี ระราชทานเพลิง ศพ จะมีขนึ้ ในวันที่ 5 มี.ค. 2554

พระราชทิ น นามที่ ไ ด้ รั บ พระกรุ ณ าโปรดเกล้ า พระราชทานคื อ “พระ ธรรมวิสุทธิมงคล” เป็น เครื่ อ งชี้ ว ่ า ท่ า นได้ ท�ำ หน้ า ที่ จ รรโลงกองทั พ ธรรมไว้ อ ย่ า งบริ สุ ท ธิ์

ในนามพุ ท ธศาสนิ ก ชน ชาวไทยในสหราช อาณาจักร ขอน้อมถวาย สั ก ก า ร ะ บู ช า แ ด ่ ด ว ง วิญญาณอันบริสุทธิ์ของ หลวงตามหาบัว มา ณ​ โอกาสนี้

วัดป่าบ้านตาด ตำ�บลบ้านตาด อำ�เภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ๔๑๐๐๐ โทร. 01-905-5242 74 วารสารพุwww.luangta.com ทธปทีป


ฉบับที่ ๖๒ ปีที่ ๑๙ มกราคม-นีนาคม ๕๔

75

หลวงพ่อภัททันตะ อาสภมหาเถระ วัย 100 ปี ละสังขาร

หลวงพ่ อ พระภั ท ทั น ตะ อาสภมหาเถระ เป็นพระ ภิ ก ษุ ช าวพม่ า ได้ เ ดิ น ทางเข้ า มาประเทศไทย เพื่ อ เผยแผ่ พ ระพุ ท ธ ศาสนา ด้ า นวิ ป ั ส สนา ธุ ร ะ ท่ า นผู ้ อ ่ า นอาจจะ ไม่ทราบความเป็นมาว่า เกี่ยวข้องยังไงกับวัดพุทธ ปทีป จะกล่าวพอสังเขป ดั ง นี้ พ ระราชสิ ท ธิ มุ นี (โชดก ป.ธ.๙) อดีตเจ้า อาวาสองค์ แรกวั ด พุ ท ธ ปทีป กรุงลอนดอน ได้ เดินทางไปศึกษาวิปสั สนา กรรมฐาน ที่ส�ำนักศาสน ยิสซะ สหภาพพม่า (พ.ศ. 2495)ครั้ น ครบก�ำหนด เดินทางกลับประเทศไทย สมเด็ จ พระพุ ฒ าจารย์ (อาจ อาสภมหาเถระ) ได้ ข อนิ ม นต์ เ ถระผู ้ ท รง ความรู ้ ด ้ า นการปฏิ บั ติ วิ ป ั ส สนากรรมฐาน ให้ เดิ น ทางมาพร้ อ มด้ ว ย

และหนึ่ ง ในจ�ำนวนพระ เถระผู ้ ท รงความรู ้ ที่ เ ดิ น ทางมาประเทศไทยครั้ง นั้ น ก็ คื อ หลวงพ่ อ ภั ท ทันตะ อาสภะมหาเถระ โดยพั ก สอนวิ ป ั ส สนา กรรมฐาน (แบบพองหนอ ยุ บ หนอ) ที่ วั ด มหาธาตุ เป็นเวลา 10 ปี จากนั้น ได้ย้ายไปสอนวิปัสสนา ประจ�ำที่ส�ำนักวิปัสสนา วิเวกอาศรม จ.ชลบุรี เป็น เวลาหลายสิ บ ปี คณะ ศิ ษ ยานุ ศิ ษ ย์ จึ ง จั ด สร้ า ง ส�ำนักสอนวิปัสสนาแห่ง ใหม่ ถวายเป็นอนุสรณ์ คือ วัดภัททันตะอาสภา ราม หลวงพ่ อ ภั ท ทั น ตะละสั ง ขาร เมื่ อ วั น ที่ 24 พ.ย. 2553 ณ โรง พยาบาลศิ ริ ร าช รวม

อายุ ไ ด้ 100 ปี แ ละนั บ พรรษาได้ 88 พรรษา หลวงพ่ อ เป็ น พระเถระ ผู ้ ท รงคุ ณ ธรรมและเป็ น ปรมาจารย์สายวิปัสสนา กรรมฐานทีม่ คี วามส�ำคัญ ต่อคณะสงฆ์ไทยอย่างยิ่ง หลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน อ.พรหมบุ รี จ.สิ ง ห์ บุ รี หลวงพ่อทอง วัดอุโมงค์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ และ อี ก หลายรู ป ได้ ศึ ก ษา และปฏิบตั ติ ามค�ำแนะน�ำ ของหลวงพ่ อ ภั ท ทั น ตะ จนเป็นทีย่ อมรับตราบจน ทุกวันนี้ สังขารที่ไร้การ ปรุ ง แต่ ง ถู ก ตั้ ง บ�ำเพ็ ญ อยู่ที่ วัดมหาธาตุ ท่าพระ จันทร์ กรุงเทพฯ ส่วนพิธี พระราชทานเพลิงศพจัด ขึ้นในเดือนมีนาคม 2554 นี้ ในนามพุทธศาสนิกชน ชาวไทย ขอน้ อ มถวาย สักการะแด่ดวงวิญญาณ อันบริสทุ ธิม์ า ณ โอกาสนี้

วัดภัททันตะอาสภาราม ๑๑๘/๑ หมู่ ๑ บ้านหนองปรือ ตำ�บลหนองไผ่ แก้ว อำ�เภอบ้านบึง จังหวัดชลบุ พท์ ๐๓๘-๑๖๐ 75 ฉบัรบี ที๒๐๒๒๐ ่ ๖๒ ปีที่ ๑๙โทรศั มกราคม-นี นาคม ๕๔ ๕๑๒


Song Krant Fest 2011

76

วารสารพุทธปทีป

AD Wat Buddhapadipa, Wimbledon London

เชิญเที่ยวง�นสงกร�นตประจำ�ปี ๒๕๕๔ วัดพุทธปทีป กรุงลอนดอน

ทำาบุญตักบาตรอาหารแห้ง​ สรงน้ำา-ปิดทองพระ​ ก่อเจดีย์ทราย​ ไหว้พระขอพรและอิ่ม อร่อยกับอาหารไทยหลากรส​ชมการแสดงศิลปวัฒนธรรมไทยตลอดงาน​​(รับสมัครผู้เข้า ประกวดเทพีสงกรานต์​ ชิงรางวัลตั๋วเครื่องบิ​ินไปกลับ​ ลอนดอน-กรุงเทพฯ​ และรางวัล สมนาคุณมากมาย)​​ติดต่อและสมัครได้ที่​ 76

ง�มนิ �ระ​โทรศัพท์​07956-259-094​ วารสารพุคุทณธปที ป จ กิตติส�ระ

คุณแคท​โทรศัพท์​078957-951-112​อีเมล bcontest@padipa.org


ฉบับที่ ๖๒ ปที่ ๑๙ มกราคม-นีนาคม ๕๔

ก�รทำ�บุญสงท้�ยปีเก� ต้อนรับปีใหม่​ปี​2554​ใน 2553 และ ต้ อ นรั บ ปี ส่วนฆราวาสได้รับเกียรติ ใหม 2554 จาก​ ผู้ช่วยทูตทหารเรือ​ น.อ.ธีระยุทธ​ นอบน้อม​ ก่อนเทีย่ งคืนของวันที​่ 31​ ร.น.​ พร้อมภริยา​ และพี่ ธันวาคม​2553​ที่ผ่านมา​ น้องชาวไทยเดินทางไป คณะสงฆ์วดั พุทธปทีป​นำา ร่ ว มพิ ธี ดั ง กล่ า วจำ า นวน โดยพระเดชพระคุณหลวง สองร้อยกว่าคน​ นับว่า พ่ อ พระราชภาวนาวิ ม ล​ เป็นการเคาท์ดาวน์ที่น่า เจ้าอาวาส​ ประธานฝ่าย อนุโมทนายิง่ ​​ได้ทงั้ ความ สงฆ์พร้อมด้วยพระสงฆ์ สนุกและความสงบควบคู่ ทุกรูปสวดเจริญพระพุทธ กัน​และในร่งุ เช้าวันเสาร์ที่​ มนต์ เ พื่ อ อำ า ลาปี เ ก่ า 1​ม.ค.​2554​เวลา​10.00​

77

น.​พี่น้องชาวไทยจำานวน มาก​ จากลอนดอนและ เมื อ งใกล้ เ คี ย ง​ ได้ ไ ป ทำาบุญตักบาตรที่วัด​โดย มี​อุปทูต​ม.ร.ว.อดิศรเดช​ สุขสวัสดิ์​ เป็นประธานใน พิธี​ นำาจุดเทียนธูป​ ไหว้ พระสมาทานเบญจศี ล​ รั บ พรปี ใ หม่ ​ และกล่ า ว ปราศัยกับพี่น้องชาวไทย ทีเ่ ข้าร่วมในพิธ​ี โดยให้ทกุ ฝ่ายดำาเนินชีวิตด้วยการ ครองสติเป็นสำาคัญ

ฉบับที่ ๖๒ ปที่ ๑๙ มกราคม-นีนาคม ๕๔

77


78

วารสารพุทธปทีป

Sao Siam Thai Restaurant 120 Tolworth Broadway, Surbiton KT6 7HT

78

Tel. 0208 390 0138

วารสารพุทธปทีป


ฉบับที่ ๖๒ ปีที่ ๑๙ มกราคม-นีนาคม ๕๔

79

ฉบับที่ ๖๒ ปีที่ ๑๙ มกราคม-นีนาคม ๕๔

79


80

วารสารพุทธปทีป

80

วารสารพุทธปทีป


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.