ปีที่ ๒๐ ฉบับที่ ๖๔ กรกฎาคม-กันยายน ๕๔
1
2
วารสาร “พุทธปทีป”
ปีที่ ๒๐ ฉบับที่ ๖๔ กรกฎาคม-กันยายน ๕๔
3
กองบรรณาธิการ Editor Team
คณะที่ปรึกษา พระราชภาวนาวิมล พระครูประภัศร์ธรรมวิเทศ นายวันชัย ภู่นุ่ม นางธัญญรัตน์ ศานติชาติศักดิ์ นางปริศนา พอนด์ คณะผูจัดทำ
คณะพระธรรมทูต วัดพุทธปทีป กรุงลอนดอน 14 Calonne Rd Wimbledon London SW19 5HJ T.020 8946 1357 www.buddhapadipa.org (EN) www.padipa.org (TH) bpp@padipa.org คอมพิวเตอร์กราฟฟค
พระครูปลัดสุทัศน์ อมรสุทฺธิ นายพัชรพล พงษ์วิจิตร แผนกสนับสนุนช่วยเหลือ
ดาวรุง ทรัส | พิชญ์ณัฐ พลายสุวรรณ ทิพวรรณ สมิธ | วรพจน์ ศรีนา จำนวนพิมพ์ 2,000 เล่ม กำหนดออก 5 ฉบับ/ป
(ม.ค./เม.ย./ก.ค./ต.ค./ธ.ค.) การสนับสนุน/สมัครสมาชิก
บำรุงสแตมป/ซองบรรจุ สมัครสมาชิก 1ป 5 เลม คาสนับสนุนทั่วไป
20 ปอนด์ 30 ปอนด์ 10 ปอนด์
สารบัญ
CONTENTS
วิสาสะกับทานผู้อาน ๕ อ. กอสุข สิ้นทุกข์ภัย วัด-วัตร-วัฏฏ์ ใครบ้างเปนเจ้าของ มองอยางมีความหวัง อุปสรรคผลักดันหรือเหนี่ยวรั้ง ความเข้าใจที่ผิดพลาดเรื่องกรรม ประมวลภาพกิจกรรมวัดพุทธปทีป YOU KNOW ? BASIC BUDDHISM GUIDE สอนให้เด็กคิดเปนได้ไมยาก ๖ นิสัยทำลายตนเอง ประกาศอนุโมทนาผู้บริจาคสนับสนุน ข้อมูลวัดไทยและสถานที่ราชการ สรุปขาวชาวพุทธปทีป เสียงจากวัดสังฆปทีป เวลส์ การสมัครสมาชิกและสนับสนุน
4 6 12 18 24 32 36 47 50 60 66 70 72 73 76 73
4
วารสาร “พุทธปทีป”
พบกันอีกฉบับ กลับมาขับเคลื่อนธรรมะขององค์พระพุทธะ และทักทาย คนไกลบ้าน คนสู้ฝันบนทางชีวิตที่ยังยาวไกล และเป็นเส้นชัยที่ต้องย้ำด้วย คำว่า “เต็มที่” แทบทุกวัน ฉบั บ นี้ ยั ง อุ ด มด้ ว ยเนื้ อ หาสาระ พิ มพ์ สี ส วยสะอาดตา ที่ ฟั ง ดู เป็ น การ ลงทุน ทว่าก็เพื่อให้สื่อธรรมะมีพัฒนาการและเติบโตตามความเหมาะสม แห่งยุคสมัย ผู้อ่านเคยสงสัยไหมว่า การเปลี่ยนแปลงอะไรในชีวิต ฟังดูไม่ง่ายเลย สาเหตุอาจเพราะความคุ้นเคยและคุ้นชินกับรูปแบบการดำเนินชีวิต วิธีคิด ของเรา ผูกมัดเราตามรูปแบบอย่างเหนียวแน่น คำตอบข้อสงสัยจึงเป็น เพียงคำเฉลย ซึ่งผ่านเข้าออกทางใจมานาน และนานพอต่อการจำการหมุน วนได้อย่างแม่นยำ เพราะกรอบเก่านั้นเป็นต้นแบบความคิดและพฤติกรรม เที่ยววิ่งย้ำในลู่ชีวิต วิสัยทัศน์และวิทยาการสมัยใหม่ จึงหมดโอกาสอาจวิ่ง นำ ซ้ำถูกเบียดให้รั้งท้าย กลายเป็น “จอคกี๊ผู้ปราชัยในสนามชีวิต” ไปอย่าง น่าเสียดาย “เปลี่ยนแปลงนั้นยาก แต่ได้ผลมากหากทำได้” “เปลี่ยนความคิดคนอื่นยาก ทว่าเปลี่ยนท่าทีของเราง่ายกว่า”
พระครูปลัดสุทัศน์ อมรสุทฺธิ บรรณาธิการ
“เปลี่ยนที่อารมณ์ข้างใน ไม่ใช่ที่สถานการณ์ข้างตัว” “เปลี่ยนแปลงเพื่อปรับปรุง ไม่ใช่นั่งปลงเพียงเพราะมีหลายอย่างในชีวิต กำลังจะเปลี่ยนไป” ทุกการเปลี่ยนแปลงไม่ได้เริ่มที่วิธีการ ทว่าเริ่มจาก “ปณิธานแห่งใจ” ย้ำด้วยการลงมือทำอย่างจริงจัง สม่ำเสมอ และไม่ย่อท้อ แล้วภาพฝันที่เคย รออย่างเลือนลาง จะค่อยๆ ปรากฏเป็นภาพจริงแทนการคาดเดา ช่วงเวลาที่ผ่านมา หลายท่านถามถึงกึ่งทวงว่า “ฉบับใหม่ได้ฤกษ์หรือ ยัง” ได้ฟังแล้วแอบอมยิ้มและปลื้มใจ ที่รู้ว่ามีคนลุ้นและรอยลค้นหาธรรมะ เหมือนแรงเชียร์ให้ทีมงาม เร่งดำเนินการให้วารสารถึงมือท่าน โดยมิท้อต่อ ความเหน็ดเหนื่อย เข้าสูตรที่ว่า “เพราะกำลังใจจากแรงเชียร์ความอ่อนเพลีย จึงสลายไป” จริงเท็จประการใด ฝากท่านผู้อ่านช่วยคลำหาคำตอบ ขออนุโมทนาและขอบคุณทุกธารน้ำใจ ที่ได้บริจาคทุนสนับสนุนค่าจัด พิมพ์และค่าดำเนินการ ทีมงานขอตั้งปณิธานว่า จะนำวารสารพุทธปทีป มา พบท่านเป็นเพื่อนร่วมทาง เคียงข้างคนไกลบ้าน และเป็นแว่นธรรมส่องใจ หากพบข้อผิดพลาดยังหลงอยู่บ้าง ทีมงานต้องขออภัยและขอรับคำติชม ด้วยใจคารวะ สิทธิลาโภ ชะโย นิจจังฯ ขอให้มีชัยในชีวิตโดยทั่วกันฯ.
“พุทธปทีป” 6ขอบคุวารสาร ณเจ้าของบทความ พ.ท. นเรศร์ จิตรักษ์
๕ อ. ก่อสุข คงไม่ มี ใ ครปฏิ เ สธว่ า ในแต่ ล ะวั น ที่ ผ่ า นมา ความทุกข์นานาต่างวิ่งเข้ามาหาเราอยู่ตลอด เวลา มากบ้ า งน้ อ ยบ้ า งตามเหตุ ปั จ จั ย ข้ อ สำคัญ คือ เมื่อประสบทุกข์ ท่านสอนให้ “คิด” คือ คิดหาสาเหตุว่า ทุกข์นั้นมันมาจากอะไร แล้วดำเนินการแก้ไขโดยการแก้ที่เหตุ เหตุดี ผลย่อมดี ท่านจึงย้ำเตือนว่า “ถ้าอยากเป็นคน วิเศษ ต้องหมั่นสร้างเหตุแห่งความดี”
ปีที่ ๒๐ ฉบับที่ ๖๔ กรกฎาคม-กันยายน ๕๔
7
สิ้นทุกข์ภัย อาจารย์ ว ศิ น อิ น ทสระ นั ก ปราชญ์ ใ นทางพระพุ ท ธศาสนาท่ า นหนึ่ ง กล่าวไว้ว่า ทำให้คนคิด ความทุกข์
ความคิด ความฉลาด ความสุข ความเพลิดเพลิน ความประมาท ความผิด ความทุกข์
ทำให้คนฉลาด ทำให้คนมีความสุข ทำให้คนเพลิดเพลิน ทำให้คนประมาท ทำให้คนผิด ทำให้คนเป็นทุกข์ ทำให้คนคิด (เวียนกันไปเช่นนี้)
ความคิดทำให้คนฉลาด และความฉลาดทำให้คนมีความสุข เหตุนี้ ๕ อ. จึงสามารถก่อสุขและสิ้นทุกข์ภัยจริง ๆ
8
วารสาร “พุทธปทีป”
๑. อ่อนน้อม
คนเราต้องแสดงความอ่อนน้อมถ่อมตน ให้ความเคารพซึ่งกันและ กัน โดยการน้อมกายลงไหว้ โค้งคำนับ ให้และรับอย่างเคารพนอบน้อม ด้วย ใบหน้าที่ยิ้มแย้มแจ่มใส นี่คือ ความงามที่ทรงคุณค่าอย่างไทย จำได้ไหมพสก นิกรชาวไทยได้เห็นภาพแห่งความงดงามประทับใจที่สุดและทรงคุณค่าที่สุด เหนือคำบรรยาย ภาพนั้นคือ เมื่อสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เสด็จ กลับจากต่างประเทศ วันนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปยังท่าอากาศยานดอนเมือง เพื่อถวายการต้อนรับสมเด็จย่า ขณะที่ สมเด็ จ ย่ า ลงจากเครื่ อ งบิ น พระที่ นั่ ง ถึ ง พื้ น ลาดพระบาท “พระบาทสมเด็ จ พระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ เข้าไปทรุดพระวรกายลงแทบเบื้องพระบาทของเสด็จแม่ ทรงกราบลงที่พระบาททั้งสองของเสด็จแม่ สมเด็จย่าทรงก้มพระวรกายลงแล้ว ทรงประคองพระราชโอรสด้วยสองพระหัตถ์ ให้ทรงยืนขึ้นแล้วทรงสวมกอด ทรงจุมพิตที่พระปรางค์ทั้งสองของพระราชโอรส” ภาพนี้เป็นภาพที่พสกนิกรชาวไทย ต่างซาบซึ้งใจเป็นที่สุด และนี่แหละ คื อ ที่ สุ ด แห่ ง ความอ่ อ นน้ อ มของพระเจ้ า แผ่ น ดิ น และอี ก หลายภาพที่ ท รง พระราชทาน “มุ ทุธรรม” คือ ความอ่อนน้อมแก่พระสกนิกรของพระองค์ สมควรที่เราชาวไทยจักน้อมนำพระราชจริยาวัตรใส่เกล้า เพื่อเป็นสรรพสิริ สวัสดิ์ ขจัดทุกข์ภัยโดยทั่วกัน
๒. อ่อนโยน
เราต้องให้ความอ่อนโยน นุ่มนวลแก่กันและกัน ด้วยการพูดดีต่อ กัน ทำดีต่อกันและคิดดีต่อกัน การพูดจาไพเราะอ่อนหวาน เป็นสะพานสร้าง
ปีที่ ๒๐ ฉบับที่ ๖๔ กรกฎาคม-กันยายน ๕๔
9
ไมตรีให้มีต่อกัน การอยู่ร่วมกันต้องมีคำขอโทษ เสียใจ ขอบคุณ ยินดี ด้วย น้ำใจไมตรีที่แท้จริง ไมตรีและเมตตาเป็นที่มาแห่งความอ่อนโยน
๓. อาทร
เราต้องให้ความห่วงใยแก่กัน โดยการช่วยเหลือจุนเจือผ่อนคลาย ความทุกข์ให้กัน ด้วยใจที่เมตตากรุณาและกตัญญู ความเอื้ออาทรเป็นความดี อย่างหนึ่ง ซึ่งสามารถสร้างสรรค์จรรโลงโลกสังคมได้ทุกระดับ อย่าลืมว่า ไม่มีความดีใด ไม่มีค่า
แม้เพียงเสี้ยวดอกหญ้าหรือเศษฝุ่น ทุกความดี โอบเอื้อ เกื้อการุณ ช่วยค้ำจุน สังคมไทย ให้ร่มเย็น
๔. อดทน
ต้องให้ความเข้มแข็งแก่กัน โดยการสู้กับงานหนัก ความทุกข์ยาก นานา กิริยาวาจาที่ดูถูกเหยียดหยาม เราต้องสู้และเป็นอยู่ด้วยใจที่หนักแน่น มั่นคง จงอดทนยิ้มรับกับทุกสิ่ง
ทั้งความจริงความเท็จอย่าเข็ดหนา อะไรเกิดก็ต้องเกิดเปิดอุรา เป็นบทเรียนศึกษาทุกท่าที
วารสาร “พุทธปทีป”
10
๕. อภัย
ให้ความไม่ถือโทษแก่กัน โดยระงับความโกรธ ตัดความอาฆาต พยาบาทให้ขาดออกไป ด้วยใจที่สงบและเยือกเย็น เพราะฉะนั้นจงอภัยให้กัน เถิดทั้งนี้เพราะ
ถ้าไม่มีการให้อภัยผิด และไม่คิดที่จะลืมซึ่งความหลัง หาสามัคคีนั้นยากลำบากจัง ความเผลอพลั้งมีทั่วทุกตัวคน
บั ด นี้ เ ราชาวไทยไม่ ว่ า อยู่ ส่ ว นไหน โปรดให้ ค วามอ่ อ นน้ อ ม อ่ อ นโยน อาทร อดทน และอภัย แก่กันและกันเถิด เพื่อชีวิตจะได้มีความสุขสิ้นทุกข์ภัย ทั่วกัน
12
วารสาร “พุทธปทีป”
เราทุกคนทราบกันดีว่า เรามีวัดเพื่ออะไร ไปวัดกันทำไม มีความ หมายต่อจิตใจแค่ไหน ตั้งแต่เล็กจนโตเราคุ้นเคยกับวัดมาตลอด วัดเป็น ศูนย์อบรมจิตใจให้เราเป็นผู้มีความดี รักความสามัคคีและอีกมากมาย เรา จะรู้สึกผูกพันธ์กับวัดยิ่งขึ้น หากเข้าใจความมุ่งหมายที่แท้จริง เพราะวัดไม่ ได้เป็นแค่สถานที่ มีโบสถ์ มีวิหารหรือเป็นเพียงที่อาศัยของพระสงฆ์ แต่มี ความหมายที่ลึกซึ้งยิ่งนัก โบราณนับตั้งแต่สมัยพระพุทธเจ้า ก็ให้ความ สำคัญแก่ศาสนสถานที่เรียกกันว่า “วัด” หรือ “อาวาส” เป็นที่ฝึกตนเอง จากสามัญชนจนถึงความเป็นพระอรหันต์
วัดนอกวัดใน วัดไหนๆ ก็เพื่อวัดที่กายกับใจเราเอง
วัดเป็นคำพูดที่เราเข้าใจในภาษาของเรา ส่วนในภาษาบาลีท่านใช้ คำว่า อาวาส อาราม วิหาร โดยรวมคือที่อยู่ของนักบวช ภิกษุ ภิกษุณี สามเณร เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม ศึกษาพระธรรมและใช้ในกิจการงาน ของพระสงฆ์ นอกจากนั้น ยังเป็นที่แสวงบุญของพุทธบริษัท ที่ทุกคน ทุก เพศทุกวัย ทุกชาติทุกภาษา เข้ามาพักใจ แสวงหาความสุขใจ โดยการ ให้ทาน สมาทานรักษาศีล เจริญภาวนา
ปีที่ ๒๐ ฉบับที่ ๖๔ กรกฎาคม-กันยายน ๕๔
13
วัดนอกบอกความงาม คือความร่มรื่น ปลอดภัย การไปมาสะดวก ง่ายต่อการแสวงบุญฟังธรรม วัดในบอกความดี คือเป็นสถานที่วัดกายวัด ใจของเราเอง เมื่อไปวัดอย่าไปวัดคนอื่นว่า คนนี้เป็นอย่างนั้น คนนั้นเป็น อย่างนี้ ไม่ควรไปเพื่อติฉินนินทาว่าร้ายแก่คนอื่นเขา เราควรมุ่งบุญกุศล และเพื่อวัดดูกิเลสในใจเราเอง ว่าเรายังมีความยินดี ยินร้าย ยังมีความ อิจฉาริษยาคนอื่นหรือไม่ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ยังเหลืออยู่ หรือไม่ เมื่อพบเจอสิ่งที่เห็นทางตา ได้ยินทางหู ได้กลิ่นทางจมูก ได้ลิ้มรส ทางลิ้น ได้สัมผัสทางกายและได้นึกคิดทางใจ หากยังมีรักมีชังอยู่ก็รีบแก้ไข ที่ ตั ว เราเอง ไม่ ค วรไปแก้ ที่ ค นอื่ น อย่ า อยากให้ ค นอื่ น เป็ น อย่ า งที่ เ รา ต้องการ แต่ขอให้มุ่งหน้าทำการบ้านคือพัฒนาตนเองให้เด่นด้วยธรรมะ
วัตร ข้อประพฤติที่นำไปสู่คุณธรรมความดี
วัตร เป็นข้อประพฤติปฏิบัติเพื่อให้เกิดความงดงาม เรียบร้อย และ เป็ น แนวทางที่ ก ระทำร่ ว มกั น เพื่ อ ความสามั ค คี แ ห่ ง หมู่ ค ณะ เป็ น แนว ปฏิบัติพื้นฐานเมื่อเราไปวัด เช่น ข้อปฏิบัติทางกายวาจาใจ การไหว้พระ สวดมนต์พร้อมเพรียงกัน เคารพต่อสถานที่ พระสงฆ์ ศาสนสถานเช่น
14
วารสาร “พุทธปทีป”
โบสถ์วิหาร เจดีย์ ต้องให้ความเคารพ ไม่ดูถูก ไม่ทำสิ่งใดที่เป็นการลบหลู่ ไม่เหมาะสม ควรแต่งตัวสุภาพ วาจาควรเรียบร้อย วางใจให้เป็นกุศล วัตรในการทำบุญ มีการให้ทาน สมาทานศีล เจริญภาวนา ควรให้ เป็นไปด้วยความตั้งใจ มุ่งหวังในความดีเป็นหลัก มีสติมั่นคงอยู่กับตนเอง มีจิตใจไม่วอกแวก ไม่จ้องจับผิดคนอื่นหรือสิ่งอื่น มีกิริยาสุภาพ ข้อวัตรนี้ แหละจะเป็นพื้นฐานรองรับเอาคุณธรรมที่สูงขึ้น เมื่อเรามีวัตรดีคือปฏิบัติ งดงาม ย่อมก้าวสู่ความเป็นผู้มีคุณธรรมได้ง่าย
วัฏฏ์ สังสารวัฏฏ์การเวียนว่ายอันยาวไกล
สังสาระ คือการเวียนว่ายตายเกิด เป็นวงล้อที่ทำให้สรรพสัตว์ที่ยังมี กิเลสเหลืออยู่ ต้องวนกลับไปมาสู่ภพน้อยและภพใหญ่ ทำให้ได้รับทุกข์ อย่างไม่สิ้นสุด ด้วยเหตุนี้พระพุทธองค์ทรงสอนให้ทำลายสังสารวัฏฏ์นี้ เสีย โดยการเข้าถึงสภาวนิพพาน คือสภาพจิตที่บริสุทธิ์ หลุดพ้นจากการ เวียนว่าย ตายเกิด สรรพสัตว์เวียนตายเวียนเกิดเพราะ ๑. กิเลสวัฏฏ์ คือ วงจรของกิเลส ประกอบด้วยอวิชชา ความหลงผิด ความหลงในขันธ์ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นความมืด บอดแห่งใจที่มองไม่เห็นความจริง ไม่เห็นบุญไม่เห็นกุศล ไม่เห็นว่า บาปมี บุญมี บุญคุณพ่อแม่มีจริง นรกมีจริง สวรรค์มีจริง พระนิพพานมีจริง ตั ณ หา ความอยากซึ่ ง เป็ น ต้ น ตอของความทุ ก ข์ เพราะอยากจึ ง แสวงหา เพราะอยากจึงแย่งชิง เพราะอยากจึงทะเลาะกัน เพราะอยากจึง จับอาวุธเพื่อฆ่ากัน ทุกข์ทั้งปวงมีความอยากเป็นต้นเหตุ อุปาทาน ความยึดมั่น ถือมั่น ในตัวตน ยึดเอาเฉพาะฝ่ายของตัว
ปีที่ ๒๐ ฉบับที่ ๖๔ กรกฎาคม-กันยายน ๕๔
15
เอาดีเข้าตัว เอาชั่วให้ฝ่ายตรงข้าม มีมานะถือตัวถือตน ถือชาติชั้นวรรณะ มีกู มีมึง เป็นกิเลสตัวร้ายที่ทำให้สัตว์ทั้งหลายเวียนว่ายตายเกิดอยู่ร่ำไป ๒. กรรมวัฏฏ์ สั ว ตว์ โ ลกย่ อ มเป็ น ไปตามกรรม เราเกิ ด มาเพราะ กรรม เราเป็ น อยู่ เ พราะกรรม เมื่ อ ตายไปก็ ต้ อ งไปเกิ ด ตามกรรมที่ ต น กระทำ เพราะฉะนั้น เมื่อรักตัวกลัวกรรมอย่าทำชั่ว จะหมองมัวติดตัวไป ในเมืองผี จงเลือทำแต่กรรมที่ดีดี (พุทธทาสภิกขุ) หากจะมองว่าเราได้ สร้ า งกรรมดี ห รื อ ไม่ ดี แ ค่ ไ หนอย่ า งไร ให้ เ รามองที่ ชี วิ ต เราในปั จ จุ บั น นี้ แหละ หากเรามุ่ ง หวั ง จะเป็ น เช่ น ไรในอนาคต ก็ ต้ อ งสร้ า งกรรมที่ ดี ใ น ปัจจุบัน ทำปัจจุบันนี้ให้ดีที่สุด ระลึกเสมอว่า ทำดีย่อมได้รับผลดี ๓. วิปากวัฏฏ์ ผลของการกระทำ ไม่ว่าเราทำดีหรือทำชั่ว ทั้งในที่ลับ และที่แจ้ง มีคนรู้หรือไม่รู้ก็ตาม ผลนั้นไม่ได้หายไปไหนเลย ยังประทับไว้ ในจิตใจของเราเองไปทุกภพทุกชาติ ไม่ว่าการกระทำทางกาย ทางวาจา และทางใจ ย่อมมีผลไปตามการกระทำ หากกรรมนั้นเป็นฝ่ายกุศล ผลก็ เป็นกุศล หากกรรมนั้นเป็นไปในฝ่ายอกุศล ผลก็คือความเดือดร้อนใจ ฉะนั้น จึงควรระวังเรื่องการกระทำของตนเอง
16
วารสาร “พุทธปทีป”
วัฏฏ์นี้ควรตัดให้ขาด ทำลายให้หมดสิ้น ฆ่าให้ตายไปจากใจ หยุด การเวียนว่ายตายเกิดให้จงได้ เราเท่านั้นที่จะทำลายมันได้ คนอื่นไม่อาจ ทำแทนได้ เราต้ อ งว่ า ยข้ า มน้ ำ คื อ กิ เ ลสด้ ว ยกำลั ง แห่ ง ศรั ท ธา ความ พากเพียร สติ ใจมั่นคง และปัญญา ของเราเอง วั ต ร คื อ แนวทางที่ จ ะนำเราข้ า มน้ ำ คื อ กิ เ ลสได้ คื อ การให้ ท าน รักษาศีล เจริญภาวนา ทำดี ละชั่ว ทำใจให้สะอาด ให้มากๆ บ่อยๆ ทำ อยู่เรื่อยๆ มีข้อวัตรปฏิบัติสำหรับตนเอง ทำตนให้เป็นที่เคารพ เสมอต้น เสมอปลาย วัด เป็นศาสนสถานที่เราควรร่วมกันให้ความดูแลเอาใจใส่ เคารพ พัฒนา ให้ดีงาม ให้เป็นสถานที่สำหรับปฏิบัติธรรม การแสวงบุญ เป็นที่ พึงทางใจ ทั้งต่อตัวเราและลูกหลานรุ่นต่อไป ไม่ควรให้วัดเป็นสถานที่จ้อง จับผิดซึ่งกันและกัน หรือแสวงหาผลประโยชน์ในทางที่ผิดธรรมวินัย ให้วัด เป็นสถานที่อบรมกาย วาจา ใจ ของเราให้บริสุทธิ์ดุจพระอรหันต์ทั้งหลาย
ปีที่ ๒๐ ฉบับที่ ๖๔ กรกฎาคม-กันยายน ๕๔
17
ขอบคุณเจ้าของบทความ พระมหาวีระพันธ์ ชุติปฺโญ
อง อย่างมีความหวัง เมื่อใดที่เราเฝ ามองหาสิ่งที่หวัง แต่ไม่มีวิธีมองในสิ่งที่ได้เห็น ทุกอย่างที่เกิดขึ้นท่ามกลางความหวังที่รอคอย ย่อมนำมาซึ่งคำถามที่เราเองก็มักจะงงว่า มันคืออะไร ทำให้ใจที่ต้องการรู้ความจริงที่มีอยู่ เป็นได้แค่เพียงรับรู้ความรู้สึกแบบเบลอๆ ที่เผลอหลอกตัวเองว่า มันน่าจะเป็นอย่างที่เรารู้สึก
ปีที่ ๒๐ ฉบับที่ ๖๔ กรกฎาคม-กันยายน ๕๔
ในการเดิ น ทางของชี วิ ต หลาย อย่างที่ประเดประดังเข้ามาในขณะที่ เรากำลังเดินไปสู่จุดหมายที่ยังมองไม่ เห็น บางครั้งก็ทำให้เรารู้สึกท้อแท้ที่ จะเรียนรู้และสู้ต่อ ทั้งจากภาวะของ ความเหนื่อยล้าที่เกิดขึ้นและจากเป้า หมายที่ยังค้นหาไม่เจอ เมื่อวิธีคิดและจุดหมายปลายทาง แตกต่าง จึงเป็นเหตุให้คนเรามีความ แตกต่างไปในตัว ทั้งที่เราก็มีลมหายใจ ในการหล่อเลี้ยงชีวิตให้อยู่ได้ และมีด วงตาสำหรับมองเห็นสิ่งต่างๆ เท่ากัน แต่ เ ป้ า หมายและวิ ธี ม องกลั บ แปลก แยกออกไป และในขณะที่เดินทางเพื่อตามหา
19
เป้าหมายที่ตั้งไว้ บางคนที่ไปถึงฝั่งฝัน ที่อยากให้มันเป็นความจริง แต่บางคน ก็ ล้ ม ลงและนอนทอดอาลั ย ระหว่ า ง ทางเดิน เพราะเหน็ด เหนื่อยจากสิ่งที่ ตัวเองกำลังตามหา ทุ ก ๆ การมองออกไป แทนที่ จ ะ ช่ ว ยสร้ า งชี วิ ต ให้ มี ค วามสุ ข ก็ ก ลั บ กลายเป็ น ความทุ ก ข์ ที่ ตี ก ลั บ แทน ความหวังที่เคยเรืองรองเมื่อแรกเริ่ม ประหนึ่งคบเพลิงที่ถูกจุดขึ้น ในความ มืดกลับดับวูบลง คงเหลือไว้แต่ความ มืดมิดที่ไม่รู้ว่า จะทำให้เรามองผ่านไป สู่ภาวะที่นำแสงสว่างมาให้ได้อย่างไร และจะก้าวออกจากสิ่งที่ทำให้เรารู้สึก กลัวด้วยวิธีใด
20
วารสาร “พุทธปทีป”
เซอร์ วิ น สตั น เซอร์ ซิ ล ล์ อดี ต ฐมนตรีชาวอังกฤษ ได้กล่าวถึง นายกรั วิธีมองแล้วทำให้เรามีความหวัง และ เป็นสุขทุกครั้งเมื่อจะออกตามหาบาง สิ่งที่เราไม่เจอว่า “ผู้มองโลกในแง่ดีจะมองเห็นความ หวังเสมอ ไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ที่ โหดร้ายเพียงใด แต่สำหรับผู้มองโลก ในแง่ร้าย จะมองเห็นแต่หายนะ ไม่ว่า จะอยู่ในสถานการณ์ที่ปลอดภัยขนาด ไหน” ด้ ว ยเหตุ นี้ การสร้ า งวิ ธี ม องชี วิ ต และมองโลกที่กำลังเป็นไปด้วยความ เข้ า ใจ จึ ง เป็ น สาระสำคั ญ ที่ เ ราต้ อ ง สร้างให้มีในชีวีตของเรา แล้ววาดภาพ แห่งความหวังที่เป็นความฝันนั้น ให้
มันกลายเป็นความจริง แล้ววันหนึ่งเราจะรู้ซึ้งในสิ่งที่ไม่มี ตัวตน แต่เราสามารถทำให้มันปรากฏ โฉมได้ พร้อมกับนำสิ่งที่ดีนั้นมาเป็น หลักชัยให้กับใจของเราได้เรียนรู้ที่จะ เดินตาม เมื่อครั้งพระพุทธองค์ยังครองตน เป็ น เจ้ า ชายสิ ท ธั ต ถะ สิ่ ง หนึ่ ง ที่ พระองค์มีความแตกต่างจากคนทั่วไป ก็คือ การมีมุมมองดีแตกต่างจากคน ทั่ ว ไปก็ คื อ การมี มุ ม มองที่ แ ตกต่ า ง จากคนธรรมดา เพราะคนทั้งหลายมองว่าโลกนี้ช่าง สวยงามและน่ า หลงใหลยิ่ ง นั ก เป็ น เหมือนดั่งโรงละครใหญ่ ที่จะทำให้เรา ได้ดูการแสดงทั้งวันอย่างมิมีเบื่อหน่าย
ปีที่ ๒๐ ฉบับที่ ๖๔ กรกฎาคม-กันยายน ๕๔
ทุกคนจึงรู้สึกยินดีที่จะอยู่ในโรงละคร แห่ ง ความลวงนี้ แม้ จ ะรู้ ว่ า นั่ น เป็ น เพียงฉากหนึ่งของชีวิตที่มาหลอกตัว เองให้รู้สึกพึงพอใจก็ตาม แต่เจ้าชายสิทธัตถะกลับมองตรง กันข้าม พระองค์มองว่าชีวิตที่หมุนไป ในแต่ละวันและถูกครอบงำจากกิเลส นี้ ช่างเป็นสิ่งที่น่ากลัวยิ่งนัก เป็นสิ่งที่ ผู้รู้ควรหวาดกลัว และควรหาลู่ทางจะ ออกจากมันให้ได้ในเร็ววัน เมื่อความคิดที่แตกต่างเกิดขึ้นในใจ พร้ อ มกั บ การกระตุ้ น ความรู้ สึ ก ที่ อ ยู่ ข้างในให้มีการตื่นตัว ทำให้พระองค์ รู้จักเรียนรู้ที่จะเปิดโลกแห่งการมอง ในมิติใหม่ เพื่อให้โลกที่กว้างแห่งใจ ได้เปิดทางให้เห็นความเป็นจริง
21
แม้ว่าในเบื้องต้น เจ้าชายจะมองไม่ เห็นทางสว่างในทันทีทันใด แต่เมื่อมุม มองใหม่ ที่ พ ระองค์ ส ร้ า งขึ้ น มาด้ ว ย ปัญญา ก็กระตุ้นให้พระองค์รู้ตัวว่าจะ ต้ อ งลงมื อ ทำอย่ า งไร สุ ด ท้ า ยปลาย ทางแห่งความเป็นจริง ก็ปรากฏกาย ให้ พ ระองค์ ไ ด้ เ ห็ น และมี ค วามสงบ เย็นแห่งความรู้แจ้งมาเป็นกำไรให้ใน ที่สุด สิ่งที่เราได้เรียนรู้จากพระพุทธองค์ ก็ คื อ ชี วิ ต ล้ ว นมี ทั้ ง ด้ า นมื ด และด้ า น สว่าง ซึ่งเป็นความต่างทีต้องอาศัยใจที่ รู้เท่าทันเข้าไปทำหน้าที่รับรู้มัน แล้ว ทุ ก อย่ า งจะปรากฏตามกติ ก าที่ มี ปัญญาเข้าไปทำความรู้จัก
22
วารสาร “พุทธปทีป”
แม้ในโลกแห่งความเป็นสมมุติ เรา อาจไม่สามารถใช้ดวงตามองให้ทะลุ ความมืดใดในยามราตรี เพื่อมองให้ เห็ น แสงสว่ า งที่ มี อ ยู่ ใ นอี ก ฟากหนึ่ ง ของกาลเวลาได้ แต่เราสามารถที่จะ มองเข้ า ไปที่ ใ จภายใน เพื่ อ ทำให้ ใ จ รู้จักรอคอยที่จะเห็นแสงสว่างที่จะมา ถึงในอีกไม่นานได้อย่างเป็นสุข แต่เมื่อใดที่เราเฝ้ามองหาสิ่งที่หวัง แต่ไม่มีวิธีมองในสิ่งที่ได้เห็น ทุกอย่าง ที่เกิดขึ้นท่ามกลางความหวังที่รอคอย ย่อมนำมาซึ่งคำถามที่เราเองก็มักจะงง ว่ า มั น คื อ อะไร ทำให้ ใ จที่ ต้ อ งการรู้ ความจริงที่มีอยู่ เป็นได้แค่เพียงรับรู้ จากความรู้ สึ ก แบบเบลอๆ ที่ เ ผลอ หลอกตัวเองว่ามันน่าจะเป็นอย่างที่เรา รู้สึก ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นท่ามกลางความหวัง ในวันที่วิธีมองของเราพลาดไป แม้จะ มีสิ่งดีๆ ผ่านเข้ามาให้ได้ทำความรู้จัก มากมายเพียงใด แต่ใจที่ขาดวิธีมองให้ เห็นสาระสำคัญ ย่อมทำให้สายตาของ เรากลายเป็นการมองข้ามไป สิ่ ง ที่ ค วรจะได้ ท ำความรู้ จั ก ก็ จ ะ
เป็ น เหมื อ นแค่ ค นร่ ว มเดิ น ทางที่ นั่ ง อยู่ใกล้ๆ กัน และอยากส่งยิ้มให้เพื่อ ทำความคุ้นเคย แต่สุดท้ายก็ต้องเดิน จากกันไป ตามเส้นทางของแต่ละคน อย่างน่าเสียดาย ดังนั้น เมื่อมีความหวังในการไขว่ คว้าสิ่งต่างๆ ให้เข้ามาอยู่เคียงข้างชีวิต เราไม่ควรสร้างแต่ความหวังโดยขาด การสร้างวิธีมองให้เห็นสิ่งที่คู่ควรต่อ การก้าวไปพร้อมกัน เพราะหากมี ค วามหวั ง และมี วิ ธี มองด้ ว ยปั ญ ญาเข้ า มาเป็ น ผู้ ช่ ว ย ความหวั ง ที่ เ ราอยากเข้ า ไปจั บ จอง และทำให้ เ กิ ด เป็ น ความจริ ง ขึ้ น มา ย่อมเข้ามาช่วยให้ชีวิตของเราเป็นสุข ทุกเมื่ออย่างไม่มีประมาณ ที่ ส ำคั ญ การมี วิ ธี ม องที่ ม าจาก ความเข้าใจ ย่อมช่วยให้เรารู้จักมองทุก สิ่งที่เกิดขึ้นตามกติกาของความเหมาะ สม และต่อยอดให้เกิดเป็นกำไรได้ทุก เมื่ อ แม้ ค นอื่ น อาจจะมองเห็ น ว่ า มั น เป็นเพียงกองขยะที่ไม่น่าสนใจก็ตาม
ปีที่ ๒๐ ฉบับที่ ๖๔ กรกฎาคม-กันยายน ๕๔
23
บทความโดย พระครูปลัดสุทัศน์ อมรสุทฺธิ วัดพุทธปทีป
ชีวิตเราแต่ละคนเหมือนได้มาง่าย ทว่าเวลาในวัยของชีวิต กลับไม่เป็นมิตรให้ เราอุ่นใจได้ตลอด มีแต่จะเดินหนีตีตน ออกห่าง เพิ่มช่องว่างในวัยให้กว้างยิ่งขึ้น ฉะนั้น จึงควรใช้เวลาที่มีให้ดีพอและ เพียงพอต่อการสร้างสรรค์สิ่งดีในชีวิต
ปีที่ ๒๐ ฉบับที่ ๖๔ กรกฎาคม-กันยายน ๕๔
25
พระพุทธองค์ทรงตรัสถึงความสำคัญของการมีชีวิตตอนหนึ่งว่า “การได้ มาซึ่งชีวิตนั้น เป็นการได้มาโดยยาก” เพราะอะไรนะหรือจึงเป็นเรื่องยาก ในเมื่อทุกวันนี้เทคนิคการแพทย์สมัยใหม่ สามารถตอบข้อสงสัยนี้ได้แล้ว ความกังขาดังกล่าวก็น่าจะยุติได้ในศตวรรษนี้ จากประเด็นข้างต้น เราอาจต้องเปิดใจและมุมมองไว้อย่างหลวมๆ ก่อน ไม่ ด่ ว นสรุ ป ปั ก หมุ ด ความคิ ด และฟั น ธงลงไปว่ า “จริ ง นะสิ ” เพราะการ หาความกระจ่างในพุทธวจนะ มีนัยการอธิบายความได้หลายทาง อีกทั้ง เป็นโอกาสดีในการค้นหาคำตอบจากแง่มุมที่ถูกมองข้ามและลืมสังเกต
26
วารสาร “พุทธปทีป”
ชีวิตอาจได้มาง่าย ทว่ารักษานั้นยาก ผู้เขียนคงไม่ถามซ้ำว่า “ชีวิตคืออะไร” เพราะแต่ละคำตอบอาจได้รับการ นิ ย ามความหมายตามบริ บ ทที่ แ ต่ ล ะคนได้ เ ผชิ ญ มา แต่ ถ้ า หากจะให้ ค ำ จำกัดความอย่างหลวมๆ อาจจะหมายถึง “การทรงไว้ซึ่งลมหายใจ” ก็ได้ เพราะถ้ า หมดลม ชี วิ ต นี้ ค งหมดคำนิ ย ามไปด้ ว ยเช่ น กั น ฉะนั้ น “ลม หายใจ” จึงเป็นกุญแจดอกสำคัญในการไขลานนาฬิกาชีวิต เพื่อทำหน้าที่ี ทั้งในฐานะผู้แสดงบทและผู้กำกับขั้นเทพในห้วงเวลาเดียวกัน โบราณาจารย์ท่านหนึ่งได้ให้ข้อคิดเสริมพุทธวจนะข้างต้นว่า ทุกชีวิตใน วันนี้ “เริ่มต้นที่พ่อ ก่อร่างในอุทรของแม่” ความหมายโดยนัย คือ การย้ำ ประเด็นในเจตนาของหญิงชายคู่หนึ่ง ซึ่งได้ตกลงปลงใจใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน เพื่อยืนยันเจตนานัยให้ยืนยาว และสามารถครองใจครองเรือนจนมีทายาท เป็นเครื่องยึดเหนี่ยว ผู้ที่ได้สิทธิ์ครอบครองชื่อสกุล คือ บุคคลที่ถูกเรียก ขานด้วยคำสั้นๆ ว่า “ลูก” และผู้ที่ลูกเรียกขานก่อนใครอื่นก็มีเพียงสองคน และสองคำเท่านั้นคือ “พ่อและแม่” ทุกคนนั้นมีจุดเริ่มต้นชีวิตเหมือนกัน เพียงแต่การใช้ชีวิตในสังคมนั้น แตกต่างกัน เจตนานัยของบิดามารดาจึงเป็นปัจจัยหลักว่า “ชีวิต” นั้นเริ่ม ต้นเช่นไรและอุบัติขึ้นมาได้อย่างไร รวมความในที่นี้ก็คือ เพราะอาศัยความ
ดีงาม ความมีศีลธรรมจรรยา ความมีเมตตา และความความรัก จากบุคคลสอง คน ชีวิตของลูกน้อยจึงไม่ตกหล่นไปจากอ้อมกอดอันอบอุ่น อีกทั้งยังได้รับการ
ปีที่ ๒๐ ฉบับที่ ๖๔ กรกฎาคม-กันยายน ๕๔ ส่งเสริมทุกสรรพกำลัง ให้สายเลือดเติบโตอย่างสมบูรณ์
27
ตรงกันข้าม ถ้าบุคคลทั้งสองไม่มีเจตนานัยอันฉาบทาด้วยศีลธรรมเสีย แล้ว ชีวิตที่สมควรได้รับการเอาใจใส่ทะนุถนอม อาจถูกตัดโอกาสไปอย่าง น่าเสียดาย และอาจกล่าวได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้น “อุปสรรคชีวิต” เพราะอุปสรรค หลักชีวิตจึงดูไม่เลื่อนลอย อุปสรรคมักได้ยินหรือประสบด้วยตนเองจนชิน และเหมือนเดินตามเรา มาตั้งแต่ก้าวแรกของการเริ่มต้นชีวิตด้วยซ้ำ ทั้งโรคภัยไข้เจ็บ อุบัติเหตุ เภทภัย ปัญหาสารพัด พลัดกันมาบั่นทอนกำลังกายและกำลังใจ ในยามที่ พลั้งเผลอ อุปสรรค คือ ตัววายร้ายในชีวิตจริงหรือไม่ คำตอบอาจเอียงไปทางคำว่า “ใช่” แต่สำหรับผู้ที่เคยผ่านดงหนามชีวิตมา อาจให้คำตอบว่า “ไม่” และ ยังใช้อุปสรรคเป็น “อุปกรณ์” ผลักดันชีวิตของตนให้เก่งและฉลาดขึ้น ส่วนผู้ที่ยังมองว่า อุปสรรคเสมือนเป็นภูเขาสูง ปีนป่ายหรือข้ามพ้นได้ ยากนั้น อาจมีทัศนคติต่อการดำเนินชีวิตผิดไปจากรูปแบบที่ควรเป็น ยิ่งไป กว่านั้น ถ้าอุปสรรครุกฆาตหนักขึ้น การขจัดให้พ้นทางอาจทำอย่างลัด ขั้นตอน ขาดความรัดกุม ผลที่ตามมาคือเพิ่มข้อผิดพลาดใหม่และสลับซับ ซ้อนขึ้น ผู้ที่ทนได้ก็จัดว่า “แกร่ง” ทนไม่ไหวก็ถูกต้อนจนแทบไม่มีมุมให้ หลบเช่นกัน
28
วารสาร “พุทธปทีป”
ครองชีวิตอย่างถูกวิธี วิถีที่เราทุกคนพึงใส่ใจ การครองชีวิตให้มีความมั่นคง จึงควรมีทั้งการตั้งรับและต้องรุก ปรับ เข็มทิศความคิดให้เหมาะสม พายุที่โหมกระหน่ำ ใช่ว่าจะแรงอยู่ตลอดไป หากความรุนแรงยังปรากฏอยู่ ก็ควรพักหลบในมุมที่สงบปลอดภัย ครั้น พายุได้ผ่านพ้นไปแล้ว ควรใช้จังหวะเวลาที่มี สร้างขวัญกำลังใจ มุ่งมั่น ตั้ง หลักปักหมุดชีวิตให้แน่น ไม่เอาแต่บ่นเสียใจในอุปสรรคที่ประสบมา เสีย ทั้งเวลาและความศรัทธาในตนเอง เหมือนอย่างที่ผู้รู้เคยกล่าวไว้ “จงมุ่ง มั่นไปข้างหน้า ดีกว่าเต๊ะท่าอยู่กับที่” การรู้จักมองอุปสรรคอย่างถูกต้อง ครองชีวิตอย่างถูกวิธี ย่อมได้รับ คุณค่ามากกว่าการสูญเสีย ดังคำกล่าวที่ว่า “ในวิกฤติย่อมมีโอกาส คน ฉลาดพึงเฝ้าระวังวิกฤติที่หลบซ่อนในโอกาสอย่างสม่ำเสมอ” การครองชีวิต โดยปราศจากปั ญ หาหรื อ อุ ป สรรคนั้ น ยาก แต่ ที่ ย ากยิ่ ง กว่ า คื อ จะทำ อย่างไร ? วงโคจรปัญหาเก่านั้น จะไม่หวนมาย้ำรอยในชีวิตได้อีก ? ผู้ เ ขี ย นขอนำเสนอหลั ก คิ ด โดยย่ อ พอเป็ น แส้ เ ส้ น เล็ ก ๆ ใช้ ก วั ด แกว่ ง แสดงเจตจำนงว่า “สู้” และไม่อยู่นิ่งให้อุปสรรคได้โอกาสมาทำลายจังหวะ ชีวิต นั่นคือ “ฝึกใจ ใช้ขันติ และลดอคติ” แส้สามเส้นนี้ อาจจะไม่ใช่อาวุธ หนัก ทว่าพอกำราบเรื่องวุ่นวายให้ง่ายต่อการรับมือ
ปีที่ ๒๐ ฉบับที่ ๖๔ กรกฎาคม-กันยายน ๕๔
29
การฝึ ก ใจดู เ หมื อ นว่ า “ต้ อ งฝื น ” ความเคยชิ น เก่ า เข้ า สู่ โปรแกรมการจัดระเบียบชีวิตที่เข้มงวดขึ้น แท้จริงแล้วมุ่งหมาย ไปสู่ “การพัฒนาและปลุกสติ” ให้ตื่นขึ้นมาทำหน้าที่เฝ้าระวัง ป้องกันข้อผิดพลาด ตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนถึง ขั้นมาก การใช้ขันติ ความอดทน อดกลั้น ข่มใจไว้รอจังหวะเวลา ดีกว่า มุทะลุ จนไม่รู้ว่ากำลังเดินหลงไปในทิศทางที่ถูกพลางด้วยหลุม ลึกแห่งปัญหา หากพลาดท่าเสียที นั่นเพราะขันติถูกปลดระวาง ไว้นอกมรรคาชีวิต ส่วนการลดอคติ คือ การลดความลำเอียงหรือการเอนเอียงด้วย ท่าทีที่ขาดความชอบธรรม หากถูกครอบงำเสียแล้ว การสุ่ม เสี่ยงเดินหมากชีวิต อาจผิดพลาดทั้งขั้นตอนและวิธีคิด การฝึกใจตามครรลองสมาธิภาวนาไว้อย่างดี ใจย่อมได้รับการป้องกัน จากอารมณ์ที่ฉาบทาด้วยความโกรธกริ้ว ความอยาก และความลุ่มหลง เกินจริง ความอดทนอดกลั้น ย่อมกันเราออกห่างจากหลุมพรางความผิดพลาด ความลำเอียงที่มีต้นตอจากความชอบ ความชิงชัง ความขลาดเขลา และความกริ่งเกรงต่อภัยร้าย คงหมดโอกาสบงการชี้นำวิธีคิด ทั้งนี้เพราะ ชีวิตได้รับการป้องกันรักษาอย่างถูกวิธีนั่นเอง
30
วารสาร “พุทธปทีป”
ชีวิตเราแต่ละคนเหมือนได้มาง่าย ทว่าเวลาในวัยของชีวิต กลับไม่เป็นมิตรให้ เราอุ่นใจได้ตลอด มีแต่จะเดินหนีตีตนออกห่าง เพิ่มช่องว่างในวัยให้กว้างยิ่งขึ้น ฉะนั้น จึงควรใช้เวลาที่มีให้ดีพอและเพียงพอต่อการสร้างสรรค์สิ่งดีในชีวิต
อุปมาชีวิตไม่ใช่เทพมาลิขิต ตัวเรานั่นแหละขีดเขียนบทเอง ชีวิตนี้บางทีก็เหมือน “แจกันทอง” เหมาะสำหรับรองรับสิ่งสวยงาม เช่ น ดอกไม้ แ ละจั ด วางไว้ อ ย่ า งเหมาะสม บางครั้ ง ก็ เ หมื อ น “กระถาง” ต้องการเวลาบ่มเพาะสิ่งดีให้งอกเงยจนงดงามขึ้นที่ใจ และบางคราวก็ไม่ ต่างอะไรกับ “กระโถน” ต้องทนรองรับกับสารพัดเรื่องราวหนักเบาคู่กัน นี่แหละบริบทชีวิต ใช่ว่าเทพท่านลิขิต ทว่าตัวเรานั่นเองคือผู้เขียนบท รสชีวิตที่ได้สัมผัส อาจผสมทั้งความขมขื่นและความหวานชื่นในดวงใจ โดยมีคืนวันช่วยคนจนเข้าที่ บ่มผ่านเดือนผ่านปีอย่างเวียนวน “ใจดวง น้อย” ที่มุ่งมั่นเท่านั้นกระมัง จึงจะได้สัมผัสและรับรสอันกลมกล่อม แม้ ต้องผ่านความกล้ำกลืนมาบ้างก็ตาม ทว่าก็เป็นตำนานดี ที่พร้อมบอกเล่า ให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้และสู้ชีวิตโดยมีสติเป็นเครื่องนำพา
ปีที่ ๒๐ ฉบับที่ ๖๔ กรกฎาคม-กันยายน ๕๔
31
32
วารสาร “พุทธปทีป”
ทำอย่างใดไม่จำเป็นต้องได้รับอย่างนั้น “ที่ เ ชื่ อ ว่ า ทำอย่ า งใด ต้ อ งได้ รั บ ผลเช่นนั้น เช่นทำดีต้องได้รับผลดีร้อย เปอร์ เ ซ็ น ต์ ทำชั่ ว ต้ อ งได้ รั บ ผลชั่ ว ร้ อ ย เปอร์ เ ซ็ น ต์ ไ ม่ เ ปลี่ ย นแปลง เป็ น ความ เข้าใจที่ไม่ถูกต้อง” ทำไมจึงว่าผิด ก็ได้ยินใครๆ พูด กั น อย่ า งนี้ มิ ใ ช่ ห รื อ บางครั้ ง ยั ง ได้ ฟั ง พระเทศน์ยืนยันอย่างนี้เลย ขอเรียนว่า การพูดอะไรตายตัว ร้ อ ยเปอร์ เ ซ็ น ต์ นั้ น มิ ใ ช่ แ นวทางของ พระพุทธศาสนา ดังในกรณีเรื่องตาย แล้วเกิด ถ้าพูดในแง่เดียวว่า ตายแล้ว ต้องเกิด หรือตายแล้วต้องดับสูญ อย่าง นี้ก็ไม่ถูกเช่นกัน เพราะตายแล้วเกิดก็มี คือ ปุถุชน คนมีกิเลส ตายแล้วย่อมเกิดอีก เพราะ ยั ง มี “เชื้ อ คื อ กิ เ ลส” ทำให้ เ กิ ด อยู่
ปีที่ ๒๐ ฉบับที่ ๖๔ กรกฎาคม-กันยายน ๕๔
33
ขอบคุณเจ้าของบทความ โดย ศ.เสฐียรพงษ์ วรรณปก ราชบัณฑิต
ตายแล้วไม่เกิดก็มี คือ พระอรหันต์ เพราะหมด “เชื้อ” ดังกล่าวแล้ว จะพูดโดยแง่เดียวว่า ตายแล้วต้องเกิดหมดทุกคน หรือตายแล้วไม่เกิด ทั้งหมดเลย อย่างนี้ไม่ได้ดอกครับ ผู้ทำกรรมดีย่อมได้รับผลดี ผู้ทำกรรมชั่วย่อมได้รับผลชั่วนี่จริงแน่นอน แต่มิได้หมายความ “ทำอย่างใดต้องได้อย่างนั้น” นาย ก. ยิงเขาตาย ตายไปเกิดชาติหน้า นาย ก. ไม่จำเป็นจะ ต้องถูกเขายิงตาม นาย ข. ทำความดี นาย ข. ตายไปเกิดใหม่ก็ไม่จำเป็นจะต้อง กินไข่เค็มทุกมื้อ เช่นเดียวกัน (ขืนเป็นอย่างนี้ก็เค็มตายสิครับ) แน่นอน นาย ก. ทำความชั่ว นาย ก. ย่อมได้รับผลสนองใน ทางชั่ว แต่ไม่จำเป็นต้องถูกยิงตาย อาจเป็นผลคล้ายๆ กันนั้น ผลที่หนักพอๆ กับกรรมนั้น นาง ข. ทำความดี นาง ข. ย่อมได้รับผลสนองในทางดี แต่ไม่ จำต้องกินไข่เค็มทุกวัน อาจได้ผลดีอย่างอื่น ที่มีน้ำหนักพอๆ กันกับกรรมนั้น อย่างนี้พระท่านว่า “ได้รับผลสนองที่คล้ายกับกรรมที่ทำ” (กัมมะสะริกขัง วิปากัง = ผลกรรมที่คล้ายกับกรรมที่ทำ)
34
เรื่อง
วารสาร “พุทธปทีป” ผลกรรมคล้ายกับกรรมที่ทำอย่างไร? ผมขอยกเรื่องจริงมาให้ดูสักสอง
เรื่องที่หนึ่ง นางโรหิณีน้องสาวท่านอนุรุทธเถระ เป็นโรคผิวหนังอย่าง แรง รักษาเท่าใดก็ไม่หาย ต่อมาพระอนุรุทธเถระผู้พี่ชาย แนะนำให้ทำบุญด้วย การกวาดลานวั ด ปั ด กวาดเช็ ด กุ ฏิ แล้ ว โรคก็ ห าย มี พ ระกราบทู ล ถาม พระพุทธเจ้าว่า นางทำกรรมอะไรไว้ในชาติก่อน พระองค์ตรัสว่า ชาติก่อนเป็น มเหสีกษัตริย์องค์หนึ่ง หึงสาวนักฟ้อนที่พระเจ้าแผ่นดินโปรดปรานมาก เอาผง หมามุ่ยไปโรยใส่เครื่องแต่งตัวหญิงนักฟ้อน จนนางถูกผงหมามุ่ยกัดคันทรมาน มาก มเหสีจอมขี้หึงก็หัวเราะด้วยความสะใจ “สามีข้าใครอย่าแตะนะเว้ย” มา ชาตินี้นางจึงเป็นโรคผิวหนังร้ายแรง กรรมที่นางทำ คือ เอาผงหมามุ่ยไปโรยหญิงนักฟ้อน ผลกรรมที่นางได้ รับ มิใช่ต้องถูกคนอื่นเอาผลหมามุ่ยมาโรยตอบ แต่เป็นผลกรรมที่คล้ายกันคือ เกิดมามีผิวหนังตะปุ่มและคัน ดุจถูกผลหมามุ่ย เรื่องที่สอง เรื่องนี้เขาเล่ามา เลยเอามาเล่าต่อ นายคนหนึ่งมีสวนกล้วย อยู่ชายป่า พอกล้วยสุกคาต้น ฝูงลิงก็มากินเกือบหมดทุกครั้ง เจ็บใจมาก วัน หนึ่งจึงดักจับได้ลิงตัวหนึ่ง เอาลวดมามัดมือมันแล้วปล่อยไป ลิงพยายามดึงมือ เพื่อให้หลุด ยิ่งดึงลวดยิ่งบาดลึกลงไปทุกที เลือดไหลแดงฉานร้องโหยหวน วิ่ง เข้าป่าหายไป นายคนนี้สะใจที่ได้แก้แค้น กาลเวลาผ่านไปเขาได้ลูกชายมาคน หนึ่ง มือสองข้างแป นิ้วติดกันยังกับตีนเป็ด ลูกคนที่สองที่สามเกิดมาพิการเช่น เดียวกัน ยังกับแกะออกมาจากพิมพ์เดียวกัน กรรมที่เขาทำ คือ เอาลวดมัดมือลิง ผลกรรมที่เขาได้รับมิใช่ว่าเขาถูกคน มัดมื อ แต่ ผ ลกรรมที่คล้ายกันคือ เขาได้ลูกมาแต่ละคน มือพิการนิ้วติดกัน ดุจดังทำความพิการแก่มือลิง สรุ ป ก็ คื อ เราทำอย่ า งใด ไม่ จ ำเป็ น ต้ อ งได้ อ ย่ า งนั้ น แต่ เ ราอาจได้ ผ ล “คล้าย” อย่างนั้นครับ
ปีที่ ๒๐ ฉบับที่ ๖๔ กรกฎาคม-กันยายน ๕๔
35
อี ก ประเด็ น หนึ่ ง ก็ คื อ ทำดี ไ ม่ จ ำต้ อ งได้ ผ ลดี ร้ อ ยเปอร์ เ ซ็ น ต์ ทำชั่ ว ไม่ จำเป็นต้องได้ผลชั่วร้อยเปอร์เซ็นต์ ทำดีได้ผลดีหรือทำชั่วได้ผลชั่วแน่ แต่ “ไม่ใช่ต้องได้เต็มที่” เป็นแต่เพียงแนวโน้มที่จะได้รับผลนั้นมากที่สุดเท่านั้น ไม่ ถึงกับร้อยเปอร์เซ็นต์ ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขอย่างอื่นที่จะมาเบี่ยงเบน หรือผ่อนปรน ด้วย ขอยกตั ว อย่ า งให้ เ ข้ า ใจง่ า ย สมมติ ว่ า ผมออกจากบ้ า นมุ่ ง หน้ า จะไป นครปฐม ทันทีที่ผมขับรถออกจากบ้าน แนวโน้มที่ผมจะถึงนครปฐม ย่อมมี มากเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ไม่ครบร้อยดอกครับ อาจมีเงื่อนไขอย่างอื่นที่ผม ไปไม่ถึงนครปฐมก็ได้ เช่น รถตายกลางทางหรือผมเกิดขี้เกียจเลี้ยวรถกลับเอา ดื้อๆ ก็ได้ กรรมที่ทำก็เช่นเดียวกันนั่นแหละ แนวโน้มที่จะให้ผลมีมากแต่ไม่จำเป็น ต้องร้อยเปอร์เซ็นต์ ถึงขนาดใช้คำว่า “ต้อง” มันขึ้นกับเงื่อนไขอย่างอื่นด้วย คัมภีร์ท่านเปรียบกรรมเหมือนหมาไล่เนื้อ คนทำกรรมเหมือนเนื้อ หมา ไล่เนื้อทันเมื่อใดมันก็กัดทันที โอกาสที่หมาจะไล่ทันเนื้อมีมากอยู่ แต่ไม่ถึงกับ ร้อยเปอร์เซ็นต์ บางครั้งบางที เนื้อก็อาจหลุดรอดไปได้ก็มี ขึ้นอยู่กับเงื่อนไข อื่นที่มาแทรกด้วย
36
วารสาร “พุทธปทีป”
ปีที่ ๒๐ ฉบับที่ ๖๔ กรกฎาคม-กันยายน ๕๔
37
38
วารสาร “พุทธปทีป”
ปีที่ ๒๐ ฉบับที่ ๖๔ กรกฎาคม-กันยายน ๕๔
39
40
วารสาร “พุทธปทีป”
ปีที่ ๒๐ ฉบับที่ ๖๔ กรกฎาคม-กันยายน ๕๔
41
42
วารสาร “พุทธปทีป”
ปีที่ ๒๐ ฉบับที่ ๖๔ กรกฎาคม-กันยายน ๕๔
43
44
วารสาร “พุทธปทีป”
กิจกรรมวันแม่ รร/สอท
ปีที่ ๒๐ ฉบับที่ ๖๔ กรกฎาคม-กันยายน ๕๔
45
46
วารสาร “พุทธปทีป”
ปีที่ ๒๐ ฉบับที่ ๖๔ กรกฎาคม-กันยายน ๕๔
47
By Dhammacaro Here is an interesting question! “How can we know that we know, or not?” Have you ever asked yourselves this question when you have studied, or practised something? Sometimes we just conclude, ‘I know that!’ But when we are asked to explain what we understand of it, we cannot say. This reminds me of a Zen story, which provides us with a good example of this. Here is the story: There was a conversation between a Zen Master and his student. The student asked his master, “When a meditator has realised Dhamma, can he or she describe his or her realisation?” The master replied, “Some cannot, but some can.” The student asked for more understanding. “Please, Master, can you explain further what you mean?” The master said, “Those who cannot describe what they know, are like mutes who drink honey and cannot speak of how sweet it is. And those who can, are like people who drink honey and can speak of how sweet it is.” The student understood that.
วารสาร “พุทธปทีป”
48
Then the student raised another question, asking the master, “Master, if a meditator has not yet become enlightened, but can explain and write Dhamma scriptures, is he or she regarded as having realised the Dhamma?” The master answered, “No, they are not! They will be like a parrot which copies human language and can speak it. But the parrot never knows its meaning.” Still with doubt, the student asked his master, “Then how can I give a Dhamma talk to help people understand Dhamma?” The master answered, “You can! You just have to say what you know. What you do not know, don’t say!” The student admired his master, saying, “Thank you very much, Master, I undertand now”, and added, “Sir, you must have realised all the Dhamma by now, is that not so?” The master said, “I’m like a mute who takes bitter medicine and knows its taste, but cannot tell. And I’m like a parrot which learns how to speak human language. But then I can speak it just as other human beings do.” The student seemed to become confused again. How about you, do you understand this? I shall leave you to think about it. For myself, I understand that whatever we do, we should not worry about it; just do our best. As the Master said to his student, “Say what you know. What you do not know, don’t speak.” This is well put. Things get worse when people say what they don’t know. They give wrong information to one another, and then get themselves confused. We must always ask ourselves if we really know what we are doing, or who we are. If we find out something is not good for ourselves and others, we must change it for the better. If we discover something good, we should put it into practice in our daily life and share it with others. That is a good thing to do, isn’t it?
ปีที่ ๒๐ ฉบับที่ ๖๔ กรกฎาคม-กันยายน ๕๔
49
เรามี ชุ ด แต่ ง งานที่ แ ตกต่ า งหลายแบบหลายสไตล์ สั่ ง ตรงมาจาก Spain, America, Korea, Thailand, China และที่อังกฤษ เรายังมีชุดที่อีกมากมายที่ ไม่ได้โชว์ในเว็บ เชิญแวะชมได้ที่ร้าน ทางร้านมีช่างผู้ชำนาญคอยให้คำแนะนำ และปรึ ก ษารวม ทั้ ง แก้ ไขชุ ด ตามไซ้ ที่ ต้ อ งการ ดู ร ายละเอี ย ดเพิ่ ม เติ ม ผ่ า น www.tanyaluckwedding.com
50
วารสาร “พุทธปทีป”
What is Buddhism? Buddhism is a religion to about 300 million people around the world. The word comes from ‘budhi’, ‘to awaken’. It has its origins about 2,500 years ago when Siddhattha Gotama, known as the Buddha, was himself awakened (enlightened) at the age of 35
Is Buddhism a Religion? To many, Buddhism goes beyond religion and is more of a philosophy or way of life. It is a philosophy because philosophy ‘means love of wisdom’ and the Buddhist path can be summed up as: (1) to lead a moral life, (2) to be mindful and aware of thoughts and actions, and (3) to develop wisdom and understanding.
How Can Buddhism Help Me? Buddhism explains a purpose to life, it explains apparent injustice and inequality around the world, and it provides a code of practice or way of life that leads to true happiness.
ปีที่ ๒๐ ฉบับที่ ๖๔ กรกฎาคม-กันยายน ๕๔
51
Why is Buddhism Becoming Popular? Buddhism is becoming popular in western countries for a number of reasons. The first good reason is Buddhism has answers to many of the problems in modern materialistic societies. It also includes (for those who are interested) a deep understanding of the human mind (and natural therapies) which prominent psychologists around the world are now discovering to be both very advanced and effective.
Who Was the Buddha? Siddhattha Gotama was born into a royal family in Lumbini, now located in Nepal, in 563 BC. At 29, he realised that wealth and luxury did not guarantee happiness, so he explored the different teachings religions and philosophies of the day, to find the key to human happiness. After six years of study and meditation he finally found ‘the middle path’ and was enlightened. After enlightenment, the Buddha spent the rest of his life teaching the principles of Buddhism – called the Dhamma, or Truth – until his death at the age of 80.
52
วารสาร “พุทธปทีป” Was the Buddha a God?
He was not, nor did he claim to be. He was a man who taught a path to enlightenment from his own experience.
Do Buddhists Worship Idols? Buddhists sometimes pay respect to images of the Buddha, not in worship, nor to ask for favours. A statue of the Buddha with hands rested gently in its lap and a compassionate smile reminds us to strive to develop peace and love within ourselves. Bowing to the statue is an expression of gratitude for the teaching.
Why are so Many Buddhist Countries Poor? One of the Buddhist teachings is that wealth does not guarantee happiness and also wealth is impermanent. The people of every country suffer whether rich or poor, but those who understand Buddhist teachings can find true happiness.
Are There Different Types of Buddhism? There are many different types of Buddhism, because the emphasis changes from country to country due to customs and culture. What does not vary is the essence of the teaching – the Dhamma or truth.
Are Other Religions Wrong? Buddhism is also a belief system which is tolerant of all other beliefs or religions. Buddhism agrees with the moral teachings of other religions but Buddhism goes further by providing a long term purpose within our existence, through wisdom and true understanding. Real
ปีที่ ๒๐ ฉบับที่ ๖๔ กรกฎาคม-กันยายน ๕๔
53
Buddhism is very tolerant and not concerned with labels like ‘Christian’, ‘Moslem’, ‘Hindu’ or ‘Buddhist’; that is why there have never been any wars fought in the name of Buddhism. That is why Buddhists do not preach and try to convert, only explain if an explanation is sought.
Is Buddhism Scientific? Science is knowledge which can be made into a system, which depends upon seeing and testing facts and stating general natural laws. The core of Buddhism fit into this definition, because the Four Noble truths (see below) can be tested and proven by anyone in fact the Buddha himself asked his followers to test the teaching rather than accept his word as true. Buddhism depends more on understanding than faith.
What did the Buddha Teach? The Buddha taught many things, but the basic concepts in Buddhism can be summed up by the Four Noble Truths and the Noble Eightfold Path.
What is the First Noble Truth? The fist truth is that life is suffering i.e., life includes pain, getting old, disease, and ultimately death. We also endure psychological suffering like loneliness frustration, fear, embarrassment, disappointment and anger. This is an irrefutable fact that cannot be denied. It is realistic rather than pessimism is expecting things to be bad. Instead, Buddhism explains how suffering can be avoided and how we can be truly happy.
54
วารสาร “พุทธปทีป” What is the Second Noble Truth?
The second truth is that suffering is caused by craving and aversion. We will suffer if we expect other people to conform to our expectation, if we want others to like us, if we do not get something we want, etc. In other word, getting what you want does not guarantee happiness. Rather than constantly struggling to get what you want, try to modify your wanting. Wanting deprives us of contentment and happiness. A lifetime of wanting and craving and especially the craving to continue to exist, creates a powerful energy which causes the individual to be born. So craving leads to physical suffering because it causes us to be reborn.
What is the Third Noble Truth? The third truth is that suffering can be overcome and happiness can be attained; that true happiness and contentment are possible. If we give up useless craving and learn to live each day at a time (not dwelling in the past or the imagined future) then we can become happy and free. We then have more time and energy to help others. This is Nirvana.
What is the Fourth Noble Truth? The fourth truth is that the Noble 8-fold Path is the path which leads to the end of suffering.
What is the Noble 8-Fold Path? In summary, the Noble 8-fold Path is being moral (through what we say, do and our livelihood), focussing the mind on being fully aware of our thoughts and actions, and developing wisdom by understanding the Four Noble Truths and by developing compassion for others.
ปีที่ ๒๐ ฉบับที่ ๖๔ กรกฎาคม-กันยายน ๕๔
55
What are the 5 Precepts? The moral code within Buddhism is the precepts, of which the main five are: not to take the life of anything living, not to take anything not freely given, to abstain from sexual misconduct and sensual overindulgence, to refrain from untrue speech, and to avoid intoxication, that is, losing mindfulness.
What is Kamma? Kamma is the law that every cause has an effect, i.e., our actions have results. This simple law explains a number of things: inequality in the world, why some are born handicapped and some gifted, why some live only a short life. Kamma underlines the importance of all individuals being responsible for their past and present actions. How can wettest the kammic effect of our actions? The answer is summed up by looking at (1) the intention behind the action, (2) effects of the action on oneself, and (3) the effects on others.
What is Wisdom? Buddhism teaches that wisdom should be developed with compassion. At one extreme, you could be a goodhearted fool and at the other extreme, you could attain knowledge without any emotion. Buddhism uses the middle path to develop both. The highest wisdom is seeing that in reality, all phenomena are incomplete, impermanent and do not constitute a fixed entity. True wisdom is not simply believing what we are told but instead experiencing and understanding truth and reality. Wisdom requires an open, objective, unbigoted mind. The Buddhist path requires courage, patience, flexibility and intelligence.
56
วารสาร “พุทธปทีป” What is Compassion?
Compassion includes qualities of sharing, readiness to give comfort, sympathy, concern, caring. In Buddhism, we can really understand other, when we can really understand ourselves, through wisdom,
How do I Become a Buddhist? Buddhist teachings can be understood and tested by anyone. Buddhism teaches that the solutions to our problems are within ourselves not outside. The Buddha asked all his followers not to take his word as true, but rather to test the teachings for themselves. In this way, each person decides for themselves and takes responsibility for their own actions and understanding. This makes Buddhism less of a fixed package of beliefs which is to be accepted in its entirety, and more of a teaching which each person learns and uses in their own way.
Question: I’ve got everything now. Why do I still Suffer? What should I do? Answer: Having everything one needs does not end suffering. The more one owns. The more one suffers. As long as the three fires – greed, hatred, and delusion – are burning in one’s mind, suffering remains. To do remove suffering, one has to extinguish those three fires through the four foundations of mindfulness.
ปีที่ ๒๐ ฉบับที่ ๖๔ กรกฎาคม-กันยายน ๕๔
57
58
วารสาร “พุทธปทีป”
ปีที่ ๒๐ ฉบับที่ ๖๔ กรกฎาคม-กันยายน ๕๔
59
60
วารสาร “พุทธปทีป”
เรามั ก จะได้ ยิ น ผู้ เ ชี่ ย วชาญหรื อ นั ก วิ จั ย ออกมา แสดงความคิ ด เห็ น เมื่ อ เกิ ด ปั ญ หาในสั ง คมไทย โดยเฉพาะปัญหาเด็ก เยาวชนและวัยรุ่น ไม่ว่าจะ เป็นการคลั่งไคล้ลุ่มหลงในเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น การเปลี่ ย นมื อ ถื อ บ่ อ ยๆ การหาซื้ อ สิ น ค้ า มี ชื่ อ เสียง การแต่งกายตามแฟชั่นเพียงเพื่อการต้องการได้รับการยอมรับจากกลุ่มเพื่อนหรือเพื่อเข้า สังคม รวมไปถึงการแต่งกายที่แปลกประหลาด ที่ เ กิ ด ขึ้ น เนื่ อ งมาจากการเลี ย นแบบ จนกระทั่ ง ล่าสุดมีเหตุการณ์ที่น่าสะเทือนขวัญ
ปีที่ ๒๐ ฉบับที่ ๖๔ กรกฎาคม-กันยายน ๕๔
61
วงเดือน เดชะรินทร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาปฐมวัย
เมื่อเด็กนักเรียนอายุ ๑๒ ปี เลียนแบบเรื่องราวใน เว็ บ ไซต์ ใช้ สื่ อ อิ น เตอร์ เ น็ ต ล่ อ ลวงเด็ ก หญิ ง วั ย เดี ย วกั น ไปข่ ม ขื น เหตุ ก ารณ์ ที่ เ กิ ด ขึ้ น เหล่ า นี้ เป็นการตอกย้ำให้ผู้ใหญ่ในสังคมได้ตระหนักและ หาเหตุผลว่า เพราะเหตุใดจึงเกิดเรื่องเช่นนี้ขึ้นใน สังคมไทย เป็นเพราะเด็กกลุ่มนี้ขาดกระบวนการ “คิด” “ไม่ได้ยั้งคิด” “ไม่ได้ไตร่ตรอง” ขาดการ พิจารณาว่าสิ่งที่ “จะกระทำ” หรือ “ได้กระทำอยู่” นั้ น ควรหรื อ ไม่ ค วรกระทำ มี ความเหมาะสมกั บ กาลเทศะและสภาพการณ์ที่เป็นอยู่หรือไม่?
62
วารสาร “พุทธปทีป”
ดังนั้นการปลูกฝังให้เด็กเกิดกระบวนการคิดขึ้นในตนเอง จึงถือเป็น เรื่องที่สำคัญมาก นอกจากจะทำให้เด็กตระหนักและไตร่ตรองก่อนลงมือ กระทำเรื่องใดๆ แล้ว กระบวนการคิดที่ดี ยังส่งเสริมให้เด็กคิดต่อยอด และคิดแตกฉาน ใช้เพื่อเสริมสร้างการกระทำที่สร้างสรรค์ สร้างความ มั่นใจให้กับตนเอง นอกจากนี้ การคิดยังสามารถพัฒนาทักษะในเรื่องการปรับตัว เมื่อ เด็กต้องเผชิญกับสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ ได้เป็นอย่างดีอีกด้วย การคิดจึงมี ประโยชน์และเทียบได้กับภูมิคุ้มกัน ในการป้องกันตนเอง จากสิ่งที่ก่อให้ เกิดความเสียหาย ทำให้เด็กสามารถที่จะเลือกสรรหาสิ่งที่เหมาะสมให้กับ ตนเอง ซึ่งการคิดสามารถที่จะพัฒนา และฝึกฝนได้โดยเริ่มตั้งแต่วัยเด็ก เล็ก กระบวนการคิดสามารถสร้างได้ตั้งแต่ปฐมวัย นั่นคือสามารถเริ่มได้ ตั้ ง แต่ วั ย เด็ ก เล็ ก คื อ ๒-๗ ปี ต้ อ งเริ่ ม ปลู ก ฝั ง จากที่ บ้ า น โดยพ่ อ แม่ ผู้ ปกครองต้องเป็นผู้ริเริ่มและส่งเสริมการ “คิดเป็น” ให้แก่เด็ก ซึ่งเมื่อเด็ก เข้าสู่ระบบการเรียนการสอนที่โรงเรียน ครูจะเป็นผู้สนับสนุนและส่งเสริม ให้เด็กมีกระบวนการคิดที่เชื่อมโยงและมีเหตุมีผล คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และสามารถประเมินค่าได้ว่าสิ่งใดควรหรือไม่ควร ทำให้เด็กคิดอย่างมี วิจารณญาณ ซึ่งเป็นการคิดที่ซับซ้อนและเป็นพื้นฐานการคิดขั้นสูงต่อไป
พัฒนาการของการคิด
การคิดมีความสำคัญต่อมนุษย์เป็นอย่างมาก ทำให้มนุษย์สามารถ แก้ปัญหาและสามารถสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ขึ้นมาได้ และทำให้เราดำรง ชีวิตมาได้จนถึงทุกวันนี้
ปีที่ ๒๐ ฉบับที่ ๖๔ กรกฎาคม-กันยายน ๕๔
63
พัฒนาการทางด้านการคิดของคนเรานั้น เริ่มตั้งแต่แรกเกิด ตั้งแต่ การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง ๕ การชิมรส การมองเห็น การได้ยิน จมูกดม กลิ่น และการสัมผัสผ่านทางผิวหนัง ซึ่งจะส่งผล ให้เกิดการกระตุ้นสมอง สมองจะส่งกระแสไฟฟ้าผ่านเส้นใยของเซลล์ประสาทที่มีการแตกแขนง อย่างมากมาย ทำให้เกิดการรับรู้ การตอบสนองและการปรับตัวต่อ สิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อเด็กได้ลงมือกระทำกับสิ่งของมาก เท่าไหร่สมองยิ่งเจริญเติบโตมากเท่านั้น “การคิด” เป็นการพัฒนาสมองที่ต้องได้รับการกระตุ้น ตั้งแต่อยู่ใน ครรภ์มารดา และเมื่อเด็กคลอดออกมาแล้ว ได้รับการกระตุ้นสมองอย่าง ต่อเนื่อง จะทำให้เกิดเครือข่ายเส้นใยสมองและจุดเชื่อมโยงต่างๆ จะเห็น ได้ว่าตั้งแต่แรกเกิด เด็กจะพยายามร้องเมื่อไม่สบาย เมื่อหิว เมื่อร่างกาย เปียก และเข้าหาคนที่ให้ความรักความอบอุ่น เมื่อเด็กโตขึ้นก็จะร้องตอบ สนองเมื่ อ มี ค วามเจ็ บ ปวด ไม่ พ อใจ เมื่ อ พอใจก็ จ ะแสดงออกด้ ว ยการ หัวเราะหรือยิ้ม การคิดเป็นตัวกำหนดสิ่งที่เรารู้ เราคิดอย่างไร รู้อะไร และกำหนด วิถีชีวิตของตนเอง ทำให้เราแสดงออกด้วยการพูด การกระทำ การเขียน การพูดการคิดเป็นพื้นฐานของสติปัญญาและความเข้าใจ การคิดทำให้เรา สามารถตัดสินใจโดยอาศัยความรู้ ประสบการณ์ ข้อมูลทั้งเก่าและใหม่มา เป็นองค์ประกอบ เด็กจะเกิดการเรียนรู้และเข้าใจสิ่งต่างๆ มากขึ้น ส่งผล ให้เด็กฉลาดมากขึ้นตามไปด้วย
ทักษะการคิด (Thinking Skill) มีอะไรบ้าง
ทั ก ษะการคิ ด ในเด็ ก ปฐมวั ย หมายความว่ า เด็ ก สามารถสร้ า งองค์ ความรู้ด้วยตนเอง ประกอบด้วยความสามารถ ๖ ด้าน
64
วารสาร “พุทธปทีป” ๑. สามารถเชื่อมโยงข้อมูล จากข้อมูลใหม่กับข้อมูลเก่าและนำ มาเล่าเรื่องได้ ตามที่ Piaget ได้มีการศึกษาพบว่า การคิด การพัฒนาสติปัญญาเกิดจากการที่เด็กได้รับข้อมูลใหม่ ซึ่ง การนำข้อมูลมาเชื่อมโยงเข้ากับประสบการณ์เดิมที่ตนมีอยู่ ทำให้เกิดความรู้ใหม่ขึ้นมา ๒. บอกความต้ อ งการในสิ่ ง ที่ อ ยากรู้ ไ ด้ สามารถบอกได้ ว่ า ตนเองรู้อะไร หรือต้องการรู้อะไร ๓. นำข้อมูลไปใช้ และสามารถอธิบายในสิ่งที่ตนกำลังกระทำอยู่ ได้ ๔. สามารถบอกจุดที่ชี้ถึงความไม่สำคัญของปัญหาที่ตนเองไม่ จำเป็นต้องสนใจได้ ๕. สรุปข้อมูลความรู้ที่ค้นพบใหม่ เชื่อมโยงกับความรู้เก่าอย่าง เป็นระบบได้ ๖. นำความคิ ด ที่ ไ ด้ ม าดั ด แปลงเป็ น สิ่ ง ใหม่ หรื อ นำความรู้ ม า ปรับใช้ให้เป็นประโยชน์ได้
การที่สมองจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นจำเป็นต้องผ่านการ ฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง การจำเพียงอย่างเดียวไม่ได้ทำให้เกิดการเรียนรู้ แต่ การคิดจะทำให้สมองทำงาน ทำให้เข้าใจเนื้อหาและความรู้ การคิดเป็น การทำงานของสมองที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติเพียงแค่การพัฒนาและฝึกฝน สม่ำเสมอ เราจึงต้องจัดสิ่งเร้าให้เด็กเกิดความอยากรู้อยากเห็น โดยการ สร้างบรรยากาศที่อบอุ่นและเต็มไปด้วยสิ่งแปลกใหม่สามารถกระตุ้นให้ เกิดการเรียนรู้ให้มากพอได้
ปีที่ ๒๐ ฉบับที่ ๖๔ กรกฎาคม-กันยายน ๕๔
65
การคิดมีประโยชน์อย่างไร ๑. การพัฒนาความคิดทำให้เด็กรู้จักคิด รู้จักแก้ปัญหา สามารถ ปกป้ อ งตนเองจากความคิ ด ที่ ไ ม่ เ ป็ น ประโยชน์ ไ ด้ ส่ ง เสริ ม ความคิ ด สร้ า งสรรค์ ที่ มี คุ ณ ค่ า ซึ่ ง จะสร้ า งสุ ข ให้ เ กิ ด ขึ้ น แก่ ตนเอง ๒. ทำให้ เ กิ ด การพั ฒ นาความจำด้ ว ยการคิ ด ที่ จ ะลงมื อ ปฏิ บั ติ ลงมือกระทำกับสิ่งของ คนที่กระทำซ้ำๆ จนเข้าใจจะเกิดการ จดจำที่ยั่งยืน โดยดูจากการแสดงออกด้วยการลงมือกระทำ ของเด็ก การเล่าเรื่องได้ อธิบายความแตกต่างได้ สามารถ สังเคราะห์คือเรียกข้อมูลออกมาใช้ได้ ๓. ความสามารถในการคิดย้อนกลับว่าอะไรคือสาเหตุ (Cause) อะไรคือผล (Effect) ด้วยการตอบคำถาม อะไรเกิดขึ้น เกิด ขึ้ น อย่ า งไร ทำไมจึ ง เกิ ด เพื่ อ ค้ น หาคำตอบ และหาความ สัมพันธ์ของเหตุและผลที่เกิดขึ้นจากการกระทำนั้นคืออะไร
การเชื่อมโยงความคิดจากคำถามของครูและพ่อแม่เป็นสิ่งสำคัญแก่ การได้ลงมือปฏิบัติ ได้กระทำ ได้เห็น ได้ดมกลิ่นชิมรส ซึ่งจะพัฒนาความ ใส่ใจและความกระตือรือร้นในการคิดของเด็ก การกระทำหลายครั้งจะ พัฒนาความเข้าใจ เชื่อมโยงความคิด ทำให้สามารถเรียกข้อมูลออกมา ใช้ได้ในเวลาที่ต้องการ ในตอนต่อไปจะกล่าวถึงแนวทางในการพัฒนา ศักยภาพทางความคิดของเด็ก “ทำอย่างไรให้เด็กคิดเป็น” โปรดติดตาม นะคะ
66
วารสาร “พุทธปทีป”
ถ้ า พู ด ถึ ง คนที่ มี สุ ข ภาพจิ ต ดี คุ ณ จะนึ ก ถึ ง คนที่ มี บุ ค ลิ ก ภาพ อย่างไร? บางคนนึกถึงคนที่ยิ้มอยู่ตลอดเวลา หรือคนที่ร่าเริงอยู่ เสมอ ไม่ทุกข์ไม่ร้อนหรือคนที่ไม่เคยมีความทุกข์เลยใช่ไหมครับ ไม่ว่า คำตอบจะเป็นอย่างไรนั่นก็อาจถูกต้องในบางส่วน ถ้ า พู ด ถึ ง คนที่ มี สุ ข ภาพจิ ต ดี องค์ ก ารอนามั ย โลกได้ ใ ห้ ค วาม หมายไว้ว่า สุขภาพจิตที่ดี คือ ความสามารถที่จะปรับตัวให้มีความ สุขอยู่กับสังคมและสิ่งแวดล้อมได้ดี มีสัมพันธภาพอันดีงามกับบุคคล อื่น ดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยความสมดุลอย่างสุขสบาย รวมทั้งสนองความ ต้องการของตนเองในโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงได้โดยไม่มีข้อขัดแย้ง ภายในจิตใจ ไม่ ว่ า ใครย่ อ มต้ อ งอยากมี สุ ข ภาพดี ทั้ ง กายและใจ แต่ คุ ณ ๆ ทราบหรื อ ไม่ ค รั บ ว่ า คนที่ ซึ ม เศร้ า ไม่ ส บายใจ นอกจากปั จ จั ย ภายนอกแล้ว บางครั้งก็อาจจะมาจากนิสัยส่วนตัวของคุณเองก็ได้นะ ครับ วันนี้เราลองมาสำรวจตัวเองกันดีกว่า ว่าคุณเป็นต้นเหตุแห่ง ความทุกข์ของคุณเอง เพราะมี 6 นิสัยต่อไปนี้หรือไม่
ปีที่ ๒๐ ฉบับที่ ๖๔ กรกฎาคม-กันยายน ๕๔
67
๑. นิสัยขี้ระแวง คนที่มีนิสัยขี้ระแวงนั้นเป็นคนที่ไม่เคยไว้วางใจผู้ใดเลย ใครจะ ทำอะไร จะคิดอะไรก็นึกคิดไปว่าเขามีความประสงค์ร้ายกับตน คิดว่า ใครๆ ไม่รัก ไม่ให้ความสำคัญ ไม่นับถือ ระแวงว่าจะถูกทรยศหักหลัง คนขี้ ร ะแวงไม่ ว่ า จะเป็ น ผู้ ที่ ส วมบทบาทใดๆ ในชี วิ ต ก็ จ ะทำให้ บทบาทนั้น เป็นบทบาทที่มีปัญหาและคนที่ได้รับควาทุกข์นั้น ก็คือ ตนเองและผู้ใกล้ชิด ถ้าคุณเป็นเจ้านาย คุณก็จะระแวงว่างานที่มอบ หมายให้ ลู ก น้ อ ง อาจจะทำไม่ ส ำเร็ จ ระแวงว่ า สามี จ ะมี เ มี ย น้ อ ย ภรรยาจะมีชู้ฯลฯ นิสัยระแวดระวังนั้นเป็นสิ่งดี แต่ถ้าเป็นหวาดระแวง ไปซะทุกเรื่องอย่างนี้คงแย่มากกว่า ๒. คนที่ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง นิสัยไม่มั่นคงในตนเอง มักจะสร้างความทุกข์เป็นอย่างยิ่ง ด้วย ไม่รู้จักตัวเองว่าตนนั้นต้องการอะไรกันแน่ ชอบอะไร แบบไหน ควร วางตัวแบบไหนในสังคม ไม่สามารถตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ในชีวิตได้ ตั้งแต่เรื่องง่ายๆ ในชีวิตประจำวันจนถึงเรื่องที่เป็นเรื่องใหญ่ๆ ในชีวิต นิสัยขาดความเชื่อมั่นในตนเองใช่ว่าเจ้าของนิสัยจะชอบ แต่ไม่อาจ ลบล้างความรู้สึกด้อยในใจตนเองได้ ทั้งที่ความรู้สึกที่ว่าตนเองนั้น ต่ำต้อยแต่อาจจะไม่ใช่ความจริงก็ได้
68
วารสาร “พุทธปทีป”
๓. นิสัยกล่าวโทษผู้อื่นอย่างไม่รู้จบสิ้น ในความผิดพลาดล้มเหลวที่ผ่านมาแล้วและสิ้นสุดไปแล้ว ถ้า คุณเป็นคนที่คอยแต่เพ่งโทษผู้อื่น เห็นว่าความผิดของคนอื่นนั้นยิ่ง ใหญ่เท่าภูเขา เป็นความผิดร้ายแรงไม่มีวันที่จะให้อภัยได้ มองเห็นแต่ ความไม่ดี ความไม่ถูกต้อง ความไม่เหมาะสมในสิ่งที่ผู้คนรอบข้าง ของคุณทำ โดยไม่ได้มองด้วยใจที่เป็นกลางและเป็นธรรม มองอย่างที่ ควรจะเป็นในสภาวการณ์และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น มองด้วยเหตุผล ถ้า คุณมีนิสัยเช่นนี้ ย่อมจะทำให้คุณทุกข์ทนและไม่มีความสุขแน่นอน เพราะคงไม่มีใครจะเป็นผู้ที่ไม่ถูกต้องดีงามสำหรับคุณทุกคนแน่ ๔. นิสัยหลีกหนีปัญหา หลีกหนีเหตุการณ์ หาทางออกให้กับตนเองอย่างผิดๆ เช่น การ ดื่มสุรา ใช้ยาเสพติด การเล่นการพนัน โดยคิดว่าการใช้สุรายาเสพติด จะเป็นการแก้ปัญหาแต่จริงๆ แล้วกลับเป็นการเพิ่มปัญหาให้มากขึ้น ไปอีก กับบางคนอาจเป็นลักษณะไม่รับรู้ปัญหาที่เกิดขึ้น พาลทะเลาะ ปั ญ หาก็ ไ ม่ ไ ด้ รั บ การแก้ ไข มิ ห นำซ้ ำ กลั บ ทำให้ เ กิ ด ปั ญ หาซ้ ำ ซ้ อ น เข้าไปอีก ๕. นิสัยมองโลกในแง่ร้าย คนเช่นนี้จะเป็นคนที่มีชีวิตแต่ละวันด้วยความหดหู่เศร้าหมอง ด้ ว ยเห็ น ว่ า ผู้ ค นรอบตั ว นั้ น ต่ า งเป็ น ศั ต รู ข องตนเอง เป็ น ผู้ ที่ ค อย
ปีที่ ๒๐ ฉบับที่ ๖๔ กรกฎาคม-กันยายน ๕๔
69
ทำลายตนเอง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับตนต่างก็เลวร้ายทั้งนั้น เป็นคนที่ คิดหรือมองคนในแง่ลบ ๖.คนที่มีจิตใจหมกมุ่นอยู่กับความอาฆาตแค้น ชิงชัง ริษยา จิตใจเช่นนี้หาความสงบไม่ได้แน่ ด้วยร้อนรนอยู่ด้วยความทุกข์ ที่เกิดจากความคิดร้ายๆ ของตนเอง ด้วยจิตอาฆาตแค้นที่ไม่ยอม อภัยและคอยคิดทำร้าย ความร้อนของไฟริษยาที่คิดว่าคนอื่นๆ ล้วน ดีกว่าตนทั้งนั้น ตนนั้นต่ำต้อยนัก มีทางใดที่จะเอาชนะหรือทำให้คน ที่ตนเห็นเป็นศัตรูเดือดร้อน เจ็บปวดได้ก็จะทำ ถ้าคุณมีนิสัยอย่างนี้ก็ จะมีแต่ความทุกข์ร้อนไม่หยุดหย่อน สำรวจพบเหตุแห่งทุกข์กันบ้างไหมครับ ถ้ามีนิสัยเหล่านี้อยู่ก็ ควรจะหาหนทางดับทุกข์ด้วยการ ปรับปรุงกาย ปรับปรุงใจเสียใหม่ มองโลกในแง่ดี มองคนรอบข้างอย่างเข้าใจว่า คนทุกคนล้วนแตก ต่างกัน ผู้คนในโลกนี้ต่างมีนิสัยที่ดีและไม่ดีกันทุกคน มองในส่วนที่ดี ของเขาหรือถ้าเป็นไปได้ยอมรับในส่วนที่ไม่ดีของเขา ปรับตัวในทางที่ ถู ก ต้ อ งในสถานการณ์ ต่ า งๆ ที่ เ กิ ด ขึ้ น กั บ คุ ณ อย่ า งดี ที่ สุ ด เท่ า ที่ จ ะ ทำได้ ความสำเร็จในการปรับตัวที่ดีย่อมจะทำให้คุณได้รับรางวัลแห่ง ชีวิต นั่นคือการเป็นผู้ที่มีสุขภาพจิตที่ดีและชีวีเป็นสุข
พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์โสมสวลี พระวรราชาทินัตตามาตุ คุณวันชัย-คุณลำใย ภู่นุ่ม ร้านอาหารรำวง Guildford พระมหาสวัสดิ์ ญาณธโรและพุทธศาสนิกชนในเขตเวลส์ พระครูปลัดสุทัศน์ อมรสุทฺธิ (อุทิศเป็นอาจริยบูชา) คุณธัญญรัตน์ ศานติชาติศักดิ์ ร้านไทโถ วิมเบิลดัน ลอนดอน ร้านอาหารไทยไรท์ (Thai Rice Fullham) ร้านอาหารไทยแลนด์ (Thailand Epsom) ร้านอาหารตำหนักไทย (Tamnag Thai) ร้านอาหารอีสานเขียว (Esarnkheaw Restaurant) ร้านอาหารแมงโกสตีล (Mangosteen Restaurant) ร้านอาหารโสภิตา (Sophita Thai Restaurant) รับจากตู้บริจาคตู้บริจาคภายในวัดพุทธปทีป ครั้งที่ ๒ คุณธัญญาลักษณ์ (ก้อย) LAWRENCE คุณพัชริญ- Edward Goodle (สมาชิกอุปถัมภ์) คุณจันทิรา บางม่วงงาม (สมาชิกอุปถัมภ์) คุณรำไพ คุณโพธิ์ชัย (สมาชิกอุปถัมภ์) คุณบี คอนสเตเบิล (Bee Constable) น.ส.จุฑาทิพย์ ถิ่นโคกสูงและครอบครัว Mr Stephen Sperling ดร.ขวัญสุรีย์ เจียมตน (สมาชิกอุปถัมภ์) คุณปุณศิริ ปรัยนุ (สมาชิก) คุณตั๊ก และครอบครัวดีกุดตุ้ม คุณเสาวนีย์ คอล์ลินส์ (สมาชิก)
๑๐๐ ๓๐๐ ๒๐๐ ๑๐๐ ๒๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๗๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๕๐ ๕๐ ๕๐ ๔๐ ๓๐ ๓๐ ๓๐ ๓๐
ปอนด์ ปอนด์ ปอนด์ ปอนด์ ปอนด์ ปอนด์ ปอนด์ ปอนด์ ปอนด์ ปอนด์ ปอนด์ ปอนด์ ปอนด์ ปอนด์ ปอนด์ ปอนด์ ปอนด์ ปอนด์ ปอนด์ ปอนด์ ปอนด์ ปอนด์
คุณเกษกนก ธาณะธรรม ๓๐ ปอนด์ คุณทิพวรรณ สมิธ (สมาชิก) ๓๐ ปอนด์ คุณธนวรรณ ไพนุพงศ์ ๓๐ ปอนด์ คุณปิยวดี กนกวิลาศภรณ์ และครอบครัว ๓๐ ปอนด์ ผู้ไม่ประสงค์ออกนาม ๒๐ ปอนด์ Mrs Usanee - Mr Stephen Woodcock ๒๐ ปอนด์ คุณจารุวรรณ วันทะนะ ๒๐ ปอนด์ คุณฐปนีย์ มหบุญพาชัย ๒๐ ปอนด์ น.ส.พุทธชาติ อาจารีย์ ๒๐ ปอนด์ คุณรุ่งเกียรติ รัตนบานชื่น ๒๐ ปอนด์ น.ส.กมลวรรณ สวาปการและนายวิทวิทย์ กลั่นรักษา ๒๐ ปอนด์ ครอบครัววงศ์สุวรรณ อุทิศกุศลแด่นางนารีรัตน์ วงศ์สุวรรณ ๒๐ ปอนด์ พนักงานร้านไทยแสคว์ สาขาริชมอนด์ ๒๐ ปอนด์ พนักงานร้าน Thai Charm Thai Massage ๑๐ ปอนด์ คุณชนิตา คิง ๑๐ ปอนด์ คุณสมศรี พยอมอำพันธ์ ๑๐ ปอนด์ ครอบครัวตระกูลแก้ว ๑๐ ยูโร น.ส.วรางคณา กันตศรี ๑๐ ปอนด์ ครอบครัวสุวรรณกำพู ๑๐ ปอนด์ ครอบครัวอักษราศัย ๕ ปอนด์ หากรายชื่อของท่านตกหล่นหรือไม่ได้รับการประกาศอนุโมทนา ณ ที่นี้ ต้องขออภัย และจะนำมาประกาศในฉบับต่อไป.
72
วารสาร “พุทธปทีป”
1.วัดพุทธปทีป กรุงลอนดอน โทร. 0208 946 1357 www.padipa.org 2.วัดธรรมปทีป สก๊อตแลนด์ โทร. 0131 443 1010 www.dpadipa.org 3.วัดสังฆปทีป เวลส์ โทร. 01685 84 3986 www.spadipa.org 4.วัดพุทธาราม กรุงลอนดอน โทร. 0208 530 2111 www.watbuddharam.org.uk 5.วัดพุทธวิหาร คิงส์บอร์มลี่ย์ โทร. 01543 472 315 www.watthaiuk.co.uk 6.วัดสันติวงศาราม เบอร์มิ่งแฮม โทร. 0121 551 5729 www.watsantiwong.com 7.วัดศรีรัตนาราม แมนเชสเตอร์ โทร. 0161 998 4550 watsriuk@hotmail.com สถานทูตไทย กรุงลอนดอน โทร. 0207 589 2944 www.thaiembassyuk.org.uk
8.วัดอมราวดี 0144 284 3239 www.amaravati.org 9.วัดป่าจิตตวิเวก โทร.01730 814 986 www.cittavivek.org 10.วัดอรุณรัตนคีรี โทร. 01661 881612 www.ratanagiri.org.uk 11.วัดป่าสันติธรรม โทร. 092 662 4385 www.foresthermitage.org.uk 12.วัดพุทธวิหาร อ๊อกฟอร์ด โทร. 01865 791 591 www.oxfordbuddhavihara.org.uk 13.วัดธรรมกายลอนดอน โทร. 01483 475 757 www.watlondon.org 14.วัดธรรมกาย แมนเชสเตอร์ โทร. 0161 736 1633 www.kalayanamitra.org สนง.ผู้ดูแลนักเรียน (ก.พ.) ลอนดอน โทร. 0207 283 9896 www.oeauk.net
ข่าวโดย : บ่าวไทย ปีที่ ๒๐ ฉบับที่ ๖๔ กรกฎาคม-กันยายน ๕๔ 73 ภาพโดย : ไอคอนมั้งค์
ข่าวในรอบเดือน กรกฎาคม - กันยายน ๒๕๕๔ ขอทักทายท่านผู้อ่านคอลัมน์นี้ ด้วยคำว่า “สุขสวัสดีจงมีแด่ท่านโดยถ้วนหน้า” พธส (พุทธปทีปสาร) ทิ้งช่วงไปพักหนึ่ง ซึ่งก็คือ การเตรียมจัดทำต้นฉบับ จัดหน้าวารสารให้ สามารถเสร็ จ ทั น ตามกำหนด และเชื่ อ ว่ า ท่านผู้อ่านคงไม่รู้สึกว่า “นานเกินจะรอ” ถ้า ใช่ก็ต้องขออภัยทุกท่านในความล่าช้า • พระกรุณาธิคุณแด่ทีมงาน พธส. นับว่าเป็นข่าวมงคลยิ่ง ที่พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดา มาตุ ถวายความอุปถัมภ์และสนับสนุนการ จัดทำวารสารพุทธปทีป เพื่อเป็นสื่อธรรมะ และเพื่อสานสัมพันธ์อันดีในหมู่พี่น้องชาว ไทยในสหราชอาณาจักร ทีมงานจึงขอแจ้ง ข่าวมงคลนี้ให้ท่านผู้อ่านได้ทราบและร่วม อนุโมทนาโดยทั่วกัน • ขอเชิญบริจาคช่วยเหลือภัยน้ำท่วม ทุกท่านคงทราบผ่านสื่อหลายแขนงเกี่ยวกับ ภัยน้ำท่วมในประเทศของเรา ปีนี้จัดว่าเป็น ความสูญเสียระดับสูงทีเดียว เพราะน้ำท่วม ได้ ข ยายวงกว้ า งมากขึ้ น จึ ง ขอเชิ ญ ชวนพี่ น้องชาวไทยร่วมกันบริจาคเงิน เพื่อรวบรวม ส่ ง ไปช่ ว ยเหลื อ พี่ น้ อ งชาวไทยในแผ่ น ดิ น ของเรา ให้มีความหวังและสร้างขวัญกำลัง ใจ ให้ ส ามารถกลั บ มาดำเนิ น ชี วิ ต และทำ หน้าที่ได้อย่างปกติ
การร่วมทำบุญครั้งนี้ สามารถบริจาคด้วย ตนเองที่ วัดพุทธปทีป กรุงลอนดอน หรือ ส่งทางไปรณีย์ด้วยเช็ค โดยการสั่งจ่ายใน นาม “The Buddhapadipa Temple” ระบุ หลังเช็คว่า “ช่วยภัยน้ำท่วม” ทางวัดจะได้ รวบรวมและส่งมอบให้เมืองไทย ผ่าน สอท. กรุงลอนดอน หลังเดือนพฤศจิกายนนี้ หาก ต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถ สอบถามได้ที่ พระครูปลัดสุทัศน์ โทร. 020 8946 1357 • ขอเชิญร่วมทำบุญ“กฐิน-ลอยกระทง” วัดพุทธปทีป กรุงลอนดอน กำหนดทำบุญ ทอดกฐิ น และลอยกระทงประจำปี ในวั น อาทิตย์ที่ 6 พฤศจิกายน 2554 ตั้งแต่เวลา 09.00-17.00 น. มีการออกร้านจำหน่าย อาหาร การแสดงบนเวที การประกวดเทพี (นางนพมาศ) และอื่นๆ อีกมากมาย จึงขอ เชิญชวนพี่น้องชาวไทยไปร่วมทำบุญตาม วันเวลาดังกล่าว สำหรั บ ท่ า นที่ ป ระสงค์ จ ะส่ ง ผู้ เ ข้ า ประกวด นางนพมาศ และการแต่ ง กายชุ ด ไทย สวยงาม กรุณาติดต่อสอบถามรายละเอียด เพิ่มได้ที่ คุณงามนิจ กิตติสาระ โทร. 07956 259 094 WEB : www.padipa.org EMAIL: bpp@padipa.org
74
วารสาร “พุทธปทีป”
• วัดยกฐานะเป็นองค์กรการกุศล นับตั้งแต่ทางรัฐบาลอังกฤษ มีการปรับปรุง และเปลี่ ย นแปลงกฎหมายคนเข้ า เมื อ ง ทำให้ ห ลายหน่ ว ยงาน รวมทั้ ง วั ด ไทยใน อังกฤษ พลอยได้รับผลกระทบไปด้วย โดย เฉพาะคือการขอพระสงฆ์จากเมืองไทยมา ปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ “พระธรรมทู ต ” ต้ อ งผ่ า น เกณฑ์ทางภาษาอังกฤษในระดับสูงเอาการ (6.5) เท่ า กั บ นั ก เรี ย นนักศึกษาเลยทีเดียว การที่พระสงฆ์องค์เจ้าจะสามารถสอบให้ได้ ระดับดังกล่าวแล้วนั้นนับว่า “หิน” เอาการ ดังนั้น ทางออกจึงมีว่าวัดไทยในอังกฤษต้อง ยกฐานะขึ้ น เป็ น องค์ ก รการกุ ศ ล (Charity Organisation) เพื่อให้สามารถนิมนต์พระ สงฆ์ ไ ทยเข้ า มาปฏิ บั ติ ศ าสนกิ จ ได้ ภายใต้ Tier 5 Visa (วีซ่า 2 ปี) ส่วน Tier 2 Visa (วีซ่า 4 ปี) ต้องใช้ความรู้ภาษาอังกฤษระดับ 6.5 เท่านั้น นอกจากนี้แล้ว ยังมีขั้นตอนที่ ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายใหม่ อีกเพียบ ดมยาไปหลายขนานแล้ว • การจัดทำแบบเรียน รร.พอ.จวนเสร็จสิ้น หากใครผ่านเข้าออกวัดในวันอาทิตย์ จะพบ เห็นเด็กเล็กพากันวิ่งให้วุ่นตามลานวัด ก็ไม่ ต้องแปลกใจ เพราะลูกหลานพากันไปเรียน “ภาษาไทยและวัฒนธรรมไทย” โดยทางวัด จั ด ให้ มี ก ารเรี ย นทุ ก วั น อาทิ ต ย์ และทาง คณะผู้ บ ริ ห ารได้ ท ำหนั ง สื อ แบบเรี ย นและ แบบฝึกหัด ให้นักเรียนใช้เรียนฝึกอ่านเขียน โดยทุกวันนี้แบบเรียนได้จัดทำเสร็จสิ้นแล้ว 5 ระดั บ ตามแผนการเรี ย นการสอน และ คาดว่าระดับที่ 6 จะเสร็จสิ้นภายในปี 2554
เมื่อครบทุกระดับแล้วก็จะนำไปจัดพิมพ์เป็น แบบเรียนถาวรประจำโรงเรียนวัดพุทธปทีป ต่อไป จึงขอแจ้งข่าวนี้ให้ผู้อ่านทราบและต่อ ไปก็ไม่ต้องสงสัยว่า “เรียนอะไรหรือเรียน กันอย่างไร” • วัดสังฆปทีป เวลส์ จะย้ายสถานที่ใหม่ นั บ ตั้ ง แต่ มี ก ารจั ด ซื้ อ บ้ า นหลั ง หนึ่ ง ในเขต เวลส์ เพื่อจัดตั้งให้เป็น “วัดไทยแห่งแรกใน เวลส์” ก็สำเร็จสมความตั้งใจ ทว่าพอพระ สงฆ์ ย้ า ยเข้ า ไปจำพรรษาทำหน้ า ที่ เ ผยแผ่ ธรรมะ กลับพบว่าพื้นที่ดังกล่าวห่างไกลและ ไม่สะดวกต่อการเดินทางไปมาของอุบาสก อุบาสิกา ยิ่งไปกว่านั้นพอผ่านเข้าฤดูหนาว พระสงฆ์ ต้ อ งเผชิ ญ กั บ ภั ย หิ ม ะถึ ง ขั้ น ว่ า “ต้องต้มหิมะ”แทนน้ำปะปาเลยทีเดียว เมื่อ หยั่งดูสถานการณ์จนครบ ๒ ปี ทั้งพระสงฆ์ และญาติโยมชาวไทยในเขตดังกล่าว เห็นว่า สมควรหาสถานที่ใหม่ที่ไม่ห่างไกลเดินทาง ไปมาสะดวก จึงได้เริ่มมองหาสถานที่เพื่อ พิจารณาจัดซื้อแล้วยกฐานะขึ้นเป็น “วัด” ต่อไป จึงขอแจ้งข่าวนี้ให้ท่านผู้อ่านทราบ เป็นเบื้องต้นและติดตามความคืบหน้าต่อไป • สอท.ลอนดอน ทำบุญวันพ่อแห่งชาติ สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงลอนดอน ขอเชิญชวนพี่น้องชาวไทย ร่วมพิธีทำบุญ เนื่องในพิธีวันพ่อแห่งชาติ วันอาทิตย์ที่ 4 ธันวาคม 2554 ตั้งแต่เวลา 10.00 - 14.00 น. ณ วัดพุทธปทีป กรุงลอนดอน ภาคเช้า ประกอบพิธีทางศาสนา และพิธีถวายราช สักการะ ร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี ภาค บ่าย ฟังบรรยายพิเศษจาก ดร.สุเมธ ตันติ
ปีที่ ๒๐ ฉบับที่ ๖๔ กรกฎาคม-กันยายน ๕๔ เวชกุล และรับประทานอาหารกลางวันร่วม กั น จึ ง ขอแจ้ ง ข่ า วนี้ ใ ห้ พี่ น้ อ งชาวไทยได้ ทราบและหากพอมีเวลา ก็อยากเชิญชวน ไปร่วมงาน “วันพ่อ” ตามวันเวลาดังกล่าว • สงฆ์ไทยสูญเสียพระเถรสายต่างประเทศ จัดว่าเป็นความสูญเสียครั้งสำคัญของคณะ สงฆ์ ไ ทย กล่ า วคื อ พระเทพกิ ต ติ โ สภณ (สมบูรณ์ สมปุณฺโณ ป.ธ.๗) เจ้าอาวาสวัด วชิรธรรมปทีป นครนิวยอร์ค รูปที่ ๕ และ ประธานสมั ช ชาสงฆ์ ไ ทยในสหรั ฐ อเมริ ก า ได้มรณภาพลงเมื่อวันที่ ๗ ก.ย. ที่ผ่านมา นั บ สิ ริ อ ายุ ไ ด้ ๗๙ ปี แ ละมี พ รรษา ๖๐ พรรษา และอี ก รู ป คื อ พระเทพโพธิ วิ เ ทศ (ทองยอด ภูริปัญโญ ป.ธ.๙) เจ้าอาวาสวัด ไทยพุทธคยารูปที่ ๓ และเป็นหัวหน้าพระ ธรรมทูตสายประเทศอินเดีย ได้มรณภาพ เมื่อวันที่ ๒๘ พ.ค.ปีเดียวกันนี้ รวมสิริอายุ ได้ ๘๓ ปี ๖๓ พรรษา การสูญเสียพระเถระ ทั้ง ๒ รูปนี้ นับเป็นการสูญเสียครั้งใหญ่แห่ง คณะสงฆ์ไทย เพราะทั้งสองรูปได้อุทิศตน เผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศรูปละ ไม่ต่ำกว่า ๓๐ ปี ในนามคณะผู้จัดทำและ มวลพุทธศาสนิกชนชาวไทยในอังกฤษ ขอ อุทิศกุศลถวายเป็นปูชนียสักการะ แด่ดวง วิ ญ ญาณอั น บริ สุ ท ธิ์ ให้ ไ ด้ ส ถิ ต ย์ ใ นทิ พ ย วิมานด้วยเทอญฯ • ขอแสดงความเสียใจต่อครอบครัว “สุข สังข์กิจ” ในนามคณะผู้จัดทำขอแสดงความเสียใจต่อ จากไปของ คุณวันเพ็ญ สุขสังข์กิจ (สุวรรณ กำพู) วัย 56 ปี อุบาสิกาผู้มากล้นด้วยน้ำใจ
75
ต่อเพื่อนฝูง และถวายความอุปถัมภ์ต่อวัด พุทธปทีปตั้งแต่เริ่มย้ายมาที่เขตวิมเบิลดัน จนวาระสุดท้ายของชีวิต ขอให้ดวงวิญญาณ ของคุ ณ วั น เพ็ ญ สุ ข สั ง ข์ กิ จ จงไปสู่ สุ ค ติ สถิตย์ในแดนสวรรค์ด้วยอำนาจแห่งกุศลที่ ได้สั่งสมมายาวนาน และด้วยกุศลจิตจาก ญาติมิตร • ขอแสดงความเสียใจต่อครอบครัว “วงศ์ สุวรรณ” สังคมไทยในลอนดอน ได้สูญเสียบุคคลที่ ทรงความรู้ไปอีกคนคือ คุณนารีรัตน์ วงศ์ สุวรรณ อดีตเจ้าหน้าที่ Night Operator โรง พยาบาล Brompton Heart Hospital ด้วย โรคหัวล้มเหลว รวมสิริอายุได้ 61 ปี ส่วน บุตรชายทั้งสองก็ไม่ทิ้งรอยคุณแม่ เพราะ คนโตกำลั ง เรี ย นปริ ญ ญาเอก (ฟ สิ ค ก์ ) ที่ เคมบริจด์ และคนเล็กกำลังทำปริญญาตรีที่ วอริกซ์ ในนามคณะผู้จัดทำของแสดงความ เสียใจต่อครอบครัว “วงศ์สุวรรณ” มา ณ ที่ นี้ • โหลดวารสารพุทธปทีปผ่านเวบไซต์ ขอแจ้งให้ทราบว่า ท่านสามารถดาวน์โหลด วารสารพุทธปทีปผ่านเวบได้แล้ว เป็นฉบับ ย้อนหลัง โดยส่งอีเมลแจ้งไปที่ bppthai@ hotmail.com และระบุ BPPPDF-Magazine ในหัวข้อ Subject ทุกครั้ง ทางทีมงานจะส่ง รหั ส ผ่ า นสำหรั บ เป ด อ่ า นให้ ท่ า นทั น ที่ ที่ ร้ อ งขอมา ฉบั บ ต่ อ ๆ ไป อาจจะทำให้ สามารถอ่านได้ใน iPad คอยลุ้นกันต่อไป
76
วารสาร “พุทธปทีป”
วัดมีพระสงฆจำพรรษาครบ ๕ รูป
ปีนี้วัดสังฆปทีป มีพระจำพรรษาจำนวน ๕ รูปด้วยกัน ญาติโยมดีใจมากที่มีพระมา เป็นเนื้อนาบุญ วันที่ ๓๐ ตุลาคม นี้ก็จะมีการทอดกฐินสามัคคีขึ้นเป็นปีแรก ขอเรียน เชิญทุกท่านร่วมบุญในครั้งนี้ด้วย
ศาสนกิจคณะสงฆวัดสังฆปทีป
งานศาสนาวัดสังฆปทีป เปดโอกาสให้ญาติโยมได้เข้าปฏิบัติธรรม (วิปัสสนากรรมฐาน) ตลอดปีตามแต่จะสดวก และมีท่านที่สนใจมาปฏิบัติอยู่เรื่อยๆ แต่ด้วยปัญหาการเดิน ทางและความไม่สะดวกบางอย่าง ทางวัดจึงขออภัยด้วย วัดจะพยายามพัฒนาให้วัด เป็นศูนย์กลางการปฏิบัติธรรมแก่ญาติโยมให้ดีขึ้นต่อไป
ไปอยางสงบและจบอยางสมเกียรติ
ได้มีสุภาพสตรีชาวไทยท่านหนึ่ง เมืองเทนบี เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง คณะสงฆ์วัดสังฆ ปทีป ได้สงเคราะห์เดินทางไปสวดพระอภิธรรมและประกอบพิธีฌาปณกิจให้ โดยมี เพื่อนๆ ชาวไทยร่วมแรงร่วมใจสามมัคีกัน จัดงานอย่างสมเกียรติ ขอให้ดวงวิญญาณ ของคุณโยมสถิตย์ในแดนสวรรค์วิมานเทอญ
พิธีทำบุญประจำสามเดือน
อุบาสกอุบาสิกาเมืองเวลส์ จัดงานทำบุญประจำสามเดือน มีผู้ร่วมทำบุญตักบาตร ฟัง ธรรม นั่งสมาธิ จำนวนมาก โดยมีพระสงฆ์จาก ๓ วัด คือ วัดสันติวงศาราม วัดพุทธ
ปีที่ ๒๐ ฉบับที่ ๖๔ กรกฎาคม-กันยายน ๕๔
77
วิหาร คิงส์บอมลี่ และวัดสังฆปทีป ได้เดินทางไปโปรดญาติโยม อิ่มกาย อุ่นใจ และ อบอวลไปด้วยบรรยากาศแห่งญาติมิตร
ขยับขยายเพื่อใหงายตอการแสวงหาธรรม
หลายท่านทางเวลส์นั้นคงทราบดีอยู่แล้ว ว่าทางวัดสังฆปทีป กำลังแสวงหาสถานที่ ใหม่ สำหรับการขยับขยายวัดสังฆปทีป เพื่อให้เกิดประโยชน์ศึกษาปฏิบัติธรรม และ เหมาะแก่การจัดกิจกรรมทางศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี การเสาะหาสถานที่ดัง กล่ า ว ดำเนิ น การมาอย่ า งต่ อ เนื่ อ ง ซึ่ ง ต้ อ งขออนุ โ มทนากั บ ญาติ โ ยม ที่ ใ ห้ ก าร สนับสนุนและให้กำลังใจ ขณะนี้กำลังรอฟังข่าวดีเรื่องบ้านหลังใหม่ หากทุกอย่าง พร้อมแล้วทางวัดจะได้แจ้งข่าวดีให้ญาติโยมทราบทั่วกัน
กอนจากฝากสงทาย
ช่วงออกพรรษานี้ อากาศหนาวกำลังจะมาเยือน งานบุญงานกศลก็เริ่มมากขึ้น ขอให้ ญาติโยมแบ่งงาน แบ่งเวลา แบ่งหน้าที่ แบ่งสิ่งที่อยากทำบุญให้สมดุล อย่าให้ตนเอง และครอบครัวเดือดร้อนเป็นอันขาด ทำด้วยใจบริสุทธิ์ เพื่อให้เป็นบุญดีและใจมีความ สุขอย่างแท้จริง ขอให้ทุกท่านประสบชัยชนะในชีวิตโดยทั่วกัน พบกันใหม่ฉบับหน้า
วัดสังฆปทีป โทร. 01685 845 986 | www.sanghapadipa.com | spp@padipa.org
78
วารสาร “พุทธปทีป”
วารสารธรรมะที่ พ กพาสาระมากมาย เพื่ อ ยกเครื่ อ งการเรี ย นรู้ และลั บ คม ความคิด ขับเคลื่อนแต้มต่อให้ชีวิต ๑ ปี มี ๕ ฉบั บ (ม.ค.-มี . ค./เม.ย.มิ.ย/ก.ค.-ก.ย./ต.ค.-ธ.ค/ฉบับพิเศษ) ก. สมัครสมาชิก ๕ ฉบับ ๓๐ ปอนด์ ข. บำรุงค่าสแตมป์-ซอง ๒๐ ปอนด์ ค. บริจาคสนับสนุนทั่วไป ๑๐ ปอนด์ ง. บริจาคที่ตู้บริจาคตามศรัทธา ติดต่อสอบถามและบริจาคที่ พระครูปลัดสุทัศน์ อมรสุทฺธิ โทร. 020 8946 1357 THE BUDDHAPADIPA TEMPLE 14 Calonne Road Wimbledon London SW19 5HJ
ส่งตรงถึงประตูบ้าน อ่านก่อนใครอื่น และรับสิทธิ์พิเศษในอนาคต ชื่อ นามสกุล อายุ ที่อยู่ ไปรษณีย์ โทรศัพท์ อีเมล ส่งด่วน ธรรมดา
โหลดใบสมั ค รได้ ที่ www.padipa.org/ bppmag
ปีที่ ๒๐ ฉบับที่ ๖๔ กรกฎาคม-กันยายน ๕๔
79
80
วารสาร “พุทธปทีป”