ปีที่ ๒๑ ฉบับที่ ๖๕ ต.ค. ๕๔ - มี.ค. ๕๕
1
ปที่ 21 ฉบับที่ 65 (ต.ค.54-มี.ค.55) กองบรรณาธิการ Editor Team
คณะที่ปรึกษา พระราชภาวนาวิมล พระครูประภัศร์ธรรมวิเทศ นายวันชัย ภู่นุ่ม นางธัญญรัตน์ ศานติชาติศักดิ์ นางปริศนา พอนด์ คณะผูจัดทำ
คณะพระธรรมทูต วัดพุทธปทีป กรุงลอนดอน 14 Calonne Rd Wimbledon London SW19 5HJ T.020 8946 1357 www.buddhapadipa.org (EN) www.padipa.org (TH) bpp@padipa.org คอมพิวเตอรกราฟฟค
พระครูภาวนาวิธาน (อ.สุทัศน อมรสุทฺธิ) นายพัชรพล พงษวิจิตร (หนุม) แผนกสนับสนุนชวยเหลือ
ดาวรุง ทรัส | พิชญณัฐ พลายสุวรรณ ทิพวรรณ สมิธ | วรพจน ศรีนา จำนวนพิมพ 2,000 เลม กำหนดออก 5 ฉบับ/ป
(ม.ค./เม.ย./ก.ค./ต.ค./ธ.ค.) การสนับสนุน/สมัครสมาชิก
บำรุงสแตมป/ซองบรรจุ สมัครสมาชิก 1ป 5 เลม คาสนับสนุนทั่วไป
20 ปอนด 30 ปอนด 10 ปอนด
สารบัญ
CONTENTS
วิสาสะกับทานผู้อาน กลวิธีคลายเครียด ความน้อยใจภัยใหญของนักปฏิบัติฯ ก้าวข้ามความเคยชินเกา ชีวิตก้าวหน้าด้วยหลัก ๕ คิว (Q) ความเข้าใจที่ผิดพลาดเรื่องกรรม ประมวลภาพกิจกรรมวัดพุทธปทีป อานิสงสของการเจริญวิปสสนากรรมฐาน Buddhist coming West ปฎิทินปฏิบัติศาสนกิจ ป พ.ศ. ๒๕๕๕ ประกาศอนุโมทนาผู้บริจาคสนับสนุน ข้อมูลวัดไทยและสถานที่ราชการ สรุปขาวชาวพุทธปทีป เสียงจากวัดสังฆปทีป เวลส การสมัครสมาชิกและสนับสนุน ตารางปฏิบัติธรรมประจำเดือน ป ๒๕๕๕
4 6 14 18 24 30 37 44 52 64 68 70 71 74 76 78
ขอความสุขสวัสดีจงมีแดทานผูอานทุกทาน กลับมาทักทายอีกฉบับ นับตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา นัยว่ากว่าจะกลับมา ได้ แ ต่ ล ะครั้ ง นั้ น ทิ้ ง ช่ ว งไปนานพอควร ทว่ า คงไม่ น านเกิ น การรอคอย ปีมังกรทองผ่านมาได้ราวสองเดือนจวนเคลื่อนครบไตรมาส บรรยกาศรอบ กายนั้น ยังมากมายด้วยการ “แขงขัน” ชนิดเดิมพันด้วยลมหายใจที่ท่วมท้น ต้นคอก็ว่าได้ แม้ผลจะยังไม่ฉายตัวตนตรงตามความหวัง ทว่าความย่อท้อ ก็ หาได้ก่อตัวมากวนใจให้รู้สึกว่า “ตองยอมจำนน” แต่อย่างใดไม่ โลกของเราทุกวันนี้ ถูกเชื่อมเข้าหากันด้วยพัฒนาการทางเทคโนโลยี ซึ่ง มี คุ ณ และมี โ ทษเคี ย งคู่ กั น การรู้ จั ก ใช้ ป ระโยชน์ แ ละพิ จ ารณาด้ ว ยความ รอบคอบแล้ว ย่อมพบกับคุณค่าที่แท้จริงได้ แน่นอนว่าคงไม่ขึ้นอยู่กับ ความล้ำหน้า ทว่าอยู่ที่ “รูใช” ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองมากกว่า ศตวรรษนี้ (๒๐) ผ่านมาได้เพียง ๑๑ ปี มีสิ่งมากมายอุบัติขึ้นและโดด เด่นชัดเจนคงเป็น “ภั ย ธรรมชาติ ” อาทิ สึนามิ แผ่นดินไหวและยุบตัว ภูเขาไฟระเบิด น้ำท่วมหนัก และยังคาดเดาไม่ได้อีกมาก ซึ่งอาจจะอุบัติตาม มา หลายฝ่ายเฝ้าดูและติดตามสถานการณ์อย่างไม่ลดละ ทั้งนี้เพื่อความ
พระครูภาวนาวิธาน วิ. (สุทัศน อมรสุทฺธิ) บรรณาธิการ
ปลอดภัย และมีสวัสดิภาพในชีวิตและทรัพย์สิน แต่ที่น่ากริ่งเกรงมากกว่า ภัยธรรมชาตินั้น คือ “ไฟแหงความเกลียดชัง” ที่รังแต่จะลุกลามโชติช่วง ระหว่างมนุษย์ด้วยกัน ช่างเป็น “มหันตภัยที่นากลัวและรุนแรงยิ่งขึ้น” ภัยร้ายทางธรรมชาติ คงห้ามได้ยากหรืออย่างมากแค่ “เตือน” ให้พร้อม ต่อการหลบหลีกเท่านั้น ทว่าความชิงชัง คงพอหยุดยั้งหรือ “ขจัด” ให้ลด หมดสิ้นได้ ด้วยการข่มใจ และตั้ง “สติไวใหมั่น” คอยกันมิให้ทิฏฐิมานะ ซึ่ง เป็นตัวการใหญ่ คอยดักให้หลงในความลวง จนมีผู้คนตกหล่มความบาด หมางมานับไม่ถ้วน ถ้าใจไม่ถูกนำพาอย่างหลงผิด “เมตตาจิต” ย่อมจะกลับ มาทำหน้าที่หยิบยื่น “ความปรารถนาดีตอกัน” อย่างปกติต่อไปได้ ในท้ายนี้ ขออนุโมทนาและขอบคุณทุกธารน้ำใจ ที่บริจาคทุนสนับสนุน ค่าจัดพิมพ์และค่าดำเนินการ จนวารสารได้กลับมาถ่ายทอดเรื่องราวแห่ง สาระ และสื่อธรรมะสู่ใจคน “ไตทางฝน” ให้มีแรงก้าวข้ามความยุ่งยากและ ความผกผันของชีวิตไปได้อย่างมีทิศทาง หากพบข้อผิดพลาดอยู่บ้าง ทีมงานต้องขออภัยและรอรับคำติชมด้วยใจ คารวะ สิทธิลาโภ ชะโย นิจจังฯ ขอใหมีชัยในชีวิตโดยทั่วกันเทอญ ฯ.
“พุทธปทีป” 6ขอบคุวารสาร ณเจ้าของบทความ
พล.ต.ต.นพ. นริศ เจนวิริยะ ศัลยแพทย์ นิตยสาร - HealthToday
กลวิธี คลายเครียด ความเครียดทางอารมณ์ เป็นสิ่งที่ เ กิ ด ขึ้ น กั บ ทุ ก ค น ไ ม่ ม า ก ก็ น้ อ ย ความเครียดอาจจะเกิดจากปฏิกิริยาใน ตัวเราเอง เช่น ปวดท้องอึขณะที่ขับรถ ติดในชั่วโมงเร่งด่วน หรือความเครียด ที่ เ กิ ด จากสิ่ ง แวดล้ อ มภายนอก เช่ น หุ้ น ตก สู ญ เสี ย เงิ น ถู ก โกงแชร์ เป็ น นายกโดนปฎิวัติ ฯลฯ
ปีที่ ๒๑ ฉบับที่ ๖๕ ต.ค. ๕๔ - มี.ค. ๕๕
7
ความเครี ย ดขนาดน้ อ ยๆ เป็ น เรื่ อ งปกติ ไม่ มี ปั ญ หา แต่ อ าจจะมี ประโยชน์ ที่ทำให้เราพยายามเอาชนะมัน ทำให้เรามีชีวิตอยู่รอดปลอดภัย เช่ น เครี ย ดเพราะกลั ว สอบเอ็ น ทรานซ์ ไ ม่ ไ ด้ จึ ง ทำให้ ข ยั น เรี ย น แต่ ความเครียดถ้ามีขนาดมาก ก็มีผลเสียต่อสุขภาพ เช่น ความเครียดอาจจะ ทำให้ภูมิต้านทานโรคลดลง ทำให้เป็นหวัดง่าย เริมกำเริบ หรือในบางคนอาจ จะเกิดโรคหมดสมรรถนะทางเพศหรือถึงขนาดฆ่าตัวตาย ผู้ เ ชี่ ย วชาญทางด้ า นความเครี ย ด แนะนำหลั ก การลดความเครี ย ดไว้ หลายอย่ า ง ขั้ น แรกหาสาเหตุ ที่ ก่ อ ให้ เ กิ ด ความเครี ย ด เขาให้ ค ำนิ ย ามของ สาเหตุความเครียดไว้ว่า มันคือภาวะที่บีบคั้น ที่เกินความสามารถของเราที่จะ ตอบสนองได้ ความสามารถในการตอบสนองต่ อ ความเครี ย ด ขึ้ น กั บ พั น ธุ ก รรม บุคลิกภาพ ประสบการณ์ของชีวิตของเรา เช่น คนบางคนอาจจะเครียด เมื่อ ต้องขึ้นไปร้องเพลงบนเวที แต่บางคนชอบมาก เนื่องจากมีพันธุกรรม หรือ บุคลิกของความไม่ขี้อายชอบแสดงออก บางคนเข้าใกล้หมาแล้วเครียดมาก เนื่องจากมีประสบการณ์โดนหมากัดตอนที่ยังเด็ก สาเหตุของความเครียดหลายอย่าง มันเห็นได้เข้าใจได้เด่นชัด เช่น พ่อ
8
วารสาร “พุทธปทีป”
หรือแม่เสียชีวิต ลูกไม่สบาย แฟนเลิกร้าง กิ๊กเลิกรา หางานทำ ไม่ได้ ถูกไล่ ออกจากงาน หาเงินไม่พอใช้ เป็นหนี้พนันบอล ฯลฯ แต่ความเครียดเล็กๆ น้อยๆ ในชีวิตประจำวันก็ไม่ควรมองข้าม เช่น ต้องขับรถฝ่าจราจรไปส่งหรือรับ ลูกที่โรงเรียนทุกวัน เพื่อนร่วมงานนิสัยไม่ดี คอมฯ มีปัญหาแฮงค์บ่อยทำให้ ต้นฉบับหาย น้ำมันราคาแพง ความเครียด เล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้ถ้าเป็นอยู่ นานๆ ก็สามารถสร้างความเสียหาย ให้กับชีวิตร่างกายหรือสุขภาพของเราได้ มาก เพราะมั น กระตุ้ น ร่ า งกายเรา ให้ ห ลั่ ง ฮอร์ โ มนความเครี ย ดตลอดเวลา ทำให้เกิดโรคขึ้น เช่น ทำให้เป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ แล้วตามมา ด้วยอัมพาตอัมพฤกษ์ กลวิธีคลายเครียดที่ผูรูแนะนำไว และคุณสามารถเลือกเอาไปใชไดมีหลายอยาง คือ จดบันทึกประจำวัน จดบั น ทึ ก ประจำวั น สั ก หนึ่ ง สั ป ดาห์ ให้ สั ง เกตดู ว่ า เหตุ ก ารณ์ ห รื อ สถานการณ์ใด ที่เราตอบสนองทางกาย ใจ หรืออารมณ์ในทางลบ และให้จด วันเวลาของเหตุการณ์ไว้ด้วย เขียนบรรยายเหตุการณ์เอาไว้ย่อๆ เราอยู่ใน เหตุการณ์ตรงไหน มีใครเกี่ยวข้องบ้าง อะไรเป็นสาเหตุของความเครียด และ บรรยายถึงการตอบสนองของเรา ต่อความเครียดนั้นด้วย อาการทางกายของ เราเป็นอย่างไร เช่น หัวใจเต้นแรง ใจสั่น เหงื่อแตก ความรู้สึกของเราเป็น อย่างไร เราพูดอะไร หรือทำอะไรลงไปบ้าง เสร็จแล้วให้คะแนนความเครียด ของเราจาก 1 ถึง 5 (น้อยไปมาก) จดบันทึกรายการของสิ่งหรือสถานการณ์ต่างๆ ที่บีบคั้นเราให้ใช้เวลา และพลังงานกับมันในหนึ่งสัปดาห์ว่ามีอะไรบ้าง ตัวอย่างเช่น การงานที่เราทำ อยู่ งานอาสาสมัคร ขับรถพาลูกไปเรียนพิเศษ ดูแลพ่อหรือแม่ที่แก่เฒ่า เสร็จ
ปีที่ ๒๑ ฉบับที่ ๖๕ ต.ค. ๕๔ - มี.ค. ๕๕
9
แล้ ว ให้ ค ะแนนความมากน้ อ ยของความเครี ย ดที่ เราประสบจาก 1 ถึ ง 5 เหมือนข้างบน หลังจากนั้น เราก็มานั่งพิจารณาสิ่งที่เราจดบันทึกไว้ พิจารณาสิ่งที่เราคิด ว่าทำให้เราเครียดมากๆ แล้วเลือกขึ้นมาอย่างหนึ่ง เพื่อทำการวิเคราะห์โดย ใช้เทคนิคที่ใช้แก้ปัญหาดังนี้ ปรับปรุงทักษะการใช้เวลาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทักษะนี้สามารถ ทำให้คุณเก่ง ในการแยกแยะเป้าหมาย และให้ความสำคัญก่อนหลังของสิ่งที่ เราต้องทำ ซึ่งจะช่วยลดความเครียดในชีวิตได้ ให้ใช้ทักษะต่างๆ ดังต่อไปนี้ ช่วยลดความเครียด สรางความคาดหมายที่เปนไปไดจริง และขีดเสนตายใหกับงานที่ เราจะทำ และทำการตรวจสอบความกาวหนาเปนประจำ จัดระเบียบบนโตะทำงาน กำจัดกระดาษที่ไมมีความสลักสำคัญ โดยการโยนมันทิ้งไว เขียนรายการแมบทของสิ่งที่เราตองทำกอนหลังประจำวันแลวทำ ตามนั้น ตลอดทั้งวันที่ทำงานหมั่นเช็ครายการ แมบทที่เราทำไว วาเราได ทำเสร็จไปตามลำดับกอนหลังที่ตั้งใจไวหรือเปลา หั ด ใช ส มุ ด นั ด ที่ เ ขาเรี ย กว า แพลนเนอร เพื่ อ จดบั น ทึ ก สิ่ ง ที่ เ รา วางแผนจะทำลวงหนา เปนวัน เปนเดือน หรือเปนป หรือเขียน รายการแมบทตามที่กลาวขางบนนั้น เปนรายการที่ตองทำกอน-
10
วารสาร “พุทธปทีป”
ปีที่ ๒๑ ฉบับที่ ๖๕ ต.ค. ๕๔ - มี.ค. ๕๕
11
หลังประจำวัน ลงบนแพลนเนอรดวย แลวทำไปตามนั้น และ ทำการประเมิ น ผลประจำวั น จะเกิ ด ผลดี ไม เ กิ ด ความยุ ง ยาก สับสน ผิดนัด ใชแพลนเนอรเก็บเบอรโทรศัพท และที่อยูของคน สำคัญหรือลูกคา เพื่อความสะดวกใน การคนหาติดตอ ทำใหการ ทำงานมีประสิทธิภาพ ผิดพลาดเสียเวลานอยลง มีเวลาทำงาน อยางอื่นหรือรื่นเริงมากขึ้น สำหรับการทำงานหรือโครงการที่มีความสำคัญมาก ใหกันเวลาที่ หามใครมารบกวนไวตางหาก เพื่อการทำงานที่ตอเนื่องและเปน ความลับ หลีกเลี่ยงความเบื่อหนายหมดไฟในการทำงาน ถ้าคุณมีความรู้สึกหมดไฟ ไม่อยากทำงาน หรือเครียดมากเป็นเวลานาน เป็นสัปดาห์ ความรู้สึกนี้จะมีผลต่อความสัมพันธ์ในทางอาชีพ และในชีวิตส่วน ตัวหรือในการทำมาหากินของคุณได้ ความอัดอั้นตันใจที่มากล้น ความรู้สึกเมินเฉยต่อการงาน ความหงุดหงิด รำคาญใจเป็นเวลายาวนาน ความขุนเคืองใจ และมีความโน้มเอียงที่จะโต้เถียง เป็นประจำ สิ่งเหล่านี้ เป็นตัวชี้บ่งถึงอาการหมดไฟในการทำงาน ซึ่งจำเป็นต้อง ได้รับการจัดการเยียวยาให้มันดีขึ้น ผู้เชี่ยวชาญเขาแนะนำกลยุทธในการต่อสู้ ดังนี้ ดูแลตัวเองใหสุขภาพดี กินอาหารใหครบหาหมู กินใหครบทุกมื้อ รวมทั้งอาหารเชา กินในขนาดที่พอประมาณ (ไมทำใหน้ำหนัก เพิ่ม) นอนใหเพียงพอ และออกกำลังกายสม่ำเสมอใหพอเหมาะ สิ่งเหลานี้จะทำใหรางกายของทานแข็งแรง สามารถสูกับความ เครียดทางกายและใจไดดี
12
วารสาร “พุทธปทีป” สร า งสั ม พั น ธไมตรี กั บ เพื่ อ นในที่ ท ำงานและนอกที่ ท ำงาน หา เพื่อนสนิทที่เราสามารถบนเรื่องคับของใจ ปรับทุกขเรื่องการงาน ใหฟงได ทำใหมีหนทางในการแกปญหา ที่กอความเครียดของเรา ได หลีกเลี่ยงการคบคากับคนที่เรามีความรูสึกไมดี คนไมจริงใจ ไมเปนกัลยาณมิตร เพราะจะยิ่งจะตอกย้ำความรูสึกย่ำแยใหมาก ขึ้น ในมงคลสูตรก็กลาวไวใหคบคนดี หลีกหนีคนพาล มองหา กัลยาณมิตร รูจักลาพักผอน ลาพักรอน วาเคชั่น บางคนอาจจะลาไปปฏิบัติ ธรรมฝกวิปสสนากรรมฐาน หรือปลีกวิเวก สำหรับคนที่ทำได มัน จะทำใหคลายเครียดลงไดมาก แนนอน และสำหรับมนุษยเงิน เดือนที่ลาไดไมมาก ก็อาจจะมีการเบรคพักคลายเครียดชั่วครูใน เวลาทำงาน ก็จะชวยไดบาง ในบางกรณีจำเปนตองฝกการปฏิเสธ หัด “Say No” กับเพื่อน ที่มาชวนไปทำโนนทำนี้ ที่ทำใหเราเครียด เชน เปนสาวเปนแส เที่ยวแรไปตามที่อโคจร ไปนั่งตามผับตามบาร ดื่มเหลาสูบยาซึ่ง เปนทาทีเชิญชวนให หนุมเหนาเขามาโอภาปราศรัยอยากไดปลื้ม หัดยับยั้งชั่งใจไมโตเถียงกับใครๆ โดยไมเลือก พยายามใจเย็น มี สติ สัมปชัญญะ เถียงเฉพาะเรื่องที่มีความสลักสำคัญจริง (ไมใช เรื่องทักษิณออกไป) แตที่ดีที่สุดคือหุบปากไมเถียงกับใครเลย ทุก ครั้งที่เถียงกัน จะมีการหลั่งของฮอรโมนความเครียด ความดัน เลือดพุงขึ้นทุกที
ปีที่ ๒๑ ฉบับที่ ๖๕ ต.ค. ๕๔ - มี.ค. ๕๕
13
ทางออกของความเครียดที่ควรหัดมีไวคือ การอานหนังสือที่เรา ชอบ ทำงานอดิเรกที่เรารัก ออกกำลังกายหรือเลนกีฬาที่เราสนุก ทำใหรูสึกชื่นมื่นเพราะเอนดอรฟน (สารสรางสุข) หลั่งออกมา ถ้ า สิ่ ง ที่ ก ล่ า วมาทั้ ง หมดนี้ ไ ม่ มี ผ ลดี ต่ อ คุ ณ ก็ จ ำเป็ น ต้ อ งหาที่ พึ่ ง เช่ น เข้าหาปรึกษาพระที่เราเคารพนับถือ เอาธรรมะเข้าข่ม หรือใช้มืออาชีพอย่าง นักจิตวิทยา หรือให้จิตแพทย์ช่วยก็จะดีที่สุด อย่าลืมว่าความเครียดอาจจะ ทำให้ถึงตายได้ อย่าปล่อยให้มันเรื้อรังนะครับ
คณะครูอาสาและเจาหนาที่ธุรการ โรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย วัดพุทธปทีป กรุงลอนดอน ปจจุบันมีนักเรียนในปการศึกษา 2555 จำนวน 102 คน ขออนุโมทนากับทุกทานที่ ไดเสียสละ เวลา สอนเยาวชนไทยใหสามารถเขาใจภาษาไทยและวัฒนธรรมไทย แมจะดำเนินชีวิตในตาง แดนก็ตาม แตเยาวชนเหลานี้ ยังไดรับโอกาสในการเขาถึงภาษาแม ไดอยางนาชื่นชม
วารสาร “พุทธปทีป” 14ณเจ้าของบทความ ขอบคุ พระครูภาวนาภิราม (สวัสดิ์ ญาณธโร) วัดสังฆปทีป เวลส์
ขอถวายความนอบน้อมต่อพระรัตนตรัย และขอความเจริ ญ ในธรรมจงมี แ ก่ ท่ า นผู้ ปฏิบัติธรรมทั้งหลาย
ขอให้นั่งตามสบาย กำหนดรู้กระแสแห่ง ธรรมไปเรื่อยๆ นะ วันนี้เป็นวันที่ท่านได้มี โอกาสมาประพฤติ ป ฏิ บั ติ ธ รรม ถื อ เป็ น โอกาสอันดีที่จะได้มาเรียนรู้ความจริงของ ชีวิต คนเราส่วนมากเรียนรู้หรือสนใจแต่สิ่ง อื่นที่เป็นภายนอกตัวเอง มองแต่เรื่องของ คนอื่น สนใจคนอื่นเป็นส่วนใหญ่ ใจจึงไม่ เคยสงบ วุ่นวายไปกับคนอื่น โลดแล่นไปกับ อารมณ์นอกตัว ก็เลยโทษคนอื่นว่า เป็น ต้น เหตุของความไม่สงบภายในใจของตัวเอง
ปีที่ ๒๑ ฉบับที่ ๖๕ ต.ค. ๕๔ - มี.ค. ๕๕
วันนี้ถือเป็นโอกาสที่ท่านจะได้หัน มาสนใจใส่ใจตัวเอง มองดูตัวเอง รู้ที่ ตัวเอง เข้าใจที่ตัวเอง เป็นการอยู่กับ ตัวเอง ด้วยตัวเราเอง พระพุทธองค์ให้ เฝ้ามองตัวเองเสมอๆ อย่าให้ขาดสติ จากการเฝ้ามองตนเอง การปฏิบัติ ธรรมของเรา ก็คือการเฝ้าดูตัวเองนี่ แหละ ฉะนั้ น ขอให้ ตั้ ง ใจ ใฝ่ ใ จ ในการ เรี ย นรู้ ที่ จ ะเฝ้ า มองตนเองว่ า อะไร กำลังเกิดขึ้นในตัวเอง คือ ภายในใจ ของตัวเอง วันนี้ ขอพูดถึงธรรมะบางอย่างที่ เราอาจจะไม่ ค่ อ ยได้ ใ ส่ ใ จ หรื อ มอง
15
เห็นได้ยาก เข้าใจได้ยาก เมื่อเกิดขึ้น แล้ ว เรามั ก จะหลบหลี ก หรื อ ไม่ ยอมรับความจริงตามที่เป็นจริงที่กำลัง ปรากฏที่ใจตัวเอง คือ “ความน้อยเนื้อ ต่ำใจ” ความน้อยใจ มีได้กับทุกคนแม้แต่ สัตว์ทั่วไปก็มีได้ เราอาจเห็นตัวอย่าง หลายๆ อย่าง ทั้งปัจจุบันหรืออดีต ใน สมัยของพระพุทธเจ้า มีพระเถระรูป หนึ่ ง ที่ เ ข้ า มาบวชเพราะประสงค์ จ ะ เฝ้าดูรูปกายของพระพุทธเจ้า จึงไม่ สนใจปฏิ บั ติ ธ รรมเพื่ อ ความพ้ น ทุ ก ข์ ต่อมาท่านถูกพระพุทธเจ้าตำหนิ จึง เกิดความน้อยใจคิดจะฆ่าตัวตาย แต่
16
วารสาร “พุทธปทีป”
เพราะพระพุทธองค์ทรงเมตตาปลอบ ใจ พระเถรรูปนั้นจึงได้ปีติหันกลับมา ปฏิบัติจนได้เป็นพระอรหันต์ อี ก ท่ า นหนึ่ ง ที่ น่ า สนใจ คื อ ท่ า น พระเทวทัต เกิดความน้อยใจที่ตนเอง เก่งสู้พระพุทธเจ้าไม่ได้แม่สักอย่าง จึง น้ อ ยใจคิ ด จะเอาชนะพระพุ ท ธเจ้ า นานาวิธีการ แม้แต่คิดฆ่าพระพุทธเจ้าพระเทวทัตก็ทำได้ ความน้อยใจ เป็นความเจ็บปวด ภายใน คล้ า ยกั บ บาดแผลลึ ก ใน จิตใจ เจ็บแสบเมื่อพบกับอารมณ์ที่ ดูแล้วทำให้ตัวเองด้อยค่า ความต่ำต้อยน้อยวาสนา หรือ ผิด หวัง เป็นอาการที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรง ชั่ววูป กระทันหัน หากเรารู้ไม่เท่าทัน อาจก่อให้เกิดปัญหาตามมา เช่น การ คิดฆ่ า ตั ว การทำร้ ายตัวเอง การแก้ แค้นคนอื่น การจองเวรคนอื่น การคิด แผนร้ายๆ อาจเกิดขึ้น แม้ แ ต่ เ ราผู้ ป ฏิ บั ติ ธ รรมเองก็ อ ย่ า ประมาท อย่าคิดว่าสิ่งนี้จะไม่เกิดขึ้น
แก่ เ ราผู้ ป ฏิ บั ติ เราต้ อ งรู้ ใ ห้ เ ท่ า ทั น บางครั้งเราน้อยใจในการปฏิบัติของ ตนเอง เช่ น การมองไม่ เ ห็ น ผลของ การปฏิบัติของตนเอง อาจคิ ด เปรี ย บเที ย บกั บ คนอื่ น ที่ ปฏิ บั ติ ดี ก ว่ า ตน บางที ก็ น้ อ ยใจใน ครูบาอาจารย์ สถานที่ปฏิบัติ หลายๆ อย่ า งทำนองนี้ ที่ อ าจเกิ ด ขึ้ น กั บ ผู้ ปฏิบัติ เราต้องระวังให้ดี “สติ” เท่านั้นที่จะสามารถบรรเทา อาการน้อยใจได้ เราต้องฝึกสติให้แก่ กล้า ฝึกบ่อยๆ ฝึกมากๆ ก็จะช่วยให้ ความน้อยใจลดลงจนไม่มีเลยในจิตใจ ความน้อยใจนี้ เป็นนามธรรม เป็น สภาวะธรรม เป็ น ธรรมารมณ์ คื อ อารมณ์ที่เกิดขึ้นทางใจ เกิดขึ้นเพราะ มีเหตุปัจจัยทำให้เกิด ปัจจัยที่ทำให้ เกิดความน้อยใจ เช่น การคิดเปรียบ เทียบตนเองกับคนอื่น ว่าตนอ่อนแอ กว่าเขา ด้อยกว่าเขา มีวิชาความรู้ต่ำ กว่าเขา ปฏิบัติสู้คนอื่นไม่ได้ ผิดหวัง ไม่สมกับที่ตั้งใจเอาไว้ ในทางปฏิบัติความน้อยใจไม่ใช่สิ่ง ที่ผิด เพราะเป็นธรรมะที่ใสสะอาดที่
ปีที่ ๒๑ ฉบับที่ ๖๕ ต.ค. ๕๔ - มี.ค. ๕๕ ทำให้เกิดวิปัสสนาญาณ แต่ผู้ปฏิบัติ ต้ อ งเฝ้ า ดู เฝ้ า รู้ เรี ย นรู้ ใ ห้ เ ห็ น ตาม ความเป็ น จริ ง ว่ า สิ่ ง นั้ น คื อ สั ก ว่ า อารมณ์ความรู้สึก ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตนเราเขา ไม่มีใครเป็นเจ้าของ แต่ เกิดขึ้นเพราะมีเหตุปัจจัย ให้กำหนดรู้ อาการนั้นแล้วให้ปล่อยวางลงสะ คำว่า กำหนดรู้ คือ สติระลึกรู้ให้ เท่าทัน ให้ตรงกับอาการปัจจุบันขณะ ที่กำลังปรากฏ ให้กำหนดรู้อย่างผ่อน คลาย อย่ากำหนดอย่างมีโทสะ อย่า เครี ย ดกั บ อาการ และการหนดนั้ น กำหนดรู้ ไ ปเรื่ อ ยๆ อย่ า คาดหวั ง ว่ า อยากให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ เราแค่ เฝ้ า ดู เ ฝ้ า รู้ ต ามอาการที่ เ ป็ น จริ ง ตั ว ปัญญาจะเกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติว่า สิ่งที่กำลังปรากฏอยู่นี้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ ของเรา เป็นแต่สภาวะธรรมที่เกิดขึ้น กำลังตั้งอยู่ กำลังดับไป ฉะนั้ น จึ ง ขอให้ ทุ ก คนเฝ้ า มอง ตนเองอยู่เสมอๆ ว่าอาการน้อยใจนี้
17
เคยเกิดขึ้นหรือไม่ เมื่ออาการนี้เกิดขึ้น แล้ ว เราควรจะกำหนดอย่ า งไร ก็ อย่างที่เล่าให้ฟัง อย่าปล่อยให้ความ น้อยใจนั้นกลายเป็ยภัยมืดมาทำลาย จิตใจให้เศร้าหมอง พวกเราถือว่าเป็น ผู้ โ ชคดี ที่ มี โ อกาสเช่ น นี้ ขอให้ ตั้ ง ใจ ปฏิบัติไปเรื่อยๆ อย่าย่อท้อ เราต้องมี ศรัทธาความเชื่อมั่นในพระรัตนตรัย ในตัวเราเอง ในพระธรรมที่เราปฏิบัติ ปี เ ก่ า ผ่ า นไปปี ใ หม่ ม าเยื อ น เรา ฉลองปี ใ หม่ ด้ ว ยการมาปฏิ บั ติ ธ รรม มาเรี ย นรู้ ต นเอง มาเฝ้ า มองตนเอง เข้าใจตนเองนี่แหละเป็นการฉลองปี ใหม่ที่ได้บุญกุศล เพราะหนึ่งปีที่กำลัง จะผ่ า นไป นั่ น คื อ หนึ่ ง ปี ที่ ไ ด้ เ สี ย ไป แล้วจากชีวิต เป็นเวลามิใช่น้อย เรายัง เหลื อ เวลาอี ก ไม่ ม ากนั ก เราควรจะ ใส่ ใ จอย่ า ให้ วั น เวลาผ่ า นไปโดยไร้ ประโยชน์ในทางธรรม ขอความสุข ความเจริญในธรรมจง มีแก่ท่านทุกคน...
ขอบคุณเจ้าของบทความ พระมหาวีระพันธ์ ชุติปฺโญ
าวขาม ความเคยชินเกา เมื่อใดที่เราก าวข ามความเคยชิน เพื่อยกใจให ผ านสิ่งที่ทำให เรารู สึกยุ งยากได โดยอาศัยการเรียนรู และความใส ใจ ที่จะทำความรู จักสิ่งนั้นๆ ให มากขึ้น รู จักเพิ่มเติมวิธีที่จะทำให ตัวเองมีความฉลาด จากป ญญา เราย อมยกระดับความสุขในชีวิต ให เกิดเป นรางวัลแก ตัวเองได แน นอน
ปีที่ ๒๑ ฉบับที่ ๖๕ ต.ค. ๕๔ - มี.ค. ๕๕
หากเราได้ ดู ก ารแข่ ง ขั น กี ฬ า ชนิดต่างๆ ผู้อ่านสังเกตไหมว่า จุดที่ เป็ น ความพ่ า ยแพ้ ห รื อ ชนะนั้ น บาง ครั้งต่างกันแค่เพียง “เสี้ยววินาทีและ แรงฮึ ด ” ที่ นั ก กี ฬ าคนนั้นมีอยู่ หรือ เพราะอาศั ย การปรั บ เปลี่ ย นวิ ธี คิ ด ที่ จะผ่ า นเกมที่ ต นกำลั ง กำลั ง เข่ ง จั น เพียงชั่วเวลาไม่นาน ภาพที่ โ ค้ ช ชี้ ไม้ชี้มือหลังลูกทีม ตามหลั ง คู่ แ ข่ ง หรื อ ตกเป็ น รอง เพื่ อ กระตุ้นให้เขาได้เค้นศักยภาพของตัว เองออกมาให้มากกว่าเดิม จึงมีให้เห็น อยู่เป็นประจำ เพื่อบอกนักกีฬาให้รู้ ว่ า ต้ อ งทำอะไรบ้ า ง หลั ง จากเพลี่ ย ง พล้ำในเกม
19
เมื่อนักกีฬาคนเดิมได้เข้าสู่เกม ในครั้งใหม่ด้วยแรงใจที่ฮึกเหิม เพราะ ใจถู ก กระตุ้ น ให้ รู้ สึ ก ตาม เขามั ก จะ สร้างปรากฏการณ์บางอย่างให้น่าทึ่ง อยู่ เ สมอ จนบางครั้ ง เขาเองก็ รู้ สึ ก คล้อยตามว่า “เขาทำมันได้อย่างไร” จากเกมที่คิดว่าน่าจะแพ้ก็กลับ มาชนะได้ เป็นความน่าทึ่งท่ามกลาง ความต่างที่มีแรงฮึดเข้ามาช่วยชี้ทาง ว่ า ต้ อ งก้ า วไปอย่ า งไร ชั ย ชนะที่ ดู เหมือนริบหรี่ จึงจะกลับตาลปัตรมา เป็นแสงทองที่นำทางสว่างมาสู่ตน ชีวิตของเราก็เช่นกัน บางครั้งก็ ไม่ ต่ า งจากเกมกี ฬ าเท่ า ใดนั ก แต่ ที่ ต่ า งกั น ก็ คื อ มั น เป็ น เกมแห่ ง ชี วิ ต จริ ง
โดยมี ค วามสุ ข และความทุ ก ข์ เ ป็ น เครื ่องหมายบอกให้รู้ว่า เราเป็นผู้พ่าย แพ้หรือเป็นผู้มีชัยในเกมแห่งชีวิตของ ตน เมื่อมองชีวิตของใครหลายคน แรกเริ่มเราคิดไว้ และสร้างมโนภาพ ให้ กั บ ตั ว เอง ภาพแห่ ง ความเป็ น ผู้ มี ชัยในเกม มักจะมีมากกว่าความพ่าย แพ้ ที่ ท ำให้ รู้ สึ ก เจ็ บ ปวด เป็ น เหตุ ใ ห้ เรามีความคิดคล้ายๆ กันว่า ชัยชนะที่ เราได้ รั บ นั้ น คงทำให้ เ รามี ค วามสุ ข มากกว่าการต้องจมอยู่กับความทุกข์ แน่นอน เกมแห่ ง ชี วิ ต หรื อ โลกแห่ ง การ เป็นอยู่ของผู้คน จึงอยู่ในฐานะของผู้ คาดหวัง จนทำให้เราลืมสร้างวิธีการ
เรียนรู้ที่จะต่อสู้อย่างมีศิลปะ เพราะ เรามัวแต่ร้องขอเพื่อให้ตัวเองได้ก้าว ไปสู่ชัยชนะอยู่ฝ่ายเดียว แต่ ถ้ า มองให้ ลึ ก ลงไปในราย ละเอี ย ดที่ แ ตกต่ า ง ความสุ ข และ ความทุ ก ข์ ก็ มี เ ส้ น เพี ย งบางๆ ที่ เ ป็ น “ความเข้าใจและความไม่เข้าใจ” มา เป็ น เครื่ อ งกั้ น ให้ รู้ สึ ก ถึ ง ความแตก ต่างอยู่ในตัว เมื่ อ ใดที่ เ ราก้ า วข้ า มความเคย ชิ น เพื่ อ ยกใจให้ ผ่ า นสิ่ ง ที่ ท ำให้ เ รา รู้ สึ ก ยุ่ ง ยากได้ โดยอาศั ย การเรี ย นรู้ และความเอาใจใส่ที่จะทำความรู้จัก สิ่งนั้นๆ ให้มากขึ้น รู้จักเพิ่มเติมวิธีที่ จะทำให้ ตั ว เองมี ค วามฉลาดจาก ปัญญา เราย่อมยกระดับความสุขใน
ชี วิ ต ให้ เ กิ ด เป็ น รางวั ล แก่ ตั ว เองได้ แน่นอน เป็นการก้าวเพื่อข้ามผ่านความ เคยชินที่เราเคยยึดติด ให้กลายเป็น ความท้ า ทายใหม่ ที่ อ าศั ย แรงฮึ ด เข้ า มาช่วยสนับสนุน กระทั่งเกิดเป็นชัย ชนะที่ทำให้มองกลับไปข้างหลังครั้ง ใดก็ สุ ข ใจทุ ก ที เพราะมี แ รงผลั ก ที่ เปี่ยมด้วยพลังแห่งความดีคอยเป็นผู้ บอกเราว่าควรทำมัน พระพุ ท ธเจ้ าถูกปัญจวัคคีย์ทั้ง ห้ามองว่า พระองค์ประสบความล้ม เหลวจากมรรคผล เพราะเลิ ก อด อาหาร และเลิ ก ทนต่ อ การทรมาน ร่ า งกายอย่ า งที่ นั ก บวชสมั ย ก่ อ นเขา เป็นกัน
แต่พระพุทธองค์กลับมองด้วย มุ ม มองใหม่ ว่ า สิ่ ง ใดที่ เ ป็ น ไปเพื่ อ ความทุ ก ข์ แ ละไร้ ซึ่ ง ปั ญ ญา ที่ ไ ร้ ซึ่ ง ความสมดุ ล ระหว่ า งกายและจิ ต สิ่ ง นั้นย่อมยากที่จะก่อให้เกิดเป็นความ สุขที่แท้จริงได้ พระองค์จึงปรับความเข้าใจใน ครั้งใหม่ด้วยการมองมาที่ใจพร้อมกับ ตั้งคำถามว่า ทำไมจึงต้องคล้อยตาม กิเลสที่บังคับเราด้วยและมีคำตอบที่ เป็นจุดเริ่มต้น เพื่อก้าวไปสู่ความสุขที่ นิรันดร์ว่า “ทุกอย่างเริ่มที่ใจ และจบ ลงที่ใจ” อัลเฟรด โนเบล ผู้เป็นต้นคิดใน การสร้างสิ่งที่ใช้ทำระเบิดรู้สึกผิดทุก ครั้งเมื่อคิดถึงสิ่งที่ตัวเองได้ทำมา แล้ว
22
วารสาร “พุทธปทีป”
ถู ก ผู้ อื่ น นำไปดั ด แปลงเป็ น อาวุ ธ ร้ า ย และนำไปสู่การทำลายเพื่อนร่วมโลก ให้ประสบทุกข์ภัย หลายครั้งที่เขารู้สึกผิด เพราะ คิ ด ว่ า ตั ว เองเป็ น คนเริ่ ม ต้ น ให้ เ กิ ด ความเลวร้ายนั้น แต่แทนที่เขาจะจม อยู่ กั บ กองทุ ก ข์ ที่ ท ำให้ ใ จปวดร้ า ว เพราะถูกคนอื่นยืดเอาแนวทางที่เคย มองว่ า ดี ไปทำสิ่ ง ที่ ก่ อ ให้ เ กิ ด ความ เสียหาย เขากลับสร้างแรงฮึดใหม่ ด้วย การรณรงค์ ใ ห้ ห ยุ ด ทำร้ า ยเพื่ อ นร่ ว ม โลกด้ ว ยกั น เขาพยายามส่ ง เสริ ม ให้ เกิดสันติภาพให้มีแก่โลกใบนี้ โดยการ สร้างกองทุนเพื่อสนับสนุนผู้ที่ให้ความ สำคั ญ กั บ ชี วิ ต และโลกใบนี้ ใ ห้ มี แ ต่ สั น ติ สุ ข ผ่ า นรางวั ล ที่ มี น ามว่ า “โน เบล” อี เอฟ ชูมาคเกอร์ นักเศรษฐศาสตร์ชาวเยอรมันกล่าวไว้ว่า “คนโง่ที่พอมีปัญญาคนไหน ก็ สามารถสร้างสิ่งต่างๆ ให้ใหญ่ขึ้น ซับ ซ้อนขึ้น และรุนแรงขึ้นได้ แต่จะต้อง
อาศัยคนที่มีลักษณะอัจฉริยะ และคน ที่กล้ามากด้วย จึงจะสามารถสร้างสิ่ง ต่ า งๆ ให้ เ ปลี่ ย นไปในทิ ศ ทางที่ ต รง กันข้ามได้” ชีวิตของเราก็เช่นเดียวกัน เรา ต้องรู้จักสร้างแรงบันดาลใจที่เป็นพลัง แห่ ง ความดี ใ ห้ มี ใ นใจมากกว่ า คน ธรรมดาทั่ ว ไป เพื่ อ ให้ พ ลั ง แห่ ง การ เปลี่ ย นแปลงของความดี ได้ เ ข้ า มา เป็นแรงส่งให้เราได้ทำสิ่งที่ดีที่มากกว่า เดิม เพราะด้วยแรงบวกของความดี ที่เราสร้างให้มีในใจ จะเป็นสิ่งที่ทำให้ ชีวิตได้มีพลังแห่งการขับเคลื่อนที่จะ ทำสิ่งต่างๆ ให้ดีขึ้นและรู้จักแบ่งปัน ความดี ที่ มี อ ยู่ ใ ห้ ผู้ ค นที่ อ่ อ นแอกว่ า ได้ใช้เป็นแนวทางเพื่อถอนตัวเองออก จากหล่มแห่งความพ่ายแพ้ แล้วก้าว ขึ้นไปสู่การเป็นผู้ชนะแทน ด้วยว่าพลังแห่งความดีและพลัง แห่งความเข้าใจที่มีอยู่ในชีวิตของเรา เป็นเหมือนสิ่งที่คอยหนุนส่งให้เราได้ ทำสิ่งดีๆ ตามวิถีที่ปกติได้ โดยที่เรา
ปีที่ ๒๑ ฉบับที่ ๖๕ ต.ค. ๕๔ - มี.ค. ๕๕
ไม่รู้สึกว่ามันคือภาระที่จะต้องแบกรับ ทำให้ทุกการแก้ไขที่ดูเหมือนไร้ ทางออก ถูกแปรสภาพให้เป็นสนาม แข่งขันที่มีคู่แข่งคือปัญหา จะได้เจอ กั บ ผู้ ก ล้ า คื อ ปั ญ ญาที่ เ ป็ น จริ ง เสี ย ที ท้ายที่สุดเราย่อมเป็นผู้ชนะในเกมชีวิต พร้ อ มกั บ ได้ ค วามรู้ เ พิ่ ม ขึ้ น อี ก ขั้ น ว่ า เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นเช่นนี้ เราจะแก้ไข ให้ มั น ผ่ า นพ้ น ไปได้ เ พราะอาศั ย พลั ง แห่งใจในระดับใดดี ดั ง นั้ น หากต้ อ งการให้ ชี วิ ต มี ความแตกต่ า ง โดยมี ค วามดี เ ป็ น เครื่ อ งหมายแสดงบอก เราไม่ ค วร อาศั ย แค่ ก ารฝึ ก ฝนอย่ า งสามั ญ ชน ทั่วไป ที่ใช้เพียงความรู้สึกนึกคิดเป็น ตัวกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกที่ตามมัน
23
ไปว่ า น่ า จะเพี ย งพอสำหรั บ ใช้ ก้ า ว ข้ามปัญหา แต่เราควรสร้างพลังแห่งแรงฮึด ใหม่ ที่จะทำให้เราก้าวข้ามปัญหาที่มา กกว่า โดยอาศัยการฝึกฝนที่จะสร้าง ปัญญาให้มีการเติบโต เพื่อให้ปัญญา ได้เข้ามาเป็นตัวช่วย และแก้ไขเรื่อง ร้ายๆอย่างผู้เข้าใจในสิ่งที่เกิดขึ้นจริงๆ แล้วเราจะไม่รู้สึกว่า ปัญหาคือ ภาระที่ต้องแบกหามอีกต่อไป แต่เรื่อง ราวกลั บ ทำให้ เ รารู้ สึ ก ว่ า ปั ญ หานั้ น แหละคือสิ่งกระตุ้นให้เกิดปัญญา และ ทำให้ ค วามเข้ า ใจของเราสู ง ค่ า มาก กว่าที่เคยเป็นมา
บทความโดย พ.ท. นเรศน์ จิตรักษ์
ในโลกยุคใหม ใครๆ ก็ทราบว า เป นโลก แห งการแข งขัน ใครเก ง ใครดี ก็อยู ได เป นยุคแห งการเรียนรู ใครมีความรู มาก กว า เก งกว า คนนั้นก็อยู ได องค กรใด ก็ตามที่สามารถเรียนรู ได เร็วกว า องค กรนี้ก็มีโอกาสมากกว า ดังนั้น ยุคนี้ จึงเป นยุคแห งการแข งขัน และเรื่องการ แข งขันนี้สำคัญมาก
ปีที่ ๒๑ ฉบับที่ ๖๕ ต.ค. ๕๔ - มี.ค. ๕๕
25
การแข่งขันที่สำคัญจะอยู่ที่ “คุณภาพ” ข้าวของมีคุณภาพใครก็อยาก ซื้อไปใช้ คนมีคุณภาพใครก็อยากรับไว้ทำงาน เพราะคนเป็นสมบัติอันล้ำค่า ที่สุดขององค์กร ของดี สิ้นค้าดี ที่ผลิตได้ ล้วนแล้วแต่เกิดจาก คนดี ทั้งสิ้น ที่ เป็ น ผู้ ผ ลิ ต องค์ ก รจะสำเร็ จ ได้ ด้ ว ยคนดี คนจะเป็ น ทุ ก อย่ า งที่ ท ำให้ อ งค์ ก ร รุ่งเรือง ตรงข้ามถ้าองค์กรแย่ล้มเหลว ก็เพราะคนในองค์กรขี้โกง มักเป็นคน ประเภท “ไม่ ซื่ อ สั ต ย์ ไม่ ส ร้ า งสรรค์ ขยั น แต่ โ ง่ เ ขลาเบาปั ญ ญา เก่ ง กล้ า สามารถ แต่อุบาทว์ฉ้อฉล” คนโบราณท่านกล่าวอย่างนั้น ทรัพยากรบุคคลเป็นสมบัติอันล้ำค่าของชาติ หากเราพัฒนาให้คนในชาติ สนใจ ใฝ่รู้ สู้งานหนัก รักษาวินัย มีจิตใจสร้างสรรค์ ยึดมั่นกตัญญู และเป็นอยู่ ด้วยความอดทน บนพื้นฐานของหลักสัจธรรมที่ว่า
26
วารสาร “พุทธปทีป”
อดใจ ทำให้ รู้จักออม อดออม ทำให้ ไม่ยากจน อดทน ทำให้ พ้นทุกข์ทั้งปวง สังคมไทยจะกลายเป็นสังคมดี มีคุณภาพ เพราะคนในชาติได้รับการ ฝึกฝนบนวิถีทางที่ถูกต้อง พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า “ทันโต เสฎโฐ มะนุสเสสุ ในหมู่มนุษย์นั้น ผู้ที่ฝึกตนดีแล้ว เป็นผู้ประเสริฐที่สุด” เมื่อคนประเสริฐ สังคม ก็จะดีเลิศไปด้วยเช่นกัน ปัจจุบันเรามุ่งเน้นฝึกเด็ก โดยวิธีเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ บูรณาการด้วยเทคโนโลยี เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต เราพยายามสร้างสังคม แห่งการเรียนรู้ เพื่อให้ทุกคนมีความสามารถเรียนรู้ให้เร็วกว่าคู่แข่งขัน โดยยึด หลักคิด ๕ Q เป็นโมเดลนำร่องดังนี้ ๑. IQ (Intellectual quotient) คือ ต้องมีความเฉลียวฉลาด เรียนรู้ ศึกษา กำหนดจดจำศาสตร์ต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว และเข้าใจอย่างถ่องแท้ และ ลึกซึ้ง จริงอยู่บางคนโง่ บางคนฉลาด แต่คนโง่นั้นท่านว่าพัฒนาให้ฉลาดได้ ๒. EQ (Emotional Quatient) คือต้องเป็นคนสุขุมรอบคอบ มีอารมณ์ เยือกเย็น ไม่วู่วามโกรธง่าย คนมีสติอยู่กับตัว ย่อมชนะคนขี้โมโห โดยถือหลัก ว่า เราโกรธ เขายิ้ม เราแย่ เขาโกรธ เรายิ้ม เขาแย่
ปีที่ ๒๑ ฉบับที่ ๖๕ ต.ค. ๕๔ - มี.ค. ๕๕
เราโกรธ เรายิ้ม
เขาโกรธ เขายิ้ม
27
ต่างแย่ สบายแน่
๓. AQ (Adversity Quotient) คือต้องสามารถทำงานภายใต้ความ
กดดันที่สูงมากได้ โดยปัจจุบันมีปัญหามากมาย และสลับซับซ้อน ปัญหาใหม่ ๆ เกิดขึ้นทุกวัน ต้องสามารถอยู่กับปัญหาโดยไม่มีปัญหา ยืนหยัดอยู่ได้ด้วยความ อดทนและขยันหมั่นเพียรจนบรรลุภารกิจ ๔. TQ (Technology Quatient) คือ ต้องรู้จักเทคโนโลยี สามารถใช้ และติดต่อสื่อสารกับชาวโลกได้อย่างมีคุณภาพ ๕. MQ (Morality Quotient) คือ ต้องมีคุณธรรม ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญ ยิ่ง ที่คอยกำกับชีวิตและทุกอย่างที่กล่าวมาแล้ว ฝันของเราก็จะเป็นความจริง ถ้าเรามัวแต่เน้ นให้คนในชาติฉลาด เก่งสารพัด แต่ขาดคุณธรรม ความล้ม ละลาย คงเรียงรายเข้าคิวรอเราอยู่ข้างหน้า ฉะนั้นเราต้องไม่ลืมเรื่องคุณธรรม ที่บรรพบุรุษท่านสอน ดังภาษิตที่กว่า ถึงสูงศักดิ์ อัครฐาน สักปานใด ถึงวิไล เลิศฟ้า สง่าศรี ถึงฉลาด กาจกล้า ปัญญาดี ถ้าไม่มี คุณธรรม ก็ต่ำคน ฉะนั้ น ถ้ า จะต้องแข่งขันกับใครเขา ควรใส่ใจในเรื่องการฝึกฝน โดย เฉพาะการฝึกคนในชาติให้หันมาสนใจหลัก ๕ Q ดังกล่าว แล้วเพียรพยายาม
28
วารสาร “พุทธปทีป”
ฝึกฝนตนเองให้ “เป็นคนขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ อดทน เสียสละ กตัญญู ก็จะ มีชีวิตอยู่อย่างผู้ประเสริฐได้” ในท้ายนี้ขอฝากบทกลอนสอนใจและนำไปใคร่ครวญพิจารณาดูว่า ชีวิต เราทั้งหลาย ควรธำรงและดำเนินอยู่อย่างไร ถึงจะไม่ย่อท้อสิ้นหวัง ดังนี้ จะเป็นดาว ขอเพียงยัง กำลังใจ เพราะฉะนั้น
หรือดิน มีไฟ ยอดยิ่ง จงตั้งหน้า
อย่าสิ้นหวัง ให้คิดฝัน สิ่งสำคัญ พยายาม
เพราะความพยายามมีในบุคคลใด ผู้นั้นย่อมไม่ไกลเกินฝั่งฝันแห่งความ สำเร็จแน่นอน กรุณาพิสูจน์ถ้อยคำนี้ด้วยตัวท่านเองเถิด จักบรรลุผลในมิช้านี้.
ปีที่ ๒๑ ฉบับที่ ๖๕ ต.ค. ๕๔ - มี.ค. ๕๕
29
30
วารสาร “พุทธปทีป”
กรรมมิใช่สูตรสำเร็จ เมื่อวันเสาร์ที่ ๗ มกราคม ๒๕๓๘ ได้ไปเป็นวิทยากรในรายการโทรทัศน์ชื่อ “กฎแห่งกรรม” ที่สถานีวิทยุโทรทัศน์ ช่อง ๕ สนามเป้า เป็นรายการสด จัด โดยบริษัทภาษร ของคุณกรรณิกา ธรรม เกษร หรือที่ผู้สนิทคุ้นเคยเรียกว่า “คุณ แอ้” ความจริงจะเรียกว่า เป็นวิทยากร ก็ไม่เชิง เพราะมิได้ทำหน้าที่ตอบปัญหา หรือบรรยายอะไรมากนัก เขาบอกว่า ให้ ไ ปนั่ ง ดู ล ะครชี วิ ต ที่ ส ร้ า งขึ้ น จากบท ประพันธ์ของ ท. เลียงพิบูลย์ เรื่อง “กฎแห่งกรรม” ดูจบแล้วก็ให้อธิบาย ประกอบในแง่ ธ รรมะว่ า ที่ เ ขาหรื อ เธอ (ในละคร)นั้ น ๆ ประสบเคราะห์ ก รรม หรื อ ได้ รั บ โชคอย่ า งนั้ น ๆ เป็ น เพราะ ทำกรรมอะไรมา หรือว่า เขาหรือเธอคน
ปีที่ ๒๑ ฉบับที่ ๖๕ ต.ค. ๕๔ - มี.ค. ๕๕
31
ขอบคุณเจ้าของบทความ โดย ศ.เสฐียรพงษ์ วรรณปก ราชบัณฑิต
นั้นทำชั่วอย่างนั้นๆ แล้ว ทำไมจึงไม่ได้รับผลชั่ว หรือเขาหรือเธอคนนั้นทำดี เหลือเกิน แล้วทำไมผลดีไม่ตอบสนองเขาเลย หรือว่ามันจะสนองอยู่แต่ยังไม่ถึง เวลา ฯลฯ อะไรทำนองนี้ ผมก็จ้องดูละครชีวิตบนจอทีวีอย่างใจจดใจจ่อ ก่อนไปก็ “ทำการบ้าน” คือค้นคว้าอ่านพระไตรปิฎกเกี่ยวกับเรื่องกรรม พยายามทำความเข้าใจให้มาก ขึ้นกว่าเดิม เพื่อจะได้ไปวิพากษ์วิจารณ์ หรือวินิจฉัยได้โดยไม่ผิดหลักพระพุทธ ศาสนา นั่งดูพร้อมกับท่านเจ้าคุณพระราชธรรมนิเทศหรือมหาระแบบ ซึ่งเป็น พระนักเทศน์ชื่อดังเป็นที่รู้จักทั่วไป ละครจบลง แทนที่จะได้แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม เกี่ยวกับเรื่องราวบน จอทีวี ดูเหมือนไม่มีโอกาสเลย เพราะช่วงถัดจากนั้นไป เป็นการตอบคำถาม ของผู้ชมทางบ้านที่หมุนโทรศัพท์เข้ามาถามปัญหาสดๆ กันเลย ผู้ถามก็มีปัญหาคับข้องใจ “ส่วนตัว” ซึ่งไม่เกี่ยวกับเรื่องราวในละคร เขาก็ถามเฉพาะข้อข้องใจของเขา มีหลายราย คงไม่ต้องการคำตอบ เพียงแต่ต้องการคนฟังเขาระบายความ ทุกข์เท่านั้น ข้อที่สังเกตได้จากรายการนี้ (นัยว่าเป็นรายการปฐมฤกษ์) ก็คือผู้ชมหลาย ท่านมักจะ มองเรื่องกรรมเป็น “สูตรสำเร็จ”
32
วารสาร “พุทธปทีป”
ผู้ชมท่านหนึ่งถามว่า คนที่แย่งสามีคนอื่นไป จะต้องได้รับกรรม คือ ถูก แย่งสามีหรือไม่? การมองแบบนี้เรียกว่า “แบบสูตรสำเร็จ” คือ ทำอย่างใดก็ต้องได้อย่าง นั้นจริงๆ ไม่ผิดเพี้ยน ฆ่าเขาและฆ่าโดยวิธีใด ก็จะถูกฆ่าด้วยวิธีนั้นเช่นเดียวกัน แย่งสามีเขาไป ก็ต้องถูกคนอื่นแย่งสามีเช่นเดียวกัน ความจริงผลกรรมที่ทำ มันอาจเป็นอย่างนั้นก็ได้ แต่มิใช่ว่าจะเป็นอย่าง นั้นทุกกรณี เขาคนที่ทำชั่วนั้นๆ อาจได้รับผลอย่างอื่น ไม่ตรงเผงอย่างนั้น แต่ เป็นผลคล้ายๆ กัน ยกตัวอย่างเรื่องจริงเรื่องหนึ่ง นายคนหนึ่งเป็นคนมีอำนาจและมีอิทธิพล มาก ได้ทำกรรมชั่วช้ามากมาย ทำให้ผู้คนเขาเดือดร้อนมามาก จนผู้คนเขาสาป แช่งว่า เมื่อใดมันจะวิบัติฉิบหายเสียที แต่เขาก็เจริญร่ำรวย อยู่อย่างอู้ฟู่ อ้าฟ่า ในสายตาของประชาชน วันดีคืนดี ลูกชายสุดที่รักของเขาก็ถูกรถบรรทุกบี้ตาย ขณะกลับจากท่อง ราตรียามดึกคืนหนึ่ง เขามีบุตรชายโทน หวังจะให้รับมรดกหมื่นล้านแสนล้าน ที่ เขากอบโกยเอาไว้ แต่ก็มาเสียลูกรักไป เขาได้รับความทุกข์แสนสาหัส ความทุกข์เพราะเสียลูกชายสุดที่รักคน เดียวไป ได้ทรมานจิตใจเขาสิ้นระยะเวลายาวนาน อย่างนี้แหละครับที่ว่า เขาทำอย่างใด ไม่จำเป็นต้องได้รับผลอย่างนั้น แต่ จะได้ รั บ ผล “คล้ า ยๆ กั น ” นายคนนี้ ข่ ม เหงรั ง แกคนมากมาย ทุ จ ริ ต คอ รัปชั่นมามาก เขาไม่จำเป็นจะต้องถูกคนอื่นข่มเหงตอบ และไม่จำเป็นต้องถูก คนอื่นโกงตอบ แต่เขาก็ได้รับผลกรรมที่หนักหนาสาหัสไม่แพ้กรรมที่ทำ คือ ต้องเสียบุตร ชายคนเดียวไป คนแย่งสามีคนอื่นไป ก็ไม่จำต้องถูกผู้หญิงอีกคนมาแย่งเอาสามีไป แต่
ปีที่ ๒๑ ฉบับที่ ๖๕ ต.ค. ๕๔ - มี.ค. ๕๕
33
อาจได้รับผลกรรมอย่างอื่นที่ร้ายแรงพอๆ กัน เช่น ทั้งๆ ที่อยู่กินด้วยกันกับสามี (ที่แย่งเขามา) แต่ก็ไม่มีความสุขอย่างที่คาดหวังไว้เลย มีแต่ความเจ็บช้ำใจ เพราะสามีตัวดีทำให้ อะไรทำนองนี้ นอกจากจะไม่ใช่ “สูตรสำเร็จ” แล้ว กรรมที่ทำไว้ อาจไม่ให้ผลก็ได้ ขึ้น อยู่กับเงื่อนไขใหม่ที่เราทำเพิ่มภายหลังด้วย ที่พูดนี้เป็นฉันใด คืออย่างนี้ครับ ตามหลักกฎแห่งกรรมมีว่า “หว่านพืชเช่นไร ย่อมได้ ผลเช่นนั้น ทำกรรมดีย่อมได้ผลดี ทำกรรมชั่วย่อมได้ผลชั่ว” ท่านเปรียบการทำกรรมและการรับผลของกรรม เหมือนการหว่านพืช และการได้ผลแห่งพืชนั้น เช่นสมมติว่า เราหว่านหรือเพาะถั่ว งา เราก็ย่อมได้ต้นถั่ว ต้นงา และได้ ผลถั่ว ผลงา เราจะได้ต้นพริกไทยหาได้ไม่ พืชชนิดไหน ก็จะงอกออกมาเป็นต้น ไม้ชนิดนั้น และให้ผลชนิดนั้น ชนิดของพืชนั้นไม่กลายพันธุ์แน่นอน แต่ผลที่ได้อาจเต็มเม็ดเต็มหน่วย หรือได้น้อยลง หรืออาจไม่ได้ผลเลยก็ย่อมเป็นได้ เพราะเงื่อนไขอย่างอื่นเข้ามา เกี่ยวข้อง ถ้าดูแลดี เอาใจใส่ รดน้ำพรวนดิน ใส่ปุ๋ย ฯลฯ ก็ย่อมจะได้ผลเต็มเม็ด เต็มหน่วย แต่ถ้าปลูกแล้วไม่สนใจดูแล ปล่อยตามมีตามเกิด ก็อาจได้ผลบ้างแต่ ไม่มากเท่าที่ควร หรือปล่อยทิ้งไว้ สัตว์มาเหยียบย่ำ หรือคนมารื้อทิ้งเสีย ก็อาจ ไม่ได้ผลเลยก็ได้ เรื่องของกรรมที่ทำก็เหมือนกัน ทันทีที่ทำ แนวโน้มที่มันจะให้ผลย่อมมี ถ้าไม่มีอะไรมาขัดขวาง มันก็จะให้ผลตามลักษณะของกรรมที่ทำ เพราะเหตุนี้ แหละพระท่านจึงว่า “ทำกรรมดีย่อมได้ผลดี ทำกรรมชั่ว ย่อมได้ผล ชั่ว” (ให้สังเกตคำว่า “ย่อมได้” ท่านมิได้พูดว่า “ต้องได้” ท่านจึงเปรียบการให้ผลของกรรมที่ทำเหมือนสุนัขไล่เนื้อ
34
วารสาร “พุทธปทีป”
กรรมเหมือน “สุนัข” คนที่ทำกรรมเหมือน “เนื้อ” ลองวาดภาพดูเนื้อที่ สุนัขไล่ล่าเอาชีวิต แนวโน้มที่สุนัขมันจะทันนั้นย่อมมีมากมันทันเมื่อใด มันก็ กัดเนื้อเมื่อนั้น กรรมก็เหมือนกัน มันไล่ตามสนองคนทำกรรมทุกระยะ เมื่อมัน “ทัน” เมื่อใดมันก็สนองผลเมื่อนั้น แต่ โ อกาสที่ สุ นั ข มั น ไล่ ไ ม่ ทั น เนื้ อ ก็ ย่ อ มมี สุ นั ข มั น อาจเป็ น สุ นั ข แก่ เรี่ยวแรงถดถอยไล่ไปหอบแฮ่กๆ ไป ไม่ทันเนื้อหนุ่มที่หนีสุดชีวิตก็เป็นได้ หรือ สุนัขมันไล่ไปๆ เกิดขี้เกียจหยุดไล่เอาดื้อๆ หรือกำลังจะทันอยู่พอดี เนื้อมันวิ่ง หายเข้าไปในหลืบเขาหรือป่าทึบสุนัขมองไม่เห็น วิ่งไล่ไปผิดทิศทางก็ได้ อย่างนี้ แหละเรียกว่า “โอกาส” หรือ “เงื่อนไข” ใหม่เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง กรรมที่ทำไว้ (ทั้งกรรมดีและกรรมชั่วนะครับ คนส่วนมากพอพูดถึงกรรม ก็นึกแต่กรรมชั่วอย่างเดียว) มีแนวโน้มที่จะสนองผล แต่ก็ใช่ว่าจะเป็นไปตามนั้น ร้อยเปอร์เซ็นต์ ย่อมมี “โอกาส” หรือ “เงื่อนไข” ใหม่เข้ามาเกี่ยวข้องอีกด้วย โอกาส หรือเงื่อนไข ที่ว่านี้ก็คือ กรรมใหม่ที่เราทำนั้นเอง สมมติว่าเรา ทำกรรมชั่วบางอย่างไว้ เรามีโอกาสทำกรรมดีในเวลาต่อมา และทำบ่อยๆ ทำ มากๆ ด้วย กรรมชั่วที่ทำไว้ก่อนนั้น มันก็รอจังหวะจะสนองผล ดุจสุนัขกำลัง ไล่ล่าเนื้อ แต่กรรมดี ใหม่ๆที่เราทำไว้ก็มีมาก มันอาจทำให้กรรมเก่านั้นเบาบาง หรือจางหายไปจนไม่สามารถให้ผลเลยก็ได้ หลักวิชาเรื่องกรรมมีว่า
ปีที่ ๒๑ ฉบับที่ ๖๕ ต.ค. ๕๔ - มี.ค. ๕๕
35
- กรรมบางอย่างทำแล้วให้ผลทันตาเห็น หรือให้ผลไม่ช้าไม่นานหลังจาก ทำ เช่นอาจเป็นเดือนนั้น ปีนั้น - กรรมบางอย่างไม่ให้ผลทันที แต่จะให้ผลในกาลข้างหน้า เช่นเดือนหน้า ปีหน้า หรือชาติหน้า - กรรมบางอย่างให้ผลในโอกาสต่อๆ ไป เช่น เดือนต่อๆ ไป หรือปีต่อๆ ไป หรือชาติต่อๆ ไป - กรรมบางอย่างไม่มีโอกาสให้ผลเลย กลายเป็นอโหสิกรรมไป ดูอย่างองคุลิมาลโจรสิครับ ฆ่าคนมากมายหลายชีวิต แต่ในบั้นปลาย แห่งชีวิต ได้พบพระพุทธองค์ ได้ฟังธรรมบรรลุเป็นพระอรหันต์ กรรมชั่วที่ทำไว้ จ้องจะ “ตะครุบ” อยู่พอดี แต่ “เงื่อนไขใหม่” ที่แรงกว่า (คือการบรรลุพระ อรหัตผล) มาขัดจังหวะพอดิบพอดี กรรมที่ทำไว้ก็เลยกลายเป็น “อโหสิกรรม” เจาไปเลย มันเป็นอย่างนั้นเสียล่วย ! ทุ ก อย่ า งเป็ น อนิ จ จั ง กฎแห่ ง กรรมก็ ต กอยู่ ใ นความเป็ น อนิ จ จั ง เปลี่ยนแปลงได้ และคนที่จะเปลี่ยนก็คือตัวเราเอง ใครเผลอทำอะไรไม่ดีไว้ ก็ไม่ ต้องตกใจรีบสร้างความดีด้วยการให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา และอื่นๆ อีก (มีอะไรบ้างจะนำมาเล่าทีหลัง) ทำให้บ่อยๆ ทำให้มากๆ สิ่งเหล่านี้จะช่วย “สลายพลังกรรมชั่ว” ทีละนิดๆ จนกระทั่งหมดไปในที่สุดฯ
36
วารสาร “พุทธปทีป”
ปีที่ ๒๑ ฉบับที่ ๖๕ ต.ค. ๕๔ - มี.ค. ๕๕
37
พระเดชพระคุณเจ้าประคุณ สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กรุงเทพ ประธานในพิธีพระราชทานสัญญาบัตร และพัดยศ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๔ สนทนากับ พระครูภาวนาภิราม วิ. วัดสังฆปทีป เวลส์
นายนพรัตน์ เบญจวัฒนานันท์ ผอ.สนง.พระพุทธศาสนาแห่งชาติ ประธานฝ่ายฆราวาส ถวายผ้าไตรแด่พระครูสัญญาบัตรทุกรูป
ถ่ายภาพร่วมกับ พระธรรมสุธิ (พีร์ สุชาโต) อดีตพระธรรมทูตวัดพุทธปทีป ปัจจุบันดำรงตำแหน่งอธิบดีสงฆ์ วัดมหาธาตุ ท่าพระจันทร์ กรุงเทพฯ
พระครูวิมลธรรมรังษี (อดีตพระธรรมทูต) ปัจจุบันเจ้าคณะ ๕ วัดมหาธาตุ ถวายดอกไม้แสดงความยินดีกับพระครูใหม่ทั้งสองรูป
42
วารสาร “พุทธปทีป”
ปีที่ ๒๑ ฉบับที่ ๖๕ ต.ค. ๕๔ - มี.ค. ๕๕
43
การเจริญวิปัสสนากรรมฐาน มีอานิสงส์โดยสรุป ๕ ประการคือ ๑. ทำให้ผู้ปฏิบัติมีจิตใจผ่องใส ๒. ทำให้ผู้ปฏิบัติมีจิตใจที่มั่นคง หนักแน่น มากขึ้นกว่าเดิม ๓. ทำให้ผู้ปฏิบัติเกิดปัญญา เกิดความเฉลียวฉลาดมากขึ้น ๔. ทำให้ผู้ปฏิบัติหายจากโรคประจำตัวซึ่งไม่สามารถรักษาได้ ๕. ทำให้ผู้ปฏิบัติสามารถบรรลุถึงความพ้นทุกข์ คือ มรรค ผล นิพพาน อันเป็นจุดประสงค์สูงสุดในพระพุทธศาสนาได้ ๑. ทําให้จิตของผู้ปฏิบัติผ่องใส ในขณะที่ผู้ปฏิบัติมีสติตามกําหนดรู้ปัจจุบันอารมณ์อยู่ เช่น ขณะ กําหนดว่า “พองหนอ…ยุบหนอ…นั่งหนอ…ถูกหนอ” หรือกําหนดว่า “ขวา ย่างหนอ…ซ้ายย่างหนอ” ฯลฯ อยู่นั้น จิตจะประกอบด้วยกุศล เพราะสติเป็น กุศลธรรม ขณะที่สติอันเป็นกุศลธรรมเกิดขึ้นอยู่นั้น อกุศลธรรม เช่น ความ โลภ ความโกรธ ความหลง ความเย่อหยิ่ง ความถือตัว ความทะนงตน ฯลฯ ก็ ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ เพราะผู้ปฏิบัติมีสติตามรู้ทันอยู่ กิเลสจึงเกิดขึ้นไม่ได้
เปรียบได้กับขณะที่มีแสงสว่างเกิดขึ้น ความมืดย่อมจะอันตรธาน หายไป ในทางกลับกันขณะที่มีความมืดเกิดขึ้น ความสว่างก็ย่อมจะอันตรธาน หายไปเช่ น กั น ขณะใดก็ ต ามที่ ผู้ ป ฏิ บั ติ มี ส ติ ต ามรู้ ปั จ จุ บั น อารมณ์ อ ยู่ ย่ อ ม เปรียบได้กับขณะที่มีแสงสว่างเกิดขึ้น อกุศลธรรมซึ่งทําให้จิตเศร้าหมอง อัน เปรี ย บได้ กั บ ความมื ด ย่ อ มจะเกิ ด ขึ้ น ในขณะนั้ น ฉะนั้ น ผู้ ป ฏิ บั ติ จึ ง ได้ รั บ ประโยชน์ของการเจริญวิปัสสนากรรมฐานประการแรก คือ ทําให้จิตผ่องใส เพราะเมื่อไม่มีอกุศลซึ่งทําให้จิตเศร้าหมอง จิตย่อมจะผ่องใส หากเจริญสติ อย่างนี้ไปตลอด ครั้นสิ้นลมลงในขณะจิตเป็นกุศล จะได้เกิดในสุคติภูมิอย่าง แน่นอน อนึ่ง จิตของคนเรานั้น สามารถรับรู้อารมณ์ได้เพียงอารมณ์เดียวใน แต่ ล ะขณะ เราไม่ ส ามารถคิ ด เรื่ อ งสองเรื่ อ งได้ ใ นขณะจิ ต เดี ย วกั น ขณะที่ ผู้ ปฏิบัติตามรู้ปัจจุบันอารมณ์อยู่ เป็นต้นว่า ขณะที่กําหนดว่า “พองหนอ…ยุบ หนอ…นั่งหนอ…ถูกหนอ” อยู่ขณะนั้นจิตของผู้ปฏิบัติ กําลังรับรู้อารมณ์ อัน ได้แก่อาการเคลื่อนไหวของท้อง อาการตั้งตรงของร่างกายส่วนบน อาการถูก เมื่ อ เป็ น เช่ น นั้ น จิ ต ของผู้ ป ฏิ บั ติ จั ด ว่ า ประกอบด้ ว ยกุ ศ ลธรรม กิ เ ลสต่ า งๆ (ความโลภ ความปรารถนา ความอยากได้ ความต้องการในอารมณ์อย่างใด อย่ า งหนึ่ ง ที่ ต นผู ก พั น อยู่ รวมทั้ ง ความโกรธ ความไม่ ต้ อ งการ ความไม่
46
วารสาร “พุทธปทีป”
ปรารถนาอารมณ์ที่ตนเองไม่พึงพอใจอย่างใดอย่างหนึ่ง) จะไม่สามารถเกิดขึ้น ได้ในขณะนั้น เพราะขณะนั้นจิตของผู้ปฏิบัติรับรู้สักแต่ว่ามีอาการเคลื่อนไหว สักแต่ว่ามีอาการตั้งตรงของร่างกาย หรือสักแต่ว่ามีอาการถูก การที่จิตของผู้ ปฏิบัติมีสติตามกําหนดรู้ปัจจุบันอารมณ์จนกระทั่งความโลภ (ความต้องการใน อารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง) หรือความโกรธ (ความไม่ต้องการอารมณ์อย่างใด อย่ า งหนึ่ ง ) ไม่ ส ามารถเกิ ด ขึ้ น ได้ ใ นขณะนั้ น จั ด ว่ า เป็ น การกํ า จั ด กิ เ ลส คื อ ความโลภ ความโกรธ โดยชั่วขณะ เมื่อเป็นเช่นนั้นจะทําให้จิตของผู้ปฏิบัติเกิด ความผ่องใส เกิดความสบายใจ แม้กระทั่งหลังจากที่ปฏิบัติไปแล้ว และไม่ได้ กําลังตามรู้ปัจจุบันอารมณ์อยู่ก็ตาม ก็ยังคงสามารถรับรู้ถึงความผ่องใสความ เบิกบานใจแห่งจิตของตนได้ ๒. ทําให้จิตของผู้ปฏิบัติเกิดความมั่นคงหนักแน่นยิ่งกว่าเดิม ก่ อ นเข้ า ปฏิ บั ติ ธ รรม เราทั้ ง หลายอาจจะขาดสติ ที่ ต ามกํ า หนดรู้ ปัจจุบันอารมณ์อยู่ บางขณะอาจเกิดความโลภ-ความปรารถนา-ความต้องการ ต่างๆ ครอบงําจิตใจ เมื่อไม่ได้มาตามที่ต้องการ ก็เกิดความไม่พึงพอใจ แต่ถ้า ได้ สิ่ ง ที่ ต้ อ งการมาก็ เ กิ ด ความหลงใหลพอใจ พอประสบกั บ อารมณ์ ที่ ไ ม่ น่ า ปรารถนา เกิดความโกรธ-ความไม่พึงพอใจในสิ่งนั้น บุคคลที่ถูกความโลภความโกรธครอบงําจิตใจ จัดว่าเป็นบุคคลที่มี “จิตใจไม่มั่นคง” เพราะขณะนั้น จิตจะซัดส่ายหวั่นไหวอยู่กับอารมณ์ที่น่าปรารถนาหรือไม่น่าปรารถนาเหล่านั้น เมื่อได้เจริญวิปัสสนากรรมฐานโดยมีสติตามกําหนดรู้เท่าทันปัจจุบันอารมณ์ ความโลภ (ความปรารถนาในอารมณ์ที่ต้องการ) หรือความโกรธ (ความไม่ ปรารถนาในอารมณ์ที่ไม่ต้องการ) ก็จะไม่เกิดขึ้น เมื่อเป็นเช่นนั้นก็เท่ากับว่า เป็นบุคคลที่มีจิตใจมั่นคงขึ้นกว่าเดิม เมื่อประสบกับอารมณ์ที่ปรารถนา ก็จะไม่ เกิดความโลภ และเมื่อกระทบกระทั่งกับอารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา ก็จะไม่เกิด ความโกรธ นี้จึงเป็นประโยชน์ที่ได้จากการเจริญวิปัสสนากรรมฐานข้อที่สอง
ปีที่ ๒๑ ฉบับที่ ๖๕ ต.ค. ๕๔ - มี.ค. ๕๕
47
คือ การทําให้จิตมั่นคงไม่หวั่นไหวต่อโลกธรรมมากขึ้น ผู้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน และบรรลุวิปัสสนาญาณขั้นต่างๆ จนถึง สังขารุเปกขาญาณแล้ว จะไม่หวั่นไหวต่อโลกธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ว่าจะ พบกับอารมณ์ที่ปรารถนาหรือที่ไม่น่าปรารถนาก็ตาม จิตใจจะตั้งมั่นไม่หวั่น ไหวไปตาม คือไม่มีความปรารถนาต่ออารมณ์ที่ต้องการและไม่มีความไม่พึง พอใจ เช่น ความโกรธ เป็นต้น ยิ่งไปกว่านั้น แม้ต้องประสบกับอารมณ์ที่น่า หวาดกลัว-น่าสะดุ้งกลัวอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ปฏิบัติก็จะรู้เท่าทันอารมณ์นั้นตาม ที่เป็น ไม่เกิดความกลัว ไม่เกิดความสะดุ้งแต่อย่างใด ๓. ทําให้ผู้ปฏิบัติเกิดปัญญา เกิดความเฉลียวฉลาดมากขึ้น มีความเข้าใจ ในหลักธรรมมากขึ้น หมายความว่า ก่อนที่จะได้มาเจริญวิปัสสนากรรมฐาน อาจจะเคย อ่านหนังสือธรรมะอย่างใดอย่างหนึ่งมาบ้างแล้ว โดยเฉพาะหนังสือที่ เกี่ยวกับ การปฏิบัติธรรม แต่ยังไม่เข้าใจแจ่มชัด ขาดความกระจ่างในหลักวิชาการ ซึ่ง เกี่ยวกับธรรมะในพระพุทธศาสนา หลังจากที่ได้เจริญวิปัสสนากรรมฐาน เช่น ประมาณ ๑๐ วันหรือ ๑ เดือน พอกลับไปอ่านหนังสือธรรมะนั้นอีก จะพบว่า ตนเองมี ค วามเข้ า ใจธรรมของพระพุ ท ธศาสนามากกว่ า เดิ ม และเมื่ อ ได้ อ่ า น ธรรมะขั้นสูงเกี่ยวกับการปฏิบัติธรรม จะสามารถเกิดความกระจ่าง เกิดความ เข้าใจมากขึ้นกว่าตอนที่ยังไม่ได้ปฏิบัติธรรม การที่ผู้ปฏิบัติสามารถเกิดความ เข้าใจ ความกระจ่างในการอ่านหนังสือเป็นผล ของการปฏิบัติธรรม คือ มี ปัญญาได้แก่ความเข้าใจมากขึ้น จึงจัดว่าเป็นประโยชน์อีกประการหนึ่งของการ เจริญวิปัสสนากรรมฐาน ๔. ทําให้ผู้ปฏิบัติหายจากโรคประจําตัวซึ่งไม่สามารถรักษาได้ หมายความว่า ขณะที่ได้เจริญวิปัสสนากรรมฐาน มีสติตามกําหนดรู้
48
วารสาร “พุทธปทีป”
เท่าทันปัจจุบันอารมณ์ มีสมาธิมากขึ้นแล้ว สติที่ประกอบด้วยสมาธินี้จะเป็น สภาวธรรมที่ ซั ก ฟอกจิ ต ใจให้ ส ะอาดบริ สุ ท ธิ์ จ ากกิ เ ลส และเมื่ อ จิ ต มี ค วาม ผ่องใสบริสุทธิ์แล้ว รูปธรรมซึ่งเกิดขึ้นพร้อมกับจิต ก็จะเป็นรูปธรรมที่สะอาด ผ่องใส และได้รับการซักฟอกอยู่เสมอ เมื่อเป็นเช่นนั้น โรคประจําตัวต่างๆ ที่เคยเกิดขึ้นมา และมาปรากฏ ในขณะที่เจริญวิปัสสนากรรมฐานอยู่ หากพยายามปฏิบัติจนบรรลุถึงอุทยัพพย ญาณ (วิปัสสนาญาณ ที่ ๔) แล้ว โรคเหล่านั้น มักจะหายไป ผู้ปฏิบัติบางท่าน มีโรคประจําตัว คือ โรคปวดต้นคอบ้าง โรคปวดที่ไหล่บ้าง โรคปวดที่หลังบ้าง โรคปวดเอวบ้าง โรคลมที่ปวดท้องบ้างอยู่เสมอๆ เมื่อได้เจริญวิปัสสนากรรม ฐานจนผ่านถึงอุทยัพพยญาณแล้ว โรคดังกล่าวมักจะอันตรธานหายไป ด้วย อํานาจสมาธิของผู้ปฏิบัตินั่นเอง นอกจากนั้น หากหมั่นทําความเพียรปฏิบัติจนบรรลุถึงสังขารุเปกขา ญาณ เมื่อนั้นโรคประจําตัวที่แม้กระทั่งหมอยังรักษาไม่ได้ ก็สามารถหายไปได้ เช่นเดียวกัน เพราะขณะนั้นสมาธิของผู้ปฏิบัติสูงมาก จนสามารถทําให้โรคดัง กล่าวอันตรธานไปได้ด้วยอํานาจของสมาธินั้น
ปีที่ ๒๑ ฉบับที่ ๖๕ ต.ค. ๕๔ - มี.ค. ๕๕
49
อนึ่ง ถ้าโรคประจําตัวดังกล่าวไม่รุนแรงมากจนเกินไป เมื่อบรรลุถึง สังขารุเปกขาญาณ ผู้ปฏิบัติจะรู้สึกว่าโรคประจําตัวนั้นได้แสดงอาการออกมา อาจมีอาการปวดเจ็บ-ชา จิตของผู้ปฏิบัติจะสามารถกําหนดรู้เท่าทันอาการซึ่ง เกิดขึ้นได้ และจะรู้สึกว่า จิตได้แนบสนิทไปกับอาการปวด-เจ็บ-ชา ซึ่งเกิดขึ้น ตรงบริเวณที่มีโรคประจําตัว หลังจากปฏิบัติได้สักระยะหนึ่งและมีสมาธิมากขึ้น แล้ว บางคนอาจหายจากโรคประจําตัวเหล่านั้นได้ ๕. ทําให้ผู้ปฏิบัติสามารถบรรลุถึงความพ้นทุกข์คือ มรรค ผล นิพพาน อันเป็นจุดประสงค์สูงสุดในพระพุทธศาสนาได้ เมื่อผู้ปฏิบัติบรรลุถึงสังขารุเปกขาญาณ และมีบารมีแก่กล้าเพียง พอที่จะบรรลุถึงอริยมรรคอริยผลได้ ก็จะบรรลุถึงอนุโลมญาณ ถึงโคตรภูญาณ และจากนั้นก็จะบรรลุถึง “โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล” ขณะนั้นจิตของผู้ปฏิบัติจะรับรู้พระนิพพาน อันเป็นสภาพดับสังขาร ธรรม (คือรูปธรรมกับนามธรรมเป็นอารมณ์) จัดว่าผู้ปฏิบัติสามารถบรรลุถึง พระนิพพานซึ่งเป็นประโยชน์ประการสุดท้าย อันเป็นประโยชน์ที่สําคัญที่สุดของ
50
วารสาร “พุทธปทีป”
การปฏิบัติธรรม เมื่อได้บรรลุโสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผลเป็นพระโสดาบันใน พระพุทธศาสนาแล้ว จัดว่าเป็นผู้ปิดประตูอบายได้ กล่าวคือ จะไม่ตกไปใน อบายภูมิทั้ง ๔ คือ ไม่ไปเกิดเป็นสัตว์นรก-เปรต-อสูรกาย-และสัตว์เดรัจฉาน อีกต่อไป ผู้ที่บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน ย่อมปราศจากความลังเลสงสัยใน เรื่องนี้ คือ มีความเข้าใจอย่างถ่องแท้ และรับรู้ด้วยตนเองว่า เมื่อตนได้เสีย ชีวิตลงแล้ว จะไม่ไปเกิดในอบายภูมิอย่างแน่นอน ความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง จะเกิดขึ้นกับพระโสดาบัน นี้ก็เป็นผลจากการเจริญวิปัสสนากรรมฐานนั่นเอง แต่สําหรับบุคคลอื่นที่ยังไม่ได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน ก็อาจจะไปเกิดในอบาย ภูมิได้ พระโสดาบันนั้นย่อมจะทราบว่า หลังจากตนได้เสียชีวิตแล้ว ย่อมจะ ได้ไปเกิดในภพภูมิที่ดีกว่าปัจจุบัน อันหมายความว่า แม้หากไปเกิดเป็นมนุษย์ อี ก ครั้ ง หนึ่ ง ก็ จ ะไปเกิ ด ในตระกู ล ที่ สู ง กว่ า ภพปั จ จุ บั น ไปเกิ ด ในตระกู ล ที่ มี ทรัพย์สมบัติมากกว่าตระกูลที่เกิดในปัจจุบัน และจะเป็นบุคคลที่มีสติปัญญา เฉลียวฉลาด มีความเชื่อมั่น มีความตั้งมั่นในพระพุทธศาสนามากกว่าบุคคลอื่น หรือหากไปเกิดเป็นเทวดาก็จะเป็นเทพบุตรหรือเทพธิดาที่มีอานุภาพ มียศ มี บริวารมากกว่าเทพบุตรหรือเทพธิดาอื่นๆ นี่คืออานิสงส์ของการเจริญวิปัสสนากรรมฐานสําหรับบุคคลที่บรรลุ เป็นพระโสดาบั น แล้ว แม้ในบางขณะพระโสดาบันนั้นอาจเกิดความประมาท เกิดความลุ่มหลงมัวเมาอยู่ในภพบ้าง แต่ท่านก็จะไม่เกิดเกินกว่า ๗ ชาติ เว้น เสียแต่ได้อธิฐานไว้ว่า “ขอให้เกิดมาอีกมากกว่า ๗ ชาติ” อย่างนางวิสาขา เป็นต้น เพราะในขณะที่ยังท่องเที่ยวเกิดในกามภูมิ พระโสดาบันมีภพชาติได้อีก เพียงไม่เกิน ๗ ชาติเท่านั้น เมื่อปฏิสนธิถือกําเนิดครบ ๗ ชาติแล้ว จะบรรลุ เป็นพระอรหันต์โดยไม่มีการเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป
ปีที่ ๒๑ ฉบับที่ ๖๕ ต.ค. ๕๔ - มี.ค. ๕๕
51
52
วารสาร “พุทธปทีป”
THE REASON FOR BUDDHISM’S When asked to give a lecture on this topic, two feelings arose in me,
namely, the impression that the topic is extremely interesting and the uneasy felling of pointing out the obvious reason why Buddhism comes to the West. Truly speaking, East or West is a mere conventional direc-
tion which does not mean anything in particular. It seems to me quite
dangerous to grasp the concept of discriminating an Eastern world and a Western one. Fore the sense of division and a lack of fellow feeling arise
quite often from misconception and discrimination; and for this reason it becomes very rare to find peace or to develop a sense of unity and all-
embracing love for our fellow beings in the world as a whole. As human
beings, we are considered the supreme creatures. So we ought to unite
the world so as to live harmoniously, harmlessly and in friendliness with all kinds of beings on this Earth. “Maintained by Friendliness indeed, is
the world”, says the Buddha. Furthermore the Master says, “living in the full sense of unity brings about progress and prosperity”.
Turning to the point, I gather that there is on coming or going for
Buddhism because the question of coming and going is connected with yearning, but Buddhism itself has no yearning at all. It is simply a way
of life to be four anywhere, not only in this world, but also in the other
world. In reality, Buddhism does not come to the West as many of us
ปีที่ ๒๑ ฉบับที่ ๖๕ ต.ค. ๕๔ - มี.ค. ๕๕
53
understand it, for Buddhism is already here the West. This is because
Buddhism, being discovered in the East, was first taught in that part of the world; then we find that this Teaching of Gotama the Buddha comes to us, or in other words, we are urged to draw ourselves near to this Noble
Teaching in order to realise the Truth and to attain Perfect Happiness
in this very Life on Earth. As a matter of fact, Buddha-Dhamma, or the Dhamma, is to be found within the very Mind and Body. The more one
looks within, the nearer does one come to the Dhamma. On the other hand, he who searches for the Dhamma outside himself will stay far away
from the Dhamma. This is the fact that should be kept in mind. Ac-
cording to the Buddha’s Teaching, no external agency or power can guide us to Realisation of Truth or to True Deliverance; but through our own
efforts and intelligence, Complete Liberation Will be achieved. Accordingly, one who penetrates the Reality of Life for himself is in the field of
the Dhamma. When one understands the Dhamma, the Buddha is also seen; because they are not two different things, but one and the same.
The Buddha, I should say, is the Personification of the Dhamma. This is according to the Buddha’s own words spoken to the Venerable Vakkali
thus; “Oh Vakkali! One, who sees the Dhamma, sees me.” Nevertheless, on the mundane level we say that the Dhamma was discovered by
54
วารสาร “พุทธปทีป”
the so called Buddha, which is a relative truth. But in the ultimate sense, there is only the discovery of the Dhamma, without any discoverer to be
found anywhere. This may be rather difficult to understand with conviction, for the Dhamma is something to be seen for one’s own self and one
cannot be convinced by telling or mere reasoning. “Seek the Dhamma within yourself, through your own Practice”, should be the whole aim of Buddhism.
Taking each in turn, I should like to make clear here three points in con-
nection with the reason for Buddhism coming to the West. The first point
would be due to the fact that Western intellect is strong in its investigative attitude and critical tendencies; and Buddhism invites keen investigation and intelligent examination in full. This is because Buddhism, as we label
the Dispensation and Discipline of the Buddha, is the ‘Come-and-seefor-yourself’ Way of Life and is not a ‘come-and-believe’ religion in any
sense. In fact, the more one investigates it and the deeper he penetrates into this Teaching, the more profound and meaningful to life it becomes. That is to say, in order to realise the true spirit of Buddhism, we need two
essential qualities, namely, the quality of the brain and that of the heart. To gain the quality of the brain it becomes very important for us to exercise
our mind, so as to have wisdom fully developed in ourselves; and through
this very wisdom, Right Understanding of the true nature of existence and of all things will be accomplished. What then is meaning of things that have the nature of arising and ceasing as they proceed continuously
in the endless flux of existence without conceivable beginning and with no end; the noble qualities of the mind being capable of loving and living in friendliness with all beings, without discrimination, and penetrative
ปีที่ ๒๑ ฉบับที่ ๖๕ ต.ค. ๕๔ - มี.ค. ๕๕
55
insight into Truth leading up to the eradiction of all the unsatisfactory things, including problems and inner conflicts pertaining to life. These
are meant by wisdom according to the Buddhist point of view. Further-
more, Buddhist Wisdom embraces the four categories of understanding, namely, the understanding that whatever is conditioned by other things,
has the nature of unsatisfactoriness and is therefore imperfect as well as needing to be improved; that whatsoever proceeds from a cause or has the
nature of arising ( - on single thing arises and exists independently of a
cause, that is, all conditioned things are interdependent, interconnected
and interrelated; that nothing can exist or last forever since all the components together with ideas and views are under the Law of Change and impermanence, they are, in fact, originated with their germ of destruction
-), all has the nature of ceasing. Also, there is the Way that leads to the ending of all unsatisfactory-natured things, whatever they may be, and so to the attaining of Perfection in Life.
Seeing thus the greatness of Buddhist Wisdom, it becomes most im-
portant for Buddhism to be studied and put into practice intelligently, using the wide range of intellect. Due to the fact that Western intellect,
so to speak, is strong, it is therefore suitable for examining Buddhism in all the dimensions required. Nowadays, the West has happily succeeded in developing the material world, but this is merely part of the whole life. There is still need to fulfil another part of existence so as to possess a balanced view of life. In this connection, what shall we do with Science?
Wisely reflecting, one cannot see any possibilities of scientific knowledge through which mental culture and Spiritual Attainment can be reached. The reason for this is that scientific knowledge is mainly concerned with
56
วารสาร “พุทธปทีป”
proving and experimenting with facts through material instruments that
have nothing to do with the Highest Truth at all. Turning to philosophical knowledge, we find that philosophy itself lacks the perfect means to realise
the Ultimate Truth; for philosophical knowledge is acquired through mere speculations and conjectures, or by way of logical reasoning only.
Speaking of knowledge according to Buddhism, we have access to three
degrees of knowledge. By learning systematically in schools, colleges and
universities, one acquires the first degree of knowledge which is mainly dependent on others and is gained through the senses. At the primary
level of education, which is compulsory, children are taught according to
general social needs. As students in higher institutions, they have a better chance of studying subjects, they prefer or consider most suitable for
a career; but they are still absorbing information supplied by others and too often preserving a traditional heritage of education. This degree of knowledge is technically known as “Knowledge acquired through learning”,
or in another word, ‘Sense-Knowledge’. The second degree of knowledge
is more related to personal experience which has operated since childhood but which has often been brushed aside by conventional teaching. This
form of knowledge, therefore, develops in research work in various fields and through science, especially where observation is paramount and in chosen vocations. This degree is called ‘Knowledge acquired through
systematic thinking’. These two degrees belong to the realm of worldly
knowledge. The third on arises through mental culture whereby all true
knowledge springs, from concentration, purification and, finally, emancipation of the mind. This degree of knowledge goes beyond the flow of thoughts or the works of science. It is direct awareness of reality and is
ปีที่ ๒๑ ฉบับที่ ๖๕ ต.ค. ๕๔ - มี.ค. ๕๕
57
the result of the meditation practice known as ‘Vipassana’ or ‘Insight into Truth’. It is this degree of knowledge that both the West and the East
need to cultivate and develop in order to produce the well-balance, whole man who therefore can become a perfected being.
In order to produce such a man, it becomes essential to equalise the
Controlling Faculties of Mind. These are of five kinds, namely, Faith, Energy, Mindfulness, Concentration and Wisdom. The first pair, Faith
and Wisdom, must be equally built, neither of them should exceed the other. A man with too much faith but insufficient wisdom, will become
a good-hearted but blind and foolish man. On the other hand, one who possesses too much knowledge without balanced faith, is a lop-sided man
with a hard heart, who will stay far away from the attainment of Full Perfection in Life. These two kinds of man will not be able to accomplish their
Goal. But, for a man whose faith is based on wisdom in terms of equality, his final destination in life will be reached at will; because faith basically leads to seeking for truth, while wisdom takes the function of realising the
truth. In fact, true faith or confidence is the basis of enthusiasm, rapture, tranquillity and happiness which is the proximate cause of Concentration.
Based on this very concentrated mind is the understanding of things as they truly are. With confidence and wisdom one is able to practise Mindfulness
effectively. It is Mindfulness that brings about the balance of Faith and
Wisdom. Similarly, Energy and Concentration which are the other two controlling faculties of mind are to be increased and developed on equal
terms. Again, Mindfulness takes part in equalising this second pair. It should be borne in mind that too much energy makes the mind distracted
and therefore it becomes restless, whilst too strong concentration without
58
วารสาร “พุทธปทีป”
balanced energy produces drowsiness, depression and indolence. But it is only through equalisation of these Five Controlling Faculties of Mind
that Complete Realisation of Truth and Final Liberation can be attained, for these five forms the necessary foundation for Enlightenment.
Coming to the second point, it is quite interesting to note that in
the long history of Buddhism, freedom of thought or intellect has been, and
is still, respected as well as considered essential in regard to the progresses
of acquiring the right view of existence and of realising the truth. This is according to the Discourse the Buddha Himself gave to the Kalamas of Kesaputta, a small town in the kingdom of Kosala, once the Buddha
visited this town. On that occasion, the inhabitants of that town, known
as Kalamas, having heard that the Buddha had entered their town, came
to Him for instruction and guidance. They addressed the Buddha thus: “Venerable Sir, there are some recluses and Brahmins who visit Kesaputta. With regard to their own views, they expound and explain them in full, but
as to the views of others, they condemn, revile and cripple them. Other
recluses and Brahmins, on coming to Kesaputta, do likewise. Venerable
Sir, we doubt and waver as to which of those worthies speak truth and which falsehood.” The Buddha’s reply to this matter was as follows: “Yes! Kalamas, right and proper it is for you to doubt, because doubt has arisen
in a doubtful matter. Come, oh Kalamas, be not led by traditions or re-
ports, or hearsay, nor by what has been written in a religious text, nor by more logic or inference, nor by considering surfaces and appearances, nor
by reflecting on an approval of some theory, nor by seeming possibilities, nor upon the consideration, ‘this person is my teacher.’ But, Oh Kalamas, when you know for yourselves: ‘These things are unwholesome, these things
ปีที่ ๒๑ ฉบับที่ ๖๕ ต.ค. ๕๔ - มี.ค. ๕๕
59
are blameable and unprofitable’, then indeed, do you reject them...And
when you know for yourselves: ‘These things are wholesome, blameless and profitable,’ then do you, having undertaken them, abide therein.”
Saying thus, the Buddha questioned them: “Now, what do you think,
Oh Kalamas, when greed, hatred and delusion arise in a man, do they arise to his profit or to his loss? Are they blameable or not?” “To his loss, Venerable Sir, and they are blameable.”
“Now, what think ye, Kalamas, when freedom from greed, hatred
and delusion arise in a man, do they arise to his profit or loss? Are they blameable or not?
“To his profit, Lord. And they are blameless.” “So then, Kalamas, as to my words to you just now, such was my reason
for saying them.”
From this Message, we see that the Buddha does not want anyone to
believe and follow anything without seeing and understanding through one’s own efforts and intelligence. Free or unfettered thought, according to Buddhism, is an important element that leads up to precise investigation
of things, whether they are mental or material. Whatsoever we affirm must be only what we ourselves have seen and recognised; otherwise we shall not be able to maintain our confidence in it. Based on free intellect indeed, is Right Understanding of things as they truly are; and also, through this
freedom of intellect true happiness in life can be obtained and the highest truth realised. It is quite obvious that a blind man is not able to see
colours, even though he tries to do so. Likewise, a man with blind faith and under the influence of fear cannot reach the true happiness, nor can
60
วารสาร “พุทธปทีป”
he attain deliverance of mind and freedom born of wisdom. Accordingly,
you will, I am sure, find yourselves in agreement with me in the sense that
free thought or free intelligence is something to be developed and to be increased in mankind as much as it can be. It is, of course, out of date for a man not to use freely his intelligence so as to perceive the truth. This is yet another reason for Buddhism coming to the West.
Finally, we arrive at the last point as regards the coming to the West,
of the Buddha’s Teaching. It should be clearly comprehended that the heart of Buddhism lies in purification of the mind and realisation of Truth,
so that mental culture or development of the mind becomes necessary as the only means leading to the achievement of final liberation in life. Just
as a right road is needed for anybody who desires to get to any place, so, with regard to the attainment of the final goal of life, the genuine way or
perfect means is the most important and essential to be kept in mind, and therefore to be worked out for the fulfilment of that aim. It is so indeed, because, lacking the right means in accordance with the approach towards
truth, our fellow-men have found failure in accomplishing their destiny in life. But to the Buddhists, such a thing would never happen, for the right path is pointed out and is to be used for the sole purpose of realis-
ing Nibbana, the Complete Emancipation or Highest Peace of Mind.
And, what then is the right path? It is the Middle Path that comprises the eight factors, namely, Right Views, Right Aims of Thinking, Right Conduct in Speech, Right Action, Right Mode of Livelihood, Right
Endeavour, Right Mindfulness and Right Concentration. These eight factors, of course, can be grouped into three phases; they are: the phase
of Ethical Conduct or Moral Science, the phase of Mental Development
ปีที่ ๒๑ ฉบับที่ ๖๕ ต.ค. ๕๔ - มี.ค. ๕๕
61
or Meditation, and the phase of Insight Leading Wisdom. As regards the Middle Path, maybe some of you wonder whether there
is any reason for calling it so. Certainly, Yes! In order to be able to see
things as they really are, and therefore to have a balanced view of life, it becomes essential for us not to fall victim to any extreme in either action or thought, but rather should we maintain rectitude, while treading along
the path. In the First Discourse on ‘Setting in motion the Wheel of the Dhamma’, the Buddha Himself did point out the two extremes to be avoided as far as possible; because they are profitless and not conductive to
the right path along which one must walk in order to fulfil the real purpose of life. Those two extremes are: Indulgence in mere Sense Pleasures and
Addiction to Self-mortification. The reason for the first one, as becoming an extreme, is because of its materialistic view of life, laying too much
emphasis on the happiness of the flesh while ignoring the true happiness which can be achieved through Mental Perfection; and for this reason it retards spiritual attainment. The second extreme, being concerned with
self-torture, conduces to useless pursuits and also weakens the intellect
so that insight into the true nature of things cannot be obtained. This sort of extreme belongs to a falsely idealistic view. Avoiding these two
extremes, Buddhism takes the realistic view of existence, showing the right and perfect way for all beings who sincerely seek Truth and Happiness for the sake of Life Fulfilment.
How can one attain to Life-Perfection? This is a big question in the
world today, because modern people seem to exercise their minds according to logic alone and to find out facts by means of material equipment
rather than by attempting to see things objectively as they truly are. As a
62
วารสาร “พุทธปทีป”
matter of fact, the question of Life-Perfection cannot be solved by way of thinking about it in relative terms. It is only through purification of mind and realisation of ultimate truth that the solution to such a question will be discovered. Yet, we have to face a further question, namely, what is
the means or the way by which Life-Perfection can be achieved? In this connection, the Awakened One always says: “Meditate, Bhikkhus, do not be slothful, do not be remorseful later”. This is the only means and
it contains the whole method of gaining Life-Perfection. As to what is really meant by meditation, Buddhism simply explains it as mental cultures
or development of the mind. Included here are the taming of the mind, mental discipline and cultivation of the noble qualities of the heart as
well as developing penetrative insight into truth. Accordingly, Buddhist Meditation aims at cleansing the heart and mind of all disturbing influ-
ences known as ‘Impurities’ or ‘Mental Defilements’, a disciplined process which is brought forth by cultivating such positive qualities as Friendliness or Loving-kindness, Compassion or Fellow-feeling, Sympathetic
Joy over the success of others, and Equanimity towards the vicissitudes
of life so as to maintain equilibrium and tranquillity or peace of mind. In this way, the practice develops concentration within mental calmness
but with Insight which realises Truth and enlightens the Way to Perfect Emancipation. The system of Insight-Development is unique and essential
to this purpose. Its method entails knowledge through direct observation
and thus engenders self-reliance and mental poise. Included here, too,
are six accompanying phases of the whole evolving process, namely, the cultivation of mindfulness (i.e. mindfulness as regards bodily movements
and activities, mindfulness of feelings, mindfulness of mental states or
ปีที่ ๒๑ ฉบับที่ ๖๕ ต.ค. ๕๔ - มี.ค. ๕๕
63
conditions and mindfulness of mental concepts), the overcoming of sorrow
and grief, the ending of suffering or unsatisfactoriness , the completion f ethical conduct or morality, and clear comprehension of mental processes,
all of which add up to Right Views or Total Understanding and purify the
path to Ultimate Knowledge. Hence, this comprises the utmost endeavour for reaching the Final Goal of Ultimate Truth or Nibbana.
It should, therefore, be noted that Concentration and Insight work
hand in hand, and so their growth and maturity is promoted simultane-
ously. “There exists no Concentration in a man who is lacking Wisdom, and likewise, for one whose mind is unconcentrated, Wisdom cannot be
expected. But one who possesses both Concentration and Wisdom, is truly in the presence of Nibbana”, said the Buddha. From this we see
more clearly than ever that the only way to realise Nibbana as the final
goal of life, is to cultivate Concentration and to develop Insight through the unique system of Buddhist Meditation taught over 25 centuries ago. But nevertheless, what we really need at present is to put it into practice
and to carry out this practice with earnestness and heedfulness so that the
achievement of the goal is eventually fulfilled. By mere discussion and intellectual exercises, we only find impossibilities in the way of attaining
what the Buddhist may term ‘Life-Perfection’. The reason for this is that the more you think about the unthinkable, the more deceived you are
and the more you cling to, as well as crave for, your own ideas and views according to beliefs and knowledge you already have in mind and in the
brain. To get rid of these hindrances to the realisation of truth, we need to get on with the job and to see for ourselves, not merely to talk about it.
64
วารสาร “พุทธปทีป”
ปีที่ ๒๑ ฉบับที่ ๖๕ ต.ค. ๕๔ - มี.ค. ๕๕
65
66
วารสาร “พุทธปทีป”
ปีที่ ๒๑ ฉบับที่ ๖๕ ต.ค. ๕๔ - มี.ค. ๕๕
67
คุณวันชัย-คุณลำใย ภู่นุ่ม ร้านอาหารรำวง Guildford พระครูภาวนาภิราม (สวัสดิ์)และพุทธศาสนิกชนในเขตเวลส์ พระครูภาวนาวิธาน (สุทัศน์) อุทิศถวายเป็นอาจริยบูชา คุณธัญญรัตน์ ศานติชาติศักดิ์ ร้านไทโถ วิมเบิลดัน ลอนดอน คุณคริส-อรวรรณ จีเตอร์ และเพื่อนๆ ชาว Horshame ร้านอาหารไทยไรท์ (Thai Rice Fullham) ร้านอาหารไทยแลนด์ (Thailand Epsom) ร้านอาหารตำหนักไทย (Tamnag Thai) ร้านอาหารโสภิตา (Sophita Thai Restaurant) คุณสมพงษ์-ทิพย์วรรณ แก้วหิวและครอบครัว คุณอรุณณีย์+ชินชิน สาระไลย์ คุณสิรินทรา แก้วกุลศรี (คุณแมว) MiMi - Pattama Poompaka อุทิศให้ จ.ส.อ.เหิม พุ่มผกา คุณวิทูร พฤษาชื่นและครอบครัว Noi - Mark Hallan น.ส.ปาลิน ญาปกะวงศ์-น.ส.แพรวพรรณ ระเบ็ง และครอบครัว คุณแพรว สุภานุรัตน์ และครอบครัว ครอบครัว “กองทอง” อุทิศให้คุณพ่อณรงค์ กองทอง ร้านอาหาร Hansa’s Thai Kitchen นางยุพาวรรณ เดชพุ่มไสว และครอบครัว Mrs.Usanee - Mr.Stephen Woodcock คุณพรรพิไล ดรุณพันธ์-ด.ช.จอห์น สแทรกตัน คุณสุฑาดา ศีลอุดม
๓๕๐ ๒๐๐ ๒๐๐ ๒๐๐ ๑๒๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๕๐ ๔๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐
ปอนด์ ปอนด์ ปอนด์ ปอนด์ ปอนด์ ปอนด์ ปอนด์ ปอนด์ ปอนด์ ปอนด์ ปอนด์ ปอนด์ ปอนด์ ปอนด์ ปอนด์ ปอนด์ ปอนด์ ปอนด์ ปอนด์ ปอนด์ ปอนด์ ปอนด์ ปอนด์
คุณถรวรต์ งามพฤกษ์วานิชย์และครอบครัว ๒๐ ปอนด์ น.ส.กาญจนา ซุลศักดิ์สกุล และครอบครัว ๒๐ ปอนด์ Eric Abercrombie - Nok Silabut ๒๐ ปอนด์ คุณจุฑาทิพย์ ถิ่นโคกสูงและครอบครัว ๒๐ ปอนด์ คุณพรรภิรมย์ อัศวทวีโชคชัย และครอบครัว ๑๕ ปอนด์ คุณเรวดี ดีหมื่นไวย และครอบครัว ๑๐ ปอนด์ คุณกลย์ภัทร บูณภักดิ์และครอบครัว ๑๐ ปอนด์ คุณอรวรรณ จีระชุนย์ และครอบครัว ๑๐ ปอนด์ น.ส.พิมณณัฎฐา พจนาพันธ์ และครอบครัว ๑๐ ปอนด์ คุณนุษรา ทาธิวัน และครอบครัว ๑๐ ปอนด์ คุณบุษรา เอมสะอาด ๑๐ ปอนด์ คุณสมโภชน์ - คุณนุกูล ชุ่มเพ็งพันธ์ ๑๐ ปอนด์ Ros Det Thai Restaurant Ealing London ๑๐ ปอนด์ นายกนกวรรณ ปรีชาสมบัติและครอบครัว ๑๐ ปอนด์ นายเสวก-นางทองบ่อ-นายชญานิน เสลาคุณ ๑๐ ปอนด์ คุณสิตานัน ติรณศักดิ์กุล และครอบครัว ๑๐ ปอนด์ คุณทรรศวรรณ ฮัฟฟอร์ดและครอบครัว ๑๐ ปอนด์ ครอบครัว “ฟูเฟื่องมงคลกิจ” ๑๐ ปอนด์ น.ส.ศิริวรรณ โลหาชีวะและ Mr Alexandre Gianni Cattaneo ๕ ปอนด์ Miss Sunanvadee Palasak ๕ ปอนด์ น.ส.มยุรี ทิมเม่น - น.ส. จำลอง คงจ้อย ๕ ปอนด์ จสต. โสภณ บัติโก-นางสมพิศ ปุงคานนท์และครอบครัว ๕ ปอนด์ หากรายชื่อของท่านผิดพลาดหรือไม่ได้ประกาศอนุโมทนา ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้
70
วารสาร “พุทธปทีป”
1. วัดพุทธปทีป กรุงลอนดอน โทร. 0208 946 1357 www.padipa.org
8. วัดอมราวดี 0144 284 3239 www.amaravati.org
2. วัดธรรมปทีป สกอตแลนด โทร. 0131 443 1010 www.dpadipa.org
9. วัดปาจิตตวิเวก โทร.01730 814 986 www.cittavivek.org
3. วัดสังฆปทีป เวลส โทร. 01685 84 3986 www.spadipa.org
10. วัดอรุณรัตนคีรี โทร. 01661 881612 www.ratanagiri.org.uk
4. วัดพุทธาราม กรุงลอนดอน โทร. 0208 530 2111 www.watbuddharam.org.uk
11. วัดปาสันติธรรม โทร. 092 662 4385 www.foresthermitage.org.uk
5. วัดพุทธวิหาร คิงสบอรมลี่ย โทร. 01543 472 315 www.watthaiuk.co.uk
12. วัดพุทธวิหาร ออกฟอรด โทร. 01865 791 591 www.oxfordbuddhavihara.org.uk
6. วัดสันติวงศาราม เบอรมิ่งแฮม โทร. 0121 551 5729 www.watsantiwong.com
13. วัดธรรมกายลอนดอน โทร. 01483 475 757 www.watlondon.org
7. วัดศรีรัตนาราม แมนเชสเตอร โทร. 0161 998 4550 watsriuk@hotmail.com
14. วัดธรรมกาย แมนเชสเตอร โทร. 0161 736 1633 www.kalayanamitra.org
สถานทูตไทย กรุงลอนดอน โทร. 0207 589 2944 www.thaiembassyuk.org.uk
สนง.ผูดูแลนักเรียน (ก.พ.) โทร. 0207 283 9896 www.oeauk.net
ข่าวโดย : บ่าวไทย ปีที่ ๒๑ ฉบับที่ ๖๕ ต.ค. ๕๔ - มี.ค. ๕๕ 71 ภาพโดย : ไอคอนมั้งค์
ข่าวในรอบเดือน (ต.ค.-ธ.ค.๕๔) -(ม.ค.-มี.ค.๕๕) ขอความ “สุ ข สวั ส ดี จ งมี แ ด่ ท่ า นโดยถ้ ว น หน้า” พธส (พุทธปทีปสาร) ทิ้งช่วงไปพัก หนึ่ง ซึ่งก็คือ การเตรียมจัดทำต้นฉบับ จัด หน้าวารสารแข่งขันกับ “เวลา” ที่เสมือนว่า ยิ่งไล่ล่ายิ่งทิ้งห่างหลายช่วงตัวทีเดียว ฉบับ นี้ขอส่งข่าวเบาสบายทักทายท่านดังต่อไปนี้ • พระพุทธศาสนามีอายุครบ ๒,๖๐๐ ปี วันวิสาขบูชา ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๕๕ เป็ น อภิ ลั ก ขิ ต กาลที่ พ ระบรมศาสดาสัมมา สัมพุทธเจ้าตรัสรู้ครบ ๒,๖๐๐ ปี เป็นโอกาส มหามงคลพิเศษที่นำความปลาบปลื้มปีติมา สู่มวลมนุษย์พุทธศาสนิกชนทั่วทั้งโลก โดย เฉพาะประเทศที่ นั บ ถื อ พระพุ ท ธศาสนา ต่างกำหนดให้มีการจัดกิจกรรมเฉลิมฉลอง ถวาย เป็นพุทธบูชาในช่วงเทศกาลสัปดาห์ วันวิสาขบูชาอย่างยิ่งใหญ่เป็นพิเศษ เรียก ว่า “งานฉลองสัมพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี แห่ง การตรัสรู้” • การเปลี่ยนเครื่องทำความร้อนในโบสถ์ ความอบอุ่ น ในเมื อ งหนาว สำคั ญ ต่ อ การ ดำเนินชีวิตเป็นอย่างยิ่ง ไม่เฉพาะแต่บุคคล เท่านั้นที่ต้องการความอบอุ่น ทว่าอาคาร บ้านเรือนก็หลีกไม่พ้น เพราะความชื้นจาก สภาพอากาศที่หนาวเย็น ย่อมเป็นสาเหตุให้ เกิ ด “Damage” ต่ อ ตั ว อาคารได้ ยิ่ ง ถ้ า อาคารสถานที่ ดั ง กล่ า ว มี ค วามสำคั ญ
เฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น พิพิธ-ภัณฑ์ ห้องสมุด หรือศาสนสถาน ย่อมต้องดูแล เป็นพิเศษ ฉะนั้น ที่พระอุโบสถวัดพุทธปทีป จึ ง มี ก าร Renovate เครื่ อ งทำความร้ อ น (Central Heating) ครั้งใหญ่ แทนของเดิมซึ่ง ใช้ ง านมากว่ า ๒๕ ปี และไม่ ท ำงาน จน หลายฝ่ายแสดงความเป็นห่วง ซึ่งสุดท้าย ทางวัดได้ดำเนินการแก้ไขจนใช้การให้ความ อบอุ่ น ได้ โดยสิ้ น ค่ า ใช้ จ่ า ยไปพอสมควร ทว่ า เมื่ อ คำนึ ง ถึ ง ความจำเป็ น แล้ ว คงไม่ ถือว่าเป็นการสิ้นเปลือง ซึ่งทั้งหมดทั้งสิ้นก็ เพราะอาศัยกุศลศรัทธาจากทุกท่าน ถวาย ความอุปถัมภ์ต่อวัดวาศาสนามาไม่เคยขาด นั่นเอง ด้วยอำนาจแห่งพุทธคุณ ธรรมคุณ และสังฆคุณ ขอจงค้ำจุนทุกคนให้เจริญสุข ตลอดไปด้วยเทอญฯ • ขอเชิญร่วมทำบุญ“สงกรานต์ ปี ๕๕” วัดพุทธปทีป กรุงลอนดอน กำหนดทำบุญ ประเพณี “สงกรานต์” (Songkrant) ประจำปี ในวันอาทิตย์ที่ 15 เมษายน 2555 ตั้งแต่ เวลา 09.00-17.00 น. มี ก ารออกร้ า น จำหน่ า ยอาหาร การแสดงบนเวที การ ประกวดเทพี (สงกรานต์+หนูน้อยสงกรานต์) และอื่นๆ อีกมากมาย จึงขอเชิญชวนพี่น้อง ชาวไทยไปร่วมทำบุญตามวันเวลาดังกล่าว สำหรั บ ท่ า นที่ ป ระสงค์ จ ะส่ ง ผู้ เ ข้ า ประกวด
72
วารสาร “พุทธปทีป”
เทพีสงกรานต์ - หนูน้อยสงกรานต์ และการ แต่ ง กายชุ ด ไทยสวยงาม กรุ ณ าติ ด ต่ อ สอบถามรายละเอียดเพิ่มได้ที่ คุณงามนิจ กิตติสาระ โทร. 07956 259 094 WEB : www.padipa.org EMAIL: bpp@padipa.org • ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพภัตตาหารเพล อุปถัมภ์พระภิกษุ-สามเณร สำนักเรียนพระปริยัติธรรม (นักธรรม บาลี และสามัญศึกษา) สำหรับพระภิกษุสามเณร ประจำวัดธาตุเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัด ขอนแก่น จัดว่าเป็นสำนักเรียนต้นแบบใน การจัดการเรียนการสอนวิชาความรู้ให้แก่ สามเณร ที่ครอบครัวได้ให้เข้าบวชศึกษาเล่า เรียน อันเนื่องมาจากฐานะทางครอบครัว ยากจน ปัจจุบันภายในวัดธาตุเปิดสอนนักธรรมตรีนักธรรมเอก มีนักเรียนปีละประมาณ ๖๐๘๐ รูป และเปิดสอน-ส่งเข้าสอบบาลีสนาม หลวง ประโยค ๑-๒ ถึงป.ธ.๘ มีนักเรียน ประมาณ ๑๕๐-๒๐๐ รูปต่อปี ฉะนั้ น ทางวั ด จึ ง ต้ อ งรั บ ภาระจั ด หาภั ต ตา หารเพลถวายเพื่ออำนวยความสะดวกและ สนั บ สนุ น ให้ ไ ด้ เ รี ย นอย่ า งเต็ ม ที่ ตั้ ง เวลา ๘.๐๐ น. ถึง ๒๐.๐๐ น. โดยแต่ละวันต้อง เรียน ๓ หลักสูตร (นักธรรม บาลี และวิชา สามัญ) เป็นการเรียนที่หนักเอาการ ปรารภเหตุดังกล่าว พระครูศรีวิสุทธิวัฒน์ (จำเริญ ปสุโต ป.ธ.๖) เจ้าสำนักเรียนวัดธาตุ
จึงขอฝากข่าวการบุญการกุศลมายังพี่น้อง พุ ท ธศาสนิ ก ชนชาวไทย เพื่ อ ขอรั บ ความ อุปถัมภ์เป็นเจ้าภาพภัตตาหารเพลถวายลูก เณร วันละ ๒,๕๐๐ บาท นำไปจัดซื้อข้าว ปลาอาหารถวายความอุปถัมภ์ โดยสามารถ บริจาคได้ทั้งที่ประเทศไทย ติดต่อโดยตรงที่ วัดธาตุ (ติดบึงแก่นนคร) ถ.กลางเมือง ต.ใน เมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น ๔๐๐๐๐ โทร. (๐๔๓) ๒๒๕-๐๘๙,พระครู ศ รี วิ สุ ท ธิ วั ฒ น์ โทร.๐๘๑-๗๑๗-๓๗๖๓ ที่ประเทศอังกฤษ สามารถบริจาคได้ที่ พระอาจารย์สุทัศน์ วัด พุทธปทีป โทร.(+๔๔) ๐๗๙๖๑ ๕๗๐ ๔๐๐ (ท่านที่ประสงค์จะให้ทำบุญตรงกับวันเกิด ของตน สามารถระบุวันเกิด โดยเจ้าหน้าที่ จะจัดถวายให้ตรงตามที่แจ้งไว้) สำหรับราย นามผู้บริจาคนั้น จะประกาศในพุทธปทีป สารฉบับต่อไป • พระสงฆ์ ไ ทยในอั ง กฤษได้ รั บ พระราช ทานสมณศักดิ์ เมื่อวันที่ ๑๔ ม.ค. ๒๕๕๕ พระมหาสวัสดิ์ ญาณธโร เจ้าอาวาสวัดสังฆปทีป เวลส์ และ พระครูปลัดสุทัศน์ อมรสุทฺธิ วัดพุทธปทีป กรุงลอนดอน ได้เดินทางไปเข้ารับพระราชทาน สัญญาบัตรและพัดยศ ที่วัดพระพุทธบาท อ.พระพุทธบาท จ.สระบุรี โดยมีพระ เดชพระคุณเจ้าประคุณ สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ วัดปากน้ำภาษีเจริญ ปฏิบัติ หน้าที่แทนประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่แทน สมเด็จพระสังฆราช เป็นประมุขในพิธีมอบ สัญญาบัตรและพัดยศ ให้พระครูใหม่และ พระครูที่ได้รับเลื่อน ซึ่งครั้งนี้มีพระสงฆ์หน
ปีที่ ๒๑ ฉบับที่ ๖๕ ต.ค. ๕๔ - มี.ค. ๕๕
73
• กองทุนสนับสนุน “พุทธปทีปสาร” ในการจัดทำหนังสือ “พุทธปทีปสาร” แต่ละ ครั้งมีค่าใช้จ่าย ๒,๒๕๐ ปอนด์ โดยมีผู้ ศรัทธาบริจาคทุนสนับสนุน ทั้งที่เป็นเจ้าของธุรกิจร้านอาหารและบุคคลทั่วไป ซึ่งขอ อนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านไว้ ณ ที่นี้ และเพื่อให้หนังสือนี้ดำเนินไปได้อย่างต่อ เนื่ อ ง จึ ง ขอความอุ ป ถั ม ภ์ จ ากท่ า นผู้ อ่ า น ช่วยบริจาคตั้งทุนๆ ละ ๙ ปอนด์ หรือตาม แต่ ศ รั ท ธา เพื่ อ เป็ น ค่ า พิ ม พ์ แ ละค่ า ขนส่ ง ส่วนค่าแรงนั้น แค่คำว่า “Like” ก็อิ่มใจแล้ว ละ บริจาคได้ที่ตู้บริจาคที่วัด หรือจะส่งทาง ไปรษณีย์ด้วยเช็คในชื่อ “The Buddhapadipa Temple” ระบุหลังซองว่า “สนับสนุน พุทธปทีปสาร” รายนามของผู้ก่อตั้งทุน จะ ได้นำประกาศในหนังสือฉบับต่อไป สำหรับ ท่านที่ประสงค์จะได้หมายเลขทุนที่ ๙, ๙๙, ๑๐๙,๙๙๙ และ ๒๔๓ กรุณาติดต่อที่พระ อาจารย์สุทัศน์โดยตรง โทร. ๐๗๙๖๑-๕๗๐ ๔๐๐ ผู้ที่ตั้งกองทุนตั้งแต่ ๕๐ ปอนด์ จะได้ รับเหรียญหลวงพ่อดำ ๑ องค์ไว้บูชาประจำ ตัว • โครงการสอนภาษาไทยและวัฒนธรรม ไทย ภาคฤดูร้อน ปี ๒๕๕๕ โรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ รับสมัคร นักเรียนอายุตั้งแต่ ๕ - ๑๕ ปี เข้าเรียนใน โครงการภาคฤดูร้อน ดำเนินการสอนโดย ใบสมัครและหนังสือเรียน ขอรับได้ที่วัดพุทธ คณะครูจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น ระหว่าง ปทีปทุกวัน หรือโหลดใบสมัครทางเวบไซต์ ๑-๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๕ ติดต่อและสมัคร ของวัดที่ www.padipa.org โทรสอบถาม ได้ที่ วัดพุทธปทีป กรุงลอนดอน รายละเอียดได้ที่ ๐๗๙๖๑ ๕๗๐ ๔๐๐ กลางทั้งสิ้น ๔๑๐ รูป รับในคราวเดียวกัน พระมหาสวัสดิ์ ญาณธโร ได้รับพระราชทาน ตั้งให้เป็น “พระครูภาวนาภิราม วิ.” เทียบผู้ ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นพิเศษ พระครูปลัดสุทัศน์ อมรสุทฺธิ ได้รับพระราชทานตั้ ง ให้ เ ป็ น “พระครู ภ าวนาวิ ธ าน วิ . ” เทียบผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้น เอก โดยสมณศั ก ดิ์ ที่ ไ ด้ รั บ นั้ น เป็ น สาย วิปัสสนาธุระ(วิ.) พัดยศจึงมีขาวเป็นสีเฉพาะ • รับสมัครผู้สนใจเรียนธรรมะศึกษาปี ๕๕ ขอแจ้งข่าวให้พุทธศาสนิกชนทุกท่านทราบ ทางวัดพุทธปทีป เปิดรับสมัครเรียนธรรมะ ศึกษาประจำปี ๒๕๕๕ ตั้งแต่เดือนมีนาคม ถึงเดือนเมษายนศกนี้ ทางวัดมีหนังสือพร้อม และทำการสอนทุก วันอาทิตย์ เวลา ๑๔.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. มี ๓ หลักสูตร คือ ธรรมะศึกษาชั้นตรี ชั้นโท และ ชั้นเอก เนื้อหาประกอบด้วย การเขียนเรียงความแก้ กระทู้ธรรม พุทธประวัติ ธรรมะ ศาสนพิธี และวินัย (ศีล) การเรียน ผู้เรียนสามารถศึกษาด้วยตนเอง ได้ หรือจะเดินทางไปเข้าฟังการบรรยายได้ และกำหนดสอบวัดความรู้ในเดือนมิถุนายน ซึ่งทางวัดจะแจ้งให้ทราบอีกครั้ง
74
วารสาร “พุทธปทีป”
ทักทายใหหายคิดถึง
ก่อนอื่น ขออนุโทนากับท่านผู้อ่านที่ยังติดตามข่าวคราวจากพุทธปทีปสาร ธรรมะ ที่ทางคณะผู้ จั ด ทำนำมาเสนอ ก็เพื่อเป็นเครื่องจรรโลงใจของผู้ อ่ า นให้ มี ค วามสุ ข นั่นเอง
พุทธศาสนิกชนไทยในสวอนซีทำบุญรับปมังกรทอง
วันที่ ๘ มกราคม ๒๕๕๕ (ปีมังกรทอง) พี่น้องชาวไทยในเมืองสวอนซี (Swansea) นำโดยคุณน้ำทิพย์และเพื่อนๆ ได้ร่วมกันทำบุญปีใหม่ โดยเช่าฮอลล์เป็นสถานที่ ประกอบพิธีทำบุญ นิมนต์พระสงฆ์มาให้ศีลให้พร มีผู้มาร่วมทำบุญครั้งนี้จำนวนมาก พระคุณเจ้าจากวัดสันติวงศาราม และวัดสังฆปทีป เมตตาเดินทางมาให้พรปีใหม่ ส่วน ชาวไทยที่เมือง Neath โดยคุณลัดดา ศรัทธาแรงกล้าพาคณะเดินทางมาถวายผ้าป่า ถึงที่วัดเลย ขออนุโมทนาสาธุ
พระอาจารยเจาอาวาสไดรับพระราชทานสมณศักดิ์
เนื่องในปีมหามงคล ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เจริญพระชนมายุครบ ๘๔ พรรษา ท่านอาจารย์พระมหาสวัสดิ์ ญาณธโร เจ้าอาวาส ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ พระราชทานสมณศักดิ์พัดยศเป็นพระครูสัญญาบัตร โดยท่านได้เดินทางไปรับที่เมือง ไทย เมื่อวันที่ ๑๔ มกราคมที่ผ่านมา สมณศักดิ์ที่ได้รับพระราชทานคือ พระครูสัญญา บัตรชั้นพิเศษที่ พระครูภาวนาภิราม วิ. สายวิปัสสนากรรมฐาน นับว่าเป็นสงฆ์ไทยรูป
ปีที่ ๒๑ ฉบับที่ ๖๕ ต.ค. ๕๔ - มี.ค. ๕๕
75
แรกในแคว้นเวลส์ ที่ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ในตำแหน่งพระครูถึงชั้นพิเศษ และ ยิ่งไปกว่านั้น ยังเป็นพระครูสายวิปัสสนากรรมฐานด้วย ขออนุโมทนากับท่านพระ อาจารย์มา ณ ที่นี้
ชมรมเพื่อนไทยในคารดีฟทำบุญ
การทำบุญที่เมืองคารดิฟเมื่อวันที่ ๑๒ ก.พ. ที่ผ่านมา มีผู้เข้าร่วมประมาณ ๓๐๐ ท่าน น่าอนุโมทนา ขอให้ยึดมั่นในความดีต่อไป ชมรมเพื่อนไทยฝากขอบคุณพี่น้องที่ ช่วยเหลือกัน งานต่อไปคืองานสงกรานต์ ปีใหม่ไทย วันที่ ๒๒ เมษา เชิญมาสนุกกัน แบบไทยๆ สถานที่ เ ดิ ม ส่ ว นญาติ โ ยมทางเมื อ ง Bridgend, Neath, Swansea, Aberystwyth, Tenby ก็ได้จัดงานหาเงินสนับสนุนวัดในช่วงซัมเมอร์นี้
ขยับขยายที่ยังมีความไมเพียงพอ
การแสวงหาสถานที่ใหม่ สำหรับการขยับขยายวัดสังฆปทีป เพื่อให้เกิดประโยชน์ ศึกษาปฏิบัติธรรม และเหมาะแก่การจัดกิจกรรมทางศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี ยัง ไม่มีความลงตัว คณะกรรมการยังเดินหน้าเสาะหาอย่างไม่ลดละ ส่วนการรับบริจาคก็ ยังคงทำได้เช่นเดิม และทางวัดจะรวบรวมเก็บออมเพื่อเป็นกองทุนสร้างวัดใหม่ให้ ญาติโยมได้มีสถานที่ประพฤติปฏิบัติธรรมเป็นสำคัญ
วัดสังฆปทีป โทร. 01685 845 986 | www.sanghapadipa.com | spp@padipa.org
76
วารสาร “พุทธปทีป”
วารสารธรรมะที่ พ กพาสาระมากมาย เพื่ อ ยกเครื่ อ งการเรี ย นรู้ และลั บ คม ความคิด ขับเคลื่อนแต้มต่อให้ชีวิต ๑ ปี มี ๕ ฉบั บ (ม.ค.-มี . ค./เม.ย.มิ.ย/ก.ค.-ก.ย./ต.ค.-ธ.ค/ฉบับพิเศษ) ก. สมัครสมาชิก ๕ ฉบับ ๓๐ ปอนด์ ข. บำรุงค่าสแตมป์-ซอง ๒๐ ปอนด์ ค. บริจาคสนับสนุนทั่วไป ๑๐ ปอนด์ ง. บริจาคที่ตู้บริจาคตามศรัทธา ติดต่อสอบถามและบริจาคที่ พระครูภาวนาวิธาน (สุทัศน์ อมรสุทฺธิ) โทร. 020 8946 1357 THE BUDDHAPADIPA TEMPLE 14 Calonne Road Wimbledon London SW19 5HJ
ส่งตรงถึงประตูบ้าน อ่านก่อนใครอื่น และรับสิทธิ์พิเศษในอนาคต ชื่อ นามสกุล อายุ ที่อยู่ ไปรษณีย์ โทรศัพท์ อีเมล ส่งด่วน ธรรมดา
โหลดใบสมัครได้ที่ www.padipa.org
ปีที่ ๒๑ ฉบับที่ ๖๕ ต.ค. ๕๔ - มี.ค. ๕๕
77
78
วารสาร “พุทธปทีป”
ปีที่ ๒๑ ฉบับที่ ๖๕ ต.ค. ๕๔ - มี.ค. ๕๕
79
80
วารสาร “พุทธปทีป”