ปีที่ ๒๒ ฉบับที่ ๖๗ ก.ค.-ธ.ค. ๕๕
1
ข้อเขียนนี้เป็นการเก็บรวบรวมถ้อยคำการสนทนา มีลักษณะ เป็นคำถามและคำตอบ แลกเปลี่ยนทัศนะระหว่าง “คนในและ คนนอก” ที่แต่ละฝ่ายต่างเดินทางชีวิต ผ่านเรื่องราวหลาก หลายแตกต่ า ง บางคำถามก็ ช วนให้ ก ลั บ มาพิ จ ารณาและ ทบทวนสอบสวนหาความชัดเจน โดยมุ่งประเด็นสู่นิสรณธรรม “ทางออก” ฉะนั้นหากคำถามอันใดปีนข้ามกรอบความเป็น ส่วนตัวของท่านผู้อ่าน โปรดรับรู้ ไว้เถอะว่าผู้เขียนมิ ได้มีเจตนา ล่วงเกินแต่ประการใด เพียงแต่ต้องการถ่ายทอด “ประเด็นที่ ชีวิตแทบกระเด็น” มาแลกเปลี่ยนวิธีคิด มุมมอง และชี้แนะ ปูทางสู่ความเข้าใจที่ถูกต้อง ในบางหัวข้อก็เป็นความสงสัยใน ข้อธรรมะ ทว่าบางข้อก็เป็นวิถีชีวิต ในขั้นต้นนี้ ขอนำเสนอ เพียง ๔ หัวข้อ
คนนอก จริ ง หรื อ เปล่ า คะ ถ้ า นั่ ง สมาธิหรือเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ไปจนถึงระดับหนึ่งแล้ว จะสามารถ ระลึกอดีตชาติของตนเองได้ คนใน คงตอบตรงๆ ไม่ได้ว่า จริงหรือ ไม่จริง เพราะเป็นเรื่องเฉพาะบุคคล แต่ อยากให้ นึ ก ย้ อ นไปเมื่ อ ครั้ ง พุ ท ธกาล ช่ ว งที่ พ ระพุ ท ธเจ้ า ทรงบำเพ็ ญ เพี ย ร อย่างอุกฤษ์นั้น พระองค์บรรลุถึงปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ปัญญาขั้นสูงทำให้ รำลึกอดีตชาติของพระองค์ได้ และนั่น เป็ น สาเหตุ ใ ห้ ท รงตั ด สิ น พระทั ย อย่ า ง เด็ดเดี่ยว ในการทำที่สุดแห่งทุกข์ทั้งปวง จะได้ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอีก เพราะ ทรงรู้การเกิดในอดีตชาตินั่นเอง ฉะนั้น เวลาทำสมาธิหรือเจริญวิปัสสนากรรม ฐาน ไม่ควรพ่วงคำถามนี้มาด้วย การรู้
หรือไม่รู้อดีตนั้นไม่สำคัญ เท่ากับการที่ผู้ ปฏิบัติธรรมรู้เท่าทันปัจจุบัน บางคนไม่ ต้ อ งถึ ง ขั้ น ทำสมาธิ เ ลย ฉุ ก คิ ด ถึ ง เหตุ การณ์ บ างอย่ า งในชี วิ ต ช่ ว งที่ ผ่ า นมา ไม่นาน ถึงกับอุทานเสียงหลงก็มี เพราะ มันหลอนใจแทบทุ ก ครั้ ง การทำสมาธิ (Meditation Practice) มี เ ป้ า หมาย เพื่อใช้ข่มความฟุ้งซ่าน ความที่จิตไม่นิ่ง ในกิจที่ควร ให้กลับมาอยู่ในสภาพที่สงบ เยือกเย็น (Calmness) เมื่อความสงบ ปรากฏตัวขึ้นแล้ว สติความระลึกรู้ตัวใน แต่ละขณะ ย่อมเจริญขึ้นด้วย และทำ หน้าที่ได้ดี มีความผิดพลาดน้อยลง ยิ่ง ไปกว่านั้น สมาธิที่หมั่นเจริญอยู่เนืองๆ นี่แหละ จะช่วยให้สุขภาพจิตดี แข็งแรง และสามารถต่อยอดก้าวไกลไปถึงคุณธรรมที่สูงยิ่งๆ ขึ้นในภายหน้าด้วย คิด ว่าคนนอกคงพอได้ใจความในประเด็นนี้
8
วารสาร “พุทธปทีป” Buddhapadipa Magazine
คนนอก พระคุณเจ้าคะ เวลาคนเรา มี ค วามเบื่ อ หน่ า ย (Bored) มี ค ำ แนะนำอย่างไรบ้างคะ แล้วพระคุณ เจ้ามีอะไรน่าเบื่อหน่ายบ้างไหม คนใน ถามได้เน๊าะ ก็เบื่อสิ! เบื่อคำถาม ประเภทนี้แหละ เอาเถอะเมื่อโยมถาม มา อาตมาก็จะตอบให้ ตรงใจคนถาม หรือเปล่านั้น โปรดตรองดูด้วยวิจารณ ญาณที่เหมาะสม คนที่พูดคำว่า “เบื่อ” ออกมาได้ แสดงว่ า “เต็ ม ที กั บ ชี วิ ต ” หรื อ อาจเป็ น ไปได้ ว่ า ชี วิ ต มี แ ต่ เ รื่ อ ง เดิมๆ ปัญหาเดิมๆ โรคภัยไข้เจ็บเดิมๆ หรือถึงขั้นรุนแรงขึ้น แม้ไม่มีสิ่งเหล่านี้ อยู่เลย แต่ก็อาจเป็นไปได้ว่า ไม่มีสิ่งใหม่ ให้ใจได้ลุ้นต่อ เพราะในความนึกคิดของ มนุษย์นั้น ชอบทำมากกว่าหยุดนิ่ง แล้ว ลุ้ น ว่ า มี ค วามตื่ น เต้ น อะไรแฝงอยู่ เช่ น พอมี โ ทรศั พ ท์ มื อ ถื อ ตั ว ใหม่ อ อกมา ก็ สรรหามาครอบครอง แตะปุ่ ม โน้ น ที สไลด์ขวาซ้ายบ่นล่าง เหมือนกำลังเขี่ย หาเหรียญในโพรงหญ้า ถ้าเจอคงได้เฮ เหมือนนั่งเชียร์ฟุตบอลประมาณนั้น ความเบื่อหน่ายนั้นเกิดขึ้นกับทุกคนได้ ไม่ใช่เฉพาะคนที่ถาม พอเปลี่ยนความ คิ ด เปลี่ ย นทิ ศ เปลี่ ย นทาง หลบหลี ก ปลีกวิเวก หนีความจำเจบ้าง ความเบื่อ จะเจือจางไป แต่ทว่ามีโอกาสรีเทิร์นได้
ถ้าใจไม่เข้มแข็งพอ หากกำลังประสบอยู่ กั บ อารมณ์ ที่ น่ า เบื่ อ ก็ ไ ม่ ค วรปล่ อ ยให้ เลยเถิด ถ้าสามารถเปลี่ยน “คิดเบื่อ” ให้เป็น “คิดบวก” แนะนำเลยแล้วกันว่า ให้รีบทำ มิฉะนั้นอาจจะถึงขั้น “คิดจน เป็นบ้า” เอาง่ายๆ บ้าเพราะไม่รู้ว่าตัว เองถูกอารมณ์ความคิดเดิมๆ มาบงการ จนสติปั ญ ญาหมดโอกาสทำหน้ า ที่ บ้ า เพราะมีเวลาที่จะเบื่อ แต่ไม่เหลือเวลาที่ จะเรียนรู้สาระดีๆ รอบตัว ดังนั้น เมื่อ รู้สึกเบื่อ ควรรู้ ใ ห้ ชั ด รู้ ใ ห้ ทั น ความคิ ด ทันต่อความรู้สึกที่ผันแปรในแต่ละขณะ ตรองดูช้าๆ ว่ามีสาเหตุจากอะไร และที่ สำคั ญ ที่ สุ ด คื อ อย่ า ทำตั ว เป็ น บุ ค คลที่ “น่ า เบื่ อ ” เพราะอาจจะไม่ เ หลื อ ใคร คบหา และอย่าได้รู้สึกเบื่อหน่ายต่อการ ทำความดี เพราะสิ่งนี้จะทำหน้าที่ดูแล อดีต และเทคแคร์อนาคตให้เรา เท่านี้ คนนอกคงพอมองเห็นทิศทางบ้าง คนนอก หลังทำบุญทุกครั้ง จำเป็น หรือเปล่าต้องกรวดน้ำ แล้ววิธีการ ที่ถูกต้องนั้น ท่านพอจะแนะนำเพิ่ม เติมได้ไหมเจ้าคะ คนใน การกรวดน้ ำ คงไม่ ต้ อ งถึ ง ขั้ น ว่ า “จำเป็ น หรื อ ต้ อ งทำ” ดู ต ามความ เหมาะสม หรือความเป็นไปได้ในแต่ละ ครั้ง เพราะในบางสถานที่ก็ไม่มีหรือไม่
ปีที่ ๒๓ ฉบับที่ ๖๙ พ.ค.-ก.ย. ๒๕๕๖ สะดวกที่ จ ะทำ ใช้ จิ ต ของเรานี่ แ หละ น้อมนำบุญกุศลที่ทำแล้ว แผ่ไปยังบุคคล ที่สมควรได้รับส่วนแห่งบุญนั้นก็ย่อมได้ ขอขยายความให้ ท ราบถึ ง มู ล เหตุ แ ละ เจตนาว่า “เพราะเหตุใดและเพื่ออะไร” ถึงได้ทำกัน มูลเหตุนั้น คงต้องย้อนไป เมื่ อ ครั้ ง พุ ท ธกาล พระเจ้ า พิ ม พิ ส าร กษั ต ริ ย์ ผู้ ค รองแคว้ น มคธ เมื่ อ ได้ ท รง สดับพระธรรมเทศนาจากพระพุทธเจ้า แล้ว ทรงมีพระราชศรัทธาสร้างวัดชื่อว่า “วัดเวฬุวัน” ถวาย และไม่ทรงกรวดน้ำ อุทิศกุศลให้ใครๆ เลย ในยามวิกาลวัน หนึ่ง ในขณะที่ทรงบรรทมอยู่นั้น ทรง สุ บิ น นิ มิ ต แปลกมาก คื อ เห็ น บรรดา เปรต น่าเกลียด น่ากลัวมาก ส่งเสียง สนั่นพรั่นพรึงไปหมด ครั้นเวลาเช้าทรง บอกให้โหราจารย์ทราบเรื่องที่ทรงสุบิน โหราจารย์ ถ วายคำแนะนำด้ ว ยการให้ ประกอบพิ ธี บ วงสรวง แต่ ยั ง ไม่ ตั ด สิ น พระทั ย ทรงเสด็ จ ไปเฝ้ า พระพุ ท ธเจ้ า พระพุ ท ธองค์ ท รงแก้ ค วามกั ง ขาแห่ ง สุบินนิมิตประหลาดนั้นว่า บรรดาเปรต เหล่านั้น เคยเป็นพระญาติในอดีต มา ขอส่วนบุญ และทรงแนะนำให้ทำการ กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้ ถัดมาไม่นาน พระเจ้าพิมพิสาร กราบอาราธนานิมนต์ พระพุทธเจ้าพร้อมพระสาวก รับภัตตาหารในพระราชวั ง แล้ ว ทรงกรวดน้ ำ อุทิศส่วนบุญให้แก่บรรดาเปรตเหล่านั้น
9
ตกดึกคืนนั้นพวกเปรตมาปรากฏในสุบิน นิมิตอีก แต่ครั้งนี้หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส เปล่งเสียงอนุโมทนาสาธุการที่ได้รับส่วน บุญ แล้วก็อันตรธานหายไป ชาวพุทธจึง ทำการกรวดน้ำหลังทำบุญ เป็นเหมือน ธรรมเนียมปฏิบัติตั้งแต่นั้นเรื่อยมา คนในอยากเสริ ม ความเห็ น ส่ ว นตั ว เล็ ก น้ อ ย น้ ำ ที่ ใ ช้ ก รวดนั้ น มี ธ รรมชาติ ใ ส สะอาด เยือกเย็น และไหลไปตามสภาพ ผิวที่ตกกระทบ ความใสสะอาดเปรียบ เหมื อ นความผ่ อ งใสในใจของผู้ ก รวด ความเยือกเย็นเป็นเช่นกับความสงบนิ่ง ในขณะที่หลั่งน้ำลง ส่วนไหลไปคือเผื่อ แผ่ ไ ปให้ ทั่ ว ถึ ง ญาติ มิ ต รและสรรพสั ต ว์ เมื่อตั้งใจจะอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้ใคร ก็สามารถเอ่ยนามได้ หรืออาจจะนึกถึง บุคลิกลักษณะของเขาก็ย่อมได้ สำคัญ คือตั้งใจทำ ให้เป็นสุจริตงามทั้ง ๓ วาระ คือ ทำดี (กายกุศล) พูดดี (วจีกุศล) และ คิดไว้ดี (มโนกุศล) ถ้าใช้ความ “มักง่าย และหละหลวมในเรื่องนี้” การอุทิศอาจ บกพร่องหมองมัวไปด้วย ลองนึกดูเถอะ ว่า การให้สิ่งของกับใครก็ตาม ถ้ายื่นให้ เขากั บ การโยนให้ เ ขา อย่ า งไหนสร้ า ง ความประทับใจแก่ผู้รับได้มากกว่า แล้ว บุ ค คลที่ เ ราจะอุ ทิ ศ กุ ศ ลให้ ล ะ เป็ น ผู้ มี พระคุณ เคยเป็นครูบาอาจารย์ เป็นลูก หลาน เป็ น ญาติ มิ ต รของเราเอง หรื อ
10
วารสาร “พุทธปทีป” Buddhapadipa Magazine
กระทั่งเป็นผู้ที่เคยสร้างกุศลร่วมกันใน ภพก่อนๆ ด้วยซ้ำ ฉะนั้นความตั้งใจจริง นี่แหละ จึงเป็น “เจตนา” อันบริสุทธิ์ และเป็ น เจตนาอั น ประกอบด้ ว ยกุ ศ ล ฉันทะ๑ ๓ วาระ คือ ก่อนทำ ขณะที่ทำ และหลังจากที่ได้ทำไปแล้วเต็มบริบูรณ์ ดุจพระจันทร์ในวันเพ็ญ คนนอกบอกว่าอยากทราบวิธีที่ถูกต้อง เรื่องนี้ไม่มีหลักเกณฑ์ที่แน่นอน แต่หลัก การนั้นมีอยู่ว่า เวลาพระสงฆ์ที่ท่านเริ่ม สวดบทอนุโมทนา (ยถา วาริวะหา) ก็ให้ เริ่มรินน้ำลงภาชนะที่รองอย่างตั้งใจนิ่ง สงบ พอเริ่มบทว่า สัพพี ติโย เป็นต้นไป ก็ ริ น น้ ำ ให้ ห มด แล้ ว พนมมื อ รั บ พรอั น เป็นมงคลจนจบ เคยเห็นบางคนใช้นิ้วชี้ ของตั ว เองรั บ น้ ำ ก่ อ นถึ ง ภาชนะ ซึ่ ง ที่ จริงแล้วการใช้นิ้วชี้นั้น เพื่อกันน้ำไหล ย้อนกลับตกไปที่พื้นเท่านั้น คนนอกคง พอนึกภาพออก ส่วนวัตถุประสงค์แยก ได้ ๔ ประการคือ ๑.เพื่อตัดขาดจากกัน ๒.เพื่อยกกรรมสิทธิ์ให้ครอบครอง ๓.เพื่อตั้งความปรารถนา ๔.เพื่อการแผ่ส่วนกุศล ซึ่ ง รายละเอี ย ดแต่ ล ะข้ อ นั้ น คนในขอ อนุ ญ าตไม่ น ำมาขยายความ แต่ อ ยาก ๑
จบข้อกังขาคนนอกนี้ ด้วยคำกรวดน้ำ สั้นว่า “อิทัง เม ญาตีนัง โหตุ, สุขิตา โหนตุ ญาตะโย ขอบุญกุศลส่วนนี้ จงแผ่ ไปถึงญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า ขอญาติ ทั้ ง หลาย จงเป็ น สุ ข ๆ เถิ ด ” เท่ า นี้ ก็ พอแล้ว และก็น่าจะพอไขข้อข้องใจของ คนนอกได้บ้างเช่นกัน คนนอก ทำดีมักมีอุปสรรค แต่ถ้า ตรงข้าม ง่ายเหมือนปอกกล้วยเจ้า คะ พระคุณเจ้ามีความเห็นต่อเรื่อง นี้อย่างไรบ้าง คนใน โอ...เห็นเยอะและเห็นบ่อยด้วย คนโบราณแถวบ้าน พูดจนจำได้ขึ้นใจว่า “ทางสวรรค์ มั น ฮก ทางนรกมั น แปน” ความหมายคือ อะไรที่ทำง่าย ไม่ต้องยั้ง คิด ทำแล้วสนุกชั่วประเดี๋ยว เหมือนกับ ทางเตียนโล่งและลาด มันจะทำให้ลงต่ำ ได้ ง่ า ย ทางสู่ อ บายมุ ข ก็ เ หมื อ นทางที่ เตียน ส่วนทางสวรรค์ไม่โล่งเตียน เช่น เวลาไปไหว้พระบางสถานที่ ทางขึ้นรก คดเคี้ยวเลี้ยวลด ศรัทธาไม่จริงไปไม่ถึง เหมือนการทำดี อาจทำได้ยาก เห็นผล ช้า แต่ทว่าผลที่ได้ไม่เคยคดเคี้ยว เพราะ ทำให้ความปีติสุขเริ่มปริ่มขึ้นในใจ แต่ ก่อนทำมักมี “มาร” ตีคู่ขนานมาด้วย เสมือนมาทดสอบความตั้งใจ ถ้ามั่งคงดี
พึงพอใจทำสิ่งที่ดี สิ่งที่มีคุณประโยชน์ต่อตนเองและบุคคลอื่น
ปีที่ ๒๓ ฉบับที่ ๖๙ พ.ค.-ก.ย. ๒๕๕๖ ย่ อ มผ่ า นง่ า ย แต่ ถ้ า ก้ า วต่ อ ไม่ ไ ด้ อาจ หมายถึงยอมจำนน ทั้งนี้ควรพิจารณา ด้วยว่า สิ่งที่มาขวางกั้นมีเหตุผลสมควร หรื อ ยั ง ถ้ า ทำต่ อ ไปกั บ ยกเลิ ก เสี ย เลย ผลลั พ ธ์ ที่ จ ะปรากฏในภายหลั ง นั้ น คื อ อะไร ระหว่ า ง “สำเร็ จ และล้ ม เหลว” จึงไม่แปลกที่หลายคนถอดใจ ทิ้งความ หวังและความตั้งใจเดิม เพราะถูก “ตัว กั้ น ” คอยชั ก ใยบงการอยู่ อี ก ด้ า นของ ชีวิต หากสังเกตดูรายละเอียดโดยรอบ พอจะมองเห็ น เส้ น ทางที่ อุ ป สรรคย่ อ ง เบาเข้ามาได้ หนึ่งในจำนวนนั้น คือ การ ขาดความพร้อม (Lacking of Readiness) ในทางพระพุ ท ธศาสนาเสนอ แนวคิดไว้ ๔ ประการด้วยกัน ๑. เวลา พร้อม ๒.สถานที่พร้อม ๓.บุคคลพร้อม และ ๔.พร้ อ มที่ จ ะทำได้ อย่ า งต่ อ เนื่ อ ง เวลาเป็นข้อแรกที่ไม่ควรจะมองข้าม ถ้า ข้ออื่นไม่บกพร่อง แต่ขัดข้องเรื่องเวลา ก็เป็นเหตุให้ล้มเลิกได้ คนในเคยได้ยิน หลายท่าน“บ่น” โยนความผิดพลาดนี้ ให้แพะตัวหนึ่งที่มีชื่อว่า “อุปสรรค” มา รับบาปไป ทั้งที่แพะตัวนี้ไม่อยากแวะมา ที่สวนของเราเลย แต่เรานั่นแหละเปิด รั้วให้เข้า รั้วอะไรบ้างละ? เวลามีน้อย ไม่เผื่อเวลาหรือไม่เลือกเวลาที่เหมาะสม ราวรั้วอันที่หนึ่ง ทำผิดที่ ผิดทาง ผิดวิธี การที่ถูกต้อง เหมือนปูพยายามปีนต้น ไผ่ เป็ น ไปได้ ย าก ไม่ถึงเป้าหมายและ
11
อาจตายเพราะเหนื่อยมาก รั้วราวอันที่ สอง ขลุ่ ย แม้ จ ะเป่ า แล้ ว ได้ เ สี ย งอั น ไพเราะ แต่ก็ยังไม่อาจจะเรียกได้ว่าเป็น ความไพเราะอย่างที่สุด แต่ถ้านำไปเป่า ร่วมกับอุปกรณ์ทำเสียงชิ้นอื่น เสียงขลุ่ย จึ ง โดดเด่ น ได้ คนเราจะประสบความ สำเร็ จ ได้ ก็ ย่ อ มต้ อ งมี บุ ค คลที่ ส องมา เกี่ยวข้องด้วยเสมอ ถึงจะมีทุนมาก แต่ พบความยุ่งยากในการสร้างทีมงานที่ดี อุ ป สรรคเหมื อ นได้ เ วลาขี่ ช้ า งมาเคาะ หน้าบ้าน อันนี้เป็นราวรั้วอันที่สาม แล้ว รั้วราวสุดท้ายคือ ความต่อเนื่อง ไม่ว่า จะทำอะไรก็ ต าม ทั้ ง ภาระหน้ า ที่ ห รื อ กุ ศ ลความดี ความขยั น หมั่ น เพี ย รต้ อ ง ไม่มีวันป่วยหรือขอเวลานอก ทำให้จริง ทำอย่ า งสม่ ำ เสมอ รั้ ว ราวนี้ จึ ง จะแข็ ง แรงและป้องกันอุปสรรคได้ อยากฝาก ถ้อยคำไว้เป็นข้อคิดว่า อะไรที่ทำได้ยาก มักจะฝากความประทับใจไว้เสมอ ขอให้ ทำจนสำเร็จ ส่วนอะไรที่ทำง่าย อาจดี และทันใจ แต่ไม่อาจให้การเรียนรู้และ ความน่าจดจำ ฉะนั้ น ถ้ า ยั ง มี แ รง ยั ง มี โ อกาสได้ ท ำ “ความดีและสิ่งดี” ก็อย่าให้ความสำคัญ กั บ “อุ ป สรรค”มากเกิ น ไป เพราะจะ ทำให้กำลังกาย กำลังใจที่มี หมดแรงขึ้น เวทีไปคว้า “แชมป์ดี” มาไว้ครอง หวัง ว่าคนนอกคงเข้าใจ และไม่เสียกำลังใจที่ จะทำความดีต่อไปฯ
พระเดชพระคุ ณวารสาร หลวงพ่อ“พุพระราชภาวนาวิ มล ประธานสงฆ์Magazine ในพิธีปิดโครงการ ทธปทีป” Buddhapadipa 12
พิธีปิดโครงการสอนภาษาไทยและวัฒนธรรมไทย ภาคฤดูร้อนประจำปี ๒๕๕๖ โดยความร่วมมือระหว่าง วัดพุทธปทีป กรุงลอนดอน สถานเอกอัครราชทูตไทย และคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
โดยมี พระมหาประเสริฐ ฐิตคุโณ พระอาจารย์ ลบริหารโครงการตลอดทั ปีที่ ๒๓ ฉบัใหญ่ บทีค่ อยดู ๖๙ แพ.ค.-ก.ย. ๒๕๕๖ ้งเดื13อน
14
วารสาร “พุทธปทีป”
บัดนี้เป็นกาลแห่งฟังธรรมและเจริญสติของ พวกเรา พวกเราได้มีโอกาสมาไหว้พระ สวด มนต์ เจริญภาวนา ให้ถือเป็นช่วงเวลาที่มีค่า สำหรับชีวิต เวลาเช่นนี้ใช่ว่าจะหาได้ง่ายๆ การที่จะมาสู่สถานที่อันสงบแบบนี้ เราได้ตัด ขาดจากภาระมากมาย และกว่าจะตัดสินใจ ออกจากสิ่งพัวพันนั้น ก็ต้องไตร่ตรองครั้ง แล้ ว ครั้ ง เล่ า การที่ ไ ด้ ม าบวชถื อ ศี ล ปฏิ บั ติ ธรรม จึ ง เป็ น การบำเพ็ ญ เนกขั ม มะบารมี คือสร้างบารมีให้กับตนเองด้วยการออกบวช
ปีที่ ๒๒ ฉบับที่ ๖๗ ก.ค.-ธ.ค. ๕๕
15
ขอบคุณเจ้าของบทความ พระครูภาวนาภิราม (สวัสดิ์ ญาณธโร) วัดสังฆปทีป เวลส์
คำว่ า บวช นั้ น คื อ การละเว้ น เว้ น จากความวุ่ น วายในชี วิ ต เว้ น จาก การกระทำที่ คุ้ น เคย มามี ชี วิ ต ที่ เ รี ย บ ง่าย กินง่าย นอนง่าย อยู่อย่างสมณะ การปฏิบัติในขณะที่ออกบวชนั้น ไม่มีอะไรมากไปกว่าการที่มาฝึกตน มา ดู ต นเองว่ า มี ค วามอดทนอดกลั้ น แค่ ไหน เป็นโอกาสดีที่เราจะได้มีเวลาดูใจ ตนเองให้ถ่องแท้ การปฏิบัติที่แท้จริงก็ คือการดูตนเอง ฝึกตนเองให้มาก แม้ว่า เราจะไปสู่สำนักใดก็แล้วแต่ หรือครูบา อาจารย์ท่านใดก็ตาม ที่สุดแล้วท่านจะ แนะนำให้เราฝึกตน แลดูตนเอง อบรม
ตนเอง แม้แต่พระพุทธเจ้า พระองค์เอง ก็ทรงแนะนำให้ภิกษุฝึกตนเอง เพื่อละ กิเลสให้กับตนเอง ฉะนั้น ท่านต้องฝึก ตัวเอง อย่าให้คนอื่นมาทำแทนเรา ซึ่ง เป็นสิ่งที่ทำไม่ได้ ที่ พึ่ ง ที่ ป ระเสริ ฐ ยิ่ ง ของเราอย่ า ง หนึ่งคือ ธรรมะ ถ้าเราปราศจากธรรมะ เสียแล้ว เราก็ยังชื่อว่าเป็นผู้อนาถา คน อนาถาคื อ คนที่ ล่ อ งลอยขาดหลั ก การ ดำเนิ น ชี วิ ต เปรี ย บเสมื อ นฝ้ า ยที่ ล่ อ ง ลอยไปตามลม หาจุดหมายปลายทางไม่ ได้ “ใจ”เราก็ เ ช่ น กั น ถ้ า ปล่ อ ยให้ ใ จ หลงใหลไปตามกระแสลมคือกิเลส ใจก็
16
วารสาร “พุทธปทีป”
จะไร้จุดหมาย ขาดที่ยึดเหนี่ยว ขาดเป้า หมาย มี แ ต่ จ ะลอยไปตามอำนาจของ กิเลสจะพาไป ส่วนมากก็พาไปตกต่ำสู่ อบาย ฉะนั้น ที่เรามาปฏิบัตินี้ ก็เพื่อฝึก ให้ใจเรามีธรรมะ ให้ใจเรามีที่พึง มีหลัก ยึด มีเป้าหมาย จะได้เป็นใจที่มั่นคงต่อ คุณธรรม ที่พึ่งที่ยึดของใจก็คือ ธรรมะ ส่วน ธรรมะคือความดี สิ่งที่จะปกป้องใจเรา ไม่ให้ตกลงสู่กระแสแห่งกิเลส ธรรมะที่ เป็ น ที่ พึ่ ง ของใจ คื อ ศี ล สมาธิ และ ปัญญา ที่เรามาปฏิบัติคือ เรามาฝึกกาย วาจาตนเอง ด้วยข้อปฏิบัติในศีล เช่น การที่ เ ราสำรวมกาย วาจา ให้ สุ ภ าพ เรียบร้อยอ่อนหวาน กายวาจาเราก็มีศีล เป็นที่พึ่งที่ยึดเหนี่ยว
ใจที่เราฝึกดูลมหายใจเข้า–ออก มีสติระลึกรู้ไม่ฟุ้งซ้าน ไม่แตกกระจาย เป็ น ใจที่ อ่ อ นโยน เป็ น ใจที่ มั่ น คงไม่ วอกแวก แม้ จ ะมี สิ่ ง ใดมากระทบก็ ไ ม่ หวั่ น ไหวง่ า ยๆ นี่ คื อ ใจเรามี ที่ พึ่ ง ที่ ยึ ด เหนี่ ย วคื อ สมาธิ ค วามนิ่ ง แห่ ง จิ ต ใจ ความที่ ใ จมั่ น คงอยู่ ใ นอารมณ์ เ ดี ย วคื อ ลมหายใจ ส่ ว นปั ญ ญา คื อ ความเข้ า ไปรู้ สภาวะที่เป็นจริงของจิตใจ สภาวะความ เป็นจริงของชีวิต เมื่อเรามีศีล มีสมาธิ แล้วใจก็พร้อมที่จะเปิดกว้างรับรู้ความ เป็นจริงของชีวิต ปัญญาจะบอกเราเอง ว่า ชีวิต คืออะไร ชีวิตควรเป็นอย่างไร และอะไรกันแน่คือเป้าหมายที่แท้จริงของ ชีวิต
ปีที่ ๒๒ ฉบับที่ ๖๗ ก.ค.-ธ.ค. ๕๕
เราทุ ก คนล้ ว นมี เ ป้ า หมายของ ชี วิ ต แต่ ล ะคนก็ มี เ ป้ า หมายที่ แ ตกต่ า ง กั น ไปตามทิ ฏ ฐิ ข องตนเอง แต่ ใ นทาง ธรรมปฏิ บั ติ ท านจั ด เป้าหมายของชิวิต เอาไว้ สามประการ คือ ๑. เป้ า หมายในปั จ จุ บั น มนุ ษ ย์ เช่น การที่ต้องการมีชีวิตที่ดี มีความสุข มี ค รอบครั ว ที่ อ บอุ่ น มี ส ามี ภ รรยาที่ เข้าใจ มีสมบัติภายนอกที่สามารถเลี้ยง ชีวิตได้ตลอดอายุขัย เป็นต้น ๒. เป้าหมายในภายภาคหน้า คือ ภพหน้า เช่น จากการสร้างกุศล ความดี ของตนเอง ก็ต้องการปรารถนาไปเกิด ในภพภู มิ ที่ ดี ถ้ า เป็ น มนุ ษ ย์ ก็ ข อให้ ร่ ำ รวย หรื อ ต้ อ งการไปเกิ ด ในสวรรค์ เป็นพรหมอย่างนี้เป็นต้น
17
๓. เป้ า หมายอั น สู ง สุ ด คื อ พระ นิ พ พาน คื อ การสิ้ น สุ ด การเวี ย นว่ า ย ตายเกิ ด ในสั ง สารวั ฏ เป็ น เป้ า หมายที่ หมดทุ ก ข์ หมดไปจากกิ เ ลสที่ เ ป็ น กระแสลมพั ก พาเอาใจให้ ล่ อ งลอยไป ตามความโลภ ความโกรธ ความหลง เราก็ ไ ด้ รู้ เ ป้ า หมายของชี วิ ต แล้ ว เราสามารถเลือกได้ว่า เราต้องการแบบ ไหน ทุ ก ๆ เป้ า หมายล้ ว นแต่ เ ป็ น สิ ท ธิ ของเราที่จะปฏิบัติ เราคงเลือกแทนกัน ไม่ ไ ด้ แบ่ ง ปั น ก็ ไ ม่ ไ ด้ ที่ ท ำได้ ก็ เ พี ย ง แนะนำ จึงขอให้ทุกคนเริ่มลงมือปฏิบัติ อย่ารอช้า กาลเวลาจะกลืนกินชีวิตของ เราให้หมดไปเสียก่อนเวลาอันควร ขอ ให้ทุกคนทำเป้าหมายของตนให้สำเร็จ สมความตั้งใจ
ขอบคุณเจ้าของบทความ พระมหาวีระพันธ์ ชุติปญฺโญ
เมื่อวิธีคิดถูกกรอกข้อมูลที่ผิดพลาดในด้านศีลธรรม จิตใจที่เคยดีงามของผู้คน ก็เริ่มสับสน เพราะความดีนั้นอ่อนกำลังลง โลกที่มีพื้นที่เท่าเดิม จะกลายเป็นพื้นที่แห่งการแย่งชิง เพื่อให้ตัวเองอยู่รอดฝ่ายเดียว และเพื่อจะให้ตัวเองได้ขึ้นไปยืนอยู่เหนือคนอื่น โดยไม่มีกติกาในการก้าวขึ้นไป
ปีที่ ๒๒ ฉบับที่ ๖๗ ก.ค.-ธ.ค. ๕๕
ท่ามกลางชีวิตที่หมุนวนอยู่บน โลกใบนี้ มี สิ่ ง หนึ่ ง ที่ ค นเราล้ ว นโหย หาไม่ต่างกัน นั่นก็คือ “การมีชีวิตอยู่ อย่างมีความสุข” เป็นความต้องการที่ คนเราล้วนเรียกหา เพราะมันคือสิ่งที่ หล่อเลี้ยงชีวิตให้อยู่ได้นานหรือสั้นต่าง กัน เมื่ อ มี ค วามหวั ง ในวิ ถี ท างแห่ ง ความสุ ข ทุ ก การเคลื่ อ นไหวของคน เรา จึงมีความแตกต่างให้เราได้เห็น ท่ามกลางการเรียกหาสิ่งที่มาช่วยเติม ความรู้สึกของตัวเองให้เต็ม เพื่อกลบ รอยช้ ำ ของชี วิ ต ให้ มี ค วามปกติ ม าก ที่สุด เท่าที่ชีวิตนี้จะพึงไขว่คว้าได้ แต่ ชี วิ ต ที่ ก้ า วไปบนลู่ วิ่ ง ของ
19
ความต้องการ ก็มีบททดสอบให้เราได้ เรี ย นรู้ อ ยู่ เ สมอเช่ น กั น โดยมี ค วาม อยากได้ ใ ครชั ง และความลุ่ ม หลงมา เป็นกำแพงขวางกั้น เพื่อให้แต่ละคน ได้เรียนรู้ที่จะกระโดดข้ามมัน คนที่ มี จิ ต ใจอ่ อ นไหวก็ มั ก จะ มองว่ า กำแพงที่ ตั้ ง อยู่ ต รงหน้ า นั้ น ช่ า งเป็ น ปั ญ หาที่ ใ หญ่ ยิ่ ง เสี ย จริ ง ๆ ทำให้ใจที่ฝ่ออยู่แล้ว ไม่กล้าพอที่จะ ก้าวข้ามไปยังอีกฝั่งหนึ่ง บางครั้ ง ถึ ง กั บ ก้ ม หน้ า ยอมแพ้ ตั้งแต่แรกเริ่มของการเดินทาง เพราะ ใจที่มากระตุ้นความรู้สึกที่จะต่อสู้ ถูก อารมณ์อันเปรียบเป็นกำแพงบังเสีย
จนมิด ทำให้รู้สึกว่า “ไม่รู้ต่อสู้ไปเพื่อ อะไรกัน” แต่บางคนมองว่ากำแพงปัญหา นั้น มีความท้าทายที่ชวนให้ค้นหาวิธีที่ จะก้ า วข้ า ม จึ ง เรี ย นรู้ ที่ จ ะให้ ตั ว เอง กระโดดข้ามไปยังอีกฝั่งของกำแพง ซึ่ง เป็ น ชั ย ชนะที่ ชี วิ ต ได้ ค ว้ า มาครอง เพราะเรากล้าพอที่จะสู้กับมัน ทว่าชีวิตก็มีความซับซ้อนในตัว ของมันเอง เพราะไม่ว่าจะมีชัยชนะ หรือได้รับความพ่ายแพ้ ถ้าไม่มีวิธีดูแล สิ่งที่ได้ประสบ สิ่งที่ได้มาก็อาจสร้าง ปัญหาใหม่ขึ้นมาเสมอ ซ้ ำ ร้ า ยชั ย ชนะที่ ต้ อ งการนั่ น
แหละ กลับน่ากลัวกว่าความล้มเหลว ที่เคยผ่านมา เพราะเมื่อความอยาก กระตุ้ น ให้ ก ล้ า ที่ จ ะกระโดดข้ า ม กำแพงแห่งปัญหา เพื่อพาตัวเราไปยัง อีกฝากหนึ่ง จึงทำให้เราต้องคิดหาวิธี ที่จะผ่านมันไป ซึ่งเป็นเหตุทำให้ชีวิตมี โอกาสตกไปสู่หลุมดำแห่งความคิด ที่ เสี่ยงต่อการล่มสลายในเวลาที่รวดเร็ว จนบางครั้งก็ยึดติดในหลุมแห่งความ คิดนั้นๆ “คือความจริงที่ทิ้งไม่ได้” สิ่ ง ที่ คิ ด ว่ า เป็ น วิ ธี ท ำให้ ไ ด้ รั บ ชัยชนะ แทนที่จะเป็นอาวุธเพื่อทำให้ เราฉลาดขึ้น กลับเป็นสิ่งที่น่าเศร้าใน ชีวีนี้ที่ได้ครอง เพราะแทนที่ชัยชนะจะ
ทำให้เราได้ก้าวไปในวิถีที่ดีกว่า กลับ วกมาทำให้ เ ราเห็ น แก่ ตั ว และหยิ่ ง ทะนงในสิ่งที่ได้มา โลกที่ ค วรจะน่ า อยู่ เ พราะเรา สามารถผ่านปัญหาไปได้ กลับกลาย เป็นความใจร้าย ที่มีเราเป็นคนมอบให้ โดยฉับพลัน สิ่งที่เห็นและเป็นอยู่ใน โลกแห่ ง ความจริ ง จึ ง เป็ น ความเจ็ บ ปวดที่คนอย่างเรามักจะเฝ้าถามตัวเอง ในเวลาต่อมาว่า “เราได้อะไรจากชีวิต และโลกใบนี้” คำถามที่ควรจะถามไถ่ให้ชีวิต เกิดคุณค่า จึงถูกกลบเกลื่อนเป็นความ สมยอมให้ความเห็นแก่ได้ เข้ามาสิง
สถิ ต อยู่ ใ นใจของเราแทน ซึ่ ง เป็ น สัญลักษณ์บอกให้รู้ว่า “เรากำลังเริ่ม ต้ น ที่ จ ะทำลายโลกแห่ ง ความสงบ สุขร่วมกัน” ภาพของผืนแผ่นดินแม้จะทำให้ เราเห็ น ว่ า โลกยั ง กว้ า งอยู่ เ ท่ า เดิ ม ก็ จริง แต่ความน่ารักของคนเราก็จะเริ่ม น้อยลง โลกที่เคยเดินทางตามครรลอง ที่ควรจะเป็น ก็ดูเหมือนจะน่าอยู่ แต่ ความจริงกลับน่ากลัวยิ่งนัก ทุ ก ย่ า งก้ า วและความรู้ สึ ก ที่ ดำเนินไป ช่างเป็นก้าวย่างแห่งความ หวาดกลัว ซึ่งเต็มไปด้วยความไม่มั่นใจ ที่ จ ะอยู่ อ ย่ า งมี ค วามสุ ข และไม่ รู้ ว่ า ชีวิตนี้จะให้เป็นไปอย่างไรดี เพราะแม้
22
วารสาร “พุทธปทีป”
ผู้ ค นในโลกจะพยายามสอนให้ ค นมี ความรู้ หรื อ ส่ ง เสริ ม ให้ ไ ด้ เ รี ย นรู้ สิ่ ง ต่างๆมากมาย เพื่อทำให้ตัวเองและ คนรอบข้างได้มีความรู้ที่มากเท่าเดิม ซึ่ ง เป็ น เสมื อ นสิ่ ง ที่ ช่ ว ยบอกเราว่ า ผู้คนในโลกนี้มีการพัฒนาที่ดีกว่ากลุ่ม ชนในยุ ค ก่ อ นๆ แต่ ค วามเจริ ญ ที่ เ รา เข้าใจ ก็ซ่อนอาวุธร้าย เพื่อให้คนใน โลกนี้ใช้รุกรานกันเอง โดยมีความได้ เปรียบเพราะการเรียนรู้มามาก คอย ขวางกั้นไม่ให้คุณค่าที่แท้จริงได้เติบโต โลกแห่ ง ความเมตตาอารี ก็ จ ะ เริ่ ม หายไป เพราะความเข้ า ใจว่ า ยิ่ ง สงสารคนอื่น ตัวเรานั่นแหละที่ต้อง
รอด โลกแห่งการให้อภัยก็จะเริ่มหาย ไป เพราะความมีน้ำใจของเพื่อนร่วม โลกจืดจางลง เพราะต่างมองว่าเมื่อ เขาทำให้เราเจ็บใจ ไยเราจะต้องลืม สิ่งที่เขาปฏิบัติต่อเรา เมื่ อ วิ ธี คิ ด ถู ก กรอกข้ อ มู ล ที่ ผิ ด พลาดในด้ า นศี ล ธรรม จิ ต ใจที่ เ คยดี งามของผู้ ค น ก็ จ ะเริ่ ม สั บ สนเพราะ ความดีนั้นอ่อนกำลังลง โลกนี้มีพื้นที่ เท่ า เดิ ม จะกลายเป็ น พื้ น ที่ แ ห่ ง การ แย่งชิง เพื่อให้ตัวเองอยู่รอดฝ่ายเดียว และเพื่ อ จะให้ ตั ว เองได้ ขึ้ น ไปยื น อยู่ เหนือคนอื่น โดยไม่มีกติกาในก้าวข้าม ขึ้นไป
ปีที่ ๒๒ ฉบับที่ ๖๗ ก.ค.-ธ.ค. ๕๕
จากโลกที่เคยมีพื้นที่เท่าเดิม แต่ ความสุขในใจของเราและเพื่อร่วมโลก จะเริ่มจืดจางไป ความน่าอยู่ที่เราและ ผู้คนคาดหวังไว้ ก็จะเป็นเพียงความ ฝั น ค้ า งในตอนกลางวั น ที่ ไ ม่ มี วั น จะ เป็นจริง ความสุขที่ชีวิตควรจะได้สัมผัส ร่วมกัน ก็กลายเป็นเพียงหมอกควันที่ ดูเหมือนมีอยู่จริง แต่สุดท้ายก็สลายไป ในอากาศ โดยทิ้งไว้แต่ความทรงจำว่า
23
มันแค่เคยมี ดังนั้น ในชีวิตหนึ่งนี้ที่ได้เกิดมา เราจึงควรกลับมาทบทวนชีวิตของเรา และโลกใบนี้ร่วมกันว่า เราเดินมาถูก ทางหรือยัง? เราอยู่บนโลกที่กว้างเท่า เดิม และทำให้โลกนี้มีความสุขที่สมดุล หรือยัง? หรือเราแค่อยู่บนโลกนี้ แต่ ความสุขที่ควรจะซึมซับร่วมกันนั้นลด น้อยลง? คำตอบอยู่ในใจของเราทุก คน
ขอเชิญร่วมทำบุญบริจาคสนับสนุนการค่าจัดพิมพ์วารสารพุทธปทีป เพื่อยกระดับสื่อธรรมะ ให้กลับมาทำหน้าที่ส่องทางสว่าง กางกั้นใจมิให้ไหลลู่ไปตามที่กิเลสเชื้อเชิญ โดยสามารถ บริจาคได้ที่วัดพุทธปทีป (พระอาจารย์สุทัศน์ อมรสุทฺธิ) หรือ ส่งทางไปรษณีย์ (บริจาคด้วย เช็ค) กรุณาสั่งจ่ายที่ “The Buddhapadipa Temple Trust” โดยระบุด้วยว่า “ทำบุญค่าจัด พิมพ์วารสารพุทธปทีป” จำนวนมากหรือน้อยนั้น ให้เป็นดุลยพินิจในธารศรัทธาของท่านเถิด
เพชรแห่งเทศนาของพระเดชพระคุณ เจ้าประคุณสมเด็จพระวันรัต (ฑิต อุทยมหาเถร) อดีตอธิบดีสงฆ์วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์
อันคนที่เกิดมากว่าจะเป็นตัวเป็นตนขึ้น ก็เพราะมารดาบิดาได้เลี้ยง รั ก ษาบำรุ ง เป็ น อย่ า งดี มิ ใ ห้ อ ดอยาก แม้ จ ะยื น เดิ น นั่ ง นอน ก็ ไ ม่ ใ ห้ ลำบาก สู้สละความสุขส่วนตัวให้แก่ลูกเต้าทั้งหมด ยอมรับความทุกข์เดือด ร้อนต่างๆ เช่น ต้องไปทำนา ค้าขายตากแดดตากฝนทนความยากลำบาก จนเลื อ ดตาแทบกระเด็ น จึ ง จะได้ ผ ล แม้ เ ป็ น เช่ น นี้ ก็ ยั ง ไม่ ท อดทิ้ ง ความ พยายามสู้ทำไปจนกว่าจะได้ผล เป็นดังนี้ก็เพราะมีความรักลูกห่วงลูก เมื่อ ลูกเต้าเจริญวัยพอเดินได้นั่งได้พูดได้ ก็ต้องเป็นธุระสั่งสอนให้รู้จักกิริยาที่ จะยืนเดินนั่งนอน แลให้รู้จักกิริยาที่พูดจา คือให้รู้จักเรียกบุรพชนมีปู่ย่าตา ยายเป็นต้น ธรรมดามารดาบิดานั้นจะตั้งหน้าสอนลูกเต้าตลอดไปก็ไม่ได้ เพราะยังมีกิจกังวลในการที่จะต้องทำมาหากินหาเลี้ยงลูกเต้าต่อไป จึงได้ เอาลูกไปเที่ยวฝากตามสำนักเรียน เช่นฝากตามวัดตามโรงเรียนเป็นต้น เพื่อจะให้ลูกของตนเป็นลูกที่ดี นับว่าเป็นอันหมดห่วงในการสั่งสอน แต่ถึง อย่างนั้น ยังเป็นห่วงทางอื่นอีกหลายประการ คือจะต้องส่งเสียในเวลาที่ลูก กำลังเล่าเรียน แม้เมื่อลูกจะต้องการอะไร มารดาบิดาก็ต้องแสวงหาให้โดย มิขัดอัธยาศัย ตามที่กล่าวมานี้ก็พอเห็นว่ามารดาบิดาเป็นผู้มีคุณอย่างล้น
เกล้า หาผู้อื่นที่จะเสมอมิได้ ส่วนบุตรธิดาเล่า บางคนเมื่ออยู่ในสำนักของ บิดามารดามีความประพฤติดีเรียบร้อย บางคนถึงกับยิ่งกว่ามารดาบิดาก็มี จนถึงกับได้รับชมว่าเป็นลูกที่ดี ครั้นมาอยู่วัดตามพระๆ ไพล่ไปอาเสวนะ ติดกับคนเลวๆ จนชินแล้ว ก็กลับกลายเป็นคนเลวทรามยิ่งกว่าเดิมไปก็มี บางคนมาอยู่ในชั้นแรกมีความประพฤติดี ครั้นต่อมาก็กลายเป็นอย่างอื่นก็ มี ข้อเหล่านี้เด็กทั้งหลายไม่ค่อยรู้สึกตัวนัก เพราะยังเป็นพาลทารกอยู่ไม่รู้ จักเดียงสา ยังบกพร่องทางสติมากๆ เมื่อเป็นเช่นนี้จึงยังไม่รู้จักบุญคุณของ มารดาบิดาที่ได้ตั้งหน้าสะสมทรัพย์ไว้อย่างไร บางคนจนถึงคิดทรยศต่อ มารดาบิดาก็มี มารดาบิดามีหน้าที่ๆ จะต้องส่งเสียไม่ปล่อยในลูกลำบาก มีหวังอยู่ว่าจะให้ลูกเป็นผู้ดีมีความรู้ดีเป็นต้นจึงได้พยายามส่งเสีย ไม่กลัว จะสิ้นเปลืองเสียเท่าไรก็เท่ากัน ส่วนเจ้าลูกเล่าเมื่อได้พรากจากมารดาบิดา แล้ว มาอยู่ในสำนักนี้ก็นับว่าสบาย คือควายก็ไม่ต้องเลี้ยง นาก็ไม่ต้องไถ กิจการอย่างอื่นๆ ก็ไม่ต้องทำ นี่นับว่าเป็นผลดีส่วนหนึ่งสำหรับลูกเต้า บางคนได้มาอยู่นานๆ ถึง ๒ ปี ๓ ปีก็มี ๕ ปี ๖ ปีก็มี มารดาบิดาก็เข้าใจ ว่าลูกเรามีความรู้พอแรงพอการแล้วละ ที่ไหนได้ หาเป็นเช่นคิดไม่ บางคน
26
วารสาร “พุทธปทีป” Buddhapadipa Magazine
กลับกลายเป็นคนเลวเสียคนไปก็มีเป็นอันมาก กว่าจะรู้สึกตัวซิ สิ้นเวลาไป เสียพอแรงทีเดียว คราวนี้จะคว้าอะไรก็ชักเหลวเป็นน้ำ เพราะฉะนั้นพวก เจ้ า เหล่ า เด็ ก ๆ ทั้ ง หลายซึ่ ง มาอยู่ ใ นที่ นี้ หวั ง ต่ อ ความเป็ น เด็ ก ที่ ดี ไม่ ต้องการเป็นคนเลวซึ่งเป็นที่ดูแคลนของเพื่อนมนุษย์ ทั้งหวังเพื่อให้สำเร็จ วิ บุ ล ผลตามความมุ่ ง หมายของมารดาบิ ด า ที่ ท่ า นได้ ส ละกำลั ง ทรั พ ย์ อุ ด หนุ น เป็ น ต้ น ว่ า ได้ ส่ ง เงิ น ส่ ง ข้ า วสารให้ รั บ ประทานเช่ น นี้ แ ล้ ว ควร ประพฤติตนให้เป็นคนดีสมกับความมุ่งหมายของท่านจึงจะชื่อว่าเป็นผู้รู้จัก คุณของท่าน การที่จะประพฤติตนให้เป็นคนดีได้ก็ต้องอาศัยความแนะนำ ของท่านผู้ใหญ่ที่ท่านแลเห็นว่าดีแล้ว เหตุฉะนั้น เราจึงได้ค้นหาสิ่งที่เป็น ประโยชน์แก่พวกเจ้ามาแสดงเป็นข้อๆ ดังต่อไปนี้
๑. ความสะอาด อันคนเกิดมาอยากจะให้ตนเองได้รับชม จากท่านผู้อื่นว่าเป็นคนดี เป็นคนสะอาด เป็นคนประพฤติเรียบร้อย เป็นต้น การที่จะได้รับชมเช่นนี้ ก็เพราะความประพฤติของตัวเอง ถ้าประพฤติให้ถูกตามลักษณะของคน สะอาดก็ได้รับชมเช่นนั้น ถ้าประพฤติในการสกปรกก็ได้รับความติเตียน ความสะอาดจึงเป็นสิ่งสำคัญ สมควรจะประพฤติทุกคน ความสะอาดนั้น แปลว่าสิ่งซึ่งหามลทินติดมิได้ ถ้าจะแบ่งออกก็เป็น ๒ อย่าง คือ สะอาด ภายนอก สะอาดภายใน ความสะอาดภายนอกนั้น คือ ประพฤติกายให้ เรียบร้อย ไม่เบียดเบียนสัตว์หรือเพื่อนมนุษย์ให้ได้รับความลำบากจนถึงแก่ ชีวิต ช่วยป้องกันรักษาชีวิตของมนุษย์ไว้ ไม่ฉ้อโกงคิดคดลักขะโมยรบกวน เพื่ อ นกั น ช่ ว ยป้ อ งกั น อั น ตราย ช่ ว ยระวั ง ภั ย อั น จะเกิ ด แต่ โ จรผู้ ร้ ย มี อัธยาศัยใจคอกว้างขวาง สันโดษในกามารมณ์ ไม่เฟ้อเห่อเหิมในกามคุณ เช่น ติดพันผู้หญิง เป็นต้น กล่าววาจาเรียบร้อย คือพูดแต่วาจาที่จริงไม่พูด เท็จให้เขาเชื่อจนถึงเสื่อมเสียประโยชน์ไป พูดวาจาที่จะสมานมิตรชักนำให้ เขาดีกัน ให้กลมเกลียวกัน ไม่พูดยุยงให้เขาแตกร้าวจากกัน พูดวาจาอ่อน หวานนุ่มนวลควรดื่มไว้ในใจ เช่นโปรีวาจาที่แปลว่า วาจาชาววังเป็นต้น
ปีที่ ๒๓ ฉบับที่ ๖๙ พ.ค.-ก.ย. ๒๕๕๖
27
ไม่พูดวาจาหยาบคายโฮกฮาก วาจาทะลึ่งตึงตัง พูดวาจาที่ชักนำให้เกิด ประโยชน์ ไม่พูดวาจาที่หาประโยชน์มิได้ ประพฤติให้เรียบร้อย คือ ไม่คิด ละโมภอยากได้แต่ฝ่ายเดียวคิดจะเฉลี่ยความสุขให้แก่เพื่อนกัน ไม่คิดปอง ร้ายจนถึงทำลายชีวิตกัน คิดรักใคร่ในสัตว์ทั่วไป ไม่เห็นผิดเป็นชอบคือไม่ เอาความคิดของตนเป็นใหญ่ คิดไตร่ตรองให้รู้จักที่ผิดแลถูก นี่จัดเป็นความ สะอาดภายใน นับว่าเป็นความสะอาดอย่างยอดยิ่ง ทั้งจะเชิดชูผู้ประพฤติ ให้มีเกียรติคุณขจรไปด้วย เหตุฉะนั้น พวกเจ้ารักความสะอาดแล้วควร ประพฤติให้ถูกตามลักษณะแห่งความสะอาดทั้งภายในภายนอกอย่าหัด เป็นคนสกปรก ถ้าสกปรกภายนอกก็ทำเนาอยู่ ถ้าสกปรกภายในเป็นเลี้ยง ไม่ได้ ควรสั่งสมความสะอาดไว้ให้มาก ความสะอาดภายนอก เป็นเหตุให้ ผู้ประพฤติได้รับความผาสุกสำราญกายสำราญใจ คือเป็นผู้หมั่นอาบน้ำ ชำระกายให้หมดจดผ่องใส ปราศจากมลทินเหงื่อไคลแล้ว ก็เป็นเหตุให้กาย ผาสุก แลจะตริตรองอะไรก็ปรุโปร่งใจ ถ้าไม่หมั่นอาบน้ำก็คงเป็นเหตุให้ เกิดโรคต่างๆ มีหิดเป็นต้น เพราะโทษที่หมักเหงื่อไคลไว้ แลได้รับความ รำคาญต่างๆ มีความร้อนกระวนกระวาย ทำให้อึดอัดใจเป็นต้น ผ้านุ่ง ผ้าห่มอันปราศจากความเปื้อนเปรอะเหม็นสาบเพราะหมั่นซักนั้น ก็เป็น เหตุให้ไม่เป็นที่รำคาญจมูกแห่งผู้อื่นเมื่อเวลาเข้าไปใกล้เขา ถ้าทำให้ผ้านุ่ง ผ้าห่มเปื้อนเปรอะเหม็นสาบ เข้าไปใกล้ใครๆ ก็คงเป็นที่รำคาญแก่เขาได้ บริโภคอาหารที่สะอาด คือไม่บูดแฉะ ก็เป็นเหตุให้ท้องสบายเป็นปกติด้วย ถ้าบริโภคอาหารอันไม่สะอาด คือไม่เลือกของกินว่าของกินนั้นจะแสลงหรือ ไม่ หรือกินไม่เลือกเวลา หรือกินของที่สุกๆ ดิบๆ เป็นต้น หรือภาชนะ สำหรับหุงต้มตลอดถึงถ้วยชามที่ใส่ ถ้าเป็นของสกปรกแล้ว ก็เป็นเหตุให้ เกิดโรคต่างๆ ที่ท้องขึ้นเป็นต้นได้ ทั้งเป็นที่ตั้งแก่ความรำคาญแห่งลูกตา ด้วย สถานที่อยู่อันสะอาด ก็เป็นเหตุไม่ให้เกิดโรคแก่กายได้ และอาจเป็น สง่าราศีแก่ตน เพราะถ้าใครๆ เขาไปมาหาสู่ ถ้าที่อยู่ของเราสะอาดปราศ จากความเปื้อนเปรอะและกลิ่นเหม็นไซร้ บางทีจะได้รับความสรรเสริญ จากเขาว่า ผู้นี้เป็นคนสะอาดหมั่นกวาดล้างที่อยู่เสมอ ก็ถ้าทำให้เปื้อน
28
วารสาร “พุทธปทีป” Buddhapadipa Magazine
เปรอะไม่หมั่นกวาดล้างเช็ดถู เป็นเหตุทำให้เกิดโรคแก่กายได้ และคงได้รับ ความติเตียนจากเขาว่า เป็นคนสกปรกขี้เกียจกวาดเช็ดถูความสะอาดดัง กล่าวมานี้ เป็นที่ตั้งแห่งความสำราญกายสำราญใจย่อมบำบัดโรคภัยต่างๆ ได้ แต่จัดเป็นความสะอาดชั้นที่ ๒ แต่ก็ยังดีกว่าการสกปรกหลายพันส่วน แม้สู้ความสะอาดภายในไม่ได้ก็จริงแต่ถึงอย่างนั้น ก็เป็นเหตุที่จะให้บุคคล รักษาความสะอาดภายในได้สะดวกดี ถ้าภายนอกยังสกปรก ก็ยังส่อถึง ภายในว่าสกปรกเหมือนกัน ถ้าภายนอกสะอาดดี ภายในก็คงสะอาดตาม ขึ้นไป เปรียบเหมือนบ้านที่อยู่ ถ้าบ้านใดไม่มีที่บูชาพระ บ้านนั้นก็ส่อว่ายัง ไม่นับถือพระหรือเป็นพุทธบริษัทไม่ได้ บ้านใดมีที่บูชาพระ บ้านนั้นก็ส่อให้ เห็นว่าเป็นผู้นับถือพระหรือเป็นพุทธบริษัทฉะนั้น ความสะอาดทั้งภายนอกภายใน ตามที่ชี้แจงมาให้พวกเจ้าทั้งหลาย ฟังนี้ เป็นความนิยมทั้งคดีโลกคดีธรรม ทั้งมีโบราณภาษิตเป็นข้ออ้างอีกว่า “สะอาดกายเจริญวัย สะอาดใจเจริญสุข”
ปีที่ ๒๓ ฉบับที่ ๖๙ พ.ค.-ก.ย. ๒๕๕๖
29
เพราะฉะนั้ น ขอให้ พ วกเจ้ า ทั้ ง หลาย จงตั้ ง ใจกำหนดจดจำเอาไป ประพฤติปฏิบัติตามที่อธิบายมานี้ ก็จะประสพความสุขสำราญโดยอาการ ดังกล่างมาแล้วนั้น
๒. ความเป็นระเบียบ ดอกไม้ที่บุคคลร้อยเป็นพวงก็ตามหรือประดับใส่พานก็ตาม ใส่แจกัน ก็ตาม ถ้าทำไม่เป็นระเบียบ คือไม่ได้ระดับบ้าง รกรุงรังบ้าง ไม่แน่หนาบ้าง กระพร่ อ งกระแพร่ ง บ้ า ง ดู ก็ ไ ม่ ง ามตารกตา บางที ก็ ก ระจั ด กระจายไป เพราะลมพัดบ้าง เพราะมือคนจับต้องบ้าง ถ้าบุคคลทำให้ถูกระเบียบ คือ ประดับประดาหรูหราเรียบร้อยไม่รกรุงรังดูก็งามตาไม่รำคาญลูกตา ทั้งไม่ กระจั ด กระจายไปได้ ข้ อ นี้ ฉั น ใดความเป็ น ระเบี ย บเรี ย บร้ อ ยก็ เ หมื อ น ฉะนั้นฯ ความเป็นระเบียบนั้นคือ ประพฤติอะไรก็ถูกต้องตามกิจวัตร เช่น ยืนเดินนั่งนอนก็เรียบร้อย ถ้ายิ่งทำให้ชุมนุมไม่เป็นระเบียบ ก็ดูรำคาญตา ที่สุด คือในชุมนุมนั้นต้องการระเบียบอย่างไร ก็ประพฤติให้ถูกต้องตาม ระเบียบนั้น เช่นในเดี๋ยวนี้ ย่อมมีชุมนุมมาก ความเป็นระเบียบก็ต้องเคร่ง ขึ้นอีก การพูดจาก็ดี การท่องหนังสือก็ดี เขียนหนังสือก็ดีโดยที่สุดแต่นั่งก็ดี ต่ ำ ลงไปอี ก คื อ การกราบไหว้ ห รื อ การประเคนตลอดถึ ง การรั บ ประทาน อาหาร เหล่ า นี้ ถ้ า ไม่ เ ป็ น ไปตามระเบี ย บตามข้ อ บั ง คั บ แล้ ว ย่ อ มรกรุ ง รั ง นัยน์ตา เกิดความโทมนัสน้อยใจ และให้ความขัดข้องต่างๆ ถ้าเป็นไปตาม ระเบียบถูกต้องตามกิจวัตรหรือข้อบังคับแล้ว ย่อมงามลูกตา เช่น นั่งเข้า แถวหรือแถวทหาร ไม่ลักลั่นกัน ถ้าต่างคนต่างนั่ง ต่างคนต่างเดินไม่เป็น ระเบียบ ก็รกลูกตาถ้าทำถูกระเบียบคือเดินก็พร้อมกัน นั่งก็ได้แถวได้แนว ไม่ลักลั่นดูก็งามลูกตา ให้ความสบายใจ ให้ความสะดวก คือไม่ขัดข้องแก่ ประชุมชนหรือตัวเองเป็นต้น เหตุฉะนั้น พวกเจ้าเหล่าเด็กๆ ทั้งหลายควร หัดทำอะไรก็ให้ถูกตามระเบียบ ตามข้ออาณัติสัญญา จึงจะนับว่าไม่รำคาญ ลูกตา ทั้งไม่ขัดข้องให้ความสะดวกแก่กันและกันทั้งสองฝ่าย
30
วารสาร “พุทธปทีป” Buddhapadipa Magazine
๓. ความสับสน ข้อนี้ ความอธิบายก็คล้ายๆ กันกับข้อ ๒ แต่แปลกไปหน่อย คือ แสดงในฝ่ายชั่ว ไม่ควรประพฤติ การทำอะไรให้สับสนกัน ย่อมเป็นที่ตั้ง แห่งความรำคาญใจ ย่อมรกลูกตา ให้ความขัดข้องต่างๆ ความสับสนในที่ นี้ก็หมายความว่า ความเกี่ยวกัน ไม่ทำพร้อมกัน ความเอารัดเอาเปรียบกัน ความถ่อพายคนละที เป็นมูลเหตุแห่ง ความแตกสามัคคี เหตุฉะนั้น พวก เจ้าทั้งหลายไม่ควรประพฤติตัวให้สับสน เพราะเป็นเหตุแห่งความเสียหาย ดังกล่าวแล้ว
๔. เก็บของใช้ไว้ให้เป็นที่ ธรรมดาของใช้ทุกประเภท ถ้าเก็บไว้ไม่เป็นที่เป็นทาง นึกจะเก็บไว้ ที่ไหน ก็เก็บไว้ที่นั้น นึกจะวางที่ไหนก็วางที่นั่น เช่นนี้ เมื่อจะต้องการเป็น ความลำบาก บางทีก็หายบ้าง บางทีใครมาเอาไปก็ไม่รู้สึก เช่น เครื่องครัว มีครก สาก หม้อข้าว หม้อแกง ฟืนเตาไป เป็นต้น ถ้าสิ่งเหล่านี้ไม่อยู่เป็นที่ คือไม่อยู่ตามตำแหน่งแล้ว ก็ย่อมนำความลำบากมาให้แก่ผู้ทำ เช่น ต้องวิ่ง ไปหยิบสิ่งนั้นมาที สิ่งนี้มาที มันลำบาก ถ้วยชามสำหรับใช้ในครัวก็เช่น เดียวกัน หรือเครื่องสำหรับตัดผ่าเช่น มีด ขวาน เป็นต้น ก็เช่นเดียวกัน สรรพเครื่องใช้ทั้งหลาย อันจะต้องใช้อยู่ทุกวันก็ดี หรือนานๆ เอาใช้ก็ดี ถ้าไม่อยู่ตามที่ หรือใช้สุรุ่ยสุร่าย ทิ้งกะเรี่ยกะราดไม่เก็บเข้าที่ก็ดี ของเหล่า นั้นย่อมพลันฉิบหายไม่คงทน ถึงคราวต้องการก็หาไม่ได้คว้าไม่ถูก ทั้งเป็น ที่ตั้งแห่งความรกรุงรังด้วย ถ้าของใช้เหล่านั้นเก็บไว้เป็นที่เป็นทางก็ดี หรือ ใช้สอยแล้วก็เก็บไว้ตามตำแหน่งเดิมก็ดี เมื่อถึงคราวต้องการก็หยิบได้ง่ายๆ เพราะรู้สึกว่าสิ่งนั้นๆ อยู่ที่ตรงนั้นๆ หรือของนั้นหายไปก็รู้ทันทีเพราะมัน ผิดสังเกต หรือใครจะมาจับฉวยเล่นก็รู้ทันทีเพราะมันคงเคลื่อนคลาดไป จากที่ได้ เมื่อดูก็งามลูกตาไม่เลอะเทอะ เมื่อมีเหตุภัยเกิดขึ้นก็คว้าได้ทัน ควัน เช่ น ทหารเขามีผ้าแบล๊งเก๊ทหรือเครื่องยูนิฟอร์ม หรือเครื่องอาวุธ
ปีที่ ๒๓ ฉบับที่ ๖๙ พ.ค.-ก.ย. ๒๕๕๖
31
เป็นต้น เขาต้องเก็บไว้เป็นที่ที่เดียว เมื่อมีเหตุเขาจึงหยิบได้ง่าย ดูงดงามลูก ตาด้วย ขอให้พวกเจ้าจงดูตัวอย่างเขาไว้ จะแลเห็นว่างามสักปานไร เหตุนั้น พวกเจ้าทั้งหลายจงอุตส่าห์พยายามให้เรื่องนี้ให้มากๆ คือ ต้องเก็บของใช้ไว้ให้เป็นที่ เมื่อจะหยิบใช้ก็ง่าย หายก็รู้ ดูก็งามตา จงใส่ใจ ให้มากๆ เพื่อจะได้มีความสังเกตแม่นยำขึ้น
๕. ของชำรุดอย่าทิ้งง่ายๆ ควรซ่อมแซมจนถึงที่สุด อันธรรมดาของที่มีปัจจัยปรุงแต่ง เช่น มนุษย์หรือสัตว์ หรือของใช้ ล้วนมีความชำรุดไปแตกไปตายไปเป็นธรรมดา แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังมีอุบาย ที่จะแก้ไขให้กลับดีขึ้นได้ในเวลาที่ชำรุด เช่น มนุษย์หรือสัตว์เมื่อชำรุดไป เพราะเป็นโรคต่างๆ ก็ยังมีหยูกยาที่แก้ไขให้กลับหายโรคได้ ในระหว่างที่ยัง เป็นโรค หรือเป็นไข้แต่เล็กน้อย ถ้าเป็นถึงขนาดจนเหลือวิสัยที่จะแก้ ก็ต้อง ชำรุดถึงที่สุด แปลว่าตายไป ส่วนของใช้ก็เช่นเดียวกัน ถ้ามันชำรุดลงก็ควร ซ่อมแปลงมันไว้ อย่าปล่อยทอดทิ้งเสียง่ายๆ จนกลายไปถึงใช้สอยไม่ได้ เช่นผ้านุ่งผ้าห่ม ถ้ามันขาดไป ก็ควรบูรณะ คือเย็บมันเสียก่อนอย่าปล่อย ให้ขาดจนใช้ไม่ได้ ถึงชำรุดจนนุ่งห่มไม่ได้ก็อย่าเพิ่งทิ้ง ควรเก็บไว้ใช้สำหรับ เช็ดถู หรือทำธุระอย่างอื่นๆ ข้าวสุกข้าวสารถ้ามันเสียเช่นบูดแฉะ ก็อย่า เพิ่งทิ้ง ควรเก็บตากไว้ใช้ได้อีก หรือของที่มันแตกได้เช่นแก้วเป็น ก็ยังไม่ ควรทิ้ง เพราะยังจะใช้สำหรับขูดอะไรได้อีก หรือกระดาษเศษต่างๆ ไม่ควร จะทิ้งเสีย ควรเก็บไว้ใช้สำหรับห่อหยูกยาหรืออะไรๆ ก็ได้อีก ตามที่ยกมา นี้พอเป็นตัวอย่าง อันของใช้ทั้งหลายแหล่ ควรถนอมใช้ เมื่อมันชำรุดลงก็ อย่ า ปล่ อ ยปละละเลย มั น จะกลายเป็ น ของชำรุ ด มากจนถึ ง ใช้ ก ารไม่ ไ ด้ ควรซ่ อ มแซมบู ร ณะเสี ย จนกว่ า จะเห็ น ว่ า ใช้ ท ำอะไรไม่ ไ ด้ อี ก ต่ อ ไปแล้ ว เหตุฉะนั้น พวกเราเหล่าเด็กๆ ทั้งหลาย ควรซ่อมแซมบูรณะของใช้ทุก อย่างอย่าทิ้งง่ายๆ เพื่อจะหัดตัวของตัวให้มีความกระเหม็ดกระแหม่ขึ้น เพื่อให้รู้จักเสียดายของต่างๆ เพื่อกันความเห่อความเฟ้อได้ฯ
32
วารสาร “พุทธปทีป” Buddhapadipa Magazine
๖. ความมักง่ายไม่รอบคอบเป็นประตูรับอันตราย และความเสียหาย การทำอะไรทั้งหมด จะเป็นการเขียนหนังสือก็ตาม หรือจะเป็นการ เรียนก็ตาม จะเป็นการท่องก็ตาม หรือการทำกสิกรรม พาณิชยกรรม และ ราชกิจเป็นต้น เหล่านี้ ถ้าทำด้วยความรอบคอบ คือนึกอยู่เสมอในเวลาที่ ทำลงไปหรือกำลังทำอยู่ว่า ที่เราจะทำนั้นจะดีหรือชั่ว จะเป็นประโยชน์หรือ ไม่ จะผิดหรือถูก ถ้าเห็นว่าดีทั้งเป็นประโยชน์หรือถูกต้อง จึงค่อยทำ การ ทำอะไรด้วยความนึกเสียก่อน ตรวจตราเสียให้รอบคอบก่อนเช่นนี้ จัดว่า ทำโดยไม่มักง่ายโดยรอบคอบ ย่อมได้รับผลเป็นอย่างดี ไม่เกิดความเสีย หายต่อภายหลัง พาให้เป็นคนเฉลียวฉลาด รู้จักสิ่งของที่ดีและชั่วได้ การทำอะไรโดยมักง่าย คือทำสักแต่ว่าทำ ทำโดยไม่รอบคอบ คือไม่ ต้องนึกว่าจะเป็นความเสียหายอย่างใดๆ เช่นจะเขียนหนังสือ ถ้าผิดสักตัว หนึ่ง ก็อาจได้รับความเสียหายในภายหลัง พาให้คนอาจเข้าใจผิดเป็นต้น เช่นนี้ เ ป็ น ทางดำเนินถึงความเสียหาย เป็นประตูคอยรับอันตรายต่างๆ อันจะเกิดแต่การทำโดยไม่พินิจพิเคราะห์นั้น ทั้งเป็นประตูรับความเสียหาย ต่างๆ
ปีที่ ๒๓ ฉบับที่ ๖๙ พ.ค.-ก.ย. ๒๕๕๖
33
เหตุฉะนั้น พวกเจ้าทั้งหลาย ควรหัดทำอะไรโดยรอบคอบอย่ามักง่าย ทำโดยพินิจพิเคราะห์ อย่าทำโดยสะเพร่า เช่นจะท่องหนังสือ ก็ต้องนึกว่า หนังสือที่ท่องไปนั้น เราเขียนตัวอะไร และหมายความว่ากระไร หรือผ้านุ่ง ผ้าห่มหรือของใช้ เมื่อทำธุระเสร็จแล้ว เช่นผลัดอาบน้ำตากแห้งแล้ว ควร เก็บพับเข้าที่ อย่าทิ้งมักง่าย เมื่อทำอะไรนึกอยู่เสมอเช่นนี้ ก็จะได้รับวิบูลย์ ผลกล่าวคือความฉลาด ทั้งจะปิดประตูแห่งความเสียหายและอันตรายได้ ทางหนึ่ง
๗. พึงเอาใจใส่ในหน้าที่ของตนดีกว่าเที่ยวแทรกแซงในหน้าที่ ของผู้อื่น อันธรรมดาคนทุกๆ คนต้องมีหน้าที่ต้องทำประจำตัวอยู่ทุกวันไม่ มากก็น้อย ในวันหนึ่งๆ ก็ต้องทำธุระตามหน้าที่ของตัวเสมอไป นับตั้งแต่ คนชั้นสูงมีพระเจ้าแผ่นดินเป็นต้นตลอดถึงคนชั้นต่ำมีพลเมืองเป็นต้น ต่าง คนต่างทำธุระด้วยกันทั้งนั้น ถ้าธุระหรือหน้าที่ของใครมีอย่างไร ก็จงตั้ง หน้าพยายามทำธุระนั้นให้เสร็จไปในวันหนึ่งๆ อย่าปล่อยให้เสียเวลา ดี กว่าจะเที่ยวแทรกแซงในหน้าที่ของผู้อื่น คือไปรบกวนเขาโดยพลการบ้าง ชักนำเขาให้เสียประโยชน์บ้าง หน้าที่ของคนชั้นสูง เมื่อจะพูดลงสั้นๆ ก็ เพียงเพื่อจะทะนุบำรุงคนชั้นต่ำหรือผู้น้อยให้อยู่เย็นเป็นสุขให้เป็นผู้ฉลาด หน้าที่ของคนชั้นต่ำเช่น พลเมืองก็มีอย่างเดียวคือต้องประพฤติตนให้เป็น คนดี ให้อยู่ในพระราชกำหนดกฎหมาย ไม่ล่วงละเมิด ทำมาหากินตามภูมิ ลำเนาเป็นต้น จึงจะนับว่าได้ทำตามหน้าที่ไม่แทรกแซงในหน้าที่ของผู้อื่น เพราะฉะนั้ น พวกเจ้ า สมั ค รเป็ น นั ก เรี ย นและเป็ น อุ ปั ฏ ฐากพระก็ ควรทธุระตามหน้าที่ของตนๆ ในวันหนึ่งๆ หน้าที่ของตนต้องทำอย่างไรก็ จงทำอย่ า งนั้ น ดี ก ว่ า ไปแทรกแซงในหน้ า ที่ ข องผู้ อื่ น ให้ เ ขาได้ รั บ ความ รำคาญ ให้เขาเสียประโยชน์ หน้าที่ของตนมีแต่เล่าเรียนท่องเขียนหรือทำ กิจวัตรต่างๆ ก็จงทำไปตามหน้าที่ จึงจะไม่ก้าวก่ายกัน
34
วารสาร “พุทธปทีป” Buddhapadipa Magazine
๘. พูดต้องให้เขาได้ยิน บอกต้องให้เขาเข้าใจ กิริยาที่พูดจาก็ดี กิริยาที่บอกก็ดี เป็นสมบัติอันหนึ่ง ที่จะส่อตัวให้เขา แลเห็นว่าเป็นคนองอาจ กล้าหาญ จริงอยู่ การพูดจาอ้อมแอ้มหรือพูดไม่ เต็มเม็ดเต็มหน่วยหรือพูดไม่ออกพ้มริมฝีปากเป็นเหตุให้ผู้ฟังแย้มสรวลได้ ทั้งส่อตัวว่าเป็นคนขี้ขลาดมีความรู้ไม่พอ เป็นเหตุให้มีความละอายเสมอไป เป็ น เหตุ ใ ห้ มี ค วามกระดากให้ มี ค วามกระดกกระดนโด่ พาให้ เ สี ย กิ ริ ย า การพูดจาโดยเต็มที่คือไม่กระดากใคร ไม่กลัวใคร ไม่อ้อมแอ้ม พูดฉะฉาน เป็นเหตุให้ผู้ฟังได้ยิน จดจำความได้แน่นอน ย่อมเป็นเหตุให้มีความองอาจ ส่อให้เห็นว่า เป็นผู้ที่หลักแหลมหรือส่อว่าเป็นคนมีคุณธรรมในน้ำใจ แต่ วาจาที่พูดนับเป็นส่วนดีในที่นี้ ต้องเป็นวาจาที่ไม่มีโทษ เป็นวาจาที่จริงแท้ เป็นวาจาที่มีประโยชน์แท้ ถ้าเป็นวาจาที่ดีจริงมีประโยชน์จริงแล้ว ก็ควรพูด ให้เขาได้ยิน แม้วาจาที่ปราศรัยก็ควรพูดให้เขาได้ยินเหมือนกัน ส่วนการบอกคือคำสั่งที่ออกจากปาก จะเป็นคำบอกชนิดใดก็ตาม ควรบอกให้เขาเข้าใจความ ถ้าผู้ฟังเข้าใจผิด ก็จะพาให้เสียประโยชน์ไป เช่นจะบอกกับคนๆ หนึ่งว่า ให้ไปตามนาย ก. มาที แต่นาย ก. มีอยู่ ๒ คน ผู้ที่รับบอกก็ไปตามมาให้คนหนึ่ง แต่ถ้าเป็นนาย ก. ที่ผู้บอกต้องประสงค์ ก็ เป็นใช้ได้ ถ้าไม่ใช่ผู้บอกต้องประสงค์ ก็ใช้ไม่ได้ ในที่นี้ควรจะต้องบอกเขา ว่า ให้ไปตามนาย ก. ใหม่หรือนาย ก. เก่า ให้สมกับความตั้งใจ ให้เขา เข้าใจความชัดจึงจะไม่เสียประโยชน์ แต่การบอกในที่นี้ ให้หมายความว่า คำสั่งที่ออกจากปากของผู้บอก ตลอดถึงคำที่บอกหนังสือเป็นต้น เพราะฉะนั้น พวกเจ้าควรจะต้องประพฤติในกิริยาที่พูดให้เต็มที่ จน ผู้ฟังได้ยิน ไม่ต้องซักถามหลายหน เช่นจะท่องหนังสือหรือเรียนหนังสือ หรือตอบคำถามหรือจะพูดอะไร อันจะออกจากปากแล้ว อย่าให้อ้อมแอ้ม ว่าให้ฉะฉาน แปลว่าวาจาที่เราพูดเป็นถูกแท้จึงไม่กลัวใคร แต่อย่าทำจน เขาเห็นว่าทะลึ่งหรือเสือก ต้องควรเลือกให้เหมาะกับภูมิ การบอกเล่ากันก็ ต้องให้เขาเข้าใจความ ตลอดถึงสิ่งอะไรก็ต้องให้ผู้รับคำสั่งเข้าใจด้วย ถึง
ปีที่ ๒๓ ฉบับที่ ๖๙ พ.ค.-ก.ย. ๒๕๕๖
35
ผู้รับสั่งไม่เข้าใจความ ก็ควรย้อนถามให้เข้าใจความ อย่าทำความเข้าใจผิด ให้เกิดแก่กันและกัน
๙. ตอบต้องให้ตรงคำถาม ฟังต้องจำหัวข้อให้ได้ การตอบปัญหาก็ดี การตอบคำถามที่เขาถามก็ดี ต้องให้ตรงกันเสมอ ถ้าตอบไม่ตรงกับคำถาม ก็พาให้เข้าใจผิด ส่อให้เห็นว่าไม่รู้จักภาษา เช่น จะถามว่า ปีนี้ทำนาได้ข้าวกี่เกวียน ผู้ตอบๆ ว่า ทำนาฝนแล้ง เช่นนี้แปลว่า ไม่ตรงกับคำถาม ควรต้องตอบตามที่ทำได้หรือไม่ได้ ถ้าทำได้เท่าไร ก็ตอบ ว่าได้เท่านั้นเกวียน ถ้าไม่ได้เลย ก็ตอบว่าไม่ได้เลย เพราะฝนแล้ง จึงจะ เข้าใจความถูกหรือจะถามว่า เป็นนักเรียนรู้จักอักษรที่เป็นธนิตโฆษะ หรือ ไม่ ผู้ตอบๆ ว่ารู้จัก ผู้ถามก็ซักถามต่อไปว่า คือตัวอะไรบ้าง ผู้ตอบๆ ว่า คือตัว ค. ป. เป็นต้น เช่นนี้ ผู้ถามก็คงจะถือเป็นจริง ทีนี้ก็ว่าไปตามที่ถือ เกิดเป็นไม่ใช่เสียแล้ว ย่อมเข้าใจผิด ดังนี้เรียกว่าตอบไม่ตรงคำถาม ทำให้ เสียประโยชน์แก่ผู้อื่นด้วย ที่จริงผู้จะตอบคำถามนี้ ควรต้องตอบว่า อักษร ที่เป็นธนิตโฆษะ ต้องว่าเสียงดังก้องคล้ายมีเสียง ห แกม มี ๕ ตัวคือ ฆ ฌ ฒ ธ ภ ดังนี้จึงจะถูกกับคำถามได้ การตอบอะไร ต้องให้ตรงกับ คำถามเสมอไปจึงจะไม่เขวและยุ่งแก่ผู้ถาม การฟังอะไรทั้งหมด จะเป็นการฟังคำอธิบายของครูก็ตามฟังเทศน์ ก็ตาม ฟังเขาพูดก็ตาม ต้องคอยกำหนดจดจำหัวข้อไว้ว่าเขาพูดถึงเรื่อง อะไร เทศน์เรื่องอะไร อธิบายข้ออะไร ถ้าจำหัวข้อได้จึงจะรู้เรื่อง ถ้าจำ หัวข้อไม่ได้ก็พาให้เลอะเทอะจำไม่ได้ ต่อกันไม่ติด เสียเวลาของตัวไป เพราะฉะนั้ น พวกเจ้ า ทั้ ง หลายจงใส่ ใ จให้ ม ากเพราะเป็ น นั ก เรี ย น จำเป็นต้องถือข้อนี้ให้ขลัง จึงจะรักษาตัวได้ดี มีน้ำฉลาดขึ้นทันทีในเวลา จะตอบปัญหาต้องให้ตรงกับปัญหา ในเวลาจะตอบคำที่เขาถาม ก็ต้องให้ ตรงกัน ในเวลาที่ฟังคำอธิบายก็คอยคุมใจให้อยู่ที่ อย่าให้ส่ายไปในที่ต่างๆ คอยกำหนดจดจำหัวข้อให้ได้ จึงจะสมกับที่เป็นนักเรียน
36
วารสาร “พุทธปทีป” Buddhapadipa Magazine
ปีที่ ๒๓ ฉบับที่ ๖๙ พ.ค.-ก.ย. ๒๕๕๖
37
โครงการบวชเนกขัมมะ (ศีลจาริณี) ประจำปี พุทธศักราช ๒๕๕๖ ระหว่างวันที่ ๒๐-๒๘ กรกฎาคม มีผู้เข้าร่วมในโครงการจำนวน ๗๔ คน เป็นเวลา ๙ วัน และมีคณะเจ้าภาพ นำอาหารมาบริจาคอำนวยความสะดวกตลอดทุกวัน ขออนุโมทนาบุญมา ณ ที่นี้
Temple Cleaning Day อีกกิจกรรมหนึ่งที่ทางวัดพุทธปทีป กรุงลอนดอน จัดขึ้นทุกปี เพื่อให้พุทธศาสนิกชนชาวไทยและชาวต่างชาติ ได้ช่วยกันทำความสะอาดวัด ปัดกวาด และเก็บใบไม้ ให้พื้นที่มีความสะอาดขึ้น ยามเห็นเป็นบุญตา เวลากลับมาเยี่ยมก็เบาใจ ขออนุโทนาบุญกับทุกท่านที่เสียสละเวลาไปช่วยเหลือวัดมา ณ ที่นี้
44
วารสาร “พุทธปทีป”
พระพุทธศาสนานั้น พระพุทธเจ้าทรง เรี ย กอี ก ชื่ อ หนึ่ ง ว่ า “กรรมวาท” (กล่าวหรือสอนเรื่องกรรม) ทรงเรียก พระองค์ เ องในบางครั้ ง ว่ า “กรรม วาที ” (ผู้ สั่ ง สอนเรื่ อ งกรรม) นั่ น ก็ หมายความว่ า คำสอนของพระพุ ท ธ องค์ไม่ว่าจะสอนเรื่องอะไร ทรงเน้น ไปที่ “กรรม” ทั้งนั้น กรรม คื อ การกระทำด้ ว ยเจตจำนง อั น แน่ ว แน่ ดั ง ที่ เ คยบอกให้ ท ราบแล้ ว นั่ น แหละครับ พูดให้เข้าใจง่ายก็ว่า เราอยาก จะได้อะไร อยากจะเป็นอะไร ต้องทำเอา เอง วิถีชีวิตของเราจะไปดีหรือไม่ดีอย่างไร ขึ้นอยู่กับ “กรรม” (การกระทำ) ของเราเอง ถ้าเราทำเหตุปัจจัยไว้ไม่ดี ผลก็ออกมาไม่ดี ถ้ า เราทำเหตุ ปั จ จั ย ไว้ ดี ผลก็ อ อกมาดี ดั ง พุทธวจนะว่า “หว่านพืชชนิดใด ย่อมได้ผล ชนิดนั้น ทำกรรมดีย่อมได้รับผลดี ทำกรรม ชั่วย่อมได้รับผลชั่ว”
ปีที่ ๒๒ ฉบับที่ ๖๗ ก.ค.-ธ.ค. ๕๕
45
ขอบคุณเจ้าของบทความ โดย ศ.เสฐียรพงษ์ วรรณปก ราชบัณฑิต
ในพระสู ต รหลายแห่ ง ได้ พู ด ถึ ง คน จำนวนมาก ชอบแต่ จ ะอ้ อ นวอนบวง สรวงโดยไม่คิดที่จะกระทำ อย่างเช่นคน อิ น เดี ย สมั ย โบราณที่ เ ชื่ อ ว่ า พระเจ้ า ของพวกเขาจะช่ ว ยดลบั น ดาลให้ ดั ง ปรารถนา จึงพากันสวดอ้อนวอนบ้าง ทำพิธีเซ่นสรวงอย่างใหญ่โตบ้าง พระพุทธเจ้า พระองค์ทรงตรัสสอน ภิกษุทั้งหลายว่า การกระทำเช่นนั้นไม่ ช่ ว ยให้ ค นพวกนั้ น ได้ รั บ สิ่ ง ที่ พ วกเขา ต้องการได้ เพราะพวกเขามิได้ “ทำ” เหตุ ปั จ จั ย ที่ จ ะอำนวยผลที่ ต้ อ งการ พระองค์ทรงยกอุปมาอุปไมยมาเปรียบ เทียบให้ฟังว่า กระทาชายคนหนึ่งปรารถนาจะข้าม ฟาก แทนที่จะเสาะแสวงหาเรือหรือแพ ที่จะพาเขาข้ามฝั่งได้ก็ไม่ทำ กลับนอน คลุมโปงอยู่บนฝั่งนี้เสีย กระทาชายนาย นี้ก็ไม่มีวันจะข้ามฝั่งได้ กระทาชายอีกนายหนึ่งปรารถนาจะ ข้ า มฝั่ ง เช่ น กั น ลงนั่ ง ประนมมื อ สวด
อ้อนวอนขอร้องให้ฝั่งโน้นมาหาเขา มา รั บ เขาข้ า มน้ ำ ต่ อ ให้ ส วดจนคอแหบ คอแห้ง กระทาชายนายนี้ก็ไม่สามารถ ข้ามฝั่งได้เช่นเดียวกัน ทุกอย่างเราต้อง “ทำ” เอาเอง ด้วย ความพากเพียรของเรา ต้องสร้างเหตุ ปั จ จั ย ที่ จ ะอำนวยผลในทางที่ ต้ อ งการ มิ ใ ช่ ห วั ง แต่ จ ะได้ ผ ล โดยไม่ ส ร้ า งเหตุ ปั จ จั ย ที่ ส อดคล้ อ ง หวั ง อย่ า งนี้ แ หละ ครับที่โบราณไทยเราเรียกว่า “หวังลมๆ แล้งๆ” เราหวังจะกินมะม่วงอกร่องที่เอร็ดอร่อย วิธีจะให้สมหวังอย่างง่ายๆ ก็ไป หาซื้อมันมาจากตลาด เลือกเอาที่ดีที่สุด หวานที่สุดตามต้องการ อย่างนี้รับรอง ได้กินแน่นอน อีกวิธีหนึ่ง (ยากหน่อย ใช้เวลานาน หน่ อ ย) คื อ ไปหาเมล็ ด มะม่ ว งพั น ธุ์ อกร่ อ งมาเพาะปลู ก ไว้ ที่ ห น้ า บ้ า นหรื อ หลังบ้าน หมั่นดูแลรดน้ำพรวนดินใส่ ปุ๋ยอย่างดี เมื่อต้นมะม่วงมันโตแล้วไม่กี่
46
วารสาร “พุทธปทีป” Buddhapadipa Magazine
ปีก็จะผลิตดอกออกผลให้เราเก็บกินได้ ตามต้องการ อย่างนี้แหละครับ ที่พระพุทธศาสนา ท่านว่า “สร้างเหตุปัจจัยที่สอดคล้องกับ ผลที่ เ ราต้ อ งการ เราจึ ง ได้ รั บ ผลตาม ปรารถนา” แต่ถ้าเราไม่ทำอย่างนั้นล่ะ สมมุติว่า เราอยากกิ น มะม่ ว ง แต่ เ ราสวดมนต์ อ้ อ นวอนทุ ก วั น ๆ “เจ้ า ประคู้ น ขอให้ มะม่ ว งอกร่ อ งรสหวานอร่ อ ยมาให้ เ รา กินเถิด” มะม่วงมันไม่มีขา มันจะมาให้ เรากินได้อย่างไร! คนทำอย่างนี้ ใครรู้ เข้าเขาก็จะหาว่าไม่บ้าก็เมาเท่านั้นเอง หลั ก กรรมของพระพุ ท ธเจ้ า ความ จริงเป็นเรื่องเข้าใจง่าย เพียงแต่เราทำ ในใจอยู่เสมอว่า กรรมคือการลงมือทำ ด้ ว ยตั ว เอง กรรมมิ ใ ช่ “กฎ” ลึ ก ลั บ มหัศจรรย์พันลึกอะไร อย่างที่เข้าใจผิด กันเป็นส่วนมาก ไม่ว่าพระพุทธองค์จะทรงสอนเรื่อง อะไร ก็จะทรงเน้น“กรรม”ไว้ด้วยเสมอ ไม่พูดตรงๆ ก็ “แฝงไว้” ให้รู้กันเอง ยก ตั ว อย่ า งหลั ก คำสอนที่ เ ราเรี ย กกั น ว่ า “หัวใจพระพุทธศาสนา” การไม่ทำความชั่วทั้งปวง การยังกุศล (ความดี) ให้ถึงพร้อม การทำจิตของตนให้ผ่องใส นี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ทั้งหลาย
เน้ น ตรงไหนครั บ เน้ น ที่ “การ กระทำ” ไม่ ทำ ชั่วทั้งปวง ทำ กุศลให้ พร้อม และ ทำ จิตให้ผ่องใส หลักกรรม ก็ “แฝง” อยู่ในพระโอวาทนี้ ถ้าเราไม่ พินิจพิจารณาก็อาจไม่ทราบได้ ทีนี้ลองมาดูหลักอริยสัจ ๔ ว่าเกี่ยว กับกรรมอย่างไร ตามที่เราทราบดีแล้ว อริยสัจ ๔ คือ ความจริ ง อั น ประเสริ ฐ ๔ ประการที่ พระพุ ท ธเจ้ า ตรั ส รู้ แ ละนำมาสอนชาว โลก คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ทุกข์ ก็คือ ปัญหาของชีวิต ทรงสอน ว่ า โลกนี้ มี ปั ญ หาสารพั ด นั บ ตั้ ง แต่ ปั ญ หาเล็ ก ๆ ไปจนกระทั่ ง ปั ญ หาใหญ่ ที่สุดเรียกว่าปัญหาตั้งแต่ “ไม้จิ้มฟันยัน เรือรบ” ว่าอย่างนั้นเถอะ สมุทัย ก็คือ สาเหตุของปัญหา ปัญหามิ ไ ด้ มี ขึ้ น มาลอยๆ มั น ต้ อ งมี เ หตุ ปัจจัยทำให้เกิด นิโรธ คือ การหมดปัญหา ภาวะไร้ ปัญหาโดยสิ้นเชิง ปัญหามีได้ก็ย่อมหมด ไปได้ มรรค คือ วิธีการแก้ปัญหา การจะ ให้ ปั ญ หาหมดไปก็ ต้ อ งมี วิ ธี ก ารแก้ ไ ข ไม่ใช่อยู่เฉยๆ มันจะหมดไปเอง หลักอริยสัจ ๔ นี้เน้นอะไรครับ เน้น
ปีที่ ๒๓ ฉบับที่ ๖๙ พ.ค.-ก.ย. ๒๕๕๖ ว่ า “เราต้ อ งใช้ ปั ญ ญาแก้ ไ ขปั ญ หา” หรือพูดอีกนัยหนึ่งก็ว่า อริยสัจ ๔ คือ หลักว่าด้วยการรู้จัก “แก้ปัญหา” ด้วย “ปัญญา” คุ ณ ธรรมที่ เ ด่ น ในหลั ก ธรรมนี้ ก็ คื อ ปัญญา ความรู้ ความเข้าใจ ถ้าไม่มีความรู้ความเข้าใจ แก้ปัญหา ได้ไหม? ไม่ได้ดอกครับ ขืนแก้ไปทั้งๆ ที่ไม่รู้ มี แ ต่ ท างผู ก ปมปั ญ หาให้ ยุ่ ง เหยิ ง ยิ่ ง ขึ้ น ไม่ต่างอะไรกับลิงติดตัง เห็นเขาเอาตัง (ยางเหนี ย วสำหรั บ ดั ก สั ต ว์ ) มาวางไว้ เอามื อ ซ้ า ยจั บ มื อ ซ้ า ยติ ด มื อ ขวาจั บ มือขวาก็ติด เอาเท้าซ้ายถีบเท้าซ้ายก็ติด เอาเท้าขวาถีบเท้าขวาก็ติด เอาปากกัด ปากก็ติด ผลที่สุดก็ “ติดตัง” ดิ้นอย่าง น่าสงสาร ฉันใดก็ฉันนั้นแหละ ในนิ ท านชาดกเรื่ อ ง มโหสถชาดก ได้ เ ล่ า ถึ ง เด็ ก น้ อ ยโพธิ สั ต ว์ ชื่ อ มโหสถ เป็นคนฉลาดมาก จนกระทั่งพระเจ้า แผ่นดินทรงทราบกิตติศัพท์ ให้ปุโรหิต มาดูพฤติการณ์ของเด็กน้อย พอพิสูจน์ ได้ ว่ า เด็ ก น้ อ ยฉลาดเหนื อ คนธรรมดา จริ ง ๆ จึ ง เชิ ญ ไปอยู่ ใ นวั ง เมื่ อ โตมา มโหสถก็ได้เป็นปุโรหิตของพระเจ้าแผ่น ดินพระองค์นั้น เด็ ก น้ อ ยมโหสถได้ ใ ช้ ปั ญ ญาแก้ ไ ข ปั ญ หาของชาวบ้ า นหลายครั้ ง เป็ น ที่
47
อัศจรรย์ ครั้งหนึ่งมีเหยี่ยวมาโฉบเอา เนื้อที่ชาวบ้านเขาตากแดดไว้ พวกเด็กๆ และผู้ใหญ่ในหมู่บ้านต่างก็ร้องบอกต่อๆ กัน พากันวิ่งไล่เหยี่ยว สะดุดตอไม้บ้าง ก้อนดินบ้าง หกล้มได้รับบาดเจ็บคนละ เล็กละน้ อ ยแถมยั ง ไม่ ไ ด้ เ นื้ อ คื น อี ก ต่ า ง หาก เด็กน้อยมโหสถไตร่ตรองดูแล้ว เห็น ว่ า วิ ธี ก ารไล่ เ หยี่ ย วของชาวบ้ า นไม่ ถู ก ต้ อ ง วั น หนึ่ ง เหยี่ ย วตั ว เดิ ม มาเอาเนื้ อ ชาวบ้านไปอีก มโหสถจึงวิ่งไล่เช่นเดียว กั บ ชาวบ้ า นแต่ ม โหสถมิ ไ ด้ วิ่ ง ไปแหงน หน้าดูเหยี่ยวไปเหมือนคนอื่น เธอก้มมองดูเงาเหยี่ยวที่พื้นดิน วิ่ง ไล่ตามเงาเหยี่ยวไปจนทัน พอทันเงา แล้วก็เงยหน้าขึ้น ปรบมือ ตะโกนร้อง เสี ย งดั ง จนกระทั่ ง เหยี่ ย วมั น ตกใจ ปล่อยก้อนเนื้อที่คาบอยู่ลงมา เป็นอันว่าเจ้าของเนื้อได้เนื้อคืน เพราะเด็ ก น้ อ ยมโหสถได้ ใ ช้ ปั ญ ญา แก้ปัญหา อีกคราวหนึ่ง มีผู้หญิงสองคนแย่งลูก กัน นัยว่า คนหนึ่งเป็นนางยักษิณีแปลง กายมา ชาวบ้านมามุงดูกลุ่มใหญ่ หญิง สาวสองคนต่างก็เถียงว่าตนเป็นแม่ เด็ก น้อยเป็นลูกชายของตน ไม่มีผู้ใดตัดสิน ได้ เพราะไม่รู้ว่าใครแม่แท้ใครแม่เทียม มโหสถมาพบเข้าพอดี อาสาตัดสิน ความให้ วิธีของมโหสถก็คือ ให้หญิงสาว
48
วารสาร “พุทธปทีป” Buddhapadipa Magazine
ทั้งสองจับเด็กคนละข้าง คนหนึ่งจับเท้า คนหนึ่ ง จั บ หั ว แล้ ว ดึ ง ใครดึ ง ได้ ค นนั้ น แหละเป็นแม่ หญิ ง ทั้ ง สองต่ า งก็ ดึ ง เด็ ก เด็ ก เจ็ บ ก็ ร้องไห้ลั่น ผู้เป็นแม่สงสารลูกจึงปล่อย มือยืนร้องไห้สะอึกสะอื้น อีกคนได้เด็ก แล้วก็ยิ้มอย่างดีใจ พร้อมร้องว่า “เห็น ไหม ฉันบอกว่าฉันเป็นแม่ก็ไม่เชื่อ” มโหสถกล่าวว่า ท่านมิใช่แม่ของเด็ก คนที่ ยื น ร้ อ งไห้ นั่ น ต่ า งหากเป็ น แม่ เพราะแม่ที่แท้จริงย่อมสงสารลูก เห็น ลูกเจ็บปวด ทนไม่ได้จึงวางมือ นางยักษิณีหลงกลมโหสถ ก็สำแดง ตั ว แล้ ว หนี ไ ป หญิ ง สาวก็ ไ ด้ ลู ก ของตน คืน เพราะมโหสถใช้ปัญญาแก้ไขปัญหา ให้ สรุปตรงนี้ก็คือ หลักอริยสัจ ๔ ก็คือ หลักแห่งการใช้ปัญญาแก้ไขปัญหาชีวิต เขียนมาจนจะจบแล้ว ท่านอาจถาม ขึ้นว่า แล้วมันเกี่ยวกับหลักกรรมอย่างไร ก็ขอตอบว่า หลักกรรมก็ “แฝง” อยู่
ในนี้ แ หละครั บ พิ จ ารณาให้ ดี ก็ จ ะเห็ น การแก้ปัญหานั้น ถ้ามีแต่ปัญญาความรู้ ความเข้าใจอย่างเดียวแก้สำเร็จไหมครับ ขอถามหน่อยเถอะ สมมติว่าคุณติดบุหรี่ อย่างงอมแงม ตอนหลังคุณคิดได้ว่าบุหรี่ นี้ มี โ ทษมากมาย ทำให้ เ ป็ น มะเร็ ง ใน ปอด ทำให้ เ ป็ น โรคถุ ง ลมโป่ ง .....อะไร สารพัด คุ ณ รู้ ว่ า มั น มี โ ทษมากมาย แต่ ไ ม่ “ลงมืออด” บุหรี่ด้วยตัวคุณเอง คุณจะ อดบุหรี่ได้ไหมครับ ผมตอบแทนก็ ไ ด้ อดไม่ ไ ด้ แ น่ น อน ทั้งๆ ที่คุณรู้นั่นแหละ แต่รับรองอดไม่ได้ เพราะคุณไม่ได้ลงมืออดจริงๆ นี่แหละครับ ปัญญาอย่างเดียวแก้ไม่ ได้ ต้องลงมือทำจริงๆ การกระทำนั่นไง คือสิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า “กรรม” ละ กรรม (การกระทำ) จึงเกี่ยวข้องกับ หลั ก อริ ย สั จ ๔ ด้ ว ยประการฉะนี้ แ ล “โยมหยิน” (รวมถึง “โยมหยาง” ด้วย)
ปีที่ ๒๓ ฉบับที่ ๖๙ พ.ค.-ก.ย. ๒๕๕๖
49
ในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม ๒๕๕๖ ที่ผ่านมา มีการบวชศีลจาริณี ที่วัดพุทธปทีป กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ มีผู้เข้าบวชศีลจาริณีในครั้งนี้ จำนวน ๗๔ คน เป็ น ระยะเวลา ๙ วั น ซึ่ ง พระครู ภ าวนาวิ ธ าน (พระ อาจารย์สุทัศน์ อมรสุทฺธิ) ท่านได้เรียกการถือบวชครั้งนี้ว่า “ฤดูกาลพาไปพบ ธรรม” ดังเป็นที่ทราบกันแล้วนั้น มีอุบาสิกาผู้บวชศีลจาริณีหลายท่าน มัก จะถามผู้เขียนว่า “พระอาจารย์ค่ะ ชีวิตของคนเรานี้มีอะไรเป็นตัวกำหนด?” “ทำไมบางคนทำชั่วแต่ได้ดี?” เป็นผู้มีข้อสงสัยเยอะว่างั้นเถอะ ถือว่าเป็น คำถามที่ดี ในเบื้องต้นผู้เขียนก็ได้ตอบคำถามไปบ้างแล้วหลังภาคปฏิบัติ วิปัสสนากรรมฐานและถือโอกาสตอบคำถามดังกล่าวอีกครั้งดังนี้ ประการที่หนึ่ง : ต้องเข้าใจก่อนว่าชีวิตการเวียนว่ายตายเกิด
สิ่งทั้งหลายทั้งปวงบนโลกใบนี้เกิดขึ้นมาได้ ดำรงอยู่ได้ เป็นไปได้ และแตกสลายไป ล้วนแล้วแต่มีเหตุปัจจัยสนับสนุนมีเหตุปัจจัยปรุงแต่ง
และมี เ หตุ ปั จ จั ย ตั ด รอน นี่ คื อ ลั ก ษณะของการอาศั ย ซึ่ ง กั น และกั น เกิ ด กล่าวคือ มีเกิด ก็ต้องมีเจ็บ มีแก่ชรา และมีตายในที่สุด มันไม่เที่ยง เป็น ทุกข์และไม่มีตัวตน แต่คนทั่วไปที่ยังเป็นปุถุชน หลายท่านก็ยากที่จะเข้าใจ ในกฏธรรมชาติดังกล่าวนี้ เพราะยังถูกอวิชชาครอบงำอยู่ การดำเนินชีวิต ประจำวันของคนเราก็เช่นกัน บางครั้งดูเหมือนว่าเป็นปกติ มีทั้งสุขและ ทุกข์คละเคล้ากันไป แต่ทุกชีวิตก็เป็นไปตามวงจรของปฏิจจสมุปบาททั้งสิ้น นั่นคือมุ่งดำเนินชีวิตเข้าสู่หนทางแห่งทุกข์ตามลำดับโดยไม่รู้ตัว กล่าวคือ เกิดการสั่งสมทุกข์ไว้ตลอดเวลาโดยไม่รู้ตัว มันรอโอกาสที่กำเริบได้ทุกขณะ การเวียนว่ายตายเกิดจึงเป็นไปตามกฎแห่งกรรม กฏแห่งกรรมนั้นเป็นส่วน หนึ่งในกระบวนการแห่งปฎิจจสมุปบาท ธรรมชาติ ค วามจริ ง ของชี วิ ต ที่ เ กิ ด ขึ้ น และเป็ น ไปโดยอาการของ ธรรมชาติแบบนี้ ไม่มีผู้ใดสามารถฝ่าฝืนหรือหลีกเลี่ยงกฎธรรมชาตินี้ได้ นอกจากผู้ ที่ มี วิ ช ชาแก่ ก ล้ า อย่ า งเช่ น องค์ ส มเด็ จ พระสั ม มาสั ม พุ ท ธเจ้ า เท่านั้น พระองค์ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง รู้และเข้าใจธรรมหรือธรรมชาติ
54
วารสาร “พุทธปทีป” อันยิ่งใหญ่ของวงจรชีวิต ที่เวียนว่ายตายเกิดตามหลัก ปฏิ จ จสมุ ป บาทด้ ว ยพระองค์ เ อง กล่ า วคื อ เห็ น เหตุ ธรรมชาติของการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป รู้เหตุแห่งการ เกิ ด ทุ ก ข์ อย่ า งแจ่ ม แจ้ ง แทงตลอดถึ ง ขั้ น ปรมั ต ถ์ พระองค์ มี วิ ช ชาสามารถดั บ เหตุ แ ห่ ง ทุ ก ข์ เ หล่ า นั้ น ได้ อย่างสิ้นเชิง ประการที่สอง: กรรมกำหนดชีวิตมนุษย์
กฏธรรมชาติซึ่งเป็นหลักธรรมที่พระพุทธเจ้าทรง ค้ น พบและประกาศไว้ ต่ อ มนุ ษ ย์ โ ลกมาเป็ น เวลา ยาวนานกว่า ๒๕ ศตวรรษแล้ว ในเรื่องของกรรมนั้น พระองค์ได้ตรัสไว้ในหลักปฏิจจสมุปบาทหรือหลักอิทัปปัจจยตาว่าด้วยกฏแห่งกรรม กรรมนิยมหรือกรรมวาที ซึ่ ง เป็ น คำสอนที่ มุ่ ง ให้ ม นุ ษ ย์ รู้ ถึ ง หลั ก ความจริ ง ของ สรรพสิ่งที่ว่า ทำกรรมดี ย่อมได้ผลกรรมดี ทำกรรมชั่ว ย่อมได้รับผลของกรรมชั่ว โดยความหมายนี้ชีวิตมนุษย์ นั้นตกอยู่ภายใต้การลิขิตของกรรม ดังพุทธพจน์ทีว่า “กัมมัง สัตเต วิภัชชะติ ยะทิทัง หีนัปปะนีตายะ” แปลว่า กรรมเป็นผู้จำแนกสัตว์ให้เลว(ทราม)หรือให้ดี(ประณีต) ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่า กรรมกำหนดชีวิตมนุษย์ ประการที่สาม: ผลของกรรม
ทุ ก ชี วิ ต จะดี ห รื อ ชั่ ว ขึ้ น อยู่ กั บ ผลของกรรมหรื อ การ
ปีที่ ๒๒ ฉบับที่ ๖๗ ก.ค. - ธ.ค. ๕๕
กระทำของตนเอง กัมมัสสะโกมหิ เรามีกรรมเป็นของ ของตน ยัง กัมมัง กริสสามิ กัลยาณัง วา ปาปะกัง วา ตัสสะ ทายาโท ภะวิสสามิ เราทำกรรมอันใดไว้ จะดี ก็ตาม จะชั่วก็ตาม เราจักต้องได้รับผลของกรรมนั้น. การที่ อุ บ าสิ ก าทั้ ง หลายได้ ถื อ บวชศี ล จาริ ณี นั้ น เริ่ ม ต้ น จากใจที่ เ ป็ น กุ ศ ล ใจเป็ น สั ม มาทิ ฏ ฐิ (มโน สุจริต)ก่อนแล้ว นี่เรียกว่า “บุญนำ” ส่งผลต่อการกระทำ ทางกายและวาจาที่ดี หรือกายสุจริตและวจีสุจริต มี การสำรวมกาย วาจา อย่ า งเรี ย บร้ อ ยในขณะปฏิ บั ติ วิปัสสนากัมมัฏฐาน จึงเป็นการกระทำความดี เป็นการ บำเพ็ญกุศลให้เกิดขึ้นแก่ตนเอง การทำความดี ย่อมได้ รับผลดี มีความสุขกายสบายใจ นี่เรียกว่า “กรรมแต่ง” ดังอธิบายมา ก็พอสมควรแก่คำถามข้างต้น ส่วน ที่ ถ ามว่ า บางคนทำชั่ ว แต่ ไ ด้ ดี นั้ น ขอตอบโดยสรุ ป ว่ า หลักสัจธรรมกฎแห่งกรรมมีอยู่ว่า ทำดีย่อมได้ดี ทำชั่ว ย่อมได้ชั่ว แต่บางคนในปัจจุบันนี้ ทำความชั่วกลับได้ดี
55
56
วารสาร “พุทธปทีป”
นั้น เขายังเสวยกรรมเก่าซึ่งเป็นกรรมดีที่เคยทำไว้ก่อนหน้านั้น และกรรม ใหม่ซึ่งเป็นกรรมชั่วที่เขาทำในปัจจุบันยังไม่ให้ผล บุคคลที่มีลักษณะเช่นนี้ ทางธรรมเรียกว่า “บุคคลผู้สว่างมามืดไป” จึงทำให้เราเข้าใจว่าคนนี้ทำความ ชั่วแล้วได้ดี แท้ที่จริงแล้วหาเป็นเช่นนั้นไม่ ทำดีย่อมได้ดีมีกุศล ผลเป็นสุข กายใจไม่เศร้าหมอง ทำชั่วย่อมได้ชั่วจิตหมองมัว ทำกรรมใดไว้เป็นกุศล ประพฤติตนบริสุทธิ์ผลผ่องแผ้ว กรรมดีส่งผลแล้วชาตินี้ดีเสมอ ทำกรรมชั่ว ก่อไว้เป็นอกุศล ชั่วประพฤติตนผิดจนเดือดร้อน ความชั่วส่งผลย้อนยอกย้ำ กรรมสนอง ขอให้ ผู้ ป ระพฤติ ป ฏิ บั ติ ต ามหลั ก ธรรมคำสอนขององค์ ส มเด็ จ พระ สัมมาสัมพุทธเจ้า จงเป็นสุขโดยทั่วกันทุกท่านเทอญ เอวัง ก็มีด้วยประการ ฉะนี้
ปีที่ ๒๑ ฉบับที่ ๖๖ เม.ย. - มิ.ย. ๕๕
57
รักกันอยู่ขอบฟ้า เขาเขียว เสมออยู่หอแห่งเดียว ร่วมห้อง ชังกัน บ่ แลเหลียว ตาต่อ กันนา เหมือนขอบฟ้ามาป้อง ป่าไม้มาบัง พระสมุทรสุดลึกล้น คณนา สายดิ่งทิ้งทอดมา หยั่งได้ เขาสูงอาจวัดวา กำหนด จิตมนุษย์นี้ไซร้ ยากแท้หยั่งถึง
ปฏิ เ สธไม่ ไ ด้ ว่ า คนเรานี้ มี ส ถานะ ความสัมพันธ์ที่ต่างกัน ปฏิเสธไม่ได้เช่น กันว่าคนเราต้องการความรัก ความเอา อกเอาใจ ความห่ ว งใยเอาใจใส่ ห รื อ กระทั่ ง ความสงสาร “จากคนอื่ น ” บางทีสถานะความสัมพันธ์เหล่านี้ก็เพิ่ม ขึ้นจากศูนย์จนถึงร้อย บางทีก็ลดลงจาก ร้ อ ยจนถึ ง ศู น ย์ ยิ่ ง ปฏิ เ สธอี ก ไม่ ไ ด้ เ ช่ น กั น ว่ า ทั้ ง หมดที่ ส ร้ า งขึ้ น นั้ น เพี ย งเพื่ อ ไขว่ ค ว้ า หา “ความสุ ข ” ผู้ เ ขี ย นได้ ยิ น เรื่ อ งเล่ า “สถานะความสั ม พั น ธ์ แ บบ บวกและลบ” ก็รู้สึกเห็นใจ เพราะส่วน ตัวแล้วเคยเก็บความสงสัยเรื่องนี้ ตั้งแต่ อยู่ที่ลอนดอนแล้วว่า ทำไมคนเราถึงมา รู้จักกันและคบหากัน ตามสถานะความ สั ม พั น ธ์ ม ากน้ อ ยจะพาไป ผู้ เ ขี ย นเฝ้ า
ครุ่ น คิ ด และสั ง เกตใครต่ อ ใครเรื่ อ ยมา กระทั่ ง มาสั ง เกตที่ “ ตั ว เอง”ก็ ยั ง ไม่ ไ ด้ คำตอบ ผู้อ่านเคยสงสัยหรือไม่ว่าทำไม บางคนช่างดีแสนดีกับเรา บางคนก็รัก เรามากมายเหลือเกิน บางคนก็คอยช่วย เหลือเสมอ บางคนเป็นห่วงเป็นใย คอย ถามไถ่ สุ ข ทุ ก ข์ เ รื่ อ ยมา ถ้ า เป็ น อย่ า งนี้ เราก็จะชอบใจ ตกอยู่ภายใต้อารมณ์ที่ น่ า ใคร่ น่ า ปรารถนา (Pleasant) แต่ ทำไมกับบางคนถึงได้โดนว่าโดนตำหนิ ไม่ชอบใจ ไม่สบอารมณ์หรือโดนเฉยเมย อยู่เสมอ ถ้าเป็นอย่างนี้เราจะไม่ชอบใจ ตกอยู่ ภ ายใต้ อ ารมณ์ ที่ ไ ม่ น่ า ปรารถนา (Unpleasant) เรื่องราวมากมายเหล่านี้ ผู้ เ ขี ย นได้ สั ง เกตและออกเดิ น ทางตาม หาคำตอบ จนพบคำตอบเข้าในวันหนึ่ง
60
วารสาร “พุทธปทีป” Buddhapadipa Magazine
และคิดว่าถ้าได้เขียนให้ได้อ่าน ผู้อ่านก็ น่าจะมีความสุขไม่น้อย ดังนี้ ๔ เหตุผลหลักที่ีคนคบกัน ๑.คบเพราะรั ก (เมตตา: Loving Kindness) ความรักประเภทนี้ ขึ้นอยู่ กั บ ว่ า คนเราจะรั ก กั น เพื่ อ เหตุ ผ ลหรื อ วัตถุ-ประสงค์อะไร จึงเป็นเหตุให้ต้อง คอยคบคอยรักเรื่อยมา ๒.คบเพราะสงสาร (กรุณา: Compassion) ความสงสารประเภทนี้ เป็น ความเห็ น อกเห็ น ใจ อยากยื่ น มื อ ช่ ว ย เหลื อ อยากให้ ผู้ อื่ น พ้ น จากความทุ ก ข์ ทรมานความเศร้าต่างๆ จึงเป็นเหตุให้ ต้องคอยคบคอยสงสารเรื่อยมา ๓.คบเพราะมี ค วามสุ ข (มุ ทิ ต า: Sympathetic Joy) คบเพราะประโยชน์ นั้นมีต่อกัน มีความดีงาม มีความผาสุก ร่ ว มกั น หรื อ ด้ ว ยเหตุ ผ ลใดเหตุ ผ ลหนึ่ ง จึงเป็นเหตุให้ต้องคอยคบคอย มีความ ปรารถนาดีต่อกันเรื่อยมา ๔.คบแบบเฉยๆ (อุเบกขา: Equanimity) คบแบบเฉยๆ เป็ น ความอิ่ ม ตั ว ของสถานะ ไม่สามารถเรียกได้อย่างเต็ม ปากว่า คบเพราะรัก เพราะสงสารหรือ เพราะมี ค วามสุ ข ใจด้ ว ย เป็ น สถานะ แบบหนึ่งที่กลางๆ พอดีๆ ไม่มากไม่น้อย ไปมาหาสู่ กั น ได้ แต่ ไ ม่ มี ค ำนิ ย ามของ
สถานภาพที่แน่นอน เป็นความสัมพันธ์ แบบทั่วไปของสังคมมนุษย์ อารมณ์ชนิด นี้ต้องระวัง เพราะอาจลดลงเหลือศูนย์ ได้อย่างฉับพลัน ถือว่าเสี่ยงต่อการถูก ความโกรธ ความหลงครอบงำได้ ง่ า ย เพราะไม่ มี ส ถานะที่ ชั ด เจนมารองรั บ ความสัมพันธ์ขั้นนี้ จนบางครั้งอาจโดน ตำหนิและด่าทอ เพราะสภาวะจิตใจที่ ไร้ ค วามรั ก ความสงสารหรื อ ความสุ ข ที่แท้จริงนั่นเอง เช่น นายจ้างกับลูกจ้าง มักจะมีอารมณ์ด้านลบต่อกันอยู่เนืองๆ เป็นต้น ไม่ใ ช่ เ รื่ อ งง่ า ยเลยที่ ค นผู้ ห นึ่ ง นั้ น จะ มองเห็นคุณค่าของอีกฝ่ายได้ด้วยความ บริสุทธิ์ใจ (Clear Conscience) เพราะ คนเรามั ก มี เ หตุ แ ละผลแอบแฝงอยู่ ใ น ความสัมพันธ์เสมอ มีทั้งที่เป็นบวกเป็น ลบคู่ กั น เพราะฉะนั้ น ถ้ า เราได้ ทุ่ ม เท เวลาเกือบทั้งหมดของชีวิตไปคุ้นเคยกับ ใครแล้ว ก็ควรรักษาคุณค่าที่หาเจอนั้น ไว้นานๆ มองข้ามในสิ่งที่ควรมองข้าม เก็บและจดจำในสิ่งที่ควรเก็บ และโดย เฉพาะ“ความดีงาม”ที่ทำ ให้การคบหา นั้นยืนยาวออกไป อนึ่งเหตุผลเหล่านี้ ถ้าไม่มีรากเหง้า ของกามราคะ โทสะ (โกรธ) โมหะ (หลง) มาประกอบด้วยแล้ว นั่นถือเป็น “สภาวะความบริสุทธิ์” แท้จริง แต่ยาก จะหาเจอ โดยมากเจือปนกันไป ที่เป็น
ปีที่ ๒๓ ฉบับที่ ๖๙ พ.ค.-ก.ย. ๒๕๕๖
61
เช่นนี้ ก็เพราะความเป็นปุถุชนของเรา นั่ น เอง แต่ ทั้ ง สี่ เ หตุ ผ ลนั้ น สามารถ พัฒนาขึ้น-ลงหากัน กลายเป็นอีกเหตุผลได้เสมอ แท้ จ ริ ง แล้ ว การคบค้าสมาคมกันไม่ สามารถสงเคราะห์เข้ากับคุณธรรมทั้ง ๔ ประการนี้ ไ ด้ เ ท่ า ใดนั ก เป็ น เพี ย งการ อุปมาหรือเปรียบเทียบให้เห็นสัจธรรม ของคนชั ด เจนขึ้ น เท่ า นั้ น เพราะคุ ณ ธรรมทั้ง ๔ ประการนี้เป็นคุณธรรมของ
รับจากอีกคน บางคนถูกนิยามไว้แต่แรก อย่างไร ก็ยังคงความถูกนิยามสถานะไว้ อย่ า งนั้ น เช่ น คนที่ ถู ก รั ก ตั้ ง แต่ แ รก อย่างไรก็ยังถูกรักอยู่อย่างนั้น เป็นต้น บางคนอาจมี ทุ ก เหตุ ผ ลในคนคนเดี ย ว เช่ น เป็ น ได้ ทั้ ง รั ก ทั้ ง สงสาร ความ ปรารถนาดี หรืออาจถูกเมินเฉย เป็นต้น ที่ยกตัวอย่างเช่นนี้ เพราะต้องการสื่อว่า คนเราล้วนมีสภาวะความไม่มั่นคงด้าน อารมณ์ อ ยู่ เ สมอ ขึ้ น ๆ ลงๆ มากน้ อ ย
ผู้ประเสริฐ (พรหมวิหารธรรม) อุปมาดัง พ่ อ กั บ แม่่ เ ป็ น ผู้ ป ระเสริ ฐ ของบุ ต ร ที่ มี แต่เพียงความรักความสงสารอันบริสุทธิ์ แต่เพียงถ่ายเดียว เป็นต้น “ขอบเขตสถานะความสัมพันธ์” จะ ขึ้นอยู่กับ “นิยามสถานะความสัมพันธ์” แต่ละคนที่เราเกี่ยวข้องนั้นต้องยอมรับ ว่ า คนเหล่ า นั้ น ถู ก จำกั ด นิ ย ามสถานะ ความสัมพันธ์ไว้แล้ว สถานะดังกล่าวนี้ ขึ้นอยู่กับสภาวะความผกผันของอารมณ์ ความสุขหรือประโยชน์อย่างหนึ่งที่จะได้
สลับสับเปลี่ยนกันไป แต่นี่ก็ไม่ใช่เรื่อง ผิ ด พลาดหรื อ ผิ ด ปกติ แ ต่ อ ย่ า งใด เป็ น สภาวะทั่วๆ ไปของมนุษย์เรา แต่เนื่องจากสิ่งเหล่านี้ก็ไม่ใช่นิยามที่ แน่นอนเสมอไป เพราะทุกสถานะอาจ ถูกพัฒนาขึ้น-ลงได้ ตามความเหมาะสม ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับคุณงามความดีที่ทำร่วม กั น ความประทั บ ใจ บุ ญ กุ ศ ล วาสนา และองค์ประกอบอื่นๆ อีกมากมาย โดย เฉพาะ “ประโยชน์และความสุข” ที่จะ ได้รับร่วม แต่สิ่งที่ต้องตระหนักเนืองๆ ก็
62
วารสาร “พุทธปทีป” Buddhapadipa Magazine
คื อ “จะเป็ น อย่ า งไร? เมื่ อ บุ ญ และ วาสนาที่ ผู ก คนเราไว้ ด้ ว ยกั น นั้ น หมด ลง?” เพราะอารมณ์มนุษย์มีสภาวะแปร ปรวนผกผั น “ไม่ มั่ น คง ไม่ เ ที่ ย ง ไม่ แน่นอน” อุปมาเหมือนผลไม้สุกที่หล่น ลงพื้ น เมื่ อ ถึ ง เวลา ต่ อ ให้ พ ยายามมาก เพียงใดก็ ไ ม่ มี ท างที่ จะเอาไปติดไว้ได้ดี ดังเดิม สรรพสิ่งล้วนเป็นไปตามธรรมชาติ คนเราก็คือธรรมชาติ (กายกับใจ ผันแปรผกผันซึ่งกันและกัน) ใจคนเราก็ คือธรรมชาติ เพราะฉะนั้นให้เข้าใจ “ธรรมดาของ ธรรมชาติ ” เถิ ด ว่ า มี ส ภาวะไม่ มั่ น คง เกิดขึ้น คงอยู่ ผันแปรและดับสลายใน ที่ สุ ด ธรรมชาติ มั น ก็ เ ป็ น อย่ า งนี้ เมื่ อ เข้าใจธรรมชาติของคนว่าเป็นธรรมดา อย่างนี้แล้ว ที่สุดใจเราก็จะเข้าสู่สภาวะ ความสมดุ ล ทางอารมณ์ ห รื อ “ภาวะ ปล่อยวาง” ไม่ยึดมั่นถือมั่น ใจของเราก็ จะถู ก ปลดเปลื้ อ งออกจากพั น ธนาการ ทาสของอารมณ์ ที่ ช อบ-ไม่ ช อบ เป็ น อิ ส ระจากอารมณ์ โ ดยเฉพาะอารมณ์ ด้านลบ ที่สุดแล้วใจเราก็จะเป็นสุข ไม่ว่าคนเราจะมาเจอกันด้วยเหตุผล ใดก็ตาม ก็ขอให้ “พอดี” พบเจอกันที่ “ดี พ อ” ไม่ ต้ อ งมากไปไม่ ต้ อ งน้ อ ยไป แค่ “พอ-ดี-พอ” ไม่ว่าเราจะไม่ใช่ความ รั ก ไม่ ใ ช่ ค วามสงสาร ไม่ ใ ช่ ป ระโยชน์ หรือความสุขอื่นใดของใคร ก็จงอย่าลืม
มอบความรัก ความสงสาร ประโยชน์ และความสุ ข เหล่ า นั้ น กลั บ คื น มาสู่ ตนเอง ฉะนั้น เมื่อมีความรักที่ดี ความ สงสารที่ดี ความสุขที่ดี ก็จงรักษาความ ดีงามเหล่านั้นเอาไว้ให้นาน เพราะชีวิต ของคนเราก็ไม่ได้มีเวลามากมายเท่าใด นักที่จะรู้จักกันหรือคบกันอย่างจีรังยั่ง ยืน สิ่งสำคัญเหนือสิ่งอื่นใดทั้งหมด ชีวิต คนเรานี้มีเรื่องราวมากมายที่จะต้องทำ ต้ อ งเดิ น ต่ อ โดยเฉพาะการสร้ า งบุ ญ กุศล การสร้างคุณงามความดี การรักษา ศี ล การให้ ท าน การประพฤติ ป ฏิ บั ติ ธรรม เป็ น ต้ น นี้ ต่ า งหากคื อ “สาระ” ของชี วิ ต ถ้ า เรามี ค วามรู้ สึ ก ดี ง ามกั บ ใครด้ ว ยเหตุ ผ ลใดก็ ต าม ก็ จ งชวนคน เหล่ า นั้ น ไปทำบุ ญ ทำกุ ศ ลร่ ว มกั น ให้ มากๆ บุ ญ กุ ศ ลนี้ ต่ า งหากจะเป็ น ตั ว เหนี่ ย วนำคนสองคนมาพบกั น ด้ ว ย ความรั ก ความสงสารและด้ ว ยความ สุ ข ร่ ว มกั น และงานเขี ย นชิ้ น นี้ ผู้ เ ขี ย น หวังแต่เ พี ย งอย่ า งเดี ย วว่ า จะเป็ น เพี ย ง “ยาบรรเทา” ให้รู้เท่าทัน “ความสุขความทุ ก ข์ ” ที่ ขึ้ น ๆ ลงๆ ไม่ แ น่ น อน ผกผั น ตลอดเวลา เพื่ อ ที่ จ ะได้ “ปรั บ ตัว-ปรับใจ” ให้ทันกับบางสถานะความ สัมพันธ์ที่ทำให้ใจที่เป็นทุกข์ ได้ฟื้นคืน กลั บ มามี ค วามสุ ข มี ชี วิ ต ชี ว าอี ก ครั้ ง ก็ เท่านั้นเอง ฯ
ปีที่ ๒๓ ฉบับที่ ๖๙ พ.ค.-ก.ย. ๒๕๕๖
63
64
วารสาร “พุทธปทีป” Buddhapadipa Magazine
สาเหตุของการนอนไม่หลับในผู้สูงอายุ แบ่งออกได้เป็น ๒ สาเหตุใหญ่ๆ คือ ๑. เกิดเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของความชรา โดยปกติ เ มื่ อ มนุ ษ ย์ เ ริ่ ม เข้ า สู่ วั ย ชรา สมองจะมี ก ารเปลี่ ย นแปลงไปในทางเสื่อมเหมือนเช่นอวัยวะอื่น โดยลักษณะการ นอนของผู้สูงอายุจะมีลักษณะดังต่อไปนี้ • ระยะเวลาของการนอนตอนกลางคืนจะลดลง • ใช้เวลานานขึ้นหลังจากเข้านอนเพื่อที่จะหลับ • ช่วงระยะที่หลับแบบตื้น (ตอนที่กำลังเคลิ้มแต่ยังไม่ หลับสนิท) จะยาวขึ้น ขณะที่ช่วงระยะที่หลับสนิทจริงๆ จะลดลง • จะมีการตื่นขึ้นบ่อยๆ กลางดึก
ปีที่ ๒๓ ฉบับที่ ๖๙ พ.ค.-ก.ย. ๒๕๕๖
65
ดังนั้นผู้สูงอายุแม้จะมีสุขภาพดีทั้งกายและใจ สมวัย ก็อาจรู้สึกว่าตัวเองนอนน้อยลง หรื อ คิ ด ไปว่ า นอนไม่ ห ลั บ แต่ มี ข้ อ ที่ น่ า สั ง เกตคื อ ผู้ ป่ ว ยกลุ่ ม นี้ แ ม้ จ ะดู เ หมื อ นว่ า “นอนไม่หลับ” แต่ช่วงกลางวันก็มักจะไม่มีอาการง่วงเหงาหาวนอนแต่อย่างใด ๒. เกิดเนื่องจากมีโรคที่เป็นพยาธิสภาพซ่อนอยู่ ได้แก่ จากยาที่ผู้สูงอายุกำลังใช้อยู่ ยาบางประเภทโดยเฉพาะยาที่ออกฤทธิ์ในระบบประสาทส่วนกลางหรือสมอง ทำให้ ผู้สูงอายุมีอาการนอนไม่หลับอยู่บ่อยๆ เช่น การใช้ยานอนหลับนานๆ ยารักษา อาการสั่น เคลื่อนไหวช้าในโรค Pakinsonism หรือบางครั้งอาจเป็นส่วนผสมของยา รักษาโรคอื่นที่ไม่เกี่ยวกับทางสมองเช่น alcohol ในพวกยาน้ำแก้ไอ หรือ caffeine ที่ผสมในยารักษาโรคหวัด เป็นต้น เมื่อผู้สูงอายุหยุดการใช้ยาเหล่านี้ อาการนอนไม่ หลับก็จะหายไปเอง • โรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ ผู้สูงอายุที่มีโรคใดก็ตามที่ทำให้ต้องตื่นขึ้นมาปัสสาวะบ่อยๆ ตอนกลางคืน
66
วารสาร “พุทธปทีป” Buddhapadipa Magazine
ก็จะมีผลต่อการนอนด้วย เช่น โรคเบาหวาน จะทำให้ปัสสาวะบ่อยและปริมาณ ปัสสาวะมาก โรคต่อมลูกหมากโตในผู้สูงอายุชาย โรคไตวายเรื้อรัง หรือแม้แต่การ ใช้ยาขับปัสสาวะในผู้ที่มีความดันโลหิตสูง หรือภาวะหัวใจวาย ก็ทำให้มีปัสสาวะ ตอนกลางคืนได้บ่อย • ความเจ็บปวด ความเจ็บปวดทางกายไม่ว่าจากอวัยวะใด จะมีผลทางอ้อมต่อการนอน หลับในผู้สูงอายุเสมอ ที่พบบ่อยมักเกิดจาก โรคของกระดูกและข้อเสื่อม ที่ทำให้เกิด อาการเจ็บปวดเรื้อรังได้ เช่น ข้อเข้าเสื่อม กระดูกคอเสื่อม เป็นต้น นอกจากนั้น อาการเจ็บปวดอาจเกิดจากอวัยวะภายในช่องท้องเช่น ท้องผูก แน่นท้อง อาการไม่ ย่อย เป็นต้น • โรคสมองเสื่อมและภาวะจิตผิดปกติ ผู้สูงอายุที่เริ่มมีสมองเสื่อมในระยะแรกจะมีอาการนอนไม่หลับได้ เพิ่ม จากอาการขี้หลงขี้ลืม หรือพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป ส่วนสาเหตุของสมองเสื่อม ในผู้สูงอายุไทยมักเกิดจากการอุดตันของเส้นโลหิตในสมองที่เกิดซ้ำกันหลายๆ ครั้ง อาจจะมีหรือไม่มีอาการของอัมพาตร่วมด้วยก็ได้ นอกจากนั้นภาวะซึมเศร้าก็เป็น สาเหตุของการนอนยากในผู้สูงอายุได้ โดยผู้ป่วยมักจะมีลักษณะที่เข้านอนได้ตาม ปกติ แต่ตื่นขึ้นกลางดึกเช่น ตี 3-4 แล้วไม่สามารถนอนต่อได้อีก • อื่นๆ ผู้สูงอายุบางรายเวลานอนหลับสนิท สมองส่วนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการ กระตุ้นการหายใจจะทำงานลดลง ผู้ป่วยอาจหยุดหายใจได้ชั่วขณะ จากนั้นสมองจะ ถูกกระตุ้นอีกครั้งอย่างรุนแรงเพื่อให้หายใจ ขณะนั้นผู้ป่วยอาจตื่นขึ้นมาได้ทำให้การ นอนหลับไม่ต่อเนื่องได้ หรือบางรายเวลาหลับสนิท ลิ้นในช่องปากจะตกย้อนไปข้าง หลังและอุดกั้นทางเดินหายใจ ทำให้เกิดเสียงกรนขึ้นได้ และถ้าอุดกั้นมากขึ้นถึงกับ ทำให้อากาศไม่สามารถผ่านเข้าหลอดลมและปอด สมองก็จะถูกกระตุ้นอย่างรุนแรง เพื่อให้ร่างกายพยายามหายใจก็ทำให้ผู้ป่วยตื่นขึ้นได้อีกเช่นกัน จากสาเหตุของการนอนหลับที่กล่าวมาแล้วข้างต้น จะเห็นว่าผู้ป่วยจำเป็น
ปีที่ ๒๓ ฉบับที่ ๖๙ พ.ค.-ก.ย. ๒๕๕๖
67
ต้องได้รับการซักประวัติการเจ็บไข้ได้ป่วย ประวัติการนอน และตรวจร่างกายจาก แพทย์โดยละเอียดเพื่อสืบสาวถึงสาเหตุที่แท้จริงของการนอนไม่หลับในผู้ป่วยแต่ละ ราย ในขั้นต้น ผู้สูงอายุที่เริ่มประสบปัญหาการนอนไม่หลับ มีข้อปฏิบัติบาง ประการที่อาจช่วยบรรเทาอาการนอนไม่หลับได้ ดังนี้ • พยายามหลีกเลี่ยงการนอนกลางวัน หรือจำกัดเวลาการนอนกลางวัน ไม่ ควรเกินครึ่งชั่วโมงในช่วงบ่าย • หลีกเลี่ยงการดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์, เครื่องดื่มที่มีคาเฟ อีน เช่น กาแฟ โดยเฉพาะเวลาเย็น เป็นต้น • ไม่ควรดื่มน้ำในช่วงเวลา 4-5 ชั่วโมงก่อนที่จะถึงเวลาเข้านอน ถ้ามี ปัญหาปัสสาวะเวลากลางคืนบ่อยๆ • เพิ่มกิจกรรมหรือการออกกำลังกายในช่วงเวลากลางวันให้มากขึ้น • ถ้าผู้สูงอายุไม่มีอาการง่วงนอนเมื่อถึงเวลาเข้านอน และไม่สามารถนอน หลับได้ ก็ควรลุกขึ้นมาหาอะไรทำดีกว่าที่จะนอนกลิ้งไปมาบนเตียง • กำหนดเวลาอาหารมื้อเย็นให้คงที่สม่ำเสมอและควรจะเป็นอาหารที่มี protein สูงเมื่อเทียบกับมื้ออื่นๆ • พยายามจัดสิ่งแวดล้อมภายในห้องนอนให้เงียบและมืดพอสมควร ไม่ ร้อนหรือหนาวเกินไป • ฝึกการทำสมาธิเพื่อให้จิตใจสงบ โดยสรุ ป ผู้สูงอายุมักประสบกับปัญหาการนอนไม่ ห ลั บ ได้ บ่ อ ยๆ ทั้ ง นี้ เนื่องจากความชรา มีผลกระทบต่อความเสื่อมของสมอง ผู้สูงอายุโดยทั่วไปจึงควร ทำความเข้าใจกับปัญหาที่เป็น “ปกติ” ในผู้สูงอายุและพยายามปฏิบัติตัวตามคำ แนะนำดังกล่าวข้างต้น และเมื่ออาการนอนไม่หลับยังไม่ดีขึ้น ผู้สูงอายุก็อาจจำเป็น ต้องรับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์ เพื่อค้นหาโรคต่างๆ ที่อาจเป็นสาเหตุของการ นอนไม่หลับในผู้สูงอายุต่อไป
68
วารสาร “พุทธปทีป” Buddhapadipa Magazine
คุณวันชัย-คุณลำใย ภู่นุ่ม ร้านอาหารรำวง Guildford พระครูภาวนาภิราม (สวัสดิ์)และพุทธศาสนิกชนในเขตเวลส์ พระครูภาวนาวิธาน (สุทัศน์) อุทิศถวายเป็นอาจริยบูชา คุณธัญญรัตน์ ศานติชาติศักดิ์ ร้านไทโถ วิมเบิลดัน ลอนดอน ร้านอาหารไทยแลนด์ (Thailand Epsom) ร้านอาหารตำหนักไทย (Tamnag Thai) คุณรุจิรา BaiPho Thai Remedy Fullham Road คุณโสภิตา ภักดี พร้อมครอบครัว น.ส.บุญกอง ศิลากุล และครอบครัว คุณสิรินทรา แก้วกุลศรี (คุณแมว) น.ส.เอลิซาเบท ค๊อกซ์ คุณเพ็ญนภา โธมาส คุณบุนนาก บูเซอร์ (สวิตเซอร์แลนด์) คุณแต้ว Shuttleworth ร้านอาหารสาวสยาม SOA SIAM คุณอินธิชา วอลซ์และนายแพทธริค วอลซ์ น.ส.เบญจวรรณ สิทธิโชค คุณนันทวรรณ กิ๊บสัน และครอบครัว น.ส.ชนาภัทร์ สุวรรณ์อุทิศแด่นายแดง สุวรรณ์ พระวรพล ป. กิตฺติวณฺโณ อุทิศส่วนกุศลแด่พ่อส่วน-แม่ไข-พี่วิไล พี่หนูเพียร-น้องสังวร มะคะที คุณกมลเนตร ริกนีย์และครอบครัว คุณแพรว สุภานุรัตน์ และครอบครัว คุณครูลิน โรสและครอบครัว “ถวัลย์วีนัสพันธ์”
๓๐๐ ๒๐๐ ๒๐๐ ๒๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๕๐ ๕๐ ๕๐ ๕๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐
ปอนด์ ปอนด์ ปอนด์ ปอนด์ ปอนด์ ปอนด์ ปอนด์ ปอนด์ ปอนด์ ปอนด์ ปอนด์ ปอนด์ ส/ฟ. ปอนด์ ปอนด์ ปอนด์ ปอนด์ ปอนด์
๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐
ปอนด์ ปอนด์ ปอนด์ ปอนด์
ปีที่ ๒๓ ฉบับที่ ๖๙ พ.ค.-ก.ย. ๒๕๕๖
69
ครอบครัว “กองทอง” อุทิศให้คุณพ่อณรงค์ กองทอง ๒๐ ปอนด์ ร้านอาหาร Hansa’s Thai Kitchen ๒๐ ปอนด์ นางยุพาวรรณ เดชพุ่มไสว และครอบครัว ๒๐ ปอนด์ Mrs.Usanee - Mr.Stephen Woodcock ๒๐ ปอนด์ คุณพรรพิไล ดรุณพันธ์-ด.ช.จอห์น สแทรกตัน ๒๐ ปอนด์ คุณสุฑาดา ศีลอุดม ๒๐ ปอนด์ คุณถรวรต์ งามพฤกษ์วานิชย์และครอบครัว ๒๐ ปอนด์ น.ส.กาญจนา ซุลศักดิ์สกุล และครอบครัว ๒๐ ปอนด์ Eric Abercrombie - Nok Silabut ๒๐ ปอนด์ Raymond Oliver Pum Oliver, Meaw ๒๐ ปอนด์ คุณประคอง ดาช์ และครอบครัว ๑๐ ปอนด์ คุณอัญมณี BURT ๑๐ ปอนด์ คุณจินตนา โกสีนันท์ STEVENS ๑๐ ปอนด์ คุณไพลิน อินทร์สมบูรณ์ ๑๐ ปอนด์ Namrin Rammell and Family ๑๐ ปอนด์ คุณปริม NAYLOR ๑๐ ปอนด์ คุณนงนุช บัวน้ำอ้อม ๑๐ ปอนด์ คุณอาริย์ เฮงประสิทธิ์ และครอบครัว ๑๐ ปอนด์ MS S FAWCETT ๑๐ ปอนด์ น.ส.รัชนี ตรีสุทธิวงษา และครอบครัว ๑๐ ปอนด์ คุณกนกอร กลิ่มศรีสุขและครอบครัว ๕ ปอนด์ คุณเมย์ ศิรวรรณศิริ และครอบครัว ๕ ปอนด์ หากรายชื่อของท่านผิดพลาดหรือไม่ได้ประกาศอนุโมทนา ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้
70
วารสาร “พุทธปทีป”
1. วัดพุทธปทีป กรุงลอนดอน โทร. 0208 946 1357 www.padipa.org 2. วัดธรรมปทีป สก๊อตแลนด์ โทร. 0131 443 1010 www.dpadipa.org 3. วัดสังฆปทีป เวลส์ โทร. 01685 84 3986 www.spadipa.org 4. วัดพุทธาราม กรุงลอนดอน โทร. 0208 530 2111 www.watbuddharam.org.uk 5. วัดมหาธาตุสหราชอาณาจักร คิงส์บอร์มลี่ย์ โทร. 01543 472 315 www.watthaiuk.co.uk 6. วัดสันติวงศาราม เบอร์มิ่งแฮม โทร. 0121 551 5729 www.watsantiwong.com 7. วัดศรีรัตนาราม แมนเชสเตอร์ โทร. 0161 998 4427 www.watsriuk.org 8. วัดอมราวดี 0144 284 3239 www.amaravati.org
9. วัดป่าจิตตวิเวก โทร.01730 814 986 www.cittavivek.org 10. วัดอรุณรัตนคีรี โทร. 01661 881612 www.ratanagiri.org.uk 11. วัดป่าสันติธรรม โทร. 092 662 4385 www.foresthermitage.org.uk 12. วัดพุทธวิหาร อ๊อกฟอร์ด โทร. 01865 791 591 www.oxfordbuddhavihara.org.uk 13. วัดธรรมกายลอนดอน โทร. 01483 475 757 www.watlondon.org 14. วัดธรรมกาย แมนเชสเตอร์ โทร. 0161 736 1633 www.kalayanamitra.org 15. วัดพระสิงห์-ยูเค โทร. 01928 723422 www.watphrasinghuk.org 16. สถานเอกอัครราชทูตไทย โทร. 0207 589 2944 ext. 5500 www.thaiembassyuk.org.uk
ปีที่ ๒๒ ฉบับที่ ๖๗ ก.ค.-ธ.ค. ๕๕
ขอความความสุขสวัสดี จงมีแด่ท่านผู้อ่าน ทุ ก คน พธส (พุ ท ธปที ป สาร) หลบมุ ม ซุ่ ม ซ้ อ มเพื่ อ จั ด เตรี ย มทำต้ น ฉบั บ จั ด หน้ า วารสาร แข่งขันกับ“เวลา” ที่ยิ่งไล่ล่า ยิ่งทิ้ง ห่าง ฉบับนี้ขอส่งข่าวเล่าขานสู่ท่านทั้งหลาย ดังต่อไปนี้ • สมเด็จพระพุฒาจารย์มรณภาพ นับว่าเป็นความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่แห่งคณะ สงฆ์ไทยอีกครั้งที่ พระเดชพระคุณท่านเจ้า ประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเส โณ) อดีตประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จ พระสังฆราชและประธานกำกับดูแล พระ ธรรมทูตสายต่างประเทศ (มหานิกาย) ได้ละ สั ง ขารไปเมื่ อ วั น ที่ ๑๐ สิ ง หาคม ๒๕๕๖ รวมสิริอายุได้ ๘๕ ปี ๖๔ พรรษา ขณะนี้ บำเพ็ ญ กุ ศ ลสวดพระอภิ ธ รรม ณ วั ด สระ เกศราชวรมหาวิหารเป็น ๑๐๐ วัน เพื่อเปิด โอกาสให้ พุ ท ธศาสนิ ก ชนชาวไทยจากทั่ ว สารทิศทั้งในเมืองไทยและจากต่างประเทศ ได้เข้าสักการะ องค์กรพระธรรมทูตไทยใน สหราชอาณาจักรและพุทธศาสนิกชนชาว ไทยได้รับจองเป็นเจ้าภาพสวดพระอภิธรรม ในวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ นี้ ส่วน การบำเพ็ญกุศลในประเทศอังกฤษ แต่ละวัด ได้ประกอบพิธีบำเพ็ญกุศลอุทิศถวายไปบ้าง แล้ว และได้จัดพิธีบำเพ็ญบุญครบรอบ ๕๐ วัน (ปัญญาสมวาร) ในวันเสาร์ที่ ๒๘ และ วันอาทิตย์ที่ ๒๙ ก.ย. นี้ โดยมีวัดไทยและ พระสงฆ์ไทยจากทุกวัด รวมทั้งหน่วยงาน
71
ราชการไทย พ่อค้าประชาชน ร่วมกิจกรรม ครั้งนี้ ในนามพุทธศาสนิกชนชาวไทยในสห ราชอาณาจั ก ร ขอน้ อ มสั ก การะแด่ ด วง วิญญาณอันบริสุทธิ์ ให้สถิตย์ในทิพยเขตอัน บริสุทธิ์บริบูรณ์ด้วยเทอญฯ • ฤดูกาลพาใจไปพบธรรม ณ วัดพุทธปทีป เมื่อวันที่ ๒๐-๒๘ ก.ค. ที่ผ่านมา คณะสงฆ์ วัดพุทธปทีป กรุงลอนดอน จัดโครงการบวช เนกขัมมะ (บวชศีลจาริณี) ประจำปีขึ้น เพื่อ ให้สุภาพสตรีได้เข้าวัดปฏิบัติธรรมชำระจิต ของตนให้ผ่องแผ้ว ภายใต้แนวคิด “ฤดูกาล พาใจไปพบธรรม” ซึ่งในปีนี้มีผู้สนใจเข้าร่วม ในโครงการดังกล่าวจำนวน ๗๔ คน เป็น เวลา ๙ วันเต็ม โดยแต่ละวันมีกิจวัตรตั้งแต่ เวลา ๐๕.๓๐ น. (ทำวัตรเช้าแปล) จนถึง เวลา ๒๑.๐๐ น. (เลิกกิจกรรมประจำวัน) พระสงฆ์ ทุ ก รู ป ผั ด เปลี่ ย นนำการปฏิ บั ติ วิปัสสนากรรมฐาน พร้อมทั้งบรรยายธรรม เสริมความเข้าใจ ทั้งในส่วนที่เป็นการเรียน ข้อธรรมะและภาคปฏิบัติ กิจกรรมครั้งนี้ นำ ความสงบมาสู่ใจของทุกคน นอกจากนี้ยังมี คณะเจ้ า ภาพนำอาหารมาถวายพระสงฆ์ และเลี้ ย งศี ล จาริ ณี ทุ ก วั น เช่ น วั น ที่ ๒๐ ก.ค. คุณธัญญรัตน์ ศานติชาติศักดิ์ ร้านไท โถ, วันที่ ๒๑ ร้านอัมรันตร์ Earlsfield, วันที่ ๒๒ กลุ่มยุวพุทธิกะฯ วันที่ ๒๓ ร้านอาหาร พัชรี,วันที่ ๒๔ ร้านไทยปิ่นโต Leatherhead, วันที่ ๒๕ ร้านไทยแลนด์ Epsome, วันที่ ๒๖ คุณรุ่งและคณะเพื่อน, วันที่ ๒๗ ร้าน
72
วารสาร “พุทธปทีป”
อีสานเขียว และวันที่ ๒๘ วัดสังฆปทีปและ คณะศรั ท ธาจากเวลส์ - ร้ า นบ้ า นสุ ข สบาย (นวดไทยแผนโบราณ) ร้านอาหารหรรษา รวมทั้งยังมีสายธารศรัทธานำอาหารหวาน คาวมาอย่างสมบูรณ์ทุกวัน จึงขออนุโมทนา บุญกับทุกท่านมา ณ ที่นี้ • เยาวชนชาวอังกฤษเยีย่ มชมวัดมากขึน้ ตั้งแต่เดือน กุมภาพันธ์จนถึงเดือนกรกฎาคม ๒๕๕๖ มีนักเรียน นักศึกษาชาวอังกฤษ เข้าเยี่ยมชมวัดพุทธปทีป เรียนรู้พระพุทธ ศาสนา จำนวนเพิ่มขึ้นถึงพันกว่าคน โดย ส่ ว นใหญ่ ไ ด้ เ รี ย นเรื่ อ งศาสนาในโรงเรี ย น หรือทำโปรเจ็ค (Assignment Project) ส่งครู จากการที่ได้ให้คำสัมภาษณ์ พบว่าส่วนใหญ่ เลือกเขียนหัวข้อไตรลักษณ์บ้าง อริยสัจ ๔ และมรรคมีองค์ ๘ บ้าง ถือว่าเป็นหัวข้อติด อันดับเลยทีเดียว ดูแนวโน้มแล้วมีจำนวน มากยอมรับว่า พระพุทธศาสนาคือคำสอน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต และการทำจิตให้ สงบได้มากขึ้น จึงเป็นที่น่าดีใจมากที่มีวัด ไทย พระสงฆ์ไทยในแผ่นดินนี้ ฉะนั้นเวลา ผ่านไปที่วัดพบเห็นเยาวชนอังกฤษในลาน วัด ก็ไม่ต้องแปลกใจ เพราะเขาเหล่านั้นคือ ผู้ที่กำลัง “เข้าใกล้พุทธธรรม” นั่นเอง • โครงการสอนภาษาไทยภาคฤดูรอ้ น ระหว่างวันที่ ๑-๓๐ ส.ค.ที่ผ่านมา รร.พอ. วัดพุทธปทีป ดำเนินกิจกรรมสอนภาษาไทย ในภาคฤดูร้อน มีครูอาสาจาก คณะศึกษา ศาสตร์ ม.ขอนแก่ น ๓ ท่ า นทำหน้ า ที่ ค รู อาสา และมีเยาวชนไทยเข้าร่วม ๓๐ คน นอกจากนั้ น ยั ง ได้ มี ก ารขยายงานไปที่ ไอร์แลนด์ใต้ ซึ่งเปิดเป็นปีแรก มีเยาวชนเข้า
อบรมจำนวนมากทีเดียว คาดว่าปีต่อไปคง ต้องเพิ่มครูอาสาและแยกการทำงานออกไป ยังเมืองอื่นๆ ด้วย • รับสมัครเรียนธรรมศึกษาปี 2556-57 พุ ท ธศาสนิ ก ชนที่ ป ระสงค์ จ ะเรี ย นธรรมะ ศึกษา สามารถสมัครเรียนได้แล้ว ที่วัดพุทธ ปทีป สอบถามรายละเอียดที่ พระอาจารย์ สุทัศน์ อมรสุทฺธิ โทร.07447932217 เรียน วันอาทิตย์ เริ่มวันที่ ๑๓ ต.ค. ๕๖ ดูราย ละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.padipa.org • ทำบุญตักบาตร “เทโว” ประจำปี วัดพุทธปทีป จัดพิธีทำบุญตักบาตรเทโว วัน ที่ ๒๐ ต.ค. ๕๖ ขอเชิญชวนไปร่วมบำเพ็ญ บุญครั้งนี้ ด้วยการตักบาตรเครื่องกระป๋อง ของแห้ง พิธีเริ่มเวลา ๑๐.๐๐ น. เป็นต้นไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติมทางเวบไซต์ • ทำบุญทอดกฐิน-ลอยกระทง ปี ๒๕๕๖ พิธีทอดกฐินและลอยกระทงจะมีขึ้นในวันที่ ๑๗ พ.ย ๕๖ ศกนี้ เริ่ ม เวลา ๐๙.๓๐ น.เป็นต้นไป ภาคเช้าถวายผ้าพระกฐิน และ ภาคบ่ายมีการแสดงบนเวที การออกร้าน จำหน่ายอาหารและอีกมากมาย ขอเชิญไป ร่วมทำบุญด้วยกัน • พิธที ำบุญสวดมนต์ขา้ มปี/ตักบาตรปีใหม่ คืนวันที่ 31 ธันวาคม 2556 นี้ วัดพุทธ ปทีป ประกอบพิธี“ สวดมนต์ ข้ า มปี ท ำดี ไ ว้ เป็นทุน” เวลา 23.00 น- 01.00 น. ในภาค เช้าวันที่ 1 ม.ค. 2557 (2014) มีพิธีทำบุญ ตักบาตรวันขึ้นปีใหม่ เริ่มเวลา 10.00 น. เป็นต้นไป จึงขอเชิญชวนท่านไปร่วมพิธีครั้ง นี้ โดยทั่วกัน โทร 0208 9461357
ปีที่ ๒๒ ฉบับที่ ๖๗ ก.ค.-ธ.ค. ๕๕
73
74
วารสาร “พุทธปทีป”
ปีนี้วัดสังฆปทีป มีพระจำพรรษา 2 รูป คือ พระครูภาวนาภิราม (พระอาจารย์สวัสดิ์ ญาณธโร) และรพะมหาอดุล ยโสธโร ส่วนอุบาสกที่ดูแลพระก็ยังเป็นลุงเทียนชัย คำทอง เช่นเดิม และปีนี้ยังมีโยมฉัตมณี (โยมรอง) มาช่วยคุณลุงอีกแรง ส่วนญาติโยมทางฝั่งเวลส์ก็ ยังมั่นคงได้แบ่งวาระกันมาดูแลพระสงฆ์อย่างสม่ำเสมอ ปีนี้วัดสังฆปทีปไม่มีกฐิน เพราะพระไม่พอ จึงขออภัยท่านที่ตั้งใจไว้ว่าจอมาร่วมงาน ทอดกฐินสามัคคีกันอีกครั้ง แต่ทางวัดจะจัดให้มีการทำบุญทอดผ้าป่าสามัคคีแทนก่อนออก พรรษาเพื่อเปิดโอกาสให้ญาติโยมได้ทำบุญกันใน วันที่ 13 ตุลาคม 2556 หรือท่านสามารถ ทำบุญได้ตามโอกาสอันควรเถิด ขออนุโมทนาบุญกับญาติโยมในเขตเวลส์ ที่ชักชวนกันทำบุญตามหัวเมือน้อยใหญ่ ตามโอกาส มากน้อยไม่สำคัญ อยู่ที่ใจเราเป็นบุญก็เพียงพอ เรื่องการแสวงหาสถานที่ใหม่ ก็ยังดำเนินไปอย่างไม่หยุด หลายคนยังรอคอย และ หลายคนอาจจะพ้อ แต่ก็เพิ่งถอยหนีจากกันไป สักวันเราต้องได้ที่ใหม่เพื่อวัดไทยเราจะได้ มั่นคงให้ลูกหลานเราในอนคต คงจะมีความดีในไม่ช้า อนุโมทนากับญาติโยมที่บุญทั้งทางตรงและทางอ้อม ทั้งกำลังกาย กำลังทรัพย์ กำลัง ปัญญาความสามารถ ความสามัคคีจะทำให้พวกเราอยู่กันอย่างร่มเย็นเป็นสุขฉะนครอบครัว ท้ายนี้ ขอให้ทุกคนมีความสุข สุขภาพแข็งแรง มีกำลังกาย กำลังใจ ที่จะดำเนินชีวิต ไปสู่เป้าหมายที่ดีงามต่อไป
ปีที่ ๒๒ ฉบับที่ ๖๗ ก.ค.-ธ.ค. ๕๕
75
76
วารสาร “พุทธปทีป”
ปีที่ ๒๒ ฉบับที่ ๖๗ ก.ค.-ธ.ค. ๕๕
77
78
วารสาร “พุทธปทีป”
ปีที่ ๒๒ ฉบับที่ ๖๗ ก.ค.-ธ.ค. ๕๕
79
80
วารสาร “พุทธปทีป”