G eta w ay
เพลินบุญกฐินพระราชทานที่
KATHMANDU NEPAL เรื่อง / ภาพ รัชชา
แม้ น ไม่ ไ ด้ เ ป็ น มหานครใหญ่ ร ะดั บ โลกที่ รุ่งเรืองด้วยอ�ำนาจทางเศรษฐกิจหรือความ น�ำสมัย แต่กรุงกาฐมาณฑุ เมืองหลวงของ สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล ก็ ร�่ำรวยด้วยมรดกทางวัฒนธรรมอันประเมิน ค่าไม่ได้ ซึ่งแฝงเข้ากับวิถีชีวิตของผู้คนอย่าง กลมกลืน กระทั่งกลายเป็นเสน่ห์ที่ท�ำให้ที่นี่ ติดในลิสต์ต้นๆ ของหนึ่งเป้าหมายที่ต้องไป เยือนเสมอ โดยเฉพาะในกลุม่ พุทธศาสนิกชน 0190
ทีย่ อ่ มปรารถนาการแสวงบุญในดินแดนอันมี ร่องรอยแห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเด่นชัด สักครั้งในชีวิต เช่ น เดี ย วกั บ การเยื อ นอย่ า งเป็ น ทางการ อี ก ครั้ ง ของกระทรวงการต่ า งประเทศ พร้ อ ม อัญเชิญผ้าพระกฐินพระราชทาน ตามโครงการ ในพระมหากรุ ณ าธิ คุ ณ ของพระบาทสมเด็ จ พระเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์พระพุทธ ศาสนาและมี พ ระราชด� ำ ริ ใ นการส่ ง เสริ ม การ
กระชับความสัมพันธ์กบั มิตรประเทศทีอ่ ยูใ่ นกลุม่ วัฒนธรรมพุทธศาสนาเช่นเดียวกัน ไปทอดถวาย ณ วัดอนันทะกุฏวิ หิ าร กรุงกาฐมาณฑุ โดยมีนาย เตช บุนนาค ผูช้ ว่ ยเลขาธิการสภากาชาดไทย และ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วยเหล่าข้าราชการ รวมถึงนิตยสารลิปส์ ที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ ให้ร่วมเดินทางในครั้งนี้ด้วย
ของผู้คนที่สวมส่าหรีหรือผ้าปักดูงดงามซึ่งคอย เป็นภาพเคลื่อนไหวที่ทยอยผ่านมาทักทายเรา ตลอดริมสองข้างทาง ก็แสดงสัญญาณชัดเจน ว่าเรามาถึงกรุงกาฐมาณฑุแล้ว ในการนี้ นางขันธ์ทอง อูนากูล เอกอัครราชทูต ไทย ณ กรุงกาฐมาณฑุ พร้อมเจ้าหน้าที่สถานทูต ได้ให้การต้อนรับเป็นอย่างดีตลอดการเดินทาง และการพ�ำนักอยู่ในประเทศเนปาลตลอดเวลา 3 วัน 2 คืน กระทัง่ ภารกิจต่างๆ รวมถึงการท่องเทีย่ ว เพือ่ ศึกษาอารยธรรมแบบเนปาลของคณะอันเชิญ ผ้าพระกฐินพระราชทานส�ำเร็จลุลว่ งไปด้วยดีและ มีความอิม่ เอมใจ ซึง่ ผูเ้ ขียนขอเก็บรายละเอียดอัน น่าประทับใจและเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่น่าสนใจ มาฝากลิปสเตอร์ ดังปรากฎผ่านตัวอักษรตั้งแต่ ในบรรทัดถัดไปจากนี้
ทันทีที่เครื่องบินลงจอด ณ ท่าอากาศยาน ตรีภวู นั กรุงกาฐมาณฑุ ในตอนบ่ายของวันหนึง่ ช่วงปลายปีที่สภาพอากาศในเนปาลก�ำลังเย็น สบาย คณะอัญเชิญผ้าพระกฐินพระราชทานก็ นัง่ รถต่อเพือ่ มุง่ ตรงเข้าสูต่ วั เมือง และยิง่ เข้าใกล้ ย่านชุมชนมากขึ้นเท่าไหร่ บรรดาตึกสีสันสดใส แซมช่องหน้าต่างสวย โดยเฉพาะตึกทีส่ ร้างด้วย อิฐอันจะดูเป็นเอกลักษณ์ของที่นี่ และศาสน สถานที่เรียงราย รวมถึงการสัญจรผ่านไปมา
นมัสการพระบรมสารีริกธาตุ ที่สถูป สวยัมภูนาท (วัดลิง) ด้ ว ยวั ด อนั น ทะกุ ฏิ วิ ห าร อั น เป็ น วั ด เป้ า หมายของการอัญเชิญผ้าพระกฐินพระราชทาน ไปทอดถวายในครั้งนี้ มีท�ำเลที่ตั้งอยู่บริเวณ เชิงเขาสวยัมภู ซึ่งเป็นเนินเขาส�ำคัญในตัวเมือง กาฐมาณฑุ อันประกอบไปด้วยกลุม่ ของศาสนา สถานซึง่ เป็นศูนย์รวมแห่งศรัทธาของชาวเนปาล โดยหนึ่งในนั้นคือ สถูปสวยัมภูนาท หรือที่เรียก กันว่า วัดลิง เนื่องจากมีลิงอาศัยอยู่เยอะ ท�ำให้ หลังจากทีค่ ณะอันเชิญผ้าพระกฐินพระราชทาน ท�ำภารกิจแรก คือ การส�ำรวจและตระเตรียม พื้ น ที่ ณ วั ด อนั น ทะกุ ฏิ วิ ห ารส� ำ หรั บ พิ ธี ท อด พระกฐินในวันรุ่งขึ้นเสร็จเรียบร้อยแล้ว เราจึง มีโอกาสได้เดินขึ้นบันได 365 ขั้นไปสู่ยอดเขา เพื่อนมัสการและชมความงดงามของสถูปสวยัม ภูนาท สถูปเก่าแก่ที่สุดในเนปาล ซึ่งเป็นศาสน สถานที่ได้รับการจดบันทึกเป็นมรดกโลก ภายในสถู ป สวยั ม ภู น าทประดิ ษ ฐาน พระบรมสารีรกิ ธาตุทไี่ ด้รบั มาจากหลายประเทศ กลุม่ ชาวพุทธ ส่วนภายนอกอร่ามเรืองด้วยสีทอง และเป็นที่น่าสนใจด้วยภาพดวงตาเห็นธรรม หรือ Wisdom Eyes ของพระพุทธเจ้าอยู่โดย รอบทั้ง 4 ด้าน โดยชาวเนปาลจะเรียกตาคู่นี้ว่า 0191
จานแรกเป็นเมนูรวมธัญพืชและเนื้อสัตว์ปรุง ซึ่งจานนี้จะต้องรับประทานตามพิธีกรรมตาม ความเชื่อของศาสนาฮินดู โดยให้แบ่งอาหาร ทุกส่วนภายในจานเพียงเล็กน้อยไปใส่ไว้ในจาน ขนาดเล็กรูปใบโพธิท์ ที่ างร้านจะเตรียมไว้ให้แล้ว พร้อมอุปกรณ์รบั ประทานอาหารอืน่ ๆ ของแต่ละ คน ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการบูชาพระกฤษณะ และ ขอบคุณเทพเจ้าก่อนจะเริ่มรับประทานอาหาร มื้อส�ำคัญ การชิมรสต�ำรับดั้งเดิมท�ำให้เราสังเกตได้ ว่า อาหารเนปาลส่วนใหญ่จะเน้นไปทีพ่ ชื ผักทีม่ ี ความสดใหม่ และเนื้อสัตว์ที่ปรุงด้วยเครื่องเทศ ก�ำจายกลิ่นหอมหวนต่างๆ ซึ่งรวมแล้วจะให้รส สัมผัสทัง้ ทางปากและจมูกไปพร้อมกันอย่างเป็น ที่น่าพึงพอใจ แถมถ้าชอบจานไหนเป็นพิเศษที่ ภัตตาคาร Krishnarpan ยังมีบริการเติมได้ ให้ ทุกคนได้มคี วามสุขกับการลิม้ ลองอาหารเนปาล แท้ๆ จนอิ่มหน�ำ ก่อนจะอ�ำลากันด้วยการมอบ อิฐก้อนเล็กทีพ่ มิ พ์ลายสัญลักษณ์มงคล 8 อย่าง ตามความเชื่อของชาวเนปาล เช่น ปลาทองคู่ ที่ เป็นสัญลักษณ์ของความส�ำราญใจและความ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของคู่รัก เป็นต้น เพื่อ เป็นการอวยพรให้กลับไปพร้อมความโชคดี
ฮัมมิกะ อันมีความหมายเดียวกัน และสือ่ นัยยะ ถึงการเชิญชวนให้ผู้คนท�ำดี ตลอดจนเดินทาง มาแสวงหาความจริงอันเร้นลับแห่งวิถีชีวิตทาง ธรรมะ กับทั้งวัฒนธรรมเนปาล ซึ่งผสมผสาน กลิน่ อายศาสนาฮินดูกบั ศาสนาพุทธเข้าด้วยกัน ได้กลมกลืนอย่างน่าเหลือเชื่อทีเดียว อีกสิง่ หนึง่ ทีน่ า่ สนใจทีส่ ถูปสวยัมภูนาทคือ วงล้อโลหะสีนำ�้ ตาลแดงทีเ่ รียงรายรอบๆ ตัวสถูป โดยเราอาจอธิบายได้ว่าคลับคล้ายคลับคลา กับระฆังรอบกุฏิในประเทศไทยที่มีไว้เพื่อเคาะ ให้เกิดเสียงดังแล้วน�ำความโชคดีมาให้ ทว่าที่ เนปาลนั้นจะเรียกวงล้อโลหะนี้ว่า วงล้อสวด มนต์ หรือ Prayer Wheel แล้วใช้การหมุนแทน การตี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อน�ำความโชคดีมา สู่ตนเองเช่นกัน ซึ่งวงล้อนี้จะสามารถพบได้ใน ทุกวัดของเนปาล และยังมีการจ�ำลองขนาดให้ เล็กลงแล้วจ�ำหน่ายเป็นของทีร่ ะลึกขึน้ ชือ่ อีกด้วย เนือ่ งจากมีรปู ทรงและลวดลายสวยงาม ประกอบ กับยังศรัทธากันว่า การหมุนวงล้อนี้ 1 ครั้ง จะ เท่ากับสวดมนต์ 40,000 จบทีเดียว ทัง้ นี้ ในบริเวณใกล้เคียงยังเป็นชุมชนน่ารักๆ ของบรรดาร้านค้าที่ขายของที่ระลึกจ�ำพวกของ ประดิษฐ์พื้นเมือง เช่น เครื่องทองเหลือง เครื่อง ประดับจากโลหะและหิน งานไม้แกะสลัก หรือ แม้แต่ภาพถ่าย ภาพวาดสีน�้ำมัน และแม่เหล็กที่ จ�ำลองสถูปในรูปแบบต่างๆ ก็มีให้เลือกซื้อกลับ บ้านไปเป็นที่ระลึกได้ตามใจชอบ ส่วนถ้าใครชอบชมวิวจากมุมสูง การมอง พระอาทิตย์ตกดินจากเนินเขาสวยัมภูก็เป็นสิ่ง ทีไ่ ม่ควรพลาด เพราะภาพบ้านเมืองทีแ่ ซมแทรก อยู่กับหมู่ต้นไม้เขียวขจีของภูมิประเทศที่ลด หลั่นแบบหุบเขาซึ่งตัดกับขอบฟ้าสีส้มอมชมพู เคล้าคลอมวลอากาศเย็นบางๆ นัน้ ช่างเป็นภาพ ที่น่าประทับใจมิรู้ลืม
0192
อิ่ ม เอมกั บ อาหารค�่ ำ ในวิ ถี เ นปาล ที่ ภัตตาคาร Krishnarpan พอฟ้ า มื ด ไปพร้ อ มกั บ การอ� ำ ลาของ ดวงตะวัน ก็ถึงเวลาส�ำหรับอาหารค�่ำแบบวิถี ชาวเนปาลแท้ๆ ที่ภัตตาคาร Krishnarpan ซึ่ง เป็นภัตตาคารชือ่ ดังและเคยรับรองบุคคลส�ำคัญ ระดับโลกมาแล้วหลายต่อหลายคน เมื่อย่างเท้าเข้าไปถึงด้านหน้าห้องอาหาร พนักงานก็จะต้อนรับเราด้วยผ้าขนหนูอุ่นๆ ให้ ได้ เ ช็ ด มื อ เพื่ อ ท� ำ ความสะอาดและช่ ว ยปรั บ อุ ณ หภู มิ ร ่ า งกายให้ ค ลายเย็ น เพราะอากาศ ภายนอกไปในตัว ก่อนจะพาไปนั่งที่โต๊ะ ซึ่งเป็น โต๊ะไม้เตีย้ แบบนัง่ พืน้ และมีทรี่ องนัง่ พร้อมเอีย้ ม กันเลอะให้เสร็จสรรพ ภาชนะบนโต๊ะอาหารดูหรูหราและมีเสน่ห์ ด้วยการเป็นทองเหลือง โลหะสีเงิน อีกทั้งจาน กระเบื้องสีน�้ำตาล พร้อมการตกแต่งด้วยสีด�ำ และแดง ส่วนการบริการอาหารที่นี่จะเสิร์ฟช้าๆ แบบเป็นคอร์สให้ได้ค่อยๆ ละเลียดรสชาติทีละ จาน ซึ่งทั้งหมดอาจกินเวลาถึงเกือบ 3 ชั่วโมง แต่นี่ก็เป็นธรรมเนียมปฏิบัติอย่างหนึ่งที่มีมาช้า นาน โดยชาวเนปาลจะใช้ช่วงเวลาระหว่างมื้อ อาหารที่ค่อนข้างยาวนานนี้ในการสนทนาและ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และเมื่อเสร็จสิ้นการ รับประทานอาหารจานสุดท้ายเมื่อใด พวกเขาก็ จะแยกย้ายกันกลับทันที ภัตตาคาร Krishnarpan เริ่มต้นมื้อนี้ของ เราด้วยเหล้าพื้นเมืองเรียกน�้ำย่อย แล้วจะเสิร์ฟ
ทอดผ้ า พระกฐิ น พระราชทานที่ วั ด อนันทะกุฏิวิหาร และแล้ ว วั น ส� ำ คั ญ ที่ สุ ด ของการเยื อ น เนปาลครัง้ นีก้ ม็ าถึง ตัง้ แต่เช้าตรูท่ งั้ คณะเดินทาง ไปยังวัดอนันทะกุฏวิ หิ าร เช่นเดียวกันคนไทยใน เนปาลและชาวเนปาลที่ เ ป็ น พุ ท ธศาสนิ ก ชน กว่า 400 คน ที่ต่างก็พร้อมหน้ามาร่วมพิธีบุญ ด้วยความเบิกบาน ซึ่งแม้ว่าก�ำแพงทางภาษา อาจท�ำให้เราสื่อสารกันได้ไม่ค่อยคล่องนัก แต่ รอยยิ้มพิมพ์ใจที่มอบให้แก่กันก็เป็นภาษากาย ที่สื่อถึงมิตรภาพได้ดี อันสะท้อนถึงการท�ำบุญ กฐินครั้งนี้ได้ในอีกทางหนึ่งว่า เป็นไปเพื่อสาน ไมตรีระหว่างพี่น้องชาวพุทธด้วยกันตามพระ ราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยแท้
พิ ธี ก ารเริ่ ม ต้ น ด้ ว ยการ เคลื่อนขบวนอัญเชิญผ้าพระ กฐินพระราชทานจากเชิงเขา ด้านล่างวัด น� ำโดยนายเตช บุนนาค ประธานในพิธี ร่วม ด้ ว ยนางขั น ธ์ ท อง อู น ากู ล เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุง กาฐมาณฑุ ทั้ ง ยั ง ได้ เ หล่ า เยาวชนหนุ่มสาวชาวเนปาล ที่นับถือศาสนาพุทธมาร่วม บรรเลงดนตรี โดยบางคน นั้นสวมส่าหรีสวยสง่า บ้าง ก็ ส วมชุ ด ผ้ า ปั ก สี ด� ำ สลั บ แดง และสวมเครื่องประดับ ตกแต่งสีทอง เป็นการแต่งกายแบบให้เกียรติฝั่ง ประเทศไทยแบบเต็มยศ ส่วนฝัง่ กระทรวงการต่าง ประเทศของเราก็สวมชุดผ้าไทยเช่นกัน ท�ำให้เกิด การผสมผสานทางวัฒนธรรมเป็นภาพทีน่ า่ ชมยิง่ เมือ่ ขบวนอัญเชิญผ้าพระกฐินพระราชทาน เคลื่ อ นที่ ม าถึ ง ตั ว วั ด เป็ น ที่ เ รี ย บร้ อ ยแล้ ว ประธานในพิธจี งึ ค�ำนับถวายความเคารพ พร้อม เปิดกรวยกระทงดอกไม้ ธูปเทียนแพ เครื่อง
สักการะ ที่หน้าพระบรมฉายาลักษณ์พระบาท สมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว หลั ง จากนั้ น จึ ง มี ก าร บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีเพื่อสดุดีพระ มหากรุณาธิคุณ และเป็นสัญญาณให้เริ่มทอด ผ้าพระกฐินตามพิธกี รรมต่างๆ ทางพุทธศาสนา ต่อไป โดยได้มกี ารถวายผ้าไตรกฐินพระราชทาน รวมถึงเครือ่ งใช้ไฟฟ้าทีจ่ ำ� เป็นต่างๆ แด่พระสงฆ์ ด้วย ก่อนจะพร้อมกันพนมมือน้อมรับพรจาก พระภิกษุเป็นภาษาบาลี ให้ได้อมิ่ บุญและอิม่ ใจ ทั้งชาวไทยและชาวเนปาล ด้านยอดปัจจัย งานกฐินพระราชทานในครัง้ นีส้ ามารถรวบรวมเงินบริจาคซึง่ ประกอบด้วย เงิน พระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เงิ น โดยเสด็ จ พระราชกุ ศ ลจากกระทรวงการ ต่างประเทศ และเงินบริจาคจากผู้มีจิตศรัทธา รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 1,048,283 รูปีเนปาล หรือ ประมาณ 344,700 บาทไทย ซึ่งนับว่าสามารถ น�ำไปสร้างสาธารณะประโยชน์อันเกี่ยวเนื่อง กับพระพุทธศาสนาให้กับวัดอนันทะกุฏิวิหารได้ อย่างมากเลยทีเดียว ทั้งนี้นอกจากมงคลบุญที่ได้ร่วมท�ำระหว่าง สองประเทศเพราะมีจดุ รวมความศรัทธาเดียวคือ พระพุทธศาสนาแล้ว เรายังได้เห็นภาพน่าประทับ ใจจากการที่ชาวเนปาลหลายคนร่วมถวายความ 0193
เคารพที่หน้าพระบรมฉายาลักษณ์ด้วยตัวของ พวกเขาเองโดยไม่ได้มใี ครบอกกล่าว แสดงให้เห็น ถึงความซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้น ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่แผ่ไพศาล ไปไกลยังต่างบ้านต่างเมือง รวมถึงทรงเป็นที่ เคารพนับถือในชนชาวต่างชาติ และในการนี้ H.E. Mr. W.M. Senevirathna เอกอัครราชทูต ศรีลังกาประจ�ำเนปาล และภริยา รวมทั้งพระ มหาเถระชั้นผู้ใหญ่ของเนปาลหลายๆ ท่านก็ได้ ให้เกียรติกับประเทศไทยในการเข้าร่วมพิธีทอด ผ้าพระกฐินพระราชทานครั้งนี้ด้วย
แห่งนีก้ ย็ งั อยูร่ ว่ มกับมรดกโลกได้อย่างกลมกลืน จุดที่น่าสนใจอย่างยิ่งของเมืองบักตะปูร์ คือ จัตุรัสบักตะปูร์ ดูร์บาร์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของหมู่ พระราชวัง วิหารและสิ่งก่อสร้างต่างๆ ในศิลปะ สกุลช่างเก่าแก่ โดยสถานที่แห่งนี้จะเริ่มต้น ดึงดูดสายตาของบรรดาเหล่านักท่องเที่ยวไป ได้อย่างง่ายๆ ด้วยประตูทองค�ำที่มีการแกะ สลักและประดับตกแต่งลวดลายของเหล่าเทพ และอสูรต่างๆ ไว้อย่างประณีต ทั้งยังคงความ สมบูรณ์แบบดั้งเดิมไว้ได้ดีราวกับมิเคยผ่าน กาลเวลามาอย่างยาวนาน และจากประตูนี้ ก็ จะเป็นทางผ่านเข้าไปสูล่ านของพระราชวังนาม ว่า Palace of 55 Windows Palace of 55 Windows สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2243 โดยเนือ่ งจากว่าบักตะปูรเ์ คยเป็นเมืองหลวง ที่เก่าแก่และมีความรุ่งเรืองทางการค้า จึงท�ำให้ พระราชวังนี้งดงามที่สุดในบรรดาสถาปัตยกรรม แบบเนปาลในสมั ย เดี ย วกั น ดั ง เห็ น ได้ จ ากที่ ระเบียงของหน้าต่างทั้ง 55 บาน ซึ่งอยู่บนก�ำแพง อิฐของพระราชวังนั้น เป็นผลงานไม้แกะสลักที่ได้ รับการออกแบบและมีการจัดวางอย่างบรรจง รวม ถึงจะเป็นหน้าต่างนกยูงสลักไม้ ซึง่ ก็คอื อีกหนึง่ ใน สัญลักษณ์ส�ำคัญของศิลปะแห่งเมืองบักตะปูร์ ที่
ส�ำรวจมรดกโลกมีชวี ติ ทีเ่ มืองบักตะปูร์ หลั ง จากเสร็ จ พิ ธี อั ญ เชิ ญ ผ้ า พระกฐิ น พระราชทานไปทอด ณ วัดอนันทะกุฏิวิหารเป็น ที่เรียบร้อยแล้ว ตอนบ่ายเราเลยถือโอกาสออก จากย่านตัวเมืองกาฐมาณฑุไปประมาณ 14 กิโลเมตร เพื่อไปเยี่ยมชมมรดกโลกอีกแห่งหนึ่ง ของเนปาลทีเ่ มืองบักตะปูร์ อันเป็นเมืองโบราณ ตั้งแต่สมัยศตวรรษที่ 11 และได้รับการขนาน นามว่าเป็น Living Musuem เนื่องจากยังมี ความสมบูรณ์ทั้งทางด้านศิลปะ สถาปัตยกรรม ประกอบกับวิถีชีวิตของชาวเนปาลในสถานที่ ต่างก็เป็นความงดงามและร่องรอยศิลปวัฒนธรรม ชิน้ ตัวอย่างอันทรงคุณค่า ซึง่ ยังหลงเหลือจากอดีต ไว้ให้เราสัมผัสได้ ณ ที่แห่งนี้ ภายในจัตุรัสบักตะปูร์ ดูร์บาร์ ยังมีวัดและ ผลงานทางสถาปัตยกรรมทีน่ า่ ชืน่ ชมอีกมากมาย อาทิ ประตูสิงห์ หอระฆัง และรูปสลักต่างๆ โดย เฉพาะรูปสลักอันวิจิตรของกษัตริย์ที่แสดงถึง ความยิ่ ง ใหญ่ ใ นอดี ต ของบั ก ตะปู ร ์ ที่ สื บ ทอด มาจนปัจจุบันได้เป็นอย่างดี และนอกจากงาน แกะสลั ก ต่ า งๆ ที่ ก ล่ า วไปก่ อ นหน้ า นี้ จ ะเป็ น ศาสตร์ที่มีชื่อเสียงของบักตะปูร์แล้ว งานหัต กรรมเครื่องปั้นดินเผาก็เป็นอีกสาขาหนึ่งที่ได้รับ การยกย่องไม่แพ้กัน ซึ่งภายในจัตุรัสแห่งนี้จะมี 0194
หมู่บ้านเครื่องปั้นดินเผารวมอยู่ด้วย และจะมี การสาธิตการปัน้ ให้นกั ท่องเทีย่ วได้ชมเป็นประจ�ำ ทั่วทั้งจัตุรัสยังรายล้อมไปด้วยร้านรวงของ ชาวพื้นเมืองที่จ�ำหน่ายทั้งเสื้อผ้า อาหาร และ ของทีร่ ะลึกต่างๆ เปิดโอกาสให้ได้ชอ้ ปปิง้ สินค้า เปีย่ มกลิน่ อายวัฒนธรรมกลับบ้านจนตุงกระเป๋า แถมราคายังสามารถต่อรองได้แบบน่าตื่นเต้น ประกอบกับการลัดเลาะไปตามตรอกซอกซอย เล็กน้อยที่มีมากมายของที่นี่เพื่อเลือกชมและ จับจ่ายสินค้าตามแผงต่างๆ ก็ให้อารมณ์ราวกับ เป็นการผจญภัยเล็กๆ ดังนั้น ด้วยคุณค่าด้าน มรดกทางวัฒนธรรมที่สอดแทรกอยู่กับกิมมิค อันน่าสนใจอย่างลงตัว การเยี่ยมเมืองบักตะปูร์ แห่งนีจ้ งึ น่าจะถูกใจหลายๆ คน แน่นอน หนึง่ ใน นั้นย่อมรวมผู้เขียนเอาไว้แล้วด้วย
ตระการตาเจดีย์ใหญ่ ที่สถูปโพธนาถ วั น สุ ด ท้ า ยก่ อ นบอกลาเนปาล ทั้ ง คณะ อั ญ เชิ ญ ผ้ า พระกฐิ น พระราชทานได้ เ ดิ น ทาง ไปสั ก การะพุ ท ธศาสนสถานที่ ส� ำ คั ญ อี ก แห่ ง หนึ่ง นั่นคือ สถูปโพธนาถ อันเป็นเจดีย์ทางพุทธ ศาสนาที่ใหญ่ที่สุดในเนปาล ซึ่งตั้งอยู่ในแหล่ง ชุมชนของชาวพุทธมหายานจากทิเบตที่อพยพ เข้ามาในเนปาลตั้งแต่ปี พ.ศ.2502 ดังนั้น ณ ที่ นี่ เ ราจึ ง จะเห็ น พระทิ เ บตและกลิ่ น อายของ วัฒนธรรมทิเบตสอดแทรกอยู่ทั่วไป โดยองค์ การยูเนสโกก็ได้ขึ้นทะเบียนสถานที่แห่งนี้เป็น มรดกโลก กับทัง้ ด้านนอกเจดียก์ ม็ กี ารเพ้นท์ลาย ดวงตาเห็นธรรมของพระพุทธเจ้าเช่นเดียวกับ สถูปสวยัมภูนาท แต่ทอี่ าจจะแตกต่างคือทีส่ ถูป โพธนาถอนุญาตให้ขึ้นไปเดินสมาธิบนฐานของ สถูปได้ ซึ่งก็มีนักท่องเที่ยวไม่น้อยเลยที่ไปเดิน วนรอบแบบทักษิณาวัตรเพือ่ ความเป็นศิรมิ งคล องค์เจดียม์ ฐี านทรงดอกบัวตูม แสดงศิลปะ ค่อนไปในทางทิเบต และรอบๆ ก็ถูกประดับ ประดาด้วยธง 5 สี ซึ่งชาวทิเบตและชาวเนปาล นิยมน�ำมาแขวนเอาไว้ด้วยความเชื่อว่าจะช่วย พัดพาเอาความเจริญรุ่งเรืองมาสู่ชีวิต หรือช่วย พัดพาพรไปคุ้มครองให้พ้นจากภัย ซึ่งธงเหล่านี้ นอกจากจะเป็นตัวแทนความเชือ่ ทางวัฒนธรรม ของศาสนาพุทธฝ่ายมหายานทีช่ าวทิเบตนับถือ อย่างเด่นชัดแล้ว ยังเป็นสิง่ สร้างความงดงามได้ อย่างน่าประทับใจ ด้วยสีสนั อันตัดกับสีขาวและ สีทองของตัวสถูป และปรากฏอยู่บนสีพื้นหลัง อันเป็นท้องฟ้าได้น่าดูชม สถูปโพธนาถยังมีความส�ำคัญยิ่งในการ แสดงให้เห็นถึงความรุ่งเรืองและความศรัทธา อันแรงกล้าของชาวพุทธนิกายมหายานในอดีต ซึ่งได้ร่วมกันสร้างมหาสถูปขึ้นมาอย่างยิ่งใหญ่ และยังคงความเป็นศูนย์รวมแห่งศรัทธาทาง พระพุทธศาสนามาได้จวบจนปัจจุบัน โดยแม้ จะเคยเกิดการเข้ายึดอ�ำนาจ รวมถึงเกิดการเผา ท�ำลายศาสนาสถานหลากหลายแห่งในเนปาล โดยจักรวรรดิอสิ ลามช่วงราวๆ ศตวรรษที่ 14 แต่ สถูปโพธนาถก็ยังรอดพ้นเหตุการณ์ดังกล่าวมา ได้อย่างน่าอัศจรรย์
บริเวณโดยรอบสถูปคลาคล�่ำไปด้วยร้าน ขายสินค้าพื้นเมืองเช่นเดียวกับแหล่งท่องเที่ยว อื่นๆ แต่ที่พิเศษกว่าสักนิด นั่นคือสินค้าน�ำเข้า จากทิเบตทีม่ มี าวางขายอยูห่ ลายร้าน เช่น กล่อง ไม้สลักลายเขียนสี ภาพปัก รวมถึงเสื้อผ้าสไตล์ ทิเบตทีแ่ ขวนไว้หน้าร้านสลับกับเครือ่ งแต่งกาย แบบเนปาลอย่างกลมกลืนแทบจะแยกไม่ออก นอกจากนี้ใครที่ชอบผ้าแคชเมียร์เนื้อนุ่ม เครื่องทองเหลือง หรือเครื่องประดับที่ประดิษฐ์ จากพลอยและเงิน ทีน่ กี่ ม็ ชี อ็ ปทีด่ นู า่ เชือ่ ถือและ ได้มาตรฐานอยู่หลายร้าน ทั้งนี้การจัดผังเมือง ของร้านค้าโดยรวมก็เป็นระเบียบ ท�ำให้ให้นัก ท่องเทีย่ วสามารถค่อยๆ เดินชมแบบสบายๆ ดัง นั้น โปรแกรมสุดท้ายบนผืนดินที่เปี่ยมกลิ่นอาย ของพระพุทธศาสนาอย่างเนปาลของเราครั้งนี้ จึงจบลงด้วยรอยยิ้มอย่างผู้อิ่มบุญและอิ่มเอม ใจอย่างแท้จริง
ท้ายนี้ผู้เขียนขอปิดคอลัมน์ Getaway ฉบับนี้ด้วยทริคน่ารู้ส�ำหรับการเยือนเนปาล ว่า ถ้าอยากเห็นยอดเขาเอเวอร์เรสต์มมุ สูงจาก เครือ่ งบินขณะขึน้ และลงให้เป็นขวัญตาขามา จากประเทศไทยให้จบั จองทีน่ งั่ ติดริมหน้าต่าง ทางขวา ส่วนขากลับก็ให้สลับมาทางซ้าย จะ ได้ไม่ตอ้ งรูส้ กึ โชคร้ายเหมือนผูเ้ ขียนทีม่ าทราบ เรื่องนี้ภายหลังจึงพลาดชม แต่หากมองในอีกมุมหนึ่งก็ถือเป็น นิมิตหมายอันดีเหมือนกันที่ท�ำให้อยาก ที่จะกลับมาเยือนเนปาลอีกครั้ง พร้อม ก�ำลังใจที่เต็มเปี่ยมว่าคงไม่ใช่เรื่องยาก เท่าไหร่หรอก ในเมือ่ เราได้เคยร่วมท�ำบุญ ด้วยกันมาแล้ว 0195