Climber
มีไม้เลื้อยหลายชนิดเป็นไม้ ในดวงใจของใครหลายคน ด้วยความอ่อนช้อยของกิ่งก้านที่เลื้อยพัน พร้อมดอกที่ให้สีสันสดใสและกลิ่นหอม เหล่านี้คือเสน่ห์ที่น่าหลงใหล แต่ก็มีบางคนที่ไม่ชอบไม้เลื้อยเสียเลย ก็เพราะกิ่งก้านสาขาที่เลื้อยพันจนรกรุงรัง ที่อาจกลายเป็นที่อาศัยของงูเงี้ยวเขี้ยวขอซึ่งอาจเป็นอันตรายกับเจ้าของบ้าน อย่างไรก็ตามหากเรารู้จักดูแลรักษาให้เหมาะสม การปลูกไม้เลื้อยก็ให้ประโยชน์ไม่น้อยไปกว่าพรรณไม้อื่น ๆ เลย สำนักพิมพ์บ้านและสวนต้องการถ่ายทอดเรื่องราวของไม้เลื้อยให้ผู้ที่ชื่นชอบการปลูกต้นไม้ทุกท่าน จึงจัดทำหนังสือ “ไม้เลื้อยประดับ” ขึ้นอีกครั้งหลังจากที่เคยจัดทำไปแล้วเมื่อหลายปีก่อน ซึ่งตลาดต้นไม้ในปัจจุบันก็มีพันธุ์ไม้เลื้อยใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นอีกหลายชนิด โดยมี คุณวีรญา บุญเตี้ย นักวิชาการพฤกษศาสตร์ มูลนิธิสวนหลวง ร.๙ และ ดร.อัจฉรา ตีระวัฒนานนท์ นักวิชาการประจำพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ร่วมกันถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับไม้เลื้อย ทั้งลักษณะวิสัยของไม้เลื้อย การจัดจำแนก ปัจจัยสำคัญในการเจริญเติบโต การขยายพันธุ์ การตัดแต่ง เรื่องราวของซุ้มและสิ่งพยุงที่ใช้กับไม้เลื้อย ประโยชน์ และแนะนำแหล่งจำหน่ายไม้เลื้อย พร้อมรวบรวมพันธุ์ไม้เลื้อยที่สำคัญให้ผู้อ่านได้รู้จักไว้มากกว่า 150 ชนิด editor อุไร จิรมงคลการ
graphic designer ธีระยุทธ ช่างคิด
Climber
ไม้เลื้อยประดับ
649.ISBN 978-974-289-328-6
พิมพ์ครั้งที ่ 1
photographers วีรญา บุญเตี้ย อัจฉรา ตีระวัฒนานนท์ อภิรักษ์ สุขสัย ปรัชญา จันทร์คง ธนกิตติ์ คำอ่อน
วีรญา บุญเตี้ย, อัจฉรา ตีระวัฒนานนท์
649
Cover Climber.indd 1
1/12/12 7:18:19 PM
Climber ไม้เลื้อยประดับ
p.1-35_Climber.indd 1
วีรญา บุญเตี้ย อัจฉรา ตีระวัฒนานนท์
12/2/11 12:36:57 PM
คำนำสำนักพิมพ์
Preface
มีไม้เลือ้ ยหลายชนิดเป็นไม้ในดวงใจของใครหลายคน ด้วยความอ่อนช้อยของกิง่ ก้านทีเ่ ลือ้ ยพัน พร้อมดอกทีใ่ ห้สสี นั สดใสและกลิน่ หอม เหล่านีค้ อื เสน่หท์ น่ี า่ หลงใหล แต่กม็ บี างคนทีไ่ ม่ชอบไม้เลือ้ ย เสียเลย ก็เพราะกิง่ ก้านสาขาทีเ่ ลือ้ ยพันจนรกรุงรัง ทีอ่ าจกลายเป็นทีอ่ าศัยของงูเงีย้ วเขีย้ วขอซึง่ อาจ เป็นอันตรายกับเจ้าของบ้าน อย่างไรก็ตาม หากเรารู้จักดูแลรักษาให้เหมาะสม การปลูกไม้เลื้อย ก็ให้ประโยชน์ไม้น้อยไปกว่าพรรณไม้อื่น ๆ เลย สำนักพิมพ์บ้านและสวนต้องการถ่ายทอดเรื่องราวของไม้เลื้อยให้ผู้ที่ชื่นชอบการปลูกต้นไม้ ทุกท่าน จึงจัดทำหนังสือ “ไม้เลือ้ ยประดับ” ขึน้ อีกครัง้ หลังจากทีเ่ คยจัดทำไปแล้วเมือ่ หลายปีกอ่ น ซึง่ ตลาดต้นไม้ในปัจจุบันก็มีพันธุ์ไม้เลื้อยใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นอีกหลายชนิด โดยมี คุณวีรญา บุญเตี้ย นักวิชาการพฤกษศาสตร์ มูลนิธิสวนหลวง ร.๙ และ ดร.อัจฉรา ตีระวัฒนานนท์ นักวิชาการ ประจำพิพธิ ภัณฑ์ธรรมชาติวทิ ยา องค์การพิพธิ ภัณฑ์วทิ ยาศาสตร์แห่งชาติ ร่วมกันถ่ายทอดความรู้ เกี่ยวกับไม้เลื้อย ทั้งลักษณะวิสัยของไม้เลื้อย การจัดจำแนก ปัจจัยสำคัญในการเจริญเติบโต การขยายพันธุ์ การตัดแต่ง เรื่องราวของซุ้มและสิ่งพยุงที่ใช้กับไม้เลื้อย ประโยชน์ และแนะนำ แหล่งจำหน่ายไม้เลื้อย พร้อมรวบรวมพันธุ์ไม้เลื้อยที่สำคัญให้ผู้อ่านได้รู้จักไว้มากกว่า 150 ชนิด สำนักพิมพ์บา้ นและสวนหวังว่า หนังสือเล่มนีจ้ ะทำให้ผอู้ า่ นหลงรักไม้เลือ้ ยเพิม่ มากขึน้ และ สร้างแรงบันดาลใจให้อยากนำไม้เลือ้ ยมาปลูกไว้มมุ ใดมุมหนึง่ ของบ้าน ขอให้มีความสุขกับไม้เลื้อยนะคะ สำนักพิมพ์บา้ นและสวน
p.1-35_Climber.indd 4
11/29/11 8:17:25 AM
จากใจผู้เขียน
From writer
ไม้เลือ้ ยเป็นไม้ประดับทีน่ ยิ มปลูกตกแต่งสวนกันมานาน สำนักพิมพ์บา้ นและสวนได้จดั พิมพ์ หนังสือ “ไม้เลื้อยประดับ” เล่มแรกออกมาเมื่อปี พ.ศ. 2541 ช่วงเวลาสิบกว่าปีที่ผ่านมาความนิยม ในการปลูกเลีย้ งไม้เลือ้ ยมิได้ลดน้อยลง ตรงกันข้ามกลับมีการค้นพบไม้เลือ้ ยชนิดใหม่ การปรับปรุง พันธุ์ไม้เลื้อยชนิดต่าง ๆ ให้มีความสวยงามและความหลากหลายเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งการพัฒนา เทคนิคการปลูกเลี้ยงไม้เลื้อย ผู้เขียนจึงได้รวบรวมข้อมูลพันธุ์ไม้เลื้อยที่นิยมนำมาปลูกในปัจจุบัน ทัง้ ด้านพฤกษศาสตร์และวิธกี ารปลูกเลีย้ ง ตลอดจนรายชือ่ แหล่งปลูกเลีย้ งและร้านจำหน่ายสำหรับ ผู้ที่สนใจ เพื่อต้องการให้ผู้ที่ชื่นชอบไม้ชนิดนี้นำไปใช้ประโยชน์กันมากขึ้น กว่าที่ผู้เขียนจะรวบรวมและเรียบเรียงข้อมูลไม้เลื้อยจนสำเร็จเป็นหนังสือเล่มนี้ได้ ก็ได้รับ ความร่วมมือเป็นอย่างดีจากหลายหน่วยงาน ได้แก่ หอพฤกษศาสตร์สวนหลวง ร.๙, พิพิธภัณฑ์ พืชสิรนิ ธร กรมวิชาการเกษตร, หอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติสตั ว์ปา่ และพันธุพ์ ชื , องค์การ พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ ขอบคุณสำหรับกำลังใจและความรู้ต่าง ๆ ที่ได้รับจาก รองศาสตราจารย์ ดร. คุณหญิงสุชาดา ศรีเพ็ญ, ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.จิรายุพนิ จันทรประสงค์, ดร.ทยา เจนจิตติกลุ , รองศาสตราจารย์ สุมน มาสุธน และคุณณัฐวัฒน์ ศรีทอง (สวนไม้งาม) ขอบคุณสำนักพิมพ์บ้านและสวนที่ช่วยรวบรวมภาพถ่ายของไม้เลื้อยหลากหลายชนิด จนออกมาเป็นหนังสือเล่มนี ้ และจัดพิมพ์หนังสือ “ไม้เลือ้ ยประดับ” ออกมาอีกครัง้ โดยเฉพาะอย่างยิง่ พี่แมว - อุไร จิรมงคลการ สำหรับแรงสนับสนุนและกำลังใจในการรวบรวมข้อมูลและเขียนหนังสือ เล่มนี้ วีรญา บุญเตีย้ อัจฉรา ตีระวัฒนานนท์
p.1-35_Climber.indd 5
11/29/11 8:17:28 AM
บทนำ 9 รู้จักไม้เลื้อย ไม้เถา เถาวัลย์ 10 ลักษณะวิสัยของไม้เลื้อย 12 การจัดจำแนกไม้เลื้อย 13 ปัจจัยสำคัญในการเจริญเติบโต 16 การขยายพันธุ์ 18 การตัดแต่ง 24 ซุ้มและสิ่งพยุง 26 ประโยชน์ของไม้เลื้อย 30 แหล่งจำหน่ายพรรณไม้เลื้อย 32 p.1-35_Climber.indd 6
รวมพันธุ์ ไม้เลื้อย 37 วงศ์ Acanthaceae 38 วงศ์ Annonaceae 48 วงศ์ Apocynaceae 56 วงศ์ Araceae 76 วงศ์ Araliaceae 88 วงศ์ Aristolochiaceae 90 วงศ์ Asclepiadaceae 100 วงศ์ Asteraceae 130 วงศ์ Bignoniaceae 136 วงศ์ Caprifoliaceae 146 วงศ์ Colchicaceae 148 วงศ์ Combretaceae 150 วงศ์ Convolulaceae 156 วงศ์ Cucurbitaceae 180 วงศ์ Dilleniaceae 188 วงศ์ Euphorbiaceae 192 วงศ์ Gesneriaceae 194 วงศ์ Lamiaceae 200 วงศ์ Leguminosae 208 วงศ์ Liliaceae 230 วงศ์ Malpighiaceae 234 11/29/11 8:17:40 AM
สารบัญ
วงศ์ Malvaceae 244 วงศ์ Melastomataceae 246 วงศ์ Menispermaceae 248 วงศ์ Moraceae 250 วงศ์ Nepenthaceae 252 วงศ์ Nyctaginaceae 256 วงศ์ Oleaceae 258 วงศ์ Pandanaceae 272 วงศ์ Passifloraceae 274 วงศ์ Piperaceae 284 วงศ์ Polygonaceae 292 วงศ์ Ranunculaceae 296 วงศ์ Rosaceae 300 วงศ์ Rubiaceae 304 วงศ์ Solanaceae 308 วงศ์ Verbenaceae 314 วงศ์ Vitaceae 320
Contents
บรรณานุกรม 324 ดัชนี 326 เกี่ยวกับผู้เขียน 343 p.1-35_Climber.indd 7
11/29/11 8:17:49 AM
p.1-35_Climber.indd 8
11/29/11 8:17:52 AM
ไม้เลื้อย ไม้เถา เถาวัลย์
CLIMBER ไม้เลื้อย ไม้เถา หรือเถาวัลย์ เป็นพรรณไม้ที่มีลำต้น ทอดตัวอ่อนช้อย โอบพัน เอนอิงปีนป่ายไปตามลำต้นของไม้ใหญ่ พาดพันไปตามหลักหรือสิ่งที่ช่วยพยุงค้ำจุนลำต้นให้ตั้งอยู่ได้ มีกิ่งก้านห้อยระย้า ผลิดอกที่มีรูปทรงและสีสันหลากหลาย พร้อมส่งกลิ่นหอมควบคู่กันไป นับเป็นเสน่ห์ของไม้เลื้อย ที่ทำให้หลายท่านอยากปลูกประดับไว้ในบ้าน
p.1-35_Climber.indd 9
11/29/11 8:17:54 AM
12 Introduction
ชาร์ลส์ ดาร์วนิ ให้เหตุผลว่า “พืชมีพฤติกรรมการเลือ้ ยเพราะต้องการหาแสงแดด ซึ่งนับเป็นการลงทุนที่มีต้นทุนต่ำอย่างน่ามหัศจรรย์ เมื่อเปรียบเทียบกับต้นไม้ทั่วไป ทีต่ อ้ งสร้างลำต้นขนาดใหญ่เพือ่ รับน้ำหนักพยุงกิง่ ก้านมากมายสำหรับรอรับแสงแดด” ชาวไทยน่าจะรู้จักไม้เลื้อยกันมานาน เพราะมีหลักฐานการพบซากฟอสซิลของเมล็ด น้ำเต้าอยูร่ วมกับเมล็ดข้าวในจังหวัดแม่ฮอ่ งสอน สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นแหล่งทีอ่ ยูอ่ าศัยหรือ ชุมชนโบราณก่อนประวัติศาสตร์ที่มีอายุราว 3,000 ปี
ลักษณะวิสัยของไม้เลื้อย ธรรมชาติของไม้เลื้อยไม่สามารถตั้งลำต้นให้ยืนอยู่ได้ ต้องอาศัยไม้ต้นอื่นเพื่อเกาะเกี่ยว เลื้อยพันให้ได้รับแสงแดด ด้วยเหตุนี้ไม้เลื้อยหรือไม้เถาจึงสร้างลำต้นหรืออวัยวะพิเศษเพื่อ ใช้พยุงหรือยึดเกาะกับไม้ใหญ่หรือสิ่งพยุงให้เจริญอยู่ได้ ไม้เลื้อยจึงมีความหลากหลายและ มีความแปรผันค่อนข้างสูง เพือ่ ให้สามารถเติบโตอยูไ่ ด้เกือบทุกพืน้ ที ่ ลักษณะสำคัญทีไ่ ม้เลือ้ ย ทุกชนิดต้องมี คือ 1. เติบโตเร็ว โดยเฉพาะในระยะต้นกล้า 2. มีอวัยวะพิเศษช่วยพยุงเลือ้ ยเกาะให้ตน้ ทรงตัวอยูไ่ ด้ 3. สามารถสะสมอาหารให้เพียงพอต่อการเจริญเติบโต 4. กระจายพันธุไ์ ด้งา่ ยโดยอาศัยลมและสัตว์ เช่น ผึง้ แมลงปีกแข็ง และสัตว์เลีย้ งลูก ด้วยนม
มือพันเป็นอวัยวะพิเศษทีช่ ว่ ยให้ ไม้เลื้อยทรงตัวอยู่ได้
p.1-35_Climber.indd 12
โดยทั่วไปมักพบไม้เถาเลื้อยที่มีเนื้อไม้แข็งในป่าเขตร้อนหรือกึ่งร้อน ส่วนไม้เลื้อยที่ม ี เนือ้ ไม้ออ่ นและไม่มเี นือ้ ไม้ เช่น ไม้เลือ้ ยล้มลุก พบมากในป่าเขตอบอุน่ ซึง่ เมือ่ เปรียบเทียบ จำนวนชนิดของพืชมีดอก (Angiosperm) ทั่วโลกพบว่า พืชมีดอกกว่า 50 เปอร์เซ็นต์เป็น ไม้เลื้อยและไม้รอเลื้อย เพราะสามารถปรับตัวได้ดี ทั้งยังผลิดอกติดผลเพื่อแพร่พันธุ์ต่อได้ และเป็นอาหารของสัตว์ป่าหลายชนิด ด้วยเหตุนี้จึงพบไม้เลื้อยมีจำนวนมากกว่าพรรณไม้ ประเภทอืน่ ๆ และด้วยลำต้นทีโ่ อบเลือ้ ยไปตามลำต้นของไม้ใหญ่ จึงให้ความชุม่ ชืน้ และปกป้อง ไม้ตน้ ขนาดใหญ่เป็นการตอบแทน
11/29/11 8:18:12 AM
Introduction 13
การจัดจำแนกไม้เลื้อย ไม้เลือ้ ยทีน่ ยิ มปลูกเป็นไม้ประดับมีหลักเกณฑ์หลายอย่างในการจำแนกดังนี้ 1. การจำแนกตามอายุ แบ่งเป็น 1.1 ไม้เลือ้ ยอายุสน้ั หรือฤดูเดียว (annual climber) คือ พืชทีง่ อกจากเมล็ดจนผลิดอก ออกผลและติดเมล็ดในช่วงหนึ่งฤดูหรือหนึ่งปีก็จะตายไป มักเรียกกันว่า “ไม้เลือ้ ยล้มลุก” 1.2 ไม้เลื้อยอายุสองปีหรือสองฤดู (biannual climber) คือ พืชที่มี อายุครบวงจรในสองฤดูปลูกหรือสองปี โดยในฤดูแรกหรือปีแรกจะเจริญเติบโต ทางใบ พอฤดูทส่ี องหรือปีถดั มาก็จะผลิดอกออกผลและตายไป 1.3 ไม้เลื้อยอายุหลายปีหรือหลายฤดู (perennial climber) คือ พืชที่มีอายุนานกว่าสองฤดูหรือสองปี หรือมีอายุหลายปีนั่นเอง บางชนิด อาจเจริญเติบโตให้ดอกติดผลภายในฤดูเดียวหรือปีเดียว และสามารถ ผลิดอกออกผลได้ในปีต่อไป 2. การจำแนกตามลักษณะเนื้อไม้ ได้แก่ 2.1 ไม้ เ ลื ้อยเนื้ออ่อนและอวบน้ำ (herbaceous and succulent
climber) เป็นไม้เลื้อยโตเร็ว ลำต้นเล็กหรือค่อนข้างเล็ก เปลือกต้นสีเขียวและเปลี่ยนเป็น สีน้ำตาลเมื่อมีอายุมากขึ้น 2.2 ไม้เลื้อยเนื้อแข็ง (woody climber, liana) เป็นไม้เลื้อยโตช้า เมื่อโตเต็มที่ลำต้น มีขนาดใหญ่ เนื้อไม้แข็ง หนา มีวงปี มีแก่นไม้ที่กึ่งกลางลำต้น สามารถเติบโต ผลิดอก ออกผล และมีชวี ติ อยูไ่ ด้นานหลายปี บริเวณผิวด้านนอกของลำต้นมีเปลือก อาจมีรอยแตก หรือช่องอากาศทีส่ ามารถแลกเปลีย่ นก๊าซได้ และมีเส้นผ่านศูนย์กลางเพิม่ ขึน้ เรือ่ ย ๆ ตามอายุพชื 2.3 ไม้รอเลื้อยหรือไม้พุ่มกึ่งเลื้อย (scandent) เป็นไม้เลื้อยที่สามารถเติบโตเป็นไม้พุ่ม และทรงตัวอยูไ่ ด้ กิง่ ก้านชีต้ ง้ั ขึน้ ไม่ทอดเลือ้ ยลงดิน แต่เมือ่ เติบโตอยูใ่ กล้พชื ชนิดอืน่ หรือสิง่ อืน่ ก็จะแตกกิ่งก้านยืดยาวและพาดเลื้อยสิ่งพยุงหรือพืชชนิดอื่นได้ ซึ่งหากไม่ตัดแต่งลำต้นก็จะ ทอดเลื้อยหรือพาดพันพืชอื่นหรือสิ่งพยุงใกล้เคียงได้ บางชนิดปรับตัวให้ยอดสั้นลง หรือ เปลี่ยนใบเป็นขอเกี่ยวเพื่อเกาะเกี่ยวไม้ที่อยู่รอบ ๆ บางครั้งเมื่อต้นยังเล็ก ลำต้นจะเลื้อยพัน โดยมีรากพิเศษเกิดตามข้อ
p.1-35_Climber.indd 13
Lonicera x italica ไม้เลือ้ ยอายุหลายปี สกุลเดียวกับสายน้ำผึง้
11/29/11 8:18:19 AM
14 Introduction
นอกจากทีก่ ล่าวข้างต้น ยังแบ่งเป็นไม้เลือ้ ยเนือ้ แข็งทีช่ อบร่มซึง่ มีจำนวนไม่มากนัก และ ไม้เลื้อยเนื้อแข็งที่ชอบแสงแดดซึ่งมีจำนวนมาก ในธรรมชาติมักพันอยู่กับต้นไม้ใหญ่ 3. การจำแนกตามลักษณะการเลื้อย แบ่งเป็น 3 ประเภท 3.1 เลือ้ ยพันแบบพาดพิง (leaner) เป็นลักษณะการทอดเลือ้ ยของไม้รอเลือ้ ยทีม่ ลี ำต้น
เฟือ่ งฟ้าเป็นไม้รอเลือ้ ย ทีส่ ามารถปลูกเลีย้ งเป็นไม้เลือ้ ย หรือไม้พมุ่ ก็ได้
เล็บมือนางมีการเลือ้ ยพัน แบบขัดสาน
p.1-35_Climber.indd 14
แตกกิ่งก้านยืดยาวแล้วเอนพาดพิงกับสิ่งพยุง เช่น สายหยุด โนรา 3.2 เลือ้ ยแบบขัดสาน (weaver) คือ การเลือ้ ยแบบทีไ่ ม่มสี ง่ิ พยุงมารองรับ โดยลำต้น จะเลือ้ ยเกีย่ วพันกันเองเพือ่ พยุงลำต้นขึน้ รับแสง เช่น เล็บมือนาง 3.3 เลือ้ ยพันแบบเกาะยึดเกีย่ วกัน (grasper) เป็นการเลือ้ ยทีม่ อี วัยวะพิเศษช่วยยึดเกาะ ได้แก่ (1) ยอดเลื้อยพัน (twiner) ใช้ส่วนของยอดหรือลำต้นเลื้อยพันสิ่งพยุง เช่น อัญชัน พวงแสด (2) มือพัน (tendril) เป็นรยางค์ที่เปลี่ยนรูปมาจากใบ (leaf tendril) เกิดตาม ซอกใบและปลายยอด ลักษณะเป็นเส้นเล็กยาว ปลายม้วนงอ ใช้เกาะเลื้อยหรือพันสิ่งพยุง เช่น ตำลึง หรือเป็นรยางค์ที่เปลี่ยนรูปมาจากส่วนของหูใบ กิ่งก้านใบ เช่น พวงแก้วกุดั่น และปลายใบ เช่น ดองดึง นอกจากนี้อาจเกิดจากลำต้นที่ดัดแปลงไปเป็นมือเกาะสำหรับ พันหลัก (stem tendril) ลักษณะเป็นเส้นบิดเป็นเกลียวคล้ายลวดสปริง เช่น เสาวรส มะระขีน้ ก (3) หนาม (stem thorn, stem spine) คือ ลำต้นที่เปลี่ยนรูปเป็นหนามหรือ ขอเกี่ยวอยู่ตามข้อและโคนก้านใบ ปลายค่อนข้างแหลม และอาจโค้งงอเล็กน้อย เพื่อใช้ เกาะเกี่ยวต้นกับสิ่งพยุงหรือเกี่ยวพันตัวเองให้สามารถไต่ขึ้นที่สูงและป้องกันอันตรายได้ เช่น กุหลาบเลือ้ ย คัดเค้า (4) รากพิเศษ (adventitious root, climbing root) เป็นรากที่แตกตามข้อของ ลำต้นเพื่อยึดเกาะกับหลัก พยุงลำต้นให้ติดแน่น และชูลำต้นขึ้นที่สูง เช่น พลูด่าง พลู พริกไทย รากพวกนี้จะเกาะอยู่ตามเปลือกของต้นไม้ มิได้แทงเข้าไปดูดน้ำเลี้ยงภายในลำต้น เหมือนพวกกาฝาก (5) ปุ่มยึด (sticker) มีวิวัฒนาการมาจากมือพันหรือรากพิเศษ เมื่อลำต้น เลื้อยทอดไปตามพื้นผิวที่เรียบทึบ เช่น ผนังหรือกำแพง จะสร้างรากหรือมือพันออกจาก ลำต้น และมีปุ่มที่ช่วยยึดเถาให้ติดแน่นกับผิวของผนัง เช่น องุ่น (6) ตะขอ (hook) มีวิวัฒนาการมาจากก้านช่อดอก ลักษณะคล้ายหนาม แต่ม ี ขนาดใหญ่ยาวและโค้งงอมากกว่า ใช้เกาะเกีย่ วสิง่ พยุง เช่น การเวก กระดังงาจีน เป็นต้น
11/29/11 8:18:26 AM
ก้านใบเลือ้ ยพัน
มือพัน
มือพัน
ปุม่ ยึด
มือพัน
มือพัน
ลำต้นเลือ้ ยพัน
รากพิเศษ
4. การจำแนกตามทิศทางการเลื้อยของลำต้นเพื่อพันกับ
ตะขอ
หนาม
p.1-35_Climber.indd 15
หลักหรือสิ่งพยุง แบ่งเป็น 1. เลื้อยตามเข็มนาฬิกา (clockwise) คือ ลำต้น เลื้อยพันเวียนไปทางขวา เช่น สายน้ำผึ้ง 2. เลื้อยทวนเข็มนาฬิกา (counter-clockwise) คือ ลำต้นเลื้อยพันเวียนไปทางซ้าย เช่น พวงทองเถา
เลือ้ ยตามเข็มนาฬิกา
เลือ้ ยทวนเข็มนาฬิกา
11/29/11 8:18:56 AM
16 Introduction
ปัจจัยสำคัญในการเจริญเติบโต หลายท่านคงเคยได้ยนิ ว่า คนทีป่ ลูกต้นไม้ได้ดคี อื “คนมือเย็น” ส่วน “คนมือร้อน” คือคนทีป่ ลูกต้นไม้ไม่คอ่ ยรอด แม้แต่ไม้ปลูกง่ายอย่างพลูดา่ งก็ยงั ตาย การปลูกต้นไม้ ให้ประสบความสำเร็จไม่ได้ขึ้นอยู่กับ 2 คำนี้ แต่ขึ้นอยู่กับความรัก การเอาใจใส่ดูแล และต้องเรียนรูน้ สิ ยั ของต้นไม้แต่ละชนิด ดังรายละเอียดต่อไปนี้
Tip • วิธีทดสอบว่าดินปลูกแน่นหรือไม่ ใช้มือกำดินปลูกที่มีความชื้นเล็กน้อย ให้แน่น ทิ้งไว้ประมาณ 5 วินาที แล้วคลายมือออก ถ้าดินเกาะกัน แน่นเป็นก้อนแสดงว่าเป็นดินเหนียว ต้องผสมอินทรียวัตถุเพิ่ม แต่ถ้าดินร่วงหล่นจากมือแสดงว่า เป็นดินร่วน เหมาะสำหรับปลูก ไม้เลื้อย ดิน
กาบมะพร้าวสับ
ปุย๋ คอก
ใบก้ามปู ทราย
p.1-35_Climber.indd 16
ดินปลูก ไม้เลือ้ ยส่วนมากชอบดินร่วนหรือดินร่วนปนทราย ระบายน้ำดี ไม่ชอบน้ำขังหรือชืน้ แฉะ และมีธาตุอาหารให้พืชเพียงพอ ถ้าปลูกเป็นไม้กระถางนิยมใช้ดินผสมที่มีจำหน่ายทั่วไป บางท่านนำดินมาผสมกับปุ๋ยคอก กาบมะพร้าวสับ ทราย ในอัตราส่วนที่เท่ากัน เพื่อเพิ่ม ความโปร่งร่วนซุยมากขึ้น สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมของไม้เลื้อยแต่ละชนิด หากดินปลูกมีแร่ธาตุนอ้ ย ควรขุดพลิกดินให้ทว่ั ทัง้ พืน้ ที ่ ตากแดดไว้ประมาณหนึง่ สัปดาห์เพือ่ ฆ่าเชือ้ โรค เมือ่ ดินแห้งดีจงึ ค่อย ๆ ย่อยดินให้เล็กลง พร้อมกับผสมปุย๋ คอกหรือปุย๋ หมักคลุกเคล้า ให้เข้ากัน ไม่ควรใช้ปุ๋ยเคมี เพราะอาจทำให้ดินแข็งและเสื่อมสภาพเร็วกว่าที่ควร แสงแดด ธรรมชาติของไม้เลื้อยมีทั้งทอดเลื้อยไปตามพื้นดินและ เลื้อยพันไปกับลำต้นของไม้ใหญ่ เพื่อรับแสงแดดให้เพียงพอ กับความต้องการ โดยทัว่ ไปควรได้รบั แสงแดดวันละ 8 ชัว่ โมง ดังนั้นผู้ปลูกควรสำรวจพื้นที่ก่อนว่า บริเวณที่ต้องการปลูก ได้รบั แสงแดดพอเพียงหรือไม่ บางชนิดทีต่ อ้ งการแสงแดดจัด เต็มวัน ควรปลูกในที่กลางแจ้งเพื่อให้รับแสงแดดตลอดวัน ไม้เลื้อยก็จะผลิดอกออกผลได้อย่างสมบูรณ์ ส่วนชนิดที ่ ชอบร่ม อาจปลูกใต้ร่มเงาต้นไม้ใหญ่หรือปลูกในโรงเรือนที่มี หลังคาพรางแสง น้ำ ควรรดน้ำให้ชมุ่ ในช่วงเช้า จะช่วยให้รากเจริญเติบโตได้ดี สามารถชอนไชดูดซึมอาหาร ทั้งยังช่วยละลายธาตุอาหาร ในดินให้พชื สามารถดูดซึมไปใช้ในการสังเคราะห์แสงได้ด ี แต่
11/29/11 8:19:04 AM
Introduction 17
ไม่ ค วรรดน้ ำ บริ เ วณโคนต้ น จนแฉะ ถ้ า ปลู ก ในกระถางต้ อ งรดน้ ำ ให้ ช ุ ่ ม จนไหลออกจาก ก้นกระถาง สำหรับฤดูกาลที่เหมาะสมในการปลูกไม้เลื้อยก็คือฤดูฝน เพราะความชุ่มชื้น จากน้ำฝนจะทำให้พืชได้รับน้ำอย่างสม่ำเสมอ ช่วยให้ต้นเลื้อยพันได้เร็วขึ้น ปุ๋ย เป็นขั้นตอนหนึ่งที่มีความสำคัญ ไม้ประดับทั่วไปมีการเจริญเติบโต 2 ระยะ คือ ระยะ เติบโตทางต้นและใบ (vegetative growth) และระยะผลิดอกออกผล (reproductive growth) ซึง่ มีชว่ งเวลาและวิธกี ารให้ปยุ๋ แตกต่างกัน การให้ปยุ๋ ควรเริม่ ตัง้ แต่การเตรียมดินปลูก หากปลูกลงดิน ควรให้ปยุ๋ เม็ดสูตรเสมอ เช่น สูตร 15 - 15 - 15 หรือ 16 - 16 - 16 รองก้นหลุมพร้อมปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักก่อนปลูก หรือ คลุกเคล้ากับดินก่อนนำมาปลูก เมือ่ พืชเติบโตในระยะหนึง่ ค่อยให้ปยุ๋ เพิม่ โดยโรยรอบโคนต้น เดือนละครั้ง เพื่อให้พืชเจริญเติบโตทางต้นและใบอย่างเต็มที่ ในช่วงฤดูออกดอกควรให้ ปุย๋ เม็ดละลายน้ำสูตรเร่งดอกทีม่ ธี าตุฟอสฟอรัสสูง เช่น สูตร 15 - 30 - 15 จะช่วยให้ดอกดก และมีคุณภาพ หลังจากดอกโรยจึงให้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักเพิ่มเติม เพื่อทดแทนธาตุอาหาร ทีส่ ญ ู เสียไปในขณะทีอ่ อกดอกและช่วยปรับสภาพดินให้อดุ มสมบูรณ์อยูเ่ สมอ หากเป็นดินร่วนที่มีใบไม้ผุและปุ๋ยคอกผสมอยู่ในปริมาณมาก อาจให้ปุ๋ยเพิ่มเติมเพียง เล็กน้อย เช่น ปุ๋ยยูเรีย (สูตร 46 - 0 - 0) ซึ่งมีธาตุไนโตรเจนที่ช่วยให้พืชผลิใบ แตกกิ่งก้าน ได้ดขี น้ึ โดยหว่านทีโ่ คนต้นแล้วรดน้ำตามไป หรือละลายน้ำรดทีโ่ คนต้นหลังจากปลูก 3 - 7 วัน และหลังจากนั้นอีกสัปดาห์ละครั้ง
ปุย๋ ยูเรีย
p.1-35_Climber.indd 17
Tips • ปุ๋ยอินทรีย์ที่ใช้ควรเป็นปุ๋ยเก่า ที่ผ่านการย่อยสลายมาแล้ว อย่างน้อย 3 เดือน จะช่วยให้ปุ๋ย มีประสิทธิภาพมากขึ้น • อาจให้ปุ๋ยสูตรเสมอร่วมกับปุ๋ย เร่งดอก จะช่วยบำรุงทั้งต้นและใบ ทั้งยังช่วยให้ดอกบานทนทาน หรือฉีดพ่นปุ๋ยเกล็ดละลายน้ำ สูตรเสมอตามพุ่มใบเป็นครั้งคราว จะช่วยให้พืชสมบูรณ์ ขึ้น • การให้ปุ๋ยเคมีทีละน้อยแต่บ่อย จะดีกว่าการให้ปุ๋ยเคมีครั้งละมาก ๆ แต่นาน ๆ ครั้ง และไม่ควรให้ปุ๋ยเคมี ต่อเนื่องเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้ ดินแน่นแข็ง ส่งผลเสียกับพืช ในภายหลัง • หลังปลูกหมั่นเด็ดใบเหลือง และตัดกิ่งแห้งทิ้ง เพื่อป้องกัน การสะสมของโรคแมลง
ปุย๋ เม็ดละลายช้า ปุย๋ เม็ดละลายน้ำ ปุย๋ เกล็ดละลายน้ำ
11/29/11 8:19:13 AM
วงศ์ Cucurbitaceae กระจายพันธุ์ทั่วไปในเขตร้อนและเขตกึ่งร้อน ทั่วโลกมี 122 สกุล 940 ชนิด ในไทยมี 20 สกุล เป็นไม้เลื้อย ลำต้นมักมีผิวสากหรือหยาบ ทุกส่วนของต้นมักอวบน้ำ ใบเดี่ยวหรือจัก 5 พูแบบนิ้วมือ มีมือเกาะพันเป็นเกลียว ดอกออกเป็นช่อตามซอกใบหรือออกเดี่ยว ๆ สมมาตรตามรัศมี ดอกแยกเพศอยู่บนต้นเดียวกันหรือต่างต้นกัน กลีบเลี้ยง 5 กลีบเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 5 พู กลีบดอกเชื่อมติดกัน เป็นรูประฆังหรือรูปกรวย สีขาว สีเหลือง สีส้ม เกสรเพศผู้ม ี 3 - 5 อัน รังไข่อยู่ใต้วงกลีบ มักมีเกสรเพศเมียเทียมในดอกเพศผู้ ผลมีเนื้อหลายเมล็ด หรือผลแบบแตง (pepo) ผลแก่แตก เมล็ดจำนวนมากขนาดใหญ่ แบน
p.180-225_Climber.indd 180
11/29/11 8:49:50 AM
Climber 181
ตำลึง แคเด๊าะ ผักแคบ ผักตำลึง ชื่อวิทยาศาสตร์ : Coccinia grandis (L.) Voigt ชื่อพ้อง : Bryonia grandis L., C. indica Wight & Arn. ชื่อสามัญ : Ivy Gourd, Scarlet-fruited Gourd
ถิ่นกำเนิด เขตร้อนของทวีปแอฟริกา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และตอนเหนือของทวีปออสเตรเลีย ลักษณะทั่วไป ไม้เลื้อยขนาดเล็ก ใช้ยอดเลื้อยพัน เลื้อยได้ไกล 1 - 3 เมตร เถาอ่อนสีเขียว เมื่อแก่ มีเปลือกสีขาว ใบออกตรงข้าม รูปไข่ ขนาด 3 - 5 4 - 6 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบ เว้าเป็นแฉกลึก แผ่นใบสีเขียว ขอบใบเว้าเป็น 5 แฉก ก้านใบแผ่เป็นปีก มีมอื เกาะตามซอกใบ และปลายยอด ดอกรูปกรวย กลีบดอกสีขาว โคนดอกเชือ่ มติดกันเป็นหลอด ปลายแผ่ออก เป็น 5 กลีบ ดอกแยกเพศอยูต่ า่ งต้น เส้นผ่านศูนย์กลางดอก 3 - 5 เซนติเมตร ผลแบบแตง รูปขอบขนาน ขนาด 1 - 2 3 - 5 เซนติเมตร เมือ่ แก่สแี ดง เมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก ฤดูออกดอก ตลอดปี การปลูกเลี้ยง ปลูกเป็นไม้กระถางหรือเลื้อยคลุมซุ้มเล็ก ๆ หรือปลูกเป็นแนวรั้ว เติบโตได้ดีในดินร่วน ระบายน้ำดี ชอบแสงแดดรำไรถึงแสงแดดจัด ถ้าปลูกในทีม่ แี สงแดดจัดควรให้นำ้ มากกว่าปกติ ขยายพันธุด์ ว้ ยการเพาะเมล็ดหรือปักชำเถา โรคแมลงศัตรูทพ่ี บมาก คือ เพลีย้ แป้ง เพลีย้ - อ่อน แมลงหวี่ขาว และด้วงเต่า ทำให้ใบเสียหาย ควรหมั่นตัดแต่งพุ่มให้โปร่ง และรดน้ำ ตามใต้พมุ่ ใบอยูเ่ สมอ จะช่วยป้องกันการเข้าทำลาย ช่วยให้เรามีตำลึงบริโภคตลอดปี ประโยชน์ ด้านสมุนไพร น้ำคั้นจากใบสดใช้ทาบริเวณที่แมลงสัตว์กัดต่อย บรรเทาอาการคัน ปวดแสบปวดร้อน ใบของต้นเพศผูใ้ ช้เป็นส่วนผสมในยาเขียว ช่วยลดไข้ ถอนพิษ ขับเสมหะ ผลดิบให้วิตามินเอสูง ส่วนเมล็ดนำมาตำกับน้ำมันมะพร้าวใช้ทาแก้หิด มีการวิจัยพบว่า ในราก เถา และใบ มีสารที่มีคุณสมบัติคล้ายยาทัลบูทาไมด์ (Talbutamide) ที่ใช้รักษา ผู้ป่วยเบาหวาน และใบยังช่วยลดอาการท้องอืดท้องเฟ้ออีกด้วย
p.180-225_Climber.indd 181
11/29/11 8:49:59 AM
น้ำเต้าไต้หวัน
p.180-225_Climber.indd 182
11/29/11 8:50:13 AM
Climber 183
น้ำเต้า มะน้ำเต้า หมากเต้า ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lagenaria siceraria (Molina) Standl. ชื่อพ้อง : L. vulgaris Ser. ชื่อสามัญ : Bottle Gourd, Calabush Cucumber, Flowered Gourd
ถิ่นกำเนิด เขตร้อนของทวีปแอฟริกา ลักษณะทั่วไป ไม้เลื้อยขนาดเล็ก อายุสั้น ใช้ยอดเลื้อยพัน เลื้อยได้ไกล 1 - 3 เมตร ทุกส่วนมีขน ปกคลุม เมื่อขยี้จะมีกลิ่นคล้ายชะมด มีมือเกาะแยกแขนง ใบออกตรงข้าม รูปไข่ ขนาด 3 - 5 4 - 6 เซนติเมตร ปลายใบแหลม ขอบใบเว้าเป็น 5 - 8 แฉก โคนใบเว้าเป็นแฉกลึก แผ่นใบสีเขียว มีตอ่ มเล็ก ๆ สองต่อมอยูร่ ะหว่างก้านใบกับแผ่นใบ ดอกรูปแตร กลีบดอกสีขาว โคนดอกเชื่อมติดกัน ปลายแผ่ออกเป็น 5 กลีบ เส้นผ่านศูนย์กลางดอก 4 - 5 เซนติเมตร ผลมีเนื้อรูปน้ำเต้า เส้นผ่านศูนย์กลาง 8 - 12 เซนติเมตร เปลือกเรียบสีเขียวมัน เมล็ด จำนวนมาก ฤดูออกดอก ตลอดปี การปลูกเลี้ยง ปลูกเป็นซุม้ ไม้เลือ้ ยแทนไม้ประดับ ชอบแสงแดดจัดและดินร่วนระบายน้ำดี ขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด มักพบปัญหาของเพลี้ยอ่อนและเพลี้ยแป้งเข้าทำลายในฤดูร้อน ส่วน ฤดูหนาวมักพบโรคราน้ำค้างระบาด ประโยชน์ ผลอ่อ นนำมาต้ม ลวก ประกอบอาหารหรือเชื่อมเป็นของหวาน เมล็ดตากแห้ง คัว่ กินเป็นของว่าง ด้านสมุนไพร รากต้มน้ำดืม่ แก้อาการบวมน้ำ ทัง้ ต้นนำมาต้มน้ำดืม่ แก้ ท้องร่วงหรือใช้ลา้ งแผล ใบใช้ตำพอกแก้ปวดศีรษะ แก้รอ้ นใน แก้เริม งูสวัด แก้อกั เสบฟกช้ำ ผลดิบกินเป็นยาระบายอ่อน ๆ แต่ไม่ควรกินมากจะทำให้อาเจียน เนื้อผลช่วยขับปัสสาวะ แก้บดิ แก้ไข้ เมล็ดแก้เจ็บหน้าอก น้ำต้มผลใช้สระผม เปลือกผลใช้สมุ หัวทารกแก้ไข้ น้ำมัน จากเมล็ดใช้ทาศีรษะแก้อาการผิดปกติทางประสาท ระวังเนือ้ หุม้ เมล็ดทำให้อาเจียนและระบาย เกร็ดความรู้ มีบันทึกว่า เมื่อ 6,000 ปีก่อนคริสตกาลมีการพบผลน้ำเต้าในเม็กซิโก ด้วยเหตุท่ ี มีเปลือกผลแข็งและลอยน้ำได้ จึงคาดกันว่าน้ำเต้าคงลอยน้ำข้ามมหาสมุทรมาสูท่ วีปอเมริกา และทวีปอื่น ๆ เพื่อกระจายพันธุ์ ปัจจุบันปรับปรุงพันธุ์ให้มีรูปร่างหลายแบบ ทั้งกลม ยาว ทรงกระบอก และสีเ่ หลีย่ ม และนำพันธุจ์ ากต่างประเทศมาปลูกประดับ เช่น น้ำเต้าไต้หวัน
p.180-225_Climber.indd 183
11/29/11 8:50:24 AM
184 Climber
บวบ มะนอย ชื่อวิทยาศาสตร์ : Luffa spp.
ถิ่นกำเนิด เขตร้อนทัว่ โลก ลักษณะทั่วไป ไม้เลือ้ ยขนาดเล็ก อายุสน้ั ใช้ยอดเลือ้ ยพัน เลือ้ ยได้ไกล 1 - 3 เมตร มีมอื เกาะแยกแขนง ใบออกตรงข้าม รูปหัวใจ ขนาด 5 - 10 5 - 12 เซนติเมตร ปลายใบแหลม ขอบใบหยักเว้า เป็นพูตื้น ๆ 5 พู โคนใบเว้าเป็นแฉกลึก ดอกรูปกรวยตื้นออกตามซอกใบ เป็นดอกแยกเพศ อยูต่ น้ เดียวกัน กลีบดอกสีเหลือง โคนดอกเชือ่ มติดกัน ปลายแผ่ออกเป็น 5 กลีบ เส้นผ่าน- ศูนย์กลางดอก 9 - 15 เซนติเมตร ผลมีเนื้อรูปทรงกระบอก มีเมล็ดรูปหยดน้ำจำนวนมาก บวบมี 2 ชนิดที่นิยมปลูก คือ บวบเหลี่ยม [L. acutangula (L.) Roxb. ชื่อสามัญ : Angled Loofah] มีการกระจายพันธุใ์ นประเทศเขตร้อน ผลคล้ายรูปทรงกระบอกและนูนขึน้ เป็นสันแข็ง ยาว 30 - 50 เซนติเมตร อีกชนิดหนึ่ง คือ บวบหอม [L. cylindrical (L.) M.Roem. ชื ่ อ สามั ญ : Dish-cloth Gourd, Sponge Gourd] มี ก ารกระจายพั น ธุ ์ ใ น เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตอนเหนือของทวีปออสเตรเลีย และตาฮีต ี ผลเป็นรูปทรงกระบอก ยาว 25 - 30 เซนติเมตร มีเส้นสีเขียวเข้มพาดตามความยาวผล นอกจากนี้ยังมีบวบงู (Trichosanthes anguina L.) กลีบดอกเป็นครุยสีขาวสวยงาม ปลูกเป็นไม้ประดับและเก็บผลกินได้เช่นกัน ฤดูออกดอก ตลอดปี การปลูกเลี้ยง ปลูกเป็นซุม้ ไม้เลือ้ ยแทนไม้ประดับ ชอบแสงแดดจัดและดินร่วนระบายน้ำดี ขยายพันธุ์ โดยการเพาะเมล็ด โดยหว่านลงหลุมปลูก อีก 7 - 10 วันจะเริ่มงอกและเติบโตต่อไป ควร เตรียมค้างให้เลื้อยพัน และระวังเรื่องแมลงศัตรูเข้าทำลาย ประโยชน์ ผลอ่อนต้มจิ้มน้ำพริก ผัดน้ำมัน หรือใส่ในแกงเลียง เพราะเชื่อว่าช่วยเรียกน้ำนม ให้หญิงหลังคลอด บวบงู p.180-225_Climber.indd 184
11/29/11 8:50:32 AM
ดอกบวบงู
ดอกบวบหอม
บวบหอม
บวบเหลีย่ ม
p.180-225_Climber.indd 185
11/29/11 8:50:39 AM
186 Climber
มะระขี้นก ผักไห่ มะห่อย ชื่อวิทยาศาสตร์ : Momordica charantia L. ชื่อสามัญ : Bitter Cucumber, Bitter Gourd, Leprosy Gourd มิ.ย. ก.ย.
ถิ่นกำเนิด เขตร้อนตัง้ แต่ตะวันออกของอินเดียถึงตอนใต้ของจีน ลักษณะทั่วไป ไม้เลือ้ ยเนือ้ อ่อน มีมอื เกาะ ลำต้นเป็นเหลีย่ มจำนวน 4 - 5 เหลีย่ ม ใบเรียงเวียน รูปไข่ กว้าง รูปหัวใจ หรือเกือบกลม ขนาด 2.5 - 10 3 - 12 เซนติเมตร ปลายใบแหลม ขอบใบ เว้าลึกเป็นรูปนิ้วมือ ลักษณะเป็นพูชัดเจน 5 - 13 พู และจักฟันเลื่อยห่าง ๆ ดอกรูปกรวย สีเหลือง โคนกลีบเชือ่ มติดกัน ปลายแยกเป็น 5 กลีบ ดอกแยกเพศอยูบ่ นต้นเดียวกัน ดอก เพศผู้มีเกสรเพศผู้ 3 อัน สีเหลือง ดอกเพศเมียมีก้านชูเกสรเพศเมีย 1 อัน ปลายแยก เป็น 3 แฉก มีเกสรเพศผู้ที่เป็นหมัน 3 อัน สีเขียวอ่อน ผลแบบแตงทรงรี หัวท้ายแหลม หรือรูปร่างไม่แน่นอน ผิวผลขรุขระ ขนาด 2 - 4 3 - 10 เซนติเมตร เมือ่ แก่สเี หลืองหรือส้ม และแตกออก เมล็ดรูปไข่แกมรีมีเยื่อหุ้มสีแดง ฤดูออกดอก เดือนมิถนุ ายนถึงกันยายน การปลูกเลี้ยง นิยมปลูกเป็นไม้เลื้อยตามแนวรั้วเพื่อนำมาบริโภคเป็นผัก ชอบแสงแดดจัด เติบโตได้ ในดินทุกประเภท ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด ประโยชน์ ด้านสมุนไพร น้ำต้มจากใบเป็นยาระบายอ่อน ๆ ช่วยขับพยาธิ น้ำต้มจากผลเป็นยา แก้ไข้ น้ำคั้นจากผลแก้ปากเปื่อย ปากเป็นขุย ดอกนำมาชงดื่มแก้หืดหอบ เมล็ดเป็นยา ขับพยาธิตัวกลม ทุกส่วนของต้นมีสารโมโนซิดีน (Monocidine) ทำให้มีรสขม ช่วยให้ เจริญอาหารและเป็นยาระบายอ่อน ๆ ช่วยลดน้ำตาลในเลือด เหมาะกับผูเ้ ป็นเบาหวาน แต่ ไม่ควรกินมาก อาจทำให้นำ้ ตาลในเลือดลดต่ำลงกว่าปกติ และห้ามกินผลสุก จะทำให้อาเจียน สำหรับหญิงมีครรภ์ไม่ควรกินมาก เพราะจะทำให้แท้งได้ ตามตำรายาจีนนำใบมาตำใช้พอกฝี แก้ปวดบวมอักเสบ หรือนำมาทำยาขม ช่วยให้เจริญอาหาร ช่วยฟอกเลือด
p.180-225_Climber.indd 186
11/29/11 8:50:50 AM
Climber 187
ฟักข้าว ขี้กาเครือ ผักข้าว ชื่อวิทยาศาสตร์ : Momordica cochinchinensis (Lour.) Spreng. ชื่อสามัญ : Spring Bitter Cucumber
ถิ่นกำเนิด อินเดีย ศรีลังกา ฟิลิปปินส์ พม่า ลาว ในไทยพบขึ้นตามป่าดิบแล้งทางภาคเหนือ และป่าเบญจพรรณของภาคกลาง ลักษณะทั่วไป ไม้เลื้อยขนาดเล็ก อายุหลายปี ใช้ยอดเลื้อยพัน เลื้อยได้ไกล 1 - 3 เมตร ลำต้น สีเขียว เมือ่ แก่เปลีย่ นเป็นสีขาว ใบออกสลับ รูปไข่ ขนาด 3 - 5 4 - 6 เซนติเมตร ปลายใบ แหลม โคนใบเว้ารูปหัวใจ แผ่นใบสีเขียวเว้าลึก 3 - 5 แฉก ขอบใบจักฟันเลื่อยห่าง ๆ ดอก แยกเพศอยูต่ า่ งต้น ดอกรูปกรวย กลีบดอกสีขาวครีม โคนกลีบเชือ่ มติดกัน ปลายแยกเป็น 5 กลีบ ขอบกลีบย่น ภายในสีเหลืองแต้มสีดำ มีขนนุ่มหนาแน่น เส้นผ่านศูนย์กลางดอก 3 - 5 เซนติเมตร ผลมีเนื้อฉ่ำน้ำรูปไข่ ผิวเป็นหนาม ปลายเป็นติ่ง เส้นผ่านศูนย์กลาง 7 - 10 เซนติเมตร สีเขียว เมือ่ แก่เปลีย่ นเป็นสีแดง เนือ้ นุม่ สีแดงสด มีเมล็ดแบนจำนวนมาก ฤดูออกดอก ตลอดปี การปลูกเลี้ยง นิยมปลูกเป็นไม้เลือ้ ยคลุมซุม้ ชอบแสงแดดจัด เติบโตได้ในดินทุกประเภท ขยายพันธุ ์ ด้วยการเพาะเมล็ดและปักชำกิ่ง ประโยชน์ ยอดอ่อนและผลอ่อนนำมาลวก ต้ม นึ่งจิ้มน้ำพริกหรือปรุงเป็นอาหาร ให้ฟอสฟอรัส วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินซี และโปรตีนสูง ชาวลาวเรียกฟักข้าวว่า “เกิก” และมักนำ ผลสุกทีม่ เี นือ้ สีแดงมาคลุกกับข้าวเหนียว ใส่เกลือเล็กน้อยแล้วนำไปหุง จะได้ขา้ วเหนียวสีแดง สวยน่ากิน ด้านสมุนไพร รากและใบใช้ถอนพิษไข้ หรือนำรากมาแช่นำ้ ใช้สระผม แก้ผมร่วง ฆ่าเหา ใบใช้เป็นส่วนผสมในยาเขียว หรือตำพอกแก้ปวดหลัง ปวดกระดูก เมล็ดช่วยบำรุง ปอด แก้ไอ ขับปัสสาวะ แก้หูด วัณโรค และริดสีดวงทวาร
p.180-225_Climber.indd 187
11/29/11 8:51:00 AM
วงศ์ Dilleniaceae กระจายพันธุ์ทั่วไปในเขตร้อนและเขตอบอุ่น ทั่วโลกมี 13 สกุล 300 ชนิด ในไทยมี 3 สกุล เป็นไม้ตน้ ไม้พมุ่ ไม้ลม้ ลุก และไม้เลือ้ ย อายุหลายปี ไม่ผลัดใบ ใบเดี่ยวออกสลับ ดอกเดี่ยวหรือออกเป็นช่อกระจะหรือช่อกระจุก สมบูรณ์เพศ กลีบเลี้ยง 3 - 20 กลีบ ติดคงทน กลีบดอก 2 - 5 กลีบ สีเหลืองหรือสีขาว เกสรเพศผู ้ 5 - 15 อัน รังไข่ติดเหนือวงกลีบ ผลแห้งแตกหรือผลสดมีเนื้อ
p.180-225_Climber.indd 188
11/29/11 8:51:07 AM
Climber 189
รสสุคนธ์แดง เครือปด เถาอรคนธ์ ปดลื่น ย่านปด ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tetracera indica (Christm. & Panz.) Merr. พ.ค. ก.ย.
ถิ่นกำเนิด ทวีปเอเชีย ลักษณะทั่วไป ไม้เลื้อยเนื้อแข็งขนาดใหญ่ เลื้อยได้ไกล 5 - 8 เมตร เปลือกสีน้ำตาลเข้ม ใบออกสลับ รูปรีถงึ รูปขอบขนาน ขนาด 3 - 5 6 - 10 เซนติเมตร ปลายใบแหลม ขอบใบจักซีฟ่ นั โคนใบ มนหรือสอบ แผ่นใบหนาแข็งสีเขียวเข้ม ผิวสาก เส้นใบย่อยเป็นร่องลึก ดอกออกเป็นช่อที ่ ปลายยอด มี 3 - 8 ดอก กลีบเลีย้ งหนาสีแดงเรือ่ มี 4 กลีบ ห่อเข้าหากัน กลีบดอกสีขาว 3 - 5 กลีบ เกสรเพศผู้จำนวนมาก โคนก้านชูเกสรสีขาว ปลายสีแดงเรื่อ อับเรณูสีเหลือง เส้นผ่านศูนย์กลางดอก 1 เซนติเมตร มีกลิ่นหอมตลอดวัน ผลรูปไข่แบน ปลายมีติ่งแหลม ขนาด 0.8 1.2 เซนติเมตร เมื่อแก่แตกออกเห็นเมล็ดสีดำ มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีแดง ฤดูออกดอก เดือนพฤษภาคมถึงกันยายน การปลูกเลี้ยง เหมาะปลูกเป็นไม้เลือ้ ยกระถางประดับรัว้ หรือเลือ้ ยขึน้ ซุม้ ปลูกเลีย้ งง่าย ชอบแสงแดดจัด ดินร่วนระบายน้ำดี ทนแล้งและทนดินเค็มได้ดี ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดและปักชำกิ่ง
p.180-225_Climber.indd 189
11/29/11 8:51:15 AM
p.180-225_Climber.indd 190
11/29/11 8:51:23 AM
Climber 191
รสสุคนธ์ดอกขาว กะปด ย่านปด อรคนธ์ ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tetracera loureiri (Finet & Gagnep.) Pierre ex Craib เม.ย. ส.ค.
ถิ่นกำเนิด พบในประเทศไทยตามป่าผลัดใบและชายป่าดิบแล้ง ลักษณะทั่วไป ไม้เลื้อยเนื้อแข็งขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบ อายุหลายปี ยอดเลื้อยพาดได้ไกล 5 - 8 เมตร เปลือกสีน้ำตาลเข้ม ลักษณะคล้ายกับรสสุคนธ์แดง แตกต่างกันที่ดอกย่อยมีจำนวนมาก กลีบเลี้ยงสีเขียว โคนเชื่อมติดกัน กลีบดอกสีขาว หลุดร่วงง่าย มีเกสรเพศผู้จำนวนมาก ก้านชูเกสรสีขาว เส้นผ่านศูนย์กลางดอก 1 เซนติเมตร มีกลิ่นหอมตลอดวัน ผลลักษณะ เหมือนกับรสสุคนธ์แดง ฤดูออกดอก เดือนเมษายนถึงสิงหาคม การปลูกเลี้ยง เหมาะปลูกเป็นไม้เลือ้ ยกระถางประดับรัว้ หรือเลือ้ ยขึน้ ซุม้ ปลูกเลีย้ งง่าย ชอบแสงแดดจัด ดินร่วนระบายน้ำดี ทนแล้งและทนดินเค็มได้ดี ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดและปักชำกิ่ง
p.180-225_Climber.indd 191
11/29/11 8:51:30 AM
วงศ์ Euphorbiaceae กระจายพันธุ์ทั่วโลก 229 สกุล 6,500 ชนิด ในไทยพบ 87 สกุล 425 ชนิด เป็นไม้ต้น ไม้พุ่ม ไม้ล้มลุก และไม้เลื้อย ทุกส่วนของต้นมีน้ำยางสีขาว ใบเดี่ยวหรือใบประกอบออกตรงข้าม เรียงสลับ หรือออกเวียนรอบข้อ ดอกออกเป็นช่อหรือเป็นดอกเดี่ยว มีทั้งดอกสมบูรณ์เพศและดอกแยกเพศ อาจอยู่แยกต้นกันหรือบนต้นเดียวกัน แต่ละดอกมีกลีบเลี้ยง 3 - 5 กลีบ กลีบดอกลดรูปหรือมีกลีบขนาดเล็ก 5 กลีบ มีเกสรเพศผู ้ 1 อันหรือจำนวนมาก รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ ผลเป็นผลแห้ง เมื่อแก่อาจแตกหรือไม่แตก บางชนิดเป็นผลสดมีเนื้อ 3 - 6 เมล็ด
p.180-225_Climber.indd 192
11/29/11 8:51:38 AM
Climber 193
หางกระรอกแดง ชื่อวิทยาศาสตร์ : Acalypha reptans Sw. ชื่อสามัญ : Red Cat’s Tail
ถิ่นกำเนิด อินเดีย ลักษณะทั่วไป ไม้เลือ้ ยเนือ้ อ่อนขนาดเล็ก อายุหลายปี ลำต้นทอดเลือ้ ยไปตามผิวดินได้ไกล 1 - 2 เมตร ใบเดี่ยวออกตรงข้าม รูปไข่ ขนาด 1 - 2 2 - 4 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบจักฟันเลื่อย แผ่นใบหนาสีเขียว ดอกออกเป็นช่อที่ซอกใบ ช่อห้อยลง ยาว 3 - 4 เซนติเมตร ดอกย่อยสีแดงอัดกันแน่น มักไม่ติดผล ฤดูออกดอก ตลอดปี การปลูกเลี้ยง เหมาะปลูกเป็นไม้กระถางแขวนหรือปลูกคลุมดินในทีท่ ม่ี แี สงแดดจัด ดินร่วนระบายน้ำดี ขยายพันธุ์ง่ายด้วยการปักชำกิ่ง ควรระวังเพลี้ยแป้งเข้าทำลาย
p.180-225_Climber.indd 193
11/29/11 8:51:44 AM