สุขศึกษา ม.4

Page 1


หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน

สุขศึกษา

4

ี่ าปท

ชั้นม

ธั ยมศึกษ

กลุมสาระการเรียนรูสุขศึกษาและพลศึกษา ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 หนังสือสุขศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปที่ 4 กลุมสาระการเรียนรูสุขศึกษาและพลศึกษา ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551


คำนำ ดวยพระนามของอัลลอฮฺ ผูทรงเมตตาปรานี ผูทรงกรุณาเสมอ การดูแลแกไขปญหาในสังคมปจจุบันตองใหความสำคัญกับคุณธรรมและจริยธรรมอยางเปนรูปธรรม การบูรณาการวิถีอิสลามในแบบเรียนเปนสวนหนึ่งของวัตถุประสงคแผนงานฯในการประมวลองคความรู อิสลามกับสุขภาวะเพื่อถายทอดผานเครือขายและผานชองทางอื่นๆ ของแผนงานฯ ซึ่งมีกลุมเปาหมายมุสลิม ทั่วประเทศกวา 3 ลาน 5 แสนคน ภายใตโครงการผลิตแบบเรียนวิชาสุขศึกษาและพลศึกษาแบบบูรณาการวิถี อิสลามในกลุมสาระการเรียนรูสุขศึกษาและพลศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขึ้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 โครงการผลิตแบบเรียนวิชาสุขศึกษาและพลศึกษาแบบบูรณาการวิถีอิสลามฯ มีวัตถุประสงคเพื่อจัด ทำแบบเรียนที่บูรณาการอิสลาม ซึ่งประกอบดวยมาตรฐาน ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรูแกนกลาง โครงสราง หลักสูตรกลุมสาระการเรียนรู คำอธิบายรายวิชาและการออกแบบหนวยการเรียนรูอิงมาตรฐานหลักสูตรแกน กลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 โดยไดจัดทำจำนวน 6 เลม ใน 4 ชวงชั้น ที่พรอมจะนำไปใชเปนแบบ เรียนในโรงเรียนที่มีนักเรียนนับถือศาสนาอิสลามเปนสวนใหญซึ่งรวมถึงโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามกวา 800 แหง โดยเฉพาะในจังหวัดชายแดนภาคใตและภูมิภาคอื่นๆ ของประเทศ ผลผลิตของโครงการนี้จะเปนประโยชนกับชุมชนมุสลิมไทยทั่วประเทศเกือบ 3,500 แหง เพราะ ความตองการของชุมชนมุสลิมทุกคน คือการที่บุตรหลานไดมีโอกาสเรียนรูทั้งวิชาดานศาสนาและวิชาสามัญที่ สอดคลองกับวัฒนธรรมและความเชื่อที่มีฐานมาจากศาสนาอิสลาม ดวยเหตุผลดังกลาวจึงเชื่อไดวาตำราเรียน ที่บูรณาการเนื้อหาวิชาดังกลาวเขากับหลักคำสอนของอิสลามเลมนี้จะไดรับการตอบรับที่ดีจากสังคมมุสลิม อีกทั้งผูเรียนจะมีความตั้งใจเรียนอยางจริงจัง เพราะไมมีความกังวลวาจะขัดกับหลักคำสอนของศาสนา ซึ่งจะ เปนผลดีตอผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผูเรียน ในอนาคตแผนงานฯ จะนำเสนอแบบเรียนบูรณาการศาสนาอิสลามกับวิชาสามัญ (สุขศึกษาและพล ศึกษา) ที่สอดคลองกับหลักสูตรแกนกลางของรัฐชุดนี้ใหแกหนวยงานที่เกี่ยวของ เชน กระทรวงศึกษาธิการ และสภาการศึกษาแหงชาติ เพื่อใหเกิดผลในระยะยาว และมีเปาหมายที่จะจัดพิมพเผยแผใหแกโรงเรียนที่มี ความตองการตำราเหลานี้ไวใชเปนตำรายืมเรียน นอกจากนี้ยังจะขยายผลไปสูการบูรณาการอิสลามในระดับ การศึกษาที่สูงขึ้นและวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวของตอไป สุดทายนี้ขอขอบคุณ รศ.ดร.อิบราเฮ็ม ณรงครักษาเขต อาจารยประจำวิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร วิทยาเขตปตตานี และคณะ ที่มีสวนสำคัญในความสำเร็จของผลงานฉบับนี้ ขอเอกองค อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงประทานความโปรดปรานและสิ่งดีงามแกคณะทำงานและผูที่มีสวนเกี่ยวของทุกทาน อามีน รองศาสตราจารย ดร.อิศรา ศานติศาสน ผูจัดการแผนงานสรางเสริมสุขภาวะมุสลิมไทย


คำนำ หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐานสุขศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปที่ 4 กลุมสาระการเรียนรูสุขศึกษาและ พลศึกษาเลมนี้ เปนหนังสือเรียนที่มีการบูรณาการอิสลามเพื่อใหสอดคลองกับวัฒนธรรมและหลักคำ สอนของศาสนาอิสลาม ทั้งนี้เพื่อใหผูเรียนที่เปนมุสลิมจะไดมั่นใจวาเนื้อหาที่มีในหนังสือเรียนรายวิชา พื้นฐานสุขศึกษาเลมนี้ ไมขัดกับหลักคำสอนของศาสนา และผูเรียนจะไดเรียนดวยความตั้งใจ ขอขอบคุณผูมีสวนรวมในการเขียนหนังสือเรียนเลมนี้ใหเสร็จสมบูรณ และขอขอบคุณแผนงาน สรางเสริมสุขภาวะมุสลิมไทย (สสม.) ผูสนับสนุนงบประมาณในการจัดทำหนังสือเรียนฉบับนี้ คณะผูจัดทำ


สุขศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปที่ 4 ขอมูลทางบรรณานุกรมของสำนักหอสมุดแหงชาติ National Library of Thailand Cataloging in Publication Data สุขศึกษา ม.4.-- กรุงเทพฯ : สำนักงานแผนงานสรางเสริมสุขภาวะมุสลิมไทย มูลนิธิสรางสุขมุสลิมไทย (สสม.), 2555. 134 หนา. 1. สุขศึกษา--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา). II. อิบรอฮีม ณรงครักษาเขต. III. ชื่อเรื่อง. 613.07 ISBN 978-616-7725-03-1 รายชื่อคณะกรรมการยกรางหนังสือสุขศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปที่ 4 1. เภสัชกร ยูซูฟ นิมะ 2. ดร.มะรอนิง สาแลมิง 3. นายอัสมัน แตอาลี 4. นางสาวสุจิตรา ยีหวังเจริญ 5. นายฮอซาลี บินลาเตะ 6. นายอิสมาแอ กาเตะ 7. นายอิลฟาน ตอแลมา 8. เภสัชกรหญิง ซีตีแอเสาะ ดือเระ 9. นายศาสตรา ศาสนโสภา 10. นายอนันต กาโบะ 11. นางสาวพัตตู อาแวกาจิ บรรณาธิการ

1. รศ.ดร.อิบรอฮีม ณรงครักษาเขต 2. ดร.มะรอนิง สาแลมิง 3. นายอัสมัน แตอาลี 4. เภสัชกร ยูซูฟ นิมะ

รูปภาพและกราฟฟก

1. นายอุสมัน เลาะมา 2. นางสาวปราณี หลำเบ็ญสะ

ออกแบบปก

นายอุสมาน ลีมอปาแล

จัดรูปเลม

1. นายมูฮามะ ปาปา 2. นางสาวปราณี หลำเบ็ญสะ

พิมพครั้งที่ 1

พฤษภาคม 2555

จัดพิมพและเผยแพร

แผนงานสรางเสริมสุขภาวะมุสลิมไทย (สสม.) มูลนิธิสรางสุขมุสลิมไทย เลขที่ 1 หมู 13 ถนนสีหบุรานุกิจ แขวงมีนบุรี เขตมีนบุรี กรุงเทพฯ 10510

สงวนลิขสิทธิ์

หามลอกเลียนแบบไมวาสวนใดสวนหนึ่งของหนังสือ นอกจากไดรับอนุญาต


สารบัญ หนวยการเรียนรูที่ 1 การทำงานของระบบผิวหนัง ระบบกระดูก และระบบกลามเนื้อ

1-15

การวางแผนดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัว แบบองครวมและครอบคลุม 4 มิติ

16-29

เพศและพัฒนาการ พฤติกรรม คานิยม วัฒนธรรม กับการดำเนินชีวิตของวัยรุน

30-47

การพัฒนาและการสรางเสริมทักษะชีวิตปญหาเพศและครอบครัว

48-65

การจัดการความขัดแยง ความรุนแรงในสังคม อยางสันติวิธีในสังคมพหุวัฒนธรรม

66-77

สิทธิของผูบริโภคในการสรางเสริมสุขภาพ

78-90

บทบาทของนักเรียนในสรางเสริมสุขภาพและปองกันโรคของตนเอง ครอบครัว และชุมชน

91-106

ทักษะในการปองกันตนเอง และการมีสวนรวมในการปองกันความเสี่ยง ในการใชยาและสิ่งเสพติด

107-112

ทักษะในการพัฒนาตนเอง และการมีสวนรวมของนักเรียนในการดูแลความปลอดภัย ในชีวิตประจำวัน

113-122

หนวยการเรียนรูที่ 2 หนวยการเรียนรูที่ 3 หนวยการเรียนรูที่ 4 หนวยการเรียนรูที่ 5 หนวยการเรียนรูที่ 6 หนวยการเรียนรูที่ 7 หนวยการเรียนรูที่ 8 หนวยการเรียนรูที่ 9



หน่วยการเรียนรู้ที่ 1

การท�ำงานของผิวหนัง ระบบกระดูก และระบบกล้ามเนื้อ ตัวชี้วัด พ 1.1 ม.4-6/1

1. อธิบายกระบวนการสร้างเสริมและดำ�รงประสิทธิภาพการทำ�งานของระบบอวัยวะต่างๆ

สาระการเรียนรู้แกนกลาง

1.กระบวนการเสริมสร้างและดำ�รงประสิทธิภาพการทำ�งานของระบบอวัยวะต่างๆ - การทำ�งานของระบบอวัยวะต่างๆ - การสร้างเสริมและดำ�รงประสิทธิภาพของอวัยวะต่างๆ (อาหาร การออกกำ�ลังกาย นันทนาการ การตรวจสุขภาพ ฯลฯ) มนุษย์เป็นมัคลูกทีถ่ กู สร้างขึน้ มาโดยมีรปู ร่างลักษณะทีด่ แี ละสวยงาม ดังปรากฏในอัลกุรอานความ ว่า “แท้จริงเราได้สร้างมนุษย์มาในรูปทรงอันงดงามยิ่ง”(สูเราะฮฺอัตตีน อายะฮที่ 4) พัฒนาการของมนุษย์ นั้นจะเกิดขึ้นอย่างมีขั้นตอนซึ่งเกิดจากปัจจัยต่างๆ หลายด้านที่มีความสัมพันธ์กันอย่างครบถ้วนสมดุล ร่างกายคนเรานั้นจะประกอบไปด้วยระบบอวัยวะต่างๆ ที่ทำ�งานประสานสัมพันธ์ อันได้แก่ ระบบผิวหนัง ระบบกระดูก ระบบกล้ามเนื้อ ระบบย่อยอาหาร ระบบขับถ่าย ระบบหายใจ ระบบไหลเวียนโลหิต ระบบ ประสาท ระบบสืบพันธุ์ และระบบต่อมไร้ท่อ ซึ่งจะส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของร่างกาย ในทุกๆ วัย ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ อยู่ในวัยทารก วัยเด็ก วันรุ่น วัยผู้ใหญ่ และวัยสูงอายุ พัฒนาการของมนุษย์ ได้มีปรากฏในหลายโองการของคัมภีร์อัลกุรอาน เช่น “โอ้มนุษย์เอ๋ย! หากพวกเจ้ายังอยู่ในการสงสัยแคลงใจ เกี่ยวกับการฟื้นคืนชีพแล้วไซร้ แท้จริงเรา ได้บงั เกิดพวกเจ้าจากดิน แล้วจากเชื้ออสุจิ แล้วจากก้อนเลือด แล้วจากก้อนเนื้อ ทั้งทีเ่ ป็นรูปร่างที่สมบูรณ์ และไม่เป็นรูปร่างที่สมบูรณ์ เพื่อเราจะได้ชี้แจงเคล็ดลับแห่งเดชานุภาพแก่พวกเจ้าและเราให้การตั้งครรภ์ เป็นที่แน่นอนอยู่ในมดลูกตามที่ประสงค์ จนถึงเวลาที่ก�ำหนดไว้แล้วเราให้พวกเจ้าคลอดออกมาเป็นทารก แล้วเพื่อพวกเจ้าจะได้บรรลุสู่วัยฉกรรจ์ของพวกเจ้า และในหมู่พวกเจ้ามีผู้เสียชีวิตในวัยหนุ่ม และในหมู่ พวกเจ้ามีผู้ถูกน�ำกลับสู่วัยต�่ำต้อย วัยชรา เพื่อเขาจะไม่รู้อะไรเลยหลังจากมีความรู้และเจ้าจะเห็นแผ่นดิน แห้งแล้ง ครั้นเมื่อเราได้หลั่งน�้ำฝนลงมาบนมัน มันก็จะเคลื่อนไหวขยายตัวและพองตัวและงอกเงยออกมา เป็นพืช ทุกอย่างเป็นคู่ๆ ดูสวยงาม” (สูเราะฮฺอัลหัจญ์ อายะฮที่ 5) นอกจากนั้นท่านนบีมุฮัมมัด ได้กล่าวถึงพัฒนาการของมนุษย์ความว่า “แท้จริงการบังเกิดพวกเจ้ามาคนหนึง่ หลังจากมีการปฏิสนธิแล้วใช้เวลาสีส่ บิ วัน จากนัน้ ก็เป็นก้อน เลือดก็เช่นเดียวกัน (สี่สิบวัน) จากนั้นก็เป็นก้อนเนื้อเช่นเดียวกัน” (บันทึกโดยอัลบุคอรีย์และมุสลิม) 1


ระบบต่างๆ ในร่างกาย ล้วนแล้วแต่มคี วามสำ�คัญต่อร่างกายด้วยกันทัง้ สิน้ แต่ในบทนีจ้ ะกล่าวเฉพาะระบบ ผิวหนัง ระบบโครงกระดูก และระบบกล้ามเนื้อ ซึ่งเป็นระบบอวัยวะที่มีการทำ�งานสัมพันธ์กัน ดังนี้

1. องค์ประกอบของร่างกายมนุษย์

อัลลอฮ์ ได้สร้างมนุษย์ให้มีโครงสร้างการทำ�งานของร่างกายที่เป็นไปตามกฎของอัลลอฮ์(สุน นะตุลลอฮ์)ที่มีความซับซ้อน โดยเริ่มตั้งแต่ระดับโมเลกุล ระดับเซลล์ ระดับเนื้อเยื่อ และระดับอวัยวะ โดย โครงสร้างทุกระดับนี้รวมเรียกว่า “ระบบอวัยวะ” ซึ่งประกอบด้วยหน่วยย่อยหลายอย่าง

1.1 โครงสร้างของร่างกาย

ร่างกายมนุษย์ประกอบด้วยเซลล์ที่มีชีวิตจำ�นวนล้านๆ เซลล์ เซลล์เป็นหน่วยโครงสร้างพื้นฐาน ของสิ่งมีชีวิตและเป็นแหล่งที่เกิดกระบวนการเปลี่ยนแปลงทั้งกายภาค และชีวเคมีอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ มนุษย์ดำ�รงความมีชีวิตอยู่ต่อไปได้ เซลล์เหล่านี้จะมีลักษณะแตกต่างกันไปตามหน้าที่ของเนื้อเยื่อหรือ อวัยวะนัน้ ๆ เซลล์เหล่านีม้ ที งั้ ทีท่ �ำ หน้าทีเ่ หมือนกัน และแตกต่างกันออกไป แต่เซลล์ของร่างกายส่วนใหญ่ มักไม่ได้อยู่อย่างอิสระ หากเป็นเซลล์ที่มีโครงสร้าง หน้าที่ และต้นกำ�เนิดคล้ายคลึงกัน จะยึดติดกันเป็นก ลุ่มเซลล์โดยกลุ่มเซลล์ ที่ทำ�หน้าที่เหมือนกันหรือทำ�หน้าที่อย่างเดียวกัน เราจะรวมเรียกว่า เนื้อเยื่อ ซึ่งมี 4 ชนิด คือ 1. เนื้อเยื่อบุผิว เป็นเนื้อเยื่อที่บุหรือปกคลุมผิวด้านนอกของร่างกาย หรือบุผิวของอวัยวะต่างๆ มีหน้าที่ป้องกันอวัยวะต่างๆ จากสิ่งแวดล้อมภายนอก นอกจากนั้นก็ทำ�หน้าที่สังเคราะห์สาร และขับสาร ที่ไม่ต้องการออกนอกร่างกาย

2


2. เนือ้ เยือ่ เกีย่ วพัน ประกอบด้วยเซลล์หลายชนิด เรียงตัวกันอย่างหลวม ๆ แต่มเี ส้นใยมาประสาน กันทำ�ให้เกิดความแข็งแรงขึ้น มีหน้าที่ป้องกันอวัยวะภายในไม่ให้เป็นอันตราย 3. เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ ทำ�หน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของร่างกายและอวัยวะต่างๆซึ่งเกิดจาก การหดตัวและคลายตัวของกล้ามเนื้อ 4. เนือ้ เยือ่ ประสาท ทำ�หน้าทีเ่ กีย่ วกับการรับความรูส้ กึ การตอบสนองต่อสิง่ เร้า และควบคุมการ ทำ�งานของอวัยวะต่างๆ

หากมีเนื้อเยื่อหลายๆ เนื้อเยื่อที่ทำ�งานหรือทำ�หน้าที่อย่างเดียวกัน เราจะเรียกกลุ่มของเนื้อเยื่อ นั้นว่า อวัยวะ เช่น ปอด หัวใจ สมอง ม้าม ตับ เป็นต้น และอวัยวะหลายๆ อวัยวะที่ร่วมทำ�หน้าที่อย่าง เดียวกัน เรียกว่า ระบบอวัยวะ เช่น ระบบกล้ามเนื้อ ระบบประสาท ระบบหายใจ ระบบสืบพันธุ์ เป็นต้น โดยระบบอวัยวะแต่ละระบบก็จะมีหน้าที่ของตัวเองและทำ�งานประสานสัมพันธ์กัน ซึ่งรวมเรียกว่า “ร่างกาย”

1.2 ระบบอวัยวะของร่างกาย

ร่างกายมนุษย์ประกอบด้วยโครงสร้างที่สลับซับซ้อน โดยโครงสร้างต่างๆ จะมีหน้าที่ของตนเอง อวัยวะต่างๆ ในร่างกายเราจะทำ�งานประสานกันเป็นระบบ ถ้าอวัยวะหนึ่งอวัยวะใดทำ�งานผิดปกติไปจะ มีผลกระทบต่อการดำ�รงชีวติ ของเรา อาจก่อให้เกิดการเจ็บป่วย หรือเป็นอันตรายต่อชีวติ ในทีส่ ดุ หรืออาจ จะถึงแก่ความตายได้ การทำ�งานของระบบอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกายของคนเรานั้น จะมีความสัมพันธ์ กับโครงสร้างอื่นๆ ด้วย เราสามารถจำ�แนกโครงสร้างต่างๆ ภายในร่างกายเป็นระบบอวัยวะ ดังนี้ 1) ระบบผิวหนังหรือระบบห่อหุ้มร่างกาย 2) ระบบกระดูก 3) ระบบกล้ามเนื้อ 4) ระบบย่อยอาหาร 5) ระบบขับถ่ายปัสสาวะ 6) ระบบหายใจ 3


7) ระบบไหลเวียนโลหิต 8) ระบบประสาท 9) ระบบสืบพันธุ์ 10) ระบบต่อมไร้ท่อ ระบบต่างๆ ในร่างกาย ล้วนแล้วแต่มีความสำ�คัญต่อร่างกายด้วยกันทั้งสิ้น แต่ในบทนี้จะกล่าว เฉพาะระบบผิวหนัง ระบบกระดูก และระบบกล้ามเนือ้ ซึง่ เป็นระบบอวัยวะทีม่ กี ารทำ�งานสัมพันธ์กนั ดังนี้

2. ระบบผิวหนัง

ผิวหนังเกิดจากเซลล์มาเรียงกันเป็นชัน้ ๆเพือ่ ทำ�ให้เหนียวแน่นสำ�หรับป้องกันเชือ้ โรค และสารพิษ เข้าสู่ร่างกาย นอกจากนั้นผิวหนังจัดเป็นระบบปกคลุมร่างกายภายนอกทั่วๆ ไป ผิวหนังยังทำ�หน้าที่รักษา ความชื้นและควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย ระบบผิวหนังประกอบด้วย ผิวหนัง เล็บ และขน ซึ่งเป็นอวัยวะ ที่ทำ�หน้าที่ปกคลุมและป้องกันร่างกาย โดยผิวหนังเป็นอวัยวะที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในร่างกายของเรา เพราะ ผิวหนังจะปกคลุมทั่วร่างกายภายนอกของมนุษย์ ผิวหนังจะมีความหนาความบางที่ต่างกันซึ่งขึ้นอยู่กับ ตำ�แหน่งและลักษณะการใช้งาน

2.1 โครงสร้างของผิวหนัง หรือระบบห่อหุ้มร่างกาย เป็นระบบอวัยวะที่ประกอบด้วยผิวหนังและ อนุพันธ์ของผิวหนัง ประกอบด้วย

โครงสร้างของผิวหนัง 4


1. หนังก�ำพร้า คือ ผิวหนังชั้นนอก มีลักษณะบางมาก จะมีเซลล์อยู่เป็นชั้นๆ ส่วนของเซลล์ด้าน ล่างสุดจะท�ำหน้าทีส่ ร้างเซลล์ใหม่ตลอดเวลา โดยจะดันเซลล์เก่าออกมา เซลล์ดา้ นนอกจะค่อยๆ แห้งตาย และหลุดออกมาเป็นขี้ไคล (Keratin) ความหนาของหนังก�ำพร้าในแต่ละส่วนของร่างกายจะไม่เท่ากัน ขึ้น อยู่กับต�ำแหน่งและหน้าที่ เช่น ส่วนที่บางที่สุดคือ บริเวณหนังตาและหลังหู ส่วนที่หนาที่สุด คือฝ่าเท้า และฝ่ามือ เป็นต้น ซึ่งผิวหนังแต่ละคนจะมีสีแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับเซลล์สีที่เรียกว่า เมลานิน (Melanin Pigments) ทีอ่ ยูช่ นั้ ลึกสุดของผิวหนังก�ำพร้า ถ้ามีเมลานินมากผิวจะมีสคี ลำ �้ ถ้ามีเมลานินน้อยผิวจะมีสขี าว 2. หนังแท้ ชั้นนี้จะมีอยู่ภายใต้ชั้นของหนังกำ�พร้า และมีความหนากว่าชั้นของหนังกำ�พร้ามาก โดยจะมีเนือ้ เยือ่ เกีย่ วพัน ทีม่ ลี กั ษณะเหนียวคอยยึดส่วนประกอบต่างๆ ของผิวหนังไว้ เช่น หลอดเลือดฝอย เส้นประสาทรับความรู้สึกต่างๆ รากขน หรือรากผม ต่อมเหงื่อ ต่อมไขมัน เป็นต้น 3. ต่อมไขมัน อยู่ถัดเข้าไปจากชั้นหนังแท้จะเป็นชั้นเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง ท�ำหน้าที่สร้างไขมัน ช่วย ท�ำให้เส้นขนและเส้นผมเป็นเงางาม ผิวหนังชุ่มชื้น ไม่แตกกระด้าง ป้องกันการระเหยของน�้ำออกจาก ร่างกาย คล้ายฉนวนกันความร้อน และเป็นเบาะกันสะเทือนได้เป็นอย่างดี 4. ต่อมเหงื่อ ท�ำหน้าที่สร้างเหงื่อที่ประกอบไปด้วยน�้ำและเกลือแร่ เพื่อช่วยระบายความร้อน ภายในของร่างกายให้สมดุล

2.2 หน้าที่ของผิวหนัง ผิวหนังมีหน้าที่ดังต่อไปนี้

1. ห่อหุ้มร่างกาย เพื่อป้องกันการเข้ามาของแบคทีเรีย เชื้อจุลินทรีย์หรือเชื้อโรคต่างๆ รวมถึง ป้องกันสารพิษและรังสีทมี่ อี นั ตรายไม่ให้เข้ามาทำ�ลายเนือ้ เยือ้ ภายในร่างกายของเรา โดยปกติแล้วเชือ้ โรค จะไม่สามารถเข้าทางผิวหนังได้ ถ้าผิวหนังบริเวณนั้นไม่เป็นบาดแผลหรือรอยถลอก นอกจากนี้ ผิวหนังยัง ช่วยป้องกันไม่ให้เนื้อเยื่อแห้ง และช่วยไม่ให้อวัยวะภายในถูกทำ�อันตรายโดยง่ายอีกด้วย 2. รักษาและควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย โดยผิวหนังจะท�ำหน้าที่ในการระบายความร้อนส่วน เกินของร่างกายออกทางรูขุมขนที่อยู่ตามผิวหนัง เพื่อรักษาอุณหภูมิของร่างกายให้เป็นปกติที่ 37 องศา เซลเซียส หรือ 98.6 องศาฟาเรนไฮต์ เมื่อร่างกายของเราต้องท�ำงานหนักหรือเป็นไข้ หรือเมื่ออากาศ ภายนอกร่างกายร้อนอบอ้าวเกินไป ก็จะส่งผลให้อุณหภูมิภายในร่างกายสูงขึ้นผิดปกติ ร่างกายก็จะ ระบายความร้อนส่วนเกินดังกล่าวออกมาทางรูขมุ ขน เพือ่ ให้อณ ุ หภูมขิ องร่างกายลดลงจนอยูใ่ นภาวะปกติ นอกจากนัน้ ผิวจะป้องกันไม่ให้นำ�้ ภายนอกซึมเข้าไปในร่างกายและป้องกันมิให้นำ�้ ในร่างกายระเหยออกไป 3. รับความรู้สึกการสัมผัส เมื่อมีสิ่งเร้ามาสัมผัสผิวหนัง ผิวหนังก็จะส่งความรู้สึกที่ได้รับ เช่น ความร้อน ความเย็น ความเจ็บปวด การสัมผัส เป็นต้น ไปยังเส้นประสาทใต้ผวิ หนังเพือ่ รายงานไปยังสมอง หรือระบบประสาทอัตโนมัติ จากนั้นสมองก็จะทำ�การสั่งการ เพื่อเกิดปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่างๆ เหล่านั้น 4. ขับถ่ายเหงื่อไขมัน และสารอินทรีย์หลายชนิดออกจากร่างกาย เพื่อรักษาความสมดุล และ สามารถทำ�หน้าที่ได้ตามปกติ 5. สังเคราะห์วติ ามินดี (Vitamin D) ผิวหนังจะทำ�หน้าทีด่ ดู ซับรังสีอลั ตราไวโอเลตจากแสงแดด เพื่อนำ�มาใช้ในการเปลี่ยนสารเคมีให้เป็นวิตามินดี ซึ่งเป็นวิตามินที่มีความจำ�เป็นต่อร่างกายในการนำ� 5


แคลเซียมมาใช้ประโยชน์ และช่วยในการสร้างความแข็งแรงของกระดูก 6. ช่วยขับไขมันออกมาตามรูขุมขน เพื่อหล่อเลี้ยงขนและเส้นผมให้เงางาม 7. ช่วยแสดงอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นจากสาเหตุภายในร่างกาย เช่น หน้าแดงเมื่อเป็นลมแดด หรือเมื่อมีอาการของผื่นแพ้ต่างๆ เกิดขึ้น เป็นต้น

2.3 การดูแลสุขภาพของผิวหนัง การดูแลสุขภาพของผิวหนัง สามารถปฏิบัติได้ดังนี้

1. อาบน�้ำช�ำระร่างกาย อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง เพื่อเป็นการ ช�ำระล้างฝุ่นละอองและสิ่งสกปรกออกจากผิวหนัง โดยการอาบ น�้ำควรใช้สบู่อ่อนที่มีค่า pH 5 และหลังจากอาบน�้ำเสร็จควรจะ ทาครีมบ�ำรุงผิวให้ทั่วร่างกาย เพื่อเป็นการเพิ่มความชุ่มชื่นให้แก่ ผิว เนือ่ งจากผิวสูญเสียความชุม่ ชืน่ ออกจากร่างกายในขณะอาบน�ำ ้ อิสลามส่งเสริมในเรือ่ งการช�ำระร่างกายในทุกๆ วัน เพือ่ ความ สะอาดของร่างกาย นอกจากนั้นอิสลามยังบังคับให้มีการช�ำระ ร่างกาย คือ ต้องมีการอาบน�้ำวาญิบ(สิ่งที่อิสลามบังคับ) ทุกครั้ง หลังจากมีประจ�ำเดือน มีการฝันเปียก มีเพศสัมพันธ์ การอาบน�้ำ ละหมาด 5 เวลาทุกครั้งก่อนละหมาด ทั้งนี้เพื่อให้ร่างกายสะอาด ในขณะที่ท�ำการละหมาด 2. สวมใส่เสื้อผ้าที่สะอาด ควรสวมใส่เสื้อผ้าที่สะอาดและควรเลือกเสื้อผ้าที่มีความหนาบางให้ เหมาะสมกับสภาพอากาศ เพราะเสื้อผ้ามีส่วนช่วยในการระบายความร้อนให้กับผิวหนัง 3. รับประทานผักและผลไม้ รวมทั้งดื่มน�้ำเป็นประจ�ำทุกวัน เพราะในผักและผลไม้จะมีวิตามิน และเกลือแร่ที่ช่วยบ�ำรุงผิว อีกทั้งการดื่มน�้ำเป็นประจ�ำทุกวัน วันละ 6-8 แก้ว จะมีส่วนช่วยท�ำให้ผิวพรรณ สดใส 4. ออกกำ�ลังกายและพักผ่อนไม่เพียงพอ ควรออกกำ�ลังกายสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง และควรพัก ผ่อนให้เพียงพอ เพื่อช่วยให้การทำ�งานของระบบผิวหนังมีประสิทธิภาพที่ดี 5. ควบคุมสภาพอารมณ์ โดยการทำ�ให้ตนเองเป็นคนอารมณ์ดี ไม่เครียด มองโลกในแง่ดี จะทำ�ให้ จิตใจสดใสซึ่งจะส่งผลให้ผลการมีสุขภาพผิวที่ดี เสริมสาระ ลักษณะความผิดปกติของ ผิวหนังที่เกิดขึ้นบ่อย และสามารถสังเกตได้ มีดังนี้ สิว (Acne) เกิดจากสาเหตุหลายประการ เช่น การเปลีย่ นแปลงของฮอร์โมนเพศในช่วงวัยรุน่ ส่งผลให้ต่อมไขมันขับไขมันออกมามาก เมื่อไขมัน แข็งตัวอุดตันต่อมไขมัน และรูขุมขนก็จะท�ำให้เกิด 6


สิวเสี้ยน และถ้าถูกไขมันที่ต่อมไขมันขับออกมาใหม่ดันจนนูนขึ้นจะเป็นหัวสิว ถ้ามีเชื้อแบคทีเรียคุกคาม เข้าไปยังต่อมไขมันและรูขุมขนที่เป็นสิวนั้น ก็จะเกิดการอักเสบ บวมแดง และเป็นหนอง ซึ่งบางคนเรียก สิวชนิดนี้ว่าสิวหัวช้าง นอกจากนี้สิวยังอาจเกิดจากเชื้อจุลินทรีย์ที่อยู่ในต่อมไขมันใต้ผิวหนังมีมากผิดปกติ อากาศที่ร้อนและชื้นท�ำให้เหงื่อออก ผิวหนังสกปรก ภาวะที่ตึงเครียด หงุดหงิด และการใช้เครื่องส�ำอางที่ เป็นน�้ำมันหรือครีมอาจท�ำให้มีการอุดตันของรูขุมขน และเป็นสาเหตุท�ำให้เกิดสิวได้ วิธกี ารดูแลรักษาเมือ่ เป็นสิว ควรล้างหน้าด้วยน�ำ้ สะอาดบ่อยๆ อย่าใช้มอื แกะหรือบีบหัวสิว เพราะ จะเพิ่มความสกปรก และท�ำให้เกิดการอักเสบมากขึ้น หลีกเลี่ยงอาหารมันๆ หรือหวานจัด เช่น ไอศกรีม ช็อกโกแลต ลูกกวาด เป็นต้น นอกจากนี้ควรพักผ่อนให้เพียงพอ เลิกวิตกกังวลและหมกมุ่นในสิ่งต่างๆ มากเกินไป หากเป็นสิวมาก ควรปรึกษาแพทย์ ไม่ควรน�ำยาของคนอื่นมาใช้ในการรักษาสิว เพราะการเกิด สิวในแต่ละคนจะมาจากสาเหตุไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับสุขภาพ ฮอร์โมน และกรรมพันธุ์ ตาปลา (Corn) เกิดจากแรงกดหรือมีแรงเสียดสี ผิวหนังบริเวณนั้นบ่อยๆ ทำ�ให้ผิวหนังค่อยๆ ด้าน และหนาตัว ขึ้น มีลักษณะเป็นเม็ดกลมๆ แข็งๆ และจะเจ็บปวดมากเมื่อ เม็ดกลมๆ นั้นกดลงบนเนื้ออ่อนที่อยู่ด้านล่างลงไป โดยทั่วไป ตาปลามักจะเกิดบริเวณนิว้ เท้าหรือฝ่าเท้า เนือ่ งจากใส่รองเท้า ที่คับเกินไป วิธีป้องกันไม่ให้เกิดตาปลาที่ดีที่สุดคือ การสวม รองเท้าที่ไม่คับหรือไม่บีบเท้า และเมื่อเป็นแล้วควรจะตัดทิ้ง หรือคว้านออก ต้องระมัดระวังเรื่องความสะอาด เพราะอาจ จะอักเสบและติดเชื้อโรคได้ กลิ่นตัว (Odor) เกิดจากปฏิกิริยาเคมีของกรดไข มันจากต่อมเหงื่อ เซลล์บุผิวที่ตายแล้ว เหงื่อรวมกับ แบคทีเรียและความชื้นเกิดเป็นกลิ่นตัวขึ้น หากมีกลิ่น ตัวควรอาบน�้ำอย่างน้อย วันละ 2 ครั้ง ฟอกสบู่ โดย เฉพาะบริเวณรักแร้ ขาหนีบ ใต้คอและหลังหู แล้วเช็ด ตัวให้แห้ง ถ้ามีกลิ่นตัวแรง อาจใช้ก้อนสารส้มหรือลูก กลิง้ ระงับกลิน่ เหงือ่ ทาบริเวณรักแร้หลังอาบน�้ำทุกครัง้ ดื่มน�้ำสะอาดวันละมากๆ โรคทีเ่ กิดจากเชือ้ รา การติดเชือ้ ราทีผ่ วิ หนังเกิดจากเชือ้ ราลุกลามเข้าเซลล์ โดยเฉพาะเซลล์ทตี่ าย เช่น เล็บ หนังก�ำพร้า ผม เชื้อที่เป็นสาเหตุได้แก่ Microsporum, Trichophyton, Epidermophyton เชื้อราสามารถเกิดที่ไหนของร่างกายก็ได้ เช่น เกิดที่ขาหนีบที่เราเรียก สังคัง หรือ Tinea cruris เกิดที่เท้า 7


เรียกTinea pedis หรือฮ่องกงฟุต เกิดที่หน้าเรียก Tinea facii เกิดตามตัวเรียก Tinea coporis บริเวณ ที่เป็นได้ง่ายได้แก่บริเวณที่ชื้น เหงื่ออกมาก การระบายอากาศไม่ดี สามารถติดต่อคนหนึ่งสู่อีกคนหนึ่ง คน ได้รับเชื้อนี้จากคน จากเชื้อที่อยู่บนดิน สัตว์เช่น แมว สุนัข สามารถป้องกันได้โดย ห้ามใช้ของร่วมกับคน อื่น เช่น หวี หมวก รองเท้า รักษาความสะอาดบริเวณที่อับ เช่น ขาหนีบ ซอกนิ้ว อาบน�้ำเสร็จแล้วซับให้ แห้งโรยแป้งฝุ่น คอยตรวจรองเท้าอย่าให้แคบไป รักษาความสะอาดของที่ใช้ร่วมกัน เช่น ห้องน�้ำ เครื่อง สุขภัณฑ์ หลีกเลีย่ งสัมผัสกับผูท้ เี่ ป็นโรค ให้รบี รักษาผูท้ เี่ ป็นโรคด้วยยาทีเ่ หมาะสม การรักษาเชือ้ ราทีผ่ วิ หนัง โดยทั่วไปจะใช้ยาทาวันละ 2-3 ครั้ง ติดต่อกันจนกว่าผื่นจะหาย โดยทายาที่ผื่นและบริเวณใกล้เคียงโดย รอบหลังจากผื่นหายแล้วควรทายาต่ออีกประมาณ 2 สัปดาห์ และอย่าใช้มือเปื้อนยาขยี้ตา ส�ำหรับเชื้อรา ที่เล็บและหนังศีรษะการรักษายุ่งยากกว่า ต้องใช้ยารับประทาน

3. ระบบโครงกระดูกและระบบกล้ามเนื้อ

ระบบโครงกระดูกและกล้ามเนื้อ เป็นอีกระบบหนึ่งที่เป็นส่วนประกอบสำ�คัญของร่างกายมนุษย์ ทีม่ บี ทบาทสำ�คัญทีส่ ดุ ในการเคลือ่ นไหว กระดูกแต่ละชิน้ กล้ามเนือ้ แต่ละมัด ทำ�งานกันอย่างพร้อมเพรียง ทำ�ให้มนุษย์เราสามารถเคลื่อนไหวและแสดงท่าทางที่ต้องการได้ กระดูกทำ�หน้าที่เป็นโครงร่างของสิ่งมี ชีวิต และกำ�หนดขนาดและรูปทรงของสิ่งที่มีชีวิตนั้น และกระดูกยังมีหน้าที่อื่นๆ ได้แก่ พยุงร่างกาย โดย มีกระดูกเป็นโครงร่างและเป็นฐานให้กล้ามเนือ้ และเอ็นทัง้ หมดมาเชือ่ มต่อ ปกป้องอวัยวะภายในไม่ให้บาด เจ็บจากแรงกระแทก สะสมแร่ธาตุสำ�คัญต่างๆ เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส และยังมีหน้าที่สร้างเม็ดเลือด ภายในไขกระดูก ทั้งเม็ดเลือดขาว เม็ดเลือดแดง และเกล็ดเลือด เพื่อส่งเข้าสู่กระแสเลือดต่อไป

3.1 โครงสร้างของกระดูก

โดยทั่ ว ไป ร่ า งกายของคนเรามี กระดูกทั้งสิ้น 206 ชิ้น แต่จำ�นวนดังกล่าว นี้ก็มิได้แน่นอนตายตัว บางครั้งอาจจะมี กระดูกชิน้ เล็กๆ เกิดขึน้ ระหว่างกระดูกของ กะโหลกศีรษะหรือระหว่างข้อนิ้วมือ กระดูกเป็นโครงสร้างทีม่ คี วามแข็ง แรงที่เกิดจากการจัดเรียงตัวของเซลล์เป็น แท่งๆ นับพันเซลล์ และภายในช่องโพรง กระดูกมีส่วนที่เรียกว่า ไขกระดูก ซึ่งเป็น ส่วนของไขมันอยู่ตรงกลาง

โครงสร้างของโครงกระดูก 8


ลักษณะของกระดูกโดยทั่วไป นั้นสามารถแบ่งออกได้ 4 ชนิด 1. กระดูกยาว มีจำ�นวน 90 ชิ้น เป็นกระดูกที่มีลักษณะเป็นท่อนยาว ส่วนตรงกลางเรียวคอด ตอนปลายทัง้ สองข้างโตออกเล็กน้อย สามารถเคลือ่ นไหวได้มากกว่ากระดูกแบบอืน่ ๆ เช่น กระดูกขา กระดูก แขน เป็นต้น 2. กระดูกสั้น มีจำ�นวน 30 ชิ้น มีลักษณะสั้นและมีขนาดต่างๆ กันออกไป โดยส่วนใหญ่จะมีเยื่อ หุ้มบางๆ หุ้มอยู่ เช่น กระดูกข้อมือ กระดูกข้อเท้า เป็นต้น 3. กระดูกแบน มีจ�ำ นวน 40 ชิน้ กระดูกชนิดนีม้ ลี กั ษณะแบนและบาง ด้านนอกหุม้ ด้วยเยือ่ บางๆ เช่นกระดูกซี่โครง กระดูกสะบัก กระดูกท้ายทอย เป็นต้น 4. กระดูกรูปแปลกๆ มีจำ�นวน 46 ชิ้นกระดูกพวกนี้มีรูปร่างต่างๆ กัน ซึ่งแตกต่างจาก 3 พวก แรก เป็นกระดูกที่มีรูปร่างแปลกกว่ากระดูกชิ้นอื่นๆ ต่อกันเป็นปล้อง เช่น กระดูกกะโหลกศีรษะบางชิ้น กระดูกสันหลัง เป็นต้น

โครงสร้างกระดูก แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้ 1. กระดูกแกนกลาง จำ�นวน 80 ชิ้น ซึ่งวางตัวในแนวแกนกลางของลำ�ตัว ซึ่งได้แก่ กระดูกศีรษะและกระดูกหน้า มีจำ�นวน 28 ชิ้น กระดูกโคนลิ้น 1 ชิ้น กระดูกสันหลัง จำ�นวน 26 ชิ้น กระดูกซี่โครง จำ�นวน 24 ชิ้น กระดูกอก 1 ชิ้น 2. กระดูกรยางค์ ประกอบด้วยกระดูกจำ�นวน 126 ชิ้น ซึ่งจะอยู่ในส่วนแขนและขาของร่างกาย เพื่อช่วยในการเคลื่อนไหว โดยจะแบ่งออกเป็น 6 ส่วน ได้แก่ กระดูกส่วนไหล่ จำ�นวน 4 ชิ้น กระดูกแขน จำ�นวน 6 ชิ้น กระดูกมือ จำ�นวน 54 ชิ้น กระดูกเชิงกราน จำ�นวน 2 ชิ้น กระดูกขา จำ�นวน 8 ชิ้น กระดูกเท้า จำ�นวน 52 ชิ้น นอกจากกระดูกและกล้ามเนือ้ ทีม่ บี ทบาทสำ�คัญในการเคลือ่ นไหวแล้ว ยังมีสงิ่ สำ�คัญอีกอย่างหนึง่ ที่สำ�คัญไม่น้อยไปกว่ากระดูกและกล้ามเนื้อ นั่นคือ ข้อต่อ ซึ่งทำ�หน้าที่เป็นจุดเชื่อมระหว่างกระดูก 2 ชิ้น โดยมีกล้ามเนื้อเป็นตัวประสานระหว่างกัน ข้อต่อมีหลายชนิดและทำ�หน้าที่แตกต่างกันออกไป บางชนิด ทำ�หน้าทีเ่ กีย่ วกับการเคลือ่ นไหว บางชนิดเป็นข้อตรึงติด ไม่เคลือ่ นไหว ทำ�หน้าที่ เกาะเกีย่ วให้กระดูกต่างๆ อยู่ติดกัน เช่น ข้อต่อของกะโหลกศีรษะซึ่งปกป้องสมองไว้ เป็นต้น 9


ชนิดของข้อต่อ

จำ�นวนข้อต่อในร่างกาย ท่านนบีมุฮัมมัด ได้กล่าว่า “ลูกหลานอาดัมทุกคนถูกสร้างบน 360 ข้อต่อ” ท่านนบี ได้ ระบุจ�ำนวนข้อต่อทั้งหมดในร่างกายมนุษย์มาตั้งแต่ 1400 กว่าปีมาแล้ว แม้ว่าในขณะนั้นความก้าวหน้า ทางวิทยาศาสตร์ยังไม่ล�้ำหน้าเฉกเช่นปัจจุบัน และข้อต่อส่วนใหญ่ก็มีขนาดเล็กมากและยากที่จะมองเห็น ได้ด้วยตาเปล่า จนกระทั่งได้มีการศึกษาสาขากายวิภาคศาสตร์และจุลกายวิภาคศาสตร์เกิดขึ้น จ�ำนวน ข้อต่อทีแ่ ท้จริงจึงถูกค้นพบเมือ่ ไม่นานมานีเ้ อง จากการศึกษาทางวิทยาศาสตร์พบว่า จ�ำนวนข้อต่อภายใน ร่างกายของมนุษย์ทั้งหมด มี 360 ข้อต่อ โดยแบ่งได้ดังนี้ 1. ข้อต่อกะโหลกศีรษะ 86 ข้อต่อ 2. ข้อต่อช่องคอ 6 ข้อต่อ 3. ข้อต่อช่องอก 66 ข้อต่อ 4. ข้อต่อสันหลังและเชิงกราน 76 ข้อต่อ 5. ข้อต่อรยางค์ส่วนบน 64 ข้อต่อ (มี 2 ข้างๆ ละ 32 ข้อต่อ) 6. ข้อต่อรยางค์ส่วนล่าง 62 ข้อต่อ (มี 2 ข้างๆ ละ 31 ข้อต่อ) เสริมสาระ กระดูกแต่ละชิ้นจะมีเอ็น เรียกว่า ลิกาเมนต์ (Ligament) ซึ่งมีความเหนียวมากยึดติดกันท�ำให้ กระดูกเคลื่อนไหวได้ในวงจ�ำกัด และบริเวณที่กล้ามเนื้อที่ติดกับกระดูกยังมีเอ็นเป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันเรียก ว่า เท็นดอน(Tendon) ซึ่งจะช่วยยึดกล้ามเนื้อให้ติดกระดูก ส�ำหรับกระดูกสันหลังมีหน้าที่ค�้ำจุนร่างกาย มีกระดูกชิ้นเล็กๆ เป็นข้อๆ แต่ละข้อมีแผ่นกระดูกอ่อน เรียกว่า “หมอนรองกระดูก” รองรับป้องกันการ เสียดสีขณะเคลื่อนไหว และยังมีเอ็นและกล้ามเนือ้ ยึดติดกันแต่ละข้อ ท�ำให้บดิ ตัว เอียงตัว ก้มตัว และโน้ม ตัวได้ 10


หน้าที่สำ�คัญของกระดูกและข้อต่อ 1. เป็นแกนยึดให้ร่างกายสามารถยืนขึ้นหรือเคลื่อนไหวได้ 2. ป้องกันอวัยวะสำ�คัญบางอย่างที่บอบบางและถูกกระทบกระเทือนหรือถูกทำ�ลายได้ง่าย เช่น สมอง ปอด หัวใจ เป็นต้น 3. เป็นแหล่งเก็บสะสมธาตุแคลเซียม ฟอสฟอรัส และ แมกนีเซียม โดยประมาณ ร้อยละ 99 ของ แคลเซียมทัง้ ร่างกายมนุษย์จะอยูใ่ นกระดูก ซึง่ ถ้าร่างกายมนุษย์ขาดแคลเซียมก็จะส่งผลให้รา่ งกายเกิดความ ผิดปกติของเนือ้ เยือ่ หลายชนิด กระดูกจะเป็นตัวทีช่ ว่ ยในการควบคุมปริมาณของๆ เหลวภายนอกเซลล์ให้ คงที่โดยการเติมหรือเอาแคลเซียมออกไป กล่าวคือ ถ้าร่างกายมีแคลเซียมไม่พอกระดูกก็จะจ่ายแคลเซียม ออกมามาก หรือถ้ามีมากเกินไปในร่างกาย กระดูกก็จะเก็บแคลเซียมไว้เพื่อที่จะรักษาภาวะสมดุล การลด ลงของแคลเซียมในเลือด และของเหลวภายนอกเซลล์เพียงเล็กน้อย สามารถทำ�ให้ระบบประสาททำ�งาน มากผิดปกติ จนเกิดอาการชักได้ ดังนั้นการควบคุมระดับของแคลเซียมในเลือดจึงมีความสำ�คัญอย่างมาก และกระดูกก็นับว่ามีส่วนสำ�คัญที่ช่วยให้ภาวะสมดุลดังกล่าวเกิดขึ้นได้ 4. เป็นที่ยึดเกาะของกล้ามเนื้อ พังผืด และเอ็น เพื่อช่วยให้เกิดการเคลื่อนไหวได้ ร่างกายของคน เรานั้น เมื่อแรกเกิดกระดูกอ่อนอยู่และประกอบด้วยเนื้อเยื่อที่เป็นเส้นใยและความยืดหยุ่น ซึ่งจะทำ�งาน ประสานกันเป็นโครงสร้างที่มีความแข็งแรงสมบูรณ์เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ โดยในช่วงแรกเกิดนั้น พบว่า มนุษย์จะมีจ�ำ นวนมากถึง 300 ชิน้ แต่กระดูกหลายชิน้ จะเชือ่ มติดกันในระหว่างวัยเด็ก จนเมือ่ โตเป็นผูใ้ หญ่ แล้ว ก็จะมีกระดุกร่างกายทั้งสิ้น 206 ชิ้น ซึ่งการที่ร่างกายมีกระดูกหลายๆ ชิ้นมาต่อกันนี้ จะก่อให้เกิด เป็นข้อต่อขึ้น และข้อต่อเหล่านี้มีส่วนช่วยให้เกิดการเคลื่อนไหวของร่างกาย 5. เป็นโครงร่างค�้ำจุนโครงสร้างต่างๆ ของร่างกาย ท�ำให้มนุษย์มีรูปร่างที่สมดุล กระดูกบางชนิด จะมีโพรงอากาศอยู่ภายในจะช่วยให้ศีรษะเบา อากาศที่หายใจเข้าจะแห้งและอบอุ่น ท�ำให้เสียงพูดก้อง กังวาน กระดูกบางชนิดจะช่วยในการน�ำคลื่นเสียงช่วยในการได้ยิน 6. เป็นแหล่งสร้างเม็ดเลือดชนิดต่างๆ ของร่างกาย

วิธีดูแลรักษาระบบโครงกระดูก

1) ออกก�ำลังกายอย่างสม�่ำเสมอ 2) บริโภคอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วน และถูกต้อง โดยเฉาะอาหารที่จะช่วยเสริมสร้างความ แข็งแรงของกระดูก เช่น อาหารที่มีแคลเซียมสูง มีวิตามินดี อิสสามได้กล่าวถึงอาหารที่ดีมีคุณค่าใน อัลกุรอ่านว่า “มนุษย์ทงั้ หลายจงบริโภคสิง่ อนุมตั ทิ มี่ ปี ระโยชน์จากสิง่ ทีม่ อี ยูใ่ นแผ่นดิน” (สูเราะฮฺอลั บะ เกาะเราะฮฺ อายะฮที่ 168) สำ�หรับในวัยทารกอาหารที่มีคุณค่ามากที่สุดคือ นมแม่ ด้วยเหตุนี้อิสลามจึง ถือว่าการให้นมแก่ทารกเป็นหน้าที่ของแม่ และการได้รับนมแม่เป็นสิทธิของทารก อัลกุรอ่านได้กล่าวถึง เรื่องนี้ว่า “และมารดาทั้งหลายนั้น จะให้นมแก่ลูกๆ ของนางภายในการให้นม และหน้าที่ของพ่อเด็ก นัน้ คือ ปัจจัยยังชีพของพวกนางและเครือ่ งนุง่ ห่มของพวกนางโดยชอบธรรม” (สูเราะฮฺอลั บะเกาะเราะ ฮ อายะฮที่ 233) 3) ไม่เล่นรุนแรง เพื่อป้องกันไม่ให้กระดูกได้รับความกระทบกระเทือน 11


เสริมสาระ โรคที่เกี่ยวกับโครงกระดูก โรคที่เกี่ยวกับโครงกระดูกจะส่งผลต่อความแข็งแรงและความสามารถในการเคลื่อนไหวของ ร่างกายโดยตรง ความผิดปกติของโครงกระดูกที่พบบ่อยคือ กระดูกหัก ซึ่งเกิดจากการที่กระดูกได้รับแรง ทีม่ ากเกินไป ซึง่ อาจเป็นเพียงกระดูกทีห่ กั อยูภ่ ายใน หรืออาจมีสว่ นใดส่วนหนึง่ ของกระดูกทีโ่ ผล่พน้ ผิวหนัง ขึ้นมาก็ได้ในกรณีร้ายแรง นอกจากนี้ ภาวะกระดูกหักยังพบได้ง่ายในผู้ป่วยโรคกระดูกพรุน ซึ่งมักพบในผู้ สูงอายุและสตรีวัยหมดประจำ�เดือน โรคของกระดูกที่จัดว่าร้ายแรง ได้แก่ เนื้องอก และมะเร็งของกระดูก ซึ่งจำ�เป็นต้องได้รับการรักษาโดยการผ่าตัด นอกจากนี้ ภาวะข้ออักเสบ ยังส่งผลเสียต่อกระดูกในบริเวณ ข้อต่อ ทำ�ให้ผู้ป่วยรู้สึกเจ็บปวดอย่างรุนแรงและเคลื่อนไหวลำ�บากอีกด้วย

3.2 ระบบกล้ามเนื้อ (Muscular System)

กล้ามเนื้อ เป็นเนื้อเยื่อที่มีหน้าที่โดยตรงเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของร่างกายมนุษย์ กล้ามเนื้อมี ความยืดหยุ่น และยืดหดตัวได้ โดยทั่วไปร่างกายมนุษย์จะประกอบด้วยกล้ามเนื้อประมาณ 656 มัด และ มีน�้ำหนักรวมกันประมาณครึ่งหนึ่งของน�้ำหนักร่างกาย การเคลื่อนไหวของอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกายของคนเรา เป็นผลจากการท�ำงานที่ประสาน สัมพันธ์กันของกระดูกและกล้ามเนื้อ เช่น การเดิน การวิ่ง การกระโดด เป็นต้น แต่บางที่ก็อาจเกิดจาก การยืด-หดตัวของกล้ามเนื้อเพียงอย่างเดียว เช่น การบีบตัวของปอด การเต้นของหัวใจ การเคลื่อนไหว และการบีบตัวในการย่อยอาหารของกระเพาะอาหาร การไหลเวียนของเลือดและน�้ำเหลือง เป็นต้น ใน ร่างกายของมนุษย์มีเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อร้อยละ 40-50 ของน�้ำหนัก มีคุณสมบัติพิเศษดังนี้ 1. สามารถหดตัวได้ 2. สามารถยืดออกได้ 3. สามารถยืดหยุ่นคล้ายยางได้ 4. สามารถดำ�รงคงรูปอยู่ได้

12


โครงสร้างของกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อของคนเราประกอบไปด้วยน�้ ำร้อยละ 75 โปรตีนร้อยละ 20 อีกร้อยละ 5 เป็น คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และเกลือของอนินทรียสาร กล้ามเนื้อสามารถแบ่งออกได้ 3 ประเภท คือ 1. กล้ามเนื้อลาย (Skeletal Muscle) กล้ามเนื้อลาย หรือ กล้ามเนื้อในอ�ำนาจจิตใจ เป็นกล้าม เนื้อทั่วๆ ไป หรือกล้ามเนื้อแดง กล้ามเนื้อนี้มีประมาณร้อยละ 40 ของร่างกาย และอยู่ในอ�ำนาจจิตใจภาย ใต้การควบคุมของระบบประสาทส่วนกลาง ลักษณะของกล้ามเนือ้ ประกอบด้วยเซลล์ยาว หรือเรียกว่าเส้นใย กล้ามเนื้อ มีขนาดตั้งแต่ 0.1 ถึง 0.01 มิลลิเมตร และยาวตั้งแต่ 3 มิลลิเมตร ถึง 30 มิลลิเมตร มีนิวเคลียส จ�ำนวนมากอยูท่ ขี่ อบของเซลล์ มีลายตามขวาง สีเข้มและสีจางสลับกัน คนทีอ่ อกก�ำลังกายสม�ำ่ เสมอ เส้นใย เนื้อเยื่อจะโตขึ้น และหนาขึ้น แต่จ�ำนวนไม่เพิ่มขึ้น

กล้ามเนื้อลาย กล้ามเนือ้ มีประสาทยนต์มาทำ�ให้กล้ามเนือ้ หดตัว และมีประสาทรับความรูส้ กึ จากกล้ามเนือ้ หรือ เอ็นไปสู่สมอง เพื่อให้รู้ว่ากล้ามเนื้อหดตัวมากน้อยเพียงใด เซลล์หรือเส้นใยกล้ามเนื้อรวมกันเข้า โตขึ้นเป็นมัดกล้ามเนื้อ ซึ่งมีที่เกาะอย่างน้อยสองแห่ง โดย ทอดข้ามข้อต่อเมื่อกล้ามเนื้อหดตัวดึงกระดูกสองชิ้นนั้นเข้าหากัน จึงเคลื่อนไหวได้ที่ข้อต่อ บางแห่งกล้ามเนือ้ เกาะจากกระดูกไปติดทีผ่ วิ หนัง เมือ่ กล้ามเนือ้ หดตัว จึงทำ�ให้มกี ารเปลีย่ นแปลง รูปลักษณะของผิวหนัง หรือทำ�ให้ผิวหนังเป็นรอยย่นขึ้นได้ เช่น กล้ามเนื้อที่ใบหน้า (จึงแสดงอารมณ์ได้) มัดกล้ามเนือ้ ทีย่ าวๆ มักจะเป็นเอ็นยาว (tendon) ต่อจากปลายของกล้ามเนือ้ ไปติดทีก่ ระดูก เพือ่ ให้เคลื่อนไหวได้มากขึ้น ถ้ามัดกล้ามเนื้อมีลักษณะแบนบาง มักจะเป็นเอ็นแผ่ต่อจากกล้ามเนื้อ กล้ามเนือ้ หดตัวได้เต็มทีไ่ ด้ประมาณ 55 % ของความยาวของส่วนกล้ามเนือ้ นัน้ ความแรงของการ หดตัวจึงขึ้นอยู่กับความยาว ขนาด และจำ�พวกของเส้นใยกล้ามเนื้อ กล้ามเนือ้ ลายมีหน้าทีเ่ คลือ่ นไหวร่างกายทีข่ อ้ ต่อต่างๆ เคลือ่ นไหวลูกตา ช่วยในการเคีย้ วและการ กลืน เคลือ่ นไหวลิน้ เคลือ่ นไหวใบหน้าแสดงอารมณ์ตา่ งๆ และยังประกอบเป็นผนังอก และผนังท้อง ตลอด จนการควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะและอุจจาระ 13


2. กล้ามเนื้อเรียบ (Smooth Muscle) เป็นกล้ามเนื้อนอกอำ�นาจจิตใจ ส่วนใหญ่ประกอบเป็นผนังของอวัยวะภายในหลอดเลือดและ กล้ามเนือ้ ขนลุก มีลกั ษณะเป็นเซลล์รปู กระสวย และสัน้ กว่าเส้นใยกล้ามเนือ้ ของกล้ามเนือ้ ลาย มีนวิ เคลียส รูปไข่อยู่ตรงกลาง กล้ามเนื้อพวกนี้ควบคุมโดยประสาทอัตโนมัติ

กล้ามเนื้อเรียบ 3. กล้ามเนื้อหัวใจ (Cardiac Muscles) กล้ามเนื้อหัวใจ ประกอบเป็นกล้ามเนื้อหัวใจเพียงแห่งเดียว อยู่นอกอำ�นาจจิตใจ มีลักษณะเป็น เซลล์รูปทรงกระบอกมีลายตามขวางเป็นแถบสีทึบสลับกับสีจาง เซลล์กล้ามเนื้อนี้มีแขนงไปประสานกับ แขนงของเซลล์ใกล้เคียง เซลล์ทงั้ หมดจึงหดตัวพร้อมกัน และหดตัวเป็นจังหวะตลอดชีวติ ควบคุมโดยระบบ ประสาทอัตโนมัติ

กล้ามเนื้อหัวใจ

14


ลักษณะของกล้ามเนื้อ

การสร้างเสริมและดำ�รงประสิทธิภาพการทำ�งานของกล้ามเนื้อ 1. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะวัยรุ่นต้องการโปรตีน แคลเซียม วิตามิน และเกลือแร่ เพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อและกระดูกให้แข็งแรงสมบูรณ์ 2. ออกกำ�ลังกายเพื่อสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ 3. ดื่มน�้ำมากๆ อย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว 4. ป้องกันกล้ามเนื้อไม่ให้เกิดบาดแผล 5. ระดับฮอร์โมนในร่างกายในช่วงวัยรุ่นชาย จะมีผลทำ�ให้กล้ามเนื้อเติบโตและแข็งแรง มากกว่าเพศหญิง

15


หน่วยการเรียนรู้ที่ 2

การวางแผนดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัว แบบองค์รวม แบบครอบคลุม 4 มิติ ตัวชี้วัด พ 1.1 ม.4-6

1. การวางแผนดูแลสุขภาพตามสภาวะการเจริญเติบโตและพัฒนาการของตนเองและ บุคคลในครอบครัว พ 1.1 ม.4-6 2. วางแผนและปฏิบัติตามแผนการพัฒนาสุขภาพของตนเองและครอบครัว

สาระการเรียนรู้แกนกลาง

1. การวางแผนดูแลสุขภาพของตนเองและบุคคลในครอบครัว 2. การวางแผนดูและพัฒนาสุขภาพของตนเองและบุคคลในครอบครัว

สุขภาพ คือรากฐานทีส่ �ำ คัญต่อการดำ�รงชีวติ ของมนุษย์ นับตัง้ แต่ปฏิสนธิจนถึงสิน้ อายุขยั สุขภาพ จึงเป็นเรื่องที่มีความเกี่ยวข้องกับตัวบุคคล สังคมและสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันเราจะเห็นได้ว่า เมื่อมีการพูดถึง เรือ่ งสุขภาพ เรามักเข้าใจว่าหมายถึงการปลอดโรคและเมือ่ เอ่ยถึงโรค เราก็มกั นึกไปต่อถึงยาและหมอ ด้วย เหตุนี้สุขภาพตามที่คนทั่วไปเข้าใจ มักหมายถึง การพึ่งพายาและหมอ เพื่อมิให้โรคต่างๆ หรือปราศจาก ความพิการและทุพพลภาพเท่านั้น ซึ่งเป็นแนวคิดที่ไม่ถูกต้อง เนื่องจากสุขภาพมีความหมายที่กว้างและ ลึกซึ้งกว่า ดังคำ�จำ�กัดความของคำ�ว่า “สุขภาพ” ที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ให้ความหมายของคำ� ว่า “สุขภาพ” ว่าหมายถึง สภาวะแห่งความสมบูรณ์ของร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณ สามารถดำ�รงใน สังคมได้อย่างปกติสุขไม่เพียงแต่ปราศจากโรคและความพิการเท่านั้น การส่งเสริมและการดูแลรักษาสุขภาพถือเป็นหน้าทีแ่ ละความรับผิดชอบของบุคคลทุกๆ คน ทีพ่ งึ มีต่อตนเอง และเพื่อให้เกิดผลจึงจำ�เป็นต้องลงมือกระทำ� ณ สถานที่ที่บุคคลใช้ชีวิตประจำ�วัน ได้แก่ ครอบครัว โรงเรียน ที่ทำ�งาน เป็นต้น ชีวิตประจำ�วันของบุคคลส่วนใหญ่อยู่ที่ครอบครัว ครอบครัวจึงจัดเป็นหน่วยทางสังคมพื้นฐานที่ ครอบคลุมทุกคน การสร้างเสริมสุขภาพ จึงควรเริ่มที่ครอบครัวเป็นพื้นฐานเพื่อผลิตบุคลากรคุณภาพสู่ สังคม อันจะส่งผลต่อสุขภาพและความเข้มแข็งของสังคมโดยรวมต่อไป 16


การดูแลแบบองค์รวม หมายถึง การดูแลที่ครอบคลุม การรักษาพยาบาล การป้องกันไม่ให้เป็น โรค การส่งเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคและให้ร่างกายแข็งแรง และการฟื้นฟูสุขภาพจากการเจ็บป่วยให้ กลับสู่สภาพปกติมากที่สุด การดูแลแบบครอบคลุม 4 มิติหมายถึง การดูแลรักษาทางด้าน กาย จิต สังคม และสิ่งแวดล้อม

1. การดูแลสุขภาพของบุคคลแต่ละช่วงวัย

1.1 วัยทารกและวัยหัดเดิน/วัยก่อนเรียน วัยทารกเป็นวัยที่มีการปรับตัวอย่างมากและรวดเร็ว ตั้งแต่การปรับตัวทางสรีระหรือระบบต่างๆ ของร่างกาย และในช่วงของวัยทารกเป็นวัยที่ยังไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ทำ�ให้อาจมีปัญหาสุขภาพ เกิดขึ้นได้หลายประการ จึงเป็นวัยที่ต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะด้านร่างกาย พ่อแม่ควร ให้การดูแลพิเศษในเรื่องอาหารและอาหารเสริม การขับถ่ายการพักผ่อนนอนหลับ นอกจากนี้ยังต้องดูแล เรื่องการเล่นเพื่อการพัฒนาการ โดยการจัดสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัย ตลอดจนการให้วัคซีนสร้างเสริม ภูมิคุ้มกันโรค สำ�หรับในส่วนของวัยหัดเดิน/วัยเรียน เป็นวัยทีม่ พี ฒ ั นาการอย่างรวดเร็วในด้านกล้ามเนือ้ เพราะ เด็กสามารถ เดิน วิ่ง ได้มากขึ้น จะมีอารมณ์หงุดหงิด โมโหร้าย ดื้อรั้น ชอบปฏิเสธ และยังมีพัฒนาการทาง ด้านภาษาและการใช้สญ ั ลักษณ์ การดูแลสุขภาพของเด็กวัยนี้ ด้านร่างกายคือ เรือ่ งอาหาร สุขภาพฟัน การ นอน การฝึกการขับถ่ายและการหัดเดิน ด้านจิตใจคือ เรือ่ งการปรับพฤติกรรมทาง อารมณ์ ด้านสังคมให้มีการฝึกระเบียบ และการเข้าสังคม และด้านสติปญ ั ญาและ จิตวิญญาณควรเน้นด้านภาษา การออก เสียง และการให้ให้เด็กเข้าร่วมในกิจกรรม ต่างๆ

การจัดบริการสุขภาพตามวิถีอิสลามในช่วงวัยเด็ก 1.1.1 ขณะตั้งครรภ์ (การฝากครรภ์) - มีการตรวจครรภ์โดยเจ้าหน้าที่เพศหญิง ซึ่งเป็นความต้องการของชุมชน เพราะถือว่าการฝาก ครรภ์ไม่ใช่งานฉุกเฉินเร่งด่วน เนื่องจากอิสลามไม่อนุติให้ผู้ชายที่ไม่ใช่สามีมองดูอวัยวะต่างๆ ของผู้หญิงที่ ไม่ใช่ภรรยาของตนได้ - การแนะนำ�การรับประทานอาหารที่อนุมัติ(หะลาล) และให้คุณค่าทางโภชนาการ(ฏอยยิบัน) - แนะนำ�ให้ผู้หญิงตั้งครรภ์อ่านอัลกุรอานให้มากๆ เพราะทุกครั้งที่ผู้หญิงได้อ่านอัลกุรอาน จะ กระตุน้ ให้เกิดความรูส้ กึ ทีอ่ บอวลไปด้วยการรำ�ลึกถึงอัลลอฮ์ กระตุน้ ให้ท�ำ ความดี กระตุน้ ให้เกิดการยำ�เกรง กระตุ้นให้เกิดความใกล้ชิดพระผู้เป็นเจ้าเสมอ ความรู้สึกเหล่านี้ยังส่งผลต่อทารกในครรภ์ด้วยเช่นกัน 17


นอกจากนั้นการรำ�ลึกถึงอัลลอฮ์ ให้ขอดุอาอ์ และปฏิบัติศาสนากิจ (อิบาดะฮฺ) ด้วย 1.1.2 เจ็บครรภ์คลอด (ขณะรอคลอด) ควรมีการเปิดเสียงอัลกุรอานให้หญิงตั้งครรภ์ฟังเพื่อให้ จิตใจของนางสงบ 1.1.3 ขณะคลอด (การทำ�คลอด) ควรให้สามีหรือญาติผู้หญิง เข้าไปให้กำ�ลังใจ และเจ้าหน้าที่ผู้ หญิงทำ�คลอด 1.1.4 หลังคลอด 1.1.4.1 ให้อะซานและอิกอมะฮ เนื่องจากอิสลามได้ให้ความสำ�คัญกับการดูแลอุปนิสัย ของทารกตั้งแต่แรกเกิดหลังออกมาจากครรภ์มารดา โดยให้แวดล้อมด้วยการเลี้ยงดูและจริยธรรมของ อิสลาม สิ่งแรกที่ควรเข้าสัมผัสโสตหูของเด็กคือ ถ้อยคำ�แห่งเตาฮีด (หลักความเชื่อว่าอัลลอฮ์เป็นพระเจ้าผู้ มีอำ�นาจสูงสุดแต่เพียงพระองค์เดียว) 1.1.4.2 ให้ตง้ั ชือ่ ทีด่ ี เนือ่ งจากอิสลามสนับสนุนการเลือกชือ่ ทีด่ สี �ำ หรับทารกแรกเกิด 1.1.4.3 ให้ท�ำ “ตะหฺนกี ” (การเปิดปากทารก) ด้วยอินทผลัม นำ�้ ซัมซัม หรือนำ�้ ผึง้ 1.1.4.4 ให้บุตรดูดนมแม่จนถึงอายุ 2 ปี 1.2 วัยรุ่น วัยรุ่นเป็นวัยที่มีอายุระหว่าง 13-20 ปี เป็นช่วงของการเปลี่ยนระหว่างวัยเด็กสู่วัยผู้ใหญ่ มีการ เปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และจิตวิญญาณ ปัญหาสุขภาพที่มักพบบ่อยในวัยนี้คือ ความผิดปกติของฮอร์โมน อวัยวะเพศ ต่อมเหงื่อและไขมัน การฝ่าฝืนกฎระเบียบ การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ เหมาะสม การใช้สารเสพติด การดูแลรักษาสุขภาพของวัยนี้คือ การรับประทานอาหารให้เหมาะสม การ ออกก�ำลังกายให้ถกู วิธแี ละสมำ�่ เสมอ การเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ทีม่ ปี ระโยชน์และสร้างสรรค์ และประการ ส�ำคัญคือการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว ผู้ปกครองต้องพยายามท�ำความเข้าใจและให้ค�ำปรึกษา แนะน�ำอย่างใกล้ชิด วั ย หนุ่ ม สาวเป็ น ช่ ว งที่ มี พ ลั ง กายพลั ง ใจ ภาระของวั ย หนุ่ ม สาวมี ไ ม่ ม ากจึ ง มี โ อกาสสะสม ประสบการณ์ความรู้และพัฒนาตนเองมากกว่าวัยอื่น เป็นช่วงทีมนุษย์มีจินตนาการที่กว้างไกล เยาวชน มี ความเชื่อมั่นในตนเองซึ่งเป็นปัจจัยสำ�คัญในการสร้างบุคลิกของตนเอง

แนวทางการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับวัยรุ่นมุสลิม 3 ประการ 1.2.1 การเสริมสร้างจิตภาพ จิตภาพหรือความสำ�นึกศาสนาจะเกิดขึ้นได้ ต้องเสริมสร้างและทำ�ความเข้าใจกับหลักความเชื่อ พื้นฐานในอิสลาม 6 ประการ คือการเชื่อในเอกภาพของพระผู้เป็นเจ้า เชื่อในบรรดามลาอิกะฮ์ เชื่อใน ศาสนาทูต(เราะสูล) เชื่อในบรรดาคัมภีร์ เชื่อในกฎกำ�หนดสภาวะ และเชื่อในวันตัดสิน ฝึกฝนให้เกิดการ ปฏิบตั ติ ามหลักปฏิบตั พิ นื้ ฐาน 5 ประการ คือการกล่าวคำ�ปฏิญาณตนว่า “ไม่มพี ระเจ้าอืน่ ใดนอกจากอัลลอฮ์ และมุฮัมมัดคือศาสนทูตของอัลลอฮ์” การละหมาดวันละ 5 เวลา การถือศีลอดในเดือนรอมฎอน การจ่าย 18


ซะกาต และการไปประกอบพิธหี จั ย์ ณ นครมักกะฮ์(เมกกะฮฺ) และให้ฝกึ ฝนให้มหี ลักอิหสาน (หลักจริยธรรม) กล่าวคือให้ปฏิบัติอิบาดะฮด้วยความตั้งใจและบริสุทธิ์ใจเสมอผู้ปฏิบัติได้เห็นพระองค์อัลลอฮ์ 1.2.2 การพัฒนาศักยภาพ เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า เยาวชนวันนี้คือผู้ใหญ่ในวันหน้า เยาวชนเป็นพลังในการสร้างชาติสร้าง แผ่นดิน เยาวชนมีพลังที่ล้นหลาม และเยาวชนก็สร้างปัญหาอย่างมากมายเช่นเดียวกันในสังคม การส่ง เสริมศักยภาพของเยาวชนให้มีความสอดคล้องกับหลักความเชื่อทางศาสนา อาทิ การทำ�งานเชิงการกุศล เชิงสาธารณประโยชน์ให้กบั ชุมชน การอนุรกั ษ์ธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม การส่งเสริมทางด้านกีฬาเป็นต้น 1.2.3 การเสริมสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำ�เนินชีวิตของเยาวชน สภาพแวดล้อมทางสังคมถือว่าเป็นปัจจัยเอื้อที่สำ�คัญ ในการกำ�หนดกรอบการดำ�เนินชีวิตของ คนในสังคม เยาวชนเป็นผูท้ อี่ ยากรูอ้ ยากเห็นและอยากลอง หากเยาวชนมีชวี ติ ท่ามกลางสังคมทีด่ ตี วั เยาวชน ก็จะถูกสภาพของความดีนำ�ทาง แต่ถ้าเยาวชนตกอยู่ท่ามกลางสังคมที่แวดล้อมไปด้วยอบายมุข วิถีชีวิต และความเป็นอยู่ของเยาวชนก็ไม่รอดพ้นจากอบายมุขเช่นเดียวกัน วิธีการในการดูแลสุขภาพของวัยรุ่นมุสลิมดังนี้ - ต้องมีความรู้ทางด้านการแพทย์เพื่อใช้ในการศึกษาเรื่องเพศสัมพันธ์ อนามัยวัยเจริญ พันธ์ เป็นต้น - มีความรู้ทางด้านจิตวิทยาวัยรุ่น และทักษะชีวิต - ต้องเข้าใจบริบททางศาสนา เพราะอิสลามคือวิถีชีวิต - ต้องมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี - หลีกเลี่ยงการใช้ยาเสพติดทุกประเภท - หลีกเลีย่ งการมีเพศสัมพันธ์กอ่ นแต่งงาน และจำ�เป็นต้องมีการตรวจเลือดก่อนแต่งงาน เพื่อป้องกันปัญหาเป็นโรคเอดส์ - มีสติหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุและอุบัติภัยต่างๆ 1.3 วัยผู้ใหญ่ วัยผูใ้ หญ่เป็นวัยทีร่ า่ งกายพัฒนาการเจริญเติบโตสมบูรณ์แข็งแรง มีวฒ ุ ภิ าวะพร้อมทีจ่ ะดำ�เนินชีวติ ในสังคม มีบทบาททางสังคมทีช่ ดั เจน เช่น การประกอบอาชีพ มีคคู่ รอง การเป็นบิดา มารดา เป็นต้น ปัญหา สุขภาพที่พบบ่อยคือ การเสื่อมถอยทางสุขภาพ ความเครียดจากหน้าที่การงาน มีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ เหมาะสมทำ�ให้เกิดโรคเรือ้ รัง การดูแลรักษาสุขภาพในวัยนี้ คือ การให้ความรูเ้ กีย่ วกับการเปลีย่ นแปลงของ ร่างกาย การดูแลตนเองเมื่อเป็นโรคเรื่อรัง การจัดการความเครียด การให้กำ�ลังใจในการเผชิญปัญหา การ บริหารเวลา และการปฏิบัติกรรมกรรมทางศาสนา

19


1.4 วัยสูงอายุ มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ผู้ที่อยู่ในวัยนี้ควรได้รับการ ดูแลเป็นพิเศษ เพราะผูส้ งู อายุจะมีระบบการทำ�งานในร่างกาย ทีเ่ สือ่ มถอย การเสือ่ มถอยดังกล่าวจะเป็นไปตามวัย ปัญหาทาง สุขภาพที่มักจะพบบ่อยสำ�หรับผู้ที่อยู่ในวัยนี้คือ ภาวะสติ ปัญญาที่เสื่อมถอย ข้อกระดูกเสื่อม มีปัญหาในการมองเห็น การได้ยิน การเคลื่อนไวจะช้าลง นอนไม่หลับ เป็นต้น ดังนั้นผู้ สูงอายุที่มีสุขภาพที่แข็งแรงก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี 1.5 การดูแลสุขภาพในระยะสุดท้าย การดูแลผู้ป่วยในระยะสุดท้ายควรดูแลแบบองค์รวม ซึ่งจะต้องครอบคลุมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ เพราะผู้ป่วยส่วนใหญ่ให้ความเชื่อถือ ความศรัทธา และฝากความหวังอย่างมากให้กับแพทย์ พยาบาล ตลอดทั้งบุคลากรสาธารณสุข ซึ่งมีความ ใกล้ชดิ กับผูป้ ว่ ยมากทีส่ ดุ เป็นผูท้ มี่ สี ว่ นจูงใจ โน้มน้าวให้เกิดความร่วมมือในการบ�ำบัดรักษา เกิดขวัญก�ำลัง ใจในการเอาชนะโรคภัยไข้เจ็บของผู้ป่วย ฉะนั้นประสิทธิภาพในการดูแลผู้ป่วยโดยเฉพาะผู้ป่วยในระยะ สุดท้าย บุคลากรสาธารณสุขควรจะมีการตระหนักรู้ มีเจตคติและความเข้าใจ มีความเห็นอกเห็นใจ และ มีการประคับประคองผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง เช่น การตรวจเยี่ยมผู้ป่วยอย่างสม�่ำเสมอ การสบตา การสัมผัส ผูป้ ว่ ยตามความเหมาะสม การฟังสิง่ ทีผ่ ปู้ ว่ ยต้องการพูด และการยินดีตอบค�ำถามอย่างให้เกียรติ สิง่ ส�ำคัญ ในการดูแลดังกล่าวคือ ความจริงใจและมีคณ ุ ธรรมในการดูแลในขณะเดียวกันการช่วยเหลือทางสังคมและ จิตใจ ส�ำหรับญาติผู้ป่วยเราก็ไม่ควรจะละเลย เพราะปฏิกิริยาทางจิตใจที่มีต่อการสูญเสียสิ่งอันเป็นที่รัก อาจแสดงออกมาในลักษณะช็อก ตกตะลึง ปฏิเสธความจริงที่เกิดขึ้น ไม่เชื่อ ไม่ยอมรับต่อความเป็นจริง ซึมเศร้า ท้อแท้ใจ และในทีส่ ดุ อาจยอมรับสภาพความจริงไม่ได้ ฉะนัน้ การสือ่ สารทีเ่ หมาะสม เพือ่ ลดความ รุนแรงของอารมณ์ที่เกิดขึ้น ผู้ที่จะสื่อสารหรือบอกข่าวกับญาติควรด�ำเนินการดังนี้ 1. เตรียมความพร้อมทั้งด้านอารมณ์ ความรู้สึก และความคิด 2. การบอกความจริง บอกอย่างเป็นขัน้ ตอน เพือ่ ให้ญาติผปู้ ว่ ยหรือผูป้ ว่ ยรับรูต้ ามลำ�ดับเหตุการณ์ หรือตามเหตุผลที่เกิดขึ้นจริง 3. ให้กำ�ลังใจ เพื่อให้ผู้รับข่าวการเจ็บป่วยผ่อนคลายความรู้สึกลง 4. เสนอความช่วยเหลือ และร่วมวางแผนแก้ไขปัญหาแก่ผู้รับข่าวสารการเจ็บป่วยต่อไป ในฐานะทีเ่ ป็นมุสลิม หน้าทีป่ ระการหนึง่ ของมุสลิมพึงมีตอ่ กันและกัน คือ การเยีย่ มผูป้ ว่ ย สิง่ ทีค่ น ไปเยี่ยมผู้ป่วยพึงกระทำ� คือ ควรเตือนให้ผู้ป่วยได้ตระหนักถึง 1. การเตาบะฮ์ (การสำ�นึกผิด และขออภัยโทษต่ออัลลอฮ์) 2. สิ่งที่เขาจำ�เป็นจะต้องสั่งเสีย 20


3. ให้เขาใช้เวลาที่เหลืออยู่ด้วยการรำ�ลึกถึงอัลลอฮ์

เพราะสิง่ เหล่านีจ้ �ำ เป็นสำ�หรับผูป้ ว่ ยเมือ่ เขาใกล้สนิ้ ลมหายใจ ผูท้ อี่ ยูใ่ กล้ควรจะสอนให้เขาได้กล่าว ว่า “ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮ์” (ไม่มีพระเจ้าอื่นใด นอกจากอัลลอฮ์เท่านั้น) ด้วยเสียงดังพอที่จะให้คนใกล้ตาย ได้ยนิ อันจะเป็นการทำ�ให้เขาระลึกได้และได้ร�ำ ลึกถึงอัลลอฮ์ นอกจากนัน้ สิง่ ทีจ่ �ำ เป็นสำ�หรับผูด้ แู ลจะต้อง แนะนำ�ให้ผู้ป่วยกระทำ�อยู่เสมอ ได้แก่ 1. ให้ผู้ป่วยยอมรับและมีความพึงพอใจในการกำ�หนดของอัลลอฮ์ 2. ให้ผู้ป่วยมีความอดทนต่อกฎกำ�หนดสภาวการณ์ของอัลลอฮ์ 3. ให้ผู้ป่วยมีรำ�ลึกถึงอัลลอฮ์ 4. ไม่ควรให้ผู้ป่วยขอดุอาอ์ให้ตาย เพื่อจะได้พ้นจากการทรมานจากอาการเจ็บป่วย 5. ให้ผู้ป่วยกล่าวขออภัยโทษต่ออัลลอฮ์ในความผิดที่ผ่านมา สำ�หรับญาติพี่น้องหรือผู้ดูแลควรมีข้อปฏิบัติ ดังนี้ 1. กล่าวชะฮาดะฮ์ (ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮ) ให้แก่ผู้ป่วย อยู่ตลอดเวลา 2. กล่าวดุอาอ์ (บทขอพร) ให้ผู้ป่วย เช่น “ขออัลลอฮ์ ให้เราพ้นจากความทรมานและความเจ็บ ป่วยในการตาย” 3. พูดเฉพาะสิ่งที่ดีๆ ต่อหน้าผู้ป่วย

2. การดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัว

การดู แ ลสุ ข ภาพเป็ น สิ่ ง ที่ ทุ ก คนต้ อ งตระหนั ก แสวงหา สร้างเสริมให้ประโยชน์แก่ตนเอง และสังคม ด้วย การปฏิบตั เิ ป็นประจำ�ทุกวัน จนเป็นนิสยั จะสามารถป้องกัน ตนเอง และครอบครัวไม่ให้เจ็บป่วย หรือทำ�ให้โอกาสของการ เจ็บป่วย เกิดขึ้นได้โดยยาก หรือลดน้อยลง โดยการได้อยู่ใน สภาพแวดล้อมทีด่ ี ครอบครัวมีความอบอุน่ มีความปลอดภัย ในชีวิต สามารถปรับตัวให้ดำ�รงอยู่ในสังคม อย่างมีคุณภาพ และเป็นสุข 2.1 การดูแลสุขภาพตนเอง การดูแลสุขภาพของตนเองถือได้ว่าเป็นความจำ�เป็นพื้นฐานที่ทุกคนพึงปฏิบัติให้กับตนเอง เพื่อ ให้มีสุขภาพที่ร่างกายที่สมบูรณ์ แข็งแรง ปราศจากโรคภัยต่างๆ ตลอดจนการอยู่ร่วมในสังคมได้อย่างมี ความสุข ซึ่งมีวิธีปฏิบัติดังนี้ 1) การออกกำ�ลังกาย การออกก�ำลังกายจะต้องปฏิบัติโดยสม�่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง จะช่วยระบบต่างๆ 21


ของร่างกายได้รบั การกระตุน้ ให้ทำ� งาน เช่น ระบบประสาทตืน่ ตัว ร่างกายเติบโตสมส่วน ระบบย่อยอาหาร ดีขนึ้ ผิวหนังสดชืน่ การท�ำงานประสานกันระหว่างระบบกล้ามเนือ้ กับระบบประสาทดีขนึ้ มีความคล่องตัว ช่วยให้นอนหลับสนิท นอกจากนั้นการออกก�ำลังกายจะต้องปฏิบัติอย่างถูกต้องตามวิธีการ 2) การรับประทานอาหารที่ถูกต้อง ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และให้มีปริมาณเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย จะ ช่วยในการสร้างเสริมร่างกายให้เจริญเติบโต ซ่อมแซมส่วนทีส่ กึ หรอ ให้พลังงานและความอบอุน่ แก่รา่ งกาย รวมทั้งการป้องกันโรคและควบคุมอวัยวะต่างๆ ของร่างกายให้ทำ�งานตามปกติ 3) การพักผ่อนและนันทนาการ การพักผ่อนจะทำ�ให้ร่างกายได้รับการผ่อน คลายและเพลิดเพลิน ซึ่งสามารถเลือกทำ�ได้ใน หลากหลายรูปแบบตามความต้องการของแต่ละ บุคคล เช่น การนอนหลับ หรือการเลือกทำ�กิจกรรม นันทนาการเพื่อการพักผ่อน ไม่ว่าจะเป็นการเล่น กีฬา การปลูกต้นไม้ การเดินป่าชมธรรมชาติ การ พบปะสังสรรค์ การชมการแสดง เป็นต้น แต่การพัก ผ่อนที่ดีที่สุดก็คือ การนอนหลับ เพราะเป็นการส่ง เสริมการสร้างพลังงานของร่างกาย เพื่อทดแทน พลังงานที่สูญเสียไป ช่วยให้มีการเจริญเติบโตของเซลล์สมองใหม่ ตลอดจนทำ�ให้เกิดการฟื้นฟูความรู้สึก และช่วยให้อารมณ์สดชื่น 4) การหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง การหลีกเลีย่ งพฤติกรรมเสีย่ ง เป็นการนำ�พาตัวเองออกห่าง จากพฤติ ก รรมต่ า งๆ ที่ ก่ อ ให้ เ กิ ด อั น ตราย และผลเสี ย ได้ แ ก่ พฤติ ก รรมทางเพศที่ ไ ม่ เ หมาะสมกั บ วั ย เช่ น การทำ�แท้ ง การ แสดงออกทางเพศที่ไม่เหมาะสมตามกาลเทศะ การสำ�ส่อนทางเพศ เป็นต้น และพฤติกรรมการใช้สารเสพติด เช่น บุหรี่ กัญชา ยาบ้า เฮโรอีน เป็นต้น 5) การพัฒนาทางด้านจิตใจและจิตวิญญาณ การพัฒนาทางด้านจิตใจและจิตวิญญาณ ทุกคนสามารถปฏิบัติได้โดยผ่านวิถีการดำ�เนินชีวิตใน แต่ละวัน เช่น การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน การบริจาคทาน ตลอดจนการปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนา ซึ่งจะ ช่วยให้เกิดความสงบนิ่ง ส่งผลให้เกิดสุขภาพจิตที่ดี 6) มีการเรียนรู้ที่ดี การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ทุกสถานที่ การสร้างแรงกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา จะทำ�ให้มีการพัฒนาการทางด้านสติปัญญา ความคิด ความสร้างสรรค์ 22


7) การจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ การเสริมสร้างสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมที่จะเอื้ออำ�นวยให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพสามารถทำ�ได้ ดังนี้ 1. การจัดสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ เช่น การตกแต่งเพิ่มต้นไม้ใบหญ้า ความสดชื่อนของดอกไม้ จัดส่วนหย่อมสำ�หรับพักผ่อนหรือนั่งเล่น มีสถานที่กลางแจ้งสำ�หรับออกกำ�ลังกาย มีสุขาภิบาลที่ถูก สุขลักษณะ ตลอดจนมีวิธีการกำ�จัดขยะอย่างถูกวิธี เป็นต้น 2. การจัดสิง่ แวดล้อมทางชีวภาพ เช่น มีวธิ กี ารระบายหรือถ่ายเทนำ�้ เสียทีด่ ี ไม่กอ่ ให้เกิดการกักขัง ของน�้ำ ที่อาจเป็นสาเหตุของแหล่งแพร่เชื่อโรคต่างๆ 3. การจัดสิง่ แวดล้อมทางสังคม เช่น การมีปฏิสมั พันธ์ทดี่ ตี อ่ กันระหว่างสมาชิกในครอบครัว เพือ่ น บ้าน เพื่อนร่วมงาน และทุกคนในชมชุนหรือสังคม 2.2 การดูแลสุขภาพครอบครัว สุขภาพคือรากฐานทีส่ �ำ คัญของชีวติ สุขภาพทีด่ เี ริม่ ทีค่ รอบครัว และครอบครัวทีอ่ บอุน่ เป็นรากฐาน สุขภาพของบุคคล การทีค่ รอบครัวจะมีสขุ ภาพทีด่ ไี ด้นนั้ มิใช่เพียงแค่การรอรับความช่วยเหลือเมือ่ เจ็บป่วย จากสถานบริการสุขภาพเท่านั้น แต่สมาชิกทุกคนจะต้องลงมือสร้างด้วยตัวเองด้วยวิธีการดังต่อไปนี้ 1. การสร้างความมัน่ คงของโครงสร้างครอบครัวด้วยการร่วมกันวางแผนชีวติ ครอบครัวร่วมกันทัง้ เรื่อง รายได้ อาชีพ ที่อยู่อาศัย การเลี้ยงดู อบรมสั่งสอนบุตร 2. การสร้างเสริมความสมบูรณ์ของหน้าทีค่ รอบครัว สมาชิกในครอบครัวทุกคนต้องช่วยเหลือกัน ทำ�หน้าทีต่ ามความเหมาะ เช่น พ่อทำ�หน้าทีห่ าเลีย้ งครอบครัว แม่ เลี้ยงดูลูก และลูกๆก็สามารถช่วยงานครอบครัวได้เช่นกันไม่ว่าจะ เป็นการช่วย ปัดกวาดเช็ดถูบ้าน ล้างจาน เก็บขยะ เป็นต้น 3. การสร้างสิ่งแวดล้อมและบรรยากาศในครอบครัว พฤติกรรมการแสดงออก นิสัยใจคอ การพูดจาไพเราะสุภาพ ช่วย กันแบ่งเบาภาระหน้าทีง่ านบ้าน รูจ้ กั ให้อภัยมีเหตุผล สิง่ ต่างๆเหล่า นี้ล้วนเป็นการสร้างบรรยากาศที่ดีให้เกิดขึ้นในครอบครัว 4. การสร้างความรักในครอบครัว สมาชิกในครอบครัวทุก ต้องมีความรักความหวงไยต่อกัน เช่น การใส่ใจความเป็นอยูส่ ขุ ภาพของกันและกันระหว่าพ่อแม่ ลูก พีน่ อ้ ง เครือญาติ การเคารพให้เกียรติซึ่งกันและกัน การมีเวลาให้กัน เป็นต้น

3. กระบวนการในการดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัว

การวางแผนดูแลสุขภาพตนเองและบุคคลในครอบครัว เป็นเรือ่ งทีม่ คี ณ ุ ค่าอย่างยิง่ เพราะนอกจาก จะเป็นสิ่งที่ช่วยกระตุ้นให้ตัวของเราเองและบุคคลในครอบครัว เกิดความกระตือรือร้นในการดูแลสุขภาพ แล้ว ยังเป็นสิ่งที่ช่วยให้เกิดสัมพันธภาพอันดีระหว่างสมาชิกทุกคนในครอบครัว เกิดความรักในครอบครัว ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ได้อย่างดี อันจะนำ�ไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีในอนาคต 23


3.1 คุณค่าของการวางแผนดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัว คำ�ว่า “สุขภาพดี” ในแต่ละคนนั้นอาจแตกต่างกันออกไปตามแต่สภาวะสังคม หรือรูปแบบของ วิถชี วี ติ ทีแ่ ตกต่างกัน แต่โดยรวมแล้วสุขภาพดีอย่างน้อยจะต้องหมายถึง ความสมบูรณ์ของทัง้ ร่างกายและ จิตใจ ซึง่ สิง่ ทีเ่ กิดขึน้ นีจ้ ะเกิดได้เนือ่ งจากการดูแลเอาใจใส่ระบบต่างๆ ทีส่ �ำ คัญของร่างกาย การทีจ่ ะมีสขุ ภาพ ดีได้นนั้ ไม่วา่ จะเป็นสุขภาพของตนเองหรือของบุคคลในครอบครัว ไม่ใช่เป็นสิง่ เกิดขึน้ ได้ดว้ ยความบังเอิญ หากแต่จำ�เป็นที่จะต้องมีการวางแผนในการดูแลสุขภาพล่วงหน้า ซึ่งจะช่วยให้เกิดผลดี ดังนี้ 1. สามารถทีจ่ ะกำ�หนดวิธกี าร หรือเลือกรูปแบบทีเ่ หมาะสมกับการดำ�เนินชีวติ ของตัวเราเองหรือ บุคคลในครอบครัวได้อย่างเหมาะสม 2. สามารถที่จะกำ�หนดช่วงเวลาในการดูแลสุขภาพได้อย่างเหมาะสม อาจจะมีกิจกรรมการออก กำ�ลังกายในช่วงเช้า หรือในบางครอบครัวอาจจะมีเวลาว่างในช่วงเย็น ก็อาจจะกำ�หนดกิจกรรมการส่ง เสริมสุขภาพในช่วงเย็นก็ได้ หรืออาจจะกำ�หนดช่วงเวลาในการตรวจสุขภาพประจำ�ปีของบุคคลในครอบครัว ได้อย่างเหมาะสม 3. เป็นการเฝ้าระวังสุขภาพทั้งของตนเองและบุคคลในครอบครัว ไม่ให้ป่วยด้วยโรคต่างๆ นับว่า เป็นการสร้างสุขภาพ ซึ่งจะดีกว่าการที่จะต้องมาซ่อมสุขภาพ หรือการรักษาพยาบาลในภายหลัง 4. ช่วยในการวางแผนเรื่องของเศรษฐกิจและการเงินในครอบครัว เนื่องจากไม่ต้องใช้จ่ายเงินไป ในการรักษาพยาบาล 5. ส่งเสริมสุขภาพทั้งของตนเองและบุคคลในครอบครัว 6. ทำ�ให้คุณภาพชีวิตทั้งของตนเองและสมาชิกในครอบครัวดีขึ้น 3.2 การวางแผนดูแลสุขภาพของตนเอง 1. การสำ�รวจรูปแบบการดำ�เนินชีวิตของตนเองว่าเป็นอย่างไร นักเรียนอาจทำ�ได้โดยการลองจด บันทึกประจำ�วัน ว่าแต่ละวันใน 1 สัปดาห์ หรือ 1 เดือนนั้น นักเรียนทำ�อะไรบ้าง แล้วนำ�กลับมาพิจารณา ว่านักเรียนมีพฤติกรรมใดที่ส่งเสริมหรือขัดขวางต่อการมีสุขภาพที่ดีหรือไม่ 2. จากข้อมูลที่ได้ นักเรียนลองนำ�มากำ�หนดเป็นแผนในการที่จะดูแลสุขภาพของตนเองโดยอาจ จะเริ่มต้นด้วยการกำ�หนดเป็นแผนรายวัน หรือรายสัปดาห์ก่อน ว่านักเรียนจะต้องประกอบกิจกรรมอะไร บ้างที่จะช่วยในการส่งเสริมสุขภาพของตนเอง 3. เมื่อกำ�หนดแผนในการดูแลสุขภาพตนเองได้แล้ว ก็ดำ�เนินการตามแผนที่วางไว้ และประเมิน ผลเป็นระยะๆ ว่าตนเองสามารถดำ�เนินการในการดูแลสุขภาพของตนเองตามแผนทีว่ างไว้ได้หรือไม่ 4. หากพบว่าไม่สามารถปฏิบัติตามแผนที่วางไว้ได้ ก็นำ�ข้อมูลมาวิเคราะห์ใหม่ ว่าเกิดจากปัจจัย ใด และลองปรับเปลี่ยนแผนให้เหมาะสมกับตนเองให้มากที่สุด

4. การวางแผน และกระบวนการในการดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัว

การวางแผนดูแลสุขภาพตนเองและบุคคลในครอบครัว มีความสำ�คัญอย่างยิ่ง เพราะจะช่วย เป็นการกระตุ้นให้ทุกคนในครอบครัว ได้เห็นถึงความสำ�คัญของการดูแลรักษาสุขภาพร่วมกัน โดยเฉพาะ 24


เมือ่ มีการทำ�กิจกรรมร่วมกัน การออกกำ�ลังกายร่วมกัน การร่วมแสดงความคิดเห็นต่างๆ จะช่วยสร้างความ สัมพันธ์ของสมาชิกในครอบครัวให้แน่นแฟ้น ก่อให้เกิดความรักความสามัคคีไปพร้อมๆ กันด้วย 4.1 คุณค่าของการวางแผนดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัว มีดังนี้ 1. ทำ�ให้ตนเองและครอบครัวมีสุขภาพที่ดีขึ้น 2. มีวิถีการดำ�เนินชีวิตของตนเองและครอบครัวที่ดีและเหมาะสม 3. สามารถกำ�หนดช่วงเวลาที่เหมาะสมในการดูแลสุขภาพ เช่น กำ�หนดให้มีการออกกำ�ลังกายใน ช่วงเช้า ช่วงเย็น หรือกำ�หนดให้มีวันที่สมาชิกทุกคนออกกำ�ลังกายร่วมกัน เป็นต้น 4. เป็นการเฝ้าระวังพฤติกรรมที่อาจจะส่งผลที่ไม่ดีต่อสุขภาพ เพื่อไม่ให้เกิดการเจ็บป่วยจากโรค ภัยต่างๆ 5. การวางแผนดูแลสุขภาพจะช่วยแบ่งเบาภาระหน้าที่ของสถานบริการสุขภาพ และยังเป็นการ ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล 4.2 ขั้นตอนในการวางแผนดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัว 1. การสำ�รวจรูปแบบการดำ�เนินชีวิตของสมาชิกในครอบครัวว่าเป็นอย่างไร เนื่องจากการดูแล สุขภาพของบุคคลในครอบครัวนั้น ไม่ใช่เป็นการดำ�เนินงานโดยบุคคลใดบุคคลหนึ่งเพียงคนเดียวแล้วจะ ประสบความสำ�เร็จ หากแต่ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจของสมาชิกในครอบครัวเป็นสำ�คัญ 2. จากข้อมูลที่ได้ นำ�มากำ�หนดเป็นแผนการในการที่จะดูแลสุขภาพของสมาชิกในครอบครัวโดย การกำ�หนดเป็นแผนในการดูแลสุขภาพซึ่งอาจจะทำ�แยกเป็นรายบุคคล หรืออาจจะทำ�เป็นภาพรวมของ ทุกคนในครอบครัว 3. เมื่อกำ�หนดแผนในการดูแลสุขภาพของสมาชิกในครอบครัวได้แล้ว ก็ดำ�เนินตามแผนที่วางไว้ และประเมินผลเป็นระยะๆ ว่าบุคคลในครอบครัวสามารถปฏิบตั ติ ามแผนในการดูแลสุขภาพทีว่ างไว้ได้หรือ ไม่ อย่างไร 4. หากพบว่าไม่สามารถปฏิบัติตามแผนที่วางไว้ได้ ก็นำ�ข้อมูลมาวิเคราะห์ใหม่ ว่าเกิดจากปัจจัย ใด และลองปรับเปลี่ยนแผนให้เหมาะสมกับสมาชิกในครอบครัวของเราให้มากที่สุด

5. งานสาธารณสุขมูลฐานกับการดูแลสุขภาพตนเอง และครอบครัว

5.1 ภาระงานของสาธารณสุขมูลฐาน การสาธารณสุขมูลฐาน เป็นกลวิธีทางการสาธารณสุขที่เพิ่ม ขึ้นจากระบบบริการสาธารณสุข ของรัฐ ซึ่งมีอยู่ในระดับตำ�บลและ หมูบ่ า้ น การสาธารณสุขมูลฐานเป็นวิธกี ารให้บริการ สาธารณสุขทีผ่ สม ผสานทั้งทางด้านการรักษาพยาบาล การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกัน 25


โรค และการฟื้นฟูสภาพ ที่ดำ�เนินการโดยประชาชนเอง ซึ่งประชาชนจะต้องมีส่วนร่วมในการวางแผนการ ดำ�เนินงานและการประเมินผล โดยได้รบั การสนับสนุนจากภาครัฐในด้านวิชาการ ข้อมูลข่าวสาร การให้การ ศึกษา ฝึกอบรมและระบบส่งต่อผู้ป่วย โดยอาศัยทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่นเป็นหลัก ภาระงานของ สาธารณสุขมูลฐานประกอบด้วยการบริการแบบผสมผสาน 4 ด้าน คือ 1. การป้องกันโรค 2. การส่งเสริมสุขภาพอนามัย 3. การรักษาพยาบาล 4. การฟื้นฟูสภาพ 5.2 หลักการทำ�งานของสาธารณสุขมูลฐาน หลักการที่สำ�คัญของการสาธารณสุขมูลฐานมี 4 ประการ คือ 1) การมีส่วนร่วมของชุมชน คือ การเตรียมเจ้าหน้าที่ เตรียมชุมชน การฝึกอบรม การติดตาม ดำ�เนินกิจกรรมต่างๆ ให้ประชาชนในหมู่บ้านได้รู้สึกเป็นเจ้าของและเข้ามาร่วมช่วยเหลืองานด้าน สาธารณสุข ทั้งด้านกำ�ลังคน กำ�ลังเงิน และวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ประชาชนในชุมชนนั้นเป็นผู้ตระหนักถึง ปัญหาของชุมชนของตนเป็นอย่างดี จึงเป็นผู้กำ�หนดปัญหาสาธารณสุขของชุมชนนั้นเอง เป็นผู้วิเคราะห์ ปัญหา ตลอดจนแนวทางแก้ไขปัญหาของชุมชน ทั้งนี้ โดยชุมชนมีความสามารถในการแยกแยะได้ว่าวิธี การแก้ปัญหาใดประชาชนในชุมชนสามารถแก้ไขได้ วิธีการใดอยู่นอกเหนือความสามารถของชุมชน ก็ให้ เจ้าหน้าที่ของรัฐ บุคคลหรือองค์กรภายนอกเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหา รูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชน มีได้หลายรูปแบบ ตัวอย่างของรูปแบบการดำ�เนินงานที่ผ่านมา ได้แก่ - การสำ�รวจและใช้ผลการสำ�รวจความจำ�เป็นพื้นฐาน (จปฐ.) - การจัดตั้งกองทุนหมุนเวียนในหมู่บ้านเพื่อแก้ปัญหาสาธารณสุข - การจัดตั้งศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน (ศสมช.) - การคัดเลือกและฝึกอบรม อสม. กสค. เป็นต้น 2) การใช้เทคโนโลยีทเี่ หมาะสม เทคนิคและวิธกี ารทีใ่ ช้ในงานสาธารณสุขมูลฐาน ควรเป็นเทคนิค วิธีการที่ง่ายไม่ซับซ้อน ยุ่งยาก เหมาะสมกับแต่ละสภาพท้องถิ่นและประชาชนสามารถปฏิบัติได้ เทคนิค วิธกี ารซึง่ หมายรวมตัง้ แต่วธิ กี ารค้นหาปัญหา ขบวนการในการแก้ไขปัญหา จนกระทัง่ ถึงเทคนิคในการแก้ไข ปัญหาโดยชุมชนเอง เช่น การทำ�ระบบประปาด้วยปล้องไม้ไผ่ การใช้สมุนไพรในชุมชน การใช้ระบบการ นวดไทยเพื่อบรรเทาอาการปวดเมื่อย เป็นต้น เทคนิคเหล่านี้อาจเป็นภูมิความรู้ดั้งเดิมในชุมชน ที่ชุมชนมี การถ่ายทอดในการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขของตนเองมาเป็นเวลาช้านานแล้ว 3) มีการปรับระบบบริการพืน้ ฐานของรัฐเพือ่ รองรับการสาธารณสุขมูลฐาน เป้าหมายของการ ปรับเปลี่ยนระบบบริการสาธารณสุข ก็เพื่อที่จะทำ�ให้ประชาชนสามารถที่จะเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพได้ รวมทั้งสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมได้อย่างแท้จริง การปรับเปลี่ยนระบบบริการจะต้องมีการดำ�เนิน งานในทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นระดับสถานีอนามัยซึ่งอยู่ใกล้ชุมชน โรงพยาบาลชุมชนในระดับอำ�เภอ โรง พยาบาลทัว่ ไป/โรงพยาบาลศูนย์ในระดับจังหวัด รวมทัง้ สถานบริการเฉพาะทางต่างๆ เพือ่ ให้ประชาชนได้ 26


รับบริการอย่างทั่วถึงเป็นธรรม และได้รับการส่งต่อเพื่อดูแลอย่างต่อเนื่องเมื่อมีความจำ�เป็น 4) การผสมผสานกับงานของกระทรวงอืน่ ๆ งานสาธารณสุขมูลฐานจะสำ�เร็จผลได้ตอ้ งผสมผสาน ทำ�งานไปด้วยกันได้ ทัง้ ภายในกระทรวงและต่างกระทรวง แนวคิดทีส่ �ำ คัญของการดำ�เนินงานในด้านนี้ คือ การประสานเพื่อให้หน่วยงานอื่นทำ�งานในความรับผิดชอบของหน่วยงานนั้นๆ ในลักษณะที่ส่งเสริมหรือ สอดคล้องกับการพัฒนาด้านสุขภาพ ไม่ใช่ขอให้บุคลากรของหน่วยงานอื่นมาร่วมกันปฏิบัติงานภาค สาธารณสุข ปัจจัยสำ�คัญทีจ่ ะช่วยให้การประสานงานระหว่างสาขาเป็นไปอย่างได้ผล คือ ความสามารถใน การวิเคราะห์วา่ การดำ�เนินงานเรือ่ งอะไร ของหน่วยงานใดจะมีสว่ นในการส่งเสริมการมีสขุ ภาพดี เช่น การ ศึกษา การเกษตร การปรับปรุงด้านสิ่งแวดล้อม การส่งเสริมบทบาทขององค์กรชุมชน ฯลฯ

6. ข้อมูลข่าวสารและแหล่งการเรียนรู้ด้านสุขภาพ

6.1 ความหมายของข้อมูลและข้อมูลข่าวสาร ข้อมูล หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของ ตัวเลข เครื่องหมาย สัญลักษณ์ ส่วนข้อมูลข่าวสารตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 นั้น หมายถึง “สิ่ง ที่สื่อความหมายให้รู้เรื่องราวข้อเท็จจริง ข้อมูล หรือสิ่งใดๆ ไม่ว่าการสื่อความหมายนั้นจะทำ�ได้โดยสภาพ ของสิ่งนั้นเอง หรือโดยผ่านวิธีการใดๆ และไม่ว่าจะได้จัดทำ�ไว้ในรูปของเอกสาร แฟ้ม รายงาน หนังสือ แผนผัง แผนที่ ภาพวาด ภาพถ่าย ฟิล์ม การบันทึกภาพหรือเสียง การบันทึกโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือ วิธีอื่นใดที่ทำ�ให้สิ่งที่บันทึกไว้ปรากฏได้” 6.2 ความสำ�คัญของข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ ปัจจุบันถือได้ว่าเป็นโลกแห่งข้อมูลข่าวสาร ข้อมูลข่าวสารเข้ามามีบทบาทในการด�ำเนินชีวิตของ มนุษย์ในทุกๆ ด้าน โดยเฉพาะทางด้านสุขภาพ ที่เห็นได้จากการโฆษณาชวนเชื่อเกี่ยวกับการลดน�้ำหนัก อาหารการกิน การบ�ำรุงรักษาผิวพรรณ เป็นต้น ข้อมูลข่าวสารจึงกลายมาเป็นส่วนส�ำคัญในวิถชี วี ติ ทีท่ �ำให้ เราได้มีความรู้ความเข้าใจ และมีการดูแลรักษาสุขภาพที่ดีได้ แต่ทั้งนี้และทั้งนั้นผู้บริโภคข้อมูลข่าวสารจะ ต้องรู้จักการวิเคราะห์ เพื่อคัดสรรค์เฉพาะข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องและเชื่อถือได้เท่านั้น มิฉะนั้นแล้วก็อาจ ท�ำให้เกิดโทษจากการบริโภคข้อมูลข่าวสารที่ไม่ถูกต้องได้เช่นกัน 6.3 แหล่งข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ แหล่งข้อมูลข่าวสารต่างๆ ทางด้านสุขภาพทีส่ �ำ คัญและสามารถเข้าถึงและสืบค้นได้ทวั่ ไปแบ่งออก เป็น 2 แหล่งใหญ่ๆ ด้วยกัน คือ 1) แหล่งปฐมภูมิ เป็นแหล่งข้อมูลข่าวสารชั้นต้นที่สามารถรับได้โดยตรง ได้แก่ - เจ้าหน้าที่หรือผู้ให้บริการทางด้านสุขภาพ เช่น แพทย์ พยาบาล อาสาสมัครสาธารณสุขประจำ� หมู่บ้าน (อสม.) เป็นต้น ซึ่งบุคคลเหล่านี้ถือได้ว่ามีความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านสุขภาพโดยตรง ที่จะให้ 27


ความรู้ความเข้าใจ ให้คำ�ปรึกษา และคำ�แนะนำ� เกี่ยวกับสุขภาพได้เป็นอย่างดี - ผู้นำ�ทางภูมิปัญญาด้านสุขภาพ เช่น ปูย่า ตายาย คนเฒ่าคนแก่ ที่มีประสบการณ์ มีความรู้ ที่ได้ สืบทอดกันมาเป็นระยะเวลานาน 2) แหล่งทุตยิ ภูมิ เป็นแหล่งข้อมูลทีถ่ กู สือ่ อออกมาในรูปแบบต่างเช่น การเขียน การบันทึก เป็นต้น - สิ่งพิมพ์ ปัจจุบันสื่อในรูปของสิ่งพิมพ์ถือได้ว่าเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากสะดวก และง่ายต่อการเข้าถึง เช่น วารสารกรมการแพทย์ วารสารพยาบาล นิตยสารหมอชาวบ้าน หนังสือพิมพ์ เป็นต้น - สื่อวิทยุ โทรทัศน์ และอิเล็กทรอนิกส์ 6.4 คุณสมบัติของข้อมูลข่าวสารที่ดี ข้อมูลที่ดีจะต้องประกอบด้วยคุณสมบัติที่สำ�คัญๆ ดังนี้คือ 1) ความถูกต้องแม่นยำ� ข้อมูลที่ดีควรจะมีความถูกต้องแม่นยำ�สูง หรือถ้ามีความคลาดเคลื่อน ปนอยูบ่ า้ ง ก็ควรทีจ่ ะสามารถควบคุมขนาดของความคลาดเคลือ่ นทีป่ นมาให้มคี วามคลาดเคลือ่ น น้อยทีส่ ดุ 2) ความทันเวลา เป็นข้อมูลที่ทันสมัย และทันต่อความต้องการของผู้ใช้ ถ้าผลิตข้อมูลออกมาช้า ก็ไม่มีคุณค่าถึงแม้จะเป็นข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำ�ก็ตาม 3) ความสมบูรณ์ครบถ้วน (completeness) ข้อมูลที่เก็บรวบรวมมา ต้องเป็นข้อมูลที่ให้ข้อ เท็จจริง หรือข่าวสาร ที่ครบถ้วนทุกด้านทุกประการ มิใช่ขาดส่วนหนึ่งส่วนใดไปทำ�ให้นำ�ไปใช้การไม่ได้ 4) ความตรงกับความต้องการของผู้ใช้ (relevance) ข้อมูลที่จัดทำ�ขึ้นมาควรเป็นข้อมูลที่ผู้ใช้ ข้อมูลต้องการใช้ และจำ�เป็นต้องรู้ / ทราบ หรือเป็นประโยชน์ตอ่ การจัดทำ�แผน กำ�หนดนโยบายหรือตัดสิน ปัญหาในเรื่องนั้นๆ ไม่ใช่เป็นข้อมูลที่จัดทำ�ขึ้นมาอย่างมากมาย แต่ไม่มีใครต้องการใช้หรือไม่ตรงกับความ ต้องการของผู้ใช้ข้อมูล

7. มุสลิมกับการดูแลสุขภาพ

สุขภาพในทัศนะของอิสลาม หมายถึง ภาวะที่รู้สึกว่าใช้ชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข เป็นสุขภาวะที่ สมบูรณ์ทงั้ ร่างกาย(Physical) จิตใจ (Psycho) สังคม(Social) และจิตวิญญาณ(Spiritual) เพราะมุสลิม ต้องดำ�เนินชีวิตตามวิถีทางของศาสนาตลอดเวลา และมีความสัมพันธ์และศรัทธาต่อพระองค์อัลลอฮ์ จาก คำ�นิยามข้างต้น จะเห็นว่า ศาสนา มีส่วนเกี่ยวข้องกับสุขภาพ ดังนั้น ในการดูแลสุขภาพในยุคปัจจุบันควร จะอยู่ในรูปแบบบูรณาการระหว่างหลักการศาสนาอิสลามกับหลักการแพทย์และสาธารณสุขที่ไม่ขัดต่อ หลักศาสนาเข้าด้วยกัน ความหมายของ “สุขภาพ” ในปัจจุบัน มีองค์ประกอบ 4 ส่วน ด้วยกันคือ 1. สุขภาพกาย (Physical Health) หมายถึง สภาพที่ดีของร่างกาย กล่าวคือ อวัยวะต่างๆ อยู่ ในสภาพที่ดี มีความแข็งแรงสมบูรณ์ ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ ร่างกายสามารถทำ�งานได้ตามปกติ และมี ความสัมพันธ์กับทุกส่วนเป็นอย่างดี และก่อให้เกิดประสิทธิภาพที่ดีในการทำ�งาน 28


2. สุขภาพจิต (Mental Health) หมายถึง สภาพของจิตใจที่สามารถควบคุมอารมณ์ได้ มีจิตใจเบิก บานแจ่มใส มิให้เกิดความคับข้องใจหรือขัดแย้งในจิตใจ สามารถปรับตัวเข้ากับสังคมและสิ่งแวดล้อมได้อย่างมี ความสุ ข สามารถควบคุ ม อารมณ์ ไ ด้ เ หมาะสมกั บ สถานการณ์ต่างๆ ซึ่งผู้มีสุขภาพจิตดี ย่อมมีผลมาจาก สุขภาพกายดีด้วย ดังที่ John Lock ได้กล่าวไว้ว่า “A Sound mind is in a sound body” คือ “จิตใจที่แจ่มใส ย่อมอยู่ในร่างกายที่สมบูรณ์” องค์ประกอบของสุขภาพ 3. สุขภาพสังคม (Social Health) หมายถึง บุคคลที่มีสภาวะทางกายและจิตใจที่สุขสมบูรณ์ มีสภาพ ของความเป็นอยูห่ รือการดำ�เนินชีวติ อยูใ่ นสังคมได้อย่างปกติสขุ ไม่ท�ำ ให้ผอู้ นื่ หรือสังคมเดือดร้อน สามารถ ปฏิสัมพันธ์และปรับตัวให้อยู่ในสังคมได้เป็นอย่างดีและมีความสุข 4. สุขภาพจิตวิญญาณ (Spiritual Health) หมายถึง สภาวะที่ดีของปัญญาที่มีความรู้ทั่ว รู้เท่า ทัน และความเข้าใจอย่างแยกได้ในเหตุผลแห่งความดีความชั่ว ความมีประโยชน์และความมีโทษ ซึ่งนำ�ไป สู่ความมีจิตอันดีงามและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ในองค์ประกอบสุขภาพทั้ง 4 ด้านนั้น แต่ละด้านยังมี 4 มิติ ดังนี้ 1. การส่งเสริมสุขภาพ เป็นกลไกการสร้างความเข้มแข็งให้แก่สุขภาพกาย สุขภาพจิต สุขภาพ สังคม และสุขภาพจิตวิญญาณ 2. การป้องกันโรค ได้แก่ มาตรการลดความเสี่ยงในการเกิดโรค รวมทั้งการสร้างภูมิคุ้มกันเฉพาะ โรค ด้วยวิธีการต่างๆ นานา เพื่อมิให้เกิดโรคกาย โรคจิต โรคสังคม และโรคจิตวิญญาณ 3. การรักษาโรค เมื่อเกิดโรคขึ้นแล้ว เราต้องเร่งวินิจฉัยโรคว่าเป็นโรคอะไร แล้วรีบให้การรักษา ด้วยวิธีที่ได้ผลดีที่สุดและปลอดภัยที่สุด เท่าที่มนุษย์จะรู้และสามารถให้การบริการรักษาได้ เพื่อลดความ เสียหายแก่สุขภาพ หรือแม้แต่เพื่อป้องกันมิให้เสียชีวิต 4. การฟืน้ ฟูสภาพ หลายโรคเมือ่ เป็นแล้วก็อาจเกิดความเสียหายต่อการทำ�งานของระบบอวัยวะ ดังนั้นจึงมีความจำ�เป็นต้องมีการพื้นฟูเพื่อให้อยู่ในสภาพปกติและสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปรกติสุข (1) การส่งเสริมสุขภาพ และ (2) การป้องกันโรค = “การสร้างสุขภาพ” เป็นการทำ�ก่อนเกิดโรค (3) การรักษาโรค และ (4) การฟื้นฟูสภาพ = “การซ่อมสุขภาพ” เป็นการทำ�หลังจากเกิดโรค “การสร้างสุขภาพ” มีประสิทธิผลดีกว่า และเสียค่าใช้จา่ ยน้อยกว่า “การซ่อมสุขภาพ” เนือ่ งจาก “การสร้างสุขภาพ” เป็นสิง่ ทีป่ ระชาชนสามารถทำ�ได้ดว้ ยตัวเอง ส่วน “การซ่อมสุขภาพ” ต้องอาศัยหน่วย งานด้านการแพทย์เป็นหลัก 29


หน่วยการเรียนรู้ที่ 3

เพศและพัฒนาการ พฤติกรรม ค่านิยม วัฒนธรรม กับการด�ำเนินชีวิตของวัยรุ่น ตัวชี้วัด พ 2.1

1. วิเคราะห์อิทธิพลของครอบครัว เพื่อน สังคม และวัฒนธรรมที่มีผลต่อพฤติกรรมทางเพศและ การดำ�เนินชีวิต 2. วิเคราะห์ค่านิยมในเรื่องเพศ ตามวัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรม อื่นๆ

สาระการเรียนรู้แกนกลาง ชีวิต

1. อิทธิพลของครอบครัว เพื่อน สังคม และวัฒนธรรมที่มีต่อพฤติกรรมทางเพศ และการดำ�เนิน 3. ค่านิยมในเรื่องเพศตามวัฒนธรรมไทย และวัฒนธรรมอื่นๆ

1. การเจริญเติบโตและพัฒนาการทางเพศของวัยรุ่นตามหลักการอิสลาม

30


“อัลลอฮ์ทรงเป็นผู้สร้างพวกเจ้าในสภาพอ่อนแอ แล้วหลังจากความอ่อนแอพระองค์ก็ทรงทำ�ให้มีความ แข็งแรง แล้วหลังจากความแข็งแรงทรงทำ�ให้อ่อนแอและชราภาพ พระองค์ทรงสร้างสิ่งที่พระองค์ทรง ประสงค์และพระองค์เป็นผู้ทรงรอบรู้ อานุภาพ” (สูเราะฮ์อัรรูม อายะฮ์ที่ 54) อัลลอฮ์ ทรงกล่าวถึงลำ�ดับขั้นการดำ�เนินชีวิตของมนุษย์ ซึ่งแบ่งออกได้ 3 ลำ�ดับดังนี้ 1. วัยเด็ก (ความอ่อนแอ) 2. วัยรุ่น (ความแข็งแรง) 3. วัยชรา (ความอ่อนแอ) ซึง่ แต่ละลำ�ดับขัน้ แห่งการดำ�เนินชีวติ นี้ มนุษย์ทกุ ๆ คนต้องผ่านขัน้ ตอนของวัยทัง้ 3 วัยนี้ เหมือน กันทุกคน นิอฺมะฮฺและความโปรดปรานที่พระองค์ทรงมอบให้นั้น อยู่ในช่วงของความแข็งแรง คือในช่วง ของความเป็นวัยรุ่น วัยรุ่นเป็นวัยที่เต็มไปด้วยพละกำ�ลัง และความสามารถรอบด้าน ทั้งความคิด และ ความกระตือรือร้น และความมุ่งมั่นอันสูงสุด วัยรุ่นเป็นวัยที่ก�ำลังเข้าสู่ความเป็นผู้ใหญ่ เป็นช่วงแห่งการเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงทั้งด้าน ร่างกาย จิตใจและสังคม ซึง่ เพิม่ จากวัยเด็กทีผ่ า่ นมา การแสดงออกบางครัง้ จะออกมาในลักษณะของความ เป็นเด็กบ้าง แต่พยายามท�ำตัวเป็นผู้ใหญ่เหมือนรูปร่างที่โตขึ้น ซึ่งวัยรุ่นสังเกตและอาศัยประสบการณ์ที่ ได้รับจากผู้ใหญ่เป็นแบบอย่าง จึงท�ำให้ลักษณะการแสดงออกของพฤติกรรมต่างๆ ของวัยรุ่น ดูไม่เหมือน เด็กและไม่เหมือนผู้ใหญ่ ซึ่งนั้นคือพฤติกรรมเฉพาะของวัยรุ่นนั้นเอง การเปลี่ยนแปลงของวัยรุ่นมีความ เจริญเติมโตทางร่างกายอย่างรวดเร็ว รวมทัง้ การเปลีย่ นแปลงทางจิตใจและความรูส้ กึ นึกคิด ความคิดเป็น อิสระและเรียนรูด้ ว้ ยตนเองมากกว่าเรียนรูด้ ว้ ยการสัง่ สอน ถ้าหากได้รบั การขัดขวางไม่ให้ปฏิบตั ใิ นสิง่ ทีต่ น ต้องการก็จะมีความรู้สึกน้อยเนื้อต�่ำใจ และมักจะหาทางออกที่ผิดๆ การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นหลายด้าน ท�ำให้ตอ้ งมีการปรับตัวหลายด้านพร้อมๆ กัน จึงเป็นวัยทีจ่ ะเกิดปัญหาได้มาก หากการปรับตัวได้ส�ำเร็จจะ ช่วยให้วัยรุ่นพัฒนาตนเองเกิดบุคลิกภาพที่ดี อันจะเป็นพื้นฐานส�ำคัญของการด�ำเนินชีวิตต่อไป การเรียน รู้พัฒนาการวัยรุ่นจึงมีประโยชน์ ทั้งต่อการส่งเสริมให้วัยรุ่นเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดีทั้งทางร่างกาย จิตใจ สังคม และหากวัยรุน่ นัน้ มีการยึดมัน่ ในศาสนาจะส่งผลให้มจี ติ วิญญาณทีเ่ ข้มแข็งอีกด้วย ซึง่ สามารถ ป้องกันปัญหาต่างๆ ในวัยรุ่น เช่น ปัญหาทางเพศ หรือปัญหาการใช้สารเสพติด พัฒนาการของวัยรุ่นจะแบ่งเป็น 3 ช่วง คือ วัยแรกรุ่น (10-13 ปี) วัยรุ่นตอนกลาง (14-16 ปี) และวัยรุ่นตอนปลาย (17-19 ปี) ทั้งนี้เพื่อจะชี้ให้เห็นถึงลักษณะที่เด่นเป็นพิเศษของวัยรุ่นแต่ละช่วง ซึ่งมี ความแตกต่างกันอย่างชัดเจนในด้านความรู้สึกนึกคิด และความสัมพันธ์กับบิดามารดาโดยแบ่งดังนี้ 1. วัยแรกรุ่น (10-13 ปี) เป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายทุกระบบ โดยจะมีความคิด หมกมุ่นกังวลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย ซึ่งจะส่งผลกระทบไปยังจิตใจ ทำ�ให้อารมณ์หงุดหงิด และแปรปรวนง่าย 2. วัยรุน่ ตอนกลาง (14-16 ปี) เป็นช่วงทีว่ ยั รุน่ จะยอมรับสภาพร่างกายทีม่ กี ารเปลีย่ นแปลงเป็น หนุม่ เป็นสาวได้แล้ว มีความคิดทีล่ กึ ซึง้ (abstract) จึงหันมาใฝ่หาอุดมการณ์และหาเอกลักษณ์ของตนเอง เพื่อความเป็นตัวของตัวเอง และพยายามเอาชนะความรู้สึกแบบเด็กๆ ที่ผูกพันและอยากจะพึ่งพาพ่อแม่

31


3. วัยรุ่นตอนปลาย (17-19 ปี) เป็นเวลาของการฝึกฝนอาชีพ ตัดสินใจที่จะเลือกอาชีพที่เหมาะ สม และเป็นช่วงเวลาที่จะมีความผูกพันแน่นแฟ้น (intimacy) กับเพื่อนต่างเพศ สภาพทางร่างกาย เปลี่ยนแปลงเติบโตโดยสมบูรณ์เต็มที่ และบรรลุนิติภาวะในเชิงกฎหมาย 1.1 ลักษณะทั่วไปของวัยรุ่น การที่เด็กผู้ชายผู้หญิงเติบโตเข้าสู่วัยรุ่นเร็วช้าต่างกัน โดยที่เด็กผู้หญิงจะเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายก่อนเด็ก ผูช้ ายประมาณ 2 ปี ซึง่ จะทำ�ให้ในชัน้ ประถมตอนปลาย หรือชัน้ มัธยมต้นจะพบว่าวัยรุ่นหญิงจะมีร่างกายสูงใหญ่ เป็นสาวน้อย แรกรุ่น ในขณะที่พวกเด็กผู้ชายยังดูเป็นเด็กชายตัวเล็กๆ ทำ�ให้ ทัง้ สองฝ่ายเกิดความสับสนและวิตกกังวลได้ เด็กผูห้ ญิงอาจกังวล ว่าตนเองไม่หยุดสูงเสียที ในขณะทีเ่ ด็กผูช้ ายก็เกิดความกังวลว่า ทำ�ไมตัวเองจึงไม่สูงใหญ่ 1.2 การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย 1) ขนาดและความสูง ในวัยเด็ก ทั้งเด็กผู้หญิงและเด็กผู้ชายจะมีความกว้างของไหล่และสะโพก ใกล้เคียงกัน แต่เมื่อเข้าสู่วัยรุ่น ผู้ชายจะมีอัตราเร็วในการเจริญเติบโตของไหล่มากที่สุด ทำ�ให้วัยรุ่นผู้ชาย จะมีไหล่กว้างกว่า ในขณะที่วัยรุ่นผู้หญิงมีอัตราการเจริญเติบโตของสะโพกมากกว่าผู้ชาย นอกจากนี้การ ที่วัยนี้มีการเจริญเติบโตสูงใหญ่ได้รวดเร็ว โดยเฉพาะที่ คอ แขน ขา มากกว่าที่ลำ�ตัว จะทำ�ให้วัยรุ่นรู้สึกว่า ตัวเองมีรูปร่างเก้งก้างน่ารำ�คาญ และการเจริญเติบโตหรือการขยายขนาดของร่างกายในแต่ละส่วน อาจ เกิดขึ้นไม่พร้อมกัน หรือไม่เป็นไปตามขั้นตอน เช่น ร่างกายซีกซ้ายและซีกขวาเจริญเติบโตมีขนาดไม่เท่า กันในระยะแรกๆ ซึ่งเป็นเหตุทำ�ให้เด็กตกอยู่ในความวิตกกังวลสูงได้ จึงควรให้ความมั่นใจกับวัยนี้ 2) ไขมันและกล้ามเนื้อ เด็กผู้ชายและเด็กผู้หญิงมีความหนาของไขมันที่สะสมอยู่ใต้ผิวหนังใกล้ เคียงกัน จนกระทั่งอายุประมาณ 8 ปี จะเริ่มมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว วัยรุ่นชายจะมีก�ำลังของกล้าม เนือ้ มากกว่าวัยรุน่ ผูห้ ญิง พละก�ำลังของกล้ามเนือ้ จะแข็งแรงขึน้ หลังจากนัน้ วัยรุน่ ชายจะมีไขมันใต้ผวิ หนัง บางลง พร้อมๆ กับมีกล้ามเนื้อเพิ่มมากขึ้นและแข็งแรงขึ้น ซึ่งจะท�ำให้วัยรุ่นชายดูผอมลง โดยเฉพาะที่ขา น่อง และแขน ส�ำหรับวัยรุ่นหญิง ถึงแม้ว่าจะมีการเพิ่มขึ้นของกล้ามเนื้อ แต่ขณะเดียวกันจะมีการสะสม ของไขมันใต้ผิวหนังเพิ่มขึ้นอีก โดยที่น�้ำหนักจะเพิ่มได้ถึงร้อยละ 25 ของน�้ำหนัก โดยเฉพาะไขมันที่สะสม ที่เต้านมและสะโพก ประมาณร้อยละ 50 ของวัยรุ่นหญิงจะรู้สึกไม่พอใจในรูปลักษณ์ของตน และมักคิดว่า ตัวเอง “อ้วน” เกินไป มีวัยรุ่นหลายคนที่พยายามลดน�้ำหนัก จนถึงขั้นที่มีรูปร่างผอมแห้ง 3) โครงสร้างใบหน้า ช่วงนี้กระดูกของจมูกจะโตขึ้น ท�ำให้ดั้งจมูกเป็นสันขึ้น กระดูกขากรรไกร บน และขากรรไกรล่างเติบโตเร็วมากในระยะนี้ เช่นเดียวกับกล่องเสียง ล�ำคอ และกระดูกอัยลอยด์ และ 32


พบว่าในวัยรุ่นชายจะเจริญเติบโตเร็วกว่าวัยรุ่นหญิงชัดเจน เป็นเหตุให้วัยรุ่นชายเสียงแตก 4) การเปลีย่ นแปลงของระดับฮอร์โมน ทัง้ ฮอร์โมนการเติบโต (growth hormone) และ ฮอร์โมน จากต่อมธัยรอยด์มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโต รวมทั้งฮอร์โมนทางเพศ นอกจากระดับฮอร์โมนจะมีผล โดยตรงต่อการเจริญเติบโตทางร่างกาย และอวัยวะเพศในวัยรุ่นแล้ว ตัวของมันเองยังส่งผลถึงความรู้สึก ทางอารมณ์และจิตใจ ปฏิกิริยาการเรียนรู้ ฯลฯ ในวัยรุ่นอีกด้วย วัยรุ่นที่จะผ่านช่วงวิกฤตนี้ได้ นอกจากจะ ต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพร่างกายทีเ่ ปลีย่ นไปแล้ว ยังต้องเข้าใจและควบคุมอารมณ์ความรูส้ กึ ทีพ่ ลุง่ พล่าน ขึน้ จากการเปลีย่ นแปลงของระดับฮอร์โมนต่างๆ อีกด้วยโดยเฉพาะต่อมไขมันใต้ผวิ หนัง และต่อมเหงือ่ จะ ท�ำหน้าที่เพิ่มมากขึ้น เป็นสาเหตุท�ำให้เกิดปัญหาเรื่อง “สิว” และ “กลิ่นตัว” แต่เนื่องจากวัยนี้จะให้ความ สนใจเกี่ยวกับร่างกายที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และมีความระแวดระวังตัวเองมาก จึงท�ำให้วัย รุ่นพยายามที่จะรักษา “สิว” อย่างเอาเป็นเอาตาย ทั้งๆ ที่ “สิว” จะเป็นปัญหาในช่วงวัยนี้แค่ระยะ สั้นๆ เท่านั้น 5) การเปลี่ยนแปลงทางเพศ วัยรุ่นหญิงมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงระยะ 1 ปี ก่อนที่ จะมีประจำ�เดือน โดยเฉพาะการเจริญเติบโตของเต้านม ซึง่ เริม่ มีการขยายในขนาดเมือ่ อายุประมาณ 8-13 ปี และจะใช้เวลา 2-2 ปีครึ่ง จึงจะเจริญเติบโตเต็มที่ ในช่วงอายุ 11-13 ปี วัยรุ่นหญิงส่วนใหญ่ (ร้อยละ 80) จะมีรปู ร่างเป็นสาวเต็มตัว ดังนัน้ ในชัน้ ประถมตอนปลายหรือมัธยมต้น จะเห็นว่าวัยรุน่ สาวจะมีรปู ร่าง สูงใหญ่เป็นสาวน้อยแรกรุ่น ในขณะที่พวกผู้ชายยังดูเป็นเด็กชายตัวเล็กๆ ทั้งๆ ที่เด็กผู้หญิงเคยตัวเล็กกว่า เด็กผู้ชายมาตลอด ทำ�ให้เด็กสับสนและเป็นกังวลกับสภาพร่างกายได้ การมีรอบเดือนครัง้ แรก จะมีเมือ่ อายุประมาณ 12-13 ปี การทีม่ ปี ระจ�ำเดือนแสดงให้เห็นว่า มดลูก และช่องคลอดได้เจริญเติบโตเต็มที่ แต่ในระยะ 1-2 ปี แรกของการมีประจ�ำเดือน มักจะเป็นการมีประจ�ำ เดือนโดยไม่มีไข่ตก รอบเดือนในช่วงปีแรกจะมาไม่สม�่ำเสมอ หรือขาดหายไปได้ และเมื่อมีประจ�ำเดือน แล้ว พบว่าเด็กผูห้ ญิงยังสูงต่อไปอีกเล็กน้อยไปได้อกี ระยะหนึง่ และจะเติบโตเต็มทีเ่ มือ่ ประมาณอายุ 15-17 ปี การมีรอบเดือนครั้งแรกอาจท�ำให้รู้สึกพอใจและภูมิใจที่เป็นผู้หญิงเต็มตัว หรืออาจจะรู้สึกในทางลบ คือ หวั่นไหว หวาดหวั่นหรือตกใจได้เช่นกัน โดยทั่วไปการมีรอบเดือนครั้งแรกจะเพิ่มความใกล้ชิดระหว่างวัย รุ่นหญิงกับมารดาถ้าเคยไว้วางใจกันมาก่อน แต่วัยรุ่นหญิงบางคนจะปกปิดไม่กล้าบอกใคร เพราะเข้าใจ ไปว่าอวัยวะเพศฉีกขาด หรือเป็นแผลจากการส�ำรวจตัวของวัยรุ่นเอง ในช่วงนี้วัยรุ่นจะกังวลหมกมุ่นกับ รูปร่างหน้าตา และมักใช้เวลาอยู่หน้ากระจกนานๆ เพื่อส�ำรวจรูปร่าง ส่วนเว้าส่วนโค้งหรือใช้กระจกส่งดู บริเวณอวัยวะเพศด้วยความอยากรู้ อยากเห็น ซึ่งก็ไม่ใช่พฤติกรรมที่ผิดปกติแต่อย่างใด เมื่อเลือดประจ�ำ เดือนหมดจ�ำเป็นจะต้องมีการอาบน�้ำวาญิบโดยมีวิธีการดังนี้ 1. ล้างมือทั้งสองข้าง 3 ครั้ง พร้อมกล่าวบิสมิลลาฮ์ 2. ใช้มือซ้ายชำ�ระล้างอวัยวะเพศให้ทั่ว 3. บ้วนปากและถูฟันให้สะอาด 4. อาบนำ�้ ละหมาดเหมือนปกติ (ท�ำตามขัน้ ตอนการอาบน�ำ้ ละหมาดทุกประการ ยกเว้นการล้างเท้า) 33


5. เมื่อเช็ดศีรษะเรียบร้อยแล้ว ให้น�ำน�้ำมาราดศีรษะให้ทั่ว พร้อมใช้นิ้วมือขยี้เส้นผมโคนผมให้น�้ำ เปียกทั่วหนังศีรษะ จ�ำนวน 3 ครั้ง 6. เสร็จแล้วให้น�ำน�้ำมาราดรดร่างกายด้านขวา พร้อมใช้มือขัดถูตามผิวหนัง ซอกพับต่างๆ ซอก นิ้วมือและนิ้วเท้า จ�ำนวน 3 ครั้ง จากนั้นให้ปฏิบัติด้านซ้ายเช่นเดียวกัน จ�ำนวน 3 ครั้ง 7. เมือ่ เสร็จแล้วให้ยา้ ยหรือเปลีย่ นสถานทีเ่ ล็กน้อย แล้วจึงล้างเท้าขวา 3 ครัง้ จากนัน้ ล้างเท้าซ้าย อีก 3 ครั้ง 6) การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ สังคม ผลจากการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายจะทำ�ให้เกิดผลกระทบต่ออารมณ์และจิตใจได้อย่าง ตรงไป ตรงมา ทั้งความวิตกกังวล หงุดหงิด หมกมุ่น ไม่พอใจในรูปร่างที่เปลี่ยนไป เช่น 1. ความวิตกกังวลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย เด็กผู้ชายที่เข้าสู่วัยรุ่นช้า จะมีความ วิตกกังวลสูงเกีย่ วกับความแข็งแรงของร่างกาย ซึง่ อาจจะไม่มนั่ ใจในความเป็นชาย รูส้ กึ ว่าตัวเองไม่สมบูรณ์ มักถูกล้อเลียน กลั่นแกล้งจากเพื่อนๆ ที่รูปร่างใหญ่โตกว่า มีความภาคภูมิใจในตนเองในระดับต�่ำและรู้สึก ว่าตัวเองมีปมด้อยฝังใจไปได้อีกนาน วัยรุ่นหญิงที่โตเร็วกว่าเพื่อนในวัยเดียวกันมักจะรู้สึกอึดอัดและรู้สึก เคอะเขิน ประหม่าอายต่อสายตาและค�ำพูดของเพศตรงข้าม ในขณะที่สภาพอารมณ์ จิตใจยังเป็นเด็ก 2. ความวิตกกังวลกับอารมณ์เพศทีส่ งู ขึน้ การเปลีย่ นแปลงของระดับฮอร์โมนทางเพศ ซึง่ จะส่ง ผลทำ�ให้วยั รุน่ เกิดอารมณ์เพศขึน้ มาได้บอ่ ย วัยรุน่ หลายคนทีม่ กี จิ กรรมส่วนตัวทีเ่ บีย่ งเบนความสนใจ ทำ�ให้ สามารถควบคุมอารมณ์ได้อย่างดี โดยเฉพาะในวัยรุ่นที่ชอบเล่นกีฬากลางแจ้งเป็นประจำ� วัยนี้จะมีความ สนใจ อยากรู้อยากเห็นอยู่แล้วเป็นทุน และเมื่อมาผสมกับการที่มีระดับฮอร์โมนทางเพศเพิ่มสูงขึ้น วัยนี้จึง จำ�เป็นต้องอาศัยความอดทน อดกลั้น และการชี้แนะจากผู้ใหญ่ ท่านนบีมุฮัมมัดได้กล่าวถึงวัยนี้ว่า “โอ้บรรดาชายหนุ่มทั้งหลาย บุคคลใดในหมู่พวกท่านมีความสามารถเลี้ยงดูภรรยา ก็จงแต่งงาน เถิด เพราะการแต่งงานนั้นจะท�ำให้ลดสายตาลงต�่ำ และป้องกันอวัยวะเพศ (จากการท�ำซินา) ส่วนบุคคล ใดที่ไม่สามารถจะแต่งงานได้ (ด้วยสาเหตุใดก็ตาม) ก็ให้ถือศีลอด เพราะมันจะเป็นเกราะคุ้มกันแก่เขา” (บันทึกโดยมุสลิม) 3. ความวิตกกังวลกลัวการเป็นผู้ใหญ่ วัยนี้จะมีความคิดวิตกกังวล กลัวจะไม่เป็นที่ยอมรับจาก คนรอบข้าง มักจะกลัวความรับผิดชอบ ซึง่ จะรูส้ กึ ว่าเป็นภาระทีห่ นักหนา ยุง่ ยาก บางครัง้ อยากจะเป็นเด็ก อยากแสดงอารมณ์สนุกสนาน ร่าเริง เบิกบาน 4. ความวิตกกังวลในความงดงามทางร่างกาย วัยรุ่นหญิงหรือชาย ก็จะมีความรู้สึกต้องการให้ คนรอบข้างชื่นชมเกี่ยวกับรูปลักษณ์ภายนอกของตน สมเพศ สมวัย นั่นเป็นเพราะว่าเด็กจะสำ�นึกว่าความ สวยงามทางกายเป็นแรงจูงใจ ทำ�ให้คนยอมรับ ทำ�ให้เพื่อนยอมรับเข้าไปในกลุ่มได้ง่าย เป็นวิถีทางหนึ่งที่ จะเข้าสูส่ งั คมและเป็นทีด่ งึ ดูดใจของเพศตรงข้าม ช่วงนีจ้ ะเห็นว่าวัยรุน่ จะสนอกสนใจ พิถพี ถิ นั ในการเลือก แต่งตัว เอาใจใส่ต่อการออกกำ�ลังกาย สนใจคุณค่าทางอาหาร เครื่องประดับ สุขภาพอนามัย การวางตัว ให้สมบทบาททางเพศ การวางตัวในสังคม และความสนใจในแต่ละเรื่องอาจอยู่ได้ไม่นาน 34


7) การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ 1. ความรักและความห่วงใย ความรูส้ กึ อยากทีจ่ ะถูกรัก และยังอยากได้รบั ความเอาใจใส่ ห่วงใย จากบุคคลทีม่ คี วามส�ำคัญต่อเด็ก แต่มกั จะมีขอ้ แม้วา่ จะต้องไม่ใช่การแสดงออกของพ่อแม่ทที่ �ำกับเขาราวกับ เด็กเล็กๆ ไม่ต้องการความเจ้ากี้เจ้าการ ไม่ต้องการให้แสดงความห่วงใยอยู่ตลอดเวลา 2. เป็นอิสระอยากท�ำอะไรได้ดว้ ยตัวของตัวเอง อยากท�ำในสิง่ ทีต่ วั เองคิดแล้วว่าดี อยากมีสว่ นใน การตัดสินใจ อยากที่จะท�ำตัวห่างจากพ่อแม่ ห่างจากค�ำสั่ง การเจริญเติบโตในการท�ำงานของสมอง ท�ำให้ เด็กวัยนีเ้ ริม่ มีความคิดอ่านเป็นของตนเอง เริม่ มีความคิดแบบนามธรรม (abstract thinking) การแยกจาก พ่อแม่ในเกือบทุกรูปแบบ บางครัง้ อาจท�ำให้วยั รุน่ เกิดความรูส้ กึ สับสน สองจิตสองใจ และอาจมีความรูส้ กึ “สูญเสีย” ในความรัก ความเอาใจใส่จากพ่อแม่ แต่ถ้าพวกเขายอมรับการดูแลหรือยอมท�ำตามค�ำสั่งของ พ่อแม่ ก็จะไปขัดกับความต้องการที่จะเป็นเด็กโต เป็นอิสระของตนเองที่ต้องการพึ่งพาตนเอง การให้การ เลี้ยงดูจึงต้องอาศัยความเข้าใจ และเคารพในสิทธิส่วนบุคคลด้วย 3. ต้องการเป็นตัวของตัวเอง ความต้องการที่ยอมรับในสิ่งที่มาจากตัวของตัวเขา ท�ำให้พวกเขา มั่นใจในตัวเอง พ่อแม่คงต้องส่งเสริมให้เด็กได้ช่วยเหลือตัวเองให้มากที่สุดเท่าที่จะท�ำได้ตามวัย เพราะใน การฝึกเด็กนั้น นอกจากจะท�ำให้เด็กได้ใช้มือได้อย่างคล่องแคล่วแล้ว ยังช่วยท�ำให้เด็กได้หัดคิด หัดตัดสิน ใจในการกระท�ำสิ่งต่างๆ ด้วย 4. อยากรู้ อยากเห็น อยากลอง การลองผิดลองถูก และคอยสังเกตดูจากปฏิกิริยาของคนรอบ ข้าง เพือ่ ตัดสินว่าสิง่ ทีท่ �ำนัน้ ดีเลวเป็นอย่างไร วัยทีโ่ ตขึน้ เมือ่ ความสามารถเพิม่ ขึน้ ร่างกายเจริญเติบโตขึน้ มา สิ่งรอบตัวต่างๆ ที่น่าสนใจ และท้าทายความสามารถก็จะเริ่มเข้ามาเพื่อทดลองการสนับสนุนส่งเสริม เด็กให้คงสภาพอยากรู้ อยากเห็น อยากลองและได้มีโอกาสทดลองสิ่งแปลกๆ ใหม่ๆ ในขอบเขตที่เหมาะ สมเพิ่มขึ้นตามวัย จะท�ำให้เด็กก้าวเข้าสู่วัยรุ่นด้วยความภาคภูมิใจที่ตนเองเคยมีประสบการณ์ต่างๆ มา บ้าง สิ่งเหล่านี้จะมาเสริมความภาคภูมิใจในตนเอง ดังนั้นควรฝึกสอนมาตั้งแต่เด็ก และควรค่อยๆ สอนถึง อันตรายในหลายสิ่งหลายอย่างที่มีอยู่ในสังคม และวิธีการแก้ไข เรียนรู้ทั้งสิ่งที่ดีและเลว การฝึกให้เด็กได้ ลองในสิ่งที่น่าลอง แต่ในทางตรงกันข้าม ในกลุ่มวัยรุ่นที่ไม่เคยถูกฝึกให้ลองคิดลองท�ำก่อน จะเกิดความ สับสนวุ่นวายใจ ขาดความรู้ ขาดทักษะ ขาดการฝึกฝน ขาดการลองท�ำผิดท�ำถูกมาก่อน จึงท�ำให้กลุ่มนี้ตก อยู่ในกลุ่มที่มีอันตรายสูง และในกลุ่มเด็กวัยรุ่นที่พ่อแม่ปล่อยปละละเลย หรือไม่เคยสอนให้ยับยั้งชั่งใจมา ก่อน นึกอยากท�ำอะไรก็จะท�ำ ไม่เคยต้องผิดหวัง ไม่เคยสนใจว่าการกระท�ำของตัวจะส่งผลกระทบต่อผูค้ น รอบข้างอย่างไร 5. ความถูกต้อง ยุติธรรม โดยเฉพาะเมื่อเข้าสู่วัยรุ่นตอนกลาง มักจะถือว่าความยุติธรรมเป็น ลักษณะหนึง่ ของความเป็นผูใ้ หญ่ วัยรุน่ จึงให้ความส�ำคัญอย่างจริงจังกับความถูกต้อง ยุตธิ รรม ตามทัศนะ ของตนเป็นอย่างยิ่ง และอยากจะท�ำอะไรหลายๆ อย่าง เพื่อเรียกร้องความยุติธรรม ทั้งในแง่บุคคลและ สังคมส่วนรวม จึงมักจะเห็นภาพวัยรุ่นถกเถียงกันเรื่องของสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัว 6. ความตื่นเต้น ท้าทาย ความต้องการหาประสบการณ์แปลกๆ ใหม่ๆ เกลียดความจ�ำเจซ�้ำซาก วัยรุ่นกลุ่มนี้จะสร้างความตื่นเต้นท้าทายกับการที่กระท�ำผิดต่อกฎเกณฑ์ต่างๆ ของทางบ้านและกฎของ สังคมนั่นเป็นเพราะว่าเป็นความตื่นเต้นและความรู้สึกว่า ถูกท้าทาย แนวทางการเลี้ยงดูเด็กฝึกให้เด็กได้ 35


มี โอกาสท�ำงานทีท่ า้ ทายความสามารถทีละน้อยอยูต่ ลอดเวลา จะส่งผลท�ำให้เด็กได้พฒ ั นาความเชีย่ วชาญ ขึ้นมาได้ แก้ปัญหาได้ 7. ต้องการการยอมรับว่าเป็นส่วนหนึง่ ของบ้าน ของกลุม่ เพือ่ น พืน้ ฐานการเลีย้ งดูทยี่ อมรับและ มีความรักความผูกพันระหว่างพ่อแม่เด็ก จะมีผลทำ�ให้เด็กเกิดความรูส้ กึ ดังทีก่ ล่าวมานีอ้ ย่างง่ายดาย จาก การฝึกฝนให้โอกาสเด็กในการตัดสินใจลงมือกระทำ�หรือแสดงความคิดเห็นใน เรือ่ งต่างๆ และรับฟังพยายาม ทำ�ความเข้าใจตาม ถ้าเบีย่ งเบนก็ชว่ ยแก้ไข ถ้าถูกต้องก็ชมเชยและชืน่ ชม สิง่ เหล่านีจ้ ะไปกระตุน้ ให้เด็กเกิด ความรู้สึกเป็นที่ยอมรับจากบุคคลภายใน บ้าน ซึ่งจะส่งผลทำ�ให้เด็กอยากเป็นที่ยอมรับจากเพื่อน จากครู และจากคนอื่นๆ ต่อๆ ไป จึงเป็นเหตุผลจูงใจกระทำ�ความดีมากขึ้น ปัญหาการปรับตัวในวัยรุ่น ความขัดแย้งในจิตใจของวัยรุน่ ทีต่ อ้ งเผชิญกับการเปลีย่ นแปลงต่างๆ ทีก่ ล่าวมาแล้วนัน้ เป็นสิง่ ที่ ปกติธรรมดาของการเจริญพัฒนาไปเป็นผู้ใหญ่ แต่จะไม่รุนแรงมีผลกระทบต่อการเรียน การงานหรือด้าน สังคม ในกรณีที่ปัญหารุนแรงส่งผลกระทบต่อด้านต่างๆ นั้น จึงจะจัดว่ามีปัญหาในการปรับตัว พบได้ร้อย ละ 10-15 ของวัยรุ่นทั่วไป โดยเฉพาะปฏิกิริยาต่อการรับบทบาทหน้าที่ของความเป็นผู้ใหญ่ รู้สึกว่าการ ดูแลรับผิดชอบตัวเองเป็นภาระทีห่ นักหน่วงยากทีจ่ ะรับเอาไว้ได้ เกิดความเคร่งเครียด บางรายมีอาการวิตก กังวล กลุ่มใจ ท้อแท้ ทานอาหารไม่ได้ นอนไม่หลับ ติดพ่อแม่ ครู หรือเพื่อนเหมือนเด็กเล็ก หรือมีอาการ แสดงออกมาทางร่างกาย เช่น ปวดหัว ปวดท้อง หรือมีอารมณ์ฉุนเฉียว วู่วาม ก้าวร้าว ต่อต้าน ซึ่งอาการ เหล่านี้จะมีอยู่ไม่นาน ในที่สุดจะสามารถพัฒนาต่อไปได้ในที่สุด ชีวิตนี้แท้จริงมีปัญหาที่ท�ำให้เราต้องปรับ ตัว และแก้ไขความขัดแข้งประจ�ำวันอยู่ตลอดเวลาแต่ในระยะวัยรุ่นซึ่งมีลักษณะพิเศษ เพราะเกิดผลต่อ เนื่องลุกลามได้ง่าย ทั้งนี้เนื่องจากวัยรุ่นมีอารมณ์อ่อนไหวง่าย อยากเป็นอิสระ อยากเป็นผู้ใหญ่ ไม่อยาก ฟังเหตุผลของใคร เจ้าทิฐิ อวดดี ถือดี แต่ในขณะเดียวกันก็ยังขาดความเชี่ยวชาญในการแก้ไขปัญหา ใน การพูด การท�ำงาน จึงท�ำให้เพลี่ยงพล�้ำได้ง่าย วัยรุ่นผู้เข้าใจปัญหาประจ�ำวัยของตน และสามารถปรับตัว ด�ำเนินชีวิตอย่างเหมาะสม คือ วัยรุ่นที่มีความสุข มีความสามารถที่จะประสบความส�ำเร็จในอนาคต การสร้างบุคลิกภาพ 1) การค้นหาเอกลักษณ์ของตนเอง พัฒนา ทางด้านความนึกคิด ค้นหาสิ่งต่างๆ ทั้งท่าทาง คำ� พูด การแสดงออก การแต่งกาย การเข้าสังคม วัยรุ่นที่สามารถผ่านพ้นภาวะวิกฤติในการค้นหาตัวเองได้ อย่างไม่ยุ่งยากนัก มักจะมีลักษณะดังต่อไปนี้ คือ - เป็นผู้ที่ใช้สติปัญญาเผชิญกับเหตุการณ์ในชีวิตมากกว่าการใช้อารมณ์ - เป็นผู้ที่เลือกเผชิญหน้ากับปัญหามากกว่าเป็นผู้ที่จะยอมหลีกเลี่ยงปัญหา - เป็นผู้ที่รู้เท่าทันธรรมชาติของตนมาก่อน - เป็นผู้ที่ไม่มีความรู้สึกว่าตนเองโดดเดี่ยวมีหนทางที่จะไปขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นได้ วัยรุ่นที่สามารถผ่านวิกฤตการณ์และค้นพบตัวเอง ก็เท่ากับมีความสามารถที่จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ที่มี บุคลิกภาพมั่นคง 36


2) การเอาชนะตัวเอง การควบคุมพฤติกรรม อารมณ์ ให้ออกมาในรูปที่เหมาะสม ในระยะแรกๆ จะพบลักษณะสองจิตสองใจระหว่างความอยากเป็นเด็กต่อไป กับความอยากเป็นผู้ใหญ่ จากความรู้สึก นึกคิดของวัยรุน่ มักจะมองว่าสภาวะผูใ้ หญ่หมายความว่า พึง่ ตนเองได้ ตัดสินใจได้ถกู ต้อง การทีจ่ ะเอาชนะ ใจตนเองนัน้ เป็นสิง่ ทีเ่ ด็กควรจะได้รบั การเรียนรู้ ได้รบั โอกาสในการฝึกฝนมาตัง้ แต่เด็กๆ ทีละเล็กทีละน้อย ผ่านการที่พ่อแม่กำ�หนดขอบเขตต่างๆ ในชีวิต แต่ในวัยเด็กที่ไม่เคยเรียนรู้ที่จะยับยั้งชั่งใจมาก่อน ไม่เคย เอาชนะตัวเองโดยการทำ�ตัวให้เหมาะสมได้เลย หรือถูกเลี้ยงดูให้เอาแต่ใจตัวเอง อยากได้อะไรก็ได้ อยาก ทำ�อะไรก็จะทำ� ครั้งเติบโตเข้าวัยรุ่นมีอิสระมากขึ้น ก็จะเห็นพฤติกรรมที่ไม่ยั้งคิดได้บ่อยๆ และบางครั้ง กลับเป็นอันตรายทั้งต่อตนเองและผู้อื่นอีกด้วย 3) การแยกตัวเองเป็นอิสระ คำ�ว่าอิสระในสายตาของวัยรุน่ ก็คอื มีสทิ ธิและเสรีภาพเท่าทีบ่ คุ คล หนึ่งพึงจะมี ซึ่งรวมทั้งการแสดงความคิดเห็น การตัดสินใจในเหตุการณ์ต่างๆ ขณะเดียวกัน พวกเขาก็จะ สังเกตดูการยอมรับจากพ่อแม่ คนข้างเคียงด้วย การได้แสดงออก พึง่ ตนเองได้ มีความรับผิดชอบ มีคา่ นิยม ที่ถูกต้อง มั่นใจและภูมิใจในตนเอง - มีความเป็นตัวของตัวเอง มัน่ ใจในตนเอง มองภาพพจน์ตวั เองดี แต่ไม่ใช่การเอาแต่ใจตัวเอง การ ฝึกให้เด็กเป็นตัวของตัวเอง และควบคุมตัวเองเป็น พึ่งพาตัวเองได้ ช่วยเหลือผู้อื่นได้ มีโอกาสคิด ตัดสินใจ ในเหตุการณ์ต่างๆ มาเป็นประจำ� มีความยับยั้งชั่งใจ “การทำ�” กับ “การไม่ทำ�” ในสิ่งที่ดี และไม่ดี เด็ก วัยรุน่ หลายคนทีจ่ �ำ ยอมทำ�ตามเพือ่ น เพราะกลัวว่าเพือ่ นจะดูถกู รังเกียจนัน้ ทัง้ ๆ ทีท่ �ำ ไปแล้วจะขัดต่อความ รูส้ กึ ของตัวเองก็ตาม เป็นสาเหตุจากทีต่ นเองไม่มนั่ ใจและไม่เป็นตัวของตัวเองอย่างมัน่ คง ซึง่ จะต้องมาจาก การฝึกหัดสะสมความรู้ ความสามารถมาตั้งแต่เด็ก ผ่านประสบการณ์ที่ถูกเลี้ยงดูมานั่นเอง - มีการสื่อสารที่ดี กล้าพูด กล้าคิด กล้าแสดงออก และกล้าที่จะทำ�ตัวต่างจากผู้อื่นโดยยึดหลัก การที่ถูกต้อง - มีทางออกหลายทาง เช่น กีฬา งานอดิเรก สังคม ศิลปะ การเรียน การงาน ฯลฯ การมีทักษะ หลายๆ อย่างเป็นสิ่งที่พ่อแม่ต้องดูทักษะเด่นของลูก ซึ่งในความเด่นนั้นอาจไม่เก่งเท่าผู้อื่นก็จริง แต่ก็เป็น ความสามารถที่ดีของลูกและควรให้ความสนับสนุน โดยเฉพาะทักษะในการเข้าสังคม และการปรับตัว - มีโอกาสเรียนรูจ้ กั ทัง้ ส่วนดีและส่วนทีเ่ ลวมาก่อน ได้เรียนรูท้ จี่ ะเข้าใจถึงคุณลักษณะของการเป็น คนดี ไตร่ตรองดูคนเป็น เรียนรูท้ จี่ ะเข้าใจลักษณะดีและไม่ดขี องพฤติกรรมของคน ทำ�ให้ขณะทีว่ ยั รุน่ คลุกคลี กับเพื่อนและผู้คนต่างๆ จะได้ไตร่ตรอง เพื่อว่าจะได้มาช่วยในการตัดสินใจอีกด้วย การสอนของพ่อแม่จึง ควรชีใ้ ห้เด็กเห็นความยับยัง้ ชัง่ ใจน้อยลง เป็นคำ�ตอบทีถ่ กู ต้องและตรงกับความจริง จะทำ�ให้เด็กเรียนรูแ้ ละ ยอมรับได้ดกี ว่าคำ�ตอบทีว่ า่ คนทีก่ นิ เหล้าเป็นเพราะคนนัน้ เป็นคนไม่ดี เป็นต้น ถ้าเด็กได้เรียนรูส้ งิ่ เหล่านัน้ ทั้งด้านดี และด้านไม่ดีจนเข้าใจแล้ว จะช่วยทำ�ให้ความอยากลองเพราะอยากรู้อยากเห็นลดลง

2. พฤติกรรมทางเพศของวัยรุน่ และการวางตัวต่อเพศตรงข้ามตามหลักการอิสลาม

2.1 พฤติกรรมทางเพศของวัยรุ่น

พฤติกรรมทางเพศ หมายถึง การกระทำ� หรือ การปฏิบตั ติ นทีเ่ กีย่ วข้องกับเรือ่ งเพศโดยครอบคลุม ทั้งพฤติกรรมที่แสดงออกภายนอก คือ พฤติกรรมที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า วัยรุ่นเป็นวัยที่มีการ 37


เปลี่ยนแปลงอย่างมากทั้งร่างกาย จิตใจ รวมทั้งการ เปลี่ยนแปลงทางเพศ วัยรุ่นจะเริ่มให้ความสนใจต่อ เพศตรงข้าม เริม่ มีความรูส้ กึ ทางเพศ ประกอบกับเป็น วัยที่อยากรู้อยากลอง มีการแสดงออกทางอารมณ์ที่ รุนแรง และอาจยังมีความเข้าใจทีไ่ ม่ถกู ต้องนักในเรือ่ ง เพศ รวมทั้งสภาพแวดล้อมในปัจจุบันที่มีปัจจัยและ สถานการณ์ทยี่ วั่ ยุชกั นำ�ให้วยั รุน่ มีพฤติกรรมทางเพศ ที่ไม่เหมาะสมได้ง่าย และอาจนำ�มาซึ่งการมีเพศ สัมพันธ์นอกสมรส (ซีนา) และการตั้งครรภ์โดยไม่ ตัง้ ใจ ทีจ่ ะทำ�ให้เกิดปัญหาอืน่ ๆ ตามมามากมายไม่วา่ จะเป็นโรคเอดส์ ถูกพักการเรียน ฆ่าตัวตาย ทำ�แท้งผิดกฎหมาย ทอดทิ้งเด็ก เป็นต้น วัยรุ่นจึงควรมีการ แสดงออกทางเพศที่เหมาะสม รู้จักหลีกเลี่ยงและป้องกันตนเองจากปัจจัยและสถานการณ์เสี่ยงที่จะนำ�ไป สู่การมีเพศสัมพันธ์และการตั้งครรภ์โดยไม่ตั้งใจ เพื่อที่จะได้มีชีวิตอย่างสดใสในช่วงวัยรุ่นและเติบโตไปสู่ ผูใ้ หญ่อย่างมีความสุข การเปลีย่ นแปลงไปของสังคมในปัจจุบนั นำ�มาซึง่ ปัจจัยและสถานการณ์ตา่ งๆ ทีล่ อ่ แหลมและอันตรายต่อวัยรุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งพฤติกรรมทางเพศเป็นปัญหาที่สำ�คัญประการหนึ่งของวัย รุ่น หากวัยรุ่นมีพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสมจนเกิดการมีเพศสัมพันธ์ อาจทำ�ให้เกิดปัญหาการติดโรค เอดส์และโรคทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ ตามมา และในวัยรุ่นหญิงอาจทำ�ให้เกิดการตั้งครรภ์โดยไม่ตั้งใจได้ ดังนั้นนักเรียนซึ่งอยู่ในวัยรุ่นจึงควรเรียนรู้ถึงการหลีกเลี่ยงและป้องกัน ตนเองจากปัจจัยและ สถานการณ์เสีย่ งต่อการมีเพศสัมพันธ์ และการตัง้ ครรภ์โดยไม่ตงั้ ใจ เพือ่ ทีจ่ ะนำ�ไปปฏิบตั ไิ ด้อย่างเหมาะสม พฤติกรรมทางเพศในวัยรุ่นชายที่เป็นปัญหา ได้แก่ - การอ่านการ์ตูนลามกหรือสื่อลามก เช่น วีซีดี วีดีโอ เป็นต้น เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องเพศซึ่งเป็น สิ่งที่ไม่ถูกต้อง เพราะสื่อลามก เหล่านี้มักจะแสดงพฤติกรรมทางเพศ ที่ผิดไปจากความจริงเพื่อจะดึงดูด ความสนใจของผู้ดู การดูสื่อลามกอาจทำ�ให้ขาดความยับยั้งชั่งใจไปหลอกลวงหรือข่มขืนผู้อื่นได้ หากดูสื่อ เหล่านี้เป็นประจำ�จะทำ�ให้มีพฤติกรรมทางเพศที่ผิดปกติได้ นอกจากนี้ยังเป็นการใช้เวลาว่างไปอย่างเปล่า ประโยชน์ เพราะวัยรุน่ เป็นวัยทีก่ �ำ ลังเจริญเติบโต จึงควรเอาเวลาไปออกกำ�ลังกายหรือทำ�สิง่ อืน่ ทีม่ ปี ระโยชน์ ต่อตนเองและสังคมมากกว่า - การทดลองมีเพศสัมพันธ์กบั เพศตรงข้าม โดยอาจจะเป็นเพือ่ นหญิง คูร่ กั หรือหญิงขายบริการ ทางเพศ จะทำ�ให้เกิดโรคเอดส์และโรคทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ ได้ รวมทั้งยังทำ�ให้ฝ่ายหญิงเสียหายและอาจ เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา เช่น ถูกดำ�เนินการทางกฎหมาย หากฝ่ายหญิงแจ้งความว่าถูกล่อลวงหรือใช้กำ�ลัง บังคับให้มีเพศสัมพันธ์ หรือฝ่ายหญิงอาจตั้งครรภ์ในขณะที่วัยรุ่นชายยังไม่พร้อมที่จะรับผิดชอบเพราะยัง เรียนไม่จบ ยังไม่สามารถทำ�งานหาเงินมาอุปการะเลีย้ งดู และยังไม่มวี ฒ ุ ภิ าวะเพียงพอทีจ่ ะมีครอบครัวหรือ เป็นพ่อของลูก 38


- การสำ�ส่อนทางเพศโดยมีการสัมพันธ์กับผู้หญิงหลายๆ คน จะมีความเสี่ยงสูงต่อการติดโรค เอดส์และโรคทางเพศสัมพันธ์หากไม่ใช้ถุงยางอนามัย โดยเฉพาะหากมีการดื่มสุราจะทำ�ให้มึนเมาและ กระทำ�ผิดประเวณีโดยง่าย - การแต่งตัวให้เป็นที่ดึงดูดความสนใจของเพศตรงข้าม โดยไม่ค�ำนึงถึงความเหมาะสมและ ความปลอดภัย เช่น ใส่เสื้อสายเดี่ยว เสื้อเกาะอก กางเกงขาสั้น กางเกงเอวต�่ำ เป็นต้นจะเสี่ยงต่อการเกิด อาชญากรรมทางเพศได้ง่าย - การยอมมีเพศสัมพันธ์กบั คูร่ กั หรือแฟน เพราะคิดว่าความสัมพันธ์จะยาวนานมัน่ คง หรือท�ำให้ คนรักไม่ไปมีคนอื่น จริงๆ แล้วเป็นการแสดงออกที่ผิด เพราะการที่ผู้หญิงยอมมีเพศสัมพันธ์จะท�ำให้ฝ่าย ชายคิดว่าผู้หญิงอาจเคยมีเพศสัมพันธ์กับคนอื่นมาแล้วเช่นกัน และการท�ำเช่นนี้ไม่ท�ำให้ฝ่ายชายมีความ รักและความสัมพันธ์ต่อผู้หญิงตลอดไปได้ เพราะความรักจะมีองค์ประกอบด้านอื่นๆ ได้แก่ ความเข้าใจ ความเห็นใจ ความเอื้ออาทร มีนิสัยใจคอที่เข้ากันได้ เป็นต้น อีกทั้งวัยรุ่นเป็นวัยที่ต้องเติบโตต่อไป และยัง ต้องเจอผู้คนอีกมากในวันข้างหน้า หากวันใดที่ต้องเลิกคบกับฝ่ายชายในฐานะคนรักแล้วจะได้ไม่ต้องมา นั่งเสียใจในภายหลัง นอกจากนี้ยังเป็นการท�ำให้พ่อแม่และบุคคลที่รักเราต้องเสียใจกับพฤติกรรมของเรา และยังอาจติดโรคเอดส์จากคนรักหรือตั้งครรภ์โดยไม่ตั้งใจได้ - การมีเพศสัมพันธ์กับคนอื่นได้ง่ายหาก เคยมีเพศสัมพันธ์มาแล้ว พบว่า ผูห้ ญิงทีเ่ คยมีเพศ สัมพันธ์กับคนรักไปแล้ว มักจะยอมมีเพศสัมพันธ์ กับคนรักคนต่อมา หรือเพื่อเหตุผลอื่น เช่น เพื่อ แลกกับเงินทีจ่ ะมาซือ้ สิง่ ของราคาแพงตามทีต่ นเอง ต้องการ เพราะคิดว่าตนเองไม่บริสทุ ธิแ์ ล้วไม่มอี ะไร จะเสียอีกแล้ว ความคิดเช่นนี้ไม่ถูกต้อง เพราะคน ทุกคนมีคณ ุ ค่าและศักดิศ์ รีในตัวเองการทีเ่ คยมีเพศ สัมพันธ์มาก่อนในอดีตไม่ได้ท�ำให้คุณค่าของตัวเราลดลง หากการกระท�ำของตัวเราในปัจจุบันและอนาคต ต่างหากจะเป็นตัวบ่งบอกถึงคุณค่าและศักดิ์ศรีของตัวเรา นอกจากนี้การมีเพศสัมพันธ์กับบุคคลหลายคน จะยิ่งเสี่ยงต่อการติดโรคเอดส์หรือโรคเพศสัมพันธ์ และการตั้งครรภ์ตามมาได้

2.2 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมทางเพศ

เมื่อพิจารณาถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมทางเพศ จะสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ปัจจัย คือ ครอบครัว เพื่อน และสังคม 1) อิทธิพลของครอบครัว ครอบครัวเป็นสถาบันแห่งแรกที่อบรมทางด้านจิตใจ และปลูกฝัง พฤติกรรมสุขภาพให้แก่เด็ก ครอบครัวจึงมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมต่างๆ รวมทั้งพฤติกรรมทางเพศของวัย รุ่นด้วย 2) อิทธิพลของเพื่อน การคบเพื่อนมีความส�ำคัญและจ�ำเป็นต่อชีวิตของวัยรุ่น เพราะเพื่อนจะมี อิทธิพลในเรื่องความคิด ความเชื่อ ตลอดจนให้ค�ำปรึกษา หรือแนะน�ำในเรื่องต่างๆ รวมทั้งพฤติกรรมทาง 39


เพศ และอาจชักจูงไปในทางทีด่ แี ละไม่ดี ดังนัน้ การเลือกคบเพือ่ นทีด่ จี ะช่วยแนะน�ำเรือ่ งพฤติกรรมทางเพศ ในทางที่เหมาะสม 3) อิทธิพลของสังคม อิทธิพลของสังคมที่มีผลต่อพฤติกรรมทางเพศ มีดังนี้ - สถานภาพทางสังคม สถานภาพทางสังคมไทยปัจจุบันมีความเหลื่อมล�้ำและช่องว่าง ทางฐานะทางเศรษฐกิจมากยิ่งขึ้น นับตั้งแต่เกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในประเทศไทย หลายครั้งท�ำให้ มีภาวะคนตกงาน ช่องว่างระหว่างรายได้ที่ได้รับระหว่างคนรวยและคนจนมีมากขึ้น การประกอบอาชีพ บางอย่างจึงก่อให้เกิดพฤติกรรมทางเพศที่เสี่ยง - สือ่ มวลชน สือ่ มวลชนมีอทิ ธิพลต่อกระแสแนวคิดและทศทางความเคลือ่ นไหวในสังคม การเสนอ ข่าวเกี่ยวกับพฤติกรรมทางเพศในทางที่เสื่อมเสีย เช่น การถูกข่มขืนที่ลงภาพผู้ที่ตกเป็นเหยื่อ อย่างชัดเจน พร้อมบอกรายละเอียด ต่างๆ ของการกระท�ำ - อิทธิพลของวัฒนธรรม วัฒนธรรมหมายถึงวิถกี ารด�ำเนินชีวติ ทีค่ นสร้างขึน้ และปฏิบตั ิ สืบทอดกันมา โดยการถ่ายทอดไปสู่สมาชิกรุ่นต่อไป วัฒนธรรมจึงเป็นทุกส่งทุกอย่างที่สังคมสร้างขึ้น เพื่อ ช่วยให้มนุษย์สามารถด�ำเนินชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคม โดยมีความเชื่อทางศาสนาเป็นส่วนประกอบที่ส�ำคัญ มากของวัฒนธรรมในแต่ละสังคม

3. การวางตัวต่อเพศตรงข้ามตามหลักการอิสลาม

ความสัมพันธ์ระหว่างชายหญิงที่ไร้ขอบเขต เป็นสิ่งต้องห้ามในทัศนะอิสลาม เช่น การปะปน การ มองเพศตรงข้าม อยู่ตามลำ�พังสองต่อสองโดยไม่มีมะห์รอม การคบเป็นแฟนที่ไม่ได้ผ่านการแต่งงานตาม หลักการอิสลาม หรือจะเป็นการพูดคุยทางโทรศัพท์ หรือช่องทางอืน่ ๆ ทีท่ �ำ ให้เกิดฟิตนะฮ์ การปะปน หมาย ถึง การชุมนุมกันอย่างเสรีระหว่างชายหญิง ในสถานที่ใดสถานที่หนึ่งโดยปราศจากขอบเขต หรือหญิงชาย สามารถพบปะสนทนากันได้อย่างอิสระ มีการเบียดเสียดกัน อัลลอฮฺ ได้ตรัสความว่า “และจงประกาศแก่มวลสตรีผู้มีความศรัทธาทั้งหลาย ให้พวกนางยับยั้งสายตาของพวกนาง (อย่างมองสิ่งต้องห้าม) และให้พวกนางรักษาสิ่งพึงสงวน(อวัยวะเพศ) ของพวกนางไว้ และพวกนางจะต้อง ไม่เปิดเผย(ร่างกายส่วนที่สวมใส่) สิ่งประดับของพวกนาง(ให้ปรากฏแก่สายตาเพื่อนต่างเพศ) ยกเว้นส่วน ทีเ่ ปิดเผยจากมัน(คือบางส่วนของร่างกายทีอ่ นุญาตให้เปิดเผยได้) และให้พวกนางดึงผ้าคลุมศีรษะของพวก นางลงมาปิดไว้บนคอเสือ้ (หน้าอก) ของนาง และอย่าให้พวกนางเปิดเผยเครือ่ งประดับของพวกนาง ยกเว้น สามีของนางเอง หรือบิดาของพวกนาง หรือบิดาของคู่ครองของพวกนาง” (สูเราะฮ์อันนูร อายะฮ์ที่ 31)

สิ่งที่อิสลามห้าม - การมองอวัยวะอันพึงสงวน(เอาเราะฮฺ) ของบุคคลอื่น ท่านนบี กล่าวไว้ความว่า “ไม่อนุญาตให้ผู้ชายมองเอาเราะฮฺ (อวัยวะพึงสงวน) ของผู้ชาย และไม่อนุญาตให้ผู้หญิงมองเอา เราะฮฺของผู้หญิง” (บันทึกโดยมุสลิม) 40


- การมองเพศตรงข้ามซ�้ำแล้วซ�้ำอีก ท่านนบี กล่าวความว่า “การมองสตรีโดยมิได้ตงั้ ใจถือว่าไม่มคี วามผิด แต่หากมองซ�ำ้ อีก(เป็นครัง้ ทีส่ อง) ถือว่ามีความผิด” (บันทึกโดยอัตติรมิษีย์) หะดีษอีกบทหนึ่งท่านนบี กล่าวความว่า “การท�ำซินา (การผิดประเวณี) ทางสายตา คือการมอง (สิ่งหะรอม)” (บันทึกโดยอัตติรมิษีย์) - การอยู่ตามล�ำพังสองต่อสองระหว่างชายหญิง (คุลวะฮ์) หะดีษที่เกี่ยวข้องกับการอยู่ต่อสองระหว่างชายหญิงที่เป็นหลักฐานหลักในเรื่องนี้คือ หะดีษอิบนุ อับบาส เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา จากท่านนบี ความว่า “ชายอย่าได้คุลวะฮฺกับหญิง เว้นแต่กับผู้ที่เป็นมะห์รอม” (ในรายงานของมุสลิมมีว่า : เว้นแต่มี มะห์รอมอยู่ด้วย)

4. แบบอย่างการดำ�เนินงานชีวิตของท่านเราะสูล และเศาะหาบะฮฺในช่วงวัยรุ่น

การตามแบบอย่างของท่านเราะสูล ในการดำ�เนินชีวติ นัน้ เป็นสิง่ ทีอ่ สิ ลามได้ก�ำ ชับเป็นอย่างยิง่ เพราะอิสลามถือว่าท่านนบี คือผู้ที่สามารถดำ�รงชีวิตตามแบบอย่างคำ�สอนของอัลลอฮ์ ได้สมบูรณ์ ทีส่ ดุ ดังนัน้ ผูเ้ ป็นมุสลิมทุกคนจึงต้องปฏิบตั ติ ามแบบอย่างของท่าน เพือ่ จะได้ปฏิบตั ติ นเป็นมุสลิมให้สมบูรณ์ เท่าที่จะทำ�ได้ อัลลอฮ์ ได้ตรัสความว่า “ขอสาบานว่า แท้จริงแล้วในตัวของศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์นั้น มีแบบอย่างที่ดีงามสำ�หรับพวกเจ้า ที่หวังใน (ความโปรดปรานของ) อัลลอฮ์และ (ผลบุญใน) วันอาคิเราะฮฺ และได้กล่าวรำ�ลึกถึงอัลลอฮ์อย่าง มากมาย” (สูเราะฮฺ อัลอะหฺซาบ อายะฮ์ที่ 21) ท่านนบี ได้ทำ�ตัวอย่างทั้งหมดที่จำ�เป็นในชีวิตของมุสลิม ไม่ว่าเรื่องที่ใหญ่ที่สุดหรือที่เล็กที่สุด เรื่องเกี่ยวกับศาสนกิจ การครองเรือน การค้าขาย การเรียนการสอน การชำ�ระล้าง การกินการดื่ม การขับ ถ่าย ฯลฯ ซึ่งสามารถศึกษาได้จากวจนะหรือหะดีษต่างๆ ของท่าน ท่านนบี เสียชีวิตไปโดยได้ทิ้งแบบอย่างเหล่านี้ไว้เพื่อให้มุสลิมได้ศึกษาและปฏิบัติตาม ท่านได้ กล่าวไว้มีความว่า “แท้จริงฉันได้ทงิ้ สิง่ สองประการไว้แก่พวกท่าน ซึง่ พวกท่านไม่มวี นั ทีจ่ ะหลงทางถ้าหากตราบใดที่ พวกท่านยึดมั่นอยู่กับมัน นั่นคืออัลกุรอานและสุนนะฮฺของฉัน” (บันทึกโดยอัดดารุกุฏนีย์) การปฏิบัติตามตามแบบอย่างของท่านนบี คือเครื่องหมายของการศรัทธาและความรักที่เรา มอบให้ท่านนบีอย่างสมบูรณ์ และยังเป็นเครื่องหมายว่าเรารักอัลลอฮ์ เช่นที่พระองค์ได้ตรัสไว้ความว่า “จงกล่าวเถิด (มุฮมั มัด) ถ้าหากพวกเจ้ารักอัลลอฮ์แล้วไซร้ ก็จงตามฉัน แล้วอัลลอฮ์กจ็ ะรักพวกเจ้า 41


อีกทัง้ พระองค์จะทรงอภัยโทษให้กบั พวกเจ้า และอัลลอฮ์นน้ั เป็นผูท้ รงอภัยและเมตตาเสมอ” (สูเราะฮฺอาลิ อิมรอน อายะฮ์ที่ 31) ดังนัน้ มุสลิมจึงต้องศึกษาหาความรูแ้ ละเข้าใจถึงวิถชี วี ติ และแบบอย่างของท่านนบี เพือ่ สามารถ ปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง และเพื่อได้รับทางนำ�จากการปฏิบัติตามแบบอย่างของท่านนบี บุคลิกภาพของนบีมุฮัมมัด ที่ต้องปฏิบัติตามในการดำ�เนินชีวิต 1. เป็นผู้ฟังและผู้พูดที่ดี 2. พูดความจริง ไม่พูดในสิ่งไร้สาระ 3. เป็นคนรักความสะอาดเรียบร้อย 4. เป็นคนเรียบง่าย ไม่ชอบชีวิตที่ฟุ้งเฟ้อหรูหรา 5. เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ 6. ทำ�งานด้วยตัวเอง 7. ช่วยเหลือผู้อื่น 8. ถ่อมตนเสมอ 9. ให้เกียรติแก่แขก 10. ไม่ชอบความฟุ่มเฟือย 11. รักความเสมอภาค 12. รักคนจน 13. ระลึกถึงอัลลอฮฺ เสมอ

5. ค่านิยมทางเพศของวัยรุ่น

ค่านิยมทางเพศ ปัจจุบันค่านิยมทางเพศของวัยรุ่นในสังคมไทย ได้เปลี่ยนไปจากอดีตอย่างมากมาย ซึ่งการ แสดงออกทางเพศก็เป็นไปอย่างเปิดเผย โดยเฉพาะในเรื่องเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร การ ท้องก่อนแต่ง และการทำ�แท้ง เป็นต้น ซึง่ กลายเป็นปัญหาสังคมทีท่ กุ ฝ่ายจะต้องให้ความสนใจและเร่งแก้ไข ปัญหาอย่างจริงจัง ความหมายของค่านิยมทางเพศ ค่านิยมทางเพศ หมายถึง ความรู้สึกนึกคิดความเชื่อ ความ นิยมชมชอบของบุคคลเกีย่ วกับการปฏิบตั ติ นในเรือ่ งเกีย่ วกับพฤติกรรม ทางเพศ ทีเ่ กีย่ วกับความสัมพันธ์ระหว่างเพศ การคบเพือ่ นต่างเพศ การ มีเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงาน

42


ค่านิยมทางเพศที่เหมาะสมกับสังคมและวัฒนธรรมไทย ในสังคมไทยปัจจุบัน ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรม ยังคงเป็นตัวกำ�หนดวิถีชีวิตความ เป็นอยู่ของคนไทยในปัจจุบัน และยังคงมีบทบาทที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศ โดยเฉพาะค่านิยมในเรื่อง “การ รักนวลสงวนตัว” ยังเป็นค่านิยมที่เหมาะสมกับสังคมไทยในปัจจุบัน การรักนวลสงวนตัว คือ การไม่ปล่อย กายปล่อยใจไปตามแรงปรารถนาของอารมณ์ รูจ้ กั ใจตนเอง รูจ้ กั ความต้องการและอารมณ์ รูจ้ กั ระมัดระวัง ตัว รู้จักป้องกันตนเองมิให้ตกเป็นเหยื่อของผู้อื่น และสามารถแก้ไขปัญหาในยามคับขันได้ เช่น รู้ว่าตนเอง เป็นผู้หญิงย่อมมีอารมณ์อ่อนไหวต่อความรัก ก็ควรหลีกเลี่ยงโอกาสที่จะอยู่ตามลำ�พังสองต่อสองกับชาย คนรักในที่ลับหูลับตาคน ไม่ไปในสถานที่อันไม่สมควรไป หรือไม่ควรทำ�ในสิ่งที่ไม่สมควรทำ� ซึ่งจะนำ�ไปสู่ การมีเพศสัมพันธ์ได้ เพราะแม้ว่าสังคมจะพัฒนารุดหน้าไปอย่างไรก็ตาม แต่ค่านิยมของสังคมไทยยังคง ถือว่าความบริสุทธิ์หรือพรหมจารีของผู้หญิงเป็นเกียรติอันสูงที่หญิงควรสงวนไว้ และแม้ว่าศีลธรรมทุกวัน นีจ้ ะหย่อนยานลงเพียงใดก็ตาม ถ้าหญิงสูญเสียความบริสทุ ธิไ์ ปก่อนแต่งงานก็จะมีความเสียใจอยูเ่ สมอ แม้ จะไม่แสดงออกมาให้เห็นภายนอกก็ตาม แต่อย่างไรก็ตามในเรือ่ งเกีย่ วกับพรหมจารีนนั้ อาจขาดได้ดว้ ยสา เหตุอื่นๆ อีกเช่น ขี่จักรยาน ขี่ม้า เล่นกีฬาต่างๆ การสำ�เร็จความใคร่ด้วยตนเอง การถูกแพทย์ตรวจภายใน (ในกรณีที่มีความจำ�เป็นในการวินิจฉัยโรคบางชนิดของสตรี) เหล่านี้เป็นต้น นอกจากนี้ผู้หญิงบางคนอาจ ไม่มีเยื่อพรหมจารีมาตั้งแต่เด็กๆ ก็เป็นได้ ดังนั้นหญิงสาวที่มีเยื่อพรหมจารีขาดจึงไม่ถือว่า ผ่านการร่วม ประเวณีมาแล้วหรือเป็นหญิงสาวที่ไม่บริสุทธิ์เสมอไป แต่ตามค่านิยมความประพฤติ หรือพฤติกรรมที่เหมาะสมสำ�หรับสังคมไทยนั้น ยังถือว่าความ บริสุทธิ์และการไม่มีเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงานเป็นสิ่งที่เหมาะสมกับสังคมไทย ดังนั้นการวางตัวต่อเพศตรง ข้ามในระหว่างที่คบหาสมาคมกัน เป็นเรื่องสำ�คัญที่เด็กวัยรุ่นหรือวัยหนุ่มสาวควรจะต้องรู้จักระวังตัวให้ดี เป็นพิเศษ โดยจะต้องไม่ยอมตกเป็นเหยือ่ เป็นทาสของกามารมณ์หรือแรงดันทางเพศเป็นอันขาด วิธกี ารที่ จะช่วยให้ชายหญิงควบคุมสัญชาตญาณทางเพศได้ดีก็คือ จะต้องรู้จักหรือพยายามเบี่ยงเบนความสัมพันธ์ ระหว่างเพศซึ่งเป็นกิจกรรมทางใจ ให้ออกมาในรูปแบบของกิจกรรมทางกาย ด้วยการเล่นกีฬา ทำ�งาน อดิเรก หรือประกอบกิจกรรมสันทนาการต่างๆ ที่สังคมยอมรับ และตรงกับขนบธรรมเนียมประเพณีหรือ วัฒนธรรมอันดีงามของบ้านเมือง เด็กวัยรุน่ ควรรูจ้ กั และเข้าใจด้วยว่า การอดกลัน้ เพือ่ ไม่ให้ตกเป็นทาสของ กามารมณ์ หรือการประพฤติทางเพศต่างๆ นั้น ไม่เคยทำ�ลายสุขภาพจิตของผู้ใด และความอดกลั้นก็เป็น เรือ่ งธรรมดาทีท่ กุ คนทัว่ ไปเขาปฏิบตั กิ นั การวางตัวหรือการแสดงพฤติกรรมของเพศหญิงนัน้ จะต้องทำ�ตัว ให้เพศชายยกย่องและให้เกียรติ โดยฝ่ายหญิงจะต้องเข้าใจว่าผูช้ ายทีด่ หี รือสุภาพบุรษุ นัน้ จะต้องไม่ลว่ งเกิน ผูห้ ญิงทีว่ างตัวเป็นสุภาพสตรี การทีผ่ หู้ ญิงกล้าเกินไป ไม่รจู้ กั ถือเนือ้ ถือตัว และชอบสนิทสนมกับผูช้ ายมากๆ เท่ากับเป็นการเปิดโอกาสให้ฝ่ายชายสามารถล่วงเกินได้ง่ายขึ้น รวมทั้งฝ่ายชายก็อาจไม่คิดแต่งงานด้วย อย่างจริงจัง ถึงแม้ว่าบางครั้งฝ่ายชายอาจจำ�เป็นต้องแต่งงานด้วยหรือถูกบังคับให้แต่งงานด้วย เหตุการณ์ ในลักษณะนี้มักจะกลายเป็นตกกระไดพลอยโจนเสียมากกว่า และอาจจะต้องมาหย่าร้างกันไปในที่สุด เพราะฝ่ายชายอาจคิดได้ว่าเมื่อมีโอกาสกับเขาง่ายๆ ก็ย่อมจะให้โอกาสกับชายอื่นง่ายๆ เช่นกัน ดังนั้นเมื่อ มีการล่วงเกินกันเกิดขึ้น ฝ่ายหญิงจึงไม่ต้องเกรงใจหรือกลัวฝ่ายชายจะโกรธ ถ้าตัวเองจะแสดงความไม่ พอใจให้ฝ่ายชายทราบ เพราะการวางตัวที่ดีและรู้จักระมัดระวังตัว ไม่ปล่อยตัวให้สนิทสนมกับใครๆ โดย 43


ง่ายนั้น เป็นสิ่งที่มีค่ายิ่งสำ�หรับกุลสตรี ซึ่งผู้ชายโดยทั่วไปมักจะให้ความยกย่องนับถือหรือภาคภูมิใจเป็น อย่างยิง่ ถ้าหากเขามีโอกาสได้แต่งงานกับผูห้ ญิงทีม่ ลี กั ษณะนี้ อันทีจ่ ริงนัน้ ผูช้ ายส่วนมากมักจะชอบผูห้ ญิง ที่ปล่อยใจง่ายๆ แต่ในขณะเดียวกันเขากลับรักผู้หญิงที่รู้จักการวางตัวได้เหมาะสม พร้อมทั้งยังปรารถนา ที่จะแต่งงานด้วยอย่างจริงใจ อย่ า งไรก็ ต าม อิ ท ธิ พ ลและวั ฒ นธรรมตะวั น ตกได้ เข้ า มามี บ ทบาทต่ อ วั ฒ นธรรมสั ง คมของ ประเทศไทยมากขึ้น การติดต่อสื่อสารอย่างรวดเร็วทำ�ให้เกิดการเลียนแบบ และดำ�เนินชีวิตเป็นไปตาม ตะวันตก โดยเฉพาะเข้ามามีบทบาทในชีวิตของเด็กๆ มากขึ้น รวมทั้งชุมชน สื่อมวลชนต่างๆ ที่เข้ามามี อิทธิพลทั้งทางบวกและทางลบ ทำ�ให้ค่านิยมในเรื่องเพศ เปลี่ยนแปลงไปทั้งในทางบวกและทางลบต่อวิถี ชีวติ ของเด็กมากกว่าสถาบันครอบครัว ซึง่ ควรเป็นแหล่งให้ประสบการณ์การเรียนรูท้ ถี่ กู ต้องมากทีส่ ดุ กลาย เป็นปัญหาของสังคม โดยเฉพาะการมีพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม

6. ค่านิยมทางเพศที่ถูกต้อง

ในประเทศไทย มีความเป็นไทย มีขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ เฉพาะตัว โดยเฉพาะค่านิยมในเรื่องเพศ ซึ่งมีมุมมองได้ 2 ทาง ดังนี้คือ 1.ค่านิยมทางเพศในเรื่องที่ไม่ถูกต้องสำ�หรับคนไทย ได้แก่ 1.1 การไม่เผยแพร่ความจริงในเรื่องเพศ หรือการไม่ให้ความรู้เรื่องเพศแก่ บุตรหลาน โดยคิดว่าเป็นเรื่องหยาบคาย หรือน่าอาย 1.2 การไม่สนับสนุน หรือส่งเสริมให้บุคคลในสังคมพูดคุยกันในเรื่องเพศอย่างเปิดเผย 1.3 การยกย่องให้เพศชายเป็นใหญ่กว่าเพศหญิง 1.4 การมีเพศสัมพันธ์ก่อนการสมรสโดยถือว่าเพศชายไม่ผิด ค่านิยมเหล่านี้ทำ�ให้บุคคลในสังคมมีทัศนคติที่ไม่ถูกต้อง รวมทั้งมีพฤติกรรมทางเพศที่ไม่ถูกต้อง เช่น การเอาเปรียบเพศตรงกันข้ามเมื่อมีโอกาส ความไม่เสมอภาคระหว่างเพศ การดูถูกเพศตรงกันข้าม อันเป็นผลต่อความรักความผูกพัน ความสงบสุข ในครอบครัวและสังคมโดยรวม 2.ค่านิยมทางเพศที่ดีของสังคมไทย 2.1 หญิงไทยมักจะรักนวลสงวนตัว ไม่มีเพศสัมพันธ์ก่อนการแต่งงาน 2.2 ชายไทยไม่ควรสำ�ส่อนทางเพศ เพราะอาจเกิดผลเสียโดยการติดโรค 2.3 ชายไทยมีความรับผิดชอบต่อเพศหญิง ไม่หลอกลวง ไม่ข่มเหงน�้ำใจ 2.4 ชายไทยรับผิดชอบต่อครอบครัว วัยรุ่นในปัจจุบันควรมีเจตคติที่ดีว่าทั้งสองเพศมีความสำ�คัญเท่าเทียมกัน การสร้างสรรค์สังคมจึง จะเกิดขึน้ ค่านิยมดังกล่าวเป็นสิง่ ทีด่ แี ละยังใช้ได้ในสังคมปัจจุบนั วัยรุน่ จึงควรรักษาค่านิยมทีด่ ไี ว้เพือ่ ป้องกัน ปัญหาที่จะตามมา เช่น ครอบครัวแตกแยก โรคทางเพศสัมพันธ์ การตั้งครรภ์นอกสมรส การค้าประเวณี การสำ�ส่อนทางเพศ เป็นต้น หลักในการเลือกคู่ครองสภาพปัจจุบัน ชายและหญิงมักตัดสินใจเลือกคู่ครอง ด้วยตนเองโดยไม่ขอคำ�ปรึกษาจากพ่อแม่ และญาติพี่น้อง หรือผู้ใหญ จึงทำ�ให้ชีวิตมีทั้งประสบผลสำ�เร็จ และล้มเหลวได้ 44


หลักในการเลือกคู่ครองโดยทั่วไปพอสรุปได้ดังนี้ 1. มีความรักเป็นพื้นฐาน เพราะความรักเป็นการแสดงความรู้สึกถึงความผูกพัน ความหวงแหน ความห่วงใย จึงมีความรักใคร่ในคู่ครองที่เราเลือก และควรเลือกคู่ครองที่รักเรา 2. มีสภาวะด้านต่างๆเหมาะสม เช่น 2.1 อายุควรอยู่ในเกณฑ์ที่บรรลุนิติภาวะแล้ว ชายควรมีอายุ 25-30 ปี ฝ่ายหญิงควร มีอายุ 20-25 ปี 2.2 มีความพร้อมทางร่างกายและสุขภาพ การแต่งงานนั้นนอกจากมีความพร้อมทาง ร่างกายที่จะให้กำ�เนิดลูกได้แล้ว ควรจะต้องคำ�นึงถึงสุขภาพด้วย เช่น โรคประจำ�ตัว โรคทางพันธุกรรม เพราะสิ่งเหล่านี้จะมีผลกระทบต่อชีวิตสมรสได้ ดังนั้นจึงควรมีการตรวจสุขภาพ และถ้าพบว่ามีโรคภัยไข้ เจ็บต้องรักษาให้หายเสียก่อน 2.3 วุฒิภาวะทางอารมณ์ นับว่าเป็นสิ่งสำ�คัญยิ่งสำ�หรับผู้ครองเรือน เพราะวุฒิภาวะทาง อารมณ์จะเป็นผูส้ ขุ มุ รอบคอบ มีเหตุผล มีความรับผิดชอบ ยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล และสามารถ ปรับตัวได้ดี 2.4 ระดับสติปญ ั ญา คูส่ มรสควรมีระดับสติปญ ั ญาใกล้เคียงกัน เพราะหากสติปญ ั ญาแตก ต่างกันมักจะคุยกันไม่รู้เรื่อง 2.5 คู่สมรสควรมีบุคลิกภาพและรสนิยมใกล้เคียงกัน 2.6 ศาสนาแต่ละศาสนาจะมีศาสนพิธแี ตกต่างกัน ถ้าคูส่ มรสต่างศาสนาควรมีการพูดคุย ตกลงเกี่ยวกับการปฏิบัติตนในพิธีกรรมของศาสนาแต่ละฝ่าย เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในครอบครัว 2.7 วัฒนธรรม เป็นวิธีการดำ�เนินชีวิตสืบทอดกันมา วัฒนธรรมที่คล้ายกันย่อมปรับตัว เข้ากันได้ง่าย 2.8 ฐานะทางเศรษฐกิจ ต้องใกล้เคียงกัน มีการวางแผนการจับจ่ายในครอบครัว

ค่านิยมทางเพศตามแบบฉบับอิสลาม ค่านิยมอิสลามนั้นมาจากแหล่งที่มา 2 แหล่ง คือ 1) คัมภีร์อัลกุรอาน 2) สุนนะฮ์ชองท่านนบี โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

1) การให้เกียรติและความเสมอภาคของชายหญิง อิสลามได้เน้นถึงความเสมอภาคเท่าเทียมกันของมนุษย์ทั้งหมด โดยไม่คำ�นึงถึงเชื้อชาติ สีผิว เพศ หรือสถานะทางสังคม อิสลามได้กำ�หนดบทบาทและภาระหน้าที่ที่แตกต่างกันให้แก่ผู้ชายและผู้หญิง ซึ่ง ทั้งสองจะเป็นส่วนประกอบเพื่อความสมบูรณ์ของกันและกัน 45


2) การแต่งกาย ปัจจุบนั การแต่งกายของวัยรุน่ ส่วนใหญ่จะมุง่ ทีก่ ารอวดโชว์ และเป็นการแต่งกายตามแฟชัน่ โดยที่ หารูไ้ ม่วา่ การแต่งกายในลักษณะนัน้ อิสลามได้หา้ มไว้ หรือไม่เป็นทีอ่ นุมตั ิ เช่น การสวมใส่เสือ้ ผ้าทีม่ รี ปู สัตว์ เสื้อผ้าที่ทำ�มาจากสัตว์ต้องห้าม หรือการแต่งกายเพื่ออวดโชว์ การสวมใส่เปิดส่วนที่อิสลามห้าม (เปิดเอา เราะฮ์) เป็นต้น การแต่งกายตามหลักอิสลามสำ�หรับผู้หญิง (มุสลิมะฮ์) การแต่งกายตามหลักการอิสลาม มิใช่แค่การคลุมศีรษะและการใส่เสื้อแขนยาว หรือเสี้อผ้าที่ยาว ลงมาถึงตาตุ่มเพียงอย่างเดียว แต่ยังหมายถึงการแต่งกายที่รัดกุม ไม่บาง ไม่คับ และไม่หลวมจนเกินไป อัลลอฮฺ ได้กล่าวไว้ในสูเราะฮ์อนั นูร ถึงกฏเกณฑ์อย่างกว้างๆ ทีเ่ กีย่ วกับการแต่งกายตามหลักการอิสลาม และหลักการกว้างๆ ดังกล่าว ได้รับการอธิบายในหะดีษของท่านนบีมุฮัมมัด ดังต่อไปนี้ - เสื้อผ้าต้องหลวมๆ และไม่รัดตรงทรวดทรงของร่างกาย - อย่าสวมเสื้อผ้าโปร่งหรือมองทะลุเข้าไปได้ - อย่าสวมเสื้อผ้าที่เป็นสัญลักษณ์ของความไม่ศรัทธา - อย่าใส่น�้ำหอมที่ส่งกลิ่นเย้ายวน - อย่าสวมเสื้อผ้าที่แสดงถึงความโอ้อวด - อย่าสวมเสื้อผ้าที่เป็นจุดสนใจให้แก่ผู้ชาย 3) การคบเพื่อน เพื่อนฝูงและมิตรสหายนับได้ว่ามีความสำ�คัญต่อมนุษย์แต่ละคน เกือบจะพูดได้ว่าคนๆ หนึ่งไม่ สามารถที่จะมีชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข ถ้าหากเขาไม่มีเพื่อนที่สามารถร่วมแบ่งปันความสุขและแบ่งเบา ความทุกข์ดว้ ยกัน โดยปกติแล้ว บุคคลทีเ่ ป็นเพือ่ นฝูงมักจะมีอะไรบางอย่างทีพ่ อจะเป็นจุดดึงดูดให้สามารถ คบหากันได้ เช่น ความชอบในบางสิง่ บางอย่างทีค่ ล้ายกัน อุปนิสยั ใจคอทีต่ รงกัน เป็นต้น ดังนัน้ ผูเ้ ป็นเพือ่ น จึงมักจะมีอิทธิพลต่อกลุ่มเพื่อนด้วยกันอยู่เสมอ เพราะต้องอยู่ด้วยกัน กินด้วยกัน ทำ�อะไรด้วยกันตลอด เวลา และในการเลือกเพื่อนจึงมีความสำ�คัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะถ้าได้เพื่อนดีมาคบก็เสมือนว่าได้ของดีมา และช่วยส่งเสริมสนับสนุนให้เราดีมากขึ้น แต่ถ้าได้เพื่อนชั่วก็เท่ากับว่ากำ�ลังเดินตามหลังเพื่อนไปหาความ ชั่วนั่นเอง ด้วยเหตุนี้ ท่านนบี จึงได้เปรียบเทียบระหว่างเพือ่ นดีและเพือ่ นชัว่ ว่าเหมือนคนขายน�ำ้ หอมและ ช่างตีเหล็ก ดังปรากฏในวจนะของท่านความว่า “อุปมามิตรทีด่ แี ละทีช่ วั่ นัน้ เปรียบได้กบั คนขายน�ำ้ หอมและช่างตีเหล็ก ส�ำหรับคนขายน�ำ้ หอมท่าน จะได้ซอื้ น�ำ้ หอม หรือไม่กไ็ ด้รบั กลิน่ น�ำ้ หอมจากเขา ในขณะทีช่ า่ งตีเหล็ก เขาอาจจะท�ำให้ลกู ไฟกระเด็นไปโดน เสือ้ ผ้าของท่านให้เกิดรอยไหม้ หรือไม่กท็ า่ นจะต้องได้รบั กลิน่ เหม็นจากเขา” (บันทึกโดยอัลบุคอรีย)์ ดังนั้นจำ�เป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องฉลาดเลือก และฉลาดคบหากับเพื่อนฝูง โดยควรเลือกเพื่อนที่ดี เป็นมิตร เพื่อให้สามารถช่วยเหลือกันได้ในสิ่งที่ดี นอกจากนี้ตัวเราเองก็ควรเป็นเพื่อนที่ดีแก่เพื่อนฝูง 46


สามารถให้คำ�แนะนำ�หรือคำ�ตักเตือนแก่เพื่อนด้วยกันได้ เมื่อเห็นเพื่อนประพฤติไม่ดี 4) การแต่งงาน อิสลามมิได้ถือว่าการแต่งงานเป็นการให้ผู้ชายกับผู้หญิงอยู่ด้วยกัน เพียงเพื่อสนองความต้องการ ทางเพศแต่เพียงอย่างเดียว แต่การแต่งงานเป็นสัญญาทางสังคมทีป่ ระกอบด้วยหน้าทีแ่ ละความรับผิดชอบ อันมากมายและกว้างขวาง การแต่งงานตามหลักศาสนาอิสลาม เป็นวิถที างของสังคมในการยอมรับ ความ สัมพันธ์อันลึกซึ้ง ระหว่างผู้ชาย และผู้หญิง ในการใช้ชีวิตอยู่ด้วยกัน อยู่กินภายใต้ร่มไม้ชายคาเดียวกัน และถือเป็นประเพณีที่ถูกต้องที่มนุษย์คู่ชายหญิง จะสามารถแสดงออกถึงความต้องการทางเพศได้ โดยไม่ ได้รบั การประณามว่าเป็นการกระทำ�ทีไ่ ร้ยางอาย การแต่งงานยังเป็นการช่วยให้สงั คมมนุษย์ด�ำ รงอยูไ่ ด้ไม่มี วันสูญสลาย และเป็นพื้นฐานอันมั่นคงของระบบสังคมที่มนุษย์เราอาศัยอยู่รวมกันอีกด้วย วัตถุประสงค์ตา่ งๆ ของการแต่งงานมีกล่าวไว้ในอัลกุรอานหลายอายะฮฺดว้ ยกัน เช่น ในสูเราะฮอัรรูม อายะฮที่ 21 ความว่า “และหนึ่งในสัญญาทั้งหลายของพระองค์ คือพระองค์ได้ทรงสร้างคู่ครองสำ�หรับพวกเจ้าจากตัว ของพวกเจ้าเอง เพื่อพวกเจ้าจะได้มีใจสงบในตัวนาง และพระองค์ได้ทรงทำ�ให้มีความรักและความเอ็นดู ในระหว่างพวกเจ้า” การแต่งงานเป็นหนึ่งในบทบาทอันสำ�คัญของชีวิตมนุษย์ การปฏิเสธการแต่งงานจะส่งผลให้เกิด ความเลวร้ายอย่างชัดแจ้งต่อไปนี้ (1) การผิดประเวณีมีเพิ่มมากขึ้น (2) บทบาทในการป้องกันตนเองของครอบครัว ถูกเปลี่ยนให้ไปอยู่ในมือของตำ�รวจและองค์กร ทางสังคม (3) การพักผ่อนหย่อนใจภายในครอบครัวส่วนมากเปลี่ยนไปเป็นการชมภาพยนตร์ กีฬา ละคร และล่าสุดโทรทัศน์ (4) ครอบครัวสูญสลายไป เพราะการทำ�ประกันชีวิตให้กับพ่อแม่ที่แก่ชรามากแล้ว สำ�หรับการแต่งงานตามหลักศาสนาอิสลาม จะดำ�เนินไปตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ - เป็นการยินยอมในการใช้ชีวิตคู่ฉันสามี ภรรยา ของคู่แต่งงานเอง และญาติๆ ทั้งสองฝ่าย - มีการมอบมะฮัร เพื่อเป็นของกำ�นัลที่เจ้า บ่าวพึงมีต่อเจ้าสาว - ประกอบด้วยพยานในพิธี อย่างน้อย 2 คน ชายหรือหญิงก็ได้ - มีการประกาศเพือ่ เฉลิมฉลองพิธแี ต่งงาน อย่างเป็นทางการ ให้สังคมรับรู้ 47


หน่วยการเรียนรู้ที่ 4

การพัฒนาและเสริมสร้างทักษะชีวิต ปัญหาเพศและครอบครัว ตัวชี้วัด พ 2.1 ม.4-6

1. เลือกใช้ทักษะที่เหมาะสมในการป้องกัน ลดความขัดแย้งและแก้ปัญหาเรื่องเพศและ ครอบครัว

สาระการเรียนรู้แกนกลาง

1. แนวทางในการเลือกใช้ทักษะต่างๆ ในการป้องกัน ลดความขัดแย้ง และแก้ปัญหาเรื่อง เพศ และครอบครัว - ทักษะการสื่อสารและสร้างสัมพันธภาพ - ทักษะการต่อรอง - ทักษะการปฏิเสธ - ทักษะการคิดวิเคราะห์ - ทักษะการตัดสินใจ และแก้ไขปัญหา

แนวทางในการเลือกใช้ทักษะต่างๆ ในการป้องกัน ลดความขัดแย้ง ในแก้ปัญหาเรื่องเพศ และครอบครัว

ค่านิยมทีเ่ กีย่ วกับเพศ นับว่าเป็นปัญหาอย่างมาก โดยเฉพาะในกลุม่ วัยรุน่ ซึง่ เป็นวัยทีม่ คี วามสนใจ ในเพศตรงข้าม วัยรุน่ อาจหมกมุน่ กับรูปร่างหน้าตา การแต่งกายของตน ต้องการให้ดดู ี และอาจย�ำ้ คิดเรือ่ ง ของคนที่ตนพอใจ ท�ำให้ต้องใช้เวลาไปกับเรื่องนี้มาก และอาจกินเวลาและกระทบกับการเรียนได้ ถ้าเกิด ความผิดหวังในเรื่องความรัก วัยรุ่นซึ่งมีความรู้สึกที่ลึกซึ้งรุนแรงในความรักของตนอยู่แล้ว ก็อาจกระท�ำ การลงไปโดยขาดการไตร่ตรอง เช่น ท�ำร้ายตัวเอง หรือท�ำร้ายผู้อื่นได้ การให้วัยรุ่นเรียนรู้เรื่องความเป็น จริงของชีวิตและโลก จะเป็นการเพิ่มปัญญาให้วัยรุ่นได้ใช้วิจารณญาณ และควบคุมอารมณ์ ความรู้สึกของ ตน ซึ่งเป็นลักษณะของผู้ที่มีความฉลาดทางอารมณ์ วัยรุ่นต้องการการชี้แนะโดยวิธีการที่วัยรุ่นยอมรับได้ อาจไม่ใช่การสอนกันโดยตรง แต่สอนเป็นนัยๆ จากพ่อแม่และอาจเรียนรู้ด้วยตนเอง จากการได้ฟังได้เห็น จากแบบอย่างเรือ่ งทีใ่ กล้เคียงกับตน จากการอ่านหนังสือ การดูภาพยนตร์ ก็อาจท�ำให้วยั รุน่ ได้กลับมาคิด ค�ำนึงถึงเรื่องของตัวเองได้ ในช่วงวัยรุ่นเพื่อนจะมีความหมายต่อเขามาก จะใช้เวลากับเพื่อนมากกว่าในวัยเด็ก วัยรุ่นอาจ แสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสมหลายอย่าง เนื่องจากอิทธิพลของเพื่อน เช่น การใช้สารเสพติด การเที่ยว 48


กลางคืน การซื้อสินค้าราคาแพง วัยรุ่นที่มีความฉลาด ทางอารมณ์ ย่อมเข้ากับเพื่อนได้ดี เพราะเข้าใจความ รู้สึกของผู้อื่น ยินดีช่วยเหลือผู้อื่น แต่ผู้ที่มีฉลาดทาง อารมณ์ดจี ะต้องเข้ากับตนเองได้ดว้ ย ไม่ท�ำ อะไรทีส่ นอง ความต้องการของเพื่อน โดยไม่คำ�นึงถึงความรู้สึกของ ตนเองหรือทำ�ให้ตนเองเดือดร้อน กลุ่มเพื่อนมีได้หลาย แบบ แต่ไม่ใช่ว่ากลุ่มเพื่อนจะมีอิทธิพลทางลบเสมอไป กลุ่มเพื่อนที่แนะนำ�ในสิ่งดี กลุ่มองค์กรวัยรุ่น เพื่อทำ� ประโยชน์ เช่น กลุ่มสร้างสรรค์ทางการเมือง กลุ่ม อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ดังนั้นอิทธิพลของเพื่อนจะเป็นไป อย่างสร้างสรรค์หรือทำ�ลาย ขึน้ กับว่าวัยรุน่ ไปเข้ากับกลุม่ ใด แม้วา่ วัยรุน่ จะเชือ่ พ่อแม่นอ้ ยลง และเชือ่ เพือ่ น มากขึน้ ในช่วงวัยรุน่ ตอนต้นๆ แต่ตอ่ มาวัยรุน่ ก็จะเชือ่ เพื่อนน้อยลง เขาจะลดการพึ่งพาทั้งพ่อแม่และเพือ่ น และสามารถตัดสินใจเลือกด้วยตนเองมากขึ้น ปัญหาต่างๆ ทีเ่ กิดขึน้ กับวัยรุน่ เป็นผลมาจากค่านิยมทีว่ ยั รุน่ เชือ่ และปฏิบตั ิ โดยขาดความตระหนัก ถึงผลกระทบที่จะตามมา ในความเป็นจริงพฤติกรรมที่ปรากฏให้เห็นมีเหตุปัจจัยที่เชื่อมโยงกัน ถ้าจัดการ เฉพาะที่ตัววัยรุ่น คงแก้ปัญหาได้เพียงบางส่วน ทำ�ไมเด็กบางคนเกิดปัญหาพฤติกรรม ทำ�ไมเด็กบางคนมี ความเสี่ยงเรื่องความรุนแรงและเรื่องเพศ ทำ�ไมเด็กบางคนไม่มีปัญหาทั้งที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เสี่ยง ในทางจิตวิทยา ถ้าจะแก้ไขปัญหาเด็ก ต้องลดปัจจัยเสี่ยงในตัวเด็กและสิ่งแวดล้อมลง และสร้าง ปัจจัยปกป้องเพิ่มขึ้นในด้านต่างๆ ดังนี้ เริม่ จากความเสีย่ งแรกคือ ความเสีย่ งในตัวเด็ก ซึง่ มีผลมาจากครอบครัว การไม่ได้รบั การยอมรับ จากคนในครอบครัว ถูกมองว่าเป็นแกะด�ำ ใช้ไม่ได้ ท�ำอะไรก็ไม่ได้เรือ่ ง จะท�ำให้เด็กมีความคิดต่อต้านสังคม ไม่ยอมรับกติกาการอยูร่ ว่ มกัน จากสภาวะดังกล่าวจะท�ำให้เด็กมีทศั นคติทดี่ ตี อ่ พฤติกรรมทีเ่ ป็นปัญหา มอง พฤติกรรมเหล่านั้นในลักษณะโก้ เป็นที่ยอมรับในกลุ่ม ให้ความพอใจอย่างทันทีทันใด โดยไม่ค�ำนึงถึงผลที่ ตามมา ความเสี่ยงต่อมาได้แก่ ความเสี่ยงจากครอบครัว ครอบครัวบางครอบครัวยอมตามลูก ไม่รู้วิธีที่จะจูงใจเด็ก ให้ท�ำตามค�ำสั่งของพ่อแม่ บางครอบครัวทิ้งลูกไม่เคยรู้ว่า ลูกมีปัญหาอย่างไร บางครอบครัวใช้วิธีบังคับรุนแรงแต่ไม่ เคยแก้ปัญหาเด็กได้จริง ครอบครัวมีความขัดแย้ง มีปัญหา ในครอบครัว เด็กไม่อยากกลับบ้าน ออกไปใช้ชีวิตนอกบ้าน ในที่สุดมีกลุ่มของตนเองซึ่งเด็กรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม มากกว่าของครอบครัว ดังนัน้ ครอบครัว จึงเป็นปัจจัยทีส่ �ำ คัญในการช่วยลด ความเสี่ยงปัญหาของวัยรุ่น และเป็นเบ้าหลอมที่จะให้วัยรุ่น 49


ไปอยู่ในสังคมได้ด้วยความปลอดภัย การสร้างความอบอุ่น ความเข้าใจ และการแสดงออก รวมทั้งแบบ อย่างทีด่ ใี ห้กบั ลูกหลาน อิสลามได้ให้ความสำ�คัญของการแสดงแบบอย่างในการอบรม หากไม่มแี บบอย่าง ให้ ธรรมชาติของคนๆ นั้นจะเริ่มลอกเลียนแบบอย่างที่ค้านกับอิสลาม ความเสี่ยงในชุมชนและสังคมเป็นอีกปัจจัยที่สำ�คัญ การเข้าถึงอบายมุข เหล้า ยา อาวุธ เรียกว่า แวดล้อมด้วยสิ่งจูงใจให้มีความเสี่ยง ทัศนคติของชุมชนเองยอมรับอบายมุข ยอมให้มีสิ่งมอมเมา ผู้ใหญ่ทำ� ผิดให้เด็กเห็น ค่านิยมของสังคมทีย่ อมรับพฤติกรรมเสีย่ ง ผูใ้ หญ่มพี ฤติกรรมเสีย่ งเหมือนเด็ก ผูใ้ หญ่บางคน เป็นต้นแบบทางสังคมแต่มวี ถิ ชี วี ติ ทีไ่ ม่เหมาะสม ขาดมาตรการทางกฎหมายทีเ่ หมาะสมเพือ่ แก้ไขปัญหาที่ มีความเสี่ยง ขาดนโยบายที่ชัดเจนต่อเนื่อง จะสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีให้ เด็ก สภาพปัญหาและความเสีย่ งทีก่ ล่าวมาทัง้ หมดมีตน้ ต่อมาจาก ความเสื่อมถอยของสังคม และระดับของอีมานในตัวคนอ่อนแอลง จำ�เป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการพัฒนาในด้านจิตใจ จริยธรรม ด้านจิต วิญญาณ อีมาน รวมทั้งการเสริมทักษะในการดำ�เนินชีวิตแก่วัยรุ่น อัน จะเป็นเกราะป้องกันตนเอง อีมานที่มั่นคงจึงเป็นเกราะกำ�บังที่ทรงประสิทธิภาพสูงสุดในการป้องกันมิให้เกิดการผิดประเวณี (ซินา) นบี ได้กล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ความว่า “ไม่มีใครกล้าที่จะผิดประเวณี ในขณะที่เขาเป็นผู้ศรัทธา และไม่มีใครกล้าดื่มเหล้า ในขณะที่เขา เป็นผู้ศรัทธา และไม่มีผู้ใครกล้าที่จะขโมย ในขณะที่เขาเป็นผู้ศรัทธา” (บันทึกโดยอัลบุคอรีย์) จริยธรรมและมารยาทเป็นสิง่ ทีส่ �ำ คัญในอิสลามเป็นอย่างยิง่ การมีมารยาทคือการทีม่ สุ ลิมมีอปุ นิสยั ที่ดีงามติดตัว เป็นเครื่องประดับประจำ�กายของเขา เป็นการสร้างความรู้สึกชื่นชอบแก่ผู้อื่น และไม่ทำ�ให้ ผู้อื่นได้รับความเดือดร้อน ท่านนบี ได้กล่าวไว้ความว่า “แท้จริงแล้ว ฉันถูกส่งมาเพื่อสร้างความสมบูรณ์ให้กับมารยาทที่ดี” (บันทึกโดยอะหมัด) ท่านได้กำ�ชับให้มุสลิมนั้นเป็นคนที่มีมารยาทต่อผู้อื่น เช่นการพูดด้วยดี การให้สลาม การยิ้มแย้ม ให้กัน การเห็นอกเห็นใจ การเคารพความคิดเห็น การให้ เกียรติ ไม่เหยียดหยาม ไม่ติฉินนินทา ไม่ด่าทอไม่สาปแช่ง ต่อกัน เป็นต้น ท่านได้กล่าวไว้ความว่า “ท่านจงยำ�เกรงอัลลอฮ์ตลอดเวลาไม่วา่ ท่านจะอยูท่ ี่ ใดก็ตาม และจงทำ�ความดีลบล้างความชัว่ และจงเข้าสังคม กับผู้อื่นด้วยมารยาทที่ดีงาม” (บันทึกโดยอัตติรมิษีย์) 50


และท่านยังได้กล่าวอีกความว่า “มุสลิมกับมุสลิมเป็นพีน่ อ้ งกัน จะต้องไม่รงั แก(ก่อความ อธรรม) แก่เขา ไม่ย�่ำยีเขา และไม่เหยียดหยามเขา” (บันทึกโดย มุสลิม) และอีกหลายหะดีษความว่า “รอยยิ้มของท่านที่ปรากฏต่อหน้าพี่น้องของท่านนั้น สำ�หรับท่านแล้วถือเป็นทาน (เศาะดะเกาะฮฺ) อย่างหนึง่ ” (บันทึก โดยอัตติรมิษีย์) “ห้าประการที่เป็นหน้าที่ของมุสลิม ที่พึงปฏิบัติต่อมุสลิมด้วยกัน คือการตอบรับสลาม การกล่าว รับผู้ที่จาม การตอบรับคำ�เชิญ การเยี่ยมผู้ป่วย และการส่งศพไปสุสาน” (บันทึกโดยอัลบุคอรีย์) “ไม่ใช่ประชาชาติของเรา สำ�หรับผู้ที่ไม่เมตตาและเอ็นดูต่อเด็กๆ และผู้ที่ไม่ให้เกียรติผู้สูงวัย” (บันทึกโดยอัตติรมิษีย์) การมีมารยาทที่ดีนั้นจะต้องแสดงกับทุกคน ไม่เพียงเฉพาะกับมุสลิมเพียงอย่างเดียวเท่านั้น กับผู้ อื่นที่ไม่ใช่มุสลิมก็ต้องแสดงมารยาทที่ดีด้วยเช่นกัน เพราะมุสลิมเป็นผู้นำ�แห่งความดีงาม จึงสมควรต้อง เป็นตัวอย่างให้ผู้อื่นได้สัมผัสถึงมารยาทและจริยธรรมความดีงาม ของตน ครั้งหนึ่งท่านหญิงอาอิชะฮเล่าว่าได้มีชาวยิวเข้ามาหาท่านนบี และกล่าวว่า “ขอความตายประสบแก่ทา่ น” ฉันได้ยนิ ดังนัน้ จึงตอบไปว่า “ความตายและการสาปแช่งจะประสบ กับพวกเจ้านั่นแหละ” เมื่อท่านนบี ได้ยินเช่นนั้นก็ได้ห้ามอาอิชะฮฺและได้กล่าวว่า “แท้จริงแล้วอัลลอฮ์ เป็นผู้นุ่มนวล และทรงรักความนุ่มนวลในทุกๆ สิ่ง” ฉันกล่าวว่า “ท่านไม่ได้ยินที่พวกเขากล่าวอย่างนั้น หรือ” ท่านนบี ได้ตอบนางว่า “ก็ฉันได้กล่าวแล้วว่า พวกท่านก็เช่นกัน” (บันทึกโดยอัลบุคอรีย์) มารยาทที่ดีคือสิ่งที่ทำ�ให้มุสลิมมีเกียรติ และได้รับผลตอบแทนใหญ่หลวงในวันอะคีเราะฮฺ ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของมุสลิมทุกคน ที่จะต้องรักษามารยาทที่ดีงามให้อยู่กับตัวเองตลอดไป

51


แนวทางในการเสริมสร้างทักษะชีวิตให้กับวัยรุ่น

52


องค์ประกอบทักษะชีวิต 12 ทักษะ องค์ประกอบ / นิยาม 1. การคิดวิเคราะห์ นิ ย าม : ความสามารถในการ วิเคราะห์แยกแยะข้อมูลข่าวสาร ปญ ั หาและ สถานการณ์ต่างๆ อย่างมีจุดหมาย

องค์ประกอบย่อย 1.1 ความสามารถวิเคราะห์และระบุปัญหา 1.2 ความสามารถจำ�แนกหรือเลือกข้อมูล 1.3 ความสามารถสร้างความเข้าใจ และ สร้างข้อสรุป 1.4 ความสามารถตั้งสมมุติฐาน 1.5 ความสามารถอ้างอิงหรือตัดสินข้อสรุป

2. ความคิดสร้างสรรค์ นิยาม : ความสามารถในการคิด ไตร่ตรองหลากหลาย

2.1 ความคิดริเริ่ม 2.2 ความคิดคล่องแคล่ว 2.3 ความคิดยืดหยุ่น 2.4 ความคิดละเอียดลออ

3. ความตระหนักรู้ในตน นิยาม : การรับรูแ้ ละเข้าใจความรูส้ กึ ความคิดและอารมณ์ของตนเองได้ตามความ เป็นจริง และสามารถควบคุมอารมณ์และ ความรู้สึกของตนเองได้

3.1 ความสามารถรูเ้ ท่าทันอารมณ์ของตนเอง 3.2 ความสามารถจั ด การกั บ ความรู้ สึ ก ภายในตนเองได้ 3.3 ความสามารถประเมินตนเองได้ตาม ความเป็นจริง 3.4 การรับรูใ้ นความสามารถและคุณค่าของ ตนเอง

4. ความเห็นใจผู้อื่น นิยาม : การรับรู้และเข้าใจอารมณ์ ความต้องการของผู้อื่นเอาใจเขามาใส่ใจเรา และสามารถแสดงออกอย่างเหมาะสม

4.1 ความสามารถในการเข้าใจและตระหนัก รู้ในความรู้สึกนึกคิดของผู้อื่น 4.2 ความสามารถในการับรู้ คาดคะเน และ ตอบสนองความต้องการของผู้อื่น 4.3 ความสามารถในการส่งเสริมช่วยเหลือผู้ อื่นอย่างเหมาะสม 4.4 การให้โอกาสผู้อื่นในวาระต่าง ๆ

53


องค์ประกอบ / นิยาม 5. ความภูมิใจในตนเอง นิยาม : ความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง รู้สึกว่า ตนเองมีคุณค่า ค้นพบและภูมิใจในความ สามารถด้านต่างๆ ของตน มีความเชื่อมั่น และนำ�สิ่งเหล่านี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อ ตนเองและผู้อื่นได้

5.1 รับรู้คุณค่าของตนเองตามความเป็นจริง 5.2 การเปิดใจกว้างยอมรับสิ่งต่างๆ ตามความ เป็นจริง 5.3 เชื่อมั่นในความสามารถหรือศักยภาพของ ตนเอง 5.4 แสดงพฤติกรรมต่างๆ อย่างเหมาะสม

6. ความรับผิดชอบต่อสังคม นิยาม : ตระหนักว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่ง ของสังคม และพยายามทำ�หน้าที่ให้สำ�เร็จ และได้ผลดี และรับผิดชอบต่อผลที่เกิดขึ้น

6.1 ปฏิบัติตามกฎระเบียบของสังคม 6.2 ให้ความร่วมมือกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ 6.3 การกระทำ�ตามหน้าที่เพื่อประโยชน์ส่วน รวม 6.4 รักษาทรัพยากร หรือสมบัติของส่วนรวม

7.-8. การสร้างสัมพันธภาพและการสือ่ สาร นิยาม : ความสามารถในการติดต่อหรือ สัมพันธ์กับผู้อื่นเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ที่ดี และความสามารถในการแสวงหาความ ร่วมมือ

1) ความสามารถโน้มน้าวและจูงใจผู้อื่น 2) ความสามารถสื่อความที่ดี 3) ความสามารถสร้างความร่วมมือกับผู้อื่น 4) ความสามารถทำ�งานเป็นทีม 5) ความสามารถปรับตัวในสถานการณ์ต่าง ๆ

9.-10. การตัดสินใจและการแก้ปัญหา นิยาม : ความสามารถในการรับรู้ปัญหา สาเหตุ ทางเลือก และลงมือปฏิบัติอย่างถูก ต้อง เหมาะสม

1) ความสามารถรับรู้และเข้าใจปัญหา 2) ตัดสินใจและแก้ไขปัญหาเป็นระบบ ตามขัน้ ตอน 3) ความสามารถสรุปผล และประเมินผลการ ตัดสินใจ 4) ความสามารถแก้ไขปัญหาอย่างยืดหยุ่นและ มีสติ 1) ความสามารถควบคุมอารมณ์และจัดการกับ อารมณ์ของตนเองในเหตุการณ์เฉพาะหน้า 2) ความสามารถผ่ อ นคลายอารมณ์ และมี เทคนิคในการคลายเครียด 3) ความสามารถในการสร้างแนวคิด หรือ กิจกรรมใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำ�เนิน ชีวิต

11.-12. การจั ด การกั บ อารมณ์ แ ละ ความเครียด นิยาม : ความสามารถในการจัดการกับ อารมณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม

54

องค์ประกอบย่อย


ซึง่ ทักษะเหล่านีม้ คี วามส�ำคัญ แต่ทสี่ �ำคัญยิง่ กว่านัน้ คือ การฝึกฝน น�ำไปใช้กบั สถานการณ์ตา่ งๆที่ เกิดขึ้นกับตัวของวัยรุ่นเองหรือคนรอบข้าง เพื่อให้เกิดทักษะที่ถูกต้อง และลด แก้ ปัญหาได้ โดยหลักแล้ว การสัมพันธภาพในอิสลามนัน้ จะส่งเสริม สนับสนุน แต่ตอ้ งอยูใ่ นกรอบของอิสลามในส่วนของเพศสัมพันธ์ ที่ต้องห้าม อิสลามย�้ำอยู่ตลอดและเน้นหนักตั้งแต่จุดเริ่มหรือหนทางซึ่งจะน�ำมาของการผิดประเวณี หรือ ซีนา เช่น การมองเพศตรงข้าม การคบค้าสมาคมกับเพศตรงข้าม การปะปนระหว่างชายหญิง แต่ด้วย สภาพของสังคมปัจจุบันที่วัยรุ่นส่วนใหญ่จะไม่ค่อยเอาใจใส่ในเรื่องนี้มากกนัก จ�ำเป็นต้องมีทักษะชีวิตใน การด�ำเนินชีวิตในสังคม ขอยกมากล่าวในทักษะบางประการ เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้

1. ทักษะสร้างสัมพันธภาพและการสื่อสาร

ทั ก ษ ะ ด้ า น ก า ร ส ร้ า ง สัมพันธภาพและการสื่อสาร คือ ความ สามารถในการใช้ คำ � พู ด และภาษา ท่าทางเพือ่ การสือ่ สารความรูส้ กึ นึกคิด ของตนเอง และความสามารถในการ รับรู้ความรู้สึกนึกคิดของอีกฝ่ายหนึ่ง ไม่ ว่ า จะเป็ น เรื่ อ งการแสดงความ ต้องการ ความชื่นชม การปฏิเสธ การ สร้ า งสั ม พั น ธภาพการสื่ อ สารในหมู่ วัยรุ่นมักจะมีปัญหา และมักจะเกิด ความไม่เข้าใจในการสื่อได้ง่าย ซึ่งใน บางครั้งจะส่งผลกระทบเกิดความขัด แย้ง ความรุนแรงขึ้น ที่สำ�คัญพ่อแม่ ควรที่จะมีวิธีการในการสื่อสารกับลูกหลานด้วยความเข้าใจ ส่วนวัย รุ่นเองก็ควรที่จะพัฒนาทักษะในการสื่อสารที่ดี เกิดสัมพันธภาพที่ดีในครอบครัว สังคมต่อไปด้วย วัยรุ่นควรมีทักษะการสื่อสาร กล้าพูด กล้าบอกความคิด ความรู้สึก และความต้องการ วัยรุ่นบาง คนกลัวเพือ่ นไม่ยอมรับ เลยยอมทำ�ตามเพือ่ น ไม่กล้าปฏิเสธ ถูกเพือ่ นเอาเปรียบ ดังนีว้ ยั รุน่ ควรทำ�ความ รู้ทัก เรียนรู้ในทักษะสื่อสาร การเปิดเผยตนเองและไว้วางใจซึ่งกัน และการสื่อสารที่เข้าใจตรงกัน ซึ่ง ประกอบด้วย ทักษะการฟัง ทักษะการทวนเนื้อหา ทักษะการสะท้อนความรู้สึก และทักษะการถาม 1) การเปิดเผยตนเอง (Self Disclosure) การเปิดเผยตนเอง หมายถึง การเปิดเผยให้ผอู้ นื่ รูถ้ งึ ความรูส้ กึ หรือปฏิกริ ยิ าทีต่ นเองมีตอ่ เหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน การเปิดเผยตนเอง ไม่ได้หมายถึง การบอกถึงประวัติหรือเรื่องราวในอดีตของตนเอง แต่เรือ่ งราวในอดีตก็อาจจะช่วย ให้บคุ คลอืน่ เข้าใจ สาเหตุหรือทีม่ าของความรูส้ กึ ทีเ่ รามีตอ่ เหตุการณ์นนั้ ๆ 55


ประโยชน์ของการเปิดเผยตนเอง การเปิดเผยตนเองมีผลดีต่อการสร้างและคงไว้ ซึ่งสัมพันธภาพระหว่างบุคคลหลายประการ คือ 1. ทำ�ให้ผอู้ น่ื รูจ้ กั เรามากขึน้ เพิม่ โอกาสทีผ่ อู้ น่ื จะชอบและเกิดความคุน้ เคยสนิทสนมมากขึ้น 2. ทำ�ให้สามารถทำ�กิจกรรมที่เป็นเป้าหมายร่วมกัน สนใจร่วมกัน 3. เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของการรับรู้ของตนเองกับผู้อื่น 4. ช่วยในการจัดการกับความเครียดและความทุกข์ 5. การเล่าหรือบอกความไม่สบายใจของตนเองกับผูอ้ นื่ จะช่วยให้เจ้าตัวมองเห็นปัญหาของตนเอง ชัดขึ้น และนอกจากนี้ ความห่วงใย ปลอบโยน ช่วยหาทางออกของเพื่อนจะเป็นกำ�ลังใจ ความอบอุ่นใจ ทำ�ให้สัมพันธภาพของบุคคลทั้งสองเพิ่มความสนิมสนม และลึกซึ้งยิ่งขึ้น ความเหมาะสมของการเปิดเผยตนเอง การเปิดเผยตนเองมากเกินไปหรือน้อยเกินไป มีผลทำ�ให้สญ ู เสียสัมพันธภาพไปได้เช่นกัน การเปิด เผยตนเองที่มีผล ทำ�ให้เกิดสัมพันธภาพที่ดี และยั่งยืนนั้น ต้องมีความเหมาะสมของการเปิดเผย ในโอกาส ดังนี้ 1. เมื่อมีการเปิดเผยตนเองของซึ่งกันและกัน เมื่อบุคคลหนึ่งเปิดเผยตนเอง ก็มีความคาหวังว่าอีก ฝ่ายหนึ่งจะเปิดเผยตนเองด้วย แต่ถ้าการเปิดเผยตนเองเกิดขึ้นฝ่ายเดียว ก็ควรจำ�กัดการเปิดเผยตนเองไว้ ในขอบเขตหนึ่งเท่านั้น 2. การเปิดเผยตนเองควรเกี่ยวข้องกับเรื่องราวระหว่างบุคคลที่เป็นปัจจุบัน 3. ผลของการเปิดเผยตนเองขึ้นกับบุคคลอีกฝ่ายหนึ่งด้วย การเปิดเผยความรู้สึกของตนเองของ ฝ่ายหนึง่ อาจกระทบกระเทือนอีกฝ่ายหนึง่ ได้ ดังนัน้ จึงควรพิจารณาทัศนคติในมุมมองของอีกฝ่ายหนึง่ ทีม่ ี ต่อการเปิดเผยตน เองด้วย 4. การเปิดเผยตนเองควรเริม่ ต้นจากระดับทัว่ ๆไปแล้วค่อยๆไปสูก่ ารเปิดเผยตนเองใน ระดับทีล่ กึ หรือเป็นส่วนตัวมากขึ้นเรื่อยๆ เช่น อาจจะเริ่มต้นจากการพูดถึง งานอดิเรก กีฬาที่ชอบ เหตุการณ์ปัจจุบัน ทีส่ นใจ แล้วเมือ่ มิตรภาพดำ�เนินไป มีความคุน้ เคยมากขึน้ แล้ว การเปิดเผยตนเองจะค่อยๆไปสูเ่ รือ่ งใกล้ตวั และเกี่ยวกับความรู้สึกที่ลึกซึ้ง มากขึ้น เช่น การเปิดเผยตนเองเกี่ยวกับความกลัว ความรัก ซึ่งการเปิดเผย ในสิ่งเหล่านี้เมื่อสัมพันธภาพมีความใกล้ชิดกันแล้ว ก็จะยิ่งเพิ่มความลึกซึ้งในสัมพันธภาพยิ่งขึ้น 2) ความไว้วางใจ (Trust) และความน่าไว้วางใจ (Trustworthy) ความไว้วางใจ เป็นสิง่ จำ�เป็นสำ�หรับการพัฒนาสัมพันธภาพระหว่างบุคคลให้งอกงาม สัมพันธภาพ ระหว่างบุคคล ความไว้วางใจซึง่ กันและกันมีระดับ ทีเ่ หมาะสมตามโอกาสและสถานการณ์ การไม่ไว้วางใจ เลย และไว้วางใจในทุกโอกาส เป็นการไว้วางใจที่ไม่เหมาะสมความไว้วางใจเกิดขึ้น เมื่อบุคคลเต็มใจที่จะ เสี่ยงต่อผลที่จะเกิดขึ้น จากการเปิดเผยตนเองเกี่ยวกับความคิด ความรู้สึก ทัศนคติ และปฏิกิริยาที่เขามี ต่อเหตุการณ์ต่างๆ ความน่าไว้วางใจ จะเกิดขึ้นต่อเมื่อบุคคล ทำ�ให้ผู้อื่นมั่นใจว่าเขาได้รับประโยชน์จากการเสี่ยงเปิด เผยตนเอง บุคคลที่จะได้รับความไว้วางใจ คือ บุคคลที่แสดงออกถึงการยอมรับ การช่วยเหลือสนับสนุน 56


และให้ความร่วมมือกับผู้อื่น การแสดงออกถึงการยอมรับ จะช่วยให้อกี ผูอ้ นื่ ลดความรูส้ กึ กลัวและความกังวลต่อความอ่อนแอ ของเขาเอง และทำ�ให้กล้าเปิดเผยตนเองมากขึ้น ความไว้วางใจ เป็นสิ่งที่ก่อเกิดขึ้นจากลำ�ดับขั้นตอนของการกระทำ�ของทั้งสองฝ่าย ดังนี้ 1. เมื่อบุคคลหนึ่งเสี่ยงที่จะเปิดเผยความคิด ความรู้สึก และปฏิกิริยาต่ออีกบุคคลหนึ่ง 2. อีกฝ่ายหนึ่งตอบสนองด้วยการยอมรับ การช่วยเหลือสนับสนุน และให้ความร่วมมือต่อผู้ที่ เปิดเผย และมีการเปิดเผยตนเองตอบ (ซึ่งกันและกัน) การทำ�ลายความไว้วางใจ ความไม่ไว้วางใจ เกิดขึ้นได้ง่าย เพียงแต่บุคคลรู้สึกว่าอีกฝ่ายหนึ่งหลอกลวงแม้แต่เพียงครั้งเดียว ความไว้วางใจต่อกัน ก็จะเปลี่ยนเป็น ความไม่ไว้วางใจ ซึ่งความรู้สึกไม่ไว้วางใจนี้เป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้ ยาก เพราะบุคคลจะเกิดการรับรู้ว่า การหลอกลวง อาจเกิดขึ้นอีกในอนาคต พฤติกรรมที่ทำ�ให้ความรู้สึกไว้วางใจลดลง ได้แก่ 1. การปฏิเสธ เยาะเย้ย เห็นเป็นเรื่องน่าขำ� หรือตลก และไม่ให้เกียรติ เมื่ออีกฝ่ายหนึ่งเปิดเผย ตนเอง 2. การไม่เปิดเผยตนเองตอบ เมือ่ ฝ่ายหนึง่ เปิดเผยตนเอง การทีฝ่ า่ ยหนึง่ เปิดเผยตนเองแต่อกี ฝ่าย หนึง่ ปิดตนเอง จะทำ�ให้ฝา่ ยทีเ่ ปิดเผยตนเองเกิดความไม่ไว้วางใจและรูส้ กึ ว่าตนเองเปิดเผยมาก เกินไปและ ไม่มั่นใจที่จะเปิดเผยต่อไป 3. การปฏิเสธที่จะเปิดเผยเกี่ยวกับความคิด ความรู้สึก ของตนเอง เมื่ออีกฝ่ายหนึ่งแสดงการ ยอมรับ เต็มใจที่จะช่วยเหลือและร่วมมือ การตอบสนองการยอมรับ ความเต็มใจที่จะช่วยเหลือและร่วม มือของอีกฝ่ายหนึ่งด้วยการปกปิดและระมัด ระวังตัวที่จะเปิดเผย จะทำ�ให้อีกฝ่ายหนึ่งรู้สึกว่าตนเองไม่ได้ รับความเชื่อถือและถูกปฏิเสธ ความเหมาะสมของความไว้วางใจผู้อื่น คำ�ถามที่มักเกิดขึ้นในสัมพันธภาพระหว่างบุคคลเสมอ คือ เราสามารถไว้วางใจทุกคนและในทุก สถานการณ์หรือไม่ ความไว้วางใจในผู้อื่นเป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาตามความเหมาะสมตามบุคคลและ สถานการณ์ การไว้วางใจทีไ่ ม่เหมาะสมอาจจะทำ�ให้เกิดผลเสียขึน้ ได้ แต่การไม่ไว้วางใจใครเลยก็เป็นความ ไม่เหมาะสมเช่นกัน การพิจารณาความเหมาะสมของความไว้วางใจ สามารถพิจารณาได้จาก การเปรียบเทียบความ มั่นใจในการเสี่ยงระหว่างการได้รับประโยชน์หรือผลดีจาก การไว้วางใจและผลเสียที่อาจเกิดขึ้น 3) ทักษะการสื่อสารความเข้าใจ ทักษะการสื่อสารความเข้าใจ หมายถึง ความสามารถในการแสดงออกที่สื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจได้ ถูกต้องชัดเจน ทำ�ให้เกิดความเข้าใจ ต่อกัน และสานต่อเรื่องราวที่สื่อสารระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร ซึ่ง เป็นสิง่ สำ�คัญของการสร้างสัมพันธภาพทีด่ ตี อ่ กัน ได้แก่ ทักษะการฟัง การทวนเนือ้ ความ การสะท้อนความ รู้สึก และการถามคำ�ถาม ในขณะเดียวกันผู้รับสารจะรับสารได้ถูกต้องตรงกับที่ผู้ส่งสารเจตนาจะสื่อ ผู้รับ 57


สารก็จะต้องคำ�นึงถึงปัจจัยบางประการด้วยเช่นกัน สิ่งที่ผู้รับสารควรพิจารณาในการรับสาร 1. มุมมองของผู้ส่งสาร 2. ความหมายของสารในมุมมองหรือเจตนาของผู้ส่งสาร ทักษะการฟัง (Listening skill) การฟั ง เป็ น ทั ก ษะพื้ น ฐานที่ สำ � คั ญ ในการสร้ า ง สัมพันธภาพระหว่างบุคคล การที่จะโต้ตอบกับคู่สนทนา หรือผู้ส่งสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพียงใดนั้น ต้องเริ่ม จากการฟังที่มีประสิทธิภาพก่อนการฟังที่มีประสิทธิภาพ หมายถึง การฟังทีส่ ามารถเข้าใจถึงสาระสำ�คัญทีผ่ สู้ ง่ สารสือ่ ออกมาได้ สาระสำ�คัญที่ผู้ส่งสารสื่อออกมา สามารถสื่อได้ 2 ช่องทาง คือ 1. สือ่ สารโดยการใช้วาจาหรือถ้อยคำ� สารทีส่ อื่ โดยผ่านถ้อยคำ�ส่วนใหญ่จะเป็นสาระทีเ่ ป็นเนือ้ หา ผู้ฟังจึงควรจับใจความของเนื้อหา ให้ได้ 5 ประเด็นหลัก คือ ใคร ทำ�อะไร ที่ไหน เมื่อไร และอย่างไร 2. สื่อสารโดยการผ่านทางน�้ำเสียง สีหน้าและท่าทาง สารที่สื่อผ่านน�้ำเสียง สีหน้าและท่าทาง มักจะเป็นสารที่บ่งบอกถึงความรู้สึกของผู้ส่งสาร เช่น ความจริงจัง ความสนุกสนาน ดีใจ เสียใจ เป็นต้น การที่จะจับสาระส�ำคัญจากผู้ส่งสารให้ได้ถูกต้อง จะต้องอาศัยสารที่ได้จากการฟังเนื้อหา และ สารที่ได้จากการสังเกตน�้ำเสียง สีหน้า และท่าทางประกอบกัน เพื่อจะได้เข้าใจความหมายที่แท้จริงของ สารทีผ่ สู้ ง่ สารเจตนาจะสือ่ หรือหรือพยายามทีจ่ ะหลบซ่อน กลบเลือ่ นด้วยการใช้ถอ้ ยค�ำทีไ่ ม่ตรงกับใจ แต่ มักปิดบังไม่ได้จากสีหน้าและท่าทาง ดังนั้นทักษะการฟังที่มีประสิทธิภาพ จึงต้องอาศัยการใส่ใจ และการ สังเกตในขณะเดียวกัน การใส่ใจ (Attending) การใส่ใจ หมายถึง การแสดงถึงความสนใจ การให้ความสำ�คัญ และให้เกียรติต่อคู่สนทนาหรือ บุคคลที่มีความสัมพันธ์ต่อกัน อุปสรรคของการสื่อสารความเข้าใจ สิง่ ทีเ่ ป็นอุปสรรคของการสือ่ สารความเข้าใจ ทีท่ �ำ ให้เกิดความไม่เข้าใจกัน หรือเกิดความเข้าใจผิด ต่อกันในการสื่อสารที่สำ�คัญ คือ การมีอคติหรือใช้ทัศนคติ ความเชื่อส่วนตัวเข้าไปตีความสาระสำ�คัญที่รับ รู้จากการฟังหรือการเห็น เพราะอคติและทัศนคติส่วนตัว จะทำ�ให้เกิดการเลือกรับรู้สารเพียงบางส่วน แทนที่จะรับรู้สารทั้งหมด แล้วตีความตามการรับรู้ที่เลือกแล้วของตน การเลือกรับรูเ้ ป็นอุปสรรคของการฟังและการตอบสนองในการสือ่ สารระหว่างบุคคลทีเ่ กิดขึน้ ส่วน ใหญ่นั้น มีความซับซ้อนของสารที่สื่อต่อกัน ทั้งที่เป็นสารที่สื่อในรูปของวาจาหรือการใช้ท่าทาง ผู้รับสาร จึงมักเลือกรับรู้สารเพียงบางส่วน ของสารทั้งหมดที่ผู้ส่งสารสื่ออกมา ซึ่งปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกรับ รู้ของบุคคล ได้แก่ ความคาดหวัง ความต้องการ ทัศนคติ และความเชื่อของผู้รับสาร ทำ�ให้เกิดการเห็น 58


หรือการได้ยินเป็นไปตามสิ่งที่ผู้รับสารคิดหรือคาดหวัง แทนที่จะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริง การแก้ไขเพือ่ ลดการเกิดการเลือกรับรูใ้ นการสือ่ สาร สามารถทำ�ได้โดยการเข้าใจมุมมองของผูอ้ นื่ ทีเ่ กีย่ วข้องในการสือ่ สารนัน้ ๆ การเข้าใจมุมมองของผูอ้ นื่ ข่าวสารหรือข้อความการสือ่ สารเดียวกันอาจจะ ถูกตีความและเข้าใจแตกต่างกันไป ตามมุมมองของผู้รับสาร การเข้าใจผิดต่อกัน ในการสื่อสารจึงมักจะ เกิดขึ้น จากการที่ผู้ส่งสารก็มักจะคิดว่า ทุกคนจะมีมุมมองและคิดเข้าใจเช่นเดียวกันกับตน ทั้งที่ในสภาพ การณ์ทเี่ ป็นจริงแล้ว สารทีบ่ คุ คลแต่ละคนรับไปจะถูกตีความและให้ความหมายแตกต่างกัน ไปตามมุมมอง ของบุคคลนั้นๆ สิ่งที่ผู้สื่อควรพิจารณาในการส่งสารคือ 1. มุมมองของผู้รับสาร 2. ข้อมูลพื้นฐานหรือข้อมูลเก่า เกี่ยวกับสิ่งที่จะสื่อที่ผู้รับสารมีอยู่ก่อนแล้ว 3. สิ่งที่ผู้รับสารสนใจและต้องการทราบเกี่ยวกับเรื่องที่จะสื่อ บุคคลจะรับรู้ความใส่ใจของอีกฝ่ายหนึ่งได้ 2 ทาง คือ 1. ภาษาท่าทาง ได้แก่ การสบตา การพยักหน้า และการโน้มตัวเข้าหาผูพ้ ดู ในระยะห่างทีพ่ อเหมาะ 2. ภาษาพูด ได้แก่ การตอบรับ (ค่ะ ครับ) การทวนเนื้อความ การสะท้อนความรู้สึก และการถาม คำ�ถาม การทวนเนื้อความ (Restatement) การทวนเนือ้ ความ เป็นการพูดทบทวนในเนือ้ หาทีเ่ ราฟังจากคูส่ นทนา ซึง่ ต้องอาศัยความรอบคอบ ในการพูดทวนเนื้อความให้ถูกต้อง เพื่อเป็นการแสดงให้คู่สนทนารู้ว่า เราสนใจและเข้าใจในสิ่งที่คู่สนทนา พูด และยังเป็นการตรวจสอบความเข้าใจในสิ่งที่สนทนากัน ซึ่งหากมีการเข้าใจผิด การพูดทวนเนื้อความ ยังเป็นโอกาสของการอธิบายเพิ่มเติมให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ตัวอย่าง: “เพื่อนๆ ชอบพูดล้อเล่นเรื่องรูปร่างของฉัน ฉันไม่ชอบเลยนะ ที่เอาเรื่อง อ้วนๆ ของฉัน มาเป็นเรื่องตลก” การทวนเนื้อความ : “เธอไม่ชอบที่เพื่อนเอาเรื่องรูปร่างของเธอมาล้อเล่น” การสะท้อนความรู้สึก การสะท้อนความรู้สึก เป็นการจับความรู้สึกของคู่สนทนาจากการสนทนา ซึ่งอาจเข้าใจได้จาก เนื้อหาที่สนทนา และการสังเกตสีหน้า กริยาท่าทาง และน้ำ�เสียงของคู่สนทนา การสะท้อนความรู้สึก เป็นการแสดงให้คสู่ นทนารูว้ า่ เราเข้าใจเขาในความรูส้ กึ ของเขา ซึง่ เป็นความเข้าใจในระดับทีล่ กึ ซึง้ กว่า เนือ้ ความที่เขาสนทนาโดยตรง ตัวอย่าง: “ถ้าเพียงแต่แม่บอกตรงๆ ว่า ไม่อยากให้ฉันซื้อของชิ้นนี้ตั้งแต่แรก ฉันก็คงไม่ต้องสู้ อุตส่าห์เก็บเงินและตั้งความหวังไว้มากอย่างนี้” การสะท้อนความรู้สึก : “เธอผิดหวังมาก เมื่อแม่บอกไม่ให้ซื้อ” การถามคำ�ถาม การถามคำ�ถาม เป็นทักษะสำ�คัญที่ช่วยให้คู่สนทนาได้บอกถึงเรื่องราว ความคิด และความรู้สึก ต่างๆ 59


คำ�ถาม แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1. คำ�ถามปิด เป็นคำ�ถามที่ถามเพื่อให้ผู้ตอบเลือกตอบอย่างใดอย่างหนึ่ง ตอบว่าใช่ หรือ ไม่ใช่ ตอบว่า ถูก หรือ ผิด มีลักษณะเป็นการซักถามที่ได้คำ�ตอบเพียงสั้นๆ 2. คำ�ถามเปิด เป็นคำ�ถามที่ไม่ได้กำ�หนดขอบเขตของการตอบ ผู้ตอบมีโอกาสพูดถึงความคิด ความรูส้ กึ และสิง่ ต่างๆตามความต้องการของตน ซึง่ ผูพ้ ดู จะพูดได้เต็มทีแ่ ละสะดวกใจ เช่นคำ�ถามอะไร และ อย่างไร ตัวอย่าง : คำ�ถามปิด- คุณคิดว่า สมพลเป็นคนไม่จริงใจใช่ไหม คำ�ถามเปิด- คุณคิดอย่างไรกับการกระทำ�ของสมพล มารยาทในการพูด/สนทนา 1. อย่าพูดในสิ่งที่ไม่ได้ปฏิบัติ เพราะอัลลอฮ์ทรงรังเกียจผู้ที่พูดแต่เข้าไม่ปฏิบัติ 2. ต้องมีความซื่อสัตย์ต่อคำ�พูดและการกระทำ� 3. พูดจาด้วยความสุภาพ แม้ต่อผู้ที่อธรรม 4. อนุญาตให้มีการพูดเล่นได้บ้างแต่ต้องไม่มากจนเกินความและต้องไม่กล่าวคำ�เท็จออกมา 5. สนทนากับผู้คนด้วยภาษาที่ง่ายต่อการเข้าใจ 6. การพูดจาน้อยๆ เป็นส่วนหนึ่งของอีมาน ส่วนการพูดโม้โอ้อวดเป็นส่วนหนึ่งของซีฟัตมุนาฟิก 7. พูดในสิ่งที่ตนรู้ ไม่จำ�เป็นต้องพูดทุกอย่างที่รู้ 8. อย่าถามมากเกินไปในสิ่งที่ไม่จำ�เป็นต้องรู้ 9. อย่าพูดเสียงดังหรือค่อยเกินไป 10.การสงบนิ่ง (งดพูดจา) เป็นอิบาดะฮฺ 12. ไม่ควรสรรเสริญบุคคลต่อหน้าเนือ่ งจากท่านนบี เคยกล่าวว่า การเชือดเฉือนบุรษุ หนึง่ ก็คอื การที่ท่านสรรเสริญเขาต่อหน้านั่นเอง คำ�พูดที่ต้องห้าม 1) ห้ามโกหก จะโกหกได้ก็ต้องอยู่ในเงื่อนไขดังต่อไปนี้ - ในสงคราม - เพื่อปรองดองระหว่างคู่กรณี - เพื่อรักษาความรักความอบอุ่นระหว่างสามีภรรยา (หะดีษบันทึกโดยมุสลิม) 2) ห้ามการด่าทอกัน 3) ห้ามบุคคลสองคนกล่าวตำ�หนิติเตียนกัน 4) อย่าใช้ถ้อยคำ�ที่หยาบคายไม่สุภาพ เพราะคำ�เหล่านั้นจะทำ�ให้หัวใจแข็งกระด้าง หัวใจแข็ง กระด้างจะโน้มนำ�ไปสู่การทำ�บาป และบาปกรรมจำ�นำ�ไปสู่ไฟนรก

60


2. ทักษะการต่อรอง

ในสถานการณ์ที่มีความสุ่มเสี่ยงของการจะนำ�ไปสู่การมีเพศ สัมพันธ์ (ซีนา) เช่น การพูดคุยทางโทรศัพท์ ที่มีการหลอกหล่อ เกี้ยวพา ราศี(จีบ) เป็นต้น หรือจะเป็นสถานการณ์ทเี่ มือ่ ชายหญิงอยูร่ ะหว่างกันสอง ต่อสอง ทักษะการต่อรองจะเป็นทักษะหนึ่งที่สามารถจะยับหยั่งมิให้เกิด เหตุการณ์นั้นได้ ดังนัน้ การต่อรองเป็นทักษะทีจ่ �ำ เป็นทีต่ อ้ งฝึกปฏิบตั ิ หากการต่อ รองมีทา่ ว่าจะไม่ส�ำ เร็จ ให้พยายามรีบหาทางออกจากเหตุการณ์ทเี่ สีย่ งนัน้ หรือร้องขอความช่วยเหลือโดยเร็วทีส่ ดุ การมีสติเป็นเรือ่ งทีส่ �ำ คัญ ขณะเผชิญปัญหาต่างๆ ข้อที่สำ�คัญที่สุด คือ พยายามหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง ไม่ควรประมาท หรืออยากลอง การใช้เทคนิค “การฝึกทักษะการต่อรอง” 1) ให้ข้อเสนอที่จะเกิดผลดีทั้งสองฝ่าย 2) บอกปัญหาและข้อที่วิตกกังวล 3) ถามความรู้สึกของคู่ต่อรอง 4) บอกข้อเสนอที่เกิดผลดีกับคู่ต่อรอง 5) บอกข้อเสนอที่จะเกิดผลเสียต่อผู้ใหญ่ที่เคารพรัก 6) รีบสรุปหาทางเลือกตัดสินใจ

3. ทักษะการปฏิเสธ

เมือ่ สถานการณ์การต่อรองได้ผลแล้ว หรือไม่ได้ผล จ�ำเป็นต้องมีการจบด้วยการปฏิเสธ เพือ่ เป็นการ ยุติ หรือยับหยั่งทางที่จะน�ำสู่การจะเกิดปัญหาเพลี่ยงพล�้ำได้ง่าย อาจถึงขั้นการมีเพศสัมพันธ์ หรือการเกิด ฟิตนะฮ์อื่นๆ ตามมา สถานการณ์ต่อไปนี้ที่วัยรุ่นควรหลีกเลี่ยง 1) การวางตัว ควรระมัดระวังไม่ให้อกี ฝ่ายหนึง่ เกินเลยได้งา่ ย เช่น การเล่นโดยการถูกเนือ้ ต้องตัว เพราะฝ่ายหญิงค่อนข้างเสียเปรียบ กว่าฝ่ายชาย 2) หลีกเลีย่ งการจับมือ การปล่อยให้เพือ่ นขยีผ้ ม ตีหวั เราต้อง รู้จักดูแลร่างกายของเรา ไม่ ปล่อยให้ใครๆ มาสัมผัสได้โดยง่าย แม้จะ เป็นเพื่อนสนิท ครู หรือญาติพี่น้อง 3) ไม่ควรอยู่ในที่ลับตาคนสองต่อสองกับเพื่อนต่างเพศ หาก จำ�เป็นควรชวนคนอื่นอยู่เป็นเพื่อนด้วย 4) เมื่อชวนเพื่อนไปบ้าน ไม่ควรให้เพื่อนชายขึ้นมาอยู่บนห้องนอนของเพื่อนหญิง เพราะถือเป็น ห้องส่วนตัวและไม่เหมาะสม 5) การพูดคุยโทรศัพท์ เพื่อนชายจะหัดใช้คำ�หวานๆ ฝ่ายหญิงมักจะอ่อนไหวง่าย ควรหัดปฏิเสธ และตัดบท หากเพื่อนชายพูดแสดงเจตนาไม่เหมาะสม 61


6) ผู้หญิงไม่ควรไปบ้านเพื่อนชายคนเดียว เพราะพ่อแม่ฝ่ายชายอาจตีความไปในทางที่ไม่ดี หาก จำ�เป็นควรมีเพื่อนไปหลายๆ คน 7) การร่วมงานกินเลี้ยงในหมูเ่ พือ่ นๆ ไมควรลองดื่มเครื่องดืม่ ที่ผสมแอลกอฮอล์ หรือลองสารเสพ ติด เพราะทำ�ให้ขาดสติและควบคุมตนเองไม่ได้ 8) การไปดูภาพยนตร์กับเพื่อนต่างเพศ ไม่ควรไปสองต่อสอง หากจะไปดูควรไปดูกันหลายคน การใช้เทคนิค “การฝึกทักษะปฏิเสธ” 1. แสดงความรู้สึกที่แน่ชัดของตัวเอง ถึงการไม่ยอมรับในสิ่งที่ถูกนำ�เสนอ 2. แสดงเหตุผลของการปฏิเสธและความรู้สึกอย่างชัดเจนที่จะไม่ปฏิบัติตาม 3. ปฏิเสธอย่างจริงจังทั้งค�ำพูด น�้ำเสียง และท่าทาง 4. ใช้สายตาโดยจ้องมองไปที่ตาของอีกฝ่ายหนึ่ง 5. ขอฟังความคิดเห็นของฝ่ายชักชวน 6. แสดงความขอบคุณเมื่อผู้ชวนยอมรับ (ช่วยรักษาน�้ำใจของผู้ชวน) 7. ใช้การต่อรอง การยืดเวลา หรือหากิจกรรมอื่นมาทดแทน 8. ตั้งสติให้มั่น ไม่ควรหวั่นไหวกับค�ำพูด ควรยืนยันโดยปฏิเสธซ�้ำ และหาทางเลี่ยงจากเหตุการณ์ ไปโดยเร็วที่สุด ตัวอย่างคำ�พูดเพื่อ “การปฏิเสธ” “ไม่เอา เราไม่อยากลอง ไปเตะบอลกันดีกว่า” “ฉันเสียใจ ฉันไม่ต้องการ” “อย่านะ ฉันจะตะโกนให้ลั่นเลย” “ฉันไม่ต้องการ ฉันยังไม่พร้อม”

4. ทักษะการคิดวิเคราะห์

สังคมโลกปัจจุบนั ทีก่ �ำ ลังเสือ่ ม สลายทางวัฒนธรรม จริยธรรม ซึ่งบาง อย่างจะเป็นสิง่ ทีจ่ อมปลอม หลอกลวง วั ย รุ่ น เป็ น ผู้ ที่ ต้ อ งการความท้ า ทาย อยากลอง อยากรู้ หากไม่ มี ก ารคิ ด แยกแยะ จำ�แนก ก็จะต้องในภาวะสุ่ม เสี่ยงโดยเฉพาะในเรื่องพฤติกรรมทาง เพศ เทคนิคการคิดเชิงวิเคราะห์ เป็นเครื่องมือ ให้สามารถจำ�แนก, แยกแยะ, จัดหมวดหมู่, องค์ประกอบ ที่เกี่ยวพันในเรื่องที่กำ�ลังคิดอย่างเป็นระบบ สามารถทำ�ให้ผู้คิดมองเห็นความสัมพันธ์ได้อย่างสอดคล้อง และกระจ่างชัด โดยไม่ท�ำ ให้เกิดความสับสน โดยมีเป้าหมายเพือ่ ให้ผคู้ ดิ สามารถนำ�ไปตีความ หรือให้คณ ุ ค่า ในเนื้อหาเหล่านั้นได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ� ความสามารถในการคิดเชิงวิเคราะห์นั้น มีความจำ�เป็นต่อการ ดำ�เนินชีวิตประจำ�วันของวัยรุ่นเป็นอย่างมาก 62


การทีบ่ คุ คลใดจะสามารถคิดเชิงวิเคราะห์ทดี่ หี รือไม่นนั้ มีองค์ประกอบทีส่ ำ�คัญ 4 ประการ คือ 1) ความสามารถในการตีความ หมายถึง ความพยายามที่จะทำ�ความเข้าใจและให้เหตุผลแก่สิ่ง ที่เราต้องการจะวิเคราะห์ เพื่อแปลความหมายสิ่งที่ไม่ปรากฏของสิ่งนั้น ซึ่งแต่ละคนอาจใช้เกณฑ์ต่างกัน เช่น จากความรู้เดิม จากประสบการณ์ หรือจากข้อเขียนของคนอื่น 2) ความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่จะวิเคราะห์ ผู้วิเคราะห์จะต้องมีความรู้ ความเข้าใจใน เรื่องที่จะ วิเคราะห์ดีพอเสียก่อนไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นการใช้ ความรู้สึกส่วนตน 3) ความช่างสังเกต ช่างสงสัยและช่างถาม คุณสมบัติข้อนี้จะช่วยให้ผู้วิเคราะห์ได้ข้อมูลมาก เพียงพอก่อนที่จะวิเคราะห์ 4) ความสามารถในการหาความสัมพันธ์เชิงเหตุผล โดยเริ่มจากการแจกแจงข้อมูลเพื่อให้เห็น ภาพรวมเสียก่อน จากนั้นจึงคิดหาเหตุผลเชือ่ มโยงสิ่งทีเ่ กิดขึ้นเพือ่ ค้นหาความจริง และจะมีคณ ุ สมบัตดิ งั นี้ 1. เป็นผู้ที่รับข้อมูลแล้วไม่ด่วนสรุป ผู้คิดจะต้องตีความข้อมูลที่ได้ให้กระจ่างเสียก่อน ตรวจสอบ ความสัมพันธ์เชิงเหตุผล ในปัจจุบันคนในสังคมจำ�นวนไม่น้อยกำ�ลังถูกหลอกให้หลงเชื่อสิ่งที่ไม่มีเหตุผล 2. เป็นผู้ไม่ด่วนแก้ปัญหา แต่มีการตรวจสอบให้แน่ชัดว่าปัญหาที่แท้จริงคืออะไรเสียก่อน อาจใช้ เทคนิคการถามว่าทำ�ไมไปเรื่อยๆ อย่างน้อย 5 คำ�ถาม 3. เป็นนักตั้งคำ�ถามเชิงวิเคราะห์ที่ดี ซึ่งอาจเป็นคำ�ถามในลักษณะต่อไปนี้ (1) คำ�ถามแบบ “มันคืออะไร” “ใครเกี่ยวข้องบ้าง” “มันเกิดที่ไหน” “มันเกิดเมื่อไร” “ทำ�ไมจึงเกิดขึ้น” “มันเป็นอย่างไร” (2) คำ�ถามเชิงเงื่อนไข (Conditions) โดยถามในลักษณะ “ถ้า…….จะเกิด……….” เช่น “ถ้าเราไปกับเขา(ผู้หญิง) ที่มืดๆ โดยไม่มีใครรู้ จะเกิดอะไร จะบาปไหม” (3) คำ�ถามเกี่ยวกับจำ�นวน (Number) หรือ ความถี่ (frequencies) เช่นเหตุการณ์ใน ลักษณะนี้เกิดขึ้นกี่ครั้งแล้ว หรือมีความถี่แค่ไหน (4) คำ�ถามเกี่ยวกับลำ�ดับความสำ�คัญ (Priority) เช่น เราควรทำ�อะไรก่อน-หลัง (5) คำ�ถามเชิงเปรียบเทียบ (Comparative) เช่น สุขภาพกับความสุขอะไรสำ�คัญกว่ากัน การคิดเชิงวิเคราะห์เป็นทักษะอย่างหนึ่ง และมีความสำ�คัญในการดำ�เนินชีวิตประจำ�วัน ดังนั้น การจะพัฒนาได้นั้น ควรพัฒนานิสัยการคิดในชีวิตประจำ�วันให้เคยชินที่จะกระทำ� สิ่งต่างๆ ต่อไปนี้ (1) ช่างสังเกต ช่างสงสัย และใคร่คราญ (2) ช่างซักไซ้ ช่างซักถาม ช่างแจกแจง (3) ช่างสืบค้น ช่างสะสม ช่างเรียนรู้ (4) ช่างคิด ช่างวิเคราะห์ ไม่อ้างว่าไม่มีเวลาคิด (5) ช่างคิดให้รอบคอบ และคิดให้ทะลุปรุโปร่ง นั่นเอง

63


5. ทักษะการตัดสินใจและแก้ปัญหา

การตัดสินใจเป็นทักษะสำ�คัญอย่างหนึ่งในการดำ�เนินชีวิต ที่วัยรุ่นจำ�เป็นต้องเรียนรู้และฝึกฝน ควรรู้จักตัดสินใจอย่างเป็นขั้นตอน อยู่บนฐานข้อมูลที่เป็นจริงและชัดเจน จึงจะช่วยทำ�ให้การตัดสินใจที่มี ประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด การตัดสินใจ หมายถึง การเลือกทาง ปฏิบัติ ซึ่งมีอยู่หลายทาง เป็นแนวทางปฏิบัติไป สู่เป้าหมายที่วางไว้ อาจเป็นการตัดสินใจกระทำ� สิง่ ใดสิง่ หนึง่ หรือหลายสิง่ หลายอย่าง การตัดสิน ใจมักเกี่ยวข้องกับปัญหาที่ยุ่งยากสลับซับซ้อน และมีวิธีการแก้ปัญหามากกว่าหนึ่งอยู่เสมอ ผู้ ตัดสินใจต้องเลือกปฏิบัติเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย อย่างดีที่สุดและเกิดผลสูงสุด การตัดสินใจเป็นสิทธิขนั้ พืน้ ฐานทีต่ ดิ ตัว เรามาตัง้ แต่เกิด เพียงแต่ในวัยเด็กเรายังตัดสินใจ ด้วยตนเองไม่ได้ แต่เมื่อเข้าสู่วัยรุ่น มีความเจริญเติบโตทั้งทางร่างกายและจิตใจ เราต้องเริ่มเรียนรู้ที่จะ ตัดสินใจในสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง ยิ่งถ้าเราเป็นผู้ใหญ่มากขึน้ เราก็ยง่ิ ต้องตัดสินใจในเรือ่ งสำ�คัญๆ ในชีวติ และ ไม่สามารถใช้อารมณ์มาตัดสินใจเหมือนในวันเด็กอีกต่อไป การตัดสินใจทีด่ ี ควรเริม่ ต้นด้วยการแสวงหาข้อมูลเปรียบเทียบ หาเหตุผลหลายๆ ด้านมาประกอบ ไม่ควรตัดสินใจเพราะคนส่วนใหญ่ทำ�เช่นนั้น หรือตัดสินใจด้วยอารมณ์ การตัดสินใจเรื่องเพศสัมพันธ์ก็เช่นกัน ไม่ใช่สิ่งที่เราควรกระทำ�ตามอย่างกัน โดยปราศจากการ ทบทวนคิดไตร่ตรองอย่างรอบคอบ หากเพื่อนของเราหรือคนที่อยู่ในวัยไล่เลี่ยกับเรา คบเพศตรงข้ามเป็น แฟน เป็นคนรัก โดยไม่ได้มีการแต่งงาน หรือมีเพศสัมพันธ์กับคนรัก ก็ไม่จำ�เป็นที่เราจะต้องตัดสินใจทำ� ตามอย่างเพื่อน เพราะการตัดสินใจเรื่องเพศเป็นเรื่องของแต่ละคน คนจำ�นวนมากไม่มีหลักเกณฑ์ที่แน่นอนในการตัดสินใจในเรื่องการสร้างสัมพันธ์กับต่างเพศ หรือ มีเพศสัมพันธ์ วัยรุน่ บางคนก็เอาอย่างคนวัยเดียวกันเป็นเกณฑ์ บางคนก็เอาความต้องการของตนเองเป็น เกณฑ์ บางคนก็ไม่เห็นด้วยกับค่านิยมทีพ่ อ่ แม่หรือผูใ้ หญ่ปลูกฝังมา บางคนก็ไม่สนใจกฎเกณฑ์ของครอบครัว วัยรุ่นจำ�เป็นจะต้องรู้จักตนเอง รู้จักประเมินตนเองว่าหากเกิดการมีเพศสัมพันธ์แล้วจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง เพื่อช่วยในการตัดสินใจมีดังนี้ (1) การกระทำ�เช่นนี้จะมีผลอย่างไรในอนาคต (2) จะมีผลกระทบต่อการเรียนหรือไม่ (3) คนทั่วไป หรือมุสลิมเรา ทำ�หรือควรทำ�ในสิ่งนี้หรือไม่ (4) จะมีผลกระทบต่อครอบครัวหรือไม่ (5) มีการเกิดโรคติดต่อหรือไม่ (6) พร้อมที่จะแก้ปัญหาต่อผลกระทบต่างๆ ที่จะตามมาหรือไม่ 64


การแสวงหาความช่วยเหลือจากผู้อื่นเมื่อเกิดปัญหา เมื่อวัยรุ่นมีปัญหาและแก้ปัญหาของตนเองไม่ได้ หรือไม่แน่ใจว่าการแก้ปัญหาด้วยตนเองจะถูก ต้องหรือไม่ หรือต้องการคำ�แนะนำ�จากประสบการณ์ของผูท้ เี่ คยผ่านร้อนผ่านหนาวมาก่อน ก็ควรขอความ ช่วยเหลือปรึกษาพ่อแม่เป็นอันดับแรก เพราะจะเป็นคนที่รักเราอย่างแท้จริง พร้อมที่จะให้อภัยและช่วย เหลือเรา นอกจากนี้ญาติผู้ใหญ่และครูอาจารย์ก็สามารถขอความช่วยเหลือจากท่านได้ สัมพันธภาพและ เพศสัมพันธ์เป็นเรื่องความรับผิดชอบต่อตนเอง ต่อผู้อื่น และต่ออัลลอฮ์

65


หน่วยการเรียนรู้ที่ 5

การจัดการความขัดแย้งความรุนแรงในสังคม อย่างสันติวิธีในสังคมพหุวัฒนธรรม ตัวชี้วัด พ 2.1 ม.4-6 พ 5.1 ม.4-6 1. วิเคราะห์สาเหตุและผลของความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นระหว่างนักเรียน หรือเยาวชนใน ชุมชน และเสนอแนวทางแก้ไขปัญหา 2. วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพ หรือความรุนแรงของคนไทยและเสนอแนวทางป้องกัน สาระการเรียนรู้แกนกลาง 1. ความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นระหว่างนักเรียนหรือเยาวชนในชุมชน - สาเหตุของความขัดแย้ง - ผลกระทบที่เกิดจากความขัดแย้งระหว่างนักเรียน หรือเยาวชนในชุมชน - แนวทางในการแก้ปัญหาที่อาจเกิดจากความขัดแย้งของนักเรียนหรือเยาวชนใน ชุมชน 2. ปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพของคนไทยและเสนอแนวทางป้องกัน

1. ความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นระหว่างนักเรียนหรือเยาวชนในชุมชน

ความหมายความขัดแย้ง พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้คำ�อธิบาย “ขัดแย้ง” ว่า”ขัด” หมายถึง ไม่ทำ� ตาม ฝ่าฝืน ขืนไว้ ส่วน “แย้ง” หมายถึง ไม่ตรงกัน ไม่ลงรอยกันต้านไว้ ทานไว้ รวมความแล้ว ความขัด แย้งจึงหมายถึง “สภาพความไม่ลงรอยกัน คือ ไม่ยอมทำ�ตามและยังมีการต้านทานเอาไว้” พจนานุกรม Webster Dictionary ได้ให้ความหมายของคำ�ว่า “ความขัดแย้ง” (Conflict) หมาย ถึง การต่อสู้ (Fight) การทำ�สงคราม (Warfare) ความไม่ลงรอยต่อกันหรือเข้ากันไม่ได้ (Incompatible) ตรงกันข้ามกัน (Opposition) จนความแตกต่างระหว่างกลุ่มหรือเผ่าพันธุ์ สัมพันธภาพที่แตกต่างกันนี้ ทำ�ให้เป็นชนวนแห่งการต่อสู้แข่งขันระหว่างกัน” หากเราสนใจความขัดแย้งเพียงสภาพหรืออาการที่มองเห็น ดังนิยามที่ปรากฏในพจนานุกรม เรา ย่อมเกิดความจำ�นนและยอมรับตามความจริงที่เห็นว่า ความขัดแย้งเป็นธรรมชาติของสิ่งทั้งหลายที่ต้อง 66


เกิดขึ้น แต่ตามทัศนะของนักคิดยุคใหม่หลายคน มองว่า ความขัดแย้งเป็นสิ่งที่สามารถและควรต้องมีการ บริหารจัดการ ความขัดแย้งเป็นปรากฏการณ์ทเี่ กิดขึน้ ในสังคม และเกือบจะเป็นส่วนหนึง่ ของการดำ�เนินชีวติ ใน สังคม ทั้งในชีวิตส่วนตัว ครอบครัว และที่ทำ�งาน สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่สิ่งที่คนต้องการ แต่ก็ไม่ใช่สิ่งที่เราอาจ ปฏิเสธและหลีกเลี่ยงได้ แม้ที่สุดแล้วความขัดแย้งก็จะเกิดขึ้นอยู่ดี ดังนั้น เพื่อให้ปรากฏการณ์นั้นนำ�มาซึ่ง ประโยชน์แก่สังคม สมาชิกในสังคมโดยเฉพาะผู้นำ� จึงมีหน้าที่ทำ�ให้ประเด็นความขัดแย้งไม่นำ�มาซึ่งความ รุนแรงที่ไม่ก่อประโยชน์ต่อสังคม การที่จะต้องเข้าใจ วางแผน ตัดสินใจ สั่งการ กำ�กับควบคุมความขัดแย้ง เพื่อให้เกิดประโยชน์ ก็คือ การบริหารความขัดแย้งนั่นเอง ความขัดแย้ง หมายถึง ปฏิสมั พันธ์ทมี่ ลี กั ษณะของความไม่เป็นมิตรหรือตรงกันข้ามหรือไม่ลงรอย กันหรือความไม่สอดคล้องกัน ลักษณะของความไม่ลงรอยกันหรือไม่สอดคล้องกันนีจ้ ะเกีย่ วข้องกับประเด็น ต่างๆ หลายประเด็น เช่น เป้าหมาย ความคิด ทัศนคติ ความรูส้ กึ ค่านิยม ความสนใจ ความสัมพันธ์ เป็นต้น ความขัดแย้งที่มีการบริหาร คนเรามีความเข้าใจเกี่ยวกับความขัดแย้งด้วยพื้นฐานความคิดความเชื่อ 2 ลักษณะ คือ แนวคิด ดั้งเดิม และแนวคิดร่วมสมัย (ยุคใหม่) ซึ่งแนวคิดหรือความเชื่อนี้จะ ส่งผลไปถึงพฤติกรรมของการบริหาร ความขัดแย้ง ดังตารางเปรียบเทียบ

ตาราง ๑ เปรียบเทียบความเข้าใจเกี่ยวกับความขัดแย้ง แนวคิดดั้งเดิม 1. ความขัดแย้งเป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงหรือ ระงับ 2. ความขัดแย้งเกิดจากการมีคนกระทำ�ให้ เกิดขึ้น 3. ความขัดแย้งเป็นสิ่งที่เลวร้าย

แนวคิดดั้งเดิม 1. ความขัดแย้งเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ 2. ความขัดแย้งสามารถจัดการได้ 3. ความขัดแย้งมักจะเป็นประโยชน์ 4. ความขัดแย้งเป็นเรื่องปกติ เป็นผลของ การเปลี่ยนแปลง

จากฐานความคิดที่ต่างกัน สมาชิกและทั้งผู้นำ�ของสังคมย่อมมีวิธีปฏิบัติต่อความขัดแย้งต่างกัน โดยผู้ที่มีฐานความคิดแบบยุคใหม่จะมองว่าความขัดแย้งเป็นสิ่งที่ควรจะมีการบริหารจัดการ ทั้งนี้เพราะ ความขัดแย้งที่ไม่ได้รับการบริหารจัดการจะนำ�ไปสู่ผลเสียต่างๆ มากมาย ผลที่ตามมาของความขัดแย้ง เป็นได้ทั้งสองด้าน กล่าวคือ ถ้าจัดการความขัดแย้งอยู่ในจุดที่เหมาะสมที่สุด ผลของความขัดแย้งจะออก มาในทางบวก แต่ถ้าผลออกมาในทางลบก็จัดว่าเป็นความขัดแย้งที่นำ�ไปสู่การทำ�ลายมากกว่าการสร้างสรรค์ ผลของความขัดแย้งมี 2 ลักษณะ คือ 67


ความขัดแย้งที่ส่งผลในทางบวก มีลักษณะต่างๆ ดังต่อไปนี้ 1. ลดความเข้มข้นของความขัดแย้ง ได้มีการระบายข้อขัดแย้งระหว่างบุคคลหรือกลุ่มซึ่งเก็บกด ไว้เป็นเวลานาน ทำ�ให้ลดความตึงเครียดในสังคม หรือทำ�ให้ความสัมพันธ์ของบุคคลดีขึ้น 2. กระตุ้นเร้าให้หาความจริงใหม่หรือทางแก้ปัญหาใหม่ 3. เพิ่มสามัคคีและการทำ�งานกลุ่ม 4. แสดงให้เห็นถึงกำ�ลังหรือความสามารถ 5. นำ�ไปสู่การเปลี่ยนแปลงในเชิงสร้างสรรค์ สังคมมีการปรับตัวให้เข้ากับความเปลี่ยนแปลงได้ อย่างต่อเนื่อง 6. สมาชิกในสังคมได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความคิดเห็นซึ่งกันและกันยอมรับความแตกต่าง ระหว่างบุคคล รู้จักการปรับตัว และการประสานงานกัน ทำ�ให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น ความขัดแย้งที่ส่งผลในทางลบ มีลักษณะต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ 1. เป็นอุปสรรคต่อความคล่องตัวในการทำ�งาน 2. ขวางกั้นกระบวนการตัดสินใจ 3. เป็นเหตุให้เกิดการแบ่งพวกแตกสามัคคี 4. ลดทอนความสามารถในการทำ�งาน เกิดการสูญเสียทรัพยากรและเวลา 5. มุ่งจะเอาชนะกันมากกว่าที่จะมองถึงผลกระทบต่อเป้าหมายโดยรวมของสังคม นำ�ไปสู่ความ สับสน ยุ่งเหยิง และไร้ซึ่งเสถียรภาพของสังคม 6. นำ�ไปสู่ความตึงเครียดมากขึ้น หรือมีผลกระทบต่อสุขภาพจิตของคนในสังคมมากขึ้นเมื่อเรา ยอมรับว่าความขัดแย้งเป็นธรรมชาติของสังคมซึง่ จะให้ทงั้ ประโยชน์และโทษต่อบุคคลและสังคม ประเด็น จึงอยู่ที่ว่า ทำ�อย่างไรให้ได้ประโยชน์มากที่สุดและเกิดโทษน้อยที่สุด ลักษณะของความขัดแย้ง ลั ก ษณะของความขั ด แย้ ง อาจจะ แสดงออกมาหรือมีลักษณะ ดังต่อไปนี้ 1) จะมีบุคคลหรือฝ่ายอย่างน้อยที่สุด 2 ฝ่าย หรือบุคคล 2 บุคคลที่เข้ามาเกี่ยวข้องสัมพันธ์ กันและมีปฏิสัมพันธ์บางอย่างต่อกัน 2) แต่ละบุคคลหรือแต่ละฝ่าย จะมีความ เชื่อและค่านิยมเฉพาะ ซึ่งแต่ละบุคคลหรือสมาชิก ในแต่ละฝ่ายตระหนักและมองเห็นในความเชือ่ และ ค่านิยมนั้น 3) ปฏิสัมพันธ์ระหว่างแต่ละฝ่าย ซึ่งจะ แสดงออกมาเป็นพฤติกรรมทีแ่ สดงถึงการข่มขู่ การ ลดพลัง การกดดันฝ่ายตรงข้าม เพื่อให้ได้มาซึ่งชัยชนะ 4) แต่ละบุคคลหรือแต่ละฝ่าย เผชิญหน้ากันหรือแสดงปฏิกิริยาในลักษณะตรงข้ามกันหรือเป็น 68


ปฏิปักษ์ต่อกัน 5) แต่ละบุคคลหรือแต่ละฝ่ายจะแสดงปฏิกริ ยิ าทีก่ อ่ ให้เกิดความเหนือกว่าทางด้านอำ�นาจ ต่ออีก ฝ่ายหนึ่ง จากลักษณะของความขัดแย้งดังกล่าวข้างต้น จะเรียกว่าเป็นความขัดแย้งระหว่างบุคคล ซึ่ง นอกจากจะเกิดระหว่างบุคคลหรือกลุม่ หรือฝ่ายแล้ว ยังเกิดขึน้ ในตัวบุคคลด้วย ตัวอย่างเช่น บุคคลคนหนึง่ อาจจะมีความคิดที่ขัดแย้ง เช่น นักเรียนอาจจะชอบเพื่อนในห้องชื่อเอ แต่เออาจจะรักใคร่ชอบพอ สนิทสนมกับบี ซึ่งนักเรียนไม่ชอบบี ความรู้สึกขัดแย้งอาจจะเกิดขึ้นกับนักเรียน ความยุ่งยากในการตัดสิน ใจก็จะเกิดขึ้นว่าควรจะเลิกคบกับเอหรือไม่ เป็นต้น

2. การบริหารความขัดแย้ง 3 แบบ

สังคมที่มีความมั่นคงและเจริญ จะพบว่าสังคมนั้นมีความขัดแย้งเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงอยู่ ระดับ ความขัดแย้งที่พอเหมาะจะทำ�ให้เกิดความสร้างสรรค์ มีความสามัคคีสร้างความเจริญให้แก่สังคม แต่ถ้า ความขัดแย้งสูง หรือมีมากเกินไป จะทำ�ให้เกิดความแตกแยกเป็นปัญหาแก่สงั คม ผูน้ �ำ และสมาชิกในสังคม จึงต้องมีวิธีในการบริหารความขัดแย้ง ซึ่งดำ�เนินการได้ 3 แบบ คือ 1. การก่อตัวความขัดแย้ง อาจมีสาเหตุทั้งที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจ เช่น ลักษณะส่วนบุคคลของคนบาง คนที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้ง ลักษณะโครงสร้างของสังคม ทั้งจุดมุ่งหมาย ค่านิยม วัตถุประสงค์ บรรยากาศ การสือ่ สาร และการจัดสรรทรัพยากร เป็นต้น การกระตุน้ ให้เกิดความขัดแย้งขึน้ จะช่วยให้เกิด การปรับตัว และแก้ไขข้อบกพร่อง สร้างความกระตือรือร้น ให้เกิดขึ้น แต่ต้องระมัดระวังควบคุมให้เกิดขึ้น ในทางบวก 2. การแก้ไขระงับความขัดแย้ง เมื่อฝ่ายต่างๆ รับรู้ว่ามีความขัดแย้งเกิดขึ้น ความขัดแย้งที่รู้สึกได้ เป็นความรู้สึกว่าถูกคุกคาม ถูกเกลียดชัง กลัว หรือไม่ไว้วางใจ พฤติกรรมที่แสดงออก อาจแสดงความ ก้าวร้าว การแข่งขัน การโต้เถียง หรือการแก้ปัญหา การแก้ปัญหาหรือระงับความขัดแย้ง เป็นการทำ�ให้ ความขัดแย้งสิ้นสุดลง อาจโดยให้ทุกฝ่ายตกลงกัน หรือให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดชนะไป 3. การป้องกันความขัดแย้ง สมาชิกและผูน้ �ำ สังคมต้องสังเกตรับรูก้ ารเกิดขึน้ ของปัจจัยทีจ่ ะก่อให้ เกิดความขัดแย้ง และต้องประเมินรู้ว่าความขัดแย้งนั้นจะเกิดผลเชิงบวกหรือลบ แล้วดำ�เนินการป้องกันมิ ให้ความขัดแย้งเกิดขึ้น เช่น โดยการสร้างบรรยากาศให้คู่กรณีของความขัดแย้งสามารถแลกเปลี่ยนความ คิดเห็นได้อย่างเป็นอิสระ

3.การบริหารความขัดแย้งต้องรู้เหตุปัจจัย

สาเหตุหรือที่มาของความขัดแย้ง ความขัดแย้งระหว่างบุคคลหรือระหว่างกลุ่มเกิดขึ้นได้จากสาเหตุหรือแหล่งต่างๆ ดังนี้ 1) มนุษย์สัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือกลุ่มบุคคล ซึ่งมีลักษณะ ดังนี้ (1) ความไม่เข้าใจกัน 69


(2) ความสัมพันธ์ที่เพิกเฉยและไม่เกื้อกูลกัน (3) ความล้มเหลวของการสื่อความหมายอย่างเปิดเผยและซื่อตรง (4) บรรยากาศของการไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน ความกดดัน และการแข่งขัน (5) การับรู้ของบุคคลที่อยู่ในสภาวการณ์ ข องความขั ด แย้ ง ที่มี ผ ลต่ อ บุค คลอื่ น ใน สภาวการณ์นั้น ซึ่งเป็นไปในทางส่งเสริมให้เกิดความขัดแย้ง 2) การแข่งขันเพื่อให้ได้มาซึ่งรางวัลที่มีอยู่จำ�กัด ไม่ว่าจะเป็นสิ่งตอบแทนอื่นๆ สถานภาพ ความ รับผิดชอบ และอำ�นาจ 3) องค์ประกอบส่วนบุคคล ความขัดแย้งอาจเกิดจากบุคลิกภาพส่วนบุคคล เช่น การมี สัญชาตญาณ ของความรุนแรง ก้าวร้าว ต้องการการกแข่งขัน ฯลฯ ซึ่งแต่ละคนอาจจะมีมากน้อยแตกต่างกัน

4. ผลกระทบที่เกิดจากความขัดแย้งระหว่างนักเรียน หรือเยาวชนในชุมชน

ผลกระทบที่เกิดจากความขัดแย้ง ความขัดแย้งเป็นสิง่ ทีด่ หี รือไม่ดี ขึน้ อยูก่ บั แนวคิดและความเชือ่ ของแต่ละบุคคล บางคนมองความ ขัดแย้งเป็นสิง่ ไม่ดี เป็นของคูก่ บั ความรุนแรง สำ�หรับกลุม่ บุคคลบางกลุม่ ในปัจจุบนั มีแนวความคิดว่าความ ขัดแย้งเป็นสิง่ ปกติทเี่ กิดขึน้ ตามธรรมชาติ ความขัดแย้งบางอย่างเป็นสิง่ ทีด่ เี พราะช่วยกระตุน้ ให้คนพยายาม แก้ปัญหา โดยเปลี่ยนความขัดแย้งให้มีประโยชน์และสร้างสรรค์ ในกรณีที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงระหว่างสมาชิกในกลุ่มที่มีความขัดแย้งกัน อาจจะก่อให้เกิด การบาดเจ็บหรือถึงขั้นเสียชีวิต รวมไปถึงบุคคลอื่นอาจได้รับความเดือดร้อนจากการกระทำ�นั้นๆ ซึ่งไม่ได้ มีส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหาความขัดแย้งของกลุ่มนี้แต่อย่างใด จากปัญหาความขัดแย้งระหว่างกลุ่มอาจจะ ขยายวงกว้างกลายเป็นความขัดแย้งของคนกลุม่ ใหญ่ จนกระทัง่ กลายเป็นปัญหาของสังคม ซึง่ ปัญหาความ รุนแรงดังกล่าวจะมีผลต่อคุณภาพการศึกษาเล่าเรียนของเยาวชนกลุม่ นีต้ ามไปด้วย เกิดภาพพจน์ทางด้าน ลบของสมาชิกในกลุม่ และของสถาบันทางการศึกษาทีก่ ลุม่ สังกัดอยู่ รวมถึงความวิตกกังวล ความกลัวของ ประชาชนในสังคมที่มีต่อกลุ่มเหล่านี้ แนวทางในการแก้ปัญหาหรือลดความขัดแย้ง การเลือกหาวิธกี ารต่างๆ มาจัดการกับความขัดแย้ง อาจใช้วธิ กี ารตามพฤติกรรมทีเ่ ป็นหลักสำ�คัญ มี 5 วิธี ได้แก่ 1. การหลีกเลีย่ ง การหลีกเลีย่ งเป็นวิธกี ารทีใ่ ห้ประสิทธิผลน้อยทีส่ ดุ ใน 5 วิธขี องการบริหารความ ขัดแย้งทัง้ หมด เพราะเนือ่ งจากการหลีกเลีย่ งมิได้ท�ำ ให้ความขัดแย้งนัน้ หมดไป แต่เป็นเพียงการหลบเลีย่ ง จากปัญหาทีไ่ ม่ได้เกิดการแก้ไขและพร้อมทีจ่ ะกลับมาเจอกับปัญหาได้อกี ตลอดเวลา รวมทัง้ ยังอาจเป็นการ ก่อให้คู่กรณีเกิดโทสะได้ เช่น ฝ่ายตรงข้ามอาจจะคิดว่าเราไม่ให้ความสำ�คัญ หรือสนใจเพียงพอในการรับ ฟัง จึงกลับกลายเป็นการเพิ่มความขัดแย้ง โดยไม่ยุ่งเกี่ยวกับฝ่ายตรงข้ามที่จะนำ�ข้อโต้แย้งเข้ามาหาตน หรือโดยวิธีการเปลี่ยนประเด็นการสนทนา(Changing Issues) 2. การปรองดอง เป็นวิธกี ารแก้ปญ ั หาด้วยการยอมเสียสละความต้องการของตนเอง เพือ่ ทีจ่ ะให้ ฝ่ายตรงข้ามบรรลุความต้องการของตนเป็นการสร้างความพึงพอใจให้แก่อกี ฝ่ายเพือ่ หลีกเลีย่ งความขัดแย้ง 70


แต่ วิ ธี นี้ มั ก จะไม่ ก่ อ ให้ เ กิ ด ความพึ ง พอใจแก่ ผู้ ยิ น ยอมให้ เ พราะตนต้ อ งยอมสละความต้ อ งการและ เป้าประสงค์ของตนให้แก่ผู้อื่น จึงเป็นการสร้างความคับแค้นใจที่ติดอยู่ในใจ วิธีการนี้จึงไม่ใช่วิธีที่มี ประสิทธิภาพมากนักในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง 3. การประนีประนอม เป็นวิธที บี่ คุ คลทัง้ 2 ฝ่ายทีม่ คี วามขัดแย้ง สามารถตกลงกันได้โดยวิธี “พบ กันครึ่งทาง” ต่างฝ่ายต่างต้องยอมลดความต้องการของตนบางส่วน ดังนั้น วิธีการนั้นจึงเป็นการที่แต่ละ ฝ่ายต้องเสียสละบางส่วนเพื่อให้ได้ข้อตกลงที่สามารถยุติปัญหาความขัดแย้ง มักจะพบได้ว่าบุคคลทั้ง 2 ฝ่ายจะไม่ค่อยเห็นด้วยอย่างเต็มที่นักในระยะยาวเพราะต่างฝ่ายต่างก็ต้องยอมเสียบางส่วนของตนอาจจะ ด้วยความไม่เต็มใจ 4. การแข่งขัน เป็นการใช้วธิ เี อาแพ้เอาชนะ เพือ่ ให้ตนเองสามารถบรรลุความต้องการอาจจะต้อง ใช้อำ�นาจ หรือการแสดงความก้าวร้าวรุนแรง อันอาจจะเกิดมาจากเมื่อมีมีอุปสรรค หรือสิ่งขัดขวางมิให้ บรรลุเป้าหมายจึงใช้วธิ กี ารทีจ่ ะต้องทำ�ลายอีกฝ่ายหนึง่ เพือ่ ให้ได้ในสิ่งที่ตนหวังไว้ 5. การร่วมมือกัน โดยทั่วไปการแก้ไขความขัดแย้ง ด้วยการพบหน้าพูดเจรจาทำ�ความตกลงกัน เป็นวิธีที่มี ประสิทธิภาพมากที่สุดจากวิธีการแก้ปัญหาความขัดแย้งที่ กล่าวมาแล้วทั้งหมด คู่กรณีทั้ง 2 ฝ่ายยินยอมที่จะหันหน้า เข้าหารือกันเพื่อหาวิธีที่ดีที่สุดในการช่วยกันบริหารความ ขัดแย้งการร่วมมือกันเป็นการทำ�ความตกลงกันในลักษณะ ของการบรรลุถึงข้อยุติโดยวิธีการซึ่งคู่กรณีทั้ง 2 ฝ่ายที่ เกี่ยวข้องมีความพึงพอใจและยินยอมพร้อมใจชนะด้วยกัน (Win-win) รวมทั้งยอมที่จะปฏิบัติตามผลของ ข้อยุตินั้น อย่างไรก็ตามวิธีการนี้จำ�เป็นจะต้องใช้ระยะเวลามากในการจัดการแก้ไขปัญหา แต่ก็เป็นวิธีที่ดี ที่สุด นอกจากวิธีการแก้ไขความขัดแย้ง 5 วิธี ดังกล่าวมาแล้ว ยังมีวิธีอื่นๆ อีก เช่น การนั่งลงเจรจา การใช้บุคคลที่สาม การแก้ปัญหาความขัดแย้ง หมายถึง การลดหรือขจัดความขัดแย้ง เพื่อทำ�ให้พฤติกรรมของการ ขัดแย้งหายไปหรือสิ้นสุดลง ซึ่งปัญหาด้านความขัดแย้งของวัยรุ่น มีแนวทางแก้ปัญหา ดังนี้ 1) ให้คำ�แนะนำ�แก่วัยรุ่นที่มีปัญหา โดยหาบุคลากรที่มีประสบการณ์ เข้าใจความรู้สึกและความ ต้องการของวัยรุ่นมาช่วยแก้ปัญหา 2) ครู อาจารย์ และผู้ปกครองต้องเข้าใจปัญหาความขัดแย้งและหาแนวทางแก้ไข เช่น การแก้ ปัญหาโดยการใช้แนวคิดเชิงบวก การให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา ตลอดจนการแก้ปัญหาโดยไม่ ใช้ความรุนแรง 3) วัยรุ่นที่มีอารมณ์รุนแรง สามารถใช้หลักธรรมเพื่อช่วยระงับอารมณ์ได้ เช่น การฝึกวิปัสสนา เจริญสติปัฏฐานหรือฝึกอานาปานสติ เป็นต้น 71


4) จัดให้มีโครงการเสริมสร้างสันติวัฒนธรรมในโรงเรียนและพัฒนาศักยภาพบุคลากรในสถาน ศึกษา 5) มีวิธีการหรือกระบวนการคลี่คลายความขัดแย้งโดยใช้หลักการประนีประนอม ทักษะการสื่อสารกับการแก้ปัญหาความขัดแย้ง สาเหตุของปัญหาความขัดแย้งซึง่ ทำ�ให้เกิดการใช้ความรุนแรง อาจเป็นเพราะทักษะการสือ่ สารไม่ ดีพอ ซึ่งก่อให้เกิดความเข้าใจผิดและส่งผลให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา การสือ่ สาร หมายถึง การนำ�ข่าวสารส่งไปยังทีห่ มายโดยการพูดหรือการแสดงพฤติกรรมต่างๆ ดัง นัน้ การสือ่ สารจึงเป็นกุญแจสำ�คัญในความสำ�เร็จของความสัมพันธ์ ซึง่ การสือ่ สารทีด่ จี ะช่วยลดปัญหาความ ขัดแย้งระหว่างนักเรียนหรือเยาวชนในชุมชนลงได้ 1) กระบวนการสื่อสาร มีกระบวนการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งกระบวนการของการสื่อสาร ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ผู้ส่งข่าวสาร สื่อที่ใช้ส่งข่าวสาร และผู้รับข่าวสาร 2) ทักษะการสื่อสารเพื่อลดและแก้ปัญหาความขัดแย้ง ทักษะการสือ่ สารทีม่ ปี ระสิทธิภาพ สามารถช่วยลดและแก้ปญ ั หาความขัดแย้งได้ ซึง่ ควรเสริมสร้าง ทักษะการสื่อสาร ดังนี้ (1) การเป็นผู้ส่งข่าวสารที่ดี ต้องเป็นผู้ที่ส่งและรับข่าวสารได้ดี มีทักษะพูดที่ดี เช่น พูด ด้วยระดับน้ำ�เสียงที่เหมาะสม ไม่เร็วไม่ช้าจนเกินไป ชัดถ้อยชัดคำ� พูดตรงประเด็น ขณะพูดควรหันหน้าให้ ผู้ฟัง เป็นต้น (2) การรับข่าวสารและการเป็นผู้ฟังที่ดี ควรทักษะการฟังที่ดี เช่น ฟังอย่างตั้งใจ และ ทบทวนสิ่งที่ฟังอย่างมีเหตุผล มีสมาธิในการฟัง เป็นต้น

5. ปัจจัยที่มีผลต่อความรุนแรงของคนไทยและแนวทางป้องกัน

ข่าวทีว่ ยั รุน่ ก่อความรุนแรง เช่น ข่าวทีว่ ยั รุน่ ใช้ปนื ยิงเพือ่ นนักเรียนเสียชีวติ ยกพวกตีกนั ระหว่าง สถาบัน ปัญหาเหล่านี้ จัดว่าเป็นปัญหาทางสังคม ที่นับวันได้มีแนวโน้มที่แสดงออกถึงการทวีความรุนแรง ขึ้นเรื่อยๆ “วัยรุ่น”เป็นวัยที่ผู้คนมักเรียกกันว่า “วัยหัว เลี้ยวหัวต่อ” เพราะวัยนี้พยายามที่จะค้นหาความ เข้าใจในตนเอง ยิง่ ในโลกปัจจุบนั มีการเปลีย่ นแปลงไป อย่างรวดเร็ว การติดต่อสื่อสารทำ�ได้อย่างรวดเร็ว ส่ง ผลให้โลกทัศน์ของวัยรุ่นกว้างขึ้น บางคนก็ค้นพบ ตนเองในทางที่ถูกต้อง แต่บางคนกลับหันเหไปในทาง ที่ผิด ทำ�ให้เป็นบ่อเกิดของปัญหาที่เราเห็นในปัจจุบัน 72


ถ้าจะวิเคราะห์ถึงปรากฏการณ์ของความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับวัยรุ่นในขณะนี้ คิดว่าคงจะมีสาเหตุ มาจากหลายๆด้าน ทั้งการเปลี่ยนแปลงด้านอารมณ์ของวัยรุ่น สภาพครอบครัว สภาพสังคมต่างๆ ที่เป็น ตัวหล่อหลอมพฤติกรรมของวัยรุ่นผ่านสื่อต่างๆ ทั้งภาพยนตร์ วีดีโอ เกม ที่ล้วนมีผลต่อความรุนแรง เข้าไปอยู่ในจิตใต้สำ�นึก โดยที่เขาเองก็ไม่รู้ตัว สิ่งสำ�คัญที่สุดที่จะบ่งชี้ถึงพฤติกรรมของวัยรุ่นก็คือครอบครัว เพราะครอบครัวเป็นสถาบันที่มี อิทธิพลสำ�คัญที่สุดในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของวัยรุ่น ครอบครัวจะเป็นหน่วยพื้นฐานที่คอยเสริม สร้างประสบการณ์ของเด็กเมื่อย่างเข้าสู่วัยรุ่น ความสัมพันธ์กับบุคคลในครอบครัวจะยุ่งยากสลับซับซ้อน มากขึ้น และมักจะเกิดปัญหาขัดแย้งกันเสมอๆ เราจะสังเกตได้ง่ายๆ ว่าวัยรุ่นเริ่มมีความรู้สึกอยากเป็น อิสระ ไม่อยากให้ใครมาบังคับ และต้องการเป็นตัวของตัวเอง ดังนั้นส่วนสำ�คัญที่สุด คือพ่อ แม่ ที่ต้อง เป็นแบบอย่างที่ดีให้ลูก ควรให้คำ�ปรึกษา เข้าใจในชีวิตของเด็กวัยนี้ ไม่ขัดขวาง ห้ามในสิ่งที่เขาต้องการ ค้นหา แต่ควรให้คำ�ปรึกษาที่ดี เพราะเด็กวัยนี้ ยิ่งห้ามก็เหมือนยิ่งยุ โดยทัว่ ไปแล้วเด็กวัยรุน่ มักจะเกิดความขัดแย้งกับพ่อแม่เสมอ ทำ�ให้หนั เหชีวติ ไปหาเพือ่ นเป็นส่วน ใหญ่ กลุม่ เพือ่ นจึงเป็นสิง่ แวดล้อมทีว่ ยั รุน่ ให้ความสำ�คัญเหนืออืน่ ใดจึงเกิดการเกาะติดความเป็นพรรค เป็น พวก สืบเนือ่ งไปจนถึงความเป็นสถาบัน และยึดถือปฏิบตั กิ ฎเกณฑ์ทรี่ นุ่ พีใ่ นสถาบันตัง้ ขึน้ เราจึงเห็นกลุม่ วัยรุ่นต่างสถาบันยกพวกตีกันมาตั้งแต่สมัยรุ่นปู่ รุ่นพ่อ สืบมาจนถึงรุ่นปัจจุบัน จากสาเหตุที่ทำ�ให้วัยรุ่นใช้ความรุนแรงในการตัดสินปัญหา ทำ�ให้เราเห็นว่าครอบครัวน่าจะเป็น จุดเริ่มต้นที่ดีที่สุด ในการปลูกฝังอบรมเด็กสร้างบุคลิกภาพที่ดีให้แก่เด็กเมื่อเขาโตขึ้นและย่างเข้าสู่วัยรุ่น พ่อ แม่ต้องเป็นส่วนสำ�คัญในการชี้แนวทางการดำ�เนินชีวิต การแก้ไขปัญหาต่างๆด้วยวิธีที่ถูกต้อง และ ต้องเข้าถึงอารมณ์ความรู้สึกของวัยรุ่น ไม่ดุด่า หรือปล่อยจนเกินไป เพราะสาเหตุเหล่านี้จะทำ�ให้วัยรุ่น กลายเป็นคนที่ก้าวร้าว และตีตัวออกห่างจากครอบครัว ไปมั่วสุมกับเพื่อนๆ และเลือกเดินในแนวทางที่ ผิดจนกลายเป็นปัญหาของสังคมอย่างที่ปรากฏในปัจจุบัน

6. การจัดการความรุนแรง

ความหมายของความรุนแรง ความรุนแรง หมายถึง การจงใจใช้กำ�ลังหรือ อำ�นาจทางกายเพื่อข่มขู่หรือกระทำ�ต่อตนเอง ต่อผู้อื่น ต่อกลุ่มบุคคลหรือชุมชน ซึ่งมีผลทำ�ให้เกิดหรือมีแนว โน้มทีจ่ ะมีผลให้เกิดการบาดเจ็บ ตาย หรือเป็นอันตราย ต่อจิตใจ หรือเป็นการยับยั้งการเจริญงอกงามหรือการ กีดกั้นหรือปิดกั้น ทำ�ให้สูญเสียสิทธิ บางประการ และ ขาดการได้รับในสิ่งที่สมควรจะได้รับ หรือสรุปง่าย คือ หมายถึงการใช้ก�ำ ลังหรืออำ�นาจเพือ่ คุกคามหรือทำ�ร้าย ตนเองและหรือผู้อื่น ซึ่งส่งผลทำ�ให้เกิดการบาดเจ็บ เสียชีวิต และบาดแผลทางจิตใจ 73


ปัญหาความรุนแรงของเยาวชนเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้นมายาวนานในสังคมไทย นับว่า ยิ่งจะ ทวีความรุนแรงและกำ�ลังขยายมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งในอดีตเด็กมักเป็นผู้ถูกกระทำ�แต่ปัจจุบันกลายเป็นผู้ กระทำ�

ประเภทความรุนแรง

องค์การอนามัยโลก (WHO, 1997) ได้แบ่งประเภทของความรุนแรงไว้ในเบือ้ งต้นเป็น 3 กลุม่ ใหญ่ ๆ ดังนี้ 1. ความรุนแรงต่อตนเอง 2. ความรุนแรงระหว่างบุคคล 3. ความรุนแรงระหว่างกลุ่ม ความรุนแรงต่อตนเอง หมายถึง ลักษณะความรุนแรงที่เกิดขึ้นจากบุคคลกระทำ�ต่อตนเอง ความ รุนแรงกลุ่มนี้ยังสามารถแบ่งย่อยเป็น 2 ประเภทที่เฉพาะเจาะจงได้ดังนี้ 1) พฤติกรรมการฆ่าตัวตาย ซึ่งรวมทั้งความคิดฆ่าตัวตาย ความพยายามฆ่าตัวตายและ การฆ่าตัวตายโดยสมบูรณ์ 2) พฤติกรรมการทำ�ร้ายตนเอง หมายรวมถึงการกระทำ�ให้ตนเองบาดเจ็บ และพฤติกรรม ทำ�ร้ายตนเองอื่น ๆ ที่มุ่งร้ายต่อตนเองหรือทำ�ให้ตนเองอยู่ในภาวะเสี่ยงอันตราย แต่ไม่จำ�เป็นต้องมีผลถึง เสียชีวิต ความรุนแรงระหว่างบุคคล หมายถึง ความรุนแรงทีก่ ระทำ�โดยบุคคลอืน่ หรือกลุม่ บุคคลอืน่ ความ รุนแรงกลุ่มนี้สามารถแบ่งย่อยเป็น 2 ประเภทที่เฉพาะเจาะจงได้ดังนี้ 1) ความรุนแรงในครอบครัว หมายถึง ความรุนแรงทีเ่ กิดขึน้ ระหว่างสมาชิกในครอบครัว คู่สมรสที่ไม่จำ�เป็นต้องเกิดขึ้นเฉพาะภายในบ้านเท่านั้น ได้แก่ ความรุนแรงต่อเด็ก ความรุนแรงระหว่าง สามีภรรยา และความรุนแรงต่อผู้สูงอายุ 2) ความรุนแรงในชุมชน หมายถึง ความรุนแรงที่เกิดขึ้นระหว่างบุคคลภายนอกบ้านที่ คุ้นเคยกันหรือเกิดจากบุคคลที่รู้จักกันโดยไม่มีความสัมพันธ์ต่อกัน หรือเกี่ยวดองเป็นญาติพี่น้องกัน หรือ คนแปลกได้แก่ ความรุนแรงทีเ่ กิดจากการร่วมกระทำ�ผิดตัง้ แต่ 2 คนขึน้ ไป การใช้ความรุนแรงทางเพศ การ ข่มขืนโดยคนแปลกหน้า การใช้ความรุนแรงแบบสุม่ กระทำ�ต่อใครก็ได้ การใช้ความรุนแรงทางกายระหว่าง วัยรุ่น ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในคู่รัก และความรุนแรงที่เกิดขึ้นในสถานที่หรือสถาบันต่าง ๆ ได้แก่ ความ รุนแรงที่เกิดขึ้นในโรงเรียน ในที่ทำ�งานหรือโรงงาน ได้แก่ การลวนลามทางเพศ และความรุนแรงที่เกิดขึ้น ในสถานพยาบาลคนชรา ได้แก่ การทอดทิ้งไม่ดูแลและการทุบตี ความรุนแรงระหว่างกลุม่ หมายถึง ความรุนแรงทีก่ ระทำ�โดย กลุม่ บุคคลกลุม่ ใหญ่ เป็นความรุนแรง ทีเ่ กิดจากรัฐหรือประเทศ ซึง่ อาจเป็นการใช้ความรุนแรงโดยแอบแฝงอยูใ่ นรูปแบบของการใช้กฎเกณฑ์ทาง สังคมเป็นเครือ่ งมือในการก่อให้เกิดผลเสียต่อบุคคลและความไม่เท่าเทียมกันหรือเลือกปฏิบตั ริ ะหว่างเพศ เป็นต้น ซึ่งความรุนแรงกลุ่มนี้สามารถแบ่งย่อยออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้ 74


1) ความรุนแรงทางสังคม หมายถึง การใช้ ความรุนแรงในประเด็นปัญหาทางสังคม ได้แก่ การกระทำ�อาชญากรรมการใช้ความรุนแรงที่เกิด จากความเกลียดชัง เหยียดผิว หรือเหยียดเชือ้ ชาติ กลุ่มชน การ กระทำ�ของผู้ก่อการร้าย หรือการใช้ ความรุนแรงโดยกลุ่มประท้วง 2) ความรุนแรงทางการเมือง หมายถึง การ ใช้ความรุนแรงที่เกิดจากสงคราม ความขัดแย้ง และการใช้ความรุนแรงของรัฐ หรือความรุนแรงที่ เกิดจากคนกลุ่มใหญ่ ได้แก่ การข่มขืนระหว่างสงคราม และการใช้ความรุนแรงที่มีผลต่อร่างกายและจิตใจ ในกิจการของสงคราม เช่น การทรมานเชลยทางการเมืองเป็นต้น 3) ความรุนแรงทางเศรษฐกิจ หมายถึง การใช้ความรุนแรงโดยกลุ่มคนกลุ่มใหญ่ที่หวังผลทาง เศรษฐกิจ รวมทั้งกิจกรรมที่ก่อให้เกิดการล้มเหลวทางเศรษฐกิจ การโจมตีทางเศรษฐกิจ ก่อให้เกิดผลลบ ด้านเศรษฐกิจทัง้ ทางตรงและทางอ้อม การปฏิบตั ไิ ม่ใช่บริการทีจ่ �ำ เป็น การกระทำ�ทีก่ อ่ ให้เกิดการแตกแยก ทางเศรษฐกิจ มูลเหตุจงู ใจให้เกิดการใช้ความรุนแรงในกลุม่ นี้ อาจเกิดจากแรงจูงใจเพียงประเด็นเดียวหรือ หลาย ๆ ประเด็นร่วมกันก็ได้ ลักษณะของความรุนแรง พฤติกรรมความรุนแรงมีหลายลักษณะทั้งที่เป็นความรุนแรงทางด้านร่างกาย จิตใจและทางเพศ การใช้พฤติกรรมรุนแรงในโรงเรียนแสดงออกหลายรูปแบบ อาทิ การรังแก การกลั่นแกล้ง การข่มขู่ คุกคาม การใช้กำ�ลังต่อสู่ ทำ�ร้ายกัน การใช้วาจา หรือท่าทางให้อกี ฝ่ายรูส้ กึ อับอาย หรือเจ็บปวดทางจิตใจ การใช้อาวุธทำ�ร้ายกัน การปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม เช่น บางกลุ่มได้รับสิทธิพิเศษบาง อย่าง หรือความผิดอย่างเดียวกันแต่การลงโทษต่างกัน หรือการใช้อคติ การล่วงละเมิดทางเพศ ผลกระทบของความรุนแรงในโรงเรียน 1.กระทบต่อศักยภาพการเรียนรู้และความรู้สึกเป็นสุข 2.ก่อให้เกิดความสูญเสียทางจิตใจ สังคม และเศรษฐกิจ 3.ก่อให้เกิดพฤติกรรมเลียนแบบ

75


7. ความขัดแย้ง ความรุนแรงในวัยรุ่น และแนวทางสมานฉันท์เพื่ออยู่ในสังคม พหุวัฒนธรรมอย่างสันติสุข

ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในสังคมของเด็กและเยาวชนมีระดับความรุนแรง วิธีการที่ใช้ความรุนแรง และเงื่อนไขเชิงบริบททางสังคมและวัฒนธรรมของการใช้ความรุนแรงที่แตกต่างกันไป ปรากฏการณ์ของ การกระทำ�รุนแรงในโลกของเด็กวัยรุ่นสะท้อนให้เห็นบริบททางสังคมและวัฒนธรรมเมืองที่เป็นเบ้าหลอม ความรุนแรงของเด็กวัยรุ่นไทยดังนี้

บริบทสังคมกับความรุนแรง

1. สภาพครอบครัวที่อ่อนแอบนวิถีชีวิตแบบทุนนิยม เด็กทีก่ ระทำ�รุนแรงเติบโตขึน้ ในสภาพครอบครัวทีม่ คี วามไม่พร้อม พ่อแม่มวี ธิ คี ดิ ในการเลีย้ งดูลกู โดยมุง่ เน้นการหาเลีย้ งชีวติ มากกว่าทีจ่ ะพัฒนาจิตใจ และพัฒนาวิธคี ดิ ในการใช้ชวี ติ ทีด่ ี พ่อแม่มอี �ำ นาจน้อย ในการต่อรองต่อการร้องขอวัตถุของลูก มีค่านิยมในการเลี้ยงดูลูกในลักษณะไม่มุ่งเน้นการพัฒนาตนไปสู่ ความสำ�เร็จทางการศึกษา และมีความอดทนต่ำ�ต่อการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมของลูก มีการเปรียบเทียบ ลูกของตนเองกับเด็กคนอื่นผ่านการครอบครองวัตถุและการมีเพื่อนที่มีฐานะทางเศรษฐกิจที่ดีมากกว่าที่ จะมุ่งเน้นการพัฒนาทางด้านจิตใจและคุณธรรม พ่อแม่มีลูกในขณะที่ยังไม่มีความพร้อมเช่น มีวุฒิภาวะ ทางอารมณ์และความอดทนน้อย หารายได้โดยการจำ�หน่ายยาเสพติด มีพฤติกรรมติดการพนันและค่านิยม การเสี่ยงโชค การเลี้ยงดูลูกเป็นไปในลักษณะละเลย ขาดความใส่ใจอย่างต่อเนื่อง จริงจัง เน้นการสั่งสอน อบรมในลักษณะพร่ำ�บ่น เด็ก เติบโตขึ้นโดยสร้างอัตลักษณ์ผ่านการใช้ภาษาท่าทาง คำ�พูด และการมอง โลกแบบไม่ไว้วางใจ ก้าวร้าวใช้เวลาอยู่กับสังคมกลุ่มเพื่อน รวมกลุ่มนอกบ้าน ตั้งกลุ่มแก๊ง 2. อุดมการณ์การศึกษาแบบทุนนิยม การที่ครูอาจารย์สนใจแต่คนเก่ง นักเรียนที่เรียนดี ให้คุณค่าแก่เด็กที่มีพื้นฐานทางครอบครัวที่ดี ชื่นชมคนที่สร้างชื่อเสียงให้โรงเรียนทั้งเรื่องการ เรียนและกิจกรรม โดยพุ่งเป้าหมายไปที่การ พัฒนาโรงเรียนไปสู่ความเป็นโรงเรียนที่มีชื่อ เสียงทำ�ให้ละเลย หรือมองข้ามเด็กชายขอบทีค่ รู อาจารย์จะต้องใช้เวลาและ กลยุทธ์อย่างมากใน การพัฒนาพวกเขาเหล่านั้นเพื่อปรับเปลี่ยนอัต ลักษณ์ วิธีคิดให้เป็นคนที่มีคุณค่าในสังคม มี คุณธรรม จริยธรรม การทีผ่ บู้ ริหารโรงเรียนหรือ ครู อาจารย์ผกู ติดความสำ�เร็จของการทำ�งานอยูท่ รี่ ะบบการทำ�ให้โรงเรียนมีชอื่ เสียงผ่านวิธกี ารทีม่ นี กั เรียน ไปสอบแข่งขันเข้าศึกษาต่อได้มากกว่าสถาบันอื่น การมีนักกีฬาที่ชนะเลิศในการแข่งขันระดับชาติ เป็นต้น ทำ�ให้เด็กนักเรียนทีส่ ว่ นหนึง่ ถูกกระทำ�รุนแรงมาจากครอบครัวแล้วนัน้ กลายเป็นเด็กชายขอบในบริบทของ โรงเรียน และพัฒนาการกระทำ�รุนแรงทีม่ รี ะดับความรุนแรงมากขึน้ กลายเป็นคนชายขอบของสังคมต่อไป 76


3. ผู้นำ�ชุมชนนิยมจำ�นวนคะแนนเสียงมากกว่าความตั้งใจในการพัฒนาสังคมและเยาวชน ความสัมพันธ์ระหว่างผูน้ �ำ ชุมชน ครู และผูป้ กครองมีชอ่ งว่างในการพัฒนาและส่งเสริมเยาวชนให้ เป็นคนที่มีคุณภาพในสังคม ผู้นำ�ชุมชนยังไม่สามารถทำ�ให้ชาวบ้าน ครูอาจารย์เห็นคุณค่าในการใช้งบ ประมาณเพื่อการพัฒนาเยาวชนและสังคม แต่ยังคงเน้นที่การพัฒนาวัตถุ บทบาทของผู้นำ�ชุมชนจึงเป็น เพียงนายประกันเมื่อเด็กและเยาวชนในชุมชนกระทำ�รุนแรงและถูกจับดำ�เนินคดี 4. ความอ่อนแอขององค์การภาครัฐกับการใช้กฎหมายไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ตามเจตนารมณ์ การใช้กระบวนการไกล่เกลี่ยในการกระทำ�ผิดของเยาวชนนั้นหากกระบวนการติดตามความ ประพฤติขาดประสิทธิภาพทำ�ให้เกิดกระบวนการเรียนรูแ้ ละส่งเสริมการกระทำ�รุนแรงในกลุม่ เยาวชนเพิม่ มากขึ้น กฎหมายบางประการเอื้อต่อการให้ผู้ใหญ่ใช้เด็กและเยาวชนที่มีอายุไม่ถึง 18ปี กระทำ�ความผิด และ ชาชินกับการกระทำ�ในสิ่งที่ผิดกฎหมายเช่น กระบวนการค้าแผ่นซีดีเถื่อน การค้าและเสพยาเสพติด หรือแม้กระทั่งการฆ่าล้างแค้นคู่อริ เป็นต้น

77


หน่วยการเรียนรู้ที่ 6

สิทธิของผู้บริโภคในการเสริมสร้างสุขภาพ ตัวชี้วัด พ 4.1 ม.4-6

1. วิเคราะห์บทบาทและความรับผิดชอบของบุคคลที่มีต่อการสร้างเสริมสุขภาพและการ ป้องกันโรคในชุมชน 2. วิเคราะห์ อิทธิพลของสื่อโฆษณาเกี่ยวกับสุขภาพเพื่อการเลือกบริโภค 3. ปฏิบัติตนตามสิทธิของผู้บริโภค

สาระการเรียนรู้แกนกลาง

1. บทบาทและความรับผิดชอบของบุคคลที่มีต่อการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค ในชุมชน 2. อิทธิพลของสื่อโฆษณาเกี่ยวกับสุขภาพ 3. แนวทางการเลือกบริโภคอย่างฉลาดและปลอดภัย 4. สิทธิพื้นฐานของผู้บริโภคและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยให้ความสำ�คัญในการคุ้มครองผู้บริโภค

สิทธิของผูบ้ ริโภค คือ สิทธิของมนุษยชน สิทธิของแต่ละบุคคล และสิทธิของแต่ละบุคคลนีต้ อ้ งขึน้ อยู่บนพื้นฐานของความเป็นธรรมในเศรษฐกิจ และสังคม และต้องไม่ขัดกับสิทธิของสังคม เพื่อเป็นการ ปกป้องสิทธิของผูบ้ ริโภค ไม่ให้ได้รบั ความเดือดร้อนเกีย่ วกับการซือ้ สินค้าและรับบริการผูบ้ ริโภค ควรเลือก ซื้อแต่สินค้าที่มีคุณภาพ โดยสังเกตจากการอ่านฉลากกรณีที่สินค้านั้นมีอายุ ดูวัน เดือน ปี ที่ผลิต หรือวัน เดือน ปี ทีห่ มดอายุตรวจดูภาชนะบรรจุวา่ อยูใ่ นสภาพเรียบร้อยหรือไม่ ถ้าหากซือ้ ไปแล้ว เกิดความบกพร่อง ให้รีบแจ้งแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำ�เนินการต่อ

78


1. บทบาทและความรับผิดชอบของบุคคลที่มีต่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการ ป้องกันโรคในชุมชน 1. บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบต่อตนเอง มนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของสังคม เมื่อถือกำ�เนิดขึ้นมาก็ย่อมมีสถานภาพของตนติดตามมาด้วย เช่น เป็นลูกของพ่อแม่ผู้ให้กำ�เนิด เป็นหลานของปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา เป็นพี่ หรือเป็นน้อง และเป็น ประชาชนคนหนึ่งของประเทศ เมื่อเติบโตจนถึงวัยที่จะต้องเข้าศึกษาหาความรู้ สถานภาพแห่งตนจะเพิ่ม ขึน้ คือเป็นศิษย์ของครู เป็นเพือ่ นฝูงของบุคคลอืน่ ทีอ่ ยูใ่ นสถานศึกษา และเมือ่ จบการศึกษาออกไปประกอบ อาชีพก็จะมีสถานภาพตามอาชีพที่ตนประกอบอยู่ ซึ่งอาจจะเป็นครู หมอ นักธุรกิจ ผู้บริหาร ลูกน้อง ฯลฯ ในแต่ละสถานภาพจะมีการแสดงออกตามบทบาท หรือหน้าที่ ที่พึงปฏิบัติตามที่สังคมคาดหวังหรือตามสิทธิและหน้าที่ของ สถานภาพนั้นๆ เช่น เมื่ออยู่ในสถานภาพของความเป็นพ่อ บทบาททีแ่ สดงออกตามการคาดหวังของสังคมก็คอื จะต้องเป็น ผู้ที่หาเลี้ยงครอบครัว เป็นผู้นำ� ส่งเสริมและสั่งสอนให้ลูกเป็น คนดี ถ้าอยู่ในสถานภาพที่เป็นลูก ก็ต้องเคารพเชื่อฟังบิดา มารดา มีความกตัญญูกตเวทีต่อผู้ให้กำ�เนิด เป็นต้น และหาก สังคมมีความซับซ้อน บทบาทของตนที่อยู่ในสังคมจะมีความ หลากหลายและแตกต่างมากขึ้น อย่างไรก็ตามสถานภาพและ บทบาทของคนในสังคมนั้นมีความสัมพันธ์เกี่ยวโยงกัน เพราะคนในสังคมหนึ่งๆ อาจจะมีสถานภาพและ บทบาทได้หลายอย่างในเวลาเดียวกัน เช่น เมื่ออยู่ในครอบครัวมีสถานภาพเป็นพ่อ ก็แสดงออกในบทบาท ของพ่อ แต่เมือ่ อยูใ่ นทีท่ �ำ งานมีสถานภาพเป็นหมอ ก็แสดงออกในบทบาทของหมอ ซึง่ การกำ�หนดบทบาท ของสังคมจะกำ�หนดพฤติกรรม และความรับผิดชอบของคนในการดำ�รงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมี ประสิทธิภาพ บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบที่พึงมีต่อตนเองมีดังนี้คือ 1. ความซือ่ สัตย์ ซือ่ ตรงต่อตนเอง วิเคราะห์และพิจารณาส่วนดีและส่วนเสียของตนอย่างมีเหตุผล ตรงไปตรงมา ยึดถือหลักของความถูกต้องมากกว่าพรรคพวกกระทำ�การใดๆ โดยไม่ยึดเอาประโยชน์ของ ตนเป็นใหญ่ ไม่เข้าข้างตนเอง โทษแต่สิ่งแวดล้อมและคนอื่น รักษาสัจจะ เวลา และมีความเสมอต้นเสมอ ปลาย 2. ความรับผิดชอบต่อตนเอง ดำ�รงชีวิตอย่างไม่ประมาท รู้และปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย จบแล้วเสร็จตามแผนที่ได้กำ�หนดไว้ มีความกล้าหาญยอมรับผิดเมื่อตนเองพลาดแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจาก การกระทำ�ของตน รักษาระเบียบวินัยและเคารพในสิทธิของตนและผู้อื่น 79


3. ความอดทน เพียรพยายาม ไม่ท้อถอยต่ออุปสรรคในการทำ�งาน ระลึกอยู่เสมอว่า ความ พยายามอยูท่ ไี่ หนความสำ�เร็จอยูท่ นี่ นั่ อดทนต่อความเย้ายวนของสิง่ แวดล้อมมุง่ ปฏิบตั หิ น้าทีใ่ นสถานภาพ ของตนให้ดีที่สุด 4. มานะบากบั่น หมั่นศึกษาหาความรู้ ค้นคว้าหาประสบการณ์ใหม่ๆ พร้อมทั้งฝึกฝน จนเกิด ความชำ�นาญ และสามารถนำ�มาประกอบกับภาระหน้าทีท่ ตี่ อ้ งปฏิบตั จิ นเกิดผลดีตอ่ ตนเอง ครอบครัวและ สังคม 5. ความมีนำ�้ ใจเอือ้ เฟือ้ เผือ่ แผ่ ต่อคนในครอบครัว ตลอดรวมไปถึงเพือ่ นบ้าน เพือ่ ให้เกิดความสุข และไมตรีจติ ทีด่ ตี อ่ กัน ความสำ�คัญของการมีวินัยต่อตนเอง วินัย (Discipline) เปรียบเสมือนกรอบที่กำ�หนดขึ้นเพื่อควบคุมพฤติกรรมในการดำ�รงชีวิตเพื่อ ให้ดำ�เนินไปจนถึงเป้าหมายที่กำ�หนด ดังนั้น ในการสร้างวินัยให้กับตนเองเป็นการเปลี่ยนพฤติกรรมของ ตนด้วยตนเอง ในการสร้างวินัยให้ตนเองต้องคำ�นึงถึงหลักเกณฑ์ต่อไปนี้ 1. เคารพกฎ ระเบียบ และวินัยของสังคม การสร้างวินัยให้กับตนเองได้นั้นต้องรู้บทบาทและ หน้าทีค่ วามรับผิดชอบของตนทีม่ ตี อ่ กฎระเบียบของสังคมเพือ่ ตนจะได้ปฏิบตั ดิ ว้ ยความเคารพแล้ว ยังต้อง รู้จักการข่มใจบังคับตนเองเพื่อให้ตนเองปฏิบัติ ตามกฎระเบียบทีอ่ ยูใ่ นกรอบของสังคมด้วยความ ตั้งใจจริงและจริงใจ มีความอดทนอดกลั้น แสดง พฤติกรรมทีถ่ กู ต้องตามบทบาท หน้าที่ และความ รับผิดชอบ 2. การรูจ้ กั ใช้สทิ ธิของตนเอง ตามกรอบที่ กฎหมายกำ�หนด ดังนั้นจึงจะต้องรู้ว่าตนเองมี สิทธิอย่างไร และมีหน้าที่อย่างไรที่จะต้องปฏิบัติ การสร้างวินยั ของตนในเรือ่ งของสิทธินนั้ ต้องคำ�นึง ถึงเรือ่ งกาลเทศะ และกติกาสังคมด้วยเช่นเดียวกัน 3. การเคารพสิทธิของผู้อื่น ในการสร้าง วินยั ของตนเองนี้ แม้วา่ ทุกคนจะมีเสรีภาพในการแสดงออกตามปกติ แต่กร็ ะมัดระวังเพราะการแสดงออก ตามกรอบเป้าหมายของตนอาจจะไปล่วงละเมิดสิทธิเสรีภาพของผูอ้ นื่ ได้ ดังนัน้ ในการสร้างวินยั ของตนเอง จึงต้องระมัดระวังในการเคารพสิทธิของผู้อื่นที่ตนต้องเข้าไปมีความสัมพันธ์ด้วย วินัยที่พึงปฏิบัติต่อตนเอง ในการวางแผนเพือ่ สร้างวินยั ทีพ่ งึ ปฏิบตั ติ อ่ ตนเองนัน้ ต้องเริม่ จากการวางจุดหมายของตน ทัง้ นี้ เพราะจุดหมายจะเป็นสิ่งที่นำ�ไปพิจารณาประกอบในการกำ�หนดหลักเกณฑ์การสร้างวินัยให้กับตนเอง อย่างไรก็ตามการสร้างวินยั ให้ตนเองเพือ่ ใช้เป็นกรอบในการกำ�หนดพฤติกรรม ควรยึดหลักเกณฑ์ดงั ต่อไปนี้ 80


1. การตรงต่อเวลา เป็นสิ่งที่พึงยึดถือเป็นลำ�ดับแรก ทั้งนี้เพราะเวลาเป็นสิ่งที่แน่นอนตายตัวและ ยึดเป็นตัวกำ�หนดความมีประสิทธิภาพของคนได้ ส่วนมากแล้วคนที่มีความสำ�เร็จในชีวิตมักจะเป็นคนที่ ยึดถือเรื่องราวตรงต่อเวลาเป็นสิ่งสำ�คัญ 2. มีความเพียรพยายามในการทำ�งาน ไม่ท้อถอยและล้มเลิกก่อนที่ผลของงานจะสำ�เร็จ มีความ อดทน อดกลั้นต่ออุปสรรคทั้งปวง 3. มีความกล้าหาญ ยอมรับผิด และกล้าที่จะแสดงออกอย่างสมเหตุสมผล ยอมรับฟังความคิด เห็นของผู้อื่น 4. มีความมุ่งมั่นในการดำ�รงชีวิตอย่างจริงจังและจิรงใจ 5. รู้จักวางแผนในการทำ�งานอย่างมีเป้าหมายและถูกต้องตามวัตถุประสงค์ 6. รู้จักบทบาทหน้าที่ของตนและเคารพในสิทธิของผู้อื่น 7. มีสัจจะ ยืนหยัดในหลักการที่ถูกต้อง 8. เคารพและปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ ระเบียบ และกฎหมาย 9. ประหยัดและอดออม ไม่ใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย และสร้างหนี้สิน 10. ยึดมั่นในศาสนา ไม่กระทำ�การใดๆ ที่ผิดต่อศีลธรรมและจรรยาบรรณ หลักเกณฑ์ขา้ งต้นนี้ หากได้ปฏิบตั อิ ย่างสมำ�่ เสมอจนเกิดเป็นนิสยั แล้ว ความส�ำเร็จอันเกิดจากการ ท�ำงานทั้งหลายทั้งปวงก็จะลุล่วงตามจุดหมายที่ได้ก�ำหนดไว้

2. บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบต่อครอบครัว

หน้าที่ของครอบครัว ครอบครัวเป็นสถาบันทางสังคมที่เล็กที่สุด แต่ สำ�คัญที่สุด เนื่องจากเป็นสถาบันแรกที่สามารถหล่อ หลอมและพัฒนาบุคคลต่างๆในครอบครัวให้เป็นบุคคล อันพึงประสงค์ของสังคม ซึ่งมีหน้าที่คือ หน้าที่สร้างสรรค์สมาชิก ครอบครัวมีหน้าที่ สร้างสมาชิกใหม่ขนึ้ ทดแทนสมาชิกเดิมทีจ่ ากไป เพือ่ สืบ วงศ์ตระกูลต่อไป แต่กต็ อ้ งตัง้ อยูบ่ นความสมดุลกับสังคม ถ้ามากเกินไปก็จะทำ�ให้เกิดปัญหาทางสังคมตามมา หน้ า ที่ อ บรมสั่ ง สอนระเบี ย บของสั ง คม ครอบครัวเป็นสถาบันแรกที่มีหน้าที่และบทบาทในการ อบรมสัง่ สอนทีส่ ำ�คัญทีส่ ดุ โดยมุง่ เน้นให้รจู้ กั ค่านิยมพืน้ ฐานทางวัฒนธรรม การพัฒนาบุคลิกภาพ ลักษณะ นิสัย และการปรับตัวเข้ากับสังคม หน้าที่อบรมสั่งสอนระเบียบของสังคม ครอบครัวเป็นสถาบันแรกที่มีหน้าที่และบทบาทในการ อบรมสัง่ สอนทีส่ ำ�คัญทีส่ ดุ โดยมุง่ เน้นให้รจู้ กั ค่านิยมพืน้ ฐานทางวัฒนธรรม การพัฒนาบุคลิกภาพ ลักษณะ นิสัย และการปรับตัวเข้ากับสังคม 81


หน้าที่ให้ความรักและความอบอุ่น ครอบครัวเป็นแหล่งสำ�คัญในการให้ความรัก ความอบอุ่นและ กำ�ลังใจแก่สมาชิกเพื่อให้สามารถต่อสู้และมีกำ�ลังใจในการดำ�เนินชีวิตในสังคมได้ หน้าที่กำ�หนดสถานภาพ เมื่ออยู่ในครอบครัว สมาชิกทุกคนจะมีสถานภาพที่ถูกกำ�หนดขึ้นโดย กำ�เนิด เช่น เพศ เชื้อชาติ ศาสนา เชื้อชาติ สัญชาติ และสถานะในครอบครัวรวมถึงในวงสังคม หน้าที่ปกป้องคุ้มครองหรือเลี้ยงดูผู้เยาว์ ครอบครัวจะทำ�หน้าที่ดูแลปกป้องและพัฒนาสมาชิกที่ เกิดขึ้นใหม่ ทั้งในด้านร่างกาย จิตใจ และให้การศึกษา หน้าทีท่ างเศรษฐกิจ สมาชิกในครอบครัวทุกคนถือเป็นหน่วยการผลิตทีส่ �ำ คัญ ทุกคนจะต้องทำ�งาน และแบ่งผลผลิตซึ่งกันและกัน เช่น พ่อแม่จะทำ�มาหากินเพื่อเลี้ยงลูกในวันเด็ก แต่พอในวัยหนุ่มสาวลูกก็ จะทำ�มาหากินเพื่อเลี้ยงดูพ่อแม่ หน้าที่ทางการศึกษา ครอบครัวเป็นแหล่งการศึกษาแห่งแรกของสมาชิก แต่เมื่อถึงวัยต้องรับการ ศึกษาในโรงเรียน ครอบครัวก็มหี น้าทีต่ อ้ งส่งสมาชิกเข้าเล่าเรียนศึกษา โดยต้องให้การสนับสนุนในเรือ่ งการ ศึกษา เพื่อให้มีความรู้เพื่อที่สามารถจะประกอบอาชีพได้ในอนาคต หน้าทีท่ างศาสนา ครอบครัวต้องมีหน้าทีใ่ นการปลูกฝังให้เลือ่ มใสในศาสนา และส่งเสริมให้ปฏิบตั ิ ตนตามคำ�สั่งสอนของศาสนา เพื่อให้เป็นคนดีของสังคม

หน้าที่ของสามีและภรรยา ในสภาพสังคมปัจจุบัน สังคมและเศรษฐกิจได้มีการเปลี่ยนแปลงไปมาก ผู้ชายและผู้หญิงจึงล้วน มีบทบาทที่เปลี่ยนแปลงไป จากเดิมที่ผู้ชายเป็นผู้นำ�ครอบครัว ก็เริ่มมีการปรับเปลี่ยนให้ผู้หญิงมีบทบาท ทัดเทียมกัน ดังนั้นสามีและภรรยาในยุคปัจจุบันจึงควรมีหน้าที่ๆสอดคล้องกับสถานการณ์คือ ให้การยกย่องซึ่งกันและกัน ให้เกียรติกันตามฐานะอย่างเหมาะสม ดูแลเอาใจใส่ ช่วยเหลือซึ่งกัน และกัน ไม่ดูหมิ่นเหยียดหยามทั้งวาจาและท่าทาง ไม่ว่าต่อหน้าหรือลับหลัง ให้คำ�แนะนำ�ในการปรับปรุง ตนเอง และร่วมกันแก้ไขข้อบกพร่องซึ่งกันและกัน ไม่ประพฤตินอกใจซึ่งกันและกัน ควรมีความซื่อสัตย์และคุณความดีของกันและกัน เพื่อรักษา ครอบครัวให้มีความสุขและดำ�เนินชีวิตได้อย่างราบรื่น ช่วยกันในธุรกิจงานบ้าน ช่วยดูแลทรัพย์สมบัติและกิจการงานบ้าน ควรรับผิดชอบภารกิจที่ต้อง ใช้แรงงาน รวมถึงการช่วยดูแลบุตร ให้กำ�ลังใจโดยของขวัญหรือของรางวัล ให้ความสำ�คัญกับโอกาสพิเศษ เช่น วันเกิด วันครบรอบ แต่งงานหรือเทศกาลต่างๆ มีของฝากเมื่อเดินทางไปสถานที่อื่นๆ ร่วมกันจัดการงานบ้านเรือนให้เรียบร้อย แบ่งภารกิจการงานบ้านให้สมาชิกทุกคนในครอบครัวมี งานเท่าเทียมกัน รวมถึงสร้างบรรยากาศในครอบครัวให้น่าอยู่ เอาใจใส่สงเคราะห์คนใกล้ชิด เอาใจใส่สารทุกข์สุกดิบของคนในครอบครัว รวมถึงญาติพี่น้องทั้ง ของฝ่าตนเองและฝ่ายภรรยาให้สม�่ำเสมอเท่าเทียมกัน ช่วยกันรักษาสมบัติไว้ให้ดี รู้จักการใช้สอยเงินทองอย่างประหยัด ไม่ควรใช้จ่ายให้เกินฐานะ ไม่ 82


สร้างภาระหนี้สินโดยไม่จำ�เป็น และหลีกเลี่ยงอบายมุขต่างๆ กำ�ลังใจแก่สมาชิกเพื่อให้สามารถต่อสู้และมีกำ�ลังใจในการดำ�เนินชีวิตในสังคมได้ หน้าที่กำ�หนดสถานภาพ เมื่ออยู่ในครอบครัว สมาชิกทุกคนจะมีสถานภาพที่ถูกกำ�หนดขึ้นโดย กำ�เนิด เช่น เพศ เชื้อชาติ ศาสนา เชื้อชาติ สัญชาติ และสถานะในครอบครัวรวมถึงในวงสังคม หน้าที่ปกป้องคุ้มครองหรือเลี้ยงดูผู้เยาว์ ครอบครัวจะทำ�หน้าที่ดูแลปกป้องและพัฒนาสมาชิกที่ เกิดขึ้นใหม่ ทั้งในด้านร่างกาย จิตใจ และให้การศึกษา หน้าทีท่ างเศรษฐกิจ สมาชิกในครอบครัวทุกคนถือเป็นหน่วยการผลิตทีส่ �ำ คัญ ทุกคนจะต้องทำ�งาน และแบ่งผลผลิตซึ่งกันและกัน เช่น พ่อแม่จะทำ�มาหากินเพื่อเลี้ยงลูกในวันเด็ก แต่พอในวัยหนุ่มสาวลูกก็ จะทำ�มาหากินเพื่อเลี้ยงดูพ่อแม่ หน้าที่ทางการศึกษา ครอบครัวเป็นแหล่งการศึกษาแห่งแรกของสมาชิก แต่เมื่อถึงวัยต้องรับการ ศึกษาในโรงเรียน ครอบครัวก็มหี น้าทีต่ อ้ งส่งสมาชิกเข้าเล่าเรียนศึกษา โดยต้องให้การสนับสนุนในเรือ่ งการ ศึกษา เพื่อให้มีความรู้เพื่อที่สามารถจะประกอบอาชีพได้ในอนาคต หน้าทีท่ างศาสนา ครอบครัวต้องมีหน้าทีใ่ นการปลูกฝังให้เลือ่ มใสในศาสนา และส่งเสริมให้ปฏิบตั ิ ตนตามคำ�สั่งสอนของศาสนา เพื่อให้เป็นคนดีของสังคม

หน้าที่ของสามีและภรรยา ในสภาพสังคมปัจจุบัน สังคมและเศรษฐกิจได้มีการเปลี่ยนแปลงไปมาก ผู้ชายและผู้หญิงจึงล้วน มีบทบาทที่เปลี่ยนแปลงไป จากเดิมที่ผู้ชายเป็นผู้นำ�ครอบครัว ก็เริ่มมีการปรับเปลี่ยนให้ผู้หญิงมีบทบาท ทัดเทียมกัน ดังนั้นสามีและภรรยาในยุคปัจจุบันจึงควรมีหน้าที่ๆสอดคล้องกับสถานการณ์คือ ให้การยกย่องซึ่งกันและกัน ให้เกียรติกันตามฐานะอย่างเหมาะสม ดูแลเอาใจใส่ ช่วยเหลือซึ่งกัน และกัน ไม่ดูหมิ่นเหยียดหยามทั้งวาจาและท่าทาง ไม่ว่าต่อหน้าหรือลับหลัง ให้คำ�แนะนำ�ในการปรับปรุง ตนเอง และร่วมกันแก้ไขข้อบกพร่องซึ่งกันและกัน ไม่ประพฤตินอกใจซึ่งกันและกัน ควรมีความซื่อสัตย์และคุณความดีของกันและกัน เพื่อรักษา ครอบครัวให้มีความสุขและดำ�เนินชีวิตได้อย่างราบรื่น ช่วยกันในธุรกิจงานบ้าน ช่วยดูแลทรัพย์สมบัติและกิจการงานบ้าน ควรรับผิดชอบภารกิจที่ต้อง ใช้แรงงาน รวมถึงการช่วยดูแลบุตร ให้กำ�ลังใจโดยของขวัญหรือของรางวัล ให้ความสำ�คัญกับโอกาสพิเศษ เช่น วันเกิด วันครบรอบ แต่งงานหรือเทศกาลต่างๆ มีของฝากเมื่อเดินทางไปสถานที่อื่นๆ ร่วมกันจัดการงานบ้านเรือนให้เรียบร้อย แบ่งภารกิจการงานบ้านให้สมาชิกทุกคนในครอบครัวมี งานเท่าเทียมกัน รวมถึงสร้างบรรยากาศในครอบครัวให้น่าอยู่ เอาใจใส่สงเคราะห์คนใกล้ชิด เอาใจใส่สารทุกข์สุกดิบของคนในครอบครัว รวมถึงญาติพี่น้องทั้ง ของฝ่าตนเองและฝ่ายภรรยาให้สม�่ำเสมอเท่าเทียมกัน ช่วยกันรักษาสมบัติไว้ให้ดี รู้จักการใช้สอยเงินทองอย่างประหยัด ไม่ควรใช้จ่ายให้เกินฐานะ ไม่ 83


สร้างภาระหนี้สินโดยไม่จำ�เป็น และหลีกเลี่ยงอบายมุขต่างๆ ไม่เกียจคร้านในกิจการทั้งปวง ควรมีความขยันขันแข็งในการทำ�งานทั้งภายนอกและภายในบ้าน เพื่อความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน เพื่อให้ฐานะครอบครัวมีความมั่นคงมากยิ่งขึ้น หน้าที่ของบิดามารดาต่อบุตร คูส่ ามีภรรยาทีม่ คี วามพร้อมและตัดสินใจมีลกู แล้ว จะต้องตระหนักถึงภาระหน้าทีๆ่ เกิดขึน้ ตามมา โดยมีบทบาทใหม่ในการเป็นพ่อและแม่ ซึ่งเป็นหน้าที่ๆสำ�คัญและมีความรับผิดชอบสูงอันได้แก่ การให้ความเจริญเติบโตทางด้านร่างกายและจิตใจ พ่อแม่มีหน้าที่ต้องให้ความเอาใส่ลูกทั้งด้าน ร่างกายและจิตใจ ในด้านร่างกายเป็นความจำ�เป็นในอันดับแรกของชีวิต ในขณะที่ลูกยังช่วยตัวเองไม่ได้ พ่อแม่มีหน้าที่ต้องดูแลหาอาหาร เครื่องนุ่งห่มและดูแลยามเจ็บไข้ได้ป่วย ในด้านจิตใจก็ได้แก่การให้ความ รู้สึกมั่นคงปลอดภัยแก่ลูก สร้างความรู้สึกให้ลูกรู้สึกถึงการเจริญเติบโตด้วยความเป็นมิตร มีสัมพันธภาพ ที่ดีต่อกัน เกิดความสัมพันธ์ที่เหนียวแน่น เกิดความภูมิใจกับสถานภาพของตนเองในครอบครัว การอบรมสั่งสอน พ่อแม่มีหน้าที่ต้องปลูกฝังให้ลูกสามารถควบคุมตัวเองและปรับตัวให้เข้ากับ สภาพสังคมและสิ่งแวดล้อม ด้านการเข้าสังคม มารยาทสังคม การอยู่ร่วมกับผู้อื่นเพื่อให้สามารถดำ�เนิน ชีวิตในสังคมได้ การเอาใจใส่ พ่อแม่ต้องคอย เอาใจใส่ดแู ลลูก เพือ่ สังเกตและควบคุม พฤติกรรมของลูกให้ดำ�เนินไปได้อย่าง ถู ก ครรลองคลองธรรม และเป็ น ที่ ยอมรับของสังคม อันได้แก่ ด้านสุขภาพ จิต เพราะเด็กบางคนอาจมีความผิด ปกติดา้ นสภาพจิตใจ ด้านความผิดปกติ ทางเพศซึ่งต้องได้รับการแก้ไขบำ�บัด เพือ่ แก้ปญ ั หา ด้านการใช้ยาเสพติดเด็ก สมัยใหม่จะเข้าถึงได้คอ่ นข้างง่ายจึงต้อง ใช้การสังเกตเพื่อป้องกันปัญหา ด้านการใช้เวลาว่างพ่อแม่ควรต้องแนะนำ�ให้เด็กได้ใช้เวลาว่างตามความ ถนัดตามความสนใจ ให้คำ�แนะนำ�และส่งเสริมการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ หน้าที่ของบุตรต่อบิดามารดา ในช่วงแรกของชีวิตบิดามารดามีหน้าที่ต้องดูแลบุตร แต่ในช่วงท้ายของชีวิตแล้ว บุตรก็มีหน้าที่ ต้องดูแลบิดามารดาเป็นการตอบแทน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมไทยให้ความสำ�คัญกับเรื่องนี้มาก ดังนั้น บุตรจึงมีหน้าที่ที่ควรปฏิบัติต่อบิดามารดาคือ ความกตัญญู บุตรควรต้องดูแลเอาใจใส่บดิ ามารดาให้เหมือนกับทีบ่ ดิ ามารดาดูแลเอาใจใส่ตน ดูแล ให้ดำ�เนินชีวิตอย่างมีความสุข หาอุปกรณ์อำ�นวยความสะดวกในการดำ�เนินชีวิต ดูแลยามเจ็บไข้ได้ป่วย 84


ช่ ว ยเหลื อ กิ จ การงานหน้ า ที่ ครอบครัวตามโอกาส บุตรควรต้องช่วย เหลือดูแลภารกิจในบ้านทั้งกิจการของ ครอบครัว งานอื่นๆที่นอกเหนือ เพื่อให้ พ่อแม่ได้มีโอกาสผักผ่อนและเป็นการ แบ่งเบาภาระ ดำ�รงวงศ์ตระกูลของพ่อแม่ให้เจริญ สังคมไทยให้ความสำ�คัญกับการสืบทอด วงศ์ตระกูลและชื่อเสียงของวงศ์ตระกูล ดังนั้นบุตรควรต้องรักษาชื่อเสียงและ

ประพฤติตนให้เหมาะสมตามขนบธรรมเนียมประเพณี เมือ่ พ่อแม่ลว่ งลับไปแล้วทำ�บุญอุทศิ ให้ สังคมไทยให้ความสำ�คัญเรือ่ งการรำ�ลึกถึงบุญคุณบิดามารดา การทำ�บุญอุทศิ ให้กถ็ อื เป็นการนึกถึงและตอบแทนบุญคุณอีกทางหนึง่ และเป็นการแสดงถึงความเคารพอยู่ เสมอ หน้าที่ต่อเครือญาติ โครงสร้างสังคมไทยเรา ถือเป็นระบบสังคมเครือญาติ ซึ่งมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทำ�ให้ เกิดความเหนียวแน่นและความสัมพันธ์ในเชิงสังคม เช่นความสัมพันธ์ในฐานะ ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา ความสัมพันธ์ในระบบเครือญาติมักจะเกิดขึ้นจากความเกี่ยวพันทางสายเลือดและความเกี่ยวพันจาก การสมรส ซึ่งความเกี่ยวพันดังกล่าวทำ�ให้เกิดเครือญาติและทำ�ให้มีหน้าที่ที่ต้องดูแลรับผิดชอบกันคือ หน้าที่ทางการเงิน ครอบครัวที่มีฐานะทางเศรษฐกิจดีอาจถูกเป็นที่พึ่งหวังของครอบครัวที่ฐานะ ทางเศรษฐกิจทีท่ ไี่ ม่ดี การให้การช่วยเหลือกันเป็นบางโอกาสทางด้านการเงินจึงเป็นภาระใหม่ทเี่ กิดขึน้ ซึง่ ก็ควรให้การช่วยเหลือการตามสมควรโดยไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนต่อครอบครัวตนเอง หน้าที่ปรับตัวให้เข้ากับแบบแผนครอบครัวเดิม ครอบครัวแต่ละครอบครัวย่อมมีแบบแผนการ ดำ�เนินชีวิตที่แตกต่างกัน การที่คนต่างครอบครัวกันมาอยู่ร่วมกันย่อมมีความแตกต่างกันในการปฏิบัติตัว ในด้านต่างๆ ทั้งวัฒนธรรม ศาสนา ฐานะทางสังคมเศรษฐกิจ เพื่อหลีกเหลี่ยงปัญหาการอยู่ร่วมกัน จึงต้อง มีการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น หน้าทีก่ ารปรับตัวให้เข้ากับญาติ ด้วยความแตกต่างของพืน้ ฐานครอบครัวทำ�ให้คนเราทีอ่ ยูร่ ว่ มกัน ต้องปรับตัวเข้าหากัน โดยเฉพาะคู่สมรสใหม่ จำ�เป็นต้องปรับตัวให้เข้ากันได้กับญาติของทั้ง 2 ฝ่ายจึงจะ ทำ�ให้ชีวิตสมรสดำ�เนินไปได้อย่างราบรื่น ซึ่งเป็นสิ่งที่อาจต้องใช้เวลาในการปรับตัวพอสมควรเนื่องญาติพี่ น้องจะมีจำ�นวนมากและมีลักษณะนิสัยใจคอที่แตกต่างกันออกไป

85


3. บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบต่อผู้นำ�ชุมชน/ผู้นำ�ศาสนา

3.1 หน้าที่ของผู้นำ�ชุมชน 1. เป็นผู้รักษาหรือประสานให้สมาชิกของชุมชนอยู่ร่วมกัน หมายถึง จะต้องอยู่ใกล้ชิด กัน ชุมชนมีความสัมพันธ์คนในชุมชน และเป็นที่ยอมรับของคนในชุมชน ทำ�ให้มีความสามัคคีกลมเกลียว กันในชุมชน 2. เป็นผู้ปฏิบัติภารกิจของชุมชนให้บรรลุวัตถุประสงค์ หมายถึง ต้องรับผิดชอบใน กระบวนการวิธีการทำ�งานด้วยความมั่นคงและเข้าใจได้ และต้องทำ�งานให้บรรลุเป้าหมาย 3. บทบาทในการสนับสนุนให้เกิดการติดต่อสัมพันธ์ในกลุ่ม หมายถึง จะต้องปฏิบัติงาน ในทางทีอ่ �ำ นวยความสะดวกให้เกิดภาระติดต่อสัมพันธ์และปฏิบตั กิ นั ด้วยดีของสมาชิกในชุมชน การติดต่อ สื่อสารที่ดีจึงเป็นสิ่งสำ�คัญ และเป็นการช่วยให้หน้าที่บรรลุเป้าหมาย 3.2. แนวทางการทำ�หน้าที่ 1.สร้างความสามัคคีในเกิดขึ้นในชุมชน 2.กระตุ้นให้สมาชิกทำ�สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน 3.พัฒนาสมาชิกในเกิดภาวะผู้นำ� 4.ร่วมกับสมาชิกกำ�หนดเป้าหมายของชุมชน 5.บริหารงาน / ประสานงานในชุมชน 6.ให้คำ�แนะนำ� / ชี้แนวทางให้กับชุมชน 7.บำ�รุงขวัญสมาชิกในชุมชน 8.เป็นตัวแทนชุมชนในการติดต่อประสานงานกับหน่วยอื่นๆ 9.รับผิดชอบต่อผลการกระทำ�ของชุมชน 3.3 บทบาทของผู้นำ�ชุมชน 3.3.1 ด้านเศรษฐกิจ - ครัวเรือนสามารถพึ่งตนเองได้ - ส่งเสริมอาชีพที่ตอบสนองต่อความต้องการของชุมชน 3.3.2 ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชน - บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างเหมาะสม - เสริมสร้างสภาพแวดล้อมที่ดี 3.3.3 ด้านสุขภาพอนามัย - การจัดการเพื่อส่งเสริมสุขภาพ - การป้องกันโรค - การดูแลสุขภาพด้วยตนเอง 3.3.4 ด้านศาสนา วัฒนธรรมและประเพณี - การนับถือศาสนาที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ - การมีวิถีชีวิตแบ่งปันเอื้ออาทร 86


3.5 ด้านบริหารจัดการชุมชน - การจัดทำ�ระบบข้อมูล - การจัดทำ�แผนชุมชน - การจัดสวัสดิการชุมชน 3.6 ด้านความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน - การป้องกันภัยในชีวิต ทรัพย์สิน ธรรมชาติของชุมชน

2. อิทธิพลของสื่อโฆษณาเกี่ยวกับสุขภาพ

ในสภาพปัจจุบนั นีก้ ารแข่งขันทางการตลาดได้มคี วามทวีความรุนแรงมากขึน้ ทัง้ นีเ้ พือ่ วัตถุประสงค์ เพียงหลัก คือ การเป็นผูน้ �ำ ทางด้านการตลาด และการมียอดขายสูงสุดเหนือคูแ่ ข่งขันในสินค้ากลุม่ เดียวกัน กลยุทธ์ทางด้านการตลาดต่างๆ จึงถูกนำ�มาใช้โดยการ พัฒนาอย่างต่อเนือ่ ง การโฆษณาเป็นกลยุทธ์ส�ำ คัญทาง ด้านการส่งเสริมทางการตลาดอย่างหนึ่งเรื่อยมาด้วย ความเชื่อว่า การโฆษณาเป็นการจูงใจให้ผู้บริโภคเกิด ความพอใจ สนใจที่จะใช้สินค้าและบริการในรูปแบบ ของการสื่อสารมวลชน ที่เกือบจะเรียกได้ว่าจะขายไม่ ได้เสียแล้วสำ�หรับตลาดที่มีการแข่งขันอย่างสมบรูณ์ สถานการณ์ปัจจุบัน สถาบันสื่อสารมวลชนได้ เข้ามามีบทบาทในการดำ�เนินชีวติ ประจำ�วันของคนไทยมากขึน้ ทัง้ ในด้านการให้ขา่ วสาร การให้การศึกษา การโน้มนาวใจ และการให้ความบันเทิง ทัง้ นีเ้ นือ่ งจากการพัฒนาเทคโนโลยีการสือ่ สารทีท่ นั สมัย ทำ�ให้การ สื่อสารรวดเร็วและสะดวกขึ้น อีกทั้งมีสื่อใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย ทำ�ให้สื่อมวลชนใกล้ชิดประชาชนมากขึ้น นอกจากนี้ยังทำ�ให้เกิดสื่อโฆษณาใหม่ๆ ควบคู่ไปกับสื่อมวลชนนั้นด้วย โดยจะสังเกตได้ว่าสื่อมวลชนที่ได้ รับความนิยมสูงก็จะได้มีการโฆษณาควบคู่กับสื่อนั้นมากด้วย ความสวย ความงาม เป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนาไม่ว่าผู้หญิงหรือผู้ชาย ทุกวันนี้การใช้เครื่องสำ�อาง เพือ่ การเสริมแต่งความสวยงาม ชะลอความแก่ ทำ�ให้มองดูออ่ นกว่าวัยนี้ เป็นสิง่ ทีแ่ พร่หลายในชีวติ ประจำ� วันของเกือบทุกๆ คนซึง่ ในปัจจุบนั นีเ้ ครือ่ งสำ�อางจะไม่ใช่สนิ ค้าฟุม่ เฟือยเสมอไป แต่ถา้ รูจ้ กั เลือกใช้แต่พอดี เลือกอย่างชาญฉลาดก็จะเป็นการเพิ่มพูนบุคลิกภาพของบุคคลนั้นๆ ได้

3. แนวทางการเลือกบริโภคที่หะลาลและคุณค่า (ปลอดภัย ประหยัด ประโยชน์)

มุสลิมต้องรับประทานอาหารที่อนุมัติตามคำ�สั่งของอัลลอฮ์ ดังที่อัลลอฮฺ ได้ตรัสไว้ ความว่า “มนุษย์เอ๋ยจงบริโภคสิง่ ทีไ่ ด้รบั การอนุมตั แิ ละทีด่ มี ปี ระโยชน์จากทีม่ อี ยูใ่ นแผ่นดิน และอย่าปฏิบตั ิ ตามรอยเท้าของมาร แท้จริง มันเป็นศัตรูที่ชัดแจ้งสำ�หรับสูเจ้า” (อัลบะเกาะเราะฮ อายะฮ์ที่168) 87


“พระองค์ทรงห้ามพวกเจ้านั้นเพียงแต่สัตว์ที่ตายเอง และเลือด และเนื้อสุกร และสัตว์ที่ถูกกล่าว นามอื่นนอกจากอัลลอฮ์ (เมื่อถูกเชือด) แต่ผู้ใดได้รับความคับขันโดย มิได้เจตนา และมิใช่เป็นผู้ละเมิด ขอบเขตแล้วไซร้ ก็ไม่มบี าปใดๆ แก่เขา แท้จริงอัลลอฮ์เป็นผูท้ รงอภัยโทษผูท้ รงเมตตาเสมอ” (สูเราะฮ์อลั บะ เกาะเราะฮ อายะฮ์ที่ 173) “แท้จริง พระองค์เพียงแต่ทรงห้ามสูเจ้า (มิให้บริโภค) สัตว์ที่ตายเอง และเลือดและเนื้อของสุกร และที่ถูกเปล่งนามอื่นนอกจากอัลลอฮฺ (เมื่อเชือด) แต่ผู้ใดก็ดีที่อยู่ในภาวะคับขันไม่เจตนาดื้อดึงและมิใช่ ละเมิด ฉะนั้นแท้จริงอัลลอฮ์เป็นผู้ทรงให้อภัย ผู้ทรงเมตตาเสมอ” (สูเราะฮ์อันนะหฺล อายะฮ์ที่ 115) คำ�ว่าอนุมัตินั้น ภาษาอาหรับเรียกว่า “หะลาล” ไม่เฉพาะกับสิ่งที่เรากินเท่านั้น ยัง หมายถึง วิธีการได้มาซึ่งเงิน และสิ่งอื่นๆ ที่ต้อง ห้าม สิ่งใดที่ห้ามไม่อนุมัติจะเรียกว่า “หะรอม” การคดโกงมาก็เรียกว่า หะรอม เช่นกัน ดังนั้น สิ่งที่เรารับประทานเข้าไปก็มีผล ต่อเลือดเนือ้ ของเรา หากรับประทานสิง่ ไม่ดสี งิ่ เหล่านีก้ จ็ ะถูกดูดซึมหมุนเวียนเข้าสูร่ า่ งกาย หัวใจและสมอง เนื้อในร่างกายก็จะเป็นสิ่งที่ไม่ดี เช่นกัน ทำ�ให้มีผลต่อธรรมชาติจิตใจของมนุษย์ ซึ่งจะมีผลต่อการทำ�อิบา ดะฮฺ และการขอดุอาอ์จากพระองค์อัลลอฮ์ นอกจากนั้นเลือดเนื้อในร่างกายเราหากเกิดขึ้นจากการ บริโภคสิ่งที่ต้องห้าม เลือดเนื้อเหล่านั้นก็จะถูกเผาด้วยไฟนรก “ก้อนเนือ้ ทุกชิน้ ทีเ่ ติบโตมาจากสิง่ ฮะรอม(ก้อนเนือ้ นัน้ )ไฟนรกจะเผาผลาญเป็นเบือ้ งแรก” (บันทึก โดยอัฏฎ็อบบะรอนีย์) ปัจจุบนั มีอาหารมากมายหลากหลายชนิด ทีว่ างรายเรียงตามท้องตลาด ทัง้ ชนิดสำ�เร็จรูป และ รอ การไปประกอบอาหาร ซึง่ ในปัจจุบนั มีหน่วยงานทีร่ บั รองมาตรฐานอาหารหะลาล ขึน้ มา เพือ่ ช่วยให้มสุ ลิม มีทางเลือกที่ถูกต้องบริโภคได้ตามหลักศาสนาเพื่อส่งเสริมและสร้างศรัทธา มิใช่กินเพราะอยากกินโดยไม่ พินิจพิจารณา ว่าอะไรรับประทานได้หรือไม่ได้

อาหารหะลาล

อาหารหะลาล หมายถึง อาหารทีผ่ ลิตขึน้ ถูกต้อง ตามบทบัญญัตขิ องศาสนาอิสลาม มุสลิมสามารถบริโภค ได้ โดยคำ�นึงถึงความสะอาด มีคณ ุ ค่าตามหลักโภชนาการ และอาหารทีม่ สุ ลิมสามารถรับประทานได้นนั้ จะต้องเป็น อาหารที่หะลาลเท่านั้น 88


ข้อกำ�หนดในการผลิตอาหารหะลาล 1. วัตถุดิบ กระบวนการผลิต การบรรจุ การรักษาจะต้องหะลาลทุกขั้นตอน 2. สถานทีผ่ ลิตอาหารหะลาลจะต้องไม่ปะปนกับการผลิตอาหารทีห่ ะรอม (ห้ามมุสลิมบริโภค) ใน ทุกขั้นตอนตั้งแต่การเตรียม การผลิต กระบวนการผลิต และการเก็บรักษา 3. เครื่องจักร เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการเตรียมการผลิต กระบวนการผลิต การขนส่งและ การเก็บรักษาจะต้องสะอาดตามหลักการของศาสนาอิสลาม 4. เนื้อสัตว์ พืช เครื่องดื่มที่ไม่อนุญาตให้นำ�มาประกอบเป็นอาหารหะลาล เช่น สุกร สุนัข หมูป่า งู ลิง สัตว์กินเนื้อเป็นอาหารและมีเล็บ เช่น สิงโต เสือ หมี เป็นต้น 5. วิธีการเชือดหรือฆ่าสัตว์ - คนเชือดต้องเป็นมุสลิมและมีความรู้เกี่ยวกับการเชือดสัตว์ตามหลักศาสนา - เป็นสัตว์ที่อิสลามกำ�หนดให้เชือดได้ - เป็นสัตว์ที่ยังมีชีวิตอยู่ขณะที่เชือด - ขณะเชือดต้องให้หัวของสัตว์หันไปทางกิบลัต (สำ�หรับประเทศไทยคือทิศตะวันตก) - ผู้เชือดต้องกล่าวว่า “บิสมิลลาฮ์” (ด้วยพระนามของอัลลอฮ์) ก่อนลงมือเชือด - มีดที่ใช้เชือดต้องคมและต้องเชือดจนเสร็จสิ้นโดยไม่ดึงมือออก การเชือดต้องให้หลอดลมและ เส้นเลือดดำ�ที่คอหอยสัตว์ขาด

ความแตกต่างของอาหารหะลาลกับอาหารทั่วไป อาหารหะลาล คือ อาหารที่สะอาด ปราศจากนะญิส( สิ่งสกปรกปฏิกูล)และ เป็นที่น่ารังเกียจ โดยบทบัญญัติศาสนากำ�หนดไว้ นะญิสที่สำ�คัญมีอยู่ 7 ชนิด คือ 1. สุนัขและสุกร 2. สุรา ของมึนเมา และแอลกอฮอล์ 3. ซากสัตว์ หมายถึง สัตว์ที่ตายโดยไม่ได้เชือดตามหลักการอิสลามยกเว้น ปลาและตั้กแตน 4. เลือดที่หลั่งริน น�้ำเหลือง น�้ำหนอง ยกเว้นอวัยวะที่คล้ายเลือดแต่ไม่ใช่เลือด เช่น ตับ และ ม้าม

89


5. ปัสสาวะ อุจจาระ และอาเจียน ของมนุษย์ และสัตว์ 6. ส่วนที่แยกออกจากสัตว์ขณะที่สัตว์นั้นยังมี ชีวิต ยกเว้นผมและขน 7. นมสัตว์ทเี่ นือ้ ของมันไม่อนุมตั ใิ ห้รบั ประทาน เช่น นมลา นมแมว นมสุกร นมสุนัข ซึ่งถือเสมือนเนื้อ ของสัตว์เหล่านั้น จึงจัดเป็นนะญิส

สิทธิพื้นฐานของผู้บริโภคและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค

พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 ได้ บัญญัติสิทธิของผู้ บริโภคที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย 5 ประการ ดังนี้ 1. สิทธิที่จะได้รับข่าวสารรวมทั้งคำ�พรรณนาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าหรือ บริการ ได้แก่ สิทธิที่ จะได้รับการโฆษณาหรือการแสดงฉลากตามความเป็นจริงและปราศจากพิษภัยแก่ผู้ บริโภค รวมตลอดถึงสิทธิที่จะได้รับทราบ ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการอย่างถูกต้องและเพียงพอที่จะ ไม่หลงผิด ในการซื้อสินค้าหรือรับบริการโดยไม่เป็นธรรม 2. สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกหาสินค้าหรือบริการ ได้แก่ สิทธิที่จะเลือกซื้อสินค้าหรือรับบริการ โดยความ สมัครใจของผู้บริโภค และปราศจากการชักจูงใจอันไม่เป็นธรรม 3. สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับสินค้าหรือ บริการที่ปลอดภัย มีสภาพและคุณภาพได้มาตรฐานเหมาะสมแก่การใช้ ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกายหรือทรัพย์สิน ในกรณีใช้ตามคำ�แนะนำ�หรือระมัดระวังตามสภาพของสินค้าหรือบริการนั้นแล้ว 4. สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำ�สัญญา ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับข้อสัญญาโดยไม่ถูกเอารัด เอาเปรียบจากผู้ประกอบธุรกิจ 5. สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองและ ชดใช้ค่าเสียหาย เมื่อมีการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค ตามข้อ 1, 2, 3 และ 4 ดังกล่าว

90


หน่วยการเรียนรู้ที่ 7

บทบาทของนักเรียนในการเสริมสร้างสุขภาพ ในการป้องกันโรคของตนเอง ครอบครัว และชุมชน ตัวชี้วัด พ 4.1 ม.4-6 1. วิเคราะห์สาเหตุและเสนอแนวทางการป้องกันการเจ็บป่วยและการตายของคนไทย 2. วางแผนและปฏิบัติตามแผนการพัฒนาสุขภาพของตนเองและครอบครัว 3. มีส่วนร่วมในการส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพของบุคคลในชุมชน 4. วางแผนและปฏิบัติตามแผนการพัฒนาสมรรถภาพกายและสมรรถภาพกลไก สาระการเรียนรู้แกนกลาง 1. สาเหตุของการเจ็บป่วยและการตายของคนไทย เช่น โรคจากการประกอบอาชีพ โรค ทางพันธุกรรม 2. แนวทางการป้องกันการเจ็บป่วย 3. การวางแผนการพัฒนาสุขภาพของตนเอง ครอบครัว 4. การมีส่วนร่วมในการส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพของบุคคลในชุมชน 5. การวางแผนพัฒนาสมรรถภาพทางกายและสมรรถภาพกลไก

1. สาเหตุของการเจ็บป่วยและการตายของคนไทย เปรียบเทียบกับมุสลิมไทย

สาเหตุของการป่วยคือ สภาวะที่ร่างกายไม่สามารถขับของเสียสารเคมีต่างๆ ขาดภูมิคุ้มกัน ต้านทานโรค กำ�จัดเชื้อโรค สิ่งเหล่าที่ถ้าไปอาศัยอยู่ในร่างกาย ก็จะเข้าไปทำ�ลายอวัยวะภายใน และโลหิต น้�ำ เหลือง จนกระทัง้ สิง่ แปลกปลอมเหล่านีม้ มี ากจนร่างกายต้องเสียสมดุล เกิดอาการเจ็บป่วย ต่างๆนานา การเจ็บป่วยที่มีอาการต่างกัน เพราะว่าอวัยวะ หรือของเหลวต่างๆในร่างกายผิดปกติ ที่ใดที่หนึ่งป่วยใช้ การไม่ได้ การรักษาร่างกาย การเจ็บไข้ได้ป่วยของคนเรามักจะเชื่อว่า ถ้าที่ไหนมีเครื่องมือราคาแพง ทัน สมัยจะช่วยให้รักษาโรคหาย แต่ในความเป็นจริงกลับไม่ได้เป็นเช่นนั้น คนไข้บางรายต้องเสียใจที่ตนเลือก การรักษาเพียงด้านเดียว กลับไม่ได้มองถึงการรักษาแนวทางธรรมชาติรว่ มด้วย เช่นการใช้ยาสมุนไพร การ นั่งสมาธิ การออกกำ�ลังกาย เป็นต้น

91


สาเหตุของการป่วยในปัจจุบันโดยส่วนใหญ่แล้วมาจากพฤติกรรมด้านสุขภาพ คือ 1) พฤติกรรมการป้องกัน หมายถึง การปฏิบัติของบุคคลในการป้องกัน 2) พฤติกรรมเมื่อเจ็บป่วย หมายถึง การปฏิบัติที่บุคคลกระทำ�เมื่อร่างกายมีอาการผิด ปกติหรือเจ็บป่วย 3) พฤติกรรมบทบาทของการเจ็บป่วย หมายถึง การปฏิบัติที่บุคคลกระทำ�หลังจากได้ ทราบผลการวินิจฉัยโรคแล้ว

1.1 โรคจากการประกอบอาชีพ

โรคจากการประกอบอาชีพ เช่น โรคทางเดินหายใจ โรคมะเร็ง เป็นโรคที่พบได้บ่อยเนื่องจากสารพิษเข้าสู่ร่างกาย ทางระบบทางเดิน หายใจในระดับต่างๆ ตามขนาดของอนุภาค และทำ�ให้เกิดโรคได้ตั้งแต่ ระบบหายใจส่วนต้น เช่น มีอาการอักเสบของเยื่อบุจมูก เป็นหวัด เจ็บคอ จนถึงระบบหายในส่วนปลายทำ�ให้เกิดโรคนิวไมโคนิโอสิสชนิดต่างๆ โรคผิวหนังจากการประกอบอาชีพ เกิดจากสารเคมีตา่ งๆ ทีท่ �ำ ให้ เกิดการการระคายเคืองผิวหนังอักเสบ และยังจะทำ�ให้เกิดการติดเชือ้ เป็น ภูมิแพ้ โรคมะเร็งจากการประกอบอาชีพ เกิดเนือ่ งจากผลของสารเคมีโดยตรงต่อกระบวนการแบ่งตัวของ เซลส์ในระดับดีเอ็นเอ ซึง่ มีสารเคมีบางตัวทีก่ อ่ ให้เกิดมะเร็งในตำ�แหน่งต่างๆ ของร่างกาย กลไกทีก่ อ่ ให้เกิด มะเร็งกว่าจะเกิดขึ้นใช้เวลาเป็นสิบปีหลังจากการสัมผัส เช่น โรคมะเร็งปอด โรคมะเร็งผิวหนัง โรคมะเร็ง เม็ดเลือดขาว โรคมะเร็งตับ โรคมะเร็งจมูก

92

1.2 โรคทางพันธุกรรม

โรคทางพั น ธุ ก รรม หรื อ โรคติ ด ต่ อ ทาง พันธุกรรม เป็น โรคที่เกิดขึ้นโดยมีสาเหตุมาจาก การถ่ายทอดพันธุกรรมของทางพ่อและแม่ หาก หน่วยพันธุกรรมของพ่อและแม่มคี วามผิดปกติแฝง อยู่ โดยความผิดปกติเหล่านี้เกิดขึ้นมาจากการผ่า เหล่าของหน่วยพันธุกรรมบรรพบุรุษ ทำ�ให้หน่วย พันธุกรรมเปลี่ยนไปจากเดิมได้ ทั้งนี้ โรคทาง พันธุกรรมนี้ เป็นโรคติดตัวไปตลอดชีวติ ไม่สามารถ รักษาให้หายขาดได้ โดย โรคทางพันธุกรรม เกิด จากความผิดปกติของโครโมโซม 2 ประการ คือ ความผิดปกติของออโตโซม (โครโมโซมร่างกาย) และความผิดปกติของโครโมโซมเพศ


1) โรคที่เกิดจากความผิดปกติบนออโตโซม โรคที่เกิดจากความผิดปกติบนออโตโซม คือ โรคที่เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซมในร่างกาย ที่มี 22 คู่ หรือ 44 แท่ง สามารถเกิดได้กับทุกเพศ และมีโอกาสเกิดได้เท่าๆ กัน โรคที่เกิดจากความผิดปกติบนออโตโซม แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ความ ผิดปกติที่จำ�นวนออโตโซม และความผิดที่รูปร่างโครโมโซม ประกอบด้วย 1.1) ความผิดปกติของจำ�นวนออโตโซม เป็นความผิดปกติที่จำ�นวนออโทโซมในบางคู่ที่เกินมา 1 โครโมโซม จึงทำ�ให้โครโมโซมในเซลล์ร่างกายทั้งหมดเป็น 47 โครโมโซม เช่น ออโทโซม 45 แท่ง 1 โครโมโซมเพศ 2 แท่ง ได้แก่ กลุม่ อาการดาวน์ หรือ ดาวน์ซนิ โดรม (Down’s syndrome) เป็น โรคทางพันธุกรรม ที่เกิด จากความผิดปกติของโครโมโซม โดย สาเหตุสว่ นใหญ่เกิดจาก โครโมโซมคูท่ ี่ 21 เกินมา 1 แท่ง คือ มี 3 แท่ง จาก ปกติที่มี 2 แท่ง ซึ่งทางการแพทย์เรียก ว่า TRISOMY 21 นอกจากนั้นอาจมี สาเหตุมาจากการย้ายทีข่ องโครโมโซม เช่น โครโมโซมคู่ที่ 14 มายึดติดกับ โครโมโซมคู่ที่ 21 เป็นต้น และยังมี สาเหตุมาจาก มีโครโมโซมทั้ง 46 และ 47 แท่ง ในคนๆ เดียว เรียกว่า MOSAIC ซึ่งพบได้น้อยมาก ลักษณะของเด็กดาวน์ซินโดรม จะมีศีรษะค่อน ข้างเล็ก แบน และตาเฉียงขึ้น ดั้งจมูกแบน ปากเล็ก ลิ้นมักยื่นออกมา ตัวเตี้ย มือสั้น อาจเป็นโรคหัวใจ พิการแต่กำ�เนิด หรือโรคลำ�ไส้อุดตันตั้งแต่แรกเกิด มีภาวะต่อมไทรอยด์บกพร่อง และเป็นปัญญาอ่อน พบ บ่อยในแม่ที่ตั้งครรภ์เมื่ออายุมาก กลุม่ อาการเอ็ดเวิรด์ ซินโดรม (Edward’s syndrome) เกิด จากโครโมโซมคู่ที่ 18 เกินมา 1 โครโมโซม ทำ�ให้เป็นปัญญาอ่อน ปาก แหว่ง เพดานโหว่ คางเว้า นิว้ มือบิดงอ และกำ�แน่นเข้าหากัน ปอดและ ระบบย่อยอาหารผิดปกติ หัวใจพิการแต่ก�ำ เนิด ทารกมักเป็นเพศหญิง และมักเสียชีวิตตั้งแต่ก่อนอายุ 1 ขวบ กลุม่ อาการพาทัวซินโดม ( Patau syndrome) อาการ นี้เกิดจากโครโมโซมคู่ที่ 13 เกินมา 1 โครโมโซม ทำ�ให้เด็กมี อาการปัญญาอ่อน อวัยวะภายในพิการ และมักเสียชีวิตตั้งแต่ แรกเกิด หรือหากมีชีวิตรอดก็จะมีอายุสั้นมาก 93


1.2) ความผิดปกติของรูปร่างออโตโซม เป็นความผิด ปกติที่ออโทโซมบางโครโมโซมขาดหายไปบางส่วน แต่มีจำ�นวน โครโมโซม 46 แท่ง เท่ากับคนปกติ ประกอบด้วย กลุ่มอาการคริดูชาต์ หรือ แคทครายซินโดรม (cridu-chat or cat cry syndrome) เกิดจากโครโมโซมคู่ที่ 5 ขาดหายไปบางส่วน ท�ำให้ผู้ป่วยมีศีรษะเล็กกว่าปกติ เกิดภาวะ ปัญญาอ่อน หน้ากลม ใบหูต�่ำ ตาห่าง หางตาชี้ นิ้วมือสั้น เจริญ เติบโตได้ชา้ เวลาร้องจะมีเสียงเหมือนแมว จึงเป็นทีม่ าของชือ่ โรค นี้ว่า แคทครายซินโดรม (cat cry syndrome) กลุม่ อาการเพรเดอร์-วิลลี (Prader-Willi syndrome) เป็น โรคทางพันธุกรรม ที่เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 15 ทำ�ให้ผปู้ ว่ ยมีรปู ร่างอ้วนมาก มือเท้าเล็ก กินจุ มีความบกพร่อง ทางสติปัญญา มีพฤติกรรมแปลกๆ เช่น พูดช้า รวมทั้งเป็นออทิ สติกด้วย

2) โรคที่เกิดจากความผิดปกติที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมในโครโมโซมเพศ (Sex chromosome)

โครโมโซมเพศ ประกอบด้วย โครโมโซม 1 คู่ หรือ 2 แท่ง ในผู้หญิง เป็นแบบ XX ส่วนในผู้ชาย เป็นแบบ XY โรคที่เกิดความผิดปกติในโครโมโซม สามารถเกิดได้ในทั้งหญิงและชาย แต่จะมีโอกาสเกิดขึ้น มากในเพศใดเพศหนึ่ง โดยลักษณะที่ควบคุมโดยยีนด้อยบนโครโมโซม X ได้แก่ หัวล้าน ตาบอดสี โรคฮีโม ฟีเลีย โรคภาวะพร่องเอนไซม์ จี-6-พีดี (G-6-PD) โรคกล้ามเนื้อแขนขาลีบ การเป็นเกย์ และอาการต่างๆ นี้ มักพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง เนื่องจากผู้ชายมีโครโมโซม X เพียงตัวเดียว โรคที่เกิดจากความผิดปกติ ของโครโมโซมเพศ ได้แก่ 2.1) ตาบอดสี (Color blindness) เป็นภาวะการมองเห็นผิดปกติ โดยมากเป็นการตาบอดสี ตั้งแต่ก�ำเนิด และมักพบในเพศชายมากกว่า เพราะเป็นการถ่ายทอดทางพันธุกรรมแบบลักษณะด้อยบน โครโมโซม ผู้ที่เป็นตาบอดสีส่วนใหญ่จะไม่สามารถแยกความแตกต่างระหว่างสีเขียวและสีแดงได้ จึงมี ปัญหาในการดูสญ ั ญาณไฟจราจร รองลงมาคือ สีนำ�้ เงินกับสีเหลือง หรืออาจเห็นแต่ภาพขาวด�ำ และความ ผิดปกตินี้จะเกิดขึ้นกับตาทั้งสองข้าง ไม่สามารถรักษาได้ 2.2) ฮีโมฟีเลีย (Hemophilia) โรคฮีโมฟีเลีย คือ โรคเลือดออกไหลไม่หยุด หรือเลือดออกง่าย หยุดยาก เป็น โรคทางพันธุกรรม ที่พบมากในเพศชาย เพราะยีนที่กำ�หนดอาการโรคฮีโมฟีเลียจะอยู่ใน โครโมโซม X และถ่ายทอดยีนความผิดปกตินี้ให้ลูก ส่วนผู้หญิงหากได้รับโครโมโซม X ที่ผิดปกติ ก็จะไม่ แสดงอาการ เนื่องจากมี โครโมโซม X อีกตัวข่มอยู่ แต่จะแฝงพาหะแทน ลักษณะอาการ คือ เลือดของผู้ป่วยฮีโมฟีเลียจะไม่สามารถแข็งตัวได้ เนื่องจากขาดสารที่ท�ำให้ 94


เลือดแข็งตัว อาการที่สังเกตได้ เช่น เลือดออกมากผิดปกติ เลือดก�ำเดาไหลบ่อย ข้อบวม เกิดแผลฟกช�้ำ ขึ้นเอง แต่โรคฮีโมฟีเลียนี้ สามารถรักษาได้ โดยการใช้สารช่วยให้เลือดแข็งตัวทดแทน 2.3) ภาวะพร่องเอนไซม์ จี- 6- พีดี (G-6-PD : Glucose-6-phosphate dehydrogenate) โรคพร่องเอนไซม์ G6PD หรือ Glucose-6-phosphate dehydrogenate เป็น โรคทางพันธุกรรม ทีท่ �ำ ให้ เม็ดเลือดแดงแตกได้ง่าย เมื่อได้รับสิ่ง กระตุ้ น ซึ่ ง สาเหตุ ข อง ภาวะพร่ อ ง เอนไซม์ จี- 6- พีดี นั้นเกิดจากความผิด ปกติ ข องโครโมโซมแบบ X ทำ � ให้ เอนไซม์ G6PD ทีค่ อยปกป้องเม็ดเลือด แดงจากการทำ � ลายของสารอนุ มู ล อิสระบกพร่อง จนไม่สามารถป้องกัน การทำ�ลายสารอนุมลู อิสระทีเ่ ป็นพิษต่อ เซลล์เม็ดเลือดแดงได้ ผูป้ ว่ ยจึงมีอาการ ซีดเป็นครั้งคราว เนื่องจากเม็ดเลือด แดงแตกอย่างฉับพลัน ในเด็กจะมีอาการดีซ่าน ส่วนผู้ใหญ่จะปัสสาวะเป็นสีดำ� ถ่ายปัสสาวะน้อยจนเกิด อาการไตวายได้ โดยสิ่งที่สามารถกระตุ้นให้เกิดอาการได้ เช่น อาหารอย่างถั่วปากอ้า ที่มีสารอนุมูลอิสระ มาก รวมทั้งการติดเชื้อโรคต่างๆ ทำ�ให้เซลล์เม็ดเลือดขาวหลั่งสารอนุมูลอิสระมากขึ้น ทั้งนี้ โรคนี้ไม่สามารถรักษาได้ ถ้ารู้จักการระวังตัว เช่น หลีกเลี่ยงยา หรืออาหารที่แสลง ก็จะไม่ เกิดอันตราย ที่ส�ำคัญคือ ผู้ป่วยต้องดื่มน�้ำมากๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ไตวาย 2.4) กลุม่ อาการเทอร์เนอร์ (Turner’s syndrome) เกิดในเฉพาะเพศหญิง สาเหตุจากโครโมโซม X หายไป 1 แท่ง ทำ�ให้เหลือโครโมโซมในเซลล์ร่างกาย 45 แท่ง ผู้ป่วยจะมีอาการปัญญาอ่อน และตัวเตี้ย ที่บริเวณคอมีพังผืดกางเป็นปีก มักเป็นหมันและไม่มีประจำ�เดือน มีอายุเท่ากับคนปกติทั่ว ๆ ไป 2.5) กลุม่ อาการไคลน์เฟลเตอร์ (Klinefelter’s syndrome) พบในเพศชาย เกิดจากโครโมโซม X เกินมา 1 หรือ 2 โครโมโซม ทำ�ให้คารีโอไทป์เป็น 47,XXY หรือ 48,XXXY ผู้ป่วยจะมีอาการปัญญาอ่อน รูปร่างอ้อนแอ้น สูงชะลูด หน้าอกโต มีเต้านมเหมือนผู้หญิง และเป็นหมัน เพราะไม่มีอสุจิ และมีอัณฑะ เล็ก ยิ่งถ้ามีจำ�นวนโครโมโซม X มาก อาการปัญญาอ่อนก็จะรุนแรงมากขึ้น 2.6) กลุม่ อาการทริปเปิ้ลเอ็กซ์ (Triple x syndrome) เกิดในผูห้ ญิง โดยจะมีโครโมโซม X เกิน มา 1 แท่ง ทำ�ให้เป็น XXX รวมมีโครโมโซม 47 แท่ง ทำ�ให้ผู้หญิงคนนั้นเป็นหมัน เจริญเติบโตไม่เต็มที่ และ ไม่มีประจำ�เดือน 2.7) กลุ่มอาการดับเบิลวาย (Double y syndrome) เกิดในผู้ชาย ที่มีโครโมโซม Y เกินมา 1 แท่ง มีจโี นไทป์เป็น XXY เรียกว่า Super Male ลักษณะจะเป็นผูช้ ายทีม่ รี า่ งกายปกติ แต่เป็นหมัน มีอารมณ์ ฉุนเฉียว สูงมากกว่า 6 ฟุต มีระดับฮอร์โมนเพศชายในเลือดสูงกว่าปกติ ส่วนใหญ่เป็นหมัน ไม่สามารถมี บุตรได้ 95


3) โรคที่เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมอื่นๆ

3.1) ฟีนิลคีโตนูเรีย (Phenylketonuria) หรือ (Phenylpyruvic oligophrenia) เป็น โรค ทางพันธุกรรม ที่เกิดจากการถ่ายทอดทางโครโมโซม โดยโครโมโซมนั้นมีความบกพร่องของยีนที่สร้าง Phenylalanine hydroxylase ทำ�ให้ผู้ป่วยไม่สามารถสร้างเอนไซม์นี้ได้ จึงไม่สามารถย่อยสลายกรดอะ มิโน phenylalanine ไปเป็น tyrosine เหมือนคนปกติ จึงเกิดภาวะ phenylalaine สะสมในเลือดมาก ผิดปกติ และมี phenylpyruvic acid และกรดอินทรีย์อื่นปนในปัสสาวะ รวมทั้งอาการโลหิตเป็นพิษด้วย โดยผูป้ ว่ ยฟีนลิ คีโตนูเรียนี้ มักจะมีอาการปัญญาอ่อน และไม่สามารถรับประทานอาหารได้เหมือนคนทัว่ ไป โดยอาการฟีนิลคีโตนูเรียนี้ จะพบในคนผิวขาวมากกว่า และในประเทศไทยพบไม่มาก 3.2) สไปโนซีรีเบลลาร์อะแท็กเซีย (spinocerebellar ataxia) เป็น โรคทางพันธุกรรม ที่ยัง ไม่มีทางรักษา โดยเกิดจากโพลีกลูตาไมน์ ไตรนิวคลีโอไทด์ ผลิตซ�้ำมากเกินปกติ ท�ำให้ผู้ป่วยสูญเสียความ สามารถในการเคลื่อนไหวทางกายภาพ ทั้งท่าเดิน การพูด ตากระตุก และอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย แต่ ระบบจิตใจและความรู้สึกนึกคิดยังปกติ 3.3) โรคทาลัสซีเมีย (Thalassemia) โรคทาลัสซี เมีย เป็นลักษณะที่ถูกควบคุมด้วยยีนด้อยบนโครโมโซม ซึ่งเมื่อผิดปกติจะทำ�ให้การสร้างฮีโมโกลบิน ซึ่งเป็นส่วน ประกอบของเม็ดเลือดผิดปกติ เม็ดเลือดแดงจึงมีรูปร่าง ผิดปกติ นำ�ออกซิเจนไม่ดี ถูกทำ�ลายได้ง่าย ทำ�ให้ผู้ป่วย โรคทาลัสซีเมีย เป็นคนเลือดจาง และเกิดภาวะแทรกซ้อน ตามมา ในประเทศไทยพบผู้ป่วย โรคทาลัสซีเมียร้อยละ 1 คือประมาณ 6 แสนคน แต่พบผู้เป็นพาหะถึงร้อยละ 3040 คือประมาณ 20-25 ล้านคน ดังนัน้ ถ้าหากผูเ้ ป็นพาหะ มาแต่งงานกัน และพบยีนผิดปกติร่วมกัน ลูกก็อาจเป็น โรคทาลัสซีเมียได้ ทั้งนี้ โรคทาลัสซีเมีย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ แอลฟาธาลัสซีเมีย และ เบต้าธาลัสซีเมีย ซึง่ ก็คือ ถ้ามีความผิดปกติของสายแอลฟา ก็เรียกแอลฟา ธาลัสซีเมีย และถ้ามีความผิดปกติของสายเบต้าก็เรียก เบต้าธาลัสซีเมีย ผู้ป่วย โรคทาลัสซีเมีย จะมีอาการซีด ตาขาวสีเหลือง ตัวเหลือง ตับม้ามโตมาตั้งแต่เกิด ผิวหนังด�ำ คล�้ำ กระดูกใบหน้าจะเปลี่ยนรูป มีจมูกแบน กะโหลกศีรษะหนา โหนกแก้มนูนสูง กระดูกเปราะ หักง่าย เจริญเติบโตช้ากว่าคนปกติ ส่วนอาการนั้น อาจจะไม่รุนแรง หรืออาจรุนแรงจนถึงแก่ชีวิตเลยก็ได้ คนที่มี อาการมากจะมีอาการเลือดจางมาก ต้องให้เลือดเป็นประจ�ำ หรือมีภาวะติดเชือ้ บ่อยๆ ท�ำให้เป็นไข้หวัดได้ บ่อย 96


3.4) โรคซีสติกไฟโบรซีส (Cystic fibrosis) เป็นความผิดปกติทางพันธุกรรม ที่ทำ�ให้ร่างกาย สร้างเยือ่ เมือกหนามากผิดปกติในปอดและลำ�ไส้ ทำ�ให้ผปู้ ว่ ยหายใจลำ�บาก และเยือ่ เมือกหนาเหล่านัน้ อาจ ทำ�ให้ปอดติดเชื้อ หากมีแบคทีเรียเติบโตอยู่ ส่วนเยื่อเมือกหนาในลำ�ไส้ จะทำ�ให้ย่อยอาหารได้ลำ�บาก ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรคนี้ แต่สามารถบรรเทาได้ โดยการใช้ยาสลายเยื่อเมือก 3.5) โรคลูคีเมีย (Leukemia) โรคลูคีเมีย หรือ โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว เป็นโรคทีเ่ กิดจากความ ผิดปกติของไขกระดูก ทำ�ให้มกี ารสร้างเม็ดเลือดขาว จำ�นวนมากในไขกระดูก จนเบียดบังการสร้างเม็ด เลือดแดง ทำ�ให้เกิดภาวะโลหิตจาง ส่วนเม็ดเลือด ขาวที่สร้างนั้น ก็เป็นเม็ดเลือดขาวตัวอ่อน จึงไม่ สามารถต้านทานเชือ้ โรคได้ จึงเป็นไข้บอ่ ย ซึง่ สาเหตุ ของการเกิดโรคลูคีเมีย มีหลายปัจจัย ทั้งพันธุกรรม กัมมันตภาพรังสี การติดเชื้อ เป็นต้น อาการของผูป้ ว่ ยลูคเี มีย จะแสดงออกมาใน หลายรูปแบบ เช่น มีไข้สูง เป็นหวัดเรื้อรัง หน้ามืด วิงเวียนศีรษะ อ่อนเพลีย ตัวซีด เซลล์ลูคีเมียจะไปสะสม ตามอวัยวะต่างๆ เช่น ตับ ม้าม ต่อมน�้ำเหลือง ท�ำให้เกิดอาการบวมโต บางคนเป็นรุนแรง ท�ำให้ถึงแก่ชีวิต ได้ การรักษา โรคลูคีเมีย ทำ�ได้โดยให้ยาปฏิชีวนะ เพื่อลดจำ�นวนเม็ดเลือดขาว หรืออาจใช้เคมีบำ�บัด เพื่อให้ไขกระดูกกลับมาทำ�หน้าที่ตามปกติ 3.6) โรคเบาหวาน คือ ภาวะที่ร่างกายมีระดับน�้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เนื่องจากขาดฮอร์โมน อินซูลิน ทั้งนี้โรคเบาหวาน ถือเป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่ง และเป็นโรคทางพันธุกรรม โดยหากพ่อแม่เป็น เบาหวาน ก็อาจถ่ายทอดไปถึงลูกหลานได้และนอกจากพันธุกรรมแล้ว สิง่ แวดล้อม วิธกี ารด�ำเนินชีวติ การ รับประทานอาหาร ก็มีส่วนท�ำให้เกิดโรคเบาหวานได้เช่นกัน อาการทัว่ ไปของผูท้ เี่ ป็น โรคเบาหวาน คือจะปัสสาวะบ่อย เนือ่ งจากนำ�้ ตาลทีอ่ อกมาทางไตจะดึง เอานำ�้ จากเลือดออกมาด้วย จึงท�ำให้มปี สั สาวะมากกว่าปกติ เมือ่ ถ่ายปัสสาวะมาก ก็ท�ำให้รสู้ กึ กระหายนำ�้ ต้องคอยดื่มน�้ำบ่อยๆ และด้วยความที่ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ไม่สามารถน�ำน�้ำตาลมาเผาผลาญเป็นพลังงาน จึงหันมาเผาผลาญกล้ามเนื้อและไขมันแทน ท�ำให้ร่างกายผ่ายผอม ไม่มีไขมัน กล้ามเนื้อฝ่อลีบ อ่อนเปลี้ย เพลียแรง นอกจากนี้ การมีน�้ำตาลคั่งอยู่ในอวัยวะต่างๆ จึงท�ำให้อวัยวะต่างๆ เกิดความผิดปกติ และน�ำมา ซึง่ ภาวะแทรกซ้อนมากมาย โดยเฉพาะ โรคไตวายเรือ้ รัง, หลอดเลือดตีบตัน, อัมพฤกษ์ อัมพาต, ต้อกระจก, เบาหวานขึ้นตา ฯลฯ

97


1.3 โรคจากการบริโภคอาหาร

ประเทศด้อยพัฒนาจะประสบกับการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ เช่น อาหารที่ปนเปื้อน อาหารสกปรก การปรุงกินแบบสุกๆ ดิบๆ อาหารที่ดีเป็นสิ่งจำ�เป็นต่อสุขภาพ และ เป็นสิง่ อันน่ารืน่ รมย์ทสี่ ดุ อย่างหนึง่ ในชีวติ ของคนเรา แม้จะมีความก้าวหน้าทาง เทคโนโลยี แต่การจัดเตรียมอาหารและ เก็บอาหารให้สะอาดปลอดภัย ยังคงเป็น ปัญหาสาธารณสุขที่สำ�คัญทั่วโลก โรคภั ย ไข้ เจ็ บ ที่ เ กิ ด จากอาหาร สกปรก โดยเฉพาะโรคท้องร่วง ทำ�ให้เกิด ความทุกข์ยากและความตายอย่างมาก และยังเป็นสาเหตุของโรคขาดสารอาหาร ในบรรดาประเทศด้อยพัฒนาทั่วโลกอีกด้วย ประเทศที่พัฒนาแล้วก็ประสบปัญหาเรื่องความปลอดภัยของอาหารเช่นกัน ถ้าจะแก้ปัญหานี้ จำ�เป็นต้องปรับปรุงมาตรการทางกฎหมายเกีย่ วกับอาหารทีป่ ลอดภัย เช่นเดียวกับการให้สขุ ศึกษาเกีย่ วกับ สุขภาพอนามัย รวมทัง้ การเก็บรักษาและการเตรียมอาหารอย่างปลอดภัย ในสหรัฐอเมริกามีการคาดคะเน ว่า ในทุกปีมีคนอเมริกันป่วยเป็นโรคอันเกิดจากอาหารสกปรกตั้งแต่ 6 ล้าน 5 แสนครั้งจนถึง 80 ล้านครั้ง และมีคนตายเพราะโรคเหล่านี้อย่างน้อย 9,100 คน ในประเทศทีพ่ ฒ ั นาแล้ว ปัจจัยทีเ่ กีย่ วข้องกับการป่วยด้วยโรคอันเนือ่ งมาจากอาหารสกปรก ได้แก่ การเตรียมอาหารล่วงหน้านานเกินไปก่อนที่จะกิน เก็บอาหารไว้ในอุณหภูมิที่เชื้อแบคทีเรียสามารถเจริญ เติบโตได้ดี และการที่ผู้เตรียมอาหารและผู้จัดส่งอาหารเป็นพาหะของเชื้อนำ�โรค สำ�หรับในประเทศด้อย พัฒนายังมีปจั จัยอืน่ ๆ นอกเหนือจากทีก่ ล่าวมาซึง่ จำ�เป็นต้องศึกษาต่อไป เพือ่ จะได้จดั วางมาตรการป้องกัน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การดำ�เนินการแก้ปญ ั หาโรคจากอาหารสกปรกนี้ มีเพียงไม่กปี่ ระเทศเท่านัน้ ทีไ่ ด้รวมเอามาตรการ ในการแก้ปัญหานี้เข้าไว้ในระบบการสาธารณสุขมูลฐาน การที่จะลดปัญหานี้ได้จำ�เป็นต้องเข้าใจการดูแล จัดเตรียมอาหารอย่างถูกสุขลักษณะในทุกระดับอย่างทัว่ ถึงตัง้ แต่ขนั้ ตอนการผลิต การแปรสภาพ การกระ จาย จนถึงการปรุงและถนอมอาหารในครัวเรือน ทีก่ ล่าวมาข้างต้นดูเหมือนว่าการแก้ปญ ั หาเรือ่ งนีเ้ ป็นเรือ่ งยุง่ ยากซับซ้อน แต่กไ็ ม่ได้หมายความว่า ไม่มีหนทางที่เป็นไปได้ในระดับชาวบ้านทั่วไป องค์การอนามัยโลกได้ให้ข้อเสนอแนะว่า กฎเกณฑ์ง่ายๆ ที่ ชาวบ้านสามารถนำ�ไปปฏิบัติเพื่อป้องกันตัวเองและครอบครัวจากปัญหานี้ ได้แก่ 1. จงเลือกกินอาหารที่เตรียมอย่างสะอาด 2. จงเลือกกินอาหารที่ปรุงสุกดี 3. จงกินอาหารที่เพิ่งปรุงเสร็จใหม่ๆ 98


4. จงเก็บอาหารในที่ปลอดภัยจากการไต่ตอมของแมลง 5. ถ้าจะกินอาหารที่เก็บค้างไว้ จงนำ�มาทำ�ให้ร้อนอีกครั้ง 6. พยายามไม่ให้อาหารที่ปรุงสุกแล้วปนเปื้อนกับอาหารดิบๆ 7. พยายามล้างมือก่อนปรุงอาหารและหลังเข้าห้องน�้ำทุกครั้ง 8. ดูแลให้ห้องครัวและภาชนะสะอาดอยู่เสมอ 9. ใช้น�้ำสะอาดในการปรุงอาหาร และล้างภาชนะใส่อาหาร เชื่อว่าหากทุกคนสามารถทำ�ได้ตามนี้ ตัวท่านเองและครอบครัวก็จะปลอดภัยจากโรคดังกล่าวมานี้ตลอด ไป แต่ก็ยังมีโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการบริโภคที่เป็นปัญหาของการเกิดโรคเรื้อรังอื่นๆ เช่น โรคหัวใจและ หลอดเลือดสมอง ความดัน เบาหวาน ขณะเดียวกันพฤติกรรมการกินอาหาร ที่ไม่เหมาะสม มักเกิดร่วมกับพฤติกรรมที่ไม่ เหมาะสมต่อสุขภาพอื่นๆ เช่น การไม่ออก กำ � ลั ง กายและการสู บ บุ ห รี่ ทั้ ง การบริ โ ภค อาหารบางประเภทมากเกินไป ได้แก่ ไขมันอิม่ ตัว เกลือโซเดียม และคาร์โบไฮเดรต แต่บริโภค ผักผลไม้ปริมาณน้อยเกินไป สิ่งเหล่านี้มักเป็น พฤติกรรมที่เกิดขึ้นร่วมกัน ล้วนมีผลต่อความ เสี่ยงต่อโรคทั้งสิ้น ส า เ ห ตุ ส�ำ คั ญ ข อ ง โร ค อ ้ ว น คื อ ประชากรส่ ว นใหญ่ ล ดการออกก�ำลั ง กาย แต่กลับไม่ลดการบริโภคอาหารโดยเฉพาะ อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตและไขมัน จาก ประสบการณ์การแก้ไขปัญหาโรคอ้วนของสหรัฐอเมริกา ด้วยการส่งเสริมผลิตภัณฑ์อาหารไขมันต�่ำ และ รณรงค์ให้ประชากรหันมาบริโภคอาหารประเภทนี้มากขึ้น แต่ปัญหาโรคอ้วนของชาวอเมริกันก็ยังไม่ลด ความรุนแรง จึงเป็นข้อโต้แย้งว่าการลดสัดส่วนของไขมันในอาหารอาจไม่ให้ผลที่ชัดเจน การแก้ไขปัญหา โรคอ้วนควรมุ่งเน้น การเพิ่มการออกก�ำลังกาย และการลดปริมาณพลังงานที่บริโภคมากกว่า จากข้อมูลสถิติของการเจ็บป่วยของคนไทยที่เป็นปัญหามาตลอดที่ติดอันดับ 10 โรคร้ายที่เป็น สาเหตุของการเสียชีวิต ที่เป็นปัญหาใหญ่ของคนไทย เป็นภัยเงียบที่แฝงมากับการใช้ชีวิตของคนรุ่นใหม่ มี ดังนี้ 1. โรคหัวใจและหลอดเลือด 2. โรคของต่อมไร้ท่อ *(โรคกลุ่มเบาหวาน ไทรอยด์ ต่อมหมวกไต) 3. โรคระบบกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น 4. โรคระบบทางเดินอาหาร 5. โรคระบบทางเดินหายใจ 99


6.โรคภูมิแพ้ 7.โรคระบบประสาทจิตเวช 8.โรคระบบทางเดินปัสสาวะ 9.โรคของปาก หู คอ จมูก 10.โรคผิวหนัง โรคร้ายที่ทำ�ให้ผู้ป่วยเสียชีวิตนั้น มีความสัมพันธ์กับโรคเรื้อรังที่คนไทยประสบ โรคเรื้อรังเป็นโรค ที่รัฐบาลเสียค่าใช้จ่ายสูงมาก และก่อให้เกิดโรคร้ายแรงตามมาอีกมากมาย อย่างความดันสูง การรักษาก็ ต้องกินยาตลอด โรคเบาหวาน บางคนไม่ดแู ลสุขภาพตัวเอง ไม่เคยสังเกต ไม่ตรวจโรคเลย แล้วเมือ่ มีอาการ เรื้อรัง ก็จะทำ�ให้ไตอักเสบ หรือเกิดอาการไตวายได้

โรคมะเร็ง

ติดสารแอลกอฮอล์

ไขมันในเลือดสูง และโรคหลอดเลือดหัวใจ

โรคมะเร็งหากเป็นแล้วมีโอกาสเสียชีวิตสูง โดย เฉพาะรายที่พบในระยะลุกลาม ในประเทศไทย โรคมะเร็ง เป็นสาเหตุการตายอันดับ 1 ติดต่อกันมา 5 ปี มีผู้เสียชีวิต ประมาณปีละ 50,000 คน เฉลี่ยชั่วโมงละ 6 คน พบผู้ป่วย รายใหม่ปีละประมาณ 70,000 คน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เรื่อยๆ โรคมะเร็งที่พบมากที่สุด 6 อันดับแรกในปี 2547 ได้แก่ มะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งลำ�ไส้ใหญ่ และมะเร็งในช่องปาก โดยมะเร็งที่ผู้ชาย เป็นกันมากอันดับ 1 ได้แก่ มะเร็งตับ รองลงมาคือ มะเร็ง ปอดและมะเร็งลำ�ไส้ใหญ่ ส่วนมะเร็งที่พบในผู้หญิงตาม ลำ�ดับคือมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม และมะเร็งตับ อย่างที่ทราบกันดีว่า แอลกอฮอล์ เป็นต้นเหตุของ อุบัติเหตุกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ ทั้งยังเป็นบ่อเกิดของโรคร้าย มากมาย เช่นโรคตับแข็ง มะเร็งตับ ตับอ่อนอักเสบ โรคกระเพาะและกระเพาะรั่ว ภาวะเลือดออกจากทาง เดินอาหาร เป็นต้น ซึง่ โรคเหล่านีม้ กั เป็นเรือ้ รังและทำ�ให้ผเู้ จ็บป่วยทุกข์ทรมาน ทัง้ ยังก่อเกิดภาวะแทรกซ้อน ในโรคเรื้อรังอื่นๆ เช่น โรคหลอดเลือดสมอง (เส้นเลือดในสมองแตกหรือตีบ) แม้แต่โรคทางจิตก็มีสาเหตุจากแอลกอฮอล์ด้วยเช่นกัน ต้นเหตุการณ์ป่วยทางจิต 1 ใน 3 มาจาก การติดเหล้า และพบว่าในกลุม่ คนทีม่ ปี ญ ั หาสุขภาพจิตทีฆ่ า่ ตัวตายสำ�เร็จ 90% เป็นผูป้ ว่ ยโรคซึมเศร้า หรือ ใช้แอลกอฮอล์ หรือทั้งสองอย่างร่วมกัน โดยผู้ป่วยทางจิตจะมีอัตราการฆ่าตัวตายสำ�เร็จสูงกว่าผู้ป่วยทาง กายประมาณ 3 เท่าตัว โดยเฉพาะคนติดเหล้ามากๆ จะทำ�ให้เกิดอาการประสาทหลอน เห็นภาพหลอน หู แว่ว หลงผิด หวาดระแวง และคลุ้มคลั่ง 100


วัณโรค

ปอดอักเสบ วัณโรค โรคระบบทางเดินหายใจ เป็นกลุ่มโรคเดียวกัน แต่ที่กำ�ลังต้องจับตาเฝ้าระวัง เป็นพิเศษ คือวัณโรค ซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อว่า มายโคแบคทีเรียม ทูเบอร์คูโลสิส (Mycobacterium tuberculosis) ตอนนี้กำ�ลังเป็นปัญหาสาธารณสุขและมีแนวโน้มจะรุนแรงขึ้น จากรายงานขององค์การ อนามัยโลกล่าสุดในปี 2549 ระบุว่าพบประชากรโลก 1 ใน 3 หรือประมาณ 2,000 ล้านคนติดเชื้อวัณโรค และมีผู้ป่วย 15 ล้านคน สำ�หรับคนไทยคาดว่าราว 20 ล้านคนมีเชื้อวัณโรคในตัว พร้อมกำ�เริบหากสุขภาพ ทรุดโทรม เช่น สูบบุหรี่ ดื่มเหล้าจัด หรือติดเชื้อเอดส์ ผู้ติดเชื้อวัณโรคเหล่านี้อาจป่วยได้ถึงปีละ 1 แสนคน ประเทศไทยมีปัญหาวัณโรคอยู่ในอันดับที่ 18 ของโลกและถือว่าเป็นปัญหาสาธารณสุขอันดับ 6 รองจาก มะเร็ง โรคหัวใจ อุบัติเหตุ เอดส์ ไข้เลือดออก ในปี 2549 ตรวจพบผู้ป่วยวัณโรค 58,639 คน ในจำ�นวนนี้ ร้อยละ 70 เป็นผู้ป่วยรายใหม่ที่ตรวจพบเชื้อในเสมหะ ซึ่งสามารถแพร่เชื้อจากการไอจามติดต่อสู่คนรอบ ข้างได้ ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 15-44 ปี

2. แนวทางการป้องกันการเจ็บป่วยตามบทบัญญัติอิสลาม และสาธารณสุขใน ปัจจุบัน การป้องกันโรค หมายถึง การขจัดหรือยับยั้งพัฒนาการของโรครวมถึงการประเมินและการรักษา เฉพาะ เพื่อกำ�จัดความก้าวหน้าของโรคในทุกระยะ การป้องกันโรคแบ่งได้เป็น 3 ระดับ ดังนี้ 1. การป้องกันโรคระดับแรก (Primary prevention) หมายถึง การส่งเสริมสุขภาพโดยทั่วไป รวมถึงการปกป้องและต่อต้านการเกิดเฉพาะโรค ได้แก่ การให้สุขศึกษา การรับประทานอาหารเหมาะสม ตามวัย การพัฒนาบุคลิกภาพ การทำ�งาน การพักผ่อน และนันทนาการอย่างเหมาะสม การได้รบั คำ�ปรึกษา กับการแต่งงานและเรื่องเพศ การคัดกรองพันธุกรรม การตรวจสุขภาพ 2. การป้องกันโรคระดับที่สอง (Secondary prevention) หมายถึง การได้รับการวินิจฉัยใน ระยะแรกของโรคและได้รับการรักษาทันท่วงที ความรุนแรงของโรคที่เป็นมีระยะเวลาสั้นสามารถกลับสู่ สภาวะของการมีสุขภาพดีได้อย่างรวดเร็ว 3. การป้องกันโรคระดับทีส่ าม (Tertiary prevention) เป็นระดับทีไ่ ม่เพียงแต่หยุดการดำ�เนิน ของโรคเท่านั้น แต่จะต้องป้องกันความเสื่อมสมรรถภาพอย่างสมบูรณ์ จุดประสงค์ก็คือให้กลับสู่สังคมได้ อย่างมีคุณค่า อิสลามได้วางหลักการในการรักษาสุขภาพ และป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ โดยถือว่าเป็นหน้าที่ของ มุสลิมทุกคนจะต้องปกป้องดูและรักษาสุขภาพและร่างกายของตนให้แข็งแรงสมบูรณ์ พระองค์อัลลอฮ์ ตรัสไว้ความว่า

“บรรดาผูศ้ รัทธาเอ๋ย จงอย่ากินทรัพย์สนิ ในระหว่างสูเจ้ากันเองโดยวิธกี ารทีไ่ ม่ถกู ต้อง เว้นแต่โดย การทำ�การค้าด้วยการยินยอมร่วมกันของสูเจ้า และจงอย่าฆ่าตัวของสูเจ้าเอง แท้จริงอัลลอฮ์เป็นผู้ทรง เมตตาต่อสูเจ้าเสมอ” (สูเราะฮฺ อันนิสาอ์ อายะฮฺที่ 29) 101


ไม่ว่าจะด้วยเหตุใดๆ ก็ตาม อิสลามไม่อนุมัติให้มุสลิมฆ่าตัวตาย หรืออาศัยหนทางหนึ่งหนทางใดในการ ทำ�ลายตัวเอง เช่น การเข้าไปในสถานที่เกิดโรคระบาดเป็นต้น ท่านอุซามะฮ์บุตรของซัยด์ได้เล่ามาว่า ท่านนบีมุฮัมมัดr กล่าวไว้ความว่า “เมือ่ ท่านทัง้ หลายได้ขา่ วว่ามีอหิวาตกโรคกำ�ลังระบาดอยูใ่ นพืน้ ทีห่ นึง่ ท่านทัง้ หลายจงอย่าเข้าไป ณ ทีน่ นั่ โดยเด็ดขาด และเมือ่ มันกำ�ลังระบาดอยูใ่ นพืน้ ทีท่ ที่ า่ นพำ�นักอยูก่ จ็ งอย่าออกจากพืน้ ทีโ่ ดยเด็ดขาด” เมื่อผู้ใดก็ตามมีอาการเจ็บไข้ได้ป่วยอิสลามได้สอนให้รีบทำ�การรักษา บำ�บัด ดังหะดีษท่านนบีr ที่กล่าวความว่า “ทุกโรคนั้นมียารักษา ดังนั้น เมื่อยาตรงกับโรค เขาก็จะหายด้วยการอนุมัติของอัลลอฮ์” (บันทึก โดยมุสลิม)

วิธีการรักษานั้น ต้องไม่ขัดกับหลักการศาสนาเช่น การตั้งภาคี การใช้สุราหรือยาดองเหล้า

หลักทั่วไปในการป้องกันและควบคุมโรค

1. ส่งเสริมให้ดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ดังรายงานจากท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺว่า ท่านนบีมุฮัมมัดr กล่าวไว้ความว่า “ผูศ้ รัทธาทีแ่ ข็งแรง ย่อมประเสริฐกว่าและเป็นทีร่ กั ยิง่ ของอัลลอฮ์มากกว่าผูศ้ รัทธาทีอ่ อ่ นแอ และ ในทุกการงานทีด่ ี จงยึดมัน่ ต่อสิง่ ทีใ่ ห้คณ ุ ประโยชน์และจงขอความช่วยเหลือต่ออัลลอฮ์ และจงอย่าเป็นคน ที่อ่อนแอ” (บันทึกโดยมุสลิม) คนส่วนใหญ่มักจะละเลยต่อการดูแลสุขภาพของตนเอง ดังที่ท่านท่านนบีมุฮัมมัดr ได้กล่าวไว้ ความว่า “ความโปรดปราน (ความดีงามที่พระเจ้าทรงประทาน) 2 ประการ มีคนส่วนใหญ่มักจะหลงลืม นั่นคือ การมีสุขภาพที่ดีและการมีเวลาว่าง” (บันทึกโดยอัลบุคอรีย์) จึงเป็นเหตุผลสำ�คัญที่ต้องสร้างความตระหนักถึงสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ และห่างไกลจากโรค ภัยไข้เจ็บ 2.รับประทานอาหารที่ดี มีประโยชน์ต่อร่างกาย อิสลามได้แนะนำ�ให้รบั ประทานอาหารทีห่ ะลาล (อาหารทีอ่ สิ ลามได้อนุมตั ใิ ห้รบั ประทานได้) และ เป็นอาหารที่ดี(ต็อยยิบัน) คือ อาหารที่มีประโยชน์ สะอาด ปราศจากสิ่งที่อาจเป็นภัยต่อร่างกาย ดังที่ อัลลอฮ์ ตรัสไว้ในอัลกุรอานความว่า “โอ้มนุษย์ทง้ั หลาย จงกินสิง่ ทีไ่ ด้รบั อนุมตั ิ (หะลาล) และสิง่ ทีด่ ี (ต็อยยิบนั ) จากทีม่ อี ยูใ่ นแผ่นดิน และ จงอย่าปฏิบตั ติ ามแนวทางของชัยฏอนมารร้าย เพราะมันเป็นศัตรูอนั ชัดแจ้งของพวกเจ้า” (สูเราะฮ์อลั บากอ 102


เราะฮฺ อายะฮ์ท1่ี 68) ในขณะเดียวกัน อิสลามห้ามรับประทานอาหารที่ไม่หะลาล ดังที่ระบุในอัลกุรอาน ความว่า “จงประกาศเถิดว่า ฉันไม่พบในคำ�บัญชาทีม่ าถึงฉันว่ามีสงิ่ ใดทีจ่ ะเป็นสิง่ ต้องห้ามสำ�หรับผูบ้ ริโภค นอกจากมันเป็นซากสัตว์ หรือเลือดที่ไหลรินหรือเป็นเนื้อสุกร เพราะความจริงมันเป็นสิ่งสกปรก หรือพบ ว่าเป็นการละเมิดที่มีการกล่าวนามอื่นจากนามอัลลอฮ์ขณะที่เชือดมัน ดังนั้นผู้ใดที่ตกอยู่ในภาวะคับขัน และได้รบั ประทานสิง่ ดังกล่าว โดยไม่เกินความจำ�เป็นและโดยไม่ได้ละเมิด แน่แท้องค์อภิบาลของท่านทรง อภัยยิ่ง ทรงเมตตายิ่ง” (สูเราะฮ์อัลอันอาม อายะฮ์ที่ 145) อีกอายะฮ์หนึ่งในอัลกุรอานสูเราะฮ อัลมาอิดะฮฺ อายะฮ์ที่ 3 ความว่า “ได้ถูกห้ามแก่พวกเจ้าแล้ว ซึ่งสัตว์ที่ตายเอง และเลือด และเนื้อสุกร และสัตว์ที่ถูกเปล่งนามอื่น จากอัลลอฮ์ (ขณะเชือด) สัตว์ที่ถูกรัดคอตาย สัตว์ที่ถูกตีตาย และสัตว์ที่ตกเหวตายและสัตว์ที่ถูกขวิดตาย และสัตว์ที่สัตว์ร้ายกัดกิน นอกจากที่พวกเจ้าเชือดกัน และสัตว์ที่ถูกเชือดบนแท่นหินบูชา และการที่พวก เจ้าเสี่ยงทายด้วยไม้ติ้ว เหล่านั้นเป็นการละเมิด” นอกจากนี้ยังมีบทบัญญัติของอิสลามเกี่ยวกับอาหารที่ห้ามรับประทาน ในหะดีษของท่าน นบีr ความว่า “ท่านนบี ได้ห้ามรับประทานสัตว์ร้ายทุกชนิดที่มีเขี้ยวงา และนกทุกชนิดที่มีกรงเล็บ” การห้ามรับประทานอาหารต่างๆ ข้างต้น เป็นการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคภัยอย่างสมบูรณ์ แบบ ทั้งในแง่อันตรายจากตัวมันเอง หรือผลข้างเคียงอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ จากการรับสารพิษของสัตว์ หรือจากการถูกสัตว์อื่นทำ�ร้าย อาจทำ�ให้มีสารเคมีหรือพิษตกค้าง หรืออาจเป็นแหล่งของการติดเชื้อหรือ พยาธิบางชนิด หรืออาจมีโรคระบาดของสัตว์ได้ นอกจากนี้ยังเป็นการควบคุมดูแลเจ้าของสัตว์ ให้ควบคุม การเลี้ยงมิให้เกิดโรคระบาดในสัตว์ และป้องกันการนำ�สัตว์ป่วยตายมาจำ�หน่ายอีกด้วย นอกจากเหตุผลในแง่การรักษาสุขภาพทางร่างกายแล้ว ยังมีเหตุผลเพื่อการรักษาความ บริสุทธิ์ ในจิตใจของผู้ที่ บริโภคมันเข้าไปด้วย อิสลามยังมีบญ ั ญัตหิ า้ มดืม่ สุราอย่างเด็ดขาด ถึงแม้เครือ่ งดืม่ แอลกอฮอล์บางชนิดอาจมีประโยชน์ อยู่บ้าง แต่ศาสนาได้บอกว่าโทษของมันร้ายแรงกว่าประโยชน์ที่จะได้รับ และยังถือว่าเป็นจุดเริ่มของการ กระทำ�ที่เกิดจากการขาดสติทั้งหลาย ดังที่บทบัญญัติเรื่องนี้ในอัลกุรอานได้ระบุไว้ ความว่า “ผูศ้ รัทธาทัง้ หลาย! ทีจ่ ริงสุรา และการพนัน และแท่นหินสำ�หรับเชือดสัตว์บชู ายันต์ และการเสีย่ ง ติ้วนั้นเป็นสิ่งโสมมอันเกิดจากการกระทำ�ของชัยฏอน ดังนั้นพวกเจ้าจงห่างไกลจากมันเสียเพื่อว่าพวกเจ้า จะได้รับความสำ�เร็จ” (สูเราะฮ์อัลมาอิดะฮฺ อายะฮ์ที่ 90) การไม่ดื่มสุราจะสามารถป้องกันโรคที่เกิดจากสุราได้มากมาย เช่น ตับแข็ง โรคไขมันในโลหิต เกิด ความบกพร่องในระบบภูมิคุ้มกัน จนนำ�มาสู่โรคติดเชื้อและโรคอื่นๆ อีกมากมาย 103


3. ออกกำ�ลังกาย และพักผ่อนให้เพียงพอ อิสลามส่งเสริมการออกก�ำลังกาย ดังที่ปรากฏค�ำแนะน�ำจากท่านนบี ี ให้ฝึกหัดการขี่ม้า การวิ่ง การว่ายน�้ำเป็นต้น ภายหลังจากการท�ำงานหาเลี้ยงชีพ และการปฏิบัติศาสนกิจแล้ว จะต้องมีการพักผ่อน อย่างเหมาะสม และเพียงพอ อัลลอฮ์ ตรัสความว่า “และเราได้ทำ�ให้การนอนของพวกท่านเป็นการพักผ่อน และเราได้ทำ�ให้เวลากลางคืนของพวก ท่านเป็นเหมือนอาภรณ์ปกปิด และเราได้ทำ�ให้เวลากลางวันของพวกท่านเป็นเวลาของการหาปัจจัยยังชีพ” (สูเราะฮ์อันนะบาอฺ อายะฮ์ที่ 9-11)

ท่านนบีr ������������������������� ยังกล่าวแนะนำ�อีกความว่า “ท่านทัง้ หลายจงทำ� (การงาน) ตามทางสายกลาง และจงพยายามทำ� ให้ใกล้เคียงกับสิง่ ทีส่ มบูรณ์ ที่สุด จงใช้เวลาช่วงเช้า ช่วงเย็น และช่วงหนึ่งในยามดึก อย่างปานกลาง พวกท่านจะบรรลุเป้าหมาย” (บันทึกโดยอัลบุคอรีย์) 4. รักษาสุขอนามัยให้ดี ท่านนบีr ������������������������������������������������� ได้สอนและเน้นถึงความสำ�คัญของความสะอาดไว้ ความว่า “ความสะอาดเป็นส่วนหนึ่งของการศรัทธา” (บันทึกโดยมุสลิม) คำ�สอนในอิสลามจะครอบคลุมในทุกเรื่องเกี่ยวกับสุขอนามัยส่วนบุคคล ได้แก่ เรื่องความสะอาด การแต่งกาย การชำ�ระล้าง การแต่งกาย การรับประทานอาหาร รวมถึงการรักษาสิ่งแวดล้อมด้วย (กล่าว รายละเอียดในบทเรื่องการบูรณาการอิสลามในการดูแลสุขอนามัย และงานสุขาภิบาล) 5. รักษาภาวะเจ็บป่วยอย่างเหมาะสม ไม่แพร่กระจายเชื้อแก่ผู้อื่น อิสลามสอนให้มุสลิมดูแลสุขภาพร่างกายให้ดี โดยถือเป็นความรับผิดชอบต่อร่างกายที่พระเจ้า ทรงมอบแก่ตัวของเขา เมื่อเกิดภาวะเจ็บป่วยก็ควรรักษาอย่างเหมาะสม และอดทนต่อภาวการณ์เจ็บป่วย นั้นๆ ท่านนบีมุฮัมมัดr กล่าวความว่า “ทุกโรคนัน้ มียารักษา ดังนัน้ หากการเยียวยานัน้ ถูกต้องกับโรค ด้วยการอนุมตั ขิ องอัลลอฮ์ โรคนัน้ จะหาย” (บันทึกโดยอะหมัด) การรักษาโรคหรือภาวะเจ็บป่วยมีความจำ�เป็น โดยเฉพาะสำ�หรับโรคติดเชื้อที่อาจแพร่กระจาย เชื้อแก่ผู้อื่นนั้น ผู้ป่วยยิ่งต้องมีความรับผิดชอบในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อด้วย ซึ่งเขาจะต้องได้รับ การสอบสวนและตอบแทนในความรับผิดชอบนั้นๆ จากพระผู้เป็น เจ้าอย่างแน่นอน ในอัลกุรอานมีค�ำ สอนมิให้ผปู้ ฏิบตั กิ อ่ ความเสียหายขึน้ ไม่วา่ ในระดับใด หรือมากน้อยเพียงไดก็ตาม ความว่า “และเจ้าจงอย่าสร้างความเสียหายบนหน้าแผ่นดิน หลังจากที่มันได้ถูกพัฒนาแล้วแก่เพื่อมนุษย์ ซึ่งบรรดาสิ่งของของพวกเขา หลังจากที่มีการแก้ไขมันแล้ว” (สูเราะฮ์อัลอะอฺรอฟ อายะฮ์ที่ 85) 104


อีกอายะฮ์หนึ่งว่า อัลลอฮ์ ตรัสไว้ความว่า “และบรรดาผู้ที่สร้างความเดือดร้อนแก่มวลชนผู้ศรัทธาทั้งชายและหญิงด้วยสิ่งที่พวกเขาไม่ได้ กระทำ� แน่นอนเขาเหล่านั้นต้องแบกความเท็จและบาปอันชัดแจ้ง” (สูเราะฮ์อัลอะฮฺซาบ อายะฮ์ที่ 58) 6. ดูแลภาวะทางจิตและวิญญาณให้สมบูรณ์ บทบัญญัติการใช้ชีวิตในอิสลาม ได้ให้ความสำ�คัญต่อภาวะทางจิตใจและวิญญาณเป็นอย่างมาก ซึ่งสามารถสรุปเป็นประเด็น เพื่อนำ�ไปสู่สุขภาพที่สมบูรณ์ได้ดังนี้ - รำ�ลึกถึงอัลลอฮ์ตลอดเวลา - อ่านคัมภีร์อัลกุรอานทุกวัน พร้อมกับเข้าใจความหมาย - ดำ�รงการละหมาด มีความถ่อมตนในการละหมาดอย่างสมบูรณ์ - จ่ายซะกาต (บริจาคทานบังคับ เมื่อครบเงื่อนไข) - มอบหมายผล (ตะวักกัล) ของการงานต่างๆ ต่อพระองค์อัลลอฮ์ในทุกการงาน

3. แนวทางการบริโภคตามสุนนะฮ์

คำ�ว่า “สุนนะฮฺ” โดยรวมแล้วหมายถึงแบบอย่างของท่านบีr ���������������������������� ในกิจกรรมต่างๆ ของการดำ�เนิน ชีวิต การตามซุนนะฮฺก็คือ การตามแบบอย่างของท่านนบีr นั่นเอง การตามแบบอย่างของท่านเราะสูลr ������������������������������������������������������������� ในการดำ�เนินชีวติ นัน้ เป็นสิง่ ทีอ่ สิ ลามได้ก�ำ ชับเป็นอย่างยิง่ เพราะอิสลามถือว่าท่านเราะสูลr ���������������������������������������������� คือผูท้ สี่ ามารถดำ�รงชีวติ ตามพระบัญชาของอัลลอฮ์ ได้สมบูรณ์ทสี่ ดุ ดังนั้นผู้เป็นมุสลิมทุกคนจึงต้องปฏิบัติตามแบบอย่างของท่านเพื่อจะได้ปฏิบัติตนเป็นมุสลิมให้ สมบูรณ์เท่าที่จะทำ�ได้ อัลลอฮ์ ได้ตรัส ความว่า “ขอสาบานว่า แท้จริงแล้วในตัวของศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์นั้น มีแบบอย่างที่ดีงามสำ�หรับพวกเจ้า ที่หวังใน (ความโปรดปรานของ) อัลลอฮ์และ (ผลบุญใน) วันอาคิเราะฮฺ และได้กล่าวรำ�ลึกถึงอัลลอฮ์อย่าง มากมาย” (สูเราะฮ์อัล-อะหฺซาบ อายะฮ์ที่ 21) ทุกๆ กิจการของมุสลิมจำ�เป็นต้องปฏิบัติให้ตรงกับตัวอย่างของท่านนบีr เพราะหากว่าไม่เป็น ไปตามแบบอย่างของท่านแล้วก็ไม่อาจจะรับประกันได้วา่ สิง่ ทีเ่ ขาทำ�นัน้ ถูกต้องและเป็นทีย่ อมรับของอัลลอฮ์ หรือไม่ ในการบริโภค พระองค์อลั ลอฮ์ ได้ทรงใช้ให้มสุ ลิมเลือกบริโภคอาหารทีม่ คี ณ ุ ค่าทางโภชนาการ และทรงห้ามบริโภคอาหารที่จะเป็นพิษเป็นภัยต่อร่างกาย ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ พระองค์ ได้ตรัสความว่า “มนุษย์เอ๋ยจงบริโภคสิง่ ทีอ่ นุมตั แิ ละทีด่ จี ากทีม่ อี ยูใ่ นแผ่นดิน และอย่าปฏิบตั ติ ามรอยเท้าของมาร ร้าย แท้จริง มันเป็นศัตรูที่เปิดเผยสำ�หรับสูเจ้า” (สูเราะฮ์อัลบะเกาะเราะฮ อายะฮ์ที่ 168) 105


และในอีกอายะฮ์หนึ่งความว่า “โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย จงบริโภคสิ่งที่เราได้ให้ปัจจัยยังชีพแก่พวกเจ้า จากสิ่งดีๆ ทั้งหลาย และจงขอบคุณอัลลอฮ์เถิด หากเฉพาะพระองค์เท่านั้น ที่พวกเจ้าจักเป็นผู้เคารพสักการะ ที่จริงพระองค์ ทรงห้ามพวกเจ้านั้นเพียงแต่สัตว์ที่ตายเอง และเลือด และเนื้อสุกร และสัตว์ที่ถูกเปล่งเสียงที่มัน เพื่ออื่น จากอัลลอฮ์” (สูเราะฮ์อัลบะเกาะเราะฮ อายะฮ์ที่ 172-173) คำ�ว่า “ประโยชน์” นั้นหมายถึง ประโยชน์เชิงโภชนาการ มีคุณค่าสารอาหารและไม่เป็นพิษเป็น ภัยต่อร่างกายและสติปัญญา มุสลิมทราบจากคำ�สอนนี้ว่า มีสัตว์และพืชบางชนิดไม่เหมาะสมที่จะเป็น อาหารให้มนุษย์บริโภค ดังนั้น อาหารบางอย่างที่พระเจ้าทรงห้ามจึงเป็นที่มั่นใจได้ว่า มันไม่เหมาะสมไม่ คู่ควรกับมนุษย์จริงๆ

106


หน่วยการเรียนรู้ที่ 8

ทักษะในการป้องกันตนเอง และการมีส่วนร่วม ในการป้องกันความเสี่ยงในการใช้ยา และสิ่งเสพติด ตัวชี้วัด พ 5.1 ม.4-6 1. มีส่วนร่วมในการป้องกันความเสี่ยงต่อการใช้ยา การใช้สารเสพติด และความรุนแรง เพื่อสุขภาพของตนเอง ครอบครัว และสังคม 2. วิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดจากการครอบครอง การใช้และการจำ�หน่ายสารเสพติด สาระการเรียนรู้แกนกลาง 1. การจัดกิจกรรมป้องกันความเสี่ยงต่อการใช้ยา สารเสพติด และความรุนแรง 2. การวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดจากการครอบครอง การใช้และการจำ�หน่ายสารเสพติด (ตนเอง ครอบครัว เศรษฐกิจ สังคม) 3. โทษทางกฎหมายที่เกิดจากการครอบครอง การใช้และการจำ�หน่ายสารเสพติด

1. สารเสพติดและโทษของสารเสพติด สารเสพติด หมายถึงสิง่ ทีเ่ สพเข้าไปในร่างกายแล้วทำ�ให้รา่ งกายต้องการสารนัน้ ในปริมาณทีเ่ พิม่ ขึ้นไม่สามารถหยุดได้ มีผลทำ�ให้ร่างกายทรุดโทรมและสภาวะจิตใจผิดปกติ

กัญชา

ใบกระท่อม 107


เป็นต้น

ประเภทของสารเสพติด ประเภทของสารเสพติดแบ่งได้ 2 ประเภท ดังนี้ 1. สิ่งเสพติดตามธรรมชาติ ส่วนใหญ่ได้มาจากพืช เช่น ฝิ่น กัญชา กระท่อม เป็นต้น 2. สิง่ เสพติดสังเคราะห์ เกิดจากมนุษย์จดั ทำ�ขึน้ เช่น เฮโรอีน ยานอนหลับ ยาระงับประสาท ยาบ้า

ฝิ่น

มอร์ฟีน

เฮโรอีน

สิ่งเสพติดที่พบในประเทศไทยแบ่งออกได้ดังนี้ 1.สิ่งเสพติดประเภทฝิ่น และอนุพันธ์ของฝิ่น ได้แก่ 1.1 ฝิ่น เป็นพืชล้มลุก สารเสพติดได้จากยางฝิ่นดิบ ซึ่งกรีดจากผล มีลักษณะเหนียว สี น�้ำตาลไหม้ 1.2 มอร์ฟีน เป็นสารแอลคาลอยด์สกัดจากฝิ่น เป็นผลึกสีขาวนวล มีฤทธิ์รุนแรงกว่าฝิ่น 10 เท่า 1.3 เฮโรอีน เป็นสารที่สังเคราะห์ได้จากมอร์ฟีน มีพิษรุนแรงกว่ามอร์ฟีน 10 เท่า 2. สิ่งเสพติดประเภทยานอนหลับและยาระงับประสาท ได้แก่ 2.1 เชกโคนาล เป็นแคปซูลสีแดงเรียกว่า เหล้าแห้ง 2.2 อโมบาร์บิทอล เป็นยานอนหลับบรรจุในแคปซูลสีฟ้าที่เรียกว่า นกสีฟ้า 2.3 เพนโทบาร์บิทอล เป็นยานอนหลับบรรจุในแคปซูลสีเหลืองที่เรียกว่า เสื้อสีเหลือง 3. สิ่งเสพติดประเภทแอมเฟตามีน เป็นยาประเภทกระตุ้นประสาท มีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น ยา แก้ง่วง ยาขยัน ยาบ้า เป็นต้น ยาบ้าหรือแอมเฟตามีนมีลักษณะ เป็นผง มีผลึกสีขาว บรรจุในแคปซูลหรือ อัดเม็ด อาจพบปลอมปนในยาคลอร์เฟนิรามีน พาราเซตามอล

ยาอี 108

ยาเค

ยาบ้า


โทษของยาเสพติด โทษเนื่องจากการเสพสิ่งเสพติดแบ่งออกได้ดังนี้ 1. โทษต่อร่างกาย สิง่ เสพติดท�ำลายทัง้ ร่างกายและจิตใจ เช่น ท�ำให้สมองถูกท�ำลาย ความจ�ำเสือ่ ม ดวงตาพร่ามัว น�้ำหนักลด ร่างกายซูบผอม ตาแห้ง เหม่อลอย ริมฝีปากเขียวคล�้ำ เครียด เป็นต้น 2. โทษต่อผูใ้ กล้ชดิ ทำ�ลายความหวังของพ่อแม่และทุกคนในครอบครัว ทำ�ให้วงศ์ตระกูลเสือ่ มเสีย 3. โทษต่อสังคม เกิดปัญหาทางด้านอาชญากรรม สูญเสียแรงงาน สิน้ เปลืองค่าใช้จา่ ยในการปราบ ปรามและการบำ�บัดรักษา 4. โทษต่อประเทศไทย ทำ�ลายเศรษฐกิจของชาติ การป้องกันสิ่งเสพติด

ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษแบ่งออกอย่างกว้างๆ ได้เป็น 5 ฐาน 1. ฐานผลิต นำ�เข้า ส่งออก ซึ่งยาเสพติดให้โทษ 2. ฐานจำ�หน่าย หรือมีไว้ในความคอบครองเพื่อจำ�หน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษ 3. ฐานมีไว้ในความคอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษ 4. ฐานเสพยาเสพติดให้โทษ 5. ฐานโฆษณาเพื่อการค้าซึ่งยาเสพติดให้โทษ

พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551

1. ห้ามไม่ให้มีการขาย (ขาย หมายถึง การจำ�หน่ายจ่ายแจก แลกเปลี่ยนหรือให้เพื่อประโยชน์ ทางการค้า) เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด ในสถานศึกษาและหอพัก ตามมาตรา 27 2. ห้ามมิให้ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แก่บุคคลซึ่งมีอายุต�่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ ตามมาตรา 29 3. ห้ามไม่ให้ผู้ใดบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานศึกษา ตามมาตรา 31 (ยกเว้นบริเวณที่จัด ไว้เป็นที่พักส่วนบุคคลหรือสโมสร หรือการจัดเลี้ยงตามประเพณี หรือสถานศึกษาที่สอนผสมเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ที่ได้รับอนุญาต ตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ) 4. หากฝ่าฝืนมาตรา 27 หรือมาตรา 31 ต้องระวางโทษจำ�คุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึง่ หมื่นบาท หรือทั้งจำ�ทั้งปรับ และฝ่าฝืนมาตรา 29 ต้องระวางโทษจำ�คุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสอง หมื่นบาท หรือทั้งจำ�ทั้งปรับ พระราชกำ�หนดป้องกันการใช้สารระเหย ตามพระราชกำ�หนดนี้ กำ�หนดมาตรการควบคุมไม่ให้นำ�สารระเหยมาใช้ในทางที่ผิดไว้หลาย ประการ และกำ�หนดให้ผู้ฝ่าฝืนที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรการดังกล่าว มีความผิดและต้องรับโทษ ซึ่งมีราย ละเอียดดังนี้ 1. กำ�หนดให้ผู้ผลิต ผู้นำ�เข้า หรือผู้ขายสารระเหย ต้องจัดให้มีภาพหรือข้อความที่ภาชนะบรรจุ 109


หรือหีบห่อบรรจุสารระเหย เพือ่ เป็นการเตือนให้ระวังการใช้สารระเหยดังกล่าว (มาตรา 12, 13 และมาตรา 14) ผู้ฝ่าฝืนต้องรับโทษจำ�คุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำ�ทั้งปรับ (มาตรา 22) 2. ห้ามผู้ใดขายสารระเหยแก่ผู้ที่มีอายุไม่เกินสิบเจ็ดปี เว้นแต่เป็นการขายโดยสถานศึกษาเพื่อใช้ ในการเรียนการสอน (มาตรา 15) ผู้ฝ่าฝืนต้องรับโทษจำ�คุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือ ทั้งจำ�ทั้งปรับ (มาตรา 23) 3. ห้ามผู้ใดขาย จัดหา หรือให้สารระเหยแก่ผู้ซึ่งตนรู้ หรือควรรู้ว่าเป็นผู้ติดสารระเหย (มาตรา 16) ผู้ฝ่าฝืนต้องรับโทษจำ�คุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำ�ทั้งปรับ (มาตรา 24) 4. ห้ามผู้ใดจูงใจ ชักนำ� ยุยงส่งเสริม หรือใช้อุบายหลอกลวงให้บุคคลอื่นใช้สารระเหยบำ�บัดความ ต้องการของร่างกายหรือจิตใจ (มาตรา 18) ผู้ฝ่าฝืนต้องรับโทษจำ�คุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำ�ทั้งปรับ (มาตรา 24) 5. ห้ามผู้ใดใช้สารระเหยบำ�บัดความต้องการของร่างกายและจิตใจ ไม่ว่าโดยวิธสูด หรือวิธีอื่นใด (มาตรา 17)ผูฝ้ า่ ฝืนต้องรับโทษจำ�คุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทัง้ จำ�ทัง้ ปรับ (มาตรา 24)

2. การป้องกันปัญหายาเสพติด

การป้องกันปัญหายาเสพติด แบ่งได้เป็น 3 ระดับ คือ ระดับปฐมภูมิ ระดับทุตยิ ภูมิ ระดับตติยภูมิ 1. ขั้นปฐมภูมิ หมายถึง มาตรการป้องกันไม่ให้ประชากรทั่วไป และประชากรกลุ่มเสี่ยง ใช้เสพ ยาเสพติด หรือ การป้องกันไม่ให้เกิดผูเ้ สพรายใหม่ การป้องกันยาเสพติดที่ดีให้ความรู้การป้องกันยา เสพติดด้วยการพัฒนาสถาบันครอบครัวให้ดตี งั้ แต่ การสนั บ สนุ น การวางแผนครอบครั ว มี ก าร วางแผนครอบครัวที่ดี มีลูกเมื่อพร้อม ส่งเสริม ทักษะการเป็นพ่อแม่ที่ดี ส่งเสริมพัฒนาการทาง ด้านจิตใจของเด็ก ช่วยให้เด็กมีทางออกในการแก้ ปัญหาโดยไม่ต้องหันไปพึ่งยาเสพติด การพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชน การพัฒนาเศรษฐกิจโดยยึดหลัก เศรษฐกิจพอเพียง การพัฒนาด้านคุณธรรมจริยธรรม เนือ่ งจากปัญหายาเสพติดเป็นผลพวงจากปัญหาอืน่ ๆ หลายประการ ตั้งแต่ปัญหาสัมพันธภาพในครอบครัว ปัญหาการเลี้ยงดู ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาด้านจิตใจ ปัญหาทางสังคม ปัญหาการศึกษา การส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ฯลฯ การป้องกันปัญหายาเสพติดขั้น ปฐม ภูมิที่ดี จึงควรที่จะมุ่งไปที่การแก้ปัญหาต้นเหตุ 2. ขัน้ ทุตยิ ภูมิ หมายถึง มาตรการเพือ่ คัดกรอง และค้นหาผูป้ ว่ ยทีเ่ สพติดยาเสพติดในชุมชน และ ให้การบำ�บัดรักษาที่มีประสิทธิภาพอย่างทันการณ์ เพื่อช่วยลดผลเสียจากการเสพยาเสพติด ทั้งต่อผู้เสพ และสังคม การค้นหาผู้ป่วยที่เริ่มติดยาและให้การรักษาแต่เนิ่นๆ การนับเอาการค้นหาผู้ป่วยและให้การ บำ�บัดรักษา จึงเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดของยาเสพติดที่สำ�คัญประการหนึ่ง 3. ขั้นตติยภูมิ หมายถึง มาตรการบำ�บัดและฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยที่ติดยาเสพติด ให้สามารถกลับไป ใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างเป็นปกติสุข เป็นผู้จะช่วยในการรณรงค์ การป้องกันปัญหายาเสพติดในขั้นปฐมภูมิ 110


ได้เป็นอย่างดี สามารถช่วยให้ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในขั้นทุติยภูมิ มีความหวังที่จะเลิก และกลับเป็นคน ดีของสังคมได้อย่างเป็นรูปธรรม กล่าวโดยสรุป การป้องกันปัญหายาเสพติดทัง้ สามระดับ ล้วนมีความสำ�คัญ มาตรการในแต่ละขัน้ มีผลช่วยให้มาตรการในขั้นอื่นๆ ทำ�ได้ดีขึ้น การดำ�เนินการป้องกันจำ�เป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดำ�เนินการไป พร้อมๆ กันทั้งสามขั้นตอนจะเลือกทำ�เพียงขั้นใดขั้นหนึ่งมิได้

แนวทางการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติด

บทบัญญัติอิสลามเกี่ยวกับสารเสพติด

แนวทางการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติด แยกพิจารณาได้ ดังนี้ (1) ฝึกอบรมตนเองให้มีจิตใจเข้มแข็ง ไม่อ่อนไหวง่าย ไม่หลงค�ำชักชวน ไม่ท้อแท้ ต่อชีวิต ออก ก�ำลังกายสม�่ำเสมอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และพักผ่อนให้เพียงพอ เลือกคบเพื่อนที่ไม่มั่วสุมสิ่ง เสพติด (2) การป้องกันในครอบครัว ต้องให้ความรักความเข้าใจ และอบรมสัง่ สอนสมาชิกในครอบครัวให้ รู้ถึงโทษภัยของยาเสพติดให้โทษ สอดส่องดูแลสมาชิกในครอบครัวไม่ให้ไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด (3) ช่วยแนะนำ�ชี้แจงเพื่อนบ้านให้เข้าใจถึงโทษภัยของยาเสพติด (4) ให้ความร่วมมือกับทางราชการในการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด แจ้งแหล่งผลิตแหล่ง ค้ายาเสพติด ผู้ติดยาเสพติดให้ทางราชการทราบ (5) ลงโทษผู้ประพฤติผิดอย่างจริงจังและโทษสถานหนัก (6) การป้องกันในสถานศึกษา ควรให้ความรู้ซึ่งสิ่งเสพติด จัดนิทรรศการและการรณรงค์ต่อต้าน สิ่งเสพติด ไปศึกษาดูงาน ณ สถานบำ�บัดผู้ติดยาเสพติด (7) การป้องกันในชุมชน ควรจัดสถานทีอ่ อกกำ�ลังกาย และจัดกลุม่ แม่บา้ นให้ความรูเ้ รือ่ งสิง่ เสพติด (8) ให้การศึกษาแก่นักเรียนเยาวชน และประชาชนทั่วไปในเรื่องยาเสพติด (9) ออกกฎหมายเพิ่มโทษและปราบปรามยาเสพติดอย่างจริงจัง (10) สร้างครอบครัวให้เข้มแข็ง เช่น ให้ความรักความอบอุ่นแก่สมาชิกของครอบครัว (11) สร้างจิตสำ�นึกในการรับผิดชอบต่อสังคมของบุคคล เพือ่ ให้เกิดการเลิกผลิต เลิกเสพและเลิกค้า

การที่อิสลามมีบทบัญญัติห้ามสิ่งเสพติดก็เพื่อประโยชน์ในการดูแลสติปัญญาของมนุษย์ซึ่งเป็น หนึ่งในห้าประการดังกล่าวไม่ให้เสียหาย เพราะสิ่งเสพติดทุกชนิดเป็นโทษต่อระบบสมองของผู้เสพ ทำ�ให้ ผูเ้ สพ มึนเมาไม่ได้สติ อาจจะก่ออาชญากรรมร้ายแรง ละเมิดต่อศีลธรรมอันดีงาม และมีผลกระทบต่อระดับ สติปัญญาของผู้เสพในระยะยาว นอกจากนี้ เมือ่ ผูเ้ สพได้รบั สารเสพติดเข้าไปในร่างกายแล้วอาจจะทำ�ให้กอ่ ความผิดอย่างอืน่ ได้อกี เพราะไม่ได้สติจากฤทธิ์ของยาที่เสพเข้าไป จะเห็นได้ว่ายาเสพติดนอกจากจะให้โทษต่อร่างกายผู้เสพแล้ว บางครั้งอาจจะก่อผลเสียต่อผู้อื่นหรือต่อสังคมอีกด้วย 111


ด้วยเหตุนี้อิสลามจึงได้มีบัญญัติห้ามสิ่งเสพติด โดยได้มีบทบัญญัติห้ามการดื่มสุราในอัลกุรอานไว้ ความว่า “โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย แท้จริงแล้วสุรา การพนัน รูปปั้นต่างๆ และการเสี่ยงทายนั้น คือสิ่ง สกปรกซึ่งเป็นงานของชัยฏอน ดังนั้นพวกเจ้าจงละทิ้งมันเถิด เพื่อพวกเจ้าจะได้ประสบความสำ�เร็จ” (สูเราะฮฺอัลมาอิดะฮฺ อายะฮ์ที่ 90) สิ่งเสพติดอื่นๆ ในปัจจุบันซึ่งไม่ได้มีระบุในอัลกุรอานนั้นก็เป็นสิ่งต้องห้ามเช่นกัน โดยอาศัยการ เทียบเคียงกับสุรา เพราะต่างก็ให้โทษต่อร่างกายมนุษย์และทำ�ให้เกิดการเสียสติได้เท่าๆ กัน อีกทัง้ ยังมีการ ยืนยันจากท่านนบีr ���������������������������������������������������������������������������������� ว่าทุกสิง่ ทุกอย่างทีส่ ามารถทำ�ให้เกิดอาการมึนเมาได้นนั้ มีสถานะเหมือนกับสุรา โดยที่ ท่านได้กล่าวไว้ความว่า “ทุกสิ่งทุกอย่างที่ทำ�ให้เมาได้นั้นก็เหมือนสุรา และสุราทุกชนิดนั้นเป็นที่ต้องห้าม” ภัยของสิง่ เสพติดนัน้ เป็นทีท่ ราบกันอย่างชัดเจนว่า มีผลเสียอย่างไรบ้าง ดังนัน้ จึงควรต้องตระหนัก ในการป้องกันไม่ให้สิ่งเสพติดระบาดในสังคม การระบาดของสิ่งเสพติดถือเป็นสัญญาณอันตรายที่น่ากลัว เพราะสิ่งเสพติดมักจะระบาดในหมู่ เยาวชนเสียส่วนใหญ่ เมือ่ เยาวชนติดสิง่ เสพติดนัน่ ก็แสดงว่าอนาคตอันสดใสของสังคมกำ�ลังมืดลงทุกที ทุก คนทุกฝ่ายจึงต้องเอาใจใส่มากยิ่งขึ้นเพื่อร่วมมือกันไม่ให้สิ่งเสพติดระบาดมากไปกว่าที่เป็นอยู่ในทุกวันนี้ นอกจากนี้การระบาดของสิ่งเสพติดทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นที่ผิดกฎหมายเช่นเฮโรอีน กัญชา ยาบ้า หรือที่ถูก กฎหมายเช่นเหล้า เบียร์ ไวน์ นั้นถือว่าเป็นสัญญาณหนึ่งของวันสิ้นโลก ซึ่งท่านนบีr ได้กล่าวไว้ความว่า “แท้จริงในจำ�นวนสัญญาณของวันสิ้นโลกนั้นคือ จะมีการระบาดของสุรายาเมา”

112


หน่วยการเรียนรู้ที่ 9

ทักษะในการพัฒนาตนเอง และการมีส่วนร่วมของนักเรียน ในการดูแลความปลอดภัย ในชีวิตประจ�ำวัน

ตัวชี้วัด พ 5.1 ม.4-6 1. วางแผน กำ�หนดแนวทางลดอุบัติเหตุ และสร้างเสริมความปลอดภัยในชุมชน 2. มีส่วนร่วมในการสร้างเสริมความปลอดภัยในชุมชน 3. แสดงวิธีการช่วยฟื้นคืนชีพอย่างถูกวิธี สาระการเรียนรู้แกนกลาง 1. การวางแผน กำ�หนดแนวทางลดอุบัติเหตุ และสร้างเสริมความปลอดภัยในชุมชน 2. กิจกรรมการสร้างเสริมความปลอดภัยในชุมชน 3. วิธีการช่วยฟื้นคืนชีพอย่างถูกวิธี

1. การวางแผน กำ�หนดแนวทางลดอุบตั เิ หตุและสร้างเสริมความปลอดภัยในชุมชน

1.1 การนำ�แนวทางการดำ�เนินชีวิตเพื่อลดอุบัติเหตุ นอกจากสถานศึกษาภายในชุมชนและท้องถิ่นจะเป็นกำ�ลังสำ�คัญในการช่วยกันรณรงค์เพื่อลด อุบัติเหตุในพื้นที่แล้ว ในส่วนของชาวบ้านและเจ้าหน้าที่ของรัฐในชุมชนนั้นๆ ก็ถือเป็นฟันเฟืองชิ้นสำ�คัญ ในการช่วยลดอุบัติเหตุบนท้องถนนด้วยเช่นกัน หากประชาชนในชุมชนมีวินัยปฏิบัติตามกฎหมายจราจรอย่างเคร่งครัด และเจ้าหน้าที่ของบ้าน เมืองมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง ก็จะสามารถช่วยลดความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจและสังคมจาก การเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนลงได้ การตั้งด่าน 7 วันอันตรายเป็นประจำ�ในทุกเดือนนั้นเพื่อเป็นการกวดขันวินัยจราจรในช่วงเวลา กลางคืน ซึ่งเป็นช่วงที่ผู้ขับขี่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุมาก โดยมีสาเหตุต่างๆ กันคือ ง่วงแล้วขับ ขับขี่พาหนะขณะมึนเมา การขับรถโดยไม่ปฏิบัติตามกฎจราจร ฯลฯ 113


“การเข้มงวดในการใช้กฎหมายในช่วง 7 วันอันตรายอาจจะทำ�ให้ประชาชนไม่เข้าใจและไม่ได้รับ ความสะดวกบ้าง แต่ทางจังหวัดก็จะมีการ ประชาสัมพันธ์กอ่ นว่าจะดำ�เนินโครงการในช่วงไหน เพือ่ เป็นการ สร้างจิตสำ�นึกและปลูกฝังการมีวนิ ยั จราจร ซึง่ เมือ่ เวลาผ่านมาทางประชาชนในพืน้ ทีก่ ใ็ ห้ความร่วมมือด้วย ดี และนอกจากมาตรการนี้แล้วทางจังหวัดก็ยังได้จัดโครงการอบรมเรื่องกฎหมายจราจรโดยเน้นการให้ ความรู้เรื่องจราจรและการขับขี่ที่ปลอดภัยกับประชาชนโดยเฉพาะในกลุ่มเยาวชน รวมทั้งจัดอบรมเรื่อง การปฐมพยาบาลเบื้องต้นให้อาสาสมัครหน่วยกู้ภัยตามชุมชน ซึ่งถือเป็นส่วนสำ�คัญที่จะช่วยลดจำ�นวนผู้ เสียชีวิตให้ลดน้อยลง” “การให้ชมุ ชนเข้ามามีสว่ นในการดำ�เนินโครงการลดอุบตั เิ หตุจะช่วยให้การทำ�งานประสบผลสำ�เร็จ มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะหากคนในพื้นที่ตื่นตัวที่จะช่วยกัน เนื่องจากในปัจจุบันอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นมีสาเหตุมา จากคนในชุมชนเป็นส่วนใหญ่ เช่น การขับรถเร็วกว่ากำ�หนด เมาแล้วขับ และการขับขี่จักรยานยนต์โดยไม่ สวมหมวกนิรภัย และอุบตั เิ หตุทเี่ กิดขึน้ ส่วนใหญ่กว่า 80% ก็เป็นรถจักรยานยนต์ ซึง่ เป็นพาหนะทีท่ กุ บ้าน ในชุมชนจะมีใช้กัน” อย่างไรก็ตามการป้องกันและลดปัญหาอุบตั เิ หตุบนท้องถนนทีด่ �ำ เนินการโดยภาครัฐจะไม่สามารถ ประสบความสำ�เร็จที่ดีได้หากไม่ได้รับความร่วมมือจากประชาชนในการขับขี่อย่างมีวินัยและปฏิบัติตาม กฎหมายจราจรอย่างเคร่งครัด!!! การเปิดโอกาสให้ชุมชนเข้ามามีบทบาทและให้ชาวบ้านตระหนักถึงการมีส่วนร่วมกันในการคิด และทำ�โครงการเพือ่ แก้ปญ ั หานีใ้ ห้ลดน้อยลง โดยเริม่ จากชุมชนหรือท้องถิน่ ก่อน น่าจะเป็นหนทางทีท่ �ำ ให้ การลดอุบัติเหตุบนถนนของไทยประสบความสำ�เร็จอย่างยั่งยืนได้ในอนาคต !??!.

1.2 การมีสว่ นร่วมของนักเรียนในการสร้างเสริมความปลอดภัยในชุมชนและสังคม โดยทั่วไป

ชุมชนปลอดภัย คือการสร้างกระบวนการชุมชนทีเ่ กิดขึน้ ด้วยความร่วมมือของประชาชนในชุมชน นัน้ โดยใช้กระบวนการประชาสังคมเพือ่ เรียนรูป้ ญ ั หาและสาเหตุของอุบตั เิ หตุ ทำ�ให้ประชาชนตระหนักถึง ความสำ�คัญเรื่องความปลอดภัยของทุกคนที่อาศัยอยู่ในชุมชน กระบวนการสร้างเสริมความปลอดภัยใน ชุมชน เป็นการดำ�เนินงานภายใต้โครงการ “ชุมชนปลอดภัย” ซึ่งเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนในการสร้าง เสริมความปลอดภัย โดยใช้ 4 กลยุทธ์ ดังนี้ 1. การเฝ้าระวังพฤติกรรมความปลอดภัย เป็นการดำ�เนินงานทางด้านความปลอดภัยทีจ่ ะแสวงหา ข้อมูลเพื่อประเมินสถานการณ์เสี่ยงของปัญหาอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในชุมชน เช่น 1.1 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ศูนย์อ�ำ นวยความปลอดภัยทางถนนได้จดั ซือ้ เครือ่ งตรวจ จับความเร็วให้แก่ศนู ย์ตรวจจับความเร็วระดับจังหวัด สำ�หรับใช้ปฏิบตั งิ านตามมาตรการบังคับใช้กฎหมาย ให้มีประสิทธิภาพ 1.2 การตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์ในเลือด เพื่อลดปัญหาอุบัติเหตุจากการเมาและขาดสติ และ รณรงค์โครงการ “เมาไม่ขับ” ในช่วงเทศกาลต่าง ๆ เช่น ปีใหม่ สงกรานต์ เป็นต้น 1.3 การตรวจจับผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ที่ไม่สวมหมวกนิรภัยและไม่เปิดไฟหน้ารถ 114


2. เมืองน่าอยู่ เป็นแนวคิดขององค์การอนามัยโลกที่ต้องการพัฒนาสุขภาพของประชาชนที่อยู่ อาศัยในเมืองให้มสี ขุ ภาพดี มีการพัฒนาทีย่ งั่ ยืนโดยถือว่าการพัฒนาสุขภาพเป็นเรือ่ งขององค์รวมทีจ่ ะต้อง พัฒนาควบคู่ไปกับการพัฒนาเมือง โดยมีแนวทางการดำ�เนินการ “เมืองน่าอยู่” 10 ประการ ดังนี้ 1. สิ่งแวดล้อมทางกายภาพทุกครอบครัว รอบบริเวณชุมชน - เขียวขจี “ป่าในเมือง” - สะอาด “ไร้ฝุ่น ขยะมูลฝอยรีไซเคิล ปุ๋ยชุมชน” -ปลอดภัย ไม่มีการเคลื่อนไหวมวลชนในทางลบ 2. ระบบนิเวศสมดุล “มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน” 3. ชุมชนเข้มแข็ง ช่วยเหลือเกื้อกูล 4. ประชาชนมีส่วนร่วม 5. ระบบบริการสาธารณะในความจ�ำเป็นพื้นฐาน ได้แก่ อาหารและน�้ำ ที่พักอาศัย รถประจ�ำทาง เป็นต้น 6. รู้ข่าวสาร ร่วมระดมความคิด ร่วมกันทำ�งานเพื่อส่วนรวม 7. มีระบบเศรษฐกิจทฤษฎีใหม่ มีนวัตกรรมหลากหลายเพื่อนำ�ความรู้มาใช้ประโยชน์ 8. พัฒนาภูมิปัญญาในท้องถิ่น โดยเชื่อมโยงเข้ากับเทคโนโลยีสมัยใหม่อย่างเหมาะสม 9. ส่งเสริมวัฒนธรรมไทย สืบสานประเพณี สร้างเอกลักษณ์ของชุมชน 10. มีระบบบริการสาธารณสุขเพื่อสุขภาวะที่ดีของประชาชนอย่างทั่วถึงและเสมอภาค 3. โรงเรียนสร้างเสริมความปลอดภัย เป็นกระบวน การพัฒนางานด้านความปลอดภัยของโรงเรียน โดยสร้างเสริม ความปลอดภัยทั้งทางด้านสิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมความ ปลอดภั ย ของนั ก เรี ย นภายในโรงเรี ย นและขยายความรู้ สู่ ครอบครัวและชุมชน เช่น โครงการ อย.น้อย โครงการโรงเรียน สีขาว โครงการธนาคารขยะ โครงการทำ�ปุ๋ยหมัก เป็นต้น 4. การประชาสัมพันธ์ การประชาสัมพันธ์กิจกรรม การสร้างเสริมความปลอดภัยในชุมชน จัดขึ้นเพื่อให้ความรู้ เรื่องการป้องกันอุบัติเหตุแก่ประชาชน และกระตุ้นให้ชุมชน เห็นความสำ�คัญต่อกระบวนการสร้างเสริมความปลอดภัย โดย การส่ ง ข้ อ มู ล ข่ า วสารความรู้ เ กี่ ย วกั บ ความปลอดภั ย ไปยั ง ประชาชนอย่างทั่วถึง การประเมินกระบวนการสร้างเสริมความปลอดภัยให้ชุมชนเข้มแข็ง การประเมินผล คือกิจกรรมการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์และแปลผล เพื่อตัดสินใจว่ากิจกรรม ต่างๆ ทีไ่ ด้ด�ำ เนินการนัน้ บรรลุผลตามวัตถุประสงค์หรือไม่ ควรปรับปรุงอย่างไร เพือ่ ใช้เป็นแนวทางในการ ดำ�เนินการครั้งต่อไป 115


2. กิจกรรมการสร้างเสริมความปลอดภัยในชุมชน

กระบวนการสร้างเสริมความปลอดภัยในชุมชนเป็นการดำ�เนินงานเพือ่ ให้ตนเองและชุมชนมีความ ปลอดภัย และลดความเสียหายที่เกิดขึ้นซึ่งสามารถทำ�ได้ดังนี้ 1. วางแผนตนเองเพื่อความปลอดภัย เป็นการวางแผนในการดำ�เนินชีวิตประจำ�วันของตนเอง เช่น การเดินทางเท้า การเดินทางด้วยยานพาหนะทัง้ เป็นผูโ้ ดยสารหรือขับขีเ่ อง การใช้ผลิตภัณฑ์ทปี่ ลอดภัย การบริโภคอาหารทีป่ ลอดภัย การระมัดระวังในการใช้ยา การป้องกันอุบตั เิ หตุในบ้านการะมัดระวังอุบตั เิ หตุ ในการประกอบอาชีพ เป็นต้นสิ่งเหล่านี้จะนำ�ไปสู่ความปลอดภัยทั้งสิ้น 2. การช่วยเหลือผู้ประสบเหตุอย่างปลอดภัย ผู้ช่วยเหลือจะต้องมีความรู้ความสามารถในเรื่อง การปฐมพยาบาล การเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บพอสมควร อีกทั้งจะต้องมีจิตใจที่จะช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ ใน การช่วยเหลืออาจจะต้องมีการปฐมพยาบาล การเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บ และการนำ�ส่งแพทย์ ซึ่งจะส่งผล ให้ผู้ป่วยหรือผู้ประสบเหตุลดอาการบาดเจ็บ หรือผ่อนหนักเป็นเบาได้และรอดชีวิตได้ถ้าเป็นเหตุการณ์ วิกฤตและช่วยเหลือได้ทันท่วงที 3. การรณรงค์เพือ่ สนับสนุนความปลอดภัยในชุมชน บุคคลในชุมชนจะต้องช่วยกันหรือรวมกลุม่ กันรณรงค์ดว้ ยรูปแบบทีห่ ลากหลายเพือ่ สนับสนุนความปลอดภัยในชุมชนเช่น การเดินรณรงค์ การปิดป้าย เพื่อการรณรงค์ การใช้การประชาสัมพันธ์ทางเครื่องขยายเสียง เป็นต้น พยายามให้คนในชุมชนมีส่วนร่วม ให้มากที่สุด

3. การช่วยฟื้นคืนชีพ

ความหมายของการช่วยฟื้นคืนชีพ

วัตถุประสงค์ของการช่วยฟื้นคืนชีพ

การช่วยฟืน้ คืนชีพหรือทีเ่ รียกว่า การทำ� CPR นั้น หมายถึง เป็นการปฏิบัติการช่วยชีวิตเมื่อผู้ป่วย หยุดหายใจ และหัวใจหยุดทำ�งาน เพื่อให้ปอดได้รับ ออกซิ เจนและหั ว ใจสามารถสู บ ฉี ด เลื อ ดไปเลี้ ย ง ร่างกายได้ โดยเชือ่ ว่าถ้าหัวใจหยุดเต้นนานเกิน 4 นาที จะทำ�ให้สมองและอวัยวะสำ�คัญของร่างกายตายหรือ ถูกทำ�ลาย เป็นการช่วยโดยไม่ต้องใช้เครื่องมือแพทย์ เพียงแต่ใช้มอื กดทีห่ น้าออก และเป่าลมหายใจเข้าปาก ผู้ป่วย

116

1. เพิ่มออกซิเจนให้แก่เนื้อเยื่อ และร่างกาย 2. ป้องกันสมองตาย โดยการทำ�ให้เลือดไปเลี้ยงสมองได้เพียงพอ ประโยชน์ของการช่วยฟื้นคืนชีพ สามารถช่วยชีวิตผู้ป่วยที่เสียชีวิตกะทันหัน โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคหัวใจ นอกจากนี้ยังช่วยผู้ที่จมน�้ำ


ถูกไฟฟ้าดูด ขาดอากาศหายใจ หรือได้รบั ยาเกินขนาด เป็นการต่อเวลาของผูป้ ว่ ยเพือ่ รอให้ผปู้ ว่ ยได้รบั การ ช่วยเหลืออย่างเต็มที่ต่อไป

การช่วยฟื้นคืนชีพ

การเตรียมตัวก่อนช่วยชีวิต

หลักการช่วยชีวิตเบื้องต้น

ข้อห้ามช่วยชีวิต

เมื่อผู้ป่วยหยุดหายใจและหัวใจหยุดเต้น ควรรีบทำ� CPR ทันทีภายในเวลา 4 นาทีแรกหลังจาก หยุดหายใจ แต่ถ้าเสียชีวิตมานานแล้วก็ไม่ต้องทำ�เพราะเซลสมองขาดออกซิเจนทำ�ให้เซลสมองบางส่วน ตายไป

- ตั้งสติ - สำ�รวจและประเมินสถานการณ์ - ดูห่างๆ และดูให้ทั่ว - ปลอดภัยไว้ก่อน - แจ้งเหตุทีมกู้ชีวิต สายด่วน 1669 หรือ 191

1. สำ�รวจและประเมินสภาพผู้ป่วย - แนะนำ�ตัว - ตรวจความรู้สึกตัว - ตรวจการหายใจ - ตรวจการไหลเวียนเลือด - ตรวจการบาดเจ็บ 2. ปฐมพยาบาล 3. เคลื่อนย้ายผู้ป่วย

1. ผู้ป่วยตายแน่แล้ว - ตัวแข็ง - ส่วนต�่ำของร่างกายที่ถูกทับเป็นสีม่วงแดง - ศีรษะขาด - สมองกระจาย 2. ทารกแรกคลอดที่อายุครรภ์น้อยกว่า 23 สัปดาห์ หรือน้ำ�หนักแรกคลอดน้อยกว่า 400-1000 กรัม 3. การกู้ชีพจะทำ�ให้ผู้ช่วยเหลือหรือผู้อื่นเป็นอันตราย เช่น บาดเจ็บ ติดโรคร้ายแรง ผู้ป่วยมีคำ�สั่ง ไม่ให้กู้ชีพ (ขณะที่มีสติ) หรือญาติให้ความ

117


ขั้นตอนของการช่วยฟื้นคืนชีพ 1. ตรวจดูวา่ ผูป้ ว่ ยหมดสติจริงหรือไม่ โดยการเรียก และตีที่ไหล่เบาๆ

2. ขอความช่ ว ยเหลื อ จากผู้ อื่ น ให้ โ ทรศั พ ท์ แจ้งขอความช่วยเหลือต่อถ้าผู้ป่วยหมดสติจริง

3. จัดท่าให้ผู้ป่วยนอนหงาย ราบบนพื้นแข็งและ ตรวจดูในปาก ว่ามีสิ่งแปลกปลอมอยู่หรือไม่ ถ้ามีให้เอา ออก 4. เปิดทางเดินหายใจ โดยดันหน้าผากและยกคาง (head Tilt - Chin Lift) ให้ใบหน้าแหวนขึ้น และตรวจ ดูว่าผู้ป่วยหายใจหรือไม่โดยก้มลงเอียงแก้มให้หูอยู่ใกล้ ปากและจมูกของผู้ป่วย ฟังเสียงลมหายใจ ตามองดู หน้าอก ว่าขยับขึน้ ลงหรือไม่ และแก้มจะสัมผัสลมหายใจ ออก

5. ถ้าผู้ป่วยหายใจดี และไม่มีการเจ็บของกระดูก คอและกระดูกสันหลัง ให้จัดท่า นอนตะแคงกึ่งคว�่ำ

118


6. ถ้าผู้ป่วยไม่หายใจ ให้ช่วยหายใจ วิธีท�ำผู้ช่วย เหลือสูดหายใจเข้าให้เต็มที่ ประกบปากผู้ป่วย ให้แน่น เป่าลมเข้าปากผู้ป่วยช้าๆ สม�่ำเสมอ 2 ครั้ง อย่าเป่าติด กันโดยไม่รอให้ผู้ป่วยหายใจออก 7. คลำ�ชีพจร เพื่อตรวจดูว่าหัวใจยังเต้นอยู่หรือไม่ โดยคลำ�ชีพจรที่คอ วิธีคลำ� วางนิ้วชี้และนิ้วกลางลงบน ลู ก กระเดื อ กของผู้ ป่ ว ย แล้ ว เลื่ อ นมื อ ลงมาด้ า นข้ า ง ระหว่างช่องลูกกระเดือกกับกล้ามเนื้อคอ 8. ถ้ า ไม่ มี ชี พ จร ให้ ห าตำ � แหน่ ง วางมื อ เพื่ อ กด หน้าอกโดยใช้ มือคลำ�ขอบกระดูกชายโครงล่างสุด เลือ่ น เข้ามาบริเวณ กระดูกลิ้นปี่ ใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางวางจาก ปลายกระดูกลิน้ ปี ่ ขึน้ มา แล้ววางฝ่ามืออีกข้างให้ชดิ กับ นิว้ และยกนิว้ นัน้ ออก แล้ววางทับหลับมือพร้อมกับงอนิว้ มือ ให้สอดคล้องประสาน ง่ามนิ้วมือล่างพอดี 9. เริ่มกดหน้าอก 15 ครั้ง โดยนับเป็นจังหวะ หนึ่งและสอง และสาม..และสิบ..สิบเอ็ด สิบห้า ต้อง เหยียดแขนให้ตรงโน้ม ตัวให้ตงั้ ฉากกับหน้าอกผูป้ ว่ ย ทิง้ น�้ำหนักลงบนแขนต้องไม่เลื่อน มือออกจากต�ำแหน่งที่ ก�ำหนด ถ้าเลื่อนออกไปแล้ว ต้องจัดหาต�ำแหน่งวางมือ ใหม่ทุกครั้ง กดหน้าอก 15 ครั้ง สลับกับการเป่าปาก 2 ครั้ง ถือเป็น 1 รอบ ถ้าท�ำครบ 4 รอบ ให้คล�ำชีพจรที่ คออีกครั้ง ถ้ายังไม่มีชีพจร ให้ช่วยต่อไป ในการ CPR นั้นผู้ปฏิบัติจะต้องฝึกฝนท่าจนเกิดความชำ�นาญ และมั่นใจจึงจะสามารถทำ� CPR ในเวลาฉุกเฉินได้ผล

119


ปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพในเด็ก

ขัน้ ตอนการปฏิบตั กิ ารฟืน้ คืนชีพในเด็กทำ�คล้ายของผูใ้ หญ่ แต่มขี อ้ แตกต่างกันคือ เด็กเล็กไม่ควร แหงนคอมากเพราะหลอดลมยังอ่อนอยู่ อาจมีการตีบตันได้ การเป่าปากควรประกบครอบทัง้ ปากและจมูก

วางหมอนเล็กๆ ไว้ใต้ไหล่เพื่อช่วย ให้ศีรษะแหงนไปด้านหลัง

กดศีรษะไว้ด้านหลัง

ช่วยหายใจ 20 ครั้งต่อนาที

นวดหัวใจ

ส�ำหรับเด็กอายุต�่ำกว่า 1 ขวบ เป่าปากและจมูกครั้งละ 3 วินาที ให้คล�ำชีพจรที่ brachial pulse หาตำ�แหน่งกดนวดหัวใจ โดยลากเส้นตรงผ่านหัวนมจากด้านซ้ายถึงด้านขวา วางนิ้วมือ 3 นิ้ว (นิ้วชี้ นิ้ว กลาง และนิว้ นาง) ถัดจากแนวเส้นตรงทีว่ ดั ได้บนกระดูกหน้าอก จากนัน้ ยกนิว้ ชีข้ นึ้ ใช้นวิ้ กลางและนิว้ นาง กดลงเบาๆ ให้กระดูกหน้าอกยุบลง 0.5-1 นิ้วนวดหัวใจด้วยอัตราเร็ว 100-120 ครั้ง/นาที โดยนวดหัวใจ 5 ครั้ง เป่าปาก 1 ครั้ง เมื่อทำ�ครบ 10 รอบแล้วประเมินโดยการจับชีพจร สำ�หรับเด็กอายุ 1-8 ปี - เป่าปากและจมูกครั้งละ 4 วินาที - คลำ�ชีพจรบริเวณ carotid artery - นวดหัวใจโดยวัดตำ�แหน่งเดียวกับผู้ใหญ่ ใช้สันมือข้างใดข้างหนึ่งกดกระดูกหน้าอกให้ยุบลง 1- 1.5 นิ้ว นวดหัวใจด้วยอัตราเร็ว 100 ครั้ง/ นาที โดยนวดหัวใจ 5 ครั้ง ต่อการเป่าปาก 1 ครั้ง เมื่อทำ�ครบ 10 รอบ แล้วประเมินการหายใจและการเต้นของหัวใจ

120


การจัดท่าผู้ป่วยหลังปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ

หลังปฏิบตั กิ ารช่วยฟืน้ คืนชีพ จนกระทัง่ ผูป้ ว่ ยมีชพี จรและหายใจได้เองแล้ว แต่ยงั หมดสติอยู่ หรือ พบผูป้ ว่ ยหมดสติ แต่ยงั มีชพี จรและหายใจอยู่ ควรจัดให้อยูใ่ นท่าพักฟืน้ ซึง่ ท่านีจ้ ะช่วยป้องกันลิน้ ตกไปอุด กั้นทางเดินหายใจ ช่วยให้น�้ำลายหรือเสมหะไหลออกจากปากได้ ท�ำให้ปลอดภัยจากการสูดส�ำลัก การจัด ท่าท�ำได้ดังนี้ 1. นั่งคุกเข่าข้างๆ ผู้ป่วย ทำ� head tilt chin lift เหยียดขาผู้ป่วยให้ตรง จับแขนด้านใกล้ตัวงอ และหงายมือขึ้นดังภาพ

การจับแขนด้านใกล้ตัว

2. จับแขนด้านไกลตัวข้ามหน้าอกมาวางมือไว้ที่แก้มอีกข้างหนึ่ง

การจับแขนด้านไกลตัว

3. ใช้แขนอีกข้างหนึ่งจับขาไว้ ดึงพลิกตัวผู้ป่วยให้เข่างอข้ามตัวมาด้านที่ผู้ปฏิบัติอยู่ ให้ผู้ป่วยอยู่ ในท่าตะแคง

121


การจับดึงให้พลิกตัว

4. จับศีรษะแหงนเล็กน้อย เพื่อเปิดทางเดินหายใจให้โล่ง ปรับมือให้อยู่ใต้แก้ม และจัดขาให้งอ เล็กน้อย

อันตรายของการช่วยฟื้นคืนชีพไม่ถูกวิธี

1. วางมือผิดตำ�แหน่ง ทำ�ให้ซโี่ ครงหัก, กระดูกทีห่ กั ทิม่ อาจจะโดนอวัยวะสำ�คัญ เช่น ตับ ม้าม เกิด การตกเลือดถึงตายได้ 2. การกดด้วยอัตราเร็วเกินไป เบาไป ถอนแรงหลังกดไม่หมด ทำ�ให้ปริมาณเลือดไปถึงอวัยวะ ต่างๆ ที่สำ�คัญได้น้อย ทำ�ให้ขาดออกซิเจน 3. การกดแรงและเร็วมากเกินไป ท�ำให้กระดูกหน้าอกกระดอนขึ้น ลงอย่างรวดเร็ว หัวใจช�้ำเลือด หรือกระดูกหักได้ 4. การกดหน้าอกลึกเกินไป ท�ำให้หัวใจชอกช�้ำได้ 5. การเปิดทางเดินหายใจไม่เต็มที่ เป่าลมมากเกินไป ทำ�ให้ลมเข้ากระเพาะอาหาร เกิดท้องอืด อาเจียน ลมเข้าปอดไม่สะดวก ปอดขยายตัวไม่เต็มที่ ถ้ามีอาการอาเจียนเกิดขึ้นก่อน หรือระหว่างการทำ� CPR ต้องล้วงเอาเศษอาหารออกก่อน มิฉะนั้นจะเป็นสาเหตุของ การอุดตันของทางเดินหายใจ การช่วย หายใจไม่ได้ผล เกิดการขาดออกซิเจน ถ้ามีอาการท้องอืดขึ้น ระหว่างการทำ� CPR ให้จัดท่าเปิดทางเดิน หายใจใหม่ และช่วยการหายใจด้วยปริมาณลมที่ไม่มากเกินไป

122


บรรณานุกรม หนังสือ ภาษาไทย กนกธร ปิยธำ�รงรัตน์. 2546. เนื้อเยื่อวิทยา. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์. กาญจนา แก้วเทพ. 2549. เริ่มคิดใหม่ สู่ทำ�ใหม่กับสื่อพื้นบ้าน เพื่องานสร้างเสริมสุขภาวะ. นนทบุรี : สื่อพื้นบ้านสื่อสารสุข. เกษตรชัย และหีม และดลมนรรจน์ บากา. 2552. ปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อพฤติกรรมรุนแรงของ เยาวชนในสามจังหวัดชายแดนใต้.ว.สงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ปีที่ 15 ฉบับที่ 6 พ.ย. – ธ.ค. 2552. จรวยพร ธรณินทร์. 2538. การเสริมสร้างสุขภาพคนยุคใหม่. กรุงเทพฯ : ต้นอ้อ แกรมมี่. นันทพันธ์ ชินล�้ำประเสริฐ ,รายงานวิจัย การพัฒนาระบบฐานข้อมูลและสังเคราะห์งานวิจัย ด้านความรุนแรงในสังคมไทย,สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ,2546 ปนัดดา ชำ�นาญสุข. 2551. โลกความรุนแรงของวัยรุ่นในบริบทความเป็นเมือง. วารสารร่มพฤกษ์ ปีที่ 26 ฉบับที่ 2 กุมภาพันธ์ - พฤษภาคม 2551. ปิติกานต์ บูรณาภาพ. 2552. คู่มือตรวจโรคด้วยตนเองเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : ยูโรปา เพรส บจก. ฝ่ายวิชาการบริษัท สกายบุ๊กส์ จำ�กัด. 2544. ยาเสพติดและยาบ้า. กรุงเทพฯ : สกายบุ๊กส์. พรสุข หุ่นนิรันดร์ และคณะ. 2552. หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน สุขศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์. พริ้มเพรา ผลเจริญสุข. 2542. กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาของมนุษย์. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช. พิชิต ภูติจันทร์. 2545. กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาของมนุษย์. กรุงเทพฯ : โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์. ไพศาล วิสาโล. 2535. สุขกายสุขใจในสังคมที่วุ่นวาย. กรุงเทพฯ : ธรรมสภา. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 2548. สุขภาพเพื่อชีวิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. มานพ ประภาษานนท์. 2547. จุดเริ่มต้นของคนมีสุขภาพดี. กรุงเทพฯ : มติชน. วิจิตร บุณยะโหตระ. 2540. วิธีดูแลตัวเองแบบธรรมชาติ. กรุงเทพฯ : ดอกหญ้า.


วิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำ�นักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ,สำ�นัก. 2551. ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพละศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. ศึกษาธิการ,กระทรวง. 2551. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : มปท. สกุณา บุญนรากร. 2552. การเสริมสร้างสุขภาพแบบองค์รวมทุกช่วงวัย. สงขลา : เทมการพิมพ์ สมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ. 2541. พระมหาคัมภีร์อัลกุรอานพร้อมคำ�แปลภาษาไทย. ซาอุดีอาราเบีย: ศูนย์กษัตริย์ฟาฮัดเพื่อการพิมพ์อัลกุรอาน, มาดีนะห์ : ซาอุดีอารเบีย สมิต สัชญุมกร (2552).บทบาทของผู้นำ�ทีมในการจัดการกับความขัดแย้ง.TPA news No. 151 July 2009. สำ�นักพัฒนาการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด. 2545. ตอบปัญหายาเสพติด. กรุงเทพมหานคร. สำ�นักพัฒนาสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต. 2546. คู่มือสำ�หรับผู้บริหารสำ�หรับการดำ�เนินงานป้องกัน และแก้ไขปัญหาความรุนแรงในโรงเรียน. นนทบุรี. หลี่เซิน. ม.ป.ป. ฝ่ามือสื่อสุขภาพ. กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ. อรกัญญ์ ภูมิโคกรักษ์. ม.ป.ป. ระบบร่างกายมนุษย์. กรุงเทพฯ : เอ็มไอเอส. อุษณีย์ เพชรรัชตะชาติ. 2549. การสร้างเสริมสุขภาพครอบครับไทย. สงขลา : ลิมบราเดอร์การพิมพ์. เอมอัชฌา(รัตน์ริมจง) วัฒนบุรานนท์. 2548. ความปลอดภัย. กรุงเทพฯ : โอ.เอส.พริ้นติ้น เฮ้าส์. ภาษาอาหรับ อัลบุคอรีย์, 1986. เศาะฮีฮฺ อัลบุคอรีย์ มะอา ฟัตฮ อัล บารีย.์ พิมพ์ครั้ง1, ไคโร : สำ�นักพิมพ์ ดารุลร็อยยาน ลิตตุร็อษ. มุสลิม, 1997. เศาะฮีฮฺมุสลิม. พิมพ์ครั้งที่ 4, เบรุต : สำ�นักพิมพ์ ดารุลมะอฺริฟะฮฺ. อะหมัด. มปป. มุสนัดอัลอิมามอะหมัด อิบนุ หัมบัล. ไคโร : มุอัสสะสะฮกุฏุบะฮ์ อิบนุ มาญะฮฺ, 1997. สุนัน อิบนุ มาญะฮฺ. พิมพ์ครั้งที่ 2, เบรุต : สำ�นักพิมพ์ ดารุลมะอฺริฟะฮฺ. อัฏเฏาะบะรอนีย์. 1993. อัลมุอญัม อัลกะบีร. ริยาฏ: ดาร อัรรอยะฮ์.


อัตติรมิษีย์, 1998. ญามิอฺ อัตติรมิซีย์. พิมพ์ครั้ง1, เบรุต : สำ�นักพิมพ์ ดารุลอิหฺยาอฺ อัตตุรอษ อัลอะรอบีย์. อัดดารุกุฏนีย์. 2008. สุนันอัดดารุกุฏนีย์. พิมพ์ครั้งที่ 5. มุอัสสะสะฮ์ อัรริสาละฮ์ อินเตอร์เน็ต 301mathetics. คุณสมบัติของข้อมูลที่ดี. 2551. (ออนไลน์). สืบค้นจาก : http://301math.exteen.com/20080118/entry-1) [19 พฤษภาคม 2554]. กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม. มปป. กฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ. (ออนไลน์). สืบค้นจาก : http://www.bpsmakom. org/ BP_School/Social/Law1/Law-Habit.htm [ 22 มิถุนายน 2554]. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. มปป. ปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ.(ออนไลน์). สืบค้นจาก : http://www.nurse.nu.ac.th/cai/ cpr012.html [15 มกราคม 2554]. ชญานิน ปรัชญานุสรณ์. 2553. ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งกับการบริหารความขัดแย้ง. (ออนไลน์). สืบค้นจาก : http://www.icundv.com/vesak2010/sites/default/files/ThaiDesk/ documents/rev2/3_7.pdf). [21 พฤษภาคม 2554]. ชูศักดิ์ เวชแพศย์ และวิเชียร ดิลกสัมพันธ์. มปป. ระบบผิวหนัง. (ออนไลน์). สืบค้นจาก : http://guru.sanook.com/encyclopedia [18 กรกฎาคม 2554]. ชูศักดิ์ เวชแพศย์ และ วิเชียร ดิลกสัมพันธ์. มปป. ระบบกระดูก. (ออนไลน์). สืบค้นจาก : http://guru.sanook.com /encyclopedia/ระบบกระดูก/. [20 กรกฎาคม 2554]. ดนัย บวรเกียรติกุล. 2549. การดูแลรักษากระดูก. (ออนไลน์). สืบค้นจาก : http://www.uniserv. buu.ac.th /forum2/topic.asp?TOPIC_ID=1404.[17 กรกฎาคม 2554]. ธีระพงษ์ ศรีศิลป์ .2552. การฟื้นคืนชีพ . (ออนไลน์). สืบค้นจาก : www.pharmacy.msu.ac.th/new/ ya/a1.ppt. [5 สิงหาคม 2554]. ทรงเกียรติ จันทราภรณ์.มปป.ค่านิยมทางเพศที่ถูกต้อง (ออนไลน์).มีที่ : http://www.kr.ac.th/ebook2/songkeat/03.html [ 9 มิถุนายน 2554]. นิวัฒน์ บุญสม. ม.ป.ป.. การวางแผนดูแลสุขภาพของบุคคลในครอบครัว. (ออนไลน์). สืบค้นจาก : www.mwit.ac.th/~t2090107/link/Sheet_HPE30103/Sheet_5.doc. [20 สิงหาคม2554].


พูนสุข มาศรังสรรค์. 2553. การจัดการความรุนแรงในครอบครัวเชิงพุทธบูรณาการ. (ออนไลน์). สืบค้นจาก: http://www.icundv.com/vesak2010/sites/default/files/ [17 กันยายน 2553]. วัยรุ่นกับความรุนแรง. (ออนไลน์). สืบค้นจาก : http://www.jobpub.com/articles /showarticle. asp?id=2687 [ 21 กันยายน 2553]. สถาบันการศึกษาทางไกล กศน. มปป. ค่านิยมทางเพศที่เหมาะสมกับสังคมและวัฒนธรรม ไทย. (ออนไลน์). สืบค้นจาก : tthp://nenfe.nfe.go.th/elearning/courses/51/ page2_2_1_1_1.htm. [21 มิถุนายน 2554]. สถานีอนามัยท้ายบ้านใหม่. 2551. การดูแลสุขภาพตนเอง. (ออนไลน์). สืบค้นจาก : http://taybanmai.exteen.com/20080722/entry) [19 มกราคม 2554]. ศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนาสุขภาพภาคประชาชน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ม.ป.ป. การสาธารณสุข มูลฐาน. (ออนไลน์). สืบค้นจาก : http://www.esanphc.net/rtc [19 พฤษภาคม 2554]. ศูนย์สุขภาพโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา. มปป. การช่วยฟื้นคืนชีพ. (ออนไลน์). สืบค้นจาก: http://health.phahol.go.th/index. php?option=com_content&view =article&id=438&Itemid=459. [5 สิงหาคม 2554]. เศรษฐ์ คุณทาบุตร. 2552. ระบบผิวหนังหรือระบบห่อหุ้มร่างกาย. (ออนไลน์). สืบค้นจาก : http://www.gotoknow.org/blog/ckw001/287340. [20 มกราคม 2554]. หฤทัย พุทธิเสาวภาคย์ และเบญจมาศ ทำ�เจริญตระกูล. มปป. การช่วยฟื้นคืนชีพ. (ออนไลน์). สืบค้นจาก :http://www.gnec.itgo.com/vichakan/ [5 สิงหาคม 2554].



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.