สุขศึกษาและพลศึกษา ป.4

Page 1


หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน

สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปที่

กลุมสาระการเรียนรูสุขศึกษาและพลศึกษา ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑


คำนำ ดวยพระนามของอัลลอฮฺ ผูทรงเมตตาปรานี ผูทรงกรุณาเสมอ การดูแลแกไขปญหาในสังคมปจจุบันตองใหความสำคัญกับคุณธรรมและจริยธรรมอยางเปนรูปธรรม การบูรณาการวิถีอิสลามในแบบเรียนเปนสวนหนึ่งของวัตถุประสงคแผนงานฯในการประมวลองคความรู อิสลามกับสุขภาวะเพื่อถายทอดผานเครือขายและผานชองทางอื่นๆ ของแผนงานฯ ซึ่งมีกลุมเปาหมายมุสลิม ทั่วประเทศกวา ๓ ลาน ๕ แสนคน ภายใตโครงการผลิตแบบเรียนวิชาสุขศึกษาและพลศึกษาแบบบูรณาการวิถี อิสลามในกลุมสาระการเรียนรูสุขศึกษาและพลศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขึ้นพื้นฐาน พ.ศ.๒๕๕๑ โครงการผลิตแบบเรียนวิชาสุขศึกษาและพลศึกษาแบบบูรณาการวิถีอิสลามฯ มีวัตถุประสงคเพื่อจัด ทำแบบเรียนที่บูรณาการอิสลาม ซึ่งประกอบดวยมาตรฐาน ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรูแกนกลาง โครงสราง หลักสูตรกลุมสาระการเรียนรู คำอธิบายรายวิชาและการออกแบบหนวยการเรียนรูอิงมาตรฐานหลักสูตรแกน กลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.๒๕๕๑ โดยไดจัดทำจำนวน ๖ เลม ใน ๔ ชวงชั้น ที่พรอมจะนำไปใชเปน แบบเรียนในโรงเรียนที่มีนักเรียนนับถือศาสนาอิสลามเปนสวนใหญซึ่งรวมถึงโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม กวา ๘๐๐ แหง โดยเฉพาะในจังหวัดชายแดนภาคใตและภูมิภาคอื่นๆ ของประเทศ ผลผลิตของโครงการนี้จะเปนประโยชนกับชุมชนมุสลิมไทยทั่วประเทศเกือบ ๓,๕๐๐ แหง เพราะ ความตองการของชุมชนมุสลิมทุกคน คือการที่บุตรหลานไดมีโอกาสเรียนรูทั้งวิชาดานศาสนาและวิชาสามัญที่ สอดคลองกับวัฒนธรรมและความเชื่อที่มีฐานมาจากศาสนาอิสลาม ดวยเหตุผลดังกลาวจึงเชื่อไดวาตำราเรียน ที่บูรณาการเนื้อหาวิชาดังกลาวเขากับหลักคำสอนของอิสลามเลมนี้จะไดรับการตอบรับที่ดีจากสังคมมุสลิม อีกทั้งผูเรียนจะมีความตั้งใจเรียนอยางจริงจัง เพราะไมมีความกังวลวาจะขัดกับหลักคำสอนของศาสนา ซึ่งจะ เปนผลดีตอผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผูเรียน ในอนาคตแผนงานฯ จะนำเสนอแบบเรียนบูรณาการศาสนาอิสลามกับวิชาสามัญ (สุขศึกษาและพล ศึกษา) ที่สอดคลองกับหลักสูตรแกนกลางของรัฐชุดนี้ใหแกหนวยงานที่เกี่ยวของ เชน กระทรวงศึกษาธิการ และสภาการศึกษาแหงชาติ เพื่อใหเกิดผลในระยะยาว และมีเปาหมายที่จะจัดพิมพเผยแผใหแกโรงเรียนที่มี ความตองการตำราเหลานี้ไวใชเปนตำรายืมเรียน นอกจากนี้ยังจะขยายผลไปสูการบูรณาการอิสลามในระดับ การศึกษาที่สูงขึ้นและวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวของตอไป สุดทายนี้ขอขอบคุณ รศ.ดร.อิบราเฮ็ม ณรงครักษาเขต อาจารยประจำวิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร วิทยาเขตปตตานี และคณะ ที่มีสวนสำคัญในความสำเร็จของผลงานฉบับนี้ ขอเอกองค อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงประทานความโปรดปรานและสิ่งดีงามแกคณะทำงานและผูที่มีสวนเกี่ยวของทุกทาน อามีน รองศาสตราจารย ดร.อิศรา ศานติศาสน ผูจัดการแผนงานสรางเสริมสุขภาวะมุสลิมไทย


คำนำ หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐานสุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปที่ 4 กลุมสาระการเรียน รูสุขศึกษาและพลศึกษาเลมนี้ เปนหนังสือเรียนที่มีการบูรณาการอิสลามเพื่อใหสอดคลองกับวัฒนธรรม และหลักคำสอนของศาสนาอิสลาม ทั้งนี้เพื่อใหผูเรียนที่เปนมุสลิมจะไดมั่นใจวาเนื้อหาที่มีในหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐานสุขศึกษาและพลศึกษาเลมนี้ ไมขัดกับหลักคำสอนของศาสนา และผูเรียนจะไดเรียนดวย ความตั้งใจ ขอขอบคุณผูมีสวนรวมในการเขียนหนังสือเรียนเลมนี้ใหเสร็จสมบูรณ และขอขอบคุณแผนงาน สรางเสริมสุขภาวะมุสลิมไทย (สสม.) ผูสนับสนุนงบประมาณในการจัดทำหนังสือเรียนฉบับนี้ คณะผูจัดทำ


สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปที่ ๔ ขอมูลทางบรรณานุกรมของสำนักหอสมุดแหงชาติ National Library of Thailand Cataloging in Publication Data สุขศึกษาและพลศึกษา ป.4.-- กรุงเทพฯ : สำนักงานแผนงานสรางเสริมสุขภาวะมุสลิมไทย มูลนิธิสรางสุขมุสลิมไทย (สสม.), 2555. 108 หนา. 1. สุขศึกษา--การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา). 2. พลศึกษา--การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา). II. อิบรอฮีม ณรงครักษาเขต. III. ชื่อเรื่อง. 372.37044 ISBN 978-616-7725-04-8 รายชื่อคณะกรรมการยกรางหนังสือสุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมปที่ ๔ ๑. นายสมโภชน ศรีสมุทร ๒. รศ.ดร.อิบรอฮีม ณรงครักษาเขต ๓. นายอิสมาแอ กาเตะ ๔. นายอัสมัน แตอาลี ๕. เภสัชกร ยูซูฟ นิมะ ๖. นายอิลฟาน ตอแลมา ๗. นายมูฮัมหมัดอาฟฟ อัซซอลีฮีย ๘. เภสัชกรหญิง ซีตีแอเสาะ ดือเระ บรรณาธิการ

๑. รศ.ดร.อิบรอฮีม ณรงครักษาเขต ๒. นายอิสมาแอ กาเตะ

รูปภาพและกราฟฟก

นายอุสมัน เลาะมา

ออกแบบปก

นายอุสมาน ลีมอปาแล

จัดรูปเลม

๑. นายมูฮามะ ปาปา ๒. นางสาวปราณี หลำเบ็ญสะ

พิมพครั้งที่ ๑

พฤษภาคม ๒๕๕๕

จัดพิมพและเผยแพร

แผนงานสรางเสริมสุขภาวะมุสลิมไทย (สสม.) มูลนิธิสรางสุขมุสลิมไทย เลขที่ ๑ หมู ๑๓ ถนนสีหบุรานุกิจ แขวงมีนบุรี เขตมีนบุรี กรุงเทพฯ ๑๐๕๑๐

สงวนลิขสิทธิ์

หามลอกเลียนแบบไมวาสวนใดสวนหนึ่งของหนังสือ นอกจากไดรับอนุญาต


สารบัญ หนวยการเรียนรูที่ ๑ รูจักตัวเอง พัฒนาการทางดานรางกาย พัฒนาการ ทางดานจิตใจ กลามเนื้อและกระดูก หนวยการเรียนรูที่ ๒ การใชชีวิตในครอบครัว คุณคาของครอบครัวและเพื่อน (คนดีที่ทุกคนรัก) พฤติกรรมทางเพศ หนวยการเรียนรูที่ ๓ การเคลื่อนไหวรางกาย การเคลื่อนไหว จังหวะเพลินใจ หนวยการเรียนรูที่ ๔ เกมหรรษา เกมเบ็ดเตล็ด กิจกรรมแบบผลัด การเลนเกมเลียนแบบ หนวยการเรียนรูที่ ๕ กีฬาและสมรรถภาพทางกาย แฮนดบอล แชรบอล สมรรถภาพทางกาย หนวยการเรียนรูที่ ๖ สุขภาพของเรา สิ่งแวดลอมกับสุขภาพของเรา อารมณกับสุขภาพ อาหารและผลิตภัณฑหะลาล หนวยการเรียนรูที่ ๗ ความปลอดภัยในชีวิต การใชยาเมื่อเจ็บปวย การปฐมพยาบาลเบื้องตน โทษของบุหรี่และสุรา

๑ ๖ ๘ ๑๔ ๑๙ ๒๕ ๓๐ ๓๖ ๓๙ ๔๑ ๔๓ ๔๙ ๕๕ ๕๙ ๖๕ ๖๗ ๗๕ ๗๙ ๘๔



หน่วยการเรียนรู้ที่

๑ รู้จักตนเอง

ตัวชี้วัด ๑. อธิบายการเจริญเติบโตและพัฒนาการของร่างกายและจิตใจตามวัย ๒. อธิบายความสำ�คัญของกล้ามเนื้อ กระดูกและข้อที่มีผลต่อสุขภาพ การเจริญเติบโตและพัฒนาการ ๓. อธิบายวิธดี แู ลกล้ามเนือ้ กระดูก และข้อให้ท�ำ งานอย่างมีประสิทธิภาพ

1


พัฒนาการทางด้านร่างกาย พัฒนาการทางด้านร่างกาย คือ การพัฒนาด้านร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ ได้รับ สันทนาการที่ถูกต้องมีการพัฒนาทักษะในการใช้กล้ามเนื้อใหญ่ กล้ามเนื้อเล็ก การประสาน สัมพันธ์ของกล้ามเนือ้ ความสัมพันธ์ของการรับรูท้ ดี่ ที างด้านสายตา ด้านการฟัง และการสัมผัส ตลอดทั้งการเจริญเติบโตของเซลล์สมอง

พัฒนาการทางด้านร่างกายของเราในช่วงอายุ ๙-๑๒ ปี มี ก ารเพิ่ ม ขนาดความสู ง น�้ ำ หนัก แขนขา เจริญเติบโตเร็ว กว่าล�ำตัว เด็กผู้หญิงโตเร็วกว่าเด็กผู้ชาย ใบหน้าเปลี่ยนแปลง โครงหน้า ผอมลง ฟันน�้ำนมเริ่มหลุด เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ เด็กผู้หญิงมีประจำ�เดือนตั้งแต่ อายุ ๘-๙ ปี และ เริ่มมีหน้าอก เด็กผู้ชายจะมีลูกอัณฑะขนาด ใหญ่มากขึ้น

2


ดังที่อัลลอฮ์  ตรัสในอัลกุรอานความว่า “อัลลอฮ์  ทรงเป็นผู้สร้างพวกเจ้าในสภาพ อ่อนแอ แล้วหลังจากความอ่อนแอ พระองค์ก็ทรงทำ�ให้มี ความแข็งแรง แล้วหลังจากความแข็งแรง ทรงให้อ่อนแอ และชราภาพ พระองค์ทรงสร้างสิง่ ทีพ่ ระองค์ทรงประสงค์ และพระองค์เป็นผู้ทรงรอบรู้ ผู้ทรงเดชานุภาพ” (สูเราะฮฺ อัรฺรูม อายะฮฺที่ ๕๔) “แท้จริงเราได้บงั เกิดพวกเจ้าจากดิน แล้วจากเชือ้ อสุจิ แล้วจากก้อนเลือด แล้วจากก้อนเนือ้ ทัง้ ทีเ่ ป็นรูปร่าง ทีส่ มบูรณ์ และไม่เป็นรูปร่างทีส่ มบูรณ์ เพือ่ เราจะได้ชแี้ จง เคล็ดลับแห่งเดชานุภาพแก่พวกเจ้าและเราให้การตัง้ ครรภ์ เป็นที่แน่นอนอยู่ในมดลูกตามที่ประสงค์ จนถึงเวลาที่ ก�ำหนดไว้แล้วเราให้พวกเจ้าคลอดออกมาเป็นทารก แล้ว เพือ่ พวกเจ้าจะได้บรรลุสวู่ ยั ฉกรรจ์ของพวกเจ้า และในหมู่ พวกเจ้ามีผู้เสียชีวิตในวัยหนุ่ม และในหมู่พวกเจ้ามีผู้ถูก น�ำกลับสู่วัยต�่ำต้อย วัยชรา เพื่อเขาจะไม่รู้อะไรเลยหลัง จากมีความรู้” (สูเราะฮฺอัลหัจญ์ อายะฮฺที่ ๕)

3


จากอายะฮฺอัลกุรอานดังกล่าวข้างต้น สามารถอธิบายได้ว่าร่างกายของมนุษย์มีการ พัฒนาและเจริญเติบโตตามที่อัลลอฮ์​์  ได้ทรงกำ�หนดไว้ เริ่มจากสภาพที่อ่อนแอ ซึ่งหมาย ถึง วัยทารกและวัยเด็กเล็ก หลังจากนั้นร่างกายก็จะมีการเจริญเติบโตและมีการเปลี่ยนแปลง ของกระดูก กล้ามเนื้อ และอวัยวะส่วนอื่นๆ เป็นวัยหนุ่มและวัยผู้ใหญ่ที่มีความแข็งแรง หลัง จากนั้นร่างกายของมนุษย์ก็จะกลับไปสู่ความอ่อนแออีกครั้งหนึ่งในวัยชรา

การส่งเสริมพัฒนาการทางด้านร่างกาย

รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ ๕ หมู่และต้องเป็นอาหารที่ได้รับการอนุมัติ (หะลาล) และเป็นอาหารที่ดีมีประโยชน์ (ฏอยยิบ)

อัลลอฮ์  ทรงรับสั่งในเรื่องดังกล่าวนี้ความว่า “โอ้มนุษย์ทั้งหลาย จงบริโภคสิ่งที่ได้รับการอนุมัติและสิ่งที่ดี มีประโยชน์ จากสิง่ ทีม่ อี ยูใ่ นผืนแผ่นดินนีเ้ ถิด และจงอย่าเดิน ตามแนวทางของชัยฏอนมารร้าย แท้จริงมันคือศัตรูทชี่ ดั แจ้ง ของพวกเจ้า” (สูเราะฮ อัลบะเกาะเราะฮ อายะฮฺที่ ๑๖๘) ออกก�ำลังกายอย่างสมำ�่ เสมอ การออกก�ำลังกาย เป็นสิง่ จ�ำเป็นส�ำหรับชีวติ มนุษย์ เพราะ จะท�ำให้รา่ งกายมีความแข็งแรง มีพละก�ำลังทีส่ มบูรณ์ และมีผลท�ำให้เกิดความสมบูรณ์ทงั้ ทาง ด้านร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา ท่านนบีมุฮัมมัด  ได้กล่าวความว่า 4


“ผูศ้ รัทธาทีเ่ ข้มแข็งนัน้ ย่อมดีกว่าและเป็นทีร่ กั ยิง่ ของอัลลอฮ์ มากกว่าศรัทธาชนที่อ่อนแอ”( บันทึกโดยมุสลิม) พักผ่อนอย่างเพียงพอ เพราะการพักผ่อนทีเ่ พียงพอนัน้ จะช่วยให้รา่ งกายได้ผอ่ นคลาย กล้ามเนื้อ และระบบต่างๆ ของร่างกายได้หยุดพักการทำ�งานไปชั่วขณะหนึ่ง การพักผ่อนที่ดี คือ การนอนหลับ การฝึกหัดให้นอนและตืน่ ในเวลาทีเ่ หมาะสม จะช่วยให้รา่ งกายสดชืน่ อารมณ์ แจ่มใส และมีสุขภาพจิตที่ดีอีกด้วย

อัลลอฮ์​์  ได้ตรัสไว้ความว่า “และหนึง่ ในสัญญาณทัง้ หลายของพระองค์คอื การหลับนอน ของพวกเจ้าในเวลากลางคืนและกลางวัน” (สูเราะฮอัรฺรูม อายะฮฺที่ ๒๓) ท่านนบีมุฮัมมัด  ������������������������������������������������������� ได้สอนและแนะนำ�ท่านอะบีดัรดาอ์ เศาะฮาบะฮฺของท่าน ในกรณี ที่เขาได้ลุกขึ้นละหมาดยามดึกทุกคืนและถือศีลอดทุกวันความว่า “โอ้ท่านอะบา ดัรดาอ์ แท้จริงท่านจะต้องรักษาสิทธิของ ร่างกายท่านด้วย” (หมายความว่า ท่านต้องทำ�ให้ร่างกายได้ พักผ่อนด้วย) (บันทึกโดยอัดดารุลกุฏนีย์)

5


พัฒนาการทางด้านจิตใจ ลักษณะพัฒนาการด้านจิตใจ เด็กในช่วงอายุ ๙-๑๒ ปี เริ่มจะไม่ค่อยยอมรับคำ�แนะนำ�และคำ�ติชมจากพ่อแม่ พยายามจะเป็นอิสระ ความเป็นตัวของตัวเองมากยิ่งขึ้น กลุม่ เพือ่ นจะเข้ามามีบทบาท กลุม่ เพือ่ นส่วนใหญ่จะเป็นเพือ่ นเพศเดียวกัน ให้ ความสำ�คัญกับความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนค่อนข้างมาก

กิจกรรมร่วมกับเพศตรงข้ามมักจะทำ�เป็นลักษณะกลุ่มหญิง กลุ่มชาย

วัยรุ่นช่วงต้นมีอารมณ์และพฤติกรรมแปรปรวนอ่อนไหวง่าย หงุดหงิด ยังมี ความรู้สึกที่ยึดตัวเองเป็นหลัก ไม่สามารถควบคุมอารมณ์และพฤติกรรมของตัวเองได้ ไม่สามารถเข้าใจหรือ มองเห็นผลที่จะเกิดขึ้นตามมาในอนาคตซึ่งเป็นผลจากการ กระทำ�หรือพฤติกรรมใน ปัจจุบัน มีความคิดที่ค่อนข้างเพ้อฝันเกินความเป็นจริง มีการวางแผนในอนาคตหรือ เป้าหมายชีวิตที่เกินความสามารถของตนเอง เช่น ต้องการเป็นนักบินอวกาศ นัก วิทยาศาสตร์ระดับโลก นักร้องชื่อดัง

มีความรู้สึกว่าตนเองโดดเดี่ยว ไม่มีใครให้ความสนใจในตนเองเลย

อิสลามถือว่าพัฒนาการทางด้านจิตใจของเด็กในช่วงอายุ ๙-๑๒ ปีนี้มีความสำ�คัญมาก จะต้องให้ความรู้และอบรมสั่งสอนในแนวทางที่ถูกต้อง ทั้งนี้ก็เพราะว่าการที่มนุษย์จะเติบโต เป็นผูใ้ หญ่ทดี่ ใี นทุกๆ ด้าน โดยเฉพาะทางด้านจิตใจนัน้ จำ�เป็นอย่างยิง่ ทีจ่ ะต้องปลูกฝังคำ�สอน ของอิสลามตั้งแต่วัยนี้ ถึงแม้ว่าอาจจะขัดแย้งกับความรู้สึกหรืออารมณ์ของเด็กที่ต้องการที่จะ เอาแต่ใจตัวเองก็ตาม

6


ท่านนบีมุฮัมมัด  ได้กล่าวว่า “เจ้าจงใช้ให้ลูกหลานของเจ้า ทำ�การละหมาดเมื่อพวกเขามีอายุครบ ๗ ขวบ และจงเฆี่ยนตี พวกเขา (หากพวกเขาไม่ดำ�รงละหมาด) เมื่อพวกเขามีอายุ ครบ ๑๐ ขวบ” (บันทึกโดย อะบูดาวูด) อิสลามสอนให้ลูกๆ ทุกคนต้องเชื่อฟังคำ�สั่งสอนของพ่อแม่ และมีความกตัญญูต่อท่าน ทั้งสอง แม้แต่คำ�พูดใดๆ ก็ตามที่ทำ�ให้พ่อแม่ต้องเสียใจเป็นสิ่งที่ต้องห้ามทั้งสิ้น

อัลลอฮ์​์  ได้ตรัสไว้ความว่า “และจงอย่าได้กล่าวแก่ทั้งสองว่า “อุฟ” (หรือค�ำพูดที่แสดง อาการไม่พอใจ) และอย่าได้ตะคอกใส่ทงั้ สอง และจงพูดกับทัง้ สองด้วยถ้อยค�ำที่สุภาพอ่อนโยน” (สูเราะฮอัลอิสรออฺ อายะฮฺ ที่ ๒๓)

ท่านนบีมุฮัมมัด  ได้กล่าวไว้ความว่า “ความโปรดปรานของพระผู้อภิบาลนั้นขึ้นอยู่กับความพึงพอใจ ของบิดามารดา และความโกรธกริว้ ของพระผูอ้ ภิบาลก็ขนึ้ อยูก่ บั ความโกรธกริว้ ของบิดามารดาเช่นกัน” (บันทึกโดยอัลบัยฮะกีย)์

นอกจากนั้นอิสลามถือว่าเพื่อนเป็นสาเหตุสำ�คัญที่จะนำ�พาเราไปสู่ทางที่ดีหรือทางที่ หลงผิด ดังนั้นต้องเลือกคบเพื่อนที่ดี ตามที่ท่านนบีมุฮัมมัด  ได้สอนเรา ความว่า “ดุจดังเพื่อนที่ดีและเพื่อนที่เลว เสมือนกับคนขายน�้ำหอมและ ช่างตีเหล็ก ส�ำหรับคนขายน�้ำหอมนั้นท่านก็จะได้ซื้อน�้ำหอมหรือ ไม่ก็ได้สูบกลิ่นไอน�้ำหอมจากเขา ในขณะที่ช่างตีเหล็กนั้นมันจะ เผาไหม้ตวั ของท่านหรือเสือ้ ผ้าของท่านหรือท่านอาจจะพลอยได้ รับกลิ่นที่เหม็นไปด้วย” (บันทึกโดยอัลบุคอรีย์) 7


กล้ามเนื้อและกระดูก กล้ามเนื้อ

ร่ า งกายของเรานั้ น สามารถทำ � กิจกรรมต่างๆ และเคลื่อนไหวได้เพราะการ ทำ�งานของกล้ามเนื้อของเรานั่นเอง อิสลามได้กล่าวถึงการสร้างมนุษย์ซงึ่ จะประกอบด้วยกล้ามเนื้อและกระดูกต่างๆ อัลลอฮ  ได้ตรัสไว้ความว่า

“แล้วเราได้ท�ำให้เชือ้ อสุจกิ ลายเป็นก้อนเลือด แล้วเราได้ท�ำให้กอ้ น เลือดกลายเป็นก้อนเนื้อ แล้วเราได้ท�ำก้อนเนื้อกลายเป็นกระดูก แล้วเราหุม้ กระดูกนัน้ ด้วยเนือ้ ” (สูเราะฮฺ อัลมุอมฺ นิ นู อายะฮฺที่ ๑๔)

ประเภทของกล้ามเนื้อ

กล้ า มเนื้ อ ลาย เป็ น กล้ า ม เนื้ อ ที่ อ ยู่ ใ ต้ อำ � นาจจิ ต ใจ สามารถ ควบคุมได้ ยึดติดกับกระดูก โดยเอ็น กล้ามเนื้อ ทำ�หน้าที่เคลื่อนไหวโครง กระดูกเพือ่ การเคลือ่ นทีข่ องร่างกาย และ เพื่อรักษาท่าทางของร่างกาย

8


กล้ามเนื้อเรียบ เป็นกล้ามเนือ้ ที่ อยูน่ อกอำ�นาจจิตใจ ไม่สามารถควบคุมได้ ซึ่ ง อยู่ ท่ี ผ นั ง ของอวั ย วะภายใน เช่ น หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำ�ไส้ หลอดลม มดลูก ท่อปัสสาวะ กระเพาะ ปัสสาวะ และหลอดเลือด กล้ามเนือ้ หัวใจ เป็นกล้ามเนือ้ ที่ อยูน่ อกอำ�นาจจิตใจเช่นกัน แต่เป็นกล้าม เนื้อชนิดพิเศษที่พบเฉพาะในหัวใจ เป็น กล้ามเนือ้ ทีบ่ บี ตัวให้หวั ใจเต้น

การดูแลรักษากล้ามเนื้อ

ออกกำ�ลังกายและรับประทานอาหารที่มีประโยชน์

ควรมีการอบอุน่ ร่างกายก่อนออกกำ�ลังกาย และไม่ควรออกกำ�ลังกายหักโหมจนเกินไป

เมื่อเกิดอาการเจ็บกล้ามเนื้อควรรักษาพยาบาลเบื้องต้น

โครงกระดูกและข้อต่อ

โครงกระดูก เป็นอวัยวะที่ประกอบขึ้นเป็นโครงร่างแข็งภายในร่างกายมนุษย์ หน้าที่ หลักของโครงกระดูกคือค�้ำจุนโครงสร้างของร่างกาย เคลื่อนไหว สะสมแร่ธาตุ และสร้างเซลล์ เม็ดเลือด

9


โครงสร้างของกระดูก กระดูกไม่ได้เป็นโครงสร้างที่แข็งทึบเพียงอย่างเดียว หากแต่ มีช่องว่างที่อยู่ระหว่างโครงสร้างแข็ง ประกอบด้วย กระดูกเนื้อแน่น ซึ่งมีช่องว่าง ของเนื้อกระดูกน้อยมาก และคิดเป็น ประมาณร้อยละ ๘๐ ของเนื้อกระดูก ในผู้ใหญ่ กระดูกเนือ้ โปร่ง ส่วนชัน้ ในของ กระดูกจะมีลกั ษณะทีโ่ ปร่งคล้ายเส้นใย สานกัน ซึง่ ทำ�ให้กระดูกมีความเบา และ เป็นทีอ่ ยูข่ องหลอดเลือดและไขกระดูก เยื่อหุ้มกระดูก อยู่นอกสุดของกระดูก และมีหลอดเลือดและเส้นประสาทมา เลีย้ งเนือ้ กระดูก ยกเว้นทีบ่ ริเวณข้อต่อ จะไม่มเี ยือ่ หุม้ กระดูกอยู่

ชนิดของกระดูก กระดูกแบบยาว เป็ น กระดู ก ที่ มี ค วามยาวมากกว่ า ความกว้ า ง และประกอบด้ ว ยส่ ว นกลาง กระดู ก หรื อ ไดอะไฟซิ ส และส่ ว นปลาย กระดูก หรืออิพไิ ฟซิส กระดูกชนิดนีเ้ ป็นชนิด ที่พบได้ทั่วไปในกระดูกรยางค์

10


กระดูกแบบแบน เป็นกระดูกที่มีลักษณะเป็นระนาบหรือ โค้ง แต่จะมีชั้นของกระดูกเนื้อแน่นขนานไปกับ กระดูกเนือ้ โปร่ง ตัวอย่างเช่นกระดูกของกะโหลก ศีรษะ และกระดูกอก กระดูกแบบสั้น เป็นกระดูกที่มีลักษณะคล้ายลูกบาศก์ เช่น กระดูกของข้อมือและข้อเท้า

กระดูกรูปร่างไม่แน่นอน เป็นกระดูกที่มีรูปร่างพิเศษ เช่นที่พบในกระดูก สันหลัง และกระดูกเชิงกราน

กระดูกเซซามอยด์ กระดูกแบบสั้นรูปแบบหนึ่ง แต่เป็นกระ ดูกที่ฝังตัวอยู่ในเอ็น ตัวอย่างที่เห็นชัดคือกระดูก สะบ้า ที่ฝังอยู่ในเอ็นของบริเวณเข่า

เยื่อหุ้มกระดูก

11


หน้าที่ของกระดูก หน้าที่หลักของกระดูก ได้แก่ ๑. ป้องกันอวัยวะภายในที่สำ�คัญ เช่น กะโหลกศีรษะที่ป้องกันสมอง หรือกระดูก ซี่โครงที่ป้องกันอวัยวะในทรวงอกจากอันตรายและการกระทบกระเทือน

๒. ค�้ำจุนโครงร่างของร่างกาย

๓. เคลื่อนไหว โดยกระดูกทำ�หน้าที่เป็นจุดเกาะของกล้ามเนื้อและเอ็นต่างๆ และ ยังประกอบเข้าด้วยกันเป็นข้อต่อที่ทำ�ให้ร่างกายเคลื่อนไหวในรูปแบบต่างๆ ได้ ๔. ผลิตเม็ดเลือด โดยไขกระดูกที่อยู่ภายใน เป็นแหล่งผลิตเม็ดเลือดแดงและเม็ด เลือดขาวที่สำ�คัญ ๕. เก็บสะสมแร่ธาตุ โดยเฉพาะแคลเซียมและฟอสฟอรัส นอกจากนีย้ งั ดึงเอาโลหะ หนักบางชนิดที่อยู่ ในกระแสเลือดมาเก็บไว้ เพื่อลดความเป็นพิษลง

การดูแลรักษากล้ามเนือ้ และกระดูกข้อต่อ เพือ่ ดูแลรักษากล้ามเนือ้ และกระดูกข้อต่อ ควรปฏิบตั ติ น ดังนี้ ๑. ควรรับประทานอาหารที่มีแคลเซียม เพื่อเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง เช่น นม หรือปลาที่มีก้างไม่แข็งสามารถเคี้ยวให้ละเอียดได้

๒. ออกก�ำลังกายสม�่ำเสมอเพื่อช่วยให้กระดูกแข็งแรง

๓. ก่อนออกกำ�หลังกายควรอบอุ่นร่างกายก่อนเสมอ และไม่ควรออกกำ�ลังกาย หักโหมเกินไป ๔. ไม่ท�ำ กิจกรรมทีเ่ ป็นการฝืนความสามารถของร่างกาย เช่น การยกของหนักเกิน กำ�ลัง การกระโดดจากที่สูง เป็นต้น

12


หน่วยการเรียนรู้ที่

การใช้ชีวิตในครอบครัว

ตัวชี้วัด ๑. อธิบายคุณลักษณะของความเป็นเพือ่ นและสมาชิกทีด่ ขี องครอบครัว ๒. แสดงพฤติกรรมที่เหมาะสมกับเพศของตนตามวัฒนธรรมไทย ๓. ยกตัวอย่างวิธีการปฏิเสธการกระทำ�ที่เป็นอันตรายและไม่เหมาะ สมในเรื่องเพศ

13


คุณค่าของครอบครัวและเพื่อน (คนดีที่ทุกคนรัก) การที่จะเป็นที่รักใคร่ของทุกคนนั้นก็ต่อเมื่อ เราประพฤติตนเป็นเพื่อนที่ดี และเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว

ความหมายของคุณค่าของครอบครัว

เราทุกคนเกิดมาไม่วา่ จะเป็นเพศชายหรือเพศหญิง ต่างก็มคี วามสำ�คัญกันทุกคน มีหน้า ที่ที่แตกต่างกันไปตามความเหมาะสมและความรับผิดชอบของตน เช่น พ่อ แม่ มีหน้าที่คอย อบรมสัง่ สอนบุตร ครูมหี น้าทีถ่ า่ ยทอดความรูใ้ ห้แก่ศษิ ย์ ในทางกลับกันคนเป็นลูกก็มหี น้าทีเ่ ชือ่ ฟังพ่อ แม่ในสิง่ ทีถ่ กู ต้อง ลูกศิษย์กต็ อ้ งมีความเคารพต่อครูอาจารย์ ถ้าเราทุกคนรูจ้ กั หน้าทีข่ อง ตนและสามารถปฏิบัติได้ดังนี้ ก็จะเป็นที่รักของทุกคนในสังคม โรงเรียน ครอบครัว ตลอดไป

การปฏิบัติตนที่เหมาะสม เมื่ออยู่ บ้าน

ความสุขในครอบครัวสามารถเกิดขึน้ ได้ เมือ่ สมาชิกในครอบครัวปฏิบตั ติ อ่ กันด้วยความ รักใคร่ปรองดองและเข้าใจกัน ในฐานะทีเ่ ราเป็น คนหนึง่ ของสมาชิกในครอบครัวสามารถปฏิบตั ิ ได้ ดังนี้

14


อิสลามได้สอนเราในการปฏิบตั ติ นทีเ่ หมาะสมเมือ่ อยูบ่ า้ น เช่น การปฏิบตั ติ อ่ พ่อแม่ การ ปฏิบตั ติ อ่ พีน่ อ้ ง และการปฏิบตั ติ อ่ ญาติผใู้ หญ่ ดังนี้

การปฏิบัติต่อพ่อแม่

อัลลอฮฺ  ตรัสในอัลกุรอานความว่า “และจงอย่าได้กล่าวแก่ทงั้ สองว่า “อุฟ” (หรือค�ำพูดทีแ่ สดงอาการไม่พอใจ) และอย่าได้ตะคอกใส่ทั้งสอง และจงพูดกับทั้งสองด้วยถ้อยค�ำที่อ่อนโยน และจง นอบน้อมถ่อมตนต่อท่านทัง้ สองด้วยความเมตตา” (สูเราะฮอัลอิสรออฺ อายะฮฺที่ ๒๓) “และจงกล่าว(ขอพรให้แก่ทั้งสอง)ว่า ข้าแต่พระผู้อภิบาลของฉันได้โปรด ประทานความเมตตาแก่ทั้งสองดังเช่นที่ทั้งสองได้เลี้ยงดูแลฉันเมื่อครั้งเยาว์วัย” (สูเราะฮอัลอิสรออฺ อายะฮฺที่ ๒๔) 15


ท่านนบีมุฮัมมัด  ได้กล่าวความว่า “เป็นสิ่งที่น่าอัปยศ เป็นสิ่งที่น่าอัปยศ เป็นสิ่ง ที่น่าอัปยศ สำ�หรับผู้ที่ใช้ชีวิตกับบิดา มารดา ของเขาคนใดคนหนึ่งหรือทั้งสองในยามที่ทั้ง สองแก่ชรา แล้วเขาก็ไม่ได้เข้าสวรรค์” (บันทึก โดยมุสลิม)

การปฏิบัติต่อพี่น้องและญาติผู้ใหญ่ เช่น ปู่ ย่า ตา ยาย ลุงป้า น้า อา เป็นต้น ท่านนบี มุฮัมมัด  ได้กล่าวความว่า “ฉันจะไม่ถอื ว่าเป็นแนวทางของฉันส�ำหรับบุคคลทีไ่ ม่มคี วามเมตตาต่อ เด็กและไม่ให้เกียรติผู้ใหญ่” (บันทึกโดยอัตติรมิษีย์)

อัลลอฮฺ  ตรัสในอัลกุรอานความว่า “และพวกเจ้าจะตัดความสัมพันธ์ทางเครือญาติของพวกเจ้ากระนั้น หรือ ชนเหล่านี้ คือบรรดาผู้ที่อัลลอฮ์ทรงสาปแช่ง” (อัลกุรอาน บทที่ ๔๗ สูเราะฮมุฮัมมัด อายะฮฺที่ ๒๒-๒๓)

16


การปฏิบัติตนที่เหมาะสมเมื่ออยู่ที่โรงเรียน

นอกจากครอบครัวแล้วนักเรียนจะต้องพบเจอเพื่อนๆ ในขณะอยู่ที่โรงเรียน ต้องอยู่ ร่วมกับเพื่อนๆ ทั้งในเวลาเรียนและในเวลาท�ำกิจกรรม เช่น เรียน เล่น รับประทานอาหาร เป็นต้น ดังนั้นในการอยู่ร่วมกันกับเพื่อนอย่างมีความสุข เราควรปฏิบัติต่อเพื่อน ดังนี้

ดังนัน้ การทีเ่ ราจะได้ชอื่ ว่าเป็นคนดีทที่ กุ คนรัก ทัง้ สมาชิกในครอบครัว เพือ่ นๆ และคน รอบข้าง เราจะต้องปฏิบัติและรู้จักวางตัวให้เหมาะสม นอกจากจะต้องปฏิบัติตัวให้ดีต่อทุกคน แล้ว ก็จะต้องวางตัวให้เหมาะสมกับเพือ่ นทีเ่ ป็นเพศตรงข้ามของนักเรียน เพือ่ จะไม่ให้เกิดปัญหา เรื่องเพศตามมาอีกด้วย 17


อิสลามได้สอนให้มุสลิมรู้จักการเข้าสังคมกับผู้อื่นด้วยมารยาทอันดี งาม ดังนี้

๑. การพูดจาที่สุภาพและอ่อนโยน อัลลอฮ์  ได้ตรัสความว่า “และเมื่อมีผู้โง่เขลามาต่อว่าเขา เขาก็ตอบว่า ขอความสันติจง ประสบแก่ท่าน” (สูเราะฮอัลฟุรกอน อายะฮฺที่ ๖๓)

๒. การกล่าวขอบคุณเมือ่ ได้รบั ความช่วยเหลือ ท่านนบีมฮุ มั มัด  ได้กล่าว ความว่า “ผู้ใดก็ตามที่ได้รับการปฏิบัติที่ดี ก็ขอให้เขาได้กล่าวต่อผู้ที่ ปฏิบตั นิ นั้ ด้วยประโยค ขออัลลอฮ์ได้โปรดตอบแทนท่านในสิง่ ทีด่ งี าม ด้วยเถิด แท้จริงนัน่ คือการขอบคุณทีด่ ีทสี่ ุด” (บันทึกโดยอัตติรมิษยี ์)

๓. ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน อัลลอฮ์  ได้ตรัสความว่า “และพวกเจ้าจงช่วยเหลือกันในสิง่ ทีด่ แี ละความย�ำเกรง และ จงอย่าช่วยเหลือกันในสิง่ ทีเ่ ป็นบาปและเป็นศัตรูกนั ” (สูเราะฮอัลมา อิดะห์ อายะฮฺที่ ๒)

18


พฤติกรรมทางเพศ

พฤติกรรมของเด็กนักเรียนกลุ่มนี้เป็นอย่างไร เหมาะสมกับเพศ ของตนเองหรือไม่ เพราะอะไร 19


การปฏิบัติให้เหมาะสมกับเพศ

นักเรียนจะต้องอยู่ร่วมกับผู้อื่นใน สังคม ไม่วา่ จะเป็นสังคมทีบ่ า้ น(ครอบครัว) โรงเรียน และ อื่นๆ จำ�เป็นที่จะต้องมีการ ติดต่อสือ่ สารกัน สิง่ สำ�คัญทีน่ กั เรียนจะต้อง คำ�นึงถึงคือ การแสดงออกหรือการปฏิบัติ ให้เหมาะสมกับเพศของเรา เพศชาย เป็นเพศทีม่ คี วามเข้มแข็ง และได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้นำ� ควรที่จะ มีความประพฤติที่ดี ดังนี้

20


เพศหญิง เป็นเพศที่มีความอ่อน โยนและได้ รับ การยกย่องว่า เป็นเพศแม่ ควรทีจ่ ะมีความประพฤติทดี่ แี ละเหมาะสม ดังนี้

21


พฤติ ก รรมการเบี่ ย งเบนทางเพศ ถ้ า หากเกิ ด จากธรรมชาติ ถื อ เป็ น การทดสอบ จากอัลลอฮ์ แต่ถ้าหากเจตนาหรือตั้งใจที่จะเบี่ยงเบนจากผู้ชายเป็นผู้หญิง หรือจากผู้หญิงเป็น ผู้ชาย ก็ถือว่าเป็นการกระทำ�ผิดที่ร้ายแรง เพราะอิสลามห้ามมิให้ผู้ชายเลียนแบบผู้หญิง และ ห้ า มผู้ ห ญิ ง เลี ย นแบบผู้ ช าย(แทรกภาพการเลี ย นแบบที่ ต้ อ งห้ า ม)รายงานจากท่ า นนบี มุฮัมมัด  โดยท่านอิบนุอับบาส ความว่า “ท่านเราะสูล  ได้สาปแช่งบรรดาผู้ชายที่ประพฤติตัวเลียน แบบผู้หญิงและจากผู้หญิงที่ประพฤติตัวเลียนแบบผู้ชาย” (บันทึกโดย อัลบุคอรีย์)

22


การปฏิเสธการกระทำ�ที่เป็นอันตรายและไม่เหมาะสมในเรื่องเพศ สังคมปัจจุบนั เรามักจะได้รบั ข่าวสารทีเ่ กีย่ วข้องกับเราและคนรอบข้างอยูเ่ สมอ และพบ ว่ามีข่าวที่เกี่ยวกับการถูกละเมิดทางเพศและอาชญากรรมทางเพศมากขึ้นเรื่อยๆ โดยที่ เหตุการณ์ที่เกิดเหล่านั้น อาจจะมาจากคนแปลกหน้า แต่บางครั้งก็อาจเกิดจากคนใกล้ตัวหรือ คนที่เรารู้จักก็ได้ ดังนั้นการที่เรารู้จักวิธีการป้องกันตนเองจากอันตรายทางเพศเหล่านี้จึงเป็น สิ่งที่สำ�คัญที่จะช่วยให้เราปลอดภัยจากเหตุการณ์เหล่านั้นได้ เราควรทีจ่ ะระมัดระวังตนเอง รูจ้ กั วิธกี ารป้องกันและหลีกเลีย่ งจากเหตุการณ์ทอี่ าจจะ ก่อให้เกิดอันตรายทางเพศ ซึ่งเราสามารถปฏิบัติได้ ดังนี้ ไม่ควรอยู่ตามลำ�พังกับคนแปลกหน้าหรือคนอื่นๆ ที่ไม่ใช่สมาชิกภายในครอบครัว ไม่ควรเดินไปไหนคนเดียวควรให้ผู้ปกครองหรือผู้ใหญ่ที่ไว้ใจได้ไปเป็นเพื่อน ไม่ควรรับสิ่งของหรือทานอาหาร ดื่มน�้ำ หรือดื่มน�้ำจากคนแปลกหน้า ไม่ควรหลงเชื่อคำ�ชักชวนของคนแปลกหน้าและคนที่ไม่น่าไว้วางใจ เมื่ออยู่บ้านเพียงลำ�พัง ไม่ควรเปิดประตูรับคนแปลกหน้า ถ้าเห็นเหตุการณ์ที่ไม่ปกติเกิดขึ้นควรรีบบอกพ่อแม่ ครูหรือผู้ใหญ่ที่ไว้ใจได้ ทันที หากมีคนแปลกหน้าหรือคนรู้จักจะมาล่วงละเมิดทางเพศให้ตะโกนขอความ ช่วยเหลือดังๆ ไม่ควรเล่นตามลำ�พังในที่เปลี่ยว ควรจะมีพ่อแม่ ครูหรือผู้ใหญ่ที่ไว้วางใจได้ เฝ้าอยู่ด้วย ให้แต่งกายปกปิดมิดชิดถูกต้องตามหลักการศาสนา

23


หน่วยการเรียนรู้ที่

การใช้ชีวิตในครอบครัว

ตัวชี้วัด มาตรฐาน พ ๓.๑ ๑. ควบคุมตนเองเมื่อใช้ทักษะ การเคลื่อนไหวในลักษณะผสมผสานได้ ทั้งแบบอยู่กับที่ เคลื่อนที่ และใช้อุปกรณ์ประกอบ ๒. ฝึกกายบริหารท่ามือเปล่าประกอบจังหวะ

24


การเคลื่อนไหว ในการดำ�เนินชีวติ ประจำ�วันของนักเรียน ต้องอาศัยทักษะในการเคลือ่ นไหว ของร่างกายเข้ามาเกี่ยวข้องอยู่เสมอ เช่น การเดิน การวิ่ง การดัน การดึง การยก เป็นต้น การเคลือ่ นไหว การออกกำ�ลังกาย การเล่นเกม หรือการเล่นกีฬา จะต้องคำ�นึงถึงความ ถูกต้องและความเหมาะสมกับคำ�สอนของอิสลาม เช่น การแต่งกายทั้งสำ�หรับเด็กผู้ชายและ เด็กผู้หญิงเป็นต้น อิสลามได้ส่งเสริมและสนับสนุนให้มุสลิมมีสุขภาพที่แข็งแรง ซึ่งสอดคล้อง กับพระวจนะของท่านนบีมุฮัมมัด  ความว่า “ศรัทธาชนที่เข้มแข็งนั้นย่อมที่ดีกว่าและเป็นที่รักของอัลลอฮ์ มากกว่าศรัทธาชนที่อ่อนแอ” (บันทึกโดยมุสลิม)

ประเภทของการเคลื่อนไหว

การเคลือ่ นไหว สามารถแบ่งออกเป็น การเคลือ่ นไหวแบบอยูก่ บั ที่ การเคลือ่ นไหวแบบ เคลื่อนที่ การเคลื่อนไหวแบบใช้อุปกรณ์ การเคลื่อนไหวแบบอยู่กับที่ เป็นการเคลือ่ นไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกายในขณะทีย่ นื อยูห่ รือนัง่ อยูก่ บั ที่ เช่น ตบมือ ก้มเงย ผงกศีรษะ สั่นศีรษะ สั่นแขน ผลัก ดัน บิดตัว ยกเท้า นั่งลง ลุกขึ้น กระทืบเท้า เหยียดเท้าและเหยียดแขนออกไป ทำ�ได้ดังนี้ ยกเข่าสูง ให้นกั เรียนยืนตัวตรง เท้าแยกออกจากกัน แขนทัง้ สองข้าง แนบลำ�ตัว เมื่อได้ยินเสียงสัญญาณ ให้ยกเข่าขวาขึ้นสูงในระดับ สะโพก แล้วปล่อยลงสู่ท่าเดิม จากนั้นต่อด้วยเข่าซ้าย 25


กระโดดแยกขา ให้นกั เรียนกระโดดให้ขาลอยขึน้ เหนือพืน้ พร้อมกับ แยกขา-ยกแขนในคราวเดียวกัน

เหวี่ยงแขนสลับขา ให้นกั เรียนยืนกางขาประมาณ ๑ ฟุต มือทัง้ สองข้าง จับที่เอว ก้มตัว เอามือซ้ายแตะที่ปลายขาขวา โน้มตัวขึ้น แล้วเปลี่ยนเอามือขวาแตะที่ปลายขาซ้าย

การเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่

การเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่ หมายถึงการเคลื่อนไหวที่ต้องเคลื่อนออกจากจุดยืนเดิม การเคลื่อนไหวแบบนี้ขึ้นอยู่กับการใช้เท้าเป็นสำ�คัญ โดยการก้าวเท้าออกไปในลักษณะต่าง ๆ กัน เช่น การเดิน การวิ่ง การกระโดดไปข้างหน้าและข้างหลัง

วิง่ ซิกแซก ใช้กรวยพลาสติก จำ�นวน ๑๐ อัน ให้นกั เรียนยืนทีจ่ ดุ เริม่ ต้น เมือ่ ได้ยนิ สัญญาณนกหวีดให้นกั เรียนวิง่ ซิกแซกอ้อมกรวย เมือ่ ถึงกรวยอันสุดท้ายให้วง่ิ อ้อมกลับมาทีเ่ ดิม 26


การสไลด์ (Slide) การก้าวเท้าออกไปทางข้าง เริม่ ด้วย เท้าไหนก็ได้ ถ้าเริม่ เท้าซ้ายก็กา้ วออกไปทางข้างซ้าย ถ้าเริม่ เข้าขวาก็กา้ วออก ไปทางข้างขวา เมือ่ ก้าวเท้าออกทางข้างแล้วก็ลากอีกเท้าหนึง่ มาชิด แล้วก็ เริม่ ต้นใหม่ ถ้าจะนับเป็นจังหวะก็จะได้ดงั นี้ ๑ - ๒ - ๓ หรือ ก้าว – ชิด – ก้าว

การเคลื่อนไหวแบบใช้อุปกรณ์

การเคลือ่ นไหวร่างกายประกอบอุปกรณ์ คือ การเคลือ่ นไหวส่วนต่างๆ ของร่างกายจาก ตำ�แหน่งหนึ่งไปยังอีกตำ�แหน่งหนึ่ง หรือการเคลื่อนไหวร่างกายเพียงบางส่วน โดยมีอุปกรณ์ ประกอบการเคลื่อนไหว ดังนี้

กระโดดเชือก กระโดดเท้าเดียว ต่อด้วยการกระโดดสลับเท้า ทีละ ข้าง ซ้ายแล้วก็ขวา

การเดินวิบาก ทุกคนจะต้องเดินบนจุดหรือวงกลม ทีก่ �ำ หนดให้ และต้องเดินบนคานไม้ ที่กำ�หนดให้เพื่อจะข้ามไปยังอีกฝั่ง หนึ่ง 27


ขว้างบอลไกลกับคู่ ให้จบั คูก่ นั ยืนห่างกันประมาณ ๕ – ๖ เมตร แล้ว ขว้างบอลมือเดียวหรือสองมือก็ได้ให้กบั คูต่ นเอง ขว้างบอลให้ถูกคนในวง แบ่งกลุม่ นักเรียนออกเป็น ๒ โดยกลุม่ ที่ ๑ ยืนเป็นวงกลมกว้าง ๘ – ๑๐ เมตร มีลกู บอล ๑ ลูก กลุม่ ที่ ๒ ยืนอยูใ่ นวงกลมกว้าง ๓ – ๔ เมตร คอยหลบลูกบอลทีท่ มี ที่ ๑ ขว้างใส่ คนใดถูกลูกบอล ให้ออกจากวง ครูจบั เวลาแล้วเปลีย่ นกันขว้าง

หลักการเคลื่อนไหวร่างกาย

28

หลักของการเคลื่อนไหวร่างกาย มีดังนี้


การเคลื่อนไหวในชีวิตประจำ�วัน

ในชีวติ ประจำ�วัน เราปฏิบตั กิ จิ กรรมซึง่ จะต้องอาศัยการเคลือ่ นไหวในแบบต่างๆ ดังนัน้ การเรียนรูห้ ลักการเคลือ่ นไหวแบบต่างๆ จึงเป็นสิง่ จำ�เป็น เพราะจะทำ�ให้เคลือ่ นไหวได้อย่างมี ประสิทธิภาพและปลอดภัย การเดินขึ้นบันไดให้เอนตัวไปข้างหน้าและก้าวเท้ายาวๆ ขณะขึ้นทุกขั้น โดยให้ เดินลงส้นเท้าเพราะจะใช้แรงและรับแรงน้อยกว่าเดินลงปลายเท้า การเดินลงบันไดให้เอนตัวไปข้างหลังเล็กน้อย ให้เท้าหน้าเดินลงปลายเท้า แต่ เท้าหลังยกส้นเท้าขึ้น และไม่ควรรีบร้อนลงเพราะอาจลื่นตกบันไดได้ การดึง ควรเอนตัวไปข้างหลังขาเหยียดตรงหรือย่อเข่าลงเล็กน้อยหรืออาจก้าว เท้าข้างหนึ่งไปข้างหลังเล็กน้อยแล้วใช้มือดึง การดัน ก้าวเท้าข้างหนึ่งไปข้างหน้า แล้วย่อเข่าลงเล็กน้อย โน้มตัวไปข้างหน้า เข้าหาสิ่งของที่จะดัน จากนั้นส่งแรงออกไปจากเท้าสู่มือโดยใช้มือดันซึ่ง เป็นการบังคับกล้ามเนื้อขาให้ออกแรงมากที่สุด การยกของ ให้ยืนก้าวเท้าข้างหนึ่งไปข้างหน้า ห่างจากหลังเท้าพอประมาณ ย่อ เข่าหน้าลงตั้งฉากกับลำ�ตัว เข่าข้างหลังงอลงเกือบอยู่ในท่าคุกเข่าแล้วใช้มือทั้ง สองข้างยกของขึ้นให้ชิดลำ�ตัวมากที่สุด จากนั้นค่อย ๆ ลุกขึ้นยืน

29


จังหวะเพลินใจ กิจกรรมเข้าจังหวะ

การเคลือ่ นไหวตามจังหวะ เป็นการเคลือ่ นไหวอวัยวะในรูปแบบต่างๆ ให้เข้ากับจังหวะ หรือเครื่องดนตรีเช่น กลอง ทีน่ ำ�มาประกอบ กิจกรรมเข้าจังหวะเป็นการออกกำ�ลังกายวิธหี นึ่ง ที่ทำ�ให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อร่างกายและจิตใจ คือ มีร่างกายแข็งแรง มีบุคลิกที่ดี และเกิดความ สนุกสนานเพลิดเพลิน อย่างไรก็ตามการเคลื่อนไหว การออกกำ�ลังกาย การเล่นเกม หรือการ เล่นกีฬาจะต้องคำ�นึงถึงความถูกต้องและความเหมาะสมกับคำ�สอนของอิสลาม เช่น การแต่ง กายทัง้ สำ�หรับเด็กผูช้ ายและเด็กผูห้ ญิง ส่วนการใช้เสียงดนตรีกค็ วรนำ�อะนาชีดอิสลามทีเ่ หมาะ กับวัย และการจับคู่ควรไม่มีการปะปนระหว่างเด็กผู้ชายกับเด็กผู้หญิง

การเคลื่อนไหวอยู่กับที่ตามจังหวะ

การเคลื่อนไหวอยู่กับที่ตามจังหวะ เป็นการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกายโดยที่ ร่างกายไม่ได้เคลื่อนที่จากที่ใดที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง เช่น การก้มเงย การบิดลำ�ตัว การเหวี่ยง แขนและขา เป็นต้น

30


นักเรียนสามารถลองปฏิบัติการเคลื่อนไหวอยู่กับที่ตามจังหวะ ได้ดังนี้

ท่าที่ ๑

จังหวะที่ ๑ ก้มศีรษะไปข้างหน้า จังหวะที่ ๒ ผงกศีรษะขึ้นตั้งตรง จังหวะที่ ๓ หงายศีรษะไปข้างหน้า จังหวะที่ ๔ ผงกศีรษะขึ้นตั้งตรง

ท่าที่ ๒

จังหวะที่ ๑ ยืนตรงมือเท้าสะเอวเอียงศีรษะไปทางซ้ายมือ จังหวะที่ ๒ ยืนตรง มือเท้าสะเอว ศีรษะตั้งตรง จังหวะที ๓ ยืนตรง มือเท้าสะเอว เอียงศีรษะไปทางขวามือ จังหวะที่ ๔ ยืนตรง มือเท้าสะเอว ศีรษะตั้งตรง

31


ท่าที่ ๓

จังหวะที่ ๑ แยกเท้าซ้ายไปทางซ้ายมือปลายนิ้วทั้งสองแตะไหล่ จังหวะที่ ๒ ชูแขนทั้งสองขึ้นเหนือศีรษะ จังหวะที่ ๓ ลดมือทั้งสองข้างลงแตะไหล่ จังหวะที่ ๓ ดึงเท้าซ้ายมาชิดเท้าขวาแขนทั้งสองแนบลำ�ตัว

การเคลื่อนที่ตามจังหวะ

การเคลื่อนที่ตามจังหวะ เป็นการเคลื่อนไหวร่างกายโดยที่ร่างกายเคลื่อนที่จากที่หนึ่ง ไปยังอีกที่หนึ่งตามจังหวะ เช่น การเดินตามจังหวะการกระโดดตามจังหวะ การก้าวลากชิด การควบม้า การวิ่งสลับเท้า นักเรียนฝึกเคลื่อนที่ให้เข้ากับจังหวะได้โดยเริ่มจากการเรียนรู้การเคลื่อนที่ ดังนี้

การเดินก้าวชิดก้าว เป็นการก้าวเท้าข้างใดข้างหนึ่งไปข้างหน้าแล้วดึง เท้าอีกข้างหนึง่ เข้าไปชิดเท้าแรก ทิง้ นำ�้ หนักตัวไว้ทเี่ ท้าหลัง

32


การเดินก้าวลากชิด เป็นการก้าวเท้าข้างใดข้างหนึง่ ออกไปข้างๆ แล้ว ลากเท้าอีกข้างหนึ่งมาชิด

การกระโดด เป็นการสปริงตัวขึ้นจากพื้นด้วยเท้าทั้งสอง ข้างแล้วลงสู่พื้นด้วยเท้าทั้งสองข้าง

การกระโดดเขย่ง เป็นการสปริงตัวขึ้นจากพื้นด้วยเท้าข้างใด ข้างหนึ่ง แล้วลงสู่พื้นด้วยเท้าข้างเดิม

การก้าวกระโดดเขย่ง เป็นการกระโดดด้วยเท้าข้างใดข้าง หนึ่งเป็นหลัก เท้าอีกข้างหนึ่งงอเข่าไว้ให้พ้น จากพืน้ แล้วกระโดดไปข้างหน้าจากนัน้ ให้เท้า ที่งอเปลี่ยนมาเป็นเท้าหลักอีกครั้ง ทำ�สลับ อย่างนี้ไปเรื่อยๆ 33


การวิ่งสลับเท้า เป็นการสปริงเท้าทั้งสองขึ้นพ้น พื้น พร้อมกับดึงเท้าที่อยู่ข้างหลังไปไว้ ข้างหน้า ลงสู่พื้นด้วยปลายเท้าทั้งสอง พร้อมกัน ทำ�สลับเท้าอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ

การวิ่งควบม้า เป็นการเคลือ่ นทีไ่ ปข้างหน้าโดยให้กา้ ว เท้าใดเท้าหนึง่ นำ� แล้วก้าวอีกเท้าหนึง่ ไปชิดส้น เท้าหน้า ถ้าเท้าใดนำ�ต้องนำ�ตลอดและส้นเท้า ไม่เปิด

การเคลื่อนไหวตามอะนาชีด เป็นการทำ�ท่าทางประกอบ อะนาชีดทั้งในขณะอยู่กับที่และเคลื่อนที่ เช่น ปรบมือ โยกตัว เดิน วิ่ง กระโดด เป็นต้น การ เคลือ่ นไหวตามเพลงให้สวยงาม นักเรียนต้องฝึก ฟังจังหวะแล้วจึงทำ�ท่าทางให้เข้ากับจังหวะ

34


หน่วยการเรียนรู้ที่

๔ เกมหรรษา

ตัวชี้วัด มาตรฐาน พ ๓.๑ ๓. เล่นเกมเลียนแบบและกิจกรรมแบบผลัด มาตรฐาน พ ๓.๒ ๑. ออกกำ�ลังกาย เล่นเกม และกีฬาที่ตนเองชอบและมีความสามารถในการ วิเคราะห์ผลพัฒนาการของตนเองตามตัวอย่างและแบบปฏิบัติของผู้อื่น

35


เกมเบ็ดเตล็ด ก่อนการเล่นเกมหรือปฏิบตั กิ จิ กรรมทางกายทุกครัง้ ให้นกั เรียนกล่าวคำ�ว่า”บิสมิลลาฮ” นักเรียนควรอบอุ่นร่างกายเพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อมีความเตรียมพร้อมในการเล่นเกม เกมเบ็ดเตล็ด เป็นเกมที่มีกฎ กติกาไม่ยุ่งยากซับซ้อน ทำ�ให้เกิดความสนุกสนาน ทำ�ให้ ทุกคนกล้าแสดงออก และทำ�ให้มีสุขภาพแข็งแรง เกมเบ็ดเตล็ดที่นักเรียนควรเล่น มีดังนี้

เกมกระโดดเชือก

วิธีเล่น ๑. แบ่งผู้เล่นเป็น ๒ กลุ่ม กลุ่มละเท่าๆ กัน ให้ผู้เล่นทั้ง ๑ กลุ่ม เข้าแถวตอน ๒. จัดให้ผู้เล่นคนที่อยู่หัวแถวของทั้ง ๒ แถว เป็นผู้แกว่งเชือก ให้ผู้เล่นที่เหลือทั้ง ๒ แถว วิ่งกระโดดข้ามเชือกทีละคู่ ตามจำ�นวนครั้งที่กำ�หนด แล้ววิ่งแยกออกไปต่อท้ายแถวคน แกว่งเชือก ถ้าผู้เล่นคู่ใดกระโดดพลาด ต้องกลายเป็นผู้แกว่งเชือกแทน ๓. หากไม่มีคู่ใดกระโดดพลาด เมื่อครบรอบให้คู่ต่อไปเป็นผู้แกว่งเชือก

36


เกมส่งบอลลอดถ�้ำ วิธีเล่น ๑. แบ่งผูเ้ ล่นออกเป็นกลุม่ ละเท่าๆ กัน ให้แต่ละกลุม่ เข้าแถวตอน แล้วยืนแยกเท้าผูเ้ ล่น ทีอ่ ยูห่ วั แถวก้มตัวลงส่งบอลลอดขาตนเองให้ผเู้ ล่นคนถัดไปแล้วส่งต่อๆ กันไปจนถึงคนท้ายแถว โดยไม่ให้บอลตกพื้น ๒. คนสุดท้ายของแถวเมื่อได้รับบอลแล้ว ให้วิ่งไปยืนที่หัวแถว แล้วส่งบอลลอดขาเช่น เดิม แถวใดที่ผู้เล่นคนแรกกลับมายืนหัวแถวได้เหมือนเดิม จะเป็นผู้ชนะ

เกมฟุตบอลพิษ

เกมนี้เน้นการทำ�งานที่สัมพันธ์กันของประสาทตา ประสาทหู และมือ วิธีเล่น ๑. ให้ผู้เล่นยืนเข้าแถวเป็นวงกลมแล้วให้ผู้เล่นคนใดคนหนึ่งถือลูกบอลไว้ ๒. เมือ่ ผูท้ �ำ สัญญาณส่งสัญญาณ เริม่ ให้ผเู้ ล่นทีถ่ อื ลูกบอลเริม่ ส่งลูกบอลให้คนทีอ่ ยูท่ าง ด้านขวาอย่างรวดเร็ว (ส่งด้านซ้ายหรือขวาก็ได้) ๓. ให้ผเู้ ล่นทีร่ บั บอลส่งต่อให้กบั ผูเ้ ล่นทีย่ นื ติดกับตนเองต่อไปโดยไม่ตอ้ งหยุดและให้สง่ ไปในทิศทางเดียวกัน ๔. เมือ่ ทำ�เสียงสัญญาณให้หยุด ลูกบอลอยูใ่ นมือผูเ้ ล่นคนใด คนนัน้ ต้องออกจากวงแล้ว จึงเริ่มเล่นใหม่ ผู้เล่นที่เหลือเป็นคนสุดท้ายถือว่าเป็นผู้ชนะ 37


เกมลิงชิงบอล

เกมนีเ้ น้นการใช้ประสาทตากับมือ เพือ่ ทำ�ให้ประสาทตากับมือทำ�งานสัมพันธ์กนั และ เกิดความคล่องแคล่วว่องไว วิธีเล่น ๑. ให้ผู้เล่นเข้าแถวเป็นวงกลม แล้ว เลือกผู้เล่นให้ออกมาเป็นลิง ๒. เริ่มเล่นโดยผู้เล่นที่ยืนเป็นวงกลม โยนบอลให้กับเพื่อนที่อยู่ห่างออกไปเป็นผู้รับ โดยระวังไม่ให้ลิง แย่งบอลได้ถ้า ผู้ส่งบอล พลาดหรือผู้รับบอลพลาด ถูกลิงแย่งบอลหรือแตะบอลได้ให้ผู้เล่นคนนั้นออกไปเป็นลิงแทน

เกมเรียกเบอร์เขี่ยบอล

เกมนี้มุ่งเน้นการใช้ขา เท้า และ ตา เพื่อทำ�ให้ขา เท้า และตา ทำ�งาน สั ม พั น ธ์ กั น และเคลื่ อ นไหวได้ อ ย่ า ง คล่องแคล่ว วิธีเล่น ๑. เลือกตัวแทน ๑ คน เป็นผู้ เรียกหมายเลข ผู้เล่นคนอื่นให้แบ่งเป็น ๒ กลุ่ม ๒. ให้ผู้เล่นแต่ละกลุ่มเข้าแถว หน้ากระดาน ยืนหันหน้าเข้าหากัน แล้ว ให้ผเู้ ล่นแต่ละแถวนับเลขและจำ�หมายเลขของตนไว้ ๓. วางบอลไว้ตรงกลางระหว่างแถว เริ่มเล่นโดยให้ตัวแทนเรียกหมายเลขใดหมายเลข หนึ่งขึ้นมา ผู้ที่เป็นหมายเลขนั้นของแต่ละแถวให้วิ่งไปเขี่ยบอลเข้ามายังเขตแดนของตนให้ได้ ๔. แถวใดเขี่ยบอลเข้ามาเขตแดนของตนได้มากกว่าเป็นผู้ชนะ 38


กิจกรรมแบบผลัด กิจกรรมแบบผลัด เป็นการแข่งขันหรือเล่นเป็นกลุม่ โดยต้องเล่นจนครบทุกคน ถ้ากลุม่ ใดทำ�เสร็จก่อนหรือได้คะแนนมากกว่าจะเป็นผู้ชนะ ขั้นตอนในการเล่นแบบผลัด มีดังนี้ ๑. ศึกษากฎ กติกา และวิธีเล่นให้เข้าใจ ๒. อบอุ่นร่างกายก่อนการเล่น เพื่อเตรียมความพร้อมให้ร่างกายและวางแผนการเล่น และเล่นตามกฎ กติกา เพื่อความปลอดภัย ๓. ประเมินผลการเล่น แล้วหาวิธีแก้ไขข้อบกพร่อง ๔. ฝึกซ�้ำๆ เพื่อแก้ไขข้อบกพร่องจนช�ำนาญและเกิดความมั่นใจ

การเลี้ยงลูกบอลด้วยมืออ้อมหลัก

แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละเท่าๆ กัน เริ่มเล่น โดยเลี้ยงลูกบอลด้วยมือไปอ้อมหลักที่ วางไว้ แล้วเลี้ยงลูกบอลกลับมาที่เดิม เพื่อส่ง ลูกบอลต่อให้คนต่อไป ถ้ากลุ่มใดทำ�ได้ครบทุก คนก่อน ถือว่าเป็นฝ่ายชนะ

การเลี้ยงลูกบอลด้วยเท้าอ้อมหลัก แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละเท่า ๆ กัน เริ่มเล่น ให้ ผลัดกันเลี้ยงบอลไปอ้อมหลัก แล้วกลับมา ถ้ากลุ่มใดทำ�ได้ ครบทุกคนก่อน ถือว่าเป็นฝ่าย ชนะ

39


การเลี้ยงลูกบอลโดยใช้อุปกรณ์ แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละ เท่าๆ กัน เริม่ เล่น ให้ผลัดกันใช้ไม้เลีย้ ง บอลอ้อมหลักแล้ว กลับมาถ้ากลุ่มใด ใช้ไม้เลี้ยงลูกบอลอ้อมหลักได้ครบทุก คนก่อน ถือเป็นฝ่ายชนะ

การวิ่งข้ามสิ่งกีดขวางที่อยู่นิ่ง

เป็นการฝึกทักษะในการวิ่งกับการกระโดด สลั บ กั น ไปเพื่ อ ให้ ก ล้ า มเนื้ อ ขาแข็ ง แรง ฝึ ก การ ตัดสินใจ ฝึกความกล้า การวิ่งข้ามสิ่งกีดขวางที่อยู่ นิ่งมีดังนี้

การวิ่งข้ามสิ่งกีดขวาง ต่างระดับ

แบ่งนักเรียนเป็นกลุม่ กลุม่ ละเท่าๆ กัน วาง สิ่งกีดขวางที่มีระดับต่างกันให้มีระยะห่างเท่า ๆ กัน เริม่ เล่น โดยให้ผลัดกันวิง่ ข้ามสิง่ กีดขวางแต่ละอย่าง จนมาถึงจุดกลับตัว แล้ววิ่งกลับมาต่อท้ายแถวของ กลุ่มตนเอง คนต่อไปทำ�เหมือนคนแรก ถ้ากลุ่มใด วิ่ ง ข้ า มสิ่ ง กี ด ขวางได้ ค รบทุ ก คนก่ อ น ถื อ ว่ า เป็ น ฝ่ายชนะ

การวิ่งข้ามและลอดสิ่งกีดขวางโดย ผลัดกันเป็นสิ่งกีดขวาง

แบ่งนักเรียนเป็นกลุม่ กลุม่ ละเท่าๆ กัน เลือก ตัวแทนมาเป็นสิ่งกีดขวาง ข้ามและลอดสิ่งกีดขวาง จนครบแล้วมาเป็นสิ่งกีดขวางต่อ กลุ่มใดข้ามและ ลอดสิ่งกีดขวางได้ครบทุกคนก่อน เป็นฝ่ายชนะ 40


การเล่นเกมเลียนแบบ การเล่นเกมเลียนแบบเป็นการฝึกในเรือ่ งของการสังเกต การจำ� โดยปกติมกั จะใช้เลียน เสียงของสัตว์ เป็นการฝึกความกล้าในการแสดงออก

เกมสัตว์สัมมนา

วิธีการเล่น ๑. สมมติให้ผเู้ ล่นเป็นสัตว์ทกี่ �ำ หนดเอา เองแต่ละคน ๒. ผู้เล่นจะนับเลข ๑,๒,๓…………… จนถึงคนสุดท้ายและจำ�หมายเลขของตัวเองไว้ ๓. ให้ผู้เล่นนั่งในสถานที่ที่กำ�หนดไว้ แล้วเดินมาจับเบอร์ที่ใส่ไว้ในภาชนะทีละคน ๔. เมื่อจับได้เบอร์อะไรให้ขานดังๆ เบอร์นั้นต้องออกมาแสดงอาการพร้อมทั้งส่งเสียง ร้องตามสัตว์ที่ตัวเองคิดเอาไว้ ๕. ผู้เล่นคนอื่นๆ ต้องทายว่าตัวเองเป็นสัตว์อะไร ถ้าทายถูกก็เปลี่ยนคนจับเบอร์ใหม่ แต่ถ้าทายผิดต้องแสดงใหม่จนกว่าจะทายถูก แล้วทำ�ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะครบหมดทุกคน

เดินปู

วิธีการเล่น ๑. ให้ผเู้ ล่นทุกคนนัง่ ยองๆ ล้มตัวไปข้างหลัง ใช้มอื ยันพืน้ ไว้ พร้อมกับยกลำ�ตัวให้ขนาน กับพื้น ๒. ก้าวมือขวาไปทางศีรษะ ๓. ก้าวเท้าซ้ายชิดมือซ้าย ๔. ก้าวมือซ้ายให้เลยมือขวาขึน้ ไป ๕. ก้าวเท้าขวาชิดมือขวา ๖. ทำ�เช่นนี้สลับกันไปเรื่อยๆ จน ครบทุกคน 41


หน่วยการเรียนรู้ที่

กีฬาและสมรรถภาพทางกาย

ตัวชี้วัด มาตรฐาน พ ๓.๑ ๔. เล่นกีฬาพื้นฐานได้อย่างน้อย ๑ ชนิด มาตรฐาน พ ๓.๒ ๑. ออกกำ�ลังกาย เล่นเกม และกีฬาที่ตนเองชอบและมีความสามารถในการ วิเคราะห์ผลพัฒนาการของตนเองตามตัวอย่างและแบบปฏิบัติของผู้อื่น ๒. ปฏิบัติตามกฎ กติกาการเล่นกีฬาพื้นฐาน ตามชนิดกีฬาที่เล่น มาตรฐาน พ ๔.๑ ๔. ทดสอบและปรับปรุงสมรรถภาพทางกายตามผลการตรวจสอบสมรรถภาพ ทางกาย

42


แฮนด์บอล กีฬาแฮนด์บอลเป็นกีฬาที่เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ทางพลศึกษา และมุ่งพัฒนาทั้งทาง ด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม

องค์ประกอบการเล่น

๑. ผู้เล่น มีผู้เล่น ๒ ฝ่าย ประกอบด้วย ผู้เล่นในสนาม ๖ คน และผู้รักษาประตู ๑ คน ๒. สนาม เป็นรูปสีเ่ หลีย่ มผืนผ้า มีขนาด ยาว ๔๐ เมตร และกว้าง ๒๐ เมตร ประกอบ ด้วยเขตประตูสองด้านและเขตสนามแข่งขัน เส้นรอบสนามด้านยาวเรียกว่า “เส้นข้าง” และ เส้นสั้นเรียกว่า “เส้นประตู” ๓. ประตู มี ค วามสู ง ภายใน ๒ เมตร กว้าง 3 เมตร ๔. ลู ก บอล ทำ � ด้ ว ยหนั ง หรื อ วั ส ดุ สังเคราะห์ และเป็นรูปทรงกลม ผิวของลูกบอล ต้องไม่สะท้อนแสงหรือลื่น ๕. ระยะเวลาในการเล่น แบ่งออกเป็น ๒ ครึ่ง ครึ่งละ ๓๐ นาที พักระหว่างครึ่ง ๑๐ นาที

วิธีเล่น

๑. เริ่มเล่น โดยให้ฝ่ายที่เลือกส่งลูกก่อนได้ส่งลูกจากบริเวณจุดศูนย์กลางของเส้นแบ่ง แดน ให้กับเพื่อนฝ่ายตนเองทันทีภายในเวลา 3 วินาที หลังจากผู้ตัดสินเป่านกหวีดแล้ว ๒. ให้ผู้เล่นแต่ละฝ่าย ส่งลูกบอลต่อๆ กันไป เพื่อทำ�ประตูให้ได้โดยขว้างบอลให้เข้า ประตูฝ่ายตรงข้าม ๓. การพาบอลเคลื่อนที่ไปให้ใช้มือเลี้ยงลูก 43


กติกาการเล่นแฮนด์บอล

การเล่นแฮนด์บอลมีกฎ กติกา ทีก่ ำ�หนดไว้ ดังนัน้ ต้องจึงต้องปฏิบตั ติ ามอย่างเคร่งครัด

กติกาทั่วไป ๑. ให้ผู้เล่นขว้าง ทำ�ให้ลูกกระดอน หยุดจับ ในลักษณะใดก็ได้โดยใช้มือ แขน ศีรษะ ขาท่อนบน และหัวเข่า แต่ห้ามใช้ส่วนของร่างกายตั้งแต่หัวเข่าลงมา ถูกลูกแฮนด์บอล ๒. ให้ผู้เล่นถือลูกบอลเคลื่อนที่ได้ แต่ไม่เกิน ๓ ก้าว ๓. ให้ผู้เล่นครอบครองลูกได้ไม่เกิน ๓ วินาที ๔. ให้ผู้เล่นส่งลูกจากมือข้างหนึ่งไปยังมืออีกข้างหนึ่งของตนได้ ๕. ให้ผู้เล่นส่งลูกขณะที่นั่งคุกเข่าหรือนอนอยู่ได้ ๖. ห้ามผู้เล่นขวางฝ่ายตรงข้ามด้วยมือ แขน ขา ๗. ห้ามผู้เล่นดึงหรือตีลูกจากมือคู่ต่อสู้ ๘. ห้ามใช้ลูกบอลทำ�ให้คู่ต่อสู้เกิดอันตราย หรือเล่นรุนแรง ๙. ห้ามดึงหรือผลักคู่ต่อสู้ด้วยมือและแขน ห้ามไม่ให้ผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม เข้าไปในเขตประตู

การได้ประตู

จะได้ประตูตอ่ เมือ่ บอลผ่านเส้นประตู โดยทีผ่ ยู้ งิ ประตูและผูเ้ ล่นฝ่ายทีท่ �ำ ประตูไม่ได้ท�ำ ผิดกติกา ถือว่าได้ ๑ คะแนน ต่อการยิงประตู ๑ ประตู ถ้าฝ่ายใดทำ�ลูกเข้าประตูตนเอง ถือว่า อีกฝ่ายได้ประตูไป

การส่งลูกจากมุมสนาม

ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ทำ�ลูกออกไปนอกเส้นประตูของตน ให้อีกฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายส่งลูก จากมุมสนาม 44


การส่งลูกจากประตู

ถ้าฝ่ายรุกหรือผู้รักษาประตูของฝ่ายรับทำ�ลูกออกนอกสนามทางเส้นหลังประตู ให้ผู้ รักษาประตูของฝ่ายรับเป็นผู้ส่งลูกจากประตู การส่งลูกจากประตู ถ้าลูกเข้าประตูถือว่าไม่ได้ คะแนน

ทักษะในการเล่นกีฬาแฮนด์บอล

ก่อนการเล่นแฮนด์บอล ควรฝึกทักษะการจับบอล การเลี้ยงบอลและการรับส่งบอลใน ลักษณะต่างๆ ดังนี้ การจับบอล ใช้มือทั้งสองข้างจับบอล โดยกางนิ้วออก ให้นิ้วหัวแม่มือชี้เข้าหากัน งอข้อศอกเล็กน้อย

การส่งบอล ๑. ส่งบอลสองมือระดับอก ยืนแยกขาให้ห่างกันพอสมควร จับบอลให้ อยู่ระดับอก แล้วก้าวไปข้างหน้า ๑ ก้าว พร้อมกับ ส่งบอลออกไป ให้แขนเหยียดตรง และมือแบออก ด้านข้าง

๒. การส่งบอลสองมือเหนือศีรษะ ใช้มอื ทัง้ ๒ ข้างจับลูกบอลชูเหนือศีรษะ กาง ข้อศอกเล็กน้อย โยกแขนไปข้างหลังเล็กน้อย ส่ง ลูกบอลออกไปเหยียดแขนตรง พร้อมกับก้าวขาไป ข้างหน้าจังหวะเดียวกับส่งบอลออกไป 45


๓. ส่งบอลมือเดียวเหนือศีรษะ จั บ บอลด้ วยมือข้า งใดข้า งหนึ่งแล้วชู ขึ้ น เหนื อ ศีรษะ อีกมือหนึ่งประคองลูก ก้าวเท้าข้างที่ตรงข้ามกับ มือที่ถนัดไปข้างหน้า ๑ ก้าว เอนตัวไปข้างหลัง แล้วสลัด มือปล่อยบอลออกไป

๔. ส่งบอลกระดอน ยืนแยกขาห่างกันเล็กน้อย จับบอลให้ อยู่ ร ะดั บ อก แล้ ว ผลั ก บอลออกไปโดยให้ กระทบพื้น แล้วกระดอนไปข้างหน้า

๕. ส่งบอลมือเดียวล่าง โดยจับบอลด้วยมือใดมือหนึง่ เป็นหลัก อีกมือหนึ่งประคองบอลไว้ เหวี่ยงแขนไปด้าน หลังเล็กน้อยก่อนผลักลูกบอลออกไป

46


การรับบอล ๑. รับบอลสองมือระดับอก เหยียดแขนทั้ง ๒ ข้างขึ้นไปข้างหน้า กาง นิ้ ว มื อ ออก ให้ นิ้ ว หั ว แม่ มื อ ชี้ เข้ า หากั น เมื่ อ ลู ก กระทบมือให้ดึงมือเข้าหาลำ�ตัว

๒. รับบอลสองมือเหนือศีรษะ เหยียดแขนทั้ง ๒ ข้างเหนือศีรษะ โดยหันฝ่ามือ ไปหาลูก เมื่อรับลูกแล้ว ให้ดึงมาหาลำ�ตัวโดยเร็ว

๓. รับบอลสองมือด้านข้าง หันฝ่ามือไปหาลูก เมื่อลูกลอยมาเข้ามือให้ ผ่อนมือและใช้มืออีกข้างหนึ่งประคองลูกไว้

47


๔. รับบอลสองมือล่าง หันหน้าไปในทิศทางที่ลูกพุ่งมา ย่อเข่าลง พร้อมกับเหยียดแขนใช้นิ้วมือกางออกและชี้ลงพื้น เมื่อลูกกระทบมือแล้วให้ดึงลูกเข้าหาลำ�ตัวโดยเร็ว

การเลี้ยงบอล ก้มตัวเล็กน้อย ย่อเข่า แล้วใช้ มือข้างทีถ่ นัดเลีย้ งลูกบอล โดยกางนิว้ มือทัง้ ห้าออก แล้วกดลูกลงสูพ่ นื้ เมือ่ ลูกกระดอนขึ้นมา ให้ผ่อนมือขึ้นเล็ก น้อยจากนั้นกดลูกลงสู่พื้นอีก การ เลี้ยงลูกมีทั้งเลี้ยงลูกต�่ำและสูง การ เลี้ ย งลู ก ต�่ ำ ใช้ ใ นการเคลื่ อ นไหว รวดเร็ว และหลบหลีกคู่ต่อสู้ ส่วนการเลี้ยงลูกสูงใช้ในการหาทิศทางการส่ง

การยิงประตู

๑. การยิงประตู แ บ บ ลู ก ก ร ะ ด อ น ต�่ ำ กระโดดหรือยืนอยู่กับที่ แล้วใช้มือเพียงข้างเดียว ข ว ้ า ง บ อ ล ใ ห ้ ต ก พื้ น กระดอนเข้ า ประตู ไ ป อย่างรวดเร็ว

48


๒. การยิ ง ประตู แบบกระโดดพุ่งตัว ให้ผู้ เล่นที่เข้ายิงประตูก้าวเท้า ๑ ก้าว พร้อมกับกระโดด สปริงข้อเท้าให้ตัวลอยขึ้น แล้ ว ขว้ า งบอลเข้ า ประตู อย่างรวดเร็ว

แชร์บอล กีฬาแชร์บอล เป็นกีฬาที่เล่นง่าย สามารถเล่นได้กับทุกสนามไม่ว่าจะเป็น สนามหญ้า พื้นดิน พื้นซีเมนต์ พื้นไม้

กติกาการเล่น

จำ�นวนผู้เล่น จำ�นวนผูเ้ ล่น กีฬาแชร์บอลเป็นกีฬาประเภททีม ประกอบด้วยผูเ้ ล่น ๒ ฝ่าย ฝ่ายละ ๗ คน และมีผเู้ ล่นสำ�รองฝ่ายละ ๕ คน โดยเป็นผูถ้ อื ตะกร้า ๑ คน ผู้เล่นแดนหน้า ๓ คน ผู้เล่นแดนหลัง ๓ คน ผู้ที่เล่นแดนหลังที่อยู่ตรงกลางยืนในเขต ๓ เมตร คอยป้องกันประตู สนาม ๑. สนามรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง ๑๖ เมตร ยาว ๓๒ เมตร ๒. มีเส้นแบ่งแดนตรงกึ่งกลางสนาม ๓. ที่จุดกึ่งกลางเส้นแบ่งแดน มีวงกลมรัศมี ๘๐ เซนติเมตร ๔. ขตผู้ป้องกันประตูอยู่ท่จี ุดกึ่งกลางของเส้นหลังทั้งสองด้านเขียนเส้นครึ่งวงกลมรัศมี ๓ เมตร ๕. เส้นโทษ ห่างจุดกึ่งกลางเส้นหลัง ๘ เมตร 49


50

อุปกรณ์การแข่งขัน

อุปกรณ์การแข่งขันประกอบด้วย ลูกบอล เก้าอี้ไม่มีพนักพิง และตะกร้าหวาย


เวลาในการแข่งขัน แบ่งออกเป็น ๑ ช่วง ช่วงละ ๒๐ นาที พักระหว่างครึ่ง ๕ นาที วิธีเล่น ให้ผเู้ ล่นทัง้ สองฝ่ายเสีย่ งเลือกแดน แล้วเข้าประจำ�ทีเ่ ริม่ เล่นเมือ่ ผูต้ ดั สินโยนลูกบอลขึน้ ระหว่างผู้เล่นสองคนของแต่ละฝ่ายที่อยู่ในวงกลม ผู้เล่นทั้งสองฝ่ายกระโดดปัดลูกบอลให้ฝ่าย ของตนรับแล้วพยายามยิงประตูของฝ่ายตนเองซึ่งจะอยู่ในแดนตรงกันข้าม และป้องกันไม่ให้ ฝ่ายตรงข้ามครอบครองหรือนำ�ลูกบอลไปยิงประตูในตะกร้าของฝ่ายตรงข้ามได้ การได้คะแนน ถ้าฝ่ายใดสามารถนำ�ลูกบอลไปยิงลงในตะกร้าของฝ่ายตนเองจะได้ ๒ คะแนน แต่ถ้า โยนลูกโทษลงตะกร้าจะได้ ๑ คะแนน โดยลูกที่ได้คะแนนต้องเป็นลูกที่ลอยกลางอากาศแล้ว ลงตะกร้าและผูท้ ถี่ อื ตะกร้าต้องยืนบนเก้าอีข้ ณะรับลูกบอล เมือ่ จบการแข่งขันฝ่ายใดทำ�คะแนน ได้มากกว่าจะเป็นฝ่ายชนะ การเล่นลูกบอล การกระทำ�ที่ถูกกติกา มีดังนี้ ๑. หยุด จับ ตี ปัด กลิ้งส่ง หรือขว้างลูกบอลด้วยมือ แขน ศีรษะ และลำ�ตัวเหนือเอว ขึ้นไปได้ ๒. ครอบครองลูกบอลด้วยมือเดียวหรือสองมือ หรือกดลูกบอลที่อยู่บนพื้นสนาม หรือ โยนลูกบอลขึ้นในอากาศในเวลาได้ไม่เกิน ๓ วินาที ๓. ถือลูกบอลและเคลื่อนไหวไปมาได้ด้วยการหมุนตัวโดยมีเท้าหลัก ๔. กระโดดรับ ส่ง หรือยิงประตู ๕. ใช้ลำ�ตัวบังคู่ต่อสู้ ในขณะที่กำ�ลังครอบครองลูกบอลอยู่ การกระทำ�ที่ผิดกติกา มีดังนี้ ๑. การเลี้ยงหรือทุ่มลูกบอลลงบนพื้นสนามแล้วรับไว้อีก ๒. การปัดหรือแย่งลูกบอลซึ่งอยู่ในมือของอีกฝ่ายหนึ่ง ๓. การเล่นลูกบอลด้วยส่วนหนึง่ ส่วนใดตัง้ แต่เอวลงไป ห้ามยืน่ ลูกบอลให้เพือ่ นร่วมทีม ด้วยมือต่อมือ ๔. การเล่นรุนแรง ๕. การเข้าไปในเขตประตู แต่ผู้ป้องกันประตูออกนอกเขตประตูได้ ๖. ผู้ป้องกันประตูถูกเก้าอี้ ตัวประตู หรือตะกร้า เพื่อแย่งหรือปัดลูกบอล 51


ทักษะการเล่นแชร์บอล

การส่งลูกบอล ๑. ส่งลูกบอลสองมือระดับอก ยืนแยกเท้า สองมือ จับลูกบอลระดับอกจากนั้นก้าวเท้าไปข้างหน้า ๑ ก้าว พร้อม กับส่งลูกบอลออกไป โดยให้แขนเหยียดตึง และมือแบะออก ด้านข้าง

๒. ส่งลูกบอลสองมือเหนือศีรษะ ยืนแยกเท้า จับ ลูกบอลด้วยมือทั้งสองข้าง แล้วยกขึ้นเหนือศีรษะ แขนงอไป ข้างหลังเล็กน้อย เมื่อส่งลูกบอลแล้ว ให้เหยียดแขนตาม ทิศทางที่ส่งลูกบอลไปพร้อมกับก้าวเท้าไปข้างหน้า

๓. ส่งลูกบอลสองมือล่าง ยืนเท้าขนานกัน ย่อตัวลงมา มือทั้งสองจับลูกบอลให้ต�่ำกว่าระดับ เข่า กางศอกออกเล็กน้อยแล้วส่งลูกบอลด้วยก�ำลัง ส่งของแขน โดยกระดกข้อมือและนิว้ ขึน้ เหยียดแขน ตามลูกบอลไป

52


๕. ส่งลูกบอลมือเดียวเหนือไหล่ จับลูกบอลด้วย มือเดียวแล้วยกลูกบอลขึ้นเหนือไหล่ บิดไหล่ไปข้างหลัง พร้อมกับง้างลูกบอลให้เลยไปข้างหลัง จากนัน้ บิดไหล่และ ศอกทีจ่ บั ลูกบอลไปข้างหน้า ผลักลูกบอลออกไป แล้วตวัด ข้อมือลง ดีดส่งด้วยนิ้วมือ

๖. ส่งลูกบอลมือเดียวล่าง จับลูกบอลด้วย มือใดมือหนึ่งเป็นหลัก แล้วจับลูกบอลออกไปด้าน หลังชิดสะโพก แล้วผลักลูกบอลออกไป

การรับลูกบอล

๑. รับลูกบอลสองมือระดับอก เคลื่อนที่เข้าหา ลูกบอลก้มลำ�ตัวและงอเข่าเล็กน้อย ยื่นแขนทั้งสองข้าง ออกไปรับลูก กางนิ้วเมื่อสัมผัสถูกแล้วดึงลูกบอลเข้าหา ระดับอก

53


๒. รับลูกบอลสองมือเหนือศีรษะ กระโดดขึ้นพร้อม กับเหยียดแขนทัง้ สอง ข้างขึน้ ไปรับลูกบอล เมือ่ สัมผัสลูกบอล แล้ว ให้ดงึ ลูกบอลไว้ระดับอก ขณะลงสูพ่ นื้ แยกเท้า งอเข่าเล็ก น้อย

๓. รับลูกบอลกระดอน เคลื่อนที่และ หันหน้าเข้าหาลูกบอล ควำ�่ ฝ่ามือทัง้ สองข้างกาง นิว้ ขณะลูกบอลกระดอนขึน้ จากพืน้ ให้กม้ ตัวลง รับลูกบอลและดึงลูกบอลเข้าระดับอก

การยิงประตู

๑. ยิงประตูมอื เดียว จับ ลูกบอลด้วยมือเดียว งอเข่าเล็ก น้ อ ย ตามองตรงไปที่ ต ะกร้ า ชูลูกบอลให้อยู่เหนือศีรษะ แล้ว สปริงตัวพร้อมผลักลูกบอลไปยัง ตะกร้า ๒. ยิงประตูสองมือ จับ ลูกบอล ๒ มือ ชูลูกบอลให้อยู่ เหนื อ ศี ร ษะ ย่ อ เข่ า ตามอง ตะกร้า แล้วสปริงตัวขึ้นพร้อม กับผลักลูกบอลไปเหนือศีรษะ 54


สมรรถภาพทางกาย สมรรถภาพทางกาย หมายถึงความสามารถของบุคคลที่จะใช้ระบบต่างๆของร่างกาย ประกอบกิจกรรมใดๆ ที่เกี่ยวกับการแสดงออก ซึ่งความสามารถทางร่างกายได้อย่างมี ประสิทธิภาพ หรือ อย่างหนักติดต่อกันโดยไม่แสดงอาการเหน็ดเหนือ่ ยให้ปรากฏ และร่างกาย สามารถฟืน้ ตัวสูส่ ภาพปกติได้ในเวลาอันรวดเร็ว ซึง่ ได้มกี ารกำ�หนดเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพ ทางกายของนักเรียนชายและหญิง อายุ ๙ ปี (ป.๔) รวมทั่วประเทศดังตารางต่อไปนี้ ตารางแสดงเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกายของนักเรียนชาย อายุ ๙ ปี รวมทั่วประเทศ ป.๔

ตารางแสดงเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกายของนักเรียนหญิง อายุ ๙ ปี รวมทั่วประเทศ ป.๔

55


กิจกรรมทดสอบสมรรถภาพทางกาย วิ่ง ๕๐ เมตร วิธีทดสอบ เมื่อให้สัญญาณเข้าที่ ให้นักเรียนยืนให้ ปลายเท้าข้างหนึง่ อยูช่ ดิ เส้นเริม่ เมือ่ ได้ยนิ สัญญาณปล่อยตัว ให้วิ่งด้วยความเร็วเต็มที่จนผ่านเส้นชัย

วิ่งเก็บของ วิธีทดสอบ วางไม้ทั้งสองท่อนกลางวงกลมที่ อยู่ตรงข้ามกับเส้นเริ่ม นักเรียนยืนให้ปลายเท้าข้าง หนึ่ ง อยู่ ชิ ด เส้ น เริ่ ม เมื่ อ ได้ รั บ คำ � สั่ ง ว่ า “ไป” ให้ นักเรียนวิ่งไปหยิบท่อนไม้ท่อนหนึ่งมาวางที่วงกลม หลังเส้นเริ่ม แล้วกลับตัววิ่งไปหยิบท่อนไม้อีกท่อน หนึง่ มาวางไว้เช่นเดียวกับท่อนแรกแล้ววิง่ เลยไป ห้าม โยนท่อนไม้ หากวางไม่เข้าในวงกลม ให้เริม่ ใหม่ ยืนกระโดดไกล วิธีทดสอบ นักเรียนยืนที่เส้นเริ่มให้ปลายเท้าทั้งสองอยู่ชิดเส้นเริ่ม เหวี่ยงแขนทั้ง สองไปข้างหลังพร้อมกับย่อเข่าและ ก้มตัว เมื่อได้จังหวะให้เหวี่ยงแขน ไปข้ า งหน้ า อย่ า งแรงพร้ อ มกั บ กระโดดด้วยเท้าทั้งสองข้างไปข้าง หน้าให้ไกลที่สุด ใช้ไม้วัดทาบตั้ง ฉากกับขีดบอกระยะ หากมีการเสีย หลักหงายหลังหรือมือแตะพืน้ ให้ท�ำ ใหม่ 56


แรงบีบมือ วิธีทดสอบ ให้นักเรียนใช้มือข้างที่ถนัดจับเครื่องวัด แรงบีบมือโดยให้นวิ้ ข้อที่ ๒ รับน้�ำ หนักของเครือ่ งวัด ยืนปล่อย แขนข้างลำ�ตัว ห่างลำ�ตัวเล็กน้อย แขนตึง กำ�มือบีบเครื่องวัด สุดแรงโดยไม่ให้เครือ่ งวัดถูกส่วนใดส่วนหนึง่ ของร่างกาย ห้าม โถมตัวหรือเหวี่ยงเครื่องมือ

ลุกนั่ง วิธที ดสอบ จัดนักเรียนเป็นคู่ ให้นกั เรียนคนแรกนอนหงายบนเบาะยืดหยุน่ เข่า งอเป็นมุมฉาก ปลายเท้าแยกห่างกัน ประสานมือที่ท้ายทอย นักเรียนคนที่สองคุกเข่า ที่ปลายเท้าคนแรก มือทั้งสองกำ�และกดข้อเท้า นักเรียนคนแรกไว้ให้เท้าติดพืน้ เมือ่ ได้รบั สัญญาณ เริม่ พร้อมกับจับเวลา นักเรียนลุกขึน้ นัง่ ให้ขอ้ ศอก แตะเข่าตนเอง แล้วกลับไปทำ�ตามขั้นตอนเดิม ใหม่ ทำ�เช่นนี้ติดต่อไปอย่างรวดเร็วจนครบ ๓๐ วินาที จากนั้นจึงสลับกันปฏิบัติเช่นเดียวกัน

หลักเกณฑ์บางประการในการเล่นกีฬาตามหลักการอิสลาม มีดังนี้ ๑. ห้ามเล่นกีฬาใดๆ ที่มีวัตถุประสงค์ทำ�ให้เกิดอันตรายโดยตรงต่อตัวผู้เล่น ๒. ห้ามเล่นกีฬาใดๆ โดยการแต่งกายเปิดเผยสัดส่วนหรืออวัยวะที่พึงสงวน ๓. ห้ามเล่นกีฬาใดๆ ที่ทำ�ให้ลืมการปฏิบัติศาสนกิจ ๔. ห้ามเล่นกีฬาใดๆ ที่มีการปะปนหรือการแตะเนื้อต้องตัวระหว่างผู้ชายและผู้หญิง 57


หน่วยการเรียนรู้ที่

สุขภาพของเรา

ตัวชี้วัด มาตรฐาน พ ๔.๑ ๑. อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับสุขภาพ ๒. อธิบายสภาวะอารมณ์ ความรู้สึกที่มีผลต่อสุขภาพ ๓. วิเคราะห์ขอ้ มูลบนฉลากอาหารและผลิตภัณฑ์สขุ ภาพ เพือ่ การเลือกบริโภค

58


สิ่งแวดล้อมกับสุขภาพของเรา สิง่ แวดล้อม หมายถึง ทุกสิง่ ทุกอย่างทีอ่ ยูร่ อบตัวทัง้ ทีม่ ชี วี ติ และไม่มชี วี ติ ทีเ่ ป็นรูปธรรม และนามธรรม มีความสัมพันธ์ซงึ่ กันและกันอย่างแนบแน่นและเป็นประโยชน์ตอ่ การดำ�รงชีวติ ของมนุษย์

สิง่ แวดล้อมเป็นปัจจัยทีม่ คี วามเกีย่ วข้องกับการดำ�รงชีวติ มีสว่ นทำ�ให้คณ ุ ภาพของมนุษย์ ไปในทางที่ดีและไม่ดี เพราะฉะนั้นทุกคนจึงมีส่วนร่วมในการปรับปรุงและดูแลรักษา เพื่อลด ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องมาจากสิ่งแวดล้อมที่ไม่ถูกสุขลักษณะ

สิ่งแวดล้อมกับสุขภาพ

ปัญหามลพิษที่จะเกิดอันตรายต่อสุขภาพของประชาชนมีมากมาย มิใช่แต่เพียงมลพิษ ทางอากาศ ทางนำ�้ หรือทางดินทีเ่ รารูจ้ กั กันดีเท่านัน้ การทีส่ ภาวะแวดล้อมของเราเปลีย่ นแปลง ไปตามความจ�ำเป็นของการพัฒนาบ้านเมือง ซึ่งจะหยุดอยู่กับที่ไม่ได้นั้นอาจกลายเป็นปัญหา มลพิษ ซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้คนได้ เช่น การขยายตัวอย่างรวดเร็วของกรุงเทพมหานครได้กอ่ ให้เกิดปัญหาสภาวะแวดล้อมอย่าง มากมาย จนกระทั่งบางเรื่องอาจลุกลามใหญ่โตจนไม่สามารถแก้ไขได้ในสภาวะเศรษฐกิจของ ประเทศเราการที่เมืองขยายออกไป ผืนดินที่ใช้ทางการเกษตรที่ดีก็ถูกเปลี่ยนแปลงเป็นที่อยู่ อาศัย ที่ซึ่งเป็นที่ลุ่มกลับกลายเป็นแหล่งชุมชน คลองเพื่อการระบายน�้ำถูกเปลี่ยนแปลงเป็น ถนนเพื่อการคมนาคม แอ่งที่จะเป็นที่ขังน�้ำถูกขจัดให้หมดไปด้วยสิ่งก่อสร้างต่างๆ เมื่อถึงหน้า 59


น�้ำหรือเมื่อฝนตกใหญ่ กรุงเทพมหานครจะประสบปัญหาน�้ำท่วมทุกครั้ง น�้ำท่วมก่อให้เกิด ปัญหาต่อสุขภาพมากมาย เริ่มต้นด้วยโรคน�้ำกัดเท้า และต่อไปก็อาจเกิดโรคระบาดได้ ปัญหาขยะ เมื่อเมืองใหญ่ขึ้น ผู้คนมากขึ้น ของทิ้งก็ย่อมเพิ่มมากขึ้นเป็นธรรมดา การ เก็บขยะให้หมดจึงเป็นปัญหาส�ำคัญของเมืองใหญ่ๆ ต่างๆ หากเก็บขยะไปไม่หมด ขยะก็จะ สะสมหมักหมมอยู่ตามสถานที่ต่างๆ เป็นที่เพาะเชื้อโรค และแพร่เชื้อโรค ท�ำให้เกิดลักษณะ เสื่อมโทรมสกปรก นอกจากนี้ ขยะยังท�ำให้เกิดมลพิษทางน�้ำ เมื่อมีผู้ทิ้งขยะลงไปในน�้ำ การ เน่าเสียก็จะเกิดขึ้นในแหล่งนั้นๆ

การจราจรที่แออัดนอกจากเกิดปัญหามลพิษทางอากาศแล้วยังมีปัญหาในเรื่องเสียง ติดตามมาด้วย เพราะยวดยานที่ผ่านไปมาทำ�ให้เกิดเสียงดังและความสะเทือน เสียงที่ดังเกิน ไปจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ เสียงทีด่ งั เกินขอบเขตจะทำ�ให้เกิดอาการทางประสาท ซึง่ อาจ แสดงออกเป็นอาการเจ็บป่วยทางร่างกาย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ หรือทางอารมณ์ เช่น เกิดอาการหงุดหงิด ใจร้อนควบคุมอารมณ์ไม่ค่อยได้ นอกจากนี้เสียงที่ดังเกินไปอาจทำ�ให้ เกิดความเสื่อมกับอวัยวะในการรับเสียงอีกด้วย ผู้ที่ฟังเสียงดังเกินขอบเขตมากๆ จะมีลักษณะ หูเสื่อม ทำ�ให้การได้ยินเสื่อมลง ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำ�คัญอีกประการหนึ่งก็คือปัญหาสารมลพิษที่แปลกปลอมมา ใน สิ่งที่เราจะต้องใช้บริโภค อาหารที่เราบริโภคกันอยู่ในทุกวันนี้อาจมีสิ่งเป็นพิษแปลกปลอมปน มาได้ โดยความบังเอิญหรือโดยความจงใจ

60


วิธีปฏิบัติตนเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม

สิ่งแวดล้อมมีผลต่อสุขภาพของทุกคน ดังนั้น เราจึงควรช่วยกันดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งในวัยของนักเรียนสามารถปฏิบัติได้ ดังนี้ ๑. หมั่นทำ�ความสะอาดบ้านเรือนอยู่เสมอ และจัดบ้านและบริเวณบ้านให้ถูก สุขลักษณะ ๒. แยกขยะก่อนทิ้งลงในถังขยะที่มีฝาปิดมิดชิด และกำ�จัดขยะในบ้านทุกวัน ๓.ท�ำความสะอาดห้องเรียนและบริเวณโรงเรียน เช่น กวาดและถูห้องเรียนทุกวัน ท�ำความสะอาดห้องน�้ำหลังใช้เสร็จแล้ว เป็นต้น ๔. ลดหรือหลีกเลี่ยงการใช้วัสดุอุปกรณ์ ที่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม เช่น โฟม พลาสติก สเปรย์ เป็นต้น ๕. ใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด ๖. ลดหรือหลีกเลี่ยงการกระทำ�ที่อาจจะก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน

61


อิสลามได้ให้ความสำ�คัญกับการอนุรกั ษ์สงิ่ แวดล้อม พร้อมๆ กับการดูแลและรักษาความ สะอาด เนื่องจากสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่อำ�นวยความสะดวกให้แก่มนุษย์ เช่น ถนนหรือทางเดิน ซึ่งตามหลักการอิสลามการรักษาความสะอาดถนนหรือทางเดิน ตลอดจนการเก็บกวาดสิ่งที่ เป็นอันตรายต่อผู้สัญจรไปมา ถือเป็นสิ่งที่ส่งเสริม เพราะเป็นส่วนหนึ่งของความศรัทธา และผู้ ปฏิบัติก็จะได้รับผลบุญเป็นสิ่งตอบแทน ดังหะดีษของท่านนบีมุฮัมมัด  ได้กล่าวความว่า

“ความศรัทธานัน้ มีเจ็ดสิบกว่าระดับ ระดับสูงทีส่ ดุ คือการกล่าวปฏิญาณ ตนว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่แท้จริงนอกจากอัลลอฮ์  และระดับต�่ำสุดคือการ เก็บกวาดสิ่งที่เป็นอันตรายออกจากทางเดิน” (บันทึกโดยมุสลิม) “จงเก็บสิง่ ทีเ่ ป็นอันตรายออกจากทางเดินเถิด เพราะนัน่ คือ การให้ทาน อย่างหนึ่ง” (บันทึกโดยอะหมัด)

นอกจากจะส่งเสริมให้รักษาความสะอาดแล้ว อิสลามยังห้ามมิให้ทำ�ความสกปรกบน ถนนหรือทางเดินด้วยการขับถ่ายสิง่ ปฏิกลู อีกด้วย เพราะเป็นการทำ�ความเดือดร้อนแก่ผสู้ ญ ั จร ไปมา ดังหะดีษท่านนบีมุฮัมมัด  ได้กล่าวความว่า

“ท่านทั้งหลายพึงหลีกเลี่ยงจากการกระทำ�สองประการที่จะทำ�ให้ถูก

สาปแช่ง” พวกเขา (เศาะหาบะฮ)จึงถามว่า “โอ้ท่านเราะสูลุลลอฮ์ สอง ประการนัน้ คืออะไรเล่า” ท่านก็ตอบว่า “คือ ผูท้ ถี่ า่ ยอุจจาระ ปัสสาวะบริเวณ ทางเดินหรือใต้ร่มเงาอันเป็นที่พักของผู้คน” (บันทึกโดยอะบูดาวูด)

62


การจัดบ้านเรือนให้ถูกสุขลักษณะ

บ้านเป็นที่อยู่อาศัยและพักผ่อน การจัดบ้านให้ถูกสุขลักษณะจะทำ�ให้ผู้อยู่อาศัยมี สุขภาพที่ดี ซึ่งบ้านที่ถูกสุขลักษณะ มีดังนี้

๑. ภายในบ้านสะอาด เป็นระเบียบ มีอากาศถ่ายเทได้สะดวกและไม่อบั ชืน้

๒. บริเวณบ้านสะอาด ไม่เฉอะแฉะ มีแสงแดดส่องถึง

๓. ถ้ามีใต้ถุนบ้าน ใต้ถุนบ้านต้องสะอาด และไม่มีขยะ

๔. ถ้ามีสัตว์เลี้ยง ควรจัดสถานที่ที่เลี้ยงสัตว์ให้เป็นสัดส่วนเพื่อไม่ให้ส่งกลิ่น รบกวน คนในบ้าน

๕. ห้องนอน ต้องมีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่อับชื้น

๖. ห้องครัว มีที่ระบายอากาศและกลิ่นได้ดี มีถังขยะที่มีฝาปิดมิดชิดเพื่อ ป้องกันการรบกวนจากสัตว์ต่างๆ

๗.ห้องอาหาร ไม่ควรอยู่ห่างไกลจาก ห้องครัว และต้องสะอาด

๘. ห้องรับแขก ควรอยู่ด้านหน้าของตัวบ้าน ต้องสะอาด และมีอากาศถ่ายเท ได้สะดวก ๙. บริเวณบ้าน ต้องสะอาดเรียบร้อย ถ้าเป็นสนามหญ้าควรตัดหญ้าให้สั้นอยู่ เสมอ และต้องไม่มนี ำ�้ ท่วมขัง มีถงั ขยะทีม่ ฝี าปิดมิดชิด ตัง้ อยูห่ า่ งจากตัวบ้านพอสมควร เพื่อให้คนเก็บขยะมาเก็บได้ ๑๐. ห้องน�้ำและห้องส้วม ต้องดูแลให้ถูกสุขลักษณะสะอาด มีอากาศถ่ายเท ได้สะดวก ไม่ส่งกลิ่นรบกวน

63


นอกจากการท�ำความสะอาดบ้านเรือนแล้ว อิสลามได้ก�ำหนดให้มีการท�ำความสะอาด อวัยวะของร่างกายด้วยการท�ำวุฎูอฺ (การอาบน�้ำละหมาด) ทั้งในลักษณะวาญิบ (บังคับ และ สุนัต (ส่งเสริม) การขับถ่ายไม่วา่ จะเป็นการถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะ ก็เป็นการขับถ่ายสิง่ สกปรกออก จากร่างกาย ซึ่งทำ�ให้บริเวณอวัยวะที่มีการขับถ่ายทั้งทวารหนักหรือทวารเบาก็จะมีสิ่งสกปรก ติดค้างอยู่ จึงจำ�เป็นต้องมีการทำ�ความสะอาดชำ�ระล้างบริเวณดังกล่าว “ตามหะดีษของท่านอนัส ได้รายงานความว่า เมื่อครั้นท่านนบีต้องการ จะเข้าห้องน�้ำเพื่อปลดทุกข์ (เบาหรือหนัก) ฉันก็จะเป็นคนเอาน�้ำใส่ภาชนะไปให้ ท่านเองและท่านก็จะใช้น�้ำดังกล่าวในการช�ำระล้าง”( บันทึกโดย อะบูดาวูด) บ้านและทีอ่ ยูอ่ าศัย อันเป็นปัจจัยพืน้ ฐานทีม่ นุษย์จะขาดไม่ได้ในการดำ�รงชีวติ และการ ดูแลและรักษาความสะอาดบ้านก็เป็นสิ่งสำ�คัญเช่นกัน ดังที่ท่านนบีมุฮัมมัด� ได้กล่าว ความ ว่า “ดังนัน้ พวกท่านทัง้ หลายจงทำ�ความสะอาดบ้านของพวกท่าน และจงอย่า ปฏิบัติเฉกเช่นชาวยิว (ซึ่งพวกเขาจะเก็บขยะไว้ในบ้านของพวกเขา)” (บันทึก โดย อัตติรมิษีย์) มัสยิดเป็นศาสนสถานสำ�หรับมุสลิมในการใช้เป็นสถานทีล่ ะหมาด และประกอบศาสน กิจ อื่นๆ ดังนั้นการดูแลรักษาความสะอาดมัสยิดทั้งภายในและภายนอกจึงเป็นสิ่งสำ�คัญ โดย เฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่ใช้ในการละหมาดจะต้องสะอาดปราศจากนะญิส (สิ่งสกปรก) ซึ่งถือ เป็นเงื่อนไขหนึ่งที่จะทำ�ให้การละหมาดนั้นถูกตอบรับ ดังหะดีษบทหนึง่ ทีม่ ชี าวบะดะวีย์ (ชาวอาหรับทีอ่ าศัยอยูใ่ นทะเลทรายซึง่ ส่วน ใหญ่มอี าชีพเลีย้ งอูฐ แพะและแกะ) คนหนึง่ ได้ปสั สาวะในมัสยิดนะบะวี หะดีษดังกล่าว มีความว่า รายงานจากท่านอนัส บุตร มาลิก กล่าวว่า “มีชาวบะดะวีย์คนหนึ่งได้ ปัสสาวะในมัสยิด ท�ำให้คนที่พบเห็นต่างก็ลุกขึ้นไปเพื่อไล่เขาออกจากมัสยิด แต่ท่าน เราะสูลุลลอฮ์  กล่าวว่า ท่านทั้งหลายอย่าเคลื่อนย้ายเขา(ให้เขาปัสสาวะให้เสร็จ ก่อน) หลังจากนั้นพวกท่านจงไปเอาน�้ำมาช�ำระล้างบริเวณดังกล่าวด้วย” (บันทึกโดย อัลบุคอรีย์) 64


อารมณ์กับสุขภาพ อารมณ์คือ ความรู้สึกที่เกิดจากการได้รับการกระทบจากสิ่งเร้า อารมณ์มีได้ทั้งทาง บวกและทางลบ เป็นได้ทั้งความพึงพอใจและความรู้สึกไม่สมปรารถนา พฤติกรรมของมนุษย์ เราจำ�นวนมากอยูภ่ ายใต้การควบคุมของอารมณ์ อารมณ์จงึ มีความสำ�คัญและเป็นเรือ่ งทีเ่ ราจะ ต้องเรียนรู้และเข้าใจ อิสลามได้สอนไว้วา่ หากเราพบหรือได้ในสิง่ ทีเ่ ราพอใจก็ขอให้เราขอบคุณอัลลอฮ์ (ชุกรู ต่ออัลลอฮ์) แต่หากเราพบกับสิ่งที่เราไม่ชอบ ไม่พอใจก็ขอให้เราอดทน (เศาะบัร) อารมณ์มีผลต่อสุขภาพโดยตรง อารมณ์ที่ผ่องใสช่วยป้องกันและรักษาโรคได้ อารมณ์ ที่หม่นหมองย่อมก่อให้เกิดโรคร้ายต่างๆ ได้ หลายคนที่ความเครียดมีผลทำ�ให้สภาพร่างกาย และจิตใจเสื่อมโทรม นอนไม่หลับ ประสิทธิภาพในการทำ�งานลดลงสัมพันธ์ภาพกับ ผู้อื่นและ บุคคลในครอบครัวไม่ดีดังนั้นเราจึงต้องหมั่นดูแลและตรวจสอบสภาพอารมณ์ของเราอยู่เสมอ เพราะร่างกายกับจิตเป็นสิง่ ทีแ่ ยกกันไม่ได้เมือ่ จิตใจหรืออารมณ์ของเราอ่อนแอก็จะส่งผลทำ�ให้ ร่างรายเราเกิดปัญหาด้วยเช่นกัน

ผลของอารมณ์ด้านบวก

การมีอารมณ์อาจช่วยลดความเครียด ความเจ็บป่วย และโรคร้ายต่างๆ อารมณ์ดนี นั้ มาจากลักษณะมุมมองทีห่ ลาก หลายทีส่ ามารถส่งผลต่อสุขภาพทีด่ ี เช่น บางคนมีความสุขจาก การที่ได้ออกกำ�ลังกายเป็นประจำ� และมีความสุขในช่วงก่อน นอน มุมมองดีๆ สามารถต่อสูก้ บั ความเครียด และหลากหลาย โรค การมีอารมณ์ดีมากๆ นั้นช่วยลดระดับของสารเคมีภายใน 65


ร่างกายที่ก่อให้เกิดความเครียดหากอารมณ์ดีส่งผลต่อสุขภาพที่ดี มันก็อาจส่งผลต่ออายุที่ยิ่ง ยืนยาวขึ้นได้

ผลของอารมณ์ด้านลบ

๑. ทางกาย อาทิ ปวดศีรษะ ปวดศีรษะข้างเดียว หัวใจเต้นแรงและเร็ว มือเท้าเย็น ท้อง อืด คลืน่ ไส้หรือปัน่ ป่วนในท้อง ความดันโลหิตสูง หอบหืด โรคหัวใจ ๒. ทางอารมณ์ อาทิ หงุดหงิด โกรธง่าย วิตกกังวล ซึมเศร้า ๓. ทางด้านความคิด อาทิ หดหู่ ไม่มีสมาธิ ตัดสินใจลำ�บาก หลงลืมง่าย มีความคิดทางลบมากกว่าทางบวก เห็นตัวเองไม่มี คุณค่า สิ้นหวัง ๔. ทางพฤติกรรม อาทิ รับประทานไม่ได้ ก้าวร้าว นอนไม่ หลับ อิสลามส่งเสริมให้มุสลิมมีอารมณ์ที่ร่าเริงเบิกบานและมีจิตแจ่มใส ท่านนบีมุฮัมมัด  ได้กล่าวถึงความสำ�คัญของหัวใจหรือจิตใจ และอิทธิพลของมันต่ออวัยวะส่วนอื่นๆ ในหะดีษ บทหนึ่งความว่า “และแท้จริงแล้วในร่างกายนั้นจะมีก้อนเนื้ออยู่ก้อนหนึ่ง เมื่อใดที่มันดีส่วนอื่นๆ ของร่างกายทั้งหมดก็จะดีไปด้วย แต่เมื่อใดที่มันชั่วส่วนอื่นๆของร่างกายทั้งหมดก็จะชั่ว ตามไปด้วย พึงทราบเถิดว่าก้อนเนือ้ นัน้ ก็คอื หัวใจนัน่ เอ” (บันทึกโดย อัลบุคอรียแ์ ละมุสลิม)

ดังนั้นการขัดเกลาหรือชำ�ระจิตใจให้สะอาดหรือการทำ�ให้จิตใจปราศจากบาป มลทิน และความผิดต่างๆ นัน้ จึงเป็นสิง่ สำ�คัญอย่างยิง่ อิสลามจึงได้มหี ลักคำ�สอนให้ขจัดลักษณะนิสยั ที่ไม่ดีทั้งหลายเช่น ความอิจฉาริษยา ความโกรธแค้น การมองคนในแง่ร้าย และอื่นๆ ออกไป จากจิตใจให้หมด ดังหะดีษต่อไปนี้ “ท่านทั้งหลายจงห่างไกลความอิจฉาริษยา เพราะแท้จริงความอิจฉาริษยานั้นมันจะ เผาไหม้ความดีทั้งหลาย เฉกเช่นไฟที่เผาไหม้ฟืน” (บันทึกโดย อะบูดาวูด) “ท่านทั้งหลายอย่าได้โกรธแค้นกันเลย อย่าได้อิจฉาริษยาซึ่งกันและกัน และอย่าได้ ทะเลาะเบาะแว้งกัน และจงเป็นบ่าวที่ดีของอัลลอฮ์  ฉันท์พี่น้อง” (บันทึกโดย อัลบุคอรีย์) “ท่านทั้งหลายจงห่างไกลจากการมองคนอื่นในแง่ร้าย เพราะแท้จริงการมองคนในแง่ ร้ายนั้น เป็นคำ�พูดที่หลอกลวงที่สุด” (บันทึกโดย อัลบุคอรีย์) 66


อาหารและผลิตภัณฑ์หะลาล

อาหารหะลาล หมายถึง อาหารหรือผลิตภัณฑ์อาหารซึ่งอัลลอฮ์ได้อนุมัติให้มุสลิม

ผลิตภัณฑ์สุขภาพ หมายถึง อาหาร ยา วัตถุเสพติด เครื่องสำ�อาง เครื่องมือแพทย์

บริโภคหรือใช้ประโยชน์ได้

หลักในการเลือกซื้ออาหารสด

67


หลักในการเลือกซื้ออาหารแห้ง ๑. เลือกอาหารที่สะอาด ไม่มีสิ่งสกปรกปน ๒. ภาชนะบรรจุสะอาด ๓. การเลือกซื้อถั่วลิสง ต้ อ ง ไ ม่ มี จุ ด ด่ า ง ดำ � เพราะอาจมีสารที่เรียก ว่าอะฟลาท็อกซิน

68


หลักในการเลือกอาหารกระป๋อง ๑. ที่ ฉ ลากต้ อ งมี ชื่ อ ทางการค้ า เลข ทะเบียนอาหาร สถานที่ผลิต วันเดือนปีที่ ผลิตและวันหมดอายุ น�้ำหนัก บอกวัตถุ เจือปนในอาหาร เช่น วัตถุกันเสีย ๒. ลักษณะกระป๋องต้องไม่บุบหรือนูน กระป๋องเรียบ ไม่มีกลิ่น ไม่รั่ว หมายเหตุ อาหารทุกชนิดต้องเป็นอาหาร ที่หะลาล

69


ฉลากอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพ

ฉลากอาหารบอกให้ทราบว่าเป็นอาหารชนิดใด ชือ่ ทางการค้าอะไร

ถ้าอาหารชนิดได้ผ่านการพิจารณากลั่นกรองจาก หน่วยงานของรัฐในเรื่องคุณภาพมาตรฐานความ ปลอดภัย จะมีเครื่องหมาย อย. และเครื่องหมาย หะลาล

วัน เดือน ปี ที่ผลิต หรือหมดอายุมีข้อความ “ใช้ วั ต ถุ กั น เสี ย ” “เจื อ สี สั ง เคราะห์ ” “แต่ ง กลิ่ น ธรรมชาติ” หรือ “ใช้วัตถุปรุงแต่งรสอาหาร” หาก มีการใช้ 70


ระบุสารอาหารทีเ่ ป็นส่วนประกอบสำ�คัญ คำ� แนะนำ�การเก็บรักษา วิธปี รุงเพือ่ รับประทาน หรือวิธีใช้

มีการระบุชื่อผู้ผลิต และที่อยู่ ขนาดบรรจุในระบบเมตริก

ผลิตภัณฑ์อาหารบางอย่าง จะต้องมี คำ�เตือนระบุไว้ ด้วย เช่น ผลิตภัณฑ์รอยัล แยลลี่ ต้ อ งมี คำ � เตื อ นว่ า "ผู้ที่เป็นโรคหอบหืด โรค ภูมิแพ้ไม่ควรรับประทาน เพราะอาจเกิดอาการแพ้อย่างรุนแรง"

หลักการอาหารหะลาล มีดังนี้

๑. หะลาลด้วยตัวของมันเอง ลักษณะหะลาล ณ ที่นี้ หมายถึง ต้องไม่เป็นนะญิส (สิ่งสกปรก) ไม่เป็นสัตว์ที่มีเขี้ยว งา และกรงเล็บที่แข็งแรง และใช้อวัยวะดังกล่าวนั้นในการหา อาหาร เช่น สิงโต เสือ หมี ช้าง และสัตว์อื่น ๆที่มีลักษณะคล้ายกันนี้รวมถึงนกทุกชนิดที่มีกรง เล็บ เช่น แร้ง เหยีย่ ว เป็นต้น ไม่เป็นสัตว์ทไี่ ม่อนุญาตให้ฆา่ ตามหลักการศาสนาอิสลาม เช่น มด และนกหัวขวาน ไม่เป็นสัตว์ทพี่ จิ ารณาโดยทัว่ ไปแล้วว่าเป็นสัตว์ทนี่ า่ รังเกียจ เช่น เหา แมลงวัน 71


หนอน ค้างคาว และสัตว์อื่นๆ ที่มีลักษณะคล้ายกัน ไม่เป็นสัตว์เลื้อยคลานหรือมีพิษร้าย เช่น กิ้งก่า งู และและสัตว์อื่นๆ ที่มีลักษณะคล้ายกัน และต้องไม่เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน�้ำ อัลลอฮ์​์  ได้ตรัสในสูเราะฮอัลบะเกาะเราะฮ อายะฮที่ ๑๓๗ ความว่ า “แท้ จ ริ ง พระองค์ ท รงห้ า มรั บ ประทานซากสั ต ว์ เลื อ ด เนื้อสุกร และสัตว์ที่เชือดเพื่อสิ่งอื่นนอกเหนือจากอัลลอฮ์” ท่านนบี  ได้กล่าวความว่า ความว่า “ท่านเราะสูล  ได้ห้ามรับประทานสัตว์ที่มีเขี้ยวและนกที่มี กรงเล็บ”(บันทึกโดยมุสลิม )

๒. วิธีการได้มาอาหารดังกล่าวก็ต้องหะลาล ท่านนบี  ได้กล่าวความว่า “แท้จริงอัลลอฮ์  ทรงโปรดสิ่งที่ดี ดังนั้นพระองค์จะไม่ทรงตอบรับ เว้นแต่สิ่งที่ดีเท่านั้น” (บันทึกโดยมุสลิม)

๓. ต้องเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ อัลลอฮ์  ได้ตรัสความว่า “และจงบริโภคจากสิ่งที่อัลลอฮ์  ได้ทรงให้เครื่องยังชีพแก่สู่เจ้าซึ่ง สิ่งที่อนุมัติและที่ดีมีประโยชน์และจงยำ�เกรงต่ออัลลอฮ์ ผู้ซึ่งพวกเจ้า ศรัทธาในพระองค์”

๔. ต้องมีความสะอาด ไม่มสี งิ่ เจือปนจากนะญิส อิสลามถือว่าอาหารทีห่ ะลาลจะต้อง เป็นอาหารที่อัลลอฮ์อนุมัติ สามารถบริโภคได้ และต้องไม่ปนเปื้อนสิ่งที่เป็นนะญิส หรือสิ่ง สกปรกใดๆ อิสลามได้ก�ำหนดน�้ำที่จะต้องช�ำระล้างวัตถุดิบที่จะเอาไปประกอบเป็นอาหารจะ ต้องเป็นนำ�้ สะอาด และเป็นนำ�้ ทีอ่ นุญาตให้ใช้ได้ ตลอดจนได้ก�ำหนดกฎเกณฑ์ วิธกี ารช�ำระล้าง ที่ละเอียดเพื่อให้ได้อาหารที่สะอาด 72


๕. ต้องผ่านกระบวนการเชือดที่ถูกต้องตามหลักการ สัตว์บกและสัตว์ปีกทุกชนิดที่ ได้รับการอนุมัติให้บริโภคได้นั้น จะต้องผ่านกระบวนการเชือดที่ถูกต้องตามหลักการอิสลาม ก่อนจะนำ�มาประกอบเป็นผลิตภัณฑ์อาหารหะลาล ดังนั้นสัตว์บกหรือสัตว์ปีกที่ตายเอง เป็น โรคตาย ถูกรถชนตาย ถูกตีตาย ตกเขาหรือจากที่สูงตาย ฯลฯ รวมถึงที่ถูกเชือดโดยผู้อื่นที่มิใช่ มุสลิมหรือมิได้กล่าวด้วยพระนามของอัลลอฮ์ถอื ว่าเป็นซากสัตว์ ซึง่ อิสลามถือว่าหะรอม นำ�มา บริโภคไม่ได้ ๖. อุปกรณ์ ภาชนะที่บรรจุอาหารและสถานที่ในการผลิตต้องสะอาด อิสลามยังได้ กำ�หนดถึงสถานที่ และภาชนะ อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการ ผลิตอาหารต้องสะอาดด้วย ท่านนบี  ได้กล่าวว่า “ถ้าหากสุนัขเลียภาชนะของพวกท่าน ก็จงล้างด้วยน�้ำเจ็ดครั้ง โดยครั้ง แรกให้ล้างด้วยน�้ำที่มีส่วนผสมดินอยู่ด้วย” (บันทึกโดย อันนะสาอีย์) ๗. ผูป้ ระกอบอาหารควรเป็นมุสลิมหรือผูท้ มี่ คี วามเข้าใจในหลักการอิสลาม ท่านนบี  ได้กล่าว ความว่า “ท่านอบีษะอฺละบะฮฺ ถามท่านนบี  ว่า โอ้ทา่ นเราะสูล ภาชนะ ของผู้ที่ตั้งภาคีต่ออัลลอฮ์ เราสามารถนำ�มาใช้ในการทำ�อาหารได้หรือไม่ ท่านจึงตอบว่า ท่านจงอย่านำ�มาใช้ในการทำ�อาหาร เขากล่าวว่า ถ้าหาก เรามีความจำ�เป็นและเราก็ไม่มภี าชนะอืน่ อีกแล้ว ท่านจึงตอบว่า ท่านจง นำ�ภาชนะดังกล่าวมาชำ�ระล้างให้สะอาด หลังจากนั้นก็จงใช้ในการทำ� อาหารและรับประทานอาหารได้”

๘. ต้องคำ�นึงถึงความประหยัดหรือความพอดี อัลลอฮ์  ได้ตรัสในอัลกุรอาน “บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย จงบริโภคสิ่งที่เราได้ให้เป็นปัจจัยยังชีพแก่พวก เจ้า จากสิ่งดีๆ ทั้งหลาย และจงขอบคุณอัลลอฮ์เถิด พระองค์เท่านั้น ที่พวก เจ้าจะต้องเคารพสักการะ”(สูเราะฮอัลบะเกาะเราะฮ อายะฮที่ ๑๗๒) 73


หน่วยการเรียนรู้ที่

ความปลอดภัยในชีวิต

ตัวชี้วัด มาตรฐาน พ ๕.๑ ๑. อธิบายความสำ�คัญของการใช้ยาและใช้ยาอย่างถูกวิธี ๒. แสดงวิธีปฐมพยาบาลเมื่อได้รับอันตรายจากการใช้ยาผิด สารเคมี แมลง สัตว์กัดต่อย และการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา ๓. วิเคราะห์ผลเสียของการสูบบุหรี่ และการดื่มสุรา ที่มีต่อสุขภาพและการ ป้องกัน

74


อาหารและผลิตภัณฑ์หะลาล ความเจ็บป่วยเป็นการทดสอบอย่างหนึง่ จากอัลลอฮ์  เป็นการทดสอบถึงความอดทน ในการบำ�บัดรักษา ทดสอบถึงระดับความศรัทธาที่มีอยู่ ผู้ป่วยที่เข้าใจและมีความศรัทธาจะมี กำ�ลังใจที่จะต่อสู้กับความเจ็บป่วยที่ประสบอยู่ เขาจะวิงวอนขอพรจากพระองค์ ให้หายจาก โรค ถ้าหากผู้ป่วยไม่มีความเชื่อหรือไม่เข้าใจเรื่องนี้ จิตวิญญาณเขาจะอ่อนแอ ท้อแท้ ไม่มีพลัง ต่อสู้ เกิดความเครียด ส่งผลต่อโรคทางกายที่มีอยู่ หรือมีโรคใหม่แทรกซ้อนขึ้นมาได้ พระองค์อัลลอฮ์  ได้ตรัสไว้ในอัลกุรอานสูเราะฮอัลบะเกาะเราะฮ อายะฮที่ ๑๕๕ มี ความว่า “และแน่นอน เราจะทดสอบพวกเจ้า ด้วยสิ่งใดสิ่งหนึ่งจากความกลัว และความหิว และด้วยความสูญเสีย (อย่างใดอย่างหนึ่ง) จากทรัพย์ สมบัติ ชีวิตและพืชผล และเจ้าจงแจ้งข่าวดีแก่บรรดาผู้อดทนเถิด" เมื่อมุสลิมประสบปัญหา ความเจ็บป่วย เขาจึงต้องยอมรับ และปฏิบัติตามสิ่งที่อิสลาม บัญญัติไว้ ในเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยและความเจ็บป่วย

ท่านนบีมุฮัมมัด  กล่าวไว้ว่า “สูเจ้าจงทำ�การรักษาเถิด แท้จริงพระองค์อัลลอฮ์จะไม่ทรงนำ�โรคลงมา เว้นแต่พระองค์จะนำ�ยา เพื่อการบำ�บัดลงมาด้วย ยกเว้นโรคเดียวที่ไม่มี ยารักษา คือโรคชรา”

ส่วนผลการบำ�บัดว่าจะหายหรือไม่หาย หรือจะเรื้อรัง ขึ้นอยู่กับพระประสงค์ของ พระองค์เท่านัน้ ดังพระดำ�รัสของพระองค์อลั ลอฮ์  ในอัลกุรอานสูเราะฮอัชชุอะรออ์ อายะฮ ที่ ๘๐ ความว่า “และเมื่อฉันป่วย ดังนั้นพระองค์ทรงให้ฉันหายป่วย” 75


ดังนั้น การบำ�บัดรักษา เป็นหน้าที่และสิ่งจำ�เป็นสำ�หรับมนุษย์ที่เจ็บป่วย โดยวิธีการ รักษานั้น ต้องไม่ขัดกับหลักการศาสนา เช่น การตั้งภาคี การใช้สุราหรือยาดองเหล้า เป็นต้น การใช้ยาในการรักษาโรค “ยา” หมายถึง สารหรือสารเคมีทมี่ ฤี ทธิต์ อ่ สิง่ มีชวี ติ และไม่ใช่อาหาร ใช้ในการป้องกัน รักษา หรือบำ�บัดโรคต่างๆ ในคนและสัตว์ เพื่อให้พ้นจากการทรมาน หรือความเจ็บปวดจาก โรคภัยต่างๆ ยามีความสำ�คัญในการดำ�รงชีวิตของมนุษย์ ช่วยในการรักษาโรคให้หายขาด เช่น การ ใช้ยาปฏิชีวนะสำ�หรับรักษาโรคติดเชื้อ และใช้ประโยชน์ในการควบคุมโรคหรือบรรเทาอาการ เช่น การใช้ยาในโรคความดันโลหิตสูงหรือหอบหืด ซึ่งเป็นการควบคุมอาการโดยไม่ได้ทำ�ให้ หายขาด นอกจากนี้ยังช่วยในการป้องกันโรค เช่น การใช้ยาป้องกันการติดเชื้อมาลาเรีย ยาที่ จำ�หน่ายใน ท้องตลาดมีด้วยกันหลายประเภท ดังนี้

76


ตามพระราชบัญญัติ เช่น ยาแก้ท้องเสีย ยาแก้แพ้ ยาถ่ายพยาธิ ยาบรรเทาหวัด

เท่านัน้ เช่น ยาหยอดตา ยาหยอดหู ยาป้ายปาก ยาสวนทวาร ยาเหน็บ 77


วิธีเก็บรักษายา

เพือ่ ให้ยายังคงมีประสิทธิภาพในการรักษาเราต้องเก็บรักษายาไว้อย่างดี ซึง่ มีวธิ กี ารเก็บ รักษา ดังนี้ ๑. จะต้องเก็บยาไม่ให้โดนแสงแดดและความชื้น ยกเว้นยาที่ระบุว่าต้องเก็บในตู้เย็น และควรเก็บยาในอุณหภูมิห้อง (๑๕ - ๓๐ องศาเซลเซียส) ห้ามทิ้งยาไว้ในรถยนต์ เพราะเมื่อ จอดกลางแดด แม้เพียงไม่นานอุณหภูมิในรถจะร้อนมาก ทำ�ให้ยาเสื่อมได้ง่าย และควรเก็บใน ที่ที่เด็กหยิบยาเองไม่ได้

78


๒. ยาบางอย่างต้องเก็บในขวดสีชา หรือซองสีชา เนื่องจากยาบางชนิดเสื่อม สภาพได้ง่ายเมื่อโดนแสงสว่าง ๓. ควรเก็บยาให้พ้นมือเด็ก ๔. กรณียาที่ระบุว่าให้เก็บยาไว้ใน ตู้เย็น ห้ามแช่แข็ง ไม่ควรเก็บที่ชั้นใกล้ช่อง แช่แข็ง เพราะ มีความเย็นจัดจนท�ำให้เป็น น�้ำแข็งได้ หรือเก็บที่ประตูตู้เย็น เพราะ อุณหภูมิอาจไม่เย็นพอ จากการเปิด ปิด ประตูตู้เย็น บ่อยๆ ๕. ยาที่ต้อง ระมัดระวังเรื่องความชื้นควรใส่สารกันชื้น ไว้ตลอดเวลา และ ปิดภาชนะ บรรจุให้แน่น ๖. ควรเก็บยาไว้ในภาชนะบรรจุเดิมซึง่ มี สลากระบุชอื่ ยาและ วันทีไ่ ด้รบั ยานัน้ จะทำ�ให้ สามารถพิจารณาระยะเวลาที่ควรเก็บยาที่เหลือนั้นได้

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น การปฐมพยาบาล หมายถึง การช่วยเหลือผู้ป่วยทันทีทันได้ที่ได้รับอุบัติเหตุ หรือการ เจ็บป่วยซึ่งอาจจะอันตรายจนถึงแก่ชีวิตได้ โดยใช้เครื่องมือเท่าที่พอหาได้ในขณะนั้น เพื่อให้ ผู้ป่วยมีอันตรายน้อยลง ก่อนส่งผู้ป่วยไปยังแพทย์รักษา หรือส่งโรงพยาบาล

การปฐมพยาบาลเมื่อใช้ยาผิดหรือได้รับสารเคมี

ผู้ป่วยที่ได้รับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายอาจมีอาการ ดังนี้ เช่น ท้องเดิน อาเจียน ปวดท้อง ชัก ซึม คอและหลังแข็ง เดินเซ หรืออาจหมดสติ มีการผิวหนังไหม้ การปฐมพยาบาล ๑. หากผู้บาดเจ็บหมดสติ ให้ปฏิบัติตามขั้นตอนการปฐมพยาบาล ส�ำหรับผู้บาดเจ็บที่ มีอาการหมดสติ แล้วจัดให้อยู่ในท่าพักฟื้น ต้องระวังสารพิษที่เปื้อนอยู่ที่ปากผู้ป่วยด้วย ถ้ามี ให้ล้างออกด้วยน�้ำ ระวังอย่าให้น�้ำเข้าปากหรือจมูกของผู้ป่วย ๒. หากผู้ป่วยยังมีสติ และได้รับสารพิษโดยการกลืน และคุณแน่ใจว่าสารพิษนั้นไม่มี 79


ฤทธิก์ ดั กร่อน พยายามท�ำให้ผบู้ าดเจ็บอาเจียนโดยเร็ว โดยใช้นิ้วกวาดล�ำคอผู้ป่วย หรือให้ดื่มน�้ำเกลือที่เค็ม มาก หรือน�้ำสบู่อุ่นๆ ตีให้เป็นฟอง ๓. หากสารพิษนั้นมีฤทธิ์กัดกร่อน หรือไม่ แน่ใจ อย่าทำ�ให้อาเจียน เพราะสารพิษจะย้อนขึน้ มา ทำ�ลายเนื้อเยื้อทางเดินอาหารส่วนบนได้อีก แต่อาจ ให้ดื่มนมเพื่อเคลือบกระเพาะไว้แทน ๔. นำ�ผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลเร็วที่สุด ถ้ามีภาชนะที่ใส่สารพิษให้นำ�ติดไปด้วย

การปฐมพยาบาลเมื่อสัตว์มีพิษต่อยหรือกัด

สัตว์มีพิษที่กัดต่อยนั้นมีหลายชนิด ตั้งแต่สัตว์เล็กไปจนถึงสัตว์ใหญ่ และมีพิษแตกต่าง กันออกไป เช่น แมงป่อง ผึ้ง แมงมุม งู สุนัข ฯลฯ ซึ่งถ้าหากถูกสัตว์มีพิษเหล่านี้กัดต่อยแล้ว อาจถึงแก่ชีวิตได้

การปฐมพยาบาลแผลถูกงูกัด ปฏิบัติได้ดังนี้ ๑. รัดบริเวณเหนือแผลให้แน่นด้วยสาย ยาง เชือก หรือผ้าก็ได้ โดยรัดระหว่างแผลกับ หัวใจ ๒. พยายามอย่าให้ผู้ป่วยหลับ ๓. ห้ามใช้ยากระตุ้นหัวใจเป็นอันขาด เพราะจะทำ�ให้พิษเข้าสู่หัวใจเร็วขึ้น ๔. รีบนำ�ผู้ป่วยส่งแพทย์ทันที และถ้า สามารถบอกชนิดของงูที่กัดได้ก็จะยิ่งดี เพื่อ สะดวกในการฉีดเซรุ่มแก้พิษงู การปฐมพยาบาลแผลถูกแมงป่องต่อย ตะขาบหรือแมงมุมกัด ๑. ถ้าถูกกัดหรือต่อยบริเวณข้อมือหรือนิ้วเท้า ให้ใช้ผ้าหรือสายยางรัดตรงโคนนิ้ว ถ้า เป็นแขนหรือขาให้รัดเหนือแผลประมาณ ๕ นาที จึงคลายออก ๒. ดูดเอาพิษออก หรืออาจใช้เหล็กเผาไฟจีใ้ ส่แผล หรืออาจผ่าแผลให้กว้าง แล้วใช้เกล็ด ด่างทับทิมใส่เข้าไป 80


๓. ใช้น�้ำแข็งวางบริเวณที่ถูกกัดหรือต่อย ประมาณ ๒ ชั่วโมง แขนหรือขาข้างที่ถูกกัด หรือต่อย ควรจะวางต�่ำกว่าส่วนอื่นของร่างกาย ๔. บริเวณที่ถูกกัดให้ล้างด้วยด่างทับทิม ๕. ถ้ามีเหล็กในติดอยู่ให้คีบออกแล้วทาด้วยแอมโมเนีย โซดาไบคาร์บอเนต น�้ำเกลือ หรือน�้ำปูนใส

การปฐมพยาบาลจากผึ้ง แตน ต่อ และแมลงกัดต่อย ๑. ให้รีบเอาเหล็กในออกจากแผลทันที โดยใช้ลกู กุญแจชนิดทีม่ รี ตู รงปลายกดลงทีต่ รงแผล นั้น เหล็กในจะโผล่ออกมาซึ่งสามารถคีบออกได้ ๒. ใช้ส�ำลีชุบแอมโมเนียทาบริเวณแผล หรืออาจใช้น�้ำยาที่เป็นด่างอ่อนๆ เช่น โซดาไบ คาร์บอเนต หรือน�้ำปูนใสก็ได้ ๓. ใช้นำ�้ แข็งประคบบริเวณแผล เพือ่ ระงับ อาการปวดและช่วยลดการซึมซับของพิษ ๔. ถ้าหากถูกต่อยบริเวณหน้า คอ แล้วมี อาการบวมหายใจไม่ออก ให้รบี นำ�ส่ง โรงพยาบาล เพื่อรับการรักษาโดยด่วน

การปฐมพยาบาลเมื่อเกิดการเจ็บจากการเล่นกีฬา การเล่นกีฬาหรือออกกำ�ลังกาย เป็นสิ่ง จำ�เป็นในชีวิตประจำ�วันเพราะจะช่วยให้ร่างกาย แข็งแรงสมบูรณ์และมี สุขภาพดีขนึ้ ได้ แต่ถา้ มีการ ปฏิบตั ทิ ไี่ ม่ถกู ต้อง ก็อาจเกิดการบาดเจ็บและอาจ เป็นอันตรายถึงชีวิตได้เช่นกัน ดังนั้น การปฏิบัติ ที่ถูกต้องต่อการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นจากการเล่น กีฬาหรือออก กำ�ลังกาย จะช่วยให้การบาดเจ็บ หายเร็วขึ้นและสามารถกลับไปเล่นกีฬานั้นๆ ได้ อีกด้วยความปลอดภัย

81


การปฐมพยาบาลเมื่อเกิดบาดเจ็บที่ผิวหนัง ผิวหนังถลอก การปฐมพยาบาลโดยถูสบูแ่ ละล้างออกด้วยนำ�้ สะอาด ทายาใส่แผลสด พยายามให้แผลแห้งไว้โดยไม่จ�ำเป็นต้องปิดแผล หากไม่มกี ารติดเชือ้ แผลจะตกสะเก็ดและหลุด ออกเองตามธรรมชาติ ภายใน ๗ – ๘ วัน แผลบาด การปฐมพยาบาลโดยการ ห้ามเลือด ถ้าบาดแผลไม่ยาวมาก อาจใช้นวิ้ มือ ทีส่ ะอาดกดบาดแผลก็ได้ แล้วทำ�ความสะอาด ทายาใส่แผลสด แต่ถ้าบาดแผลลึกและยาว ต้องทำ�การห้ามเลือดและนำ�ส่งแพทย์เพื่อการ รักษาที่ถูกต้องต่อไป ผิวหนังพอง การปฐมพยาบาลโดย ท�ำความสะอาดด้วยน�ำ้ สบู่ เช็ดด้วยแอลกอฮอล์ ใช้เข็มที่สะอาดปราศจากเชื้อโรคเจาะเอาน�้ำออกโดยไม่จ�ำเป็นต้องลอกหนังส่วน ที่พองออก ทายารักษาแผลสดแล้วปิดพลาสเตอร์ หมั่นรักษาความสะอาดและให้บริเวณนั้นแห้งอยู่เสมอ หลีกเลี่ยงการเสียดสีซ�้ำจนกว่าแผลจะหาย ซึ่งกินเวลาประมาณ ๗ - ๑๐ วัน ผิวไหม้จากแสงแดด การปฐมพยาบาลโดย ทายารักษาผิวไหม้จากความร้อน ถ้ามีอาการปวดควร รับประทานยาแก้ปวดหรือถ้าปวดมากๆควรรีบปรึกษา แพทย์ ฟกช�้ำ การปฐมพยาบาลโดยการ ประคบเย็น โดยทันทีพร้อมกับกดเบาๆ ตรงบริเวณฟกช�้ำ ความเย็น จะท�ำให้หลอดเลือดหดตัว ท�ำให้เลือดหยุดและบรรเทา ความเจ็บปวดได้ อาการฟกชำ�้ นีจ้ ะหายเร็วหรือช้าขึน้ อยู่ กับปริมาณของเลือดที่ออกในชั้นใต้ผิวหนัง หลังจาก ๒๔ - ๔๘ ชั่วโมงไปแล้ว จึงใช้ความร้อน ประคบจะช่วยให้ก้อนเลือดสลายตัวได้เร็วขึ้น แผลถูกแทง การปฐมพยาบาลท�ำโดยการห้ามเลือด ท�ำความสะอาดบาดแผลและน�ำ ส่งแพทย์เพื่อการรักษาที่ถูกต้องต่อไป

82


การปฐมพยาบาลเมื่อเกิดการบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อ และเอ็นกล้ามเนื้อ ตะคริว การปฐมพยาบาลโดยการให้หยุดออกกำ�ลัง กายในทันที ให้คอ่ ยๆ เหยียดกล้ามเนือ้ ทีเ่ ป็นตะคริวอย่างช้าๆ นุ่มนวล ใช้ความร้อนประคบเพื่อกระตุ้นให้เลือดไหลเวียนไป ยังบริเวณนั้นมากขึ้น กล้ามเนื้อบวม การปฐมพยาบาลโดยการหยุดฝึก ซ้อมทันที แล้วใช้ความเย็นประคบเพือ่ ลดอาการปวด พันด้วย ผ้ายืด และเวลาพักผ่อนให้ยกกล้ามเนื้อที่บวมอยู่สูงกว่าระดับหัวใจ ข้ อ แพลง การ ปฐมพยาบาลข้อ ให้ข้อต่อ ที่ บาดเจ็บอยู่นิ่งๆ และ หนุ น ให้ สู ง ใช้ ค วามเย็ น หรือนำ�้ แข็งประคบ ครัง้ ละ ๒๐–๓๐ นาที วันละ ๒–๓ ครัง้ ใช้ผา้ ยืด (Elastic Bandage) พันรอบข้อเพือ่ จ�ำกัดการเคลือ่ นไหว ถ้ามีการบาดเจ็บรุนแรง ให้น�ำส่งแพทย์เพือ่ ท�ำการรักษา ยกข้อทีบ่ าดเจ็บให้สงู กว่าระดับหัวใจ โดยเฉพาะเวลานอน หลัง ๒๔ - ๔๘ ชั่วโมงไปแล้ว ให้ใช้ความร้อนประคบ กระดูกหัก การปฐมพยาบาล กระดูกหัก มีหลักเกณฑ์ดังนี้ ให้การ ปฐมพยาบาลอย่างรีบด่วน หากมีอาการ เป็นลม หรือช็อก ต้องแก้ไขให้ฟนื้ ก่อนถ้า มีการตกเลือด ต้องห้ามเลือดด้วยวิธีการ ที่เหมาะสม การจับหรือตรวจบริเวณที่ หั ก ต้ อ งทำ � ด้ ว ยความระมั ด ระวั ง ถ้ า จำ�เป็นต้องถอดเสื้อผ้าออก ควรใช้วิธีตัด ทิ้ง หากมีบาดแผลควรเช็ดล้างให้สะอาด แต่หา้ มล้างเข้าไปในแผล หากจำ�เป็นต้อง เข้าเฝือก ต้องทำ�ด้วยความระมัดระวังและรวดเร็ว การเคลือ่ นย้ายผูป้ ว่ ย ต้องกระทำ�ให้ถกู หลัก วิธีการแล้วรีบนำ�ส่งแพทย์ 83


โทษของบุหรี่และสุรา บุหรี่

“บุหรี”่ เป็นสิง่ เสพติดอย่างอ่อนทีถ่ กู ต้องตามกฎของประเทศ แต่บหุ รีถ่ อื ว่าเป็นตัวการ สำ�คัญที่ทำ�ให้เกิดโรคร้ายแรงหลายอย่างของระบบทางเดินหายใจ หัวใจ และระบบหมุนเวียน โลหิต พิษของบุหรีเ่ ป็นฤทธิผ์ สมของสาร พิษต่างๆ ในควันบุหรี่ที่สูดดมเข้าทาง ปาก และ จมูก คนทีต่ ดิ บุหรีม่ โี อกาสเป็น มะเร็งที่ปอด ปาก หลอดลม กระเพาะ ปัสสาวะ หรือทีต่ บั อ่อน เสีย่ งต่อการเป็น โรคหัวใจมากกว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่ และ อาจมีอนั ตรายต่อทารกในครรภ์ และผูท้ ี่ อยูอ่ าศัยในบริเวณใกล้เคียงด้วย ด้วยเหตุ ดังกล่าวข้างต้นบุหรี่จึงเป็นสิ่งต้อง ห้าม ในอิสลาม อันตรายของควันบุหรี่ต่อสุขภาพร่างกาย ๑. สมองเสือ่ มสมรรถภาพ เป็นลมหมดสติ เส้นเลือดสมองแตก เพราะการสูบบุหรี่ ทำ�ให้ เกิดการสะสมของคลอเรสเตอรอล และเกิดการอุดตันของ เส้นเลือดที่ไปสู่สมอง ๒. หน้าเหี่ยวย่น แก่เร็ว ๓. โรคเหงือก ฟันดำ� และกลิ่นปาก ๔. ไอเป็นเลือด ไอเรื้อรัง ผอมลง ซึ่งเป็นอาการของ โรคมะเร็งปอด ๕. เหนื่อยง่าย หอบ แน่นหน้าอก ซึ่งเป็นอาการของ โรคถุงลมโป่งพอง ๖. หัวใจขาดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจตาย หัวใจวาย เกิดจาการสะสมของคลอเรสเตอรอล ทำ�ให้เกิดการอุดตัน ของเส้นเลือด อันเป็นอุปสรรคต่อการส่งเลือดไปเลี้ยงหัวใจ

84


และอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย ๗. เล็บเหลือง นิ้วเหลือง ๘. นิ้วเป็นแผลเรื้อรัง นิ้วกุด เกิดจากหลอดเลือดตีบตัน ขาดเลือดไปเลี้ยง ๙. ท้องแน่น อืด เบื่ออาหาร ๑๐. เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ

บัญญัติอิสลามในเรื่องบุหรี่

นิโคตินทีม่ อี ยูใ่ นควันบุหรีเ่ ป็นสารทีท่ �ำ ให้เสพแล้วติด ทัง้ ยังเป็นอันตรายต่อสุขภาพและ ชีวิตของตนเองและคนรอบข้าง แม้ในอิสลามจะไม่มีบัญญัติเกี่ยวกับบุหรี่โดยตรง แต่หากการ สูบบุหรี่เป็นอันตรายต่อสุขภาพบุหรี่ก็จะเป็นสิ่งต้องห้ามหรือฮะรอมในอิสลาม ทัศนะที่แสดงให้เห็นว่าการสูบบุหรี่เป็นสิ่งที่น่ารังเกียจและเป็นสิ่งต้องห้าม มีดังนี้ ๑. อัลลอฮ์​์  ทรงห้ามมิให้ฆ่าตัวเองทั้งทางตรงและทางอ้อม และห้ามนำ�พาตัวเองสู่ ความหายนะ ดังที่พระองค์ได้ตรัสไว้ความว่า “และจงอย่าฆ่าตัวของพวกเจ้าเอง แท้จริงอัลลอฮ์เป็นผู้ทรง เมตตาต่อพวกเจ้าเสมอ”(สูเราะฮฺอันนิสาอ์ อายะฮฺที่ ๒๙) “และจงอย่ายื่นมือของพวกเจ้าสู่ความหายนะ”(สูเราะฮฺอัลบะ เกาะเราะฮฺ อายะฮฺที่ ๑๙๕)

๒. การสูบบุหรี่เป็นการสุรุ่ยสุร่ายที่อัลลอฮ์ทรงห้าม อัลลอฮ์  ตรัสความว่า “และพวกเจ้าจงอย่าสุรุ่ยสุร่าย”(สูเราะฮอัลอิสรออ์ อายะฮที่ ๒๖)

๓. สร้างความเดือดร้อนแก่คนรอบข้าง และครอบครัว ความว่า “และบรรดาผู้ที่สร้างความเดือดร้อนแก่มวลชนผู้ศรัทธาทั้ง ชายและหญิงด้วยสิ่งที่พวกเขาไม่ได้กระทำ� แน่นอนเขาเหล่านั้นต้อง แบกความเท็จและบาปอันชัดแจ้ง” (สูเราะฮอัลอะห์ซาบ อายะฮที่ ๕๘) 85


๔. บุหรีเ่ ป็นสิง่ ทีน่ า่ รังเกียจ จะเห็นได้จากคราบนิโคตินทีต่ ดิ ตามไรฟัน และส่งกลิน่ เหม็น คลุ้ง อัลลอฮ์​์  ตรัสความว่า “และพระองค์ทรงห้ามพวกเขาจากสิ่งที่เลว ทรามและน่ารังเกียจทั้งหลาย” (สูเราะฮอัลอะอ์รอฟ อายะฮที่ ๑๕) ๕. บุหรี่ไม่ใช่สิ่งที่ทำ�ให้อิ่มและไม่ใช่ยารักษาโรค เพราะฉะนั้นการสูบบุหรี่จึงเป็นการ เปล่าประโยชน์ และการเปล่าประโยชน์นั้นเป็นสิ่งต้องห้าม

สุรา

“สุรา” หมายความรวมถึง “วัตถุทั้งหลาย หรื อ ของผสมที่ มี แ อลกอฮอล์ ส�ำหรั บ วั ต ถุ ที่ เ ป็ น ของเหลวสามารถดื่มได้เช่นเดียวกับน�้ำสุรา ส่วนวัตถุ ทีไ่ ม่เป็นของเหลวไม่สามารถดืม่ ได้ แต่เมือ่ ผสมกับนำ�้ หรือของเหลวอย่างอืน่ แล้วสามารถดืม่ ได้เช่นเดียวกับ น�้ำสุรา” โทษของการติดสุรา ๑. สุขภาพเสื่อมโทรม ๒. บุคลิกภาพไม่ดี สังคมรังเกียจ ๓. ท�ำงานได้ไม่เต็มที่ ประสิทธิภาพในการ ท�ำงานต�่ำ ๔. ขาดสติและการยับยั้งชั่งใจ ทำ�ให้เกิดการ ทะเลาะวิวาท อาชญากรรม และอุบัติเหตุต่างๆ ได้ ง่าย ๕. สิ้นเปลืองเงินทองโดยไร้ประโยชน์

86


บัญญัติอิสลามเกี่ยวกับสุรา

อัลลอฮ์  ทรงมีรับสั่งว่า

ศาสนาอิสลามมีบญ ั ญัตหิ า้ มข้องแวะสิง่ เสพติด และสารทุกชนิดทีอ่ อกฤทธิก์ บั ระบบจิต ประสาท ทำ�ให้มนึ เมาขาดสติชวั่ ขณะหรือถาวร ห้ามเสพ ห้ามพกพา ห้ามจำ�หน่าย ฯลฯ ศาสนา อิสลามจึงมีนโยบายเรือ่ งสิง่ เสพติดและสารออกฤทธิท์ ชี่ ดั เจน คือ ทัง้ ป้องปรามและปราบปราม อีกทั้งยังมีมาตรการลงโทษขั้นเด็ดขาดสำ�หรับผู้ฝ่าฝืน

“โอ้บรรดาผู้มั่นในศรัทธาทั้งหลาย ที่จริงแล้วทั้งสุราและการพนัน และการเส้นสังเวยบูชาและการเสี่ยงติ้ว เป็นสิ่งโสมม (อบายมุข) อันเป็นผลงานจากซาตาน (ชัยฏอน) ดังนัน้ พวกเจ้าจงหลีกเลีย่ งให้ ไกลเสีย เพื่อพวกเจ้าเองจักได้รับชัย ที่จริงแล้วซาตาน (ชัยฏอน) ต้องการเพียงแค่ยแุ หย่ให้เกิดความเป็นอริศตั รูกนั ความโกรธเกลียด กันในระหว่างพวกเจ้า และมันยังคอยแต่จะทำ�ให้พวกเจ้าหันเหออก จากการระลึกถึงอัลลอฮ์ และการละหมาด เช่นนีแ้ ล้วพวกเจ้าจะยุติ ไหม” (สูเราะฮอัลมาอิดะฮ์ อายะฮที่ ๙๐ - ๙๑)

การดื่มเหล้าและเสพสิ่งออกฤทธิ์ทำ�ให้เมาถือเป็นบาปทุกกรณี ไม่ว่าจะดื่มมากหรือดื่ม น้อย เสพมากหรือเสพน้อย เมาหรือไม่เมา เพราะท่านเราะสูล  ให้ถือการดื่มเสพเป็นเกณฑ์ ท่านเราะสูล  กล่าวเป็นโอวาทความว่า “เมือ่ ปริมาณมากทำ�ให้เมาได้ การเสพเพียงน้อยนิด โดยไม่เมาก็เป็นบาป เหมือนกัน” (บันทึกโดย อะหมัด)

87


ข้อปฏิบัติในการป้องกันการสูบบุหรี่ และดื่มสุรา

๑. ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับโทษพิษภัยของบุหรี่ และสุรา ประโยชน์ของการไม่สูบบุหรี่ สุรา ๒. รู้จักตัดสินใจแก้ปัญหาด้วยเหตุผล หากไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยตัวเอง ควรปรึกษา พ่อ แม่ ครู หรือญาติผู้ใหญ่ที่ไว้ใจ ๓. ไม่ทดลองสูบบุหรี่ และดื่มสุรา และกล้าที่จะปฏิเสธเมื่อมีผู้อื่นชักชวน ๔. ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เช่น อ่านหนังสือ เล่นกีฬา ทำ�กิจกรรมที่ชอบ ๕. ไม่ใกล้ชิดกับผู้ที่สูบบุหรี่และสุรา

88


บรรณานุกรม หนังสือ ภาษาไทย กำ�พล ศรีวัฒนกุล. 2545. คู่มือการใช้ยา ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ : สกายบุ๊กส์, แจ็คโคสกิ, เอ็ดวาร์ด เจ. 2545. ออกกำ�ลังกายอย่างไรให้เหมาะสมกับรูปร่าง. รัชดา แดงจำ�รูญ แปลและเรียบเรียง. กรุงเทพฯ : สำ�นักพิมพ์อิมเมจ. ชูชาติ รอดถาวร และภาสกร บุญนิยม. ม.ป.ป. สุขศึกษาและพละศึกษา ป.4. กรุงเทพฯ : ไทยร่มเกล้าจำ�กัด. ฝ่ายวิชาการ. 2544. ยาเสพติดและยาบ้า. กรุงเทพฯ : สกายบุ๊กส์. ฝ่ายวิชาการ. 2547. รวมประวัติ กฎ กติกา กีฬาทุกประเภทในเอเซียนเกมส์. กรุงเทพฯ : สกายบุ๊กส์. พัฒน์ สุจำ�นงค์ . 2541. คู่มือการปฐมพยาบาลเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : โอเดียน สโตร์. พีระ บุญจริง. 2536. โยคะสูตรสร้างสมดุล. ราชบุรี : ธรรมรักษ์การพิมพ์. พีระ บุญจริง. 2541. ตำ�รับโยคะ. ราชบุรี : ธรรมรักษ์การพิมพ์. ภาควิชาสรีรวิทยา. 2545. สรีรวิทยา. กรุงเทพฯ : คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. มงคล แฝงสาเคน. 2549. การออกกำ�ลังกายด้วยการเหยียดยืดกล้ามเนื้อเพื่อสุขภาพ และกีฬา. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์. มุกดา สุขสมาน. 2537. มนุษย์ : ภาวะกายและจิต. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. วิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำ�นักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ, สำ�นัก. 2551. ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษา และพละศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย วีระ ผนัสวานิช. 2539. เทคนิคและทักษะการสอนเกม. กรุงเทพ : โอ. เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์. ศศิธร โรจนเนืองนิตย์และคณะ. 2542. ระบบกล้ามเนื้อ. กรุงเทพฯ : เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น. ศศิษมา จันทร์พงษ์ . 2550. คู่มือการปฐมพยาบาลเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : สมิต. สมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ. 2541. พระมหาคัมภีร์อัลกุรอานพร้อมคำ�แปลภาษาไทย. ซาอุดีอาราเบีย : ศูนย์กษัตริย์ฟาฮัดเพื่อการพิมพ์อัลกุรอาน, มาดีนะห์ : ซาอุดีอารเบีย สุชาดา โตพึ่งพงศ์. 2550. รู้โรค รู้ยา และการรักษาด้วยตนเอง. กรุงเทพฯ : เรือนปัญญา. อลิซาเบธ คูลิดจ์ สตอลซ์ และดอว์น, กราฟ ไฮท์. 2546. สุขภาพและชีววิทยามนุษย์. มีนา โอวรารินท์ ผู้แปลและเรียบเรียง. กรุงเทพฯ : เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า.


ภาษาอาหรับ อัลบัยฮะกีย์. 1344ฮ. อัลสุนัน อัลกุบรอ. ไฮเดอราบัด มัญสีสดาอิเราะฮ อัลมะอาริฟ : อันนิซอมิยะฮ. อัลบุคอรีย์, 1986. เศาะฮีฮฺ อัลบุคอรีย์ มะอา ฟัตฮ อัล บารีย.์ พิมพ์ครั้ง1, ไคโร :สำ�นักพิมพ์ ดารุลร็อยยาน ลิตตุร็อษ. มุสลิม, 1997. เศาะฮีฮฺมุสลิม, พิมพ์ครั้งที่ 4, เบรุต : สำ�นักพิมพ์ ดารุลมะอฺริฟะฮฺ. อะบูดาวูด, 1998. สุนันอะบีดาวูด มะอา เอานิลมะอฺบูด. พิมพ์ครั้ง1, เบรุต : สำ�นักพิมพ์ ดารุลกุตุบ อิลมียะฮฺ. อะหมัด. มปป. มุสนัดอัลอิมามอะหมัด อิบนุ หัมบัล. ไคโร : มุอัสสะสะฮกุฏุบะฮ์ อัดดารุกุฏนีย์. 2008. สุนันอัดดารุกุฏนีย์. พิมพ์ครั้งที่ 5. มุอัสสะสะฮ์ อัรริสาละฮ์ อัตติรมิษีย์, 1998. ญามิอฺ อัตติรมิซีย์. พิมพ์ครั้ง1, เบรุต : สำ�นักพิมพ์ ดารุลอิหฺยาอฺ อัตตุรอษ อัลอะรอบีย์. อันนะสาอีย์, 1997. สุนันอัลนะสาอีย์. พิมพ์ครั้งที่ 4, เบรุต : สำ�นักพิมพ์ ดารุลมะอฺริฟะฮฺ. อินเตอร์เน็ต เกษม ตันติผลาชีวะ และ ดร. กุลยา ตันติผลาชีวะ. 2552. ความสำ�คัญและคุณค่าของครอบครัว (ออนไลน์). สืบค้นจาก:http://www.sarnrak.net/blog/blogdesc.php?blog =90528091507 [7 มีนาคม 2554] โทษของการสูบบุหรี่และกลยุทธ์รับมือกับอาการอยากบุหรี่. 2551. (ออนไลน์). สืบค้นจาก: http://www.dek-d.com/board/view. php?id=1205885 [9 มิถุนายน 2554] พฤติกรรมทางเพศ. (ออนไลน์). สืบค้นจาก: http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type1/health03/04/con tents/hs26.html [15 มีนาคม 2554] ระบบโครงกระดูกและกล้ามเนื้อ. 2008. (ออนไลน์). สืบค้นจาก: http://www.thaigoodview.com/node/9369. [ 5 มกราคม 2554] เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับอาหารฮาลาล. (ออนไลน์). สืบค้นจาก: http://halal.or.th/th/main/content.php? page=sub&category=11&id=10 [7 มิถุนายน 2554] สมรรถภาพทางกาย. (ออนไลน์).สืบค้นจาก: http://www.tuifino.com/physical%20fitness/physical%20fit%201.htm : [18 มีนาคม 2554] สิ่งแวดล้อมและสุขภาพ. (ออนไลน์).สืบค้นจาก: http://webcache.googleusercontent.com/ search?q=cache:9m5O2lgZTZkJ:web.ku.ac.th/schoolnet/snet6/envi3/health/ healthn.htm [5 มิถุนายน 2554 ]


Rangsun Sodsaithong, Klonglaung Prathumtanee . 2545. การเคลื่อนไหวของมนุษย์ (ออนไลน์).สืบค้นจาก: http://school.net.th/library/create-web/10000/ science/10000-2460.html [12 มิถุนายน 2554]




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.