หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน
พลศึกษา
1
ชั้นม
ี่ าปท
ธั ยมศึกษ
กลุมสาระการเรียนรูสุขศึกษาและพลศึกษา ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 หนังสือพลศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปที่ 1 กลุมสาระการเรียนรูสุขศึกษาและพลศึกษา ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
คำนำ ดวยพระนามของอัลลอฮฺ ผูทรงเมตตาปรานี ผูทรงกรุณาเสมอ การดูแลแกไขปญหาในสังคมปจจุบันตองใหความสำคัญกับคุณธรรมและจริยธรรมอยางเปนรูปธรรม การบูรณาการวิถีอิสลามในแบบเรียนเปนสวนหนึ่งของวัตถุประสงคแผนงานฯในการประมวลองคความรู อิสลามกับสุขภาวะเพื่อถายทอดผานเครือขายและผานชองทางอื่นๆ ของแผนงานฯ ซึ่งมีกลุมเปาหมายมุสลิม ทั่วประเทศกวา 3 ลาน 5 แสนคน ภายใตโครงการผลิตแบบเรียนวิชาสุขศึกษาและพลศึกษาแบบบูรณาการวิถี อิสลามในกลุมสาระการเรียนรูสุขศึกษาและพลศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขึ้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 โครงการผลิตแบบเรียนวิชาสุขศึกษาและพลศึกษาแบบบูรณาการวิถีอิสลามฯ มีวัตถุประสงคเพื่อจัด ทำแบบเรียนที่บูรณาการอิสลาม ซึ่งประกอบดวยมาตรฐาน ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรูแกนกลาง โครงสราง หลักสูตรกลุมสาระการเรียนรู คำอธิบายรายวิชาและการออกแบบหนวยการเรียนรูอิงมาตรฐานหลักสูตรแกน กลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 โดยไดจัดทำจำนวน 6 เลม ใน 4 ชวงชั้น ที่พรอมจะนำไปใชเปนแบบ เรียนในโรงเรียนที่มีนักเรียนนับถือศาสนาอิสลามเปนสวนใหญซึ่งรวมถึงโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามกวา 800 แหง โดยเฉพาะในจังหวัดชายแดนภาคใตและภูมิภาคอื่นๆ ของประเทศ ผลผลิตของโครงการนี้จะเปนประโยชนกับชุมชนมุสลิมไทยทั่วประเทศเกือบ 3,500 แหง เพราะ ความตองการของชุมชนมุสลิมทุกคน คือการที่บุตรหลานไดมีโอกาสเรียนรูทั้งวิชาดานศาสนาและวิชาสามัญที่ สอดคลองกับวัฒนธรรมและความเชื่อที่มีฐานมาจากศาสนาอิสลาม ดวยเหตุผลดังกลาวจึงเชื่อไดวาตำราเรียน ที่บูรณาการเนื้อหาวิชาดังกลาวเขากับหลักคำสอนของอิสลามเลมนี้จะไดรับการตอบรับที่ดีจากสังคมมุสลิม อีกทั้งผูเรียนจะมีความตั้งใจเรียนอยางจริงจัง เพราะไมมีความกังวลวาจะขัดกับหลักคำสอนของศาสนา ซึ่งจะ เปนผลดีตอผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผูเรียน ในอนาคตแผนงานฯ จะนำเสนอแบบเรียนบูรณาการศาสนาอิสลามกับวิชาสามัญ (สุขศึกษาและพล ศึกษา) ที่สอดคลองกับหลักสูตรแกนกลางของรัฐชุดนี้ใหแกหนวยงานที่เกี่ยวของ เชน กระทรวงศึกษาธิการ และสภาการศึกษาแหงชาติ เพื่อใหเกิดผลในระยะยาว และมีเปาหมายที่จะจัดพิมพเผยแผใหแกโรงเรียนที่มี ความตองการตำราเหลานี้ไวใชเปนตำรายืมเรียน นอกจากนี้ยังจะขยายผลไปสูการบูรณาการอิสลามในระดับ การศึกษาที่สูงขึ้นและวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวของตอไป สุดทายนี้ขอขอบคุณ รศ.ดร.อิบราเฮ็ม ณรงครักษาเขต อาจารยประจำวิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร วิทยาเขตปตตานี และคณะ ที่มีสวนสำคัญในความสำเร็จของผลงานฉบับนี้ ขอเอกองค อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงประทานความโปรดปรานและสิ่งดีงามแกคณะทำงานและผูที่มีสวนเกี่ยวของทุกทาน อามีน รองศาสตราจารย ดร.อิศรา ศานติศาสน ผูจัดการแผนงานสรางเสริมสุขภาวะมุสลิมไทย
คำนำ หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐานพลศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปที่ 1 กลุมสาระการเรียนรูสุขศึกษาและ พลศึกษาเลมนี้ เปนหนังสือเรียนที่มีการบูรณาการอิสลามเพื่อใหสอดคลองกับวัฒนธรรมและหลักคำ สอนของศาสนาอิสลาม ทั้งนี้เพื่อใหผูเรียนที่เปนมุสลิมจะไดมั่นใจวาเนื้อหาที่มีในหนังสือเรียนรายวิชา พื้นฐานพลศึกษาเลมนี้ ไมขัดกับหลักคำสอนของศาสนา และผูเรียนจะไดเรียนดวยความตั้งใจ ขอขอบคุณผูมีสวนรวมในการเขียนหนังสือเรียนเลมนี้ใหเสร็จสมบูรณ และขอขอบคุณแผนงาน สรางเสริมสุขภาวะมุสลิมไทย (สสม.) ผูสนับสนุนงบประมาณในการจัดทำหนังสือเรียนฉบับนี้ คณะผูจัดทำ
พลศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปที่ 1 ขอมูลทางบรรณานุกรมของสำนักหอสมุดแหงชาติ National Library of Thailand Cataloging in Publication Data พลศึกษา ม.1.-- กรุงเทพฯ : สำนักงานแผนงานสรางเสริมสุขภาวะมุสลิมไทย มูลนิธิสรางสุขมุสลิมไทย (สสม.), 2555. 76 หนา. 1. พลศึกษา--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา). II. อิบรอฮีม ณรงครักษาเขต. III. ชื่อเรื่อง. 613.07 ISBN 978-616-7725-00-0 รายชื่อคณะกรรมการยกรางหนังสือพลศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปที่ 1 1. นายอนันต กาโบะ 2. นายศาสตรา ศาสนโสภา 3. ดร.มะรอนิง สาแลมิง 4. นายอัสมัน แตอาลี 5. นายฮอซาลี บินลาเตะ บรรณาธิการ
1. รศ. ดร. อิบรอฮีม ณรงครักษาเขต 2. ดร.มะรอนิง สาแลมิง 3. นายอัสมัน แตอาลี
รูปภาพและกราฟฟก
1. นายอุสมัน เลาะมา 2. นางสาวปราณี หลำเบ็ญสะ
ออกแบบปก
นายอุสมาน ลีมอปาแล
จัดรูปเลม
1. นายมูฮามะ ปาปา 2. นางสาวปราณี หลำเบ็ญสะ
พิมพครั้งที่ 1
พฤษภาคม 2555
จัดพิมพและเผยแพร
แผนงานสรางเสริมสุขภาวะมุสลิมไทย (สสม.) มูลนิธิสรางสุขมุสลิมไทย เลขที่ 1 หมู 13 ถนนสีหบุรานุกิจ แขวงมีนบุรี เขตมีนบุรี กรุงเทพฯ 10510
สงวนลิขสิทธิ์
หามลอกเลียนแบบไมวาสวนใดสวนหนึ่งของหนังสือ นอกจากไดรับอนุญาต
สารบัญ หนวยการเรียนรูที่ 1 การเพิ่มพูนสมรรถภาพการเคลื่อนไหว
1-5
หนวยการเรียนรูที่ 2 การออกกาลังกายและการเลนกีฬา
6-16
หนวยการเรียนรูที่ 3 การออกกาลังกาย
17-28
หนวยการเรียนรูที่ 4 กีฬาไทย
29-41
หนวยการเรียนรูที่ 5 กีฬาสากล : เทเบิลเทนนิส
42-58
หนวยการเรียนรูที่ 6 นันทนาการ
59-66
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 สาระที่ 3 การเคลื่อนไหว การออกก�ำลังกาย การเล่นเกม กีฬาไทย และกีฬาสากล มาตรฐาน พ 3.1 เข้าใจ มีทักษะในการเคลื่อนไหว กิจกรรมทางกาย การเล่นเกมและกีฬา ตัวชี้วัด 1. เพิ่มพูนความสามารถของตน ตามหลักการเคลื่อนไหวที่ใช้ทักษะกลไกและทักษะพื้นฐาน ที่น�ำไปสู่การพัฒนาทักษะการเล่นกีฬา สาระการเรียนรู้แกนกลาง 1. หลักการเพิ่มพูนความสามารถในการเคลื่อนไหวที่ใช้ทักษะกลไกและทักษะพื้นฐานที่น�ำ ไปสู่การพัฒนาทักษะการเล่นกีฬา
1
1. การเพิ่มพูนสมรรถภาพการเคลื่อนไหว อัลลอฮฺได้สร้างมนุษย์ขึ้นมาด้วยสรีระและเรือนร่างที่สวยงาม เเละให้มีความประเสริฐเหนือทุก สิ่งที่ถูกสร้าง เเละได้ท�ำให้อวัยวะทุกส่วนในร่างกายของมนุษย์มีความสมบูรณ์ลงตัว หากส่วนหนึ่งส่วนใด ขาดหายไป เเน่นอนเขาจะต้องทุกข์ระทม ปั่นป่วน เเละต้องมี ความเจ็บปวดทรมาน พระองค์ได้ท�ำให้ดวงตามีความสมบูรณ์ ด้วยการมองเห็น หูสมบูรณ์ด้วยกับการให้ได้ยิน ลิ้นสมบูรณ์ด้วย กับการได้พูด หากอวัยวะต่างๆ เหล่านี้ไม่มีพลัง ซึ่งเป็นสาเหตุที่ ท�ำให้ร่างกายเกิดความสมบูรณ์ มันก็จะท�ำให้เกิดความเจ็บปวด เเละเป็นอุปสรรค เช่นเดียวกับร่างกายที่มีการเคลื่อนไหวอยู่ ตลอดเวลา ที่เกิดจากการท�ำงานของระบบประสาทที่สั่งการไป ยังกล้ามเนื้อให้หดตัว เพื่อให้เกิดแรงที่มีขนาดมากพอจนท�ำให้ ร่างกายเกิดการเคลื่อนไหว และส่งผลต่อวัตถุให้เคลื่อนที่ เช่น การผลักลูกบอล การขว้างลูกบอล เป็นต้น การเพิ่มพูนสมรรถภาพการเคลื่อนไหว การเคลื่อนไหวของมนุษย์ถือได้ว่าเป็นเครื่องมือส�ำคัญต่อการด�ำรงชีวิตประจ�ำวัน การเคลื่อนไหว ของมนุษย์เกิดจากการท�ำงานของระบบประสาทกับกล้ามเนื้อ แต่จะต้องอาศัยการท�ำงานที่สัมพันธ์กัน ระหว่างกล้ามเนื้อและกระดูก เช่น การตีซอฟต์บอล การรับ การผลัก เป็นต้น การเคลื่อนไหวของร่างกายจะต้องอาศัยทักษะกลไก เพื่อความสมดุลของระบบต่างๆ และ ประสิทธิภาพทางการเคลื่อนไหวของร่างกาย 1.1 การเคลื่อนไหวโดยใช้ทักษะกลไก การเคลื่อนไหว หมายถึง การเคลื่อนไหวของร่างกายใดๆ ในชีวิตประจ�ำวัน ทั้งในบ้าน ที่ท�ำงาน หรือแม้แต่สันทนาการใดๆ เช่น การออกก�ำลังกายและการเข้าร่วมเล่นกีฬา การเคลื่อนไหวเป็นการ ท�ำงานในส่วนของร่างกาย โดยใช้โครงสร้างกระดูกและกล้ามเนื้อ (skeletal muscle) และท�ำให้มีการใช้ พลังงานของร่างกายมากกว่าในขณะพัก ทักษะกลไล หมายถึง ความสามารถในการท�ำงานของอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย ที่ส่งเสริมให้ ร่างกายมีการเคลื่อนไหวอย่างมีประสิทธิภาพ องค์ประกอบของทักษะกลไกมีดังนี้ 1) พลัง(Power) แรงที่ได้จากการท�ำงานของกล้ามเนื้อ ซึ่งจะมีประสิทธิภาพมากน้อยขึ้นอยู่ กับ ความยาวและพื้นที่หน้าตัดของใยกล้ามเนื้อ ความเร็วในการหดตัว และธรรมชาติของการควบคุมจาก ระบบประสาท เช่นการยกน�้ำหนักหรือการวิ่ง การกระโดด เป็นต้น 2) ความเร็ว(Speed) ความสามารถของร่างกายในการเคลื่อนที่โดยใช้ระยะเวลาที่สั้นที่สุด เช่น การตีเทนนิส การกระโดดขว้างตี การวิ่งข้ามรั้ว เป็นต้น 2
3) การทรงตัว(Balance) การวัดความสามารถของ ร่างกายในการควบคุมการทรงตัวให้สมดุลไม่ว่าร่างกายจะอยู่ ในลักษณะใดก็ตาม เช่น การเลี้ยงลูกบาสเกตบอล เป็นต้น 4) การคล่องแคล่ว(Agility) ความสามารถในการ เปลี่ ย นทิ ศ ทางหรือเปลี่ยนต�ำแหน่งของร่างกายได้ อ ย่ า งมี ประสิทธิภาพ เช่นการหยุด การกลับตัว การยืนหรือการกระ โดด เป็นต้น 5) การประสานสัมพันธ์(Coordination) ความ สามารถในการเคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างราบรื่น กลมกลืน และมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นการท�ำงานประสานสอดคล้องกัน ระหว่าง ตา-เท้า-มือ เช่น การขว้างจักร การปาเป้า การยิง ประตูฟุตบอล การส่งลูกบอลกระทบฝาผนังแล้วรับ เป็นต้น 6) เวลาเคลื่อนไหว(Movement Time) การที่ร่างกายมีการเคลื่อนไหวจากจุดหนึ่งไปยังอีก จุดหนึ่งภายในเวลาเดียวกัน 7) เวลาปฏิกิริยาตอบสนอง(Reaction Time) การที่ร่างกายสามารถตอบสนองสิ่งเร้าในระยะ เวลาที่รวดเร็ว เช่นการตีลูกเทนนิส และการตีลูกแบตมินตันด้วยความรวดเร็ว เป็นต้น 1.2 แนวทางในการพัฒนาทักษะกลไก แนวทางในการพัฒนาทักษะกลไกเป็นการเสริมสร้างให้ร่างกายมีการเคลื่อนไหวได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ซึ่งรวมไปถึงการใช้ระบบประสาท เอ็น ข้อต่อ และกล้ามเนื้อให้ปฏิบัติกิจกรรมได้เป็นระยะ เวลานาน สามารถฝึกฝนหรือพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นได้ด้วยตนเอง โดยแนวทางในการพัฒนาทักษะกลไกมีดังนี้ 1) การฝึกความเร็ว ต้องฝึกความสามารถของร่างกายให้เคลื่อนที่จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง ด้วยระยะเวลาที่น้อยที่สุด ซึ่งความเร็วนั้นประกอบไปด้วย เวลาปฏิกิริยาตอบสนอง เวลาในการ เคลื่อนไหว และเวลาของการตอบสนอง โดยสามารถฝึกความเร็วได้ ดังนี้ 1.1 วิ่งเร็ว จะเป็นการวิ่งระยะสั้น เช่น 100 เมตร 200 เมตร ในขณะวิ่งต้องจัดท่าให้ถูกต้อง โดย เคลื่อนตัวไปข้างหน้า ก้าวเท้าไปรับน�้ำหนักตัว ให้เท้าหลัง ส่งแรงไปข้างหน้า แขนเหวี่ยงตรงข้ามกับเท้า และรักษาการ ทรงตัวขณะวิ่ง 1.2 การว่ายน�้ำเร็ว จะเป็นการว่ายน�้ำใน ระยะสั้น เช่น 50 เมตร 100 เมตร เพื่อฝึกให้ร่างกายได้มี การเคลื่อนที่ในระยะเวลาที่สั้น 2) การฝึกร่างกายให้มีพลัง เป็นการฝึกฝนกล้ามเนื้อให้แข็งแรง โดยกระตุ้นเซลล์กล้ามเนื้อให้ เกิดการพัฒนาให้ใหญ่ขึ้น เพราะกล้ามเนื้อที่ใหญ่จะท�ำให้เกิดการหดตัว ของกล้ามเนื้อในแต่ละครั้งได้ ยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้น อันจะมีผลต่อการมีพลังหรือแรงในการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ซึ่งวิธีการฝึกร่างกายให้มี 3
พลัง มีดังนี้ 2.1 การยกน�้ำหนัก เป็นการฝึกความสามารถของกล้ามเนื้อที่ยืดตัว โดยกระท�ำต่อแรง สูงสุด 1 ครั้ง 2.2 การขว้าง การทุ่ม การกระโดด เป็นการฝึกความสามารถของกล้ามเนื้อที่ยืดตัว โดยกระท�ำด้วยความรวดเร็ว 2.3 การดึง เป็นความสามารถของกล้ามเนื้อที่หดตัว ซึ่งกระท�ำด้วยการออกแรงต้าน ซ�้ำๆ กันได้นานที่สุด 3) การทรงตัว เป็นการประสานงานระหว่างระบบประสาทกับกล้ามเนื้อ เพื่อร่างกายอยู่ใน ต�ำแหน่งที่สมดุล ซึ่งการทรงตัวสามารถปฏิบัติได้ 2 แบบ คือ 3.1 การทรงตัวในขณะอยู่กับที่ เป็นการรักษาสมดุลของ ร่างกายขณะอยู่กับที่ซึ่งสามารถฝึกได้ด้วยการยืนขาเดียว โดยการยกขาข้างหนึ่ง ขึ้นมา ส่วนขาอีกข้างให้ยืนบนพื้น ทรงตัวให้ดีไม่เอียงตัวไปด้านใดด้านหนึ่ง แล้ว ยกมือทั้งสองข้างมาพนมที่อก 3.2 การทรงตัวในขณะเคลื่อนที่ เป็นการรักษาความสมดุล ของร่างกายในขณะเคลื่อนที่ ซึ่งสามารถฝึกได้ด้วยการเดินบนกระดานไม้แผ่น เดียวหรือแท่งปูน ที่วางไว้สูงจากพื้นไม่เกิน 1 ฟุต 4) ความคล่องตัว เป็ นความสามารถในการเปลี่ ย นทิ ศทางของ ร่างกายอย่างรวดเร็ว และตรงเป้าหมาย ซึ่งเป็นรวมของความอ่อนตัว และ ความเร็วในการเคลื่อนไหวร่างกาย 5) การประสานสัมพันธ์ เป็นความสามารถของร่างกายในประสาน สัมพันธ์ของกล้ามเนื้อและระบบประสาทในการเคลื่อนที่ได้อย่างสมดุล จึงจ�ำเป็นต้องอาศัยสมรรถภาพ ทางกายในทุกด้านมาผสมผสานกันให้เกิดการเคลื่อนไหว ดังนั้น ควรจะได้รับการฝึกที่หลากหลายด้วย กิจกรรมต่างๆ ได้แก่ การฝึกแบบมีอุปกรณ์และไม่มีอุปกรณ์ 5.1 การฝึกแบบมีอุปกรณ์ การฝึกการเคลื่อนไหวโดยใช้อุปกรณ์กีฬาที่หาได้ง่ายเข้ามา ช่วยในการฝึก เพื่อให้เกิดความสนุกสนานมากยิ่งขึ้น การเคลื่อนที่รับลูกบอล ให้ผู้เล่นยืนท้ายสนาม จากนั้นให้วิ่งมาถึงกลางสนามแล้วรับ ลูกบอลที่โยนมาให้ เมื่อได้สัมผัสกับลูกบอลแล้วให้ท�ำการเลี้ยงลูกบอลต่อไปทันที 5.2 การฝึกแบบไม่มีอุปกรณ์ เป็นการฝึกทักษะการเคลื่อนไหว โดยใช้อวัยวะต่างๆ ของร่างกายเป็นหลัก ไม่ใช้อุปกรณ์กีฬาใดๆ เข้าช่วย เป็นการฝึกที่สามารถท�ำได้ง่าย สามารถปฏิบัติได้ ด้วยตนเอง ดังนี้ การกระโดดกางแขนและขา เป็นการฝึกท่าที่ง่ายท่าหนึ่ง โดยขั้นตอนการปฏิบัติให้ผู้ ปฏิบตั กิ ระโดดลอยตัวขึน้ สูอ่ ากาศให้สงู ทีส่ ดุ และกางแขนกางขาให้แยกกว้างออกจากกันให้มากทีส่ ดุ ท�ำซ�ำ้ 20 ครั้ง กระโดดตบกลางอากาศ โดยให้ยืนตรง กระโดดขึ้นสู่อากาศตรงๆ ให้สูงที่สุด เอามือยื่น 4
ตบกันเหนือศีรษะ กางเท้าออก แต่เมื่อลงสู่พื้นให้ เท้าชิด มือแนบล�ำตัว ท�ำซ�้ำ 20 ครั้ง ยืนกระโดดไกล ให้ยืนเท้าชิด กันอยู่กับที่ ย่อตัว สปริงตัวกระโดดจากต�ำแหน่ง เริ่มให้ไกลที่สุด ท�ำซ�้ำกัน 20 เที่ยว โดยบันทึก ระยะแต่ละเที่ยวไว้เพื่อเปรียบเทียบ 6) เวลาปฏิกิริยาตอบสนอง เป็นการ เคลื่ อ นไหวร่ า งกายเพื่ อ ตอบสนองต่ อ สิ่ ง เร้ า ใน ระยะเวลาที่รวดเร็ว โดยเวลาเคลื่อนไหวบวกกับเวลาปฏิกิริยาจะกลายเป็นเวลาตอบสนองต่อสิ่งเร้า เช่น แสง เสียง สัมผัส เป็นต้น ซึ่งสามารถท�ำการฝึกได้ดังนี้ 6.1 ปฏิกิริยาตอบสนองระหว่างหูกับเท้า ในต�ำแหน่งเริ่มหรือบริเวณจุดสตาร์ท ให้ อยู่ในท่าเตรียมพร้อมที่จะออกวิ่ง เมื่อได้ยินสัญญาณเสียงให้ ถีบเท้าพุ่งตัวออกไป วิ่งจากจุดเริ่มต้นให้เร็วที่สุดในระยะทาง 50 เมตร ท�ำซ�้ำกันเช่นนี้เป็นจ�ำนวน 10 เที่ยว โดยบันทึกเวลา แต่ละเที่ยวไว้ 6.2 ปฏิกิริยาตอบสนองระหว่างตากับเท้า โดยเข้า จุดสตาร์ทอยู่ในท่าเตรียมพร้อมที่จะออกวิ่ง เมื่อเห็นสัญญาณ ไปให้ถีบเท้าพุ่งตัวออกไปโดยเร็ว วิ่งอย่างเต็มที่ระยะทาง 50 เมตร ทำ�ซ้ำ�กันเช่นนี้เป็นจำ�นวน 10 เที่ยว โดยบันทึกเวลา แต่ละเที่ยวไว้ 6.3 ปฏิกิริยาตอบสนองระหว่างตากับเท้าหรือมือ เป็นการฝึกการตอบสนองระหว่างตากับเท้าหรือมือ โดยให้อยู่ ท่าเตรียมและให้คู่โยนลูกบอล (หรืออุปกรณ์กีฬาอย่างอื่นก็ได้ เช่น ลูกตะกร้อ ลูกขนไก่ ลูกเทนนิส )โยนให้ห่างตัวผู้ปฏิบัติ ประมาณ 1 เมตร ให้ผู้ปฏิบัติสไลด์ตัวแล้วใช้เท้าหรือมือเข้าไปรับลูก ฝึกท�ำซ�้ำกันเช่นนี้ประมาณ 20 ครั้ง การเคลื่อนไหวร่างกายของคนเราในการออกก�ำลังกาย การเล่นกีฬา และการเข้า ร่วมกิจกรรมต่างๆ ต้องอาศัยทักษะในการเคลื่อนไหวเป็น สิ่งส�ำคัญ หรือแม้แต่การด�ำเนินชีวิตประจ�ำวันของคนเรา นั้นก็ยังต้องมีทักษะในการเคลื่อนไหวของร่างกายเข้ามา เกี่ยวข้องอยู่เสมอ ทั้งการเคลื่อนไหวขณะอยู่กับที่ และการ เคลื่อนไหวขณะเคลื่อนที่ ซึ่งล้วนแต่จะต้องอาศัยทักษะและ รูปแบบที่ถูกต้อง จึงจะท�ำให้การประกอบกิจกรรมนั้นๆ เกิด ประสิทธิภาพที่ดี 5
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 สาระที่ 3 การเคลื่อนไหว การออกก�ำลังกาย การเล่นเกม กีฬาไทย และกีฬาสากล มาตรฐาน พ 3.2 รักการออกก�ำลังกาย การเล่นเกม และการเล่นกีฬา ปฏิบัติเป็นประจ�ำอย่าง สม�่ำเสมอ มีวินัย เคารพสิทธิ กฎ กติกา มีน�้ำใจนักกีฬา มีจิตวิญญาณในการแข่งขัน และชื่นชมใน สุนทรียภาพของการกีฬา
ตัวชี้วัด 1. อธิบายความส�ำคัญของการออกก�ำลังกายและเล่นกีฬา จนเป็นวิถีชีวิตที่มีสุขภาพดี 2. ออกก�ำลังกายและเลือกเข้าร่วมเล่นกีฬาตามความถนัด ความสนใจอย่างเต็มความสามารถ พร้อมทั้งมีการประเมินการเล่นของตนและผู้อื่น สาระการเรียนรู้แกนกลาง 1. ความส�ำคัญของการออกก�ำลังกายและเล่นกีฬา จนเป็นวิถีชีวิตที่มีสุขภาพดี 2. การออกก�ำลังกาย เช่น กายบริหารแบบต่างๆ เต้นแอโรบิก โยคะ ร�ำมวยจีน 3. การเล่นกีฬาไทย และกีฬาสากล ทั้งประเภทบุคคลและทีม 4. การประเมินการเล่นกีฬาของตนเองและผู้อื่น
อิ ส ล า ม ใ ห ้ ค ว า ม ส� ำ คั ญ กั บ ก า ร เล่นกีฬา เพราะการเล่นกีฬาทุกชนิด มีประโยชน์ต่อ ผู้เล่นทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สติปัญญา และ สังคม เมื่อมีความรู้และทักษะในการเล่นแล้วก็สามารถ น�ำไปใช้เล่นเพื่อการออกก�ำลังกายได้ ซึ่งจะท�ำให้เกิด ความสนุกสนาน เพลิดเพลิน และยังเป็นการใช้เวลา ว่างให้เกิดประโยชน์ นอกจากนี้ความพร้อมของทักษะ ทางร่างกาย สามารถในไปใช้ในการท�ำงานอิสลามด้าน อื่นๆ อีกด้วย การเล่นกีฬาทุกชนิดมีประโยชน์ต่อผู้ เล่นทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สติปัญญาและ สังคม เมื่อมีความรู้และทักษะในการเล่นแล้วก็สามารถ น�ำไปใช้เล่นเพื่อการออกก�ำลังกายได้ ซึ่งจะท�ำให้เกิด ความสนุกสนาน เพลิดเพลิน และยังเป็นการใช้เวลา ว่างให้เกิดประโยชน์ การเล่นกีฬาไทยและกีฬาสากล 6
จะมีทั้งกีฬาประเภทบุคคคลและประเภททีม ซึ่งทักษะพื้นฐานจากการเรียนและการเล่นกีฬาประเภท หนึ่งสามารถจะน�ำไปใช้กับการเล่นกีฬาประเภทอื่นๆได้ด้วย
1. ความส�ำคัญของการออกก�ำลังกาย
การออกก�ำลังกาย หมายถึง การที่ร่างกายทุกส่วนได้มีการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องและมีระยะ เวลาพอสมควรจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกับร่างกายในทางที่ดี มีความแข็งแรง สามารถต่อต้านโรค ภัยได้ ร่ า งกายมนุ ษ ย์ ถู ก สร้ า งขึ้ น มาให้ มี ก าร เคลื่อนไหว เพื่อความเจริญเติบโตและรักษาสภาพ การท�ำงานที่ดีเอาไว้ การเคลื่อนไหวน้อยหรือไม่ ค่อยได้ออกก�ำลังกาย ไม่เพียงแต่จะท�ำให้เกิดความ เสื่อมโทรมของสมรรถภาพทางกายหรือสุขภาพ แต่ ยังเป็นสาเหตุของความผิดปกติของร่างกายและโรค ร้ายหลายชนิดที่ป้องกันได้ ซึ่งเป็นโรคที่เป็นปัญหา ทางการแพทย์ที่พบมากในปัจจุบัน ในทางการแพทย์ การออกก�ำลังกายอาจเปรียบได้กับยาสารพัดประโยชน์ เพราะใช้เป็นยาบ�ำรุง ก็ได้ เป็นยาป้องกันก็ได้ และเป็นยาบ�ำบัดรักษาหรือฟื้นฟูสภาพร่างกายก็ได้ แต่ขึ้นชื่อว่ายาแล้วไม่ว่าจะ วิเศษเพียงไรก็จะต้องใช้ด้วยขนาดหรือปริมาณที่เหมาะสมกับคนแต่ละคน การใช้โดยไม่ค�ำนึงถึงขนาด หรือปริมาณที่เหมาะสม นอกจากอาจไม่ได้ผลแล้วยังอาจเกิดโทษจากยาได้ด้วย ดังนั้นถ้าไม่จ�ำเป็นก็ไม่ ควรใช้ การออกก�ำลังกายให้เกิดประโยชน์แก่สุขภาพคือ การจัดชนิดของความหนัก ความนาน และ ความบ่อยของการออกก�ำลังกายให้เหมาะสมกับเพศ วัย สภาพร่างกาย สภาพแวดล้อม และจุดประสงค์ ของแต่ละคน เปรียบได้กับการใช้ยาซึ่งถ้าหากสามารถจัดได้เหมาะสมก็จะให้คุณประโยชน์ การออกก�ำลังกายที่ถูกต้องและเหมาะสม จะช่วยให้ร่างกายและจิตใจให้มีความสมบูรณ์และ แข็งแรง เพราะในร่างกายมนุษย์นั้นมีการเจริญเติบโต และมีการเสื่อมของเซลล์ตลอดเวลา อวัยวะใดได้ ใช้งานอย่างถูกต้องเหมาะสมก็จะมีการพัฒนาประสิทธิภาพให้ดียิ่งขึ้น ส่วนอวัยวะใดที่ถูกใช้งานน้อยเกิน ไปหรือไม่ได้ใช้ก็จะเสื่อมเร็ว ดังนั้นการออกก�ำลังกายอย่างสม�่ำเสมอจนกระทั่งปฏิบัติเป็นกิจวัตรประจ�ำ วัน เป็นวิธีที่ดีที่สุดต่อการสร้างสมรรถภาพทางกาย และสามารถด�ำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีคุณภาพ
2. ลักษณะของการออกก�ำลังกาย การออกก�ำลังกายแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้
2.1 การออกก�ำลังกายแบบแอโรบิค การออกก�ำลังกายแบบแอโรบิค (Aerobic Exercise) คือ การออกก�ำลังกายที่ไม่รุนแรงมาก 7
แต่มีความต่อเนื่อง เช่น เดิน วิ่งเหยาะๆ หรือ วิ่งทางไกล ว่ายน�้ำ ถีบ จักรยาน กระโดดเชือก เต้นแอโรบิก ฯลฯ การออกก�ำลังกายแบบแอ โรบิก จึงเป็น วิธีการออกก�ำลังกายเพื่อสุขภาพ การออกก�ำลังกายชนิด นี้ใช้ทั้งแป้งและไขมันเป็นพลังงานจึงควรท�ำเป็นประจ�ำ 1) ความบ่อยในการออกก�ำลังกาย อย่างน้อยควรออก ก�ำลังกายสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ก็เพียงพอแล้วทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจ ด้วย แต่ไม่ควรหักโหม ขณะนี้เป็นที่ยอมรับกันในวงการแพทย์แล้วว่า การออกก�ำลังกายนั้น สามารถสะสมได้ เช่น ถ้าออกก�ำลังกายครั้งละ 10 นาที อย่างต่อเนื่อง เช่น การเดิน วันละ 3 ครั้ง ก็จะได้ประโยชน์เช่น เดียวกับการใช้เวลาออกก�ำลังกาย 30 นาทีครั้งเดียว 2) ความหนักของการออกก�ำลังกาย ในการออกก�ำลัง กายแต่ละครั้งนั้น ถ้าจะให้ได้ประโยชน์ ต่อระบบหมุนเวียนโลหิต จะต้องออกก�ำลังกายให้หัวใจเต้นอยู่ ระหว่าง 60-80% ของความสามารถสูงสุดที่หัวใจของคน ๆ นั้นจะเต้นได้ สูตรในการค�ำนวณ ความสามารถสูงสุดที่หัวใจจะเต้นได้ คือ 220 – อายุเป็นปี ตัวอย่าง เช่น อายุ 50 ปี ก็จะมีความสามารถสูงสุดที่หัวใจจะเต้นได้ คือ 220 – 50 = 170 ครั้ง / นาที ดังนั้น 60-80 % ของ170 จึงเท่ากับ ชีพจรระหว่าง 102 -136 ครั้ง / นาที ซึ่งเหมาะสมส�ำหรับคนอายุ 50 ปี กับการ ออกก�ำลังกายเพื่อสุขภาพ ในความเป็นจริงแล้ว การจับชีพจร ในขณะ ออกก�ำลังกาย จะท�ำได้ยาก ถ้าไม่มีเครื่องวัด ดังนั้น จึงควรใช้ ความรู้สึกของแต่ละบุคคล คือ ให้เกิดความรู้สึกว่าเหนื่อยนิด หน่อย พอมีเหงื่อออก แต่ยังสามารถพูดคุยกันได้ ระหว่างการ ออกก�ำลังกาย แสดงว่ายังไม่หักโหมเกินไป 3)ความนานในการออกก�ำลังกาย โดยทั่วไป แล้ว ควรต้องมีความต่อเนื่องกันประมาณ 20 นาทีเป็นอย่าง น้อย การออกกก�ำลังกายเพื่อสุขภาพไม่จ�ำเป็นต้องท�ำมากกว่านี้ แต่ขอให้ท�ำอย่างสม�่ำเสมอ 2.2 การออกก�ำลังกายแบบแอนแอโรบิค Anaerobic Exercise คือ การออกก�ำลังกายชนิดที่ต้องใช้ออกซิเจน หรือมีการหายใจในขณะ ออกก�ำลังกาย เป็นการบริหารให้ร่างกายเพิ่มความสามารถสูงสุดในการรับออกซิเจน ในการออกก�ำลัง กาย ร่างกายจะต้องใช้ออกซิเจนเพิ่มขึ้น ดังนั้น ในการขนส่งออกซิเจนไปยังเซลล์ของกล้ามเนื้อและอวัยวะ ที่เกี่ยวข้องและการใช้ออกซิเจนเพิ่มขึ้นนี้ ระบบการล�ำเลียงออกซิเจนไปยังจุดหมายปลายทางก็คือระบบ ไหลเวียนเลือดและระบบหายใจ จ�ำเป็นต้องท�ำงานเพิ่มขึ้นด้วย ดังนั้นการออกก�ำลังกายเป็นประจ�ำจึง ท�ำให้ระบบการไหลเวียนเลือดและระบบหายใจปรับตัวในทางดีขึ้น โดยสามารถเพิ่มการขนส่งออกซิเจน ไปยังเซลล์กล้ามเนื้อและอวัยวะที่เกี่ยวข้องได้มากขึ้น การออกก�ำลังกายแบบแอนแอโรบิคได้แก่ วิ่งระยะ 8
สั้น ยกน�้ำหนัก เทนนิส กระโดดไกล ขว้างจักร พุ่งแหลน และทุ่มน�้ำหนัก การออกก�ำลังกายชนิดใดก็ตามที่ไม่หนักพอและ ไม่เกิดผลจากการฝึก (Training Effect) จะไม่ถือว่าเป็นการ ออกก�ำลังกายแบบแอนแอโรบิคที่แท้จริง แต่อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการออกก�ำลังกายที่ไม่ถึงขั้นแอนแอโรบิก แต่ก็ยังให้ ผลดีต่อร่างกายโดยทั่วไปดีกว่าไม่ได้ออกก�ำลังกาย ซึ่งถ้า ร่างกายมีการเคลื่อนไหวมากกว่าปกติบ่อยๆ เท่ากับเป็นการป้องกันอาการของกล้ามเนื้อลีบ (Atrophy)
3. กีฬาไทย กีฬาไทยจัดเป็นศิลปวัฒนธรรมไทยแขนงหนึ่งที่มีเอกลักษณ์
มีความงดงามและทรงคุณค่า ซึ่ง บรรพบุรุษได้ค้นคิด สืบสาน ถ่ายทอดและพัฒนามาจนถึงทุกวันนี้ การเล่นกีฬานอกจากจะช่วยให้ร่างกาย ได้เคลื่อนไหวกล้ามเนื้อ สร้างความแข็งแรงและห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บแล้ว กีฬาหลายประเภทยังช่วย ให้ผู้เล่นได้ฝึกฝนสมาธิ มีความคิดสร้างสรรค์ มีไหวพริบปฎิภาน รู้จักแก้ปัญหาเฉพาะหน้า สามารถหลบ หลีกคู่ต่อสู้ได้ กีฬาบางชนิดใช้ผู้เล่นเป็นหมู่คณะ ท�ำให้ผู้เล่นรู้จักมีความรักความสามัคคี ความรับผิดชอบ ต่อหน้าที่ของตนเอง มีความเป็นน�้ำหนึ่งใจเดียวกัน ตลอดจนเป็นคนมีน�้ำใจเป็นนักกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะ และ รู้อภัย กีฬาไทยที่บรรพชนไทยค้นคิด และถ่ายทอดมาสู่ลูกหลาน บางชนิดกลายเป็นต�ำนานและความ ทรงจ�ำ และบางชนิดยังคงมีการเล่นกันอยู่ แม้ว่าจะถูกปรับเปลี่ยนไปให้ทันยุคสมัยก็ตาม แต่ด้วยความ ส�ำนึกของความเป็นไทย เราควรร่วมกันสนับสนุนและร่วมส่งเสริม ภูมิปัญญากีฬาไทย ให้อนุชนรุ่นหลังได้ รู้จักและร่วมกันอนุรักษ์ต่อไป โดยปัจจุบันกีฬาไทยแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้ 3.1 ประเภทบุคคล 1) กระบี่กระบอง กีฬาที่มาจากศิลปะการต่อสู้ ของไทย ไม่มีชาติใดเหมือน ได้รวมอาวุธหลายชนิดเข้าไว้ ด้วยกัน ช่วยพัฒนาทักษะรอบด้านชื่อกระบี่กระบองใช่ จะมีอาวุธเพียง 2 อย่างเท่านั้น แต่กีฬาประเภทนี้ได้รวม อาวุ ธ ที่ น ่ า สนใจมากมายนอกเหนื อ จากกระบี่ ก ระบอง อาทิ ดาบ ง้าว พลอง ดั้ง เขน โล่ และไม้สั้น การเล่นกีฬา ชนิดนี้จะต้องเป็นคู่กันเพื่อแข่งขันกับคู่อื่น กรรมการจะมี หลักเกณฑ์การตัดสินการแข่งขัน 4 ประเภท ได้แก่ การ แต่งกายจะเป็นแบบนักรบโบราณหรือชาวบ้านก็ได้ แต่ ต้องสวมมงคลทุกครั้ง ท่าร�ำต้องร�ำท่าเดียวไม่ต�่ำกว่า 2 ท่า ลีลาท่าร�ำต้องเข้ากับจังหวะดนตรีและเหมาะสมกับอาวุธที่ใช้ การเดินแปลงคือการเดินเข้าหากันก่อน 9
เริ่มต่อสู้ และสุดท้ายคือการต่อสู้ที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ ต่อสู้ป้องกันตัว มีเหตุผลสมจริงในแต่ละท่าที่ใช้ และไม่ เป็นการอนาจาร ก�ำหนดเวลาแสดงคู่ละประมาณ 7 นาที 2) มวยไทย ภูมิปัญญาไทยที่สร้างความ ตื่นใจไปทั่วโลก บ่งบอกถึงการต่อสู้ที่มีพิษสงรอบตัวของ บรรพบุรุษไทย ที่ได้น�ำศิลปะการใช้ส่วนต่างๆของร่างกาย ให้เป็นอาวุธที่ทั้งรุนแรงและสวยงาม มวยไทยเป็นการต่อสู้ และการป้องกันตัวด้วยมือเปล่า นักมวยต้องสวมนวมที่มือ สวมกางเกงขาสั้นและใส่กระจับ ส่วนผู้ใดจะสวมปลอกรัด ข้อเท้า และมีเครื่องลางของขลังผูกไว้ที่แขนท่อนบนก็ได้ ในการแข่งขันมีผู้ตัดสินชี้ขาดอยู่บนเวที 1 คน มีผู้ตัดสินให้คะแนนอยู่ข้างเวที 2 คนผู้จับเวลา 1 คน และ แพทย์ประจ�ำเวที 1 คน จ�ำนวนยกในการแข่งขัน 5 ยก ยกละ 3 นาที พักระหว่างยก 2 นาที อวัยวะที่ใช้ ในการแข่งขันได้คือ หมัด เท้า เข่า ศอก ศรีษะ เข้าต่อสู้ท�ำอันตรายฝ่ายตรงข้าม ขณะเดียวกันก็ปิดป้องตัว เองด้วย 3.2 ประเภททีม 1) เรือพาย การแข่งขันเรือพายต้องมีฝีพายตั้งแต่ 2-3 คนขึ้นไป 5 คน 10 คน ไปจนถึง 30 คน แต่ไม่เกิน 50 คน ก่อนจะถึงเวลาแข่งขัน เรือพายทุกล�ำต้องจับสลากเพื่อประกบคู่แข่งขันหมดทุก ล�ำ โดยให้ผู้แทนจับสลากก่อนตามกติกา ในใบสลากบอกชื่อเรือพาย บอกเที่ยวแข่งขัน บอกสายน�้ำตะวัน ตก ตะวันออก เมื่อจับสลากได้แล้ว กรรมการจะประกาศให้เรือพายทราบทันที ตัวอย่างเช่น เรือยาวชื่อ นั้นอยู่สายน�้ำตะวันออก คู่กับเรือยาวชื่อนั้นอยู่สายน�้ำตะวันตก เที่ยวแข่งขันที่เท่านั้น ท�ำแบบนี้ทุกล�ำ จนหมดเรือยาวที่ขึ้นทะเบียนไว้เป็นรอบ แข่งขันรอบที่ 1 ส่วนเรือพายที่เข้ารอบที่ 2-3 ปฏิบัติตามแบบ เดียวกันจนเหลือเรือพายที่เข้ารอบชิงชนะที่ 1-2-3 ต้องจับสลากสายน�้ำตะวันตก ตะวันออกอีกเป็นครั้ง สุดท้าย จุดปล่อยเรือพายและจุดเส้นชัยสุดท้าย ให้กรรมการตัดสินแพ้ชนะ ในระหว่างจุดปล่อยเรือพาย จนถึงจุดเส้นชัย มีทุ่นเครื่องหมายกันคู่แข่งขันเรือพายออกนอกเส้นทางที่ก�ำหนดไว้ ถ้าเรือล�ำใดวิ่งออก นอกเส้นทางที่ก�ำหนดไว้ ถือว่าผิดกติกา ต้องปรับให้แพ้ฟาวส์ แม้จะชนะก็ตาม
การแข่นขันเรือยาว เรือยอกองประเพณี 2553 ณ แม่น้ำ�ปัตตานี บริเวณเชิงสะพานเดชานุชิต จังหวัดปัตตานี ที่มา: http://www.thailongboat.com 10
2) ตระกร้อลอดห่วง วิธีการเล่นตะกร้อลอดห่วง ผู้เล่นจะยืนรอบห่วงเป็นรูปวงกลม ผู้เล่น แต่ละคนพยายามเตะลูกตะกร้อด้วยท่าทางต่างๆ ที่ก�ำหนดให้ลอยขึ้นไปเข้าห่วงชัยให้มากที่สุดเท่าที่ จะท�ำได้ ในเวลา 40 นาที โดยไม่มีการพักลูก ไม่เล่นลูกด้วยมือโดยเจตนา ไม่โต้เข้าห่วงจากโยนลูก ด้วยมือ แต่ละคนมีสิทธิโต้ลูกลงห่วงซ�้ำท่าเดียวกันได้ไม่เกิน 2 ครั้ง ท่าทางการเตะลูกตะกร้อเข้าห่วง แต่ละท่าจะมีคะแนนแตกต่างกัน เช่น หัวโหม่งได้ 10 คะแนน, ศอกซ้ายขวาได้ 10 คะแนน, ไหล่ซ้าย ขวาได้ 10 คะแนน, ขึ้นม้าได้ 8 คะแนน, พับเพียบได้ 8คะแนน ทั้งสองท่านี้ถ้าใส่บ่วงมือเข้าไปด้วย ได้ 15 คะแนน ท่ายิ่งยากยิ่งได้คะแนนมาก นอกจากนี้ จากการแพร่หลายของกีฬาสากล ได้แก่ กีฬา แบดมินตัน กีฬาเทนนิส ท�ำให้ตะกร้อได้แนวคิดจากการเล่นกีฬาสากลเหล่านั้นมาพัฒนาการเป็นการเล่น ตะกร้ออีกลักษณะหนึ่งให้มีส่วนคล้ายกับการเล่นกีฬาแบดมินตัน เรียกว่า “ตะกร้อข้ามตาข่าย” ผู้ริเริ่ม การเล่นตะกร้อข้ามตาข่าย ประกอบด้วย หลวงส�ำเร็จวรรณกิจ ขุนจรรยาวิทิต, นายผล ผลาสิทธุ์ และ นายยิ้ม ศรีหงส์ โดยมีการเล่นอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2480 จุดมุ่งหมายเพื่อการแข่งขันและการเตะ ที่หวังมิให้คู่ต่อสู้อีกฝ่ายโต้ตอบลูกตะกร้อกลับคืนมา หลังจากการแข่งขันแหลมทองครั้งที่ 2 พ.ศ. 2504 ตะกร้อข้ามตาข่ายได้มีโอกาสไปแสดงในประเทศต่างๆ ในทวีปเอเชียและได้รับความนิยมมากขึ้น
การแข่งขันกีฬาตะกร้อลอดห่วง กีฬาสานสัมพันธ์ครั้งที่ 2สำ�นักงานบำ�รุงทางธนบุรีและแขวงการทางลพบุรีที่ 1 ที่มา: http://www.doh.go.th
4. กีฬาสากล
กีฬาสากล เป็นกีฬาที่บรรจุและเป็นที่ยอมรับขององค์กรการกีฬาโลก กีฬาสากลสามารถแบ่ง ออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้ 4.1ประเภทบุคคล 1) เทเบิลเทนนิส เป็นกีฬาโดยมีผู้เล่นสองหรือสี่คน ซึ่งยืนเล่นกันคนละด้านของโต๊ะ ปิงปอง โดยตีลูกโต้กันให้ข้ามตาข่ายเน็ตกั้นกลางโต๊ะปิงปองไปมา ผู้เล่นมีสิทธิ์ให้ลูกบอลเด้งกระดอนตก พื้นโต๊ะฝั่งตนเองได้เพียง 1 ครั้งเท่านั้น แล้วจึงตีโต้ข้ามฟากให้เด้งกระดอนไปกระทบกับพื้นโต๊ะฝ่ายตรง ข้าม ถ้าลูกบอลไม่กระทบกับพื้นโต๊ะของฝ่ายตรงข้ามก็ถือว่าเสีย แต่ถ้าเป็นลูกดีฝ่ายตรงข้ามก็จะตีโต้กลับ มาฝั่งเรา เทเบิลเทนนิสเป็นเกมที่โต้รับกับอย่างรวดเร็ว ผู้เล่นที่มีฝีมือสามารถตีลูกสปินได้ ทำ�ให้บอลนั้น หมุนเร็ว ซึ่งจะทำ�ให้ฝ่ายตรงข้ามรับได้ยากยิ่งขึ้น 11
2) กรีฑา เป็นกีฬาที่เก่าแก่ที่สุดเกิดขึ้นมาพร้อมกับมนุษย์ เพราะในสมัยโบราณ กีฬา กรีฑาสามารถทำ�ให้เส้นเลือดขยายตัวส่งผลให้การไหลเวียนเลือดดี ทำ�ให้ร่างกายได้รับออกซิเจนอย่าง เพียงพอ กรีฑาแบ่งเป็น 2 ประเภท เช่น ประเภทลู่เป็นกรีฑาที่ต้องแข่งขันกันบนทางวิ่งหรือลู่วิ่งตลอด ระยะทาง และประเภทลานเป็นกรีฑาที่ต้องแข่งขันกันในสนาม ตัดสินแพ้ชนะกันด้วยระยะทาง 3) จักรยาน เป็นยานพาหนะชนิดหนึ่ง โดยปกติมีสองล้อ ถ้ามีสามล้อก็เรียก จักรยาน สามล้อ สามารถเคลื่อนที่โดยการออกแรงถีบกลไกให้ล้อหมุน การขี่จักรยานเป็นวิธีที่ง่ายและสะดวกมี ความปลอดภัยสูง การขี่จักรยานถือเป็นกีฬาชนิดหนึ่งที่สามารถแข่งขันกันได้ เช่น จักรยานภูเขา เป็นต้น 4.2 ประเภททีม 1) บาสเกตบอล บาสเกตบอลเป็นกีฬาชนิดหนึ่ง ซึ่งแบ่งผู้เล่นเป็น 2 ทีม แต่ละทีม ประกอบด้วยผู้เล่น 5 คน พยายามทำ�คะแนนโดยการโยนลูกเข้าห่วงหรือตะกร้า (basket) ภายใต้กติกา การเล่นมาตรฐาน บาสเกตบอลเป็นกีฬาที่เล่นในร่มเป็นหลัก สนามที่ใช้เล่นมีขนาดค่อนข้างเล็ก คะแนน จะได้จากการโยนลูกเข้าห่วงจากด้านบน (เรียกว่า ชู้ต, shoot) ทีมที่มีคะแนนมากกว่าในตอนจบเกมจะ เป็นฝ่ายชนะ สามารถนำ�พาลูกโดยการกระเด้งกับพื้น (เลี้ยงลูก, dribble) หรือส่งลูกกันระหว่างเพื่อน ร่วมทีม เกมจะห้ามการกระทบกระแทกที่ทำ�ให้เป็นฝ่ายได้เปรียบ (ฟาล์ว, foul) และมีกฎข้อบังคับเกี่ยว กับการครองบอล เกมบาสเกตบอลมีการพัฒนาเทคนิคการเล่นต่างๆ เช่น การชู้ต การส่ง และ การเลี้ยง ลูก รวมไปถึงตำ�แหน่งผู้เล่น (ซึ่งตามกฎแล้วไม่จำ�เป็นต้องมี) และตำ�แหน่งการยืนในเกมรุกและเกมรับ ผู้เล่นที่ตัวสูงถือเป็นข้อได้เปรียบ ถึงแม้ว่าในการเล่นแข่งขันจะควบคุม โดยกฎกติกา การเล่นรูปแบบอื่นๆ สำ�หรับเล่นผ่อนคลาย ก็มีการคิดขึ้น บาสเกตบอลยังเป็นกีฬาที่คนนิยมดูอีกด้วย 2) ฟุตบอล เป็นกีฬาประเภททีมที่เล่นระหว่างสองทีมโดย แต่ละทีมมีผู้เล่น 11 คน โดยใช้ลูกฟุตบอล เป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลาย ว่าเป็นกีฬาที่เป็นที่นิยมมากที่สุดในโลก โดยจะเล่นในสนามหญ้าสี่เหลี่ยม ผืนผ้า หรือ สนามหญ้าเทียม โดยมีประตูอยู่กึ่งกลางที่ปลายสนามทั้ง สองฝั่ง เป้าหมายคือทำ�คะแนน โดยพาลูกฟุตบอลให้เข้าไปยังประตูของ ฝ่ายตรงข้าม ในการเล่นทั่วไป ผู้รักษาประตูจะเป็นผู้เล่นเพียงคนเดียวที่ สามารถใช้มือหรือแขนกับลูกฟุตบอลได้ ส่วนผู้เล่นอื่นๆ จะใช้เท้าในการ เตะลูกฟุตบอลไปยังตำ�แหน่งที่ต้องการ บางครั้งอาจใช้ลำ�ตัว หรือ ศีรษะ เพื่อสกัดลูกฟุตบอลที่ลอยอยู่กลางอากาศ โดยทีมที่ประตูได้มากกว่าจะ เป็นผู้ชนะ ถ้าคะแนนเท่ากันให้ถือว่าเสมอ แต่ในบางเกมที่เสมอกันในช่วง เวลาปกติแล้วต้องการหาผู้ชนะจึงต้องมีการต่อเวลาเศษ และ/หรือยิงลูก โทษขึ้นอยู่กับกฎระเบียบของรายการแข่งขันนั้นๆ
12
3) วอลเลย์บอล เป็นกีฬาที่ดัดแปลงมาจากกีฬา ๓ ชนิด คือ เทนนิส เบสบอล และแฮนด์บอล เข้าด้วยกัน ทำ�ให้ผู้เล่นต้อง มีการเคลื่อนที่ ที่ต้องอาศัยความสัมพันธ์ของระบบประสาท และระบบ กล้ามเนื้อ ทำ�ให้ผู้เล่นมีสมรรถภาพทางกายที่ดี วอลเลย์บอลเป็นกีฬา ประเภททีมที่ช่วยเสริมสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ และฝึกความเป็น ผู้นำ� ผู้ตามที่ดี สามารถเล่นด้วยความสุขสนุกสนานเกิดประโยชน์ต่อ ตนเองและสังคม
5. ปัจจัยในการออกกำ�ลังกายหรือเล่นกีฬา ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการออกกำ�ลังกาย เป็นองค์ประกอบสำ�คัญ
อี ก องค์ ป ระกอบหนึ่ ง ที่ จ ะทำ�ให้ ก ารออกกำ�ลั ง กายดำ�เนิ น ไปอย่ า งมี ประสิทธิภาพ ถ้าเปรียบการออกกำ�ลังกายเสมือนต้นไม้ ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง กับการออกกำ�ลังกายก็คือ กิ่ง ก้าน และใบ ซึ่งต่างก็มีหน้าที่ที่จะทำ�ให้ ต้นไม้นั้นเจริญงอกงามมีดอกผลต่อไป และหากส่วนประกอบของต้นไม้ ส่วนใดส่วนหนึ่งไม่สามารถทำ�หน้าที่ของมันได้ ต้นไม้นั้นก็จะเหี่ยวแห้ง และตายไปในที่สุด แต่ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการออกกำ�ลังกายมีด้วยกันหลายด้าน ในที่นี้จะขอกล่าวถึง ปัจจัยบางประการที่เกี่ยวข้องกับการออกกำ�ลังกายเท่านั้น สภาพอากาศกับการออกกำ�ลังกาย อากาศร้อน อากาศร้อนมีผลต่อสมรรถภาพทางกายขณะออกก�ำลังกายอย่างมาก ถ้าเป็นกีฬาที่อาศัยความ เร็ว ความว่องไว และใช้เวลาเล่นครั้งละไม่นาน มีช่วงพักระหว่างแข่งขัน เช่น วิ่งระยะสั้น อากาศร้อน จะกระตุ้นให้สมรรถภาพทางกายสูงขึ้นได้ แต่ในการออกก�ำลังกายทั่วๆ ไปที่ใช้เวลานานกว่า 3 นาทีจะ มีความร้อนเกิดขึ้นในร่างกายและร่างกายต้องมีวิธีการระบายความร้อนออก ซึ่งได้แก่การน�ำความร้อน ออกโดยตรงระหว่างร่างกายกับอากาศ การพาความร้อน โดยการเคลื่อนที่ของอากาศหรือลม การแผ่รังสี และที่ส�ำคัญที่สุดคือ การหลั่งเหงื่อ ซึ่งเป็นวิธีส�ำคัญที่สุดในการระบายความร้อน เพราะขณะเหงื่อระเหย จะต้องใช้ความร้อนแฝงซึ่งดึงมาจากร่างกายนั่นเอง แต่ในขณะที่อากาศร้อนและมีความชื้นสูงการระเหย ของเหงื่อจะท�ำได้ไม่ดี ร่างกายต้องเพิ่มจ�ำนวนเหงื่อให้มากขึ้น ดังนั้นหัวใจและระบบไหลเวียนเลือด จึงต้องท�ำงานมากขึ้น หัวใจเต้นเร็วขึ้น นอกจากนี้ความสามารถในการหดตัวของกล้ามเนื้อยังเลวลง เนื่องจากอุณหภูมิของร่างกายที่สูงขึ้น และจะเพิ่มการท�ำงานของระบบอื่นๆ ของร่างกายท�ำให้ร่างกาย ต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นอีกด้วย ฉะนั้นผลรวมที่เห็นคือสมรรถภาพทางกายลดลงมาก และถ้าปฏิบัติตัวไม่ ถูกต้องขณะออกก�ำลังกายในอากาศร้อนชื้นจะน�ำอันตรายมาสู่ร่างกายอย่างมาก ผู้ที่ต้องการออกก�ำลัง กายเพื่อสุขภาพ และนักกีฬาทั่วๆ ไปที่ต้องการฝึกความอดทนควรจะเลือกออกก�ำลังกายในเวลาเช้าหรือ เย็นที่อากาศไม่ร้อนจัด ยกเว้นนักกีฬาที่ต้องการความเร็วและความว่องไว ซึ่งอาจฝึกในเวลาบ่ายได้ 13
การเสียเหงื่อ การป้องกัน และการชดเชย เหงื่อมีความเข้มข้นของเกลือประมาณ 0.12 – 0.4 % ซึ่ง น้อยกว่าความเข้มข้นของเลือดมากเพราะในเลือดมีเกลือประมาณ 0.9 % เมื่อมีการเสียเหงื่อมากขึ้นจะเป็นการเสียน�้ำมากกว่าการเสียเกลือผู้ที่ เสียเหงื่อมากจะรู้สึกเพลีย ความอดทนของร่างกายลดลง เหนื่อยง่าย ขึ้น ที่ส�ำคัญที่สุดคือรู้สึกกระหายน�้ำมาก ปากแห้ง ซึ่งถ้าเป็นดังนี้เรียก ว่ามี อาการเพลียแดด (Heat Exhaustion) มักเกิดขึ้นกับผู้ที่ไม่คุ้นเคย กับการออกก�ำลังกายมาก่อน ท�ำให้ร่างกายไม่ชินต่อการแก้ไขภาวะ ที่อุณหภูมิของร่างกายสูงขึ้น และต้องเพิ่มการไหลเวียนเลือดและการท�ำงานของหัวใจ การป้องกันการ เพลียแดด อาจท�ำได้โดย การดื่มน�้ำก่อนการออกก�ำลังกาย 10 นาที ประมาณ 1 แก้ว ไม่ควรดื่มมากกว่า นี้ เพราะร่างกายจะขับออกเป็นปัสสาวะขณะออกก�ำลังกาย ถ้ารู้สึกปากแห้ง กระหายน�้ำ เพลียขณะออก ก�ำลังกายอาจดื่มน�้ำธรรมดาครั้งละไม่เกิน 1 แก้ว ทุกๆ 10 – 15 นาทีจนหายกระหายน�้ำ ถ้าออกก�ำลัง กายเกิน 1 ชั่วโมงแล้วต่อไปควรดื่มน�้ำผลไม้ที่ผสมให้จางกว่าปกติ 2 – 3 เท่า และเติมเกลือแกงเล็กน้อย น�้ำผลไม้มีประโยชน์มากเพราะช่วยชดเชยเกลือโพแทสเซี่ยมที่ร่างกายสูญเสียไปกับเหงื่อ หลังการออกก�ำลังกายแล้วควรพักในที่ร่ม ใช้ผ้าชุบน�้ำเช็ดตัวเพื่อลดความร้อน เครื่องดื่มที่เหมาะ สมหลังออกก�ำลังกายคือ น�้ำผลไม้ที่ผสมเกลือแกงเล็กน้อย ดื่มได้ตามความต้องการของร่างกาย (อาจ สังเกตปริมาณน�้ำที่เสียไปได้จากน�้ำหนักตัวที่ลดลง) และเมื่อน�้ำและเกลือได้รับการทดแทนพอเพียงแล้ว จะไม่มีอาการกระหายน�้ำ ไม่เพลียและเหนื่อยมาก หลังพักผ่อนแล้วถ้าไม่ได้รับประทานผลไม้หรืออาหาร ว่างด้วย ก็ไม่ควรดื่มน�้ำเปล่าอย่างเดียวมากเกินไปกว่า 2 แก้วในครั้งเดียวกัน การดื่มน�้ำอย่างเดียวใน ปริมาณมากและเวลาจ�ำกัดท�ำให้ความเข้มข้นของเกลือแร่ภายนอกเซลล์ลดลงอย่างรวดเร็ว จนอาจเกิด ภาวะมีน�้ำเกิน ซึ่งท�ำให้เซลล์ของสมองบวมจากการที่น�้ำนอกเซลล์มากขึ้น เกิดอาการเป็นพิษจากภาวะ น�้ำเกิน (Water Intoxication) คือ เวียนศรีษะ ปวดร้าวในสมอง ฯลฯ หลังการออกก�ำลังกายเป็นเวลานานกว่า 1 ชั่วโมง ไม่ควรดื่มน�้ำธรรมดาอย่างเดียว เพราะ เป็นการชดเชยน�้ำอย่างเดียว ท�ำให้มีภาวะขาดเกลือได้ และเกลือที่ส�ำคัญคือเกลือโพแทสเซี่ยมซึ่งเสียไป เป็นจ�ำนวนมากขณะออกก�ำลังกาย การชดเชยเกลือที่ขาดโดยกินแต่เกลือแกง ไม่อาจทดแทนการขาด โพแทสเซี่ยมได้ดังนั้น น�้ำผลไม้จึงเป็นสิ่งที่ทดแทนที่เหมาะสมที่สุด อากาศเย็น การเล่นกีฬาหรือออกก�ำลังกายในภาวะอากาศเย็น มักท�ำได้นานกว่าในสภาวะอากาศร้อน ทั้งนี้ เพราะการออกก�ำลังกายในอากาศร้อนนั้นร่างกายจะสูญเสีย น�้ำและเกลือแร่มากกว่าในขณะอากาศเย็นแต่อากาศเย็นจะมี สมบัติประการหนึ่งที่เป็นอุปสรรคต่อการออกก�ำลังกาย หรือ เล่นกีฬาก็คือความแห้งของอากาศซึ่งจะส่งผลให้มีอาการเหนื่อย เร็ว คอแห้ง หายใจไม่ทันจากการที่ทางเดินของอากาศขาดความ ชุ่มชื้น ดังนั้นผู้ออกก�ำลังกายหรือนักกีฬาจึงควรฝึกร่างกายให้คุ้น 14
เคยกับสภาพภูมิอากาศที่เย็นเสียก่อนและอบอุ่นร่างกายก่อนการออกก�ำลังกายให้นานมากขึ้นหรือการ สวมใส่เสื้อผ้าที่เหมาะสม เช่น การใช้ชุดวอร์มซึ่งค่อนข้างได้ผลดี โดยทั่วไปควรเลือกการออกก�ำลังกายในตอนเช้าหรือเย็น เลือกเครื่องแต่งกายและสถานที่ ที่ เหมาะสม ถ้าจ�ำเป็นต้องออกก�ำลังกายในอากาศร้อนจัดและเป็นเวลานานกว่า 1 ชั่วโมง การทดแทนน�้ำ และเกลือแร่ที่ถูกต้องดังกล่าวข้างต้น เป็นสิ่งส�ำคัญที่ต้องค�ำนึงถึงด้วย
6. แนวทางการประเมินตนการเล่นกีฬาของตนเองและผู้อื่น ก่อนจะมีการเล่นกีฬา ควรจะมีการประเมินตนเองและผู้อื่นก่อนการเล่น เพื่อให้สามารถวางแผน
การเล่นและเตรียมการเล่นได้อย่างเหมาะสม ดังนี้ 1) ด้านการมีสุขภาพทางกาย หมายถึง อวัยวะทุกๆ ส่วนของร่างกายสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ อย่างมีประสิทธิภาพ มีความสมบูรณ์ แข็งแรง และปราศจากโรค คณะกรรมการนานาชาติ เ พื่ อ จั ด มาตรฐานการทดสอบความสมบู ร ณ์ ท างด้ า นร่ า งกาย (International for the Standardization of Physical fitness Test) ได้จ�ำแนกความสมบูรณ์ทางกาย ออกเป็น 7 ประเภท คือ 1. ความเร็ว (Speed) คือ ความสามารถของร่างกายในการเคลื่อนที่จากที่หนึ่งไปยังอีก ที่หนึ่ง โดยใช้ระยะเวลาสั้นที่สุด 2. พลังกล้ามเนื้อ (Muscle Power) คือ ความสามารถของกล้ามเนื้อในการท�ำงานอย่าง รวดเร็ว และแรงในจังหวะของกล้ามเนื้อหดตัวหนึ่งครั้ง เช่น ยืนกระโดดไกล 3.ความแข็ ง แรงของกล้ า มเนื้ อ (Muscle Strength) คือ ความสามารถของกล้ามเนื้อ ที่หดตัว เพียงครั้งเดียวโดยไม่จ�ำกัดเวลา เช่น การยกน�้ำ หนัก เป็นต้น 4. ความอดทนของกล้ามเนื้อ (Muscle endurance, Anaerobic Capacity) คือ ความ สามารถของกล้ามเนื้อที่ได้ประกอบกิจกรรมซ�้ำซากได้เป็นระยะเวลานานอย่างมีประสิทธิภาพ 5. ความคล่องตัว (Agility) คือความสามารถของร่างกายทีจ่ ะบังคับควบคุมในการเปลีย่ น ทิศทางของการเคลื่อนที่ได้ด้วยความรวดเร็วและแน่นอน 6. ความอ่อนตัว (Flexibility) คือ ความสามารถของข้อต่อต่างๆ ในการที่จะเคลื่อนไหว ได้อย่างกว้างขวาง 7. ความอดทนทั่วไป (General endurance) คือ ความสามารถในการท�ำงานของ ระบบต่างๆ ในร่างกายที่ท�ำงานได้นานและมีประสิทธิภาพ 15
2) ด้านทักษะการเล่นกีฬา มีความแตกต่างกันขึ้น อยู่กับทักษะหรือความสามารถของแต่ละบุคคล และกีฬา แต่ละชนิดด้วย แม้กระทั้งจะเป็นกีฬาชนิดเดียวกัน แต่ ทักษะระหว่างผู้เล่นในทีมจะแตกต่างกัน ดังนั้นการที่ผู้เล่น ต้องการพัฒนาทักษะของตนให้ดีขึ้นนั้นควรประเมินตนเอง ว่าตนมีจุดด้อยและจุดเด่นในทักษะใดบ้าง รวมถึงผู้เล่นอื่นๆ เพื่อพัฒนาการเล่นในทีมให้ดียิ่งขึ้น 3) ด้านยุทธวิธีการเล่นกีฬา เป็นสิ่งที่นักกีฬาจะ ต้องรู้ เพื่อประสบผลส�ำเร็จในการเล่นกีฬา ซึ่งประกอบด้วย ยุทธวิธีส่วนบุคคล เช่นการแยกตัวรับลูก การคุมคน การส่ง ลูก การเลี้ยงผ่านหรือเลี้ยงหลบคู่ต่อสู้ และการเข้าแย่งบอล เป็นต้น 4) ด้านจิตใจ การมีสภาพจิตใจที่เข้มแข็งเป็นสิ่งจ�ำเป็นที่นักกีฬาทุกคนจะต้องตระหนัก เพื่อ ประสบความส�ำเร็จในการเล่น เพราะการเล่นกีฬาย่อมมีแพ้และชนะ ถ้าเรามีจิตใจที่เข้มแข็ง เราก็สามารถ ที่จะควบคุมอารมณ์และพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมได้ อีกทั้งยังไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อทีม และภาพลักษณ์ ของผู้เล่นด้วย
7.ความสามารถและความแตกต่างระหว่างบุคคล ความสามารถและความแตกต่างระหว่างบุคคลในการเล่นกีฬา ดังนี้
1) อายุ วัยต่างๆ มีความเหมาะสมกับประเภทกีฬาไม่เหมือนกัน เด็กที่อยู่ในวัยเจริญเติบโต ร่างกายมีความทนทานกว่าผู้ใหญ่ การออกก�ำลัง กายจึงต้องไม่หักโหม ส่วนเด็กที่อายุต�่ำกว่า 8 ขวบสมรรถภาพในการร่วม งานของกล้ามเนื้อยังต�่ำ ในวัยผู้ใหญ่ สมรรถภาพด้านความแข็งแรง ความเร็ว และความคล่องตัวจะฝึกได้ดีเมื่อายุ 25 - 30 ปี 2) เพศ ถ้าเปรียบเทียบระหว่างหญิงกับชายจะมีความแตกต่าง สมรรถภาพทางกาย คือรูปร่างของหญิงจะด้อยกว่าชาย น�้ำหนักเฉลี่ยน้อย กว่าและส่วนของน�้ำหนักที่เป็นกล้ามเนื้อน้อยกว่า ด้วยเหตุนี้จึงไม่อาจฝึกให้ ผู้หญิงเล่นกีฬาเทียบเท่ากับผู้ชายได้ 3) สภาพร่างกาย เป็นผลมาจากกรรมพันธุ์ และอิทธิพลจากสิ่ง แวดล้อม รูปร่างของนักกีฬาหลายประเภทจะมีลักษณะจ�ำเพาะส�ำหรับกีฬานั้นๆ เช่น บาสเกตบอล วอลเล่ย์บอล จะต้องตัวสูง ส่วนนักวิ่งระยะไกลมีลักษณะผอมบาง เป็นต้น 4) พรสวรรค์ เป็นความสามารถในการรับการฝึก (เฉพาะอย่างยิ่งการฝึกเทคนิค) ของคนจะ ต่างกัน เช่น บางคนให้ปฏิบัติเพียง 2-3 ครั้ง ก็สามารถท�ำได้อย่างดี แต่บางคนก็ไม่สามารถท�ำได้ 16
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 สาระที่ 3 การเคลื่อนไหว การออกก�ำลังกาย การเล่นเกม กีฬาไทย และกีฬาสากล มาตรฐาน พ 3.2 รักการออกก�ำลังกาย การเล่นเกม และการเล่นกีฬา ปฏิบัติเป็นประจ�ำอย่าง สม�่ำเสมอ มีวินัย เคารพสิทธิ กฎ กติกา มีน�้ำใจนักกีฬา มีจิตวิญญาณในการแข่งขัน และชื่นชมใน สุนทรียภาพของการกีฬา
ตัวชี้วัด 1. อธิบายความส�ำคัญของการออกก�ำลังกายและเล่นกีฬา จนเป็นวิถีชีวิตที่มีสุขภาพดี สาระการเรียนรู้แกนกลาง 1. ความส�ำคัญของการออกก�ำลังกายและเล่นกีฬา จนเป็นวิถีชีวิตที่มีสุขภาพดี 2. การออกก�ำลังกาย เช่น กายบริหารแบบต่างๆ เต้นแอโรบิก โยคะ ร�ำมวยจีน
17
การเจริญเติบโตและการเสื่อมโทรมของอวัยวะต่างๆ อาจเป็นไปตามกฎธรรมชาติ แต่การออก ก�ำลังกายก็เป็นวิธีทางธรรมชาติ ที่มีผลท�ำให้อวัยวะมีการเจริญเติบโตเต็มศักยภาพ มีความสมบูรณ์และ แข็งแรง ชะลอการเสื่อมและมีการพัฒนาทั้งรูปร่างและความสามารถในการท�ำงาน ทั้งนี้การออกก�ำลัง กายนั้นจะต้องเป็นไปอย่างถูกต้องและเหมาะสม แต่ถ้าขาดการออกก�ำลังกายหรือมีการใช้อวัยวะต่างๆ ไม่ถูกต้องและเหมาะสมแล้ว จะส่งผลให้อวัยวะเหล่านั้นเจริญเติบโตช้า ไม่สมบูรณ์และไม่แข็งแรง โอกาส ที่จะเสื่อมโทรมมีมากขึ้นและอาจเป็นสาเหตุของการน�ำโรคได้ง่าย ดังนั้นการออกก�ำลังกายเพื่อสุขภาพ เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ทุกเพศทุกวัยได้ปฏิบัติอย่าง สม�่ำเสมอ เพื่อให้มีสุขภาพที่แข็งแรง ระบบไหลเวียนโลหิตท�ำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ การเคลื่อนไหว ของกล้ามเนื้อมีความยึดหยุ่นและแข็งแรง ซึ่งการออกก�ำลังกายมีหลายประการ อาทิ เช่น เต้นแอโรบิก ฝึกโยคะ และร�ำมวยจีน เป็นต้น
1. การเต้นแอโรบิก (Aerobic Dance)
เป็นการขยับร่างกายของคุณไปตามจังหวะของเพลง ท�ำให้กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ สามารถท�ำงาน ได้อย่างต่อเนื่อง ท�ำให้กล้ามเนื้อกระชับ ไม่หย่อนไปตามแรงโน้มถ่วงของโลก หรือหย่อนก่อนวัยอันควร 1.1 ประโยชน์ของการเต้นแอโรบิก 1. ท�ำให้ระบบไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ซึ่งการเต้นแอโรบิก เราจะได้ออกก�ำลังกาย ขยับร่างกายทุกๆส่วน ท�ำให้ระบบไหลเวียนเลือดผ่านในร่างกาย สูบฉีดอย่างเต็มที่ ช่วยเพิ่มเส้นเลือดฝอย และในช่วงแรกของการเต้นเราจะเหนื่อยง่าย เพราะว่าร่างกายยังมิได้ปรับสภาพ แต่หลังจากออกก�ำลัง กายไปสักสองสามวันแล้ว ร่างกายจะเริ่มสร้างกล้ามเนื้อขึ้นมา ท�ำให้การท�ำงานของหัวใจไม่หนัก และไม่ เหนื่อยง่าย 2. ท�ำให้ไม่เป็นโรคความดันโลหิตสูง ก็คือเมื่อเราออกก�ำลังกายหัวใจก็สามารถสูบฉีด เลือดไปตามเส้นเลือดได้เต็มที่ ไม่ไปอุดตันตามเส้นเลือด ท�ำให้ความดันโลหิตปรกติ 3. ท�ำให้ระบบหายใจดีขึ้น ปอดจะมีการขยายเมื่อเราออกก�ำลังกายท�ำให้เราได้รับ ออกซิเจนเพิ่มมากขึ้นยิ่งถ้าได้ออกก� ำลังกายตามสวนสาธารณะแล้วจึงท� ำให้เราได้รับออกซิเจนจาก อากาศบริสุทธิ์มากขึ้นด้วย 4. ระบบเคมีในเลือดดีขึ้น การออกก�ำลังกายจะช่วยให้ร่างกายเผาผลาญไขมัน เมื่อไข มันถูกเผาผลาญไปแล้ว ก็จะไม่อุดตันทางเดินของโลหิต ท�ำให้เลือดของเราเดินทางได้สะดวก ไม่ก่อให้เกิด โรคทางเดินระบบโลหิตอุดตัน 5. การออกก�ำลังกายจะช่วยเพิ่ม HDL เป็นตัวที่ช่วยลดระดับน�้ำตาลในเลือด ท�ำให้ไม่ เกิดน�้ำตาลส่วนเกิน ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคเบาหวาน 6. ในด้านระบบประสาทและจิตใจ จะช่วยให้สามารถลดภาวะความเครียดได้ เพราะ เราจะจดจ่อต่อเรื่องการเต้นให้ทัน 7. การออกก�ำลังกาย จะท�ำให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลาย สบายใจ สบายกาย เพราะจะมี การหลั่งสาร เอนโดรฟิน หรือสารแห่งความสุขออกมาท�ำให้รู้สึกผ่อนคลาย 18
1.2 เครื่องแต่งกายส�ำหรับการเต้นแอโรบิก 1) ชุดเต้นแอโรบิก ต้องสวมเสื้อผ้าที่สะดวกและคล่องตัวง่ายในขณะที่เคลื่อนไหว ชุด เต้นแอโรบิกไม่ควรรัดหรือหลวมจนเกินไป สามารถระบายความร้อนจากร่างกายได้ดี และควรแต่งกาย ให้อยู่ในกฎการแต่งกายของอิสลาม 2) ชุดชั้นใน ควรเลือกเสื้อชั้นในให้พอดีกับรอบๆทรง และไม่เป็นอุปสรรคในการเต้น ส่วนกางเกงใน ไม่ควรใส่แบบที่รัดมาก เพราะท�ำให้ไม่สะดวกในการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ ดังนั้น ควร เลือกชุดชั้นในที่สะดวกในการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อและรู้สึก สบายตัวเมื่อเต้น 3)รองเท้าและถุงเท้า รองเท้าที่ใช้ควรเป็นรองเท้า ที่เหมาะแก่การเต้น หากใช้รองเท้าไม่ ถูกต้องจะท�ำให้ปวดสะโพก หัวเข่า และข้อเท้าได้ และควรเลือกรองเท้าที่พอดีกับเท้าของตัวเอง รองเท้าควรมีความนิ่มเป็นพิเศษ มีน�้ำหนักเบา มีความยืดหยุ่นดี สวมใส่สบาย พื้นรองเท้าไม่แข็งจนเกินไป ส�ำหรับถุงเท้านั้น ไม่บาง หรือหนาจนเกินไป สามารถซับเหงื่อและระบายความร้อนได้ดี 1.3 มารยาทในการเต้นแอโรบิกตามหลักการอิสลาม การเต้นแอโรบิกเป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้มีการพบปะสมาคมกับบุคคลอื่นๆเป็นจ�ำนวนมาก ดังนั้นเราจึงควรที่จะปฏิบัติตนให้ถูกต้อง เหมาะสม และมีมารยาทที่ดีในการเต้นแอโรบิก ดังนี้ 1. การแต่งกายต้องเหมาะสม ปลอดภัย แต่งกายถูกต้องตามหลักการอิสลาม (ปกปิด เอาเราะหฺ) 2. เตรียมอุปกรณ์ในการเต้นแอโรบิกให้พร้อม 3. ให้เกียรติกับบุคคลอื่นในขณะเต้นแอโรบิก 4. ไม่หัวเราะหรือแสดงท่าทางล้อเลียนบุคคลอื่น 5. ไม่ควรกินขนม หรือเคี้ยวหมากฝรั่งในขณะเต้นแอโรบิก 6. ต้องปฏิบัติขั้นตอนของการเต้นแอโรบิก 7. ไม่เต้นในท่าที่โลดโผนอันจะก่อให้เกิดอันตรายทั้งต่อตนเองหรือผู้อื่น 8. ควรเต้นแอโรบิกให้ต่อเนื่องจนจบ 9. เต้นแอโรบิกอย่างสนุกสนาน และอยู่ในกรอบของอิสลาม 10. เมื่อสิ้นสุดการเต้นแอโรบิกควรแสดงมารยาทด้วยการปรบมือ ให้กับผู้น�ำเต้นและ เพื่อนๆ ที่ร่วมเต้นแอโรบิก 11. ถึงแม้ว่าการเต้นแอโรบิกจะเป็นกิจกรรมที่มีการพบปะทางสังคม แต่ต้องแยกกัน ระหว่างชายหญิงเพื่อป้องกันการเกิดฟิตนะหฺ หรือการกระท�ำที่ไม่เหมาะสมระหว่างชายหญิง 1.4 หลักการเต้นแอโรบิก 1. ระยะเวลาที่เหมาะสมในการออกก�ำลังกายแบบแอโรบิก คือ 30-45 นาที 2. พื้นที่ใช้สอนควรเป็นพื้นไม้เนื้อนิ่ม มีความยืดหยุ่นตัว ถ้าได้เบาะฟองน�้ำรองยิ่งดี ควร 19
หลีกเลี่ยงการใช้พื้นคอนกรีตหรือปาร์เก้ เพราะอาจท�ำให้เกิดผลต่อข้อต่อเข่า ข้อเท้า ฯลฯ ของผู้ที่ออก ก�ำลังกาย 3. ควรสวมใส่รองเท้าส�ำหรับเต้นแอโรบิก ซึ่งมีพื้นนิ่มสวมใส่สบาย จะช่วยลดการ กระแทกของน�้ำหนักตัวกับพื้นได้ 4. ขณะสอนควรเน้นระบบหายใจ เพื่อที่จะให้ผู้ฝึกได้รับ ออกซิเจน มากที่สุดขณะฝึก 5. ก่อนเสร็จสิ้นการฝึก ควรให้ผู้ได้รับการฝึกมีอัตราการเต้นของชีพจรใกล้เคียงกับ ชีพจรในระยะปกติ 1.5 ขั้นตอนในการเต้นแอโรบิก การเต้นแอโรบิก แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนดังนี้ 1. อบอุ่นร่างกาย (WARM UP หรือ STRETHING EX.) ควรใช้เวลา 10-15 นาที และชีพจรไม่ควรเกิน 100 ครั้ง/นาที 2. ช่วงแอโรบิกหรือช่วงสร้างความอดทนให้ กับร่างกาย ควรใช้เวลา 15-20 นาที ชีพจรในช่วงนี้ควรจะถึงเป้าที่ก�ำหนด คือ ( 220 - อายุ ) X .6 = ขั้นเริ่มต้นส�ำหรับคนที่ไม่เคยออกก�ำลังกาย ( 220 - อายุ ) X .7 = ขั้นกลาง ( 220 - อายุ ) X .8 = ขั้นสูง 3. ช่วง WARM DOWN หรือ COOL DOWN เป็นช่วงลดอัตราชีพจร ในช่วงนี้เป็นการสร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อส่วนต่างๆของร่างกาย เช่น แขน ขา หน้าห้อง ฯลฯ ควรใช้เวลา 10-15 นาที
2.โยคะ โยคะเป็นการออกก�ำลังกายชนิดหนึ่ง
เป็นการฝึกเพื่อพัฒนาร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณ เป็นการเตรียมกายใจให้พร้อมเพื่อเสริมสร้างสมดุล ให้เกิดขึ้นทั้งร่างกายและจิตใจ ในการฝึกโยคะผู้ฝึกโยคะทุกคนต้องยึดถือ และปฏิบัติโดยเคร่งครัดเพื่อให้สามารถป้องกันรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ การที่มีสมดุลภายในร่างกายและ จิตใจที่ดีจะมิให้บังเกิดโรคได้ 2.1 ประโยชน์ของการฝึกโยคะ 1. เพิ่มการไหลเวียนของเลือด ปรับระดับความดันเลือดให้เป็นปกติ บ�ำบัดโรคที่เกี่ยวกับเลือดไม่ ดี โรคภูมิแพ้ ลมหมักหมม ผิวพรรณที่ไม่ผ่องใส สมองไม่ปลอดโปร่ง มึนศีรษะง่าย 2. ด้านกายภาพบ�ำบัด - กล้ามเนื้อ ข้อต่อ และเอ็น มีความยืดหยุ่นมากขึ้น ท�ำให้การเดินคล่องขึ้น การทรงตัว ดีขึ้น - กระดูกสันหลังถูกปรับให้เข้าสภาพปกติ ป้องกันอาการปวดหลัง ปวดต้นคอ หรือ ปวด ศีรษะ และปรับรูปร่างให้สมดุล กระดูกไม่งอ ไหล่ไม่เอียง
20
- ท่าบริหารโยคะบางท่าถูกดัดแปลงใช้กับคนชรา และคนพิการเพื่อสามารถฝึกบนเตียง หรือบนรถเข็นได้ 3. กระตุ้นสมองให้มีความจ�ำดีขึ้น - การผ่อนคลายลึกๆ หลังการฝึก ท�ำให้เกิดคลื่นอัลฟา มีผลต่อการผ่อนคลายต่อสมอง - คลายความเครียด แก้โรคนอนไม่หลับ 4. นวดอวัยวะภายในให้แข็งแรงขึ้น เช่น หัวใจ มดลูก กระเพาะอาหาร ตับ ไต เป็นต้น ท�ำให้ ระบบย่อยอาหารดีขึ้น เลือดไปที่ไตล้างไตให้สะอาดขึ้น ระบบการหายใจจะโล่งขึ้น ท�ำให้การเผาผลาญ แคลอรีในร่างกายเพิ่มขึ้น ได้พลังงานเสริมความแข็งแรง 5. ใบหน้าดูอ่อนเยาว์ - ร่างกายมีสัดส่วนดีขึ้น สวยงามขึ้น - ช่วยควบคุมน�้ำหนักได้อย่างดี 6. ด้านจิตบ�ำบัด - จิตสงบและมีสมาธิมากขึ้น - ลดความวิตกกังวลและอาการที่ตื่นกลัว - นักกีฬา นักเต้นร�ำ นักแสดง อาจใช้โยคะเพื่อก�ำจัดความตึงเครียดของกล้ามเนื้อ และ เพิ่มสมาธิก่อนการแข็งขัน ก่อนการแสดง - นายแพทย์ ดีน ออร์นิช ผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจจากแคลิฟอร์เนีย ได้ผสมผสานโยคะแบบ ใหม่ในการรักษาผู้ป่วย โรคหัวใจ - โครงการช่วยเหลือผู้ป่วยโรคมะเร็ง และศูนย์วิจัยในแคลิฟอร์เนีย สอนโยคะให้ผู้ป่วย ในระยะสุดท้าย เพื่อให้รู้สึกสงบ 7. เพศสัมพันธ์บกพร่อง สามารถบรรเทา หรือแก้ไขได้ด้วยท่าโยคะหลาย ๆ ท่า 2.2 การเตรียมความพร้อมส�ำหรับการฝึกโยคะ 1. อย่ากินอาหารอิ่มเกินไป ควรฝึกก่อนหรือหลังอาหาร อย่างน้อย 1 - 2 ชม. 2. ไม่อ่อนเพลียมาก, หิวมาก, เป็นไข้, หนาวมาก, ร้อนมาก, หรือมีอาการเมาค้างอยู่ และควรขับถ่าย ให้เรียบร้อยก่อนการฝึก 3. สตรีมีครรภ์ และสตรีที่อยู่ในช่วงมีรอบเดือน ( เฉพาะวันมามาก ) ห้ามฝึก หมายเหตุ สตรีมีครรภ์ ตั้งแต่ 4 เดือนขึ้นไป สามารถฝึกโยคะส�ำหรับผู้มีครรภ์ได้ ภายใต้ความควบคุมของครูฝึกที่มี ประสบการณ์ และควรได้รับการอนุญาตจากสูตินารีแพทย์ 4. ผู้ที่ผ่านการผ่าตัดมาแล้ว 3 - 6 เดือน ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มฝึก 5. แต่งกายด้วยเสื้อผ้าสบายๆ เช่น เสื้อยึด กางเกงขายาว หรือขาสั้น ส�ำหรับชุดออก ก�ำลังกาย ต้องไม่ รัดแน่น เกินไป 6. ไม่สวมแว่นตา นาฬิกา เครื่องประดับที่รกรุงรัง 7. สถานที่ฝึกควรเงียบสงบ (ควรปิดเครื่องมือสื่อสารทุกชนิดขณะฝึก) สะอาด และไร้ ฝุ่นละออง เพื่อป้องกันการแพ้ฝุ่น 21
8. เลือกเวลาฝึกตามสะดวกแต่เวลาที่ดีคือ ช่วงเช้าก่อนเวลาทานอาหาร ถ้าฝึกช่วงบ่าย ควรหาที่ ไม่ร้อนเกินไป 9. ฝึกท่าวอร์มร่างกายก่อนการฝึกทุกครั้ง และแต่ละท่าให้ท�ำซ�้ำ 3 - 5 ครั้ง ขึ้นอยู่กับ สภาพร่างกาย ของแต่ละ บุคคล 10. ถ้าเกิดอาการเจ็บปวด แม้จะเล็กน้อยระหว่างฝึก ให้หยุดฝึกทันที แล้วนอนหงาย ผ่อนคลายอาการ เจ็บปวด ก่อนที่จะฝึกท่าต่อไป และให้บันทึกอาการเจ็บปวดไว้ เพื่อปรึกษาครูฝึกโยคะ ที่มี ประสบการณ์ 11. ก่อนจบการฝึกทุกครั้งจะต้องจบด้วย ท่าศพอาสนะทุกครั้ง โดยให้หายใจ เข้า ลึกๆ และหายใจ ออก ยาวๆ อย่างช้าๆ 30 - 40 รอบ หายใจ 12. ก่อนลุกขึ้นจากท่านอน ควรตะแคงตัวจากท่านอนเป็นท่านั่งทุกครั้ง เพื่อป้องกัน การปวดหลัง
ค�ำเตือนก่อนการฝึกโยคะ 1. อุ่นร่างกาย ( warm-up ) ก่อนการฝึกทุกครั้ง เช่น ท่าวอร์มแขน ท่าไหว้พระอาทิตย์ เบื้องต้น ท่าวอร์มหลัง 2. ศึกษาท่าบริหารแต่ละท่าให้เข้าใจดีก่อนฝึก 3. เริ่มฝึกช้า ๆ ค่อยเป็นค่อยไป อย่าเร่ง หรือฝืนท�ำ ห้ามแข่งขัน 4. ฟังสัญญาณเตือนจากร่างกายระหว่างฝึก ถ้ารู้สึกเจ็บอย่าฝืนท�ำ ให้หยุดสักครู่ด้วย ท่าผ่อนคลาย ท่าหงาย จนกว่าจะรู้สึกดีขึ้น 5. อย่าฝึกท่า "ท่าห้าม" ของแต่ละบุคคล(ที่มีปัญหาจากโรคประจ�ำตัว หรือมีปัญหา ด้านกระดูก) 6. ถ้าไม่เข้าใจการฝึกดีพอ และอยากมีครูแนะน�ำ ควรหาครูฝึกที่ได้มาตรฐาน
2.3 มารยาทในการฝึกโยคะ 1. การก�ำหนดจิต (Concentration) ให้เป็นหนึ่งเดียวกับการฝึกโดยไม่วอกแวก จะ ท�ำให้จิตสงบเข้าถึงสมาธิได้ดีขึ้น 2. ห้ามแข่งขัน หรือคุยกันระหว่างการฝึก 3. ควรอดทน และขยันฝึกเป็นประจ�ำ 4. ไม่ควรออกก�ำลังกายอย่างหนักก่อนการฝึกโยคะ 5.ควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายตามข้อจ�ำกัดธรรมชาติร่างกายของแต่ละบุคคล อย่าฝืนเกินไป เช่น ยืดตัวมากเกินไป เกร็งเกินไป ตึงมากไป บิดมากเกินไป 2.4 หลักการฝึกโยคะ 1.การฝึกหัดลมหายใจ (หรือฝึกลมปราณ) ควรหายใจเข้า-ออก สลับกับการเปลี่ยนท่า จะมีลักษณะเหมือนการฝึกลมปราณขั้นต้น วิธีการหายใจจะเน้นให้หายใจเข้าแล้วปฏิบัติตามท่า จากนั้นก็ 22
หายใจออกขณะที่หายใจออกก็คลายท่า ท�ำการฝึก 4 - 6 ลมหายใจซึ่งใช้เวลาประมาณ 10 วินาที การ หายใจเข้าก่อนเริ่มท�ำท่าโยคะให้หายเข้าให้เต็มที่กลั้นหายใจแล้วจึงท�ำท่าโยคะ เมื่อถึงที่ท�ำท่าฝึกเสร็จก็ หายใจออกและหายใจปกตินานตามที่ต้องการ เมื่อจะเปลี่ยนท่าให้หายใจเข้าให้เต็มที่ กลั้นหายใจแล้วจึง คลายท่า วิธีนี้ฝึกง่ายและเป็นที่นิยม 2.การฝึกทางกาย เป็นการปฏิบัติของโยคะขั้นพื้นฐาน เพื่อสร้างความแข็งแรงของ กล้ามเนื้อ และเพื่อความสมดุลของระบบต่างๆ ในร่างกาย 3.การท�ำสมาธิ เป็นการสร้างให้จิตเป็นหนึ่งเดียวกับการฝึกทางกาย อาทิ การ ก�ำหนดการหายใจเข้า ออก พร้อมกับมีสติรับรู้การเคลื่อนไหวของร่างกายในขณะที่ฝึกอยู่หรือการก�ำหนด ใจไปยังอวัยวะส่วนที่ไม่แข็งแรงให้กลับคืนสู่สภาพปกติก็ได้ ซึ่งรูปแบบการฝึกสมาธิอย่างนี้จะมีประโยชน์ ต่อการดูแลรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง และจิตใจให้ผ่อนคลายความเครียด ความกังวล และให้ความ รู้สึกสดชื้น แจ่มใส 4.การผ่อนคลายร่างกายและจิตใจ ด้วยการท�ำให้จิตใจรู้สึกสงบ และตระหนักถึงการ วางตัวของร่างกายในขณะที่ผ่อนคลาย 2.5 ขั้นตอนการฝึกโยคะ ท่ายืน คนส่วนใหญ่ไม่ได้ให้ความสนใจเกี่ยวกับการ ยืน บางคนลงน�้ำหนักส่วนใดส่วนหนึ่งของเท้า แอ่น พุ่งไปข้างหน้า หลังโก่งท�ำให้เสียทรวดทรง การฝึก โยคะในท่ายืนจะช่วยลดอาการปวดหลังและท�ำให้ ทรวดทรงดีขึ้น
ท่ากลับศีรษะลง เท้าชี้ขึ้น การฝึกท่านี้จะท�ำให้เลือดไปเลี้ยงศีรษะเพิ่มขึ้น แต่ ก็ต้องระวังในคนที่อ้วน ไม่เคยออกก�ำลังกายมาก่อน การ ฝึกท่าเหล่านี้อาจจะท�ำให้เกิดอุบัติเหตุได้ ผู้ที่มีความดันสูง หรือต�่ำ ผู้ที่เป็นต้อกระจกไม่ควรฝึกท่าเหล่านี้ 23
ท่านั่ง การฝึกท่านั่งมีด้วยกันหลายท่า มีตั้งแต่ง่าย จนยาก ท่านไม่จ�ำเป็นต้องท�ำทุกท่า ควรจะเลือกท่าที่ เหมาะสมกับตัวเอง
ท่านอนหงาย ท่านอนหงายเป็นท่าท�ำได้ไม่ยาก การฝึกจะ ท�ำให้ได้ผลดีต่อร่างกาย กระตุ้นอวัยวะในช่องท้อง ลด อาการปวดประจ�ำเดือน ลดอาการปวดหลัง
ท่านอนคว�่ำ ท่ า นอนคว�่ ำ มี วิ ธี เริ่ ม ต้ น อาจจะแตกต่ า ง กัน บางท่าเริ่มจากนอนคว�่ำ บางท่าเริ่มจากการ คลาน แต่โดยรวมล�ำตัวต้องอยู่ในท่าคว�่ำ คออาจ จะเงย ก้มลงหรือขนานกับพื้น จะมีประโยชน์ใน การท�ำให้กล้ามเนื้อหลังแข็งแรง 24
โยคะขั้นพื้นฐาน โยคะ เป็นการสร้างความสมดุลของร่างกาย-จิตใจ และจิตวิญญาณ โดยรวมให้เป็นหนึ่งเดียวซึ่ง การฝึกโยคะจะประกอบด้วยส่วนส�ำคัญ 3 ประการ ได้แก่ การออกก�ำลังกายหรือการฝึกท่าโยคะ การ หายใจหรือลมปราณ การท�ำสมาธิ โดยการฝึกท่าโยคะจะกระตุ้นอวัยวะและต่อมต่างๆ ในร่างกายให้ ท�ำงานดีขึ้น สุขภาพจึงดีขึ้น ซึ่งเหมาะส�ำหรับมารดาที่ตั้งครรภ์เป็นอย่างยิ่ง โยคะพื้นฐานส�ำหรับมารดาตั้งครรภ์ จึงเป็นส่วนหนึ่งในโครงการตั้งครรภ์คุณภาพ ท่าที่ 1 - เหยียดขาตรงไปข้างหน้า มือ 2 ข้างเท้าที่พื้นแขนเหยียดตรงข้างล�ำตัว (ให้จิตอยู่ที่นิ้วโป้งเท้า... หายใจเข้าทางจมูกให้ท้องป่องออก) หายใจเข้า - หายใจออกทางปากอย่างช้าๆ (ท้องแฟบเข้า) ปลายเท้าซ้ายชี้ลง ปลายเท้าขวาชี้ขึ้น - หายใจเข้าทางจมูก (ท้องป่องออก) ปลายเท้าซ้ายชี้ขึ้น ปลายเท้าขวาชี้ลง (ท�ำ 10 ครั้ง) ท่าที่ 2 - นั่งเหยียดขาตรงไปข้างหน้า มือ 2 ข้างเท้าที่พื้นแขนเหยียดตรงข้างล�ำตัว (ให้จิตอยู่ที่ข้อเท้า ซ้าย หายใจเข้าทางจมูกให้ท้องป่องออก) - หายใจออกทางปากอย่างช้าๆ (ท้องแฟบเข้า) ให้ดึงข้อเท้าซ้ายเข้าหาตัว มือขวาจับที่ข้อเท้า ซ้าย มือซ้ายกอดเข่าซ้ายแน่น - หายใจเข้าทางจมูกอย่างช้าๆ (ท้องป่องออก) เหยียดเท้าซ้ายออก (ท�ำ 10 ครั้ง) แล้วจึงเปลี่ยน ไปท�ำเท้าขวา (อีก 10 ครั้ง) ท่าที่ 3 - นั่งโดยเอาฝ่าเท้าประกบกัน เข่าสองข้างแยกออก (ให้จิตอยู่ที่หัวเข่า กายใจเข้าทางจมูก ให้ท้อง ป่องออก) - หายใจออกทางปากอย่างช้าๆ (ท้องแฟบเข้า) ให้ใช้มือทั้งสองข้างช้อนเข่ามากอดไว้ - หายใจเข้าทางจมูกอย่างช้าๆ (ท้องป่องออก) ให้เอามือทั้งข้าง กดหัวหัวเข่าลงให้มากที่สุด (ท�ำ 10 ครั้ง) ท่าที่ 4 - นั่งเหยียดขาตรงไปข้างหน้าหลังตรงแขนสองข้างเหยียดตรงไปข้างหน้า มือหงายขึ้น (ให้จิตอยู่ ที่นิ้วหัวแม่มือ หายใจเข้าทางจมูก ให้ท้องป่องออก) - ผ่อนลมหายใจออกทางปากอย่างช้าๆ ก�ำมือให้แน่น โดยให้นิ้วทั้ง 4 ก�ำหัวแม่มือไว้ - หายใจเข้าทางจมูกให้แบมือออก (ท�ำ 10 ครั้ง) ท่าที่ 5 - นั่งเหยียดขาตรงไปข้างหน้าหลังตรงแขนสองข้างเหยียดตรงไปข้างหน้า มือ 2 ข้างคว�่ำลง (ให้ จิตอยู่ที่ข้อมือ หายใจเข้าทางจมูกอย่างช้าๆ ให้ท้องป่องออก) - ผ่อนลมหายใจออกทางปากอย่างช้าๆ พร้อมกับคว�่ำมือซ้ายลง กระดกมือขวาขึ้นข้อมืออยู่คู่กัน 25
- หายใจเข้าทางจมูกอย่างช้าๆ คว�่ำมือขวาลง กระดกมือซ้ายขึ้นข้อมืออยู่คู่กัน (ท�ำ 10 ครั้ง) ท่าที่ 6 - นั่งขัดสมาธิ หลังตรงแขนสองข้างเหยียดตรงไปข้างหน้า มือ 2 ข้างหงายขึ้น (ให้จิตอยู่ที่ข้อศอก หายใจเข้าทางจมูกอย่างช้าๆ ให้ท้องป่องออก) - ผ่อนลมหายใจออกทางปากอย่างช้าๆ พร้อมกับยกมือขวาไปแตะด้านหลังให้ลึกที่สุด มือซ้าย เหยียดตรงอย่างเดิม - หายใจเข้าทางจมูกอย่างช้าๆ พร้อมกับยกมือซ้ายไปแตะด้านหลังให้ลึกที่สุด มือขวากลับมา เหยียดตรงอย่างเดิม (ท�ำ 10 ครั้ง) ท่าที่ 7 - นั่งขัดสมาธิ หลังตรง มือ 2 ข้างจับที่หัวไหล่ (ให้จิตอยู่ที่หัวไหล่ หายใจออกทางจมูกอย่างช้าๆ ให้ท้องแฟบเข้า) - หายใจเข้าท้องป่องออกมือแตะที่หัวไหล่ หนีบข้อศอกลงแนบกับล�ำตัว - หายใจออกมือยังแตะที่หัวไหล่ ยกศอกขึ้นหลังมือแนบใบหู (ท�ำ 10 ครั้ง) ท่าที่ 8 - ต่อจากท่าที่ 7 มือแตะที่หัวไหล่ หมุนข้อศอกไปข้างหน้า 10 ครั้ง - มือแตะที่หัวไหล่ หมุนข้อศอกไปข้างหลัง 10 ครั้ง (ท่านี้หายใจปกติ) หลักส�ำคัญของการฝึกโยคะ 1. หายใจแบบโยคะให้ถูกต้อง หายใจเข้า - ท้องพอง หายใจออก - ท้องแฟบ สูดอากาศ เข้าให้พอดีกับท่าฝึก เพื่อให้ได้ออกซิเจนมากพอ ปล่อยลมหายใจออกให้สุด เพื่อขับอากาศเสียออกจาก ร่างกาย และลดความตึงเครียด ของกล้ามเนื้อ หายใจเข้า - ออก ให้สอดคล้องเป็นจังหวะกับท่าฝึกแต่ละ ท่า 2. ฝึกท่าแต่ละท่าช้าๆ เป็นจังหวะที่ลงตัว ควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย ตามข้อ จ�ำกัดธรรมชาติร่างกายของแต่ละบุคคล อย่าฝืนเกินไป เช่น ยืดตัวมากเกินไป เกร็งเกินไป ตึงมากไป บิด มากเกินไป ส�ำหรับผู้ที่ผลการตรวจสอบไม่ผ่าน ควรฝึกเฉพาะท่าหายใจ และท่าอุ่นร่างกาย (warm-up) ที่แนะน�ำเท่านั้น หรือ รับการฝึกกับครูโยคะที่มีวุฒิบัตรการสอนโยคะเท่านั้น ผู้มีปัญหาด้านสุขภาพแต่ละ ประเภท ให้บันทึกท่าฝึกที่ห้ามท�ำอย่างเคร่งครัด ท่าฝึกต่างๆ แบ่งเป็น 3 ช่วง ให้เริ่มจากช่วงที่ 1 ก่อน ฝึก จนคล่องสักระยะหนึ่งซึ่งขึ้นอยู่แต่ละบุคคล แล้วค่อยเพิ่มเป็นช่วงที่ 2 และ 3 ตามล�ำดับ 3. การก�ำหนดจิต (Concentration) ให้เป็นหนึ่งเดียวกับการฝึกโดยไม่วอกแวก จะท�ำ ให้จิตสงบเข้าถึงสมาธิได้ดี ขึ้น ห้ามแข่งขัน หรือคุยกันระหว่างการฝึก ควรอดทนและขยันฝึกเป็นประจ�ำ ควรฝึกอย่างน้อย อาทิตย์ละ 3 - 4 ครั้ง 4. หยุดพักและผ่อนคลาย หลังแต่ละท่าฝึก (Pause & Relax) ให้หายใจเข้า - ออก ช้าๆ ลึกๆ 6 - 8 รอบ เพื่อคลายความตึงเครียดของกล้ามเนื้อ และท�ำให้การเต้นของหัวใจปรับเข้าสู่สภาวะปกติ ก่อนที่ จะฝึกท่าต่อไป 26
3. ร�ำมวยจีน การออกก�ำลังกายด้วยการร�ำมวยจีนนับเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการออกก�ำลังกาย เพื่อสุขภาพ ซึ่งได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มวัยทองและผู้สูงอายุ ที่จะช่วยส่งเสริมสุขภาพ ช่วยป้องกันรักษาและฟื้นฟูสภาพจิตใจของคนเราได้
3.1 ประโยชน์ของการร�ำมวยจีน การบริหารร่างกายเพื่อสุขภาพที่เข้มแข็ง เป็นการออกก�ำลังกายเหมือนกีฬาอื่น ต่างกันแต่เพียง ไม่มีกีฬาใดที่จะออกก�ำลังกายได้สมบูรณแบบได้เท่ากับไท้เก็ก เพราะว่าไท้เก็กจะบริหารร่างกายทุกส่วน สัด อวัยวะทุกส่วนในร่างกายได้มีโอกาสเคลื่อนไหวอย่างแท้จริง ไม่ว่าจะเป็น เอ็น กระดูก กล้ามเนื้อ หรือ อวัยวะภายในอื่นๆ สรุปผลทางกายคือ อวัยวะทุกส่วนของร่างกายมีโอกาสได้เคลื่อนไหวอย่างทั่วถึง ระบบประสาท และสมองผ่อนคลายจากความตึงเครียด จะท�ำให้การท�ำงานดีขึ้น หัวใจจะบีบตัวแรงมีก�ำลังเพิ่มขึ้น แต่ จังหวะการเต้นของหัวใจสม�่ำเสมอและมิได้เร็วขึ้น ซึ่งนับว่าเป็นประโยชน์มากในผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจวาย รักษาสภาพการหมุนเวียนของเลือด ให้ดีเลิศ การเผาผลาญอาหารในร่างกายและการขับถ่ายของเสียจะ เป็นไปด้วยดีการท�ำงานของปอดเพิ่มประสิทธิภาพมากขึ้นทั้งก�ำลังการขยายตัวของปอด และอัตราการ แลกเปลี่ยนแก๊สของปอด ผลประโยชน์ทางจิตใจ ไท้เก็กเป็นศิลปะของนักพรตผู้แสวงบุญสร้างขึ้นมาเพื่อประโยชน์ทางจิต และกาย การฝึกไท้เก็กต้องท�ำจิตให้สงบเยือกเย็น ฝึกสติให้ว่องไว ท�ำให้สมาธิมั่นคง ทุกครั้งที่เราฝึกไท้ เก็ก เราจะต้องปล่อยวางเรื่องราว อันก่อให้เกิดความกังวลทั้งหลายออกให้สิ้น ปลงภาระที่ต้องแบกหาม ทั้งมวล ให้จิตใจโปร่งเบาเสียก่อน ขณะฝึกถ้ามีความฟุ้งซ่านเกิดขึ้นก็ต้องก�ำจัดมันไป เพราะฉะนั้น ไท้เก็ก จึงมีประโยชน์ทางจิตมหาศาล เพราะจะฝึกคนให้มีสมาธิตั้งมั่น มีสติรวดเร็ว พร้อมที่จะเผชิญกับรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ธรรมารมณ์ ทั้งมวล จะท�ำให้ตนเป็นคนควบคุมตนเองได้ในทุกสถานการณ์ และไท้เก็ก ที่ลุ่มลึก จะน�ำไปสู่สมาธิที่ยอดเยี่ยม เป็นปัจจัยแห่งภาวนาปัญญา ปล่อยวางได้ และถึงความพ้นทุกข์ใน ที่สุด ซึ่งเป็นสิ่งสูงสุดอันไท้เก็กจะเป็นเหตุปัจจัยมอบให้ 3.2 เครื่องแต่งกายส�ำหรับการร�ำมวยจีน ก่อนออกก�ำลังกายด้วยการร�ำมวยจีน ควรเตรียมเครื่องแต่งกาย ดังนี้ 1) ชุดร�ำมวยจีน เสื้อหรือกางเกงต้องมีความสะดวกในการเลื่อนไหว ไม่รัดหรือหลวม จนเกินไป ไม่บางหรือหนาจนเกินไป สามารถระบายความร้อนได้ดี และไม่เป็นอุปสรรค์ในการเล่น 2) ถุงเท้า รองเท้า ควรเลือกถุงเท้าที่ใส่สบาย สามารถซับเหงื่อได้ และไม่ควรหนาจน เกินไป ส่วนรองเท้า ควรเลือกรองเท้าผ้าใบที่มีน�้ำหนักเบา พอดีกับเท้าตัวเอง สามารถรับแรงกระแทก ได้ดี 27
3.3 มารยาทในการร�ำมวยจีน 1. ต้องมีทัศนคติที่ดีต่อการร�ำมวยจีน 2. ควรแต่งกายด้วยชุดที่เหมาะสมในการร�ำมวยจีน 3. ให้ความรู้สึกการร�ำด้วยความเต็มใจ และเต็มความสามารถ 4. ไม่ส่งเสียงที่ก่อให้เกิดความร�ำคาญต่อเพื่อนร่วมเล่น 5. ควรปฏิบัติทีละขั้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป 6. มีความอดทนในการฝึก
3.4 หลักการร�ำมวยจีน หลักของการร�ำมวยจีนนั้น โดยพื้นฐานแล้วมีอยู่ด้วยกัน 3 ประการคือ 1. ฝึกกาย ซึ่งจะต้องท�ำให้ถูกต้องเริ่มจากท่ายืนต้องก้าวขาซ้าย ออกให้กว้างเท่ากับช่วงไหล่ วาง เท้าให้มั่นคงพร้อมที่จะ ย่อตัว ในท่าปักหลักได้ ส่วนมือยกขึ้นเคลื่อนไหวไปมา หัวแม่มือทั้งสอง ต้องการ ออกตลอดเวลา และนิ้วมืออื่นไม่เหยียดตรง แต่จะโค้งไปตามธรรมชาติ ท�ำอุ้งมือเป็นแอ่ง สองมือพร้อม จะเคลื่อนไหวไปตามจังหวะ 2. ฝึกการหายใจ คือหายใจเข้าออกตาม ธรรมชาติให้ลึกและยาว หรือวิธีหายใจด้วยท้อง หรือวิธี หายใจแบบฝืนอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ 3. ฝึกจิตท�ำสมาธิ มุ่งไปทุกส่วนของร่างกายที่เกิดโรค แล้วผ่อนคลายบริเวณนั้น ๆ การผ่อนคลาย ร่างกาย ควรท�ำตั้งแต่ ศีรษะจรดปลายเท้า 3.5 ขั้นตอนการร�ำมวยจีน 1) ฝึกกาย ซึ่งจะต้องท�ำให้ถูกต้องเริ่มจากท่ายืนต้องก้าวขาซ้าย ออกให้กว้างเท่ากับช่วงไหล่ วาง เท้าให้มั่นคงพร้อมที่จะ ย่อตัว ในท่าปักหลักได้ ส่วนมือยกขึ้นเคลื่อนไหวไปมา หัวแม่มือทั้งสอง ต้องการ ออกตลอดเวลา และนิ้วมืออื่นไม่เหยียดตรง แต่จะโค้งไปตามธรรมชาติ ท�ำอุ้งมือเป็นแอ่ง สองมือพร้อม จะเคลื่อนไหวไปตามจังหวะ 2) ฝึกการหายใจ คือหายใจ เข้าออกตามธรรมชาติให้ลึกและยาว หรือวิธีหายใจด้วยท้อง หรือวิธีหายใจ แบบฝืนอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ 3) ฝึกจิต ท�ำสมาธิ มุ่งไป ทุ ก ส่ ว นของร่ า งกายที่ เ กิ ด โรคแล้ ว ผ่อนคลายบริเวณนั้นๆ การผ่อนคลาย ร่างกาย ควรท�ำตั้งแต่ ศีรษะจรดปลาย เท้า ภาพจาก http://healthsci.swu.ac.th/tigeg1.html 28
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 สาระที่ 3 การเคลื่อนไหว การออกก�ำลังกาย การเล่นเกม กีฬาไทย และกีฬาสากล มาตรฐาน พ 3.1 เข้าใจ มีทักษะในการเคลื่อนไหว กิจกรรมทางกาย การเล่นเกม และกีฬา ตัวชี้วัด
1. เล่นกีฬาไทยและกีฬาสากลประเภทบุคคลและทีมโดยใช้ทักษะพื้นฐานตามชนิดกีฬา อย่างละ 1 ชนิด สาระการเรียนรู้แกนกลาง 1. การเล่นกีฬาไทย และกีฬาสากลที่เลือก เช่น กรีฑาประเภทลู่และลาน บาสเกตบอล กระบี่ เทนนิส เทเบิลเทนนิส ว่ายน�้ำ
มาตรฐาน พ 3.2 รักการออกก�ำลังกาย การเล่นเกม และการเล่นกีฬา ปฏิบัติเป็นประจ�ำอย่างสม�่ำเสมอ ตัวชี้วัด 1. ออกก�ำลังกายและเลือกเข้าร่วมเล่นกีฬาตามความถนัด ความสนใจอย่างเต็มความสามารถ พร้อม ทั้งมีการประเมินการเล่นของตนและผู้อื่น 2. ปฏิบัติตามกฎ กติกา และข้อตกลงตามชนิดกีฬาที่เลือกเล่น 3. วางแผนการรุกและการป้องกันในการเล่นกีฬาที่เลือกและน�ำไปใช้ในการเล่นอย่างเป็นระบบ 4. ร่วมมือในการเล่นกีฬา และการท�ำงานเป็นทีมอย่างสนุกสนาน 5. วิเคราะห์เปรียบเทียบและยอมรับความแตกต่างระหว่างวิธีการเล่นกีฬาของตนเองกับผู้อื่น สาระการเรียนรู้แกนกลาง 1. การเล่นกีฬาไทย และกีฬาสากล ทั้งประเภทบุคคลและทีม 2. กฎ กติกา การเล่นเกมและการแข่งขันกีฬาที่เลือกเล่น 3. รูปแบบ วิธีการรุกและป้องกันในการเล่นกีฬาที่เลือก 4. การเล่น การแข่งขันกีฬา และการท�ำงานเป็นทีม 5. การยอมรับความสามารถและความแตกต่างระหว่างบุคคลในการเล่นกีฬา
29
1. กีฬากับวิถีชีวิตมุสลิม
หลักการอิสลามได้ก�ำหนดบทบัญญัติต่างๆ เพื่อให้มุสลิมได้ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ส่วนหนึ่ง จากบทบัญญัติต่างๆ เหล่านั้นก็คือหลักการส่งเสริมให้มุสลิมมีร่างกายที่แข็งแรงและมีสุขภาพ พลานามัย ที่สมบูรณ์ การมีร่างกายที่แข็งแรงและมีสุขภาพที่ดี ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บนั้นถือว่าเป็นสิ่งที่ปรารถนา ของมนุษย์ทุกคน ทั้งนี้ก็เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี และสามารถด�ำรงชีวิตอย่างมีความสุข โดยเฉพาะมุสลิม ที่จะต้องท�ำหน้าที่ในฐานะบ่าวที่ดีต่ออัลลอฮ์ 1. ความส�ำคัญของกีฬาในอิสลาม อิสลามเป็นศาสนาที่ให้ความส�ำคัญกับสุขภาพ เพราะอิสลามถือว่าการมีสุขภาพที่ดีนั้น เป็นส่วน หนึ่งของความโปรดปรานจากอัลลอฮ์ ดังนั้นการที่มุสลิมดูแลและรักษาสุขภาพให้แข็งแรงจึงถือ เป็นการตระหนักในความโปรดปรานของพระองค์ อีกทั้งยังเป็นการขอบคุณพระองค์อีกด้วย การมี สุขภาพที่ดีใช่ว่าจะได้มาอย่างง่ายดาย หากแต่ต้องมีความพยายาม อุตสาหะ ในการเรียนรู้ถึงวิธีการได้มา ซึ่งสุขภาพที่ดี เช่น การเลือกรับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ต่อร่างกาย และเป็นที่อนุมัติตามหลักการ อิสลาม พร้อมๆ กับหมั่นออกก�ำลังกายด้วยการเล่นกีฬาต่างๆ รวมทั้งหมั่นตรวจสุขภาพอยู่ตลอดเวลาอีก ด้วย ทั้งนี้ก็เนื่องจากอิสลามได้ส่งเสริมและสนับสนุนให้มุสลิมมีสุขภาพที่แข็งแรง ซึ่งสอดคล้องกับวจนะ ของท่านนบีมุฮัมมัดความว่า “ศรัทธาชนที่แข็งแรงนั้น ย่อมดีกว่าและเป็นที่รักของอัลลอฮ์มาก กว่าศรัทธาชนที่อ่อนแอ” และในคัมภีร์อัลกุรอานยังได้กล่าวถึงพระบัญชาของอัลลอฮ์ที่ให้มุสลิมทั้ง หลายเตรียมพร้อมพละก�ำลังอย่างเต็มความสามารถ นอกจากนั้นยังมีการรายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮฺ ภริยาของท่านนบีมุฮัมมัดอีกว่า นางเคยวิ่งแข่งกับท่านนบี และนางเป็นฝ่ายชนะในการแข่งขันครั้ง แรก และท่านนบีเป็นฝ่ายชนะในการแข่งขันครั้งต่อมา และท่านนบีมุฮัมมัดยังสั่งเสียผู้เป็นบิดาทั้ง หลายให้สอนลูกของตนรู้จักการเขียนหนังสือ การว่ายน�้ำ และการยิงธนูอีกด้วย หลักเกณฑ์ของการเล่นกีฬาในอิสลาม ในปัจจุบันมิอาจปฏิเสธได้ว่ากีฬาได้เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับชีวิตประจ�ำวันของผู้คนเป็นอย่าง มาก ซึ่งบางครั้งกีฬาก็มีอิทธิพลท�ำให้เกิดค่านิยมที่ ไม่ถูกต้องต่อสังคม อาทิเช่น ค่านิยมในการรัก ชื่น ชอบ หลงใหล และคลั่งไคล้ในกีฬาชนิดใดชนิดหนึ่ง ในตัวนักกีฬาคนใดคนหนึ่ง หรือในทีมใดทีมหนึ่ง จนเกินขอบเขต และในเกมการแข่งขันเองก็มักจะ เกิดปัญหาการมุ่งแต่จะเอาชนะฝ่ายตรงข้ามเพียง อย่างเดียว โดยมิได้ค�ำนึงถึงภัยอันตรายที่อาจจะ เกิดขึ้นกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายในขณะ การแข่งขันได้ เช่นกีฬาประเภททีมต่างๆ และส�ำหรับกีฬาประเภทบุคคลบางประเภทก็มีความรุนแรงและ อันตรายต่อนักกีฬา เช่นกีฬาชกมวย นอกจากนั้นการแต่งกายที่เปิดเผยสัดส่วนของร่างกายที่พึงสงวน เช่น กีฬาว่ายน�้ำ เพาะกาย ยิมนาสติก และยกน�้ำหนักเป็นต้น ในส่วนของผู้ชมที่ท�ำการเชียร์อยู่ข้างสนาม บางครั้งก็แสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมออกมา เช่น การโห่ร้อง การเป่าปาก การด่าทอฝ่ายตรงข้าม ซึ่ง 30
มักจะน�ำพาสู่การทะเลาะวิวาทในเวลาต่อมา ตลอดจนสถานที่การแข่งขันที่ปะปนระหว่างเพศตรงข้าม และมีการพนันเข้ามาเกี่ยวข้องกับการแข่งขัน จากสิ่งที่ได้กล่าวมาข้างต้น มุสลิมจะต้องให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่ง ในการหาค�ำตอบจากหลัก การศาสนาที่เกี่ยวกับเงื่อนไขในการเล่นกีฬาต่างๆ และน�ำมาปฏิบัติจริงในการเล่นกีฬา เพื่อว่าจะได้ไม่ กระท�ำในสิ่งที่ฝ่าฝืนหรือขัดกับหลักการของศาสนา เงื่อนไขในการเล่นกีฬาตามหลักการอิสลาม ส�ำหรับเงื่อนไขในการเล่นกีฬาต่างๆ พอสรุปได้ดังต่อไปนี้ 1. ห้ามเล่นกีฬาใดๆ ที่ท�ำให้เกิดอันตรายต่อตัวผู้เล่น เช่น กีฬาชกมวย ตามค�ำวินิจฉัยของคณะกรรมการถาวรเพื่อการวิจัยและการวินิจฉัยปัญหาศาสนาแห่งประเทศ ซาอุดิอาระเบีย ได้ระบุว่า การแข่งขันชกมวยทั้งแบบมีเดิมพันและไม่มีเดิมพันไม่เป็นที่อนุมัติตามหลัก การอิสลาม ทั้งนี้เนื่องจากว่าเป็นกีฬาที่อันตรายส�ำหรับผู้เล่นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่าย ซึ่งมีนักกีฬา ชกมวยจ�ำนวนไม่น้อยที่โดนคู่ต่อสู้ท�ำร้ายจนถึงขั้นหมดสติ ศีรษะแตก พิการ ความจ�ำเสื่อม หรือบางราย ถึงขั้นเสียชีวิต 2. ห้ามเล่นกีฬาใดๆ ที่มีการแต่งกายเปิดเผยสัดส่วนหรืออวัยวะที่พึงสงวน ตามหลั ก การของอิสลามแล้วถือว่าอวั ย วะ ที่ต้องปกปิดส�ำหรับผู้ชายคือสิ่งที่อยู่ ระหว่างสะดือ และหัวเข่า และอวัยวะที่ต้องปกปิดส�ำหรับผู้หญิงคือ อวัยวะทุกส่วนของร่างกายยกเว้นใบหน้าและฝ่ามือ เท่านั้น ดังนั้นกีฬาใดๆ ก็ตามที่มีการแต่งกายขัดกับ หลักการดังกล่าวนี้ก็ถือว่าไม่เป็นที่อนุมัติ นอกจาก นักกีฬาจะมีการแต่งกายที่ถูกตามหลักการอิสลาม 3. ห้ามเล่นกีฬาใดๆ ที่ท�ำให้ลืมการปฏิบัติศาสนกิจ ตามหลักการอิสลามการร�ำลึกถึงอัลลอฮ์ และการปฏิบัติศาสนกิจต่อพระองค์ถือเป็นหน้าที่ ส�ำคัญส�ำหรับมุสลิมทุกคนดังนั้นถ้าหากการกีฬาใดก็ตามที่เป็นปัญหาหรืออุปสรรคในการปฏิบัติศาสนกิจ ก็ถือว่ากีฬาดังกล่าวไม่เป็นที่อนุมัติ 4. ห้ามเล่นกีฬาใดๆ ที่มีประวัติเกี่ยวข้องกับความเชื่อหรือพิธีกรรมของศาสนาอื่น เช่น โยคะ เนื่องจากโยคะเดิมเป็นการฝึกเฉพาะโยคีและพราหมณ์ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับความเชื่อและ พิธีกรรมทางศาสนาโดยเฉพาะศาสนาฮินดูและพุทธ และการเลียนแบบพิธีกรรมของศาสนาอื่นนั้นเป็นสิ่ง ต้องห้ามในอิสลาม ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบหรือลักษณะใดก็ตาม ดังนั้นจึงไม่เป็นการสมควรเป็นอย่างยิ่งที่ มุสลิมจะประพฤติปฏิบัติพิธีกรรมเหล่านี้โดยมีเจตนาเพื่อแสวงหาความโปรดปรานจากอัลลอฮ์ เว้นแต่ จะหลักเลี่ยง ไม่ปฏิบัติท่วงท่าที่คล้ายกับการปฏิบัติพิธีกรรมของโยคีหรือนักพรต จึงจะพออนุโลมได้ 5. ห้ามเล่นกีฬาใดๆ ที่มีท่วงท่าหรือการเคลื่อนไหวส่อไปในทางยั่วตัณหาราคะ โดยเฉพาะ อย่างยิ่งนักกีฬาที่เป็นผู้หญิง เช่น ยิมนาสติกลีลา ระบ�ำใต้น�้ำ เต้นลีลาศ เนื่องจากประเภทกีฬาดังกล่าวข้างต้นนี้ทั้งการแต่งกายและท่วงท่าต่างๆ ล้วนแต่จะส่อไปในทาง 31
ยั่วยุกามารมณ์ต่อเพศตรงข้ามอย่างชัดเจน ดังนั้นตามหลักการอิสลามจึงไม่อนุญาตให้มุสลิมทั้งชายและ หญิงประพฤติปฏิบัติในลักษณะดังกล่าว เพราะถือว่าเป็นการกระท�ำที่ท�ำให้เสื่อมเสียศีลธรรมอันดีของ มุสลิมและศาสนาอิสลาม 6. ห้ามเล่นกีฬาใดๆ ที่มีการทารุณกรรมสัตว์ เช่น กีฬาชนไก่ ชนโค ชนแพะ และชนแกะเป็นต้น เนื่องจากตามหลักการอิสลามได้ห้ามการทรมานและรังแกสัตว์ อีกทั้งยังห้ามการน�ำสัตว์ต่างๆ มาประกบคู่ชนกัน เพราะถือว่าการกระท�ำดังกล่าวมิใช่วิสัยของมุสลิม ที่จะมีจิตใจที่โหดเหี้ยมและชอบ ทารุณกรรมแม้กระทั่งสัตว์ แต่ในทางกลับกันหลักการอิสลามได้ก�ำชับให้มุสลิมมีจิตใจที่โอบอ้อมอารี และ มีความเมตตาต่อสัตว์ 7. ห้ามเล่นกีฬาใดๆ ที่มีการพนันมาเกี่ยวข้อง ตามหลักการอิสลามถือว่าการพนันเป็นสิ่งต้องห้ามแม้ว่าจะเกิดขึ้นจากความยินดีและยินยอม ของทั้งสองฝ่ายก็ตาม เพราะอิสลามถือว่าการได้มาซึ่งทรัพย์สินและปัจจัยยังชีพจะต้องได้มาโดยสุจริต ปราศจากการเบียดเบียนหรือเอารัดเอาเปรียบผู้อื่น 8. ห้ามเล่นกีฬาใดๆ ที่มีการปะปนระหว่างเพศตรงข้าม หลักการอิสลามได้ก�ำหนดว่าการคลุกคลี การปะปน การแตะเนื้อต้องตัวระหว่างเพศ ชายกับ เพศหญิ ง ที่ ศ าสนาอนุ ญ าตให้ แ ต่ ง งานกั น ได้ นั้ น เป็นสิ่งต้องห้าม ทั้งนี้เนื่องจากว่าการกระท�ำดัง กล่ า วจะเป็ น บ่ อ เกิ ด ของการกระท� ำ ผิ ด ในเรื่ อ ง ของกามารมณ์หรือล่วงละเมิดทางเพศ ดังนั้นเพื่อ เป็นการตัดไฟตั้งแต่ต้นลมจึงก�ำหนดให้มีการแบ่ง แยกอย่ า งเป็ น เอกเทศระหว่ า งชายและหญิ ง ใน การท�ำกิจกรรมต่างทั้งในพิธีกรรมทางศาสนาและ กิจกรรมทั่วไป แม้แต่ในเรื่องของกีฬาก็เช่นเดียวกัน 9. การชมและการเชียร์กีฬาพึงอยู่ในกรอบที่หลักการอนุญาต หลักการอิสลามได้อนุญาตการชมกีฬาเพื่อนันทนาการหรือการพักผ่อนหย่อนใจ แต่ทั้งนี้ก็ได้วาง เงื่อนไขในการชมและเชียร์ไว้ด้วยว่าจะต้องไม่เป็นกีฬาที่ต้องห้าม ไม่มีการตะโกนโห่ร้อง ไม่มีการตบมือ และเป่าปากอีกทั้งต้องไม่มีการด่าทอฝ่ายตรงข้าม ตลอดจนต้องไม่ละเลยหรือล่าช้าในการปฏิบัติศาสกิจ อีกด้วย บทสรุป มุสลิมทุกคนจ�ำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความรู้ความเข้าใจในการเลือกที่จะเล่นหรือชมกีฬาตามที่ หลักการอิสลามอนุญาตให้เล่นหรือให้ชมเท่านั้น เพราะอิสลามถือว่าทุกกิจกรรม ทุกอิริยาบถของมุสลิม จะต้องส�ำรวมตนและเป็นการแสดงความจงรักภักดีต่ออัลลอฮ์ อยู่ตลอดเวลา แม้แต่ในเวลาออกก�ำลัง กายหรือเล่นกีฬาก็ตาม 32
2. กระบี่กระบอง การฝึกกระบี่ในอิสลามนั้นเป็นที่อนุมัติเพราะท่านศาสดาได้เคยฝึกกระบี่เช่นกันส�ำหรับคนไทย กระบี่เป็นศิลปะการป้องกันตัวของคนไทยมาตั้งแต่สมัยโบราณ ใช้ในสนามรบและใช้ป้องกันตัว โดย เป็นการต่อสู้ในแบบประชิดตัว ซึ่งแฝงไปด้วยศิลปะของการร่ายร�ำและเป็นศิลปะการต่อสู้ที่ ต้องใช้ความ กล้าหาญ เพื่อเอาชนะคู่ต่อสู้ อีกทั้งยังเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทยที่ใช้ในการรักษาบ้านเมือง แม้ว่าปัจจุบัน ไม่ได้มีการน�ำกระบี่มาเป็นอาวุธในการท�ำสงคราม แต่ก็มีการสืบทอดต่อกันมา โดยจัดให้เป็นวิชาที่ต้องเรียนในหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น เพื่อรักษาศิลปะประจ�ำชาติไว้ให้คนไทยได้ ชื่นชมและเกิดความภาคภูมิใจ
1.ประวัติความเป็นมาของกระบี่ การเล่นกระบี่กระบองเป็นพื้นฐานเบื้องต้นส่วนหนึ่งของศิลปะการต่อสู้ของไทยที่เรียกว่า กระบี่ กระบอง การเล่นกระบี่กระบองเป็นกีฬาที่บรรพบุรุษไทยน�ำเอาศิลปการต่อสู้ป้องกันตัวด้วยอาวุธที่ใช้สู้ รบกันในสมัยโบราณ มาฝึกซ้อมและเล่นในยามสงบ โดยน�ำหวายมาท�ำเป็นกระบี่ ดาบ ง้าว ฯลฯ เอาหนัง มาท�ำโล่ เขน ดั้ง ฯลฯ แล้วจัดมาตีต่อสู้กันเล่นหรือแข่งขันกันเป็นคู่ๆ ดุจสู้กันในสนามรบเป็นการฝึกหัดรุก และรับไปในตัว การเล่นกระบี่กระบองเริ่มในสมัยใด ใครเป็นผู้คิดขึ้นไม่สามารถหาหลักฐานได้ เนื่องจากได้มีการ บันทึกไว้เป็นหลักฐาน แต่เนื่องด้วยไทยเราเป็นชาตินักรบมาแต่โบราณ กระบี่กระบองซึ่งเป็นกีฬาของ นักรบจึงน่าจะได้มีการเล่นกันมาเป็นเวลาช้านานควบคู่กับชนชาติไทย ในสมัยรัตนโกสินทร์มีหลักฐานที่ พออ้างอิงได้คือ วรรณคดี ซึ่งในสมัยรัชกาลที่ 2 ในพระราชนิพนธ์เรื่องอิเหนา กล่าวถึงอิเหนาช�ำนาญ ในการกระบี่ ในรัชกาลที่ 3 สุนทรภู่แต่งเรื่องพระอภัยมณี กล่าวถึงศรีสุวรรณเล่าเรื่องกระบี่กระบองกับ อาจารย์ทิศาปาโมกข์ ในรัชกาลที่ 4 ทรงโปรดปรานกระบี่กระบองมาก ทรงโปรดให้พระเจ้าลูกยาเธอหลายพระองค์ ทรงหัดกระบี่กระบองจนครบวงจร และโปรดให้เล่นกระบี่กระบองเป็นการสมโภชที่หน้าพระอุโบสถวัด พระศรีรัตนศาสดาราม เนื่องในการทรงผนวชเป็นสามเณรของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อใน พ.ศ. 2409 ในรัชกาลที่ 5 ทรงโปรดให้มีการเล่นกระบี่กระบอง และชกมวยไทยหน้าพระที่นั่งในงานสมโภช อยู่เนืองๆ กระบี่กระบองมีกันดาษดื่นและมากคณะ รัชกาลที่ 6 ความครึกครื้นในการเล่นกระบี่กระบองลดน้อยลง เพราะไม่ทรงโปรดเท่ารัชกาลที่ 5 ในรัชกาลที่ 7 กระบี่กระบองค่อยๆ หมดไปจนเกือบหาดูไม่ได้ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลง 33
ประเทศให้ทันกับความเจริญก้าวหน้าของโลกอุตสาหกรรม ท�ำให้ประชาชนทั่วไปมุ่งในเรื่องเศรษฐกิจ สังคมมากขึ้น ต่อมา อาจารย์นาค เทพหัสดิน ณ อยุธยา ได้เป็นผู้น�ำวิชากระบี่กระบองบรรจุไว้ในหลักสูตร ประโยค ผู้สอนพลศึกษา ในปี พ.ศ.2479 และเป็นผู้ที่สมควรได้รับการยกย่องในฐานะผู้อนุรักษ์ฟื้นฟูและ ถ่ายทอดศิลปการต่อสู้ประเภทนี้ ในปี พ.ศ.2518 ได้มีการจัดให้วิชากระบี่กระบองเป็นวิชาบังคับในชั้น มัธยมศึกษาตอนปลายและในปี พ.ศ.2521 เป็นวิชาบังคับในชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จึงยังคงมีการเรียน การสอนอยู่ทุกวันนี้ 2.คุณค่าและประโยชน์ของการเล่นกระบี่ คุณค่าของวิชากระบี่กระบอง วิชากระบี่กระบองเป็นศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวประจ�ำชาติที่สามารถช่วยให้เราปลอดภัยในยาม คับขันและรักษาเอกราชอยู่ได้ ส�ำหรับในปัจจุบันกิจกรรมกระบี่กระบองแสดงถึงความสามารถของคน ไทยที่ยังรักษามรดกทางวัฒนธรรมไทยได้มั่นคง ประโยชน์ของวิชากระบี่กระบอง 1. สามารถใช้ต่อสู้และป้องกันตัวในยามคับขันได้ 2. ช่วยสร้างเสริมสมรรถภาพทางร่างกาย 3. ช่วยเสริมสร้างคุณลักษณะทางด้านจิตใจ เช่น ความกล้าหาญ ความอดทน ความไม่ขลาดกลัว ต่ออันตราย และรู้จักช่วยเหลือตนเอง 4. เป็นการเสริมสร้างความรู้สึกภาคภูมิใจในศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวประจ�ำชาติ 5. เป็นการรักษาไว้ซึ่งขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของไทย 6. เป็นการฝึกนิสัยและฝึกจิตใจให้เป็นคนดีมีศีลธรรม 3.การเตรียมความพร้อมส�ำหรับเล่นกระบี่ 3.2 อุปกรณ์ในการเล่นกระบี่ เครื่องกระบี่กระบองเป็นอุปกรณ์กระบี่กระบอง ที่ประกอบด้วยอาวุธจริงและอาวุธจ�ำลอง เป็น อาวุธคู่มือของทหารเพื่อใช้ในการสู้รบและป้องกันตัวในระยะประชิดตัว อุปกรณ์เหล่านี้นักกระบี่กระบองเรียกว่า “เครื่องไม้” แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ 1. เครื่องไม้ร�ำ ได้แก่ เครื่องกระบี่กระบองที่จ�ำลองมาจากอาวุธจริง เครื่องไม้ชนิดนี้ท�ำด้วย หวายหรือไม้จริง 2. เครื่องไม้ตี ได้แก่ เครื่องกระบี่กระบองที่จ�ำลองมาจากอาวุธจริงเช่นเดียวกัน ความมุ่งหมาย ของการสร้างอาวุธชนิดนี้ เพื่อใช้ในการฝึกซ้อมเครื่องไม้ตี ส่วนมากท�ำด้วยหวายเพราะหวายมีความ เหนียวแข็งแรง ทนทาน และน�้ำหนักเบา สามารถตีได้แรงๆ ได้โดยไม่หักง่ายๆ 34
เครื่องไม้ซึ่งใช้ในการเล่นกระบี่กระบองนั้นแบ่งออกได้ 3 ลักษณะ ได้แก่ 1. ลักษณะที่เป็นอาวุธแท้ คือ กระบี่จริง 2. ลักษณะที่จ�ำลองมาเป็นเครื่องไม้ร�ำ คือ กระบี่ร�ำ 3. ลักษณะที่จ�ำลองมาเป็นเครื่องไม้ตี คือ กระบี่ตี 3.3 หลักในการเล่นกระบี่ 1.ก่ อ นเล่ น ควรสร้ า งความมั่ น คงต่ อ สภาวะภายในร่ า งกายให้ ม ากที่ สุ ด หรื อ อบอุ ่ น ร่างกายเพื่อให้ร่างกายมีการปรับระบบไหลเวียนของโลหิต ระบบหายใจ และการท�ำงานของระบบ ประสาทและกล้ามเนื้อ 2. ควรฝึกให้เกิดความเคยชิน คือการฝึกจะต้องท�ำซ�้ำๆ อยู่เสมอ ในสภาพการคล้ายกับ การแข็งขันหรือให้เข้ากับสภาพของกีฬานั้นๆ 3. ควรค�ำนึงถึงหลักความเฉพาะการ เพราะเป็นการเตรียมสภาพร่างกายให้ปรับเข้ากับ สภาพการณ์นักกีฬาและทักษะนั้น เช่น ด้านความแข็งแรง ความอดทน และการใช้พลังต่างๆ 4. การฝึกจะต้องมีเวลาพักผ่อนอย่างเพียงพอ 5. ควรฝึกอย่างสม�่ำเสมอ หรือฝึกระยะยาวจึงจะท�ำให้เกิดประโยชน์ในการฝึก 3.4 กฎ กติกา มารยาทในการแข่งขันกระบี่ กติกาในการแข่งขันกระบี่ แบ่งเป็น 4 ประเภท ดังนี้คือ 1. ประเภทเครื่องแต่งกาย (4 คะแนน) - แต่งแบบนักรบไทยโบราณ สมัยต่างๆ - แต่งแบบชาวบ้าน ทั้งโบราณและปัจจุบัน - แต่งแบบกีฬานิยม เช่น นุ่งกางเกงขายาว ใส่เสื้อทีมหรือเสื้อธรรมดาแขนสั้นหรือยาว มีผ้าคาดเอวหรือไม่มีก็ได้ รองเท้าผ้าใบ และใส่ถุงเท้า - การแต่งกายทั้ง 3 ข้อ ข้างต้นต้องแต่งให้เหมือนกันทั้งคู่ นอกจากสี และต้องดูสะอาด เรียบร้อย รวมทั้งต้องสวมมงคล ทุกครั้งที่ออกแสดง 2. ประเภทร�ำ (10 คะแนน) - การถวายบังคม (ส�ำหรับมุสลิมต้องท�ำในลักษณะที่ไม่ขัดต่อหลักศรัทธา) - การร�ำพรหมนั่งหรือพรหมยืน (ส�ำหรับมุสลิมต้องท�ำในลักษณะที่ไม่ขัดต่อหลักศรัทธา) - ลีลาการร�ำ ก�ำหนดให้ผู้เข้าแข่งขัน ร�ำเพียงเที่ยวเดียว ไม่ต�่ำกว่า 2 ท่า และมีลีลาการ ร�ำที่เข้ากับจังหวะดนตรี และสวมบทบาทของการร�ำ เช่น ท่านาง ท่าลิง ซึ่งมีท่าร�ำอื่นๆ อีก 12 ท่า คือ ท่า ลอยชาย ท่าทัดหูหรือควงทัดหู ท่าเหน็บข้าง ท่าตั้งศอก ท่าจ้วงหน้าจ้างหลัง ท่าควงป้องหน้า ท่ายักษ์ ท่า สอยดาว ท่าควงแตะ ท่าแหวกม่าน ท่าลดล่อ และท่าเชิงเทียน 3. ประเภทการเดินแปลง (6 คะแนน) เมื่อร�ำจบแล้วนั่งลง ก่อนออกเดินแปลง ผู้เข้า แข่งขันไม่ต้องถวายบังคม เพียงแต่ไหว้น้อมร�ำลึกถึงครู อาจารย์ครั้งเดียว แล้วเริ่มร�ำพรหม หรือจะไม่ร�ำ ก็ได้แล้วออกเดินแปลงเพียงเที่ยวเดียว 35
4. ประเภทการต่อสู้ (20 คะแนน) การต่อสู้ของแต่ละคู่ จะต้องมีเหตุผลสมจริง และถูก ต้องตามหลักวิชาการต่อสู้ป้องกันตัว และไม่เป็นการอนาจาร มารยาทในการแข่งขันกระบี่ กิจกรรมการละเล่นหรือกีฬาทุกประเภท จะต้องมีกฎ ระเบียบ ข้อควรค�ำนึง และข้อบังคับต่างๆ ก�ำหนดไว้ ส�ำหรับผู้เล่นกระบี่เพื่อความเป็นระเบียบและแบบแผน อีกทั้งเพื่อความเป็นสุภาพชนและ ป้องกันการเกิดอันตรายจากการเล่น และการต่อสู้โดยผู้เล่นกระบี่จะต้องค�ำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้ 1. ควรมีการส�ำรวจอุปกรณ์ก่อนที่จะใช้ในการเรียนและการเล่นทุกครั้ง 2. ควรมีการส�ำรวจสถานที่ใช้เรียน และใช่เล่นว่ามีความเหมาะสมกับจ�ำนวนผู้เรียนและ ผู้เล่นเพียงใด 3.ก่อนเริ่มเรียนควรมีการส�ำรวจหรือทดสอบความสามารถความรู้พื้นฐานของผู้เรียนผู้ เล่นทุกครั้ง 4. ก่อนการเรียนและการเล่น ควรมีการอบอุ่นร่างกายก่อนทุกครั้ง 5. การแต่งการผู้เรียนและผู้เล่นจะต้องไม่แต่งกายคับจนเกินไป ท�ำให้เกิดความอึดอัด ไม่คล่องแคล่ว คล่องตัว 6. การเล่น ผู้เล่นควรเล่นในสภาพที่มีความพร้อมทั้งทางร่างกายและจิตใจไม่ประมาณ ในการเล่นและประมาณคู่ต่อสู้ 7. การเล่น ผู้เล่นต้องระมัดระวังถึงอันตรายของผู้ดูด้วย อย่าให้เข้ามาใกล้บริเวณที่ใช้ เล่นเกินไป อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ 8. อุปกรณ์ที่ใช้เล่น ควรเก็บไว้ในที่ที่เหมาะสมและจัดเก็บไว้เป็นระเบียบเรียบร้อย 9. อุปกรณ์ที่ใช้เล่นเป็นอาวุธจริง เวลาเก็บควรทาน�้ำมันให้เรียบร้อย อย่าให้เกิดสนิม และถ้าเป็นอุปกรณ์หวาย ควรส�ำรวจให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์อยู่เสมอ 10. การเล่นผู้เล่นต้องปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับ กฎ กติกา อย่างเคร่งครัด 11. หากเกิดอุบัติเหตุขณะเล่น ผู้เล่นต้องขอโทษและให้การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน 12. เมื่อผู้เล่นเล่นได้ดี ผู้ดูควรปรบมือให้เกียรติแก่ผู้เล่นหรือผู้แสดงด้วย 3.5 ขั้นตอนในการฝึกปฏิบัติการเล่นกระบี่ วิธีเล่น การแสดงกระบี่กระบองมีธรรมเนียมดีอีกอย่างหนึ่งคือ จะต้องมีดนตรีประกอบซึ่งจะมี ปี่ชวา กลองแขกตัวผู้ (เสียงสูง) ตัวเมีย (เสียงต�่ำ) การเล่นหรือแสดงเฉยๆ จะรู้สึกเงียบเหงาขาดรสชาติ หาความสนุกสนานได้ยาก แล้วยังช่วยให้ผู้เล่นเกิดความฮึกเหิมมีก�ำลังใจในการต่อสู้ เท่ากับเป็นเครื่อง เร้าอารมณ์ปลุกใจให้กล้าหาญยิ่งขึ้น โดยเฉพาะเสียงกลองจะเป็นเสมือนเสียงหนุนหรือยุให้ผู้เล่นคิดจะสู้ เรื่อยๆ ไปโดยไม่คิดจะถอย มีแต่จะบุกติดตามเข้าไปด้วยความทรหดอดทน อีกประการหนึ่งการร�ำอาวุธ ก่อนต่อสู้นั้นถือว่าเป็นการดูเชิงและเป็นการท�ำให้กล้ามเนื้อตื่นตัวลดความตื่นเต้นนั้นถ้าขาดดนตรีเสีย แล้วจะร�ำได้อย่างไร และกลองนั้นเป็นที่อนุมัติในอิสลาม ในการร�ำของกระบี่กระบอง มีอยู่สองชนิด คือ ร�ำอยู่กับที่ (ขึ้นพรหม) และร�ำเดินไปเดินมา ถ้า เป็นการเล่นกันฉันมิตรผู้ร�ำต่างร�ำไปข้างหน้าสวนทางกันและหันหลังกลับมาที่เดิม เรียกว่า ร�ำสองเที่ยว 36
การร�ำไปข้างหน้ามีทั้งแบบเดินสลับฟันปลา ถ้าเป็นการเล่นแข่งขันเอาจริงจัง การร�ำจะเคลื่อนไปข้างหน้า แต่จะไม่ล่วงล�้ำเข้าไปในแดนคู่ต่อสู้ การร่ายร�ำก่อนต่อสู้จริงนั้น นอกจากจะเป็นการกระตุ้นอวัยวะต่างๆ ของร่างกายให้ตื่นตัวแล้ว ยังเป็นโอกาสให้ผู้แสดงทั้งสองได้ดูท่าทีของกันและกันก่อนว่าจะใช้ไหวพริบ เอาชนะคู่ต่อสู้ได้อย่างไร ทันทีที่เสียงปี่กลองดังขึ้นใหม่คู่ต่อจะถวายบังคมอย่างรวดเร็วและค�ำนับครูอีกครั้งหนึ่งแล้วจึง เริ่ม “เดินแปลง” คือเดินเข้าหากันเป็นอารัมภบทในการต่อสู้อย่างจริงจัง การเดินแปลงนี้เป็นที่เข้าใจกัน ดีในวงการกระบี่กระบองว่า ยังไม่ตีกันรุนแรง แต่จะตีกันเพียงประปรายเล็กน้อยเพื่อหาก�ำไร ท�ำนองลอง เชิงก่อน แล้วจากกันไปด้วยดี ซึ่งถือเป็นประเพณีปฏิบัติกันมาดุจกติกาของกระบี่กระบองทีเดียว การตีกระบี่กระบอง แบ่งออกเป็นการตีท่าหลัก และการตีท่าพลิกแพลง การตีท่าหลักยังแบ่ง ออกเป็นการตีท่ารุก และท่ารับตามเทคนิคหรือวิธีการพื้นฐาน ส่วนการตีท่าพลิกแพลงนับเป็นการตีกัน จริงๆ การตีท่าหลักบางทีเรียกว่า เป็นการหัดตีท่าลูกไม้ จะต้องฝึกปรือให้แม่นย�ำคล่องตัวเสียก่อนจึง จะไปถึงขั้นท่าพลิกแพลงได้ ความมุ่งหมายในการต่อสู้ของกระบี่กระบองมีสองประการคือ มุ่งท�ำลาย ปรปักษ์ให้พ่ายแพ้ไป และมุ่งที่จะรับรองป้องกันตัวมิให้ฝ่ายปรปักษ์ท�ำอันตรายตนได้
3. ตะกร้อลอดห่วง กติกาการแข่งขันตะกร้อลอดห่วงของสมาคมกีฬาไทย
ในพระบรมราชูปถัมภ์และสมาคม
ตะกร้อแห่งประเทศไทย 1. สนามแข่งขัน สนามเป็นพื้นราบ มีลักษณะเป็นวงกลมเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 18 เมตร จะอยู่ในร่มหรือ กลางแจ้งก็ได้ ทางสูงวัดจากพื้นสนามขึ้นไปอย่างน้อยประมาณ 8 เมตร ต้องไม่มีสิ่งกีดขวางใดๆ และให้ มีวงกลมรัศมี 2 เมตร จากจุดศูนย์กลางสนามความกว้างของเส้นวงกลม มีความกว้าง 11/2 นิ้ว ที่ขอบ สนามมีเสา 2 ต้น สูง 8 เมตร ปักขวางสนามห่างกัน 22 เมตร ปลายเสาทั้งสองมีเส้นลวดขึงตึงโดยที่ ปลายเสาข้างหนึ่งจะมีรอกเพื่อร้อยเส้นลวดดึงลงโคนเสาให้ตึงและเพื่อใช้แก้ปัญหาเมื่อเกิดอุปสรรคต่างๆ เกี่ยวกับเส้นลวด ที่เส้นลวดกึ่งกลางสนามมีรอก 1 ตัว ห่างจากรอกตัวแรกประมาณ 7 เมตร มีรอกอีกตัว หนึ่งผูกติดกับเส้นลวด และใช้เชือกร้อยกับรอกทั้งสองตัว เพื่อใช้ผูกห่วงชัยชักขึ้นลงได้สะดวก
37
2. ห่วงชัย ห่วงชัยประกอบด้วยวงกลม 3 ช่อง ขนาดเท่ากัน มีเส้นผ่าศูนย์กลางวัด จากภายในยาว 40 เซนติเมตร ห่วงทั้ง 3 นี้จะท�ำด้วยโลหะ หวาย หรือไม้ก็ได้ วัด โดยรอบ 1 เซนติเมตร แต่ต้องผูกหรือบัดกรีติดกันแน่นเป็นรูป 3 เส้า วงห่วงแต่ละ ห่วงตั้งตรงและมีถุงตาข่ายท�ำด้วยด้ายสีขาว ผูกรอบห่วงทุกห่วง อนึ่งเพื่อความ สวยงาม จะใช้กระดาษสีพันรอบห่วงทั้ง 3 ก็ได้ ห่วงชัยต้องแขวนกลางสนาม ขอบล่างของห่วงต้องได้ระดับและสูงจาก พื้นสนาม 5.75 เมตร
3. ตะกร้อที่ใช้แข่งขัน
ตะกร้อใช้สานด้วยหวาย 9 – 11 เส้น หรือใยสังเคราะห์ ขนาดเส้นรอบวงไม่ เกิน 17 นิ้ว น�้ำหนักระหว่าง 160 – 200 กรัม ชุดที่เข้าแข่งขันให้น�ำตะกร้อมา เอง
4. การตัดสิน 4.1 ต้องมีผู้ตัดสินอย่างน้อย 3 คน และมีประธานกรรมการผู้ตัดสินอีก 1 คน 4.2 ผู้ตัดสินมีหน้าที่รักษาเวลาและให้คะแนน ดังที่บัญญัติไว้ในข้อ 8 แห่งกติกานี้ถ้ามี ข้อสงสัยด้วยประการใดก็ดี ให้กรรมการผู้ตัดสิน เป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด 4.3 ค�ำตัดสินที่ได้ประกาศไปแล้วนั้น ให้ถือเป็นที่สิ้นสุด และจะอุทธรณ์ไม่ได้ 5. ชุดที่เข้าแข่งขัน 5.1 ให้ส่งรายชื่อเข้าท�ำการแข่งขันได้ไม่เกิน 8 คน มีผู้เล่นเข้าท�ำการแข่งขัน 7 คน และ ผู้เล่นส�ำรองอีก 1 คน ถ้าชุดใดมีผู้เล่นเข้าท�ำการแข่งขันไม่ถึง 6 คน ให้ถือว่าชุดนั้นไม่มีสิทธิ์เข้าแข่งขันใน ครั้งนั้น 5.2 ในระหว่างแข่งขันห้ามเปลี่ยนตัวผู้เล่น 5.3 ผู้เล่นต้องแต่งกายสุภาพเรียบร้อย และเหมือนกันทั้งชุด 5.4 ผู้เล่นทุกคนต้องติดเครื่องหมายที่เสื้อทั้งด้านหน้าและด้านหลังให้เรียบร้อยด้วย ตัวเลขที่อ่านง่าย สีของหมายเลขต้องตัดกับสีเสื้อ หมายเลขด้านหลังต้องสูงไม่น้อยกว่า 10 เซนติเมตร โดยผู้เล่นชุดเดียวกันจะใช้หมายเลขซ�้ำกันไม่ได้ 5.5 ให้ชุดที่ท�ำการแข่งขันส่งรายชื่อผู้เข้าแข่งขันต่อกรรมการก่อนเวลาการแข่งขัน 30 นาที 5.6 เมื่อถึงเวลาการแข่งขัน ผู้เล่นชุดใดยังไม่ลงสนามแข่งขันตามเวลาที่ก�ำหนดไว้หรือ ยังไม่พร้อมท�ำการแข่งขัน ให้ถือว่าหมดสิทธิ์ในการแข่งขันครั้งนั้นโดยไม่มีการอุทธรณ์ 6. ก�ำหนดการแข่งขัน 6.1 ให้ใช้เวลาในการแข่งขันชุดละ 40 นาที เมื่อเวลาการแข่งขันผ่านไปครึ่งเวลา 38
กรรมการต้องประกาศให้ทราบทั้งเวลาและคะแนนที่ท�ำได้ 6.2 ผู้เข้าแข่งขันชุดใดเกิดอุบัติเหตุขึ้นในระหว่างท�ำการแข่งขันอยู่และไม่สามารถท�ำ การแข่งขันได้ ให้ขออนุญาตจากผู้ตัดสินออกจากสนามชั่วคราวได้และชุดนั้นหยุดการแข่งขันได้ 2 นาที 6.3 เมื่อถึงก�ำหนด 2 นาทีแล้วให้การแข่งขันต่อไป ทั้งนี้ต้องอยู่ในข้อ 5.1 และข้อ 6.1 และถ้าผู้บาดเจ็บนั้นจะเข้าท�ำการแข่งขันต่อไปอีก ให้ขออนุญาตต่อผู้ตัดสินก่อนทุกครั้ง 6.4 ผู้ตัดสินจะต้องหยุดการแข่งขัน เมื่อต้องหยุดการแข่งขันในกรณีเกิดอุบัติเหตุ หรือ เนื่องด้วยเหตุอื่น เมื่อเห็นสมควร 7. วิธีเล่น 7.1 ให้ผู้เล่นยืนเป็นรูปวงกลม เว้นระยะห่างกันพอสมควร ในระหว่างการแข่งขันผู้เล่น จะสับเปลี่ยนที่กันได้ 7.2 เมื่อผู้ตัดสินให้สัญญาณเริ่มการแข่งขัน ให้ผู้เล่นคนหนึ่งคนใดโยนลูกตะกร้อให้แก่คู่ หนึ่งหรือคู่สองของตน ต่อจากนั้นเมื่อลูกตายผู้เล่นผู้ใดถูกลูกก่อนจะต้องเป็นผู้โยนและต้องโยนให้คู่หนึ่ง หรือคู่สองของตน เพื่อเล่นต่อไปทุกคราว โดยผู้โยนและผู้รับลูกโยนจะต้องอยู่นอกวงกลม 7.3 เมื่อลูกตายแล้ว จะเปลี่ยนลูกตะกร้อก็ได้ แต่ต้องให้ผู้เล่นจับลูกตะกร้อลูกเดิมเสีย ก่อนจึงเปลี่ยนได้ (ยกเว้นกรณีไม่สามารถจะเก็บลูกตะกร้อเดิมได้) 7.4 ในการโต้ลูก ห้ามไม่ให้ผู้เล่นใช้มือ ถ้าผู้เล่นใช้มือต้องโยนลูกให้คู่ของตนเตะแล้ว ปล่อยให้ลูกตาย จึงจะน�ำมาโยนเพื่อเล่นต่อไป 7.5 ในกรณีต่อไปนี้ ให้ถือเป็นลูกตาย ให้โยนใหม่ 7.5.1 ลูกตกถึงพื้นสนาม 7.5.2 ลูกถูกมือผู้เล่น (นอกจากกรณีที่ผู้เล่นเตะลอดห่วงมือ และลูกกระทบ ห่วงมือนั้น) 7.5.3 ลูกติดกับห่วงชัย (ยกเว้นกรณีที่หวายขาดและเกี่ยวกับตาข่ายห่วงชัย และค้างอยู่ภายในรัศมีวงกลมของห่วงชัย) 7.5.4 ลูกถูกวัตถุใดๆ ที่ไม่ใช่อุปกรณ์ตะกร้อลอดห่วง 7.6 ถ้าลูกยังดีอยู่ลอดห่วง หรือลูกตะกร้อที่หวายขาดไปเกี่ยวกับตาข่าย และค้างอยู่ ภายในรัศมีวงกลมห่วงชัย ให้ผู้ตัดสินให้คะแนนตามลักษณะของท่าที่ก�ำหนดในข้อ 8 เว้นแต่กรณีดังต่อ ไปนี้ 7.6.1 ผู้เล่นโต้ลูกโยนไปลอดห่วง 7.6.2 ผู้เล่นที่พักหรือเล่นลูกโต้นั้นไปลอดห่วง 7.6.3 ผู้เล่นเตะลูกโต้จาก(ที่พักหรือเลี้ยงลูกไปลอดห่วง 7.6.4 ลูกลอดห่วงภายหลังสัญญาณหมดเวลา 7.6.5 ลูกลอดห่วงแล้งกระดอนออกทันที 7.6.6 ผู้เล่นคนใดเตะลูกลอดห่วงซ�้ำกันเกินกว่า 2 ครั้ง 39
8. การให้คะแนน ด้านหน้า 1 ลูกหน้าเท้า (ลูกแป) 2 ลูกหลังเท้า 3 ลูกไขว้หน้าด้วยหลังเท้า 4 ลูกแข้ง 5 ลูกเข่า 6 ลูกไขว้หน้าด้วยเข่า 7 ลูกไหล่ 8 ลูกศีรษะ (โหม่ง) ด้านข้าง 9 ลูกข้าง 10 ลูกข้างห่วงมือ 11 ลูกไขว้ 12 ลูกไขว้ตบห่วงมือ 13 ลูกส้นไขว้ 14 ลูกส้นไขว้ห่วงมือ 15 ลูกขึ้นม้า 16 ลูกขึ้นม้าห่วงมือ 17 ลูกพับเพียบ 18 ลูกพับเพียบห่วงมือ 19 ลูกตัดไขว้ (มะนาวตัด) ด้านหลัง 20 ลูกศอกหลัง 21 ลูกตบธรรมดา 22 ลูกข้างหลัง 23 ลูกแทงเส้นตรงหลัง 24 ลูกแทงเส้นตรงหลังห่วงมือ 25 ลูกข้างหลังห่วงมือ 26 ลูกตบหลังห่วงมือ 27 ลูกตบหลัง 28 ลูกตบหลังสองเท้าพร้อมกัน 29 ลูกพับตบหลัง 30 ลูกพับตบหลังห่วงมือ
40
3 15 25 6 6 20 12 10 6 12 10 15 15 25 8 15 8 15 20 10 15 15 20 25 20 25 20 20 20 30
9. ผลการแข่งขัน 9.1 ชุดใดได้คะแนนมากที่สุด ชุดนั้นชนะ 9.2 ถ้าได้คะแนนเท่ากัน ชุดใดได้จ�ำนวนครั้งที่ลอดห่วงมากกว่า ชุดนั้นชนะ 9.3 ถ้าได้คะแนนและจ�ำนวนที่ลอดห่วงเท่ากัน ชุดได้ห่วงด้วยท่าที่มีคะแนนสูงกว่า ชุด นั้นชนะ 9.4 ถ้าได้คะแนน จ�ำนวนครั้งที่ลอดห่วง และท่าที่มีคะแนนสูงเท่ากัน ชุดใดได้จ�ำนวน ครั้งที่ลอดห่วงด้วยท่าที่มีคะแนนสูงมากกว่า ชุดนั้นชนะ 9.5 ถ้าทั้งหมดดังกล่าวเท่ากัน ให้จับฉลาก
41
หน่วยการเรียนรู้ที่ 5
กีฬาสากล สาระที่ 3 การเคลื่อนไหว การออกก�ำลังกาย การเล่นเกม กีฬาไทย และกีฬาสากล มาตรฐาน พ 3.1 เข้าใจ มีทักษะในการเคลื่อนไหว กิจกรรมทางกาย การเล่นเกม และกีฬา ตัวชี้วัด
1. เล่นกีฬาไทยและกีฬาสากลประเภทบุคคลและทีมโดยใช้ทักษะพื้นฐานตามชนิดกีฬา อย่างละ 1 ชนิด สาระการเรียนรู้แกนกลาง 1. การเล่นกีฬาไทย และกีฬาสากลที่เลือก เช่น กรีฑาประเภทลู่และลาน บาสเกตบอล กระบี่ เทนนิส เทเบิลเทนนิส ว่ายน�้ำ
มาตรฐาน พ 3.2 รักการออกก�ำลังกาย การเล่นเกม และการเล่นกีฬา ปฏิบัติเป็นประจ�ำอย่างสม�่ำเสมอ ตัวชี้วัด
1. ออกก�ำลังกายและเลือกเข้าร่วมเล่นกีฬาตามความถนัด ความสนใจอย่างเต็มความสามารถ พร้อมทั้งมี การประเมินการเล่นของตนและผู้อื่น 2. ปฏิบัติตามกฎ กติกา และข้อตกลงตามชนิดกีฬาที่เลือกเล่น 3. วางแผนการรุกและการป้องกันในการเล่นกีฬาที่เลือกและน�ำไปใช้ในการเล่นอย่างเป็นระบบ 4. ร่วมมือในการเล่นกีฬา และการท�ำงานเป็นทีมอย่างสนุกสนาน 5. วิเคราะห์เปรียบเทียบและยอมรับความแตกต่างระหว่างวิธีการเล่นกีฬาของตนเองกับผู้อื่น สาระการเรียนรู้แกนกลาง 1. การเล่นกีฬาไทย และกีฬาสากล ทั้งประเภทบุคคลและทีม 2. กฎ กติกา การเล่นเกมและการแข่งขันกีฬาที่เลือกเล่น 3. รูปแบบ วิธีการรุกและป้องกันในการเล่นกีฬาที่เลือก 4. การเล่น การแข่งขันกีฬา และการท�ำงานเป็นทีม 5. การยอมรับความสามารถและความแตกต่างระหว่างบุคคลในการเล่นกีฬา
42
เทเบิลเทนนิส
เทเบิลเทนนิสเป็นที่นิยมอย่างมาก โดยเฉพาะในแถบเอเชียตะวันออก และเมื่อเทียบกันกับกีฬา ชนิดอื่นแล้วถือว่าเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมอย่างยิ่ง ในฐานะที่เป็นกีฬาชนิดใหม่ที่ก�ำลังได้รับความนิยม อย่างมากในปัจจุบัน
1. ประวัติกีฬาเทเบิลเทนนิส
กีฬาเทเบิลเทนนิสได้เริ่มขึ้นในประเทศอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1890 ในครั้งนั้นอุปกรณ์ที่ใช้เล่น ประกอบด้วยไม้หนังสัตว์ลักษณะคล้ายกับไม้เทนนิส ในปัจจุบันแทนที่จะขึงด้วยเส้นเอ็นก็ใช้แผ่นหนัง สัตว์หุ้มแทน ลูกที่ใช้ตีเป็นลูกเซลลูลอยด์ เวลาตีกระทบถูกพื้นโต๊ะและไม้ก็จะเกิดเสียง “ปิก – ป๊อก” ดัง นั้น กีฬานี้จึงถูกเรียกตามเสียงที่ได้ยินว่า “ปิงปอง” (pingpong) ต่อมาได้มีวิวัฒนาการขึ้นโดยไม้หนังสัตว์ ได้ถูกเปลี่ยนเป็นแผ่นไม้ซึ่งได้เริ่มเล่นแพร่หลายในกลุ่มประเทศยุโรป ก่อนวิธีการเล่นในสมัยยุโรปตอน ต้นนี้เป็นการเล่นแบบยัน (Blocking) และแบบดันกัน (Pushing) ซึ่งต่อมได้พัฒนามาเป็นการเล่นแบบ BLOCKING และ CHOP การเล่นลูกตัด ซึ่งวิธีนี้เองเป็นวิธีการเล่นที่ส่วนใหญ่นิยมกันมากในยุโรป และ แพร่หลายมากในประเทศต่างๆ ทั่วยุโรป การจับไม้ก็มีการจับอยู่ 2 ลักษณะเช่นเดียวกัน คือ จับไม้แบบ การจับมือ (SHACK HAND) ซึ่งเรียกกันว่า “จับไม้แบบยุโรป” นั่นเอง ในปี ค.ศ. 1900 (พ.ศ. 2443) เริ่มปรากฏว่ามีไม้ปิงปองที่ติดยางเม็ดเข้ามาใช้เล่น ดังนั้น วิธี การเล่นแบบรุกหรือบุกโจมตี (ATTACK หรือ OFFENSIVE) เริ่มมีบทบาทมากขึ้นและยุคนี้จึงเป็นยุคของ นายวิคเตอร์ บาร์น่า (VICTOR BARNA) ซึ่งเป็นชาวฮังการีได้ต�ำแหน่งแชมเปี้ยนโลกประเภททีมรวม 7 ครั้ง และประเภทชายเดี่ยว 5 ครั้ง ในปี ค.ศ.1929 – 1931 ยกเว้นปี 1931 ที่ได้ต�ำแหน่งรองเท่านั้น ใน ยุคนี้อุปกรณ์การเล่น โดยเฉพาะไม้มีลักษณะคล้ายๆ กันกับไม้ในปัจจุบัน วิธีการเล่นก็เช่นเดียวกัน คือมี ทั้งการเล่นรุก (ATTACK) และการเล่นรับ (DEFENSIVE) ทั้งด้านหน้ามือ (FOREHAND) และด้านหลังมือ (BACKHAND) การจับไม้ก็ใช้การจับแบบ SHAKE HAND เป็นหลัก ดังนั้นเมื่อส่วนใหญ่จับไม้แบบยุโรป แนวโน้มการจับไม้แบบ PENHOLDER ซึ่งเปลี่ยนแปลงไป โดยมีน้อยมากในยุโรปถือว่าเป็นศูนย์รวมของ กีฬาปิงปองของโลกอย่างแท้จริง ในปี ค.ศ.1922 ได้มีบริษัทค้าเครื่องกีฬา ไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าว่า “PINGPONG” 43
เป็น “TABLE-TENNIS” เพราะไม่สามารถใช้ชื่อที่เขาจดทะเบียนไว้ประการหนึ่ง และเพื่อไม่ใช่เป็นการ ช่วยเหลือในด้านการโฆษณาสินค้าอีกประการหนึ่ง แล้วในปี ค.ศ.1926 (พ.ศ.2469) จึงได้มีการประชุม และก่อตั้งสหพันธ์เทเบิลเทนนิสนานาชาติ (INTERNATIONAL TABLE-TENNIS FEDERATIONITTF) ขึ้นที่กรุงลอนดอน ในเดือนธันวาคม ค.ศ.1926 ภายหลังจากที่ได้มีการปรึกษาหารือในขั้นต้น โดย DR. GEORE LEHMEN ดร.เกิธ เลชมัน แห่งประเทศเยอรมัน ในกรุงเบอร์ลินในเดือน มกราคม ค.ศ.1926 ในปีนี้เอง การแข่งขันเทเบิลเทนนิสแห่งโลกครั้งที่ 1 ก็ได้เริ่มขึ้นพร้อมกับการก่อตั้งสหพันธฯ โดยมีนาย อีวอร์ มองตากู (MR. IVOR MONTAGO) เป็นประธานของสหพันธ์เทเบิลเทนนิสนานาชาติคนแรก ในปี ช่วงปี ค.ศ.1940 ยังมีวิธีการเล่นและการจับไม้พอจ�ำแนกออกได้เป็น 3 ลักษณะเด่น คือ 1. การจับไม้ เป็นการจับไม้แบบจับมือ (SHAKE HAND GRIP) 2. ไม้จะต้องติดยางเม็ด 3. วิธีการเล่นเป็นวิธีการเล่นขั้นพื้นฐาน คือ การรับเป็นส่วนใหญ่ (OEFENSIVE-PLAY) ยุคนี้ยังจัดได้ว่าเป็น “ยุคของยุโรป” อีกเช่นเคย ในปี ค.ศ .1950 จึงเป็นยุคของญี่ปุ่นซึ่งมีลักษณะพิเศษดังนี้ คือ 1. การตบลูกทางด้าน FOREHAND แม่นย�ำและหนักหน่วง 2. การใช้จังหวะเต้นของปลายเท้า (FOOT WORK) ในปี ค.ศ.1952 ญี่ปุ่นได้เข้ามาร่วมการแข่งขันเทเบิลเทนนิสโลกเป็นครั้งแรก ที่กรุงบอมเบย์ ประเทศอินเดีย และในปีต่อมาคือ ค.ศ.1953 สาธารณรัฐประชาชนจีน จึงได้เข้าร่วมแข่งขันครั้งแรกที่ กรุงบูคาเรสท์ ประเทศโรมาเนีย จึงนับได้ว่ากีฬาปิงปองเริ่มเป็นกีฬาระดับโลกที่แท้จริงในปีนี้นั่นเอง ในยุคนี้ญี่ปุ่นใช้การจับไม้แบบปากกา ใช้วิธีการเล่นแบบรุกโจมตีอย่างหนักหน่วงและรุนแรงโดย อาศัยอุปกรณ์เข้าช่วย เป็นยางที่สอดไส้ด้วยฟองน�้ำ เพิ่มเติมจากยางชนิดเม็ดเติมที่ใช้กันทั่วโลก การเล่นรุกของยุโรปใช้ความแม่นย�ำและใช้การตีวงสวิงที่สั้นๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้บ่า ข้อศอก และ ข้อมือ ซึ่งเมื่อเทียบกับญี่ปุ่น ซึ่งใช้ปลายเท้าเป็นศูนย์กลางในการตีลูกแบบรุก เป็นการเล่นแบบ “รุก อย่างต่อเนื่อง” ซึ่งวิธีนี้สามารถเอาชนะวิธีการเล่นแบบยุโรปได้การเล่นลูกโจมตีเช่นนี้เป็นที่เกรงกลัวของ ยุโรปมาก เปรียบเสมือนการโจมตีแบบ “KAMIKAZE” คามิคาเซ่ (การบินโจมตีของฝูงบินหน่วยกล้า ตายญี่ปุ่น) ซึ่งเป็นที่กล่าวขวัญกันว่า การเล่นแบบนี้เป็นการเล่นที่เสี่ยงและกล้าเกินไป จนดูแล้วรู้สึกขาด ความรอบคอบอยู่มาก แต่ผู้เล่นญี่ปุ่นก็สามารถเล่นวิธีนี้ได้ดี โดยอาศัยความสุขุมและ FOOT WORK ที่ คล่องแคล่วจนสามารถครองต�ำแหน่งชนะเลิศได้ 7 ครั้ง โดยมี 5 ครั้งติดต่อกัน ตั้งแต่ปี 1953-1959 ในปี ค.ศ.1960 เริ่มเป็นยุคของจีน ซึ่งสามารถเอาชนะญี่ปุ่นได้ โดยการวิธีการเล่นโจมตีอย่าง รวดเร็วผสมผสานกับการป้องกัน ในปี ค.ศ. 1961 ได้จัดการแข่งขันเทเบิลเทนนิสชิงชนะเลิศครั้งที่ 26 ขึ้น ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ครั้งนี้จึงชนะญี่ปุ่นทั้งนี้ เพราะญี่ปุ่นยังใช้นักกีฬาที่มีอายุ มาก ส่วนจีนได้ใช้นักกีฬารุ่นหนุ่ม ซึ่งสามารถเล่นได้อย่างรวดเร็วปานสายฟ้าแลบทั้งรุกและรับ (ATTACK & BLOCK) การจับไม้ก็เป็นการจับแบบปากกา ยุโรปเริ่มฟื้นฟูขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งโดยน�ำวิธีการเล่นของชาวเอเชียมาปรับปรุง น�ำโดยนักกีฬาชาว สวีเดนและประเทศอื่นๆ ซึ่งมีหัวหน้าที่ไม่มัวมาแต่คิดจะรักษาหน้าของตัวเองว่าต้องไปเลียนแบบชาติ 44
อื่นๆ ดังนั้น ชาวยุโรปจึงเริ่มชนะเลิศชายคู่ในปี 1967 และ 1969 ซึ่งเป็นนักกีฬาจากสวีเดน ในช่วงนั้น การเล่นแบบรุกยังไม่เป็นที่แพร่หลายทั้งนี้เพราะวิธีการเล่นแบบรับ (DEFENSIVE) ได้ฝังรากลงไปในยุโรป จนมีการพูดกันว่าการที่นักกีฬายุโรปเลียนแบบการเล่นลูกยาวแบบญี่ปุ่นนั้น คงจะไม่มีทางส�ำเร็จ แต่การ ที่นักกีฬาของสวีเดนได้เปลี่ยนวิธีการเล่นตามแบบญี่ปุ่นนั้น มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของเยาวชนรุ่นหลัง ของยุโรปเป็นอย่างมาก และในปี ค.ศ.1970 จึงเป็นปีแห่งการประจันหน้ากันระหว่างผู้เล่นชาวยุโรปและ ผู้เล่นชาวเอเชีย ระยะเวลาได้ไปประมาณ 10 ปี ตั้งแต่ปี 1960-1970 นักกีฬาของญี่ปุ่นเริ่มแก่ตัวลงในขณะที่นักกีฬาใหม่ของยุโรปเริ่ม เก่งกล้าขึ้น และสามารถคว้าต�ำแหน่งชนะเลิศชายเดี่ยวของโลก ไปครองครอบได้ส�ำเร็จ ในการแข่งขันเทเบิลเทนนิสเพื่อความ ชนะเลิศแห่งโลก ครั้งที่ 31 ณ กรุงนาโกน่า ประเทศญี่ปุ่น ใน ปี ค.ศ.1971 โดยนักเทเบิลเทนนิสชาวสวีเดนชื่อสเตลัง เบงค์ สัน อายุ 17 ปี เป็นผู้เปิดศักราชให้กับชาวยุโรป ภายหลังจากที่ นักกีฬาเทเบิลเทนนิสชาวยุโรปตกอันดับไปเป็นเวลาถึง 18 ปี ใน ปี ค.ศ. 1973 ทีมของสวีเดนก็คว้าต�ำแหน่งแชมเปี้ยนโลกได้ จึง ท�ำให้ยุโรปต่างมีความมั่นใจในวิธีการเล่นที่ตัวเองได้เลียนแบบ และปรับปรุง ดังนั้นนักกีฬายุโรปและนักกีฬาของเอเชียจึงเป็นคู่แข่งขันที่ส�ำคัญในขณะที่นักกีฬาของกลุ่ม ชาติอาหรับและลาตินอเมริกา ก็เริ่มก้าวหน้าขึ้นอย่างรวดเร็ว เริ่มมีการให้ความร่วมมือช่วยเหลือทางด้าน เทคนิคซึ่งกันและกันการเล่นแบบตั้งรับซึ่งหมดความนิยมไปแล้วตั้งแต่ปี 1960 ก็เริ่มมีบทบาทมากขึ้น โดยการใช้ความช�ำนาญในการเปลี่ยนหน้าไม้ในขณะเล่นลูก หน้าไม้ซึ่งติดด้วยยางปิงปอง มีความยาว ของเม็ดยางยาวกว่าปกติ การใช้ยาง ANTI-SPIN เพื่อพยายามเปลี่ยนวิถีการหมุนและทิศทางของลูกเข้า ช่วย ซึ่งอุปกรณ์ที่ใช้นี้มีส่วนช่วยเป็นอย่างมากในขณะนี้ผู้เล่นเยาวชนต่างๆ เหล่านี้จะเป็นก�ำลังส�ำคัญใน การพัฒนากีฬาเทนนิสต่อไปในอนาคตได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด และขณะนี้กีฬาเทนนิสก็ได้เป็นที่ยอมรับของ คณะกรรมการโอลิมปิก โดยเริ่มจัดให้มีการแข่งขันในกีฬาโอลิมปิกปี 1988 ที่กรุงโซล ประเทศสาธารณรัฐ เกาหลี เป็นครั้งแรก
2. คุณค่าและความส�ำคัญ เทเบิลเทนนิสเป็นกีฬาที่เล่นง่าย จึงเล่นได้ทุกเพศทุกวัย อุปกรณ์การเล่นก็มีราคาถูก หรืออาจใช้
สิ่งอื่นดัดแปลงเป็นอุปกรณ์การเล่นได้ง่าย เช่น ใช้โต๊ะกินข้าวหรือพื้นไม้ พื้นซีเมนต์แทนโต๊ะใช้ไม้กระดาน แผ่นเรียบหรือสมุดปกแข็งแทนไม้ตี เป็นต้น สถานที่เล่นก็หาได้ง่ายเช่นเดียวกัน จะเป็นสถานที่ใดก็ได้ที่มี บริเวณกว้างพอ มีแสงสว่างพอ และไม่มีลมพัดจัด ก็ใช้เป็นสถานที่เล่นเทเบิลเทนนิสได้ นอกจากนี้เทเบิล เทนนิสยังเป็นกีฬาที่เล่นได้สนุกสนาน แม้จะเห็นว่าเป็นการเล่นที่ง่ายๆ ไม่ต้องใช้ฝีมืออะไรมาก แต่ที่จริง แล้วกีฬาชนิดนี้ต้องใช้เทคนิคและชั้นเชิงการเล่นมากทีเดียว จึงเป็นกีฬาที่สนุกสนานและตื่นเต้นส�ำหรับ 45
ผู้เล่นและผู้ดู ปัจจุบันจึงมีผู้นิยมเล่นเทเบิลเทนนิสกันมาก แต่ผู้เล่นส่วนใหญ่อาจมองไม่เห็นประโยชน์ อื่นใดของกีฬาชนิดนี้นอกจากความสนุกเพลิดเพลิน ที่จริงแล้วกีฬาชนิดนี้มีประโยชน์อยู่มากมายหลาย ประการ ซึ่งพอสรุปสั้นๆ ได้ดังนี้ 1).ประโยชน์ต่อร่างกาย การออกก�ำลังกายโดยเล่นเทเบิลเทนนิสจะท�ำให้ แขน ขา ล�ำตัว และ ส่วนอื่นๆ ของร่างกาย ต้องเคลื่อนไหวอยู่อย่างสม�่ำเสมอตลอดเวลาที่เล่น ท�ำให้ร่างกายได้รับการออก ก�ำลังกายทุกส่วนอย่างเพียงพอ 2).ประโยชน์ทางด้านจิตใจและอารมณ์ การจะเล่นเทเบิลเทนนิสให้ดีนั้น ส่วนหนึ่งต้อง อาศัยความมีสติดี มีความเชื่อมั่นในตัวเองและ มีสมาธิดี และในการฝึกซ้อมนี้ก็ต้องอาศัยความ อดทนและความตั้งใจ ดังนั้น ส�ำหรับผู้เล่นหรือผู้ ฝึกซ้อมกีฬาชนิดนี้บ่อยๆ จึงเป็นการฝึกซ้อมให้ ตนเองมีสติ มีความเชื่อมั่นในตัวเอง มีสมาธิดีและ เป็นคนมีความอดทนและตั้งใจ 3.ประโยชน์ในด้านสังคม การเล่นเทเบิลเทนนิสนี้ แม้ว่าจะมีผู้เล่นเพียง 2 คน ก็เป็นการเพียง พอแล้วก็ตาม แต่โดยทั่วไปแล้วในขณะที่คู่ใดคู่หนึ่งก�ำลังเล่นเทเบิลเทนนิสอยู่ จะมีคนอื่นๆ อีกหลาย คนรอที่จะเข้าเล่นต่อ เช่น การเล่นในกรณีที่ให้ผู้ที่ตีแพ้ออก แล้วให้คนใหม่ที่เป็นคนต่อไปเข้าไปตีแทน เป็นต้น หรือผู้เล่นที่มีความตั้งใจเล่นอย่างจริงจัง ก็ควรสมัครสมานเข้าเป็นสมาชิกของชมรมหรือสมาคม ต่างๆ ท�ำให้ผู้เล่นมีโอกาสรู้จักกับคนมาก และเกิดความสมัครสมานสามัคคีกันขึ้นในหมู่ผู้เล่น
3. การเตรียมความพร้อมส�ำหรับการเล่นเทเบิลเทนนิส 3.1 เครื่องแต่งกาย
1. เสื้อผ้าที่ใช้แข่งขัน ปกติจะประกอบไปด้วยเสื้อแขนสั้น กางเกงขาสั้นหรือกระโปรง ถุงเท้าและ รองเท้าแข่งขัน ส่วนเสื้อผ้าชนิดอื่นๆ เช่น บางส่วนหรือทั้งหมดของชุดวอร์ม จะไม่อนุญาตให้ใส่ในระหว่าง แข่งขัน ยกเว้นได้รับอนุญาตจากผู้ชี้ขาด ส�ำหรับในการแข่งขันระดับภายในประเทศให้ผู้เข้าแข่งขันสอด ชายเสื้อไว้ในกางเกงหรือกระโปรงทุกครั้ง และเสื้อแข่งขันจะต้องมีปกเท่านั้น ส�ำหรับมุสลิมไม่สามารถ แต่งขาสัน้ หรือเสือ้ แขนสัน้ ทีเ่ ปิดเอาเราะห์ได้ ดังนัน้ จะต้องแต่งตัวให้เหมาะสมถูกต้องตามหลักการอิสลาม 2. นอกจากแขนเสื้อและปกของเสื้อแข่งขันแล้ว สีส่วนใหญ่ของเสื้อแข่งขัน กางเกง หรือกระโปรง จะต้องเป็นสีที่แตกต่างกันกับลูกเทเบิลเทนนิสที่ใช้ในการแข่งขันอย่างชัดเจน 3. บนเสื้อแข่งขันอาจมีเครื่องหมายใดๆ ได้ดังนี้ 3.1) เครื่องหมายหรือตัวอักษรที่แสดงสังกัดสโมสร ที่มิใช่เป็นการโฆษณาบนด้านหน้า หรือด้านข้างของเสื้อแข่งขัน บรรจุในพื้นที่ได้ไม่เกิน 64 ตารางเซ็นติเมตร 3.2) ด้านหลังของเสื้อแข่งขัน อาจมีหมายเลขหรือตัวอักษรแสดงสังกัดหรือแสดงถึง 46
แมทซ์การแข่งขัน 3.3) เสื้อผ้าอาจสามารถโฆษณาในขนาดที่ก�ำหนดไว้ 4. หมายเลขประจ�ำตัวของผู้เล่นที่ติดบนหลังเสื้อจะต้องอยู่ตรงกลางของหลังเสื้อ โดยมีขนาด ใหญ่ได้ไม่เกิน 600 ตารางเซ็นติเมตร และมีความเด่นชัดเหนือโฆษณา 5. การท�ำเครื่องหมายหรือการเดินเส้นใดๆ บนด้านหน้าหรือด้านข้างของเสื้อผ้าหรือวัสดุใดๆ เช่น เครื่องประดับที่สวมใส่จะต้องไม่จับตาหรือสะท้อนแสงไปยังสายตาของฝ่ายตรงข้าม 6. รูปแบบของเสื้อผ้า ชุดแข่งขัน ตัวอักษรหรือการออกแบบใดๆ จะต้องเป็นรูปแบบที่เรียบร้อย ไม่ท�ำให้เกมนั้นเสื่อมเสีย 7. ส�ำหรับปัญหาใดๆ ที่เกี่ยวกับระเบียบข้อบังคับของชุดแข่งขัน ให้อยู่ในดุลยพินิจของผู้ชี้ขาด 8. ในการแข่งขันประเภททีมและในการแข่งขันประเภทคู่ นักกีฬาที่มาจากสังกัดเดียวกันจะต้อง แต่งกายให้มีสีและรูปแบบที่เหมือนกันเท่าที่จะเป็นไปได้ ยกเว้นถุงเท้าและรองเท้า 9. ในการแข่งขันระดับนานาชาติ นักกีฬาทั้ง 2 ฝ่ายจะต้องแต่งกายด้วยสีที่แตกต่างกันเพื่อง่าย ต่อการสังเกตของผู้ชม 10.หากผู้เล่นหรือทีมไม่สามารถตกลงกันได้ในกรณีชุดแข่งขันที่เหมือนกัน จะใช้วิธีการจับฉลาก 3.2 อุปกรณ์ อุปกรณ์ในการเล่นกีฬาเทเบิลเทนนิส มีดังนี้ 1) ไม้เทเบิลเทนนิส 1. ไม้เทเบิลเทนนิสจะมีรูปร่าง ขนาด หรือน�้ำหนักอย่างไรก็ได้ แต่หน้าไม้จะต้องแบนเรียบและ แข็ง 2. อย่างน้อยที่สุด 85% ของความหนาของไม้ จะต้องท�ำด้วยไม้ธรรมชาติ ชั้นที่อัดอยู่ติดภายใน หน้าไม้ ซึ่งท�ำด้วยวัสดุอื่นใด เช่น คาร์บอนไฟเบอร์, กลาสไฟเบอร์ หรือกระดาษอัดจะต้องมีความหนาไม่ เกิน 7.5 % ของความหนาทั้งหน้าไม้หรือไม่เกิน 0.35 มิลลิเมตร สุดแท้แต่กรณีใดจะมีค่าน้อยกว่า 3.หน้าไม้เทเบิลเทนนิสด้านที่ใช้ในการตีลูกจะต้องมีวัสดุปิดทับ วัสดุนั้นจะเป็นยางเม็ดธรรมดา แผ่นเดียวกันโดยหันเอาเม็ดออกมาด้านนอกและไม่มี ฟองน�้ำรองรับแผ่นยางชนิดนี้เมื่อปิดทับหน้าไม้และรวม กับกาวแล้วจะต้องมีความหน้าทั้งสิ้นไม่เกิน 2 มิลลิเมตร หรือแผ่นยางแผ่นเดียวกันชนิดมีฟองน�้ำรองรับโดยจะ หันเอาเม็ดอยู่ด้านในหรือเอาเม็ดอยู่ด้านนอกก็ได้ ยาง ชนิดนี้เมื่อปิดทับหน้าไม้และรวมกับกาวแล้วจะต้องมี ความหนาทั้งสิ้นไม่เกิน 4 มิลลิเมตร 3.1) แผ่นยางเม็ดธรรมดา จะต้องเป็นชิ้นเดียวและไม่มีฟองน�้ำรองรับจะท�ำด้วยยาง หรือยางสังเคราะห์ มีเม็ดกระจายอยู่อย่างสม�่ำเสมอไม่น้อยกว่า 10 เม็ดต่อ 1 ตารางเซนติเมตร และไม่ มากกว่า 50 เม็ดต่อ 1 ตารางเซนติเมตร 47
3.2) แผ่นยางชนิดมีฟองน�้ำ ประกอบด้วย ฟองน�้ำชิ้นเดียวปิดคลุมด้วยแผ่นยางเม็ดธรรมดาชิ้นเดียว ซึ่ง ความหนาของแผ่นยางธรรมดานี้จะต้องมีความหนาไม่เกิน 4 มิลลิเมตร 4. วัสดุปิดทับหน้าไม้จะต้องปิดทับคลุมหน้าไม้ด้าน นั้นๆ และจะต้องไม่เกินขอบของหน้าไม้ออกไป ยกเว้นส่วนที่ ใกล้กบั ด้ามจับทีส่ ดุ และทีว่ างนิว้ อาจจะหุม้ หรือไม่หมุ้ ด้วยวัสดุ ใดๆ ก็ได้ ซึ่งอาจจะถูกพิจารณาว่าเป็นส่วนหนึ่งของด้ามจับ 5. หน้าไม้เทเบิลเทนนิส ชั้นภายในหน้าไม้และชั้นของวัสดุปิดทับต่ างๆ หรือกาวจะต้องสม�่ำเสมอ และมีความหนาเท่ากันตลอด 6. หน้าไม้เทเบิลเทนนิสด้านหนึ่งจะต้องเป็นสีแดงสว่าง และอีกด้านหนึ่งจะต้องเป็นสีด�ำ โดยไม่ ค�ำนึงว่าหน้าไม้นั้นจะใช้ตีลูกเทเบิลเทนนิสหรือไม่ และจะต้องมีสีกลมกลืนอย่างสม�่ำเสมอไม่สะท้อนแสง ตามขอบของไม้เทเบิลเทนนิสจะต้องไม่เป็นสีสะท้อนแสงหรือมีส่วนหนึ่งส่วนใดเป็นสีขาว 7. วัสดุที่ปิดทับหน้าไม้ส�ำหรับตีลูกเทเบิลเทนนิสจะต้องมีเครื่องหมายการค้าของบริษัทฯ ผู้ผลิต ยี่ห้อ รุ่น และเครื่องหมาย ITTF แสดงไว้อย่างชัดเจนใกล้กับขอบของหน้าไม้ โดยจะต้องเป็นชื่อยี่ห้อและ ชนิด ที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์เทเบิลเทนนิสนานาชาติ ครั้งหลังสุดเท่านั้น 8. ส�ำหรับกาวที่มีส่วนประกอบของสารพิษจะไม่อนุญาตให้ใช้ทาลงบนหน้าไม้เทเบิลเทนนิส ผู้ เล่นจะต้องใช้กาวแผ่นส�ำเร็จรูป หรือกาวที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์เทเบิลเทนนิสนานาชาติเท่านั้น 9. การเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยของความสม�่ำเสมอของผิวหน้าไม้หรือวัสดุปิดทับหรือความไม่ สม�่ำเสมอของสีหรือขนาด เนื่องจากการเสียหายจากอุบัติเหตุ การใช้งานหรือสีจาง อาจจะอนุญาตให้ ใช้ได้ โดยมีเงื่อนไขว่าเหตุเหล่านั้นไม่ได้เปลี่ยนแปลงอย่างส�ำคัญต่อคุณลักษณะของผิวหน้าไม้หรือผิววัสดุ ปิดทับ 10.เมื่อเริ่มการแข่งขันและเมื่อใดก็ตามที่ผู้เล่นเปลี่ยนไม้เทเบิลเทนนิสระหว่างการแข่งขัน ผู้เล่น จะต้องแสดงไม้เทเบิลเทนนิสที่เขาเปลี่ยนให้กับคู่แข่งขันและกรรมการผู้ตัดสินตรวจสอบก่อนทุกครั้ง 11.เป็นความรับผิดชอบของผู้เล่นที่จะต้องมั่นใจว่าไม้เทเบิลเทนนิสนั้นถูกต้องตามระเบียบและ กติกา 12.ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับอุปกรณ์การเล่นให้อยู่ในดุลยพินิจของผู้ชี้ขาด 2) ลูกเทเบิลเทนนิส 1.ลู ก เทเบิ ล เทนนิ ส จะต้ อ งกลมและมี เ ส้ น ผ่ า ศูนย์กลาง 40 มิลลิเมตร 2.ลูกเทเบิลเทนนิสจะต้องมีน�้ำหนัก 2.7 กรัม 3.ลูกเทเบิลเทนนิสจะต้องท�ำด้วยเซลลูลอยด์ หรือวัสดุพลาสติกอื่นใดที่คล้ายคลึงกัน มีสีขาว สีเหลือง 48
หรือสีส้ม และเป็นสีด้าน 4.ลูกเทเบิลเทนนิสที่ใช้ส�ำหรับแข่งขันจะต้องเป็นยี่ห้อและชนิดที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์ เทเบิลเทนนิสนานาชาติเท่านั้น และจะต้องระบุสีของลูกที่จะใช้แข่งขันลงในระเบียบการแข่งขันทุกครั้ง 3) โต๊ะเทเบิลเทนนิส 1.พื้นหน้าด้านบนของโต๊ะเรียกว่า “พื้นผิวโต๊ะ” จะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีความยาว 2.74 เมตร (9 ฟุต) ความกว้าง 5.00 ฟุต (5 ฟุต) และจะต้องสูงได้ระดับ โดยวัดจากพื้นที่ตั้งขึ้นมาถึงพื้นผิวโต๊ะสูง 76 เซนติเมตร (2 ฟุต 6 นิ้ว) 2.พื้นผิวโต๊ะให้รวมถึงขอบบนสุดของโต๊ะ แต่ไม่รวมถึงด้านข้างของโต๊ะที่อยู่ต�่ำกว่าขอบบนสุด ของโต๊ะลงมา 3.พื้นผิวโต๊ะอาจท�ำด้วยวัสดุใดๆ ก็ได้ แต่จะต้องมีความกระดอนสม�่ำเสมอ เมื่อเอาลูกเทเบิล เทนนิสมาตรฐานทิ้งลงในระยะสูง 30 เซนติเมตร ลูกจะกระดอนขึ้นมาประมาณ 23 เซนติเมตร 4.พื้ น ผิ ว โต๊ ะ จะต้ อ งเป็ น สี เข้ ม สม�่ ำ เสมอ และเป็นสีด้านไม่สะท้อนแสง ขอบด้านบนของพื้น ผิวโต๊ะทั้ง 4 ด้านจะทางด้วยสีขาว มีความกว้าง 2 เซนติเมตร เส้นของพื้นผิวโต๊ะด้านยาว 2.74 เมตรทั้ง สองข้างเรียกว่า “เส้นข้าง” เส้นของพื้นผิวโต๊ะด้าน กว้าง 1.525 เมตร ทั้งสองข้างเรียกว่า “เส้นสกัด” 5.พื้นผิวโต๊ะจะถูกแบ่งออกเป็นสองแดน เท่าๆ กัน กั้นด้วยเน็ตซึ่งขึงตั้งฉากกับพื้นผิวโต๊ะ และ ขนานกับเส้นสกัดโดยตลอด 6.ส�ำหรับประเภทคู่ ในแต่ละแดนจะถูกแบ่งออกเป็นสองส่วนเท่าๆ กันด้วยเส้นสีขาวขนาดกว้าง 3 มิลลิเมตร โดยขีดขนานกับเส้นข้างเรียกว่า “เส้นกลาง” และให้ถือว่าเส้นกลางนี้เป็นส่วนหนึ่งของคอร์ต ด้านขวาของโต๊ะด้วย 7.ในการแข่งขันระดับมาตรฐานสากลโต๊ะเทเบิลเทนนิสที่ใช้ส�ำหรับแข่งขันจะต้องเป็นยี่ห้อและ ชนิดที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์เทเบิลเทนนิส นานาชาติเท่านั้น และในการจัดการแข่งขันจะต้องระบุ สีของโต๊ะที่จะใช้แข่งขันลงในระเบียบการแข่งขันด้วยทุกครั้ง
4. กติกาการแข่งขันเทเบิลเทนนิส ได้คะแนน
1 นอกเหนือจากการตีโต้จะถูกสั่งให้เป็นเล็ท LET ผู้เล่นจะได้คะแนนจากกรณีดังต่อไปนี้ 1.1) ถ้าผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามไม่สามารถส่งลูกได้อย่างถูกต้อง 1.2) ถ้าผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามไม่สามารถรับลูกได้อย่างถูกต้อง 1.3) ถ้าผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามตีลูก สัมผัสถูกสิ่งใดๆ นอกเหนือจากส่วนประกอบของเน็ต
49
1.4) ถ้าผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามตีลูกข้ามผ่านเส้นสกัดของเขาโดยไม่ได้สัมผัสกับพื้นผิวโต๊ะ 1.5) ถ้าผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามขวางลูก 1.6) ถ้าผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามตีลูกติดต่อกันสองครั้ง 1.7) ถ้าผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามตีลูกด้วยหน้าไม้ที่ไม่ถูกต้องตามกติกา 1.8) ถ้าผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามหรือสิ่งใดๆ ที่ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามสวมใส่หรือถืออยู่ท�ำให้พื้นผิว โต๊ะเคลื่อนที่ 1.9) ถ้าผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามหรือสิ่งใดๆ ที่ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามสวมใส่ หรือถืออยู่สัมผัสถูก ส่วนต่างๆ ของเน็ต 1.10)ถ้ า มื อ อิ ส ระของผู ้ เ ล่ น ฝ่ า ยตรงข้ า ม สัมผัสถูกพื้นผิวโต๊ะ 1.11) ในประเภทคู่ ถ้าผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามตีลูก ผิดล�ำดับ 1.12) ในระบบการแข่งขันแบบเร่งเวลาถ้าเขา หรือคู่ของเขาสามารถตีโต้กลับไปได้อย่างถูกต้องครบ 13 ครั้ง เกมการแข่งขัน ผู้เล่นหรือคู่เล่นที่ท�ำคะแนนได้ 11 คะแนนก่อน จะเป็นฝ่ายชนะ ยกเว้นถ้าผู้เล่นทั้งสองฝ่ายท�ำคะแนนได้ 10 คะแนนเท่ากันจะต้องเล่นต่อไป โดยฝ่ายใดท�ำคะแนนได้มากกว่าอีกฝ่ายหนึ่ง 2 คะแนน จะเป็นฝ่าย ชนะ แมทซ์การแข่งขัน 1 ในหนึ่งแมทซ์ประกอบด้วยผู้ชนะ 3 ใน 5 เกม หรือ 4 ใน 7 เกม 2 การแข่งขันจะต้องด�ำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ยกเว้นผู้เล่นฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดหรือทั้งสองฝ่ายขอสิทธิ ในการหยุดพักระหว่างจบเกม ซึ่งการพักระหว่างจบเกมจะพักได้ไม่เกิน 1 นาที ล�ำดับการส่ง การรับ และแดน 1. สิทธิในการเลือกเสริฟ เลือกรับ และเลือกแดน จะใช้วิธีการเสี่ยงทาย โดยผู้ชนะในการเสี่ยง ต้องเลือกเสริฟ หรือ เลือกรับก่อน หรือเลือกแดน 2. เมื่อผู้เล่นหรือคู่ของผู้เล่นได้เลือกอย่างหนึ่งอย่างใดแล้ว ผู้เล่นหรือคู่เล่นอีกฝ่ายหนึ่งจะเป็น ฝ่ายเลือกในหัวข้อที่เหลืออยู่ 3. เมื่อผู้ส่งได้ส่งลูกครบ 2 ครั้ง ฝ่ายรับจะกลายเป็นผู้ส่งบ้าง จากนั้นทั้งสองฝ่ายจะผลัดกันส่งลูก ฝ่ายละ 2 ครั้ง จนกระทั่งจบเกมการแข่งขัน หรือจนกระทั่งทั้งสองฝ่ายท�ำคะแนนได้ 10 คะแนนเท่ากัน หรือเมื่อน�ำระบบการแข่งขันแบบเร่งเวลามาใช้ การส่งจะผลัดกันส่งฝ่ายละ 1 ครั้ง 4. ในเกมแรกของประเภทคู่ ฝ่ายซึ่งมีสิทธิ์ในการส่งลูกก่อนจะต้องเลือกว่าใครจะเป็นผู้ส่งก่อน จากนั้นฝ่ายรับจะเลือกผู้ที่จะเป็นผู้รับ ส�ำหรับในเกมถัดไปของแมทซ์นั้นฝ่ายส่งในเกมส์นั้นจะเป็นผู้เลือก ส่งก่อนบ้าง โดยส่งให้กับผู้ที่ส่งให้เขาในเกมก่อนหน้านั้นเอง 5. ในประเภทคู่ ล�ำดับการเปลี่ยนส่งคือ เมื่อผู้ส่งได้ส่งลูกครบ 2 ครั้งแล้ว ผู้รับจะกลายเป็นผู้ส่ง 50
บ้าง โดยส่งให้กับคู่ของผู้ที่ส่งลูกให้เขา 6. ผู้เล่นหรือคู่เล่นที่เป็นฝ่ายส่งลูกก่อนในเกมแรกจะเป็นฝ่ายรับลูกก่อนในเกมต่อไป สลับกัน จนจบแมทซ์ และในเกมสุดท้ายของประเภทคู่ ฝ่ายรับจะต้องเปลี่ยนเป็นผู้รับทันทีเมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งท�ำ คะแนนได้ 6 คะแนน 7. ผู้เล่นหรือคู่เล่นจะต้องเปลี่ยนแดนทันที เมื่อการแข่งขันในแต่ละเกมสิ้นสุดลง สลับกันจน จบแมทซ์และในการแข่งขันเกมสุดท้ายผู้เล่นจะต้องเปลี่ยนแดนทันทีเมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งท�ำคะแนนได้ 6 คะแนน การผิดล�ำดับในการส่ง การรับ และแดน 1. ถ้าผู้เล่นส่งหรือรับลูกผิดล�ำดับ กรรมการผู้ตัดสินจะยุติการเล่นทันทีที่ได้ค้นพบข้อผิดพลาด และท�ำการเริ่มเล่นใหม่ โดยผู้เล่นและผู้รับที่ควรจะเป็นผู้ส่งและผู้รับตามล�ำดับที่ได้จัดไว้ตั้งแต่เริ่มการ แข่งขันของแมทซ์นั้นต่อจากคะแนนที่ท�ำได้ ส�ำหรับในประเภทคู่หากไม่สามารถทราบถึงผู้ส่งและผู้รับที่ ถูกต้อง ล�ำดับในการส่งจะถูกจัดให้ถูกต้อง โดยคู่ที่มี สิทธิ์ส่งในครั้งแรกของเกมที่ค้นพบข้อผิดพลาดนั้น 2.ถ้ า ผู ้ เ ล่ น ไม่ ไ ด้ เ ปลี่ ย นแดนกั น เมื่ อ ถึ ง คราวต้ อ ง เปลี่ ย นแดนกรรมการผู ้ ตั ด สิ น จะยุ ติ ก ารเล่ น ทั น ที ที่ ทราบ และจะเริ่มเล่นใหม่โดยเปลี่ยนแดนกันให้ถูกต้อง ตามล�ำดับที่จัดไว้ตั้งแต่เริ่มการแข่งขันของแมทซ์นั้นต่อ จากคะแนนที่ได้ 3. กรณีใดๆ ก็ตาม คะแนนทั้งหมดซึ่งที่ท�ำไว้ก่อนที่ จะค้นพบข้อผิดพลาดให้ถือว่าใช้ได้ ระบบการแข่งขันเร่งเวลา 1.ระบบการแข่งเร่งเวลาจะถูกน�ำมาใช้ถ้าเกมการแข่งขันในเกมนั้นไม่เสร็จสิ้นภายในเวลา 10 นาที ยกเว้นในกรณีที่ผู้เล่นหรือคู่เล่นทั้งสองฝ่ายมีคะแนนไม่น้อยกว่า 9 คะแนน จะแข่งขันตามระบบเดิม หรือจะใช้ระบบการแข่งขันเร่งเวลาก่อนครบก�ำหนดเวลาก็ได้ ถ้าผู้เล่นหรือคู่เล่นทั้งสองฝ่ายต้องการ 1.1) ถ้าลูกอยู่ในระหว่างการเล่น และครบก�ำหนดเวลาแข่งขันพอดี การเล่นนั้นจะถูก ยุติลงโดยกรรมการผู้ตัดสินและจะเริ่มเล่นใหม่ด้วยการส่งลูก โดยผู้เล่นซึ่งเป็นผู้ส่งลูกอยู่ก่อนที่การตีโต้ นั้นถูกยุติลง 1.2) ถ้าลูกไม่ได้อยู่ในระหว่างการเล่น และครบก�ำหนดเวลาแข่งขันพอดี การเล่นนั้นจะ เริ่มเล่นใหม่ด้วยการส่งลูก โดยผู้เล่นที่เป็นฝ่ายรับลูกอยู่ก่อนที่เวลานั้นจะสิ้นสุดลง 2. หลังจากนั้น ผู้เล่นแต่ละคนจะเปลี่ยนกันส่งลูกคนละครั้ง จนกระทั่งจบเกมการแข่งขันและใน การตีโต้หากผู้รับหรือคู่เล่นฝ่ายรับสามารถตีโต้กลับมาอย่างถูกต้องครบ 13 ครั้ง ฝ่ายส่งจะเสีย 1 คะแนน 3. เมื่อระบบการแข่งขันเร่งเวลาน�ำมาใช้ในเกมใดแล้ว ในเกมที่เหลือของแมทซ์นั้นๆ ให้ใช้ปฏิบัติ ต่อไปจนกระทั่งจบแมทซ์นั้น 51
5. ขั้นตอนการเล่นเทเบิลเทนนิส 5.1 การจับไม้
การจับไม้ปิงปองโดยทั่วไปจะมีวิธีการจับแบ่งออกเป็น 2 แบบ ดังนี้ 1) การจับไม้แบบจับมือ/สากล SHAKE HAND การจับไม้ปิงปองวิธีนี้เป็นที่นิยมกันทั่วโลก มีวิธี การจับไม้ที่คล้ายกับการจับมือทักทายกันของชาวยุโรป ส�ำหรับการจับไม้แบบนี้จะเหมาะส�ำหรับนักกีฬา ที่ถนัดทั้งในการเล่นด้านโฟร์แฮนด์ Fore hand (หน้ามือ) และ ด้านแบ๊คแฮนด์ Back hand (หลังมือ) การจับไม้แบบสากลนี้จะเหมาะส�ำหรับการเล่นลูกต่างๆ ได้ง่าย โดยเฉพาะลูก TOP SPIN, BACK SPIN, SIDE SPIN ซึ่งการตีลูกต่างๆ นั้นจะไม่ฝืนธรรมชาติเหมือนกับการจับไม้แบบไม้จีน แต่การจับไม้แบบนี้มัก จะมีจุดอ่อนอยู่ที่กลางล�ำตัวเพราะเมื่อคู่ต่อสู้ตีเข้ากลางตัว หากเพราะหากฝึกมาไม่ดีจะท�ำให้ตัดสินใจได้ ยากว่าจะใช้ด้านใดในการตีลูก
การจับไม้แบบจับมือด้านหน้ามือ
การจับไม้แบบจับมือด้านหลังมือ
การจับไม้แบบจับมือด้านหน้ามือ 2) การจับไม้แบบจับปากกา (Penholder Grip) ที่เรียกกันติดปากว่า “จับแบบไม้จีน” CHINESE STYLE การจับไม้แบบนี้จะเป็นที่นิยมกันมากในนักกีฬาแถบทวีปเอเซียของเรา ได้แก่ จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลี ส�ำหรับนักกีฬาที่ใช้วิธีการจับไม้แบบนี้จะถนัดในการเล่นด้านโฟร์แฮนด์ได้ดีเป็นพิเศษ อีก ทั้งจะต้องมีการเคลื่อนที่ได้รวดเร็ว ซึ่งชาวเอเซียเราส่วนใหญ่ตัวเล็กและเคลื่อนที่ได้รวดเร็ว การจับไม้ แบบไม้จีน จึงเป็นที่นิยมกันแถบเอเซีย ส�ำหรับในยุโรปแล้วมีนักกีฬาที่ใช้วิธีการจับไม้แบบนี้กันน้อยมาก เพราะนักกีฬายุโรปมักจะเคลื่อนที่ได้ช้า และการจับไม้แบบไม้จีนจะมีจุดอ่อนอยู่ที่ด้าน Back Hand เพราะไม่สามารถเล่นลูก TOP SPIN ได้สะดวก แต่ปัจจุบันนี้ประเทศจีนได้คิดค้นวิธีการตีแบบใหม่ ซึ่ง 52
ท�ำให้วิธีการจับไม้แบบไม้จีนมียุทธวิธีในการตีลูกได้รุนแรงและหลากหลายมากยิ่งขึ้น คือการใช้ด้านหลัง มือตี ซึ่งอดีตที่ผ่านมาด้านนี้จะไม่ค่อยได้ใช้ในการตีลูก นักกีฬาจีนยุคใหม่จะถนัดในการเล่นลูกหลังมือนี้ มากขึ้น เพราะสามารถเล่นได้ลูก TOP SPIN และ ลูกตบได้ดีอีกด้วย นับเป็นอาวุธใหม่ส�ำหรับนักกีฬาจีน ไว้ปราบนักกีฬาที่จับไม้แบบสากลโดยเฉพาะ การจับไม้ทั้ง 2 แบบดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น จึงคงยังไม่สามารถบอกว่าวิธีการจับแบบใดเป็นวิธี การจับที่ดีที่สุด เพราะแชมป์โลกหรือแชมป์ต่างๆ ในปัจจุบันและอดีตที่ผ่านมาก็จะมีทั้งการจับไม้ทั้งแบบ สากลและแบบไม้จีนสลับกันไป ซึ่งวิธีการจับไม้ที่ดีที่สุดส�ำหรับเราแล้วคงขึ้นอยู่กับความถนัดและการฝึก ซ้อม รวมถึงตัวอย่างวิธีการจับไม้แบบต่างๆ โดยนักกีฬาที่เก่งๆ เป็นแบบอย่างในการเล่นให้กับเรา ซึ่ง ประเทศไทยเราแทบจะหานักกีฬาที่ถนัดการจับแบบไม้จีนมาเป็นแบบอย่างให้ดูแทบไม่ได้เลย แต่หากเรา ไปอยู่ในประเทศจีน การจับไม้แบบไม้จีนจึงเป็นเรื่องที่ปกติเพราะมีนักกีฬาที่ถนัดจับแบบนี้เป็นจ�ำนวน มาก ตัวอย่างที่จะให้ดูเพื่อเลียนแบบและน�ำเทคนิคต่างๆ จึงมีมาก แต่หากประเทศไทยเราไร้นักกีฬาที่ จับไม้แบบไม้จีนเล่นเลย เมื่อใดนักกีฬาไทยที่ต้องลงท�ำการแข่งขันกับนักกีฬาที่ใช้วิธีการจับไม้แบบไม้จีน ที่เก่งๆ เราก็จะมีโอกาสแพ้เข้าได้ง่ายขึ้น เพราะเราไม่เคยได้เล่นกับวิธีการจับไม้แบบนี้เลย คงต้องฝาก หน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยส่งเสริมให้มีนักกีฬาที่จับไม้แบบไม้จีนนี้ด้วย เพราะจะมีประโยชน์ต่อนักกีฬา ส่วนใหญ่ด้วยเหมือนกัน
การจับไม้โดยปลายนิ้วมือหัวแม่มือ กับนิ้วชี้ชิดกัน
การจับไม้โดยปลายนิ้วมือหัวแม่มือ กับนิ้วชี้แยกกัน
การจับไม้โดยนิ้วมือหัวแม่มือชิดด้ามไม้ นิ้วชี้แตะที่ขอบไม้
ลักษณะของนิ้วด้านหลังไม้ 53
5.2 การส่งลูกหรือการเสิร์ฟ การส่งที่ถูกต้อง (A GOOD SERVICE) - เมื่อเริ่มส่ง ลูกเทเบิลเทนนิสต้องวางเป็นอิสระอยู่บนฝ่ามืออิสระ โดยแบฝ่ามือออก และลูกจะต้องหยุดนิ่ง - ในการส่ง ผู้ส่งจะต้องโยนลูกขึ้นข้างบนด้วยมือให้ลูกลอยขึ้นข้างบนใกล้เคียงกับเส้นตั้ง ฉาก และให้สูงจากจุดที่ลูกออกจากฝ่ามือไม่น้อยกว่า 16 เซนติเมตร โดยลูกที่โยนขึ้นไปนั้นจะต้องไม่เป็นลูกที่ถูก ท�ำให้หมุนด้วยความตั้งใจ - ผู้ส่ง จะตีลูกได้ในขณะที่ลูกเทเบิลเทนนิส ได้ลดระดับจากจุดสูงสุดแล้วเพื่อให้ลูกกระทบแดนของผู้ ส่งก่อน แล้วข้ามหรืออ้อมตาข่ายไปกระทบแดนของฝ่าย รับ ส�ำหรับประเภทคู่ ลูกเทเบิลเทนนิสจะต้องกระทบ ครึ่งแดนของผู้ส่งก่อน แล้วข้ามหรืออ้อมตาข่ายไปกระทบครึ่งแดนขวาของฝ่ายรับ - ตั้งแต่เริ่มส่งลูกจนกระทั่งลูกถูกตี ลูกเทเบิลเทนนิสจะต้องอยู่เหนือระดับพื้นผิวโต๊ะ และอยู่หลังเส้นสกัด และจะต้องไม่ให้ถูกส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย หรือเสื้อผ้าของผู้ส่ง หรือคู่เล่นใน ประเภทคู่บังการมองเห็นของผู้รับ ขณะที่เทเบิลเทนนิสถูกโยนขึ้น มืออิสระของผู้ส่งจะต้องเคลื่อนออก จากบริเวณพื้นที่ระหว่างล�ำตัวผู้ส่งและตาข่าย (NET) (วัตถุประสงค์ของกติกาข้อนี้ ต้องการให้ผู้รับเห็นลูก เทเบิลเทนนิสตลอดเวลา ทั้งนี้ผู้ส่งหรือคู่ของผู้ส่งจะต้องไม่แสดงท่าทางที่จะเป็นการบังมองเห็นของผู้รับ ตลอดเวลาตั้งแต่ลูกออกจากมือของผู้ส่ง และเห็นถึงหน้าไม้ด้านที่ใช้ตีลูก) - เป็นความรับผิดชอบของผู้เล่นที่จะต้องให้ผู้ตัดสินหรือผู้ช่วยผู้ตัดสินเห็น และตรวจ สอบถึงการส่งนั้นว่าถูกต้องตามกติกาหรือไม่ - ถ้าผู้ตัดสินสงสัยในลักษณะการส่ง ผู้ส่งได้ลูกถูกตามกติกาในโอกาสแรกของแมทช์ เดียวกันนั้น จะแจ้งให้ส่งลูกใหม่และเตือนผู้ส่งโดยยังไม่ตัดคะแนน - ส�ำหรับในครั้งต่อไปในแมทช์เดียวกันนั้น หากผู้เล่นหรือคู่เล่นยังคงส่งให้เป็นข้อสงสัย ในท�ำนองเดียวกัน หรือในลักษณะน่าสงสัยอื่นๆ อีก ผู้รับจะได้คะแนนทันที - หากผู้ส่งได้ส่งลูกผิดกติกาอย่างชัดเจน ผู้ส่งจะเสียคะแนนทันที - ผู้ส่งอาจได้รับการอนุโลมได้บ้าง หากผู้ส่งคนนั้นแจ้งให้ผู้ตัดสินทราบ ถึงการหย่อน สมรรถภาพทางร่างกาย จนเป็นเหตุให้ไม่สามารถส่งได้ถูกต้องตามกติกา ทั้งนี้ต้องแจ้งให้ผู้ตัดสินทราบ ก่อนการแข่งขันทุกครั้ง การเสริฟที่ถูกต้องตามกติกาสากล กติกาการเสริฟลูกแบบใหม่ 1. เมื่อเริ่มส่งลูก ลูกเทเบิลเทนนิสต้องถูกวางหยุดนิ่งเป็นอิสระอยู่บนฝ่ามืออิสระที่แบฝ่ามือออก ให้แบบเรียบ โดยลูกนั้นจะต้องอยู่หลังเส้นสกัดและอยู่เหนือระดับพื้นผิวโต๊ะ 2. หลังจากนั้น ผู้ส่งจะต้องโยนลูกขึ้นข้างบนด้วยมือให้ใกล้เคียงกับแนวเส้นตั้งฉากโดยลูกที่โยน 54
ขึ้นไปนั้นจะต้องไม่หมุนและให้ลอยสูงจากจุดที่ลูกหลุดออกจากฝ่ามืออิสระนั้นไม้น้อยกว่า 16 เซ็นติเมตร แล้วตกลงมาโดยไม่กระทบสิ่งใดก่อนที่ผู้ส่งจะตีลูก 3. ขณะที่ลูกก�ำลังลดระดับ จากระดับ สูงสุดแล้ว ผู้ส่งจะต้องตีลูกให้กระทบแดนของผู้ ส่ง ก่อนแล้วข้ามหรืออ้อมส่วนประกอบตาข่าย ไปกระทบแดนของฝ่ายรับ 4. ทั้งลูกเทเบิลเทนนิส และไม้เทเบิล เทนนิสจะต้องอยู่เหนือพื้นผิวโตีะตลอดเวลาที่ เริ่มท�ำการส่งลูกจนกระทั่งลูกนั้นได้ถูกไม้ตี 5. ตั้งแต่เริ่มส่งลูกจนกระทั่งลูกถูกตี ลูก เทเบิลเทนนิสจะต้องอยู่สูงกว่าพื้นผิวโต๊ะและอยู่หลังเส้นสกัดและจะต้องไม่มีส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย หรือเสื้อผ้าของผู้ส่ง หรือคู่เล่นในประเภทคู่ของผู้ส่ง บังการมองเห็นของผู้รับ เมื่อนักกีฬาโยนลูกเพื่อเสริฟ จะต้องเอามือออกไปด้านข้างทันที ไม่ว่านักกีฬาจะเสริฟลูกด้าน แบ๊คแฮนด์หรือโฟร์แฮนด์ เพื่อไม่ให้มีสิ่งใดบังผู้รับ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ... หากเราลากเส้นสมมติ(เส้นสี แดงตามรูป) ระหว่างเสาเน็ตทั้ง 2 ข้างมาที่ลูกเทเบิลเทนนิส จะต้องไม่มีสิ่งใดๆ เข้ามาอยู่ในบริเวณนี้ทั้ง ข้างบนและข้างล่าง
55
56
57
5.3 การตีลูก การตีลูกโด่ง (Clear or Lob) การตีลูกโด่งหรือการตีลูกเซฟ คือการตีลูกโยนโด่งให้ลอยพุ่งขึ้นสูงไปในอากาศและตกลงในมุม กว้ า งเกื อ บตั้ ง ฉากบนพื้ น สนามฝ่ า ยตรง ข้าม การตีลูกโด่งมี 2 ลักษณะ ได้แก่ การตี ลูกโด่งเหนือศีรษะ และลูกโด่งจากด้านล่าง ซึ่ ง สามารถตี ไ ด้ ทั้ ง ทางหน้ า มื อ และหลั ง มื อ เนื่องจากลูกโด่งนี้เป็นพื้นฐานหลักที่ควรเริ่ม ฝึกก่อนการเล่นลูกอื่นๆ เพราะเป็นลูกที่ตีได้ ง่ายที่สุด มีวิถีความเร็วของลูก ค่อนข้างช้า ผู้เล่นมีเวลาล�ำดับขั้นตอนและจับจังหวะการตีได้ นับตั้งแต่การจับแร็กเกตให้ถูกต้อง การตั้งท่าตีลูก การ ปรับหน้าไม้แร็กเกตเพื่อให้สัมผัสลูก และบังคับไปในทิศทางที่ต้องการ การใช้แรงเหวี่ยงของแขน แรง สะบัดข้อมือการถ่ายน�้ำหนักตัวจากเท้าหลังลงสู่เท้าหน้า และการก้าวฟุตเวิร์คอย่างถูกต้องจะช่วยให้ผู้ เล่นสามารถตีลูกได้อย่างสมบูรณ์แบบมากที่สุด การตีลูกหยอด (Drop shot) การตีลูกหยอดเป็นการตีที่ใช้แรงน้อยที่สุด เพื่อบังคับให้ลูกที่ตีลอยข้ามตาข่ายไปตกในแดนตรง ข้าม บริเวณใกล้ตาข่ายแดนหน้าของคู่แข่งขันมากที่สุด ซึ่งเท่ากับเป็นการบีบให้ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามต้อง ละทิ้งพื้นที่ด้านหลังสนามขึ้นมารับลูกหยอดนั้น ลูกหยอดที่ดีไม่ควรมีวิถีลูกสูงนัก เพื่อป้องกันการ ตบจากคู่ต่อสู้ การตีลูกหยอดสามารถกระท�ำได้ ทั้งหน้ามือและหลังมือรวมทั้งสามารถตีได้ในขณะ ที่ลูกลอยอยู่สูงเหนือศีรษะและลอยในระดับต�่ำ เช่น ลูกหยอดหน้าตาข่าย ลูกผลัก ลูกตัดหยอด ลูกแตะหยอด เป็นต้น
58
หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 สาระที่ 3 การเคลื่อนไหว การออกก�ำลังกาย การเล่นเกม กีฬาไทย และกีฬาสากล มาตรฐาน พ 3.1 เข้าใจ มีทักษะในการเคลื่อนไหว กิจกรรมทางกาย การเล่นเกมและกีฬา ตัวชี้วัด 1. ร่วมกิจกรรมนันทนาการอย่างน้อย 1 กิจกรรมและน�ำหลักความรู้ที่ได้ไปเชื่อมโยง สัมพันธ์กับวิชาอื่น สาระการเรียนรู้แกนกลาง 1. การน�ำความรู้และหลักการของกิจกรรมนันทนาการไปใช้เชื่อมโยงสัมพันธ์กับวิชาอื่น
59
ในอิสลาม มุสลิมนั้นอนุญาตและส่งเสริม (อิสลามได้อนุญาตและส่งเสริมให้มุสลิม) เข้าร่วม กิจกรรมที่เป็นประโยชน์ในรูปแบบของนันทนาการหรือกีฬาได้ รวมถึงการพักผ่อนหรือการละเล่นในสวน สนุก ตราบใดที่วัตถุประสงค์ของกิจกรรมนั้นมีเป้าหมายที่เป็นประโยชน์และไม่ขัดแย้งกับบทบัญญัติของ อิสลาม1
ความหมาย ค�ำว่า “นันทนาการ” เป็นค�ำใหม่ที่บัญญัติขึ้นใช้แทนค�ำ “สันทนาการ” ส�ำหรับค�ำภาษาอังกฤษ
คือ “Recreation” ซึ่งพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายของค�ำว่า “นันทนาการ” ไว้ว่า “กิจกรรมที่ท�ำตามสมัครใจในยามว่างเพื่อให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน และผ่อนคลายความตึงเครียด”
ลักษณะของกิจกรรมนันทนาการ 1.มี ลั ก ษณะเป็ น กิ จ กรรมที่ อ ยู ่ ใ นขอบเขตของ
อิสลาม คือ ต้องมีการกระท�ำ ที่ท�ำให้กล้ามเนื้อ หรือ อวัยวะ ส่วนใดส่วนหนึ่งมีการเคลื่อนที่ หากอยู่เฉยๆ เช่น การนอน หลับหรือพฤติกรรมที่แสดงออกถึงความเกียจคร้านไม่ถือว่า เป็นนันทนาการ 2. เป็นกิจกรรมที่ผู้กระท�ำเข้าร่วมด้วยความอิคลาศ สมัครใจ ไม่มีใครหรือเหตุปัจจัยที่มาบังคับให้ท�ำ กิจกรรม นั้น มีความสุขความพอใจที่จะท�ำ และไม่เกิดความตึงเครียดในการท�ำ กิจกรรมนั้น 3. เป็นกิจกรรมที่ท�ำในเวลาว่าง ว่างจากการท�ำ งาน ภารกิจประวัน และไม่น�ำเวลาที่ควรจะนอน หลับพักผ่อน มาท�ำกิจกรรมนั้นจนเสียสุขภาพ 4. กิจกรรมที่ท�ำนั้นไม่ได้มุ่งเน้นเพื่อหารายได้ หรือเป็นอาชีพ 5.เป็นกิจกรรมที่มีคุณค่าต่อผู้ประกอบกิจกรรมและเป็นกิจกรรมที่พึงประสงค์ของสังคมไม่เป็น อบายมุข หรือเป็นมะอฺศียัต ความส�ำคัญ กิจกรรมนันทนาการ หากมีวัตถุประสงค์ที่เกิดประโยชน์ต่อผู้เข้าร่วม และไม่ขัดต่อหลักการ อิสลามก็ถือว่าเป็นที่อนุมัติ ท่านนบีมุฮัมมัดได้ขอดุอาอ์จากอัลลอฮ์ อย่างสม�่ำเสมอเพื่อให้พ้นจาก ความทุกข์และความโศกเศร้าดังหะดีษความว่า “โอ้อัลลอฮ์ ฉันขอความคุ้มครองต่อพระองค์จากความทุกข์และความเศร้าโศกเศร้า” (บันทึกโดยอบูดาวูด) 1
http://www.islamonline.net/servlet/Satellite?pagename=IslamOnline-English-Ask_Scholar/ FatwaE/FatwaE&cid=1119503544860
60
จากหะดีษข้างต้นสามารถยืนยันได้ว่ากิจกรรมที่พัฒนาให้มนุษย์ปลอดจากความทุกข์และความ โศกเศร้าหรือมีความสุข และพัฒนาร่างกายให้สมบูรณ์มีสุขภาพที่ดี ก็ถือว่าเป็นการปฏิบัติตามแบบอย่าง ของท่านนบีนั่นเอง ความส�ำคัญของกิจกรรมนันทนาการมีดังต่อไปนี้ 1. พัฒนาอารมณ์สุข นันทนาการเป็นกระบวนการที่เสริมสร้าง และพัฒนาอารมณ์สุขของบุคคล และชุมชน 2. เสริมสร้างประสบการณ์ใหม่ ช่วยสร้างประสบการณ์ใหม่ให้แก่ผู้เข้าร่วม ทั้งนี้ เพราะความ หลากหลายของกิจกรรม เช่น กิจกรรมท่องเที่ยว ทัศนศึกษา 3. เพิ่มพูนประสบการณ์ กระบวนการทางนันทนาการ ก่อให้เกิดการพัฒนาทางอารมณ์สุข ดัง นั้น ทัศนียภาพ ความซาบซึ้ง ความประทับใจ ความสะใจ ความภาคภูมิใจ มุมหนึ่งหรือเสี้ยวหนึ่งแห่ง ความประทับใจ มุมสงบ สุขใจ อารมณ์สุข สนุกสนานในขอบเขต เพลิดเพลิน และอารมณ์สุขสงบจึงเป็น ประสบการณ์หรือคุณภาพชีวิต 4. ส่งเสริมการมีส่วนร่วม นันทนาการให้คุณค่า และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของบุคคลและชุมชน ฝึกให้เข้าร่วมในกิจกรรมของชุมชนด้วยความสนใจและสมัครใจ 5. ส่งเสริมการแสดงออกแห่งตน กิจกรรมนันทนาการหลายประเภท เช่น ศิลปหัตถกรรม กีฬา ประเภทต่างๆ อนาชีด การเล่นเกม เป็นการส่งเสริม ให้บุคคลได้แสดงออกในด้านความนึกคิด สร้างสรรค์ การระบายอารมณ์ การเลียนแบบสถานการณ์ หรือ พฤติกรรมต่างๆ ท�ำให้สามารถเรียนรู้และรู้จักตนเอง มากขึ้น สร้างความมั่นใจ ความเข้าใจ และการควบคุม ตนเอง การรู้จักเลือกกิจกรรม หรือพฤติกรรมในการ แสดงออก เป็นการส่งเสริมสุขภาพและบุคลิกภาพให้ แก่ตนเอง 6. ส่งเสริมคุณภาพชีวิต กระบวนการนันทนาการช่วยส่งเสริม และพัฒนาคุณภาพชีวิตของ บุคคลและสังคม กิจกรรมนันทนาการช่วยพัฒนาอารมณ์ ความสุข ความสามารถของบุคคล สุขภาพและ สมรรถภาพ ส่งเสริมสุขภาพจิต ความสมดุลของกายและจิต และความสมดุลในการแบ่งเวลาท�ำงาน 7. ส่งเสริมความเป็นมนุษยชาติ นันทนาการช่วยสร้างความเข้าใจอันดีในหมู่เพื่อนมนุษย์ เข้าใจ สภาพสิ่งแวดล้อม เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติที่อัลลอฮ์สร้างสรรค์ ให้คุณค่าทาง สังคม การอยู่ร่วมกัน การร่วมมือกันอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข 8. ส่งเสริมความเป็นพลเมืองดี กิจกรรมนันทนาการ เป็นการให้การศึกษาแก่เยาวชนในด้านการ ช่วยเหลือตนเอง สิทธิหน้าที่ ความรับผิดชอบ ระเบียบวินัย และการปรับตัวให้เป็นพลเมืองดี ตัวอย่างเช่น กิจกรรมกีฬา การอยู่ค่ายพักแรม กิจกรรมอาสาพัฒนา กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์
61
คุณค่าและประโยชน์ เมื่อบุคคลและชุมชนได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการในช่วงเวลาว่าง ด้วยความสมัครใจ ก็
จะก่อให้ผลที่ได้รับในเรื่องของคุณค่า และประโยชน์ต่างๆ ได้แก่ 1.ช่วยให้บุคคลและชุมชนได้รับความสุข สนุกสนาน มีความสุขในชีวิต และใช้เวลาว่างให้เกิด ประโยชน์ ไม่ยุ่งเกี่ยวกับกิจกรรมที่ไร้สาระ 2.ช่วยให้บุคคลและชุมชนพัฒนาคุณภาพ ชีวิตและสมรรถภาพทางกายที่ดี เกิดความสมดุลของ ชีวิต 3.ช่ ว ยป้ อ งกั น ปั ญ หาอาชญากรรมและ พฤติกรรมไม่พึงประสงค์ ของเยาวชนและเด็ก การ พัฒนาพฤติกรรมของเด็กและเยาวชนนับว่าเป็นสิ่งส�ำคัญในการเสริมสร้างลักษณะนิสัยที่พึงประสงค์ และ เป็นก�ำลังคนที่มีประสิทธิภาพในอนาคต กิจกรรมนันทนาการประเภทต่างๆ ช่วยให้เด็กและเยาวชนเลือก ได้ฝึกฝนตามความสนใจ และได้ใช้เวลาว่างในการพัฒนาลักษณะนิสัยที่พึงประสงค์ได้ 4.ส่งเสริมความเป็นพลเมืองดี การที่ชุมชนได้มีโอกาสใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์โดยเข้าร่วมใน กิจกรรมนันทนาการ จะได้เรียนรู้ในเรื่องของหน้าที่ความรับผิดชอบ คุณค่าทางสังคมเสรีประชาธิปไตย ลดความเห็นแก่ตัว สร้างคุณค่าจริยธรรมความมีน�้ำใจ การให้บริการ รู้จักอาสาสมัครช่วยเหลือสังคม ซึ่ง ถือว่าเป็นกิจกรรมของความเป็น พลเมืองดีของประชาชาติ 5.ส่งเสริมการพัฒนาอารมณ์สุข กิจกรรมนันทนาการจะช่วยพัฒนาอารมณ์สุขรวมทั้งความสุข สนุกสนาน และความสุขสงบ ลดความเครียด ความวิตกกังวล ท�ำให้อารมณ์แจ่มใสและช่วยส่งเสริมให้ รู้จักการพัฒนาการ ควบคุมอารมณ์ และบุคลิกภาพที่ดีอีกด้วย 6.ส่ ง เสริ ม การอนุ รั ก ษ์ ท รั พ ยากรธรรมชาติ กิจกรรมนันทนาการกลางแจ้งและนอกเมือง ได้แก่ กิจกรรมการอยู่ค่ายพักแรม เดินป่า ศึกษาธรรมชาติ ไต่เขา เป็นต้น กิจกรรมเหล่านี้ช่วยสอนผู้ที่เข้าร่วม ได้รู้จักคุณค่า ของธรรมชาติ ซาบซึ้ง และสามารถ ดูแลอนุรักษ์ธรรมชาติอันจักเป็นประโยชน์ต่อชุมชน และประชาชาติ ข องโลกซึ่ ง สอดคล้ อ งกั บค� ำ สั่ ง ของ อัลลอฮ์ ที่ให้มุสลิมเดินทางไปบนผืนแผ่นดินของ พระองค์ เพื่อให้ได้ไต่ตรองและใคร่ครวญถึงอ�ำนาจของพระองค์ 7.ส่งเสริมในเรื่องการบ�ำบัดรักษา กิจกรรมนันทนาการเพื่อการบ�ำบัด เป็นกรรมวิธีและ กิจกรรมที่จะช่วยรักษาคนป่วย ทั้งทางด้านร่างกาย และสุขภาพจิต เช่น งานอดิเรกประเภทประดิษฐ์ สร้างสรรค์ และช่วยส่งเสริม ความหวัง ความคิด และการใช้เวลาว่างแก่คนป่วยซึ่งก�ำลังต่อสู่กับความทุกข์ 62
ทางกายหรือจิต กิจกรรมนันทนาการประเภทกีฬานันทนาการช่วยส่งเสริมการพัฒนาร่างกาย กิจกรรม นันทนาการทางสังคมช่วยสร้างขวัญก�ำลังใจของคนป่วย 8.ส่งเสริมมนุษยสัมพันธ์และการท�ำงานเป็นทีม กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ช่วยให้บุคคลได้แสดง ออก และละลายพฤติกรรมของกลุ่ม สร้างเสริมคุณค่าทางสังคม ฝึกการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข กิจกรรมเกมกีฬา และกีฬาเพื่อการแข่งขัน และการอยู่ค่ายพักแรมช่วยฝึกการท�ำงานเป็นหมู่คณะ ลด ความเห็นแก่ตัว เสริมสร้างความสามัคคี และความเข้าใจอันดีในหมู่คณะ
ลักษณะพื้นฐานของนันทนาการ 1. นันทนาการเกี่ยวข้องกับกิจกรรม ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมต่างๆ ทั้งที่กระท�ำและถูกกระท�ำ รูป
แบบของกิจกรรมนั้นหลากหลาย ตั้งแต่เกมกีฬา ศิลปหัตถกรรม ดนตรี ละคร กิจกรรมกลางแจ้ง นอก เมือง งานอดิเรก การท่องเที่ยว โยคะ สมาธิ เป็นต้น 2. นันทนาการมีรูปแบบหลากหลาย มีขอบเขตไม่จ�ำกัดตั้งแต่ในรูปแบบของกิจกรรมซึ่งก�ำหนด เป็น 14 หมวดหมู่ใหญ่แล้ว นันทนาการยังมีรูปแบบที่จัดบริการเป็นสวัสดิการสังคม เป็นแหล่งนันทนาการ บริการแก่กลุ่มประชากรทุกระดับวัย และประชากรกลุ่มพิเศษ 3. นันทนาการจะต้องเป็นไปด้วยความสมัครใจ และมีแรงจูงใจนั่นคือ ผู้เข้าร่วมกิจกรรม นันทนาการ จะต้องเป็นการเข้าร่วมด้วยความสนใจ สมัครใจ และมีแรงจูงใจในกิจกรรมที่เข้าร่วม โดยมิได้ ถูกบังคับ 4. นันทนาการเกิดขึ้นได้ในเวลาที่ไม่จ�ำกัด บุคคลและชุมชนมีอิสระที่เข้าร่วมในสิ่งที่เขาต้องการ จะเล่น หรือเข้าร่วมโดยไม่จ�ำกัดเวลา 5. นันทนาการจะต้องเป็นสิ่งที่จริงจังและมีจุดมุ่งหมาย ประสบการณ์นันทนาการเป็นการพัฒนา คุณภาพชีวิต พัฒนาอารมณ์สุข มีคุณค่าสาระ เป็นสิ่งจริงจัง และมีจุดหมายเสมอ 6. นันทนาการเป็นการบ�ำบัดรักษา กิจกรรมนันทนาการช่วยฟื้นฟู และรักษาคนไข้และเปิด โอกาสให้คนไข้เลือกกิจกรรมในเวลาว่าง กระท�ำเพื่อพัฒนาสุขภาพกายและจิตใจยามฟื้นไข้ หรือระหว่าง การบ�ำบัดรักษา 7. นันทนาการเป็นกิจกรรมที่สามารถยืดหยุ่นเปลี่ยนแปลงได้ ตามความเหมาะสม กิจกรรม นันทนาการสามารถจัดให้ตามความเหมาะสม ตามสภาพแวดล้อม ความต้องการและสนใจของชุมชน ตลอดจนอุปกรณ์ และสถานที่สิ่งอ�ำนวยความสะดวก 8. นันทนาการจะต้องเป็นกิจกรรมที่พึงประสงค์ของสังคม กิจกรรมนันทนาการของสังคม หรือ ชุมชนหนึ่ง อาจจะไม่เหมาะสมกับอีกชุมชนหนึ่ง ทั้งนี้ เพราะความสนใจ ต้องการค่านิยม วัฒนธรรม ศาสนา ประเพณี สภาพแวดล้อม ความเชื่อ เป็นขอบข่ายวิถีชีวิตของชุมชน ดังนั้น กิจกรรมนันทนาการ จะต้องเป็นที่ยอมรับในสังคมนั้นๆ
63
ประเภทของกิจกรรมนันทนาการ กิจกรรมนันทนาการมีหลายประเภท เพื่อให้บุคคลเข้าร่วมท�ำ กิจกรรมได้ตามความสนในดังนี้
1.การฝีมือและศิลปหัตถกรรม(Arts and crafts) เป็นงานฝีมือหรือสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ เช่น การวาดรูป งานแกะ สลัก งานปั้น การประดิษฐ์ดอกไม้ เย็บปักถักร้อย ท�ำ ตุ๊กตา ประดิษฐ์ข้าว ของเครื่องใช้ และงานศิลปะอื่นๆ 2. เกมส์ กีฬา และกรีฑา (Games, sport and track and fields) กิจกรรมนันทนาการประเภทนี้เป็นที่ นิยมกันอย่างแพร่หลาย แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ กีฬา กลางแจ้ง (Outdoor Games) ได้แก่ กีฬาที่ต้องใช้สนาม กลางแจ้ง เช่น ฟุตบอล บาสเกตบอลและกิจกรรมกลางแจ้งอื่นๆ กีฬาในร่ม (Indoor Games) ได้แก่ กิจกรรมในโรงยิมเนเซียม หรือในห้องนันทนาการ เช่น แบดมินตัน เทเบิลเทนนิส หมากรุก ฯลฯ 3. ดนตรีและร้องเพลง (Music) เป็นกิจกรรมนันทนาการที่ให้ความบันเทิง ดนตรีเป็นภาษา สากลที่ทุกชาติทุกภาษา สามารถเข้าใจเหมือนกัน แต่ละชาติแต่ละท้องถิ่นจะมีเพลงพื้นบ้านของตนเอง และเครื่องดนตรีพื้นบ้าน เราสามารถเลือกได้ตามความสนใจ ไม่ว่าจะเป็นสากลหรือพื้นบ้าน 4. ละครและภาพยนตร์ (Drama) เป็นนันทนาการประเภทให้ความรู้ความบันเทิง ความ สนุกสนานเพลิดเพลิน และสะท้อนให้เห็นถึงสภาพจริงของสังคมยุคนั้นๆ 5. งานอดิเรก (Hobbies) เป็นกิจกรรมนันทนาการที่ช่วยให้การด�ำเนินชีวิตประจ�ำวัน มีความ สุข เพลิดเพลิน งานอดิเรกมีหลายประเภท สามารถเลือกได้ตามความสนใจ เช่น 5.1 ประเภทสะสม เป็นการใช้เวลาว่างในการสะสม สิ่งที่ชอบสิ่งที่สนใจ ที่นิยมกันมาก ได้แก่ การสะสมแสตมป์ เหรียญเงินในสมัยต่างๆ อาจเป็นของในประเทศและต่างประเทศ การสะสมบัตร โทรศัพท์ ฯลฯ 5.2 การปลูกต้นไม้ เป็นงานอดิเรกที่ให้ทั้งความเพลิดเพลิน และได้ออกก�ำลังกาย และ ได้ผักสดปลอดจากสารพิษไว้รับประทาน หากเป็นการปลูกพืชผักสวนครัว 5.3 การเลี้ยงสัตว์ อาจเป็นการเลี้ยงในลักษณะไว้เป็นอาหาร เช่น เลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่ นกกระทา หรือเลี้ยงไว้ดูเล่น เช่น เลี้ยงสุนัข แมว นกปลา ฯลฯ การเลี้ยงสัตว์เป็นกิจกรรมที่ช่วยเสริมสร้าง ลักษณะนิสัยของเด็กให้มีจิตใจอ่อนโยน และฝึกความรับผิดชอบ 5.4 การถ่ายรูป เป็นงานอดิเรกที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่ง แต่ค่าใช้จ่ายอาจจะค่อนข้างสูง เนื่องจากอุปกรณ์ราคาแพง และมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเดินทางเข้ามาเกี่ยวข้อง หากไม่มีข้อจ�ำกัดทาง ด้านเศรษฐกิจ การถ่ายรูปก็เป็นกิจกรรมที่ให้ความเพลินเพลิดและความภาคภูมิใจต่อผู้ท�ำกิจกรรมมาก 6. กิจกรรมทางสังคม (Social activities) เป็นกิจกรรมที่กลุ่มคนในสังคมร่วมจัดขึ้น โดยมี จุดมุ่งหมายเดียวกัน เช่น การจัดเลี้ยงปีใหม่ งานเลี้ยงวันเกิด กานฉลองในโอกาสพิเศษต่างๆ 7. เต้นร�ำ ฟ้อนร�ำ (Dance) เป็นกิจกรรมที่ใช้จังหวะต่างๆ เป็นกิจกรรมที่ให้ความสนุกสนาน 64
เช่น เต้นร�ำพื้นเมือง การร�ำไทย ร�ำวง นาฏศิลป์ ลีลาศ 8. กิจกรรมนอกเมือง (Outdoor activities) เป็นกิจกรรมนันทนาการนอกสถานที่ ที่ให้โอกาส มนุษย์ได้เรียนรู้ธรรมชาติ ได้พักผ่อน เช่น การอยู่ค่ายพักแรม ไปท่องเที่ยวตามแหล่งธรรมชาติ 9. ทัศนศึกษา (Field trip) เพื่อศึกษาศิลปวัฒนธรรมตามวัดวาอาราม หรือศึกษาความก้าวหน้า ในด้านต่างๆ ในนิทรรศการหรืองานแสดงต่างๆ 10. กิจกรรมพูด เขียน อ่าน ฟัง (Speaking Writing and Reading) การพูด เขียน อ่านฟัง ที่นับว่าเป็นกิจกรรมนันทนาการ ได้แก่ 10.1 การพูด ได้แก่ การคุย การโต้วาที การปาฐกถา 10.2 การเขียน ได้แก่ การเขียนบันทึกเรื่องราวประจ�ำวัน เขียนบทกวี เขียนเพลง เรื่อง สั้น บทความ ฯลฯ 10.3 การอ่าน ได้แก่ การอ่านหนังสือพิมพ์ อ่านหนังสือทั่วๆ ไป ที่ให้ทั้งความรู้และ ความเพลิดเพลิน 10.4 การฟัง ได้แก่ การฟังวิทยุ ฟังอภิปราย โต้วาที ทอล์คโชว์ ฯลฯ 11. กิจกรรมอาสาสมัคร (Voluntary Recreation) เป็นกิจกรรมบ�ำเพ็ญประโยชน์ที่บุคคล เข้าร่วมด้วยความสมัครใจ เช่น กิจกรรมอาสาพัฒนา และกิจกรรมอาสาสมัครต่างๆ หลักการเลือกกิจกรรมนันทนาการ กิจกรรมนันทนาการมีหลายประเภท บุคคลแต่ละคนย่อมมีความแตกต่างกันในเรื่องความชอบ และความถนัด นอกจากนี้ การเลือกกิจกรรมนันทนาการยังต้องค�ำนึงลักษณะงานประจ�ำที่ท�ำอยู่ และ ฐานะทางเศรษฐกิจ เพื่อให้การด�ำเนินชีวิตเป็นไปอย่างมีความสุข หลักการเลือกกิจกรรม นันทนาการมี ดังนี้ 1. ค�ำนึงถึงวัย การเลือกกิจกรรมนันทนาการควรเหมาะกับวัยของผู้ท�ำ กิจกรรม เช่น เด็กควร ให้มีกิจกรรมประเภทที่มีการเคลื่อนไหวร่างกาย เพื่อให้พัฒนาการทางร่างกายเป็นไปอย่างเหมาะสม การ ดูวีดีทัศน์ หรือการเล่นเกมคอมพิวเตอร์ติดต่อกันนานๆ ท�ำให้เด็กเกิดความตึงเครียด กิจกรรมประเภทนี้ ควรก�ำหนดช่วงเวลาไม่เกิน 1 ชั่วโมง ส่วนในผู้สูงอายุมักมีข้อจ�ำกัดในด้านการใช้แรงกาย โดยเฉพาะผู้ที่ไม่ ได้ออกก�ำลังกายมาตั้งแต่วัยหนุ่มสาว การเลือกกิจกรรมนันทนาการ จึงควรเลือกประเภทที่ไม่ใช้แรงกาย มากนัก เช่น ดูแลต้นไม้ ดูโทรทัศน์ งานสะสมสิ่งที่มี คุณค่าทางจิตใจ ฯลฯ 2. ค�ำนึงถึงสุขภาพ บางคนอาจมีข้อจ�ำกัดทาง ด้านสุขภาพ ท�ำให้ไม่เหมาะแก่การเข้าร่วมกิจกรรม บางประเภท เช่น ผู้เป็นโรคหัวใจไม่เหมาะกับกีฬา ประเภทหักโหม คนสายตาไม่ดีอาจไม่เหมาะกับงาน เย็บปักที่ต้องใช้สายตามาก เราจึงควรหลีกเลี่ยง นันทนาการที่อาจเป็นผลเสียต่อสุขภาพของตนเอง 65
แม้นว่าสิ่งนั้นจะเป็นสิ่งที่ชอบหรือถนัด 3. ค�ำนึงถึงความถนัดหรือความชอบของตนเอง การเลือกสิ่งที่ตนเองชอบหรือถนัด จะช่วย ให้เกิดความรู้สึกเพลิดเพลินในการท�ำกิจกรรมนั้น ในกลุ่มวัยรุ่นบางครั้งพบว่าอยู่ในช่วงของการแสวงหา ยังไม่พบว่าแท้จริงแล้วตนเองชอบอะไร จึงพบว่าท�ำกิจกรรมบางอย่างไม่ส�ำเร็จ แล้วละทิ้ง 4. ค�ำนึงถึงลักษณะงานประจ�ำวัน งานแต่ละประเภทจะมีความแตกต่างกันด้านการใช้ความคิด และการเคลื่อนไหว เราควรเลือกนันทนาการที่สอดคล้องกับลักษณะของงานประจ�ำ เช่น คนที่ท�ำงาน ส�ำนักงานที่ส่วนใหญ่นั่งอยู่กับที่ ควรเลือกกิจกรรมประเภทที่ได้เคลื่อนไหวบ้าง เช่น กีฬา ปลูกต้นไม้ เลี้ยง สัตว์ ส่วนคนที่ต้องใช้แรงกายมากแล้ว น่าจะเลือกกิจกรรมที่ได้พักกล้ามเนื้อ เช่น ฟังเพลง ดูโทรทัศน์ หรือในชนบทจะพบว่า พอเสร็จจากงานในไร่นา ชาวบ้านจะท�ำงานจักสาน เล่นดนตรี หรือมีการละเล่น พื้นบ้านหลังฤดูเก็บเกี่ยว 5. ค�ำนึงฐานะทางเศรษฐกิจ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่า กิจกรรมบางประเภท มีค่าใช้จ่ายค่อนข้าง มาก การเลือกกิจกรรมนันทนาการ จึงควรหลีกเลี่ยงจากกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบทางลบต่อ เศรษฐกิจของตนเองและครอบครัว อิสลามได้อนุญาตให้มุสลิมสามารถหาความสุข วิธีผ่อนคลายความคิด หรือสร้างความสดชื่นให้ แก่ตนเองด้วยการเล่นเกมส์หรือกีฬาได้ แต่ต้องอยู่ในกรอบและหลักการต่อไปนี้ 1. ต้องไม่หมกมุ่นอยู่กับการพักผ่อนหรือการเล่น จนกระทั่งละเลยการปฏิบัติศาสนกิจต่อหน้าที่ ที่ต้องปฏิบัติในฐานะที่เป็นบ่าวของอัลลอฮ์ เช่น การละหมาด เป็นต้น 2. ต้องอยู่ในกรอบจริยธรรมอิสลาม โดยการเคลื่อนไหว เนื้อหาค�ำพูด การแสดง ต้องไม่ขัดกับ จริยธรรมอิสลาม 3. ต้องเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อร่างกายหรือจิตใจ และต้องไม่เกินความพอดีหรือฟุ่มเฟือย 4. ต้องไม่เกี่ยวข้องกับการพนัน ตัวอย่างการผ่อนคลายและการนันทนาการในอิสลาม 1. การผ่อนคลายความคิด 2. การมีอารมณ์ขัน 3. การเล่นกีฬา เช่น การวิ่งแข่ง มวยปล�้ำ กีฬายิงธนู และการพุ่ง หอก การขี่ม้า การว่ายน�้ำ 4. นันทนาการ เช่น การเล่นตุ๊กตา ส�ำหรับเด็กผู้หญิง การดู ภาพยนตร์ การร้องเพลงและดนตรี ที่มีเนื้อหาไม่ขัดต่อหลักการอิสลาม ในบรรดาความบันเทิงที่ท�ำให้หัวใจสุขสบายและท�ำให้โสตประสาทสดชื่น ก็คือ การร้องเพลง อิสลามอนุญาตการร้องเพลง (โดยมีเงื่อนไขว่าเนื้อร้อง จะต้องไม่หยาบคาย ลามกหรือขัดกับหลักการจริยธรรมของอิสลาม) ในโอกาสที่ส�ำคัญๆ เช่น ในวันอีด ใน งานวะลีมะฮฺ ในโอกาสที่ได้บุตรในการท�ำอะกีเกาะฮฺ หรือในโอกาสที่มีผู้ที่เดินทางไกลกลับมาถึงบ้าน 66
บรรณานุกรม หนังสือ แครอล ซีเฟลดต์. 2547. เรียนรู้จากการเล่น. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น. ณทิพา เลิศลอย. 2536. เทเบิลเทนนิส. กรุงเทพฯ : โอ.เอส.พริ้นติ้น เฮ้าส์. พรรแจ็คโคสกิ, เอ็ดวาร์ด เจ. 2545. ออกกำ�ลังกายอย่างไรให้เหมาะสมกับรูปร่าง. กรุงเทพฯ : สำ�นักพิมพ์อิมเมจ. พิพิธ พุ่นแก้ว. 2521. เกมนันทนาการ. กรุงเทพฯ : ดอกหญ้ากราฟฟิก. พีระ บุญจริง. 2536. โยคะสูตรสร้างสมดุล. ราชบุรี : ธรรมรักษ์การพิมพ์. พีระ บุญจริง. 2541. ตำ�รับโยคะ. ราชบุรี : ธรรมรักษ์การพิมพ์. มงคล แฝงสาเคน. 2549. การออกกำ�ลังกายด้วยการเหยียดยืดกล้ามเนื้อเพื่อสุขภาพ และกีฬา. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์. สมบัติ จำ�ปาเงิน. 2542. กีฬาไทย. กรุงเทพฯ : ต้นอ้อ 1999. อมรพงศ์ สุธรรมรักษ์. 2547. เทเบิลเทนนิสขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น. อินเตอร์เน็ต ทวีศักดิ์ สว่างเมฆ. 2550.คุณค่าและประโยชน์ของนันทนาการ. (ออนไลน์). สืบค้นจาก : http://www.gotoknow.org/blog/taweesaknu/154426 [12 พฤษภาคม 2553]. บ้านจอมยุทธ. 2543. เรือพาย. (ออนไลน์). สืบค้นจาก : http://www.baanjomyut.com/ library/2549/thai_sport/05.html. [25 พฤษภาคม 2553]. มหาวิทยาลัยราชภัฏลำ�ปาง. 2008. ประเภทของกิจกรรมนันทนาการ. (ออนไลน์). สืบค้นจาก : http://www.lpru.ac.th/teacher_website/upa/fun.pdf [12 พฤษภาคม 2553]. มหาวิทยาลัยราชภัฏลำ�ปาง. 2008. ลักษณะของกิจกรรมนันทนาการ. (ออนไลน์). สืบค้นจาก : http://www.lpru.ac.th/teacher_website/upa/fun.pdf. [12 พฤษภาคม 2553]. สมาคมกีฬาไทยในพระบรมราชูปถัมภ์. 2011. ตะกร้อลอดห่วง. (ออนไลน์). สืบค้นจาก : http://www.thaisportworld.com/content/view [13 กุมภาพันธ์ 2554]. Silverrose.2009. ลักษณะพื้นฐานของนันทนาการ. (ออนไลน์). สืบค้นจาก : http://www.thaigoodview.com/node/51564 [12 พฤษภาคม 2553]. 67