หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน
พลศึกษา
4
ี่ าปท
ชั้นม
ธั ยมศึกษ
กลุมสาระการเรียนรูสุขศึกษาและพลศึกษา ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 หนังสือพลศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปที่ 4 กลุมสาระการเรียนรูสุขศึกษาและพลศึกษา ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
คำนำ ดวยพระนามของอัลลอฮฺ ผูทรงเมตตาปรานี ผูทรงกรุณาเสมอ การดูแลแกไขปญหาในสังคมปจจุบันตองใหความสำคัญกับคุณธรรมและจริยธรรมอยางเปนรูปธรรม การบูรณาการวิถีอิสลามในแบบเรียนเปนสวนหนึ่งของวัตถุประสงคแผนงานฯในการประมวลองคความรู อิสลามกับสุขภาวะเพื่อถายทอดผานเครือขายและผานชองทางอื่นๆ ของแผนงานฯ ซึ่งมีกลุมเปาหมายมุสลิม ทั่วประเทศกวา 3 ลาน 5 แสนคน ภายใตโครงการผลิตแบบเรียนวิชาสุขศึกษาและพลศึกษาแบบบูรณาการวิถี อิสลามในกลุมสาระการเรียนรูสุขศึกษาและพลศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขึ้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 โครงการผลิตแบบเรียนวิชาสุขศึกษาและพลศึกษาแบบบูรณาการวิถีอิสลามฯ มีวัตถุประสงคเพื่อจัด ทำแบบเรียนที่บูรณาการอิสลาม ซึ่งประกอบดวยมาตรฐาน ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรูแกนกลาง โครงสราง หลักสูตรกลุมสาระการเรียนรู คำอธิบายรายวิชาและการออกแบบหนวยการเรียนรูอิงมาตรฐานหลักสูตรแกน กลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 โดยไดจัดทำจำนวน 6 เลม ใน 4 ชวงชั้น ที่พรอมจะนำไปใชเปนแบบ เรียนในโรงเรียนที่มีนักเรียนนับถือศาสนาอิสลามเปนสวนใหญซึ่งรวมถึงโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามกวา 800 แหง โดยเฉพาะในจังหวัดชายแดนภาคใตและภูมิภาคอื่นๆ ของประเทศ ผลผลิตของโครงการนี้จะเปนประโยชนกับชุมชนมุสลิมไทยทั่วประเทศเกือบ 3,500 แหง เพราะ ความตองการของชุมชนมุสลิมทุกคน คือการที่บุตรหลานไดมีโอกาสเรียนรูทั้งวิชาดานศาสนาและวิชาสามัญที่ สอดคลองกับวัฒนธรรมและความเชื่อที่มีฐานมาจากศาสนาอิสลาม ดวยเหตุผลดังกลาวจึงเชื่อไดวาตำราเรียน ที่บูรณาการเนื้อหาวิชาดังกลาวเขากับหลักคำสอนของอิสลามเลมนี้จะไดรับการตอบรับที่ดีจากสังคมมุสลิม อีกทั้งผูเรียนจะมีความตั้งใจเรียนอยางจริงจัง เพราะไมมีความกังวลวาจะขัดกับหลักคำสอนของศาสนา ซึ่งจะ เปนผลดีตอผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผูเรียน ในอนาคตแผนงานฯ จะนำเสนอแบบเรียนบูรณาการศาสนาอิสลามกับวิชาสามัญ (สุขศึกษาและพล ศึกษา) ที่สอดคลองกับหลักสูตรแกนกลางของรัฐชุดนี้ใหแกหนวยงานที่เกี่ยวของ เชน กระทรวงศึกษาธิการ และสภาการศึกษาแหงชาติ เพื่อใหเกิดผลในระยะยาว และมีเปาหมายที่จะจัดพิมพเผยแผใหแกโรงเรียนที่มี ความตองการตำราเหลานี้ไวใชเปนตำรายืมเรียน นอกจากนี้ยังจะขยายผลไปสูการบูรณาการอิสลามในระดับ การศึกษาที่สูงขึ้นและวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวของตอไป สุดทายนี้ขอขอบคุณ รศ.ดร.อิบราเฮ็ม ณรงครักษาเขต อาจารยประจำวิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร วิทยาเขตปตตานี และคณะ ที่มีสวนสำคัญในความสำเร็จของผลงานฉบับนี้ ขอเอกองค อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงประทานความโปรดปรานและสิ่งดีงามแกคณะทำงานและผูที่มีสวนเกี่ยวของทุกทาน อามีน รองศาสตราจารย ดร.อิศรา ศานติศาสน ผูจัดการแผนงานสรางเสริมสุขภาวะมุสลิมไทย
คำนำ หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐานพลศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปที่ 4 กลุมสาระการเรียนรูสุขศึกษาและ พลศึกษาเลมนี้ เปนหนังสือเรียนที่มีการบูรณาการอิสลามเพื่อใหสอดคลองกับวัฒนธรรมและหลักคำ สอนของศาสนาอิสลาม ทั้งนี้เพื่อใหผูเรียนที่เปนมุสลิมจะไดมั่นใจวาเนื้อหาที่มีในหนังสือเรียนรายวิชา พื้นฐานพลศึกษาเลมนี้ ไมขัดกับหลักคำสอนของศาสนา และผูเรียนจะไดเรียนดวยความตั้งใจ ขอขอบคุณผูมีสวนรวมในการเขียนหนังสือเรียนเลมนี้ใหเสร็จสมบูรณ และขอขอบคุณแผนงาน สรางเสริมสุขภาวะมุสลิมไทย (สสม.) ผูสนับสนุนงบประมาณในการจัดทำหนังสือเรียนฉบับนี้ คณะผูจัดทำ
พลศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปที่ 4 ขอมูลทางบรรณานุกรมของสำนักหอสมุดแหงชาติ National Library of Thailand Cataloging in Publication Data พลศึกษา ม.4.-- กรุงเทพฯ : สำนักงานแผนงานสรางเสริมสุขภาวะมุสลิมไทย มูลนิธิสรางสุขมุสลิมไทย (สสม.), 2555. 128 หนา. 1. พลศึกษา--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา). II. อิบรอฮีม ณรงครักษาเขต. III. ชื่อเรื่อง. 613.07 ISBN 978-616-7725-01-7 รายชื่อคณะกรรมการยกรางหนังสือพลศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปที่ 4 1. นายศาสตรา ศาสนโสภา 2. นายอนันต กาโบะ 3. นายวีระชัย อัสลักเคน 4. ดร.มะรอนิง สาแลมิง 5. นายอัสมัน แตอาลี 6. นางสาวฟารีดาห ยงกิจ 7. นายฮอซาลี บินลาเตะ 8. นายมูฮัมหมัดอาฟฟ อัซซอลีฮีย 9. นางสาวพัตตู อาแวกาจิ บรรณาธิการ
1. รศ. ดร. อิบรอฮีม ณรงครักษาเขต 2. ดร.มะรอนิง สาแลมิง 3. นายอัสมัน แตอาลี
รูปภาพและกราฟฟก
1. นายอุสมัน เลาะมา 2. นางสาวปราณี หลำเบ็ญสะ
ออกแบบปก
นายอุสมาน ลีมอปาแล
จัดรูปเลม
1. นายมูฮามะ ปาปา 2. นางสาวปราณี หลำเบ็ญสะ
พิมพครั้งที่ 1
พฤษภาคม 2555
จัดพิมพและเผยแพร
แผนงานสรางเสริมสุขภาวะมุสลิมไทย (สสม.) มูลนิธิสรางสุขมุสลิมไทย เลขที่ 1 หมู 13 ถนนสีหบุรานุกิจ แขวงมีนบุรี เขตมีนบุรี กรุงเทพฯ 10510
สงวนลิขสิทธิ์
หามลอกเลียนแบบไมวาสวนใดสวนหนึ่งของหนังสือ นอกจากไดรับอนุญาต
สารบัญ หนวยการเรียนรูที่ 1 การเคลื่อนไหวในการออกกําลังกาย และการเลนกีฬา
2-8
หนวยการเรียนรูที่ 2 กีฬาประเภทบุคคล
9-39
หนวยการเรียนรูที่ 3 กีฬาประเภทคู
40-53
หนวยการเรียนรูท 4 กีฬาประเภททีม
54-109
หนวยการเรียนรูที่ 5 กีฬาและกิจกรรมนันทนาการกับการพัฒนา เปนมุสลิมที่ดี(ศอลิหฺ) การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม
110-118
สาระที่ 3 การเคลื่อนไหว การออกก�ำลังกาย การเล่นเกม กีฬาไทย และกีฬาสากล มาตรฐาน พ 3.1 เข้าใจ มีทักษะในการเคลื่อนไหว กิจกรรมทางกาย การเล่นเกม และกีฬา ตัวชี้วัด 1. วิเคราะห์ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวรูปแบบต่างๆ ในการเล่นกีฬา 2. ใช้ความสามารถของตน เพื่อเพิ่มศักยภาพของทีม ค�ำนึงถึงผล ที่เกิดต่อผู้อื่นและสังคม 3. เล่นกีฬาไทย กีฬาสากลประเภทบุคคล / คู่ กีฬาประเภททีมได้อย่างน้อย 1 ชนิด 4. แสดงการเคลื่อนไหวได้อย่างสร้างสรรค์ 5. เข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการภายนอกโรงเรียน และน�ำหลักการ แนวคิดไปปรับปรุง และพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนและสังคม มาตรฐาน พ 3.2 รักการออกก�ำลังกาย การเล่นเกม และการเล่นกีฬา ปฏิบัติเป็นประจ�ำ อย่าง สม�่ำเสมอ มีวินัย เคารพสิทธิ กฎ กติกา มีน�้ำใจนักกีฬา มีจิตวิญญาณในการแข่งขัน และชื่นชม ใน สุนทรียภาพของการกีฬา ตัวชี้วัด 1. ออกก�ำลังกายและเล่นกีฬาที่เหมาะสมกับตนเองอย่างสม�่ำเสมอ และใช้ความสามารถ ของตนเองเพิ่มศักยภาพของทีม ลดความเป็นตัวตน ค�ำนึงถึงผลที่เกิดต่อสังคม 2. อธิบายและปฏิบัติเกี่ยวกับสิทธิ กฎ กติกา กลวิธีต่างๆ ในระหว่างการเล่น การแข่งขัน กีฬากับผู้อื่นและน�ำไปสรุปเป็นแนวปฏิบัติและใช้ในชีวิตประจ�ำวันอย่างต่อเนื่อง 3. แสดงออกถึงการมีมารยาทในการดู การเล่นและการแข่งขันกีฬา ด้วยความมีน�้ำใจ นักกีฬาและน�ำไปใช้ปฏิบัติทุกโอกาส จนเป็นบุคลิกภาพที่ดี 4. ร่วมกิจกรรมทางกายและเล่นกีฬาอย่างมีความสุข ชื่นชมในคุณค่าและความงามของ การกีฬา
1
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การเคลื่อนไหวในการเล่นกีฬาและการเคลื่อนไหวอย่างสร้างสรรค์ การเคลื่อนไหว หมายถึง การไม่อยู่นิ่ง ไม่คงที่ แสดงกิริยาหรือปฏิกิริยาอย่างใดอย่างหนึ่ง
ส�ำหรับความเคลื่อนไหวของมนุษย์เป็นความสัมพันธ์กับทุกส่วนของระบบร่างกาย หลักการและการเสริมสร้างประสิทธิภาพการเคลื่อนไหวแบบต่างๆ มีการฝึกการเคลื่อนไหวแบ่ง ออกเป็น 2 ประเภท การฝึกความเคลื่อนไหวที่ต้องอาศัยความช�ำนาญพิเศษ ในช่วงแรกจะกระท�ำได้เร็ว แต่ต่อมาจะเพิ่มความเร็วทั้งด้านเวลา เพื่อผลักดันให้มีการพัฒนาไปได้ไกล และมีประสิทธิภาพ เช่น การ ฝึกว่ายน�้ำ การเล่นเทนนิส ฟุตบอล ฯลฯ การฝึกความเคลื่อนไหวแบบธรรมดา เช่น การเดิน การวิ่ง ฯลฯ การเคลื่อนไหวพื้นฐาน สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ 1. การเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่ (Locomotion Movement) หมายถึงทักษะการเคลื่อนไหว ที่ใช้ในการเคลื่อนร่างกายจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง ได้แก่ การเดิน การวิ่ง การกระโดด สลับเท้า การ กระโจน การสไลด์ และการวิ่งควบม้า ฯลฯ หรือการเคลื่อนที่ในแนวดิ่ง เช่น การกระโดด ทักษะการ เคลื่อนไหวเหล่านี้ เป็นพื้นฐานของการท�ำงานประสานสัมพันธ์ทางกลไกแบบไม่ซับซ้อน และเป็นการ เคลื่อนไหวร่างกายที่ใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ 2. การเคลื่ อ นไหวแบบอยู่กับที่ (Nonlocomotion Movement) หมายถึ ง ทั ก ษะการ เคลื่อนไหวที่ปฏิบัติโดยร่างกายไม่มีการเคลื่อนที่ของร่างกาย ตัวอย่างเช่น การก้ม การเหยียด การผลัก และดัน การบิดตัว การโยกตัว การไกวตัว และการทรงตัว เป็นต้น
3. การเคลื่อนไหวแบบประกอบอุปกรณ์ (Manipulative Movement) เป็นทักษะการ เคลื่อนไหวที่มีการบังคับ หรือควบคุมวัตถุ ซึ่งส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับการใช้มือและเท้าแต่ละส่วนอื่นๆ ของร่างกาย 2
1. ระบบกระดูก (Skeletal System) ซึ่งประกอบด้วยอวัยวะที่ส�ำคัญได้แก่กระดูก (Bone) กระดูกอ่อน (Cartilage) ข้อต่อ (Joint) และเอ็น (Ligament) ท�ำหน้าที่เป็นโครงสร้างของร่างกาย ใน การเคลื่อนไหวกระดูกท�ำหน้าที่เหมือนคาน ข้อต่อจะท�ำหน้าที่เป็นจุดหมุน กล้ามเนื้อและเอ็นท�ำหน้าที่ ยึดดึงหรือเป็นแรงที่มากระท�ำกับกระดูก 2. ระบบกล้ามเนื้อ (Muscular System) ประกอบด้ ว ย กล้ า มเนื้ อ 3 ชนิ ด คื อ กล้ า มเนื้ อ ลาย (Striated muscle) กล้ามเนื้อเรียบ (Smooth muscle) กล้ามเนื้อหัวใจ (Cardiac muscle) ซึ่งมีบทบาทต่อการ เคลื่อนไหวของอวัยวะต่างๆ ทั้งภายในและภายนอก ร่างกาย ระบบการเคลื่ อ นไหวของร่ า งกายอาศั ย การท�ำงานของกล้ามเนื้อลายเป็นตัวออกแรงท�ำงาน โดยอาศัยกระดูกเป็นคาน และข้อต่อเป็นจุดหมุน (fulcrum) การท�ำงานของกล้ามเนื้อคือการหดตัวและได้แรงงานออกมา โดยทั่วไปกล้ามเนื้อลายท�ำงานโดย การดึงกระดูกให้ เคลื่อนที่เชิงมุม (angular motion) โดยมีข้อต่อเป็นจุดหมุน นอกจากกล้ามเนื้อของลิ้น ซึ่งท�ำงานเคลื่อนที่ทางตรง (linear motion) ได้งานที่ได้จากกล้ามเนื้อลาย = แรงดึง x ระยะทาง ส่วน กล้ามเนื้อเรียบและกล้ามเนื้อหัวใจประกอบเป็นผนัง ของอวัยวะกลาง งานที่ท�ำได้จึงเกิดจากการเปลี่ยน ความดันและปริมาตรเป็นส่วนใหญ่ กล้ามเนื้อลาย นับได้ว่าเป็นอวัยวะที่ใหญ่ที่สุดและมีอยู่ถึงร้อยละ 40 ของน�้ำหนักตัว กล้ามเนื้อทั้งมัดประกอบด้วยหลายมัด ย่อย (bundle) และแต่ละมัดย่อยประกอบด้วยใย (fiber) ใยกล้ามเนื้อมีขนาดประมาณ 60 ไมครอน และมีความยาว ตั้งแต่ 1-10 เซนติเมตร แต่ละใยประกอบด้วยใยฝอย (fibril) ซึ่งมีขนาดประมาณ 1 ไมครอน แต่ละใยฝอยประกอบด้วย ไมโอฟิลาเมนท์ (myofilament) อันเป็นหน่วยเล็กที่สุดของ กล้ามเนื้อที่ท�ำงาน ซึ่งประกอบด้วย แอกติน (actin) และ ไมโอซิน (myosin) แอกตินเป็นเส้นบาง ยาว 1 ไมครอน และ หนา 50 อังสตรอม ส่วนไมโอซินยาว 1.5 ไมครอนและหนา 100 อังสตรอม
3
กลไกการท�ำงาน กล้ามเนื้อลายเป็นอวัยวะใหญ่ ในการท�ำงานต้องได้รับ ค�ำสั่งมาจากระบบประสาทกลาง และเพื่อให้การแผ่ค�ำสั่งไปได้ กว้างขวางและรวดเร็ว จึงต้องอาศัยการเปลี่ยนแปลงทางไฟฟ้า ทั้งการท�ำงานต้องอาศัยพลังงานอย่างมาก ฉะนั้น การเปลี่ยน แปลงทางเคมี จึงมีความส�ำคัญไม่น้อย หลังจากนั้นจึงมีการ เปลี่ยนแปลงทางโครงสร้าง แล้วจึงตามด้วยการเปลี่ยนแปลง เชิงกล อย่างไรก็ดี การเปลี่ยนแปลงต่างๆ ไม่ได้เป็นไปตามล�ำดับ ขั้นทีเดียว มีการเหลื่อมล�้ำกันบ้าง การเปลี่ยนแปลงทางไฟฟ้า เมื่อมี “ข่าว” หรือ “ค�ำสั่ง” ผ่านจุดประสานระหว่างประสาทกับกล้ามเนื้อ จะมีการดีโปลาไรซ์ ที่เยื่อหุ้มกล้ามเนื้อแล้วแผ่ไปตามเยื่อหุ้มกล้ามเนื้อด้วยความเร็วประมาณ 5 เมตร/วินาที เยื่อหุ้มกล้าม เนื้อมีศักย์ไฟฟ้าในภาวะปกติเช่นเดียวกับประสาท คือภายในเป็นลบมากกว่าภายนอก 70 มิลลิโวลต์ มีข้อแตกต่างอย่างหนึ่งคือ ความจุไฟฟ้าของเยื่อหุ้มกล้ามเนื้อสูงกว่าประมาณ 5 ไมโครฟารัด/ตาราง เซนติเมตร (ประสาทมีเพียง 2 ไมโครฟารัด/ตารางเซนติเมตร) ค่าที่สูงกว่าเนื่องมาจากซาร์โคพลาสมิกเร ติคูลัม (sarcoplasmic reticulum) ซึ่งมีหลอดฝอย (transverse tubule) ติดต่อกับพื้นหน้าของเยื่อหุ้ม เมื่อคลื่นดีโปลาไรซ์แผ่ถึง หลอดฝอยนี้จะดีโปลาไรซ์แล้วปล่อยแคลเซียมไอออนออกมา จากนั้นก็เข้าสู่ การเปลี่ยนแปลงทางเคมี การเปลี่ยนแปลงทางเคมี การเปลี่ยนแปลงทางเคมีในกล้ามเนื้ออาจแบ่งได้ 2 อย่างคือ ก) การเปลี่ยนแปลงทางเคมีที่เกี่ยวกับการหด ตัว สารเคมีที่ส�ำคัญในกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการหดตัว คือ โปรตีนการหดตัว (contractile protein) มีอยู่ 3 ชนิด คือ 1) แอกติน มีอยู่ร้อยละ 15 เป็นส่วน ประกอบ ของเส้นใยชนิดบาง (thin filament) 2) ไมโอซิน มีอยู่ร ้อยละ 35 เป็ น เอนไซม์ อ ะดี โ นซี น ไตรฟอสฟาเทส (adenosine triphosphatase - ATP - ase) ซึ่งเป็นส่วนประกอบของ เส้นใยชนิดหนา (thick filament) 3) โทรโปไมโอซิน (tropomyosin) มีอยู่ร้อยละ 10 บทบาทยังไม่ทราบแน่ แต่เชื่อว่าท�ำ 4
หน้าที่คล้ายสวิตช์ ท�ำให้มีการหดตัวและหยุดหดตัวเชื่อว่าเมื่อแอกตินรวมกับไมโอซินจะได้แอ็คโตไมโอ ซิน(actomyosin)แต่การรวมนี้ต้องอาศัยอะดีโนซีนไตรฟอสฟาเทส จึงจะท�ำให้มีการหดตัวของกล้ามเนื้อ ตามมา ข) การเปลี่ยนแปลงทางเคมีที่เกี่ยวกับการใช้พลังงาน 1) อะดีโนซีนไตรฟอสฟาเทส เป็นสารที่จ�ำเป็นส�ำหรับการหดตัวของกล้ามเนื้อและให้ พลังงานมาก แต่มีเก็บไว้ในกล้ามเนื้อน้อยมาก มีเพียง 3 มิลลิโมลต่อกล้ามเนื้อหนึ่งกิโลกรัม และใช้ ส�ำหรับการหดตัวของกล้ามเนื้อได้เพียง 8 ครั้งเท่านั้น 2) ครีเอตีนฟอสเฟต (creatine phosphate) เป็นแหล่งสะสมพลังงานในกล้ามเนื้อที่ สามารถน�ำออกมาใช้ได้ทันที เปรียบเทียบได้กับแบตเตอรี่ที่เก็บไฟฟ้าของระบบเครื่องยนต์ ครีเอตีน ฟอสเฟตมีอยู่ในกล้ามเนื้อ 20 มิลลิโมล/กิโลกรัม ซึ่งท�ำให้กล้ามเนื้อหดตัวได้ประมาณ 100 ครั้ง 3) ไกลโคเจนในกล้ามเนื้อ เป็นต้นตอที่ส�ำคัญของพลังงานที่กล้ามเนื้อใช้ มีอยู่ถึง 100 มิลลิโมล/กิโลกรัม (ของน�้ำตาลเฮ็กโซส) ซึ่งกล้ามเนื้อสามารถใช้หดตัวได้ถึง 20,000 ครั้ง การสลายไกลโคเจนเพื่อให้ได้พลังงานมานั้นมี 2 วิธีด้วยกัน คือ ก. การสลายโดยไม่ใช้ออกซิเจน (anaerobic glycolysis) ข. การสลายโดยใช้ออกซิเจน ไกลโคเจนจะสลายเป็นคาร์บอนไดออกไซด์และน�้ำ ท�ำให้ ได้พลังงานมากมาย จากการทดลองถ้าให้กล้ามเนื้อท�ำงานในที่ไม่มีออกซิเจน จะท�ำงานได้น้อย คือหดตัวได้เพียง 600 ครั้งเท่านั้น การเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้าง เมื่ออะดีโนซีนไตรฟอสฟาเทส สลายให้พลังงานออกมาจะไปเร่งปฏิกิริยาเคมีท�ำให้เส้นใยชนิด หนา และเส้นใยชนิดบางซึ่งประสานกันอยู่เลื่อนเข้าไปหากัน จึงท�ำให้กล้ามเนื้อสั้นเข้าไป การเปลี่ยนแปลงเชิงกล เมื่อกล้ามเนื้อมีการเปลี่ยนแปลงตามล�ำดับขั้นจนถึงมีการเปลี่ยนแปลงเชิงกล คือการหดตัว ใน การทดลอง ถ้าตัดกล้ามเนื้อออกมา แล้วท�ำการกระตุ้นเพื่อบันทึกความยาวหรือความตึงของกล้ามเนื้อ โดยบันทึกคลื่นกล้ามเนื้อ (myogram) เปรียบเทียบความสัมพันธ์กับศักย์ไฟฟ้าของกล้ามเนื้อที่เกิดขึ้น ด้วย จะเห็นว่าศักย์ไฟฟ้าของกล้ามเนื้อเกิดขึ้นก่อนการเปลี่ยนแปลงเชิงกล เมื่อกระตุ้นกล้ามเนื้อ จะต้อง ใช้เวลาจ�ำนวนหนึ่งก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงในความยาวหรือความตึงเรียกว่า ระยะแฝง (latency period) ซึ่งกินเวลาประมาณ 10 มิลลิเสค จึงเข้าสู่ระยะหดตัว (contraction period) และระยะคลาย ตัว (relaxation period) ซึ่งกินเวลาประมาณ 40 และ 50 มิลลิเสค ตามล�ำดับ
ชนิดของการหดตัวเชิงกล อาจแบ่งได้เป็น 2 อย่าง คือ 1) การหดตัวแบบไอโซเมตริก (isometric contraction) การหดตัวชนิดนี้ ความยาวของกล้าม 5
เนื้อคงที่ แต่ความตึงเปลี่ยนไป 2) การหดตัวแบบไอโซโทนิก (isotonic contraction)การหดตัวชนิดนี้ ความตึงของกล้ามเนื้อ คงที่ แต่ความยาวเปลี่ยนไป อาจช่วยให้เข้าใจการท�ำงานทั้งสองชนิดนี้ได้โดยคิดถึงการท�ำงานของกล้ามเนื้อในร่างกายจริงๆ เมื่อใช้มือขวายกน�้ำหนักโดยพยายามใช้กล้ามเนื้อไบเซพส์ (biceps) ออกแรงดึงเพื่อให้ข้อศอกงอ ในระยะ แรกที่แรงของกล้ามเนื้อน้อยกว่าน�้ำหนักของวัตถุ จะยังยกวัตถุไม่ขึ้น ความยาวของกล้ามเนื้อไบเซพส์จะ ไม่เปลี่ยน แต่ความตึงจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ การท�ำงานของกล้ามเนื้อในระยะนี้จะเป็นชนิด ไอโซเมตริก ต่อ มาเมื่อแรงดึงของกล้ามเนื้อมากกว่าน�้ำหนักของวัตถุ แขนจะงอและยกน�้ำหนักขึ้น กล้ามเนื้อจะสั้นเข้า การหดตัวในระยะนี้เป็นชนิด ไอโซโทนิก ฉะนั้นการท�ำงานของกล้ามเนื้อในร่างกายส่วนใหญ่มักจะมีการ ท�ำงานทั้งสองชนิดนี้ร่วมกัน นอกจากการท�ำงานบางระยะที่มีการหดตัวเพียงชนิดเดียว หน่วยยนต์ (motor unit) กล้ า มเนื้ อ ในร่ า งกายมี ก าร ท�ำงานเป็นหน่วย หน่วยเล็กที่สุดที่จะท�ำ งานได้เรียกว่า หน่วยยนต์ ซึ่งประกอบ ด้วย ประสาทยนต์หนึ่งเส้น กับใยกล้าม เนื้อจ�ำนวนหนึ่งซึ่งเลี้ยงด้วยใยประสาท ยนต์นั้น (ในร่างกายมนุษย์มีกล้ามเนื้อ 2.7 x 108 ใย และมีประสาทยนต์ ประมาณสี่แสนเส้น)ขนาดของหน่วยยนต์ แตกต่างกันตามต�ำแหน่งและงานที่กล้ามเนื้อต้องท�ำ กล้ามเนื้อที่ต้องท�ำงานละเอียด เช่น กล้ามเนื้อลูกตา หน่วยยนต์ประกอบ ด้วยกล้ามเนื้อเพียง 4-5 ใย แต่ถ้าเป็นกล้ามเนื้อมัดใหญ่ที่ไม่ต้องท�ำงานละเอียดจะ มีใยกล้ามเนื้อหลายร้อยหรือเป็นพันใย เช่น กล้ามเนื้อน่อง (gastrocnemius) จะมีใยกล้ามเนื้อ 1,000 - 2,000 ใย งานของกล้ามเนื้อลาย กล้ามเนื้อลายในร่างกายสามารถออกแรงดึงได้มาก เช่น กล้ามเนื้อในร่างกายซึ่งมีถึง 2.7 x 10 8 ใย สามารถดึงน�้ำหนักได้รวมกันถึง 25 ตัน หรือกล้ามเนื้อน่องขณะวิ่งจะยกน�้ำหนักได้ถึง 6 เท่าของน�้ำ หนักตัว มีผู้ได้ศึกษาแรงดึงของกล้ามเนื้อและพบว่า แรงดึงของกล้ามเนื้อในชายเฉลี่ย 6.3 กิโลกรัม ต่อ พื้นที่ภาคตัดของกล้ามเนื้อ 1 ตารางเซนติเมตร ในหญิงได้ค่าไม่แตกต่างจากชาย แต่การท�ำงานจริงๆ ในร่างกายนั้นกล้ามเนื้อต้องเสียเปรียบอยู่มาก เช่น ในการงอข้อศอก กล้าม เนื้อไบเซพส์ต้องดึงกระดูกที่อยู่ห่างจุดหมุนเพียงไม่กี่เซนติเมตร แต่ต้องยกน�้ำหนักด้วยมือที่อยู่ห่างจาก จุดหมุนถึง 10-20 เท่า ท�ำให้กล้ามเนื้อไบเซพส์ต้องออกแรงดึงมากกว่าน�้ำหนักที่ต้องยก 10-20 เท่า 6
นอกจากนั้นทิศทางของใยกล้ามเนื้อไม่ได้อยู่ในแนวของแรงดึงอีกด้วย การเสียเปรียบดังกล่าวนี้ร่างกาย ต้องยอม เพื่อประโยชน์บางประการ เช่น เพื่อลดรูปร่างของร่างกายให้เหมาะสมและดูสวยงาม การท�ำงานของกล้ามเนื้อไบเซพส์และไตรเซพส์ เมื่อเหยียด แขนกล้ามเนื้อไตรเซพส์จะหดตัว ส่วนกล้ามเนื้อไบเซพส์ คลายตัว ในทางตรงกันข้าม เมื่องอแขนกล้ามเนื้อไบเซพส์ จะหดตัว ส่วนกล้ามเนื้อไตรเซพส์จะคลายตัว
กล้ามเนื้อเรียบ กล้ า มเนื้ อ เรี ย บมี ลั ก ษณะทาง กายวิภาคศาสตร์ และ คุณสมบัติทางสรีรวิทยา แตกต่างกันเองมาก ไม่เป็นแบบฉบับเดียวกัน เช่นกล้ามเนื้อลาย จึงเป็นการยากที่จะอธิบาย สรีรวิทยาของกล้ามเนื้อเรียบแบบเดียวที่อาจ ถื อ เป็ น ตั ว แทนของกล้ า มเนื้ อ เรี ย บทั้ ง หมด อย่างไรก็ดี กล้ามเนื้อเรียบมีลักษณะทั่วไปทาง สรีรวิทยา ซึ่งเหมือนกัน 3 ประการ คือ 1) สามารถหดตัวได้ช้า นาน และ สิ้นเปลืองพลังงานน้อย 2) ประสาทยนต์ที่มาเลี้ยง มาจาก ระบบประสาทอัตบาล 3)มี ค วามตึ ง ตั ว อยู่ เ องภายใน กล้ามเนื้อ
กล้ามเนื้อหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจเป็นกล้ามเนื้อที่มีลาย แต่ท�ำงานอยู่นอกอ�ำนาจจิต (involuntary) คล้ายกล้าม เนื้อเรียบ การท�ำงานรวมกันเป็นหน่วยเดียวกัน และมีตัวคุมจังหวะ (pacemaker) อยู่บริเวณปุ่มไซโน เอเทรียล หรือปุ่ม เอส - เอ (sino - atrial node,SA node)
7
3. ระบบประสาท (Nervous System) ประกอบด้วยระบบประสาทส่วนกลาง (C.N.S) ระบบ ประสาทส่วนปลาย (P.N.S) และระบบประสาทอัตโนมัติ (A.N.S) มีการท�ำงานที่สลับซับซ้อนและมี ความสัมพันธ์กับการท�ำงานของระบบกล้าม เนื้ อ เพื่ อ ให้ ร ่ า งกายสามารถปรั บ ตั ว ให้ เข้ า กั บ สภาพแวดล้ อ มทั้ ง ภายในและภายนอก ร่างกาย 4 . ร ะ บ บ ไ ห ล เ วี ย น เ ลื อ ด (Circulatory System) อวัยวะที่ส�ำคัญ คือ หัวใจและเส้นเลือด มีหน้าที่ส�ำคัญในการน�ำ สารอาหาร ออกซิเจนและสารต่างๆไปสู่เซลล์ ทุกๆ ส่วนของร่างกาย รวมทั้งรับเอาของเสีย ออกจากเซลล์เพื่อส่งไปซักฟอกที่ปอด เมื่อ ร่ า งกายมี ก ารใช้ พ ลั ง งาน ระบบไหลเวี ย น เลือดจะต้องเพิ่มการท�ำงาน 5. ระบบหายใจ (Respiratory System) อวัยวะที่ส�ำคัญ คือปอด ท�ำหน้าที่ส�ำคัญ คือฟอก เลือดหรือเพิ่มออกซิเจนให้แก่เลือดที่ถูกส่งมาปอด ระบบหายใจจะท�ำหน้าที่ขนส่งออกซิเจนให้แก่ร่างกาย เพื่อน�ำไปใช้การเผาผลาญอาหาร (Metabolism) และถ่ายคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นของเสียออกจาก การเผาผลาญให้ออกนอกร่างกาย ซึ่งการขนส่งออกซิเจนจะอาศัยตอนหายใจเข้า และตอนขับถ่าย คาร์บอนไดออกไซด์อาศัยตอนหายใจออก การเคลื่อนไหวจะท�ำให้ระบบต่างๆ ดังกล่าวท�ำงานสัมพันธ์กันมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การเคลื่อน ไหวที่สร้างสรรค์ การเคลื่อนไหวที่แสดงออกมาในรูปแบบกิจกรรมต่างๆ เพื่อเป็นการผ่อนคลายอารมณ์ ความเครียด และเสริมสร้างให้มีร่างกายแข็งแรง สติปัญญา จิตใจเบิกบานสนุกสนานทั้งอาจท�ำให้เกิด ความสัมพันธ์อันดีต่อชุมชน และเป็นส่วนหนึ่งของสังคม มีลักษณะดังนี้ 1. กิจกรรมใดที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง ท�ำให้คนเรามีสุขภาพที่ดีทั้งกายและทางจิตใจ 2. กิจกรรมใดที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อครอบครัว นอกจากจะท�ำให้ตนเองเกิดความสนุกสนาน เพลิดเพลินท�ำให้ชีวิตครอบครัวเป็นสุขและอบอุ่นเช่น การจัดสวน เป็นการท�ำกิจกรรมเป็นครอบครัว ทั้งยังสร้างความสัมพันธ์ระหว่างคนในครอบครัว เป็นต้น 3.กิจกรรมใดที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม ก่อให้เกิดความสามัคคี มิตรภาพสร้างความสัมพันธ์โดย ใช้กิจกรรมเป็นตัวเชื่อม ทั้งยังรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ร่วมกันด้วย
8
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2
แบดมินตัน 1.ความรู้ทั่วไปเบื้องต้นเกี่ยวกับการเล่นกีฬาแบดมินตัน 1.1 ประวัติของกีฬาแบดมินตัน
แบดมินตัน (Badminton) เป็นกีฬาที่ได้รับการวิจารณ์เป็นอย่างมากเพราะไม่มีหลักฐานที่แน่ชัด ถึงที่มาของกีฬาประเภทนี้ คงมีแต่หลักฐานบางอย่างที่ท�ำให้ทราบว่ากีฬาแบดมินตันมีเล่นกันในยุโรปโดย เฉพาะในประเทศอังกฤษตอนปลายศตวรรษที่ 17 และจากภาพสีน�้ำมันหลายภาพ ได้ยืนยันว่ากีฬา แบดมินตันเล่นกันอย่างแพร่หลายในพระราชวงศ์ของราชส�ำนักต่างๆ ในทวีปยุโรป แม้ว่าจะเรียกกันภาย ใต้ชื่ออื่นก็ตาม ประวัติของกีฬาแบดมินตันบันทึกได้แน่นอนในปี พ.ศ. 2413 ปรากฏว่ามีการเล่นกีฬาลูกขนไก่ เกิดขึ้นที่เมืองปูนา (Poona) ในประเทศอินเดีย โดยได้รวมการเล่นสองอย่างเข้าด้วยกันคือ การเล่นปูนา ของประเทศอินเดีย และการเล่นไม้ตีกับลูกขนไก่ (Battledore Shuttle Cock) ของยุโรป ในระยะแรกๆ การเล่นจะเล่นกันเพียงแต่ในหมู่นายทหารของกองทัพ และสมาชิกชนชั้นสูงของอินเดีย จนกระทั่งมีนาย ทหารอังกฤษที่ไปประจ�ำการอยู่ที่เมืองปูนา น�ำการเล่นตีลูกขนไก่นี้กลับไปอังกฤษ และเล่นกันอย่างกว้าง ขวาง ณ คฤหาสน์แบดมินตัน (Badminton House) ของยุคแห่งบิวฟอร์ด ที่กล๊อสเตอร์เชอร์ ในปี พ.ศ. 2416 เกมกีฬาตีลูกขนไก่เลยถูกเรียกว่า แบดมินตัน ตามชื่อคฤหาสน์ของดยุคแห่งบิวฟอร์ดตั้งแต่นั้นมา กีฬาแบดมินตันเริ่มแพร่หลายในประเทศแถบภาคพื้นยุโรป เพราะเป็นเกมที่คล้ายเทนนิส แต่ สามารถเล่นได้ภายในตัวตึก โดยไม่ต้องกังวลต่อลมหรือหิมะในฤดูหนาว ชาวยุโรปที่อพยพไปสู่ทวีป อเมริกา ได้น�ำกีฬาแบดมินตันไปเผยแพร่ รวมทั้งประเทศต่างๆ ในทวีปเอเชียและออสเตรเลียที่อยู่ภาย ใต้อาณานิคมของอังกฤษ เนเธอร์แลนด์ ต่างน�ำเกมแบดมินตันไปเล่นยังประเทศของตนอย่างแพร่หลาย เกมกีฬาแบดมินตันจึงกระจายไปสู่ส่วนต่างๆ ของโลก รวมทั้งประเทศไทยด้วย การเล่นแบดมินตันในระยะแรกๆ มิได้มีกฎเกณฑ์ แต่เป็นเพียงตีโต้ลูกกันไปมาไม่ให้ลูกตกพื้น เท่านั้น เส้นแบ่งแดนก็ใช้ตาข่ายผูกโยงระหว่างต้นไม้สองต้น ไม่ได้ค�ำนึงถึงเรื่องต�่ำสูง เล่นกันข้างละไม่ น้อยกว่า 4 คน ส่วนมากจะเล่นทีมละ 6 ถึง 9 คน ผู้เล่นแต่งตัวตามสบาย สุภาพสตรีสวมกระโปรงยาว ทั้งชุด ใส่หมวกติดผ้าลายลูกไม้ สุภาพบุรุษแต่งสากลผูกโบว์ไทด์ เพราะกีฬาแบดมินตันได้รับความนิยม แพร่หลายออกไปตามบ้านข้าราชการ พ่อค้า คณบดี และประชาชนจนกระทั่งปี พ.ศ. 2436 ได้มีการ จัดตั้งสมาคมแบดมินตันแห่งประเทศอังกฤษขึ้น ซึ่งนับเป็นสมาคมแบดมินตันแห่งแรกของโลก มีการจัด แข่งขันแบดมินตันชิงชนะเลิศแห่งประเทศอังกฤษ หรือที่เรียกกันว่า ออลอิงแลนด์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2432 9
เป็นต้นมา ได้ตั้งกฎเกณฑ์ของสนามมาตรฐานขึ้นคือ ขนาดกว้าง 22 ฟุต ยาว 45 ฟุต (22 x 45) เป็นสนาม ขนาดมาตรฐานประเภทคู่ที่ใช้ในปัจจุบัน ตั้งแต่นั้นมาการปรับปรุงดัดแปลงในเรื่องอุปกรณ์การเล่นได้ กระท�ำให้ดีขึ้นเป็นล�ำดับ ต่อมาได้รับความนิยมแพร่หลายไปทั่วโลก ประเทศในเอเซียอาคเนย์ที่มีการเล่น กีฬาแบดมินตันและได้รับความนิยมสูงสุดคือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และประเทศไทย นอกจากประเทศ อังกฤษแล้วการเล่นที่น่าดูมีขึ้นที่ประเทศแคนาดา และเดนมาร์ก ด้วยเหตุผลที่ควรสนใจอย่างกว้างขวาง ทั่วโลกในกีฬาประเภทนี้ การแข่งขันระหว่างประเทศจึงได้จัดให้มีขึ้นในปี พ.ศ. 2445 และตลอดเวลา หลายปีที่ผ่านมา จ�ำนวนประเทศที่เข้าร่วมแข่งขันกีฬาแบดมินตันระหว่างประเทศมีมากกว่า 31 ประเทศ แบดมินตันได้กลายเป็นเกมกีฬาที่เล่นกันระหว่างชาติ โดยมีการยกทีมข้ามประเทศเพื่อแข่งขันระหว่าง ชาติในทวีปยุโรป ในปี พ.ศ. 2468 กลุ่มนักกีฬาของประเทศอังกฤษได้แข่งขันกับกลุ่มนักกีฬาประเทศ แคนาดา ห้าปีหลังจากนั้นพบว่าประเทศแคนาดามีสโมสรส�ำหรับฝึกแบดมินตันมาตรฐานแทบทุกเมือง ในปี พ.ศ. 2477 สมาคมแบดมินตันของประเทศอังกฤษเป็นผู้น�ำในการก่อตั้งสหพันธ์แบดมินตัน ระหว่างประเทศ โดยมีชาติต่างๆ อีก 8 ชาติคือ แคนาดา เดนมาร์ก อังกฤษ ฝรั่งเศส ไอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ สก๊อตแลนด์ และเวลล์ โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงลอนดอน ปัจจุบันมีประเทศที่ อยู่ในเครือสมาชิกกว่า 60 ประเทศที่ขึ้นต่อสหพันธ์แบดมินตันระหว่างประเทศ (I.B.F.) สหพันธ์มีบทบาท ส�ำคัญในการก�ำหนดและควบคุมกติการะเบียบข้อบังคับต่างๆ ของการแข่งขันกีฬาแบดมินตันทั่วโลก ในปี พ.ศ. 2482 Sir George Thomas นักแบดมินตันอาวุโสชาวอังกฤษเป็นผู้มอบถ้วยทองราคา 5,000 ปอนด์ เพื่อมอบเป็นรางวัลให้แก่ผู้ชนะเลิศประเภทชายในการแข่งขันแบดมินตันระหว่างประเทศ ซึ่งสหพันธ์แบดมินตันได้รับไว้และด�ำเนินการตามประสงค์นี้ แม้ว่าตามทางการจะเรียกว่า การแข่งขันชิง ถ้วยชนะเลิศแบดมินตันระหว่างประเทศ แต่นิยมเรียกกันว่า โธมัสคัพ (Thomas Cup) การแข่งขันจะจัด ขึ้นทุกๆ 3 ปี โดยสหพันธ์ได้แบ่งเขตการแข่งขันของชาติสมาชิกออกเป็น 4 โซน คือ 1. โซนยุโรป 2. โซนอเมริกา 3. โซนเอเชีย 4. โซนออสเตรเลเซีย (เดิมเรียกว่าโซนออสเตรเลีย) วิธีการแข่งขัน จะแข่งขันชิงชนะเลิศภายในแต่ละโซนขึ้นก่อน แล้วให้ผู้ชนะเลิศแต่ละโซนไป แข่งขันรอบอินเตอร์โซน เพื่อให้ผู้ชนะเลิศทั้ง 4 โซนไปแข่งขันชิงชนะเลิศกับทีมของชาติที่ครอบครองถ้วย โธมัสคัพอยู่ ซึ่งได้รับเกียรติไม่ต้องแข่งขันในรอบแรกและรอบอินเตอร์โซน ชุดที่เข้าแข่งขันประกอบด้วยผู้ เล่นอย่างน้อย 4 คน การที่จะชนะเลิศนั้นจะตัดสินโดยการรวมผลการแข่งขันของประเภทชายเดี่ยว 5 คู่ และประเภทชายคู่ 4 คู่ รวม 9 คู่ และใช้เวลาการแข่งขัน 2 วัน การแข่งขันชิงถ้วยโธมัสคัพครั้งแรก จัดให้ มีขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2491 - 2492 ต่อมาในการแข่งขันแบดมินตันโธมัสคัพ ครั้งที่ 8 ปีพ.ศ. 2512 - 2513 สหพันธ์ได้เปลี่ยนแปลง วิธีการแข่งขันเล็กน้อย โดยให้ชาติที่ครอบครองถ้วยอยู่นั้นเข้าร่วมแข่งขันในรอบอินเตอร์โซนด้วย โดย วิธีการจับสลากแล้วแบ่งออกเป็น 2 สาย ผู้ชนะเลิศแต่ละสายจะได้เข้าแข่งขันชิงชนะเลิศโธมัสคัพรอบ สุดท้ายต่อไปสาเหตุที่สหพันธ์เปลี่ยนแปลงการแข่งขันใหม่นี้ เนื่องจากมีบางประเทศที่ชนะเลิศได้ครอบ 10
ครองถ้วยโธมัสคัพไม่รักษาเกียรติที่ได้รับจากสหพันธ์ไว้ โดยพยายามใช้ชั้นเชิงที่ไม่ขาวสะอาดรักษาถ้วย โธมัสคัพไว้ครั้งแล้วครั้งเล่า สหพันธ์จึงต้องเปลี่ยนข้อบังคับให้ชาติที่ครอบครองถ้วยอยู่นั้นลงแข่งขันใน รอบอินเตอร์โซนดังกล่าวด้วย กีฬาแบดมินตันได้แพร่หลายขึ้น แม้กระทั่งในกลุ่มประเทศสังคมนิยมก็ได้มีการเล่นเบดมินตัน อย่างกว้างขวางและมีการบรรจุแบดมินตันเข้าไว้ในการแข่งขันเอเชียนเกมส์ เซียพเกมส์ (ซีเกมส์ใน ปัจจุบัน) การแข่งขันกีฬาของประเทศในเครือจักรภพสหราชอาณาจักร รวมทั้งการพิจารณาแบดมินตัน เข้าสู่การแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ล้วนแต่เป็นเครื่องยืนยันว่า แบดมินตันได้กลายเป็นกีฬาสากลแล้วอย่าง แท้จริง 1.2 ประวัติของกีฬาแบดมินตันในประเทศไทย การเล่นแบดมินตันได้เข้ามาสู่ประเทศไทยในราวปี พ.ศ. 2456 โดยเริ่มเล่นกีฬาแบดมินตันแบบ มีตาข่าย โดยพระยานิพัทยกุลพงษ์ ได้สร้างสนามขึ้นที่บ้าน ซึ่งตั้งอยู่ริมคลองสมเด็จเจ้าพระยาธนบุรี แล้ว นิยมเล่นกันอย่างแพร่หลายออกไป ส่วนมากเล่นกันตามบ้านผู้ดีมีตระกูล วังเจ้านาย และในราชส�ำนัก การเล่นแบดมินตันครั้งนั้น นิยมเล่นข้างละ 3 คนกันมาก ประมาณปี พ.ศ. 2462 สโมสรกลาโหม ได้เป็นผู้จัดแข่งขันแบดมินตันทั่วไปขึ้นเป็นครั้งแรก โดยจัดการแข่งขัน 3 ประเภทได้แก่ประเภทเดี่ยว ประเภทคู่ และประเภทสามคน ปรากฏว่าทีมแบดมินตันบางขวางนนทบุรี (โรงเรียนราชวิทยาลัยบาง ขวางนนทบุรี) ชนะเลิศทุกประเภท นอกจากนี้มีนักกีฬาแบดมินตันฝีมือดีเดินทางไปแข่งขันยังประเทศ ใกล้เคียงอยู่บ่อยๆ ต่อมาปี พ.ศ. 2494 พระยาจินดารักษ์ได้ก่อตั้งขึ้นเป็นสมาคมชื่อว่า “สมาคมแบดมินตันแห่ง ประเทศไทย” เมื่อแรกตั้งมีอยู่ 7 สโมสร คือ สโมสรสมานมิตร สโมสรบางกอก สโมสรนิวบอย สโมสร ยูนิตี้ สโมสร ส.ธรรมภักดี สโมสรสิงห์อุดม และสโมสรศิริบ�ำเพ็ญบุญ ซึ่งในปัจจุบันนี้เหลือเป็นสโมสร สมาชิกของสมาคมอยู่เพียง 2 สโมสร คือสโมสรนิวบอย และสโมสรยูนิตี้เท่านั้น และในปีเดียวกัน สมาคม แบดมินตันแห่งประเทศไทย ก็ได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกของสหพันธ์แบดมินตันนานาชาติด้วย สมาคม แบดมินตันแห่งประเทศไทยมีนักกีฬาแบดมินตันที่มีฝีมือดีอยู่มาก และจากการที่ได้เข้าแข่งขันในรายการ ต่างๆของโลกได้สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยเป็นอย่างมาก ทั้งโธมัสคัพ อูเบอร์คัพ และการแข่งขัน ออลอิงแลนด์ ซึ่งวงการแบดมินตันถือว่าเป็นการแข่งขันชิงชนะเลิศของโลกประเภทรายบุคคล ซึ่งนักกีฬาของประเทศไทยก็เคยได้ต�ำแหน่งรองชนะเลิศทั้งประเภทชายเดี่ยวและชายคู่มาแล้ว วงการแบดมินตันของไทยยกย่อง นายประวัติ ปัตตพงศ์ (หลวงธรรมนูญวุฒิกร) เป็นบิดาแห่งวงการ แบดมินตันของประเทศไทย ปัจจุบันกีฬาแบดมินตันในประเทศไทยเป็นที่นิยมกันมาก เล่นกันทั่วประเทศทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ ผู้ หญิง ผู้ชาย มีการเรียนการสอนในโรงเรียนในสถาบันอุดมศึกษา มีสนามแบดมินตันอยู่ทั่วประเทศ มี อุปกรณ์ที่ได้มาตรฐาน ซึ่งผลิตได้เอง มีการอบรมฝึกสอนกีฬาแบดมินตันโดยองค์กรที่มีมาตรฐาน มีผู้ ฝึกสอนทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ท�ำงานเต็มเวลา มีกรรมการผู้ตัดสินที่เป็นมาตรฐาน มีรายการ แข่งขันภายในประเทศที่จัดขึ้นในแต่ละปีไม่น้อยกว่า 20 รายการ มีนักกีฬาที่มีความสามารถติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลก ทั้งชายและหญิง ภายใต้การท�ำงานของสมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทยในพระบรม 11
ราชูปถัมภ์ที่จริงจังและเข้มแข็ง เชื่อว่าอีกไม่นานประเทศไทยคงจะก้าวหน้าไปเป็นผู้น�ำในกีฬาแบดมินตัน ของโลกในโอกาสข้างหน้าอย่างแน่นอน 1.3 มารยาทในการเล่นกีฬาแบดมินตัน 1.3.1 มารยาทของผู้แข่งขันแบดมินตัน 1. ผู้แข่งขันต้องตระหนักอยู่เสมอว่าผู้เข้าแข่งขันเป็นนักกีฬาสมัครเล่น ซึ่งต้องมีน�้ำใจ เป็นนักกีฬาอยู่เสมอ และพร้อมที่จะให้อภัยแก่ความผิดพลาดทุกโอกาส โดยไม่ค�ำนึงถึงผลแพ้ชนะเป็น ส�ำคัญจนเกินไป 2. ผู้เข้าแข่งขันแต่งกายด้วยชุดกีฬาสีขาว สะอาด เรียบร้อย 3. ยิ้มแย้มแจ่มใสต่อคู่แข่งขันแสดงออกถึงมิตรภาพความสุภาพ อ่อนโยนด้วยการสัมผัส มือ หรือเปิดโอกาสให้คู่แข่งขันได้วอร์ม รวมทั้งไม่เอาเปรียบคู่ต่อสู้หรือคู่แข่งขันในการเสี่ยง ให้โอกาสคู่ ต่อสู้เป็นผู้น�ำการเลือกเสี่ยงก่อน 4. ไม่แสดงกริยาที่ไม่ดีเมื่อท�ำเสียเอง ด้วยท่าทางหรือค�ำพูด รวมทั้งการกล่าวต�ำหนิผู้ เล่นฝ่ายเดียวกัน 5. ใช้ค�ำพูดที่สุภาพในการแข่งขัน 6. การถามข้อสงสัย หรือถามคะแนนต่อผู้ตัดสินในระหว่างการแข่งขันควรจะใช้ถ้อยค�ำ ที่สุภาพ 7. การอุทธรณ์ค�ำวินิจฉัยของผู้ตัดสิน ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ผู้แข่งขันควรจะใช้ถ้อยค�ำที่ ระมัดระวัง และเมื่อได้ท�ำการอุทธรณ์แล้ว ผู้อุทธรณ์ต้องอยู่ในความสงบ และพร้อมที่จะท�ำการแข่งขันต่อ ไปได้ และเมื่อผู้ตัดสินชี้ขาดอย่างไรก็ต้องปฏิบัติตามด้วยความเต็มใจ 8. เมื่อขณะด�ำเนินการแข่งขันอยู่หากจะหยุดพัก เช่น ขอเช็ดเหงื่อ ดื่มน�้ำ เปลี่ยน แร็กเกต เปลี่ยนรองเท้าถุงเท้า ฯลฯ ต้องขออนุญาตผู้ตัดสินทุกครั้ง เมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงปฏิบัติได้ 9. ในการส่งลูกเสียไปให้คู่ต่อสู้จะต้องส่งลูกข้ามตาข่ายไปให้เสมอ การส่งลูกลอดใต้ ตาข่ายไปให้คู่ต่อสู้ถือว่าเป็นการเสียมารยาทอย่างรุนแรง 10. ในระหว่างการแข่งขัน ถ้าผู้ตัดสินท�ำหน้าที่ผิดพลาดแต่เราอยู่ในฐานะได้เปรียบไม่ ควรใช้ความได้เปรียบนั้นเป็นประโยชน์ 11. การตีลูกเสีย นักกีฬาที่ดีต้องร้องออกมาดังๆ ว่า “เสีย” โดยไม่ต้องรอให้ผู้ตัดสินร้อง ออกมาก่อน แต่ถ้าผู้ตัดสินดูไม่ทัน ผู้ตีลูกเสียไม่ควรจะฉวยโอกาสเล่นต่อไปด้วย เพราะการฉวยโอกาสเช่น นี้เป็นการกระท�ำที่ไม่สุจริต 12. เมื่อการแข่งขันเสร็จสิ้นลง ถ้าเราเป็นฝ่ายชนะจะต้องไม่แสดงความดีใจจนเกินควร ต้องเข้าไปจับมือคู่แข่งขันทันทีพร้อมแสดงความเสียใจ ถ้าเป็นฝ่ายแพ้ไม่ควรจะแสดงอารมณ์ฉุนเฉียวต้อง ควบคุมอารมณ์ และรีบไปแสดงความยินดีกับคู่แข่งโดยทันทีเหมือนกัน 13. ยอมรับและเชื่อฟังการตัดสินโดยไม่โต้แย้ง และเมื่อเสร็จสิ้นการแข่งขันควรแสดง ความเคารพผู้ตัดสิ้น 12
14. ในสนามที่มีผู้มารอเล่นอยู่มาก และไม่ใช่การแข่งขัน ไม่ควรเล่นกันนานจนเกินไป ควรเปิดโอกาสให้ผู้อื่นได้เล่นบ้าง 1.3.2 มารยาทของผู้ชม 1. แต่งกายให้สุภาพ เรียบร้อย เป็นการให้เกียรติแก่การแข่งขันนั้นๆ 2. ให้เกียรติแก่นักกีฬาทั้ง 2 ฝ่าย ด้วยการปรบมือเมื่อมีการแนะน�ำคู่แข่งขัน 3. ไม่กล่าววาจาไม่สุภาพ และไม่เชียร์ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจนไม่น่าดู 4. ขณะการแข่งขันยังด�ำเนินอยู่ไม่ควรรบกวนสมาธิของผู้แข่ง หรือผู้ชมด้วยกัน 5. การนิ่งเงียบ ในขณะที่นักกีฬาก�ำลังเล่นถือว่าเป็นมารยาทของผู้ชมที่ดี 6. ควรปรบมือเมื่อผู้เล่นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเล่นได้ดี สวยงาม และกระท�ำเมื่อลูกไม่ได้อยู่ใน การเล่น 7. ไม่แสดงออกด้วยกิริยา หรือวิพากษ์วิจารณ์การตัดสินของกรรมการ ขณะท�ำการ แข่งขัน แม้ว่าจะมีข้อผิดพลาด 8. เมื่อการแข่งขันสิ้นสุดลง ควรปรบมือเป็นเกียรติแก่นักกีฬาทั้งสองฝ่าย 1.3.3 มารยาทในการเป็นผู้ตัดสิน 1. เมื่อเข้าสู่สนามแข่งขัน ต้องแต่งกายให้ถูกต้องตามลักษณะของการเป็นผู้ตัดสิน เครื่องแต่งกายต้องประณีต และสะอาด วางตัวในลักษณะสุภาพอ่อนน้อม แต่ส�ำรวมไม่หลอกล้อกับผู้ หนึ่งผู้ใด แสดงออกถึงอาการที่จะให้ความร่วมมือกับผู้อื่นด้วยท่าทีกระฉับกระเฉง ไม่ใช่ประหม่าหรือลุกลี้ ลุกลน 2. ระหว่างการแข่งขัน หลีกเลี่ยงการพบปะสนทนากับผู้เล่น ผู้ฝึกสอน ตลอดจนผู้คุ้น เคยอื่นๆ พยายามตั้งใจจริงในการปฏิบัติหน้าที่ในการตัดสิน ตัดสินใจด้วยความเด็ดขาดถูกต้อง แสดงออก ถึงความมีน�้ำใจเป็นนักกีฬา ไม่แสดงอารมณ์ออกมา ควรใช้วาจาเฉพาะในสิ่งที่จ�ำเป็นพูดเฉพาะหลักการ เท่านั้น เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้ฟัง และไม่ควรโต้เถียงกับผู้ใดผู้หนึ่ง ซึ่งจะเป็นการลดฐานะของตนเอง อันเป็นการท�ำให้เสื่อมศักดิ์ศรี และเป็นการน�ำไปสู่การทะเลาะวิวาทหรือท�ำให้เกิดคับข้องขุ่นเคืองใจได้ 3. เมื่อจบการแข่งขัน หลังจากตรวจใบนับคะแนนเรียบร้อยแล้ว ควรรีบออกจากสนาม แข่งขันทันที ไม่ควรรีรออยู่เพื่อขออภัยในความผิดพลาดในการตัดสิน หรือเพื่อแสดงความยินดีหรือเสียใจ ต่อคู่แข่ง ไม่ควรแสดงความคิดเห็นใด ๆ เกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ ที่มีการถกเถียงกัน ในกรณีที่มีผู้สื่อข่าวขอ สัมภาษณ์ ควรให้ความร่วมมือด้วยอัธยาศัยอันดี โดยชี้แจงอย่างเป็นธรรมและเหมาะสมในขอบเขตของ การเป็นผู้ตัดสิน แต่ไม่ควรแสดงความคิดเห็นที่ซ�้ำเติม หรือก้าวก่ายหน้าที่ของผู้อื่น 1.4 ประโยชน์ของการเล่นกีฬาแบดมินตัน 1. ทางด้านร่างกาย 1.1 ท�ำให้ร่างกายแข็งแรง เพราะกีฬาแบดมินตันต้องใช้ก�ำลัง ความอดทน ความ คล่องแคล่วว่องไว ความแม่นย�ำ การทรงตัว ซึ่งล้วนแต่พัฒนาสมรรถภาพทางร่างกายทั้งสิ้น 1.2 ฝึกทักษะไปสู่กีฬาประเภทอื่นๆในการใช้เท้าและมือในการแข่งขัน 1.3 ส่งเสริมบุคลิกภาพให้ดีขึ้น 13
1.4 ฝึกความสัมพันธ์ระหว่างอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย ให้ท�ำงานอย่างมีระบบและมี ประสิทธิภาพดีขึ้นหากเป็นเด็กยังช่วยให้เจริญเติบโตได้เต็มที่ยิ่งขึ้น 2. ทางด้านจิตใจ 1.1 ให้ความสนุกสนานเพลิดเพลิน 1.2 เป็นการผ่อนคลายความตึงเครียด 1.3 พัฒนาความมีน�้ำใจเป็นนักกีฬา 1.4 ให้มีทัศนคติที่ดีต่อการกีฬาที่ถูกต้อง 1.5 ท�ำให้เป็นผู้ที่รู้จักวิเคราะห์สถานการณ์และตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว 3. ทางด้านอารมณ์ 1.1 ท�ำให้อารมณ์แจ่มใส 1.2 รู้จักการควบคุมอารมณ์ในขณะแข่งขัน 1.3 ฝึกให้เป็นคนที่มีอารมณ์มั่นคง มีความอดทน และให้อภัย 4. ทางด้านสังคม 1.1 เป็นผู้ที่มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี สามารถเข้ากับคนอื่นได้ 1.2 ได้พบปะสังสรรค์ในหมู่เพื่อนกับบุคคลอื่น 1.3 รู้จักแบ่งหน้าที่และรักษาหน้าที่ ตลอดจนมีการร่วมมือกับบุคคลอื่น 1.4 ฝึกการเป็นผู้น�ำและผู้ตามที่ดี มีมารยาท เคารพกฎกติกาและระเบียบที่ควรปฏิบัติ 1.5 รู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ 5. ทางด้านสติปัญญา 1.1 รู้จักความสามารถและข้อบกพร่องของตนเอง 1.2 ฝึกให้เป็นผู้ที่รู้จักคิดคาดการณ์ล่วงหน้า และวิเคราะห์สถานการณ์ 1.3 ฝึกความสามารถในการตัดสินใจและแก้ปัญหาอย่างรวดเร็ว 1.5 คุณสมบัติของนักกีฬาแบดมินตัน ทางด้านร่างกาย 1. มีรูปร่างที่ค่อนข้างสูง สันทัด มีสายตาและประสาทสัมผัสที่ดี 2. มีความเร็ว (Speed) ว่องไวในการเคลื่อนไหว ไม่ช้าอืดอาด 3. มีความอ่อนตัว (Flexibility) ซึ่งจะช่วยให้นักกีฬาแบดมินตันมีความคล่องแคล่ว 4. มีความแข็งแรง (Strength) ซึ่งเป็นพื้นฐานที่ส�ำคัญในการกีฬาทุกชนิดโดยเฉพาะ กล้ามเนื้อช่วงแขน ข้อมือ และท้อง 5. มีความอดทน (Endurance) ซึ่งเป็นพื้นฐานที่ส�ำคัญในการพัฒนาการเล่นให้ดีขึ้น เพราะจะต้องฝึกซ�้ำๆ และสม�่ำเสมอจึงจะท�ำให้ร่างกายมีความทนทานได้นาน 6. มีความสัมพันธ์ระหว่างกล้ามเนื้อ และประสาท (Neuromuscular Coordination) กล่าวคือความสามารถของประสาทสั่งงานกับกล้ามเนื้อเป็นไปอย่างรวดเร็ว และนุ่มนวล เช่น การบังคับ ไม้แร็กแกตขณะตีลูก 14
7. ความว่องไว (Agility) เป็นความสามารถในการปรับเปลี่ยนทิศทางการ เคลื่อนไหว ซึ่งเป็นปัจจัยส�ำคัญในการเล่นแบดมินตัน ทางด้านจิตใจ 1. มีความสนใจอย่างแรงกล้าในการเรียนรู้ และพัฒนาเพื่อปรับปรุงตนเองให้ดีขึ้น 2. ต้องมีความอดทนต่อการฝึก มีจิตใจที่เข้มแข็ง ไม่ท้อถอยต่อสถานการณ์เสียเปรียบ 3. ต้องรู้และเข้าใจในความสามารถ และข้อบกพร่องของตนเอง เพื่อปรับปรุงแก้ไข 4. มีความเข้าใจต่อสถานการณ์ในการแข่งขันและข้อได้เปรียบ เสียเปรียบเป็นอย่างดี 5. มีความมั่นคงในอารมณ์สูง สามารถควบคุมอารมณ์ และการแสดงออกได้เป็นอย่างดี ในขณะแข่งขัน 6. มีไหวพริบในการแก้ไขสถานการณ์ และปัญหาเฉพาะหน้าได้เป็นอย่างดี ทางด้านสังคม 1. เป็นผู้มีความประพฤติเรียบร้อย มีระเบียบวินัย และมีความรับผิดชอบ 2. เชื่อฟังและปฏิบัติตามค�ำแนะน�ำของผู้ฝึกสอนอย่างเคร่งครัด 3. มีความขยันหมั่นเพียรในการฝึกซ้อมอย่างสม�่ำเสมอ 4. มีความรู้และเข้าใจในกฎ กติกา ระเบียบ ตลอดจนการแข่งขันเป็นอย่างดี 5. มีจิตใจใฝ่สัมฤทธิ์
2. กติกาการเล่นกีฬาแบดมินตัน 1. สนาม
1.1 สนามจะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าประกอบด้วยเส้น กว้างขนาด 40 มิลลิเมตร ตามภาพผัง ก. 1.2 เส้นทุกเส้นต้องเด่นชัด และควรทาด้วยสีขาวหรือสี เหลือง 1.3 เส้นทุกเส้นเป็นส่วนประกอบของพื้นที่ซึ่งกําหนดไว้ 1.4 เสาตาข่ายจะต้องสูง 1.55 เมตรจากพื้นสนาม และตั้งตรงเมื่อขึงตาข่ายให้ตึง ตามที่ได้ ก�ำหนดไว้ในกติกาข้อ 1.10 โดยที่จะต้องไม่มีส่วนหนึ่งส่วนใดของเสายื่นเข้ามาในสนาม 1.5 เสาตาข่ายจะต้องตั้งอยู่บนเส้นเขตข้างของประเภทคู่ ตามที่ได้แสดงไว้ในภาพผัง ก. โดยไม่ ต้องค�ำนึงว่าจะเป็นประเภทเดี่ยวหรือประเภทคู่ 1.6 ตาข่ายจะต้องถักด้วยเส้นด้ายสีเข้ม และมีขนาดตา กว้างไม่น้อยกว่า 15 มิลลิเมตร และไม่ เกิน 20 มิลลิเมตร 1.7 ตาข่ายต้องมีความกว้าง 760 มิลลิเมตร และความยาว อย่างน้อย 6.10 เมตร 1.8 ขอบบนของตาข่ายต้องมีแถบผ้าสีขาวพับสอง ขนาด กว้าง 75 มิลลิเมตรทับบนเชือกหรือ ลวดที่ร้อยตลอดแถบผ้าขาว 1.9 เชือกหรือลวดต้องมีขนาดพอที่จะขึงให้ตึงเต็มที่กับสุดหัวเสา 1.10 ขอบบนตาข่ายต้องสูงจากพื้นที่ตรงกึ่งกลางสนาม 1.524 เมตร และ 1.55 เมตร เหนือเส้น เขตข้างของประเภทคู่ 15
1.11 ต้องไม่มีช่องว่างระหว่างสุดปลายตาข่ายกับเสาถ้าจ�ำเป็นต้องผูกร้อยปลายตาข่ายทั้งหมด กับเสา
2. ลูกขนไก่ 2.1 ลูกขนไก่อาจท�ำจากวัสดุธรรมชาติ และ/หรือ วัสดุสังเคราะห์ ไม่ว่าลูกนั้นจะท�ำจากวัสดุชนิด ใดก็ตามลักษณะวิถีวิ่งทั่วไปจะต้องเหมือนกับลูกซึ่งท�ำจากขนธรรมชาติ ฐานเป็นหัวไม้ก๊อกหุ้มด้วย หนังบาง 2.2 ลูกขนไก่ต้องมีขน 16 อัน ปักอยู่บนฐาน 2.3 ความยาวของขน วัดจากปลายขนถึงส่วนบนของฐาน ในแต่ละลูกจะเท่ากันทั้งหมด ระหว่าง 62 มิลลิเมตร ถึง 70 มิลลิเมตร 2.4 ปลายขนต้องแผ่เป็นรูปวงกลม มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ระหว่าง 58 มิลลิเมตร ถึง 68 มิลลิเมตร 2.5 ขนต้องมัดให้แน่นด้วยเส้นด้าย หรือวัสดุอื่นที่เหมาะสม 2.6 ฐานของลูกต้องมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 25 มิลลิเมตร ถึง 28 มิลลิเมตร และส่วนล่างมนกลม 2.7 ลูกขนไก่จะมีน�้ำหนักตั้งแต่ 4.74 ถึง 5.50 กรัม 2.8 ลูกขนไก่ที่ไม่ใช้ขนธรรมชาติ 16
2.8.1ส่วนของขนหรือวัสดุสังเคราะห์ใช้แทนขน ธรรมชาติ 2.8.2 ฐานลูก ดังที่ได้ก�ำหนดไว้ในกติกาข้อ 2.6 2.8.3 ขนาดและน�้ำหนักของลูกต้องเป็นไปตามที่ได้ ก�ำหนดไว้ในกติกาข้อ 2.3, 2.4 และ 2.7 อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างของความถ่วงจ�ำเพาะและคุณสมบัติของวัสดุ สังเคราะห์โดยการเปรียบเทียบกับขนธรรมชาติยอมให้มี ความแตกต่างได้ถึง 10% 2.9 เนื่องจากมิได้ก�ำหนดความแตกต่างในเรื่องลักษณะทั่วไป ความเร็วและวิถีวิ่งของลูกอาจมี การเปลี่ยนแปลงคุณลักษณะดังกล่าวข้างต้นได้ โดยการอนุมัติจากองค์กรแห่งชาติที่เกี่ยวข้อง ในที่ซึ่งสภาพความกดอากาศสูงหรือสภาพดินฟ้าอากาศเป็นเหตุให้ลูกขนไก่ตามมาตรฐานที่ ก�ำหนดไว้ไม่เหมาะสม 3. ไม้แบดมินตัน 3.1 เฟรมของไม้แบดมินตันยาวทั้งหมดไม่เกิน 680 มิลลิเมตร และกว้างทั้งหมดไม่เกิน 230 มิลลิเมตร ส่วนต่างๆ ที่ส�ำคัญได้อธิบายไว้ในกติกาข้อ 3.1.1 ถึง 3.1.5 3.1.1 ด้ามจับ เป็นส่วนของไม้แบดมินตันที่ผู้เล่นใช้จับ 3.1.2 พื้นที่ขึงเอ็น เป็นส่วนของไม้แบดมินตันที่ผู้เล่นใช้ตีลูก 3.1.3 หัว บริเวณที่ใช้ขึงเอ็น 3.1.4 ก้าน ต่อจากด้ามจับถึงหัวไม้ (ขึ้นอยู่กับกติกา ข้อ 3.1.5) 3.1.5 คอ (ถ้ามี) ต่อก้านกับขอบหัวตอนล่าง 3.2 พื้นที่ขึงเอ็น 3.2.1 พื้นที่ขึงเอ็นต้องแบนราบด้วยการ ร้อยเอ็นเส้นขวางขัดกับเส้นยืนแบบการขึงเอ็นทั่วไป โดย พื้นที่ตอนกลาง ไม่ควรทึบน้อยกว่าตอนอื่น 3.2.2 พื้นที่ขึงเอ็นต้องยาวทั้งหมดไม่เกิน 280 มิลลิเมตร และกว้างทั้งหมดไม่เกิน 220 มิลลิเมตร อย่างไรก็ตามอาจขึงไปถึงคอเฟรม หากความกว้างเพิ่มของ พื้นที่ขึงเอ็นนั้นไม่เกิน 35 มิลลิเมตร และความยาวทั้งหมด ของพื้นที่ขึงเอ็นต้องไม่เกิน 330 มิลลิเมตร 3.3 ไม้แบดมินตัน 3.3.1 ต้องปราศจากวัตถุอื่นติดอยู่หรือยื่นออกมา ยกเว้นจากส่วนที่ท�ำเพื่อจ�ำกัดและ ป้องกันการสึกหรอ ช�ำรุด เสียหาย การสั่นสะเทือน การกระจายน�้ำหนัก หรือการพันด้ามจับ ให้กระชับ มือผู้เล่น และมีความเหมาะสมทั้งขนาดและการติดตั้ง ส�ำหรับวัตถุประสงค์ดังกล่าว และ 17
3.3.2 ต้องปราศจากสิ่งประดิษฐ์อื่นๆ ที่ช่วยให้ผู้เล่น เปลี่ยนรูปทรงของไม้แบดมินตัน
4. การยอมรับอุปกรณ์ สหพันธ์แบดมินตันนานาชาติจะกําหนดกฎเกณฑ์เกี่ยวกับแร็กเกต ลูกขนไก่ หรืออุปกรณ์ หรือ อุปกรณ์ต้นแบบ ซึ่งใช้ในการเล่นแบดมินตันให้เป็นไปตามข้อก�ำหนดต่างๆ กฎเกณฑ์ ดังกล่าวอาจเป็นการ ริเริ่มของสหพันธ์เอง หรือจากการยื่นความจ�ำนงของคณะบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องรวมถึงผู้เล่น กรรมการ เทคนิค ผู้ผลิต หรือองค์กรแห่งชาติหรือสมาชิกขององค์กรนั้นๆ 5. การเสี่ยง 5.1 ก่อนเริ่มเล่นจะต้องท�ำการเสี่ยง ฝ่ายที่ชนะการเสี่ยง มีสิทธิ์เลือกตามกติกาข้อ 5.1.1 และ 5.1.2 5.1.1 ส่งลูกหรือรับลูกก่อน 5.1.2 เริ่มเล่นจากสนามข้างใดข้างหนึ่ง 5.2 ฝ่ายที่แพ้การเสี่ยง มีสิทธิ์ที่เหลือจากการเลือก
6. ระบบการนับคะแนน 6.1 แมทช์หนึ่งต้องชนะให้ได้มากที่สุดใน 3 เกม เว้นแต่จะได้กําหนดเป็นอย่างอื่น 6.2 ฝ่ายที่ได้ 21 คะแนนก่อน เป็นฝ่ายชนะ ยกเว้นตามที่ได้ก�ำหนดในกติกาข้อ 6.4 และ 6.5 6.3 ฝ่ายที่ชนะการตีโต้จะได้ 1 คะแนน 6.4 ถ้ามีคะแนน 20 เท่ากัน ฝ่ายชนะต้องมีคะแนนน�ำ 2 คะแนน 6.5 ถ้ามีคะแนน 29 เท่ากัน ฝ่ายที่ได้ 30 คะแนนก่อน เป็นฝ่ายชนะ 6.6 ฝ่ายชนะ เป็นฝ่ายได้ส่งในเกมต่อไป
7. การเปลี่ยนข้าง 7.1 ผู้เล่นจะเปลี่ยนข้าง 7.1.1 หลังจากจบเกมที่ 1 7.1.2 ก่อนเริ่มเล่นเกมที่ 3 (ถ้ามี) 7.1.3 ในเกมที่ 3 หรือในการแข่งขันเกมเดียว เมื่อคะแนนน�ำถึง 11 คะแนน 7.2 ถ้าผู้เล่นลืมเปลี่ยนข้างตามที่ได้ระบุไว้ในกติกาข้อ 7.1 เมื่อพบความผิดให้เปลี่ยนข้างทันที เมื่อลูกไม่อยู่ในการเล่น และให้นับคะแนนต่อจากคะแนนที่ได้ในขณะนั้น
18
8. การส่งลูก 8.1 การส่งลูกที่ถูกต้อง 8.1.1 ทั้งสองฝ่ายต้องไม่ประวิงเวลาให้เกิดความล่าช้า ในการส่งลูกทันทีที่ผู้ส่งลูกและ ผู้รับลูกอยู่ในท่าพร้อมแล้ว การเคลื่อนแร็กเกตมาด้านหลังของผู้ส่งในการเริ่มส่งลูกหากมีการประวิง 8.1.2 ผู้ส่งลูกและผู้รับลูกต้องยืนในสนามส่งลูกทแยงมุมตรงข้ามโดยเท้าไม่เหยียบเส้น เขตของสนามส่งลูก 8.1.3 บางส่วนของเท้าทั้งสองของผู้ส่งลูกและผู้รับลูก ต้องสัมผัสพื้นสนามในท่านิ่ง ตั้งแต่เริ่มส่งลูก (กติกาข้อ 8.3) จนกระทั่งส่งลูกแล้ว (กติกาข้อ 8.4) 8.1.4 จุดสัมผัสแรกของไม้แบดมินตัน ผู้ส่งต้องตีที่ฐานของลูก 8.1.5 ทุกส่วนของลูกจะต้องอยู่ต�่ำกว่าเอวของผู้ส่ง ขณะที่ไม้แบดมินตันสัมผัสลูก ส่วน เอวนั้นจะพิจารณาโดยการจินตนาการจากเส้นขอบล�ำตัวที่ระดับซี่โครงซี่สุดท้ายของผู้ส่งลูก 8.1.6 ก้านแร็กเกตของผู้ส่งลูกในขณะตีลูก ต้องชี้ลงต�่ำ 8.1.7 การเคลื่อนไม้แบดมินตั นของ ผู้ส่งลูกไปข้างหน้า ต้องต่อเนื่องจากการเริ่มส่งลูก (กติกา ข้อ 8.3) จนกระทั่งได้ส่งลูกแล้ว (กติกาข้อ 8.4) 8.1.8 วิถีลูกจะพุ่งขึ้นจากไม้แบดมินตัน ของผู้ส่งลูกข้ามตาข่าย และถ้าปราศจากการสกัดกั้นลูก จะตกลงบนพื้นสนามส่งลูกของผู้รับลูก (กล่าวคือ บน หรือภายในเส้นเขต) 8.1.9 ในการพยายามจะส่งลูกผู้ส่งจะ ต้องส่งลูกไม่ผิดพลาด 8.2 ถ้าการส่งลูกไม่ถูกต้องตามกติกาข้อ 8.1.1 ถึง 8.1.9 ถือว่าฝ่ายท�ำผิด “เสีย” (กติกาข้อ 12.1) 8.3 เมื่อผู้เล่นอยู่ในท่าพร้อมแล้ว การเคลื่อนไม้แบดมินตันไปข้างหน้าของผู้ส่งลูกถือว่าเริ่มส่งลูก 8.4 เมื่อเริ่มส่งลูก (กติกาข้อ 8.3) ถือว่าได้ส่งลูกแล้วถ้าไม้แบดมินตันของผู้ส่งสัมผัสลูกหรือ พยายามจะส่งลูกแต่ตีไม่ถูกลูก 8.5 ผู้ส่งลูกจะต้องไม่ส่งลูกจนกว่าผู้รับลูกจะพร้อม แต่ถือว่าผู้รับลูกพร้อมแล้วถ้าพยายามตีลูกที่ ส่งมากลับไป 8.6 ในประเภทคู่ ระหว่างการส่งลูก (กติกาข้อ 8.3, 8.4) คู่ขาจะยืน ณ ที่ใดก็ได้ในสนามของตน โดยไม่บังผู้ส่งลูกและผู้รับลูก
19
9. ประเภทเดี่ยว 9.1 สนามส่งลูกและรับลูก 9.1.1 ผู้เล่นจะส่งลูกและรับลูกในสนามส่งลูกด้านขวา เมื่อผู้ส่งท�ำคะแนนไม่ได้หรือ คะแนนที่ได้เป็นเลขคู่ในเกมนั้น 9.1.2 ผู้เล่นจะส่งลูกและรับลูกในสนามส่งลูกด้านซ้าย เมื่อผู้ส่งลูกได้คะแนนเป็นเลขคี่ ในเกมนั้น 9.2 หลังจากได้รับลูกที่ส่งมาแล้ว จะเป็นการตีสลับกัน ของฝ่ายส่งและฝ่ายรับ จากต�ำแหน่งใดก็ได้ในสนามของแต่ละ ฝ่ายที่ มีตาข่ายนั้น จนกระทั่งลูกไม่อยู่ในการเล่น (กติกาข้อ 14) 9.3 คะแนนและการส่งลูก 9.3.1 ถ้าผู้รับท�ำ “เสีย” หรือลูกไม่อยู่ในการ เล่น เนื่องจากลูกตกลงพื้นสนามฝ่ายรับ ผู้ส่งลูกได้ 1 คะแนน และผู้ส่ง ยังคงได้ส่งลูกต่อในสนามส่งลูกอีกด้านหนึ่ง 9.3.2 ถ้าฝ่ายส่งท�ำ “เสีย” หรือลูกไม่อยู่ใน การเล่น เนื่องจากลูกตกลงพื้นสนามของฝ่ายส่ง ฝ่ายรับได้ 1 คะแนน ฝ่ายส่ง หมดสิทธิ์ที่จะส่งลูกต่อและฝ่ายรับจะเปลี่ยนฝ่ายส่ง 10.ประเภทคู่ 10.1 สนามส่งลูกและรับลูก 10.1.1 ในการเริ่มต้นเกม ผู้เล่นที่เป็นฝ่ายส่งลูก จะต้องเริ่มส่งจากสนามส่งลูกด้านขวา หรือเมื่อฝ่ายส่งลูกยังไม่มี คะแนน หรือคะแนนในเกมนั้นเป็นเลขคู่ 10.1.2 ผู้เล่นจะส่งลูกในสนามส่งลูกด้านซ้าย เมื่อผู้ส่งลูกได้คะแนนในเกมนั้นเป็นเลขคี่ 10.1.3 ให้คู่ขาปฏิบัติในทางกลับกัน 10.1.4 ผู้เล่นที่เป็นฝ่ายรับ ให้ยืนทแยงมุมตรงข้ามกับฝ่ายส่งลูกโดยจะเป็นผู้รับลูก 10.1.5 ผู้รับลูกเท่านั้นเป็นผู้ตีลูกกลับไปถ้าลูกขนไก่ถูกตัว หรือถูกคู่ขาของผู้รับลูกตีลูก ถือว่า “เสีย” และผู้ส่งลูกได้ 1 คะแนน 10.1.6 การส่งลูกทุกครั้งต้องส่งจากสนามส่งลูกสลับกันไป ยกเว้นตามที่ได้ก�ำหนดไว้ใน กติกาข้อ 11 10.1.7 ผู้เล่นที่เป็นฝ่ายรับ จะต้องไม่เปลี่ยนสนามในการรับลูกส่ง จนกระทั่งฝ่ายตนได้ คะแนนจากการส่งลูก 10.2 ล�ำดับการเล่นและต�ำแหน่งการยืนในสนาม 10.2.1 หลังจากได้รับลูกที่ส่งมาแล้ว ผู้เล่นของฝ่ายส่งคนหนึ่งคนใดตีลูกกลับไป และผู้ เล่นคนหนึ่งคนใดของฝ่ายรับโต้ลูกกลับมา เป็นอย่างนี้เรื่อยไปจนกว่าลูกไม่อยู่ในการเล่น (กติกาข้อ 14) 10.2.2 หลังจากได้รับลูกที่ส่งแล้ว ผู้เล่นคนหนึ่งคนใดจะตีโต้ลูกจากที่ใดก็ได้ภายใน 20
สนามของตนโดยมีตาข่ายกั้น 10.3 การนับคะแนน 10.3.1 ถ้าฝ่ายรับท�ำ “เสีย” หรือลูกไม่อยู่ในการเล่น เพราะลูกตกลงบนพื้นสนามของ ฝ่ายรับ ฝ่ายส่งได้ 1 คะแนน ฝ่ายส่ง ยังคงได้ส่งลูกต่อในสนามที่สลับกันไป 10.3.2 ถ้าฝ่ายส่งท�ำ “เสีย” หรือลูกไม่อยู่ในการเล่น เพราะลูกตกลงบนพื้นสนามของ ฝ่ายส่ง ฝ่ายรับได้ 1 คะแนน ผู้ส่ง หมดสิทธิ์ส่งลูก และฝ่ายรับจะเปลี่ยนเป็นฝ่ายส่งลูก 10.4 การส่งลูก ในแต่ละเกม สิทธิ์ในการส่งลูกจะต้องเรียงตามล�ำดับ ดังนี้ 10.4.1 ผู้เล่นคนแรกที่เป็นผู้เริ่มส่ง จะส่งจากสนาม ส่งลูกด้านขวา 10.4.2 คู่ขาของผู้รับคนแรก จะเป็นผู้ส่งคนต่อไปจากสนามส่งลูกด้านซ้ายมือ 10.4.3 คู่ขาฝ่ายส่งคนแรกจะยืนที่สนามส่งลูกตาม คะแนนของด้านนั้นๆ (กติกาข้อ 10) 10.4.4 ผู้เล่นของฝ่ายรับคนแรก เมื่อเริ่มเล่นจะยืนที่สนามส่งลูกตามคะแนนของด้าน นั้นๆ และจะเป็นเช่นนี้เรื่อยไป (กติกาข้อ 11) 10.5 ห้ามผู้เล่นส่งลูกก่อนถึงเวลาที่ตนเป็นผู้ส่ง หรือรับลูก ก่อนถึงเวลาที่ตนเป็นผู้รับ หรือรับลูก ส่งติดต่อกันสองครั้งในเกมเดียวกัน ยกเว้นตามที่ได้ก�ำหนดไว้ในกติกาข้อ 11 10.6 ผู้เล่นคนหนึ่งคนใดของฝ่ายชนะ จะเป็นผู้ส่งลูกก่อนในเกมต่อไปก็ได้ และผู้เล่นคนหนึ่งคน ใดของฝ่ายแพ้จะเป็นผู้รับลูกก่อนก็ได้ 11. ความผิดในสนามส่งลูก 11.1 ความผิดในสนามส่งลูกเกิดขึ้นเมื่อผู้เล่นเล่นดังนี้ 11.1.1 ส่งลูกหรือรับลูกผิดล�ำดับมือ 11.1.2 ยืนส่งลูกหรือรับลูกในสนามที่ผิด 11.2 จะไม่มีการแก้ไขความผิดนั้น ให้เล่นต่อไป โดยไม่มีการเปลี่ยนสนามส่งลูกใหม่ของผู้เล่น (หรือไม่มีการเปลี่ยนล�ำดับใหม่ของการส่งลูกในกรณีเดียวกัน) 12. การท�ำ “เสีย” 12.1 การส่งลูกไม่ถูกต้อง (กติกาข้อ 9.1) 12.2 การส่งดังต่อไปนี้ 12.2.1 ลูกขนไก่ติดอยู่บนตาข่ายและยังคงค้างอยู่บนตาข่าย 12.2.2 หลังจากลูกข้ามตาข่ายไปแล้วติดค้างอยู่ในตาข่าย 12.2.3 ลูกขนไก่ถูกหรือถูกตีโดยคู่ขาของฝ่ายรับ 12.3 ในขณะเล่น ลูกขนไก่ดังต่อไปนี้ 12.3.1 ตกลงบนพื้นนอกเส้นเขตสนาม (กล่าวคือ ไม่อยู่บนหรือภายในเส้นเขตสนาม) 12.3.2 ลอดผ่านหรือลอดใต้ตาข่าย 12.3.3 ไม่ข้ามตาข่าย 21
12.3.4 ถูกเพดาน หรือฝาผนัง 12.3.5 ถูกตัวผู้เล่น หรือเครื่องแต่งกายผู้เล่น 12.3.6 ถูกวัตถุหรือตัวบุคคลภายนอกที่อยู่ใกล้เคียง ล้อมรอบสนาม (ในกรณีที่มีความ จ�ำเป็นเกี่ยวกับโครงสร้างของตัวอาคาร ผู้มีอ�ำนาจเกี่ยวกับแบดมินตันท้องถิ่นอาจวางกฎเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ลูกถูกสิ่งกีดขวางได้ ทั้งนี้แล้วแต่สิทธิความเห็นชอบของภาคีสมาชิก) 12.4 อยู่ระหว่างการเล่นของลูกขนไก่ดังนี้ 12.4.1 ลูกขนไก่ติดอยู่ในแร็กเกต แล้วถูกเหวี่ยงออกไปในระหว่างตีลูก 12.4.2 ลูกขนไก่ถูกตีสองครั้งติดต่อกัน โดยผู้เล่นคนเดียวกันที่ตีลูก 2 ครั้ง 12.4.3 ลูกขนไก่ถูกตีโดยผู้เล่นคนหนึ่ง และคู่ขาของผู้เล่นคนนั้นติดต่อกัน 12.4.4 ลูกขนไก่ถูกแร็กเกตของผู้เล่นคนหนึ่ง แล้วลอยไปทางท้ายสนามด้านหลังของผู้ เล่นคนนั้น 12.5 อยู่ในระหว่างการเล่นของผู้เล่นดังนี้ 12.5.1 ผู้เล่นถูกตาข่ายหรืออุปกรณ์ที่ขึงด้วยไม้แบดมินตันด้วยตัว หรือด้วยเครื่องแต่ง กาย 12.5.2 ผู้เล่นล�้ำบนตาข่ายเข้าไปในเขตสนามของคู่ต่อสู้ด้วยไม้แบดมินตัน หรือด้วยตัว ยกเว้นตามที่ได้รับอนุญาตไว้ใน กติกาข้อ 12.6 12.5.3 ผู้เล่นล�้ำใต้ตาข่ายเข้าไปในเขตสนามคู่ต่อสู้ ด้วยแร็กเกต หรือด้วยตัวที่เป็นการ กีดขวางหรือท�ำลายสมาธิคู่ต่อสู้ 12.5.4 ผู้เล่นกีดขวางคู่ต่อสู้ กล่าวคือ กันไม่ให้คู่ต่อสู้ตีลูกที่ข้ามตาข่ายมาอย่างถูกต้อง ตามกติกา ในขณะที่เล่นลูกอยู่เหนือตาข่าย 12.5.5 ผู้เล่นจงใจท�ำลายสมาธิคู่ต่อสู้ด้วยการกระท�ำ เช่น การตะโกน หรือการแสดง ท่าทาง 12.6 ในระหว่างการเล่น ผู้เล่นตีลูกก่อนที่ลูกข้ามตาข่ายมาในสนามของตัวเอง 12.7 ผู้เล่นท�ำผิดอย่างโจ่งแจ้ง หรือท�ำผิดอยู่ตลอด ตามกติกาข้อ 15 13. การ “เอาใหม่” 13.1 การ “เอาใหม่” จะขานโดยกรรมการผู้ตัดสิน หรือโดยผู้เล่น (ถ้าไม่มีกรรมการผู้ตัดสิน) ขานให้หยุดเล่น 13.2 ให้ “เอาใหม่” 13.2.1 ถ้าผู้ส่งลูก ส่งลูกโดยที่ผู้รับลูกยังไม่พร้อม (กติกาข้อ 8.5) 13.2.2 ถ้าในระหว่างการส่งลูก ผู้รับและผู้ส่งลูกท�ำ “เสีย” 13.2.3 หลังจากรับลูกส่งไปแล้ว 13.2.3.1 ลูกขนไก่ไปติดและค้างอยู่บนตาข่าย 13.2.3.2 ลูกขนไก่ข้ามตาข่ายแล้วติดค้างอยู่ในตาข่าย 22
13.2.4 ในระหว่างการเล่น ลูกขนไก่แตกแยกออกเป็นส่วนๆ และฐานแยกออกจากส่วน ที่เหลือของลูกโดยสิ้นเชิง 13.2.5 ถ้ากรรมการผู้ตัดสินเห็นว่าการเล่นถูกรบกวนหรือผู้เล่นอีกฝ่ายหนึ่งถูกผู้ฝึกสอน ท�ำลายสมาธิ 13.2.6 กรรมการก�ำกับเส้นมองไม่เห็น และกรรมการผู้ตัดสินไม่สามารถตัดสินใจได้ 13.2.7 กรณีที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิดมาก่อน หรือโดยเหตุบังเอิญ 13.3 เมื่อมีการ “เอาใหม่” การเล่นหลังจากการส่งลูกครั้งสุดท้ายถือเป็นโมฆะ และผู้เล่นที่ส่งลูก จะได้ส่งลูกอีกครั้งหนึ่ง
14. ลูกไม่อยู่ในการเล่น ลูกไม่อยู่ในการเล่น เมื่อ 14.1 ลูกชนตาข่ายหรือเสาตาข่ายแล้วตกลงบนพื้นสนามในด้านของผู้ตีลูก 14.2 ลูกถูกพื้นสนาม 14.3 เกิดการ “เสีย” หรือการ “เอาใหม่”
15. การเล่นต่อเนื่อง การท�ำผิด การลงโทษ 15.1 การเล่นต้องต่อเนื่องตั้งแต่เริ่มส่งลูกครั้งแรกจนจบการแข่งขัน ยกเว้นตามที่ได้อนุญาตไว้ใน กติกาข้อ 15.2 และ 15.3 15.2 การพักระหว่างเกม 15.2.1 เมื่อฝ่ายหนึ่งมีคะแนนถึง 11 คะแนนในแต่ละเกม ให้พักในระหว่างเกมได้ไม่เกิน 60 วินาที 15.2.2 การพักระหว่างเกมที่ 1 และเกมที่ 2 และ ระหว่างเกมที่ 2 กับเกมที่ 3 ให้พักได้ไม่ เกิน 120 วินาที อนุญาตส�ำหรับทุกแมทช์การแข่งขัน (ในการแข่งขันที่มีการถ่ายทอดโทรทัศน์ กรรมการผู้ ชี้ขาดอาจตัดสินใจก่อนเริ่มแข่งขันว่าการพักตามกติกาข้อ 15.2 และอยู่ในอาณัติเวลาที่ก�ำหนด) 15.3 การพักการเล่น 15.3.1 เมื่อมีความจ�ำเป็น จากสภาพแวดล้อมที่มิได้อยู่ภายใต้การควบคุมของผู้เล่น กรรมการผู้ตัดสินอาจสั่งให้พักการเล่นชั่วคราวตามที่พิจารณาเห็นว่าจ�ำเป็น 15.3.2 ภายใต้สภาพแวดล้อมอื่นๆ กรรมการผู้ชี้ขาดอาจแนะน�ำให้กรรมการผู้ตัดสินพัก การเล่น 15.3.3 ถ้ามีการพักการเล่นคะแนนที่ได้จะอยู่คงเดิมและจะเริ่มเล่นใหม่จากคะแนนนั้น 15.4 การถ่วงเวลาการเล่น 15.4.1 ไม่ว่ากรณีใดๆ ห้ามผู้เล่นถ่วงเวลาการเล่นเพื่อให้ฟื้นก�ำลัง หรือเพื่อให้หาย เหนื่อย หรือเพื่อรับค�ำแนะน�ำ 15.4.2 กรรมการผู้ตัดสินจะมีวินิจฉัยความล่าช้าแต่เพียงผู้เดียว 15.5 ค�ำแนะน�ำและการออกนอกสนาม 23
15.5.1 จะอนุญาตให้ผู้เล่นได้รับค�ำแนะน�ำระหว่างการแข่งขันในขณะที่ลูกไม่อยู่ในการ เล่นตามกติกาข้อ 14 เท่านั้น 15.5.2ห้ า มผู ้ เ ล่ น เดิ น ออกนอกสนามระหว่ า งการแข่ ง ขั น โดยมิ ไ ด้ รั บ อนุ ญ าตจาก กรรมการผู้ตัดสิน ยกเว้นระหว่างการพักตามที่ได้อธิบายในกติกาข้อ 15.2 15.6 ผู้เล่นจะต้องไม่ปฏิบัติดังนี้ 15.6.1 จงใจถ่วงเวลาหรือพักการเล่น 15.6.2 จงใจแปลงหรือท�ำลายลูกเพื่อเปลี่ยนความเร็วหรือวิถี 15.6.3 แสดงกิริยาก้าวร้าว 15.6.4 กระท�ำผิดนอกเหนือกติกาแบดมินตัน 15.7 การด�ำเนินการเกี่ยวกับความผิด 15.7.1 กรรมการผู้ตัดสินจะต้องด�ำเนินการกับความผิดกติกาข้อ 15.4 , 15.5 หรือ 15.6 โดยด�ำเนินการดังนี้ 15.7.1.1 เตือนผู้กระท�ำผิด 15.7.1.2 ตัดสิทธิ์ผู้กระท�ำผิด หลังจากได้มีการเตือนก่อนแล้ว หากมีการตัด สิทธิ์ของฝ่ายที่กระท�ำผิดเป็นครั้งที่ 2 ต้องรายงานให้กรรมการผู้ชี้ขาดทราบ 15.7.2 ในกรณีที่กระท�ำผิดอย่างชัดแจ้ง หรือท�ำผิดตลอดเวลาตามกติกาข้อ 15.2 ให้ตัด สิทธิ์ผู้กระท�ำผิด และรายงานให้กรรมการผู้ชี้ขาดทราบทันที กรรมการผู้ชี้ขาดมีอ�ำนาจตัดสิทธิ์ผู้กระท�ำ ผิดออกจากการแข่งขัน 16. กรรมการและการอุทธรณ์ 16.1 กรรมการผู้ชี้ขาดเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบการแข่งขันทั้งหมด 16.2 กรรมการผู้ตัดสินที่ได้รับการแต่งตั้งจะต้องท�ำ หน้าที่ควบคุมการแข่งขัน สนาม และบริเวณ โดยรอบสนามแข่งขัน กรรมการผู้ตัดสินต้องรายงานต่อกรรมการผู้ชี้ขาด 16.3 กรรมการก�ำกับการส่งลูกเป็นผู้ขาน “เสีย” ส�ำหรับการส่งลูกที่ผู้ส่งลูกเป็นผู้กระท�ำผิด (กติกาข้อ 8.1.2 – 8.1.9) กรรมการผู้ตัดสินจะเป็นผู้ขาน “เสีย” ที่เกิดจากการกระท�ำผิดการส่งลูกตาม กติกาข้อ 8.1.1 16.4 กรรมการก�ำกับเส้นเป็นผู้ให้สัญญาณ “ดี” หรือ “ออก” ในเส้นเขตที่ได้รับมอบหมาย 16.5 การตัดสินใจเกี่ยวกับข้อเท็จจริงทั้งหมดของกรรมการสนามที่รับผิดชอบถือว่าสิ้นสุด เว้น แต่ว่ากรรมการผู้ตัดสินเห็นว่ากรรมการก�ำกับเส้นตัดสินผิดอย่างแน่นอน เนื่องจากความเคลือบแคลงใจ กรรมการผู้ตัดสินจะต้องเปลี่ยนการตัดสินของกรรมการก�ำกับเส้น 16.6 กรรมการผู้ตัดสินจะต้องปฏิบัติดังนี้ 16.6.1 ควบคุมการแข่งขันให้ด�ำเนินไปภายใต้กฎ กติกาอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งการขาน “เสีย” หรือ “เอา ใหม่” เมื่อมีกรณีเกิดขึ้น 16.6.2 ตัดสินค�ำอุทธรณ์เกี่ยวกับการโต้แย้งซึ่งมีขึ้นก่อนการส่งลูกครั้งต่อไป 24
16.6.3 แน่ใจว่าผู้เล่นและผู้ชมได้ทราบถึงความคืบหน้าของการแข่งขัน 16.6.4 แต่งตั้งหรือถอดถอนกรรมการก�ำกับเส้น หรือกรรมการก�ำกับการส่งลูก หลัง จากได้ปรึกษากับกรรมการผู้ชี้ขาดแล้ว 16.6.5 หากไม่มีการแต่งตั้งกรรมการสนามอื่นๆ จะต้องปฏิบัติหน้าที่นั้นให้เรียบร้อย 16.6.6 หากกรรมการสนามที่ได้รับแต่งตั้งมองไม่เห็น ต้องด�ำเนินการในหน้าที่ของ กรรมการนั้น หรือให้ “เอาใหม่” 16.6.7 บันทึกและรายงานต่อกรรมการผู้ชี้ขาดทุกเรื่องที่เกี่ยวกับกติกาข้อ 15 16.6.8 เสนอค�ำอุทธรณ์ที่ไม่พึงพอใจในปัญหาเกี่ยวกับกติกาต่อกรรมการผู้ชี้ขาด (ค�ำ อุทธรณ์ดังกล่าว จะต้องเสนอก่อนการส่งลูกครั้งต่อไป หรือเมื่อการแข่งขันสิ้นสุดลงก่อนที่ฝ่าย อุทธรณ์ จะเดินออกจากสนาม)
3.ทักษะการเล่นแบดมินตัน 1. การจับไม้แบดมินตัน
ก่อนที่จะเรียนรู้ถึงทักษะการเล่นกีฬาแบดมินตันใด ๆ ผู้เรียนจะต้องจับไม้แบดมินตันให้ถูกวิธี เสียก่อน วิธีการคือ ผู้ที่ถนัดมือขวาก็ใช้มือขวาจับโดยยื่นมือขวาออกไปข้างหน้าเหมือนกับการจับมือกับ บุคคลอื่นที่ถูกแนะน�ำให้รู้จักโดยให้นิ้วทั้ง 4 ก�ำรอบด้ามไม้แบดมินตัน นิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้จะอยู่ตรง ด้านสันของด้ามไม้แบดมินตันเป็นรูปตัว วี โดยต�ำแหน่งนิ้วหัวแม่มือจะทาบอยู่ทางด้านแบนของด้ามไม้ แบดมินตัน
ตัวอย่างการจับไม้
การจับไม้เพื่อเล่นลูกหน้ามือ 25
การจับไม้เพื่อเล่นลูกหลังมือ
การจับไม้แบบจับค้อน เป็นการจับที่ ผิดวิธี
26
2. การจับลูกแบดมินตัน เมื่อรู้ถึงวิธีการจับไม้แล้วต่อไปก็ต้องรู้ถึงการจับลูกขนไก่ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ประกอบการเล่นกีฬาแบดมินตัน การจับลูกขนไก่ มีความส�ำคัญอย่างมากในการเสิร์ฟลูก การจับลูกขนไก่ที่นิยมกัน มี 3 วิธีคือ 1. จับที่หัวไม้คอร์กของลูก โดยใช้นิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ และ นิ้วกลางจับลูก 2. จับที่ปลายขนไก่ด้านในของลูกโดยใช้นิ้วหัวแม่มือกับ นิ้วชี้ 3. จับโดยการวางลูกอยู่บนฝ่ามือ
3. การส่งลูก การส่งลูกเป็นวิธีการของการเริ่มเล่นในการเล่นหรือฝึกทักษะแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเริ่มฝึกตีลูก แบบต่าง ๆ ตลอดจนเริ่มการแข่งขัน การส่งลูกจะส่งได้ทั้งลูกหน้ามือและหลังมือซึ่งวิธีการส่งมีดังนี้ การส่งลูกหน้ามือ 1. ผู้ที่จะส่งลูกจะยืนห่างจากเส้นกลางสนามและเส้นส่งลูกสั้นประมาณ 2 - 3 นิ้ว (ในกรณีเล่น ประเภทคู่) และยืนห่างเส้นส่งลูกสั้นประมาณ 2 - 3 ฟุต (ในกรณีเล่นประเภทคู่) 2. ยืนให้เท้าช้ายอยู่ข้างหน้าส�ำหรับผู้ที่ถนัดมือขวา ย่อเข่าเล็กน้อย เท้าทั้งสองข้างจะไม่ยกพ้นพื้นสนามเวลาส่ง ลูก 3. ใช้มือซ้ายจับลูกขนไก่ งอแขนพอประมาณ มือ ขวาเงื้อไม้ระดับเอวพร้อมที่จะส่งลูก 4. ตามองเป้าหมายที่จะส่งลูก ปล่อยลูก พร้อมกับ ตวัดแขนมาข้างหน้าเมื่อไม้สัมผัสกับลูกให้กระดกข้อมือช่วย ส่งลูก ไปยังทิศทางที่ต้องการ การส่งลูกหลังมือ 1. ผู้ที่จะส่งลูกจะยืนห่างจากเส้นกลางสนามและ เส้นส่งลูกสั้นประมาณ 2-3 นิ้ว 2. ยืนให้เท้าขวาอยู่ข้างหน้าส�ำหรับผู้ที่ถนัดมือขวา ย่อเข่าเล็กน้อย เท้าทั้งสองข้างจะไม่ยกพ้น พื้นสนามเวลาส่งลูก 3. ใช้มือซ้ายจับลูกขนไก่ บริเวณปลายขนไก่ทางด้านซ้ายของล�ำตัวหลังมือด้านขวา อยู่ด้าน หน้างอแขนพอประมาณ มือขวาเงื้อไม้ระดับเอวพร้อมที่จะส่งลูก 4. ตามองเป้าหมายที่จะส่งลูก ปล่อยลูก พร้อมกับตวัดแขนมาข้างหน้าเมื่อไม้สัมผัสกับลูกให้ กระดกข้อมือช่วยส่งลูก ไปยังทิศทางที่ต้องการ 27
4.ฟุตเวิร์คกับจังหวะของการตีลูก กีฬาแบดมินตัน เป็นเกมส์ที่ผู้เล่นทั้งสองฝ่ายต้องมีการเคลื่อนย้ายตัววิ่งไล่ตีลูกตลอดเวลาผู้เล่น จึงต้องรู้จักการวิ่งเข้าออก การประชิดลูกในจังหวะที่ถูกต้อง เคลื่อนย้ายตัวเองไปอยู่ในจุดที่ถูกต้อง ตี ลูกได้ถนัด ตีด้วยความสะดวก ตีลูกด้วยความง่ายดาย และสิ้นเปลืองพลังงานให้น้อยที่สุดฟุตเวิร์ค หรือ จังหวะเท้าส�ำหรับการเล่นแบดมินตันมีความส�ำคัญมากที่สุด ฟุตเวิร์คที่ดีจะท�ำให้การออกตัวสืบเท้า พา ตัวพุ่งไปสู่ทิศทางต่างๆ รอบสนามกระท�ำได้ด้วยความคล่องแคล่วและฉับไวเพราะหลักการส�ำคัญที่สุดใน กีฬาแบดมินตันส�ำหรับผู้เล่นทุกคนที่เล่นเพื่อความเป็นเลิศในระดับแข่งขัน จะต้องจ�ำไว้ให้แม่นก็คือ - จะต้องวิ่งเข้าไปหาลูกเสมอ อย่าทิ้งช่วงปล่อยให้ลูกวิ่งมาหา - จะต้องพุ่งตัวเข้าตีลูกให้เร็วที่สุด และตีลูกขณะที่อยู่ในระดับที่สูงที่สุด
ฟุตเวิร์คกับจังหวะของการตีลูกหน้ามือและหลังมือ
เพราะฉะนั้นในเกมการเล่นแบดมินตัน การคาดคะเน (Anticipation) เป้าหมายการตีกับวิธีทาง ตีลูกของฝ่ายตรงข้าม จึงจ�ำเป็นต้องพิถีพิถันเป็นพิเศษ บางครั้งยังต้องใช้เทคนิคการ “ดักลูก” เข้ามาช่วย อีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเล่นประเภทคู่จะต้องอาศัยการจับทางของคู่ต่อสู้ให้ได้มากที่สุด เพื่อการ พุ่งเข้าประชิดตีลูกในระดับบนให้เร็วที่สุดเท่าที่จะท�ำได้การตีลูกในระดับที่สูงจะท�ำให้ผู้เล่นมีโอกาส “กด ลูก” บีบเกมเล่นให้ฝ่ายตรงข้ามต้องตกเป็นฝ่ายตั้งรับ อีกทั้งยังมี “มุมลึก” กับ“เป้าหมาย” ส�ำหรับการ ตีลูกได้มากขึ้น ยิ่งตีลูกจากระดับสูงได้มากเท่าใดย่อมจะมี “มุมลึก” ของเป้าหมายได้มากเท่านั้น เช่น การกระโดดตบพร้อมทั้งใช้ข้อมือตวัดตีลูกจิก จะท�ำให้ลูกสามารถข้ามไปในมุมที่ลึกกว่าการตบลูกจาก ระดับธรรมดา ถ้าท�ำอย่างนี้ได้ จะท�ำให้ลูกที่ตีข้ามไปนั้นเกิดวิถีลูกที่ข้ามไปหลากหลาย ท�ำให้คู่ต่อสู้เดา การเล่นของเราไม่ถูก หรือคาดการณ์ออกว่าเราจะส่งลูกไปในลักษณะใดฟุตเวิร์ค จังหวะเท้าที่ดีเริ่มต้น ที่ผู้เล่นทิ้งน�้ำหนักตัวบนปลายเท้าทั้งสอง หรืออีกนัยหนึ่ง คือ ไม่ควรยืนด้วยการทิ้งน�้ำหนักตัวบนแผ่น เท้าทั้งสอง ในขณะที่ยืนปลายเท้า ควรวางเท้าทั้งสองแยกจากกันเล็กน้อยตามถนัด การยืนในลักษณะนี้ ท�ำให้ผู้เล่นพร้อมที่จะพุ่งตัวออกจากจุดศูนย์กลางอย่างฉับไว การพุ่งออกไปไม่ว่าจะไปทางด้านหน้า ด้าน หน้าซ้ายขวา ด้านข้างซ้ายขวาหรือด้านหลัง หรือหลังซ้ายขวา ผู้เล่นสามารถเคลื่อนย้ายตัวไปครอบคลุม 28
พื้นที่สนามได้ทั้งหมดจังหวะเท้าอาจจะซอยถี่ เป็นช่วงสั้น หรือยาวตามแต่สถานการณ์ ในกรณีที่ต้องวิ่ง ในระยะทางไกลควรสาวเท้าเก้ายาว เมื่อถึงจังหวะที่จะเข้าประชิดลูกก็อาจจะซอยฟุตเวิร์คสั้นลงเพื่อเสาะ หาจังหวะการตีลูกให้กับตัวตามถนัด การสืบเท้าเข้าประชิดลูก ไม่ว่าเป็นก้าวสั้นหรือก้าวยาว ควรจะพาตัวเข้าใกล้ลูกในระยะใด ผู้เล่นควรคำ�นึงถึงความจริง ว่าถ้าลูกห่างไกลจากตัวมาก ผู้เล่นจะเอื้อมตีลูกด้วยความลำ�บาก แรงที่ส่งมาจากแหล่งต่างๆ ของการตีลูกไม่มีโอกาสได้รวมพลังใช้ อย่างเต็มที่ในทำ�นองเดียวกัน ถ้าลูกประชิดในระยะใกล้เกินไป วง สะวิงของการเหวี่ยงตีลูกแคบแขนติดที่ช่วงไหล่ ก็จะทำ�ให้แรงตี ลูกไม่สามารถนำ�ออกใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่นกัน ระยะห่าง จากตัวผู้เล่นในขณะที่เล่นควรจะอยู่ในระหว่าง 2-3 ฟุตจากลำ�ตัว เป็นระยะที่กว้างพอสำ�หรับการตีลูกได้อย่างถนัดและเต็มเหนี่ยว ฟุตเวิร์ค หรือจังหวะเท้า จะวางอย่างไรก็แล้วแต่ ต้องไม่ลืมการตี ลูกเบสิกพื้นฐาน ลูกหน้ามือ เท้าซ้ายอยู่หน้า เท้าขวาอยู่หลัง และ ลูกหลังมือ เท้าขวาจะอยู่หน้า เท้าซ้ายจะอยู่หลัง (สำ�หรับผู้เล่นที่ถนัดขวาถ้าถนัดซ้ายก็สลับกัน) ฝึกฟุต เวิร์คจังหวะเท้าไปสักพักใหญ่ๆ ทุกอย่างจะดำ�เนินไปโดยธรรมชาติ ผู้เล่นจะไม่คำ�นึงหรือกังวลเรื่องของ ฟุตเวิร์คอีกเลย 5.ลูกหลักในเกมแบดมินตัน ลูกหลักในเกมแบดมินตันแบ่งออกเป็น 4 จ�ำพวกใหญ่ ๆ คือ 1. ลูกโยน (Lob or Clear) 2. ลูกตบ (Smash) 3. ลูกดาด (Drive) 4. ลูกหยอด (Drop) ลูกหลักอันเป็นแม่บทของการเล่นแบดมินตัน แต่ละจ�ำพวกของการตีลูกที่กล่าวมานี้ จะมีวิธีการ ตี การวางเท้าฟุตเวิร์ค กับจังหวะการตีลูกที่แตกต่างกัน ผู้เล่นที่ช�ำนาญแล้ว จะสามารถตีและบังคับลูก 4 จ�ำพวกนี้ให้ข้ามตาข่ายไปด้วยความหลากหลาย อาจจะมีความแตกต่างกันในรูปแบบต่างๆ อาทิเช่น วิถี ความเร็ว ความยาว ความกว้าง ความสูง ความลึก การฉีกมุม ความหนักแรง เบา ความเฉียบคม ถ้าท�ำ อย่างนี้ได้และสามารถน�ำเอาความหลากหลายไปใช้ในสถานการณ์ที่ถูกต้องนั่นคือศิลปะสุดยอดของการ เล่นกีฬาแบดมินตันที่จะยังผลให้ผลให้ผู้เล่นมีสไตล์หลากหลายของการตีลูก ท�ำให้อีกฝ่ายหนึ่งคิดไม่ถึง เดาไม่ออกว่าเราจะส่งลูกข้ามไปในลักษณะใด แต่ละลูกที่ข้ามไปนั้น ล้วนแต่แฝงไปด้วยอัตราส่วนแห่งการ หลอกล่อ แฝงอยู่ในตัวอย่างมีประสิทธิผล สร้างแบบฉบับเกมการเล่นแบดมินตันของตนเองให้เข้มแข็ง มีสไตล์การเล่นเชิงรุก ดุดัน ยากแก่การพ่ายแพ้
29
1. ลูกโยน (Lob or Clear) ลูกโยน คือลูกที่ตีพุ่งโด่งข้ามไปในระดับสูง และย้อยตกลงมาในมุม 90 องศาในแดนตรงกันข้าม เป็นลูกที่ตีจากเหนือศีรษะ หรือ ลูกที่งัดจากล่างก็ได้ ตีได้ทั้งหน้ามือ โฟร์แฮนด์ และหลังมือ แบ็คแฮนด์
ลักษณะการตีลูกโยนหรือ ลูกโด่ง
ลูกโยน เป็นลูกเบสิคพื้นฐาน นักเล่นหัดใหม่จะเริ่มจากการหัดตีลูกโยน จึงเป็นลูกเบสิกที่สุดใน กีฬาแบดมินตัน มองเผิน ๆ แล้วส่วนมากจะคิดว่า ลูกโยนที่เป็นลูกที่ใช้ส�ำหรับการแก้สถานการณ์ โยนลูก ข้ามไปสูงโด่งมากเท่าใด ก็จะมีเวลาส�ำหรับการกลับทรงตัวของผู้เล่นมากเท่านั้น แต่ในความเป็นจริง ลูก โยนอาจจะใช้ส�ำหรับเป็นการเล่นในเชิงรุกก็ได้เช่น การตีลูกโยนแบบพุ่งเร็วจี้ไปยังมุมหลังทั้งสองด้าน จะ ท�ำให้ฝ่ายตรงข้ามตกเป็นฝ่ายรับถ้าอยู่ในสถานการณ์เสียหลักจวนตัว จะท�ำให้การแก้ไขกลับการทรงตัว ได้ยากยิ่งขึ้น ลูกโยน มีจังหวะการตีคล้ายคลึงกับการตบ แต่ไม่ต้องใช้แรงกดมากเท่าแทนที่จะตีกดลูกต�่ำ กลับเป็นการตีเสยลูกให้พุ่งโด่งขึ้นไปด้านบนสุด สุดแท้แต่ว่าผู้เล่นจะบังคับให้ลูกพุ่งข้ามไปในระดับวิถี ความเร็วตามต้องการลูกโยนที่ข้ามไปอย่างสมบูรณ์แบบ จะต้องมีแรงวิ่งไกลถึงสุดสนามตรงข้าม และต้อง ไม่คาดจนคู่แข่งสามารถดักตะปบตีลูกได้ครึ่งทาง ลูกโยนที่ไม่ถึงหลัง หรือตีเข้าสู่มือคู่ต่อสู้ จะท�ำให้ฝ่าย เราเสียเปรียบ ลูกโยนแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ 1. ลูกโยนหน้ามือ (Forehand Clear) 2. ลูกโยนหลังมือ (Backhand Clear) 3. ลูกงัดโยน (Underhand Clear)
30
ลูกโยนหน้ามือ แรงที่ตีเกิดจากการประสานงานของแรงที่เหวี่ยง แรง ตวัด การสะบัดของล�ำแขนข้อมือจังหวะฟุตเวิร์คที่ถูกต้อง บวก กับการเปลี่ยนน�้ำหนักตัวจากเท้าหลังไปสู่เท้าหน้า โดยที่แรงตีที่ ผ่านแร็กเก็ตไปสัมผัสลูกในช่วงวินาทีที่ถูจังหวะจะโคน รวมแรง ดีด ผลัก ดันให้ลูกพุ่งสูงโด่งไปยังสนามตรงข้าม ตามเป้าหมายที่ ต้องการ ลูกโยนหลังมือ แรงตีเกิดจากการ ประสานงานเช่นเดียวกันกับ การตีลูกหน้ามือ แต่การวางฟุตเวิร์คสลับกันและ ไม่มีแรงที่โถมที่มาจากการเปลี่ยนน�้ำหนักตัวจากเท้าหลังไปสู่เท้าหน้า แรงตีลูกหลังมือเกือบทั้งหมดจึงมา จากแรงเหวี่ยง แรงตวัด และการสะบัดล�ำแขน กับข้อมือเท่านั้น โดยเหตุที่การตีลูกหลังมือ แหล่งที่มา ของแรงตีลูกมีจ�ำกัด แรงเหวี่ยง แรงตวัดของล�ำแขนที่มาจากหัว ไหล่ กับแรงที่เกิดจาก การสะบัดข้อมือ จึงจ�ำเป็นต้องประสาน งานสอดคล้องกันอย่างกลมกลืนเป็นจังหวะเดียวโดยทฤษฎีแล้ว ลูกหลังมือน่าจะเป็นลูกรับส�ำหรับแก้ไขสถานการณ์มากกว่า เป็นลูกบุกแต่ถ้าฝึกตีลูกให้แรงและมีความคล่องแคล่วช�ำนาญ จะกลายเป็นการตีลูกที่ผู้เล่นสามารถสร้างเขี้ยวเล็บให้แก่การ ตีลูกหลังมือของตนกลายเป็นการเล่นเชิงรุก ได้จังหวะของการ ดีด สะบัดข้อมือที่กระท�ำได้ในเสี้ยววินาทีกับแรงเหวี่ยงของแร็ก เก็ตอย่างรวดเร็ว ท�ำให้ผู้เล่นสามารถพลิกโฉมจากเกมรับเป็น เกมรุกได้เพียงแค่บิดหน้าแร็กเก็ต เปลี่ยนจุดเป้าหมายการตีลูก ก็จะวิ่งไปอีกทางหนึ่ง ท�ำให้ผู้เล่นสามารถสร้างสัดส่วนของการเล่นลูกหลอกได้อย่างแพรวพราวด้วยลูก หลังมือ ไม่ว่าจะเป็นลูกโยนหลังมือกระแทกไปมุมหนึ่งมุมใดของสองมุมหลัง หรือแตะหยอดด้วยหลังมือ ขนานเส้น หรือทแยงมุมก็สามารถจะท�ำได้ ลูกงัดโยน ลูกงัดโยน คือการตีลูกโดยช้อนตวัดตีลูกจากล่างสะบัดขึ้นด้านบนเป็นการช้อนตีลูกจากต�่ำไปสู่ สูง เป็นลูกที่ไม่ต้องใช้แรงเหวี่ยงตีมากเท่าไหร่ ใช้ข้อกระตุกหรือสะบัดลูกก็จะปลิวออกจากแร็กเก็ตอย่าง ง่ายดาย ส่วนมากจะเป็นลูกที่เข้าประชิดด้านหน้าของสนามเช่น การเข้ารับลูกแตะหยอดหรือลูกหยอดที่ ฝ่ายตรงข้ามส่งข้ามมา หรือการรับลูกตบเป็นต้น ลูกงัดใช้ตีได้ทั้งหน้ามือและหลังมือ เป็นลูกที่ได้แรงตีมา จากการตวัด กระตุกหรือสะบัดของข้อมือมากกว่าแรงตีจากแหล่งอื่น การตีลูกงัดผู้เล่นต้องยืดแขนและ ตีลูกสุดช่วงแขน ลูกงัดบริเวณหน้าตาข่ายถ้าเข้าประชิดลูกได้เร็ว มีโอกาสตีลูกในระดับสูง จะใช้เป็นลูก หลอกล่อคู่ต่อสู้ด้วยการเล่นลูกสองจังหวะ เหยียดแขนยื่นแร็กเก็ตออกไป จะทิ้งเป็นลูกหยอดก็ได้ หรือ จะกระแทกลูกไปด้านหลังของสนามตรงข้ามก็ได้ จะเป็นการเล่นลูกหลอกสองจังหวะที่ส�ำคัญอีกลูกหนึ่ง 31
ในเกมการเล่นแบดมินตันที่ผู้เล่นทุกคนจะมองข้ามไม่ได้การงัดลูกแบ่งเป็นสองวิถีใหญ่ๆ คือ การงัดลูกให้ พุ่งข้ามไปโดยไม่โด่งมากนัก ใช้เป็นการงัดลูกแบบรุก อีกวิถีหนึ่งคือการงัดลูกโด่งดึงให้คู่ต่อสู้ไปด้านหลัง สนาม เพื่อให้เวลาส�ำหรับการกลับทรงตัวสู่จุดศูนย์กลางได้มากขึ้นฝึกหัดตีลูกโยนตามหลักวิธีที่แนะน�ำมา ถึงขั้นตอนนี้ โปรดอย่าลืมหลักขั้นพื้นฐานทุกครั้งที่ตีลูกนั้นจะต้องไม่ลืมหลักการตีลูกใหญ่ๆ ดังนี้ คือ 1. หน้าแร็กเก็ตต้องตั้งให้ตรงขณะตีลูก 2.ขณะที่แร็กเก็ตสัมผัสกระทบตีลูกนั้นแขนทั้งสองของผู้เล่นจะต้องเหยียดตรงอยู่ในแนวตรง เสมอ 3. วิ่งเข้าไปหาลูกอย่ารอให้ลูกวิ่งเข้ามาหาเรา 4. เข้าประชิดลูกในระดับสูงที่สุดเท่าที่เราจะสามารถท�ำได้และ 5. ต้องรู้จักดักลูก และเข้าปะทะลูกเสมอ
ลูกงัดโยนหน้ามือ
ลูกงัดโยนหลังมือ
2. ลูกตบ (Smash) ในเกมแบดมินตัน ลูกตบเป็นลูกที่เด็ดขาดที่ตีจากเบื้องสูงกดลงสู่เป้าหมายให้พุ่งสู่พื้นในวิถีตรงที่ รุนแรง และเร็วที่สุดเป็นลูกที่พุ่งไปสู่เป้าหมายด้วยความเร็วที่สุดสูงกว่าเกมเล่นอื่น ๆ ที่ใช้แร็กเก็ต เป็นลูก ที่ใช้บีบบังคับให้คู่ต่อสู้ต้องตกเป็นฝ่ายรับ มีเวลาจ�ำกัดส�ำหรับการเตรียมตัวตอบโต้ ลูกตบเป็นลูกฆ่า เป็น ลูกท�ำแต้มที่ได้ผลถ้ารู้จักใช้อย่างถูกต้อง
ลูกตบใช้ในโอกาสต่างๆ คือ 1. เมื่อคู่ต่อสู้โยนลูกข้ามตาข่ายเพียงครึ่งสนามหรือส่งลูกมาไม่ถึงหลัง 2. เมือต้องการบีบให้คู่ต่อสู้เสียหลัก ผละออกจากจุดศูนย์กลาง 3. เมื่อต้องการให้คู่ต่อสู้กังวลใจ พะวงอยู่กับการตั้งรับ 4. เพื่อผลของการหลอกล่อ เมื่อคู่ต่อสู้เกิดความกังวลใจ ท�ำให้ประสิทธิผลของการใช้ลูกหลัก อื่นๆ เพิ่มมากขึ้น 5. เมื่อต้องการเผด็จศึกยุติการตอบโต้ หรือใช้เมื่อคู่ต่อสู้เผลอตัว หรือเสียหลักการทรงตัวบุกท�ำ คะแนนด้วยลูกเด็ดขาด 32
วิถีทางที่ดีของลูกตบ ลูกตบที่สมบูรณ์แบบ ต้องพุ่งจากแร็กเก็ตมีวิถีข้ามตาข่ายไปเป็นเส้นตรง พุ่งเฉียดผ่านตาข่ายโดย ไม่เปิดโอกาสให้คู่ต่อสู้ดักลูกสวนโต้กลับมาได้ ต้องพุ่งปักหัวไปยังแดนตรงข้ามด้วยความเร็วและรุนแรง โดยใช้แหล่งที่มาของการตีลูกทั้งหมดโถมใช้เสริมพลังในการตบลูก ความหนักหน่วงของลูกตบไม่ได้เกิด จากแรงตีที่ใช้อย่างหักโหมแต่ความเร็วกับความรุนแรงของลูกตบที่หนักหน่วงมาจากจังหวะการประสาน งานอย่างกลมกลืนของจังหวะฟุตเวิร์ค การเหวี่ยงตีของแขนการตวัดของข้อมือเสริมด้วยแรงปะทะที่เกิด จากการเปลี่ยนน�้ำหนักตัวจากเท้าหลังไปสู่เท้าหน้า ลูกตบเป็นลูกที่กินแรงที่ใช้ไปนั้น คุ้มแก่การเสียแรง ถ้าลูกตบไปนั้นสามารถยุติการตอบโต้และท�ำคะแนนได้ แต่จะสูญเสียแรงเพิ่มเป็นทวีคูณถ้าฝ่ายตรงข้าม สามารถรับลูกตบกลับมายังมุมไกลห่างตัวผู้ตบ ท�ำให้ผู้ตบนอกจากสูญเสียแรงในการตบลูกแล้ว ยังต้อง สูญเสียพลังงานในการวิ่งไล่ลูกอีกด้วยเมื่อเป็นเช่นนี้ผู้เล่นควรฝึกการ ทรงตัวหลังตบลูกให้เร็วรู้จักปรับปรุงฟุตเวิร์คของตัวเองให้เบาที่สุดเพื่อ ประหยัดพลังงานในการตบลูกทุกครั้ง การตบลูกไม่ควรตบข้ามไปในวิถีเดียว ควรบังคับให้ลูกตบ ข้ามไปในลักษณะต่างกันสั้นบ้างยาวบ้างสลับกันไปการตบลูกให้ข้าม ไปในลักษณะช่วงสั้นจะท�ำได้ก็ต่อเมื่ออีกฝ่ายหนึ่งโยนข้ามมาครึ่งสนาม หรือบางครั้งผู้เล่นที่มีรูปร่างสูงยาว อาจจะใช้การกระโดดตัวลอยจาก พื้น เพื่อสร้างมุมตบลูกได้ในระดับสูง เพื่อปักหัวให้ลึกไปยังแดนตรง ข้ามได้มากตามระดับที่ตัวเองสามารถกระโดดลอยตบลูกได้ซึ่งบางครั้ง ผู้ตบยังสามารถใช้ลูกท้อปสะปินหรือครึ่งตบครึ่งตัด สร้างลูกตบข้ามไป ในวิถีประหลาดๆ ยากแก่การเดาของคู่ต่อสู้ได้ การกระโดดถีบตัวขึ้น ตบลูกนอกจากท�ำให้ผู้ตบตีลูกในระดับสูงได้ และท�ำให้มีมุมลึกในการ ตบลูกแล้ว บางครั้งยังใช้เป็นการหลอกล่อ คู่ต่อสู้ได้แทนที่จะตบลูก ด้วยความรุนแรงเพียงอย่างเดียว อาจจะแตะหยอดสลับก็ได้ ท�ำให้เกิด ความหลากหลายในการตีลูก ลูกตบคร่อมศีรษะ ลูกตบคร่อมศีรษะ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า ลูกตบโอเวอร์เฮ็ด บางที่ก็เรียกว่าลูกตบอ้อมศีรษะ เป็นลูกที่ใช้เล่นแทนลูกหลังมือ หรือแบ็คแฮนด์กันบ่อยที่สุด ผู้เล่นที่ใช้สไตล์การเล่นแบบรุกจะนิยมใช้ ลูกโยนหรือลูกตบคร่อมศีรษะกันมาก เพราะจู่โจมคู่ต่อสู้ได้ดีกว่า มีประสิทธิผลมากกว่าแทนการใช้ตีด้วย ลูกหลังมือที่ต้องหันข้าง หรือหันหลังให้ตาข่ายกับคู่ต่อสู้ลูกคร่อมศีรษะ เป็นการตีลูกจากระดับสูง ผู้เล่น จึงมีโอกาสเลือกมุมกับเป้าหมายการตีได้กว้างกว่า เล็งก�ำหนดเป้าหมายให้เป็นลูกตบยาว หรือสั้นก็ได้ เป็นการตีลูกที่ผู้เล่นหันหน้าเข้าหาสนามคู่แข่งขัน การเคลื่อนไหวหรือต�ำแหน่งที่ยืนของคู่แข่งย่อมอยู่ใน สายตาการก�ำหนดวางเป้าหมายย่อมกระท�ำได้ง่ายขึ้น เป้าหมายการตบลูกคร่อมศีรษะที่ใช้กันมาก และ ใช้ได้ผลมากที่สุด ได้แก่การตบขนานเส้นข้าง และการตบทแยงสนาม เพราะเป็นการตบลูกที่ท�ำให้คู่ต่อสู้ 33
เดาหรือคาดเดาหรือคาดคะเนได้ยาก ดูไม่ออกว่าเป้าหมายการตบนั้นจะพุ่งไปด้านซ้ายหรือด้านขวาของ สนาม เป็นการตบตวัดลูกที่มีความเร็วในการเปลี่ยนทิศของเป้าหมาย ถ้าท�ำได้อย่างแนบเนียน จะสร้าง ความปั่นป่วนระส�่ำระส่ายต่อฝ่ายตรงข้ามเป็นอย่างมากการตบลูกขนานเส้นข้างมีแนวโน้มที่จะตบออก นอกเส้นได้ง่าย เพราะการจับแร็กเก็ตแบบตัว วี. หน้าแร็กเก็ตจะ หันออกด้านซ้ายลูกที่ตบข้ามไปมักจะเฉ ออกทางด้านซ้ายของ สนาม การเล็งเป้าหมายตบลูกจึงต้องเล็งเพื่อเข้ามาในสนามเล็ก น้อย ในท�ำนองเดียวกัน การตบลูกขนานเส้นด้านขวาลูกที่ตบ ข้ามไปจะมีความแน่นอนมากกว่า เพราะวิถีของลูกจะมีแนวโน้ม เฉเอียงเข้ามาในสนามการตบลูกทแยงสนาม ต้องตวัดลูกข้าม ไปด้วยการพุ่งเร็ว และพึงระวังการดักลูก ของคู่ต่อสู้ การตบลูก ทแยงสนามสามารถท�ำได้ทั้งสองด้านทั้งคร่อมศีรษะและด้าน โฟร์แฮนด์จะเป็นลูกตบที่สร้างความล�ำบากใจแก่ฝ่าตรงข้ามเป็น อย่างมาก เพราะวิถีกับมุมของลูกตบที่ข้ามไปมีหลากหลาย ยาก แก่การเดาและการคาดคะเนของอีกฝ่ายหนึ่ง แต่ก็เป็นลูกที่ข้าม ตาข่ายอย่างเฉียดฉิว ง่ายแก่การตีติดตาข่ายถ้าการตบมีการกด ลูกมากเกินไป เป้าหมายของการตบลูก เป้าหมายของการตบลูกแบ่งออกได้ดังนี้ 1. ตบลูกให้ห่างตัวผู้รับ 2. ตบลูกพุ่งเข้าหาตัวผู้รับ 3. ลูกดาด (Drive) คือลูกที่พุ่งเฉียดข้ามตาข่าย มีวิถีพุ่งข้ามขนานไปกับพื้นสนาม ผู้เล่นตีลูกดาดสูงในระดับอก ตีได้ ทั้งหน้ามือโฟร์แฮนด์ และหลังมือแบ็คแฮนด์ทั้งจากด้านซ้าย ขวาของล�ำตัว ลูกดาดที่ตีจากระดับต�่ำ ลูกที่ข้ามไปจะลอยสูงไม่ขนานกับพื้นสนาม มีแนวโน้มที่จะข้ามตาข่าย ไปในลักษณะของลูกงัดโด่ง ลูกดาดใช้ส�ำหรับสร้างสถานการณ์เป็นฝ่ายรุกโจมตี ไม่เปิดโอกาสให้อีกฝ่าย หนึ่งตอบโต้กลับมาได้ด้วยลูกตบเป็นลูกที่พุ่งข้ามตาข่ายด้วยความเร็วในวิถีตรงโดยที่ผู้เล่นสามารถวาง เป้าหมายให้ลูกพุ่งไปสู่ทุกจุดของสนามตรงข้าม อาจเป็นลูกดาดสุดสนาม หรือตีเบาๆ ให้กลายเป็นลูก แตะหยอด ลูกดาดใช้กันมากในประเภทคู่ เพราะลูกดาดรักษาความเป็นฝ่ายรุก หลีกเลี่ยงการส่งลูกโด่งเปิด โอกาสให้คู่แข่งใช้ตบได้อีกทั้งยังบีบบังคับให้คู่แข่งมีเวลาส�ำหรับการตีโต้กลับมาด้วยช่วงเวลาสั้นยิ่งถ้าคู่ แข่งขันเสียหลักถล�ำไปอีกซีกหนึ่งของสนาม ลูกดาดที่พุ่งไปอีกด้านหนึ่งของสนาม จะท�ำให้อีกฝ่ายหนึ่งไม่ สามารถจะกลับตัวมาตีลูกได้ ในการเล่นประเภทคู่ ลูกดาดแทงครึ่งสนามยังใช้ส�ำหรับหลบผ่านผู้เล่นที่อยู่ ด้านหน้าของอีกฝ่ายหนึ่งในขณะเดียวกันวิถีดาดของลูกที่ข้ามไป ผู้เล่นมือหลังก็ไม่อาจตอบโต้กลับมา 34
การตีลูกดาดด้วยการนั่งตี
ด้วยลูกตบได้ ถ้าใช้ลูกดาดพุ่งไปยังมุมที่สามของฝ่ายตรงข้ามในหลายๆ ครั้งจะพลิกสถานการณ์จากฝ่าย รับให้กลายเป็นฝ่ายรุกได้ทันที ลูกดาดเป็นลูกที่แรงตีมาจากแรงเหวี่ยงของแขน ผสมผสานกับแรงตวัด ของข้อมือ อาจจะมีแรงโถมของน�้ำหนักตัว หรือไม่มีเลยก็ได้ การก�ำหนดแรงตี จะท�ำให้ลูกดาดข้ามไปยัง เป้าหมายที่แตกต่างกัน ถ้าเป็นลูกดาดครึ่งสนามก็ต้องลดความแรงลงบางส่วน แต่ก็ยังต้องใช้การดีดตวัด ของข้อมือช่วยเพื่อให้ลูกดาดที่ข้ามตาข่ายไปนั้น มีวิถีวิ่งที่ฉวัดเฉวียนรวดเร็ว คู่ต่อสู้ไม่อาจจะมาดักตะปบ ลูกได้หรือบางครั้งจะใช้เป็นลูกหลอก แทนที่จะเป็นลูกพุ่งเร็ว อาจจะตีเป็นลูกแตะหยอดทิ้งไว้หน้าตา ข่ายของอีกฝ่ายหนึ่งก็ได้ แต่ต้องเป็นการตีลูกวิถีที่เร็ว ไม่อ้อยอิ่งจนอีกฝ่ายหนึ่งเข้าไปแย๊ปได้ ลูกดาดที่ สมบูรณ์ต้องข้ามตาข่ายไปในวิถีตรง ลูกพุ่งข้ามไปด้วยความเร็วในขณะเดียวกันต้องข้ามไปในวิถีวิ่งเลีย ดตาข่าย ลูกดาดที่พุ่งสู่เป้าหมายห่างตัวคู่ต่อสู้มากเท่าใด จะเป็นการวางลูกที่สร้างความปลอดภัยให้แก่ ผู้ตี และบีบให้อีกฝ่ายหนึ่งตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบเป็นฝ่ายรับ ในหลายๆ กรณีต้องตอบโต้กลับมาเป็น ลูกงัด หรือลูกโยนโด่ง ปิดโอกาสให้เราเป็นฝ่ายท�ำเป็นฝ่ายรุกโจมตีได้ลูกดาดที่ตีง่าย และถนัด ได้แก่ลูก ที่พุ่งมาสองด้านของล�ำตัว เพราะมีมุมส�ำหรับเหวี่ยงตีลูก แต่ในบางกรณี ลูกที่พุ่งตรงเข้ามาหาล�ำตัวผู้เล่นจ�ำเป็นที่จะ ต้องใช้จังหวะเท้าฟุตเวิร์คดันตัวเองให้พ้นวิถีลูกเพื่อเปิดมุม ส�ำหรับเหวี่ยงตีลูกได้ ควรก�ำหนดระยะการประชิดให้พอที่ จะตีลูกได้อย่างสบาย ปล่อยล�ำแขนเหวี่ยงตีลูกและตวัดข้อ มือได้อย่างมีเสรี ควรตีลูกในระดับสูง และเป็นฝ่ายวิ่งเข้าหา ลูกเสมอการฝึกตีลูกดาด ให้ผู้เล่นสองคนอยู่คนละฝ่ายของ สนาม ตีลูกดาดด้วยการยืนอยู่ประมาณครึ่งสนาม ตีซ้ายขวา ไปมาช้าๆ พยายามบังคับให้ลูกวิ่งเลียดข้ามโดยไม่ติดตาข่าย ในระยะแรกๆ ให้เผื่อข้ามเลยตาข่ายไว้ก่อน เมื่อเกิดความ ช�ำนาญ เกิดทักษะ จึงค่อยทวีความแรง กับความเร็วมากขึ้น 35
4. ลูกหยอด (Drop) คือลูกที่ตีจากส่วนต่าง ๆ ของสนามให้พุ่งย้อยข้ามตาข่าย และตกลงสู่พื้นสนามด้านตรงข้าม โดย ไม่เกินเส้นส่งลูกสั้น จะหยอดด้วยด้วยลูกหน้ามือก็ได้ หรือหลังมือก็ได้ หรือจะตีตัดหยอดจากลูกโด่งเหนือ ศีรษะก็ได้ ลูกหยอดเป็นการท�ำให้คู่ต่อสู้ต้องวิ่งเข้ามาเล่นลูกหน้าตาข่ายท�ำให้พื้นที่ส่วนหลังของสนามมี พื้นที่มากขึ้น การหยอดมีหลายแบบ เช่น ลูกหยอดหน้าตาข่าย ลูกตัดหยอด แต่ลูกหยอดที่ดีจะต้องเลียด ตาข่ายและพยายามให้ลูกตกชิดตาข่ายมากที่สุด การตีลูกหยอด การตีลูกหยอดมีวิธีการดังนี้คือ 1. เวลาตีลูกหยอดต้องให้แขนตึง ตามองลูกที่จะหยอด 2.เมื่อหน้าไม้จะสัมผัสลูกขนไก่ให้เอียงหน้าไม้ไปในทิศทางที่ต้องการให้ลูกไปตกพร้อมทั้งกระดก ข้อมือเมื่อไม้สัมผัสกับลูกขนไก่ 3. ลูกที่หยอดจะเป็นการหยอดจากหน้ามือหรือหลังมือก็ได้
การตีลูกหยอด
4.การแข่งขันประเภทเดี่ยว คุณสมบัติของผู้เล่นแบดมินตันประเภทเดี่ยว
1. ความสมบรูณ์ของร่างกายมีก�ำลังที่จะตีลูกขนไก่ได้ตลอดการแข่งขัน 2. มีความแม่นย�ำในการตีลูกให้ถึงมุมทั้งลูกมุมสนามทางด้านหลังลูกหยอดมุมสนามทั้งสองด้าน 3. มีพลังของจิตใจที่ดีในการต่อสู้เพื่อเอาชนะคู่ต่อสู้ในทุกวิถีทางในการตีลูกแต่ละครั้ง ต้องถือ หลักเกณฑ์ว่าในการตีลูกข้ามตาข่ายต้องกระท�ำกับคู่ต่อสู้ดังนี้ 1) ให้คู่ต่อสู้วิ่งได้ไกลที่สุด 2) ให้ฝ่ายคู่แข่งเสียแรงมากที่สุด 3) ให้ตีลูกโต้กลับมาได้ยากที่สุด วิธีการเล่นเดี่ยว จะต้องประกอบด้วยผู้เล่น 2 คนข้างละ 1 คนสนามต้องกว้าง 17 ฟุตยาว 44 ฟุต (ความสูง ของตาข่าย และเสาเป็นไปตามกติกาการเล่น) การส่งลูกเริ่มแรกจะส่งทางสนามด้านขวามือสิ่งที่ผู้เล่น แบดมินตันประเภทเดี่ยวควรค�ำนึง มีดังต่อไปนี้
36
1. การยืน ต้องรักษาจุดศูนย์กลาง เพื่อเตรียมพร้อมที่จะรักษาพื้นที่ของสนามได้ทั่วถึงทุกตาราง นิ้ว จุดศูนย์กลางของประเภทเดี่ยวอยู่ที่เส้นกลางที่ห่างจากเส้นส่งลูกสั้นมาหลังสนามประมาณ 3 ฟุต เศษ เมื่อผู้เล่นยืนคร่อมเส้นกลางจะท�ำให้ยืนค่อนไปข้างหน้าเล็กน้อยเพื่อรักษาพื้นที่และจะได้ครอบคลุม สนามหน้าตาข่ายได้สมบูรณ์ขึ้น ซึ่งผู้เล่นไม่เพียงแต่จะวิ่งเข้ารับลูกหยอดได้ทันท่วงทีเท่านั้นยังจะต้อง สามารถตีลูกในระดับสูงอีกด้วย จึงท�ำให้มุมการตีกว้างขึ้น ฉะนั้นโอกาสที่จะใช้ลูกหลอกล่อก็มีมากขึ้น จุดศูนย์กลางจะเป็นฐานทัพของการเล่นเดี่ยว ไม่ว่าผู้เล่นจะพาตัวไปตีลูกยังส่วนใดของสนาม เมื่อตีลูก ตอบโต้ข้ามไปแล้ว จะต้องคืนสู่จุดศูนย์กลางในลักษณะเตรียมพร้อมซึ่งจะเป็นการแบ่งช่องว่างในแต่ละ ส่วนของสนามให้เท่าๆกัน 2. เป้าหมายในการตี ที่ส�ำคัญๆ มีอยู่ 4 มุมในสนาม จะเป็นการ ท�ำให้คู่แข่งขันออกจากจุดศูนย์กลาง และเปิดช่องว่างให้เรามากที่สุด เป้าหมายสูงสุดของมุมหลัง ถ้าผู้เล่นสามารถโยนลูกโด่งไปสู่เป้าหมาย ดังกล่าวนอกจากจะท�ำให้ฝ่ายตรงข้ามถูกดึงไปตีลูกถึงหลังสนามแล้ว ยังเป็นเป้าหมายที่ปลอดภัยโดยเฉพาะอย่างยิ่งมุมซ้ายที่คู่ต่อสู้ต้องตี ด้วยลูกหลังมือ ลูกที่โยนโด่งไปมาด้านหลังนี้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ถ้า คู่ต่อสู้หลักยังดีอยู่ก็ให้โยนลูกให้สูง เพื่อกันถูกคู่ต่อสู้ตะปบลูกถ้าคู่ต่อสู้ เสียหลักก็ให้โยนลูกต�่ำลงแรงและเร็วกว่าเดิมเพื่อตัดเวลาของลูกให้ น้อยลง บังคับให้อีกฝ่ายตีลูกในเวลาจ�ำกัด และไม่สามารถบังคับลูก ให้เป็นไปตามวิถีที่ต้องการได้การตีลูกไปสู่เป้าหมายสองมุมหน้า ซึ่งใช้ ลูกแตะหยอดหรือหยอดธรรมดา ลูกที่ย้อยข้ามจะต้องมีวิถีโค้งและปัก หัวลงเมื่อลูกพ้นตาข่าย ถ้าลูกจะย้อยลงใกล้ตาข่ายก็จะเป็นการดึงให้คู่ แข่งขันต้องเข้ามาตีลูกหรืองัดลูกทางด้านหน้าสุดของสนามซึ่งจะท�ำให้ลูกโด่งท�ำให้รับลูกสามารถตบลูกนี้ ได้ หรือเลือกเล่นลูกอะไรก็ได้ถามถนัด 3. จุดที่ส�ำคัญๆ ในเกมส์ นักเล่นที่ฉลาดจะต้องเป็นผู้รู้เกมส์การเล่นของคู่ต่อสู้อย่างละเอียด โดยศึกษาดูสิ่งเหล่านี้ คือ (1) จุดเด่น ของคู่แข่งขันอย่างละเอียด โดยศึกษาการตีของคู่แข่งขันมาอย่างละเอียด ก่อนศึกษาดูว่าคู่แข่งขันถนัดตีลูกใดมีก�ำลังและความสามารถเท่าใดก่อนที่จะท�ำการแข่งขันจงน�ำมา วางแผนก่อนเสมอ (2) จุดบกพร่อง ในการเล่นเกมส์ใดก็ตาม การศึกษาดูจุดบกพร่องของคู่ต่อสู้ได้มาก เท่าใดยิ่งเป็นการดี เช่น ดูลักษณะความถนัดของการตี การรับและการเคลื่อนไหวพยายามส่งลูกไปยังจุด นั้นให้มากๆ เพื่อหลีกเลี่ยงเกมส์ที่คู่ต่อสู้ถนัดพร้อมทั้งใช้ชั้นเชิงดึงคู่ต่อสู้มาเล่นเกมส์ในเกมส์ของเราการ ท�ำเช่นนี้ย่อมได้เปรียบคู่ต่อสู้ 37
4. ส่งลูกในการเล่นประเภทเดี่ยว การส่งลูกควรส่งลูก โด่งหลังสนามให้มากที่สุดประมาณ 90% ของลูกเดี่ยวทั้งหมดควร ส่งลูกโด่งไปยังต�ำแหน่งต่างๆใกล้เส้นหลังโดยไม่ซ�้ำที่กันลูกที่ดีคือ ลูกโด่งหลังที่ตกใกล้เส้นแบ่งกลางสนาม จะท�ำให้คู่ต่อสู้มีมุมในการ โต้กลับน้อยและเป็นการบีบบังคับให้คู่ต่อสู้ออกจากต�ำแหน่งกลาง สนามอีกประการหนึ่งคือจะท�ำให้คู่แข่งขันตีโต้กลับมากลางสนาม ไม่ว่าจะตีลูกใดก็ตามอีกประการที่ส�ำคัญของการส่งลูก เราอย่าให้คู่ ต่อสู้รู้ว่าเราจะส่งลูกอะไร ลักษณะไหนทั้งนี้อาจท�ำได้โดยการส่งลูก ในลักษณะเดียวกันหมด 5. การตอบโต้ (ลูกโยน) การตีลูกทุกครั้งต้องตีอย่างรวดเร็วและไม่ลังเล โดยตัดสินใจว่าเป้า หมายจะตีนั้นปลอดภัย และได้เปรียบคู่ต่อสู้เสมอในเกมส์เดี่ยว ส่วนใหญ่แล้วมักใช้ลูกโยนหลัง และการ เล่นลูกมุมทั้ง 4 จะเป็นลูกที่ปลอดภัยที่สุด 6. การตอบโต้ลูกต�่ำและลูกหยอด ถ้าการส่งลูกต�่ำเรา รู้รับจะต้องรีบเคลื่อนตัวเข้าลุกและตีลูกข้างหน้าทันที อย่ารอ ให้ลูกวิ่งมาหาเราเอง เพื่อรักษาระดับการตีลูกให้สูงและใช้การ ตีลูกกดให้ต�่ำถ้าเราเข้าช้าก็จะต้องเล่นลูกงัดใต้มือ ลูกจะข้ามไป ให้อีกฝ่ายกดต�่ำกลับมาเป้าหมายที่ปลอดภัยในการโต้ตอบลูก ส่งต�่ำคือการแย็บที่เร็วหรืองัดโดยตรงไปสองมุมหลังหรือหยอด ทิ้งไว้สองมุมหน้าให้ระวังการเย็บลูกที่คู่ต่อสู้อาจดักไว้ก่อนถ้าเป็นการแย็บให้โยนกลับไปหลังโดยเร็ว 7. ลูกทแยงสนาม เป็นลูกที่ตีโต้ได้ผลลูกหนึ่ง โดยเฉพาะใช้สลับกับการเล่นลูกครึ่งตบครึ่งตัด ทแยงสนามจะเป็นการเพิ่มในการรุกโจมตีได้มากขึ้นบางครั้งถ้าเราเห็นคู่แข่งขันออกจากจุดเตรียม พร้อม อย่างผลีผลามก็จะยิ่งเปิดโอกาสให้เราเล่นลูกย้อนรอยคู่ต่อสู้ได้แต่การตีลูกอย่าตีซ�้ ำจนฝ่ายตรงข้ามจับ ทางถูกจะเป็นอันตรายแก่เราโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ลูกหยอดทแยงนั้น อย่าท�ำซ�้ำๆ จนคู่ต่อสู้ รู้ทางเพราะลูก จะถูกตบไปทางมุมหลังการเล่นลูกงัดจากหน้าตาข่ายไปทางหลังสนามจะต้องโด่งและดึงแดนหลังจริงๆ เพราะถ้าไม่โด่งจริงแล้วจะถูกคู่ต่อสู้ดักตีลูกด้วยลูกตบทแยงไปอีกมุม ท�ำให้เราต้องเพรี่ยงพร�้ำเช่นกัน 8. ลูกตบ ลูกที่จะท�ำให้คู่ต่อสู้รับยากคือลูกตบที่พุ่งขนานเส้นตั้งเพราะเป็นการตบลูกที่มีวิถีตรง และมีระยะทางวิ่งสั้นลูกตบจะต้องมีวิถีความยาวสั้นไม่เท่ากันคือตบยาวบ้างสั้นบ้าง เพื่อท�ำให้คู่ต่อสู้ลังเล ในการตั้งรับจะท�ำให้ลูกโยนข้ามมาไม่แน่นอนเราก็จะดักขึ้นตีโดยเตรียมหาจังหวะชูไม้แบดมินตันไว้ตบ ลูกซ�้ำสองถ้าคู่ต่อสู้หยอดข้ามมาให้เรา เราจะต้องเคลื่อนเข้าหาลูกโดยเร็ว และตีลูกขณะอยู่สูงสุด อย่าตี ลูกตกต�่ำหรือตีลูกใต้มือโดยไม่จ�ำเป็นในการเล่นเกมส์เดี่ยวลูกตบมีการเล่นพอๆ กันกับประเภทคู่ แต่ลูก 38
ที่คู่ต่อสู้โยนข้ามมาไม่ถึงหลัง (เศษสามส่วนสี่) ของสนามถือว่าสั้นผู้เล่น ควรใช้ลูกตบเป็นส่วนใหญ่สลับกับลูกแตะหยอดหรือจี้โด่งมุมหลังเป็นครั้ง คราว จะท�ำให้คู่แข่งขันเกิดความกังวลใจช่วยให้เราตีลูกอื่นได้สบายขึ้นแต่ ลูกตบนี้ไม่ควรใช้บ่อยถ้าคู่แข่งขันรับได้ก็จะท�ำให้เราเปลืองแรงโดยใช่เหตุ ควรเล่นลูกอื่นหลอกล่อจนคู่แข่งขันเสียหลักก่อนแล้วจึงค่อยตบการตั้งรับ ลูกตบให้ยืนค่อนไปทางด้านตาข่ายเล็กน้อยห่างจากเส้นส่งสั้นประมาณ 3 ฟุต จะท�ำให้ผู้รับรับลูกในระดับสูงได้เป็นการลดช่องว่างของสนามให้แคบ ลงการก�ำหนดจุดตั้งรับดังกล่าวนี้ อาจท�ำได้ผู้รับยืนยันในตอนแรก เพราะ จะต้องคอยรับลูกตบในระยะที่ใกล้กว่าเดิมเมื่อฝึกจนชินแล้วจะพบว่าการ รับลูกตบ ณ จุดดังกล่าวจึงท�ำให้ได้เปรียบคู่ต่อสู้เป็นอย่างมากนอกจากที่ กล่าวมาแล้วยังมีการน�ำเอาวิธีการต่างๆต่อไปนี้มาใช้ในการเล่นให้ดีขึ้น คือ (1) การพลางหน้าไม้แบดมินตัน ไม่ให้คู่ต่อสู้รู้ว่าเราจะตีลูกอะไร (2) การคาดการณ์ล่วงหน้า ว่าคู่ต่อสู้จะตีลูกอะไรเราจะดักตีด้วยลูกอะไรโดยดูจากหน้า ไม้ ลักษณะท่าทางหรือเดาเหตุการณ์เอา (3) ลูกที่ใช้ตีมากในการเล่นเดี่ยวมีเพียง 3 ลูก คือ ลูกโด่งหลัง ลูกตบ และลูกหยอดจึง ควรฝึกให้แม่นย�ำและน�ำมาใช้ให้มาก
39
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3
เปตอง กติกาเปตอง
อุปกรณ์การเล่นเปตอง 1. ลูกบูล เป็นลูกทรงกลมด้านในกลวง ท�ำด้วยโลหะ มีเส้นผ่าศูนย์กลางระหว่าง 70.5 - 80 มิลลิเมตร มี น�้ำหนักระหว่าง 650 – 800 กรัม มีเครื่องหมาย ของโรงงานผู้ผลิตตัวเลขแสดงน�้ำหนักและเลขรหัส ปรากฏอยู่บนลูกบูลอย่างชัดเจน และควรเป็นลูก บูลที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์เปตองนานาชาติ และสมาคมเปตองแห่ ง ประเทศไทยในพระ ราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี 2. ลูกเป้า เป็นลูกทรงกลม แต่ท�ำด้วยไม้หรือวัสดุสังเคราะห์ มีเส้นผ่าศูนย์กลางระหว่าง 25-35 มิลลิเมตร และอาจทาสีได้ แต่ต้องเป็นสีที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนในขอบเขตของสนาม 3. สนามเล่น สนามต้องพื้นเรียบกว้าง 4 เมตร ยาว 15 เมตร พื้นไม้ พื้นคอนกรีตและพื้นหญ้า ไม่เหมาะสม ส�ำหรับกีฬาประเภทนี้ 4. เทปสายวัด หลักการทั่วไป หลักการข้อ 1. เปตองเป็นกีฬาที่เล่นโดยมีผู้เล่น 2 ฝ่าย และแบ่งการเล่นออกได้ดังนี้ - ผู้เล่นฝ่ายละ 3 คน (Triples) - ผู้เล่นฝ่ายละ 2 คน (Doubles) - ผู้เล่นฝ่ายละ 1 คน (Single) 1) ในการเล่นฝ่ายละ 3 คน ผู้เล่นแต่ละคนต้องมีลูกเปตองคนละ 2 ลูก 40
2) ในการเล่นฝ่ายละ 2 คน ผู้เล่นแต่ละคนต้องมีลูกเปตองคนละ 3 ลูก 3) ในการเล่นฝ่ายละ 1 คน ผู้เล่นแต่ละคนต้องมีลูกเปตองคนละ 3 ลูก 4) ห้ามจัดให้มีการเล่นนอกเหนือจากกฎที่ได้ก�ำหนดไว้ในข้อ 1 นี้
หลักการข้อ 2 ลูกเปตองที่ใช้เล่นต้องได้รับการรับรองจากสหพันธ์เปตองนานาชาติหรือสมาคมเปตองแห่ง ประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ 1) เป็นโลหะ 2) มีเส้นผ่าศูนย์กลางระหว่าง 7.05 – 8.00 เซนติเมตร (70.5 – 80 มิลลิเมตร) 3) มีน�้ำหนักระหว่าง 650 – 800 กรัม จะต้องมีเครื่องหมายของโรงงานผู้ผลิต ตัวเลข แสดงน�้ำหนัก และเลขรหัสปรากฏบนลูกเปตองอย่างชัดเจน 4) เป็นลูกเปตองที่ผลิตจากโรงงานที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์ฯ และห้ามเปลี่ยน แปลงสภาพเดิม ไม่ว่าจะใช้ตะกั่วบัดกรีหรือน�ำเอาดินหรือทรายมาติด หรือใส่ลงไปในลูก เปตองใน ลักษณะที่มีเจตนาส่อไปในทางทุจริต แต่อนุญาตให้เจ้าของสลักชื่อ หรือเครื่องหมายบนลูกเปตองได้ 2.1 ผู้เล่นที่ฝ่าฝืนหรือละเมิดกฎข้อ 2. จะถูกลงโทษให้ออกจากการแข่งขัน 2.2 ลูกเปตองที่เปลี่ยนแปลงสภาพเดิม ผู้กระท�ำผิดจะถูกลงโทษดังนี้ ก.กรณี ป ลอมแปลงลู ก เปตอง ผู ้ ก ระท� ำ ผิ ด จะต้ อ งถู ก ถอนใบอนุ ญ าต(บั ต ร ประจ�ำตัวนักกีฬา) 15 ปี และอาจถูกลงโทษ จากคณะกรรมการวินัยอีกด้วย ข. กรณีใช้ความร้อนเพื่อดัดแปลง สภาพของลูกเปตอง ผู้กระท�ำผิดจะถูกถอน ใบอนุญาต (บัตรประจ�ำตัวนักกีฬา) 15 ปี และห้ามเข้าท�ำการแข่งขันชิงชนะเลิศแห่งชาติ และนานาชาติเป็นระยะเวลา 3 -5 ปี 2.3 กรณีหนึ่งกรณีใดที่ได้ระบุไว้ในข้อ 2.2 (ก) และ (ข) ถ้าผู้เล่นได้ยืมลูกเปตองจากผู้อื่นมาเล่น เจ้าของเปตองผู้ให้ยืมจะถูกลงโทษภาคทัณฑ์เป็นระยะเวลา 2 ปี 2.4 ถ้าลูกเปตองนั้นมิได้ถูกกระท�ำทุจริต แต่เนื่องจากลูกเปตองนั้นเก่ามากหรือมีการผิดพลาด จากโรงงานผู้ผลิตและเมื่อตรวจสอบแล้วไม่ได้ลักษณะตามที่ก�ำหนดไว้ในข้อ 2. (ก) (ข) และ (ค) จะต้อง เปลี่ยนแปลงลูกเปตองนั้นทันทีและอาจเปลี่ยนแปลงเกมการเล่นใหม่ 2.5 เพื่อประโยชน์ของฝ่ายตน ก่อนท�ำการแข่งขันทุกครั้งผู้เล่นทั้งสองฝ่ายควรตรวจสอบลูก เปตองของตนและฝ่ายตรงกันข้ามให้ถูกต้องตามเงื่อนไขที่ได้ก�ำหนดไว้ในข้อ 2. (ก) (ข) และ (ค) 2.6 ในกรณีที่มีการผ่าลูกเปตองเพื่อตรวจสอบ ถ้าลูกเปตองนั้นมิได้ถูกกระท�ำการทุจริต ฝ่าย ประท้วงจะต้องรับผิดชอบชดใช้ หรือเปลี่ยนแปลงลูกเปตองนั้นให้แก่ฝ่ายประท้วงจะต้องรับผิดชอบชดใช้ 41
หรือเปลี่ยนแปลงลูกเปตองนั้นให้แก่ฝ่ายเสียหายและเจ้าของเปตองไม่มีสิทธิ์ที่จะเรียกร้องค่าเสียหายใดๆ อีก 2.7 ในระหว่างการแข่งขัน ผู้ตัดสินและกรรมการชี้ขาดอาจตรวจสอบลูกเปตองของผู้เล่นทุกคน ได้ทุกเวลา 2.8 การประท้วงของนักกีฬาว่าด้วยเรื่องการตรวจสอบลูกเปตองจะกระท�ำได้ในระหว่างการเล่น 2 เที่ยวแรกเท่านั้น 2.9 หลังจากการเล่นเที่ยวที่ 3 แล้ว ถ้ามีการประท้วงเกี่ยวกับลูกเปตองของฝ่ายตรงกันข้าม เมื่อ ตรวจสอบแล้วพบว่าลูกเปตองนั้นไม่ผิดกติกาแต่อย่างใด ฝ่ายที่ประท้วงจะถูกปรับ 3 คะแนน โดยน�ำไป เพิ่มในป้ายคะแนนฝ่ายตรงกันข้าม 2.10 ลูกเปตองต้องท�ำด้วยไม้หรือวัสดุสังเคราะห์ มีเส้นผ่าศูนย์กลางระหว่าง 25 - 35 มิลลิเมตร และอาจทาสีได้ แต่ต้องเป็นสีที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนในขอบเขตของสนาม หลักการข้อ 3 ก่อนการเริ่มการแข่งขัน หากกรรมการผู้ตัดสินหรือผู้เล่นฝ่าย ตรงกันข้ามขอตรวจสอบใบอนุญาต (บัตรประจ�ำตัวนักกีฬา) ผู้เล่นนั้นๆ จะต้องแสดงให้ดูทันที ใบอนุญาต (บัตรประจ�ำตัว นักกีฬา) ทุกประเภทต้องออกโดยสนามเปตองแห่งประเทศ ไทยฯ มีรูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว มีลายมือชื่อของผู้ถือบัตร และต้อง มีตราของชมรมหรือสมาคมนั้นๆ ประทับคาบอยู่บนรูปถ่าย
ด้วย หลักการข้อ 4 ห้ามผู้เล่นทุกคนเปลี่ยนลูกเป้าหรือลูกเปตองในระหว่างการแข่งขันเว้นแต่ในกรณี ดังนี้ 4.1 ลูกเป้าหรือลูกเปตอง หาไม่พบ (ก�ำหนดเวลาในการค้นหา 5 นาที) 4.2 ถ้าลูกเปตองหนึ่งแตกเป็น 2 ชิ้น หรือหลายชิ้น ให้ปฏิบัติตามกฎข้อย่อยดังนี้ ก. ถ้าหมดลูกเปตองเล่นแล้ว ให้นับคะแนนจากชิ้นที่ใหญ่ที่สุด ข. ถ้ายังมีลูกเปตองเหลือเล่นอยู่ ให้น�ำลูกเปตองอื่นที่มีลักษณะใกล้เคียงกันมาเปลี่ยน ทันทีโดยให้น�ำมาวางแทนที่ต�ำแหน่งชิ้นใหญ่ที่สุดของลูกเปตองที่แตกนั้นเล่นต่อไปตามปกติ กฎข้อ 4.2 นี้ให้ใช้กับลูกเป้าด้วย วิธีการเล่น หลักการข้อ 5 เปตองเป็นกีฬาที่เล่นได้กับสนามทุกสภาพ ยกเว้นพื้นคอนกรีตพื้นไม้ และพื้นดินที่มีหญ้าขึ้น สูง โดยมีคณะกรรมการจัดการแข่งขันหรือผู้ตัดสินเป็นผู้ก�ำหนด ผู้เล่นทุกทีมต้องเล่นในสนามที่ก�ำหนด ให้ส�ำหรับการแข่งขันชิงชนะเลิศระดับชาติและนานาชาติสนามต้องมีขนาดกว้าง 4 เมตร ยาว 15 เมตร 42
เป็นอย่างน้อย 5.1 ส่วนการแข่งขันอื่นๆ สมาคมฯ อาจอนุโลมให้เปลี่ยนแปลงขนาดของสนามได้ตามความ จ�ำเป็นและความเหมาะสมแต่ต้องมีขนาดกว้าง 3.50 เมตร และยาว 13 เมตร เป็นอย่างน้อย 5.2 เกมหนึ่งก�ำหนดให้ใช้ 13 คะแนน ส�ำหรับการแข่งขันในรอบแรกและรอบต่อๆ ไป (จะใช้ เพียง 11 คะแนนก็ได้) ส�ำหรับชิงชนะเลิศในระดับนานาชาติหรือแห่งชาติให้ใช้ 15 คะแนน หลักการข้อ 6 ผู้เล่นทุกคนต้องลงสู่สนามแข่งขันตามเวลาที่ก�ำหนดให้และท�ำการเสี่ยงว่าฝ่ายใดจะเป็นฝ่ายโยน ลูกเป้า 6.1 ผู้เล่นคนหนึ่งคนใดในทีมซึ่งเป็นฝ่ายชนะในการเสี่ยงเป็นผู้โยนลูกเป้าเมื่อเลือกจุดเริ่มแล้วให้ เขียนวงกลมบนพื้นมีขนาดพอที่เท้าทั้งสองข้างเข้าไปยืนอยู่ได้ (เส้นผ่าศูนย์กลางระหว่าง 0.35 - 0.50 เมตร) วงกลมนั้นจะต้องห่างจากสิ่งกีดขวางต่างๆ และเส้นสนามไม่น้อยกว่า 1 เมตร ส�ำหรับการแข่งขันใน สภาพสนามที่ไม่มีขอบเขตของสนามให้เขียนวงกลม ห่างจากวงกลมของสนามอื่นไม่น้อยกว่า 2 เมตร 6.2 ผู้ที่เตรียมเล่นจะต้องอยู่ภายในวงกลม ห้ามเหยียบเส้นรอบวง ห้ามยกเท้าพ้นพื้น และห้าม ออกจากวงกลมก่อนที่ลูกเปตองจะตกลงพื้นส่วนอื่น ร่างกายจะถูกพื้นนอกวงกลมไม่ได้เว้นแต่คนขาพิการ ซึ่งได้รับอนุญาตเป็นกรณีพิเศษให้วางเท้าข้างเดียว ในวงกลมได้ ส่วนนักกีฬาพิการที่ต้องนั่งรถเข็นให้ขีด วงกลมรอบล้อรถเข็นได้และที่วางเท้าของรถเข็นต้อง ให้อยู่สูงเหนือขอบวงกลม 6.3 ผู้เล่นคนหนึ่งคนใดในทีมซึ่งเป็นผู้โยน ลูกเป้า ไม่บังคับว่าจะต้องเป็นผู้โยนลูกเปตองลูกแรก เสมอไป 6.4 ในกรณีที่สนามไม่ดี (ช�ำรุด) ห้ามผู้เล่นตกลงกันเองแข่งขันสนามอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตจาก ผู้ตัดสิน หลักการข้อ 7 ลูกเป้าที่โยนไปแล้วถือว่าดีต้องมีกฎเกณฑ์ ดังนี้ 7.1 มีระยะห่างระหว่างขอบวงกลมด้านใกล้ที่สุดถึงลูกเป้า ก. ไม่น้อยกว่า 4 เมตร และไม่เกิน 8 เมตร ส�ำหรับเด็กเล็ก (อายุไม่เกิน 12 ปี) ข. ไม่น้อยกว่า 5 เมตร และไม่เกิน 9 เมตร ส�ำหรับเด็กเล็ก (อายุไม่เกิน 13 - 14 ปี) ค. ไม่น้อยกว่า 6 เมตร และไม่เกิน 10 เมตร ส�ำหรับเยาวชน (อายุไม่เกิน 15 - 17 ปี) 43
ง. ไม่น้อยกว่า 6 เมตร และไม่เกิน 10 เมตร ส�ำหรับผู้ใหญ่ (ไม่จ�ำกัดอายุ) 7.2 วงกลมต้องอยู่ห่างจากสิ่งกีดขวางต่างๆ และเส้นเขตสนามหรือเส้นฟาวล์ไม่น้อยกว่า 1 เมตร 7.3 ต�ำแหน่งลูกเป้าต้องอยู่ห่างจากสิ่งกีดขวางต่างๆ และเส้นเขตสนามไม่น้อยกว่า 1 เมตร 7.4 ลูกเป้าจะต้องอยู่ในต�ำแหน่งที่มองเห็นได้อย่างชัดเจน ขณะยืนตัวตรงอยู่ในวงกลม (ถ้ามีการ โต้แย้งในกรณีนี้ให้ผู้ตัดสินเป็นผู้ชี้ขาด) 7.5 การโยนลูกเป้าในเที่ยวต่อๆ ไป ให้เขียนวงกลมรอบต�ำแหน่งลูกเป้าที่อยู่ในเที่ยวที่แล้วเว้น แต่กรณีดังนี้ ก. วงกลมมีระยะห่างจากสิ่งกีดขวางและเส้นสนามน้อยกว่า 1 เมตร ในกรณีนี้ ผู้เล่น ต้องเขียนวงกลมให้ห่างจากสิ่งกีดขวางและเส้นเขตสนามที่กติกาได้ก�ำหนดไว้ ข. โยนลูกเป้าไม่ได้ระยะตามที่กติกาก�ำหนดไว้ แม้จะโยนไปในทิศทางใดก็ตาม กรณีนี้ผู้ เล่นสามารถถอยหลังได้ตามแนวตรง (ตั้งฉาก) จากต�ำแหน่งเดิมของลูกเป้าในเที่ยวที่แล้ว แต่ทั้งนี้วงกลม นั้นจะถอยหลังได้ไม่เกินระยะการโยน ตามที่กติกาก�ำหนดไว้โดยให้นับจากเส้นฟาวล์ (Dead Ball Line) ด้านบนจนถึงเส้นขอบวงกลมด้านใกล้สุด - (ถ้าไม่มีเส้นฟาวล์ ให้นับจากเส้นสนามด้านบนจนถึงขอบวงกลม ไม่เกิน 11 เมตร) ค. ลูกเป้าที่อยู่ในระยะการโยนหรือเล่นได้ แต่ผู้เล่นฝ่ายที่มีสิทธิ์โยนลูกเป้าไม่ประสงค์ จะเล่นในระยะนั้นๆ กรณีนี้ผู้เล่นสามารถถอยหลังตามแนวตรง (ตั้งฉาก) จากต�ำแหน่งจากเดิมของลูก เป้าในเที่ยวที่แล้วได้ตามความพอใจ แต่ทั้งนี้วงกลมนั้นจะถอยหลังได้ไม่เกินระยะการโยน ตามที่กติกา ก�ำหนดไว้โดยให้นับจากเส้นฟาวล์ (Dead Ball Line) ด้านบนจนถึงเส้นขอบวงกลมด้านใกล้สุด - (ถ้าไม่มีเส้นฟาวล์ ให้นับจากเส้นสนามด้านบนจนถึงขอบวงกลม ไม่เกิน 11 เมตร) ง. ผู้เล่นฝ่ายเดียวกันโยนลูกเป้าไปแล้ว 3 ครั้ง ยังไม่ได้ดีตามกติกาก�ำหนดจะต้องเปลี่ยน ให้ผู้เล่นฝ่ายตรงกันข้ามเป็นผู้โยนซึ่งมีสิทธิ์โยนได้ 3 ครั้ง เช่นเดียวกัน และอาจย้ายวงกลมถอยหลังได้ตาม แนวตรง (ตั้งฉาก) แต่ทั้งนี้วงกลมนั้นจะถอยหลังได้ไม่เกินระยะการโยน ตามที่กติกาก�ำหนดไว้โดยให้นับ จากเส้นฟาวล์ (Dead Ball Line) ด้านบนจนถึงเส้นขอบวงกลมด้านใกล้สุด (ถ้าไม่มีเส้นฟาวล์ให้นับจาก เส้นสนามด้านบนจนถึงขอบวงกลม ไม่เกิน 11 เมตร) วงกลมที่เขียนขึ้นใหม่นั้นจะเปลี่ยนแปลงอีกไม่ได้ แม้ว่าผู้เล่นของทีมหลังนี้จะโยนลูกเป้าไม่ดีทั้ง 3 ครั้ง ก็ตาม จ. ถึงแม้ทีมที่โยนลูกเป้า 3 ครั้งแรกโยนได้ไม่ดีตามที่กติกาก�ำหนดก็ตาม แต่ทีมที่โยน ลูกเป้าครั้งแรกนั้นยังมีสิทธิ์เป็นฝ่ายโยนลูกเปตองลูกแรกอยู่ หลักการข้อ 8 ลูกเป้าที่โยนไปแล้วถูกผู้ตัดสิน ผู้เล่น ผู้ดู สัตว์หรือสิ่งที่เคลื่อนที่อื่นๆ แล้วหยุด ให้น�ำมาโยนใหม่ โดยไม่นับรวมอยู่ในการโยน 3 ครั้งที่ได้ก�ำหนดไว้ 8.1 หลังจากการโยนลูกเป้าและลูกเปตองลูกแรกไปแล้วฝ่ายตรงกันข้ามยังมีสิทธิ์ประท้วงว่าด้วย 44
ต�ำแหน่งของลูกเป้านั้นได้ ให้เริ่มโยนและลูกเปตองใหม่ 8.2 ถ้าฝ่ายตรงกันข้ามได้โยนลูกเปตองไปด้วยแล้ว 1 ลูก ให้ถือว่าต�ำแหน่งลูกเป้านั้นดี และไม่มี สิทธิ์ประท้วงใด ๆ ทั้งสิ้น หลักการข้อ 9 ลูกเป้าที่โยนไปแล้วถือว่าฟาล์ว มี 5 กรณีดังนี้ 9.1 เมื่อลูกเป้าที่โยนไปแล้วไม่ได้ต�ำแหน่งที่ถูกต้องตามที่ก�ำหนดไว้ในข้อ 7 9.2 เมื่อลูกเป้าเคลื่อนที่ออกนอกเส้นฟาวล์ แต่ลูกเป้าคาบเส้นยังถือว่าดี ลูกเป้าที่ถือว่าฟาวล์ คือลูกเป้าที่ออกเส้นฟาวล์เท่านั้น 9.3 เมื่อลูกเป้าเคลื่อนที่ไปแล้ว ผู้เล่นไม่สามารถมองเห็นจากวงกลมตามที่ก�ำหนดไว้ในข้อ 7.4 แต่ถ้าลูกเป้าถูกลูกเปตองบังอยู่ไม่ถือว่าฟาวล์ ทั้งผู้ตัดสินมีสิทธิ์ที่จะยกลูกเปตองที่บังอยู่ออกชั่วคราวเพื่อ ตรวจสอบว่า ลูกเป้านั้นมองเห็นได้ชัดเจนหรือไม่ 9.4 เมื่อลูกเป้าเคลื่อนที่ไป มีระยะห่างจากวงกลมเกินกว่า 20 เมตร หรือน้อยกว่า 3 เมตร 9.5 เมื่อลูกเป้าเคลื่อนที่ไปแล้ว หาไม่พบภายใน 5 นาที หลักการข้อ 10 ก่อนหรือหลังการโยนลูกเป้า ห้ามผู้เล่นปรับพื้นที่หรือเคลื่อนย้ายสิ่งต่างๆ เช่น กรวด หิน ดิน ทราย ใบไม้ ฯลฯ ในบริเวณสนามแข่งขันโดยเด็ดขาด เว้นแต่ผู้เตรียมตัวจะลงเล่นเท่านั้นที่มีสิทธิ์ปรับ สนามที่มีหลุมซึ่งเกิดจากการโยนลูกเปตองของผู้เล่นคนที่แล้ว และอาจใช้ลูกเปตองปรับหลุมนั้นได้ไม่เกิน 3 ครั้ง ผู้เล่นที่ฝ่าฝืนกฎต้องลงโทษดังนี้ 10.1 ถูกเตือน 10.2 ปรับลูกที่เล่นไปแล้วหรือลูกที่ก�ำลังจะเล่นเป็นลูกฟาวล์ 10.3 ปรับเฉพาะผู้กระท�ำผิด ให้งดเล่น 1 เที่ยว 10.4 ปรับเป็นแพ้ทั้งทีม 10.5 ปรับให้แพ้ทั้ง 2 ทีม ถ้ากระท�ำผิดเหมือนกัน หรือสมรู้ร่วมคิดกัน หลักการข้อ 11 ในระหว่างการเล่นแต่ละเที่ยว หากมีใบไม้ กระดาษ หรือสิ่งอื่นๆ มาบังลูกเป้าโดยบังเอิญให้ เอาออกได้ 11.1 เมื่อลูกเป้าหยุดนิ่งแล้วและเคลื่อนที่ไปใหม่โดยแรงลมพัด หรือจากการลาดเอียงของพื้น สนาม จะต้องน�ำกลับมาวางที่ต�ำแหน่งเดิม 11.2 เมื่อลูกเป้าเคลื่อนที่โดยอุบัติเหตุอันเกิดขึ้นจากผู้ตัดสิน ผู้ดู สัตว์ สิ่งเคลื่อนที่อื่นๆ รวม ทั้งลูกเป้าหรือลูกเปตองที่เคลื่อนที่มาจากสนามอื่นให้น�ำลูกเป้านั้นมาวางที่ต�ำแหน่งเดิม ทั้งนี้ต้องท�ำ เครื่องหมายก�ำหนดจุดเดิมของลูกเป้า 45
11.3 เพื่ อ หลี ก เลี่ ย งการประท้ ว งทั้ ง ปวง ผู ้ เ ล่ น ควรท� ำ เครื่องหมายบนพื้นสนามตามต�ำแหน่งของลูกเป้าหรือลูกเปตองไว้ มิฉะนั้นจะไม่มีสิทธิ์ประท้วงใดๆ ทั้งสิ้น 11.4 ลูกเป้าที่อยู่บนพื้นสนามซึ่งมีน�้ำขังอยู่ถือว่าดี หากลูก เป้านั้นยังไม่ลอยน�้ำ หลักการข้อ 12 ในระหว่างการเล่นแต่ละเที่ยวหากลูกเป้าเคลื่อนที่ไปอยู่อีก สนามหนึ่ง ให้ถือว่าลูกเป้านั้นยังดีอยู่ 12.1 ถ้าสนามนั้นมีการแข่งขันอยู่ ฝ่ายที่ต้องใช้ลูกเป้านั้น จะต้องหยุดรอเพื่อคอยให้ผู้เล่นที่ก�ำลังเล่นอยู่ในสนามนั้นเล่นจบ
ก่อน 12.2 ผู้เล่นที่มีปัญหาตามข้อ 12.1 จะต้องแสดงออกถึงความมีน�้ำใจ ความอดทน และความเอื้อ อารีต่อกัน
หลักการข้อ 13 ในระหว่างการเล่นแต่ละเที่ยว ถ้าลูกเป้าเกิดฟาวล์ให้ปฏิบัติตามกฎข้อย่อยดังนี้ 13.1 ถ้าผู้เล่นทั้งสองฝ่ายมีลูกเปตองเหลืออยู่ การเล่นเที่ยวนั้นถือว่าโมฆะ ต้องเริ่มเล่นใหม่ที่ ด้านตรงข้าม 13.2 ถ้าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมีลูกเปตองเหลืออยู่เพียงฝ่ายเดียว ฝ่ายนั้นจะได้คะแนนเท่ากับจ�ำนวน ลูกเปตองที่เหลืออยู่โดยไม่ต้องเล่นและจะเริ่มเล่นใหม่ที่ด้านตรงข้าม 13.3 ถ้าทั้งสองฝ่ายหมดลูกเปตองเหมือนกัน ให้เริ่มเล่นใหม่ที่ด้านตรงข้าม โดยให้ทีมที่คะแนน เที่ยวที่เป็นฝ่ายโยนลูกเป้า หลักการข้อ 14 ลูกเป้าที่ถูกยิงแล้วเคลื่อนที่ไปจากต�ำแหน่งเดิม 14.1 ถ้าลูกเป้าที่ยิงแล้วเคลื่อนที่ไปถูกผู้ดูหรือผู้ตัดสินแล้วหยุด ให้ลูกเป้านั้นอยู่ในต�ำแหน่งใหม่ 14.2 ถ้าลูกเป้าที่ยิงแล้วเคลื่อนที่ไปถูกผู้เล่นคนหนึ่งคนใดแล้วหยุด ฝ่ายตรงข้ามที่ท�ำให้ลูก เป้าหยุด มีสิทธิ์เลือกปฏิบัติตามกฎข้อย่อยดังนี้ ก. ให้ลูกเป้าอยู่ในต�ำแหน่งใหม่ ข. น�ำลูกเป้ามาวางที่ต�ำแหน่งเดิม ค. วางลูกเป้าตามแนวยาวระหว่างต�ำแหน่งเดิมกับต�ำแหน่งใหม่ แต่ต้องอยู่ในพื้นที่ ที่ก�ำหนดไว้ในกติกาแล้วเริ่มเล่นต่อไปตามปกติ 14.3 กรณีตามข้อ 14.2 (ข) และ (ค) จะกระท�ำได้ต่อเมื่อผู้เล่นได้ท�ำเครื่องหมายที่ต�ำแหน่งลูก 46
เป้าไว้เท่านั้น มิฉะนั้นจะต้องให้ลูกเป้าอยู่ในต�ำแหน่งใหม่ หลักการข้อ 15 ในระหว่างการเล่นแต่ละเที่ยวหากลูกเป้าเคลื่อนที่ไปอยู่ในสนามอื่นถือว่ายังดีอยู่ ในเที่ยวต่อไป จะต้องมาเล่นที่สนามเดิมด้านตรงกันข้าม แต่ต้องเป็นไปตามที่ก�ำหนดไว้ในกติกาข้อ 7. ลูกเปตอง หลักการข้อ 16 ผู้เล่นคนหนึ่งคนใดในทีมที่ชนะในการเสี่ยง หรือชนะในเที่ยวที่แล้วเป็นผู้โยนลูกเป้า และลูก เปตองลูกแรก 16.1 ห้ามผู้เล่นใช้เครื่องช่วยอื่นใด หรือแม้แต่ขีดเส้นบนพื้นสนามเพื่อเป็นที่สังเกตจุดตกของลูก เปตองที่ตนจะโยน และไม่อนุญาตให้ผู้เล่นถือเปตองหรือสิ่งอื่นในมืออีกข้างหนึ่งในขณะที่โดยลูกเปตอง ลูกสุดท้ายของตน (ยกเว้นผ้าเช็ดลูกเปตอง) 16.2 ห้ามท�ำให้ลูกเปตองหรือลูกเป้าเปียกน�้ำ (ยกเว้นกรณีฝนตก) 16.3 ถ้าลูกเปตองลูกแรกที่เล่นไปแล้วเกิดฟาวล์ ต้องเปลี่ยนให้ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามเป็นผู้เล่น และ ถ้าลูกที่โยนไปยังฟาวล์อยู่จะสลับกันโยนฝ่ายละ 1 ลูก จนกว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะโยนลูกเปตองได้ดีแล้วจึง เล่นต่อไปตามปกติ 16.4 ฝ่ายใดที่ท�ำให้ลูกเปตองในสนามฟาวล์ทั้งหมด โดยไม่มีลูกเปตองเหลืออยู่ในสนาม ฝ่ายที่ ท�ำให้ลูกเปตองฟาวล์จะต้องเป็นฝ่ายเล่นลูกต่อไป ทั้งนี้หากมีปัญหาท�ำให้ใช้กติกาข้อ 2.9 เป็นหลัก หลักการข้อ 17 เมื่ อ ผู ้ เ ล่ น คนหนึ่ ง คนใดเข้ า ไปยื น อยู ่ ใ นวงกลมเพื่ อ เตรียมเล่นแล้ว ผู้ดูและนักกีฬาทุกคนต้องอยู่ในความสงบ 17.1 ห้ามผู้เล่นฝ่ายตรงกันข้ามเดินหรือแสดงท่าทาง อย่างหนึ่งอย่างใดที่เป็นการรบกวนสมาธิของผู้ที่ก�ำลังเล่น เว้น แต่ ผู ้ ร ่ ว มที ม เท่ า นั้ น ที่ มี สิ ท ธิ์ เข้ า ไปอยู ่ ใ นสนามเพื่ อ แนะแนว ทางการโยนลูกเปตองของฝ่ายตนได้ 17.2 ผู้เล่นฝ่ายตรงกันข้ามจะต้องยืนอยู่ด้านข้างหรือ ด้านหลังของผู้เตรียมเล่น และจะต้องอยู่ห่างไม่น้อยกว่า 2 เมตร 17.3 ผู้เล่นที่ฝ่าฝืนกฎข้อ 17. ผู้ตัดสินจะต้องเตือนก่อน 1 ครั้งและถ้ามีการฝ่าฝืนซ�้ำอีกผู้ตัดสินอาจพิจารณาให้ออกจาก การแข่งขันก็ได้
47
หลักการข้อ 18 ลูกเปตองทุกลูกที่โยนไปแล้วห้ามน�ำโยนใส่ใหม่ เว้นแต่ลูกเปตองที่โยนไปแล้วถูกหยุด หรือ เปลี่ยนทิศทางโดยบังเอิญ เนื่องจากถูกลูกเปตองหรือลูกเป้าซึ่งเคลื่อนที่มาจากสนามอื่นหรือถูกสัตว์หรือ สิ่งเคลื่อนที่อื่นๆ กรณีนี้ให้น�ำลูกเปตองในระหว่างการแข่งขัน 18.1 ห้ามทดลองโยนลูกเปตองในระหว่างการแข่งขัน 18.2 เมื่อคณะกรรมการจัดการแข่งขันได้ก�ำหนดเส้นเขตสนามแต่ละสนามเรียบร้อยแล้ว ผู้เล่น แต่ละทีมจะต้องลงท�ำการแข่งขันในสนามที่ก�ำหนดให้ ในระหว่างการเล่น หากลูกเปตองออกนอกเส้น สนามให้ถือว่ายังดีอยู่ (เว้นแต่ที่ได้ก�ำหนดไว้ในข้อ 19) 18.3 ในกรณีที่สนามแข่งขันทั้งหมดมีขอบกั้นอยู่ ขอบกั้นนั้นจะต้องอยู่รอบเส้นฟาวล์ และจะ ต้องห่างกันไม่น้อยกว่า 0.30 เมตร 18.4 เส้นฟาวล์จะต้องอยู่รอบนอกเส้นเขตสนามและจะต้องห่างกัน 1 เมตร เป็นอย่างน้อย และ ไม่เกิน 4 เมตร เป็นอย่างมาก หลักการข้อ 19 ลูกเปตองทุกลูกที่กลิ้งผ่านเส้นฟาวล์และย้อนกลับเข้ามาในสนามถือว่าเป็นลูกฟาวล์แต่ถ้า เปตองทับอยู่บนเส้นฟาวล์ยังไม่ผ่านเลยออกไป ให้ถือว่าเป็นลูกดีอยู่ ลูกจะฟาวล์ก็ต่อเมื่อได้ผ่านพ้นเส้น เขตสนามและเส้นฟาวล์ออกไปทั้งลูก 19.1 ถ้าลูกเปตองผ่านพ้นเส้นฟาวล์และไปกระทบสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือจากความลาดเอียงของพื้น ท�ำให้ลูกเปตองนั้นย้อนกลับเข้ามาในสนามอีก ถือว่าเป็นการลูกฟาวล์ และทุกสิ่งเคลื่อนที่โดยลูกเปตองที่ ฟาวล์นั้นให้กลับมาวางที่ต�ำแหน่งเดิมทั้งหมด ส่วนสิ่งของไม่ได้อยู่ในการเล่นให้เอาออกจากสนามทันที 19.2 ลูกเปตองที่ฟาวล์แล้ว ต้องน�ำออกจากสนามทันที มิฉะนั้นจะถือว่าเป็นลูกดีหลังจากการ โยนลูกเปตองอีกลูกหนึ่งไปแล้ว หลักการข้อ 20 ลูกเปตองที่โยนไปแล้วถูกท�ำให้หยุด ให้ ปฏิบัติตามกฎข้อย่อยดังนี้ 20.1 โดยผู้ดูหรือผู้ตัดสินให้เปตองนั้นอยู่ ในต�ำแหน่งที่ถูกท�ำให้หยุด 20.2 โดยผู้เล่นฝ่ายเดียวกัน ถือว่าเป็นลูก ฟาวล์ 20.3 โดยผู้เล่นฝ่ายตรงกันข้าม ฝ่ายผู้เล่น
จะโยนใหม่ หรือรักษาต�ำแหน่งที่ลูกเปตองนั้นหยุดก็ได้ 20.4 เมื่อลูกเปตองที่ถูกยิงไปแล้วท�ำให้หยุดโดยผู้เล่นคนหนึ่ง ผู้เล่นฝ่ายตรงกันข้ามของผู้ที่ท�ำให้ ลูกเปตองนั้นหยุด อาจเลือกเล่นตามกฎข้อย่อยดังนี้ 48
ก. ให้ลูกเปตองนั้นอยู่ในต�ำแหน่งที่ถูก ท�ำให้หยุด ข. ให้น�ำลูกเปตองนั้นมาวางตามแนว ตรงระหว่ า งต� ำ แหน่ ง เดิ ม กั บ ต� ำ แหน่ ง ใหม่ ต ามความ พอใจ แต่ต้องเป็นต�ำแหน่งที่สามารถเล่นต่อไปและได้ท�ำ เครื่องหมายไว้ก่อนเท่านั้น ค. ผู้เล่นที่มีเจตนาท�ำให้ลูกเปตองที่ เคลื่อนที่หยุดจะถูกปรับให้แพ้ทั้งทีมทันที หลักการข้อ 21 เมื่อโยนลูกเปตองหรือลูกเป้าไปแล้ว ผู้เล่นทุกคนมีเวลาส�ำหรับโยนลูกเปตองภายใน 1 นาที โดย เริ่มจับเวลาตั้งแต่ลูกเป้าหรือลูกเปตองที่เล่นไปแล้วหยุด หากมีการวัดเกิดขึ้น ให้เริ่มจับเวลาเมื่อการวัด นั้นเสร็จสิ้นลง 21.1 กฎก�ำหนดเวลานี้ให้ใช้ส�ำหรับการโยนลูกเป้าทุกครั้งด้วย 21.2 ผู้เล่นที่ไม่ปฏิบัติตามกฎก�ำหนดเวลานี้ จะถูกลงโทษตามที่ได้ก�ำหนดไว้ในข้อ 10 หลักการข้อ 22 ถ้าลูกเปตองลูกหนึ่งหยุดนิ่งแล้วเคลื่อนที่ไปใหม่ เนื่องจากถูกลมพัดหรือเนื่องจากความลาดเอียง ของสนามจะต้องน�ำลูกเปตองนั้นมาวางไว้ที่ต�ำแหน่งเดิม ส�ำหรับลูกเปตองที่เคลื่อนที่โดยอุบัติเหตุจากผู้ เล่น ผู้ดู สัตว์ สิ่งที่เคลื่อนที่อื่นๆ ก็จะต้องน�ำมากลับมาวางที่ต�ำแหน่งเดิมเช่นเดียวกันเพื่อหลีกเลี่ยงการ ประท้วงทั้งปวง ผู้เล่นทุกคนควรท�ำเครื่องหมายตามต�ำแหน่งลูกเป้าและลูกเปตองไว้ทั้งหมด หลักการข้อ 23 ผู้เล่นที่น�ำลูกของผู้อื่นไปเล่นจะถูกเตือน 1 ครั้ง และลูกเปตองที่เล่นไปนั้นยังคงถือว่าเป็นลูกดี และต้องน�ำมาลูกเปตองของตนไปเปลี่ยนแทนที่ต�ำแหน่งทันทีเมื่อการวัดได้สิ้นสุดลง 23.1 ถ้ามีการกระท�ำผิดซ�้ำในเกมเดียวกัน ให้ถือว่าลูกเปตองนั้นเป็นลูกฟาวล์และทุกสิ่งที่ถูกลูก เปตองท�ำให้เคลื่อนที่ไปจะต้องน�ำกลับมาวางไว้ที่เดิม 23.2 ก่อนการโยนลูกเปตองทุกครั้งผู้เล่นจะต้องท�ำความสะอาดลูกเปตองของตน มิให้มีสิ่งหนึ่ง สิ่งใดติดอยู่ มิฉะนั้นจะถูกลงโทษตามที่ก�ำหนดไว้ในข้อ 10 หลักการข้อ 24 ลูกเปตองทุกลูกที่โยนไปผิดเงื่อนไขตามกติกาถือว่าเป็นลูกฟาวล์ และทุกสิ่งที่ถูกลูกเปตองท�ำให้ เคลื่อนที่ไปจะต้องน�ำมาวางที่ต�ำแหน่งเดิม กฎนี้ให้ใช้ส�ำหรับลูกเปตองที่ผู้เล่นยืนผิดวงกลมไม่ใช่วงกลม เดิมที่โยนลูกเป้าที่ถูกต้อง (ทีมที่โยนลูกเป้าต้องลบรอยขีดวงกลมเก่าที่อยู่บริเวณใกล้เคียงออกให้หมด) 49
ในกรณีเช่นนี้ ฝ่ายตรงกันข้ามมีสิทธิ์ปฏิบัติตามกฎว่าด้วยการได้เปรียบ และยอมให้ลูกเปตองที่ โยนไปนั้นเป็นลูกดีก็ได้ ถ้าเห็นว่าลูกของฝ่ายตนได้เปรียบคู่ต่อสู้ การวัดระยะและการวัดคะแนน หลักการข้อ 25 ในการวัดคะแนนอนุญาตให้โยกย้ายลูกเปตองที่เกี่ยวข้องได้ แต่ต้องท�ำเครื่องหมายที่มีต�ำแหน่ง สิ่งนั้นๆ ไว้ก่อนโยกย้าย เมื่อการวัดคะแนนเสร็จสิ้นลง ให้น�ำทุกสิ่งที่โยกย้ายไปนั้นกลับมาวางที่ต�ำแหน่ง เดิมทั้งหมด ถ้าสิ่งกีดขวางที่มีปัญหานั้นไม่อาจโยกย้ายได้ให้ใช้วงเวียนท�ำการวัด
เป็นแพ้
หลักการข้อ 26 ในการวัดคะแนนระหว่างลูกเปตอง 2 ลูก ซึ่งอยู่ใกล้เคียงกันมาก ผู้เล่นคนหนึ่งได้วัดไปแล้ว และ บอกว่าตนได้ ผู้เล่นฝ่ายตรงกันข้ามมีสิทธิ์ที่จะวัด ใหม่ เพื่อความแน่ใจและถูกต้อง (ส่วนอุปกรณ์ การวัดที่ต้องเป็นอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐาน ห้ามวัด โดยการนับระยะเท้า) เมื่อทั้งสองฝ่ายได้คะแนน แล้วหลายครั้งยังตกลงกันไม่ได้ต้องให้ผู้ตัดสิน เป็นผู้วัดเพื่อตัดสิน และผลการตัดสินถือเป็นที่ สิ้นสุด และหากผู้เล่นเป็นฝ่ายฝ่าฝืนกติกาข้อนี้ให้ ผู้ตัดสินตักเตือน 1 ครั้ง หากยังฝ่าฝืนอีกให้ปรับ
หลักการข้อ 27 เมื่อเสร็จสิ้นการแข่งขันแต่ละเที่ยว ลูกเปตองทุกลูกที่ถูกน�ำออกก่อนการวัดคะแนน ให้ถือว่าเป็น ลูกฟาล์วและไม่มีสิทธิ์โต้แย้งใดๆ ทั้งสิ้น หลักการข้อ 28 ถ้าผู้เล่นฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดท�ำการวัดคะแนนแล้ว ไปท�ำให้ลูกเป้าหรือเปตองที่มีปัญหานั้นเคลื่อนที่ จะต้องเป็นฝ่ายเสียคะแนนนั้นและในการวัดแต่ละครั้งต้องให้ผู้เล่นของทีมที่ท�ำให้ลูกเปตองเกิดปัญหา ท�ำการวัดทุกครั้ง ในการวัดคะแนนแต่ละครั้ง ก่อนท�ำการวัดผู้ตัดสินต้องท�ำการคาดคะเนเสียก่อนว่าลูก ใดเปรียบ และถ้าได้วัดไปแล้วบังเอิญผู้ตัดสินไปท�ำให้เปตองหรือลูกเป้าเคลื่อนที่ ผู้ตัดสินจะต้องท�ำการ วัดใหม่ และภายหลังการวัดปรากฏว่าลูกเปตองที่คาดคะเนว่าชนะยังคงชนะอยู่ให้กรรมการตัดสินตาม ความเป็นจริงถ้าการวัดครั้งใหม่แล้วปรากฏว่าลูกเปตองที่คาดคะเนว่าจะชนะกลับแพ้ ให้ผู้ตัดสินตัดสิน ด้วยความเที่ยงธรรม 50
หลักการข้อ 29 ในกรณีที่ลูกเปตองของทั้งสองฝ่ายมีระยะห่างจากลูกเป้าเท่ากันหรือติดกับลูกเป้าทั้ง 2 ลูกให้ ปฏิบัติตามกฎข้อย่อย ดังนี้ 29.1 ถ้าทั้งสองฝ่ายหมดลูกเปตองเล่นแล้ว การเล่นเที่ยวนั้นถือว่าเป็นโมฆะ จะต้องเริ่มเล่นใหม่ ด้านตรงข้าม โดยผู้เล่นฝ่ายที่ได้คะแนนในเที่ยวที่แล้ว เป็นผู้โยนลูกเป้า 29.2 ถ้าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมีลูกเปตองเหลือเล่นอยู่เพียงฝ่ายเดียว ฝ่ายนั้นจะต้องเล่นจนหมดลูก เปตอง เพื่อท�ำคะแนนเพิ่มเติมตามจ�ำนวนลูกเปตองที่อยู่ใกล้เป้ามากที่สุด 29.3 ถ้าทั้งสองฝ่ายยังมีลูกเปตองเหลืออยู่ ฝ่ายที่โยนลูกเปตองทีหลังจะต้องเป็นฝ่ายเล่นลูกต่อ ไป ถ้าลูกเปตองทั้งสองฝ่ายยังเสมอกันอยู่ต้องเปลี่ยนให้อีกฝ่ายหนึ่งเป็นผู้เล่น และต้องสลับกันโยนฝ่าย ละ 1 ลูก จนกว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะได้คะแนนแล้วเล่นต่อไปตามปกติ หลักการข้อ 30 หากมี สิ่ ง หนึ่ ง สิ่ ง ใดเกาะติ ด กั บ ลู ก เปตอง หรื อ ลู ก เป้ า จะต้ อ งเอาสิ่ ง นั้ น ออกก่ อ นการวั ด คะแนนทุกครั้ง หลักการข้อ 31 การเสนอข้อประท้วงต่อผู้ตัดสินจะกระท�ำ ได้ในระหว่างการแข่งขันแต่ละเกมเท่านั้น เมื่อเกม การแข่งขันเท่านั้น เมื่อเกมการแข่งขันนั้นๆ ได้สิ้น สุดลงจะไม่มีประท้วงใดๆ ทั้งสิ้น เพื่อประโยชน์ของ ฝ่ายตน ผู้เล่นทุกคนต้องคอยระมัดระวังการละเมิดกติกาของฝ่ายตรงข้ามบัตรประจ�ำตัวนักกีฬา - รุ่นของ ผู้เล่นสนามแข่งขัน มาตรฐานของลูกเปตอง เป็นต้น หลักการข้อ 32 ในขณะท�ำการจับสลากและการประกาศผลการจับสลากผู้เล่นทุกคนต้องอยู่พร้อมกันที่โต๊ะ อ�ำนวยการ หลังจากการประกาศผลไปแล้ว 15 นาที ทีมที่ไม่ลงสนามแข่งขันจะถูกปรับเสียคะแนนให้แก่ ฝ่ายตรงข้าม 1 คะแนน 32.1 หากเกินก�ำหนดเวลา 15 นาทีไปแล้วการปรับคะแนนจะทวีเพิ่มขึ้น 1 คะแนน ทุกๆ 5 นาที 32.2 บทลงโทษตามข้อ 32 จะมีผลบังคับหลังจากการประกาศให้เริ่มการแข่งขันทุกครั้ง 32.3 หลังจากการประกาศการแข่งขันได้ผ่านพ้นไปแล้ว 1 ชั่วโมงทีมที่ยังไม่ได้ลงท�ำการแข่งขัน จะถูกปรับให้เป็นผู้แพ้ในเกมนั้น 32.4 ทีมที่มีผู้เล่นไม่ครบจ�ำนวน ต้องลงท�ำการแข่งขันตามเวลาที่ก�ำหนดโดยไม่อนุญาตให้รอผู้ ร่วมทีมที่มาล่าช้า และจะเล่นลูกเปตองได้ตามจ�ำนวนที่ผู้เล่นมีสิทธิเท่านั้น (ตามประเภทที่แข่งขัน) 51
หลักการข้อ 33 เมื่อมีการแข่งขันในเที่ยวนั้นได้เริ่มเล่นไปแล้ว ผู้เล่นที่มาล่าช้าไม่มีสิทธิลงเล่นในเที่ยวนั้น แต่ อนุญาตให้ลงเล่นในเที่ยวต่อไปได้ 33.1 เมื่อการแข่งขันในเกมนั้นได้ด�ำเนินไปแล้ว 1 ชั่วโมง ผู้เล่นที่มาล่าช้าหมดสิทธิลงท�ำการ แข่งขันในเกมนั้น 33.2 ถ้าการแข่งขันนั้นแบ่งเป็นสาย จะอนุญาตให้ผู้เล่นที่มาล่าช้าลงแข่งขันในเกมที่ 2 ได้ ไม่ว่า ผลการแข่งขันในเกมแรกจะแพ้หรือชนะก็ตาม 33.3 หากทีมที่มีผู้เล่นไม่ครบจ�ำนวนสามารถชนะการแข่งขันในเกมนั้น จะอนุญาตให้ผู้เล่นที่มา เล่นช้าลงแข่งขันในเกมต่อไปได้ แต่ต้องเป็นผู้เล่นของทีมนั้น และต้องมีชื่อถูกต้องในการสมัครด้วย 33.4 การแข่งขันแต่ละเที่ยวจะถือว่าเริ่มขึ้นแล้วก็ต่อเมื่อลูกเป้าที่โยนไปในสนามนั้น ได้ต�ำแหน่ง ถูกต้องตามกติกา หลักการข้อ 34 การเปลี่ยนตัวผู้เล่นจะอนุญาตให้กระท�ำได้ก่อนจับสลากการแข่งขันเท่านั้น และต้องเป็นผู้เล่นที่ ไม่มีรายชื่ออยู่ในทีมอื่นของการแข่งขันเดียวกัน หลักการข้อ 35 ในระหว่างการแข่งขันหากมีฝนตก ให้แข่งขันต่อไปจนจบเที่ยวเว้นแต่มีเหตุผลสุดวิสัย ไม่สามารถ แข่งขันต่อไปได้ ผู้ตัดสินและผู้ชี้ขาดเท่านั้นที่มีอ�ำนาจให้หยุดการพักการแข่งขันชั่วคราวหรือยกเลิกการ แข่งขัน 35.1 หลังจากการประกาศเพื่อเริ่มต้นการแข่งขันในรอบใหม่แล้ว รอบสองหรือรอบต่อๆ ไป หากยังมีบางทีมและบางสนามยังแข่งขันไม่เสร็จ ผู้ตัดสินอาจด�ำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่ตนเห็น สมควร ด้วยความเห็นชอบคณะกรรมการจัดการแข่งขันเพื่อให้การแข่งขันนั้นด�ำเนินไปด้วยดี 35.2 ในระหว่างการแข่งขัน ผู้เล่นทุกคนจะออกไปจากสนามต้องได้รับอนุญาตจากผู้ตัดสินเสีย ก่อน มิฉะนั้นจะถูกลงโทษตามที่ก�ำหนดไว้ในข้อ 32 และ 33 หลักการข้อ 36 ในการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ หรือรอบอื่นๆ ก็ตาม ห้ามผู้เล่นทั้งสองฝ่ายสมยอมกันหรือแบ่ง รางวัลกันโดยเด็ดขาด ถ้าผู้เล่นทั้งสองฝ่ายสมยอมกันหรือแบ่งรางวัลกันโดยเด็ดขาด ถ้าผู้เล่นทั้งสองฝ่าย แข่งขันกันไม่สมศักดิ์ศรี เป็นการหลอกลวงผู้ดู ผู้ควบคุมทีม และผู้เล่นทั้งสองทีมจะถูกลงโทษให้ออกจาก การแข่งขัน และผลการแข่งขันที่ผ่านมาก่อนหน้านั้นก็ให้ถือโมฆะด้วย นอกจากนั้นแล้วผู้เล่นทั้งสองทีม จะต้องถูกพิจารณาลงโทษตามที่ก�ำหนดไว้ข้อ 37 อีกด้วย
52
หลักการข้อ 37 ผู้เล่นที่มีพฤติกรรมอันเป็นการผิดมารยาทอย่างรุนแรงต่อผู้ควบคุมทีม ผู้ตัดสิน ผู้เล่นคนอื่นๆ หรือผู้ดู จะถูกลงโทษตามสภาพความผิดดังนี้ ก. ให้ออกจากการแข่งขัน ข. ถอนใบอนุญาต (บัตรประจ�ำตัวนักกีฬา) ค. งดให้รางวัลหรือเงินรางวัล 37.1 การลงโทษผู้เล่นที่กระท�ำผิดอาจมีผลถึงผู้ร่วมทีมด้วย 37.2 บทลงโทษ (ก) (ข) เป็นอ�ำนาจของผู้ตัดสิน 37.3 บทลงโทษ (ค) เป็นอ�ำนาจของคณะกรรมการจัดการแข่งขันที่ท�ำรายงาน และส่งรางวัลที่ ยึดไว้นั้นให้สมาคมฯ ทราบภายใน 48 ชั่วโมง เพื่อพิจารณาตามที่เห็นสมควรต่อไป 37.4 การลงโทษทุกกรณี เป็นอ�ำนาจของคณะกรรมการบริหารสมาคมฯ ที่จะพิจารณาเป็นขั้น ตอนสุดท้าย หลักการข้อ 38 ผู้ตัดสินทุกคนที่ได้รับการแต่งตั้งจากสหพันธ์ฯ เปตองนานาชาติ หรือสมาคมเปตองแห่งประเทศ ไทยฯมี ห น้ า ที่ ค อยควบคุมดูแลให้ก ารแข่งขันด� ำ เนิ นไปอย่ า งมี ร ะเบี ย บและถู ก ต้ อ งตามกติ ก าอย่ า ง เคร่งครัด และมีอ�ำนาจให้ผู้เล่นทุกคน หรือทุกทีมที่ปฏิเสธไม่ปฏิบัติตามค�ำตัดสินออกจากการแข่งขันได้ 38.1 หากมีผู้ซึ่งเป็นนักกีฬาในสังกัดสหพันธ์ฯ เป็นต้นเหตุท�ำให้เกิดการจลาจลในสนามแข่งขัน ผู้ตัดสินจะต้องรายงานให้สหพันธ์ฯ ทราบ ทางสหพันธ์ฯ จะได้เรียกตัวผู้กระท�ำผิดนั้น มาชี้แจงต่อคณะ กรรมการระเบียบวินัยเพื่อพิจารณาลงโทษต่อไป หลักการข้อ 39 หากกรณีอื่นใดที่มิได้ก�ำหนดไว้ในกติกาข้อนี้เป็นหน้าที่ของผู้ตัดสินที่จะต้องขอความร่วมมือจาก คณะกรรมการชี้ขาดการแข่งขันครั้งนั้น เพื่อพิจารณาตัดสินผู้ชี้ขาดตามสมควรแก่กรณี (คณะกรรมการ ชี้ขาดประกอบด้วยกรรมการ 3 หรือ 5 คน) 39.1 การชี้ขาดของคณะกรรมการ ผู้ตัดสินชี้ขาดถือเป็นการสิ้นสุด ในกรณีมีเสียงเท่ากันให้ ประธานกรรมการผู้ตัดสินชี้ขาดเป็นผู้ชี้ขาด 39.2 ผู้เล่นทุกคนจะต้องแต่งกายให้เรียบร้อย การไม่สวมเสื้อไม่สวมรองเท้า ถือว่ามีความผิด ผู้เล่นที่ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎนี้ ถ้าผู้ตัดสินตักเตือน 1 ครั้ง และหากยังเพิกเฉยฝ่าฝืนอีก จะถูกลงโทษให้ ออกจากการแข่งขัน
53
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4
วอลเลย์บอล 1. ความรู้ทั่วไปเบื้องต้นเกี่ยวกับการเล่นกีฬาวอลเลย์บอล 1.1 ประวัติของกีฬาวอลเลย์บอล กีฬาวอลเลย์บอล (Volleyball) ได้เริ่มขึ้นในปี ค.ศ.1895 หรือ พ.ศ. 2438 โดย William G. Morgan ผู้อ�ำนวยการด้านพลศึกษาแห่งสมาคม Y.M.C.A. (Young Mans Christian Association) เมืองโฮล์โยค (Holyoke) มลรัฐแมสซาชูเซตส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้เกิดขึ้นเพียง 1 ปี ก่อนการ แข่งขันกีฬาโอลิมปิกสมัยใหม่ ครั้งที่ 1 ณ กรุงเอเธนส์ โดยเขาได้พยายามคิดและดัดแปลงกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้ใช้เป็นกิจกรรมนันทนาการ หรือผ่อนคลายความตึงเครียดให้เหมาะสมกับฤดูกาล และเขาก็เกิด ความคิดขึ้นในขณะที่ได้ดูเกมเทนนิส เพราะกีฬาเทนนิสเป็นกีฬาที่ต้องใช้อุปกรณ์ เช่น แร็กเกต ลูกบอล ตาข่าย และ อุปกรณ์อื่นๆ อีกมาก จึงได้มีแนวคิดที่จะใช้ตาข่ายสูง 6 ฟุต 6 นิ้ว จากพื้นซุงเป็นระดับสูง กว่าความสูงเฉลี่ยของผู้ชาย และได้ใช้ยางในของลูกบาสเกตบอลมาท�ำเป็นลูกบอล แต่ปรากฏว่ายางใน ลูกบาสเกตบอลเบาและช้าเกินไป จึงได้ใช้ยางนอกของลูกบาสเกตบอล ซึ่งก็ปรากฏว่าใหญ่และหนาเกิน ไปไม่เหมาะสม ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2449 Morgan ได้ติดต่อบริษัท A.G. Spalding and Brother ให้ท�ำ ลูกบอลตัวอย่างขึ้น 1 ลูก โดยมีขนาดเส้นรอบวง 25-27 นิ้ว น�้ำหนัก 9-12 ออนซ์ เพื่อน�ำมาใช้แทนลูก บาสเกตบอล ในต้นปี พ.ศ. 2439 ได้มีการประชุมสัมมนาผู้น�ำทางพลศึกษาที่วิทยาลัยสปริงฟิลด์ ในครั้งนั้น Dr. Luther Gulick ผู้อ�ำนวยการโรงเรียนฝึกพลศึกษาอาชีพและกรรมการบริหารด้านพลศึกษาของ สมาคม Y.M.C.A. ได้เชิญให้นาย William G. Morgan น�ำเกมนี้เข้าร่วมในการจัดนิทรรศการที่ New College Gymnasium โดยใช้ผู้เล่นฝ่ายละ 5 คน นาย Morgan ได้อธิบายว่า เกมใหม่ชนิดนี้เรียกว่า มินโตเนต (Mintonette) เป็นเกมที่ใช้เล่นลูกบอลในโรงยิมเนเชียม แต่อาจจะใช้เล่นในสนามกลางแจ้ง ก็ได้ ซึ่งผู้เล่นสามารถเล่นลูกบอลโดยไม่มีสิ่งกีดขวางเหนือความสูงของตาข่ายจากด้านหนึ่งไปอีกด้าน หนึ่ง การเล่นเป็นการผสมผสานกันระหว่างเกม 2 ประเภทคือ เทนนิส และ แฮนด์บอล ศาสตราจารย์ Alfred T. Halstead ผู้อ�ำนวยการพลศึกษาแห่งวิทยาลัยสปริงฟิลด์ ซึ่งได้ชมการสาธิตได้ให้ข้อคิดเห็น และลงความเห็นว่า เนื่องจากเกมการเล่นส่วนใหญ่ลูกบอลจะต้องลอยอยู่ตลอดเวลา เมื่อตกลงพื้นก็ถือว่า ผิดกฎเกณฑ์การเล่น จึงใช้ชื่อเกมการเล่นนี้ว่า วอลเลย์บอล ซึ่งในที่ประชุมรวมทั้งนาย Morgan ต่างก็ ยอมรับชื่อนี้โดยทั่วกัน 54
ในปี พ.ศ. 2495 คณะกรรมการบริหารสมาคมวอลเลย์บอลแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ได้เสนอ ให้ใช้ชื่อเป็นค�ำเดียวคือ Volleyball และนาย Morgan ได้แนะน�ำวิธีการเล่นให้แก่ Dr. Frank Wook ซึ่ง เป็นนักฟิสิกส์ และ John Lynoh หัวหน้าหน่วยดับเพลิง โดยได้ร่วมกันร่างกฎเกณฑ์ในการเล่นขึ้น 10 ข้อ ดังนี้ 1. เกม (Game) เกมหนึ่งประกอบด้วย 9 อินนิ่ง เมื่อครบ 9 อินนิ่ง ฝ่ายใดได้คะแนนมากว่า 2. อินนิ่ง (Innings) หมายถึง ผู้เล่นของแต่ละชุดได้เสิร์ฟทุกคน 3. สนามเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 25 ฟุต ยาว 50 ฟุต 4. ตาข่ายกว้าง 2 ฟุต ยาว 27 ฟุต สูงจากพื้น 6 ฟุต 6 นิ้ว 5. ลูกบอลมียางในหุ้มด้วยหนังหรือผ้าใบ วัดโดยรอบไม่น้อยกว่า 25 นิ้วและไม่เกิน 27 นิ้ว มี น�้ำหนักไม่น้อยกว่า 9 ปอนด์ และไม่เกิน 12 ปอนด์ 6. ผู้เสิร์ฟและการเสิร์ฟ ผู้เสิร์ฟจะต้องยืนด้วยเท้าหนึ่งบนเส้นหลัง และตีลูกบอลด้วยมือข้าง เดียว อนุญาตให้ท�ำการเสิร์ฟได้ 2 ครั้ง เพื่อที่จะส่งลูกบอลไปยังแดนคู่ต่อสู้เช่นเดียวกับเทนนิส การเสิร์ฟ จะต้องตีลูกบอลได้อย่างน้อย 10 ฟุต และห้ามเลี้ยงลูกบอล อนุญาตให้ถูกตาข่ายได้ แต่ถ้าลูกบอลถูกผู้ เล่นคนอื่นๆ ก่อนถูกตาข่ายและถ้าลูกข้ามตาข่ายไปยังแดนคู่ต่อสู้ถือว่าดี แต่ถ้าลูกออกนอกสนาม จะ หมดสิทธ์การเสิร์ฟ ครั้งที่ 2 7. การนับคะแนนลูกเสิร์ฟที่ดี ฝ่ายรับจะไม่สามารถโต้ลูกกลับมาได้ให้นับ 1 คะแนนส�ำหรับฝ่าย เสิร์ฟ ฝ่ายที่จะสามารถท�ำคะแนนได้คือฝ่ายเสิร์ฟเท่านั้น ถ้าฝ่ายเสิร์ฟท�ำลูกบอลเสียในแดนของตนเอง ผู้ เสิร์ฟจะหมดสิทธิ์ในการเสิร์ฟ 8. ลูกบอลถูกตาข่าย (ลูกเสิร์ฟ) ถ้าเป็นการท�ำเสียครั้งที่ 1 ให้ขานเป็นลูกตาย 9. ลูกบอลถูกเส้น ให้ถือเป็นลูกออก 10. การเล่นและผู้เล่น การถูกตาข่ายโดยผู้เล่นท�ำลูกบอลติดตาข่าย หรือ ลูกบอลถูกสิ่งกีดขวาง และกระเด็นเข้าสู่สนามถือเป็นลูกดี ผู้อ�ำนวยการพลศึกษาต่างๆ ของ Y.M.C.A. พยายามส่งเสริมและให้การสนับสนุนกีฬาชนิดนี้ โดยน�ำเข้าไปฝึกในโรงเรียน ซึ่งครูฝึกพลศึกษาของมหาวิทยาลัยสปริงฟิลด์ ในมลรัฐแมสซาชูเซตส์ กับ มหาวิทยาลัย George William มลรัฐอิลลินอยส์ ได้เผยแพร่กีฬาชนิดนี้ไปทั่วสหรัฐอเมริกาและแคนาดา 1.2 ประวัติของกีฬาวอลเลย์บอลในประเทศไทย กีฬาวอลเลย์บอลได้แพร่เข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่เมื่อใดไม่มีหลักฐานแน่ชัด แต่สันนิษฐานว่า ชาวไทยบางกลุ่มได้เริ่มเล่นและแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอลมาตั้งแต่หลังสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา ปี พ.ศ.2477 กรมพลศึกษาได้จัดพิมพ์กติกาวอลเลย์บอลขึ้น โดยอาจารย์นพคุณ พงษ์สุวรรณ เป็นผู้แปล และในปีเดียวกันนี้เองกรมพลศึกษาได้มีการจัดแข่งขันกีฬาประจ�ำปีขึ้น และเริ่มจัดให้มีการ แข่งขันกีฬาวอลเลย์บอลขึ้นเข้าไว้ในรายการแข่งขันเป็นครั้งแรก
55
วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2500 ได้มีการจัดตั้งสมาคมวอลเลย์บอลสมัครเล่นแห่งประเทศไทยขึ้น (Amateur Volleyball Association of Thailand) และมีพลเอกสุรจิตต์ จารุเศรณี เป็นนายกสมาคม คนแรก เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ.2500 และได้รับชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า “สมาคมวอลเลย์บอล สมัครเล่นแห่งประเทศไทย” และจัดการแข่งขันระบบ 12 คน (ข้างละ 6 คน) 1.3 มารยาทและจุดมุ่งหมายกีฬาวอลเลย์บอล 1.3.1 มารยาทการเล่นกีฬาวอลเลย์บอล 1. แต่งกายด้วยชุดที่เหมาะสมกับการเล่นวอลเลย์บอล ในการแข่งขันนั้นผู้เล่นต้อง แต่งกายตามกติกา แต่ในการเล่นทั่วไปเพื่อความสนุกสนานหรือเพื่อออกก�ำลังกาย ควรจะแต่งกายให้ เหมาะสม บางคนสวมรองเท้าแตะหรือแต่งชุดไปเที่ยวลงเล่น เป็นต้น ซึ่งอาจท�ำให้เกิดการบาดเจ็บ ระหว่างการเล่นได้ 2. ไม่แสดงกิริยาเสียดสีล้อเลียน หรือกล่าวถ้อยค�ำที่ไม่สุภาพต่อผู้เล่นฝ่ายเดียวกันหรือ ฝ่ายตรงข้าม หรือผู้ชม 3. มีความสุภาพเรียบร้อย แสดงความเป็นมิตรและให้เกียรติแก่ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามก่อน และหลังการแข่งขันเสร็จสิ้นลงควรจับมือผู้เล่นของทีมตรงข้ามไม่ว่าทีมจะแพ้หรือชนะก็ตาม 4. ไม่โต้เถียงหรือแสดงกิริยาอาการที่ไม่เหมาะสมแก่ผู้ตัดสินในการตัดสิน และปฏิบัติ ตามระเบียบกติกาการเล่นอย่างเคร่งครัด 5. มีใจคอหนักแน่น อดทน อดกลั้น และสามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ ถึงแม้ว่า ผู้เล่นฝ่ายเดียวกันผิดพลาดก็ไม่ควรแสดงอาการไม่พอใจ 1.3.2 มารยาทของผู้ชมกีฬาวอลเลย์บอลที่ดี 1. แสดงความยินดีด้วยการปรบมือให้แก่ผู้เล่นที่เล่นดี และไม่กล่าวถ้อยค�ำหรือแสดง กิริยาเยาะเย้ยถากถางผู้เล่นที่เล่นผิดพลาด 2. ไม่เชียร์ในสิ่งที่เป็นการเสียดสีในทางไม่ดีต่อทีมใดทีมหนึ่ง 3. ไม่กระท�ำตัวเป็นผู้ตัดสินเสียเอง เช่น การตะโกนด่าว่าผู้ตัดสิน เป็นต้น 4. ไม่กระท�ำสิ่งใดๆ ที่ท�ำให้ผู้ตัดสินหรือเจ้าหน้าที่อื่นๆ ปฏิบัติงานไม่ได้ 1.3.3 จุดมุ่งหมายกีฬาวอลเลย์บอล 1. เพื่อให้มีความรู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของกีฬาวอลเลย์บอล 2. เพื่อให้มีความสามารถในการเล่นทักษะเบื้องต้นต่างๆ ของกีฬาวอลเลย์บอลอย่างถูก ต้อง 3. เพื่อให้มีความสามารถในการเล่นกีฬาเป็นทีมได้อย่างถูกต้องและฉลาด 4. เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในกติกาเกี่ยวกับการเล่นกีฬาวอลเลย์บอล 5. เพื่อส่งเสริมในการพัฒนาร่างกาย จิตใจ สังคม และอารมณ์ 6. เพื่อส่งเสริมให้มีนิสัยรู้จักการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน 7. ส่งเสริมให้เป็นคนมีน�้ำใจนักกีฬา 56
8. เพื่อก่อให้เกิดความสนุกสนาน และเพลิดเพลินในการเล่นกีฬาวอลเลย์บอล 9. เพื่อปลูกฝังนิสัยให้รู้จักการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์โดยการเล่นกีฬาวอลเลย์บอล
2.ทักษะพื้นฐานที่จ�ำเป็นในการเล่นวอลเลย์บอล การเตรียมตัวก่อนเล่น
การเตรียมตัวก่อนเล่น (Warm up) ผู้เล่นจ�ำเป็นต้องอบอุ่นร่างกายก่อน เพื่อให้เกิดความพร้อม ทั้งทางร่างกายและจิตใจก่อนจะเล่นลูกบอล โดยให้กล้ามเนื้อทุกส่วนของร่างกายรู้ตัวก่อนมีการยืดหยุ่น พอประมาณ การเคลื่อนไหวของเท้า (Foot Work) เป็นรากฐานที่ ช่วยรักษาความมั่นคงในการทรงตัวมี ความส�ำคัญในการเล่นวอลเลย์บอลมาก ตัวอย่างการบริหารร่างกายเพื่อเตรียมตัวก่อนการเล่น
เงย - ก้ม
บิดตัวซ้าย - ขวา
กางแขนออกข้างล�ำตัว เหยียดแขน ขึ้นพร้อมประสานมือเหนือศีรษะ เขย่งเท้ายึดล�ำตัว 57
เหยียดแขนขึ้นพร้อมประสาน มือเหนือศีรษะ แล้วก้มตัวลง มาให้ปลายนิ้งแตะปลายเท้า หรือพื้น
ตัวอย่างการสร้างความคุ้นเคยกับลูกบอล
เลี้ยงลูกบอล ลงพื้นติดต่อ กัน
กลิ้งบอลบน พื้นเป็นวงกลม รอบขาทั้งสอง ของตนเอง 58
ฝึกการรับ-ส่ง ลูกบอลเป็น วงกลมรอบ เข่าตนเอง
การกลิ้งลูกบอล ลอดใต้ขาเป็น เลขแปด
ยืน ใช้ข้อเท้า หนีบลูกบอล แล้วกระโดดไป ข้างหน้า
นั่งโยนและรับ ลูกบอลข้าม ศีรษะทางด้าน ข้างจากซ้ายไป ขวา สลับกัน
เดาะลูกบอลด้วย แขนเพียงข้าง เดียว ติดต่อกัน สลับซ้ายขวา
โยนลูกบอลขึ้น เหนือศีรษะ เตะ เท้าข้างหนึ่งไป ข้างหน้าพร้อม กับตบมือระหว่าง ขาทั้งสอง แล้ว รับลูกบอลไว้
หันหลัง รับ-ส่งบอลแบบลอดใต้ขาสลับส่งข้ามศีรษะตนเอง ให้คู่ 59
การบริหารร่างกายก่อนเลิก เมื่อเสร็จสิ้นจากการเล่นกีฬาวอลเลย์บอล ความมีการบริหารร่างกายก่อนการเลิกเล่น เพื่อให้ กล้ามเนื้อคลายความตรึงเครียด ตัวอย่างการบริหารร่างกายก่อนเลิกเล่น
บิดตัวซ้าย - ขวา
ประสานมือพร้อมเหยียดตัวไป ข้างหน้า
60
ย่อเข่าสลับข้าง
วิ่งเหยาะๆ
2.1 ทักษะการเคลื่อนไหวเบื้องต้น 2.1.1 ท่าทางและการเคลื่อนที่ (Postures and movement) ท่าทาง (Postures) ลักษณะท่าทางของผู้เล่นจะแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ ท่าทางของผู้เล่นในแดนหน้าเมื่อท�ำการสกัดกั้น และท่าทางเมื่อเป็นผู้เล่นแดนหลังในการรับตบรับเสริฟหรือรับบอลจากคู่ต่อสู้ ลักษณะท่าทางเตรียมเล่นบอลของผู้เล่นเมื่ออยู่แดนหลังมีลักษณะดังนี้ - ยืนงอเข่าโดยปลายเท้าอยู่หน้าหัวเข่า - น�้ำหนักตัวทิ้งไปที่ปลายเท้า - เท่าทั้ง 2 ข้างห่างกันประมาณ 1 ฟุต - น�้ำหนักตัวทิ้งไปด้านหน้าให้มากที่สุด - ยืนเปิดส้นเท้า - แขนทั้ง 2 ข้างอยู่ด้านหน้าล�ำตัวเพื่อเตรียมตัวรับบอลได้ง่าย ท่าทางการเตรียมรับที่ถูกต้องส�ำหรับผู้เล่นแดนหลังเป็นสิ่งที่ส�ำคัญ มาก ท่าทางที่ถูกต้องจะท�ำให้ประสิทธิภาพการรับบอลสูงขึ้นด้วย หากเรา พิจารณาความเร็วของลูกตบจะท�ำให้เราเห็นภาพว่าท�ำไมท่าทางการรับ ที่ถูกต้องจึงจ�ำเป็นในการเล่นวอลเลย์บอลความเร็วของลูกบอลที่เกิดจาก การตบ ทีมชาย 27 เมตร/วินาที หรือ 60.6 ไมล์ต่อชั่วโมง ระยะจากตาข่ายถึง ท่าทางการเตรียมตัวรับบอล เส้นหลัง 0.333 วินาทีทีมหญิง 18 เมตร/วินาที หรือ 40.3 ไมล์ต่อชั่วโมง ระยะจากตาข่ายถึงเส้นหลัง 0.50 วินาที ความเร็วการเคลื่อนไหวของแขนจากเข่าถึงไหล่ 0.44 วินาทีจาก ไหล่ถึงเข่า 0.39 วินาที
การเคลื่อนที่ (Movement) การเคลื่อนที่ในการเล่นวอลเลย์บอลอาจจะแบ่งลักษณะการเคลื่อนที่หลักๆ ได้ 3 ลักษณะคือ การเคลื่อนที่ไปข้างหน้า การเคลื่อนที่ไปด้านข้าง การเคลื่อนที่ไปด้านหลัง 1. การเคลื่อนที่ไปข้างหน้า (Forward Movement) เป็นทักษะการเคลื่อนที่ ที่ใช้ส�ำหรับ เคลื่อนที่ไปเล่นบอลด้านหน้า การเคลื่อนที่ไปด้านหน้าที่เป็นเทคนิคขั้นสูงส�ำหรับนักกีฬาคือ การพุ่งไป ข้างหน้า (diving) เทคนิคการพุ่งสามารถเคลื่อนที่ไปข้างหน้าได้ระยะทางที่มากกว่าการเคลื่อนที่ลักษณะ อื่นด้วยเวลาที่รวดเร็ว ระยะทาง 3 เมตร การเคลื่อนที่ไปข้างหน้าอย่างเร็ว (dash) 1.33 วินาที ระยะทาง 3 เมตร ใช้การเคลื่อนที่แบบพุ่ง (dive) ใช้เวลา 1.21 วินาที ระยะทาง 6 เมตร การเคลื่อนที่ไปข้างหน้าอย่างรวดเร็วใช้เวลา 1.94 วินาที ระยาทาง 6 เมตร ใช้การเคลื่อนที่แบบพุ่ง (dive) ใช้เวลา 1.87 วินาที 2. การเคลื่อนที่ด้านข้าง(Sideways) ลักษณะการเคลื่อนที่ไปด้านข้างควรจะเคลื่อนที่ในลักษณะ 61
ทแยงมุม 45 องศา เพื่อไปเล่นบอล ไม่ควรเคลื่อนที่ไปด้านข้างเล่นบอลในแนวขนานเพราะจะท�ำให้ ควบคุมทิศทางได้ยาก การเคลื่อนที่ด้านข้างทแยงมุม 45 องศา มีลักษณะการใช้เท้า 3 แบบคือ - ก้าวเท้าไปด้านข้าง - ก้าวเท้าไขว้ไปด้านข้าง - ก้าวเท้าไปด้านข้างอย่างรวดเร็ว การเคลื่อนที่ไปด้านข้างทั้ง 3 รูปแบบ ผู้เล่นจะต้องหยุดก่อนที่จะเล่นบอล ส่วนเทคนิคการม้วน ตัว การพุ่งไปด้านข้าง ผู้ฝึกสอนควรจะสอนให้นักกีฬาเมื่อนักกีฬามีระดับความสามารถมากขึ้น เมื่อผู้เล่น ต้องเคลื่อนที่ไปด้านข้างมากกว่า 3 ก้าว การเคลื่อนที่ในลักษณะใดจะเร็วที่สุด มีผลการส�ำรวจแสดงไว้ ดังนี้ ระยะทาง 3 เมตร ทแยงมุม 45 องศา เคลื่อนที่โดยวิธีการก้าวเท้าใช้เวลา 1.51 วินาที เคลื่อนที่โดยวิธีการก้าวเท้าใช้เวลา 1.42 วินาที เคลื่อนที่โดยใช้การพุ่งม้วนตัวใช้เวลา 1.30 วินาที การเคลื่อนที่ไม่ว่าจะด้านซ้ายหรือขวาจะใช้เวลาหลังตัดสินใจ 1.30 วินาที 3. การเคลื่อนที่ไปด้านหลัง (Moving backwards) ลักษณะการเคลื่อนที่อาจจะใช้แบบวิ่งอย่าง รวดเร็วแล้วหมุนตัวกลับเพื่อเล่นบอลหรือก้าวเท้าถอยหลัง แต่ไม่ว่าจะใช้การเคลื่อนที่ลักษณะใดก็ตามสิ่ง ที่ส�ำคัญคือ สายตาจะต้องมองไปที่บอลเสมอ 2.2 ทักษะการรับส่งลูกบอล 2.2.1 ทักษะการเล่นลูกบอลสองมือล่าง (Underarm or Dig Pass) กีฬาวอลเลย์บอลเป็นกีฬาที่เล่นด้วยมือและแขน การรับและการรุกโดยส่วนใหญ่จะเป็นการเล่น ที่ใช้แขน เมื่อลูกบอลลอยมาในระดับต�่ำ แรง เร็ว หรือช้าก็ตาม เราสามารถรับด้วยทักษะการใช้แขน ซึ่ง เรียกว่า อันเดอร์อาร์ม (Underarm) หรือ Bump Pass หรือ Dig Pass นั่นเอง การเล่นลูกสองมือล่าง ต้องค�ำนึงถึงการประสานงานของแขนทั้ง 2 ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยให้ระดับแขนท่อนล่างทั้ง 2 ข้างเสมอกัน ในขณะที่สัมผัสหรือตีลูกบอลให้สะท้อนกลับ เพื่อให้สามารถบังคับหรือควบคุมลูกบอลในวิถี ทางที่ต้องการได้ วิธีปฏิบัติ จากท่าเตรียมพร้อม ยืนทรงตัวอยู่กับที่ สายตามองที่ลูกบอลตลอดเวลา เมื่อลูกบอลลอยมาข้าง หน้าให้เคลื่อนที่เข้าหาลูกบอลและให้ลูกบอลอยู่ตรงหน้าเสมอ ขณะอันเดอร์ลูกบอลให้เหยียดเข่า ยกไหล่ ขึ้น ถ่ายน�้ำหนักตัวไปข้างหน้า ประสานมือเข้าหากัน ให้แขนท่อนล่างสัมผัสลูกบอล พร้อมกับผลักแขน ออกไป ถ้ารับลูกบอลสูงท�ำให้การควบคุมลูกล�ำบากและอาจถูกข้อพับท�ำให้เกิดการเล่นลูกบอลซ�้ำ ซึ่ง เป็นการเล่นที่ผิดกติกา 62
การส่งแรงปะทะลูกบอล การเคลื่อนที่เข้าหาลูกบอลก่อน เป็นการท�ำให้การทรงตัวเพื่อเตรียมการได้ดีกว่า ก่อนที่ลูกบอล จะตกลงมาให้เหยียดแขนอยู่ด้านหน้าล�ำตัว แขนท�ำมุมกับล�ำตัวประมาณ 45 องศา แขนทั้งสองพยายาม ให้ลูกบอลสัมผัสหรือกระทบแขนท่อนล่าง(เหนือข้อมือที่สวมนาฬิกา) เท่าๆ กันทั้งสองแขน เหยียดขาทั้ง สองขึ้นพร้อมๆ กับการส่งแรงจากขา ล�ำตัว ไม่ต้องเหวี่ยงแขน เมื่อลูกบอลกระทบให้ยกหัวไหล่ขึ้นเล็ก น้อยเพื่อบังคับทิศทางของลูกบอล ระยะการส่งหรือแรงกระทบ ผู้เล่นต้องค�ำนวณขนาดของแรงการผ่อน แรงช่วย เพื่อการส่งลูกบอลให้ผู้เล่นอื่นได้อย่างเหมาะสมต่อไป ทิศทางหรือวิถีทางของลูกบอลในการส่ง ลูกบอลสองมือล่างขึ้นอยู่กับมุมของแขนที่ท�ำกับล�ำตัว ในขณะที่ท�ำกับล�ำตัวจะกระทบกับแขนท่อนล่าง ดังนี้ 1. อันเดอร์ลูกบอลไปทิศทางข้างหน้าให้ยกแขนสัมผัสลูกบอล 45 องศา (มุมของแขน กระท�ำกับล�ำตัว) 2. อันเดอร์ลูกบอลขึ้นข้างบน (90 องศา) ให้ยกแขนสัมผัสลูกบอลแนวระดับระนาบ ขนานพื้นดิน 3. อันเดอร์ลูกบอลไปข้างหลังหรือกลับหลัง แขนท่อนล่างสูงกว่าระดับหัวไหล่ มุมแขน กับล�ำตัวมากกว่า 90 องศา 4. อันเดอร์ลูกบอลที่มาไม่ตรงล�ำตัว การเล่นลูกบอลที่มาไม่ตรงล�ำตัวพุ่งมาเร็วและ แรง การเคลื่อนที่เป็นสิ่งส�ำคัญที่ช่วยให้การเล่นลูกอันเดอร์ได้ผลมากขึ้นเพื่อการทรงตัว และการเหยียด แขน สัมผัสลูกบอลตามทิศทางที่ต้องการ โดยทั่วๆ ไปสถานการณ์การเล่นลูกอันเดอร์ผู้เล่นจะพยายามส่ง ลูกบอลไปยังตาข่ายและผู้เล่นตัวเซตเพื่อเปลี่ยนเกมรับเป็นเกมรุกต่อไป
63
การยืนเตรียมพร้อมเพื่อเล่นลูกอันเดอร์ 1. ยืนแยกเท้าออกประมาณ 1 ช่วงไหล่หรือกว้างกว่าเล็กน้อย ปลาย เท้าท้องสองเสมอกัน หรือเท้าใดเท้าหนึ่งอยู่ข้างหน้า 2. ย่อเข่าลงให้หัวเลยปลายเท้าเล็กน้อย หัวไหล่อยู่ในแนวระดับของ เข่า 3. ยกส้นเท้าขึ้นเล็กน้อย น�้ำหนักตัวอยู่ที่ปลายเท้าทั้งสองข้าง 4. ยกมือทั้งสองขึ้นเหนือเข่า ตามองที่ลูกบอล ต้องย่อเข่าแขนตึง ถ่าย น�้ำหนักตัวลงมาสู่ปลายเท้า จึงจะอันเดอร์ลูกด้านหน้าได้ การยืนตัวตรงไม่ย่อ เข่าถึงแม้ว่าแขนจะตึงก็ไม่ใช่ลักษณะการเตรียมพร้อมที่จะเล่นลูกอันเดอร์ทั้ง สองมือ การจับมือและจุดที่สัมผัสลูกบอล จุดที่สัมผัสลูกบอล บริเวณที่ถูกลูกบอลคือบริเวณ ท่อนแขนด้านหน้าทั้งสองแขนพร้อมๆ กัน ตั้งแต่เหนือข้อมือ ขึ้นมาประมาณ 10 ซม.
แสดงลักษณะการจับมือก่อนการเล่นลูกอันเดอร์
แบบที่ 1 วิธีก�ำมือทั้งสองข้างชิดกัน
แบบที่ 2 วิธีโอบหมัด 64
แบบที่ 3 วิธีซ้อนมือ การออกแรงอันเดอร์ หากลูกบอลพุ่งมามีแรงน้อยหรือระยะไกล การอันเดอร์ต้องเพิ่มแรงยกของแขนขึ้น เพื่อให้ เกิดแรงกระทบลูก หากลูกบอลพุ่งมาแรงมากหรือระยะใกล้ ให้ออกแรงส่งเพียงเล็กน้อย โดยอาศัยแรง กระดอนจากลูกในการส่งลูกบอล การที่จะใช้แรงมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับระยะทาง ความเร็ว ความแรง ของลูกบอลด้วย ความสัมพันธ์ระหว่างหน้าแขนกับเป้าหมายที่จะอันเดอร์ลูก หน้าแขนที่จะอันเดอร์ลูกบอลไปต้องหันหน้าเข้าหาทิศทางที่จะส่งลูกออกไปบางขณะจุดกระทบ ของลูกบอลต�่ำมาก แต่ต้องการให้ลูกขึ้นสูง อาจใช้การหักข้อศอกช่วยด้วย การเคลื่อนที่เพื่ออันเดอร์ 1. เคลื่อนที่เข้าหาลูกบอล 2. หยุดและย่อเข่าลงพร้อมกับประสานมือให้นิ้วหัวแม่มือชิดกัน 3. ขณะที่ลูกบอลก�ำลังตกลงมานั้น เหยียดแขนให้ตึงพร้อมกับยกแขนและเหยียดเข่าขึ้น ปะทะกับลูกบอล การอันเดอร์ลูกบอลด้านหน้า การอันเดอร์ลูกบอลด้านหน้ามักจะใช้เล่นมากกว่าลูกอันเดอร์อื่นๆ การอันเดอร์ลูกให้พุ่งไปข้าง หน้ามุมของแขนทั้งสองขณะตีลูกประมาณ 45 องศา การอันเดอร์ลูกตั้งสูง ทักษะนี้มีความส�ำคัญมากส�ำหรับผู้ที่หัดเล่นวอลเลย์บอลใหม่ๆ การอันเดอร์ลูกนี้แขนทั้งสองต้อง เหยียดตึง นิ้วหัวแม่มือทั้งสองแนบชิดติดกัน ขณะตีลูกบอลมุมของแขนประมาณ 90 องศา คือยกแขน เสมอไหล่ นิ้วหัวแม่มือชี้ตรงไปข้างหน้าขนานกับพื้น 65
การอันเดอร์ลูกบอลไปข้างหลัง บ่อยครั้งที่ผู้เล่นจ�ำเป็นต้องอันเดอร์ลูกไปข้างหลัง เช่นการอันเดอร์ลูกที่กระดอนออกจากตาข่าย ให้ลูกบอลลอยมากลางสนามหรือลูกบอลที่ลอยออกไปข้างหลังของสนามต้องตีโต้กลับมา ในการเล่นลูก สองมือล่างเพื่อส่งลูกกลับมาทางข้างหลังนี้ ผู้เล่นต้องเคลื่อนที่ไปให้เร็ว ย่อเข่าให้ต�่ำลง พร้อมกับยกแขน ให้สูงให้ข้อมือสูงกว่าระดับไหล่ขณะที่อันเดอร์ลูกบอล การอันเดอร์ลูกบอลไปด้านข้างล�ำตัว เมื่อลูกบอลลอยมาด้านข้างล�ำตัว ผู้เล่นต้องก้าวเท้าไปทางด้านข้างที่ลูกบอลจะตก โดยก้าวเท้า ให้กว้าง เพื่อขวางทางลูกบอล ถ้าหากก้าวเท้าไม่ทัน อาจจะเหยียดแขนไปดักทิศทางของลูกบอลก็ได้ การเล่นลูกบอลด้วยมือเดียว ทักษะการเล่นวอลเลย์บอลโดยทั่วไปนิยมการเล่นด้วย 2 มือ การเล่นลูกบอลมือเดียวนั้นเป็นการ แก้ไขเหตุการณ์เฉพาะหน้า เนื่องจากเป็นการเล่นที่ควบคุมบังคับยาก โอกาสพลาดมีมากกว่าการเล่นด้วย สองมือ การแก้ไขเหตุการณ์เฉพาะหน้าเป็นการตัดสินใจ เพื่อแก้ไขสถานการณ์จริงๆ เช่น ลูกที่ก�ำลังจะ ติดตาข่าย ลูกบอลที่มีวิถีลูกบอลมาระดับเอวและห่างตัวผู้เล่น เป็นต้น ฯลฯ 1. การแก้ไขลูกที่ติดตาข่าย หรือลูกบอลที่หลุดจากการป้องกัน อาจใช้สองมือหรือมือเดียวก็ได้ ให้ลูกบอลลอยโด่งขึ้นมา 2. การเล่นลูกมือเดียว เมื่อลูกบอลลอยมาสูง อาจเนื่องมาจากสาเหตุดังนี้ คือ ลูกสัมผัสการสกัด กั้นของฝ่ายป้องกันของทีมตนเอง หรือลูกตอบโต้จังหวะที่ 2 แต่ลอยไม่พ้นตาข่าย ผู้รับตีลูกบอลด้วยสัน มือให้ลูกบอลลอยพ้นข้ามตาข่าย 3. ลูกบอลมีวิถีต�่ำระดับสะเอวและอยู่ห่างจากผู้รับ เคลื่อนที่ไปรับด้วยทักษะสองมือล่างไม่ทัน ให้ก้าวเท้าด้านใกล้ทิศทางที่ลูกบอลตกพร้อมกับเหวี่ยงแขนออกไป ให้เหยียดข้อมือ คว�่ำฝ่ามือ หรือใช้ แขนท่อนล่างตีกระทบลูกบอลไปข้างหน้า บริเวณข้างใต้ด้านหลังของลูกบอล 2.2.2 การเล่นลูกมือบน การเซตหรือทักษะการแตะชูลูกบอล การเซตหรือการแตะชูลูกบอลนี้เป็นทักษะการส่งลูกบอลแบบวอลเลย์ (Volley Pass) บางทีเรียก ว่าการส่งลูกบอลเหนือศีรษะ (Overhead Pass) หรือการส่งแบบระดับอก (Chest Pass) หรือส่งลูกบอล ตรงหน้า (Face Pass) เป็นทักษะในการเล่นที่ส�ำคัญ สามารถควบคุมทิศทางได้ง่าย คนเซตสามารถที่จะ เซตลูกให้สูง ให้ต�่ำ บังคับให้ลูกไปข้างหน้าหรือข้างหลังตามความต้องการได้ การเซตถือเป็นหัวใจของทีม ในการสร้างเกมรุก วิธีปฏิบัติ จากท่ายืนทรงตัว เมื่อลูกบอลลอยมาเหนือศีรษะด้านหน้าของผู้เล่น สูงประมาณ 6-12 นิ้ว (15 30 ซม.) ให้ผู้เล่น ชูมือทั้งสองขึ้น กางนิ้วมือ และหันฝ่ามือออกเป็นรูปถ้วย ข้อศอกงอท�ำมุมกับแขนท่อน 66
บนประมาณ 90 องศา เมื่อลูกบอลตกลงมา ให้ใช้ปลายนิ้วทั้ง 5 สัมผัสลูกบอลโดยให้นิ้วหัวแม่มือสัมผัสผิว ใต้ลูกบอลเพื่อรองรับลูกบอล นิ้วทั้งสี่สัมผัสค่อนมาทางข้างหลัง การส่งแรงผลักจากนิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้และ นิ้วกลาง ส�ำหรับนิ้วมือที่เหลือจะใช้บังคับทิศทางของลูกบอล ในขณะเดียวกันให้ตวัดข้อมือหมุนไปข้าง หน้า การเล่นลูกเซตหรือวอลเลย์นี้ผู้เล่นต้องจัดต�ำแหน่งการยืนให้เหมาะสม คือ อยู่ในต�ำแหน่งยืนทรงตัว ปกติ ย่อเมื่อลูกบอลลอยมาอย่างช้าเหนือศีรษะตรงข้างหน้าเสมอผู้เล่นอาจย่อเข่าต�่ำลงเมื่อลูกบอลตกลง มาระดับต�่ำกว่าศีรษะ
การยกมือทั้งสองในการเซต
มือ : นิ้วมือกางออกเป็นรูปถ้วย หันฝ่ามือไปข้างหน้า นิ้วหัวแม่มือชี้ลงพื้นหันปลายนิ้วเข้าหากัน ข้อมือ : งอข้อมือ หันหลังมือให้ใบหน้า และตวัดข้อมือไปข้างหน้าหรือหน้าทิศทางที่ต้องการเมื่อ ลูกบอลตกลงมาในอุ้งมือในทันที แขน : งอข้อศอกให้แขนท่อนล่างท�ำมุมกับแขนท่อนบนประมาณ 90 องศา การผลักส่งแรงให้ ค่อยๆ เหยียดแขนไปทางทิศที่ต้องการส่งลูกบอลไป เท้า : ให้ยืนท่าฝึกทรงตัวในต�ำแหน่งที่ถูกต้อง ในขณะที่จะเล่นลูกบอล ให้เหยียดเข่ายืดล�ำตัวขึ้น เพื่อการเสริมแรงการส่งลูกบอล ท่าการยืนทรงตัว 1. ยืนให้เท้าทั้งสองห่างกันประมาณช่วงไหล่ด้วยปลายเท้า เปิดส้นเท้าเล็กน้อย 2. ย่องอเข่า และก้มล�ำตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย แขนอยู่ข้างล�ำตัว 3. ขณะเล่นลูกบอลให้ยืดล�ำตัวขึ้นให้สัมพันธ์กับการใช้มือและแขน การเซตหรือทักษะการแตะชูลูกบอล หลักการเซตโดยทั่วไป มีดังนี้ 1. ยกมือทั้งสองขึ้นอยู่ประมาณหน้าผาก มือทั้งสองห่างจากใบหน้าประมาณ 1 ก�ำมือ กางนิ้ว ออก กางข้อศอกออกเล็กน้อย ข้อศอกอยู่ระดับเสมอไหล่หรือสูงกว่าเล็กน้อย กางนิ้วออก นิ้วมืองอเป็น รูปครึ่งวงกลม ปลายนิ้วก้อยอยู่ข้างหน้า นิ้วหัวแม่มือเป็นนิ้วที่รองรับลูกบอล นิ้วนางเป็นนิ้วที่ใช้ออกแรง 67
และช่วยควบคุมทิศทางของลูกบอลนิ้วชี้และนิ้วกลางเป็นนิ้วที่ช่วยนิ้ว นางโดยท�ำงานสัมพันธ์กันกับข้อมือด้วย 2. ยืนให้เท้าทั้งสองแยกห่างกันประมาณ 1 ช่วงไหล่หรือ กว้างกว่าเล็กน้อย จะยืนให้ปลายเท้าทั้งสองเสมอกันหรือเท้าใดเท้าหนึ่ง เป็นเท้าน�ำก็ได้ ยกส้นเท้าขึ้นเล็กน้อย ย่อเข่า แขม่วท้อง โน้มตัวไปข้าง หน้าเล็กน้อย ปล่อยไหล่ตามสบายไม่เกร็ง 3. การเคลื่อนที่เข้าหาลูกบอลนั้นจะต้องพยายามเคลื่อนที่ไป ยังต�ำแหน่งที่ลูกบอลจะตก ให้ลูกบอลอยู่เหนือศีรษะบริเวณ หน้าผาก 4. เมื่อย่อเข่า ยกมือขึ้นแล้วขณะที่ลูกบอลสัมผัสนิ้วมือ แรงที่ เซตลูกจะมาจากแรงสปริงของนิ้วพร้อมกับแรงส่งจากข้อมือข้อศอก รวม ทั้งการเหยียดแขนและเข่าออกไป การยืนเตรียมพร้อมในการเซตลูกบอล
การเซตลูกไปข้างหน้า การเซตลูกไกลไปข้างหน้าจะใช้ในขณะที่ต้องการส่งลูกโด่งไปให้คนตบบริเวณหัวเสาของตาข่าย หรือผู้เล่นเซตลูกจากแดนหลังส่งไปให้ผู้เล่นแดนหน้า การเซตลูกไปด้านข้างล�ำตัว มักจะไม่ค่อยพบการเซตลูกข้างล�ำตัวมากนัก ในการแข่งขันวอลเลย์บอล เพราะทักษะการเซต แบบนี้ผู้เล่นต้องมีความช�ำนาญมาก มิฉะนั้นจะเป็นการพักหรือยกลูกบอลขึ้นมากกว่าการเซต การเซตลูก นี้จะใช้ขณะที่ลูกบอลลอยมาเหนือไหล่ ให้ย่อเข่าลงพร้อมกับยกมือไว้ด้านข้างเหนือไหล่ ข้อศอกข้างหนึ่ง ยกขึ้นเสมอไหล่ ปลายข้อศอกชี้ลงสู่พื้น ส่วนข้อศอกอีกข้างหนึ่งยกขึ้นเหนือไหล่ หลังแขนท่อนล่างอยู่ บริเวณหน้าผาก ขณะเซตให้เอนล�ำตัวตามทิศทางที่ลูกบอลลอยไปเล็กน้อย
ลักษณะนิ้วและจุดสัมผัสลูกบอล 68
การเซตลูกไปข้างหลัง ใช้ในขณะที่ผู้เซตต้องการส่งลูกไปทางข้างหลังของตนเอง ย่อเข่าให้ต�่ำ ยกมือให้ตรงศีรษะ หงาย ฝ่ามือ เงยหน้า พร้อมกับส่งมือให้ผ่านหน้าผากเลยไปข้างหลัง บางครั้งอาจจะใช้การกระโดดหลอกล่อ คู่ต่อสู้ร่วมกับการเซตด้วย การกระโดดเซต การกระโดดเซตเป็นลักษณะการตั้งลูกให้เร็วขึ้นโดยไม่ต้องรอให้ลูกบอลลอยต�่ำลง ทั้งนี้เพื่อเป็น การรีบเร่งเปิดเกมรุก มิให้ฝ่ายตรงข้ามตั้งรูปแบบการรับได้ทันท่วงที การกระโดดเซตอาจจะยืนกระโดด เซตหรือวิ่งมาแล้วกระโดดขึ้นเซตลูกบอลก็ได้ การเซตลูกด้วยมือเดียว เป็นการตั้งลูกเมื่อเซตด้วยสองมือไม่ทัน หรือลูกบอลอยู่สูงเกินไปแต่ต้องการส่งลูกให้เพื่อนร่วม ทีมตบลูกเร็วใกล้ตัว ลักษณะการเซตลูกมือเดียวมีวิธีการเหมือนกับการเซตลูกด้วยสองมือต่างกันตรงที่ ยกมือขึ้นเหนือศีรษะและเซตลูกบอลด้วยมือเดียว นอกจากการเซตในลักษณะต่างๆ ที่กล่าวมาแล้ว บาง ครั้งจะเห็นผู้เล่นบางคนต้องคุกเข่าลงเซตลูกทั้งนี้เพราะลูกบอลลอยมาต�่ำ แต่ต้องการส่งลูกไปยังทิศทาง ที่ต้องการและแม่นย�ำ ปัจจุบันการเซตลูกเร็วเริ่มเป็นที่นิยมเล่นกันมากขึ้นเพราะเป็นการเปิดเกมรุกอย่าง รวดเร็ว และเป็นการหลีกเลี่ยงการบล็อกที่ดีของฝ่ายตรงข้ามได้ด้วยการเซตลูกเร็ว จึงมีทั้งการยืนเซตอยู่ กับที่ และการกระโดดเซตการออกแรงเซตไม่มากนัก เนื่องจากเซตลูกจากความสูงสุดของตาข่ายขึ้นไป ประมาณ 30 – 50 ซม. เท่านั้น การเซตเพื่อให้เพื่อนร่วมทีมตบ การเซตเพื่อให้เพื่อนร่วมทีมตบลูกบอลได้นั้น ผู้เซตต้องมีความรู้ ความเข้าใจและมีความสามารถ ในการเล่นได้ดังนี้ 1. การเซตต้องมีจุดหมายที่แน่นอนและเซตได้แม่นย�ำ 2. ต้องบังคับลูกได้ดี คือสามารถเปลี่ยนความสูง และความเร็วของลูกบอลได้ตามจังหวะของ แผนการเล่น 3. ต้องสามารถรู้และเข้าใจเพื่อนร่วมทีมแต่ละคน ว่าชอบตบลูกแบบใดแล้วส่งลูกในแบบที่เพื่อน ร่วมทีมชอบหรือถนัดได้ 4. สามารถอ่านรูปแบบการยืนและความช�ำนาญในการรับลูกตบของฝ่ายตรงข้ามได้ 5. มีการตัดสินใจที่ดีในการที่จะส่งลูกไปให้คนไหน เมื่อใด และส่งลูกในลักษณะใด เพื่อให้การตบ ได้ผลดีที่สุด โดยฝ่ายตรงข้ามไม่สามารถบล็อกหรือรับลูกได้
การเล่นลูกมือเดียวเมื่อลูกลอยมาสูง การเล่นลูกมือเดียวเมื่อลูกบอลลอยมาสูงกว่าศีรษะและค่อนข้างเลยไปข้างหลัง
ซึ่งพบมากใน 69
กรณีที่ฝ่ายรุกตบลูกบอลรุนแรง ลูกบอลได้สัมผัสมือฝ่ายรับที่ท�ำการบล็อก จึงลอยโด่งไปแดนหลังด้วย ความเร็วผู้แล่นที่อยู่แดนหลังจึงต้องเคลื่อนที่ไปรับลูกด้วยมือข้างเดียว เพราะลูกบอลผ่านศีรษะไป โอกาส ที่จะรับลูกบอลในท่าทางอื่นท�ำได้ยาก จึงต้องรับลูกด้วยมือเดียวเหนือศีรษะ โดยมีหลักการดังนี้ 1. ยืนในลักษณะท่าเตรียมพร้อม 2. ขณะที่เห็นลูกบอลลอยโด่งมา ให้ถีบเท้าขึ้น พร้อมก้าวเท้าถอยหลัง เอนตัวไปข้างหลังเล็ก น้อย 3. ยกมือขึ้นคล้ายกับจะตบลูกบอล หงายผ่ามือขึ้นในลักษณะก�ำมือหลวมๆ หรืออาจจะแบมือ ก็ได้ 4. ตีลูกบอลด้วยสันมือ ให้ลูกบอลลอยพุ่งไปข้างหน้าพร้อมกับเหยียดขาขึ้นเพื่อช่วยให้เกิดการ ส่งอาจจะกระโดดขึ้นกับการตีลูกบอลก็ได้ การเล่นลูกสองมือเมื่อลูกลอยมาสูง การเล่นลูกสองมือเหนือศีรษะเป็นการรับลูกอีกแบบหนึ่ง โดยเฉพาะลูกที่พุ่งมาแรงและโด่งอยู่ เหนือศีรษะ การรับลูกนี้มักจะท�ำให้การควบคุมวิถีทางของลูกบอลได้ยากและขาดความแน่นอน จึงไม่ เป็นที่นิยมเล่นกัน แต่ควรฝึกหัดไว้ เพราะถ้าไม่สามารถรับลูกด้วยวิธีอื่นก็จ�ำเป็นต้องเล่นลูกนี้ ซึ่งมีหลัก การรับดังนี้ 1. ยืนอยู่ในท่าเตรียมพร้อม 2. เคลื่อนที่เข้าหาลูกบอล ยกมือทั้งสองขึ้นท�ำท่าคล้ายกับพนมมือแต่แยกสันมือออก นิ้วหัวแม่ มือไขว้ทับกัน 3. งอข้อศอกและยกมือขึ้นอยู่ระดับหน้าผาก 4. ใช้สันมือตีลูกบอลและเกร็งข้อศอกไว้ 5. ต้องการให้ลูกบอลไปในทิศทางใด ให้บิดตัวหรือเอนข้อศอกไปตามทิศทางนั้น ตัวอย่างการฝึกเซตลูกบอล
นั่งชันเข่าเซตลูกบอล 70
ยืนเซตลูกบอล
เซตบอลโต้ฝาผนัง
เซตบอลเหนือศีรษะ
2.2.3 การตบลูกบอล (The smash or spike) การตบลูกบอลเป็นวิธีการรุกที่รุนแรงของฝ่ายที่ครอบครองลูกบอล ลูกตบที่ประสบผลส�ำเร็จ ต้องมาจากลูกจังหวะแรกและจังหวะที่สองที่สัมพันธ์กัน อานุภาพของลูกตบยังขึ้นอยู่กับความแรงของ การตบลูก รวมทั้งความเร็วความคล่องตัวและท่าทางที่ใช้ตบของผู้เล่น การตบลูกบอลนั้นต้องการผู้เล่นที่ มีความสามารถในการกระโดดในแนวดิ่ง และต้องการผู้เล่นที่สูงใหญ่ การตบลูกบอลมีเทคนิคและวิธีการ ค่อนข้างสลับซับซ้อนหลายขั้นตอนที่ผสมผสานต่อเนื่องกัน การตบลูกบอลถือว่าเป็นครั้งสุดท้ายในการ เล่นลูกบอลเพื่อการรุก ดังนั้นการที่ทีมจะชนะการเล่นหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับการรุกโดยการตบด้วย หลักการตบลูกบอลที่ส�ำคัญมีอยู่ 6 ประการ คือ 1. ท่าเตรียม ท่าทางเตรียมพร้อมที่จะตบลูกบอล โดยยืนแยกเท้าทั้งสองออกตามธรรมชาติ งอเข่าทั้งสองเล็ก น้อย โล้ตัวไปข้างหน้าพอสมควร ตามองที่ลูกบอลตลอดเวลาเตรียมพร้อมที่จะวิ่งไปยังทิศทางต่างๆ 2. การวิ่ง การวิ่งเป็นการเพิ่มแรงให้กระโดดได้สูงขึ้น และเป็นการเลือกจุดและจังหวะของการกระโดดที่ เหมาะสม ก่อนที่จะออกวิ่งผู้ตบต้องคิดคาดคะเนตั้งแต่เมื่อเห็นเพื่อนร่วมทีมรับลูกบอลจังหวะแรก ที่ส่ง ไปยังคนเซต โดยค�ำนวณระยะทาง ทิศทางความเร็ว ความโค้ง และจุดตกของลูกบอล จากการเซตลูก จังหวะสอง เมื่อคาดคะเนสิ่งต่างๆ ดังกล่าวแล้ว ก็พร้อมที่จะออกวิ่ง การวิ่งเร็วหรือช้า จ�ำนวนก้าวมาก หรือน้อยเพียงใดก็ตาม แต่จุดมุ่งหมายเพื่อวิ่งไปกระโดดขึ้น ดังนั้นถ้าจังหวะของการวิ่งไม่ดีจะท�ำให้การ กระโดดไม่ดีตามไปด้วยจังหวะและทิศทางของการวิ่งจึงขึ้นอยู่กับความเร็ว ความช้า และความสูงของ ลูกบอลด้วย เนื่องจากความเร็วในการวิ่งของแต่ละคนแตกต่างกัน เวลาในการเริ่มออกวิ่งจึงแตกต่างกัน ผู้ที่เคลื่อนไหวช้า ควรออกวิ่งให้เร็ว คนที่เคลื่อนไหวเร็วอาจเริ่มวิ่งช้าๆ ก่อน 3. การกระโดด จุดมุ่งหมายของการกระโดดเพื่อสร้างความสูง สิ่งที่จะช่วยให้เกิดแรงส่งให้ลอยตัวสูงขึ้นอีกก็ คือการเหวี่ยงแขน สปริงข้อเท้า การยืดล�ำตัว มุมของเข่า คือ ก่อนการกระโดด เข่าต้องงอเล็กน้อย โน้ม 71
ตัวไปข้างหน้า เหวี่ยงแขนทั้งสองไปข้างหน้า เหยียดตัวขึ้นพร้อมกับใช้แรงสปริงจากข้อเท้ากระโดดขึ้น การกระโดดใช้ทั้งปลายเท้าและส้นเท้า การกระโดดด้วยปลายเท้าใช้เมื่อตบลูกเร็วหรือลูกสั้นหรือลูกใกล้ ตาข่าย ส่วนการกระโดดด้วยส้นเท้าการลอยตัวจะสูงกว่าจึงใช้เมื่อตบลูกไกลหรือลูกห่างตาข่าย 4. การเหวี่ยงแขน การเหวี่ยงแขนนอกจากจะช่วยให้มีแรงส่งตัวลอยขึ้นแล้ว ยังช่วยให้การทรงตัวดี โดยบังคับไม่ ให้ตัวพุ่งไปข้างหน้าและช่วยให้ลอยตัวอยู่กลางอากาศได้นาน การเหวี่ยงแขนให้ก�ำมือหลวมๆ กางแขน ออกเล็กน้อย อย่าเหวี่ยงแขนไปข้างหลังมากเกินไป เพราะจะท�ำให้การเหวี่ยงแขนไปข้างหน้าช้าลง และ จะต้องเหวี่ยงแขนทั้งสองข้างขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเหยียดแขนซ้ายไปข้างหน้า เหมือนกับจะจับลูกบอลให้ ข้อศอกขวาอยู่หลังใบหูขวา แอ่นล�ำตัวไปข้างหลังแขนขวาเหยียดตรงไปตบลูกบอลด้วยฝ่ามือและข้อมือ ของแขนขวาโดยหักข้อมือขณะเหวี่ยงล�ำตัวโค้งไปข้างหน้า 5. การตบลูกกลางอากาศ ขณะจะตบลูกให้เหวี่ยงแขนทั้งสองข้างขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเหยียดแขนซ้ายไปข้างหน้า เหมือน กับจะจับลูกบอล ให้ข้อศอกขวาอยู่หลังใบหูขวา เหยียดแขนขวาตรงไปตบลูกบอลด้วยฝ่ามือและหักข้อ มือลง (คนที่ถนัดมือซ้ายให้ท�ำตรงกันข้าม) 6. การลงสู่พื้น เนื่องจากขณะตบลูกบอลผู้ตบจะยกไหล่ขวาขึ้นสูงกว่าไหล่ซ้าย (ผู้ตบลูกบอลด้วยมือขวา) ดังนั้น ขณะลงสู่พื้นก่อน ท�ำให้เท้าซ้ายต้องรับน�้ำหนักมากเกินไป จึงท�ำให้ข้อเข่าได้รับบาดเจ็บ จึงควรฝึกหัดลงสู่ พื้นด้วยเท้าคู่และลงสู่พื้นด้วยปลายเท้าในลักษณะทิ้งย่อตัว คือ เอาปลายเท้าลงสู่พื้น พร้อมกับงอเข่าพับ ตัวลงเล็กน้อย เมื่อลงสู่พื้นแล้วให้อยู่ในท่าเตรียมพร้อมที่จะเล่นลูกได้ต่อไป การตบลูกบอลระยะไกล การตบลูกบอลระยะไกล หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การตบลูกยาว (ลูก C) หรือลูกหัวเสา การตบ ลูกบอลแบบนี้ลูกบอลจะต้องถูกเซ็ทให้มีระดับความสูงจากขอบบนของตาข่ายขึ้นไปประมาณ 2-3 เมตร มีความโค้งยาวเกือบปลายสุดของตาข่าย โดยไม่จ�ำกัดว่าลูกบอลนั้นจะถูกส่งมาจากจุดใดๆ ของสนาม จะ เป็นทางด้านซ้ายหรือด้านขวาแล้วแต่โอกาสที่ผู้ตบจะสามารถเข้าตบลูกบอลได้ การตบลูกบอลระยะกลาง การตบลูกระยะกลาง หรือที่เรียกว่า “ ลูก B ” จะเป็นการตบลูกบอลที่เร็วกว่า “ ลูก C ” ทั้ง คนเซ็ตและคนตบลูกบอลต้องมีความสัมพันธ์กันและเข้าใจซึ่งกันและกัน ลักษณะของการตบลูกระยะนี้ คือ การตบลูกที่ถูกส่งมาจากเพื่อนร่วมทีมซึ่งมีความสูงจากขอบบนของตาข่าย ประมาณ 1 เมตร โดยไม่ จ�ำกัดว่าลูกบอลนั้นจะถูกส่งมาจากส่วนใดของสนามเช่นกัน 72
การตบลูกบอลระยะสั้น เป็นการตบลูกเร็ว หรือที่เรียกว่า “ ลูก A ” เป็นการตบที่รวดเร็ว ระยะทางสั้นๆ ท�ำให้ฝ่ายตรง
ข้ามไม่ทันตั้งรับ เป็นการเล่นที่เปิดเกมรุกอย่างรวดเร็ว เป็นการรุกที่มีประสิทธิภาพ เป็นที่นิยมเล่นกันโดย ทั่วไป การตบลูกบอลวิธีนี้ผู้ตบลูกบอลกับคนเซ็ทจะต้องมีความสัมพันธ์กันเป็นพิเศษ โดยใช้การนัดหมาย หรือการส่งสัญญาณซึ่งกันและกัน โดยลูกบอลที่ถูกตบนั้นจะลอยสูงจากขอบบนของตาข่ายประมาณ 1 ฟุต เท่านั้น เพื่อให้คนตบลูกบอลเข้าท�ำการตบทันที เป็นการตบที่เร็วกว่า “ ลูก B ” การตบเปลี่ยนทิศทาง การตบเปลี่ยนทิศทางเพื่อหลีกเลี่ยงการบล็อกหรือต้องการตบลงตามพื้นที่ว่างในแดนตรงข้าม ผู้ตบต้องสามารถกระโดดได้สูงเพื่อการลอยตัวในอากาศได้นาน สามารถบิดตัวในอากาศได้ รวมทั้งการ สะบัดข้อมือไปยังทิศทางต่างๆ ขณะเล่นลูกบอลได้เป็นอย่างดี การตบลูกจังหวะสอง การตบลูกจังหวะสองเป็นการรุกอย่างรวดเร็วอย่างหนึ่ง หลังจากผู้เล่นรับลูกแรกจากการตบ หรือลูกเสิร์ฟแล้ว ตั้งลูกสูงกว่าระดับตาข่ายไปทางคนตบแถวหน้าคนใดคนหนึ่งตบลูกข้ามตาข่ายไป บาง ครั้งคนเซตที่อยู่แดนหน้าตาข่ายท�ำท่าหลอกล่อจะเซตลูกบอลแต่กลับกระโดดขึ้นตบลูกบอล ซึ่งส่วนใหญ่ คนเซตที่ถนัดมือซ้ายจะตบลูกจังหวะที่สองได้ดี การตบลูกบอลจากแดนหลัง การตบลูกบอลจากแดนหลัง เป็นวิธีการรุกอีกแบบหนึ่งที่นิยมเล่นกันในปัจจุบัน ผู้เล่นที่อยู่แดน หลังที่มีความสามารถในการตบลูกได้แรงและแม่นย�ำตลอดจนมีการฝึกซ้อมมาเป็นอย่างดีจึงจะเล่นลูกนี้ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยทั่วไปการตบลูกบอลจากแดนหลังคนเซตจะเซตลูกโด่งสูงเลยเส้นรุกไปแดน หลังเล็กน้อย ผู้ตบจะวิ่งตรงหรือวิ่งเฉียงกระโดดขึ้นตบลูก และก่อนการกระโดดขึ้นตบลูกเท้าจะต้องไม่ สัมผัสเขตรุก แต่หลังจากตบลูกไปแล้วผู้ตบอาจจะลอยตัวลงไปยืนในเขตรุกได้ การเล่นลูกหยอด ลูกหยอดเป็นลูกที่ใช้เล่นกันมาก เพราะฝ่ายรับมักจะคาดคะเนทิศทางของลูกบอลได้ยาก ผู้เล่น สามารถเลือกจุดให้ลูกบอลลงได้ ลักษณะท่าทางของผู้เล่นขณะกระโดดขึ้นหยอดลูกเหมือนกับการ กระโดดตบลูกบอลทุกประการ เพียงแต่ขณะหยอดลูกให้ท�ำนิ้วมือแข็ง (ลูกบอลไม่ถูกอุ้งมือ) และใช้ข้อมือ เปลี่ยนทิศทางของลูกบอลกลางอากาศ ซึ่งลูกบอลจะถูกปลายนิ้วพร้อมกับสะบัดข้อมือลงไปตามทิศทาง ที่ต้องการ ลักษณะท่าทางการหยอดลูกบอล เหมือนกับการกระโดดขึ้นตบ แต่ใช้นิ้วแตะลูกบอลพร้อมกับ หัวข้อมือลง 2.3.4 การสกัดกั้น (The Block) การสกัดกั้น หรือที่เรียกกันอีกอย่างหนึ่งว่า การบล็อก การบล็อกเป็นวิธีการป้องกันการรุกที่ ถือว่าดีและมีประสิทธิภาพมากที่สุด ซึ่งอาจจะท�ำเพียงคนเดียวหรือเป็นกลุ่มก็ได้ การบล็อกที่ดี เปรียบ 73
เสมือนการรุกกลับอย่างรวดเร็วนั่นเอง การบล็อก นอกจากจะมีท่าทางและวิธีการที่ถูกต้องแล้ว ยัง ต้องมีการตัดสินใจและไหวพริบที่ดี ขณะเดียวกัน ก็ต้องมีการคาดคะเนทิศทางการตบและต�ำแหน่ง ของการกระโดด รวมทั้งจังหวะการกระโดดได้ถูก ต้อง จึงจะท�ำให้เกิดการบล็อกนั้นประสบผลส�ำเร็จ ท่าทางของการบล็อกประกอบด้วย 1. ท่าเตรียมพร้อม 2. ท่าการเคลื่อนที่ 3. ท่าระหว่างการลอยตัวอยู่กลางอากาศ 4. ท่าลงสู่พื้น การบล็อกมีสองวิธี คือ การบล็อกอยู่กับที่กับการบล็อกโดยเคลื่อนที่ การบล็อกอยู่กับที่เป็น ลักษณะการบล็อกโดยผู้บล็อกยืนอยู่กับที่แล้วกระโดดขึ้นผู้ที่บล็อกไม่ต้องเคลื่อนที่เข้าหาตาข่ายหรือ ลูกบอล การบล็อกโดยการเคลื่อนที่ เป็นการบล็อกในขณะที่ต้องเคลื่อนที่เข้าหาลูกบอลซึ่งอยู่ห่างจาก ตัวผู้บล็อก ท่าเตรียมพร้อม ท่าเตรียมพร้อมที่จะบล็อกเป็นท่าทางที่พร้อมจะบล็อกทั้งอยู่กับที่และการบล็อกโดยเคลื่อนที่ ซึ่งในขณะที่ลูกบอลข้ามตาข่ายไปยังแดนคู่แข่งขันแล้ว ผู้เล่นต้องอยู่ในท่าเตรียมพร้อมที่ดี คือ ยืนแยก เท้าออกประมาณ 1 ช่วงไหล่ มือทั้งสองยกขึ้นระดับศีรษะหรือสูงกว่าศีรษะเล็กน้อย กางฝ่ามือออก งอ เข่าเล็กน้อย ศีรษะตั้งตรง ท่าการเคลื่อนที่ บางครั้งการบล็อกจะต้องเคลื่อนที่ไปช่วยกันบล็อก การเคลื่อนที่มี 3 แบบ คือ 1. แบบสไลด์เท้า การเคลื่อนที่แบบสไลด์เท้าใช้เคลื่อนที่ระยะสั้นๆ โดยการก้าวเท้าไปข้างๆ แล้วลากอีกเท้าหนึ่ง ตาม เช่นเคลื่อนที่ไปทางขวา ให้ก้าวเท้าขวาไปข้างๆ 1 ก้าว แล้วลากเท้าซ้ายตามเท้าขวาพร้อมกับถีบตัว ขึ้นบล็อก 2. แบบก้าวไขว้เท้า การเคลื่อนที่แบบก้าวไขว้เท้านี้ใช้บล็อกเมื่อลูกบอลอยู่ไม่ไกลตัวนัก สมมติว่าจะบล็อกทางขวา มือ ให้บิดล�ำตัวไปทางขวาเล็กน้อยพร้อมกับถ่ายน�้ำหนักตัวไปยังเท้าขวา แล้วก้าวเท้าซ้ายไขว้หน้าเท้า ขวา 1 ก้าว แล้วก้าวเท้าขวาตามไป ขณะที่ก้าวเท้าซ้ายลงสู่พื้นให้บิดปลายเท้าหาตาข่ายพร้อมกับก้าวเท้า ขวาตามในลักษณะเท้าขนานกันเพื่อหันหน้าเข้าหาตาข่าย 3. แบบวิ่ง การเคลื่อนที่แบบวิ่งใช้ส�ำหรับการเคลื่อนที่ไปบล็อกไกลจากตัวผู้บล็อกไกลจากตัวผู้บล็อกถ้า 74
วิ่งเฉียงขนานกับตาข่าย เมื่อถึงต�ำแหน่งที่จะบล็อกให้บิดปลายเท้าของก้าวสุดท้าย ให้ปลายเท้าชี้เข้าหา ตาข่าย แล้วกระโดดขึ้นบล็อก แต่ถ้าวิ่งเร็วมากจนไม่สามารถบิดปลายเท้าเข้าหาตาข่ายได้ทัน ล�ำตัวก็จะ เฉียงเข้าหาตาข่าย ซึ่งในช่วงจังหวะที่กระโดดขึ้นไปแล้วจึงบิดตัวกลางอากาศเพื่อให้เป็นท่าทางการบล็อก ที่ถูกต้อง ระหว่างลอยตัวกลางอากาศ ในช่วงจังหวะที่ลอยตัว แขนทั้งสองจะเหยียดสูงขึ้นกว่าขอบบนของตาข่ายแขนทั้งสองจะเหยียด ขนานกัน ยกไหล่ขึ้นเล็กน้อย เกร็งและกางนิ้วออก หักข้อมือเล็กน้อย มือทั้งสองควรเหยียดล�้ำเข้าไปใน แดนของฝ่ายตรงข้าม เพื่อเพิ่มพื้นที่ของการบล็อก ขณะที่คู่แข่งขันตบลูกบอลมาให้ใช้ข้อมือสะบัดกดลูก ลงไป ไม่ต้องใช้แขนกดลง งุ้มเฉพาะข้อมือลงคล้ายกับการอุ้มลูกบอล โดยเฉพาะมือด้านที่อยู่นอกสนาม ควรจะหันบิดเข้าข้างใน เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกบอลออกนอกสนามในขณะที่บล็อก การลงสู่พื้น ภายหลังการบล็อกแล้วให้ลงสู่พื้นด้วยปลายเท้าทั้งคู่พร้อมกัน งอเข่า ตามองลูกบอลตลอดเวลา ถ้าไม่สามารถบล็อกลูกบอลให้ตกในแดนของฝ่ายตรงข้ามได้ โดยลูกบอลข้ามตาข่ายมายังแดนของตนเอง ให้รีบถอยหลังจากหน้าตาข่าย เตรียมพร้อมที่จะเปิดเกมรุกต่อไป
การตัดสินใจบล็อก การตัดสินใจขึ้นบล็อกจะอยู่ในช่วงตั้งแต่การเตรียมจนถึงการลอยตัวการตัดสินใจที่ดีเป็นสิ่งที่ ช่วยสร้างแรงกระโดดและจังหวะการกระโดด ที่ถูกต้อง สิ่งที่ควรพิจารณาในการตัดสินใจขึ้น บล็อกมีดังนี้ 1. การตัดสินใจขึ้นอยู่กับความสูงของลูก เช่น ฝ่ายตรงข้ามเซตลูกไม่สูงและตบลูกเร็ว การ ตัดสินใจขึ้นบล็อกต้องเร็ว แต่ถ้าฝ่ายตรงข้ามเซต ลูกสูง ก็ต้องกระโดดขึ้นบล็อกช้ากว่าการบล็อก ลูกต�่ำ 2. การตัดสินใจขึ้นอยู่กับคนรับลูกแรก เช่น ขณะที่คนรับลูกแรกส่งลูกบอลไปยังคนเซตนั้น ควร พิจารณาว่าคนเซตควรจะเซตลูกในลักษณะใด สมมติว่าคนรับลูกแรกส่งลูกบอลไม่ถึงคนเซต ส่วนใหญ่ การตบลูกนี้เป็นเพียงการตีลูกเพื่อให้ข้ามตาข่ายไปเท่านั้น หรือไม่ก็ท�ำให้คนเซต เซตลูกบอลสูง 3. การตัดสินใจขึ้นอยู่กับทิศทาง ความสูง และความเร็วของการเซตลูกบอล เช่น เซตลูกเรียด ตาข่าย หรือเซตลูกเร็ว ก็ควรกระโดดขึ้นบล็อกให้เร็ว แต่ถ้าเซตลูกห่างจากตาข่ายก็ควรกระโดดขึ้นบล็อก ให้ช้ากว่าลูกใกล้ตาข่าย 4. ให้พิจารณาจากคนตบ โดยเฉพาะในจังหวะการลอยตัวของผู้ตบ จึงตัดสินใจเคลื่อนที่ไปยังคน 75
ตบก่อนแล้วจึงดูลูกบอลและจุดสัมผัสในการตีลูกบอลของคนตบ อย่าไปดูมือของคนตบขณะเงื้อจะตบ แต่ดูในจังหวะที่ตีขณะที่มือแตะลูกบอล เพราะการเงื้อแขนจะตีผู้ตบสามารถหลอกโดยการเปลี่ยนทิศทาง ได้ การสกัดกั้นบุคคล (One - Man Block) ล�ำดับขั้นของการสกัดกั้นบุคคล 1. การเคลื่อนที่ของผู้เล่นสู่ต�ำแหน่งสกัดกั้น เป็นการเคลื่อนที่แบบสไลด์ข้าง ( Slide-steps) เป็น ส่วนใหญ่ ผู้เล่นหันหน้าเข้าหาตาข่าย ยกมือทั้งสองขึ้นระดับใบหน้า 2. การกระโดด ให้ย่อเข่า กระโดดเท้าคู่ ป้องกันในแนวดิ่ง ห่างจากตาข่ายประมาณ 1/2 เมตร นิ้วมือเหยียดออก และให้เหยียดแขนขึ้นเหนือศีรษะในเวลาเดียวกันที่กระโดด 3. การปะทะลูกบอล ผู้เล่นต้องพยายามยกแขนทั้งสองขึ้นชิดกัน เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกบอลหลุด ทะลุข้ามตาข่ายมา ให้งอข้อมือไปข้างหน้าเพื่อบังคับลูกบอลให้ตกสะท้อนกลับไปในแดนของฝ่ายตรงข้าม ในเวลาเดียวกันสามารถยื่นมือข้ามเหนือตาข่ายในขณะที่ท�ำการสกัดกั้นได้ แต่ห้ามอวัยวะส่วนใดถูกหรือ สัมผัสตาข่าย 4. การลงสู่พื้นสนาม อวัยวะส่วนใดของร่างกายจะสัมผัสตาข่ายไม่ได้ ผู้เล่นต้องลงสู่พื้นสนามใน ทิศทางเดิมด้วยเท้าคู่ งอเข่า และต้องอยู่ในท่าที่เตรียมพร้อมจะเล่นต่อทันทีทันใด การสกัดกั้นหมู่ (Two or Three - Man Block) การสกัดกั้นแบบนี้จ�ำนวนของผู้เล่นจะเพิ่มขึ้นมากกว่า 1 คน การสกัดกั้นแบบ 2 คนจะใช้สกัด กั้นการรุกทางปีก ส่วนการสกัดกั้นแบบ 3 คน จะใช้เมื่อฝ่ายตรงข้ามรุกตรงกลางสนาม การสกัดกั้นหมู่นี้ จะมีผู้น�ำการสกัดกั้น (Block Leader) โดยนิยมให้ผู้เล่นต�ำแหน่งปีกทั้งสองข้าง หรือต�ำแหน่งหน้าซ้าย หน้าขวา เป็นผู้เล่นน�ำในการสกัดกั้นแบบ 2 คน และนิยมให้ผู้เล่นต�ำแหน่งกลางหน้า เป็นผู้เล่นน�ำในการ สกัดกั้นแบบ 3 คน 2.3.5 การเสิร์ฟ หลักส�ำคัญในการเสิร์ฟ มีดังนี้ 1. ท่าทางในการเสิร์ฟ ก่อนที่ผู้เล่นจะเริ่มท�ำการเสิร์ฟต้องรู้ตัวเองว่าตนเองถนัดเสิร์ฟท่าทางแบบใดตามที่ได้ฝึกฝน มา ถ้าเคยฝึกฝน หรือถนัดเสิร์ฟลูกท่าทางแบบใดต้องเสิร์ฟลูกตามแบบนั้นตลอดการแข่งขัน เพราะการ เปลี่ยนท่าทางการเสิร์ฟบ่อยๆ ย่อมท�ำให้ประสิทธิภาพการเสิร์ฟเสียไป 2. ต�ำแหน่งการยืน ก่อนที่จะเริ่มเสิร์ฟทุกครั้ง ผู้เล่นต้องยืนตามจุดหรือต�ำแหน่งที่เคยฝึกซ้อมมา มีผู้เล่นจ�ำนวนมาก ที่ขาดความสังเกตในเรื่องนี้พอจับลูกบอลเข้ามายืนในเขตเสิร์ฟก็เสิร์ฟลูกไปตามใจตนเอง การยืนห่างจาก เส้นหลังใกล้หรือไกลเพียงใด ยืนห่างจากมุมสนามมากน้อยเพียงใดก็ต้องยืนที่จุดนั้นตลอดทุกครั้งที่ท�ำ 76
การเสิร์ฟ เพราะจะท�ำให้ความแรงความเร็วและทิศทางของลูกบอลเป็นไปตามเป้าหมายที่ต้องการและ ท�ำให้การเสิร์ฟมีผลเสียน้อยด้วย 3. การโยนลูกบอล ความสูงขณะโยนลูกบอลขึ้นต้องสม�่ำเสมอ เช่น ความสูงจากมือที่โยน ประมาณ 3 – 4 ช่วงของ ลูกบอล ก็จะต้องโยนลูกบอลให้มีความสูงเช่นนี้ตลอดไปเพราะการโยนลูกสูงบ้างต�่ำบ้าง ท�ำให้แรงที่ใช้ตี และทิศทางของลูกขาดความแม่นย�ำ นอกจากนี้การโยนลูกใกล้ตัว ห่างตัวบ้าง เอียงไปซ้ายบ้างขวาบ้าง ก็ ย่อมมีผลต่อการตีลูกบอลด้วย 4. การเหวี่ยงแขน การเสิร์ฟให้ลูกบอลพุ่งไปตามทิศทางและมีความแรงตามที่ต้องการขึ้นอยู่กับการเหวี่ยงแขนด้วย ผู้เสิร์ฟเคยเหวี่ยงแขนในลักษณะใด มือห่างจากลูกบอลเท่าไรจะต้องท�ำอย่างนั้นทุกครั้งที่เสิร์ฟ จึงต้อง ฝึกฝนการเหวี่ยงแขนให้คล้ายกับเครื่องจักรที่มีจังหวะการท�ำงานอย่างสม�่ำเสมอ 5. จุดที่มือกระทบลูกบอล ลักษณะของมือและจุดที่มือกระทบลูกบอลต้องเหมือนกันทุกครั้งที่ตีลูกบอลในท่านั้นๆ ด้วย เช่น การแบมือตีด้านหลังตรงส่วนกึ่งกลางของลูกบอลก็ต้องท�ำในลักษณะเช่นนี้ตลอดทุกลูกที่เสิร์ฟ เพราะการ ออกแรงและจุดที่ตีลูกบอลแตกต่างกันก็ยอมท�ำให้ทิศทางของลูกบอลที่พุ่งออกไปแตกต่างกันด้วย ลักษณะของการเสิร์ฟ การเสิร์ฟโดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะใหญ่ๆ คือ 1. การเสิร์ฟลูกมือล่าง การเสิร์ฟลูกมือล่างเป็นท่าเสิร์ฟที่ง่าย ความผิดพลาดในการเสิร์ฟมีน้อยใช้แรงในการเสิร์ฟน้อย เสิร์ฟได้แม่นย�ำ แต่ความเร็วในการเสิร์ฟต�่ำ จึงเป็นลูกเสิร์ฟที่ผู้เล่นทุกคนควรเสิร์ฟให้ได้ก่อนการเสิร์ฟ ด้วยวิธีอื่น หลักการเสิร์ฟลูกมือล่าง ผู้เสิร์ฟยืนในเขตเสิร์ฟ หันหน้าเข้าหาตาข่าย แยกเท้าห่างกันประมาณ 1 ช่วงไหล่ เท้าซ้ายอยู่ หน้าเท้าขวา(ถ้าเสิร์ฟด้วยมือขวา) ถือลูกบอลด้วยมือซ้าย ยกลูกบอลไว้ระดับหน้าท้อง งอข้อศอกและโน้มตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย เหวี่ยงแขนขวามาข้างหลังจนสุด พร้อมกับโยนลูกบอลขึ้นตรงๆ ไม่ควรโยนสูงกว่าระดับไหล่ จังหวะที่ลูกบอลเริ่มตก ให้เหวี่ยงแขนขวากลับมาข้างหน้าตีลูกบอลบริเวณส่วนหลังด้านล่างของ ลูกบอล ขณะที่แขนขวาเหวี่ยงจากข้างหลังมาข้างหน้าควรย่อเข่า เพื่อช่วยเพิ่มแรงส่งด้วย ลักษณะของมือที่ตีลูกบอลอาจใช้การแบมือ ก�ำหมัด สันมือตีลูกบอลก็ได้ แต่แขนที่เหวี่ยงไปตี ลูกบอลต้องเหยียดตึง เมื่อตีลูกบอลไปแล้วให้เหวี่ยงแขนตามลูกบอลเพื่อช่วยบังคับลูกให้ไปในทิศทางที่ ต้องการส�ำหรับการเสิร์ฟลูกมือล่างอาจจะหันด้านข้างเข้าหาตาข่ายก็ได้ มีหลักการเสิร์ฟเช่นเดียวกับการ เสิร์ฟลูกมือล่างหันหน้าเข้าตาข่ายแต่การยืนของผู้เสิร์ฟจะหันไหล่ซ้ายเข้าหาตาข่าย ถ้าหากตีตรงกึ่งกลาง 77
ใต้ลูกบอล (ก) ลูกบอลแทบจะไม่หมุน ขณะเคลื่อนที่ไปกลางอากาศก่อนลูกจะตกลูกบอลอาจส่ายได้ ถ้าเสิร์ฟใต้ลูกค่อนมาทางข้างหลัง (ข) และดึงมือขึ้น ลูกจะหมุนไปข้างหน้า ถ้าเสิร์ฟใต้ลูกค่อนไปทาง ข้างหน้า (ค) คล้ายเสยมือขึ้นลูกบอลจะหมุนกลับหลัง ถ้าออกแรงเสิร์ฟเท่ากันแต่ต�ำแหน่งที่ตีลูกบอลต่างกัน ท�ำให้ระยะทางและทิศทางการตกของลูก แตกต่างกันได้ ขั้นตอนการเสิร์ฟลูกมือล่าง
ผู้เล่นที่มีพลังในการเสิร์ฟลูกมือล่างให้ลูกบอลลอยโด่งขึ้นสูงมากๆ อาจจะน�ำไปใช้แข่งขันกับ สนามกลางแจ้งได้ เพราะผู้รับลูกเสิร์ฟอาจจะรับไม่ได้เนื่องจากแสงอาทิตย์ส่องเข้าตา ท�ำให้มองเห็น ลูกบอลไม่ชัดเจน บางครั้งลมแรงอาจท�ำให้ลูกบอลเปลี่ยนทิศทางได้ และถ้าผู้รับไม่ได้ฝึกทักษะการรับลูก โด่งสูงๆ อาจจะรับลูกผิดพลาดอีกด้วย 2. การเสิร์ฟลูกมือบน การเสิร์ฟลูกมือบนที่นิยมเสิร์ฟกันมี 4 แบบ คือ - ยืนในเขตเสิร์ฟ หันหน้าเข้าหาตาข่าย ถือลูกบอลไว้ด้วยมือทั้งสองข้างถ้ายืนเสิร์ฟอยู่กับที่ให้ยืน เท้าแยกประมาณ 1 ช่วงไหล่ หรือเท้าซ้ายอยู่หน้าเท้าขวาถ้าตีลูกบอลด้วยมือขวา ถ้าหากมีการก้าวเท้า ก่อนเสิร์ฟ ก้าวสุดท้ายควรเป็นเท้าซ้ายอยู่หน้า งอเข่าทั้งสองข้างเล็กน้อย น�้ำหนักตัวอยู่ที่เท้าหลัง - ตามองไปยังเป้าหมายที่จะเสิร์ฟลูกบอลไป โยนลูกบอลขึ้นตรงๆ ถ้ายืนเสิร์ฟอยู่กับที่แต่ถ้า เคลื่อนที่เสิร์ฟจะโยนลูกขึ้นไปข้างหน้าเล็กน้อยความสูงจากมือที่โยนประมาณ 3 – 4 ช่วง ของลูกบอล - ขณะโยนลูกบอลให้ยกแขนขวา ยกศีรษะ แอ่นท้อง บิดล�ำตัวไปทางขวาเล็กน้อย - ขณะตีลูกบอล ให้ถ่ายน�้ำหนักตัวจากเท้าขวามาเท้าซ้าย ห่อหน้าอก แขม่วท้องใช้เท้ายันพื้นขึ้น เล็กน้อย หมุนตัวจากทางขวาไปทางซ้ายเล็กน้อย แขนขวาเหยียดขึ้นเหนือไหล่ ใช้ฝ่ามือตีตรงกลางส่วน หลังของลูกบอล หลักการเสิร์ฟลูกมือบนด้านข้าง 1. ลักษณะการยืนเหมือนกับการเสิร์ฟลูกมือบนด้านหน้า แต่หันไหล่ซ้ายเข้าหาตาข่ายท�ำมุมกับ ตาข่ายประมาณ 45 องศา 78
2. โยนลูกบอลด้วยมือซ้ายให้ลูกไปทางไหล่ซ้ายเล็กน้อย ความสูงจากมือที่โยนประมาณ 3 – 4 ช่วงของลูกบอลพร้อมกับเหยียดแขนขวาไปข้างหลัง เงยหน้ามองลูกบอล 3. จังหวะที่ตีลูกบอลให้เหวี่ยงแขนขวาขึ้นมา พร้อมกับบิดล�ำตัวมาทางซ้าย เท้าขวายันพื้น หมุน ตัวอย่างเร็วเข้าหาสนาม ถ่ายน�้ำหนักตัวมาสู่เท้าซ้ายเหยียดแขนขวาตรง และต้องเหวี่ยงโค้งขึ้นไปข้าง หน้า ลักษณะของมือขณะเสิร์ฟลูกมือบนด้านข้างซึ่งจุดที่สัมผัสลูกจะอยู่ตรงด้านหลังของลูกค่อนข้างมา ข้างล่างเล็กน้อย ถ้าจุดที่ตีลูกวอลเลย์กึ่งกลางของลูกขึ้นมาข้างบนจะท�ำให้เสิร์ฟลูกไม่ข้ามตาข่าย แต่ถ้าตี ด้านล่างของลูกจะท�ำให้ลูกพุ่งขึ้นสูงอาจจะออกนอกสนามส่วนของมือที่ตีลูกบอลอยู่ระหว่างหัวแม่มือกับ สันมือ โดยใช้ฝ่ามือค่อนมาทางข้อมือด้านในซึ่งจะแบมือหรือก�ำมือหลวมๆ ก็ได้ หลักการเสิร์ฟลูกตวัด 1. จับลูกบอลด้วยมือทั้งสอง หันข้างซ้ายเข้าหาตาข่าย 2. เพื่อเพิ่มความแรงในการเสิร์ฟ เมื่อก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้า ให้ใช้เท้าขวาลากไปหลังเท้าซ้าย 1 ก้าว แล้วก้าวเท้าซ้ายออกไปทางข้าง ซ้ายอีก 1 ก้าว แล้วโยนลูกบอลไปข้างหน้าเยื้องไปทางซ้าย ความสูงของ ลูกบอลจากมือประมาณ 1 เมตร 3. เหวี่ยงแขนขวาลงชิดล�ำตัวจังหวะที่ตีลูกบอลให้เหวี่ยงแขน ขวาเป็นวงโค้งขึ้นไปข้างหน้าพร้อมกับตวัดข้อมือและบิดล�ำตัวมาทาง ซ้ายเท้าขวายันพื้น ถ่ายน�้ำหนักตัวมาสู่เท้าซ้าย 4. จุดที่ตีลูกบอลจะอยู่ตรงด้านหลังของลูก เลยกึ่งกลางขึ้นมา ข้างบนเล็กน้อย อาศัยการดันกดลูกบอลอย่างเร็วของอุ้งมือท�ำให้ลูกบอล หมุนไปตกในแดนตรงข้าม หลักการกระโดดเสิร์ฟ การกระโดดเสิร์ฟเป็นทักษะการเสิร์ฟขั้นสูง ผู้เสิร์ฟต้องสามารถกระโดดได้สูงและมีทักษะในการ ตบลูกบอล ได้เป็นอย่างดี ซึ่งมีหลักการเสิร์ฟ ดังนี้ 1. จับลูกบอลด้วยมือเดียวหรือสองมือก็ได้แต่จับลูกในลักษณะหงายมือพร้อมที่จะโยน 2. โยนลูกบอลให้สูงพอประมาณ โดยโยนให้ลูกบอลล�้ำไปข้างหน้าพอที่จะกระโดดขึ้นไปเสิร์ฟได้ 3. เหวี่ยงแขนทั้งสองไปข้างหลังในจังหวะที่ก้าวเท้าไปข้างหน้า 4. ในจังหวะที่จะกระโดด ให้รวบเท้าทั้งสองเข้าหากัน กระโดดขึ้นจากพื้นด้วยเท้าคู่พร้อมกับ เหวี่ยงแขนไปข้างหน้าในลักษณะตบลูกบอล 5. ตบลูกบอลในจังหวะที่ตัวลอยอยู่ในจุดสูงสุด 6. ลงสู่พื้นเช่นเดียวกับการกระโดดตบลูก ซึ่งหลังจากเสิร์ฟลูกแล้ว ตัวอาจจะลอยเข้าไปในสนาม ก็ได้ 79
2.3.6 การเล่นเป็นทีม การแข่งขันวอลเลย์บอลจุดประสงค์ คือ พยายามให้ลูกบอลข้ามไปฝ่ายตรงข้าม การที่จะเป็น ฝ่ายรุกหรือฝ่ายรับนั้น ขึ้นอยู่กับลูกบอล หากลูกบอลก�ำลังเล่นอยู่ฝ่ายใด ฝ่ายนั้นเป็นฝ่ายรุก ซึ่งจะมีวิธี การอย่างไรที่จะให้ลูกบอลข้ามตาข่ายไปฝ่ายตรงข้าม โดยที่ฝ่ายตรงข้ามไม่สามารถจะเล่นต่อไปได้ ดังนั้นฝ่ายใดที่ครอบครองลูกบอลอยู่ก็ถือว่าเป็น ฝ่ายรุก ฝ่ายที่ไม่มีลูกบอลก็ถือว่าเป็นฝ่ายรับ ฝ่ายที่ตั้งรับลูกเสิร์ฟขณะตั้งรับเรียกว่าเป็นฝ่ายรับ แต่เมื่อขณะรับลูกบอลก็เรียกได้ว่าเป็น ฝ่ายรุก ส�ำหรับแผนการรับและรุก มีมากมายปรับเปลี่ยนกันไปตามความสามารถ เพศ วัย ของผู้เล่น แต่ละทีม จึงควรศึกษาเฉพาะแผนการรับและรุกอย่างลึกซึ้งอีกต่างหาก ในที่นี้จะบอกกล่าวแต่หลักการ กว้างๆ ที่จะน�ำไปประยุกต์ใช้ต่อไปการเล่นเป็นทีมเป็นการน�ำเอาทักษะของผู้เล่นทั้งหลายมาใช้ประโยชน์ ร่วมกันเมื่อทุกคนสามารถน�ำทักษะมาดัดแปลงให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในการเล่นแล้วย่อมท�ำให้เกิด ความส�ำเร็จในการเล่นทีม
ต�ำแหน่งผู้เล่นประกอบด้วย ต�ำแหน่งที่ 1 เรียกว่า หลังขวา ต�ำแหน่งที่ 2 เรียกว่า หน้าขวา ต�ำแหน่งที่ 3 เรียกว่า กลางหน้า ต�ำแหน่งที่ 4 เรียกว่า หน้าซ้าย ต�ำแหน่งที่ 5 เรียกว่า หลังซ้าย ต�ำแหน่งที่ 6 เรียกว่า กลางหลัง ส�ำหรับการตรวจสอบต�ำแหน่งนั้นจะเริ่มจากหลังขวาทวนเข็มนาฬิกาขึ้นไปจนครบ 6 ต�ำแหน่ง
การหมุนต�ำแหน่ง ในการหมุนต�ำแหน่ง ใช้วิธีการหมุนไปตามเข็มนาฬิกาทีละต�ำแหน่ง ทันทีที่ผู้เล่นเสิร์ฟลูกไป แล้ว ผู้เล่นจะยืนอยู่ในต�ำแหน่งใดในแดนของตนก็ได้ ระหว่างการเล่น ทีมที่รับลูกเสิร์ฟชนะการเล่นหรือ ฝ่ายเสิร์ฟท�ำเสียฝ่ายรับก็จะได้สิทธิ์การเสิร์ฟ ผู้เล่นฝ่ายที่จะท�ำการเสิร์ฟต้องหมุนไปตามเข็มนาฬิกา 1 ต�ำแหน่ง ดังนั้นการหมุนต�ำแหน่งแต่ละครั้งจะกระท�ำได้ต่อเมื่อมีการเปลี่ยนเสิร์ฟซึ่งล�ำดับการหมุน ต�ำแหน่งนี้ต้องคงอยู่ตลอดการแข่งขันในเซตนั้นๆ และก่อนจะเริ่มเซตใหม่ ล�ำดับการหมุนต�ำแหน่งของผู้ เล่นอาจจะเปลี่ยนไปก็ได้แต่ต้องแจ้งในใบบันทึกการแข่งขันให้ถูกต้อง การเล่นเป็นฝ่ายรับ หมายถึง การเตรียมเพื่อการรับลูกบอลจากฝ่ายตรงข้าม หลังจากที่ทีมของตนเองเล่นลูกบอล ข้ามตาข่ายไปแล้ว ผู้เล่นทุกคนในทีมต้องคาดการณ์การเปิดเกมรุกของฝ่ายตรงข้ามว่าจะเปิดเกมรุกด้วย วิธีใด และพร้อมทั้งคาดคะเนทิศทางมุมตกของลูกบอลที่จะเข้ามา ซึ่งอาจเป็นลูกตบ ลูกหยอด หรือลูกที่ 80
กระดอนจากการตบของฝ่ายตรงข้าม เมื่อฝ่ายรุกกระท�ำการรุกโดยการเล่นลูกตบ ผู้เล่นแดนหน้าจ�ำเป็น ต้องขึ้นสกัดกั้น ซึ่งการตั้งรับเมื่อผู้เล่นแดนหน้าขึ้นท�ำการสกัดกั้นเพื่อป้องกันการรุกนั้น สามารถท�ำการ สกัดกั้นได้ทั้งแบบคนเดียว สองคน หรือ สามคน ตามสถานการณ์ที่แตกต่างกัน การสกัดกั้นคนเดียว ในขณะที่ผู้เล่นต�ำแหน่งกลางหน้าขึ้นบล็อก ต�ำแหน่งหน้าซ้ายและหน้าขวา จะต้องถอยมาอยู่ ประมาณเส้นรุกส่วนผู้เล่น 3 คนหลังจะต้องพยายามรักษาเนื้อที่ให้หมด ซึ่งจุดอ่อนจะอยู่บริเวณตรงกลาง การสกัดกั้น 2 คน แบ่งเป็น ก. การสกัดกั้น 2 คนกลางสนาม ลักษณะการยืนจะคล้ายกับการสกัดกั้นคนเดียวกลางสนาม แต่ผู้เล่นต�ำแหน่งหน้าขวา ต้องเคลื่อนไปรองลูกบอลหลังกลุ่มบล็อก ต�ำแหน่งกลางหลังให้อยู่ต�่ำลงไป เล็กน้อย ข. การสกัดกั้น 2 คน ด้านซ้าย ผู้เล่นที่ท�ำการขึ้นสกัดกั้นคือผู้เล่นต�ำแหน่งหน้าซ้ายและกลาง หน้า ผู้เล่นหน้าขวาต้องคอยเล่นลูกบอลที่อาจจะถูกหยอดโดยผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม ขณะเดียวกันผู้เล่นแดน หลังทั้ง 3 คน ต้องพร้อมที่จะเล่นลูกบอลด้วย ดังภาพ ค. การสกัดกั้น 2 คนด้านขวา ผู้เล่นหน้าขวาและกลางหน้าจะท�ำหน้าที่ขึ้นสกัดกั้น ผู้เล่นหน้า ซ้ายจะต้องคอยเล่นลูกบอลที่ฝ่ายตรงข้ามอาจหยอดกลับมาได้ และผู้เล่นแดนหลังทั้ง 3 คน ต้องพร้อมที่ จะเล่นลูกบอลด้วย การสกัดกั้น 3 คน การสกัดกั้นแบบนี้ผู้เล่นแดนหน้าทั้ง 3 คน จะขึ้นสกัดกั้น ดังนั้นผู้เล่นแดนหลังทั้ง 3 คนต้อง พร้อมที่จะคอยรับลูกบอลที่อาจจะหลุดทะลุการป้องกัน การเล่นเป็นฝ่ายรุก ในกีฬาวอลเลย์บอลการที่จะเป็นฝ่ายรุกหรือฝ่ายรับนั้นขึ้นอยู่กับลูกบอล ถ้าลูกบอลก�ำลังอยู่ใน แดนของฝ่ายใดและรวมทั้งขณะรับลูกบอลอยู่ เรียกว่าเป็นฝ่ายรุก เมื่อทีมเป็นฝ่ายรุกต้องมีวิธีการหรือรูป แบบของการรุกตามที่ได้ฝึกซ้อมมาเป็นอย่างดี รูปแบบของการรุก รูปแบบของการรุกมี 2 อย่างคือ โดยการก�ำหนดคน และ โดยการก�ำหนดต�ำแหน่ง ส�ำหรับผู้ที่ เล่นใหม่ใช้วิธีก�ำหนดคนจะดีกว่าก�ำหนดต�ำแหน่งเพราะการก�ำหนดต�ำแหน่งผู้เล่นต้องใช้เวลาฝึกมากจึง จะท�ำให้การรุกมีประสิทธิภาพ แต่ข้อเสียของการก�ำหนดต�ำแหน่งคือเปลี่ยนเกมรุกได้ช้ากว่าแบบก�ำหนด คน และขณะที่ท�ำการบล็อกจะต้องเสียเวลาส�ำหรับเคลื่อนที่เพื่อเปลี่ยนต�ำแหน่งด้วย โดยทั่วไปก่อน การเล่นควรก�ำหนดคนก่อนว่าผู้เล่นคนใดเล่นลูกแบบใด แล้วจึงสร้างความสัมพันธ์ในทีมภายหลัง โดย 81
การก�ำหนดคน เป็นการก�ำหนดตัวบุคคลและฝึกการรุกแบบใดแบบหนึ่งโดยเฉพาะเพียงคนใดคนหนึ่ง เท่านั้น เช่น ก�ำหนดให้ผู้เล่นหมายเลข 3 เมื่ออยู่แถวหน้าจะต้องตบลูกเร็ว หมายเลข 5 ตบลูกโด่งสูงหัว เสา เป็นต้น โดยการก�ำหนดต�ำแหน่ง เป็นการก�ำหนดให้ผู้เล่นคนใดก็ตามที่อยู่ในต�ำแหน่งนั้นๆ จะต้อง เล่นลูกแบบนั้น ความแม่นย�ำและความเร็วในการรุกความแม่นย�ำ คือ ความสามารถของผู้เล่นที่จะตบ ลูกบอลไปยังทิศทางหรือลงตรงจุดหมายที่ต้องการได้ความแม่นย�ำนี้ยังเป็นความสามารถของผู้ตบอีก อย่างหนึ่งที่หลีกเลี่ยงการบล็อกของผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามด้วย ความเร็ว คือความเร็วในการเคลื่อนที่เข้าตบ ลูกบอลหรือวิ่งหลอกล่อให้ฝ่ายตรงข้ามเสียทางการรับ ความเร็วของผู้เล่นต้องมีความสัมพันธ์กันระหว่าง ผู้ตบกับผู้วิ่งหลอกล่อ
3. กฎและกติกาการเล่นกีฬาวอลเลย์บอล กฎกติกาการแข่งขัน
1.พื้นที่เล่นลูก รวมถึงสนามแข่งขันและเขตรอบสนาม พื้นที่เล่นลูกต้องเป็นรูปสามเหลี่ยมผืนผ้า และเหมือนกันทุกส่วน 1.1 ขนาดของสนาม (Dimension) สนามแข่งขันเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด 18 x 9 เมตร ล้อมรอบด้วยเขตรอบสนาม กว้างอย่าง น้อยที่สุด 3 เมตร ทุกด้านที่ว่างส�ำหรับเล่นลูก คือ ที่ว่างเหนือพื้นที่เล่นลูก ซึ่งไม่มีสิ่งใดกีดขวาง สูงขึ้นไปอย่างน้อย ที่สุด 7 เมตร จากพื้นสนาม ส�ำหรับการแข่งขันระดับโลกของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ (FIVB) และ การแข่งขันอย่างเป็นทางการ เขตรอบสนามต้องกว้างอย่างน้อยที่สุด 5 เมตร จากเส้นข้าง 8 เมตร จากเส้นหลังและที่ว่าง ส�ำหรับเล่นลูกต้องสูงจากพื้นสนามขึ้นไปอย่างน้อยที่สุด 12.50 เมตร 1.2 พื้นผิวสนาม (PLAYING SURFACE) 1.2.1 พื้นผิวสนามต้องเรียบ เป็นพื้นราบและเหมือนกันตลอดทั้งสนาม ต้องไม่เป็น อันตรายจนเป็นเหตุให้ผู้เล่นบาดเจ็บ และไม่อนุญาตให้แข่งขันบนพื้นสนามที่ขรุขระหรือลื่น ส�ำหรับการ แข่งขันระดับโลกของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติและการแข่งขันอย่างเป็นทางการอนุญาตให้ใช้ได้ เฉพาะพื้นผิวสนามที่เป็นไม้หรือพื้นผิวสังเคราะห์เท่านั้น พื้นผิวสนามอื่นใด ต้องได้รับการรับรองจาก สหพันธ์วอลเลย์บอลก่อนทั้งสิ้น 1.2.2 สนามแข่งขันในร่ม พื้นผิวสนามต้องเป็นสีสว่างส�ำหรับการแข่งขันระดับโลกของ สหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติและการแข่งขันอย่างเป็นทางการ เส้นสนามต้องเป็นสีขาว ส่วนพื้นสนาม แข่งขันและบริเวณเขตรอบสนามต้องเป็นสีแตกต่างกันออกไป 1.2.3 สนามแข่งขันกลางแจ้ง อนุญาตให้พื้นผิวสนามลาดเอียงได้ 1 มิลลิเมตร ต่อ 1 เมตร เพื่อการระบายน�้ำ ห้ามใช้ของแข็งท�ำเส้นสนาม 1.3 เส้นบนพื้นสนาม (LINES ON THE COURT) 1.3.1 เส้นทุกเส้นกว้าง 5 เซนติเมตร เป็นสีสว่างแตกต่างจากสีของพื้นผิวสนาม และ 82
เส้นอื่นๆ 1.3.2 เส้นเขตสนาม เส้นข้าง 2 เส้น และเส้นหลัง 2 เส้น เป็นเส้นก�ำหนดเขตสนาม แข่งขัน เส้นทั้งหมดนี้ต้องอยู่ภายในเขตของสนามแข่งขัน 1.3.3 เส้นแบ่งแดน กึ่งกลางเส้นแบ่งแดน จะแบ่งสนามแข่งขันออกเป็น 2 ส่วนเท่า ๆ กัน ขนาด 9 x 9 เมตร เส้นนี้ลากจากเส้นข้างด้านหนึ่งไปยังเส้นข้างอีกด้านหนึ่งใต้ตาข่าย 1.3.4 เส้นรุก แต่ละแดนของสนามจะมีเส้นรุก ซึ่งริมสุดด้านนอกของเส้นจะขีดห่าง จากจุดกึ่งกลางของเส้นแบ่งแดน 3 เมตร เป็นเครื่องหมายของเขตรุก ส�ำหรับการแข่งขันระดับโลกของ สหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติและการแข่งขันอย่างเป็นทางการ เส้นรุกจะถูกขีดต่อออกไปจากเส้นข้าง ทั้ง 2 เส้น เป็นเส้นประ กว้าง 5 เซนติเมตร ยาวเส้นละ 15 เซนติเมตร 5 เส้น และเว้นช่องว่างระหว่างเส้น ไว้ช่องละ 20 เซนติเมตร รวมยาวข้างละ 1.75 เมตร 1.4 เขตและพื้นที่ต่าง ๆ (Zone And Areas) 1.4.1 เขตรุก เขตรุกของแต่ละแดนจะถูกก�ำหนดจากึ่งกลางของเส้นแบ่งเขตแดน ไป จนถึงริมสุดด้านนอกของเส้นรุกเขตรุก ถือเสมือนว่ามีความยาวจากเส้นทั้งสองไปจนถึงริมสุดของเขตรอบ สนาม 1.4.2 เขตเสิร์ฟ เขตเสิร์ฟมีพื้นที่กว้าง 9 เมตร อยู่เลยเส้นหลังแต่ละเส้นออกไปเส้น ขนานสั้น ๆ 2 เส้น ยาวเส้นละ 15 เซนติเมตร เป็นเส้นก�ำหนดเขตเสิร์ฟ เส้นทั้งสองนี้จะตีห่างจากเส้นหลัง 20 เซนติเมตร เหมือนกับแนวต่อจากเส้นข้าง และรวมอยู่ในความกว้างของเขตเสิร์ฟด้วยในแนวลึก เขต เสิร์ฟจะยาวออกไปจนถึงปลายสุดของเขตรอบสนาม 1.4.3 เขตเปลี่ยนตัว คือ เขตที่อยู่ภายในแนวของเส้นรุกทั้งสองเส้นไปจนถึงโต๊ะผู้บันทึก การแข่งขัน 1.4.4 พื้นที่อบอุ่นร่างกาย ส�ำหรับการแข่งขันระดับโลก ของสหพันธ์วอลเลย์บอล นานาชาติและการแข่งขันอย่างเป็นทางการ พื้นที่อบอุ่นร่างกายขนาด 3 x 3 เมตร จะอยู่ที่นอกเขตรอบ สนามตรงมุมสนามด้านเดียวกับม้านั่งของผู้เล่นส�ำรอง 1.4.5 พื้นที่ท�ำโทษ พื้นที่ท�ำโทษขนาดประมาณ 1 x 1 เมตร มีเก้าอี้ตั้งไว้ 2 ตัวอยู่ใน พื้นที่ควบคุมการแข่งขัน (CONTROL AREA) แต่อยู่เลยแนวของเส้นหลังและมีเส้นแดงกว้าง 5 เซนติเมตร ก�ำหนดพื้นที่ 2. ตาข่ายและเสาขึงตาข่าย 2.1 ความสูงของตาข่าย (HEIGHT OF THE NET) 2.1.1 ตาข่าย ขึงเป็นแนวตั้งเหนือเส้นแบ่งแดน ส�ำหรับทีมชาย ขอบบนสุดต้องสูงจาก พื้นที่ 2.43 เมตร ทีมหญิง 2.24 เมตร 2.1.2 ความสูงของตาข่าย วัดที่กึ่งกลางของสนามความสูงของตาข่าย (เหนือเส้นทั้ง สอง) ต้องสูงเท่ากันแต่จะสูงเกินกว่าความสูงที่ก�ำหนด 2 เซนติเมตรไม่ได้ 2.2 โครงสร้าง (STRUCTURE) 83
ตาข่ายมีความกว้าง 1 เมตร และยาว 9.50 ถึง 10.00 เมตร (โดยมีความยาวเหลืออยู่ 25 ถึง 50 เซนติเมตร จากแถบข้างแต่ละด้าน) ท�ำด้วยวัสดุสีด�ำ เป็นตาสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 10 เซนติเมตร ที่ขอบ บนของตาข่ายมีแถบขนานกับพื้นพับ 2 ชั้น สีขาว กว้าง 7 เซนติเมตร เย็บติดตลอดความยาวของตาข่าย ที่ปลายสุดแต่ละข้างเจาะรูไว้ข้างละ 1 รู เพื่อร้อยเชือกผูกกับเสาขึง ตาข่ายดึงให้แถบบนสุดของตาข่าย ตึง ภายในแถบมีสายที่ยืดหยุ่นได้ส�ำหรับผูกกับเสา เพื่อท�ำให้ส่วนบนสุดของตาข่ายตึง ที่ตาข่ายด้านล่างมี แถบขนานกับพื้นกว้าง 5 เซนติเมตรภายในแถบมีสายที่หยืดหยุ่นได้ส�ำหรับผูกกับเสาเพื่อให้ส่วนล่างของ ตาข่ายตึง 2.3 แถบข้าง (SIDE BANDS) แถบสีขาว 2 เส้น ผูกในแนวตั้งกับตาข่ายเหนือทั้ง 2 เส้น แถบข้าง กว้าง 5 เซนติเมตร ยาว 1 เมตร และถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของตาข่าย 2.4 เสาอากาศ (ANTENNAE) เสาอากาศเป็นแท่งกลมยืดหยุ่นได้ ยาว 1.80 เมตร เส้นผ่า ศูนย์กลาง 10 มิลลิเมตร ท�ำด้วยใยแก้วหรือวัสดุที่คล้ายคลึงกันเสาอากาศแต่ละต้นถูกยึดติดอยู่ที่ริมด้าน นอกของแถบข้างทั้งสอง แต่อยู่คนละด้านของตาข่าย ส่วนบนสุดของเสาอากาศ ถือเป็นสีสลับกันเป็นช่วง ๆ ยาวช่องละ 10 เซนติเมตร ส่วนมากแล้วนิยมใช้สีแดงและขาว เสาอากาศถือเป็นส่วนหนึ่ง ของตาข่าย เป็นแนวขนานที่ก�ำหนดพื้นที่ข้ามตาข่าย 2.5 เสาขึงตาข่าย (POSTS) 2.5.1 เสาขึงตาข่ายยึดติดกับพื้นสนาม ห่างจากเส้นข้าง 0.50 – 1.00 เมตร มีความสูง 2.55 เมตร สามารถปรับระดับได้ ส�ำหรับการแข่งขันระดับโลกของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติและ การแข่งขันอย่างเป็นทางการ เสาขึงตาข่ายยึดติดกับพื้นสนาม ห่างจากเส้นข้าง 1 เมตร เว้นแต่ว่า ได้รับ การยินยอมจากสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ 2.5.2 เสาขึงตาข่ายมีลักษณะกลมและเรียบ ยึดติดกับพื้นโดยไม่มีสายยึดเสาและต้องไม่ เป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดอันตรายและไม่เป็นสิ่งกีดขวางใดๆ 2.6 อุปกรณ์อื่นๆ (ADDITIONAL EQUIPMENT) อุปกรณ์อื่นใดให้ขึ้นอยู่กับข้อตกลงตามระเบียบ ของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ 3.ลูกบอล 3.1 มาตรฐาน (STANDARD) ลูกบอลต้องกลม ท�ำ ด้วยหนังฟอกหรือหนังสังเคราะห์ที่ยืดหยุ่นได้ ห่อหุ้มลูกบอล ทรงกลมที่ท�ำด้วยยาง หรือวัสดุที่คล้ายคลึงกัน สีของลูกบอล อาจเป็นสีอ่อนๆ เหมือนกันทั้งลูก หรืออาจเป็นหลายสีผสม กันก็ได้ ลูกบอลซึ่งท�ำด้วยวัสดุที่เป็นหนังสังเคราะห์มีหลาย สีผสมกันและจะใช้ในการแข่งขันระดับนานาชาติอย่างเป็น ทางการ ต้องมีมาตรฐานตามที่สหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ ก�ำหนด ลูกบอลต้องมีแรงดันลม 0.30 – 0.325 กิโลกรัม / ตารางเซนติเมตร ลูกบอลต้องมีเส้นรอบวงกลม 65 – 67 84
เซนติเมตร และมีน�้ำหนัก 260 – 280 กรัม 3.2 รูปแบบของลูกบอล (UNIFORMITY OF BALLS) ลูกบอลที่ใช้ในการแข่งขันต้องมีเส้นรอบ วง น�้ำหนัก แรงอัด ชนิดและสีตามมาตรฐานเดียวกัน การแข่งขันระดับโลกของสหพันธ์วอลเลย์บอล นานาชาติและรวมทั้งระดับชาติ หรือการแข่งขันลีก (League) ของแต่ละประเทศต้องใช้ลูกบอลที่สหพันธ์ วอลเลย์บอลนานาชาติรับรองเท่านั้น เว้นแต่ได้รับการยินยอมจากสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ 3.3 ระบบการใช้ลูกบอล 3 ลูก (THREE – BALL SYSTEM) การแข่งขันระดับโลกของสหพันธ์ วอลเลย์บอลนานาชาติและการแข่งขันอย่างเป็นทางการ จะใช้ลูกบอล 3 ลูก โดยมีผู้กลิ้งบอล 6 คน ประจ�ำที่มุมของเขตรอบสนามทั้งสี่มุม มุมละ 1 คน และข้างหลังผู้ตัดสินด้านละ 1 คน 4.ทีม 4.1 ส่วนประกอบของทีม (TEAM COMPOSITION) 4.1.1 ทีมประกอบด้วยผู้เล่นไม่เกิน 12 คน ผู้ฝึกสอน 1 คน ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน 1 คน เทรนเนอร์ 1คน และแพทย์ 1 คนส�ำหรับการแข่งขันระดับโลกของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติและ การแข่งขันอย่างเป็นทางการ แพทย์ต้องขึ้นทะเบียนกับสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติก่อนการแข่งขัน 4.1.2 ผู้เล่นคนหนึ่งของทีมที่ไม่ใช่ตัวรับอิสระ (LIBERO PLAYER) ต้องเป็นหัวหน้าทีม และจะระบุไว้ในใบบันทึกการแข่งขัน 4.1.3 ผู้เล่นที่มีชื่ออยู่ในใบบันบันทึกการแข่งขันเท่านั้น จึงจะลงสนามและร่วมการ แข่งขันได้ เมื่อผู้ฝึกสอนและหัวหน้าทีม (TEAM CAPTAIN) ลงชื่อในใบบันทึกการแข่งขันแล้วจะเปลี่ยน แปลงผู้เล่นอีกไม่ได้ 4.2 ต�ำแหน่งที่อยู่ของทีม (LOCATION OF THE TEAM) 4.2.1 ผู้เล่นที่ไม่ได้ลงแข่งขันควรนั่งม้านั่งหรืออยู่ในพื้นที่อบอุ่นร่างกายของทีมตนเอง ผู้ ฝึกสอนและผู้ร่วมทีมคนอื่นต้องนั่งบนม้านั่ง แต่อาจลุกจากม้านั่งเป็นครั้งคราว ม้านั่งของทีมตั้งอยู่ข้าง ๆ โต๊ะผู้บันทึก นอกเขตรอบสนาม 4.2.2 เฉพาะผู้ร่วมทีมเท่านั้น ที่ได้รับอนุญาตให้นั่งม้านั่งระหว่างการแข่งขัน และร่วม การอบอุ่นร่างกายก่อนการแข่งขัน 4.2.3 ผู้เล่นที่ไม่ได้ลงแข่งขันสามารถอบอุ่นร่างกายโดยไม่ใช่ลูกบอลได้ดังนี้ 4.2.3.1 ระหว่างการแข่งขันในพื้นที่อบอุ่นร่างกาย 4.2.3.2ระหว่างขอเวลานอกและเวลาเทคนิคในเขตรอบสนามด้านหลังแดน ของทีมตนเอง 4.2.4 ช่วงพักระหว่างเชตผู้เล่นสามารถอบอุ่นร่างกายโดยใช้ลูกบอลได้ในเขตรอบสนาม ของทีมตนเอง 4.3 เครื่องแต่งกาย (EQUIPMENT) เครื่องแต่งกายของผู้เล่นประกอบด้วย เสื้อยืด กางเกงขาสั้น ถุงเท้า (ชุดแข่งขัน) และรองเท้า 4.3.1 สีและแบบของเสื้อยืด กางเกงขาสั้น และถุงเท้าต้องเหมือนกันทั้งทีม (ยกเว้นตัว 85
รับอิสระ LIBERO PLAYER) และสะอาด 4.3.2 รองเท้าต้องเบาและอ่อนนุ่ม พื้นเป็นยางหรือหนังไม่มีส้น ส�ำหรับการแข่งขัน ระดับโลกของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ และการแข่งขันอย่างเป็นทางการในรุ่นที่ไม่ก�ำจัดอายุ สี รองเท้าต้องเป็นสีเดียวกันทั้งทีม แต่เครื่องหมายการค้าอาจมีสีแตกต่างกันได้ เสื้อและกางเกงต้องเป็นไป ตามมาตรฐานของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ 4.3.3 เสื้อผู้เล่นต้องมีเครื่องหมาย 1 – 18 4.3.3.1 ต้องติดเครื่องที่กลางอกและกลางหลัง สีของเครื่องหมายเลขต้องตัด กับสีเสื้ออย่างชัดเจน 4.3.3.2 หมายเลขด้านหน้าต้องสูงอย่างน้อยที่สุด 15 เซนติเมตร ด้านหลังอย่าง น้อยที่สุด 20 เซนติเมตร และความกว้างของแถบที่ท�ำหมายเลข ต้องกว้างอย่างน้อยที่สุด 1 เซนติเมตร 4.3.4 หัวหน้าทีมต้องมีแถบยาว 8 เซนติเมตร กว้าง 2 เซนติเมตร ติดอยู่ใต้หมายเลข ตรงอกเสื้อ 4.3.5 ห้ามใส่ชุดแข่งขันที่มีหมายเลขไม่ถูกต้อง หรือชุดที่มีสีแตกต่างจากผู้เล่นอื่น 4.4 การเปลี่ยนเครื่องแต่งกาย (CHANGE OF EQUIPMENT) ผู้ตัดสินคนที่ 1 มีอ�ำนาจที่จะให้ผู้ เล่น 1 คน หรือมากกว่า 4.4.1 ลงแข่งขันโดยไม่สวมรองเท้าก็ได้ 4.4.2 เปลี่ยนชุดที่เปียกช่วงพักระหว่างเชต หรือหลังจากการเปลี่ยนตัวได้ โดยสี แบบ และหมายเลขของชุดใหม่ต้องเหมือกับชุดเดิม 4.4.3 สวมชุดวอร์มลงแข่งขันได้ ถ้าอากาศหนาว ถ้าสีและแบบของชุดวอร์มเหมือนกัน ทั้งทีม และหมายเลขต้องเป็นไปตามปกติ 4.5 สิ่งที่ห้ามสวมใส่ (FORBIDDEN OBJECTS) 4.5.1ห้ามสวมใส่สิ่งของซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้เกิดการบาดเจ็บหรือช่วยให้ผู้เล่นได้เปรียบ ผู้อื่น 4.5.2 ผู้เล่นอาจสวมแว่นตาหรือคอนเทคเลนซ์ได้ โดยรับผิดชอบอันตรายที่อาจเกิดขึ้น ด้วยตัวเอง 5.ผู้น�ำของทีม ทั้งหัวหน้าทีมหรือผู้ฝึกสอนเป็นผู้รับผิดชอบความประพฤติและระเบียบวินัยของผู้ร่วมทีมตัวรับ อิสระจะเป็นหัวหน้าทีมไม่ได้ 5.1 หัวหน้าทีม (CAPTAIN) 5.1.1 ก่อนการแข่งขันหัวหน้าทีมเป็นผู้ลงชื่อในใบบันทึกการแข่งขันและเป็นผู้แทนของ ทีมในการเสี่ยง 5.1.2 ระหว่างการแข่งขันและขณะอยู่ในสนามแข่งขันหัวหน้าทีม (TEAM CAPTAIN) ผู้น�ำในการแข่งขัน เมื่อหัวหน้าทีมไม่ได้เล่นอยู่ในสนาม ผู้ฝึกสอนหรือหัวหน้าทีมต้องแต่งตั้งผู้เล่นคนหนึ่ง 86
ที่อยู่ในสนาม แต่ต้องไม่ใช่ตัวรับอิสระ ท�ำหน้าที่หัวหน้าทีมในการแข่งขัน (GAME CAPTAIN) และต้องรับ ผิดชอบไปจนกว่าหัวหน้าทีม (TEAM CAPTAIN) จะเปลี่ยนตัวมาลงเล่นอีกหรือจนกว่าจะสิ้นสุดเซตนั้น เมื่อลูกตาย หัวหน้าทีมในการแข่งขันเท่านั้นที่มีสิทธิเป็นผู้แทนของผู้เล่นทั้งหมดพูดกับผู้ตัดสิน เพื่อ 5.1.2.1 ขอค�ำอธิบายในการตีความกติกาหรือน�ำกติกามาใช้ และร้องขอหรือ ถามค�ำถามของเพื่อนร่วมทีม ถ้าค�ำอธิบายไม่เป็นที่พอใจ หัวหน้าในการแข่งขันต้องประท้วงการตัดสินนั้น และสงวนสิทธิบันทึกการประท้วงอย่างเป็นทางการในใบบันทึกการแข่งขัน เมื่อการแข่งขันจบสิ้นลง 5.1.2.2 ขอสิทธิ ก. เปลี่ยนชุดหรืออุปกรณ์การแข่งขันบางส่วนหรือทั้งหมด ข. ตรวจต�ำแหน่งผู้เล่นของทีม ค. ตรวจพื้นสนาม ตาข่าย และลูกบอล 5.1.2.3 ขอเวลานอกและเปลี่ยนตัวผู้เล่น 5.1.3 เมื่อสิ้นสุดการแข่งขันหัวหน้าทีมต้อง 5.1.3.1 แสดงความขอบคุณผู้ตัดสิน และลงชื่อในใบบันทึกการแข่งขันการ ประท้วงอย่างเป็นทางการต่อผู้ตัดสิน เกี่ยวกับการน�ำกติกาใช้หรือตีความกติกาลงในใบบันทึกการแข่งขัน 5.2 ผู้ฝึกสอน (COACH) 5.2.1 ตลอดการแข่งขัน ผู้ฝึกสอนเป็นผู้ควบคุมการเล่นของทีมภายในสนามแข่งขัน เป็นผู้เลือกผู้เล่น 6 คนแรก เปลี่ยนตัวผู้เล่นและขอเวลานอก ผู้ฝึกสอนท�ำหน้าที่ดังกล่าวได้โดยขอผ่าน ทางผู้ตัดสินที่ 2 5.2.2 ก่อนการแข่งขัน ผู้ฝึกสอนต้องบันทึกหรือตรวจสอบรายชื่อและหมายเลขของผู้ เล่นในใบบันทึกการแข่งขัน 5.2.3 ระหว่างการแข่งขัน ผู้ฝึกสอนต้อง 5.2.3.1 ยืนใบส่งต�ำแหน่งของผู้เล่นที่ลงชื่อแล้ว ให้ผู้ตัดสินหรือผู้บันทึกก่อน การแข่งขันทุกเซต 5.2.3.2 นั่งม้านั่งของทีมซึ่งใกล้กับผู้บันทึกมากที่สุด แต่อาจลุกจากม้านั่งได้ เป็นครั้งคราว 5.2.3.3 ขอเวลานอกและเปลี่ยนตัวผู้เล่น 5.2.3.4 ผู้ฝึกสอนรวมทั้งผู้ร่วมทีมอื่นๆ อาจให้ค�ำแนะน�ำผู้เล่นในสนามได้ โดย ผู้ฝึกสอนอาจให้ค�ำแนะน�ำผู้เล่นในสนามได้โดยผู้ฝึกสอนอาจให้ค�ำแนะน�ำขณะที่ยืนหรือเดินภายในเขต เล่นลูก (FREE ZONE) ด้านหน้าของม้านั่งผู้เล่นส�ำรองตั้งแต่แนวที่ยื่นออกมาของเส้นรุกจนถึงพื้นที่อบอุ่น ร่างกายแต่ต้องไม่รบกวนหรือถ่วงเวลาการแข่งขัน 5.3 ผู้ช่วยผู้ฝึกสอน (ASSISTANT COACH) 5.3.1 ผู้ช่วยผู้ฝึกสอนนั่งบนม้านั่งของทีม แต่ไม่มีสิทธิใด ๆ ที่จะหยุดการแข่งขัน 5.3.2 ถ้าผู้ฝึกสอนไม่อยู่ ผู้ช่วยผู้ฝึกสอนอาจท�ำหน้าที่ผู้ฝึกสอนแทนได้ โดยการขอ อนุญาตของหัวหน้าทีมในขณะแข่งขัน (GAME CAPTAIN) และได้รับการยินยอมจากผู้ตัดสินที่ 1 87
6. การได้คะแนน การชนะในแต่ละเชต และการชนะแต่ละนัด 6.1 การได้คะแนน (TO SCORE A POINT) 6.1.1 คะแนน ทีมได้คะแนนเมื่อ 6.1.1.1 ท�ำให้ลูกบอลตกลงบนพื้นสนามในแดนของทีมตรงข้าม 6.1.1.2 ทีมตรงข้ามท�ำผิดกติกา 6.1.1.3 ทีมตรงข้ามถูกลงโทษ 6.1.2 การท�ำผิดกติกา ทีมท�ำผิดกติกาเมื่อลักษณะของการเล่นตรงข้ามกับกติกาการ แข่งขัน (หรือขัดแย้งกับกติกาโดยวิธีอื่นใด) ผู้ตัดสินจะตัดสินการการกระท�ำผิดและตัดสินใจด�ำเนินการ ตามกติกา ดังนี้ 6.1.2.1 ถ้ามีการเล่นผิดกติกาสองอย่างหรือมากกว่าเกิดขึ้นต่อเนื่องกัน จะ ลงโทษเฉพาะการผิดกติกาที่เกิดขึ้นก่อนเท่านั้น 6.1.2.2 ถ้าทั้งสองทีมเล่นผิดกติกาสองอย่างหรือมากกว่าพร้อมๆ กันทั้งสอง ทีม จะถือว่าเป็นการกระท�ำผิดทั้งคู่ และจะเล่นลูกนั้นใหม่ 6.1.3 ผลที่ตามมาเมื่อชนะการเล่นลูก การเล่นลูกเป็นลักษณะการเล่นที่เริ่มต้นตั้งแต่ผู้ เสิร์ฟท�ำการเสิร์ฟ จนกระทั้งลูกตาย 6.1.3.1 ถ้าทีมที่เป็นฝ่ายเสิร์ฟชนะการเล่นลูก จะได้คะแนนและได้เสิร์ฟต่อ 6.1.3.2 ถ้าทีมที่เป็นฝ่ายรับลูกเสิร์ฟชนะการเล่นลูก จะได้คะแนนและได้เสิร์ฟ ในครั้งต่อไป 6.2 การชนะในแต่ละเซต (TO WIN A SET) ทีมที่ท�ำได้ 25 คะแนนก่อน (ยกเว้นเซตตัดสิน) และ มีคะแนนน�ำทีมตรงข้ามอย่างน้อยที่สุด 2 คะแนน จะเป็นทีมชนะการแข่งขันเซตนั้น ถ้าท�ำได้ 24 คะแนน เท่ากัน จะแข่งขันกันต่อไปจนกว่าทีมใดทีมหนึ่งมีคะแนนน�ำอีกทีมหนึ่ง อย่างน้อยที่สุด 2 คะแนน 6.3 การชนะการแข่งขันแต่ละนัด (TO WIN THE MATCH) 6.3.1 ทีมที่ท�ำได้ 3 เซต เป็นทีมที่ชนะการแข่งขันนัดนั้น 6.3.2 ในกรณีที่ได้เซตเท่ากัน 2 : 2 การแข่งขันเซตตัดสิน (เซตที่ 5) จะแข่งขันกัน 15 คะแนน และต้องมีคะแนนน�ำอีกทีมหนึ่งอย่างน้อย 2 คะแนน 6.4 ทีมที่ผิดระเบียบการแข่งขันและไม่พร้อมจะแข่งขัน (DEFAULT AND INCOMPLETE TEAM) 6.4.1 ถ้าทีมปฏิเสธที่จะแข่งขัน หลังจากได้รับแจ้งให้แข่งขันต่อ ทีมนั้นจะถูกแจ้งว่าท�ำ ผิดระเบียบการแข่งขัน และปรับเป็นแพ้ในการแข่งขันนัดนั้น ด้วยผลการแข่งขัน 0 – 3 เซต คะแนน 0 – 25 ในแต่ละเซต 6.4.2 ทีมที่ไม่ปรากฏตัว ณ สนามแข่งขันตามเวลาที่ก�ำหนดโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ถือว่าผิดระเบียบการแข่งขันและมีผลการแข่งขันเช่นเดียวกับกติกาข้อ 6.4.1 6.4.3 ทีมที่ถูกแจ้งว่าไม่พร้อมในการแข่งขันนัดใดนัดหนึ่งหรือการแข่งขันเซตใดเซตหนึ่ง จะแพ้ในเซตนั้นหรือการแข่งขันนัดนั้น ทีมตรงข้ามจะได้คะแนนและเซตเพื่อเป็นทีมชนะในเซตหรือการ แข่งขันนัดนั้น ส่วนทีมที่ไม่พร้อมจะแข่งขันจะยังคงได้คะแนนและเชตที่ท�ำไว้ 88
7. โครงสร้างของการแข่งขัน 7.1 การเสี่ยง (TOSS)ก่อนการแข่งขัน ผู้ตัดสินที่ 1 จะท�ำการเสี่ยงเพื่อตัดสินว่าทีมใดจะท�ำการ เสิร์ฟก่อนหรืออยู่แดนใด ในเซตที่ 1ถ้าต้องการแข่งขันเซตตัดสินจะต้องท�ำการเสี่ยงใหม่อีกครั้งหนึ่ง 7.1.1 การเสี่ยงต้องท�ำโดยมีหัวหน้าทีมทั้งสองทีมร่วมอยู่ด้วย 7.1.2 ผู้ชนะการเสี่ยงจะสิทธิเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้ 7.1.2.1 เลือกเสิร์ฟหรือรับลูกเสิร์ฟ 7.1.2.2 เลือกแดนใดแดนหนึ่งของสนามก็ได้ผู้แพ้การเสี่ยงจะได้รับส่วนที่เหลือ 7.1.3 ในกรณีที่ท�ำการอบอุ่นร่างกายมาพร้อมกัน ทีมที่ท�ำการเสิร์ฟก่อน จะท�ำการ อบอุ่นร่างกายที่ตาข่ายก่อน 7.2 การอบอุ่นร่างกาย (WARM - UP SESSION) 7.2.1 ก่อนการแข่งขัน ถ้าทีมมีสนามอบอุ่นร่างกายที่จัดไว้ให้แล้ว แต่ละทีมจะท�ำการ อบอุ่นร่างกายที่ตาข่ายได้ทีมละ 5 นาที 7.2.2 ถ้าหัวหน้าทีมทั้งสองตกลงท�ำการอบอุ่นร่างกาย ที่ตาข่ายพร้อมกัน จะอบอุ่น ร่างกายได้ 6 นาที หรือ 10 นาที 7.3 ต�ำแหน่งการเริ่มต้นของทีม (TEAM STARTING LINE-UP) 7.3.1 ทีมต้องมีผู้เล่น 6 คนเสมอ ในการแข่งขันต�ำแหน่งเริ่มต้นของทีม แสดงถึงล�ำดับ การหมุนต�ำแหน่งของผู้เล่นในสนามล�ำดับนี้จะคงอยู่ตลอดเวลานั้น 7.3.2 ก่อนการเริ่มแข่งขันแต่ละเซตผู้ฝึกสอนต้องแจ้งต�ำแหน่งเริ่มต้นเล่นทีมของตนเอง ในใบส่งต�ำแหน่ง ซึ่งเขียนหมายเลขของผู้เล่นและลงชื่อก�ำกับแล้ว ส่งให้ผู้ตัดสินที่ 2 หรือผู้บันทึกการ แข่งขัน 7.3.3 ผู้เล่นที่ไม่ได้อยู่ในต�ำแหน่งเริ่มต้นเล่นของทีม จะเป็นผู้เล่นส�ำรองในเซตนั้น 7.3.4 เมื่อใบส่งต�ำแหน่งเริ่มต้นเล่น ถูกน�ำส่งให้ผู้ตัดสินที่ 2 หรือผู้บันทึกการแข่งขัน แล้ว จะไม่อนุญาตให้มีการเปลี่ยนแปลงใบส่งต�ำแหน่งอีก นอกจากต้องการท�ำการเปลี่ยนตัวผู้เล่นตาม ปกติ 7.3.5 ถ้าพบว่ามีการผิดพลาดระหว่างใบส่งต�ำแหน่งกับต�ำแหน่งของผู้เล่นในสนาม 7.3.5.1 ถ้าพบว่ามีการผิดพลาดก่อนเริ่มการแข่งขันของเซต ผู้เล่นต้องเปลี่ยน ต�ำแหน่งให้เป็นไปตามใบส่งต�ำแหน่งโดยไม่มีการลงโทษ 7.3.5.2 อย่างไรก็ตามถ้าผู้ฝึกสอนต้องการให้ผู้เล่นเปลี่ยน ที่ไม่ได้ระบุไว้ใน ใบส่งต�ำแหน่ง ยังคงอยู่ในสนาม ผู้ฝึกสอนต้องของเปลี่ยนตัวตามปกติและต้องบันทึกลงในใบบันทึกการ แข่งขัน 7.4 ต�ำแหน่ง (POSITIONS) ขณะที่ผู้เสิร์ฟท�ำการเสิร์ฟลูกบอล แต่ละทีมต้องอยู่ในแดนของ ตนเองตามล�ำดับการหมุนต�ำแหน่ง 7.4.1 ต�ำแหน่งของผู้เล่นจ�ำแนกได้ดังนี้ 7.4.1.1 ผู้เล่นแถวหน้า 3 คนที่อยู่ใกล้ตาข่ายเป็นผู้เล่นแถวหน้าอยู่ในต�ำแหน่ง 89
ที่ 4 ต�ำแหน่งที่ 3 และต�ำแหน่งที่ 2 7.4.1.2 ส่วนอีก 3 คน เป็นผู้เล่นแถวหลังอยู่ในต�ำแหน่งที่ 5 ต�ำแหน่งที่ 6 ต�ำแหน่งที่ 1ต�ำแหน่งของผู้เล่นจะถือต�ำแหน่งของเท้าที่แตะพื้น เป็นเครื่องหมายก�ำหนด 7.5 การผิดต�ำแหน่ง (POSITIONAL FAULT) 7.5.1 ทีมจะผิดต�ำแหน่ง ถ้าผู้เล่นคนใดคนหนึ่งไม่อยู่ไม่อยู่ในต�ำแหน่งที่ถูกต้อง ขณะที่ผู้ เสิร์ฟท�ำการเสิร์ฟลูกบอล 7.5.2 ถ้าผู้เสิร์ฟเสิร์ฟผิดกติกาขณะที่ท�ำการเสิร์ฟ จะถือว่าการเสิร์ฟผิดปกติเกิดขึ้น ก่อนการผิดต�ำแหน่งของทีมตรงข้าม 7.5.3 ถ้าการเสิร์ฟผิดกติกาหลังจากท�ำการเสิร์ฟออกไปแล้ว จะถือว่าการผิดต�ำแหน่ง เกิดขึ้นก่อน 7.5.4 การท�ำผิดต�ำแหน่งจะมีผลตามมาดังนี้ 7.5.4.1 เป็นฝ่ายแพ้ในการเล่นลูกครั้งนั้น 7.5.4.2 เปลี่ยนต�ำแหน่งของผู้เล่นให้ถูกต้อง 7.6 การหมุนต�ำแหน่ง (ROTATION) 7.6.1 ล�ำดับการหมุนต�ำแหน่ง จะเป็นไปตามใบส่งต�ำแหน่งเริ่มต้นของทีม และควบคุม ด้วยล�ำดับการเสิร์ฟและต�ำแหน่งของผู้เล่นตลอดทั้งเซต 7.6.2 เมื่อทีมที่รับลูกเสิร์ฟได้สิทธ์ในการท�ำเสิร์ฟ ผู้เล่นต้องหมุนต้องหมุนไปตามเข็ม นาฬิกาไป 1 ต�ำแหน่งผู้เล่นต�ำแหน่งที่ 2 หมุนไปต�ำแหน่งที่ 1 เพื่อท�ำการเสิร์ฟ 7.7 การหมุนต�ำแหน่งผิด (ROTATIONAL FAULT) 7.7.1การหมุนต�ำแหน่งผิดเกิดขึ้นเมื่อการเสิร์ฟไม่เป็นไปตามต�ำแหน่งการหมุนต�ำแหน่ง และมีผลตามมาดังนี้ 7.7.1.1 เป็นฝ่ายแพ้ในเล่นลูกครั้งนั้น 7.7.1.2 ต้องเปลี่ยนต�ำแหน่งของผู้เล่นให้ถูกต้อง 7.7.2 นอกจากนั้น ผู้บันทึกต้องตัดสินใจหยุดการแข่งขันทันทีที่มีการผิดต�ำแหน่ง และ ยกเลิกคะแนนที่ได้ท�ำทั้งหมดขณะที่ผิดต�ำแหน่งส่วนคะแนนของที่ท�ำได้ทั้งหมดขณะผิดต�ำแหน่งส่วน คะแนนของทีมตรงข้ามให้คงไว้คงเดิมถ้าคะแนนขณะผิดต�ำแหน่งไม่สามารถตรวจพบได้ให้ลงทาเพียง เป็นฝ่ายแพ้ในการเล่นลูกครั้งนั้นเท่านั้น 8. การเปลี่ยนตัว การเปลี่ยนตัว คือ การที่ผู้เล่นคนหนึ่งออกจากสนาม และผู้เล่นอีกคนหนึ่งเข้าไปแทนในต�ำแหน่ง นั้น หลังจากผู้บันทึกได้บันทึกการเปลี่ยนตัว (ยกเว้นตัวบันทึกอิสระ) การเปลี่ยนตัวต้องได้รับอนุญาตจาก ผู้ตัดสิน 8.1 ข้อจ�ำกัดของการเปลี่ยนตัว (LIMIYION OF SUBSTITUTION) 8.1.1 ทีมหนึ่งจะเปลี่ยนตัวได้มากที่สุด 6 คนต่อเซต การเปลี่ยนตัวแต่ละครั้งจะเปลี่ยน 90
เพียง 1 คน หรือมากกว่าก็ได้ 8.1.2 ผู้เล่นที่เริ่มต้นเล่นในเซตนั้นจะเปลี่ยนตัวออกได้หนึ่งครั้งและกลับมาเข้าไปเล่นได้ อีกหนึ่งครั้ง ในต�ำแหน่งเดิม ตามใบส่งต�ำแหน่ง 8.1.3 ผู้เล่นส�ำรองจะเปลี่ยนเข้าแทนผู้เล่น ที่เริ่มต้นเล่นในเซตนั้นได้เพียงครั้งเดียวใน แต่ละเซต และผู้ที่จะเปลี่ยนตัวเข้ามาแทนผู้เล่นส�ำรองต้องเป็นผู้เล่นคนเดิมเท่านั้น 8.2 การเปลี่ยนตัวที่ได้รับการยกเว้น (EXCEPTIONAL SUBSTITUTION) ผู้เล่นที่ได้รับบาดเจ็บ (ยกเว้นผู้รับอิสระ) จนแข่งขันต่อไปไม่ได้ จะเปลี่ยนตัวตามกติกา ถ้าเปลี่ยนตัวตามกติกาไม่ได้ ทีมนั้นจะ ได้รับการยกเว้นให้เปลี่ยนได้ นอกเหนือจากกติกาที่ก�ำหนดไว้ใน การเปลี่ยนตัวที่ได้รับยกเว้นจะไม่นับ รวมกับการเปลี่ยนตัวตามปกติ ไม่ว่ากรณีใด 8.3 การเปลี่ยนตัวผู้เล่นที่ถูกท�ำโทษออกจากการแข่งขัน หรือขาดคุณสมบัติที่จะแข่งขัน หรือ ขาดคุณสมบัติที่จะแข่งขัน (SUBSTITUTION FOR EXPULSION OR DISQUALIFICATION) ผู้เล่นที่ถูก ท�ำโทษให้ออกจากการแข่งขันหรือขาดคุณสมบัติที่จะแข่งขัน ต้องท�ำการเปลี่ยนตัวตามกติกา ถ้าท�ำการ เปลี่ยนตัวตามกติกาไม่ได้ จะถือว่าทีมนั้นเป็นทีมที่ไม่พร้อมจะแข่งขัน 8.4 การเปลี่ยนตัวที่ผิดกติกา (ILLEGAL SUBSTITUTION) 8.4.1 การเปลี่ยนตัวจะผิดกติกา ถ้านอกเหนือจากข้อจ�ำกัดที่ก�ำหนดไว้ในกติกาข้อ 8.1 8.4.2 เมื่อทีมท�ำการเปลี่ยนตัวผิดกติกา และการแข่งขันได้เล่นต่อไปแล้วจะต้องด�ำเนิน การดังนี้ (กติกาข้อ 9.1) 8.4.2.1 ทีมถูกลงโทษให้เป็นฝ่ายแพ้ในการเล่นลูกครั้งนั้น 8.4.2.2 แก้ไขการเปลี่ยนตัวให้ถูกต้อง 8.4.2.3 คะแนนที่ท�ำได้ตั้งแต่ท�ำผิดกติกาของทีมนั้นจะถูกตัดออก ส่วนคะแนน ของทีมตรงข้ามยังคงไว้ตามเดิม 9. รูปแบบต่างๆของการเล่น 9.1 ลูกบอลที่อยู่ในการเล่น (BALL IN PLAY) ลูกบอลจะอยู่ในการเล่นตั้งแต่ขณะที่ท�ำการเสิร์ฟ โดยผู้ตัดสินที่ 1 เป็นผู้อนุญาต (กติกาข้อ 13.3) 9.2 ลูกบอลที่ไม่ได้อยู่ในการเล่น หรือลูกตาย (BALL OUT OF PLAY)ลูกบอลที่ไม่ได้อยู่ในการ เล่น ตั้งแต่ขณะที่มีการท�ำผิดกติกาซึ่งผู้ตัดสินคนใดคนหนึ่งจะเป็นผู้ให้สัญญาณนกหวีด การท�ำผิดกติกา สิ้นสุดลงพร้อมๆกับสัญญาณนกหวีด 9.3 ลูกบอลอยู่ในสนาม (BALL IN) ลูกบอลอยู่ในสนาม เมื่อลูกบอลถูกพื้นสนามแข่งขันรวมทั้ง เส้นเขตสนาม (กติกาข้อ 1.1, 1.3.2) 9.4 ลูกบอลออกนอกสนาม (BALL OUT)ลูกบอลออกนอกสนามเมื่อ 9.4.1 บางส่วนของลูกบอลตกลงบนพื้น นอกเส้นเขตสนามอย่างสมบูรณ์ 9.4.2 ลูกบอลถูกสิ่งของที่อยู่ภายนอกสนาม เพดาน หรือผู้ที่ไม่ได้แข่งขันด้วย 9.4.3 ลูกบอลถูกเสาอากาศ เชือก เสา หรือตาข่ายที่อยู่นอกแถบข้าง (กติกาข้อ 2.3) 91
9.4.4 ลูกบอลข้ามตาข่าย นอกเขตแนวตั้งที่ก�ำหนดให้ลูกบอลผ่านอย่างสมบูรณ์หรือ เพียงบางส่วน(ยกเว้นกรณีกติกาข้อ 11.1.2, 11.1.1) 9.4.5 ลูกบอลลอดใต้ตาข่ายไปยังแดนของทีมตรงข้ามอย่างสมบูรณ์ 10. การเล่นลูกบอล แต่ละทีมต้องเล่นลูกบอลภายในพื้นที่เล่นลูก และที่ว่างของทีมตนเอง (ยกเว้นกติกาข้อ 11.1.2) อย่างไรก็ตามผู้เล่นสามารถน�ำบอลที่ออกไปนอกเขตรอบสนามกลับมาเล่นต่อได้ 10.1 การถูกลูกบอลของทีม (TEAM HITS) ทีมถูกลูกบอลได้มากที่สุด 3 ครั้ง (นอกจากท�ำการ สกัดกั้นตามกติกาข้อ 15.4.1) เพื่อส่งลูกบอลกลับไปยังทีมตรงข้าม ถ้าถูกลูกบอลมากกว่านี้ ถือว่าทีมท�ำ ผิดกติกา “ถูกลูก 4 ครั้ง” การถูกลูกบอลของทีม นับรวมทั้งที่ผู้เล่นตั้งใจถูกหรือไม่ตั้งใจถูกก็ตาม 10.1.1 การถูกลูกบอลอย่างต่อเนื่อง (CONSECUTIVE CONTACTS) ผู้เล่นจะถูก ลูกบอล 2 ครั้งติดต่อกันไม่ได้ (ยกเว้นกติกาข้อ 10.2.3, 15.2, 15.4.2) 10.1.2 การถูกลูกบอลพร้อมกัน (SIMULTENEOUS CONTACTS) ผู้เล่น 2 คนหรือ 3 คนอาจถูกลูกบอลพร้อมๆ กันได้ในเวลาเดียวกัน 10.1.2.1 เมื่อผู้เล่นทีมเดียวกัน 2 คน (3 คน) ถูกบอลพร้อมๆ กัน จะถือว่า เป็นการถูกบอล 2 ครั้ง (3 ครั้ง) ยกเว้นเมื่อท�ำการสกัดกั้น ถ้าผู้เล่นหลายคนถึงลูกบอลพร้อมกัน แต่มีผู้ เล่นถูกลูกบอลเพียงคนเดียว จะถือว่าถูกลูกบอล 1 ครั้ง ถึงแม้ว่าผู้เล่นชนกันก็ไม่ถือว่าผิดกติกา 10.1.2.2 เมื่อทั้งสองทีมถูกลูกบอลพร้อมๆกันเหนือตาข่าย และยังเล่นลูกบอล นั้นต่อไปได้ ทีมรับที่รับลูกนั้นสามารถถูกลูกบอลได้อีก 3 ครั้ง ถ้าลูกบอลออกนอกสนาม จะถือว่าทีมที่อยู่ ฝั่งตรงข้ามกับลูกบอลเป็นฝ่ายท�ำลูกบอลออกนอกสนาม 10.1.2.3 ถ้าการถูกลูกบอลพร้อมๆ กันทั้งสองทีมเป็นการจับลูก (CATCH) จะ ถือว่าผิดกติกาทั้งสองทีม และต้องเล่นลูกนั้นใหม่ 10.1.3 การเล่นลูกบอลโดยมีการช่วยเหลือ (ASSISTED HIT) ภายในบริเวณพื้นที่เล่น ไม่อนุญาตให้ผู้เล่นอาศัยเพื่อนร่วมทีมหรือสิ่งใดๆ ช่วยให้ไปถึงลูกบอลได้ อย่างไรก็ตาม ผู้เล่นที่ก�ำลังจะ ท�ำผิดกติกา(โดยก�ำลังจะถูกตาข่ายหรือเส้นขั้นเขตแดน) อาจถูกฉุดหรือดึงโดยเพื่อนร่วมทีมได้ 10.2 การถูกลูกบอลในลักษณะต่างๆ (CHARACTERISTICS OF THE HIT) 10.2.1 ลูกบอลอาจถูกส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายได้ 10.2.2 การถูกลูกบอลต้องเป็นการกระทบ ไม่ใช่จับหรือโยน ลูกบอลจะสะท้อนกลับใน ทิศทางใดก็ได้ 10.2.3 ลูกบอลอาจถูกหลายส่วนของร่างกายได้ ถ้าการถูกนั้นเกิดขึ้นพร้อมๆ กัน 10.2.3.1 ในการสกัดกั้น ลูกบอลอาจถูกผู้สกัดกั้นคนเดียวหรือมากกว่าติดต่อ กันได้ ถ้าการถูกลูกบอลเป็นลักษณะการเล่นลูกบอลเพียงครั้งเดียว 10.2.3.2 การถูกลูกบอลครั้งแรกของทีม ลูกบอลอาจถูกส่วนต่างๆ ของร่างกาย ต่อเนื่องกันได้ ถ้าการถูกลูกบอลเป็นลักษณะการเล่นลูกครั้งเดียว 92
10.3 การท�ำผิดกติกาในการเล่นลูกบอล (FAULT IN PLATING THR BALL) 10.3.1 การถูกลูกบอล 4 ครั้ง ทีมถูกลูกบอล 4 ครั้งก่อนส่งลูกบอลไปยังทีมตรงข้าม 10.3.2 การถูกลูกบอลโดยมีการช่วยเหลือผู้เล่นอาศัยเพื่อนร่วมทีมหรือสิ่งของใดๆ ช่วย ให้เข้าถึงลูกบอลภายในบริเวณพื้นที่เล่นลูก 10.3.3 การจับลูกบอล ผู้เล่นไม่ได้กระทบลูกแต่จับและ / หรือโยนลูกบอล 10.3.4 การถูกลูกบอลติดต่อกัน 2 ครั้ง ผู้เล่นถูกลูกบอล 2 ครั้ง หรือถูกส่วนต่างๆ ของ ร่างกายในการเล่นลูก 1ครั้ง 11. ลูกบอลที่บริเวณตาข่าย 11.1 การข้ามตาข่ายของลูกบอล (BALL CROSSING THE NET) 11.1.1 ลูกบอลที่ส่งไปยังทีมตรงข้าม ต้องข้ามเหนือตาข่ายภายในพื้นที่ส�ำหรับข้าม ตาข่าย พื้นที่ส�ำหรับข้ามตาข่ายคือ พื้นที่ในแนวตั้งของตาข่ายที่ถูกก�ำหนดด้วยสิ่งต่อไปนี้ 11.1.1.1 ส่วนต�่ำสุด โดยขอบบนของตาข่าย 11.1.1.2 ด้านข้าง โดยมีเสาอากาศและแนวสมมติที่สูงขึ้นไป 11.1.1.3 ส่วนบนสุด โดยเพดาน 11.1.2 ลูกบอลที่ข้ามแนวตาข่ายไปยังเขตรอบสนามของทีมตรงข้าม โดยทุกส่วนของ ลูกบอล หรือเพียงบางส่วนของลูกบอลอยู่นอกแนวข้ามตาข่าย ลูกบอลอาจกลับมาเล่นต่อได้โดยเล่นลูก ไม่เกิน 3 ครั้ง ถ้า 11.1.2.1 ผู้เล่นไม่ถูกแดนของทีมตรงข้าม 11.1.2.2 ลูกบอลที่เล่นกันมาข้ามนอกเขตข้ามตาข่ายลูกบอลทางด้านเดียวกัน ของสนามทั้งลูกหรือเพียงบางส่วนของลูก ทีมตรงข้ามจะกีดขวางการเล่นลูกนี้ไม่ได้ 11.2 การถูกตาข่ายของลูกบอล (BALL TOUCHING THE NET) ลูกบอลอาจถูกตาข่ายได้ขณะที่ ก�ำลังข้ามตาข่าย 11.3 ลูกบอลที่ชนตาข่าย (BALL IN THE NET) 11.3.1 ลูกบอลที่พุ่งชนตาข่ายยังเล่นต่อไปได้จนครบ 3 ครั้ง ตามก�ำหนดการเล่นลูก 11.3.2 ถ้าลูกบอลท�ำให้ลูกบอลท�ำให้ตาข่ายฉีกขาด หรือท�ำให้ตาข่ายหลุดให้ยกเลิก การเล่นลูกครั้งนั้นและน�ำมาเล่นกันใหม่ 12. ผู้เล่นบริเวณตาข่าย 12.1 การล�้ำเหนือตาข่าย (REACHING BEYOND THE NET) 12.1.1 ในการสกัดกั้น ผู้สกัดกั้นอาจล�้ำตาข่ายเข้าไปถูกลูกบอลได้ถ้าไม่กีดขวางการเล่น ลูกของทีมตรงกันข้าม คือไม่ถูกลูกก่อนหรือไม่ถูกลูกขณะที่ทีมตรงกันข้ามท�ำการรุก 12.1.2 ภายหลังการตบลูกบอล มือของผู้เล่นอาจล�้ำตาข่ายได้ ถ้าขณะถูกลูกเป็นการถูก ลูกบอลในแดนของทีมของตนเอง 93
12.2 การล�้ำใต้ตาข่าย (PENETRATION UNDER THE NET) 12.2.1 อนุญาตให้ล�้ำเข้าไปในแดนของทีมตรงข้ามใต้ตาข่ายได้ ถ้าไม่ขัดขวางการเล่น ของทีมตรงข้าม 12.2.2 การล�้ำเส้นแบ่งแดนเข้าไปในแดนของทีมตรงข้าม 12.2.2.1 อนุญาตให้เท้าหรือมือข้างเดียว (2 ข้าง) ถูกแดนของทีมตรงข้ามได้ ถ้าส่วนใดส่วนหนึ่งของเท้าหรือมือยังคงแตะ หรืออยู่เหนือเส้นแบ่งแดน 12.2.2.2 ส่วนอื่นๆ ของร่างกายจะถูกแดนของทีมตรงข้ามไม่ได้ 12.2.3 ผู้เล่นอาจเข้าไปในแดนของทีมตรงข้ามได้หลังจากลูกตายแล้ว 12.2.4 ผู้เล่นอาจล�้ำเข้าไปในเขตรอบสนามของทีมตรงกันข้ามได้ ถ้าไม่กีดขวางการเล่น ของทีมตรงกันข้าม 12.3 การถูกตาข่าย (CONTACT WITH THE NET) 12.3.1 การถูกตาข่ายหรือเสาอากาศไม่ผิดกติกา เว้นแต่เมื่ออยู่ในลักษณะเล่นลูก หรือกีดขวางการเล่น การเล่นลูกบางลักษณะอาจรวมถึงลักษณะที่ผู้เล่นไม่ได้ถูกลูกบอลในขณะนั้นด้วย 12.3.2 เมื่อผู้เล่นได้เล่นลูกบอลไปแล้ว ผู้เล่นอาจถูกเสาเชือก หรือสิ่งใด ๆ ที่อยู่นอก ระยะความยาวของตาข่ายได้ ถ้าไม่กีดขวางการเล่น 12.3.3 ถ้าลูกบอลที่พุ่งชนตาข่ายท�ำให้ตาข่ายไปถูกผู้เล่นทีมตรงข้ามไม่ถือว่าผิดกติกา 12.4 การผิดกติกาของผู้เล่นที่ตาข่าย (PLAYERS’ FAULTS AT THE NET) 12.4.1 ผู้เล่นถูกลูกบอลหรือถูกผู้เล่นทีมตรงข้ามในแดนของทีมตรงกันข้ามหรือระหว่าง ที่ทีมตรงกันข้ามท�ำการรุก 12.4.2 ผู้เล่นล�้ำเข้าไปในที่ว่างใต้ตาข่ายของทีมตรงข้าม และกีดขวางการเล่นของทีม ตรงข้าม 12.4.3 ผู้เล่นล�้ำเข้าไปในแดนของทีมตรงข้าม 12.4.4 ผู้เล่นถูกตาข่าย หรือเสาอากาศขณะอยู่ในลักษณะของการเล่นลูก หรือกีดขวาง การเล่น 13. การเสิร์ฟ การเสิร์ฟ เป็นการน�ำลูกเข้าสู่การเล่น โดยผู้เล่นต�ำแหน่งหลังขวาที่ยืนอยู่ในเขตเสิร์ฟ 13.1 การเสิร์ฟครั้งแรกในแต่ละเซต (FIRST SERVICE IN A SET) 13.1.1 ทีมใดจะได้เสิร์ฟลูกแรกในเซตที่ 1 และเซตตัดสิน (เซต 5) มีผลมาจากการตัดสิน ใจของทีมเมื่อท�ำการเสี่ยง 13.1.2 ในเซตอื่นๆ ทีมที่ไม่ได้เสิร์ฟลูกแรกในเซตที่ผ่านมาจะเป็นทีมที่ท�ำการเสิร์ฟ ลูกแรก 13.2 ล�ำดับการเสิร์ฟ (SERVICE ORDER) 13.2.1 ล�ำดับการเสิร์ฟของผู้เล่นต้องเป็นไปตามที่บันทึกไว้ในใบส่งต�ำแหน่ง 94
13.2.2 หลังจาการเสิร์ฟครั้งแรกในแต่ละเซตผู้เล่นที่เสิร์ฟครั้งต่อไปจะเป็นดังนี้ 13.2.2.1 เมื่อฝ่ายเสิร์ฟชนะการเล่นลูกนั้น ผู้ที่ท�ำการเสิร์ฟอยู่แล้ว (หรือผู้เล่น ส�ำรองเปลี่ยนตัวเข้ามาแทน) จะท�ำการเสิร์ฟต่อไปอีก 13.2.2.2 เมื่อฝ่ายรับลูกเสิร์ฟชนะในการเล่นลูกนั้นจะได้สิทธ์ท�ำการเสิร์ฟและ ต้องหมุนต�ำแหน่งก่อนท�ำการเสิร์ฟ ผู้เล่นที่หมุนจากต�ำแหน่งหน้าขวาไปยังหลังขวาจะเป็นผู้เสิร์ฟ 13.3 การอนุญาตให้เสิร์ฟ (AUTHORIZATION OF THE SERVICE) ผู้ตัดสินที่ 1 เป็นผู้อนุญาตให้ เสิร์ฟ หลังจากการตรวจดูว่าทั้งสองทีมพร้อมแข่งขัน และผู้เสิร์ฟถือลูกบอลไว้แล้ว 13.4 การปฏิบัติในการเสิร์ฟ (EXECUTION OF THE SERVICE) 13.4.1 หลังจากผู้เสิร์ฟโยนหรือปล่อยลูกบอลออกจากมือแล้วจะเสิร์ฟด้วยมือหรือส่วน ใดส่วนหนึ่งของแขนเพียงข้างเดียว 13.4.2 อนุญาตให้ท�ำการโยนลูกบอลเพื่อท�ำการเสิร์ฟเพียงครั้งเดียวแต่อนุญาตให้เดาะ หรือเคลื่อนไหวลูกบอลในมือได้ 13.4.3 ขณะท�ำการเสิร์ฟหรือกระโดดเสิร์ฟ ผู้เสิร์ฟต้องไม่ถูกพื้นที่เขตสนาม (รวมทั้ง เส้นหลังด้วย) หรือพื้นที่นอกเขตเสิร์ฟหลังจากท�ำการเสิร์ฟแล้ว ผู้เสิร์ฟจึงสามารถเหยียบหรือถูกพื้นนอก เขตเสิร์ฟและพื้นในเขตสนามได้ 13.4.4 ผู้เสิร์ฟต้องท�ำการเสิร์ฟลูกภายใน 8 นาที หลังจาก ผู้ตัดสินที่ 1 เป่านกหวีดให้ ท�ำการเสิร์ฟ 13.4.5 การเสิร์ฟก่อนสัญญาณนกหวีดของผู้ตัดสิน ต้องยกเลิกและให้ท�ำการเสิร์ฟใหม่ 13.5 การก�ำบัง (SCREENING) 13.5.1 ผู้เล่นของทีมที่ก�ำลังจะท�ำการเสิร์ฟ คนเดียวหรือหลายคนก็ตามไม่บังทีมตรง ข้ามเพื่อมิให้มองเห็นผู้เสิร์ฟเคลื่อนไหวแขน กระโดด หรือเคลื่อนที่ไปข้างๆ ขณะที่ก�ำลังท�ำการเสิร์ฟ เพื่อ บังทิศทางที่ลูกบอลพุ่งไป จะถือว่าเป็นการก�ำบัง 13.6 การกระท�ำผิดระหว่างท�ำการเสิร์ฟ (FAULTS MADE DURING THE SEERVIC) 13.6.1 การเสิร์ฟที่ผิดกติกา การผิดกติกาต่อไปนี้จะต้องเปลี่ยนเสิร์ฟ ถึงแม้ว่าทีมตรง ข้ามจะผิดต�ำแหน่ง 13.6.1.1 ท�ำการเสิร์ฟผิดล�ำดับการเสิร์ฟ 13.6.1.2 ท�ำการเสิร์ฟไม่ถูกต้อง 13.6.2 การผิดกติกาหลังจากการเสิร์ฟลูกบอลออกไปอย่างถูกต้องแล้ว การเสิร์ฟนั้น อาจผิดกติกาได้ 13.6.2.1 ถ้าลูกบอลถูกผู้เล่นของทีมที่ท�ำการเสิร์ฟ หรือไม่ผ่านพื้นที่ว่างเหนือ ตาข่ายอย่างสมบูรณ์ 13.6.2.2 ลูก “ออก” กติกาข้อ 9.4 13.6.2.3 ลูกบอลผ่านเหนือการก�ำบัง 95
13.7 การผิดกติกาหลังจากการเสิร์ฟและการผิดต�ำแหน่ง (FAULTS MADE AFTER THE SERVICE AND POSITIONAL FAULT) 13.7.1 ถ้าผู้เสิร์ฟท�ำการเสิร์ฟผิดกติกา (ท�ำการเสิร์ฟไม่ถูกต้อง หรือ ผิดล�ำดับการเสิร์ฟ เป็นต้น) และทีมตรงข้ามผิดต�ำแหน่งการเสิร์ฟผิดกติกาจะถูกท�ำโทษ 13.7.2 ถ้าการเสิร์ฟกระท�ำอย่างถูกต้อง แต่ผิดพลาดในเวลาต่อมา (ลูกออก หรือ ผ่าน การก�ำบังเป็นต้น) จะถือว่าการผิดต�ำแหน่งเกิดขึ้นก่อน และจะท�ำโทษการผิดต�ำแหน่ง 14. การรุก 14.1 การรุก (ATTACK HIT) 14.1.1 การกระท�ำใดๆ ที่ส่งลูกบอลไปยังทีมตรงข้ามยกเว้นการเสิร์ฟและการสกัดกั้น ถือว่าเป็นการรุก 14.1.2 ขณะท�ำการรุก อนุญาตให้ใช้ปลายนิ้วเล่นลูกได้ถ้าการถูกลูกเป็นไปอย่างชัดเจน และไม่ได้ใช้ฝ่ามือจับหรือโยนลูกบอลออกไป 14.1.3 การรุกจะสมบูรณ์เมื่อลูกได้ข้ามแนวดิ่งของตาข่ายไป แล้วทั้งลูกหรือเมื่อทีมตรง ข้ามถูกลูก 14.2 ข้อก�ำจัดของการรุก (RESTRICTIONS OF THE ATTACK HIT) 14.2.1 ผู้เล่นแถวหน้าสามารถท�ำการรุกที่ระดับความสูงเท่าใดก็ได้ ถ้าการถูกลูกบอล อยู่ภายในแดนของผู้เล่นเอง 14.2.2 ผู้เล่นแถวหลังสามารถท�ำการรุกที่ระดับความสูงเท่าใดก็ได้ จากหลังเขตรุก 14.2.2.1 ขณะกระโดด เท้าข้างหนึ่ง (ทั้งสองข้าง) ต้องไม่แตะหรือข้ามเส้นรุก 14.2.2.2 หลังจากตบลูกแล้ว จึงจะลงยืนในเขตรุกได้ 14.2.3 ผู้เล่นแถวหลังสามารถท�ำการรุกในเขตรุกได้ ถ้าถูกลูกบอลในขณะที่ทุกส่วนของ ลูกบอลไม่อยู่เหนือกว่าขอบบนสุดของตาข่าย 14.2.4 ไม่อนุญาตให้ผู้เล่นทุกคนตบลูกบอลที่ทีมตรงข้ามเสิร์ฟมา เมื่อลูกบอลอยู่ในเขต รุก และลูกบอลอยู่ในเขตรุก และลูกบอลทั้งลูกอยู่เหนือขอบบนสุดของตาข่าย 14.3 การรุกที่ผิดกติกา (FAULTS OF THE ATTACK HIT) 14.3.1 ถ้าลูกบอลในแดนของทีมตรงข้าม 14.3.2 ตบลูกออกนอกเขตสนาม 14.3.3 ผู้เล่นแถวหลังท�ำการรุกในเขตรุก ขณะที่ลูกบอลอยู่เหนือขอบบนสุดของตาข่าย ทั้งลูก 14.3.4 ตบลูกบอลที่ทีมตรงข้ามเสิร์ฟมา ขณะที่ลูกบอลอยู่ในเขตรุกและอยู่เหนือขอบ บนสุดของตาข่ายทั้งลูก 14.3.5 ตัวรับอิสระท�ำการรุก โดยขณะถูกลูกบอล ลูกบอลทั้งลูกอยู่เหนือขอบบนสุด ของตาข่าย 96
14.3.6 ผู้เล่นท�ำการรุกขณะลูกบอลอยู่เหนือขอบบนสุดของตาข่าย โดยตัวรับอิสระที่ อยู่ในแดนหน้าเป็นผู้ใช้นิ้วส่งลูกบอลมาให้ด้วยการเล่นลูกบนมือบน 15. การสกัดกั้น 15.1 การสกัดกั้น (BLOCK) 15.1.1 การสกัดกั้นคือ การเล่นของผู้เล่นที่อยู่ชิดตาข่ายเพื่อป้องกันลูกบอลที่จะมาจาก ทีมตรงข้าม โดยเอื้อมมือสูงกว่าระดับสูงสุดของตาข่าย ผู้เล่นแถวหน้าเท่านั้นที่ได้รับอนุญาตให้ท�ำการ สกัดกั้นได้ 15.1.2 ความพยายามที่จะสกัดกั้น คือลักษณะของการท�ำการสกัดกั้นแต่ไม่ถูกลูกบอล 15.1.3 การสกัดกั้นที่สมบูรณ์ คือการสกัดกั้นที่สมบูรณ์ คือการสกัดกั้นที่ผู้สกัดกั้นถูก ลูกบอล 15.1.4 การสกัดกั้นเป็นกลุ่ม คือการสกัดกั้นโดยผู้เล่นสองหรือสามคนที่อยู่ใกล้ ๆ กัน การสกัดกั้นจะสมบูรณ์เมื่อผู้เล่นคนใดคนหนึ่งถูกลูกบอล 15.2 การถูกลูกบอลขณะท�ำการสกัดกั้น (BLOCK CONTACT) การถูกลูกบอลหลายครั้ง (อย่าง รวดเร็วและต่อเนื่อง) โดยผู้สกัดกั้นคนเดียวหรือมากกว่าอาจเกิดขึ้นได้ ถ้าการถูกลูกนั้นเป็นลักษณะท�ำ การสกัดกั้นเพียงครั้งเดียว 15.3 การสกัดกั้นในแดนของทีมตรงข้าม (BLOCKING WITHIN THE OPPONENT’S SPACE) ในการสกัดกั้น ผู้เล่นยื่นมือแขนล�้ำตาข่ายได้ ถ้าไม่กีดขวางการเล่นของทีมตรงข้าม การสกัดกั้นจะถูก ลูกบอลในแดนของทีมตรงข้ามไม่ได้ จนกว่าทีมตรงข้ามจะถูกลูกเพื่อท�ำการรุกแล้ว 15.4 การสกัดกั้นและการถูกลูกบอลของทีม (BLOCK AND TEAM HITS) 15.4.1 การถูกลูกบอลโดยการสกัดกั้น ไม่นับเป็นการถูกลูกบอลของทีม หลังจากถูก ลูกบอลโดยการสกัดกั้นแล้ว ทีมนั้นยังถูกลูกบอลได้อีก 3 ครั้ง เพื่อส่งลูกกลับไปยังทีมตรงข้าม 15.4.2 หลังจากท�ำการสกัดกั้น ผู้ถูกลูกแรกจะเป็นผู้เล่นคนใดคนหนึ่งรวมทั้งผู้เล่นที่ถูก ลูกบอลในการสกัดกั้นด้วยก็ได้ 15.5 การสกัดกั้นลูกเสิร์ฟ (BLOCKING THE SERVICE) ห้ามสกัดกั้นลูกบอลที่ทีมตรงข้ามเสิร์ฟ มา 15.6 การสกัดกั้นที่ผิดกติกา (BLOCKING FAULT) 15.6.1 ผู้สกัดกั้นถูกลูกบอลในแดนของทีมตรงข้ามก่อน หรือพร้อมกับการถูกลูกเพื่อ ท�ำการรุกของทีมตรงข้าม 15.6.2 ผู้เล่นแถวหลังหรือตัวรับอิสระ ท�ำการสกัดกั้นหรือรวมกลุ่มท�ำการสกัดกั้นโดย สมบูรณ์ 15.6.3 สกัดกั้นลูกเสิร์ฟของทีมตรงข้าม 15.6.4 ลูกบอลถูกสกัดกั้นแล้วออกนอกเขตสนาม 15.6.5 สกัดกั้นลูกบอลด้านนอกเสาอากาศในแดนของทีมตรงข้าม 97
15.6.6 ตัวรับอิสระพยายามท�ำการสกัดกั้นด้วยตัวเองหรือรวมกับผู้เล่นอื่น
16. การหยุดการแข่งขันตามกติกา การหยุดการแข่งขันตามกติกา ได้แก่ การขอเวลานอกและการเปลี่ยนตัว 16.1 จ�ำนวนครั้งของการขอหยุดการแข่งขันตามกติกา (NUMBER OF REGULAR INTERRUP TIONS) แต่ละทีมของเวลานอกได้อย่างมากที่สุด 2 ครั้ง และเปลี่ยนตัวผู้เล่นได้ 6 คนต่อเซต 16.2 การขอหยุดการแข่งขันตามกติกา (REQUEST FOR REGULAR INTERRUPTIONS) 16.2.1 ผู้ฝึกสอนหรือหัวหน้าทีมที่ลงแข่งขันเท่านั้นที่ขอหยุดการแข่งขันได้ การขอหยุด การแข่งขันได้ การขอหยุดการแข่งขันกระท�ำโดยแสดงสัญญาณมือเมื่อลูกตาย และก่อนสัญญาณนกหวีด ท�ำการเสิร์ฟ 16.2.2 การขอเปลี่ยนตัวก่อนเริ่มการแข่งขันของเซตสามารถท�ำได้ และต้องบันทึกไว้ เหมือนกับการขอเปลี่ยนตัวปกติในเซตนั้น 16.3 ล�ำดับการขอหยุดการแข่งขัน (SEQUENCE OF INTERRUPTION) 16.3.1 ทีมที่สามารถขอเวลานอกหนึ่งหรือสองครั้งติดต่อกันได้ และตามด้วยการขอ เปลี่ยนตัวได้อีกด้วย โดยไม่ต้องรอให้มีการแข่งขันแทรกระหว่างการขอหยุดการแข่งขันแต่ละครั้ง 16.3.2 ไม่อนุญาตให้ทีมขอเปลี่ยนตัวสองครั้งติดต่อกัน เว้นเสียแต่ว่ามีการแข่งขันเกิด ขึ้นหลังจากการขอเปลี่ยนตัวครั้งแรกแล้วจึงขอเปลี่ยนตัวครั้งต่อไปได้ การเปลี่ยนตัวแต่ละครั้งจะเปลี่ยน ครั้งละสองคนหรือมากว่าก็ได้ 16.4 เวลานอกปกติและเวลานอกทางเทคนิค (TIME-OUTS AND TECHNICAL TIME-OUTS) 16.4.1 การขอเวลานอกแต่ละครั้งมีเวลา 30 วินาที ส�ำหรับการแข่งขันระดับโลกของ สหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติและการแข่งขันอย่างเป็นทางการ ระหว่างเซตที่ 1 ถึง 4 เมื่อทีมใดน�ำไปถึง คะแนนที่ 8 และคะแนนที่ 16 ในแต่ละเซต จะให้เวลานอกทางเทคนิคโดยอัตโนมัติครั้งละ 60 วินาที ใน เซตตัดสิน (เซตที่ 5) ไม่มีการให้เวลานอกทางเทคนิคแต่ละทีมขอเวลานอกตามปกติได้ 2 ครั้ง ครั้งละ 30 วินาที 16.4.2 ระหว่างการขอเวลานอกทุกแบบ ผู้เล่นในสนามแข่งขันต้องออกไปอยู่เขตรอบ สนามใกล้ม้านั่ง 16.5 การเปลี่ยนตัวผู้เล่น (PLAYER SUBSTITUTION) 16.5.1 การเปลี่ยนตัวต้องกระท�ำภายในเขตเปลี่ยนตัว 16.5.2 การเปลี่ยนตัวจะใช้เวลาเท่าที่จ�ำเป็นเพื่อบันทึกการแข่งขันและให้ผู้เล่นเข้าและ ออกจากสนามเท่านั้น 16.5.3 ขณะขอเปลี่ยนตัวผู้เล่นที่จะเปลี่ยนตัวต้องพร้อมจะเข้าสนามใกล้กับเขตเปลี่ยน ตัว ถ้าผู้เล่นไม่พร้อมตามที่กล่าวข้างต้น จะไม่ได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนตัว และทีมจะถูกท�ำโทษถ่วงเวลา ส�ำหรับการแข่งขันระดับโลกของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติและการแข่งขันอย่างเป็นทางการ จะใช้ ป้ายหมายเลขช่วยในการเปลี่ยนตัว 98
16.5.4 ถ้าทีมตั้งใจเปลี่ยนตัวมากกว่า 1 คน จะต้องให้สัญญาณบอกจ�ำนวนในขณะขอ เปลี่ยนตัว และในกรณีนี้ต้องท�ำการเปลี่ยนตัวให้เสร็จสิ้นทีละคู่ ตามล�ำดับ 16.6 การขอหยุดการแข่งขันที่ผิดปกติ (IMPROPER REQUESTS) 16.6.1 การขอหยุดการแข่งขันต่อไปนี้เป็นการกระท�ำที่ผิดกติกา 16.6.1.1 ระหว่างการเล่นก�ำลังด�ำเนินอยู่ หรือขณะก�ำลังให้สัญญาณท�ำการ เสิร์ฟแล้ว 16.6.1.2 โดยผู้ร่วมทีมที่ไม่ได้รับมอบอ�ำนาจ 16.6.1.3 ขอเปลี่ยนตัวครั้งที่ 2 โดยยังไม่ได้ด�ำเนินการแข่งขันหลังจากเปลี่ยน ตัวครั้งแรกไปแล้ว 16.6.1.4 หลังจากจ�ำนวนครั้งที่ขอเวลานอกการขอเปลี่ยนตัวได้ใช้ไปหมดแล้ว 16.6.2 การขอหยุดการแข่งขันที่ผิดกติกาครั้งแรกที่ไม่มีผลกระทบหรือท�ำให้การแข่งขัน ล่าช้า จะได้รับการปฏิเสธโดยไม่มีการท�ำโทษใดๆ 16.6.3 การขอหยุดการแข่งขันที่ผิดกติกาซ�้ำอีกในการแข่งขันนัดนั้น ถือว่าเป็นการถ่วง 17. การถ่วงเวลาการแข่งขัน 17.1 ชนิดของการถ่วงเวลาการแข่งขัน (TYPES OF DELAYS) การกระท�ำใด ๆ ของทีมที่เป็นเหตุ ให้การแข่งขันล่าช้าถือว่าเป็นการถ่วงเวลา ซึ่งประกอบด้วย 17.1.1 การเปลี่ยนตัวล่าช้า 17.1.2 เมื่อได้รับแจ้งให้เริ่มการแข่งขันแล้ว ยังท�ำให้การขอหยุดการแข่งขันเนิ่นนาน ออกไปอีก 17.1.3 ขอเปลี่ยนตัวผิดกติกา 17.1.4 ขอหยุดการแข่งขันผิดปกติซ�้ำอีก 17.1.5 การถ่วงเวลาการแข่งขันโดยผู้ร่วมมือ 17.2 บทท�ำโทษในการถ่วงเวลา (DELAY SANCTIONS) 17.2.1 การเตือน (Delay Warning) และการลงเมื่อถ่วงเวลา (Delay penalty) เป็นการท�ำโทษทีม 17.2.1.1 การถูกท�ำโทษเมื่อถ่วงเวลาจะมีผลต่อเนื่องตลอดการแข่งขันนัดนั้น 17.2.1.2 การถูกท�ำโทษและถูกเตือนเมื่อถ่วงเวลา ต้องบันทึกลงในบันทึกการ แข่งขัน 17.2.2 การถ่วงเวลาครั้งแรกของทีมในการแข่งขันนัดใดนัดหนึ่ง จะถูกท�ำโทษด้วยการ เตือน (Delay Warning) 17.2.3 การถ่วงเวลาครั้งที่ 2 และครั้งต่อ ๆ ไป ในการแข่งขันนัดเดียวกัน ไม่ว่าแบบใด โดยผู้เล่นหรือผู้ร่วมทีมคนใด ถือว่ากระท�ำผิดกติกาและจะถูกท�ำโทษให้เป็นฝ่ายแพ้ในการเล่นลูกนั้น 17.2.4 การท�ำโทษเมื่อถ่วงเวลา ก่อนเริ่มต้นเซตหรือระหว่างเซตจะมีผลในเซตถัดไป 99
18. การหยุดการแข่งขันที่ได้รับการยกเว้น 18.1 การบาดเจ็บ (INJURY) 18.1.1 เมื่อมีอุบัติเหตุร้ายแรงระหว่างการเล่นลูก ผู้ตัดสินต้องหยุดการแข่งขันทันที และอนุญาตให้พยาบาลลงไปในสนามได้ แล้วให้เล่นลูกนั้นใหม่ 18.1.2 ถ้าผู้เล่นที่บาดเจ็บไม่สามารถเปลี่ยนตัวได้ตามกติกา หรือตามข้อยกเว้น จะ อนุญาตให้ปฐมพยาบาลผู้เล่นนั้นได้ 3 นาที แต่จะท�ำได้เพียงครั้งเดียวในการแข่งขันนัดนั้น ส�ำหรับผู้เล่น คนเดิม ถ้าพยาบาลแล้วยังเล่นต่อไปไม่ได้จะถือว่าทีมนั้นไม่พร้อมท�ำการแข่งขัน 18.2 เหตุขัดข้องนอกเหนือกติกาการแข่งขัน (EXTERNAL INTERFERENCE) ถ้ามีเขตขัดข้อง นอกเหนือกติกาเกิดขึ้นระหว่างแข่งขันจะต้องหยุดการแข่งขันไว้และให้เล่นลูกนั้นใหม่ 18.3 เหตุขัดข้องเป็นเวลายาวนาน (PROLONGED INTERRUPTIONS) 18.3.1 ถ้ามีเหตุไม่คาดฝันท�ำให้การแข่งขันหยุดลง ผู้ตัดสินที่ 1 ฝ่ายจัดการแข่งขัน และ คณะกรรมการควบคุมการแข่งขันจะร่วมกันตัดสินใจให้การแข่งขันด�ำเนินต่อไปตามปกติ 18.3.2 ถ้าต้องหยุดการแข่งขันครั้งเดียวหรือหลายครั้ง แต่รวมแล้วไม่เกิน 4 ชั่วโมง 18.3.2.1 ถ้าท�ำการแข่งขันใหม่ในสนามแข่งขันเดิม เซตที่หยุดการแข่งขันการ แข่งขันไปจะถูกน�ำกลับมาแข่งขันตามปกติโดยใช้คะแนนผู้เล่นและต�ำแหน่งเดิม ผลการแข่งขันของเซตที่ ผ่านไปแล้ว ยังมีผลเหมือนเดิม 18.3.2.2 ถ้าท�ำการแข่งขันใหม่ในสนามอื่น ให้ยกเลิกผลการแข่งขันในเซตที่ หยุดการแข่งขัน แล้วเริ่มต้นเริ่มใหม่ตามต�ำแหน่งเดิม ผลการแข่งขันของเซตที่ผ่านไปแล้งยังมีผลเหมือน เดิม 18.3.3 ถ้าต้องหยุดการแข่งขันครั้งเดียวหรือหลายๆ ครั้งรวมกันแล้วเกิน 4 ชั่วโมง จะ ต้องท�ำการแข่งขันนัดนั้นใหม่ทั้งหมด 19. การหยุดพักและการเปลี่ยนแดน 19.1 การหยุดพักระหว่างเซต (INTERVALS) การหยุดพักระหว่างเซตจะพักเซตละ 3 นาที ระหว่างการหยุดพักนี้ จะท�ำการเปลี่ยนแดนและบันทึกต�ำแหน่งเริ่มแข่งขันลงในใบบันทึกผลการแข่งขัน การหยุดพักระหว่างเซตที่ 2 และเซตที่ 3 อาจขยายเวลาพักเป็น 10 นาทีได้ตามค�ำขอของเจ้าภาพต่อ คณะกรรมการควบคุมการแข่งขัน ย่อหน้าที่ 3 เพิ่มเติมจากกติกาเดิม 19.2 การเปลี่ยนแดน (CHANGE OF COURTS) 19.2.1 เมื่อเสร็จสิ้นการแข่งขันแต่ละเซต ทั้งสองทีมจะเปลี่ยนแดน ยกเว้นเซตตัดสิน 19.2.2 ในเซตตัดสิน เมื่อทีมใดท�ำได้ 8 คะแนน จะท�ำการเปลี่ยนแดนทันที และต�ำแหน่ง ของผู้เล่นให้เป็นไปตามเดิมถ้าไม่ได้เปลี่ยนแดนเมื่อทีมที่น�ำอยู่ได้คะแนนที่ 8 จะต้องท�ำการเปลี่ยนแดน ทันทีที่พบข้อผิดพลาด ส่วนคะแนนให้เป็นไปตามเดิม
100
20. ตัวรับอิสระ 20.1 การแต่งตั้งตัวรับอิสระ (DESIGNATION OF THE LIBERO) 20.1.1 แต่ละทีมมีสิทธ์แต่งตั้งตัวรับอิสระที่รับลูกบอลได้ดีเป็นพิเศษ 1 คน จากผู้เล่นที่ ส่งรายชื่อ 12 คนสุดท้าย 20.1.2 ก่อนเริ่มการแข่งขันต้องบันทึกตัวรับอิสระในใบบันทึกการแข่งขัน ที่บรรทัดซึ่ง จัดไว้เป็นพิเศษส�ำหับการนี้ และต้องระบุหมายเลขลงในใบส่งต�ำแหน่งเซตที่ 1 20.1.3 ตัวรับอิสระจะเป็นหัวหน้าทีม (TEAM CAPTAIN) หรือหัวหน้าทีมขณะแข่งขัน (GAME CAPTAIN) ไม่ได้ 20.2 เครื่องแต่งกาย (EQUIPMENT) ตัวรับอิสระต้องสวมชุดแข่งขัน (หรือเสื้อที่ออกแบบพิเศษ ส�ำหรับตัวรับอิสระ) อย่างน้อยที่สุดสีเสื้อต้องแตกต่างจากเพื่อนร่วมทีม แบบชุดแข่งขันของตัวรับอิสระ อาจแตกต่างจากคนอื่น แต่แบบของหมายเลขบนชุดแข่งขันต้องเหมือนกับของเพื่อนร่วมทีม 20.3 ลักษณะการเล่นที่เกี่ยวข้องกับตัวรับอิสระ (ACTIONS INVOLVING THE LIBCERO) 20.3.1 ลักษณะการเล่น 20.3.1.1 ตัวรับอิสระจะแทนผู้เล่นแดนหลังคนใดก็ได้ 20.3.1.2 ตัวรับอิสระถูกก�ำหนดให้ท�ำหน้าที่เหมือนกับผู้เล่นแดนหลังคนหนึ่ง ไม่อนุญาตให้ท�ำการรุกอย่างสมบูรณ์ไม่ว่าจากจุดใดของสนาม (ทั้งภายในสนามแข่งขันและเขตเล่นลูก) ถ้าถูกลูกบอลในขณะที่ทุกส่วนของลูกบอลอยู่สูงกว่าขอบบนสุดของตาข่าย 20.3.1.3 ตัวรับอิสระจะท�ำการเสิร์ฟ สกัดกั้นหรือพยายามท�ำการสกัดกั้นไม่ได้ 20.3.1.4 ขณะที่ตัวรับอิสระอยู่ในแดนหน้าแล้ว ใช้นิ้วเล่นลูกมือบนส่งลูกบอล มาให้เพื่อนร่วมทีม จะท�ำการรุกลูกบอลที่อยู่สูงกว่าขอบบนของตาข่ายไม่ได้ แต่ถ้าตัวรับอิสระส่งลูกใน ลักษณะเดียวกันมาจากแดนหลังเพื่อนร่วมทีมที่สามารถท�ำการรุกได้อย่างเสรี 20.3.2 การเปลี่ยนตัว 20.3.2.1 การเปลี่ยนตัวที่เกี่ยวข้องกับตัวรับอิสระไม่นับจ�ำนวนครั้งเหมือนกับ การเปลี่ยนตัวตามปกติ กติกาข้อ 8 ไม่จ�ำกัดจ�ำนวนครั้งในการเปลี่ยนตัวแต่ต้องมีการเล่นลูกคั่นหนึ่งครั้ง ก่อนการเปลี่ยนตัวของตัวรับอิสระครั้งต่อไป ตัวรับอิสระสามารถเปลี่ยนตัวได้กับผู้เล่นที่ตัวรับอิสระลงไป เปลี่ยนตัวด้วยเท่านั้น 20.3.2.2 การเปลี่ยนตัวท�ำได้ในขณะที่ลูกตายและก่อนสัญญาณนกหวีดให้ ท�ำการเสิร์ฟเท่านั้น 20.3.2.3 การเปลี่ยนตัวภายหลังสัญญาณนกหวีดให้ท�ำการเสิร์ฟ แต่ก่อนที่ ผู้เสิร์ฟจะท�ำการเสิร์ฟ ผู้ตัดสินไม่ควรปฏิเสธ แต่ต้องตักเตือนด้วยวาจาภายหลังจากการเล่นลูกครั้งนั้น เสร็จสิ้นลงการเปลี่ยนตัวล่าช้าครั้งต่อๆ ไปต้องถูกท�ำโทษในการถ่วงเวลา 20.3.2.4 ตัวรับอิสระและผู้เล่นที่เปลี่ยนตัวแทนกันจะเข้าและออกจากสนาม ได้ที่เส้นข้างตรงหน้าม้านั่งของทีมตนเองระหว่างเส้นรุกถึงเส้นท้ายสนาม 101
20.3.3 การแต่งตั้งตัวรับอิสระใหม่ 20.3.3.1 ถ้าตัวรับอิสระที่ได้รับการแต่งตั้งตัวรับอิสระใหม่ได้ จากผู้เล่นที่ไม่ได้ อยู่ในสนามแข่งขัน ขณะขอท�ำการแต่งตั้งใหม่ และต้องได้รับอนุญาตจากผู้ตัดสินที่ 1 ตัวรับอิสระที่ได้ บาดเจ็บจะลงเล่นในนัดนั้นอีกไม่ได้ ผู้เล่นที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นตัวรับอิสระใหม่ ต้องท�ำหน้าที่ตัวรับ อิสระตลอดการแข่งขันนัดนั้น 20.3.3.2 ถ้ามีการแต่งตั้งตัวรับอิสระใหม่ ต้องบันทึกหมายเลขของผู้เล่นนั้นลง ในช่องหมายเหตุของใบบันทึกการแข่งขัน และในส่งต�ำแหน่งของเซตถัดไป 21. ความประพฤติที่ต้องการ 21.1 ความประพฤติของผู้มีน�้ำใจนักกีฬา (SPORTMEN LIKE CONDUCT) 21.1.1 ผู้ร่วมแข่งขันต้องมีความรู้เรื่อง “กติกาการแข่งขัน” และปฏิบัติตามกติกาที่ ก�ำหนด 21.1.2ผู้ร่วมการแข่งขันต้องยอมรับการตัดสินของผู้ตัดสินโดยไม่มีการโต้แย้งด้วยความ ประพฤติของผู้มีน�้ำใจนักกีฬาหากมีข้อสงสัยสามารถขอค�ำชี้แจ้งจากผู้ตัดสินได้โดยการให้หัวหน้าทีมใน สนาม (GAME CAPTAIN) เป็นผู้ค�ำชี้แจ้ง 21.1.3 ผู้เข้าร่วมการแข่งขันต้องละเว้นการแสดงท่าทางหรือทัศนคติใด ๆ ที่มุ่งหมายให้ มีผลกระทบต่อการตัดสินใจของผู้ตัดสินหรือปกปิดการท�ำผิดกติกาของทีมตนเอง 21.2 การเล่นที่ยุติธรรม (FAIR PLAY) 21.2.1 ผู้ร่วมการแข่งขันต้องแสดงความนับถือ และความเอื้อเฟื้อทั้งต่อผู้ตัดสิน เจ้า หน้าที่อื่นๆ คู่แข่งขันเพื่อร่วมทีมและผู้ชม เพื่อมุ่งให้การแข่งขันเป็นไปอย่างยุติธรรม 21.2.2 ระหว่างการแข่งขัน เพื่อนร่วมทีมสามารถให้ค�ำแนะน�ำได้ 22. การผิดมารยาทและการลงโทษ 22.1 การผิดมารยาทที่ไม่รุนแรง (MINOR MISCONDUCT) การผิดมารยาทที่ไม่รุนแรง ไม่ต้องมี การท�ำโทษ ผู้ตัดสินที่ 1 ต้องท�ำหน้าที่ป้องกันทีมไม่ให้ผิดมารยาทจนใกล้ระดับของการถูกท�ำโทษ โดยการ เตือนด้วยวาจาหรือสัญญาณมือต่อผู้ที่ท�ำผิดมารยาทหรือต่อทีมผ่านทางหัวหน้าทีมขณะแข่งขัน (GAME CAPTAIN) การเตือนนี้ไม่ใช่การท�ำโทษไม่นับต่อเนื่องและไม่มีการบันทึกลงในใบบันทึกการแข่งขัน 22.2 การผิดมารยาทที่น�ำไปสู่การท�ำโทษ (MISCONDUCT LEADING TO SANCTION)การท�ำ ผิดมารยาทของผู้เล่นต่อเจ้าหน้าที่ ทีมตรงข้าม เพื่อนรวมทีมหรือผู้ชม แบ่งได้เป็น 3 ระดับ ตามความ หนักเบาของความรุนแรง 22.2.1 ความหยาบคายได้แก่การกระท�ำใดๆที่ไม่สุภาพไร้คุณธรรมและแสดงการดูหมิ่น 22.2.2 การก้าวร้าว ได้แก่ การสบประมาท ใช้ค�ำพูดหรือท่าทางเป็นการดูถูกเหยียด หยาม 22.2.3 การใช้ความรุนแรง ได้แก่ การท�ำร้ายร่างกายหรือตั้งใจใช้ความรุนแรง 102
22.3 ระดับการลงโทษ (SANCTION SCALE) การลงโทษที่น�ำมาใช้ ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้ ตัดสินและความรุนแรงของการกระท�ำและต้องบันทึกลงในใบบันทึกการแข่งขันมีดังนี้ 22.3.1 การลงโทษ (PENALTY) การกระท�ำที่หยาบคายครั้งแรกในการแข่งขันโดยผู้เล่น คนใดคนหนึ่งของทีม จะถูกลงทาโดยเป็นฝ่ายแพ้ในการเล่นลูกครั้งนั้น 22.3.2 การให้ออกจากการแข่งขันในเซตนั้น (EXPULSION) 22.3.2.1 ผู้เล่นซึ่งถูกลงโทษให้ออกจาการแข่งขันในเซตนั้นจะลงแข่งขันในเซต นั้นต่อไปอีกไม่ได้ แต่ต้องนั่งอยู่ในพื้นที่ลงโทษ (PENALTY AREA) โดยไม่มีผลอื่นใดตามมา ผู้ฝึกสอนที่ถูก ให้ออกจากการแข่งขันไม่มีสิทธิ์ท�ำหน้าที่ในเซตนั้น และต้องอยู่ในพื้นที่ลงโทษ 22.3.2.2 การแสดงความก้าวร้าว (OFFENSIVE CONDUCT) ครั้งแรก โดยผู้ ร่วมทีมคนใดคนหนึ่ง จะถูกลงโทษให้ออกจากการแข่งขันในเซตนั้น โดยไม่มีผลอื่นใดตามมา 22.3.2.3 การแสดงมารยาทหยาบคายครั้งที่ 2 ในการแข่งขันนัดนั้นโดยผู้เล่น คนเดียวกัน จะถูกลงโทษให้ออกจากการแข่งขันในนัดนั้นโดยไม่มีเหตุผลอื่นใด ตามมา 22.3.3 การให้ออกจาการแข่งขันตลอดทั้งนัดนั้น (DISQUALIFICATION) 22.3.3.1 ผู้เล่นที่ถูกลงโทษให้ออกจากการแข่งขันตลอดทั้งนัดนั้นต้องออกจาก พื้นที่ควบคุมการแข่งขัน (CONPETITION CONTROL AREA) ในส่วนที่เหลืออยู่ของนัดนั้นโดยไม่มีเหตุผล อื่นใดตามมา 22.3.3.2การใช้ความรุนแรงครั้งแรกจะถูกลงโทษให้ออกจากการแข่งขันตลอด ทั้งนัดนั้นโดยไม่มีเหตุผลอื่นใดตามมา 22.3.3.3 การแสดงความก้าวร้าวครั้งที่ 2 ในการแข่งขันนัดเดียวกัน โดยผู้ร่วม ทีมคนเดียวกันจะถูกลงโทษให้ออกจากการแข่งขันตลอดนัดนั้นโดยไม่มีเหตุผลใดตามมา 22.3.3.4 การแสดงความหยาบคายครั้งที่ 3 โดยผู้ร่วมทีมคนเดียวกัน จะถูก ลงโทษให้ออกจากการแข่งขันที่เหลืออยู่ตลอดการแข่งขันนัดนั้นโดยไม่มีเหตุผลอื่นใดตามมา 22.4 การน�ำการท�ำโทษไปใช้ (APPLICATION OF MISCONDUCT SANCION) 22.4.1 การน�ำโทษผิดมารยาทเป็นการลงโทษรายบุคคล และมีผลตลอดการแข่งขันนัด นั้น และจะถูกบันทึกลงในใบบันทึกรายการแข่งขัน 22.4.2 การกระท�ำผิดมารยาทโดยผู้ร่วมทีมคนเดียวกันในการแข่งขันนัดเดียวกัน จะถูก ลงโทษรุนแรงขึ้นเป็นล�ำดับ (ผู้กระท�ำผิดจะถูกท�ำโทษสูงขึ้น ทุกครั้งที่มีการกระท�ำผิดมารยาทเกิดขึ้นใน แต่ละครั้ง) (ตารางระดับการลงโทษผิดมารยาท) 22.4.3 การให้ออกจากการแข่งขันเซตนั้น (EXPULSION) ออกจาการแข่งขันนัดนั้น (DISQUALIFICATION) ท�ำได้ทันทีโดยไม่จ�ำเป็นต้องมีการท�ำโทษใดๆ มาก่อน แต่ขึ้นอยู่กับการแสดง ความก้าวร้าวหรือการใช้ความรุนแรง 22.5 การผิดมารยาทก่อนเริ่มต้นเซตและระหว่ า งเซต (MINCONDUCT BEFORE AND BETWEEN SET) การผิดมารยาทที่เกิดขึ้นก่อนเริ่มต้นเซตหรือระหว่างเซตจะถูกลงโทษตามกติกาข้อ 22.3 และมีผลในเซตถัดไป 103
22.6 บัตรแสดงการท�ำโทษ (SANCTION CARDS) เตือนด้วยปาก หรือสัญญาณมือ ไม่ใช้บัตร ท�ำโทษ บัตรเหลืองออกจากการแข่งขันเซตนั้น บัตรแดง ออกจาการแข่งขันนัดนั้น บัตรเหลืองแดง 23. ฝ่ายท�ำหน้าที่ในการตัดสินและขั้นตอนการปฏิบัติ 23.1 องค์ประกอบ (COMPOSITION) ฝ่ายท�ำหน้าที่ในการตัดสินแต่ละนัด ประกอบด้วยเจ้า หน้าที่ต่อไปนี้ - ผู้ตัดสินที่ 1 - ผู้ตัดสินที่ 2 - ผู้บันทึก - ผู้ก�ำกับเส้น 4 คน (หรือ 2 คน) 23.2 ขั้นตอนการปฏิบัติหน้าที่ (PROCEDURES) 23.2.1 ผู้ตัดสินที่ 1 และผู้ตัดสินที่ 2 เท่านั้นที่สามารถเป่านกหวีดระหว่างการแข่งขันได้ 23.2.1.1 ผู้ตัดสินที่ 1 ให้สัญญาณการเสิร์ฟเพื่อเริ่มการเล่น 23.2.1.2 ผู้ตัดสินที่ 1 และผู้ตัดสินที่ 2 จะเป่านกหวีดให้สัญญาณเสร็จสิ้นการ เล่นลูก เมื่อแน่ใจว่ามีการท�ำผิดกติกาเกิดขึ้นและต้องแสดงลักษณะการกระท�ำผิดนั้น 23.2.2 ผู้ตัดสินที่ 1 และผู้ตัดสินที่ 2 จะเป่านกหวีดเมื่อลูกตายเพื่อแสดงว่าจะอนุญาต หรือปฏิเสธการขอหยุดเล่นของทีม 23.2.3 ทีนทีหลังจากการเป่านกหวีดให้สัญญาณเสร็จสิ้นการเล่นลูก ผู้ตัดสินต้องแสดง สัญญาณมือ 23.2.3.1 ถ้าผู้ตัดสินที่ 1 เป่านกหวีดระบุการกระท�ำผิด ผู้ตัดสินที่ 1 จะแสดง ก. ทีมที่ท�ำการเสิร์ฟ ข. ลักษณะการกระท�ำผิด ค. ผู้กระท�ำผิด (ถ้าจ�ำเป็น) ผู้ตัดสินที่ 2 จะท�ำซ�้ำตามผู้ตัดสินที่ 1 23.2.3.2 ถ้าผู้ตัดสินที่ 0 เป่านกหวีดแสดงการกระท�ำผิด ผู้ตัดสินที่ 2 จะแสดง ก. ลักษณะการกระท�ำผิด ข. ผู้กระท�ำผิด (ถ้าจ�ำเป็น) ค. ทีมที่จะท�ำการเสิร์ฟตามสัญญาณมือของผู้ตัดสินที่ 1 ในกรณีนี้ ผู้ตัดสินที่ 1 จะไม่แสดงลักษณะของการกระท�ำผิดและผู้กระท�ำผิด แต่จะแสดงเฉพาะทีมที่จะท�ำการเสิร์ฟเท่านั้น 23.2.3.3 ถ้าทั้ง 2 ทีม กระท�ำผิดกติกาทั้งคู่ (DOUBLE FAULTS) ผู้ตัดสินทั้ง 2 จะแสดง ก. ลักษณะของการกระท�ำผิด ข. ผู้กระท�ำผิด (ถ้าจ�ำเป็น) 104
ค. ทีมที่ท�ำการเสิร์ฟ ซึ่งชี้น�ำโดยผู้ตัดสินที่ 1
24. ผู้ตัดสินที่ 1 24.1 ต�ำแหน่ง (Location) ผู้ตัดสินที่ 1 ท�ำหน้าที่โดยนั่งหรือยืนบนม้าที่ตั้งไว้ปลายสุดด้านหนึ่งของตาข่าย ระดับสายตาต้อง สูงกว่าขอบบนสุดของตาข่ายประมาณ 50 เซนติเมตร 24.2 อ�ำนาจหน้าที่ (AUTHORITY) 24.2.1 ต้องควบคุมการแข่งขันตั้งแต่เริ่มต้นสิ้นสุดการแข่งขัน มีอ�ำนาจเหนือเจ้าหน้าที่ และผู้ร่วมทีมทั้ง 2 ทีมระหว่างการแข่งขันการตัดสินใจของผู้ตัดสินที่ 1 ถือเป็นสิ้นสุด มีอ�ำนาจกลับค�ำ ตัดสินของเจ้าหน้าที่ทุกคน เมื่อเห็นว่าเจ้าหน้าที่นั้นผิดพลาด มีอ�ำนาจเปลี่ยนตัวเจ้าหน้าที่ ซึ่งเห็นว่า ปฏิบัติหน้าที่ไม่เหมาะสมได้ 24.2.2 ต้องควบคุมการท�ำงานของผู้กลิ้งบอล ผู้เช็ดพื้น (FLOOR WRERS) และผู้ถูพื้น (MOPPERS) 24.2.3 มีอ�ำนาจตัดสินใจไม่ว่าเรื่องใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขัน รวมถึงเรื่องที่ไม่มีใน กติกาด้วย 24.2.4 ไม่ยอมให้มีการโต้แย้งใดๆ ในการตัดสินอย่างไรก็ตาม ถ้าหัวหน้าทีมในสนามขอ ค�ำชี้แจง ผู้ตัดสินที่ 1 จะให้ค�ำอธิบายการน�ำกติกามาใช้หรือตีความกติกา ซึ่งน�ำมาใช้ในการตัดสินนั้น ถ้า หัวหน้าทีมในสนามไม่เห็นด้วยกับค�ำอธิบายของผู้ตัดสินที่ 1 และต้องการสงวนสิทธิยื่นหนังสือประท้วง เหตุการณ์นั้นอย่างเป็นทางการ เมื่อเสร็จสิ้นการแข่งขัน หัวหน้าทีมในสนามต้องขอสงวนสิทธิทันที และ ผู้ตัดสินที่ 1 ต้องยินยอมรับการประท้วงนั้น 24.2.5 รับผิดชอบการตัดสินใจก่อนหรือระหว่างการแข่งขันว่า พื้นที่เล่นลูก อุปกรณ์ และสภาพใดๆ พร้อมท�ำการแข่งขันได้ 24.3 ความรับผิดชอบ (RESPONSIBILITIES) 24.3.1 ก่อนการแข่งขัน ผู้ตัดสินที่ 1 : 24.3.1.1 ตรวจสภาพสนามแข่งขัน ลูกบอลและอุปกรณ์อื่นๆ 24.3.1.2 ท�ำการเสี่ยงร่วมกับหัวหน้าทีมทั้ง 2 24.3.1.3 ควบคุมการอบอุ่นร่างกายของทีม 24.3.2 ระหว่างการแข่งขัน ผู้ตัดสินที่ 1 เท่านั้นที่มีอ�ำนาจ 24.3.2.1 ตักเตือนทีม 24.3.2.2 ท�ำโทษการผิดมารยาทและการถ่วง 24.3.2.3 ตัดสินใจเรื่อง ก. การผิดกติกาของผู้เสิร์ฟ ต�ำแหน่งของทีมที่จะท�ำการเสิร์ฟรวมทั้งการ ก�ำบังด้วย ข. การผิดกติกาในการเล่นลูก 105
ค. การผิดกติกาเหนือตาข่ายและส่วนที่สูงขึ้นไปของตาข่าย ง. การตบลูกบอลของผู้เล่นแดนหลังหรือตัวรับอิสระ จ. การตบลูกที่ตัวรับอิสระส่งมาให้ด้วยมือบน(SET) ในขณะที่อยู่ในแดนหน้า ฉ. ลูกบอลที่ข้ามแดนใต้ตาข่าย (กติกาข้อ 9.4.5) 24.3.3 เมื่อสิ้นสุดการแข่งขัน ต้องตรวจสอบและลงนามในโดยบันทึกการแข่งขัน 25. ผู้ตัดสินที่ 2 25.1 ต�ำแหน่ง (LOCATION) ผู้ตัดสินที่ 2 ปฏิบัติหน้าที่โดยยืนใกล้เสานอกเขตสนามด้านตรง ข้ามกับผู้ตัดสินที่ 1 แต่หันหน้าเข้าหากัน 25.2 อ�ำนาจ (AUTHORITY) 25.2.1 เป็นผู้ช่วยผู้ตัดสินที่ 1 แต่มีขอบเขตในการตัดสินเป็นของตนเองด้วยถ้าผู้ตัดสิน ที่ 1 ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ ผู้ตัดสินที่ 2 จะท�ำหน้าที่แทน 25.2.2 ให้สัญญาณมือแสดงการผิดกติกาที่นอกเหนืออ�ำนาจการตัดสินที่ 2 โดยไม่เป่า นกหวีด แต่ต้องไม่เน้นเตือนการกระท�ำผิดนั้นต่อผู้ตัดสินที่ 1 25.2.3 ควบคุมการท�ำงานของผู้บันทึกการแข่งขัน 25.2.4 ควบคุมผู้ร่วมทีมที่นั่งบนม้านั่ง และรายงานการผิดมารยาทของผู้ร่วมทีมเหล่านี้ ต่อผู้ตัดสินที่ 1 25.2.5 ควบคุมผู้เล่นในเขตอบอุ่นร่างกาย 25.2.6 อนุญาตให้หยุดการแข่งขัน ควบคุมเวลาและปฏิเสธการขอหยุดการ แข่งขันที่ไม่ เหมาะสม 25.2.7 ควบคุมจ�ำนวนครั้งที่แต่ละทีมขอเวลานอกและขอเปลี่ยนตัว และต้องรายงาน การขอเวลานอกครั้งที่ 2 และขอเปลี่ยนตัวผู้เล่นที่ครั้งที่ 5 และ 6 ให้ผู้ตัดสินที่ 1 และผู้ฝึกสอนที่เกี่ยวข้อง ทราบ 25.2.8 กรณีที่ผู้เล่นบาดเจ็บ มีอ�ำนาจให้ท�ำการเปลี่ยนตัวตามข้อยกเว้น หรืออนุญาตให้ ท�ำการรักษาพยาบาล 3 นาทีก็ได้ 25.2.9 ตรวจสภาพพื้นสนาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเขตรุกระหว่างการแข่งขันต้องตรวจ ลูกบอลว่า คงสภาพถูกต้องสมบูรณ์ตามระเบียบการแข่งขันด้วย 25.2.10 ควบคุมผู้ร่วมทีมในพื้นที่ลงโทษ และรายงานการผิดมารยาทให้ผู้ตัดสินที่ 1 ทราบ 25.3 ความรับผิดชอบ (RESPONSIBILITY) 25.3.1 ตรวจต�ำแหน่งที่ถูกต้องของผู้เล่นในสนามให้เป็นไปตามใบส่งต�ำแหน่งก่อน เริ่มต้นเล่นแต่ละเซต และเมื่อจ�ำเป็นจะตรวจสอบต�ำแหน่งของผู้เล่นในสนามขณะนั้น ตามใบส่งต�ำแหน่ง 25.3.2 ต้องตัดสินใจ เป่านกหวีดและแสดงสัญญาณมือระหว่างการแข่งขันดังนี้ 25.3.2.1 การล�้ำเข้าไปในแดนของทีมตรงข้ามและที่ว่างใต้ตาข่าย 106
25.3.2.2 ฝ่ายรับลูกเสิร์ฟผิดต�ำแหน่ง 25.3.2.3 ผู้เล่นถูกตาข่ายและเสาอากาศทางด้านข้างของสนามที่ผู้ตัดสินที่ 2 ยืนอยู่ 25.3.2.4 การสกัดกั้นที่ผิดกติกาของผู้เล่นแดนหลัง หรือการพยายามท�ำการ สกัดกั้นโดยตัวรับอิสระ 25.3.2.5 ลูกบอลถูกสิ่งของนอกสนามหรือถูกพื้นสนามในขณะที่ผู้ตัดสินที่ 1 อยู่ในต�ำแหน่งที่ไม่สามารถมองเห็นได้ 25.3.3 เมื่อเสร็จสิ้นการแข่งขันต้องลงชื่อในใบบันทึกการแข่งขัน 26. ผู้บันทึก 26.1 ต�ำแหน่ง (LOCATION) ผู้บันทึกจะนั่งท�ำหน้าที่ ณ โต๊ะบันทึกการแข่งขันที่อยู่คนละด้าน ของสนามกับผู้ตัดสินที่ 1 แต่หันหน้าเข้าหากัน 26.2 ความรับผิดชอบ (RESPPONSIBILITIES) บันทึกผลการแข่งขันตามกติกาการแข่งขันและ ร่วมมือกับผู้ตัดสินที่ 2 ต้องกดกริ่งหรืออุปกรณ์ที่ท�ำให้เกิดเสียงเป็นสัญญาณแจ้งผู้ตัดสิน เมื่อมีเรื่องต้อง รับผิดชอบเกิดขึ้น 26.2.1 ก่อนเริ่มการแข่งขันแต่ละนัดและแต่ละเซต ผู้บันทึกต้อง 26.2.1.1 บันทึกข้อมูลการแข่งขันและของทีมตามขั้นตอนการปฏิบัติงาน และ ต้องให้หัวหน้าทีมและผู้ฝึกสอนทั้งสองทีมลงนาม 26.2.1.2 บันทึกต�ำแหน่งเริ่มต้นเล่นของแต่ละทีมจากใบส่งต�ำแหน่ง ถ้าไม่ได้ รับใบส่งต�ำแหน่งตามเวลาที่ควรได้รับจะต้องแจ้งให้ผู้ตัดสินที่ 2 ทราบทันที 26.2.1.3 บันทึกหมายเลขและชื่อของตัวรับอิสระ 26.2.2 ระหว่างการแข่งขัน ผู้บันทึกต้อง 22.2.2.1 บันทึกคะแนนที่ได้ และต้องแน่ใจว่าป้ายคะแนนแสดงคะแนนที่ถูก ต้อง 26.2.2.2 ควบคุมล�ำดับการส่งต�ำแหน่ง หากมีการผิดต�ำแหน่งเมื่อใดต้องแจ้ง ให้ผู้ตัดสินทราบทันทีหลังจากท�ำการเสิร์ฟแล้ว 26.2.2.3 บันทึกการขอเวลานอกและการเปลี่ยนตัวผู้เล่น ควบคุมจ�ำนวนครั้ง และแจ้งให้ผู้ตัดสินที่ 2 ทราบ 26.2.2.4 ถ้าการขอหยุดการแข่งขันผิดกติกาต้องแจ้งให้ผู้ตัดสินทราบ 26.2.2.5 แจ้งการเสร็จสิ้นของแต่ละเซต การเริ่มต้นและการสิ้นสุดของเวลา นอกทางเทคนิคแต่ละครั้ง และคะแนนที่ 8 ในเซตตัดสินให้ผู้ตัดสินทราบ 26.2.2.6 บันทึกการลงโทษทุกอย่างที่เกิดขึ้น 26.2.2.7 บันทึกเหตุการณ์อื่นๆ ที่ผู้ตัดสินที่ 2 แจ้ง เช่น การเปลี่ยนตัวที่ได้ รับการยกเว้น เวลาที่เริ่มการแข่งขันใหม่ การยืดเวลาหยุดการแข่งขัน การมีเหตุขัดขวางจากภายนอก 107
เป็นต้น 26.2.3 เมื่อเสร็จสิ้นการแข่งขันแต่ละนัด ผู้บันทึกต้อง 26.2.3.1 บันทึกผลสิ้นสุดของการแข่งขัน 26.2.3.2 หากมีการประท้วงผู้ตัดสินที่ 1 อนุญาตไว้แล้ว ต้องเขียนหรืออนุญาต ให้หัวหน้าทีมแจ้งเหตุของการประท้วงลงในใบบันทึก 26.2.3.3 หลังจากลงนามในใบบันทึกแล้ว ต้องให้หัวหน้าทีมและผู้ตัดสินลง นามตามล�ำดับ 27. ผู้ก�ำกับเส้น 27.1 ต�ำแหน่ง (LOCATION) ถ้าใช้ผู้ก�ำกับเส้น 2 คน จะยืนเป็นแนวเฉียงใกล้กับทางขวามือของ ผู้ตัดสิน แต่ละคนห่างจากมุมสนาม 1 - 2 เมตร ผู้ก�ำกับเส้นทั้งสองจะควบคุมทั้งเส้นหลังและเส้นข้างทาง ด้านของตนเอง ส�ำหรับการแข่งขันระดับโลกของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติและการแข่งขันอย่างเป็น ทางการต้องมีผู้ก�ำกับเส้น 4 คน ผู้ก�ำกับเส้นจะยืนในเขตรอบสนามห่างจากมุมสนามแต่ละมุม 1 - 3 เมตร ตามแนวทางสมมติที่ต่อออกไปของเส้นที่แต่ละคนควบคุมอยู่ 27.2 ความรับผิดชอบ (RESPONAIBILITIES) 27.2.1 ผู้ก�ำกับเส้นปฏิบัติหน้าที่โดยใช้ธงขนาด 40 x 40 เซนติเมตร ดังที่แสดงในรูปการ ให้สัญญาณ 27.2.1.1 ให้สัญญาณลูก “ดี” ลูก “ออก” เมื่อลูกบอลตกลงบนพื้นใกล้เส้น ของแต่ละคน 27.2.1.2 ให้สัญญาณว่าลูกถูกผู้เล่นของทีมที่เป็นฝ่ายรับแล้วลูกออกสนาม 27.2.1.3 ให้สัญญาณเมื่อลูกบอลถูกเสาอากาศหรือลูกบอลทีเสิร์ฟข้ามตาข่าย นอกเขตที่ก�ำหนดให้ข้ามตาข่าย เป็นต้น 27.2.1.4 ให้สัญญาณถ้าผู้เล่นเหยียบนอกเขตสนามของตนเองขณะท�ำการ เสิร์ฟ (ยกเว้นผู้เสิร์ฟเท่านั้น) 27.2.1.5 ให้สัญญาณเมื่อเท้าของผู้เสิร์ฟผิดกติกา 27.2.1.6 ให้สัญญาณเมื่อผู้เล่นถูกเสาอากาศ ขณะอยู่ในลักษณะเล่นลูกบอล หรือกีดขวางการเล่นลูกด้านสนามแข่งขันที่รับผิดชอบ 27.2.1.7 ให้สัญญาณลูกข้ามตาข่ายนอกเขตข้ามตาข่ายไปยังแดนของทีมตรง ข้าม หรือถูกเสาอากาศทางด้านสนามแข่งขันที่รับผิดชอบ 27.2.2 ถ้าผู้ตัดสินที่ 1 ร้องขอ ผู้ก�ำกับเส้นต้องแสดงสัญญาณซ�้ำ
108
28. สัญญาณตามกติกาการแข่งขัน 28.1 สัญญาณมือของผู้ตัดสิน (REFEREES’ HAND SIGNALS) ผู้ตัดสินต้องแสดงสัญญาณมือ แสดงเหตุผลของการเป่านกหวีด (ที่เป่าเพื่อแสดงการกระท�ำผิดหรือเพื่อหยุดการแข่งขัน) ต้องแสดง สัญญาณค้างไว้ชั่วขณะหนึ่ง และถ้าแสดงสัญญาณด้วยมือข้างเดียวต้องใช้มือข้างเดียวกับทีมที่ท�ำผิด กติกาหรือขอหยุดการแข่งขัน 28.2 สัญญาณธงของผู้ก�ำกับเส้น (LINE JUDGES’ FLAG SIGNALS) ผู้ก�ำกับเส้นต้องแสดง สัญญาณธงตามลักษณะของการท�ำผิดกติกาที่เกิดขึ้นและต้องค้างไว้ชั่วขณะหนึ่ง
109
หน่วยการเรียนรู้ที่ 5
ความหมายของนันทนาการ (Recreation)
ค�ำว่า “นันทนาการ” เป็นค�ำใหม่ที่บัญญัติขึ้นใช้แทนค�ำว่า “สันทนาการ” ซึ่งพระยาอนุมาน ราชธน หรือเสถียรโกเศศได้บัญญัติไว้เมื่อปี พ.ศ.2507 และตรงกับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า “Recreation” และภาษาอาหรับ ( استجمامĀstjmām) ซึ่งพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้ ความหมายของ “นันทนาการ” ไว้ว่า “นันทนาการเป็นกิจกรรมที่ท�ำตามสมัครใจในยามว่างเพื่อ ให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลินและผ่อนคลายความตึงเครียด” โดยกิจกรรมที่ท�ำต้องไม่ขัดต่อ ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม และกฎหมายบ้านเมือง เมื่อบุคคลเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการจะ ช่วยขจัดหรือผ่อนคลายความเหนื่อยเมื่อยล้าทางด้านร่างกายและจิตใจและก่อให้เกิดความเจริญงอกงาม ทางทางด้านอารมณ์และสังคม ซึ่งเป็นกิจกรรมที่มีความหลากหลาย เช่น กิจกรรมศิลปหัตกรรม การ อ่าน-เขียน กิจกรรมอาสาสมัคร ศิลปวัฒนธรรม งานอดิเรก เกม กีฬา การละคร ดนตรี กิจกรรมเข้า จังหวะ และนันทนาการกลางแจ้งนอกเมือง ซึ่งบางกิจกรรมในอิสลามไม่อนุญาตให้ปฏิบัติได้
ในอิสลาม มุสลิมนั้นอนุญาตและส่งเสริมให้เข้าร่วมกิจกรรมที่เป็น ประโยชน์ในรูปแบบของนันทนาการหรือกีฬาได้ รวมไปถึงการพักผ่อนหรือ การละเล่นในสวนสนุก ตราบใดที่วัตถุประสงค์ของกิจกรรมนั้นมีเป้าหมายที่ เป็นประโยชน์และไม่สวนทางกับบทบัญญัติของอิสลาม
110
ความส�ำคัญ กิจกรรมนันทนาการ หากมีวัตถุประสงค์ที่เกิดประโยชน์ต่อผู้เข้าร่วม และไม่ขัดต่อหลักการ
อิสลาม ก็ถือว่าเป็นที่อนุมัติในอิสลาม ท่านนบีมุฮัมหมัดได้ขอดุอาอฺจากอัลลอฮ์อย่างสม�่ำเสมอเพื่อ ให้พ้นจากความทุกข์และความโศกเศร้าดังหะดีษที่ว่า “โอ้อัลลอฮ์ฉันขอความคุ้มครองต่อพระองค์จากความทุกข์และความเศร้าโศกเศร้า” (บันทึก โดยอบูดาวูด) จากหะดีษข้างต้นสามารถยืนยันได้ว่ากิจกรรมที่พัฒนาให้มนุษย์ปลอดจากความทุกข์และความ โศกเศร้าหรือมีความสุข และพัฒนาร่างกายให้สมบูรณ์มีสุขภาพที่ดีก็เป็นสิ่งที่ตอบสนองต่อแบบอย่าง ของท่านนบีนั่นเอง ความส�ำคัญของกิจกรรมนันทนาการสามารถสรุปได้ดังต่อไปนี้ 1. ความส�ำคัญต่อตัวเราเอง คนทุกคนหาก ได้แสดงออก ได้พูดจา ได้ร้องเพลง ได้ออกก�ำลัง กาย ได้พักผ่อน ได้พักผ่อนหย่อนใจกับธรรมชาติ ฯลฯ จะมีความปีติสุข มีความสนุกสนาน อารมณ์ แจ่มใส ไม่เครียด สุขภาพก็จะดีพร้อมที่จะประกอบ กิจกรรมต่างๆ ได้อย่างมีคุณภาพ กิจกรรมเหล่านั้น เป็นองค์ประกอบของนันทนาการทั้งสิ้น และเป็นองค์ ประกอบตามธรรมชาติของมนุษย์นั่นเอง เพราะอยู่ ในตัวเรามาตั้งแต่เกิดแล้ว เพียงแต่เรามิได้ประมวลไว้เป็นหมวดหมู่ เป็นล�ำดับ และไม่ดึงออกมาใช้ให้เป็น ประโยชน์ 2. ความส�ำคัญต่อระบบสังคม สังคมเกิดจากการรวมตัวของบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป หรือการ ประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ต้องอาศัยคนกระท�ำให้มีการเคลื่อนไหวไปมา ด้วยการผูกพันโยงใยต่อเนื่องเป็น โครงสร้างตั้งแต่เล็ก ความสุขและการมีสุขภาพดีทั้งส่วนบุคคล ส่วนรวม และสภาพแวดล้อมทางสังคมนั้น เกิดได้จากการกระท�ำกิจกรรมทางนันทนาการ เพราะการมีสุขภาพจิตดีจะมีความสัมพันธ์กันโดยตรงกับ ความสามารถและเจตจ�ำนงของการเข้าร่วมกิจกรรม ดังนั้นสังคมจะเป็นสุข สง่างามและพัฒนาได้อย่าง ต่อเนื่องสวยงาม ก็ด้วยผลจากการมีกิจกรรมนันทนาการทั้งสิ้น
คุณค่าและประโยชน์ของกิจกรรมนันทนาการ เมื่อบุคคลและชุมชนได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการในช่วงเวลาว่าง ด้วยความสมัครใจ ก็จะก่อให้ผลที่ได้รับในเรื่องของคุณค่า และประโยชน์ต่างๆ ได้แก่ 1. ช่วยให้บุคคลและชุมชนได้รับความสุข สนุกสนาน มีความสุขในชีวิต และใช้เวลาว่างให้เกิด ประโยชน์ ไม่ยุ่งเกี่ยวกับกิจกรรมที่ไร้สาระ 2. ช่วยให้บุคคลและชุมชนพัฒนาคุณภาพชีวิตและสมรรถภาพทางกายที่ดี เกิดความสมดุล ของชีวิต
111
3. ช่วยป้องกันปัญหาอาชญากรรมและพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ ของเยาวชนและเด็ก การ พัฒนาพฤติกรรมของเด็กและเยาวชนนับว่าเป็นสิ่งส�ำคัญในการเสริมสร้างลักษณะนิสัยที่พึงประสงค์ และเป็นก�ำลังคนที่มีประสิทธิภาพในอนาคต กิจกรรมนันทนาการประเภทต่างๆ ช่วยให้เด็กและเยาวชน เลือกฝึกฝนได้ตามความสนใจ และใช้เวลาว่างในการพัฒนาลักษณะนิสัยที่พึงประสงค์ได้ 4. ส่งเสริมความเป็นพลเมืองดี การที่ชุมชนได้มีโอกาสใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์โดยเข้าร่วม ใน กิจกรรมนันทนาการ จะได้เรียนรู้ในเรื่องของหน้าที่ความรับผิดชอบ คุณค่าทางสังคมเสรีประชาธิปไตย ลดความเห็นแก่ตัว สร้างคุณค่าจริยธรรมความมีน�้ำใจ การให้บริการ รู้จักอาสาสมัครช่วยเหลือสังคม ซึ่ง ถือว่าเป็นกิจกรรมของความเป็น พลเมืองดีของประชาชาติ 5. ส่งเสริมการพัฒนาอารมณ์สุข กิจกรรมนันทนาการจะช่วยพัฒนาอารมณ์สุขรวมทั้งความสุข สนุกสนาน และความสุขสงบ ลดความเครียด ความวิตกกังวล ท�ำให้อารมณ์แจ่มใสและช่วยส่งเสริมให้ รู้จักการพัฒนาการ ควบคุมอารมณ์ และบุคลิกภาพที่ดีอีกด้วย 6. ส่ ง เสริ ม การอนุรักษ์ทรัพ ยากร ธรรมชาติ กิจกรรมนันทนาการกลางแจ้งและ นอกเมือง ได้แก่ กิจกรรมการอยู่ค่ายพัก แรม เดินป่า ศึกษาธรรมชาติ ไต่เขา เป็นต้น กิ จ กรรมเหล่ า นี้ ช ่ ว ยสอนผู ้ ที่ เข้ า ร่ ว มได้ รู ้ จั ก คุณค่า ของธรรมชาติ ซาบซึ้ง และสามารถ ดูแลอนุรักษ์ธรรมชาติอันจักเป็นประโยชน์ต่อ ชุมชน และประชาชาติของโลก ซึ่งสอดคล้อง กับค�ำสั่งของอัลลอฮ์ที่ให้มุสลิมเดินทางไปบนผืนแผ่นดินของพระองค์ เพื่อให้ได้ไต่ตรองและใคร่ครวญ ถึงอ�ำนาจของพระองค์ 7. ส่งเสริมในเรื่องการบ�ำบัดรักษา กิจกรรมนันทนาการเพื่อการบ�ำบัดเป็นกรรมวิธีและกิจกรรม ที่จะช่วยรักษาคนป่วย ทั้งทางด้านร่างกาย และสุขภาพจิต เช่น งานอดิเรกประเภทประดิษฐ์ สร้างสรรค์ และช่วยส่งเสริม ความหวัง ความคิด และการใช้เวลาว่างแก่คนป่วยซึ่งก�ำลังต่อสู่กับความทุกข์ทาง กายหรือจิต กิจกรรมนันทนาการประเภทกีฬานันทนาการช่วยส่งเสริมการพัฒนาร่างกาย กิจกรรม นันทนาการทางสังคมช่วยสร้างขวัญก�ำลังใจของคนป่วย 8. ส่งเสริมมนุษยสัมพันธ์และการท�ำงานเป็นทีม (อุคุวะฮ์) กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ช่วยให้บุคคล ได้แสดงออกและละลายพฤติกรรมของกลุ่ม สร้างเสริมคุณค่าทางสังคม ฝึกการอยู่ร่วมกันอย่างมีความ สุข กิจกรรมเกมกีฬา และกีฬาเพื่อการแข่งขัน และการอยู่ค่ายพักแรมช่วยฝึกการท�ำงานเป็นหมู่คณะ ลด ความเห็นแก่ตัว เสริมสร้างความสามัคคี และความเข้าใจอันดีในหมู่คณะ
112
ลักษณะของนันทนาการตามรูปแบบอิสลาม 1. นันทนาการเกี่ยวข้องกับกิจกรรม ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งที่กระท�ำและถูกกระท�ำ รูป
แบบของกิจกรรมนั้นหลากหลาย ตั้งแต่เกมกีฬา ศิลปหัตถกรรม ดนตรี ละคร กิจกรรมกลางแจ้งนอก เมือง งานอดิเรก การท่องเที่ยว โยคะ สมาธิ เป็นต้น 2. เป็นกิจกรรมที่ท�ำ ในเวลาว่าง ว่างจากการท�ำงาน ภารกิจประวัน และไม่น�ำ เวลาที่ควรจะ นอนหลับพักผ่อนมาท�ำ กิจกรรมนั้นจนเสียสุขภาพ 3. นันทนาการมีรูปแบบหลากหลาย มีขอบเขตไม่จ�ำกัด ตั้งแต่ในรูปแบบของกิจกรรมซึ่งก�ำหนด เป็น 14 หมวดหมู่ใหญ่แล้ว นันทนาการยังมีรูปแบบที่จัดบริการเป็นสวัสดิการสังคม เป็นแหล่งนันทนาการ บริการแก่กลุ่มประชากรทุกระดับวัย และประชากรกลุ่มพิเศษ 4. นันทนาการจะต้องเป็นไปด้วยความสมัครใจและมีแรงจูงใจนั่นคือผู้เข้าร่วมกิจกรรนันทนาการ จะต้องเป็นการเข้าร่วมด้วยความสนใจ สมัครใจ และมีแรงจูงใจในกิจกรรมที่เข้าร่วม โดยมิได้ถูกบังคับ เป็นกิจกรรมที่ผู้กระท�ำ เข้าร่วมด้วยความบริสุทธิ์ใจ (อิคลาศ) มีความสุขความพอใจที่จะท�ำ และไม่เกิด ความตึงเครียดในการท�ำ กิจกรรมนั้น 5. นันทนาการเกิดขึ้นได้ในเวลาที่ไม่จ�ำกัด บุคคลและชุมชนมีอิสระที่เข้าร่วมในสิ่งที่เขาต้องการ จะเล่น หรือเข้าร่วมโดยไม่จ�ำกัดเวลา 6. นันทนาการจะต้องเป็นสิ่งที่จริงจังและมีจุดมุ่งหมาย เป็นกิจกรรมที่มีคุณค่า ต่อผู้ประกอบ กิจกรรม และเป็นกิจกรรมที่พึงประสงค์ของสังคมไม่เป็นอบายมุข หรือเป็นมะอฺศียัต โดยที่ประสบการณ์ นันทนาการจะเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิต พัฒนาอารมณ์ของบุคคล 7. นันทนาการเป็นการบ�ำบัดรักษา กิจกรรมนันทนาการช่วยฟื้นฟู และรักษาคนไข้และเปิด โอกาสให้คนไข้เลือกกิจกรรมในเวลาว่าง กระท�ำเพื่อพัฒนาสุขภาพกายและจิตใจยามฟื้นไข้ หรือระหว่าง การบ�ำบัดรักษา 8. นันทนาการเป็นกิจกรรมที่สามารถยืดหยุ่นเปลี่ยนแปลงได้ ตามความเหมาะสม กิจกรรม นันทนาการสามารถจัดให้ตามความเหมาะสม ตามสภาพแวดล้อม ความต้องการและสนใจของชุมชน ตลอดจนอุปกรณ์ และสถานที่สิ่งอ�ำนวยความสะดวก 9. นันทนาการจะต้องเป็นกิจกรรมที่พึงประสงค์ของสังคม กิจกรรมนันทนาการของสังคม หรือ ชุมชนหนึ่ง อาจจะไม่เหมาะสมกับอีกชุมชนหนึ่ง ทั้งนี้ เพราะความสนใจ ต้องการค่านิยม วัฒนธรรม ศาสนา ประเพณี สภาพแวดล้อม ความเชื่อ เป็นขอบข่ายวิถีชีวิตของชุมชน ดังนั้น กิจกรรมนันทนาการ ควรมีลักษณะเป็นกิจกรรมที่อยู่ในขอบเขตของอิสลาม ประเภทของกิจกรรมนันทนาการ ท่านนบีมุฮัมมัดrถือว่าเป็นแบบอย่างที่สมบูรณ์ที่พวกเราทุกคน ท่านมีอารมณ์ขันเบิกบาน ยิ้ม แย้มแจ่มใส หยอกล้อกับภรรยาและบรรดาสาวก ตลอดทั้งมีอารมณ์ในบางโอกาส ท่านรังเกียจความเศร้า หมอง และสื่อที่จะนำ�ไปสู่ความเศร้าหมอง เช่น การมีหนี้สินและความเหนื่อยยาก ดังคำ�วิงวอนของท่าน ว่า “ โอ้อัลลอฮ์I ฉันขอความคุ้มครองจากพระองค์ให้พ้นจากความเศร้าหมองและความโศกเศร้า ” 113
(บันทึกโดยอบูดาวูด) กิจกรรมนันทนาการมีหลายประเภท เพื่อให้บุคคลเข้าร่วมทำ� กิจกรรมได้ตามความสนในดังนี้ 1. การฝีมือและศิลปหัตถกรรม (Arts and crafts) เป็นงานฝีมือหรือสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ เช่น การวาดรูป งาน แกะสลัก งานปั้น การประดิษฐ์ดอกไม้ เย็บปักถักร้อย ทำ� ตุ๊กตา ประดิษฐ์ข้าวของเครื่องใช้ และงานศิลปะอื่นๆ 2. เกมส์ กีฬา และกรีฑา (Games, sport and track and fields) กิจกรรมนันทนาการประเภทนี้เป็นที่ นิยมกันอย่างแพร่หลาย แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ กีฬา กลางแจ้ง(Outdoor Games) ได้แก่ กีฬาที่ต้องใช้สนามกลางแจ้ง เช่น ฟุตบอล บาสเก็ตบอลและกิจกรรม กลางแจ้งอื่นๆ กีฬาในร่ม (Indoor Games) ได้แก่ กิจกรรมในโรงยิมเนเซียม หรือในห้องนันทนาการ เช่น แบดมินตัน เทเบิลเทนนิส หมากรุก ฯลฯ มีกีฬาหลายประเภทเช่นเดียวกัน ที่ท่านนบีส่งเสริมและ สนับสนุน เพื่อความผ่อนคลาย อีกทั้งเป็นเตรียมความพร้อมด้านจิตวิญญาณ เพื่อปฏิบัติศาสนกิจและการ ปฏิบัติภารกิจต่างๆ ได้แก่ การวิ่งแข่ง มวยปล�้ำ กีฬา ยิงธนู การพุ่งหอก การขี่ม้า การว่ายน�้ำ การล่าสัตว์ เป็นต้น 3. ดนตรีและร้องเพลง (Music) เป็นกิจกรรมนันทนาการที่ให้ความบันเทิง ดนตรีเป็นภาษาสากล ที่ทุกชาติทุกภาษาสามารถเข้าใจเหมือนกัน แต่ละชาติแต่ละท้องถิ่นจะมีเพลงพื้นบ้านของตนเอง และ เครื่องดนตรีพื้นบ้าน เราสามารถเลือกได้ตามความสนใจไม่ว่าจะเป็นสากลหรือพื้นบ้าน มุสลิมสามารถ ร้องเพลงได้ โดยมีเงื่อนไขว่าเนื้อร้องต้องไม่หยาบคาย ลามก สองแง่สองง่าม หรือ ขัดกับหลักการอิสลาม โดยเฉพาะในโอกาสสำ�คัญ อาทิ วันเฉลิมฉลองอีด วันแต่งงาน ในโอกาสที่มีบุตร ในโอกาสที่ผู้เดินทาง กลับมาถึงบ้าน ซึ่งการขับร้องที่เยาวชนมุสลิมนิยมในในปัจจุบัน คือ การขับร้องอนาซีด ซึ่งเป็นบทเพลง ปลุกศรัทธา เนื้อเพลงเน้นสดุดีต่อพระเจ้า และการเชิญชวนผู้คนไปสู่ความดี เป็นต้น สำ�หรับเนื้อเพลงที่ มีเนื้อหาต้องห้าม อาทิ เชิญชวนให้คนดื่มสุรา ยั่วยุอารมณ์ ส่งเสริมให้เกิดกามารมณ์ ฟุ่มเฟือย และสถาน ที่ร้องเพลงมีสุราปะปน หรือ ปะปนสิ่งที่ลามกอนาจาร ปะปน (ชุลมุน) ระหว่างบุรุษและสตรีเพศโดยไม่มี เขตแบ่ง ดนตรีที่ผสมผสานกับการเต้น ระบำ� อย่างบ้าคลั่ง ถือว่าอิสลามไม่อนุญาตมุสลิมเข้าร่วมโดยเด็ด ขาด 4. ละครและภาพยนตร์ (Drama) เป็นนันทนาการประเภทให้ความรู้ความบันเทิง ความสนุก สนานเพลิดเพลิน และสะท้อนให้เห็นถึงสภาพจริงของสังคมยุคนั้นๆ 5. งานอดิเรก (Hobbies) เป็นกิจกรรมนันทนาการที่ช่วยให้การดำ�เนินชีวิตประจำ�วันมีความสุข เพลิดเพลิน งานอดิเรกมีหลายประเภท สามารถเลือกได้ตามความสนใจ เช่น 5.1 ประเภทสะสม เป็นการใช้เวลาว่างในการสะสม สิ่งที่ชอบสิ่งที่สนใจ ที่นิยมกันมาก ได้แก่ การสะสมแสตมป์ เหรียญเงินในสมัยต่างๆ อาจเป็นของในประเทศและต่างประเทศ การสะสมบัตร โทรศัพท์ ฯลฯ 114
5.2 การปลูกต้นไม้ เป็นงานอดิเรกที่ให้ทั้งความเพลิดเพลิน และได้ออกกำ�ลังกายและ ได้ผักสดปลอดจากสารพิษไว้รับประทานหากเป็นการปลูกพืชผักสวนครัว 5.3 การเลี้ยงสัตว์ อาจเป็นการเลี้ยงในลักษณะไว้เป็นอาหาร เช่น เลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่นก กระทา หรือเลี้ยงไว้ดูเล่น เช่น เลี้ยงสุนัข แมว นกปลา ฯลฯ การเลี้ยงสัตว์เป็นกิจกรรมที่ช่วยเสริมสร้าง ลักษณะนิสัยของเด็กให้มีจิตใจอ่อนโยน และฝึกความรับผิดชอบ 5.4 การถ่ายรูป เป็นงานอดิเรกที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่ง แต่ค่าใช้จ่ายอาจจะค่อนข้างสูง เนื่องจากอุปกรณ์ราคาแพง และมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเดินทางเข้ามาเกี่ยวข้อง หากไม่มีข้อจำ�กัดทาง ด้านเศรษฐกิจ การถ่ายรูปก็เป็นกิจกรรมที่ให้ความเพลินเพลิดและความภาคภูมิใจต่อผู้ทำ�กิจกรรมมาก 6. กิจกรรมทางสังคม (Social activities) เป็นกิจกรรมที่กลุ่มคนในสังคมร่วมจัดขึ้น โดยมี จุดมุ่ง หมายเดียวกัน เช่น การจัดเลี้ยงปีใหม่ งานเลี้ยงวันเกิด กานฉลองในโอกาสพิเศษต่างๆ 7. เต้นรำ� ฟ้อนรำ� (Dance) เป็นกิจกรรมที่ใช้จังหวะต่างๆ เป็นกิจกรรมที่ให้ความสนุกสนาน เช่น เต้นรำ� พื้นเมือง การรำ� ไทย รำ� วง นาฏศิลป์ ลีลาศ 8. กิจกรรมนอกเมือง (Outdoor activities) เป็ นกิ จกรรมนั นทนาการนอก สถานที่ ที่ให้โอกาสมนุษย์ได้เรียนรู้ธรรมชาติ ได้พักผ่อน เช่น การอยู่ค่ายพักแรม ไปท่อง เที่ยวตามแหล่งธรรมชาติ 9. ทั ศ นศึ ก ษา (Field trip) เพื่อศึกษาศิลปวัฒนธรรม ตามวัดวาอาราม หรื อ ศึ ก ษาความก้ า วหน้ า ในด้ า นต่ า งๆ ใน นิทรรศการหรืองานแสดงต่างๆ 10. กิจกรรมพูด เขียน อ่าน ฟัง (Speaking Writing and Reading) การพูด เขียน อ่านฟัง ที่นับ ว่าเป็นกิจกรรมนันทนาการ ได้แก่ 10.1 การพูด ได้แก่ การคุย การโต้วาที การปาฐกถา 10.2 การเขียน ได้แก่ การเขียนบันทึกเรื่องราวประจำ�วัน เขียนบทกวี เขียนเพลง เรื่อง สั้น บทความ ฯ 10.3 การอ่าน ได้แก่ การอ่านหนังสือพิมพ์ อ่านหนังสือทั่วๆ ไป ที่ให้ทั้งความรู้และ ความเพลิดเพลิน 10.4 การฟัง ได้แก่ การฟังวิทยุ ฟังอภิปราย โต้วาที ทอล์คโชว์ ฯลฯ 11. กิจกรรมอาสาสมัคร (Voluntary Recreation) เป็นกิจกรรมบำ�เพ็ญประโยชน์ที่บุคคลเข้า ร่วมด้วยความสมัครใจ เช่น กิจกรรมอาสาพัฒนา และกิจกรรมอาสาสมัครต่างๆ
115
หลักการเลือกกิจกรรมนันทนาการ กิจกรรมนันทนาการมีหลายประเภท บุคคลแต่ละคนย่อมมีความแตกต่างกันในเรื่องความชอบ
และความถนัด นอกจากนี้ การเลือกกิจกรรมนันทนาการยังต้องค�ำนึงลักษณะงานประจ�ำ ที่ท�ำอยู่ และ ฐานะทางเศรษฐกิจ เพื่อให้การด�ำเนินชีวิตเป็นไปอย่างมีความสุข หลักการเลือกกิจกรรม นันทนาการมี ดังนี้ 1. ค�ำนึงถึงวัย การเลือกกิจกรรมนันทนาการควรเหมาะกับวัยของผู้ท�ำ กิจกรรม เช่น เด็กควรให้ มีกิจกรรมประเภทที่มีการเคลื่อนไหวร่างกาย เพื่อให้พัฒนาการทางร่างกายเป็นไปอย่างเหมาะสม การดู วีดีทัศน์ หรือการเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์ติดต่อกันนานๆ ท�ำให้เด็กเกิดความตึงเครียด กิจกรรมประเภทนี้ ควรก�ำหนดช่วงเวลาไม่เกิน 1 ชั่วโมง ส่วนในผู้สูงอายุมักมีข้อจ�ำกัดในด้านการใช้แรงกาย โดยเฉพาะผู้ที่ไม่ ได้ออกก�ำลังกายมาตั้งแต่วัยหนุ่มสาว การเลือกกิจกรรมนันทนาการ จึงควรเลือกประเภทที่ไม่ใช้แรงกาย มากนัก เช่น ดูแลต้นไม้ ดูโทรทัศน์ งานสะสมสิ่งที่มีคุณค่าทางจิตใจ ฯลฯ 2. ค�ำนึงถึงสุขภาพ บางคนอาจมีข้อจ�ำกัดทางด้านสุขภาพ ท�ำให้ไม่เหมาะแก่การเข้าร่วมกิจกรรม บางประเภท เช่น ผู้เป็นโรคหัวใจไม่เหมาะกับกีฬาประเภทหักโหม คนสายตาไม่ดีอาจไม่เหมาะกับงาน เย็บปักที่ต้องใช้สายตามาก เราจึงควรหลีกเลี่ยงนันทนาการที่อาจเป็นผลเสียต่อสุขภาพของตนเอง แม้น ว่าสิ่งนั้นจะเป็นสิ่งที่ชอบหรือถนัด 3. ค�ำนึงถึงความถนัดหรือความชอบของตนเอง การเลือกสิ่งที่ตนเองชอบหรือถนัดจะช่วยให้เกิด ความรู้สึกเพลิดเพลินในการท�ำ กิจกรรมนั้น ในกลุ่มวัยรุ่นบางครั้งพบว่าอยู่ในช่วงของการแสวงหา ยังไม่ พบว่าแท้จริงแล้วตนเองชอบอะไร จึงพบว่าท�ำกิจกรรมบางอย่างไม่ส�ำเร็จ แล้วละทิ้ง 4. ค�ำนึงถึงลักษณะงานประจ�ำวัน งานแต่ละประเภทจะมีความแตกต่างกันด้านการใช้ความคิด และการเคลื่อนไหว เราควรเลือกนันทนาการที่สอดคล้องกับลักษณะของงานประจ�ำ เช่น คนที่ท�ำ งาน ส�ำนักงานที่ส่วนใหญ่นั่งอยู่กับที่ ควรเลือกกิจกรรมประเภทที่ได้เคลื่อนไหวบ้าง เช่น กีฬา ปลูกต้นไม้ เลี้ยง สัตว์ ส่วนคนที่ต้องใช้แรงกายมากแล้ว น่าจะเลือกกิจกรรมที่ได้พักกล้ามเนื้อ เช่น ฟังเพลง ดูโทรทัศน์ หรือในชนบทจะพบว่า พอเสร็จจากงานในไร่นา ชาวบ้านจะท�ำ งานจักสาน เล่นดนตรี หรือมีการละเล่น พื้นบ้านหลังฤดูเก็บเกี่ยว 5. ค�ำนึงฐานะทางเศรษฐกิจ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่า กิจกรรมบางประเภท มีค่าใช้จ่ายค่อนข้าง มาก การเลือกกิจกรรมนันทนาการ จึงควรหลีกเลี่ยงจากกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบทางลบ ต่อเศรษฐกิจของตนเองและครอบครัว ในทางศาสนาไม่มีอุปสรรคใดที่มุสลิมจะหาความสุขผ่อนคลาย ความเครียด หรือสร้างความสดชื่นให้แก่ตนเองได้ด้วยการเล่นเกมส์หรือกีฬาแต่ต้องอยู่ในกรอบและหลัก การต่อไปนี้ 1. ต้องไม่หมกมุ่นอยู่กับการพักผ่อนหรือการเล่น จนถึงกับท�ำให้ละเลยต่อหน้าที่ที่ต้อง ปฏิบัติในฐานะที่เป็นบ่าวของอัลลอฮ์ เช่น การนมาซ เป็นต้น 2. ต้องอยู่ในกรอบจริยธรรมอิสลาม โดยการเคลื่อนไหว เนื้อหาค�ำพูด การแสดง ต้องไม่ ขัดกับจริยธรรมอิสลาม 3. ต้องเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อร่างกายหรือจิตใจและต้องไม่เกินความพอดีหรือฟุ่มเฟือย 116
4. ต้องไม่เกี่ยวข้องกับการพนัน เจตนารมณ์ของ อิสลามชี้ให้เห็นถึงความส�ำคัญของกิจกรรมว่าต้องมีอยู่ตลอดเวลา เช่น - ละหมาดทั้งชีวิต แม้ว่าต้อง นั่ง นอน ท�ำสัญญาณตามอิริยาบถ - ให้มีหมู่คณะหนึ่งเชิญชวนสู่ความดี ยับยั้งความชั่ว กลุ่มชนนี้แหละมีชัยชนะ - มนุษย์ที่ประเสริฐสุด คือผู้ที่ชีวิตของเขาเป็นประโยชน์แก่สังคม ส�ำหรับนักเรียนผู้มีจิตส�ำนึก และศรัทธาเชื่อมั่นว่าอัลลอฮ์ คือ “พระผู้อภิบาลสูงสุด” แล้ว กิจกรรมถือเป็นภารกิจหนึ่ง ที่จะท�ำให้เขาได้ใกล้ชิดกับร่มเงาของพระองค์ และเป็นคะแนนสะสม เสริม ด้านอิบาดะฮ์-การภักดี ที่รอประกาศผลในวันกิยามะห์ แนวคิดหนึ่งที่นักเรียนมุสลิมต้องรู้ซึ้ง คือ “ความส�ำเร็จของชีวิต” ในทัศนะอิสลามคือ ประพฤติ ตนอยู่ในหลักการของอัลลอฮ์ชั่วชีวิต ทุกคนสามารถสร้างฐานะจากอาชีพการงาน ใช้เทคโนโลยีสร้าง ความเจริญแก่สังคมได้ โดยมีเงื่อนไขว่าจะอยู่ในสถานภาพใด การคิด การ กระท�ำ การใช้ ต้องเป็นไปตาม หลักการอิสลาม หาไม่แล้วทุกสิ่งที่ทุ่มเทลงไปบนโลกใบนี้ก็คือความ สูญเปล่าและส่งผลร้ายแก่ตนเองใน อะคิเราะห์
บุคลิกภาพที่ดีของมุสลิมผู้ศรัทธา
การเสริมสร้างบุคลิกภาพของเราไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากเราจำ�ต้องผ่านขั้นตอนสำ�คัญมากมาย คือ การรักษาระเบียบวินัยต่อตนเองอย่างเคร่งครัด การตรวจสอบ พิจารณาพฤติกรรมของตนเอง และ การเรียนรู้ ฝึกฝนเพื่อปฏิรูปปรับเปลี่ยน ความคิดและการกระทำ�ทั้งหมดของเรา ท่านนบีrคือตัวอย่างที่สมบูรณ์ที่สุดของการมีบุคลิกภาพที่งดงาม อัลลอฮ์Iตรัสเกี่ยวกับท่าน ในอัลกุรอานว่า “โดยแน่นอน ในเราะสูลองอัลลอฮ์มีแบบฉบับอันดีงามสำ�หรับพวกเจ้าแล้ว สำ�หรับผู้ที่ หวัง (จะพบ) อัลลอฮ์และวันปรโลกและรำ�ลึกถึงอัลลอฮ์อย่างมาก” (สูเราะฮอัลอะหซาบ อายะฮที่ 21) หนึ่งในคุณสมบัติของบุคลิกภาพอันโดดเด่นที่สุดของท่านนบีr คือ “ความสมบูรณ์แบบของท่าน” และ “การที่ท่านแสวงหาความสมบูรณ์แบบ (ความดีงาม) จากทุกๆ สิ่งที่ท่านกระทำ�” ท่านเป็นบิดาที่ดีที่สุด เป็นสามีที่ดีที่สุด เป็นผู้นำ�ที่ดีที่สุด เป็นครูที่ดีที่สุด เป็นเพื่อนที่ดีที่สุด ดัง ที่บรรดาเศาะหาบะฮฺได้กล่าวว่า ท่านนบีrเป็นที่รู้จักกันดีว่าท่านนั้นเป็นผู้ที่มีสัจจะที่สุด มีความอดทน ที่สุด มีความน่าเชื่อถือที่สุด มีมารยาทอันงดงามที่สุด และเป็นผู้ที่มีความเมตตาที่สุด ด้วยคุณลักษณะอันดีงามทั้งหลายเหล่านี้ ทำ�ให้ท่านเป็นผู้ที่มีบุคลิกภาพอันดึงดูดผู้คนที่อยู่ล้อม รอบตัวท่านนั้น เกิดความรักต่อท่านเป็นอย่างมาก บทเรียนสำ�หรับเราจากเรื่องราวของท่านคือ เราจำ� ต้องพยายามที่จะสร้างความสมบูรณ์แบบ ต่อทุกสิ่งทุกอย่างที่เรากระทำ� ไม่ว่าจะเป็นสิ่งนั้นจะสิ่งที่เล็ก น้อยก็ตาม หรือแม้แต่เรื่องของกิจวัตรประจำ�วัน (ทางโลก) ทั่วไปเช่น การเชือดสัตว์เพื่อทำ�อาหาร เราก็ ต้องทำ�อย่างดีที่สุดเช่นกัน
117
118
บรรณานุกรม หนังสือ ธนรัตน์ หงส์เจริญ. 2537. แบดมินตัน. พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพฯ :บริษัทสยามสปอร์ต ซินดิเคท จ�ำกัด. บริษัท สกายบุ๊กส์ จ�ำกัด. 2538. แบดมินตัน. พิมพ์ครั้งแรก. กรุงเทพฯ :บริษัทสยามสปอร์ต ซินดิเคท จ�ำกัด. บริษัท สกายบุ๊กส์ จ�ำกัด. 2542. วอลเลย์บอล(ฉบับปรับปรุงกติกา ปี ’42). พิมพ์ครั้งที่6. กรุงเทพฯ: บริษัทสยามสปอร์ต ซินดิเคท จ�ำกัด. อมรพงศ์ สุธรรมรักษ์. 2546. วอลเลย์บอลขั้นพื้นฐาน. พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพฯ :ส�ำนักพิมพ์สุวีริยสาส์น จัดพิมพ์. อินเตอร์เน็ต คอกีฬา. 2551. ประวัติเปตอง ความเป็นมาของ กีฬาเปอตอง. (ออนไลน์). สืบค้นจาก : http://www.corekeela.com/history-sport/id22.aspx. [6 กันยายน 2553]. ทวีศักดิ์ สว่างเมฆ. 2550. คุณค่าและประโยชน์ของนันทนาการ. (ออนไลน์). (ออนไลน์). สืบค้นจาก : http://www.gotoknow.org/blog/taweesaknu/154426. [ 12 พฤษภาคม 2553]. มหาวิทยาลัยราชภัฏล�ำปาง. 2008. ประเภทของกิจกรรมนันทนาการ. (ออนไลน์). สืบค้นจาก : http://www.lpru.ac.th/teacher_website/upa/fun.pdf. [12 พฤษภาคม 2553]. มหาวิทยาลัยราชภัฏล�ำปาง. 2008. ลักษณะของกิจกรรมนันทนาการ. (ออนไลน์). สืบค้นจาก : http://www.lpru.ac.th/teacher_website/upa/fun.pdf. [12 พฤษภาคม 2553]. สมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์.2011. เทคนิคการเล่น. (ออนไลน์). สืบค้นจาก : http://www.badmintonthai.or.th/bdthai/. [12 กุมภาพันธ์ 2554]. PETANQUE MFU. 2008. กติกาเปตองสากล. (ออนไลน์). สืบค้นจาก : http://www.mfuzone.com/nboard/index.php? [6 กันยายน 2553]. Silverrose.2009. ลักษณะพื้นฐานของนันทนาการ. (ออนไลน์). สืบค้นจาก : http://www.thaigoodview.com/node/51564. [12 พฤษภาคม 2553].
119