หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน
สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปที่
๑
กลุมสาระการเรียนรูสุขศึกษาและพลศึกษา ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑
คำนำ ดวยพระนามของอัลลอฮฺ ผูทรงเมตตาปรานี ผูทรงกรุณาเสมอ การดูแลแกไขปญหาในสังคมปจจุบันตองใหความสำคัญกับคุณธรรมและจริยธรรมอยางเปนรูปธรรม การบูรณาการวิถีอิสลามในแบบเรียนเปนสวนหนึ่งของวัตถุประสงคแผนงานฯในการประมวลองคความรู อิสลามกับสุขภาวะเพื่อถายทอดผานเครือขายและผานชองทางอื่นๆ ของแผนงานฯ ซึ่งมีกลุมเปาหมายมุสลิม ทั่วประเทศกวา ๓ ลาน ๕ แสนคน ภายใตโครงการผลิตแบบเรียนวิชาสุขศึกษาและพลศึกษาแบบบูรณาการวิถี อิสลามในกลุมสาระการเรียนรูสุขศึกษาและพลศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขึ้นพื้นฐาน พ.ศ.๒๕๕๑ โครงการผลิตแบบเรียนวิชาสุขศึกษาและพลศึกษาแบบบูรณาการวิถีอิสลามฯ มีวัตถุประสงคเพื่อจัด ทำแบบเรียนที่บูรณาการอิสลาม ซึ่งประกอบดวยมาตรฐาน ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรูแกนกลาง โครงสราง หลักสูตรกลุมสาระการเรียนรู คำอธิบายรายวิชาและการออกแบบหนวยการเรียนรูอิงมาตรฐานหลักสูตรแกน กลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.๒๕๕๑ โดยไดจัดทำจำนวน ๖ เลม ใน ๔ ชวงชั้น ที่พรอมจะนำไปใชเปน แบบเรียนในโรงเรียนที่มีนักเรียนนับถือศาสนาอิสลามเปนสวนใหญซึ่งรวมถึงโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม กวา ๘๐๐ แหง โดยเฉพาะในจังหวัดชายแดนภาคใตและภูมิภาคอื่นๆ ของประเทศ ผลผลิตของโครงการนี้จะเปนประโยชนกับชุมชนมุสลิมไทยทั่วประเทศเกือบ ๓,๕๐๐ แหง เพราะ ความตองการของชุมชนมุสลิมทุกคน คือการที่บุตรหลานไดมีโอกาสเรียนรูทั้งวิชาดานศาสนาและวิชาสามัญที่ สอดคลองกับวัฒนธรรมและความเชื่อที่มีฐานมาจากศาสนาอิสลาม ดวยเหตุผลดังกลาวจึงเชื่อไดวาตำราเรียน ที่บูรณาการเนื้อหาวิชาดังกลาวเขากับหลักคำสอนของอิสลามเลมนี้จะไดรับการตอบรับที่ดีจากสังคมมุสลิม อีกทั้งผูเรียนจะมีความตั้งใจเรียนอยางจริงจัง เพราะไมมีความกังวลวาจะขัดกับหลักคำสอนของศาสนา ซึ่งจะ เปนผลดีตอผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผูเรียน ในอนาคตแผนงานฯ จะนำเสนอแบบเรียนบูรณาการศาสนาอิสลามกับวิชาสามัญ (สุขศึกษาและพล ศึกษา) ที่สอดคลองกับหลักสูตรแกนกลางของรัฐชุดนี้ใหแกหนวยงานที่เกี่ยวของ เชน กระทรวงศึกษาธิการ และสภาการศึกษาแหงชาติ เพื่อใหเกิดผลในระยะยาว และมีเปาหมายที่จะจัดพิมพเผยแผใหแกโรงเรียนที่มี ความตองการตำราเหลานี้ไวใชเปนตำรายืมเรียน นอกจากนี้ยังจะขยายผลไปสูการบูรณาการอิสลามในระดับ การศึกษาที่สูงขึ้นและวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวของตอไป สุดทายนี้ขอขอบคุณ รศ.ดร.อิบราเฮ็ม ณรงครักษาเขต อาจารยประจำวิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร วิทยาเขตปตตานี และคณะ ที่มีสวนสำคัญในความสำเร็จของผลงานฉบับนี้ ขอเอกองค อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงประทานความโปรดปรานและสิ่งดีงามแกคณะทำงานและผูที่มีสวนเกี่ยวของทุกทาน อามีน รองศาสตราจารย ดร.อิศรา ศานติศาสน ผูจัดการแผนงานสรางเสริมสุขภาวะมุสลิมไทย
คำนำ หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐานสุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปที่ ๑ กลุมสาระการเรียน รูสุขศึกษาและพลศึกษาเลมนี้ เปนหนังสือเรียนที่มีการบูรณาการอิสลามเพื่อใหสอดคลองกับวัฒนธรรม และหลักคำสอนของศาสนาอิสลาม ทั้งนี้เพื่อใหผูเรียนที่เปนมุสลิมจะไดมั่นใจวาเนื้อหาที่มีในหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐานสุขศึกษาและพลศึกษาเลมนี้ ไมขัดกับหลักคำสอนของศาสนา และผูเรียนจะไดเรียนดวย ความตั้งใจ ขอขอบคุณผูมีสวนรวมในการเขียนหนังสือเรียนเลมนี้ใหเสร็จสมบูรณ และขอขอบคุณแผนงาน สรางเสริมสุขภาวะมุสลิมไทย (สสม.) ผูสนับสนุนงบประมาณในการจัดทำหนังสือเรียนฉบับนี้ คณะผูจัดทำ
สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปที่ ๑ ขอมูลทางบรรณานุกรมของสำนักหอสมุดแหงชาติ National Library of Thailand Cataloging in Publication Data สุขศึกษาและพลศึกษา ป.1.-- กรุงเทพฯ : สำนักงานแผนงานสรางเสริมสุขภาวะมุสลิมไทย มูลนิธิสรางสุขมุสลิมไทย (สสม.), 2555. 68 หนา. 1. สุขศึกษา--การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา). 2. พลศึกษา--การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา). II. อิบรอฮีม ณรงครักษาเขต. III. ชื่อเรื่อง. 372.37044 ISBN 978-616-7725-05-5 รายชื่อคณะกรรมการยกรางหนังสือสุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมปที่ ๑ ๑. เภสัชกรหญิง ซีตีแอเสาะ ดือเระ ๒. นายสมโภชน ศรีสมุทร ๓. นายอิลฟาน ตอแลมา ๔. นายมูฮัมหมัดอาฟฟ อัซซอลีฮีย ๕. นางสรินฎา ปุติ ๖. นางสาวซาราห สาแลแม ๗. นางสาวรุสลีนา อาวัง ๘. นางฮุสนาณี ยะโกะ ๙. นางสาวมารีแย สารี ๑๐. นางสาวมารีนา สะเดะ ๑๑. นายฮอซาลี บินลาเตะ บรรณาธิการ
๑. รศ.ดร.อิบรอฮีม ณรงครักษาเขต ๒. นายอิสมาแอ กาเตะ
รูปภาพและกราฟฟก
๑. นายอุสมัน เลาะมา ๒. นายบาดือรี ดอคอ
ออกแบบปก
นายอุสมาน ลีมอปาแล
จัดรูปเลม
๑. นายมูฮามะ ปาปา ๒. นางสาวปราณี หลำเบ็ญสะ
พิมพครั้งที่ ๑
พฤษภาคม ๒๕๕๕
จัดพิมพและเผยแพร
แผนงานสรางเสริมสุขภาวะมุสลิมไทย (สสม.) มูลนิธิสรางสุขมุสลิมไทย เลขที่ ๑ หมู ๑๓ ถนนสีหบุรานุกิจ แขวงมีนบุรี เขตมีนบุรี กรุงเทพฯ ๑๐๕๑๐
สงวนลิขสิทธิ์
หามลอกเลียนแบบไมวาสวนใดสวนหนึ่งของหนังสือ นอกจากไดรับอนุญาต
สารบัญ หนวยการเรียนรูที่ ๑ รูจักตัวเรา อวัยวะในรางกายของเรา อวัยวะภายนอก ลักษณะและหนาที่ของอวัยวะภายนอก การดูแลรักษาอวัยวะภายนอก ปากและฟน หนวยการเรียนรูที่ ๒ สายใยรักแหงครอบครัว ครอบครัว ความรัก ความผูกพัน ความภาคภูมิใจในตนเอง เพศชายและเพศหญิง หนวยการเรียนรูที่ ๓ สนุกกับกิจกรรม ธรรมชาติของการเคลื่อนไหว เกมแสนสนุก หนวยการเรียนรูที่ ๔ สุขภาพและการปองกันโรค สุขบัญญัติแหงชาติ อาการเจ็บปวยที่ควรรู ทําอยางไรเมื่อเจ็บปวย หนวยการเรียนรูที่ ๕ ปลอดภัยไวกอน อุบัติเหตุภายในบาน อุบัติเหตุในโรงเรียน อันตรายจากการเลน
๒ ๒ ๓ ๕ ๑๐ ๑๖ ๑๙ ๒๒ ๒๗ ๓๑ ๓๖ ๔๕ ๔๖ ๔๙ ๕๒ ๕๔
ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรูแกนกลาง ชั้นประถมศึกษาปที่ 1 สาระที่ ๑ การเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย มาตรฐานการเรียนรู พ.๑.๑ เขาใจธรรมชาติของการเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย ตัวชี้วัด
สาระการเรียนรูแกนกลาง (ระบุในหลักสูตรกลุมสาระการเรียนรูสุขศึกษา)
๑.อธิบายลักษณะและหนาที่ อธิบายลักษณะและหนาที่ของอวัยวะภายนอกที่มีการเจริญเติบโตและ ของอวัยวะภายนอก พัฒนาการไปตามวัย - ตา หู คอ จมูก ผม มือ เทา เล็บ ผิวหนัง ฯลฯ ๒.อธิบายวิธีดูแลรักษา อวัยวะภายนอก
- อวัยวะในชองปาก (ปาก ลิ้น ฟน เหงือก) การดูแลรักษาอวัยวะภายนอก - ตา หู คอ จมูก ปาก ลิ้น ฟน ผม มือ เทา เล็บ ผิวหนัง ฯลฯ - อวัยวะในชองปาก (ปาก ลิ้น ฟน เหงือก)
สาระที่ ๒ ชีวิตและครอบครัว มาตรฐาน พ ๒.๑ เขาใจและเห็นคุณคาตนเอง ครอบครัว เพศศึกษา และมีทักษะในการดําเนินชีวิต ตัวชี้วัด ๑.ระบุสมาชิกในครอบครัว และความรักความผูกพัน ของสมาชิกที่มีตอกัน
สาระการเรียนรูแกนกลาง (ระบุในหลักสูตรกลุมสาระการเรียนรูสุขศึกษา) สมาชิกในครอบครัว ความรักความผูกพันของสมาชิกในครอบครัว
๒.บอกสิ่งที่ชื่นชอบ และ ความภาคภูมิใจในตนเอง
สิ่งที่ชนื่ ชอบและความภาคภูมิใจในตนเอง (จุดเดน จุดดอยของตนเอง)
๓.บอกลักษณะความ แตกตางระหวางเพศชาย และเพศหญิง
ลักษณะความแตกตางของเพศชาย เพศหญิง - รางกาย - อารมณ - ลักษณะนิสัย
สาระที่ ๓ การเคลื่อนไหว การออกกําลังกาย การเลนเกม กีฬาไทย และกีฬาสากล มาตรฐาน พ ๓.๑ เขาใจ มีทักษะในการเคลื่อนไหว กิจกรรมทางกาย การเลนเกม และกีฬา ตัวชี้วัด
สาระการเรียนรูแกนกลาง(ระบุในหลักสูตรกลุมสาระการเรียนรูสุขศึกษา)
๑.เคลื่อนไหวรางกาย ขณะอยูกับที่ เคลื่อนที่ และใชอุปกรณประกอบ
ธรรมชาติของการเคลื่อนไหวรางกายในชีวิตประจําวัน - แบบอยูกับที่ เชน นั่ง ยืน กมเงย เอียง ซาย ขวา เคลื่อนไหวขอมือ ขอเทา แขน ขา - แบบเคลื่อนที่ เชน เดิน วิ่ง กระโดด กลิ้งตัว - แบบใชอุปกรณประกอบ เชน จับ โยน เตะ เคาะ
๒.เลนเกมเบ็ดเตล็ดและ กิจกรรมทางกายที่ใชในการเคลื่อนไหวตามธรรมชาติ เขารวมกิจกรรมทางกาย - การเลนเกมเบ็ดเตล็ด ที่ใชการเคลื่อนไหวตาม ธรรมชาติ
สาระที่ ๓
การเคลื่อนไหว การออกกําลังกาย การเลนเกม กีฬาไทย และกีฬาสากล
มาตรฐาน พ ๓.๒ รักการออกกําลังกาย การเลนเกม และการเลนกีฬา ปฏิบัตเิ ปนประจําอยางสม่ําเสมอ มีวินัย เคารพสิทธิ กฎ กติกา มีน้ําใจนักกีฬา มีจิตวิญญาณในการแขงขัน และชื่นชม ในสุนทรียภาพของการ กีฬา ตัวชี้วัด ๑.ออกกําลังกาย และเลนเกม ตามคําแนะนํา อยาง สนุกสนาน ๒. ปฏิบัติตนตามกฎ กติกา ขอตกลงในการเลนเกมตาม คําแนะนํา
สาระการเรียนรูแกนกลาง(ระบุในหลักสูตรกลุมสาระการเรียนรูสุขศึกษา)
การออกกําลังกาย และการเลนเกมเบ็ดเตล็ด กฎ กติกา ขอตกลงในการเลนเกมเบ็ดเตล็ด
สาระที่ ๔ การสรางเสริมสุขภาพ สมรรถภาพและการปองกันโรค มาตรฐาน พ ๔.๑ เห็นคุณคาและมีทักษะในการสรางเสริมสุขภาพ การดํารงสุขภาพ การปองกันโรค และ การสรางเสริมสมรรถภาพเพื่อสุขภาพ ตัวชี้วัด ๑.ปฏิบัติตนตามหลักสุขบัญญัติ แหงชาติตามคําแนะนํา
สาระการเรียนรูแกนกลาง(ระบุในหลักสูตรกลุมสาระการเรียนรูสุขศึกษา) การปฏิบัติตนตามหลักสุขบัญญัติแหงชาติ
๒.บอกอาการเจ็บปวยที่เกิด ขึ้นกับตนเอง
ลักษณะอาการเจ็บปวยที่เกิดขึ้นกับตนเอง - ปวดศีรษะ - ตัวรอน - มีน้ํามูก - ปวดทอง - ผื่นคัน (หนังศีรษะ ผิวหนัง) - ฟกช้ํา ฯลฯ ๓.ปฏิบัติตนตามคําแนะนําเมื่อมี วิธีปฏิบัติตนเมื่อมีอาการเจ็บปวยที่เกิดขึ้นกับตนเอง อาการเจ็บปวย สาระที่ ๕ ความปลอดภัยในชีวิต มาตรฐาน พ ๕.๑ ปองกันและหลีกเลี่ยงปจจัยเสี่ยง พฤติกรรมเสี่ยงตอสุขภาพ อุบัติเหตุ การใชยา สารเสพ ติด และความรุนแรง ตัวชี้วัด
สาระการเรียนรูแกนกลาง(ระบุในหลักสูตรกลุมสาระการเรียนรูสุขศึกษา)
๑.ระบุสิ่งที่ทําใหเกิดอันตราย สิ่งที่ทําใหเกิดอันตรายภายในบานและโรงเรียน ที่บาน โรงเรียน และการปองกัน การปองกันอันตรายภายในบานและโรงเรียน ๒.บอกสาเหตุและการปองกัน อันตรายที่เกิดจากการเลน
อันตรายจากการเลน - สาเหตุที่ทําใหเกิดอันตรายจากการเลน - การปองกันอันตรายจากการเลน ๓.แสดงคําพูดหรือทาทางขอความ การขอความชวยเหลือเมื่อเกิดเหตุรายที่บานและโรงเรียน ชวยเหลือจากผูอื่นเมื่อเกิดเหตุราย - บุคคลที่ควรขอความชวยเหลือ ที่บานและโรงเรียน - คําพูดและทาทางการขอความชวยเหลือ
หน่วยการเรียนรู้ที่
๑ รู้จักตัวเรา
ตัวชี้วัด ๑. อธิบายลักษณะและหน้าที่ของอวัยวะภายนอก ๒. อธิบายวิธีดูแลรักษาอวัยวะภายนอก
สาระเกริ่นนำ� ร่างกายของเราประกอบด้วยอวัยวะต่างๆ เช่น ตา หู จมูก ปาก แขน มือ เท้า และอืน่ ๆ ซึง่ มีหน้าทีแ่ ตกต่างกัน เรามีหน้าทีท่ จี่ ะต้องดูแลอวัยวะต่างๆ ในร่างกายของ เรา เพราะท่านนบีมุฮัมมัด ได้กล่าวไว้ ความว่า “ส�ำหรับร่างกายของเจ้านั้นเป็น หน้าที่ซึ่งเจ้าต้องดูแล” 1
อวัยวะในร่างกายของเรา อวัยวะต่างๆ ของร่างกายเรามีทั้งอวัยวะภายนอกและอวัยวะภายใน ดังนี้ อวัยวะภายนอก อวัยวะทีเ่ ราสามารถมองเห็นได้ดว้ ยตาเปล่าและสามารถ จับต้องได้ เช่น ผม หู ตา จมูก ปาก มือ และ เท้า อวัยวะภายใน อวัยวะที่เราไม่สามารถมองเห็นได้ ซึ่งอยู่ในร่างกายของ เรา เช่น ตับ ปอด หัวใจ กระเพาะอาหาร
อวัยวะภายนอก ผม หู
ตา จมูก ผิวหนัง
มือ
เท้า
2
ลักษณะและหน้าที่ของอวัยวะภายนอก
รู้หรือไม่ ขี้หูคืออะไร ขี้หูคือสิ่งที่ร่างกายสร้าง ขึ้นเพื่อกรองฝุ่นละอองและสิ่งแปลก ปลอมไม่ให้เข้าไปในรูหู 3
๕
๕
๒
รู้หรือไม่
4
นำ�้ ตาคืออะไร......น�ำ้ ตาคือน�ำ้ ทีด่ วงตา ผลิตออกมาเพื่อช่วยให้ความชุ่มชื้นและ ท�ำความสะอาดดวงตาให้สะอาด
อวัยวะต่างๆ ของร่างกายมีความส�ำคัญมากต่อการด�ำรงชีวิต เราจึงต้องดูแล รักษาอวัยวะต่างๆ ให้รา่ งกายของเรามีสขุ ภาพทีด่ ี สมบรูณแ์ ข็งแรง เพราะผูท้ แี่ ข็งแรง ย่อมเป็นที่รักของอัลลอฮ์ มากกว่าผู้ที่อ่อนแอ
ท่านนบีมุฮัมมัด ได้กล่าวว่า “ผูศ้ รัทธาทีเ่ ข้มแข็งนัน้ ย่อมดีกว่าและเป็นทีร่ กั ของอัลลอฮ์มากกว่า ศรัทธาชนที่อ่อนแอ” (บันทึกโดยมุสลิม) “ผู้ใดตื่นเช้าขึ้นมาโดยมีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง มีจิตใจ ที่สงบร่มเย็น ไม่มีความวิตกทุกข์ร้อน มีอาหารส�ำหรับบริโภคในวันนั้น ก็ประหนึง่ ว่าเขาผูน้ นั้ ได้ครอบครองโลกไว้ทงั้ ใบได้”(บันทึกโดยอิบนุหบิ บาน)
การดูแลรักษาอวัยวะภายนอก ผม สระผมอย่างน้อยสัปดาห์ละ ๒ - ๓ ครั้ง เมื่อสระผมเสร็จแล้ว ควรเช็ดผมให้แห้ง และควรตัดผม ให้สั้นอยู่เสมอเพื่อการดูแลรักษา ความสะอาดได้ง่าย
5
ตา ไม่ใช้มอื ขยีต้ า เมือ่ มีฝนุ่ เข้า ตา ให้ลา้ งด้วยน�ำ้ สะอาด อย่าให้ ของแข็งเข้าตาหรือกระทบตา
ไม่ควรมองแสงทีจ่ า้ เกินไปและไม่ควรใช้สายตาจ้อง มองสิ่งใดสิ่งหนึ่งนานจนเกินไป
รู้หรือไม่ เส้นผมของคนเราหลุดร่วงและงอกขึน้ ใหม่ประมาณวันละ ๙๐ เส้น 6
อ่านหนังสือในที่บริเวณที่มีแสงสว่างเพียงพอและควรวางหนังสือให้ห่างจาก ระดับสายตาประมาณ ๑ ฟุต
หู ต้องระวังอย่าให้มสี งิ่ ใดๆเข้าไปในรูห ู หลีกเหลีย่ งจากบริเวณ ทีม่ เี สียงดังมากเกินไป ระวังอย่าให้นำ�้ เข้าหู และถ้ามีอาการปวด หูควรไปพบแพทย์ทนั ที
รู้หรือไม่ คนเราจะกระพริบตาประมาณวันละ ๑๐,๐๐๐ ครั้ง 7
จมูก ต้ อ งระวั ง อย่ า ให้ มี สิ่ ง ใดๆเข้ า ไปในรู จ มู ก ไม่สั่งมากๆ
ผิวหนัง ควรท�ำความสะอาดผิวหนังหรือร่างกายอย่างน้อย วันละ ๒ ครั้ง ตอนเช้าและตอนเย็น เช็ดตัวให้แห้งหลังอาบ น�้ำและสวมเสื้อผ้าที่สะอาดๆ
มือ ภายหลังจากการท�ำงาน หรือเข้าห้องน�้ำ และก่อนที่เราจะรับประทานอาหารทุก ครั้งควรล้างมือให้สะอาดแล้วเช็ดมือให้แห้ง ตัดเล็บให้สั้นอยู่เสมอ
เท้า ล้างเท้าและล้างมือให้สะอาดเมื่อเปื้อนสิ่งสกปรก หลีกเลี่ยงการเดินเท้าเปล่าใน บริเวณที่สกปรก 8
ผม ตา หู จมูก ผิวหนัง มือ และเท้าล้วนเป็นอวัยวะที่ส�ำคัญที่ อัลลอฮ์ ทรงประทานให้กับเรา ดังนั้นจึงจ�ำเป็นอย่างยิ่งที่เราทุกคน จะต้องรักษาอวัยวะดังกล่าวไปในทางทีด่ ี เช่นใช้ตาเพือ่ มองในสิง่ ทีด่ ี และ ละทิ้งจากการมองในสิ่งที่ศาสนาห้าม ใช้ปากพูดในสิ่งที่ดี อย่าใช้ปากใน ทางที่ไม่ดี ใช้หูฟังในสิ่งที่ดีงาม และละเว้นจากการฟังสิ่งที่ไม่ดีหรือสิ่งที่ ศาสนาห้าม การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย การตัดเล็บ และโกนขนตา มอวัยวะต่างๆก็เป็นการท�ำความสะอาดร่างกายอย่างหนึ่ง ซึ่งท่านนบี มุฮัมมัด ได้กล่าว ความว่า “ห้าประการซึง่ มีมาโดยก�ำเนิดตามธรรมชาติอนั บริสทุ ธิข์ องมนุษย์ คือ การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย การโกนขนลับ การถอนขน รักแร้ การตัดเล็บ และการตัดหนวด” (บันทึกโดยอัลบุคอรีย์) นอกจากนีย้ งั มีหะดีษอีกบทหนึง่ ทีร่ ายงานโดยท่านอะบูฮรุ อ็ ยเราะฮฺ ความว่า “ท่านเราะสูลุลลอฮฺจะตัดเล็บและหนวดในวันศุกร์ ก่อนที่ท่านจะ ออกไปท�ำการละหมาดญุมอัต”(บันทึกโดยอัฏเฏาะบะรอนีย์)
9
ปากและฟัน ปากเป็นอวัยวะทีม่ หี น้าทีเ่ ป็นช่องทางรับอาหารเข้าสูร่ า่ งกาย ใช้สาหรับพูดคุย ภายในปากยังมีอวัยวะอื่นๆ เรียกว่า อวัยวะภายในช่องปาก
อวัยวะในช่องปากแต่ละชนิดมีหน้าที่ ดังนี้
๒
10
อิสลามได้ให้ความส�ำคัญกับการแปรงฟัน ดังทีท่ า่ นนบีมฮุ มั มัด ได้กล่าว ไว้ ความว่า “ถ้าหากไม่เป็นความล�ำบากแก่ประชาชาติของฉันแล้ว แน่นอนฉัน จะสั่งให้เขาแปรงฟันในทุกๆ เวลาละหมาด” (บันทึกโดยอะหมัด) ส�ำหรับความส�ำคัญของการแปรงฟันนั้น ท่านหญิงอาอิชะฮฺได้ รายงานว่า ท่านนบี ได้กล่าว ความว่า “การแปรงฟันนัน้ ท�ำให้สขุ ภาพช่องปากสะอาดและยังเป็นทีพ่ งึ พอ พระทัยของพระผู้อภิบาลอีกด้วย” (บันทึกโดยอะหมัด )
รับประทานผลไม้สด รับประทานผักสด ดื่มนม ฟันแข็งแรง
11
การแปรงฟันที่ถูกวิธี แปรงฟันทุกวันอย่างน้อยวันละ ๒ ครัง้ คือ ก่อนเข้านอนและหลังตืน่ นอนตอนเช้าและ ทุกครั้งที่แปรงฟันจะต้องแปรงให้ถูกวิธีและแปรงลิ้นด้วยทุกครั้ง ขั้นตอนการแปรงฟันที่ถูกวิธี ๑) ใช้ยาสีฟันในการแปรงฟันทุกครั้ง โดยใส่ลงบนแปรงพอประมาณ ๒) ใช้แปรงสีฟันที่มีคุณภาพ ขนาดเหมาะสมกับปาก และแปรงฟันอย่างถูกวิธี ๓) บ้วนปากด้วยน�้ำสะอาดให้หมดฟอง แล้วเช็ดให้แห้ง
การแปรงฟันแต่ละบริเวณ ๑. ด้านนอกของฟันบน หงาย แปรงขึ้น วางแปรงระหว่างกระพุ้งแก้ม และฟันบน ให้ด้านซ้ายของขนแปรงแนบ บริเวณเหงือกและฟัน ปลายขนแปรงอยู่ เหนือขอบเหงือกเล็กน้อย วางท�ำมุม ๔๕ องศา ออกแรงกดเบาๆ ขยับแปรงไปมา เล็กน้อย และบิดข้อมือให้ขนแปรงปัดลง ล่าง จากเหงือกผ่านซอกฟัน และตัวฟัน ให้แปรงซี่ในสุดออกมาข้างนอกจนทั่วทุก ซี่
12
๒. ด้านในของฟันหลังบน สอด แปรงเข้าในช่องปากด้านเพดาน ให้ด้าน ข้างของขนแปรงแนบบริเวณเหงือกและ ฟัน โดยปลายขนแปรงอยู่เหนือเหงือก เล็กน้อย เอียงท�ำมุมประมาณ ๔๕ องศา ออกแรงกดเบาๆ ขยับแปรงไปมาเล็กน้อย และบิดข้อมือ ให้ขนแปรงปัดลงล่าง จาก เหงือกผ่านซอกฟัน และตัวฟัน ในบริเวณ นั้นโดยตลอด ดังรูป ๓. ด้านนอกของฟันล่าง คว�ำ่ แปรง ลง สอดแปรงไว้ระหว่างกระพุ้งแก้ม ฟัน ด้านข้างของขนแปรง ให้ปลายขนแปรงชิด กับขอบเหงือก วางมุมประมาณ ๔๕ องศา ออกแรงกดเบาๆ ขยับแปรงไปมาเล็กน้อย แล้วบิดข้อมือให้ขนแปรงปัดขึ้นบน จาก เหงือกผ่านซอกฟัน และตัวฟันในบริเวณ นั้นโดยตลอด ดังรูป ๔. ด้านในของฟันล่าง คว�่ำแปรง ลง สอดแปรงเข้าในช่องปาก ให้อยูร่ ะหว่าง ลิ้นกับฟัน วางด้านข้างของขนแปรงแนบ บริเวณเหงือกและฟัน โดยปลายขนแปรง อยูต่ �่ำกว่าขอบเหงือกเล็กน้อย เอียงท�ำมุม ประมาณ ๔๕ องศา ออกแรงกดเบาๆ ขยับ แปรงไปมาเล็กน้อย แล้วบิดข้อมือ ให้ขน แปรงปัดขึ้นบน จากเหงือกผ่านซอกฟัน ในบริเวณนั้นโดยตลอด ดังรูป 13
๕. ด้านในของฟันหน้า สอดแปรง เข้าในช่องปาก ด้านในของฟันหน้าบน จับ แปรงหงายขึ้น ให้ด้ามแปรงขนานกับตัว ฟัน วางขนแปรงบริเวณขอบเหงือก ปลาย ขนแปรงสัมผัสกับฟัน แล้วปัดขนแปรงจาก ขอบเหงือก ลงมาถึงปลายฟัน ด้านในของ ฟันหน้าล่าง จับแปรงคว�่ำลง ให้ด้ามแปรง ขนานกับตัวฟัน วางขนแปรงบริเวณขอบ เหงือก แล้วปัดขนแปรงจากขอบเหงือก ขึ้นมาถึงปลายฟัน ๖. ด้านบดเคี้ยว ฟันล่าง คว�่ำแปรง ลง วางแปรงบนด้านบดเคี้ยว ออกแรงถู เข้า-ออกเบาๆ ในบริเวณนั้นโดยตลอดฟัน บน หงายแปรงขึ้น ให้ขนแปรงสัมผัสกับ ด้านบดเคี้ยว ออกแรงถูเข้า-ออกเบาๆ ใน บริเวณนั้นโดยตลอด ดังรูป
การแปรงลิ้น
แปรงบริเวณด้านบนของลิ้นเบาๆ ให้ ส ะอาดเพื่ อ ขจั ด คราบเศษอาหารที่ ตกค้างอยู่ออกให้หมด
14
หน่วยการเรียนรู้ที่
๒ สายใยรักแห่งครอบครัว
ตัวชี้วัด ๑. ระบุสมาชิกในครอบครัวและความรักความผูกพัน ของสมาชิกที่มีต่อกัน ๒. บอกสิ่งที่ชื่นชอบ และภาคภูมิใจในตนเอง ๓. บอกลักษณะความแตกต่างระหว่างเพศชาย และ เพศหญิง
สาระเกริ่นนำ� เราทุกคนมีครอบครัว และเราต้องรักษาครอบครัวของเราให้พ้นจากไฟนรก ครอบครัวของแต่ละคนอาจจะมีสมาชิกไม่เท่ากัน แต่ทกุ คนต้องการอยูด่ ว้ ยกันอย่างมี ความสุข เมือ่ สมาชิกของครอบครัวมาอาศัยอยูร่ วมกันเราก็จะเรียกว่าครอบครัว ลอง มาดูครอบครัวของฉันว่าเป็นอย่างไร 15
ครอบครัว ความรัก ความผูกพัน
ครอบครัวของฉัน
ฉันชื่อมุมีนะฮ์ ฉันอยู่กับ พ่อแม่ที่ใจดีและเป็นมุสลิมที่ดี ฉันเรียกพ่อว่า อบี เรียกแม่ว่า อุมมี แต่คนอื่นอาจเรียก พ่อ ของตนเองว่า ปะ หรืออาเยาะฮ์ และเรียกแม่ว่า มะ หรือ แมะ วันนี้เป็นเป็นวันศุกร์ พ่อ จะไปละหมาดวันศุกร์ ส่วนพรุ่งนี้เป็นวันเสาร์ ซึ่งเป็นวัน หยุด พ่อ แม่และฉันจะช่วยกันปลูกต้นไม้และเลี้ยงสัตว์
ครอบครัวของอับดุลลออฮ์
อับดุลลอฮ์อยู่กับตายาย พ่อแม่ และน้องฟิรเดาส์ ซึ่งมีอายุ ๒ ปี น้องฟิรเดาส์ ยังไม่เข้าโรงเรียน ผม พ่อและตาจะไปละหมาดที่มัสยิดวันหนึ่ง ๕ เวลา ส่วนน้อง อยู่กับแม่และยาย แม่จัดเตรียมอาหาร เมื่อพวกเราละหมาดเสร็จทุกคนจะร่วมกัน รับประทานอาหารพร้อมกันอย่างมีความสุข ขอบคุณส�ำหรับมื้ออาหารในเที่ยงวันนี้ (อัลฮัมดุลิลละฮ์) ก่อนกินข้าวพวกเราล้างมื้อก่อนทุกครั้งและกล่าวค�ำดุอาอ์
16
ดุอาอ์ก่อนรับประทานอาหาร โอ้อัลลอฮ์ โปรดประทานความจ�ำเริญในปัจจัยยังชีพแก่เรา และโปรดปกป้อง เราให้พ้นจากไฟนรกด้วยเทอญ ดุอาอ์หลังรับประทานอาหารและดื่มนม มวลการสรรเสริญนั้นเป็นสิทธิของอัลลอฮ์ ซึ่งให้อาหารและน�้ำแก่เรา และได้ ดลบันดาลให้เราเป็นมุสลิม
ครอบครั ว แต่ ล ะครอบครั ว อาจ จะมีจ�ำนวนสมาชิกที่แตกต่างกัน บาง ครอบครัวมีเพียง พ่อ แม่ ลูก แต่บาง ครอบครัวอาจมีลุง ป้า น้า อา ปู่ ย่า ตา ยาย อยู่ด้วย ครอบครัวที่มีความสุข สมาชิกใน ครอบครัวมีความห่วงใยและช่วยเหลือกัน ถ้ามีปญ ั หาทุกคนจะปรึกษากันทีเ่ รียกว่าชู รอ และช่วยกันแก้ไขปัญหาด้วยกัน แต่ละ คนจะมี ความรั บ ผิ ด ชอบและท� ำ หน้ า ที่ ของตนเองดังนี้
17
แม่ เป็นคนดูแลลูกๆให้ปฏิบัติตนอยู่ในหลัก สอนของอิสลาม ท�ำอาหารอร่อยๆมีประโยชน์ และเป็นอาหารที่หะลาล พ่อ เป็นผู้ท�ำงานเพื่อเลี้ยงดูทุกคนในครอบครัว ลูก ช่วยพ่อแม่ท�ำงาน เช่น ล้างจาน กวาดบ้าน ทิ้งขยะลงในถังขยะ เก็บของเล่น ให้เรียบร้อย สมาชิกในครอบครัวเดียวกัน อาจมีความแตกต่างกัน ในเรื่อง อายุ เพศ ความ สูง น�ำหนักตัว ความแข็งแรง และอื่นๆ
18
นักเรียนอยากให้ ครอบครัวของนักเรียน เป็นแบบไหน
ครอบครัวที่อบอุ่น ครอบครัวที่ไม่อบอุ่น
ความภาคภูมิใจในตนเอง ความภาคภูมิใจ คือ ความรู้สึกที่มีต่อตนเองตั้งแต่เล็กจนโตซึ่งมีผลต่อการ แสดงออกในทุกๆ ด้าน เช่น ถ้านักเรียน พยายามท�ำการบ้านด้วยตนเองจนเสร็จ นักเรียนก็จะมีความภาคภูมิใจในตนเอง
19
มาลองส�ำรวจกันดูซิว่า นักเรียนมีความภาคภูมิใจในตนเองสูงหรือต�่ำ ลักษณะของผู้ที่มีความ ภูมิใจในตัวเองสูง
ลักษณะของผู้ที่มีความ ภูมิใจในตัวเองต�่ำ
นักเรียนสามารถสร้างความภาคภูมิใจในตนเองได้ ด้วยการปฏิบัติตัวเป็นลูกที่ดี ดังนี้ ๑. เชื่อฟังค�ำสั่งสอนของบิดามารดา ๒. ช่วยเหลือบิดามารดาท�ำงานด้วยความ เต็มใจ เช่น การท�ำความสะอาดบ้าน รดน�้ำต้นไม้ ๓. รู้จักประหยัด อดออม ใช้จ่ายเงินเฉพาะสิ่ง ที่จ�ำเป็น ๔. ตั้งใจศึกษาเล่าเรียน หมั่นศึกษาหาความรู้ เพิ่มเติม ๕. มี ค วามกตั ญ ญู ต ่ อ บิ ด า มารดา เพราะ อิสลามสอนไว้วา่ ให้พวกเราใช้คำ� พูดทีส่ ภุ าพ และเชือ่ ฟังบิดา มารดา 20
แสดงความคิดเห็นต่อนิทาน และแสดงข้อคิดที่ได้รับจากเรื่อง
นิทานเรื่อง ค่าของคน
บิลาลเป็นคนผิวสี ท่านเป็นผูท้ มี่ คี วามศรัทธาอันแรงกล้า ครัง้ หนึง่ บิลาลเคยถูก เจ้านายของตนเองที่ไม่ศรัทธาในอิสลามทรมานเพื่อจะให้บิลาลละทิ้งความศรัทธาที่ ตนมีตอ่ อิสลาม แม้บลิ าลจะถูกทรมานหนักหนาสาหัสสักเพียงใด บิลาลก็ไม่เคยย่อท้อ และไม่เคยละทิ้งความศรัทธาที่มีต่ออัลอิสลาม บิลาลเคยถูกทรมานจนหมดเรี่ยวแรง แต่บิลาลก็ยังขยับนิ้วมือของท่าน แล้วก็กล่าวค�ำว่า อะหัด อะหัด ซึ่งความว่าพระองค์ ผูท้ รงเอกะ เมือ่ อบูบกั รได้มาเห็นก็ขอซือ้ ตัวบิลาลจากเจ้าของ และปล่อยบิลาลให้เป็น อิสระจากการเป็นทาส และในเวลาต่อมาบิลาลก็ได้รบั มอบหมายจากท่านนบีให้เป็นผู้ อะซานเชิญชวนผูค้ นมาละหมาด แม้บลิ าลจะเป็นทาสผิวสี แต่ทา่ นเราะสูล ให้การ รับรองว่าบิลาลเป็นคนหนึ่งจากบรรดาชาวสวรรค์
21
เพศชายและเพศหญิง อัลลอฮ์ ทรงสร้างเพศชายและเพศหญิงให้มลี กั ษณะทีแ่ ตกต่างอย่าง ชดั เจน ซึง่ แต่ละเพศจะมีลกั ษณะทีแ่ ตกต่างกันออกไป โดยเฉพาะอวัยวะเพศทีแ่ สดงว่าเป็นเพศ ชาย หรือเพศหญิง
เพศชาย คือ เด็กและผู้ใหญ่ที่เป็นผู้ชาย เช่น ปู่ ตา ลุง พ่อ พี่ชาย น้องชาย เพศหญิง คือ เด็กและผู้ใหญ่ที่เป็นผู้หญิง เช่น ย่า ยาย ป้า แม่ พี่สาว น้องสาว
22
อิสลามห้ามผู้หญิงเลียนแบบผู้ชาย และห้ามผู้ชายเลียนแบบผู้หญิง อิสลามถือว่าพฤติกรรมการเบีย่ งเบนทางเพศเป็นสิง่ ทีต่ อ้ งห้าม และถือว่า เป็นการกระท�ำผิดที่ร้ายแรง ดังรายงานจากท่านนบีมุฮัมมัด ความว่า “ท่านเราะสูล ได้สาปแช่งบรรดาผู้ชายที่ประพฤติตัวเลียน แบบผู้หญิง และจากผู้หญิงที่ประพฤติตัวเลียนแบบผู้ชาย” (บันทึกโดย อะหมัด)
การเจริญเติบโตจากวัยเด็กจนถึงวัยชรา
23
ลักษณะของเพศชายและเพศหญิง
24
25
หน่วยการเรียนรู้ที่
๓
สนุกกับกิจกรรม
ตัวชี้วัด
ตัวชี้วัดมาตรฐาน พ ๓.๑ ๑. เคลื่อนไหวร่างกายขณะอยู่กับที่ เคลื่อนที่และใช้ อุปกรณ์ประกอบ ๒. เล่นเกมเบ็ดเตล็ดและเข้าร่วมกิจกรรมทางกายที่ใช้ การเคลื่อนไหวตามธรรมชาติ ตัวชี้วัดมาตรฐาน พ ๓.๒ ๑. ออกก�ำลังกาย และเล่นเกม ตามค�ำแนะน�ำ อย่าง สนุกสนาน ๒. ปฏิบัติตนตามกฎ กติกา ข้อตกลงในการเล่นเกม ตามค�ำแนะน�ำ
สาระเกริ่นนำ� ร่างกายประกอบด้วยอวัยวะต่างๆ ท�ำหน้าทีต่ า่ งกัน แต่มคี วามสัมพันธ์ซงึ่ กัน และกันท�ำให้รา่ งกายสามารถเคลือ่ นไหวท�ำกิจกรรมต่างๆ และท�ำงานได้ การเรียน รู้เรื่องการเคลื่อนไหวของร่างกายจึงมีความจ�ำเป็น ทั้งนี้เพื่อให้เข้าใจธรรมชาติและ รูปแบบการเคลื่อนไหว 26
ธรรมชาติของการเคลื่อนไหว การเคลือ่ นไหว หมายถึง การทีท่ ำ� ให้อวัยวะต่าง ๆ ได้มกี ารเคลือ่ นทีโ่ ดยไม่อยู่ นิ่ง อวัยวะที่มีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา เช่น แขน ขา ตา ปาก มือ ฯลฯ การเคลื่อนไหวในชีวิตประจ�ำวัน การเคลือ่ นไหวในชีวติ ประจ�ำวันมีหลายรูปแบบด้วยกัน ซึง่ แบ่งรูปแบบได้ดงั นี้
การเคลื่อนไหวอยู่กับที่
เป็นการเคลื่อนไหวที่ไม่มีการเคลื่อนที่ร่างกายจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง เช่น
๑. การนอนวิดพื้น ให้อยู่ในท่าคุกเข่า กางมือออกให้กว้าง กว่า ไหล่เล็กน้อย งอข้อศอกพร้อมกับให้ทรวงอกลง ใกล้ พืน้ ดันมือเพือ่ ให้ขอ้ ศอกตัง้ ตรงกลับสูท่ า่ เดิม ท�ำซ�ำ ้ ๑๒ - ๒๐ ครั้ง
๒. นอนยกเท้าขึ้น นอนคว�่ำศีรษะวางบนมือ งอข้อเข่าและข้อ เท้า ๙๐ องศา ยกเข่าขึ้นให้สูงจากพื้น ๔ นิ้ว เกร็ง กล้ามเนือ้ หลังสะโพกค้างไว้ ๑๐ วินาที ค่อยวางเท้า ลง ท�ำซ�้ำสลับข้าง 27
๓. การบริหารเท้า - นัง่ ยองๆ ให้ยนื ความกว้างของเท้ากว้าง เท่าระดับไหล่ เพื่อการทรงตัวที่ดี ให้ตามองตรง ศีรษะตั้งตรง ให้ย่อเข่าลงเหมือนท่านก�ำลังนั่ง เก้าอี้ ส้นเท้าวางบนพื้นเต็มเท้า หลังจากนั้นยืน ขึ้น ท�ำซ�้ำ ๑๒ - ๒๐ ครั้ง - ย่อสลับข้าง ยืนตรงแล้วก้าวเท้าไปข้าง หน้า ๑ ก้าวพร้อมกับย่อเข่าลงดังรูป หลังจากนั้น ให้ยนื ท่าปกติและสลับเท้า ให้ทำ� ข้างละ ๑๒ - ๒๐ ครัง้
๔. การบริหารกล้ามเนื้อคอ ยืนตรงศีรษะอยู่แนวตรง ค่อยๆ เอียง ศีรษะไปทางขวามือจนกระทัง่ เกิดตึงคอด้านซ้าย มือให้นาน ๑๐ - ๓๐ วินาที หลังจากนั้นกลับ ท่าตรงแล้วเอียงศีรษะไปทางซ้ายจนตึงด้านขวา ๑๐ - ๓๐ นาที จ�ำไว้วา่ ก่อนเปลีย่ นท่าต้องกลับ มาท่าตรงก่อน
28
๕. การบริหารข้อมือ การยื ด กล้ า มเนื้ อ นิ้ ว มื อ โดยการคว�่ ำ มือขวา มือซ้ายวางไว้บนปลายนิ้วมือขวา ให้นิ้ว มือขวาขยับขึ้นขณะที่มือซ้ายกดลงออกแรงต้าน กัน และกลับกันให้ตงั้ นิว้ มือขวาและกดนิว้ มือขวา ลงต้านแรงของมือซ้าย ให้ท�ำข้างละ ๕ ครั้ง การบริหารท่านี้จะท�ำให้การเคลื่อนไหว ของข้อมือและนิว้ ดีขนึ้ ให้มอื ซ้ายจับข้อมือขวา ให้ หมุนข้อมือขวาอย่างช้าๆ ๕ รอบและให้หมุนกลับ ทิศ ๕ รอบ ให้หมุนข้อมือซ้ายเหมือนข้อมือขวา
การเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่ การเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่ เป็นการเคลื่อนไหวที่ร่างกายจากที่หนึ่งไปยัง อีกที่หนึ่ง เช่น ๑. การเดิน การเดินคือ การเคลื่อนไหวของขา ๒ ข้าง สลับกันอย่างเป็นจังหวะและมีการเคลื่อนไหวของ ล�ำตัวเพื่อให้ร่างกายเคลื่อนไปข้างหน้าอย่างเป็น ธรรมชาติ 29
๒. การวิ่ง การวิง่ เป็นการเคลือ่ นทีโ่ ดยใช้เท้าก้าวไปข้าง หน้าสับกันอย่างรวดเร็ว เป็นการออกก�ำลังกายที่ ต้องออกแรงมาก
๓. การกระโดด การกระโดด
๔. การกลิ้งตัว ให้นักเรียนนอนหงายเหยียดตัว เท้าทั้งสองข้างชิดกัน แขนทั้งสองแนบลาตัว หรือเหยียดขึน้ เหนือศีรษะ และพยายามกลิง้ ตัวไปทางด้านข้างให้ตรงทีส่ ดุ เท่าทีท่ ำ� ได้ โดยหันศีรษะไปในทิศทางที่จะไป
การเคลื่อนไหวที่ใช้อุปกรณ์ เป็นการเคลื่อนไหวหรือออกก�ำลังกายโดยมีอุปกรณ์ ประกอบ ๑. การจับ การเคลือ่ นไหวโดยการจับมีหลาย แบบ เช่น การใช้ดัมเบล์ในการบริหาร กล้ามแขนเป็นต้น 30
๒. การโยน ให้ยืนห่างกันแล้วส่งบอลให้กัน อาจ จะโยนให้กันหรือให้บอลกระเด้งพื้น
๓. การเตะ การเตะเป็นการออกก�ำลังกายอย่างหนึง่ ที่ต้องใช้อุปกรณ์ประกอบ เช่น ลูกบอล
เกมแสนสนุก เกมเบ็ดเตล็ด เป็นลักษณะเกมง่ายๆ จะเน้นความสนุกสนาน มีจุดหมายเพื่อ ฝึกความว่องไวและสร้างเสริมทักษะการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย เพื่อให้ เกิดทักษะความช�ำนาญและความคล่องตัว ๑. กาฟักไข่ วิธีการเล่น บางแห่งเรียกว่า “ชิงไข่เต่า” ผูเ้ ล่นเป็นอีกาหรือเต่าจะเข้าไปอยูใ่ นวงกลมทีข่ ดี ไว้ คนอืน่ ๆอยูน่ อกวงกลม พยายามแย่งเอาก้อนหินทีส่ มมุตวิ า่ เป็นไข่มาให้ได้ อีกาหรือ เต่าจะปัดป่ายแขนขาไปมา ถ้าโดนผูใ้ ดผูน้ นั้ จะต้องมาเล่นเป็นอีกาแทนทันที แต่ถา้ ไข่ 31
ถูกแย่งหมด อีกาหรือเต่าจะต้องไปตามหาไข่ที่ผู้ อืน่ ซ่อนไว้ หากหาไม่พบจะถูกจูงหูไปหาไข่ทซี่ อ่ น ไว้ เป็นการลงโทษ
๒. รีรีข้าวสาร วิธีการเล่น ให้ผเู้ ล่นสองคน ใช้สองมือจับกัน แล้วยกโค้ง ขึ้นเสมือนซุ้มประตู ผู้เล่นที่เหลือเอามือจับ เอวเดินเป็นแถวลอดประตูนั้นไปพร้อมกับ ร้องว่า “รีรขี า้ วสาร สองทะนานข้าวเปลือก (เด็กน้อยตาเหลือก) เลือกท้องใบลาน คด ข้าวใส่จาน เก็บเบี้ยใต้ถุนร้าน พานเอาคนข้างหลังไว้” เมื่อถึงค�ำสุดท้าย ซุ้มประตูก็ จะลดมือลง กักตัวผู้เล่นที่เดินผ่านมา ผู้เล่นที่ถูกกักตัวจะถูกคัดออก หรืออาจจะถูก ลงโทษด้วยการให้ร�ำหรือท�ำท่าทางอะไรก็ได้ ๓. ชักเย่อ วิธีการเล่น ใช้เชือกเส้นใหญ่ยาวพอประมาณ กับจ�ำนวนผู้เล่น แบ่งผู้เล่นเป็นสองฝ่าย มี เส้นแดนตรงกลาง เมือ่ สัญญาณเริม่ ทัง้ สอง ฝ่ายจะเริม่ ออกแรงดึงเชือก โดยพยายามดึง ฝ่ายตรงข้ามให้เข้ามาในแดนของตน หากผู้ แข่งขันเป็นชายหนึง่ ฝ่ายและหญิงฝ่ายหนึง่ 32
อาจจะก�ำหนดให้ฝ่ายหญิงมีจ�ำนวนมากกว่าชายก็ได้ เป็นการละเล่นไทยสอนให้รู้จัก ความสามัคคีและเป็นการออกก�ำลังกายไปในตัวด้วย ๔. งูกินหาง วิธีการเล่น การละเล่นนี้ต้องมีพ่องูแม่งู ส่วนผู้เล่นอื่นๆ เป็นลูกงู เอามือจับเอวแม่งูเป็นแถวยาว เริ่ม เล่นด้วยการสนทนาระหว่างแม่งกู บั พ่องู เมือ่ สนทนาจบพ่องูจะพยายามไล่จบั ลูกงู ถ้าแตะ ถูกลูกงูคนใด คนนั้นจะต้องออกมาจากแถว แม่งจู ะต้องปกป้องลูกงู การหนีของลูกงูตอ้ ง ไม่ให้ขาดตอนจากกัน ต้องเลื้อยให้สวยงาม เป็นกระบวนเหมือนงู ๕. ลิงชิงหลัก วิธีการเล่น
เลือกผู้เล่นคนหนึ่งสมมุติว่าเป็นลิง ไม่มีหลัก ยืนอยู่กลางวง ผู้เล่นที่เหลือ ยืนเกาะหลักของตน (ใช้คนสมมุติเป็น หลักก็ได้) อยู่รอบวง กติกาคือผู้เล่น เป็นลิงมีหลักจะต้องสลับหลักเรื่อยๆ ลิงตัวที่ไม่มีหลักก็จะต้องพยายามแย่ง หลักของตัวอื่นให้ได้ ถ้าวิ่งเร็วกว่าก็จะ ได้หลักไปครอง ลิงที่ช้ากว่าก็จะกลายเป็นลิงชิงหลัก คอยแย่งหลักคนอื่นต่อไป
33
๖. มอญซ่อนผ้า วิธีการเล่น มีผ้า ๑ ผืน เป็นอุปกรณ์การเล่น จับไม้สนั้ ไม้ยาว เลือกคนทีเ่ ป็นมอญ คน อื่นๆ นั่งล้อมวง คนที่เป็นมอญถือผ้าไว้ ในมือ เดินวนอยูน่ อกวง คนทีน่ งั่ ล้อมวง อยู่จะร้องเพลง ระหว่างนั้นคนที่เป็น มอญจะทิ้งผ้าไว้หลังใครก็ได้ แต่ต้อง พรางไว้เป็นว่ายังถือผ้าอยู่ เมือ่ เดินกลับ มา ผ้ายังที่อยู่เดิม ก็หยิบผ้าไล่ตีผู้อื่น ผู้ เล่นนั้นต้องวิ่งหนีไปรอบๆ วง แล้วจึงนั่งได้ ผู้เป็นมอญจะเดินวนต่อไปหาทางวางผ้า ให้ผู้อื่นใหม่ ถ้าใครรู้สึกตัวคล�ำพบผ้าจะวิ่งไล่ตีมอญไปรอบวง ๑ รอบ มอญต้องรีบวิ่ง หนีมานั่งแทนที่ คนไล่ก็ต้องเป็นมอญแทน โดยมีบทร้องประกอบ คือ “มอญซ่อนผ้า ตุ๊กตาอยู่ข้างหลัง ไว้โน่นไว้นี่ ฉันจะตีก้นเธอ” ๗. เดินกะลา วิธีการเล่น เอาเชือกเส้นหนึ่งยาวประมาณ ๑ วา ร้อยกะลามะพร้าว ๒ อัน แล้วผู้เล่นขึ้น ไปยืนบนกะลามะพร้าว โดยใช้นวิ้ หัวแม่ เท้ากับนิ้วชี้หนีบเส้นเชือกเอาไว้ทั้ง ๒ เท้า (เหมือนกับหนีบรองเท้าฟองน�้ำ) เมื่อเริ่มเล่น ทุกคนยืนอยู่ที่เส้น พอได้ ยินเสียงสัญญาณให้รีบเดินไปที่เส้นชัย ใครถึงก่อนถือว่าชนะ 34
หน่วยการเรียนรู้ที่
๔
สุขภาพและการป้องกันโรค ตัวชี้วัด ๑. ปฏิบัติตนตามหลักสุขบัญญัติแห่งชาติตามค�ำ แนะน�ำ ๒. บอกอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นกับตนเอง ๓. ปฏิบัติตนตามค�ำแนะน�ำเมื่อมีอาการเจ็บป่วย
สาระเกริ่นนำ� การสร้างเสริมสุขภาพ คือ ควบคุมพฤติกรรมของตนเองให้เหมาะสม รวม ไปถึงการปรับสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการมีสุขภาพที่ดี และ การป้องกันโรค คือ การ กระท�ำ หรืองดกระท�ำ บางสิ่งบางอย่างเพื่อไม่ให้เกิดการเจ็บป่วย หรือเป็นโรคแล้ว และการป้องกันไม่ให้กลับเป็นซ�้ำในกรณีที่หายจากการเจ็บป่วยเป็นโรคแล้ว 35
สุขบัญญัติแห่งชาติ สุขบัญญัติแห่งชาติ คือ ข้อก�ำหนดที่เด็กและเยาวชน ตลอดจน ประชาชนทั่วไปพึงปฏิบัติอย่างสม�่ำเสมอจนเป็นนิสัย เพื่อให้มีสุขภาพดี เกี่ยวข้องกับเรื่องอาหาร ออกก�ำลังกาย อนามัยสิ่งแวดล้อม
สุขบัญญัติแห่งชาติข้อที่ ๑ : ดูแลรักษาร่างกายและของใช้ให้สะอาด อวัยวะของเราแต่ละอย่าง มีประโยชน์ตอ่ เรา ช่วยให้เราสามารถท�ำสิง่ ต่างๆได้ เช่น ตาช่วยมองเห็น หูช่วยให้เราได้ยินเสียงต่างๆ จมูกช่วยให้เราได้กลิ่น มือ ช่วยในการหยิบถือสิ่งของ เป็นต้น
36
การดูแลรักษาร่างกายและของใช้ให้สะอาดสามารถท�ำได้ดังนี้
๒
37
ท่านนบีมุฮัมมัด ได้กล่าว ความว่า “สูเจ้าจงแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่ดีๆ แท้จริงอัลลอฮ์ไม่ทรงรักสิ่งที่สกปรกโสมม” (บันทึกโดยอะบูดาวูด และ อะหฺมัด) ส�ำหรับความสะอาดต่ออุปกรณ์ ภาชนะและเครือ่ งมือเครือ่ งใช้ การ หมัน่ ดูแลและรักษาความสะอาดอุปกรณ์ ภาชนะบรรจุอาหาร และเครือ่ ง ใช้ตา่ งๆเป็นเรือ่ งทีส่ ำ� คัญเช่นกัน ในหะดีษบทหนึง่ ได้กล่าวถึงการทีส่ นุ ขั มา เลียภาชนะ ท่านนบีมุฮัมมัด ก็ได้กล่าวความว่า “ การท�ำความสะอาด ภาชนะของคนหนึง่ คนใดในหมูพ่ วกท่าน เมือ่ สุนขั เลียภาชนะ ดังกล่าวนัน้ คือเขาจะต้องล้างภาชนะทั้งหมด เจ็ดครั้ง ครั้งที่หนึ่งจากเจ็ดครั้งนั้นเป็น น�้ำปนดิน” (บันทึกโดยมุสลิม)
สุขบัญญัติแห่งชาติข้อที่ ๒ : รักษาฟันให้แข็งแรงและแปรงฟันทุกวัน อย่างถูกต้อง สามารถทำ�ได้ดังนี้
๒
38
๖
สุขบัญญัติแห่งชาติข้อที่ ๓ : ล้างมือให้สะอาดก่อนกินอาหารและ หลังขับถ่าย
มือเป็นอวัยวะที่ใช้จับ ใช้ท�ำสิ่งต่างๆ สารพัด เราจึงควรระวังและรักษามือให้ สะอาดอยู่เสมอ ดังนั้น ควรล้างมือบ่อยๆ จนเป็นนิสัย ดังนี้ - ก่อนเตรียมและปรุงอาหาร - ก่อนรับประทานอาหาร - หลังหยิบหรือจับสิ่งสกปรก จับต้องสัตว์เลี้ยง - หลังจากการขับถ่าย - หลังกลับจากโรงเรียนหรือกลับจากนอกบ้าน
39
การล้างมือให้สะอาดอย่างถูกวิธี ตามขั้นตอนดังนี้ ฟอกฝ่ามือทั้งซ้ายและขวา
ฟอกปลายนิ้วมือลงมา ทีข่ อ้ มือทัง้ หน้าและหลัง
ฟอกผ่ามือทัง้ ง่ามนิว้ มือ หน้า-หลัง ซ้ายและขวา
ฟอกกรอบนิ้วมือทั้งซ้าย และขวา
ฟอกบริเวณฝ่ามือด้วย ปลายนิ้วทั้งซ้าย ขวา
ฟอกบริเวณฝ่ามือด้วยปลายนิ้ว ด้านขวา 40
สุขบัญญัตแิ ห่งชาติขอ้ ที่ 4 กินอาหารสุกสะอาดปราศจากสารอันตราย และหลีกเลี่ยงอาหารรสจัดและสีฉูดฉาด ปฏิบัติได้ดังนี้ เลือกกินอาหารที่สะอาด ไม่ ใส่สีฉูดฉาด และกินอาหารให้ครบ ๕ หมู่ ให้หลากหลาย กินผักให้มาก และกินผลไม้ เป็นประจ�ำ
ดื่มนมทุกวันๆ ละ ๒-๓ แก้ว
ดื่มน�้ำสะอาดอย่างน้อยวัน ละ ๘ แก้ว หลีกเลี่ยงการกินอาหารรส หวานจัด เค็มจัด ขนมกรุบกรอบ
41
ส�ำหรับความสะอาดในเรื่องอาหาร อิสลามถือว่าอาหารที่หะลาล และมีประโยชน์จะต้องเป็นอาหารที่อัลลอฮ์ ทรงอนุมัติให้บริโภคได้ และต้องไม่ปนเปือ้ นสิง่ ทีเ่ ป็นนะญิส(สิง่ สกปรก) อัลลอฮ์ ด้ทรงรับสัง่ ให้ บริโภคอาหารทีม่ ลี กั ษณะหะลาล(ทีอ่ นุมตั )ิ และฏ็อยยิบนั (ทีด่ มี ปี ระโยชน์) ความว่า “โอ้บรรดาศรัทธาชนทัง้ หลาย พวกเจ้าจงบริโภคสิง่ ทีเ่ ราได้ให้เป็น ปัจจัยยังชีพแก่พวกเจ้าจากสิ่งดี ๆ ทั้งหลาย และพวกเจ้าทั้งหลายจงขอบ คุณอัลลอฮ์เถิด หากว่าพวกเจ้าเป็นผู้ที่ภักดีต่อพระองค์” (ซูเราะฮ์อัลบะ เกาะเราะฮ อายะฮที่ ๑๗๒)
สุขบัญญัติแห่งชาติข้อที่ ๕ : งดสูบบุหรี่ สุรา ยาเสพติด การพนันและ การสำ�ส่อนทางเพศ ดังนี้
42
สุขบัญญัตแิ ห่งชาติขอ้ ที่ ๖ : สร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวให้อบอุน่
การสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวให้อบอุ่นสามารถปฏิบัติได้ ดังนี้ ๑. มีความรับผิดชอบต่อหน้าทีท่ มี่ ใี นครอบครัว ๒. ให้ ค วามรั ก และความห่ ว งใยต่ อ กั น ใน ครอบครัว ๓. ท� ำ กิ จ กรรมร่ ว มกั น เพื่ อ สร้ า งความ สนุกสนานและความสุขในครอบครัว
สุขบัญญัติแห่งชาติข้อที่ ๗ : ป้องกัน อุบัติภัยด้วยการไม่ประมาท
สามารถปฏิบัติได้ดังนี้ ๑. ระมัดระวังเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ ในโรงเรียนและที่ท�ำงาน ในการเดินทาง ในการเล่นกีฬาและท�ำกิจกรรมต่างๆ ภายในบ้าน ๒. หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่เกิดจากความคึกคะนอง
สุขบัญญัติแห่งชาติข้อที่ ๘ : ออกก�ำลังกายอย่างสม�่ำเสมอและตรวจ สุขภาพประจ�ำปี
๑. เคลื่อนไหวร่างกายเป็นประจ�ำอยู่เสมอ ๒. ออกก�ำลังกายหรือเล่นกีฬาเป็นประจ�ำ ๓. ตรวจสุขภาพประจ�ำปีอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง
43
สุขบัญญัติแห่งชาติข้อที่ ๙ : ทำ�จิตใจให้ร่าเริงแจ่มใสอยู่เสมอ
๑. ท� ำ กิ จ กรรมเพื่ อ เสริ ม สร้ า ง ความร่าเริงแจ่มใส่ให้กับตัวเองอยู่เสมอ ๒. มองโลกในแง่ดี คิดในทางบวก รู้จักการให้อภัย ๓. เมื่อมีปัญหาที่ไม่สบายใจควร หาทางผ่อนคลายหรือปรึกษาญาติผู้ใหญ่
สุขบัญญัติแห่งชาติข้อที่ ๑๐ : มีจิตสำ�นึกต่อส่วนรวม ร่วมสร้างสรรค์ สังคม
๑. ดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในบ้าน ที่ โรงเรียน ที่ท�ำงาน ชุมชน และที่สาธารณะ ต่างๆ ๒. ใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดและ คุ้มค่า ๓. ลดและหลีกเลีย่ งการใช้วสั ดุทกี่ อ่ ให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม ๔. ปฏิบตั ติ นเป็นตัวอย่างทีด่ ตี อ่ การ ท�ำประโยชน์ต่อส่วนรวม อิสลามถือว่าความสะอาดเป็นส่วนหนึ่งของการศรัทธา ดังนั้นการดูแลรักษา ร่างกาย ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม และของใช้ให้สะอาดตามหลักสุขบัญญัตินั้นเป็น กิจวัตรประจ�ำวันของมุสลิมทุกคนที่ต้องปฏิบัติ ดังนี้ ๑. การช�ำระล้างบางส่วนก่อนเข้านอน ๒. ล้างมือหลังจากตื่นนอน ๓. ท�ำการวุฎูอฺเมื่อต้องการละหมาด โดย เฉพาะการแปรงฟันทุกครั้งก่อนจะท�ำการ 44
ละหมาด ๔. ท�ำความสะอาดเครื่องนุ่งห่ม ๕. อาบน�้ำในวาระต่างๆ (เป็นหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติ) ๖. ช�ำระล้างเมื่อขับถ่าย ๗. ขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย โกนขนใต้ร่มผ้า ถอนขน รักแร้ ตับเล็บ ขลิบหนวด ๘. จัดผมให้เรียบร้อย ๙. สัง่ ให้ทำ� ความสะอาดทีอ่ ยูอ่ าศัยของเขาและภูมทิ ศั น์โดยรอบ ๑๐. ท�ำความสะอาด ภาชนะของใช้ เมื่อมีสัตว์ ที่สกปรกหรือสัตว์ที่เป็น พาหะน�ำเชื้อโรคมาเลีย ภาชนะ
อาการเจ็บป่วยที่ควรรู้ อาการเจ็บป่วยต่างๆ โดยทั่วไปที่นักเรียนควรรู้ มีดังนี้
45
ทำ�อย่างไรเมื่อมีอาการเจ็บป่วย เมื่อมีอาการเจ็บป่วยต่างๆ นักเรียนควรปฏิบัติตนดังนี้
46
47
หน่วยการเรียนรู้ที่
๕ ปลอดภัยไว้ก่อน
ตัวชี้วัด ๑. ระบุสิ่งที่ท�ำให้เกิดอันตรายที่บ้านโรงเรียน และ การป้องกัน ๒. บอกสาเหตุและการป้องกันอันตรายที่เกิดจาก การเล่น ๓. แสดงค�ำพูดหรือท่าทางขอความช่วยเหลือจากผู้ อื่นเมื่อเกิดเหตุร้ายที่บ้านและโรงเรียน
สาระเกริ่นนำ� อุบัติเหตุ คือ เหตุการณ์ที่อุบัติ เกิดขึ้น โดยไม่คาดคิด ไม่มีใครที่สามารถ จะรู้ได้ จะเกิดที่ไหนเมื่อไหร่ และผลของ อุบัติเหตุจะร้ายแรงมากแค่ไหน เกิดได้ จากสาเหตุหลายประการ ไม่ว่าจะเกิด จากความประมาทของตนเอง หรือจาก คนอืน่ ๆ หรือจากเหตุการณ์ทางธรรมชาติ เช่น ไฟไหม้ป่า น�้ำท่วม 48
อุบัติเหตุภายในบ้าน ในแต่ละวันเรามีกจิ กรรมต่างๆ มากมาย ถ้าหากเรามีความประมาท ขาดความ ระมัดระวัง ก็อาจท�ำให้ได้รบั อุบตั เิ หตุได้ เพราะอิสลามสอนให้เราระมัดระวังหลีกเลีย่ ง สิ่งที่จะก่อให้เกิดอุบัติเหตุ ก่อนออกจากบ้านควรกล่าวดุอาอ์ ดังนี้
ความว่า “ด้วยพระนามของอัลลอฮ์ ข้าพระองค์ขอมอบหมาย กิจการงานทั้งปวงต่ออัลลอฮ์ ไม่มีอ�ำนาจและพละก�ำลังใดๆ นอก จากอัลลอฮ์” จะมีเสียงกล่าวแก่เขาว่า “ท่านได้รับความพอเพียง แล้ว ท่านได้รับความคุ้มครองแล้ว” และชัยฏอนก็จะหนีห่างออก จากเขาไป”
49
อุบัติเหตุในบ้าน มักเกิดจากการมีพฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัยในบ้าน ความ ประมาทและขาดความรอบคอบของผู้อยู่อาศัย
สาเหตุของอุบัติเหตุภายในบ้าน การเคลื่อนไหวไม่ระวัง วิ่งเล่นในบ้าน วิ่งขึ้นลงบันได
ใช้ไฟฟ้าอย่างไม่ระวัง ใช้มือหรือสิ่งของแหย่ปลั๊กไฟ เสียบปลั๊กไฟขณะมือเปียก เปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าทิ้งไว้ ใช้เครื่องใช้หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่ช�ำรุด
ใช้สิ่งของอย่างไม่ถูกวิธี น�ำไม้ขีดไฟมาจุดเล่น เปิดแก๊สทิ้งไว้ ใช้ของมีคมอย่างไม่ระวัง
วิธีป้องกันอุบัติเหตุภายในบ้าน
พฤติกรรมทีไ่ ม่ปลอดภัย อาจท�ำให้เราได้รบั อันตรายจนเสียชีวติ ดังนัน้ นักเรียน ควรเรียนรู้ วิธีป้องกันอันตราย ดังนี้ ๑. เราไม่ควรวางของเล่นทิง้ ไว้เกลือ่ นกลาด โดยเฉพาะบริเวณบันได เพราะอาจ เผลอเดินเหยียบและลื่นหกล้มได้ 50
๒. เราไม่ควรเล่นของมีคม เช่น มีด กรรไกร เพราะ อาจบาดและท�ำให้เป็นแผล ๓. เราไม่ควรเล่นวัตถุมีไฟ เช่น ไม้ขีดไฟ เทียนไข เพราะอาจท�ำ ให้เกิดไฟไหม้ได้ ๔. เราไม่ควรใช้นวิ้ มือแหย่ปลัก๊ ไฟ หรือเสียบปลัก๊ ไฟ ขณะมือเปียก เพราะจะถูกไฟฟ้าดูดได้ ๕. เราไม่ควรวิง่ เล่นในบ้าน เพราะอาจชนคนอืน่ หรือ สิ่งของได้ ๖. เราไม่ควรปีนป่ายขึ้นไปบนที่สูง เพราะอาจพลัด ตกออกมาได้ ๗. เราไม่ควรทิง้ เศษแก้วหรือเศษกระเบือ้ งไว้บนพืน้ เพราะอาจเผลอไปเหยียบและบาดเท้าเราได้ ๘. ถ้าพบเครือ่ งใช้ชำ� รุด ควรแจ้งให้ผใู้ หญ่ทราบทันที
51
อุบัติเหตุในโรงเรียน
52
อุบัติเหตุในโรงเรียนส่วนใหญ่อาจเกิดจากสาเหตุ ดังนี้
53
วิธีขอความช่วยเหลือเมื่อเกิดอุบัติเหตุภายในโรงเรียน ร้องขอความช่วยเหลือ เมื่อมีอุบัติเหตุเกิดขึ้น กับนักเรียน หรือกับคนอื่น ให้คุณครูหรือผู้ใหญ่ ทราบทันที หากมีอาการบาดเจ็บเกิดขึ้นกับนักเรียนหรือกับ คนอืน่ ให้นกั เรียนบอกรายละเอียดอาการและเล่า สาเหตุที่ท�ำให้เกิดขึ้นทั้งหมดให้ชัดเจน
อันตรายจากการเล่น อุบตั เิ หตุเกิดขึน้ ได้ทกุ ทีแ่ ละทุกเมือ่ ดังนัน้ แล้ว การป้องกันอุบตั เิ หตุจงึ เป็นหน้าที่ ของทุกคน ต้องคิดอยูเ่ สมอว่า เราต้องช่วยกันป้องกันอุบตั เิ หตุไม่วา่ จะเป็นช่วงเวลาใด และสาเหตุที่มักจะเกิดขึ้นกับนักเรียนส่วนใหญ่อาจมาจาก การเล่น
สาเหตุของอุบัติเหตุจากการเล่น ๑. การเล่นที่ไม่ถูกวิธี ๒. เล่ น ในบริ เวณที่ เ สี่ ย งต่ อ การเกิ ด อันตราย เช่น บริเวณที่มืดๆปลอดคน บริเวณที่รกร้าง 54
๓. น�ำสิ่งที่เป็นอันตรายมาเล่น ๔. การเล่นที่รุนแรงเกินไป เล่นผาดโผน ๕. ไม่เก็บของเล่นให้เป็นระเบียนเรียบร้อย
วิธีป้องกันอันตรายจากการเล่น ๑. ควรเล่นในบริเวณที่ปลอดภัย ไม่ควรเล่นในบริเวณที่อันตราย ๒. ต้องปฏิบตั ติ ามกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด ปฏิบตั ติ ามกฎกติกา ของเกมต่างและเล่นเครื่องเล่นต่างๆอย่างถูกวิธี ๓. การหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัย ไม่ควรเล่นกันอย่าง รุนแรงและผาดโผน ไม่หยอกล้อหรือแกล้งกันขณะเล่น ๔. มีระเบียบวินัยและความรับผิดชอบ ควรเก็บของเล่นให้เป็น ระเบียนเรียบร้อย เมื่อเล่นเสร็จแล้ว ๕. ไม่น�ำสิ่งที่เป็นอันตรายมาเล่นเช่น ของมีคม ๖.ตรวจสภาพอุปกรณ์หรือเครื่องเล่นก่อนเล่นทุกครั้งเพื่อความ ปลอดภัย หากพบว่าอุปกรณ์หรือเครื่องเล่นมีการช�ำรุดเกิดขึ้น ควรรีบแจ้งให้คุณครูหรือผู้ใหญ่ให้ทราบในทันที
55
บรรณานุกรม หนังสือ ภาษาไทย กนกธร ปิยธำ�รงรัตน์. 2545. ระบบอวัยวะของร่างกาย. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์. ชูชาติ รอดถาวรและภาสกร บุญนิยม. ม.ป.ป. สุขศึกษาและพลศึกษา ป.1. กรุงเทพฯ : ไทยร่มเกล้า จำ�กัด. มนัส ยอดคำ�. 2548. การควบคุมอุบัติภัยและการส่งเสริมความปลอดภัย. กรุงเทพฯ : โอเอสพริ้นติ้ง เฮ้าส์. วิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำ�นักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ, สำ�นัก. 2551. ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษา และพละศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย วีนัส สีฬหกุล. 2545. โภชนาศาสตร์สำ�หรับนักศึกษาพยาบาล เล่ม 1. กรุงเทพฯ : บุญสิริการพิมพ์. สมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ. 2541. พระมหาคัมภีร์อัลกุรอานพร้อมคำ�แปลภาษาไทย. ซาอุดีอาราเบีย : ศูนย์กษัตริย์ฟาฮัดเพื่อการพิมพ์อัลกุรอาน, มาดีนะห์ : ซาอุดีอารเบีย สุมนา สวัสดิ์-ชูโต. 2544. หมอฟัน. สนุกอ่าน : นนทบุรี. เสาวนีย์ จักรพิทักษ์. 2546. หลักโภชนาการปัจจุบัน. กรุงเทพฯ : ไทยพัฒนาพานิช. Kenneth S. Trump. 2546. กลยุทธ์ในการจัดการกับสวัสดิภาพและความปลอดภัยในโรงเรียน. กรุงเทพฯ : เอ็กซเปอร์เน็ทบุคส์. Susan Meredith and Robye Gee. 2550. เพศศึกษา:เรื่องน่ารู้. กรุงเทพฯ : ปาเจรา. ภาษาอาหรับ อัลบุคอรีย์. 1986. เศาะฮีฮฺ อัลบุคอรีย์ มะอา ฟัตฮ อัล บารีย.์ พิมพ์ครั้ง1, ไคโร :สำ�นักพิมพ์ ดารุลร็อยยาน ลิตตุร็อษ. มุสลิม, 1997. เศาะฮีฮฺมุสลิม. พิมพ์ครั้งที่ 4, เบรุต : สำ�นักพิมพ์ ดารุลมะอฺริฟะฮฺ. อะบูดาวูด, 1998. สุนันอะบีดาวูด มะอา เอานิลมะอฺบูด. พิมพ์ครั้ง1, เบรุต : สำ�นักพิมพ์ ดารุลกุตุบ อิลมียะฮฺ. อิบนุหิบบาน. 1993. เศาะฮีฮ อิบนุหิบบาน. พิมพ์ครั้ง 2, เบรุต : มุอัสสะสะฮ อัรริสาละฮ์. อัฏเฏาะบะรอนีย์. 1993. อัลมุอญัม อัล เอาวสัฏ. ไคโร: ดาร อัลฆะรอมัยน.
อินเตอร์เน็ต กรแก้ว สุคันธวรัตน์. มปป. การดูแลรักษาอวัยวะภายนอกของตนเอง. (ออนไลน์) สืบค้นจาก: http://www.kroobannok.com/board_view.php?b_id =7231&bcat_id=16. [13 เมษายน 2554 ]. การสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว. (ออนไลน์). สืบค้นจาก: http://www.thaigoodview.com/ library/contest2551/health03/16/2/TGV/7.html [23 กุมภาพันธ์ 2554]. ความภาคภูมิใจในตนเอง. (ออนไลน์) สืบค้นจาก: http://www.yuwaprasart.com87.html [9 มิถุนายน 2554]. ความรู้เกี่ยวกับช่องปากและฟัน. (ออนไลน์) สืบค้นจาก: http://info.pattaya.go.th/km/publichealth/DocLib33/Forms/Knowledge [21 มีนาคม 2554]. ระบบต่างๆ ในร่างกาย. (ออนไลน์) สืบค้นจาก: http://www.wt.ac.th/~somyos/lang/lang0000002.html. [ 9 เมษายน 2554] ทีมงานทรูปลูกปัญญา.2552. เพศชายและเพศหญิง. (ออนไลน์) สืบค้นจาก: http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content id=1785 9. [ 5 มีนาคม2554]. ทีมงานทรูปลูกปัญญา. 2552. เคลื่อนไหวร่างกาย. (ออนไลน์). สืบค้นจาก: http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content id=2080 [ 7 มีนาคม 2554]. ทำ�อย่างไรเมื่อเจ็บป่วย. (ออนไลน์). สืบค้นจาก: http://www.paktho.ac.th/student/diseases/sick.html [9 มกราคม 2554] ธีระนันท์ บิลตะเย็บ. 2553. เส้นทางแห่งความรักความผูกพัน(ครอบครัว). (ออนไลน์). สืบค้นจาก: http://www.volunteerspirit.org/blog/teeranan/. [9 เมษายน 2554]. ประโยชน์ บุญสินสุข. 2528. การเคลื่อนไหวของร่างกายมนุษย์.(ออนไลน์). สืบค้นจาก: http://www.doctor.or.th/node/6774. [ 21 มิถุนายน 2554]. พันตำ�รวจโท นายแพทย์พิพัฒน์ ชูวรเวช. อุบัติเหตุในโรงเรียน (ออนไลน์). สืบค้นจาก: http://guru.sanook.com/search/knowledge_search.php? [ 3 เมษายน 2554]. อุบัติเหตุภายในบ้าน.(ออนไลน์). สืบค้นจาก: http://snr.ac.th/elearning/kamtorn/section4.1.htm [ 5 มิถุนายน 2554]. Kraengkai Kamonwech. 2545. อวัยวะภายนอก.(ออนไลน์). สืบค้นจาก: http://www.rb.ac.th/student/digestive/b.htm. [ 12 มีนาคม 2554].