a day BULLETIN 561

Page 1

562 561 560

TODAY EXPRESS PRESENTS

22 OCT 2018

ARTIST BREATHE LIKE AN


02

CONTENTS

ISSUE 561 22 OCT 2018

PRESENTS

22 OCT 2018

ISSUE 561

562 561 560

TODAY EXPRESS

DATABASE กรุงเทพฯ เมืองท่องเทีย ่ ว อันดับหนึ่งของโลก 3 ปีซ้อน

THE CONVERSATION เข้าใจความงามของศิลปะ ผ่านลมหายใจและ ชีวิตจริงของศิลปินชั้นครู ‘ครูเล็ก’ - ภัทราวดี มีชธ ู น

ภายใต้รอยยิม ้ กว้างๆ และริมฝีปากสีแดงเข้มของ ‘ครูเล็ก’ ภัทราวดี มีชธ ู น ระหว่างการถ่ายภาพเพือ ่ ลงปก adB เราสังเกต เห็ น แววตาวิ บ วั บ เหมื อ นเด็ ก ตั ว เล็ ก ๆ ที่ เ ต็ ม ไปด้ ว ยความสนุก สดใส สดชื่น และมีชีวิตชีวา ใบหน้าที่มีริ้วรอยของวันเวลา แต่กลับไม่มีร่องรอยจากความคร�่ำเครียดให้ได้เห็น แต่เมื่อมอง กลับมาที่ตัวเอง กลับพบว่ารอยยิ้มแสนสดชื่นนั้นได้หายไปตาม ไอร้ อ นของแดดช่ ว งสาย แถมรอยเหี่ ย วย่ น ระหว่ า งหั ว คิ้ ว ก็ทักทายเป็นระยะๆ และเมื่อได้เวลาพักเบรกชั่วครู่ จึงสบโอกาสถามครูเล็ก ว่า “ท�ำไมถึงสดใสได้เบอร์นี้” ครูเล็กตอบสั้นๆ พร้อมรอยยิ้ม “เพราะอายุมากแล้ว” เราจึงแอบแซวครูเล็กด้วยประโยคค�ำถามว่า “เพราะอายุที่ มากขึ้น เลยท�ำให้ครูต้องเพิ่มสีสันให้ชีวิตด้วยการเปลี่ยนสีผม บ่อยๆ หรือเปล่า อย่างก่อนหน้านี้ยังเป็นสีแดงเข้มอยู่เลย วันนี้ สีนั้นหายไปไหนแล้ว” “การเปลี่ยนสีผมนี่มันสนุกดีนะ อย่างตอนสาวๆ หากจะ ย้อมสีผมก็ตอ ้ งกัดสีผมให้ออ ่ นลง เพือ ่ ให้ยอ ้ มสีอน ื่ ได้งา่ ย แต่ตอนนี้ ยิ่งสนุกกว่า เพราะว่าไม่ต้องเสียเวลากัดสีผมอีกต่อไป (หั ว เราะ) อยากจะท� ำ สี อ ะไรก็ ย้ อ มได้ ง่ า ย และเดี๋ ย วนี้ มี น�้ ำ ยาย้ อ มสี แ บบ แชมพู แค่สระก็ได้สท ี ต ี่ อ ้ งการ และก็ลา้ งออกได้งา่ ย เหมือนวันนี้ ที่ต้องสระสีออก เพื่อมาถ่ายปกนิตยสาร” ครูอธิบายราวกับว่าการเปลีย ่ นสีในแต่ละครัง ้ คือศิลปะบน ร่างกายอย่างหนึง ่ ทีส ่ ร้างสรรค์มาจากศิลปินคนหนึง ่ ด้วยความตั้งใจ ส่ว นเราหมดค�ำถามเรื่ องความสดใส แต่ ก ลั บ มี ค�ำถาม อื่นๆ อีกมากมายยังรอคอยถามจากครูเล็ก และคุณจะได้พบกับ ค�ำตอบเหล่านั้นผ่านตัวอักษรที่อยู่ถัดไปในอีกไม่กี่หน้านี้เอง

‘ครูเล็ก’ - ภัทราวดี มีชธ ู น

ARTIST BREATHE LIKE AN

THEY SAID 3 ผู้บริหารบริษัท เงินติดล้อ กับวิธีที่จะ ท�ำให้บริษัทหมุนต่อไปได้ ในโลกวันข้างหน้า

LIFE เติมแต่งจินตนาการกับ 3 นวัตกรรมสร้างสรรค์ จากกล่อง Tin Box Limited Edition จาก Federbräu

THE STORY OF STUFF อุปกรณ์การกินแบบพกพา สุดน่ารักและรักษ์โลก ของเจ้าของร้านสวนชัน ้ ๑ ‘it’s go green’

SPACE & TIME เดินเล่นบนพื้นที่แห่ง ยุคสมัย ใจกลาง มหานครโตเกียว

EDITOR’S NOTE บทบรรณาธิการ ทัศนคติตอ่ ชีวต ิ และ สังคมผ่านสายตา วุฒชิ ย ั กฤษณะประกรกิจ

ทีป ่ รึกษา สุรพงษ์ เตรียมชาญชัย บรรณาธิการทีป ่ รึกษา นิภา เผ่าศรีเจริญ บรรณาธิการผูพ ้ ม ิ พ์ผโู้ ฆษณา/บรรณาธิการบริหาร วุฒช ิ ย ั กฤษณะประกรกิจ บรรณาธิการบทความ ทรรศน หาญเรืองเกียรติ ปริญญา ก้อนรัมย์ กองบรรณาธิการ ศรัญญา อ่าวสมบัติกุล พัทธมน วงษ์รัตนะ ชยพล ทองสวัสดิ์ นักเขียน/ผู้ประสานงาน ตนุภัทร โลหะพงศธร บรรณาธิการภาพ คเชนทร์ วงศ์แหลมทอง หัวหน้าช่างภาพ กฤตธกร สุทธิกต ิ ติบต ุ ร ช่างภาพ ภาสกร ธวัชธาตรี รัชต์ภาคย์ แสงมีสน ิ สกุล ธนดิษ ศรียานงค์ บรรณาธิการศิลปกรรม พงศ์ธร ยิ้มแย้ม ศิลปกรรมอาวุโส สิริลักษณ์ ตะเภาหิรัญ ศิลปกรรม ฐิติชญา อนันต์ศิริภัณฑ์ อุษา นพประเสริฐ พิสูจน์อักษร หัสยา ตั้งพิทยาเวทย์ ศักดิ์สิทธิ์ ไม้ล�ำดวน พิสจู น์อก ั ษร/ผูด ้ แ ู ลสือ ่ ออนไลน์ ธมนวรรณ กัวหา ฝ่ายผลิต วิทยา ภูท ่ อง บรรณาธิการดิจต ิ อลคอนเทนต์ ภัทรพร บุญน�ำอุดม ฝ่ายสร้างสรรค์วด ิ โี อ วงศกร ยีด ่ วง กวินนาฏ หัวเขา ทีป ่ รึกษาฝ่ายโฆษณา ศรวณีย์ ศิรจิ รรยากุล ผูจ ้ ด ั การฝ่ายโฆษณา มนัสนันท์ รุง ่ รัตนสิทธิกล ุ 08-4491-9241 ผูช ้ ว่ ยผูจ ้ ด ั การฝ่ายโฆษณา ธนาภรณ์ ศรีจฬ ุ างกูล 08-1639-1929, พงศ์ธด ิ า อังศุวฒ ั นากุล 09-4415-6241, ณัฐวีณ์ ประมุขปฐมศักดิ์ 08-3922-9929 ฝ่ายโฆษณาอาวุโส ภรัณภพ สุขอินทร์ 08-9492-3444, ณัฐเศรษฐ ใหม่เมธี 08-1886-9569, เลขานุการฝ่ายโฆษณา อัจจิมา กาญจนสมทรัพย์ ฝ่ายธุรการ ศันสนีย์ สีเขียว ผู้ ผ ลิ ต บริ ษั ท เดย์ โพเอทส์ จ� ำ กั ด เลขที่ 33 ซอยศู น ย์ วิ จั ย 4 แขวงบางกะปิ เขตห้ ว ยขวาง กรุ ง เทพฯ 10310 ติ ด ต่ อ กองบรรณาธิ ก าร โทร. 0-2716-6900 อีเมล contact@adaybulletin.com เว็บไซต์ www.adaybulletin.com, www.daypoets.com ฝ่ายสมาชิก โทร. 0-2007-0155-7, www.godaypoets.com



04 เรื่อง

พัทธมน วงษ์รัตนะ กองบรรณาธิการ IG : itspattamai

DATA BA S E

ภาพ

อุษา นพประเสริฐ ศิลปกรรม IG : aadayy

ISSUE 561 22 OCT 2018

WORLD’S TOP DESTINATION CITY ​นับเป็นเรื่องน่าชื่นใจ ที่กรุงเทพฯ ครองแชมป์อันดับหนึ่งเมืองจุดหมายปลายทางของโลกติดต่อกันเป็นปีที่สาม จากผลส�ำรวจสุดยอดจุดหมายปลายทางโลกของ มาสเตอร์การ์ดฉบับที่ 7 ประจ�ำปี 2561 นอกจากนี้ อุตสาหกรรมการท่องเทีย ่ วไทยทีเ่ ติบโตอย่างต่อเนือ ่ ง ยังผลักดันให้ไทยกลายเป็นเพียงประเทศเดียวทีม ่ เี มืองท่องเทีย ่ ว ถึงสามแห่งติดอยู่ใน 20 อันดับต้นของโลกอีกด้วย

10

เมืองสุดยอดจุดหมายปลายทางของโลก 20.05

9.6% 20.05

19.83

19.7

3.0% 20.05

17.44

19.7

2.9% 20.05

15.79

19.7

5.5% 20.05

13.91

19.7

4.0% 20.05

13.13

19.7

4.1% 20.05

ที่มา : Mastercard Global Destination Cities Index, GDCI 2018

12.58

19.7

7.5% 20.05

11.93

19.7

1.6% 20.05

10.70

19.7

19.7% 20.05

9.54

19.7

6.1% 20.05

จำ�นวนนักท่องเทีย ่ ว ต่างชาติที่ค้างคืน ปี 2560 (ล้านคน)

3

19.7

คาดการณ์ ความเติบโต ในปี 2561

เป็นครั้งแรกที่ประเทศไทย มีเมืองติดโผ 20 อันดับเมือง สุดยอดจุดหมายปลายทางถึง 3 เมือง คือ กรุงเทพฯ (อันดับ 1) ภูเก็ต (อันดับ 12) และพัทยา (อันดับ 18)

4.7

กรุงเทพฯ ลอนดอน ปารีส ดูไบ

17,637

5,025

5.8

17,637

17,637

2.5

17,637

9,393

3.5

17,637

สิงคโปร์

4,282

4.3

17,637

4,072

8.3 นิวยอร์ก กัวลาลัมเปอร์

โตเกียว

17,637

5,058

5.5

17,637

5,682

6.5

17,637

อิสตันบูล โซล

5,682

3,547

5.8

17,637

5,944

4.2 1

ระยะเวลา พักแรมโดย เฉลี่ย (คืน)

5

17,637

2

3

4

ชาติที่เข้ามาเที่ยวในประเทศไทย มากที่สุด (ปี 2560) 1. จีน​ 2. มาเลเซีย​ 3. เกาหลี​ 4. ลาว​​ 5. ญี่ปุ่น​

9,805,753 คน ​3,354,800 คน​ ​1,709,070 คน​ ​1,612,647 คน​ ​1,544,328 คน

5

การจับจ่าย ใช้สอยโดยเฉลี่ย (บาทต่อวัน)

873,837 million

ในปี 2560 กรุงเทพฯ ทำ�รายได้จาก การท่องเทีย ่ วมากถึง 873,837 ล้านบาท



บ้านหนองบัว

ที่ไม่ได้มีดีแค่จิตรกรรมฝาผนัง จิรัฏฐ์ ประเสริฐทรัพย์

เมื่อเอ่ยถึง “บ้านหนองบัว” อ�ำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน “ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี” ภายใต้โครงการ “ไทยนิยม ยั่งยืน” สิ่งแรกที่หลายคนคิดถึงก็คือจิตรกรรมฝาผนังภายในวัดหนองบัว จิตรกรรมที่ยังคง ความสมบูรณ์ ฉูดฉาด และงดงามไม่แพ้จต ิ รกรรมชุดปูม ่ า่ นย่าม่าน (ภาพชายหนุม ่ กระซิบรัก) ของวัดภูมน ิ ทร์ ในอ�ำเภอเมืองน่านแต่อย่างใด แม้ ล� ำ พั ง แค่ จิ ต รกรรมฝาผนั ง ในวั ด หนองบั ว จะมีเรื่องเล่าที่สะท้อนประวัติศาสตร์ให้ชมอย่างเพลินตา ทั้งชาดกเก่าแก่อย่างเรื่องจันทรคราสและพุทธประวัติ ไปจนถึงภาพประดับอันเป็นสิ่งแปลกล�้ำแห่งโบราณสมัย อย่างเรือกลไฟและกองทหารจากตะวันตก ซึง่ สันนิษฐาน ว่าวาดขึ้นในช่วงรัชกาลที่ 4-5 จะเป็นสิ่งทรงค่าที่ควร ต้องมายลด้วยตาตัวเองถึงบ้านหนองบัวสักครั้งให้ได้แล้ว กระนั้นหมู่บ้าน “แอ่งเล็ก...เช็คอิน” ที่มีประวัติศาสตร์ ย้อนกลับไปได้เกือบ 200 ปีแห่งนี้ ก็ยังมีแง่มุมที่เปี่ยม เสน่ห์อีกมาก รอให้ทุกคนได้สัมผัส

หมู่บ้านไทลื้อที่งดงามที่สุดแห่งหนึ่งในภาคเหนือ “บ้านหนองบัว” ตัง้ อยูห่ มูท่ ี่ 5 ต.ป่าคา อ.ท่าวังผา จ.น่าน หมูบ่ า้ นแห่งนีม้ ปี ระวัตกิ ารก่อตัง้ มาตัง้ แต่ พ.ศ. 2365 (196 ปีมาแล้ว) โดยสืบเชื้อสายมาจากชาวไทลื้อ หรือ ไตลื้อ ที่เดินทางมาจากแคว้นสิบสองปันนา และถึงแม้ กาลเวลาจะล่วงเลยมาเกือบสองศตวรรษ หากผู้คนใน หมูบ่ า้ นก็ยงั คงสานต่อวัฒนธรรมไทลือ้ ได้อย่างไม่ขาดพร่อง ทั้งภาษาพูด การแต่งกาย มรดกทางหัตถศิลป์ รวมไปถึง ความเชื่อและวิถีประเพณี จนท�ำให้อัตลักษณ์ของชุมชน ไทลื้อของที่นี่โดดเด่นเป็นสง่ากว่าที่ไหนในจังหวัด จัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ทุกๆ 3 ปี “ประเพณี 3 ปี 4 รวงข้าว” หรือพิธเี ข้าก�ำเมือง เป็นพิธบี วงสรวง “เจ้าหลวง เมืองล้า” ผู้ปกครองในต�ำนานที่คนไทลื้อในสิบสองปันนา ยึดถือเคารพมานาน แม้จะย้ายมาตัง้ รกรากอยูท่ ภี่ าคเหนือ ของประเทศไทย นี่คือประเพณีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในอ�ำเภอ ท่าวังผา โดยจะจัดขึ้นราวเดือนธันวาคม (ตรงกับเดือนยี่

ของคนไทลื้ อ ) มี กิ จ กรรมการร่ ว มกั น สานไม้ ไ ผ่ เ ป็ น ตะแกรง มี ข บวนแห่ ตั ว แทนเจ้ า เมื อ งและหมอเมื อ ง มีการละเล่นพื้นบ้าน และพิธีบวงสรวงเจ้าหลวงเมืองล้า ความงดงามของประเพณีนยี้ งั อยูท่ กี่ ารทีช่ าวไทลือ้ ในหมูบ่ า้ นอืน่ ๆ ทีม่ ารวมตัวกันทีบ่ า้ นหนองบัวจะแต่งกาย ด้วยชุดพื้นเมืองแบบครบเครื่องเป็นพิเศษ (ซึ่งแม้ปกติ ชาวไทลือ้ จะแต่งตัวด้วยชุดพืน้ ถิน่ อยูแ่ ล้ว) โดยเฉพาะผูห้ ญิง ทีจ่ ะนุง่ ซิน่ ทีเ่ ป็นผ้าทอลายน�ำ้ ไหล ผ้าทออันเป็นเอกลักษณ์ เชิดหน้าชูตาของบ้านหนองบัวและทั่วทั้งจังหวัด

ผ้าทอลายน�้ำไหล ราชินีแห่งลายผ้าเมืองเหนือ “ผ้ า ทอลายน�้ ำ ไหล” เป็ น ผ้ า ทอที่ มี ล วดลาย ลักษณะหยักหรือเป็นเกลียวคลื่นอันพลิ้วไหวตระการตา


ทีซ่ งึ่ เล่ากันว่าช่างทอได้รบั แรงบันดาลใจมากจากความงาม ของสายน�้ำน่านอันคดเคี้ยว ผ้าทอลายน�้ำไหลเป็นมรดก ทางหัตถศิลป์ที่ตกทอดจากรุ่นสู่รุ่นของชาวไทลื้อบ้าน หนองบัว อันเป็นแหล่งผลิตหลักของผ้าทอชนิดนี้ที่ต่อมา กลายเป็นสินค้าเลื่องชื่อของจังหวัดน่าน และเลื่องชื่อใน หมู่คนสะสมผ้าทอพื้นเมืองทั่วทั้งประเทศและภูมิภาค ทัง้ นีล้ วดลายน�ำ้ ไหลไม่ได้ปรากฏอยูเ่ พียงบนซิน่ ของผู้หญิงในหมู่บ้านแห่งนี้เท่านั้น หากยังปรากฏอยู่ทั้ง บนย่ามสะพาย เครื่องแต่งกายอื่นๆ รวมไปถึงผ้าปูที่นอน (ในจิตรกรรมฝาผนังวัดภูมินทร์ก็ยังมีแม่หญิงนุ่งซิ่นลาย น�้ำไหลปรากฏอยู่ด้วย) นี่จึงเป็นทั้งสิ่งของที่ใช้ในชีวิต ประจ�ำวันของผู้คน และเป็นสินค้าที่ระลึกที่ใครมาเยือน

สุนันต๊ะร่วมกับชาวบ้าน จนต่อมากลายเป็นตัวอย่าง สถาปัตยกรรมไทลื้ออันยอดเยี่ยมแห่งหนึ่งของประเทศ) เฮือนไทลื้อแบบดั้งเดิม สระหนองบัว อนุสาวรีย์เจ้าหลวง เมืองล้า พระธาตุหนองหยิบ รวมไปถึงศูนย์เรียนรูว้ ถิ ชี วี ติ ไทลื้อหนองบัว นอกจากนี้การเลือกพักค้างคืนแบบโฮมสเตย์ ในพื้นที่ ยังเปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสและมี ประสบการณ์ร่วมกับกิจกรรมของชาวชุมชนหลากหลาย อาทิ การทอผ้า การท�ำเกษตรอินทรีย์ การท�ำไม้กวาด การท�ำปุ๋ยหมัก รวมไปถึงการเรียนรู้กระบวนการแปรรูป สาหร่ายไก ซึง่ เป็นอีกผลิตภัณฑ์ OTOP อันเป็นอัตลักษณ์ เฉพาะแห่งเดียวของประเทศ

ก็ต้องไม่พลาดซื้อกลับไป ไม่ว่าจะเป็นไกแผ่น ข้าวตัง หน้าไก น�้ำพริกไก และไกยี เป็นต้น เรียกได้ว่าการมาเยือนบ้านหนองบัวจะได้ชม จิตรกรรมฝาผนังและสถาปัตยกรรมไทลื้ออย่างเพลินตา ได้สัมผัสวิถีชาวบ้านอย่างเพลินใจ ยังได้ของฝากสวยๆ และมีเพียงหนึ่งเดียวในประเทศอย่างผ้าทอลายน�้ำไหล รวมไปถึงของฝากทีไ่ ด้คณ ุ ประโยชน์ทางโภชนาการอย่างไก กลับไปแบ่งปันความอร่อยให้คนที่บา้ นอีกด้วย นับเป็นการท่องเที่ยวที่เรียบง่ายหากครบครัน ซึ่งคุณภาพ ทั้งยังได้ “ร่วมสุข ร่วมวิถี ร่วมสมัย” ที่ใคร จะคิดว่าทัง้ หมดเกิดขึน้ ในหมูบ่ า้ นเล็กๆ แห่งหนึง่ ทีซ่ อ่ นตัว อยู่ในอ�ำเภอท่าวังผาของจังหวัดน่านแห่งนี้

บ้านหนองบัวต้องไม่พลาดซื้อกลับไป ยังไม่นับรวมเหล่า นักสะสมหรือผู้ที่หลงใหลในผ้าทอพื้นเมือง ซึ่งการได้ มาชมช่างท้องถิ่นก�ำลังทอผ้าถึงหมู่บ้านแห่งนี้ด้วยตนเอง ก็ ท รงค่ า ไม่ ต ่ า งอะไรจากการแสวงบุ ญ ครั้ ง ส� ำ คั ญ ของ ศาสนิกชน

ท่องเที่ยวตามวิถีคนไทลื้อ

ความทีช่ าวบ้านหนองบัวส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร ที่ปลูกพืชผักตามฤดูกาล การได้ปั่นจักรยานลัดเลาะไป ตามถนนหนทางอันร่มรื่นและเรือกสวนไร่นาในหมู่บ้าน จึงเป็นกิจกรรมทีช่ วนให้รนื่ รมย์ยงิ่ เพราะไม่เพียงจะได้เห็น วิถีชีวิตแบบชาวไทลื้ออย่างใกล้ชิด นักท่องเที่ยวยังมี โอกาสได้ชมแลนด์มาร์คส�ำคัญๆ ของหมูบ่ า้ น ไม่วา่ จะเป็น วิหารไทลื้อภายในวัดหนองบัว (สร้างขึ้นโดยครูบาหลวง

การเดินทาง สาหร่ า ยไก วิ ถี ท างอาหารและของฝากเลื่ อ งชื่ อ ของ หมู่บ้าน “ไก” หรือ “สาหร่ายแม่น�้ำน่าน” คืออีกหนึ่ง วัตถุดบิ ทีก่ ลุม่ แม่บา้ นเกษตรกรบ้านหนองบัวน�ำไปแปรรูป จนกลายเป็นสินค้าขึ้นชื่อและมีเพียงแห่งเดียวในประเทศ ทั้งนี้แต่เดิมไกคือสาหร่ายที่เป็นอาหารพื้นเมืองของชาว ไทลือ้ ทีส่ บื ต่อกันมาเนิน่ นาน ซึง่ ก็เป็นโชคดีของชาวไทลือ้ ที่อพยพมายังอ�ำเภอท่าวังผา และพบว่าแม่น�้ำน่านใส สะอาด และสามารถน�ำสาหร่ายในน�ำ้ มาประกอบอาหารได้ คนไทลื้อรุ่นปู่ย่าตายายนิยมน�ำไกมาปรุงเข้ากับต�ำรับ อาหารดั้งเดิม อาทิ ห่อนึ่งไก คั่วไก ขณะที่คนรุ่นหลังก็ น�ำมาแปรรูปเป็นของฝากที่ใครได้มาเยือนบ้านหนองบัว

บ้ า นหนองบั ว อยู ่ ร ะหว่ า งถนนทางหลวง ชนบทสายสบสาย–นาหนุน 2 ห่างจากทีว่ า่ การอ�ำเภอ ท่าวังผา ประมาณ 6 กิโลเมตร และห่างจากตัว จังหวัดน่าน 44 กิโลเมตร

Nawatwithi


08 ISSUE 561 22 OCT 2018

AGENDA

01 WWW.BBC.COM

02 WWW.BBC.COM

AWARD

PEOPLE

ดอนนา สตริ ก แลนด์ ผู้ ห ญิ ง คนแรกในรอบ 55 ปี ทีไ่ ด้รบ ั รางวัล โนเบล สาขาฟิสิกส์

เหล่าเกมเมอร์รวมตัวกัน เพือ ่ ไป เยีย ่ มเพือ ่ นทีป ่ ว ่ ยระยะสุดท้าย

ประวัติศาสตร์หน้าใหม่เกิดขึ้นอีกครั้ง เมื่อนักวิทยาศาสตร์หญิงชาวแคนาดาจากมหาวิทยาลัยวอเตอร์ลู ดอนนา สตริกแลนด์ ได้รบั การประกาศให้รบั รางวัลโนเบล สาขาฟิสกิ ส์ ประจ�ำปีนี้ จากผลงานการวิจยั และค้นพบ เกีย่ วกับเทคโนโลยีเลเซอร์ ทีส่ ร้างคุณประโยชน์มากมาย ต่อวงการแพทย์และวิทยาศาสตร์ ท�ำให้สตริกแลนด์ กลายเป็นผูห้ ญิงคนแรกในรอบ 55 ปี ทีไ่ ด้รบั รางวัลนี้ ต่อจาก มารี คูรี ในปี ค.ศ. 1903 และ มาเรีย โกเอปเพิรต์ เมเยอร์ ในปี ค.ศ. 1963 ซึง่ สตริกแลนด์จะได้รบั รางวัล อันทรงเกียรตินรี้ ว่ มกับ อาร์เธอร์ แอชคิน นักวิทยาศาสตร์ ชาวอเมริกนั วัย 96 ปี และ เจอราร์ด มูรู นักวิทยาศาสตร์ ชาวฝรัง่ เศส วัย 74 ปี

03

มิตรภาพบนโลกออนไลน์ไม่ใช่เรื่องฉาบฉวยเสมอไป เพราะในวันหนึ่งมันอาจเติบโตจนกลายเป็นมิตรแท้ ในชีวิตจริงได้ เหมือนกับกลุ่มเพื่อนสนิทห้าคนที่ร่วม เล่นเกมออนไลน์กบั ‘โจ’ หนุม่ อเมริกนั จากรัฐนิวเจอร์ซยี ์ มานานหลายปี โดยไม่เคยได้เห็นหน้ากันมาก่อน แต่เมือ่ ทราบว่าโจก�ำลังป่วยเป็นโรคมะเร็งกระดูกและมีเวลา เหลืออยูอ่ กี ไม่มาก ท�ำให้พวกเขาตัดสินใจเปิดเผยตัว และนัดรวมพลกันเป็นครัง้ แรก เพือ่ ให้กำ� ลังใจโจซึง่ ขณะนี้ เข้ารับการดูแลทีโ่ รงพยาบาลแห่งหนึง่ ซึง่ สร้างความประทับใจให้กบั เขาเป็นอย่างมาก “เราเล่นเกมด้วยกัน เกือบทุกเกมและเล่นกันตลอดเวลา ถ้าตอนไหนไม่ได้ เล่นเกม เราก็จะอยูโ่ ยงคุยกันไปทุกเรือ่ ง พวกเราเคยคิด กันมาตลอดว่าจะนัดพบกันในสักวันหนึง่ แต่พอรูว้ า่ โจ มีเวลาเหลือไม่มาก เราตัดสินใจได้ทนั ทีวา่ จะต้องพบกัน โดยเร็วทีส่ ดุ ” มิลเลอร์ หนึง่ ในเกมเมอร์กล่าว

04

QUOTE

“We live in a society exquisitely dependent on science and technology, in which hardly anyone knows anything about science and technology.” คาร์ล เซแกน นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกัน

05

WWW.THESUN.CO.UK

WWW.CNET.COM

ANIMAL

ENVIRONMENT

SOCIETY

คูเ่ กย์เพนกวินในสวนสัตว์เดนมาร์ก แอบขโมยลูกของเพนกวินตัวอืน ่ ไปเลีย ้ งเป็นลูกตัวเอง

รถบัสอังกฤษรุน ่ ใหม่ ดูดซับมลพิษ บนท้องถนนและฟอกอากาศได้

เรือนจ�ำชายล้วนในแคลิเฟอร์เนีย เปิดคอร์สเรียนเสริมสวยส�ำหรับ นักโทษ เพือ ่ สร้างอาชีพในอนาคต

เกิดเป็นเรื่องวุ่นๆ ขึ้นในสวนสัตว์โอดันเซอ ประเทศ เดนมาร์ก เมือ่ คูเ่ กย์เพนกวินคูห่ นึง่ อยากมีลกู น้อยเป็นของ ตัวเองมาก จนไปลักพาลูกของพ่อแม่เพนกวินคู่หนึ่ง ทีม่ ที า่ ทีไม่สนใจลูกน้อยของมันมาเลีย้ ง หลังจากผ่านไป หนึง่ วัน คูพ่ อ่ แม่เพนกวินเริม่ รูส้ กึ ตกใจ และออกตามหา ลูกอย่างจริงจัง เมื่อพบลูกที่หายไปก็เกิดอาการโกรธ ส่งเสียงร้อง กระพือปีกตีกับฝ่ายตรงข้ามอย่างดุดัน จน Hedegåard Munck เจ้าหน้าที่สวนสัตว์ ต้องเข้ามา สงบศึกด้วยการน�ำลูกเพนกวินไปคืนให้กบั พ่อแม่ทแี่ ท้จริง ของมัน และน�ำไข่ทยี่ งั ไม่ฟกั ไปให้คเู่ กย์เพนกวินช่วยกัน ดูแลแทน ซึ่งหากเป็นไข่ที่ผ่านการผสมแล้ว คู่เกย์ เพนกวินก็คงจะช่วยกันฟักออกมาเป็นตัวได้ส�ำเร็จ และสามารถมีลูกเป็นของตัวเองจริงๆ ได้สักที

บริษทั Go-Ahead Group ผูป้ ระกอบธุรกิจรถบัสและรถไฟ รายใหญ่ของสหราชอาณาจักร เปิดตัวรถบัสรุ่นใหม่ ในชือ่ Bluestar ซึง่ เป็นรถบัสสุดล�ำ้ ทีม่ คี วามสามารถ ในการท�ำความสะอาดอากาศบนท้องถนนตลอดเส้นทาง ทีม่ นั วิง่ ด้วยเครือ่ งกรงอากาศทีด่ ดู ซับมลพิษบนหลังคา รถ และแปรเปลี่ยนออกมาเป็นอากาศบริสุทธิ์จาก ด้านหน้าของรถ ซึง่ สามารถท�ำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ถึง 99.5% โดยขณะนีท้ ดลองวิง่ อยูใ่ นเมืองเซาแทมป์ตนั เนื่องจากเป็นเมืองที่มีมลพิษทางอากาศอยู่ในระดับ เสีย่ ง “เราอยากให้นวัตกรรมนีไ้ ด้แสดงให้เห็นว่ารถบัส ไม่ได้เป็นเพียงค�ำตอบในการแก้ปัญหาความแออัด ในเมืองใหญ่เท่านัน้ แต่มนั ยังเป็นทางออกทีด่ ที จี่ ะช่วย ลดปัญหามลพิษทางอากาศด้วย” เดวิด บราวน์ ผูบ้ ริหารบริษทั Go-Ahead Group กล่าว

WWW.TODAY.COM

ลืมภาพเรือนจ�ำอเมริกนั ทีโ่ หดร้ายและน่ากลัวไปได้เลย เพราะที่ Valley State Prison รัฐแคลิฟอร์เนีย คุณจะได้เห็น นักโทษจ�ำนวนมากใช้เวลาว่างไปกับการฝึกทักษะท�ำผม ท�ำเล็บ และกิจกรรมเสริมสวยอืน่ ๆ มากมาย เนือ่ งจาก พวกเขาได้รับโอกาสในการเรียนเสริมสวยจากช่าง มืออาชีพทีม่ าเปิดคอร์สสอนฟรีๆ กันถึงในเรือนจ�ำ ซึง่ เป็น คอร์สทีก่ นิ เวลาถึง 2 ปีครึง่ และหากพวกเขาสอบผ่าน ก็จะได้รบั ใบประกาศวิชาชีพทีไ่ ปใช้ได้จริงในอนาคตด้วย “เมื่อผู้ชายเหล่านี้ออกจากเรือนจ�ำ เขาจะกลายเป็น เพือ่ นบ้านคุณ เขาต้องไปหางานท�ำ ซึง่ เราก็ตอ้ งให้ทกั ษะ ความสามารถ และโอกาสในการท�ำงานกับพวกเขา ไม่อย่างนัน้ พวกเขาอาจจะกลับไปท�ำอะไรเดิมๆ และเกิด เป็นปัญหาในอนาคต” Carmen Shehorn อาจารย์สอน วิชาเสริมสวยกล่าว


ad BTS adB561.pdf 1 12/10/2561 17:42:08

C

M

Y

CM

MY

CY

CMY

K


10

T H E C O N V E R SAT I O N

เรื่อง

ศรัญญา อ่าวสมบัติกุล กองบรรณาธิการ sarunya.magazine@gmail.com

ภาพ

กฤตธกร สุทธิกิตติบุตร หัวหน้าช่างภาพ kritdhakorn@gmail.com

ARTIST BREATHE LIKE AN

ลมหายใจเข้า... ลมหายใจออก... ทุกลมหายใจคือศิลปะ และศิลปะอยู่ใน ชีวต ิ ของเราทุกลมหายใจ บทสนทนาระหว่ า ง a day BULLETIN ซึ่ ง เป็ น คนรุ่ น หลาน กั บ ‘ครู เล็ ก’ - ภั ท ราวดี มีชูธน ศิลปิน แห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง ประจ�ำปี 2557 ซึง่ ล่าสุดได้กลับคืนสูว่ งการจอแก้ว อีกครัง้ กับบทบาทการเป็นอาม่าในละคร เรือ ่ ง เลือดข้นคนจาง หลังจากทีห ่ า่ งหาย จากทีวน ี านนับสิบปี ท่ามกลางบรรยากาศพลุกพล่าน จอแจของผูค ้ นและรถราในซอยวัดระฆัง ย่านวังหลัง เราสับสนและหวัน ่ ไหวไปกับ สิ่ ง รบกวนรอบตั ว ในขณะที่ ค รู เ ล็ ก ช่วยประคองบทสนทนาอันลึกซึง้ เพือ ่ ให้ ค�ำสอนกับพวกเรา พร้อมกับหายใจลึกๆ แผ่วเบา ใบหน้าสงบเย็นเปื้อนรอยยิ้ม น้อยๆ “เพราะลมหายใจคื อ ศิ ล ปะของ การใช้ชวี ต ิ ” ครูเล็กเอ่ยขึน ้ มาราวกับว่า ครู อ่ า นความคิ ด ของเราออก จึ ง ช่ ว ย ให้เราดึงสติและความคิดกลับมาจดจ่อ อยูก ่ บ ั การท�ำงานสัมภาษณ์ตรงหน้า ห่างกันแค่อึดใจเดียว ลมหายใจ พาเรากลับคืนมาสูศ ่ ล ิ ปะของการใช้ชวี ต ิ และการท� ำ งานได้ ทั น ที การมี โ อกาส ได้ ส นทนากั บ ศิ ล ปิ น อาวุ โ สระดั บ นี้ ถือเป็นประสบการณ์แห่งจิตวิญญาณ ที่ น่ า ตราตรึ ง และเราจึ ง อยากน� ำ มา ถ่ายทอดให้ผอ ู้ า่ นได้สม ั ผัสเช่นกัน

ISSUE 561 22 OCT 2018


11 ADAYBULLETIN.COM ADAYBULLETIN.COM FACEBOOK.COM/ADAYBULLETIN FACEBOOK.COM/ADAYBULLETIN


12 ISSUE 561 22 OCT 2018

B R E AT H E I N, B R E AT H E O U T 01

ใ น ฐ า น ะ ข อ ง ศิ ล ปิ น ศิ ล ป ะ เ กี่ ย ว ข้ อ ง กั บ ชี วิ ต อ ย่ า ง ไ ร ห ล า ย ค น ม อ ง ศิ ล ป ะ แ ล้ ว ไม่สามารถท�ำความเข้าใจมัน

อาจไม่ใช่คนสวย แต่คณ ุ เป็นคนที่ ยิม้ จากใจ นีแ่ หละเรียกว่าศิลปะ เ ร า ส า ม า ร ถ พั ฒ น า ตั ว เ อ ง ให้ รู้ จั ก ศิ ล ปะ และมี ศิ ล ปะใน การด�ำเนินชีวต ิ ได้อย่างไร

ครูเชือ่ ว่ามันเริม่ ต้นด้วยสิง่ ที่ เรียกว่าลมหายใจ เพราะลมหายใจ เป็นสิง่ เดียวทีเ่ ข้าไปอยูใ่ นตัวเราได้ แต่ตอ้ งใช้ลมหายใจให้เป็น ส�ำหรับ ครูเองเริม่ ใช้ตงั้ แต่เริม่ หัดเล่นละคร ไม่วา่ เราจะได้รบั บทบาทอะไร ทุก บทบาทการแสดงต้องใช้ลมหายใจ ครูเรียนสิง่ นีม้ าจากฝรัง่ เขาไม่ได้ สอนให้เราท�ำสีหน้าสีตาในการแสดง แต่เขาสอนให้ใช้ลมหายใจล้วนๆ เช่น เวลาโกรธ จะต้องหายใจแบบ ไหน เวลาเศร้า หายใจได้หลายแบบ แล้วสุขล่ะต้องหายใจอย่างไร นีค่ อื สิ่งแรกที่ผู้ก�ำกับมักจะต้องสอน นักแสดง บทบาทจึงมาจากอินเนอร์ แม้กระทัง่ พุทธศาสนาก็สอนให้เรา ใช้ลมหายใจเพือ่ พัฒนาตัวเอง หรือ ทีเ่ รียกว่าอานาปานสติ เราจึงน�ำ สิ่ ง นี้ ม าพั ฒ นาจิ ต ใจของตั ว เอง และเมื่อฝึกทุกวันๆ ใช้ลมหายใจ แบบนีไ้ ปเรือ่ ยๆ ก็กลายเป็นสิง่ ทีด่ ี เพราะการฝึกใช้ลมหายใจจะท�ำให้ ออกซิเจนไหลเข้าสู่สมอง ท�ำให้ ฉลาด เลือดลมไหลเวียนดี มีสขุ ภาพ ทีแ่ ข็งแรง อย่างล่าสุดมีคนทักครูวา่ อายุ 70 ปีแล้วยังวิง่ เร็วอยู่ ก็เพราะ เราฝึ ก หายใจทุ ก วั น จึ ง แข็ ง แรง แบบนี้ได้ เพียงแค่ลมหายใจอย่างเดียว จริงๆ หรือ หรือว่านัยยะอะไร ซ่อนอยูอ ่ ก ี

ไม่มี ไม่มี... เปรียบเทียบ การหายใจเข้า คงเหมือนตอนดม ดอกไม้ ห อม แล้ ว ผ่ อ นหายใจ ออกทางปาก นี่คือความรู้สึกที่ ผ่อนคลายที่สุด ยิ่งเวลาโกรธใคร ให้คณ ุ ลองหายใจเข้าเหมือนก�ำลัง ดมดอกไม้หอม สักพักอารมณ์โกรธ ก็จะหายไป เมื่อไม่มีความโกรธ เราก็จะมีศิลปะเข้ามาโดยไม่รู้ตัว คือวาทศิลป์ไงล่ะ เพราะจิตใจเรา สบาย แล้วค�ำพูดใดๆ ก็ตามทีเ่ รา เคยอ่าน เคยฟัง ก็จะพรัง่ พรูออกมา โดยธรรมชาติ ซึ่งมันเป็นศิลป์ที่ดี มาก เพราะมีลมหายใจ จึงท�ำให้ ศิลปะเกิดขึ้น

“ ไ ม่ ว่ า เ ร า จ ะ ไ ด้ รั บ บทบาทอะไร ทุกบทบาท ก า ร แ ส ด ง ต้ อ ง ใ ช้ ลมหายใจ ครูเรียนสิง่ นี้ มาจากฝรัง่ เขาไม่ได้สอน ให้ เ ราท� ำ สี ห น้ า สี ต า ในการแสดง แต่ เ ขา สอนให้ ใ ช้ ล มหายใจ ล้วนๆ เช่น เวลาโกรธ จะต้องหายใจแบบไหน เวลาเศร้ า หายใจได้ หลายแบบ แล้วสุขล่ะ ต้ อ ง ห า ย ใ จ อ ย่ า ง ไ ร นี่คือสิ่งแรกที่ผู้ก�ำกับ มักจะต้องสอนนักแสดง บ ท บ า ท จึ ง ม า จ า ก อินเนอร์”

IN AGE WE UNDERSTAND

อาจารย์ ศิ ล ป์ พี ร ะศรี เคยกล่าวไว้ว่า ศิลปะคือความดี ความงาม คุณลองสังเกตตัวเองดูสิ จะพบว่าเวลาได้ทำ� อะไรดีๆ จิตใจ จะงดงาม นั่นเป็นเพราะเราจะ ละเมียดละไม ประดิดประดอย เช่นเมือ่ เราจะเขียนจดหมายถึงใคร เราก็จะพยายามไม่สะกดผิด เราจะ จัดรูปแบบให้สวยงาม เพือ่ ให้คนที่ เขาได้รบั จดหมายไปได้รสู้ กึ ชืน่ ชม ว่าอ่านง่าย เข้าใจดี ภาษาดี เมือ่ ได้อ่านจดหมาย เขาก็จะเคารพ ในความเป็นคนของเรา เห็นคุณค่า ของเรา ดังนั้น ถ้าอยากให้ใคร เคารพ เราต้องให้สงิ่ ทีด่ งี ามกับเขา ก่ อ น และศิ ล ปะก็ คื อ สิ่ ง นี้ เ อง การแสดง การวาด การเขี ย น การใช้ภาษาให้สวยงามก็เช่นกัน เสมือนการเปิดประตูทนี่ ำ� พาให้เรา ไปอยู ่ ใ นสั ง คมได้ ทุ ก ที่ ตั้ ง แต่ ชาวบ้านไปจนถึงเจ้านาย เพราะเรา ก็จะรูจ้ กั ค�ำว่ากาลเทศะ สิง่ ทีท่ ำ� ให้ เรารูก้ ม็ าจากการฟัง จ�ำ อ่าน และ น�ำมาใช้ในชีวติ ไม่มใี ครเก่งตัง้ แต่ ตัวเล็กๆ แต่ถา้ เรามีศลิ ปะ ก็จะรูว้ า่ อะไรดีงาม และเลือกสิง่ เหล่านัน้ ให้เข้ามาเป็นส่วนหนึง่ ของชีวติ นีล่ ะ เรียกว่าศิลปศาสตร์แห่งการใช้ชวี ติ ศิ ล ปะมี อิ ท ธิ พ ลกั บ ชี วิ ต มากๆ ส� ำ หรั บ เราทุ ก คน ว่ า กั น ตั้ ง แต่ ตื่นขึ้นมาในทุกๆ เช้า เราต้องใช้ ศิลปศาสตร์ในการด�ำรงชีวิต เรา ต้องแปรงฟัน เพราะ เราอยากให้ชอ่ งปาก เราหอมสะอาด นีค่ อื ศิลปะ คือความงาม จากนั้ น ก็ อ าบน�้ ำ เพราะอยากให้ ร่ า งกายสะอาด มีกลิน่ หอมหวน เดิน ไปไหนคนก็ ชื่ น ใจ ศิลปะคือท�ำให้คนที่ เห็นเรา หรืออยูข่ า้ งๆ เ ร า มี ค ว า ม สุ ข ในทางตรงข้าม หาก เราไปท�ำให้คนอืน่ มี ความทุกข์ นีแ่ ปลว่า ศิลปะแห่งชีวติ ของ เราห่วยแตก เรียกว่า ล้ ม เหลวในการมี ชีวติ ล้มเหลวในงาน ศิลป์ หรือเอาง่ายๆ แค่ออกจากบ้านมา แล้วคุณยิ้ม คนที่ เห็นคุณยิม้ ก็อาจจะ มีความสุข นัน่ แหละ คุณได้บญ ุ แล้ว คุณ

02


13 ADAYBULLETIN.COM FACEBOOK.COM/ADAYBULLETIN

คุ ณ ห่ า งหายจากจอแก้ ว ไปนาน มากๆ ที่ผ่านมาคุณได้ไปท�ำงาน อืน ่ ๆ ด้วยใช่ไหม

ใช่ เพราะครูตอ้ งการท�ำตัวให้มี ประโยชน์ คุณพ่อคุณแม่สงั่ ไว้วา่ พอแก่ๆ แล้วต้องมีประโยชน์ตอ่ แผ่นดิน ตัง้ แต่ เมือ่ ราวๆ 10 ปีกอ่ น ครูถงึ ไปปักหลักอยู่ ทีห่ วั หิน ตัง้ ใจจะให้เป็นบ้านหลังสุดท้าย ของชีวติ ก่อนทีจ่ ะสร้างเป็นโรงเรียน ภั ท ราวดี หั ว หิ น ซึ่ ง เป็ น โรงเรี ย น สามั ญ ศึ ก ษา โดยใช้ ศิ ล ปศาสตร์ น�ำร่อง เพราะเชือ่ ว่ามันมีสว่ นส�ำคัญ ต่อการพัฒนาจิตใจ หากหัวใจของ เด็กๆ ไม่ได้ถกู พัฒนาด้านศิลปะ เด็กจะ ก้าวร้าว แห้งแล้ง แข็งๆ ทือ่ ๆ รักไม่เป็น โอบกอดไม่อุ่น เราจึงต้องพัฒนา หัวใจของเด็กๆ เพือ่ ให้เขาโตขึน้ เป็นคน ทีม่ คี วามคิดสร้างสรรค์ มีความอ่อนโยน มี สั ม มาคารวะ และสามารถเป็ น พลเมืองที่ดีให้กับบ้านเมือง เมื่อมาเป็นครูสอนเด็กๆ คุณได้ พบเห็นอะไรบ้าง

อย่างเวลาทีเ่ ด็กๆ ท�ำอะไรไม่ดี ครูเองก็รสู้ กึ ผิดเลยละ เพราะยังพัฒนา ไม่พอทีจ่ ะท�ำให้หนูๆ เป็นเด็กดีกว่านี้ ครูเองก็ตอ้ งไปศึกษาเพิม่ เติม ทีผ่ า่ นมา ก็ได้เรียนรู้อะไรมากมายจากเด็กๆ ต้ อ งขอบคุ ณ พวกเธอมากเลยนะ ทีท่ ำ� ให้ครูรว้ ู า่ ยังไม่เก่งพอทีจ่ ะแก้ปญ ั หา นีไ้ ด้ หลังจากนัน้ ก็ไปเรียนรูม้ า แล้วก็ จะฉลาดขึน้ เป็นการฉลาดขึน้ ทีเ่ กิดจาก ความผิดพลาดของเด็ก หรือความผิดพลาดทีเ่ กิดจากตัวเอง ครูมองว่า การเรียนรู้ที่ว่านี้ไม่จ�ำเป็นต้องจบ ปริ ญ ญาเอก ไม่ จ�ำ เป็ น ต้ อ งเรี ย น ตูมเดียวจบ แต่เราเรียนรูก้ นั ไปทุกๆ วัน กระบวนการเรียนรูน้ นั้ เกิดขึน้ มาจาก ความสงสัย และชวนให้ไปสืบค้น อย่างละครเรือ่ ง เลือดข้นคนจาง ถึงเป็น กระบวนการเรียนรูอ้ ย่างหนึง่ ทีไ่ ด้สร้าง ประเด็ น ขึ้ น มาให้ ค นตั้ ง ค� ำ ถามว่ า ใครกันแน่ที่ฆ่า เกิดความอยากรู้ อยากเห็น จากนั้นทุกคนก็จะเริ่มไป สืบค้นข้อมูลต่างๆ อาศัยความรู้เดิม ทีม่ ี น�ำมาเชือ่ มโยงกันไปเรือ่ ยๆ เพือ่ หา ค�ำตอบ เราก็สอนเด็กๆ ด้วยความอยากรู ้ อ ยากเห็ น แบบนี้ เ ช่ น กั น เมื่อเกิดขึ้นกับตัวเองอย่างนั้น เราจึง บอกทุกคนเสมอว่า ก่อนทีเ่ ขาจะเติบโต ควรพาเขาไปเห็นโลกกว้าง และให้ โอกาสเด็กได้ท�ำผิดบ้าง ส่วนผู้ใหญ่ ก็มหี น้าทีอ่ ธิบายว่า ความผิดพลาดนี้ เกิดขึ้นเพราะอะไร เพื่อให้เด็กเข้าใจ พร้อมจะแก้ปญ ั หา แต่อย่าให้รสู้ กึ ว่า นีค่ อื ปัญหา แล้วต้องสิน้ ใจกันไปข้าง หนึ่ง เพราะในชีวิตนี้เรายังมีปัญหา อีกเยอะ

02

ในวั น นี้ ที่ ค รู ก ลั บ มาแสดงละคร จอแก้วอีกครั้ง ครูได้เรียนรู้อะไร ใหม่ๆ บ้าง

นับจากตอนทีเ่ ล่นเป็นแม่ของ น�ำ้ พุ ในหนังเรือ่ ง น�ำ้ พุ แล้วต่อมาก็ รับบทเป็นปานรุง้ คือเป็นแม่ในเรือ่ ง บัลลังก์เมฆ มาจนถึงเรือ่ งนีท้ รี่ บั บทเป็น อาม่า ก็เป็นแม่ของภัสสรอีก บทบาท เหล่านีม้ นั สะท้อนกลับมาทีต่ วั เราเองว่า เออเนอะ... ทีผ่ า่ นมาเราเลีย้ งลูกไม่ถกู เลย อย่างในบทละครของ ‘ย้ง’ -

ทรงยศ สุขมากอนันต์ เราเห็นถึงการเลีย้ งลูกทีไ่ ม่แฟร์เลย แม้เราจะไม่เป็น เหมือนอาม่าทีเ่ ลีย้ งลูกๆ แบบนัน้ แต่เรา ก็เห็นอะไรทีไ่ ม่แฟร์ แล้วเราก็จำ� ได้ว่า ลูกๆ จะไม่พดู อะไร จนกระทัง่ พวกเขา โตพอถึงพูดออกมา เหมือนภัสสรเลย แต่จะให้ท�ำยังไงล่ะ ในเมื่อเรื่องราว มันผ่านไปแล้ว ซึง่ นีท่ ำ� ให้เราเห็นว่า ศิลปะการเลีย้ งลูกเป็นเรือ่ งทีย่ ากมาก ใครทีเ่ ลีย้ งลูกให้มคี วามสุขดีได้ตลอด ต้องให้ถว้ ยรางวัล เพราะถือว่าเก่งมาก ต่อให้คณ ุ ท�ำงานอะไรอย่างอืน่ แล้วเก่ง ยังไม่นับว่าประสบความส�ำเร็จเท่า การเลีย้ งลูกเก่งเลย จนวันนีท้ เี่ รามองดู อยูต่ รงนี้ ในวัยนี้ สิง่ ทีท่ ำ� ต่อไปได้คอื พัฒนาตนเอง เพราะลูกๆ ของเราก็โต กันหมดแล้ว เราก็ไปเลีย้ งหลาน เลีย้ ง ลูกคนอืน่ ซึง่ ก็คอื สอนเด็กๆ ในโรงเรียน ซึง่ เป็นโอกาสให้เราได้แก้ตวั การเป็น แม่คนนี่ต้องถือว่าเป็นศิลปินด้วยนะ คุณต้องเป็นศิลปินทีเ่ ก่งทีส่ ดุ ในโลกเลย ละ จึงจะสามารถปัน้ คนคนหนึง่ ขึน้ มา ได้ ซึ่งสอดคล้องไปกับศาสตร์ของ เลี้ยงลูกที่แสนส�ำคัญ เพราะลูกคือ ผลผลิตของเรา หากเราผลิตผลงาน ออกมาให้ดี เราก็ชื่นใจ และก็เป็น บุญกุศล แต่ถ้าเราผลิตแล้วออกมา ไม่ดี เวลาลูกไม่ดหี รือมีปญ ั หา ก็ตอ้ ง บอกว่าเราเองนี่แหละคือส่วนหนึ่ง ของสิง่ นัน้ ไม่ใช่เพราะเขาคนเดียว แล้วศาสตร์และศิลป์การเลีย ้ งลูก ในเวอร์ชน ั ครูเล็กเป็นอย่างไร

ง่ า ยๆ คื อ ตั ว เราเองต้ อ งมี ความสุ ข กั บ การท� ำ สิ่ ง นั้ น ก่ อ น เริม่ ตัง้ แต่รวู้ า่ ท้อง ก็ควรดูแลตัวเองให้มี ความสุขอย่างรอบด้าน รวมทัง้ อารมณ์ ซึ่งสามารถเริ่มต้นด้วยการหายใจ อย่างทีค่ รูบอกตัง้ แต่ตน้ ทุกครัง้ ทีค่ น เป็นแม่อารมณ์ไม่ดี ผลลัพธ์ยอ่ มไปเกิด กับลูกในท้อง และอาจจะติดมาจน เขาเกิดและเติบโต เพราะหัวใจของลูก และแม่เชือ่ มโยงกันนานตัง้ เก้าเดือน หากเกิดอะไรขึน้ คุณอย่าลืมหายใจ ลึกๆ แล้วก็จะยิม้ และพยายามเข้าใจ ในสิง่ ทีเ่ กิดขึน้ เมือ่ สมองของแม่เข้าใจ ก็จะส่งต่อไปยังสมองของลูกให้เข้าใจ ด้วย หากเราคิด ท�ำ พูดไม่ดี ลูกเรา ก็จะเป็นอย่างนัน้ เพราะฉะนัน้ เราต้อง สร้างสมองให้ลกู ตัง้ แต่วนั แรกทีร่ วู้ า่ เขา มาอยูก่ บั เรา ทีส่ ำ� คัญเลย อยากให้คน เป็นแม่รไู้ ว้วา่ ลูกเลือกทีช่ อบ เมือ่ เขา ชอบเรา เขาถึงได้มาเกิดกับทีน่ ี่ เราต้อง ภูมใิ จว่าเราถูกเลือก เขาเลือกแล้วว่า เขาอยูต่ รงนีแ้ ล้วจะมีความสุข เขาเลือก เพราะเชือ่ ว่าเราเป็นแม่ทดี่ ี เพราะฉะนัน้ เราต้องท�ำให้เต็มที่ ไม่ว่าจะต้องใช้ ศาสตร์และศิลป์อะไรก็ตาม หากเรา หวังให้ใครเป็นอย่างไร มันต้องเริม่ ที่ ตัวเราเองก่อน หากเราเป็นแม่ทดี่ ี ผลก็ จะออกมาทีเ่ ขาเอง ถ้าอยากให้ลกู เป็น อย่างไร ต้องฝึกทีต่ วั เองก่อน อย่าไป ถามทีล่ กู ว่า ‘ท�ำไมแกเป็นคนแบบนี’้ แต่ตอ้ งย้อนกลับมาถามทีต่ วั เราเองว่า ‘ท�ำไมฉันเป็นแม่แบบนี้’ และจาก ประสบการณ์ส่วนตัวก็เป็นอย่างนั้น จริงๆ และเป็นเรือ่ งวิทยาศาสตร์ หรือ ทีเ่ รียกว่าออสโมซิส คือค่อยๆ ซึมไหล จากอีกคนหนึง่ สูอ่ กี คนหนึง่ ความสุข หรือความทุกข์ก็เช่นกัน จะไหลจาก คนหนึ่งไปสู่อีกคน


14 ISSUE 561 22 OCT 2018

แล้วศิลปะแห่งความรักล่ะ การเป็น ศิ ล ปิ น จะท� ำ ให้ เ รามี ค วามรั ก ที่ ดี ด้วยใช่ไหม

ก็ไม่แน่ ตอนเด็กๆ ครูไม่เก่งเลย ในเรือ่ งความรักและคนรัก เมือ่ วันเวลา ผ่านไปจึงเพิง่ มาเข้าใจ ค�ำว่าความรัก มันไม่ใช่การเป็นเจ้าข้าวเจ้าของใคร ความอยากให้เขามาเป็นของของเรา เท่ากับเราไม่ได้ให้อิสรภาพแก่เขา เราดึงเขาไว้ ตีกรอบเขาไว้ แน่นอนว่า ไม่มใี ครชอบ ตัวเราเองยังไม่ชอบเลย เหมือนอย่างมะม่วงเวลาสุก มันต้อง หลุดออกจากต้น จะบอกต้นมะม่วงว่า อย่าหล่นนะ อย่าจากฉันไป มันก็เป็นไป ไม่ได้ คนเราก็ไม่ต่างกัน ครูเองได้ เรียนรูส้ งิ่ นีจ้ ากละครเรือ่ งหนึง่ คือเรือ่ ง ชัว่ ฟ้าดินสลาย ทีพ่ ระกับนาง คือยุพดี และส่างหม่อง อยากอยูด่ ว้ ยกันชัว่ ฟ้า ดินสลาย แต่เมือ่ ทัง้ คูโ่ ดนจับมาล่ามโซ่ คล้ อ งแขนไว้ ด ้ ว ยกั น ตลอดเวลา จนในท้ า ยที่ สุ ด ก็ ต ้ อ งตายจากกั น แสดงให้เห็นว่าไม่มีอะไรจีรังยั่งยืน ไม่มอี ะไรทีเ่ ราเป็นเจ้าข้าวเจ้าของได้เลย ธรรมะง่ายๆ ทีใ่ ครก็เข้าใจ แต่บางที เราก็ตด ั ใจไม่ได้ ท�ำใจไม่ได้

“จนเมื่ อ เรามี ค วามเข้าใจในรัก และเรารัก คนอืน ่ เป็นแล้ว ตอนนัน ้ เราจึงจะรักตัวเองเป็น ซึง่ แต่กอ ่ นครูเคยไม่รก ั ตัวเอง มีความรู้สึกว่า ไม่มีคุณค่าอะไร เวลา ท�ำอะไรผิดพลาดก็มัก จะโทษตัวเองหรือโทษ คนอื่นไปเรื่อย แต่เมื่อ รักเป็น ก็จะรูจ ้ ก ั เหตุผล มากขึ้น ในเมื่อฉันรัก ตัวเอง ฉันจะไปเรียนรู้ พัฒนา ฝึกฝน เพื่อให้ ตัวฉันเองดีขึ้น”

03

ก็จริงๆ เพราะในอีกแง่หนึง่ เขา เป็นเจ้าของหัวใจเราได้นะ ถ้าเราอยูก่ บั เขาแล้วอบอุน่ ใจ แม้เขาจะอยูไ่ กลหรือ อยูก่ บั คนอืน่ แต่หวั ใจของเรานัน้ ไปอยู่ กับเขาแล้ว ก็อาจจะท�ำให้เขากลับมา หาเรา หรือเขาอาจจะไม่ทำ� อะไรให้เรา เสีย ใจ เขาจะเกรงใจเราบ้ า งก็ไ ด้ ครูเรียนรูม้ าว่าการฝึกตัวเองให้เป็นคน ใจกว้าง คนใจดี นีเ่ ป็นเรือ่ งใหญ่มาก (เน้นค�ำว่า มาก) แต่มนั ก็ยากมากด้วย เช่นกัน เราต้องฝึกทุกวัน ด้วยการหายใจลึกๆ อยูอ่ ย่างนี้ สุดท้ายวันหนึง่ เราก็เข้าใจได้เอง เข้าใจ ณ ที่นี้คือ ถ้าเราเป็นคนใจแคบ นัน่ แปลว่าเรารัก แค่ตวั เอง ดังนัน้ อย่าไปบอกว่านัน่ คือ ‘ฉันรักเธอ’ แต่ตอ้ งบอกว่าแท้จริงแล้ว ‘ฉันรักฉัน’ ถ้าฉันรักเธอ ฉันก็ต้อง ท�ำให้เธอมีความสุข ไม่วา่ จะอย่างไร ก็ตาม แต่ถ้าเขาเป็นคนดี เขาก็จะ ท�ำให้เรามีความสุข แต่ถ้าเขาไม่ใช่ คนดี เขาท�ำให้เราทุกข์ ทุบตีเราตลอด เวลา เราก็เลือกทีอ่ ยูข่ องเราได้นะ จนเมือ่ เรามีความเข้าใจในรัก และเรารักคนอืน่ เป็นแล้ว ตอนนัน้ เราจึง จะรักตัวเองเป็น ซึง่ แต่กอ่ นครูเคยไม่รกั ตัวเอง มีความรูส้ กึ ว่าไม่มคี ณ ุ ค่าอะไร เวลาท�ำอะไรผิดพลาดก็มักจะโทษ ตัวเองหรือโทษคนอืน่ ไปเรือ่ ย แต่เมือ่ รักเป็น ก็จะรูจ้ กั เหตุผลมากขึน้ ในเมือ่ ฉันรักตัวเอง ฉันจะไปเรียนรู้ พัฒนา ฝึกฝน เพือ่ ให้ตวั ฉันเองดีขนึ้ ทีส่ ำ� คัญ คือการรักตัวเองไม่ใช่รักแค่ค� ำพูด

แต่ต้องเข้าใจว่าตัวเองดีงามอย่างไร เก่งอะไร อะไรไม่เก่ง พัฒนาได้ไหม ชีวติ นีม้ จี ดุ ประสงค์อย่างไร สิง่ เหล่านี้ คือการศึกษาทีต่ อ้ งเรียนรูแ้ ละพัฒนา ควบคูก่ นั ไป พระท่านจึงสอนว่าที่ใดมีรักที่นั่น มีทก ุ ข์

ใช่ และพระท่านก็สอนให้ใช้ การหายใจด้วยเช่นกัน เวลาที่เรา เจ็บปวด ปวดใจจากสิง่ ใดก็ตาม ก็จะ หายใจลึกๆ หากหนึง่ ทีไม่ไหว ก็ตอ้ ง สามที แล้วเราจะค่อยๆ คิดได้ จากนัน้ ค่อยๆ แก้ปัญหา ในกรณีป่วยกาย ก็ใช้ลมหายใจได้เช่นกัน อย่างตอนที่ ครูปว่ ย ครูกลัว ครูเจ็บ แต่กใ็ ห้รวู้ า่ เจ็บ แล้วไม่ไปยุง่ กับเขา ในทางพุทธนีค่ อื การวิปสั สนาภายใน จนครูมาเข้าใจว่า เราบังคับจิตได้ ฝึกจิตได้ แต่เราบังคับ กายไม่ได้ อย่างเห็นว่าความดันขึน้ ไป เกือบ 200 เนือ่ งจากร่างกายเครียด แต่จติ ของเราไม่รต้ ู วั แสดงว่าจิตกับกาย มันแยกจากกัน จนตอนที่หมอวัด ความดันเสร็จ แล้วบอกว่า ‘เสร็จแล้ว ค่ะ’ ความดันลดลงมาเป็น 160 ก็งงว่า เรายังไม่ได้ทำ� อะไรเลย กายคงได้ยนิ ใจมันเลยลดลงมาเอง ตอนมาเล่ น ละครกั บ ย้ ง ตอนแรกนึกว่าละครตลกๆ พอมาอ่าน บทแล้วก็... พระเจ้าช่วย อาม่าต้อง ร้องไห้ อาม่าต้องโวยวายทั้งเรื่อง เอาแล้วสิ... และนีค่ อื เหตุผลทีเ่ ลิกเล่น ละครไปพักใหญ่ เพราะครูไม่สบาย ก็ในเมือ่ เรามีความสุขแล้ว เราจะไปทุกข์ อีกท�ำไม เวลาเราทุกข์ หัวใจของเราก็ เต้นแรง ท้องผูก ทุกอย่างก็จะปัน่ ป่วน ไปหมด เราก็ใช้ลมหายใจนี่ แ หละ เล่นให้เป็นอาม่า เล่นให้ย้งพอใจ พอเสร็ จ งานก็ ข อกลั บ คื น สู ่ ป กติ แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังท้องไส้ปั่นป่วน ลมเต็มท้องอยู่เลย แต่ก็ไม่เป็นไร มาท� ำ งานอาทิ ต ย์ ล ะหนสองหน เราถือว่าได้ทำ� ในสิง่ ทีเ่ ราชอบ ได้พบเจอ กับคนที่เราชอบ ก็เป็นสุขแล้ว

THE ART OF LOVING


15 ADAYBULLETIN.COM ADAYBULLETIN.COM FACEBOOK.COM/ADAYBULLETIN FACEBOOK.COM/ADAYBULLETIN

W H E N B R E AT H 0 4 BECOMES AIR จากการเกิด เติบโต สูค ่ วามรัก และอีกหน่อย คงถึงการพลัดพราก คุณคิดว่ากว่าจะถึง ลมหายใจสุดท้าย ศิลปินจะได้เรียนรูอ ้ ะไร

ครูนกึ ถึงคุณแม่ ตอนทีท่ า่ นเสีย ครูเศร้า มาก ทีเ่ ศร้าไม่ใช่เพราะแม่จากไป แต่เศร้าเพราะ ยังไม่ได้ทำ� อะไรดีๆ ทีอ่ ยากท�ำให้แม่เลย ตอนนัน้ ก็พดู แต่คำ� ว่าเดีย๋ วก่อนๆ แค่เรือ่ งพาไปกินข้าว เพราะครูคิดแค่ว่าแม่มีสตางค์เยอะกว่าเรา หากเราจะท�ำ ให้ แ ม่ มีค วามสุข คือ เราต้ อ งมี สตางค์เยอะกว่าแม่เสียก่อน จึงต้องท�ำงานก่อน ต้องรอไปก่อนเสมอ เมือ่ แม่ไม่อยูแ่ ล้วจึงค่อยได้ มาคิดว่าแล้วจะท�ำยังไงดี ในเมื่อไม่มีเวลาได้ แก้ตวั อีกต่อไป สิง่ ทีท่ ำ� ได้คอื ท�ำบุญให้แม่ ด้วย การไปนัง่ สมาธิ สร้างบุญกุศลให้แม่และตัวเอง ด้วยการเป็นคนที่มีจิตใจดี มีรอยยิ้มให้ทุกคน และยังคงอยูก่ บั การใช้ลมหายใจเพือ่ สร้างสิง่ ดีๆ ต่อไป ถ้าจะไม่ผด ั วันประกันพรุง ่ แล้ว เวลานีค ้ ณ ุ อยากท�ำสิง่ ใดมากทีส ่ ด ุ

ชีวติ นีค้ รูทำ� อะไรมาเยอะแล้ว และก็คน้ พบ แล้วว่าสิง่ ใดทีเ่ ราท�ำได้ดที สี่ ดุ อะไรทีท่ ำ� ได้ดรี องๆ ลงมา หากยังอยากท�ำอยู่ ก็ให้ฝกึ ฝนต่อไปเรือ่ ยๆ ซึง่ ถ้าถามตอนนี้ ครูเองก็ยงั ไม่แน่ใจว่าจะท�ำอะไร อีก รูแ้ ค่วา่ จะท�ำสิง่ ทีท่ ำ� อยูต่ อนนีไ้ ปเรือ่ ยๆ ด้วยจิต ทีเ่ ราได้อธิษฐานกับในหลวง รัชกาลที่ 9 ไว้วา่ จะรับใช้แผ่นดินจนวันสุดท้ายของชีวติ ครูจะไม่ ขีเ้ กียจ จะไม่ทำ� ตัวเป็นคนแก่ทรี่ อคอยความตาย เพราะตอนนี้ยังไม่ตาย สิ่งที่เรายังท�ำได้อยู่ใน ทุกๆ วันนี้ช่วยให้เราแข็งแรง และเป็นคนแก่ ทีไ่ ม่เบียดเบียนใคร หากวันหนึง่ ต้องเผชิญหน้า กับความตาย หรือเล่นละครอยู่แล้วจู่ๆ ตาย มันเป็นเรื่องของธรรมชาติ ซึ่งตอนนี้ร่างกาย ของเราก็เหมือนรถยนต์เก่าๆ วิ่งไม่ค่อยไหว บอดีน้ กี้ ซ็ อ่ มแล้วซ่อมอีก แต่ถา้ ได้บอดีใ้ หม่ ได้ไป อุแว้อยูก่ บั ใครสักคน คงเป็นการได้เรียนรูอ้ ะไร ใหม่ๆ ส�ำหรับครูคอื ความฝัน และ ความตายก็คอื ความสุข ครูบอกลูก เสมอว่าหากแม่ไปแล้ว ให้ยมิ้ ให้ใส่ สีแดง เพราะแม่ไปอย่างมีความสุข แม่จะได้ไปอย่างหน้าตึงๆ ใสๆ วันหนึง่ แม่จะได้กลับไปเป็นเด็กอีกครั้ง ได้มัดผม แกละ ซึ่งจริงๆ วันนี้ก็อยากท�ำนะ แต่ทำ� ไม่ได้ มันไม่เหมาะสม และยังคงย�้ำว่า เมื่อจากไป แล้ว ทุกคนจะต้องไม่โศกเศร้า ขอให้ครูหายไป จากโลกนี้ และเหลือไว้แค่ความทรงจ�ำก็พอ แต่ ครูเตรียมหนังสืองานศพไว้เรียบร้อยแล้วนะ (หัวเราะ) ละครเรือ ่ ง เลือดข้นคนจาง ก�ำกับการแสดงโดย : ทรงยศ สุขมากอนันต์ ผลิตโดย : บริษท ั นาดาว บางกอก จ�ำกัด ร่วมกับบริษท ั โฟร์โนล็อค จ�ำกัด สามารถรับชมได้ทางช่องวัน 31 ทุกวันศุกร์ เวลา 20.45 น. และวันเสาร์ เวลา 20.10 น.


16 ISSUE 561 22 OCT 2018

A MUST B O OK

เอื๊อก

!

ขอชวนทุกคนร่วมผจญภัยเพือ ่ ส�ำรวจ ‘ทางเดินอาหาร’ ระบบการท�ำงานทีอ ่ ยู่ ในช่องท้องของร่างกาย ผ่านข้อมูล ข้อเท็จจริง พร้อมกับศึกษาถึงเรือ ่ งตับ ไต ไส้ พุง กระเพาะอาหาร ผนังล�ำไส้เล็ก และล�ำไส้ใหญ่ ไปกับ Gulp จาก แมรี่ โรช นักเขียนผู้ที่ชื่นชอบเรื่องราวของ ร่างกายมนุษย์อย่างเต็มพิกด ั

ภาพอวัยวะ หรือสิง่ ทีเ่ ธอพยายามอธิบายได้อย่างชัดเจน มีประเด็น ให้ฉุกคิด และข้อสรุปที่ใส่มาไว้อย่างครบถ้วน อย่างตอนที่ 16 I’m All Stopped Up ทีท่ ำ� ให้เราอึง้ ไปกับเรือ่ งราวการตายอย่างคาดไม่ถงึ ของ เอลวิส เพรสลีย์ ด้วยเหตุผลเพียงแค่ ‘ท้องผูก’ และเสียชีวิต ขณะที่ก�ำลังเบ่งอุจจาระ ส่วนเรื่องราวจะเป็นอย่างไรต่อนั้น ต้อง พลิกไปอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเอง ซึ่งการันตีว่าคุณจะทั้งอึ้ง ทึ่ง และสนุกไปพร้อมๆ กับอาการอี๋เป็นพักๆ แต่รับรองว่าไม่อยาก วางหนังสือเล่มนีล้ งแน่นอน

S HOW PANTOMIME LIFE

Gulp คือหนังสือแนววิทยาศาสตร์ ตีพมิ พ์ครัง้ แรก เมือ่ ปี 2014 ด้วยเนือ้ หาเชิงลึกทีอ่ า่ นสนุก แต่กลับเข้มข้น ผ่านการใช้ภาษาทีเ่ ข้าใจง่าย สอดแทรกไปด้วยอารมณ์ขนั อยูใ่ นทุกบท ซึง่ ตอนนีท้ างส�ำนักพิมพ์ a book ได้แปลหนังสือ เล่มนีเ้ ป็นภาษาไทย เพือ่ พาทุกคนออกเดินทางไปพร้อมๆ กัน เริม่ ต้นกันทีบ่ ทน�ำ เธอได้ยกตัวอย่างเหตุการณ์ทดลอง ของนักวิทยาศาสตร์ในอดีตหลายต่อหลายคน อาทิ อัลกอต คีย์-โอเบรก์ แพทย์ชาวสวีเดน ที่น�ำศพมานั่งบนเก้าอี้ใน ห้องอาหาร เพือ่ ศึกษาความจุของกระเพาะอาหาร, ฟร็องซัว มาจ็องดี ชายคนแรกที่จ�ำแนกองค์ประกอบทางเคมีของ แก๊สในล�ำไส้ โดยได้รบั การอนุเคราะห์จากนักโทษชาวฝรัง่ เศส ทีถ่ กู ประหารด้วยกิโยตีนขณะก�ำลังย่อยอาหารมือ้ สุดท้าย อยู่ รวมทัง้ การหาข้อมูลด้วยตัวเธอเองจากการส่องกล้อง ขนาดเท่าเม็ดยา เพือ่ ให้ได้เห็นภาพภายในท้องของจริง ส่วนเนื้อหาด้านใน คุณจะได้เต็มอิ่มไปกับข้อมูล มากมาย ตัวอย่างงานวิจยั การเปรียบเทียบทีท่ ำ� ให้เราเห็น

กลับมาอีกครั้งกับ ตลาดนัด หนูโจอาร์ตฟาร์ม ตลาดนัดแฮนด์เมด สายออร์แกนิกและรักษ์โลก น�ำโดย ‘หนู’ - ภัทรพร อภิชติ และ ‘โจ’ - วีรวุฒิ กังวานนวกุล ซึง่ จัดไปแล้วในช่วงต้นปี ทีผ่ า่ นมา แต่เพือ่ ให้ชาวกรุงได้เลือกซือ้ สินค้ารักษ์โลกและสนับสนุนพ่อค้า แม่คา้ สายแฮนด์เมดขนาดเล็ก พร้อมๆ การขับเคลื่อนพลังเครือข่ายรักษ์โลก ไปด้วยกัน มาสร้างสรรค์พื้นที่ชีวิต ในเมืองร่วมกันในวันที่ 17-18 พฤศจิกายน 2561 ทีส่ วนครูองุน่ มาลิก ซ.ทองหล่อ 3 สอบถามรายละเอี ย ดเพิ่ ม เติ ม ที่ เฟซบุก๊ แฟนเพจ ‘NooJo Art and Farm’

About the Author & Her 3 Best Selling Books แมรี่ โรช (Mary Roach) นักเขียนชาวนิวแฮมป์เชียร์ สหรัฐอเมริกา เจ้าของผลงานเบสต์เซลเลอร์แนว Pop Science ที่มีอารมณ์ขัน มากทีส ่ ด ุ แห่งปี

Stiff (2004) หนังสือ ที่ ว่ า ด้ ว ย เ รื่ อ ง ข อ ง การชันสูตรศพ ทีท ่ ำ� ให้ คุณ (อาจจะ) อยากรู้ ว่า จะเกิดอะไรขึ้นกับ สภาพร่างกายของเรา หลั ง จากเสี ย ชี วิ ต ไป แล้ว

Spook (2007) หนังสือ ทีช่ วนให้คณ ุ อยากออก ไปค้นหาจิตวิญญาณ แ บ บ ร่ ว ม ส มั ย แ ล ะ ประวั ติ ศ าสตร์ ต่ า งๆ ผ่ า น ข้ อ มู ล ข อ ง นักวิทยาศาสตร์ หรือ ใครก็ตามที่พยายาม พิสูจน์เรื่องนี้

Grunt (2017) ห นั ง สื อ ที่ จ ะ ช ว น ทุกคนไปท�ำความรูจ้ ก ั กั บ ศ า ส ต ร์ ชี ว ภ า พ แ ล ะ จิ ต วิ ท ย า ข อ ง มนุษย์ในสงครามโลก

EX H IBITIO N

MOLESKINE WONDER JOURNEY EXHIBITION เพือ่ ขับเคลือ่ นจินตนาการแห่งศิลปะ เราขอแนะน�ำนิทรรศการ Moleskine Wonder Journey Exhibition ซึง่ จัดโดย แบรนด์ Moleskine ร่วมกับศิลปินรุ่นใหม่มาแรง Painterbell หรือ เศรษฐพร ก่อวาณิชกุล นักวาดภาพประกอบ เจ้าของลายเส้นตัวการ์ตนู John Lulu and Friends สุดน่ารัก ผ่านเรือ่ งราวของการออกเดินทางไปยังดินแดนแห่งเวทมนตร์ บนเส้นทางแสนมหัศจรรย์ งานนีจ้ ดั ขึน้ ระหว่างวันที่ 26 ตุลาคม-14 พฤศจิกายน 2561 ตัง้ แต่เวลา 10.00-20.00 น. ที่ร้าน Moleskine ชั้น 2 เกษรวิลเลจ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทาง www.facebook.com/moleskineth

NOOJO ART AND FARM FESTIVAL

Gulp

EVENT

ไปท�ำความรูจ้ กั กับความพิเศษ และองค์ประกอบต่างๆ ของละครใบ้ เช่น การสร้างคาแร็กเตอร์ สร้างสิง่ ของ ในอากาศ จั ง หวะของละครใบ้ การขยายและลดทอนรายละเอี ย ด เทคนิ ค ของละครใบ้ พร้ อ มเรี ย นรู ้ สิ่ ง ส� ำ คั ญ พื้ น ฐานของการแสดงใน การเข้าใจในตนเองและเข้าใจผู้อื่น น�ำโดย อรรณพ กิจเกษร นักแสดง ละครใบ้ผคู้ ว้ารางวัลอันดับสอง ประเภท ละครใบ้ จาก Festival International du Mime เมือง Perigueux ประเทศ ฝรัง่ เศส ราคาบัตร 350 บาท พร้อมปิดหู และเปิดใจกันในวันที่ 9-11 พฤศจิกายน 2561 ที่ Buffalo Bridge Gallery แยก สะพานควาย สอบถามรายละเอียด เพิม่ เติมได้ทเี่ ฟซบุก๊ แฟนเพจ ‘ละครใบ้ Rohngrianmime’


Strip ad VIRGIN adB561.pdf 1 09-Oct-18 10:41:04 AM

17 ADAYBULLETIN.COM FACEBOOK.COM/ADAYBULLETIN

B EAUT Y

NAR S HOT TRYST HOLIDAY 2018 น้องจะเป็นลมแล้วพี่จ๋า เมื่อได้รู้ข่าวคราวว่า NARS จะออกคอลเล็กชันเครื่องส�ำอางใหม่ล่าสุดอย่าง Hot Tryst Cheek Palette พาเลตต์ปัดแก้ม 6 สี มีบลัชออน 4 สี ได้แก่ ชมพู ส้มคอรัล ชมพูเข้ม และแดงชิมเมอร์ และมีไฮไลต์ 2 สี ชิมเมอร์เพิรล์ อมชมพู และชิมเมอร์ทอง นอกจากนีย้ งั มีลปิ สติก อายชาโดว์พาเลตต์สีสวยเลอค่าชนิดเรียกว่าต้องไปจับจอง สามารถสั่งซื้อได้แล้ววันนี้ที่ www.sephora.co.th

G AD G E T

GOPRO HERO7 BLACK สาวก โกโปร ต้องมือสั่น เมื่อแอ็กชันคาเมราแบรนด์นี้ได้ส่งรุ่นล่าสุด GoPro HERO7 มายั่วเงินในกระเป๋าสตางค์อีกครั้ง โดยมาพร้อมสเปกเทพๆ อย่าง ระบบลดการสั่นไหวของวิดโี อ HyperSmooth สามารถบันทึกวิดีโอได้อย่างลื่นไหล ราวกับมืออาชีพ โดยไม่ต้องใช้ตวั กันสั่นช่วย แถมกันน�้ำได้ดี ใช้งานได้ดีแม้ตอน ลมแรง ราคาเปิดตัวอยู่ที่ 14,500 บาท นอกจากนีย้ งั มีอกี สองรุ่น คือ HERO7 Silver ราคา 10,800 บาท และ HERO7 White ราคา 7,200 บาท ให้เป็นทางเลือก ติดตาม รายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.facebook.com/GoProThailand

CON C E R T

KAMALA LIVE IN CONCERT อีกไม่นานเราจะได้พบกับคอนเสิร์ตสไตล์บรอดเวย์ที่หาดูได้ยากในเมืองไทย ไปพร้อมๆ กับการท�ำบุญ ในคอนเสิร์ตที่มีชื่อว่า Kamala LIVE in Concert จากสมาชิก ครอบครัวสุโกศล อาทิ มาริสา ‘The Vocalist’ / สุกี้ ‘The Musician’ และน้อย ‘The Dancer’ พร้อมด้วยฟินนาเกน ลูกชายของน้อย รายได้มอบให้ศูนย์สมเด็จพระเทพรัตนฯ แก้ไขความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะ สภากาชาดไทย ในวันที่ 15-17 พฤศจิกายน 2561 ณ ห้องกมลทิพย์บอลรูม โรงแรมเดอะ สุโกศล กรุงเทพ บัตรราคา 3,500 / 3,000 / 2,500 / 2,000 และ 1,500 บาท ติดต่อส�ำรองบัตรได้ที่โทร. 0-2247-0123 ต่อ 1928 และ www.ticketmelon.com

PRODUC T

A’PURA กลิน่ อายและบรรยากาศแห่งความสดชืน่ ในช่วงปลายฝน ต้นหนาว ชวนให้เรานึกถึง a’PURA แบรนด์อโรมาจากจังหวัด เชียงใหม่ ทีไ่ ด้สร้างสรรค์กลิน่ หอมสุดพิเศษจากวัตถุดบิ ธรรมชาติ ภายใต้คอนเซ็ปต์ชว่ งเวลาแห่งการเดินทาง ปัน้ แต่งให้เกิดกลิน่ หอม สดชืน่ อย่าง Fresh Journey และ Sweet Journey มาพร้อมแพ็กเกจจิง้ เครือ่ งหนัง แวะไปลองกลิน่ ได้ทชี่ นั้ 4 โซน Ecotopia สยามดิสคัฟเวอรี่ หรือ The a'PURA Store ท่าแพ (ถนนคนเดินเชียงใหม่) สอบถาม รายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.facebook.com/apuragroup

SHOP

THE ARTISANS’ ROYAL CLUB ส�ำหรับสุภาพบุรษุ ลุกส์คลาสสิกทีก่ ำ� ลังมองหาสถานทีท่ ี่ จะมาตอบโจทย์ทุกความต้องการในหนึ่งวันตั้งแต่ช้อปปิ้งจนถึง จิบไวน์ เราขอเสนอแหล่งรวมแบรนด์ดงั เปิดใหม่ลา่ สุด The Artisans’ Royal Club ทีน่ ำ� 5 แบรนด์อย่าง Truefififi tt & Hill แบรนด์รา้ นตัดผมที่ เก่าแก่ที่สุดในโลก Mango Mojito แบรนด์รองเท้าทรงคลาสสิก Selvedgework แบรนด์ท่มี ีการผลิตผ้ายีนส์มากกว่า 30 ปี Notch แบรนด์ตน้ ตระกูลของการเป็นช่างตัดสูท และ Duke : Contemporary Art Space & Cigar Bar ร้านทีม่ คี วามเชีย่ วชาญในด้านเครือ่ งดืม่ ทุกชนิด แวะไปช้อปปิง้ และชิลได้แล้ววันนีท้ ชี่ นั้ 1 เกษรวิลเลจ


18

THEY SAID

เรื่อง

ปริญญา ก้อนรัมย์ บรรณาธิการบทความ kuzher_@hotmail.com

ภาพ

รัชต์ภาคย์ แสงมีสินสกุล ช่างภาพ FB : ratchaphak sangmeesinsakul

ISSUE 561 22 OCT 2018

​ในโลกยุคปัจจุบัน การท�ำธุรกิจโดยมุ่งหวังผลก�ำไรเพียงอย่างเดียวอาจไม่ใช่ค�ำตอบที่ท�ำให้ธุรกิจเดินหน้าไปได้อีกต่อไปแล้ว ค�ำถามที่ส�ำคัญไปกว่านั้นคือ เราจะท�ำอย่างไรให้องค์กรสามารถเดินต่อไปได้ในระยะยาว และสร้างสรรค์สิ่งดีๆ ให้กับลูกค้า รวมถึงตัวพนักงานด้วย เราชวนคุณไปค้นหาค�ำตอบเหล่านั้นกับบทสัมภาษณ์ของ 3 ผู้บริหารบริษัทเงินติดล้อ คุณเบอร์นาร์ด โช ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายการตลาดและพัฒนาธุรกิจ คุณอาฑิตยา พูนวัตถุ ผู้อ�ำนวยการอาวุโส ฝ่ายทรัพยากรบุคคล และผูอ ้ ำ� นวยการอาวุโส ฝ่ายนายหน้าประกันภัย และ คุณฐิตเิ ดช ศรีมารยาท ผูอ ้ ำ� นวยการ ฝ่ายการตลาดและพัฒนาธุรกิจ ถึงเรือ ่ งราว เบื้องหลังในการสร้างวัฒนธรรมที่แข็งแรงในองค์กร ความหมายของความสุขในการท�ำงาน และวิธีที่จะท�ำให้บริษัทหมุนต่อไปได้ ในโลกวันข้างหน้า

“เราฉลองกับความส�ำเร็จทีไ่ ด้มา แต่เราต้องรูว้ า่ เราฉลองเพราะอะไรและเพือ ่ ใคร เราสนุกและมีความสุข กับความส�ำเร็จของเรา แต่กอ ่ นหน้านัน ้ เราต้องส่งมอบสิง่ ดีๆ ให้ลก ู ค้าไปก่อน”

GROWING TOGETHER LEARNING TOGETHER


19 ADAYBULLETIN.COM FACEBOOK.COM/ADAYBULLETIN

เดินหน้าธุรกิจด้วยความเชื่อ

คุณเบอร์นาร์ด โช : ต้องบอกว่าความเชื่อของบริษัท เงินติดล้อ ซึง่ เป็นภาพรวมของเราเสมอมา คือเราเชือ่ ว่าทุกๆ คนควร มีสิทธิเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่เป็นธรรมและโปร่งใสได้ เพราะลูกค้า ส่วนใหญ่ของเราเป็นคนทีไ่ ม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบทีม่ ี ความเป็นธรรมได้ จากการทีเ่ ขาไม่ได้มีรายได้ประจ�ำ ท�ำให้ต้องไป กู้ยืมหนี้นอกระบบ บางครั้งท�ำให้ชีวิตของเขาต้องติดอยู่กับปัญหา ซึ่งเงินติดล้อเชื่อว่าการช่วยเหลือลูกค้ากับการท�ำให้บริษัทเติบโต ไปข้างหน้า สามารถท�ำไปพร้อมๆ กัน แน่นอนว่าทุกบริษทั อยากได้กำ� ไร เราก็เหมือนกัน แต่สิ่งที่ต่างคือ เราอยากเติบโตในระยะยาวด้วย แต่ถ้าเราเอาเปรียบลูกค้า สุดท้ายลูกค้าก็จะไม่อยูก่ บั เรา แต่ถา้ เรามี เจตนาที่ดีในการช่วยลูกค้า และเจตนาที่ดีในการส่งเสริมพนักงาน สุดท้ายบริษทั เราจะเติบโตไปเรือ่ ยๆ ซึง่ เป็นสิง่ ทีผ่ บู้ ริหารต่างเข้าใจกันดี และเป็นโจทย์ใหญ่ทที่ า้ ทาย ว่าเราจะท�ำให้พนักงานมากกว่าสีพ่ นั คน ของเราเข้าใจสิ่งนี้และเดินไปพร้อมกันได้อย่างไร สร้างวัฒนธรรมองค์กรจากภายใน

คุณอาฑิตยา : แต่เดิมเรามีวธิ สี ร้างวัฒนธรรมองค์กรไม่ตา่ ง จากบริษัทอื่นๆ เรามีการจ้างบริษัทเอเจนซีมาวางกลยุทธ์ให้เรา จนได้ค�ำมาสี่ค�ำ ‘รู้ลึก-ริเริ่ม-จริงใจ-ใกล้ชิด’ เป็นค�ำสี่ค�ำที่เราใช้ ท่องจ�ำกัน แต่พอเดินไปถึงจุดหนึ่งเราเริ่มมีคำ� ถามว่า เรารู้อะไรลึก เราใกล้ชดิ กับใคร กลายเป็นว่าค�ำพวกนัน้ เป็นสิง่ ทีเ่ ราและพนักงาน ท่องจ�ำกันเฉยๆ แต่ไม่รู้ว่ามันคืออะไร จนวันหนึ่งผู้บริหารเรามานั่ง คุยกัน และคิดว่าเราท่องค�ำพวกนั้นเราก็ไม่เข้าใจว่ามันคืออะไร เราเลยกลับมาสร้างวัฒนธรรมจากจุดแข็งเดิมของเราอีกครั้ง คุณเบอร์นาร์ด โช : ซึ่งจุดแข็งที่เป็นตัวเราพวกนั้นกลาย มาเป็นค่านิยมทัง้ เจ็ดทีเ่ ราน�ำมาขับเคลือ่ นองค์กร สิง่ ทีด่ คี อื เราไม่ได้ เอามาจากไหนก็ไม่รู้ แต่มนั มาจากประวัตศิ าสตร์ของบริษทั เงินติดล้อ เราพยายามดูว่าสิ่งที่เราท�ำอยู่ สิ่งที่ส�ำคัญมันคืออะไร ซึ่งมันก็เป็น สิง่ ทีเ่ ราท�ำมาตลอดและเราดึงมันออกมา เพือ่ ส่งต่อให้พนักงานของ เรา เพราะเราเชือ่ ว่าไม่มกี ฎหรือระเบียบอะไรทีจ่ ะควบคุมให้คนกว่า สีพ่ นั คนในองค์กร ทัง้ ส�ำนักงานใหญ่และทีก่ ระจายตัวอยูต่ ามสาขา ทั่วประเทศคิดได้เหมือนกัน แต่ต้องสร้างและปลูกฝังสิ่งเหล่านั้น ออกมาจากใจข้างในเท่านั้น ส่ ง ต่ อ วั ฒ นธรรมด้ ว ยความจริ ง ใจผลลั พ ธ์ จ าก ความเปลี่ยนแปลง

คุณอาฑิตยา : ในการสร้างวัฒนธรรมเราต้องเปลี่ยนแปลง หลายๆ อย่าง ยกตัวอย่างออฟฟิศใหม่ของเราที่อารีย์ เราพยายาม ให้มพี นื้ ทีเ่ ปิดเยอะๆ เพราะว่าเราอยากให้พนักงานนัง่ ท�ำงานด้วยกัน กินข้าวด้วยกัน เราเชื่อว่างานจะส�ำเร็จไปได้ดีถ้าเรามีการสื่อสาร การเชื่อมต่อแบบเป็นกันเองของพนักงานมากขึ้น ทุกๆ ไตรมาส เราจะมีการประกวดตกแต่งออฟฟิศในแต่ละชัน้ เราก็จะเห็นความสุข ของพนักงานผ่านโซเชียลมีเดีย ผ่านกลุ่มเพื่อนที่พูดคุยถึงสิ่งที่ พวกเขาท�ำกัน คุณฐิติเดช : สิ่งที่ดีอีกอย่างคือ ผู้บริหารของเงินติดล้อเอง ไม่ได้เป็น untouchable หรือเป็นบุคคลที่แตะต้องไม่ได้ ผู้บริหาร บางทีเ่ ขาอยูส่ งู มากจนพนักงานส่วนใหญ่รสู้ กึ เข้าไม่ถงึ แต่ทนี่ ที่ กุ คน ลงไปเยีย่ มสาขา ลงไปพบเจอไปพูดคุยกับน้องๆ หน้าบ้านด้วยตัวเอง ซึง่ หลายๆ ครัง้ เราเห็นว่าข้อมูลบางอย่างทีเ่ กิดจากหน้าบ้าน สมมติ มีสักร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่กว่าจะไปถึงข้างบนเหลือแค่สอง และสอง บางทีก็เป็นสองเปอร์เซ็นต์ที่ปลอมด้วย ปัญหาอีกร้อยเปอร์เซ็นต์ กลับมองไม่เห็น ซึ่งที่นี่ไม่ใช่แบบนั้น ผู้บริหารของเราลงไปเจอเอง และท�ำให้พนักงานอย่างเรารู้สึกแตกต่างออกไป คุณอาฑิตยา : เราไปที่สาขากันบ่อย และต้องบอกเลยว่า ทุกครัง้ ทีไ่ ปมักมีอะไรให้เราต้องกลับมาปรับปรุงอยู่ตลอด เพราะว่า ทุก อย่ า งถ้ า เรานั่ง คิด เอาเองคงไม่ ส ามารถเข้ า ใจพนัก งานและ ลูกค้าของเราได้จริงๆ สิ่งที่ดีที่สุดคือเราลงไปเห็นด้วยตาจริงๆ ผลลัพธ์ความเปลี่ยนแปลง

คุณเบอร์นาร์ด โช : ทีเ่ งินติดล้อเราอยากให้พนักงานทุกคน ได้มสี ว่ นร่วม เขาคิดอะไรให้เขาได้ทำ� สิง่ นัน้ ออกมา ถ้าเดินดูในแต่ละชัน้ ของบริษทั เราจะเห็นพนักงานมีพลังในการท�ำงานเยอะมาก สิง่ นีม้ นั เกิดจากการทีเ่ ราเปิดพืน้ ทีค่ วามสร้างสรรค์ออกมา การทีเ่ ราออกแบบ

ออฟฟิศและการท�ำงานแบบนี้ มันท�ำให้ก�ำแพงระหว่างผู้บริหาร กับพนักงานแตกไปหมดเลย คุณฐิติเดช : ต้องบอกตรงๆ ว่าอาจจะมีบ้างที่เราก็ช็อก เหมือนกันกับความเปลีย่ นแปลงทีเ่ กิดขึน้ ในองค์กร ต้องเล่าว่าผมเอง เคยท�ำงานสายธนาคารมาก่อน ก็จะรู้วัฒนธรรมการท�ำงานใน ธนาคารดี ว่าส่วนใหญ่มีการออกนโยบายและค�ำสั่งแบบบนลงล่าง ซึ่งบางครั้งเราก็ไม่รู้เหตุผลว่าให้เราท�ำไปท�ำไม แต่ที่เงินติดล้อ เราไม่ได้ทำ� งานกันแบบนัน้ เรามีการทดลองท�ำงานแบบสกรัม (Scrum) เป็นการครอสฟังก์ชนั (Cross functional) รวมพนักงานในแต่ละแผนก มาออกไอเดียท�ำงานพร้อมกัน ซึง่ ถ้าเป็นแต่กอ่ นพนักงานแต่ละแผนก ก็จะพูดคุยและสนใจแค่งานของตัวเอง เช่น มาร์เกตติง้ ก็ดมู าร์เกตติง้ ไอทีก็ดูไอที ฝ่ายการเงินก็ดูแค่ตัวเลขโดยที่ไม่รู้ว่าที่มาเป็นยังไง ซึง่ การท�ำงานแบบสกรัม ท�ำให้เราเข้าใจตรงกัน แต่ละคนก็จะเริม่ คิด ในแง่ของภาพรวมของบริษทั มากกว่าทีจ่ ะคิดแค่ความสนใจของตัวเอง จากเหตุการณ์เหล่านัน้ ท�ำให้เกิดผลลัพธ์ในแต่ละโปรเจ็กต์ทนี่ า่ พอใจ แต่สิ่งที่ดีไปกว่านั้นและเกิดขึ้นตามมา คือเราเริ่มมีการคุยกันเอง มากขึ้น สนุกกับการทดลอง ล้มเหลว และเรียนรู้

คุณฐิติเดช : อีกข้อหนึ่งที่เงินติดล้อเชื่อมั่นคือ dare to experiment เราเชื่อว่าถ้าท�ำเร็ว ทดสอบเร็ว ล้มเหลวเร็ว เราจึงจะ ได้เรียนรูเ้ ร็ว ซึง่ เรามีเครือ่ งมือในการสนับสนุนความคิดแบบนี้ โดยที่ เรามีความตัง้ ใจทีจ่ ะทดลองสิง่ ใหม่ๆ แบบนี้ จากแต่กอ่ นทีท่ ำ� ก้อนใหญ่ ใช้เวลาท�ำงานโปรเจ็กต์หนึง่ สองสามเดือน เราเอาไอเดียโยนให้ไอที ไปก้อนหนึง่ และเขาหายไปสามเดือน แล้วสุดท้ายผลลัพธ์ถา้ ไม่สำ� เร็จ มันแก้ไม่ได้แล้ว แต่ในการท�ำงานแบบสกรัม เราสามารถทดลองและ ปรับเปลี่ยนทุกอย่างได้เร็ว เรารู้ว่ามันผิดพลาดอะไรเราก็แก้ตรงนั้น ได้เลย เราท�ำเร็ว ล้มเหลวเร็ว และเรียนรู้จากมันทันที ​คุณอาฑิตยา : สิ่งที่เราโชคดีมากๆ เลยคือพนักงานของ เงินติดล้อเป็นคนทีก่ ล้าเปิดรับกับความเปลีย่ นแปลงมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว และเราเป็นบริษทั ทีค่ อ่ นข้างบ้าพลัง (หัวเราะ) จะสังเกตเห็นพนักงาน ของเราชอบวิง่ ไม่รวู้ า่ ท�ำไมไม่เดินดีๆ ก็ไม่รู้ ซึง่ จริงๆ ส่วนหนึง่ มันมาจาก การทีล่ กู ค้าของเราทีส่ าขาต้องการเงินด่วน วันหนึง่ พนักงานเราต้อง บ ริการลูกค้าเยอะ และเราก็ต้องช่วยเหลือสาขาและลูกค้าของเรา มันท�ำให้เราต้องท�ำอะไรเร็ว รับมือกับปัญหาทีท่ ำ� ให้เราต้องปรับเปลีย่ น อยู่ตลอดเวลา เป้าหมายสูงสุดคือความสุข

คุณอาฑิตยา : และสิง่ ส�ำคัญทีส่ ดุ ทีเ่ ราอยากให้พนักงานทุกคน ได้รบั ก็คอื หนึง่ ในค่านิยมของเรา คือท�ำงานเต็มทีป่ าร์ตใี้ ห้สดุ เราฉลอง กับความส�ำเร็จที่ได้มา แต่เราต้องรู้ว่าเราฉลองเพราะอะไรและ เพือ่ ใคร เราสนุกและมีความสุขกับความส�ำเร็จของเรา แต่กอ่ นหน้านัน้ เราต้องส่งมอบสิ่งดีๆ ให้ลูกค้าไปก่อน ซึ่งมันตอบในภาพรวมว่า เราท�ำงานด้วยกันเราสนุกด้วยกัน คุณเบอร์นาร์ด โช : ความตัง้ ใจของเราคือขับเคลือ่ นองค์กร ไปข้างหน้า และท�ำให้ทกุ คนสนุกกับงานทีส่ ่งมอบให้ลกู ค้า สนุกกับ การเติบโตในสายงานตัวเองได้ ซึ่งมันตรงกับ tagline ของบริษัทเรา ‘ชีวติ หมุนต่อได้’ สิง่ นีม้ นั คือค�ำสัญญาทีเ่ ราอยากให้ทงั้ พนักงานและ ลูกค้ารับทราบว่า เราอยากสนุกและมีความสุขในวันทีเ่ ราช่วยเหลือ ลูกค้า เราอยากช่วยเหลือลูกค้าให้หลุดพ้นจากปัญหา ถ้าเป็นไปได้ เราไม่อยากให้เขากลับมาหาเราอีก นี่คือสิ่งที่เราเชื่อเสมอมา

7

ย ค่านิ ม

ประการ

สู่ ก า ร ห มุ น วั ฒ น ธ ร ร ม องค์กรไปข้างหน้า ของเงินติดล้อ

Impact by 01 Sustainable Creating Opportunities สร้างสรรค์ แบ่งปันโอกาส สู่ความส�ำเร็จอย่างยั่งยืน

of Ownership 02 Sense with Gratitude รู้ ส� ำ นึ ก และมี จิ ต วิ ญ ญาณ ความเป็นเจ้าของ

03

Candid Teamwork ร่วมมือร่วมใจ ตรงไปตรงมา เพื่อความส�ำเร็จของทีม

with Integrity, 04 Serve Informality, and Authenticity

ท�ำทุกอย่างด้วยความซื่อสัตย์ จริงใจ และเป็นกันเอง

for Wisdom and 05 Thirst Self-Development กระหายการเรียนรู้ และไม่หยุด พัฒนาตนเอง

iment to Lead 06 Exper Change กล้าทดลองในสิ่งใหม่ พร้อม ก้าวไปเป็นผูน ้ ำ� การเปลีย ่ นแปลง

k S m a r t, P a r t y 07 Wor Hard ท�ำงานให้เต็มที่ ปาร์ตี้ให้สุด


20 ISSUE 561 22 OCT 2018

BULLETIN BOARD

TA L K O F T H E T O W N เป๊ปซี่โค ชวนคนไทยดูแลสุขภาพ หัวใจเนื่องในวันหัวใจโลก ​เนื่องในโอกาสวันหัวใจโลก ซึ่งตรงกับวันที่ 29 กันยายนของทุกปี ในปีนี้ บริษัท เป๊ ปซี่-โคล่า (ไทย) เ ทรดดิ้ง จ�ำกัด ในเครือเป๊ปซี่โค เจ้าของแบรนด์ ‘เควกเกอร์’ (Quaker) ซึง่ เป็นผลิตภัณฑ์ขา้ วโอ๊ตอันดับหนึง่ ของโลก จึงได้จดั งาน ‘PepsiCo: Happy Healthy Heart #ดีตอ่ ใจคนไทยแข็งแรง’ ขึน้ เพือ่ สร้างความตระหนักรู้ ในเรื่องหัวใจและส่งเสริมให้คนไทยหันมาใส่ใจกับ การดูแลรักษาสุขภาพร่างกายให้หา่ งไกลจากโรคหัวใจ และหลอดเลือด พร้อมแนะน�ำผลิตภัณฑ์ขา้ วโอ๊ตซึง่ เป็น ธั ญ พื ช ที่ อุ ด มไปด้ ว ยสารอาหารที่ มี ป ระโยชน์ ต ่ อ ร่างกาย ทัง้ ยังช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล จึงช่วยลด ค วามเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ข้าวโอ๊ต ‘เควกเกอร์’ ได้ท่ี www.quakeroats.com

CEBIT ASEAN Thailand หนุนเทคโนโลยีขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม

Miss Thailand World 2018 เดินทางมาขอบคุณผูส ้ นับสนุน

พาราด็อกซ์ ส่ง ‘เขียนไว้ขา้ ง เตียง’ ตัวแทนรักซ่อนเร้น ​

B OLBALGAN4 1st Fan M eeting in Bangkok 2018

​อมิ แพ็ค ร่วมกับดอชเช่อ เมสเซ่ เอจี น�ำงาน CEBIT งานแสดงสินค้าและเจรจา ธุรกิจในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ และดิ จิ ต อลอั น ดั บ หนึ่ ง ของโลกจาก ประเทศเยอรมนีใ นชื่อ CEBIT ASEAN Thailand 2018 โดยถอดรูปแบบการจัดงาน มาจาก CEBIT ต้นฉบับอย่างครบถ้วน ประกอบไปด้วย 4 เวทีหลัก ได้แก่ d!conomy, d!tec, d!talk และ d!campus ที่รวมทั้งงาน แสดงสินค้าและเจรจาธุรกิจ เข้ากับงาน สั ม มนา และความสนุ ก สนานในโซน เฟสติวัล โดยมีหน่วยงานทั้งภาครัฐและ เอกชนที่ให้การสนับสนุนการจัดงาน อาทิ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม, กระทรวงวิ ท ยาศาสตร์ แ ละเทคโนโลยี , ไมโครซอฟท์, ลอจิเทค และแบรนด์ต่างๆ อีกกว่า 200 บริษัท

พัชราวดี วีรบวรพงศ์ กรรมการผูจ้ ดั การ และ วัลลภ กมลวิศษิ ฎ์ รองกรรมการผูจ้ ดั การ โรงแรมเดอะ เบอร์เคลีย์ ประตูน�้ำ ให้การต้อนรับและร่วมแสดงความยินดีกบั ‘นิโคลีน’ - พิชาภา ลิมศนุกาญจน์ ในโอกาสได้รับ ต�ำแหน่งมิสไทยแลนด์เวิลด์ 2018 พร้อมด้วย รองทั้งสอง ‘แพรว’ - แพรววนิต เรืองทอง รองอันดับ 1, ‘เลน่า’ - เฮเลน่า บุช รองอันดับ 2 และ ‘การ์ ตู น ’ - ณั ฎ ฐณิ ช า บุ ญ ปอง Channel 3 Ambassador ที่เดินทางมาเพื่อ ขอบคุณทางโรงแรมฯ ในฐานะผู้ให้การสนับสนุนสถานที่ในการจัดงานประกวด ครั้งนี้ ณ บริเวณล็อบบี้ของโรงแรมฯ

​ยงั ไม่ทนั จะปล่อยเพลงเต็มออกมา แต่เพลง ‘เขียนไว้ขา้ งเตียง’ ทีส่ หี่ นุม่ ต้า, สอง, บิ๊ก, โจอี้ วง PARADOX จากค่าย genie records น�ำมาคัฟเวอร์ใหม่ ก็ถูก พูดถึงกันหนาหูซะแล้ว หลังจากถูกหยิบ ไปประกอบละครเรือ่ งเมีย 2018 แค่เพียง เสีย้ วเดียวเท่านัน้ ซึง่ ทางค่ายจีนฯี่ ต้นสังกัด ก็ไม่รรี อ รีบส่งเพลงและมิวสิกวิดโี อออกมา ให้ได้เจ็บเรียบร้อยแล้ว สามารถหาชม ได้แล้วทาง LINE TV ก่อนจะลงยูทบู ต้นเดือน พฤศจิกายนนี้

​ดูโอ้สาวโซคิวต์ที่ขึ้นชื่อว่าฮอตสุด ในสายเพลงอินดีน้ าทีนอี้ ย่าง ‘บลปัลกันโฟร์’ (BOLBALGAN4) จะมาอวดเสน่หค์ วามน่ารัก โชว์เสียงใสกิง๊ ให้ฟงั กันแบบสดๆ ในงานแฟน มีตติง้ ครัง้ แรกอย่างเป็นทางการ ‘BOLBALGAN4 1st Fan Meeting in Bangkok 2018’ ซึ่งจะ มีขึ้นในวันเสาร์ที่ 10 พฤศจิกายน 2561 ที่ DND Club เอกมัย โดยจะจัดเป็นมีตติ้ง แบบสุดเอ็กซ์คลูซฟี ส�ำหรับแฟนๆ ชาวไทย โดยเฉพาะ! ไม่อยากพลาดความฟินแบบ สุดเอ็กคลูซฟี นีล้ ะก็! จับจองบัตรกันได้แล้ว ตั้งแต่วันนี้ บัตรราคา 3,000 / 2,000 และ 1,500 บาท ทาง www.ticketmelon.com หรือติดตามข่าวสารต่างๆ ได้ที่ www.facebook. com/TeenageDreamCorp


21 ADAYBULLETIN.COM FACEBOOK.COM/ADAYBULLETIN

อั พ เ ด ต แ ว ด ว ง ข่าวสังคมทีน ่ า่ สนใจ ในรอบสัปดาห์

ธนาคารยู โ อบี (ไทย) มอบรางวั ล ชนะเลิ ศ งานประกวดจิ ต รกรรม ยูโอบี ครั้งที่ 9 กลับมาอีกครัง้ ส�ำหรับหนึง่ ในงานประกวดจิตรกรรม ทีท่ รงเกียรติทสี่ ดุ ในภูมภิ าคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กับ งานประกวดจิตรกรรมยูโอบี ครัง้ ที่ 9 (9th UOB Painting of the Year) ซึง่ ครัง้ นี้ ศิลปินอาชีพทีไ่ ด้รบั รางวัลชนะเลิศ คือ อภิวัฒน์ บรรลือ อายุ 38 ปี จากผลงานชื่อว่า ‘ปัญหาทีไ่ ม่สามารถแก้ไขได้’ น�ำเสนอปัญหาและความวุน่ วาย ในสังคมทีย่ งั คงไม่สามารถแก้ไขได้ อย่างปัญหาการจราจร ทีต่ ิดขัดในกรุงเทพฯ ความล่าช้าของโครงการก่อสร้าง พืน้ ฐานด้านการคมนาคมขนส่ง ความไม่เป็นระเบียบของ การบริหารจัดการเมือง รวมถึงความยุ่งเหยิงในสังคมที่ โยงใยซับซ้อนหลายชั้น สื่อให้เห็นความเสื่อมถอยของ คุณภาพชีวติ ทีม่ ผี ลต่อสุขภาพจิตของประชาชน รวมถึง ศิลปินเองทีร่ สู้ กึ ว่าสภาพปัญหาต่างๆ เหล่านี้ เป็นอุปสรรค ในการใช้ชวี ิตประจ�ำวัน ​สำ� หรับประเภทศิลปินใหม่หรือสมัครเล่น ผูช้ นะเลิศ คือ ชัยชนะ ลือตระกูล อายุ 27 ปี จากผลงานชือ่ ‘Rhythm of Transformation No.4’ ทีส่ ะท้อนถึงการแปรเปลีย่ นไปตาม จังหวะของชีวติ โดยใช้กระบวนการแปรสภาพตามกาลเวลา ของรถยนต์ในเชิงสัญลักษณ์ แสดงให้เห็นถึงคนในสังคม ทีม่ บี ทบาทหน้าที่ ประสบการณ์ และความทรงจ�ำที่แตกต่าง กันออกไป ​ ในงานนี้ คุณตัน ชุน ฮิน กรรมการผู้จดั การใหญ่ ธนาคารยูโอบี (ไทย) กล่าวถึงความมุ่งมั่นของธนาคาร ยูโอบีในการสนับสนุนแวดวงศิลปะในประเทศไทยและ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างต่อเนื่อง โดย สนับสนุนและส่งเสริมทุกคนในสังคมที่มีความหลงใหล ในสิ่งที่ท�ำและมีศักยภาพที่จะเดินตามความฝันตัวเอง ให้ประสบความส�ำเร็จ ส�ำ หรับผูช้ นะเลิศประเภทศิลปินอาชีพจะเดินทาง ไปร่วมการแข่งขัน ณ ประเทศสิงคโปร์ เพือ่ ชิงรางวัลระดับ ภูมิภาค กับศิลปินจากประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย และ สิงคโปร์ พร้อมลุน้ โอกาสทีจ่ ะได้รบั เลือกเป็นศิลปินในพ�ำนัก ณ พิพิธภัณฑ์ศิลปะเอเชีย ฟุกุโอกะ ประเทศญี่ปุ่น


22

LIFE

เรื่อง

สุทธิดา อุ่นจิต นักเขียน IG : pnangogreen

ภาพ

ธนดิษ ศรียานงค์ ช่างภาพ thanadis@gmail.com

ISSUE 561 22 OCT 2018

INS ID E T H E B OX O F C RE AT IV IT Y

กว่ า จะได้ ม าซึ่ ง ของ สารพัดประโยชน์ ต้องผ่าน กระบวนการคิดหลายขัน ้ ตอน ทั้ ง คิ ด จะท� ำ เล่ น คิ ด จะท� ำ จริง และคิดจะท�ำเพือ่ แบ่งปัน ที่ ส� ำ คั ญ คื อ ต้ อ งเข้ า ใจใน ป ร ะ โ ย ช น์ ห รื อ ฟั ง ก์ ชั น ของสิ่ ง ของชนิ ด นั้ น อย่ า ง ถ่องแท้ เช่นเดียวชายหนุ่ม เจ้าของไอเดียสุดล�ำ้ ทัง ้ สาม คน ที่ไม่ขอเรียกตัวเองว่า ‘นักออกแบบ’ แต่ขอเลือก จะเป็ น นั ก คิ ด นั ก แบ่ ง ปั น นักสังเกตผู้มาสร้างสรรค์ และเติมแต่งจินตนาการให้ ก ล่ อ ง เ ห ล็ ก T i n B o x Limited Edition จาก Federbräu (เฟเดอร์บรอย) ให้มป ี ระโยชน์เพิม ่ ขึน ้ ทัง ้ ใน เรือ ่ งของการเพิม ่ นวัตกรรม ให้กล่องเหล็กใบนี้ใช้งานได้ ดีกว่าที่เคย การโมดิฟาย ให้ เ ป็ น ล� ำโพงบลู ทู ธ หรื อ แม้แต่เปลี่ยนให้เป็นกลอง ไฟฟ้าขนาดจิ๋ว เพื่อสร้าง บรรยากาศเพลิ ด เพลิ น กับ German Single Malt ซึ่ ง เป็ น มอลต์ จ ากแหล่ ง ผลิตเพียงแหล่งเดียวจาก ประเทศเยอรมนี และนี่คือ ตัวอย่างเล็กๆ น้อยๆ ทีเ่ รา อ ย า ก ช ว น คุ ณ ห ยิ บ เ อ า กล่อง Tin Box Limited Edition มาตกแต่ ง ใหม่ ให้เป็นสไตล์ของตัวเอง


E

Y

23 ADAYBULLETIN.COM FACEBOOK.COM/ADAYBULLETIN

THE SOUND OF HAPPINESS จากการท�ำงานร่วมกับซูเปอร์มาร์เกตแห่งหนึง ่ คลุกคลีอยูก ่ บ ั รถเข็นแทบทุกวัน จน ‘ชัย’ - อภิชย ั อินทัตสิงห์ เจ้าของบริษท ั เคซี่ เอเจนซี่ (ประเทศไทย) จ�ำกัด เกิดความคิด ดัดแปลงรถเข็นคันโตเป็นรถเข็นคันโก้สำ� หรับผูพ ้ ก ิ าร ผูส ้ ง ู อายุและผูด ้ อ ้ ยโอกาส ภายใต้กลุม ่ จิตอาสา ‘Cart Wheelchair Donate’ “รถเข็นของเราออกแบบอย่างไม่ฝน ื ธรรมชาติ ต้องไม่ประดิษฐ์หรือท�ำให้ชวี ต ิ เขายากไปกว่าเดิม เพียงแต่เราท�ำให้เขากลับมาใช้ชวี ต ิ ปกติ ตอบโจทย์การด�ำรงชีวต ิ แบบธรรมชาติ อย่างสมบูรณ์ และมีความสุขทีส ่ ด ุ แบบทีม ่ นุษย์ควรจะเป็น”

นักคิดบอกว่า หากเราลองแบ่งปันสิ่งของ แบ่งปันทรัพย์ แบ่งปันความรู้ และแบ่งปันเวลา ไปให้คนอื่นบ้าง จะท�ำให้ความยึดติดในสิ่งของ หรื อ อั ต ตาลดน้ อ ยลง เป็ น ผลดี ทั้ ง ตั ว เราเอง และผู้รับด้วย แน่ น อนว่ า จุ ด ประสงค์ ใ นการออกแบบ ของชั ย ก็ ใ ช้ น วั ต กรรมของเทคโนโลยี ท างเสี ย ง มาตอบโจทย์ ก ารใช้ ง านอย่ า งเป็ น ธรรมชาติ ผลงานล่าสุดของเขาได้จากการที่เขาคอยสังเกต ความรื่นรมย์ของมนุษย์ เกิดเป็นกลองไฟฟ้าย่อ ส่วนส�ำหรับพกพา เพื่อสร้างบรรยากาศและเพิ่ม ความสุขส�ำหรับการสังสรรค์ของหนุ่มสาวและ กลุ่มเพื่อน “เราคิ ด ถึ ง บรรยากาศการสั ง สรรค์ กั บ กลุ่มเพื่อน เป็นกันเอง มีเสียงหัวเราะ ความสนุก ซึ่งแน่นอนว่าต้องมีการร้องเพลงและเคาะจังหวะ เคาะโต๊ะ เคาะแก้ว สุดแล้วแต่จะหยิบฉวยได้ ถ้าจะ ออกแบบอะไรสักอย่างส�ำหรับสร้างบรรยากาศ แบบปัจจุบันทันด่วนจากกล่องเหล็กขนาดพกพา เราเลือกท�ำกลองไฟฟ้า เพราะค้นข้อมูลมาว่า กลองไฟฟ้าสามารถท�ำขนาดเล็กได้ “กลองจากกล่ อ งของเราบรรจุ อุ ป กรณ์ อิเล็กทรอนิกส์สำ� หรับสร้างจังหวะ เพียงใช้มอื แตะ ด้านหน้าก็จะเกิดเสียง คล้ายหน้ากลอง มีหลาย เสียง หลายจังหวะ เราเพิ่มโปรแกรมสร้างและ จดจ�ำเสียงลงไปด้วย ที่ส�ำคัญเลยคือพกพกง่าย สะดวกต่อการใช้งานอย่างแน่นอน” ระหว่ า งสนทนา ชั ย ยกอุ ป กรณ์ ทั้ ง หมด มาประกอบให้เราดูแบบสมจริง เห็นแล้วก็อดใจ ไม่ ไ ด้ อยากจะขอกล่ อ งดนตรี ฉ บั บ พกพามา ครอบครองไว้สกั ใบ

“เราออกแบบอย่างไม่ฝน ื ธรรมชาติ ต้องไม่ประดิษฐ์หรือท�ำให้ชวี ต ิ เขา ยากไปกว่าเดิม เพียงแต่เราท�ำให้เขา กลับมาใช้ชวี ต ิ ปกติ”


24 ISSUE 561 22 OCT 2018

BREAK THE BOUNDARIES นักคิดสติเฟื่อง ‘เป๋’ - ธนวัต มณีนาวา จากอดีตครีเอทีฟโฆษณาสู่นักประดิษฐ์ของเหลือใช้ เขาแปลง ของรอบตั ว มาใช้ ป ระโยชน์ แ ละเพิ่ ม ฟั ง ก์ ชั น ท� ำ ให้ ข องธรรมดากลายเป็ น ของไม่ ธ รรมดา เป็ น ที่ ม าของ TAM:DA STUDIO สตูดโิ อชือ ่ เท่ แฝงความหมายว่า ‘ท�ำดะ’ หยิบจับอะไรก็ทำ� ไปหมด และ ‘ธรรมดา’ เอาของธรรมดา มาท�ำให้ไม่ทำ� ธรรมดา สร้างคุณค่าและเพิม ่ มูลค่า เป๋เริ่มต้นท�ำงานด้วยความสนุก ส่วนความสุขและรอยยิ้มเป็นผลพลอยได้ อย่างเจ้าโคมไฟที่เขายกมาอวด ท�ำจากท่อแอร์เหลือใช้ นักคิดปิง ๊ ไอเดียใช้ประโยชน์จากการยืดหดท�ำเป็นโคมไฟหนอนซ่อนฟังก์ชน ั

“ความสุขของการท�ำงานคือ เราชอบเอาของมาท�ำ มาคิด มาเปลีย ่ นแปลง เราเชือ ่ ว่า ของทุกชิน ้ มีดม ี ากกว่าทีเ่ ป็น”

ส่วนผลงานล่าสุด เป๋จบั กล่องบรรจุเครือ่ งดืม่ สีอ�ำพัน Tin Box Limited Edition มาใส่ความคิดนักประดิษฐ์ แปลงร่าง เป็นกล่องเก็บความเย็นแบบพกพา เขาคงตัวตนของ TAM:DA ไว้ด้วยการไม่เปลี่ยนแปลงตัวกล่อง แต่ขอเพิ่มฟังก์ชัน สมัยใหม่เข้าไปแทน โดยจะมีตัววัดอุณหภูมิแสดงอุณหภูมิ ที่เหมาะสมในวันทีต่ อ้ งการคลายความเหนื่อยล้า เพราะ ความเย็นยะเยือกถึง 4 องศา เป็นส่วนส�ำคัญในการเพิ่ม รสชาติและสร้างสุนทรียภาพในการดื่ม “อีกหนึ่งไอเดียที่เราอยากท�ำคือ การท�ำกล่องเก็บ อุ ณ หภู มิ ข้ า งในกล่ อ งจะมี แ ท่ น ขึ้ น มาแล้ ว มี เ ดื อ ยเป็ น ตัวท�ำความเย็น แล้วจะมีช่องขึ้นมาเหมือนช่องชาร์จแบต มือถือ พออุณหภูมิบอก 4 องศา ก็สะพายออกไปข้างนอก

ได้เลย ถ้าอุณหภูมิลดลงก็น�ำกลับไปชาร์จแบตใหม่หรือ จะชาร์จระหว่างอยูข่ า้ งนอกก็ได้” เป๋แอบเฉลยแนวคิดกล่อง ใบที่ 2 ที่ก�ำลังจะน�ำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้กับ Tin Box Limited Edition ให้เราฟัง “ความสุขของการท�ำงานคือ เราชอบเอาของมาท�ำ มาคิด มาเปลี่ยนแปลง เราเชื่อว่าของทุกชิ้นมีดีมากกว่า ที่เป็น แล้วของหนึ่งชิ้น สี่ห้าคนมอง ก็คนละมุม คนละ ความคิด มันสอนให้เรามองหลายมุม เหมือนเอาใจเขา มาใส่ใจเรา กล่องก็เหมือนกัน พอเรามองหลายมุม มันก็ เป็นอย่างอืน่ ได้เยอะแยะเลย” นักประดิษฐ์อารมณ์ดที งิ้ ท้าย ก่อนจะชวนเราเดินชมสิ่งประดิษฐ์หน้าตาประหลาดที่เรียก รอยยิ้มจากเราได้ไม่น้อย


25 ADAYBULLETIN.COM FACEBOOK.COM/ADAYBULLETIN

C R E AT I V E O B S E R V E R ‘เมา’ - อานนท์ ไพโรจน์ ศิ ล ปิ น ร่วมสมัยระดับโลก เจ้าของกิจการอานนท์ ไพโรจน์ ดีไซน์ สตูดโิ อ เขาเริม ่ ต้นจากการเป็น นั ก สั ง เกตและสงสั ย ข้ า วของเครื่ อ งใช้ ใ น ร้านช�ำของครอบครัว สูก ่ ารเป็นนักออกแบบ ผลิตภัณฑ์ นักแอบสังเกตยังบอกอีกว่า ร้านขาย ของช�ำของเขาเป็นเสมือนเพื่อนคลายเหงา เป็นครอบครัวคอยบริการและสร้างความสุข จากผลิตภัณฑ์มากมายภายในร้าน “จะขายของได้ เราต้ อ งเข้ า ใจผู้ ซื้ อ การออกแบบก็เหมือนกัน” เขาบอกกับเรา แบบนัน ้

ปัจจุบนั นักสร้างสรรค์กำ� ลังให้ความส�ำคัญ กั บ บรรจุ ภั ณ ฑ์ ที่ เ ป็ น ได้ ม ากกว่ า บรรจุ ภั ณ ฑ์ เขาก�ำลังลงมือแปลงโฉมกล่องเหล็กลายสวย Tin Box Limited Edition ให้เป็นมากกว่ากล่องเหล็ก เก็บเครื่องดื่ม “โลกน่าสนใจเพราะว่าแต่ละคนมีความชอบ ทีต่ า่ งกัน แล้วเราไม่ได้เกิดมาเพือ่ อยูเ่ พียงคนเดียว เราต้องการอะไรบางอย่างที่เชื่อมต่อกัน เราเลย นึกถึงภาพของความสนุกเฮฮาด้วยกันหลังเลิกงาน เฉลิมฉลองริมสระน�้ำพร้อมเปิดเพลงคลอเบาๆ กล่องเหล็กของเราจึงเปลี่ยนร่างเป็นกล่องดนตรี แบบบลูทูธ เพราะตอนนี้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ พวกนี้มีขนาดที่เล็กลง และน�ำมาดัดแปลงให้เข้า กับ Tin Box Limited Edition ได้ไม่ยาก “เราอยากให้ทกุ คนรูส้ กึ สนุกกับบรรยากาศ ที่อุดมไปด้วยความสุข เป็นรางวัลเล็กๆ ให้กับวัน ที่เหนื่อยล้าจากการท�ำงาน เราเชื่อว่าดนตรีเป็น ส่วนเชื่อมต่อความสุขระหว่างเรากับคนอื่นได้” ด้วยเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้น ก็ช่วยให้เมา เปลีย่ นกล่องเหล็กขนาดกะทัดรัดเป็นล�ำโพงบลูทธู ขนาดพกพาแบบเชื่ อ มต่ อ กั บ สมาร์ ต โฟนได้ โดยเขาเลือกใช้ของรอบตัวอย่างหูกระเป๋า รองเท้า ส้นสูง เพื่อหวังว่าการออกแบบของเขาจะยียวน ขัดใจและชอบใจในเวลาเดียวกัน “เราอยากให้คนเห็นกล่องใบนี้แล้วท�ำตาม ได้ไม่ยาก กล่องสวยและทนทาน คิดต่อยอด ได้อกี เยอะ และเราขอยกให้กล่องใบนีเ้ ป็นตัวแทน ของความคิดสร้างสรรค์ในช่วงเวลาแห่งความสุข” นักสรรค์สร้างและสร้างสรรค์ท้งิ ท้าย

“กล่องสวยและทนทาน คิดต่อยอด ได้อก ี เยอะ และเราขอยกให้กล่องใบนี้ เป็นตัวแทนของความคิดสร้างสรรค์ ในช่วงเวลาแห่งความสุข”


26 ISSUE 561 22 OCT 2018

CALENDAR

22

M 23

T

24

W 25

KYGO KIDS IN LOVE TOUR

ไทย HAPPY THAIS

RESET

ระเบิดความมันครัง้ แรก ในประเทศไทยกับไคโก ดีเจ โปรดิวเซอร์ นักแต่งเพลง และนักดนตรี ชื่อดังชาวนอร์เวย์ ใน โปรเจ็ ก ต์ ร ะดั บ โลก ‘Kids in Love’ ที่ขน เพลงฮิตอย่าง Stranger Things, Kids in Love, Remind Me to Forget ฯลฯ มาเล่นให้ฟังกัน สดๆ วันนี้ ณ Live Park พระราม 9 จ�ำหน่าย บัตรทีไ่ ทยทิกเก็ตเมเจอร์

นิทรรศการ ‘ไทย HAPPY Thais’ โดย สุธี คุณาวิชยานนท์ ศิลปินทัศนศิ ล ป์ แ ถวหน้ า ระดั บ อินเตอร์ ส�ำรวจความเป็นไปในโลกทีข่ บั เคลือ่ น ด้ ว ยอ� ำ นาจรั ฐ และ ราชการ แม้วา่ ความสุข ในแบบอุ ด มคติ นี้ จ ะ เป็นระเบียบแบบแผน ที่ดูซ�้ำๆ เหมือนๆ กัน แต่กแ็ ฮปปีใ้ นแบบไทยๆ วั น นี้ ถึ ง 27 ตุ ล าคม 2561 ณ นัมเบอร์วัน แกลเลอรี ซ.สีลม 21

ภ า พ ย น ต ร ์ ส า ร ค ดี เรื่อง ‘Reset’ น�ำเสนอ กระบวนการสร้างสรรค์ จ า ก บ อ ง ฌ า แ ม็ ง มีลปิเย หนึ่งในนักเต้น ร่วมสมัยผู้สร้างสรรค์ งานแสดงได้วจิ ติ รบรรจง บันทึกการฝึกซ้อมและ การเตรี ย มการแสดง ส�ำหรับโชว์สำ� คัญ ดืม่ ด�ำ่ กั บ กลวิ ธีส รรค์ ส ร้ า ง งานศิลปะ เรียนรูร้ ปู แบบ การท�ำงานเพือ่ ผลลัพธ์ ที่ ดี ที่ สุ ด วั น นี้ เวลา 18.30 น. ณ สมาคม ฝรั่งเศสกรุงเทพ บัตร ราคา 120 บาท

TH 26

29TH TOYOTA CLASSICS CHARITY CONCERT

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ ค�ำ่ คืนสุดประทับใจ กับ คอนเสิ ร ์ ต การกุ ศ ล ‘โตโยต้ า คลาสสิ ค ส์ ครัง้ ที่ 29’ โดยวงออร์เคสตรา The Age of Enlightenment สัมผัสกับการน� ำ เสนอจั ง หวะของ ดนตรีทมี่ คี วามแตกต่าง แต่ ผ สานกั น ได้ อ ย่ า ง กลมกลืน วันนี้ เวลา 19.00 น. ณ หอประชุมใหญ่ ศู น ย์ วั ฒ นธรรมแห่ ง ประเทศไทย จ�ำหน่าย บัตรทีไ่ ทยทิกเก็ตเมเจอร์

F 27

SA 28

S

COERCION

JAM FEST

จันทร์เอ๋ย จันทร์เจ้า

นิทรรศการ ‘Coercion’ โดย กิตติศกั ดิ์ แก้วดุก จัดแสดงผลงานประติมากรรมที่แสดงออกผ่าน ทางสัญลักษณ์ในงาน ศิลปะ เพื่อให้ผู้ชมได้ ตระหนั ก ถึ ง สั ญ ญาณ ของการถูกกระท�ำ ถูก บังคับกดขี่ ในเหตุการณ์ ที่อาจจะส่งผลกระทบ โดยตรงต่อชีวติ วันนีถ้ งึ 18 พฤศจิกายน 2561 ณ ศุ ภ โชค ดิ อาร์ ต เซ็นเตอร์ ซ.พร้อมจิต (เว้นวันจันทร์)

เทศกาลดนตรีและศิลปะ สุ ด แจ่ ม ‘Jam Fest’ สนุกกับ 2 เวทีคอนเสิรต์ กับหลากหลายศิลปิน สุดแจ่ม อาทิ สครับบ์ น้อย วงพรู, Whal & Dolph ฯลฯ พร้อมโซน Market ทีค่ ดั ร้านอาหาร และร้านค้าแจ่มๆ ไว้ใน งาน พร้ อ มกิ จ กรรม แจ่มๆ อีกเพียบ วันนี้ ตั้งแต่บ่ายถึงเที่ยงคืน ณ Voice Space

‘จันทร์เอ๋ย จันทร์เจ้า ขอข้ า วขอแกง’ เมื่ อ ได้ยินเสียงบทกลอนนี้ เรื่องราวสุดอลหม่านก็ เกิดขึ้น เมื่อเด็กชายทั้ง สองต้องมาสลับร่างกัน และเหตุการณ์จะเป็น อย่างไรต่อไป มาร่วม ลุ้นเอาใจช่วยพวกเขา ได้ ใ นละครเวที เ รื่ อ ง ‘จันทร์เอ๋ย จันทร์เจ้า’ วั น นี้ วั น สุ ด ท้ า ย รอบ การแสดง 13.00 น. และ 18.00 น. ณ The Circus Studio (G Village) จ�ำหน่ายบัตรที่ Ticketmelon.com

WHERE TO FIND

Where the conversations begin. adaybulletin.com

หมอชิต

Meet

อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

Up

สยามสแควร์

Every อโศก

Monday!

ศาลาแดง

BTS: 5 สถานี เวลา 17.30-20.00 น. หมอชิต

อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

สยาม

อโศก

ศาลาแดง

Starbucks 200 สาขาทั่วกรุงเทพฯ

ร้านกาแฟ ร้านอาหาร ศูนย์การค้า และสถานที่ชั้นน�ำกว่า 100 จุดทั่วประเทศ


27 ADAYBULLETIN.COM FACEBOOK.COM/ADAYBULLETIN

เรื่อง

ศรัญญา อ่าวสมบัติกุล กองบรรณาธิการ sarunya.magazine@gmail.com

ภาพ

ธนดิษ ศรียานงค์ ช่างภาพ thanadis@gmail.com

THE STORY OF STUFF

หากความสุขของคนคนหนึง ่ คือการออกเดินทาง ความสุขของหญิงสาวรักษ์โลกอย่าง ‘นี’ - อุษณีย์ ปุณโณปกรณ์ เจ้าของร้าน สวนชั้น ๑ ‘it’s going green’ ในหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC) ก็คงเป็นการกิน บวกกับความสนุกที่เธอ เติมให้กับชีวิต ด้วยการเลือกซื้ออุปกรณ์การกินแบบพกพา เพื่อตอบโจทย์แนวคิดการเป็นอีกหนึ่งคนที่ช่วยลดปริมาณขยะ ด้วยวิธีการใช้ซ�้ำจากอุปกรณ์การกิน ที่ของบางอย่างใช้มาแล้วไม่ต�่ำกว่า 10 ปี

01

03

02 08

07

06

09

04

05

10

อุษณีย์ ปุณโณปกรณ์

SAVI NG THE PLA NET EA RT H

1. กระบอกน�ำ้ ไซซ์ใหญ่ “ปกติเราเป็นคนที่ไม่ค่อยซื้อน�้ำเปล่าแบบขวดอยู่แล้ว และยอมที่จะแบกน�้ำหนักของน�้ำ พกมากินที่ร้าน ซึ่งเราท�ำงานวันละ 10-12 ชั่วโมง กระบอกน�ำ้ ไซซ์น้เี อาอยู่ แถมไม่เพิ่มขยะ ให้โลกด้วย แต่ (กระซิบ) ...ใบนีเ้ ราเก็บได้ทสี่ นามบิน” 2. หม้ออีนาเมล “หม้ออเนกประสงค์ แช่เย็นได้ อุน่ ด้วยเตาได้ ตักกินเลยก็ได้ เราจะใช้ใส่กบั ข้าวทีซ่ อื้ จากตลาดแทนใส่ถงุ พลาสติก ช่วงแรกก็เจอสายตา แปลกๆ แต่เราก็ชัดเจนว่าจะให้ใส่หม้อนี้ พอมาช่วง 2-3 ปีหลัง แม่ค้าก็ชนิ กับเราแล้ว” 3. กล่องข้าว “เราชอบใช้กล่องข้าวทีเ่ ป็นแก้ว เพราะล้างง่าย มีกลิ่นตกค้างน้อยกว่าแบบพลาสติก ใส่ตู้เย็นได้ อุ่นใน เตาอบขนาดเล็กก็ได้เช่นกัน ส่วนใบนีพ้ ชี่ ายเพิง่ ซือ้ ให้เมือ่ สามเดือนก่อน เป็นรุน่ ทีม่ นี ำ�้ หนักเบากว่ากล่องข้าวทีเ่ ป็นแก้วทัว่ ไป” 4. ถ้วยพลาสติก “ถ้วยขนาดเล็กพับได้สามสเตปจนแบน พร้อมฝาปิดแต่ไม่คอ่ ย สนิทเท่าไหร่ เราพกติดไว้ส�ำหรับใส่ของกินแบบน้อยๆ อย่างไอศกรีมตักจากร้านรถเข็น เรามองว่าพกของเหล่านี้ไว้ก็ไม่ได้หนักมาก ดีกว่าปล่อยให้เป็นภาระโลก” 5. กระติกน�้ำร้อน “เวลาไปต่างประเทศ ก็จะพกกระติกน�ำ้ ร้อนเพราะหาตูก้ ดน�ำ้ ได้งา่ ย ชงโกโก้ ต้มโจ๊กข้าวโอ๊ตหรือบะหมีก่ งึ่ ส�ำเร็จรูปทีเ่ ราพกมาได้ ก็ตดิ ใช้แบบนีม้ าตลอด ส่วนใบนีไ้ ด้จากร้านญีป่ นุ่ มือสอง ใช้มาประมาณ 3 ปีแล้ว” 6. ตะกร้าสาน “ใบนีเ้ ราจะใช้ใส่ไข่ทซี่ อื้ จากตลาด ใส่ได้มากกว่า 10 ฟอง แทนการใส่ถงุ พลาสติกทีร่ องด้วยหนังสือพิมพ์ เพราะนัน่ เท่ากับขยะถึงสองชิน้ เราใช้วธิ นี จี้ นอาม่าเจ้าของแผงไข่จำ� เราได้แม่น” 7. ชุดช้อนส้อม +ตะเกียบ “เป็นเซตที่ดีงามต่อชีวิตเรามาก พกง่ายและน่ารัก ได้มาจากญี่ปุ่น เราใช้มาร่วม 10 ปีแล้ว ปัจจุบันเราอยากซื้ออีกแต่ก็หาไม่ได้แล้ว ส่วนอีกแบบที่ใช้มานานก็คือ ช้อนสเตนเลสแบบพับ เราซือ้ เมือ่ 15 ปีทแี่ ล้ว” 8. หลอดซิลโิ คน “ปกติดมื่ น�ำ้ จะไม่ใช้หลอด ดืม่ จากแก้วพกพาเลย แต่หลอดนีเ้ ราใช้ตอนดืม่ น�ำ้ ปัน่ เท่านัน้ ” 9. กระเป๋าผ้า “ถุงผ้า Replace จากมูลนิธกิ ระต่ายในดวงจันทร์ ได้มาเมือ่ 15 ปีกอ่ น เราชอบมาก เพราะเป็นทรงถุงก๊อบแก๊บทีใ่ นสมัยก่อนยังไม่มใี ครท�ำ แถมยังตอบโจทย์การใช้งานได้ดี ห้อยได้ ผูกก็ได้ เนือ้ ผ้าดี น�ำ้ หนักเบา และท�ำความสะอาดง่าย” 10. กล่องข้าวสเตนเลส “ไซซ์นี้เริ่มหายาก

เราชอบเพราะรูปทรงและพกง่าย มีตัวล็อกที่แน่นหนา สามารถเป็นหูจบั ได้เมื่อใส่ของร้อน ล้างง่าย ไม่มกี ลิ่นตกค้าง อุ่นได้ในเตาอบขนาดเล็ก”


28 เรื่องและภาพ

S PA C E & T I M E

ชยพล ทองสวัสดิ์ กองบรรณาธิการ tetecnx@gmail.com

ISSUE 561 22 OCT 2018

Innovative Lifestyle Complex บนพืน ้ ทีก ่ ว่า 30,000 ตารางเมตร ใกล้สถานีรถไฟฟ้า ปุณณวิถี พร้อม ร้านค้ามากกว่า 200 ร้าน และสิง่ อ�ำนวยความสะดวก ทีต ่ อบโจทย์ทก ุ มิติ ของชีวต ิ ประจ�ำวัน พร้อมให้คณ ุ สัมผัส ประสบการณ์ การใช้ชวี ต ิ ยุคใหม่

101 The Third Place

TOKYO’S THIRD PLACES เดินเล่นบนพืน ้ ทีแ ่ ห่งยุคสมัย ใจกลางมหานครโตเกียว

ในตอนทีเ่ ราไปถึงญีป ่ น ุ่ อากาศเย็นสบายของฤดูใบไม้รว่ งก�ำลังก้าวเข้ามาใกล้ กลิน ่ ของต้นแปะก๊วยเจือจางอยูใ่ นอากาศและลมทีพ ่ ด ั มาสัมผัสร่างกาย แผ่วเบา อีกไม่นานมันคงกลายเป็นสีเหลืองอร่ามและร่วงลงสูพ ่ น ื้ ทีโ่ ตเกียวปลูกแปะก๊วยไว้รอบเมือง เพราะผูค ้ นเชือ ่ ว่าสามารถป้องกันสิง ่ ชัว่ ร้าย ไม่ให้เข้ามาในเมืองได้ นัน ่ ท�ำให้เราสังเกตว่า ญีป ่ น ุ่ เป็นดินแดนแห่งนวัตกรรมและความทันสมัยทีแ่ ม้จะก้าวเดินไปข้างหน้าไม่หยุด แต่ทว่าก็ยงั มีพน ื้ ที่ ทีอ ่ า้ แขนโอบรับวัฒนธรรมความเชือ ่ อันเก่าแก่และสวยงามอยูเ่ สมอ โลกหมุนอยูต่ ลอด ผูค้ นทุกยุคทุกสมัยเกิดมาใช้ชวี ติ เติบโต สรรค์สร้าง และร่วงโรยลงสูพ่ นื้ ดินเหมือนใบต้นแปะก๊วย รอให้คนในเจเนอเรชันถัดไปผลิดอกออกใบ สร้างสรรค์พนื้ ทีแ่ ละยุคสมัยทีเ่ หมาะสม กับพวกเขาต่อไปเรือ่ ยๆ แต่ไหนแต่ไร พืน้ ทีน่ นั้ เชือ่ มโยงกับวิถชี วี ติ และสังคม เรย์ โอลเดนเบิรก์ นักจิตวิทยาชาวอเมริกนั เคยระบุไว้ในหนังสือ The Great Good Place เมือ่ ปลายยุค 80s ทีว่ า่ ด้วยแนวคิดการสร้างเมืองทีด่ ี ต้องประกอบไปด้วยสามสถานที่ คือ บ้าน (First Place) ทีท่ ำ� งาน (Second Place) และสถานทีเ่ ติมเต็มความสุขและผ่อนคลายอันนอกเหนือจากบ้านและทีท่ ำ� งาน หรือ Third Place ทีเ่ รามักได้ยนิ กันบ่อยๆ ในยุคนี้ แม้คำ� ว่า Third Place จะไม่ใช่คำ� ทีใ่ หม่ แต่สงิ่ ทีน่ า่ สนใจคือพืน้ ที่ Third Place นัน้ เป็นดัง่ สิง่ ทีส่ ะท้อนวิถชี วี ติ จิตวิญญาณ และสัมพันธ์กบั ไลฟ์สไตล์ของยุคสมัยอย่างแท้จริง ในยุคดัง้ เดิม Third Place อาจหมายถึงแค่สถานทีส่ งบ สบาย และเป็นสถานทีผ่ อ่ นคลายทีก่ ารงานไม่อาจรุกล�ำ้ ความเป็นส่วนตัวได้ แต่เมือ่ ยุคสมัยเปลีย่ น ไลฟ์สไตล์คนเปลีย่ น โลกกว้างและง่ายขึน้ ด้วยอินเทอร์เน็ต โซเชียลมีเดีย หรือแกดเจ็ตล�ำ้ สมัย ความหมายของ Third Place จึงถูกบิดเป็นนิยามของการผสมผสานการท�ำงานกับไลฟ์สไตล์และวิถชี วี ติ ทีส่ ะดวกมากขึน้ พืน้ ที่ Third Place จึงอาจเป็นร้านกาแฟสักร้านทีค่ นพลุกพล่าน แต่เราสามารถนัง่ หลบท�ำงานพร้อมกาแฟแก้วโปรดในมุมหนึง่ ก็ได้ หรืออาจเป็นมุมเล็กๆ มุมหนึง่ ในร้านหนังสือทีม่ สี ญ ั ญาณอินเทอร์เน็ตก็ได้ เราจึงมักเห็นคนยุคนีม้ อี สิ รเสรีในการเลือกด�ำเนินชีวติ ผูค้ น ไม่ยึดติดอยู่กับกรอบของสถานที่ใดสถานที่หนึ่งแต่เคลื่อนตัวไปมา เพราะโลกที่เปิดกว้างนั้นเปิดโอกาสให้พวกเขาสามารถมีชีวิตที่เข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ทุกพื้นที่ทุกเวลา Third Place ในปัจจุบัน จึงเปิดโอกาสให้คนได้มามีปฏิสมั พันธ์บนพืน้ ทีท่ ถี่ กู ดีไซน์ให้รองรับความสนใจแห่งยุคสมัย เป็นการผสมผสานความเป็นส่วนตัวกับความเป็นสาธารณะได้อย่างลงตัว


29 ADAYBULLETIN.COM FACEBOOK.COM/ADAYBULLETIN

เช่นกันกับโตเกียว มหานครทีไ่ ด้ชอื่ ว่าวุน่ วาย ที่สุดเมืองหนึ่งและพลุกพล่านไปด้วยสีสันของผู้คน ทัง้ รุน่ เก่าและรุน่ ใหม่ พืน้ ที่ Third Place ของชาวโตเกียว ก็ซกุ ซ่อนอยูต่ ามสถานทีต่ า่ งๆ ในถนนตรอกซอกซอย ทีข่ นึ้ ชือ่ เรือ่ งความสะอาด สวยงาม เพือ่ รองรับไลฟ์สไตล์ และรูปแบบการด�ำเนินชีวติ ของผูค้ นแห่งยุคสมัย ไม่ตา่ ง จากเมืองใหญ่อนื่ ๆ ทัว่ โลก เรามาเยือน Daikanyama T-site ย่านไดคังยามะ ในวันฟ้าใส ทีน่ เี่ ปรียบเสมือน Third Place ใจกลางเมือง ของชาวโตเกียว เพราะมีพนื้ ทีก่ ว้างขวาง สะอาด สงบ ร่มรื่น โล่งสบาย และมีร้านค้า คาเฟ่ ร้านอาหาร เวิรก์ ช็อปดีๆ ให้เลือกใช้บริการ แม้จะเป็นวันธรรมดา แต่เรายังเห็นวิถีชีวิตของคนโตเกียวที่มาใช้เวลา ผ่อนคลายที่นี่พอสมควร ซึ่งส่วนใหญ่จะเดินเท้า หรือไม่กป็ น่ั จักรยานมา สังเกตได้จากทีจ่ อดรถซึ่งมี จักรยานจอดอยูห่ ลายคันทีเดียว สิง่ ขึน้ ชือ่ ของที่ Daikanyama T-site คือพืน้ ที่ ทีถ่ กู ออกแบบอย่างเรียบง่าย สะอาดตา และมีตน้ ไม้ สีเขียว กับสวนหย่อมเล็กๆ แทรกตัวอยูอ่ ย่างร่มรืน่ ไปกับผังอาคาร การออกแบบดีไซน์ร้านค้าต่างๆ ก็น่าสนใจ โดยเฉพาะ Tsutaya Books ที่รวบรวม หนังสือ นิตยสาร ภาพยนตร์ แผ่นเพลง ไว้จนเต็ม ความจุทงั้ สองชัน้ ของอาคาร เสมือนเป็นสวรรค์ของ คนรั ก ศิ ล ปะที่ ส ามารถมาใช้ เ วลาเดิ น ดู ไ ด้ ทั้ ง วั น ภายนอกอาคารฝัง่ ด้านหน้า สะดุดตาด้วยดีไซน์ผนัง ทีห่ ากสังเกตดีๆ จะเป็นรูปตัว T สีขาว อักษรตัวแรก ของชื่อสถานที่ที่ซ้อนเรียงกันจนกลายเป็นฟาซาด (Facade) อันโดดเด่นที่แทรกอยู่กับโครงสร้างที่เป็น กระจก ระหว่างทีเ่ ราใช้เวลาสบายๆ ที่ Daikanyama T-site ผูค้ นแวะเวียนไปมามากหน้าหลายตา โดยเฉพาะ คนหนุม่ สาวทีแ่ ต่งกายราวกับหลุดมาจากแมกกาซีน ฮิปๆ ของญีป่ นุ่ บ้างก็เดินดูหนังสือ บ้างเดินเลือกซือ้ ของในร้านค้า บ้างจับกลุม่ นัง่ คุยทีค่ าเฟ่ หรือกระทัง่ มีคณ ุ ครูทพี่ าเด็กนักเรียนหรือทีเ่ รียกว่าแก๊งลูกเจีย๊ บ มาเดินทัศนศึกษาทีน่ ดี่ ว้ ย เป็นภาพทีเ่ หมือนได้หยุดเวลา ไว้อย่างเชือ่ งช้า ณ มุมเล็กๆ ใจกลางเมืองทีว่ นุ่ วาย ทีส่ ดุ เมืองหนึง่ ในโลก ถัดจาก Daikanyama T-site เรามาเยือน Third Place อีกแห่งหนึง่ คือ La Kagu คาเฟ่ในคราบโกดัง ขนาดใหญ่ยา่ นคะงุระซะกะ ทีน่ ปี่ รับปรุงมาจากโกดัง เก็บหนังสือของโรงพิมพ์ โดยฝีมือ เคนโกะ คุมะ สถาปนิกชาวญี่ปุ่นที่มีผลงานเป็นที่รู้จักในระดับ สากล ด้านหน้าตรงทางขึน้ ไปสูต่ วั โกดังโดดเด่นด้วย ขั้นบันไดไม้อันกว้างขวาง ให้ความรู้สึกอบอุ่นใน ทุกย่างก้าวเดิน ส่วนบริเวณด้านในของ La Kagu

ยังคงการตกแต่งแบบเดิมของโกดังไว้บางส่วน ผสานกับ ความมินมิ อลตามฉบับของยุคสมัย มีคาเฟ่ สินค้า แฟชัน่ สินค้าไลฟ์สไตล์ หนังสือ รวมอยูใ่ นทีเ่ ดียวกัน ทีส่ ำ� คัญ บริเวณชัน้ สองยังมีพนื้ ทีส่ �ำหรับงานศิลปะ และโซนใหม่ๆ ทีก่ ำ� ลังจะเปิดในอนาคต ทัง้ หมดรวมอยู่ ภายใต้บรรยากาศอบอุน่ เป็นกันเอง La Kagu สร้างขึน้ ตามคอนเซ็ปต์ ‘Revalue’ หรือปรับมูลค่าใหม่ มีที่มาจากพื้นฐานความคิด ที่ต้องการมองหาคุณค่าพร้อมกับคงไว้ซึ่งสิ่งที่มีมา แต่ เ ดิ ม และให้ ค วามส� ำ คั ญ ผ่ า นไลฟ์ ส ไตล์ ข อง ‘เสือ้ ผ้า อาหาร ทีอ่ ยูอ่ าศัย + ความรู’้ ทีส่ นิ ค้าแต่ละชนิด ถูกคัดสรรมาอย่างดีจากผูเ้ ชีย่ วชาญในแต่ละด้าน “ที่ นี่ เ สมื อ นเป็ น ตั ว แทนการเปลี่ ย นแปลง ก้าวใหม่ของรูปแบบไลฟ์สไตล์การด�ำเนินชีวิตของ ชาวญี่ปุ่นในอนาคตเลย” ใครคนหนึ่งกล่าวค�ำนี้ ให้เราฟัง

DAIKANYAMA T-SITE 17-5 SARUGAKUCHO, SHIBUYA-KU, TOKYO HOURS : 7 AM - 2 AM

LA KAGU 67 YARAICHO, SHINJUKU-KU, TOKYO HOURS : 11 AM - 8 PM


30

A THOUSAND WORDS

เรื่อง

ทรรศน หาญเรืองเกียรติ บรรณาธิการบทความ IG : Matt_Doraemon

ISSUE 561 22 OCT 2018

PAHPARN SIRIMA CHAIPREECHAWIT STREET PHOTOGRAPHY, 2018

PARIS

“ชานเมืองรอบเขตปารีส แหล่งรวมตัวของเด็กผิวสี เด็กๆ เล่นกันสนุกที่สุดในวันตรุษอีด ทุกคนพกขนม ลูกอม กันเต็มถุง แบ่งกัน แลกกัน แย่งกัน และเล่นกัน”

ABOUT SIRIMA CHAIPREECHAWIT

สิรม ิ า ไชยปรีชาวิทย์ หรือ ‘ผ้าป่าน’ หญิงสาวผูห ้ ลงใหลการถ่ายรูปขาวด�ำ ล่าสุดเธอเพิง ่ มีงานนิทรรศการภาพถ่ายชือ ่ Old Brown Shoes ซึ่งเป็นนิทรรศการเดี่ยวครั้งที่ 3 โดยครั้งนี้เธอได้พาผลงานภาพถ่ายของตัวเองไปจัดแสดงไกลถึงประเทศไต้หวัน โดยมีคอนเซ็ปต์ว่า for the loneliness in all our soles (ส�ำหรับความเปลี่ยวเหงาที่ยืนหยัดบนเท้าทุกคู่) ซึ่งทุกภาพถ่ายของเธอนั้นได้สะท้อนถึงมุมมองและตัวตน ของผู้หญิงคนนี้ออกมาได้อย่างสมบูรณ์


Strip ad Seefah adB559.pdf 1 28/9/2561 17:27:44

31 ADAYBULLETIN.COM FACEBOOK.COM/ADAYBULLETIN

สีตลา ชาญวิเศษ นักเขียน คนท�ำงานด้านวางแผนคอนเทนต์ นักบรรยายด้าน การตลาดสร้างสรรค์และการเล่าเรื่อง seetala.ch@gmail.com

เรื่อง

B R E AT H E I N

“มันเป็นเรือ่ งตลกสิน ้ ดี ทีค ่ นเราท�ำอะไรเดิมๆ แต่หวังให้เกิดสิง่ ใหม่ขน ึ้ มา” ประโยคนีเ้ ป็นค�ำทีโ่ ดนใจเรามาก และนับวัน เรายิง่ เห็นชีวต ิ คนทีเ่ ป็นอย่างค�ำพูดนีบ ้ อ่ ยขึน ้ เรือ่ ยๆ คือบ่นอยากก้าวหน้า อยากเปลีย ่ นแปลงตัวเอง อยากท�ำอะไรใหม่ๆ แต่สด ุ ท้ายก็กลับไปท�ำอะไรแบบเดิม ถ้าพูดอีกอย่าง ความเคยชินเป็นอุปสรรคขวางกัน ้ อนาคตนัน ่ เอง แต่ความเคยชินก็ไม่ใช่เรื่องแย่ไปเสียหมด เพราะมีความเคยชินบางอย่างเหมือนกันทีท่ ำ� แล้ว ช่วยให้เปลีย่ นตัวเองได้อย่างไม่นา่ เชือ่ ยกตัวอย่าง เฟร็ด เชย์ บุรษุ ไปรษณียค์ นหนึง่ ทีใ่ ช้ชวี ติ แต่ละวัน ตามปกติของเขา แต่หารูไ้ ม่วา่ ในความปกติทเี่ ขาท�ำ ได้สร้างความประทับใจให้กบั มาร์ก แซนบอร์น เหตุการณ์เริ่มต้นขึ้น ในช่วงที่แซนบอร์น ย้ายเข้าบ้านทีเ่ พิง่ ซือ้ มาใหม่ๆ วันหนึง่ เขาพบกับเฟร็ด โดยเฟร็ดไม่รรี อทีจ่ ะแนะน�ำตัวว่าเขาคือบุรษุ ไปรษณีย์ ทีร่ บั ผิดชอบเขตพืน้ ทีน่ ี้ จากนัน้ เขาก็ถามแซนบอร์นว่า แซนบอร์นท�ำงานอะไร แซนบอร์นเลยตอบว่า เขา ท�ำงานเป็นนักพูด เฟร็ดก็เลยถามต่ออีกว่า “งัน้ แสดงว่าคุณ แซนบอร์นน่าจะเดินทางบ่อยใช่ไหมครับ?” ซึง่ แซนบอร์น ก็ตอบว่า ใช่ เพราะเขาต้องเดินสายบรรยายในหลายๆ รัฐ เรียกว่าเดินทางมากกว่าอยู่บ้านเสียด้วยซ�้ ำ เมื่อเฟร็ดได้ยินดังนั้น เขาก็เสนอกับแซนบอร์นว่า “ถ้าคุณแซนบอร์นไม่วา่ อะไร ผมอยากจะขอตารางงาน ของคุณได้ไหมครับ เพราะผมจะได้รวบรวมจดหมาย ไว้กบั ผมก่อนเวลาทีค่ ณ ุ ไม่อยูบ่ า้ น แล้วถ้าวันไหน คุณกลับมาบ้านแล้ว ผมค่อยเอามาส่งคุณทีเดียว เลย” ซึง่ ทางด้านแซนบอร์นแอบรูส้ กึ ว่า สิง่ ทีเ่ ฟร็ด เสนอออกจะวุ่นวายไปหน่อย เพราะจริงๆ แค่ทิ้ง จดหมายไว้ในกล่องรับจดหมายหน้าบ้าน ก็ไม่เห็นจะ แย่ตรงไหน แต่เฟร็ดกลับบอกเหตุผลทีท่ ำ� ให้แซนบอร์น ถึงกับเถียงไม่ออก คือบอกว่า “ถ้ามีจดหมายอยูใ่ น กล่องรับจดหมายมากๆ มันจะอันตรายต่อบ้านคุณ ครับ เพราะโจรจะรูว้ า่ คุณไม่อยูบ่ า้ นหลายวัน ฉะนัน้ ผมแนะน�ำว่า ให้ผมเป็นคนเก็บจดหมายไว้ให้คณ ุ ดีกว่านะครับ แล้วผมจะเอาไปให้วนั ทีค่ ณ ุ อยูบ่ า้ น” ด้านแซนบอร์นพอได้ยนิ เหตุผลของเฟร็ด นอกจาก จะไม่คดิ ขัดศรัทธาแล้ว ก็ยงั ประทับใจทีเ่ ฟร็ดเป็น ห่วงบ้านและจดหมายมากกว่าตัวเขาเสียอีก ทว่า ต่อมาเฟร็ดไม่ได้แค่เก็บจดหมายช่วงที่แซนบอร์น ไม่อยูเ่ ท่านัน้ แต่เฟร็ดยังช่วยหยิบพัสดุของแซนบอร์น ทีบ่ ริษทั ขนส่งอีกเจ้าหนึง่ ส่งผิด คือไปส่งทีบ่ า้ นถัดไป อีก 5 หลัง ก็เป็นเฟร็ดนีแ่ หละทีช่ ว่ ยยกมาให้ แถม ยังเอามาวางแอบๆ ไม่ให้คนอืน่ เห็น แล้วเขียนโน้ต ไว้ให้แซนบอร์นรูว้ า่ ซ่อนไว้ตรงไหน เพราะกลัวจะมี คนมาขโมยมัน ความเต็มที่เกินร้อยของเฟร็ดถึงกับท�ำให้ แซนบอร์นประทับใจสุดๆ จนวันหนึง่ แซนบอร์นจึง น�ำเรื่องของเฟร็ดไปใช้บรรยาย และต่อมาก็เขียน เป็นหนังสือทีโ่ ด่งดังไปทัว่ โลก อย่าง The Fred Factor โดยแซนบอร์นใช้วธิ ที ำ� งานของบุรษุ ไปรษณียเ์ ฟร็ด เป็นแนวทางในการแนะน�ำ ‘คนธรรมดา’ ให้กลาย เป็น ‘คนเจ๋งๆ’ นัน่ เอง ว่าแต่คณ ุ ผูอ้ า่ นเคยเจอคนแบบเฟร็ดในชีวติ

คุณบ้างไหม? จริงๆ ถ้าคุณได้อา่ นหรือติดตามชีวติ คนทีป่ ระสบความส�ำเร็จ โดยเฉพาะคนทีส่ ร้างเนือ้ สร้างตัวขึ้นมาจากระดับล่างสุด คุณจะพบว่าเขา เหล่านัน้ เป็นคนแบบเฟร็ดแทบทัง้ หมด คือเป็นคน ทีท่ ำ� อะไรเกินร้อย ถ้ามีคนสัง่ ให้ทำ� 10 แต่คนเหล่านี้ จะท�ำ 20 ขึน้ ไป และนีค่ อื เหตุผลทีท่ ำ� ให้พวกเขา ก้าวกระโดดและโดดเด่นแตกต่างจากคนอืน่ กระทัง่ ถ้าเขาไม่ใช่คนที่รำ�่ รวยมากๆ เขาก็จะเป็นคนที่มี อิทธิพลทางใจต่อผูค้ นมากมาย หรือพูดอีกอย่างคือ ‘มีบารมี’ ทีท่ ำ� ให้คนจดจ�ำ คนทีไ่ ม่ธรรมดาแบบนีเ้ ขามีอะไรทีแ่ ตกต่าง กับคนทัว่ ไป? อันทีจ่ ริงต้องบอกว่าค�ำตอบซ่อนอยู่ ในความเคยชินทีพ่ วกเขาท�ำนัน่ เอง อันได้แก่

ของพีไ่ กด์คนไทยทีพ่ าทัวร์เยอรมนี พีค่ นนีแ้ ต่เดิม เป็นแค่เด็กยกของในโรงแรม แต่ดว้ ยความเป็นคน หนักเบาเอาสู้ และชอบให้บริการเป็นชีวิตจิตใจ แขกทีโ่ รงแรมใช้ให้ทำ� อะไรก็ทำ� โดยไม่เกีย่ งงอนหรือ ท�ำหน้าบูดหน้าเบี้ยว แถมยังมีนิสัยคิดเผื่อคนอื่น อีกด้วย และด้วยบุคลิกเหล่านี้ ในทีส่ ดุ วันหนึง่ ก็เตะตา แขกฝรัง่ ทีม่ าพักทีโ่ รงแรม เลยชวนพีเ่ ขาไปช่วยงาน ทีเ่ ยอรมนี และก็กลายเป็นทีม่ าทีท่ ำ� ให้เขาพูดภาษา เยอรมันได้ และก็กลายเป็นไกด์พาเทีย่ วทีม่ รี ายได้ดี แบบที่เขาก่อนหน้านี้ก็คงไม่มีวันเชื่อ แต่ที่เป็น แบบนี้ได้ก็เพราะเขาท�ำงานหนักและเต็มที่กว่า คนอืน่

1. คิดเผือ ่ คนอืน ่ เป็นประจ�ำ

ทัศนคติของคนเจ๋งๆ ล้วนเหมือนกันหมด คือ พวกเขามีแนวคิดแบบเติบโต (Growth Mindset) ไม่วา่ อะไรก็ตามทีเ่ ข้ามา พวกเขาสามารถมองมัน ให้เป็นโอกาสได้หมด ไม่วา่ จะเป็นงานทีพ่ วกเขาไม่ชอบ คือแทนทีจ่ ะเบือ่ และท�ำงานพวกนีแ้ บบลวกๆ พวกเขา พยายามหาข้อดีและประโยชน์ของงานเพื่อจูงใจ ตัวเองให้ยอมท�ำ เช่น ถ้าพวกเขาเป็นแคชเชียร์คดิ เงิน พวกเขาจะไม่ได้ทำ� หน้าทีแ่ ค่คดิ เงิน แต่จะคอยสังเกต ว่าเวลานัน้ เวลานีค้ นชอบมาซือ้ อะไรกัน หรือลูกค้า หน้าตาแบบนีแ้ บบนัน้ ซือ้ อะไรบ่อยๆ สิง่ ทีเ่ กิดขึน้ ถัดมา คือ พวกเขาอาจมีไอเดียไปบอกหัวหน้าว่า น่าลอง เอาสินค้านีม้ าวางขายในเวลานีน้ ะ เพราะลูกค้ากลุม่ นี้ มักมาซือ้ ของตอนนี้ แน่นอนว่า แม้หวั หน้าจะสามารถ หรือไม่สามารถท�ำแบบที่พวกเขาแนะน�ำได้ แต่ หัวหน้าย่อมมองเห็นทันทีวา่ แคชเชียร์คนนีโ้ ดดเด่น กว่าคนอืน่ แล้วลองคิดดูวา่ ถ้าวันหนึง่ แคชเชียร์โตไป เป็นเจ้าของกิจการขายของหรือเป็นนักการตลาด พวกเขาจะมีภาษีดกี ว่าคนอืน่ มากแค่ไหน ทัง้ หมดนี้ เป็นเพียงตัวอย่าง 3 ความเคยชิน ทีเ่ ป็นประโยชน์กบั ชีวติ ทีน่ ำ� มาแนะน�ำ แต่ทงั้ หมด ทัง้ มวลสามารถสรุปได้เป็นค�ำเดียวคือ ‘การท�ำทุก อย่างให้เกินความคาดหวัง’ เพราะคนส่วนใหญ่ คิ ด ว่ า แค่ ท� ำ ตามความคาดหวั ง ก็ เ พี ย งพอแล้ ว จริงๆ มันก็ถกู แหละ แต่การท�ำได้แค่ระดับพอดีกบั ความคาดหวัง ผลลัพธ์เป็นแค่ความพอใจเท่านัน้ แต่ถา้ ท�ำได้เกินความคาดหวัง ผลลัพธ์จะกลายเป็น ความประทับใจในทันที และอย่าลืมว่าคนเรามัก ไม่จดจ�ำอะไรที่มันกลางๆ แต่จะจดจ�ำที่แย่สุดกับ ดีสดุ ได้เท่านัน้ ฉะนั้น ถ้าอยากให้ชีวิตคุณเกิดผลลัพธ์ ใหม่ๆ อาจถึงเวลาที่คุณต้องสร้างความเคยชิน ใหม่ๆ ทีช่ ว่ ยให้คณ ุ กลายเป็นคนทีน่ า่ จดจ�ำ

นิ สั ย อะไรบ้ า ง? ที่ ช่ ว ยให้ คุ ณ กลาย เป็ น คนที่ น่ า จดจ� ำ

โดยมาก ถ้าไปถามคนเป็นหัวหน้าว่าคาดหวัง อะไรกับลูกน้อง? หัวหน้ามักตอบว่า ขอแค่ทำ� ตาม ทีบ่ อกก็พอใจแล้ว แต่ถา้ ถามต่อว่า แล้วอะไรบ้าง ถ้าลูกน้องท�ำจะถึงขัน้ ประทับใจ ร้อยทัง้ ร้อยหัวหน้า จะตอบว่า ลูกน้องสามารถคิดเผือ่ และระวังเรือ่ งที่ หัวหน้าอาจไม่ทนั คิดได้ เช่น หัวหน้าทีว่ ่นุ วายมา ตลอดทัง้ วันก�ำลังเข้าพบลูกค้าอีก 5 นาทีขา้ งหน้า ลูกน้องไม่เพียงแต่เตรียมนัดให้เรียบร้อย แต่ยงั รีบ มาบรีฟประวัตลิ กู ค้าให้หวั หน้าฟังคร่าวๆ เพือ่ เวลา ทีห่ วั หน้าพบลูกค้าแล้วจะได้มแี บ็กกราวนด์ไว้สร้าง บทสนทนาที่ประทับใจได้ ซึ่งถ้าถามว่างานหลัก จริงๆ ของลูกน้องคืออะไร ก็คอื เตรียมนัด แต่ลกู น้อง แบบเจ๋งๆ จะคิดเผือ่ ต่ออีกว่า แล้วมีอะไรอีกบ้างที่ ฉันจะช่วยให้หัวหน้าและงานทั้งหมดออกมาดีได้ ซึง่ ถ้าพูดอีกอย่างก็คอื คิดเผือ่ คนอืน่ นัน่ เอง 2. ไม่เกีย ่ งงาน ท�ำเกินร้อย

ถ้าสังเกตชีวติ เฟร็ด จะเห็นว่าเฟร็ดท�ำงาน มากกว่าสิง่ ทีอ่ ยูใ่ น job description ซึง่ มันท�ำให้เขา ต้องเหนือ่ ยกว่าชาวบ้าน อย่างครัง้ หนึง่ เราฟังเรือ่ งราว

C

M

Y

CM

MY

3. เปลีย ่ นทุกอย่างทีเ่ ข้ามาให้เป็นโอกาส

CY

CMY

K


32

EDITOR,S NOTE

เรื่อง

วุฒิชัย กฤษณะประกรกิจ บรรณาธิการบริหาร FB : theaestheticsofloneliness

ISSUE 561 22 OCT 2018

CAREER ANXIETY แข่งกันเมื่อหลายปีก่อน สิ่งที่คนรุ่นเราก�ำลัง จะต้องเผชิญ คือความวิตกกังวลในเรื่องงาน อย่างหลีกเลีย่ งไม่ได้ พวกเขาจะเจ็บปวดในทุกๆ มิตขิ องชีวติ หมายถึงชีวติ ทีไ่ ม่มเี งินทองมากพอ จะไปบริโภคสินค้าและบริการแพงๆ และใน เวลาเดียวกัน พวกเขาก็มชี วี ติ การท�ำงานทีไ่ ม่ได้ ประสบความส�ำเร็จ ไม่มีชื่อเสียง ไม่ได้เรียนต่อ เมืองนอก หรือไม่ได้เริ่มต้นธุรกิจออนไลน์แบบ ที่เห็นบนนิวส์ฟีดของตัวเอง หนังสือแนว brainy book จึงขายดี งานโละ สต็อกขายหนังสือต่างประเทศเก่าๆ จึงมีคนแห่ ไปซื้อมาเพื่อถ่ายรูปโชว์หน้าปก หนังสือแนว เยียวยาจิตใจ และเหล่าไลฟ์โค้ชจึงกลายเป็นที่ ต้องการอย่างมากในตอนนี้ โลกยุคก่อน เราแทบจะไม่ได้มีโอกาส เปรียบเทียบชีวติ ความเป็นอยู่ และการงานของ ตัวเองกับเพื่อนร่วมรุ่น นอกเสียจากตอนที่ไป ร่วมงานเลี้ยงรุ่นแค่ปีละครั้ง หรือนานๆ ทีที่ได้ ไปงานแต่งงานเพื่อนร่วมรุ่น ก็จะเห็นว่ามีเพื่อน บางคนทีโ่ ดดเด่นเหนือกว่า แล้ววันรุง่ ขึน้ เราก็ได้ กลับมาสูช่ วี ติ การท�ำงานปกติ ทีเ่ ห็นเพือ่ นร่วมงาน ในออฟฟิศเดียวกัน ระดับเงินเดือนและต�ำแหน่ง ไล่เลีย่ กัน ท�ำให้เราไม่คอ่ ยรูส้ กึ อะไรเท่าไรกับตัวเอง แต่ในทุกวันนี้ เราเห็นเพือ่ นร่วมรุน่ เราทุกวัน แต่ละวันๆ ในโลกโซเชียลมีเดียด�ำเนินไป ปี 2018 ก�ำลังจะผ่านพ้นไป ภาพชิบูยาโทสต์และภาพ เซลฟีวิ่งวันอาทิตย์ช่วยอะไรเราไม่ได้อีกต่อไป แล้ว โดยทีเ่ รายังไม่ได้ทำ� อะไรส�ำเร็จเป็นชิน้ เป็นอัน พอจะเอามาโพสต์อวดได้เลย

หมายเหตุ เรียบเรียงใหม่จากโพสต์ในเฟซบุ๊กส่วนตัว ปี 2016

การใช้งานโซเชียลมีเดียของเราได้มาถึง จุดเปลี่ยนที่ส�ำคัญ ความวิตกกังวลเรื่องงาน ก� ำ ลั ง จะกลายมาเป็ น หั ว ข้ อ หลั ก ที่ เ ราหั น มา แสดงออกอย่างสม�่ำเสมอบนพื้นที่ของเราเอง ตลอดหลายปีทผี่ า่ นมาก่อนหน้านี้ โซเชียลมีเดียครอบง�ำชีวิตเราในมิติของไลฟ์สไตล์และ วิถกี ารบริโภคจับจ่าย อย่างทีพ่ วกเราคุน้ เคยกันดี กับภาพฟูด้ พอร์น ลักชัวรีโปรดักต์ การท่องเทีย่ ว ต่างประเทศ และการแอ็กท่าถ่ายเซลฟีแบบ สปอร์โนเซ็กชวล ทีห่ มายถึงค�ำว่า สปอร์ต+เซ็กชวล คือภาพถ่ายตัวเองเพื่อโชว์ซิกซ์แพ็ก หรือใน ชุดว่ายน�้ำ ชุดโยคะรัดรูป เราซื้อหาสินค้าและบริการมาแต่งเติม ไลฟ์สไตล์และร่างกายของตัวเอง เพื่อประชัน ขันแข่งในโซเชียลมีเดียโดยที่รู้ตัวหรือไม่รู้ตัว ก็ตาม เราท�ำให้มันกลายเป็นศูนย์กลางของ การอวดความสุขของตัวเอง และศูนย์กลางของ ความอิจฉาริษยาของคนอื่นไปพร้อมๆ กัน แต่ในช่วง 1-2 ปีมานี้ คอนเทนต์ไลฟ์สไตล์ และการบริโภคจับจ่าย ได้ดำ� เนินมาถึงจุดอิม่ ตัว แล้ว มันฝืดเฝือ เกร่อ น่าเบื่อ สูญสิ้นพลังใน การเล่าเรื่องราวชีวิตของเราเอง ไม่มีสัญญะ ของความเหนือกว่าคนอื่นอีกต่อไปแล้ว เราจึง ค่อยๆ เคลื่อนย้ายรูปแบบการเล่าเรื่องราวจาก ไลฟ์สไตล์ไปสูช่ วี ติ ในอีกปริมณฑลหนึง่ คือส่วน ของเวิร์กสไตล์ หรือในชีวิตภาคการท�ำงาน คุณค่าใหม่ที่เราใช้สื่อสารถึงกัน เพื่อใช้ ในการก่อสร้างตัวตนของเราขึน้ มา ให้มหี น้ามีตา อยู่ในโลกเสมือนแห่งนี้ ไม่ได้มาจากขนมปังปิ้ง โปะไอศกรีมลูกใหญ่ หรือเนื้อย่างติดมันเยิ้ม แต่มาจากการอวดชีวติ การท�ำงาน การบอกเล่า เรือ่ งราวความส�ำเร็จในแต่ละวันๆ ผลงานชิน้ ใหม่ ระดับรายได้ ลูกค้าที่ได้มา การแฮงเอาต์กับ เพือ่ นร่วมงานในสถานทีห่ รูหรา การมีเน็ตเวิรก์ กิง้ ได้พบปะผูค้ น รูจ้ กั คนนัน้ คนนี้ ได้ไปร่วมงานอีเวนต์ และได้เซลฟีกบั คนดังในแวดวงการท�ำงาน ฯลฯ โดยรู ้ ตั ว หรื อ ไม่ รู ้ ตั ว ก็ ต าม เรารู ้ สึ ก เหมือนมันเป็นอีกหนึง่ ภารกิจทีจ่ ะต้องท�ำควบคู่ ไปกับการท�ำงานจริงๆ คือการอวดการท�ำงานนัน้ ๆ ให้คนอื่นได้รับรู้ด้วย และในทางตรงกันข้าม โดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ตาม เราจะเปรียบเทียบ งานของตัวเองกับงานของคนอื่นไปพร้อมกัน และมั น ง่ า ยมากๆ ที่ จ ะรู ้ สึ ก ว่ า เหมื อ นดู ถู ก ดูแคลนตลอดเวลา เหมื อ นกั บ กรณี ตั ว อย่ า งเมื่ อ หลาย สัปดาห์ก่อน ที่มีคนออกมาโพสต์ข้อความและ ภาพเซลฟีประมาณว่าอย่ามาดูถูกคนที่เรียน ไม่จบ ถึงจะเรียนไม่จบก็สามารถท�ำงานหาเงินทอง ได้มากมาย พร้อมกับโชว์เงินทอง เครือ่ งประดับ และรถยนต์ของตัวเอง คนหนุ่มสาวรุ่นใหม่มองงานที่ตัวเองท�ำ อยู่ในมุมใหม่ พวกเขาใช้มันเพื่อสร้างคุณค่า แบบใหม่ในโลกออนไลน์ ใช้โซเชียลมีเดียเพื่อ บ่นเบือ่ กรีดร้อง เสร็จแล้วก็ถา่ ยภาพเซลฟีตวั เอง ว่าก�ำลังท�ำงานหนักหามรุ่งหามค�่ำ พร้อมกับ อวดโอ่ ก ารประสบความส� ำ เร็ จ ไปในเวลา เดียวกัน เพื่อแสดงให้เพื่อนคนอื่นๆ เห็นว่า พวกเขาใช้เวลาอย่างไม่มีประสิทธิภาพ มัวแต่ เล่นโซเชียลมีเดีย เสียเวลาอย่างเปล่าประโยชน์ จึงไม่สามารถครอบครองความสุขความส�ำเร็จ ได้เท่าพวกเขา โซเชียลมีเดียก�ำลังจะกลายเป็นโลกของ การท�ำงานแข่งกัน หลังจากทีเ่ ราเคยกินชิบยู าโทสต์


ad Godays_V1 adB548.pdf 1 16/7/2561 14:47:40

WE’RE ONLINE B O O K S TO R E C

M

Y

CM

MY

CY

CMY

K

ǠLjˏ ǒ Ǘ˧ ǣ Ò íłłĪ Ǐǥǁǥǟˡ ǩ ǃǚ

ǐˏ DŽ Ǘˑ ǒ ǞǏˣ dž˰ Ʈ ǏǥǛƮǥǏ

Ǘljˏ ǁ ǏǗljǥƿˡ Ʈ Ljˡ Dž ǛǗǥǏǬLjǩǁǏ˧ ǣ ôÒƗ ŜłúŰŦ

godaypoets.com @


34-35.pdf 1 17/10/2561 14:14:23

C

M

Y

CM

MY

CY

CMY

K


34-35.pdf 2 17/10/2561 14:14:24

C

M

Y

CM

MY

CY

CMY

K


Reverse Magnolia 01 adB561.pdf 1 13-Oct-18 3:50:25 PM


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.