543 542 541
TODAY EXPRESS PRESENTS
11 JUN 2018
L ONCEA C
PAIN & MY
HIGHLIGHT
S
M
Y
ELF-ESTEE M
02 เข้าใจประวัตศ ิ าสตร์แห่งความเจ็บปวด จากจุดเริม ่ ต้นของการกลัน ่ แกล้งกัน
THE CONVERSATION ‘แพรพาเพลิน’ เด็กตัวน้อยผู้เคยตกเป็นเหยื่อของผู้ใหญ่ ที่ขาดความรู้เท่าทันสื่อยุคดิจิตอล
CONNECTING THE DOTS เว็บไซต์ Stop Bullying : เลิฟแคร์ไม่รังแกกัน ป้องกัน ไม่ให้เกิดการกลั่นแกล้งด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์
LIFE เตรียมความพร้อมรับมือกับความรุนแรงของ bullying ที่ถาโถมเข้ามาได้อย่างทันท่วงที
ADB TALK พูดคุยกับ 3 บุคคลส�าคัญ ถึงวิธีการก้าวข้ามผ่าน bullying อย่างมีหลักการ
SHE SAID ท�าความเข้าใจมาตรการในประเด็น cyberbullying กับ ดร. วรรณพร เทพหัสดิน ณ อยุธยา เลขาธิการ คณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
BREATHE IN บทความสะท้อนสภาพชีวิต จิตใจ และความสัมพันธ์ ที่พังทลายจากการถูกกลั่นแกล้ง
BEHIND THE COVER
CONTENTS
AGENDA
543 542 541
TODAY EXPRESS PRESENTS
11 JUN 2018
C ONCEA L
PAIN & MY
HIGHLIGHT M
Y
SELF-ESTEEM
ISSUE 542 11 JUN 2018
a day BULLETIN ร่ ว มกั บ dtac จั ด ท� า เนื้ อ หาเนื่ อ งในวั น Stop Cyberbullying Day ประจ�าปี 2018 รณรงค์ต่อต้านการกลัน ่ แกล้งรังแกกันในโลกออนไลน์ อีกทัง้ เรายังจะขยายเนือ ้ หาออกไป สู่ชีวิตประจ�าวันในโลกแห่งความเป็นจริง ที่ทุกคนต้องเผชิญหน้า กับความรุนแรงในรูปแบบต่างๆ ในที่ท�างานบ้าง ในโรงเรียนบ้าง หรือแม้กระทั่งในครอบครัว เราจะรับมือกับอันธพาลได้อย่างไร อีกทั้งท�าอย่างไรให้ตัวเรา ไม่กลายเป็นอันธพาลเสียเอง แล้วก็ไปกระท�าความรุนแรงใส่คนอืน ่ ่ ว่าเป้าหมายปลายทางทีแ่ ท้จริง โดย a day BULLETIN และ dtac เชือ ของการรณรงค์ นี้ ก็ คื อ การเสริ ม สร้ า งความมั่ น ใจให้ กั บ ทุ ก คน ในสั ง คม ความรุ น แรงโดยส่ ว นใหญ่ ที่ ก ระท� า ต่ อ กั น นั้ น เกิ ด จาก ความรู้สึกไม่มั่นคงภายใน ยิ่งโลกหมุนไปไวเปลี่ยนแปลงพลิกผัน ผู้ ค นยิ่ ง รู้ สึ ก สั่ น คลอนไม่ มั่ น คง เมื่ อ เราเสริ ม สร้ า งความมั่ น ใจ กลับคืนมา เราก็จะไม่ไปกระท�ารุนแรงกับคนอื่น อีกทั้งยังยืนหยัด รับมือการกลั่นแกล้งที่เข้ามาทุกรูปแบบโดยไม่หวั่นไหว ในยุ ค นี้ ไม่ มี ใ ครที่ จ ะเหมาะสมส� า หรั บ ปกของเรามากไปกว่ า น้องแพรพาเพลิน บิวตีบ ้ ล็อกเกอร์วย ั เยาว์ทม ี่ ก ั จะโดนชาวโซเชียลฯ แซว แกล้ง เสียดสี วิพากษ์วิจารณ์ ไปจนถึงการรุมด่าน้องด้วย ถ้อยค�าสารพัด เด็กหญิงวัยเพียงสิบขวบมาถ่ายทอดเรือ ่ งราวการต่อสูร ้ บ ั มือกับความรุนแรงในโลกออนไลน์ ด้วยก�าลังใจและค�าสอน จากคุณพ่อคุณแม่ ลองมาดูว่าคุณพ่อและคุณแม่สอนเธออย่างไร และเธอยืนหยัดลุกขึน ้ มาเป็นบิวตีบ ้ ล็อกเกอร์ทป ี่ ระสบความส�าเร็จ และเพิ่งจะโกอินเตอร์ไปในงานอีเวนต์แฟชั่นระดับโลกได้อย่างไร ยังมีเนือ้ หาแง่มม ุ อืน ่ ๆ เกีย ่ วกับการกลัน ่ แกล้งรังแกและความรุนแรง ที่ a day BULLETIN และ dtac น�าเสนออยู่ในฉบับนี้ และอยาก จะจุดประเด็นให้สังคมไทยให้ความส�าคัญกับปัญหานี้ด้วยกัน
ที่ปรึกษา สุรพงษ์ เตรียมชาญชัย บรรณาธิการที่ปรึกษา นิภา เผ่าศรีเจริญ บรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณา/บรรณาธิการบริหาร วุฒิชัย กฤษณะประกรกิจ บรรณาธิการบทความ ทรรศน หาญเรืองเกียรติ ปริญญา ก้อนรัมย์ กองบรรณาธิการ ศรัญญา อ่าวสมบัติกุล พัทธมน วงษ์รัตนะ ชยพล ทองสวัสดิ์ นักเขียน/ผู้ประสานงาน ตนุภัทร โลหะพงศธร บรรณาธิการภาพ คเชนทร์ วงศ์แหลมทอง หัวหน้าช่างภาพ กฤตธกร สุทธิกิตติบุตร ช่างภาพ ภาสกร ธวัชธาตรี รัชต์ภาคย์ แสงมีสินสกุล บรรณาธิการศิลปกรรม พงศ์ธร ยิ้มแย้ม ศิลปกรรมอาวุโส สิริลักษณ์ ตะเภาหิรัญ ศิลปกรรม ฐิติชญา อนันต์ศิริภัณฑ์ อุษา นพประเสริฐ พิสูจน์อักษร หัสยา ตั้งพิทยาเวทย์ ศักดิ์สิทธิ์ ไม้ล�าดวน พิสูจน์อักษร/ผู้ดูแลสื่อออนไลน์ ธมนวรรณ กัวหา ฝ่ายผลิต วิทยา ภู่ทอง บรรณาธิการดิจิตอลคอนเทนต์ มิ่งขวัญ รัตนคช ฝ่ายสร้างสรรค์วิดีโอ วงศกร ยี่ดวง กวินนาฏ หัวเขา ที่ปรึกษาฝ่ายโฆษณา ศรวณีย์ ศิริจรรยากุล ผู้จัดการฝ่ายโฆษณา มนัสนันท์ รุ่งรัตนสิทธิกุล 08-4491-9241 ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายโฆษณา ธนาภรณ์ ศรีจุฬางกูล 08-1639-1929, พงศ์ธิดา อังศุวัฒนากุล 09-4415-6241, ณัฐวีณ์ ประมุขปฐมศักดิ์ 08-3922-9929 ฝ่ายโฆษณาอาวุโส ภรัณภพ สุขอินทร์ 08-9492-3444, ณัฐเศรษฐ ใหม่เมธี 08-1886-9569, พรอารีย์ ต้นคชสาร 08-8882-1645 เลขานุการฝ่ายโฆษณา อัจจิมา กาญจนสมทรัพย์ ฝ่ายธุรการ ศันสนีย์ สีเขียว ผู้ ผ ลิ ต บริ ษั ท เดย์ โพเอทส์ จ� า กั ด เลขที่ 33 ซอยศู น ย์ วิ จั ย 4 แขวงบางกะปิ เขตห้ ว ยขวาง กรุ ง เทพฯ 10310 ติ ด ต่ อ กองบรรณาธิ ก าร โทร. 0-2716-6900 อี เ มล contact@adaybulletin.com เว็บไซต์ www.adaybulletin.com, www.daypoets.com ฝ่ายสมาชิก โทร. 0-2007-0155-7, www.godaypoets.com
a day BULLETIN
DATABASE
04
เรื่อง : พัทธมน วงษ์รัตนะ ภาพ : สิริลักษณ์ ตะเภาหิรัญ
ที่มา : www.files.eric.ed.gov, www.nidapoll.nida.ac.th, www.digitaltrends.com
CYBERBULLYING AMONG THAI TEENAGERS การกลัน ่ แกล้งกันบนโลกออนไลน์ หรือ cyberbullying เป็นประเด็นทางสังคมทีน ่ า่ วิตกกังวล ในหลายประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย ทีไ่ ม่นานมานีต ้ ด ิ โผเป็นหนึง่ ในห้าอันดับประเทศ ทีม ่ ก ี ารกลัน ่ แกล้งบนอินเทอร์เน็ตสูงสุด เราจึง ขอชวนคุณมาส�ารวจตัวเลขทางสถิติเกี่ยวกับ ภั ย ร้ า ยดั ง กล่ า ว รวมถึ ง ข้ อ กฎหมายและ วิธีการแก้ไขที่ช่วยให้สามารถรับมือต่อการถูก กลัน ่ แกล้งอย่างทันท่วงที
พฤติกรรม cyberbullying ทีเ่ ด็กไทย พบเจอมากทีส ่ ด ุ
CYBERBULLYING BACK
1
การโพสต์ดา่ ทอ ให้รา้ ย ดูถก ู หรือ ข่มขูท ่ า� ร้าย
29.18%
45%
BULLYING BULLYING
2
เด็กไทย 45% มีประสบการณ์เกี่ยวกับการกลัน ่ แกล้งทางออนไลน์ อย่างน้อย 1 ครั้ง ซึ่ง มากกว่าประเทศอย่าง สหรั ฐ อเมริ กา ยุโ รป และญี่ปุ่นถึง 4 เท่า
NO NO
17.04% 3
11-14 หากโดนกลั่ น แกล้ ง ทาง ออนไลน์ สามารถจับภาพ หน้าจอ (แคปเจอร์) มาใช้ เป็นหลักฐานในการฟ้องร้อง ฐานหมิน ่ ประมาทตามประมวล กฎหมายอาญา มาตรา 329 ได้ โดยหลักฐานที่จะ น� า มาฟ้ อ งโทษฐานหมิ่ น ประมาทต้ อ งมี อ ายุ ไ ม่ เ กิ น 3 เดื อ นนั บ จากวั น ที่ แ จ้ ง ความ
4
59%
5
issue 542 11 JUN 2018
บล็อกข้อความหรือ บุคคลดังกล่าว 67.3%
3
เปลีย ่ นอีเมลหรือ เบอร์โทรศัพท์ 48%
4
เพิกเฉย 40.9%
การแบล็กเมล
11.39%
ข้อคิดเห็นด้านการจัดการกับพฤติกรรม Cyberbullying 2
การสร้างกลุม ่ โซเชียลฯ เพือ ่ โจมตี โดยเฉพาะ
13.67%
เมื่อโดนกลั่นแกล้ง เด็กไทย 59% ไม่กล้าเล่าให้ พ่ อ แม่ ฟั ง โดยมั ก เก็ บ ตั ว และแก้ ปั ญ หาด้ ว ย ตนเอง หรือเลือกปรึกษาเพื่อนสนิท
6
1
การหลอกลวง ฉ้อโกง ต้มตุน ๋
14.30%
เด็ ก ที่ มี พ ฤติ ก รรมกลั่ น แกล้ ง กั น ทางออนไลน์ ม ากที่ สุ ด คื อ นักเรียนชัน ้ มัธยมต้น อายุระหว่าง 11-14 ปี โดยในประเทศไทย พบว่า เด็กทีต ่ กเป็นเหยือ ่ จะอายุนอ ้ ยลงเรือ ่ ยๆ จนถึงระดับชัน ้ อนุบาล
329
การแอบอ้าง สวมรอย
5
ปรึกษาผูอ ้ น ื่ (พ่อแม่/ครู) 36.8%
ขอร้องให้หยุด การกระท�า 29.6%
11.06% 7
6
รายงานกับต�ารวจหรือ หน่วยงานทีเ่ กีย ่ วข้อง 29.3%
การคุกคาม ทางเพศ
ไม่เคยพบเห็น พฤติกรรม cyberbullying
3.37%
06
ทีม ่ า: https://blogs.scientificamerican.com, https://bullyingnoway.gov.au, www.congress.gov, www.britannica.com, www.hazelden.org, https://en.wikipedia.org/wiki/Bullying
THE ORIGIN OF BULLYING
ปัง! เสียงปืนดังขึน ้ พร้อมกับลูกกระสุนทีถ ่ ก ู ปลดปล่อย จากปลายกระบอก พุ่ ง ตรงทะลุ ผ่ า นร่ า งกายของ เด็ ก นั ก เรี ย นมั ธ ยมปลาย เลื อ ดสี แ ดงสดหลั่ ง ไหล ออกจากรูบนผิวหนัง เช่นเดียวกับน�้าตาที่ไหลอาบบน ผิวหน้า เพียงเศษเสีย ้ ววินาทีเท่านัน ้ ร่างเยาว์วย ั นีล ้ ม ้ ราบ ลงบนพื้น นอนแน่นิ่งไร้ลมหายใจ
issue 542 11 JUN 2018
เหตุ ก ารณ์ สั ง หารหมู ่ ภ ายใน โรงเรียนไฮสกูลโคลัมไบน์ (Columbine High School Massacre) ทีเ่ กิดขึน้ ในวันที่ 20 เมษายน ค.ศ. 1999 สร้างความรูส้ กึ หดหู่ หวาดกลัว และสะเทือนขวัญ ให้ กับทุกคนทีร่ บั รู้ เนือ่ งจากเป็นการกระท�า อย่างอุกอาจโดยนักเรียนวัยรุ่นชาย สองคน คือ เอริก แฮริส อายุ 18 ปี และ ดีแลน เคลโบลด์ อายุ 17 ปี ในวันนัน้ ทั้งคู่ร่วมกันสังหารเพื่อนนักเรียนไป 12 คน และคุณครู 1 คน ก่อนยิงตัวตาย ตามในท้ายทีส่ ดุ และยังมีผบู้ าดเจ็บอีก 24 คน เหตุการณ์สงั หารหมูค่ รัง้ นีไ้ ด้ จุดความสนใจให้โลกตระหนักถึงความรุนแรงและความร้ายกาจจากผลลัพธ์ ของพฤติกรรมน่ารังเกียจที่เรียกว่า bullying หรือการกลัน่ แกล้งกัน เพราะมัน คือหนึง่ ในสาเหตุสา� คัญทีท่ า� ให้วยั รุ่น ทัง้ สองคนตัดสินใจสร้างโศกนาฏกรรม ครั้งนี้ เพื่อความเข้าใจในพฤติกรรม bullying เราจ�าเป็นต้องย้อนกลับไปใน อดีตกาลในยุคทีโ่ ลกยังไม่ได้ให้กา� เนิด Homo sapiens หรือมนุษย์คนแรกด้วยซ�า้ Bullying เป็นรูปแบบพฤติกรรม ความรุนแรงทีเ่ กีย่ วข้องกับวิวฒ ั นาการ เป็นการท�าทุกวิถที างเพือ่ ให้มชี วี ติ รอด เป็นสัญชาตญาณแห่งชีวติ เป็นการต่อสู้เอาชนะด้วยก�าลังกับคู่แข่งเพื่อ ด�ารงเผ่าพันธุ์ ดังนั้น เมื่อมนุษย์ถือ ก�าเนิดขึน้ ความรุนแรงนีจ้ งึ ถูกถ่ายทอด ผ่านพันธุกรรมและอยูค่ กู่ บั ความเป็น
มนุษย์มาโดยตลอด ดังนัน้ ชีวติ ในยุค ก่อนประวัตศิ าสตร์ bullying จึงถูกมอง ว่าเป็นวิถธี รรมชาติของชีวติ ไม่ใช่เรือ่ ง ผิดแปลกหรืออันตรายแต่อย่างใด สิ่งหนึ่งที่ยืนยันได้คือรากศัพท์ ของค�าว่า bullying เพราะเดิมทีคา� ว่า bully ถูกใช้ครั้งแรกในช่วงปี 1530 หมายถึง sweetheart หรือทีร่ กั ก่อนทีจ่ ะ ถูกเปลี่ยนความหมายใหม่อย่างที่ใช้ ในปั จ จุ บั น ในความเป็ น จริ ง แล้ ว มนุษย์เพิง่ จะตระหนักถึงความร้ายกาจ ของ bullying เมือ่ ศตวรรษที่ 19 นีเ่ อง ทุกวันนี้ bullying หรือการกลัน่ แกล้งกัน เกิดขึน้ ในทุกชนชาติ ทุกเพศ ทุกวัย และทุกสถานที่ ทัง้ ในออฟไลน์ และออนไลน์ ดู เ หมื อ นว่ า จะเพิ่ ม ความรุนแรงขึน้ เรือ่ ยๆ และจบลงด้วย เหตุการณ์ทสี่ ร้างความสะเทือนใจเสมอ แม้ว่าหลายประเทศทั่วโลกได้ออก กฎหมายและมาตรการเพือ่ ปราบปราม และจั ด การกั บ การกลั่ น แกล้ ง กั น แต่ดูเหมือนว่าเป็นการแก้ไขปัญหาที่ ปลายเหตุ เพราะสาเหตุสา� คัญเกิดจาก การปฏิบตั ติ อ่ กันของมนุษย์ ซึง่ มีเพียง ใจเราเท่านัน้ ทีต่ ดั สินใจว่าจะประพฤติ อย่างไรต่อคนคนหนึง่ เราขอพาคุณย้อนอดีตกลับไป เรียนรูค้ วามรุนแรง และท�าความเข้าใจ ประวัตศิ าสตร์แห่งความเจ็บปวดจาก จุดเริม่ ต้นของ bullying การกลัน่ แกล้ง
TIMELINE OF BULLYING
a day BULLETIN
AGENDA 1838 ประเด็น bullying ได้รับการกล่าวถึงในงานวรรณกรรม เป็นครัง ้ แรก ในหนังสือทีม ่ ช ี อ ่ื ว่า Oliver Twist เขียนโดย Charles Dickens
1862 ปรากฏรายงานสาเหตุการเสียชีวต ิ จากถูก bullying เป็นครัง ้ แรก ในสหราชอาณาจักร ผูเ้ สียชีวต ิ คือเด็กอายุ 12 ปี
1897 ตีพิมพ์บทความวิชาการเกี่ยวกับลักษณะและพฤติกรรม bullying เป็นครั้งแรก ใช้ชื่อบทความว่า Teasing and Bullying เขียนโดย Frederic L. Burk
1952 เป็นครัง ้ แรกทีก ่ ารลักเล็กขโมยน้อย (stealing) และการโจรกรรม (robbery) ได้รบ ั การหมายรวมให้เป็นพฤติกรรม bullying โดย John Jacob Brooke Morgan ในต�ารา The Psychology of the Unadjusted School Child
1970 พฤติกรรม bullying ได้รบ ั การศึกษาครัง้ แรกด้วยระเบียบวิธวี จิ ย ั ทางวิทยาศาสตร์ โดย Dan A. Olweus ซึง ่ ปี 1973 ได้ตพ ี ม ิ พ์ ผลการศึกษาเป็นหนังสือเผยแพร่ในสแกนดิเนเวีย และในปี 1978 ตีพม ิ พ์เป็นบทความวิจย ั ชือ ่ Aggression in the Schools: Bullies and Whipping Boys เผยแพร่ในสหรัฐอเมริกา
1981 ผลการศึกษาของ Dan A. Olweus ส่งผลให้มก ี ารเสนอข้อกฎหมาย เพือ ่ การต่อต้านพฤติกรรม bullying เป็นครัง ้ แรก และน�าไปสู่ การออกข้อกฎหมายดังกล่าวโดยรัฐสภาแห่งสวีเดนและนอร์เวย์
1989 ค�าว่า bullying ได้ปรับปรุงการให้ค�านิยาม โดยเพิ่มลักษณะ พฤติกรรมทีส ่ ร้างความเจ็บปวดโดยใช้คา� พูด การพยายามกีดกัน ให้ออกไปจากกลุม ่ สังคม และการปล่อยข่าวลือ
1999 เกิดเหตุการณ์สังหารหมู่ภายในโรงเรียนไฮสกูลโคลัมไบน์ โดยมีสาเหตุมาจากความรูส ้ ก ึ เก็บกดจากการถูกกลัน ่ แกล้ง ในโรงเรี ย น ท� า ให้ ทั่ ว โลกหั น มาให้ ค วามสนใจประเด็ น bullying อย่างจริงจัง
2000 กระแสความนิ ย มของการเข้ า ถึ ง อิ น เทอร์ เ น็ ต และการใช้ โทรศั พ ท์ มื อ ถื อ เพิ่ ม สู ง ขึ้ น โดยเฉพาะในหมู่ วั ย รุ่ น ท� า ให้ เ กิ ด cyberbullying หรือพฤติกรรมการกลัน ่ แกล้งในสังคมออนไลน์
2003 Cyberbullying กลายเป็นสาเหตุหนึ่งที่น�าไปสู่การฆ่าตัวตาย โดยสมบูรณ์ เช่นเดียวกับ Ryan Patrick Halligan นักเรียน ชาวอเมริกน ั วัย 13 ปี ทีต ่ ด ั สินใจจบชีวต ิ จากการถูกกลัน ่ แกล้ง ทัง ้ ออฟไลน์และออนไลน์ด้วยการแขวนคอ
2006 Megan Taylor Meier วัยรุน ่ วัย 13 ปี ฆ่าตัวตายหลังจาก ถูกกลัน ่ แกล้งบนสังคมออนไลน์ หนึง่ ในข้อความทีท ่ า� ให้เธอ ตัดสินใจจบชีวต ิ ลง คือ ‘The world would be a better place without you.’ ภายในปีเดียวกันรัฐสภาสหรัฐฯ เห็นชอบผ่านร่างกฎหมายเพือ ่ ต่อต้าน cyberbullying
2008 แคลิ ฟ อร์ เ นี ย เป็ น รั ฐ แรกในสหรั ฐ อเมริ ก าที่ บั ง คั บ ใช้ ก ฎหมาย เพื่อจัดการกับ cyberbullying
2009 สหรัฐอเมริกาประกาศใช้กฎหมายทีม ่ ชี อ ื่ ว่า Megan Meier Cyberbullying Prevention Act เพือ ่ ออกมาตรการ ป้องกันและเพิม ่ ลักษณะของการกระท�าผิด cyberbullying รวมถึงก�าหนดบทลงโทษส�าหรับผูก ้ ระท�าผิด
2011 ประเทศออสเตรเลียก�าหนดให้วันศุกร์ที่สามในเดือน มีนาคมของทุกปี เป็นวันต่อต้านความรุนแรงและการกลั่นแกล้งแห่งชาติ (The National Day of Action against Bullying and Violence)
2012 Cybersmile Foundation องค์กรไม่แสวงหาก�าไรที่จัดตั้งขึ้น เพื่อต่อต้าน Cyberbullying ก�าหนดให้วันศุกร์ที่สามของเดือน มิถุนายนของทุกปีเป็นวันหยุดการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ (Stop Cyberbullying Day)
a day BULLETIN
08 IN CASE YOU
MISSED IT
ข่าวรอบโลกปลายสัปดาห์ทค ี่ ณ ุ อาจพลาดไป! www.foxnews.com
www.washingtonpost.com
https twitter.com Nic Hamilton
ENTERTAINMENT
EDUCATION
LIFESTYLE
นิ โ คลั ส แฮมิ ล ตั น ผลิ ต สิ น ค้ า ต่อต้านการกลัน ่ แกล้งในโรงเรียน
เพนซิ ล เวเนี ย เสนอกฎหมาย ป รั บ เ งิ น ผู้ ป ก ค ร อ ง ข อ ง เ ด็ ก ทีม ่ พ ี ฤติกรรมข่มขู่
ปลุกกระแสต่อต้านการ ‘กลัน ่ แกล้ง’ ด้ ว ยคลิ ป ไวรั ล ของเด็ ก สาววั ย 10 ปี
แฟรงก์ เบิ ร ์ น ส์ ผู ้ แ ทนสภานิ ติ บั ญ ญั ติ แ ห่ ง รั ฐ เพนซิลเวเนีย สหรัฐอเมริกา ต้องการปราบปราม การกลัน่ แกล้ง ด้วยการเสนอกฎหมายปรับเงินผูป้ กครอง ของเด็กทีม่ พี ฤติกรรมข่มขูค่ นอืน่ พร้อมแนะน�าให้ครู และเจ้าหน้าทีใ่ นโรงเรียนช่วยเป็นหูเป็นตาคอยแจ้ง ให้ พ ่ อ แม่ ท ราบทุก ครั้ง ที่เ ด็ก ข่ ม ขู ่ นัก เรีย นคนอื่น โดยหากกระท�าเป็นครั้งแรก ครูจะเรียกผู้ปกครอง มาตักเตือน หากเกิดขึ้นอีกเป็นครั้งสอง และมี หลักฐานชัดเจน จะต้องเสียค่าปรับ 500 ดอลลาร์ฯ ถ้าเหตุการณ์ยังเกิดขึ้นอีกเป็นครั้งที่สาม จะต้อง เสียค่าปรับ 750 ดอลลาร์ฯ “ผู้ปกครองจะต้องเป็น ผู้รับผิดชอบเรื่องนี้ทั้งหมด” เบิร์นส์ยนื ยัน
ในทุกโรงเรียนจะมีเด็กทีถ่ กู กลัน่ แกล้งเสมอ ตัง้ แต่ระดับ เล็กๆ ไปจนถึงขัน้ หนักหน่วง ไม่ตา่ งจาก แคสสิดี้ สเลเตอร์ นักเรียนชัน้ ป.4 ของโรงเรียนประถมศึกษาในสแครนตัน รัฐเพนซิลเวเนีย และเธอก็ไม่ทนอีกต่อไป แคสสิดเี้ ริม่ เขียนข้อความลงบนกระดาษ และอัดเป็นคลิปวิดโี อ ปล่อยลงสูเ่ ฟซบุก๊ ว่า ตัวเองถูกกลัน่ แกล้งตัง้ แต่เมือ่ ไหร่ รวมถึงเรือ่ งทีถ่ กู กลัน่ แกล้งสารพัด เช่น เตะ จิกผม ดึงกระเป๋า ไม่นงั่ ร่วมโต๊ะอาหาร ไปจนถึงถูกข่มขูว่ า่ จะฆ่า และไล่ให้ไปฆ่าตัวตาย ซึง่ คลิปนีถ้ กู แชร์ไปอย่าง รวดเร็ว จนสุดท้ายครูใหญ่และผูอ้ า� นวยการโรงเรียน รวมทัง้ พ่อของแคสสิดไ้ี ด้เข้าร่วมหารือเพือ่ หาหนทาง หยุดพฤติกรรมของเด็กเหล่านี้ในโรงเรียน
จากประเด็นการกลัน่ แกล้งในโรงเรียนทีก่ า� ลังน่าเป็นห่วง ในสหรัฐอเมริกา นักแสดงหนุ่มวัย 18 ปี นิโคลัส แฮมิลตัน เจ้าของบทบาท เฮนรี โบเวอร์ส หัวหน้ากลุม่ เด็กเกเรจากภาพยนตร์สยองขวัญเรือ่ ง It จึงตัดสินใจ ขอเป็นส่วนหนึ่งในการลุกขึ้นมาแก้ไขปัญหานี้ด้วย การผลิตสินค้าเสื้อยืดและเสื้อฮู้ด ภายใต้แฮชแท็ก #DontBeTheBadGuy โดยเขาเขียนรายละเอียดของ สินค้าแต่ละชิน้ ไว้วา่ “ผมอาจจะเล่นเป็นตัวร้าย แต่จริงๆ แล้วผมเป็นคนดี เพราะฉะนัน้ เราอย่าเป็น ‘Bad Guy’ กันเลย” และเขายังเผยว่า รายได้จากการขายสินค้า จะน�าไปบริจาคให้กบั Stomp Out Bullying โครงการ ที่ตั้งใจหยุดการกลั่นแกล้งในหมู่นักเรียนนักศึกษา ทั้ ง ในเรื่ อ งของการเหยี ย ดเพศ เหยี ย ดเชื้ อ ชาติ การบูลลีในโลกออนไลน์ และการล่วงละเมิดทางเพศ
news.un.org
เบ็กแฮม ยก IG ให้เด็กสาว ชาวอินโดนีเซียโพสต์ปัญหา การกลั่นแกล้งที่เผชิญ
issue 542 11 JUN 2018
เดวิด เบ็กแฮม อดีตสตาร์แข้งทองของทีม แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด และเรอัล มาดริด ทีป่ จั จุบนั มีอกี บทบาทในการเป็นทูตขององค์การยูนเิ ซฟ เดินทางไปยังอินโดนีเซียร่วมกับมูลนิธิ Fund: 7 ซึ่งเป็นโครงการที่ท�ากิจกรรมแก้ไขปัญหาการถูกกลัน่ แกล้ง การใช้ความรุนแรง การแต่งงาน ในวัยเด็ก และการพลาดโอกาสทางการศึกษา เพื่อพบกับศรีปุณณ์ เด็กสาววัย 15 ปีที่เผชิญ ปัญหาการถูกกลั่นแกล้งในโรงเรียน ซึ่งเป็นอีก ปัญหาเรือ้ รังทีเ่ กิดขึน้ มานานในสังคมอินโดนีเซีย โดยพ่อหนุ่มเบ็กแฮมได้ยกไอจีของตนเองที่มี ผูต้ ดิ ตามกว่า 43 ล้านคนให้เด็กสาวโพสต์อะไร ก็ได้ ซึ่งเธอก็ท�าการอัพสตอรีเพื่อชักชวนผู้คน ให้ยุติความรุนแรงทั้งทางร่างกายและวาจา แน่นอนว่าเหล่าผู้ติดตามของเบ็กแฮมทั่วโลก คงได้เห็นเรือ่ งราวทีถ่ กู ถ่ายทอดเหล่านีไ้ ปเรียบร้อย รวมถึงยังสร้างแรงบันดาลใจในการต่อยอด เพื่อหยุดปัญหาการกลั่นแกล้งได้
www.thestar.com.my
https
HERO
SOCIETY ดารามาเลเซียสนับสนุนแคมเปญ #StandTogether เหล่าผูม้ ชี อ่ื เสียงของมาเลเซีย ร่วมสนับสนุนแคมเปญ ในงาน #StandTogetherCarnival พร้อมติดแฮชแท็ก ในชือ่ เดียวกัน ซึง่ เป็นแคมเปญส�าหรับการเฉลิมฉลอง National Kindness Week ที่นอกจากจะมีกิจกรรม มากมายแล้ว ยังมีกจิ กรรมเกีย่ วกับการป้องกันตนเอง และการเสวนาเกีย่ วกับเรือ่ ง cyberbullying ด้วย โดย แคมเปญนีร้ เิ ริม่ โดยบริษทั อสังหาริมทรัพย์ และได้รบั การสนับสนุนจากรัฐบาลและภาคส่วนต่างๆ เพือ่ ให้ ผูค้ นตระหนักถึงเรือ่ งการกลัน่ แกล้งกันโดยเฉพาะใน โรงเรียน ซึง่ Datuk P. Kamalanathan รองปลัดกระทรวง การศึกษาของมาเลเซีย ได้กล่าวในงานว่า “เด็กๆ จะไปโรงเรียนเพือ่ รับการศึกษาเท่านัน้ ไม่ใช่ไปเพือ่ ให้ ตนเองและครอบครัวกังวลเรือ่ งการถูกกลัน่ แกล้ง”
a day BULLETIN
THE CONVERSATION
10
เรื่อง : ปริญญา ก้อนรัมย์ ภาพ : ภาสกร ธวัชธาตรี สไตลิสต : Hotcake
CONC
M Y PA I N & H issue 542
MY SELF
11 JUN 2018
แพรพา
11
CEAL
HIGHLIGHT -ESTEEM
าเพลิน
a day BULLETIN
12 ‘แพรพาเพลิ น ’ หรื อ ด.ญ. ณัฏฐนันท์ สนุน ่ รัตน์ ในวัย เพียง 11 ปี เป็นบิวตีบ ้ ล็อกเกอร์ ชื่อดัง มีผู้ติดตามทั้งชาวไทย และชาวต่ า งชาติ ม ากมายใน ช่องทางโซเชียลมีเดียและยูทบ ู แชนแนล ด้ ว ยภาพลั ก ษณ์ ของความไร้เดียงสาแบบเด็กๆ ที่ ส ามารถออกมาสอนวิ ธี แต่งหน้าให้กับสาวๆ ได้อย่าง เอาจริงเอาจัง มีคนรักเธอถึงขนาดล่าสุด ได้ รั บ เชิ ญ ไปร่ ว มเป็ น หนึ่ ง ใน ที ม ช่ า งแต่ ง หน้ า ในเทศกาล แฟชั่ น ระดั บ โลก London Fashion Week 2018 ถือว่า เ ป็ น ก า ร โ ก อิ น เ ต อ ร์ ข อ ง บล็อกเกอร์ไทยทีไ่ ด้ไปสร้างชือ ่ ให้ประเทศเราในระดับโลก ในขณะเดียวกันก็มีผู้คน จ� า นวนหนึ่ ง เขี ย นข้ อ ความ หยาบคายใส่ เ ธอ จนท� า ให้ กลายเป็นประเด็นถกเถียงกัน อ ย่ า ง ก ว้ า ง ข ว า ง ถึ ง โ ล ก โซเชี ย ลมี เ ดี ย ในทุ ก วั น นี้ ว่ า ท�าไมถึงได้มอ ี ณ ุ หภูมร ิ อ ้ นแรง และผู้คนแสดงความก้าวร้าว รุนแรงโดยขาดส�านึกความรับผิดชอบในการอยู่ร่วมกัน เ ด็ ก ตั ว น้ อ ย อ อ ก ม า แสดงความสามารถเกิ น วั ย ตกเป็นเหยื่อของผู้ใหญ่ที่ขาด ความรู้เท่าทันสื่อยุคดิจิตอล a day BULLETIN จึงอยากจะ ชวนน้ อ งและคุ ณ พ่ อ คุ ณ แม่ มานัง่ อภิปรายกันถึงประเด็นนี้ เปิดใจของคุณแม่และน้องแพร ว่าพวกเขาต้องรับความเจ็บปวด ภายในจิตใจมากแค่ไหน พวกเขา เรี ย นรู้ แ ละเดิ น ข้ า มผ่ า นมั น มาได้อย่างไร วันนี้เราก็เลยนัดพบกัน แต่ เ ช้ า ตรู่ การตื่ น แต่ เ ช้ า ไป โรงเรียนไม่ใช่ปัญหา คุณแม่ เล่ า ว่ า น้ อ งแพรเรี ย นเก่ ง ร่าเริง และปรับตัวกับเพื่อนที่
โรงเรียนได้อย่างดี แต่ถ้าเป็น การตื่นเช้าเพื่อมาท�างานกับ กองถ่ายโฆษณา หรือการให้ สัมภาษณ์กับนิตยสารแบบนี้ เ มื่ อ ต้ อ ง ม า เ จ อ กั บ ผู้ ใ ห ญ่ แปลกหน้าทีเดียวเป็นสิบคน เ ด็ ก น้ อ ย จ ะ มี ท่ า ที อิ ด อ อ ด นิดหน่อย ท�าหน้านิง่ ๆ นัง่ เตะขา ไปเรือ ่ ยๆ ไม่คอ ่ ยยอมพูดยอมจา กับใคร เ ธ อ นั่ ง ก อ ด ก ร ะ เ ป๋ า เครื่ อ งส� า อางใบน้ อ ยไว้ แ นบ กับอก ราวกับว่ามันช่วยสร้าง ความมั่ น คงและความอุ่ น ใจ ให้กับเธอ จนกระทัง่ สไตลิสต์เก่าแก่ ของเราและช่างแต่งหน้าคู่ใจ เปิดประตูพรวดเข้ามาในสตูดโิ อ พร้ อ มลากกระเป๋ า เดิ น ทาง ใบใหญ่ “สวั ส ดี ค่ ะ คุ ณ แม่ อ้าว สวัสดีค่ะ คุณพ่อ ไหนคะ น้องแพรอยูไ่ หน” บรรยากาศ ในกองถ่ า ยท� า ของเรากลั บ ครึ ก ครื้ น ฟื้ น ขึ้ น มา ยิ่ ง เมื่ อ กระเป๋าเดินทางใบนัน ้ เปิดออก เผยให้เห็นเมกอัพและอุปกรณ์ แต่ ง หน้ า สารพั ด ละลานตา เด็กน้อยมีประกายตาแวววาว ขึ้นมาด้วยความสนอกสนใจ ดู เ หมื อ นว่ า งานนี้ ที ม นั ก เขี ย นและนั ก สั ม ภาษณ์ ของเราอาจจะไม่ จ� า เป็ น อี ก ต่ อ ไป เพราะช่ า งแต่ ง หน้ า ของเราช่ ว ยชวนน้ อ งพู ด คุ ย อย่างเป็นกันเองและบทสนทนา น่าสนุกกว่าเสียอีก เราจึงเริม ่ ต้นการพูดคุย ด้ ว ยการหั น ไปถามคุ ณ แม่ ก่ อ นเลย ถึ ง ที่ ม าที่ ไ ปของ ความสามารถพิเศษของน้อง และการฟันฝ่าดราม่าสารพัด ในโลกออนไลน์ กว่าจะมาเป็น น้องแพรพาเพลินทีส ่ นุกสนาน ร่าเริงในวันนี้
issue 542 11 JUN 2018
13 “แม่บอกว่า ท�าไมเราจะต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองเพื่อคนที่มาว่าเราเป็นหมื่นๆ คน เราจะต้องเปลี่ยนไปเป็นหมื่นแพรท�าไม เราเป็นตัวของตัวเองดีกว่า แล้วมีคนที่รักในสิ่งที่เราชอบดีกว่า”
CONCEAL M Y PA I N “แม่สังเกตว่าน้องเริ่มเอาเครื่องส� า อางมาเล่ น แต่ ง หน้ า ตั้ ง แต่ สี่ ข วบ ตอนนั้นแม่ก็ยังไม่รู้หรอกว่าเขามีความสนใจหรือความสามารถอะไร ถ้าจะถาม แม่คิดว่าคงแค่เล่นไปตามประสาเด็ก เท่านัน้ เรายังเคยห้ามเขาเลยว่าแต่งหน้า เล่นแบบนีจ้ ะท�าให้ผวิ หน้าเสียหรือเปล่า” คุณแม่ของน้องช่วยย้อนความ นอกจากการแต่งหน้าเล่นแล้ว น้องแพรในฐานะของ Digital Native เด็ ก รุ ่ น ใหม่ ที่ พ อเกิ ด มาแล้ ว บนโลกนี้ ก็ มี อิ น เทอร์ เ น็ ต สมาร์ ต โฟน และ โซเชียลมีเดียให้ใช้งานได้เลย พอเริ่ม จ�าความได้ เธอก็เริ่มหัดเล่น gadget เหล่านีแ้ ละใช้เวลากับมันมากขึน้ ไปเรือ่ ยๆ เที ย บกั บ คุ ณ พ่ อ คุ ณ แม่ ใ นวั ย สี่สิบต้นๆ ถือเป็นคนรุ่น Digital Migrate ทีเ่ คยสัมผัสโลกแบบแอนะล็อกในวัยเด็ก มาก่อน เคยวิ่งเล่นกับดินทรายและยัง ทันใช้เทปคาสเซ็ต เมื่อสังเกตว่าน้อง ใช้เวลากับหน้าจอมากขึน้ เรือ่ ยๆ โดยเฉพาะ อย่างยิ่งเธอชอบเปิดดูคลิปวิดีโอสอน แต่งหน้าของบิวตี้บล็อกเกอร์ชื่อดังทาง ยูทูบ แล้วก็เอามาเล่นแต่งหน้าตัวเอง พอเห็นเทคโนโลยีใหม่ๆ แทรกแซงเข้ามา ในครอบครัวมากขึ้น จึงมีความรู้เท่าทัน และตั้งค�าถามกับมัน “บ้านเรามีการควบคุมจ�ากัดเวลา แม่สงั่ ห้ามดูคลิปเยอะๆ ตอนไหนจะเปิด ดู ตอนไหนจะเล่นแต่งหน้า เราต้องคุยกัน ต้องขออนุญาตกันก่อน จากตอนนั้นมา ก็อีกประมาณสองสามปีกว่าเราจะเริ่ม มั่ น ใจว่ า น้ อ งเขาคงมาชอบมาทางนี้ จริงๆ” เพื่ อ นที่ โ รงเรี ย นชอบแต่ ง หน้ า เหมือนกันไหม - ช่างแต่งหน้าชวนคุย น้องแพรคุยระหว่างที่ก�าลังลงรองพื้น บางๆ วันนีเ้ ราวางแนวทางว่าจะแต่งหน้า น้องแค่บางๆ ให้ออกมาดูเป็นธรรมชาติ “ไม่มคี ะ่ ไม่คอ่ ยมีเลย แต่วา่ ถ้ามี งานโรงเรียน เขาก็จะให้หนูไปช่วยแต่ง ให้นิดหน่อย” ที่งานโรงเรียนเขาแสดงอะไรกัน “หนูนอ้ ยหมวกแดงค่ะ หนูได้เล่น เป็นแม่” ที่ถูกหมาป่ากินน่ะเหรอ? (หัวเราะ) ชอบไปโรงเรียนไหม “ชอบไปวันที่ย้ายที่นั่งกัน คือครู เขาจะให้จับฉลากแลกที่กัน ที่นั่งก็จะ มีหมายเลขติดอยู่ สนุกดี เพราะเบื่อ เพื่อนที่อยู่ข้างๆ” ท�าไมล่ะ? “ก็เขาพูดมาก” (หัวเราะ) หา! ยังมีเพือ่ นทีพ่ ดู มากกว่าแพร อีกเหรอ “แพรอยู ่ โ รงเรี ย นแพรเป็ น เด็ ก เรียบร้อยนะคะ” ถ้าเป็นช่างภาพ ช่างไฟ หรือนักเขียน เธออาจจะไม่ค่อยชอบหน้าเราเท่าไหร่ แต่กบั ช่างแต่งหน้าของเรา เธอผ่อนคลาย และคุยเล่นอย่างสบายใจ เธอเล่าถึงชีวติ ธรรมดาสามัญของเด็กสาวในโรงเรียน ประถมทั่วไป เธอเล่าถึงครูปัทและครู ภาวนาทีส่ อนอยูช่ นั้ ป.2 และ ป.3 เธอรัก ครูสองคนนี้เพราะใจดี ไม่เคยตีเด็ก เพื่อนที่โรงเรียนบางคนรู้จักเธอ
ในฐานะของ ‘แพรพาเพลิน’ บิวตีบ้ ล็อกเกอร์ที่อายุน้อยที่สุดของไทย แต่ก็ไม่ได้ ปฏิบัติกับเธอแตกต่างเป็นพิเศษอะไร เพี ย งแค่ มี บ างคนมาขอลายเซ็ น นิ ด ๆ หน่อยๆ ตอนพักกลางวันเธอก็วิ่งเล่น กับเพื่อนตามปกติ พวกเธอชอบเล่น บาสเกตบอล หมากเก็บ เธอปรับตัว อยู่กับเพื่อนที่โรงเรียนได้ดี โดยมีเพื่อน คู่หูคนสนิทชื่อน้องอุ้ม “อุม้ ติงต๊องเหมือนแพร แล้วก็พดู ไม่รู้เรื่องเหมือนแพรด้วย” แล้วแพรมีแฟนหรือยัง? ค�าถาม พันล้านยิงตรงไปที่เธอ “มีแต่พดั ลมค่ะ (หัวเราะ) ไม่มีๆ ไม่อยากมี ไม่ชอบ” เด็กสาวหัวเราะแบบ เขินๆ เธอเล่าถึงชีวิตในครอบครัวว่า คุณพ่อคุณแม่เลีย้ งเธอเหมือนเป็นเพือ่ นกัน เล่นอะไรก็จะเล่นด้วยกันตลอด ที่บ้าน เคยมีญาติและพี่น้องอยู่ด้วยกัน ทุกคน จะมาวิ่ ง เล่ น ปั ่ น จั ก รยานด้ ว ยกั น แต่ตอนนี้พ่ีๆ จะย้ายมาอยู่กรุงเทพฯ นั่ น คงเป็ น สาเหตุ ท่ี ท� า ให้ เ ธอคลุ ก คลี ใช้เวลาอยู่กับผู้ใหญ่มากขึ้น จนเรียนรู้ ที่จะเป็นผู้ใหญ่อย่างรวดเร็ว เธอพูดจา ฉะฉาน กล้าแสดงออก และตอบค�าถาม ยากๆ ของเราได้อย่างมีหลักมีการ ไม่ได้ เป็นเด็กประถมไร้เดียงสา ตอนแรกๆ พ่อแม่เคยส่งให้ไป เรียนเปียโน แม่บอกว่าอยากให้ลูกเล่น เครื่องดนตรีเป็นสักอย่าง แต่เธอกลับ ไม่ชอบ จนกระทัง่ ลองหยิบเครือ่ งส�าอาง ของญาติมาแต่งเล่น แล้วก็รสู้ กึ ว่าสนุกดี เริ่มหลงใหลในมนต์เสน่ห์ของมัน บางที ในชีวิตเรา เราไม่มีทางรู้หรอกว่าจริงๆ ชอบอะไร เพียงแต่ว่าถ้าเริ่มต้นท�าอะไร แล้วสนุก อีกสักพักเราก็จะอยู่กับมันไป ได้เรือ่ ยๆ ฝึกฝน พัฒนา และหล่อหลอม จนกลายเป็นสิ่งนั้นไป ตอนแต่งหน้า น้องรู้สึกยังไง เราถามน้องแพร “แต่งแล้วมันสนุก มันเพลิน ลอง แต่งหน้าหลายๆ ลุกส์อยู่ทบี่ ้าน มันสนุก กว่าการที่เราไปเรียนเปียโนหรือกีตาร์ แบบนี้ค่ะ” เล่นแต่งหน้าทีหนึ่งนานไหม “ก็ถา้ แม่ไม่เรียกไปกินข้าวก็นาน อยู่ค่ะ” ถ้าเป็นตอนปิดเทอมมีเวลาว่าง เยอะๆ เธอก็เล่นแต่งหน้าได้ทงั้ วัน แต่ถา้ เปิดเทอมต้องไปโรงเรียน ต้องท�าการบ้าน วันจันทร์ถึงศุกร์ก็จะไม่ได้เล่นแต่งหน้า ต้ อ งรอให้ ถึ ง วั น เสาร์ อ าทิ ต ย์ จึ ง จะได้ เข้ามาไลฟ์ในโซเชียลมีเดีย จนกระทั่ง ค่อยๆ สั่งสมผลงานคลิปและชื่อเสียง ในเวลาไม่ น านนั ก เธอก็ ก ลายเป็ น บิ ว ตี้ บ ล็ อ กเกอร์ อิ น ฟลู เ อนเซอร์ เน็ตไอดอล เซเลบริตี้ หรือค�าเรียกขาน อะไรก็ตามทีค่ นในยุคสมัยดิจติ อลจะใช้ เรียกคนมีชื่อเสียงในโลกออนไลน์ พร้อมๆ กับชือ่ เสียงและค�าชืน่ ชม สิ่งที่ควบคู่กันมาก็คือผลตอบรับในทาง ตรงข้าม เริ่มมีคอมเมนต์ว่าเธอเป็นเด็ก แก่แดด เกินวัย มากขึ้นเรื่อยๆ เธอเล่า ว่ า ในคลิ ป แรกสุ ด ที่ เ ผยแพร่ อ อกไป มีคอมเมนต์เข้ามาร้อยกว่าคอมเมนต์ มีคนมาว่าเธอ 80 คน เธอนับละเอียด ขนาดนั้น “ตอนแรกไม่เข้าใจ แล้วก็ยงั อ่าน หนังสือไม่ค่อยออกด้วยค่ะ แต่ว่าพอ ประมาณ 7 ขวบ ก็ย้อนกลับไปอ่าน เห็นเขาว่าแก่แดดบ้าง เกินวัยบ้าง ก็ เสียใจนะคะ ตอนที่แพรดูคลิปคนอื่น อ่านคอมเมนต์ก็เห็นแต่มีคนชื่นชมเขา
กดไลก์เขา แพรอยากให้มคี นมาชมมาชอบ แพรอย่างนั้นบ้าง เคยมีร้องไห้ด้วยค่ะ แล้วก็ตอนนัน้ คิดว่าถ้าท�าแล้วมีคนมาว่า เยอะแบบนี้ ก็ไม่อยากท�าแล้วค่ะ เคยคิด ว่าเลิกแล้วไปท�าอย่างอืน่ ก็ได้ แต่วา่ ก็ได้ แม่มาเป็นก�าลังใจ แม่ก็บอกว่าไม่ต้อง เก็บค�าพูดคนอื่นมาคิด แม่สอนว่าเรา สนใจคนที่รักเราดีกว่า” ค�าไหนท�าให้แพรเจ็บที่สุด “อืม... เขาบอกว่าแพรเป็นกะหรี่ ค่ะ” ท�าไมคนเราต้องมาว่ากันแบบนี้ ทั้งที่เราไม่รู้จกั กันด้วยซ�้า “นัน่ สิ เขายังไม่รเู้ ลยว่าชีวติ ปกติ แพรแต่งหน้าหรือเปล่า เขาตัดสินแพร จากคลิปนั้นคลิปเดียว”
HIGHLIGHT MY SELFESTEEM เราหันกลับไปถามคุณแม่ ว่าการที่ น้องโดนไซเบอร์บูลลีแบบนี้ คุณแม่รู้สึก อย่างไร “รูส้ กึ แย่ น้อยใจ เสียใจ เพราะว่า ลูกใครใครก็รัก เราสงสารลูกว่าท�าไม ต้องมาว่าลูกแบบนี้ ซึง่ เรามองว่าเราไม่ได้ ไปท� า อะไรผิ ด เราไม่ ไ ด้ ไ ปท� า ให้ ใ คร เดือดร้อน แล้วทุกอย่างที่น้องท�าก็อยู่ ในการดูแลของพ่อแม่ ของครอบครัว ตลอดอยู่แล้ว” คุณแม่แอบกระซิบให้เราฟังว่า ยั ง มี ค� า วิ พ ากษ์ วิ จ ารณ์ ที่ ห ยาบคาย มากกว่านั้นอีก บางคนบอกว่าแบบนี้ ไม่เกินสิบแปดต้องมีผัวแล้ว หรือโตไป เป็นกะหรี่แน่นอน อายุแค่นี้ยงั แต่งหน้า แบบนี้ โตขึ้นไปจะขนาดไหน บางคน บอกว่าขนาดลูกยังเป็นขนาดนี้ แล้วแม่ จะขนาดไหน หลังๆ เธอจึงต้องควบคุม ดู แ ลการแสดงความคิ ด เห็ น รวมถึ ง การป้องกันไม่ให้ลูกเข้าไปอ่านหรือเสพ ความคิดเห็นเหล่านี้ “ตอนนั้นน้องประมาณ 7 ขวบ ภาพที่เราเข้าไปเห็นคือน้องนอนร้องไห้ อยูบ่ นเตียง ก็เข้าไปถามว่าเป็นอะไร เขา ก็ไม่ยอมตอบ แต่ในมือเขามีไอแพดอยู่ เราเปิดดูในนั้นก็มีคอมเมนต์พวกนี้ เรา จ�าภาพตรงนัน้ ได้ ปกติแล้วน้องแพรเป็น เด็กที่ไม่ค่อยร้องไห้ เป็นเด็กอารมณ์ด”ี แม่ ห ่ ว งว่ า ความรุ น แรงในโลก ออนไลน์จะกลายเป็นปมร้ายๆ ติดค้าง ในใจของแพร ในตอนนัน้ แม่หยุดเผยแพร่ คลิปไปเลย 2-3 เดือน และแพรก็แทบ ไม่แตะต้องไอแพดไปเลย จนกระทั่ง ครอบครัวค่อยๆ ร่วมกันทบทวนบทเรียน และฟื้นฟูความมั่นใจกลับมาอีกครั้ง “แม่สอนเขาว่า หนูตอ้ งรักตัวเอง ต้องภูมิใจในตัวเอง แม่สอนให้เขาเลือก รับแต่สง่ิ ทีด่ ๆี เข้ามา สิง่ ไหนทีไ่ ม่ดี ค�าไหน ทีแ่ ย่ๆ ก็ไม่ต้องไปสนใจ ถ้าหนูรักมัน จริงๆ หนูไม่ได้ทา� เล่นๆ นะ หนูทา� จริงจัง สักวันหนึง่ เขาจะเข้าใจและเมตตา แม่ก็ สอนเขาเยอะหลายอย่าง กว่าเขาจะกลับ ขึน้ มาได้อกี ครัง้ ก็ต้องใช้เวลา เพราะเขา ก็ยังเด็ก” ในวันที่คนคนหนึ่งถูกบูลลี สิ่งที่
a day BULLETIN
14
LITTLE GIRLS WITH BIG DREAM
11 JUN 2018
น้องแพรมีเมกอัพอาร์ทสิ ต์หลายคนเป็นไอดอล ประจ�าใจเธอ อย่างเช่น โมเมพาเพลิน แพรีพ่ าย มิเชล ฟาน เธอใช้เวลาว่างนั่งดูคลิปสอนแต่งหน้าของสาวๆ เหล่านี้ แล้วก็ทดลองท�าตามเพื่อความสนุกสนาน ก่อนที่จะเริ่มอัดคลิปเล่นๆ แล้วคุณแม่เห็นว่าน้อง น่ารักดี จึงโพสต์คลิปนั้นลงโซเชียลมีเดียเมื่อห้าหกปี ก่อน จนกระทั่งกลายเป็นกระแสไวรัลโด่งดังอย่าง ฉุดไม่อยู่ แล้วหลังจากนั้นเส้นทางชีวิตของน้องแพร มุ่งตรงไปยังสายบิวตี้ตลอดห้าหกปีมานี้ ช่างแต่งหน้าเซตผมไป ชวนน้องคุยไป เขาถาม น้องว่าโตขึน้ อยากเป็นอะไร เธอตอบทันทีวา่ อยากเป็น ช่างแต่งหน้า ท�าเอาช่างของเราหัวเราะชอบใจใหญ่ ไปเป็นนางแบบไม่ดกี ว่าเหรอ - เราแซวน้อง “ไม่ค่ะ หนูอยากท�างานเบื้องหลังมากกว่า” น้องตอบกลับมาเหมือนเป็นผู้ใหญ่เลย
“ตอนแรกไม่เข้าใจ แล้วก็ยังอ่านหนังสือไม่ค่อยออกด้วยค่ะ แต่ว่าพอประมาณ 7 ขวบ ก็ย้อนกลับไปอ่าน เห็นเขาว่าแก่แดดบ้าง เกินวัยบ้าง ก็เสียใจนะคะ ตอนที่แพรดูคลิปคนอื่น อ่านคอมเมนต์ก็เห็นแต่มีคน ชื่นชมเขา กดไลก์เขา แพรอยากให้มีคนมาชมมาชอบแพรอย่างนั้นบ้าง เคยมีร้องไห้ด้วยค่ะ”
issue 542
เราควรหยิบยื่นให้เขาเพื่อให้ผ่านพ้นมาได้คืออะไร “ก�าลังใจ (แม่ตอบทันที) ก�าลังใจในครอบครัว นี่ส�าคัญที่สุดเลย แล้วแม่ก็จะสอนเขาตลอดว่าให้รัก ตัวเอง และรักในสิ่งที่ตัวเองท�า” พวกคอมเมนต์ลบๆ ในโลกออนไลน์ แพร่ขยาย ออกมาในชีวิตจริง มีผลต่อครอบครัวหรือตัวน้องเอง บ้างไหม “ยั ง ไม่ มี น ะคะ ยั ง ไม่ มี ร ้ า ยแรงขนาดนั้ น ส่วนมากจะเป็นคอมเมนต์แย่ๆ ในออนไลน์มากกว่า เราก็บอกเขาไปว่า พี่ๆ เขาคงยังไม่เข้าใจลูกมากกว่า เราก็แนะน�าให้ค่อยๆ คุยไปดีกว่า การที่เราตอบกลับ ไปดีๆ มันก็ท�าให้เราสบายใจมากกว่าจะทะเลาะกลับ ไปด้วย” พอเกิดเหตุการณ์แบบนี้ มันท�าให้เรามองคนอืน่ เปลี่ยนไปไหม - เราถามน้องแพร “มีบา้ งค่ะ นิดหน่อย เช่น เวลาไปไหนแล้วมีคน มอง แพรก็คิดว่าเขามองแพรท�าไม เขาไม่ชอบแพร หรือเปล่า แม่สอนว่า ถ้างั้นเราลองยิ้มให้เขาก่อนสิ” แล้วพอเรายิ้มออกไป สิ่งที่ได้กลับมาคืออะไร “เขาก็ยมิ้ ตอบค่ะ เหมือนน่าจะจ�าแพรได้ดว้ ย” คุ ณ แม่ ใ ห้ ค� า แนะน� า วิ ธีก ารเลี้ ย งลู ก ในโลก ยุคดิจิตอล ว่าทุกอย่างขึ้นอยู่กับการสั่งสอน การดูแล ของผู้ปกครอง ในโลกที่เปิดกว้างและทุกคนสามารถ เข้าถึงเทคโนโลยีได้ง่ายมาก เราไม่มีทางห้ามหรือ บังคับลูกได้อีกต่อไป เธอเองเคยพยายามบังคับลูก แล้วก็พบว่าไม่มที างท�าได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ดังนัน้ แทนทีจ่ ะห้าม ในครอบครัวจึงต้องหาทางประนีประนอม และท�าข้อตกลงร่วมกัน โดยไม่ปล่อยทิ้งลูกอยู่กับ อุปกรณ์เทคโนโลยีทั้งวัน เช่น ให้ลูกรู้ข้อจ�ากัดเวลา การใช้งาน อาจจะก�าหนดว่าวันหนึ่งเล่นได้ไม่เกิน หนึ่ ง ชั่ ว โมง แม่ บ อกว่ า ถ้ า เราไปห้ า มเด็ ด ขาดเลย เด็กในวัยอยากรูอ้ ยากเห็นจะยิง่ ท�าให้เขายิง่ อยากเล่น อยากดู พ่อแม่จึงควรเปิดให้เขาใช้งาน ในขณะที่มี พ่อแม่อยู่ด้วย เพื่อจะได้ดูแลและให้แนะน�าเขาได้ “อันดับแรกเลยคือตัวผู้ปกครองเอง เราต้อง เรียนรูแ้ ละเข้าใจเสียก่อนว่าในนัน้ มีอะไรบ้าง เพือ่ จะได้ ตามให้ทนั ลูก เพือ่ ทีเ่ ราจะได้แนะน�าถูกว่ามันมีประโยชน์ มีโทษยังไง เช่น ตอนท�าการบ้าน ลูกต้องท�ารายงาน มันมีวิดโี อสอน มีแอพพลิเคชันที่สอนเราท�าได้ แต่ใน ด้านที่ไม่ดีก็ต้องบอก เช่น เวลาใครทักมาหนูห้ามคุย ด้วยนะ ถ้ามาขอข้อมูลส่วนตัว มาขอเบอร์โทร.ก็ไม่ได้ ผู้ปกครองต้องดูแลใกล้ชิด แต่ไม่ใช่ห้ามลูก เพราะ ทุกอย่างมันมีดีและไม่ดี มันอยู่ท่ีเราควบคุม ดูแล และส่งเสริมเขามากกว่า” จนถึงทุกวันนี้ แม่เริ่มคลายความกังวลลงได้ บ้างแล้ว ถึงแม้นอ้ งจะเล่นโทรศัพท์มากขึน้ แต่กเ็ น้นเป็น ดูคลิปวิดโี อในยูทบู มากกว่า ไม่คอ่ ยเล่นเฟซบุก๊ และคุยไลน์
เฉพาะกับเพื่อนในกลุ่มที่โรงเรียน ส่วนในแฟนเพจจะมีพอ่ กับแม่เป็น คนดูแลอยูต่ ลอด แม่เป็นแอดมิน ด้วยตัวเอง บางทีก็ให้น้องแพรเข้า มาตอบความเห็นในแฟนเพจด้วย บ้าง แต่จะไม่ให้คยุ เมสเสจโดยตรง กับคนแปลกหน้า เหมื อ นเด็ ก ๆ ยุ ค นี้ ต ้ อ งมี ชีวิตอยู่บนคลื่นดิจิตอล และอยู่ กลางทะเลของความคิดเห็น - เรา ถามแม่ “ใช่ค่ะ เราหนีไม่ได้กับสื่อ ออนไลน์ เพียงแต่วา่ เราต้องแนะน�า ว่ า ควรท� า ยั ง ไง ควรพู ด จายั ง ไง แม่บอกเขาเสมอ ว่าสิ่งที่เราพิมพ์ ออกไปแล้ว มันลบไม่ได้แล้วนะ ดั ง นั้ น ตั ว เราเองก็ ต ้ อ งคิ ด ก่ อ น ต้องอ่านให้ดกี ่อน” ตอนนั้นสิ่งที่ท�าให้น้องแพร ผ่านปัญหาการบูลลีดา่ ว่าในออนไลน์ มาได้คอื อะไร - เราถามน้องแพร “ก�าลังใจจากแม่ค่ะ แม่ก็ สอนหลายอย่าง แม่แพรจะมีคา� คม มาตลอด (หัวเราะ) และแพรคิดว่า มั น ก็ จ ริ ง ด้ ว ย ก็ เ ลยไม่ ส นใจค� า ร้ายๆ ที่มาว่าแล้ว ข้ามผ่านไป” ค�าพูดทีม่ คี า่ ทีส่ ดุ ทีแ่ ม่พดู ไว้ คืออะไร - เราถาม “แม่บอกว่า ท�าไมเราจะต้องไปเปลี่ยนแปลง ตัวเองเพื่อคนที่มาว่าเราเป็นหมื่นๆ คน เราจะต้อง เปลีย่ นเป็นหมืน่ แพรท�าไม เราเป็นตัวของตัวเองดีกว่า แล้วมีคนที่รักในสิ่งที่เราชอบดีกว่า” แพรว่าตัวเองสวยไหม “เอ่อ... (นิ่งคิด) แพรชอบโครงหน้าของตัวเอง แพรชอบความหน้าบานของตัวเอง (หัวเราะ) พอแต่งหน้า แล้วท�า shading สนุกดี” แล้วไม่ชอบตรงไหนของตัวเอง “ไม่ช อบดั้ง (หัว เราะ) มันแบนมากเลยนะ มันเหมือนเนียนไปกับผิวเลย มีคนบอกด้วยว่าแพร อย่านอนตะแคงนะ เดี๋ยวตาจะไหลมาอยู่ด้วยกัน” แล้ ว สมมติ ว ่ า ถ้ า เราล้ อ ว่ า น้ อ งแพรดั้ ง หั ก จะโกรธไหม “ไม่โกรธค่ะ เพราะมันคือความจริง (หัวเราะ) แล้วก็นึกข�าตัวเองด้วย” ส�าหรับน้องแพร ความสวยคืออะไร เราแต่งหน้า ยังไงแล้วจึงจะสวย - เราถาม “อืม... การแต่งหน้าคือการท�าให้เขามัน่ ใจทีส่ ดุ เมื่อมั่นใจแล้วเขาก็จะสวยที่สุด”
กฎกติกาในครอบครัว ค� า แนะน� า จากคุ ณ แม่ น้ อ งแพรพาเพลิ น ในการควบคุมการใช้เทคโนโลยีและดูแลความปลอดภัยให้กับลูกหลานในครอบครัว
15 “การแต่งหน้าคือการท�าให้เขามั่นใจที่สุด เมื่อมั่นใจแล้วเขาก็จะสวยที่สุด”
ล่าสุด เด็กหญิงสอนแต่งหน้า ในไวรั ล คลิ ป นั้ น ได้ โ กอิ น เตอร์ ไปท�างานร่วมกับเมกอัพอาร์ทิสต์ มืออาชีพ ให้กับแบรนด์ดังในงาน ลอนดอนแฟชั่นวีก 2018 เราถาม น้องถึงประสบการณ์และความรูส้ กึ ในวันนั้น “พ่อบอกว่าถ้ามีโอกาสเข้ามา เราก็ตอ้ งรีบคว้าเอาไว้ มันเป็นการเพิ่ ม ประสบการณ์ ใ ห้ ตั ว เองด้ ว ย แล้วก็ไม่ตอ้ งห่วง ชาวต่างชาติเขาจะ เป็นคนที่ให้เกียรติกันและกัน เด็ก กับผู้ใหญ่เขาจะไม่แบ่งแยกกันเลย แพรก็เลยตัดสินใจไป ไม่กลัว แต่วา่ จะตื่ น เต้ น มากๆ เลยค่ ะ ได้ ไ ป ท�างานใหญ่ดว้ ย เข้าไปห้องแต่งหน้า จริงๆ เลย เพราะว่าอาจารย์เขา ท�างานกับช่างภาพอยูแ่ ล้ว แต่ละปี เขาก็เชิญนักเรียนเข้าไปแต่งหน้า จริงๆ บรรยากาศในที่ท�างานจริง ต่างกับการนั่งไลฟ์ในห้องเลยค่ะ คื อ มั น จะวุ ่ น วาย เร็ ว ทุ ก อย่ า ง แล้วก็มีคนเยอะมาก ทั้งนางแบบ ช่างแต่งหน้า สไตลิสต์ รู้สึกดีมาก เลย แพรดีใจมาก เพราะนึกไปถึง วันทีแ่ พรโดนคนว่าแล้วคิดจะเลิกท�า แต่พอมาวันนีเ้ ราข้ามมันมาได้แล้ว แล้วฝันมันชัดขึ้นเรื่อยๆ แล้ว เราก็ ดีใจค่ะ” ในสายตาของผูใ้ หญ่อาจจะ ไม่เข้าใจโลกในความฝันของเด็ก แม่นอ้ งแพรเล่าให้ฟงั ว่า ตอนแรกๆ เธอพยายามส่ ง ให้ น ้ อ งไปเรี ย น หลายอย่าง เปียโน บัลเลต์ ศิลปะ ร้ อ งเพลง เพื่ อ เป็ น การทดลอง เมื่อลองแล้วก็ต้องสังเกตดูว่าลูก ชอบอะไรมากทีส่ ดุ ลูกท�าอะไรแล้ว มีความสุข ได้เป็นตัวของตัวเอง พ่อแม่ควรใช้เวลาเฝ้าดูพัฒนาการ ของลูก แล้วส่งเสริมให้เต็มที่ เขาจะ รู้สึกว่าได้ท�าในสิ่งที่เขารัก แล้วมี ความสุข แล้วจะท�าให้เขาพัฒนา ได้เร็วขึ้นได้ ตัวคุณแม่เองก็เกือบจะมอง ข้ามไป เธอย้อนร�าลึกความหลัง เมื่อครั้งน้องแพรยังอยู่อนุบาล 1 แล้วเธอเคยเขียนสะกดค�าว่าอยาก เป็นเมกอัพอาร์ทิสต์ ครูประจ�าชั้น ก็ยงั สงสัยว่าน้องแพรไปเอาความคิด เรื่องนี้มาจากไหน เพราะตอนนั้น ก็ ยั ง ไม่ เ คยมี ใ ครพาน้ อ งไปเรี ย น แต่งหน้า แต่น่ันคือความฝันของ เด็กคนหนึ่ง ใครจะไปคิดว่าเขาจะ ท� า ได้ จ ริ ง จนกระทั่ ง เมื่ อ พ่ อ แม่ สังเกตเห็น และสนับสนุนไปถูกทาง ในวั น ที่ น ้ อ งถู ก ใช้ ถ ้ อ ยค� า รุ น แรงในโลกออนไลน์ แม่ ช ่ ว ย ปลุกปลอบให้ก�าลังใจ และถาม ความมั่นใจจากน้องอีกครั้ง ย�า้ ให้ ชัดเจนว่ารักในแนวทางนีจ้ ริงหรือไม่ “คอยแนะน�าเขาว่าทุกอย่าง มี ทั้ ง ดี แ ละไม่ ดี มี ค นรั ก ก็ มี ค น
เกลียด เราก็มองคนที่รักเรา แล้ว เอามาเป็นก�าลังใจดีกว่า ถ้าเรามอง แต่คนที่ว่าเรา มันก็ท�าให้เราหมด ก�าลังใจ แล้วก็ไม่ได้พัฒนาตนเอง ไม่ได้ท�าในสิ่งที่เรารักด้วย” ทุ ก วั น นี้ น ้ อ งแพรปรั บ ตั ว ได้ ดี ขึ้ น มาก ถึ ง แม้ เ วลาอยู ่ กั บ ผู ้ ใ หญ่ แ ปลกหน้ า จะดู เ ขิ น ๆ แต่ เวลามีคนรู้จักคอยอยู่ให้ก�าลังใจ น้องก็จะเข้มแข็งและท�าได้ดี เมื่อมี แฟนๆ มาสวัสดี ทักทาย แม่สอน ให้น้องไหว้อย่างนอบน้อม “เพราะเขายังเป็นเด็ก แม่ ไม่อยากให้มอี ีโก้มากเกินไป จริงๆ แล้วเขาเป็นเด็กขี้อาย บางคนบอก เจอตัวจริงน้องแล้วรู้สึกว่าหยิ่งๆ จริงๆ ไม่หยิ่งหรอก เขาแค่ขี้อาย ถ้าเจอแล้วก็ทักได้ค่ะ” แม่ตอบ และยิ้มอย่างโล่งใจ อยากจะฝากอะไรถึ ง ชาว โซเชี ย ลมี เ ดี ย ที่ ใ ช้ ถ ้ อ ยค�า รุ น แรง ต่อคนอื่น - เราถามคุณแม่ “อยากให้มีการใช้วิจารณญาณในการคอมเมนต์ใครในทางลบ ว่ า มัน จะมีผ ลกระทบกับ เขาไหม ยิ่งกับเด็กด้วยมันมีผลกระทบมาก มันเป็นปมทีต่ ดิ ตัวเขาไปในอนาคต อย่าคิดว่าค�าพูดหรือว่าคนไม่มีผล ถึงจะเป็นการพิมพ์กเ็ ถอะ คนทีเ่ ขา มีปัญหาหรือก�าลังจิตตก เขาอาจ ไปท�าอะไรทีร่ า้ ยแรงได้ เด็กบางคน อาจจะไม่ได้มีจิตใจแข็งแกร่งพอ ที่จะยอมรับทุกสิ่งทุกอย่างบนโลก ใบนี้ได้” น้องแพรเอาชนะช่วงเวลา แย่ๆ ตอนนัน้ ได้อย่างไร - เราหันไป ถามน้องบ้าง “ก็เราไม่ได้เป็นอย่างที่เขา พูด ก็ไม่ตอ้ งไปสนใจ หรือเก็บมาคิด แม่ บ อกว่ า ให้ เ อาค� า ที่ ค นเขาว่ า มาเป็ น แรงผลั ก ดั น ให้ เ ราพั ฒ นา ตัวเอง พิสูจน์ตัวเอง เราจะต้อง พิสจู น์ให้เขาเห็นว่าความฝันของแพร เป็นความจริงได้ แพรไม่ยอมแพ้ แพรจะพัฒนาตัวเองไปเรือ่ ยๆ เรียนรู้ ไปเรือ่ ยๆ จะพยายามให้ถงึ ทีส่ ดุ เลย แพรก็ ข อแม่ ว ่ า จะอยากเรี ย น แต่งหน้าท�าผมเพิ่มค่ะ” น้ อ งแพรบอกว่ า มั น ไม่ ใ ช่ เรื่องตลกที่เด็กผู้หญิงห้าขวบจะมี ความฝันจะเป็นช่างแต่งหน้า มันเป็น ความจริง และทุกคนควรลงมือท�า ความฝันของตัวเองให้กลายเป็น จริง ไม่มีค�าว่าช้าเกินไปหรือสาย เกินไป เพียงแค่เราลงมือท�า มันจะ เป็นจริงได้ต่อเมื่อเราพยายาม
ส�าหรับใครที่เผชิญปัญหา cyberbulling แล้วไม่มีที่พึ่ง ลองมาปรึกษากับพี่ๆ นักจิตวิทยาผู้เชี่ยวชาญได้ที่ http://stopbullying.lovecarestation.com
ไม่ปิดกั้นอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด เพราะจะท�าให้เด็กยิ่งอยากรู้อยากเห็น ท�าข้อตกลงกันภายในครอบครัว และทุกคนยอมรับปฏิบัติตามร่วมกัน จ�ากัดเวลาเล่นโทรศัพท์ให้พอเหมาะพอสม เช่น วันละ 1 ชั่วโมงในตอนเย็น พ่อแม่ต้องนั่งอยู่ด้วยในระหว่างที่เด็กเล่นโทรศัพท์ เพื่อคอยให้ค�าแนะน�า
ห้ามติดต่อกับคนแปลกหน้า ใช้งานเมสเสจกับเพื่อนที่รู้จักแล้วเท่านั้น ห้ามเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว เช่น เบอร์โทรศัพท์ บ้านเลขที่ หลีกเลี่ยงหรือพยายามไม่ติดตามดูคอมเมนต์ในแฟนเพจ พ่อแม่ต้องเรียนรู้เทคโนโลยีให้มากกว่าลูก เพื่อจะได้เตรียมมาตรการป้องกันต่างๆ รอไว้ได้ก่อน
a day BULLETIN
A MUST
16
THE LIST
MOVIES AND SERIES ABOUT BULLYING 3
1
5
4
2
The Tribe (2014)
Audrie and Daisy (2016)
จะเกิดอะไรขึ้นถ้า เราเป็นสาเหตุที่ท�าให้ใคร สักคนต้องตาย ซีรสี ด์ งั จาก เน็ ต ฟลิ ก ซ์ เ รื่ อ งนี้ ค ่ อ ยๆ พาเราด�า ดิ่ ง สู ่ เ หตุ ก ารณ์ ช ว น หั ว ใ จ ส ล า ย ข อ ง แฮนนาห์ เบเกอร์ สาว ไฮสกูลทีต่ ดั สินใจฆ่าตัวตาย หลังจากถูกกลัน่ แกล้งและ ประสบความล้มเหลวใน ชีวิต โดยเธอได้ทิ้งเทปไว้ 13 หน้า ทีบ่ อกเล่าเรือ่ งราว ของคน 13 คน ทีท่ า� ให้เธอ เลือกจบชีวิต โดยล่าสุด ทางเน็ ต ฟลิ ก ซ์ ไ ด้ ป ล่ อ ย ซี ซั น สองมาให้ ผู ้ ช มได้ ติ ด ตามกั น ต่ อ แล้ ว ทั้ ง 13 ตอน ซึ่งเล่าเรื่องราว การให้ปากค�าในศาลของ ผู ้ เกี่ ย วข้องแต่ละคน หลังจากทีแ่ ฮนนาห์จากไป แสดงให้เห็นถึงสภาพจิตใจ ที่ซับซ้อน ความรู ้สึก ผิด ความรักทีก่ ลายเป็นความแค้ น ซึ่ ง เพิ่ ม มิ ติ ใ ห้ ทุ ก ตัวละครได้อย่างน่าสนใจ
ภาพยนตร์ อ าร์ ต สั ญ ชาติ ยู เ ครน ที่ เ ผย ด้านมืดของสังคมโรงเรียน ประจ�าส�าหรับคนหูหนวก ทีโ่ ดดเด่นด้วยการเล่าเรือ่ ง ด้วยความเงียบ ไร้บทพูด และซับไตเติล ทัง้ ยังอาศัย นั ก แสดงที่ เ ป็ น ใบ้ แ ละ หูหนวกจริงๆ โดยมีตวั เอก คือเซอเก เด็กหนุ่มผู้ย้าย เข้ามาในโรงเรียนส�าหรับ ผู้พกิ ารทางหู และพบเจอ กับกลุม่ คนใต้ดนิ ทีม่ กั ชวน กันไปก่ออาชญากรรมและ ค้าประเวณี ท�าให้เขาได้ รู ้ จั ก และตกหลุ ม รั ก กั บ แอนนา หนึง่ ในโสเภณีของ กลุม่ ภาพยนตร์แสดงให้เห็น สภาพภายในของกลุ ่ ม ผู ้ พิก ารทางการได้ ยิน ว่ า พวกเขาไม่ ไ ด้ ถู ก กี ด กั น และกลั่นแกล้งจากสังคม เท่านัน้ เพราะแม้แต่ในหมู่ ของพวกเขาเองก็ ยั ง มี ความรุ น แรงและการทะเลาะวิวาททีน่ า่ สะเทือน ใจ
ภาพยนตร์สารคดี สร้างจากเรื่องจริงที่แสดง ให้เห็นถึงปัญหาของการล่ ว งละเมิ ด ทางเพศและ ไซเบอร์บูลลี ผ่านมุมมอง ของ 2 ตัวละครนักเรียน หญิง ออดรี พ็อตต์ วัย 15 ปี และ เดซี โคลแมน วัย 14 ปี โดยเหตุการณ์ ดังกล่าวไม่ได้สง่ ผลกระทบ ด้านลบต่อตัวหญิงสาวทั้ง สองคนเท่ า นั้ น แต่ ยั ง สร้างความเจ็บปวดแสน ส า หั ส ต ่ อ ค ร อ บ ค รั ว คนใกล้ ชิ ด และสั ง คม รอบข้างด้วย ทัง้ ยังทิง้ ท้าย ด้วยค�าถามส�าคัญเกีย่ วกับ ศี ล ธ ร ร ม ใ น ก า ร ใ ช ้ อินเทอร์เน็ตและการแสดง ความรับผิดชอบต่อการกระท�าผิดของตัวเอง
ภาพยนตร์ฟีลกู๊ด สร้ า งจากวรรณกรรม เยาวชนเรือ่ งเยีย่ ม พาคุณ ไปสัมผัสกับเรื่องราวการต่อสู้ของ ออกัสต์ พูลแมน เด็กชายวัย 10 ขวบ ทีป่ ว่ ย เป็นโรคปากแหว่งเพดานโหว่ ตั้งแต่แรกเกิด เขาเข้ารับ การผ่าตัดใบหน้ามาแล้ว กว่ า 27 ครั้ ง และแม้ จ ะ เป็ น เด็ ก ที่ มี นิ สั ย น่ า รั ก คนแปลกหน้ า ก็ ยั ง เบื อ น หน้าหนีเขาเนือ่ งจากมองว่า เขามี ห น้ า ตาน่ า เกลี ย ด รวมถึงเพือ่ นใหม่ในโรงเรียน ที่แสดงอาการกีดกันและ ล้ อ เลี ย นว่ า เขาเป็ น ตั ว ประหลาด แต่เขาก็กา้ วข้าม เหตุการณ์ตา่ งๆ ไปได้ดว้ ย ความรักความเข้าใจจาก ครอบครัวและคนรอบข้าง
A Girl Like Her (2015) ถือเป็นอีกหนึง่ เรือ่ ง ที่ เ ล่ า ปั ญ หาการบู ล ลี ใ น โรงเรียนได้อย่างคมคาย ส�าหรับ A Girl Like Her เริม่ ต้นเรือ่ งด้วยฉากกินยา ฆ่าตัวตายของ เจสสิกา เบิรน์ ส์ นักเรียนสาวไฮสกูล วัย 16 ปี เนื่องจากเธอถูก กลั่นแกล้งอย่างลับๆ จาก อดี ต เพื่ อ นสนิ ท เอเวอรี เคลเลอร์ ที่ขณะนี้ได้ย้าย โรงเรียนออกไป และติดโผ เป็นสาวป๊อปสุดฮอตประจ�า โรงเรียนใหม่ แต่พฤติกรรม เลวร้า ยของเอเวอรีก็เ ริ่ม ถู ก เปิ ด เผยขึ้ น ที ล ะนิ ด ด้วยความช่วยเหลือของ บริ แ อน เพื่ อ นสนิ ท อี ก ค น ห นึ่ ง ข อ ง เ จ ส สิ ก า ที่ ช ่ ว ยเธอหาหลั ก ฐาน เพื่อพิสูจน์ความจริง
COMIC
KOE NO KATACHI รักไร้เสียง
issue 542 11 JUN 2018
ผลงานของ อ.โยชิโทคิ โออิมะ ทีไ่ ด้รางวัล Tezuka Osamu Cultural Prize ครัง้ ที่ 19 ในสาขาศิลปินหน้าใหม่ เป็นเรือ่ งราวของ อิชดิ ะ โชยะ เด็กแสบประจ�าห้องทีต่ ามกลัน่ แกล้ง นิชมิ ยิ ะ โชโกะ เด็กหญิงทีเ่ พิง่ ย้ายเข้ามาเรียนโรงเรียนเดียวกัน ซึง่ เธอพิการทางการได้ยนิ ท�าให้ไม่สามารถพูดได้ และโชยะก็คอยกลั่นแกล้งเธอจนท�าให้เธอต้องย้ายโรงเรียน ต่อมาเขาถูกเพื่อนๆ ที่เคยสนิทเมินเฉย และกลั่นแกล้งคืน จนกลายเป็นความรู้สึกผิด ติดอยูใ่ นหัวใจ ต่อมาเมือ่ เขาขึน้ ชัน้ มัธยม ทัง้ คูไ่ ด้กลับมาเจอกันอีกครัง้ กลายเป็นการเริม่ ต้น สร้างความสัมพันธ์ครั้งใหม่ขึ้นทีละเล็กละน้อยผ่านภาษามือ และเป็นการแก้ปมในใจ ของทั้งคู่ (ส�านักพิมพ์รกั พิมพ์ / ราคาเล่มละ 65 บาท)
นิทรรศการใหม่ลา่ สุดจาก มิวเซียมสยามที่ชวนสังคมให้มา ร่วมเปิดความคิด ร่วมเรียนรู้ว่า ความหลากหลายทางเพศอย่าง ไม่จ�ากัดชนชั้น สีผิว เพื่อสร้าง ความเข้าใจด้านความแตกต่าง และช่วยให้เราทบทวนความเป็นไป ในชี วิ ต ร่ ว มสมั ย เพื่ อ การอยู ่ ร่วมกันอย่างลดอคติ ยอมรับและ เคารพในเพศสภาวะทั้งของตัว เราเองและของคนอื่ น มากขึ้ น เปิดให้เข้าชมตั้งแต่วันนี้ถึง 30 กันยายน 2561 ทุกวันอังคารถึง วันอาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ (ปิดทุกวันจันทร์) เวลา 10.0018.00 น. ณ อาคารอเนกประสงค์ มิวเซียมสยาม
GADGET AMBI CLIMATE 2
13 Reasons Why (2017-2018)
Wonder (2017)
GENDER ILLUMINATION
ุ รณ์ บรรณาธิการเล่ม / บรรณาธิการบริหาร ส�านักพิมพ์ bookscape ิ ส แนะน�าโดย : ณัฏฐพรรณ เรืองศิรน และ วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง บรรณาธิการอ�านวยการ ส�านักพิมพ์ bookscape
5
EXHIBITION
เรียกง่ายๆ ว่าเป็นรีโมต ควบคุมเครือ่ งปรับอากาศทีส่ ง่ั งาน ผ่านสมาร์ตโฟนนัน่ แหละ แต่ขอ้ ดี ของมันคือสามารถสัง่ งานจากนอก บ้านผ่านอินเทอร์เน็ตได้ เช่น คุณ ก�าลังกลับบ้านระหว่างผจญการจราจรหรือรถไฟฟ้าทีแ่ น่นเอีย้ ดไป ด้วยผูค้ น กว่าจะถึงบ้านก็เหงือ่ ไหล เต็มตัว เราก็สั่ง ให้ เ ครื่อ งปรับ อากาศท�างานก่อนเราจะถึงบ้าน หรือใครทีอ่ อกจากบ้านแล้วลืมปิด แอร์บอ่ ยๆ เครือ่ งนีช้ ว่ ยคุณได้ และ ฟังก์ชนั ไฮไลต์ของมันคือ การสอน มันว่าในแต่ละช่วงเวลา เราต้องการ ความเย็นระดับไหน ตัวเครือ่ งจะ จัดเก็บเป็นโปรไฟล์นนั้ ไว้แล้วปรับ อากาศให้เย็นโดยไม่ต้องไปเสีย เวลากดปรับที่ตัวรีโมตคอนโทรล (ราคา 4,990 บาท)
17 BOOK
IT’S COMPLICATED : เข้าใจโลกใหม่ของวัยรุน ่ ยุควุน ่ เน็ต นับตัง้ แต่เฟซบุก๊ อินสตาแกรม ทวิตเตอร์ และอีกสารพัดสื่อโซเชียลก้าวเข้ามามีบทบาท ในชีวติ เรา ประเด็นเรื่องโซเชียลมีเดียกับวัยรุ่น ก็ไม่เคยจางหายไปจากสือ่ และวาทกรรมสาธารณะ ทัง้ หลาย ‘ผูใ้ หญ่’ จ�านวนมากมองว่าโซเชียลมีเดีย ส่งผลเสียต่อเยาวชนมากกว่าผลดี แต่มุมมอง เหล่านี้ล้วนเป็นมุมมองจาก ‘วงนอก’ ทั้งสิ้น It’s Complicated : The Social Lives of Networked Teens (เข้าใจโลกใหม่ของวัยรุ่นยุค วุน่ เน็ต) คือหนังสือทีเ่ ขียนขึน้ มาเพือ่ น�าเสนอชีวติ ในโลกโซเชียลของวัยรุน่ ผ่านสายตาของคน ‘วงใน’ อย่างตัววัยรุน่ เอง ผูเ้ ขียนใช้เวลากว่าแปดปีเดินทาง ไปพบปะพูดคุยกับวัยรุ่นหลากหลายเชื้อชาติ ทัว่ อเมริกา และกลัน่ กรองเป็นหนังสือทีต่ แี ผ่ ‘ชีวติ โซเชียล’ ของวัยรุน่ ได้อย่างถึงแก่น ไม่วา่ จะเป็น การค้นหาตัวตน ความเป็นส่วนตัว ภัยอันตราย การรังแกบนโลกออนไลน์ ฯลฯ นอกจากนี้ยัง ไขสารพัดข้อข้องใจเกีย่ วกับการใช้โซเชียลมีเดีย ของวัยรุ่น เช่น ท�าไมวัยรุ่นจึงนิยมแชร์ทุกสิ่ง โซเชียลมีเดียมีสว่ นผลักดันความรุนแรงจริงหรือไม่ สิง่ หนึง่ ทีท่ า� ให้หนังสือเล่มนีน้ า่ สนใจคือ ผูเ้ ขียนทลายก�าแพงทีก่ นั้ ขวางระหว่างโลกออนไลน์ กับออฟไลน์ และชี้ให้เห็นว่าโดยเนื้อแท้แล้ว พฤติ ก รรมของวั ย รุ ่ น ในโลกออนไลน์ ไ ม่ ไ ด้ เปลี่ยนแปลงไปจากในโลกออฟไลน์สักเท่าไหร่ โซเชียลมีเดียเพียงแต่ทา� ให้เรามองเห็นพฤติกรรม ดังกล่าวได้มากขึน้ เท่านัน้ วัยรุน่ ในอดีตอาจออกไป พบปะสังสรรค์กันตามศูนย์การค้าเพื่ออัพเดต ข่าวสาร แลกเปลี่ยนข้อมูล แสดงออกถึงตัวตน และพัฒนาความสัมพันธ์ทางสังคม อันเป็นสิง่ ที่ วัยรุ่นทุกยุคทุกสมัยต่างเสาะแสวงหา เพียงแต่ ด้วยกรอบเกณฑ์ทางสังคม ครอบครัว หรือระบบ การศึกษาที่เคร่งครัด ท�าให้วัยรุ่นในยุคปัจจุบัน ไม่สามารถออกไปพบปะกันอย่างอิสระได้ดงั ใจ พวกเขาจึงต้องเสาะหาพืน้ ทีใ่ หม่ในโลกดิจติ อล ส าเหตุที่วัยรุ่นใช้เวลามากมายในโลกโซเชียล ไม่ใช่เพราะพวกเขาเสพติดเทคโนโลยี แต่เป็น เพราะพวกเขาต้องการ ‘พืน้ ที’่ ในการพบปะ เรียนรู้
แสดงออกถึง ตัว ตน และทวงคืน อ�า นาจทาง สังคม พูดง่ายๆ คือ พวกเขาเพียงแต่ ‘โยกย้าย’ สิง่ ทีเ่ คยท�าในโรงเรียนหรือศูนย์การค้าไปอยูบ่ น โลกออนไลน์นั่นเอง แน่นอนว่าพื้นที่แห่งใหม่ย่อมน�ามาซึ่ง ความขัดแย้งรูปแบบใหม่ การรังแกบนโลกออนไลน์ กลายเป็นปัญหาใหญ่ที่วัยรุ่นต้องเผชิญ สิ่งที่ หนังสือเล่มนีน้ า� เสนอแตกต่างจากภาพการรังแก ที่เราคุ้นชินตามสื่อ อันเป็นมุมมองจากผู้ใหญ่ เป็นหลัก ในหนังสือเล่มนี้เราจะได้รับฟังเสียง
จากวัยรุน่ ทัง้ ฝ่ายทีเ่ คยรังแกคนอืน่ และถูกรังแก ในโลกออนไลน์ เรื่องราวจากค�าบอกเล่าของ พวกเขาแสดงให้เห็นว่าปัญหาความขัดแย้งของ วัยรุน่ นัน้ ซับซ้อนกว่าแค่ ‘ผูล้ า่ ’ และ ‘เหยือ่ ’ ผลวิจยั บ่ ง ชี้ ว ่ า บางครั้ ง การรั ง แกที่ เ กิ ด ขึ้ น กลั บ เป็ น ‘การท�าร้ายตนเอง’ เพือ่ เรียกร้องความสนใจด้วยซ�า้ ฉะนัน้ วิธรี บั มือกับปัญหาการรังแกจึงควรเริม่ ต้น จากท�าความเข้าใจสถานการณ์และทีม่ าทีไ่ ปของ พฤติกรรมเหล่านัน้ เสียก่อน แทนทีจ่ ะด่วนตัดสิน ด้วยมุมมองแบบ ‘ผู้ใหญ่’ เพียงฝ่ายเดียว ผูเ้ ขียนยังชีใ้ ห้เห็นว่า ประเด็นการรังแกนัน้ ก็เหมือนกับเรื่องอื่นๆ บนโลกออนไลน์ นั่นคือ โดยแก่นแท้แล้วมันไม่ได้แตกต่างจากสิง่ ทีเ่ กิดขึน้
บนโลกออฟไลน์เลย เด็กที่ชอบรังแกคนอื่นใน ชีวติ จริงมีแนวโน้มทีจ่ ะรังแกคนอืน่ ในโลกออนไลน์ ด้วย ดังนัน้ ปัญหาจึงไม่ได้อยู่ท่เี ทคโนโลยี แต่ ต้องสาวไปถึงประเด็นทางสังคมและสภาพจิตใจ อันเป็นต้นตอของปัญหาที่แท้จริง ด้วยเหตุน้ี วิธแี ก้ปญ ั หาทีค่ ดิ แต่จะปกป้องเหยือ่ และมุง่ หาตัว คนผิดเพือ่ น�ามาลงโทษจึงเป็นเพียงการแก้ปญ ั หา ทีป่ ลายเหตุเท่านัน้ แทนที่จะใช้ร่องรอยที่วัยรุ่น ทิ้งไว้บนโลกออนไลน์มาเป็นหลักฐานลงโทษ ผูก้ ระท�าผิด เราควรใช้มนั เพือ่ ช่วยเหลือเยาวชน ซึง่ ก�าลังร�า่ ร้องให้ผค้ ู นหันมาสนใจมากกว่า บางครัง้ วัยรุน่ เก็บง�าปัญหาของตัวเองไว้ แต่สง่ สัญญาณ ผ่านสเตตัสเฟซบุ๊กหรือทวิตเตอร์ หากเรารู้จัก สังเกตและใช้ประโยชน์จากช่องทางเหล่านี้ ก็อาจ ช่วยเหลือวัยรุน่ ทีก่ า� ลังสับสนได้กอ่ นจะสายเกินไป ประเด็นส�าคัญข้อหนึ่งที่หนังสือเล่มนี้ เน้นย�้าอยู่เสมอคือ การกล่าวโทษเทคโนโลยี ( หรือที่หลายคนชอบใช้ค�าว่า ถูกเทคโนโลยี ‘ท�าร้าย’) และคิดเอาเองว่าปัญหาจะคลี่คลาย หากเราควบคุมให้เด็กและเยาวชนอยู่ห่างจาก โลกออนไลน์ให้มากที่สุด ล้วนเป็นการกระท�า ที่ ขาดความรู้ความเข้าใจอย่างสิ้นเชิง ปัญหา ข อ ง วัยรุ่นบนโลกออนไลน์เป็นเพียงส่วนหนึ่ง ในกระบวนการค้นหาตัวตนและจุดยืนในสังคม เทคโนโลยีอาจเพิม่ ความเสีย่ ง แต่ในขณะเดียวกัน ก็เพิม่ โอกาสในการเรียนรูแ้ ละเติบโต สิง่ ทีผ่ ใู้ หญ่ ควรท�าคือเข้าใจและยอมรับว่าวัยรุ่นต้องการ เสาะแสวงหาสิง่ ใด พร้อมทัง้ ร่วมมือกับพวกเขา เพือ่ หาจุดสมดุล เพราะการรับมือกับชีวติ ในโลก โซเชียลของวัยรุ่นนัน้ ไม่ใช่เรื่องง่าย แท้จริงแล้ว มันเป็นเรือ่ งซับซ้อนอย่างทีช่ อื่ หนังสือบอกไว้นนั่ เอง หนังสือเล่มนีค้ อื คูม่ อื ชัน้ ดีสา� หรับพ่อแม่ ครู ผูก้ า� หนดนโยบาย รวมถึงตัววัยรุน่ เอง ทีต่ อ้ งการ ท�าความเข้าใจและรับมือกับความซับซ้อนในโลก เครือข่ายอย่างมีประสิทธิภาพ เพือ่ สร้าง ‘พืน้ ที’่ แห่งใหม่ที่เปิดโอกาสให้วัยรุ่นได้เรียนรู้ เติบโต และก้าวเดินไปบนหนทางของตนเองได้อย่าง มัน่ คง
E-BOOK
PARENT GUIDE PROJECT คูม่ อื ส�าหรับพ่อแม่ยคุ ใหม่ ทีแ่ นะน�าให้คณ ุ รูเ้ ท่าทันการใช้อนิ เทอร์เน็ตได้อย่างปลอดภัย และสามารถน�าไปใช้พดู คุย กับเด็กๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเนือ้ หาภายในหนังสือเล่มนีจ้ ะเริม่ ต้นด้วยการตอบค�าถามกับคุณว่าท�าไมต้องสอนลูก ให้รจู้ กั อินเทอร์เน็ต และภัยจากโลกออนไลน์ทมี่ ตี อ่ เด็กๆ นัน้ รุนแรงและอยูใ่ กล้ตวั เราแค่ไหน จากนัน้ ก็จะมีวธิ สี อนเด็กๆ ให้ใช้อนิ เทอร์เน็ตอย่างชาญฉลาด ด้วยวิธที เี่ ข้าใจง่าย เช่น พ่อแม่ควรตัง้ กฎกติกาการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต และการใช้งานร่วมกับ ลูก พร้อมอธิบายและให้เหตุผลทีด่ กี บั ลูก เพือ่ ให้ลูกเข้าใจถึงสิง่ ทีพ่ ่อแม่กา� ลังท�าอยู่ เช่น การร่วมกันตั้งค่าในเฟซบุ๊ก และแอพพลิเคชันต่างๆ เพือ่ ป้องกันความเป็นส่วนตัว และป้องกันการขอเป็นเพือ่ นทีไ่ ม่เหมาะสม พร้อมกับประสบการณ์จริง ของพ่อแม่ที่มาแนะน�าวิธใี ห้ลูกใช้อนิ เทอร์เน็ตได้อย่างปลอดภัย และการท�าความเข้าใจธรรมชาติของเด็กวัยรุ่นให้ดี ยิ่งขึ้น สามารถดาวน์โหลดได้ฟรีแบบ PDF โดยค้นหาในกูเกิลว่า ‘dtac Parent Guide คู่มอื พ่อแม่ยุคดิจิทัล-unicef’
DANAH-BOYD
THE SOCIAL LIVES OF NETWORKED TEENS ปัญหาวัยรุน ่ ในโลก โซเชียลมีเดียในความคิด ของ ดานาห์ บอยด์
TRENDING
STALKING
ความร้อนรนต่อ กระแสฮือฮาอย่าง รวดเร็วและจบลง อย่างรวดเร็ว
ความเป็นส่วนตัว MANAGEMENT ทีถ่ กู ละเมิดได้งา่ ย ความวิตกกังวลต่อ ข้อมูลถูกเปิดเผย ภาพลักษณ์ตวั เอง ในโลกออนไลน์ ต่อสายตาคนอืน่
IMPRESSION MEMES
ข้อมูลข่าวสารกระจาย เ ป ็ น ชิ้ น เ ล็ ก ชิ้ น น้ อ ย ไม่เชื่อมโยงกัน และไม่มปี ระโยชน์
DRAMA
FLOW
เ รื่ อ งซุ บ ซิ บ นิ น ทา ตกเป็ น ที่ วิ พ ากษ์ วิจารณ์ในทางลบอย่าง รุนแรงเกินกว่าเหตุ
สภาวะทีร่ สู้ กึ ว่าฉวย คว้าอะไรไว้ไม่ได้เลย และปล่อยเวลาให้ เสียเปล่าไปเรือ่ ยๆ
AD
18 เรื่อง : ทรรศน หาญเรืองเกียรติ ภาพ : Stopbullying.lovecarestation.com
a day BULLETIN
CONNECTING THE DOTS
CLIPS
THE VID EO
Stop Bullying : เลิฟแคร์ไม่รงั แกกัน เว็บไซต์ของโครงการ Stop Bullying : เลิฟแคร์ไม่รงั แกกัน เกิดขึน ้ จากความร่วมมือระหว่างมูลนิธแิ พธทูเฮลท์, ดีแทค และองค์การยูนเิ ซฟ เพือ ่ ช่วยเหลือเยาวชน และบุคคลทัว่ ไปทีถ ่ ก ู รังแกทัง้ ในชีวต ิ จริงและบนโลกออนไลน์ เพราะเห็นถึงความส�าคัญของการถูกกลัน ่ แกล้ง ซึง่ การรังแกนัน ้ เป็นรูปแบบหนึง่ ทีม ่ ผ ี ลกระทบทัง้ ทางร่างกายและสภาพจิตใจของคนทีถ ่ ก ู กระท�า ซึง ่ เป็นสาเหตุให้เกิดความซึมเศร้า ความเครียด ความไม่มน ั่ ใจในตัวเอง และกลายเป็นคนทีไ่ ม่อยากเข้าสังคม ซึง่ อาจจะรุนแรงถึงขัน ้ ท�าร้ายตัวเองหรือการฆ่าตัวตายได้ ส�าหรับใครทีก ่ า� ลังเผชิญ สถานการณ์การรังแกกัน ไม่วา่ จะเป็นคนถูกรังแก คนทีร ่ งั แกคนอืน ่ หรือคนทีเ่ ห็นเหตุการณ์การรังแก สามารถเข้าไปดูขอ ้ มูลเพือ ่ หาทางออกร่วมกันได้ที่ http://stopbullying.lovecarestation.com
WWW.L OVECAR ESTATIO N.COM
issue 542
11 JUN 2018
19
Stopbullying ปัจจุบันไม่ได้มีแต่ผู้ใหญ่เท่านั้นที่อินเทอร์เน็ตกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจ�าวัน เด็กและเยาวชนเองก็เข้าถึงการใช้อน ิ เทอร์เน็ตมากพอๆ กัน โดยเป็นทีร ่ ก ู้ น ั ว่าเด็กทีก ่ า� ลังโต มี ค วามเสี่ ย งสู ง ที่ จ ะเผชิ ญ กั บ ภั ย ที่ ม าพร้ อ มกั บ การใช้ อิ น เทอร์ เ น็ ต ซึ่ ง ส่ ง ผลไปถึ ง การเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ทั้งร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ ทางดีแทคจึงร่วมกับ มูลนิธแิ พธทูเฮลท์ และองค์การยูนเิ ซฟ จัดตัง ้ เว็บไซต์ Stop Bullying : เลิฟแคร์ไม่รง ั แกกัน ขึน ้ มาเพือ ่ เป็นส่วนหนึง ่ ของโครงการ Safe Internet อินเทอร์เน็ตปลอดภัย เพือ ่ ป้องกัน ไม่ให้เกิดการกลัน ่ แกล้งคนอืน ่ ด้วยความรูเ้ ท่าไม่ถง ึ การณ์
AR TIC LE SA BO UT
BU LLY ING
CH AT RO OM
HTTP://STOPBULLYING.LOVECARESTATION.COM
SAFE INTERNET โลกออนไลน์ ใ นตอนนี้ มี ผ ลต่ อ ชี วิ ต ของพวกเราอย่างเต็มตัว โดยผลส�ารวจ การใช้ อิ น เทอร์ เ น็ ต ในประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2560 จากส�านักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การ มหาชน) (สพธอ.) ระบุว่าคนไทยใช้ อินเทอร์เน็ตเฉลี่ยคนละ 6.30 ชั่วโมง ต่อวัน ชีวติ ดิจติ อลและชีวติ จริงได้รวม เข้าเป็นหนึ่งเดียวกัน และปัญหาที่ ตามมาคือการกลั่นแกล้งกันในโลก ไซเบอร์ ซึง่ หลายคนไม่รวู้ า่ จะแก้ปญ ั หา ทีเ่ กิดขึน้ หรือหันหน้าไปปรึกษาใครได้ เว็บไซต์ Stop Bullying : เลิฟแคร์ไม่รงั แก กัน จึงถูกสร้างขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือ และให้ค�าแนะน�าแก่ผู้ที่ถูกรังแก ผู้ที่ พบเห็นการรังแก และพ่อแม่รุ่นใหม่ เพือ่ ให้ความรูเ้ กีย่ วกับการใช้อนิ เทอร์เน็ต อย่างปลอดภัย
C YBERBULLYING S U P P O RT C O M MUNITY หลายครั้งที่เรามีค�าถามคาใจ และ อยากได้ความเห็นของคนหลายๆ คน เพือ่ ช่วยในการตัดสินใจ รวมถึงการขอ ก�าลังใจเพื่อให้ลุกขึ้นมาสู้กับความไม่ถูกต้องได้อย่างถูกวิธี เว็บบอร์ด จึงเป็นกระดานข่าวทีใ่ ห้เราใช้ตง้ั ค�าถาม ต่างๆ หรือใครทีก่ า� ลังมีปญ ั หาทีค่ ล้ายๆ กันก็สามารถเข้ามาดูคา� แนะน�าเบือ้ งต้น ได้ ทั น ที และหากค� า ตอบนั้ น ยั ง ไม่ ครอบคลุมพอก็สามารถเข้าไปใช้บริการ แชตรูม เพื่อปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญ แบบตัวต่อตัวได้อีกที
CHAT ROOM ภายในเว็บไซต์ Stop Bullying : เลิฟแคร์ ไม่รงั แกกัน มีบริการออนไลน์ผา่ นแชตรูม ในการช่วยเหลือเยาวชนและบุคคลทัว่ ไป ที่ ก� า ลั ง เผชิ ญ หรื อ ได้ รั บ ผลกระทบ จากการรังแกกันทัง้ ในโซเชียลเน็ตเวิรก์ หรือถูกกลัน่ แกล้งในชีวติ จริง เมือ่ ท�าการลงทะเบียนกับทางเว็บไซต์ ก็สามารถ เข้าไปแชตปรึกษาปัญหากับผูเ้ ชีย่ วชาญ ได้ทุกวันตั้งแต่เวลา 16.00-22.00 น. หรือโทร.สายด่วนได้ทหี่ มายเลข 1323
ARTICLES ABOUT BULLYING
WWW.LOVECARESTATION.COM
YOU CAN HELP TO STOP BULLYING
การกลั่นแกล้งหรือ Bullying แม้จะ ไม่ใช่เรือ่ งใหม่ในสังคมไทย แต่หลายคน ยังไม่เข้าใจความหมายที่แท้จริงว่า การกระท�านี้ส่งผลกระทบถึงคนที่ถูก รังแกอย่างไร บทความและข่าวของ เว็บไซต์นจี้ งึ รวบรวมข้อมูลทีน่ า่ สนใจ อ่านง่าย และตัวอย่างของการ cyberbullying มาไว้ด้วยกัน เช่น ท�าความรู้จัก Stop Cyberbullying Day วันหยุด การกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ หรือ เรือ่ งราวการต่อสูก้ บั ชาวเน็ตของ Amber Liu ศิลปินดังจากวง f(x) ที่มักโดนล้อ ว่าเป็นทอมและหน้าอกแบนอยูเ่ สมอ รวมไปถึงวิธีรับมือเมื่อเพื่อนในห้อง ไม่สนใจ เพื่อนไม่ให้เข้ากลุ่มแล้วเรา จะท�าอย่างไรดี ซึง่ บทความทัง้ หลายนี้ มีประโยชน์กบั ทุกคน
เว็บไซต์พันธมิตรที่ให้บริการปรึกษา ออนไลน์ในเรื่องของปัญหาสุขภาพ ทางเพศ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ คนทีย่ งั ไม่พร้อมจะตัง้ ครรภ์ มีเชือ้ HIV โรคเอดส์ และเรือ่ งของการคุมก�าเนิด โดยทุกข้อมูลทีป่ รึกษาจะถูกเก็บเป็น ความลับภายในห้องแชต เพือ่ ช่วยให้ วัยรุน่ เข้าสูก่ ระบวนการจัดการปัญหา ทีถ่ กู ต้อง มีประสิทธิภาพ และปลอดภัย โดยทางโครงการยังมีบริการสายด่วน 1663 เพือ่ คลีค่ ลายปัญหาคาใจอย่าง เร่งด่วนด้วยอีกทาง สามารถเข้าสู่ เว็ บ ไซต์ นี้ ไ ด้ ที่ ลิ ง ก์ ท างขวามื อ บน เว็บไซต์ Stop Bullying : เลิฟแคร์ ไม่รังแกกัน
ไม่จ�าเป็นจะต้องเป็นผู้ที่มีปัญหาถูก กลัน่ แกล้งเท่านัน้ ทีจ่ ะเข้ามาใช้บริการใน เว็บไซต์ Stop Bullying : เลิฟแคร์ไม่รงั แก กัน เราเองก็สามารถเป็นส่วนหนึง่ ของ การช่วยเหลือเพือ่ หยุดการกลัน่ แกล้งกัน ใ นโลกอิน เทอร์ เ น็ต และชีวิต จริง ได้ เพราะในส่วนของคลิปวิดโี อ จะมีการรวบรวมคอนเทนต์เกี่ยวกับการรังแก และการจัดการกับการรังแก ซึง่ เป็นการจ�าลองสถานการณ์ว่ามีนักเรียนถูก ข่มขู่ขอเงินและล้อเลียนกัน แล้วเรา จะช่วยเหลือพวกเขาได้อย่างไร หรือ More You See เรือ่ งนีไ้ ม่ใช่แค่ (ที)่ เห็น หนังสัน้ ทีเ่ อาประเด็นต่างๆ อย่างการเคารพในความต่างมาน�าเสนอ ซึง่ เรา สามารถเป็นส่วนหนึง่ ในการแชร์เนือ้ หา เหล่านี้เพื่อให้คนรอบตัวหันมาใส่ใจ เรื่องการ Stop Bullying ได้
a day BULLETIN
เรื่อง : กองบรรณาธิการ
22
LIFE
issue 542
11 JUN 2018
23
S P E A K O U T, S TA N D TA L L ,
STOP B U L LY I N G การเล่นกลั่นแกล้งกันของเด็กนั้นมีอยู่ทุกยุคทุกสมัย และก�าลังจะ รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งไม่ได้หยุดอยู่แค่การแอบดึงผมเปีย หรือแกล้งล้อ ให้ อั บ อายอี ก ต่ อ ไป และความคึ ก คะนองของผู้ ก ระท� า ก็ จ ะส่ ง ผลไปยั ง ผู้โดนกระท�าให้รู้สึกเจ็บปวดจนฝังลึกลงไปในหัวใจ ซึ่งจะท�าลายทั้งชีวิต ของคนคนนัน ้ และคนรอบข้าง เหมือนกับในเหตุการณ์ตา่ งๆ ทีน ่ า่ สลดใจ และไม่สามารถแก้ไขความสูญเสียที่เกิดขึ้นได้ แต่เราสามารถช่วยกันป้องกันไม่ให้เรือ ่ งแบบนัน ้ เกิดขึน ้ กับคนทีร ่ ก ั ได้ ถ้าพวกเราร่วมมือกันสร้างความเข้าใจทัง ้ กับตัวเอง และเด็กๆ ไม่วา่ จะเป็น ลูก หลาน หรือน้องๆ ที่รู้จัก เพื่อให้รู้ว่าการกลั่นแกล้งแม้แต่ทางวาจา หรื อ การโพสต์ ข้ อ ความบนโซเชี ย ลมี เ ดี ย นั้ น เป็ น สิ่ ง ที่ ไ ม่ ค วรท� า ให้ใครเสียใจ และพร้อมรับมือกับความรุนแรงที่ถาโถมเข้ามาได้อย่าง ทันท่วงที
C Y B E R B U L LY I N G การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตในปัจจุบนั มีการเติบโตอย่างมหาศาลซึง่ จากข้อมูลของเว็บไซต์WeAreSocial ส�ารวจมาพบว่า มีประชากรทั้งหมด 3,200 ล้านคนในตอนนี้ที่เป็นผู้ใช้อินเทอร์เน็ต และสัดส่วนนี้จะ เพิม่ ขึน้ อยูท่ ี่ 5.5%ต่อปีนัน่ หมายถึงแรงขับเคลือ่ นมหาศาลทีจ่ ะเพิม่ ขึน้ เรือ่ ยๆและการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ก็จะง่ายดายขึ้นกว่าเมื่อก่อน จากแต่เดิมทีก่ ารใช้งานอินเทอร์เน็ตต้องซือ้ แพ็กเกจรายชัว่ โมงหรือแบบเหมาจ่ายและรับยูสเซอร์ กับรหัสผ่านไปลงชือ่ เข้าใช้งานผ่านการเชือ่ มต่อทางโทรศัพท์บา้ นต่อมาก็พฒ ั นาเป็นระบบอินเทอร์เน็ต ความเร็วสูงและเป็นการเชือ่ มต่อแบบไร้สายผ่านเครือข่ายโทรศัพท์มอื ถืออย่างทีเ่ ราใช้กนั อยูจ่ นเคยชิน เมือ่ การเข้าสูโ่ ลกอินเทอร์เน็ตง่ายและสะดวกขึน้ นัน่ หมายความว่าใครก็สามารถท่องโลกไซเบอร์สเปซ ได้ทนั ทีไม่เว้นแต่เด็กๆทีย่ งั ขาดความรูค้ วามเข้าใจและการรับมือกับภัยมืดทีแ่ ฝงตัวอยูใ่ นโลกออนไลน์ อัตราเสี่ยงที่จะท�าให้พวกเขาถูกกลั่นแกล้งจากผู้ไม่หวังดี รวมถึงจากคนใกล้ตัวที่โรงเรียนก็มากขึ้น ตามไปด้วย “ทีป่ ระเทศญีป่ นุ่ เขาประสบความส�าเร็จในการป้องกันลูกหลานไม่ให้ตกเป็นเหยือ่ ของcyberbullying จากการทีพ่ อ่ แม่ชว่ ยกันสร้างความเข้มแข็งขึน้ ในใจลูก โดยช่วงวัยของเด็กทีส่ า� คัญทีส่ ดุ คือ ช่วงอายุ 0-12 ปี พวกเขาใช้วธิ กี อดบอกเด็กๆว่าเขาน่ารักมีตวั ตนเป็นคนส�าคัญของพ่อแม่พยายามหาคุณค่าในตัวลูก แล้วเอ่ยค�าชมเพราะเมือ่ เด็กรูว้ า่ ตัวเองมีคณ ุ ค่าเขาก็จะรักตัวเอง”ผศ.ดร.วิมลทิพย์มุสกิ พันธ์ผูเ้ ชีย่ วชาญ เรื่อง cyberbullying สาขาวิชาสังคมศาสตร์ สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดลบอกถึงแนวทางในการเลี้ยงดูบุตรหลานในยุค4.0นี้ ในโลกออนไลน์ทใี่ ครจะมีสทิ ธิโ์ พสต์หรือแสดงความเห็นอะไรก็ได้ค�าพูดเล็กๆน้อยๆก็อาจท�าให้ เกิดการกระทบกระทั่งและกลั่นแกล้งกันจนเป็นเรื่องราวใหญ่โต โดยเฉพาะในหมู่ของวัยรุ่นที่อาจใช้ อินเทอร์เน็ตโดยขาดวิจารณญาณจนเป็นภัยอันตรายต่อผู้อ่นื โดยไม่รู้ตวั รศ.นพ.ชาญวิทย์ พรนภดลได้ให้ความหมายของค�าว่าcyberbullyingอย่างเข้าใจง่ายไว้ว่า “เป็นการกลั่นแกล้งกันอย่างรุนแรงในโลกไซเบอร์ มักพบในกลุ่มเด็กวัยเรียน โดยมีเจตนาต้องการให้ เพื่อนอับอายเสียหน้าเสียชื่อเสียงเสียเพื่อนและไม่ได้รบั การยอมรับ” การกลั่นแกล้งในโลกไซเบอร์น้นั มีหลายวิธี เช่นสร้างเพจปลอมและใส่ข้อมูลที่ไม่เป็นจริงของ เพื่อนเพื่อให้คนอื่นเข้าใจผิดหรือตัดต่อภาพอย่างไม่เหมาะสมเป็นต้น
a day BULLETIN
24
อ่านข้อมูลประกอบเรื่อง การกลั่นแกล้งรังแก “dtac Parent Guide คู่มือพ่อแม่ยุคดิจิทัล เข้าใจลูก เข้าใจโลกไซเบอร์” ร่วมกับ เทเลนอร์ และองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย
WAYS TO T E AC H YO U R KIDS ABOUT INTERNET SAFETY
ตัวอย่างเหตุการณ์การกลัน่ แกล้งกันในโลกไซเบอร์ทสี่ ง่ ผลกระทบอย่างรุนแรงและวิธกี าร แก้ไขที่น่าสนใจ เช่น การพูดคุยกันระหว่างพ่อแม่และลูกถึงเรื่องของการท่องโลกออนไลน์ โดยเฉพาะเด็กๆทีม่ อี ายุตงั้ แต่ 13ปีขนึ้ ไปเราสามารถชวนลูกคุยตามปกติเหมือนทีค่ ยุ กันทุกวัน อาจชวนคุยตัง้ แต่เรือ่ งทัว่ ๆ ไป เพือ่ ให้ลกู ได้แบ่งปันเรือ่ งราว ยาวไปจนถึงการเข้าเว็บไซต์ตา่ งๆ ที่น่าสนใจทั้งดูหนังฟังเพลงหรือการท่องเที่ยวต่างๆเพื่อให้ลูกมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ พร้อมอธิบายรายละเอียดต่างๆให้ฟงั เด็กทีก่ ลัน่ แกล้งคนอืน่ : หากรูว้ า่ ลูกเป็นฝ่ายกระท�า ควรบอกลูกถึงผลลัพธ์ทต่ี ามมาจาก การกลัน่ แกล้งเพือ่ นรวมถึงความผิดตามพระราชบัญญัตคิ อมพิวเตอร์และกฎหมายอืน่ ๆทีอ่ าจ มีโทษตัง้ แต่ถกู ปรับไม่เกิน100,000บาทหรือจนถึงติดคุกไม่เกิน5ปีหรือทัง้ จ�าทัง้ ปรับเป็นต้น เด็กทีถ่ กู กลัน่ แกล้ง:แนะน�าลูกว่าอย่าเพิง่ โต้ตอบเพราะเด็กจะเปลีย่ นสถานะจากผูท้ ตี่ ก เป็นเหยือ่ กลายเป็นคูต่ อ่ สู้ ซึง่ อาจท�าให้ถกู ตัดสินว่ามีความผิดทัง้ คูไ่ ด้แต่ให้บอกลูกว่าอย่าไปยอม ทนเก็บไว้คนเดียวให้รบี บอกครูหรือพ่อแม่ และอธิบายเขาว่าไม่ใช่การฟ้องแต่เป็นการช่วยหยุด เรือ่ งทีไ่ ม่ดนี ดี้ ว้ ยกัน เด็กที่พบเห็นการกลั่นแกล้ง : พ่อแม่ควรสอนให้ลูกรู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่นตั้งแต่เล็กๆ และไม่ไปซ�า้ เติมหรือมีสว่ นร่วมในการกลัน่ แกล้งเพือ่ นไม่วา่ ทางใดก็ทางหนึง่ และเมือ่ เห็นว่าเพือ่ น ถูกแกล้งให้รบี บอกครู
www.psychologytoday.com, www.independent.co.uk, www.huffingtonpost.com, www.theguardian.com
A M ANDA TO DD
issue 542 11 JUN 2018
เด็กสาวชาวแคนาดาวัย 15 ปี ก�าลังเล่นเว็บแคม เธอถูกชายคนหนึ่ง เกลี้ยกล่อมให้เธอเปลือย หน้าอกโชว์ และบันทึก ภาพหน้าอกของเธอ เก็บไว้ ก่อนจะเผยแพร่ ภาพในเฟซบุ๊ก ไม่ว่าเธอ จะย้ายโรงเรียนหรือที่อยู่ หนีกี่ครั้ง เขาก็ตามไป เผยแพร่ภาพนั้นจนไม่มี เพื่อนคนไหนอยากคบ กับเธอ เธอจึงตัดสินใจ จบชีวิตด้วยการกิน น�้ายาฟอกขาว แม้ว่าจะ ช่วยชีวิตได้ทัน แต่เธอก็ ยังได้รบ ั ข้อความเกลียดชัง ที่รุนแรงกว่าเดิม เช่น ‘สมควรตายแล้ว’ เธอรับแรงกดดันไม่ไหว จึงตัดสินใจท�าคลิป ระบายความในใจ ก่อน ผูกคอตายในวันที่ 10 ตุลาคม 2555 ท�าให้ ทั่วโลกตระหนักถึงภัย ร้ายแรงจากการกลัน ่ แกล้ง ทางอินเทอร์เน็ตมากขึ้น ตั้งแต่วันนั้น
P L AYG R O U N D O F V I O L E N C E
แต่เดิมมีความเชือ่ ว่า เด็กอันธพาลมักจะมีพอ่ แม่หรือผูป้ กครอง เป็นคนทีม่ พี ฤติกรรมต่อต้านสังคมเด็กมีรอ่ งรอยการถูกท�าร้ายร่างกาย หรือใช้วาจาหยาบคายผิดสังเกตเด็กจะรูส้ กึ ว่าตัวเองไร้อา� นาจตกเป็น เหยือ่ ความรุนแรงในครอบครัว หรือเห็นแม่ตวั เองถูกพ่อกระท�า เขาจะ มาโรงเรียนเพือ่ แสดงอ�านาจกับเพือ่ นๆ และจะยิง่ เรียกร้องความสนใจ จากผู้อื่น โดยวิธีการท�าตัวเหลวไหล เลวร้าย หรือท�าความรุนแรง มักจะเป็นการเรียกความสนใจจากครูได้งา่ ยทีส่ ดุ ความเชือ่ แบบใหม่เกีย่ วกับการกลัน่ แกล้งรังแก มองถึงอิทธิพล ทางสังคมต่อเด็กมากกว่าโดยเด็กทีเ่ ป็นผูก้ ระท�าอาจจะไม่ทนั คิดว่าตัวเอง ท�าผิดอะไรในสภาพสังคมทีเ่ ด็กมาอยูร่ วมกันเยอะๆตามธรรมชาติแล้ว เด็กแต่ละคนจะพยายามแสดงออกถึงอัตลักษณ์ของตัวเอง ยิง่ สังคม มีความรูส้ กึ ต่อต�าแหน่งและระดับชัน้ มากเท่าไหร่ ก็จะยิง่ ท�าให้เด็กต้อง พยายามแสดงออกยิง่ แตกต่างและต้องมีความเหนือกว่าเขาจึงแสดง อ�านาจของตนว่าเหนือกว่าคนอืน่ เด็กส่วนใหญ่เมือ่ ต้องออกจากอ้อมอกของครอบครัวเข้าไปอยูใ่ น โรงเรียนตลอดวันจะรูส้ กึ ไม่มนั่ คงทัง้ ทางอารมณ์และร่างกายเด็กทีแ่ ข็งแรง จึงมีโอกาสจะมองหาเพื่อนที่ดูอ่อนแอกว่ามาเป็นเหยื่อในการแกล้ง โดยที่เขาคิดว่าเป็นการสวมบทบาทเล่นกัน เป็นพระเอกผู้ร้าย หรือ หัวหน้าลูกน้อง โดยไม่ทนั คิดถึงเรือ่ งการเหยียดสีผวิ เหยียดเพศ หรือ ศาสนา
มีแค่บางกรณีไม่เท่านัน้ ทีเ่ ด็กมีปญ ั หาจิตใจมาจากทางครอบครัว เด็กจดจ�ารูปแบบการใช้ความรุนแรงทัง้ ทางกายและวาจามาจากพ่อแม่ ทีบ่ า้ น เด็กกลุม่ นีจ้ งึ จ�าเป็นจะต้องได้รบั การสัง่ สอนจากนักบ�าบัดหรือ ครูทปี่ รึกษา ให้รจู้ กั ควบคุมอารมณ์และพฤติกรรม เพือ่ จะได้รวู้ ธิ กี าร เข้าสังคมกับเพือ่ นอย่างถูกต้องเหมือนคนอืน่ PREVENTING VIOLENCE IN SCHOOLS
-ใส่ใจปัญหาการกลัน่ แกล้งเป็นพิเศษส่วนใหญ่ผใู้ หญ่มองว่าเด็ก ล้อเล่นกันสนุกๆ ตลกๆ แต่ในมุมมองของตัวเด็กเอง โดยเฉพาะตัว ผูต้ กเป็นเหยือ่ จะเจ็บปวดวิตกกังวลและน�าไปสูป่ มเจ็บป่วยทางจิตใจ ในระยะยาว - สอนให้เด็กปฏิบัติต่อผู้อ่ืนอย่างให้ความเคารพ ให้บทเรียน เกี่ยวกับการยอมรับความแตกต่างและเท่าเทียมของสีผิว เชื้อชาติ ศาสนาเพศฐานะทางเศรษฐกิจและระดับความสามารถฯลฯ - ชมเชยและส่งเสริมพฤติกรรมที่ถูกต้อง เมื่อพบเห็นเด็กที่ ช่วยเหลือผูอ้ นื่ เห็นอกเห็นใจผูอ้ นื่ หรือเข้าไปช่วยเหลือเพือ่ นจากการตกเป็นเหยือ่ การกลัน่ แกล้ง -พยายามหลีกเลีย่ งการลงโทษด้วยกฎระเบียบและวิธกี ารรุนแรง เพราะนัน่ จะยิง่ ไปตอกย�า้ และผลิตซ�า้ ความรุนแรงในกลุม่ เด็กเพิม่ ขึน้
25 S T O P B U L LY I N G AT W O R K
การแข่ ง ขั น ชิ ง ดี ชิ ง เด่ น ในการท� า งานเป็ น ผลดี ในการผลักดันองค์กรให้คืบหน้าไป แต่ถ้ามันกลายเป็น การเมืองในออฟฟิศและมีระดับความขัดแย้งทีม่ ากเกินไป จะท�าให้ผปู้ ฏิบตั งิ านหมดขวัญก�าลังใจเพราะรูส้ กึ ว่าได้รบั ผลตอบแทนเป็นเงินหรือเลือ่ นขัน้ แบบไม่ยตุ ธิ รรมท�าให้รสู้ กึ เสียหน้าหรือพ่ายแพ้ งานทีค่ ณ ุ รักและออฟฟิศในอุดมคติ อาจจะกลายเป็นนรกส�าหรับคุณได้เลย ถ้าบังเอิญไปเจอ ออฟฟิศที่เล่นการเมืองกันหนักๆ มีความขัดแย้งและ ความรุนแรงที่กระท�าโดยหัวหน้างานหรือเพื่อนร่วมงาน ของคุณ บูลลีในโรงเรียนอาจจะมีรปู แบบเหมือนการเล่น กันตอนพักเทีย่ ง แต่บลู ลีในทีท่ า� งานจะแฝงเนียนๆ ไปใน การท�างานและความสัมพันธ์ในทีท่ า� งานทุกด้าน พวกบูลลีในทีท่ า� งานจะไม่ได้ใช้กา� ลังท�าร้ายแต่มงุ่ ไปทีก่ ารสร้างความอับอายความอายเป็นจุดอ่อนของผูใ้ หญ่ โดยเฉพาะอย่างยิง่ คนทีไ่ ม่ใช่ครอบครัวเดียวกันแต่ตอ้ งมา อยู่ร่วมกันในสังคมแบบที่ท�างาน เหยื่อจะถูกท�าให้รู้สึก เสียหน้าโกรธเครียดวิตกกังวลกลัวต่อหน้าคนอืน่ เช่น
TAY LOR SW I FT
“การกลั่นแกล้ง กันไม่ใช่แค่ ประเด็นเฉพาะใน โรงเรียนหรือ ช่วงวัย มันเป็น ประเด็นของผู้คน และสังคม เรา ผลักบางคนให้ล้ม เพียงเพราะความอิจฉา นั่นเพราะมี บางสิง่ ทีแ่ ตกสลาย ในจิตใจพวกเขา เหล่านั้น หรืออาจ ไม่มีเหตุผลใดๆ เลยก็ได้ สิ่งที่คุณ ต้องท�าคือ อย่าให้ พวกเขามา เปลี่ยนคุณหรือ หยุดคุณจาก การร้องและเต้น ในบทเพลงที่คุณ ชื่นชอบ”
การหักหน้ากัน ในการประชุม ไม่แสดง ความเคารพ
สัง่ งานมากกว่า เพือ ่ นร่วมงาน คนอืน ่ ตรวจ แก้ไขงานเกิน ความจ�าเป็น
การเมินเฉยใส่ใน ห้องพักกินกาแฟ หรือแบ่งพวกใน เวลาหลังเลิกงาน
ปิดการเข้าถึงโอกาส หรือข้อมูลข่าวสาร ทีจ ่ า� เป็นต่อ การท�างาน
D E A L I N G W I T H D I F F I C U LT P EO P L E AT W O R K 1. เมือ่ ถูกกลัน่ แกล้งในทีท่ า� งาน คุณจะต้องลุกขึน้ ต่อสู้และต่อรองให้เร็วที่สุด อย่าปล่อยเวลาให้ผ่านไป เนิ่นนาน เพราะจะยิ่งท�าให้สถานะในการท�างานและ ผลงานของคุณย�่าแย่ตกลงไปจนถึงจุดที่ต่อสู้หรือต่อรอง อะไรไม่ได้แล้ว 2.ในทีท่ า� งานกระแสอ�านาจไหลเวียนอยูต่ ลอดเวลา ไม่หยุดคงที่ ส่วนใหญ่แล้วมันขึ้นอยู่กับสถานภาพของ คุณเองต่อหัวหน้าและเพื่อนร่วมงานคนอื่น ว่ามีผลงาน ดีแค่ไหน มีความสัมพันธ์ดีกับคนมากแค่ไหน ถ้าคุณ สามารถแสดงผลงานและสร้างพรรคพวกให้อยูเ่ ข้าข้างได้ คุณจะปลอดภัยมากขึน้ เหตุการณ์สมมติ ถ้าคุณไปประชุมกับลูกค้าแล้ว ล้มเหลวกลับมาพวกบูลลีอาจจะจัดการประชุมในวันรุง่ ขึน้ โดยน�าความล้มเหลวของคุณมาเป็นประเด็นหลัก ขอให้ คุณลุกขึ้นพูดด้วยความหนักแน่น โดยใช้ภาษากายและ ค�าพูดที่ชัดเจน เพราะจะเสริมสร้างให้คุณมีความมั่นใจ ในตัวเอง และจะท�าให้คนที่มาบูลลีคุณรู้สึกเกรงกลัว และไม่กล้าใช้คา� ทีร่ นุ แรงกับคุณอีก SELF-ESTEEM AND BULLYING
ละเมิดความเป็น ส่วนตัว หยิบจับ ข้าวของโดย ไม่ได้รบ ั อนุญาต
หยุ ด การกลั่น แกล้ ง รั ง แกกั นด้ ว ยความมั่น ใจใน ตัวเองความกลัวเป็นพิษร้ายที่ฝังใจผู้ถูกแกล้งและเป็น อาวุธส�าคัญของผู้กระท�า ยาถอนพิษความกลัว ก็คือ ความมั่นใจในตัวเองความมั่นใจให้พลังงานมันตั้งอยู่ บนพื้นฐานของความกล้าหาญราล์ฟวัลโดอีเมอร์สัน
ให้ทางออกกับเราว่า“ท�าในสิง่ ทีค่ ณ ุ กลัวแล้วความกลัว จะตายจากคุณไป” คนส่วนใหญ่ยอมตกอยู่ในสภาพโดนบูลลี เพราะ ความกลัวหลายด้านด้านหนึง่ คือกลัวทีจ่ ะต้องเผชิญหน้า กับอันธพาลการลุกขึน้ ต่อสูเ้ พือ่ ตัวเองด้วยการพูดออกไป ว่าคุณไม่พอใจจะเป็นการหยุดอันธพาลได้ และอีกด้านหนึ่ง ก็คือความกลัวว่าจะโดนปฏิเสธ จากกลุม่ เราไม่สามารถเป็นตัวของตัวเองจึงต้องเข้าไปเป็น ส่วนร่วมของกลุม่ ใหญ่ แต่ในขณะเดียวกัน กลุม่ ใหญ่นน้ั ก็เบียดขับเราออกมา หรือลงมือกระท�ารุนแรงกับเรา ความรู้สึกหวั่นไหวเกินไปต่อค�าวิพากษ์วิจารณ์ของกลุ่ม จะท�าให้เรายอมจ�านนกับความรุนแรงหลักการก็คอื การมี ความมัน่ ใจในตัวเอง น่ า แปลกใจนัก ที่ห ลายคนยอมทนสถานการณ์ ความรุนแรง เพียงเพราะว่าเขามัวห่วงกังวลว่าคนอื่นๆ จะวิจารณ์กนั อย่างไรเมือ่ ถึงทีส่ ดุ แล้วเขารวบรวมความกล้า แล้วเดินออกมาจากกลุม่ ออกจากเกมแห่งอ�านาจนัน้ มา เขามักจะแปลกใจว่าความรุนแรงได้หายไปและทีผ่ า่ นมา เขาทนอยูก่ บั ความรุนแรงนัน้ ได้อย่างไร การกลั่นแกล้งรังแกกลายเป็นจริงเป็นจังระหว่าง เหยือ่ และผูถ้ กู กระท�า เพราะทัง้ สองฝ่ายมองว่ามันจริงจัง แต่ถา้ เราคิดเสียว่าเป็นเกมทุกคนเลิกได้และเดินออกจาก ความรุนแรงนัน้ เงือ่ นไขทุกอย่างก็จบสิน้ ลงทันที ไม่วา่ จะ ในโรงเรียนในทีท่ า� งานในชีวติ ประจ�าวันและถึงแม้จะเป็น เพียงในโลกเสมือน
วิธส ี ร้างความมัน ่ ใจในตัวเอง • มองปัญหาใน แง่บวก ไม่ว่าคนอื่น จะคิดอย่างไร ตัวเราเองก็มี คุณค่าในตัวเอง • จดไดอารี ประจ�าวัน บันทึก สิ่งดีๆ ขอบคุณสิ่ง ที่ได้รับมา ชื่นชม ยินดีกบ ั ความส�าเร็จ จากงานที่ท�าเสร็จ • แต่งตัว แต่งหน้า ให้เหมาะสม และ เอาเท่าที่ท�าให้เรา เกิดความมั่นใจ • กล่าวชื่นชม คนอื่น มองคนอื่น ในแง่ดี
a day BULLETIN
26
PRISA BON JAKOBSEN วันนีช้ อื่ ของ ปอนด์ ใจดีทวี ี หรือ ‘ปอนด์’ ภริษา ยาคอปเซ่น ยังคงโลดแล่นอยูบ ่ นโลก ออนไลน์ พร้อมกับบทบาทใหม่ๆ ที่ท้าทาย ความสามารถและความคิดสร้างสรรค์ของเธอ ในมุมหนึ่ง เราอาจเรียกเธอว่าเป็นเซเลบริตี้ ออนไลน์ที่ดูเป็นผู้หญิงกล้าแสดงออก และ กล้าท�าในสิง่ ทีค ่ ด ิ แต่ในมุมหนึง่ มันก็นา� มาซึง่ การตกเป็นเป้าความคิดเห็นของผูค ้ นบนโลก ออนไลน์ ที่ แ ตกต่ า งและเต็ ม ไปด้ ว ยความวุน ่ วาย
issue 542 11 JUN 2018
A MESS WE MADE
KNOWING YOURSELF
“ ช่ วงแรกที่ท� า คลิป ถ้ าเป็ นคนรู้ จักกันจะมา คอมเมนต์ดีซึ่งคิดเป็นจ�านวนแค่10%ที่เหลือคือด่า (หัวเราะ)ด่าว่าอีหน้าปลวกท�าไมไม่ไปท�าหน้าก่อน เ พราะตอนนัน้ คลิปเราก็จะเป็นการทีเ่ ราสวมคาแร็กเตอร์ เป็นคนนั้นคนนี้ก็จะมีคาแร็กเตอร์หนึ่งที่เป็นคนสวย และรวยมากพูดไทยค�าอังกฤษค�าแล้วตอนนัน้ เหง้าหน้า ของเราหนักกว่าตอนนี้(หัวเราะ)คนก็จะชอบเข้ามา คอมเมนต์จิกกัดต่อว่าเพราะเขาคงเห็นว่าบทประเภท คนทีส่ วยแบบในคลิปทีเ่ ราท�าใช้ชวี ติ แบบดินเนอร์ยอดตึก ต้องไม่ใช่คนหน้าตาแบบนี้” แม้บคุ ลิกภายนอกของเธอทีเ่ รามองเห็นจะดูเป็น คนทีค่ อ่ นข้างมีความมัน่ ใจสูงแต่เธอก็ยอมรับว่าต้องใช้ เวลานานกว่าจะปรับความรูส้ กึ กับเรือ่ งพวกนีไ้ ด้ “เราใช้เวลาประมาณ5ปีกว่าจะยอมรับกลไก ธรรมชาติของมนุษย์เราได้เหมือนเป็นการต่อสูร้ ะหว่าง ข้างในของตัวเราเองความเฟลหรือไม่มนั อยูท่ เ่ี ราแต่วา่ เรา ไปใช้มนั ในการดึงตัวเองลงมาเฉยๆคนทีเ่ ขาคอมเมนต์ เขาจะใช้คอมเมนต์ในการท�าให้เขาสูงขึน้ ด้วยการดึงคนอืน่ ลงมาคอมเมนต์มนั ก็ตงั้ อยูต่ รงนัน้ แหละแต่เราเองเวลา ทีร่ สู้ กึ ดาวน์เราจะไปใช้คอมเมนต์นน้ั ในการฉุดเราให้ลงไป อีกนัน่ คือวิถขี องจิตคนและมันท�าให้เราเริม่ เข้าใจแล้วว่า ของบางอย่างมันก็อยู่ของมันอย่างนั้นแหละแต่เราเอง ที่เลือกไปสนใจมัน” การต้องเผชิญอยูก่ บั ความเคลือ่ นไหวตลอดเวลา บนโลกออนไลน์ โดยเฉพาะแชนแนลทีเ่ ป็นพืน้ ทีข่ องเธอ ท�าให้เธอเริม่ มองเห็นธรรมชาติบางอย่างของผูค้ นในนัน้ รวมไปถึงท�าให้เธอเริม่ เข้าใจธรรมชาติของตัวเอง “เราเจอมาเยอะจนเห็นแพตเทิรน์ บางอย่างซึง่ คือ แพตเทิรน์ ของตัวเราเอง บางวันคอมเมนต์แย่ๆ เราเห็น เราก็โอเคนะบางวันเราเห็นแล้วเราจีด๊ มากแต่บางวันเรา เห็นคอมเมนต์เดียวกันแต่เรากลับข�า แปลว่ามันไม่ได้ อยู่ที่คอมเมนต์แล้วล่ะ มันอยู่ท่ีเรา นี่คือแพตเทิร์น แพตเทิร์นมันอยู่ที่จิตใจเรามากกว่า”
แต่แม้เธอจะบอกว่าเธอท�าความเข้าใจได้ก็ยังมี บางครั้งที่เธอรู้สึกโมโหจนต้องแสดงอาการตอบกลับ คนที่มาคอมเมนต์ “เขาบอกว่าอะไรก็แล้วแต่ท่ีท�าให้เราโกรธมันมี ความจริงอยูใ่ นนัน้ แม้จะเป็นส่วนเล็กๆก็ตามทีนม้ี คี น มาบอกว่า‘หนูจะเลิกตามพี่ละเพราะพี่ชอบท�าไม่จริง ตอนนัน้ พีบ่ อกจะท�าอันนี้ แล้วพีก่ ไ็ ม่ทา� ’ตอนนัน้ ขึน้ มาก เพราะมันจริง(หัวเราะ)เราเปิดไลฟ์ด่าเลยคือเขาเขียน อย่างนีก้ เ็ ข้าใจแหละว่าติดตามกันจริงเพราะว่ารูข้ อ้ มูล ทัง้ หมดเลยแต่วา่ กูกไ็ ม่ได้เงินปะวะท�านีไ่ ม่เคยได้เงินเลย นะ ใครจะมานั่งท�าไปวันๆ แล้วคนดูไม่มี อย่างน้อย ถ้าเราจะท�าเราก็ตอ้ งท�าของทีเ่ ราอยากจะท�าเราไม่ได้เงิน แต่อย่างน้อยเราก็แฮปปี้ พอเราสวนกลับไปแบบนัน้ ก็มี ความรู้สกึ ว่าไม่น่าสวนกลับไปเลยเนี่ยเห็นแพตเทิร์น มันไหมมันขึ้นอยู่กับเราจริงๆ “การด่ากลับมีแต่จะท�าให้แย่ลง ไม่จบไม่สิ้น เหมือนเราไปให้อาหารเขา เขาคงคิดว่า มาแหย่คนนี้ ดูดกี ว่าแล้วเราดันขึน้ โหก็ยงิ่ สนุกสิสวนกันไปสวนกันมา มันเลยนะแต่เราเลือกทีจ่ ะเดินออกมาเราไม่จา� เป็นต้อง ไปท�าตัวเสมอเขาถ้าเขาด่ามาเราก็ไม่จา� เป็นต้องด่ากลับ “เราว่าสิง่ นีเ้ ป็นอาการของคนไม่มคี วามสุขดังนัน้ ไปหาความสุขซะแล้วอาการนีจ้ ะหายไปเองถ้าวันหนึง่ คุณมีความรูส้ กึ อยากจะคอมเมนต์แย่ๆ มีความคิดแย่ๆ ให้รไู้ ว้เลยว่าวันนัน้ คุณไม่มคี วามสุขคุณต่อสูก้ บั ตัวเองสิ อย่าไปต่อสูก้ บั คนอืน่ ต่อสูก้ บั คนอืน่ คือการปล่อยพรวด ไปเลย ด่าเขาอีนนั่ อีนี่ แต่ตอ่ สูก้ บั ตัวเอง คือรูว้ า่ ตัวเอง ไม่มคี วามสุขและมีความคิดทีไ่ ม่ดี งัน้ ฉันไม่พมิ พ์ดกี ว่า ไม่ตอ้ งไปต่อสูก้ บั คนอืน่ ต่อสูก้ บั ตัวเอง” “โลกโซเชียลฯ มันท�าให้กา� แพงของ ความถูกต้องหายไปเหมือนเป็น จุดบอดของเทคโนโลยี มันกรองได้ ทุกอย่างยกเว้นศีลธรรม”
27 กว่าจะถึงวันนี้ เส้นทางสายบันเทิงของ ‘เก่ง’ - ธชย ประทุมวรรณ ไม่ได้โรย ด้วยกลีบกุหลาบอย่างที่บางคนเข้าใจ เพราะกว่าที่เขาจะท�าให้เอกลักษณ์ของ ค วามเป็นไทยกลายเป็นภาพจ�าของตัวเขาได้นน ั้ ต้องเผชิญทัง ้ ความละเอียดอ่อน แ ละซับซ้อนของบริบททางสังคมที่คนมักจะตีกรอบวัฒนธรรมความเป็นไทยไว้ สูงส่ง จนถึงขนาดทีม ่ ค ี นพร้อมจะโจมตีและก�าจัดใครสักคนทีต ่ อ ้ งการเปลีย ่ นแปลง บางสิง ่ ของวัฒนธรรมไทยอย่างไม่แยแส
A L L T H O S E M E S S Y D AY S
“เราว่ามันเป็นเรื่องเซนสิทีฟส�าหรับสังคมเหมือนกันนะ ที่พอจะท�าอะไรก็ต้องเฝ้าระวังและดูดีๆ แต่ในขณะเดียวกัน โลกมันไปถึงไหนแล้ว ของบางอย่างมันไม่ใช่แค่ของบางคนไง ของบางอย่างมันเป็นของส่วนรวมแล้วท�าไมของส่วนรวมถึงจะแชร์ กันไม่ได้ บางอย่างมันเป็นแค่ความพอใจของบางคนแต่ถกู ตีความ ให้สงิ่ นัน้ เป็นสิง่ ถูกต้องแล้วการทีท่ า� ให้มนั แตกต่างคือความผิด “ท้ายทีส่ ดุ ให้มองทุกอย่างเป็นอนิจจัง อย่าไปซีเรียสอะไร กั บ ค� า พู ด คนเลย คนจั บ ปากกาคนแรกคื อ ผู ้ ช นะแค่ น้ั น เอง แต่คนจับปากกาไม่ได้แปลว่ามันเป็นสิ่งที่ถูกต้อง” ยิง่ ในโลกทุกวันนีท้ คี่ ลืน่ ค�าพูดบนโลกโซเชียลฯ ของผูค้ น แปลกหน้าประดังประเดสาดซัดเข้ามาอย่างรวดเร็วและง่ายดาย พร้อมจะท�าให้คนคนหนึง่ ถูกเข้าใจผิด และจมลงใต้ความมืดมิด แห่งสังคมออนไลน์ “ตอนนั้นก็ไม่ได้ท้อมากหรอก แค่โทร.ไปบอกคนอื่นว่า อยากย้ายไปอยูต่ า่ งประเทศแล้วแค่นนั้ เอง(หัวเราะ)เพราะว่าเบือ่ เบือ่ สังคมบางอย่าง ท้ายทีส่ ดุ คือคนไม่เข้าใจว่าอะไรควรแชร์กนั วัฒนธรรมเป็นของส่วนรวม ซึง่ บางอย่างถ้าคุณคิดแล้วว่ามันไม่ได้ ท�าร้ายใครจริงๆมันก็ควรแชร์กนั ไงอย่าเอาความคิดตัวเองเป็นหลัก ว่าห้ามท�านูน่ ห้ามท�านี่ ทัง้ ๆทีว่ ฒ ั นธรรมเขายังไม่ได้พดู เลยว่าห้ามท�า มันมีจดุ อนุรกั ษ์มันก็ตอ้ งมีจดุ สร้างสรรค์แล้วเราก็ไม่ได้คดิ ว่าสิง่ ที่ เราท�ามันเป็นการท�าลายแต่คนพาลไปเรือ่ งนูน้ เรือ่ งนี้ พาลมาว่าผม ว่าคุณเรียนทีไ่ หนคุณท�าอะไรพาลไปเรือ่ ยๆแล้วเล่นกันเป็นหมูค่ ณะ มันไม่โอเคแบนไม่ให้กนิ ร้านกาแฟเก่งแบนนู่นแบนนี่”
TACHAYA PRATUMWAN KNOWING YOURSELF
“ส�าหรับเรามันหนักนะ มันหนักจนเรารู้สึก เหนือ่ ยใจ แต่พอเราตัง้ สติ ได้ เราก็รู้ว่าคนเหล่านั้น ไม่ได้มีประโยชน์อะไรกับ การมีชีวิตของเราหรอก เราก็แค่ต้องเดินต่อไป”
สิง่ ทีเ่ ราต้องยอมรับตอนนีค้ อื การอยูใ่ ห้ได้บนโลกออนไลน์ ถ้าหากไม่ปรับตัวหรือหาวิธปี อ้ งกันตนเองให้มภี มู คิ มุ้ กันศิลปินเอง ก็ไม่เว้นจะถูกยุคสมัยของโลกโซเชียลฯท�าลายง่ายๆ “อย่ างในแชนแนลยูทูบของผม ผมจะบล็อกและลบ คอมเมนต์ที่ไม่ดีเลย เพราะว่ามันเป็นวิธีการดีที่สุดที่จะตัดไฟ แต่ตน้ ลมไม่จา� เป็นต้องไปต่อล้อต่อเถียงไม่จา� เป็นต้องท�าอะไร เพราะมันเป็นพื้นที่เรา นอกจากมีบางคอมเมนต์ที่เรารู้สึกว่า แม่งกวนส้นตีนก็จะตอบกลับบ้าง(หัวเราะ) “ผมเป็นคนที่อารมณ์ชัดเจน มีความสุขผมก็มีความสุข เล่นดนตรีมีความสุขผมก็สุขสุด ร้องไห้ผมก็ผมก็ร้องไห้สุด ผมโกรธผมก็โกรธสุด ไม่มีอารมณ์กลางๆ แล้วปกติผมเป็นคน ไม่กลัวการทะเลาะอยู่แล้ว(หัวเราะ)เราไม่กลัวการเผชิญหน้า อยู่แล้ว เพราะผมคิดว่ามันน่าจะเป็นการแก้ปัญหาที่ดีกว่า ส�าหรับเราคนชอบหลบใส่หน้ากากเข้าหากันพูดค�าไพเราะแต่ แทงกันข้างหลังแต่เราเป็นคนตรงๆไงถ้าอันไหนตัดได้เราก็ตดั แต่ถ้าเกิดอันไหนที่ตอนนั้นก�าลังโมโหอยู่กต็ อบกลับ” การพูดคุยกับเขาครั้งนี้ท�าให้เรารู้ว่าเขาเองก็เป็นเพียง มนุษย์ธรรมดาภายใต้หน้ากากทศกัณฐ์ท่ีผู้คนชอบมองว่าเป็น เพียงตัวร้าย แต่หากเราได้ท�าความเข้าใจอย่างแท้จริงก็คง ไม่ต่างจากในบทเพลงที่ร้องว่า‘ทศกัณฐ์ก็มีหัวใจ’ “บางคนที่เขาไม่ชอบเขาก็จะไปเลย แต่ก็จะมีบางคน ที่ก็รู้อยู่แต่ก็ยังอยากเข้ามากวน ท้ายที่สุดที่ผมเรียนรู้ก็คือ ทุกสิง่ เกิดมาตัง้ อยู่ ดับไปอย่าไปยึดติดด่าแล้วจบไปแล้วก็ปล่อย อย่าไปยึดติดมากหลังๆน้อยมากทีผ่ มจะตอบส่วนใหญ่จะบล็อก แล้วก็ลบไปเลย ตัดไฟแต่ต้นลม ไม่อย่างนั้นเราก็จะคิดอีก แค่ด�าเนินชีวิตของเราต่อไปงานเราเยอะพออยู่แล้วอย่าไปให้ คุณค่ากับสิ่งเหล่านี้เลย “อยากให้ทุกคนมีสติกันมากขึ้น แล้วก็ (นิ่งคิด) ไม่รู้ว่ะ ไม่รู้จะพูดท�าไมคือพูดไปมันก็ไม่ได้ดีขึ้นหรอก(หัวเราะ)คือคน จะมาคอมเมนต์ยังไงมันก็ท�า เราจะบอกว่าอย่าก็ไม่ได้ เพราะ โทรศัพท์มือถือก็ของเขา คีย์บอร์ดเขา คนแบบนี้ปรับยาก ถ้าเป็นไปได้ให้มีสติกบั การเสพโซเชียลฯจะท�าอะไรให้คดิ ให้ดี ก่อนมีสตินี่แหละดีที่สุด”
a day BULLETIN
28
ADB TALK HOW TO DEAL WITH
HATE SPEECH AND VIOLENCE IN EVERYDAY LIFE ดร. ไพรินทร์ โชติสกุลรัตน์ กระบวนกรการสื่อสารอย่างสันติ แนวความคิดเรือ ่ ง Nonviolent Communication (NVC) หรือการสื่อสารเพื่อสันติ กลายเป็นที่สนใจใน สังคมไทยมากขึน ้ เรือ ่ ยๆ จากจุดเริม ่ ต้นเมือ ่ สิบกว่าปีกอ ่ น ดร. ไพรินทร์ โชติสกุลรัตน์ เป็นผู้เริ่มต้นน�าแนวคิดนี้ เข้ามาฝึกสอนให้กับผู้สนใจ เริ่มต้นจากกลุ่มคนที่สนใจ กลุม ่ เล็กๆ จนขยายไปถึงผูป ้ กครอง พ่อแม่ทอ ี่ ยากเข้าใจ ลูกๆ และปรับเปลี่ยนบรรยากาศในครอบครัวให้อบอุ่น และมีการพูดคุยกันมากขึ้น ต่อมาแนวคิดนีไ้ ด้ขยายออกไปสูโ่ รงเรียนทีม ่ ป ี ญ ั หา เด็กนักเรียนมีพฤติกรรมกลั่นแกล้งกัน หรือใช้ความรุนแรงใส่กัน รวมไปถึงองค์กรธุรกิจที่ทีมงานมีปัญหา ในการท�างานและการสือ่ สาร และเมือ ่ หลายปีกอ ่ นก็ได้นา� ไป ประยุกต์ใช้กบ ั ความรุนแรงทางการเมืองในช่วงทีบ ่ า้ นเมือง ก�าลังแบ่งฝักแบ่งฝ่ายกันสุดขั้ว แนวคิด NVC มีรากฐานมาจากทฤษฎีจต ิ วิทยาของ มาร์แชล โรเซนเบิรก ์ นักจิตวิทยาสายมนุษยนิยม เชือ ่ ว่า มนุษย์ทก ุ คนมีความเมตตากรุณาเป็นพืน ้ ฐาน เราไม่ได้เป็น คนเลวร้ายหรืออยากจะท�าความรุนแรงต่อคนอื่นมา ตั้งแต่เกิด แต่ความรุนแรงที่เห็นกันนั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้น มาภายหลัง เพราะมันแอบสัง่ สมอยูใ่ นวัฒนธรรม และเรา ทุกคนก็คอ ่ ยๆ ซึมซับเข้ามา จนกระทัง ่ น�ามาสูก ่ ารกระท�า รุนแรงใส่กัน จนบางทีอาจจะไม่เจตนา หรือไม่ทันฉุกคิด เลยด้วยซ�้า NVC เป็นเครื่องมือที่จะน�าสังคมกลับคืนสู่ความสันติ ดร. ไพรินทร์ เปรียบว่ามันเหมือนยาสามัญประจ�าบ้าน เหมาะส�าหรับใช้ในชีวต ิ ประจ�าวันของเราทุกคน สามารถ เรียนรูไ้ ด้งา่ ย น�าไปประยุกต์ใช้ได้งา่ ย ช่วยปรับเปลีย ่ นวิธี ทีเ่ ราไปมีปฏิสม ั พันธ์กบ ั คนอืน ่ ครอบครัว เพือ ่ นร่วมงาน เพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างกันได้ดีขึ้น
TOOLS issue 542 11 JUN 2018
1. การสังเกต ในการพูดคุยกัน เมือ ่ เรารับรูอ ้ ะไรเข้ามา ก็จะเกิดการตีความ คุณพูดอะไรบางอย่างที่ ไม่ดีต่อฉัน ฉันตีความว่าคุณเกลียดฉัน แต่ หลักการของ NVC สอนให้เราไม่ด่วนตีความ แต่ให้เริ่มฉุกคิดในทันที เช่น มีคนมาบอกคุณ ว่ า วั น นี้ ใ ส่ เ สื้ อ ผ้ า ไม่ ส วยเลย ก็ จ ะเกิ ด การตีความว่าเขาเกลียดชังคุณ แต่ถา้ เราเพียงแค่ สังเกตค�าพูดของเขา โดยยังไม่ต้องด่วนสรุป ตีความอะไร
2. การรู้สึก ย้ อ นกลั บ มาให้ ต รวจสอบความรู้ สึ ก ของตั ว เอง ว่ า เมื่ อ ได้ ยิ น ที่ เ ขาพู ด มาแล้ ว เรา รู้สึกอย่างไร เขาบอกว่าเสื้อผ้าของคุณไม่สวย อ๋อ เรารู้สึกว่าไม่มั่นใจในตัวเองขึ้นมาทันทีเลย
3. หาความต้องการที่แท้จริง ลึกๆ แล้วต้องการอะไรอยู่ ในการพูดคุย ถ้าคุณก�าลังรูส ้ ก ึ ทางบวก แปลว่าความต้องการ ของคุณได้รบ ั การตอบสนองแล้ว เช่น ได้รบ ั ค�า ชืน ่ ชม แต่ถา้ รูส ้ ก ึ ทางลบ แปลว่าความต้องการ บางอย่ า งไม่ ไ ด้ รั บ การตอบสนอง จึ ง ต้ อ ง พิจารณาว่านั่นคือความต้องการอะไรกันแน่ เช่ น คุ ณ อยากจะมี ค วามมั่ น ใจ อยากภู มิ ใ จ ในการแต่งตัวของตัวเอง อยากมั่นใจทุกครั้ง ที่ออกจากบ้าน
4. การขอร้อง มองหาวิธีการว่าเราต้องท�าอย่างไร จึงจะตอบสนองความต้องการนั้นได้ ถ้าคุณ มี ค วามมั่ น ใจในตั ว เอง คุ ณ ก็ จ ะคิ ด ได้ ว่ า ไม่เป็นไร เขาแค่พด ู เล่นหยอกล้อเท่านัน ้ แต่ถา้ คุณขาดความมั่นใจ และก�าลังต้องการได้รับ ความมัน ่ ใจ คุณก็จะหาวิธใี หม่ เช่น ไปบอกกับเขา ตรงๆ ว่าที่พูดมาเมื่อกี้นี้ ท�าให้ฉันรู้สึกแบบนี้ เพราะอะไร และฉันอยากให้คณ ุ ช่วยพูดกับฉัน ดีๆ หน่อย เป็นการสื่อสารเพื่อให้เขาได้รับรู้ รับทราบความต้องการที่แท้จริง
29 ท�าไมคนเราจึงขาดทักษะในการสือ ่ สาร พู ด คุ ย และส่ ว นใหญ่ เ ราใช้ ว าจา ท�าร้ายกัน เพราะเราอยู ่ ใ นวั ฒ นธรรมความรุ น แรง ทีส่ งั่ สมมายาวนานหลายพันปี ตลอดประวัตศิ าสตร์ มนุษยชาติ เราสามารถกลับไปสูส่ ภาวะดัง้ เดิมทีแ่ ท้จริง คือสภาวะทีไ่ ม่มใี ครคิดอยากไปท�าร้ายคนอืน่ ทัง้ กาย วาจา และใจ หลักการของ NVC มีอยู่ 4 ขั้นตอน 1. การสังเกต 2. การรูส้ กึ 3. หาความต้องการทีแ่ ท้จริง และ 4. การขอร้อง ความรุนแรงในการสื่อสาร ส่วนใหญ่เกิดจากปฏิกริ ยิ าทีเ่ ราอยากจะตอบโต้ทนั ที ทันใด เราไม่ทันคิดว่าพูดแบบนั้นไปเพราะอะไร เมื่อรับรู้อะไรเข้ามา เราก็แสดงออกไป พอเราอยาก จะไปกล่าวว่าใคร อยากจะแซวใคร ก็ย้อนกลับมา พิ จ ารณาตั ว เอง ฉั น เห็ น อะไร ฉั น ได้ ยิ น อะไร ยกตัวอย่าง ฉันเห็นน้องคนนัน้ ตัวอ้วนมาก ฉันอยาก จะแซวเขา ต้องพิจารณาตัวเองว่าฉันก�าลังรูส้ กึ อะไร อยู่ ฉันเห็นคนอ้วนแล้วรู้สึกอึดอัด รู้สึกอับอาย ตลกขบขัน แท้จริงแล้วสิง่ ทีต่้ อ้ งการก็คอื การยอมรับ ฉันไม่อยากอ้วนแบบนัน้ เพราะถ้าฉันอ้วน เพือ่ นก็คง เกลียดฉันเหมือนกัน ดังนั้น เราจึงไปแซวคนอื่น แกล้งเขา เพราะข้างในใจเราเพียงแค่การยอมรับ จากคนอื่น แล้วจะท�าอย่างไรให้ได้รับการยอมรับ ถ้าไปแซวเขา แกล้งเขา เราจะได้รบั การยอมรับจริงหรือ หรืออาจจะเลือกใช้วิธีอื่น คนทีไ่ ปบูลลีคนอืน่ เป็นคนทีค่ วามต้องการลึกๆ ในใจของเขาไม่ได้รบั การตอบสนอง ถ้าเขาไม่กลับมา ดูตัวเองให้ดีว่าฉันต้องการอะไร และฉันมีวิธีอื่น ให้ เ ลื อ กอี ก ไหม ฉั น ก็ ยั ง จะไปบู ล ลี ต ่ อ ไปเรื่ อ ยๆ มาร์แชล โรเซนเบิรก์ ไปสัมภาษณ์ฆาตกรในคุก เขา พบว่า ในอดีต ชีวติ ตัง้ แต่เด็ก เคยโดนกระท�ารุนแรง มาก่อน ซ�้าแล้วซ�้าอีก เขาจึงเรียนรู้แต่วิธีใช้ความรุนแรงเท่านั้นเพื่อเติมเต็มสิ่งที่ต้องการ เขาไม่เคยรู้ วิ ธีอื่ น อี ก เลยว่ า จะช่ ว ยตอบสนองได้ เ หมื อ นกั น บางคนถึงขั้นว่าไม่รู้เลยว่าตัวเองก�าลังรู้สึกอย่างไร เพราะเขาโดนกระท�ารุนแรงมามากจนต้องปกป้อง ตัวเอง เก็บกดความรูส้ กึ และตัดขาดจากความรูส้ กึ ไปเลย ไม่สามารถสัมผัสกับหัวใจของตัวเองเลย เขาจึงฆ่าคนอื่นได้โดยไม่รู้สกึ รู้สาอะไร มีโรงเรียนแห่งหนึ่งมีหลักสูตรน่าสนใจ เขา รณรงค์ Stop Bullying Start Emphatizing คือไม่ใช่ เพียงแค่หยุดการท�าร้ายกันอย่างเดียว แต่เขาสร้าง ทางเลือกให้กบั เด็กนักเรียนด้วย ว่าเด็กควรพัฒนาทักษะ ในการเข้าอกเข้าใจคนอื่น ทุกคนในโรงเรียนรู้เรื่อง บูลลีกนั หมด ครูสามารถหยุดการแกล้งกัน และเด็ก เข้าใจถึงความเจ็บปวดหรือโกรธแค้นของเพื่อนได้ เหมือนกับว่าสิ่งที่เราขาดพร่องที่สุด และเราต้องการมากที่สุดก็คือการเข้าอกเข้าใจคนอื่น และการยอมรับ จากคนอื่น ทุกคนขาดแคลนสิ่งนี้ ความรู้สึกว่าตัวเอง ได้รบั ความเข้าใจ เรามักจะต้องการคนมารับฟัง และ เข้าใจตัวเราอย่างทีเ่ ป็นตัวเราจริงๆ เท่าทีผ่ า่ นมาจาก การสอน NVC มาสิบกว่าปี เห็นชัดเจนว่าเมื่อคน ได้รับความเข้าใจไปแล้ว เขาก็ยังรู้สึกต้องการอีก ต้องการอีก มันยังไม่พอ นีค่ อื สิง่ ทีเ่ ราก�าลังขาดแคลน มาก ส�าหรับบางคนทีม่ คี วามเข้าใจ เขามักจะเกิดมา ในครอบครัวที่พ่อแม่รับฟังและยอมรับ ท�าให้เขา เข้าใจตัวเอง คนเหล่านี้มวี ิธีการดูแลตัวเองได้ดกี ว่า เปรียบเหมือนมีถังออกซิเจนในการด�าน�้า ถ้าเกิด ออกซิเจนในถังหมดไป เราก็ตอ้ งดิน้ รนขวนขวาย แต่ ถ้าเรารู้วธิ ีเติมออกซิเจนตัวเองได้ตลอดเวลา ถึงแม้ ไม่มีคนมาสนใจเราหรือไม่มีใครยอมรับเรา เราก็ ยอมรั บ ตั ว เองได้ นี่ คื อ คนที่ สุ ข ภาพจิ ต ดี ที่ สุ ด สามารถไปอยูใ่ นสถานการณ์ทถี่ กู ท�าร้ายแล้วเรายิม้ กลับไปให้เขาได้ คนส่วนใหญ่ไม่รู้วิธีเติมออกซิเจน พ่อแม่ก็เติมไม่เป็น พอพวกเขามีลูก ก็ไม่รู้วิธีเติม ให้ลูกอีก อาจจะใช้วาจารุนแรง แม้ข้างในใจจะรัก ลูก แต่เขาไม่รู้วธิ ี ลูกก็จะได้รบั แต่วิธีรุนแรงไป
ความเข้าใจกันและกันได้ขาดหายไป จากใจเราตั้งแต่เมื่อไหร่ ไม่ใช่แค่หายไปจากสังคมในทุกวันนี้ มันหาย ไปเจ็ดพันปีแล้วตั้งแต่ท่ีมนุษย์เริ่มใช้ความรุนแรง ต่อกัน มนุษย์เริม่ สร้างอาวุธมาเข่นฆ่ากัน ก่อนหน้านัน้ เขาไม่พบว่ามนุษย์ใช้ความรุนแรง แค่ช่วงเจ็ดพันปี มานี้เองที่มนุษย์ใช้ความรุนแรง เริ่มมีหลักฐานเป็น ภาพศิลปะสมัยกรีกหรือโรมัน แสดงถึงการใช้ความรุ น แรงมากขึ้ น มนุ ษ ย์ ก ่ อ นนั้ น อยู ่ กั บ ความรั ก ความงาม และธรรมชาติ นักประวัตศิ าสตร์ถกเถียง กันมานานถึงจุดเปลีย่ นในตอนนัน้ แต่กย็ งั หาข้อสรุป ไม่ได้ เพียงแต่พบว่าในจุดนัน้ มนุษย์เริม่ มีอาวุธ และ เริม่ มีการแบ่งชนชัน้ มีคนทีเ่ หนือกว่าคนอืน่ มีคนต�า่ กว่า พวกชนชัน้ บนก็เริม่ สะสมเงินทอง สะสมอาหาร สะสมอาวุธ ท�าให้เกิดความแตกต่างระหว่างชนชัน้ มากขึ้นเรื่อยๆ และกลายเป็นความขัดแย้งรุนแรง ในสังคมทีม ่ รี ะดับชนชัน ้ ชัดเจน อย่าง ในที่ท�างาน สมมติเราเป็นพนักงาน บริษัท เราต้องการความเข้าใจและ ยอมรั บ แต่ ก ลั บ เจอหั ว หน้ า หรื อ เพื่อนร่วมงานที่ไม่ดีกับเรา เราจะท�า อะไรได้บ้าง การท�างานไม่ใช่เพื่อมีชีวิตรอดอย่างเดียว แต่ต้องท�าให้ชวี ติ มีความสุขด้วย ท�างานแล้วมีพลัง อันดับแรกคือต้องเลือกที่ท�างาน ตอนนี้มีทางเลือก มากมาย มีกลุ่มคนที่สร้างองค์กรแบบทางเลือก มีเป้าหมายเป็นแฮปปีเ้ วิรก์ เพลซ การเลือกงานทีเ่ งินดี หรือมีชื่อเสียง บ่อยครั้งที่เราจะผิดหวังหรืออกหัก กลับมา ดังนั้น อันดับแรกเลยคือคุณเลือกสภาพแวดล้อมทีค่ ณ ุ ต้องการ อันดับต่อมา ถ้าเข้าไปท�าแล้ว เจอปัญหาต่างๆ ก็กลับมาใช้วธิ กี าร NVC โดยสังเกต รูส้ กึ หาความต้องการ และร้องขอ คุณรูส้ กึ อะไรและ ต้องการอะไร หลายคนไม่เคยถามค�าถามนี้ แล้วมี ปฏิกิริยาโต้ตอบโดยอัตโนมัติกับปัญหาในที่ทา� งาน พอไม่ชอบใครก็วา่ กล่าว หรือถ้าไม่กล้าพอก็หลบหนี ไปเลย วิธกี ารทีเ่ ป็นทางเลือกได้ดกี ว่า คือเราจะไม่สู้ และเราจะไม่หนี เพราะการสู้และการหนีไม่ได้ช่วย ตอบสนองความต้องการลึกๆ ของเราอยูด่ ี แต่ให้เรา กลับมาถามตัวเองว่ารูส้ กึ อะไร และเราต้องการอะไร เช่น คุณรู้สึกอึดอัดกับค�าพูดของหัวหน้าทุกวันๆ แล้วแท้จริงคุณต้องการอะไร คุณอาจจะต้องการ ความเคารพ คุณต้องการการสนับสนุนช่วยเหลือ พอจับความต้องการนีไ้ ด้กห็ าทางเลือกทีจ่ ะลงมือท�า เพื่อแก้ไข มันจะเป็นทางเลือกที่แตกต่างจากเดิม คุณสามารถบอกหัวหน้างานให้เขารับรู้ มีความเป็นไปได้ท่จี ะคลีค่ ลายด้วยดี การร้องขอสิง่ ทีต ่ อ ้ งการ บางทีอาจจะ ขึ้ น อยู่ กั บ ความมั่ น ใจในตั ว เองด้ ว ย ถ้าใครไม่มน ั่ ใจในตัวเอง ก็ไม่กล้าทีจ ่ ะ ร้องขอ ใช่เลย นัน่ ถือเป็นเรือ่ งความฉลาดทางอารมณ์ ซึง่ ระบบการศึกษาของเราไม่ค่อยสอนเรื่องนี้ เรา เรียนแต่วชิ าการ แต่เราไม่เรียนวิธกี ารจัดการอารมณ์ ตัวเอง หลายประเทศมีการศึกษาสมัยใหม่เริม่ สอน เรื่องนี้ พัฒนาอีควิ ไปควบคู่กบั ไอคิว ตัง้ แต่ฝึกสอน NVC มา พบว่าเด็กเรียนรูแ้ ละน�าไปปฏิบตั ไิ ด้เร็วกว่า ผู้ใหญ่ แต่ไม่สายเกินไป อีคิวพัฒนาได้มากกว่า ไอคิวด้วยซ�า้ ไอคิวมีข้อจ�ากัดในการพัฒนา แต่อคี วิ พัฒนาขึน้ ไปได้เรือ่ ยๆ การสือ่ สารอย่างสันติกค็ อื ฝึก อีคิวแบบหนึ่งเหมือนกัน 1. คุณมีแรงบันดาลใจไหม ถ้าคุณมีแรงบันดาลใจ คุณก็สามารถเปลีย่ นแปลงชีวติ ของคุณ ไม่อยากมีความมัน่ ใจในตัวเองต�า่ เพราะเป็นแบบนี้ มาหลายปีแล้ว รู้สึกว่ามันท�าให้ชีวิตและการงาน ไม่ดีเลย ดังนั้น คุณเริ่มหาแรงบันดาลใจ อยาก เปลี่ ย นไปเป็ น คนแบบไหน คนแบบที่ ว ่ า ตื่ น มา ตอนเช้าแล้วอยากลุกจากเตียง มีความกระตือรือร้น
ที่ จ ะไปที่ ท� า งาน แรงบั น ดาลใจเป็ น จุ ด เริ่ ม ต้ น ขับเคลือ่ นคุณ 2. มีเพือ่ นทีเ่ ข้าอกเข้าใจ ถ้าเราฝึกอยูค่ นเดียว เวลาไปอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่มีใครสนใจเรื่องนี้ เช่น ในที่ท�างานไม่มีใครมาพูดจาดีๆ มาเรียนรู้ ความต้องการและหาทางเลือกด้วยกันเลย เราฝึกไป วันสองวันก็ไม่เวิร์ก ไม่ได้ผล ดังนัน้ การฝึก NVC จึง ต้องมีคู่หู อาจจะเป็นเพือ่ นร่วมงาน หรือเพือ่ นสนิท ที่โทร.หากันได้ตลอดเวลา เวลาคุยกับหัวหน้างาน แล้วหัวหน้าไม่เข้าใจเราเลย เราโทรศัพท์ไปหา คู่หูเรา เขาให้ความเข้าใจเราได้ ก็เหมือนการเติม ออกซิเจนให้เราได้เพียงพอ เรามีความมัน่ ใจของเรา และเราไม่ไปท�าลายความมัน่ ใจของใคร 3. ลงมือฝึกฝนตลอดเวลา ไม่ว่าจะเกิด เหตุการณ์อะไรขึ้นที่ออฟฟิศ คุณอยากจะลาออก ให้มนั รูแ้ ล้วรูร้ อดไปเลย คุณจะหยุดคิด สังเกตตัวเอง พิจารณาความรู้สึก ค้นหาความต้องการที่แท้จริง แล้วก็อาจจะค้นพบทางเลือกอื่นในการตอบสนอง ความต้องการนัน้ วิ ธี ก าร NVC จะได้ ผ ลจริ ง แค่ ไ หน ในขณะที่คนอื่นๆ ส่วนใหญ่ในสังคม ยังไม่เข้าใจ และใช้ความรุนแรงอยู่ ในช่ ว งที่ สั ง คมไทยมี ค วามขั ด แย้ ง ทาง การเมืองหนักๆ ก็เคยน�า NVC เข้าไปใช้ในทีช่ มุ นุม ช่วยให้บรรดาผู้มาชุมนุมลดความรุนแรงลง แต่ใน การแก้ไขปัญหาใหญ่ระดับโครงสร้าง การสอนเรือ่ ง ความเข้าอกเข้าใจจะต้องด�าเนินไปควบคู่กับการด�าเนินการแก้ไขปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพด้วย ความเข้าใจอย่างเดียวจะช่วยไม่ได้ เพราะคนรู้สึก ไม่พอ ไม่พอตลอดเวลา มันคือสิง่ ทีเ่ ราขาดมากทีส่ ดุ ดังนัน้ เราต้องแก้ไขปัญหาไปด้วย ในความขัดแย้ง ทางการเมือง เรามักจะด่าคู่ตรงข้ามกับเราแรงๆ ฝ่ายตรงข้ามได้ยนิ ได้ฟังแล้วแบบ โอ้โฮ ฉันไปดีกว่า มันก็ไม่ได้น�าไปสู่การแก้ไขอะไรเลย แต่ถ้าคุณมี ความสามารถในการสื่อสาร คุณเข้าใจเขา รับรู้ ความต้องการของเขา และรูว้ า่ ความเชือ่ ความคิดเห็น หรือแนวทางแก้ไขปัญหาของคุณ ช่วยตอบสนอง ความต้องการของเขาได้ เมือ่ พูดออกไปดีๆ นัน่ คุณ อาจจะได้ความร่วมมือกลับมามากขึน้ ในสังคมที่ผู้คนกระท�ารุนแรงต่อกัน มีการบูลลีกัน มันจะส่งผลต่อเราใน ฐานะของอืน ่ ทีไ่ ม่ได้เกีย ่ วข้องด้วยไหม ความรุนแรงส่งผลต่อทุกคน ถึงแม้เราเป็น แค่คนเห็นเหตุการณ์ก็รู้สึกแย่ไปด้วย เช่น เห็นคน ก� า ลั ง โจมตี กั น ทางออนไลน์ คุ ณ สามารถเขี ย น ความเห็นของคุณเข้าไป บอกว่าคุณรู้สึกอย่างไร คุณต้องการอะไร คุณอยากใช้โซเชียลมีเดียอย่าง มีความสุข คุณร้องขอออกไป ขอให้ลบโพสต์นี้ แล้ว อย่าโพสต์แบบนี้อีก หลายคนไม่รู้วิธี ก็ปล่อยผ่าน ไปหรืออาจจะอันเฟรนด์กนั ไปเลย แต่ถา้ คุณรูว้ ธิ กี าร พูดคุยกันดีๆ สังคมโดยรวมก็จะดีขน้ึ หรือถ้าเห็นการบูลลีในโลกแห่งความจริง มีเด็กตัวใหญ่ก�าลังแกล้งเด็กตัวเล็กกว่า คุณก็ควร เข้าไปหยุดเหตุการณ์ หลักคือคุณต้องไม่ไปหยุด โดยใช้ความรุนแรงใส่เข้าไปอีก คือคุณจะไม่ลงโทษ เด็กที่แกล้งเพื่อน เพราะนั่นก็จะยิ่งตอกย�้าให้เขามี พฤติกรรมรุนแรงต่อไป แถมยังท�าให้เด็กทีถ่ ูกแกล้ง รู ้ สึ ก สะใจและอยากใช้ ค วามรุ น แรงตอบโต้ บ ้ า ง ในโอกาสต่อไป มันกลายเป็นวงจรของความรุนแรง เราสามารถหยุดความรุนแรงโดยการปกป้องทั้ง สองฝ่าย บอกให้สองฝ่ายพูดกันดีๆ ลองเอาใจเขา มาใส่ใจเรา ถามเขาว่าถ้าคุณถูกบูลลีบ้างจะรู้สึก อย่างไร จริงๆ แล้วคุณต้องการอะไร และมีทางเลือก อืน่ อีกไหมทีจ่ ะตอบสนอง ลองคิดดูวา่ ถ้ามีทางเลือก อื่นที่ตอบสนองความต้องการได้ โดยที่ไม่ต้องใช้ ความรุนแรง ใครจะยังอยากใช้ความรุนแรงอยูอ่ กี ล่ะ
a day BULLETIN
30 HOW TO DEAL WITH
BULLYING IN SCHOOL AND WORKPLACE ผศ. อรรถพล อนันตวรสกุล อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
issue 542
ความเห็ น ของ ‘อาจารย์ ฮู ก ’ - ผู้ ช่ ว ย ศาสตราจารย์ อรรถพล อนันตวรสกุล สาขา วิ ช าการสอนสั ง คมศึ ก ษา คณะครุ ศ าสตร์ จุ ฬ าลงกรณ์ ม หาวิ ท ยาลั ย กลายเป็ น ไวรั ล ในโซเชียลมีเดียบ่อยครั้ง เพราะเขาน�ากรอบ แนวคิ ด ทางวิ ช าการมาประยุ ก ต์ เ พื่ อ เป็ น ค�าอธิบายให้กบ ั ปรากฏการณ์ตา่ งๆ ทางสังคม ความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี การเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมร่วมสมัย ฯลฯ ความรุนแรงในกลุม ่ เด็ก การกลัน ่ แกล้ง รังแกกัน (Bullying) ทั้งภายในโรงเรียนและ บนโลกออนไลน์ ก็เป็นอีกหนึ่งของปัญหาใน สังคมร่วมสมัย เมือ ่ โลกทัง ้ หมดมาซ้อนทับกัน จะยิ่ ง ท� า ให้ เ ด็ ก รุ่ น ใหม่ ต้ อ งเผชิ ญ หน้ า กั บ ปัญหานี้หนักขึ้นเรื่อยๆ อ า จ า ร ย์ ฮู ก ม า ช่ ว ย บ อ ก เ ล่ า ถึ ง ประสบการณ์ชีวิตและการท�างาน ตั้งแต่ช่วง การเรียนในประเทศญี่ปุ่น มาจนถึงบทเรียน สหวิทยาการจากนักวิชาการหลากหลายแขนง น� า มาใช้ ห าหนทางให้ เ รามี รู ป แบบการเรี ย น การสอนและระบบการศึ ก ษา ที่ เ อื้ อ ให้ เ ด็ ก นั ก เรี ย นมี ค วามเคารพและภาคภู มิ ใ จในตน (Self-esteem) และการตระหนั ก รู้ ใ นตน (Self-actualization) มากขึ้น ท่ามกลาง สั ง คมที่ ยั ง เป็ น อ� า นาจนิ ย มและเผด็ จ การ อย่างสูง
11 JUN 2018
31 TOOLS ห้องเรียนในปัจจุบน ั เป็นทีซ่ งึ่ วัฒนธรรม อ�านาจท�างาน ครูจะสัง ่ การแบบ top-down ลงมาสูเ่ ด็ก มันส่งต่อออกมาในทุกทีข่ องสังคม ผูอ ้ า� นวยการโรงเรียนสัง่ ครู แล้วครูกก ็ ลับมา สั่งนักเรียน โรงเรียนเป็นแบบจ�าลองของ สั ง คมข้ า งนอก การใช้ อ� า นาจที่ เ ห็ น ใน โรงเรี ย น เราก็ เ ห็ น ว่ า มี ใ นโลกภายนอก ทั้งหมด เราจึงยอมท�าตามค�าสั่ง และเรา ไม่ค่อยมี self-esteem และ self-actualization เราต้องออกแบบการศึกษาแบบใหม่ ให้ ค วามสั ม พั น ธ์ เ ชิ ง อ� า นาจเป็ น แนวราบ มากขึ้น มีการกระจายอ�านาจมากขึ้น ให้เกิด การท�างานข้ามไปมาได้ ตอนนีม ้ ก ี ารน�าแนวคิดโรงเรียนแบบ ญี่ปุ่นมาใช้ เรียกว่า School as Learning Community (SLC) ซึ่งเชื่อมโยงกับแนว ปรัชญาว่าด้วยคุณค่าของมนุษย์ เราใช้วิธี จับกลุ่มนักเรียน 4 คน และใน 4 คนนี้ยัง แบ่งย่อยลงไปอีกเป็น 2 คู่ โดยคุณครูจะจัด ให้ แ ต่ ล ะกลุ่ ม มี เ ด็ ก เรี ย นเก่ ง -ปานกลางอ่อ น เพื่อให้พวกเขาดูแลกันและเรียนรู้ไ ป พร้อมกัน เพื่อให้เด็กรู้สึกว่าเพื่อนกันไม่ทิ้ง กัน และเรามีอะไรช่วยคนอื่นได้ เหมือนการท�างานแบบมีบัดดี้ ไม่ปล่อยให้ใครอยู่อย่าง ล�าพังในห้องเรียน โดยในห้องเรียนมีขนาด 30-40 คนรวมกัน เพียงแต่แบ่งออกเป็น กลุม ่ ย่อยในนัน ้ ลักษณะเหมือนตาข่ายสังคม จุ ด เริ่ ม ต้ น ของวิ ธี ก ารนี้ ก็ ม าจาก ปัญหาความรุนแรงในโรงเรียน เขาพยายาม ออกแบบโรงเรี ย นให้ เ ป็ น พื้ น ที่ ป ลอดภั ย ด้วยการแบ่งย่อยให้เด็กจับกลุม ่ เล็กลง ถ้าเด็ก รวมกันเป็นกลุ่มใหญ่ อาจจะมีเด็กบางคน ตกเป็นเหยื่อของทั้งหมด เขาก็แบ่งย่อยให้ เด็กช่วยเหลือกัน สนิทกัน เราน�าวิธีการนี้ ไปทดลองกั บ โรงเรี ย นพุ ท ธจั ก รวิ ท ยา ได้พบเห็นเรื่องราวดีๆ มากมาย มีเด็กพิเศษ คนหนึ่งจับคู่กับเพื่อนเป็นเด็กตัวโตมากเลย แล้วค�าถามคือ เด็กตัวโตจะแกล้งเด็กพิเศษ ไหม ปรากฏว่านอกจากจะไม่แกล้งแล้ว เขายัง ช่วยปกป้องคุม ้ ครอง และช่วยสอนเวลาเพือ ่ น ท�าไม่ได้ ขณะเดียวกันก็มีระบบเปิดชั้นเรียน (Open Classroom) ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเข้ามา เรียนรู้จากกิจกรรมในชั้นเรียนได้ ห้องเรียน ไม่ได้เป็นพื้นที่ของครูที่จะใช้อ�านาจกับเด็ก แต่ เ ป็ น คนทุ ก คน โดยมี จุ ด สนใจหลั ก ที่ การเรียนรู้ของเด็กๆ วิธีการแบบนี้เป็นการจัดการอ�านาจ ในห้องเรียนแบบใหม่ ไม่ปล่อยให้ใครอยู่บน สุด ไม่ท�าให้เกิดยอดพีระมิด ท�าให้ทุกคนอยู่ แนวราบร่วมกัน มันคือปรัชญาประชาธิปไตย คือมองเห็นคุณค่าทุกคนเท่าเทียม และน�าไป สู่การร่วมมือท�างานกัน เด็กกับเด็ก เด็กกับ ครู ครู กั บ ครู เป็ น รู ป แบบความสั ม พั น ธ์ ที่แตกต่างออกไป
ตอนนีม ้ ห ี ลักสูตรอบรมครูเพือ ่ เตรียม รับมือกับความรุนแรงของเด็กหรือยัง ยังไม่มีตรงๆ แต่ปัญหานี้เริ่มมีการพูดถึง มากขึน้ เรือ่ ยๆ เรามีสาระความรูน้ อ้ี ยูใ่ นเรือ่ งจิตวิทยา การเรียนรู้ ซึ่งพูดถึงการสร้างปฏิสัมพันธ์เชิงบวกใน ห้องเรียน และมีนิสิตของผมหลายคนไปท�างาน ฝึกสอน แล้วมีประสบการณ์เรื่องนี้มาแชร์ให้ฟัง เด็กผูห้ ญิงถูกแอบถ่ายคลิป เด็ก LGBT ถูกเพือ่ นผูช้ าย แกล้ง กรณีพวกนีม้ เี ยอะมาก เรามีชดุ ความรูจ้ ากทาง รัฐศาสตร์ เรียกว่า กระบวนการยุติธรรมสมานฉันท์ (Restorative Justice) น�ามาประยุกต์ใช้กับปัญหา ความขัดแย้งของเด็ก อาจจะไม่ได้แก้เรื่องการกลั่นแกล้งกันโดยตรง แต่แก้ความขัดแย้งของคู่กรณี หาวิธกี ารให้ผกู้ ระท�าและเหยือ่ มาหาทางออกร่วมกัน เช่น เด็กคนนีไ้ ปแกล้งเด็กคนนี้ แทนทีเ่ ราจะ ตัดสินลงโทษผู้กระท�าไปเลย เราก็พาทุกคนมานั่ง คุยกัน โดยเชิญพ่อแม่มาด้วยเพือ่ รับรู้ เราเปิดโอกาส ให้คนตกเป็นเหยือ่ บอกเล่าให้ฟงั ว่าในมุมมองของเขา เขารับรู้เรื่องนี้อย่างไร รู้สึกอย่างไร และให้โอกาส ผู้กระท�าได้พูดบ้าง ว่าเหตุผลที่คุณแกล้งเขานั้น เพราะอะไร พอทุกฝ่ายได้พดู ออกมา เขาได้เข้าใจว่า เพื่อนรู้สึกอย่างไร แล้วเขาเองคิดอย่างไร พ่อแม่ สองฝ่ายได้มาร่วมกันฟัง เพื่อนที่อยู่ในเหตุการณ์ ก็มาร่วมด้วย พวกเขาคิดอย่างไร ทุกคนมาร่วมกัน หาทางออก มีข้อตกลงร่วมกัน (Consensus) นี่คือ ปัญหาของชุมชนเรา เราจะร่วมกันแก้ไขอย่างไรดี ชุดความรู้นี้มาจากชนเผ่าดั้งเดิมอย่างชาว อินเดียนแดงและชาวเมารี โรงเรียนในอเมริกาและ นิวซีแลนด์น�ามาประยุกต์ใช้ เมื่อเขามีปัญหาเด็ก ระหว่างเชื้อชาติและสีผิว กระบวนการยุติธรรม สมานฉันท์เป็นการคืนอ�านาจให้ทุกคนตระหนักว่า คุณส�าคัญ เสียงคุณส�าคัญ รับประกันว่าตอนนีท้ กุ คน ได้รบั รูร้ บั ทราบเสียงของคุณแล้ว หลักการเดียวกันนี้ น�าไปใช้กบั ปัญหาความขัดแย้งระดับโลก ระดับประเทศ เรือ่ งเชือ้ ชาติ สีผวิ เช่น เป็นส่วนหนึง่ ของกระบวนการ เยียวยาหลังการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในรวันดา วิธกี ารแบบนีอ้ าจจะไม่ได้แก้ปญ ั หาโดยตรง เพราะมั น ไม่ ใ ช่ ก ระบวนการลงโทษ แต่ ถื อ เป็ น การสร้างวัฒนธรรมใหม่ในโรงเรียน ท�าให้คนฟังกัน และคืนความสัมพันธ์เชิงบวกให้เกิดขึ้นในโรงเรียน เมื่อสิบปีที่แล้วเราน�าเรื่องนี้ไปคุยกับหลายโรงเรียน แต่ไม่ค่อยได้ผลสักเท่าไหร่ เพราะครูยังไม่เข้าใจ ไม่ให้ความส�าคัญ เขามองว่าก็เชิญพ่อแม่มาแล้ว เรียกเด็กมาลงโทษแล้ว เด็กก็เข็ดหลาบไปแล้ว ท�าไมยังต้องท�าอะไรมากมายขนาดนั้น แต่ปัญหา ความรุนแรงก็ยังไม่จบ เขาไม่แกล้งกันที่โรงเรียน เขาก็ไปแกล้งที่อื่นได้อีก เด็กไทยกลัน ่ แกล้งรังแกกันเหมือนกับ ทีเ่ ราเห็นในเมืองนอกหรือเปล่า อย่างใน ภาพยนตร์เรื่อง All About Lily Chou Chou มี แต่ระดับคงไม่หนักเท่า เพราะบ้านเราไม่มี พฤติกรรมรวมหมู่แบบ Collective Behavior มาก เหมือนญีป่ ่นุ บ้านเรา make fun กันแล้วก็ไม่เอาจริง เอาจังกับมันมากนัก แต่ญปี่ นุ่ นัน่ คือเขาบูลลีกนั หนัก เลย เป็นพยาธิสภาพทางสังคมของสังคมทีม่ คี วามเป็น กลุม่ ก้อนมากๆ บ้านเราก็เริม่ มีบา้ งแล้ว มีขา่ วว่าเด็ก ฆ่าตัวตายเพราะโดนเพื่อนที่โรงเรียนรุมบอยคอต การโดนแซงชันออกมาท�าให้รสู้ กึ ว่าตัวเองไม่มเี พือ่ น ตอนนี้ โ ลกความจริ ง กั บ โลกเสมื อ นซ้ อ นทั บ กั น เพือ่ นออนไลน์แกล้ง แล้วโดนเพือ่ นในโลกจริงเพิกเฉย เด็กผูช้ ายเขียนจดหมายลาตายเมือ่ หลายเดือนก่อน แต่ผมคิดว่าสังคมญีป่ นุ่ หนักกว่า โดยเฉพาะ พวกเด็กลูกครึง่ หรือเด็กทีย่ า้ ยไปอยู่ ญีป่ นุ่ เป็นสังคม ระบบกลุม่ ทีเ่ ข้มแข็งมากๆ ใครไม่ได้อยูใ่ นกลุม่ จะรูส้ กึ แย่ไปเลย อย่างตอนที่ผมไปเรียนอยู่ประเทศญี่ปุ่น ปีครึง่ ผมยังรูส้ กึ ว่าไม่ได้เป็นกลุม่ เป็นก้อนกับพวกเขา เลย ขนาดผมเป็นเด็กเอเชียที่เข้าไปเรียนใกล้ชิดกับ เพื่อนและอาจารย์ พวกเขาไม่ได้กลั่นแกล้งรังแก แต่เขามีชนั้ ในการเข้าถึง อย่างตอนปาร์ตกี้ นั เขาก็จะ เชิญเราไปร่วมด้วยตอนหัวค�า่ พอจบงานก็แยกกันไป แต่เราก็เห็นว่า อ้าว เขาไปปาร์ตที้ ไี่ หนกันต่อ แต่เขา ไม่เชิญเรา มีแต่เด็กญี่ปุ่นด้วยกันเท่านั้น จนต้อง ค่อยๆ เรียนรู้ว่านั่นเป็นเรื่องวัฒนธรรม ไม่ใช่การบอยคอตเพื่อแกล้งกัน ล่าสุดตอนนี้ที่มีข่าวว่าเด็ก จากฟุกชุ มิ ะ ทีโ่ รงไฟฟ้านิวเคลียร์รวั่ ไหลเมือ่ หลายปี ก่อน ถ้าย้ายบ้านย้ายโรงเรียนไปอยู่ที่ไหน เขาจะ โดนเพื่อนบอยคอต โดนแกล้งจนอยู่ไม่ไหว วัฒนธรรมการรับน้องในมหาวิทยาลัย ถือเป็นการบูลลีหรือเปล่า บูลลีแน่นอน มันเป็นการท�าให้รนุ่ น้องอับอาย จนวันสุดท้ายเมือ่ ผ่านพิธกี รรมการเป็นเพือ่ นกันแล้ว
รุ่นพี่รุ่นน้องก็จะกลับมากอดคอเฮฮากัน แต่ถ้าใคร ไม่ยอมมาเข้าพิธีกรรมนี้ก็จะถูกกลุ่มกีดกันออกไป เป็ น การบู ล ลี กั น ทั้ ง ในช่ ว งเทศกาลรั บ น้ อ งและ ทัง้ วัฒนธรรมกลุม่ โดยรวม อย่างในคณะทีผ่ มเรียนจบ และท�างานอยู่ ประเพณีการรับน้องก็หายไปเยอะแล้ว เพราะมันผ่านการถกเถียงกันมานาน ถ้าเป็นเด็กพละ ดนตรี ศิลปะ ยังคงมีว้ากอยู่ พละต้องว้ากกันทุกปี เพราะอ้างว่าเป็นครูสอนกีฬาต้องเน้นการเป็นทีมเวิรก์ สาขาดนตรีก็ยงั มีอยู่ เขาอ้างว่าถ้าไม่ว้ากเขาจะคุม การซ้อมเป็นวงไม่ได้ ซึง่ มันเป็นความเชือ่ ผิดๆ มีเด็ก บางคนไม่ยอมเข้ารับน้องก็มี ช่วงแรกๆ เขาก็โดน เพื่อนแซงชัน แต่พอต้องมานั่งเรียนกันทุกวัน หรือ ไปเล่นในวงซียูแบนด์ด้วยกัน หลังๆ สถานการณ์ก็ ค่อยดีขนึ้ เพราะเด็กจะค่อยๆ เรียนรูว้ า่ เขาเป็นเพือ่ น ที่ดี เป็นคนช่วยเหลือเพื่อน ตอนช่วงเปิดเทอมที่มี รับน้องกัน เขาก็จะหายๆ ไป จนพอจบช่วงรับน้อง เขาก็กลับมาอยู่กบั เพือ่ น แล้วทุกคนก็เป็นเพือ่ นกัน ปกติ ซึง่ แบบนีผ้ มก็วา่ ยังดี นอกจากนีย้ งั มีบางสาขา ทีย่ งั มีวา้ ก คือเป็นสาขาทีม่ นี สิ ติ ทีเ่ ป็นเด็กต่างจังหวัด เยอะ เขาต้องมาอยู่หอพักในกรุงเทพฯ ด้วยกัน เป็นเด็กที่มาจากโรงเรียนที่ยังมีการใช้อ�านาจสูง เขาเชื่ อ ว่ า วิ ธีก ารแบบนี้ มั น สร้ า งความเป็ น พวก เดียวกันได้เร็ว ก็ยอมรับสิง่ นัน้ ต่อๆ กันมา ในสังคมทีม ่ ค ี วามเท่าเทียมกัน อย่าง ในอเมริกาหรือญี่ปุ่น ท�าไมกลับยิ่งมี ปัญหาการบูลลี ทุกสังคมมีดา้ นมืดอยู่ ไม่ได้มคี วามเท่าเทียมกัน ร้อยเปอร์เซ็นต์ ถ้าไม่มที ท่ี างให้แสดงออก เขาก็เก็บกด แล้วระเบิดมันออกมา บางทีเรารูอ้ ยูแ่ ล้วว่าอะไรเป็น สิง่ ทีถ่ กู ต้อง แต่อกี ด้านหนึง่ เราก็มคี วามขบถต่อต้าน ด้ ว ย เช่ น สมมติ ว ่ า คุ ณ เป็ น เด็ ก วั ย รุ ่ น ผิ ว ขาว ชาวสแกนดิเนเวียนที่สงบสุข แล้ววันหนึ่งก็พบว่า มีคนต่างชาติอพยพเข้ามาอยู่มากขึ้นๆ คุณจะเริ่ม คิดแล้วว่าคนพวกนีม้ าได้ยงั ไง มาอยู่ประเทศนีแ้ ล้ว กินภาษีพอ่ แม่เราท�าไม คุณก็อาจจะขบถต่อความเชือ่ หลักในสังคม แม้ทกุ คนในสังคมจะเชือ่ ในความเท่าเทียม แต่คุณจะต่อต้านสังคม คุณก็เป็นนาซีใหม่ไป ทัง้ ๆ ทีม่ นุษยชาติได้ผา่ นช่วงเวลาเลวร้ายและได้บทเรียน เรือ่ งนีก้ นั มานานแล้ว อย่างเรือ่ งเหยียดเชือ้ ชาติ หรือ racist ก็คอื เป็นการบูลลีกนั ทีก่ ลายเป็นความรุนแรง ระดั บ เชื้ อ ชาติ ผมมองว่ า การกลั่ น แกล้ ง กั น ใน ห้องเรียน กับเรือ่ งระดับโลกแบบนี้ จริงๆ แล้วมันคือ เรื่องที่มีรากเหง้าทีม่ าปัญหาเดียวกัน นัน่ คือการไม่ เคารพในคุณค่าศักดิศ์ รีความเป็นมนุษย์ของคนอืน่ ในยุ ค ที่ สั ง คมไทยเป็ น เผด็ จ การ มีความไม่เท่าเทียม และมีการใช้อา� นาจ กัน จะท�าให้เด็กที่เติบโตอยู่ในรุ่นนี้ มีแนวโน้มที่จะบูลลีกันมากขึ้นไหม เป็นไปได้อย่างมาก เพราะมันท�าให้วฒ ั นธรรม การใช้ความรุนแรงกลายเป็นเรือ่ งปกติธรรมดา ท�าได้ โดยไม่ผดิ จริงๆ แล้วไม่วา่ จะเป็นสังคมประชาธิปไตย หรือสังคมเผด็จการ ความรุนแรงก็เกิดขึ้นได้ท้ังนั้น เพียงแต่ในสังคมของรัฐเป็นอ�านาจนิยมเผด็จการ ที่การใช้ความรุนแรงกัน เป็นสิ่งที่อนุญาตให้ท�าได้ ท�าอย่างเป็นทางการโดยรัฐเสียด้วย มีให้เห็นในทีวี ในชีวติ ประจ�าวันตามท้องถนน เด็กเติบโตมาก็ซมึ ซับ การพูด การท�าแบบนัน้ ต่างกับในสังคมประชาธิปไตย ที่ให้คุณค่ากับความเท่าเทียมและเป็นธรรม เด็กจะ ซึ ม ซั บ เรื่ อ งคุ ณ ค่ า และศั ก ดิ์ ศ รี ค วามเป็ น มนุ ษ ย์ ในสังคมที่อ�านาจนิยมมันท�างานเวลาเกิดปัญหา กลัน่ แกล้งกัน หรือเด็กมีพฤติกรรมรุนแรงในโรงเรียน พอครูพาเด็กเข้ามาพูดคุย บอกว่าคุณท�าไม่ได้นะ เด็ก ก็จะไม่เข้าใจเพราะว่าเขาเห็นเรือ่ งพวกนีป้ กติธรรมดา ในบ้านเราไม่มีปัญหาเรื่องสีผิวและ เชื้อชาติแบบนั้น แล้วท�าไมเด็กไทย เหมือนกันยังแกล้งกัน เอาง่ายๆ เลยนะ สมัยเด็กๆ ผมก็เคยโดน เพื่อนแกล้ง มาไถตังค์ คือบ้านเราเป็นร้านขายของ ในตลาด เป็นเด็กในตลาด ดูวี่แววว่าบ้านมีตังค์ ในห้องก็จะมีเด็กหัวโจก พอเห็นเราเดินมาคนเดียว ก็ไถตังค์ ตบหัวแล้วเอาเงินไปห้าบาท เด็กถึงแม้จะ ไม่มีปัญหาเรื่องสีผิวหรือเชื้อชาติ แต่เขาก็จะหา วิธีแปะป้ายให้แก่กัน พวกหัวโจกคือเด็กที่อยู่ใน ชุมชน พวกเด็กโดนแกล้งคือเด็กในตลาด ส่วนพวก ที่เป็นลูกต�ารวจทหารพวกนี้จะไม่ค่อยโดนแกล้ง เพื่อนที่เป็นตุ๊ดก็โดนแกล้ง เพื่อนตัวเล็ก ตัวอ้วน ก็จะโดนแกล้ง เพราะเราแปะป้ายกัน การแปะป้าย คือการท�าให้กลายเป็นอืน่ แล้วก็กดขีพ่ วกเขา เรือ่ ง พวกนีเ้ กิดขึน้ ในสังคมทุกระดับ การกระท�ากับคนอืน่ ท�าให้เรารู้สึกว่ามีอ�านาจเหนือกว่า เด็กเรียนไม่เก่ง
ก็อยากจะแสดงอ�านาจเหนือกว่าเด็กเรียนเก่ง เด็ก คนไหนหน้าตาดีเรียบร้อยก็จะโดนแปะป้ายว่าหงิมๆ ถ้าโดนครูชมบ่อยก็จะยิง่ ตกเป็นเป้าให้เพือ่ นหมัน่ ไส้ ธรรมชาติคือเราทุกคนต้องหาทางแสดงอ�านาจให้ เหนือกว่า เราอยูใ่ นบริบทหนึง่ ร่วมกัน แต่เราแต่ละคน ต้องการชดเชยสิง่ ทีข่ าด รูปแบบความสัมพันธ์แบบนีก ้ เ็ กิดขึน ้ ได้ในทุกที่ แม้กระทั่งในที่ท�างาน มีแน่นอน เราอาจจะไม่ได้แกล้งกันแบบเด็กๆ แต่ใช้วธิ เี ลือกปฏิบตั ิ ใช้อคติแบ่งเขาแบ่งเรา คุณเป็น พวกผม คุณเป็นพวกเขา ไม่ถูกชะตากัน ถ้ามีอะไร อย่ามาให้ฉนั ช่วย ผมเคยส่งนิสติ สองคนไปฝึกสอน ในโรงเรียนแห่งหนึง่ เด็กสองคนกลับมาเล่าให้ฟงั ว่า คุณครูของทีน่ น่ั แบ่งออกเป็นก๊ก เด็กสองคนถูกแบ่งไป ท�างานในสองก๊กทีอ่ าจารย์ไม่ถกู กัน ดังนัน้ สองคนนี้ ห้ามคุยกัน เวลาอยูท่ โ่ี รงเรียนสองคนนีจ้ งึ ต้องท�าเป็น ไม่คยุ กัน กลับบ้านจึงจะค่อยคุยกันได้ ในทีท่ า� งาน ทีแ่ ข่งขันกันสูง พนักงานต้องดิน้ รนแย่งชิงต�าแหน่ง ก็จะยิง่ ท�าให้ผคู้ นกระท�ารุนแรงกัน เหมือนกับในเด็กๆ พวกเขาก็ตอ้ งดิน้ รนอยูแ่ ล้ว เพือ่ จะได้รบั การยอมรับ จากเพือ่ น ในสังคมอาจารย์มหาวิทยาลัย จะมี การแข่ ง ขั น กั น เรื่ อ งต� า แหน่ ง ทาง วิชาการไหม มีอยู่แล้ว ขึน้ อยู่กบั ว่าคุณจะเล่นตามเกมนี้ หรือเปล่า ถ้าจะเล่นเกมนีก้ ต็ อ้ งดิน้ รน เช่น มีบางคน ท�างานสอนอย่างหนัก อยู่กบั เด็กอย่างทุ่มเท เด็กๆ ทุกคนรัก แต่เขายังเป็นแค่อาจารย์อยู่ แล้วไปมอง เพือ่ นอาจารย์ว่าท�าไมได้เป็น ผศ. รศ. กันหมดแล้ว ซึง่ จริงๆ แล้วมันอาจจะต้องเป็นแบบนัน้ ก็ได้ ขึน้ อยูก่ บั self-esteem ของคุณ ขึน้ อยูก่ บั เป้าหมายของคุณ ว่านัน่ คือสิง่ ทีค่ ณ ุ ต้องการอย่างแท้จริงหรือเปล่า เมือ่ ก่อน ผมเองไม่เคยแคร์เรือ่ งต�าแหน่งทางวิชาการเลย เพราะ คิดว่าตัวเองมีความสุขกับการสอนหนังสือ แต่พอมา หลังๆ พบว่าการทีเ่ ราเป็น ผศ. โดยยังไม่จบปริญญาเอก และไม่ได้จัดสรรเวลามาท�า รศ. เสียที ต่อให้จบ ปริญญาโทมาสองใบก็ยังมีข้อจ�ากัดในการท�างาน ลูกศิษย์บางคนอยากจะมาเรียนต่อ อยากจะให้ผม คุมวิทยานิพนธ์ ก็ทา� ให้เขาไม่ได้ เพราะไม่มตี �าแหน่ง ข้อจ�ากัดในระดับโครงสร้างก็ทา� ให้เราต้องดิน้ รน และบางทีกน็ า� ไปสูค่ วามขัดแย้งในทีท่ า� งาน การขัดแข้ง ขัดขากัน หรือเป็นการเมืองในออฟฟิศ การแข่งขัน นิดๆ ในออฟฟิศท�าให้บริษทั ตืน่ ตัว แต่ถา้ แข่งขันมาก เกินไป บริษทั อาจจะไปได้เร็วขึน้ แต่คนในออฟฟิศ ไม่มีความสุข ตอนนี้ถึงมีข่าวว่าบุคลากรในแวดวง การศึกษาลาออกไปเยอะ เพราะทุกคนต้องท�างาน หนัก ต้องสอน ต้องท�างานวิชาการ แล้วยังต้องมา ท�างานเปเปอร์เพื่อประเมิน ในสังคมที่มีโครงสร้าง อ�านาจชัดเจน และมีระดับชัน้ ให้ไต่เต้าขึน้ ไปชัดเจน ก็จะยิ่งท�าให้เกิดความรุนแรง ทหารเกณฑ์ถึงได้ โดนบูลลีหนักมากไง เพราะคนท�าทหารเกณฑ์กค็ อื จ่า ซึง่ จ่าก็โดนคนต�าแหน่งสูงกว่าเล่นงานลงมาอีกที ท�าไมเรารูส ้ ก ึ เคยชินกับการบูลลีเหล่านี้ ไปแล้ว การรับน้อง การปัดแข้งปัดขา หรือการกดขี่กันในที่ท�างาน เพราะเราไม่รู้สกึ ตอนรับน้องเราก็ปลอบใจ ตัวเองว่าเป็นการเล่นข�าๆ โดยไม่ได้เอ๊ะกับมันเลย เพราะเพือ่ นทุกคนยอมท�าหมด เราก็ตอ้ งยอมท�าด้วย เพิง่ มาคิดได้ตอนนีว้ า่ ตอนนัน้ เรายอมได้อย่างไร ผมว่า มันขึน้ อยูก่ บั self-esteem ของเรานัน่ แหละ เราจะอยู่ ในสังคมแบบนี้ได้ และรับมือกับความขัดแย้งที่จะ เกิดขึน้ ได้ รวมถึงความขัดแย้งภายในตัวเองด้วยนะ self-esteem คือต้นทุนชีวิตของเราแต่ละคนที่มี ไม่เท่ากัน บวกกับ self-actualization คือการรู้ชดั ว่า ตัวเองต้องการอะไร เมือ่ มีสองอย่างนี้ เราก็จะเป็น ตัวของตัวเอง ไม่เอาตัวเองไปขึน้ กับคนอืน่ เด็กประถมและเด็กมัธยมจะยิง่ ต้องการ selfesteem และ self-actualization เพราะเป็นวัยทีเ่ ปราะบาง เขาต้องการได้รบั การยอมรับจากเพือ่ น มีคา� ถามกับ ความเป็นตัวของตัวเอง เขาต้องอยู่กับกลุ่มเพื่อน และต้องดีลกับอ�านาจในกลุ่ม เขาจะเล่นตามเกม ของกลุ่มหรือไม่ ถ้าไม่ท�าตามแล้วจะเป็นอย่างไร เด็กช่างกลไม่ได้ตอ้ งการจะไปตีกบั ใคร แต่เขาคว้าไม้ ออกไปตีกับคนอื่นเพราะต้องการให้เพื่อนยอมรับ ออกไปเพราะกลัวจะถูกปฏิเสธจากกลุ่ม ในขณะที่ เด็กช่างกลทีไ่ ม่ไปตีกบั ใครก็ยงั มี เป็นเด็กทีร่ วู้ า่ ชีวติ นี้ ต้องการอะไร จะโตขึ้นไปเป็นอะไร พอเลิกเรียนก็ เปลี่ยนเสื้อผ้าแล้วก็กลับบ้านมาช่วยแม่ขายของ เพือ่ นจะปฏิเสธ เพือ่ นจะล้อก็ไม่ว่าอะไร เขาไม่ยอม ตกไปอยูใ่ นภาวะจ�ายอม เพราะเขาเติบโตเป็นผูใ้ หญ่แล้ว
a day BULLETIN
32 HOW TO DEAL WITH
TROLLING AND DRAMA IN SOCIAL MEDIA อภิศิลป์ ตรุงกานนท์ ผู้บริหารพันทิปดอตคอม ครั้ ง หนึ่ ง ผู้ ค นในโลกออนไลน์ ช อบ เรี ย กเว็ บ บอร์ ด พั น ทิ ป ดอตคอมว่ า เป็ น มหานครแห่งดราม่า ตั้ ง แต่ ยุ ค ที่ อิ น เทอร์ เ น็ ต เริ่ ม ได้ รั บ ความนิยมใหม่ๆ ผู้ใช้เริ่มทยอยเข้ามาสัมผัส โลกแห่งนี้ และใช้ประโยชน์จากชุมชนเสมือน ให้เป็นแหล่งในการพบปะสร้างความสัมพันธ์ และแลกเปลีย ่ นความรู้ ความคิดเห็น เมือ ่ พืน ้ ที่ ขยายใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ธรรมชาติที่หลีกเลี่ยง ไม่ได้ของทุกชุมชนบนโลกนัน ่ คือความขัดแย้ง รุนแรงค่อยๆ ก่อตัวขึ้น แ ล้ ว เ ร า จ ะ อ ยู่ ร่ ว ม กั น ไ ด้ อ ย่ า ง ไ ร ท่ามกลางผูค ้ นทีม ่ ค ี วามแตกต่างหลากหลาย ความคิดเห็นที่แบ่งฝักแบ่งฝ่าย อีกทั้งยังมี คนพาลที่ เ จตนาเข้ า มากลั่ น แกล้ ง คนอื่ น ล่ อ เป้ า หรื อ จุ ด ชนวนปลุ ก ปั่ น รวมไปถึ ง เล่ ห์ ก ลของนั ก การตลาดที่ แ อบเข้ า มาหา ผลประโยชน์ พั น ทิ ป ด อ ต ค อ ม ผ่ า น ช่ ว ง เ ว ล า น�้ า ผึ้ ง พระจั น ทร์ ใ นยุ ค แรก เข้ า สู่ ยุ ค ของ ความขัดแย้ง ผูใ้ ช้ตา่ งสัมผัสถึงความเจ็บปวด และโกรธแค้นกัน จนกระทั่งผู้คนในชุมชน แห่งนี้เข้าใจวิธีที่จะอยู่ร่วมกันไปได้ ถึงแม้จะ ไม่ได้มีความเห็นตรงกัน บทเรียนมากมาย จากชุมชนออนไลน์ สามารถน�ามาประยุกต์ ใช้กับสังคมในความเป็นจริงได้อย่างดี
TOOLS issue 542 11 JUN 2018
1. การปรับรูปแบบของแพลตฟอร์มช่วยลด ความรุนแรง เมื่อก่อนเราเป็นกระทู้ โดยทุกความคิ ด เห็ น จะเรี ย งล� า ดั บ ลงมาจากเก่ า มาใหม่ บางทีใครมาแสดงความคิดเห็นทีเ่ ป็นดราม่าปุบ ๊ หลังจากนัน ้ คนอืน ่ ๆ ก็จะมาตอบโต้ความคิดเห็น นั้นแทน กระทู้น้ันก็จะถูกพาออกทะเลไปเลย กลายเป็นการทะเลาะกันระหว่างคนที่เข้ามา คอมเมนต์ คนจะบอกว่าความเห็น 10 ตอบ แบบนีไ้ ม่ถก ู ทุกคนก็จะมารุมถล่มความเห็น 10 โดยไม่ ส นใจหั ว ข้ อ กระทู้ น้ั น อี ก เลย เราจึ ง
ปรับเปลี่ยนการออกแบบใหม่ ให้ผู้ใช้สามารถ ตอบความเห็นต่อความเห็นได้ การออกแบบนี้ ช่วยคุมประเด็นได้ในทันที ถ้าคุณมีปัญหากับ ความเห็นที่ 10 คุณก็ไปตอบโต้กบ ั ความเห็น 10 ได้ เ ลย โดยที่ ค นเข้ า มาที ห ลั ง ยั ง ด� า เนิ น ความเห็นต่อกระทู้ได้ 2. การตั้งผู้คุมกฎมาท�าหน้าที่ดูแล พันทิปเราผ่านบทเรียนมายี่สิบกว่าปี เราประสบเหตุการณ์ความขัดแย้งมามากมาย พอสมควร เรารู้แล้วว่าพฤติกรรมบางอย่าง
เป็นชนวนให้เกิดความขัดแย้งได้งา่ ย เราก็ตง้ั กฎ ไว้วา่ ไม่ให้ทา� เลย อย่างเช่น การตัง้ กระทูร้ อ ้ งเรียน สินค้าหรือบริการ คุณจะสามารถร้องเรียน ได้กต ็ อ ่ เมือ ่ สมัครสมาชิกเรียบร้อยและมีบต ั รประชาชนยื น ยั น ตั ว ตนแล้ ว เท่ า นั้ น สมาชิ ก แบบที่ยังไม่ยืนยันด้วยบัตรจะท�าไม่ได้ ถ้าแค่ไป สมัครอีเมลใหม่แล้วมาโพสต์กระทู้ร้องเรียน แบบนี้เราไม่อนุญาต เพราะเรารู้ว่าทุกวันนี้ มีเล่ห์กลทางธุรกิจมากมาย 3. การน�าข้อมูลส่วนตัวคนอื่นมาเปิดเผย
การตั้ ง กระทู้ โ ดยระบุ ข้ อ มู ล ส่ ว นตั ว ของผู้อื่นก็ท�าไม่ได้ เช่น ถ้าคุณจะถ่ายรูปเพื่อ แฉผู้ชายคนนี้ มีพฤติกรรมลวนลามผู้หญิง ไปขุดคุย ้ หาข้อมูลของเขา หรือ stalking จาก เสิรช์ เอนจิน ้ ต่างๆ ว่าเขาท�างานทีไ่ หน เบอร์โทร. เฟซบุ๊ก แบบนี้ไม่ได้เลย อะไรที่เชื่อมโยงไปถึง ชีวต ิ จริงของผูอ ้ น ื่ ทีถ ่ ก ู พาดพิง พันทิปไม่ให้ลง เด็ดขาด เพราะเป็นการละเมิดความเป็นส่วนตัว เราในฐานะแพลตฟอร์ม ไม่มท ี างรูว ้ า่ สิง ่ ทีเ่ ขา โพสต์น้ันเป็นข้อเท็จจริงหรือไม่ และเราไม่ใช่ ศาลที่จะมีหน้าที่ไปพิพากษาคนอื่น สิ่งที่เรา
33
วั ฒ นธรรมความรุ น แรงในโลก ออนไลน์หลายอย่าง มีแหล่งก�าเนิด มาจากพั น ทิ ป ดอตคอมตั้ ง แต่ เมื่ อ ยี่ สิ บ ปี ก่ อ น ทั้ ง ไซเบอร์ บู ล ลี เกรียน ดราม่า เฮตสปีช การล่า แม่มด รุมประชาทัณฑ์ และนักสืบ พันทิปที่ไปแอบค้นข้อมูลส่วนตัว คนอืน ่ มาประจาน เป็นเพราะพันทิปมีมาก่อนแพลตฟอร์มอืน่ ปัญหาพวกนีม้ มี าก่อนทีจ่ ะมีแพลตฟอร์มอืน่ ๆ มัน เป็นปัญหาทีเ่ กิดขึน้ มาจากคน แล้วปัญหาของคน ก็จะตามไปยังแพลตฟอร์มอืน่ ๆ คนทัว่ ไปอย่างเราๆ ทีพ่ อเริม่ มีอา� นาจในการน�าเสนอเนือ้ หา ท�าให้เขา รูส้ กึ ดีกบั อ�านาจนัน้ เอาง่ายๆ เลย เราย้อนไปยุค ก่อนจะมีอนิ เทอร์เน็ตด้วยซ�า้ เป็นยุคของสือ่ มวลชน หนังสือพิมพ์ นักข่าวไปสืบค้นข้อมูลมาน�าเสนอ บางทีนกั ข่าวบางคนล�า้ เส้นก็มี ไปเอารูปส่วนตัว ของดารามาเผยแพร่ เขาตัง้ ใจจะถ่ายเก็บไว้ดเู อง เอามาขึน้ หน้าหนึง่ หนังสือพิมพ์ นัน่ คือลักษณะของ คนที่มีอ�านาจ แล้วใช้อ�านาจนั้นไปละเมิดสิทธิ คนอื่น พออินเทอร์เน็ตเกิดขึน้ มา มันให้อา� นาจ กับคนทั่วไปในการน�าเสนอ ทุกคนก็น�าเสนอ ไปโดยไม่ได้ยง้ั คิด นีเ่ ป็นหน้าทีข่ องทัง้ สังคมทีจ่ ะ ต้องเรียนรูแ้ ละช่วยกันสอน ร่วมกันบอกว่าอะไรถูก อะไรผิด คนทีอ่ ยูใ่ นพันทิปและเคยเจอปัญหาแบบนี้ เขาก็ช่วยกันหาทางแก้ปัญหาได้ เมื่อคนไปอยู่ บนแพลตฟอร์มอืน่ ๆ เขาก็คงจะสามารถหาทาง แก้ปญ ั หาได้เช่นกัน คุณคิดว่าไซเบอร์บล ู ลี แตกต่างกับ การบูลลีในชีวต ิ จริงอย่างไร เราอาจจะนิยามค�าว่า ‘บูลลี’ แตกต่างไป จากเดิม เมือ่ ก่อนเวลาเรานึกถึงการบูลลี เราจะ นึกถึงสภาพแวดล้อมในโรงเรียน ทีม่ เี ด็กอ่อนแอ คนหนึง่ ถูกเพือ่ นหลายคนมารุมแกล้งโดยมีเจตนา แต่ในโลกออนไลน์ ผู้ใช้ส่วนใหญ่อาจจะไม่ได้ มีเจตนาที่จะมุ่งเป้าไปที่การกลั่นแกล้งโดยตรง เขาเพียงแค่แสดงความคิดเห็น วิพากษ์วจิ ารณ์ หรือกล่าวถึงคนหนึง่ หรือเหตุการณ์หนึง่ เพียงแต่ การแสดงความคิดเห็นทางออนไลน์นั้นเปิดเผย ออกไปสู่สาธารณะ และคนที่เป็นต้นเรื่องนั้นก็ สามารถเข้ามารับรูไ้ ด้ หรือเขารูส้ กึ ว่ามีคนอืน่ รับรู้ ได้ดว้ ย โดยส่วนตัวผม ถ้าผูใ้ ช้มเี จตนาวิพากษ์วจิ ารณ์ คนหนึง่ หรือเหตุการณ์หนึง่ ยังไม่ถอื เป็นการรุมบูลลี แต่ถา้ เขาล�า้ เส้นไปกว่านัน้ เช่น การตามสืบเสาะ หาข้อมูล แล้วเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว นีเ่ ป็นเส้นแบ่ง ของไซเบอร์บลู ลี
ท� า เท่ า ที่ ท� า ได้ คื อ การปกป้ อ งสิ ท ธิ แ ละ ความเป็นส่วนตัว เขาจะถูกหรือผิดเราไม่รู้ แต่เราต้องปกป้องสิทธิของเขา
เวลาผ่านมา ชุมชนออนไลน์ของ พันทิปมีความรุนแรงมากขึน ้ หรือ น้อยลง ไดเร็กชันของพันทิปตอนนี้คือ Learn, Share, & Fun เป็นแหล่งรวมข้อมูลข่าวสาร และความรูท้ ที่ กุ คนจะเข้ามาสร้างและแบ่งปัน พอ ความเป็นคอมมูนติ ลี้ ดลง ความรุนแรงลดลง ถ้านับ เฉพาะบนพันทิป ทุกวันนีม้ นั ลดลงจริงๆ แต่มนั กระจายตัวออกไปอยูบ่ นแพลตฟอร์มอืน่ ๆ แทน อาจจะมีแหล่งต้นเรือ่ งทีไ่ หนสักแห่ง เมือ่ มีคนมา โพสต์อะไรไม่ดสี กั อย่าง แล้วมันจะถูกแชร์ตอ่ ไป บนแพลตฟอร์มอืน่ ๆ ความขัดแย้งก็ลกุ ลามออกไป ทีไ่ หนมีสงั คม ทีน่ นั่ ย่อมมีความขัดแย้ง ทฤษฎี เ กี่ ย วกั บ การก�า เนิ ด ของชุ ม ชน แบ่งออกเป็น 4 เฟส - เฟสแรก คือหมูบ่ า้ นขนาดเล็กทีท่ กุ คน รูจ้ กั กันหมดและสนิทสนมกันดี - เฟสทีส่ อง จะเริม่ มีความขัดแย้งเกิดขึน้ คือมีความเห็นบางอย่างไม่ตรงกัน เริม่ ถกเถียงกัน - เฟสที่สาม ความเห็นที่ขัดแย้งกันนั้น ก่อให้เกิดการแบ่งขัว้ ขัดแย้งอย่างชัดเจน - เฟสสุดท้าย คือทุกคนเข้าใจถึงความแตกต่างหลากหลายแล้ว ทุกคนยอมรับว่าต้อง มีความเห็นต่าง และมองเห็นน่าจะมีบางจุดมา เชื่อมโยงกันได้ ในเฟสสุดท้ายนี้เองที่คอมมูนิตี้ ที่แท้จริงก�าเนิดขึ้น คือจุดที่มีความแตกต่าง แต่ความแตกต่างนี้ท�าให้เราเรียนรู้และยอมรับ กันได้
การเปิ ด เผยตั ว ตนหรื อ ปกปิ ด ตัวตนเป็นนิรนาม เกี่ยวข้องกับ ความขัดแย้งไหม ถ้ า ดู ร ายละเอี ย ดแต่ ล ะแพลตฟอร์ ม เราจะเห็นว่าเฟซบุ๊กเป็นแพลตฟอร์มที่มีตัวตน ชัดเจนทีส่ ดุ เขาบังคับให้ตอ้ งใช้ชอ่ื นามสกุล และ เราเอาข้อมูลส่วนตัวมาเปิดเผย สังคมออนไลน์ ทีเ่ ปิดเผยตัวเองชัดเจน ผูใ้ ช้จะไม่คอ่ ยกล้าแสดง ความเห็นแบบรุนแรงมากนัก เพราะเขารู้ตัวว่า จะถูกขุดคุ้ยได้ ฉันท�างานที่ไหน เรียนจบจาก ไหน ประวัติพวกนี้จะถูกน�าไปรุมประชาทัณฑ์ คนไม่กล้าแสดงความเห็นตรงๆ เทียบกับทวิตเตอร์ มีความเป็นนิรนามมากกว่า คุณไม่จ�าเป็นต้อง เปิดเผยตัวเองก็แสดงความเห็นได้ สังคมทวิตเตอร์ จึงมีความรุนแรงมากกว่า ในขณะทีพ่ นั ทิปดอตคอม เรามีสภาพกึง่ กลาง คือเรามีระบบยืนยันตัวตน ด้วยบัตรประชาชน แต่เราไม่นา� ข้อมูลนีไ้ ปเปิดเผย ท�าให้คุณรักษาความเป็นนิรนามได้อยู่ ดังนั้น ความสัมพันธ์ของผู้คนในแพลตฟอร์มแบบนี้ จึงเป็นประมาณว่า ฉันแสดงความคิดเห็นได้อย่าง เต็มทีต่ ราบเท่าทีม่ นั ไม่ผดิ กฎของพันทิป ถ้าผิดกฎ ฉันจะโดนยึดล็อกอิน และจะกลับมาสมัครไม่ได้ อีกเลย เขาจึงต้องมีหน้าทีแ่ ละความรับผิดชอบ ต่อสังคมนี้ระดับหนึ่ง ในขณะที่เขามีเสรีภาพ ในการแสดงความเห็นได้อย่างเต็มที่ นี่คือจุดที่ แตกต่างจากแพลตฟอร์มอืน่ คุณคิดว่าในตอนนีพ ้ น ั ทิปได้มาถึง เฟสสุดท้ายนีแ ้ ล้วหรือยัง เรามาถึงเฟสนี้มาตั้งแต่ยุคแรกๆ แล้ว หลายๆ คอมมูนิต้ีออนไลน์ได้รับบทเรียนและ พั ฒ นาไปจนถึ ง เฟสสี่ แ ล้ ว ยกตั ว อย่ า งสมั ย สิบกว่าปีก่อน พันทิปมีห้องราชด�าเนินที่ดีมาก ผูใ้ ช้เข้ามาแล้วรูส้ กึ ว่านีค่ อื คอมมูนติ ที้ แี่ ลกเปลีย่ น ความเห็นและวิเคราะห์การเมืองดีทสี่ ดุ ตอนนัน้ ประเทศไทยยังไม่มีปัญหาเรื่องสีเสื้อมาก่อน คนเข้ามาร่วมกันวิพากษ์วจิ ารณ์การท�างานของ รัฐบาลกันด้วยดี ต่อมาพอประเทศไทยเริม่ มีปญ ั หา สีเสือ้ ห้องราชด�าเนินก็เปลีย่ นไป เริม่ มีการแบ่งฝัก แบ่งฝ่าย มีคนเชียร์พรรคนัน้ พรรคนี้ เริม่ เกิดสภาวะ แบ่งขัว้ และขัดแย้งกันรุนแรงมาก จนมาถึงตอนนี้ ห้องราชด�าเนินมาถึงสภาวะทีน่ ง่ิ แล้ว ทุกคนได้รบั บทเรียน คนส่วนใหญ่รแู้ ล้วว่าฉันอยูส่ นี ี้ คุณอยูส่ นี ้ี เราก็รจ้ ู กั วิธใี นการพูดคุยกัน แต่ละคนยังมีความเชือ่ แตกต่างกันต่อไป มีการแซะกันไปแซะกันมา แต่ สภาพสังคมโดยรวมสงบลง สถานการณ์แบบนี้ เกิดกับห้องอืน่ ด้วย เช่น ห้องศุภชลาศัย แฟนฟุตบอล มีทมี โปรดของตัวเอง แล้วแต่ละฝ่ายก็จะคุยข่มกัน ไปมา ทีมไหนเตะแพ้กจ็ ะมีกระทูม้ าล้อเลียนกัน โดยที่ทุกคนรับรู้แล้วว่านี่คือเรื่องธรรมดา และ สภาพสังคมก็ดา� เนินต่อไปได้ มันเป็นธรรมดาของ สังคมทุกทีท่ จ่ี ะต้องขัดแย้งกัน แต่ทกุ คนก็ยงั อยู่ ร่วมกันต่อไป จุ ด มุ่ ง หมายที่ แ ท้ จ ริ ง ไม่ ใ ช่ ก ารที่ ทุกคนในสังคมเห็นตรงกันหรือ ไม่ต้องรวมกันก็ได้ครับ ในเฟสที่ส่ีเรา ไม่จา� เป็นต้องคิดเหมือนกันก็ได้ แต่ทกุ คนเข้าใจ แล้วว่าต้องท�าอย่างไรจึงจะอยู่ร่วมกันต่อไป สภาพในอุดมคติของเฟสสี่ คือเมือ่ มีเกรียนเข้ามา หรือใครบางคนที่เข้ามาก่อกวน พยายามสร้าง ความแตกแยก สมาชิกทุกคนในชุมชนจะรู้ทัน และรับมือกับมันได้ อาจจะด้วยวิธีการเพิกเฉย ไม่สนับสนุนเกรียน ในยุคแรกของคอมมูนติ ้ี พอมี เกรียนเข้ามาปุ๊บ คนส่วนใหญ่จะรู้สึกรับไม่ได้ เราต้องช่วยกันก�าจัดออกไป เพื่อไม่ให้มันเข้า มาท�าลายความสุขของพวกเรา แต่ในคอมมูนติ ้ี ที่มีพัฒนาการไปถึงจุดสูงสุด ทุกคนก็จะรู้ทัน ดูหมายเลขสมาชิก ดูชอ่ื ล็อกอิน หรือเพียงแค่ดู ส�านวนการเขียน ทุกคนก็รแู้ ล้วว่าไอ้นเ่ี จตนาไม่ดี ทุกคนก็จะเพิกเฉยไป โดยทีท่ กุ คนก็ยงั แตกต่าง หลากหลาย มีความคิดเห็นไม่เหมือนกันได้ตอ่ ไป การท�างานดูแลคอมมูนต ิ อ ้ี อนไลน์ มาจนครบทัง้ สีเ่ ฟส ให้บทเรียนอะไร กับชีวต ิ จริงบ้าง คือการปล่อยวาง (หัวเราะ) มันเป็นไป
ไม่ได้เลยทีจ่ ะท�าให้ทกุ คนมาเห็นด้วยกับเรา เรา อยู่ในคอมมูนิต้ีออนไลน์ก็เพื่อเรียนรู้ว่ามีคน แตกต่างจากเรา แล้วก็ปล่อยวางให้ได้ แค่นนั้ เอง เราสือ่ สารแนวคิดของเราออกไป โดยไม่ตอ้ งไป บังคับ และไม่ต้องเสียเวลาไปเปลี่ยนคนอื่น ผมคิดว่าการจะต้องทะเลาะอะไรกันมากๆ เราเอา เวลาไปท�าอย่างอืน่ ดีกว่า ในพันทิปชอบมีดราม่า เรือ่ งคนในวงการบันเทิง เสร็จแล้วคนไทยเราก็ไป ใช้เวลากับดราม่านัน้ เยอะเกินไป เราเคยวัดผลดูวา่ ในประเด็นดราม่าดาราเรือ่ งนี้ มีคนเข้ามาอ่านกีค่ น แต่ละคนใช้เวลาอ่านกระทูน้ านกีน่ าที เราเอาตัวเลข มาคูณกันแล้วพบว่า โอ้โฮ คนไทยเสียเวลากับ ดราม่าประเด็นนี้ประเด็นเดียวมากถึงสองพันปี เราเสี ย เวลาคนไทยไปสองพั น ปี เ พื่ อ ดราม่ า เรือ่ งเดียว แค่แพลตฟอร์มพันทิปอย่างเดียวเลยนะ พอเห็นตัวเลขแบบนี้ ผมก็คดิ ว่าเราเสียทรัพยากร เวลาไปมาก เรือ่ งแบบนีเ้ ราต้องเรียนรู้ และต้อง รูจ้ กั ปล่อยวางกันเสียที ประเด็นขัดแย้งส่วนใหญ่ แค่สองสามวันมันก็จบไปแล้ว ซึง่ ในทุกวันนีค้ นใน โซเชียลมีเดียก็ฉลาดขึน้ เขารูเ้ ท่าทันเรือ่ งนีแ้ ล้ว เขารูว้ า่ เรือ่ งพวกนีม้ าแล้วก็ไป ไม่ใช่เรือ่ งทีเ่ ราต้อง ไปเสียเวลากับมัน อาจจะแค่รไู้ ว้เพือ่ ไปคุยกับเพือ่ น รูเ้ รือ่ ง แต่ไม่ตอ้ งไปติดตามมากหรอก ในปัจจุบน ั ที่ eyeball มีมล ู ค่าทาง ธุรกิจ การทีผ ่ ใู้ ช้เข้ามาอ่านดราม่า ดาราใช้ เ วลารวมกั น สองพั น ปี เอาไปเคลมขายโฆษณาได้เยอะเลย ตัวแพลตฟอร์มไม่ใช่คนท�าคอนเทนต์เอง แต่เป็นพับลิชเชอร์นนั่ แหละทีท่ �าคอนเทนต์ ผม ว่าพับลิชเชอร์คอื คนทีล่ งข่าวดราม่าเพือ่ ให้คนเข้า มาใช้อายบอลเยอะๆ โดยทีต่ วั เจ้าของแพลตฟอร์ม ไม่ได้สนใจเรือ่ งแบบนัน้ ถามว่าอายบอลส�าคัญไหม ส�าหรับพันทิป มันส�าคัญแน่ แต่วา่ เราอยากจะ ให้แพลตฟอร์มนีม้ คี อนเทนต์ทม่ี คี ณ ุ ค่าสอดคล้อง กับคุณค่าขององค์กรเรา เราอยากได้คอนเทนต์ที่ ผูใ้ ช้แชร์เข้ามาเป็นค�าตอบของค�าถามต่างๆ ทีค่ น ค้นหาอยู่ ถ้าคอนเทนต์นม้ี คี ณ ุ ค่าจริง อายบอลจึง ค่อยตามมา และมันจะมีมลู ค่าสูงกว่าคอนเทนต์ ทีเ่ ป็นดราม่าอีก คุณลองคิดดูวา่ ถ้าเป็นลูกค้า เขา อยากจะลงโฆษณาในพืน้ ทีท่ เ่ี ป็นดราม่า หรือพืน้ ที่ ทีเ่ ป็นคอนเทนต์ทมี่ คี า่ ทีผ่ า่ นมา ดราม่าคือสิง่ ที่ ผูค้ นทีเ่ ข้ามาใช้งาน เขามาสร้างให้เกิดขึน้ กันเอง โดยทีเ่ ราไม่ได้ไปคาดหวังว่าดราม่าจะกลายเป็น มูลค่าทางธุรกิจ ซึ่งหลังๆ มานี้ เราก็จะได้ยิน ข่าวว่าเฟซบุก๊ หันมาให้ความส�าคัญกับมิตรภาพ กับ คอนเทนต์ ที่มีคุณค่ า เขาพยายามก�า จัด ข่าวปลอมป้องกันการบูลลีอะไรต่างๆ คิ ด ว่ า คนรุ่ น ใหม่ ท่ี เ ป็ น Digital Native เขาจะอยู่ในโลกออนไลน์ ได้อย่างสงบสุขมากกว่าคนรุน ่ เก่า หรือเปล่า ผมว่ามนุษย์เราเหมือนกันหมด เราต้อง ผ่านการเรียนรูม้ าก่อน เด็กทุกคนต้องอยากลอง เอานิว้ ไปแตะกาต้มน�้าร้อน เพราะอยากรูว้ า่ มัน ร้อนอย่างไร อยากลองเอานิ้วไปแหย่พัดลมดู เพราะอยากรูว้ า่ ใบพัดมันจะหยุดไหม เด็กทุกคน ไม่วา่ จะรุน่ ไหนๆ ต้องอยากทดลอง อยากรู้ มนุษย์ ต้องผ่านความเจ็บปวดถึงจะเรียนรู้และปรับตัว ผมคิดว่าเด็กรุน่ ใหม่กย็ งั ต้องมีความขัดแย้งและ ความรุนแรงในโลกออนไลน์อยูเ่ หมือนเรา คือต้อง ปล่อยให้เขาหมดแรงกันไปเอง มันคือการปล่อย เขาจริงๆ แหละ คือเรามีเพียงเส้นก�าหนดไว้แค่นน้ั คุณห้ามล�า้ เส้นนี้ ทีเ่ หลือคืออยากท�าอะไรก็ทา� ไป ถ้าล�า้ เส้นแล้วเราจะแบนคุณ นัน่ คือค�าตอบ ปล่อย ให้เขารุนแรงต่อกันไปจนหมดแรงไปเอง โดยเรา ให้อสิ ระในการพูดคุย เพือ่ เปิดโอกาสให้คนทีม่ มี มุ ทีด่ ไี ด้เข้ามาสือ่ สารในนัน้ ได้ดว้ ย เมือ่ เกิดดราม่า ขึน้ มา จะมีคนทีม่ คี วามรูเ้ รือ่ งนัน้ จริงๆ เข้ามาแสดง ความเห็น แล้วมันก็จะจบลงไป ท�าอย่างไรก็ได้ ให้คนแบบนีม้ ปี ากมีเสียงให้มากขึน้
a day BULLETIN
SHE SAID
34
เรื่อง: ศรัญญา อ่าวสมบัติกุล ภาพ: ส�านักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล
C R E AT I V E S O L U T I O N S TO PREVENT
CYBER BULLYING
ในยุคสมัยทีท ่ ก ุ สิง ่ ทุกอย่างรอบตัว ทัง ้ เศรษฐกิจ การเมือง สังคม วัฒนธรรม รวมถึงวิถชี วี ต ิ ของเราทุกคน ถูกท�าให้กลายเป็นดิจต ิ อลได้ ความเคลือ่ นไหวเปลีย ่ นแปลง จึงยิง่ รุนแรงและรวดเร็วไปในทิศทางทัง้ ด้านดีและด้านลบ ค นส่วนใหญ่คาดหวังการส่งเสริมสนับสนุนในด้าน เศรษฐกิจอย่างอีคอมเมิรซ์ หรือด้านการเมืองอย่างเรือ ่ ง ไทยแลนด์ 4.0 จากหน่วยงานภาครัฐ เพื่อให้ประเทศ ของเราเติบโตอย่างมั่นคง อย่างไรก็ตาม ในขณะเดียวกัน ความเปลีย ่ นแปลง ทางสังคมก็เป็นอีกแง่มม ุ ทีส ่ า� คัญ และไม่สามารถมองข้าม ไปได้ เทคโนโลยีดจิ ต ิ อลช่วยเร่งเร้าการพัฒนา และมัน ก็ ส่ ง ผลกระทบต่ อ ชี วิ ต และจิ ต ใจของผู้ ค นโดยรวม แสงสว่างทีเ่ กิดขึน ้ ย่อมท�าให้เกิดมุมมืดจากเงาของมัน ปัญหาหนึ่งในนั้นคือความรุนแรงที่เพิ่มขึ้นในสังคม ออนไลน์ โดยเฉพาะอย่างยิง่ ประเด็นเรือ่ ง cyberbullying ทีน ่ า่ เป็นห่วงก็เพราะสัดส่วนผูใ้ ช้อน ิ เทอร์เน็ตเป็นกลุม ่ เยาวชนมากกว่าครึ่ง อ งค์กรภาครัฐอย่างส�านักงานคณะกรรมการ ดิจท ิ ล ั เพือ ่ เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.) น�าโดย ดร.วรรณพรเทพหั ส ดิ น ณอยุ ธ ยา เลขาธิ ก าร คณะกรรมการดิจท ิ ล ั เพือ ่ เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ บอกกับ a day BULLETIN ว่าสิง่ ทีเ่ ราจะหลงลืมไม่ได้เลย คือแง่มม ุ ทางสังคม เมือ ่ โลกพัฒนาก้าวไกล จิตใจของ ผูค ้ นก็ตอ้ งดูแลให้ดี แนวทางการท�างานของ สดช. จึงต้อง จับมือกับภาคส่วนต่างๆ สถาบันการศึกษา องค์กร ไม่แสวงหาผลก�าไร และธุรกิจเอกชน จัดท�าโครงการ เพื่อหารณรงค์ในแง่มุมทางสังคมให้ได้ผลที่สุด
Way to Use Social Media... ในขณะทีเ่ ราส่งเสริม ให้ผู้คนได้เข้าถึงอินเทอร์เน็ตด้วยความเท่าเทียม เพือ่ เพิม่ ศักยภาพทางเศรษฐกิจและการสร้างอาชีพในโครงการ เน็ตประชารัฐที่ให้ใช้ฟรีทั่วประเทศ เรากลับพบว่าในทาง ตรงกันข้ามก็มเี ด็กๆ จ�านวนไม่นอ้ ยทีใ่ ช้อนิ เทอร์เน็ตในทาง ทีผ่ ดิ ไม่ว่าจะเป็นการด่าทอกัน รังแกกัน แอบอ้างชือ่ ผู้อน่ื ไปใส่ร้าย ส่งข้อมูลลับท�าให้เกิดการอับอาย รวมทั้งน�า ข้อมูลไปใช้แบบพลิกแพลง เช่น ยาเสพติดและการพนัน ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่น่าเกิดขึ้นและไม่ถูกต้อง เราควรช่วยกัน แก้ไขและรณรงค์ในเรื่องนี้เพื่อให้เด็กๆ ได้ตระหนักถึง ผลเสียทีเ่ กิดขึน้ และหน่วยงานของเราก็ให้ความส�าคัญกับ เรือ่ งนีเ้ ป็นอย่างมาก Creative Solutions... จากความเป็นห่วงและสงสาร เด็กๆ เราก็ตระหนักถึงเรือ่ งนีม้ าโดยตลอด จนวันทีไ่ ด้เจอกับ ศ. ดร. ก้องกิติ พูสวัสดิ์ จึงได้พดู คุยกัน ก่อนทีจ่ ะชักชวนกัน มาด�าเนินการเรือ่ งนี้ จากนัน้ จึงไปคุยกับทาง dtac ซึง่ ได้รบั ความร่วมมือเป็นอย่างดี กระทัง่ เกิดเป็นโครงการต่างๆ ขึน้ มา โดยมีโครงการแรกคือ Stop Bullying เลิฟแคร์ไม่รงั แกกัน
issue 542 11 JUN 2018
Child Chat Line... ในโครงการเลิฟแคร์ฯ เป็นห้องแชต ที่ให้ค�าปรึกษาออนไลน์ในการลดการใช้ความรุนแรงและ ก ารรัง แกกัน ในกลุ่ ม เด็กและเยาวชนผ่ า นทางเว็บ ไซต์ http://stopbullying.lovercarestation.com ซึ่งเปิดตัวไปเมื่อ เดือนมีนาคมทีผ่ า่ นมา จนทุกวันนีม้ คี นเข้าใช้งานจ�านวนไม่นอ้ ย ส่วนใหญ่จะเป็นครู เพราะเหตุการณ์ต่างๆ มักเกิดขึ้นใน โรงเรียน โดยมีจิตอาสาและนักจิตวิทยามาช่วยกันรับฟัง และตอบค�าถามต่างๆ ให้บริการฟรีตงั้ แต่เวลา 16.00-22.00 น. ส่วนเวลาอืน่ ๆ ก็สามารถฝากข้อความไว้ได้ dtac Unicef Microsoft... นอกจากนีย้ งั ได้รว่ มมือ กับกระทรวงศึกษาธิการ และสหภาพโทรคมนาคมระหว่าง ประเทศ (ITU) เพื่อพัฒนาหลักสูตร Stop Cyberbulling
35
Removed from a Search Engine... อาจเป็น เพราะในปัจจุบนั ผูป้ กครองไม่มเี วลาทีจ่ ะมาดูแลเด็กอย่าง ใกล้ชิด รวมทั้งไม่รู้ว่าจะช่วยเด็กๆ ให้พ้นจากปัญหานี้ ได้อย่างไร เพราะถือว่าเป็นเรือ่ งใหม่และแพร่กระจายไปอย่าง รวดเร็ว นัน่ ท�าให้เราคิดหามาตรการ อย่างเช่น ให้เด็กมีสทิ ธิ ที่จะลบข้อมูลส่วนตัว หรืออะไรที่ไม่ดีได้ด้วยตัวเองจาก เครือ่ งมือในการค้นหาข้อมูล แม้วา่ ตัวเองจะไม่ใช่ผดู้ แู ลระบบ ก็ตาม เพราะตอนนี้ไม่มใี ครช่วยเด็กๆ ได้ Red Button on Websites... มาตรการต่อมา ทีเ่ ราอยากจะผลักดันให้เกิดขึน้ คือ ให้มปี มุ่ สีแดงทีอ่ นุญาต ให้เด็กสามารถคลิกไปเจอกับสายด่วนได้เมือ่ ต้องการความช่วยเหลือหากโดนกลัน่ แกล้งหรือพบเห็นการกลัน่ แกล้งบน โลกออนไลน์ได้ทนั ที พร้อมมีคนช่วยคิดหรือรับฟัง เมือ่ เขา ตกอยูใ่ นสถานการณ์นนั้ ด้วยตัวเอง หรือก�าลังมองในแง่รา้ ย ร วมทั้งปฏิเสธที่จะลุกขึ้นสู้กับบางอย่างที่พบเจอในโลก ออนไลน์ได้ Regulations on Cyberbullying... นอกจากนีเ้ รา ยังคิดไปถึงเรื่องบทลงโทษ เพราะว่าหากไม่มีกฎระเบียบ อะไรสักอย่างขึน้ การรณรงค์ต่างๆ ก็คงเห็นผลช้า แต่ก่อน การตั้ ง บทลงโทษจะต้ อ งมี ก ารท�า ประชาพิ จ ารณ์ ก ่ อ น เพือ่ ให้ประชาชนเข้ามาส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น เพราะ เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนต่อเด็กและผู้ปกครอง ซึ่งทั้งหมด เราจะต้องท�าให้เกิดขึ้นให้ได้ Cyberbullying Detox... คือวิธกี ารหนึง่ ทีจ่ ะท�าให้ เด็กมีพลังทีจ่ ะต่อสูก้ บั การโดนกลัน่ แกล้งด้วยการเอาชนะใจ ตนเอง ซึง่ เริม่ ต้นทีผ่ ปู้ กครองอบรมเลีย้ งดู ให้เด็กๆ เป็นคนที่ มัน่ ใจในตัวเอง รักตัวเองให้เป็น เคารพผูอ้ นื่ รักประเทศชาติ หรือการมองเรือ่ งเล็กไม่ให้กลายเป็นปัญหาใหญ่ และรับมือ กับบางเรือ่ งทีไ่ ม่ได้สา� คัญอะไรในชีวติ ของเขาได้ ซึง่ นัน่ ก็จะ ท�าให้เด็กมีภูมิคุ้มกัน สามารถเอาตัวรอด หรือขจัดปัญหา เรือ่ งการถูกกลัน่ แกล้งทัง้ ในโลกแห่งความเป็นจริงและโลก ออนไลน์ได้ดี Gets Measured Gets Done... เราต้องท�าเข้าไป ในระบบการศึกษาและเป็นหลักสูตรในสถานศึกษาให้ได้ และต้องร่วมกับภาคเอกชนในการรณรงค์แบบการสร้าง ป่าล้อมเมืองขึน้ ด้วยโครงการต่างๆ ทีไ่ ด้มาทัง้ หมด เพราะ ล�าพังภาครัฐ เด็กๆ อาจจะมองข้ามโดยเห็นว่าเป็นหน่วยงาน ที่ดูเชย ซึ่งภาคเอกชนจะมีการใส่ความสนุกสนานและ ความน่าสนใจ ซึ่งสามารถเข้าถึงชีวิตประจ�าวันของเด็กๆ รวมไปถึงผู้ปกครอง และครูอาจารย์ได้
การส�ารวจพฤติกรรมการรังแกกัน ของนั ก เรี ย นระดั บ ชั้ น มั ธ ยมศึ ก ษาเมื่ อ ปี พ.ศ.2558 ร้อยละ82 ใช้ สื่ อ อิ น เทอร์ เ น็ ต รั ง แกเพื่ อ นใน ห้องเรียนมากทีส ่ ด ุ ซึง่ สะท้อนให้เห็นว่า ปัญหาการรังแกกันบนโลกออนไลน์ มั ก เกิ ด จากคนใกล้ ชิ ด ด้ ว ยการกลัน ่ แกล้งด้วยการใช้ถอ ้ ยค�าหยาบคาย ต่อว่าเพือ ่ น แอบอ้างชือ ่ ผูอ ้ น ่ื ไปใส่รา้ ย หรือการส่งข้อมูลลับเพื่อท�าให้เพื่อน ได้รับความอับอาย ร้อยละ39 มองว่าการกลั่นแกล้งผู้อื่นผ่านโลก ไซเบอร์เป็นเรื่องสนุก ร้อยละ28 มองว่าการกลัน ่ แกล้งเป็นพฤติกรรม ปกติ
ก ารส�ารวจสถานการณ์เด็กไทยกับภัย ออนไลน์(ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2560จากเด็กทีม ่ อ ี ายุระหว่าง9-18ปีจ�านวน 10,846คน)โดยศูนย์ประสานขับเคลือ ่ นการส่งเสริม และปกป้องคุม ้ ครองเด็กและเยาวชน ในการใช้สอื่ ออนไลน์หรือศูนย์COPAT(Child OnlineProtectionActionThailand) •ร้อยละ98.47 เชื่อว่าอินเทอร์เน็ตให้ประโยชน์ •ร้อยละ96.32 ตระหนักว่ามีอน ั ตรายและความเสีย ่ งหลากหลาย รูปแบบบนอินเทอร์เน็ต •ร้อยละ69.92 เชือ่ ว่าเพือ่ นๆ มีพฤติกรรมสุม ่ เสีย ่ งทีจ่ ะเกิดอันตราย อย่างใดอย่างหนึ่ง • ร้อยละ61.39 คิดว่าการกลั่นแกล้ง รังแก หรือละเมิดทางเพศ จะไม่เกิดขึ้นกับตัวเอง • ร้อยละ75.91 เชื่อว่าเมื่อต้องเผชิญปัญหาภัยหรือความเสี่ยง ออนไลน์จะจัดการปัญหาเองได้ • ร้อยละ78.95 เคยเล่นเกมออนไลน์ ซึ่งเด็กผู้ชายเสี่ยงติดเกม มากกว่าเด็กผูห ้ ญิง โดยเล่นเกมทุกวัน หรือเกือบ ทุกวัน ร้อยละ 50.73 ส่วนเด็กผู้หญิงร้อยละ 32.34 จะเล่นเกมสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง • ร้อยละ48.96 โดนกลัน ่ แกล้งรังแกทางออนไลน์ และเด็กทีเ่ ป็น เพศทางเลือกจะถูกกลั่นแกล้งมากที่สุดร้อยละ 59.44 •ร้อยละ33.44 ยอมรับว่าเคยกลั่นแกล้งคนอื่น • ร้อยละ68.07 เคยพบเห็นสื่อที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศ • ร้อยละ21.33 ตอบว่าเคยเห็นสื่อลามกอนาจารเด็ก ได้แก่ ภาพ หรือวิดโี อเด็กในท่ายัว่ ยุอารมณ์เพศ การร่วมเพศ ระหว่างเด็กกับเด็ก หรือเด็กกับผู้ใหญ่ •ร้อยละ15.97 เคยนัดพบเพือ ่ นออนไลน์ ซึง ่ การแชตทางเฟซบุก ๊ หรือไลน์เป็นช่องทางทีเ่ ด็กใช้ในการติดต่อพูดคุย นัดพบ หรือเข้าถึงสื่อที่ไม่เหมาะสม
อ้างอิงแหล่งข้อมูลจากส�านักงานคณะกรรมการดิจทิ ลั เพือ่ เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
Digital Literacy Curriculum... หลักสูตรการเข้าใจ ดิจิตอล เป็นอีกหนึ่งหลักสูตรที่ร่วมกับส�านักงานส่งเสริม การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อส่งเสริมให้ผู้คนรู้เท่าทันสื่อ คิด วิเคราะห์ แยกแยะ และเลือกใช้ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ทีส่ า� คัญเราต้องการผลักดันหลักสูตรนีไ้ ปใช้เป็นวิชาพืน้ ฐาน ในระดับชัน้ ประถมศึกษาและมัธยมศึกษาในอนาคตอันใกล้
วิธีการหนึ่งที่จะท�าให้เด็กมีพลังที่จะต่อสู้กับการโดนกลั่นแกล้ง เริ่มต้นที่ผู้ปกครองอบรมเลี้ยงดู ให้เด็กๆ เป็นคนที่มั่นใจในตัวเอง รักตัวเองให้เป็น เคารพผู้อื่น รักประเทศชาติหรือการมองเรื่องเล็กไม่ให้กลายเป็นปัญหาใหญ่และรับมือกับบางเรื่องที่ไม่ได้ส�าคัญอะไรในชีวิตของเขา
ปกป้องคุม้ ครองเด็กและเยาวชนจากสือ่ ดิจติ อล และสร้าง ความเข้มแข็งในสังคม รวมทั้งยังมีการพัฒนาหลักสูตร การเป็นพลเมืองดิจติ อล ส�าหรับผูป้ กครอง ครูอาจารย์ เด็ก และเยาวชน และประสานงานด�าเนินงานในการน�าหลักสูตร ไ ปบรรจุในหลักสูตรการเรียนการสอนแบบทางเลือกของ ส�านักงานคณะกรรมการการศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน (สพฐ.) ต่อไป
a day BULLETIN
BREATHE IN
36
เรื่องและภาพ :สีตลาชาญวิเศษ,พชรสูงเด่น,gettyimages
BREATHEIN:สีตลาชาญวิเศษ
นัก เขียนและคนท�างานด้านคอนเทนต์ ที่ผ่านมาท�าวิทยานิพนธ์ปริญญาโทในหัวข้อ‘การจีบกันบนสื่อออนไลน์’และเป็นเจ้าของแฟนเพจ‘ธีสิสมุ้งมิ้ง’ส่วนเรื่อง ่ งความรักเหมือนเดิม ่ ในเรือ ั เชือ ็ ง ้ ย ึ แม้จะเจ็บมามากแค่ไหนทุกวันนีก ่ ย่าท�าเยอะมากแต่ถง ่ งทีอ ความรักเป็นคนอกหักเก่งแห้วเก่งเลยมีประสบการณ์มาบอกเล่าเรือ
การกลัน ่ แกล้ง (Bullying)
เกี่ยวกับการหาคู่ได้อย่างไร?
พั กหลังๆประเด็นการกลั่นแกล้งโดยเฉพาะบนโลกออนไลน์ (Cyberbullying)เป็นที่ถกเถียงกันมากขึ้นในสังคมเพราะปัญหานี้อันตรายถึงขั้น ท�า ร้ายคนจนฆ่าตัวตายได้เลยหรือไม่ก็มีสภาพจิตใจย�่าแย่ไม่ต่างจากตายทั้งเป็นทว่าการกลั่นแกล้งไม่เพียงแต่ท�าร้ายจิตใจคนเท่านั้นแต่ยังท�าให้คนที่ ตกเป็นเป้าหมายถูกกลั่นแกล้งหาความสัมพันธ์ได้ยากขึ้นอีกด้วย
issue 542 11 JUN 2018
อั น ที่ จ ริ ง สังคมมนุษย์ไม่ต่ำงจำกสังคมสัตว์ คือเป็น สัตว์สงั คมทีม่ จี ำ่ ฝูงหรือทีเ่ รียกว่ำ‘อัลฟำ’(Alpha)วิธกี ำรทีส่ ตั ว์ จะขึน้ มำเป็นจ่ำฝูงคือกำรใช้กำ� ลังหรือข่มสัตว์ตวั อืน่ ๆเพือ่ แสดง ว่ำ ต น เ อ ง นั้นเหนือกว่ำ ในท�ำนองเดียวกัน วิธีนี้ยังถูกใช้เพื่อ แย่งตัวเมียหรือหำคู่ ไม่ น่ ำ เ ชื่อว่ำ ในงำนวิจัยเกี่ยวกับกำรกลั่นแกล้ง Do Bullies Have More Sex? The Role of Personalityปี2017 โดยDanielA.Provenzanoพบข้อมูลคล้ำยๆกันว่ำคนทีม่ บี คุ ลิก ด้ำนควำมซือ่ สัตย์และกำรอ่อนน้อม(Honest-Humility)ในระดับ ต�ำ่ ใช้กำรกลัน่ แกล้งคนอืน่ (Bullying)ในกำรแสดงออกถึงอ�ำนำจ เพือ่ ดึงดูดเพศตรงข้ำมนอกจำกนีย้ งั พบอีกด้วยว่ำกำรกลัน่ แกล้ง คนอื่ น ยั ง สั ม พั น ธ์ กั บ กำรมี คู ่ สั ม พั น ธ์ เ ยอะขึ้ น ด้ ว ย(Sexual Partners) พดู อีกอย่ำงคือคนทีไ่ ม่ซอื่ สัตย์และมีนสิ ยั หยำบกระด้ำง มักใช้กำรกลัน่ แกล้งคนอืน่ เพือ่ ยกตัวเองและยังใช้เพือ่ หำคูน่ อน ในทำงกลับกันส�ำหรับคนที่เป็นเป้ำหมำยถูกกลั่นแกล้ง นอกจำกพวกเขำกลำยเป็น‘ตัวตลก’ในสำยตำคนอืน่ ซึง่ ท�ำให้ อับอำยพวกเขำยังขำดควำมมัน่ ใจในกำรสร้ำงควำมประทับใจ เพื่อดึงดูดเพศตรงข้ำมพูดง่ำยๆคือกำรมีแฟนนั่นเองฉะนั้น คนทีถ่ กู กลัน่ แกล้งนับว่ำน่ำเห็นใจมำกเพรำะนอกจำกจะตกอยู่ ในสถำนกำรณ์ ที่ สั ง คมไม่ ย อมรั บ พวกเขำยั ง ต้ อ งต่ อ สู ้ กั บ ควำมปรำรถนำควำมเหงำเพรำะไร้คู่ครอง ทีนี้ หำกคุณเป็นคนหนึ่งที่โดนกลั่นแกล้งและรู้สกึ ขำด ควำมมั่นใจในกำรหำคู่ครองมีอะไรบ้ำงที่พอช่วยได้ 1) สร้างความมั่นใจในแบบฉบับตัวเองขึ้นมา ไม่มีใครหรืออะไรในโลกนี้ที่จะปลุกพลังในตัวคุณได้ ถ้ำไม่ใช่ตัวคุณเองซึ่งเป็นค�ำแนะน�ำที่ยำกมำกเพรำะเหมือน
เป็นกำรบอกให้คนทีส่ ญ ู เสียควำมมัน่ ใจลุกมำสร้ำงควำมมัน่ ใจ ให้ตวั เองแต่ชวี ติ มันก็แค่นี้ ว่ำคุณจะยอมรับให้ตวั เองเป็นเช่นนัน้ หรือคุณจะเปลี่ยนชะตำชีวติ ใหม่ สิ่งหนึ่งที่คุณต้องมีก่อน คือกำรมีกรอบคิดแบบเติบโต (GrowthMindset)คือไม่ได้มองว่ำควำมสำมำรถเป็นสิง่ ทีต่ ำยตัว แต่มองว่ำคนเรำสำมำรถเติบโตไปได้เรือ่ ยๆเช่นกันกับตัวคุณเอง หำกคุณมองว่ำตัวคุณเกิดมำแบบนีแ้ ละท�ำได้แค่นี้ คุณก็จะหยุด อยูแ่ ค่นี้ ไม่ใช่เพรำะอะไรอืน่ แต่เป็นเพรำะกรอบคิดขังคุณไว้ ในทำงกลับกันถ้ำคุณเชือ่ ว่ำคุณสำมำรถเติบโตได้เรือ่ ยๆ คุณจะโอบรับปัญหำที่เกิดขึ้นในเชิงบวกได้ดีขึ้นเช่นมองว่ำ กำรถูกกลัน่ แกล้งเป็นสิง่ ท้ำทำยหรือโจทย์ทที่ ำ� ให้คณ ุ เติบโตขึน้ เมื่อคุณรู้สึกว่ำมันคือโจทย์ที่ท�ำให้คุณเก่งคุณจะเริ่มอยำกหำ วิธีรับมือมันด้วยจิตใจที่สู้มำกขึ้นพูดอีกอย่ำงคือคุณก�ำลัง ลอกเลียนวิธีแบบ‘อัลฟำ’มำใช้ 2) อย่าไปสนใจคนที่ไปชอบคนแบบนั้น บำงครัง้ คุณอำจน้อยใจว่ำชีวติ ช่ำงไม่ยตุ ธิ รรมเลยทีพ่ วก อันธพำลได้รับกำรยอมรับแถมยังดึงดูดพวกสำวๆอีกด้วย แต่ดูคุณสินอกจำกจะถูกแกล้งยังไม่มสี ำวใดสนใจอีกด้วย เรือ่ งนีค้ ณ ุ ต้องเข้ำใจให้ดกี อ่ นว่ำคนทีย่ อมรับและหลงรัก พวกอันธพำลไม่ใช่คนทีเ่ หมำะกับคุณหรอกเพรำะถ้ำเขำมองว่ำ กำรกลั่นแกล้งเป็นสิ่งที่เท่แล้วละก็ แสดงว่ำเขำถือศีลธรรม คนละชุดกับคุณแน่ๆดังนัน้ ไม่มคี วำมจ�ำเป็นเลยทีค่ ณ ุ ต้องน้อยใจ แต่ให้มองแง่ดวี ำ่ ช่ำงโชคดีจงั ทีโ่ ชคชะตำได้ตดั คนเหล่ำนัน้ ออกไป คุณจะได้ไม่ต้องมำเสียเวลำดูใครนำนๆ ท�ำนองเดียวกันหำกใครก็ตำมทีไ่ ม่ยอมรับกำรกลัน่ แกล้งและ ยังแสดงควำมเห็นอกเห็นใจคุณนัน่ ต่ำงหำกคือคนทีค่ ณ ุ ควรสนใจ และดีไม่ดีใครสักคนในนั้นอำจเป็นคนที่คุณจะสำนสัมพันธ์ได้
3) หาแง่มุมที่ตัวเองเป็นประโยชน์กับคนอื่น เคยมีคนบอกไว้วำ่ เวลำชีวติ มืดมนให้เรำแสดงควำมรัก ต่อคนอืน่ ให้มำกๆเพรำะในตอนนัน้ แหละทีเ่ รำจะเห็นแสงสว่ำง ในควำมมืดซึ่งแสงสว่ำงก็ไม่ใช่อะไรอื่นไกลแต่เป็นตัวเรำ นั่นเอง เช่นกันหำกคุณรูส้ กึ ท้อแท้กบั กำรสร้ำงก�ำลังใจให้ตวั เอง สิง่ หนึง่ ทีค่ ณ ุ ควรท�ำคือกำรช่วยเหลือหรือแสดงควำมรักต่อผูอ้ นื่ เพรำะแง่หนึ่งเป็นกำรย้ำยควำมสนใจจำกปัญหำตัวคุณเอง ไปยังคนอื่นซึ่งวิธีน้ีจะช่วยได้มำกในกำรบรรเทำควำมเครียด และควำมกังวลเพรำะคุณก�ำลังเอำหัวสมองไปคิดเรื่องอื่น แทนเรื่องตัวเองนอกจำกนี้กำรที่คุณรับรู้ว่ำตัวเองมีประโยชน์ และช่วยคนอื่นได้ มันเป็นกำรยืนยันตัวเองว่ ำ คุณ มีคุณ ค่ ำ เพรำะอย่ำงน้อยกำรมีอยูข่ องคุณก็ชว่ ยให้คนอืน่ ดีขนึ้ ถึงตอนนัน้ คุณก็จะเริ่มมีควำมมั่นใจขึ้นมำเอง ส ุดท้ำยแม้คุณปรับเปลี่ยนใครไม่ได้แต่คุณสำมำรถ เปลี่ยนตัวเองได้เมื่อคุณเปลี่ยนได้คุณก็เปลี่ยนแปลงเรื่อง ทีเ่ กิดขึน้ ได้และไม่แน่วนั หนึง่ คุณอำจช่วยคนอืน่ ทีถ่ กู กลัน่ แกล้ง ได้อีกด้วย
37
มีใครเคยจ�าข่าวผูช ้ ายทีถ ่ ก ู ถ่ายรูปบนรถไฟฟ้ากันได้บา้ งในภาพนัน ้ เขายืนเล่นโทรศัพท์มอ ื ถือสวมรองเท้าทีม ่ ร ี อยเป็นรูพร้อมแคปชันข้างใต้ทก ่ี ล่าวว่า ‘รองเท้าติดกล้องขอให้สาวๆระวังตัว’
จ �ำได้บ้ำงไม่ได้บ้ำงแน่นอนละข่ำวสำรมีเยอะแยะ มำกมำยในแต่ละวันใครจะมำจดจ�ำข่ำวหนึ่งข่ำวที่ยืดยำว ให้ควำมสนใจเพียงแค่พอให้เกิดบนสนทนำชั่วครำวแล้วจบไป เรือ่ งรำวก็ผำ่ นมำแล้วเป็นปีเนือ้ หำของข่ำวว่ำอย่ำงไรนัน้ จ�ำไม่ได้ อย่ำว่ำแต่ให้รื้อควำมจ�ำเลยว่ำเคยฝำกควำมเห็นอะไรเกี่ยวกับ เ รื่องนั้นหรือไม่ อำจจะเคยพยักหน้ำเออออไปในเชิงต่อว่ำ ผู้ชำยคนนั้นอำจจะเคยแชร์ให้เพื่อนดูแล้วก็ลืมมันไปตื่นมำ ก็เจอข่ำวสำรใหม่ให้แชร์วนไปอีกวัน ควำมเห็นต่อคนหนึ่งคนในเศษเสี้ยวเวลำที่จ�ำไม่ได้น้ัน ไม่ใช่เรื่องแปลกแต่ควำมเห็นที่ไม่ต้องกลั่นกรองอะไรภำยใต้ ค�ำอธิบำยว่ำนั่นคือ‘freespeech’ที่แก้ต่ำงประนีประนอม แม้ต่อกับ‘hatespeech’มันไม่น่ำจะเป็น‘เรื่องปกติ’ เวลำผ่ำนไปร่วมปีผูช้ ำยคนนัน้ ทีเ่ รำไม่เคยรูอ้ ะไรเกีย่ วกับ เขำนอกจำกกำรที่ ร องเท้ ำ ของเขำเป็นรู ออกมำเล่ำผ่ำน คลิป“คุณเคยเห็นคนตำยพูดได้ ไหม?”ว่ ำ หลั ง จำกภำพนั้ น ออกไปเพือ่ นหลำยคนก็เข้ำมำ ถำมหรือต่อให้ไม่สนิทก็มีแต่ สำยตำทีเ่ ต็มไปด้วยค�ำถำมว่ำ เขำท�ำสิง่ นัน้ จริงหรือไม่ป่วยกำร ที่ จ ะ เดิน ไปอธิบ ำยต่อ ทุก คู่ สำยตำค�ำถำมว่ำภำพนัน้ เป็น ภำพจริงแต่คำ� อธิบำยนัน้ ไม่ใช่ รองเท้ำของเขำแค่ขำดเป็นรู จำกกำรท�ำงำนในห้องเครื่อง จนภำพดูเหมือนมีวัตถุกลมๆ เล็กๆติดอยู่เมือ่ มองจำกระยะ ไกล เพื่อนของเขำพยักหน้ำ เป็ น เชิ ง เห็ น อกเห็ น ใจแต่ ค�ำอ ธิบำยของเขำต่อเพื่อนใน กลุม่ เล็กๆมันไม่ทที ำงส่งเสียง ดังเท่ำพลังโทรโข่งขยำยเสียง ด้วยพลังของกำรแชร์ในสังคม ทีก่ ำรแสดงออกซึง่ ควำมเห็นนัน้ ง่ำยเพียงปลำยนิว้ แค่พมิ พ์แล้ว จำกไปไม่ต้องรับผิดชอบอะไร “ขออยู่บ้ำนคนเดียวดีกว่ำออกไปเจอคนข้ำงนอก” เวลำอำจท�ำให้คนลืมเรือ่ งรำวของเขำไปแล้วเสียงของเขำ รำบเรียบทว่ำยังสัน่ เครือเมือ่ กล่ำวถึงเหตุกำรณ์ทเ่ี กิดขึน้ แววตำ ของเขำนัน้ แฝงไม่มดิ ถึงควำมเคลือบแคลงใจรำวกับว่ำควำมศรัทธำ ไว้ใจในสังคมนัน้ หำยไปหมด--สังคมทีค่ รัง้ หนึง่ แปะป้ำยเรียกเขำ ว่ำ‘ผู้ชำยโรคจิต’ก่อนจะได้รู้จกั กัน มีคนถำมว่ำท�ำไมเขำถึงออกมำพูดแทนที่จะปล่อยให้ เรือ่ งเงียบหำยไปเขำบอกว่ำเขำไม่ได้เล่ำเรือ่ งของตัวเองแต่เขำ แค่อยำกเล่ำแทน‘คนตำย’คนอืน่ ในสังคมทีอ่ ำจไม่มแี รงมำกพอ จะขุดหลุมขึ้นมำอธิบำยควำมจริงและปล่อยให้ทั้งควำมจริง ทั้งตัวตนที่บริสุทธิ์ถูกกลบดินฝังอยู่อย่ำงนั้น อ้างอิง Source: https://www.ted.com/talks/monica_lewinsky_the_price_of_shame
น�้ำเสียงสั่นเครือและสำยตำที่เจือควำมเคลือบแคลงใจ แต่มคี วำมบังคับตัวเองให้เข้มแข็งแฝงอยูข่ องเขำนัน้ ท�ำให้นกึ ถึง ‘โมนิกำลูวินสกี’ในจังหวะที่เธอออกมำจับไมค์ท่ำมกลำง ควำมเงียบของคนทั้งฮอลล์ที่รอฟังเสียงของเธอที่เงียบมำกว่ำ สิบปีกับTEDTalksที่ชื่อว่ำ‘รำคำของควำมอับอำย’บอกเล่ำ เรื่องรำวชีวิตสภำวะตำยทั้งเป็นที่เธอเกือบเลือกจะจบชีวิตลง ด้วยควำมตำยจริงๆจำกกำรเป็นเหยื่อcyberbullyคนแรกๆ ของโลกด้วยอิทธิพลของอินเทอร์เน็ตในช่วงนัน้ ท�ำให้กำรรับสำร ตอบโต้กับข่ำวที่เกิดขึ้นในโลกอีกฟำกได้เกิดขึ้นรวดเร็วอย่ำง ไม่เคยเป็นมำก่อนควำมเร็วและควำมเชื่อมต่อนั้นเพิ่มพลัง ทวีคณ ู ควำมเห็นของผูค้ นเสียงของแป้นพิมพ์ทคี่ นทัง้ โลกกดลง ไปพร้อมกันดังลัน่ รำวกับเสียงตะโกนใส่หน้ำเป็นตรำบำปของเธอ ไปตลอดกำล
ผลจำกคดีลือลั่นห้องไข่ในท�ำเนียบขำวท�ำให้‘โมนิกำ’ หำยหน้ำไปพักใหญ่ไม่มใี ครได้ยนิ เรือ่ งรำวของเธอมีคนบอกว่ำ เธอเก็บเนือ้ เก็บตัวไม่กล้ำออกไปไหนอยูห่ ลำยปีหวังจะให้เรือ่ ง เงียบไปแต่กำรเลือกทีจ่ ะเงียบก็ดจู ะท�ำให้เสียงนินทำนัน้ ส่งเสียง ได้ดังขึ้นควำมเห็นของคนทั้งโลกที่แปะป้ำยเธอด้วยมิติเดียว ไม่มใี ครรู้จกั เธอในมิตอิ นื่ นอกไปจำกควำมเป็นอดีตเด็กฝึกงำน ในท�ำเนียบขำวที่มีข่ำวฉำวกับอดีตประธำนำธิบดี กว่ำสิบปีทอี่ ยูก่ บั ควำมกลัว--ควำมกลัวต่อควำมอับอำย จนหลำยครั้งที่เธอคิดว่ำกำรตำยไปยังจะง่ำยเสียกว่ำแต่เวลำ และเรือ่ งรำวของcyberbullyทีเ่ ริม่ ปรำกฏบ่อยขึน้ กับอิทธิพลของ อินเทอร์เน็ตที่มีมำกขึ้นเส้นแบ่งระหว่ำงควำมจริง-ควำมเห็น, ข่ำว-ค�ำนินทำและชีวติ ส่วนตัวกับเรือ่ งสำธำรณะทีเ่ ริม่ สวนทำง กันไปท�ำให้ เธอรู้ สึกว่ำ เธอควรจะต้ องกลืนก้ อนควำมกลัว
ควำมรูส้ กึ ผิดนัน้ ไปด้วยกำรออกมำท�ำอะไรสักอย่ำงให้ถกู ต้องแทน “ถึงเวลำแล้วที่ฉันจะต้องเผำหมวกเบเรต์และชุดเดรส สีน�้ำเงินนั่น” วลีดงั ทีม่ นี ยั ยะถึงกำรท�ำลำยล้ำงหลักฐำนชิน้ ส�ำคัญทีม่ ดั ทัง้ ตัวเธอเขำและผลทีต่ ำมมำหลังจำกนัน้ เป็นเวลำนำนกว่ำสิบปี ทีเ่ ธอใช้ในกำรเยียวยำบำดแผลและตัดสินใจออกมำเล่ำเรือ่ งรำว ที่เกิดขึ้นเพื่อเขียนเรื่องรำวตอนจบของชีวิตเธอเองแม้เรื่องรำว กว่ำค่อนชีวติ ของเธอจะถูกเขียนโดยน�ำ้ หมึกของสือ่ และแป้นพิมพ์ ของคนทั้งโลกก็ตำม “ฉันเฝ้ำถำมตัวเองว่ำฉันจะใช้ประโยชน์จำกอดีตทีเ่ กิดขึน้ ได้อย่ำงไร‘หญิงสำวคนนัน้ ’ไม่สำมำรถออกมำพูดเพือ่ ปกป้อง ตัวเธอเองได้ในวันนั้นแต่ฉันในวันนี้อำจช่วยคนที่ก�ำลังอยู่ใน สถำนกำรณ์เดียวกันหรือจะให้ดีไปกว่ำนั้นคือระงับเหตุกำรณ์ แบบนี้ไม่ให้เกิดขึ้นได้ “ ถ้ ำ จะมี อ ะไรที่ ฉั น ได้ เรียนรู้จำกเหตุกำรณ์ครั้งนั้น มันก็คือควำมจริงที่ว่ำเรำไม่ สำมำรถหนีจำกควำมจริงทีเ่ กิด ขึน้ และสภำวะไร้พลังทีแ่ ท้จริง ก็คือกำรไร้ควำมสำมำรถที่จะ ควบคุมเรือ่ งรำวชีวติ ของตัวเอง พลั ง ที่ จ ะเล่ำเรือ่ งรำวใหม่ ให้ ควำมหมำยกับมันใหม่หัวเรำะ ไปกั บ มั น เมื่ อ เวลำผ่ำนไป” ทง้ั ‘โมนิกำ’และผูช้ ำย คนนั้นต่ำงเป็นเหยื่อที่เยียวยำ ตัวเองจนกลำยมำเป็นผูส้ ง่ เสียง ปกป้องแทนผู้อื่นแม้กำรพูด ออกไปมั น จะคล้ ำ ยกำรเปิ ด แผลเดิมให้ขนึ้ มำในควำมทรงจ�ำ อี ก แต่ เ ขำก็ เ ลื อ กที่ จ ะพู ด ออกไป--ไม่ ใ ช่ เ พื่ อ แก้ ต ่ ำ ง ปกป้ อ งตั ว เองหำกแต่ พู ด แทนผูค้ นทัง้ หลำย,เรำทัง้ หลำย ที่ ต่ ำ งเคยบอบช�้ำจำกเสียงที่ ท�ำลำยควำมเชื่อมั่นในตัวเองนั้น หำกแต่เรำต้องรอถึงเมื่อไหร่และจะมีผู้ถูกกระท�ำอีก เท่ำไหร่ท่ีไม่สำมำรถเปลี่ยนเสียง‘hatespeech’เหล่ำนั้นให้ กลำยเป็นเสียงที่พูดเพื่อผู้อื่นได้ มันไม่มีอะไรปกติเลยในสังคมที่แสวงหำควำมบันเทิง บนควำมทรมำนใจของผู้อ่นื มันเจ็บปวดเกินไป เจ็บปวดจนพวกเขำต้องพูด แม้จะต้องข่มตัวเองไม่ให้เสียงสั่นในขณะพูดออกไป เพือ่ ไม่ให้หนึง่ นำทีของกำรแสดงควำมเห็นชัว่ ครำวส่งผลกับชีวติ ระยะยำวของใครอีกหลำยคน
BREATHEIN:พชรสูงเด่น อาชี พ:นักศึกษาทุนErasmusMundusด้านการศึกษาเพื่อการพัฒนาก�าลังอยู่ในช่วงชีวิตที่ต้องวุ่นๆสลับไปมาระหว่างนั่งเขียนรายงานในห้องสมุดอบขนมในห้องครัวเรียนรู้ นอกห้องเรียนด้วยการเดินทางไปยังเมืองต่างๆในยุโรปและการนั่งเขียนบันทึกเรื่องราวทั้งหมดส่งมาให้adayBULLETINที่ก�าลังจะน�ามาทยอยลงเป็นตอนๆทางออนไลน์ของเรา
“Hate speech is not free speech”
a day BULLETIN
,
EDITOR S NOTE
38
วุฒิชัย กฤษณะประกรกิจ บรรณาธิการบริหาร FB : theaestheticsofloneliness
LORD OF THE FLIES
issue 542 11 JUN 2018
เวลามีคนพูดว่า เด็กเป็นสิง่ สวยงาม บริสทุ ธิ์ ไร้เดียงสา ผมไม่คอ่ ยเชือ่ เท่าไหร่ ตัง้ แต่จา� ความได้ การละเล่นแรกๆ ในชีวติ ของเราทุกคนไม่ใช่อะไรนอกไปจากเกมวิง่ ไล่กนั ไปไล่กนั มา แปลกดีทเี่ หล่าเด็กอายุไล่เลีย่ กันจะถูกดึงดูดด้วยพลังลึกลับบางอย่าง ให้ออกจากบ้าน มารวมตัวกันทีล่ านกว้างในละแวกบ้าน แต่ละคนจะมองดูเพือ่ นคนอืน่ แล้วก็เปรียบเทียบกัน จัดระดับกันแต่ละคนว่าใครเหนือกว่าหรือด้อยกว่าโดยอัตโนมัติ แล้วก็แบ่งฝักแบ่งฝ่ายกันด้วย วิธเี สีย่ งทายต่างๆ เพือ่ แยกกันสวมบทบาทสมมติเป็นขัว้ ตรงข้าม ก�าหนดกติกาทีเ่ ป็นจริงเป็นจังเสียเหลือเกิน เพือ่ จะได้วง่ิ เล่นไล่กนั ตามจินตนาการแบบนัน้ อย่างสนุกสนาน พลังลึกลับนีย้ งั คงอยูต่ อ่ มาจนถึงวัยเรียน ถึงแม้กจิ กรรมหลักอย่างเป็นทางการของโรงเรียน คุณครูจะจับเราใส่เครือ่ งแบบเหมือนกัน มายืนเข้าแถวหน้าเสาธง ร้องเพลงชาติอย่าง พร้อมเพรียง แล้วก็เดินเรียงกันเข้าห้องเรียนเพือ่ ท่องอาขยาน แต่กจิ กรรมการละเล่นในเวลาพักเทีย่ งของเรา เราจะนัดกันมาล้อมวง เปรียบเทียบกัน แบ่งฝักแบ่งฝ่าย สวมบทบาทสมมติ เป็นขัว้ ตรงข้าม แล้วก็วงิ่ ไล่กนั เหมือนเดิม ผมเคยเขียนบทความชิน้ หนึง่ อ้างอิงถึงการวิจยั ของมหาวิทยาลัยเมน อธิบายว่าท�าไมเด็กๆ จึงชอบเล่นต่อสูก้ นั เขาศึกษาองค์ประกอบในการละเล่นเด็กๆ แล้วก็พบว่าสิง่ ทีจ่ า� เป็น ต้องมีเสมอ คือ ‘ผู้ร้ายในจินตนาการ’ ไม่ว่าจะสอนให้เด็กเล่นเกมอื่นๆ อย่างไรก็ตาม เด็กจะย้อนกลับมาสร้างผู้ร้ายของเขาขึ้นมาใหม่ในเกมนั้น นักวิจัยเชื่อว่าเป็นผลมาจากสื่อทีวี ข่าว การ์ตูน และหนังจ�าพวกซูเปอร์ฮโี ร่ ฯลฯ ถ้าลองแบนผู้ร้ายออกไปจากเกม จะพบว่าเด็กไม่สนใจที่จะเล่นเกมนั้นต่อไป The bad guys serve a purpose for the children - นักวิจยั สรุปไว้แบบนี้ แปลกดีที่ผู้ร้ายในใจเรา แท้ที่จริงแล้วมันคือจุดประสงค์ในการมีชีวิตอยู่ของเราเอง ความรุนแรงที่เรากระท�าต่อกันและกัน แท้ที่จริงแล้วมันคือการดิ้นรนแสวงหาตัวตนของเรา จากความแตกต่างแบบขั้วตรงข้าม ยิ่งดิ้นรนแสวงหาตัวตนมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งกระท�ารุนแรงกับผู้คนและโลกรอบตัวมากเท่านั้น ยังมีบทความอีกชิน้ หนึง่ ทีผ่ มเคยเขียนไว้ เกีย่ วกับสาเหตุพฤติกรรมการกลัน่ แกล้งรังแกกันในโรงเรียนของเด็กๆ โดยส่วนใหญ่เคยมีความเชือ่ กันมาว่า เด็กอันธพาลมาจากครอบครัว ที่ขาดความรักความอบอุ่น หรือเด็กที่เลียนแบบพฤติกรรมความรุนแรงในครอบครัว แต่ผลการวิจัยของนักจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ที่เสนอเหตุผลว่าเกี่ยวข้องกับปัจจัย ทางสังคมมากกว่า นักวิจยั ไปสัมภาษณ์เด็กนักเรียน โดยให้ระบุชอื่ เพือ่ นทีถ่ ูกแกล้งและเพือ่ นทีไ่ ปแกล้งคนอืน่ แล้วน�ารายชือ่ ทัง้ หมดมาวาดเป็นเส้นทางของความรุนแรงในโรงเรียน แล้วพบว่าชนชัน้ ในสังคมโรงเรียนเป็นตัวก�าหนดให้เด็กแสดงพฤติกรรมก้าวร้าว เด็กเมื่อถูกจับมาอยู่รวมกัน มีแนวโน้มที่จะดิ้นรนแสวงหาการยอมรับ ค้นหาตัวตน มีต�าแหน่งแห่งที่ของตนในสังคม เหตุผลที่เด็กใช้ความรุนแรง ก็เพื่อท�าให้ตัวเองป๊อปปูลาร์ และช่วยให้ตวั เองไต่เต้าระดับทางสังคมขึ้นไปเรื่อยๆ มันท�าให้ผมนึกถึงนิยาย เจ้าแห่งแมลงวัน ของ วิลเลียม โกลดิง เด็กนักเรียนกลุม่ หนึง่ ติดอยูบ่ นเกาะร้าง แล้วการละเล่นของพวกเขาก็จริงจังขึน้ เรือ่ ยๆ ลุกลามไปกลายเป็นสงคราม และความตายจริงๆ ความเป็นเด็กนัน้ อาจจะบริสทุ ธิ์ ไร้เดียงสา แต่เมือ่ มาอยูร่ วมกันเป็นสังคม มันไม่ใช่แบบนัน้ ทัง้ หมด เวลาเห็นเด็กวิง่ เล่นกันสนุกสนาน เบือ้ งหลังนัน้ คือแบบจ�าลองสังคม ทีต่ ้องดิ้นรนต่อสู้ ในหนังเรื่อง All about Lily Chou Chou ซึ่งเกี่ยวกับการกลั่นแกล้งรังแกกันในโรงเรียนที่ประเทศญี่ปุ่น มีฉากหนึ่ง ตัวละครเด็กวัยรุ่นกลุ่มหนึ่งนั่งคุยกัน “พวกเธอรูไ้ หมว่าต้นไทรมีชอื่ เรียกอีกชือ่ ว่าต้นไม้รดั คอ ต้นไทรต้นใหญ่ๆ มันโตขึน้ มาจากการไปบีบรัดต้นไม้ตน้ อืน่ จนตาย เพือ่ จะได้ยดึ ล�าต้นนัน้ มาใช้เป็นทางเลือ้ ยขึน้ ไปสูแ่ สงแดด ปะการังก็เหมือนกัน มันแผ่ขยายตัวได้ด้วยการเอาเข็มพิษไปทิ่มใส่ปะการังตัวข้างๆ จนกระทั่งตาย แล้วมันค่อยยึดพื้นที่ตรงนั้นต่อมา ส�าหรับคนเรา เวลาเรามองเห็นป่าเขาท้องทะเล เราคิดว่ามันสวยงามเหมือนสรวงสวรรค์ แต่จริงๆ แล้ว ส�าหรับสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในนั้น มันเป็นเหมือนดั่งนรกบนดิน ทุกชีวิตก�าลังต่อสู้เข่นฆ่ากันอย่างโหดร้าย” จนกระทัง่ ไต่เต้าขึน้ ไปถึงจุดสูงสุดของระดับชัน้ ทางสังคม เด็กทีป่ อ๊ ปปูลาร์มากๆ แล้ว ส่วนใหญ่จะหยุดพฤติกรรมรุนแรง เมือ่ พบว่าโครงสร้างสังคมนีเ้ อือ้ ประโยชน์ตอ่ ตัวเขาเรียบร้อย แล้ว ความสุขสงบและดีงามภายในใจของชนชั้นสูง จึงไม่ใช่อะไรนอกจากการได้มาซึ่งสถานะทางสังคมเรียบร้อยแล้ว และต้องการรักษาสถานะนั้นเอาไว้ต่อไป เมือ่ เติบโตเป็นผูใ้ หญ่ พ้นจากรัว้ โรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย เราคิดว่าตัวเองรูจ้ กั คิด รูจ้ กั ใช้เหตุผล และเป็นคนดีมคี ณ ุ ธรรม แต่แท้ทจี่ ริงแล้วผูร้ า้ ยในใจเราคนนัน้ ยังคงอยูต่ ลอดมา และโครงสร้างสังคมได้ผลิตซ�้าตัวเองออกไปจนเหมือนกันทุกที่ ตราบที่เรายังอยู่ร่วมกันในสังคม เราจะออกจากบ้านมา ยืนล้อมวงกันแล้วก็เปรียบเทียบกัน เริ่มต้นจัดระดับชั้น แบ่งฝักแบ่งฝ่าย แล้วก็ว่ิงไล่กันไปเรื่อยๆ ไม่รู้จักจบสิ้น วนเวียนเหมือนหนูถบี จักรในสังคมที่ใหญ่ข้นึ ไขว่คว้าหาความส�าเร็จเพื่อจะได้ไต่เต้าขึ้นไป ด้วยหน้าที่การงาน เงินทอง ชื่อเสียง การยอมรับ แม้กระทั่งในโลกออนไลน์ วันนี้ได้กี่ไลก์ กี่วิว ก็ขึ้นอยู่กับความโดดเด่นเหนือใครในการโพสต์ การแชร์ เราจึงได้รู้สึกสงสัยว่าท�าไมในโลกออนไลน์ ผู้คนจึงหยาบคาย ก้าวร้าว ใช้ความรุนแรงทางวาจาต่อกันมากกว่าปกติ นรกคือคนอื่น ความชั่วร้ายอยู่ในชนชั้นทางสังคม และชีวิตเราเป็นเพียงการสวมบทบาทสมมติ วิ่งเล่นไล่กันไปบนเส้นทางของความรุนแรงไปเรื่อยๆ ตราบจนเราค้นพบตัวเอง และรู้สึกพึงพอใจกับสถานะทางสังคมของตัวเองแล้วเท่านั้น