a day BULLETIN 593

Page 1

594 593 592

TODAY EXPRESS PRESENTS

03 JUN 2019

Life Procedures

on day of

deParture


02

CONTENTS

ISSUE 593 03 JUN 2019

FEATURE

เข้าใจวิถีแห่งการตายดี ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ

PRESENTS

03 JUN 2019

ISSUE 593

594 593 592

TODAY EXPRESS

และการจัดการทรัพย์สิน ครั้งสุดท้าย

THE CONVERSATION 8 บทสนทนาว่าด้วย

ความตายและความหมาย ของการมีชีวิต

MONEY LIFE BALANCE Next 10 year Life Procedures

on day of

deParture

challenge แคมเปญ อนาคตการเงินที่ก�าหนด ด้วยตัวคุณเอง

BREATHE IN 1 งานศพที่คุณปรารถนา

เป็นอย่างไร? บทสนทนา ที่พาเตรียมตัวตายและ ทบทวนความหมายของชีวิต

่ ณ ภาพทีค ุ เห็นบนหน้าปกของ a day BULLETIN ฉบับนี้ เป็นฝีมอื ของ ‘Erdy’ หรือ ‘ลูกไม้’ นักวาดภาพประกอบสาว ลายเส้นน่ารัก ที่ครั้งนี้เธอได้ถ่ายทอดเรื่องราวที่ใคร ก็มองว่าน่าเศร้าและน่ากลัวอย่าง ‘ความตาย’ ออกมาเป็น ่ สือ ่ ถึงการเดินทางไปสูค ภาพวาดสีสวยละมุน เพือ ่ วามตาย ในมุมมองใหม่ ซึ่งไม่จ�าเป็นต้องมืดหม่นและหมดหวัง เพราะเราเชื่อว่า ใครๆ ก็สามารถจากโลกนี้ไปอย่าง สงบสุขและมีความหมายได้ หากเข้าใจองค์ประกอบ ของการตายดีและพร้อมใช้ทุกวินาทีของชีวิตอย่างมี คุณค่าที่สุด

BREATHE IN 2 หลังความตาย เราจะได้ กลับมาพบกันอีกครั้ง

EDITOR’S NOTE บทบรรณาธิการ ทัศนคติต่อชีวิตและสังคม ผ่านสายตา วุฒิชัย กฤษณะประกรกิจ

่ รึกษา สุรพงษ์ เตรียมชาญชัย บรรณาธิการทีป ่ รึกษา นิภา เผ่าศรีเจริญ บรรณาธิการผูพ ทีป ้ ม ิ พ์โฆษณา/บรรณาธิการบริหาร วุฒช ิ ย ั กฤษณะประกรกิจ รองบรรณาธิการบริหาร ฆนาธร ขาวสนิท บรรณาธิการบทความ ทรรศน หาญเรืองเกียรติ ปริญญา ก้อนรัมย์ กองบรรณาธิการ ศรัญญา อ่าวสมบัตก ิ ล ุ พัทธมน วงษ์รต ั นะ ชยพล ทองสวัสดิ์ นักเขียน/ผู้ประสานงาน ตนุภัทร โลหะพงศธร หัวหน้าช่างภาพ กฤตธกร สุทธิกิตติบุตร ช่างภาพ ภาสกร ธวัชธาตรี ธนดิษ ศรียานงค์ บรรณาธิการศิลปกรรม พงศ์ธร ยิม ิ ก ั ษณ์ ตะเภาหิรญ ั ศิลปกรรม ฐิตช ิ ญา อนันต์ศร ิ ภ ิ ณ ั ฑ์ อุษา นพประเสริฐ พิสจ ู น์อก ั ษร หัสยา ตัง ิ ธิ์ ไม้ลา� ดวน ้ พิทยาเวทย์ ศักดิส ้ แย้ม ศิลปกรรมอาวุโส สิรล ์ ท ่ วง ่ ออนไลน์ ธมนวรรณ กัวหา ฝ่ายผลิต วิทยา ภูท พิสจ ู น์อก ั ษร/ผูด ้ แ ู ลสือ ่ อง บรรณาธิการดิจต ิ อลคอนเทนต์ ภัทรพร บุญน�าอุดม ฝ่ายสร้างสรรค์วด ิ โี อ วงศกร ยีด ่ รึกษาฝ่ายโฆษณา ศรวณีย์ ศิรจ รัชต์ภาคย์ แสงมีสน ิ สกุล กวินนาฏ หัวเขา ทีป ิ รรยากุล ผูจ ้ ด ั การฝ่ายโฆษณา มนัสนันท์ รุง ่ รัตนสิทธิกล ุ 08-4491-9241 ผูช ้ ว ่ ยผูจ ้ ด ั การฝ่ายโฆษณา ภรัณภพ สุขอินทร์ 08-9492-3444, ธนาภรณ์ ศรีจฬ ุ างกูล 08-1639-1929, พงศ์ธด ิ า อังศุวฒ ั นากุล 09-4415-6241, ณัฐวีณ์ ประมุขปฐมศักดิ์ 08-3922-9929 ฝ่ายโฆษณาอาวุโส ณัฐเศรษฐ ใหม่เมธี 08-1886-9569, เลขานุการฝ่ายโฆษณา อัจจิมา กาญจนสมทรัพย์ ฝ่ายธุรการ ศันสนีย์ สีเขียว เจ้าของ บริษัท เดย์ โพเอทส์ จ�ากัด เลขที่ 33 ซอยศูนย์วิจัย 4 แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 ติดต่อกองบรรณาธิการ โทร. 0-2716-6900 อีเมล contact@adaybulletin.com เว็บไซต์ www.adaybulletin.com, www.daypoets.com ฝ่ายสมาชิก โทร. 0-2007-0155-7, www.godaypoets.com



04 4 ISSUE 593 03 JUN 2019

A MUST E VE N T

วิ ช า ชี วิ ต บ ท สุ ด ท้ า ย

S ERIES

สมัครเพื่อเข้าร่วม กิจกรรม และดู รายละเอียดเพิ่มเติม โดยค้นหาในเฟชบุ๊กว่า ‘วิชาชีวิตบทสุดท้าย The Last Life Lesson’

กิ จ กรรมหลั ก ของงานเริ่ ม ต้ น ตั้ ง แต่ ช ่ ว ง บ่ายโมง โดยได้รับเกียรติจาก คุณหญิงจ�านงศรี หาญเจนลักษณ์ ทีจ่ ะมานัง่ พูดคุยกับเราว่าความตาย นัน้ ไม่ใช่ศตั รู ก่อนจะส่งต่อให้กบั ภาริอร วัชรศิริ ทีจ่ ะเล่าเรือ่ งในหัวข้อ ‘The Future Foreseen เตรียมใจ กับอนาคตอีกไม่ไกล’ และอุน่ ใจมากขึน้ กับค�าแนะน�า ของ รศ. พญ. ยุวเรศมคฐ์ สิทธิชาญบัญชา ทีจ่ ะบอก เราถึงความส�าคัญของความสุขในช่วงท้ายของชีวติ ว่า ‘The Way Home ความสุขสุดท้ายคือได้กลับบ้าน’ ต่อด้วยการเผชิญหน้าอย่างเข้มแข็ง และวิธีการ จัดการกับภาวะสมองเริม่ ท�างานผิดปกติ ‘The Mind Unwinded เมือ่ สมองก�าลังล้มเหลว’ โดย ผศ. นพ. สุขเจริญ ตัง้ วงษ์ไชย

งานนี้ ไ ม่ ไ ด้ มี แ ต่ เ รื่ อ งของ วิ ช าการที่ ฟ ั ง แล้ ว รู ้ สึ ก หนั ก หรื อ เครียดแต่อย่างใด แถมจะยังค่อยๆ เพิ่ ม ความอบอุ ่ น ขึ้ น จากหั ว ข้ อ สนทนาทีว่ า่ ด้วยการดูแลด้วยใจและ สัมผัสแทนค�าพูด เพื่อลมหายใจ สุดท้าย ‘The Deepest Conversation บทสนทนาลึ ก ซึ้ ง ถึ ง หั ว ใจ’ โดย ดุจดาว วัฒนปกรณ์ การตั้งมั่น สร้างก�าลังใจเพื่อรับมือกับความเจ็บปวดทรมานในระยะท้ายที่เรา ทุกคนจะต้องเผชิญ ‘The Pain Within เมื่อร่างกายก�าลังแตกสลาย’ โดย นพ. พรศั ก ดิ์ ผลเจริ ญ สมบู ร ณ์ และปิดท้ายด้วยการให้ค�าปรึกษา ทางการเงินที่จะมาช่วยวางแผน และเตรียมเอกสารให้คุณเสียแต่ เนิน่ ๆ ส�าหรับ ‘The Final Journey เตรี ย มจั ด กระเป๋ า ออกเดิ น ทาง’ โดย พีระพัฒน์ เหรียญประยูร วิชาชีวติ บทสุดท้าย The Last Life Lesson จัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 8 มิถนุ ายน 2562 เวลา 13.00-17.00 น. ณ ห้องประชุม 201 ศูนย์เรียนรู้ สุ ข ภาวะ สสส. ซอยงามดู พ ลี (ลงทะเบียนเข้างานตั้งแต่เที่ยงวัน เป็นต้นไป) พร้อมนิทรรศการขนาด เล็ก ‘Departure Guide’ ขั้นตอน วิ ธีก ารออกเดิ น ทางครั้ ง สุ ด ท้ า ย ตัง้ แต่การจัดกระเป๋า เตรียมเอกสาร เก็ บ กวาดบ้ า น แล้ ว ปิ ด ประตู จูงมือเพือ่ นของเราคนนีก้ า้ วเดินไป

จากแนวคิด ‘คนดีได้ขนึ้ สวรรค์ คนชัว่ ต้องตกนรก’ สูซ่ รี สี แ์ นวตลกร้าย ที่ตั้งค�าถามถึงความผิดชอบชั่วดีของ มนุษย์ได้อย่างคมคาย แถมมีมุกตลก ชวนข�ากระจายกันตลอดเรื่อง ว่าด้วย ชี วิ ต หลั ง ความตายของเอลนอร์ หญิงสาวที่แม้จะไม่ใช้คนดีสักเท่าไหร่ แ ต่ก็จับพลัดจับผลูได้มาใช้ชีวิตหลัง ค วามตายอยู่ใน The Good Place สถานที่ทเี่ ป็นเหมือนสวรรค์ซงึ่ รวบรวม เหล่าคนดีทเี่ สียชีวติ แล้ว และเธอก็ได้พบ กับชิดี้ ศาสตราจารย์สอนวิชาปรัชญา และศีลธรรมผู้ไม่เคยตัดสินใจอะไรได้ สักอย่าง จากนั้นชีวิตหลังความตาย ของเธอก็เปลีย่ นไปตลอดกาล ติดตาม The Good Place ทั้ง 3 ซีซัน ได้ทาง Netflffllix

DOCUMENTARY

ส�าหรับปุถชุ นคนธรรมดาทัว่ ไป ความตายคงจะเป็ น (และจะเป็ น ) สิ่งสุดท้ายที่ทุกคนไม่อยากจะเผชิญ แต่สา� หรับเจเน็ตในวัย 72 ปี ไม่ได้เป็น เช่นนัน้ เธอก�าลังหาวิธที จี่ ะจากไปอย่าง สงบเพือ่ หลุดพ้นจากความทุกข์ทรมาน ทางร่างกายด้วยโรคกล้ามเนือ้ อ่อนแรง ขั้ น รุ น แรง เธออาศั ย อยู ่ ใ นประเทศ อังกฤษ ประเทศซึ่งไม่มีกฎหมายใด อนุญาตให้ทา� การการุณยฆาต เธอปฏิเสธ ที่จะนอนรอความตายด้วยความทุกข์ ทรมาน การจากไปดูเหมือนจะเป็น สิง่ ทีเ่ ธอต้องการมากกว่าการมีชวี ติ อยู่ สามารถติดตามเรื่องราวของเธอได้ จากสารคดีที่ก�ากับโดย โธมัส ครูปา เรื่องนี้

THE GOOD DEATH (2019)

ง า น ท อ ล์ ก ที่ เ กิ ด ขึ้ น โ ด ย ชีวามิตร, ส�านักงานกองทุน ส นั บ ส นุ น ก า รส ร้ า ง เ ส ริ ม สุขภาพ (สสส.) และ a day B U L L E T I N เ พื่ อ พู ด คุ ย และท�าการเรียนรู้ร่วมกันว่า ‘ความตาย’ จริงๆ แล้วไม่ใช่ ศั ต รู ที่ จ้ อ ง จ ะ ท� า ร้ า ย เ ร า แ ต่ คื อ ส่ ว น ห นึ่ ง ข อ ง ชี วิ ต เป็ นทัง ่ า้ แขน ้ เพื่อน และคนทีอ โอบกอดเราในวันใดวันหนึ่ง ที่ถึ ง เวลาต้ อ งเดิ น ทางครั้ง ใหม่ โดยงานนี้ มี กิ จ กรรม ทีท ุ ได้เรียนรู้ เข้าใจ และ ่ า� ให้คณ พร้ อ มรั บ มื อ กั บ การจากลา ทัง ั ้ ของตัวเอง และคนใกล้ตว ได้อย่างเบาใจ

THE GOOD PLACE

THE LAST LIFE LESSON



06 6 ISSUE 593 03 JUN 2019

P OD CA S T

THE101.WORLD : THREESOME PODCAST | EP 60 พอดแคสต์ทสี่ ามารถฟังได้ทงั้ จาก Soundcloud.com และ https://podcasts.apple.com หรือจากเว็บไซต์ www. the101.world/threesome-ep60 โดยทีมงาน The 101 Percent ทีเ่ ล่าเรือ่ งราวรอบตัวทัง้ การเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และชีวติ ซึง่ ‘ความตาย’ ก็เป็นหนึง่ ในซีรสี ท์ ถี่ กู หยิบยกมาคุยทัง้ ในแง่มมุ ของจิตวิทยา ประสบการณ์จริงจากคนใกล้ตวั ของพิธกี ร หรือแม้กระทัง่ เรือ่ งของการท�าการุณยฆาตทีก่ า� ลังกลายเป็นค�าถามส�าคัญซึง่ เริม่ พูดถึงกันอย่างแพร่หลาย และในซีรสี ์ ‘เมือ่ ความตายมาถึง’ ยังมีการพูดถึงวิธกี ารพูดคุยกับคนใกล้ตวั ของคุณทีม่ แี นวโน้มว่าไม่อยากมีชวี ติ อยู่ อีกต่อไปแล้วว่าจะต้องท�าอย่างไร พูดคุยกับเขาแบบไหน เพือ่ สร้างก�าลังใจให้เขากลับมาลุกขึน้ สู้ และอยากมีชวี ติ อยูต่ อ่ ไป

AC C E S S O R Y

GEMORIES M OV I E

THE BUCKET LIST Bucket List หมายถึงสิง่ ทีอ่ ยากท�าก่อนตาย โดยค�าค�านีถ้ กู น�ามาใช้เป็นชือ่ ของภาพยนตร์ ทีน่ า� แสดงโดย มอร์แกน ฟรีแมน และ แจ็ก นิโคลสัน เรือ่ งราวเกีย่ วกับผูป้ ว่ ยมะเร็งระยะ สุดท้ายสองคน คนหนึง่ เป็นเศรษฐีเจ้าของโรงพยาบาลทีม่ ชี วี ติ อยูก่ บั ตัวเลขในบัญชี กับอีกคน เป็นช่างซ่อมรถทีใ่ ช้ชวี ติ อยูบ่ นพืน้ ฐานของความสุขในการมองหาจากสิง่ ต่างๆ รอบตัว โชคชะตา น�าพาให้ทงั้ สองต้องมาท�าบางสิง่ บางอย่างร่วมกัน เรียนรูช้ วี ติ จากกันและกัน พร้อมกับค�าถาม ทีป่ รากฏในภาพยนตร์อย่างน่าสนใจว่า ‘คุณพบเจอความสุขในชีวติ ไหม?’ และ ‘การมีชวี ติ อยู่ ของคุณน�ามาซึ่งความสุขของผู้อื่นหรือเปล่า?’ เข้าไปดูภาพยนตร์เรื่องนี้ได้ทาง Netffllflix

เก็บรักษาความทรงจ�าจากอัฐแิ ละเส้นผมของ บุคคลหรือสัตว์เลี้ยงอันเป็นที่รักให้กลายเป็นเครื่องประดับอัญมณีมีชีวิต ทั้งในรูปแบบของพลอยหรือ แก้วหินอ่อนทีท่ รงคุณค่าและสวยงามในคราวเดียวกัน เหมือนเป็นสิง่ แทนใจของผูล้ ว่ งลับทีส่ มั ผัสได้ ราวกับ ใครคนนั้นไม่เคยจากไปไหน โดย Gemories ธุรกิจ แนวใหม่ที่เล็งเห็นถึงคุณค่าของการบันทึกเรื่องราว และความทรงจ�าของมนุษย์ผ่านกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์ ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ให้เกิดเป็นอัญมณี และเครือ่ งประดับสวยๆ ทีม่ คี ณ ุ ค่าทางจิตใจไว้ตลอดไป ดูรายละเอียดเพิม่ เติมที่ www.gemoriesthailand.com

B O OK

THE ART OF DEATH คุณจะท�าอย่างไรถ้าคนที่คุณรักที่สุดก�าลังจะตายด้วยอาการของโรคร้ายซึ่ง ไม่อาจรักษาให้หายได้ Edwidge Danticat นักเขียนชาวเฮติ ตัดสินใจบันทึกทุกความรูส้ กึ และประสบการณ์ชวี ติ ระหว่างตัวเธอและแม่ทปี่ ว่ ยด้วยโรคมะเร็ง โดยถ่ายทอดเรือ่ งราว ทั้งหมดออกมาอย่างลุ่มลึก และมองความตายว่าเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง ซึ่งไม่ใช่ ความงดงามแต่เป็นความหมายบางอย่างทีท่ า� ให้ตวั เธอเองได้เข้าใจชีวติ และก้าวผ่าน ช่วงเวลาที่ยากล�าบากจากการสูญเสียแม่มาได้ แม้ว่าหนังสือเล่มนี้จะน�าเสนอเป็น บันทึกส่วนตัว แต่มุมมองและแง่คิดจากชีวิตของคนที่เคยโศกเศร้ากับการสูญเสีย จะกลายเป็นพลังใจและบทเรียนของชีวิตให้กับทุกคนที่ก� าลังประสบเหตุการณ์ เดียวกันกับเธอ

PR O D U C T

CARENATION AP P L I CAT I O N

WITH ME จะดีแค่ไหนหากเรามีโอกาสได้พดู คุยกับคนทีล่ าจากโลกนีไ้ ปแล้ว (?) เรือ่ งนีเ้ ป็นไปได้ดว้ ย With Me แอพพลิเคชันจากเกาหลีทจี่ า� ลอง การพูดคุยแบบเห็นหน้ากับบุคคลผูล้ ว่ งลับ ผ่านเทคโนโลยี 3D และ AI โดยการรวบรวมข้อมูลของผู้เสียชีวิตเพื่อแสดงบุคลิกท่าทางใน การแสดงออกให้เสมือนจริง และภาพจ�าลองจากแอพพลิเคชันนีจ้ ะ สามารถวิเคราะห์ปฏิกริ ยิ าของคูส่ นทนา พร้อมโต้ตอบกับเราราวกับ เขายังมีชีวิตอยู่ แม้สัมผัสจับต้องไม่ได้ แต่ก็สามารถช่วยเยียวยา ความคิดถึงแก่บุคคลที่ต้องพบเจอกับการลาจากอันเป็นนิรันดร

เปลี่ยนพวงหรีดดอกไม้ให้กลายเป็นพวงหรีด แห่งการให้ ที่เป็นมากกว่าสิ่งแสดงความรัก และ ความอาลัยแด่ผจู้ ากไปด้วย Carenation หรือพวงหรีด เพื่อสังคมที่ผลิตจากกระดาษรีไซเคิลและกระดาษ จากป่าปลูก ซึ่งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ยังเป็นการช่วยสร้างโอกาสและพัฒนาอาชีพ เพราะเป็น พวงหรีดที่ประกอบขึ้นโดยฝีมือของผู้คนในชุมชนที่ ขาดแคลนรายได้ ยิง่ ไปกว่านัน้ ยอดจ�าหน่าย 20-35% ของพวงหรีดทุกพวงจะน�าไปบริจาคให้มูลนิธิต่างๆ อย่างโปร่งใส ซึง่ ผูซ้ อื้ สามารถเลือกบริจาคให้กบั องค์กร ตามทีต่ อ้ งการได้ โดยมีใบเสร็จเพือ่ ให้น�าไปลดหย่อน ภาษีได้ถูกต้องตามกฎหมาย สั่งซื้อพวงหรีดและดู รายละเอียดเพิม่ เติมได้ที่ www.care-nation.com หรือ www.facebook.com/CarenationThailand



T EHAET CUOR N F EV E R SAT I O N เรื่อง : พัทธมน วงษ์รัตนะ ภาพ : ERDY

DEPARTURE GUIDE LIfE PROcEDURES ON DAy Of DEPARTURE

‘Valar Morghulis’ หรือ ‘All men must die’ หรือแปลเป็นไทยว่า ‘มนุษย์ทุกคนต้องตาย’ คือประโยคที่โด่งดังที่สุดจากซีรีส์ยอดฮิต Game of Thrones เหตุท่เี ป็นเช่นนั้น อาจเพราะนีค ่ ือเรื่อง ‘สัจธรรม’ ตลอดชีวิตที่ผ่านมา เราถูกสั่งสอนให้เป็ นเด็กดี เป็ นวัยรุ่นที่มีคุณค่า เป็ นผู้ใหญ่ที่มีประโยชน์ต่อสังคม แต่ไม่เคยมีใครเคยบอกเราเลยว่า ถ้าแก่ตัวลงไปแล้วจนช่วงเวลาสุดท้าย ของชีวิตมาถึง เราควรเป็น ‘ผู้ตาย’ แบบไหน ทุกคนล้วนพู ดถึงแต่ช่วงวัยอันเบิกบาน แต่กลับไม่เคยเอ่ยถามถึงวันโรยรา เราคุยโวถึงปาร์ต้ว ี ันเกิดและของขวัญชิน ้ ใหม่ แต่จะมีสักกี่คนที่เคยจินตนาการถึงงานศพและของช�าร่วย ที่เราจะหยิบยื่นให้ญาติและเพื่อนๆ เป็นครั้งสุดท้ายของชีวิต การพู ดคุยเรื่องความตายกลายเป็นเรื่องต้องห้าม ราวกับลืมไปว่ามันเป็นสิ่งสามัญธรรมดาที่เกิดขึ้นได้เสมอ แม้วา่ ความตายจะเป็นเรือ ้ ยการเข้าใจองค์ประกอบของการตายดี ในบทความนีเ้ ราจึงขอรวบรวม ่ งชวนหัวใจสลายขนาดไหน แต่เราเชือ ่ ว่าทุกคนสามารถจากโลกนีไ้ ปอย่างสงบสุขได้ดว ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการภาวะสุดท้ายของชีวิต ทั้งด้านกฎหมาย ร่างกาย จิตใจ จิตวิญญาณ และการจัดการทรัพย์สินมรดกในรูปแบบดิจิตอล เพราะแท้ท่ส ี ุดแล้ว การเข้าใจความตาย อาจไม่ได้ท�าให้เราหมองหม่นหรือโศกเศร้าเสียทีเดียว แต่จะท�าให้เราเข้าใจการมีชีวิต สามารถเป็นผู้ตายที่ดี และยิ่งไปกว่านั้น – เป็นผู้ตายที่มีความสุขได้


10

01 :

QUESTIONS TO ASK yOURSELf BEfORE yOU DIE

วันเวลาทีห ิ และความตายอย่างจริงจังมาก่อน จนกระทัง ่ มุนไปอย่างรวดเร็ว อาจท�าให้เราไม่เคยหยุดคิดและตัง ่ งชีวต ้ ค�าถามกับตัวเองเรือ ่ ช่วงเวลาสุดท้ายก่อนความตายเดินทางมาถึง อย่างไม่ทันได้เตรียมใจ ท�าให้เกิดความหวาดกลัว วิตกกังวล เคร่งเครียดไปกับปัญหามากมายที่ไม่ทันสะสาง จึงขอให้คุณลองตอบค�าถาม 10 ข้อต่อไปนี้ดูอย่างถี่ถ้วนและตรงไปตรงมา เพื่อเป็ นการทบทวนถึงช่วงวันที่ผันผ่าน ความรู้สึกที่ซ่อนอยู่ในจิตใจ และการจัดการทรัพย์สมบัติที่เตรียมการไว้ล่วงหน้า ซึ่งจะท�าให้คุณ ‘หมดห่วง’ ในช่วงเวลาสุดท้ายและจากไปอย่าง สวยงาม

1. ใครๆ ก็อยากจากโลกนี้ไปอย่าง สงบสุข แล้วคุณล่ะ เคยจินตนาการถึง การตาย (ดี) ของตัวเองไว้ว่าอย่างไร บ้าง?

4. ถ้าวันนี้เป็ นวันสุดท้ายของคุณ ใครคือคนแรกทีค ุ อยากกล่าวค�าขอโทษ ่ ณ และใครคื อ คนแรกที่ คุ ณ อยากกล่ า ว ค�าขอบคุณ

2. เมือ ่ ทราบข่าวว่าคุณก�าลังจะตาย สิง ึ เหนีย ่ ด ่ วจิตใจหรือบุคคลทีเ่ ป็นทีพ ่ ึ่ง ่ ทีย ของคุณคือใคร

5. ใครคือคนทีค ุ อยากให้อยูด ่ ว ้ ย ่ ณ ในยามที่คุณหมดลมหายใจ อยากให้เขา คนนัน ้ พู ดอะไรกับคุณบ้าง

3. คุ ณ คิ ด ว่ า ภาวะตอนตายเป็ น อย่างไร ปล่อยวาง สงบ เตรียมพร้อม ออกเดินทางไปสู่โลกอีกใบ หรือเป็นทุกข์ กังวล ห่วงคนข้างหลัง ยึดติดอยูก ่ บ ั ภาระ ที่ยังไม่สะสางของโลกใบนี้

6. หากคุณป่วยหนัก รักษาไม่หาย สื่ อ สารไม่ ไ ด้ และมี เ รื่ อ งต้ อ งตั ด สิ น ใจ เกีย ่ ยชีวต ิ เช่น ปั๊มหัวใจ ่ วกับอุปกรณ์ชว ใส่ ท่ อ คุ ณ อยากให้ ใ ครหรื อ คนกลุ่ ม ใด ตัดสินใจแทนคุณ ตอนนี้เขาคนนั้นรับรู้ หรือไม่ว่าต้องท�าหน้าที่นี้

7. อะไรคื อ สิ่ ง ส� า คั ญ ที่ สุ ด ที่ คุ ณ ต้องการบรรลุ หรือท�าให้ส�าเร็จก่อนตาย 8. ในชี วิ ต นี้ คุ ณ ต้ อ งการเงิ น อี ก จ�านวนเท่าไหร่ ท�าไมจึงเป็ นจ�านวนเท่านี้ จะน�าไปใช้กับอะไรบ้าง 9 . ถ้ า คุ ณ ต้ อ ง ต า ย วั น พ รุ่ ง นี้ คุ ณ จะจั ด การทรั พ ย์ สิ น คุ ณ อย่ า งไร อยากยกอะไรให้ใครบ้าง

10. คุณตั้งงบประมาณในการจัด งานศพของคุณไว้เท่าไหร่ เคยลองดีไซน์ ดู ไ หมว่ า เมนู เ ลี้ ย งแขกและของที่ ร ะลึ ก จะเป็ น อะไร อยากได้ พ วงหรี ด หน้ า ตา แบบไหน


02 : THE RIGHT TO DIE AND THE RIGHT TO LIVE เข้าใจข้อกฎหมายเกีย ั นี้ ่ วกับความตายตัง ้ แต่วน เพื่ อเตรียมตัวเดินทางไปวันสุดท้ายของชีวิต ได้อย่างสงบสุข

LIvING WILL – จากไปแบบที่ ใ จต้ อ งการ Living Will คืออะไร รู้ ห รื อ ไม่ ว่ า เราทุ ก คนเลื อ กเองได้ ว่ า ต้องการให้แพทย์ท�าอะไรกับร่างกายเราบ้าง ก่อนตายด้วย Living Will หนังสือแสดงเจตนา ไม่ ป ระสงค์ จ ะรั บ บริ ก ารสาธารณสุ ข ในวาระ สุดท้ายของชีวิต เพื่อหลีกเลี่ยงความทรมาน จากการรักษาพยาบาล เช่น การกระตุ้นหัวใจ การใช้เครื่องช่วยหายใจ และยังเป็ นตัวช่วย ในวันที่เราสื่อสารไม่ได้ ไม่มีสติสัมปชัญญะ เพื่ อให้ญาติเข้าใจเจตนาของเรา และไม่เป็ น ภาระในการตัดสินใจของคนอื่น โดยจัดเป็ น กฎหมายตามมาตรา 12 ของพระราชบัญญัติ สุขภาพแห่งชาติด้วย ใครท�ำ Living Will ได้บ้ำง ใครๆ ก็ท�าหนังสือ Living Will ได้ โดยต้องมีอายุ 18 ปีข้น ึ ไป มีสติสัมปชัญญะ บริบูรณ์ มีสุขภาพแข็งแรง หากเป็ นผู้ปว ่ ย หรือผู้สูงอายุต้องตัดสินใจด้วยตนเองได้

เขียน Living Will อย่ำงไร สามารถเขียนได้ทั้งบนแบบฟอร์ม และกระดาษเปล่า เพียงมี 5 องค์ประกอบ ส�าคัญต่อไปนี้ 1. ข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชือ ่ -นามสกุล หมายเลขประจ�าตัว ประชาชน อายุ ที่ อ ยู่ เบอร์ โ ทรศั พ ท์ วั น เดื อ นปี ที่ ท� า หนั ง สื อ แสดงเจตนา โดยอาจบอกมุ ม มองเกี่ ย วกั บ ชี วิ ต และ ความตาย และบอกเจตนาทีต ้ งการได้รบ ั ่ อ เช่ น ต้ อ งการความเคารพ ต้ อ งการ ความสุขสบาย ไม่ต้องการเป็นภาระของ ครอบครัว ไม่อยากทุกข์ทรมานเป็นเวลานาน 2. ต้องกำรกำรดูแลอย่ำงไร เช่น อยากรักษาตัวที่ไหน อยากให้ ใครมาเยีย ่ ม ต้องการการปั๊มหัวใจหรือใส่ ท่อช่วยหายใจหรือไม่ หากหายใจไม่ออก จะให้ท�าอย่างไร ยินยอมให้แพทย์ใช้ยา กระตุ้นหัวใจไหม ่ ผู้แทนกำรตัดสินใจ 3. ชือ ร ะ บุ ชื่ อ ค น ที่ จ ะ ม า เ ป็ น ตั ว แ ท น การตัดสินใจ พิ ทักษ์เจตนารมณ์เรื่อง ความประสงค์ ข องชี วิ ต ช่ ว งสุ ด ท้ า ย ของคุณ รวมทัง ้ วิธีติดต่อบุคคลนัน ้ ๆ

*หมายเหตุ Living Will สามารถแก้ไขและเปลี่ยนแปลงได้ โดยจะยึดฉบับล่าสุดเป็ นหลัก

4. กำรดูแลหลังเสียชีวิต อยากให้มีการจัดงานศพอย่างไร เลี้ยงแขกด้วยเมนูอะไร หรือต้องการให้ มีการจัดการกระดูก อัฐิ หรือร่างกาย ส่วนที่เหลืออย่างไร 5. ลงลำยมือชื่อ เซ็นชื่อของคุณ หากมีพยาน อาจ ลงลายมือพยานพร้อมบอกความเกีย ่ วข้อง ด้วย

ท�ำแล้วเก็บไว้ท่ไี หน ถ่ายส�าเนา มอบให้แก่ญาติ คนในครอบครัว และแพทย์ท่เี คยท�า การรักษาพยาบาล เพื่อให้ทุกคน ทราบเจตนา เมือ ่ ต้องเข้ารับการรักษา ในสถานพยาบาลหรือโรงพยาบาล ให้ผู้ปว่ ยหรือญาติน�า Living Will มาแสดงต่อแพทย์ พยาบาล หรือ เจ้าหน้าทีข ่ องโรงพยาบาลด้วย


MERcy KILLING

– สิ ท ธิ ใ นการยุ ติ ชี วิ ต Mercy Killing คืออะไร การุณยฆาต คือการช่วยเหลือหรือการปล่อย ให้ผป ู้ ว่ ย (หรืออาจจะไม่ปว่ ย) ตายตามความต้องการ ของตนเอง เหมือนกับที่หนุ่มไทยคนหนึ่งเลือก เ ดิ น ท า ง ไ ป จ บ ชี วิ ต ด้ ว ย วิ ธี ก า รุ ณ ย ฆ า ต ใ น สวิตเซอร์แลนด์เมื่อต้นปีที่ผ่านมา การุณยฆาตอาจแบ่งเป็น 2 วิธี ตามกฎหมาย ในประเทศทีอ ่ นุญาตให้ทา� การุณยฆาต (Euthanasia) ได้ คือการให้ยาหรือฉีดยา เพื่ อให้ผู้ท่ีต้องการ การุณยฆาตตาย และการทีบ ุ ลากรทางการแพทย์ ่ ค เตรียมยาหรือสารพิษเพือ ู้ ต ี่ อ ้ งการการุณยฆาต ่ ให้ผท ฆ่าตัวตาย (Physician-Assisted Suicide: PAS) โดยปั จ จุ บั น มี เ พี ย งไม่ ก่ี ป ระเทศทั่ ว โลกเท่ า นั้ น ทีย ่ อมรับเรือ ่ งนี้

ประเทศที่อนุญำตให้ท�ำกำรุณยฆำตได้ถูกต้อง ตำมกฎหมำย 1. สหรัฐอเมริกา โดยรัฐที่อนุญาตการการุณยฆาตแบบ Euthanasia ได้แก่ รัฐออริกอน รั ฐ วอชิ ง ตั น รั ฐ เวอร์ ม อนต์ รั ฐ แคลิ ฟ อร์ เ นี ย รัฐโคโลราโด และรัฐฮาวาย ส่วนรัฐมอนแทนา ใช้การการุณยฆาตแบบ PAS 2. แคนาดาใช้ ก ารการุ ณ ยฆาตทั้ ง แบบ Euthanasia และ PAS 3. สวิ ต เซอร์ แ ลนด์ ใ ช้ ก ารการุ ณ ยฆาต แบบ PAS 4. เนเธอร์แลนด์ใช้การการุณยฆาตทัง ้ แบบ Euthanasia และ PAS 5. เบลเยี ย มใช้ ก ารการุ ณ ยฆาตแบบ Euthanasia 6. ลักเซมเบิร์กใช้การการุณยฆาตทั้งแบบ Euthanasia และ PAS

สิทธิกำรขอตำยตำมธรรมชำติในประเทศไทย การุ ณ ยฆาตในประเทศไทยเป็ น เรื่ อ งผิ ด กฎหมาย ไม่อนุญาตให้เร่งการตาย เช่นเดียวกับ หลายประเทศทัว ี นวทางกฎหมายรองรับ ่ แ ่ โลกทีม การขอตายตามธรรมชาติและไม่ย้อ ื ชีวิต อย่างไร ก็ตาม มาตรา 12 ของพระราชบัญญัติสุขภาพ แห่งชาติ เปิ ดโอกาสให้เราแสดงเจตนาล่วงหน้า ได้ว่า เมื่ออยู่ในวาระสุดท้ายของชีวิต ขอจากไป ตามวิถธ ี รรมชาติ โดยไม่ประสงค์จะให้ใช้เครือ ่ งมือ ต่างๆ มายืดความตายออกไป ควบคู่กับการดูแล แบบ Palliative Care ซึ่งจะช่วยให้ผู้ปว่ ยระยะ สุ ด ท้ า ยมี คุ ณ ภาพชี วิ ต ที่ ดี และยั ง อาจได้ รั บ การรักษาทางการแพทย์ เช่น การผ่าตัดบางอย่าง หรื อ ยาบางอย่ า งเพื่ อ วั ต ถุ ป ระสงค์ ที่ ค นไข้ จ ะมี คุณภาพชีวิตที่ดีได้ เพราะฉะนัน ้ ตามหลักของกฎหมายประเทศ เราแล้ว สามารถขอจากไปอย่างสงบโดยไม่ต้อง ยือ ิ ได้ดว ้ ยการเขียน Living Will แต่ไม่รองรับ ้ ชีวต การการุณยฆาตที่เร่งให้เสียชีวิตเร็วขึ้นนั่นเอง


03 DEALING WITH PAIN

การใช้ยามอร์ฟน ี ไม่ได้ท�าให้โรค ที่เป็นอยู่แย่ลง แต่จะช่วยให้ อาการปวดลดลง ผู้ปว่ ยสามารถ ท�ากิจวัตรประจ�าวันได้ดีขึ้น และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ห ล า ย ค น อ า จ เ ค ย คิ ด ว่ า การแสดงความเจ็ บ ปวดหมายถึ ง ความพ่ า ยแพ้ อ่ อ นแอ ไม่ อ ดกลั้น หรือยิ่งไปกว่านั้นคือโดนกล่าวหาว่า ส� า ออยหรื อ โอเวอร์ แ อ็ ก ติ้ ง แต่ จริงๆ แล้วในโรคร้ายแรง เช่น มะเร็ง หรื อ โรคกระดู ก การที่ เ ราสกั ด กั้ น ความเจ็บปวดไว้จะยิง ่ ท�าให้ทรุดหนัก และรักษาได้ยากกว่าเดิม เพราะฉะนัน ้ จึ ง ควรสั ง เกตตั ว เองอย่ า งถี่ ถ้ ว น ไม่ โ กหกตั ว เองหรื อ คนใกล้ ชิ ด ว่ า สบายดีแล้วคิดว่าอาการจะหายเอง เพื่ อที่แพทย์และญาติจะได้หาวิธีการ จั ด การกั บ ความเจ็ บ ปวด (Pain Management) ได้อย่างทันท่วงที การจัดการกับความเจ็บปวด ประกอบด้วย 3 วิธีหลักๆ คือ

1. ใช้ยำระงับปวด : โดยแพทย์จะเลือก ใช้ชนิดยำตำมควำมรุนแรง ดังนี้

ปวดน้อย : ใช้พาราเซตามอล ปวดระดับกลาง : ใช้โคเดอีน หรือทรามาดอลควบคูก ่ บ ั พาราเซตามอล (ออกฤทธิเ์ หมือนมอร์ฟน ี แต่มค ี วามแรง น้อยกว่า 10 เท่า) ปวดระดับรุนแรง : ใช้มอร์ฟน ี (ยาแก้ปวดทีส กั ด มาจากฝิ น มี ท ง ั แบบ ่ ้ ่ ฉีดและแบบรับประทาน)

2. กำรรั ก ษำด้ ว ยวิ ธี ท ำงกำยภำพ ท�ำได้หลำยวิธี เช่น

การใช้ความร้อนความเย็น ในการประคบ โดยความเย็นจะท�าให้ การน� า กระแสประสาทสู่ ส มองช้ า ลง ท�าให้เกิดอาการชา การไหลเวียนโลหิต ลดลง หลอดเลือดหดตัว หลังจากนัน ้ ควรประคบด้วยความร้อน จะช่วยให้ หลอดเลือดขยายตัว การไหลเวียนของ เลือดดีขึ้น และลดอาการบวม เปลีย ่ นท่านอนอย่างสม�า่ เสมอ เพือ ่ หลีกเลีย ่ งอาการปวดจากการกดทับ หรือการใช้กล้ามเนื้อมัดนั้นนานเกินไป สอนให้ผู้ปว ่ ยเปลี่ยนท่าอย่างนุ่มนวล ถู ก ต้ อ ง เมื่ อ เปลี่ ย นท่ า ควรเตรี ย ม อุปกรณ์ให้พร้อม เช่น หมอน อุปกรณ์ พยุงตัว

3. กำรรักษำด้ำนจิตใจ พู ดคุยให้ก�าลังใจกับผู้ปว ่ ย โดยไม่ ค วรแสดงอาการเศร้ า โศก หรือวิตกกังวล สอบถามความต้ อ งการ ของผู้ปว่ ยอยู่เสมอ


04 THE LAsT GOOD-ByE

เผยอเปิดตลอดเวลา อาการปวด : อาการปวดของผูป ้ ว่ ย มักไม่เพิม ้ ในช่วงสุดท้าย เนือ ่ งจากขยับตัว ่ ขึน น้อยลงและนอนหลับมากขึ้น บางครั้งญาติ อาจได้ ยิ น เสี ย งร้ อ งคราง นั่ น มั ก มาจาก ก า ร ข ยั บ ตั ว ร่ ว ม กั บ ก า ร ห า ย ใ จ อ อ ก ไม่ใช่มาจากอาการปวด เพราะฉะนัน ้ จึงควร สังเกตอาการปวดโดยดูจากอาการหน้านิ่ว ขมวดคิว ้ แทนเสียงร้องคราง อาจพิจารณา ให้ ย าแก้ ป วดเพิ่ ม หากมี อ าการดั ง กล่ า ว บ่อยครัง ้

การบอกลาเศร้าเสมอ โดยเฉพาะกับคนที่เรารัก แต่เมือ ึ ปลายทางแห่ง ่ พวกเขาเดินทางมาใกล้ถง ชีวต ิ เราจะมีวธ ิ ไี หนบ้างทีจ ่ ่ ะมาส่งเขาได้อย่างนุม นวลและท�าให้การบอกลาครัง นี ม ค ี ณ ุ ค่ า ที ส ด ุ ่ ้ ้

ภาวะกระสับกระส่าย : เกิดจาก การเปลีย ่ นแปลงของสารเคมีภายในร่างกาย เนื่ อ งจากอวั ย วะต่ า งๆ เริ่ ม วาย ผู้ ดู แ ล อาจพิจารณาให้แพทย์สัง ่ ยานอนหลับอย่าง อ่อนให้เพื่อให้ผป ู้ ว่ ยได้พักผ่อนบ้าง อย่างไร ก็ ต ามให้ พิ จ ารณาตามสภาพอาการ หาก กระสับกระส่ายประสาทหลอนมาก อาจช่วยให้ ผูป ้ ว่ ยได้พก ั หลับมากขึน ้ แต่หากอาการไม่มาก อาจไม่จา� เป็นต้องรักษาอาการนี้ เพราะผูป ้ ว่ ย หลายรายอยากมีสติกอ ่ นตาย เพือ ู้ ก ึ ตัว ่ จะได้รส ว่าได้ร่า� ลาญาติๆ ก่อนจากไป หรือบางราย อาจท่องบทสวดมนต์กอ ่ นลมหายใจสุดท้าย เพื่อให้เป็นการตายดีตามความเชื่อของตน

การดูแลด้านจิตใจ เป็ นธรรมดาที่ ผู้ ป ่ว ยในระยะท้ า ย มักรู้สึกกลัวการเสียชีวิต วิตกกังวล โกรธ ซึมเศร้า จนไปถึงต่อรองขอมีชีวิตอยู่ต่อ และยอมรั บ การจากไปของตนเอง แต่ อาการเหล่ า นี้ มั ก สลั บ สั บ เปลี่ ย นกั น ไปมา ไม่เป็ นล�าดับ เราในฐานะผู้ดูแล สามารถ ช่วยเหลือผูป ้ ว่ ยด้วยการอยูเ่ คียงข้างอย่าง เข้าใจและท�ากิจกรรมเหล่านี้

(ข้อมูลจาก พญ. ดาริน จตุรภัทรพร หน่วย Palliative Care ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว รพ.รามาธิบดี)

หายใจไม่เป็นจังหวะ : อาจหายใจ ช้าบ้าง เร็วบ้าง ลึกบ้าง ตื้นบ้าง และอาจ หยุดหายใจเป็ นช่วงๆ ซึ่งตัวผู้ปว ่ ยเองจะ ไม่รู้สึกทรมานกับอาการนี้ เพราะเกิดจาก ภาวะกรดและด่างเปลี่ยนแปลงไปหลังจาก อวัยวะต่างๆ หยุดท�างาน ให้เข้าใจว่าผู้ปว่ ย ในภาวะนีไ้ ม่ได้ขาดออกซิเจน การให้ออกซิเจน จึงไม่จ�าเป็ นและยังท�าให้ผู้ปว ่ ยเจ็บ อึดอัด ไม่สบายตัว

จั บ มื อ บี บ มื อ โอบกอดอย่ า ง นุ่มนวล หรือแม้แต่นัง ่ อยู่ข้างๆ เงียบๆ รับฟัง รับรูเ้ มือ ้ ว่ ยพู ดเกีย ่ ผูป ่ วกับ ความกลั ว และพร้ อ มที่ จ ะแลกเปลี่ ย น ความรู้สึกของตนเองกับผู้ปว่ ย ยิ้ม หัวเราะไปด้วยกันเมื่อมีเรื่อง น่ า ขบขั น หรื อ เมื่ อ ระลึ ก ถึ ง ความทรงจ� า ตลกๆ ที่เคยเกิดขึ้น อย่าให้ความเจ็บป่วย หรือความเศร้าบดบังอารมณ์ขันไปหมด ช่วยผูป ้ ว่ ยให้ยง ั คงความสัมพันธ์ ทางสังคมกับเพื่ อน โดยช่วยต่อโทรศัพท์ ให้ได้คุยกับญาติมิตรที่สนิท หรือช่วยเขียน จดหมายตามค�าบอก ในขณะพู ดคุยกับผู้ปว่ ย ให้รับรู้ ความคิดเห็นของผูป ้ ว่ ย ไม่ตด ั สินสิง ู้ ว่ ย ่ ป ่ ทีผ คิด หรือพู ด จนเกิดเป็นประเด็นถกเถียงกัน ประเด็ น ที่ ไ ม่ ชั ด เจนให้ ถ ามเพื่ อ ป้องกันการเข้าใจผิด หรือตีความผิด อย่ า ให้ ค� า สั ญ ญาที่ เ ป็ น ไปไม่ ไ ด้ หรือความเชื่อมั่นที่ไม่เป็นจริง เช่น พรุ่งนี้ หลานชายจะมาเยี่ยม (ทั้งๆ ที่หลานชาย อยู่ไกลและไม่สามารถมาได้ทันในวันพรุ่งนี้ อย่างแน่นอน) หรือ อย่าวิตกกังวลเลย โรคที่เป็นจะดีขึ้นเรื่อยๆ

เมื่ อ ผู้ ป ่ว ยอยากคุ ย เรื่ อ งการเสียชีวิต อย่าหลีกเลี่ยงที่จะคุย ควรพู ดคุย และแลกเปลี่ ย นถึ ง ประเด็ น นั้ น และถ้ า มี การขอความช่ ว ยเหลื อ อาจถามผู้ ป ว ่ ยว่ า ต้ อ งการคนอื่ น ที่ อ าจให้ ค วามช่ ว ยเหลื อ ในประเด็นนั้นได้ดีกว่าคุณหรือไม่ การดูแลด้านร่างกาย อ่อนแรงและนอนหลับมากขึ้น : ผู้ ป ว ่ ยส่ ว นใหญ่ จ ะนอนหลั บ ตลอดทั้ ง วั น บางรายอาจจะหลับลึกจนดูเหมือนปลุกไม่ตน ื่ แต่กไ็ ม่ใช่อาการทีน ู้ ว่ ย ่ า่ กลัวและไม่ทา� ให้ผป ทุ ก ข์ ท รมาน ผู้ ดู แ ลควรหาเตี ย งที่ น อน สบายให้กบ ั ผูป ้ ว่ ย ยกหัวสูงเล็กน้อย อาจมี หมอนข้างมาช่วยเสริมด้านข้าง พลิกตัวผู้ปว่ ยทุก 6-8 ชัว ่ โมง และใส่สายสวนปั สสาวะ หรื อ ผ้าอ้อมส�าเร็จรูป เพื่ อสะดวก ในการดูแล ทัง ้ ยังสามารถกอด สั ม ผั ส พู ด คุ ย กั บ ผู้ ป่ ว ย ไ ด้ ตามปกติ กินอาหารและดื่มน�้า น้อย : ร่างกายที่ท�างานช้าลง จึงเป็ นเรื่องปกติที่ผู้ปว ่ ยจะกิน อาหารและดื่มน�้าน้อยลง หาก ผู้ ป ่ว ยขอดื่ ม น�้ า ให้ ย กศี ร ษะ

ผูป ้ ว่ ยขึน ้ และป้อนน�า้ ทีละเล็กน้อยด้วยหลอด หยด หรืออมน�้าแข็งก้อนเล็กๆ ส่วนการให้ อาหารในช่วงเวลานี้ อาจเป็ นเหตุให้สา� ลัก เข้ า ไปในระบบทางเดิ น หายใจและติ ด เชื้ อ ในปอดได้ ซึ่ ง จะท� า ให้ ผู้ ป ว ่ ยทุ ก ข์ ท รมาน เพิ่ มขึ้ น หรื อ เสี ย ชี วิ ต ก่ อ นเวลาอั น ควร การได้ รั บ อาหารที่ น้ อ ยลงในระยะนี้ ไ ม่ ไ ด้ เป็ น สาเหตุ ใ ห้ ผู้ ป ่ว ยอดอาหารจนถึ ง แก่ ความตาย การดู แ ลช่ อ งปากของผู้ ป ว ่ ย : ผู้ ป ว ่ ยส่ ว นใหญ่ ห ายใจทางปากและมั ก จะ ดื่มน�้าได้เพี ยงเล็กน้อย ท�าให้ปากและลิ้น ของผูป ้ ว่ ยแห้งมาก วิธก ี ารดูแลคือ ผสมน�้า ประมาณ 1 ลิตรกับเกลือ 1/2 ช้อน และผงฟู 1 ช้ อ น แล้ ว ใช้ ผ้ า ก๊ อ ซ ชุ บ น�้ า ดั ง กล่ า วเช็ ด ปาก เหงือกและลิ้นของผู้ปว่ ย โดยสามารถเช็ ด ได้ ทุ ก ชั่วโมง เพื่อให้ชุ่มชื้น การดูแลตาของ ผู้ปว่ ย : เนื่องจากผู้ปว่ ย ปิ ด ตาไม่ ส นิ ท ท� า ให้ เ กิ ด อ า ก า ร ต า แ ห้ ง แ ส บ ไ ด้ จึ ง ค ว ร ใ ช้ น�้ า ต า เ ที ย ม หยอดตาให้ ผู้ ป ่ว ยวั น ละ 4 ครั้ ง หากตาผู้ ป ่ว ย

ภาวะเสี ย งดั ง ครื ด คราดจาก น�้าลายสอ : เสียงนี้เกิดจากกล้ามเนื้อใน การกลืนไม่ท�างาน ลิ้นตก แต่ต่อมน�้าลาย น�้าเมือกต่างๆ ยังท�างานอยู่ ภาวะดังกล่าว ไม่ ท� า ให้ ท างเดิ น หายใจอุ ด ตั น จนถึ ง แก่ ความตาย ผู้ดูแลควรให้ผู้ปว่ ยนอนตะแคง โดยมีหมอนยาวรองหลัง จะช่วยลดเสียงดัง ครืดคราดลงได้ ทีส ่ า� คัญคือไม่ควรดูดเสมหะ ด้วยเครื่องดูด เนื่องจากไม่ได้แก้ไขสาเหตุ และท� า ให้ ผู้ ป ่ว ยเจ็ บ และอาเจี ย นจากท่ อ ที่ล้วงลงไปดูดเสมหะในล�าคอ มือเท้าเย็น ไม่ตอบสนองต่อสิ่ง รอบข้าง : เมื่อเวลาของผู้ปว่ ยใกล้หมดลง ญาติอาจสังเกตได้จากมือเท้าเย็น เปลีย ่ นเป็น สีคล�้า ผิวเป็นจ�้าๆ ตาเบิกกว้างแต่ไม่กะพริบ ปัสสาวะน้อยลงมาก ผู้ปว่ ยบางรายอาจตื่น ขึน ้ มาในช่วงเวลาสัน ้ ๆ เพื่อรวบรวมพลังงาน ส� า ร อ ง ที่ มี ทั้ ง ห ม ด ม า ใ ช้ ใ น ก า ร ร�่ า ล า ครั้ง สุดท้า ยก่อ นจากไป เวลานี้ญาติค วร หยุ ด วั ด ความดั น โลหิ ต หรื อ สายวั ด ต่ า งๆ รอบตัว แกะเครื่องพันธนาการผูกมัดผู้ปว่ ย ต่างๆ ให้ได้มากทีส ุ ตัง ่ ด ้ สติให้ดี และใช้เวลา ช่ ว งสุ ด ท้ า ยอยู่ ข้ า งเตี ย งกั บ ผู้ ป ่ว ยอย่ า ง มีคุณค่ามากที่สุด


05 DEATH CLEANING

SALE TRASH

DONATION

$

ถ้าตายแล้วจะเอาสมบัติมากมายไปไว้ที่ไหน? Margareta Magnusson นักเขียนชาวสวีเดน ได้เขียนหนังสือเรื่อง The Gentle Art of Swedish Death Cleaning (2018) เพื่อตอบค�าถามดังกล่าวส�าหรับคนที่รู้ตัวว่า ก�าลังเหลือเวลาอยู่บนโลกนี้อีกไม่นาน และท�าให้ลูกหลานไม่เหนื่อยกับการจัดการสัมภาระมากมายที่ยังเหลืออยู่ เธอเรียกกระบวนการนี้ว่า ‘döstädning’ ในภาษาสวีเดน หรือ ‘death cleaning’ หมายถึงกระบวนการจัดบ้านให้เรียบร้อยก่อนความตายมาถึง โดยมีแนวทางปฏิบัติดังนี้

ยอมรั บ ว่ า ต้ อ งตายอยู่ ดี : เพื่ อ ที่ จ ะ เริ่ ม จั ด บ้ า นให้ เ รี ย บร้ อ ยก่ อ นตายได้ น้ั น ต้องยอมรับเสียก่อนว่า ความตายเป็นเรือ ่ ง ปกติ ที่ เ กิ ด ขึ้ น กั บ ทุ ก คน ถ้ า เริ่ ม ท� า ตั้ ง แต่ ตอนนี้ก็จะไม่เป็นภาระของผู้อื่น วัยไหนถึงควรเริ่ม : วั ย ที่ ค วรเริ่ ม จั ด บ้ า นก่ อ นตายคื อ 65 ปี เพราะเป็ น วัยที่แข็งแรงพอที่จะยังจัดการได้ Döstädning : döstädning ไม่ได้ หมายถึงการจัดให้เป็นระเบียบเท่านัน ั ้ แต่ยง หมายถึ ง การพิ จ ารณาสิ่ง ของที่มีทั้ง หมด อย่างละเอียด ว่าอะไรจะทิ้ง อะไรจะมอบให้ ใคร อะไรจะขาย และอะไรที่ พ อจะเก็ บ ไว้ เพื่อการมีชีวิตอยู่จนถึงบั้นปลาย

เริม ่ ยังไงดี 1. มุ่งไปที่ของใหญ่ที่เก็บไว้โดยไม่ใช้ ก่อน เช่น ตู้เสื้อผ้า เฟอร์นิเจอร์ อุปกรณ์ กีฬาที่ไม่ใช้แล้ว โดยมอบให้คนที่ต้องการ ไม่ว่าจะเป็นลูกหลานหรือคนชอบพอกัน 2. อย่าเริม ่ ที่สง ่ิ เล็กๆ เช่น จดหมาย เก่ า รู ป ภาพเก่ า เพราะจะเป็ น สิ่ ง ที่ ต้ อ ง ใช้เวลานาน การอ่านและการเลือกทิ้งของ เหล่านีจ ึ ถึงความหลัง เกิดความรูส ้ ก ึ ้ ะท�าให้นก เก่าๆ จนเหนื่อยอ่อนใจเสียก่อนที่จะจัดบ้าน ได้ส�าเร็จ ่ งความผูกพัน : เมือ ตัดใจเรือ ่ จัดการ ของชิ้นใหญ่ ต้องตัดใจเรื่องความผูกพั น กั บ สิ่ ง ของเหล่ า นี้ ใ ห้ ไ ด้ อาจคิ ด เสี ย ว่ า เ มื่ อ ต า ย ไ ป ก็ ไ ม่ พ า น พ บ มั น อี ก แ ล ะ ไ ม่ รู้

ชะตากรรมของมัน หากจัดการเลยตอนนี้ ยังก�าหนดได้ว่าให้ใครเป็นเจ้าของ ท� า ลายเอกสารลั บ : ควรท� า ลาย จดหมาย บันทึกเอกสาร สิง ่ พิมพ์ รูปถ่าย ข้ อ เขี ย นหรื อ สิ่ ง ของที่ เ ป็ น สิ่ ง ที่ เ ปิ ด เผย ความลั บ ส่ ว นตั ว เพราะอาจท� า ให้ ต นเอง ดูไม่ดี และอาจสร้างความรู้สึกลบเกี่ยวกับ ตนเองต่อลูกหลานโดยไม่จ�าเป็น แปรไฟล์ รู ป เป็ น ดิ จิ ต อล: รู ป ภาพ ทั้ ง ห ม ด แ ป ร ใ ห้ อ ยู่ ใ น ไ ฟ ล์ ดิ จิ ต อ ล เ พื่ อ ค ว า ม ค ง อ ยู่ ต่ อ ไ ป ห า ก ลู ก ห ล า น ส น ใ จ หากเก็บไว้เป็ นภาพอย่างเก่าอาจผุพังและ ถูกโยนทิ้งเพราะไม่เห็นความส�าคัญ

ตกลงกับลูกหลาน : คุยกับลูกหลาน เรื่องความตายอย่างเปิดเผย ว่าจะให้สิ่งใด แก่ ใ ครเมื่ อ ตายไปแล้ ว พร้ อ มสนั บ สนุ น ด้ ว ยเอกสารแสดงเจตจ� า นงเพื่ อไม่ ใ ห้ พวกเขาทะเลาะและอิจฉาริษยากัน


06 DIGITAL LEGACy จะเกิดอะไรขึ้นกับบัญชีโซเชียลมีเดียและอีเมล ของเรา เมื่อถึงคราวที่ต้องจากโลกนี้ไป

เพรำะคิดถึงจึงพิ มพ์ หำ มีคนจ�านวนไม่น้อยยังคงส่งข้อความ แสดงความคิดถึงถึงเพื่อน คนรัก หรือ ญาติผู้เสียชีวิตผ่านช่องทางออนไลน์ อย่างเฟซบุก ๊ วอตส์แอปป์ หรืออินสตาแกรม บริษัทอย่าง Eternime และ LifeNaut จึงเกิดขึ้น เพื่อชุบชีวิตผู้เสียชีวิตขึ้นมา อีกครั้งในรูปแบบของ AI โดยรวบรวม ข้อความ น�้าเสียง และวอยซ์เมลของ ผู้ตาย และน�ามาตอบสนองกับคนใกล้ชิด ได้อีกครัง ้

facebook เปิ ดโอกาสให้เราตัดสินใจเองได้ ล่วงหน้าว่ายังต้องการให้มบ ี ญ ั ชีเหล่านี้ อยู่ต่อไป (memorialised) หรือจะให้ ลบโดยถาวร ถ้าเป็นบัญชีทผ ี่ ใู้ ช้ประสงค์ จะให้อยูต ่ อ ่ ไปจะมีคา� ว่า Remembering แสดงไว้อยูถ ่ ด ั จากชือ ่ ของเรา โดยรูปภาพ และข้อความต่างๆ ทีโ่ พสต์จะยังคงปรากฏ อยูเ่ หมือนเดิม นอกจากนี้ เรายังสามารถ เลื อ กผู้ สื บ ทอดบั ญ ชี ผู้ ใ ช้ (legacy contract) ต่อจากเราได้ โดยบุคคลนี้ จะสามารถเขียนโพสต์ ลบโพสต์ อัพโหลด รูปโปรไฟล์ และตอบรับค�าขอเป็นเพื่อน ใหม่ได้ แต่จะไม่สามารถเข้าสูร ่ ะบบบัญชี ผู้ใช้ของเรา อ่านข้อความ และส่งค�าขอ เป็นเพื่อนหาคนอื่นจากบัญชีของเราได้ Instagram สามารถเก็บรักษาบัญชี (memorialised) ไว้ ไ ด้ โ ดยคนที่ รู้ จั ก กั บ เรา โดยแสดงพยานหลั ก ฐานเกี่ ย วกั บ การตาย เช่ น ประกาศแจ้ ง งานศพ (obituary) หรือข่าวเกี่ยวกับการตาย อย่างไรก็ตาม บัญชีของเราสามารถ น� า ออกจากระบบได้ โ ดยสมาชิ ก ของ ค ร อ บ ค รั ว ที่ แ ส ด ง ห ลั ก ฐ า น ไ ด้ ว่ า เป็ น สมาชิ ก ของครอบครั ว โดยตรง เช่ น หลั ก ฐานจากเจ้ า หน้ า ที่ ท้ อ งถิ่ น พร้อมกับแสดงใบเกิดหรือมรณบัตร LinkedIn จ ะ บั ง คั บ ใ ห้ ปิ ด บั ญ ชี ข อ ง เ ร า เท่ า นั้ น ซึ่ ง เมื่ อ ปิ ด บั ญ ชี แ ล้ ว ข้ อ มู ล ของเราจะถู ก ลบออกจากระบบ และ ไม่มีผู้ใดสามารถที่จะเข้าถึงได้อีก Twitter ยอมให้มีการปิ ดบัญชีของเราได้ โดยจะร่ ว มมื อ กั บ บุ ค คลซึ่ ง มี อ� า นาจ ในการกระท� า แทนกองมรดก หรื อ สมาชิ ก ในครอบครั ว ของเราเพื่ อ ท� า การปิดบัญชี PayPal ในสั ญ ญาระบุ ว่ า เจ้ า ของบั ญ ชี เท่ า นั้ น ที่ จ ะปิ ด บั ญ ชี ไ ด้ เว้ น เสี ย แต่ ว่ า เจ้ า ของบั ญ ชี ถึ ง แก่ ก รรม ซึ่ ง ถ้ า เรา จากโลกนี้ไปแล้ว ผู้ที่มีอ�า นาจจัดการ ทรัพย์มรดกจะต้องส่งเอกสารทีเ่ กีย ่ วข้อง ให้กับ PayPal เพื่อปิดบัญชีของเรา Gmail เราสามารถสร้างพินย ั กรรมบัญชี Google ได้ โดยการตั้ ง ค่ า ในกรณี ไม่แอ็กทีฟบัญชี Google เป็นเวลานาน ตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป (หรือจะตั้งให้นาน กว่านั้นก็ได้) ให้แชร์ข้อมูลไปยังสมาชิก ครอบครั ว หรื อ เพื่ อ นสนิ ท ที่ ไ ว้ ใ จเป็ น จ�านวนได้มากถึง 10 คน นอกจากนี้ ยั ง ส า ม า ร ถ ตั้ ง ค่ า ใ ห้ ล บ บั ญ ชี โ ด ย อัตโนมัติ เมื่อไม่มีการใช้งานนานกว่า 3 เดือนขึ้นไปด้วย


16 issUe 593 03 JUN 2019

CALENDAR

03

M 04

T 05

W 06

TH 07

F 08

SA 09

S

FLEUR

ShiFt Path : 2.5 PM

LovE YoU hEad to toE

ภาพพิมพ์และวาดเส้น นานาชาติ ครั้งที่ 5

daS Jati 2019

ชายกลาง เดอะมิวสิคล ั

aMNESia

นิ ท รรศการ ‘FLEUR: Blooming of Diversity’ น�าผลงานศิลปะคอนเซ็ปชวลภายใต้หัวข้อ LGBTQ โดย สุดาภรณ์ เตจา ชูให้เห็นความงาม ในแง่มมุ ต่างๆ จากความหลากหลายทางเพศ บนพื้นฐานความคิดว่า มนุษย์ทุกคนควรได้รับ การปฏิบตั อิ ย่างเท่าเทียม กันโดยไม่มีปัจจัยเรื่อง เพศก�าเนิดเข้ามาเกี่ยวข้อง วันนีถ้ งึ 6 มิถนุ ายน 2562 ณ สมาคมฝรัง่ เศส กรุงเทพ

นิทรรศการ ‘Shift Path: 2.5 PM’ โดยศิลปินทั้ง ไทยและต่างชาติ การหา ความสมดุ ล ระหว่ า ง การท� า งานศิ ล ปะและ การศึกษาปัญหาสิง่ แวดล้อม ความพอดีระหว่าง การสร้างสรรค์และสร้าง ความตระหนักรู้ ที่ถ่ายทอดออกมาเป็นผลงาน ศิลปะรูปแบบต่างๆ วันนี้ ถึง 9 มิถุนายน 2562 ณ หอศิลป์ศภุ โชค ดิ อาร์ต เซ็นเตอร์ ซ.สุขุมวิท 39

นิทรรศการ ‘ด้วยรัก’ โดย สุวรรณี สารคณา ถ่ า ยทอดผลงานผ่ า น จิ ต ร ก ร ร ม สี น�้ า มั น ได้หยิบยกและรับแรงบั น ดาลใจจากคนใน ครอบครัว ลวดลายไทย ทีแ่ ทรกอยูใ่ นบางชิน้ งาน สือ่ ถึงการเชือ่ มโยง การเปลี่ยนผ่านระหว่างยุค ของแม่กบั ลูก ความเป็น ครอบครัว การใช้ชีวิต อยู่ร่วมกัน วันนี้ถึง 22 มิ ถุ น ายน 2562 ณ นั ม เบอร์ วั น แกลเลอรี ซ.สี ล ม 21 (เว้ น วั น อาทิตย์)

นิทรรศการ ‘การแสดง ภาพพิมพ์และวาดเส้น นานาชาติ ครัง้ ที่ 5’ น�าเสนอผลงานทีช่ นะการประกวดของศิลปินทั้ง ชาวไทยและชาวต่างชาติ ทีส่ ่งผลงานภาพพิมพ์ และวาดเส้ น เข้ า ร่ ว ม ประกวดจากจ� า นวน 1,081 คน จาก 54 ประเทศ ทัว่ โลก รวมผลงานทัง้ สิน้ 2,488 ชิ้น วันนี้ถึง 11 สิงหาคม 2562 ณ ชัน้ 9 หอศิลป์กรุงเทพฯ (เว้น วันจันทร์)

คีตมหากาพย์ ‘ทศชาติ’ สิ บ อดี ต ชาติ ข องพระพุทธเจ้า น�าแสดงโดย ดารามหาอุปรากรนานาชาติ อาทิ เดเมียน ไวต์ลยี ,์ ศัศยา เชาวลิต และ ศิโยน ดาวรัตนหงส์ ร่วมกับ ออร์ เ คสตราเต็ ม วง อ� า น ว ย ด น ต รี โ ด ย ทฤษฎี ณ พัทลุง และ ก�ากับการแสดงโดย สมเถา สุจริตกุล ผูป้ ระพันธ์ วันนี้ เวลา 20.00 น. และ 8 มิถุนายน 2562 เวลา 16.00 น. ณ จ�าหน่าย บั ต รที่ Ticketmelon. com

ละครเวที ‘ชายกลาง เดอะมิวสิคลั ’ ละครเพลง จากชีวติ จริงสุดโศกและ โลกนิ ย ายสุ ด ฮา เมื่ อ นักเขียนหนุม่ ไส้แห้ง ผูม้ ี อุดมการณ์วา่ จะไม่เขียน นิยายน�า้ เน่าโดยเด็ดขาด แต่เพือ่ ปากท้อง สุดท้าย ก็ต้องยอมลดตัวลงมา เขี ย นนิ ย ายน�้ า เน่ า ที่ เขาเกลียด วันนี้ และ 9 มิถนุ ายน 2562 รอบแสดง 14.00 น. ณ โรงละคร เคแบงก์สยามพิฆเนศ จ�าหน่ายบัตรทีไ่ ทยทิกเก็ตเมเจอร์

นิทรรศการ ‘Amnesia’ โดย ตะวัน วัตุยา การทวงคืนความทรงจ�าผ่าน ผลงานศิลปะ เมื่อมอง ภาพวาดเหล่านี้ เรามอง เห็นชีวิต มองเห็นมนุษย์ บุคคลเบือ้ งหลังภาพวาด มี ตั ว ตน มี อุ ป นิ สั ย มี บุคลิก มีเอกลักษณ์ มีอดีต และควรจะได้มีปัจจุบัน วันนี้ถึง 14 กรกฎาคม 2562 ณ 1PROJECTS ซ.เจริญกรุง 28 (เปิดเฉพาะ เสาร์-อาทิตย์)

WHERE TO FIND

Where the conversations begin. adaybulletin.com

หมอชิต

Meet

อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

Up

สยามสแควร์

Every อโศก

Monday!

ศาลาแดง

BTS: 5 สถานี เวลา 17.30-20.00 น. หมอชิต อโศก

อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ศาลาแดง

สยาม

Starbucks 200 สาขาทั่วกรุงเทพฯ

ร้านกาแฟ ร้านอาหาร ศูนย์การค้า และสถานที่ชั้นน�ากว่า 100 จุดทั่วประเทศ ในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ที่ปากช่อง-เขาใหญ่ เชียงใหม่ และหัวหิน


¬ w ¡Ù ¡Ù ¡ wi | Ýw Ü Ýªw¢ ¡®w «Úh®Ü | Ý ª `s ¤x ¤wª Þ Ù Ù ª ¡ ¥ h ªw i x | ® ª~ ¡ Ü Ý Ù Ü ¡Ù¢ z¥h ¤ÖÖ ¢} w ¢ ª ÒÙ ¡²|x Ö«ÚhÙ ¡Ù ¡²Ù­w i®w i ­}x Ü Ý |zÐ |Ü Ýª} ¡Ö

´ŒÇÂà¡ÅŒÒ´ŒÇ¡ÃÐËÁ‹ÍÁ

xi Ü Ýܤ ª}i zØÝÚ¥i ¡ xi w « Ý ¤z w

w w Ü ×Ù ¤ Ù w Ý | ®


18

T H E C O N V E R SAT I O N

ISSUE 593 03 JUN 2019

เรื่อง : วุฒิชัย กฤษณะประกรกิจ ภาพ : กฤตธกร สุทธิกิตติบุตร, ภาสกร ธวัชธาตรี, รัชต์ภาคย์ แสงมีสินสกุล, ธนดิษ ศรียานงค์

The L

LIFE LE บทเรียนสุดท้ายของชีวิต เพื่อเรียนรู้ว่าความตาย ไม่ใช่ศัตรู และใช้ชีวิต วันนี้อย่างเปี่ยมชีวิตชีวา


19 ADAYBULLETIN.COM FACEBOOK.COM/ADAYBULLETIN

Last

ESSON a day BULLETIN ร่วมกับ บริษท ั ชีวามิตร วิสาหกิจเพื่อสังคม และส� า นั ก งานกองทุ น สนั บ สนุ น การสร้ า งเสริ ม สุ ข ภาพ (สสส.) ออกส� า รวจแนวคิ ด และความรู้ เกีย ิ และความตาย ในแง่มม ุ ่ วกับชีวต ที่ ห ลากหลายจากผู้ ค นที่ ม ากด้ ว ย ประสบการณ์ คุณหญิงจ�านงศรี หาญเจนลักษณ์ มาบอกเล่าประสบการณ์ ล้ ม ป่ ว ยครั้ ง ใหญ่ ที่ เ พิ่ งผ่ า นมา ว่าเธอได้เรียนรู้อะไรมาบ้าง ภาริ อ ร วั ช รศิ ริ สาวน้ อ ย นั ก เขี ย นมาเปิ ด ใจถึ ง ความรู้ สึ ก ข้ า ง ใ น ร ะ ห ว่ า ง ดู แ ล แ ม่ ที่ ป่ ว ย ติดเตียงมานาน 11 ปี จนถึงวันที่ จากไป พญ. ยุวเรศมคฐ์ สิทธิชาญบัญชา มาอธิบายการท�างานของ ทีมแพทย์ฉุกเฉิน เพื่ อจะให้ผู้ปว ่ ย และญาติๆ ได้เข้าใจและตัดสินใจ ได้ถูกเมื่อเผชิญหน้ากับภาวะวิกฤต

นพ. สุขเจริญ ตัง ้ วงษ์ไชย มา อธิบายถึงภาวะล้มเหลวเฉียบพลัน ของสมองในผูป ้ ว่ ยระยะท้าย ว่าท�าไม พวกเขาจึงเพ้อคลั่งสับสน ดุจดาว วัฒนปกรณ์ มาสอน วิ ธี ก ารสั ม ผั ส และพู ดคุ ย กั น ที่ ข้ า ง เตียงคนป่วย เพื่อสร้างบรรยากาศ ที่เปี่ ยมด้วยความรักและสงบสุข นพ. พรศักดิ์ ผลเจริญสมบูรณ์ มาอธิบายถึงความเจ็บปวดทรมาน เมือ ั ธ์กา� ลังแตกสลาย และหมอ ่ ธาตุขน วิสญ ั ญีจะช่วยบรรเทาให้ได้อย่างไรบ้าง น พ . อิ ศ ร า ง ค์ นุ ช ป ร ะยู ร มาให้ทศ ั นะเกีย ิ และการจัด ่ วกับชีวต ล� า ดั บ ความส� า คั ญ กั บ เรื่ อ งต่ า งๆ เพือ ่ ให้เราช่วยท�าตามความปรารถนา ของผู้ปว่ ยระยะท้าย พี ร ะพั ฒ น์ เหรี ย ญประยู ร นักกฎหมายและนักการเงิน จะมา บอกวิธีให้เราเตรียมเงินและเตรียม เอกสาร วางแผนสู่อนาคตได้อย่าง มั่นคงปลอดภัย

เราสกั ด เอาเรื่ อ งราวของ พ ว ก เ ข า อ อ ก ม า เ ป็ น บ ท เ รี ย น ที่ ส� า คั ญ ที่ สุ ด ที่ ทุ ก คนควรจะรั บ รู้ และน�าไปลงมือปฏิบต ั ท ิ น ั ที เพื่อจะได้ เผชิ ญ หน้ า กั บ ความเจ็ บ ป่ว ยและ ความตาย ซึ่ ง ถึ ง แม้ จ ะเป็ น เรื่ อ ง ธรรมดาโลก แต่ตลอดเวลาทีผ ่ า่ นมา เรามั ก จะหลงลื ม หรื อ มองข้ า มไป และใช้ชว ี ต ิ แต่ละวันๆ ไปด้วยความประมาท ดังนั้น ก็ถึงเวลาที่เราจะมา ร่ ว มกั น เรี ย นรู้ บ ทเรี ย นสุ ด ท้ า ย ของชีวิต เพื่ อเรียนรู้ว่าความตาย ไม่ ใ ช่ ศั ต รู มั น เป็ น เพื่ อ นที่ ร อเรา ทุกคนอยู่เบื้องหน้า และเพื่ อจะได้ ใช้ ชี วิ ต วั น นี้ อ ย่ า งเปี่ ยมไปด้ ว ย ชีวิตชีวา


20

01

ISSUE 593 03 JUN 2019

THE LAST LIFE LESSON คุณหญิงจ�านงศรี หาญเจนลักษณ์

แท้จริงแล้ว... ความตายไม่ใช่ศัตรู “ความตายไม่ใช่ศัตรู และมันก็ไม่ใช่เพื่อน มันเป็นธรรมชาติท่ีอยู่เคียงคู่ไปกับชีวิตเรา” คุณหญิงจ�านงศรี หาญเจนลักษณ์ ให้สัมภาษณ์กับ a day ่ อกมาปรากฏตัวกับสือ ่ หลังจากทีล ่ ม ่ ต้นปีทผ ่ี า่ นมา ี สุดๆ เป็นครัง ้ ป่วยครัง BULLETIN แบบเอ็กซ์คลูซฟ ้ แรกทีอ ้ ใหญ่เมือ ่ ่ ะฟื้นตัว หญิงแกร่งในวัย 79 ปี เป็นโรคหัวใจ ตามด้วยผลพวงทีซบ ั ซ้อนจนต้องนอนรักษาตัวในห้องไอซียน ู านถึง 3 สัปดาห์ ใช้เวลาเป็นเดือนๆ กว่าทีจ ่ รึกษา บริษท กลับมา เพื่อบอกเล่าประสบการณ์และบทเรียนชีวต ิ อันล�้าค่า ในฐานะผูก ้ อ ่ ตัง ั ชีวามิตร วิสาหกิจเพื่อสังคม เธอสนใจศึกษาธรรมะ ้ และประธานทีป ่ งการตายดีสา� หรับสังคมไทย เธอเป็นวิทยากรและช่วยรวบรวมองค์ความรูท ชีวต ิ และความตายมาอย่างยาวนาน มีบทบาทส�าคัญในการรณรงค์เรือ ้ างการแพทย์ ส�าหรับผู้ปว่ ยระยะท้าย จนเมื่อต้องมาเผชิญหน้ากับภาวะเจ็บป่วยครั้งนี้ด้วยตัวเอง และนี่คือบทสนทนาแบบค�าต่อค�า ว่าเธอคิดและมองความตายอย่างไร

ชีวาคือพลังของชีวิต เหตุที่เราตั้งชื่อบริษัทนี้ว่า ชีวามิตร เพราะต้องการบอกว่าสิ่งส�าคัญที่สุดส�าหรับ ชีวิตก็คือ ‘ชีวา’ ซึ่งหมายถึงพลังของชีวิต ส�าหรับตัวป้าเอง ชีวาก็คอื ความกระตือรือร้น อยากเรียนอยากรู้ อยากมีสว่ นสร้างสุขให้กบั โลก เพราะว่าแก่มากแล้ว ก็เลยอยากเล่า อดีตให้ฟัง สมัยสาวๆ ป้าเป็นนักข่าวอยู่ หนังสือพิมพ์ บางกอกเวิลด์ บรรณาธิการสมัยนัน้ ชือ่ ดาร์เรล เบอร์รแิ กน เป็นชาวอเมริกนั ทีเ่ คย ท�างานในหน่วย OSS เขารูจ้ กั กับ จิม ทอมป์สนั และเคยท� า งานสื บ ราชการลั บ ด้ ว ยกั น ที่ เมืองจีน ต่อมาดาร์เรลถูกยิงตายในรถที่จอด อยู่ในสวนลุมฯ คดีนี้ยังคงติดค้างอยู่ในใจป้า จนถึงทุกวันนี้ ส�าหรับป้า ป้ามองเขาว่าเป็น ทั้งครูและเป็นทั้งพ่อทางวิชาชีพสื่อมวลชน เป็นวิชาทีต่ ดิ ตัวป้ามาจนถึงทุกวันนี้ มีการพูด กันว่า “Once a Journalist, always a Journalist.” ครั้งหนึ่งตอนไปวอชิงตัน ได้เข้าไปดู พิพิ ธ ภั ณ ฑ์ เ กี่ ย วกั บ สายลั บ ก็ บั ง เอิ ญ เห็ น เขาติดป้ายประกาศไว้ ว่าวันรุ่งขึ้นจะมีงาน บรรยายเรือ่ งคดี จิม ทอมป์สนั ประหลาดไหม ที่บังเอิญมาเจองานนี้พอดี คนที่มาบรรยาย เป็นอดีต CIA ทีร่ บั ผิดชอบการค้นหา ปรากฏว่า

บรรดาคนที่ไปนั่งฟังเป็นอดีตสายลับ CIA เกือบทั้งนั้นเลย และป้ากับพวกที่ไปด้วยกัน เป็นคนไทยรวม 4 คน ป้าก็เลยยกมือพูดเป็น คนสุดท้าย บอกว่าเคยท�างานให้ ดาร์เรล เบอร์รแิ กน และรูจ้ กั กับ จิม ทอมป์สนั มาก่อน ป้าก็วิเคราะห์ทฤษฎีของเขา ถึงช่วงจบงาน คนฟังก็เดินมาทักทาย ขอจับไม้จบั มือกันใหญ่ เรือ่ งราวต่างๆ แบบนีแ้ หละทีท่ �าให้ปา้ รูส้ กึ มีชวี ติ ชีวา และงานชีวามิตรท�าให้ได้ศกึ ษา เรี ย นรู ้ เ รื่ อ งของคุ ณ ภาพชี วิ ต และคุ ณ ภาพ ความตาย ว่าชีวิตและความตายมันคือยังไง กันแน่ สติท่ต ี ั้งมั่น ในวันที่เจ็บป่วย ตั้งแต่ก่อตั้งชีวามิตรมา ป้าก็เคยคิด เล่นๆ กับตัวเอง ว่าถ้าจะต้องตายด้วยโรค เราจะเลือกโรคอะไรดี... เราก็ตอบว่าโรคหัวใจ เถอะ... วั น นั้ น ที่ ป ้ า ล้ ม ลู ก สาวรี บ พาเข้ า ห้องฉุกเฉินโรงพยาบาล ป้าก็นอนอยูบ่ นเตียง รอหมอ มีหมอเดินเข้ามา เขาก็บอกว่าคุณป้า เป็นโรคหัวใจนะ ป้าก็บอกว่า “เย้!” คุณหมอ อีกคนทีร่ จ้ ู กั กันดีกห็ วั เราะแล้วร้องว่า “เห็นด้วย!” แต่มันไม่ใช่แค่นั้น ยังมีความซับซ้อน และผลพวงตามมาหลายอย่าง เช้าวันหนึ่ง คุณหมอเจ้าของไข้ก็มายืนปลายเตียงและ

พูดกับป้าว่า มีเรื่องยากมากให้ป้าตัดสินใจ ป้าถามว่าเรือ่ งอะไร หมอบอกว่าให้ปา้ ตัดสินใจ เลือกว่าจะเสีย่ งด้านไหน ระหว่างสมองกับหัวใจ ป้าก็ตอบปุ๊บเลยว่า เอาสมองไว้ ขอเสี่ยงกับ หัวใจ สิ่งนี้แหละที่ป้าว่าดีมากๆ คือทั้งหมอ และทั้งญาติให้เกียรติผู้ปว่ ยในฐานะเจ้าของ ชีวิตและชีวา เคารพสิทธิ์เราที่จะเลือกและ ตัดสินใจด้วยตัวเอง พอเราตกลงกั น ได้ แ บบนี้ ก็ เ ข้ า สู ่ กระบวนการรักษา ป้าขอไม่เล่ารายละเอียดนะ แต่ จ ะเล่ า ประสบการณ์ Hallucination (ประสาทหลอน) ระหว่างทีส่ ะลึมสะลือหลังตืน่ จากยาก็เห็นเหมือนก�าลังอยูใ่ นป่าทีม่ ดื สลัวๆ คล้ายถูกไฟไหม้ ตรงที่เป็นกิ่งด�าเกรียมยื่น ออกมาดูคล้ายกระดูกซีโ่ ครงมนุษย์ ป้าอยาก เล่าประสบการณ์ภาพหลอนให้ฟัง เพราะ อยากให้ทุกคนได้เห็นตามจริง ว่าทุกสิ่งเป็น เหมือนทีพ่ ระพุทธเจ้าสอนว่าทุกสิง่ เป็นอนัตตา เป็ น กระบวนการของเหตุ ป ั จ จั ย และผล ของมั น ที่ มี เ ป็ น เหตุ ป ั จ จั ย ต่ อ กั น ไปเรื่ อ ย ส่วนทางวิทยาศาสตร์ก็ว่าสิ่งที่เรารู้สึกนึกคิด นั้นล้วนเป็นพลังงานที่เกิดขึ้นจากสมองและ ปฏิกริ ยิ าทางเคมีกบั ไฟฟ้า เราจึงไม่ใช่เจ้าของ ตัวเราอย่างแท้จริงเลย

ตระเตรียมไว้ตั้งแต่วันนี้ ส�าหรับป้า ถ้าเลือกได้ก็อยากตาย ทีบ่ ้าน ป้าท�า Living Will ไว้แล้ว เราไม่ร้หู รอก ว่าจะมีสติดพี อขณะทีต่ อ้ งเผชิญกับความตาย จริงๆ ไหม การท�างานให้กับชีวามิตร เราได้ฟัง เรื่อ งที่เ ล่ า ในภายหลัง จากคนอื่น มากมาย คนที่มาเล่าเรื่องราวความเจ็บป่วย เรื่องการสู ญ เสี ย เรื่ อ งการดู แ ลคนป่วยระยะท้ า ย เรือ่ งราวเหล่านัน้ มันท�าให้เราได้เรียนรูก้ นั ก่อน เมื่อเกิดสถานการณ์จริง ก็จะได้ไม่ต้องตกใจ ความเจ็บป่วยครั้งนี้ถือเป็นโชคดี เป็นการเพิม่ พูนความรูค้ วามเข้าใจให้ปา้ เอง โดยเฉพาะ ในเรือ่ งการแพทย์การพยาบาล และยิง่ กว่านัน้ คือธรรมชาติของกายใจ ทัง้ ความรูแ้ ละความไม่รู้ ของเรา ล้วนมีความส�าคัญกับพลังชีวติ ความไม่ร้ ู เป็นฐานให้หาความรู้ ความรูม้ ที งั้ รูโ้ ลกรูธ้ รรม ป้าคิดว่าความรู้ทั้งสองด้านช่วยให้ป้าอยู่กับ อาการป่วยไข้ครั้งนี้ได้ โดยที่ไม่เสีย ‘ชีวา’


21

02

ADAYBULLETIN.COM FACEBOOK.COM/ADAYBULLETIN

THE FINAL JOURNEY พีระพัฒน์ เหรียญประยูร

เตรียมจัดกระเป๋าออกเดินทางครั้งสุดท้าย การจัดกระเป๋าเพื่อเตรียมตัวออกเดินทางครัง ้ สุดท้าย โดยหลักการแล้วจึงเป็นเพียงแค่การสร้างความมัน ่ คงปลอดภัย จัดการเอกสารทางกฎหมาย สะสางสิ่งที่เหลืออยู่เมื่อเราจากไป โดยเราต้องท�าทุกอย่างไว้ตั้งแต่ในตอนนี้ ตอนที่ยังมีชีวิตแข็งแรงอยู่ ‘คุณอั๋น’ - พีระพัฒน์ เหรียญประยูร Head of Wealth Planning กลุ่มงานไพรเวตแบงกิ้ง ธนาคารกสิกรไทย ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย ่ อ และการวางแผนการเงิน ได้ให้คา� แนะน�ากับเราถึงสิง ้ งพิจารณาในการจัดกระเป๋าครัง ่ น ้ สุดท้าย รวมถึงปัจจัยภายนอกทีเ่ ราต้องพิจารณา เพราะมีสว ่ ทีต ่ ้ ่ เกี ย วข้ อ งกั บ แผนการจั ด กระเป๋า เดิ น ทาง ประกอบด้ ว ย สิ ท ธิ ขั้ น พื น ฐานที เ ราทุ ก คนมี การวางแผนการเงิ น การลงทุ น ส่ ว นตั ว เสี ย ตั้ ง แต่ วั น นี้ และการเตรียมเอกสารทางกฎหมาย เพื่อให้ญาติหรือทรัสต์มาจัดการแทนเมื่อเราเข้าสู่ระยะท้าย

รู้สิทธิข้น ั พื้นฐาน สิ่ ง ที่ เ ราทุ ก คนต้ อ งท� า คื อ รั ก ษา สุ ข ภาพให้ ดี ก ่ อ น เพื่ อ ลดความเสี่ ย งต่ อ โรคร้ายและโรคเรื้อรัง ซึ่งจะช่วยลดค่ารักษา พยาบาลตอนเราแก่ชราลง จะได้ไม่ต้อง ใช้เงินที่เราสะสมไว้มากนัก คนที่ดูแลตัวเอง ไม่ดี เงินเก็บทั้งชีวิตของเขาจะหายไปกับ การรั ก ษาโรคในระยะท้ า ย เช่ น มะเร็ ง เบาหวาน และการล้างไต นีค่ อื โรคเบสิกทีส่ ดุ ที่เราทุกคนจะต้องเจอ แต่เรากลับไม่สนใจ เลย สิ่ ง ที่ ทุ ก คนต้ อ งรู ้ คื อ เรามี สิ ท ธิ การรักษาขั้นพื้นฐานอยู่ เริ่มต้นจากกลุ่ม ข้ า ราชการมี บั ฟ เฟอร์ ชั้ น หนึ่ ง ต่ อ มาคื อ กลุ่มคนมีบัตรทองและมีประกันสังคม ก็เป็น บัฟเฟอร์อีกชั้นหนึ่ง แต่เมื่อตรวจเจอโรคร้าย เงิ น ค่ า รั ก ษาพยาบาลจะข้ า มเกิ น ขี ด ของ บัฟเฟอร์เหล่านี้เข้ามา และตรงนี้เองที่เรา ต้องเตรียมการรับมือให้ดี

จัดกระเป๋าการเงิน คุณอัน๋ พีระพัฒน์ บอกเล่าถึงขัน้ ตอน การจัดกระเป๋าเดินทาง 1. เริ่มต้นวางแผนการเงินของตัวเอง ตั้งแต่วันนี้ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการรักษา พยาบาลที่เกินบัฟเฟอร์ออกมา เพื่อที่เมื่อถึง เวลานั้นเราจะไม่ต้องขายบ้านไป หรือเสีย ทรัพย์สินไปจนหมด 2. ศึกษาข้อมูลค่าใช้จา่ ยในการรักษา โรคเหล่านี้ โดยเฉลีย่ ตกอยูท่ เี่ ท่าไหร่ เราจะเห็น ตัวเลขเงินทีต่ อ้ งเก็บเอาไว้เอง นีไ่ ม่ใช่เงินออม เอาไว้ใช้จ่ายหลังเกษียณ แต่เป็นเงินก้อน ที่ต้องจ่ายเพิ่มขึ้นไปกว่านั้น เมื่อเกิดวินิจฉัย เจอโรคอะไร 3. วางแผนย้อนกลับมา ว่าเมื่ออายุ ยืนขึ้น ค่าใช้จ่ายรักษาพยาบาลสูงขึ้น เราจะ อยู่กันอย่างไร ตอนนี้ ผลิตภัณฑ์ประกันชีวิต และประกั น สุ ข ภาพที่ ข ายอยู ่ อาจจะไม่ ครอบคลุมความต้องการของลูกค้าแต่ละคน ได้ดพี อ เราอาจจะต้องวางแผนเฉพาะส�าหรับ ตัวเองให้รัดกุม

จัดแจงเอกสาร อี ก ส่ ว นหนึ่ ง ซึ่ ง อยู ่ น อกเหนื อ จาก การวางแผนการเงิ น คื อ การตระเตรี ย ม เอกสารต่างๆ ให้เรียบร้อย เผือ่ ไว้ในยามทีเ่ รา ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ต้องท�าพินัยกรรมและ หนั ง สื อ มอบอ� า นาจต่ า งๆ เพื่ อ ให้ ญ าติ ช่วยจัดการเรื่องราวต่างๆ แทน สิ่งที่วงการธนาคารและนักกฎหมาย ก�า ลัง วางแผนกัน ผลัก ดัน ให้ ภ าครัฐ ออก กฎหมายตัง้ ทรัสต์ในประเทศไทยได้ trust for special need เพราะเราพบว่าคนแก่ที่ไม่มี ลูกหลาน จะไม่สามารถบริหารจัดการเงินเก็บ ของตัว เองได้ ไปธนาคารเบิก เงิน มาจ่ า ย ค่ า รั ก ษาพยาบาลตั ว เองก็ ล� า บาก ดั ง นั้ น การตั้งทรัสต์จะช่วยแก้ปัญหา กล่าวโดยสรุป สุดท้ายแล้วก็ยอ้ นกลับ ไปที่เรื่องสุขภาพก่อน ชีวิตก็มีอยู่แค่นี้เอง คื อ สองก้ อ นหลั ก ๆ 1. เตรี ย มตั ว ตั้ ง แต่ ตอนแรก รั ก ษาสุ ข ภาพ สิ ท ธิ ขั้ น พื้ น ฐาน จัดกระเป๋า วางแผนในอนาคตและย้อนกลับ มาเตรียมตัวตอนนี้ และ 2. เมื่อเข้าสู่ระยะ

ท้าย เราช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ เราจะท�า เอกสารต่างๆ เตรียมไว้ เพื่อมอบหมายให้ คนอื่นเข้ามาจัดการเรื่องราวแทนเรา ถ้าผูป้ ว่ ยเองได้วางแผนไว้ดี ลูกหลาน ก็ จ ะสบาย ท� า ไปพร้ อ มกั น ตั้ ง แต่ วั น นี้ ความเจ็บป่วยและความตายมันไม่ใช่เรื่อง ของเราคนเดียว แต่เป็นเรื่องของลูกหลาน เราด้วย


22

03

ISSUE 593 03 JUN 2019

THE PAIN WITHIN นอ. นพ. พรศักดิ์ ผลเจริญสมบูรณ์

ความเจ็บปวดและความทรมานครัง ้ สุดท้าย คนทั่วไปไม่รู้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกระบวนการตายและความทุกข์ทรมานทางร่างกายของผู้ปว่ ยระยะท้าย เราจึงเข้าไปแทรกแซงกระบวนการตาย ตามธรรมชาติ ด้วยการรักษาอาการหรือการยื้อต่างๆ ทางฝ่ายลูกหลานมักต้องการยืดกระบวนการตายของพ่ อแม่ให้ยาวนาน เพราะความรู้สึกผิด หรือความกตัญญู ในขณะที่ผู้ปว่ ยระยะท้ายหลายคนอาจจะยังทนฝื นอยู่ไปเพราะเกรงใจลูกหลาน ยังรักยังห่วง จึงอยู่ต่อไปเพื่อจะได้เป็นร่มโพธิ์ร่มไทร ‘หมอแดง’ - นอ. นพ. พรศั ก ดิ์ ผลเจริ ญ สมบู ร ณ์ วิ สั ญ ญี แ พทย์ โรงพยาบาลสมเด็ จ พระนางเจ้ า สิ ริ กิ ติ์ กรมแพทย์ ท หารเรื อ บอกกับเราว่า “ในท้ายที่สุดต้องให้ผู้ปว่ ยได้ตัดสินใจเลือกด้วยตัวเอง หมอรู้ถึงความทุกข์ทรมาน จึงแนะน�าให้เราไม่ต้องยื้อความตายไว้นานเกินไป ในขณะที่คนทั่วไปอาจจะมองว่าเป็ นความใจร้าย แต่ถ้าเราเอาความต้องการของผู้ปว่ ยเป็ นหลัก และถ้าเขาพู ดได้ บอกได้ และตัดสินใจเลือกเองได้ หมอมั่นใจว่าเขาจะบอกว่าวิถีทางตามธรรมชาตินั้นดีท่ส ี ุด”

ตัดสินใจด้วยตัวเอง หลั ก การคื อ ให้ ผู ้ ป่ว ยระยะท้ า ยได้ ตัดสินใจด้วยตัวเอง บนพื้นฐานของข้อมูล ที่ เ ป็ น จริ ง เมื่ อ เขารู ้ ว ่ า โรคที่ เ ป็ น อยู ่ นั้ น รักษาหายหรือไม่หาย ถ้าด�าเนินการรักษา ต่อไปแล้วจะทรมานมากหรือน้อยอย่างไร แล้วเขาจะประเมินด้วยตัวเองว่าอยากจะให้ ลูกหลานท�าอย่างไร แน่ น อนว่ า มี ผู ้ ป่ว ยจ� า นวนไม่ น ้ อ ย ที่ ยั ง อยากมี ชี วิ ต อยู ่ ต ่ อ และต้ อ งการรั บ การรักษาต่อไป และเขาพร้อมทีจ่ ะเผชิญหน้า กั บ ความเจ็ บ ปวดทรมานอย่ า งกล้ า หาญ อย่ า งไรก็ ต าม ต้ อ งยอมรั บ ว่ า ยั ง มี ผู ้ ป่ว ย ระยะท้ายอีกส่วนหนึ่งที่ยอมยุติการรักษา และเริม่ เข้าสูก่ ระบวนการตายตามธรรมชาติ ซึ่งนั่นก็ถือเป็นสิทธิพื้นฐาน “ปั ญ หาในทุ ก วั น นี้ เ กิ ด ขึ้ น เพราะ ผู้ปว่ ยไม่รู้ข้อมูลนี้ บางทีลูกหลานช่วยกัน ปิดบัง ยังคอยบอกเขาว่ารักษาหายได้ และ เขายังอยูต่ อ่ ไปได้อกี นาน เขาจึงไม่รวู้ า่ ตัวเอง ควรตัดสินใจอย่างไร”

กระบวนการตายและความเจ็บปวดทรมาน ตามหลักวิทยาศาสตร์ ยกตัวอย่าง คนเราถ้ากินอาหารไม่ได้ติดต่อกันหลายวัน ร่างกายจะสูญเสียสมดุลเกลือแร่ พอเสีย สมดุลนีไ้ ป อย่างแรกทีจ่ ะกระทบกระเทือนเลย ก็คือสมอง สมองจะเริ่มเบลอ และปิดการท�างานไปเรื่อยๆ เขาจะไม่เจ็บปวดทรมาน มากนักตอนจากไป นอกจากนี้ ยั ง มี ก ระบวนการตาย จากการติดเชือ้ ซึง่ จะท�าให้ความดันเลือดตก เลื อ ดที่ ไ ปเลี้ ย งสมองจะลดลงเรื่ อ ยๆ ผูป้ ว่ ยจะซึมลง ง่วง หลับ การรับรูท้ างร่างกาย จะค่อยๆ ตัดออกไป ไม่รบั รูถ้ งึ ร่างกายตอนที่ ก�าลังแตกดับ “ด้วยความรูเ้ ท่าไม่ถงึ การณ์ เราจะใช้ การแพทย์สมัยใหม่ทา� ทุกวิถที างเพือ่ ให้สมอง ผู้ป่วยยังคงท�างานอยู่ ความดันเลือดตกก็ให้ ยากระตุ้นความดัน ถ้าติดเชื้อก็ให้ยาฆ่าเชื้อ ไตวายก็ฟอกไต กินไม่ได้กใ็ ห้อาหารทางสาย แบบนี้ ส มองเขายั ง ท� า งานต่ อ ไปและรั บ รู ้

ความเจ็บปวดทรมานไปเรื่อยๆ” ความรูเ้ รือ่ งความเจ็บปวดทางร่างกาย ตามอาการของโรคต่างๆ ท�าให้เราสามารถ ประเมินได้วา่ ควรท�าอย่างไรกับผูป้ ว่ ยระยะท้าย เพื่อช่วยบรรเทาความเจ็บปวด โดยไม่ไป แทรกแซงกระบวนการตายตามธรรมชาติ ยอมรับวิถีทางของธรรมชาติ หมอแดงย�้ า ว่ า การที่ ผู ้ ป่ว ยยอมรั บ ความจริ ง ต่ อ อาการของตั ว เอง และยอม ยุติการรักษา ไม่ใช่การฆ่าตัวตาย และไม่ใช่ การท� า การุ ณ ยฆาต ซึ่ ง ผิ ด หลั ก ศาสนา ผิดกฎหมาย และผิดต่อคนที่เรารัก แต่คือ การตั ด สิ น ใจเข้ า สู ่ ก ระบวนการตายตาม ธรรมชาติ หลักการทีถ่ กู ต้อง เมือ่ รูต้ วั ว่าเจ็บป่วย และเข้าสู่ระยะท้ายของชีวิต 1. ยอมรับตามธรรมชาติ ว่าทุกชีวิต ไม่ว่าจะยื้อนานแค่ไหนก็ต้องจากไป 2. แสดงเจตจ� า นงไว้ อ ย่ า งชั ด เจน หรือท�า Living Will เอาไว้ อย่างเช่นคุณพ่อ

ของหมอบอกไว้ ก ่ อ นหน้ า นั้ น แล้ ว ว่ า เขา ไม่ต้องการทรมาน 3. การแพทย์สมัยใหม่ ใช้เพื่อช่วย ลดความเจ็บปวด โดยปล่อยอาการของโรค ด�าเนินไปตามวิถธี รรมชาติ ไม่ไปเปลีย่ นอะไร มัน “ในระยะหลัง การท�างานของหมอคือ ให้ความรู้เหล่านี้ออกไป เพื่อช่วยไม่ให้ญาติ หรือลูกๆ รู้สึกผิดในภายหลัง หมอพยายาม ปิดช่องโหว่ของความไม่รู้ ตอบค�าถามกับ ทุกคน เพื่อที่เขาจะได้ไม่ยื้อความตายของ พ่อแม่ ให้ความรูเ้ พิม่ เข้าไปเพือ่ จะได้ไม่สงสัย ลังเล หรือรู้สึกผิด ถ้าถามว่าถูกต้องไหม หมอตอบเรื่อ งถู ก หรือ ผิด ไม่ ไ ด้ แต่ มัน คือ วิถีทางตามธรรมชาติที่สุด และจากความรู้ ทางการแพทย์ มั น คื อ วิ ถี ท างที่ เ จ็ บ ปวด ทรมานน้อยกว่า”


23

04

ADAYBULLETIN.COM FACEBOOK.COM/ADAYBULLETIN

THE DEEPEST CONVERSATION

ดุจดาว วัฒนปกรณ์

บทสนทนาลึกซึ้งถึงหัวใจ

่ า้ งเตียงผูป ่ มไข้ดใู จกันเป็นครัง ทีข ้ ว่ ยระยะท้าย เปรียบเหมือนเวทีกลางทีเ่ ปิดให้ญาติสนิทมิตรสหายได้มาเยีย ้ สุดท้าย เพื่อพู ดคุยกันและกล่าวค�าอวยพร ่ นเวทีนจ ้ี ะปกคลุมด้วยความเงียบทีน ่ า่ อึดอัด บรรยากาศอึมครึม เพราะผูป ่ ลืมตามาก็ไม่สามารถ หรืออ�าลา บ่อยครัง ้ ว่ ยไม่รส ู้ ติเสียเป็นส่วนใหญ่ หรือตืน ้ ทีบ ่ สารกันได้รเู้ รือ ่ ง บรรดาคนทีม ่ าเยีย ่ มก็พูดจากันโดยขาดความเข้าอกเข้าใจผูอ ่ื บางครัง ่ งทีไ่ ม่ควรเอ่ย สือ ้ น ้ ก็โต้เถียงกับหมอและพยาบาล บางครัง ้ ก็เอ่ยเรือ ่ ้ ทัง ๆ ที บ รรยากาศข้ า งเตี ย งน่ า จะช่ ว ยเกื อ หนุ น ใจกั น และช่ ว ยท� า ให้ ผ ป ้ ู ว ่ ยรู ส ้ ก ึ สงบสุ ข ้ ่ นไหว หลายคนคุน ดุจดาว วัฒนปกรณ์ นักบ�าบัดจิตด้วยการเคลือ ้ เคยกับเธอในฐานะของนักแสดงละครเวที เธอมีงานหลักคือผูช ้ ว ่ ยผูอ ้ า� นวยการอาวุโส ด้านการสื่อสาร โรงพยาบาลกรุงเทพ คอยดูแลเรื่องการสื่อสารของบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อจัดการด้านคุณภาพ ความปลอดภัย ลดความเสี่ยง ในการรับบริการให้กับผู้ปว่ ยและญาติๆ เธอน�าประสบการณ์จากงานหลากหลายด้านมาให้ค�าแนะน�ากับเราในเรื่องการพู ดคุยกันอย่างเห็นอกเห็นใจ ที่ข้างเตียงของผู้ปว่ ยระยะท้าย

คุณหมอคิดอะไร?

ญาติและผู้ปว ่ ยคิดอะไร?

“จากประสบการณ์ที่ท�างานร่วมกับ หมอและพยาบาลมา ดาวได้รบั รูร้ บั ฟังความคิด และความรูส้ กึ ของพวกเขามามาก สิง่ ทีอ่ ยาก แบ่งปัน คือคุณหมอส่วนใหญ่ยังรู้สึกไม่กล้า ที่จะบอกให้สิ้นสุดการรักษา เพราะลึกๆ แล้ว หมอเสียใจกับญาติคนไข้ ผูกพันกับผู้ปว่ ย และที่ส�าคัญ หมอกังวลว่าญาติและคนไข้ จะสู ญ สิ้ น ความยอมรั บ นั บ ถื อ ในตั ว หมอ ญาติจะไม่ไว้เนื้อเชื่อใจในตัวหมออีกต่อไป” ดุจดาวอธิบายเพิ่มเติมว่าการสิ้นสุด การรักษา ส�าหรับคุณหมอถือว่าเป็นความล้มเหลว ไม่ประสบความส�าเร็จในหน้าที่ การงาน ในขณะที่ ญ าติ มั ก จะถามหมอ ว่าถ้าปล่อยคนไข้ให้ตายไปจะผิดไหม หมอจึง ไม่กล้าตอบในสถานการณ์เช่นนี้ เพราะเขา ไม่อยากให้ญาติผิดหวัง ไม่อยากให้คนไข้ สิน้ หวัง และเขาเองก็ยงั ด�าเนินการรักษาต่อไป

สถานการณ์หน้าเตียงผูป้ ว่ ยระยะท้าย จะเต็มไปด้วยอวัจนภาษาและการสื่อสาร ที่แปลกไปจากเดิม เราต้องการการสื่อสาร ที่เปิดใจต่อกันอย่างแท้จริง ในสถานการณ์ ทีพ่ ดู อะไรก็ยากไปหมด แม้กระทัง่ การบริหาร ความเงียบที่ข้างเตียง ไม่พูดอะไรกันเลย จะได้ไหม อึดอัดกันหรือเปล่า “หลายปีก่อนตอนที่คุณตาของดาว ป่วยหนัก ก�าลังเข้าใกล้ระยะท้าย ครอบครัว ของเราพาคุณตาเข้าออกห้องไอซียหู ลายรอบ มาก แม่ก็บอกคุณตาว่าเดี๋ยวก็ได้กลับบ้าน แล้ว ไม่ต้องห่วง ตอนนั้นดาวก็บอกกับแม่ ว่าการพูดแบบนี้ไม่ได้ช่วยให้คุณตาดีขึ้นจาก จุดทีเ่ ขาอยู่ ถ้าเราไม่พดู แบบนี้ เราพูดอย่างอืน่ กับเขาจะดีกว่าไหม” ดุจดาวเล่าเรื่องราว ส่วนตัว “สิง่ ทีแ่ ข็งแรงมากๆ คือการหายใจร่วม

กัน และการทีไ่ ม่ตอ้ งพูดอะไร เราคอนเนกต์ ด้ ว ยลมหายใจ ก็ เ ป็ น การสื่ อ สารได้ ม าก มีการสัมผัส การหายใจไปพร้อมกัน อยูร่ ว่ มกัน อย่างไร” เธอบอก สุ ด ท้ า ยแม่ ก็ เ ข้ า ไปคุ ย กั บ คุ ณ ตา แม่ ก ล่ า วชื่ น ชมคุ ณ ตา ว่ า ทั้ ง ชี วิ ต ของเขา ที่ผ ่ า นมาประสบความส� า เร็จ อะไรมาบ้ า ง มีคุณค่าและมีความหมายกับลูกๆ อย่างไร บ้ า ง แม่ บ อกตาเรื่ อ งดี ๆ ในชี วิ ต ของเขา แล้วก็บอกว่าภารกิจในชีวติ ของคุณตาส�าเร็จ เสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้ว ลูกหลานทุกคนจดจ�า ความดีของคุณตาได้แน่นอน ...แล้วในคืนนั้นคุณตาก็จากไป ความเห็นอกเห็นใจผูอ้ นื่ และการสือ่ สาร ด้วยความเข้าใจอย่างลึกซึง้ จึงเป็นสิง่ จ�าเป็น ส�าหรับทุกคนทุกฝ่าย เมื่อต้องมาอยู่ร่วมกัน ที่รอบๆ เตียงผู้ป่วยระยะท้าย เพื่อช่วยให้ สามารถสื่อสารกันได้อย่างลึกซึ้ง และท�าให้ ผู้ป่วยบรรลุถึงจุดหมายสุดท้ายของชีวิต

“สิ่งที่แข็งแรงมากๆ คือการหายใจร่วมกัน และ การที่ไม่ต้องพู ดอะไร เราคอนเนกต์ด้วยลมหายใจ ก็เป็นการสื่อสารได้มาก มีการสัมผัส การหายใจไป พร้อมกัน อยู่ร่วมกัน อย่างไร”


24

05

ISSUE 593 03 JUN 2019

THE MIND UNWINDED ผศ. นพ. สุขเจริญ ตั้งวงษ์ไชย

เมื่อสมองก�าลังล้มเหลว ่ เกิดจากการล้มเหลวของสมองแบบเฉียบพลัน ท�าให้บางคนเห็นสายน�า้ เกลือเป็นงูเลือ ้ ย ผูป ้ ว่ ยระยะท้ายอาจจะมีอาการสับสนเพ้อคลัง ่ หรือ Delirium ซึง ้ ลายคนเชือ ่ มโยงกับเรือ ่ งผีสางและความเชือ ่ งมงาย หรือบางคน บางคนสับสนเลอะเลือนเห็นผูค ้ นมายืนอยูเ่ ต็มห้อง ทัง ้ ทีไ่ ม่มใี ครอยูเ่ ลย ปรากฏการณ์เช่นนีห เชื่อมโยงกับเรื่องศาสนาและจิตวิญญาณ ในขณะที่เราสามารถอธิบายปรากฏการณ์น้ไี ด้ด้วยวิทยาศาสตร์ด้วยเช่นกัน ผศ. นพ. สุขเจริญ ตัง ้ วงษ์ไชย หัวหน้าศูนย์ Cognitive Fitness Center และหัวหน้าภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะมาไขความลับทางธรรมชาติของสมองให้เราได้เข้าใจมันอย่างถูกต้อง เพื่อน�าไปสูก ่ ารช่วยเหลือผูป ้ ว่ ยระยะท้ายให้มส ี ติรบ ั รู้ และเผชิญหน้ากับการจากไป ได้อย่างสงบสุขที่สุด

อธิบายธรรมชาติด้วยวิทยาศาสตร์ คุณหมอสุขเจริญอธิบายถึงความเสือ่ ม ของสมอง ว่าสมองก็เป็นเหมือนกับอวัยวะ อื่ น ๆ ในร่ า งกายที่ ต ้ อ งเสื่ อ มถอยไปตาม กาลเวลา ศักยภาพการท� า งานของสมอง ในคนหนุ่มสาวกับคนแก่ไม่เท่ากัน เพราะ จ�านวนเซลล์ประสาทในสมองลดลงไปเรือ่ ยๆ ตามธรรมชาติ สมองก็ เ หมื อ นกั บ คอมพิ ว เตอร์ เครื่องนั้น เมื่อถึงจุดที่มันเสื่อมลง โดยเฉพาะ อย่างยิ่งในระยะท้ายของชีวิต เรามักจะได้ เห็นปรากฏการณ์แปลกๆ ที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย ระยะท้ า ย จริ ง ๆ แล้ ว เป็ น ปรากฏการณ์ ตามธรรมชาติ ด้วยบทบาทของแพทย์และ นักประสาทวิทยา โดยส่วนตัวหมอสุขเจริญ เชื่ อ ว่ า เรื่ อ งภาวะสั บ สนในผู ้ ใ กล้ เ สี ย ชี วิ ต เราควรอธิบายด้วยวิทยาศาสตร์ ใช้ความรู้ เชิงประสาทวิทยา จะท�าให้เข้าใจได้ง่ายกว่า และจะให้วิธีการในการดูแลช่วยเหลือผู้ป่วย ระยะท้ายให้จากไปอย่างสงบ

กระบวนการทางสมอง โดยปกติแล้วสมองของคนเรามีหน้าที่ ท�าให้เราสามารถมีปฏิสมั พันธ์กบั สิง่ แวดล้อม ได้อย่างเหมาะสม สมองปกติที่ตอบสนอง สิ่ ง แวดล้ อ มได้ ดี ต้ อ งมี อ งค์ ป ระกอบคื อ ระดับการรู้สติ สมาธิ ความจ�า ภาษา และ ความสามารถในการบริหารจัดการและการคิด วางแผน ในภาวะที่สมองล้มเหลวเกิดอาการ สับสน หรือ Delirium สมองของผู้ป่วยจะเกิด อาการดังต่อไปนี้ 1. การเปลีย่ นแปลงของระดับการรูส้ ติ ส่ ว นใหญ่ เ กิ ด ขึ้ น ในระยะท้ า ยของชี วิ ต เมื่ อ ระดั บ การรู ้ ส ติ เ ปลี่ ย นไปในทิ ศ ทางที่ มากขึ้นหรือน้อยลง ถ้ามากขึ้นก็กลายเป็น ความว้าวุ่นหรือเพ้อคลั่ง ถ้าน้อยลงก็เป็น การซึ ม อาการผู ้ ปว่ ยอาจจะขึ้ น ๆ ลงๆ บางช่ ว งเวลาอาจจะเหมื อ นกลั บ มาดี แต่ บ างช่ ว งก็ แ ย่ ล ง เราจะเห็ น ความเปลี่ยนแปลงไปตามช่วงเวลาของวัน 2. สมาธิและจิตใจจดจ่อ มีสว่ นส�าคัญ

ที่จะท�าให้เราปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมได้ เพราะว่ า ข้ อ มู ล จากสิ่ ง แวดล้ อ มภายนอก มี เ ข้ า มาเยอะมาก สมองจะประมวลผล แต่ละเรือ่ งได้โดยต้องมีสมาธิ ถ้าสมาธิเสียไป เราไม่สามารถจัดการกับเรือ่ งตรงหน้า ผู้ป่วย ภาวะสับสนจะมีปัญหาเรื่องสมาธิ เราไป พูดคุยกับเขา เขาจะไม่เข้าใจ ไม่สามารถ รั บ รู ้ สิ่ ง ที่ เ ราคุ ย ด้ ว ยได้ บางที ต อบไม่ ต รง ค�าถาม การควบคุมตัวเองแย่ลง 3. การรับรู้ประสาทสัมผัสทีเ่ ปลีย่ นไป เช่น การเกิดภาพหลอนขึ้นมา ส่วนใหญ่จะ เห็นสิ่งเร้าตรงหน้าเป็นสิ่งอื่นไป เช่น เห็น สายน�้าเกลือเป็นงู คือมีสิ่งเร้าอยู่จริง แต่ แปลความเป็นอย่างอืน่ หรือไม่มสี งิ่ เร้าจริงอยู่ เช่น ไม่มใี ครอยูใ่ นห้อง แต่เห็นมากันเต็มห้อง เลยก็ได้ เป้าหมายการช่วยเหลือผู้ปว ่ ย ระยะท้าย ผู ้ ป่ว ยระยะท้ า ยที่ เ กิ ด ภาวะสั บ สน นอกจากเป็นเพราะการท�างานของสมองเริ่ม

ล้ ม เหลวที ล ะส่ ว นๆ ยั ง เกิ ด ได้ จ ากปั จ จั ย ภายนอกมากมายพร้อมกัน การได้รบั การรักษา ด้วยยาบางอย่าง การกินอาหารและน�้าไม่ได้ การติดเชื้อ มีอาการไข้สูง หรือพื้นฐานของ สมองเดิมนั้นมีปัญหาอยู่แล้ว เมื่ อ เราอธิ บ ายอาการสั บ สนด้ ว ย เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ ท�าให้สามารถแก้ไข ทุกปัจจัยเสีย่ ง เป็นการน�าความรูท้ างวิทยาศาสตร์ มาช่วยดูแลเรือ่ งทางด้านจิตใจและจิตวิญญาณ เป้าหมายที่ต้องการเข้าไปช่วยเหลือผู้ป่วย ระยะท้าย คือให้ผู้ป่วยมีสติรู้ตัวและรับรู้ได้ ระดับหนึ่ง โดยเฉพาะในช่วงวันท้ายๆ เมื่อมี ญาติมาเยี่ยม ฟังญาติได้ยิน มีการสื่อสาร กลับไปได้ เพื่อเป็นช่วงเวลาที่ดี สิ่งต่างๆ เหล่านี้จะกลายเป็นความทรงจ�าที่ดีส�าหรับ คนที่ ยั ง อยู ่ ถึ ง แม้ ผู ้ ป่วยจะจากไปแล้ ว การช่วยเหลือผู้ป่วยระยะท้ายให้ไม่สับสน ส่วนหนึ่งก็คือช่วยให้ญาติๆ ได้สบายใจและ มีความทรงจ�าที่ดีต่อคนไข้ตลอดไป


25

06

ADAYBULLETIN.COM FACEBOOK.COM/ADAYBULLETIN

THE FUTURE FORESEEN ‘พาย’ - ภาริอร วัชรศิริ

เตรียมใจกับอนาคตในอีกไม่ไกล ‘พาย’ - ภาริอร วัชรศิริ สาวน้อยนักเขียน บอกเล่าเรื่องราวชีวิตของเธอในฐานะผู้ดูแลแม่ท่ีนอนป่วยติดเตียงมาตั้งแต่เธออายุเพี ยง 16 ปี จากเด็ ก สาวไร้ เ ดี ย งสาที่ โ ชคชะตาพลิ ก ผั น ในวั น ที่ แ ม่ เ ส้ น เลื อ ดในสมองแตก ผ่ า นประสบการณ์ ค วามยากล� า บากกั บ ปัญ หาร้ อ ยแปดพั น ประการ ในขณะเดียวกันก็ได้เรียนรู้บทเรียนชีวิตอันซาบซึ้งและเปี่ ยมไปด้วยก�าลังใจ พายมาช่วยบอกเล่าความคิดและความรู้สึกภายในใจในแต่ละสเตจ ว่าผู้ดูแลคนป่วยนั้นควรดูแลตัวเองอย่างไร ในแต่ละขั้นตอนของสถานการณ์ ้ ตัง ้ เพื่อให้ทก ทีเ่ กิดขึน ุ คน ้ แต่การเผชิญหน้ากับความเจ็บป่วย การดูแลกันมายาวนาน จนถึงวันทีเ่ ขาจากไปแล้วหลังจากนัน ้ ภายในใจของเราเกิดอะไรขึน จะได้เข้าใจในมุมของผู้ดูแล ช่วยให้เขาสามารถท�าหน้าที่น้ต ี ่อไปได้ตลอดรอดฝั่ ง การเรียนรู้เรื่องราวของพาย จะท�าให้เรามองเห็นอนาคตของเราทุกคน ไปพร้อมกัน

เมื่อแม่ล้ม “ตอนที่ แ ม่ ต าย พายได้ รั บ ค�า ถาม ยากๆ มาจากญาติ ว่าพายปล่อยให้แม่นอน ป่วยมานานขนาดนีไ้ ด้อย่างไร ท�าไมไปทรมาน เขาแบบนี้ ท�าไมไม่ปล่อยให้เขาไปตั้งแต่วันที่ เขาล้ม เขามาถามพายแบบนี้ในงานศพแม่” ค� า ถามแบบนี้ พ าให้ พ ายนึ ก ย้ อ นกลั บ ไป ส�ารวจตัวเองเมื่อสิบเอ็ดปีก่อน จริงๆ แล้วพายคือผูท้ จี่ ะอยูก่ บั การเลือก ในครั้งนั้นไปตลอดชีวิตที่เหลือ แม้ในวันที่ แม่ จ ะยั ง อยู ่ หรื อ แม่ จ ะตายไปแล้ ว ก็ ต าม การตั ด สิ น ใจครั้ ง นั้ น จะยั ง ส่ ง ผลกั บ ตั ว เรา ตลอดไป เรื่องที่ส�าคัญคือการท�าให้ดีที่สุด ทัง้ เพือ่ แม่ทยี่ งั มีชวี ติ อยู่ แล้วก็เพือ่ ตัวเองจะได้ ไม่ต้องรู้สึกเสียใจที่ไม่ได้ท�าอะไรในภายหลัง “ส� า หรั บ พาย เรื่ อ งนี้ ส� า คั ญ ที่ สุ ด ค� า ว่ า ไม่ รู ้ สึ ก ผิ ด หรื อ ไม่ ต ้ อ งมาเสี ย ใจ ในภายหลัง พายเห็นเรื่องราวของหลายคน ทีค่ วามรู้สกึ ผิดหรือยังคงเสียใจตามไปเรือ่ ยๆ มันเป็นก้อนความรู้สึกที่ใหญ่มากๆ”

การดูแลที่ยาวนาน พายเล่ า ว่ า ทุ ก วั น นี้ เ ธอยั ง นึ ก ย้ อ น กลับไปอยูเ่ สมอๆ ถึงแม้จะไม่รสู้ กึ ผิด เสียดาย หรือเสียใจในเรือ่ งราวก้อนใหญ่ๆ ในภาพรวม แต่ก็ยังรู้สึกผิดกับบางโมเมนต์เล็กๆ ระหว่าง ทางที่ดูแลแม่มา สิ่งที่ช่วยพายได้มากที่สุด คือแม่เป็น คนอารมณ์ดี และแม่ยังพูดคุยกับเธอได้อยู่ แม่ เ ป็ น คนตลกเสมอ สิ่ง นี้ช ่ ว ยให้ ลู ก ยัง มี ก�าลังใจและยังท�าหน้าที่ดูแลต่อมาได้เรื่อยๆ และท�าให้ลูกไม่มีอะไรติดค้างในใจเมื่อแม่ จากไป เพราะเมื่อท�าอะไรให้ไป แล้วแม่ก็ ตอบสนองกลับมาว่ามีความสุข “พายหอมแก้ ม เขา เขาก็ หั ว เราะ ชอบใจ มีความสุข จนกระทัง่ ช่วงเวลาสุดท้าย เขาก็ยังสุขภาพจิตดี และท�าให้พายรู้สึกว่า ทั้งหมดที่ท�าไปนั้นดีที่สุดแล้วส�าหรับเขา” เมื่อแม่จากไป ส�าหรับพาย แม้แม่จะนอนป่วยมานาน

11 ปี และรู้ว่าสักวันแม่ก็ต้องจากไป แต่ตอน ที่เขาจากไปจริงๆ ก็ไม่รู้สึกว่าท�าใจได้ง่ายๆ แบบนั้ น กลั บ รู ้ สึ ก ว่ า ปั จ จุ บั น ทั น ด่ ว น เหมือนกัน จนถึงทุกวันนี้ มีหลายคนมาถามพาย เรื่องการก้าวข้ามการสูญเสีย พายจะตอบว่า ตอนนีเ้ ธอยังไม่ได้ผา่ นไปเลย สเตจนีย้ งั อยูก่ บั เธอต่อไปอีกนาน “ตอนแรกเคยคิดว่าช่วงเวลาทีด่ แู ลแม่ มา 11 ปี เป็นสเตจที่นานมากและยากมาก มันคงยากที่สุดแล้ว แต่มาตอนนี้เราพบว่า ไม่ใช่ สเตจทีย่ ากกว่าคือตอนหมอมาถามว่า จะปล่อยแม่ไปไหม และเราเคยคิดว่ามันยาก ที่สุดแล้ว จนตอนนี้ก็พบว่ามันไม่ใช่ สเตจที่ ยากขึ้นรอเราอยู่ต่อไปอีกเรื่อยๆ ตอนนี้แม่ ไม่อยู่แล้ว แต่พายยังจ�าได้ว่าตอนกอดเขา หอมเขา เรารูส้ กึ อย่างไร และยังคงมีความคิด ความรู้สึกบางอย่างติดค้างในใจเราอยู่”

“ตอนแรกเคยคิดว่า ช่วงเวลาที่ดูแลแม่มา 11 ปี เป็นสเตจที่นานมากและยาก มาก มันคงยากที่สุดแล้ว แต่มาตอนนี้เราพบว่าไม่ใช่ ่ ากกว่าคือตอนหมอ สเตจทีย มาถามว่าจะปล่อยแม่ไปไหม”


26

07

ISSUE 593 03 JUN 2019

THE WAY HOME รศ. พญ. ยุวเรศมคฐ์ สิทธิชาญบัญชา

ความสุขสุดท้ายคือได้กลับบ้าน ่ งของการดูแลระยะยาว ไม่นา่ จะเกีย ่ วกับห้องฉุกเฉิน ทีเ่ ป็นเรือ ่ งการรักษา คนทัว ้ ว่ ยระยะท้ายด้วยการประคับประคอง เป็นเรือ ่ ไปมักจะคิดว่าการดูแลผูป แบบปัจจุบันทันด่วน แต่ในความเป็ นจริงกลายเป็ นว่าห้องฉุกเฉินในทุกวันนี้ต้องรับดูแลผู้ปว่ ยระยะท้ายเยอะมาก เพราะเรายังขาดความรู้ความเข้าใจ และตั้งความคาดหมายต่อหน่วยรถพยาบาลและแพทย์ฉุกเฉินผิดไป รศ. พญ. ยุวเรศมคฐ์ สิทธิชาญบัญชา มาอธิบายถึงเรื่องนี้ให้เราฟัง ว่าช่วงสองสามสัปดาห์สุดท้ายของชีวิต ผู้ปว่ ยระยะท้ายที่ไม่ได้เข้าถึง การดูแลที่ดี จะเจ็บปวดและทุกข์ทรมานมาก จนต้องถูกญาติพามาห้องฉุกเฉินบ่อยขึ้น การดูแลแบบประคับประคองจึงกลายเป็นอนุสาขาต่อยอดส�าหรับ ้ งต้น มีการควบคุมอาการทางกาย และการติดตามดูแลอาการต่อเนือ ่ งอืน ่ ๆ รวมถึงให้คา� ปรึกษาความวิตกกังวล แพทย์ฉก ุ เฉิน เพื่อให้คนไข้ได้รบ ั การดูแลเบือ ของญาติ เพื่อให้พวกเขาสามารถดูแลกันเองที่บ้าน พากันมาที่ห้องฉุกเฉินน้อยลง และท�าให้สามารถตายอย่างสงบที่บ้านของตัวเอง

ค ว า ม เ ข้ า ใ จ ผิ ด เ กี่ ย ว กั บ ห้องฉุกเฉิน หมอยุ ว เรศมคฐ์ บ อกว่ า การพามา โรงพยาบาลแต่ละครั้ง ทุกคนย่อมหวังที่จะ ท�าให้รอด แต่มกั กลับกลายเป็นพามานอนรอ ความตายที่โรงพยาบาล เราทุกคนจึงควร เปลี่ยนความคิดและความรู้สึกเสียใหม่ สิ่งที่ ญาติและผูป้ ว่ ยควรรูเ้ พือ่ จะเตรียมตัวให้ดี คือ 1. เข้ า ใจระยะของโรคของตั ว เอง ปรึกษาคุณหมอเจ้าของไข้ไว้เลยตั้งแต่วันนี้ เพื่อจะได้วางแผนในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน ตกลงกันว่าจะเรียกรถพยาบาลหรือไม่ 2. เข้าใจบทบาทที่แท้จริงของห้อง ฉุกเฉิน ลดความคาดหวังแบบผิดๆ เพราะ ห้องฉุกเฉินจริงๆ แล้วไม่ใช่พนื้ ทีส่ �าหรับผูป้ ว่ ย ระยะท้าย เราเอาไว้รองรับคนไข้ทยี่ งั มีโอกาส รอดต่ อ ไป ห้ อ งฉุก เฉินไม่ ส ามารถมีพื้น ที่ ให้ ญ าติ เ ข้ า ไปดู ใ จ ไม่ ส ามารถสร้ า ง บรรยากาศสุขสงบให้ผู้ป่วยค่อยๆ จากไป 3. เข้ า ใจบทบาทของการกู ้ ชี พ หน้าที่ของหน่วยรถพยาบาล เมื่อคุณโทร.

เข้ามา เราจะถูกมอนิเตอร์ทนั ที ต้องรีบออกรถ เพื่อมุ่งไปให้ถึงคนไข้ภายในกี่นาที มีก�าหนด respond time เมื่อถึงจุดเกิดเหตุ มีเวลา ท� า งานกี่ น าที เพื่ อ รั บ ตั ว คนไข้ เ ข้ า ไปใน โรงพยาบาล ไม่สามารถมานัง่ รอการตัดสินใจ ค ว า ม ห ม า ย ที่ แ ท้ จ ริ ง ข อ ง ห้องฉุกเฉิน โ ร ง พ ย า บ า ล ร า ม า ธิ บ ดี ไ ด ้ ตั้ ง ‘ศูนย์รามาธิบดีภบิ าล’ เพือ่ เข้าไปดูแลผู้ป่วย โรคร้ายแรงตั้งแต่ระยะเริ่มต้น เพื่อที่เมื่อถึง ระยะท้ายของชีวิต ผู้ป่วยจะมาห้องฉุกเฉิน น้อยลง ญาติจะได้มีที่ปรึกษาเพื่อดูแลกันไป ได้เองที่บ้าน การท� า งานของศู น ย์ คื อ การตาม แทร็ ก กิ้ ง คนไข้ แ ต่ ล ะเคสไป เมื่ อ มี เ คสขอ คอนซัลต์จากคุณหมอเจ้าของไข้เข้ามา จะมี พยาบาลประจ�าแต่ละเคสเป็น Nurse Case Manager ติดตามไปเรื่อยๆ ความถี่หรือห่าง ในการติ ด ตามก็ ขึ้ น กั บ โรคและระยะของ โรค ดังนั้น จากเดิมที่ต้องมีผู้ป่วยระยะท้าย

ที่ก�าลังเจ็บปวดทรมานมากมายมากองใน ห้องฉุกเฉิน ถ้ามีการเปิดช่องทางให้ญาติ ติดต่อได้ตลอด เขาก็อยากจะอยู่บ้านเพื่อ เตรียมตัวจากไป โดยทีมแพทย์จะประเมิน ความพร้อมที่บ้าน ช่วยเหลือการเดินทาง กลับบ้านได้สะดวก วางแผนหาทางช่วยเหลือ อื่นๆ เช่น ให้ยืมอุปกรณ์ให้กลับไปใช้ดูแล กันเองที่บ้าน เช่น การดริปมอร์ฟีนที่บ้าน สิง ่ ที่คุณท�าได้ตั้งแต่วันนี้ ค�าแนะน�าจากคุณหมอยุวเรศมคฐ์ คื อ ณ วั น นี้ คุ ณ ต้ อ งพู ด คุ ย กั บ คุ ณ หมอ เจ้าของไข้ที่ติดตามรักษากันมายาวนาน ว่า อยู่ถึงระยะไหนแล้ว และจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง ในระยะต่ อ ๆ ไป คุ ณ หมอเป็ น ผู ้ ช�า นาญ เฉพาะด้าน บางทีอาจจะไม่มีความรู้เรื่อง การดูแลแบบประคับประคอง ดังนั้น เราจึง ต้องเป็นฝ่ายโปรแอ็กทีฟ คือสอบถามเขา เพื่อจะได้วางแผนให้ตัวเองไว้ล่วงหน้า “เท่าที่หมอได้ดูแลมา คนไข้ได้กลับ

ไปนอนตายที่บ้าน ห้อมล้อมด้วยลูกหลาน เคยมีญาติคนไข้ส่งรูปมาให้เราดูทางไลน์ อาม่าก�าลังนอนบนเตียงในช่วงเวลาสุดท้าย มีลกู หลานนัง่ รอกันเต็มห้อง เด็กเล็กๆ นัง่ เล่น เกมกันอยู่บนพื้น สักพักทุกคนก็ไม่รู้เลยว่า อาม่าจากไปแล้ว เหมือนท่านนอนหลับแล้ว ก็จากไป ไม่ดูน่ากลัว ญาติก็ไม่รู้สึกหดหู่ แตกต่างจากการหามกันเข้ามาในห้องฉุกเฉิน แบบเดิมๆ”


27

08

ADAYBULLETIN.COM FACEBOOK.COM/ADAYBULLETIN

THE BUCKET LIST ศ. นพ. อิศรางค์ นุชประยูร

คุณภาพชีวิตที่ดี ในระยะท้ายของชีวิต ้ งหน้า แต่ไม่มใี ครรูไ้ ด้วา่ จะมาถึงตัวเองเมือ ่ ไหร่ คนส่วนใหญ่จง ความตายรออยูเ่ บือ ึ ใช้ชว ี ต ิ อย่างประมาทในวัยหนุม ่ สาว เพราะไม่รจ ู้ ก ั จัดล�าดับความส�าคัญ ของเรื่องราวต่างๆ ในชีวิต ไม่เพี ยงเท่านั้น เมื่อเรามีโอกาสได้ไปดูแลผู้ปว่ ยระยะท้าย อาจจะเป็ นพ่ อแม่หรือคนรักของเรา ซึ่งเป็ นผู้ที่ควรจะได้ท�าใน สิ่งที่ส�าคัญที่สุดและมุ่งมาดปรารถนาที่สุดในชีวิตของเขา เรากลับน�าความคิดของเราไปกะเกณฑ์ก�าหนด ซึ่งจะยิ่งท�าให้คุณภาพชีวิตของผู้ที่เรารักและ หวังดียิ่งตกต�่าลง คุณหมออิศรางค์ นุชประยูร คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นประธานที่ปรึกษาชมรมเพื่อนมะเร็งไทย และเลขาธิการมูลนิธิ ่ ท ่ี ด สายธารแห่งความหวัง ท�างานดูแลผูป ้ ว่ ยทีเ่ ป็นมะเร็งรักษาไม่หาย และพยายามผลักดันให้ทก ุ คนได้มค ี ณ ุ ภาพชีวต ิ ทีด ี ส ุ ในระยะท้าย คุณหมอได้ให้ทศ ั นะ เกี่ยวกับชีวิตและการจัดล�าดับความส�าคัญกับเรื่องต่างๆ เพื่อให้เราได้ปรับทัศนคติและมองไปที่ความปรารถนาของผู้ปว่ ยระยะท้ายเป็นส�าคัญ

พิษร้ายสู่ร่างกาย “ถ้าเป็นมะเร็งประเภททีย่ งั รักษาหาย ได้ ผมจะเชี ย ร์ ใ ห้ รั ก ษาแน่ น อนอยู ่ แ ล้ ว อย่าเสียโอกาสในการหายขาดจากมะเร็ง แต่ถ้าเป็นมะเร็งประเภทที่รักษายากมากๆ แล้วยังอยากพยายามรักษา แบบนีจ้ ะล�าบาก หน่อย รักษาไปก็ไม่หาย ถ้าฝืนด�าเนินการ รักษาต่อไป ก็จะจบด้วยความผิดหวังเสียใจ ของทุกฝ่าย คนกลุ่มนี้ผมเชียร์ให้พิจารณา การรักษาแบบทางเลือก เพราะชีวิตจะยัง เดินต่อไปได้ด้วยความหวัง แต่จะทรมาน น้อยกว่า” เราก็ควรตัดสินใจและบอกลูกหลาน ไว้ก่อน ว่าเมื่อล้มลงหมดสติไป ต้องให้ช่วย ท�าอะไรแค่ไหน ถ้าคุณไม่บอกไว้กอ่ นก็ลา� บาก แล้ว คนรอบตัวอาจจะเอาคุณเข้าโรงพยาบาล ไปยื้อชีวิตไว้ก่อน ในที่สุดก็กลายเป็นภาระ กับพวกเขา “มันไม่สา� คัญว่าโรคทีเ่ ป็นอยูจ่ ะรักษา หายหรือไม่หาย จะอยู่ได้นานอีกแค่ไหน

แต่สิ่งส�าคัญคือเราจะใช้ชีวิตตอนนี้อย่างไร ให้ มี คุ ณ ภาพชี วิ ต ให้ ดี ที่ สุ ด ในระยะท้ า ย นี่คือสิ่งที่ผมอยากบอก” เปลี่ยนล�าดับความส�าคัญ การจัดล�าดับความส�าคัญในชีวติ เป็น สิ่งส�าคัญที่สุด และเมื่อเรารู้ตัวว่าป่วยเป็น มะเร็งที่รักษาไม่หาย เราจะเปลี่ยนแปลง ล�าดับความส�าคัญในชีวิตของตัวเองทันที “เราท� า งานเคร่ ง เครี ย ดมาทั้ ง ชี วิ ต อาจจะหาเงินมาเยอะแยะ พอเป็นมะเร็งปุ๊บ ก็ได้รู้ตัวเสียทีว่าถึงเวลาที่จะเปลี่ยนแปลง คนไข้มะเร็งหลายคนบอกเราว่า การเป็นมะเร็ง จึงถือเป็นเรือ่ งดี ทีจ่ ะสอนให้เรารูจ้ กั จัดล�าดับ ความส�าคัญในชีวิต เพราะชีวิตเต็มไปด้วย ความไม่แน่นอน ถ้าเมื่อใดตระหนักว่าชีวิต มีเหลือแค่นเี้ อง ความตายเบือ้ งหน้ากลายเป็น ความแน่นอนขึ้นมา เมื่อเป็นมะเร็ง คุณจะรู้ ว่าสิง่ ส�าคัญในชีวติ คืออะไร” หมอบอกกับเรา

คุณภาพชีวิตในระยะท้ายขึ้นอยู่กับ ปรั ช ญาชี วิ ต และความคิ ด ของแต่ ล ะคน ต้องยอมรับกันก่อนว่าคนเราหลากหลาย เราตี ค วามเรื่ อ งความสุ ข และจุ ด มุ ่ ง หมาย สูงสุดในชีวิตแตกต่างกัน ดังนั้น มันจึงเป็น เรือ่ งท้าทายทีเ่ ราจะต้องมานัง่ พูดคุยกันอย่าง เปิดใจในยามนี้ ความปรารถนาสุดท้าย เมื่อได้พูดคุย เราจะได้ตระหนักถึง คุณค่าสูงสุดในชีวิต เพื่อที่จะเลือกท�าสิ่งนั้น ในช่วงระยะท้าย โดยทีไ่ ม่ตอ้ งไปเปลีย่ นแปลง เขา สิ่งส�าคัญก็คือเปิดโอกาสให้เขาได้ท�า สิ่งที่มีคุณค่าสูงสุดในชีวิต และโน้มน้าวคน รอบข้าง ลูกหลานและญาติสนิทมิตรสหายว่า อย่าไปห้าม คนแก่ในระยะท้ายที่ซึมเศร้า ท้อแท้ ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะลึกๆ แล้วเขาถูกคน รอบข้างขัดใจ ในขณะที่ร่างกายก็อ่อนล้า

จึงต้องยอมท�าตามคนรอบข้างไป ยิ่งท�าให้ จิ ต ใจของเขาย�่ า แย่ ล งไปอี ก คนรอบข้ า ง มักจะหวังดีด้วยความรัก เรามักขีดเส้นให้ ผู้ป่วยระยะท้ายท�าตามใจเรา หมออิศรางค์ อยากลบเส้นเหล่านั้นออกไป “เวลาคุณภาพของผู้ป่วยและครอบครัวจริงๆ คืออะไร? ผู้ป่วยบอกว่า ก็ไปเที่ยว ด้วยกัน อยู่พร้อมหน้ากัน แค่นี้ก็ดีมากแล้ว” หมอกล่าว

หมายเหตุ ปรึกษาการดูแลผู้ปว่ ยระยะท้ายกับทีมงานของ ศ. นพ. อิศรางค์ นุชประยูร ได้ท่ี บริษัท เยือนเย็น วิสาหกิจเพื่อสังคม โทร. 08-0776-6712 LINE ID : yyen2018 email : yuenyen97@gmail.com


28 เรื่อง

M O N E Y. L I F E . B A L A N C E .

โอมศิริ วีระกุล บรรณาธิการเว็บไซต์การเงิน aomMONEY ohmsiri.veerakul@gmail.com

ภาพ

พงศ์ธร ยิม ้ แย้ม บรรณาธิการฝ่ายศิลป์ IG : ptyyward

ISSUE 593 03 JUN 2019

C

M

Y

CM

MY

CY

CMY

K

NEXT 10 YEAR CHALLENGE

แคมเปญอนาคตการเงินที่ก�าหนดด้วยตัวคุณเอง

​ช่วงต้นปี มีแคมเปญที่หลายๆ​คนเล่นกันในเฟซบุ๊ก​นั่นคือ​#10yearchallenge​โดยมีการน�าภาพของตัวเองเมื่อสิบปี ก่อนมาเปรียบเทียบ ่ นแปลงทางกายภาพของตัวเอง​ไม่วา่ จะเป็นรูปร่าง​หน้าตา​ทรงผม​หรือแม้กระทัง กับตัวเองในปัจจุบน ั ​แน่นอนว่าความสนุกคือการได้เห็นการเปลีย ่ ร่องรอยของอายุอย่างรอยตีนกา​แฮ่ ถือว่าเป็นแคมเปญทีส่ นุกสนานกันไปนะครับ แต่กอ็ ยากเตือน ว่าอย่าลืมลองคิดถึงชีวติ ในอีก 10 ปีขา้ งหน้าด้วยว่าชีวติ เราจากวันนี้ ถึงวันหน้าในอนาคตจะเป็นอย่างไร พอถึงช่วงนัน้ ผมคิดว่ารูปร่างหน้าตา คงปล่อยเป็นเรื่องรองแล้ว ส่วนเรื่องหลักที่เข้ามาแทนนั้นคงจะเป็น เรื่องของสุขภาพกายใจและการเงินนี่แหละที่เป็นตัวทีเด็ดเลย พอพูดถึงเรื่องการเงินกับชีวิตในอนาคตแล้วนั้นก็มีเกร็ด เล็กๆ น้อยๆ มาฝากกัน เป็นข้อคิดเชิงจิตวิทยาจาก ฮัล เฮิร์ชฟิลด์ นักจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก ทีไ่ ด้ออกมาแสดงความคิดเห็น เรื่องการจูงใจการออมเงินเพื่อการเกษียณได้อย่างน่าสนใจผ่าน การทดลองครับ เฮิร์ชฟิลด์ได้ลองให้กลุ่มผู้เข้าร่วมการทดลองสวมเครื่องฉายภาพเสมือนจริง โดยผู้เข้าร่วมครึ่งหนึ่งจะเห็นภาพตัวเองเป็น avatar ส่วนอีกครึง่ หนึง่ จะเห็นภาพของตัวเองแบบจริงๆ แต่เป็นภาพ ของตัวเองในวัยชรา อารมณ์ประมาณว่าเราเห็นตัวเองในอนาคตว่า ตัวเราในวัย 60-70-80 นั้นหน้าตาเป็นอย่างไร

หลังจากนัน้ ก็ให้ผเู้ ข้าร่วมการทดลองทัง้ หมดลองจินตนาการ ว่าถ้าตอนนี้ได้รับเงินมา 1,000 ดอลลาร์ฯ แบบไม่คาดคิดมาก่อน พวกเขาจะจัดการอย่างไรกับเงินจ�านวนนีใ้ นหัวข้อทีถ่ กู เสนอดังต่อไปนี้ 1. น�ำเงินไปใช้ของดีๆ ส�ำหรับคนพิเศษ 2. น�ำไปออมในบัญชีออมทรัพย์เพื่อกำรเกษียณ 3. ใช้เงินไปกับของฟุ่มเฟือย 4. น�ำไปออมในบัญชีเงินฝำกธรรมดำ

การออมเงินได้มากกว่ากลุ่ม avatar อยู่เสมอ การทดลองครั้งนี้ เฮิร์ชฟิลด์ได้พบว่า เป็นการแก้ไขปัญหา ในการที่หลายคนมองไม่เห็นว่าตัวเองในอนาคตนั้นจะสามารถ เชือ่ มโยงกับตัวตนในปัจจุบนั ได้อย่างไร การได้แสดงภาพให้เขาเห็น ตัวเองในอนาคตจึงเป็นจุดเชือ่ มโยงให้สง่ ผลต่อพฤติกรรมในปัจจุบนั และยังเป็นการสร้างแรงจูงใจในการออมเงินอย่างเห็นภาพชัดเจน อีกด้วย เรียกได้วา่ ถ้าอยากท�าแคมเปญล้อต่อไปของ #10yearchallenge ผลปรากฏว่ากลุ่มคนที่เห็นตัวเองเป็น avatar มีการน�าเงิน ก็ลองท�า #next10yearchallenge ต่อดูครับ เผื่อเราจะได้รู้ว่าเราต้อง ประมาณ 80 ดอลลาร์ฯ เอาไปฝากในบัญชีออมทรัพย์ ส่วนคนทีเ่ ห็น เตรียมความพร้อมกับชีวติ ในเรือ่ งอะไรบ้าง ทีแ่ น่ๆ คงไม่พน้ เรือ่ งเงิน ภาพตัวเองในวัยชรานั้นมีการน�าเงินมากกว่ากลุ่มแรกถึงสองเท่า และสุขภาพที่น่าจะเป็นสิ่งส�าคัญอันดับต้นๆ จริงไหม เพือ่ เอาไปฝากในออมทรัพย์ ซึง่ เฮิรช์ ฟิลด์กย็ งั ไม่แน่ใจว่าการทดลองนี้ มีการเบีย่ งเบนหรือไม่ เขาจึงทดลองด้วยกระบวนการเหล่านีอ้ กี ครัง้ กับกลุม่ ใหม่ ซึง่ ผลลัพธ์ทอี่ อกมาก็ยงั พบว่า กลุม่ คนทีเ่ ห็นภาพตัวเอง ในอนาคตได้ชดั เจน นัน่ คือภาพตัวเองในวัยชรา จะมีแนวโน้มจัดสรร



30 ISSUE 593 03 JUN 2019

BULLETIN BOARD

TA L K O F T H E T O W N SCG Roof Expert หลังคาเอสซีจี ต อบเทรนด์และความต้องการของ ลูกค้า ​เอสซีจีเดินหน้าเสริมความเป็นผู้น�าด้านหลังคา ตัวจริง​ด้วยการต่อยอดพัฒนานวัตกรรมสินค้า​บริการ​ และโซลูชันระบบ​ให้เจ้าของบ้านสามารถ​‘ประหยัด พลั ง งาน’​ด้ ว ยนวั ต กรรมระบบหลั ง คาโซลาร์ เ ซลล์​ เอสซีจี​‘ไร้กังวล’​กับปัญหาหลังคาทาวน์โฮมรั่วซ�้าซาก ด้วยนวัตกรรมใหม่​Top​Up​Roof​และแก้ปัญหาหลังคา สีซดี จางด้วย​‘เทคโนโลยีหยุดเวลา’​ให้หลังคาสวยนาน ทนต่ อ แสงแดด​อี ก ทั้ ง ให้ เ จ้ า ของบ้ า น​‘อยู ่ ส บาย’​ ไร้ปัญหาเสียงดัง​บ้านร้อน​และตอบเทรนด์บ้านสไตล์ โมเดิร์นด้วยระบบหลังคาเพิงแหงน​เอสซีจี​ผู้ที่สนใจ สามารถสอบถามข้ อ มู ล เพิ่ ม เติ ม ได้ ที่ ​SCG​HOME​ SOLUTION​และ​SCG​Roofing​Center​หรือ​SCG​HOME​ Contact​Center​โทร.​0-2586-2222

โนเบิล ดีเวลลอปเมนท์ ประกาศ ผลก�าไรสุทธิตอ ่ ไตรมาสสูงสุด ของบริษัทฯ

บางจากฯ จั บ มื อ เอไอเอส เซเรเนด เติมน�า้ มัน รับส่วนลด สูงสุด 25 บาท

‘ฟรี ส แลนด์ คั ม พิ น่ า ’ สร้ า ง แพลตฟอร์ ม ‘การจั ด การ สิง ่ แวดล้อมระดับอุตสาหกรรม’ อย่างยั่งยืน

่ ว OTOP นวัตวิถี ชุมชนท่องเทีย อั ศ จรรย์ ป า่ ชายเลน หนึ่ ง ใน สถานที่ ท่ อ งเที่ ย ว Unseen แห่งจังหวัดตราด

​บริษัท​โนเบิล​ดีเวลลอปเมนท์​จ�ากัด​ (มหาชน)​ประกาศสถิตใิ หม่จากผลประกอบการ ไตรมาสที​่ 1​ด้วยยอดขายรวม​3,670​ล้านบาท​ และผลก�าไรสุทธิหลังภาษีกว่า​1,300​ล้านบาท​ ซึ่งนับเป็นอัตราก�าไรสุทธิต่อยอดขาย​ (Net​ Profififi t​Margin)​ทีส่ งู มากถึง​36%​โดยนอกจาก สถิ ติ ใ หม่ ข องก� า ไรสุ ท ธิ ใ นไตรมาสแรก​ โนเบิลฯ​ยังสร้างสถิติใหม่ของยอดขายที่รอ การรับรู้ รายได้ ​(Backlog)​ในไตรมาสที่​1​ มูลค่ากว่า​ 2,300​ ล้านบาท​ ซึ่งมียอดรวม เติบโตขึน้ ​15%​หรือคิดเป็นมูลค่ากว่า​18,200​ ล้านบาทที่สามารถรับรู้รายได้ในช่วงสามปี ข้างหน้า

​สมชัย​เตชะวณิช​ประธานเจ้าหน้าที่ การตลาดและรองกรรมการผู้จัดการใหญ่​ กลุม่ ธุรกิจการตลาด​บริษทั ​บางจาก​คอร์ปอเรชัน่ ​ จ�ากัด​(มหาชน)​และ​นางบุษยา​สถิรพิพฒ ั น์กลุ ​ หัวหน้าหน่วยธุรกิจบริหารลูกค้าและการบริการ​ บริ ษั ท ​แอดวานซ์ ​อิ น โฟร์ ​เซอร์ วิ ส ​จ� า กั ด​ (มหาชน)​ร่วมเปิดโครงการ​บางจากฯ​จับมือ กับเอไอเอส​เซเรเนด​มอบสิทธิประโยชน์สดุ คุม้ ​ โดยสมาชิกเอไอเอส​เซเรเนด​และสมาชิก เอไอเอส​ไฟเบอร์​เติมน�า้ มันบางจาก​รับส่วนลด สูงสุด​25​บาทต่อครั้ง​ที่สถานีบริการน�้ามัน บางจากทีร่ ว่ มรายการ​ตัง้ แต่วนั นีถ้ งึ ​31​ธันวาคม​ 2562​ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่​www.bcpgreenmiles.com

​มร.​ฮานส์​ซีวาลล์​ผูจ้ ดั การด้านความปลอดภัยและสิง่ แวดล้อมภูมภิ าคเอเชียแปซิฟกิ ​ ผูแ้ ทนบริษทั ​ฟรีสแลนด์คมั พินา่ ​(ประเทศไทย)​ จ�ากัด​(มหาชน)​ผูผ้ ลิตและจัดจ�าหน่ายผลิตภัณฑ์ นมพร้อมดื่มโฟร์โมสต์​ ร่วมกับบริษัทชั้นน�า ที่มีสาขาจากเนเธอร์แลนด์​ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย​และส�านักงานคณะกรรมการ นโยบายวิทยาศาสตร์​เทคโนโลยีและนวัตกรรม แห่งชาติ​(สวทน.)​ร่วมกันลงนามในค�าแถลงการณ์​​‘ความร่วมมือด้านความยัง่ ยืนระหว่าง ไทย-เนเธอร์แลนด์’​ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ แลกเปลี่ ย นความรู ้ ด ้ า นการจั ด การด้ า น สิ่งแวดล้อม​ โดยเฉพาะการจัดการ​ ‘การใช้ พลาสติกในอุตสาหกรรม’​อย่างยั่งยืน

​นิสิต​จันทร์สมวงศ์​อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน​(พช.)​และคณะฯ​ลงพื้นที่ เยี่ยมชมความส�าเร็จของชุมชนท่องเที่ยว​ OTOP​นวั ต วิ ถี ​และหมู ่ บ ้ า นโอทอปเพื่ อ การท่องเทีย่ ว​ต�าบลเกาะกูด​จังหวัดตราด​ ทีป่ ระสบความส�าเร็จในการท�าน�า้ มันมะพร้าว สกัดเย็น​และการเลี้ยงผึ้งชันโรง​ซึ่งเป็น สินค้า​OTOP​ของชุมชน​เป็นภูมปิ ญ ั ญาของ ปราชญ์ชาวบ้าน​ทีส่ า� คัญ​ชุมชนท่องเทีย่ ว​ OTOP​นวัตวิถีแห่งนีเ้ ป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ ท่ อ งเที่ ย วเชิ ง นิ เ วศที่ มี ผื น ป่าชายเลน อันอุดมสมบูร ณ์ ​ เป็ น ป่าชายเลนผืนใหญ่​ ขนาด​2,000​ไร่​ที่มีอายุกว่า​100​ปี


31 ADAYBULLETIN.COM FACEBOOK.COM/ADAYBULLETIN

อั พ เ ด ต แ ว ด ว ง ข่าวสังคมทีน ่ า่ สนใจ ในรอบสัปดาห์

มทร. รัตนโกสินทร์ จับมือ Southwestern University of Economics ่ นด้านการศึกษา and Finance แลกเปลีย และพัฒนาหลักสูตรร่วมกัน

ผศ.​ศิวะ​วสุนธราภิวฒ ั ก์​อธิการบดี​มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์​มอบหมาย​ผศ.​ดร.​ อาคีรา​ราชเวียง​รองอธิการบดี​พร้อมด้วย​ดร.​ณัฐพงศ์​ โชติกเสถียร​เดินทางเข้าพบเพือ่ หารือเกีย่ วกับความร่วมมือทางวิชาการเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนอาจารย์ ในระดับปริญญาโท​และปริญญาเอก​รวมถึงความเป็นไปได้ในการเปิดหลักสูตรร่วมในอนาคตกับ​ศ.​ดร.​ ลี​หยงฉาง​รองอธิการบดี​คณบดีวทิ ยาลัยนานาชาติ​ และคณบดีวทิ ยาลัยนวัตกรรมและการเป็นผูป้ ระกอบการ ของมหาวิทยาลัย​Southwestern​University​of​Economics​ and​Finance​ณ​มณฑลเสฉวน​สาธารณรัฐประชาชนจีน​ ซึง่ นับเป็นนิมติ หมายอันดีในการเพิม่ พูนคุณภาพทาง วิชาการในระดับนานาชาติ​และพัฒนามหาวิทยาลัย อย่างมั่นคงและยั่งยืน

L EO L E M I X P r e s e n t s Rockation

Netflix ยกทัพเซเลบริตี้ร่วม ลิ้มรสความอร่อย ในรายการ ใหม่ ‘The Chef Show’

PROUD เริม ่ ต้นสองโครงการ ท�าเลทองในหัวหิน เจาะกลุ่ม ไฮเอนด์-ลักชัวรี

Thailand Kohtfit (โคตรฟิต) Championship 2019

​พ บกั บ ปรากฏการณ์ ด นตรี สุ ด มั น ไร้ขดี จ�ากัด​ใน​‘LEO​LEMIX​Presents​Rockation​ (ลีโอ​ลีมิกซ์​พรีเซนท์​ร็อคเคชั่น)’​กับการน�า​ 3​วงดนตรีแห่งยุคอย่าง​Clash,​Zeal​และ​Tattoo​ Colour​ทีจ่ ะมาแลกเพลงกันร้องโดยน�าเพลงฮิต ไปเรียบเรียงและร้องใหม่ในสไตล์ของแต่ละวง​ กับคอนเสิร์ตที่จะพาทุกคนไปทิ้งความเศร้า​ เหงา​ซึม​พร้อมระเบิดความมันในบรรยากาศ ริมทะเล​พร้อม​Special​Guest​ทัง้ ​Musketeers,​ The​Yers​และ​Nap​A​Lean​วันที​่ 8​มิถนุ ายนนี้​ ซื้อบัตรได้ที่เคาน์เตอร์เซอร์วิส​ออลล์ทิกเก็ต​ ในร้าน​7-Eleven​และด้านหน้าทางเข้างาน

​Netflflfl ix​ประกาศเปิดตัวรายการใหม่​ The​Chef​Show​โดย​จอน​ฟาฟวโร​(Jon​ Favreau)​และ​รอย​ชเว​(Roy​Choi)​ในงาน แถลงข่าวรายการอาหารของ​​Netflflfl ix​ซึง่ เขา ทั้ ง สองจะร่ ว มทดลองปรุ ง เมนู ด ้ ว ยสู ต ร และเทคนิคโปรดต่างๆ​ไม่วา่ จะเป็นการอบ​ ปรุ ง อาหาร​รวมถึ ง การค้ น คว้ า ร่ ว มกั น​ นอกจากนี้ยังได้ร่วมมือกับเซเลบริตี้ชื่อดัง ระดับโลกทัง้ ในวงการบันเทิงและวงการอาหาร​ โดยเริม่ จากการท�าอาหารให้นกั แสดงจากเรือ่ ง​ Avengers​ให้ได้ลิ้มลองที่เมืองแอตแลนตา​ โดยมีแขกรับเชิญอย่าง​กวินเน็ธ​พัลโทรว์,​ โรเบิร์ต​ดาวนีย์​จูเนียร์,​ทอม​ฮอลแลนด์,​ เควิน​ฟีจ,​สองพี่น้องรุสโซ​และนักแสดง หรือเซเลบระดับเอลิสต์อีกมากมาย

​บริษัท​พราว​เรียล​เอสเตท​จ�ากัด​ (มหาชน)​ประกาศแผนบุกตลาดอสังหาฯ​ ภายใต้แนวคิด​‘More​Than​Just​Living:​ชีวติ ทีม่ ากกว่า’​มอบสิทธิพเิ ศษเหนือระดับและ ประสบการณ์​การบริการ​ให้เป็นมากกว่า ที่อยู่อาศัย​เตรียมขยายโครงการฯ​ไปใน เมืองท่องเที่ยวหลักต่างๆ​รวมถึงกรุงเทพฯ​ โดยเริม่ จาก​2​โครงการในหัวหิน​โครงการแรก สุดหรูริมทะเล​โครงการที่สองติดรีสอร์ต สวนน�้า​วานา​นาวา​ป้อนกลุ่มไฮเอนด์ลั ก ชั ว รี ​เผยหั ว หิ น ได้ รั บ ประโยชน์ เ ต็ ม ๆ​ จากนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวด้าน ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ของรัฐทีจ่ ะแล้วเสร็จภายในห้าปี​และภาวะ ตลาดในปัจจุบันที่มีการเติบโตต่อเนื่อง

FIT​FEST​ได้จบั มือร่วมกับ​Thonglor​ CrossFit​ปัน้ การแข่งขัน​Cross​Fit​(ครอสฟิต)​ ข องคนไทยขึ้น เป็นครั้งแรก​ พร้อมเนรมิต ลานกลางแจ้งด้านหน้าเซ็นทรัลเวิลด์ให้ กลายเป็ น สนามได้ ม าประชัน ฝี มือ ​โดย การแข่งขันในครัง้ นีจ้ ะน�าการออกก�าลังกาย ใน​Movement​รูปแบบต่างๆ​ทั้ง​Cardio,​ Gymnastics,​Weightlifting​มารวมอยู่ใน​ 4​อีเวนต์​ทีท่ กุ ด่านจะให้คณ ุ ได้ฝกึ ความอึด​ ความยืดหยุน่ ​ความรวดเร็ว​ทีต่ อ้ งมีความคล่องตัวและสมดุลอีกด้วย​ในวันที​่ 6-9​มิถนุ ายน นี​้ ณ​เซ็นทรัลเวิลด์​เปิดให้เข้าชมงานฟรี​


32 เรื่อง

B R E AT H E I N

พชร สูงเด่น ่ การพัฒนา นักศึกษาทุน Erasmus Mundus ด้านการศึกษาเพือ เรียนรู้นอกห้องเรียนด้วยการเดินทางไปยังเมืองต่างๆ ในยุโรป psungden@gmail.com

ภาพ

สิริลักษณ์ ตะเภาหิรัญ ศิลปกรรมอาวุโส IG : Ponyo_thesea

issUe 593 03 JUN 2019

งานศพที่คุณปรารถนาเป็นอย่างไร คนที่คุณอยากกล่าวขอบคุณและขอโทษมากที่สุดก่อนตายคือใคร… และท�าไมคุณถึงยังไม่ได้ท�าเช่นนั้น อะไรคือสิ่งส�าคัญที่สุดที่คุณต้องการบรรลุหรือท�าให้ส�าเร็จก่อนตาย บางส่วนของชุดค�าถามจาก ‘เกมไพ่ ไขชีวติ ’1 เครือ่ งมือทีช่ ว่ ย เปลี่ยนเรื่องที่ใครๆ ว่าคุยยากอย่างเรื่องความตายให้เป็นเรื่อง คุยง่าย ผ่านการใช้การ์ดเกมช่วยถามค�าถามที่มีตั้งแต่ทีเล่นทีจริง ตอบได้ทนั ทีบา้ ง ต้องใช้เวลาครุน่ คิดบ้าง ยากง่ายปะปนไป ค�าถาม ทีล่ ว้ นเกีย่ วข้องกับการตาย หากสุดท้ายเมือ่ เล่นจนจบกลับคล้ายว่า เกมนัน้ ถามค�าถามเดียวว่า: เราปรารถนาจะใช้ชวี ติ ทีม่ อี ยูอ่ ย่างไร? การพูดคุยเรื่องความตายอาจฟังเป็นเรื่องหดหู่ น่ากลัว ชวนเศร้า อีกทั้งมารยาททางสังคมที่ครอบเราไว้ก็ไม่ช่วยท�าให้ เรื่องนี้เป็นเรื่องชวนคุยเอาเสียเลย ค�าว่า ‘ตาย’ ที่พูดตรงๆ บางที ยังหยาบเกินไป ใช้ค�าว่า ‘จากไป’ ดีกว่า หรือข้อห้ามต่างๆ เช่น หากก�าลังจะมีงานมงคล ห้ามไปงานศพ ราวกับว่าการตายนัน้ เป็ น เรื่ อ งอั ป มงคล จะมาพู ด ถึ ง ความตายบนโต๊ ะ อาหารเลย น่ะเหรอ จะโดนตราหน้าว่าไร้กาลเทศะเอาเสียเปล่าๆ เกมไพ่ ไขชีวิต ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหานี้ เพราะ หากไม่มีใครหนีความตายพ้นอยู่ดี เราจะหลีกหนีการพูดถึงมัน ผลักไสให้เป็นเรื่องไกลตัวท�าไมกัน สู้จ้องตาเผชิญหน้า เตรียมตัว ให้พร้อมไม่ว่าวันนั้นจะมาถึงเมื่อไหร่ น่าจะดีกว่า เกมไพ่ ไขชีวิต ถูกออกแบบให้เล่นง่ายๆ มีแค่สองคน หรือ จะรวมตัวกันมากกว่านั้นก็ได้ จะตั้งวงจริงจัง หรือจะเปิดไปคุยไป ตอนนั่นทานข้าว ช่วงนั่งดูละครหลังข่าวก็ยังไหว “หลังจากเล่นเกมนี้จบ คุณตั้งใจจะท�าอะไรที่เปลี่ยนแปลง ไปจากเดิม” ค�าถามสุดท้ายที่ไม่ต้องเลือก แต่ผู้เล่นทุกคนต้องตอบ เพื่อให้แต่ละคนตั้งเป้าหมายกับตัวเอง ซึ่งอาจเป็นโทร.ไปขอโทษ ใครสักคนที่ค้างคาใจกันมานาน, ลงมือเขียนหนังสือเล่มที่เริ่มมา แล้วครึง่ ทางแต่วางคาอยู,่ หรือลงมือท�าพินยั กรรมชีวติ (Living Will) ผ่าน ‘สมุดเบาใจ’ เพื่อบันทึกเจตนาว่าเราตั้งใจจะตายอย่างไร ให้การตายครั้งนั้นเป็น ‘การตายดี’ ในนิยามที่เราเลือกเอง หนังสือ Let’s Talk About Death (Over Dinner): An Invitation and Guide to Life’s Most Important Conversation ที่เขียนโดย Michael Hebb2 ชาวอเมริกันบอกเล่าสถานการณ์ที่คล้ายกัน ในอเมริกา ที่วัฒนธรรมต่างๆ ท�าให้การพูดถึงความตายเป็นเรื่อง

ผิดกาลเทศะ เป็นเรือ่ งน่าเศร้า ชวนอึดอัด แต่ความตายไม่ตอ้ งเป็น เช่นนั้น จากการร่วมวงสนทนาบนโต๊ะอาหารมาหลายครั้ง ไมเคิล กลั บ พบว่ า บทสนทนาที่ เ ปิ ด ใจ เข้ า ถึ ง ความรู ้ สึ ก ข้ า งในของ ผูร้ ว่ มสนทนานัน้ กลับเชือ่ มต่อผูค้ นตรงหน้ากันได้อย่างลึกซึง้ ท�าให้ แต่ละคนได้ทบทวนความหมายของชีวิตที่ผ่านมา และเป้าหมาย ของชีวิตที่เหลืออยู่ได้มากขึ้น แล้วการพูดถึงความตายช่วยให้ชีวิตดีขึ้นได้อย่างไร? ทั้งในหนังสือของไมเคิล และงานวิจัยอีกหลายชิ้นที่เขา

งานศพที่คุณปรารถนา เป็นอย่างไร? บทสนทนาที่พาเตรียมตัว ตายและทบทวน ความหมายของชีวิต

ยกขึ้นมาเพื่อสนับสนุนค�าเชิญชวนของเขาให้คนออกมาคุยเรื่อง ความตายกันบนโต๊ะอาหารนั้นบอกว่า ความตายคือการรวม เข้าด้วยกันของอดีต-ปัจจุบัน-อนาคต ความตายชวนเราตั้งค�าถามว่าอนาคตในวันสุดท้ายเราจะ ขอบคุณหรือเสียดายอะไร ค�าถามเช่นนั้นที่เตือนว่าแม้เราเลือก วิธีตายไม่ได้ แต่เราเลือกใช้ชีวิตในวันนี้ที่จะก�าหนดว่าเราจะมี ความรู้สึกสุดท้ายกับชีวิตในวันที่ความตายมาถึงได้อย่างไร และ

ความตายที่บอกให้รู้ว่า หากอยากใช้ชีวิตที่ใจเป็นอิสระในวันนี้ เราต้องก้าวผ่านอดีตให้ได้ หากยังมีอะไรที่ติดค้างคาใจ ไม่ว่ากับ ตัวเองหรือกับใคร จงให้อภัย ขอบคุณ และเดินก้าวออกจาก อดีตนั้นมา อาหารหมดจานแล้ว ไพ่เองก็หมดส�ารับ แต่ละคนทีร่ ว่ มเล่นเกมไพ่ไขชีวติ กันอยูบ่ นโต๊ะนัน้ ต่างก�าลัง ก้มเขียนว่าเขาเรียนรู้อะไรจากบทสนทนานี้ และจะท�าอะไรต่อ จากนี้ นึกทบทวนค�าตอบทัง้ ของตัวเอง – ทัง้ ค�าขอโทษ ค�าขอบคุณ ที่คงค้างคาหากใกล้ตายแล้วไม่ได้พูดออกไป, ทั้งความฝันลึกๆ ทีห่ อ้ ยแขวนฝากอนาคตมานานทีอ่ าจไม่เกิดขึน้ จริง ถ้าไม่ลงมือท�า เสียวันนี้ เราก�าลังพูดถึงความตายกันอยู่หรือ? ไม่หรอก นี่เราก�าลังพูดถึงการใช้ชีวิต

หมายเหตุ : 1 ‘เกมไพ่ ไขชีวิต’ และ ‘สมุดเบาใจ’ พินัยกรรมชีวิต ดูรายละเอียด และสั่งซื้อได้ที่เครือข่ายพุทธิกา https://peacefuldeath.co 2 ทอล์ก What happens when death is what’s for dinner? ของ Michael Hebb


33 ตินกานต์ ผู้เขียน ‘ดอก รัก’ หนังสือรวมเรื่องสัน ้ ที่ว่าด้วยผู้หญิง ความรัก และดอกไม้ ส�านักพิมพ์ a book tintinnakarn@Gmail.com

adaybulletin.com facebook.com/adaybulletin

เรื่อง

เป็นบ่ายที่ร้อนอบอ้าว พัดลมเพดานท�างานเต็มก�าลังในห้องกว้างที่เตียงผู้ปว ่ ยตั้งเรียง แต่ถึงอย่างนั้นความร้อนผ่าวก็ยังหอบตัวเคลื่อนหมุน ไปทั่วห้อง กลิ่นโรงพยาบาลที่มีลักษณะเฉพาะโชยชัด น�้ายาฆ่าเชื้อเย็นจมูกแต่ไม่หอม กลิ่นยาเม็ดที่รู้สึกได้ถึงรสขมเฝื่ อน กลิ่นผ้าปูเตียง ที่ผ่านการใช้งานซักซ�้าจนเป็นสีอมเหลือง และกลิ่นกายของคนเจ็บป่วย แม่เพิง่ ออกจากห้องผ่าตัด ระหว่างไถ่ถามอาการกัน เสียง สวดมนต์จากเตียงฝัง่ ตรงข้ามก็ดงั ขึน้ ฉันหันมองตามเสียง เห็นร่าง ไม่ไหวติงอยู่บนเตียง กลุ่มคนที่ห้อมล้อมขยับปากขมุบขมิบเป็น ค�าสวด แล้วพยาบาลก็เลื่อนม่านบังตาจนรอบ บุรุษพยาบาลเข็น เตียงขนาดเล็กตามเข้าไป นอกจากเสียงสวด ฉันไม่รู้แล้วว่าอะไร เกิดขึ้นหลังม่านทึบ สักพักจึงได้ยินใครคนหนึ่งเรียกใครอีกคน ให้กลับบ้านไปด้วยกัน แล้วร่างแน่นิ่งที่ถูกคลุมมิดหัวมิดเท้าด้วย ผ้าสีขาวตุ่นก็ถูกเข็นออกจากม่าน เคลื่อนผ่านหน้าฉันไป “โรงพยาบาลอาจสอนสัจธรรมแก่เราได้ดีกว่าวัดเสียอีก” คนรักบอก หลังจากฉันเล่าเรือ่ งนีใ้ ห้เขาฟัง ความตายคือความเสมอภาค ต่างกันก็แค่วาระ และฉัน ไม่เคยกลัวทีจ่ ะพูดถึง กลับกัน ฉันมักคิดถึงชีวติ หลังความตายอยู่ บ่อยครัง้ ค�าว่า ‘ชีวติ หลังความตาย’ ของฉันในทีน่ ี้ หมายถึงทัง้ ‘ชีวติ ของคนทีย่ งั ต้องอยูต่ อ่ ไป’ และ ‘ชีวติ ของคนทีต่ ายจากไปแล้ว’ การตายของป้าเมื่อปลายปีที่ผ่าน การผ่าตัดใหญ่ของแม่ การเข้าออกโรงพยาบาลของพ่อ ยิ่งสะกิดเตือนให้ฉันนึกถึงชีวิต ทีไ่ ม่มพี อ่ และแม่แล้วบ่อยขึน้ การจากลากระเถิบเข้าใกล้มาทีละนิด หรืออาจหายใจรดต้นคออยู่ก็ได้ ในบางคืน ฉันยังเคยคิดถึงขั้นว่า ถ้าตื่นขึ้นมาแล้วพบว่าไม่มีคนข้างๆ อยู่ข้างกันอีกต่อไปแล้ว หลังความตายของคนที่ฉันรัก ชีวิตของฉันจะเป็นอย่างไร แต่ใครจะไปรู้ ฉันอาจกลายเป็นฝ่ายที่พ่อแม่ต้องเรียก กลับบ้านก่อนก็ได้ ไม่กี่เดือนมานี้ ฉันรู้สึกถึงความผิดปกติในร่างกายที่อาจ กลายเป็นโรคร้าย ประโยคหนึ่งแวบวาบเข้ามาเป็นระยะในการใช้ ชีวิตตามปกติของฉัน หากวันนีฉ้ นั ป่วย หากวันหนึง่ ฉันตาย... ตายก่อนที่หมอจะได้บอกว่าป่วยเป็นอะไร อาจแค่ฉันเดิน ข้ามถนนหน้าบ้าน เมือ่ ต้นเดือน ฉันตัดสินใจไปโรงพยาบาล ขณะนัง่ รอพบหมอ ก็เริ่มไม่แน่ใจตัวเองแล้วว่าที่ไม่กลัวการพูดถึงความตายหมายถึง ไม่กลัวตายด้วยหรือไม่ แต่การเจ็บป่วยทีเ่ กิดกับตัวในครัง้ นีเ้ หมือน มือทีย่ นื่ มาเขย่าตัวฉันเบาๆ ท�าให้ฉนั นึกถึงค�าว่า Peaceful Death ภาพ : Getty Images

(การพร้อมเผชิญความตาย) อย่างจริงจังขึน้ มา เคลือ่ นนิว้ บนหน้าจอ โทรศัพท์ เสิรช์ อ่านเรือ่ งนีก้ ระทัง่ ได้ยนิ พยาบาลขานชือ่ ฉันอาจกลัวตายอยูบ่ า้ งล่ะค่ะ แต่ทยี่ งิ่ กว่าคือกลัวความทุกข์ ทรมานก่อนตาย หากชีวติ ดับสิน้ อย่างการชักปลัก๊ ได้กค็ งดี ไม่มเี จ็บ ปวด ไม่มที รุ นทุราย ส่วนตายแล้วไปไหนนัน้ เป็นค�าถามทีฉ่ นั ไม่คอ่ ย ทุกข์รอ้ นสักเท่าไหร่นกั ฉันเชือ่ ว่าชีวติ หลังความตายมีจริง แต่กไ็ ม่ใช่ ในรูปของสวรรค์ที่มีเทวดานางฟ้าหรือนรกที่มีกระทะทองแดง กลับรูส้ กึ ถึงดินแดนทีผ่ ดุ ผ่องยิง่ กว่าและไม่นา่ กลัวแม้แต่นอ้ ย

หลังความตาย เราจะได้กลับมา พบกันอีกครั้ง

อีกความเชือ่ หนึง่ ทีฉ่ นั มีตอ่ ความตายคือ เราจะได้กลับมาพบกัน อีกครั้ง ตั้งแต่เด็กแล้วที่ฉันมีความรู้สึกลึกๆ ว่าทุกคนที่เข้ามามี สายสัมพันธ์รว่ มกัน เราไม่ได้เพิง่ พบกันในชีวติ นี้ แต่กไ็ ม่ใช่การกลับมา เพือ่ ชดใช้กรรมในแบบทีช่ าติกอ่ นเราไปตีเขา ชาตินเี้ ขาจึงตีเราบ้าง แล้วจบกันไป ทุกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นน่าจะมีเหตุและผลที่ลึกซึ้ง มากกว่านัน้ แต่ในวัยนัน้ การเกิดการตายเป็นแค่เรือ่ งทีเ่ พียงสอดแทรก

ในวิชาพุทธศาสนา แถมครูยงั ให้ทอ่ งจ�าประวัตพิ ระภิกษุองค์สา� คัญ มากกว่าจะสอนให้เข้าใจในธรรมชาติของชีวติ อีกทัง้ ยังไม่มอี นิ เทอร์เน็ต หรือแหล่งข้อมูลใดให้หาความเป็นเหตุเป็นผลมารองรับความรู้สึก ลึกๆ อันไร้ทมี่ านี้ ฉันจึงเก็บความเชือ่ นัน้ ไว้กบั ตัวเงียบๆ กระทัง่ โตขึน้ ได้อา่ นหนังสือหรือบทความทีท่ า� ให้ฉนั รูจ้ กั ค�าว่าอดีตชาติ (Past Life) การกลับมาเกิด (Reincarnation) โชคชะตา (Destiny) จิตอิสระ (Freewill) คูแ่ ท้ (Soul Mate) หรือกฎแห่งกรรม (Law of Karma) ทีไ่ ม่ใช่การเอาคืน ฉันอ่านเรือ่ งเหล่านีด้ ว้ ยความตืน่ เต้น เริม่ อธิบายสิง่ ทีต่ วั เองรูส้ กึ ได้ และไม่จา� เป็นต้องซุกซ่อนความเชือ่ ทีม่ อี ย่างโดดเดีย่ วอีกต่อไปแล้ว แม้ร่างกายดับลงแล้ว แต่ดวงจิต (Spirit) ของเรายังคงอยู่ รอวันและเวลาอันสมควรเพือ่ กลับมาสูโ่ ลกในกายเนือ้ ใหม่ มาเป็น พ่อ เป็นแม่ เป็นพีน่ อ้ ง เป็นเพือ่ น เป็นคนรัก สลับสับเปลีย่ นบทบาท กันไป เพื่อร่วมเรียนรู้ในบทเรียนอันส� าคัญ เพื่อโอกาสแก้ไข ในสิ่งผิดพลาด เพื่อที่จะพัฒนาจิตวิญญาณให้สูงส่งยิ่งขึ้น หรือหากยังไม่ตอ้ งพูดไปถึงชาติหน้าว่ามีจริงหรือไม่ อย่างน้อย ความเชื่อนี้ก็ท�าให้ฉันวางใจในความเป็นไปของชีวิตในชาตินี้ เมือ่ ถึงเวลาพบ เราก็ตอ้ งได้พบ และเมือ่ ถึงเวลาจาก เราก็ตอ้ งจาก แต่กย็ งั อุน่ ใจว่าทุกการพบและจากกันนัน้ ย่อมมีความหมาย แต่ ก ารเชื่ อ ว่ า เราจะมี กั น และกั น อี ก ในชี วิ ต ใดชี วิ ต หนึ่ ง ข้างหน้า ไม่สามารถเอาเป็นมาเป็นข้ออ้างในการปล่อยปละละเลย หรือท�าร้ายกันในชีวิตนี้ได้เลย เขียนถึงตรงนี้ ฉันบอกตัวเองว่าจะ ใช้เวลาที่ยังเหลืออยู่ให้คุ้มค่ามากขึ้น ทั้งกับชีวิตตัวเองและกับ คนที่ฉันรัก ไม่ต้องรอให้ชาติหน้ามาถึง เพราะปัจจุบันย่อมส�าคัญ กว่ากาลเวลาอื่นเสมอ... การผ่าตัดของแม่ผา่ นพ้นไปด้วยดี ขณะทีพ่ อ่ ก็รบั การรักษา ไปตามอาการ ส่วนฉัน หมอนัดตรวจอีกทีกป็ หี น้าโน่น แต่กน็ นั่ ล่ะค่ะ ปีหน้าอาจไม่มอี ยู่ และพรุง่ นีอ้ าจไม่มจี ริง หากวันหนึ่งเราจ�าต้องลากันขึ้นมา ลาฉันด้วยค�าว่า “แล้ว พบกันใหม่” นะคะ เพราะฉันเชื่อเช่นนั้นอย่างหมดใจ


34

EDITOR,S NOTE

เรื่อง

เสียงกระซิบ ทุกครัง้ ทีม่ านัง่ รอหมอในโรงพยาบาล รูส้ กึ เหมือนกับชีวติ นี้ ก�าลังบอกใบ้อะไรบางอย่างกับเรา เสี ย งกระซิ บ แผ่ ว เบา กระซิ บ กระซาบ เย็ น ยะเยื อ ก ล่องลอยมาพร้อมกับภาพเบื้องหน้าที่ไม่น่าอภิรมย์ สัน่ สะเทือน แผ่ซา่ น และก�าซาบเข้ามาถึงแก่นแกนภายใน เงี่ยหูฟังสิ เงี่ยหูฟังให้ดี ถึงสิ่งที่มันก�าลังบอก... สักวันเราก็ต้องเป็นแบบนี้ เราทุกคนก็ต้องเป็นแบบนี้... รถเข็น เตียงเข็น ถุงปัสสาวะ สายน�า้ เกลือ ไม้เท้า น�า้ เลือด น�้าคัดหลั่ง อีกทั้งสภาพพิกลพิการบิดเบี้ยวของร่างกาย ที่ถูกโรคร้าย และวันวัยย�่ายีบีฑาจนย่อยยับอัปรา สักวันเราต้องแก่ชรา เจ็บป่วย ล้มลง นอนนิง่ แล้วก็ลาจาก ที่นี่ไป แล้วชีวิตนี้จะส�ามะหาอันใด เกิดมา เติบใหญ่ เจริญวัย เหลิงหลงอยู่กับก�าลังวังชา อวดอ้างปัญญากล้าเก่ง ดิ้นรนไขว่คว้าทะเยอทะยาน แล้วก็คอยเซ้าซีเ้ ฝ้าถามชีวติ ว่าฉันจะมีความสุขได้อย่างไร ฉันต้องท�าอะไรเพื่อจะได้พบความส�าเร็จ ชือ่ เสียง เงินทอง วัตถุ สวรรค์วมิ าน แต่ทผี่ า่ นมา ชีวติ ไม่เคย ตอบค�าถามเหล่านี้ เพราะอะไรรู้ไหม? เพราะเหล่านี้ไม่ใช่ชีวิต ชีวิตมีเพียงตรงนี้ ตอนนี้ กับเสียงกระซิบกระซาบแผ่วเบา ที่เย็นยะเยือกนี้เท่านั้น สักวันเราก็ตอ้ งเป็นแบบนี้ เราทุกคนก็ตอ้ งเป็นแบบนี.้ ..

วุฒิชัย กฤษณะประกรกิจ บรรณาธิการบริหาร FB : theaestheticsofloneliness

ภาพ

อุษา นพประเสริฐ ศิลปกรรม IG : aadayy

issUe 593 03 JUN 2019


Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.