adB384

Page 1

TODAY EXPRESS PRESENTS

RIDE BY THE SKY ISSUE 384 I 30 NOV - 6 DEC 2015


ปีที่ 8 ฉบับที่ 384 วันที่ 30 พฤศจิกายน - 6 ธันวาคม 2558

EDITOR’S NOTE Imperfect Thing Never Kill You

คงไม่มใี ครไม่เคยได้ยนิ วลีทวี่ า่ Nobody’s Perfect หรือไม่มใี ครสมบูรณ์แบบ และถ้าเปลีย่ นถ้อยค�านีจ้ ากคนเป็นข้าวของ ความหมายก็คงไม่ตา่ งจากนีเ้ ท่าไหร่ เพราะไม่มีอะไรในโลกนี้ที่สมบูรณ์แบบจริงๆ หรอก ขึ้นอยู่กับนิยามของค�าว่า สมบูรณ์แบบของแต่ละคนจะเป็นอย่างไรก็เท่านั้นเอง เรื่องแบบนี้ถ้าลองได้ เถียงกันก็คงยากจะหาบทสรุป และในพื้นที่เพียงหนึ่งหน้านี้ก็อาจไม่มีบทสรุป ใดๆ ด้วยเช่นกัน เพราะข้อสรุปอาจท�าให้เรื่องบางเรื่อง ‘ขาด’ มากกว่า ‘ครบ’ ก็ได้ ใครจะรู้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเราไม่ควรหยิบยกเรื่องนี้มาพูดคุยกันใน วันที่ผู้คนส่วนใหญ่รอบๆ ตัวเราหันไปแสวงหาในสิ่งที่ ‘ครบ’ มากกว่า ‘ขาด’ อย่างที่บอกว่า นิยามค�าว่าสมบูรณ์แบบของแต่ละคนไม่เหมือนกันและ บางทีนยิ ามของมันก็อาจเลือ่ นไหลไปตามวันเวลาและความรูส้ กึ ก็ได้อกี เช่นกัน ไม่ต้องอะไรมาก ลองดูข้าวของรอบๆ ตัวเราวันนี้ก็ได้ สมาร์ตโฟนเครื่องโปรด รุ่นใหม่ล่าสุดของคุณในวันนี้ อาจจัดได้ว่าเป็นสมาร์ตโฟนที่สมบูรณ์แบบที่สุดเท่าที่มนุษย์เคยมีมา แต่ผา่ นไปไม่กเี่ ดือน สิง่ ทีเ่ คยสมบูรณ์แบบในวันนีอ้ าจไม่ดพี อทีจ่ ะตอบโจทย์เราในอนาคต หนักๆ เข้า เราก็เลยสับสนระหว่างความสมบูรณ์แบบกับความพอเหมาะพอดี แน่นอนว่า ถ้าเลือกได้ ใครๆ ก็คง อยากครอบครองสิง่ ทีส่ มบูรณ์แบบทีส่ ดุ เท่าทีจ่ ะมีได้ เราถึงได้ตดิ กับดักค�าว่า รุน่ Top หรือ Full Option อยู่เสมอ เรื่องนี้สารภาพว่าผู้เขียนก็ใช่ว่าจะรอดจากกับดักนี้ แต่ค�าถามคือ หากสับสนระหว่าง ความสมบูรณ์แบบกับความพอเหมาะพอดีแล้วจะเป็นอย่างไรต่อ ก็ตอบง่ายๆ ได้เลยว่า ถ้าชีวติ เรา ไม่เดือดร้อนอะไร และเป็นคนประเภทกายพร้อม ใจพร้อม เงินพร้อม เราก็จะเลือกสิ่งที่ (เขาว่า) สมบูรณ์แบบก่อน เพราะเชือ่ ว่ามันน่าจะดีทสี่ ดุ ส�าหรับเรา แต่นา่ เสียดายว่า เมือ่ ได้ครอบครองแล้ว เรากลับรูส้ กึ ว่ามันไม่เหมาะ ไม่พอดี ไม่แม้แต่จะตอบโจทย์ความต้องการทีแ่ ท้จริงของเราด้วยซ�า้ ไป ของทีเ่ คยคิดว่าสมบูรณ์แบบแต่ไม่เหมาะกับชีวติ ก็เลยกลายเป็นของทีไ่ ม่สมบูรณ์แบบไปเพียงชัว่ ข้ามคืน เพียงเพราะมันไม่เติมเต็มความรู้สึก ทั้งที่ของชิ้นนั้นไม่ได้ผิดด้วยตัวมันเองเลย ของชิ้นนั้นไม่ได้ เปลี่ยนไป เวลาต่างหากที่เปลี่ยนแปลง ถ้าจะผิดก็คงเพราะมันอยู่ผิดเวลา ประสาอะไรกับคนที่มี ชีวิตจิตใจที่แทบจะไม่ต้องถามเลยว่าจะรู้สึกเจ็บปวดหนักกว่าสักเพียงใด หากวันหนึ่งพบว่าตัวเอง ไม่ดพี อ ทัง้ ทีเ่ คยเป็นคนทีท่ งั้ เติมเต็มความรูส้ กึ และได้ชอื่ ว่าสมบูรณ์แบบส�าหรับใครสักคนมาเนิน่ นาน อย่างไรก็ตาม โลกนีย้ งั มีดา้ นอืน่ ให้มองอีกมาก อย่างน้อยคนทีม่ องเห็นความดีงามจากความ-

ไม่สมบูรณ์แบบก็ยงั มีอยู่ และเรือ่ งนีก้ อ็ ยูใ่ นบทความสนุกๆ ของ Tanza Loudenback ที่เขียนให้กับ Business Insider ในเรื่อง The 19 coolest new businesses in San Francisco ซึ่งหนึ่งในกิจการที่เธอเขียนถึงก็คือกิจการที่ชื่อ Imperfect หรือ ‘ความไม่สมบูรณ์แบบ’ ซึง่ เป็นกิจการขายผักผลไม้ทขี่ ายเฉพาะสินค้าทีล่ กั ษณะ ไม่งาม ด่างพร้อย หรือพูดง่ายๆ ว่าเป็นแบบทีค่ นอืน่ เขาคัดทิง้ แต่ทนี่ เี่ ขาคัดมาขาย นั่นแหละ เหตุผลที่เขาท�าธุรกิจนี้ก็เพราะว่าสหรัฐอเมริกานั้นประสบกับปัญหา การที่ต้องคัดทิ้งบรรดาผักผลไม้ในร้านขายของช�าหรือ grocery store กันปีละ ราวๆ 20% ทัง้ ๆ ทีผ่ กั และผลไม้หลายๆ ชนิดยังกินได้และไม่ได้เสียคุณค่าทางอาหาร แต่อย่างใด (คือเกิดมาเป็นมะเขือที่บิดๆ เบี้ยวๆ แค่นี้ก็ถูกคัดทิ้งแล้วนั่นแหละ) ทาง Imperfect เขาก็เล็งเห็นว่าถ้าคนเรายังทิ้งผักผลไม้ที่ยังกินได้กันมากมาย ขนาดนี้ มันก็จะยิ่งสร้างขยะและมลพิษให้กับโลกมากขึ้นเรื่อยๆ เขาก็เลย น�าผักผลไม้เหล่านัน้ มาแพ็กขายในราคาไม่ถงึ 20 เหรียญฯ แถมยังมีบริการส่งถึงบ้านหรือทีท่ �างาน อีกด้วย นอกจากนั้นก็มีทางเลือกให้ผู้ซื้อสามารถซื้อสินค้าบริจาคให้กับครอบครัวยากจนได้ ในราคาเพียงกล่องละ 12 เหรียญฯ เท่านั้น ด้วยไอเดียเริ่มต้นเพียงเท่านี้ Imperfect ก็เลยสามารถ ท�าธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับความไม่สมบูรณ์แบบได้โดยตอบโจทย์ของสังคมได้อย่างสมบูรณ์แบบที่สุด นั่นคือ ลดการทิ้งขยะ สนใจแก่นสารและประโยชน์มากกว่ารูปลักษณ์ภายนอก บกพร่อง ด่างพร้อย ก็ใช่วา่ จะไม่มที อี่ ยูท่ ยี่ นื ฟังแล้วหลายคนอาจจะเถียงว่า ก็นนั่ มันผักผลไม้ ชีวติ คนเราถ้าไม่สมบูรณ์แบบก็มแี ต่จะถูกคัดทิง้ เท่านัน้ แหละ แต่ถามจริงๆ เถอะว่า เราเข้าใจค�าว่า สมบูรณ์แบบดีแค่ไหน สมบูรณ์แบบส�าหรับใคร และต้องสมบูรณ์แบบไปเพื่ออะไร เพราะบ่อยครั้ง เราก็ไม่ได้สมบูรณ์แบบไปเพือ่ จะได้เป็นตัวของตัวเองนักหรอก ตรงกันข้าม เราสมบูรณ์แบบไปเพียง เพือ่ จะได้เป็นใครก็ไม่รทู้ เี่ ราไม่เคยภูมใิ จในสิง่ นัน้ ถ้าต้องเป็นคนทีต่ อ้ งตัดแต่ง เติมต่อ เปลีย่ นแปลง ทุกอย่างเพียงเพือ่ จะได้มคี นคัดเลือก ก็นา่ อิจฉามะเขือเบีย้ วๆ ทีแ่ ม้จะถูกคัดทิง้ ก็ยงั มีคนต้องการมัน ในแบบที่มันเป็น ตราบใดที่มันดีพอเท่าที่มันจะดีได้ วิไลรัตน์ เอมเอี่ยม บรรณาธิการบริหาร Twitter : @khaopan

CONTENTS GOODNEWS ALL ABOUT BIZ

ติดตามข่าวสารดีๆ รอบโลก ประจ�าสัปดาห์ได้ในห้องข่าวแห่งนี้

INTERVIEW

เผยเบื้องหลังก้าวแห่งการเปลี่ยนแปลง ครั้งใหญ่ของเส้นทางปั่นจักรยานสุดฮิต อย่าง ‘Sky Lane’

A MUST

สารพัดสิ่งที่เราคัดสรรมาฝากแบบ A Must พลาดแล้วจะหาว่าไม่เตือน

SHOPPING

เปลี่ยนลุกส์ใหม่ๆ รับช่วงฤดูหนาว ด้วยเสื้อผ้ายีนส์สุดเก๋ ที่จะท�าให้คุณ สนุกกับชีวิตมากขึ้น

THE SPACE

สัมผัสบรรยากาศแสนร่มรื่นของ ร.ศ. ๒๓๔ ร้านอาหารที่ผสมผสาน ศิลปะไทยและยุโรปได้อย่างลงตัว

เรียนรู้เคล็ดลับการท�าธุรกิจของ วาริท อยู่วิทยา Assistant Managing Director บริษัท สยามไวเนอรี่ จ�ากัด

adB TALK

ค้นหาค�าตอบว่าสื่อสิ่งพิมพ์จะตาย หรือไม่ กับ 3 บุคคลในแวดวงสื่อ ที่ผ่านการปรับตัวได้ท่ามกลาง การแข่งขันที่ดุเดือด

HEALTH AND HEART

รวมสาระความรู้ที่จะท�าให้คุณแข็งแรง ทั้งกายและใจ

THE GUEST

รู้จัก ‘วี’ - วิโอเลต วอเทียร์ นักแสดง และนักร้องสาวหน้าใหม่ที่ฮอตที่สุด ในเวลานี้

LETTER เราอ่าน a day BULLETIN และ a day BULLETIN LIFE ทางแอพพลิเคชัน a day BULLETIN และ a day BULLETIN LIFE มาตลอด และก่อนหน้านี้นิตยสาร ทั้งสองฉบับสามารถอ่านแบบออฟไลน์ได้ ต่อมาก็พบว่าทางแอพพลิเคชันไม่สามารถให้เราอ่านแบบออฟไลน์ได้แล้ว เวลาจะอ่านต้องท�าการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตตลอดเวลา เราคิดว่าไหนๆ ทาง a day BULLETIN และ a day BULLETIN LIFE ก็แจกนิตยสารทั้งสองฉบับนี้เป็นฟรีก๊อบปี้อยู่แล้ว น่าจะท�าให้สามารถอ่านแบบออฟไลน์ได้เหมือนเดิมนะคะ - Wallflower Pu ส่งความคิดเห็น ค�าติ-ชม หรือข้อเสนอแนะที่มีต่อ a day BULLETIN ได้ที่ บริษัท เดย์ โพเอทส์ จ�ากัด เลขที่ 33 ซอยศูนย์วิจัย 4 แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 หรือทางอีเมล adaybulletinmagazine@gmail.com กรุณาเขียนชื่อ-นามสกุลจริง และที่อยู่มากับจดหมาย เพื่อความสะดวกในการจัดส่งของรางวัลไปให้ และบรรณาธิการขออนุญาตตัดทอนจดหมายตามสมควร พิเศษ! จดหมายที่ได้รับเลือกลงตีพิมพ์ในช่วงเดือนนี้จะได้รับหนังสือดีๆ จากส�านักพิมพ์ ส่งไปให้ถึงบ้าน ที่ปรึกษา สุรพงษ์ เตรียมชาญชัย บรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณา นิติพัฒน์ สุขสวย บรรณาธิการอ�านวยการ วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์ บรรณาธิการบริหาร วิไลรัตน์ เอมเอี่ยม ซับเอดิเตอร์ / นักเขียน วสิตา กิจปรีชา บรรณาธิการบทความ ประพัฒน์ สกุณา เอกพล บรรลือ กองบรรณาธิการ ทรรศน หาญเรืองเกียรติ ไอรดา รื่นภิรมย์ใจ ปริญญา ก้อนรัมย์ พิมพ์อร นทกุล นภษร ศรีวิลาศ บรรณาธิการภาพ นิติพัฒน์ สุขสวย ช่างภาพ กฤตธกร สุทธิกิตติบุตร ภาสกร ธวัชธาตรี วงศกร ยี่ดวง มณีนุช บุญเรือง บรรณาธิการศิลปกรรม วีระยุทธ คงเทศน์ ศิลปกรรม กิตติ ศรีวเิ ชียร เอกพันธ์ ครุมนต์ตรี จิตต์โสมนัส กองแสง พิสูจน์อักษร หัสยา ตั้งพิทยาเวทย์ ศักดิ์สิทธิ์ ไม้ลา� ดวน ธมนวรรณ กัวหา ฝ่ายผลิต วิทยา ภู่ทอง ทศพล บุญคง ที่ปรึกษาฝ่ายโฆษณา ศรวณีย์ ศิริจรรยากุล ผู้อ�านวยการฝ่ายโฆษณา นุจนารถ สินธนาภัทร ผูจ้ ดั การฝ่ายโฆษณา ศุภลักษณ์ เลิศกาญจนวัฒน์ 09-2964-1635, พงศ์ธดิ า อังศุวฒ ั นากุล 09-4415-6241, มนัสนันท์ รุง่ รัตนสิทธิกลุ 08-4491-9241 ผูช้ ว่ ยผูจ้ ดั การฝ่ายโฆษณา วาณี กนกวิลาศ 09-5592-9419, มาสสุภา เอีย่ มมงคลศิลป์ 08-5056-0083 ฝ่ายโฆษณาอาวุโส ธนาภรณ์ ศรีจฬุ างกูล 08-1639-1929, สุธาวัลย์ สุวรรณสิงห์ 08-1304-7070, ดวงใจ ดวงจังหวัด 08-6802-9996 เลขานุการฝ่ายโฆษณา อัจจิมา กาญจนสมทรัพย์ ผู้จัดการ จัณฑรัศมิ์ เกียรติยศ ผู้ช่วยผู้จัดการ ณัฐธยาน์ อึ้งตระกูลนิธิศ ฝ่ายธุรการ ณัฐรดา ตระกูลสม ผู้ผลิต บริษัท เดย์ โพเอทส์ จ�ากัด เลขที่ 33 ซอยศูนย์วิจัย 4 แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 ติดต่อกองบรรณาธิการ โทร. 0-2716-6900 อีเมล adaybulletinmagazine@gmail.com เว็บไซต์ www.daypoets.com, www.godaypoets.com


DATABASE

TERRORISM

AND WHAT WE SHOULD KNOW

3,000

เหตุกำรณ์ 9/11 หรือกำรจีเ้ ครือ่ งบิน ชนตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ ถือเป็น เหตุก่อกำรร้ำยที่รุนแรงที่สุดใน ประวัติศำสตร์ ซึ่งคร่ำชีวิตผู้คน ไปมำกกว่ำ 3,000 คน

เหตุการณ์กราดยิงผู้บริสุทธิ์ของกลุ่มผู้ก่อการร้ายไอซิส ในฝรัง่ เศสเมือ่ วันที่ 13 พฤศจิกายนทีผ่ า่ นมา นับเป็นเหตุการณ์ ที่ ส ร้ า งความสะเทื อ นใจให้ ผู ้ ค นไปทั่ ว โลก และยั ง เป็ น การก่ อ การร้ า ยที่ ร ้ า ยแรงที่ สุ ด ในรอบ 10 ปี ข องยุ โ รป ซึ่ ง แน่ น อนว่ า ความต้ อ งการของกลุ ่ ม ผู ้ ก ่ อ การร้ า ยก็ คื อ การสร้างความหวาดกลัว การเรียนรู้ข้อมูลของกลุ่มไอซิส และการก่อการร้ายทั่วโลก จะท�าให้เราไม่อ่อนไหวและตกเป็น เหยื่อของกลุ่มอุดมการณ์ที่บิดเบี้ยวเหล่านั้น

RANKING

51% ของผู ้ เ สี ย ชี วิ ต จำกเหตุ ก่อกำรร้ำยในปี 2014 นัน้ มำจำก ฝีมือของกลุ่มโบโกฮำรำมและ ไอซิส โดย 78% ของผู้เสียชีวิต ทั้ ง หมดในปี นั้ น เกิ ด ขึ้ น ใน 5 ประเทศ คือ อิรัก อัฟกำนิสถำน ไนจีเรีย ปำกีสถำน และซีเรีย

5 อันดับกลุม่ ผูก้ อ่ การร้ายทีม่ รี ายได้ตอ่ ปีมากทีส่ ดุ ในโลก (หน่วย : ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) 2,000

10 อันดับประเทศทีเ่ กิดเหตุ ก่อการร้ายมากที่สุดในปี 2014 (หน่วย : ครั้ง) 1. อิรัก 3,370 2. ปากีสถาน 1,821 3. อัฟกานิสถาน 1,591 4. อินเดีย 763 5. ไนจีเรีย 662 6. ลิเบีย 554 7. เยเมน 512 8. โซมาเลีย 469 9. ไทย 366 10. ซีเรีย 232

ที่มา : www.cityam.com

51%

4

ISIS

ในทุกๆ ปีจะมีกระสุนใหม่ผลิตขึ้นมำกถึง 12,000 ล้ำนนัด และใน ทุกๆ 1 นำที ทั่วโลกจะมีผู้เสียชีวิตจำกกำรใช้ควำมรุนแรงด้วยอำวุธ ประมำณ 1 คน

Hamas

600

500

400

FARC Hezbollah Taliban

ที่มา : http://uk.weather.com

กลุ ่ ม ผู ้ ก ่ อ การร้ า ย ไ อ ซิ ส มี ชื่ อ เ รี ย ก ที่ แตกต่างกันไปในแต่ละ พื้นที่ทั่วโลก โดยเป็น ที่ รั บ รู ้ แ ละเรี ย กใช้ อย่ า งเป็ น ทางการ จ�านวน 4 ชื่อ นั่นคือ IS, ISIS, ISIL และ DAESH

12,000,000,000

1,000

140,000

The Economist เผยข้อมูลว่ำ ในช่วงเดือนกันยำยนปีที่ผ่ำนมำ กลุ่มผู้ก่อกำรร้ำยไอซิสมีกองก�ำลังประมำณ 30,000 คน โดยมีนักรบที่มำจำกต่ำงชำติรำว 15,000 คน ที่มา : www.prachatai.com, http://news.thaipbs.or.th, www. prnewswire.com, www.list25.com, www.facebook.com/ AmnestyOz, www.thaipost.net, www.start.umd.edu

องค์ ก ร The Global Terrorism Database (GTD) เผยว่า นับจากปี 1970-2014 ทัว่ โลกเกิด เหตุก่อการร้ายไปแล้ว มากกว่า 140,000 ครัง้ โดยเป็นการวางระเบิด 58,000 ครัง้ ลอบสังหาร 15,000 ครั้ง ลักพาตัว 6,000 ครัง้ และในรูปแบบ อื่ น ๆ อี ก เป็ น จ� า นวน มาก

R.I.P

32,658

32,658 คน คือจ�ำนวนผู้เสียชีวิตจำก เหตุก่อกำรร้ำยทั่วโลกตลอดปี 2014 ซึ่ ง เป็ น ปี ที่ มี ผู ้ เ สี ย ชี วิ ต จำกเหตุ ก่อกำรร้ำยเพิม่ ขึน้ มำกทีส่ ดุ เท่ำทีเ่ คยมี กำรบันทึกมำ โดยเทียบกับในปี 2013 ที่มีผู้เสียชีวิตเพียง 18,111 คน


DID YOU KNOW?

ที่มา : www.voa.com

ผลวิจัยเผย ผู้ชายจะทานอาหารมากขึ้นเมื่อมีผู้หญิงร่วมโต๊ะ

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยคอร์เนล สหรัฐอเมริกา เปิดเผยผลวิจัยล่าสุดว่า ผู้ชายอาจใช้วิธีทานอาหารให้มากขึ้นเพื่อสร้างความประทับใจกับเพศตรงข้าม โดยนักวิจัยท�าการสังเกต กลุ่มตัวอย่างผู้ใหญ่จ�านวน 105 คนในร้านอาหารบุฟเฟต์แห่งหนึ่ง พบว่าผู้ชายที่ทานอาหารร่วมโต๊ะกับผู้หญิงอย่างน้อย 1 คน จะทานพิซซ่ามากขึ้น 93% และทานสลัดมากขึ้น 86% เมื่อเทียบกับผู้ชายที่ร่วมโต๊ะกับผู้ชายด้วยกัน ขณะที่ผู้หญิงจะทานเท่าเดิมไม่ว่าจะนั่งร่วมโต๊ะกับเพศใดก็ตาม

ที่มา : www.buildernews.in.th

ANIMAL

GOOD NEWS

ส่งตัวแทสเมเนียนเดวิล สัตว์ป่าสัญชาติ ออสเตรเลียไร้โรค กลับไปยังเกาะต้นก�าเนิด อีกครั้ง

AWARD

ดวงฤทธิ์ บุนนาค สถาปนิกเจ้าของบริษทั DBALP โชว์ฝีมือให้ทั่วโลกได้เห็น ด้วยการคว้ารางวัลชนะเลิศ Best Building of the Year จากเวทีสถาปนิกเอเชีย ARCASIA 2015 ได้ ส�าเร็จ จากผลงานการออกแบบรีสอร์ตสุดหรู ในจังหวัดภูเก็ตอย่าง The Naka Phuket โดยเขาได้รับแรงบันดาลใจในการออกแบบ มาจากบริบทของพืน้ ทีท่ เี่ ป็นภูเขาสูงชันติดกับ ชายหาด ซึ่งดวงฤทธิ์กล่าวถึงผลงานของ ตัวเองว่า “ความท้าทายในการออกแบบครัง้ นี้ คือ การตีโจทย์ให้แตกว่าจะสร้างรีสอร์ตบน พืน้ ทีน่ อี้ ย่างไร ผมจึงตัง้ ใจออกแบบให้หอ้ งพัก แต่ละห้องมีลักษณะคล้ายกับแท่งที่ยื่นออก มาจากภูเขา และทอดออกไปสูท่ ะเล เมือ่ คุณ มาพักในห้องจะรู้สึกราวกับว่าก�าลังนอนอยู่ กลางอากาศ การออกแบบนีใ้ ห้ทงั้ ความสงบ และความตื่นเต้นในขณะเดียวกัน”

ดวงฤทธิ์ บุนนาค คว้ารางวัล Best Building of the Year ในเวที ARCASIA 2015

HUMAN RIGHTS บาร์บเี้ ปิดตัวนายแบบเด็ก คนแรกในโฆษณา เพือ่ สือ่ ว่า ใครๆ ก็เล่นตุก๊ ตาบาร์บี้ได้ ถ้าเด็กผู้หญิงสนใจตุ๊กตาฮีโร่ได้ แล้วท�าไม เด็ ก ผู ้ ช ายจะสนใจตุ ๊ ก ตาบาร์ บี้ บ ้ า งไม่ ไ ด้ ในการจับมือครั้งล่าสุดของแบรนด์ตุ๊กตาชื่อดัง อย่ า งบาร์ บี้ แ ละแบรนด์ เ สื้ อ ผ้ า มอสชิ โ น ในคอลเล็กชัน ‘มอสชิโน บาร์บ’ี้ ได้สร้างความฮือฮาด้วยภาพยนตร์โฆษณาสั้นที่มีเด็กผู้ชาย แสดงอยู ่ ใ นโฆษณาครั้ง แรก เพื่อ สื่อ สารว่ า ไม่ว่าจะเป็นเด็กหญิงหรือเด็กชายก็สามารถ เล่นตุ๊กตาบาร์บี้ได้ โดยในโฆษณามีเด็กผู้ชาย ที่ ถ อดคาแร็ ก เตอร์ ม าจาก เจเรมี สกอตต์ ครี เ อที ฟ ไดเร็ ก เตอร์ ข องแบรนด์ ม อสชิ โ นใน วั ย เด็ ก พู ด ประโยคสุ ด น่ า รั ก น่ า เอ็ น ดู ว ่ า “มอสชิโนบาร์บี้ช่างเป็นอะไรที่สุดยอดไปเลย นะ” เจเรมียงั เล่าเพิม่ เติมอีกว่า “ส�าหรับผมแล้ว มันเป็นเรื่องธรรมชาติมากๆ ที่เด็กผู้ชายจะเล่น ตุ๊กตาบาร์บี้อย่างเด็กผู้หญิง”

LIFESTYLE คณะประสานเสียงไร้บ้านได้รับค�าเชิญให้ ไปแสดงที่ท�าเนียบขาว ที่มา : www.hufffiifingtonpost.com

ตัง้ แต่มกี ารตรวจพบโรค Devil Facial Tumor Disease ในแทสเมเนียนเดวิล สัตว์ประจ�าเกาะแทสเมเนีย ประเทศ ออสเตรเลี ย ที่ เ ป็ น ต้ น แบบของ ตัวการ์ตูนชื่อ ดังใน Looney Tunes จ� า นวนของสั ต ว์ ช นิ ด นี้ ก็ ล ดลงจาก 250,000 ตัว เมื่อประมาณ 20 ปีที่แล้ว เป็น 10,000 ตัวในปัจจุบัน จึงเป็นทีม่ า ของ Devil Ark โครงการประจ�าชาติ ใน Burlington Tops ใกล้เมืองซิดนีย์ ที่ มี เ ป้ า หมายจะปกป้ อ งสั ต ว์ ช นิ ด ดังกล่าวจากโรคร้าย ซึง่ ล่าสุดพวกเขา ได้ ส ่ ง แทสเมเนี ย นเดวิ ล ปลอดโรค จ� า นวน 22 ตั ว กลั บ บ้ า นเกิ ด ของมันที่เกาะแทสเมเนีย โดยเชื่อว่า โครงการนี้ จ ะลดตั ว เลขการล้ ม ตาย ของพวกมันและป้องกันการสูญพันธุ์ ในที่สุด ที่มา : http://news.yahoo.com

ม้าสเปนพันธุแ์ ท้และผูด้ แู ลก�าลังเตรียมตัวเข้าร่วมงานแสดง ม้านานาชาติ SICAB ณ เมืองเซบียา ทางตอนใต้ของสเปน ซึ่งงานนี้จัดขึ้นมาตั้งแต่ปี 1991 และเฉพาะเจาะจงที่ม้า สายพันธุ์สเปนแท้จริงๆ - Reuters / Marcelo del Pozo

ที่มา : www.cnn.com

ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา บารัก โอบามา จับมือทักทายกับ เด็กนักเรียนระหว่างเดินทางเข้าเยีย่ มเด็กๆ ทีไ่ ด้รบั การดูแล จัดการศึกษาส�าหรับผูล้ ภี้ ยั และผูม้ รี ายได้นอ้ ย ทีก่ รุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย - Reuters / Jonathan Ernst

Atlanta’s Homeward Choir คือ คณะประสานเสีย งของคนไร้ บ ้ า นที่ก ่ อ ตั้ง โดย Donal Noonan เมื่อ 3 ปีก่อน และได้รับการสนับสนุนโดยโบสถ์ 2 แห่ง ปัจจุบันมีสมาชิกถึง 26 คน ในตอนแรกนั้น เรื่ อ งได้ รั บ เชิ ญ ไปเล่ น ที่ ท� า เนี ย บขาวเป็ น มุ ก ตลกที่ โ ดนั ล แกล้ ง เพื่ อ นในตอนแรก เขาเล่ า ว่ า “หลั ง จบฤดู ก าลที่ แ ล้ ว เพื่ อ นของผมมาแสดงความยิ น ดี แ ละถามว่ า ผมจะไปไกลกว่ า นี้ ไ ด้ อ ย่ า งไร ผมเลยตอบไปว่ า ครั้ ง หน้ า จะได้ ไ ปเล่ น ที่ ท� า เนี ย บขาว นั่ น เลยเป็ น จุ ด เริ่ ม ต้ น ของข่ า วลื อ ” แต่ ข ่ า วลื อ ก็ เ ป็ น แค่ ข ่ า วลื อ ได้ ไ ม่ น าน เพราะเมื่ อ เร็ ว ๆ นี้ ค ณะประสานเสี ย งของเขาได้ รั บ ค�า เชิ ญ ให้ไปแสดงที่ท�าเนียบขาวในเดือนธันวาคมที่จะถึงจนได้ ซึ่งพวกเขามั่นใจว่าจะต้องเป็นการแสดง ที่ พิ เ ศษและสนุกไม่น้อย


QUOTE OF THE WEEK

“ในสังคมไทย การใช้กฎหมาย แทนที่จะใช้เพื่อก�ากับอ�านาจของรัฐเพื่อให้ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพ แต่กลับใช้เพื่อเสริมอ�านาจรัฐ และลิดรอนสิทธิเสรีภาพ” ศาสตราจารย์ ดอกเตอร์ เกษียร เตชะพีระ อาจารย์ประจ�าคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่มา : www.matichon.co.th

นอกจากจังหวัดชลบุรีจะมีประเพณีวิ่งควายแล้ว ที่อินโดนีเซียก็มีประเพณีวิ่งควายเช่นกัน ซึ่งงานนี้มีคนจูงควายเข้าแข่งขัน กว่า 250 คู่ เพื่อลุ้นรางวัลใหญ่ได้เดินทางไปแสวงบุญที่นครเมกกะ ประเทศซาอุดีอาระเบีย - Reuters / Sigit Pamungkas

SPORT ‘โนเล’ ถลุง ‘เฟดเอ็กซ์’ ฟาดแชมป์ทัวร์ ไฟนอลส์สมัย 5 โนวัก ยอโควิช นักเทนนิสมือหนึ่งของโลกชาวเซอร์เบีย งัดฟอร์มสุดยอดของตัวเองออกมาได้อีกครั้ง หลังจาก ลงแข่งขันนัดชิงชนะเลิศในศึกเทนนิสเอทีพีทัวร์ รายการบาร์เคลย์ เอทีพี เวิลด์ ทัวร์ ไฟนอลส์ ณ สนามโอทู อารีนา ประเทศอังกฤษ พบกับคู่ปรับเก่าอย่าง โรเจอร์ เฟเดอเรอร์ มือสามของโลกชาวสวิสอีกครั้ง โดยในเกมดังกล่าว ยอโควิชเปิดฉากได้อย่างยอดเยี่ยม เก็บเซตแรกไปได้สวยหรู 6-3 ก่อนที่จะขึ้นเซตสอง ยอโควิชอาศัยรูปเกมที่ดีกว่า เร่งเครื่องปิดเกมอย่างรวดเร็ว ชนะไปอย่างขาดลอย 6-4 คว้าแชมป์ทัวร์ไฟนอลส์สมัยที่ 5 มาครองได้ส�าเร็จ

adB

TRIVIA

ปฏิบัติการการกุศลเพื่อผู้ลี้ภัย ดู เ หมือ นว่ า ปั ญ หาผู้ลี้ภัย ชาวซีเรีย จะยัง ไม่ ทุ เ ลาลงง่ า ยๆ โดยเฉพาะหลั ง จาก เหตุ ก ารณ์ ก ่ อ การร้ า ยในกรุ ง ปารี ส ที่ ดู จ ะ ท�าให้สถานการณ์ของผู้ลี้ภัยเลวร้ายลงไปอีก แต่ พ วกเขาก็ ยั ง ไม่ ห มดหวั ง เสี ย ที เ ดี ย ว เพราะยังมีน�้าใจจากผู้คนจ�านวนมากหลั่งไหล ไปช่ ว ยเหลื อ อย่ า งไม่ ข าดสาย และนี่ ก็ คื อ ตัว อย่ า ง • เริ่มด้วยกลุ่มศิลปินช่างภาพจ�านวน 8 คน ที่ออกเดินทางไป ทั่วโลกเพื่อบันทึกภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของผู้ลี้ภัย เพื่อสะท้อนให้ ผูค้ นได้เห็นสิง่ ทีผ่ ลู้ ภี้ ยั ต้องเผชิญ จนกลายเป็นภาพทีส่ ดุ แสนจะทรงพลัง เท่านัน้ ยังไม่พอ เพราะพวกเขายังน�าภาพทัง้ หมดออกขายเพือ่ ระดมเงิน ช่วยเหลือผู้ลี้ภัยด้วย แวะไปชมภาพของพวกเขาพร้อมกับอุดหนุนได้ที่ http://redacoge.paginaswebempresas.es • ด้ า นคู ่ รัก อย่ า ง Samantha Jackson และ Farzin Yousefian ก็ย อมสละงานแต่ ง งานที่จัด เตรีย มทุก อย่า งเรีย บร้อยแล้ว ทั้งเชิญ

ที่มา : www.boredpanda.com

ที่มา : www.dailynews.co.th

นีค่ อื วิธตี ม้ น�า้ ด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ของชาวบ้านทีอ่ าศัยอยูแ่ ถบทะเลสาบนัมโซ เขตปกครองตนเองทิเบต ประเทศจีน ซึง่ ทะเลสาบ แห่งนีอ้ ยูห่ า่ งจากเมืองลาซา เมืองหลวงของทิเบต ประมาณ 4 ชัว่ โมง อยูส่ งู กว่าระดับน�า้ ทะเลถึง 4,718 เมตร นอกจากจะเป็น ทะเลสาบน�า้ เค็มทีอ่ ยูส่ งู ทีส่ ดุ ในโลกแล้ว ยังเป็นสถานทีศ่ กั ดิส์ ทิ ธิท์ มี่ ผี แู้ สวงบุญเดินทางมาสักการะบูชาอีกด้วย - Reuters / Damir Sagolj

แขกกว่ า 130 คน เมนู อ าหารสุ ด หรู เ พื่ อ ต้ อ นรั บ แขก แต่ แ ทนที่ จ ะรอให้ ถึ ง วั น วิ ว าห์ ที่วาดฝั น พวกเขากลับยกเลิกทุกอย่างเพื่อ น�าเงินที่จะจัดงานแต่งงานไปบริจาคให้ผู้ลี้ภัย ที่ มี ค วามต้ อ งการมากกว่ า คิ ด เป็ น มู ล ค่ า ประมาณ 17,500 ดอลลาร์ ส หรั ฐ ฯ หรื อ ประมาณ 628,000 บาท แถมยั ง ชวนแขก ที่จะมางานบริจาคเงินให้ผู้ลี้ภัยแทนการซื้อ ของขวัญราคาแพงอีกด้ วย • ปิ ดท้ ายด้ วยความน่ ารักของหนูน้ อย Natalie Achenbach วัย 11 ขวบ ที่ได้ รับรู้ เ รื่องราวของผู้ ลี้ภัยจากครูใ นโรงเรียน ก่ อนที่เธอ จะตั ด สิ น ใจยื่ น มื อ เข้ า ช่ ว ยเหลื อ พวกเขาด้ ว ยการขายไข่ ไ ก่ ผ ลผลิ ต จากไก่ที่ทางบ้านเลี้ยงไว้ เพื่อบริจาคให้กับองค์กรที่ช่วยเหลือผู้ลี้ภัย ซึ่ ง ล่ า สุ ด เธอบริจาคเงินไปแล้วกว่า 800 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 28,000 บาท

BUSINESS

บริษัทเทคโนโลยีสวิสหัวใส คิดค้นนวัตกรรม เปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์ เป็นพลังงาน Climeworks บริ ษั ท พลั ง งานจาก ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ผุดไอเดียสุดเจ๋ง ในการพัฒนาเทคโนโลยีที่เป็นความหวัง ใหม่ ข องการผลิ ต พลั ง งานทางเลื อ ก และลดภาวะโลกร้อนไปในเวลาเดียวกัน โดยพวกเขาประดิษฐ์เทคโนโลยีที่สามารถ ดั ก จั บ ก๊ า ซคาร์ บ อนไดออกไซด์ จ าก อากาศได้โดยตรง (Direct Air Capture DAC) และเปลี่ยนให้คาร์บอนไดออกไซด์ เหล่ า นั้ น มาใช้ ป ระโยชน์ ใ นภายหลั ง ได้ ทั้งการเติมแก๊สในน�้าอัดลม ใช้ปลูกพืช ในห้องเรือนกระจก และการผลิตเชื้อเพลิง สั ง เคราะห์ โดยบริ ษั ท Climeworks จะเริ่ ม ต้ น ติ ด ตั้ ง และทดลองใช้ เ ครื่ อ ง ดั ง กล่ า วในปี ห น้ า และมี เ ป้ า หมายใน การดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 900 ตัน เรี ย กว่ า เป็ น นวั ต กรรมพลั ง งานสะอาด ที่น่าสนใจอย่างมาก ที่มา : www.springwise.com

เลโก้ผลิตรองเท้าสลิปเปอร์ป้องกันการเจ็บเท้าจากตัวต่อเลโก้ เพื่อสุ่มแจกเป็นของขวัญคริสต์มาส ไม่วา่ ใครต่างล้วนมีประสบการณ์รบั รูค้ วามเจ็บปวดจากการเหยียบตัวต่อเลโก้ทคี่ ณ ุ น้องคุณหนูทงิ้ ไว้ตามพืน้ บ้าน ซึง่ ในทีส่ ดุ หลังจากสร้างของเล่นทีเ่ สริมสร้าง จินตนาการมากว่า 60 ปี บริษทั เลโก้ได้จบั มือกับบริษทั เอเจนซีชอื่ ดังสัญชาติฝรัง่ เศสอย่างแบรนด์สเตชัน ผลิตรองเท้าแตะสลิปเปอร์สแี ดงเหลืองสดใส ส�าหรับใส่ปอ้ งกัน การเจ็บเท้าจากการเดินเหยียบตัวต่อเลโก้ เพือ่ เป็นส่วนหนึง่ ในของขวัญส�าหรับโปรโมชันเทศกาลคริสต์มาสนี้ โดยมีจา� นวนจ�ากัดเพียง 1,500 คู่ และจะสุม่ แจกส�าหรับลูกค้า ทีส่ งั่ ซือ้ และเขียนค�าอธิษฐานขอของขวัญคริสต์มาสผ่านทางออนไลน์ในเว็บไซต์เลโก้ฝรัง่ เศส ก็ได้แต่หวังว่าบริษทั เลโก้จะมีมาจ�าหน่ายทีป่ ระเทศไทยบ้างในเร็ววัน B


INTERVIEW เรื่อง : วิไลรัตน์ เอมเอี่ยม, วสิตา กิจปรีชา ภาพ : กฤตธกร สุทธิกิตติบุตร

สไตลิสต์ : Hotcake

RIDE BY THE SKY


เมื่ อ ไม่ กี่ ป ี ที่ ผ ่ า นมา จะสั ง เกตได้ ว ่ า คนไทยเรา ออกมาปั่นจักรยานตามท้องถนนมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ในกรุงเทพฯ หรือต่างจังหวัด ตลาดสินค้าจักรยานเติบโต มีร้านขายจักรยาน อุปกรณ์จักรยาน ทั้งมือหนึ่งและ มื อ สองมากมาย ความต้ อ งการพื้ น ที่ ป ั ่ น จั ก รยาน เพื่ อ พั ก ผ่ อ นหย่ อ นใจมี ม ากขึ้ น เป็ น เงาตามตั ว แต่ จุ ด เปลี่ ย นส� า คั ญ ที่ เ ราคนไทยสั ง เกตได้ ชั ด ก็ คื อ การเกิดขึ้นของ ‘สนามเขียว’ หรือเส้นทางปั่นจักรยาน รอบสนามบินสุวรรณภูมิ ทีม่ รี ะยะทางถึง 23.5 กิโลเมตร เป็นจุดหมายส�าคัญของนักปั่นทุกเพศทุกวัย ตั้งแต่ นักปั่นน่องเหล็กระดับอาชีพ ไปจนถึงเด็กๆ ทั้งหลาย ที่มากับครอบครัว จากเส้ น ทางส� า หรั บ รถตรวจการณ์ รั ก ษา ความปลอดภัยรอบท่าอากาศยานที่ปรับปรุงเพื่อเป็น เลนจักรยาน มีการใช้ยางพาราฉาบผิว และทาสีเขียว ซึง่ ภายหลังกลายเป็นชือ่ เรียกกันติดปากในหมูน่ กั ปัน่ ว่า ‘สนามเขียว’ ด้วยทิวทัศน์ที่สวยงาม มีน�้าล้อมรอบ และมองเห็นเครือ่ งบินขึน้ ลงตัง้ แต่เช้าตรู่ 6 โมงเช้า ไปจนถึง 6 โมงเย็น ที่นี่จึงเป็นสวรรค์ของคนรักการปั่นจักรยาน อย่างแท้จริง ยืนยันได้จากตัวเลขนักปั่นเฉลี่ย 600 ราย ต่อวัน ที่มาใช้บริการในวันธรรมดา และเพิ่มขึ้นเป็น 7,000 ราย ในวันหยุด ซึ่งทุกคนต่างทราบว่าเจ้าของ สถานทีแ่ ละผูร้ เิ ริม่ โครงการอย่าง บริษทั ท่าอากาศยานไทย จ�ากัด (มหาชน) หรือ ทอท. นั้นไม่ได้คิดค่าบริการเลย แม้แต่บาทเดียว เพือ่ ให้ประชาชนทัว่ ไปได้เข้ามาใช้บริการกัน แต่เมื่อเวลาผ่านไป ด้วยสภาพแวดล้อมที่เป็นดินชุ่มน�้า สภาพอากาศที่ร้อนจัด และผู้คนที่มาใช้บริการเป็น จ�านวนมาก สนามเขียวของนักปัน่ ก็ทรุดโทรมลง และด้วย ขีดจ�ากัดต่างๆ ที่ไม่สามารถอ�านวยความสะดวกให้กบั นักปัน่ ได้ทนั ท่วงทีเท่าทีค่ วร บริษทั ท่าอากาศยานไทย จ�ากัด (มหาชน) จึงร่วมมือกับธนาคารไทยพาณิชย์ จ�ากัด (มหาชน) ท�าโครงการปรับปรุงเส้นทางจักรยานให้มี มาตรฐานที่ดีเยี่ยมยิ่งขึ้น โดยมีการปิดให้บริการไปเมือ่ เดือนมิถนุ ายนทีผ่ า่ นมา เพือ่ ก่อสร้างถนนและสิง่ อ�านวย ความสะดวกด้านในให้พร้อมเปิดบริการอีกครั้งในช่วง เดือนธันวาคมที่จะถึงนี้ เมื่ อ ความร่ ว มมื อ ของสองหน่ ว ยงานเกิ ด ขึ้ น พร้อมกับจุดมุ่งหมายเดียวกัน ผู้บริหารของทั้งสอง องค์กร คุณประสงค์ พูนธเนศ ประธานกรรมการ บริ ษั ท ท่ า อากาศยานไทย จ� า กั ด (มหาชน) และ ดร. วิ ชิ ต สุ ร พงษ์ ชั ย ประธานกรรมการบริ ห าร ธนาคารไทยพาณิชย์ จ�ากัด (มหาชน) จึงยินดีที่จะมา ถ่ายทอดเบือ้ งหลังการบริหารจัดการโครงการทีน่ กั ปัน่ ก�าลังรอคอยอยู่ตลอดช่วงระยะเวลา 6 เดือนที่ผ่านมา การก่อสร้างนัน้ ราบรืน่ แค่ไหน หรือมีปญ ั หาอะไรเกิดขึน้ สิ่ ง ที่ นั ก ปั ่ น จะได้ เ ห็ น ได้ สั ม ผั ส มี อ ะไรบ้ า ง ทั้ ง คู ่ จ ะมา เปิดเผยอย่างละเอียด และรอคุณมาปั่นที่ Sky Lane แห่งนี้ไปพร้อมๆ กัน


อยากให้ ช ่ ว ยเล่ า ถึ ง จุ ด เริ่ ม ต้ น ของการริ เ ริ่ ม ท� า เลนปั ่ น จั ก รยานนี้ ขึ้นมาในครั้งแรก คุณประสงค์ : แต่เดิมสนามบินสุวรรณภูมนิ นั้ มีถนนทีใ่ ช้สญ ั จร ในบริเวณท่าอากาศยาน ทัง้ เชือ่ มระหว่างอาคารผูโ้ ดยสารกับอาคาร ส�านักงานการบิน และชุมชนต่างๆ ในพื้นที่โดยรอบสนามบิน ก็จะ มีการสัญจรค่อนข้างหนาแน่นตลอดทัง้ วัน และก็มคี นมาปัน่ จักรยาน ตอนเย็นบ้าง ตอนเช้าบ้าง เลียบๆ ข้างถนนกันไป ท�าให้มเี หตุการณ์ รถชน รถเฉีย่ วกันบ่อยครัง้ เราก็มองว่าเรามีถนนรอบนอกติดคันดิน ทีป่ รับพืน้ ทีไ่ ว้เพือ่ เป็นแนวกัน้ น�้าท่วม ยาวถึง 23.5 กิโลเมตร ส�าหรับ รถตรวจการณ์ดูแลความเรียบร้อยวิ่งรอบๆ อยู่แล้ว เราน่าจะลอง ปรับปรุงถนนนี้มาท�าเป็นพื้นที่ออกก�าลังกายที่ปลอดภัย ถือว่า เป็นการท�า CSR ให้กบั ชุมชนแถวๆ นีด้ ว้ ย ก็เลยมีการท�าสนามเขียว ขึ้ น มาในสมั ย นั้ น โดยเอากากยางมะตอยมาราดเพื่ อ ท� า เป็ น ทางจักรยาน แล้วก็ทาสีเขียว พอเริ่มมีคนมาปั่นกันมากขึ้น เราก็ ถมที่จอดรถและน�าห้องน�้าไปตั้งเพื่ออ�านวยความสะดวก ตอนแรก ที่เราท�าก็ไม่คาดว่าจะมีนักปั่นให้ความสนใจมาปั่นกันขนาดนี้ ซึ่ง ช่วงหลังนักปั่นมากันหนาแน่น เราก็อยากท�าให้ดีขึ้น แต่ด้วยระบบ การบริหารงานบริษัทเราเองอาจจะท�าให้เราด�าเนินการได้อย่าง ไม่เต็มที่ หรือไม่รวดเร็วทันกับความต้องการของนักปั่น แต่เรา ก็ ยั ง ตั้ ง ใจอยากจะท� า ให้ ดี ใ ห้ เ กิ ด ประโยชน์ ที่ แ ท้ จ ริ ง และเป็ น รูปธรรมอย่างต่อเนื่องตามความตั้งใจแรกที่เราท�าเลนจักรยานนี้ แล้วโครงการทีม่ าร่วมกับไทยพาณิชย์ในการปรับปรุงเส้นทางจักรยานนี้ เริ่มต้นมาได้อย่างไร คุณประสงค์ : ตอนทีผ่ มเข้ามาเป็นประธานบอร์ด ก็เริม่ เห็นว่า สนามมันทรุดโทรมลงตามเวลา แล้วคนทีม่ าใช้บริการก็มากขึน้ เรือ่ ยๆ มีภาคเอกชนหลายแห่งมาติดต่อ ทอท. จะขอสัมปทานปรับปรุง สนามในเงื่อนไขที่สามารถหาประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้ ซึ่งก็มีคน มาพูดคุยกับผม แต่ผมมองว่าแนวคิดเขาไม่ตรงกับแนวคิดของเรา เพราะเราต้องการท�าเป็น CSR เพื่อส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน และคนอืน่ ๆ ในบริเวณใกล้เคียง รวมทัง้ นักปัน่ จักรยานทีม่ าใช้บริการ ซึง่ ตอนนัน้ คนก็หนั มาออกก�าลังกายด้วยการปัน่ จักรยานกันเยอะขึน้ เรื่อยๆ เราก็อยากหาบัดดี้ที่มีความคิดตรงกับเรา ก็มาเจอกับ ธนาคารไทยพาณิชย์นแี่ หละครับ ซึง่ มีความคิดตรงกับเรา เป็นบัดดี้ ที่มีหัวใจเดียวกัน คิดตรงกันตรงที่จะท�ายังไงเพื่อให้เลนจักรยานนี้ ได้มาตรฐาน เป็นประโยชน์ต่อสังคม และดีต่อคนที่มาใช้บริการ เราอยากท�าเป็น CSR ที่กลับสู่ชุมชน กลับสู่ประชาชน ทั้งที่เป็น นักปั่นและผู้ที่รักสุขภาพ โดยมองว่าในอนาคตที่ตรงนี้อาจจะเป็น พื้นที่สุขภาพอื่น เป็นได้มากกว่าเลนจักรยาน เราก็รู้สึกดีว่าทาง ไทยพาณิ ช ย์ เ ขาขอเข้ า มาลงทุ น ท� า CSR โดยไม่ ห วั ง ผลก� า ไร ไม่เอาเงินกลับแบงก์เลย เราเห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม และมีแนวความคิดเพื่อสังคมไปในแนวทางเดียวกันอย่างชัดเจน เราจึงตอบรับร่วมด�าเนินโครงการนี้กับไทยพาณิชย์ เท่าที่ทราบคือโครงการมีมูลค่าประมาณ 300 กว่าล้าน คุณประสงค์ : ใช่ครับ แต่ตอนนี้ไม่ใช่ 300 ล้านแล้ว เพราะพอ เริม่ ประเมินพืน้ ทีแ่ ละเริม่ ก่อสร้างจริงๆ เราไปดูสภาพถนนมันมีรอยแตก เยอะมาก มันไม่ได้แตกแค่ข้างบน แต่มันแตกลงไปข้างล่าง เพราะ พื้นที่แถวนี้เป็นที่ที่เป็นหนองน�้ามาก่อน ท�าให้เกิดปัญหาดินยุบตัว และดินสไลด์ ดร. วิชิต : อย่างนี้ครับ ที่ดินตรงนี้เดิมชื่อว่าหนองงูเห่า เพราะ ฉะนั้น มันจะเป็นดินเลน เมื่อจะสร้างอะไรก็ตาม ถ้าฐานราก ไม่ แ ข็ ง แรงมั น จะเคลื่ อ น ก็ จ ะเห็ น ได้ จ ากรอยแตกของตั ว เลน ผมขอเสริมจากที่คุณประสงค์เล่าอีกนิด คือเมื่อต้นปีที่ไทยพาณิชย์ มาติดต่อกับ ทอท. เพื่อสอบถามความเป็นไปได้ในการท�าโครงการ ร่วมกัน ตอนนัน้ เราก็มกี ารส�ารวจพืน้ ผิวเลนจักรยานเบือ้ งต้น เห็นว่า มีรอยแตกนิดหน่อย ผมเองก็เห็นอยู่เพราะมาปั่นจักรยานที่นี่บ่อยๆ ก็คดิ ว่าน่าจะซ่อมไม่ยากเท่าไหร่ แค่เทพืน้ ผิวใหม่อดั เข้าไปก็นา่ จะอยู่ แล้ว พอเวลาผ่านไปรอยแตกมันก็มากขึน้ ก็พาวิศวกรมาดูเพือ่ ค้นว่า สาเหตุจริงๆ มันคืออะไร ความร้อนเหรอ ความชืน้ เหรอ เขาก็บอกว่า ไม่ใช่ พอหลังจากเดือนเมษายนที่เราลงนามความร่วมมือกันท�า โครงการนี้ สักเดือนมิถุนายน เราน�าทีมวิศวกรชุดใหญ่เข้ามาเพื่อ ประเมินการก่อสร้าง ก็เห็นว่ารอยแตกมันมากขึ้นไปอีก เรียกว่า ล้อจักรยานทั้งล้อลงไปในรอยแตกได้เลย เพราะฉะนั้น เมื่ออาการ มันหนักขนาดนี้ ก็แสดงว่าปัญหามันมาจากโครงสร้างทั้งหมด ถ้าไม่แก้ไขทีฐ่ านราก ท�าเสร็จอีก 2 ปี ก็แตกอีก คราวนีก้ เ็ รือ่ งใหญ่สิ เราก็เลยต้องมาคิดเยอะ และคิดว่าเราจ�าเป็นต้องลงทุนมากขึ้น เพื่อท�าให้ดี ให้อยู่นาน ท�าให้ต้องเพิ่มเฉพาะค่าปรับปรุงถนนถึง 3 เท่าจากงบประมาณเดิม งบประมาณทั้งโครงการร้อยกว่าล้าน


“ไทยพาณิชย์ เป็นธนาคารทีอ่ ยู่ คู่ประเทศไทย มานาน เราคิด ในระยะยาว เพื่อประโยชน์ ของประเทศ ท�าให้ ประเทศไทย สมานฉันท์ ปรองดองกัน ทุกๆ คนเจอกันได้ เวที ไหนดีที่สุด ก็คือเวทีจักรยาน”

จึงเพิ่มเป็นสามร้อยกว่าล้าน คือจากเดิมที่ เราตั้งใจจะแค่บดถนนเพิ่มให้มันแข็งหน่อย แล้วราดยาง ทาสี ปรากฏว่าไม่ได้ ก็เลยต้อง ขุดลงไปตลอด 23.5 กิโลเมตร แล้วก็อัดให้ แข็ง แค่นั้นก็ยังไม่จบ ต้องใช้ผ้าพลาสติก พิเศษปูตลอด 23.5 กิโลเมตร เพื่อกันไม่ให้ น�้า เข้ า แล้ ว ก็เ อาหิน บดอัด เทคอนกรีต เสริ ม เหล็ ก ซึ่ ง แต่ ก ่ อ นไม่ มี แ ผนที่ จ ะ เทคอนกรีตเสริมเหล็ก 23.5 กิโลเมตรเลย พอเทคอนกรีตเสร็จค่อยมาราดยางมะตอย บนพื้ น ผิ ว ท� า ให้ เ ลนจั ก รยานมั น อยู ่ ไ ด้ ขั้นตอนทั้งหมดนี่ไม่ใช่เราไปท�าให้เลนมัน ไม่ เ คลื่ อ นนะ พื้ น ดิ น ข้ า งล่ า งอาจจะยั ง เคลื่อนอยู่ แต่ไม่เป็นไร เพราะเราล็อกเลน เอาไว้ทั้งเส้น มันเป็นวงเหล็กที่ล้อมเอาไว้ ทั้งหมด ฉะนั้น ผิวจราจรด้านบนก็จะไม่ถูก กระทบ แม้ข้างล่างมันจะยังเขยื้อนอยู่ตาม ธรรมชาติของมันเอง คุ ณ ประสงค์ : ผมกั บ ดร. วิ ชิ ต ลงมาดู และร่วมตัดสินใจเรือ่ งนีด้ ว้ ยกันเอง แค่เรื่องนี้ก็นั่งประชุมกัน 4-5 วัน แล้วก็ต้อง ไปแก้ปัญหาหน้างาน ถกกันเป็นวันๆ ดร. วิชติ : ถ้าเป็นการท�างานทีเ่ อาก�าไร เป็นที่ตั้ง ก็คงจะต้องถอยไปแล้ว เพราะคง ท�าก�าไรได้ยาก เพราะจากต้นทุนที่ตั้งไว้ มันเกินออกไปมาก คุ ณ ประสงค์ : ผมถึ ง ได้ บ อกว่ า การที่ เ ราเลื อ กไทยพาณิ ช ย์ ม าเป็ น บั ด ดี้ โครงการนี้ ถือว่าเราเลือกเพื่อนถูก ถ้าเป็น คนทีต่ งั้ ใจจะหาประโยชน์ทางธุรกิจแล้วต้อง ลงทุนสูงขนาดนี้ เขาก็ตอ้ งหาทางเก็บเงินจาก คนทีม่ าใช้บริการให้มากขึน้ แต่ไทยพาณิชย์ เขาไม่ได้คดิ ถึงเรือ่ งผลประโยชน์ เขาตัง้ ใจท�าเพือ่ CSR ด้วยเงินทีล่ ง มามากขนาดนี้ แล้วเขาก็ยังเต็มใจท�าให้ดีที่สุด ดร. วิชิต : บอกตรงๆ ว่าตอนนั้นเราขายผ้าเอาหน้ารอดก็ได้ ท�าไปแค่นั้น แล้วสองปีต่อมาค่อยคิดกันใหม่ แต่ที่ไทยพาณิชย์ ปรัชญาเราไม่ใช่แบบนัน้ เมือ่ คุณท�าเพือ่ ประชาชน ท�าแล้วอีกสองปี ต้องมาซ่อม จะท�าไปท�าไม เพราะฉะนั้น เราจึงตัดสินใจว่าถ้าจะท�า ต้องท�าให้ดี ท�าให้อยู่นาน มองความคุ้มค่าของโครงการนี้ไว้อย่างไร ดร. วิ ชิ ต : ถ้ า คุ ณ ตี โ จทย์ ไ ปที่ ค วามคุ ้ ม ค่ า เชิ ง พาณิ ช ย์ มันไม่คมุ้ หรอก นีค่ อื โครงการ CSR ทีเ่ ราคิดไว้ตงั้ แต่ตน้ ผมเองก็เป็น นักปั่นคนหนึ่งที่นี่ เวลามาปั่นจักรยานเราก็เห็นว่าที่นี่ยังขาดอะไร เยอะเลยนะ ที่จอดรถก็ไม่เพียงพอ ฝนตกก็น�้าท่วม ห้องน�้าก็มี จ�ากัดมากๆ หากเทียบกับคนที่มาปั่น น�้าดื่มก็ไม่มี สนามก็เริ่มแตก แต่คนก็ยังมาปั่นอยู่ ใจสู้ทั้งนั้น ผมก็คิดว่าท�าไมไทยพาณิชย์ไม่ท�า เมื่อเราท�าได้เราก็ควรท�าเพื่อประชาชน จริงๆ แล้วธนาคารเองก็มี โครงการ CSR หลายแบบ แล้วงานนีก้ เ็ ป็นรูปธรรมจริงๆ ไม่ใช่วา่ เอาเงิน ไปท�าแล้วให้คนชมว่าสวยว่าดี แต่เราก�าลังส่งเสริมให้คนดูแลสุขภาพ สนับสนุนกิจกรรมที่เป็นสิ่งดีกับสิ่งแวดล้อม สร้างชุมชนนักปั่น คุณจะแปลกใจว่าคนมารูจ้ กั กันเพราะจักรยานเยอะมาก มาพบกันทีน่ ี่ คนทุกระดับทุกวัยมาร่วมได้หมด จักรยานสองพันบาทก็มี จักรยาน สองหมื่นบาทก็มี แล้วทุกคนก็แต่งตัวเหมือนกันหมด จากองค์กร บริษัทต่างๆ จากชุมชนต่างๆ ก็มารู้จักกัน เป็นกีฬาที่ทุกคนท�าได้ เข้าถึงได้ ผมมองว่าเราก�าลังสร้างสิง่ ทีเ่ ป็นประโยชน์ตอ่ สังคมอย่างมาก สิ่งที่เตรียมไว้เมื่อโครงการเปิดให้บริการมีอะไรบ้าง ดร. วิชิต : เยอะเลยครับ เราแบ่งเป็นเฟสเปิดให้บริการ ช่วงแรกที่เรากลับมาเปิด คุณจะได้ทุกอย่างก่อนปิดสนามคืนมา แน่นอนครับ และยังฟรีเหมือนเดิม แต่ปรับปรุงให้ดีขึ้น มีห้องน�้า มีทจี่ อดรถทีด่ ี สะอาด เรียบร้อย มีทพี่ กั กลางทาง มีทงั้ ลูป่ น่ั รอบนอก เราเพิม่ ทางเข้า-ออกลูแ่ ยกออกจากกัน ลดความแออัดทีเ่ คยเข้า-ออก ทางเดียวกันไปได้เยอะ เพิ่มเรื่องความปลอดภัยและความสะดวก คล่องตัวของนักปั่นด้วยการลงทะเบียนเข้า-ออก ด้วยสายรัดข้อมือ SNAP จากเดิมทีเ่ คยต้องจอดจักรยานมาลงชือ่ เข้าลู่ และเรามีลเู่ ล็ก ทีร่ ะยะทางสัน้ ลง ส�าหรับเด็กๆ ส�าหรับครอบครัว คุณจะปัน่ สองรอบ สามรอบก็ได้ เราคิดเผือ่ คนทุกวัย หรือคนทีย่ งั ไม่คอ่ ยกล้าก็ลองก่อนได้ คุ ณ ประสงค์ : แล้ ว เราก็ เ ปลี่ ย นทิ ศ การปั ่ น เพื่ อ ความ-

ปลอดภั ย ปั ่ น เร็ ว อยู ่ ข วา ปั ่ น ช้ า อยู ่ ซ ้ า ย เราจั ด ที่ จ อดรถให้ 1,550 คัน มีการดูแลรักษาความปลอดภัย แล้วจากทีต่ อ้ งขนจักรยาน มาทุกครัง้ อีกหน่อยเราจะมีทรี่ บั ฝากจักรยานในเฟสต่อไป ก�าหนดไว้กี่เฟสคะ ดร. วิชิต : เฟสแรกก็อย่างที่บอกไป แต่เฟสสองก็จะท�าให้ ปั่นกลางคืนได้ ร้านอาหาร ร้านค้าต้องเสร็จ มีหน่วยปฐมพยาบาล มีศูนย์ดูแลแก้ปัญหา ส่วนเฟสสองครึ่งไปจนถึงเฟสสาม ก็น่าจะมี ทีร่ บั ฝากจักรยาน ให้เช่าจักรยาน บางคนยังไม่อยากซือ้ ก็ลองมาเช่าดู ลองปั่นรอบเล็กก่อน ชอบแล้วค่อยซื้อ แล้วทุกอย่างผมบอกเลยว่า เราจะไม่ท�าให้คนที่มารู้สึกว่าเป็นคันทรีคลับหรูหรา ไม่ให้ใครมา แล้วรู้สึกอึดอัด ราคาก็ต้องไม่แพง ทาง ทอท. ก็ช่วยเรื่องค่าเช่า ที่ไม่แพงมาก คุณประสงค์ : เรียกว่าเป็นโครงการทีท่ กุ คนทุกฝ่ายต้องช่วยกัน เท่าที่รู้ก็คือ จะเปิดให้บริการตอนกลางคืน มีร้านค้า มีสิ่งอ�านวยความสะดวก คุณประสงค์ : สถิติข้อมูลผู้ที่มาใช้บริการเดิม 80% เป็นผู้ชาย 20% เป็นผู้หญิง ถ้าเราเปิดสนามตอนกลางคืน คิดว่าผู้หญิงน่าจะ มาเยอะขึ้น แล้วปริมาณคนที่มาปั่นจะเพิ่มขึ้น เมื่อก่อนหกโมงเย็น เราก็ปิดสนามแล้ว ดร. วิชติ : เราดูพฤติกรรมนักปัน่ แล้ว ตอนกลางวัน โดยเฉพาะ วันธรรมดา จะมีสักกี่คนที่มาปั่นได้ หลายคนก็ติดงาน อากาศร้อน เลยคิดร่วมกันว่าท�าไมเราไม่เปิดลู่ปั่นตอนกลางคืน พอได้แนวคิดนี้ เราก็คดิ ต่อไปว่าจะเอาไฟฟ้ามาจากไหน เพราะลูย่ าวมาก เราเคยคิด เรื่องการใช้พลังงานแสงอาทิตย์มาเก็บเป็นพลังงานให้แสงสว่าง ก็ดีต ่ อ สิ่ง แวดล้ อ มอีก ตลอดลู ่ นี่เ ราลงเสาไฟทั้ง หมดประมาณ 800 ต้น อะไรทีท่ �าๆ ไปแล้วเราเห็นปัญหา เห็นว่ามันยังขาด เราเติม ไปเรือ่ ยๆ เรียกว่าถึงตอนนีก้ ย็ งั ไม่นงิ่ นะ เพราะเราคิดจะท�าให้ออกมา ดีทสี่ ดุ ทัง้ ทอท. และไทยพาณิชย์ เราท�างานใกล้ชดิ กันมาก มีอะไร ก็มาคุยกัน อย่างเรือ่ งความปลอดภัย เวลากลางคืน เราติดไฟแบบไหน ก็มาคุยกัน ลองคิดสิว่าคนจะมาเพิ่มอีกเท่าไหร่ คนเลิกงานก็มาได้ สุภาพสตรีหลายคนก็ไม่อยากปั่นตอนกลางวันเพราะกลัวผิวเสีย เราคิดถึงคนมาใช้บริการจริงๆ ว่าเขามองหาอะไร คิดเผื่อว่าเขา ควรจะได้รับอะไร คุณประสงค์ : อย่างไอเดียของ ดร. วิชิต ที่ทา� สายรัดข้อมือ SNAP นีผ่ มว่าเป็นประโยชน์มากๆ เลยนะ ได้ทงั้ ความปลอดภัยและ ความสะดวก สายรัดข้อมือ SNAP นี่น่าสนใจมาก ช่วยเล่ารายละเอียดให้ฟังหน่อย ได้ไหมคะ ดร. วิชิต : ทั้งหมดทั้งมวล อย่างที่ผมบอกกับทีมงานเสมอๆ ไม่ว่าเราจะท�าอะไรก็ตาม เราจะต้องเริ่มคิดจากนักปั่น ว่านักปั่น อยากได้อะไร ซึ่งนักปั่นเขาก็ต้องไม่อยากพกบัตร พกของให้เกะกะ แต่ถ้าให้เข้า-ออกได้ตามสบายโดยไม่มีการตรวจสอบอะไรเลย ทอท. ก็ไม่สบายใจ ที่นี่เป็นสนามบินนานาชาติ ถ้าไม่มีการตรวจ ไม่มกี ารระบุตวั ตนคนทีเ่ ข้า-ออก ผมว่ามันก็ไม่ปลอดภัยนะ เราก็มา นัง่ คิดกันว่า อะไรทีไ่ ด้ความสะดวกแต่ปลอดภัย เลยมองว่าถ้าอย่างนัน้ เราก็ใช้เทคโนโลยี น�าอิเล็กทรอนิกส์เข้ามาช่วย แล้ววิธีไหนล่ะ ที่ไม่ยุ่งยาก ก็ได้เป็นสายรัดที่ตีโป๊ะเข้าที่ข้อมือ เราไม่ได้เริ่มต้น จากของ แต่เราเริ่มต้นคิดว่าความสะดวกคืออะไร ความปลอดภัย คืออะไร ที่นี้ก็ต้องหาทางที่สมดุลกันหมด แล้วพอเราท�า SNAP ออกมา ทุกคนก็บอกว่ามันสะดวกจริงๆ และมีประโยชน์ด้าน ความปลอดภัยกับนักปั่นจริงๆ มันท�าให้เรารู้ได้เลยว่าใครที่อยู่ในลู่ ใครที่ออกมาจากลู่แล้ว เวลาคุณจะเข้าก็เอาสายรัดไปจ่อที่ประตู ประตูก็เปิดเข้าไปได้ เครื่องก็จะบันทึกว่าคุณเข้าไปแล้ว ปั่นเสร็จ ออกมาก็มาสแกนทีท่ างออก เกิดอะไรขึน้ ก็รวู้ า่ ใครอยูข่ า้ งใน แล้วเรา ก็จะติด CCTV อีก เพราะว่าแค่ SNAP มันไม่พอ เราจะได้รวู้ า่ หน้าตา คนเข้าคนออกเป็นยังไง ประชาชนทีม่ าปัน่ เขาก็จะรูส้ กึ ว่าปลอดภัยจริงๆ คุณประสงค์ : จริงๆ แล้ว SNAP นี่มันไม่ได้มีเอาไว้แค่เพื่อ การเข้า-ออก แต่มันยังใช้ประโยชน์อื่นๆ ได้อีก ดร. วิชิต : สมมติว่าคุณปั่นมาถึงที่พักกลางทาง หิวน�้ า ท�ายังไงดี คุณเอา SNAP ไปซื้อน�า้ ได้ ซึ่งคุณสามารถเติมเงินแล้วใช้ ซื้อของในสนามได้ คือ SNAP เราให้ฟรี แต่เงินของคุณนะ (หัวเราะ) อย่าลืมเติมเงินก็พอ แล้วแนวคิดที่ท�า SNAP ขึ้นมานั้น ได้ไปเห็นตัวอย่างมาจากที่ไหน หรือได้แนวคิดมาจากไหน ดร. วิชิต : คือที่แบงก์เรามีทีมไอทีที่แข็งมาก ผมตั้งโจทย์ โดยบอกกับเขาว่า มีอะไรไหมที่ปลอดภัย สะดวก และไม่จุกจิก เขาก็ไปคิด แล้วก็ได้เทคโนโลยี RFID มาใช้ ย่อมาจาก Radio-


Frequency Identififfiication แต่เราเอามาเรียกกันเองว่า SNAP ก็เลย กลายเป็นเครือ่ งหมายการค้าไปเลย สะดวกขนาดทีค่ ณ ุ จะน�าไปติด ทีไ่ หนก็ได้ สมมติวา่ ปัน่ ไปเหงือ่ ออก ก็เอาไปแปะไว้ทแี่ ฮนด์จกั รยานก็ได้ คุณประสงค์ : สนามบินอื่นไม่มีนะ สถานที่ปั่นจักรยาน แถมปัน่ ตอนกลางคืนได้อกี มี CCTV มี SNAP ไว้ดแู ลความปลอดภัย ให้นักปั่นอีก ทุกอย่างไม่มีค่าใช้จ่าย ลู่ฟรี ที่จอดรถฟรี ถ้าจะมี ก็แค่นา�้ หรืออาหาร ก�าไรทีเ่ กิดขึน้ เราไม่เอานะครับ ได้มาก็นา� มาเก็บ ไว้บ�ารุงลู่ ดูแลโครงการให้สภาพดีอยู่ตลอดเวลา เท่ า ที่ ท ราบคื อ ตอนนี้ ยั ง ไม่ ไ ด้ แ จก SNAP แล้ ว ถ้ า คนที่ อ ยากได้ จะต้องท�าอย่างไรคะ ฟรีไหม หรือมีค่าใช้จ่าย ดร. วิชติ : รับได้ฟรีครับ ตอนนีเ้ ราตัง้ ไว้ทจี่ �านวนห้าหมืน่ ชิน้ ซึ่งก็คิดว่าไม่น่าจะพอ สุดท้ายแล้วจะต้องแจกเท่าไหร่เราก็จะท�า ไทยพาณิชย์เคยท�าโครงการ CSR ที่ใหญ่ขนาดนี้มาก่อนไหมคะ ดร. วิชิต : ที่ผ่านมาไทยพาณิชย์เราท�าโครงการเรื่องเยาวชน เหมือนเป็นการปิดทองหลังพระ ที่เราไปสนับสนุนหน่วยงานที่เขา ท�าอยูแ่ ล้ว ถามว่าแบงก์เป็นผูเ้ ชีย่ วชาญเรือ่ งเยาวชนไหม เราก็สคู้ นอืน่ ไม่ได้ เพราะเราท�าแบงก์ แต่บทบาทของเราคือสนับสนุนคนที่ท�าดี อยู่แล้วแต่ยังขาดปัจจัย ขาดระบบไอที ขาดระบบบริหาร แบบนั้น เราก็ไปช่วย เพราะฉะนัน้ ทุกๆ ปีเราก็จะมีงบก้อนใหญ่สา� หรับโครงการ ส่งเสริมเยาวชน นี่เป็น CSR ของแบงก์เลย แต่ส�าหรับจักรยานนี่คือ ครั้งแรก การปรับปรุงที่นี่ส่วนหนึ่งอาจจะมาจากประสบการณ์ การปัน่ จักรยานของผม เราอยากท�าให้มนั เข้าถึงคนทุกกลุม่ เมือ่ เรา ท�าไว้เป็นมาตรฐาน ผมเชื่อว่า คนอื่นๆ ก็อาจอยากจะท�าตาม แล้วเห็นว่านี่คือมาตรฐาน เขาจะได้เห็นว่านี่คือสิ่งที่ท�าได้ โครงการจักรยานครั้งนี้เป็นการท�าเพื่อประชาชน เป็นโครงการ CSR ซึ่งในมุมของคุณนั้นน่าจะครอบคลุมในแง่ไหนบ้าง คุณประสงค์ : ให้เขานึกถึงสิ่งดีๆ ที่เราตั้งใจท�าโดยนึกถึง ประโยชน์ของผู้มาใช้บริการเป็นหลัก เช่น สมมติว่าคุณมาปั่น รอบใหญ่ 23.5 กิโลเมตร เกิดปวดท้องอยากเข้าห้องน�้า ปั่นไป 6 กิโลเมตร ก็มหี อ้ งน�า้ ให้เข้าแล้ว จะแวะกินน�า้ ก็ได้ นัง่ พักสักหน่อย ไม่ต้องปั่นรวดเดียว เขาได้ใช้สิ่งที่เราเตรียมไว้ให้ ให้เขาได้ใช้ ประโยชน์จากโครงการนี้จริงๆ ก็ถือว่าส�าเร็จไปขั้นหนึ่งแล้วครับ ดร. วิชติ : เราไม่ได้หวังผลตอบแทนกลับมาในเชิงพาณิชย์ ทัง้ ทอท. และไทยพาณิชย์ เราอยากท�าในสิง่ ทีป่ ระชาชนใช้บริการแล้วมีความสุข ผมว่านั่นก็คือสิ่งตอบแทน เราไม่ได้หวังตัวเงิน หรือหวังก�าไร แล้วท�าไมโครงการนี้ถึงชื่อ Sky Lane มีที่มาอย่างไร คุณประสงค์ : ชื่อนี้เราก็ไม่ได้ตั้งกันเอง เราเปิดให้ประชาชน ทั่วไปส่งชื่อเข้าประกวด ก็มีคนส่งมาตั้งสามพันชื่อ คัดเลือกจาก คณะกรรมการให้เหลือ 3 ชื่อ แล้วเปิดโหวตให้ประชาชนเลือก ก็ได้ชื่อ Sky Lane มาเป็นอันดับหนึ่ง ซึ่งผมว่ามันเหมาะมาก เพราะที่นี่เป็นสนามบิน ก็เกี่ยวข้องกับท้องฟ้า สอดคล้องกันพอดี อย่างนี้สีมาก่อนชื่อหรือชื่อมาก่อนสี ดร. วิชิต : ชื่อมาก่อนสี จริงๆ แล้วสีที่เราเลือกก็มีเยอะ แต่ พ อได้ ชื่ อ นี้ ม าเราก็ รู ้ เ ลยว่ า ต้ อ งทาสี ฟ ้ า แล้ ว สี ฟ ้ า ก็ เ ป็ น สี ที่ นุ่มนวล ดูแล้วสบายตา คุณประสงค์ : สีฟ้านี่เป็นสีที่ชัดเจน ช่วยเรื่องความปลอดภัย และยังเป็นสีทสี่ บายตาหากมาปัน่ ตอนกลางคืน สีของเลนจะชัดมากครับ ที่ถามเพราะสงสัยว่าท�าไมไม่เลือกสีอื่นที่เป็นสัญลักษณ์ขององค์กร เช่น สีม่วงของไทยพาณิชย์ ดร. วิชิต : คนมักจะมองในแง่ร้ายว่ามันต้องมีอะไรสิ จะมาท�า ฟรีๆ ได้ยงั ไง ก็ต้องดูกันต่อไปครับ เพราะพูดไปก็คงไม่มีใครเชื่อ ร้อยเปอร์เซ็นต์ ถ้าคุณมาปั่นจักรยาน เห็นวิวสวยๆ ถนนสีสวยๆ แล้วคุณก็ไม่ต้องเสียเงิน สักพักคุณอาจจะเชื่อ ที่ไทยพาณิชย์ เราต้องการเป็นธนาคารที่ผู้ถือหุ้นเลือก ลูกค้าเลือก พนักงานเลือก แต่สุดท้ายชุมชนสังคมก็ต้องเลือกด้วย เราท�าประโยชน์ให้ผู้ถือหุ้น ผู้ลงทุน เขาลงทุนแล้วคุ้ม ลูกค้ามาใช้บริการก็ได้อะไรกลับไป แล้วสังคมเขาจะได้อะไรล่ะ นีก่ ค็ อื สิง่ ทีเ่ ราต้องท�าให้สงั คม ให้ชมุ ชน ไม่มปี ระโยชน์นะทีไ่ ด้กา� ไรเยอะแยะแต่สงั คมบอกว่าเขาไม่ได้อะไรเลย การปั่นจักรยานก็คือกีฬาเข้าถึงไม่ยาก ถ้าท�ากีฬาอื่นเราก็ไม่แน่ใจ อย่างไปท�าเรือ่ งว่ายน�า้ ก็ลา� บากนะ ท�าสระว่ายน�้า กี่คนมาว่ายได้ ลองนึกภาพสิ แต่จักรยานตอนนี้เป็นสิ่งที่เปิดกว้าง ใครๆ ก็มาได้ ทัง้ คูก่ ป็ น่ ั จักรยานเหมือนกัน อยากทราบว่าการปัน่ จักรยานให้อะไรกับคุณบ้าง คุณประสงค์ : เวลาปั่นจักรยานผมมีความสุข ไม่คิดเรื่องอื่น เรามุง่ อยูก่ บั แต่การปัน่ ท�าให้เรามีสมาธิ อากาศทีม่ าปะทะ วิวข้างๆ ความเย็น ความร้อน ที่มากระทบเรา มันท�าให้เราลืมความวุ่นวาย ข้างนอก แล้วถ้าคุณไม่มีสมาธิจักรยานคุณล้มแน่ แล้วมันสามารถเอามาใช้กับการท�างาน กับการใช้ชีวิตได้ไหม

คุณประสงค์ : มันก็ช่วยให้ปล่อยวางนะ ดร. วิชติ : ผมเชือ่ นะว่าคนสุขภาพดีจะท�างานดี เป็นจุดเริม่ ต้น พื้นฐานเลย ถ้าคุณเป็นโรคไมเกรนปวดหัว แล้วคุณจะคิดอะไรออก แต่ถ้าคุณมาปั่นจักรยานก็ท�าให้ได้พบปะเพื่อนฝูงใหม่ๆ มันเป็น อีกเวทีหนึ่งที่ท�าให้คนมารู้จักกัน อย่าไปมอง Sky Lane ว่าเป็น ลูป่ น่ั จักรยาน แต่มองให้เป็นไลฟ์สไตล์อย่างหนึง่ เป็นกลุม่ สังคมหนึง่ ที่ผู้รักสุขภาพ รักการปั่นจักรยานจะมาเจอกัน คุณประสงค์ : เราคิดต่อไปอีกว่า ตรงนีน้ า่ จะเป็นสถานทีท่ ชี่ ว่ ย ส่งเสริมการท่องเที่ยวให้กับประเทศไทยได้ด้วย ดร. วิชติ : อย่างคนทีต่ กี อล์ฟ ถ้ารูว้ า่ ทีไ่ หนมีสนามทีส่ วยมากก็ อยากจะไปซะหน่อย อย่างที่สิงคโปร์มีสนามสวยๆ เราก็อยากลอง ไปบ้าง ในทางกลับกัน ถ้าคนประเทศอืน่ รูว้ า่ มี Sky Lane คนละแวกนี้ เขาก็น่าจะอยากบินมา ผมจะขอให้ ทอท. เขาท�าป้ายบอกเลย ตรงนี้ Rent a Bike เหมือนอย่างทีเ่ ราเช่ารถยนต์ หรือถ้าเอาจักรยาน มาเองก็นั่งรถ shuttle bus มาลง แล้วก็ปั่นเลย ก็จ่ายค่าบริการให้ ทอท. ไป คนไทยเราไปปั่นถึงญีป่ ่นุ เพราะว่าถนนเขาสวย แล้วท�าไม เราไม่ชวนเขามา Sky Lane บ้าง ทีน่ จี่ ะได้กลายเป็นจุดหมายปลายทาง ของนักปั่นจักรยานทั่วโลก ผมเชื่อว่านักท่องเที่ยวจะแวะมาปั่นที่นี่ เหมือนเป็นจุด Unseen Thailand แล้วถ้าเราจัดบริการดีๆ ให้เขา เข้าถึงที่นี่ได้ ท�าไมเขาจะไม่ปน่ั ล่ะ มีธรรมชาติ ไม่ตอ้ งเจอตึก อย่าง คนท�างานก็ยุ่งๆ วุ่นๆ มาทั้งวัน พอเลิกงานก็มาผ่อนคลายได้ ในฐานะที่เป็นผู้บริหารที่ได้ดูแลโครงการส�าคัญนี้ รู้สึกอย่างไรบ้าง คุ ณ ประสงค์ : สิ่ ง ส� า คั ญ เลยก็ คื อ ต้ อ งไม่ คิ ด เพื่ อ ตั ว เอง ไม่คดิ เพือ่ ผลประโยชน์ แต่คดิ เพือ่ สังคม แล้วบัดดีข้ องเราก็คดิ ตรงกัน ครับ อย่างทีผ่ มพูดตอนแรก มีคนเข้ามาติดต่อหลายราย หลายบริษทั ขอเข้ามาท�า บอกว่าจะให้ผลตอบแทน ทอท. อย่างโน้นอย่างนี้ ทอท. เองก็เป็นบริษัทที่มั่นคง มีผู้ถือหุ้นทั้งรัฐและเอกชน ก�าไรเยอะแล้ว ก็ควรตอบแทนกลับคืนสูส่ งั คม อย่างสนามจักรยาน ถามว่า ทอท. ท�าได้ด้วยตัวเองไหม ท�าได้แต่ไม่ดี เพราะสองหัวย่อมดีกว่าหัวเดียว แน่นอน แล้วการที่เราเป็นองค์กรรัฐวิสาหกิจ การท�าโครงการ CSR ก็ต้องผ่านขั้นตอนมากมาย ใช้เวลา แต่ถ้ามีคนที่มาร่วมมือกัน ก็น่าจะท�าให้เราสามารถมอบความสุขให้กับสังคมได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ดร. วิชิต : เดี๋ยวนี้เราไปสร้างค่านิยมว่าทุกอย่างต้องตอบแทน ด้วยตัวเงิน มันไม่ใช่นะ เราไม่ต้องการให้สังคมไทยเป็นแบบนั้น เราต้องการแสดงให้เห็นว่าบริษัทที่ใหญ่ที่ทา� กิจการได้ส�าเร็จแล้วก็ ควรจะคิดแบบนี้บ้าง ที่ทา� เป็นรูปธรรมจริงๆ ไม่ได้ทา� เพื่อโฆษณา การที่เรามาเป็นบัดดี้กัน เราก็จะมีบทบาทหน้าที่กันคนละอย่าง อย่างเรื่องจ่ายเงินเรารู้ดีว่ารัฐวิสาหกิจก็จะมีขั้นตอนที่มากกว่า แต่การที่ ทอท. ซึง่ เป็นรัฐวิสาหกิจให้ใช้ทดี่ นิ ก็ถอื ว่าเป็นการมีสว่ นร่วม ทีส่ า� คัญแล้ว เงินทัง้ หมดไทยพาณิชย์เป็นผูร้ บั ผิดชอบ ผมก็คดิ ว่าแฟร์ เราก็ดแู ลกันไปคนละด้าน ผลสุดท้ายก็ได้สงิ่ ทีด่ ที สี่ ดุ ส�าหรับประชาชน โปรเจ็กต์นี้ตอบโจทย์ที่เป็นหัวใจหลักของทั้งสององค์กรอย่างไร คุ ณ ประสงค์ : หั ว ใจหลั ก ของเราก็ คื อ การให้ บ ริ ก ารที่ ดี ซึ่งหมายถึงผู้โดยสาร สังคม สิ่งแวดล้อม คนรอบข้างสนามบิน สนามบินจะอยู่ดีมีสุขอย่างเดียวไม่ได้ แต่ต้องตอบแทนให้กับคนที่ อยูร่ อบข้างสนามบินด้วย นีเ่ ราก็ให้แล้ว แล้วก็คนอืน่ ทีเ่ ป็นลูกค้าเรา ที่ ม าปั ่ น จั ก รยาน เขาก็ เ คยมาขึ้ น เครื่ อ ง เขาก็ เ ป็ น ลู ก ค้ า เรา เราก็ต้องดูแลเขา แล้วเมื่อคนมาปั่นจักรยานก็สุขภาพดี สุขภาพดี ก็ สั ง คมดี ก็ ช ่ ว ยประเทศในการลดค่ า ใช้ จ ่ า ยการดู แ ลสุ ข ภาพ นี่คือ สิ่ง ที่ไ ด้ ท างอ้ อ ม ไม่ ใ ช่ ว ่ า เราคิด หาแต่ ก� า ไร ที่ดิ น ของเรา ถ้าเราจะหาประโยชน์กม็ คี นมาให้เราอยู่แล้ว แต่เราไม่คดิ อย่างนัน้ เราต้องการตอบแทนให้สังคม นั่นคือการท�า CSR ของเรา ดร. วิ ชิ ต : ถามจริ ง ๆ คนไทย โดยเฉพาะคนกรุ ง เทพฯ ถ้าไม่นับที่บ้านกับที่ท�างาน ถามว่ามีที่ไหนให้ไปบ้าง เสาร์อาทิตย์ ต้องพาลูกไปห้างสรรพสินค้า เพราะไม่มีที่ไป ไม่มีที่ที่มีกิจกรรมให้ เขาท�า ทีม่ นั สนุก ทีไ่ ม่ตอ้ งเกรงใจใครมากมาย ผมคิดว่าเราต้องการ เสริมสร้างให้สงั คมไทยเราเป็นสังคม inclusive คือทุกคนไม่ถกู กีดกัน อย่างกรุงเทพฯ สวนที่เป็นสวนใหญ่จริงๆ เหมือนเซ็นทรัลปาร์กมัน ไม่มี สวนลุมฯ ก็เป็นอีกแบบหนึง่ แล้วการปัน่ จักรยานนะ ถ้าท�าให้ดี มั น ก็ จ ะเป็ น จุ ด ศู น ย์ ร วมที่ ค นมาใช้ ไ ด้ แล้ ว คนที่ ป ั ่ น จั ก รยาน โดยเฉพาะคนที่ชอบปั่นมากๆ เชื่อไหม ถ้าคุณขี้เมาคุณก็จะไม่มา ปั่นจักรยาน คุณติดยาคุณก็จะไม่ปั่นจักรยาน เพราะมันปั่นไม่ได้ แต่คณ ุ ติดจักรยานได้ คุณก็นา่ จะเคยเห็น คนทีต่ ดิ จักรยานเสาร์อาทิตย์ ก็ ต ้ อ งปั ่ น แล้ ว แล้ ว ติ ด จั ก รยานมั น ก็ ดี ก ว่ า ติ ด อย่ า งอื่ น ใช่ ไ หม ไทยพาณิชย์เป็นธนาคารทีอ่ ยูค่ ปู่ ระเทศไทยมานาน เราคิดในระยะยาว เพือ่ ประโยชน์ของประเทศ ท�าให้ประเทศไทยสมานฉันท์ ปรองดองกัน B ทุกๆ คนเจอกันได้ เวทีไหนดีที่สุด ก็คือเวทีจักรยาน


“หัวใจหลักของเราก็คือการให้บริการที่ดี ซึ่งหมายถึงผู้โดยสาร สังคม สิ่งแวดล้อม คนรอบข้างสนามบิน สนามบินจะอยู่ดีมีสุขอย่างเดียวไม่ ได้ แต่ต้องตอบแทนให้กับคนที่อยู่รอบข้างสนามบินด้วย”

WHAT IS ‘SNAP’

SNAP คือ สายรัดข้อมือที่ใช้ระบบ RFID (Radio-Frequency Identification) ในการจัดเก็บข้อมูล ผู้ ใช้บริการสนามปั่นจักรยาน Sky Lane ซึ่งทาง SCB และ AOT เตรียมพร้อมที่จะแจกให้กับทุกคน ที่มาลงทะเบียนเป็นนักปั่นของ Sky Lane โดยมีคุณสมบัติที่โดดเด่น 3 ข้อ ได้แก่ 2. คล่องตัว นักปั่นสามารถใช้ SNAP เช็กอิน เข้า-ออกลู่ปั่นที่สนาม Sky Lane (ลู่ปั่นจักรยานท่าอากาศยาน สุวรรณภูมิ) โดยไม่ต้องเสียเวลา กรอกข้อมูลเข้า-ออก เพื่อ ความคล่องตัวของนักปั่น

1. ปลอดภัย SNAP จะเก็บข้อมูลนักปั่น โดยใช้ข้อมูลในบัตรประชาชน ที่ลงทะเบียน เจ้าหน้าที่จึง สามารถตรวจสอบข้อมูล การเข้า-ออก ของนักปั่นได้ และในอนาคตจะสามารถบอก ต�าแหน่งนักปั่นภายในลู่ได้ เพื่อความปลอดภัย

3. สะดวก ในอนาคตเพื่อความสะดวกของ นักปั่น เพียงมี SNAP ก็สามารถ เติมเงินใช้แทนเงินสด ซื้อสินค้า ภายในสนามปั่น Sky Lane ได้* *ฟังก์ชนั ทีค่ าดว่าจะมีในอนาคต


“Don’t miss these things this week!”

A MUST MAGAZINE

GADGET Surface Pro 4 สร้ า งชื่ อ มาอย่ า งต่ อ เนื่ อ ง ตั้ ง แต่ รุ ่ น แรก วั น นี้ แ ทบเล็ ต จาก ค่ายไมโครซอฟท์ก็เปิดตัว Surface Pro 4 ที่ ท� า งานร่ ว มกั บ ระบบปฏิบัติการ Windows 10 ให้เราได้ ใช้ ง านกั น แล้ ว โดยตั ว เครื่ อ ง มาพร้ อ มกั บ ปากกา Surface ที่มีหัวปากกาขนาดต่างๆ ให้เลือก ปรั บ เปลี่ ย นใช้ ง านตามรู ป แบบ ของคุณ ทั้ง การวาดรู ป หรือ ท� า เส้นมาร์กเอกสาร แม้กระทั่งการจดบันทึกข้อมูลต่างๆ ได้เหมือน กั บ เขี ย นลงบนกระดาษจริ ง ๆ ตัวเครื่องมีน�้าหนักเพียง 766 กรัม ท� า ให้ พ กพาได้ อ ย่ า งสะดวก ส่ ว นจอแสดงผลก็ ใ หญ่ เ ต็ ม ตา ด้ ว ยขนาด 12.3 นิ้ ว และมี การสะท้ อ นต่ อ แสงที่ ต�่ า ท� า ให้ สามารถหยิ บ ขึ้ น มาใช้ ง านได้ ใ น ทุ ก สถานที่ รองรั บ โปรแกรม MS Offfiifice ได้อย่างดี แถมใช้งาน ต่ อ เนื่ อ งได้ น านถึ ง 9 ชั่ ว โมง ครบเครื่องขนาดนี้คงต้องขอเก็บ แล็ปท็อปตัวเก่าไว้ที่บ้าน แล้วหยิบ แทบเล็ตตัวนี้มาใช้งานหลักแทน แล้ว Surface Pro 4 ราคาเริ่มต้นที่ 33,900 บาท รายละเอียดเพิ่มเติม www.microsoft.com

Human Ride 08 นิตยสารราย 4 เดือน ที่เป็นแรงบันดาลใจให้คุณลุกออกไปปั่นจักรยานกับ Human Ride ฉบับนี้ ที่พาคุณเดินทางไปเรียนรู้วัฒนธรรมจักรยานที่ประเทศญี่ปุ่น ตั้งแต่ภูมิภาคคิวชูถึงโทโฮะกุ เยี่ยมเยือน เมืองทะคะมัตซึ เมืองแห่งทางจักรยาน ต่อด้วยไอเดียของการพลิกฟื้นเมืองโอะโนะมิชิด้วยแผน การท่องเที่ยวด้วยจักรยาน นอกจากนี้ยังมีการพาไปโรงงานจักรยานวินเทจ โรงเรียนสอนท�าจักรยาน ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย รวมถึงเรื่องราวดีๆ อีกหลายแง่มุมจากแดนอาทิตย์อุทัยแห่งนี้

CONCERT Alterverse แฟนเพลงนอกกระแสคงไม่อยากร้องไห้เสียใจเพราะ พลาดคอนเสิรต์ ทีร่ วบรวมศิลปินทีก่ า� ลังมาแรงทัง้ ในไทยและ ต่างประเทศไว้บนเวทีเดียวกัน ทั้ง Battles วง Math-Rock/ Experimental Rock จากนิ ว ยอร์ ก ที่ เ พิ่ ง ออกอั ล บั้ ม ล�าดับที่ 3 La Di Da Di ซึ่งสมาชิกทั้ง 3 คนนี้ขึ้นชื่อในเรื่อง การแสดงสดที่ ตื่ น เต้ น สนุ ก และเพี ย บพร้ อ มไปด้ ว ย เสียงสังเคราะห์ตา่ งๆ ทีบ่ รรเลงกันแบบสดๆ ส่วน Bottlesmoker ก็เป็นวงอิเล็กทรอนิกจากอินโดนีเซียที่ประสบความส�าเร็จ มากที่สุดวงหนึ่งของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปิดท้ายด้วย DCNXTR วงอิเล็กทรอนิกดรีมพ็อพจากไทย ที่ก�าลังเป็น กระแสมากทีส่ ดุ ในเวลานี้ พบกันได้ในวันพุธที่ 9 ธันวาคมนี้ ที่ Live House Bangkok เจเจกรีน บัตรราคา 1,000 บาท ซื้อหน้างาน 1,500 บาท ซื้อบัตรได้ที่ www.ticketbox.co.th

PLACE บ้านทิพวรรณ “เดิมทีที่นี่เป็นรีสอร์ตของคุณแม่ทิพวรรณ ความจริงคุณแม่ทิพวรรณเป็นคริสต์ แต่ท่านเป็น คริสต์ทปี่ ฏิบตั ธิ รรม พอท่านไม่ได้ท�าธุรกิจรีสอร์ตนีแ้ ล้วเลยคิดว่าถ้าอย่างนัน้ จะเอาพืน้ ทีต่ รงนีไ้ ปท�า อะไรให้เกิดประโยชน์ดี เลยเปลีย่ นเป็นสถานทีป่ ฏิบตั ธิ รรมในรีสอร์ตทีอ่ ยูท่ า่ มกลางขุนเขาอันรืน่ รมย์ เราเองก็มีโอกาสได้ไปปฏิบัติธรรม พอเขาเห็นว่าเรานั่งยืดๆ เหยียดๆ ก็รู้ว่าเราเล่นโยคะ เลยชวน ให้เราไปเป็นวิทยากรสอนโยคะที่นั่น ถ้าใครสนใจต้องสมัครล่วงหน้า รายละเอียด และตารางการปฏิบัติธรรมมีอยู่ในเว็บไซต์ของเขาที่ www.baantipavan.org” เลือกให้โดย : ‘เม้าท์ซี่’ - เบญจวรรณ เทิดทูลกุล นักแสดง และครูสอนโยคะ

EXHIBITION Life is Art แม้ จ ะถื อ ว่ า เป็ น ศิ ล ปิ น หน้าใหม่ในแวดวงศิลปะ แต่ผลงาน ของ อรอนงค์ แก้วสมบูรณ์ อดีต กราฟิ ก ดี ไ ซเนอร์ ก็ มี ล ายเซ็ น ชัดเจนเป็นเอกลักษณ์ โดยผลงาน ชุด Life is Art ถือก�าเนิดขึ้นจาก ความต้องการทีจ่ ะถ่ายทอดความเป็นศิลปะทีเ่ ชือ่ มโยงกับสิง่ ทีเ่ กิดขึน้ ในชีวิตประจ�าวัน โดยเล่าเรื่อง ผ่านสรีระที่สวยงามของผู้หญิง และดอกไม้ โดดเด่นด้วยสีสัน สดใสที่ดึงดูดใจให้เราก้าวเข้าไป สูโ่ ลกในจินตนาการของศิลปินได้ ไม่ยากนัก ซึง่ ภาพทุกภาพทีน่ า� มา จั ด แสดงในงานนี้ ส ามารถซื้ อ กลับไปสะสมได้ และรายได้หลัง หักค่าใช้จา่ ยจากการจ�าหน่ายจะน�า ไปมอบให้ กั บ มู ล นิ ธิชั ย พั ฒ นา แวะไปชมได้ แ ล้ ว ตั้ ง แต่ วั น นี้ ถึ ง 31 ธันวาคมนี้ ที่โถงนิทรรศการ ชั้น 1 ลิกซิล โชว์รูม อาคาร D คริสตัล ดีไซน์ เซ็นเตอร์


17

SWEET White Day Patisserie “ร้านนี้เป็นสาขาที่สามของร้าน White Day Patisserie แล้ว ซึ่งการตกแต่งร้านจะน�าแนวคิดในเรื่อง ของการมอบ ‘ของขวัญ’ มาใช้ บรรยากาศที่ตกแต่งออกมาก็จะให้ความรู้สึกอบอุ่นๆ หน่อย ด้วยโทนสี ของร้านที่เน้นความสว่าง เมนูที่เราสั่งเป็นประจ�าเลยก็คือเมนูที่ชื่อว่า The Box เป็นเค้กที่ทา� ออกมา เป็นรูปกล่องของขวัญ ก่อนเปิดกล่องออกมาก็จะลุน้ ว่าข้างในจะเป็นอะไร เป็นหนึง่ ในเมนู ที่ชอบมาก” ร้าน White Day Patisserie ตั้งอยู่ที่ชั้น 4 เซ็นทรัล ลาดพร้าว เลือกให้โดย : ‘ซิน’ - ทศพร อาชวานันทกุล นักดนตรี

COSMETIC Crabtree & Evelyn : Magical 2015 Christmas Collection คริสต์มาสปีนหี้ ากสาวๆ คนไหนก�าลังหาของขวัญพิเศษให้ตวั เองอยู่ เราขอแนะน�าคอลเล็กชันใหม่ลา่ สุด จากผลิตภัณฑ์บา� รุงผิว แครบทรี แอนด์ อีฟลิน อย่าง Magical 2015 Christmas Collection ทีไ่ ด้แรงบันดาลใจ จากความมหัศจรรย์ของธรรมชาติที่คัดสรรและสกัดออกมาเป็นเนื้อครีมเข้มข้น พร้อมแพ็กเกจกล่องเหล็ก สีสันสดใสหลากหลายสไตล์ โดยคอลเล็กชันนี้ไม่ท�าให้สาวๆ ผิดหวัง เพราะมีผลิตภัณฑ์หลากหลายให้เลือก ทัง้ ครีมอาบน�า้ น�า้ หอม โลชัน่ ทาผิว และทีพ่ เิ ศษคือครีมบ�ารุงมือลิมเิ ต็ดเอดิชนั 3 กลิน่ ใหม่ ที่มาพร้อมเสน่ห์ ของกลิ่นหอมที่มีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร ทั้งกลิ่น Apple Snow, Frosted Rose และ Sugar and Spice หาซื้อ ได้แล้วที่ร้านแครบทรี แอนด์ อีฟลิน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทร. 0-2911-0046-7

BOOK The Lunch Box ค� า พู ด ที่ ว ่ า หนั ง สื อ ก็ เ หมื อ นประตู ที่ เ ปิ ด สู ่ โ ลกกว้ า งนั้ น ไม่ ไ ด้ ก ล่ า วเกิ น จริ ง เลย เพราะหลายครั้ ง ที่ เ ราเปิ ด หน้ า กระดาษของหนั ง สื อ สั ก เล่ ม หนึ่ ง ตั ว หนั ง สื อ เหล่ า นั้ น ก็พาเราท่องไปสู่โลกกว้างที่เราไม่เคยเห็นมาก่อน ครั้งนี้ก็เช่นกัน เมื่อเราได้หยิบ The Lunch Box บุ๊กกาซีนรายฤดูกาลจากส�านักพิมพ์แสนสดใสอย่าง polkadot กับเรื่องราวเล็กๆ จากทั่ว ทุกมุมโลกด้วยธีมเล่ม ‘Smell of Nature’ จากประสบการณ์ของคนไทยเก่งๆ ที่อยู่หลายแห่ง ทั่วมุมโลก ไม่ว่าจะเป็นโซล ซานฟรานซิสโก ปารีส และเมืองหลวงแห่งความชิลในเมืองไทย อย่างเชียงใหม่ เป็นไอเดียและแรงบันดาลใจให้คุณเริ่มค้นหาความสุขเล็กๆ รอบตัวในเมือง ที่คุณคุ้นชินจนมองข้ามมันไป

ACCESSORIES

Jack Spade : Holiday 2015 หยิบความเท่ติดตัวไปได้ทุกที่กับกระเป๋าคอลเล็กชันใหม่จาก Jack Spade ในโทนสีน�้าเงิน และด�า สร้างลุกส์ของคุณให้ดฉู ลาดและสุขมุ ตัวกระเป๋าออกแบบให้ดเู รียบง่าย แต่แฝงความทันสมัย จากรูปทรง สามารถหยิบไปใช้คู่กับชุดทักซิโดตัวเก่งของคุณในงานปาร์ตี้ หรือจะจับคู่กับ ชุดล�าลองในวันหยุดสบายๆ ก็เข้าท่าไม่น้อย โดยกระเป๋าในคอลเล็กชันนี้มีทั้งแบบกระเป๋าถือ กระเป๋าสะพายข้าง และเป้สะพายหลัง ให้คุณเลือกใช้ตามความเหมาะสม พบกับคอลเล็กชัน สุดเก๋นี้ได้ที่ชั้น 1 เซ็นทรัลเวิลด์ ชั้น 2 สยามพารากอน และชั้น 4 เซ็นทรัล ชิดลม

GIVE ส่งหนังสือไปโรงเรียน ชายแดน การให้หนังสือเป็นการมอบโอกาสแห่ง การอ่าน และเป็นการปูทางเดินให้กับเด็กๆ ดังนั้น เราจึงขอชวนคุณเข้าร่วมโปรเจ็กต์ ส่ ง หนั ง สื อ ไปโรงเรี ย นชายแดนให้ น ้ อ งๆ ที่ ยั ง ขาดแคลนหนั ง สื อ ที่ จ ะช่ ว ยกระตุ ้ น จินตนาการ และเติมความรู้ให้กับพวกเขา โดยเฉพาะกั บ โรงเรี ย นในถิ่ น ทุ ร กั น ดาร ติดชายแดนที่ขาดแคลนทั้งงบประมาณและ โอกาสในการเข้าถึงหนังสือดีๆ โดยโครงการนี้ ได้ ส ่ ง มอบหนั ง สื อ ไปยั ง โรงเรี ย นบริ เ วณ ชายแดนไทย-พม่าแล้ว 5 แห่ง และก�าลังอยู่ ในช่วงระดมทุนเพื่อส่งมอบหนังสือให้กับ โรงเรียนที่ต้องการความช่วยเหลืออีก 5 แห่ง โดยคุณสามารถช่วยเหลือได้ทั้งการบริจาค เงินและหนังสือ สนใจบริจาคหรือร่วมระดมทุน ได้ที่ www.taejai.com แล้วคลิกเลือก ‘โครงการ B ส่งหนังสือไปโรงเรียนชายแดน’


YOU CAN

CHANGE

ฉายหนัง ‘เดอะดาวน์ เป็นคนธรรมดามันง่ายไป’ ในโรงเรียนทุกสังกัดทั่วประเทศ “ผมยังจ�ำได้วันที่ลูกลืมตำมำดูโลก คุณหมอบอกว่ำ ‘ดีใจด้วยลูกคุณเป็นผู้ชำย แต่เสียใจด้วยลูกคุณเป็นดำวน์ซินโดรม’ ” สุชำติ โอวำทวรรณสกุล นำยกสมำคมเพื่อคนพิกำรทำงสติปัญญำแห่งประเทศไทย และคุณพ่อของน้อยนำยน์ ลูกชำยวัย 16 ปี ที่ได้ชื่อว่ำเป็น ‘เด็กพิเศษ’ เริ่มต้นประโยค ในกำรตั้งแคมเปญรณรงค์เพื่อสร้ำงควำมเปลี่ยนแปลงทัศนคติในใจของผู้คนที่มีต่อ เด็กพิเศษ ก่อนจะเริ่มเล่ำให้ทุกคนฟังว่ำ “กว่ำจะมำถึงวันนี้ได้ ครอบครัวเรำต้องผ่ำนควำมทุกข์มำเยอะ มันไม่ใช่เรื่องง่ำย ที่ต้องเฝ้ำดูแลลูกตลอด 24 ชั่วโมง วันแล้ววันเล่ำกว่ำจะสอนให้เดิน กินข้ำว แปรงฟัน เข้ำห้องน�ำ้ เรำต้องฝึกลูกให้ทำ� สิง่ ต่ำงๆ เป็นร้อยๆ ครัง้ เพือ่ ให้เขำเป็นคนดีเท่ำทีศ่ กั ยภำพ เขำมี ทุกวันนีน้ ำยน์มภี มู ติ ำ้ นทำนและเข้มแข็งพอทีจ่ ะอยูใ่ นสังคมร่วมกับคนปกติทวั่ ไปได้” แต่ดูเหมือนว่ำกำรเลี้ยงดูจะไม่ใช่ควำมยำกอย่ำงเดียวที่คุณพ่อของน้องนำยน์ และ พ่อแม่ของเด็กๆ ดำวน์ซินโดรมทุกคนต้องพบเจอ เพรำะสิ่งที่ท�ำให้ทุกเรื่องที่ยำกอยู่แล้ว

กลำยเป็นเรื่องยำกขึ้นก็คือสำยตำ และทัศนคติของผู้คนในสังคมที่ข ำดควำมเข้ำใจ อย่ำงถูกต้องเกี่ยวกับดำวน์ซินโดรม “ปฏิกิริยำจำกคนในสังคมท�ำให้เรำล�ำบำกใจทุกครั้งในกำรพำลูกไปไหนมำไหน มี ‘สำยตำ’ ทีไ่ ม่เข้ำใจจำกคนรอบข้ำงอยู่ตลอด พอถึงวัยทีน่ ้องนำยน์จะต้องเรียนหนังสือ 20 โรงเรียนปฏิเสธที่จะรับลูกผมเข้ำโรงเรียน บำงที่แค่เห็นหน้ำก็ปฏิเสธทันที บ้ำงกลัวว่ำ เด็ ก คนอื่ น จะไม่ ก ล้ ำ มำโรงเรี ย น หรื อ ไม่ มี บุ ค ลำกรที่ ส ำมำรถดู แ ลเด็ ก พิ เ ศษได้ พอเข้ำโรงเรียนก็โดนเพื่อนแกล้ง เอำปำกกำมำจิ้มแขนบ้ำง เอำรองเท้ำไปซ่อนบ้ำง ทั้งยังเรียกคนกลุ่มนี้ว่ำเป็นคน ‘ปัญญำอ่อน’ ค�ำนี้ค�ำเดียวท�ำให้ผู้ปกครองไม่กล้ำ ที่จะพำลูกออกจำกบ้ำน เด็กเลยขำดโอกำสที่จะเข้ำสู่สังคม” ด้วยเหตุผลนี้เองท�ำให้เขำตัดสินใจลุกขึ้นมำเป็นหัวขบวนในกำรเปลี่ยนแปลงเรื่องนี้ ด้วยกำรเรียกร้องไปยังกระทรวงศึกษำธิกำร ให้สงั่ กำรไปยังโรงเรียนทัว่ ประเทศ ให้ผบู้ ริหำร ครู และนักเรียน ได้ดูภำพยนตร์สำรคดีเรื่อง ‘เดอะดาวน์ เป็นคนธรรมดามันง่ายไป’ รวมถึงเรียกร้องให้จดั ช่วงเวลำสัน้ ๆ ในกำรพูดคุยถึงประเด็นนีใ้ นชัน้ เรียน โดยใช้เวลำเพียง 1-2 ชั่วโมงเท่ำนั้น ซึ่งเขำเชื่อว่ำจะสำมำรถเปลี่ยนมุมควำมคิด เพื่อท�ำให้เด็กปกติและ เด็กพิเศษสำมำรถเป็นเพื่อนที่ดีต่อกันได้ และช่วยทลำยก�ำแพงที่ขวำงกั้น ‘คนธรรมดำ’ ออกจำก ‘คนพิเศษ’ เพื่อท�ำให้สังคมน่ำอยู่ยิ่งขึ้น

คุณเองก็เปลี่ยนแปลงเรื่องนี้ไปพร้อมๆ กับเขาได้โดยการ ลงชื่อร่วมรณรงค์ที่ https://goo.gl/SWm9IJ


SHOPPING

17

07

01 16 03

06

12 10

14 04

05

11

09

08 13

15 02

DOUBLE DENIM

01 เสื้อยีนส์คลุมตัวนอก จำก Zara 02 รองเท้ำ จำก Zara 03 เสื้อแจ็กเก็ตยีนส์ จำก Zara 04 เสื้อเชิ้ตยีนส์แขนยำว จำก Zara 05 กระโปรงยีนส์ จำก Topshop 06 เสื้อเชิ้ตยีนส์แขนสั้น จำก Zara 07 เสื้อยีนส์คลุมตัวนอก จำก Zara 08 กำงเกงยีนส์ขำสั้น จำก Topshop 09 กำงเกงยีนส์ขำยำว จำก Topshop 10 เสื้อแจ็กเก็ตยีนส์ตัวนอก จำก Zara 11 กระเป๋ำรุ่น Flamenco Micro Petal จำก Loewe 12 กระเป๋ำสตำงค์ รุ่น Cookie จำก Loewe 13 รองเท้ำ จำก Topshop 14 ถุงเท้ำ จำก Topshop 15 รองเท้ำ จำก Nike 16 แว่นตำกันแดด รุ่น Maison Margiela Raw จำก MYKITA 17 หมวก จำก Topshop

WHERE

ใครที่ก�ำลังมองหำลุกส์ใหม่ๆ ส�ำหรับช่วงฤดูหนำวแบบนี้ ลองหยิบเสื้อยีนส์หรือแจ็กเก็ตยีนส์ตัวเก่งมำใส่คู่กับกำงเกงยีนส์ในทรงที่คุณโปรดปรำน จะสกินนี ขำกระบอก เอวสูงทรงคุณแม่ หรือขำม้ำแบบยุค 70s ที่ก�ำลังกลับมำ ก็เก๋ ไก๋ ไม่มีเกี่ยง ส่วนสำวๆ ที่กลัวว่ำลุกส์นี้จะดูมำดแมนไป อำจจะลองเริ่มจำกกำรมิกซ์แอนด์แมตช์เสื้อผ้ำยีนส์สีเข้มอ่อนตัดกัน ก็ดูเข้ำที และยังสำมำรถครีเอตลุกส์ ได้หลำกหลำยเพียงแค่เปลี่ยนเป็นรองเท้ำส้นสูงหรือรองเท้ำผ้ำใบ เท่ำนี้ก็ท�ำให้กำรแต่งตัวลุกส์นี้สนุกมำกขึ้น Loewe ดิ เอ็ ม โพเรี ย ม และสยำมพำรำกอน Zara, Topshop, Nike, MYKITA ห้ำงสรรพสินค้ำ ชั้นน�ำทั่วไป


THE SPACE เรื่อง : พิมพ์อร นทกุล ภาพ : วงศกร ยี่ดวง

TRAVELING BACK IN TIME

นี่ไม่ใช่ครัง้ แรกทีเ่ ราได้ผา่ นมาที่ ร.ศ. ๒๓๔ ร้านอาหารในบรรยากาศแสนร่มรืน่ กลางซอยสุขมุ วิท 24 ทีภ่ ายนอกเต็มไปด้วยต้นไม้เล็กใหญ่ให้ความรูส้ กึ เหมือนสวนหน้าบ้าน ภายในตกแต่งด้วยเฟอร์นเิ จอร์เก่า ผสมผสานระหว่างศิลปะไทยและยุโรปได้อย่างลงตัว ซึง่ ทุกอย่างในร้านอาหารแห่งนี้ ผ่านการเลือกสรรอย่างพิถพ ี ถิ นั โดย ‘แดร็ก’ - วิกรม สุวรรณประทีป เจ้าของร้านคนเก่งทีช่ นื่ ชอบ การศึกษาประวัตศิ าสตร์เป็นพิเศษ จนก่อตัวเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างพืน้ ทีแ่ ห่งนี้

“พออายุมากขึน้ ผมก็เริม่ ศึกษาประวัตศิ าสตร์ มากขึ้น ดูตั้งแต่สมัยยุครัชกาลที่ 4 รัชกาลที่ 5 ผมชอบสถาปัตยกรรมยุคนั้น เลยคิดว่าอยากจะ ท�าร้านสไตล์นี้ดูบ้าง พอได้ที่ตรงนี้ก็เลยตัดสินใจ สร้างร้านนีข้ นึ้ มา มาถึงตอนตัง้ ชือ่ ก็รสู้ กึ ว่าชือ่ ร้าน ควรสอดคล้องกับสไตล์ของร้านและความตัง้ ใจของ เราที่ได้รับอิทธิพลมาจากยุคนั้น แต่เราก็ไม่อยาก ให้การออกแบบดูมีอายุมากไปเสียทีเดียว อยาก ให้มีความร่วมสมัยผสมอยู่ด้วย ก็เลยตั้งชื่อว่า ร.ศ. ๒๓๔ หมายความว่า ถ้าปัจจุบันยังมีการใช้ รัตนโกสินทร์ศก ปีนี้ก็จะเป็นปี ร.ศ. 234 แล้ว” ในช่วงเวลา 10 เดือน ตั้งแต่ร้านอาหารแห่งนี้ เปิดท�าการเป็นครัง้ แรก เขาและทีมงานได้ให้บริการ ลูกค้าทุกช่วงวัย มอบบรรยากาศที่แปลกใหม่ ไม่เหมือนทีไ่ หน รวมถึงอาหารยุโรปและอาหารไทย ชั้ น เลิ ศ โดยพ่ อ ครั ว ที่ มี ค วามเชี่ ย วชาญด้ า นนี้ โดยเฉพาะ “ตอนนี้เราจะเน้นไปทางอาหารไทยสไตล์ ชาววังดั้งเดิม ซึ่งมันก็เข้ากับบรรยากาศของร้าน ทีม่ แี ต่เฟอร์นเิ จอร์เก่าทัง้ ของไทยโบราณและยุโรป ผมเป็ น คนชอบสะสมเฟอร์ นิ เ จอร์ เ ก่ า อยู ่ แ ล้ ว อาจจะเป็ น เพราะเริ่ ม มี อ ายุ ล ่ ะ มั้ ง เกี่ ย วไหม (หัวเราะ) ไม่รสู้ ิ ผมชอบไปหาของเก่า ยิง่ เป็นของเก่า ที่ราคาไม่แพงแต่เต็มไปด้วยคุณค่ายิ่งชอบ” วิกรมยังเล่าต่อไปถึงช่วงก่อนที่ ร.ศ. ๒๓๔ จะเป็นเช่นทุกวันนี้ว่าเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง “ตอนแรกมันก็รา้ งๆ พังๆ หลังคารัว่ หล่นลงมา


โครงสร้างข้างนอกเป็นแบบนี้ แต่ขา้ งในไม่ใช่แบบนี้ เลย สวนนี่ แ ต่ ก ่ อ นก็ เ ป็ น อาคารที่ พั ก คนงาน เราก็รื้อทิ้งท�าเป็นสวน เจาะช่องหน้าต่างเพิ่มขึ้น เอาเหล็กหล่อมาติด ถ้าให้นึกค�าจ�ากัดความของ ที่นี่ ผมว่ามันน่าจะเป็นเรเนซองส์ของเมืองไทย ในยุคนั้น “ผมตัง้ ใจให้ลกู ค้าเข้ามาแล้วรูส้ กึ ว่า ร.ศ. ๒๓๔ เป็นบ้านหลังหนึง่ ร้านอาหารทีด่ สี �าหรับผมต้องมี ต้นไม้เพิม่ ความร่มรืน่ มีความเป็นส่วนตัว สบายๆ ผ่อนคลาย พลุกพล่านได้ แต่ต้องไม่มากจนท�าให้ รูส้ กึ อึดอัด เราเลยออกแบบให้ทนี่ โี่ ปร่ง ตอนกลางวัน แทบจะไม่ตอ้ งเปิดไฟเลย แสงธรรมชาติเข้าถึงหมด ซึง่ บรรยากาศแบบนีท้ า� ให้อาหารน่ากินขึน้ หรือเปล่า ก็ไม่รู้นะ (หัวเราะ) เพราะเราไม่ได้เรียนมาด้านนี้ ท�าตามใจเราอย่างเดียวเลย” เขายังเล่าให้ฟังว่า ตัวเองมีธุรกิจร้านอาหาร หลายร้าน เราจึงอดไม่ได้ทจี่ ะถามถึงความประทับใจ และแรงบันดาลใจทีท่ า� ให้เขายังชืน่ ชอบธุรกิจนีอ้ ยู่ “ผมชอบบรรยากาศ ชอบพบปะผู้คนตาม สถานที่แบบนี้ มันก็เลยเป็นแรงกระตุ้นให้เรายัง คงท�าธุรกิจร้านอาหารอยู่ หรือไลฟ์สไตล์ของคน สมัยนี้ เขาก็ไม่ได้มาร้านอาหารเพื่อทานอาหาร อย่างเดียว จะเน้นไปทางถ่ายรูปเสียมากกว่า บางคนมามีการเปลี่ยนชุดด้วยนะ (ยิ้ม) ซึ่งผมก็ โอเคนะ ถ้ า มาถ่ า ยแล้ ว แชร์ รู ป ร้ า นเราเยอะๆ เราก็ดีใจ แต่จริงๆ อยากให้มาลองชิมอาหาร ของเราด้วย” B

INSPIRED BY SPACE ในฐานะเจ้าของร้านอาหาร คุณอยาก ได้ค�าชมเรื่องอาหารหรือบรรยากาศ ในร้านมากกว่า

- ถ้ามองในมุมร้านอาหาร เราก็อยากให้ อาหารอร่อย ถ้ามองในมุมนักออกแบบ ก็คงอยากให้คนชมร้าน แต่ถา้ เป็นไปได้ ก็อยากได้ค�าชมทั้งสองแบบแหละ เมนูที่พลาดไม่ได้ที่ ร.ศ. ๒๓๔

- ปลาทูตม้ มะดัน เดีย๋ วนีห้ ากินได้ยาก รสชาติ เ ปรี้ ย วของมะดั น บวกกั บ ความจัดจ้านของพริก รสชาติเหมาะกับ คนไทยอย่างยิ่ง เพลงสไตล์ไหนที่เหมาะกับร้านอาหาร แห่งนี้

- ถ้าไม่แจ๊ซก็ต้องคลาสสิก บอกไม่ถูก เหมือนกันว่าท�าไมต้องเป็นสองแนวเพลงนี้ ต้องลองมาดูเอง

• เซ็นทรัล ลาดพร้าว ชั้น 2 • เซ็นทรัล พระราม 9 ชั้น 1 • สยามพารากอน ชั้น 1 • สยามพารากอน ชั้น 3 • สยามเซ็นเตอร์ ชั้น 3 • เซ็นทรัลเวิลด์ ชั้น 3 โซน A • Big C เอกมัย • เอ็มโพเรียม ทาวเวอร์ • เอ็มโพเรียม มอลล์ ชั้น 5 • จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เพลส • ทองหล่อ (ระหว่างทองหล่อ ซ.11 และ 13) • มาร์เก็ตเพลส ทองหล่อ ซ.4 • เอ็มไพร์ ทาวเวอร์ ชั้น G • ออล ซีซัน เพลส • อาคารอือ้ จือเหลียง ชัน้ G • หลังสวน • สีลมคอมเพล็กซ์ • ไทมส์ สแควร์ ซ.สุขมุ วิท 12 • ไทยพาณิชย์ปาร์กพลาซ่า ชั้น 1 • จามจุรีสแควร์ • The 19th. ชิดลม • อาคารเมืองไทยภัทรคอมเพล็กซ์ • IDEO พญาไท • โรงพยาบาลบำารุงราษฎร์ ชั้น 1 • โรงพยาบาลบำารุงราษฎร์ สกายล็อบบี้ ชั้น 10 • โรงพยาบาลสมิติเวช ซอยสุขุมวิท 49 • โรงพยาบาลกรุงเทพ ชั้น 1 • โรงพยาบาลรามาธิบดี • โรงพยาบาลพระราม 9 •The Crystal • CDC • RCA • นวมินทร์ซิตี้อเวนิว • นวมินทร์ทาวน์เซ็นเตอร์ • The Nine Center • Terminal 21 • The Walk เกษตร-นวมินทร์ • The Promenade • The Scene ทาวน์อินทาวน์

ailand • SOHO Th ง อ ื ถนนบำารุงเม n ถนนจนั ทน์ • Vanilla Mooare 1 • Siam Squ ามย่าน • I’m Park ส Mall วัชรพล • Plearnary ังหิน • The JAS ว • ท่ามหาราช าวเวอร์ • อาคารซันท ุลราฮิมเพลส • อาคารอับด รทาวเวอร์ • อาคารสินธลพญาไท 2 • โรงพยาบา r • EmQuartieรซิตี้ทาวเวอร์ • อาคารสาธ River Walk • Yodpiman ระราม 9 • U-Place พ


24

ALL ABOUT BIZ เรื่อง : เอกพล บรรลือ

BIZ LIFE

วาริท อยู่วิทยา Assistant Managing Director บริษัท สยามไวเนอรี่ จ�ากัด ผู้อยู่เบื้องหลังเทศกาลแบบฟิวชันครั้งแรกในเอเชีย กับ Moose Presents The MixMash : A Festival of Fusion ที่น�าสัมผัสแห่งรสชาติมาปะทะกับบีตดนตรีระดับโลก ท�าให้อาหาร ดนตรี และศิลปะ หลอมรวมกันจนกลายเป็นประสบการณ์ใหม่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน • แนวคิดที่ผมยึดถือมาโดยตลอดก็คือ ทุกวันคือ แรงบั น ดาลใจ เพราะไม่ ว ่ า จะเป็ น การกิ น ดื่ ม เที่ยว พบเจอผู้คน หรือเสพงานศิลปะ ก็สามารถ น�าสิ่งที่พบเจอในแต่ละวันมาเป็นแรงบันดาลใจ ที่ ท� า ให้ เ กิ ด ไอเดี ย ใหม่ ๆ ในการท� า งาน และ การแก้ปัญหาได้ • ความผิดพลาดก็เหมือนบทเรียนที่จะท�าให้ผม พั ฒ นาขึ้ น ในทุ ก ๆ วั น เพราะฉะนั้ น เมื่ อ เกิ ด ความผิดพลาดผมจึงไม่ค่อยรู้สึกแย่กับมันเท่าไหร่ แต่จะมองว่าเป็นโอกาสในการเรียนรู้สิ่งที่ไม่เคย ได้เรียนรู้มาก่อนมากกว่า • แม้กระทั่งความผิดพลาดของทีมงาน เราก็ต้อง ยอมรั บ ให้ ไ ด้ เพราะผมเชื่ อ ว่ า การให้ โ อกาส ทีมงานได้เรียนรู้ข้อผิดพลาดของตัวเองจะท�าให้ เขามี โ อกาสพั ฒ นาคุ ณ ภาพของการท� า งาน มากขึ้นไปอีก เพราะไม่มีใครสมบูรณ์แบบ ดังนั้น การเปิ ด โอกาสให้ เ ขาได้ เ รี ย นรู ้ สิ่ ง ใหม่ ๆ บ้ า ง ก็ อ าจจะท� า ให้ เ ราได้ ค ้ น พบศั ก ยภาพของคน ในแบบที่ไม่เคยรู้มาก่อนก็ได้ • ในฐานะที่เป็นหัวหน้า และต้องท�างานกับคนที่ หลากหลาย สิง่ ส�าคัญคือการเปิดรับฟังความคิดเห็น ของทุกๆ คน เท่านั้นยังไม่พอ ต้องมีความยุตธิ รรม วางตัวเป็นกลาง และใช้เหตุผลในการวิเคราะห์และ ตัดสินใจ เพือ่ ท�าให้ทมี มีความเป็นอันหนึง่ อันเดียวกัน ด้วย • ไม่มีใครสามารถท�าทุกอย่างด้วยตัวคนเดียวได้ ดังนั้น การท�างานเป็นทีมจึงเป็นเรื่องส�าคัญมาก ซึ่งทีมที่ดีควรจะมีการแบ่งงานตามความสามารถ ของแต่ละคน และไม่ใช่ว่าต่างคนต่างท�าหน้าที่ ของตัวเอง แต่ควรค�านึงถึงหน้าที่ของคนอื่นด้วย เพื่อจะได้คอยช่วยเหลือ และสนับสนุนให้ทุกฝ่าย ท�างานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ • การเป็นผู้บริหารกับการรับฟังเป็นของที่ต้องมา คู่กัน เพราะการสื่อสารสองทางเป็นหลักส�าคัญที่ จะท�าให้องค์กรเกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน และ ท�าให้การท�างานเดินหน้าไปอย่างมีประสิทธิภาพ และตรงตามเป้าหมายที่วางไว้ • ผมไม่เคยมองว่าปัญหาคือปัญหา แต่มองว่า ปัญหาคือกระบวนการหนึ่งที่เราทุกคนต้องพบเจอ

THE BEST COMPETTITOR IS YOURSELF

ในการท�างานอยูแ่ ล้ว เช่นเดียวกับงาน The MixMash Festival ที่ก�าลังจะเกิดขึ้น ที่แม้จะเหนื่อยแค่ไหน ผมก็ยังรู้สึกสนุกกับมันอยู่ เพราะมีสิ่งที่ได้เรียนรู้ เพิ่มเติมในทุกๆ วัน • ความส� า เร็ จ ของผมคงไม่ ไ ด้ ชี้ วั ด จากผลลั พ ธ์ ที่เกิดขึ้นเพียงอย่างเดียว เพราะผมมองว่ามันยัง วัดได้จากความรู้สึกว่าเราท�าเต็มที่แล้วหรือเปล่า ซึ่ ง ถ้ า ตั้ ง ใจท� า อย่ า งเต็ ม ที่ แ ละพอใจกั บ ผลลั พ ธ์ ที่เกิดขึ้นแล้ว ผมว่านั่นคือความส�าเร็จที่แท้จริง • ความสนุกในการท�างานของผมอยู่ตรงที่การได้ พบเจอสิ่งใหม่ๆ เพื่อน�ามาตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ ของลูกค้า เนื่องจากสินค้าที่เราท�าเป็นเรื่องของ ไลฟ์สไตล์เป็นส่วนใหญ่ • ไอเดี ย ใหม่ ๆ ส่ ว นใหญ่ ข องผมมั ก จะมาจาก 2 ทาง อย่างแรกคือมาจากการเดินทาง ซึ่งท�าให้ ได้เห็นในสิง่ ทีไ่ ม่เคยเห็น และอีกอย่างคือการพูดคุย กับคนในครอบครัว ซึง่ หลายๆ ครัง้ ทีค่ ดิ อะไรไม่ออก แล้วลองเปรยๆ กับคนในครอบครัว ผมก็มักจะได้ ไอเดียดีๆ กลับมาเสมอ • สิง่ ทีเ่ พิง่ ท�าเป็นครัง้ แรกมักจะมาพร้อมกับความยาก และความท้าทายเสมอ ซึง่ การโฟกัสกับผลลัพธ์และ ความส� า เร็ จ อาจท� า ให้ เ ราเกิ ด ความเครี ย ดโดย ไม่จ�าเป็น เพราะฉะนั้น ผมเลือกที่จะโฟกัสกับ ประสบการณ์ที่เราจะได้เรียนรู้ และการที่เราจะได้ เปิดประสบการณ์ให้กับผู้เข้ามาร่วมงานมากกว่า • ผมไม่ เ คยมองว่ า ใครคื อ คู ่ แ ข่ ง เพราะคู ่ แ ข่ ง ที่ส�าคัญที่สุดก็คือตัวเราเอง ดังนั้น เวลาวางแผน งานใหม่ๆ ผมจะไม่พุ่งเป้าว่าจะต้องท�าเพื่อชนะ ใคร แต่จะมองว่าท�าอย่างไรให้สิ่งที่เป็นอยู่ดีขึ้น ไปเรื่อยๆ มากกว่า • วั ฒ นธรรมองค์ ก รที่ ส� า คั ญ ที่ สุ ด ของเราคื อ ความเป็นครอบครัว ไม่ใช่แค่ในระดับผู้บริหาร เท่านั้น แต่เรายังปฏิบัติกับพนักงานในทุกระดับ เหมื อ นคนในครอบครั ว ด้ ว ย เพราะเชื่ อ ว่ า ความเป็นครอบครัวจะท�าให้เกิดความผ่อนคลาย และบรรยากาศที่เป็นมิตร ซึ่งจะช่วยเสริมสร้าง ให้การสื่อสาร และประสิทธิภาพในการท� างาน ดียิ่งขึ้น

BIZ SOURCE

www.shutterstock.com/blog เชื่อว่าหลายคนคงรู้จักกับ shutterstock ผู้ให้บริการสต๊อกภาพ ส� า หรั บ การใช้ ง านที่ ห ลากหลายกั น ดี แ ล้ ว แต่ สิ่ ง ที่ คุ ณ อาจไม่ รู ้ คื อ นอกจากจะสามารถแวะไปช้อปปิ้งภาพสวยๆ เพื่อน�าไปใช้ในเว็บไซต์ นิตยสาร หรือสื่ออื่นๆ แล้ว shutterstock ยังมีบล็อกส�าหรับแชร์ความรู้ลึก รู้จริงเกี่ยวกับการใช้ภาพส�าหรับธุรกิจต่างๆ อีกด้วย ตัวอย่างเนื้อหา ที่น ่ า สนใจก็อ ย่ า งเช่ น 3 วิธีฉ ลาดๆ ที่จ ะเล่ า เรื่อ งแบรนด์ ข องคุณ ผ่านภาพถ่าย หรือ 5 วิธีใช้งานภาพถ่ายเพื่อโชว์บุคลิกของแบรนด์ ผ่านโซเชียลมีเดีย หรือแม้แต่วิธีการเลือกกล้องที่ใช่สา� หรับงานโปรดักชัน ภาพเคลื่อนไหวของคุณ ยิ่งได้ซึมซับเนื้อหาของบล็อกนี้เรื่อยๆ ก็ยิ่ง

ท�าให้เรารู้ว่าแท้จริงแล้วการเลือกใช้ภาพถ่ายคือสิ่งที่มีความส� าคัญ ต่อการสร้างแบรนด์เป็นอย่างมาก เพราะคุณคงไม่อยากให้ลูกค้า เข้าใจตัวตนของแบรนด์ผิดเพี้ยนเพียงเพราะเลือกใช้ภาพที่ไม่ถูกจริต กับแบรนด์แน่ๆ นอกจากจะได้ซึมซับวิธีการใช้ภาพอย่างถูกวิธีแล้ว ทางบล็อกยังหมั่นอัพเดตรูปภาพหมวดใหม่ๆ เพื่อให้คุณเลือกน�าไปใช้ ให้เข้ากับสถานการณ์ หรือเทรนด์ที่ก�าลังเกิดขึ้นด้วย B


WHAT

WHO

บรรยำกำศยำมเช้ำกลำงสัปดำห์ กับบทสนทนำสบำยๆ ที่ Growth cafe & co. โคเวิร์กกิ้งสเปชใจกลำงสยำมสแควร์

3 บุคคลในแวดวงคนท�ำสื่อและคอนเทนต์ ที่ทั้งเข้ำใจ และสำมำรถปรับตัวได้ท่ำมกลำงกำรแข่งขันที่ดุเดือด

BTALK

สื่อสิ่งพิมพ์จะตำยหรือไม่ และก้ำวต่อไปในกำรปรับตัว ของสื่อสิ่งพิมพ์จะเป็นอย่ำงไร

สัมภาษณ์ : เอกพล บรรลือ, ปริญญา ก้อนรัมย์

WHERE

MONTHLY COLUMN

ถ่ายภาพ : ภาสกร ธวัชธาตรี

PRINT IS DEAD?


‘สื่อสิ่งพิมพ์ก�ำลังจะตำย’ เป็นประโยคที่เรำได้ยินมำสักระยะหนึ่งแล้ว ซึ่งแม้จะเป็นคนท�ำงำน ในแวดวงสื่อสิ่งพิมพ์ แต่ทุกครั้งที่ได้ยินก็ยังรู้สึกว่ำเหมือนก�ำลังนั่งอยู่บนรถไฟขบวนที่ก�ำลังวิ่ง อย่ำงเนิบช้ำ มองเห็นจุดหมำยปลำยทำงแบบลิบๆ ระหว่ำงทำงอำกำศขมุกขมัว จนแทบไม่เห็นว่ำ ข้ำงหน้ำมีอะไร พอรูต้ วั อีกทีรถไฟขบวนทีว่ ำ่ ก็กำ� ลังจะมุง่ หน้ำไปสูห่ น้ำผำทีร่ ำงรถไฟขำดช่วง คงจะเหมือนกับทุกคนในแวดวงสิง่ พิมพ์ ทีแ่ ม้จะรูว้ ำ่ วันหนึง่ รถไฟขบวนนีก้ จ็ ะต้องเดินทำงไปถึง จุดทีต่ อ้ งเปลีย่ นเส้นทำง แต่กย็ งั นึกไม่ออกอยูด่ วี ำ่ ทำงแยกต่อไปเป็นอย่ำงไร หรือควรกระโดดจำก รถไฟขบวนนีเ้ พือ่ ไปขึน้ ขบวนใหม่ตอนไหน ในรอบปีทผี่ ำ่ นมำเรำจึงได้ยนิ ข่ำวครำวกำรปิดตัวของ สือ่ สิง่ พิมพ์หลำยรำย ในขณะทีบ่ ำงรำยจ�ำเป็นต้องปรับเปลีย่ นตัวเองเพือ่ เอำตัวรอด และรีบขึน้ รถไฟ ขบวนใหม่ทอี่ นั ตรำยน้อยกว่ำ นีเ่ องเป็นเหตุผลทีท่ ำ� ให้เรำอยำกหยิบยกประเด็นนีม้ ำพูดคุยกันอย่ำงจริงจัง โดยเฉพำะกับคนที่ เลือกจะปรับเปลีย่ นเพือ่ จะได้มที ยี่ นื บนแผงต่อไปอย่ำง วิภว์ บูรพำเดชะ บรรณำธิกำร นิตยสำร happening และ ‘จิมมี’่ - เจิมสิริ เหลืองศุภภรณ์ บรรณำธิกำรบริหำร นิตยสำร HAMBURGER พร้อมส�ำรวจควำมเป็นไปได้ใหม่ๆ จำกคนท�ำสือ่ ดิจติ อลทีก่ ำ� ลังมำแรงอย่ำง นรฤทธิ์ หอมรังสฤษดิ์ ครีเอทีฟ ไดเร็กเตอร์ ของ DOODDOT.com

: ถามถึงฝั่งคนที่ท�างานสื่อสิ่งพิมพ์ก่อนว่า ช่วงนี้เห็นข่าวคราวการปิดตัว ของนิตยสารหลายๆ ฉบับแล้วรู้สึกอย่างไร และมีการปรับตัวเองอย่างไร

adB

จิมมี่ : ช่วงนีข้ า่ วปิดตัวนิตยสารค่อนข้างหนาตา มีกนั แบบรายวัน บางทีกใ็ จหายเหมือนกัน แต่มนั เป็นการใจหายแบบเข้าใจนะ เพราะเราไม่ได้อคติหรือรูส้ กึ ไม่ดกี บั การเปลีย่ นแปลงทีเ่ กิดขึน้ เพราะรูส้ กึ ว่ามันก็เป็นไปตามโลกทีเ่ ปลีย่ นไป ก็เลยไม่ได้รสู้ กึ ว่าเป็นเรือ่ งทีต่ อ้ งมานัง่ เสียใจขนาดนัน้ แต่จะมาศึกษามากกว่าว่าท�าไมถึงเกิดขึ้น แล้วเราจะท�ายังไงต่อไป ซึ่งอย่าง HAMBURGER เอง ก็ปรับตัวจากนิตยสารรายเดือนมาเป็นรายสัปดาห์ ตอนนี้ครบ 2 เดือนพอดี ทุกอย่างเกิดขึ้นเร็วมาก ซึ่งตอนแรกที่ปรับตัวก็มี บางแวบที่เสียใจ แต่พอผ่านตรงนั้นไปเราก็ไม่ได้รู้สึกอะไรกับมัน รู้สึกว่าเป็นสิ่งที่เราต้องท�าส�าหรับวันข้างหน้า แล้วพอเปลี่ยน มาเป็นรายสัปดาห์ก็รู้สึกสนุกมาก คือด้วยความที่มันเร็ว มันจึง ต้องทันกับทุกสิ่งที่ก� าลังเกิดขึ้นในขณะนั้น ท� าให้เราสามารถ หยิบเข้าหยิบออกในบางเรื่องได้อย่างทันท่วงที ‘จิมมี่’ - เจิมสิริ เหลืองศุภภรณ์ วิภว์ : คือเรารูอ้ ยูแ่ ล้วว่าสือ่ สิง่ พิมพ์มนั อยูใ่ นช่วงขาลงมาสักพัก www.facebook.com/ ใหญ่ๆ ทัง้ ข่าวคราวจากเมืองนอก หรือในเมืองไทยเองก็เห็นการปิดตัว hamburgermagazine ไปบ้าง แต่ช่วงนี้ดูเหมือนจะเยอะเป็นพิเศษ จนสงสัยว่า เอ๊ะ เกิดอะไรขึน้ ท�าไมต้องเป็นช่วงนี้ (หัวเราะ) ซึง่ happening เองตอนทีค่ ดิ อำชีพ : บรรณำธิกำรบริหำร จะปรับรูปเล่มก็คดิ มาตัง้ แต่ปที แี่ ล้ว และเตรียมการมาเรือ่ ยๆ ก็แค่ตงั้ นิตยสำร HAMBURGER เป้าหมายไว้วา่ พอถึงเล่มที่ 100 เราจะปรับ จึงเป็นการปรับทีเ่ ตรียมการ หลังจำกก้ำวเข้ำมำรับต�ำแหน่งครัง้ แรกเมือ่ 3 ปี เอาไว้พอสมควร ซึ่งสาเหตุที่ปรับก็เห็นว่ามันมีความเปลี่ยนแปลง ทีแ่ ล้ว มำถึงวันนีเ้ จิมสิร ิ และ HAMBURGER ของแวดวงแหละ พูดง่ายๆ คือในแง่ธุรกิจก็ค่อนข้างล�าบากขึ้น เดินเข้ำสู่กำรปรับตัวครั้งใหญ่อีกครั้ง โดย ไม่วา่ จะเป็นยอดขาย ยอดโฆษณา แต่เราก็มองตัวเองค่อนข้างเยอะ กำรปรับเปลีย่ นตัวเองจำกกำรเป็นนิตยสำร ว่ายังมีอะไรทีพ่ อจะท�าได้อกี อย่างผมเองก็รสู้ กึ ว่าขนาดเราเองทีเ่ ป็น รำยเดือน มำสู่กำรเป็นนิตยสำรแจกฟรี คนอ่านหนังสือเยอะ ยังซื้อหนังสือน้อยลงเลย เดี๋ยวนี้ผมซื้อ รำยสัปดำห์ นำ่ จับตำมองว่ำ HAMBURGER นิตยสารแค่เดือนละ 1-2 เล่มเอง จากเมื่อก่อนซื้อเป็น 10 เล่ม จะเดินหน้ำไปสู่ทิศทำงใด เพราะฉะนัน้ สือ่ สิง่ พิมพ์กน็ า่ จะมีบทบาทน้อยลง แต่กบั บทบาททีน่ อ้ ย เราจะท�ายังไงให้มนั ส�าคัญมากขึน้ ท�ายังไงให้คนยังรูส้ กึ ว่าต้องการ มันอยู่ จึงคิดว่าต้องเพิม่ ความหนักแน่น และเพิม่ ความน่าเก็บสะสม

ให้มากขึน้ happening เลยท�าให้หนาขึน้ และมีเนือ้ หาทีเ่ ข้มข้นขึน้ พูดเรือ่ ง เฉพาะเจาะจงมากขึ้น ก็เลยกลายเป็นราย 2 เดือน เหมือนจะสวนทาง กับ HAMBURGER (หัวเราะ) ซึง่ happening ก็มคี วามเฉพาะทางประมาณหนึง่ อยู่แล้ว เพราะเรามักจะพูดเรื่องหนัง เพลง ศิลปะ แต่ทีนี้เราจะเลือก ทีละหัวข้อมาพูด อย่างเล่มแรกพูดเรือ่ งอินดี้ เล่มที่ 2 คือเรือ่ งงานศิลปะ แฮนด์เมด แล้วด้วยระยะห่าง 2 เดือน ก็จะมีเวลาในการอ่านมากขึ้น และเราก็มเี วลาในการท�างานมากขึน้ ด้วย คนท�างานเองก็เปลีย่ นพฤติกรรม ไปเยอะ เพราะพอได้โฟกัสทีละเรื่องก็มีความลึกมากขึ้น เนื่องจากเรา วางให้ธีมเล่มเป็น 100% ของเนื้อหาตั้งแต่หน้าแรกจนถึงหน้าสุดท้าย เพราะฉะนัน้ มันก็เปิดโอกาสให้คดิ กันได้อย่างสนุกมาก เพราะปราศจาก คอลัมน์ประจ�าโดยสิ้นเชิง ไม่ต้องมานั่งคิดว่าเล่มนี้จะเอาอะไรมาเติม จะสัมภาษณ์ใคร เพราะสามารถพลิกแพลงได้หมดเลย บางเล่มอาจจะ เป็นรูปภาพทัง้ เล่มก็ได้ บางเล่มเป็นบทสัมภาษณ์ทงั้ เล่มก็ได้ หรือบางเล่มเป็นอินโฟกราฟิกทัง้ เล่มก็ได้ อีกอย่างคือเราจะพ่วงบางอย่างด้วยเสมอ เช่น มีอเี วนต์เกีย่ วกับเรือ่ งทีท่ า� ด้วย อย่างเล่มที่ 2 ทีเ่ ป็นเรือ่ ง งานแฮนด์เมด ก็จะพ่วงกับนิทรรศการที่ happening shop เพราะฉะนั้น ต่อไปนี้ก็จะเป็นนิตยสารที่มี บางอย่างมากกว่านิตยสาร เราก็ปรับจากการท�านิตยสารอย่างเดียวเป็นหลักมาให้ความส�าคัญกับทุกอย่าง

adB : แล้วฝั่งคนท�าสื่อดิจิตอลล่ะ เคยคิดอยากท�าสื่อสิ่งพิมพ์บ้างไหม

ต้น : ผมมองว่าพฤติกรรมของคนอ่านนิตยสารกับพฤติกรรมของคนอ่านสื่อดิจิตอลแตกต่างกัน อย่างสิ้นเชิง เราท�าสื่อดิจิตอล แต่เราก็ไม่ได้เชื่อว่านิตยสารจะไม่เวิร์ก เราอยากท�านิตยสารมาตลอด เติบโตมากับการอ่านนิตยสาร โดยเฉพาะนิตยสารต่างประเทศ แล้วก็มคี วามเชือ่ ว่าร่างกายมนุษย์ถกู ออกแบบ มาให้อา่ นสิง่ พิมพ์ หรือชืน่ ชมกับกระดาษ แต่ทเี่ ราเริม่ ท�านิตยสารออนไลน์กเ็ พราะว่าเราไม่รวู้ า่ เกมธุรกิจ ของสิ่งพิมพ์เขาแข่งกันยังไง เพราะเราเป็นผู้เล่นรายใหม่ในตลาด แล้วต้องเจอกับคู่แข่งซึ่งเป็น ยักษ์ใหญ่หมดเลย ซึ่งเราต้องไปแย่งแผงกับเขา ก็เลยเริ่มท�าสื่อดิจิตอล ต้องบอกว่าตอนแรกที่เริ่มท�า เราก็ศึกษาวิธีการท�านิตยสารมาพอสมควร จนรู้ว่าเนื้อหาในการท�านิตยสารมันไม่สอดคล้องกับ พฤติกรรมของคนเสพสื่อออนไลน์ เราก็เลยปรับเปลี่ยนมาเรื่อยๆ ให้เสพง่ายขึ้น เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภค มากขึ้น ถามว่าอยากท�าสิ่งพิมพ์ไหม ก็อยากท�า แต่คงไม่ใช่ในทิศทางเดียวกับที่เราท�าอยู่ตอนนี้ ส่วนถ้าเป็นมุมมองในฐานะเอเจนซีโฆษณา ผมมองว่ายังไงสื่อสิ่งพิมพ์ก็ยังมีงบโฆษณาที่มากอยู่ เพราะหลายๆ บริษัทยังคงใช้ Marketing Director คนเดิม เพราะฉะนั้น ก็ยังจะมีบริษัทที่พูดได้ว่า ‘ฉันใช้สื่อดิจิตอลไม่เป็น’ หรือ ‘ฉันไม่รู้ว่าเว็บข่าว เว็บแท็บลอยด์ หรือเว็บเฉพาะทางต่างกันยังไง’ หรือ ‘ฉันไม่เข้าใจค�าว่านิตยสารออนไลน์’ อันนี้ต้องพูดกันตรงๆ ว่ายังมีคนแบบนี้อยู่ เพราะฉะนั้น ถ้าถามว่าวงการเอเจนซีโฆษณามองยังไง ผมว่ายังไงสือ่ สิง่ พิมพ์กน็ ่าจะอยู่ได้ แต่ต้องมีความโดดเด่น คือต้องพูดในสิ่งที่ตัวเองรู้ และต้องมีทิศทางที่ชัดเจนจริงๆ


29

‘ต้น’ - นรฤทธิ์ หอมรังสฤษดิ์ www.facebook.com/dooddot

อำชีพ : ผู้ก่อตั้ง และ Creative Director ของ DOODDOT สื่อแมกกำซีนออนไลน์ แถวหน้ำของเมืองไทย ก่อนหน้ำนีน้ รฤทธิเ์ ริม่ ต้นธุรกิจจำกกำรท�ำ บริษัท Branding Agency มำก่อน แต่ด้วย ควำมเชือ่ มัน่ และควำมสนใจในเรือ่ งคอนเทนต์ เขำจึงก่อตั้ง DOODDOT ขึ้นมำเมื่อ 2 ปี ที่ แ ล้ ว โดยอยำกให้ DOODDOT เป็ น สื่อออนไลน์ รู ป แบบใหม่ ที่ มี ค ำแร็ ก เตอร์ ในสไตล์ของตัวเอง ซึ่งทุกวันนี้มีโจทย์และ ควำมท้ำทำยให้เขำต้องเผชิญอยูต่ ลอดเวลำ

ไม่ได้เสียแรงที่จะต้องเดินไปร้านหนังสือด้วยซ�้า นั่นคืออย่างแรก ที่ผมคิดว่าจะท�าให้สื่อออนไลน์ได้เปรียบ อย่างที่สองผมคิดว่า สื่อออนไลน์มัน compromise กับคนอ่านได้มากกว่าสื่อสิ่งพิมพ์ ยกตัวอย่างเช่นใน DOODDOT เราสามารถพูดถึงวิสกี้กับซิการ์ได้ ในขณะเดียวกันเราก็ยงั พูดถึงสยามสแควร์ สนีกเกอร์ พ็อพคัลเจอร์ ทีผ่ อู้ า่ นอายุตา�่ กว่า 20 เสพได้อยู่ ทีนผี้ มไม่รวู้ า่ ในนิตยสารหนึง่ เล่ม จะสามารถท�าได้ขนาดนั้นไหม แต่เราท�าได้ เช่น ถ้าตอนเช้าเราพูดถึงร้านนมเย็น ตอนเย็น เราสามารถพูดถึงบาร์ได้ภายในวันเดียวกันด้วย ทีนี้กลายเป็นว่ากลุ่มผู้อ่านของเราจึงครบหมด ทั้งในแนวกว้าง และแนวลึก

: ส�าหรับสื่อออนไลน์ การที่มีคนเข้าไปอ่าน เข้าไปแชร์เยอะ จริงๆ แล้วแค่นั้น มันพอหรือเปล่าส�าหรับการอยู่รอดในธุรกิจ

adB

ABOUT HIM วิภว์ บูรพำเดชะ

www.facebook.com/happeningmagazine อำชีพ : ผู้ก่อตั้ง และบรรณำธิกำรบริหำร นิตยสำร happening นิตยสำรบันเทิงเชิงศิลปะ ทีผ่ ำ่ นกำรเปลีย่ นแปลงมำหลำยยุคหลำยสมัย จำกแรกเริ่มที่เป็นนิตยสำรแจกฟรีรำยเดือน เมื่อ 8 ปีที่แล้ว ก่อนจะก้ำวสู่กำรเป็นนิตยสำร รำยเดือนในเวลำต่อมำ จนมำถึงวันนี้ วิภว์ ได้ ทดลองเส้นทำงกำรท�ำนิตยสำรของตัวเองและ happening อีกครั้ง ด้วยกำรปรับนิตยสำร ให้เป็นรำย 2 เดือน เพิ่มเติมควำมเข้มข้นและ ไม่ยึดติดกรอบกำรเล่ำเรื่องของแมกกำซีน แบบเดิมๆ

adB : คุณมองว่าจุดเด่นของนิตยสารกระดาษ คืออะไร และจุดเด่นของสื่อออนไลน์คืออะไร

วิภว์ : อย่างที่คุณต้นพูดก็น่าจะจริง คือคนเรา สามารถอ่านหนังสือได้นานกว่าอ่านจากหน้าจอ อาจจะเป็นเรือ่ งสิง่ ทีส่ มั ผัสได้จริงๆ สามารถควบคุม ได้ด้วยมือ มันก็จะมีความใกล้ชิดมากกว่า เปิดได้ ปิดได้ มีน�้าหนักอยู่ในมือ โดยเฉพาะหนังสือที่มี ความตัง้ ใจท�า ตัง้ ใจเขียน ตัง้ ใจจัดหน้า และออกแบบ รูปเล่ม มันจะมีความเป็นชิน้ งานศิลปะไม่มากก็นอ้ ย ท�าให้มีความน่าเก็บสะสม น่าเป็นเจ้าของ และน่า จับต้อง รู้สกึ ว่าอยากจะออกไปหาซือ้ มา ซึง่ น่าจะมี อารมณ์ประมาณนี้ที่หน้าจออาจจะยังตอบโจทย์ ไม่ได้ แต่ในทางกลับกัน หน้าจอก็มีข้อได้เปรียบ อย่ า งหนึ่ ง คื อ ไม่ ต ้ อ งผ่ า นกระบวนการพิ ม พ์ ซึ่งอย่างน้อยๆ หนังสือพิมพ์ก็ต้องพิมพ์กันครึ่งคืน แต่ถา้ เป็นหน้าจอ เฟซบุก๊ หรือเว็บไซต์ ก็แค่อพั โหลด เข้าไปเลย ดังนัน้ จะเห็นว่าช่วงหลังๆ เราจะเสพข่าว จากสื่ อ ดิ จิ ต อลก่ อ น บางที ข ่ า วในกระแสหลั ก ก็ยังต้องหยิบข่าวจากเฟซบุ๊กมาอ้างอิงถึงเลย

adB : แล้วในมุมคนท�าสื่อออนไลน์ นอกจาก

ความเร็วแล้วยังมีคุณค่าอะไรที่สื่อสิ่งพิมพ์ ทั่วไปให้ ไม่ ได้อีก

ต้น : ผมพูดในฐานะคนที่ไม่เคยท�าสื่อสิ่งพิมพ์ นะ ผมมองว่าในออนไลน์เราสามารถยัดเยียดได้ (หัวเราะ) ด้วยแพลตฟอร์มที่เปลี่ยนไป เช่น เฟซบุ๊ก LINE หรืออินสตาแกรมเข้ามา ซึ่งยังไงประชากร ส่วนใหญ่ในโลกนีก้ ย็ งั ต้องวนเวียนอยูก่ บั แพลตฟอร์ม พวกนี้อยู่แล้ว ท�าให้คนอ่านไม่ต้องเดินไปหน้า แผงหนังสือ มันมาแย่งการตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว กว่า เช่น คุณคิดว่าวันนี้จะซื้อนิตยสาร แต่ในขณะ เดียวกันสือ่ ดิจติ อลมันพ็อพอัพขึน้ มา คุณแค่ตดั สินใจ ว่าจะคลิกหรือไม่เท่านั้นเอง ซึ่งคุณไม่ได้เสียเงิน

ต้น : ถามว่าดิจิตอลมีเดียอยู่ยากไหม แรกๆ DOODDOT พยายามท�าตัวเป็นคนที่หล่อมาก แต่มคี นอ่านไม่เพียงพอซึง่ นัน่ แปลว่าอยูไ่ ม่รอด เราแคบเกินไป เราพยายามเป็นคนทีม่ รี สนิยมสุดๆ แต่ถามว่าประชากรคนเมืองระดับ middle upper class นีม่ กี คี่ นทีใ่ ช้สบูอ่ าบน�า้ ราคาเกิน 150 บาท ต่อขวด น้อยมากนะครับ แล้วในบรรดากลุม่ คนเหล่านัน้ เรายังต้องเลือกคนทีก่ นิ ข้าวเกิน 300 บาท ต่อมือ้ มันก็ยงิ่ น้อยลงไปอีก นัน่ คือเหตุผลทีเ่ ราอยูไ่ ม่ได้ จนเราบอกว่า เฮ้ย มีบางอย่างผิดปกติวะ่ เราเลยต้องมาคุยกันเพื่อหาจุดที่พอประนีประนอมได้ เรายังอยากเขียนเรื่องไวน์ เรายังอยาก เขียนเรื่องกินดื่ม แต่เราจะท�าให้มันกว้างได้ยังไง ค�าตอบก็คือ เราก็แค่เปลี่ยนวิธีการเล่า เปลี่ยน หัวเรื่องให้มันเบาลง พอ mindset เปลี่ยน วิธีการเล่าเรื่องก็เลยเปลี่ยน ตรงนี้คือข้อดีของ สื่อออนไลน์ เพราะมันค่อนข้างยืดหยุ่นได้ แต่ถ้าถามว่าสื่อออนไลน์อยู่ยากไหม อยู่ยากนะครับ ไม่ใช่วา่ นักการตลาดทุกคนใช้ดจิ ติ อลมีเดียเป็น ปัจจัยทีท่ า� ให้เราอยูต่ อ่ ได้คอื ลูกค้า เราเคยเข้าไป คุยกับหลายๆ บริษัทที่เรารู้สึกว่ามันใช่ เหมาะกับเรา แต่เขากลับบอกว่าเราไม่ใช่ โดยเฉพาะ ช่วงแรกๆ ที่เราเพิ่งเริ่ม จะพบว่าป้อมปราการมีเยอะเหลือเกิน ในขณะเดียวกันถ้านักการตลาด หรือลูกค้ายังไม่เข้าใจสินค้าของเรา เขาก็ไม่กล้าจะรับความเสี่ยงตรงนี้หรอก เราก็หวังว่าคน จะเข้าใจมากขึ้นผ่านการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่ก�าลังมากขึ้นเรื่อยๆ

adB :อย่างทีร ่ กู้ นั ดีวา่ เส้นเลือดใหญ่ หรือรายได้หลักของสือ่ สิง่ พิมพ์กค็ อื งบโฆษณา

ในเมื่อสื่อออนไลน์ยังต้องเจอปัญหาในเรื่องความไม่เข้าใจ แล้วสื่อสิ่งพิมพ์ที่เพิ่ง ปรับตัวใหม่ต้องพบเจอกับปัญหาเหล่านี้บ้างไหม

วิภว์ : ผมว่านิตยสาร happening และ HAMBURGER ก็นา่ จะมีปญ ั หาเดียวกัน อย่าง happening ก็จะมีความลุ่มๆ ดอนๆ ในเรื่องโฆษณามาตลอด บางทีถึงกับตกใจ เฮ้ย ท�าไมมันน้อยอย่างนี้ ดูจากคนขึ้นปกก็ได้ นิตยสารบางหัวจะเป็นดารา ของเราเป็นใครก็ไม่รู้ ซึ่งยังถือว่าเฉพาะกลุ่ม พอสมควร เวลาคุยกับเอเจนซีกล็ า� บาก เขาก็จะถามแต่เรือ่ งปกอยูน่ นั่ แหละ ท�าไมคนนีถ้ งึ ได้ขนึ้ ปก (หัวเราะ) ผมก็พยายามจะบอกว่า แต่ภาพมันดีมากเลยนะครับ เขาก็ไม่สนใจ (หัวเราะ) พอ เปลีย่ นมาทางนีค้ อื เราเลือกแล้วว่าเราจะแคร์เอเจนซีนอ้ ยลง ท�าให้คนอ่านพอใจไปเลยสบายใจ กว่า ในแง่คนท�าก็อยากให้เขาเต็มอิ่มไปเลยกับการอ่าน เราตั้งเป้าโฆษณาต่อเล่มน้อยลงมาก ถ้าได้เกินเป้าก็ถือว่าเป็นก�าไรไป พอเปลี่ยนมาทางนี้ วิธีการขายโฆษณาก็เปลี่ยนไปเหมือนกัน จากแต่กอ่ นจะเข้าไปขายสินค้าอะไรก็ได้ มองให้หลากหลาย อย่างเล่มอินดีท้ เี่ พิง่ ออกไปตอนแรก ก็งงๆ อยู่นะว่าจะขายโฆษณาใครดี แต่สุดท้ายก็เกินเป้า เพราะมีคอนเสิร์ตต่างๆ มาลงโฆษณา มากมาย กลายเป็นว่าตอนนี้การขายโฆษณาทั้งง่ายและยากขึ้น ยากในแง่ที่ว่าเราต้องคิด ทุกเล่มเลยว่าเนื้อหาแบบนี้จะไปขายที่ไหน แต่ความง่ายคือ มันเจาะจงมากขึ้น อย่างเมื่อก่อน สมมติมีลูกค้า 500 ราย ตอนนี้ก็อาจจะเหลือแค่ 20 ราย จิมมี่ : เรารู้สึกว่าคนเข้าใจนะที่ HAMBURGER เปลี่ยนมาเป็นฟรีก๊อบปี้ เพราะมันไม่ใช่ เรือ่ งใหม่ในเมืองไทย ช่วงนีเ้ อเจนซีจะไม่คอ่ ยถามแล้วว่าใครเป็นปก เมือ่ ก่อนเขาชอบถามกันว่า ใครลงปก เนื้อหามีอะไรบ้างไม่สนใจหรอก แต่ตอนนี้พอจะซื้อโฆษณาก็ซื้อเลย ซึ่งเราก็ไม่รู้นะ ว่าค�าว่าฟรีกอ๊ บปีม้ นั เป็นค�าศักดิส์ ทิ ธิห์ รือเปล่า (หัวเราะ) หรือคนไทยชอบของฟรีกไ็ ม่รู้ แล้วตอนนี้ ก็ยงิ่ ตอบโจทย์ไปอีก เพราะคนไทยชอบอ่านเรือ่ งดาราอยูแ่ ล้ว เรากับเอเจนซีเลยไม่คอ่ ยมีปญ ั หา เพียงแต่เราไม่รู้ว่าในระยะยาวจะเป็นยังไง เพราะลูกค้าหลายเจ้าก็บอกแล้วว่าปีหน้าอาจจะลด ค่าโฆษณาลงและอาจจะเปลี่ยนไปใช้บริการโฆษณาในรูปแบบอื่น adB

: คุณคิดว่าสื่อสิ่งพิมพ์จะอยู่รอดในยุคนี้ ได้อย่างไร แบบไหนที่จะอยู่บนแผง


ต่อไป และแบบไหนที่จะโดนคัดออก

วิภว์ : ผมคิดว่าตอนนีค้ นท�าสือ่ ก็คงก�าลังหาค�าตอบอยูเ่ หมือนกันแหละ (หัวเราะ) ส�าหรับผม ผมคิดว่ามันควรจะต้องเป็นสือ่ ทีช่ ดั เจนว่าเราพูดเรือ่ งอะไรกับใครอยู่ ยึดมัน่ กับสโลแกนบางอย่าง และแนวคิดที่เรามี ถ้ามันชัดเจนแล้ว เราก็จะรู้ว่านี่คือสื่อส�าหรับใคร จะวางแผงที่ไหน เวลา ไปคุยกับเอเจนซี เราจะบอกเขาว่าอะไร จากข้อแรกเมื่อรู้ว่าจะพูดเรื่องอะไรแล้ว น่าจะพูดได้ หลากหลายวิธีด้วย เท่าที่ผมสังเกตพบว่าสื่อสิ่งพิมพ์แทบทุกเล่มเลยใช้โซเชียลมีเดียเป็น ก�าลังเสริม อย่าง happening เราไปไกลกว่านั้น เรามีการท�าอีเวนต์ มีการท�าร้าน happening shop ด้วย พอมีช่องทางในการพูดถึงหลายๆ อย่าง มันก็จะช่วยเสริมแบรนด์ของเรา จิมมี่ : จริงๆ ก็คล้ายกันนะ จากการเป็นสิ่งพิมพ์เฉยๆ ตอนนี้ต้องคิดให้ไกลกว่านั้น อย่าง เฟซบุก๊ ทวิตเตอร์ อินสตาแกรม เราก็ตอ้ งมี แต่อย่างหนึง่ ทีส่ งิ่ พิมพ์แข็งแรงอยูแ่ ล้วคือเรือ่ งของ เนื้อหา เราว่านี่คือสิ่งที่คนอื่นจะท�าตามได้ยาก แต่จะท�ายังไงให้เนื้อหาเหล่านี้เป็นที่รู้จัก ให้กลายเป็นมูลค่าของหนังสือ อีกเรื่องหนึ่งก็คือ จากที่ปกติเอเจนซีโฆษณาเป็นรายได้หลัก ของเรา เราก็มาคิดว่าจะมีทางอืน่ ไหมทีร่ ายได้จะไม่ได้มาจากทีเ่ ดียว ปีหน้าเราเลยจะท�าเว็บไซต์ เพิม่ ด้วยเพือ่ ตอบโจทย์ชวี ติ คนยุคนี้ อาจจะมีการขายของออนไลน์หรืออย่างอืน่ ทีส่ ามารถเชือ่ มโยง กันได้ อย่างนางแบบบนปกใส่ชุดอะไร เครื่องประดับ สร้อย แหวน อาจจะคลิกซื้อได้เลยจาก หน้าเว็บไซต์ วิธีนี้ก็น่าจะตอบโจทย์กับสิ่งพิมพ์ของเราโดยที่ตัวเนื้อหาก็ไม่ได้สูญเสียไป

adB

: มีคา� พูดอมตะทีว่ า่ ‘Content is king.’ แต่ในยุคนีค้ ณ ุ คิดว่าการมีคอนเทนต์

หรือเนื้อหาที่ดีอย่างเดียวเพียงพอหรือไม่ หรือต้องมีส่วนผสมอย่างอื่นด้วย

เราไม่ใช่เว็บข่าว เราเป็นนิตยสารออนไลน์ พฤติกรรมคนเสพเหมือนนิตยสาร เพียงแค่วธิ กี ารเสพ ไม่เหมือนกัน เหมือนการทีค่ ณ ุ ดูทวี กี บั ดูหนังในโรงแค่นนั้ เอง ซึง่ เราก็พยายามต่อสูม้ าโดยตลอด

: ส�าหรับบุคลากรในวงการสื่อสิ่งพิมพ์ จ�าเป็นที่จะต้องติดอาวุธอะไร เพิ่ ม เติ ม ถึ ง จะอยู ่ ใ นธุ ร กิ จ นี้ ไ ด้ โดยเฉพาะเด็ ก จบใหม่ ที่ เ พิ่ ม จ� า นวนขึ้ น ทุ ก วั น สวนทางกับสื่อสิ่งพิมพ์ที่ก�าลังจะลดจ�านวนลงเรื่อยๆ

adB

จิมมี่ : อย่างในกองบรรณาธิการของเราก็มีเด็กจบใหม่ ซึ่งเขาจะมีความ multifunction มาก คือในหนึง่ คนเป็นได้ทกุ อย่าง ถ่ายรูปได้ เลย์เอาต์ได้ เขียนได้ ท�าได้หมด เพียงแต่ว่าต้อง มาปรับในบางเรือ่ งทีอ่ าจยังมีประสบการณ์ไม่เพียงพอ ส�าหรับเราก็เลยรูส้ กึ ว่าเขามีของพอสมควร ที่จะเข้ามาท�างานตรงนี้ เราว่ามันเป็นการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยด้วยนะ คนเติบโตมาใน รูปแบบนี้เขาก็มีความเข้าใจสิ่งเหล่านี้อยู่แล้ว ซึ่งมันก็อาจเหมาะกับในอนาคตที่เราไม่รู้ว่าสื่อ จะเป็นรูปแบบไหน วิภว์ : คิดว่าบุคลากรต้องมีความสามารถหลากหลายขึน้ กองบรรณาธิการต้องถ่ายรูปเป็น ใครที่ภาษาอังกฤษไม่คล่องนี่ล�าบากแน่ๆ ควรติวเข้มโดยด่วน แล้วก็ต้องเป็นคนที่มีความลึก ในบางด้าน เพือ่ ทีจ่ ะสร้างตัวตนและพืน้ ทีใ่ ห้ตวั เอง เช่น ถ้าจะพูดถึงเรือ่ งดนตรีตอ้ งคิดถึงคนนี้ แล้วก็ตอ้ งกว้างด้วยนะ หมายความว่าจะพูดถึงแต่เรือ่ งดนตรีบางทีอาจจะไม่ครอบคลุม อาจจะ เอาอัลบัม้ นีไ้ ปเชือ่ มกับเรือ่ งสังคมศาสตร์ได้ไหม คือต้องมีความใฝ่รู้ อันนีใ้ นแง่ของกองบรรณาธิการ นะ แต่มันก็ยังมีอีกหลายส่วน อย่างเช่นฝ่ายโฆษณา ซึ่งเป็นสิ่งที่หลายคนคิดว่าจะหาง่าย แต่ไม่ใช่ คนมักเขาใจว่าหน้าที่ของ AE ก็แค่ขายของ ต�าแหน่งนี้ในเชิงคุณภาพจะหายากขึ้น และคนทีท่ า� ต�าแหน่งนีต้ อ้ งมีการปรับตัวเร็วมาก มีความใฝ่รู้ ซึง่ มันตีกลับมาว่าคนทีท่ า� คอนเทนต์ ก็ตอ้ งมีทกั ษะในการขายไปโดยปริยาย การถ่ายรูป การเขียน ก็ยงั เป็นทักษะส�าคัญ แต่เราอาจต้อง มีเรือ่ งการน�าเสนอ เพือ่ จะอธิบายสิง่ ทีจ่ ะท�าออกมาเป็นค�าพูดให้คนอืน่ ได้เข้าใจก่อนทีจ่ ะท�าได้ดว้ ย

จิมมี่ : เราก็ยงั เชือ่ ว่าคนต้องการคอนเทนต์ทดี่ อี ยู่ คือยุคนีค้ นอาจจะชอบแชร์เนือ้ หาแบบ ‘10 หนุ่มหน้าเด็ก’ แต่เราก็รู้สึกว่ามันยังต้องมีคอนเทนต์ที่ดีอยู่ด้วย ไม่อย่างนั้นในอนาคต สังคมจะเป็นอย่างไรต่อไป เราก็พยายามท�าให้มันกลมกล่อม อาจเป็นเรื่องยากๆ แต่ออกมา จากปากคนที่เขาพูดแล้วน่าฟัง เรื่องราวชีวิตดาราที่เขาใช้ชีวิตดีๆ ซึ่งเป็นเนื้อหาในแบบที่ adB : ทุกวันนี้คุณยังซื้อนิตยสารกันอยู่ ไหม แล้วนิตยสารลักษณะแบบไหนที่คุณ คนทั่วไปเข้าถึงได้ ในขณะเดียวกันก็ยังมีคุณค่าอยู่ ยังซื้ออยู่ วิภว์ : ผมเสริมนิดหนึ่ง เวลาที่ถามเรื่องเชิงธุรกิจกับคนท�าหนังสือ ผมว่าพื้นฐานคนท�า วิภว์ : ที่ชอบซื้อบ่อยก็เป็นนิตยสารอย่าง สารคดี หรือช่วงหลังจะชอบอ่านเนื้อหา หนังสือ เอาเฉพาะประเทศไทยก็ได้ เป็นพวกที่ไม่ได้คิดว่าจะรวย (หัวเราะทั้งวง) มันมีค�าว่า ที่เข้มข้นขึ้น ก็จะซื้อนิตยสารอย่าง ศิลปวัฒนธรรม ด้วย ไบโอสโคป ก็ชอบซื้อเพราะรู้สึกว่า นักเขียนไส้แห้งมาตั้งนานแล้ว แล้วในชีวิตจริงก็เป็นอย่างนั้น โอเค รายได้อาจจะไม่สูง คอนเทนต์แน่นจัง คืออะไรที่เราคิดว่าคอนเทนต์แน่นจนไม่สามารถหาอ่านได้ตามเว็บก็จะซื้อ แต่มันก็มีความสุขในแบบของมัน คนท�าหนังสือมีสิทธิพิเศษอะไรหลายๆ อย่าง มีโอกาส ถึงแม้วา่ อ่านไม่ทนั ก็ตอ้ งซือ้ ไว้กอ่ น อย่าง สารคดี บางเล่มนีห่ มดเร็วมากเลยนะ เพราะคอนเทนต์ ได้เรียนรู้ ได้สัมภาษณ์คนที่เราไม่คิดว่าจะได้เจอเขาง่ายๆ มันจะเป็นคุณค่าอีกแบบ ซึ่งพอมา ที่ทรงคุณค่าก็ยังมีคนไขว่คว้าอยู่ หรืออย่างนิตยสารต่างประเทศ เราเองท�างานสายบันเทิง ถามเรื่องความอยู่รอด ในช่วงที่ผ่านมาผมเชื่อว่าทุกคนก็ก�าลังทดลองอยู่ ซึ่งผลการทดลอง ก็จะซื้ออย่าง Mojo อาจจะมีบทสัมภาษณ์ที่อลังการ ซึ่งบางเล่ม Mojo จะแถมซีดีด้วย ก�าลังจะออกมาในไม่ช้านี้แหละ เดี๋ยวเรามาสรุปกันในเวลาอีกไม่กี่เดือน ของที่แถมก็เป็นสิ่งที่ต้องเก็บ อย่างเล่มหนึ่งที่ท�าสกู๊ป The Beatles เขาก็ไปชวนวงรุ่นใหม่ ต้น : ผมเชื่อว่าคนท�าสื่อส่วนใหญ่มักจะเริ่มจากการเชื่อในเนื้อหาที่ดีแทบทั้งนั้น แต่ มาคัฟเวอร์เพลงของ The Beatles ทั้งอัลบั้ม ซึ่งมันคงไม่มีที่อื่นให้ซื้อแล้ว ความดีของมันอาจไม่ได้อยู่ที่คุณเขียนได้ลึกแค่ไหน แต่อาจจะอยู่ที่ว่าคุณเล่าเรื่องยังไง จิมมี่ : ทุกวันนี้ซื้อน้อยลงมาก เมื่อก่อนจะเป็นเหมือนกิจวัตรที่พอสิ้นเดือนต้องเดินไปซื้อ มากกว่า บวกกับให้คนได้เสพในช่องทางที่พวกเขาต้องการได้อย่างพอดี ผมว่าถ้าคุณไปถาม แต่ตอนนี้มันไม่ได้เป็นแบบนั้นแล้ว เราซื้อเพราะความสนใจบางสิ่งบางอย่าง คือพอเราสนใจ พวกคนที่ท�าคอนเทนต์ เขามีวิธีการสร้างคอนเทนต์ที่ดีอยู่แล้วล่ะ แต่ในสื่อดิจิตอลก็ล�าบาก เรือ่ งไหนเราก็จะเป็นแฟนของหนังสือเล่มนัน้ ๆ ช่วงนีส้ นใจเรือ่ งปลูกต้นไม้กไ็ ปซือ้ บ้านและสวน เหมือนกัน อย่าง DOODDOT เองไม่ใช่สอื่ ทีท่ า� คอนเทนต์แบบแท็บลอยด์ หรือไม่ใช่สอื่ ทีท่ า� ไวรัล ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้ไม่เคยซื้อ เราเลยมีความรู้สึกว่านิตยสารต้องมีความเฉพาะกลุ่มมากขึ้น เราจะถูกน�าไปเปรียบตลอดเลยกับเว็บไซต์ทโี่ พสต์เนือ้ หาประมาณว่า ‘มาดูกนั ... แล้วคุณจะต้อง ต้น : ผมว่าคนท�าคอนเทนต์ทุกคนก็ต้องซื้อแหละ เพราะมันมีแหล่งข้อมูลที่เราสามารถ อึง้ ... จะเกิดอะไรขึน้ ถ้าเมียหลวงเจอเมียน้อยคาหนังคาเขา’ หรือทีเ่ รียกว่า clickbait ซึง่ เรามักจะ เอามาใช้ได้ แต่ตอนหลังๆ พอร้านหนังสือน้อยลงมันก็มขี อ้ มูลเฉพาะเจาะจงมากขึน้ ไม่เหมือน ถูกเปรียบเทียบในเรือ่ งของจ�านวนคลิก ซึง่ แน่นอนอยู่แล้วว่าจ�านวนคลิก เมื่อก่อนที่เราไปแล้วเราก็แบกหนังสือกลับมา 3-4 ถุง ใส่รถกลับมา ของเขาเยอะเหลือเกิน เยอะมาก เขามียอดคนดูเป็นล้าน ด้วยข่าวเมียหลวง แต่ทุกวันนี้มันกลายเป็นถ้าเราเห็นปกนี้ เล่มนี้ เราถึงตามไปซื้อมากกว่า กับเมียน้อย ด้วยคอนเทนต์ทเี่ กีย่ วกับเรือ่ งเพศต่างๆ ส่วนของเราแค่หลักแสน ส่วนนิตยสารเมืองนอกก็ซื้อเพื่อเป็นข้อมูลตามหน้าที่การงานอยู่แล้ว ขอขอบคุณสถำนที่ : เดือนหนึ่งเรามียอดคนดูถึง 2.5 ล้าน ก็ถือว่าส�าเร็จแล้ว นี่คือความยาก แต่ถามว่าซื้อน้อยลงไหม ก็น้อยลงมาก ผมว่าก็เหมือนเพลงแหละครับ Growth cafe & co. ของการท�าสือ่ ออนไลน์ ว่าคุณจะทนยังไงกับเกมทีแ่ ข่งกันด้วยจ�านวนคลิก ที่เมื่อก่อนคนซื้อซีดี ซื้อเทป เดี๋ยวนี้ร้านยังหายากเลย จะซื้อทีหนึ่ง สยำมสแควร์ซอย 2 สอบถำม B ในขณะที่เราอยากมีคอนเทนต์ในแบบที่เราเป็น เราก็พยายามจะบอกว่า ต้องตั้งใจมาก ข้อมูล โทร. 08-6778-8163 หรือ www.growth.in.th


HEALTH TIPS

5 WEIRD WAYS BREATHING RIGHT CAN IMPROVE YOUR LIFE

?

ไม่ใช่แค่การเล่นโยคะเท่านั้นที่อาศัยวิธีการหายใจที่ถูกต้อง ในชีวิตประจ�าวันก็เช่นเดียวกัน คุณจะพบว่าชีวิตของตัวเองดีขึ้น หากเลือกใช้วิธีการหายใจให้เหมาะสมกับกิจกรรมหรือสถานการณ์ที่คุณเจอ ซึ่งคุณสามารถปรับใช้กับสถานการณ์ตัวอย่าง ทั้ง 5 ข้อต่อไปนี้ได้ตั้งแต่วันนี้ แล้วสังเกตการเปลี่ยนแปลงด้วยตัวของคุณเอง

• เมื่อใดก็ตามที่คุณรู้สึกเครียด

ร่างกายจะตอบสนองด้วยการหายใจเร็วๆ สัน้ ๆ ซึ่งวิธีที่ถูกต้องและเร็วที่สุดที่จะท�าให้ความเครียด และความกังวลหมดไป คือการหายใจเข้าออกช้าๆ ประมาณ 5 ครั้งต่อนาที

• เมื่อต้องการสมาธิ

แพทย์ผเู้ ชีย่ วชาญแนะน�าว่าการโฟกัสทีล่ มหายใจ สั้นๆ สักประมาณ 20 ครั้งต่อนาที แต่ไม่เกิน 3-5 นาที แล้วตะโกนว่า ‘ฮ่า’ ขณะหายใจออกจะช่วย ดึงสมาธิของคุณกลับมาได้

HEALTH QUESTION

• ขณะก�าลังวิ่ง

วิธีการหายใจที่ดีที่สุดส�าหรับผู้ที่ชื่นชอบการออกก�าลังกายโดยการวิ่งทั้งหลาย คือการหายใจ เข้าออกทางปากและจมูก ซึง่ วิธกี ารนีจ้ ะช่วยหล่อเลีย้ ง ออกซิเจนไปยังกล้ามเนื้อได้อย่างเหมาะสม

Q : บุหรี่ ไฟฟ้าดีต่อการเลิกบุหรี่จริงหรือไม่

A : แม้หน่วยงานด้านสาธารณสุขของ

สหราชอาณาจั ก รจะพิ ม พ์ ร ายงาน การทบทวนหลั ก ฐานวิ ท ยาศาสตร์ เกีย่ วกับบุหรีไ่ ฟฟ้า โดยพบว่าสามารถ ช่วยให้เลิกหรือลดการสูบบุหรีแ่ บบปกติ ได้ ทั้งยังมีอันตรายน้อยกว่าถึง 95% และยั ง แนะน� า ให้ ภ าคสาธารณสุ ข ส่งเสริมเครื่องมือดังกล่าว ซึ่งตัวเลข อันตรายทีน่ อ้ ยลงเป็นเพียงการคาดคะเน โดยผูเ้ ชีย่ วชาญเท่านัน้ ยังไม่สามารถ ยื น ยั น ได้ ร ้ อ ยเปอร์ เ ซ็ น ต์ ว ่ า จะไม่ มี ผลเสี ย ระยะยาวในอี ก หลายสิ บ ปี ข้ า งหน้ า แต่ ที่ แ น่ ๆ อั น ตรายของ บุ ห รี่ ไ ฟฟ้ า อาจเกิ ด จากสิ่ ง เจื อ ปน จากอุปกรณ์ดังกล่าว รวมถึงน�้ายา ที่ไม่ได้มาตรฐานอีกด้วย ทีม่ า : www.phyathaihospital.com

• ระหว่างการนั่งสมาธิ

การหายใจช้าๆ หรือประมาณ 5 ครั้งต่อนาที ติดต่อกันเป็นเวลา 5-10 นาที จะช่วยให้คณ ุ สามารถ ละความคิดที่กวนใจและมีสมาธิดีขึ้น

• ก่อนจะนอนหลับพักผ่อน

การหายใจให้ชา้ ลงจะช่วยลดความเร็วในการเต้น ของหัวใจ วิธกี ารคือ ให้วางมือข้างหนึง่ ไว้บนหน้าอก อีกข้างไว้บนหน้าท้อง หายใจเข้าผ่านจมูกประมาณ 2 วิน าที โดยพยายามให้ ล มเข้ า ไปในช่ อ งท้ อ ง มากกว่าทางจมูก ขณะหายใจออกให้กดหน้าท้องเบาๆ ที่มา : www.health.com

20

20 ฟุต คือระยะทางทีเ่ ชือ้ โรคสามารถเดินทางได้ไกลทีส่ ดุ ดังนัน้ ทุกครัง้ ที่ไม่สบายและมีอาการไอหรือจาม คุณควรพกผ้าเช็ดหน้าผืนเล็กๆ หรือทิชชู่ ติดตัวไว้ด้วย

HEALTH NEWS การนอนหลับมากเกินไปในวันหยุดอาจส่งผลร้ายต่อร่างกายคุณ

ล่าสุด มีงานวิจัยของ Journal of Clinical Endocrinology & Metabolism ชี้ให้เห็นว่า ยิ่งช่วงเวลาของการนอนและการตื่น ระหว่างวันธรรมดาและวันหยุดแตกต่างกันมากเท่าไหร่ ยิ่งก่อให้เกิดความเสี่ยงเกี่ยวกับการเผาผลาญอาหารมากขึ้นเท่านั้น โดยงานวิจยั นีศ้ กึ ษากลุม่ ตัวอย่างทัง้ ชายและหญิงทีม่ อี ายุ 30-54 ปี จ�านวน 447 คน เป็นเวลา 7 วัน พบว่า 85% ของคนกลุม่ นีม้ เี วลานอน และตื่นในวันหยุดแตกต่างจากวันธรรมดาอย่างมาก ซึ่งส่งผลต่อการลดลงของคอเลสเตอรอลชนิดดี สารไตรกลีเซอไรด์ และมีภาวะ ดื้อต่ออินซูลินที่เพิ่มขึ้น รวมถึงการเพิ่มขึ้นของดัชนีมวลกายอีกด้วย แต่อย่างไรก็ดี ยังไม่มีข้อยืนยันว่าภาวะนี้จะส่งผลในระยะยาว ที่มา : http://well.blogs.nytimes.com


HEART TIPS

HOW TO BE A GOOD LEADER โลกของการท�างาน ผู้ที่มีความมุ่งมั่นและพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ย่อมมีความก้าวหน้าในหน้าที่การงานมากขึ้น เรื่อยๆ ซึ่งเมื่อถึงจุดหนึ่ง คนคนนั้นก็ต้องมีลูกทีมจ�านวนมากให้ดูแล ดังนั้น การเรียนรู้ทักษะการเป็นผู้น�าที่ดี จึงเป็นเคล็ดลับอย่างหนึ่งที่จะท�าให้คุณเดินหน้าไปในเส้นทางอาชีพของตัวเองได้โดยไม่สะดุด

• เคลียร์เป้าหมายในตัวเองให้ชัดเจน

เป็นสิง่ แรกทีเ่ ราต้องมี เพราะเป้าหมายทีช่ ดั เจน จะท� า ให้ เ ราสื่ อ สารทุ ก สิ่ ง ทุ ก อย่ า งไปสู ่ ลู ก น้ อ ง ได้อย่างชัดเจน อีกทัง้ ยังสร้างความมัน่ ใจ และท�าให้ กระบวนการท�างานมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นอีกด้วย

• เรียนรู้ลูกทีมของตัวเอง

เพราะว่ า ชี วิ ต มนุ ษ ย์ ไ ม่ ไ ด้ มี แ ค่ ก ารท� า งาน ด้านเดียวเท่านัน้ การเรียนรูแ้ ละเปิดใจรับฟังเรือ่ งราว ด้านอื่นๆ ของลูกทีมจะช่วยท�าให้เรารู้จักตัวตน และความถนัดของแต่ละคน อีกทั้งยังช่วยกระชับ ความสัมพันธ์ของคนในทีมให้ดีขึ้น

• สร้างบรรยากาศที่ดีในการท�างาน

หลายครัง้ เมือ่ คุณอยูใ่ นต�าแหน่งทีส่ งู กว่า มักจะ เกิดปัญหาว่าทุกคนไม่กล้าพูดตรงๆ ท� าให้เป็น เหมือนรอยต่อทีเ่ ชือ่ มไม่สนิท และส่งผลเสียกับงาน วิธีการก็คือคุณควรท�าให้ทุกคนในทีมเห็นว่าคุณ เปิดใจและพร้อมที่จะรับฟังทุกอย่างด้วยเหตุผล

จริ ง ๆ ซึ่ ง บางครั้ ง อาจท� า ให้ คุ ณ ได้ รั บ สิ่ ง ใหม่ ๆ กลับมามากกว่าเดิม

• รับผิดชอบค�าพูดและการกระท�า

ความเชือ่ ใจเป็นสิง่ ทีเ่ งินไม่สามารถซือ้ ได้ การสร้าง ตัวเองให้เป็นตัวอย่างทีด่ สี า� หรับลูกน้องคือสิง่ ทีจ่ า� เป็น บุคลิกภาพที่ดี การรักษาค�าพูด และการกระท�า เป็นสิง่ ส�าคัญทีจ่ ะซือ้ ความเชือ่ ใจทุกคนในทีมได้

• หล่อเลี้ยงไฟและเติมสิ่งใหม่ๆ ให้กับ ตัวเองเสมอ เป็ น สิ่ ง ส� า คั ญ ที่ สุ ด ที่ เ ราต้ อ งพั ฒ นาตั ว เอง ให้ดขี นึ้ เรือ่ ยๆ เพราะคงไม่มใี ครทีอ่ ยากเชือ่ ฟังค�าพูด ของคนทีม่ คี วามสามารถน้อยกว่าตัวเอง นอกจากนี้ เชื้อไฟใหม่ๆ ที่เติมเข้ามายังจะช่วยเสริมไอเดีย การท�างานของคุณให้มากขึ้นอีกด้วย ที่มา : www.entrepreneur.com

THE STORY OF LIFE ท่ามกลางความหวาดกลัวจากการก่อการร้ายในประเทศฝรั่งเศสในช่วงไม่กี่อาทิตย์ที่ผ่านมา ก็มีปรากฏการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้น นัน่ คือการแชร์ภาพ Peace for Paris กันอย่างถล่มทลายในโซเชียลเน็ตเวิรก์ ซึง่ ผูท้ สี่ ร้างสรรค์ภาพทีเ่ รียบง่าย แต่ทรงพลังและเต็มไปด้วยแรงบันดาลใจชิน้ นีข้ นึ้ มา ก็คือ ฌอง จูเลียง ศิลปินนักวาดภาพประกอบชาวฝรั่งเศสคนนี้ • ฌอง จูเลียง เกิดทีเ่ มืองน็องต์ ประเทศฝรัง่ เศส โดยเขาค้นพบความชอบ ในการวาดรูปของตัวเองมาตั้งแต่เด็ก และมีความฝันว่าอยากเป็น นักวาดการ์ตนู หรือคนท�าแอนิเมชัน และด้วยความชัดเจนในตัวเองนีเ่ อง ท�าให้ฌองมุง่ เข้าสูโ่ รงเรียนศิลปะในทันที โดยเขาเรียนจบกราฟิกดีไซน์ ที่ Quimper ในฝรั่งเศส เมื่ออายุได้ 20 ปี เขาได้ย้ายมาตามหาความท้าทายใหม่ๆ ให้กับตัวเองที่ลอนดอน ก่อนที่จะส�าเร็จการศึกษา ด้านศิลปะจากเซนต์มาร์ตินส์ และรอยัล คอลเลจ ออฟ อาร์ต • ด้วยผลงานและสไตล์การวาดรูปที่มีเอกลักษณ์ของเขา ที่ใส่ความสนุกสนานและแฝงอารมณ์ขันได้อย่างมีชั้นเชิง ท�าให้มีคนรู้จักผลงาน เขามากขึ้น และมีผลงานปรากฏในสื่อชั้นน�าของโลกอย่าง นิวยอร์ก ไทม์ส, เดอะ การ์เดียน และ นิวยอร์กเกอร์ อยู่เป็นประจ�า • ในเวลาต่อมา ฌองเริ่มสนใจงานศิลปะหลากหลายรูปแบบมากขึ้น โดยเขาทดลองท�าทั้งงานวิดีโอ งานศิลปะแบบจัดวาง การท�าหนังสือ หรือแม้กระทั่งการออกแบบเสื้อผ้า โดยในปี 2011 เขาได้ก่อตั้ง Jullien Brothers ซึ่งเป็นทีมงานที่รับท�างานวิดีโอและภาพเคลื่อนไหวอิสระ ในปีถัดมาเขาก็ร่วมกับ Yann Le Bec และ Gwendal Le Bec สร้าง News of the Times บล็อกน�าเสนอข่าวพร้อมภาพประกอบขึ้นมา • ในคืนวันที่ 13 พฤศจิกายนทีผ่ ่านมา ทันทีทไี่ ด้ยนิ ข่าวเหตุก่อการร้าย

n e i l l u J Jean Nationality : French Born : 14 March 1983 Age : 32

ในปารีส ฌองรู้สึกสะเทือนใจอย่างมาก จึงแปรเปลี่ยนความรู้สึกนั้น ออกมาเป็นภาพ Peace for Paris ซึ่งเป็นภาพเครื่องหมายสันติภาพ ที่ผสมผสานเข้ากับภาพหอไอเฟล แล้วเผยแพร่ลงไปในโซเชียลมีเดีย ของตัวเอง ทั้งทางทวิตเตอร์ เฟซบุ๊ก และอินสตาแกรม หลังจากนั้น ภาพวาดของเขาก็ถกู ส่งต่อและเผยแพร่ไปอย่างรวดเร็ว โดยมีผนู้ า� ไปใช้ เป็นภาพโปรไฟล์ในเฟซบุ๊ก ไปจนถึงป้ายส�าหรับการชุมนุมเรียกร้อง สันติภาพ • ฌองเล่าถึงทีม่ าของแรงบันดาลใจในการเขียนภาพ Peace for Paris ของเขาว่า “ผมวาดสิ่งที่แวบเข้ามาในหัวของผม นั่นก็คือความคิด เกี่ยวกับสันติภาพ สิ่งที่เราต้องการคือสันติภาพ ผมพยายามนึกถึง สัญลักษณ์ของปารีส แน่นอนว่าสิง่ แรกทีน่ กึ ออกก็คอื หอไอเฟล ผมก็เลย น�าทัง้ สองสิง่ นีม้ าผสมผสานกัน สิง่ ทีภ่ าพนีต้ อ้ งการจะสือ่ ก็คอื สันติภาพ และความเป็นน�า้ หนึง่ ใจเดียวกัน” ใครอยากรู้จกั ตัวตนของผู้ชายคนนี้ ให้มากขึ้น สามารถติดตามการเคลื่อนไหวของเขาได้ที่เฟซบุ๊ก : Jean Jullien หรืออินสตาแกรม : @jean_jullien B

YOU SHOULD TRY DIY : FUROSHIKI

ผ้าพันคอเป็นไอเทมทีส่ าวๆ ต่างมีตดิ ตัว ซึง่ หลายคนอาจไม่รวู้ า่ ผ้าพันคอผืนเล็กๆ มีประโยชน์มากกว่าทีค่ ดิ เราจึงอยากชวนคุณมาเปิดประสบการณ์ใหม่ ในการเรียนรูศ้ ลิ ปะการพับผ้าแบบญีป่ นุ่ ในเวิรก์ ช็อป DIY : FUROSHIKI โดยเปิดโอกาสให้คณ ุ ได้ประยุกต์ผา้ พันคอผืนเก่าให้กลายเป็นอุปกรณ์แสนสร้างสรรค์ ทั้งใช้ห่อของขวัญ ของฝาก หนังสือ กล่องข้าว เสื้อผ้า หรือแม้แต่เปลี่ยนให้เป็นกระเป๋าถือเก๋ๆ ไม่ซา�้ ใคร โดยเวิร์กช็อปจะมีขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 13 ธันวาคม 2558 ค่าสมัคร 950 บาท ผู้ที่สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทร. 08-8696-3774 หรือ 08-3826-9537


BULLETIN BOARD

ศิลปินตบเท้าเยือนสถานีดวงจันทร์ที่ใหญ่ที่สุด ใน SangSom MOVEaBAR เปิดให้มันกันไปแล้วกับคอนเสิร์ตเท่ๆ ก่อนกระจายความสนุกไปต่างจังหวัดกับ ‘แสงโสม มูฟอะบาร์’ น�าโดย 60 Miles, สิงโต น�าโชค, โพลีแคต, สครับบ์, สล็อตแมชชีน และปาล์มมี่ ที่สนามกีฬาจรัญ บุรพรัตน์ กรุงเทพฯ ภายใต้คอนเซ็ปต์สถานีดวงจันทร์ที่ใหญ่ที่สุด พร้อม กระจายความสนุกแบบสุดพีกไปยังแฟนๆ ที่พร้อมร่วมระเบิดความมันไปด้วยกันอย่างทั่วถึง ส่ ว นใครที่ อ ยากสนุ ก กั บ แสงโสม มู ฟ อะบาร์ ในครั้ ง ต่ อ ไป เตรี ย มตั ว ร่ ว มสนุ ก ให้ พ ร้ อ ม และไปต่อกันที่โซนรังสิต จ.ปทุมธานี ในวันที่ 16 มกราคม 2559 และปิดท้ายความมัน วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2559 ณ เซ็นทรัลเฟสติวัล หาดใหญ่ จ.สงขลา ตั้งแต่เวลา 6 โมงเย็นเป็นต้นไป ติดตามเคลื่อนไหวได้ที่ www.facebook.com/sangsomexperience

Osotspa Call Center รับรางวัล ศู น ย์ รั บ เรื่ อ งและแก้ ไขปั ญ หา ให้กับผู้บริโภคดีเด่น ม.ล. ปนัดดา ดิศกุล รมต. ประจ�าส�านักนายกรัฐมนตรี มอบรางวัลศูนย์รับเรื่องและแก้ไขปัญหา ยอดเยี่ยมให้กับผู้บริโภคดีเด่นประจ�าปี 2558 แก่ บริษัท โอสถสภา จ�ากัด โดยมี สุธิดา เสียมหาญ ผูอ้ า� นวยการสือ่ สารองค์กร และ ธีรวัฒน์ จันทรสมบูรณ์ ที่ปรึกษา เป็นผู้แทนรับมอบรางวัลฯ ซึ่งจัดขึ้นโดย ส�านักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ณ โรงแรมเจ้าพระยาปาร์ค กรุงเทพฯ

Pronto ปลุกกระแสคนรักยีนส์ งาน Pronto Denim Carnival 2015 เป็นการตอกย�้าภาพ Pronto ว่าเป็นศูนย์กลาง ของคนรักยีนส์ชาวไทยได้อย่างน่าประทับใจ ด้วยการได้รับความสนใจจากกลุ่ม ลูกค้า Pronto และกระแสการตอบรับเข้าร่วมงานที่มีจ�านวนมากขึ้นทุกปี อีกหนึ่ง สิ่งที่สร้างความประทับใจและซาบซึ้งให้แก่ Pronto คือการเห็นลูกค้าที่มีความสนใจ มารอเข้าแถวเพื่อเข้าร่วมงานตั้งแต่ก่อนประตูงานเปิด และยังมีกิจกรรมจัดหนักจัดเต็ม กับแบรนด์ต่างๆ อย่าง Fullcount, Studio D’Artisan, Pure Blue Japan, First Arrow, The Flat Head, Nudie Jeans, Momotaro, Iron Heart และ Naked and Famous อีกด้วย

12 Plus จากโอสถสภา การันตีความส�าเร็จ คว้า ซูเปอร์แบรนด์ต่อเนื่องเป็นปีที่ 5 ธรรมศักดิ์ จิตติมาพร กรรมการผู้จัดการ บริษทั โอสถสภา จ�ากัด เข้ารับรางวัลซูเปอร์แบรนด์ ประจ�าปี 2558 ให้กับ 12 Plus ซึ่งเป็นแบรนด์ ที่ช่วยเสริมเสน่ห์และความมั่นใจให้กับผู้หญิง ยุคใหม่ที่อยากก้าวออกจากกรอบเดิมๆ ได้รับ การยอมรั บ และมี ก ารเติ บ โตอย่ า งต่ อ เนื่ อ ง เป็นปีที่ 5 จาก มิสเตอร์ ไมค์ อิงลิช ผูอ้ า� นวยการ ซูเปอร์แบรนด์ประเทศอังกฤษ ณ ศูนย์การค้า สยามพารากอน B


THE WORDS THE INTENT TO UNDERSTAND,

NOT THE INTENT

TO REPLY.

MANKIND MUST PUT AN END

รับฟังด้วยความตั้งใจที่จะท�าความเข้าใจ ไม่ใช่ตั้งใจจะโต้ตอบ

BEFORE WAR

• STEPHEN R. COVEY

MANKIND.

HE WHO DOES NOT UNDERSTAND YOUR SILENCE WILL PROBABLY

PUTS AN END TO มนุษยชาติต้องท�าการยุติสงคราม ก่อนที่สงครามจะท�าการยุติมวลมนุษยชาติ

NOT UNDERSTAND YOUR WORDS. คนที่ไม่เข้าใจความเงียบของคุณ ก็เป็นไปได้ที่จะไม่เข้าใจถ้อยค�าของคุณด้วย

• JOHN F. KENNEDY

• ELBERT HUBBARD

THE SAME BOILING WATER THAT SOFTENS IT’S ABOUT WHAT YOU’RE MADE OF, NOT THE CIRCUMSTANCES. น�้าเดือดที่ต้มให้มันฝรั่งอ่อนนุ่มได้ คือสิ่งเดียวกันกับที่ต้มไข่ให้แข็งขึ้นได้ มันอยู่ที่ว่าคุณถูกสร้างขึ้นจากอะไร ไม่เกี่ยวกับสถานการณ์รอบตัวหรอก ad goday adB384.pdf 1 24/11/2558 16:11:58

• นิรนาม


THE GUEST เรื่อง : ปริญญา ก้อนรัมย์ ภาพ : ภาสกร ธวัชธาตรี

STRONG AS YOU ARE

เราพบกับ ‘วี’ - วิโอเลต วอเทียร์ ในแบบทีผ่ ดิ จากจินตนาการเอาไว้พอสมควร ซึง่ ความตัง้ ใจแรกเราคิดว่าคงนัดเจอกันทีร่ า้ นกาแฟสักร้านใกล้มหาวิทยาลัยของเธอ แต่กลายเป็นว่าต้องย้ายสถานทีม่ านัง่ คุยกันภายใต้ บรรยากาศชืน้ ฝนในสวนสัตว์เขาดิน (เพราะเธอต้องมาเตรียมออกอีเวนต์ทนี่ ใี่ นช่วงบ่าย) ซึง่ ตลอดการพูดคุยเราสัมผัสได้ถงึ ตัวตนของคนบันเทิงหน้าใหม่ ทีก่ า� ลังอยูใ่ นช่วงเวลาของการปรับตัวเพือ่ รับมือกับสิง่ ต่างๆ ทีผ่ า่ นเข้ามา โดยเธอเองก็พยายามรักษาจุดยืนและตัวตนของตัวเองเอาไว้ไม่ให้เปลีย่ นไป และอีกสิง่ ทีเ่ ราสัมผัสและยืนยันกับคุณได้อย่างดี คือความน่ารัก สดใส ทีถ่ า้ คุณได้มารูจ้ กั เธอใกล้ๆ ต้องหลงเสน่หข์ องผูห้ ญิงคนนีอ้ ย่างแน่นอน

ชีวติ ช่วงทีผ่ า่ นมาของเราค่อนข้างจะ... วุน่ วาย เพราะว่าท�างานเยอะ ทัง้ ภาพยนตร์ ทัง้ เรียน จนถึงขนาดเวลาทีต่ อ้ งคิดอะไรง่ายๆ นีค่ ดิ ไม่ได้เลยนะ เพราะรูส้ กึ เหมือนว่าไม่อยากใช้งานสมอง ไปมากกว่านีแ้ ล้ว อย่างถ้าจะให้ตดั สินใจว่าจะไปกินข้าวทีร่ า้ นไหน ขอไม่ตดั สิน ตามเพือ่ นไป ดีกว่า (หัวเราะ) คงเป็นช่วงที่ท�างานเยอะท�าให้ร่างกายเราเครียดไปนิดหนึ่ง จริงๆ ตัวเราเป็นคนค่อนข้างทีจ่ ะ... จริงจังกับชีวติ เวลาท�างานก็จะตัง้ ใจมาก แต่ถา้ ช่วง เวลาชิลๆ อยูก่ บั เพือ่ นก็จะท�าหัวให้วา่ งเปล่า ไม่คดิ อะไรเลย เราคิดว่าหลายๆ ครัง้ การท�าตัวโง่ เป็นสิ่งที่ดี แต่ไม่ได้หมายถึงการโง่ในการท�างานนะ เวลาใช้ชีวิตกับเพื่อนแล้วท�าตัวโง่ มันให้ความรู้สึกสบายดี อาจเพราะชีวิตอีกด้านของเราซีเรียสไปแล้ว หลังจากผ่านเวที เดอะ วอยซ์ ไทยแลนด์ ซีซนั 2 มา ชีวติ ของเรา... เปลีย่ นไปเยอะมาก ซึง่ ถ้าถามว่าเรารับมืออย่างไรคงบอกไม่ได้ เพราะสุดท้ายเราค่อยๆ ปรับตัวไปมากกว่า ตอนแรก ก็ช็อกที่อยู่ๆ คนรู้จักเราในชั่วข้ามคืน รู้สึกอึดอัดที่มีคนมอง แต่พอผ่านมาเรื่อยๆ เราก็ปรับ ตัวเอง เริ่มเข้าใจโลกมากขึ้น เราเป็นคนหนึ่งที่เข้าวงการมาแล้วก็กลัวที่จะ... สูญเสียตัวเองไปเหมือนกัน เพราะว่า เราเคยเป็นคนนอกวงการมาก่อน ตอนนั้นพอมองเข้ามา เราก็เห็นภาพดาราคนนั้นคนนี้ ไม่รักษาเวลา มีพฤติกรรมไม่ดี มีข้อเสียหลายๆ อย่าง เราเลยบอกกับตัวเองว่า พอเข้ามา จะไม่กลายเป็นคนประเภทนั้น เราคิดว่าการรักษาตัวตนของตัวเองในการท�างานเป็นสิง่ ที.่ .. ส�าคัญ ซึง่ เราเชือ่ ว่าเป็น สิ่งที่ท�าได้นะ ถ้าเราไม่เหลิงจนเกินไป โอเค การเข้ามาอยู่ตรงนี้มันมีสิ่งที่ยั่วยวนมากขึ้น แล้วบวกกับทุกคนปฏิบตั ติ วั กับคนในวงการแบบหนึง่ อย่างเวลาเราไปท�างานจะมีพๆี่ บอกว่า เดี๋ยวถือของให้ เราจะบอกเลยว่า ไม่เป็นไร เราขอถือเอง อาจจะเป็นนิสัยด้วยที่เป็นคน ชอบท�าอะไรเอง คือเราอยากให้คนจดจ�าได้ แต่ก็ไม่ได้อยากให้คนมาสนใจชีวิตส่วนตัว มากเกินไป เราได้รับอิทธิพลเกี่ยวกับดนตรีมาตั้งแต่... เด็กๆ ตอนนั้นคุณพ่อจะเปิดเพลงกรอกหู อยู่ตลอดเวลา อย่างบางครั้งคุณพ่อจะนั่งเฉยๆ ในห้องนั่งเล่น เปิดเพลงแล้วก็กินไวน์ไป ซึ่งบางครั้งเราไม่ได้นั่งฟังจริงๆ จังๆ แต่เราอยู่แถวๆ นั้นก็ซึมซับมาเรื่อยๆ แล้วอีกอย่างเรา โตมากับหนังดิสนีย์ วิดีโอที่มีอยู่ก็จะเป็นวิดีโอ sing-along ซึ่งหนังมีอิทธิพลกับเราเยอะมาก เป็นส่วนหนึ่งที่ท�าให้ตัดสินใจเรียนนิเทศศาสตร์

HER WAY • ‘วี’ - วิโอเลต วอเทียร์ นักร้อง นักแสดงลูกครึง่ ไทย-เบลเยียม ที่เข้าวงการจากการประกวด ร้ อ งเพลงในรายการ เดอะ วอยซ์ ไทยแลนด์ ซีซนั 2 ซึง่ ทั น ที ที่ ก ารแสดงในเพลง Leaving on a Jet Plane ออกอากาศ ก็ท�าให้ชื่อเสียง ของเธอโด่งดังในชัว่ ข้ามคืน • หลังจบรายการ เธอมีผลงาน ในวงการบันเทิงตามมาอย่าง ต่อเนือ่ ง ทัง้ ซิงเกิลเพลงติดหู อย่าง ฝากไว้, อยากรูห้ วั ใจตัวเอง หรือแม้แต่ในบทบาทการแสดง ในภาพยนตร์ถงึ 2 เรือ่ ง ทัง้ ฝากเอาไว้ในกายเธอ และ ล่าสุดกับ ฟรีแลนซ์..ห้ามป่วย ห้ามพัก ห้ามรักหมอ • ปัจจุบนั วิโอเลตก�าลังศึกษา ชั้นปีที่ 4 คณะนิเทศศาสตร์ จุ ฬ าลงกรณ์ ม หาวิ ท ยาลั ย และก�าลังสนุกกับบทบาทใหม่ ในการเป็นดีเจของคลื่นวิทยุ ออนไลน์อย่าง Cat Radio ใน ช่วงวันอาทิตย์ เวลา 19.0021.00 น. ติดตามความเคลือ่ นไหว ของเธอได้ทเี่ ฟซบุก๊ : Violette Wautier

ในช่วงแรกเราก็เคยคิดนะว่า... ควรเรียนในสายดนตรีที่ตัวเองชอบดีไหม ตอนเด็กๆ เคย พูดเลยว่าอยากเป็นนักร้อง แล้วพอพูดแบบนัน้ เพือ่ นก็จะรูส้ กึ กับเราแบบ... อะไรนะ จริงเหรอ ก็เลยท�าให้เราไม่กล้าทีจ่ ะเล่าความฝันให้ใครฟัง จนสุดท้ายก็เลยคิดว่าเรียนนิเทศศาสตร์ดกี ว่า เพราะถ้าเรียนดนตรีตามความตั้งใจแรกจริงๆ มันจะกลายเป็นสิ่งที่เราต้องท�า ไม่ได้เป็น passion อีกแล้ว อาจจะมีวิชาที่ไม่อยากเรียน แล้วก็อาจจะแขยงดนตรีไปเลยก็ได้ เรารูส้ กึ ว่าตัวเองชอบทัง้ ... การร้องเพลงและการแสดง อย่างทีผ่ า่ นมาตอนเราต้องถ่ายหนัง ก็จะไปโฟกัสทีห่ นังก่อน พอหนังจบก็กลับมาโฟกัสทีเ่ พลงต่อ ซึง่ ทัง้ สองบทบาทมีความท้าทาย อยู่แล้ว อย่างการแสดงก็ท้าทายต่างกันไปในแต่ละบทที่ได้รับ ส่วนเพลงก็ท้าทายตรงที่ว่า จะท�าออกมาโดนใจคนไหม เราอยากท�าเพลงในแบบที่เป็นตัวเรา แต่มันก็ควรที่จะสื่อสาร กับคนฟังด้วย ต้องหาจุดนั้นให้เจอ เราว่าวิธกี ารคิดในการร้องเพลงและการแสดง... ไม่ตา่ งกันนะ ทัง้ สองอย่างคือการสือ่ สาร เหมือนกัน อยูท่ เี่ ราจะสือ่ สารอย่างไรให้คนเข้าใจ เราต้องหา big idea ในเรือ่ งทีจ่ ะเล่าให้เจอ เพราะไม่อย่างนั้นจะไม่รู้ว่าขอบเขตของเรื่องที่จะเล่าควรเป็นอย่างไร ช่วงไหนที่รู้สึกเหนื่อยมากๆ ก็จะ... ไปหาเพื่อนสนิทแล้วร้องไห้กับเพื่อนเลย คือพออยู่ กับเพือ่ นเเล้วเราสบายใจ แล้วพอได้ระบายออกไปทุกอย่างก็จะดีขนึ้ คือเราเป็นคนอ่อนไหว ดีใจก็ร้องไห้ เสียใจก็ร้องไห้ ซึ่งคิดว่าแต่ละคนมีวิธีการระบายที่ไม่เหมือนกันหรอก ทุกครัง้ ทีท่ า� เพลงของตัวเอง เราจะ... ใช้รสนิยมของตัวเองนีเ่ เหละเป็นตัววัด คนอืน่ อาจจะ ไม่ชอบแต่เราชอบก็โอเคแล้ว เพราะมันก็คอื การสร้างผลงานของตัวเราเอง ศิลปินอย่างปิกสั โซ ตอนเเรกเขาก็ท�างานเพราะว่าเขาชอบ เขาคงไม่ได้คิดว่าจะมีใครมาชอบงานเขาไหม เรา คงจะไปท�าตามใจทุกคนไม่ได้หรอก ก็ท�าในแบบของตัวเองไป ใครจะชอบไม่ชอบก็แล้วแต่ เป้าหมายในชีวติ ทีเ่ ราคิดมาตลอดก็คอื ... การอยากมีความสุข เราตอบค�าถามนีก้ บั ตัวเอง ได้ตงั้ แต่เด็กๆ แล้ว และความคิดแบบนัน้ ก็ไม่ได้เปลีย่ นไป โอเค โตขึน้ เราอาจมีแนวความคิด บางอย่างในการใช้ชีวิตที่ไม่เหมือนเดิม แต่เราคิดว่าตัวเองยังเป็นคนเดิมที่คิดถึงเป้าหมาย ในชีวิตแบบนั้นอยู่ วันก่อนเราอาจมองเห็นโลกเป็นแบบนี้ (ท�ามือเป็นช่องแคบๆ) พอโตขึ้น B เราก็มองเห็นโลกกว้างขึ้นเท่านั้นเอง


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.