5 Interaction ของ Spin

Page 1

Quantum Mechanics ระดับบัณฑิตศึกษา

5 Interaction ของ Spin

5-1

5

Interaction ของ Spin

เนื้อหา 5.1 Hyperfine Splitting 5.2 Two Spin - 1 particles 2

5.3 EPR Paradox 5.4 การรวมกันของ Angular Momentum 5.5 บทสรุป 5.6 ปญหาทายบท

5.1 Hyperfine Splitting ในเนื้อหาของ quantum mechanics เบื้องตน เราคุนเคยเปนอยางดีกับการศึกษาระบบของ hydrogen atom ซึ่งอิเล็กตรอนมีอันตรกริยากับโปรตอน ซึ่งก็คือ Coulomb interaction ทั้งนี้ เนื่องจากทั้งสอง อนุภาคมีประจุไฟฟา โดยทีโ่ ปรตอนมีประจุบวกในขณะที่อิเล็กตรอนมีประจุลบ

แบบจํ แบบจําาลองอั ลองอันนตรกริ ตรกริยยาเชิ าเชิงงspin spin ระหว ระหวาางงproton proton--electron electron

proton

N

S

หมอก electron

S Hˆ = 2 A Sˆ ⋅ Sˆ 2 1 2

N

Hydrogen Hydrogenอะตอม อะตอม

ภาพ 5.1 แสดง spin-spin interaction ระหวางอนุภาคอิเล็กตรอนและโปรตอนที่อยูใกลเคียงกัน ภายในอะตอมของ hydrogen นอกจากนี้ ยังมี interaction อีกประเภทหนึ่งซึ่งเกิดจากคุณสมบัติเชิง spin ของอนุภาคทั้งสอง ทั้งนี้ เนื่องจากอิเล็กตรอนและโปรตอนตางก็เปนอนุภาคที่มี spin s = 1 และเมื่ออยูในบริเวณใกลเคียง 2

Dr. Teepanis Chachiyo

ภาควิชาฟสิกส มหาวิทยาลัยขอนแกน

teepanis@kku.ac.th Draft Oct 2009


Quantum Mechanics ระดับบัณฑิตศึกษา

5 Interaction ของ Spin

5-2

กันภายใน hydrogen อะตอม จึงมีอันตรกริยาระหวางกัน เปรียบเสมือนกับแทงแมเหล็กสองแทง ดัง ในภาพ 5.1 ซึ่งในกรณีดังกลาว เราสามารถเขียน Hamiltonian ของ interaction ไดวา 2A ˆ ˆ Hˆ = S1 ⋅ S2 2

_________________________ สมการ (5.1)

สมการ (5.1) แสดงใหเห็นวาพลังงานของระบบขึ้นอยูกบั Sˆ1 ⋅ Sˆ2 ซึ่งก็คือมุมระหวาง spin ของ อนุภาคทั้งสอง ในภาพ 5.2 (ขวา) เราใชทิศทางของแมเหล็กสองแทงเพื่อเปรียบเทียบใหเห็น ภาพพจนของ interaction ดังกลาว นอกจากนี้ interaction energy ยังจะตองขึ้นอยูกับปจจัยอืน่ ๆอาทิ เชน ระยะหางระหวางอนุภาคทั้งสอง และ magnetic moment ของอนุภาคคูกรณี เปนตน แตเนื่องจากปจจัยอื่นๆเหลานี้ มีความซับซอนเกินกวาขอบเขตของเนื้อหาในปจจุบัน เราจึงทําไดดี ที่สุดโดยการแทนดวยคาคงที่ A และการหารดวย 2 ในสมการ (5.1) ก็เพื่อที่จะบังคับให A มี หนวยเปนพลังงานนั่นเอง basis state ของระบบ spin ที่มี 2 อนุภาค การที่จะคํานวณหาพลังงานของระบบ สามารถทําไดโดย เปลี่ยน Hamiltonian operator ดังในสมการ (5.1) ใหอยูใ นรูปของ matrix จากนั้นจึงทําการแก eigen equation เพื่อที่จะหาคาของ eigen energy และ eigenstate ในลําดับตอไป แตการที่จะสราง Hamiltonian matrix นั้น เราจําเปนจะตองกําหนด basis state ซึ่งก็คือสถานะ พื้นฐานทั้งหมดที่มีโอกาสจะเกิดขึ้น ในเมื่อเรากําหนดใหอนุภาคทั้งสองมี spin s = 1 จึงมีโอกาส 2

ที่จะเกิดขึ้นไดทั้งหมด 4 กรณีดว ยกันคือ +Z , +Z , +Z , −Z , −Z , + Z , −Z , −Z

__________________ สมการ (5.2)

สมการขางตนแสดงใหเห็นวาเราเลือกที่จะวัด spin ของทั้งสองอนุภาคตามแนวแกน z ซึ่งสัญลักษณ ี้ มายถึง spin ของอนุภาคที่หนึ่งอยูในสถานะ + Z และ อนุภาคที่สองอยูใน + Z , − Z ในที่นห สถานะ − Z ตามลําดับ อยางไรก็ตาม ดังที่ไดเห็นในการทดลองของ Stern-Gerlach ที่วาเราสามารถเลือกที่จะวัด spin ของ อนุภาคในทิศใดก็ได เพราะฉะนัน้ basis state ดังในสมการ (5.2) มิไดเปนเซตที่ตายตัว ยกตัวอยาง เชน เราอาจจะเลือกใชเซตของ Dr. Teepanis Chachiyo

ภาควิชาฟสิกส มหาวิทยาลัยขอนแกน

teepanis@kku.ac.th Draft Oct 2009


Quantum Mechanics ระดับบัณฑิตศึกษา

5 Interaction ของ Spin

5-3

+ Z , + X , + Z , − X , −Z , + X , −Z , − X

ซึ่งโดยหลักการแลวมิไดผิดพลาดแตอยางใด แตในทางปฏิบัติจะนําไปสูความยุงเหยิงทางคณิตศาสตร ที่ไมจําเปน เพราะฉะนัน้ ในเนื้อหาของบทที่ 5 เมื่อกลาวถึงอนุภาคทีม่ ี spin s = 1 อยู 2 อนุภาค 2

ดวยกัน เราจะใช basis state ดังในสมการ (5.2) แตจะใชสัญลักษณดังตอไปนี้แทน เพื่อความกระชับ ↑↑ , ↑↓ , ↓↑ , ↓↓

__________________ สมการ (5.3)

เมื่อทราบ basis state และความหมายของมันดังในสมการ (5.3) ทําใหเราทราบผลของ operator ตางๆ ที่กระทํากับ basis state เหลานี้ Sˆ1z ↑↑ = +

2

↑↑

Sˆ1+ ↑↑ = 0

Sˆ1z ↑↓ = +

2

↑↓

Sˆ1+ ↑↓ = 0

Sˆ1− ↑↑ =

↓↑

3 2 ↑↑ Sˆ12 ↑↑ = 4

Sˆ1− ↑↓ =

Sˆ1z ↓↑ = − Sˆ1+ ↓↑ =

↓↓

3 2 ↑↓ Sˆ12 ↑↓ = 4

2

↓↑

Sˆ1z ↓↓ = −

↑↑

Sˆ1+ ↓↓ =

2

↓↓ ↑↓

Sˆ1− ↓↑ = 0

Sˆ1− ↓↓ = 0

3 2 ↓↑ Sˆ12 ↓↑ = 4

3 2 ↓↓ Sˆ12 ↓↓ = 4

_______________________ สมการ (5.4) ดังแสดงในตารางขางตน การใชสัญลักษณ Sˆ1z นั้นหมายถึงวา operator ดังกลาวกระทํากับเฉพาะ สถานะของอนุภาคที่หนึ่งเทานั้น โดยที่นักศึกษาสามารถทบทวนคณิตศาสตรที่เกี่ยวของกับ operator Sˆ1z , Sˆ1+ , Sˆ1− , และ Sˆ12 ไดจากบทที่ 3 ในเรื่อง Angular Momentum และในทํานองเดียวกันกับ operator ที่กระทํากับเฉพาะอนุภาคที่สอง จะไดวา Sˆ2 z ↑↑ = +

2

↑↑

Sˆ2 + ↑↑ = 0 Sˆ2 − ↑↑ =

Sˆ2 z ↑↓ = − Sˆ2 + ↑↓ =

↑↓

3 2 Sˆ22 ↑↑ = ↑↑ 4

2

↑↓

Sˆ2 z ↓↑ = +

↑↑

Sˆ2 + ↓↑ = 0

Sˆ2 − ↑↓ = 0 3 2 Sˆ22 ↑↓ = ↑↓ 4

Sˆ2 − ↓↑ =

2

↓↑

Sˆ2 z ↓↓ = − Sˆ2 + ↓↓ =

↓↓

3 2 Sˆ22 ↓↑ = ↓↑ 4

2

↓↓ ↓↑

Sˆ2 − ↓↓ = 0 3 2 Sˆ22 ↓↓ = ↓↓ 4

_______________________ สมการ (5.5) Dr. Teepanis Chachiyo

ภาควิชาฟสิกส มหาวิทยาลัยขอนแกน

teepanis@kku.ac.th Draft Oct 2009


Quantum Mechanics ระดับบัณฑิตศึกษา

5 Interaction ของ Spin

5-4

ผลของ operator Sˆ1 ⋅ Sˆ2 ที่กระทํากับ basis state อยางไรก็ตาม Hamiltonian operator ดังใน สมการ (5.1) นั้น อยูในรูปของ Sˆ1 ⋅ Sˆ2 ซึ่งเปน operator ที่เรายังไมเคยไดวิเคราะห ดังนัน้ ใน ขั้นตนนี้ เราจําเปนตองเปลี่ยนรูปของ operator Sˆ1 ⋅ Sˆ2 ใหอยูในรูปของ Sˆ1z , Sˆ1+ , Sˆ1− และ Sˆ2 z , Sˆ2 + , Sˆ2 − เสียกอน ในทํานองเดียวกันกับ vector เราสามารถเขียน

(

)(

2Sˆ1 ⋅ Sˆ2 = 2 Sˆ1x i + Sˆ1 y j + Sˆ1z k ⋅ Sˆ2 x i + Sˆ2 y j + Sˆ2 z k

)

____________ สมการ (5.6)

= 2Sˆ1x Sˆ2 x + 2Sˆ1 y Sˆ2 y + 2 Sˆ1z Sˆ2 z

นอกจากนี้ เราทราบวา raising และ lowering operator Sˆ± มีความสัมพันธกับ Sˆx และ Sˆ y อยูในรูป ____________ สมการ (5.7)

Sˆ± = Sˆ x ± iSˆ y

และในทางกลับกัน ถาจัดรูปสมการ (5.7) เสียใหม จะไดวา Sˆ + Sˆ Sˆ1x = 1+ 1− 2

Sˆ − Sˆ Sˆ1 y = 1+ 1− 2i

ˆ

ˆ

และ Sˆ2 x = S2 + + S2 − 2

Sˆ − Sˆ2 − Sˆ2 y = 2 + 2i

____________ สมการ (5.8) เมื่อแทน operator ดังในสมการ (5.8) เขาในในสมการ (5.6) จะทําให 2 Sˆ1 ⋅ Sˆ2 = Sˆ1+ Sˆ2 − + Sˆ1− Sˆ2 + + 2 Sˆ1z Sˆ2 z

____________ สมการ (5.9)

จะสังเกตเห็นวา ทั้ง 3 เทอมในทางขวามือของสมการ (5.9) ลวนอยูใ นรูปของ operator ที่มีคุณสมบัติ ดังที่ไดสรุปในสมการ (5.4) และ สมการ (5.5) ทําใหเราอยูในฐานะทีจ่ ะคํานวณ matrix element ของ Hamiltonian ไดโดยงาย แบบฝกหัด 5.1 จงพิสูจนสมการ (5.9) โดยเริ่มจากสมการ (5.6) และ (5.8) eigen energy และ eigenstate จากสมการ (5.9) เราสามารถเขียน Hamiltonian operator ไดวา Dr. Teepanis Chachiyo

ภาควิชาฟสิกส มหาวิทยาลัยขอนแกน

teepanis@kku.ac.th Draft Oct 2009


Quantum Mechanics ระดับบัณฑิตศึกษา

5 Interaction ของ Spin

(

A ˆ ˆ Hˆ = S S + Sˆ1− Sˆ2 + + 2 Sˆ1z Sˆ2 z 2 1+ 2 −

)

5-5

____________ สมการ (5.10)

เพราะฉะนั้น เราสามารถที่จะคํานวณ matrix element ของ Hamiltonian โดยใช basis set ↑↑ , ↑↓ , ↓↑ , ↓↓ ซึ่งจะยกตัวอยางใน 2 กรณี 1)

(

)

A ↑↑ Hˆ ↑↑ = ↑↑ Sˆ1+ Sˆ2 − + Sˆ1− Sˆ2 + + 2Sˆ1z Sˆ2 z ↑↑ 2

และเมื่ออาศัยสมบัติการกระจาย จะทําให A A 2A ↑↑ Hˆ ↑↑ = ↑↑ Sˆ1+ Sˆ2 − ↑↑ + ↑↑ Sˆ1− Sˆ2 + ↑↑ + ↑↑ Sˆ1z Sˆ2 z ↑↑ 2 2 2

จากนั้น นําสมการ (5.4) และ (5.5) มาเปนตัวชวยลดรูปเทอมทั้ง 3 ที่ปรากฏทางในขวามือของสมการ ขางตน 2A A A ↑↑ Hˆ ↑↑ = ↑↑ Sˆ1+ Sˆ2 − ↑↓ + ↑↑ Sˆ1− Sˆ2 + ↑↑ + ↑↑ Sˆ1z Sˆ2 z ↑↑ 2 2 2 =

2A 2

22

↑↑ ↑↑

A ↑↑ Hˆ ↑↑ = 2

และในกรณีของตัวอยางที่สอง 2)

(

)

A ↑↑ Hˆ ↑↓ = ↑↑ Sˆ1+ Sˆ2 − + Sˆ1− Sˆ2 + + 2Sˆ1z Sˆ2 z ↑↓ 2

ซึ่งเมื่อเรากระจายเทอมขางตน และใชคณ ุ สมบัติดังในสมการ (5.4) และ (5.5) เขาชวย จะไดวา

Dr. Teepanis Chachiyo

ภาควิชาฟสิกส มหาวิทยาลัยขอนแกน

teepanis@kku.ac.th Draft Oct 2009


Quantum Mechanics ระดับบัณฑิตศึกษา

5 Interaction ของ Spin

5-6

A A A ↑↑ Hˆ ↑↓ = ↑↑ Sˆ1+ Sˆ2 − ↑↓ + ↑↑ Sˆ1− Sˆ2 + ↑↓ + 2 ↑↑ Sˆ1z Sˆ2 z ↑↓ 2 2 2 A 2 ↑↑ ↓↑

=

2

+

A ⎛ ⎞⎛ ⎞ 2 + − ↑↑ ↑↓ 2 ⎜⎝ 2 ⎟⎠ ⎜⎝ 2 ⎟⎠

↑↑ Hˆ ↑↓ = 0

แบบฝกหัด 5.2 จงคํานวณ matrix element ใหครบทั้ง 16 เทอม matrix ที่ได มีสมบัติเปน Hermitian matrix หรือไม ? และเมื่อคํานวณครบทั้ง 16 กรณีจะไดวา Hamiltonian matrix คือ 0 0 ⎡A 2 ⎢ 0 −A 2 A Hˆ ⎯⎯⎯⎯⎯⎯⎯⎯⎯⎯ →⎢ ↑↑ , ↑↓ , ↓↑ , ↓↓ basis ⎢ 0 A −A 2 ⎢ 0 0 ⎣ 0

0 ⎤ 0 ⎥⎥ 0 ⎥ ⎥ A 2⎦

_______ สมการ (5.11)

Hamiltonian matrix ดังสมการขางตนมี eigenstate อยู 4 state ดวยกัน ในจํานวนนี้ มีอยู 3 สถานะที่ มี eigen energy เทากันคือ + A และอีกสถานะหนึ่งมี eigen energy เทากับ − 3 A ซึ่งเขียนอยูใ น 2

2

รูปของ eigenvector ไดวา ⎡1 ⎤ ⎢0⎥ ⎢ ⎥, ⎢0⎥ ⎢ ⎥ ⎣0⎦

⎡0⎤ ⎢ ⎥ 1 ⎢ +1⎥ , 2 ⎢ +1⎥ ⎢ ⎥ ⎣0⎦

⎡0⎤ ⎢0⎥ ⎢ ⎥ ⎢0⎥ ⎢ ⎥ ⎣1 ⎦

ลวนมี eigenvalue เทากับ + A 2

และ ⎡0⎤ ⎢ ⎥ 1 ⎢ +1⎥ 2 ⎢ −1⎥ ⎢ ⎥ ⎣0⎦

มี eigenvalue เทากับ − 3 A 2

เพราะฉะนั้น เราสรุปไดวา hyperfine interaction ระหวาง spin ของอิเล็กตรอนและ spin ของโปรตอน นั้น ระบบจะมี eigenstate หรือ สถานะที่เสถียรอยูทั้งสิ้น 4 สถานะดวยกัน โดยที่แตละสถานะมี การจัดเรียงตัวของ spin และมี eigen energy ดังตอไปนี้

Dr. Teepanis Chachiyo

ภาควิชาฟสิกส มหาวิทยาลัยขอนแกน

teepanis@kku.ac.th Draft Oct 2009


Quantum Mechanics ระดับบัณฑิตศึกษา

5 Interaction ของ Spin

⎫ ⎪ ⎪ 1 1 ↑↓ + ↓↑ ⎬ 2 2 ⎪ ⎪ ↓↓ ⎭

5-7

↑↑

1 1 ↑↓ − ↓↑ 2 2

eigen energy คือ + A _______ สมการ (5.12) 2

eigen energy คือ − 3 A _______ สมการ (5.13) 2

แบบฝกหัด 5.3 สมมุติวาเราตองการขยายขอบเขตของการวิเคราะห hyperfine interaction ใหกวาง ขึ้น ที่จากเดิมจํากัดอยูแตเพียง spin angular momentum ใหครอบคลุมไปถึง angular momentum โดยทั่วไป (spin angular momentum + orbital angular momentum) ดังที่ไดกลาวในบทที่ 3 ที่เราใช สัญลักษณ jm เปนตัวบงบอกถึงสถานะของอนุภาคใดๆ ถาเรากําหนดให อนุภาคโปรตอน

มี basis state

อนุภาคอิเล็กตรอน

มี basis state

⎧1 1 1 1 ⎫ j1m1 ∈ ⎨ , + , , − ⎬ ⎩2 2 2 2 ⎭ ⎧3 3 3 1 3 1 3 3 ⎫ j2 m2 ∈ ⎨ , + , , + , , − , , − ⎬ ⎩2 2 2 2 2 2 2 2 ⎭

a) ในระบบทีม่ ีทั้งโปรตอนและอิเล็กตรอน จะพบวา มีจาํ นวน basis state ทั้งสิ้น 2x4 = 8 สถานะ จง เขียนสถานะทัง้ 8 ดังกลาว ใหอยูในรูป j1m1; j2m2 b) ในทํานองเดียวกันกับสมการ (5.1) เราสามารถเขียน Hamiltonian ไดวา

(

A ˆ ˆ Hˆ = J J + Jˆ1− Jˆ2 + + 2 Jˆ1z Jˆ2 z 2 1+ 2 −

)

จงสราง Hamiltonian matrix ขนาด 8x8 และหา eigen

energy ของระบบ สืบเนื่องจาก eigen energy ของระบบดังในสมการ (5.13) และ สมการ (5.12) จะสังเกตวา hydrogen อะตอม ซึ่งแตเดิมถานําเอาเฉพาะ Coulomb interaction มาวิเคราะห จะมีพลังงาน ground state อยาง หยาบๆ เทากับ E0 ≈ 13.6eV ดังในภาพ 5.2 เมื่อนําเอา hyperfine interaction เขามารวมพิจารณา เพื่อใหไดระดับพลังงานที่ละเอียดถี่ถวนมากขึ้น พบวา แทจริงแลว ระดับพลังงานของ hydrogen อะตอมนั้น ขึน้ อยูกับลักษณะการเรียงตัวของ spin ของอนุภาคทั้งสองดวย ในแงของระดับพลังงาน นั้น แยกออกเปน 2 ระดับดังภาพ

Dr. Teepanis Chachiyo

ภาควิชาฟสิกส มหาวิทยาลัยขอนแกน

teepanis@kku.ac.th Draft Oct 2009


Quantum Mechanics ระดับบัณฑิตศึกษา

5 Interaction ของ Spin

5-8

Hydrogen Hydrogenอะตอม อะตอม 1 1 ↑↓ + ↓↑ 2 2

↑↑

proton

E0 ≅ 13.6eV

↓↓

5.9 × 10−6eV

หมอก electron

1 1 ↑↓ − ↓↑ 2 2

λ = 21cm ภาพ 5.2 การเกิดคลื่นแมเหล็กไฟฟาที่ความยาวคลื่น 21cm เนื่องมาจาก hyperfine interaction ระหวาง spin ของอิเล็กตรอนและ spin ของโปรตอน

ทั้งนี้จะพบวา เมื่อ hydrogen อะตอมมีการเปลี่ยนแปลงสถานะเกิดขึ้น ก็จะตองปลดปลอยคลื่น แมเหล็กไฟฟาที่มีพลังงานเทากับ hν = ΔE =

A ⎛ 3A ⎞ −⎜ ⎟ = 2A 2 ⎝ 2 ⎠

ในป 1944 Hendrik van de Hulst ไดทํานายความถี่ของคลื่นแมเหล็กไฟฟาดังกลาวในทางทฤษฏีวา อยูในชวง 1420.4058 MHz หรือที่ความยาวคลื่นประมาณ 21cm ซึ่งตอมาในป 1951 Ewen และ Purcell ไดพิสจู นดว ยการทดลองวาคลื่นดังกลาวมีอยูจ ริง (Nature. 168:356) คลื่นวิทยุที่ความถี่ ดังกลาวนี้มีความสําคัญมากในทางดาราศาสตร เพราะวาเอกภพประกอบดวยกลุมแก็ส hydrogen จํานวนมหาศาล และในป 1951 Muller และ Oort (Nature. 168:357) ไดสรางแผนที่ของกาแล็กซี ทางชางเผือกขึ้นเปนครั้งแรกโดยอาศัยการตรวจวัดความเขมของสัญญาณในชวง 21cm ซึ่งได คนพบเปนครัง้ แรกวากาแล็กซีทางชางเผือกมีโครงสรางที่เปน spiral

5.2 Two Spin

1 2

Particles

ในการศึกษา eigenstate ของ hyperfine interaction Hamiltonian นั้น เราพบวาสถานะทั้ง 3 ใน สมการ (5.12) มีพลังงานที่เทากัน จึงเปนที่นาสังเกตวาสถานะทั้ง 3 ดังกลาว ควรจะมีคุณสมบัติบาง ประการที่เหมือนกัน

Dr. Teepanis Chachiyo

ภาควิชาฟสิกส มหาวิทยาลัยขอนแกน

teepanis@kku.ac.th Draft Oct 2009


Quantum Mechanics ระดับบัณฑิตศึกษา

5 Interaction ของ Spin

5-9

จริงอยู ระบบที่เรากําลังพิจารณาโดยภาพรวมแลวนั้นประกอบดวย 2 อนุภาค แต basis state ที่เรา นํามาใช เปนคุณสมบัติทกี่ ลาวถึงรายละเอียดเฉพาะตัวของอนุภาคนั้นๆ ยกตัวอยางเชน ↑↓ เปนสถานะทีอ่ นุภาคที่หนึ่งมี spin up และอนุภาคที่สองมี spin down ในทางตรงกันขาม เราอาจจะสนใจคุณสมบัติโดยรวมของทั้งระบบ อาทิเชน total spin angular momentum ตามแนวแกน z หรือ total spin angular momentum ยกกําลังสอง และการที่จะไดมา ซึ่งปริมาณทางฟสิกสเหลานี้ ก็ทําไดโดยการสราง operator ขึ้นมา และ หา eigenvalue ของ operator นั้นๆ โดยเราสามารถนิยาม __________________ สมการ (5.14)

Sˆ z ≡ Sˆ1z + Sˆ2 z

และ

(

)(

Sˆ 2 ≡ Sˆ ⋅ Sˆ = Sˆ1 + Sˆ2 ⋅ Sˆ1 + Sˆ2

)

Sˆ 2 = Sˆ12 + Sˆ22 + 2Sˆ1 ⋅ Sˆ2

_______________ สมการ (5.15)

ดวยอาศัยรูปแบบของ Sˆ 2 operator ในสมการ (5.15) และอาศัย basis state ↑↑ , ↑↓ , ↓↑ , ↓↓ เราเขียน Sˆ 2 ในรูปของ matrix ไดวา ⎡2 ⎢0 → 2⎢ Sˆ 2 ⎯⎯⎯⎯⎯⎯⎯⎯⎯⎯ ↑↑ , ↑↓ , ↓↑ , ↓↓ basis ⎢0 ⎢ ⎣0

0 1 1 0

0 1 1 0

0⎤ 0 ⎥⎥ 0⎥ ⎥ 2⎦

_______ สมการ (5.16)

ซึ่ง matrix ดังกลาวมี eigenvector และ eigenvalue ดังตอไปนี้ ⎡1 ⎤ ⎢0⎥ ⎢ ⎥, ⎢0⎥ ⎢ ⎥ ⎣0⎦

⎡0⎤ ⎢ ⎥ 1 ⎢ +1⎥ , 2 ⎢ +1⎥ ⎢ ⎥ ⎣0⎦

⎡0 ⎤ ⎢0 ⎥ ⎢ ⎥ ⎢0 ⎥ ⎢ ⎥ ⎣1 ⎦

ลวนมี eigenvalue เทากับ 2

2

= 1(1 + 1) 2

และ ⎡0⎤ ⎢ ⎥ 1 ⎢ +1⎥ 2 ⎢ −1⎥ ⎢ ⎥ ⎣0⎦

Dr. Teepanis Chachiyo

มี eigenvalue เทากับ 0

ภาควิชาฟสิกส มหาวิทยาลัยขอนแกน

2

= 0(0 + 1) 2

teepanis@kku.ac.th Draft Oct 2009


Quantum Mechanics ระดับบัณฑิตศึกษา

5 Interaction ของ Spin

5-10

ซึ่ง eigenvector ของ Sˆ 2 operator ขางตน เขียนใหอยูใ นรูปของ ket ไดวา eigenvalue

d =

↑↑

Sˆ 2 d = 1(1 + 1) 2 d

c =

1 1 ↑↓ + ↓↑ 2 2

Sˆ 2 c = 1(1 + 1) 2 c

b =

↓↓

a =

1 1 ↑↓ − ↓↑ 2 2

ˆ2

S b = 1(1 + 1)

2

____________ สมการ (5.17)

b

Sˆ 2 a = 0(0 + 1) 2 a

จากสมการขางตน เพื่อความสะดวก เราใชสัญลักษณ a , b , c , d แทน eigenstate ทั้ง 4 ที่มีอยู และจะสังเกตไดชัดเจนวา เซตของ eigenstate ดังกลาวเปนเซตเดียวกันกับ eigenstate ของ hyperfine splitting Hamiltonian ในสมการ (5.13) และ (5.12) นอกจากนี้ สมการ(5.14) และ (5.15) ยังแสดงใหเห็นวา operator ที่แสดงถึงคุณสมบัติโดยรวมของ ระบบทั้งสองนั้น commute หรืออีกนัยหนึ่ง ⎡ Sˆ , Sˆ 2 ⎤ = 0 ⎣ z ⎦

__________________ สมการ (5.18)

ทั้งนี้จะเห็นไดจากการพิจารณา ⎡⎣ Sˆz , Sˆ 2 ⎤⎦ และกระจายเทอมออกเปนชิ้นๆ จะไดวา ⎡ Sˆ , Sˆ 2 ⎤ = ⎡ Sˆ + Sˆ , Sˆ 2 + Sˆ 2 + 2 Sˆ ⋅ Sˆ ⎤ 2z 1 2 1 2⎦ ⎣ z ⎦ ⎣ 1z = ⎡ Sˆ1z , Sˆ12 ⎤ + ⎡ Sˆ2 z , Sˆ12 ⎤ + ⎡ Sˆ1z , Sˆ22 ⎤ + ⎡ Sˆ2 z , Sˆ22 ⎤ + ⎡⎣ Sˆ1z + Sˆ2 z , 2 Sˆ1 ⋅ Sˆ2 ⎤⎦ ⎣ ⎦ ⎣ ⎦ ⎣ ⎦ ⎣ ⎦

จากแบบฝกหัด 3.4 เราทราบวา ⎣⎡ Sˆ1z , Sˆ12 ⎦⎤ = 0 และ ⎣⎡ Sˆ2 z , Sˆ12 ⎦⎤ = 0 เพราะ operator คูกรณีนั้น มิไดกระทํากับอนุภาคตัวเดียวกัน ทําใหสมการขางตนลดรูปเหลือเพียง ⎡ Sˆ , Sˆ 2 ⎤ = ⎡ Sˆ + Sˆ , 2Sˆ ⋅ Sˆ ⎤ 2z 1 2⎦ ⎣ z ⎦ ⎣ 1z = 2 ⎡⎣ Sˆ1z + Sˆ2 z , Sˆ1x Sˆ2 x + Sˆ1 y Sˆ2 y + Sˆ1z Sˆ2 z ⎤⎦

Dr. Teepanis Chachiyo

ภาควิชาฟสิกส มหาวิทยาลัยขอนแกน

teepanis@kku.ac.th Draft Oct 2009


Quantum Mechanics ระดับบัณฑิตศึกษา

5 Interaction ของ Spin

5-11

และดวยอาศัยคุณสมบัติเชิง commutator ของ angular momentum operator ในสมการ (3.5) ทําให เราสรุปไดวา ⎡⎣ Sˆz , Sˆ 2 ⎤⎦ = 0 ซึ่งก็เปนจริงดังในสมการ (5.18) แบบฝกหัด 5.4 พิสูจนวา ⎡⎣ Sˆ1z + Sˆ2 z , Sˆ1x Sˆ2 x + Sˆ1y Sˆ2 y + Sˆ1z Sˆ2 z ⎤⎦ = 0 เนื่องจาก ⎣⎡ Sˆz , Sˆ 2 ⎤⎦ = 0 จะไดวา eigenstate ของ Sˆ 2 ดังในสมการ (5.17) ก็ยอมตองเปน eigenstate ของ Sˆz ดวยเชนกัน เพราะฉะนั้น เราสามารถที่จะคํานวณผลของ operator Sˆz ตอ eigenstate ดังกลาว ยกตัวอยางเชน

(

)

1 ⎛ 1 ⎞ Sˆ z c = Sˆ1z + Sˆ2 z ⎜ ↑↓ + ↓↑ ⎟ 2 ⎝ 2 ⎠ 1 1 1 1 = Sˆ1z ↑↓ + Sˆ1z ↓↑ + Sˆ2 z ↑↓ + Sˆ2 z ↓↑ 2 2 2 2 1 1 1 1 = ↑↓ − ↓↑ − ↑↓ + ↓↑ 2 2 2 2 2 2 2 2

เนื่องจากในสมการขางตนนัน้ เครื่องหมายของแตเทอมหักลางกันพอดี จึงทําให Sˆz เขียนไดอีกวา

c =0

หรือ

Sˆ z c = 0 c

เมื่อเปนเชนนี้ เราสามารถสรุปผลของ operator Sˆz และ Sˆ 2 ที่มีตอ eigenstate ดังนี้

a ,b ,c ,d

d =

↑↑

Sˆ 2 d = 1(1 + 1) 2 d

Sˆ z d = + d

c =

1 1 ↑↓ + ↓↑ 2 2

Sˆ 2 c = 1(1 + 1) 2 c

Sˆ z c = 0 c

b =

↓↓

Sˆ 2 b = 1(1 + 1) 2 b

Sˆ z b = − b

a =

1 1 ↑↓ − ↓↑ 2 2

Sˆ 2 a = 0(0 + 1) 2 a

Sˆ z a = 0 a

Dr. Teepanis Chachiyo

ภาควิชาฟสิกส มหาวิทยาลัยขอนแกน

_ สมการ (5.19)

teepanis@kku.ac.th Draft Oct 2009


Quantum Mechanics ระดับบัณฑิตศึกษา

5 Interaction ของ Spin

5-12

เมื่อเราทบทวนบทที่ 3 ในเรือ่ งของ angular momentum จะพบวา เราสามารถใช basis state j, m เพื่อเปนตัวแทนสถานะเชิง spin ของระบบ นอกจากนี้ เรายังทราบวา ผลของ operator Sˆz และ Sˆ 2 ตอสถานะ j, m ก็คือ Sˆ z j , m = m

และ Sˆz

j, m

j , m = j ( j + 1) 2 j , m

________ สมการ (5.20)

เพราะฉะนั้นถาเราลองเปรียบเทียบสมการ (5.20) กับสมการ (5.19) จะทําใหเราสามารถเขาใจ ความหมายของสถานะ a , b , c , d ไดดยี ิ่งขึ้น นั่นก็คือ จากการเปรียบเทียบเราพบวา d

=

j = 1, m = +1

c b

= =

j = 1, m = 0 j = 1, m = − 1

a

=

j = 0, m = 0

______________ สมการ (5.21)

และกอนทีเ่ ราจะวนอยูใ นวงกตของคณิตศาสตร จนหลงประเด็นทีก่ ําลังจะทําความเขาใจ ผูเขียนจะ ขอย้ําอีกครั้งวา ใน Section 5.2 นี้ เราตองการที่ศึกษาคุณสมบัติโดยรวมของระบบที่มีสองอนุภาค โดยแตละอนุภาคมี spin ไดสองแบบคือ spin up

1 1 j = ,m = − 2 2

และ spin down

1 1 j = ,m = + 2 2

โจทย spin ของทั้งสองอนุภาคจะตองเรียงตัวอยางไร ระบบโดยรวมจึงจะ มี ตอบ จากสมการ (5.21) จะไดวา คําตอบที่ถูกตองก็คือ ↑↑

j =1

และ m = 1

จากตัวอยางในขางตน เราสามารถทําความเขาใจไดโดยงายวา ในเมื่ออนุภาคแตละตัวมี angular momentum ตามแนวแกน z เทากับ m1 = + 1 และ m2 = + 1 ก็ยอมจะทําใหทั้งระบบมี m = 1 2

2

แตพฤติกรรมของ quantum mechanics มิไดทําความเขาใจไดโดยงายเสมอไป ยกตัวอยางเชน ถาเรา ตองการที่จะใหระบบโดยรวมมี j = 0, m = 0 นั่นก็คอื เปน spin ที่มีขนาดของ vector เปนศูนย จากสมการ (5.21) จะพบวา อนุภาคทั้งสองจะตองอยูใ นสถานะ j = 0, m = 0 =

Dr. Teepanis Chachiyo

1 1 ↑↓ − ↓↑ 2 2

ภาควิชาฟสิกส มหาวิทยาลัยขอนแกน

________ สมการ (5.22)

teepanis@kku.ac.th Draft Oct 2009


Quantum Mechanics ระดับบัณฑิตศึกษา

5 Interaction ของ Spin

5-13

สมการขางตนแสดงใหเห็นวา ในสภาวะที่ spin ของทั้งสองอนุภาคมีทศิ ทางตรงกันขามซึ่งก็คือ ↑↓ หรือ ↓↑ จะทําให spin ของระบบมีคาเปนศูนย และเนื่องจากการที่อนุภาคทั้งสองมี spin ชี้ใน ทิศตรงกันขามนี้ เปนไปไดสองกรณี j = 0, m = 0 ดังในสมการ (5.22) จึงเปน superposition ของ basis sate ทั้งสอง ทั้งนี้ ใหสังเกตสัมประสิทธิ์ที่เปนเครื่องหมายลบ ถาเราทําใหสัมประสิทธิ์เปนเครื่องหมายบวก ผลลัพธที่ได กลับทําให angular momentum ของทั้ง ระบบไมเปนศูนย นัน่ ก็คือ จากสมการ (5.21) j = 1, m = 0 =

1 1 ↑↓ + ↓↑ 2 2

________ สมการ (5.23)

สถานะ j = 1, m = 0 ขางตน แสดงใหเห็นถึง spin ของระบบที่ไมเปนศูนย ( j ≠ 0) และเรา จะตองย้าํ ใหเห็นอีกครั้งวา ถึงแมวาสถานะทั้งสองทางขวามือของสมการ (5.23) ลวนแลวแตเปน สถานะที่ spin ของอนุภาคทั้งสองมีทิศตรงกันขาม แตเมื่อนํามาเรากัน spin ของทั้งระบบกลับไม เปนศูนย และนี่กเ็ ปนอีกตัวอยางหนึ่งทีแ่ สดงใหเห็นความแปลกที่ผิดแผกไปในโลกของ quantum mechanics ทั้งนี้ เราจะขอสรุปคุณสมบัติการรวมกันของ spin j1m1 และ เดียวกัน เราใชสัญลักษณ j1m1; j2m2 เพื่อใหกระชับ ไดวา j = 1, m = +1

=

j = 1, m = 0

=

j = 1, m = −1

=

j = 0, m = 0

=

j2 m2

ซึ่งเมื่อรวมอยูใ นระบบ

1 1 1 1 ,+ ; ,+ 2 2 2 2 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 ,+ ; ,− + ,− ; ,+ 2 2 2 2 2 2 2 2 2 2 1 1 1 1 ,− ; ,− 2 2 2 2

_____ สมการ (5.24)

1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 ,+ ; ,− − ,− ; ,+ 2 2 2 2 2 2 2 2 2 2

ในทายที่สุด เราสามารถตอบคําถามที่เกี่ยวของกับ eigen energy ของ hyperfine interaction ที่วา เพราะเหตุใด พลังงานของ eigenstate จึงแบงออกเปน 2 กลุมอยางชัดเจน จากสมการ (5.24), (5.13)

Dr. Teepanis Chachiyo

ภาควิชาฟสิกส มหาวิทยาลัยขอนแกน

teepanis@kku.ac.th Draft Oct 2009


Quantum Mechanics ระดับบัณฑิตศึกษา

, และ (5.12) เราตอบไดวา พลังงาน j =1

ในขณะที่พลังงาน

E=−

5 Interaction ของ Spin E=+

3A 2

A 2

5-14

นั้นเปนกลุมของ eigenstate ที่มี angular momentum

อยูในกลุมของ eigenstate ที่มี

j=0

นั่นเอง

5.3 EPR Paradox เพื่อที่จะยกตัวอยางที่เปนรูปธรรมของการนําสมการ (5.24) มาประยุกตใชงานในสถานการณจริง เราจะมาศึกษาการสลายตัวของอนุภาค η meson และจากการวิเคราะหการสลายตัวของอนุภาคที่ ไมเสถียรนี้เอง จะนําไปสูขอสังเกตที่ Einstein, Podolsky, และ Rosen (Phys.Rev. 1935. 47:777) ได ใหไวเพื่อประกอบความเชื่อของบุคคลทั้งสามในขณะนัน้ ที่วา quantum mechanics ยังเปนทฤษฏีที่ มีขอบกพรองอยู ซึ่งขอสังเกตดังกลาวนี้ รูจักกันทัว่ ไปภายใตชื่อ EPR Paradox

อนุภาค η -meson มี spin s = 0

กอนสลายตัว หลังสลายตัว อนุภาค μ + มี spin s = 1

2

อนุภาค μ − มี spin s = 1

2

เนื่องจากกฎของการอนุรักษ angular momentum ภายหลังจาก การสลายตัว ระบบของอนุภาคทั้งสองจะตองมีสถานะเปน Ψ =

1 1 ↑↓ − ↓↑ 2 2

ภาพ 5.3 แสดงการสลายตัวของอนุภาค η -meson ซึ่งในบางครั้งเกิดเปนอนุภาค μ + anti-muon และ μ − muon ภาพ 5.3 แสดงการสลายตัวของอนุภาค η -meson ซึ่งเปนอนุภาคทีม่ ี spin s = 0 ถึงแมวาการ สลายตัวของอนุภาคโดยปกติจะเกิดผลลัพธที่แตกตางกันขึ้นอยูกับระดับพลังงานของอนุภาคดังกลาว ในบางครั้ง η -meson สลายตัวออกเปนอนุภาคสองตัวคือ muon และ anti-muon ซึ่งใชสัญลักษณวา μ − และ μ + ตามลําดับ และเปนทีท ่ ราบโดยทั่วไปวา คุณสมบัติของ muon หรือ anti-muon นั้น ลวนเปนอนุภาคที่มี spin s = 1

2

Dr. Teepanis Chachiyo

ภาควิชาฟสิกส มหาวิทยาลัยขอนแกน

teepanis@kku.ac.th Draft Oct 2009


Quantum Mechanics ระดับบัณฑิตศึกษา

5 Interaction ของ Spin

5-15

โจทย ภายหลังจากการสลายตัวทําใหเกิดเปนระบบทีม่ ีสองอนุภาค จงเขียนสถานะของระบบ ตอบ

Ψ =

1 1 ↑↓ − ↓↑ 2 2

เมื่อพิจารณาระบบที่มีสองอนุภาค และแตละอนุภาคมี spin s = 1 นั้น การเรียงตัวของ spin เปนไป 2

ไดทั้งหลายวิธดี ังในสมการ (5.24) แตมีอยูวิธีเดียวเทานัน้ ที่ทําให total spin angular momentum ของระบบทั้งหมดมีคาเปนศูนย สาเหตุที่ตองเปนศูนยก็เพราะวาอนุภาค η -meson ที่ใหกําเนิด muon และ anti-muon นั้น มี s = 0 ซึ่งเมื่อพิจารณากฎการอนุรักษ angular momentum แลวจะได วา spin กอนและหลังการสลายตัวจะตองเปนศูนย เพราะฉะนัน้ แลว สถานะของระบบภายหลังจาก การสลายตัว จะตองอยูในรูปของ

Ψ =

1 1 ↑↓ − ↓↑ 2 2

นอกจากนี้ กฎของการอนุรักษ momentum อีกเชนกันทีบ่ ังคับให muon และ anti-muon จะตองพุง ออกไปในทิศทางที่ตรงกันขาม และถาเราลองจินตนาการวา อนุภาคทัง้ สองเคลื่อนที่หางออกไป เรื่อยๆโดยไมอะไรมากีดขวาง จนอยูห างกันหลายลานปแสง คนละซีกของเอกภพ

ภาพ 5.4 แสดงเหตุการณสมมุติที่ Einstein จินตการขึ้นเพื่อชี้ใหเห็นวา quantum mechanics ยังเปน ทฤษฏีที่ไมมีความสมบูรณ ดังแสดงในภาพ 5.4 ถาสมมุติวาอนุภาคทั้งสองอยูหางกันเปนระยะทางมหาศาล แตดว ยขอกําหนด ของระบบที่วา spin ของอนุภาคทั้งสองจะตองมีทิศทางตรงกันขามเสมอ เพราะฉะนัน้ ถาเราติดตั้ง Stern-Gerlach experiment เพื่อทําการวัด spin และพบวาอนุภาค anti-muon μ + ทางซายมือมี spin Dr. Teepanis Chachiyo

ภาควิชาฟสิกส มหาวิทยาลัยขอนแกน

teepanis@kku.ac.th Draft Oct 2009


Quantum Mechanics ระดับบัณฑิตศึกษา

เปน

1 1 ,+ 2 2

5 Interaction ของ Spin

5-16

อนุภาค muon μ − ที่อยูอีกซีกหนึ่งของกาแล็กซีจะโดนบังคับดวย quantum

mechanics ใหมี spin เปน

1 1 ,− 2 2

ในทันที ซึ่งเร็วกวาความเร็วแสง และขัดกันอยางสิ้นเชิงกับ

special relativity ของ Einstein นอกจากนี้ การที่คุณสมบัติเชิง spin ของอนุภาค muon μ − ไปผูกติดอยูก ับคุณสมบัตขิ องอนุภาค anti-muon μ + ยังแสดงใหเห็นวา spin ของอนุภาค muon μ − มิใชคุณสมบัติเฉพาะตัวของมันเอง หากแตไปผูกติดอยูกับอนุภาคอื่นๆที่อยูหา งไกลออกไป นักฟสิกสเรียกพฤติกรรมลักษณะดังกลาว นี้วา non-locality และในป 1935 Einstein, Podolsky, และ Rosen (Phys.Rev. 1935. 47:777) ไดตีพิมพบทความที่ แสดงจุดยืนเชิงปรัชญาที่วา คุณสมบัติตางๆเชน momentum, มวล, พลังงาน, หรือ spin ก็ตาม ควร จะตองเปนสมบัติเฉพาะตัวของอนุภาคตัวนั้นๆ และไมขึ้นอยูกับสิ่งแวดลอมหรืออนุภาคอื่นใด พฤติกรรมลักษณะเชนนี้เรียกวา local reality ซึ่งหมายถึง คุณสมบัติของอนุภาค (reality) จะตองมี อยูจริงและเปนสมบัติเฉพาะตัว (local) ของมันเอง ความขัดแยงในเชิงปรัชญาอันนี้เอง ที่เรียกกัน โดยทั่วไปวา EPR Paradox

1. สองภาพใสซอง ทีเ่ หมือนกัน

2. สลับซองจนแยกไมออก วาภาพไหนอยูซองใด

3. สงออกไปยังผูรับ

ภาพ 5.5 เหตุการณจําลองที่จะทําใหนกั ศึกษาเขาใจความหมายของ Einstein ในแงของ local reality ไดงายขึ้น สมมุติวามีภาพสองภาพ 1) แจกัน และ 2) ใบหนา ถาเราใสซองที่เหมือนกันและสลับ จนแยกไมออกวาภาพไหนอยูซองใด จากนั้นสงไปยังผูร ับ

Dr. Teepanis Chachiyo

ภาควิชาฟสิกส มหาวิทยาลัยขอนแกน

teepanis@kku.ac.th Draft Oct 2009


Quantum Mechanics ระดับบัณฑิตศึกษา

5 Interaction ของ Spin

5-17

ภาพ 5.5 แสดงเหตุการณจาํ ลองที่จะทําใหนักศึกษาเขาใจความหมายของ Einstein ในแงของ local reality ไดงายขึ้น สมมุติวามีภาพสองภาพ 1) แจกัน และ 2) ใบหนา ถาเราใสซองที่เหมือนกันและ สลับจนแยกไมออกวาภาพไหนอยูซองใด จากนั้นสงไปยังผูรับ จริงอยูวาถายังไมเปดซองเราก็ไมทราบวาภายในซองมีภาพใด *แต* ภาพที่อยูในซอง เปนสมบัติ เฉพาะตัวของซองนั้นๆ และสมบัติดังกลาวไดถูกกําหนดไวอยางชัดเจนตั้งแตเมื่อครั้งที่เราไดทําการ บรรจุภาพเอาไว และการที่เราไมทราบวาซองไหนมีภาพใดก็เปนเพราะ ภาพถูกซอนไวในซอง Einstein ใชคําศัพทวา "hidden variable" ที่ใชแทนปริมาณทางฟสิกสทเี่ ราไมอาจจะวัดไดดว ย ขอจํากัดตางๆ และความไมแนนอน หรือ randomness ในทางฟสิกสก็เปนผลสืบเนือ่ งมาจาก ขอจํากัดดังกลาวนี้เอง

Quantum Mechanics Theory

Hidden Variable Theory

ความไมแนนอนเปนสมบัติ พื้นฐานและหลีกเลี่ยงไมได

Ψ =

1 1 ↑↓ − ↓↑ 2 2

ความไมแนนอนเปนเพียงขอจํากัดใน การวัดปริมาณทางฟสิกสที่ซุกซอนอยู

ภาพ 5.6 แสดงถึงมุมมองที่แตกตางกันระหวาง quantum mechanics theory และ hidden variable theory ภาพ 5.6 แสดงถึงมุมมองที่แตกตางกันระหวาง quantum mechanics theory และ hidden variable theory เมื่อเราพิจารณาระบบที่เปนสถานะผสมของ basis state ดังจะเห็นในตัวอยางที่เปนสถานะ ผสมของภาพแจกันและภาพใบหนา quantum mechanics theory มองการผสมของสองสถานะดังกลาวเปนกฎเกณฑพื้นฐานของธรรมชาติ และหลีกเลีย่ งไมได ดังทีไ่ ดเห็นในภาพที่อาจจะตีความไดวาเปนแจกันหรือใบหนาก็ได ขึ้นอยูก ับ จังหวะและมุมมองของผูสังเกต

Dr. Teepanis Chachiyo

ภาควิชาฟสิกส มหาวิทยาลัยขอนแกน

teepanis@kku.ac.th Draft Oct 2009


Quantum Mechanics ระดับบัณฑิตศึกษา

5 Interaction ของ Spin

5-18

ในขณะที่ hidden variable theory มองการผสมของสองสถานะดังกลาวเปนเพียงขอจํากัดทางเทคนิค เปรียบเสมือนภาพที่ซุกซอนไวในซอง โดยที่แตละซองก็จะมีภาพซึ่งเปนสมบัติเฉพาะตัวของซอง นั้นๆ และเปนอิสระจากซองอื่นๆ กอนป 1964 นักฟสิกสสวนใหญเชื่อวา กลไกทาง quantum mechanics ที่เกีย่ วของกับ probability amplitude หรือ แมกระทั่งการใช complex number เขามาเปนหนึ่งในหัวใจสําคัญของตัวทฤษฏีนั้น ถึงแมวาจะสามารถอธิบายและทํานายผลการทดลองได ก็เปนเรื่องบังเอิญ Einstein เชื่อวาเราสามารถที่จะออกแบบ hidden variable theory ที่อธิบายและทํานายผลการทดลอง ตางๆที่ quantum mechanics เคยประสบความสําเร็จมาแลว อาทิเชน Stern-Gerlach experiment โดย ที่ hidden variable theory ดังกลาว ไมมีความจําเปนใดๆที่จะตองนําแนวคิดของ non-locality หรือ complex number เขามามีสวนรวมแตอยางใด ในป 1964 John Bell (J. Bell. Physics 1, 195) ไดออกแบบการทดลองขึ้นมาชุดหนึ่งที่ quantum mechanics theory และ hidden variable theory มีผลการทํานายที่แตกตางกันโดยสิ้นเชิง และตอมา ในภายหลังนักวิทยาศาสตรอาทิ Aspect et. al. (A. Aspect, P. Grangier, and G. Roger. Phys. Rev. Lett. 49:91) ก็ไดพิสูจนใหเห็นจริงดวยการทดลองวา quantum mechanics เปนทฤษฏีที่ถูกตอง

5.4 การรวมกันของ Angular Momentum ในตัวอยางของ Section ที่ผานมา เรามุงเนนไปที่ spin ของอิเล็กตรอนและโปรตอนซึ่งมี s = 1 ใน 2

คราวนี้เราจะมาศึกษาการที่ angular momentum eigenstate ของ Jˆ1 คือ eigenstate ของ Jˆ2 คือ

Jˆ1

และ

j1m1

m1 ∈ {+ j1, j1 − 1,

j2 m2

m2 ∈ {+ j2 , j2 − 1,

Jˆ2

เขามารวมกัน โดยที่

, − j1 + 1, − j1}

มีทั้งสิ้น 2 j1 + 1 state , − j2 + 1, − j2 } มีทั้งสิ้น 2 j2 + 1 state

เมื่อ angular momentum ทั้งสอง มีความจําเปนที่จะตองนํามาพิจารณาเปนระบบเดียวกัน ไมวาจะ เปน (1) สองอนุภาคเขามารวมกันเปนอะตอม (2) หรือสองอนุภาคที่เกิดขึ้นจากปรากฏการณการ สลายตัวของอนุภาคที่ไมเสถียร (3) หรือแมกระทั่งกรณีของอนุภาคเดียว แตเราตองการพิจารณาทั้ง orbital angular momentum Jˆ1 = Lˆ และ spin angular momentum Jˆ2 = Sˆ ไปพรอมๆกัน กลาวคือ Jˆ1 + Jˆ2 = Lˆ + Sˆ เปนตน

Dr. Teepanis Chachiyo

ภาควิชาฟสิกส มหาวิทยาลัยขอนแกน

teepanis@kku.ac.th Draft Oct 2009


Quantum Mechanics ระดับบัณฑิตศึกษา

5 Interaction ของ Spin

5-19

ในกรณีเชนนี้ เราสามารถสราง basis state ใหอยูใ นรูปของ basis set

j1m1; j2 m2

มีทั้งสิ้น (2 j1 + 1)(2 j2 + 1) state _____ สมการ (5.25)

อยางไรก็ตาม เซตของ basis state ในสมการ (5.25) เปนสถานะที่แสดงถึงคุณสมบัติเฉพาะตัวของ อนุภาคทั้งสอง และถาเราตองการที่จะสราง state ที่แสดงใหเห็นถึงสมบัติโดยรวมของทั้งระบบ สามารถทําไดโดยเขียน jm

โดยที่ ( Sˆ 2 )

jm = j ( j + 1) 2 jm

และ ( Sˆz )

jm = m

jm

_____ สมการ (5.26)

สถานะทั้งสองลักษณะดังสมการ (5.25) และ (5.26) นั้น เราไดเคยวิเคราะหมาแลวในกรณีตวั อยาง ดัง ในสมการ (5.24) และจากตัวอยางนี้เอง จะพบวา เราสามารถเขียน jm ใหอยูในรูป superposition ของ basis set j1m1; j2m2 ไดวา jm =

m1 , m2

Cm1, m2 j1m1; j2 m2

_____ สมการ (5.27)

โดยที่สัมประสิทธิ์ Cm1, m2 มีชื่อเฉพาะวา Clebsch-Gordan Coefficient ซึ่งมีคาแตกตางกันไปตาม พฤติกรรมของระบบที่กําลังพิจารณา จะเห็นวา สัมประสิทธิ์ดังกลาว มีตัวเลขดัชนีกาํ กับอยู 2 ตัวคือ m1 และ m2 ยกตัวอยางเชน ถาเราเขียนตัวอยางดังที่ไดกลาวไวในสมการ (5.24) ใหอยูในรูปแบบ ของภาษาที่ใชในสมการ (5.27) จะไดวา

j = 1, m = 0 =

1 1 C 1 1 j1, m1 = + ; j2 , m2 = + + ,+ 2 2

1 1 +C 1 1 j1, m1 = + ; j2 , m2 = − + ,− 2 2

1 1 +C 1 1 j1, m1 = − ; j2 , m2 = + − ,+ 2 2

1 1 +C 1 1 j1, m1 = − ; j2 , m2 = − − ,− 2 2

2

2

2

2

2

2

2

2

ซึ่งในกรณีนี้ สัมประสิทธิ์ดังกลาวมีคาเทากับ

Dr. Teepanis Chachiyo

ภาควิชาฟสิกส มหาวิทยาลัยขอนแกน

teepanis@kku.ac.th Draft Oct 2009


Quantum Mechanics ระดับบัณฑิตศึกษา

5 Interaction ของ Spin

C 1 1 =0

C 1 1=

+ ,+ 2 2

C 1 1 = − ,+ 2 2

+ ,− 2 2

1 2

5-20

1 2

C 1 1 =0 − ,− 2 2

ทั้งนี้ การเขียนสถานะ jm ใหอยูใ นรูปทั่วไปดังสมการ (5.27) มีจุดประสงคก็เพื่อเปนสากลในการ วิเคราะหระบบตางๆทางฟสิกสที่มี angular momentum j , m , j1 , และ j2 แตกตางกันออกไป และโดยปรกติแลว นักศึกษาจะสามารถตรวจสอบคาของสัมประสิทธิ์ Cm1, m2 ไดจากตารางอางอิง ทั่วไปที่ไดมีการจัดทําไวแลวเพื่อการสะดวกในการนํามาใชงาน a) 1 2 ⊗1 2

1

0

0 +1 2 −1 2 1 2 −1 2 + 1 2 1 2

0 12 −1 2

−1 2 −1 2

b) 1 ⊗1 2

ละไวในถานที่เขาใจวาสัมประสิทธิใ์ นตาราง จะตองอยูในรูปของ square root กอนนํามา ใชงาน ยกตัวอยางเชน −1 2 จริงๆแลว หมายถึง − 1 2

1

+1 +1 2 +1 2 1

1 −1 1

c)

32

+3 2 +1 + 1 2 1 +1 − 1 2 0 +1 2

3 2

12

+1 2 13 23

+1 2 2 3 −1 3

0 −1 2 −1 + 1 2

การอานตาราง m1 m2

3 2

m1 m2

12

−1 2 −1 2 23 13 1 3 −2 3

j

j

m m

สัมประสิทธิ์

32

−3 2 −1 −1 2 1

ภาพ 5.7 แสดงตาราง Clebsch-Gordan Coefficient ที่พบไดโดยทัว่ ไป ยกตัวอยางเชนภาพ 5.7 ที่แสดงตาราง Clebsch-Gordan Coefficient ที่พบไดโดยทั่วไปในหนังสือ อางอิง นักศึกษาจะพบวาในภาพจะประกอบดวยตารางยอยที่ขึ้นตนดวยสัญลักษณอาทิเชน 1 ⊗ 1 2 ซึ่งหมายถึงการรวมกันของ angular momentum

j1 = 1 และ j2 =

1 2

ตารางดังภาพ 5.7b ยังแบงออกเปนสวนยอยๆ 4 สวน ซึ่งแตละสวนมีความหมายดังแสดงในภาพ 5.7c ในภาพดังกลาว แถวบนแสดงถึงสถานะ jm ที่เปนไปได ในขณะทีแ่ ถวซายแสดงถึง linear superposition ของ j1m1; j2m2 และในบริเวณสวนกลางของตารางก็คือสัมประสิทธิ์ ยกตัวอยางเชน

Dr. Teepanis Chachiyo

ภาควิชาฟสิกส มหาวิทยาลัยขอนแกน

teepanis@kku.ac.th Draft Oct 2009


Quantum Mechanics ระดับบัณฑิตศึกษา 32 +3 2 +1 + 1 2 1

5 Interaction ของ Spin

5-21

มีความหมายวา j = 3 2, m = + 3 2 = j1, m1 = +1 ; j2 , m2 = + 1 2

+1 − 1 2 0 +1 2

3 2 +1 2

12 +1 2

13 23

2 3 −1 3

มีความหมายวา

j = 3 2, m = + 1 2 =

1 2 j1, m1 = +1 ; j2 , m2 = − 1 2 + j1, m1 = 0 ; j2 , m2 = + 1 2 3 3

และ j = 1 2, m = + 1 2 =

2 1 j1, m1 = +1 ; j2 , m2 = − 1 2 − j1, m1 = 0 ; j2 , m2 = + 1 2 3 3

สัมประสิทธิ์ที่เรียกวา Clebsch-Gordan Coefficient ดังที่แสดงในสมการ (5.27) นอกจากจะเขียนอยู ในรูป Cm1, m2 ยังอาจจะเขียนอยูในรูปของ bra-ket ไดวา jm =

∑ (

j1m1; j2 m2 jm

)

j1m1; j2 m2

_____ สมการ (5.28)

m1 , m2

สมการ (5.28) ขางตนนิยามให Clebsch-Gordan Coefficient อยูในรูปของ j1m1; j2m2 jm ซึ่งเรา จะมาศึกษาอยางละเอียดในขัน้ ตอนตอไปถึงการคํานวณปริมาณดังกลาว อยางไรก็ตามกอนที่เราจะ วิเคราะห Clebsch-Gordan Coefficients ดวยวิธีการทางคณิตศาสตรอยางละเอียด ภาพ 5.8 แสดงถึง ตารางของสัมประสิทธิ์ในกรณีตางๆทั้งสิ้น 7 กรณีเพื่อความสะดวกในการใชงานในอนาคต

Dr. Teepanis Chachiyo

ภาควิชาฟสิกส มหาวิทยาลัยขอนแกน

teepanis@kku.ac.th Draft Oct 2009


Quantum Mechanics ระดับบัณฑิตศึกษา

5 Interaction ของ Spin

5-22

ภาพ 5.8 แสดง Clebsch-Gordan Coefficients ที่เกีย่ วของกับการรวมกันของ angular momentum และ j2 ซึ่งดังตารางใชสัญลักษณ j1 ⊗ j2

j1

อยางไรก็ตาม ตารางดังแสดงในภาพ 5.8 เปนสิ่งที่เราสามารถที่สรางไดเองในกรณีทเี่ ราจําเปนตอง วิเคราะหระบบที่มี angular momentum นอกเหนือจากทีม่ ีอยูในตาราง ดังนั้นเราจําเปนตองมา พิจารณาเอกลักษณทางคณิตศาสตร 3 ขอดวยกันคือ 1)

j1m1; j2 m2 jm = 0

Dr. Teepanis Chachiyo

เวนแต m = m1 + m2

ภาควิชาฟสิกส มหาวิทยาลัยขอนแกน

teepanis@kku.ac.th Draft Oct 2009


Quantum Mechanics ระดับบัณฑิตศึกษา

5 Interaction ของ Spin

5-23

คุณสมบัติขางตนของ Clebsch-Gordan Coefficient สามารถพิสูจนไดโดยงายเมื่อเราพิจารณา operator Jˆ z = Jˆ z1 + Jˆ z 2 เพราะฉะนัน้ Jˆ z − Jˆ z1 − Jˆ z 2 = 0

ซึ่งเมื่อ operator ที่เปนศูนยดงั กลาวกระทํากับสถานะใด ก็ยอมตองเปนศูนย หรือ

Jˆ z m

และเมื่อแยกตัวประกอบเอาสถานะ

( Jˆz − Jˆz1 − Jˆz 2 ) jm − ( Jˆ z1 + Jˆ z 2 ) jm − ( Jˆ z1 + Jˆ z 2 ) jm

(m ขั้นตอนตอไปคือการนําสถานะ bra

jm = 0 jm = 0 jm = 0

ออกมาจะไดวา − Jˆ z1 − Jˆ z 2

j1m1; j2 m2

)

jm = 0

มาประกบทั้งสองขางของสมการ ซึ่งจะทําให

(

j1m1; j2 m2 m − Jˆ z1 − Jˆ z 2

operator ( m

− Jˆ z1 − Jˆ z 2

) ที่เดิมการทํากับสถานะ ket

ของตัวมันเองเพื่อที่จะกระทํากับสถานะ bra

− Jˆ z†1 − Jˆ z†2

จากบทที่ 3 เรื่อง Angular Momentum เราทราบวา Jˆ z† = Jˆ z เพราะฉะนั้น

(

Jˆ z

และทําใหในทายที่สุด

) jm = 0

เปน Hermitian operator ซึ่งมีคุณสมบัติที่วา

j1m1; j2 m2 m − m1 − m2

( m − m1 − m2 )

jm = 0

เราสามารถเปลี่ยนใหเปน adjoint

jm

j1m1; j2 m2

( j1m1; j2m2 m

)

)

jm = 0

j1m1; j2 m2 jm = 0

สมการขางตนแสดงใหเห็นวา Dr. Teepanis Chachiyo

ภาควิชาฟสิกส มหาวิทยาลัยขอนแกน

teepanis@kku.ac.th Draft Oct 2009


Quantum Mechanics ระดับบัณฑิตศึกษา

5 Interaction ของ Spin

5-24

ซึ่งก็คือ Clebsch-Gordan Coefficient จะตองมีคาเปนศูนยเวนแต m = m1 + m2 ______________________ สมการ (5.29)

j1m1; j2 m2 jm

2) Clebsch-Gordan Coefficients มีความสัมพันธแบบ recursive ที่วา j ( j + 1) − m ( m ± 1) j1m1; j2 m2 j , ( m ± 1) =

j1 ( j1 + 1) − m1 ( m1 ∓ 1) j1 ( m1 ∓ 1) ; j2 m2 jm +

j2 ( j2 + 1) − m2 ( m2 ∓ 1) j1m1; j2 ( m2 ∓ 1) jm

กอนที่เราจะนําความสัมพันธแบบ recursive ดังกลาวนํามาใชเปนเครื่องมือในการสรางตารางดังใน ภาพ 5.8 เราจะมาพิสูจนความสัมพันธขา งตน ทั้งนี้เพือ่ ฝกฝนการนําเอกลักษณทางคณิตศาสตรที่ได ศึกษาในบทที่ 3 มาใชประกอบการวิเคราะห พิจารณา operator

Jˆ±

ที่กระทํากับสถานะ

jm

(

จะไดวา

Jˆ± jm = Jˆ1± + Jˆ2 ±

)

jm

___________________ สมการ (5.30)

นอกจากนี้ เนือ่ งจากเซตของสถานะ เปน basis set ดังนั้นเราจึงสามารถเขียน identity operator ดัง ในสมการ (2.25) ไดวา 1ˆ =

j1m1; j2 m2

j1m1; j2 m2

___________________ สมการ (5.31)

m1 , m2

เราสามารถนํา identity operator ดังกลาวเขาไปแทรกทางขวามือของสมการ (5.30) จะทําให

( Jˆ1± + Jˆ2± )1ˆ jm = ( Jˆ1± + Jˆ2± ) ∑

j1m1; j2 m2

j1m1; j2 m2 jm

______ สมการ (5.32)

m1 , m2

และโดยอาศัยสมบัติของ raising และ lowering operator ดังในสมการ (3.75)-(3.76) เราสามารถ กระจายเทอมในสมการ (5.32) ออกเปน 2 เทอมดังตอไปนี้

Dr. Teepanis Chachiyo

ภาควิชาฟสิกส มหาวิทยาลัยขอนแกน

teepanis@kku.ac.th Draft Oct 2009


Quantum Mechanics ระดับบัณฑิตศึกษา

( Jˆ1± + Jˆ2± )

jm =

5 Interaction ของ Spin

j1 ( j1 + 1) − m1 ( m1 ± 1) j1 ( m1 ± 1) ; j2 m2

j2 ( j2 + 1) − m2 ( m2 ± 1) j1m1; j2 ( m2 ± 1)

5-25 j1m1; j2 m2 jm

m1 , m2

+

j1m1; j2 m2 jm

m1, m2

เพื่อที่จะลดรูปให summation ทั้งสองนั้นหายไป เราสามารถนําสถานะ bra j1m1′ ; j2m2′ เขาไป ประกบกับทั้งสองขางของสมการขางตน ใหสังเกตการใชสัญลักษณ m1′m2′ เพื่อปองกันการ ซ้ําซอนกับ m1m2 ที่ปรากฏอยูภายใน summation

(

j1m1′ ; j2 m2′ Jˆ1± + Jˆ2 ± =

)

jm

j1 ( j1 + 1) − m1 ( m1 ± 1) j1m1′ ; j2 m2′ j1 ( m1 ± 1) ; j2 m2

j2 ( j2 + 1) − m2 ( m2 ± 1) j1m1′ ; j2 m2′ j1m1; j2 ( m2 ± 1)

j1m1; j2 m2 jm

m1 , m2

+

j1m1; j2 m2 jm

m1 , m2

ดวยสมบัติความเปน orthonormal ของ basis set j1m1; j2m2 จะไดวา เทอมตางๆภายใน summation อันแรกมีคาเปนศูนย ยกเวนแตกรณีที่ m1′ = m1 ± 1 และ m2′ = m2 และในกรณีของ summation อันที่สอง เทอมที่มีคาไมเปนศูนยจะเกิดขึ้นก็ตอเมื่อ m1′ = m1 และ m2′ = m2 ± 1 เพราะฉะนั้น

(

j1m1′ ; j2 m2′ Jˆ1± + Jˆ2 ± =

)

jm

j1 ( j1 + 1) − m1′ ( m1′ ∓ 1) j1 ( m1′ ∓ 1) ; j2 m2′ jm +

j2 ( j2 + 1) − m2′ ( m2′ ∓ 1) j1m1′ ; j2 ( m2′ ∓ 1) jm

จะเห็นวาสมการขางตนนั้น ใชสัญลักษณ m1′m2′ เปนตัวกํากับสถานะของระบบ และเพื่อใหเกิด ความสวยงามเราอาจะเปลี่ยนมาเปนใชสัญลักษณ m1m2 แทน ซึ่งก็มิไดทําใหเกิดขอผิดพลาดทาง คณิตศาสตรแตอยางใด

(

j1m1; j2 m2 Jˆ1± + Jˆ2 ± =

)

jm

j1 ( j1 + 1) − m1 ( m1 ∓ 1) j1 ( m1 ∓ 1) ; j2 m2 jm +

j2 ( j2 + 1) − m2 ( m2 ∓ 1) j1m1; j2 ( m2 ∓ 1) jm

_______________________ สมการ (5.33) นอกจากนี้ ทางซายมือของสมการ (5.33) ยังสามารถเขียนอยูใ นรูป

Dr. Teepanis Chachiyo

ภาควิชาฟสิกส มหาวิทยาลัยขอนแกน

teepanis@kku.ac.th Draft Oct 2009


Quantum Mechanics ระดับบัณฑิตศึกษา

(

j1m1; j2 m2 Jˆ1± + Jˆ2 ±

)

5 Interaction ของ Spin

5-26

jm = j1m1; j2 m2 Jˆ± jm j ( j + 1) − m ( m ± 1) j1m1; j2 m2 j , ( m ± 1)

=

__ สมการ (5.34)

และในทายทีส่ ุด ถาเราพิจารณาสมการ (5.33) และสมการ (5.34) จะไดวา ทั้งสองสมการมีคาเทากัน และนําไปสูความสัมพันธ j ( j + 1) − m ( m ± 1) j1m1; j2 m2 j , ( m ± 1) =

j1 ( j1 + 1) − m1 ( m1 ∓ 1) j1 ( m1 ∓ 1) ; j2 m2 jm +

j2 ( j2 + 1) − m2 ( m2 ∓ 1) j1m1; j2 ( m2 ∓ 1) jm

_________________________ สมการ (5.35)

3)

⎧ j= ⎪ m= ⎪ j1m1; j2 m2 jm = 1 if ⎨ ⎪ m1 = ⎪⎩ m2 =

j1 + j2 j j1 j2

สมบัติทางคณิตศาสตรขางตน สามารถพิสูจนไดโดยอาศัยสมการ (5.29) เขารวมในการพิจารณา กลาวคือ จากสมการ (5.28) เราสามรถเขียน j = ( j1 + j2 ) , m = j =

∑ (

j1m1; j2 m2

( j1 + j2 ) , ( j1 + j2 )

m1 , m2

)

j1m1; j2 m2

________________ สมการ (5.36) ภายใน summation ที่ประกอบดวยหลายๆเทอมดวยกัน แตจากสมการ (5.29) เทอมตางๆเหลานี้ ลวนมีคาเปนศูนย ยกเวนในกรณีที่ m1 + m2 = ( j1 + j2 )

________________ สมการ (5.37)

แตดว ยคุณสมบัติที่เกี่ยวกับ angular momentum เราทราบวา m1 ∈ { j1, j1 − 1, , − j1 + 1, − j1} และ ่ ุดคือ j1 และ m2 มีคา m2 ∈ { j2 , j2 − 1, , − j2 + 1, − j2 } นั่นหมายถึง m1 มีคาไดมากทีส ไดมากที่สุดคือ j2 เมื่อเปนเชนนี้ คาของ m1 และ m2 ที่จะทําใหสมการ (5.37) เปนจริงไดนนั้ ก็คือ m1 = j1 และ m2 = j2 ซึ่งเทอมตางๆที่ปรากฏอยูภายใน summation ที่ไมเปนไปตามเงื่อนไขดังกลาว ยอมมีคา เปนศูนย เพราะฉะนัน้ สมการ (5.36) แปรสภาพเปน Dr. Teepanis Chachiyo

ภาควิชาฟสิกส มหาวิทยาลัยขอนแกน

teepanis@kku.ac.th Draft Oct 2009


Quantum Mechanics ระดับบัณฑิตศึกษา

j = ( j1 + j2 ) , m = j =

5 Interaction ของ Spin

(

j1m1; j2 m2

5-27

( j1 + j2 ) , ( j1 + j2 )

)

j1 j1; j2 j2

Clebsch-Gordan Coefficient

ในเมื่อเทอมทางขวามือของสมการขางตน ประกอบดวยเทอมเพียงเทอมเดียว โดยอาศัยหลักของ normalization สัมประสิทธิ์ Clebsch-Gordan จะตองมีคาเปนหนึ่ง หรือสรุปไดวา ⎧ j= ⎪ m= ⎪ j1m1; j2 m2 jm = 1 if ⎨ ⎪ m1 = ⎪⎩ m2 =

j1 + j2 j

__________________ สมการ (5.38)

j1 j2

คุณสมบัติของ Clebsch-Gordan Coefficients ทั้ง 3 ขอในขางตน สามารถนํามาเปนเครื่องมือในการ สรางตารางที่สมบูรณดังในภาพ 5.8 ดังจะขอยกตัวอยางในกรณีของ

j1 = 1 และ j2 =

1 2

จากสมการ (5.38) เราบอกไดวา j1m1 = 1; j2 m2 =

1 3 3 ,+ =1 2 2 2

__________________ สมการ (5.39)

ซึ่งสัมประสิทธิ์ขางตน แสดงอยูในตารางยอยสีฟา ของกรณี 1 ⊗ 1 นอกจากนี้ เรายังสามารถใช 2

ความสัมพันธแบบ recursive ในสมการ (5.35) ทั้งนี้ ถากําหนดให m2 =

1 , j = 3 , และ m = 3 2 2 2

j1 = 1 , j2 =

1 , m1 = 0 , 2

จะทําให

3⎛3 ⎞ 3⎛3 ⎞ 1 1 3 ⎛3 ⎞ , ⎜ − 1⎟ ⎜ + 1⎟ − ⎜ − 1⎟ 1, 0; , + 2⎝2 ⎠ 2⎝2 ⎠ 2 2 2 ⎝2 ⎠ = 1(1 + 1) − 0 ( 0 + 1)

j1 ( m1 + 1) ; j2 m2

3 3 ,+ + 2 2

1⎛1 ⎞ 1⎛1 ⎞ ⎜ + 1⎟ − ⎜ + 1⎟ 2⎝2 ⎠ 2⎝ 2 ⎠

j1m1; j2 ( m2 + 1)

3 3 ,+ 2 2

สังเกตวาเทอมที่สองทางขวามือ มีคาเปนศูนย ในขณะที่สมการ (5.39) บอกวาเทอมแรกนั้น j1 ( m1 + 1) ; j2 m2

Dr. Teepanis Chachiyo

3 3 ,+ = 1 เพราะฉะนั้นแลว สมการขางตนลดรูปเหลือเพียง 2 2

ภาควิชาฟสิกส มหาวิทยาลัยขอนแกน

teepanis@kku.ac.th Draft Oct 2009


Quantum Mechanics ระดับบัณฑิตศึกษา

5 Interaction ของ Spin

5-28

1 1 3 1 2 1, 0; , + , = 2 2 2 2 3

ซึ่งก็คือ Clebsch-Gordan Coefficients ที่แสดงในตารางยอยสีเขียวนัน่ เอง แบบฝกหัด 5.5 จงใชคุณสมบัติทั้ง 3 ขอของ Clebsch-Gordan Coefficients เพื่อสรางตารางที่ สมบูรณในกรณีของ spin 1 ⊗ 1

2

5.5 บทสรุป ในบทที่ 5 นี้ เราไดกลาวถึงอันตรกริยาระหวาง spin ของอนุภาค โดยที่เราไดเริ่มยกตัวอยางของ กรณี hyperfine splitting ซึ่งเปน interaction ระหวาง spin ของอิเล็กตรอน และ spin ของโปรตอน ภายใน hydrogen อะตอม ในกรณีดังกลาวนี้เอง Hamiltonian ของระบบอยูในรูปของ 2A ˆ ˆ Hˆ = S1 ⋅ S2 2

ซึ่งถาเราใช basis state เปนเซตของ energy ของระบบอยูในรูปของ

↑↑ , ↑↓ , ↓↑ , ↓↓

⎫ ⎪ ⎪ 1 1 ↑↓ + ↓↑ ⎬ 2 2 ⎪ ⎪ ↓↓ ⎭ 1 1 ↑↓ − ↓↑ 2 2

ก็จะไดวา eigenstate และ eigen

↑↑

eigen energy คือ + A 2

eigen energy คือ − 3 A 2

นอกจากการวิเคราะห hyperfine splitting ดังกลาวจะนําไปสูการเปรียบเทียบผลที่ไดจากการทดลอง ยังนําไปสูการตีความของ eigenstate ตางๆที่เกี่ยวของ ยกตัวอยางเชน

1 1 ↑↓ − ↓↑ 2 2

หมายถึงสภาวะของระบบที่ total angular momentum ของทั้งระบบเปนศูนย ในสวนของ eigenstate อื่นๆนั้น เขียนโดยสรุปไดวา Dr. Teepanis Chachiyo

ภาควิชาฟสิกส มหาวิทยาลัยขอนแกน

teepanis@kku.ac.th Draft Oct 2009


Quantum Mechanics ระดับบัณฑิตศึกษา

j = 1, m = +1

=

j = 1, m = 0

=

j = 1, m = −1

=

j = 0, m = 0

=

5 Interaction ของ Spin

5-29

1 1 1 1 ,+ ; ,+ 2 2 2 2 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 ,+ ; ,− + ,− ; ,+ 2 2 2 2 2 2 2 2 2 2 1 1 1 1 ,− ; ,− 2 2 2 2 1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 ,+ ; ,− − ,− ; ,+ 2 2 2 2 2 2 2 2 2 2

ทั้งนี้จากสมการขางตน จะสังเกตวา เราใชสัญลักษณ jm ซึ่งแสดงถึง angular momentum โดยทั่วไป ซึ่งไมเฉพาะเจาะจงวาเปน spin angular momentum หรือ orbital angular momentum จากนั้น เราใชกรณีของ EPR paradox เปนตัวอยางในการนําเอาสถานะ

1 1 ↑↓ − ↓↑ 2 2

เขามา

ใชในการวิเคราะหปรากฏการณทางฟสิกสที่เปนรูปธรรมมากขึ้น ในทายที่สุด เรากลาวถึงกรณีทั่วๆไปของการรวมกันของ angular momentum j1m1 และ j2 m2 ซึ่งจะเปนที่มาของ Clebsch-Gordan Coefficients ดังที่ไดแสดงในตาราง 5.8

5.6 ปญหาทายบท แบบฝกหัด 5.6 พิจารณา hydrogen atom ที่มี spin Hamiltonian 2A ˆ ˆ Hˆ = S1 ⋅ S2 + ω0 Sˆ1z 2

โดยที่เทอมแรกเปน hyperfine interaction ในขณะที่เทอมที่สองเกิดจากสนามแมเหล็กภายนอกที่มี ความเขม

B0

ซึ่งจะทําให ω0 ≡ geB0 2mc

a) จงคํานวณ eigen energy ของระบบ b) วิเคราะหผลของพลังงานงานที่ไดในสองกรณีดว ยกันคือ 1. limit limit A ω0 โดยใช Taylor expansion

A

ω0

และ 2.

แบบฝกหัด 5.7 ในเวลา t=0 อนุภาค 2 อนุภาคคือ electron และ positron เกิดขึ้นจากการสลายตัว ของอนุภาคทีข่ นาดใหญกวา โดยมี total angular momentum ของระบบเปนศูนย จากนั้นอนุภาค ทั้งสองอยูภายใตอิทธิพลของสนามแมเหล็กที่มีความเขม B0 Dr. Teepanis Chachiyo

ภาควิชาฟสิกส มหาวิทยาลัยขอนแกน

teepanis@kku.ac.th Draft Oct 2009


Quantum Mechanics ระดับบัณฑิตศึกษา

5 Interaction ของ Spin

5-30

a) จงอธิบายวา ถาไมมี interaction ระหวาง electron และ position แลว เราสามารถเขียน Hamiltonian ของทั้งระบบไดวา ˆ = ω Sˆ - ω Sˆ H 0 1z 0 2 z คือ spin operator ของ electron ในขณะที่ คือ Sˆ

โดยที่ Sˆ1z 2 z spin operator ของ positron. b) จงแสดงใหเห็นวา สถานะของระบบมีการ oscillate ระหวาง spin-0 และ spin-1 พรอมทั้ง คํานวณหาคาบของการสั่น พรอมเขียนสถานะ Ψ (t ) ของระบบที่ขึ้นกับเวลา c) ณ เวลา t เราทําการวัด spin โดยใช operator Sˆ1x และ Sˆ2 x จงคํานวณความนาจะเปนที่การวัด ทั้งสองจะไดคา ออกมาเปน + พรอมๆกันทั้งสอง operator 2

แบบฝกหัด 5.8 สืบเนื่องจากขอ 5.7 คราวนี้เรานํา hyperfine interaction ระหวางอนุภาคทั้งสองมา คิดรวมดวย จะไดวา Hamiltonian ของระบบก็คือ ˆ = 2 A Sˆ ⋅ Sˆ + ω Sˆ - ω Sˆ H 1 2 0 1z 0 2 z 2

จงหา eigen energy ของระบบ

Dr. Teepanis Chachiyo

ภาควิชาฟสิกส มหาวิทยาลัยขอนแกน

teepanis@kku.ac.th Draft Oct 2009


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.