ทำไมต้อง 21 วัน

Page 1

21 วั น ฉั น จะรวย

Introduction ปี 2552 หลังจากที่เขียนหนังสือการเงินส่วนบุคคลไปแล้ว 5 เล่ม ผู้เขียนรู้สึกว่าทั้ง 5 เล่มเป็นเพียง “วิธีการไปถึงเป้าหมายการเงิน” แต่ยังไม่มีเล่มใดเลยที่ขุดค้นลงไปถึง “ต้นตอของปัญหาการเงิน” อันเป็นสิ่งที่ผู้เขียนเห็นว่ามีผลร้ายท�าลายฐานะการเงินของคนๆ หนึ่ง ได้มากกว่าการที่เขาไม่มีเงินเสียอีก เพราะอย่างทีเ่ รารูก้ นั ว่า ความร�า่ รวยไม่ได้มาจากการทีค่ นๆ นัน้ หาเงินได้มากมายแค่ไหน แต่อยู่ที่วิธีที่เขาคิดและรับมือกับเงินที่เขาได้มา เมื่อผู้เขียนตัดสินใจว่า หนังสือเล่มที่ 6 น่าจะเขียนขึ้นมาเพื่อการนี้ ชื่อหนังสือที่ผุด ขึ้นมาในสมองค�าแรกและค�าเดียวคือ “ท�าไมฉันไม่รวย” ซึ่งตรงใจคนเขียนมากมาย แต่ท�า ร้ายใจคนอ่านเอาการอยู่ ค�าน�าในการตีพิมพ์ครั้งแรกอธิบายความในใจของตัวเองได้ชัดเจน “หนังสือนี้ใช้เวลาท�างานอยู่ราวครึ่งปี ตลอดเวลาครึ่งปีผู้เขียนอยากจะเปลี่ยนชื่อหนังสือ วันละร้อยครัง้ เพราะเกรงค�าว่า “ท�าไมฉันไม่รวย” อาจท�าให้ผเู้ ห็นหนังสือเล่มนีต้ คี วามว่านีค่ อื คัมภีร์ของความไม่รู้จักพอ ในทางตรงกันข้าม เจตนาที่แท้จริงเมื่อแรกเริ่มตั้งใจว่าจะเขียนหนังสือเล่มนี้ คืออยากมี ค�าตอบให้คา� ถามยอดนิยม ทีผ่ คู้ นมากมายถามตัวเองอยูท่ กุ เมือ่ เชือ่ วัน และค�าตอบทีม่ อบให้ ในหนังสือเล่มนี ้ ไม่ได้อยู่ไกลจากหน้ากระจกเลย อาจฟังดูนา่ ตกใจ กับความจริงทีว่ า่ ศัตรูของ เราไม่ใช่ใคร เรานั่นเองที่เป็นศัตรูของตัวเอง ไม่ได้แปลว่า ที่เรา(ยัง)ไม่รวยเป็นเพราะเราท�าร้ายตัวเอง เป็นแต่เพียงว่า เราได้เผลอ ปล่อยให้นิสัยทางการเงินของเราบางอย่าง เข้าบงการควบคุมชีวิตของเรามากเกินไปเท่านั้น การยอมรับว่าสิ่งที่เราท�า เป็นสาเหตุที่ท�าให้เรามาถึงวันนี้ แทนที่จะโยนความผิดให้ สถานการณ์รอบตัว คือความรับผิดชอบยิ่งใหญ่ และเป็นหัวใจของการแก้ปัญหาทั้งปวง ถ้าเราเริม่ ต้นตรงหน้ากระจกไม่ได้ เราก็ไม่สามารถรวยได้ ไม่วา่ จะมีเงินมากเท่าใดก็ตาม เงินเดือน โบนัส ยอดขาย เป็นสิ่งที่เราควบคุมไม่ได้ สิ่งเดียวที่เราควบคุมได้คือวิธีจัดการ เงินของเราเอง” “ท�าไมฉันไม่รวย” ตีพิมพ์ครั้งแรกในปีที่เศรษฐกิจโลกก�าลังอยู่บนปากเหวและได้รับ การต้อนรับอย่างดี ทั้งที่ถ้อยความในหนังสือแสนจะตรงไปตรงมา จนอาจท�าให้คนอ่านรู้สึก 4 aw1-103.indd 4

2/17/57 BE 11:31 AM


21 วั น ฉั น จะ รวย

เจ็บแสบจิ๊ดๆ ตลอดเวลาที่อ่าน ความจริงที่ว่า “ปัญหามักอยู่ที่ตัวเราเอง” ไม่ใช่ความจริงที่ น่ารื่นรมย์เท่าใดนัก แม้สำ� นวนอาจจะแอบแรง แต่เจตนาแฝงคือไม่อยากมัวแต่ถนอมน�ำ้ ใจ ทางลัดแม้จะขรุขระ แต่อาจท�ำให้ประหยัดเวลากว่าทางอ้อม ปี 2557 หนังสือเล่มนี้ไม่มีในท้องตลาดแล้ว แต่ผู้เขียนพบว่าเนื้อหาในหนังสือ “ท�ำไม ฉันไม่รวย” ไม่มีสิ่งใดที่ล้าสมัยไปเลย ห้าปีผ่านไปวงการหนังสือการเงินส่วนบุคคลก้าวไป ไกลมาก จนช่องว่างระหว่างผูค้ นกลุม่ ทีเ่ ข้าใจตัวเองกับไม่เข้าใจตัวเองยิง่ กว้างขึน้ ยิง่ คนกลุม่ หนึ่งลุกขึ้นมาจัดการเงินตัวเองอย่างฮาร์ดคอร์เท่าใด ก็ยิ่งท�ำให้ผู้คนอีกกลุ่มหนึ่งที่ยังย�่ำอยู่ กับที่วิ่งตามแทบไม่ทัน ถ้าไม่รีบท�ำความเข้าใจพฤติกรรมทางการเงินให้เร็วที่สุด โอกาสที่จะ ถูกทิ้งไว้เบื้องหลังก็ยิ่งมีมากขึ้น เมือ่ ตัดสินใจตีพมิ พ์ฉบับปรับปรุงเนือ้ หาใหม่ ผูเ้ ขียนเลือกทีจ่ ะทิง้ ชือ่ เดิมทีฟ่ งั โหดร้ายกับ หัวใจ แล้วใช้ชื่อจากไฮไลท์ในครึ่งหลังที่ฟังดูสร้างแรงบันดาลใจกว่าแทน นั่นคือ “21 วันฉัน จะรวย” ท�ำงานหนักแทบตายท�ำไมถึงไม่รวย เงินเดือนขึ้นทุกปีแต่เหตุใดกลับจมหนี้มากกว่าเดิม คนอืน่ เขาไปถึงไหนท�ำไมเรายังอยูต่ รงนี้ ถ้าคุณถามตัวเองด้วยความสงสัยมาหลายปี ครึง่ แรก ของหนังสือเล่มนี้อาจเป็นค�ำตอบส�ำหรับคุณได้ หากคุณยอมรับสาเหตุและรีบแก้ไขปัญหาที่ท�ำให้คุณยํ่าอยู่กับที่ ครึ่งหลังของหนังสือ เล่มนี้ จะช่วยดึงคุณจากการ “หลุดเลน” มานานหลายสิบปี กลับเข้าสู่เส้นทางฐานะดีในเวลา อันสั้น มีคนบอกไว้ว่าชั่วชีวิตของตัวเขา เขาค้นพบว่าคนที่สร้างปัญหาให้ตัวเขาเองได้มากที่สุด ก็คือตัวเขาเอง เอาใจช่วยให้ผู้อ่านค้นหาคนที่สร้างปัญหาการเงินตัวจริงให้พบ แล้วสยบเขาให้ส�ำเร็จใน 21 วัน อ มิ ต า อ ริ ย อั ช ฌา 5 aw1-103.indd 5

2/17/57 BE 11:31 AM


21 วั น ฉั น จะรวย

ท�าไมต้อง 21 วัน ปี 1960 เมื่อ Maxwell Maltz เขียนหนังสือเล่มหนึ่งชื่อ Psycho-Cybernetics เขาได้เสนอไอเดีย (ซึ่งต่อมาได้รับ การยืนยันด้วยการทดลองท�าจนเป็นที่ยอมรับทั่วไป) ว่าการ สร้างรูปแบบของการกระท�าให้เป็นนิสัย ต้องใช้เวลาท�าต่อ เนือ่ งไม่น้อยกว่า 21 วัน เช่นถ้าคุณอยากสร้างนิสัยออกก�าลังกายเป็นกิจวัตร และ คุณกัดฟันไปยิมได้ต่อเนื่องถึง 21 วัน หลังจากนั้นคุณจะ สร้างนิสัยการออกก�าลังกายได้ส�าเร็จจริงๆ 21 วันของการนั่งสมาธิ 21 วันของการเลิกบุหรี่ 21 วัน ของการลดน�้าหนัก 21 วันของการเลิกกินของหวาน 21 วัน ของอะไรก็ตาม ถ้าคุณลุกขึ้นมาลงมือท�าต่อเนือ่ งได้ถึงสามสัปดาห์ มันจะ พัฒนาไปเป็นนิสัยของคุณ หลายครั้งที่คุณตั้งใจจะท�าอะไรสักอย่าง โดยปฏิญาณ ว่า “ฉันจะเลิกนิสัยนี้ให้ได้ตลอดชีวิต” แต่ผลคือปณิธานอัน

6 aw1-103.indd 6

2/17/57 BE 11:31 AM


21 วั น ฉั น จะ รวย

ยิ่งใหญ่กลับเลือนสลายในเวลาไม่กี่วัน แนะน�ำให้คุณเริ่ม ต้นใหม่ โดยตัง้ ปณิธานชนิดเป็นไปได้ ตัง้ เป้าหมาย “ฉันจะ ท�ำมันต่อเนื่องให้ได้ถึง 21 วัน” มันจะดูง่ายขึ้นในพริบตา แต่คุณจะไปถึง 21 วันนั้นไม่ได้ ถ้ายังไม่รู้ว่าปัญหา อะไรที่ท�ำให้คุณมาอยู่ตรงนี้ อะไรหนอที่ท�ำให้คุณท�ำงาน มานานเป็นสิบปี แต่ฐานะการเงินของคุณยังอยู่กับที่ไม่ ขยับไปไหน หนั ง สื อ เล่ ม นี้ จึ ง แบ่ ง ออกเป็ น สองภาค ภาคแรก “ท�ำไมฉันไม่รวย” จะเปิดความจริงให้คุณเห็นปัญหา ตรงนั้น และเมือ่ คุณเข้าใจ จนเกิดแรงฮึดทีจ่ ะเปลีย่ นฐานะการ เงินของคุณใหม่ คุณจะสามารถใช้ภาคสอง “21 วันฉันจะ รวย” ในการดึงตัวเองจากถนนผิดสาย ให้กลับเข้าเส้นทาง ใหม่เหมือนที่ใครต่อใครเขาล่วงหน้าไปแล้ว

7 aw1-103.indd 7

2/17/57 BE 11:31 AM


21 วั น ฉั น จะรวย

สารบัญ ภาคหนึ่ ง : ท� า ไมฉั น ไม่ ร วย 1 ท� าไมฉั นไม่รวย 2 คนดี นิ สัยไม่ดี 3 ทั ศ นคติผู้แ พ้ 4 ไวรั ส แห่งความเชื่อ 5 ในกระจกบานนั้นคือ ฉันหรือ 6 ความไม่รู้ศัต รูตัวร้าย 7 ตามก้ น เขาตัว เราหายนะ 8 เล็ กๆไม่ ใหญ่ๆ ฉัน 9 รวยหรื อ จนสับสนจริงๆ 10 กู ้ ชี วิ ตให้ติด บวก 11 เงิ น ฉั นไปไหน 12 แผนยื้ อ เงิน 13 แผนทางเลือ ก 14 จากแผนใช้จ่ายสู่แ ผนชีวิต

ภาคสอง : 21 วั น ฉั น จะรวย

วั น ที่ 1 ปี ที่แ ล้ว ฉันหาเงินได้เ ท่าไหร่ วั น ที่ 2 ปี ที่แ ล้ว ฉันท�างานหนัก ขนาดไหน

10

12 20 30 40 46 54 64 72 79 91 97 104 112 120

130 135 138

8 aw1-103.indd 8

2/17/57 BE 11:31 AM


21 วั น ฉั น จะ รวย

วั น ที่ 3 ค่ าเหนื่อ ยยากต่อ ชั่ว โมงของฉั น คื อ เท่ า ไหร่ วั น ที่ 4 ปี ที่แ ล้วฉันผลาญค่าเหนื่อ ยยากไปเท่ า ไหร่ วั น ที่ 5 เป้าหมายชีวิต ของฉันคือ อะไร วั น ที่ 6 ฉั นจะจ่ายเพื่อ เป้าหมายของฉั น วั น ที่ 7 ล็ อ คให้ดีบัญชีเป้าหมาย วั น ที่ 8 ฉั นจะสร้างเงินออมฉุก เฉิน 30,000 บาท วั น ที่ 9 ฉั นจะก�ำจัด หนี้สินดินพอกหางหมู วั น ที่ 10 สร้างก�ำแพงป้อ งกันหนี้รอบใหม่ วั น ที่ 11 บ้านของฉันหนี้สินของฉัน วั น ที่ 12 สร้างดอกผลจากเงินเดือ นขึ้น และโบนั ส วั น ที่ 13 ฉันจะรู้ทุก อย่างเกี่ยวกับการเงิ น ของตั วเอง วั น ที่ 14 ฉันจะอ่านหนังสือ การเงินสัปดาห์ ล ะเล่ ม วั น ที่ 15 ฉันจะอ่านบทความการเงินวัน ละบท วั น ที่ 16 ฉันจะเข้าใจจุด อ่อ นของตัวเอง วั น ที่ 17 ฉันจะคิด ถึงเป้าหมายก่อ นเสมอ วั น ที่ 18 ฉันจะจ่ายด้วยเงินสดเท่านั้น วั น ที่ 19 ฉันดี ใจที่ค นอื่นมี วั น ที่ 20 ฉันจะสร้างสมดุลในชีวิต วั น ที่ 21 ชีวิต ไม่แ น่นอนแต่ฉันไม่ก ลัว

บทส่ ง ท้ า ย

140 142 144 147 150 152 155 158 161 163 166 170 173 176 179 182 186 189 192

194 9

aw1-103.indd 9

2/17/57 BE 11:31 AM


21 วั น ฉั น จะรวย

10 aw1-103.indd 10

2/17/57 BE 11:31 AM


21 วั น ฉั น จะ รวย

ÀÒ¤

1

ท�าไมฉันไม่รวย 11 aw1-103.indd 11

2/17/57 BE 11:31 AM


21 วั น ฉั น จะรวย

1 : ท�ำไมฉันไม่รวย ท�ำไมฉันไม่ร วย มันต้องมีเหตุผลแน่นอนเลยใช่ไหม เหตุผลอะไรหรือที่คุณพอจะคิดได้ เพื่อตอบ ค�ำถามกระแทกใจ “ท�ำไมฉันไม่รวย” งานหนักเงินเดือนน้อย ค่าครองชีพสูงจะตาย แฟนเอาแต่ช่วยใช้เงิน พ่อแม่ก็ ไม่มีมรดกให้ หัวหน้าไม่ให้ท�ำโอที เจ้าหนี้ก็แสนหน้าเลือด เจ้านายก็งกไม่ขึ้นเงินเดือนให้ ค่ า ใช้ จ ่ า ยก็ รุ ม เร้ า น�้ ำ มั น ก็ ขึ้ น ราคา ของแพงจะเป็ น บ้ า เงิ น บาทอ่ อ นค่ า เศรษฐกิจดิ่งเหว แหม! รู้สึกดีขึ้นมากมาย มีเหตุผลตั้งมากมายที่เราจะไม่รวย นั่งคิดยังไงๆ มันก็ ไม่ใช่ความผิดของเราสักข้อ มีสิ่งแวดล้อมมากมายรอบตัวที่คุณจะโยนความผิดให้ แต่เตือนไว้ก่อนนะ ยิ่งคุณโยนบาปได้ไกลตัวเท่าไหร่ โอกาสรวยของคุณก็ยิ่งไกลออกไปเช่นกัน 12 aw1-103.indd 12

2/17/57 BE 11:31 AM


21 วั น ฉั น จะ รวย

ความผิดของใครสักคน ที่ท�ำงานคุณมีสักคนไหม คนที่ไม่เคยท�ำอะไรผิดสักกรณี น้องณี ที่เงินเดือนไม่ขึ้น เพราะ “ณีไม่ใช่พวกขี้ประจบนายอย่างคนอื่นเขานี่” พี่ทศ ที่ขายงานลูกค้าไม่ผ่าน เพราะ “พวกนี้มันรสนิยมบ้านๆ ชอบงานที่ไม่ใช้ หัวคิด” คุณพิศ ที่งานเสร็จไม่ทันเดดไลน์ เพราะ “เจ้านายขี้งก ไม่ยอมจ้างคนเพิ่ม” คุณเคยได้ยิน “เหยื่อ” ทางการเงินสักคนบ่นถึงความซวยท�ำนองนี้ไหม “แพนจะรู้ได้ยังไง ว่าซื้อบ้านแล้วดอกเบี้ยมันบานได้ขนาดนี้ จ่ายค่างวดเดือนละ เท่าไหร่ก็กลายเป็นดอกเบี้ยหมดเลย ธนาคารโกงหรือเปล่าก็ไม่รู้” “ซวยจริงๆ นี่ถ้าไอ้ท็อปมันไม่คะยั้นคะยอให้ผมท�ำบัตรกับมันเมื่อปลายปี ผมก็ ไม่ต้องเป็นหนี้บัตรมันเป็นแสน” “น้องอย่าไปเปิดพอร์ตกับ บล.นี้นะ มาร์เก็ตติ้งมันไม่ดี ชอบแนะน�ำให้พี่ซื้อ หุ้นเน่าๆ” ในเรื่องของความล้มเหลวทางการเงิน การเล่นบท “เหยื่อ” ย่อมน่าเห็นใจกว่า การเล่นบท “ตัวร้าย” พวกเขาจึงโทษใครสักคนได้เรื่อยๆ ตลอดชีวิต ทั้งที่ความจริงแล้ว “ตัวร้าย” ที่ท�ำลายชีวิตเขาเหล่านั้น ไม่สามารถบีบคั้นบังคับ ขืนใจให้พวกเขาท�ำสิ่งนั้นได้ ถ้าพวกเขาไม่ตัดสินใจท�ำมันเอง เรามักลืมเสียสนิทว่า ทุกการตัดสินใจทางการเงินที่ท�ำให้เราไปไม่ถึงไหน ไม่ว่า จะมีใครเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยหรือไม่ ไม่ว่าตอนตัดสินใจจะรู้สึกเครียดแค่ไหน คนที่ ตัดสินใจขั้นสุดท้ายคือตัวเราเอง การไม่รวยไม่ใช่อาชญากรรม ที่ต้องมองหาต้นเหตุแห่งความเสียหาย ทุกความ ผิดพลาดเป็นบทเรียนที่ยิ่งใหญ่ส�ำหรับตัวเราเอง 13 aw1-103.indd 13

2/17/57 BE 11:31 AM


21 วั น ฉั น จะรวย

แต่เราจะไม่เคยเรียนรู้บทเรียนนี้เลย ตราบใดที่เราไม่เคยรับผิดชอบการกระท�ำ ของเราเอง ยิง่ เราเล่นบท “ผูถ้ กู รังแก” อีกนานเท่าใด ระยะเวลาทีเ่ ราจะ “ไม่รวยเสียที” ก็นาน เท่านั้น เราเลือกที่จะรับบทเป็นอะไร ผลลัพธ์สุดท้ายก็จะตกกับเราเช่นนั้น

งานนี้มีแ พะ คุณตืน่ ขึน้ ทุกเช้า ดูรายงานข่าวทีม่ แี ต่เรือ่ งร้ายๆ หุน้ ตก ธนาคารปิด เศรษฐกิจล่ม คนตกงาน ดอกเบี้ยบาน น�้ำมันแพง หากหุ้นในพอร์ตของคุณร่วงหล่นลงเหว จนเงินที่คุณลงทุนไว้แทบไม่เหลือค่า คุณอาจร่วมวงก่นด่าความพินาศของเศรษฐกิจโลก แช่งชักผูน้ ำ� ประเทศทีส่ ร้างปัญหา อย่างมันปาก แต่ช้าก่อน คุณที่แอบซุกปัญหาการเงินไว้กองใหญ่อยู่แล้วก่อนเศรษฐกิจล่ม โปรดอย่าเพิง่ สวมรอยโยนบาปให้ใคร เศรษฐกิจโลกไม่ใช่แพะตัวใหญ่ทสี่ ดุ ซวยของคุณ เรื่องนี้ยิ่งไม่เกี่ยวกับเศรษฐกิจไทย คุณก็รู้อยู่แก่ใจ ไม่ว่าประเทศจะบริหาร โดยพลพรรคฝ่ายไหน คุณเลือกเขาเข้าไปหรือไม่ เขาฟอร์มทีมเศรษฐกิจได้ดีหรือ ขี้เหร่ปานใด ปัญหาการเงินที่คุณสร้างไว้ มันได้ก่อตัวขึ้นก่อนหน้านั้นมาตั้งหลายปี ไม่มี ใครแก้ปัญหาทางการเงินของตัวเองได้ ตราบใดที่เขายังยอมรับไม่ได้ ว่าการที่ฐานะการเงินของเขาไปไม่ถึงไหน ปัญหาใหญ่มาจากตัวของเขาเอง ต่อให้เราอายุสี่สิบห้าหรือห้าสิบสี่ เราก็ยังเติบโตเป็นผู้ใหญ่ไม่ได้ ถ้าเราไม่เคย “รับผิดชอบ” สิ่งที่เรากระท�ำ “รับผิดชอบ” ที่แปลง่ายๆ ว่า รับได้ทั้งผิดทั้งชอบ 14 aw1-103.indd 14

2/17/57 BE 11:31 AM


21 วั น ฉั น จะ รวย

หมายความว่า หากวันนี้เราร�่ำรวยประสบความส�ำเร็จ เราคงไม่โยนความดีให้ รัฐบาลหรือเจ้านาย ดังนั้นเราก็ควรยืดอกรับอย่างผึ่งผายว่า ตัวเองล้มเหลวทางการ เงินเพราะตัวเอง

คนอื่นไม่ได้ล�ำบากอย่างฉัน แหวน สาวโสดบรรณาธิการนิตยสารผู้หญิง มีรายได้เดือนละ 50,000 บาท เหมือนคนอื่นทั่วไป วันเงินเดือนออกต้องถูกหักค่าโน่นค่านี่ กองทุนส�ำรอง เลี้ยงชีพ ประกันสังคม ภาษี ไหนจะหักค่าผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ผ่อนโน่นผ่อนนี่ แค่นี้ ก็หมดไปตั้ง 30,000 บาทแล้ว ได้มา 50,000 บาท เหลือให้ใช้แค่ 20,000 บาท แต่ละเดือนแหวนรู้สึกว่าตัว เองแสนล�ำบาก เธอต้องอดทนหักใจจากสิ่งที่อยากซื้ออยากได้ ทุกวันนี้ก็ใช้จ่ายแต่ เรื่องจ�ำเป็นล้วนๆ “ได้หา้ หมืน่ เหลือใช้แค่ไม่ถงึ ครึง่ คนอืน่ ได้เท่าไหร่ก็ใช้เต็มแม็ก โลกนี้ไม่ยตุ ธิ รรม มีแต่ฉันคนเดียวที่ต้องล�ำบากล�ำบน” แหวนบ่นอย่างสุดเซ็ง ลืมความจริงเสียสนิทว่า “คนอื่น” ของเธอนั้นหมาย ถึงแค่ พี่แหวว บก.บริหารที่เงินเดือนมากกว่าเธอแปดพัน แต่ไม่มีภาระอะไร กับ ศรีวิไล ผู้อ�ำนวยการฝ่ายการตลาด เงินเดือนเท่ากันที่พ่อแม่รวย เธอท�ำเป็นลืม “คนอืน่ ” อีกมากมายในกองบรรณาธิการ อย่างพัดชา เลขาฯ กอง เจ้าของเงินเดือน 20,000 บาท (มีภาระต้องเลี้ยงแม่) ชาติ ช่างภาพแฟชั่น เจ้าของ เงินเดือน 18,000 บาท (ต้องเลี้ยงเมียที่ก�ำลังท้อง) หรือวิทยา กราฟฟิกดีไซน์เนอร์ เงินเดือน 16,000 บาท (ที่ต้องส่งน้องเรียน) เธอท�ำเป็นลืมว่า ต่อให้หักค่าใช้จ่ายส�ำคัญๆ ออกจนหมด รายได้ที่เหลือส�ำหรับ ใช้จ่ายส่วนตัวแบบเนื้อๆ ก็ยังมีตัวเลขสูงกว่ารายได้รวมของ “คนอื่น” อีกหลายคน 15 aw1-103.indd 15

2/17/57 BE 11:31 AM


21 วั น ฉั น จะรวย

และยังจัดว่าสูงกว่าตัวเลขเงินเดือนเฉลี่ยของคนไทยทั่วไป ตามตัวเลขที่เผย โดยส�ำนักงานสถิติแห่งชาติในเดือนมีนาคม 2556 ที่ผ่านมา พบว่าค่าจ้างเฉลี่ย ของลูกจ้างในภาคอุตสาหกรรมและการบริการ อยู่ที่ 12,577.60 บาท/คน/เดือน และอย่าได้เอาไปเทียบกับค่าจ้างเฉลี่ยของลูกจ้างในภาคเกษตรกรรมทีเดียว เพราะนั่นยิ่งต�่ำเตี้ยอยู่ที่ 5,398.90 บาท/คน/เดือน ถ้าแหวนยังอยากปิดตาไม่ยอมรับรูค้ วามจริงว่า เธอมีระดับรายได้สงู กว่าคนกลุม่ นี้ตั้ง 10 เท่า!

เหวี่ยงกระจกไม่พ้นตัว

ลองเดาดูว่า ถ้าแหวนยังพร�่ำโทษว่า “คนอื่นไม่ล�ำบากอย่างฉัน” ไปเรื่อยๆ อีกสิบปี เธอจะมีโอกาสพบความสุขทางการเงินเมื่ออายุเท่าไหร่ แหวนจะโยน “กระจกส่องความจริง” ทิ้งก็ ได้ หากภาพสะท้อนจากกระจก คือการประกาศความจริงที่เธอไม่อยากรับรู้ว่า ในประเทศนี้มีผู้คนที่มีรายได้น้อย กว่าเธอมากๆ และพวกเขายังดำ�รงชีวิตอยู่อย่างมีความสุข เรากับแหวนก็ไม่ต่างกัน เราพร�่ำบ่นโยนความผิดให้รัฐบาล เซ็งที่ต้องท�ำงาน แสนหนักแต่ได้ค่าเหนื่อยน้อยนิด โทษเจ้าหนี้ว่ารีดเลือดกับปู ก่นด่าโชคชะตาที่ให้ เราเกิดมาจน เรามีกระจกชั้นดีที่จะสะท้อนความจริงได้ แต่เรากลับเหวี่ยงกระจกออกไป ให้ มันสะท้อนสิ่งที่อยู่รอบตัว เราเห็นแต่ภาพสะท้อนน่าเกลียดชังของสิ่งอื่นมากมาย แต่ส่องไปจนตาย เราก็ ไม่มีวันเห็นภาพที่บิดเบี้ยวของตัวเอง ภาพสะท้อนว่าวิถีชีวิตของเรา สิ่งที่เราซื้อ สิ่งที่เราใช้ สิ่งที่เราสวมใส่ สิ่งที่ เรายอมจ่าย ทุกอย่างในเรื่องการเงินของเราที่เราตัดสินใจ ทั้งหมดนี้ ไม่ได้มี ใครบังคับเราเลย 16 aw1-103.indd 16

2/17/57 BE 11:31 AM


21 วั น ฉั น จะ รวย

ถ้ า ปมปั ญ หาของเราใหญ่ เ กิ น แก้ ไ ข ยิ่ ง นานไปยิ่ ง รู ้ สึ กว่ า มั น ใหญ่ ขึ้ น ทุ ก ปี เงินเดือนขึ้นแต่ไม่รู้สึกดี ท�ำงานหนักแต่ไม่รวยสักที ท�ำดีแล้วรู้สึกว่าไม่ได้อะไร ตอบแทน สาเหตุน่าจะไม่ใช่โชคชะตา แต่คือการเลือกที่ผิดพลาดของเราเอง เป็นไปได้ ที่ปัจจัยภายนอกอาจผลักดันให้เราก้าวพลาดไป แต่การแก้ไขเป็น หน้าที่ของเรามาตั้งแต่ต้น เมื่อคุณสังหรณ์ใจว่าทางนี้ตัน แต่คุณยังวิ่งชน สุดท้ายคุณจะโทษใครที่เจ็บตัว

คุณเห็นอะไรในกระจกบ้าง

แหวน อาจต้องอยู่กับความรู้สึก “ฉันล�ำบากกว่าคนอื่น” ไปจนตาย ถ้าเธอไม่ หยุดโวยวาย แล้วเพ่งมองกระจกส่องความจริงที่เธอหันหลังให้มาตลอดหลายปี เพียงหันกลับมามองเงาสะท้อน เธอก็เห็นความจริงดังกล่าวแล้ว ว่าเธอไม่ได้ ยากจนอย่างที่คิด แล้วเหตุใดเธอจึงรู้สึกว่าเงินไม่พอใช้ ทั้งๆ ที่ตัวเลขเงินที่เธอมีไว้ใช้จ่าย สูงกว่า มาตรฐานรายได้เฉลี่ยของคนทั้งประเทศ ถ้าปัญหาไม่ได้อยู่ที่ตัวเลข แล้วมันอยู่ตรงไหน ในกระจกนั่นไง ตัวปัญหาอยู่ตรงหน้า จ้องมองแหวนกลับมาด้วยดวงตาเบิก กว้าง ผู้หญิงในกระจกนั่นไง คนที่สร้างปัญหาให้เธอ เดฟ แรมซีย์ กูรูการเงินอเมริกันขวัญใจคนยาก เจ้าของหนังสือการเงินส่วน บุคคลสุดฮิต “Financial Peace” และ “The Total Money Makeover” ที่ให้ ค�ำปรึกษาทางการเงินกับผู้ฟังรายการชาวอเมริกันมานับล้านๆ ผ่านรายการวิทยุ อันลือลั่น ต้องคลุกคลีกับ “คนไม่ยอมรวย” เพื่อช่วยพวกเขากอบกู้วิกฤติการเงิน มานับแสนราย จนค้นพบข้อสรุปง่ายๆ ว่า 17 aw1-103.indd 17

2/17/57 BE 11:31 AM


21 วั น ฉั น จะรวย

20% ของปัญหาการเงินมาจากความไม่รู้ 80% ของปัญหาการเงินมาจากพฤติกรรม “การแก้ปัญหาการเงินนั้นไม่ยากเลย ตรงกันข้ามมันโคตรง่าย ถ้าเพียงแต่พวก เขาลงมือเปลี่ยนแปลงตัวเอง” เดฟได้สร้างมุมมองที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิงให้กับการแก้ปัญหาการเงินส่วน บุคคล เขาสรุปว่าเครื่องมือเท่ๆ อย่างฐานข้อมูล ซอฟท์แวร์ ตัวเลข สูตรค�ำนวณ กฏมหัศจรรย์ การปรับโครงสร้างหนี้ ล้วนเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายทาง กูรูเบอร์หนึ่งฟันธงอย่างมั่นใจ ปัญหาที่ท�ำให้คนส่วนใหญ่ไม่ยอมรวยนั้นไซร้ คือ เงาสะท้อนที่อยู่ในกระจกนั่นเอง

ตัว เรานั่นแหละค�ำตอบ ปรัชญาการเงินส่วนบุคคลแบบตรงเผงของเดฟน่าสนใจมาก เขายืนยันว่าเขา ไม่ได้ค้นพบอะไรทั้งนั้น ไม่มีความลับสู่หนทางรวยอะไรทั้งสิ้น ไม่มีอะไรเก๋ไก๋ไป กว่าที่เราเคยได้ยินมาก่อน แม้แต่หลักล้างหนี้แบบ “Debt Snowball” อันโด่งดังนั้น ก็ไม่มีอะไรแปลก สิ่งที่ท�ำให้แผนกอบกู้หายนะการเงินของเดฟได้ผล คือการแก้ที่ปัญหาใหญ่ “ปัญหาการเงินของคุณไม่มีทางแก้ได้ ถ้าคุณไม่เริ่มแก้ที่นิสัยของตัวคุณเอง” ไม่มีปาฏิหาริย์ ไม่มีความมหัศจรรย์ ไม่มีความลับ ไม่มีกฏแห่งพลังใดๆ ทั้งนั้น วิธีที่คุณจะเปลี่ยนชีวิต ง่ายแค่เปลี่ยนวิธีคิดของตัวคุณเอง คุณจะเปลี่ยนอะไรบางอย่างได้ ก็เมื่อคุณลงมือเปลี่ยนมัน ง่ายๆ ดื้อๆ แบบนั้น แต่รับประกันผลที่ได้ ไม่ว่าคุณจะมีรายได้ระดับรากหญ้า หรือเงินเดือนสูงลิบทะลุฟ้าหกเจ็ดหลัก 18 aw1-103.indd 18

2/17/57 BE 11:31 AM


21 วั น ฉั น จะ รวย

ไม่ต้องอ้างหลักเศรษฐศาสตร์ระดับรางวัลโนเบล ไม่ต้องจ�าสูตรที่ค้นคิดโดย นักการเงินชั้นน�า ปัญหาการเงินลึกๆ แก้ได้ด้วยปรัชญาการเงินข�าๆ เรื่อง “ครูพัก ลักจ�า” ที่ตายาย พ่อแม่ คนข้างบ้านแก่ๆ และตัวคุณเอง(ก็)รู้ดี “สัจธรรมการเงิน” ที่คุณรู้มาตั้งแต่ปอสี่ ถึงเวลานี้มันอาจช่วยชีวิตคุณ

ฉันพบปัญหากับตัวฉันเอง มากกว่าที่เคยพบกับคนอื่นใดในชีวิต

Dwight L.Moody 19 aw1-103.indd 19

2/17/57 BE 11:31 AM


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.